Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เกษตรกรรมยั่งยืน

เกษตรกรรมยั่งยืน

Published by teerawatppp555, 2021-02-20 14:08:40

Description: เกษตรกรรมยั่งยืน

Search

Read the Text Version

“เศรษฐกิจพอเพียงเปน็ เสมอื นรากฐานของชีวติ รากฐาน ความมั่นคงของแผ่นดินเปรียบเสมือนเสาเข็มท่ีถูกตอกรองรับ บ้านเรอื นตัวอาคารไวน้ นั่ เอง สงิ่ กอ่ สร้างจะมัน่ คงได้ก็อยู่ท่เี สาเข็ม แตค่ นส่วนมากมองไมเ่ หน็ เสาเขม็ และลืมเสาเข็มเสยี ด้วยซ�ำ้ ไป” พระราชด�ำ รสั ของพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัวภมู พิ ลอดุลยเดชฯ จากวารสารชยั พฒั นา ประจำ�เดอื นสิงหาคม 2552 เกษตรกรรมย่งั ยืนตามแนวเศรษฐกจิ พอเพียง 1

2 เกษตรกรรมย่งั ยนื ตามแนวเศรษฐกิจพอเพยี ง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 9 ทรงมีพระราชดำ�รัส ชแี้ นะแนวทางการด�ำ เนนิ ชวี ติ แกพ่ สกนกิ รชาวไทยมาโดยตลอดนานกวา่ 30 ปี ตงั้ แตก่ อ่ นเกดิ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเม่ือภายหลังได้ทรงเน้นยำ้�แนวทางการแก้ไข เพื่อให้ รอดพ้นและสามารถดำ�รงอยู่ได้อย่างม่ันคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และ ความเปลย่ี นแปลงตา่ ง ๆ ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำ�รงอยู่และปฏิบัติตน ของประชาชนในทกุ ระดบั ตง้ั แตค่ รอบครวั ระดบั ชมุ ชน จนถงึ ระดบั รฐั ในการพฒั นาและบรหิ าร ประเทศให้ดำ�เนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวหน้า ทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถงึ ความจ�ำ เปน็ ทจ่ี ะตอ้ งมรี ะบบภมู คิ มุ้ กนั ในตวั ทดี่ พี อสมควรตอ่ การ มผี ลกระทบใด ๆ อนั เกดิ จากการเปล่ียนแปลง ท้ังภายนอกและภายใน ทั้งน้ีจะต้องอาศัยความรู้ความรอบคอบ และความระมดั ระวงั อยา่ งยง่ิ ในการน�ำ วชิ าการตา่ ง ๆ มาใชใ้ นการวางแผน และการด�ำ เนนิ การ ทุกข้นั ตอน และขณะเดียวกนั จะตอ้ งเสรมิ สรา้ งพนื้ ฐานจติ ใจของคนคนในชาติ โดยเฉพาะ เจ้าหนา้ ท่ขี องรัฐ นกั ทฤษฎี และ นกั ธรุ กจิ ในทุกระดบั ให้มสี ำ�นึกในคณุ ธรรม ความซอื่ สัตย์ สจุ รติ และใหม้ คี วามรอบรทู้ เ่ี หมาะสม ด�ำ เนนิ ชวี ติ ดว้ ยความอดทน ความเพยี ร มสี ตปิ ญั ญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับ การเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็ว และกวา้ งขวางทงั้ ดา้ นวตั ถุ สงั คม สง่ิ แวดลอ้ ม และวฒั นธรรม จากโลกภายนอกไดเ้ ปน็ อยา่ งดี (ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำ�รัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลท่ี 9 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในโอกาสต่าง ๆ รวมท้ังพระราชดำ�รัสอ่ืน ๆ ที่เก่ียวข้อง ตลอดจนประชาชน โดยทั่วไปได้นำ�ความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบ ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไข พระราชทานและทรงพระกรุณา เกษตรกรรมย่ังยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 3

โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามที่ขอพระมหากรุณา ตามหนังสือ ที่ รล. 003/18888 ลงวนั ที่ 29 พฤศจกิ ายน 2542 ส�ำ นกั ราชเลขาธกิ ารพระบรมมหาราชวงั กทม.) 4 เกษตรกรรมยง่ั ยนื ตามแนวเศรษฐกจิ พอเพยี ง

สรุปปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทางสายกลาง พอประมาณ มเี หตผุ ล มภี ูมคิ ุ้มกันในตัวท่ดี ี เงอื่ นไขความรู้ (ซ่อื สตัเงยอ่ื ์ นสไุจขรคติ ุณขธยรันรมอดทน (รอบรู้ มสี ตปิ ัญญา ระมดั ระวงั ) สามคั คี แบง่ ปัน) นำ�ไปสู่ ชีวติ /เศรษฐกิจ/สังคม/สงิ่ แวดลอ้ ม/สมดลุ /ยง่ั ยืน /พร้อมรับตอ่ การเปลีย่ นแปลง ทม่ี า : โครงการวิจยั เศรษฐกิจพอเพียง. ส�ำ นกั งานทรัพยส์ นิ ส่วนพระมหากษัตรยิ ์ เศรษฐกจิ พอเพยี งคอื อะไร. อ้างใน ณัฎพงศ์ ทองภักดี (2550) : 14 เกษตรกรรมยง่ั ยนื ตามแนวเศรษฐกิจพอเพยี ง 5

6 เกษตรกรรมย่งั ยนื ตามแนวเศรษฐกิจพอเพยี ง

ดงั ทกี่ ลา่ วไวข้ า้ งตน้ เศรษฐกจิ พอเพยี งจงึ มอี งคป์ ระกอบส�ำ คญั อยู่ 3 องคป์ ระกอบ และต้องอยบู่ นพน้ื ฐานของเงือ่ นไขส�ำ คญั 2 เงือ่ นไข (มลู นธิ ิชยั พฒั นา : 2550) คอื ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีท่ีไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ตัวอย่างเช่น การผลิตและการบริโภคท่ีอยู่ในระดับ พอประมาณ ไมเ่ อารดั เอาเปรียบผ้อู ืน่ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงจะต้อง เปน็ ไปอยา่ งมเี หตุ โดยพจิ าณาจากเหตปุ จั จยั ทเี่ กย่ี วขอ้ ง ตลอดจนค�ำ นงึ ผลทค่ี าดวา่ จะเกดิ ขน้ึ จากการกระท�ำ น้นั ๆ อย่างรอบคอบ ภูมิคุ้มกันในตัวท่ีดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและ การเปลย่ี นแปลงดา้ นตา่ ง ๆ ทจี่ ะเกดิ ขน้ึ โดยค�ำ นงึ ถงึ ความเปน็ ไปไดข้ องสถานการณต์ า่ ง ๆ ท่ีคาดว่าจะเกิดขน้ึ ในอนาคต เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวเศรษฐกจิ พอเพียง 7

โดยมเี งอ่ื นไขของการตดั สนิ ใจและด�ำ เนนิ กจิ กรรมตา่ ง ๆ ใหอ้ ยใู่ นระดบั พอเพยี ง 2 ประการ ดังน้ี เงื่อนไขความรู้ ประกอบดว้ ย ความรอบรเู้ ก่ียวกับวชิ าการต่าง ๆ ที่เกีย่ วขอ้ ง รอบดา้ น ความรอบคอบทจี่ ะน�ำ ความรเู้ หลา่ นน้ั มาพจิ ารณาใหเ้ ชอ่ื มโยงกนั เพอ่ื ประกอบการ วางแผนและความระมดั ระวงั ในการปฏบิ ตั ิ เงอ่ื นไขคณุ ธรรม ทจ่ี ะตอ้ งเสรมิ สรา้ ง ประกอบดว้ ย มคี วามตระหนกั ในคณุ ธรรม มคี วามซือ่ สัตย์สุจรติ มีความอดทน มีความเพียรใช้สติปญั ญาในการด�ำ เนินชวี ิต แนวทางปฏบิ ตั /ิ ผลทค่ี าดวา่ จะไดร้ บั จากการน�ำ ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง มาประยกุ ต์ใช้ คือ การพัฒนาทส่ี มดลุ และยั่งยนื พรอ้ มรับต่อการเปลย่ี นแปลงในทกุ ดา้ น ท้งั ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิง่ แวดลอ้ ม ความร้แู ละเทคโนโลยี 8 เกษตรกรรมยง่ั ยนื ตามแนวเศรษฐกิจพอเพยี ง

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาการเกษตรในชุมชน เพ่ือนำ�ไปสู่ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและการแก้ไขปัญหาความยากจน จะต้อง ดำ�เนินการเปน็ ขนั้ ตอนใน 3 ระดับ คือ 1. ระดับจิตสำ�นึก สมาชิกในชุมชนมีความเข้าใจในปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ตระหนกั ถึงความสุขและความพอใจ ในการใช้ชีวติ อย่างพอดี มคี วามพอเพยี ง คือ ดำ�เนินชีวิตอย่างสมรรถนะ ประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้อย่างถูกต้อง ไม่โลภและ ไมเ่ บียดเบยี นผ้อู ่ืน โดยยดึ หลักการใช้ชวี ติ บนพ้นื ฐานของการรู้จกั ตนเอง และพงึ่ พาซ่งึ กัน และกัน โดยลดความต้องการส่วนตัว แตม่ ุ่งทำ�ประโยชน์เพือ่ ส่วนรวม 2. ระดับปฏิบัติ เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเอง แบ่งเป็น 4 ข้ันตอน คอื 2.1 การอยู่อยา่ งพึ่งตนเอง โดยเร่ิมจากครอบครัว จ�ำ เปน็ ต้องมกี ารบรหิ าร จัดการอย่างพอดี ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ช่วยตนเองได้ รู้จักใช้ความสามารถของตน เพือ่ ก่อให้เกดิ ประโยชน์สงู สุด เกษตรกรรมยง่ั ยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 9

2.2 การอยู่อย่างพอเพียง ดำ�เนินชีวิตโดยยึดหลักทางสายกลางอยู่อย่าง มีความสุขโดยไม่รู้สึกขาดแคลนหรือต้องเบียดเบียนผู้อื่น ไม่มีหน้ีสินท่ีเกินฐานะ เป็นการ ท�ำ เกษตรแบบปลกู พชื ทุกอย่างให้พอมพี อกินพออยู่ เพอื่ ลดค่าใช้จา่ ยทไ่ี มจ่ ำ�เป็น หากเหลือ จงึ ขายและขยายพนั ธ์ุ รวมทงั้ สรา้ งความสมั พนั ธท์ างสงั คมระหวา่ งบคุ คล โดยการชว่ ยเหลอื ลงแรงกนั แทนการใช้เครื่องจักรท่นุ แรงขนาดใหญ่ 2.3 การอยู่ร่วมกันอย่างเอ้ืออาทร มีความคิดท่ีจะแบ่งปันผู้อื่น ลดความ เหน็ แกต่ วั และสรา้ งความพอเพยี งใหเ้ กดิ ขน้ึ ในจติ ใจเปน็ พน้ื ฐานท�ำ ใหเ้ กดิ การรวมกลมุ่ และ สรา้ งเครอื ข่ายทางสังคม 2.4 การอยดู่ ยี งิ่ ขนึ้ ดว้ ยการเรยี นรู้ พฒั นาตนเองโดยการเรยี นรจู้ ากธรรมชาติ และประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนเรยี นรู้รว่ มกับผูอ้ ื่น การสบื ทอดและสบื สานภูมปิ ญั ญา ทอ้ งถิ่น และพัฒนาให้เป็นสงั คมที่ยั่งยืนโดยใชค้ ุณธรรมและวัฒนธรรมเปน็ ตวั น�ำ ทาง 3. ระดับปฏิเวธ (ผลทดี่ ีจากการปฏบิ ัติ) ชมุ ชนมีการพฒั นาชวี ิตและจิตใจของ ตนเองให้ดีข้ึน มีการรวมกลุ่มทำ�ประโยชน์ เสียสละเพ่ือส่วนร่วม โดยเร่ิมจากการพัฒนา จติ ใจ มคี ุณธรรมเพอื่ ใหเ้ กิดความพอเพยี ง ในระดับครอบครวั ชุมชน และสงั คม 10 เกษตรกรรมย่ังยืนตามแนวเศรษฐกจิ พอเพียง

เศรษฐกจิ พอเพยี ง อาจจะขยายความไดว้ า่ เปน็ การด�ำ เนนิ ชวี ติ หรอื วถิ ชี วี ติ ของ คนไทยให้อยู่อย่างพอประมาณตน เดินทางสายกลางมีความพอดีและพอเพียงกับตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยไม่ต้องพ่ึงพาปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ สง่ิ ส�ำ คญั ต้องรูจ้ ักการพึง่ พาตนเอง โดยไมท่ ำ�ให้ผอู้ ื่นเดือดร้อน และรู้จักการน�ำ ทรพั ยากร ที่เรามอี ยู่มาใชใ้ ห้เกดิ ประโยชนใ์ นการด�ำ เนินชีวิตประจ�ำ วัน เช่น รู้จกั การน�ำ ปจั จยั พ้นื ฐาน มาใช้ในการดำ�เนนิ ชีวิตอย่างมคี วามสุขความสบายและพอเพยี งกบั ตนเอง เกษตรกรรมยงั่ ยืนตามแนวเศรษฐกจิ พอเพยี ง 11

การจัดระดบั เศรษฐกิจพอเพยี ง ส�ำ หรบั การด�ำ เนนิ ชวี ติ ในระบบเศรษฐกจิ พอเพยี งตามแนวพระราชด�ำ ริ สามารถ แบ่งได้เปน็ 2 ระดบั ด้วยกัน 1. เศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคลท่ัวไป เป็นความสามารถในการดำ�รงชีวิต อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างพอประมาณตนตามฐานะ ตามอัตภาพ และ ที่สำ�คัญไม่หลงใหลตามกระแสวัตถุนิยมมีอิสรภาพในการประกอบอาชีพเดินทางสายกลาง ทำ�กิจกรรมท่ีเหมาะสมกับตนเอง รู้จักใช้แรงงานในครอบครัวทำ�กิจกรรมลดรายจ่ายและ เพิม่ รายได้ สามารถพง่ึ พาตนเองได้ 2. เศรษฐกิจพอเพียงระดบั เกษตรกร เปน็ เศรษฐกจิ เพอ่ื การเกษตรทเี่ นน้ การ พง่ึ พาตนเอง เกษตรกรจะใชค้ วามรคู้ วามสามารถในการบรหิ ารจดั การทด่ี นิ โดยเฉพาะแหลง่ น�ำ้ และกจิ กรรมการเกษตรเองดว้ ย การน�ำ เรอ่ื งทฤษฎใี หมข่ น้ั ทห่ี นงึ่ : ฐานการผลติ ความพอเพยี ง มาใช้ในไร่นาและทรัพยากรธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ให้มีความหลากหลายของกิจกรรม การเกษตรในไรน่ า มกี จิ กรรมเกอื้ กลู กนั กจิ กรรมเสรมิ รายไดใ้ ชแ้ รงงานในครอบครวั ท�ำ งาน อย่างเต็มที่ลดต้นทุนในการผลิต ตลอดจนการผสมผสานกิจกรรมการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมง ในไร่นาใหเ้ กดิ ประโยชนส์ งู สดุ 12 เกษตรกรรมยง่ั ยืนตามแนวเศรษฐกจิ พอเพยี ง

การนอ้ มน�ำ หลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งสกู่ ารปฏบิ ัติ ออกแบบชีวติ ด้วยเศรษฐกิจพอเพยี ง ตามท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำ�รัส ชี้แนะแนวทางการดำ�เนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ ทรงเน้นยำ้�แนวทางการแก้ไข เพื่อให้ประชาชนรอดพ้น โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง มคี วามพอประมาณ มเี หตมุ ผี ล สรา้ งภมู คิ มุ้ กนั ทด่ี ใี นตวั มกี ารพฒั นาทถ่ี กู ตอ้ งตามหลกั การ พร้อมกับมีคุณธรรมเป็นกรอบ ในการปฏิบัติซ่ึงประชาชนสามารถนำ�หลักปรัชญาของ เศรษฐกจิ พอเพียงไปปฏิบัตใิ นชีวติ ประจ�ำ วนั ได้อยา่ งงา่ ยๆ เชน่ ตัวอยา่ งของความพอเพียง ห่วงพอประมาณ = ความพอดี 1. การผลิตทีไ่ มม่ ากเกนิ ไป และไมน่ อ้ ยเกินไปตามเงนิ ทนุ ท่ีมอี ยู่ ไมต่ ้องกูเ้ งินมา ลงทนุ ผลติ ถา้ พลาดกไ็ มเ่ ดอื ดรอ้ น ไมต่ อ้ งหาเงนิ มาใชห้ น้ี หรอื ขายทด่ี นิ มาใชห้ นแี้ หลง่ เงนิ ทนุ หรอื นายทุนในพนื้ ท่ี 2. ความพอเพียงในเร่ืองการกิน กินแต่พอเพียง เร่ิมตั้งแต่ทำ�อาหารที่ไม่ควร ทำ�มากเกนิ ความจำ�เปน็ เหลอื หรือเสยี กต็ ้องเททงิ้ 3. ความพอเพยี งในเรือ่ งทอี่ ย่อู าศัย เชน่ สร้างบา้ นให้พอเหมาะกบั จ�ำ นวนคน และฐานะไม่ใหญ่ หรอื ไมเ่ ล็กเกินไป 4. ความพอเพียงในเร่ืองการใช้ยานพาหนะ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ไมซ่ อ้ื มากเกนิ ความจ�ำ เปน็ สภาพรถควรเหมาะกบั งาน ไมค่ วรขบั เรว็ เกนิ ควร เพราะจะท�ำ ให้ สิน้ เปลอื งน�้ำ มนั โดยเปล่าประโยชน์ เกษตรกรรมยงั่ ยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 13

5. ความพอเพียงในเรื่องการใช้เครื่องมือสื่อสาร เช่น โทรศัพท์มือถือ ควรมคี นละเครอื่ ง และใช้เท่าทีจ่ ำ�เปน็ 6. ความพอเพยี งในเรอ่ื งการใชเ้ ครอ่ื งใชไ้ ฟฟา้ ในบา้ นเรอื น เชน่ ไมเ่ ปดิ เครอ่ื งใช้ ไฟฟ้าทง้ิ ไว้ ปดิ ไฟดวงทีไ่ มจ่ ำ�เปน็ 7. ความพอเพยี งในเรอื่ งการใชอ้ ปุ กรณต์ า่ งๆ ควรดแู ลรกั ษาใหส้ ะอาด เพอ่ื จะได้ ใชง้ านได้นานๆ คุ้มคา่ และทำ�ความสะอาดและบ�ำ รุงรกั ษาทกุ ครง้ั หลังใชง้ าน เช่น อปุ กรณ์ ทำ�การเกษตร เมอ่ื ใชง้ านเสร็จแลว้ ควรท�ำ ความสะอาด ทาน�้ำ มนั เก็บไว้ในทีร่ ม่ 8. ความพอเพียงในเรือ่ งการผลติ เพื่อบริโภคในครวั เรอื น ควรปลกู ผักสวนครวั และเลยี้ งสตั วไ์ ว้บริโภคเองตามความเหมาะสม เช่น ปลูกผกั บงุ้ มะเขอื ตะไคร้ กระเพรา โหระพา สะระแหน่ เลย้ี งปลา ไก่ เป็ด เปน็ ตน้ 9. ความพอเพยี งในเรอื่ งการใชข้ องใชใ้ นบา้ น เชน่ สบู่ ยาสฟี นั ผงซกั ฟอก และ ของใชอ้ ่นื ๆ ควรใช้อย่างประหยดั และคมุ้ คา่ ทา่ นดร.สเุ มธ ตนั ตเิ วชกลุ ประธานกรรมการ มลู นธิ ชิ ัยพัฒนา ทา่ นเลา่ ใหฟ้ ังว่า “พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอย่หู วั รชั กาลที่ 9 ทา่ นทรงใช้ ยาสีพระทนต์จนหลอดยาสีพระทนต์แบนเหมือนกระดาษ พระองค์ท่านทรงใช้คุ้มค่า เพ่ือเป็นตัวอยา่ งแก่พสกนิกรของพระองค”์ 10. ความพอเพียงในการแตง่ กาย ควรใชเ้ สอ้ื ผ้าให้ค้มุ ค่า คุ้มราคา และไมค่ วร มีมากจนเกินไป 11. ความพอเพียงในเรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ นำ้�ประปา มจี �ำ กดั ควรใช้แต่พอเพยี ง บางอย่าง มปี ระโยชนก์ ไ็ มค่ วรท�ำ ลาย เช่น ตอซังข้าวไมค่ วรเผา เพราะเมื่อย่อยสลายจะกลายเป็นอินทรียวัตถุ หรอื ป๋ยุ อินทรีย์ 12. ตอ้ งมสี ตใิ นการด�ำ รงชวี ติ ไมเ่ ชอ่ื ในสงิ่ เรา้ ทไ่ี มด่ ี เชน่ การดม่ื ของมนึ เมา และ ม่วั สมุ ยาเสพติด ตอ้ งพัฒนาตนเอง โดยการขยนั ประหยดั พฒั นาตน หลีกพ้นอบายมขุ 14 เกษตรกรรมย่งั ยนื ตามแนวเศรษฐกจิ พอเพยี ง

ห่วงมเี หตุผล : หาขอ้ มูลรอบทศิ คิดรอบด้าน 1. ความมเี หตผุ ลในการตดั สนิ ใจในการประกอบอาชพี ควรเลอื กตามความถนดั และความช�ำ นาญ เช่น การเลือกเลยี้ งสัตว์ ค้าขาย ปลูกผัก หรืออาชพี อสิ ระอื่นๆ ท่มี องเหน็ ชอ่ งทางในการสรา้ งรายไดไ้ มข่ าดทนุ และมคี วามสขุ 2. ความมีเหตุผลในการตัดสินใจทำ�การเพาะปลูกพืชผัก และการทำ�เกษตร ตอ้ งศึกษาขอ้ มูลวธิ ีการปลูกและความตอ้ งการของตลาด เพราะเราสามารถค�ำ นวณตน้ ทุน การผลิต และกำ�ไรท่ีคาดหวงั ได้ หว่ งมเี หตุผล : เตรียมพรอ้ ม ไม่ประมาท 1. การพง่ึ ตนเองใหไ้ ดโ้ ดยการขยัน ประหยัด อดทน และอดออม เมือ่ มีเงินทุน ประกอบอาชพี ของตนเองโดย ไมต่ อ้ งกูย้ ืมใคร ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ทำ�ใหต้ น้ ทุนตำ่� 2. การท�ำ เกษตรทฤษฎใี หม่ หมายถงึ ปลกู ขา้ ว 30% ปลกู ผกั 30% บอ่ น�้ำ 30% ปลูกบ้าน 10% มกี ารขดุ บ่อเก็บนำ้�ไวใ้ ชเ้ องในฤดูแล้งหรือยามขาดแคลน ท�ำ ให้มีน้�ำ ทำ�การ เกษตรได้ตลอดเวลา ปลูกพชื หรือเลีย้ งสัตว์ได้ตลอดปี ไม่ต้องรอนำ้�ฝนหรือน้ำ�ชลประทาน 3. การปลกู พชื ควรปลกู แบบผสมผสาน โดยการปลูกพืชหลายๆ อยา่ งในพน้ื ท่ี เดยี วกนั เผอ่ื วา่ พชื ชนดิ หนง่ึ ราคาตกกย็ งั มพี ชื ชนดิ อนื่ ทดแทนได้ เชน่ ขา้ ว ออ้ ย มนั ส�ำ ปะหลงั ถ่ัว ข้าวโพด เป็นตน้ เงอื่ นไขท่ี 1 คอื ความรู้ : รอบรู้ รอบคอบ ระมดั ระวงั เ ง่อื น1ไ.ข ทม่ี 2ีน้ำ�คใอื จ คุณธรรม : น�ำ ชีวติ ไม่คด ไม่โกง โ ดยก1า.ร ท�ำรปอยุ๋บอรนิ ู้ ทไรดยี ้แใ์ ชกเ้ อ่ งกหารรอื วทา�ำ งปแยุ๋ ผนน�้ำ ชกวี าภราทพำ�เกพาอื่ รลเดกตษน้ ทตนุร รู้จักแบ่งปันเพื่อนพ้อง แบ่งส่วนที่มากเกินความจำ�เป็น แบ่งความรู้เร่ืองในการ การผลิต หาข้อมูลในการประกอบอาชีพ และช่องทาง ประกอบอาชีพ การจำ�หน่าย โดยการหาความรู้จากขา่ วสารวทิ ยุ โทรทัศน์ 2. ขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ มีความมานะ หนังสือพิมพ์ และช่องทางส่ือออนไลน์ แล้วนำ�มาปฏิบัติ อดทน ประยกุ ต์ใช้ใหเ้ หมาะสมกับตนเอง 3. ประหยัด รู้จกั ใชเ้ งินแบบเศรษฐกิจพอเพยี ง มีการ 2. รอบคอบ ได้แก่ ศึกษาหาข้อมูลด้านการตลาด จดบญั ชคี รัวเรือน และมกี ารออม เชน่ ลูกคา้ ราคา สินค้าท่ีตลาดตอ้ งการก่อนทีจ่ ะลงมือท�ำ 4. หลีกพ้นอบายมุขทงั้ ปวง ไมเ่ ลน่ การพนนั ไมเ่ ที่ยว เพื่อจะไดป้ ระมาณการรายได้ ต้นทุน กำ�ไร ไดร้ ะมดั ระวงั กลางคนื ได้แก่ ควรหลีกเลี่ยงเรื่องความเส่ียงท่ีอาจจะเกิดข้ึน เช่น 5. ซ่ือสัตย์สุจริตต่อตนเองและครอบครัว และ การปลูกพืชในช่วงฝนตกนำ้�ท่วมหรือปลูกผักในฤดูแล้ง คนรอบขา้ ง ทำ�ให้ไมส่ ามารถเกบ็ เก่ียวผลผลิตไดข้ าดทนุ เกษตรกรรมยง่ั ยนื ตามแนวเศรษฐกจิ พอเพียง 15

ความหลากหลายของกจิ กรรมการเกษตรในไรน่ า ขา้ ว : พชื อาหารหลักของคนไทยส�ำ หรับบริโภคในครวั เรือน สระน�้ำ : แหลง่ นำ้�ในไรน่ าและเลี้ยงสัตว์น�้ำ พชื ผกั : ใช้บรโิ ภคในครวั เรือน ชว่ ยลดรายจา่ ยประจ�ำ วนั พืชสมุนไพร : เป็นอาหารและยาพ้นื บ้าน ไม้ยนื ตน้ และไมใ้ ชส้ อย : ใช้เป็นฟืน ทำ�โรงเรือน และเครอ่ื งจักสาน เล้ยี งสัตว์ : แหลง่ อาหารโปรตีนและเสริมรายได้ ไม้ดอกไม้ประดับ : เพ่อื ความสวยงาม พกั ผอ่ นจิตใจ และเสรมิ รายได้ ปยุ๋ หมัก : บ�ำ รุงดินรกั ษาสมดลุ ธรรมชาติเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 16 เกษตรกรรมยง่ั ยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

กจิ กรรมเกอ้ื กลู ประโยชน์ต่อกนั และกัน อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ การเลย้ี งปลาในนาขา้ ว : ผลผลติ จากขา้ วเป็นอาหารปลา : ปลากนิ แมลงศตั รูข้าว : มูลปลาเปน็ ปุย๋ ตน้ ข้าว ปลูกผักกับการเลย้ี งไก่ : ไก่กินเศษพืชผัก : มูลไก่เป็นปยุ๋ ส�ำ หรับพืชผกั การใชท้ รัพยากรในไรน่ า : มูลสตั ว์เปน็ ป๋ยุ คอก : เศษหญ้าใบไม้ท�ำ ปุ๋ยหมกั : เศษพืชผักเป็นอาหารปลา : ฟางข้าว ใช้เพาะเหด็ ท�ำ ปยุ๋ หมัก คลุมดนิ และอาหารสตั ว์ เนน้ ใชแ้ รงงานในครอบครวั เปน็ หลกั เพ่ือลดรายจ่าย เพ่มิ รายได้ เกษตรกรรมย่ังยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 17

การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพยี ง สามารถทำ�ได้ดังนี้ 1. ท�ำ ไรน่ าสวนผสมและเกษตรผสมผสาน เพอ่ื เปน็ จดุ เรมิ่ ตน้ เศรษฐกจิ พอเพยี ง 2. ปลกู ผักสวนครัวลดรายจา่ ยด้านอาหารในครอบครัว 3. ใชป้ ยุ๋ คอก และท�ำ ปยุ๋ หมกั ใชร้ ว่ มกบั ปยุ๋ เคมเี พอื่ ลดรายจา่ ยและชว่ ยปรบั ปรงุ บำ�รุงดิน 4. เพาะเห็ดฟางจากฟางข้าวและเศษวัสดุเหลอื ใชใ้ นไร่นา 5. ปลกู ไม้ผลสวนหลังบา้ นและไม้ใชส้ อย 6. ปลูกพชื สมนุ ไพรชว่ ยสง่ เสริมสขุ ภาพอนามัย 7. เล้ียงปลาในร่องสวน ในนาข้าว และสระนำ้� เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและ รายไดเ้ สริม 8. เลยี้ งไกพ่ น้ื เมอื งและไกไ่ ข่ ประมาณ 10 – 15 ตวั เพอื่ เปน็ อาหารตอ่ ครอบครวั โดยใช้ข้าวเปลือก รำ�ปลายข้าวจากการท�ำ นา ข้าวโพดเล้ียงสัตวจ์ ากการปลูกพชื ไร่ เศษผกั จากการปลกู พชื ผัก 18 เกษตรกรรมยง่ั ยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

9. การท�ำ ก๊าซชีวภาพจากมลู สกุ รหรอื มูลววั เพอื่ ใช้เป็นพลงั งานในครวั เรอื น 10. ท�ำ สารสกดั ชวี ภาพจากเศษพชื ผกั ผลไม้ และพืชสมนุ ไพรใชใ้ นไรน่ า การดำ�เนินชีวิตในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการประกอบอาชีพตาม ทรพั ยากรทม่ี อี ยโู่ ดยอาศยั ความรู้ ความสามารถ เพอ่ื ใหเ้ กดิ ความพอเพยี ง ในลกั ษณะพออยู่ พอกนิ กอ่ ให้เกดิ ความสขุ ความสบายภายในครอบครัว หากเหลอื จากการด�ำ รงชีพสามารถ น�ำ ไปขายเพอ่ื เป็นรายไดแ้ ละเกบ็ ออมเปน็ เงนิ ทุนสำ�รองต่อไป เกษตรกรรมยง่ั ยืนตามแนวเศรษฐกจิ พอเพยี ง 19

เศรษฐกิจพอเพียงเปน็ การด�ำ เนินชีวิต ทางสายกลางยดึ หลักการพึง่ พาตนเอง 1. ด้านจติ ใจ • ท�ำ ตนให้เป็นที่พ่งึ ตนเอง • มีจิตใจส�ำ นึกทีด่ ี • สร้างสรรค์ใหต้ นเองและประเทศชาตโิ ดยรวม • มจี ิตใจเอ้ืออาทร ประนีประนอม • คำ�นงึ ถงึ ประโยชนส์ ว่ นรวมเป็นท่ตี ั้ง 2. ด้านสังคมและชมุ ชน • ช่วยเหลือเก้อื กลู ซง่ึ กันและกนั • สร้างเครือขา่ ยชมุ ชนทีเ่ ข้มแข็ง 3. ด้านทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม • การจดั การอย่างชาญฉลาด • รคู้ ณุ ค่าของทรพั ยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม • ตั้งอยู่บนพน้ื ฐานการอนรุ ักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยนื 4. ด้านเทคโนโลยี • ใช้เทคโนโลยีพนื้ บ้านและเทคโนโลยสี มัยใหม่ทเ่ี หมาะสมสอดคลอ้ งกบั ความตอ้ งการและสภาพแวดล้อม • ใช้ภูมปิ ัญญาท้องถิ่น • พฒั นาเทคโนโลยีจากภูมปิ ญั ญาของเราเอง 5. ด้านเศรษฐกจิ • เพ่มิ รายได้ • ลดรายจา่ ย • การออม : สะสมเป็นเงินทุน 20 เกษตรกรรมยง่ั ยนื ตามแนวเศรษฐกิจพอเพยี ง

แ นวทางการปฏบิ ตั ติ นตามเศรษฐกจิ พอเพยี ง • ยดึ หลกั 3 พอ คือ พออยู่ พอกิน พอใช้ • ประหยัด โดยตัดทอนรายจ่าย จากความฟุ่มเฟือยในการดำ�รงชีพ “ความเปน็ อยู่ ไม่ฟุ้งเฟอ้ ต้องประหยดั ไปในทางที่ถกู ต้อง” • ประกอบอาชพี ด้วยความถูกต้องและสุจรติ มคี ุณธรรม • มุ่งเนน้ หาขา้ วหาปลากอ่ นมงุ่ เน้นหาเงินทอง • ท�ำ มาหากนิ ก่อนทำ�มาค้าขาย • ภูมิปญั ญาพ้นื บา้ นและทดี่ นิ ทำ�กินคือทุนทางสงั คม • ตงั้ สตทิ ม่ี น่ั คง รา่ งกายทแ่ี ขง็ แรง ปญั ญาทเี่ ฉยี บแหลม น�ำ ความรคู้ วามเขา้ ใจ อยา่ งลึกซ้งึ มาปรับใชใ้ นชีวติ ประจ�ำ วัน เกษตรกรรมยง่ั ยืนตามแนวเศรษฐกจิ พอเพยี ง 21

ระบบเกษตรกรรมยงั่ ยืน ระบบเกษตรกรรมยง่ั ยนื (Sustainable Agriculture) หรอื ระบบเกษตรกรรม ทางเลอื ก (Alternative Agriculture) หรอื ระบบเกษตรกรรมถาวร (Permanent Agriculture หรือ Permaculture) ล้วนเป็นระบบเกษตรกรรม ท่ีมีหลักการใหญ่ ๆ คล้ายคลึงกัน มีผู้ให้คำ�จำ�กัดความและความหมายของแนวทางเกษตรกรรมทางเลือกเกษตรกรรม ยง่ั ยืนไว้มากมาย แต่สว่ นใหญ่จะใกล้เคยี งกัน โดยใหค้ วามส�ำ คญั กบั สมดลุ ของระบบนิเวศ ผลผลิตคุณภาพท่ีดี และเพียงพอต่อเกษตรกรและผู้บริโภค การพึ่งพาตนเอง รวมท้ัง การใหค้ วามส�ำ คญั กบั ชมุ ชนทอ้ งถนิ่ หลกั การส�ำ คญั ทส่ี ดุ ทม่ี รี ว่ มกนั ของเกษตรกรรมทางเลอื ก 22 เกษตรกรรมย่ังยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพยี ง

เกษตรกรรมยั่งยืน คือ มีจุดมุ่งหมายเพ่ือการผลิตอาหารและปัจจัยท่ีจำ�เป็นต่อการ ด�ำ รงชวี ติ มากกวา่ ผลิตเพือ่ การสง่ ออก (เกษตรกรรมจึงไมต่ อ้ งว่งิ ไปตามกระแสของตลาด) มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่เกิดผลเสียต่อส่ิงแวดล้อม ระบบ การผลติ การบรโิ ภคและการใชท้ รพั ยากรในทอ้ งถนิ่ มคี วามสมดลุ อาหารทผี่ ลติ ไดเ้ ปน็ อาหาร ที่มีคุณภาพปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง และเปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวสามารถ ท�ำ งานรว่ มกนั ไดอ้ ยา่ งมคี วามสขุ สามารถใชช้ วี ติ อยรู่ ว่ มกบั ธรรมชาตไิ ดอ้ ยา่ งกลมกลนื ท�ำ ให้ ระบบเกษตรกรรมเหลา่ นดี้ �ำ เนนิ ตอ่ เนอ่ื งไปไดน้ านทส่ี ดุ โดยไมม่ ผี ลกระทบดา้ นลบตอ่ ระบบ นเิ วศวิทยา และไม่เกิดปญั หาทั้งดา้ นสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 23

ความหมายของเกษตรกรรมย่งั ยืน องคก์ ารอาหารและเกษตรแหง่ สหประชาชาตไิ ดใ้ หค้ วามหมายของเกษตรกรรม ย่ังยืนว่า “เป็นระบบเกษตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผสมผสานและเช่ือมโยงระหว่างดิน การเพาะปลกู และการเลยี้ งสตั ว์ การเลกิ หรอื ลดการใชท้ รพั ยากรจากภายนอกระบบทอี่ าจเปน็ อันตรายต่อสงิ่ แวดล้อมและ/ หรอื สขุ ภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ตลอดจนเน้นการใช้ เทคนคิ ที่เป็นหรือปรบั ใหเ้ ปน็ สว่ นหน่งึ ของกระบวนการธรรมชาตขิ องท้องถิ่นนน้ั ๆ” 24 เกษตรกรรมยง่ั ยนื ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กำ�หนด ความหมายของ เกษตรกรรมยงั่ ยนื วา่ “ระบบการท�ำ การเกษตรทใ่ี หค้ วามส�ำ คญั กบั ระบบนเิ วศ โดยจะตอ้ งชว่ ยฟนื้ ฟแู ละอนรุ กั ษท์ รพั ยากรในไรน่ าและสง่ิ แวดลอ้ ม ลดการพงึ่ พาปจั จยั การผลติ จากภายนอกให้ได้มากท่ีสุด มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและมีผลตอบแทนท่ีจะทำ�ให้ เกษตรกรสามารถด�ำ รงชพี และประกอบอาชพี การเกษตรไดอ้ ยา่ งยง่ั ยนื ” (บณั ฑรู เศรษฐศโิ รตม,์ พ.ศ. 2546) บรษิ ทั อนิ โฟไมนง่ิ จ�ำ กดั กนั ยายน พ.ศ. 2557 เสนอตอ่ ส�ำ นกั งานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กำ�หนดความหมายของเกษตรกรรมย่ังยืนว่า “การผลติ ทางการเกษตรและวธิ กี ารด�ำ เนนิ ชวี ติ ของเกษตรกรทเี่ ออ้ื อ�ำ นวยตอ่ การฟน้ื ฟแู ละ ดำ�รงรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศและสภาพแวดล้อม โดยมีผลตอบแทนทาง เศรษฐกจิ และสงั คมทเี่ ปน็ ธรรม สง่ เสรมิ การพฒั นาคณุ ภาพชวี ติ ของเกษตรกรและผบู้ รโิ ภค ตามแนวปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง รวมท้ังพฒั นาสถาบนั ทางสังคมของชุมชนท้องถน่ิ ท้ังนี้ เพื่อการพฒั นาระบบเกษตรกรรมทเี่ ข้มแข็งและยง่ั ยืน หลกั การพื้นฐานเกษตรกรรมยง่ั ยืน มี 3 ประการ คอื 1. ความยงั่ ยนื ดา้ นเศรษฐกจิ ดว้ ยการพฒั นาการจดั การดนิ และการหมนุ เวยี น การปลูกพืชท่ีช่วยเพิ่มผลผลิต ลดการพ่ึงพาเครื่องจักรกล และสารเคมีเพื่อการเกษตร ทง้ั ป๋ยุ และสารป้องกันกำ�จัดวัชพชื และศัตรพู ืช เกษตรกรรมย่ังยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพยี ง 25

2. ความยง่ั ยนื ดา้ นสง่ิ แวดลอ้ ม ดว้ ยการปกปอ้ งและรกั ษาทรพั ยากรธรรมชาติ และหาสิ่งทดแทนตลอดจนนำ�ทรัพยากรธรรมชาติกลับมาเวียนใช้ใหม่ เช่น ที่ดิน (ดิน) น้ำ� และส่ิงมีชีวิตในป่า หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ท่ีเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โครงสร้างของดนิ และความหลากหลายทางชีวภาพ 3. ความยง่ั ยนื ดา้ นสงั คม ดว้ ยการใชแ้ รงงานทม่ี อี ยใู่ หม้ ากขนึ้ อยา่ งนอ้ ยส�ำ หรบั เทคนคิ การเกษตรบางประเภท เพื่อให้เกดิ ความยุตธิ รรมและความเปน็ ปึกแผ่นในสงั คม เกษตรกรรมย่ังยืน เป็นหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับเกษตรกรรมท่ียึดหลัก การเกษตรท่ีเหมาะสมกับระบบนิเวศเกษตร โดยใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและ มีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อส่ิงแวดล้อมหรือการเกษตรที่ตอบสนองต่อความ ต้องการของมนษุ ย์ แต่ไม่ท�ำ ลายสภาพแวดลอ้ ม บางครง้ั เรียกอีกอยา่ งว่า วฒั นเกษตร 26 เกษตรกรรมยัง่ ยืนตามแนวเศรษฐกจิ พอเพียง

รูปแบบระบบเกษตรกรรมย่งั ยืน หมายถึง ระบบการผลิตทางการเกษตรหรือระบบฟาร์มในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับภูมินิเวศของแต่ละพื้นที่ จัดเป็นระบบการผลิตท่ีเหมาะสม (Appropriate production system) กับสภาพทรัพยากรและส่ิงแวดล้อมในไร่นาท่ีแตกต่างกันออกไป ซงึ่ รปู แบบของระบบการผลติ ทางเกษตรกรรมยงั่ ยนื นนั้ อาจจ�ำ แนกออกเปน็ ลกั ษณะตา่ ง ๆ ตามองค์ประกอบท่ีสำ�คัญ และอาจจะมีหลากหลายรูปแบบหรือช่ือเรียกที่ไม่เหมือนกัน กไ็ ด้ ตามแตล่ กั ษณะการผลิตวา่ จะเน้นหลกั ด้านใด หรอื มจี ุดเด่นทตี่ ่างกันออกไปอยา่ งไร รูปแบบหลกั ๆ ทีช่ ัดเจนและเป็นท่ีเข้าใจกนั ทว่ั ไป ได้แก่ 1. เกษตรผสมผสาน (Integrated farming) เน้นกิจกรรมการผลิตมากกวา่ สองกิจกรรมข้ึนไปในเวลาเดียวกนั และกิจกรรมเหลา่ น้ีเก้ือกลู ซึง่ กันและกัน เป็นการสรา้ ง มลู ค่าเพม่ิ ให้มากข้นึ จากการใชป้ ระโยชน์ทรพั ยากรที่ดินทีม่ ีจ�ำ กดั ในไรน่ า ใหเ้ กิดประโยชน์ สูงสดุ จดุ เดน่ คอื เปน็ การจดั การความเสย่ี ง (Risk management) และการประหยดั ทางขอบขา่ ย (Economy of scope) เกษตรกรรมย่ังยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 27

2. เกษตรอนิ ทรยี ์ (Organic farming) เนน้ หนักการผลติ ทีไ่ ม่ใช้สารอนินทรยี ์เคมี หรอื เคมสี ังเคราะห์ แตส่ ามารถใช้อินทรยี เ์ คมไี ด้ เช่น สารสกัดจากสะเดา ตะไคร้หอม ขา่ หรอื สารสกดั ชวี ภาพ เพ่ือเพม่ิ ความอดุ มสมบูรณแ์ ก่ทรัพยากรดิน จดุ เดน่ คอื เปน็ การสรา้ งความปลอดภยั ดา้ นอาหาร (Food safety) ใหแ้ กผ่ บู้ รโิ ภค 28 เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวเศรษฐกจิ พอเพยี ง

3. เกษตรธรรมชาติ (Natural farming) เน้นหนกั การท�ำ เกษตรท่ไี ม่รบกวน ธรรมชาติ หรือรบกวนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ โดยการไม่ไถพรวน ไม่ใช้สารเคมี และไมก่ ำ�จดั วัชพชื แตส่ ามารถมีการคลมุ ดินและใชป้ ยุ๋ พืชสดได้ จุดเด่น คือ เป็นการฟ้ืนฟูความสมดุลของระบบนิเวศ (Rehabilitation of ecological balance) และลดการพ่ึงพาปัจจยั ภายนอก เกษตรกรรมยั่งยนื ตามแนวเศรษฐกจิ พอเพียง 29

4. เกษตรทฤษฎีใหม่ (New theory agriculture) การเกษตรตามแนว พระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เน้นให้เกษตรกรมีความพอเพียงเลี้ยง ตวั เองได้ (self – suffif iciency) ใหม้ คี วามสามคั คี ชว่ ยเหลอื เกอ้ื กลู กนั ในชมุ ชน แบง่ เปน็ 3 ขน้ั ข้ันท่ี 1 การแบง่ พน้ื ทีอ่ อกเปน็ ส่วน ๆ เพ่อื ผลติ เลีย้ งตวั เองเปน็ เบ้ืองตน้ ขั้นที่ 2 รวมพลังในรูปกลุม่ หรอื สหกรณ์ ขนั้ ที่ 3 การติดต่อซ้ือขายเชิงธุรกิจ เช่น บริษัท โรงสี ร้านสหกรณ์ เป็นต้น เน้นหนัก การจัดการทรัพยากรนำ้�ในไร่นาให้เพียงพอเพ่ือผลิตพืชอาหาร โดยเฉพาะข้าว เอาไวบ้ รโิ ภคในครวั เรอื น รวมทง้ั มกี ารผลติ อนื่ ๆ เพอื่ บรโิ ภคและจ�ำ หนา่ ยสว่ นทเ่ี หลอื แกต่ ลาด เพื่อสร้างรายได้อยา่ งพอเพยี ง จุดเด่น คอื เปน็ การสร้างความมน่ั คงดา้ นอาหาร (Food security) ซึ่งเป็น ขนั้ พนื้ ฐานของเศรษฐกจิ พอเพียงระดับครัวเรอื น 30 เกษตรกรรมย่งั ยนื ตามแนวเศรษฐกิจพอเพยี ง

5. วนเกษตรหรือไร่นาป่าผสม (Agroforestry) เน้นหนักการมีต้นไม้ใหญ่ และพชื เศรษฐกจิ หลายระดบั ทเ่ี หมาะสมกบั แตล่ ะพนื้ ทเี่ พอ่ื การใชป้ ระโยชน์ ปา่ ไมข้ องพชื หรอื สัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่เก้ือกูลกันทั้งยังเป็นการเพ่ิมพ้ืนที่ของทรัพยากรป่าไม้ที่มีจำ�กัด ไดอ้ กี ทางหนง่ึ จดุ เดน่ คอื เปน็ การคงอยรู่ ว่ มกนั ของปา่ และการเกษตร ทงั้ ยงั เพม่ิ ความหลากหลาย ทางชวี ภาพ (Biodiversity) อกี ด้วย นอกจากนี้ เป็นไปได้ที่ว่ายังมีรูปแบบการผลิตอื่น ๆ อีกจำ�นวนหนึ่งท่ีจัดว่า มลี กั ษณะของแนวทางการเกษตรกรรมยงั่ ยนื แตค่ วามชดั เจนและการยอมรบั ในทางวชิ าการ ในปัจจุบัน ยังอยู่ในขอบเขตท่ีจำ�กัดไม่สามารถสรุปลักษณะเด่นที่แตกต่างได้อย่างชัดเจน เหมอื น 5 รปู แบบการผลิตข้างตน้ แต่ก็มคี วามเปน็ ไปไดว้ ่า ในอนาคตเม่อื มีการศึกษาวจิ ัย มากข้นึ รปู แบบการผลิตอ่นื ๆ จะเป็นท่ยี อมรับและมคี วามชดั เจนมากขึ้นดว้ ย เกษตรกรรมยง่ั ยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 31

อย่างไรก็ตาม ถือได้ว่าในกรณีของประเทศไทยน้ัน ความสำ�เร็จของการศึกษา วิจัยดา้ นเทคนิค (Technical aspect) ของเกษตรกรรมย่ังยืน ไมว่ า่ ในแง่รปู แบบการผลติ หรอื ระบบฟารม์ (Farming system) หรอื ในแงเ่ ทคนคิ การเฉพาะดา้ น (Specific production techniques) อนั ลว้ นจะน�ำ ไปสเู่ กษตรกรรมยงั่ ยนื นน้ั ไดม้ กี ารพฒั นากา้ วหนา้ ไปไดใ้ นระดบั หนง่ึ โดยเฉพาะจากหน่วยงานวิชาการหลักของรัฐ คือ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ซงึ่ ไดร้ เิ รมิ่ งานในลกั ษณะนม้ี าเปน็ เวลานานแลว้ แมว้ า่ จะยงั ไมม่ กี ารจดั ระบบ ข้อมูลในเชิงบูรณาการ (Integration) เท่าที่ควร รวมทั้งการศึกษาวิจัยในบางคร้ังก็ยัง ไมเ่ ป็นท่เี ผยแพรย่ อมรับกันอย่างเปน็ ทางการก็ตาม แต่ท่ีส�ำ คญั คอื ในระยะเวลาที่ผ่านมา ไดม้ กี ารใชภ้ มู ปิ ญั ญาของเกษตรกรเองในการสรา้ งระบบเกษตรและเทคนคิ การผลติ ในไรน่ า ให้เกิดข้นึ อย่างมากมายในท้องถิน่ ต่าง ๆ ของประเทศ เช่น การปลูกพชื ผสมผสานตามหลัก พุทธเกษตร การสร้างสารสกัดชีวภาพจากผักและผลไม้ หรือการค้นพบวิธีควบคุมโรคแมลง ดว้ ยพชื สมนุ ไพร เปน็ ตน้ เพยี งแตย่ งั ขาดการศกึ ษาอยา่ งจรงิ จงั เพอื่ ใหส้ ามารถสรปุ ผลในทาง วชิ าการและน�ำ ไปส่งเสรมิ ขยายผลเทา่ น้นั 32 เกษตรกรรมยงั่ ยนื ตามแนวเศรษฐกจิ พอเพียง

กระบวนการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยนื ที่มีประสิทธิภาพ นอกจากประเด็นเร่ืองการค้นหาเทคนิคการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพไร่นาแล้ว ความสำ�เร็จของการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ขึ้นอยู่อย่างมากกับกระบวนการพัฒนา และสง่ เสรมิ (Development and extension process) ใหข้ อ้ มลู และองคค์ วามรดู้ า้ นเกษตรกรรม ยง่ั ยนื ไดม้ กี ารเผยแพรก่ วา้ งขวางออกไป และทสี่ �ำ คญั ทสี่ ดุ คอื จะตอ้ งมกี ระบวนการทที่ �ำ ให้ เกษตรกร สามารถเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง จนกระท่ังทำ�ให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจ ทีจ่ ะเปลย่ี นแปลงวิธีการผลิตของตนเองไปในแนวทางการเกษตรกรรมย่งั ยนื เกษตรกรรมย่งั ยนื ตามแนวเศรษฐกิจพอเพยี ง 33

ซึ่งก็คือ เป็นการเปล่ียนแปลงวิถีชีวิตท้ังหมดของเกษตรกรเอง ต้ังแต่วิธีคิด พิจารณาเกี่ยวกับการทำ�เกษตรแบบย่ังยืน ว่ามิใช่เป็นการลงทุนประกอบกิจการ เพอ่ื สรา้ งรายไดห้ รอื ผลก�ำ ไรทเี่ ปน็ ตวั เงนิ เทา่ นนั้ แตเ่ กษตรกรรมยงั่ ยนื เปน็ การสรา้ งความ อุดมสมบูรณ์ให้เกิดแก่ไร่นาและระบบนิเวศ ซ่ึงเกษตรกรเอง ในฐานะเป็นส่วนหนึ่ง ของระบบนิเวศ ก็จะไดร้ บั ความอุดมสมบูรณ์ไปดว้ ย นั่นก็คือ การมีคุณภาพชวี ิตท่ดี ตี าม ความเหมาะสม จากการมอี าหารทปี่ ลอดภัยบริโภค มีสขุ ภาพดี มีครอบครัวทอี่ บอุ่น และ มีสภาพแวดล้อม ท่ีเอ้ืออำ�นวยต่อการอยู่อาศัย รวมทั้งมีรายได้จากการผลิตท่ีจำ�หน่าย ในตลาดตามสมควร โดยลดภาระหน้สี ิน และลดการพ่งึ พาปจั จัยภายนอก แท้จรงิ แล้ว น่ีคอื การพิจารณาการเกษตรแบบองคร์ วมในทุกด้าน (Holistic approach) ไมว่ ่าจะเป็นด้านเทคนคิ ด้านเศรษฐกจิ ดา้ นสงั คมและด้านส่งิ แวดลอ้ ม 34 เกษตรกรรมย่งั ยนื ตามแนวเศรษฐกจิ พอเพยี ง

เทคโนโลยที ใ่ี ช้ในการพัฒนาเกษตรกรรมยง่ั ยืน ไดแ้ ก่ • การท�ำ Contour การปลกู พชื ตามแนวระดบั • การใชป้ ยุ๋ อินทรยี ์ ปยุ๋ หมัก ปยุ๋ พืชสด • การจดั การเศษซากพชื การใชว้ ัสดุคลมุ ดนิ • การปลูกพชื หมนุ เวียน (Alley farming or Lay farming) • การก�ำ จดั ศัตรูพชื โดยชวี อนิ ทรยี ์ การใช้พันธ์ตุ ้านทาน • การก�ำ จดั ศตั รูพืชโดยวิธีผสมผสาน • การปลูกพืชหลายอยา่ ง (Diversifif ied farming) เกษตรกรรมยัง่ ยนื ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 35

ขอ้ เสนอแนะในการพฒั นาเกษตรกรรมยงั่ ยนื : เน้นพจิ ารณาปัจจยั ด้านเศรษฐกจิ และสงั คมเป็นหลกั ข้อเสนอแนะสำ�หรับการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน โดยคำ�นึงถึงลักษณะทาง เศรษฐกจิ และสงั คมโดยทวั่ ไปของเกษตรกรไทยดงั ทไี่ ดก้ ลา่ วมาแลว้ ประกอบไปดว้ ยประเดน็ ทสี่ ำ�คัญ ดงั น้ี 1. การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนต้องพิจารณามากกว่าการมีเทคโนโลยี การเกษตร เม่ือแนวคิดของการเกษตรกรรมย่ังยืน เน้นการผลิตที่ไม่เร่งสร้างผลกำ�ไร เปน็ ตวั เงนิ จากความเสอื่ มโทรมของทรพั ยากรและสงิ่ แวดลอ้ มแตห่ นั มาใหค้ วามสนใจดา้ นความ สมดุลของระบบนิเวศ อันจะส่งผลกระทบมายังการมีคุณภาพชีวิตท่ีดีของเกษตรกรเอง ในทสี่ ดุ แนวทางการผลติ เชน่ นี้ เกษตรกรจงึ จะตอ้ งมคี วามขยนั ขนั แขง็ มานะบากบนั่ อดทน และท่สี ำ�คัญคือ ตอ้ งรจู้ ักความพอเพียงของตนเองวา่ ต้งั อยู่ในระดับใด จึงจะไม่เบียดเบยี น ธรรมชาตจิ นเสยี สมดุลไป การเปลีย่ นจติ วิญญาณของเกษตรกร อันเปน็ ศนู ย์กลางของการ ตัดสินใจท้ังหลายในการผลิตที่จะตามมา ต้องการมากกว่าการค้นหาเทคโนโลยีการผลิต ท่ีเหมาะสมกล่าวคือ ต้องการกระบวนการส่งเสริมท่ีเหมาะสมกับระดับจิตใจและสภาพ เศรษฐกจิ และสงั คมของเกษตรกร ตลอดจนสภาพทรพั ยากรของภมู นิ เิ วศนน้ั ๆ อยา่ งแทจ้ รงิ จึงจะทำ�ให้แนวทางการเกษตรกรรมย่ังยืน สามารถได้รับการพัฒนาและดำ�รงอยู่กับ ตัวเกษตรกรไดใ้ นระยะยาว 36 เกษตรกรรมย่ังยืนตามแนวเศรษฐกจิ พอเพียง

2. ความแตกต่างในกระบวนการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยนื การวางแผนพฒั นาเกษตรกรรมยัง่ ยืน จะตอ้ งตระหนกั ถงึ เป้าหมายสุดทา้ ย คอื การพฒั นาเกษตรกรทยี่ ากจนใหส้ ามารถช่วยเหลือตนเองได้ และมีคุณภาพชวี ิตทดี่ พี อ สมควร การทเ่ี กษตรกรแตล่ ะคนหรอื แตล่ ะพนื้ ท่ี มปี จั จยั ทางเศรษฐกจิ และสงั คมทแ่ี ตกตา่ งกนั เช่น ระดับรายได้ หน้ีสิน ความรู้ ความคิด ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเสื่อมโทรมของ ทรพั ยากรหรอื ประสบการณเ์ กษตรกร ทผี่ า่ นมากระบวนการในการพฒั นาเกษตรกรรมยง่ั ยนื โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ การพฒั นาเกษตรกรในระดบั กลมุ่ จงึ ควรทจี่ ะพจิ ารณาถงึ ความแตกตา่ ง ของปัจจัยดังกล่าวด้วย และมีการจัดลำ�ดับความสำ�คัญของปัจจัยท่ีมีความจำ�เป็นก่อน หลังของแต่ละกลุ่มเกษตรกร เพื่อท่ีจะนำ�มาซึ่งการสร้างกระบวนการพัฒนาที่แตกต่าง กนั และตรงตามความจำ�เป็นท่แี ทจ้ ริงของเกษตรกรแต่ละกลุ่ม เช่น การส่งเสริมใหเ้ ปลย่ี น มาทำ�เกษตรกรรมยัง่ ยืน ส�ำ หรับกรณีเกษตรกรที่ประสบปัญหาหนีส้ นิ มาก กรณีเกษตรกร ทมี่ ปี ญั หาสขุ ภาพจากการใชส้ ารเคมี หรอื กรณเี กษตรกรทข่ี าดทนุ จากการเกษตรเชงิ การคา้ ย่อมมีกระบวนการทีแ่ ตกตา่ งกันบา้ ง เกษตรกรรมยง่ั ยืนตามแนวเศรษฐกจิ พอเพียง 37

3. ความส�ำ คญั ของการสรา้ งเวทแี ลกเปลยี่ นเรยี นรเู้ พอื่ ชว่ ยเหลอื ซง่ึ กนั และกนั ปญั หาใหญข่ องเกษตรกรทีย่ ากจน คอื เป็นผู้ทข่ี าดแคลนโอกาสและการเขา้ ถึง ทรพั ยากรการผลิต ตลอดจนขอ้ มูลขา่ วสารท่ไี มเ่ พียงพอ การน�ำ เสนอโอกาส หรอื “เวที” ให้แก่เกษตรกรในการพบปะพูดคุย ดูงาน แลกเปล่ียนความคิดเห็น หรือข้อมูลความรู้ โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนดา้ นวชิ าการและวทิ ยากรเชิงกระบวนการ นับว่าเปน็ หนทางโดยตรง ท่ีจะยกระดับความรู้ สร้างความมั่นใจในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนแก่เกษตรกร จากการ ได้เห็นสภาพของจริง ได้รบั ความชว่ ยเหลอื และใหก้ �ำ ลังใจซึ่งกันและกัน เกิดแรงบนั ดาลใจ (Inspiration) ของเกษตรกรแตล่ ะทา่ น 38 เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวเศรษฐกจิ พอเพียง

4. การพฒั นาการเกษตรกรรมยั่งยนื จากฐานชมุ ชนเปน็ หลกั การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ควรจะเน้นการพัฒนาทั้งในระดับเกษตรกร แตล่ ะคน และในระดบั ชมุ ชนในเวลาเดยี วกนั เนอื่ งจากเกษตรกรทย่ี ากจนจ�ำ เปน็ ตอ้ งมกี ารรวม กลุ่ม เพ่ือสร้างความมั่นคงและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมทั้งการเกษตรกรรมสำ�หรับ เกษตรกรเหล่าน้ี เปรียบเสมือนวิถีชีวิตโดยรวมมากกว่าจะเป็นเหมือนอาชีพโดยทั่วไป เพราะการเกษตรจะตอ้ งเกย่ี วขอ้ งในทกุ ดา้ นทง้ั ทางเศรษฐกจิ สงั คม ตลอดจนความคดิ ทศั นคติ วฒั นธรรม ประเพณตี ่าง ๆ ของครัวเรอื นและชุมชน การวางแผนพัฒนาเฉพาะในระดบั ไรน่ าเป็นหลัก (Farm – based development) จึงอาจจะไม่พอเพียงเท่ากับการพฒั นา โดยเนน้ ฐานชมุ ชน เปน็ หลกั (Community – based development) ซง่ึ เทา่ กบั ถอื วา่ การพฒั นา เกษตรกรรมยงั่ ยืน เป็นส่วนหนงึ่ ของการพัฒนาคณุ ภาพชีวติ ของชมุ ชนโดยรวม นนั่ เอง เกษตรกรรมยงั่ ยนื ตามแนวเศรษฐกจิ พอเพยี ง 39

5. ความสมดลุ ของอุปทานและอุปสงคใ์ นการพัฒนาการเกษตร การพัฒนาเกษตรกรรมย่ังยืนให้แพร่หลายมากข้ึน ไม่ว่าจะในฐานะทางเลือก ในการพฒั นาของกลมุ่ เกษตรกรทยี่ ากจน หรอื ของเกษตรกรกลมุ่ อน่ื ๆ กต็ าม ควรจะเรม่ิ ตน้ จากความสมดลุ ระหวา่ งระบบการผลติ เทคโนโลยที เี่ หมาะสมทม่ี อี ยู่ ซง่ึ เปน็ ดา้ นอปุ ทานของ การพัฒนา และความพร้อม ความเขา้ ใจของเกษตรกร เมือ่ พจิ ารณาจากเงื่อนไขเศรษฐกจิ และสงั คมของเกษตรกรเอง ทจี่ ะเลอื กเสน้ ทางในการพฒั นาคณุ ภาพชวี ติ โดยผา่ นทางการใช้ ระบบเกษตรกรรมยง่ั ยนื ซง่ึ เปน็ อปุ สงคข์ องการพฒั นา ไมค่ วรเนน้ หลกั ดา้ นการสรา้ งระบบฟารม์ และเทคโนโลยีการผลิต แต่ละเลยกระบวนการท่ีจะพัฒนาเทคโนโลยีนั้นให้เหมาะสม กับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร และกระบวนการส่งเสริมท่ีเน้นการเรียนรู้ ของเกษตรกร 40 เกษตรกรรมยัง่ ยนื ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

6. ความเข้มแขง็ ของกลุ่มน้ขี ้นึ อยู่กับการมสี ว่ นร่วมของเกษตรกรและรัฐ เมื่อยอมรับว่า การพัฒนาผ่านกระบวนกลุ่ม เป็นแนวทางในการพัฒนา เกษตรกรรมย่งั ยนื ทม่ี ปี ระสิทธิภาพย่งิ กว่าการสง่ เสรมิ กับเกษตรกรแต่ละคน การพยายาม สนับสนุนให้กลมุ่ องค์กร และเครอื ขา่ ยมคี วามเข้มแข็ง พงึ่ พาตนเองได้ จึงเปน็ หวั ใจของ ความสำ�เร็จของการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน อย่างไรก็ตาม กลุ่มหรือองค์กรจะเข้มแข็ง ไมไ่ ด้ หากสภาพทางเศรษฐกจิ และสังคมของเกษตรกรยังมีความอ่อนแอ เกษตรกรและรัฐ จึงต้องเรียนรแู้ ละมีส่วนรว่ มกนั ทจ่ี ะหาทางช่วยเหลอื ซงึ่ กันและกันภายใตม้ าตรการตา่ ง ๆ ในบางครั้งเกษตรกรอาจจะต้องเปน็ ผนู้ �ำ ในการดำ�เนนิ การ อาทิ เช่น การเข้ามา มีส่วนร่วมในการทดลองค้นคว้า การศึกษาดูงาน การแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น เพื่อให้ตนเองมั่นใจในแนวทางเกษตรกรรมย่ังยืน โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนในฐานะวิทยากร เชงิ กระบวนการ ในขณะเดยี วกนั รฐั จะตอ้ งเปน็ ผนู้ �ำ ในการสรา้ งมาตรการทางการเงนิ การคลงั เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรแบบย่ังยืน อาทิ เช่น ผ่านทางอัตราดอกเบี้ยท่ีลดลง หรือผา่ นทางกองทนุ หมนุ เวียน ส�ำ หรบั กลุ่มเกษตรกรที่ด�ำ เนนิ เกษตรกรรมยงั่ ยนื ตลอดจน สนับสนุนปัจจัยการผลิตและข้อมูลทางวิชาการให้เกษตรกรสามารถก้าวผ่านขั้นตอน การเรมิ่ ต้น ในการท�ำ เกษตรกรรมยงั่ ยนื ไปสู่การด�ำ เนนิ การด้วยความมัน่ คงไดใ้ นระยะยาว เกษตรกรรมยง่ั ยนื ตามแนวเศรษฐกจิ พอเพยี ง 41

7. การพฒั นาเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นกระบวนการท่จี ะตอ้ งใชร้ ะยะเวลา เกษตรกรที่ผันตัวเองเข้าสู่แนวทางการผลิตแบบเกษตรกรรมย่ังยืน ส่วนมาก จะเปน็ ผทู้ มี่ ปี ระสบการณจ์ ากการเกษตรเชงิ การคา้ มากอ่ น หรอื ตอ้ งการเปลยี่ นแปลงทางความคดิ ในการผลติ โดยทว่ั ไป มาเปน็ ระบบการผลิตที่แอบอิงกับธรรมชาตใิ ห้มากทส่ี ุด การพลกิ ผนั ตวั เองออกจากรปู แบบการผลติ ทเี่ คยประพฤตปิ ฏบิ ตั มิ ายาวนาน เปน็ เรอื่ งทท่ี ำ�ไดไ้ มง่ า่ ยนกั กระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จำ�เป็นต้องใช้ระยะเวลาท่ีเพียงพอในการปรับจิตใจ วิธีคิด โลกทัศน์ และการเปลี่ยนแปลงการใช้ปัจจัยการผลิตในไร่นา เพื่อที่เกษตรกร จะสามารกมองเหน็ เขา้ ใจ และสมั ผสั ในสงิ่ ทเ่ี กดิ ขน้ึ ดว้ ยตนเอง การทช่ี ว่ งเวลาของการปรบั ตวั ของเกษตรกรใชเ้ วลานาน จงึ ไมถ่ อื วา่ เปน็ ความลม้ เหลวในการพฒั นาแตอ่ ยา่ งใด นอกจากนี้ การมีกลุม่ และเครอื ขา่ ยสนบั สนนุ ยิ่งจะทำ�ใหเ้ กษตรกรเกิดความมั่นใจยง่ิ ขนึ้ 42 เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพยี ง

ระบบเกษตรกรรมย่ังยืนเป็นแนวทางการพัฒนาอาชีพที่สัมพันธ์กับการเกษตร และสง่ิ แวดลอ้ มทส่ี อดรบั กบั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง เกษตรกรรมยง่ั ยนื ไดถ้ กู บรรจไุ ว้ เปน็ ครงั้ แรกในแผนพฒั นาระยะที่ 8 และคงตอ้ งด�ำ เนนิ การตอ่ เนอื่ งในแผนพฒั นาระยะท่ี 12 โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางหลักของการฟ้ืนฟูเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ ระบบเกษตรกรรมยง่ั ยนื เกยี่ วขอ้ งกบั ความเปน็ อยขู่ องชมุ ชนหลายระดบั ตง้ั แต่ ครัวเรือน ชุมชน จนถึงระดับประเทศ ความหมายจึงแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ผลรวมของระบบจะตอ้ งมรี ะบบภมู คิ มุ้ กนั ตอ่ ผลกระทบอนั เกดิ จากการเปลย่ี นแปลงทง้ั ภายใน และภายนอก หน่วยวิจัยได้แยกแยะความหมายของเกษตรกรรมย่ังยืนตามลำ�ดับชั้น ซึง่ สามารถน�ำ ไปปฏบิ ตั ิใน 3 ระดับ ดงั นี้ เกษตรกรรมยง่ั ยืนตามแนวเศรษฐกจิ พอเพียง 43

เกษตรกรรมย่งั ยนื ตามล�ำ ดับชน้ั 1. ระดบั แปลง เกษตรกรรมยง่ั ยนื องิ หลกั การของนเิ วศเกษตร เชน่ การไหลเวยี น ของธาตุอาหาร ความสัมพนั ธ์ระหว่างปลกู พืชและศตั รพู ชื และการใช้ประโยชนจ์ ากความ หลากหลายชีวภาพทางเกษตร 2. ระดบั ครวั เรอื น เกษตรกรรมยงั่ ยนื ค�ำ นงึ ถงึ การจดั การทรพั ยากรอยา่ งเหมาะสม ทจี่ ะกอ่ ให้เกดิ ประโยชน์สงู สุด บทบาทของภมู ปิ ัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายของระบบ การผลิตที่นำ�ไปสู่ความมั่นคงของอาหารและรายได้ และกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ครัวเรือน มสี ว่ นร่วมในการเสรมิ สรา้ งความเข้มแขง็ ในระดับชมุ ชน 3. ระดบั ชมุ ชน เกษตรกรรมยงั่ ยนื เชอ่ื มโยงกบั เศรษฐกจิ ชมุ ชน สทิ ธกิ ารจดั การ และการใช้ประโยชนท์ รพั ยากรธรรมชาตทิ เ่ี ปน็ ธรรม พรอ้ มทัง้ การสรา้ งสิ่งจงู ใจเพ่ือใหเ้ กดิ การร่วมทุนระหวา่ งชุมชนกับภาคเอกชน 44 เกษตรกรรมยง่ั ยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

ส่วนการพัฒนาการเกษตรตามแนวทางของการเกษตรกรรมยั่งยืนในระดับ ก้าวหน้า หรือชั้นมัธยม ซ่ึงเป็นขั้นตอนท่ีต้องใช้เทคโนโลยีร่วมด้วยน้ัน จะเหมาะสำ�หรับ การน�ำ มาใชภ้ ายใตส้ ภาพและเงอื่ นไขทเี่ กษตรกรปจั จบุ นั อยใู่ นฐานะทพ่ี อมพี อกนิ แลว้ ทตี่ อ้ ง พฒั นาและทตี่ อ้ งขวนขวายตอ่ ไปใหอ้ ยใู่ นฐานะกนิ ดอี ยดู่ ี ซง่ึ เปน็ ระดบั เศรษฐกจิ พอเพยี งและ ม่งั มศี รีสขุ ในทส่ี ดุ ซึ่งเปน็ เศรษฐกิจก้าวหนา้ การพัฒนาเกษตรกรรมย่ังยืน เปรียบเสมือนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ เกษตรกรและชุมชน โดยผ่านทางการสร้างความอุดมสมบูรณ์และความสมดุลของระบบ นิเวศในไร่นา แนวทางการพัฒนาเช่นนี้ จึงเป็นมากกว่าการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต แตจ่ ะเกย่ี วขอ้ งไปถงึ กระบวนการสง่ เสรมิ และพฒั นา เพอ่ื เปลย่ี นแปลงจติ ใจและพฤตกิ รรม ของเกษตรกร ซ่งึ มีความส�ำ คญั ไมน่ ้อยไปกวา่ การพฒั นาเทคโนโลยี กระบวนการส่งเสรมิ และพฒั นาเช่นน้ี เกย่ี วข้องโดยตรงกบั สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร ตลอดจน สภาพทรัพยากรสิง่ แวดลอ้ มของพ้นื ที่ เพราะเปา้ หมายสดุ ท้ายในการส่งเสรมิ เกษตรกรรม ย่ังยืนมิใช่อยู่ที่เทคโนโลยีหรือระบบการผลิตจากการค้นคว้าวิจัยในไร่นาเท่านั้น แต่อยู่ท่ี การพฒั นาระบบเกษตรกรรมยง่ั ยนื ในรปู แบบตา่ ง ๆ ทเี่ หมาะสม เพอ่ื ใหเ้ กษตรกรสามารถ เรียนร้นู ำ�ไปปฏิบตั ไิ ด้จริง และพฒั นาไปสกู่ ารพึง่ พาตนเองได้ในที่สุด ปจั จยั ทางเศรษฐกจิ และสงั คมของเกษตรกร หรอื ของกลมุ่ เกษตรกรและองคก์ ร รวมทั้งของประเทศชาติโดยส่วนรวม เป็นปัจจัยท่ีมีส่วนสำ�คัญที่กำ�หนดความเป็นไปได้ ความส�ำ เรจ็ หรอื ความลม้ เหลวของการพฒั นาเกษตรกรรมยง่ั ยนื เนอื่ งจากเปน็ ปจั จยั ทเี่ กยี่ วขอ้ ง กบั ตวั เกษตรกรเองโดยตรง การเนน้ หนกั ในการพฒั นาเทคโนโลยกี ารผลติ โดยไมใ่ หค้ วามส�ำ คญั แก่สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร และของสังคมท่ีเป็นอยู่ จะมีส่วนชักนำ�ไปสู่ ความล้มเหลวของกระบวนการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยนื ได้โดยงา่ ย เกษตรกรรมย่ังยนื ตามแนวเศรษฐกจิ พอเพยี ง 45

โดยนัยนี้ การสร้างกล่มุ องคก์ ร หรือเครอื ข่าย รวมทัง้ บทบาทของรฐั ในฐานะ ผหู้ นนุ เสรมิ และผสู้ รา้ งเวทแี หง่ การแลกเปลย่ี นเรยี นรรู้ ะหวา่ งเกษตรกร เพอื่ การพงึ่ พาตนเอง ของเกษตรกร จึงถือว่าเป็นแนวทางท่ีสำ�คัญอย่างย่ิง ในการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน ใหเ้ ปน็ จรงิ ขนึ้ มาได้ โดยรฐั พงึ ตระหนกั เสมอวา่ เงอ่ื นไขทางเศรษฐกจิ และสงั คมอยา่ งแทจ้ รงิ ของเกษตรกร หรอื ของกลมุ่ เกษตรกร จะมรี ายละเอยี ดทแี่ ตกตา่ งกนั ออกไปเสมอ แนวทาง การส่งเสริมเกษตรกรรมย่ังยืน จึงไม่มีสูตรสำ�เร็จตายตัวในความเป็นจริง จึงเป็นหน้าที่ ของเกษตรกร รฐั ตลอดจนผูเ้ กย่ี วขอ้ งอืน่ ๆ ทจ่ี ะต้องปล่อยวางอคติใด ๆ ที่มีอยู่ หันหน้าเขา้ หากัน เพ่ือเรียนรู้ร่วมกัน และหาทางออกร่วมกัน เพ่ือให้บรรลุเป้าหมายสุดท้ายร่วมกัน คือ การไดม้ าซึง่ ภาคการเกษตรและสังคมสว่ นรวมทเี่ ข้มแขง็ ยั่งยนื มีคุณภาพ อนั เป็นความ ปรารถนาทีแ่ ท้จรงิ ของทุกฝ่าย 46 เกษตรกรรมยงั่ ยนื ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

สรปุ ผลประโยชน์ ใน 3 มิตขิ องการทำ�เกษตรกรรมย่งั ยนื 1. ผลประโยชนด์ ้านเศรษฐกจิ • สามารถตอบสนองความจ�ำ เป็นพน้ื ฐานในการด�ำ รงชีวติ ของมนษุ ย์ • เกดิ ความมัน่ คงทางอาหารในระดับครวั เรอื นและชุมชน • มผี ลผลติ ทหี่ ลากหลายในไรน่ า ท�ำ ใหเ้ กดิ เสถยี รภาพทางรายไดเ้ กดิ รายได้ ครวั เรอื นอย่างสม�ำ่ เสมอ • มีการจัดการความเสี่ยง โดยลดการพ่ึงพาปัจจัยภายนอกไร่นา และ การพ่งึ พาเงนิ ทุนภายนอก • เกดิ การประหยดั ขอบข่าย โดยมีการเก้ือกูลกันอยา่ งตอ่ เนื่อง ระหวา่ ง กิจกรรมการผลติ ทางการเกษตรทีม่ ใี นพ้ืนท่ี • สร้างมูลค่าเพ่ิมของผลผลิตจากการแปรรูปสินค้าเกษตรและสามารถ ขยายกิจกรรมทางการตลาด • เป็นภมู คิ ้มุ กันใหเ้ กษตรกรจากกระแสความผันผวนของตลาดภายนอก 2. ผลประโยชน์ทางส่งิ แวดล้อม • ลดผลกระทบต่อทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดลอ้ ม • สร้างและเพ่ิมความหลากหลายทางชีวภาพ ชนิดพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และจลุ ินทรีย์ • อนรุ ักษฟ์ นื้ ฟูสภาพทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม • ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินและความสมดุลต่อระบบนิเวศในพ้ืนที่ เนอื่ งจากมีการลด ละ เลิกการใช้สารเคมกี �ำ จัดศตั รูพชื และปยุ๋ เคมตี ่าง ๆ • เกิดระบบการจดั การทรพั ยากรน้ำ�อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวเศรษฐกจิ พอเพยี ง 47


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook