Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์-มารู้จักศาลรัฐธรรมนูญกันเถอะ

หนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์-มารู้จักศาลรัฐธรรมนูญกันเถอะ

Published by keaw.keawlin555, 2022-08-26 06:54:58

Description: หนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์-มารู้จักศาลรัฐธรรมนูญกันเถอะ

Keywords: กฎหมาย

Search

Read the Text Version

มาร้จู ักศาลรฐั ธรรมนญู กันเถอะ 1

มารู้จกั ศาลรัฐธรรมนูญกันเถอะ 2 “ยึดหลกั นติ ิธรรม ค�้ำจนุ ประชาธปิ ไตย ห่วงใยสทิ ธิและเสรภี าพ ของประชาชน”

มารู้จกั ศาลรัฐธรรมนญู กันเถอะ 3 พิมพ์ครง้ั ท่ี 1 5,000 เล่ม ปที ่ีพมิ พ์ ISBN พ.ศ. 2562 978-616-8033-33-3 จดั ทำ�โดย สำ�นักงานศาลรัฐธรรมนูญ ศนู ยร์ าชการเฉลิมพระเกยี รติ 80 พรรษา 5 ธนั วาคม 2550 (อาคารราชบรุ ีดเิ รกฤทธ์ิ) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจง้ วัฒนะ แขวงทงุ่ สองหอ้ ง เขตหลักส่ี กรุงเทพมหานคร 10210 โทรศพั ท์ : 02-141-7777 โทรสาร : 02-143-9522 E-mail : [email protected] ออกแบบและจดั พิมพ์โดย บริษัท ไอเดยี ลเรดด้ี จำ�กดั [ Idealready co.,ltd. ] เลขที่ 235/2 ซอยคุ้มเกล้า 11 แขวงแสนแสบ เขตมนี บุรี กรงุ เทพมหานคร 10510 โทรศัพท์ : 086-331-2945 เวบ็ ไซต์ : www.idealready.com

มารจู้ ักศาลรฐั ธรรมนญู กนั เถอะ สนาร่าะรู้ 4 ตุลาการศาลรฐั ธรรมนญู ตอ้ งได้รบั การโปรดเกล้าฯแต่งตง้ั และก่อนเขา้ รบั หนา้ ท่ี ตอ้ งถวายสตั ยป์ ฏญิ าณตอ่ พระมหากษตั รยิ ์

มารจู้ ักศาลรฐั ธรรมนญู กนั เถอะ 55 สารบญั บทนำ� 6 10 1ทำ�ไมตอ้ งมี “ศาลรฐั ธรรมนูญ” 12 16 ศาลรัฐธรรมนูญ คือองคก์ รแบบไหน 26 44 2และประกอบด้วยใครบา้ ง 50 3ศาลรฐั ธรรมนูญ มหี นา้ ท่ีและอำ�นาจอะไรบา้ ง 4ศาลปรระัฐชาธชรนรสมามนาญู รถไใดช้อส้ ยิทา่ธงติ ไ่อร ศาลรัฐธรรมนญู ทำ�งาน 5 6 โดยมวี ธิ ีพิจารณาอยา่ งไร ทีผ่ ่านมา ศาลรฐั ธรรมนญู สร้างประโยชนอ์ ะไร ใหก้ ับประเทศชาตแิ ละประชาชน

6 บทนำ� บนำท�

7 สารบัญ มนษุ ย์ทุกคนเกิดมาย่อมมศี กั ด์ิศรีความเปน็ มนษุ ย์ พรอ้ มเสรภี าพ ท่ีจะกระท�ำอะไรก็ได้โดยปราศจากข้อจ�ำกัด แต่หากทุกคนใช้เสรีภาพเช่นน้ัน ก็คงจะไม่มีใครยอมใครและเกิดความวุ่นวาย เมื่อมาอยู่ร่วมกันในสังคมแล้ว เพอ่ื ความสงบสุข มนษุ ย์แต่ละคนจึงต้องจ�ำกัดสทิ ธเิ สรีภาพของตัวเองลง โดย กฎเกณฑท์ างสงั คมตา่ ง ๆ ตงั้ แตจ่ ารตี ประเพณี ศลี ธรรม และกฎหมาย ซง่ึ เปน็ กฎเกณฑ์อันมีสภาพบังคับ ที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม มนุษย์ย่อมท�ำอะไรก็ได้ ตามใจสมัคร เวน้ แตก่ ารนนั้ จะมีกฎหมายหา้ ม หรอื ก�ำหนดรปู แบบวิธกี ารไว้ กฎหมายจึงเป็นบทบัญญัติที่เป็นท้ังการก�ำหนดข้อห้ามและข้อปฏิบัติ ของประชาชน กำ� หนดวา่ สง่ิ ใดบา้ งทกี่ ฎหมายหา้ มกระทำ� หากฝา่ ฝนื มคี วามผดิ ทางอาญา ซง่ึ รัฐจะลงโทษเอาแก่เสรภี าพ เนื้อตัว รา่ งกาย หรอื ทรพั ยส์ ินของ ผฝู้ ่าฝนื กไ็ ด้ หรอื ก�ำหนดวา่ ในระหวา่ งประชาชนดว้ ยกนั นนั้ ใครมสี ิทธติ ่อกัน อยา่ งไรในทางแพง่ เมอื่ ประสงคจ์ ะทำ� นติ กิ รรมแลว้ จะมสี าระหรอื มแี บบอยา่ งไร และหากเกิดข้อพิพาทแล้วจะถอื วา่ ใครมสี ทิ ธิดีกวา่ ใคร นอกจากน้ัน กฎหมาย ยังเปน็ ตน้ ธารของการใชอ้ ำ� นาจรัฐทงั้ ปวง นัน่ คือเจ้าหน้าทข่ี องรัฐจะใช้อำ� นาจ เหนือประชาชนได้ จะต้องมกี ฎหมายกำ� หนดใหอ้ ำ� นาจในเรื่องนนั้ ไว้ บนำท�

8 สารบญั แล้ว ถือหลกั ว่า ประชาชนส�ำหรบั “เม่ือไม่มีกฎหมายหา้ มยอ่ มทำ�ได้” เพราะถอื วา่ ประชาชนนนั้ มีเสรภี าพอยู่เดมิ จะจ�ำกดั ไดก้ แ็ ตโ่ ดยอ�ำนาจแหง่ กฎหมาย แตส่ �ำหรบั การกระท�ำของหนว่ ยงานของรฐั เจ้าหนา้ ทข่ี องรฐั หรือหนว่ ยงานซ่งึ ใช้อำ�นาจรัฐ “ไมม่ ีกฎหมายให้อำ�นาจไว้ย่อมทำ�ไมไ่ ด”้ นน่ั คอื บคุ คลยอ่ มไมม่ อี ำ� นาจเหนอื กวา่ บคุ คลอนื่ ได้ หากจะมอี ำ� นาจไดก้ ต็ อ้ งเปน็ บคุ คล ท่ไี ด้รบั มอบหมายใหใ้ ช้อำ� นาจรัฐ และจะมอี ำ� นาจน้นั ได้ ก็ต้องมีกฎหมายก�ำหนดไว้ บนำท�

สารบญั หลกั การทวี่ า่ สำ� หรบั ประชาชนนนั้ “เมอื่ ไมม่ กี ฎหมายหา้ มยอ่ มทำ�ได”้ 9 เปน็ หลกั การเดยี วกบั ทร่ี ฐั ธรรมนญู มาตรา 25 วรรคหนง่ึ และวรรคสอง รบั รองไวด้ งั นี้ บนำท� “สทิ ธิและเสรภี าพของปวงชนชาวไทย นอกจากท่ี บญั ญตั ิค้มุ ครองไวเ้ ปน็ การเฉพาะในรัฐธรรมนญู แล้ว การใดทม่ี ไิ ดห้ ้ามหรือจำ�กดั ไว้ในรฐั ธรรมนูญหรอื ในกฎหมายอืน่ บคุ คลยอ่ มมีสทิ ธิและเสรีภาพ ท่ีจะทำ�การนัน้ ไดแ้ ละได้รับความคมุ้ ครองตามรฐั ธรรมนญู ตราบเท่าท่กี ารใชส้ ทิ ธิหรอื เสรีภาพเช่นว่านนั้ ไมก่ ระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรยี บร้อยหรือศีลธรรมอันดขี องประชาชน และไมล่ ะเมดิ สทิ ธิหรือเสรีภาพของบคุ คลอน่ื ” รัฐธรรมนูญ มาตรา 25 วรรคหนงึ่ “สทิ ธิหรือเสรีภาพใดทร่ี ฐั ธรรมนญู ใหเ้ ปน็ ไปตามทก่ี ฎหมายบัญญัติ หรอื ให้เปน็ ไปตามหลักเกณฑแ์ ละ วิธีการท่ีกฎหมายบญั ญตั ิ แม้ยังไมม่ กี ารตรากฎหมายนั้นข้ึนใชบ้ ังคบั บุคคลหรอื ชมุ ชนยอ่ มสามารถใชส้ ทิ ธิ หรือเสรีภาพนัน้ ได้ตามเจตนารมณ์ ของรฐั ธรรมนูญ” รัฐธรรมนูญ มาตรา 25 วรรคสอง

1บทท่ี 10 ศทตำ้อ�างไลมมี บทท่ี รัฐธรรมนูญ 1 ทำ�ไมต้องมีศาลรฐั ธรรมนูญ

11 ในสารบัญ บรรดากฎหมายทัง้ หลายน้ัน รฐั ธรรมนูญถือเปน็ กฎหมายสูงสุด เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายทกี่ ำ� หนดวา่ กฎหมายน้นั ถ้าจะออกมา ใช้บงั คับ จะต้องมกี ระบวนการอะไร และใครบ้างท่มี ีหนา้ ท่ีและอำ� นาจ ในแตล่ ะกระบวนการนนั้ รวมถงึ กำ� หนดขอบเขตวา่ เนอื้ หาของกฎหมาย จะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อสาระส�ำคัญของสิทธิเสรีภาพท่ีบัญญัติ เปน็ หลกั เกณฑพ์ นื้ ฐานไวใ้ นรฐั ธรรมนญู โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ตอ้ งไมข่ ดั หรอื แยง้ ตอ่ “หลกั นติ ธิ รรม” อนั หมายถงึ หลกั ความเปน็ ธรรมโดยธรรมชาติ ดว้ ย ดงั นน้ั กฎหมายใดๆ ทอ่ี อกโดยอาศยั อำ� นาจตามรฐั ธรรมนญู จงึ ตอ้ ง อยู่ภายใต้ขอบเขตที่จะต้องไม่จ�ำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชน เกนิ กวา่ ทร่ี ฐั ธรรมนญู กำ� หนดไว้ หรอื ไมใ่ หอ้ ำ� นาจรฐั ในอนั ทจี่ ะใชอ้ ำ� นาจ ถึงขนาดที่จะละเมิดต่อสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนในสาระส�ำคัญ และกฎหมายใดทขี่ ดั หรอื แยง้ ตอ่ รฐั ธรรมนญู ซง่ึ เปน็ แมบ่ ทกฎหมายนน้ั ย่อมใชบ้ ังคับไมไ่ ด้ เพื่อให้หลักการส�ำคัญนี้มสี ภาพบังคับได้จรงิ จึงต้องมีองค์กรใดองค์กร หนงึ่ ทจี่ ะท�ำหน้าท่ีชี้ขาด ในกรณที ่มี ีการโตแ้ ยง้ ว่ากฎหมายทต่ี ราขึ้นน้นั ขดั หรอื แยง้ ตอ่ รฐั ธรรมนญู ซงึ่ องคก์ รทท่ี ำ� หนา้ ทดี่ งั กลา่ วในแตล่ ะประเทศ ทวั่ โลกมีรปู แบบแตกตา่ งกันออกไป แต่ส�ำหรับประเทศไทย นับต้งั แต่ปี พ.ศ. 2540 เปน็ ต้นมา องค์กรดงั กลา่ วคือ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ทำ�ไมตอ้ งมศี าลรฐั ธรรมนญู บทที่ 1

2บทท่ี 12 ศาล บทท่ี คือรัฐธรรมนูญ 2 อแบงบคไก์ หรน ใครบ้างและประกอบดว้ ย ศาลรัฐธรรมนูญคอื องค์กรแบบไหน และประกอบดว้ ยใครบา้ ง

13 สารบัญ “ศาลรัฐธรรมนญู ” “ศาล”เป็นองคก์ รตุลาการ เปน็ โดยการเข้ารับต�ำแหน่งจะตอ้ งไดร้ ับ การโปรดเกล้าฯ แตง่ ตัง้ และกอ่ นเขา้ รบั หน้าทต่ี อ้ งถวายสัตย์ปฏญิ าณตอ่ พระมหากษตั ริย์ และมีวิธพี ิจารณาคดีอยา่ งศาล มกี ารออกนงั่ พจิ ารณาบนบัลลังก์ ในคดที ม่ี กี ารออกนง่ั รบั ฟงั ขอ้ เทจ็ จรงิ หรอื ความเหน็ เพม่ิ เตมิ ซงึ่ ตลุ าการศาลรฐั ธรรมนญู จะมาจากกระบวนการสรรหาทเี่ ปน็ อสิ ระ เพอ่ื ใหไ้ ดผ้ ทู้ รงคณุ วฒุ ทิ มี่ คี วามรคู้ วามสามารถ เหมาะสม โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกั รไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 200 ก�ำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบไปด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำ�นวน 9 คน มีทีม่ าจาก 1 ผพู้ พิ ากษาในศาลฎีกา ซ่ึงดำ� รงตำ� แหน่งไมต่ �่ำกวา่ ผู้พพิ ากษาหวั หน้าคณะในศาลฎีกามาแล้วไมน่ อ้ ยกว่า 3 ปี ซึง่ ได้รบั คัดเลือกโดยทปี่ ระชุมใหญ่ศาลฎีกา จำ� นวน 3 คน ศฎากี าล ไม่นอ้ ยกว่า จำ�นวน ผพู้ พิ ากษา 3 3 ไม่ต่ำ� กว่าผูพ้ ิพากษาหวั หนา้ คณะ ปี คน ศาลรฐั ธรรมนญู คือองคก์ รแบบไหน และประกอบดว้ ยใครบ้าง บทที่ 2

2สารบญั ตุลาการในศาลปกครองสงู สุด ซง่ึ ด�ำรงตำ� แหน่ง 14 ไม่ต่�ำกว่าตุลาการศาลปกครองสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ซ่ึงได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด บทที่ จ�ำนวน 2 คน ศาลปสกูงคสรุดอง 5ไมน่ อ้ ยกว่า 2จำ�นวน 2 ปี ตุลาการ คน ไมต่ �ำ่ กว่าตุลาการศาลปกครองสงู สดุ 3 ผทู้ รงคณุ วฒุ ิ 4 ผทู้ รงคณุ วฒุ ิ สาขานติ ศิ าสตร์ สาขารฐั ศาสตร์ หรอื ซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้ด�ำรงต�ำแหน่ง รฐั ประศาสนศาสตร์ หรือเคยด�ำรงต�ำแหน่งศาสตราจารย์ของ ซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้ด�ำรงต�ำแหน่ง มหาวิทยาลัยในประเทศไทยมาแล้วเป็น หรือเคยด�ำรงต�ำแหน่งศาสตราจารย์ของ มหาวิทยาลัยในประเทศไทยมาแล้วเป็น เวลาไมน่ ้อยกวา่ 5 ปี และยังมีผลงาน ทางวชิ าการเปน็ ทปี่ ระจกั ษ์ จำ� นวน 1 คน เวลาไมน่ ้อยกวา่ 5 ปี และยงั มีผลงาน ทางวชิ าการเปน็ ทป่ี ระจกั ษ์ จำ� นวน 1 คน ศาสตราจารยข์ องมหาวทิ ยาลยั ศาสตราจารยข์ องมหาวทิ ยาลยั 5ไม่นอ้ ยกวา่ 1จำ�นวน 5ไม่นอ้ ยกวา่ 1จำ�นวน ปี คน ปี คน มผี ลงานทางวชิ าการเป็นท่ปี ระจกั ษ์ มีผลงานทางวิชาการเป็นทป่ี ระจกั ษ์ ศาลรฐั ธรรมนญู คอื องคก์ รแบบไหน และประกอบดว้ ยใครบ้าง

15 5สารบัญ2 คน ผทู้ รงคณุ วฒุ ิ ซงึ่ ไดร้ บั การสรรหาจากผรู้ บั หรอื เคยรบั ราชการ ในตำ� แหนง่ ไมต่ ำ�่ กวา่ อธบิ ดี หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทยี บเท่า หรือ ตำ� แหน่งไม่ต่�ำกว่ารองอยั การสงู สดุ มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จ�ำนวน อธบิ ดี 5ไม่น้อยกว่า 2จำ�นวน ปี ไมต่ ำ�่ กว่า คน อสรัยูงอกสางุดร ตลุ าการศาลรฐั ธรรมนูญ วฒุ ิสภา ผไู้ ดร้ บั การคดั เลอื กหรอื สรรหา เพอื่ แตง่ ตงั้ ใหด้ ำ� รงตำ� แหนง่ ตลุ าการศาลรฐั ธรรมนญู บทที่ ตอ้ งไดร้ บั ความเหน็ ชอบจากวฒุ สิ ภา โดยมวี าระการดำ� รงตำ� แหนง่ 7 ปี นบั แตว่ นั ที่ พระมหากษัตรยิ ท์ รงแต่งต้ัง และใหด้ ำ� รงตำ� แหนง่ ไดเ้ พียงวาระเดียว 2 ศาลรฐั ธรรมนูญคือองค์กรแบบไหน และประกอบด้วยใครบ้าง

3บทที่ 16 ศาลรฐั ธรรมนญู บทท่ี มหี น้าที่ 3 ออำะ�ไรแนลบะา้าจง ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำ�นาจอะไรบ้าง

17 สารบัญ พทิ กั ษ์ วินิจฉยั รฐั ธรรมนญู พจิ ารณา หนา้ ท่ี อำ�นาจและ หลกั ของศาลรัฐธรรมนูญ บทที่ คือการพิจารณาวินิจฉัยว่ากฎหมายหรือร่างกฎหมายมีความชอบ 3 ด้วยรัฐธรรมนูญ คือไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือกรณีท่ีเป็น ร่างกฎหมายก็ต้องตราข้ึนโดยถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้น ศาลรัฐธรรมนูญก็มีหน้าที่และอ�ำนาจในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญหรือ รักษาความเปน็ กฎหมายสงู สุดของรฐั ธรรมนญู ประการอน่ื ๆ อีกด้วย ศาลรฐั ธรรมนูญมหี น้าท่แี ละอำ�นาจอะไรบ้าง

18 สารบญั หน้าท่ีและอำ�นาจของศาลรัฐธรรมนูญ ได้รับการบัญญัติไว้ ในรฐั ธรรมนูญ มาตรา 210 ประกอบพระราชบญั ญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย 1วธิ ีพจิ ารณาของศาลรัฐธรรมนญู พ.ศ. 2561 มาตรา 7 ดงั น้ี พจิ ารณาวนิ จิ ฉยั ความชอบด้วยรัฐธรรมนญู ของกฎหมายหรอื รา่ งกฎหมาย ได้แก่ การพิจารณาว่าบทบัญญัติ การพิจารณาความเห็นท่ี แห่งกฎหมายท่ศี าลจะใช้ ผู้ตรวจการแผน่ ดนิ เสนอเร่ืองต่อศาล บังคบั แกค่ ดีนั้น ขัดหรือแยง้ รัฐธรรมนญู เพ่อื พิจารณาว่า ตอ่ รัฐธรรมนญู หรือไม่ ตาม บทบญั ญตั แิ ห่งกฎหมายมปี ัญหาเก่ยี วกบั รัฐธรรมนญู มาตรา 212 ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรอื ไม่ ตามรฐั ธรรมนูญ มาตรา 231 (1) การวนิ จิ ฉยั วา่ การพจิ ารณาว่า พระราชกำ�หนดใดไม่เปน็ ไป ตามเงอ่ื นไขทรี่ ฐั ธรรมนญู ร่างพระราชบัญญัติ บญั ญัตไิ ว้หรือไม่ ตาม ประกอบรฐั ธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ มาตรา 172 วรรคหน่ึง และมาตรา 173 ขดั หรอื แย้งต่อรฐั ธรรมนูญหรอื ไม่ ตามรัฐธรรมนญู มาตรา 132 และมาตรา 148 การพิจารณาวา่ รา่ งพระราชบญั ญัติ ทีร่ ฐั สภาให้ความเหน็ ชอบแล้วน้ัน มขี อ้ ความขดั หรอื แยง้ ต่อรฐั ธรรมนญู หรือตราขึน้ โดยไมถ่ กู ตอ้ ง ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 148 ศาลรฐั ธรรมนญู มีหนา้ ท่ีและอำ�นาจอะไรบ้าง บทที่ 3

19 2สารบัญ พิจารณาวินจิ ฉัยปัญหาเกีย่ วกบั หน้าท่ี และอำ�นาจของสภาผแู้ ทนราษฎร วฒุ สิ ภา รฐั สภา คณะรฐั มนตรี หรือองค์กรอิสระ “ปัญหาเกีย่ วกบั หนา้ ทีแ่ ละอำ� นาจ” หมายความวา่ ปญั หา ดงั กลา่ วจะเปน็ กรณที อี่ งคก์ รตา่ ง ๆ ดงั กลา่ วตามรฐั ธรรมนญู องคก์ รใด องคก์ รหนง่ึ มอี ำ� นาจกระทำ� การในเรอื่ งใดเรอ่ื งหนงึ่ หรอื ไม่ เพยี งใด หรือเป็นลักษณะของการที่องค์กรตามรัฐธรรมนูญต้ังแต่สอง องคก์ รขึน้ ไป มปี ญั หาเกย่ี วกบั หนา้ ทีแ่ ละอำ� นาจ ศาลรฐั ธรรมนญู มหี น้าท่แี ละอำ�นาจอะไรบา้ ง บทท่ี 3

20 3สารบญั หนา้ ท่ีและอำ�นาจอ่นื ตามท่บี ัญญตั ิ ไว้ในรฐั ธรรมนูญ ไดแ้ ก่ 3.1 คดีเกี่ยวกับการรอ้ งขอให้เลกิ การกระท�ำลม้ ล้างการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (รฐั ธรรมนญู มาตรา 49) ชว่ ยด้วยครับ 3.2 คดีทป่ี ระชาชนหรือชมุ ชนฟ้องหน่วยงานของรฐั เพือ่ ให้ไดร้ บั ประโยชนต์ ามรฐั ธรรมนญู หมวด 5 หนา้ ทขี่ องรฐั (รฐั ธรรมนูญ มาตรา 51) รัฐธรรมนญู คุ้มครองสทิ ธขิ องประชาชน บทท่ี ศาลรัฐธรรมนูญมหี น้าท่ีและอำ�นาจอะไรบ้าง 3

21 3.3สารบญั คดเี กย่ี วกบั การสน้ิ สดุ สมาชกิ ภาพของสมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร หรือสมาชกิ วุฒิสภา (รัฐธรรมนูญ มาตรา 82) ส.ส. ส.ว. ขาดคุณสมบตั ิ กระทำ�การ มีลักษณะตอ้ งหา้ ม อนั เป็นการตอ้ งหา้ ม 3.4 คดเี ก่ียวกบั การเสนอร่างพระราชบญั ญัตทิ มี่ หี ลักการอย่าง เดยี วกันหรือคล้ายกันกบั หลกั การของร่างพระราชบญั ญตั ิที่ ต้องยับยั้งไว้ (รัฐธรรมนูญ มาตรา 139) รา่ งพระราชบัญญตั ิ ที่ตอ้ งยับยัง้ ไว้ หลกั การ อยา่ งเดยี วกัน หรอื คลา้ ยกัน เสนอรา่ งพระราชบญั ญตั ิ บทที่ ศาลรฐั ธรรมนญู มหี น้าท่ีและอำ�นาจอะไรบา้ ง 3

22 สารบัญ 3.5 คดเี กยี่ วกบั การเสนอ การแปรญตั ติ หรอื การกระทาํ ดว้ ยประการใด ๆ ทีม่ ีผลใหส้ มาชิกสภาผแู้ ทนราษฎร สมาชกิ วฒุ สิ ภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย (รฐั ธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคสาม) 3.6 คดีเก่ียวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างข้อบังคับการประชุม สภาผแู้ ทนราษฎร รา่ งขอ้ บงั คบั การประชมุ วฒุ สิ ภา และรา่ งขอ้ บงั คบั การประชมุ รฐั สภา (รัฐธรรมนญู มาตรา 149) สรภ่างาขผ้อบแู้ งัทคนบั กราารษปฎระรชมุ วฒุ สิ ภาร่างขอ้ บงั คับการประชุม รฐั สภาร่างขอ้ บังคับการประชุม ศาลรัฐธรรมนญู มหี น้าทีแ่ ละอำ�นาจอะไรบา้ ง บทที่ 3

23 3.7สารบญั คดเี กย่ี วกับการสิ้นสดุ ลงของความเปน็ รฐั มนตรี (รฐั ธรรมนญู มาตรา 170 วรรคสาม) ขาดคณุ สมบัติ กระทำ�การ อันเป็นการต้องห้าม มีลักษณะต้องหา้ ม 3.8 คดเี กย่ี วกบั หนงั สอื สญั ญาทตี่ อ้ งไดร้ บั ความเหน็ ชอบจากรฐั สภา (รัฐธรรมนญู มาตรา 178 วรรคห้า) สหัญนญังสาอื รัฐสภา ศาลรัฐธรรมนญู มหี นา้ ทีแ่ ละอำ�นาจอะไรบา้ ง บทที่ 3

24 3.9สารบญั คดีท่ีผ้ถู กู ละเมิดสิทธหิ รอื เสรีภาพทีร่ ฐั ธรรมนูญค้มุ ครองไว้ รอ้ งขอวา่ การกระทาํ นั้นขดั หรอื แย้งต่อรฐั ธรรมนญู (รฐั ธรรมนญู มาตรา 213) ละเมดิ สิทธหิ รอื เสรีภาพ 3.10 คดเี กยี่ วกบั ความชอบดว้ ยรฐั ธรรมนญู ของรา่ งรฐั ธรรมนญู แกไ้ ขเพ่ิมเตมิ (รัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (9)) ส.ส. ส.ว. ชว่ ยกลน่ั กรอง ดว้ ยครับ เขา้ ช่ือ บทที่ ศาลรฐั ธรรมนูญมีหนา้ ทแี่ ละอำ�นาจอะไรบ้าง 3

25 สารบัญ 3.11 คดีอนื่ ท่ีรฐั ธรรมนญู กฎหมายประกอบรฐั ธรรมนูญ หรือกฎหมายอ่ืนกำ� หนดให้อยู่ในเขตอำ� นาจของศาล เช่น การยุบพรรคการเมอื ง ตามพระราชบญั ญัติ ประกอบรฐั ธรรมนญู วา่ ดว้ ยพรรคการเมือง เปน็ ตน้ ศาลรัฐธรรมนูญมหี นา้ ทแี่ ละอำ�นาจอะไรบา้ ง บทที่ 3

4บทท่ี 26 ปสราะมชาารชถน บทที่ ศาลใชส้ ิทธติ อ่ 4 รฐั ธรรมนญู ไดอ้ ย่างไร ประชาชนสามารถใชส้ ทิ ธติ ่อศาลรฐั ธรรมนญู ได้อยา่ งไร

27 สารบัญ สาระสำ� คญั ของรัฐธรรมนญู มาตรา 25 นอกจากวรรคหนงึ่ ทีร่ ับรองวา่ สทิ ธเิ สรภี าพของประชาชนเปน็ สงิ่ ทมี่ มี าอยเู่ ดมิ โดยบรบิ รู ณ์ เวน้ แตท่ จี่ ะถกู จำ� กดั โดยรฐั ธรรมนญู แล้ว วรรคสามของมาตราเดยี วกนั ยังรบั รองสิทธขิ องประชาชน ทีจ่ ะยกเรื่องสิทธิเสรีภาพข้ึนเป็นข้อต่อสใู้ นศาลไดด้ ้วย ตามทีบ่ ัญญัตไิ วด้ งั นี้ “บคุ คลซงึ่ ถูกละเมิดสทิ ธหิ รอื เสรีภาพ บทที่ ท่ไี ดร้ ับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนญู 4 สามารถยกบทบัญญตั ิแห่งรัฐธรรมนญู เพือ่ ใชส้ ิทธิทางศาลหรือยกขึ้น เป็นข้อตอ่ สู้คดีในศาลได”้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 25 วรรคสาม ประชาชนสามารถใช้สทิ ธติ อ่ ศาลรฐั ธรรมนญู ไดอ้ ยา่ งไร

28 1สารบัญ การโต้แย้งว่าบทบัญญัตแิ ห่งกฎหมาย ขัดหรอื แยง้ ต่อรัฐธรรมนญู ต่อศาล การยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพ่ือใช้สิทธิทางศาลหรือยกข้ึนเป็น ข้อต่อสคู้ ดีในศาล อาจจะกระทำ� ได้ ในกรณีทปี่ ระชาชนมคี ดฟี ้องร้อง หรือถูกฟ้องร้องในศาลใด ๆ ไม่ว่าจะเป็น ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหาร ผ่านการโต้แย้งต่อศาลนั้นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ขดั หรือแยง้ ต่อรัฐธรรมนญู เพอ่ื ใหศ้ าลนัน้ ๆ ส่งเร่อื งให้ศาลรัฐธรรมนูญ พจิ ารณาวนิ จิ ฉยั ได้ ตามทบี่ ญั ญตั ไิ วใ้ นรฐั ธรรมนญู มาตรา 212 วรรคหนง่ึ ซง่ึ บญั ญัติว่า “ในการทีศ่ าลจะใช้บทบัญญตั ิแห่งกฎหมายบังคบั บทที่ แกค่ ดีใด ถ้าศาลเห็นเองหรอื คู่ความโต้แย้งพร้อม 4 ด้วยเหตุผลว่าบทบัญญตั แิ หง่ กฎหมายนั้นต้องด้วย มาตรา 5 และยงั ไมม่ คี ำ�วนิ จิ ฉยั ของศาลรฐั ธรรมนญู ในสว่ นทเ่ี กย่ี วกบั บทบัญญัติน้นั ให้ศาลสง่ ความเหน็ เช่นวา่ นน้ั ตอ่ ศาลรฐั ธรรมนญู เพือ่ วนิ จิ ฉัย ในระหวา่ งน้ัน ให้ศาลดำ�เนินการพิจารณาตอ่ ไปได้ แตใ่ หร้ อการพพิ ากษาคดไี วช้ ว่ั คราวจนกว่าจะมี คำ�วินจิ ฉัยของศาลรฐั ธรรมนูญ” รฐั ธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหน่ึง โดยผใู้ ชส้ ทิ ธติ ามมาตราน้ี จะตอ้ งยงั มคี ดที ไี่ ดร้ บั การพจิ ารณาอยใู่ นศาลใดศาลหนงึ่ หรอื อยใู่ นชนั้ การโตแ้ ยง้ กนั ในชนั้ บงั คบั คดี โดยจะรอ้ งวา่ กฎหมายทเี่ ปน็ มลู เหตแุ หง่ การฟอ้ ง รอ้ งคดีกนั นั้น หรือกฎหมายวิธพี จิ ารณาท่ีเกย่ี วข้องในคดนี ั้น ขดั หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ กไ็ ด้ แตไ่ มส่ ามารถโตแ้ ยง้ คำ� พพิ ากษา กระบวนพจิ ารณา หรอื ในกรณที ศ่ี าลมคี ำ� พพิ ากษา ในคดนี ัน้ ถึงทีส่ ดุ แล้วได้ ประชาชนสามารถใชส้ ิทธิตอ่ ศาลรฐั ธรรมนูญได้อย่างไร

2สารบัญ การโตแ้ ยง้ ว่าบทบญั ญัติแห่งกฎหมาย 29 มีปญั หาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผา่ นผตู้ รวจการแผ่นดิน บทที่ นอกจากน้ี ประชาชนก็ยังมีช่องทางการโต้แย้งว่ากฎหมาย ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ โดยท่ีไม่ต้องเป็นคดีฟ้องร้องกัน 4 ในศาล เชน่ เปน็ กรณที ถ่ี กู ปฏเิ สธสทิ ธหิ รอื ไดร้ บั การปฏบิ ตั ทิ เี่ ปน็ การละเมิดสิทธิจากรัฐโดยผลของกฎหมาย เช่นรัฐมีเหตุผลว่า ที่ปฏิบัติหรือมีค�ำส่ังอย่างน้ัน เพราะมีกฎหมายให้อ�ำนาจ ผา่ นผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ตามรฐั ธรรมนญู มาตรา 231 (1) ทบ่ี ญั ญตั วิ า่ “ในการปฏบิ ัติหนา้ ที่ตามมาตรา 230 ผู้ตรวจการแผน่ ดนิ อาจเสนอเรอ่ื งตอ่ ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้ เม่ือเหน็ ว่ามกี รณี ดงั ต่อไปน้ี (1) บทบญั ญตั แิ หง่ กฎหมายใดมีปญั หา เกยี่ วกับความชอบดว้ ยรฐั ธรรมนญู ให้เสนอเรื่องพรอ้ มดว้ ยความเห็นตอ่ ศาลรฐั ธรรมนญู และใหศ้ าลรฐั ธรรมนญู พจิ ารณาวินิจฉัยโดยไมช่ กั ชา้ ทง้ั น้ี ตามพระราชบัญญัตปิ ระกอบ รฐั ธรรมนูญว่าด้วยวธิ ีพจิ ารณาของ ศาลรฐั ธรรมนญู ” รัฐธรรมนญู มาตรา 231 (1) ประชาชนสามารถใช้สิทธติ อ่ ศาลรัฐธรรมนญู ไดอ้ ยา่ งไร

30 สารบัญ ซงึ่ พระราชบญั ญตั ปิ ระกอบรฐั ธรรมนญู วา่ ดว้ ยวธิ พี จิ ารณาของศาลรฐั ธรรมนญู พ.ศ. 2561 ก็ได้ก�ำหนดกระบวนการท่ีชัดเจนและเป็นข้ันตอนท่ีมีกรอบเวลาไว้ในมาตรา 48 โดยผ้ทู ีถ่ กู ละเมดิ สิทธิหรือเสรภี าพอนั เปน็ ผลมาจากบทบัญญตั ขิ องกฎหมาย สามารถ ยื่นค�ำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินได้ โดยผู้ตรวจการแผ่นดินจะต้องพิจารณาภายใน ระยะเวลา 60 วนั วา่ จะยนื่ เรอื่ งนน้ั ตอ่ ใหศ้ าลรฐั ธรรมนญู วนิ จิ ฉยั วา่ กฎหมายนน้ั ขดั หรอื แยง้ ต่อรัฐธรรมนูญจรงิ หรือไม่ ซึ่งถ้าผูต้ รวจการแผ่นดนิ วินิจฉยั แลว้ กต็ ้องแจง้ ให้ผู้ร้องทราบ ภายใน 10 วัน ถ้าผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ หรือ พ้นกำ� หนดเวลาดงั กลา่ วแล้วผ้ตู รวจการแผ่นดินไมแ่ จ้งผลการพิจารณา ผูร้ อ้ งก็สามารถ น�ำเร่ืองมาย่นื ตอ่ ศาลรัฐธรรมนญู ได้โดยตรง ผู้ถกู ละเมดิ สิทธิ ยื่นเร่ืองตอ่ ศาลรัฐธรรมนญู วินจิ ฉัยวา่ กฎหมายน้นั และเสรีภาพ ได้โดยตรง* ขัดหรอื แย้งตอ่ รฐั ธรรมนญู *กรณีผตู้ รวจการแผน่ ดนิ มคี วามเหน็ จริงหรือไม่ ไมส่ ง่ เรอื่ งใหศ้ าลรัฐธรรมนูญ หรือ พ้นกำ�หนดเวลาแล้วผู้ตรวจการแผน่ ดนิ ไมแ่ จ้งผลการพจิ ารณา วนิผิจู้รฉ้อยังทแลราว้ บตภ้อางยแจในง้ ใ1ห0้ ในกรณที ผ่ี ู้ตรวจการแผ่นดนิ วัน ่ยืนเร่ือง ไมย่ น่ื คำ�รอ้ ง หรือไมย่ ่ืนคำ�ร้อง ภายในกำ�หนดเวลา 60 วัน ยน่ื คำ�รอ้ ง ผถู้ ูกละเมดิ มสี ิทธย์ิ นื่ คำ�ร้อง โดยตรงตอ่ ศาลรัฐธรรมนญู ภายรบใั นเรรื่อะยงะไวเวพ้ ลจิ าา6รณ0าวนั ไมย่ ื่นเร่อื ง ผูต้ รวจการแผน่ ดิน ประชาชนสามารถใชส้ ิทธิต่อศาลรัฐธรรมนญู ได้อย่างไร บทที่ 4

31 สารบัญ การยืน่ คำ�รอ้ งต่อศาลรฐั ธรรมนญู เพือ่ มีคำ�วินิจฉัยวา่ ถกู ละเมิดสทิ ธิ 3 เสรภี าพจากการกระทำ�ทข่ี ัดหรอื แย้งตอ่ รัฐธรรมนูญ ส่วนท่ีถือเป็นพัฒนาการในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพท่ีไม่ เคยมมี ากอ่ น คอื แตเ่ ดมิ นนั้ ศาลรฐั ธรรมนญู มเี พยี งอำ� นาจ ในการคมุ้ ครองสทิ ธเิ สรภี าพของประชาชนผา่ นการวนิ จิ ฉยั ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เท่านัน้ แตใ่ นรฐั ธรรมนูญปัจจบุ นั และกฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญว่าดว้ ยวธิ พี ิจารณาของศาลรัฐธรรมนญู ยังให้ อ�ำนาจศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนจากการกระท�ำของรัฐอันขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนญู ไดอ้ กี ด้วย โดยรัฐธรรมนญู มาตรา 213 บญั ญตั ิว่า “บุคคลซ่ึงถูกละเมิดสิทธิหรือเสรภี าพ ทร่ี ฐั ธรรมนูญคุ้มครองไวม้ สี ทิ ธยิ น่ื คำ�ร้อง ตอ่ ศาลรฐั ธรรมนญู เพื่อมคี ำ�วินิจฉยั ว่าการกระทำ�นน้ั ขดั หรอื แย้งต่อ รัฐธรรมนญู ทัง้ นี้ ตามหลักเกณฑ์ วธิ กี าร และเงอ่ื นไขท่ีบัญญัติไวใ้ นพระราชบญั ญัติ ประกอบรฐั ธรรมนญู วา่ ด้วยวธิ ีพจิ ารณา ของศาลรฐั ธรรมนญู ” ประชาชนสามารถใชส้ ิทธติ อ่ ศาลรัฐธรรมนูญไดอ้ ย่างไร บทท่ี 4

32 สารบัญ ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ได้บญั ญัตริ ายละเอียดเก่ยี วกับการเสนอคำ� รอ้ งตอ่ ศาลรฐั ธรรมนูญ ตามรฐั ธรรมนูญ มาตรา 213 นไ้ี วใ้ นมาตรา 46 และมาตรา 47 สรุปไดด้ งั น้ี การกระท�ำที่สามารถร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบตามมาตราน้ีได้ จะตอ้ งไม่ใชเ่ รื่องทบ่ี ัญญัตไิ ว้ในมาตรา 47 ไดแ้ ก่ 3.1 การกระทำ�ของรฐั บาล ได้แก่ การใชอ้ ำ� นาจตามรฐั ธรรมนญู ในทางการเมอื ง หรอื ในทางนโยบายของคณะรฐั มนตรโี ดยแท้ เช่น การเสนอพระราชกฤษฎีกายุบสภา การกระท�ำเกี่ยวกับสงครามและ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เร่ืองเหล่าน้ีในทางทฤษฎีถือว่ารัฐบาล ต้องรบั ผิดชอบตอ่ รฐั สภา ซงึ่ ศาลจะไม่เข้าไปตรวจสอบ การเสนอ สงครามการกระทำ�เกย่ี วกบั ยุบสภาพระราชกฤษฎีกา และความสมั พันธ์ ระหว่างประเทศ รฐั บาล บทที่ รฐั บาลตอ้ งรับผดิ ชอบต่อรฐั สภา 4 ประชาชนสามารถใชส้ ิทธติ อ่ ศาลรัฐธรรมนญู ไดอ้ ย่างไร

33 3.2สารบัญ รฐั ธรรมนญู หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ได้กำ�หนดกระบวนการร้องหรือผมู้ ีสทิ ธขิ อให้ศาล พจิ ารณาวนิ จิ ฉยั ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว มกี ระบวนการ ร้องหรือผู้มีสิทธิ ขอให้ศาลพจิ ารณา วินิจฉยั ไว้เปน็ การเฉพาะแลว้ 3.3 กฎหมายบญั ญตั ขิ ้นั ตอนและวธิ ีการ บทที่ ไว้เปน็ การเฉพาะและยังมไิ ดด้ ำ�เนนิ การ ตามข้ันตอนหรอื วิธีการนน้ั ครบถว้ น 4 ยงั มิได้ ดำ�เนินการ ตามข้นั ตอน หรือวิธีการนัน้ ครบถ้วน ประชาชนสามารถใช้สทิ ธิต่อศาลรฐั ธรรมนญู ได้อยา่ งไร

3.4สารบัญ 34 เรอ่ื งที่อยใู่ นระหวา่ งการพิจารณา พิพากษาคดขี องศาลอ่นื หรอื บทที่ เรื่องที่ศาลอน่ื มคี ำ�พพิ ากษาหรือ คำ�สง่ั ถงึ ทสี่ ุดแล้ว 4 ยุตศธิ ารลรม ศาล ปศกคารลอง ทหาร 3.5 การกระทำ�ของคณะกรรมการช้ีขาด ปัญหาเกีย่ วกบั หน้าทแี่ ละอำ�นาจระหว่างศาล ยุตศธิ ารลรม ศทหาาลร ปศกคารลอง ประชาชนสามารถใชส้ ิทธิต่อศาลรัฐธรรมนูญไดอ้ ยา่ งไร

35 3.6สารบัญ การกระทำ�ที่เกยี่ วกับการบรหิ ารงานบคุ คลของ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) คณะกรรมการตลุ าการทหาร รวมถึงการดำ�เนินการเกยี่ วกบั วินัยทหาร ยุตศธิ ารลรม วนิ ยั ทหาร ปศกคารลอง ศาล ทหาร คณะกรรมการตุลาการ ในกรณีท่ีการกระท�ำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญน้ัน ไมใ่ ช่กรณตี ้องห้ามทั้ง 6 เร่ืองขา้ งตน้ แลว้ บุคคลซง่ึ ถกู ละเมดิ สทิ ธหิ รอื เสรภี าพโดยตรง และไดร้ บั ความเดอื ดรอ้ น หรอื เสยี หาย หรอื อาจจะเดอื ดรอ้ นหรอื เสยี หายโดยมอิ าจ หลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ น้ัน ย่อมมีสิทธยิ ืน่ คำ� รอ้ งขอใหศ้ าลรัฐธรรมนูญพจิ ารณา วนิ จิ ฉยั ได้ โดยจะตอ้ งไปด�ำเนนิ การตามข้ันตอนทีบ่ ัญญตั ิ ไวใ้ นมาตรา 46 ประกอบมาตรา 48 ของพระราชบญั ญตั ิ ประกอบรัฐธรรมนญู ดังกล่าว ไมใ่ ชก่ รทณงั้ ีต6้องเรหือ่้ามง มีสทิ ธิยนื่ คำ�รอ้ ง ประชาชนสามารถใชส้ ิทธติ อ่ ศาลรัฐธรรมนญู ได้อย่างไร บทที่ 4

36 สารบัญ โดยผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพจากการกระท�ำอันขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญน้ัน จะตอ้ งไปใชส้ ทิ ธิต่อผตู้ รวจการแผน่ ดินภายใน 90 วันนับแต่วนั ท่รี ู้หรือควรรถู้ งึ การ ถกู ละเมดิ สทิ ธหิ รอื เสรภี าพนนั้ แตบ่ างกรณกี ารละเมดิ สทิ ธหิ รอื เสรภี าพนนั้ เปน็ เรอ่ื งที่ ดำ� เนนิ อยตู่ อ่ เนอื่ ง กย็ นื่ คำ� รอ้ งไดต้ ราบเทา่ ทกี่ ารกระทำ� นน้ั ยงั มอี ยแู่ ละละเมดิ สทิ ธอิ ยู่ โดยผู้ตรวจการแผ่นดินมีเวลาพิจารณาเร่ือง 60 วัน และต้องแจ้งผลการพิจารณา ใหผ้ รู้ อ้ งทราบภายใน 10 วนั หากผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ไมย่ นื่ คำ� รอ้ งตอ่ ศาลรฐั ธรรมนญู หรือไม่แจ้งผู้ร้องจนสิ้นระยะเวลาข้างต้น ผู้ถูกละเมิดก็สามารถมาใช้สิทธิต่อ ศาลรฐั ธรรมนญู ไดภ้ ายใน 90 วนั นบั แตเ่ วลาทผ่ี ตู้ รวจการแผน่ ดนิ แจง้ ผลวา่ ไมส่ ง่ เรอื่ ง ใหศ้ าลรฐั ธรรมนญู วินิจฉยั หรือไมแ่ จ้งผลการพิจารณาเรื่องนน้ั แล้วแตก่ รณี โดยต้อง ระบุถึงการกระท�ำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรงให้ชัดเจนว่า เปน็ การกระท�ำใดและละเมิดตอ่ สทิ ธหิ รือเสรีภาพอย่างไร มีเวลาพ6จิ0าวรันณาเร่ือง ยืน่ เรอ่ื ง ้ผูร้อต้งอทงแรา้จงบผภลากยาใรนพิ1จ0าร ัวนณาให้ ผตู้ รวจการแผ่นดนิ ใชส้ ทิ ธิต่อศาลรฐั ธรรมนูญ สิหทรืธิอภหคารืวยอรใเ ู้รนส ึถรี9งภก0าาพวัรนั้นถูน ันกบละแเต่ิมวัดน ี่ท ู้รใช้ ิสทธิ ได้ภายใน 90 วนั * *กรณีผู้ตรวจการแผน่ ดนิ ผู้ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ ไม่ย่นื คำ�ร้องตอ่ ศาลรฐั ธรรมนญู หรอื ไมแ่ จง้ ผู้รอ้ งจนสิ้นระยะเวลา จงึ อาจกล่าวไดว้ า่ ประชาชนสามารถใชส้ ิทธิโตแ้ ยง้ ปัญหาความชอบ บทที่ ดว้ ยรฐั ธรรมนูญตอ่ ศาลรัฐธรรมนูญได้ทกุ รูปแบบ ตามแต่ 4 วิธกี ารทีบ่ ญั ญัติไวใ้ นพระราชบัญญัตปิ ระกอบรัฐธรรมนูญนน้ั ประชาชนสามารถใช้สิทธิตอ่ ศาลรฐั ธรรมนูญไดอ้ ยา่ งไร

4สารบญั 37 การย่ืนคำ�ร้องต่อศาลรฐั ธรรมนูญ เพอ่ื ใช้สทิ ธเิ รียกรอ้ งใหร้ ฐั กระทำ�การท่ี บทท่ี รฐั ธรรมนญู บัญญัตใิ ห้เปน็ หนา้ ทขี่ องรฐั ไม่เพียงเท่านั้น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังมีแนวคิดท่ีส�ำคัญ 4 อกี ประการหนง่ึ ในมาตรา 25 วรรคสอง วา่ ประชาชนนน้ั ถอื เปน็ ผูท้ รงสทิ ธติ ามรฐั ธรรมนูญต่อรัฐ ในการใช้สทิ ธิหรือเสรภี าพใด ที่รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามท่ีกฎหมายบัญญัติ หรือให้เป็นไป ตามหลกั เกณฑแ์ ละวธิ กี ารทก่ี ฎหมายบญั ญตั ิ แมย้ งั ไมม่ กี ารตรา กฎหมายนน้ั ขน้ึ ใชบ้ ังคบั บุคคลหรือชมุ ชนย่อมสามารถใช้สทิ ธิ หรอื เสรภี าพนนั้ ไดต้ ามเจตนารมณข์ องรฐั ธรรมนญู และนอกจากนี้ ยังมีสิทธิเรียกร้องให้รัฐกระท�ำการที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็น หน้าที่ของรัฐในอันท่ีจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวมได้ ดว้ ย ตามทีบ่ ญั ญตั ไิ ว้ในมาตรา 51 ดังนี้ “การใดท่ีรัฐธรรมนญู บญั ญัตใิ หเ้ ป็น หนา้ ทข่ี องรัฐตามหมวดน้ี ถ้าการนั้น เปน็ การทำ�เพื่อใหเ้ กิดประโยชน์แก่ประชาชน โดยตรง ยอ่ มเปน็ สทิ ธขิ องประชาชนและ ชมุ ชนทจ่ี ะติดตามและเรง่ รดั ใหร้ ฐั ดำ�เนินการ รวมตลอดทัง้ ฟ้องรอ้ งหนว่ ยงานของรัฐ ท่ีเกยี่ วขอ้ ง เพ่อื จัดใหป้ ระชาชนหรือชุมชน ไดร้ ับประโยชนน์ นั้ ตามหลักเกณฑ์และ วธิ ีการทกี่ ฎหมายบญั ญัติ” รัฐธรรมนูญ มาตรา 51 ประชาชนสามารถใชส้ ทิ ธติ ่อศาลรัฐธรรมนญู ได้อย่างไร

38 สารบญั โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 ก�ำหนดให้ บุคคลหรือชุมชนซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการ ท�ำหนา้ ทีข่ องรัฐตามรฐั ธรรมนูญ หมวด 5 หน้าทีข่ องรัฐ และได้รับความเสียหาย จากการไมป่ ฏิบัตหิ นา้ ทีข่ องรัฐ หรอื การปฏบิ ตั หิ นา้ ทไ่ี ม่ถูกต้องครบถ้วนหรอื ล่าช้า เกินสมควร ย่อมมีสิทธิย่ืนค�ำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยคดีได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดงั ตอ่ ไปนี้ 4.1 บุคคลหรือชุมชนน้ันได้ร้องขอให้หน่วยงานของรัฐท่ีเกี่ยวข้องจัดให้ตน หรอื ชมุ ชนไดร้ บั ประโยชนจ์ ากการปฏบิ ตั หิ นา้ ทขี่ องรฐั ตามรฐั ธรรมนญู และหนว่ ยงานของรฐั ไดป้ ฏเิ สธไมด่ ำ� เนนิ การ หรอื ไมด่ ำ� เนนิ การภายใน เก้าสิบวนั นบั แต่วันท่ีได้รับการรอ้ งขอหรือปฏบิ ัติหน้าทีไ่ ม่ถกู ต้อง และ บุคคลหรือชุมชนได้โต้แย้งการด�ำเนินการหรือไม่ด�ำเนินการดังกล่าว เป็นหนังสือต่อหน่วยงานน้ันภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือ วนั ทีไ่ ด้รบั แจ้งหรือถอื ว่าไดร้ บั แจ้ง และ ปฏิเสธไม่ดำ�เนินการ หนรว่ ยัฐงาน ไม่ดำ�เนนิ การ ภายใน 90 วนั รอ้ หงนเรงั ยี สนือ ประชาชนสามารถใชส้ ิทธติ ่อศาลรฐั ธรรมนูญไดอ้ ย่างไร บทท่ี 4

39 สารบญั 4.2 บุคคลหรือชุมชนตาม (4.1) ได้ย่ืนคำ� รอ้ งต่อผู้ตรวจการแผ่นดนิ ว่าหน่วยงานของรัฐตาม (4.1) มิไดป้ ฏบิ ัตใิ ห้ถูกตอ้ งครบถว้ น ตามหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ มหี นังสอื โตแ้ ย้งตาม (4.1) ในกรณีนี้ หากผู้ตรวจการแผ่นดนิ เห็นว่าหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญถูกต้อง ครบถว้ นแลว้ ใหแ้ จง้ ใหผ้ รู้ อ้ งและหนว่ ยงานของรฐั ทราบ แตห่ าก ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าหน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ ถกู ตอ้ งครบถว้ น ใหเ้ สนอตอ่ คณะรฐั มนตรที ราบถงึ การดงั กลา่ ว คณะรฐั มนตรี หนร่วยัฐงาน แจ้งให้ผู้ร้องและ หน่วยงานของรฐั เสนอ หนว่ ยงานของรัฐ ปฏบิ ัตหิ น้าท่ี ทราบ ถูกต้องครบถ้วน คำ�ร้อง หนว่ ยงานของรฐั ยังมไิ ดป้ ฏิบตั ิหน้าที่ ถกู ต้องครบถว้ น ผ้ตู รวจการแผน่ ดนิ บทที่ ประชาชนสามารถใชส้ ทิ ธิต่อศาลรฐั ธรรมนูญไดอ้ ยา่ งไร 4

40 สารบัญ 4.3 ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดินและ สงั่ การตามทเี่ หน็ สมควร ในการน้ี คณะรฐั มนตรอี าจมอบหมายให้ คณะกรรมการหรอื หนว่ ยงานใดเปน็ ผพู้ จิ ารณาและเสนอความเหน็ เพอ่ื ประกอบการพจิ ารณาของคณะรฐั มนตรกี ไ็ ด้ เมอื่ คณะรฐั มนตรี ส่งั การเปน็ ประการใดแล้ว ให้แจ้งให้บคุ คลหรอื ชุมชนทราบ หาก บุคคลหรือชุมชนเห็นว่าการสั่งการของคณะรัฐมนตรียังมิได้ ปฏิบตั ิให้ถกู ต้องครบถ้วนตามรฐั ธรรมนญู หมวด 5 หน้าท่ีของรัฐ อาจยน่ื คำ� รอ้ งขอใหศ้ าลวนิ จิ ฉยั ตามมาตรา 7 (4) ไดภ้ ายในสามสบิ วนั นับแต่วันทไี่ ด้รบั แจ้ง คณะรฐั มนตรี วินจิ ฉยั ตาม มาตรา 7 (4) ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ พิจารณาความเหน็ ของผตู้ รวจการแผ่นดิน ส่ังการแลว้ คำ�ร้อง ใหแ้ จ้งบคุ คลหรอื ภายใน 30 วัน ชมุ ชนทราบ นับแตว่ นั ทไ่ี ดร้ ับแจง้ คำ�สั่งการยังมิได้ บทที่ ปฏบิ ัตใิ ห้ถูกตอ้ งครบถว้ น 4 ตามรฐั ธรรมนูญ หมวด 5 หน้าทข่ี องรฐั ประชาชนสามารถใช้สิทธิตอ่ ศาลรัฐธรรมนญู ได้อย่างไร

41 สารบัญ ในระหว่างการพิจารณาคดีตามมาตราน้ีให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตาม มติคณะรฐั มนตรไี ปก่อนจนกวา่ ศาลจะมคี ำ� วินิจฉัย หนรว่ ยฐั งาน ระหว่างรอ พิจารณาคดี ใหป้ ฏิบัติตามมติ คณะรัฐมนตรี ไปก่อน ให้ศาลวินิจฉัยคดีตามมาตราน้ีให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยย่ีสิบวัน นบั แต่วันได้รบั ค�ำรอ้ ง คำ�รอ้ ง วนิ ิจฉัย 120ใหแ้ ลว้ เสรจ็ ภายใน วัน นับแต่วนั ไดร้ บั คำ�ร้อง ประชาชนสามารถใชส้ ิทธติ อ่ ศาลรัฐธรรมนญู ได้อย่างไร บทที่ 4

42 5สารบญั การย่นื คำ�รอ้ งต่อศาลรฐั ธรรมนญู เพอ่ื ใชส้ ทิ ธิมิใหก้ ระทำ�ลม้ ลา้ งการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมพี ระมหากษตั รยิ ์ ทรงเป็นประมขุ ตามมาตรา 49 บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพ่ือล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษตั ริย์ทรงเป็นประมุขมไิ ด้ (มาตรา 49 วรรคหนึ่ง) ล้มลา้ งประชาธปิ ไตย บทที่ ผู้ใดทราบว่ามีการกระทำ� ตามวรรคหนง่ึ ย่อมมสี ิทธิ 4 ร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินจิ ฉยั สัง่ การใหเ้ ลกิ การกระทำ� ดังกล่าวได้ (มาตรา 49 วรรคสอง) รอ้ งขอ อสัยงู กสาุดร คำ�ร้อง ประชาชนสามารถใช้สิทธติ อ่ ศาลรัฐธรรมนูญได้อยา่ งไร

43 สารบญั ในกรณที อ่ี ยั การสงู สดุ มคี ำ� สง่ั ไมร่ บั ดำ� เนนิ การตามทร่ี อ้ งขอ หรอื ไมด่ ำ� เนนิ การ ภายในสบิ หา้ วนั นบั แตว่ นั ทไ่ี ดร้ บั คำ� รอ้ งขอ ผรู้ อ้ งขอจะยน่ื คำ� รอ้ งโดยตรงตอ่ ศาลรฐั ธรรมนญู กไ็ ด้ (มาตรา 49 วรรคสาม) ไม่รับ ไมด่ ำ�เนินการ ดำ�เนินการ ภายในสบิ หา้ วัน นับแต่วันท่ไี ดร้ ับคำ�รอ้ งขอ คำ�รอ้ ง อสัยูงกสาดุ ร ยน่ื โดยตรง คำ�รอ้ ง การด�ำเนินการตามมาตรานี้ บทที่ ไม่กระทบต่อการดำ�เนนิ คดีอาญาต่อผู้กระทำ�การตามวรรคหน่ึง 4 (มาตรา 49 วรรคสี่) ประชาชนสามารถใชส้ ิทธติ อ่ ศาลรฐั ธรรมนญู ไดอ้ ย่างไร

5บทท่ี 44 ศาล บทท่ี อพโทรดำฐั ิจย�ธยาร่างรรมงมาณีวนไนูญริธาี 5 ศาลรัฐธรรมนญู ทำ�งานโดยมีวธิ ีพจิ ารณาอยา่ งไร

45 สารบัญ กฏ หมาย ศาลรัฐธรรมนูญมีวิธีในการพิจารณาตาม บทท่ี พระราชบญั ญตั ปิ ระกอบรฐั ธรรมนญู วา่ ดว้ ยวธิ พี จิ ารณาของศาลรฐั ธรรมนญู 5 พ.ศ. 2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมือ่ วันท่ี 2 มนี าคม 2561 และมี ผลบังคบั ใชน้ ับแตว่ ันถดั จากวนั ประกาศในราชกิจจานเุ บกษา เนื้อหาส�ำคัญของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญน้ี คือ การก�ำหนดรายละเอียดเก่ียวกับหน้าท่ีและอ�ำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ องค์ประกอบของศาล การด�ำรงต�ำแหน่งและการพ้นจากต�ำแหน่งของ ตลุ าการศาลรฐั ธรรมนญู การใชส้ ทิ ธยิ น่ื คำ� รอ้ งตอ่ ศาลรฐั ธรรมนญู การกำ� หนด องค์คณะ วิธีพจิ ารณา และการทำ� คำ� วนิ จิ ฉัยหรือคำ� สัง่ ของศาลรฐั ธรรมนญู โดยวธิ ีพจิ ารณาของศาลรัฐธรรมนญู น้นั มาตรา 27 กำ� หนดให้ใช้ระบบไตส่ วน โดยให้ศาลมีอ�ำนาจค้นหาความจริงและในการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ศาลรับฟัง พยานหลักฐานไดท้ ุกประเภท เวน้ แต่จะมีกฎหมายบัญญตั หิ ้ามรับฟังไวโ้ ดยเฉพาะ และ ไม่เคร่งครัดกับบทตดั พยานหลกั ฐานหรอื ขอ้ ผดิ พลาดคลาดเคลอื่ นในเชงิ กระบวนการทไ่ี ม่ เปน็ สาระสำ� คญั เพ่ือให้ได้ข้อเท็จจริงท่ีถูกต้องตรงตามความจริงท่ีเกิดข้ึนในคดี ซึ่งเป็น ระบบเดียวกันกบั ทใ่ี ชใ้ นศาลปกครอง และศาลฎีกาแผนกคดอี าญาของผดู้ �ำรงต�ำแหน่ง ทางการเมือง ตลอดจนศาลชำ� นญั พเิ ศษบางศาลดว้ ย ทงั้ น้ี ศาลรฐั ธรรมนญู มอี ำ� นาจ เรยี กเอกสารหรอื หลักฐานทเี่ ก่ยี วขอ้ งจากบุคคลใด หรอื เรยี กบคุ คลใดเพ่อื มาให้ถอ้ ยคำ� ตลอดจนขอใหห้ น่วยงานของรัฐ หรือพนักงานสอบสวน ด�ำเนินการใดเพอื่ ประโยชน์ แหง่ การพจิ ารณากไ็ ด้ ศาลรัฐธรรมนูญทำ�งานโดยมวี ิธพี ิจารณาอยา่ งไร

46 สารบัญ นอกจากน้ี ในพระราชบญั ญตั ปิ ระกอบรฐั ธรรมนญู ดงั กลา่ ว กก็ ำ� หนดใหศ้ าลรฐั ธรรมนญู มกี ระบวนการพจิ ารณาคดตี ามหลกั การอยา่ งศาลทว่ั ไป เชน่ การเปดิ โอกาสใหม้ กี ารคดั คา้ น ตลุ าการศาลรฐั ธรรมนญู หรอื ตลุ าการทอี่ าจมสี ว่ นไดเ้ สยี อาจขอถอนตวั จากการพจิ ารณา กไ็ ด้ มีบทว่าด้วยการ “ละเมดิ อำ�นาจศาลรฐั ธรรมนญู ” ท่ศี าลอาจจะตักเตอื น ไลอ่ อกจากบรเิ วณศาล หรอื แมแ้ ตส่ ง่ั ลงโทษทางอาญา โดยมโี ทษจำ� คกุ ไมเ่ กนิ หนงึ่ เดอื น หรอื ปรบั ไม่เกินหา้ หมน่ื บาท หรอื ทัง้ จำ� ทงั้ ปรับ (แต่การจะลงโทษทางอาญานน้ั ต้อง กระท�ำโดยมติคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของตุลาการทั้งหมดเท่าท่ีมีอยู่ กล่าวคือตลุ าการเต็มองคค์ ณะ 9 คน กต็ ้องได้เสียง 6 คนขน้ึ ไป) 6 3ตลุ าการตลุ าการ คน คน 2 3การลงโทษทางอาญา ลงมติคะแนนเสยี งไม่นอ้ ยกวา่ ใน บทท่ี กรณีละเมดิ อำ�นาจศาล ของตลุ าการท้ังหมดเทา่ ท่ีมอี ยู่ 5 ศาลรฐั ธรรมนญู ทำ�งานโดยมีวิธพี ิจารณาอยา่ งไร

47 สารบญั การพจิ ารณาเบอ้ื งต้นของศาลรฐั ธรรมนูญ ในการพจิ ารณาวา่ จะรับคำ�ร้องไว้วินิจฉัยหรือไม่ ในกรณที ป่ี ระชาชนยนื่ คำ� รอ้ งตอ่ ศาลรฐั ธรรมนญู โดยตรงหรอื ผา่ นผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ไม่ว่าจะเป็นการโต้แย้งว่าการกระท�ำหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อ รฐั ธรรมนญู พระราชบญั ญตั ปิ ระกอบรฐั ธรรมนญู วา่ ดว้ ยวธิ พี จิ ารณาของศาลรฐั ธรรมนญู กำ� หนดใหศ้ าลมอี ำ� นาจตงั้ ตลุ าการไมน่ อ้ ยกวา่ 3 คนเปน็ ผพู้ จิ ารณาวา่ จะรบั คำ� รอ้ งไว้ พจิ ารณาหรอื ไม่ เปน็ เหมอื นองคค์ ณะเพอ่ื กลน่ั กรองคดี ซงึ่ ถา้ คณะตลุ าการ 3 คนมี มตริ บั คำ� รอ้ ง กถ็ อื วา่ ศาลรบั คำ� รอ้ งไวไ้ ด้ แตถ่ า้ คณะตลุ าการดงั กลา่ วมมี ตไิ มร่ บั คำ� รอ้ ง ไวพ้ จิ ารณาวนิ จิ ฉยั กจ็ ะตอ้ งเสนอความเห็นน้ันต่อองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพือ่ พจิ ารณาวา่ จะเห็นดว้ ยกับความเห็นไม่รบั คำ� ร้องไวว้ ินจิ ฉัยหรอื ไม่ หากเห็นด้วย ก็ออกค�ำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งค�ำส่ังดังกล่าวมีผลให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปจากศาล องคค์ ณะ 3 คนจงึ ไมอ่ าจสง่ั ไมร่ บั แลว้ เปน็ ทส่ี ดุ ในตวั ได้ แตกตา่ งจากกรณรี บั คำ� รอ้ งไว้ วนิ จิ ฉยั โดยพระราชบญั ญตั ปิ ระกอบรฐั ธรรมนญู วา่ ดว้ ยวธิ พี จิ ารณาของศาลรฐั ธรรมนญู มาตรา 49 วรรคสอง กำ� หนดกรอบเวลาใหค้ ณะตลุ าการ 3 คน ตอ้ งพจิ ารณาใหเ้ สรจ็ ภายในห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากหน่วยงานที่รับผิดชอบงานธุรการของศาล (ซงึ่ กจ็ ะตอ้ งเสนอคำ� รอ้ งให้คณะตุลาการภายในเวลาสองวันนับแต่รับเร่อื ง) และถา้ คณะตุลาการมคี วามเห็นควรสงั่ ไมร่ บั คำ� รอ้ งไวพ้ จิ ารณาวนิ จิ ฉยั ใหเ้ สนอองคค์ ณะของ ศาลพจิ ารณาภายในหา้ วนั และใหศ้ าลพจิ ารณาใหแ้ ลว้ เสรจ็ ภายในหา้ วนั นบั แตว่ นั ที่ ได้รับเรอ่ื งจากคณะตุลาการดังกล่าว ศาลรฐั ธรรมนูญทำ�งานโดยมวี ธิ พี จิ ารณาอยา่ งไร บทที่ 5

48 สารบัญ ในการนง่ั พจิ ารณาและทำ� คำ� วนิ จิ ฉยั ตลุ าการซง่ึ เปน็ องคค์ ณะทกุ คนตอ้ งรว่ ม พจิ ารณาคดี และรว่ มทำ� คำ� วนิ จิ ฉยั เวน้ แตม่ เี หตถุ กู คดั คา้ น หรอื มเี หตจุ ำ� เปน็ อนื่ อนั ไม่ อาจหลีกเลีย่ งได้ ส่วนในการทำ� คำ� วนิ ิจฉยั ของศาลรัฐธรรมนญู นนั้ พระราชบญั ญัติ ประกอบรฐั ธรรมนญู ว่าดว้ ยวิธพี จิ ารณาของศาลรฐั ธรรมนูญ มาตรา 72 ก�ำหนดให้ ถอื เสียงข้างมาก เว้นแตร่ ฐั ธรรมนูญจะบัญญัติไว้เป็นอยา่ งอื่น (เช่นกรณขี องการจะ วนิ จิ ฉยั วา่ พระราชกำ� หนดตราขนึ้ โดยไมถ่ กู ตอ้ งตามเงอ่ื นไขทก่ี ำ� หนดไวใ้ นรฐั ธรรมนญู มาตรา 172 วรรคหนึ่ง ต้องใช้เสียงสองในสามของตุลาการทั้งหมด) ในกรณีท่ี คะแนนเสยี งเทา่ กนั ใหศ้ าลปรกึ ษาหารอื กนั จนกวา่ จะไดข้ อ้ ยตุ ิ โดยตลุ าการซ่ึงเป็น องคค์ ณะทกุ คนจะงดออกเสยี งในประเดน็ ใดประเดน็ หนง่ึ ตามทศี่ าลไดก้ ำ� หนดไวม้ ไิ ด้ เว้นแต่เป็นกรณีท่ีตุลาการ ซ่ึงมิได้ร่วมในการพิจารณาในประเด็นส�ำคัญแห่งคดีใด ย่อมไมม่ ีอำ� นาจในการทำ� คำ� วินจิ ฉยั คดีนน้ั โดยพระราชบัญญัติประกอบรฐั ธรรมนญู วา่ ดว้ ยวธิ พี จิ ารณาของศาลรฐั ธรรมนญู มาตรา 75 ไดก้ ำ� หนดใหต้ ลุ าการ ซง่ึ เปน็ องคค์ ณะ ทุกคนต้องท�ำความเห็นส่วนตนเป็นหนังสือ พร้อมทั้งแถลงด้วยวาจาต่อท่ีประชุม กอ่ นการลงมติ ความเหน็ สว่ นตนนใี้ หท้ ำ� โดยสังเขป และต้องเผยแพร่ตอ่ สาธารณะ ตามขอ้ กำ� หนดของศาล และเมอ่ื มคี ำ� วนิ จิ ฉยั แลว้ พระราชบญั ญตั ปิ ระกอบรฐั ธรรมนญู วา่ ดว้ ยวธิ พี จิ ารณา บทที่ ของศาลรฐั ธรรมนูญ มาตรา 74 ก็ยงั ก�ำหนดใหศ้ าลมอี �ำนาจออกคำ� บงั คบั ใหเ้ ป็น ไปตามคำ� วินจิ ฉัยได้ด้วย โดยค�ำบังคับน้ี ศาลอาจก�ำหนดใหม้ ผี ลไปในอนาคต หรือ 5 อาจกำ� หนดเงื่อนไขหรือมาตรการในการบังคบั อยา่ งหน่ึงอยา่ งใด ตามความจำ� เป็น หรือสมควร ตามความเป็นธรรมแหง่ กรณีกไ็ ด้ ศาลรฐั ธรรมนูญทำ�งานโดยมีวธิ ีพจิ ารณาอยา่ งไร

49 สารบญั ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องมีองคค์ ณะอย่างน้อย 7 คน จึงจะท�ำคำ� วนิ ิจฉัย ได้ ซงึ่ การทำ� คำ� วนิ จิ ฉยั น้ี ยงั รวมถงึ การมคี ำ� สงั่ ใด ๆ ทที่ ำ� ใหค้ ดเี สรจ็ เดด็ ขาดไปจากศาล เช่นการสั่งไม่รับค�ำร้องไวว้ นิ ิจฉยั ด้วย และที่นา่ สนใจ คือ มาตรา 71 ยังให้อำ� นาจศาล ก�ำหนดมาตรการหรือวิธีการใด ๆ เป็นการช่ัวคราวก่อนการวินิจฉัย เพื่อป้องกัน ความเสียหายที่จะเกิดข้ึนอย่างร้ายแรงและยากแก่การแก้ไขเยียวยาในภายหลัง หรือ เพอ่ื ปอ้ งกนั ความรนุ แรงอนั ใกลจ้ ะถงึ ไดด้ ว้ ย โดยมหี ลกั เกณฑเ์ บอื้ งตน้ วา่ คำ� รอ้ งของผรู้ อ้ ง มเี หตอุ นั มนี ำ้� หนกั ทศี่ าลจะวนิ จิ ฉยั ใหเ้ ปน็ ไปตามคำ� รอ้ ง ซงึ่ ถอื เปน็ ครงั้ แรกทศ่ี าลรฐั ธรรมนญู มอี �ำนาจออกมาตรการช่วั คราวก่อนมีคำ� วนิ จิ ฉัยได้ ศาลรัฐธรรมนูญ องคค์ ณะ คำ�วินจิ ฉัย คอื กรณีทศ่ี าลรับคำ�ร้องไว้ อย่างน้อย 7 คน เพ่ือพิจารณาวนิ จิ ฉยั ในประเดน็ แห่งคดี ทำ�คำ�วนิ ิจฉยั คำ�สงั่ คอื กรณศี าลไม่รบั คำ�รอ้ ง เน่อื งจากไม่อยู่ หรือมีคำ�สั่ง ในหนา้ ท่แี ละอำ�นาจศาลหรือหลกั เกณฑ์ วธิ ีการ และ ทำ�ใหค้ ดีเสรจ็ เด็ดขาด เงื่อนไขท่ศี าลกำ�หนดหรอื มเี หตจุ ำ�หน่ายคดี 71มาตรา เปน็ ครั้งแรกที่ ศาลรัฐธรรมนญู มีอำ�นาจ เพอ่ื ป้องกันความเสียหายทจี่ ะ กำ�หนดมาตรการ เพ่อื ปอ้ งกนั ความรุนแรง เกิดข้ึนอยา่ งร้ายแรงที่ยากแก่ หรอื วิธีการใด ๆ อันใกลจ้ ะถงึ การแก้ไขเยยี วยาในภายหลงั เปน็ การช่วั คราว ก่อนการวินจิ ฉัย บทที่ ศาลรัฐธรรมนญู ทำ�งานโดยมวี ิธีพจิ ารณาอย่างไร 5