Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่2

บทที่2

Published by Us Asama, 2021-06-08 03:53:46

Description: บทที่2

Search

Read the Text Version

43 เร่ืองท่ี 1 ประวัตศิ าสตรสังเขปของประเทศในทวีปเอเชยี 1.1 ประวัตศิ าสตรส งั เขปของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจนี ประเทศจีนหรอื สาธารณรฐั ประชาชนจีน เปนประเทศท่ีมีความเจริญรุงเรือง และมีอารยธรรมยาวนาน ท่สี ุดประเทศหนึ่งของโลก โดยหลักฐานทางประวัติศาสตรท ีส่ ามารถคนควาทมี่ กี ารบนั ทกึ เปน ลายลักษณอักษร และมีหลักฐานทางประวัติศาสตร ศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายสวยงาม ไดบงชี้วาอารยธรรมจีนท่ีบงบอกถึง ความเจริญงอกงามของจนี โบราณ ต้ังแตช ว ง 2,500 - 2,000 ป กอนคริสตศักราช เร่ิมจากสมัยราชวงศตาง ๆ มาจนถึงจนี ยคุ ใหมคอื ยคุ ปจจุบัน ป ค.ศ. 2009 รวมมีอายุยาวนานถงึ 4,000 - 5,000 ป ประเทศจีน เปนประเทศที่ใหญท่ีสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีประชากรมากท่ีสุดในโลก คือ มีประชากรกวา 1.3 พันลานคน หรือประมาณหน่งึ ในหาของประชากรโลก โดยประชากรสวนใหญเปนชาวจีน ฮั่น มีพ้ืนที่กวางใหญมีขนาดเปนอันดับ 3 ของโลก เปนรองเพียงรัสเซียและแคนาดา เปนประเทศที่คิดคน เข็มทิศ การผลิตกระดาษ ดินปน ระบบการพมิ พ ระบบชลประทาน การกอสรางกําแพงเมืองจีน และการขุด คลองขนุ ถือเปนโครงการดา นวิศวกรรมอันยิง่ ใหญแตโ บราณกาลทีม่ ีมากวา 2000 ป ดว ยเหตุน้ี ประเทศจีน

44 จึงเปนสญั ลกั ษณของความม่ังคง่ั ทางศลิ ปะ วฒั นธรรมทชี่ าวจนี ไดผ า นประวัติศาสตรรูปแบบสังคมแบบตาง ๆ ทัง้ สงั คมแบบยคุ มนุษยห ิน สังคมทาส สงั คมศกั ดินา สังคมก่ึงศักดินา สังคมก่ึงเมืองข้ึน จนเขาสูสังคมนิยมใน ปจ จบุ ัน ประเทศจีนมีพรมแดนติดกับ 15 ประเทศ คือ เวียดนาม ลาว พมา อินเดีย ภูฏาน สิกขิม เนปาล ปากสี ถาน อัฟกานิสถาน ทาจกิ ิสถาน ครี กีซสถาน คาซัคสถาน รัสเซีย มองโกเลีย และเกาหลเี หนอื ตง้ั แตก อตัง้ สาธารณรฐั เมอื่ ป พ.ศ. 2492 ประเทศจีนอยภู ายใตการปกครองของพรรคคอมมิวนิสตจีน ประเทศจนี อางอธปิ ไตยเหนือเกาะไตหวนั เผิงหู เอห มงึ และหมาจู แตไ มไดป กครองโดยที่เกาะเหลาน้ีปกครอง โดยสาธารณรฐั จนี ซงึ่ มีเมืองหลวงอยทู กี่ รงุ ไทเป ฐานะทางการเมืองของสาธารณรัฐจีนนั้น ยังเปน ท่โี ตแยง กันอยู คาํ วา “จนี แผน ดนิ ใหญ” ใชเรยี กสวนของจีน ที่อยูภายใตการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน (ยกเวนเขตบริหารพิเศษ 2 แหง คือ ฮองกง และมาเกา) นิยมเรียกสาธารณรัฐประชาชนจีนวา “จีนแดง” (Read Chaina) ปจ จบุ นั ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศญีป่ นุ เปน มหาอํานาจในภูมภิ าคเอเชยี มีเศรษฐกิจและกําลงั ทางทหารใหญที่สดุ ในภูมภิ าคเอเชยี ในดา นภาษาในการติดตอส่อื สารนนั้ จีนใชภ าษาจีนกลาง หรือภาษาธรรมดา เปน ภาษาประจาํ ชาติ ซึ่งเปนภาษาหนึ่งในหาภาษาทางการที่ใชในองคการสหประชาชาติ ประเทศจีนมีชนเผาตาง ๆ 56 ชนเผา ซึ่งสว นใหญจ ะมีภาษาประจําเผาของตัวเอง ภาษากวางตุง เปนหนึ่งในภาษาถ่ินท่ีใชพูดในทางใตของประเทศ สาํ หรับภาษาเขียนนน้ั ภาษาจีนมมี ากวา 6,000 ปแ ลว จากชนเผาท้ังหมด 56 เผา มีชนเผาฮ่ัน เปนชนเผาท่ีใหญที่สุด มีจํานวนประชากรถึง 91.02 % ของ ประชากรทง้ั หมด ที่เหลอื อกี 8.98 % เปนชนกลมุ นอ ยซึ่งประกอบไปดวย 55 เผา โดยทุกชนเผามีสิทธิเทาเทียม กนั ภายใตกฎหมาย

45 รากฐานทางอารยธรรมท่สี ําคัญของจีนคือ การสรา งระบบภาษาเขยี น ในยุคราชวงศฉิน (ศตวรรษท่ี 3 กอน ค.ศ.) และการพฒั นาแนวคิดลทั ธขิ งจ๊อื เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 กอน ค.ศ. ประวตั ศิ าสตรจนี มีท้งั ชว งที่เปน ปกแผนและแตกเปนหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอ่ืน วัฒนธรรมของจีน มีอิทธิพลอยางสูงตอชาติอ่ืน ๆ ในทวีปเอเชีย ซึง่ ถายทอดดว ยการอพยพของประชากร การคา และการยึดครอง 1.2 ประวตั ิศาสตรส ังเขปของประเทศอนิ เดีย ประเทศอินเดีย หรือมีช่ือเรียกอยางเปนทางการวา สาธารณรัฐอินเดีย ตั้งอยูในทวีปเอเชียใต เปน พื้นท่สี ว นใหญของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเปนอนั ดับทีส่ องของโลก และเปนประเทศประชาธิปไตย ทีม่ ีประชากรมากที่สดุ ในโลก โดยมปี ระชากรมากกวา หนง่ึ พนั ลา นคน มภี าษาพูดประมาณแปดรอยภาษา ในดา นเศรษฐกิจอนิ เดยี มีอาํ นาจการซอ้ื มากเปนอันดบั ทส่ี ่ขี องโลก โดย อาณาเขตทางทิศเหนือตดิ กับสาธารณรัฐประชาชนจนี เนปาล และภฏู าน ทศิ ตะวันตกเฉียงเหนือติดปากสี ถาน ทศิ ตะวนั ออกเฉยี งเหนือติดสาธารณรฐั แหง สหภาพพมา ทศิ ตะวนั ออกเฉยี งใตแ ละตะวันตกเฉียงใตจรดมหาสมุทรอินเดีย ทศิ ตะวนั ออกตดิ บงั กลาเทศ อนิ เดีย มีพ้นื ท่ี 3,287,590 ตารางกิโลเมตร ซึง่ ใหญก วา ไทยประมาณ 6 เทา ประวัติศาสตรอินเดียเริ่มตนเม่ือ 3,000 ปกอนคริสตกาล หลักฐานทางโบราณคดี ท่ีพบในแควน ปญ จาบและแควนคชุ ราตของอนิ เดียบง บอกถึงความรงุ เรืองของสังคมเมืองและอารยธรรมลุมนํ้าสินธุในยุคสมัยน้ัน ในศตวรรษที่ 6 กอนคริสตศักราช ชนเผาอินโด-อารยันท่ีปกครองอินเดียอยูในขณะนั้น ไดต้ังอาณาจักร ท่ีปกครองโดยกษัตริยนักรบขึ้นเปนผูปกครองดินแดนที่ราบลุมแมนํ้าคงคา (Ganges plain) มีชนเผาตาง ๆ เปนบริวารอยรู อบ ๆ ตอ มามีการตอตา นความมีอาํ นาจของพวกพราหมณท่ีมีอิทธิพลตอชีวิตความเปนอยูของ ชาวอินเดยี สวนใหญพ วกท่ีไมเห็นดวยตางพากันแสวงหาศาสดาใหม เปนบอเกิดของศาสนาใหม ๆ ความเช่ือ ใหม ๆ ข้ึน จึงทําใหเกิดศาสนาสําคัญข้ึน 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ (Buddhism) กับศาสนาเชน (Jainism) ในขณะทศี่ าสนาฮินดูรุง เรอื งและมีอทิ ธพิ ลอยา งมากอยใู นอนิ เดีย พวกมคธ (Magodh) มอี าํ นาจปกครองอยูใน แถบทรี่ าบตอนเหนอื พระเจาจันทรคปุ ตแหง ราชวงคโ มรยิ ะ (Chandragupta Maurya) เปน กษตั ริยองคส ําคญั ในประวัติศาสตรของอินเดีย พระเจาจันทรคุปตทรงตั้งเมืองปาฏะลีบุตร (Pataliputra) เปนเมืองหลวงของ อนิ เดยี ซง่ึ กลาวกันวา เมอื งปาฏะลีบุตรเปน เมอื งใหญท่สี ุดของโลกในเวลาน้ัน ตอมาพระเจาจันทรคุปตหันไปนับถือศาสนาเชนและบําเพ็ญทุกกรกิริยา ดวยการอดอาหารตาม ความเชื่อของศาสนาเชนจนกระท่ังสน้ิ พระชนม จากนั้นราชวงคโ มรยิ ะซง่ึ เจริญรุง เรืองมากทส่ี ุด ในยุคสมัยของ พระเจา อโศกมหาราช ผูแผอิทธิพลและขยายอาณาจักรอินเดียออกไปไกลจนทิศเหนือจรดแควนกัศมีรหรือ แคชเมียร (Kashmir) ดานทิศใตจรดไมเซอร (Mysore) ทิศตะวันออกจรดโอริสสา(Orissa) เม่ือข้ึนครองราชย ใหม ๆ พระเจา อโศกมหาราชทรงใชว ิธปี ราบปรามผูตอตานพระองค อยางโหดเห้ียม ทรงขยายอาณาจักรดวย กองทัพทเี่ กรียงไกร เขนฆาผคู นลมตายเปนใบไมรวง แตภายหลังเมื่อพระเจาอโศกมหาราชหันมานับถือพุทธ ศาสนา ทรงเปลี่ยนวิธีการขยายอาณาจักรดวยกองทัพธรรมเผยแผศาสนาพุทธโดยสงสมณทูตไปท่ัวโลก

46 โดยเฉพาะประเทศในเอเชยี และประเทศไทยนบั เปน อีกประเทศหน่ึงท่ไี ดร บั อิทธิพลพุทธศาสนาเขามาเผยแผ อยา งกวา งขวาง ตอมาไดมีการรวมพลังกันตอสูเพ่ืออิสรภาพของอินเดีย มีการตั้งพรรคการเมืองช่ือพรรค National Congress ขน้ึ จดุ ประสงคมไิ ดเลน การเมอื ง แตม งุ ไปท่ีการหาทางปลดปลอ ยอนิ เดยี ใหเปน เอกราช มีการรณรงค ใหความรแู ละปลกุ ระดมความเปน ชาตนิ ิยมขนึ้ ในอนิ เดยี นาํ โดยมหาบรุ ษุ คนสาํ คญั ของอินเดีย คือ ทานโมหัน ทาสการามจัน คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) ซึ่งชาวอินเดียเรียกดวยความยกยองวา “มหาตมะ” (Mahatama แปลวา Great Soul) ผูใชวิธีอหิงสา (nonviolence) ตอสูกับ ผูปกครองอังกฤษ อยางเงียบๆ มหาตมะ คานธี เปนผูนําชาวอินเดียท้งั ประเทศทําการประทวงอยางสันติในป ค.ศ. 1922 และได นําชาวอินเดียตอ ตานกฎหมายเรียกเก็บภาษีเกลือขององั กฤษในป ค.ศ. 1930 และเดินขบวนคร้ังใหญเรียกรอง ใหอังกฤษปลดปลอยอินเดีย ในป ค.ศ. 1942 มีการกอการจลาจลกลางเมืองจนถึงขั้นนองเลือดเกิดข้ึนใน หลายเมืองของอนิ เดีย เหตกุ ารณเ หลา น้ีบบี บงั คบั ใหอ ังกฤษตอ งทําความตกลงยอมยกอํานาจการปกครองประเทศใหอินเดีย ในวนั ท่ี 15 สงิ หาคม ค.ศ. 1947 ซึง่ ชาวอนิ เดยี ถือวา เปนวันประกาศอิสรภาพ และวนั หยดุ ราชการของประเทศ ดวย ในป ค.ศ. 1947 อนิ เดยี ไดเ อกราชจากองั กฤษแตอินเดยี ตอ งแบง ประเทศออกเปน 2 ประเทศ คือ อินเดีย ทม่ี ีประชากรสว นใหญเปนประเทศสาธารณรัฐอินเดีย อินเดียสวนนอยท่ีมีประชาชนเปนมุสลิมแยกตัวไปตั้ง ประเทศใหมเ ปนรัฐอสิ ลามชอ่ื ปากีสถาน ประชากรอินเดยี มปี ระมาณ 1,000 ลา นคน โดยมีเช้ือชาติอินโด-อารยัน รอยละ 72 ดราวิเดียน รอยละ 25 มองโกลอยด รอยละ 2 และอื่น ๆ รอยละ 1 อัตราการเพิ่มของประชากร รอยละ 1.8 พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) และอัตราการรหู นงั สือ รอยละ 52.1 ประชากรกวา 1,000 ลา นคนเหลา น้ี มคี วามแตกตางทางดา นชาตพิ ันธุ และวฒั นธรรม มภี าษาหลกั ใช พดู ถึง 16 ภาษา เชน ภาษาฮินดี ภาษาองั กฤษ ภาษาเบงกาลี ภาษาอูรดู เปนตนและมีภาษาถิ่นมากกวา 100 ภาษา ภาษาฮนิ ดี ถอื วาเปน ภาษาประจาํ ชาติ เพราะคนอินเดียกวารอยละ 30 ใชภาษานี้ คนอินเดียที่อาศัยอยูรัฐ ทางตอนเหนือและรฐั ทางตอนใต นอกจากจะใชภาษาท่ีแตกตางกันแลวการแตงกาย การรับประทานอาหาร ก็แตกตา งกันออกไปดว ย 1.3 ประวตั ิศาสตรส ังเขปของสาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว ลาวหรอื สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว เปน ประเทศหน่งึ ท่ีสบื เชอ้ื สายบรรพบุรษุ เดียวกับ ชาวไทย แตลาวประกอบดว ยชนกลุมนอ ยมากมายหลายเผา ลาวแท ๆ มีเพียง 50 เปอรเซ็นตเทานั้น ซึ่งสวนใหญ อาศัยอยรู ิมนา้ํ โขงบนท่ีราบ สว นชาวเขานิยมอยูบนเทอื กเขา ตามหลกั ฐานทางประวัติศาสตรเมื่อประมาณ 4,000 - 5,000 ปกอน กลุมชนที่พูดภาษาไต ไดอพยพ เขามาอยใู นประเทศลาวและทีร่ าบสงู ในภาคอีสาน รวมถึงพวกไท-กะได มง -เม่ียนที่เปนบรรพบุรุษของชาวลาวลุม และพวกมง-เยาที่อพยพจากตอนใตของประเทศจีน แรกเริ่มกลุมชนเหลาน้ีไมมีการต้ังหลักแหลงท่ีแนนอน ตอ มาเมอ่ื ชนเผา ตา ง ๆ ทั้งไทย พมา และเวียดนามอพยพลงมา ในเขตเทือกเขาและหุบเขาของดินแดนเอเชีย

47 อาคเนย ซ่งึ เปนถ่ินท่ีอยขู องชนชาตมิ อญ-เขมร ความจําเปนในการสรางบานเรือนก็เริ่มมีข้ึนจนพัฒนาตอมา เปนเมืองเกษตรกรรม และตง้ั ถ่นิ ฐานอยบู ริเวณหบุ เขาและทรี่ าบลุมภายใตอาํ นาจของอาณาจกั รเขมร ตอ มาในป พ.ศ.1896 พระเจา ฟา งมุ ทรงทําสงครามตีเอานครเวียงจันทน หลวงพระบางหัวเมืองพวน ทัง้ หมด ตลอดจนหัวเมอื งอีกหลายแหงในทร่ี าบสงู โคราชเขา รวมเปน อาณาจักรเดียวกันภายใต การชวยเหลือ ของกษตั รยิ เขมร กอตง้ั เปนอาณาจกั รลานชา งข้นึ บนดินแดนท่ตี ั้งอยูก่ึงกลางระหวางลุมแมน้ําโขงกับเทือกเขา อนั หนํา มีศูนยกลางอยูท่เี มอื งเชียงดง-เชียงทอง เปนอาณาจักรท่ีรุงเรืองในทุกดาน หลังจากสถาปนาเมืองเชียง ดง-เชยี งทองแลว พระเจา ฟางมุ ทรงรับพุทธศาสนาลัทธลิ ังกาวงศ จากราชสํานักเขมรมาเปนศาสนาประจําชาติ และไดอ ัญเชญิ พระบางเปนพระพุทธรูปศลิ ปะสงิ หลจากราชสํานกั เขมรมายังลา นชาง เจาฟางุมทรงเปล่ียนชื่อ เปน “เมืองหลวงพระบาง” เม่ือพระเจาฟางุมส้ินพระชนม พระยาสามแสนไทไตรภูวนาถ โอรสของพระเจาฟางุมไดขึ้นครองราชย อาณาจกั รลานชา งเริ่มเสื่อมลง เพราะสงครามแยงชิงอํานาจและเกดิ กบฏตาง ๆ นานนับ รอ ยป จนถึง พ.ศ. 2063 พระโพธิสารราชเจาเสด็จข้นึ ครองราชย และรวบรวมแผนดนิ ขึน้ ใหมใหเปน ปก แผน ทรงโปรดใหยายเมอื งหลวง ของอาณาจักรลานชางไปอยทู ่ีเมอื งเวียงจนั ทน เพ่อื ใหไ กลจากการรุกรานของสยาม และสรา งความเจริญใหกับ อาณาจกั รลา นชางเปน อยา งมากและทรงมสี ายพระเนตรยาวไกล ทรงโปรดใหพ ระเจา ไชยเชษฐาธริ าชพระราช โอรสไปครองอาณาจักรลานนา เพื่อเปนการคานอํานาจพมา คร้ันเม่ือพระเจาโพธิสารราชเจาเสด็จสวรรคต พระเจาไชยเชษฐาธริ าชเสดจ็ กลับมาลา นชาง และทรงอัญเชิญ พระแกวมรกตจากเชียงใหมไปยังเวียงจันทน ในรัชสมัยของพระองคพระพุทธศาสนาทรงมคี วามเจริญรุงเรืองมาก ทรงสรางวัดพระธาตุหลวง หรือท่ีเรียกวา “พระธาตเุ จดยี โ ลกจุฬามณ”ี และสรา งวดั พระแกวขน้ึ เพอื่ ประดิษฐานพระแกว มรกต หลังแผนดินพระเจาไชยเชษฐาธิราช อาณาจักรลานชางมีกษัตริยปกครองสืบตอกันมาหลายรัชกาล เจริญสูงสุดในรัชกาลพระเจาสุริยวงศาธรรมิกราช ถือวาเปนยุคทองแหงอาณาจักรลานชาง พระองคทรงเปน กษัตริยที่ต้งั มนั่ อยใู นทศพิธราชธรรมและเปน ท่ีนับถอื ของประชาชน หลังสมเด็จพระเจาสุริยวงศาธรรมิกราช สวรรคตแลว ลานชางแตกออกเปน 3 อาณาจกั ร คอื อาณาจกั รลา นชาง หลวงพระบาง อาณาจักรลานชาง เวียงจันทน และอาณาจักรลานชางจําปาศักดิ์ โดยตกอยูภายใตการยดึ ครองของประเทศเพ่ือนบาน รวมทั้ง จีน เวียดนาม และสยาม กองทัพสยามพิชิตหัวเมืองลาวตอนเหนือลงได จึงไดผนวกหลวงพระบางเขาเปน ดินแดนสวนหน่ึงของตน ราชวงศเหวียนของเวียดนามแผอํานาจยึดครองลาวทางตอนกลางของแมน้ําโขง รอบ ๆ นครเวยี งจนั ทน จนถงึ พ.ศ. 2322 กองทัพสยามเขายึดครองแผนดินลานชางที่แตกแยกออกเปน 3 อาณาจักรไดท้ังหมด คร้ันถึงป พ.ศ. 2365 เจาอนุวงศ แหงเวียงจันทนวางแผนกอกบฏเพ่ือกอบกูเอกราช แตไ มส ําเรจ็ ถกู ตัดสนิ โทษประหารชวี ติ กองทพั สยามในรชั กาลท่ี 3 ยกมาตนี ครเวยี งจนั ทนไดร อ้ื ทาํ ลายกาํ แพงเมอื ง เอาไฟเผาราบทง้ั เมือง ทรพั ยส นิ ถูกปลนสะดม ผคู นถูกกวาดตอ น วดั ในนครเวียงจันทนเ หลอื อยูเพยี งวัดเดยี ว ทไ่ี มถ กู ไฟไหม คือ วัดสีสะเกด อาจมีสาเหตุสําคญั จากสถาปต ยกรรมของวดั สีสะเกดแหงน้ีสรางตามแบบอยาง ของสถาปต ยกรรมไทยในสมยั รตั นโกสนิ ทรตอนตน ตอมาในป พ.ศ. 2428 พวกจนี ฮอ จากมณฑลยูนนาน ยกทพั มารกุ รานลาวและตีเมอื งตา ง ๆ ไลจ ากทาง ตอนเหนือไลมาถงึ นครเวยี งจนั ทนต อนใต รัชกาลที่ 5 ทรงแตงตัง้ ใหกรมหมืน่ ประจกั ษ - ศิลปาคม เปน ขาหลวง

48 ใหญม าประจําอยูหวั เมอื งลาวฝา ยเหนอื และยกกองทพั ขามแมน้าํ โขงมาตีฮอที่เวียงจันทน พวกจีนฮอพายแพ หนีขนึ้ ไปเชยี งขวาง ไทยตามตีจนถึงเมืองเชียงขวาง จนพวกฮอแตกพา ยไปหมด จนถงึ ป พ.ศ. 2436 ไทยตอ งเสยี ดินแดนแถบฝง ซา ยของแมน ํ้าโขงใหแกฝรั่งเศส หลังจากท่ไี ดปกครองลาวมาถงึ 114 ป เมื่อมหาอํานาจตะวันตกเริ่มแผนอิทธิพลเขาสูอินโดจีน ฝร่ังเศสไดใชสนธิสัญญา ที่ไมเปนธรรม บีบสยามใหยกดินแดนฝง ซา ยของแมน า้ํ โขงทงั้ หมดใหก ับตน (ประเทศลาวในปจจุบนั ) ฝรง่ั เศสปกครองลาว แตล ะแขวงโดยมคี นฝร่งั เศสเปนเจา แขวงหรอื ขา หลวง คอยควบคมุ เจาเมืองทเี่ ปนคนลาวอกี ตอหนึง่ ซึง่ ตอ งเกบ็ สวยตัวเลขจากชายฉกรรจใหขาหลวงฝรั่งเศส ตลอดเวลาที่ลาวตกเปนเมืองข้ึนนั้น ฝรั่งเศสไมรักษา โบราณสถาน โบราณวตั ถุ โดยร้อื สรางเปน ถนนไมไ ดสนใจกับวัฒนธรรมของประเทศลาวเทาไรนกั เพราะถือวา เปน ดนิ แดนบา นปาลา หลังไมม คี า ในเชงิ เศรษฐกจิ ตอมาในสงครามโลกครง้ั ท่สี อง เยอรมนั นี มีชยั เหนือประเทศฝรง่ั เศสและกอต้ังคณะรัฐบาลขน้ึ ทีเ่ มอื ง วิซี คณะขา หลวงฝรั่งเศสในอินโดจนี ใหการหนุนหลงั รัฐบาลวซิ ี และตกลงเปน พันธมติ รกับญ่ีปนุ ครน้ั ถงึ ป พ.ศ. 2484 รฐั บาลภายใตก ารนําของพลตรีหลวงพบิ ลู สงครามเรมิ่ ดําเนนิ การตอตานอํานาจของฝร่ังเศสที่เริ่มเสื่อม ถอย ดวยการยึดแขวงไชยบุรีและจําปาศักด์ิกลับคืนมา ญี่ปุนยุใหลาวประกาศเอกราช แตกองทัพฝร่ังเศส ก็ยอนกลับคืนมาอีกครั้งหลังสงครามยุติไดไมนาน ลาวหันมาปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมี รฐั ธรรมนูญเปนกฎหมายสงู สดุ ภายใตการควบคมุ ดูแลของฝรั่งเศส พ.ศ. 2492 สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรฯ (อังกฤษ) ขบวนการลาวอิสระลมสลาย แนวรัก รว มชาตไิ ดพ ฒั นาเปนขบวนการคอมมิวนิสตประเทศลาว ในเวลาตอมาโดยไดรับการสนับสนุนจากโฮจิมินห และพรรคคอมมวิ นิสตของเวียดนาม พ.ศ. 2495 ลาวในหัวเมืองดานตะวันออกเฉียงเหนือเร่ิมกอการจลาจลตอตานการปกครองของ ฝรงั่ เศสภายใตการสนบั สนนุ จากรัฐบาลกรุงฮานอย เม่ือฝร่ังเศสแพส งครามทคี่ า ยเดียนเบยี นฟู ลาวจึงไดร ับเอกราชอยางสมบูรณ ฝร่ังเศสถอนกําลังออก จากประเทศลาวซ่งึ แตกแยกออกเปน 2 ฝา ย คือ ฝา ยสนับสนนุ ระบบกษัตรยิ ใ นเวียงจันทน (ฝายขวา) กับฝาย ขบวนการประเทศลาว (ฝายซา ย) พ.ศ. 2498 ลาวไดร ับการยอมรับใหเขาเปนสมาชิกขององคการสหประชาชาติ พ.ศ. 2500 เจาสวุ รรณภูมา ขึ้นดํารงตําแหนง นายกรัฐมนตรีเปน ผนู าํ รฐั บาลผสมในนครเวียงจันทน พ.ศ. 2506 รัฐบาลคอมมิวนิสตเวียดนามหันมาใชเสนทางโฮจิมินหในภาคตะวันออกของลาว เปน เสน ทางหลกั ในการสงกาํ ลงั พลไปปราบปรามพวกตอตา นคอมมิวนิสตในเวยี ดนามใต กองกําลังอเมรกิ นั เริม่ เขา มาปฏิบตั กิ ารลบั ในลาว พ.ศ. 2516 สหรฐั อเมริกาถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม “การทําสงครามหลัง ฉาก” ในประเทศลาวจงึ ตองเลกิ ราไปดว ย พ.ศ. 2518 หลงั จากรัฐบาลคอมมวิ นสิ ตมชี ัยเหนือเวยี ดนามท้ังประเทศไดไมน าน โดยยดึ กรงุ พนมเปญ เปนแหง แรก ตอ มาไดไ ซงอ น ขบวนการประเทศลาวยึดอาํ นาจไดทั้งหมดในเดือนธันวาคม เจามหาชีวิตศรีสวาง วัฒนาถูกปลดออกจากราชบัลลังก ตามมาดวยการสถาปนาประเทศใหมชื่อวา “สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว” หรอื สปป.ลาว เมอื่ วันที่ 2 ธนั วาคม พ.ศ. 2518

49 ระยะ 5 ป หลังการเปล่ียนแปลงการปกครอง ลาวใชนโยบายคอมมิวนิสตปกครองอยางเขมงวด ควบคมุ พุทธศาสนา ตดั สัมพันธก ับประเทศไทย ปราบปรามชนกลุม นอ ย ราษฎรหลายหมื่นคนถูกจับ สงผลให ปญ ญาชนและชนช้ันกลางจาํ นวนมากหลบหนีออกนอกประเทศ เจาสวา งวฒั นาและพระญาติวงศสิ้นพระชนม อยใู นคายกกั กนั ชาวบานยากจนลง พ.ศ. 2535 นายไกสอน พมวหิ าร ประธานประเทศผูเชื่อม่ันในระบอบคอมมิวนิสตถึงแกอสัญกรรม นายหนูฮัก พูมสะหวัน ข้ึนดํารงตําแหนงแทน การจํากัดเสรีภาพคอย ๆ ถูกยกเลิกไป ชาวลาวที่อพยพไปอยู ตา งประเทศไดรับการเช้ือเชิญใหกลับคืนสูบานเกิดเมืองนอน ลาวเร่ิมเปดประเทศตอนรับนักทองเที่ยวและ ฟนฟคู วามสมั พนั ธก ับประเทศไทย พ.ศ. 2537 มีพิธีเปด “สะพานมิตรภาพ” ขามแมน้ําโขงเชื่อมลาว-ไทย เขาดวยกัน สงผลใหไทย มีอทิ ธพิ ลตอลาวมากขึน้ ทง้ั ในดานวฒั นธรรมและเศรษฐกจิ และการท่ปี ระธานหนฮู ัก พูมสะหวัน ไดเ ดนิ ทางมา เยือนไทยอยางเปนทางการและเขาเฝาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลท่ี 9) การปฏิรูปเหลา น้ี ทาํ ใหลาวไดรบั การยอมรบั เขา เปนสมาชกิ อาเซยี นในป พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2548 ลาวครบรอบ 30 ป การสถาปนาประเทศใหมเปนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว (สปป.ลาว) และในปเ ดียวกันน้ีเอง สะพานมติ รภาพไทย - ลาว กไ็ ดเปดใชอีกเปน แหงท่ีสองที่จังหวดั เลย 1.4 ประวัตศิ าสตรสังเขปของประเทศพมาหรือสาธารณรฐั แหง สหภาพเมยี นมาร

50 ประวตั ศิ าสตรข องพมาน้ันยาวนาน มีประชาชนหลายเผาพันธุเคยอาศัยอยูในดินแดนแหงน้ี เผาพันธุ เกาแกท ีส่ ุดทป่ี รากฏไดแ ก มอญ ตอ มาราวศตวรรษที่ 13 ชาวพมาไดอพยพลงมาจากบรเิ วณพรมแดนระหวางจีน และทเิ บต เขาสทู ีร่ าบลุม แมน ้ําอริ ะวดี และกลายเปน ชนเผา สวนใหญท ่ีปกครองประเทศในเวลาตอ มา ประวัติศาสตรข องสาธารณรัฐแหง สหภาพพมา มีความเกยี่ วขอ งกบั ชนชาติตา ง ๆ หลายเชื้อชาติ ไดแก มอญ พยู รวมถึงมีการเก่ยี วพนั ธกับอาณาจกั รและราชวงศต า ง ๆ เชน มอญ เปนชนเผาแรกที่สามารถสรา งอารยธรรมขน้ึ เปนเอกลักษณข องตนได ชาวมอญไดอพยพเขามา อาศัยอยูในดินแดนแหงน้ีเมื่อราว 2400 ปกอนพุทธกาล และไดสถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ข้ึนเปน อาณาจักรแหงแรกในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ณ บรเิ วณใกลเมืองทาตอน (Thaton) ชาวมอญไดรับอิทธิพลของ ศาสนาพุทธผา นทางอินเดยี ในราว พทุ ธศตวรรษท่ี 2 ซึ่งเช่ือวามาจากการเผยแพรพระพุทธศาสนาในรัชสมัย ของพระเจาอโศกมหาราช บนั ทกึ ของชาวมอญสว นใหญถ ูกทาํ ลายในระหวางสงคราม วฒั นธรรมของชาวมอญ เกดิ ขน้ึ จากการผสมผสานกบั วัฒนธรรมจากอนิ เดยี จนกลายเปน เอกลกั ษณของตนเองเปนวัฒนธรรมลักษณะ ลูกผสม ในราวพทุ ธศตวรรษท่ี 14 ชาวมอญไดเ ขา ครอบครองและมีอิทธิพลในดินแดนตอนใตของพมาและได เกิดอาณาจกั รใหมข ้ึน เรยี กวา อาณาจกั รสธุ รรมวดี ท่เี มืองพะโค (หงสาวดี) ปยุ : พยู : เพียว ชาวปยุหรือพยูหรือเพียว คือ กลุมชนที่เขามาอาศัยอยูในดินแดนประเทศสาธารณรัฐแหง สหภาพพมา ตงั้ แตพ ุทธศตวรรษท่ี 4 และไดสถาปนานครรฐั ขน้ึ หลายแหง เชน ที่ พนิ นาคา (Binnaka) มองกะโม (Mongamo) ศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปยทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ในชวงเวลา ดังกลาว ดินแดนพมา เปนสวนหนง่ึ ของเสนทางการคาระหวา งจีนและอินเดียจากเอกสารของจีนพบวามีเมือง อยูภายใตอ ํานาจปกครองของชาวพยู 18 เมอื ง และชาวพยเู ปน ชนเผาที่รักสงบ ไมปรากฏวามีสงครามเกิดข้ึน ระหวางชนเผาพยู ขอขัดแยงมักยุติดวยการคัดเลือกตัวแทนใหเขาประลองความสามารถกัน ชาวพยูสวมใส เคร่ืองแตงกายที่ทําจากฝาย อาชญากรมักถูกลงโทษดวยการโบยหรือจําขัง เวนแตไดกระทําความผิด อนั รายแรงจึงตอ งโทษประหารชวี ติ ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ ไดรับการศึกษาท่ีวัด ต้ังแตอ ายุ 7 ขวบจนถงึ 20 ป นครรฐั ของชาวพยไู มเคยรวมตวั เปนอนั หนึ่งอนั เดยี วกัน แตน ครรฐั ขนาดใหญม ักมีอทิ ธิพลเหนอื นครรฐั ขนาดเล็ก ซ่ึงแสดงออกโดยการสงเคร่ืองบรรณาการใหนครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุด ไดแก ศรีเกษตร ซึ่งมี หลกั ฐานเชอื่ ไดว า เปนเมืองโบราณท่ีมีขนาดใหญท่ีสุดในสาธารณรัฐแหง สหภาพพมา ไมปรากฏหลักฐานวา อาณาจกั รศรีเกษตรถกู สถาปนาข้ึนเม่ือใด แตมีการกลาวถึงในพงศาวดารวามีการเปลี่ยนราชวงศเกิดขึ้นในป พทุ ธศักราช 637 ซึง่ แสดงใหเ ห็นวาอาณาจักรศรีเกษตรตอ งไดรบั การสถาปนาขึ้นกอนหนาน้ัน มีความชัดเจน วา อาณาจกั รศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปพุทธศักราช 1199 เพ่ืออพยพยายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหมทาง ตอนเหนือ แตยังไมทราบอยางแนชัดวาเมืองดังกลาวคือเมืองใด นักประวัติศาสตรบางทานเชื่อวาเมือง ดงั กลาวคอื เมืองหะลินคยี อยางไรก็ตามเมืองดังกลาว ถูกรุกรานจากอาณาจักรนานเจาในราวพุทธศตวรรษ ที่ 15จากนัน้ ก็ไมป รากฏหลักฐานกลาวถึงชาวพยูอีกเลย

51 อาณาจักรพกุ าม ชาวพมาเปนชนเผาจากทางตอนเหนือท่ีคอย ๆ อพยพแทรกซึมเขามาสั่งสมอิทธิพลในดินแดน สาธารณรัฐแหง สหภาพพมาทีละนอย กระทั่งปพุทธศักราช 1392 จึงมีหลักฐานถึงอาณาจักรอันทรงอํานาจ ซ่งึ มีศนู ยก ลางอยทู เ่ี มือง “พุกาม” (Bagan) โดยไดเ ขามาแทนท่ีภาวะสูญญากาศทางอํานาจภายหลังจากการ เส่ือมสลายไปของอาณาจักรชาวพยู อาณาจักรของชาวพุกามแตแรกนั้นมิไดเติบโตข้ึนอยางเปนอันหนึ่ง อันเดียวกัน กระท่งั ในรัชสมัยของพระเจาอโนรธา (พ.ศ. 1587 - 1620) พระองคจึงสามารถรวบรวมแผนดิน พมาใหเปนอันหน่ึงอันเดียวกันสําเร็จ และเม่ือพระองคทรงตีเมืองทาตอนของชาวมอญไดในปพุทธศักราช 1600 อาณาจักรพุกามก็กลายเปนอาณาจักรที่เขมแข็งที่สุดในดินแดนพมา อาณาจักรพุกาม มีความเขมแข็งเพิ่มมากขึ้นในรัชสมัยของพระเจากยันสิทธา (พ.ศ. 1624 - 1655) พระเจาอลองสิทธู (พ.ศ. 1655 - 1710) ทําใหในชวงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ดินแดนในสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมด ถูกครอบครอง โดยอาณาจักรเพียงสองแหง คือ เขมร (เมืองพระนคร) และพุกาม อํานาจของอาณาจักรพุกามคอย ๆ เส่ือมลง ดวยเหตุผลหลักสองประการ สวนหน่ึงจากการถูกเขา ครอบงาํ โดยคณะสงฆผ ูม อี าํ นาจ และอีกสว นหนงึ่ จากการรุกรานของจกั รวรรดมิ องโกล ท่เี ขา มาทางตอนเหนือ พระเจานราธิหบดี (ครองราชย พ.ศ. 1779 - 1830) ไดท รงนําทัพสยู นู นานเพื่อยบั ยัง้ การขยายอํานาจของมอง โกล แตเม่ือพระองคแพสงครามในปพุทธศักราช 1820 ทัพของอาณาจักรพุกามก็ระส่ําระสายเกือบท้ังหมด พระเจา นราธหิ บดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนมในปพุทธศักราช 1830 กลายเปน ตัวเรงที่ทําใหอาณาจักรมอง โกลตดั สนิ ใจรกุ รานอาณาจักรพุกามในปเดียวกันนั้น ภายหลังสงครามครั้งนี้ อาณาจักรมองโกลก็สามารถ เขาครอบครองดินแดนของอาณาจักรพุกามไดทั้งหมด ราชวงศพุกามสิ้นสุดลงเมื่อมองโกลไดแตงตั้ง รัฐบาลหุนขึ้นบริหารดินแดนพมาในปพทุ ธศกั ราช 1832 องั วะและหงสาวดี หลังจากการลม สลายของอาณาจกั รพุกาม พมา ไดแ ตกแยกออกจากกนั อกี ครั้ง ราชวงศองั วะ ซึ่งไดรับ อทิ ธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรพุกามไดถูกสถาปนาข้ึนที่เมืองอังวะในปพุทธศักราช 1907 ศิลปะและ วรรณกรรมของพุกามไดถ กู ฟน ฟจู นยุคนี้กลายเปนยุคทองแหงวรรณกรรมของพมา แตเนื่องดวยอาณาเขต ที่ยากตอการปองกันการรุกรานจากศัตรู เมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญเขาครอบครองไดในปพุทธศักราช 2070 สาํ หรับดินแดนทางใต ชาวมอญไดสถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึ้นใหมอีกครั้งท่ีเมืองหงสาวดี โดยกษัตริยธรรมเจดยี  (ครองราชย พ.ศ. 1970 - 2035) เปนจดุ เริม่ ตน ยุคทองของมอญ ซ่ึงเปนศูนยกลางของ พุทธศาสนานิกายเถรวาทและศูนยกลางทางการคาขนาดใหญในเวลาตอ มา อาณาจกั รตองอู หลงั จากอาณาจักรพกุ ามถูกรุกรานจากไทใหญ ชาวอังวะไดอพยพลงมาสถาปนาอาณาจักรแหงใหม โดยมีศูนยกลางที่เมืองตองอูภายใตการนําของพระเจามิงคยินโย ในปพุทธศักราช 2074 พระเจาตะเบง ชะเวตี้ (ครองราชย พ.ศ. 2074 - 2093) ซึ่งสามารถรวบรวมพมาเกือบท้ังหมดใหเปนอันหนึ่งอันเดียวกันได อีกคร้งั

52 ในชวงระยะเวลาน้ี ไดมีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญเกิดข้ึนในภูมิภาค ชาวไทใหญมีกําลังเขมแข็ง เปน อยางมากทางตอนเหนือ การเมอื งภายในอาณาจกั รอยธุ ยาเกิดความไมม น่ั คง ในขณะทีโ่ ปรตุเกสไดเริ่มมี อิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใตและสามารถเขาครอบครองมะละกาได ในการเขามาของบรรดา พอ คาชาวยุโรป พมากลายเปนศูนยกลางทางการคา ทส่ี าํ คัญอกี ครง้ั หนง่ึ การทพ่ี ระเจาตะเบงชะเวต้ไี ดยายเมอื ง หลวงมาอยูที่เมืองหงสาวดี เหตุผลสวนหน่ึงก็เน่ืองดวยทําเลทางการคา พระเจาบุเรงนอง (ทรงครองราชย พ.ศ. 2094 - 2124) ซ่ึงเปนพระเทวัน (พ่ีเขย) ของพระเจาตะเบงชะเวตี้ ไดเสด็จข้ึนครองราชยสืบตอจาก พระเจาตะเบงชะเวต้ี และสามารถเขาครอบครองอาณาจักรตางๆ รายรอบได อาทิ มณีปุระ (พ.ศ. 2103) อยุธยา (พ.ศ. 2112) การทําสงครามของพระองคทําใหพมามีอาณาเขตกวางใหญไพศาลท่ีสุด อยางไรก็ตาม ทั้งมณีปุระและอยธุ ยาตา งกส็ ามารถประกาศตนเปนอสิ ระไดภายในเวลาตอ มาไมนาน เมือ่ ตอ งเผชิญกบั การกอกบฏจากเมอื งขน้ึ หลายแหง ประกอบกับการรกุ รานของโปรตุเกส กษัตริยแ หง ราชวงศตองอูจําเปน ตองถอนตวั จากการครอบครองดนิ แดนทางตอนใต โดยยายเมืองหลวงไปอยูที่เมืองอังวะ พระเจา อะนอกะเพตลุน (Anaukpetlun) พระนัดดาของพระเจาบเุ รงนอง สามารถรวบรวมแผนดินพมา ใหเ ปน อันหน่งึ อนั เดียวกันอีกครั้งในพุทธศักราช 2156 พระองคตัดสินใจ ที่จะใชกําลังเขาตอตานการรุกรานของ โปรตุเกส พระเจาธารุน (Thalun) ผูสืบทอดราชบัลลังกไดฟนฟูหลักธรรมศาสตรของอาณาจักรพุกามเกา แตพระองคทรงใชเวลากับเรื่องศาสนามากเกินไป จนละเลยท่ีจะใสใจตออาณาเขตทางตอนใต ทายที่สุด หงสาวดที ไี่ ดรบั การสนบั สนนุ จากฝรัง่ เศสซ่ึงต้ังมัน่ อยใู นอินเดยี กไ็ ดทําการประกาศเอกราชจากอังวะ จากน้ัน อาณาจักรของชาวพมาก็คอยๆ ออนแอลงและลมสลายไปในปพ ุทธศักราช 2259 จากการรุกรานของชาวมอญ ราชวงศอลองพญา ราชวงศอ ลองพญา ไดร ับการสถาปนาข้ึนและสรางความเขมแข็งจนถึงขีดสุดไดภายในเวลาอันรวดเร็ว อลองพญาซ่ึงเปน ผูน ําทไี่ ดรับความนยิ มจากชาวพมา ไดขับไลช าวมอญทเ่ี ขา มาครอบครองดินแดนของชาวพมา ไดในป พ.ศ. 2296 จากนน้ั กส็ ามารถเขา ยึดครองอาณาจักรมอญได อกี ครง้ั ในป พ.ศ. 2302 ท้งั ยงั สามารถกลับ เขา ยดึ ครองกรงุ มณปี ุระ ไดใ นชว งเวลาเดียวกนั พระองคสถาปนาใหเ มอื งยา งกงุ เปน เมอื งหลวงในป พ.ศ. 2303 หลงั จากเขา ยดึ ครองตะนาวศรี (Tenasserim) พระองคไดยาตราทัพเขารุกรานอยุธยา แตตองประสบความ ลมเหลวเม่ือพระองคทรงสวรรคตในระหวางสงคราม พระเจาสินบูหชิน (Hsinbyushin , ครองราชย พ.ศ. 2306 - 2319) พระราชโอรส ไดนําทัพเขารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกคร้ังในป พ.ศ. 2309 และประสบ ความสําเรจ็ ในปถ ัดมา ในรชั สมยั น้ี แมจ ีนจะพยายามขยายอาํ นาจเขา สูดินแดนพมา แตพระองคก็สามารถยับยั้ง การรุกรานของจีนไดทั้งส่ีครั้ง (ในชวงป พ.ศ. 2309 - 2312) ทําการขยายพรมแดนของจีนทางดานนี้ ถูกยุติลง ในรัชสมัยของพระเจาโบดอ-พญา (Bodawpaya ครองราชย พ.ศ. 2324 - 2362) พระโอรส อีกพระองคของพระเจา อลองพญา พมาตอ งสญู เสียอํานาจท่มี ีเหนืออยุธยาไป แตกส็ ามารถผนวกดนิ แดนยะไข (Arakan) และตะนาวศรี (Tenasserim) เขา มาไวไ ด ในชวงเดอื นมกราคมของป พ.ศ. 2366 ซึ่งอยูในรัชสมัย ของพระเจา บาคยีดอว (Bagyidaw) ขนุ นางชื่อมหาพันธุละ (Maha Bandula) เขา รกุ รานแควน อสั สัมไดส ําเร็จ ทาํ ใหพมา ตอ งเผชญิ หนาโดยตรงกับอังกฤษที่ครอบครองอินเดยี อยใู นขณะนนั้

53 สงครามกบั องั กฤษและการลมสลายของราชอาณาจักรพมา สงครามระหวางพมาและอังกฤษครั้งที่หน่ึง (พ.ศ. 2367 2369) ยุติลงโดยอังกฤษเปนฝายไดรับ ชยั ชนะ ฝายพมาจาํ ตองทาํ สนธสิ ัญญายนั ดาโบ (Yandaboo) กบั อังกฤษ ทําใหพมาตองสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะไข และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษก็เร่ิมตนตักตวงทรัพยากรตาง ๆ ของพมา นับแตน้ัน เพื่อเปน หลักประกันสําหรบั วัตถุดิบทจี่ ะปอ นสูสงิ คโปร สรางความแคน เคืองใหกับทางพมาเปนอยางมาก กษัตริยองค ตอมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และทําการโจมตีผลประโยชนของฝายอังกฤษ เปนตนเหตุใหเกิด สงครามระหวางพมา และอังกฤษครง้ั ท่สี อง ซ่ึงก็จบลงโดยชัยชนะเปนของอังกฤษอีกคร้ัง หลังส้ินสุดสงคราม คร้ังนี้ อังกฤษไดผนวกหงสาวดีและพ้ืนท่ีใกลเคียงเขาไวกับตน โดยไดเรียกดินแดนดังกลาวเสียใหมวาพมา ตอนใต สงครามครั้งนี้กอใหเกิดการปฏิวัติคร้ังใหญในพมา เร่ิมตนดวยการเขายึดอํานาจโดยพระเจามินดง (Mindon Min) จากพระเจา ปะกนั (Pagin Min) ซงึ่ เปนพระเชษฐาตา งพระชนนี พระเจามินดงพยายามพฒั นา ประเทศพมาเพือ่ ตอตานการรุกรานขององั กฤษ พระองคไ ดส ถาปนากรุงมัณฑะเลย ซึ่งยากตอการรุกรานจาก ภายนอก ข้ึนเปน เมืองหลวงแหงใหม แตก ย็ งั ไมเพียงพอทจี่ ะหยุดย้งั การรุกรานจากองั กฤษได รัชสมัยตอมา พระเจาธีบอ (Thibow) ซ่ึงเปนพระโอรสของพระเจามินดง ทรงมีบารมีไมพ อท่จี ะ ควบคุมพระราชอาณาจักรได จึงทําใหเกิดความวุนวายไปท่ัวในบริเวณชายแดน ในที่สุดพระองคไดตัดสิน พระทยั ยกเลกิ สนธิสญั ญากับองั กฤษท่พี ระเจามินดงไดทรงกระทําไว และไดประกาศสงครามกับอังกฤษเปน ครง้ั ทส่ี ามในปพ ทุ ธศักราช 2428 ผลของสงครามครง้ั น้ที าํ ใหองั กฤษสามารถเขา ครอบครองดนิ แดนสาธารณรัฐ แหงสหภาพพมาสวนทเี่ หลอื เอาไวได พมา ตกเปน อาณานคิ มขององั กฤษในป พ.ศ. 2429 และระยะกอนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กนอย ญ่ีปุนไดเขามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ตะขิ่นเปนกลุมนักศึกษาหนุมท่ีหัวรุนแรงมีอองซาน นกั ชาตินยิ ม และเปนผูนําของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยยางกุง พวกเขาคิดวาญี่ปุนจะสนับสนุนการประกาศ อิสรภาพของพมา จากอังกฤษ แตเม่ือญ่ีปุนยึดครองพมาไดแลว กลับพยายามหนวงเหน่ียวมิใหพมาประกาศ เอกราช ดังน้ันอองซานไดกอต้ัง องคการสันนิบาตเสรีภาพแหงประชาชนตอตานฟาสซิสต (Anti-Fascist Peoples Freedom League : AFPEL) เพอ่ื ตอตา นญ่ปี นุ อยางลบั ๆ และไดก ลายเปน พรรคการเมืองชอ่ื พรรค AFPEL เม่อื ญปี่ นุ แพสงครามโลกครง้ั ท่ี 2 แลว พรรค AFPEL ไดเ จรจากบั อังกฤษโดยองั กฤษยืนยนั ท่จี ะใหพมา มีอิสรภาพปกครองตนเองภายใตเครือจักรภพ และมีขาหลวงใหญอังกฤษประจําพมาชวยใหคําปรึกษา แตพ รรคการเมือง AFPEL ตอ งการเอกราชอยางสมบูรณ อังกฤษไดพยายามสนับบสนุนพรรคการเมืองอ่ืน ๆ ข้ึนแขง อํานาจพรรค AFPEL ของอองซานแตไ มเ ปนผลสาํ เรจ็ จงึ ยนิ ยอมใหพ รรค AFPEL ขน้ึ บรหิ ารประเทศ

54 อองซานมนี โยบายสรางความมน่ั คงทางเศรษฐกจิ และตองการเจรจากับรัฐบาลองั กฤษโดยสันติวิธี จึงทําใหเกดิ ความขัดแยง กับฝา ยนยิ มคอมมวิ นิสตใ นพรรค AFPEL อองซานและคณะรัฐมนตรอี ีก 6 คน จึงถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ขณะเดินทางออกจากทีป่ ระชมุ สภา ตอ มาตะข้ินนหุ รืออูนุ ไดขึ้นเปนนายกรัฐมนตรีแทนและมีการประกาศใช รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2490 โดยอังกฤษได มอบเอกราชใหแกพมาแตยังรักษาสิทธิทางการทหารไว จนกระท่ังในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษจึงได มอบเอกราชใหแ กพ มาอยา งสมบรู ณ ปจ จุบนั ประเทศพมา ปกครองในคณะรัฐบาลทหารทม่ี าจากการเลอื กตั้ง และยงั มีปญ หาการสูรบกนั ใน ชนเผานอ ยอยูตลอดเวลา 1.5 ประวตั ศิ าสตรส ังเขปของประเทศอินโดนเี ซยี อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Requblic of Indonesia) เปนหมูเกาะที่ใหญที่สุดในโลก ต้ังอยูระหวางคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใตและทวีปออสเตรเลียและ ระหวางมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอรเนียว (อินโดนีเซีย : กาลิมนั ตัน), ประเทศปาปว นวิ กนิ บี นเกาะนิวกนิ ี (อินโดนีเซีย : อิเรยี น) และประเทศติมอรตะวันออกบนเกาะ ตมิ อร อนิ โดนีเซียประกอบดว ยหมูเกาะทมี่ ีความเจริญรงุ เรอื งมาชานาน แตตอมาตองตกอยูภายใตการ ปกครองของเนเธอรแลนดอยูนานประมาณ 300 ป ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึง่ เปน ชว งสงครามโลกครั้งท่ี 2 ญี่ปนุ บุกอนิ โดนีเซยี และทําการขับไลเนเธอรแ ลนดเ จาอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปไดสําเร็จ จึงทําให ผูนําอินโดนีเซียคนสําคัญ ๆ ในสมัยน้ันใหความรวมมือกับญ่ีปุน แตไมไดใหความไววางใจกับญี่ปุนมากนัก เพราะมเี หตุเคลอื บแคลง คือ เม่ือมผี รู กั ชาติชาวอินโดนีเซียจัดต้ังขบวนการตาง ๆ ขึ้นมา ญี่ปุนจะขอเขารวม ควบคุมและดาํ เนินงานดว ย เมอื่ ญี่ปนุ แพสงครามและประกาศยอมจํานนตอฝายพันธมิตร อินโดนีเซียไดถือโอกาสประกาศ เอกราชในวันท่ี 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แตเนเธอรแลนดเจาอาณานิคมเดิมไมยอมรับการประกาศเอกราช ของอินโดนเี ซยี จึงยกกองทพั เขาปราบปราม ผลจากการสูรบปรากฏวาเนเธอรแลนด ไมสามารถปราบปราม กองทัพของชาวอินโดนีเซียได อังกฤษซ่ึงเปนพันธมิตรกับเนเธอรแลนดจึงเขามาชวยไกลเกล่ีย เพ่ือใหยุติ ความขัดแยงกนั โดยใหท้ังสองฝายลงนามในขอตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอรแ ลนดยอมรบั อาํ นาจของรัฐบาลอนิ โดนเี ซียในเกาะชวาและ สมุ าตรา ตอ มาภายหลังเนเธอรแลนด ไดล ะเมดิ ขอ ตกลง โดยไดนําทหารเขา โจมตีอนิ โดนีเซยี ทาํ ใหประเทศอ่ืนๆ เชน ออสเตรเลียและอินเดีย ไดยื่น เรื่องใหคณะมนตรีความมั่นคงแหงสหประชาชาติ เขาจัดการ สหประชาชาติไดเขาระงับขอพิพาท โดยตั้ง

55 คณะกรรมการประกอบดวย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพ่ือทําหนาที่ไกลเกล่ียประนีประนอม และไดเ รียกรอ งใหม กี ารหยดุ ยิง แตเ นเธอรแลนดไดเขาจับกุมผูนําคนสําคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการโนและ ฮตั ตาไปกักขงั ตอ มาทหารอนิ โดนีเซียนําตัวผูนาํ ทัง้ สองออกมาได ในระยะน้ีทุกประเทศทั่วโลกตางตําหนิการ กระทําของเนเธอรแลนดอยางยิ่ง และคณะมนตรีความม่ันคงไดกดดันใหเนเธอรแลนดมอบเอกราช แกอนิ โดนีเซยี ในวันท่ี 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียไดรับเอกราช และปกครองระบบประชาธิปไตยมี ประธานาธิบดีเปนประมุขของประเทศแตความยุงยากยังคงมีอยู เน่ืองจากเนเธอรแลนดไมยินยอมใหรวม ดนิ แดนอเิ รยี นตะวันตกเขากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝายจึงตางเตรียมการจะสูรบกันอีก ผลท่ีสุดเนเธอรแลนด ก็ยอมโอนอํานาจใหสหประชาชาติควบคุมดูแลดินแดนอิเรียนตะวันตก และใหชาวอิเรียนตะวันตกแสดง ประชามติวา จะรวมกับอินโดนีเซยี หรือไม ผลการออกเสียงประชามติ ปรากฏวาชาวอิเรียนตะวันตกสวนใหญ ตองการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกใหอยูในความปกครองของอินโดนีเซีย เม่อื เดอื นพฤษภาคม พ.ศ. 2506 1.6 ประวตั ิศาสตรสงั เขปของประเทศฟล ปิ ปนส ฟลิปปนส (the Philippines) หรือช่ือทางการคือ สาธารณรัฐฟลิปปนส (Republic of the Philippines) เปนประเทศทป่ี ระกอบดวยเกาะจํานวน 7,107 เกาะต้ังอยูในมหาสมุทรแปซิฟก หางจากเอเชีย แผน ดินใหญทางตะวันออกเฉยี งใต ประมาณ 100 กม. และมีลักษณะพเิ ศษคือ เปนประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มี พรมแดนทางทะเลที่ติดตอระหวางกันยาวมากที่สุดในโลก นิวสเปน (พ.ศ. 2064 - 2441) และสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2441 - 2489) ไดครองฟลิปปนสเปนอาณานิคมเปนเวลา 4 ศตวรรษ และเปนสองอิทธิพลใหญท่ีสุดตอ วัฒนธรรมของฟลปิ ปน ส ฟลิปปนสเปนชาติเดียวในเอเชียท่ีประชากรสวนใหญนับถือศาสนาคริสต และเปนหนึ่งในชาติ ทไ่ี ดรับอิทธพิ ลจากตะวันตกมากทสี่ ดุ เปน การผสมผสานกันระหวางตะวันตกและตะวันออกท่ีเปนเอกลักษณ เฉพาะ อารโนลด โจเซฟ ทอยนบี (Arnold Joseph Toynbee) นักประวัติศาสตรชาวอังกฤษ ไดกลาวไวในงาน ของเขาวา ประเทศฟล ิปปน สเ ปนประเทศลาตนิ อเมรกิ าทถี่ ูกพัดพาไปยงั ตะวันออก โดยคลน่ื ทะเลยักษ หลกั ฐานทางโบราณคดแี ละโบราณชีววทิ ยาบงบอกวามมี นุษยโฮโมเซเปยนส เคยอาศัยอยใู นเกาะ ปาลาวันตั้งแตประมาณ 50,000 ปกอน ชนเผาท่ีพูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียไดเขามาต้ังรกราก ในฟลิปปนส และจัดตั้งเสนทางเครือขายการคากับเอเชียอาคเนยสวนท่ีเหลือทั้งหมดต้ังแต 5,000 ป กอ นครสิ ตกาลภาษาที่ชาวฟล ปิ ปนสใชพูดคือ ภาษาตากาล็อค เฟอรดินันด มาเจลลัน มาถึงหมูเกาะฟลิปปนสในป ค.ศ. 1521 (พ.ศ. 2064) มีเกล โลเปซ เดเลกัสป มาถงึ ฟลปิ ปน สในป ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108) และต้งั ชุมชนชาวสเปนขน้ึ ซ่ึงนําไปสกู ารต้ังอาณานิคม ในเวลาตอ มา หลังจากนนั้ นกั บวชศาสนาครสิ ตนิกายโรมันคาทอลิกไดทําให ชาวเกาะท้ังหมดใหหันมานับถือ ศาสนาคริสต ในชวง 300 ปนับจากนั้น กองทัพสเปนไดตอสูกับเหตุการณกบฏตาง ๆ มากมาย ทั้งจากชน พื้นเมอื งและจากชาตอิ ื่นท่พี ยายามเขามาครอบครองอาณานคิ ม ซ่ึงไดแก องั กฤษ จีน ฮอลันดา ฝรั่งเศส ญี่ปุน และโปรตุเกส สเปน สูญเสียไปมากท่ีสุดในชวงที่อังกฤษเขาครอบครองเมืองหลวงเปนการช่ัวคราวในชวง

56 สงครามเจ็ดป (Seven Years’ War) หมูเกาะฟลิปปนสอยูใตการปกครองของสเปนในฐานะอาณานิคมของ สเปนใหม (New Spain) นับตั้งแตป ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108) ถึงป ค.ศ. 1821 (พ.ศ. 2364) และนับจากน้ัน ฟลิปปนสก็อยูใตการปกครองของสเปนโดยตรง การเดินเรือมะนิลาแกลเลียน (Manial Galleon) จากฟล ิปปนสไ ปเมก็ ซิโก เริ่มตน ขนึ้ ในชวงปลายศตวรรษที่ 16 และหมูเกาะฟลิปปนสเปดตัวเองเขาสูการคา โลกในป ค.ศ. 1834 ปจจุบันประเทศฟลิปปนสปกครองดวยระบบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดีเปนผูนํา ประเทศ 1.7 ประวตั ิศาสตรสงั เขปของประเทศญป่ี นุ ญี่ปุน (Nihon/Nippon นิฮง/นิปปง) มีช่ือทางการคือ ประเทศญี่ปุน (Nihon-koku/Nippon- koku-นิฮงโกะกุ/นิปปงโกะกุ) เปนประเทศหมูเกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ต้ังอยูในมหาสมุทรแปซิฟก ทางตะวนั ตกติดกบั คาบสมุทรเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจนี โดยมที ะเลญ่ีปนุ กน้ั สวนทางทิศเหนือ ติดกับ ประเทศรัสเซยี มีทะเลโอค็อตสก เปน เสนแบง แดน ตวั อกั ษรคันจิของชอ่ื ญปี่ ุนแปลวาถ่นิ กาํ เนิดของดวงอาทติ ย จงึ ทําใหบ างครง้ั ถกู เรยี กวา ดินแดนแหงอาทิตยอทุ ัย ญ่ีปนุ มีเนอื้ ทีก่ วา 377,835 ตารางกโิ ลเมตร นับเปนอันดบั ที่ 62 ของโลกหมูเ กาะญปี่ นุ ประกอบ ไปดวยเกาะนอยใหญกวา 3,000 เกาะ เกาะที่ใหญที่สุดก็คือเกาะฮนชู ฮกไกโด คิวชู และชิโกกุ ตามลําดับ เกาะของญี่ปนุ สว นมากจะเปน หมูเ กาะภูเขา ซง่ึ ในนน้ั มีจํานวนหนึ่งเปน ภูเขาไฟ เชนภเู ขาไฟฟูจิ ภูเขาท่ีสูงที่สุด ในประเทศ เปนตน ประชากรของญี่ปุนน้ันมีมากเปนอันดับท่ี 10 ของโลก คือ ประมาณ 128 ลานคน เมืองหลวงของญี่ปุนคือกรุงโตเกียว ซ่ึงถารวมบริเวณปริมณฑลเขาไปดว ยแลว จะกลายเปน เขตเมืองท่ีใหญ ทสี่ ุดในโลกที่มปี ระชากรอยูอาศยั มากกวา 30 ลานคน สันนิษฐานวามนุษยมาอาศยั ในญป่ี นุ คร้งั แรกตั้งแตย ุคหนิ เกา การกลา วถึงญป่ี ุนครง้ั แรกปรากฏขึน้ ในบันทึกของราชสํานักจีนตั้งแตคริสตศตวรรษท่ี1 ญ่ีปุนไดรับอิทธิพลจากจีนในหลายดาน เชน ภาษา การปกครองและวฒั นธรรม แตในขณะเดียวกันกม็ กี ารปรับเปล่ียนใหเ ปนเอกลกั ษณข องตนเองจึงทําใหญ ่ปี นุ มีวัฒนธรรมที่โดดเดน มาจนปจ จบุ ัน อกี หลายศตวรรษตอมา ญีป่ ุน ก็รับเอาเทคโนโลยีตะวนั ตกและนาํ มาพฒั นา ประเทศจนกลายเปนประเทศทก่ี าวหนาและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพสงครามโลก ครัง้ ทส่ี อง ญ่ีปุน ก็มีการเปลย่ี นแปลงทางการปกครองโดยการใชรฐั ธรรมนญู ใหมใน พ.ศ. 2490 ญ่ปี ุน เปน ประเทศผูนาํ ทางเศรษฐกิจ โดยมีจีดีพีสูงเปนอันดับสองของโลก ญ่ีปุนเปนสมาชิกของ สหประชาชาติ จี 8 โออซี ีดี และเอเปค และมีความต่ืนตัวท่ีจะมีสวนรวมในการแกไขปญหาของตางประเทศ ญ่ีปุนมมี าตรฐานความเปนอยูทดี่ ี และยังเปน ผูนําทางเทคโนโลยีเคร่อื งจกั รและเครือ่ งยนต ประวตั ศิ าสตรญ ่ปี นุ เร่ิมตนดว ย ยคุ ยะโยอิ เร่ิมเมื่อประมาณ 300 ปกอน คริสตศักราช เปนยุคที่ ผูคนเร่ิมเรียนรูวิธีการปลูกขาว การตีโลหะ ซ่ึงไดรับความรูมาจากผูอพยพชาวจีนแผนดินใหญ การกลาวถึง ญปี่ ุน ครงั้ แรกปรากฏขึน้ ในบนั ทึกของราชสาํ นกั จีนสมยั ราชวงศฮ่ัน โฮวฮ่ันชู ในป 57 กอนคริสตกาล ซึ่งเรียก ชาวญ่ปี ุนวา วะ ในชว งพุทธศตวรรษท่ี 8 อาณาจกั รท่ที รงอํานาจมากที่สุดในญี่ปุนคือ ยะมะไทโคะกุ ปกครอง โดยราชินีฮิมิโกะ ซงึ่ เคยสง คณะทตู ไปยังประเทศจนี ผา นทางเกาหลดี วย

57 ยคุ โดะฮง ซงึ่ ตั้งชอ่ื ตามสุสานท่นี ิยมสรางขึน้ กนั ในยุคดังกลาวเริม่ ตน ต้ังแตประมาณ พทุ ธศตวรรษ ท่ี 9 จนถึง 12 เปนยุคท่ีญ่ปี นุ เร่มิ มีการปกครองแบบราชวงศ ซึง่ ศนู ยก ลางการปกครองนนั้ อยูบริเวณเขตคันไซ ในยุคนพี้ ระพทุ ธศาสนาไดเ ขามาจากคาบสมุทรเกาหลีสูหมูเ กาะญีป่ นุ ไดรับอิทธิพลมาจากจีนเปนหลัก เจาชาย โชโตะกุทรงสงคณะราชทตู ไปเจรญิ สัมพนั ธไมตรกี บั จีน ญปี่ ุนจึงไดร บั นวตั กรรมใหม ๆ จากจีน นอกจากน้ียงั ทรง ตรารฐั ธรรมนูญสิบเจด็ มาตรา ซง่ึ เปนกฎหมายญี่ปุนฉบับแรกอีกดวย และในที่สุดพระพุทธศาสนาก็ไดรับการ ยอมรบั มากขึน้ ตัง้ แตส มยั อะซกึ ะ ซึง่ ตง้ั ช่อื ตามสุสานที่นิยมสรางขนึ้ กนั ในยคุ ดงั กลา วเร่มิ ตน ตั้งแตประมาณพุทธ- ศตวรรษท่ี 9 - 12 เปนยุคทญ่ี ่ีปุน เรมิ่ มกี ารปกครองแบบราชวงศ ซึ่งศูนยกลางการปกครองน้ันอยูบริเวณเขต คันไซ ในยุคน้ีพระพุทธศาสนาไดเขามาจากคาบสมทุ รเกาหลสี หู มูเกาะญ่ปี ุน แตพ ระพทุ ธรปู และพุทธศาสนา ในประเทศญี่ปุนหลังจากน้ันไดรับอิทธิพลจากจีนเปนหลัก เจาชายโชโตะกุทรงสงคณะราชทูตไปเจริญ สัมพันธไมตรกี ับจีน ญี่ปนุ จึงไดรับนวตั กรรมใหมๆ จากแผนดินใหญมาเปนจํานวนมาก นอกจากน้ียังทรงตรา รฐั ธรรมนญู สบิ เจ็ดมาตรา ซ่งึ เปนกฎหมายญ่ปี นุ ฉบับแรกอกี ดวยและในทสี่ ดุ พระพทุ ธศาสนาก็ไดรบั การยอมรบั มากขน้ึ ตัง้ แตส มัยอะซึกะ ยุคนะระ (พ.ศ. 1253 - 1337) เปนยุคแรกที่มีการกอตัวเปนอาณาจักรท่ีเขมแข็ง มีการปกครองอยางมี ระบบใหเห็นไดอยางชัดเจน โดยการนําระบอบการปกครองมาจากจีนแผนดินใหญ ศูนยกลางการปกครอง ในขณะน้ันก็คือเฮโจเคียวหรือจังหวัดนะระในปจจุบัน ในยุคนะระเริ่มพบการเขียนวรรณกรรม เชน โคจิกิ (พ.ศ.1255) และนิฮงโชะกิ (พ.ศ. 1263) เมืองหลวงถูกยายไปที่นะงะโอกะเกียว เปนชวงเวลาสั้น ๆ และถูก ยายอีกครง้ั ไปยงั เฮอังเกยี ว ซง่ึ เปนจุดเริ่มตน ของยุคเฮองั ระหวาง พ.ศ. 1337 จนถึง พ.ศ. 1728 ซึ่งเปนยุคเฮอังน้ัน ถือไดวาเปนยุคทองของญี่ปุน เน่ืองจากเปนยุคสมัยที่วัฒนธรรมของญี่ปุนเองเร่ิมพัฒนาข้ึน ส่ิงที่เห็นไดอยางชัดมากท่ีสุด คือการประดิษฐ ตวั อักษร ฮิรางานะ ซงึ่ ทาํ ใหเกดิ วรรณกรรมทีแ่ ตงโดยตวั อกั ษรนี้เปนจาํ นวนมาก เชน ในชวงกลางพุทธศตวรรษท่ี 16 ไดมีการแตงนวนิยายเรื่องนิทานเกนจิขึ้น ซ่ึงเปนนิยายที่บรรยายเก่ียวกับการใชชีวิต การปกครองของ ตระกูลฟุจิวาระ และบทกลอนที่ถูกใชเปนเนื้อเพลงของเพลงชาติญ่ีปุน คิมิงะโยะ ก็ถูกแตงขึ้นในชวงนี้ เชน เดียวกัน ยุคศักดินา ญ่ปี นุ เร่มิ ตน จากการที่ผูปกครองทางการทหารเริ่มมีอํานาจข้ึน พ.ศ.1728 หลังจาก การพา ยแพข องตระกลู ไทระ มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ ไดแตง ต้ังตนเองเปน โชกนุ และสรางรัฐบาลทหาร ในเมืองคะมะกุระ ซ่ึงเปนจุดเร่ิมตนของยุคคะมะกุระ ซ่ึงมีการปกครองแบบศักดินา แตรัฐบาลคามากุระ กไ็ มสามารถปกครองทงั้ ประเทศได เพราะพวกราชวงศยังคงมอี าํ นาจอยูในเขตตะวันตก หลังจากการเสียชีวิต ของโชกุน โยริโตโมะ ตระกูลโฮโจ ไดกา วขน้ึ มาเปนผสู ําเรจ็ ราชการใหโชกนุ รัฐบาลคะมะกุระสามารถตอตาน การรกุ รานของจักรวรรดิมองโกลใน พ.ศ. 1817 และ พ.ศ. 1824 โดยไดรับความชวยเหลือจากพายุกามิกาเซ ซงึ่ ทําใหก องทพั มองโกลประสบความเสยี หายมาก อยางไรกต็ าม รฐั บาลคะมะกุระก็ออ นแอลงจากสงครามครั้งน้ี จนในทีส่ ดุ ตอ งสญู เสียอํานาจใหแก จกั รพรรดิโกไดโกะ ผูซึ่งพายแพตออะชิกะงะ ทากาอุจิ ในเวลาตอมาไมนานอาชิกางะ ทากาอุจิ ยายรัฐบาล ไปตั้งไวท่ีมิโรมะจิ จังหวัดเกียวโต จึงไดชื่อวายุคมุโรมะจิ ในชวงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 อํานาจของโชกุน

58 เร่มิ เสอ่ื มลงและเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น เพราะบรรดาเจาครองแควนตางทําการสูรบเพ่ือแยงชิงความเปน ใหญ ซ่ึงทาํ ใหญ ปี่ ุนเขาสูยคุ สงครามทีเ่ รยี กวา ยุคเซงโงกุ ในระหวางพทุ ธศตวรรษที่ 21 มีพอคาและมชิ ชนั นารีจากโปรตุเกสเดนิ ทางมาถงึ ญ่ีปนุ เปนครงั้ แรก และเร่ิมการคาขายและแลกเปล่ียนวัฒนธรรมระหวางญีป่ นุ กับโลกตะวันตก สงครามดํารงอยูหลายสิบปจนโอะดะ โนบุนากะเอาชนะเจาครองแควนอ่ืนหลายคน โดยใช เทคโนโลยีและอาวุธของยุโรปและเกือบจะรวมประเทศญี่ปุนใหเปนปกแผนไดแลวเมื่อเขาถูกลอบสังหาร ใน พ.ศ. 2125 โทพโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ผูส ืบทอดเจตนารมณต อมาสามารถปราบปรามบานเมอื งใหสงบลงได ใน พ.ศ. 2133 ฮิเดะโยะชิรุกรานคาบสมุทรเกาหลีถึง 2 ครั้ง แตก็ไมประสบความสําเร็จ จนเมื่อเขาเสียชีวิต ลงใน พ.ศ. 2141 ญ่ีปนุ ก็ถอนทัพ หลังจากฮิเดะโยะชิเสียชีวิต โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ แตงตั้งตนเองขึ้นเปนผูสําเร็จราชการใหแก ลูกชายของฮิเดะโยะชิ โทพโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ เพื่อท่ีจะไดอํานาจทางการเมืองและการทหาร อิเอะยะซุ เอาชนะไดเมียวตาง ๆ ไดในสงครามเซะกิงะฮะระ ใน พ.ศ. 2143 จึงข้ึนเปนโชกุนใน พ.ศ. 2146 และกอต้ัง รัฐบาลใหมที่เมืองเอะโดะ ยุคเอะโดะจึงเริ่มตนข้ึน รัฐบาลใชวิธีหลายอยาง เชน บุเกโชฮัตโต เพ่ือควบคุม ไดเมียวท้งั หลาย ในปพ .ศ. 2182 รัฐบาลเร่ิมนโยบายปดประเทศและใชนโยบายน้ีอยางไมเขมงวดนัก ตอเนื่องถึง ประมาณสองรอยหาสิบป ในระหวางน้ีญี่ปุนศึกษาเทคโนโลยีตะวันตกผานการติดตอกับชาวดัตชท่ีสามารถ เขา มาทีเ่ กาะเดจิมะ (ในจงั หวัดนะงะซะกิ) เทานนั้ ความสงบสุขจากการปด ประเทศเปนเวลานานทาํ ใหช นที่อยู ใตอาํ นาจปกครองอยา งเชนชาวเมอื งไดม โี อกาสทจ่ี ะประดิษฐส่ิงใหมๆ ข้ึนมาในทางของตนเอง ในยุคเอะโดะน้ี ยงั มกี ารเริ่มตน การใหศ กึ ษาประชาชนเก่ยี วกบั ประเทศญป่ี นุ อกี ดว ย แตญี่ปุนก็ถูกกดดันจากประเทศตะวันตกใหเปดประเทศอีกครั้ง ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2394 นาวาเอก (พเิ ศษ) แมทธิว เพอรรี่ และเรือดาํ นาํ้ ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาบุกมาถึงญ่ีปุน เพ่ือบังคับ ใหเปดประเทศดว ยสนธสิ ญั ญาสมั พันธไมตรีกับประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากน้ันญ่ีปุนก็ตองทําสนธิสัญญา แบบเดยี วกันกบั ประเทศตะวันตกอ่ืน ๆ ซึ่งสนธิสัญญาเหลานี้ทําใหญ่ีปุนประสบปญหาท้ังทางเศรษฐกิจและ การเมอื ง เพราะการเปด ประเทศและใหส ทิ ธพิ เิ ศษกับชาวตางชาติทําใหชาวญป่ี ุนจาํ นวนมากไมพอใจตอ รัฐบาล เอะโดะ และเกดิ กระแสเรียกรอ งใหคนื อํานาจอธปิ ไตยแกอ งคจักรพรรดิ (ซึ่งมักเรียกวาการปฏิรูปเมจิ) จนใน ที่สุดรัฐบาลเอะโดะก็หมดอํานาจลง ในยุคเมจิ รัฐบาลใหมภายใตการปกครองของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิไดยายฐานอํานาจของ องคจกั รพรรดิมายังเอะโดะ และเปล่ียนช่ือเมืองหลวงจากเอะโดะเปนโตเกียว มีการเปลี่ยนแปลงระบบการ ปกครองตามแบบตะวนั ตก เชน บงั คบั ใชรัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2443 และกอตั้งสภานิติบัญญัติแหงชาติโดยใช ระบบสองสภา นอกจากน้ี จักรวรรดญิ ี่ปนุ ยังสนับสนนุ การรับเอาวิทยาการจากประเทศตะวันตก และทําใหมี ความกาวหนาทางอุตสาหกรรมเปนอยางมาก จักรวรรดิญี่ปุนเริ่มมีความขัดแยงทางทหารกับประเทศ ขางเคียงเมื่อพยายามขยายอาณาเขต หลังจากที่ไดชัยชนะในสงครามจีน - ญี่ปุน ครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2437 - 2438) และสงครามรัสเซีย - ญี่ปุน (พ.ศ. 2447 - 2448) ญ่ปี นุ กไ็ ดอาํ นาจปกครองไตห วนั เกาหลี และตอน ใตของเกาะซาคาลนิ

59 ญ่ีปุน ยอมแพส งครามโลกครัง้ ที่ 2 สงครามโลกครั้งท่หี นึง่ ทําใหญ ป่ี ุนซึ่งอยูฝา ยไตรภาคี ผูชนะสามารถขยายอํานาจและอาณาเขต ตอไปอีก ญ่ีปุนดําเนินนโยบายขยายดินแดนตอไป โดยการครอบครองแมนจูเรียใน พ.ศ. 2474 และเมื่อ ถูกนานาชาติประณามในการครอบครองดินแดนนี้ ญี่ปุนก็ลาออกจากสันนิบาตชาติในสองปตอมา ในป 1936 ญี่ปุนลงนามในสนธิสัญญาตอตานองคการคอมมิวนิสตสากลกับนาซีเยอรมนี และเขารวมกับฝายอักษะในป 1941 ในยคุ สงครามโลกครงั้ ที่สอง ญป่ี ุน ไดเ สริมสรางอํานาจทางการทหารใหเขมแข็งยิ่งข้ึน หลังจาก ญป่ี นุ ถูกกีดกันทางการคาจากสหรฐั อเมรกิ า ตอมาจงึ ไดเ ปด ฉากสงครามในแถบเอเชียแปซิฟก (ซง่ึ รูจักกนั ทั่วไป ในช่ือ สงครามมหาเอเชียบูรพา) ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 โดยการโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกา ท่ีอาวเพิรลและการยาตราทัพเขามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต ซึ่งสวนใหญเปนดินแดนอาณานิคมของ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจกั รและเนเธอรแ ลนด ตลอดสงครามครง้ั น้ัน ญ่ปี นุ สามารถยดึ ครองประเทศตาง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใตไดท้ังหมด แตหลังจากญี่ปุนพายแพใหแกสหรัฐอเมริกาในการรบทางนํ้า ในมหาสมุทรแปซิฟกหลังจากยุทธนาวีแหงมิดเวย (พ.ศ. 2485) ญี่ปุนก็ตกเปนฝายเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อย ๆ แตก ย็ งั ไมยอมแพแ กฝา ยสมั พันธมติ รโดยงา ย เมื่อตองเผชิญหนากับระเบิดปรมาณูของสหรัฐอเมริกา ซ่ึงถูกทิ้ง ทเี่ มืองฮโิ รชมิ าและนางาซากิ (ในวนั ที่ 6 และ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามลําดับ) และการรุกรานของสหภาพ โซเวยี ต (วันที่ 8 สงิ หาคม พ.ศ. 2488) ญีป่ นุ จึงประกาศยอมแพอยางไมม ีเงอ่ื นไขในวนั ที่ 15 สงิ หาคม ปเดียวกัน สงครามทําใหญ ปี่ นุ ตอ งสูญเสียพลเมืองนับลานคนและทําใหอุตสาหกรรมและโครงสรางพ้ืนฐานของประเทศ เสยี หายอยางหนกั ฝายสัมพันธมติ รซง่ึ นาํ โดยสหรัฐอเมริกาไดสงพลเอกดักลาส แมกอารเธอรเขามาควบคุม ญี่ปุน ตัง้ แตหลงั สงครามจบ ใน ป พ.ศ. 2490 ญี่ปุนเร่ิมใชรัฐธรรมนูญฉบับใหมซึ่งเนนเร่ืองประชาธิปไตยอิสระการควบคุม ญ่ปี ุนของฝา ยสัมพันธมติ รส้ินสุดเม่ือมีการลงนามในสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกใน พ.ศ. 2499 และญ่ีปุนไดเปน

60 สมาชิกสหประชาชาติในป 1956 หลังจากสงครามญป่ี ุนสามารถพฒั นาทางเศรษฐกิจดว ยอตั ราการเจรญิ เติบโต ท่ีสงู มากจนกลายเปนประเทศทม่ี เี ศรษฐกจิ ใหญเปนอนั ดบั สองของโลก บรรยากาศในตอนกลางคืนและ อาคารโตเกยี วทาวเวอร ประเทศญปี่ นุ ประเทศญ่ีปุนปกครองดวยระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีภายใตรัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จ พระจักรพรรดทิ รงเปนประมขุ แตพ ระจกั รพรรดิไมม พี ระราชอาํ นาจในการบรหิ ารประเทศ โดยมีบัญญัติไวใน รฐั ธรรมนญู แหงญ่ปี นุ วา สญั ลกั ษณแหง รฐั และความสามัคคีของชนในรัฐ อํานาจการปกครองสวนใหญต กอยกู ับ นายกรัฐมนตรีและสมาชิกอื่น ๆ ในสภานิติบัญญัติแหงชาติ อํานาจอธิปไตยน้ันเปนของชาวญ่ีปุน พระจกั รพรรดทิ รงทําหนาทเ่ี ปน ประมขุ แหงรัฐในพธิ ีการทางการทูต พระองคปจจุบันคือ จักรพรรดิอะกิฮิโตะ สว นรชั ทายาทคือมกุฎราชกมุ ารนะรฮุ ิโตะ องคกรนิติบัญญัติของญ่ีปุน คือ สภานิติบัญญัติแหงชาติ หรือท่ีเรียก “ไดเอ็ต” เปนระบบสองสภา ประกอบดวย สภาผูแทนราษฎร (อังกฤษ : House of Representatives) เปนสภาลาง มีสมาชิกสี่รอยแปดสิบ คนซงึ่ มวี าระดาํ รงตําแหนง สป่ี  และ มนตรีสภา (องั กฤษ : House of Councillors) เปน สภาสูง มีสมาชิกสอง รอยสี่สบิ สองคนซ่งึ มีวาระดาํ รงตาํ แหนงหกป โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกมนตรีสภาจํานวนคร่ึงหน่ึงสลับกันไป ทกุ สามป สมาชกิ ของสภาท้งั สองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ สวนผูมีสิทธิเลือกต้ังน้ันมีอายุยี่สิบปบริบูรณ เปน ตนไป พรรคเสรีประชาธิปไตยเปน พรรครัฐบาลมาโดยตลอดต้งั แตกอต้ังพรรคใน พ.ศ. 2498 ยกเวน ชว งส้ัน ๆ ใน พ.ศ. 2536 ทเี่ กิดรฐั บาลผสมของพรรคฝา ยคา น ทั้งนแี้ กนนาํ ฝา ยคา นคือพรรคประชาธิปไตยญ่ีปนุ

61 สําหรับอํานาจบริหารนั้น พระจักรพรรดิทรงแตงต้ังนายกรัฐมนตรีจากสมาชิกสภาผูแทนราษฎร ที่ไดรับเลือก โดยสมาชิกดวยกันเองใหเปนหัวหนารัฐบาล นายกรัฐมนตรีมีอํานาจแตงต้ังรัฐมนตรีและให รัฐมนตรีพน จากตาํ แหนง นโยบายตางประเทศและการทหาร ญี่ปุนรักษาความสัมพันธทางเศรษฐกิจและทางทหารกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเปนพันธมิตรหลัก โดยมี ความรวมมอื ทางความมัน่ คงระหวา งสหรัฐอเมรกิ าและญี่ปุนเปนเสาหลักของนโยบายตางประเทศ ญ่ีปุนเปน สมาชกิ ของสหประชาชาตติ งั้ แตป 1956 ไดเปน สมาชกิ ไมถาวรของคณะมนตรีความม่ันคงแหงสหประชาชาติ รวม 9 คร้ัง (ลา สุดเม่อื ป 2005 - 2006) และยังเปนหนึ่งในกลุม G4 ซ่ึงมุงหวงั จะเขา เปนสมาชิกถาวร ในคณะ- มนตรคี วามมัน่ คง ญี่ปนุ ซ่งึ เปนสมาชิกของ G8 และเอเปค มคี วามต่นื ตัวที่จะมสี ว นรวมในการแกไขปญหาของ ตางประเทศและกระชับความสัมพันธทางการทูต กับประเทศคูคาท่ีสําคัญทั่วโลก นอกจากน้ียังเปนผูท่ีให ความชว ยเหลอื เพอ่ื การพฒั นาอยางเปนทางการ (ODA) รายใหญของโลก โดยบริจาค 7.69 พันลานดอลลาร สหรัฐในป 2007 จากการสํารวจของบีบซี ีพบวานอกจากประเทศจนี และเกาหลีใตแลว ประเทศสวนใหญมอง อิทธพิ ลของญีป่ ุน ทมี่ ีตอโลกเชงิ บวก ญีป่ นุ มปี ญ หาขอ พิพาทเร่ืองสทิ ธิในดนิ แดนตาง ๆ กับประเทศเพอ่ื นบา น เชนกับรัสเซีย เรือ่ งเกาะคูริล กับเกาหลีใตเร่ืองหินลีอังคอรท (หรือทะเกะชิมะ ในภาษาญี่ปุน) กับจีนและไตหวันเรื่องเกาะเซงกากุกับจีน เรือ่ งเขตเศรษฐกจิ จําเพาะรอบ ๆ โอะกิโนะ โทะริชิมะ เปนตน นอกจากนี้ ญี่ปุนยังคงมีปญหากับเกาหลีเหนือ กรณีการลักพาตัวชาวญ่ีปุนและเรื่องการครอบครองอาวุธนิวเคลียรและเน่ืองจากขอพิพาทเรื่องเกาะคูริล ในทางกฎหมายแลว ญี่ปุนยังคงทาํ สงครามอยูกับรัสเซีย เพราะไมเคยมีการลงนามในขอตกลงใด ๆ เกี่ยวกับ ปญหาน้ี

62 เรอื่ งท่ี 2 เหตกุ ารณส ําคญั ทางประวตั ศิ าสตรที่เกดิ ขน้ึ ในประเทศไทยและประเทศในทวปี เอเชีย 2.1 ยุคลา อาณานคิ ม ยุคลาอาณานิคมเกิดข้ึนเน่ืองจากประเทศทางโลกตะวันตก ไดแก อังกฤษ ฝร่ังเศส โปรตุเกส ฮอลนั ดา ฯลฯ พยายามขยายอาณานคิ มของตนเองไปยังประเทศตา ง ๆ ท่ัวโลก โดยเฉพาะประเทศในแถบทวีป เอเชยี เปน ประเทศเปาหมายสําคัญท่ีประเทศมหาอํานาจเหลาน้ีเดินทางมาเพ่ือลาเปนเมืองข้ึน ท้ังประเทศ อนิ เดยี พมา อินโดนีเซีย ฟล ิปปนส ลาว เวยี ดนาม เปน ตน ในบทนจ้ี ะกลาวถงึ ประเทศที่ถูกยึดเปนอาณานิคม พอเปนสงั เขปดังน้ี ประเทศพมาต้ังอยูในเขตพื้นท่ีเอเชียตะวันออกเฉียงใต มีระบบการปกครองท่ีมอบอาํ นาจใหแ ก กษัตริยและขุนนางซึ่งเปนเพียงกลุมคนจํานวนนอยในสังคม สวนไพรและทาสซึ่งเปนคนสวนใหญและมี หลากหลายชาตพิ ันธจุ ะมหี นา ทใ่ี นการสง สวยหรือใชแรงงานแกรฐั ตามกลไกระบบศกั ดนิ า หลังสงครามอังกฤษกับพมาคร้ังที่ 3 สิ้นสุด พระเจาธีบอและมเหสีก็ถูกเนรเทศ อังกฤษก็ได ผนวกพมาเขา กับอนิ เดยี ทาํ ใหระบบการปกครองของพมา ลม เหลว ขนุ นางขาดแหลงอา งอิง ในการใชอาํ นาจ ทีช่ อบธรรม พระราชวงั มณั ฑะเลยกลายเปนศนู ยก ลางรวมกองบญั ชาการทหาร นอกจากนั้นอังกฤษยังทําการ เลิกระบบไพรและทาสดวย ขนุ นางของพมาจํานวนมากยอมใหค วามรว มมอื กับองั กฤษและตอ มาไมนานกถ็ กู ระบบของอังกฤษ ดดู กลืน หลังจากนนั้ องั กฤษก็ไดขนึ้ มาเปนชนชั้นปกครองของพมา พมา ไดถ กู สรางภาพลกั ษณใ หมใ หซ ึมซาบถงึ ทกุ ชนชัน้ ซงึ่ นักศกึ ษาสวนใหญเ ชอ่ื วาพมาสมัยใหมเปนผลผลติ ของอังกฤษ ICS เปนกลุมนักบริหารอาณานิคม ที่เกิดจากการคัดเลือกซึ่งจะทํางานอยูในอินเดียและพมา เจาหนาที่ 1 คน ตองรับผิดชอบคนราว 300,000 คน ทําใหคอนขางทํางานหนัก การทํางานของ ICS จําเปน จะตองปฏสิ ัมพนั ธกบั คนพื้นเมอื ง เชน ในพมา แตดว ยความทมี่ ีอคติมองวาชาวพมาเปนชนช้นั ที่ตา่ํ ตอยจงึ ทําให ICS สวนใหญไ มสนใจท่ีจะเรยี นรเู กย่ี วกบั พนื้ เมอื งพมามากนัก ทําให ICS และคนพน้ื เมอื งพมา คอนขางที่จะเกดิ ความรสู กึ แปลกแยกทัง้ จากเชอ้ื ชาตเิ ดยี วกันและตา งเชื้อชาติ การปกครองของอังกฤษในดา นการเกบ็ ภาษี โดยเฉพาะสว ยท่รี ฐั บาลเรยี กเก็บรายบคุ คลทําใหภาวะ ราคาขา วตกต่าํ จนชาวพมาเกิดความกดดนั และนําไปสูการตอตานเกดิ กบฏหยาซาน แตการเกดิ ความขดั แยงน้ัน อังกฤษมองวาเปนการกระทาํ ที่เกิดจากไสยศาสตร ความคดิ แบบจารตี ไมไ ดกลาววาเปนการเกดิ จากปญ หาสงั คม - เศรษฐกจิ ครั้นถึงชวงปลายพุทธศตวรรษท่ี 24 ตอชวงตนพุทธศตวรรษท่ี 25 ประเทศฝร่ังเศสเริ่มให ความสนใจท่ีจะขยายอํานาจเขามาสูดินแดนในแถบลุมแมน้ําโขง เพ่ือหาทางเขาถึงดินแดนตอนใตของจีน เพือ่ เปดตลาดการคาแหงใหมแขงกบั องั กฤษ ซึง่ สามารถยึดพมา ไดก อนหนานั้นแลว โดยฝรง่ั เศสเริ่มจากการ ยึดครองแควน โคชินจนี หรอื เวยี ดนามใตก อ นในป พ.ศ. 2402 รกุ คบื เขามาสดู นิ แดนเขมรสว นนอก ซง่ึ ไทยปกครองในฐานะประเทศราชในป พ.ศ. 2406 (ไทยตกลงยอมสละอํานาจเหนือเขมรสว นนอก อยางเปนทางการในป พ.ศ. 2410) จากน้ันจึงไดขยายดินแดนในเวียดนามตอจนกระท่ังสามารถยึดเวียดนาม

63 ไดท งั้ ประเทศในป พ.ศ. 2426 พรมแดนของสยามทางดานประเทศราชลาวจงึ ประชดิ กับดินแดนอาณานิคมของ ฝรั่งเศสอยางหลีกเลย่ี งไมไ ด ในระยะเวลาเดยี วกนั ในประเทศจนี ไดเกดิ เหตุการณกบฏไทผิงตอตานราชวงศชิงกองกําลังกบฏ ชาวจนี ฮอทแ่ี ตกพา ยไดถ อยรน มาต้ังกาํ ลงั ซอ งสมุ ผคู นอยูในแถบมนฑลยนู นานของจีน ดินแดนสิบสองจไุ ทยและ ตามแนวชายแดนประเทศราชลาวตอนเหนอื กองกาํ ลังจีนฮอไดทําการปลน สะดมราษฎรตามแนวพนื้ ที่ดังกลาว อยางตอ เน่ือง สรา งปญหาตอการปกครองของท้ังฝายไทยและฝรั่งเศสอยางยิ่ง เพราะสงกําลังไปปราบปราม หลายครั้งกย็ ังไมส งบ เฉพาะกบั อาณาจกั รหลวงพระบางน้นั ทางกรุงเทพถงึ กบั ตอ งปลดพระเจามหินทรเทพนิภาธร เจาผูครองนครหลวงพระบางออกจากตําแหนง เน่ืองจากไมสามารถรักษาเมืองและปลอยใหกองทัพฮอ เขาปลนสะดมและเผาเมอื งหลวงพระบางลงและตั้งเจา คาํ สกุ ขึ้นเปน พระเจาสักรินทรฤทธิ์ปกครองดินแดนแทน ไทย (หรือสยามในเวลานัน้ ) จึงรวมกับฝรั่งเศสปราบฮอจนสําเร็จ โดยท้ังสองฝา ยไลต ีกองกําลงั จีนฮอ จากอาณาเขตของแตละฝายใหมาบรรจบกันท่ีเมืองแถง (เดียนเบียนฟูในปจจุบัน) แตก็เกิดปญหาใหม คือ ฝายฝรั่งเศสฉวยโอกาสอางสิทธิปกครองเมืองแถงและสิบสองจไุ ทย โดยไมยอมถอนกําลังทหารออกจากเมือง แถงเพราะอางวา เมอื งนเ้ี คยสง สวยใหเ วียดนามมากอ น ปญ หาดงั กลา วน้ีมที ม่ี าจากภาวะการเปนเมอื งสองฝายฟา ของเมอื งปลายแดน ซ่ึงจะสง สว ยใหแกรฐั ใหญท ุกรฐั ที่มอี ทิ ธิพลของตนเองเพอ่ื ความอยูร อด พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) แมทัพฝายไทย เห็นวาถาตกลงกับฝร่ังเศสไมไดจะทําให ปญหาโจรฮอบานปลายแกยาก จึงตัดสินใจทําสัญญากับฝร่ังเศสในวันท่ี 22 ธันวาคม พ.ศ. 2431 ใหฝายไทย ตง้ั กําลังทหารท่เี มืองพวน (เชยี งขวาง) ฝร่งั เศสต้ังกําลังทหารท่ีสิบสองจุไทย สวนเมืองแถงเปนเขตกลางใหมี ทหารของทง้ั สองฝายดูแลจนกวารัฐบาลทั้งสองชาตจิ ะเจรจาเรื่องปกปน เขตแดนไดผลจากสนธิสัญญาน้ีแมจะ ทําใหฝายไทยรวมมือปราบฮอ กบั ฝรงั่ เศสจนสาํ เรจ็ และสามารถยตุ คิ วามขดั แยง เรอื่ งแควนสิบสองจไุ ทย เมอื งพวน และหวั พนั ทัง้ หาทงั้ หกยตุ ลิ งไปชวั่ คราว แตกต็ อ งเสยี ดนิ แดนสบิ สองจุไทยโดยปริยายไป การลา อาณานิคมขององั กฤษ ในยุคลาอาณานิคมนั้น กลุมประเทศมหาอํานาจตะวันตกหลายประเทศตางแสวงหาอาณานิคม ของตนเอง เชน ประเทศอังกฤษ โปรตุเกส ฝร่ังเศส ไดแผอทิ ธิพลเขา มาในทวีปเอเชียหลายประเทศและประเทศ หนึ่งทต่ี กเปน เมืองขึ้นของอังกฤษคอื อนิ เดียน่นั เอง บรษิ ัทอิสตอ ินเดียของอังกฤษเขามาทําการคาในประเทศอินเดีย เปนประวัติศาสตรท่ีศูนยอํานาจ ชาวอังกฤษที่เขามาสูอินเดียน้ันมาในนามของพอคา ความจริงแลวมีหลายชาติที่เขามาทําการคากับอินเดีย ที่สําคัญ เชน ชาวโปรตเุ กส ชาวฮอลันดา ชาวฝร่งั เศส เปนตน โปรตุเกส นับเปนยุโรปชาติแรก ๆ ที่เขามาทําการคาบนแผนดินอินเดีย นับตั้งแตวัสโกดากามา เดนิ ทางมาถงึ เมืองกาลิกตั ทางตะวนั ตกของอนิ เดยี ตง้ั แตป ลายครสิ ตศ ตวรรษท่ี 15 และสามารถสรางเมืองทา ของตัวเองข้ึนเปนผลสําเร็จท่ีเมืองกัว (Goa) หลังจากชาวโปรตุเกสแลว ก็มีชาวฮอลันดาและชาวฝรั่งเศส สว นอังกฤษนัน้ เขา มาในภายหลังเมอ่ื ชาวโปรตุเกส ฮอลันดา และฝรง่ั เศสไดม ีกิจการท่อี ินเดียอยูกอนแลว และ นาํ ศาสนาคริสตม าเผยแผในอนิ เดยี ดวย

64 บริษัทอิสตอินเดียของอังกฤษ ทําใหเกิดเปนปฏิปกษกับชาวอินเดีย ท้ังท่ีเปนมุสลิมและฮินดู เพราะบทเรยี นเชน นี้ พอ คาชาวองั กฤษจงึ ไมป รารถนาจะใหเรือ่ งศาสนามาเปน อปุ สรรคในการทําธุรกิจการคา ที่สําคัญคือ ชาวอังกฤษเองกลับเปนผูสนับสนุนชาวอินเดียไมวาจะเปนมุสลิมหรือฮินดูในการตอสูกับพอคา ตางศาสนา แมจะเขามาสูอินเดียหลังชาติอ่ืน แตอังกฤษกลับประสบความสําเร็จอยางรวดเร็วและมากกวา ชาติอ่ืน ภายในเวลาไมนาน บรษิ ัทอิสตอินเดียของอังกฤษ ก็สามารถจัดตั้งศูนยการคาของตัวเองไดตามเมืองทา สําคญั นับตงั้ แตแ ถบตะวนั ตกทเ่ี มอื งสรุ ัต บอมเบย มาจนถึงแถบตะวนั ออก คอื มัทราส และกลั กตั ตา ทัง้ น้กี ด็ วย ความชวยเหลอื จากเจาผูครองนครตา งๆ เม่อื มาถึงชวงกลางครสิ ตศ ตวรรษท่ี 18 เปนชวงท่ีอํานาจปกครองรวมศูนยโดยกษัตริยมุสลิมเริ่ม เสอ่ื มลง เปนโอกาสใหพ อ คาชาวอังกฤษมีโอกาสเขาไปแทรกแซงดวยการชวยเหลือฝายใดฝายหนึ่งท่ีมีความ ขัดแยง กนั จนในท่ีสดุ บริษทั อิสตอ นิ เดยี ก็มีอิทธพิ ลเหนอื เจา ผูป กครองเหลานัน้ และนําไปสูการมีอํานาจเหนือ แผนดินอนิ เดยี ในเวลาตอ มา ลวงมาถงึ ศตวรรษท่ี 19 ประเทศอินเดียทั้งหมดก็ตกอยภู ายใตอิทธิพลขององั กฤษ นัน่ คือ บางสวน เปนเขตปกครองของอังกฤษโดยตรง เรียกวา บริทชิ ราช (British Raj) เขตปกครองโดยตรงน้มี ปี ระมาณ 3 ใน 5 ของอนิ เดียทงั้ หมด สว นทเ่ี หลือเปน การปกครองโดยมหาราชาผูค รองนคร ท่แี ตกแยกเปนแควนเล็กแควนนอย ทีแ่ มจะปกครองตนเองไดแตกต็ กอยภู ายใตอ ํานาจขององั กฤษ กลา วคอื ไมสามารถปฏิเสธอาํ นาจขององั กฤษได ชวงประมาณ 100 ป ต้งั แตตนศตวรรษที่ 19 ถึงตน ศตวรรษที่ 20 เปนรอ ยปแหงความเปนไปของ อินเดยี ทถี่ กู กําหนดทิศทางโดยผปู กครองชาวองั กฤษ อนิ เดยี ทแ่ี ตกเปนแควน เลก็ แควนนอ ยมานานหลายรอ ยป ถกู เชื่อมโยงใหต ดิ กนั เปน หน่งึ เดียว ดว ยระบบทางรถไฟและการสอื่ สารไปรษณียท ่ีองั กฤษจดั สรางขนึ้ บนแผนดนิ อินเดยี นับต้ังแตชวงตนศตวรรษที่ 20 มา จนถึงชวงไดรับอิสรภาพในชวงกลางศตวรรษ กระบวนการ เรียกรอ งเอกราชจากการปกครองของอังกฤษก็ทวรี ุนแรงข้นึ เร่ือยๆ จนในที่สดุ อนิ เดียสามารถประกาศเอกราช ไดส าํ เรจ็ ผนู ํา คอื มหาตมะคานธีททีต่ อ ตานองั กฤษดว ยวิธีการ “อหงิ สา” ซึง่ เปนวธิ ีการสงบสันติ พรอ ม ๆ กับ การแตกอนิ เดยี ออกเปนฮนิ ดสู ถาน (เขตประเทศชาวฮินด)ู และปากสี ถาน (เขตประเทศชาวมุสลมิ ) การทําสนธสิ ัญญาเบาวร่งิ พ.ศ. 2398 (Bowring Treaty, 1855) ในสมยั รัชกาลท่ี 4 ในชว ง พ.ศ. 2398 เปนชว งทีภ่ ูมิภาคเอเชียตอ งเผชิญกับการคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยม โดยชาติ มหาอํานาจตะวันตกไดใชนโยบายเรือปน คือ การใชกองกําลังทหารเรือเขายึดครองประเทศหรือดินแดน ที่ออนแอกวา นโยบายเรือปนเปนที่นิยมใชของมหาอํานาจทางตะวันตก โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศสและ ประเทศอังกฤษ ซ่ึงขณะน้ันไดข ยายอํานาจมาทางเอเชียใตและเอเชียตะวันออกเฉียงใต โดยไดใชอํานาจทาง ทะเล คอื เรอื รบทีม่ ีปน ใหญทท่ี นั สมยั พรอมกําลงั ทหารประจาํ เรอื เขายดึ ครอง โดยองั กฤษยดึ ครองอินเดีย พมา มลายู สว นฝร่งั เศสเขา ยึดครองเวียดนาม ลาว และกัมพูชา และตอมาฝรั่งเศสไดพยายามใชนโยบายเรือปนเขา ยึดครองประเทศไทย ทําใหไทยตองเสยี ดนิ แดนบางสว นไปใน รศ. 112 (พ.ศ. 2423) โดยฝรั่งเศสไดสงเรือปน

65 ชอื่ ลูติเขามาในแมนํา้ เจาพระยา ถงึ หนาสถานทูตฝรัง่ เศสในกรงุ เทพมหานคร เพ่อื ขม ขูใหไ ทยยกดนิ แดนฝง ขวา ของแมน้ําโขงและดินแดนไทยในกัมพูชาบางสวนใหกับฝร่ังเศส และเพ่ือเขามาบีบบังคับใหประเทศตาง ๆ ทาํ ตามขอเรียกรอ งของตน ประเทศไทยไดต ระหนักถึงภัยคุกคามดังกลาว ซ่ึงไดเห็นบทเรียนจากการพายแพ ของจักรวรรดิจีนอันยิ่งใหญต อ ประเทศอังกฤษในสงครามฝนครง้ั ที่ 1 (พ.ศ. 2385) การคุกคามของอังกฤษที่มี ตอประเทศเพ่ือนบานอยางพมา และการยึดครองเวียดนามของฝรั่งเศษ ดวยเหตุผลดังกลาวเปนเหตุใหไทย ตองดําเนินนโยบายแบบผอนปรนหรือลูตามลม (Bending with the wind) เพ่ือความอยูรอดของชาติและ ยนิ ยอมทท่ี ําสนธิสัญญาทไี่ มเสมอภาค เม่ืออังกฤษสงเซอรจอหน เบาวริ่ง (Sir.John Bowring) มาเจรจาทําสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี และการคา ในป พ.ศ. 2398 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ไทยไดยินยอม ทําสนธิสญั ญาที่เรียกวา \"สนธสิ ัญญาเบาวร ิ่ง\" เมอ่ื วันท่ี 18 เมษายน พ.ศ. 2398 ซ่ึงเปาหมายของสนธิสัญญา ฉบับนี้คือชาติมหาอาํ นาจตะวนั ตกตองการใหไทยเปนตลาดระบายสินคาและการลงทุน ซ่ึงสงผลใหไทยตอง สญู เสียรายไดจ ากการคา ตา งประเทศและอาํ นาจทางการศาลหรอื สทิ ธิสภาพนอกอาณาเขต (Extra territoriality) สรปุ สาระสาํ คญั ของสนธิสญั ญาเบาวรง่ิ ไดด ังนี้ 1. ใหคนในบังคับองั กฤษอยภู ายใตการควบคุมของกงสุลอังกฤษ ทําใหคนในบังคับอังกฤษไมตองขึ้น ศาลไทย 2. ยกเลิกพระคลังสินคา ใหคนในบังคับของอังกฤษไดรับสิทธิในการคาเสรีในทุกเมืองทา สามารถ ซ้อื ขายสินคา ไดโ ดยตรงกบั ธุรกจิ เอกชนของไทย 3. กําหนดอัตราภาษีศุลกากรขาเขาของสินคาทุกชนิดในอัตรารอยละ 3 นอกจากภาษีศุลกากร หามเก็บคา ธรรมเนยี มและอากรอื่น ๆ จากพอคา ของประเทศคสู ญั ญา นอกจากไดร บั ความเห็นชอบจากสถาน กงสุล 4. อังกฤษเปนประเทศท่ีไดรับการอนุเคราะหจากไทย หมายความวา ถาฝายไทยยอมใหส่ิงใด ๆ แกชาตอิ ่นื ๆ นอกเหนอื ไปจากสัญญานี้ ไทยกต็ อ งยอมมอบใหอ งั กฤษเชน กนั 5. ขา วเปน สนิ คาหลกั รัฐบาลไทยสงวนสิทธิการสง ออกขา ว ปลา และเกลือ ในยามท่ไี ทยขาดแคลน 6. หามมกี ารเปล่ียนแปลงสญั ญานี้จนกวาจะใชไปครบ 10 ป และถาตองการแกไขเปลี่ยนแปลงตอง แจงใหค สู ญั ญาทราบลวงหนา 1 ป โดยทัง้ สองฝายตองยนิ ยอม ในการนีพ้ ระบาทสมเด็จพระจอมเกลา เจาอยหู วั มีพระกรณุ าโปรดเกลาฯ แตงต้ังเซอรจอหน เบาวร่ิง เปน “พระยาสยามมานุกูลกิจสยามมิตรมหายศ” เปน การแสดงถงึ พระราชไมตรอี ันดีท่ีไทยมีตอรัฐบาลอังกฤษ อกี ดว ย สนธิสัญญาเบาวริ่งไดกลายเปนตนแบบของสนธิสัญญาที่นานาชาติเขามาเจริญพระราชไมตรีและ การคากบั ไทยในชวงเวลาตอ มาที่ไทยตอ งลงนามในสนธสิ ัญญาท่ีไมเปน ธรรมกับประเทศอน่ื ๆ เชน เดยี วกบั ในป พ.ศ. 2303 ที่ไทยไดท ําสนธิสญั ญากับฮอลนั ดาและปรัสเซยี (เยอรมนี)

66 ผลกระทบของสนธิสัญญาเบาวรงิ่ 1. การสูญเสียสิทธสิ ภาพนอกอาณาเขต สงผลใหรฐั บาลไทยพยายามปรับปรุงแกไขระบบกฎหมายและการศาลไทยที่ตะวันตกไมยอมรับ เพราะขาดความเปนสากล อีกทั้งระเบียบการพิจารณาคดีและวิธีการลงโทษแบบรุนแรงตามจารีตเปนอุปสรรค ตอการพฒั นาบา นเมืองอยางย่ิง 2. การเปลย่ี นแปลงในระบบเศรษฐกิจของไทย การทาํ สนธสิ ญั ญาเบาวร ง่ิ ทําใหระบบการคาแบบผูกขาดสิ้นสดุ ลง นําไปสกู ารท่ีไทยตองเปดประเทศ สกู ารคาเสรีทําใหเ กิดการเปลย่ี นแปลงในระบบเศรษฐกจิ ดงั น้ี 2.1 การเปลี่ยนแปลงโครงสรางสินคาเขา และสินคาออกของไทย กลาวคือ กอนทําสนธิสัญญา เบาวร ิง่ ไทยสงสนิ คา ออกหลายชนิด แตเม่ือมีการทําสนธิสัญญาเบาวร่ิงแลวไทยมีสินคาสงออกท่ีสําคัญเพียง ไมก่ีชนิด โดยสินคาออกท่ีสําคัญของไทยหลังสนธิสัญญาเบาวริ่ง ไดแก ขาว ยางพารา และดีบุก สวนสินคา นําเขาจากเดิมมีอยูไมกี่ชนิด สวนใหญเปนประเภทสินคาฟุมเฟอยที่ตอบสนองความตองการของชนชั้นสูง กเ็ ปลี่ยนเปน สินคา หลากหลายชนิดเพื่อใหค นท่ัวไปใชอปุ โภคบริโภค 2.2 การเปล่ียนแปลงวิธีการผลิตสินคาทําใหประเทศไทยตองเปล่ียนจากการผลิตเพื่อเลี้ยงชีพ มาทําหนาท่ีผลิตสินคาเฉพาะ ท่ีถูกกําหนดตามความตองการของตลาดโลก ซ่ึงขาวกลายเปนสินคาสําคัญ จงึ เกดิ การขยายพนื้ ที่เพาะปลูก และใชแรงงานคนมากข้ึน ดังน้ัน รัฐจึงสนับสนุนใหประชาชนเพาะปลูกขาว มากขน้ึ โดยวิธกี ารตา ง ๆ เชน การขดุ คลอง ลดภาษีคานา ลดการเกณฑแรงงาน มีการใชแรงงานจีนชวยเสริม กําลงั การผลิต และเกิดการจางแรงงานเพอื่ ชวยในการทาํ นา 2.3 การคา ระหวา งประเทศขยายตัวมากย่ิงขึ้น เศรษฐกิจของไทยพ่งึ พงิ ตา งประเทศมากยง่ิ ขึ้น และ เกดิ ระบบเงินตรา เนือ่ งจากการคาทขี่ ยายตวั เงินพดดวงไมเพียงพอ จงึ มีการผลิตเหรยี ญกษาปณในสมัยรัชการ ที่ 4 และการผลติ ธนบัตร ในสมัยรชั การที่ 5 ตอ มา 2.4 การลงทุนและพัฒนาการดานอุตสาหกรรม ดวยการใชเทคโนโลยีจากตะวันตกโดยมีนายทุน จากยุโรปและจีนไดล งทนุ อุตสาหกรรม เชน ไมสัก มีการลงทุนทําไมสักทางภาคเหนือ การทําเหมืองแรดีบุก ในภาคใต การทําโรงสีไฟ อูตอ เรอื สมัยใหม 3. การเปลี่ยนแปลงทางดา นสงั คม เนอื่ งจากระบบการคา เสรีสง ผลกระทบตอวถิ ีชวี ติ ของผูคนในสังคม ระบบไพร - ทาส ไมไดเอ้ือตอ ระบบเศรษฐกจิ สมัยใหมน าํ ไปสกู ระบวนการยกเลกิ ทาสและไพรในการตอมาจึงทําใหระบบความสัมพันธของ ผูค นในสังคมเปลีย่ นแปลงไป เมอื่ ขาวกลายเปน สนิ คาหลกั ชาวนาจึงผลิตมุงที่จะผลิตขาว โดยละทิ้งกิจกรรม อ่ืนๆ เชน หตั ถกรรมพืน้ บาน การทอผา เพราะสามารถนําเงนิ ทไ่ี ดจ ากการขายขา วไปซื้อสินคา อน่ื ๆ ไดตามความ พอใจ ซ่งึ มีสวนทาํ ใหค านยิ มในสังคมไทยใหความสาํ คญั กบั เงินทองทรัพยส ินยงิ่ ขน้ึ แรงงานและที่ดินกลายเปน ส่งิ ที่มมี ูลคา

67 การปฏิรปู ประเทศในสมยั พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา จาอยหู ัว (รชั กาลท่ี 5) ในสมยั พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ประเทศไทยไดมีการเปลี่ยนแปลงประเทศใหมี ความเจริญกาวหนาตามแบบตะวันตก โดยการปรับปรุงระบบการบริหารราชการแผนดินคร้ังใหญ ซ่ึงเปน รากฐานทส่ี ําคญั และสงผลมาถึงปจจุบัน การปฏิรูปประเทศมี 3 ดาน ไดแก 1) การปฏิรูปดานการเมืองการ ปกครอง 2) การปฏิรปู ดานเศรษฐกิจ และ 3) การปฏริ ูปดานสงั คม สาเหตขุ องการปฏริ ปู ประเทศ การปกครองตง้ั แตส มัยรัชกาลที่ 5 ในสมยั พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจา อยูหัว ไดทรงปฏิรูป การปกครองแผนดินอยางขนานใหญ ควบคูไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ท้ังนี้ก็เพ่ือใหเหมาะสมกับ สภาพแวดลอ มตาง ๆ ท่เี ปลยี่ นแปลงไป การปฏริ ูปเศรษฐกิจ ไดแ ก การปรบั ปรงุ ระบบบรหิ ารงานคลงั และภาษี อากร สวนการปฏริ ปู สังคมไดแก การเลกิ ทาส การปฏริ ูปการศึกษา รวมทั้งการปรับปรุงการสื่อสาร และการ คมนาคม เปน ตน สําหรบั มูลเหตสุ าํ คัญทีผ่ ลักดันใหม ีการปฏิรูปการปกครองมี ดงั นี้ ดานการเมอื งการปกครอง 1. มลู เหตุภายใน ทรงพจิ ารณาเห็นวา การปกครองแบบเดิมไมเ หมาะสมกบั สภาพทางการปกครอง และทางสงั คมท่เี ปลีย่ นแปลงไป เชน ประเทศไทยมีประชากรเพม่ิ ขึน้ การคมนาคมและการติดตอสอ่ื สาร เริม่ มี ความทันสมัยมากข้ึน การปกครองแบบเดิมจะมีผลทําใหประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง ขาดประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผนดินและพัฒนาไดย าก 2. มูลเหตุภายนอก ทรงพิจารณาเห็นวา หากไมทรงปฏิรูปการปกครองแผนดินยอมจะเปน อนั ตรายตอ เอกราชของชาติ เพราะขณะน้นั จกั รวรรดินยิ มตะวันตก ไดเขามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเชีย ตะวันออกเฉยี งใต นอกจากนัน้ แตเ ดิมเราตอ งยนิ ยอมใหประเทศตะวันตกหลายประเทศมสี ิทธิภาพนอกอาณา เขต คือ สามารถตั้งศาลกงสุลขึ้นมาพิจารณาความคนในบังคับของตนได โดยไมตองอยูใตการบังคับของ ศาลไทย เพราะอา งวา ศาลไทยลา สมัย ดานเศรษฐกจิ สมัยรัชกาลที่ 5 พระองคทรงเห็นวาถึงแมรายไดของแผนดินจะเพ่ิมพูนมากขึ้นอันเปนผลมาจาก ระบบเศรษฐกิจเปลยี่ นไป แตการที่ระบบการคลังของแผน ดนิ ยังไมร ดั กมุ พอ ทาํ ใหเ กิดการรัว่ ไหลไดงา ย จึงทรง จดั การปฏริ ปู การคลงั โดยจดั ตั้งหอรัษฎากรพพิ ฒั นข ึน้ เพ่ือปรบั ปรงุ และจดั ระบบภาษใี หท นั สมัย ใน พ.ศ.2416 มกี ารประกาศใชพ ระราชบัญญัตงิ บประมาณ พ.ศ. 2434 เรมิ่ โครงการปฏิรูปเงินตราใหม พ.ศ.2442 จัดการ สงเสริมการเกษตรและการผลิตเพื่อการสง ออกใหม ากขึ้น ปรับปรุงการคมนาคมใหทันสมัยโดยการสรางทาง รถไฟ ตัดถนนสายตาง ๆ ขุดคลอง เพื่อใหเกิดความสะดวกในการคมนาคม การขนสงสินคาและผลผลิต การเกษตร ซ่ึงผลจากการปฏริ ูปเศรษฐกจิ ในสมัยรชั กาลที่ 5 ทาํ ใหร ายไดของประเทศเพ่ิมมากข้นึ

68 ดา นสงั คม สมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยมีการเปล่ียนแปลงทางสังคม โดยมีสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง โครงสรางทางสังคม ดังน้ี 1. สาเหตภุ ายนอก - การคุกคามของมหาอํานาจตะวันตกรัชกาลท่ี 5 จึงทรงผอนปรนตอการบีบบังคับของ ประเทศตะวนั ตกและเรงปรบั ปรุงภายในประเทศใหเ จรญิ กา วหนาขึ้น - การรับอิทธิพลแนวความคิดแบบตะวันตก โดยการเรียนรูและศึกษาศิลปะวิทยาการ ตลอดจนแนวความคิดแบบตะวันตกมากขน้ึ - การเสด็จประพาสประเทศใกลเคียง ทําใหเห็นความเจริญของประเทศเหลานี้ จึงไดทรง ปรับปรงุ และเปลีย่ นแปลงสังคมไทยใหเจรญิ ทดั เทียมประเทศเพ่อื นบาน 2. สาเหตภุ ายใน - การมรี ะบบไพรแ ละทาสทําใหเกดิ ความเหลือ่ มล้าํ และความไมเ ปน ธรรมในสงั คม - รัชกาลท่ี 5 ทรงเห็นวาการเกณฑแรงงานของไพรเปนอุปสรรคตอการขยายตัวของระบบ เศรษฐกจิ สมัยใหม - การมีไพรอ ยูในความดแู ลเปน จํานวนมาก อาจทําใหขุนนางผูใหญใชเปนฐานกําลัง เพื่อแยง ชงิ อํานาจทางการเมอื ง และลม ลา งพระราชอํานาจของพระมหากษัตรยิ ได - การมีระบบทาสทาํ ใหช าติตะวนั ตกดถู กู วาเมอื งไทยเปนเมืองเถ่ือนและอาจใชเปนขอ อางเขา ยดึ ครองประเทศได การปฏิรปู ดา นการเมืองการปกครอง พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา เจา อยูห วั ทรงปฏริ ปู การปกครองเพราะทรงเห็นวา เปน หนทางหนึ่ง ทจ่ี ะรกั ษาเอกราชของบานเมืองไวไดในชวงการขยายลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตก การปรับปรุงการ ปกครองใหทนั สมัย ทาํ ใหช าวตางชาตเิ ห็นวา ประเทศไทยเปน ประเทศท่เี จริญแลว สามารถปกครองดแู ลพฒั นา บา นเมืองได นอกจากนีย้ งั ทาํ ใหประชาชนมีความเปน อยูดีข้ึน ประเทศชาติมีรายไดในการทํานุบํารุงบานเมือง มากข้ึน ทําใหสายตาของชาวตางชาติมองประเทศไทยตางจากประเทศเพ่ือนบานอื่น ๆ และดวยการวาง วิเทโศบายทางการทูตกับชาติตะวันตกอยางเหมาะสม ยอมรับวาชาวยุโรปเปนชาติท่ีเจริญ ใหเกียรติและ ยกยองพรอมกบั เปล่ียนแปลงวธิ ีปฏิบัติบางอยาง เพอ่ื ใหเห็นวา ไทยไมใ ชช นชาติปาเถ่ือน เชน ใหข า ราชการสวม เสื้อเวลาเขา เฝา นอกจากนัน้ ยงั ยอมผอนปรนอยางชาญฉลาดแมจ ะเสียผลประโยชนหรือดินแดนไปบาง แตก็ เปน สวนนอยยังสามารถรักษาสวนใหญไวได ประเทศไทยจงึ คงความเปน ชาตทิ ม่ี เี อกราชตลอดมา

69 พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลาเจาอยหู ัวทรงมีแนวความคดิ ในการปฏิรปู การปกครอง 3 ประการ คือ 1. การรวมอํานาจเขาสูสวนกลางมากขึ้นท้ังน้ีเพื่อมิใหชาติตะวันตกอางเอาดินแดนไปยึดครองอีก ถาอํานาจของรัฐบาลกลางแผไปถึงอาณาเขตใดก็เปนการยืนยันวาเปนอาณาเขตของประเทศไทย 2. การศาลและกฎหมายที่มีมาตรฐานจากการยอมเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในรัชกาลท่ี 4 เปนเพราะประเทศอาณานิคมอางวาศาลไทยไมมีคุณภาพ ไมไดมาตรฐาน ดังนั้น รัชกาลท่ี 5 จึงทรง พระราชดาํ รทิ จ่ี ะปรบั ปรุงการศาลยตุ ธิ รรมและกฎหมายไทยใหเ ปนสากลมากขน้ึ 3. การพัฒนาประเทศพระองคทรงริเริ่มนําสิ่งใหม ๆ เขามาใชเพื่อพัฒนาประเทศในดานตาง ๆ เชน สรา งถนน ขุดคคู ลอง จดั ใหมีการปกครองไฟฟา ไปรษณีย โทรเลข รถไฟ เปน ตน การปฏิรปู การปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวไดกอใหเกิดการจัดระเบียบ การปกครองท่ีสําคญั จําแนกได 3 สว นคอื 1. การปกครองสวนกลาง พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา เจา อยูหัวยังทรงแตงตง้ั \"สภาทีป่ รกึ ษาในพระองค\" ซง่ึ ตอมาได เปลี่ยนเปน \"รฐั มนตรีสภา\" ประกอบดวย เสนาบดี หรือผูแทนกับผูที่โปรดเกลาฯ แตงตั้ง รวมกันไมนอยกวา 12 คนจดุ ประสงคเพอื่ ใหเ ปนทป่ี รึกษาและคอยทดั ทานอํานาจพระมหากษัตริย แตการปฏิบัติหนาที่ของสภา ดังกลาวไมไดบรรลุจุดประสงคที่ทรงหวังไวเพราะสมาชิกสวนใหญไมกลาโตแยงพระราชดําริ คณะที่ปรึกษา สวนใหญมักพอใจที่จะปฏิบัติตามมากกวาที่จะแสดงความคิดเห็น นอกจากน้ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา เจาอยูหัว ยังทรงแตงต้ัง \"องคมนตรีสภา\" ข้ึนอีก ประกอบดวยสมาชิกเม่ือแรกตั้งถึง 49 คน มีท้ังสามัญชน ต้ังแตช้ันหลวงถึงเจาพระยา และพระราชวงศองคมนตรี สภาน้ีอยูในฐานะรองจากรัฐมนตรีสภา เพราะ ขอความที่ปรกึ ษาและตกลงกนั ในองคมนตรีสภาแลวจะตอ งนําเขาที่ประชมุ รฐั มนตรีสภากอน จากน้ันจึงเสนอ ตอ เสนาบดกี ระทรวงตาง ๆ การปรับปรงุ การบริหารราชการในสวนกลางของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวรัชกาล ที่ 5 คือ ทรงยกเลิกตําแหนงอัครเสนาบดี 2 ตําแหนง คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายกรวมทั้งจตุสดมภ โดยแบงการบริหารราชการออกเปนกระทรวงตามแบบอารยประเทศและใหมีเสนาบดีเปนผูวาการแตละ กระทรวง กระทรวงท่ีตั้งขน้ึ ทง้ั หมด เมือ่ พ.ศ. 2435 มี 12 กระทรวง คือ 1. กระทรวงมหาดไทย มีอาํ นาจหนาทบ่ี งั คบั บญั ชาหัวเมอื งฝายเหนอื และเมืองลาวท้งั หมด 2. กระทรวงกลาโหม มอี าํ นาจหนา ทบี่ ังคบั บัญชาหวั เมืองฝายใต หัวเมืองฝา ยตะวนั ออก ตะวนั ตก และหวั เมืองมลายู ประเทศราช ตอมา พ.ศ. 2437 กระทรวงกลาโหมทาํ หนา ทบี่ ังคบั บัญชาฝายทหารอยาง เดียว สว นการปกครองหวั เมืองทั้งหมดอยูในความควบคมุ ดแู ลของกระทรวงมหาดไทย

70 3. กระทรวงการตา งประเทศ ทําหนาท่ีวา การตางประเทศโดยเฉพาะ 4. กระทรวงวัง มีอํานาจหนาท่ีบังคับบัญชาเกี่ยวกับกิจการพระราชสํานักและงานเก่ียวกับ องคพระมหากษตั ริย 5. กระทรวงเมืองหรือกระทรวงนครบาล มีอํานาจหนาที่บังคับบัญชาตํารวจ ดูแลความสงบ เรียบรอ ยในพระนครและงานเกีย่ วกบั นกั โทษ 6. กระทรวงเกษตราธกิ าร มอี าํ นาจหนา ที่ควบคุมดูแลเกยี่ วกับงานดา นการเพาะปลูก การคาขาย การปาไมแ ละเหมอื งแร 7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีอํานาจหนาที่ดูแลรับผิดชอบเก่ียวกับภาษีอากรและ งบประมาณแผนดนิ 8. กระทรวงยุตธิ รรม มอี ํานาจและหนา ที่บงั คบั บญั ชาศาลทว่ั ประเทศ 9. กระทรวงยทุ ธนาธกิ าร มอี ํานาจหนา ทต่ี รวจตราและวางแผนเกยี่ วกับกิจการทหารบก ทหารเรอื 10. กระทรวงธรรมการ มีอาํ นาจหนา ท่ีดูแลรบั ผิดชอบเกี่ยวกบั การศกึ ษา การสาธารณสุข วัดและ พระสงฆ 11. กระทรวงโยธาธกิ าร มีอํานาจหนา ที่รับผิดชอบเก่ียวกบั การกอ สราง ถนน คลอง การชางรถไฟ ไปรษณยี แ ละโทรเลข 12. กระทรวงมุรธาธิการ รับผิดชอบเก่ียวกับการรักษาตราแผนดินและงานระเบียบสารบรรณ ภายหลงั ไดยุบกระทรวงยุทธนาธิการไปรวมกบั กระทรวงกลาโหมและยบุ กระทรวงมุรธาธิการไปรวม กับกระทรวงวัง คงเหลือเพียง 10 กระทรวงเสนาบดีทุกกระทรวงมีฐานะเทาเทียมกัน และประชุมรวมกัน เปนเสนาบดีสภาทําหนาที่ปรึกษาและชวยบริหารราชการแผนดินตามที่พระมหากษัตริยทรงมอบหมาย เพราะอํานาจสูงสดุ เดด็ ขาดเปนของพระมหากษัตริยต ามระบอบสมบูรณาญาสทิ ธริ าชย 2. การปกครองสว นภมู ภิ าค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวทรงมีพระราชดําริ ใหยกเลิกการปกครองหัวเมือง และใหเ ปล่ียนแปลงเปนการปกครองสวนภูมิภาค โดยโปรดเกลาฯใหตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครอง ทอ งที่ ร.ศ. 116 ขน้ึ เพือ่ จัดการปกครองเปนมณฑลเมือง อําเภอ ตาํ บล และหมบู า น ดงั น้ี 1. ใหจัดระเบียบบริหารราชการหัวเมืองใหม ใหยกเลิกเมืองพระยามหานคร ชั้นเอก โท ตรี จตั วา และหวั เมอื งประเทศราช โดยจัดเปนมณฑลเทศาภิบาล ใหอ ยูใ นความดูแลของกระทรวงมหาดไทยเพียง กระทรวงเดยี ว มณฑลเทศาภบิ าล ประกอบดว ยเมอื งตัง้ แต 2 เมืองข้นึ ไป มสี มหุ เทศาภบิ าลท่ีพระมหากษัตริย ทรงแตง ตัง้ ไปปกครองดูแลตา งพระเนตรพระกรรณ

71 2. เมอื ง ประกอบดวยอาํ เภอหลายอําเภอ มผี วู า ราชการเมืองเปนผูรบั ผดิ ชอบขนึ้ ตรงตอ ขา หลวง เทศาภิบาล 3. อาํ เภอ ประกอบดว ยทอ งทห่ี ลาย ๆ ตาํ บล มนี ายอําเภอเปน ผรู ับผดิ ชอบ 4. ตําบล ประกอบดวยทอ งท่ี 10 - 20 หมบู า นมกี าํ นันซง่ึ เลอื กตง้ั มาจากผใู หญบ า นเปน ผูรบั ผดิ ชอบ 5. หมบู า น ประกอบดว ยบานเรอื นประมาณ 10 บา นขึ้นไป มรี าษฎรอาศยั ประมาณ 100 คน เปนหนวยปกครองทเี่ ลก็ ทส่ี ดุ มีผใู หญบ า นเปนผรู ับผิดชอบตอ มาในสมยั พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลาเจา อยหู ัว ไดยกเลกิ มณฑลเทศาภบิ าลและเปลี่ยน เมอื ง เปน จงั หวัด การบริหารราชการในระบบใหมประสบปญหาและอุปสรรค เนื่องจากกลุมบุคคลที่เคยมีอํานาจ ในการปกครองประชาชนตามระบอบเกาสญู เสียผลประโยชน จงึ พยายามขดั ขวาง พระบาทสมเด็จพระจอม- เกลาเจาอยูหัว ทรงไมตองการใหเกิดความขัดแยงกันอยางรุนแรง ทรงมีพระบรมราโชบายแบบคอยเปน คอยไป จึงใชเวลาหลายปก วา จะปฏิรปู การปกครองไดทว่ั ประเทศ จนกระท่ังถึง พ.ศ. 2449 จึงมีการปกครอง แบบมณฑล 3. การปกครองสวนทอ งถ่ิน การปกครองสวนทองถ่ิน หมายถึง การใหประชาชนในทองท่ีแตละแหงไดมีโอกาสปกครอง และบริหารงานในทองที่ท่ีตนอาศัยอยู เพื่อฝกฝนใหบุคคลในทองท่ีรูจักพึ่งพาและชวยเหลือตนเองโดยใช ทรพั ยากรทีม่ อี ยู และบางสว นมาจากการใหค วามชวยเหลือของรัฐบาลกลาง เพื่อใหเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เปนการวางรากฐานการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตยในระดับทองถนิ่ ใน พ.ศ. 2440 โปรดเกลาใหตรา พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองทองท่ี ร.ศ.116 โดยรัฐบาลใหสิทธิ ประโยชนในการเลอื กผใู หญบ า นเปน หวั หนา ปกครองประชาชนในหมูบ า น และใหผ ใู หญบ า นมสี ทิ ธิเลือกกํานัน เปนหัวหนาปกครองในตําบลของตน การเลือกกํานันผูใหญบานยังเปนระบบการปกครองสวนทองถิ่นที่ใชกัน เร่อื ยมาจนถึงปจ จบุ นั การจดั สขุ าภบิ าล ใน พ.ศ. 2440 เร่ิมจัดต้งั สุขาภิบาลกรุงเทพข้ึนเปนคร้ังแรก เพื่อทําหนาที่รักษา ความสะอาด ความเปน ระเบียบเรยี บรอยในชุมชน การปองกันโรคภัยไขเจ็บ เปนตน ตอมาจึงขยายงานเปน กรมสุขาภิบาลสงั กดั อยูในกระทรวงนครบาล สําหรับตางจังหวัด เร่ิมจัดตั้งสุขาภิบาลเปนแหงแรกท่ี ตําบล- ทาฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีคณะกรรมการประกอบดวย กํานัน ผูใหญบาน ทําหนาที่บริหารงาน สขุ าภบิ าล รับผดิ ชอบงานดา นตา ง ๆ เก่ยี วกบั สวัสดิภาพของประชาชน เชน การรกั ษาความสะอาด การกําจัด ขยะ การสงเสริมสุขภาพอนามัย และการปองกันโรคระบาดที่เกิดกับประชาชน บํารุงรักษาถนนหนทาง เปน ตน หนว ยงานราชการสว นทอ งถิ่น คือ สขุ าภบิ าลและเทศบาลยงั ปรากฏมาจนถงึ ปจ จบุ นั การปฏิรปู ดา นเศรษฐกจิ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเร่ิมตนพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพราะเปนผลมาจากการติดตอกับ ตา งประเทศอยา งกวางขวาง โดยมกี ารปฏริ ปู ทางเศรษฐกิจ มดี ังตอ ไปนี้

72 1. การปฏริ ูปดา นการคลังรชั กาลที่ 5 โปรดเกลา ฯ ใหจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒนข้ึนในป พ.ศ. 2416 ในพระบรมมหาราชวังทําหนาที่รับผิดชอบรวบรวมเงินภาษีอากรทุกชนิดนําสงพระคลังมหาสมบัติ ทําบัญชี รวบรวมผลประโยชน ตรวจตราการเก็บภาษีอากรของหนวยราชการตาง ๆ ใหเรียบรอยรัดกุมรับผิดชอบ การจายเงินเดอื นในอัตราทแี่ นนอนใหก บั ขา ราชการฝา ยพลเรอื นและทหารเฉพาะในสว นกลางแทนการจา ยเบย้ี หวัดและเงินป 2. การปฏิรูประบบเงินตรา พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา เจาอยหู วั ทรงปฏิรปู ระบบเงินตรา ดงั น้ี 2.1 การประกาศกําหนดมาตราเงนิ ใหม ใหมีเพียง 2 หนวย คือ บาทกบั สตางค สตางคที่ ออกมาใชครงั้ แรก มี 4 ขนาด คือ 20, 10, 5 และ 2 สตางคค รง่ึ และประกาศยกเลิกใชเงินพดดว ง 2.2 การออกธนบตั รประกาศใชพระราชบัญญัติธนบัตร จัดตั้งกรมธนบัตรข้ึน เพ่ือทําหนาท่ี ออกธนบตั รใหไ ดมาตรฐาน ธนบตั รนนั้ เดมิ ประกาศใชม าตง้ั แตร ัชกาลที่ 4 แลว 2.3 เปรยี บเทียบคาเงินไทยกับมาตรฐานทองคํา ใน พ.ศ. 2451 ประกาศใชพระราชบัญญัติ มาตรฐานทองคาํ กาํ หนดอตั ราแลกเปล่ียน 13 บาท เทา กับ 1 ปอนดเ พ่อื ใหสอดคลอ งกับหลักสากล 3. การตั้งธนาคารมีบุคคลคณะหน่ึงรวมมือกอตั้งธนาคารของไทยแหงแรกเรียกวาบุคคลัภย (Book Club) ไดร ับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจดั ตง้ั ธนาคารจดทะเบยี นถกู ตองตามกฎหมายเรยี กชื่อวา แบงคสยามกมั มาจล (Siam Commercial Bank) ตอมาไดเปลีย่ นชอื่ เปนธนาคารไทยพาณชิ ย จาํ กดั 4. การทํางบประมาณแผน ดิน ใน พ.ศ. 2439 รัชกาลท่ี 5 โปรดใหม กี ารจัดทาํ งบประมาณแผน ดิน ขน้ึ เปน ครงั้ แรกเพ่ือใหก ารรบั จายของแผนดินมคี วามรดั กมุ โปรดใหแ ยกเงินสวนแผน ดินและสวนพระองคอ อก จากกันอยา งเดด็ ขาดโดยใหพระคลงั ขางทเี่ ปน ผูดูแลพระราชทรพั ยส ว นพระองค 5. การปรบั ปรุงทางดา นการเกษตรและการชลประทานมกี ารขดุ คลองเกาบางแหง และขดุ คลองใหม อกี หลายแหง เชน คลองนครเนอ่ื งเขต คลองดําเนินสะดวก คลองประเวศบุรรี มย คลองเปรมประชา คลองทวี วฒั นา สรางประตรู ะบายนํ้า เพอ่ื ชว ยสงนํ้าใหเ ขา ถึงพ้ืนทีท่ ี่ทาํ การเพาะปลกู ได ดานการปาไม โปรดใหตงั้ กรม ปา ไม สงเสริมใหป ลูกสวนสกั อกี ทงั้ ไดสง นกั เรยี นไทยไปศึกษาวิชาปา ไม ณ ตางประเทศ การปฏิรปู ดานสังคม ในสมยั รัชกาลท่ี 5 ทรงสงเสรมิ ใหประชาชนไดร ับสิทธ์ิ เสรีภาพและความเสมอภาคทางสังคม ดังน้ี 1. ทรงยกเลิกระบบไพร ซึ่งเปนระบบที่ทางราชการเกณฑประชาชนไปทํางานใหแกขุนนาง โดยไมไ ดรบั คาจางหรือผลประโยชนตอบแทน ทาํ ใหประชาชนขาดอิสระในการประกอบอาชีพ บางครง้ั ถูกกด ขีข่ ม เหงจากมูลนายอีกดวย เปนเหตุใหเกิดการแบงชนช้ันในสังคมไทย ราษฎรไทยไมไดรับความเสมอภาค และความยตุ ธิ รรมเทา ทีค่ วร พระองคจงึ ทรงโปรดเกลาใหย กเลกิ แตกระทําแบบคอยเปนคอยไป จนถึง พ.ศ. 2448 จงึ ยกเลิกโดยเดด็ ขาด 2. ทรงเลกิ ทาส พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา เจา อยหู วั ทรงเหน็ วาการมที าสทําใหป ระเทศชาติ ลาหลงั เปน สงั คมท่มี นษุ ยย ังไรศกั ด์ิศรี ขาดความเสมอภาค อิสรภาพและเสรีภาพ ทงั้ อารยประเทศตาง ๆ

73 กไ็ ดย กเลิกทาสในประเทศของตน จงึ มีพระราชดาํ ริยกเลิกทาสแบบคอ ยเปนคอยไป ซึ่งเริ่มขึ้นเม่ือพ.ศ. 2417 การเลิกทาสดําเนนิ ไปอยางเปน ขน้ั เปนตอนใชเ วลานานถึง 31 ป จึงสําเร็จเรียบรอยทว่ั ประเทศโดยไมขัดแยง กันถึงข้ันทาํ สงครามกันเองเหมอื นดังเชนทเ่ี กดิ ขึน้ ในระเทศสหรฐั อเมรกิ า ในพ.ศ. 2448 จึงตราพระราชบัญญตั ิ เลกิ ทาส เปน กฎหมายทหี่ า มมใิ หซ ้ือขายเอาคนมาเปน ทาสโดยเด็ดขาด การยกเลกิ ระบบไพรและทาสดังกลา ว นบั เปนการปฏวิ ตั สิ งั คมไทยคร้งั ยง่ิ ใหญท าํ ใหชาวไทยไดร บั อสิ รภาพ เสรภี าพและความเสมอภาค ซ่ึงเปนรากฐานในการพัฒนาสังคมไทยใหกาวหนาไปสสู งั คมทมี่ ีการ ปกครองแบบประชาธปิ ไตยในเวลาตอมา 3. ปฏริ ูปการศกึ ษา การศกึ ษาเปน ส่ิงสาํ คัญในการพฒั นาประเทศ จงึ ทรงมุงพฒั นาการศึกษาของ ไทยใหมคี วามเจรญิ รุง เรอื งและเพอื่ ใหป ระชาชนสามารถดาํ รงชีวิตในสงั คมไดอยา งมคี วามสุข กาวหนา ในการ สรา งสรรคอารยธรรมและวฒั นธรรม เชน ต้งั โรงเรียนหลวงข้นึ ในวัง พ.ศ. 2414 ตง้ั โรงเรียนนายทหาร มหาดเล็กทพ่ี ระตาํ หนักสวนกหุ ลาบ ตง้ั โรงเรียนสาํ หรับราษฏรขน้ึ ครง้ั แรกท่วี ดั มหรรณพาราม เมือ่ พ.ศ. 2427 และขยายการศึกษาออกสหู ัวเมอื งอยางจริงจงั ใน พ.ศ. 2441 โดยใชวดั เปน สถานศึกษาและมพี ระสงฆเ ปน ครผู สู อน 4. ทรงยกเลกิ ประเพณีวัฒนธรรมทลี่ าสมัย ดงั น้ี - การเปล่ียนแปลงประเพณีการสืบสันตติวงศ รัชกาลที่ 5 โปรดใหยกเลิกตําแหนงวังหนา (พระมหาอปุ ราช) และทรงสถาปนาตําแหนงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร แทนสมเด็จ- พระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกมุ ารองคแรก คอื เจาฟามหาวชิรุณหิศ แตทรงส้ินพระชนมกอนจึงมีการ สถาปนาสมเดจ็ พระเจา ลูกเธอเจาฟามหาวชริ าวธุ ขน้ึ เปน สยามมกุฎราชกมุ ารแทน - การเปลยี่ นแปลงวฒั นธรรมการแตง กาย ทรงผมโปรดใหช ายไทยในราชสํานัก เลิกไวผมทรง มหาดไทยเปลย่ี นเปนไวผมตัดยาวทั้งศรี ษะอยางฝรัง่ ผูห ญิงโปรดใหเ ลกิ ไวผ มปก ใหไ วผมยาวทรงดอกกระทุม โปรดใหชายไทยในราชสํานกั นงุ ผา มว งสตี า ง ๆ สวมเส้อื ราชปะแตน สวมหมวกอยา งยุโรปใหขาราชการทุกกรม กองแตงเครื่องแบบนุงกางเกงอยา งทหารในยุโรปแทนโจงกระเบน การแตง กายสตรเี ร่มิ เปลี่ยนแปลงหลังจาก รัชกาลที่ 5 กลับจากประพาสยุโรป คร้ังที่ 2 โดยสตรีไทยนิยมสวมเส้ือของอังกฤษ เปนเสื้อคอต้ังแขนยาว ตน แขนพองคลายขาหมูแฮม - การเปลี่ยนแปลงประเพณีการเขาเฝาโปรดเกลา ฯ ใหยกเลิกประเพณกี ารหมอบคลานในเวลา เขา เฝา แตใหใ ชว ิธถี วายคาํ นบั แทนและใหน่งั เกา อี้ ไมต องน่งั กบั พ้ืน - การใชศักราชและวันทางสุริยคติในทางราชการโปรดเกลาฯ ใหใช ร.ศ. (รัตนโกสินทรศก) แทน จ.ศ. (จุลศกั ราช) ซงึ่ ใชม าต้งั แตสมัยอยุธยาโดยเร่มิ ใช ร.ศ. ตั้งแตวนั ที่ 28 มนี าคม พ.ศ. 2431 เปนตน ไป เร่ิม ร.ศ. 1 ต้งั แตป 2325 ซง่ึ เปนปที่สถาปนากรุงรัตนโกสนิ ทร

74 ไทยกับการเขารว มสงครามโลกคร้ังที่ 1 ไทยเขา สสู งครามโลกครัง้ ที่ 1 ในรัชสมยั ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกลา เจาอยหู ัว ในชวงแรกของ สงครามไทยไดประกาศตนเปน กลางไมเขาขา งฝายใดฝา ยหน่ึง เพอ่ื รักษาสมั พนั ธภาพทดี่ ีไวทงั้ 2 ฝา ย กลาวคือ ไทยยงั มคี วามสัมพันธอ ันดีกบั อังกฤษมาชานาน ขณะเดียวกันเยอรมนแี ละ ฝร่ังเศส กย็ ังถือเปน มติ รทด่ี ีของฝายไทย ตอ มาไทยไดเ ปลี่ยนนโยบายและประกาศสงครามกบั ฝา ยเยอรมนั นีและออสเตรยี -ฮงั การี หรอื เรยี กวา ฝายมหาอํานาจกลาง (Central Powers) เม่ือวันท่ี 28 กรกฎาคม 2460 เนื่องจากฝายไทย พิจารณาแลว เห็นวา ฝายเยอรมนเี ปนฝายที่ละเมดิ กฎหมายระหวางประเทศและรุกรานประเทศกอน อีกทั้งสหรัฐอเมริกา ไดประกาศสงครามกับเยอรมนีไปกอนหนานี้ ทําใหไทยม่ันใจวาฝายพันธมิตร (Allied Power) จะเปนฝาย มชี ัยชนะ ถา ไทยเขา รวมกบั ฝายพันธมติ รจะสามารถ สรางเกียรตภิ ูมิใหกับประเทศชาติ และจะทําใหประเทศ ไทยเปนที่รูจ กั ของประชาคมโลก ซงึ่ จะเปนโอกาสของไทย ท่ีจะเจรจาเรียกรองชาติตะวันตกใหทบทวนแกไข สนธิสัญญาทไี่ มเ ปน ธรรมกบั ฝา ยไทยทเี่ คยทาํ ไว ตงั้ แตส มยั รัชกาลท่ี 4 ดังนั้นในการเขารวมสงครามโลกครั้งที่ 1 เปนเหตุการณที่ไทยไดเขาสูประชาคมนานาชาติ พระบาทสมเด็จพระมงกฏุ เกลาเจา อยูหัว จึงทรงใชส ัญลกั ษณแ ละสรางสถาบันเพ่อื เปนเคร่ืองมือ ในการสราง ความเปนชาติ และเกยี รติภูมขิ องคนไทยใหปรากฎสสู ายตาประชาคมโลก พระองคทรงโปรดเกลาฯใหป ระดิษฐ ธงชาตใิ หม ในป พ.ศ. 2460 ซึ่งมลี ักษณะเปน ธง 3 สี ประกอบดว ย สแี ดง สีขาว สนี า้ํ เงนิ เพ่อื เปนเคร่ืองหมาย แทนสถาบันสูงสุดของไทย คือชาติศาสนา และพระมหากษัตริย โดยพระราชทานช่ือวา “ธงไตรรงค” และ นําไปใชใ นหนว ยงาน กรม กอง ตา ง ๆ เพอ่ื เปน เครอ่ื งเตือนใจใหค นไทยสํานึกในหนาที่ รกั ษาชื่อเสยี งเกยี รตยิ ศ ของหมูคณะ หลงั จากสงครามโลกครั้งที่ 1 ส้ินสุด ประเทศไทยสามารถเรียกรองชาติตะวันตกตาง ๆ ใหทบทวน แกไขสนธสิ ัญญากับไทยได โดยเฉพาะสนธิสญั ญาทไี่ มเ ปนธรรมระหวา งไทยกับเยอรมนีและออสเตรีย ฮังการี ประเทศไทยไดรับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดี วูดโรว วิลสัน (Woodrow Wilson) ในการแกไ ขสนธิสัญญากับสหรัฐอเมรกิ า ในฐานะทเ่ี ปน ประเทศท่ีมีผลประโยชนไ มม ากนกั แตเปนมหาอํานาจ ท่ีสําคัญ โดยในป พ.ศ. 2463 รัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาไดทําสนธิสัญญา ซึ่งระบุใหคนในบังคับ สหรัฐอเมริกาข้ึนศาลไทย และยกเลกิ ขอจํากดั ทางภาษี โดยใหไทยมีสิทธ์ิเต็มท่ีในการตั้งพิกัดอัตราภาษีอากร สนธสิ ัญญาไทย - อเมริกัน จึงมีความสําคัญเพราะเปนครัง้ แรกที่ไทยไดอิสรภาพ ทางภาษีอากร และมีอํานาจ ในทางการศาลเหมือนคนในบงั คับตางชาติ โดยไมตองเสียสิ่งใดเปนการตอบแทน ซ่ึงทําใหฐานะทางการเมือง ระหวา งประเทศของไทยดีข้ึนในเวลาตอมา โดยสนธสิ ัญญาฉบับนี้ยังใชเปนแบบอยางในการแกไขสัญญาที่ไมเปนธรรมที่ชาติตะวันตกในป พ.ศ. 2467 และ พ.ศ. 2468 ไทยประสบความสําเร็จในการเจรจาแกไขสัญญาไมเปนธรรมกับฝร่ังเศสและอังกฤษ โดยอาศัยความสามารถของพระวรวงศเธอ พระองคเจาไตรทศประพันธ กรมหม่ืนเทววงศวโรทัย เสนาบดี กระทรวงการตา งประเทศในขณะน้นั และ ดร. ฟรานซิส บี แซร ทีป่ รึกษาการตางประเทศชาวอเมริกนั สามารถ แกไ ขสนธิสญั ญาได การเขารวมสงครามโลกคร้ังที่ 1 ของไทย จงึ เปน การตัดสินใจครงั้ สําคญั มผี ลทําใหเ กดิ การ

75 แกไขสนธิสัญญาอันไมเปนธรรมและทวงคืนอํานาจอธิปไตยทางการศาล และอิสรภาพทางการเมืองไทย กลับคืนมา การเขา รวมสงครามโลกครงั้ ที่ 2 ของประเทศไทย สงครามโลกครงั้ ที่ 2 เกิดขึ้นในยุโรปตั้งแต พ.ศ. 2482 เมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับ เยอรมนี และไดน ําพาประเทศอาณานิคมของตนเขาสสู งครามจนลุกลาม เปนสงครามโลก ประเทศไทยถึงแม จะไมตกเปนอาณานิคมของชาติใด แตก็ไดรับผลกระทบจากกระแสความคิดแบบชาตินิยม และการขยาย อทิ ธิพลของญปี่ ุนในเอเชีย จึงไดปรับเปล่ียนทาทีในการดําเนินความสัมพันธระหวางประเทศของตนในสมัย รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เชน การตอตานชาวจีนและชาวยุโรป กรณีพิพาทอินโดจีนใน พ.ศ. 2483 การเขารวมมือกับญ่ีปุนในสงครามโลกครั้งท่ี 2 ของรัฐบาลไทย ซ่ึงสาระสําคัญของการเขารวมสงครามโลก ครงั้ ที่ 2 มีดังนี้ 1. ไทยกบั สงครามโลกคร้งั ท่ี 2 ในขณะทมี่ หาอาํ นาจฝา ยสมั พนั ธมติ รกาํ ลงั เพลย่ี งพลาํ้ โดยเฉพาะฝรัง่ เศสที่ตอ งยอมแพตอ เยอรมนี วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2483 จึงเปนโอกาสใหไทยซ่ึงมีแนวคิดชาตินิยมเรียกรองดินแดนคืนจากฝรั่งเศส และไดเ กิดเปนกรณีพิพาทจนเกิดเปนสงครามอินโดจีนระหวางไทยกับฝร่ังเศส โดยฝร่ังเศสเขามาท้ิงระเบิด สนามบิน ท่ีจังหวัดปราจีนบุรี รวมท้ังระดมยิงปนใหญเขามาในฝงไทย ในวันท่ี 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 ฝรัง่ เศส สง เครอื่ งบินทิ้งระเบดิ จงั หวัดนครพนม และฝา ยไทยก็ไดสงเครอื่ งบนิ ทงิ้ ระเบิดท่พี กั ทหารฝรง่ั เศสในวัน เดียวกนั หลงั จากนนั้ ก็มกี ารตอ สกู ันเรือ่ ยมาจนฝายไทยสามารถเขายึดดินแดนบางสวนของกัมพูชา และลาว จากฝรั่งเศสมาได กรณีพิพาทคร้ังน้ี ญี่ปุนเขาแทรกแซงโดยเสนอตนเปนผูไกลเกล่ีย และการลงนามใน อนุสัญญาโตเกียว เมื่อวนั ท่ี 9 พฤษภาคม พ.ศ.2484 สง ผลใหฝ รัง่ เศสตองยอมยกดินแดนบางสว นของอนิ โดจีน รวมทงั้ ดินแดนฝง ขวาแมน้ําโขงทฝ่ี ร่ังเศสยึดไปต้ังแตส มยั รัชกาลที่ 5 คืนแกไ ทยดว ย วนั ที่ 7 ธนั วาคม พ.ศ. 2484 ญป่ี นุ ประกาศสงครามกบั สมั พนั ธมติ ร โดยยกกําลังพลเขามาในภูมิภาค นี้และในวันท่ี 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทหารญ่ีปุนก็เขาเมืองไทยทางสงขลา ปตตานี ประจวบคีรีขันธ นครศรธี รรมราช สุราษฎรธ านี และสมุทรปราการ และสง ทหารขน้ึ บกท่มี ลายู และโจมตสี งิ คโปรท างเครอ่ื งบิน ซ่งึ ญป่ี นุ ไดรอ งขอใหร ฐั บาลไทย ยินยอมใหท หารญป่ี นุ เดนิ ทพั ผา นไทย เพอ่ื ไปโจมตีพมา และมลายูของ อังกฤษ และขอใหระงับการตอตานของคนไทย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ปฏิบัติตาม ความตอ งการของญปี่ นุ เพอ่ื รกั ษาชวี ิตและเลือดเนือ้ ของคนไทย วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 รฐั บาลไทยไดท าํ กตกิ าสัมพนั ธไมตรีกบั ญี่ปุน สงครามทีเ่ กดิ ขึน้ ในเอเชีย นี้เรียกกันวา สงครามมหาเอเชียบูรพา ญ่ีปุนมีวัตถุประสงค จะสรางวงศไพบูลยมหาเอเชียบูรพา (The Greater East Asia Co-prosperity Sphere) ทั้งในทางวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบดวยประเทศตาง ๆ ในเอเชีย โดยมีญ่ีปุนเปนผูนํา ในระยะเริ่มแรกของสงคราม กองทัพญ่ีปุน มชี ัยชนะท้ังทางบก ทางเรอื และทางอากาศ ทาํ ใหรฐั มนตรบี างคน เห็นควรใหไ ทยประกาศสงครามกับอังกฤษ และสหรฐั อเมริกา ดวยคิดวาญี่ปุนจะชนะสงคราม ไทยจึงตัดสินใจประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา

76 เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ระหวางสงครามน้ัน ญ่ีปุนไดโอนดินแดนบางสวน ที่ยึดไดจากอังกฤษ คืนใหแ กไทย คือ รฐั ไทรบรุ ี กลันตัน ตรังกานู ปะลิส และสองรฐั ในแควน ไทยใหญ คือเชียงตงุ และเมอื งพาน 2. ขบวนการเสรไี ทย ขบวนการเสรไี ทยทเี่ กิดขึ้นในสงครามหาเอเชียบูรพา และเปนสวนหนึ่งของสงครามโลกคร้ังที่ 2 เกิดจากกลุมคนไทยท่ตี อ ตา นการรุกรานของญี่ปุน และไมเห็นดวยกับการท่ีรัฐบาลไทยรวมมือกับญี่ปุน และ ประกาศสงครามของรฐั บาลไทยตอฝายสัมพันธมิตรแบงเปน 3 กลุม กลาวคือ ขบวนการเสรีไทยในประเทศ นาํ โดยนายปรีดี พนมยงค ขบวนการเสรีไทยในสหรัฐอเมรกิ า นําโดย ม.ร.ว.เสนยี  ปราโมช เอกอัครราชทูตไทย ประจํากรงุ วอชงิ ตนั ด.ี ซี. ซึง่ มีบทบาทสาํ คญั ในการไมย อมสงคําประกาศสงครามตอสหรัฐอเมริกา และถือวา การประกาศสงครามน้ันมิใชเจตนาของคนไทย และขบวนการเสรไี ทยในอังกฤษ นําโดยนักเรียนไทย ในองั กฤษ ซึ่งไดทาํ หนงั สอื เสนอ นายวินสตนั เชอรชิล นายกรฐั มนตรีอังกฤษ เพอ่ื กอ ตงั้ กองทหารไทยสูร บกับญปี่ นุ ในประเทศไทย ท้ัง 3 กลุมไดทํางานประสานความรวมมือกันดวยความยากลําบากในภาวะขอจํากัดของสงคราม ท้ังการจัดตั้งกองกําลังตอตานญี่ปุน และการสรางความเขาใจกับสหรัฐอเมริกา อังกฤษและชาติพันธมิตร จนกระทั่งในวันท่ี 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 นายปรีดี พนมยงค ในฐานะผูสําเร็จราชการแทนพระองค ไดป ระกาศสันตภิ าพ มีสาระสําคญั วาการประกาศสงครามตอสหรฐั ฯ และอังกฤษตลอดจนการกระทําอันเปน ปฏปิ กษต อฝา ยสัมพันธมติ รท้ังปวงผิดจากเจตจํานงของประชาชนชาวไทยและขดั กับรัฐธรรมนูญและกฎหมาย บานเมือง การประกาศสงครามตอฝายสัมพันธมิตรเปนโมฆะ ไมผูกพันประชาชนชาวไทย ประเทศไทย ไดตัดสินใจทีจ่ ะใหกลบั คนื มาซงึ่ สมั พันธไมตรอี นั ดอี ันเคยมมี ากับนานาประเทศเหมอื นเม่ือกอ นวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 และพรอมทจ่ี ะรว มมอื เต็มท่ีทุกทางกับสหประชาชาติในการสถาปนาเสถียรภาพในโลกนี้ ดังนั้นขบวนการเสรีไทย เปนขบวนการของประชาชนชาวไทยผูรักชาติท่ีมีเปาหมายชัดเจน คือตอ งการรักษาเอกราชของชาติไทยไมใหตกเปนของตางชาติในสงครามโลกคร้ังท่ี2ไมวาจะเปนฝายอักษะ หรือฝายสัมพันธมิตรกต็ าม โดยมีอุดมการณท่ีจะรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไทยเอาไวใหเปนของคน ไทย ท่ีไมอาจปฏิเสธไดตอบทบาทของเสรีไทยนั้นคือ การตอสูจนไดเอกราชของชาติไทยกลับคืนมาหลัง สงครามโลกครงั้ ที่ 2 จบลง 3. ผลกระทบของสงครามโลกครัง้ ท่ี 2 ท่มี ตี อ ประเทศไทย 3.1 ผลกระทบดานการเมอื ง ญี่ปุนแพสงครามเม่ือวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2488 รัฐบาลไทยประกาศวา การประกาศ สงครามกบั สัมพนั ธมิตรเปนโมฆะ เพราะขดั ตอ รฐั ธรรมนูญ และความประสงคของประชาชนชาวไทย ไทยตอง ปรับความเขาใจกับสัมพันธมิตร สหรัฐอเมริกามิไดถือไทยเปนศัตรู ตามประกาศของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดย นาย เจมส เบริ นส (James Byrnes) รัฐมนตรีตางประเทศเปนผูลงนาม แตรัฐมนตรีตางประเทศอังกฤษ นายเออรเ นสต เบวิน (Ernest Bevin) ไมยอมรับทราบการโมฆะของการประกาศสงคราม วันท่ี 1 มกราคม พ.ศ. 2489 (เวลานั้น ม.ร.ว. เสนีย ปราโมช เปนหัวหนารัฐบาล) ผูแทนไทยไดลงนามกับผูแทนอังกฤษ

77 ท่สี ิงคโปร ความตกลงน้ีเรียกวา \"ความตกลงสมบูรณแบบ เพ่ือเลิกสถานะสงคราม ระหวางประเทศไทยกับ บรเิ ตนใหญ และอินเดีย\" ซง่ึ มีสาระสาํ คญั ดังน้ี 1. ไทยจะตองจดั การเร่ืองทไ่ี ทยประกาศสงครามกบั อังกฤษใหส สู ภาพเดมิ กอนวันประกาศ สงคราม 2. การกระทาํ ทไ่ี ทยทําตอ องั กฤษหลงั จากญ่ปี ุนเขาประเทศไทยถือเปนโมฆะ และไทยตอ ง จัดการใหสสู ภาพเดิม หากมีความเสยี หายตอ งจายคา ชดเชยใหอ ังกฤษ 3. ไทยตองยินยอมรับผิดชอบการพิทักษรักษาและคืนในสภาพไมเสื่อมเสีย ซ่ึงบรรดา ทรัพยสิน สทิ ธิ และผลประโยชนของอังกฤษทกุ ชนิดในประเทศไทย 4. ไทยจะรว มมอื อยา งเตม็ ทใี่ นบรรดาขอตกลง เพ่อื ความมัน่ คงระหวา งประเทศ ซง่ึ องคกร สหประชาชาติหรอื คณะมนตรีความมนั่ คงเหน็ ชอบแลว 5. ไทยตองไมตดั คลองขามอาณาเขตไทย เชอ่ื มมหาสมุทรอนิ เดียกบั อาวไทย (คลองคอดกระ) โดยรฐั บาลอังกฤษมไิ ดเห็นพอ งดวยกอน 6. ไทยจะใหข า วสารโดยไมค ดิ มลู คา 1.5 ลานตันแกอ งคการ ซง่ึ รัฐบาลองั กฤษจะไดร ะบุ 7. โดยสญั ญาฉบับน้ีองั กฤษและอินเดยี จะสนบั สนุนไทยเขา เปน สมาชิกสหประชาชาติ การที่ไทยเอาตัวรอดไดท้ัง ๆ ท่ีอยูในฝายประเทศแพสงครามนี้ ขบวนการเสรีไทยมีสวนชวยเหลือ เปน อยา งมาก ทาํ ใหป ระเทศสัมพนั ธมติ ร โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกากลับเขาใจเมืองไทย ขณะท่ี ม.ร.ว. เสนีย ปราโมช อคั รราชทตู ไทยประจําสหรัฐอเมรกิ า ไดป ระทวงการประกาศสงครามของรฐั บาลไทย และไดร วบรวม คนไทยในสหรัฐอเมริกาข้ึนเปนขบวนการเสรีไทยตอตานญี่ปุน ในอังกฤษก็มีขบวนการเสรีไทยเชนเดียวกัน ติดตอกับหนวยพลพรรคใตใ นดนิ ประเทศ ซึ่งมีนายปรีดี พนมยงค ผูสําเร็จราชการแทนพระองคเปนหัวหนา เสรีไทยทั้งหลายเตรียมท่ีจะจับอาวุธขึ้นตอสูกับญี่ปุน ตามวันเวลาที่นัดหมาย พรอม ๆ กับกําลังของ สัมพนั ธมติ รท่ีจะรุกเขา มาทางพมา แตญ ป่ี นุ ไดยอมแพ 3.2 ผลกระทบดา นเศรษฐกิจและสงั คม การท่ีไทยเขารวมสงครามโลกครั้งท่ี 2 สงผลใหเกิดความเสียหายตอเศรษฐกิจไทยเปน อยางมาก เกิดภาวะการขาดแคลนสินคา อปุ โภคบริโภค ในดา นสังคมก็เกดิ ปญหาโจรผรู า ยชุกชมุ อกี ทง้ั ประสบ ปญหาภาวะเงินเฟอ ในขณะเดียวกันประเทศไทยยังตองแบกรับภาระชดใชคาเสียหายที่เรียกวา คา ปฏกิ รรมสงคราม หมายถึงของมีคา ที่ตอ งจา ยเปนคา ชดเชยเพื่อใหค รอบคลุมความเสยี หายระหวางสงคราม ซ่ึงโดยทั่วไปหมายถึงเงินหรือสินคาเปลี่ยนมือ มากกวาการถายโอนกรรมสิทธ์ิ ที่สําคัญการแกปญหาและ เยียวยาความขาดแคลนยากไรในชวงสงครามและหลังสงครามไดกลายเปนปญหาใหญท่ีรัฐบาลขณะนั้นตอง แกไ ขฟนฟูอยา งเรง ดวน เพอื่ ใหบา นเมืองคืนสูภาวะปกติโดยเร็ว

78 การเปลยี่ นแปลงการปกครองในป พ.ศ. 2475 สภาพการณโดยทัว่ ไปของบานเมอื งกอ นการเปลยี่ นแปลงการปกครอง การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย ที่ประเทศไทยใชมาหลายรอยปไดส้ินสุดลงหลังจาก “คณะราษฎร” ไดเขายึดอํานาจการปกครองและนําไปสูการเปล่ียนแปลงการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษตั รยิ ทรงเปน พระประมุข เมอ่ื วันท่ี 24 มถิ ุนายน พ.ศ. 2475 สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การยึดอํานาจเพ่ือเปล่ียนแปลงการปกครอง เมื่อวันท่ี 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มีสาเหตุสรุปได ดงั น้ี 1. การพฒั นาทางดา นการศกึ ษาแบบสมัยใหม ต้ังแตสมัยรัชกาลท่ี 5 เปนตนมา ประเทศไทยเร่ิมใช ระบบการศกึ ษาแบบตะวันตก เด็กไทยสามัญชนมีโอกาสเลาเรียนในโรงเรียนหลวง ตอมาในสมัยรัชกาลที่ 6 รัฐบาลประกาศใช พ.ร.บ. การศึกษาภาคบังคับทําใหการศึกษาของชาติแพรหลายไปสวนภูมิภาค การที่ ชาวไทยไดรับการศึกษาสูงข้ึนกวาแตกอน ทําใหชาวไทยมีโอกาสเรียนรูความกาวหนาแบบสมัยใหมและ วิทยาการจากประเทศตะวันตกรวมไปถงึ ความคิดสมยั ใหมท างการเมอื งการปกครองดวย นอกจากนั้นเจานาย ชนช้ันสูงและสามัญชนไดรับทุนเลาเรียนหลวงเดินทางไปศึกษายังประเทศในทวีปยุโรป จึงประทับใจใน ความเจริญของบานเมืองและระบอบการปกครองของประเทศตะวันตก ผูนําคณะราษฎรหลายคนไดรับ การศกึ ษาจากประเทศตะวันตก อาทิ นายปรีดี พนมยงค นายประยูร ภมรมนตรี รอยโทแปลก ขีตตะสังคะ (ตอมาคือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) นายแนบ พหลโยธิน นายจรูญ สิงหเสนี เปนตน บุคคลเหลาน้ีจึงมี แนวความคดิ ตอ งการใหประเทศไทยเจริญรุงเรืองตามแบบอยางประเทศตะวันตก 2. การแพรอารยธรรมแบบตะวันตกในประเทศไทย อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกไดแพรเขาสู ประเทศไทย พรอม ๆ กับการขยายตัวทางการคา พอคาและมิชชันนารีไดนําวิทยาการแผนใหมและความรู ทางดานวิทยาศาสตรมาเผยแพรในประเทศไทยซึ่งเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 3 เปนตนมา ชาวไทยเร่ิมสนใจอาน หนงั สอื พิมพท ีว่ พิ ากษว ิจารณรฐั บาลตลอดจนหนังสอื ท่ีเกี่ยวของกบั ความคิดทางการเมอื งและการเปล่ยี นแปลง ทั่วโลก เหตกุ ารณทเ่ี กดิ ขึ้นในประเทศตา ง ๆ ทําใหชาวไทยไดทราบถึงความเจริญกาวหนาแบบตะวันตกเห็น ความสาํ คัญและความจาํ เปนท่จี ะตองปรบั ตวั เขา สยู ุคใหมใ นฐานะอารยประเทศ 3. การปฏิวัติในประเทศแถบทวีปเอเชีย ดังเชนในประเทศจีน คณะปฏิวัติไดลมราชวงศแมนจู ซ่ึงปกครองประเทศจนี และเปลีย่ นการปกครองมาเปนแบบสาธารณรัฐ การปฏิวัติในตุรกีเพ่ือลมการปกครอง ในระบบสุลตาน การปฏิวัติในรัสเซียเพื่อลมระบบกษัตริย การปฏิวัติประเทศญ่ีปุนเพื่อกาวไปสูความ เจริญรงุ เรืองแบบยโุ รปและกลายเปนประเทศมหาอํานาจทางทหาร การปฏิวัติในประเทศตาง ๆ จึงเปนการ กระตนุ ความคดิ ของผนู าํ ชาวไทยรุนใหม ทจี่ ะทําตามแบบอยา งการปฏิวัตดิ ังกลาว 4. สภาวะเศรษฐกิจตกต่ําอยางรุนแรงและรัฐบาลไมสามารถแกไขปญหาได จากสถานการณหลัง สงครามโลกครงั้ ที่ 1 เศรษฐกิจตกตาํ่ ไปทว่ั โลกกอใหเ กิดผลกระทบมาถึงประเทศไทย คณะราษฎรมีความเห็น

79 วาเปนเพราะความลมเหลวของระบบการปกครองของไทยจึงตองเปลี่ยนระบบการปกครองใหมเพื่อแกไข ปญ หาเศรษฐกจิ 5. ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสทิ ธริ าชยมีขอบกพรอ งหลายประการ ระบอบการปกครอง ไมเ หมาะสมทีจ่ ะนาํ มาใชในขณะท่ีความคิดและสังคมของชาวไทยเริ่มเปล่ียนแปลงไป เชน พระมหากษัตริย พระราชวงศและขุนนาง ซึ่งเปนชนช้ันท่ีควบคุมอํานาจการปกครองและเศรษฐกิจของประเทศโดยสิ้นเชิง ในขณะทรี่ าษฎรท่วั ไปมฐี านะยากจน ไมมีสิทธิ์มีเสียงในการปกครองประเทศ คณะราษฎรจึงมีความคิดที่จะ สรา งความเสมอภาคในสงั คม 6. การทีพ่ ระมหากษตั ริยไ ทยตงั้ แตร ัชกาลที่ 4 เปนตนมา ทรงพยายามพัฒนาประเทศเพื่อกาวไปสู ความเปนสมัยใหมแบบตะวันตกตลอดจนปลุกความคิดของประชาชนใหต่ืนตัวในเร่ืองความคิดชาตินิยม เทา กับเปน การจุดความคิดของประชาชนใหต่นื ตัวในระบอบการปกครองแบบประชาธปิ ไตยไปดวย แมวาจะมี คณะบุคคลทีไ่ ดรับการศึกษาจากตะวันตกกราบบังคมทูลเสนอแนะใหเปลี่ยนระบบการปกครองมาเปนแบบ ประชาธิปไตยกต็ าม แตพ ระมหากษัตริยไทยทรงเห็นวาประชาชนชาวไทยในขณะน้ันยังไมพรอมที่จะรับการ ปกครองแบบใหม ทรงเหน็ วาควรตระเตรียมประชาชนใหเขาใจเสียกอน ดวยวิธีคอยเปนคอยไปนาจะดีกวา ในท่ีสุดก็ไมสามารถหลกี เลีย่ งการเปลีย่ นแปลงการปกครองไปได การดําเนินการเปลย่ี นแปลงการปกครอง การยึดอาํ นาจของคณะราษฎร เชาตรูของวนั ท่ี 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎร ประกอบดวย ทหารบก ทหารเรือและพลเรือน โดยมี พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา เปนหัวหนา รวมดวย พ.อ. พระยา ทรงสุรเดช พ.อ. พระยาฤทธิอคั เนย พ.ท. พระประศาสนพ ทิ ยายทุ ธ พ.ต. หลวงพิบูลสงครม (แปลก ขีตตะสังคะ) น.ต. หลวงสนิ ธุสงครามชัย น.ต. หลวงศภุ ชลาศัย หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค) นายประยูร ภมรมนตรี นายต้ัว ลพานุกรม นายควง อภัยวงศ ฯลฯ ไดนํากําลังทหารและพลเรือนเขายึดอํานาจการ ปกครองไดสาํ เร็จ โดยเขา ควบคุมเจานายและขุนนางช้ันสูงมิใหคิดตอตาน จากน้ันจึงกราบบังคมทูลอัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว (รัชกาลที่ 7) ซ่ึงประทับอยูท่ีพระราชวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขนั ธ เสด็จนิวตั พิ ระนครทรงดาํ รงพระประมุขของชาตภิ ายใตร ฐั ธรรมนญู เม่ือพระบาทสมเดจ็ พระปกเกลาเจา อยหู วั (รัชกาลที่ 7) ทรงทราบขาวการยึดอํานาจในพระนครแลว พระองค ทรงเชิญเจานายช้ันสูงและแมทัพนายกอง ซึ่งตามเสด็จมายังพระราชวังไกลกังวล เขารวมประชุม ปรึกษาหารือวาจะดาํ เนนิ การอยา งไรกันตอ ไป ทป่ี ระชุมเสนอความเห็นตาง ๆ กันไป บางทานเสนอใหใชกําลัง ทหารในตา งจังหวดั ยึดอาํ นาจคนื บางทานเสนอใหพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูห วั (รชั กาลท่ี 7) เสด็จหนี ไปยงั ประเทศเพื่อนบาน ในท่ีสุดพระบาทสมเด็จพระปกเกลา เจาอยหู ัว (รชั กาลท่ี 7) ทรงตัดสินพระทัยยอมรับ ขอเสนอของคณะราษฎร เพอื่ เห็นแกความสงบสขุ และความเรยี บรอยของบา นเมือง พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยหู ัว (รัชกาลที่ 7) เสด็จนิวัติถึงพระนคร โดยขบวนรถไฟพระท่ีน่ัง พิเศษ เมือ่ ตอนดกึ ของคืนวันที่ 25 มถิ ุนายน ในตอนสายของวันท่ี 26 มิถุนายน คณะราษฎรไดสง ผูแทนเขาเฝา ณ วงั ศโุ ขทยั พรอ มกบั ทูลเกลาฯ ถวายรางรัฐธรรมนูญช่ัวคราว วันรุงขึ้นคือวันที่ 27 มิถุนายน พระบาทสมเด็จ

80 พระปกเกลาเจา อยูหวั (รัชกาลที่ 7) ลงพระปรมาภิไธยในรฐั ธรรมนูญฉบับช่ัวคราวพระราชทานแกประชาชน ชาวไทย ถือเปนรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย เรียกช่ือวา “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครอง แผนดินสยามช่ัวคราว พทุ ธศกั ราช 2475” ตอมาในวันท่ี 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว (รัชกาลที่ 7) พระราชทานรฐั ธรรมนูญฉบับถาวรและทรงโปรดเกลา ฯ แตงตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมพี ระยามโนปกรณนิติธาดา เปน นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย ผลกระทบท่ีเกดิ ขน้ึ จากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 1. ผลกระทบทางดานการเมือง การเปล่ียนแปลงสงผลกระทบตอสถานภาพของสถาบัน พระมหากษัตรยิ เ ปน อยางมาก เพราะเปนการสนิ้ สุดพระราชอาํ นาจในระบอบสมบูรณาญาสทิ ธิราชย ถึงแมวา พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว (รัชกาลที่ 7) จะทรงยอมรับการเปล่ียนแปลง และทรงยินยอม พระราชทานรัฐธรรมนูญใหกับปวงชนชาวไทยแลวก็ตาม แตพระองคก็ทรงเปนหวงวาประชาชนจะมิไดรับ อํานาจการปกครองท่ีพระองคทรงพระราชทานใหโดยผานทางคณะราษฎรอยางแทจริง พระองคจึงทรงใช ความพยายามที่จะขอใหราษฎรไดดําเนินการปกครองประเทศดวยหลักการแหงประชาธิปไตยอยางแทจริง แตพระองคก็มิไดรับการสนองตอบจากรัฐบาลของคณะราษฎรแตประการใด จนกระทั่งภายหลังพระองค ตองทรงประกาศสละราชสมบัติใน พ.ศ. 2477 นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ยังกอใหเกิดความขัดแยงทางการเมืองระหวาง กลมุ ผลประโยชนตา ง ๆ ทมี่ สี วนรวมในการเปล่ียนแปลงการปกครองเมื่อวันท่ี 24 มิถุนายน 2475 ทั้งน้ีเปน เพราะยังมีผูเห็นวาการที่คณะราษฎรยึดอํานาจการปกครองมาจากพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว (รชั กาลที่ 7) เพือ่ เปลี่ยนแปลงการปกครองทมี่ พี ระมหากษตั ริยเปน ประมุขภายใตรัฐธรรมนูญนนั้ ยงั มไิ ดเ ปน ไป ตามคําแถลงที่ใหไวกับประชาชนนอกจากน้ีการที่คณะราษฎรไดมอบหมายใหนายปรีดี พนมยงค รางเคา โครงการเศรษฐกิจแหงชาติ เพอ่ื ดาํ เนินการปรบั ปรงุ เศรษฐกิจของประเทศตามที่ไดประกาศไวเมื่อครั้งกระทํา การยึดอํานาจเพ่อื เปลยี่ นแปลงการปกครองนน้ั หลายฝา ยมองวา เคา โครงการเศรษฐกิจมีลักษณะโนมเอียงไป ในทางหลักเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต ความขัดแยงจึงเกิดข้ึนในหมูผูที่เกี่ยวของภายหลังการเปล่ียนแปลง การปกครองสิ้นสุดลงแลวไมนาน พระยามโนปกรณนิติธาดา นายกรัฐมนตรี เห็นวาการบริหารประเทศ ทา มกลางความขัดแยงในเรื่องเคาโครงเศรษฐกิจไมสามารถจะดําเนินตอไปได จึงประกาศปดสภาและงดใช รฐั ธรรมนญู บางมาตรา สงผลให พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา นํากําลังทหารยึดอํานาจรัฐบาลพระยามโน ปกรณนิติธาดาในวันที่ 20 มิถุนายน 2476 และหลังจากนั้น พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ไดเขาดํารง ตาํ แหนงนายกรัฐมนตรบี ริหารราชการแผนดินสืบแทน แตรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ไดเขา บริหารประเทศไดไมนาน ก็มีบุคคลคณะหนึง่ ซึง่ เรียกตนเองวา คณะกูบานกูเมือง นําโดยพลเอกพระองคเจา- บวรเดช ไดกอ การรฐั ประหารยดึ อาํ นาจรฐั บาลในเดอื นตุลาคม 2476 โดยอา งวา รฐั บาลไดทาํ การหมิน่ ประมาท องคพระประมุขของชาติ และรับนายปรีดี พนมยงค เขารวมในคณะรัฐบาล พรอมกับเรียกรองใหรัฐบาล ดําเนินการปกครองประเทศในระบอบรัฐธรรมนูญที่เปนประชาธิปไตยอยางแทจริง แตในท่ีสุดรัฐบาล

81 พ.อ.พระยาพหลฯ ก็สามารถปราบรฐั ประหารของคณะกูบานกูเมืองไดสําเร็จ หลังจากน้ันก็มีการจับกุมและ กวาดลางผูตองสงสัยวาจะรวมมือกับคณะกูบานกูเมือง จนดูเหมือนวาประเทศไทยมิไดปกครองในระบอบ ประชาธปิ ไตยอยา งแทจ ริง 2. ผลกระทบทางดานเศรษฐกจิ การเปล่ียนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เปนการเปลี่ยนแปลง ทางการเมอื งทส่ี ําคัญของไทย และมผี ลกระทบทางเศรษฐกจิ เพราะความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสรา ง ทางเศรษฐกิจ ทีค่ ณะราษฎรไดมอบหมายใหน ายปรดี ี พนมยงค เปนคนรางเคาโครงการเศรษฐกิจ เพ่อื นําเสนอ น้ัน มิไดรับการยอมรับจากคณะราษฎรสวนใหญ ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจภายหลังการเปล่ียนแปลง การปกครอง จงึ มกี ารเปล่ยี นแปลงเปน ทนุ นิยมโดยรัฐทเ่ี รียกวารัฐวิสาหกิจและโครงสรางทางเศรษฐกิจยังคง เนนท่กี ารเกษตรกรรมมากกวาอุตสาหกรรม ซ่งึ ตางจากประเทศตะวันตกสวนใหญที่มีการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย ไดพฒั นาไปสคู วามเปนประเทศอตุ สาหกรรม 3. ผลกระทบทางดา นสังคม ภายหลังการเปลีย่ นแปลงการปกครอง สงั คมไทยไดร ับผลกระทบจาก เปล่ียนแปลงพอสมควร คือ ประชาชนเร่ิมไดรับเสรีภาพและมีสิทธิตางๆ ตลอดจนความเสมอภาคภายใต บทบัญญตั แิ หงรฐั ธรรมนูญ และไดรบั สทิ ธิในการปกครองตนเอง ในขณะท่ีบรรดาเจาขุนมูลนาย ขุนนาง ซ่ึงมี อํานาจภายใตระบอบการปกครองด้ังเดิมไดสูญเสียอํานาจและสิทธิประโยชนตางๆ ท่ีเคยมีมากอน โดยที่ คณะราษฎรไดเขาไปมีบทบาทแทนบรรดาเจานายและขุนนางในระบบเกา เน่ืองจากคณะราษฎรมีนโยบาย สงเสริมการศึกษาของราษฎรอยางเต็มท่ี นอกจากนั้นรัฐบาลไดกระจายอํานาจการปกครองไปสูทองถิ่น ดว ยการจัดตัง้ เทศบาลตําบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร มีสภาเทศบาลคอยควบคุมกิจการบริหารของ เทศบาลเฉพาะทอ งถนิ่ น้ันๆ โดยมีเทศมนตรีเปนผบู ริหารตามหนาท่ีพ.ศ. 2479 รัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหล พลพยุหเสนา ไดประกาศใชแผนการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2479 โดยกําหนดแบง การศกึ ษาออกเปน 2 ประเภท คือ สายสามัญศึกษาและสายอาชีวศึกษา ซึ่งเปนการเนนความสําคัญของอาชีวศึกษาอยางแทจริง โดยได กําหนดความมุงหมายเพ่ือสงเสริมใหผูท่ีเรียนจบการศึกษาในสายสามัญ ไดเรียนวิชาอาชีพเพ่ิมเติม นอกเหนือไปจากเรียนวชิ าสามญั ทัง้ น้ี เพ่อื ประโยชนท ่จี ะออกไปประกอบอาชพี ตอไป ดังนัน้ การเปล่ยี นแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 จึงไดนําไปสูการปรบั ปรงุ ใหร าษฎรไดรบั การศกึ ษา และสามารถใชวิชาการความรูท่ีไดรับไปประกอบอาชีพอยางม่ันคงและมีความสุข ขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงการปกครองในคร้งั นสี้ ง ผลใหช นช้ันเจานายและขุนนางในระบบเกาถูกลิดรอนผลประโยชน ทางเศรษฐกิจลง

82 เรอ่ื งที่ 3 พระราชกรณียกจิ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช และสมเด็จพระนางเจา สิรกิ ิต์ิ พระบรมราชนิ นี าถ ทสี่ งผลตอ การเปล่ียนแปลงของ ประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดุลยเดช พระราชประวตั พิ ระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู ิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันท่ี 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานทออเบอรน (MOUNT AUBURN) รัฐแมสซาชูเซตต (MASSACHUSETTS) ประเทศสหรฐั อเมริกา พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช ทรงพระนามเดมิ วา “พระวรวงศเ ธอ พระองคเจาภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเปนพระราชโอรสในสมเด็จเจาฟามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลา นครนิ ทร (ตอมาไดร ับการเฉลมิ พระนามาภไิ ธยเปน สมเดจ็ พระมหติ ลาธเิ บศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหมอมสงั วาล มหิดล ณ อยธุ ยา ตอมาไดร ับการเฉลมิ พระนามาภไิ ธยเปนสมเด็จพระศรีนครนิ ทราบรมราชชนนี การศกึ ษา เม่ือพระชนมายุได 5 พรรษา ทรงเร่ิมเขารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตรเดอี กรุงเทพมหานคร ตอจากน้ันทรงเสด็จไปศึกษาตอ ณ ประเทศสวิตเซอรแลนด จากการศึกษาดังกลาว ทรงรอบรูหลายภาษา ไดแก อังกฤษ ฝร่ังเศส เยอรมัน และ ละติน ในระดับอุดมศึกษา ทรงเขาศึกษาในแผนกวิทยาศาสตร มหาวทิ ยาลยั เมืองโลซานน ตอมาในป พ.ศ. 2481 ไดเสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพรอมดวยพระบรมเชษฐาธิราช (พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8) พระบรมราชชนนี และพระเชษฐภคินี (สมเดจ็ พระเจา พน่ี างเธอ เจา ฟากลั ยาณิวฒั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครนิ ทร) การเถลงิ ถวลั ยราชสมบัติ เมอ่ื พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต รัฐบาลโดยความเห็นชอบของ รัฐสภาไดอัญเชิญสมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟาภูมิพลอดุลยเดช พระชนมพรรษา 18 พรรษา เสด็จข้ึน ครองราชยเปนพระมหากษัตริย รัชกาลที่ 9 แหงพระบรมราชจักรีวงศ เมื่อวันท่ี 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ทรงเฉลมิ พระปรมาภไิ ธยวา พระบาทสมเดจ็ พระเจาอยหู วั ภมู พิ ลอดุลยเดช เนือ่ งจากยังทรงพระเยาวและยังมี พระราชกจิ ดา นการศกึ ษา จึงเสดจ็ พระราชดําเนนิ กลับไปศกึ ษาตอ ณ ประเทศสวติ เซอรแ ลนด โดยทรงเลือก ศึกษาวิชากฎหมายและวชิ ารัฐศาสตรแทน พระราชพิธีราชาภเิ ษกสมรส วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2493 พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู ิพลอดุลยเดช เสดจ็ ฯนิวัติประเทศไทย โปรดเกลาฯ ใหตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เมื่อวันท่ี 29 มีนาคม 2493 ตอมาเมื่อวันท่ี 28 เมษายน 2493 ทรงโปรดเกลาฯใหจัดการราชาภิเษกสมรสกับ

83 หมอมราชวงศส ิริกติ ิ์ กติ ยิ ากร ท่วี ังสระปทมุ และไดท รงสถาปนาหมอมราชวงศสริ กิ ติ ข์ิ น้ึ เปนสมเด็จพระราชินี- สริ กิ ิต์ิ พระบรมราชาภเิ ษก วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไดทรงประกอบ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่น่ังไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏวา “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และไดพระราชทานพระปฐม บรมราชโองการวา “เราจะครองแผนดินโดยธรรม เพ่ือประโยชนสุขแหงมหาชนชาวสยาม” ในการน้ีไดทรง พระกรุณาโปรดเกลาฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิต์ิ เปนสมเด็จพระนางเจาสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตอมาเม่ือวันท่ี 5 มิถุนายน 2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไดเ สด็จฯพรอมดว ย สมเดจ็ พระนางเจาสริ กิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ ไปยงั ประเทศสวติ เซอรแลนดอีกครัง้ เพื่อทรง รกั ษา พระสขุ ภาพ และเสด็จพระราชดําเนนิ นวิ ตั ิพระนคร เม่ือวันที่ 2 ธันวาคม 2494 ประทับ ณ พระตําหนัก จิตรลดารโหฐาน และพระทนี่ งั่ อัมพรสถาน ท้งั สองพระองคม ีพระราชธดิ า และพระราชโอรส 4 พระองคดงั นี้ 1. สมเดจ็ พระเจาลกู เธอ เจา ฟาอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อวันท่ี 5 เมษายน 2494 ณ โรงพยาบาลมองซวั ชี นครโลซาน ประเทศสวิสเซอรแ ลนด 2. สมเดจ็ พระเจาลูกยาเธอ เจาฟาวชิราลงกรณฯ ประสูติเม่ือวันท่ี 28 กรกฏคม 2495 ณ พระที่นั่ง อัมพรสถาน ตอมา ทรงไดรับสถาปนาเปน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจาฟามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร เม่อื วนั ที่ 28 กรกฎาคม 2515 3. สมเดจ็ พระเจาลูกเธอเจา ฟา สิรินธรเทพรตั นสุดา กิติวัฒนาดลุ โสภาคย ประสตู เิ มอื่ วันท่ี 2 เมษายน 2498 ณ พระทีน่ ่งั อัมพรสถาน ภายหลังทรงไดรับสถาปนาเปน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจาฟามหาจักรี สริ ินธร รัฐสีมาคณุ ากรปยชาติ สยามบรมราชกมุ ารี เมอ่ื วนั ที่ 5 ธันวาคม 2520 4. สมเด็จพระเจาลูกเธอ เจาฟาจุฬาภรณวลัยลักษณ อัครราชกุมารี ประสูติเม่ือวันท่ี 4 กรกฏคม 2500 ณ พระท่นี ั่งอมั พรสถาน ทรงพระผนวช วันที่ 22 ตุลาคม 2499 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไดทรงพระผนวช ณ วดั พระศรรี ัตนศาสดาราม ทรงจาํ พรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ปฏบิ ตั พิ ระศาสนกจิ เปนเวลา 15 วัน ระหวางนี้ สมเดจ็ พระนางเจา สิรกิ ิติ์ พระบรมราชนิ ี ทรงปฏบิ ตั ิพระราชกรณียกิจแทนพระองค ตอมาจึงทรงพระกรุณา โปรดเกลาฯ สถาปนาเปน สมเด็จพระนางเจา สิรกิ ิติ์ พระบรมราชนิ ีนาถ พระมหากษัตรยิ ผูมากอัจฉริยภาพ ประชาชนชาวไทยหรือแมแตชาวตางชาติ จะมองพระมหากษัตริยพระองคน้ีวามีพระปรีชาชาญ ดานการเกษตรหรือการพัฒนาแหลงนํ้าเปนหลัก เพื่อแกปญหาการอยูดีกินดีของราษฎร ซ่ึงสะทอนผาน

84 โครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดําริมากมายท่ัวประเทศ หรือแมแตโครงการหลวงท่ีทรงรับสั่งเปนพิเศษ อยเู นือง ๆ จนเรือ่ งราวเหลานไ้ี ดบดบงั พระอจั ฉริยภาพดา นอ่ืน ๆ ของพระองค ซ่ึงลวนมีความโดดเดนไมแพกัน ซึง่ หลาย ๆ เรอ่ื งไมใ ชสง่ิ ที่เรนลับปด บัง หรอื แมแตการกลา วอางทีเ่ กินจรงิ เชนในหมูศิลปนไดยกยองพระองคเปน “อัครศิลปน” เนื่องจากพระอัจฉริยภาพอันสูงสง ดานจิตรกรรมที่พระองคทรงปฏิบัติดวยพระราชหฤทัยมานาน เชนเดียวกับงานดานดนตรีท่ีรับรูกันในหมู นักดนตรีระดบั โลก ในหมูนักอา นกเ็ ชนที่รับรกู ันวา พระองคมีพระอัจฉริยภาพอันลํ้าลึกดานการประพันธ หรือแมแตงาน พระราชนิพนธแ ปล ลวนจดั เปน วรรณกรรมอมตะที่ฝากไวในบรรณพภิ พ ดานการกีฬาก็เปนที่รูก ันวา พระองคทรงเปนนักกฬี าเหรยี ญทองในกฬี าซีเกมส จากการแขงขันเรือใบ ทพี่ ระองคท รงประดิษฐเองในชื่อ “ซปุ เปอรม ด” ในดานงานชางก็เปนที่ประจักษกันวาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสน พระทัยและทรงมีฝม ือ ไมวา จะเปน งานชางไม ชางโลหะ ชางกล ตลอดถึงการเปน นักประดษิ ฐคดิ คนนวัตกรรม ใหม ๆ อยูต ลอดเวลา พระราชกรณียกจิ ของพระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดุลยเดช นับแตเสด็จข้ึนครองราชยสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปฏิบัติ พระราชภารกิจอยางมิทรงเห็นแกความเหน็ดเหนื่อย เพื่อใหประชาชนของพระองคมีความเปนอยูที่ดีขึ้น คนไทยทุกคนรูสึกและรับรูตลอดมาวาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงงานหนัก เพื่อใหประชาชนของพระองคม ีความสุข นอกจากจะทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องการพัฒนาดานทรัพยากร และส่งิ แวดลอมตา ง ๆ แลว พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงใหความสําคัญตอการ พัฒนาคนทั้งกายและจิตใจเปนอยางมาก ท้ังดานการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและดานสาธารณสุข รวมทั้งการใหความเปนธรรมแกประชาชน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงใหความ ชว ยเหลอื ประชาชนของพระองคครอบคลมุ วถิ ีชีวติ ในทุก ๆ ดาน ดงั นี้ 1. ดา นการตา งประทศ พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไดเสด็จพระราชดําเนินเยือนประเทศตาง ๆ หลายประเทศ ทัง้ ในทวปี เอเชยี ทวีปยโุ รปและทวปี อเมรกิ าเหนอื เพ่ือเปน การเจรญิ ทางพระราชไมตรีระหวาง ประเทศไทยกบั บรรดามิตรประเทศเหลานั้น ที่มีความสัมพันธอันดีอยูแลวใหมีความสัมพันธแนนแฟนย่ิงขึ้น ทรงนาํ ความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยไปยังประเทศตาง ๆ นนั้ ดวยทําใหประเทศไทยเปนท่ีรูจักอยาง กวา งไกลมากยง่ิ ขนึ้ นบั วาเปน ประโยชนตอประเทศไทยอยางมหาศาล และประเทศตาง ๆ ท่ีเสด็จพระราช- ดําเนินไปทรงเจรญิ ทางพระราชไมตรี มีท้ังประเทศในทวีปยุโรป ทวปี อเมรกิ า ทวีปออสเตรเลีย และทวปี เอเชีย เมื่อเสรจ็ สนิ้ การเสด็จพระราชดําเนินเยอื นประเทศตา ง ๆ แลวกไ็ ดท รงตอ นรับพระราชอาคนั ตกุ ะ ที่เปนประมุข

85 ของประเทศตา ง ๆ ทเ่ี สดจ็ ฯ และเดินทางมาเยือนประเทศไทยเปนการตอบแทน และบรรดาพระราชอาคันตุกะ ทงั้ หลายตางก็ประทบั ใจในพระราชวงศข องไทย 2. ดา นการพัฒนาสังคม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไดทรงพัฒนาสังคมเพื่อใหประชาชน มคี วามเปนอยทู ดี่ ีในหลาย ๆ ดา น ดังน้ี 3. ดา นการศึกษา พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช ทรงเหน็ ความสาํ คัญของการศกึ ษาวา เปน ปจจยั ในการสรา งและพัฒนาความรู ความคิด ความประพฤตแิ ละคุณธรรมของบคุ คล การศกึ ษาจึงเปน การพฒั นาคน ซึง่ จะนาํ ไปสูการพัฒนาในทุก ๆ ดาน ทั้งดานเศรษฐกิจ สังคม จึงพระราชทานความเกื้อหนุนดานการศึกษา ทง้ั ในระบบและนอกระบบโรงเรียน ตง้ั แตช ัน้ ประถมศึกษาไปจนถงึ อดุ มศกึ ษา ดังท่ีมพี ระราชดาํ รสั วา “การศึกษาเปนปจจัยในการสรางและพัฒนาความรู ความคิด ความประพฤติและคุณธรรมของ บคุ คล สังคมและบานเมืองใดใหก ารศึกษาที่ดีแกเ ยาวชนไดอยางครบถวน ลวนพอเหมาะกันทุก ๆ ดานสังคม และบา นเมอื งน้ันจะมีพลเมืองท่ีมีคุณภาพ ซ่ึงสามารถธํารงรักษาความเจริญม่ันคงของประเทศชาติไว และ พัฒนาใหกา วหนา ตอไปไดโ ดยตลอด” พระราชดํารัสดังกลาวสะทอนใหเห็นถึงความสําคัญของการศึกษา วาประเทศชาติจะพัฒนา ใหเ จรญิ กาวหนาได ก็ดว ยการพัฒนาประชาชนในชาตใิ หมคี ณุ ภาพโดยการใหก ารศกึ ษา พระราชกรณีกิจดานการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เริ่มตั้งแต พ.ศ. 2498 โปรดเกลาฯ ใหตั้งโรงเรียนสําหรับพระราชโอรสและพระราชธิดา บุตรขาราชบริพาร ตลอดจน บุคคลท่ัวไป ๆ ไดมีโอกาสรวมเรียนดวย คือ โรงเรียน จิตรลดา และเมื่อไดเสด็จพระราชดําเนินเยี่ยมราษฎร และหนว ยปฏิบัติการทหารตํารวจตามบริเวณชายแดน ทุรกันดาร ทําใหทรงทราบถึงปญหาการขาดแคลน ท่ีเรียนของเด็กและเยาวชน พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไดพระราชทาน พระราชทรัพยสวนพระองคเพ่ือพัฒนาดานการศึกษา โ ด ย ก า ร จั ด ต้ั ง โ ร ง เ รี ย น สํ า ห รั บ เ ย า ว ช น ใ น ท อ ง ถ่ิ น ทุรกันดารใน พ.ศ. 2499 นอกจากนี้ยังไดพระราชทานพระราชทรัพยสวนพระองคในการกอสรางโรงเรียน พระราชทานนามวาโรงเรยี นรมเกลา ซงึ เปน โรงเรยี นสาํ หรบั เยาวชนในทอ งถนิ่ ชนบทหางไกลที่มีความไมสงบจาก ภัยตา ง ๆ พระราชทานพระราชทรัพยเพ่ือรวมสรางโรงเรียนตํารวจตระเวนชายแดน สําหรับชาวไทยภูเขา ท่อี าศัยอยใู นดินแดนทุรกนั ดารหางไกลการคมนาคม ซ่ึงมีช่ือเรียกวา “โรงเรียนเจาพอหลวงอุปถัมภ” จัดต้ัง โรงเรียนราชประชาสมาสัยเพ่ือเปนสถานศึกษาอยูประจําสําหรับเยาวชนที่เปนบุตรธิดาของคนไขโรคเร้ือน จดั ตั้งโรงเรยี นราชประชานุเคราะหร ว มกบั ประชาชนเมื่อเกิดวาตภยั ในภาคใตทีแ่ หลมตะลุมพกุ อาํ เภอปากพนงั จังหวดั นครศรธี รรมราชและจงั หวดั ใกลเ คียง

86 นอกจากการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาแลว พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงสนพระราชหฤทัย ในการศกึ ษาระดับอุดมศกึ ษาดวย โปรดเกลาฯ ใหตั้ง ทุนภูมิพลข้ึน พระราชทานแกผูที่มีผลการเรียนดี แตขาดแคลนทุนทรัพย และพระราชกรณียกิจ ที่คุนตาคนไทยดี คือ การเสด็จฯพระราชทาน ปริญญาบัตรแกบัณฑิตผูสําเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยของรฐั มาต้ังแต พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังไดพระราชทานพระราชทรัพยสวนพระองค กอ ต้งั ทุน “อานันทมหดิ ล” ขึ้นเม่อื พ.ศ. 2498 และทรงพระกรณุ าโปรดเกลา ฯ ใหต ง้ั เปนมลู นิธิ อานันทมหิดล เมื่อ พ.ศ. 2502 เพ่อื สนับสนุนนกั เรยี นไทยที่มีความสามารถทางวชิ าการยอดเยีย่ มและมคี ุณธรรมสงู ใหม โี อกาส ไปศึกษาจนถงึ ชน้ั สูงสุดในตา งประเทศ 4. ดา นการศาสนา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเล่ือมใสศรัทธาพระพุทธศาสนาเปน อยางยิ่ง ทรงเปนองคอัครศาสนูปภัมภกของพระพุทธศาสนา ไดทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพ่ือ สงเสริมพระพุทธศาสนา เชน เสด็จพระราชดําเนิน บําเพ็ญ พระราชกุศลในวันสําคัญทางศาสนาอยาง สมาํ่ เสมอ เชน วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา รวมทั้งการเสด็จพระราชดําเนินถวายผาพระกฐินตาม พระอารามตาง ๆ และทรงรวมในงานพิธีทางศาสนา ท่ปี ระชาชนกราบบงั คมทูลเชญิ พระราชกรณยี กจิ ทางศาสนาของ พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช นอกจากทรงทาํ นุบํารงุ วดั ตามพระราชประเพณมี าแตเดมิ แลว ยงั ทรงประกอบศาสนพิธไี ดอยา งครบถว น ทส่ี าํ คัญคอื ศาสนธรรม ซงึ่ ทรงปฏิบัตแิ ละทรงสอนธรรมอยา งหาผูใดเสมอเหมอื นได พระราชดาํ รสั พระบรม- ราโชวาททีพ่ ระราชทานในโอกาสตา ง ๆ จงึ มาจากหลกั ธรรมท้งั ส้ิน บางสว นมาจากทศพธิ ราชธรรม บางสวน มาจากหลักสงั คหวตั ถุ จกั วรรดวิ ตั หรือนวโอวาท และหลกั ธรรมทอ่ี างถึงไมวา คนในศาสนาใดก็สามารถรบั ฟง และ เขาใจได นับวาพระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชทรงเปนธรรมราชาอยางแทจ รงิ นอกจากน้นั พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดุลยเดช ในฐานะองคอ ัครศาสนปู ภัมภกยังได พระราชทาน พระราชปู ภัมภบาํ รุงศาสนาอน่ื ๆ ในประเทศไทยที่คนไทยนับถือดวย ท้ังศาสนา คริสต ศาสนา

87 อิสลาม ศาสนาสิกข ในพระราชอาณาจักรอยางทั่วถึง โดยไดพระราชทานพระราชทรัพยอุปภัมภและบํารุง ศาสนาเหลาน้นั ดวย 5. ดานศิลปวัฒนธรรม ศลิ ปวฒั นธรรมเปน สงิ่ ทแ่ี สดงใหเ หน็ ถึงความเปน มาของบานเมืองที่ประกอบดวยคนหลายชาตพิ ันธุ และความเปนชาติ แมว า พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจะทรงพระปรีชาสามารถทางดนตรี จิตรกรรม และประติมากรรม แตก็ทรงสนพระราชหฤทัยเรื่องศิลปวัฒนธรรมดานอ่ืน ๆ และการจัดการ ทรพั ยากรวัฒนธรรมทกุ แขนง รวมทงั้ ภาษาไทยอนั เปน ภาษาประจาํ ชาตดิ ว ย วิสัยทัศนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ดานการจัดการวัฒนธรรม อันเปนเอกลักษณและ มีประโยชนอยางยิ่งตอการศึกษา สรางความภาคภูมิใจของคน ในชาติและความกาวหนาทางเศรษฐกิจ ดังจะเห็นไดจากที่เสด็จ ประพาสสถานที่สําคัญทางประวัติศาสตรและโบราณคดี แสดงให เห็นความหวงใยสมบัติวัฒนธรรมของชาติ จนมีรับสั่งเตือนสติอยู เนือง ๆ ใหชวยกันอนุรักษและนํามาใชใหเกิดประโยชน คือ การเรียนการสอนใหคนไดรูจักและเขาใจ อัตลักษณของบานเมือง ไมควรปลอยใหซื้อขายสมบัติของชาติกันอยางไมถูกตองตามกฎหมาย ไมเชนนั้น อาจจะตองไปชมหรือศึกษาของเราท่ีตางประเทศ “...ก็ควรเปนเร่ืองเศราและนาอับอายมาก...” และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงยํ้าเสมอวาประเทศเรามีความเปนมายืนยาวนาน “...มีเอกราช มภี าษา ศิลปะและขนบธรรมเนียมเปน ของตนเอง...” เรื่องภาษาไทย ทรงเตือนใหตระหนักวาเปนภาษาประจําชาติ เปนมรดกและสมบัติอันลํ้าคาของ ประเทศชาติควร “...รักษาไว...” และยกตัวอยางบางประการที่ประสบมา เชน การออกเสียงไมถูกตอง สรางประโยคไมถูกตอ ง และบัญญตั ิศัพทใหมโดยไมจําเปน ดังมีพระกระแสรับสั่งวา ภาษาไทยเปนส่ิงสําคัญ สําหรบั บา นเมอื ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยอยางมากในเรื่อง ขนบธรรมเนียมประเพณี ศลิ ปวัฒนธรรมของชาติ และทรงมีบทบาทในการดํารงรักษามรดกไวไมใหสูญหาย พระราชกรณียกจิ ของพระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช ทางดานศลิ ปวฒั นธรรมของชาติ คือ ทรงฟนฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรด พระนังคัลแรกนาขวัญ จึงเปนพระราชพิธีโบราณเพราะประเทศของเรา เปนประเทศเกษตรกรรม พระราชพิธีน้ีทําเพื่อความเปนสิริมงคลแดพืชพันธธัญญาหาร และเพื่อบํารุงขวัญ กําลังใจแดเกษตรกร ซงึ่ เปนประชากรสว นใหญของประเทศ นอกจากน้ี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหฟนฟูพระราชพิธีเสด็จพระราชดําเนินถวายผาพระกฐิน โดยทรงขบวนพยุหยาตราทางชลมารค พ้ืนฟู

88 พระราชพิธีเสด็จพระราชดาํ เนินโดยกระบวนพยหุ ยาตราทางชลมารค เพ่ือถวายผาพระกฐินแดพระอารมหลวง ซงึ่ เปน มรดกทางวฒั นธรรมที่แสดงใหเห็นถึงความเจรญิ รงุ เรืองของชาตทิ ่มี สี บื ตอ มาจนปจจบุ ันนี้ พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู ิพลอดลุ ยเดช มีพระราชดาํ รัสอยเู สมอวา โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และโบราณสถานท้ังหลายลวนเปนของมคี า และจาํ เปน แกการศึกษาคนควาในทางประวัติศาสตร ศิลปะและ โบราณคดี เพราะเปน เครือ่ งแสดงถึงความเจรญิ รงุ เรอื งของชาตไิ ทยที่มมี าแตอดตี กาล จึงควรจะสงวนรักษาไว ใหคงทนถาวรเปนสมบัตสิ ว นรวมของชาติไวต ลอดไป พระราชกรณียกจิ ดานการพัฒนาคณุ ภาพชวี ิตของประชาชน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภมู ิพลอดุลยเดช ทรงงานอยางหนักอยางตอเนื่อง เพ่ือยกระดับ คุณภาพชวี ติ และสภาพความเปนอยขู องประชาชนใหด ีขน้ึ ในทกุ ดา น โดยเฉพาะผูยากไรในชนบท ในการพฒั นา คณุ ภาพชวี ิตของราษฎร พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช ทรงมงุ เนน เร่อื งการเกษตร ซึง่ เปน อาชีพหลักของราษฎรท้ังประเทศ โดยทรงใหความสําคัญตอการพัฒนาทรัพยากรและส่ิงแวดลอม เชน แหลงนํ้า ดินและปาไม ทรงตระหนักวา นํ้าเปนปจจัยสําคัญย่ิงและเปนความตองการอยางมากของราษฎร ในชนบท ท้ังการใชอุปโภคและบริโภคและเพื่อการเกษตร ทรงสนพระราชหฤทัยเรื่องการใชท่ีดินเพ่ือ การเกษตรและทรงเนนการพัฒนาท่ีดิน รวมทั้งปาไมอันเปนทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญของประเทศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการดานการใช ทรพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ มใหเ กดิ ประโยชนส งู สดุ แกราษฏร จนเปนท่ีประจักษชัดทั้งภายในประเทศ และตางประเทศ แนวพระราชดําริเร่ืองทฤษฎีใหม ซึ่งเปนการจัดการทรัพยากรน้ําและที่ดินเพื่อการเกษตร เปน แนวพระราชดาํ รทิ ีไ่ ดร บั การยอมรบั โดยทว่ั ไป 1. ดา นทรพั ยากรธรรมชาติ การจัดการทรพั ยากรนํ้า พระราชกรณียกิจดานการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร- มหาภูมิพลอดุลยเดช ท่ีสําคัญยิ่งคือ งานพัฒนาที่เก่ียวของกับนํ้า ศาสตรทั้งปวงที่เก่ียวกับนํ้าทั้งการพัฒนา การจดั หาแหลงน้าํ การเก็บกักนํา้ การระบาย การควบคมุ การทํานํ้าเสยี ใหเปนน้ําดี ตลอดจนการแกไขปญหา น้ําทวม พระราชกรณียกิจในชวงตน ๆ แหงการเสด็จพระราชดําเนินทรงเย่ียมราษฎรในภูมิภาคตาง ๆ ของ ประเทศ ทรงเนน เรอื่ งความสําคญั ของแหลง น้ําเพ่ือใชใ นการอปุ โภคและการเกษตรกรรม ดังพระราชดาํ รัสที่วา ...หลกั สําคัญตอ งมีนํา้ บริโภค นํ้าใชเพื่อการเพาะปลูก เพราะวาชีวิตอยูที่นั่น ถามีน้ําคนอยูได ไมมี ไฟฟา คนอยไู ด แตถามีไฟฟา ไมมีนา้ํ คนอยูไมไ ด... พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยเรื่องน้ํามาต้ังแตยังทรง พระเยาว จึงสงผลใหมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริจํานวนมากที่เก่ียวกับทรัพยากรน้ํา นอกจากน้ี ความสนพระราชหฤทัยเร่อื งน้าํ ของพระองค มิไดจาํ กัดอยูเฉพาะโครงการพัฒนาแหลงนํ้าดวยวิธีการจัดสราง แหลงน้ําถาวร ซึ่งอาจจะเปน อา งเก็บนํ้าหรอื ฝายใหราษฎรในทองถนิ่ ตา ง ๆ ใหมีนํ้าใชโดยไมขาดแคลนเทาน้ัน

89 แตยงั ทรงหาวธิ กี ารจัดหาน้าํ ชวยเหลือราษฎรในทุกทาง ดวยเหตุน้ีจึงเกิดแนวพระราชดําริเรื่อง “ฝนหลวง” ข้ึน ดังมี พระราชดํารสั วา ...แตมาเงยดทู องฟา มเี มฆ ทาํ ไมมเี มฆ อยา งน้ีทาํ ไมจะดงึ เมฆนใี่ หล งมาได ก็เคยไดย ินเรือ่ งทาํ ฝน ก็มา ปรารภกบั คุณเทพฤทธ์ิ ฝนทาํ ได มีหนงั สอื เคยอานหนงั สือทาํ ได. .. จากน้ันโครงการ “ฝนหลวง” หรอื “ฝนเทยี ม” จงึ เกดิ ขนึ้ ภายใตก ารพระราชทานคาํ แนะนาํ ของ พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชอยางใกลช ดิ โดยเร่มิ ตงั้ แตวันที่ 14 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2498 และไดเ รมิ่ ทําฝนเทยี มครง้ั แรกเมอ่ื วนั ท่ี 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 จากน้นั การคน ควา พัฒนาเกยี่ วกบั พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ก็ได กา วหนาขึ้นอยา งตอเน่อื ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา- ภมู พิ ลอดลุ ยเดชไดทรงทดลองวิจัยดวยพระองคเ อง และ พระราชทานทรัพยส ินสว นพระองครว มเปนคาใชจา ย ในทีส่ ดุ ดวยพระวริ ิยอตุ สาหะเปนเวลาเกอื บ 30 ป ดว ย พระปรชี าสามารถและพระอจั ฉรยิ ภาพ ทาํ ใหส ามารถกาํ หนดบงั คับฝนใหต กลงสูพ้นื ทเี่ ปาหมายได จากฝน หลวงที่มงุ หวงั ชว ยเหลือเกษตรทปี่ ระสบภยั แลง โดยการชว ยแกไ ขปญหาขาดแคลนนํา้ หรือฝนทง้ิ ชว ง และชวย ดา นการอุปโภคบรโิ ภค รวมทง้ั การทาํ ฝนหลวงเพ่ือเพิ่มปรมิ าณนํา้ เหนือเขื่อนภูมพิ ล เมือ่ เกดิ ภาวะวกิ ฤตขิ าด แคลนนํ้าอยางรุนแรงในชวงหนาแลง การแกไ ขปญหานา้ํ เสีย แนวพระราชดําริเก่ยี วกับเรอื่ งนา้ํ ท่สี าํ คญั มหี ลายโครงการ เชน เรอื่ ง “นํา้ ดี ไลน ํ้าเสีย” ในการแกไขปญหามลพิษทางนา้ํ โดยทรงใชน ํ้าท่มี คี ุณภาพดีจากแมน้ําเจาพระยาใหช วยผลกั ดันและ เจือจางนํ้าเนาเสียใหออกจากแหลงน้ําของชุมชน พระราชดําริบําบัดนํ้าเสียโดยหลักการนี้เปนวิธีการที่งาย ประหยดั พลังงาน และสามารถปฏบิ ัติไดตลอดเวลา แสดงใหเห็นถึงพระปรีชาสามารถและพระวิริยอุตสาหะ ที่ทรงปฏิบัติเพ่ือประโยชนของราษฎร และยังโปรดเกลาฯ ใหมีการทดลองใชผักตบชวามาชวยดูดซับความ สกปรก รวมทั้งสารพิษตาง ๆ จากน้ําเนาเสีย ประกอบกับเคร่ืองบําบัดนํ้าเสียแบบตาง ๆ ท่ีไดทรงคิดคน ประดษิ ฐข ึ้นโดยเนนท่ีวธิ กี ารเรียบงาย ประหยัด และไมกอ ใหเกิดความเดอื ดรอนราํ คาญแกประชาชนในพนื้ ท่ี การแกไขปญหาน้ําทวม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไดพระราชทาน แนวทางแกไขปญหาน้ําทวมดวยวิธีการตาง ๆ อยางเหมาะสมในแตละพื้นที่ เชน การกอสรางคันกั้นนํ้า การกอ สรางทางผนั นา้ํ การปรับปรุงตกแตงสภาพลาํ นา้ํ เพื่อใหน ํ้าทท่ี ว มทะลกั สามารถไหลไปตามลาํ น้ําไดส ะดวก หรือชวยใหก ระแสนาํ้ ไหล เร็วย่ิงข้นึ อันเปน การบรรเทาความเสยี หายจากนาํ้ ทว มขังได นอกจากน้ี การกอ สรา ง เข่ือนเก็บกักนํ้าเปนมาตรการการปองกันนํ้าทวมที่สําคัญประการหนึ่งในการกักเก็บน้ําท่ีไหลทวมลนในฤดู นา้ํ หลาก โดยเก็บไวทางดานเหนือเขื่อนในลักษณะอางเก็บนํ้า เพ่ือประโยชนในการเพาะปลูกของพ้ืนท่ีดาน ทา ยเข่ือนในชว งทีฝ่ นไมตกหรือฤดูแลง เข่ือนเหลาน้ีมีประโยชนดานการชลประทานเปนหลักและประโยชน อน่ื ๆ เชน การผลติ ไฟฟา การเพาะเล้ียงปลาและกงุ ในอา งเกบ็ น้ํา และการบรรเทานา้ํ ทว ม

90 นอกจากน้ี แนวพระราชดําริท่ีสําคัญในการแกไขปญหานํ้าทวมท่ีสําคัญโครงการหนึ่งของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซ่ึงเปนโครงการแกไขปญหานํ้าทวมพ้ืนท่ีในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแนวพระราชดําริคือ “โครงการแกมลิงอันเนื่องมาจากพระราชดําริ” ในพ้นื ทฝ่ี ง ตะวนั ออกและฝงตะวนั ตกของแมนา้ํ เจาพระยา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช มีพระราชดําริในการพัฒนาทรัพยากรนํ้าซึ่งเปน เรอื่ งสําคญั ท่สี ดุ จนเปน ท่ยี อมรับกันโดยทว่ั ไปในหมูป ระชาชนชาวไทยวา ทรงเปนผูเชี่ยวชาญในเรื่องนํ้า และ ถอื วาเปนงานพฒั นาที่สาํ คัญยิง่ ของพระองค การพัฒนาเรอ่ื งทรัพยากรอนั เปนพระราชกรณียกิจท่สี ําคญั นนั้ มเี ปน จํานวนมาก จนไมอาจกลาวไดอยางครบถวนและดวยพระอัจฉริยภาพดานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของ พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัฐบาลไทย จึงไดเทิดพระเกียรติคุณในฐานะท่ีมีพระมหา- กรุณาธิคุณในการพัฒนาทรัพยากรนํ้า โดยถวายพระราชสมัญญาวา “พระบิดาแหงการจัดการทรัพยากรน้ํา” เมื่อวนั ท่ี 21 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2539 ในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชยส มบตั ิครบ 50 ป ใน พ.ศ. 2539 การจดั การทรัพยากรปา ไม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราช หฤทัยและทรงตระหนักถึงความสําคัญของปาไมเปนอยางย่ิง ทรงหวงในเรื่องปริมาณปาไมท่ีลดลง ไดทรง คิดคนวิธีการตาง ๆ ท่ีจะเพ่ิมปริมาณปาไมใหมากขึ้น พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ป ร มิ น ท ร ม ห า ภู มิ พ ล อ ดุ ล ย เ ด ช มีพระราชดาํ ริท่ีจะอนุรักษปาไม ดวยการสรางความสํานึก ใ ห รั ก ป า ไ ม ร ว ม กั น ม า ก ก ว า วิ ธี ก า ร ใ ช อํ า น า จ บั ง คั บ ดังพระราชดําริท่ีพระราชทานใหมีการปลูกตนไม 3 ชนิด ท่ีแตกตางกัน คือ ไมผล ไมโตเร็ว และไมเศรษฐกิจ เพ่ือให เกิดปา ไมแ บบผสมผสานและสรางความสมดุลแกธรรมชาติ อยางยั่งยนื สามารถตอบสนองความตองการของรัฐและวิถีประชาในชุมชน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา- ภูมพิ ลอดุลยเดชไดพ ระราชทานพระราชดาํ ริเรื่องการปลูกปา หลายประการ เชน การปลูกปาทดแทน การปลูกปา ในที่สูง การปลูกปาตนน้ําท่ีลําธารหรือการปลูกปาธรรมชาติ และการปลูกปา 3 อยาง ไดประโยชน 4 อยาง ดังพระราชดํารัสวา การปลูกปา 3 อยาง แตใหประโยชน 4 อยาง ซึ่งไดไมผล ไมสรางบาน และไมฟนนั้น สามารถให ประโยชนไ ดถ ึง 4 อยางคือ นอกจากประโยชนใ นตวั เองตามชื่อแลว ยังสามารถใหประโยชนอันที่ 4 ซ่ึงเปนขอ สาํ คัญคอื สามารถชวยอนุรกั ษด ินและตนนาํ้ ลําธารดว ย และไดม ีพระราชดาํ รสั เพิม่ เติมถงึ การปลกู ปา 3 อยาง ไดประโยชน 4 อยางวา ...การปลกู ปาถาจะใหราษฎรมปี ระโยชนใหเขาอยูได ใหใชวิธีปลูกไม 3 อยาง แตมีประโยชน 4 อยาง คือ ไมใชสอย ไมกินได ไมเศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ํา และปลูกอุดชวงไหล ตามรองหว ย โดยรบั นํ้าฝนอยางเดียว ประโยชนอยา งท่ี 4 คือ ไดร ะบบอนุรกั ษด นิ และนา้ํ ...

91 นอกจากน้ี พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช ยงั มพี ระราชดํารหิ ลายประการในการ พฒั นาปาไม เชน การสรา งภเู ขาปา การอนุรักษและพัฒนาปาชายเลน ซ่ึงเปนการสรางวงจรของระบบนิเวศ ดวยการอนุรกั ษแ ละขยายพันธไุ มป าชายเลน พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู ิพลอดลุ ยเดช มพี ระราชดาํ ริ ใหห าทางปอ งกนั อนรุ กั ษแ ละขยายพนั ธุเพ่ิมขึ้น โดยเฉพาะตนโกงกาง ซ่ึงเปนไมชายเลนท่ีขยายพันธุคอนขาง ยาก นอกจากการอนุรักษและฟนฟูปาชายเลนแลว ยังมีพระราชดําริในการอนุรักษและพัฒนา “ปาพรุ” ซ่ึงเปนปาไมทึบไมผลัดใบประเภทหน่ึง ซึ่งเหลืออยูเพียงผืนเดียวในภาคใตของประเทศไทย โดยมีลักษณะ เดนชัดคือ เปนปาดงดิบที่มีน้ําทวมขังทั่วบริเวณ ประเทศไทยมีพื้นที่ปาพรุท่ีใหญท่ีสุดอยูท่ีจังหวัดนราธิวาส ทําใหมีการจัดตั้งศูนยศึกษาการพัฒนาพิกุลทองข้ึน และใหดําเนินการพัฒนาพื้นที่พรุใหเกิดประโยชน หลายดาน จนปจ จบุ นั ปา พรไุ ดกอ ใหเ กดิ ประโยชนอยางอเนกประสงค และชวยใหเกิดความสมดุลของระบบ นิเวศ ตามพระราชดาํ ริของพระองค การจัดการทรัพยากรดนิ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัย ในงานพัฒนาแหลงนํ้าเพื่อการเกษตรและปองกันอุทกภัย โดยทรงเริ่มต้ังแตฟนฟูท่ีภูเขาตนน้ําโดยการ ปลูกปาเพื่อการอนุรกั ษดนิ และเพ่ิมความชุม ชน้ื ใหแกด ินและปา ไมใ นพ้นื ทตี่ าง ๆ ทุกภูมิภาคของประเทศ ก า ร พั ฒ น า ใ น เ ร่ื อ ง ดิ น ต า ม พ ร ะ ร า ช ดํ า ริ ข อ ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ท่ีมี ความสําคัญโครงการหนึ่ง คือ การปลูกหญาแฝกปองกัน การเสอ่ื มโทรมและพังทลายของดนิ เพราะการชะลางพงั ทลาย ข อ ง ดิ น ก อ ใ ห เ กิ ด ก า ร สู ญ เ สี ย ห น า ดิ น ที่ ป ร ะ ก อ บ ไ ป ด ว ย สารอาหารท่ีสะสมในดิน รวมท้ังความอุดมสมบูรณจาก ธรรมชาติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงตระหนกั ถึงปญหาสภาพปญ หาและสาเหตทุ ี่เกิดข้นึ โดยทรงศกึ ษาถึงศักยภาพของหญา แฝกที่มีคุณสมบัติ พเิ ศษในการชวยปองกนั การชะลางการพงั ทลายของหนา ดินและอนรุ กั ษความชมุ ช้ืนใตด ินไว วธิ กี ารปลกู งา ย ๆ เกษตรกรสามารถดําเนนิ ไดเ อง ไมต อ งดแู ลหลงั การปลกู มาก การดําเนนิ การปลูกหญาแฝกตามแนวพระราชดําริของพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ไดร บั การยอมรับจากธนาคารโลกวา “ประเทศไทยทําไดผ ลอยางเตม็ ทแี่ ละมีประสทิ ธภิ าพยอดเย่ยี ม” และเมื่อ วันท่ี 25 กุมภาพันธ 2536 International Erosion Control Association (IECA) ไดมีมติใหถวายรางวัล The International Erosion Control Association’s International Merit Award แดพระบาทสมเด็จ- พระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช ในฐานะทท่ี รงเปนแบบอยางในการนําหญาแฝกมาใชในการอนรุ กั ษดนิ และ นํา้ และเม่ือวันที่ 30 ตุลาคม 2536 ผูเชี่ยวชาญเร่ืองหญาแฝกเพื่อการอนุรักษดินและนํ้าแหงธนาคารโลก ไดทูลเกลา ฯ ถวายแผน เกยี รตบิ ตั ร เปน ภาพรากหญาแฝกชุบสําริด เปนรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (Award 0f Recognition) ในฐานะที่ทรงมุงม่ันในการพัฒนาและสงเสริมการใชหญาแฝกในการอนุรักษดินและนํ้า ผลการดําเนินงานหญา แฝกในประเทศไทยไดร ับการตพี ิมพเ ผยแพรไปทั่วโลก นอกจากนี้ประเทศไทยยังไดรับ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook