Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ภาษาไทย

ภาษาไทย

Published by pinyada220626, 2020-06-08 03:16:04

Description: ภาษาไทย

Search

Read the Text Version

ห น้ า | 1 หนังสอื เรียน สาระความรพู นื้ ฐาน รายวิชา ภาษาไทย (พท21001) ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ. 2554) หลกั สูตรการศกึ ษานอกระบบระดบั การศกึ ษาขั้นพนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 หามจาํ หนา ย หนงั สือเรียนเลม นี้ จัดพิมพด ว ยเงินงบประมาณแผนดินเพ่อื การศึกษาตลอดชีวิตสาํ หรับประชาชน ลขิ สิทธิ์เปนของ สํานกั งาน กศน. สํานักงานปลดั กระทรวงศกึ ษาธกิ าร สาํ นักงานสงเสริมการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สํานกั งานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศกึ ษาธิการ

2 | ห น้ า หนังสือเรยี นสาระความรพู นื้ ฐาน รายวิชาภาษาไทย (พท21001) ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ. 2554 เอกสารทางวชิ าการหมายเลข 2 /2555

ห น้ า | 3 คํานํา กระทรวงศึกษาธิการไดประกาศใชหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 เม่ือวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 แทนหลักเกณฑและวิธีการจัดการศึกษานอก โรงเรียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ซ่ึงเปนหลักสูตรท่ีพัฒนาข้ึนตามหลัก ปรัชญาและความเชอ่ื พืน้ ฐานในการจดั การศึกษานอกโรงเรียนท่มี ีกลุมเปาหมายเปนผูใหญมีการเรียนรู และสง่ั สมความรู และประสบการณอยางตอ เนือ่ ง ในปงบประมาณ 2554 กระทรวงศึกษาธิการไดกําหนดแผนยุทธศาสตรในการขับเคลื่อน นโยบายทางการศึกษาเพ่ือเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแขงขันใหประชาชนไดมีอาชีพที่ สามารถสรา งรายไดท ม่ี งั่ ค่งั และม่นั คง เปน บุคลากรทมี่ ีวินัย เปยมไปดวยคุณธรรมและจริยธรรม และมี จิตสํานึกรับผิดชอบตอตนเองและผูอ่ืน สํานักงาน กศน. จึงไดพิจารณาทบทวนหลักการ จุดหมาย มาตรฐาน ผลการเรียนรทู ่คี าดหวงั และเนอ้ื หาสาระ ทั้ง 5 กลมุ สาระการเรยี นรู ของหลักสตู รการศึกษา นอกระบบระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ใหมีความสอดคลองตอบสนองนโยบาย กระทรวงศึกษาธิการ ซ่ึงสงผลใหตองปรับปรุงหนังสือเรียน โดยการเพิ่มและสอดแทรกเนื้อหาสาระ เกีย่ วกับอาชีพ คุณธรรม จริยธรรมและการเตรียมพรอม เพ่ือเขาสูประชาคมอาเซียน ในรายวิชาที่มี ความเกย่ี วขอ งสัมพนั ธกนั แตย ังคงหลักการและวิธกี ารเดมิ ในการพัฒนาหนงั สือทใ่ี หผ เู รียนศกึ ษาคน ควา ความรูดวยตนเอง ปฏิบัติกิจกรรม ทาํ แบบฝกหัดเพื่อทดสอบความรูความเขาใจ มีการอภิปราย แลกเปล่ยี นเรียนรกู บั กลุม หรอื ศึกษาเพม่ิ เติมจากภมู ิปญญาทอ งถิน่ แหลงการเรียนรแู ละสอื่ อนื่ การปรับปรุงหนังสือเรียนในครั้งน้ี ไดรับความรวมมืออยางดียิ่งจากผูทรงคุณวุฒิในแตละ สาขาวิชา และผเู กย่ี วของในการจัดการเรียนการสอนที่ศึกษาคนควา รวบรวมขอ มูลองคความรูจากสื่อ ตาง ๆ มาเรียบเรียงเนื้อหาใหครบถวนสอดคลองกับมาตรฐาน ผลการเรียนรูท่ีคาดหวัง ตัวช้ีวัดและ กรอบเน้ือหาสาระของรายวชิ า สาํ นักงาน กศน.ขอขอบคุณผูม สี วนเกีย่ วของทกุ ทานไว ณ โอกาสน้ี และ หวังวาหนังสือเรียนชุดนี้จะเปนประโยชนแกผูเรียน ครู ผูสอน และผูเก่ียวของในทุกระดับ หากมี ขอเสนอแนะประการใด สาํ นกั งาน กศน. ขอนอมรบั ดวยความขอบคุณย่งิ

4 | ห น้ า สารบัญ หนา คาํ นํา คําแนะนําการใชหนังสอื เรียน โครงสรางรายวิชา ขอบขา ยเนือ้ หา บทที่ 1 การฟง การดู............................................................................................ 9 เรอ่ื งท่ี 1 หลกั เบอื้ งตน ของการฟงและการดู ................................................... 10 เรอ่ื งท่ี 2 หลกั การฟงเพื่อจบั ใจความสาํ คญั ..................................................... 11 เรื่องที่ 3 หลกั การฟง การดู อยางมวี ิจารณญาณ.......................................... 14 เรอ่ื งที่ 4 มารยาทในการฟง การดู................................................................. 15 บทที่ 2 การพดู ...............................................................................................18 เร่ืองที่ 1 สรปุ ความ จบั ประเด็นสาํ คญั ของเรอ่ื งที่พูด..................................... 19 เรื่องที่ 2 การพูดในโอกาสตา งๆ...................................................................... 21 เรอ่ื งที่ 3 มารยาทในการพูด............................................................................ 24 บทที่ 3 การอา น ...............................................................................................27 เรอ่ื งท่ี 1 การอา นในใจ ................................................................................... 28 เรอ่ื งท่ี 2 การอานออกเสียง ............................................................................ 29 เรื่องท่ี 3 การอานจบั ใจความสําคญั ................................................................ 44 เรื่องท่ี 4 มารยาทในการอาน และนิสยั รกั การอาน........................................ 50 บทที่ 4 การเขียน ...............................................................................................52 เรื่องท่ี 1 หลกั การเขียน การใชภาษาในการเขยี น.......................................... 53 เรอ่ื งท่ี 2 หลักการเขียนแผนภาพความคิด ...................................................... 56 เรอื่ งที่ 3 การเขยี นเรยี งความและยอ ความ ..................................................... 63 เรอ่ื งที่ 4 การเขียนเพอ่ื การสอ่ื สาร.................................................................. 83 เรอ่ื งที่ 5 การสรา งนสิ ยั รักการเขียนและการศกึ ษาคน ควา .............................. 97 บทท่ี 5 หลกั การใชภาษา...........................................................................................113 เรอ่ื งท่ี 1 การใชคาํ และการสรางคําในภาษาไทย...........................................114 เรอ่ื งที่ 2 การใชเ ครื่องหมายวรรคตอนและอกั ษรยอ.....................................126 เรอ่ื งที่ 3 ชนิดและหนา ท่ขี องประโยค...........................................................136

ห น้ า | 5 เรื่องที่ 4 หลกั ในการสะกดคํา.................................................................................141 เร่อื งท่ี 5 คําราชาศพั ท..................................................................................148 เรอ่ื งที่ 6 การใชสํานวน สภุ าษิต คาํ พงั เพย..................................................152 เรื่องท่ี 7 หลกั การแตง คาํ ประพันธ................................................................156 เรือ่ งท่ี 8 การใชภาษาทีเ่ ปน ทางการและไมเ ปนทางการ................................162 บทที่ 6 วรรณคดี และวรรณกรรม ......................................................................166 เรื่องท่ี 1 หลักการพิจารณาวรรณคดีและหลกั การพนิ ิจวรรณกรรม...............167 เรอ่ื งท่ี 2 หลักการพนิ จิ วรรณคดดี า นวรรณศิลปแ ละดา นสังคม.....................172 เร่อื งที่ 3 เพลงพนื้ บา น เพลงกลอ มเดก็ ........................................................178 บทท่ี 7 ภาษาไทยกับชอ งทางการประกอบอาชพี .................................................191 เรอ่ื งที่ 1 คุณคา ของภาษาไทย ......................................................................192 เรอ่ื งที่ 2 ภาษาไทยกับชอ งการประกอบอาชีพ..............................................194 เรอ่ื งท่ี 3 การเพ่มิ พูนความรแู ละประสบการณท างดา นภาษาไทย เพอ่ื การประกอบอาชพี ..................................................................196 เฉลยแบบฝก หดั ......................................................................................................203 บรรณานกุ รม ......................................................................................................209 คณะผจู ัดทาํ ......................................................................................................210

6 | ห น้ า คําแนะนาํ ในการใชหนงั สือเรียน หนังสือเรียนสาระความรูพ้ืนฐาน รายวิชาภาษาไทย พท21001 ระดับมัธยมศึกษาตอนตน เปนหนังสอื เรียนที่จดั ทําข้นึ สาํ หรบั ผูเรยี นทีเ่ ปน นักศึกษานอกระบบ ในการศึกษาหนงั สือเรียนสาระความรูพ ื้นฐาน รายวิชาภาษาไทย พท21001 ระดับมัธยมศึกษา ตอนตน ผเู รยี นควรปฏิบัตดิ ังน้ี 1. ศึกษาโครงสรางรายวิชาใหเ ขา ใจในหัวขอ และสาระสําคัญ ผลการเรียนรูท ี่คาดหวัง และ ขอบขา ยเนื้อหาของรายวชิ านน้ั ๆ โดยละเอียด 2. ศึกษารายละเอียดเน้ือหาของแตละบทอยางละเอียด ทํากิจกรรม แลวตรวจสอบกับแนว ตอบกิจกรรม ถา ผูเรียนตอบผดิ ควรกลบั ไปศกึ ษาและทาํ ความเขา ใจในเนื้อหานัน้ ใหมใหเ ขา ใจ กอนที่จะ ศึกษาเร่ืองตอ ๆ ไป 3. ปฏบิ ตั กิ จิ กรรมทา ยเรื่องของแตล ะเรอื่ ง เพือ่ เปนการสรปุ ความรู ความเขา ใจของเนือ้ หาใน เรือ่ งน้นั ๆ อกี คร้งั และการปฏิบตั ิกจิ กรรมของแตละเนือ้ หา แตล ะเรื่อง ผูเ รียนสามารถนําไปตรวจสอบ กบั ครแู ละเพ่อื นๆ ทร่ี ว มเรยี นในรายวิชาและระดับเดยี วกนั ได 4. หนังสือเรียนเลม นม้ี ี 7 บท บทท่ี 1 การฟง การดู บทท่ี 2 การพดู บทท่ี 3 การอาน บทที่ 4 การเขียน บทที่ 5 หลกั การใชภ าษา บทท่ี 6 วรรณคดี และวรรณกรรม บทที่ 7 ภาษาไทยกับชองทางการประกอบอาชพี

ห น้ า | 7 โครงสรา งรายวชิ าภาษาไทย (พท21001) ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน สาระสาํ คญั 1. การอา นเปนทักษะทางภาษาที่สําคัญเพราะชว ยใหสามารถรับรูขา วสารและเหตุการณ ตาง ๆ ของสงั คม ทาํ ใหปรับตัวไดกับความเจรญิ กา วหนา ทางวทิ ยาการตา ง ๆ สามารถวเิ คราะห วิจารณ และนําความรูไปใชใ นชวี ิตประจําวนั ได 2. การเขยี นเปน การสอื่ สารท่จี ัดระบบความคดิ การเลือกประเดน็ การเลือกสรรถอยคําเพื่อ ถา ยทอดเปน ตวั อักษรในการส่อื ความรู ความคดิ ประสบการณ อารมณ ความรสู ึก จากผเู ขยี นไปยงั ผูอาน 3. การฟง การดู และการพูด เปนทกั ษะท่สี ําคัญของการส่ือสารในการดาํ เนินชีวติ ประจาํ วัน จึงจําเปน ตอ งเขาใจหลกั การเบอื้ งตน และตอ งคาํ นงึ ถงึ มารยาทในการฟง การดูและการพูดดว ย 4. การใชภาษาไทยใหถูกตองตามหลักภาษา ทาํ ใหเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปญญาของ คนไทยจึงตองตระหนักถึงความสําคัญของภาษาและตองอนุรักษภาษาไทยไวเปนสมบัติของชาติ สืบตอไป 5. การใชทักษะทางภาษาไทยในการแสวงหาความรู การเขาใจระดับของภาษาสามารถ ใชคาํ พูดและเขียนไดด ี ทําใหเกิดประโยชนตอ ตนเองและสว นรวม 6. วรรณคดไี ทยเปน มรดกของภาษาและวฒั นธรรมที่มคี ณุ คา เปนมรดกทางปญ ญาของคนไทย แสดงถึงความรุงเรืองของวฒั นธรรมทางภาษา เปน การเชิดชูความเปนอารยะของชาติ ผลการเรียนรทู ่คี าดหวัง เมื่อศึกษาชดุ วชิ าแลว ผเู รยี นสามารถ 1. จับใจความสาํ คัญ และเลาเร่ืองได ตีความได อานในใจและอานออกเสียง วิเคราะห วิจารณ ประเมินคาได เลอื กหนงั สอื และสารสนเทศไดแ ละมีมารยาทในการอานและมีนิสยั รกั การอา น 2. อธิบายการเขียนเบื้องตนได เขียนเรียงความ ยอความ เขียนจดหมาย เขียนโตแยง เขียนรายงาน เขียนคาํ ขวัญ เขียนประกาศ เขียนเชิญชวน กรอกแบบรายการ แตงคําประพันธ บอกคุณคา ของถอยคําภาษาและสามารถเลือกใชถอยคาํ ในการประพันธ เขียนอางอิง เขียนเลขไทย ไดถ ูกตองสวยงาม 3. บอกหลกั เบอื้ งตน และจุดมงุ หมายของการฟง การดูและการพดู ได และสามารถพดู ในโอกาส ตา ง ๆ ได

8 | ห น้ า 4. บอกลกั ษณะสําคัญของภาษาและการใชภ าษาในการสื่อการ ใชพ จนานกุ รมและสารานกุ รม ในชีวติ ประจําวันได 5. บอกชนิดและหนาท่ีของคํา ประโยค และนําไปใชไ ดถ กู ตอง 6. ใชเคร่ืองหมายวรรคตอน อักษรยอ คาํ ราชาศัพท หลักการประชุม การอภิปราย การโตว าที 7. บอกความหมายของวรรณคดีและวรรณกรรม องคประกอบและรปู แบบลักษณะเดน ของวรรณคดีได 8. บอกความหมายของวรรณกรรมมขุ ปาฐะ และวรรณกรรมลายลักษณได 9. บอกความหมายและลกั ษณะเดน ของวรรณกรรมทองถน่ิ ประเภทรปู แบบของวรรณกรรมไทย ปจ จุบนั ได 10. อานวรรณคดีและวรรณกรรม บอกแนวความคดิ คา นยิ ม คณุ คาหรือแสดงความคดิ เหน็ ได 11. บอกลักษณะสําคญั และคณุ คาของเพลงพ้นื บาน และบทกลอมเด็กพรอมทงั้ รองเพลงพน้ื บาน และบทกลอมเดก็ ได ขอบขา ยเนอื้ หา บทท่ี 1 การฟง การดู บทที่ 2 การพูด บทที่ 3 การอา น บทที่ 4 การเขยี น บทท่ี 5 หลักการใชภาษา บทที่ 6 วรรณคดี และวรรณกรรม บทที่ 7 ภาษาไทยกบั การประกอบอาชพี

ห น้ า | 9 บทที่ 1 การฟง การดู สาระสําคญั การฟง การดู เปนทักษะสําคัญประการหน่ึงของการสื่อสารท่ีเราใชมากท่ีสุดท้ังเรื่องของ การศึกษาเลา เรียน การประกอบอาชพี และการดําเนินชีวิตประจําวัน จึงจําเปนจะตองเขาใจหลักการ เบ้ืองตน เพ่ือเปนพ้ืนฐานในการประยุกตใชในขั้นสูงขึ้นไป นอกจากน้ีตองพัฒนาทักษะเหลานี้ใหมี ประสิทธิภาพโดยคาํ นึงถงึ มารยาทในการฟง และการดดู ว ย ผลการเรียนรูท ่คี าดหวงั ผูเ รียนสามารถ 1. สรปุ ความจับประเด็นสาํ คญั ของเรอ่ื งทีฟ่ งและดู 2. วิเคราะหค วามนา เชือ่ ถือ จากการฟง และดสู อื่ โฆษณา และขา วสารประจําวนั อยางมี เหตผุ ล 3. วเิ คราะหการใชน ้าํ เสียง กริ ิยา ทาทาง ถอยคําของผูพดู อยา งมีเหตุผล 4. ปฏิบตั ติ นเปนผมู มี ารยาทในการฟง และดู ขอบขา ยเน้ือหา เรอ่ื งท่ี 1 หลกั เบ้อื งตนของการฟง และการดู เร่ืองท่ี 2 หลักการฟง เพื่อจบั ใจความสาํ คญั เรื่องท่ี 3 หลกั การฟง การดู และการพูดอยา งมีวจิ ารณญาณ เรื่องท่ี 4 การมมี ารยาทในการฟงและการดู

10 | ห น้ า เร่อื งที่ 1 หลักเบื้องตน ของการฟงและการดู หลักเบ้ืองตน ของการฟงและการดู ความหมายของการฟง และการดู การฟง และการดูหมายถงึ การรบั รเู ร่อื งราวตา ง ๆ จากแหลง ของเสยี งหรือภาพ หรือเหตุการณ ซ่งึ เปนการฟงจากผพู ดู โดยตรง หรอื ฟง และดูผานอุปกรณ หรือสิ่งตาง ๆ แลวเกิดการรับรูและนําไปใช ประโยชน โดยตอ งศกึ ษาจนเกดิ ความถกู ตอง วองไว ไดประสทิ ธิภาพ หลกั การฟง และการดทู ่ดี ี 1. ตองรจู ุดมงุ หมายของการฟงและดู และตอ งจดบันทกึ เพอ่ื เตอื นความจํา 2. ตองฟงและดูโดยปราศจากอคติ เพือ่ การวิเคราะหวจิ ารณท ี่ตรงประเด็น 3. ใหค วามรวมมือในการฟง และดดู ว ยการรว มกจิ กรรม จุดมงุ หมายของการฟง และการดู การฟง มจี ดุ มงุ หมายที่สาํ คญั ดงั น้ี 1. ฟงเพอื่ จับใจความสําคัญไดว า เรือ่ งท่ีฟงนน้ั เปน เรื่องเก่ียวกบั อะไร เกิดขึ้นทีไ่ หน เมือ่ ไร หรือ ใครทาํ อะไร ทไี่ หน เมื่อไร 2. ฟงเพื่อจบั ใจความโดยละเอยี ด ผูฟงตอ งมสี มาธใิ นการฟง และอาจตองมีการบันทึกยอเพ่ือ ชวยความจํา 3. ฟงเพื่อหาเหตุผลมาโตแยงหรือคลอยตาม ผูฟงตองตั้งใจฟงเปนพิเศษ และตองใช วิจารณญาณพิจารณาวาเรื่องท่ีฟงนั้นมีอะไรเปนขอเท็จจริง อะไรเปนขอคิดเห็น และมีความถูกตอง มีเหตุผลนาเชือ่ ถือมากนอ ยเพยี งใด ซึ่งผูฟง ควรพจิ ารณาเร่ืองราวท่ีฟง ดว ยใจเปน ธรรม 4. ฟงเพื่อเกดิ ความเพลดิ เพลิน และซาบซึ้ง ในคุณคาของวรรณคดี คติธรรม และดนตรี ผูฟง ตอ งมีความรูในเรอื่ งทฟี่ ง เขา ใจคําศัพท สัญลกั ษณตา ง ๆ และมคี วามสามารถในการตีความ เพ่ือใหเกิด ความไพเราะซาบซ้ึงในรสของภาษา 5. ฟง เพือ่ สง เสริมจนิ ตนาการ และความคดิ สรางสรรค เปนความคิดท่ีเกิดข้ึนขณะท่ีฟง หรือ หลงั จากการฟง ซ่ึงอาจจะออกมาในรูปของงานประพันธ งานศลิ ปะ หรือการพูด การดูมีจดุ มุงหมายทส่ี ําคญั ดังนี้ 1. ดูเพ่อื ใหรู เปน การดูเพ่ือใหเปน คนทันโลกทนั เหตกุ ารณ 2. ดูเพื่อศึกษาหาความรู เปนการดูที่ชวยสงเสริมการอาน หรือการเรียนใหมีความรูมากข้ึน หรือมคี วามชัดเจนลุมลึกขนึ้ 3. ดูเพอ่ื ความเพลิดเพลนิ เชน ละคร เกมโชว มวิ สคิ วดิ ีโอ

ห น้ า | 11 4. ดเู พอื่ ยกระดบั จติ ใจ เปนการดทู จ่ี ะทาํ ใหจ ติ ใจเบิกบานและละเอยี ดออ น เขาถงึ ธรรมชาติ และสจั ธรรม ไดแก การชมธรรมชาติ การชมโขน ละคร การดูรายการเก่ยี วกบั ธรรมะ การดูกีฬา เรื่องท่ี 2 หลกั การฟง เพื่อจับใจความสาํ คญั การฟง เพือ่ จบั ใจความสาํ คัญ เปนการฟง เพื่อความรู ผูฟง ตองตั้งใจฟง และพยายามสรุป เนื้อหา โดยมหี ลักการสาํ คัญดงั นี้ 1. มสี มาธดิ ี ตัง้ ใจฟง ตดิ ตามเร่อื ง 2. ฟงใหเขาใจและลําดับเหตุการณใหดีวา เร่ืองท่ีฟงเปนเร่ืองของอะไร ใครทําอะไร ท่ีไหน อยา งไร 3. แยกใหอ อกวา ตอนใดเปนใจความสาํ คัญ ตอนใดเปน สว นขยาย 4. บันทึกขอความสาํ คญั จากเรอ่ื งทฟี่ ง ตวั อยาง การฟงเพื่อจับใจความสําคญั 1. จบั ใจความสําคัญจากบทรอยแกว รอยแกว คือ ความเรียงท่ีสละสลวยไพเราะเหมาะเจาะดวยเสียงและความหมาย แตไม กําหนดระเบียบบัญญตั แิ หง ฉันทลกั ษณค ือไมจํากดั ครุ ลหุ ไมก ําหนดสมั ผสั ตัวอยาง “เห็นกงจักรเปนดอกบัว” สุภาษิต “เห็นกงจักรเปนดอกบัว” นี้โดยมากรูจัก ความหมายกันแพรหลายอยูแลว คือวา เห็นผิดเปนชอบ เชน ตัวอยาง เห็นเพ่ือนของตนคาฝนเถื่อน หามเทาไรก็ไมฟงจนเพื่อนผูนั้นถูกจับเสียเงินเสียทองมากมาย เชนนี้มักกลาวติเตียนทานผูนั้นวา “เห็นกงจักรเปนดอกบัว” (ชุมนุมนิพนธ ของ อ.น.ก.) ใจความสําคญั เหน็ กงจกั รเปน ดอกบวั คือเห็นผิดเปนชอบ ตัวอยาง ครอบครัวของเราคนไทยสมัยกอน ผูชายก็ตองเปนหัวหนาครอบครัว ถามาจาก ตระกลู ดมี ีวิชาความรูก ม็ กั รับราชการ เพราะคนไทยเรานิยมการรับราชการมีเงินเดือน มีบานเรือนของ ตนเองไดก ม็ ี เชาเขาก็มี อยูกับบิดามารดาก็ไมนอย ไดเปนมรดกตกทอดกันก็มี ทรัพยสมบัติเหลานี้จะ งอกเงยหรอื หมดไปก็อยทู ี่ภรรยาผูเปน แมบาน (แมศ รีเรือน ของทิพยว าณี สนิทวงศ) ใจความสาํ คัญ ครอบครัวไทยสมยั กอ น ผชู ายทม่ี คี วามรูนิยมรบั ราชการ ทรพั ยส มบตั ทิ ่มี จี ะ เพม่ิ ข้นึ หรือหมดไปกอ็ ยทู ภ่ี รรยา 2. จบั ใจความสาํ คัญจากบทรอ ยกรอง

12 | ห น้ า รอยกรอง คือ ถอ ยคําท่เี รียบเรียงใหเ ปน ระเบยี บตามบญั ญตั แิ หง ฉนั ทลักษณ คอื ตาํ ราวา ดว ยการประพนั ธ เชน โคลง ฉนั ท กาพย กลอน ตัวอยาง ฟง ขอความตอไปนีแ้ ลวจบั ใจความสาํ คญั (ครูหรือนักศึกษาเปนผอู า น) นางกอดจบู ลบู หลังแลวสง่ั สอน อํานวยพรพลายนอ ยละหอ ยไห พอไปดีศรสี วัสด์ิกาํ จดั ภัย จนเติบใหญย งิ่ ยวดไดบ วชเรยี น ลูกผูช ายลายมือน้ันคอื ยศ เจา จงอตสาหท าํ สมา่ํ เสมียน แลวพาลกู ออกมาขางทาเกวียน จะจากเจยี นใจขาดอนาถใจ (กาํ เนิดพลายงาม ของ พระสุนทรโวหาร (ภ)ู ใจความสาํ คญั การจากกนั ของแมล กู คือ นางวันทองกับพลายงาม นางวันทองอวยพรให โอวาทและจากกันดวยความอาลัยอาวรณอยา งสุดซงึ้ ตวั อยาง การฟง บทรอ ยกรองเพอ่ื จับใจความสําคัญ (ครูอา นใหฟ ง ) ถึงบางแสนแลน สบายจรดชายหาด เดยี รดาษคนลงสรงสนาน เสยี งเจ๊ียวจาวฉาวฉานา สาํ ราญ ลว นเบิกบานแชมชื่นร่นื ฤทยั คลืน่ ซดั สาดฟาดฝง ดงั ซซู า ถึงแสงแดดแผดกลาหากลัวไม เด็กกระโดดโลดเตนเลน นํ้าไป พวกผูใหญค อยเฝา เหมอื นเขา ยาม เราหยุดพักกินกลางวนั กันท่ีน่ี ในรา นมีผูคนอยลู นหลาม มอี าหารจีนไทยรสไมท ราม คนละชามอ่มิ แปลม าแคคอ (นริ าศสัตหีบ พล.ร.ต.จวบ หงสกุล) ฟง บทรอ ยกรองขา งบนแลวตอบคําถามตอ ไปน้ี 1. เรอ่ื งอะไร (เทีย่ วชายทะเล) 2. เก่ียวกบั ใคร (เดก็ และผใู หญ) 3. ทาํ อะไร (สงเสียงดงั วิ่งเลน ตามชายหาด) 4. ท่ีไหน (บางแสน) 5. เม่ือไร (ตอนกลางวนั ) ใจความสําคัญ เด็กและผูใหญไ ปเท่ียวบางแสน รบั ประทานอาหารกลางวัน เด็กเลนน้ํา ผใู หญคอยเฝาสนุกสนานมาก 3. จบั ใจความสาํ คัญจากบทความ บทความ คือ ขอเขียนซ่ึงอาจจะเปนรายงาน หรือการแสดงความคิดเห็น มักตีพิมพใน หนังสือพมิ พ วารสาร สารานกุ รม เปน ตน

ห น้ า | 13 ตัวอยา ง ใครที่เคยกินไขเย่ียวมา คงประหลาดใจวา ทาํ ไมเรียกวาไขเยีย่ วมา ทงั้ ๆ ทต่ี ามปกติ แลวใชขเี้ ถาจากถานไมผสมวตั ถุดบิ อน่ื ๆ พอกไขจนเกิดปฏิกริ ยิ าระหวา งสารทพ่ี อกกบั เนื้อไขจนเกิดวุนสี ดํา ๆ เปน ไขเ ยย่ี วมาขน้ึ มา โดยไมได “เยี่ยวมา” สักกะหยดมากอนปฏิสนธิจนเปนไขกินอรอยแตก็นั่น แหละ นา จะสันนิษฐานกนั ไดว า ตนตํารบั เดิมของการทําไขวุนดําเชนนี้ มาจากการเอาไขไปแชเยี่ยวมา จรงิ ๆ และเจาฉี่มา นเี่ องท่ีทําปฏิกริ ิยากับไขจนเปน วุนขึน้ มา ทวาในยคุ หลัง ๆ ชะรอยจะหาฉี่มา ลําบากหรือไมส ะดวก กเ็ ลยหาสูตรทาํ ทําไขป สสาวะมา ใหมใหส ะดวกและงา ยดายรวมทง้ั ประหยัดเพราะไมตองเลย้ี งมาเอาฉีเ่ หมอื นเดิมก็เปนได สวนรสชาติจะเหมือนตํารับเดิมหรือเปล่ียนแปลงประการใด ก็ยังไมมีใครพิสูจนหรือ พยายามทําออกมาเทยี บเคียงกัน ตดั ตอนจากหนังสือสยามรฐั ฉบบั วันท่ี 24 กมุ ภาพนั ธ 2530 ใจความสําคัญ ไขเ ยีย่ วมาไมไดใชเยี่ยวมา ในการทํา 4. จับใจความสาํ คญั จากขา ว ขาว คือ คําบอกเลา เรือ่ งราวซึง่ โดยปกติมกั เปนเรื่องเกิดใหมห รอื เปนทน่ี าสนใจ ตัวอยา ง ทศ่ี าลจังหวัดอุบลราชธานี พนกั งานอยั การจังหวัดเปนโจทกฟองนายวนั สันสงู โนน อายุ 44 ป เปนจําเลย ฐานเมื่อวันที่ 30 ก.ค.30 ในเวลากลางวัน จําเลยไดบังอาจตัดฟนตนไมประดู 1 ตน ในเขตปาสงวนแหงชาติ และบังอาจแปรรูปไมประดูดังกลาว จํานวน 8 แผน ประมาณ 0.48 ลูกบาศกเ มตร และมไี มด งั กลา วไวครอบครอง เหตุเกิดท่ีตําบลนาจะหลวย อําเภอนาจะหลวย จังหวัด อุบลราชธานี ศาลจงั หวดั อุบลราชธานี มีคาํ พิพากษาวา จําเลยมคี วามผดิ พ.ร.บ.ปา สงวนแหง ชาติ พ.ร.บ. ปาไม และประมวลกฎหมายอาญา รวมลงโทษ จาํ คุก 18 เดือน จําเลยใหก ารสารภาพขณะจบั กมุ เปน ประโยชนแ กก ารพจิ ารณาอยบู าง จึงมีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษใหหนึ่งในส่ี คงจําคุก 13 เดือน 15 วนั ของกลางรบิ ใจความสําคญั ตดั ตนประดู 1 ตน ถกู จําคุกกวา 13 เดือน

14 | ห น้ า เร่ืองท่ี 3 หลักการฟง การดู อยา งมวี ิจารณญาณ ผทู ส่ี ามารถจะฟงและดไู ดอยางมีวจิ ารณญาณ จะตอ งมีความเขา ใจและสามารถปฏิบัตดิ งั น้ีได 1. การวิเคราะห คือ ความสามารถในการแยกขอเทจ็ จรงิ ออกจากขอคดิ เหน็ รวู า อะไรเปนอะไร อะไรเปนเหตุอะไรเปนผล ตวั อยาง ปทผี่ านมาถึงแมการแขงขันธุรกิจกองทุนรวมสูง แตบริษัทวางกลยุทธดวยการแบงกลุมลูกคา อยา งชดั เจน เพ่อื คดิ คน ผลติ ภณั ฑ และการบรกิ ารใหท่วั ถงึ รวมท้งั ตอบสนองความตองการลูกคาไดตรง จุดเพราะเช่ือวา ลูกคามีความตองการและรบั ความเสย่ี งเทา กัน ขอ คดิ เหน็ คอื ผพู ูดถอื วาลูกคา มีความตอ งการและรบั ความเส่ยี งเทากนั 2. การตคี วาม คอื ตอ งรูค วามหมายทแ่ี ฝงไวใ นใจเร่ืองหรือภาพน้นั ๆ ตัวอยา ง กองทุนไทยพาณชิ ยย ิ้มหนา บาน ผลงานทะลเุ ปาดันทรพั ยส นิ พุง ย้มิ หนา บาน หมายถึง ยม้ิ อยา งมีความสุขมคี วามพงึ พอใจ 3. การประเมินคา เปนทักษะทีต่ อเน่ืองมาจากการวิเคราะหก ารตีความ การประเมินคาสง่ิ ใด ๆ จะตอ งพิจารณาใหรอบดาน เชน จุดประสงค รูปแบบ ประเภทของสาร เชน ถาจะประเมินคุณคาของ วรรณคดีตอ งดใู นเรอ่ื งคุณคา วรรณศิลป ดา นสงั คม เนื้อหาและนาํ ไปใชในชวี ติ ประจําวนั 4. การตัดสนิ ใจ คอื การวนิ ิจฉยั เพื่อประเมินคา อันนาํ ไปสูการตดั สินใจทีถ่ กู ตองวา ส่งิ ใดควร เชื่อไมค วรเชือ่ ซ่ึงการตัดสนิ ใจทถ่ี ูกตอ งเปนเร่ืองสําคญั มากในชีวิตประจาํ วัน 5. การนาํ ไปประยกุ ตใ ชใ นชวี ติ ประจําวนั ทกั ษะนจี้ ะตอ งใชศ ิลปะและประสบการณข องแตล ะ คนมาชว ยดว ย ซงึ่ การฟง มาก ดูมากกจ็ ะชว ยใหตัดสนิ ใจไมผ ิดพลาด

ห น้ า | 15 เร่ืองท่ี 4 มารยาทในการฟง การดู มารยาทในการฟง และการดู การฟงและการดูเปนกิจกรรมในการดําเนินชีวิตที่ทุกคนในสังคมมักจะตองเขาไปมีสวนรวม เกือบทุกวนั การเปน ผมู มี ารยาทในการฟง ทด่ี ี นอกจากเปนการสรางบุคลิกภาพที่ดีใหกับตนเองแลวยัง เปนส่ิงแสดงใหเห็นวาเปนผูไดรับการอบรมฝกฝนมาอยางดี เปนผูมีมารยาทในสังคม การท่ีทุกคนมี มารยาทท่ีดีในการฟงและการดู ยังเปนการสรางระเบียบในการอยูรวมกันในสังคม ชวยลดปญหา การขัดแยง และชวยเพม่ิ ประสิทธภิ าพในการฟง อีกดวย ผมู มี ารยาทในการฟงและดู ควรปฏิบตั ติ นดงั นี้ 1. เม่อื ฟง อยูเ ฉพาะหนา ผูใหญ ควรฟง โดยสาํ รวมกริ ยิ ามารยาท 2. การฟง ในท่ปี ระชมุ ควรเขาไปนั่งกอนผูพ ดู เร่ิมพดู โดยนั่งทด่ี า นหนาใหเ ตม็ เสียกอ น และควร ตั้งใจฟงจนจบเร่ือง 3. ฟง ดว ยใบหนา ย้มิ แยมแจม ใสเปนกันเองกบั ผูพูด ปรบมือเม่ือมีการแนะนําตัวผูพูดและเม่ือ ผพู ดู พูดจบ 4. เมอื่ ฟง ในทป่ี ระชุม ตอ งตัง้ ใจฟง และจดบันทกึ ขอความทส่ี นใจ หรอื ขอ ความท่สี าํ คญั หากมี ขอสงสยั เก็บไวถามเมื่อมีโอกาสและถามดว ยกริ ยิ าสภุ าพ 5. เมือ่ ไปดูละคร ภาพยนตร หรือฟงดนตรี ไมควรสรางความรําคาญใหบุคคลอ่ืน ควรรักษา มารยาทและสาํ รวมกิริยา

16 | ห น้ า กจิ กรรม บทที่ 1 การฟง การดู กจิ กรรมท่ี 1 ใหผ เู รยี นตอบคาํ ถามตอ ไปน้ี 1.1 ความหมายของการฟง และการดู .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... 1.2 บอกจดุ มงุ หมายของการฟง และการดู มา 3 ขอ .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... กิจกรรมที่ 2 ใหผ เู รียนใชวจิ ารณญาณใหรอบคอบวา เมอ่ื ฟง ขอ ความโฆษณานแ้ี ลว นาเชื่อถอื หรือเปน ความจริงมากนอ ย เพยี งไร ครีมถนอมผิว ชวยใหผ วิ นม่ิ ผิวทม่ี รี ิ้วรอยเหีย่ วยน จะกลบั เตงตึง เปลง ปล่ัง ผิวท่อี อนเยาวในวัยเด็กจะกลบั คืนมา คณุ สภุ าพสตรี โปรดไววางใจ และเรียกใชครีมถนอมเนอ้ื .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................

ห น้ า | 17 กิจกรรมที่ 3 ใหผ เู รยี นเลอื กคาํ ตอบทถี่ ูกตองเพยี งคําตอบเดยี ว 1. การฟง ทมี่ ปี ระสิทธภิ าพ คือการฟง ในขอใด ก. จับสาระสําคญั ได ข. จดบันทกึ ไดทัน ค. ปราศจากอคติ ง. มสี มาธใิ นการฟง 2. ขอ ใดคือลักษณะของการฟง ที่ดี ก. แสดงสหี นา เม่อื สงสัยและรอถามเมอ่ื ผพู ดู พูดจบ ข. ดวงตาจบั จอ งอยทู ผ่ี พู ูดแสดงความใสใจในคําพูดอยา งจรงิ จงั ค. กวาดสายตาไปมาพรอ มกบั จอ งหนา และทกั ทวงขึน้ เมื่อไมเหน็ ดว ย ง. สบตากบั ผพู ดู เปน ระยะๆ อยางเหมาะสมและเสรมิ หรอื โตแยง ตามความเหมาะสม 3. การฟง ท่ที าํ ใหผ ฟู ง เกิดสตปิ ญ ญา หมายถงึ การฟง ลักษณะใด ก. ฟง ดว ยความอยากรู ข. ฟง ดว ยความตงั้ ใจ ค. ฟงแลววเิ คราะหส าร ง. ฟง เพื่อจับใจความสําคัญ 4. ความสามารถในการฟง ขอ ใดสาํ คัญทสี่ ุดสําหรบั ผเู รียน ก. จดสิ่งทีฟ่ งไดค รบถวน ข. จับสาระสําคญั ของเรอื่ งได ค. ประเมินคา เรอื่ งท่ฟี งได ง. จบั ความมงุ หมายของผพู ดู ได 5. บคุ คลในขอใดขาดมารยาทในการฟง มากทสี่ ดุ ก. คุยกบั เพอ่ื นขณะทฟ่ี งผูอน่ื พดู ข. ฟง ไปทานอาหารไปขณะทผี่ ูพดู พูด ค. ไปถึงสถานที่ฟง หลังจากผพู ดู เร่มิ พดู แลว ง. จดบันทกึ ขณะที่ฟงโดยไมมองผพู ูดเลย

18 | ห น้ า บทท่ี 2 การพูด สาระสาํ คัญ การพูดเปนทักษะสงสารเพื่อรับรูเร่ืองราวตาง ๆ และถายทอดความรูและความคิดของเรา ใหผูอ่ืนรับรู การสงสารจะประสบความสาํ เร็จ จําเปนตองจบั ประเด็นสําคัญเร่ืองท่ีจะพูดใหเหมาะสม กับลักษณะโอกาส รวมทง้ั การมีมารยาทในการพูดจะทําใหสามารถส่ือสารดวยการพูดมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึน้ ผลการเรียนรทู ีค่ าดหวัง ผเู รยี นสามารถ 1. พูดนําเสนอเพื่อความรู ความคิดเห็น สรางความเขาใจ โนมนาวใจ ปฏิเสธ เจรจาตอรอง ดว ยภาษากิรยิ าทาทางที่สภุ าพ 2. ปฏบิ ตั ติ นเปนผูมมี ารยาทในการพูด ขอบขา ยเน้อื หา เรื่องที่ 1 สรปุ ความจับประเดน็ สําคญั ของเรื่องท่ีพูดได เร่ืองท่ี 2 การพดู ในโอกาสตา ง ๆ เรอ่ื งที่ 3 มารยาทในการพูด

ห น้ า | 19 เร่ืองท่ี 1 สรปุ ความ จบั ประเดน็ สาํ คญั ของเรือ่ งท่พี ดู การพดู เปนทกั ษะหนง่ึ ของการสอื่ สาร การพูดคือการเปลงเสยี งออกมาเปน ถอ ยคาํ หรอื ขอความ ตาง ๆ เพ่ือติดตอส่ือสารใหผูพูดและผูฟงเขาใจเรื่องราวตาง ๆ การพูดเปนการส่ือความหมายโดยใช ภาษาเสียง กิริยาทาทางตาง ๆ เพื่อถายทอดความรูและความรูสึก รวมท้ังความคิดเห็นของผูพูดใหผูฟง ไดร บั รู และเขา ใจตามความมุงหมาย ของผูฟง เปน เกณฑ องคประกอบของการพดู ประกอบดว ย 1. ผพู ดู คอื ผทู ่ีมีจดุ มงุ หมายสําคัญทจี่ ะเสนอความรคู วามคดิ เหน็ เพอื่ ใหผฟู ง ไดรับรูและเขาใจ โดยใชศิลปะการพูดอยางมีหลกั เกณฑ และฝก ปฏิบัตอิ ยเู ปน ประจํา 2. เนอ้ื เร่ือง คือ เรื่องราวที่ผูพูดนําเสนอเปนความรูหรือความคิดเห็นใหผูฟงไดรับรูอยาง เหมาะสม 3. ผฟู ง คือ ผูรับฟงเร่ืองราวตาง ๆ ที่ผูพูดนําเสนอซ่ึงผูฟงตองมีหลักเกณฑและมารยาท ในการฟง นอกจากนี้ผูพูดยังควรมีการใชส่ือ หรืออุปกรณตาง ๆ ประกอบการพูดเพ่ือใหผูฟงมีความรู ความเขาใจยงิ่ ขึน้ สือ่ ตาง ๆ อาจเปน แผนภาพ ปายนิเทศ เทปบันทึกเสียง หรือ วีดิทัศน เปนตน และ ส่งิ ทสี่ าํ คญั คือผพู ูดตอ งคํานงึ ถงึ โอกาสในการพดู เวลาและสภาพแวดลอ มที่เกี่ยวของกับการพูด เพ่ือให การพดู น้ันเกดิ ประสทิ ธิภาพมากย่งิ ข้ึน การพดู ท่ดี ี คือ การส่อื ความหมายทีด่ นี น้ั ยอมส่ือความเขาใจกับใคร ๆ ไดตรงตามวัตถุประสงค ของผพู ูด การทผี่ ฟู ง ฟงแลว พึงพอใจ สนใจ เกดิ ความศรทั ธาเลื่อมใสผูพูด เรยี กวาผูนัน้ มีศลิ ปะในการพดู ลักษณะการพดู ท่ีดี มีดังนี้ 1. มีบุคลิกภาพท่ีดี การฟงคนอื่นพูดน้ันเราไมไดฟงแตเพียงเสียงพูด แตเราจะตองดูการพูด ดูบุคลิกภาพของเขาดวย บุคลิกภาพของผูพูดมีสวนท่ีจะทําใหผูฟงสนใจ ศรัทธาตัวผูพูด บุคลิกภาพ ไดแก รูปราง หนา ตา ทา ทาง การยืน การนั่ง การเดนิ ใบหนาทย่ี ิม้ แยม ตลอดจนอากปั กริ ิยาทแี่ สดงออก ในขณะท่ีพูดอยา งเหมาะสมดว ย

20 | ห น้ า 2. มคี วามเช่อื ม่นั ในตนเองดี ผูพูดจะตองเตรียมตัวลวงหนา ฝกซอมการพูดใหคลองสามารถ จดจําเร่ืองทพี่ ูดได ควบคุมอารมณได ไมตื่นเตน ประหมา หรอื ลกุ ลลี้ ุกลน รบี รอนจนทําใหเสยี บุคลกิ 3. พูดใหตรงประเด็น พูดในเร่ืองที่กําหนดไว ไมนอกเร่ือง พูดอยางมีจุดมุงหมายมุงใหผูฟง ฟงแลวเขา ใจ ตรงตามวัตถปุ ระสงคท ผี่ ูพดู ตอ งการ 4. ตองใชภ าษาท่ีเหมาะสมกบั ระดับผฟู ง ตามปกตินิยมใชภาษาธรรมดา สุภาพ สน้ั ๆ กะทดั รัด สอ่ื ความเขาใจไดง า ย หลีกเล่ยี งสาํ นวนโลดโผน ศพั ทเ ทคนคิ หรือสาํ นวนทีไ่ มไดม าตรฐาน 5. ตอ งคํานงึ ถงึ ผูฟง ผูพดู ตอ งทราบวา ผูฟงเปน ใคร เพศ วยั อาชพี ระดับการศึกษา ความสนใจ ความเชื่อถือเปนอยางไร เพ่ือจะไดพูดใหถูกกับสภาพของผูฟง หลีกเล่ียงการแสดงความคิดเห็นและ ความเช่ือท่ขี ัดแยง กบั ผูฟง 6. มีมารยาทในการพดู ผูพ ดู ตอ งพจิ ารณาเลือกใชถอยคําท่ีถูกตองเหมาะสมกับกาลเทศะและ บุคคลเพอื่ แสดงถึงความมมี ารยาทท่ดี แี ละใหเกียรตผิ ูฟง การสรุปความ จบั ประเด็นสาํ คัญของเรื่องที่พูด 1. ผพู ูดจะตองทราบรายละเอยี ดของผูฟงดังน้ี 1.1 เปน ชายหรอื หญิง 1.2 อายุ 1.3 การศกึ ษา 1.4 อาชพี เปน เบือ้ งตนเพือ่ มากําหนดเนอ้ื หาสาระที่จะพดู ใหเ หมาะสมกับผฟู ง 2. ผูพูดตองมีวัตถุประสงคท่ีจะพูด จะเปนการพูดวิชาการ เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อสั่งสอน เปนตน 3. เนื้อหาสาระ ผูพูดอาจเพียงกําหนดหัวขอ แตเมื่อพูดจริงจะตองอธิบายเพิ่มเติม อาจ เปนตวั อยา ง อาจเปนประสบการณ ที่จะเลาใหผ ฟู งไดฟง ผูฟงจะสรุปความเรอ่ื งท่ีรบั ฟง ได หากผพู ดู พดู มสี าระสําคญั และมกี ารเตรยี มตวั ทีจ่ ะพูดมาอยา งดี

ห น้ า | 21 เรอื่ งท่ี 2 การพดู ในโอกาสตาง ๆ การพดู เปน การสื่อสารท่ีทําใหผูฟงไดรับทราบเนื้อหารายละเอียดของสารไดโดยตรงหากเปน การส่ือสารในลักษณะการสนทนาโดยตรงก็ยอมทําใหเห็นอากัปกิริยาตอกันเปนการเสริมสราง ความเขาใจมากยิ่งขึ้น การพูดมีหลายลักษณะ ไดแก การพูดอภิปราย พูดแนะนําตนเอง พูดกลาว ตอนรับ พูดกลาวขอบคุณ พูดโนมนาวใจ เปนตน จะมีรูปแบบนําเสนอในหลายลักษณะ เชน การนาํ เสนอเพอ่ื ตงั้ ขอสงั เกต การแสดงความคิดเห็นเพื่อตั้งขอเท็จจริง การโตแยง และการประเมินคา เปนตน ความสําคัญของการพูด การพูดมคี วามสาํ คญั ดงั น้ี 1. การพดู ทําใหเ กดิ ความเขา ใจในประเด็นของการส่ือสารตาง ๆ ท้ังการสื่อสารเพื่อใหความรู ทางวชิ าการ การสนทนาในชีวิตประจําวัน หรือการพูดในรูปแบบตาง ๆ ยอมทําใหผูฟงเขาใจประเด็น เกิดความคดิ สรา งสรรคน าํ ไปสูการปฏิบตั ิไดถ กู ตอ ง 2. การพูดสามารถโนม นา วจติ ใจของผูฟง ใหค ลอ ยตามเพื่อเปลย่ี นความเชื่อ หรอื ทัศนคตติ า ง ๆ เพ่ือใหเกิดการปฏิบัติส่ิงตาง ๆ อยางมีหลักเกณฑมีความถูกตอง ซ่ึงผูฟงตองใชวิจารณญาณใน การพจิ ารณาเร่อื งราวทผ่ี พู ดู เสนอสารในลกั ษณะตาง ๆ อยา งมีเหตุผล 3. การพูดทาํ ใหเกิดความเพลิดเพลิน โดยเฉพาะการพูดที่มุงเนนเร่ืองการบันเทิงกอใหเกิด ความสนุกสนาน ทําใหผ ฟู ง ไดร บั ความรดู วยเชนกัน 4. การพูดมีประโยชนท ่ีชวยดาํ รงสงั คม ใชภาษาพดู จาทักทาย เปนการสรางมนุษยสัมพันธแก บุคคลในสงั คม การพูดยงั เปนการสือ่ สารเพอื่ เผยแพรความรูค วามคิดใหผูฟงปฏิบัติ เพ่ือใหเกิดความสุข สงบในสังคม

22 | ห น้ า การพดู ในโอกาสตาง ๆ 1. การพูดแนะนําตนเอง การพูดแนะนําตนเอง เปนการพูดท่ีแทรกอยูกับการพูดในลักษณะตาง ๆ เปนพ้ืนฐาน เบื้องตนที่จะทาํ ใหผ ฟู ง มคี วามรเู กีย่ วกับผูพ ดู การแนะนาํ ตนเองจะใหร ายละเอยี ดแตกตางกันไปตาม ลกั ษณะของการพูด 1. การพดู แนะนําตนเองในกลมุ ของผูเรียน ควรระบุรายละเอียด ช่ือ-นามสกุล การศึกษา สถานศกึ ษา ที่อยปู จ จุบัน ภมู ิลําเนาเดมิ ความถนัด งานอดเิ รก 2. การพูดแนะนําตนเองเพ่อื เขาปฏิบตั ิงาน ควรระบุ ช่ือ – นามสกุล รายละเอียดเกี่ยวกับ การศึกษาตาํ แหนง หนาทที่ จ่ี ะเขามาปฏบิ ัตงิ าน ระยะเวลาท่จี ะเร่มิ ปฏิบัตหิ นา ที่ 3. การแนะนําบุคคลอ่ืนในสังคมหรือท่ีประชุม ควรใหรายละเอียด ช่ือ – นามสกุล ผทู เ่ี ราแนะนําความสามารถของผทู เี่ ราแนะนาํ การแนะนําบคุ คลใหผอู นื่ รจู กั ตองใชคาํ พดู เพ่อื สรางไมตรี ท่ดี รี ะหวางบคุ คลท้ังสองฝาย 2. การกลาวตอ นรับ การกลา วตอ นรับเปน การกลา วเพือ่ บอกความรูสึกท่มี ตี อผทู มี่ าโดย 1. กลา วถึงความยนิ ดีของการเปน เจา ของสถานท่ี 2. กลาวยกยองผูมาเยือน เชน เปนใคร มีผลงานดีเดนอะไร มีความสัมพันธอยางไรกับ ผูต อ นรับ 3. แสดงความยินดีทีใ่ หการตอนรับ 4. ขออภัยหากมีสงิ่ ใดบกพรอ ง และหวังวา จะกลบั มาเยยี่ มอกี 3. การกลา วอวยพร โอกาสท่ีกลาวอวยพรมีหลายโอกาส เชน การกลาวอวยพรวันเกิด วันปใหม ข้ึนบานใหม การอวยพรคบู าวสาว หรือในโอกาสท่จี ะมกี ารโยกยา ยอาํ ลาไปรบั ตําแหนง ใหม ฯลฯ หลักการกลา วอวยพร มขี อ ปฏิบตั ทิ ค่ี วรจาํ ดงั นี้ 1. ควรกลา วถึงโอกาสและวนั สาํ คญั นน้ั ๆ ทีไ่ ดม าอวยพรวา เปนวันสําคญั อยางไร ในโอกาส ดอี ยา งไร มีความหมายตอเจาภาพหรอื การจดั งานนั้นอยางไร 2. ควรใชค ําพดู ทส่ี ุภาพ ไพเราะ ถูกตอ ง เหมาะสมกับกลุมผฟู ง 3. ควรกลาวใหสั้นๆ ใชค ําพูดงา ยๆ ฟง เขาใจดี กะทดั รัด กระชบั ความ นา ประทบั ใจ 4. ควรกลา วถึงความสมั พนั ธระหวางผอู วยพรกบั เจาภาพ กลาวใหเกยี รติ ชมเชยในความดี ของเจาภาพ และแสดงความปรารถนาดีท่ีมตี อ เจาภาพ 5. ควรใชคําพดู อวยพรใหถูกตอง หากเปนการอวยพรผูใหญ นิยมอางสิ่งศักดิ์สิทธท์ิ ี่เคารพ นบั ถือมาประทานพร

ห น้ า | 23 4. การกลาวขอบคุณ การกลาวขอบคุณเปนการแสดงน้ําใจไมตรี หรือความดีที่ผูอื่นกระทําให เชน ขอบคุณ วิทยากรท่บี รรยายดังนี้ 1. ควรกลาวขอบคณุ วทิ ยากรใหเ กยี รตบิ รรยาย 2. มีการสรุปเรื่องทว่ี ทิ ยากรบรรยายจบไปอยา งสนั้ ๆ ไดใจความ 3. ควรกลาวถึงคณุ คาของเรอื่ งที่ฟงและประโยชนทีไ่ ดรบั จากการบรรยาย 4. กลา วใหมีความหวังจะไดรบั เกยี รติจากวทิ ยากรอกี ในโอกาสตอไป 5. กลา วขอบคณุ วิทยากรอีกครัง้ ในตอนทา ย 5. การพดู ใหโอวาท การพดู ใหโ อวาท จะมีลกั ษณะดังน้ี 1. กลา วถึงความสําคญั และโอกาสท่มี ากลาวใหโอวาทวา มคี วามสาํ คญั อยางไร 2. พดู ใหต รงประเด็น เลอื กประเด็นสําคญั ๆ ท่ีมคี วามหมายแกผรู บั โอวาท 3. ควรมขี อแนะนาํ ตักเตือน และเสนอแนะประสบการณท ีม่ ปี ระโยชน 4. ควรพูดช้แี จงและเกลย้ี กลอ มใหผฟู ง ตระหนกั และนาํ โอวาทไปใชใ หเ กิดประโยชนไ ดอ ยา งแทจริง 5. กลา วส้ัน ๆ ไดใจความดี ตอนทายของการใหโ อวาทกค็ วรกลา วอวยพรทีป่ ระทบั ใจ การพดู แสดงความคิดเหน็ การพูดเพ่ือแสดงความรแู ละความคิดเหน็ ไดแ ก การพูดอภิปราย การรายงาน การสือ่ ขาว และ การสนทนาความรู เปนตน ซงึ่ การพดู ตา ง ๆ เหลา น้ีมีแนวทางดงั นี้ 1. ศกึ ษารายละเอยี ดเนือ้ หา โดยคํานึงถึงเน้ือหาตามจุดประสงคที่จะพูด เพ่ือใหรายละเอียด ทถี่ ูกตองตรงประเด็นตามทตี่ อ งการเสนอความรู 2. วิเคราะหเรอื่ งราวอยา งมีหลกั เกณฑ โดยพิจารณาแยกแยะออกเปนสวน ๆ เพ่ือทําความเขาใจ แตละสว นใหแจมแจง และตองคาํ นงึ ถึงความสัมพันธเกี่ยวเนอื่ งกนั ของแตละสวน 3. ประเมินคาเรื่องทจี่ ะพูด 4. ใชภาษาอยางเหมาะสม มีการเรียงลําดับใจความท่ีดี แบงเน้ือหาเปนเรื่องเปนตอน ใชตัวอยางประกอบการพดู มกี ารเปรียบเทยี บเพ่ือใหผฟู ง เห็นภาพพจนไดอยา งชัดเจน มีการยาํ้ ความ เพอ่ื เนน สาระสําคญั รวมท้งั ยกโวหารคําคมมาประกอบเพอื่ สรา งความเขา ใจ และเกิดความประทับใจ ย่ิงข้ึน

24 | ห น้ า เรือ่ งที่ 3 มารยาทในการพูด การพูดท่ีดีไมว าจะเปนการพดู ในโอกาสใด ผูพดู จะตองคํานึงถึงมารยาทในการพูด ซึ่งจะชวย สรางความช่นื ชมจากผฟู ง มีผลใหการพดู แตล ะคร้งั ประสบความสําเร็จตามวตั ถปุ ระสงคทตี่ ง้ั ไว มารยาท ในการพูดสรุปไดดังน้ี 1. เรื่องท่พี ูดน้นั ควรเปนเร่ืองทีท่ ง้ั สองฝายสนใจรว มกนั หรืออยูในความสนใจของคนทั่วไป 2. พูดใหตรงประเด็นจะออกนอกเรอื่ งบางก็เพยี งเลก็ นอย 3. ไมถามเร่อื งสวนตัว ซงึ่ จะทําใหอ กี ฝายหนึง่ รูส ึกอดึ อัดใจ หรอื ลําบากใจในการตอบ 4. ตอ งคํานงึ ถึงสถานการณและโอกาส เชน ไมพูดเรอ่ื งเศรา เรื่องท่นี ารังเกียจ ขณะรับประทาน อาหารหรืองานมงคล 5. สรางบรรยากาศทด่ี ี ยม้ิ แยม แจม ใสและสนใจเร่อื งท่กี าํ ลงั พูด 6. ไมแสดงกิรยิ าอนั ไมสมควรในขณะท่พี ูด เชน ลวง แคะ แกะ เกา สวนใดสว นหน่งึ ของรา งกาย 7. หลีกเลี่ยงการกลาวรา ย การนนิ ทาผอู ื่น ไมยกตนขมทาน 8. พูดใหมีเสยี งดงั พอไดยินกันท่วั ไมพูดตะโกน หรอื เบาจนกลายเปน กระซบิ กระซาบ 9. พดู ดว ยถอยคาํ วาจาทส่ี ุภาพ 10.พยายามรกั ษาอารมณใ นขณะพูดใหเ ปนปกติ 11.หากนาํ คาํ กลาวหรือมีการอางอิงคําพูดของผูใดควรระบุนามหรือแหลงท่ีมา เพื่อใหเปน เกยี รติแกบ ุคคลทกี่ ลา วถงึ 12.หากพูดในขณะท่ผี ูอ่นื กาํ ลงั พูดอยูควรกลา วขอโทษ 13.ไมพดู คุยกนั ขามศีรษะผอู ่นื จากมารยาทในการพูดทั้ง 13 ขอ ผูเรยี นควรจะนาํ ไปปฏิบตั ไิ ดใ นชีวิตประจําวนั

ห น้ า | 25 กิจกรรมบทท่ี 2 การพูด กิจกรรมที่ 1 ใหผูเรียนเลอื กคําตอบที่ถกู ท่ีสดุ เพียงขอ เดียว 1. ขอ ใดไมใชองคป ระกอบสําคญั ของการพูด ก. ผูพูด ข. ผูฟง ค. สาระที่พดู ง. อปุ กรณป ระกอบการพดู 2. ขอ ใดเปนการพูดแบบเปน ทางการ ก. พูดกบั พ่ีนอ ง ข. พดู บรรยายใหค วามรู ค. พูดกับเพอ่ื นรว มงาน ง. พูดในงานสงั สรรค 3. สิง่ ทส่ี าํ คญั ท่สี ดุ ทผ่ี พู ดู ควรเตรียมลวงหนา คือขอ ใด ก. การแตงกาย ข. การฝกซอม ค. การเตรยี มตนฉบบั พูด ง. การใชเ สยี งและทาทาง 4. การพูดแสดงความคิดเห็น คือการพดู ในลักษณะใด ก. พูดทักทาย ข. พูดแนะนําตวั ค. พดู อภปิ ราย ง. พดู อวยพร 5. ขอ ใดเปนจุดมุงหมายในการพูดเพอ่ื หาเสียงเลือกต้ัง ก. สรา งจนิ ตนาการ ข. ใหข อมูลความรู ค. โนม นาวชกั จูง ง. ใหความเพลิดเพลิน กิจกรรมท่ี 2 ใหผ เู รียนเขียนคําพดู ตามหัวขอตอไปน้ี 1. เขยี นคาํ ขอบคณุ สั้น ๆ ที่เพ่อื นคนหน่งึ เกบ็ กระเปาสตางคท ี่หลน หายมาใหเ รา 2. เขียนคาํ พูดอวยพรวันเกดิ ของเพอ่ื น 3. เขียนคํากลา วแสดงความยินดีในโอกาสท่เี พ่อื นสอบสัมภาษณเขาทาํ งานได 4. เขยี นคาํ แนะนําตนเองในกลุม ผูเรยี น

26 | ห น้ า กิจกรรมที่ 3 ใหผ เู รยี นยกตัวอยางการกระทาํ ทไี่ มม ีมารยาทในการพูดมา 5 ตัวอยา ง 1. .............................................................................................................................. 2. .............................................................................................................................. 3. .............................................................................................................................. 4. .............................................................................................................................. 5. .............................................................................................................................. กิจกรรมที่ 4 ใหผเู รยี นจัดทาํ ตนรางเร่ืองท่จี ะพูดในโอกาสดงั ตอ ไปนี้ 1. กลา วอวยพรคูบ า ว – สาว ในงานเลีย้ งฉลองมงคลสมรส ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………….…………………... 2. กลาวตอนรบั ผูทีม่ าศึกษา – ดงู านในชุมชน ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………….……………... 3. กลาวขอบคุณวิทยากรในงานฝก อบรม ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………….…………………………...

ห น้ า | 27 บทที่ 3 การอาน สาระสาํ คญั การอานเปนทักษะทางภาษาที่สําคัญ และจําเปนอยางยิ่งในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง อยางรวดเร็วเชนปจจุบัน เพราะชวยใหสามารถรับรูขาวสารและเหตุการณตาง ๆ ของสังคม ชวยให ปรับตวั ไดทันกับความเจรญิ กา วหนา ทางวิทยาการทุกสาขา เปน เคร่ืองมือสําคัญในการแสวงหาความรู ท่ีแปลกใหม การอา นยงั ชว ยใหเ กดิ ความเพลิดเพลนิ การอา นจะประสบผลสาํ เรจ็ ตองสามารถจบั ใจความ สําคญั วเิ คราะห วิจารณ และมมี ารยาทในการอา น ผลการเรยี นรทู ค่ี าดหวัง ผูเรยี นสามารถ 1. อานในใจไดคลอ งและเร็ว 2. อานออกเสียงและอานทํานองเสนาะไดอ ยางถูกตอ งตามลักษณะคําประพนั ธ 3. วเิ คราะหแยกแยะขอเท็จจรงิ ขอคดิ เหน็ และจุดมุงหมายของเรอื่ งที่อา น 4. เลือกอา นหนงั สือ และส่ือสารสนเทศ เพอ่ื พฒั นาตนเอง 5. ปฏบิ ตั ติ นเปน ผูม มี ารยาทในการอาน และมีนสิ ยั รกั การอาน ขอบขา ยเน้ือหา เรอ่ื งที่ 1 การอา นในใจ เรื่องที่ 2 การอานออกเสยี ง เร่อื งที่ 3 การอา นจับใจความสําคญั เรื่องท่ี 4 มารยาทในการอา น และนสิ ัยรกั การอาน

28 | ห น้ า เร่อื งที่ 1 การอานในใจ การอานในใจ หมายถึง การแปลตัวอักษรออกมาเปนความรู ความเขาใจ และความคิด แลว นําไปใชอีกทอดอยางไมผ ิดพลาด โดยท่ัวไป จะเปนการอา นเพื่อความรู และความบันเทิง จดุ ประสงคข องการอานในใจ 1. เพื่อจับใจความไดถ กู ตอ งและรวดเรว็ 2. เพ่ือใหเ กดิ ความรู ความเขา ใจ และความคิดอยางกวางขวางและลกึ ซ้ึง 3. เพื่อใหเ กดิ ความเพลิดเพลนิ และเปนการใชเวลาวา งใหเกิดประโยชน 4. เพอ่ื ใหถ ายทอดสิง่ ท่อี านใหผ ูอ่นื รับรโู ดยไมผิดพลาด หลกั การอานในใจ 1. ตัง้ จุดมุงหมาย วา จะตองอา นเพอ่ื อะไร อานเพอื่ ความรู หรือจะอา นเพอ่ื ความเพลดิ เพลนิ 2. ตง้ั สมาธิในการอา น ใหจ ดจออยกู บั หนงั สอื ทอ่ี า น จิตใจไมว อกแวกไปท่อี น่ื ซง่ึ จะทําใหอา นได เรว็ และเขา ใจไดดี 3. ต้ังเปาการอานโดยกําหนดปริมาณทจี่ ะอานไวลวงหนา แลวจบั เวลาในการอานเพ่อื ท่จี ะ พัฒนาการอา นครง้ั ตอ ไปใหเ รว็ ขึ้น 4. ไมอานหนังสือทีละคํา การอานกวาดสายตาใหกวางข้ึนอานใหครอบคลุมขอความที่อยู ตอหนาอยา งเร็วไปเรื่อย ๆ 5. ลองถามตนเองวาเปนเรื่องเก่ียวกับอะไร เกิดกับใคร ท่ีไหน อยางไร ถาตอบไดแปลวา เขา ใจ แตถ าตอบไมไดกต็ อ งกลบั ไปอา นใหม 6. จับใจความสําคญั ใหได และบันทึกเปนความรูความเขา ใจ และความคดิ ไวเพราะจะทําใหจะ จาํ เร่อื งทอ่ี านไดอ ยา งแมนยาํ และสามารถนําไปใชป ระโยชนไ ดท ันที

ห น้ า | 29 เรอ่ื งที่ 2 การอา นออกเสียง การอานออกเสียง หมายถึง การอานท่ีผูอื่นสามารถไดยินเสียงอานดวยการออกเสียง มักไมนิยมอานเพ่ือการรับสารโดยตรงเพียงคนเดียว เวนแตในบางคร้ังเราอานบทประพันธเปน ทวงทาํ นองเพ่อื ความไพเราะเพลิดเพลนิ สว นตวั แตส ว นใหญแ ลว การอา นออกเสยี งมกั เปน การอา นให ผอู ่ืนฟง การอา นประเภทนมี้ หี ลายโอกาส คือ 1. การอา นออกเสียงเพือ่ บคุ คลในครอบครัวหรอื ผทู ่ีคุนเคย เปน การอานท่ีไมเ ปนทางการ การอา นเพอ่ื บคุ คลในครอบครวั เชน อานนิทาน หนงั สอื พมิ พ ขา ว จดหมาย ใบปลิว คาํ โฆษณา ใบประกาศ หนังสือวรรณคดีตาง ๆ เปนการเลาสูกันฟง อานเพื่อให เพื่อนฟง อา นใหคนบางคนท่ีอา นหนังสอื ไมออกหรือมองไมเ ห็น เปน ตน 2. การอานออกเสียงทเี่ ปนทางการหรอื อา นในเร่ืองของหนา ทก่ี ารงาน เปน การอานทีเ่ ปน ทางการ มรี ะเบียบแบบแผนในการอา นอยา งรดั กมุ กวา การอา นออกเสยี ง เพอ่ื บคุ คลในครอบครวั หรอื อยทู ี่คนุ เคย เชน การอานในหองเรียน อานในท่ีประชุม อานในพิธีเปดงาน อานคาํ ปราศรยั อา นสารในโอกาสทส่ี าํ คญั ตาง ๆ การอานของส่ือมวลชน เปนตน การอานออกเสียงใหผูฟง จะตองอา นใหช ดั เจนถูกตองไดขอความครบถวนสมบูรณ มีลีลา การอา นทน่ี าสนใจและนาติดตามฟงจนจบ จุดมุง หมายในการอา นออกเสยี ง 1. เพื่อใหอานออกเสียงไดถูกตอ งตามอกั ขรวธิ ี 2. เพ่ือใหรูจักใชนํ้าเสียงบอกอารมณและความรูสึกใหสอดคลองกับเนื้อหาของ เร่อื งที่อา น 3. เพื่อใหเ ขาใจเรอ่ื งที่อา นไดถ ูกตอง 4. เพอ่ื ใหผอู านมีความรแู ละเขา ใจในเน้ือเร่อื งทีอ่ า นไดอ ยางชดั เจน 5. เพื่อใหผ อู านและผฟู ง เกิดความเพลิดเพลิน 6. เพอ่ื ใหเ ปน การรับสารและสงสารอกี วิธีหน่ึง

30 | ห น้ า หลกั การอา นออกเสยี ง 1. อานออกเสียงใหถ กู ตองและชัดเจน 2. อานใหฟงพอท่ผี ูฟง ไดย ินทว่ั ถึง 3. อา นใหเ ปน เสียงพูดโดยธรรมชาติ 4. รูจ กั ทอดจงั หวะและหยดุ หายใจเม่ือจบขอความตอนหนึง่ ๆ 5. อานใหเขาลักษณะของเนื้อเร่ือง เชน บทสนทนา ตองอานใหเหมือนการสนทนากัน อานคาํ บรรยาย พรรณนาความรสู ึก หรือปาฐกถากอ็ า นใหเขา กบั ลักษณะของเร่ืองนน้ั ๆ 6. อานออกเสยี งและจงั หวะใหเ ปน ตามเนือ้ เรอ่ื ง เชน ดหุ รอื โกรธ ก็ทาํ เสียงแข็งและเรว็ ถาเปน เรอื่ งเกย่ี วกับครา่ํ ครวญ ออนวอน ก็ทอดเสียงใหช า ลง เปน ตน 7. ถา เปนเรื่องรอ ยกรองตองคาํ นงึ ถงึ ส่ิงตอ ไปน้ดี ว ย 7.1 สัมผัสครุ ลหุ ตองอา นใหถ กู ตอ ง 7.2 เนน คาํ รับสัมผสั และอา นเออ้ื สัมผสั ใน เพอื่ เพม่ิ ความไพเราะ 7.3 อานใหถ ูกตองตามจงั หวะและทาํ นองนิยม ตามลักษณะของรอ ยกรองน้นั ๆ ยังมีการอานออกเสียงอีกประการหน่ึง การอานทํานองเสนาะ เปนลักษณะการอาน ออกเสียงที่มีจงั หวะทํานองและออกเสยี งสงู ต่ําเพ่ือใหเกิดความไพเราะ การอานทํานองเสนาะน้ีผูอาน จะตองเขาใจลักษณะบังคับของคําประพันธแตละชนิดและรูวิธีอานออกเสียงสูงตาํ่ การทอดเสียง การเออ้ื นเสยี ง ซึง่ เปนลกั ษณะเฉพาะของคําประพนั ธชนิดตางๆ ดวย การอานทํานองเสนาะนี้ เปน มรดกทางวัฒนธรรมท่ีสืบทอดกนั มาชา นาน ซ่งึ เปน สง่ิ ทค่ี นไทยทุกคนควรภมู ิใจและรักษาวัฒนธรรม ลาํ้ คานีไ้ วเพือ่ ถายทอดสบื ตอ กันไปชั่วลูกช่วั หลาน การอานเรว็ คนที่มีนิสัยรักการอาน ยอมเปนผูที่มีความรอบรู มีความนึกคิดลึกซึ้งและกวางขวาง ทั้งยังไดรับความบนั เทงิ ในชีวิตมากขึ้นอกี ดว ย การอา นทีใ่ ชมากในชวี ิตประจาํ วัน คือการอา นในใจ เพราะสามารถอานไดรวดเร็ว ไมตองกังวล กับการเปลง เสยี งกบั ตวั หนังสอื การอา นในใจท่ีดี ผูอานจะตองรจู ักใชสายตา กริ ยิ าทา ทาง มสี มาธิ ความ ตง้ั ใจและกระบวนการอา นในใจ เชน การเขาใจความหมายของคํา รูจักคนหาความหมายของคํา หรือ เดาความหมายได รูจักจับใจความแลวรูจักพิจารณาตาม รวมทั้งตองเปนผูที่สามารถอานไดรวดเร็ว อีกดว ย

ห น้ า | 31 เพอื่ เปน การทดสอบตนเองวา สามารถอานหนงั สือไดเรว็ หรือไม ใหผูเรยี นอานขอความตอไปน้ี แลว จบั ใจความของเร่อื งโดยใชเ วลา 8 นาที ลมเหนอื ลมทงุ นาหอมกลิ่นฟางขาวพัดรวยรนิ อยูร อบตัว นชุ ลกู สาวครูปรีชาว่งิ มาบอกพอ วา “พอ คะ นชุ ขอไปดเู ขาแลกขา วท่บี านจําเนียรนะคะ” “บา นจําเนียรไหน” “บา นจําเนยี รที่มตี นมะขามโนนไงคะ มีคนเขาเอาของเยอะแยะมาแลกขา ว นุชไปนะพอ” “เดี๋ยวกอน” “โธ พอ นุชชาไมไ ด นุชจะไปชว ยจําเนยี รเขาแลกเสือ้ ประเดี๋ยวจําเนียรก็อดไดเสอ้ื สวยๆ หรอก” ผมชะเงอ ดูท่บี านหลงั หนึ่ง อยเู กือบกลางทงุ นา บริเวณบา นลอมดว ยกอไผ ผมเห็นคนเปนกลมุ ๆ ยนื อยกู ลางบานนน้ั นุชเหน็ ผมมองอยางอยากรูอยากเหน็ จึงเอย วา “พโ่ี ชคไปกบั หนไู หมละ ” “เออ โชคไปเปน เพ่ือนนองก็ดีนะ แดดรอนอยางน้ีหาหมวกใสสักใบเถอะ ประเดี๋ยวจะเปน ไข” ครปู รชี าพดู “นุชไมม ีหมวก” “เออ...เอาผา ขาวมาของพอ ไป” ครปู รชี าสง ผาขาวมาใหลูกสาว นุชไดผาก็เอามาเคียนหัวแลว ออกว่ิงนําหนาผมไป ผมเห็นคนๆ หน่งึ แตงตัวแปลกไปกวา ชาวนา ท่ีวาแปลกก็คือเขาใสเส้ือนุงกางเกงเหมือนคนใน จงั หวดั อยูต รงกลาง ขางหนา มหี าบใสสิ่งของเครื่องใช เชน เสือ้ ผา หมออะลมู เิ นยี ม เปน ตน วันนผี้ มเหน็ พอ ของจาํ เนยี รยอมแลกขาวเปลอื กสองถงั กบั เสือ้ ผา ดอกสีสดใสใหจ ําเนยี รตวั หนึ่ง ปา แมนยอมเสียขา วเปลือกถังหนึง่ แลกกบั แกว นา้ํ 3 ใบ ผมกลบั มาเลา ใหค รปู รีชาฟง ครปู รีชากถ็ อนหายใจยาวพดู วา “คนพวกนแ้ี หละเปนเหลอื บคอยดดู เลือดชาวนา” “เขาเห็นจาํ เนยี รอยากไดเส้ือผา เลยจะเอาขาวเปลือกต้ัง 2 ถังแลกกับเส้ือตัวเดียว ผมวาเสื้อ ตัวนน้ั ราคาไมก ี่บาทหรอกครับ” “โธครถู งึ วา พวกนเี้ ปนเหลือบไงละ เอาเปรียบกนั เกนิ ไป” “แตพวกนน้ั ไปยอมแลกกบั เขาเอง” ผมพูดเสยี งออน “ก็เพราะง้ันนะซิ ครูถึงหนักใจแทน โชคคิดดูสิวากวาจะทํานาไดขาวถังหนึ่งนะ หมดแรงไป เทา ไรมนั คุม กันไหมละ ” “ทาํ ไมชาวนาถงึ โง...” “ไมใ ช” ครปู รีชาขดั ขึ้น “ไมไ ดโ ง แตไ มทนั เลหเ หลยี่ มพอคา ตา งหากละ” “ครบู อกแลว บอกอกี บอกจนไมรจู ะบอกยังไงแลว ”

32 | ห น้ า “ไมเ ชอ่ื ครูหรอื ครบั ” “พูดไมถูก อยางพอจําเนียรน่ันแกรูดีวาอะไรเปนอะไร หากแลกขาวนะยังดีกวาพวกอื่นนะ น่นั ไงละมากันเปนแถว” ครูปรีชาช้ีใหผมดู คนข่ีจักรยานตามกันเปนแถว แทบทุกคนสวมหมวกกะโล มไี มกลม ๆ ขนาดแขนผูกตดิ รถจักรยานมาดว ย “ใครครับ” ผมสงสยั “พวกพอ คาคนกลางตวั จริง” ครูปรชี าตอบเสยี งตํ่า “เปนพวกนายหนารับซอ้ื ขา วใหโ รงสี อีกที หนงึ่ เธอเห็นไมทอนกลมน่ันไหมละ” “ครับ” “ไมนั้นแหละเขาเอาไวร ดี ขาวเปลอื กดูเมล็ดกอนตีราคา” “ทาํ ไมตอ งตรี าคาดวยเลา ” “เพราะวาขาวท่ีชาวนาทําไดมีคุณภาพตาง ๆ กันนะสิโชค นี่แหละเปนโอกาสใหพอคามี ชอ งทางกดราคาขาวละ” “เขาทํายงั ไงครบั ” “เขาจะรีดขา วดู ถาไดข า วเมล็ดงามไมล ีบเลก็ ก็ตีราคาเอาตามใจ ถา ชาวนาพอใจราคาที่เขาให เกดิ ตกลงขาย เขากจ็ ะจา ยเงินใหลวงหนา จํานวนหนง่ึ แลว กม็ าขนขา วไปโรงสี สวนมากคนท่ีรับซ้ือถึงที่ มกั จะกดราคาขา วจนต่ํามาก” “ราคาตาํ่ เรากไ็ มขาย” ผมบอก “แตช าวนาตอ งการเงนิ ” “งน้ั เอาไปขายเองกไ็ ดนค่ี รบั ” “นั้นยงิ่ แลว ใหญเลย ถา หากเธอขนขา วไปโรงสีจะถกู กดราคามาก เพราะเขาถอื วา เธอไปงอ เขา” “อา ว ทําไมถงึ เปนอยา งนน้ั เลา” ครูปรีชาหัวเราะหๆึ แตแววตาหมอง “ทาํ ไมถึงเปน เชน นั้นนะหรือ ครูตอบเธอเด๋ียวนี้ เธอก็คงไม เขา ใจหรอก...โชคด”ี ผูเ รียนอานจบภายในเวลา 8 นาทีหรือไม อานจบแลว ลองตอบคําถามดู เพราะการอานหนังสอื ไดเ รว็ น้ันตองจับใจความไดดวย 1. ผูท่ีใชส รรพนามวา ผมในเร่ืองนชี้ ่ืออะไร 2. พอ ของจําเนยี รมีอาชีพอะไร 3. ทาํ ไมครปู รีชาจึงเรียกพวกทีเ่ อาของมาแลกขาววาตัวเหลอื บ 4. จากเร่ืองนี้ ใครเปน ผทู ีเ่ อาเปรียบชาวนามากท่ีสุด 5. ผเู รยี นอา นเรอื่ งนแี้ ลวไดขอ คิดอะไรบา ง การอา นหนังสือใหเร็ว นอกจากใชเวลาชวงส้ัน ๆ อานหนังสือใหไดมากที่สุดแลว จะตองจับ ใจความเปนหนังสอื ใหไ ดค รบถวน อา นแลวเขาใจเรอื่ งตลอดดวย

ห น้ า | 33 ลองคดิ ดูซิวา เหตทุ อ่ี า นไมท ันหรือจบั ใจความไมไดตลอดเพราะเหตใุ ด ถา เราลองคิดหาเหตผุ ล โดยเอาตัวเองเปนหลกั อาจไดคาํ ตอบหลายอยาง เชน ไมมีสมาธิ อาน กลบั ไปกลบั มา สบั สนจึงทําใหอา นชา หรือไมเขาใจคาํ ศพั ทบ างคํา เปนตน หลกั การอานเรว็ ในการฝก ตนเองใหเปน คนอา นเรว็ ควรไดเ ริม่ ตนฝกสม่ําเสมอทลี ะเล็กละนอ ย โดยฝกอานในใจ ทถี่ กู วธิ ีและจะตอ งฝกฝนในส่งิ ตอ ไปนี้ 1. มีสมาธิในการอาน ในขณะท่ีอาน จะตองสนใจและเอาใจจดจอตอส่ิงท่ีอาน ไมปลอยใจ วอกแวกคดิ เรือ่ งอ่ืน จะทําใหจบั ใจความของเรือ่ งไมไ ดตลอดและความสามารถในการอานชาลงไป 2. จับตาทตี่ ัวหนังสือ โดยใชสายตาจับอยูในชวงเวลาเล็กนอยแลวเคลื่อนสายตาตอไปอยาง รวดเร็ว การฝก จับตาเชนนี้ตองกระทําบอย ๆ และจับเวลาทดสอบความสามารถในการจบั สายตา และ เคลอื่ นสายตาใหไ ดรวดเร็วเพอ่ื ทดสอบความกา วหนา 3. ขยายชวงสายตาใหก วาง ชวงสายตาหมายถึง ระยะจากจุดท่ีสายตาจับจุดหน่ึงไปยังจุดท่ี สายตาจบั ในคราวตอไป การรูจกั ขยายสายตาใหกวา งจะชว ยใหอานหนงั สอื ไดเรว็ 4. ไมอานยอ นกลับไปกลับมา หมายถึง การทวนสายตายอนกลับไปกลับมายังคําท่ีไมเขาใจ ซึง่ ทําใหเสยี เวลา 5. เปล่ียนบรรทดั ใหแ มนยาํ โดยกวาดสายตากลับมาทางซายเพ่ือข้ึนบรรทัดใหม เม่ืออานจบ แตละบรรทัดและตองกําหนดบรรทัดใหแมนยําไมอานขามบรรทัด หรืออานซํ้าบรรทัดเดิมซึ่งทําให ความคิดสับสนการฝกในระยะแรกเรมิ่ อาจใชไ มบรรทดั หรอื กระดาษปด ขอความบรรทัดลางไว แลว เลือ่ น ลงเรื่อย ๆ คอ ย ๆ เพ่ิมความเร็วขน้ึ จนชาํ นาญจึงอานโดยไมตอ งใชสิ่งอนื่ มาปด การอา นเพ่ือเขาใจความหมายของสํานวน การอา นเพ่ือทําความเขา ใจ ความหมายของสํานวน ตองอาศัยถอยคําสิ่งแวดลอม บริบท เพื่อ สรุปสาระสําคญั 1. ความหมายของสาํ นวน สํานวน คอื ถอ ยคําท่ีมคี วามหมายไมตรงตามความหมายปกติของคาํ นัน้ ๆ 2. หลักการอาน เพ่ือเขาใจความหมายของสํานวน 2.1 อานขอความอยางละเอียด เพ่ือจับใจความสําคัญ เขาใจเน้ือเร่ืองและเขาใจ ความหมายของสาํ นวน 2.2 สังเกตเน้ือความตามบรบิ ท ทาํ ใหตคี วามหมายของสํานวนไดถ ูกตอง 2.3 ตีความหมายของสาํ นวน ตอ งตรงประเดน็ ตามบรบิ ท

34 | ห น้ า ตวั อยา ง การอา นเพื่อเขาใจความหมายของสาํ นวน ออยเขา ปากชา ง หมายถงึ ของตกไปอยใู นมอื ผูอน่ื แลวไมมีทางไดคืน ไกแกแมป ลาชอน หมายถึง ผทู ่ีมีความจดั จา น เจนสังเวยี น ววั หายลอมคอก หมายถึง เมอ่ื เกดิ ความเสยี หายแลวจึงหาทางปองกนั กนิ ขา วตม กระโจมกลาง หมายถึง การกระทําทีไ่ มร อบคอบ ผลผี ลาม ช้นี กบนปลายไม หมายถึง การพูดถงึ สิง่ สดุ วิสยั ทจ่ี ะทําได สํานวนตา ง ๆ ท่นี ําไปกลาวเปรยี บเทยี บใหเขา กับสถานการณ เรียกวา คําพังเพย เชน เมื่อของ หายแลวจงึ คิดหาทางปองกัน ก็เปรยี บวา วัวหายลอมคอก เปน ตน ความหมายของสํานวนมีลกั ษณะเหมือนความหมายโดยนยั คอื ตองตีความ หรือแปลความตาม นยั ยะของคําหรือขอ ความนน้ั ๆ การอา นเพ่อื เขา ใจโวหารตา ง ๆ ผเู ขียนตองใชโวหารประกอบการเขียน เชน พรรณนาโวหาร อุปมาโวหาร สาธกโวหาร ฯลฯ เพือ่ ใหง านเขยี นมคี ณุ คา 1. ความหมายของโวหาร โวหาร คือทวงทํานองในการเรียบเรียงถอยคําท้ังในวรรณกรรมรอยแกวและรอยกรอง โวหารทใ่ี ชก ันทวั่ ไปมี 5 โวหาร ดังน้ี 1.1 บรรยายโวหาร คือการเลาเรื่องไปตามเหตุการณ เชนการเขียนบทความ การเลา นทิ าน เลาประวัติบุคคล ตํานาน ตอ งอธิบายใหเ ปนไปตามลําดับ ตวั อยาง บรรยายโวหาร มนุษยมคี วามเชอ่ื อยอู ยางหนึ่งซง่ึ สบื มาแตโบราณนานไกล วา คนทเ่ี กดิ มาทง้ั เดก็ และผใู หญไมว า จะเปนหญงิ หรือชาย ยอ มมีอะไรอยูอ ยางหนง่ึ สงิ อยูภายในรางกายมาแตก ําเนิดสง่ิ ทว่ี านี้ถา อยกู บั เน้อื กบั ตัวของผใู ดผูน้ันก็จะมีความสุขความสบาย ไมป วยไขไ ดทุกขถ าสิ่งนั้นหนหี ายไปจากตัวกจ็ ะทําใหผ นู ้นั เปน ไขไดท กุ ขแ ละอาจถึงแกความตายได ถา ส่งิ นัน้ ไมกลบั คืน อยใู นรางกาย สง่ิ ที่กลาวนภ้ี าษาไทยเรยี กวา ขวัญ อันเปน คํามคี วามหมายในภาษาท่เี ขาใจกันอยางเลาๆ แลว กย็ ุงดวย ท่วี ายุง เพราะเปนส่งิ มองไมเ หน็ ตวั วา มรี ูปรางเปน อยา งไร (ขวัญและประเพณีทําขวัญ ของ เสฐยี รโกเศศ)

ห น้ า | 35 1.2 พรรณนาโวหาร คอื การเขียนเลน เร่ืองอยา งประณีตมักแทรกความรูสึกของผูเขียน ดว ยทําใหผ ูอ า นเกิดความรแู ละอารมณคลอยตาม เชน การพรรณนาความสวยงามคุณความดีตลอดจน พรรณนาอารมณแ ละความรสู ึกในใจ ฯลฯ ตัวอยา ง พรรณาโวหาร ไมผ ล เชน ละมุด มะมวง ขนนุ พอปลกู ไวขางสนามและบรเิ วณมุมขาง สวนทีเ่ ล้อื ยรอบบา น กม็ เี ถาวัลยและสายหยุดข้ึนอยูคนละมุม ราตรีอยูตรงบันไดขึ้นหอหนาบาน ซ่ึงเปนทางไปหองรับแขก ชะลูดปลกู อยูทส่ี ะพานขามทองรอ งเล็ก ๆ อยกู งึ่ กลางระยะจากตวั บา นไปยงั ประตรู ้วั บาน คนละดานกบั เถาพวงครามดอกสมี ว ง ใบแข็งดวย ถาไปถูกมันจะคนั แตดอกเปน สคี รามเปน ชอยาวมองดสู วยและบาน อยไู ดห ลายวัน ถาดอกรวงจะหมุนเพราะกลีบของมันเปนเฟองมี 5-6 กลีบ คลายใบพัด มันหมุนตัวลง มากวา จะถึงพน้ื เหมือนกงั หนั ตอ งลม ดูสวยงามเพลินตาดี ผมชอบเก็บดอกมันข้ึนไปปลอยบนหนาตาง สูง ๆ ใหม ันหมนุ จีล๋ งมาสูพ้นื ดนิ เปน ของเลน สนุก เมือ่ สมยั เด็กกอ นเขา โรงเรียน (เดก็ บานสวน ของ พ.เนตรรงั ส)ี 1.3 เทศนาโวหาร คือ กระบวนความอบรมส่ังสอน อธิบายในเหตุผล หรือชี้แจงใหเห็น คณุ และโทษ เพ่อื ใหผ อู านเชื่อถือตาม ตัวอยาง เทศนาโวหาร บรรดาของมคี าทงั้ หลายจะหาส่งิ ไรมีคาเกินวิชาดีกับจรรยาดีไมไดเลย ทรัพยอื่น ๆ อาจจะถูก ขโมยลักหรอื ลดนอยลงดว ยการจับจายใชส อย แตวิชากบั จรรยาดีนีเ้ ปนอมตะไมรจู กั ตายย่ิงจายมากก็ย่ิง เพิม่ ทวคี ูณขึน้ และเราจะแยกแบงใครก็ไมได แมขโมยจะลักเอาไปก็ไมได แตจงทราบดวยวาโดยเฉพาะ วิชาดีที่แหลมคมนั้นถาไมมีสติคอยควบคุม ปลอยเพงมองแสหาความสุขในทางที่ผิดแลว ก็จะเปนตัว มหาอุบาทว มหาพินาศ มหาจัญไร ดูเถอะ มนุษยบางเหลาถือตัววาฉลาดแตขาดสติ ประพฤติตัว เลวทราม กอกวนหมูคณะใหยุงเหยิงเดือดรอนอยูทุกวันนี้ก็เพราะเขามีวิชาดีท่ีแหลมคมและใชวิชาดี ทแี่ หลมคมไปในทางทผ่ี ิด ซงึ่ ไมม สี ตคิ วบคุมน้ันเอง (โลกานุศาลนี ของ สมเด็จพระมหาวรี วงศ (พิมพ ธมมฺ ธโร)) 1.4 สาธกโวหาร คอื การเขยี น โดยยกตัวอยา งประกอบเพอ่ื ใหผอู า นเขา ใจเร่ืองไดชัดเจน ย่งิ ขึ้นนยิ มใชใ นการบรรยายโวหาร และเทศนาโวหาร ตวั อยา ง สาธกโวหาร ในที่น้ีจะชักนิยายมาเปนอุทาหรณใหเห็นวา ผูท่ีต้ังความเพียรไดรับรางวัลของธรรมดาโลก อยา งไร ชายชาวนาผูหน่ึง เม่ือปวยจนจะส้ินใจอยูแลว จึงเรียกบุตรชาย 3 คน เขามาบอกวาบิดาจะ สิ้นชีพไปในครั้งน้ีก็หามีส่ิงใดท่ีจะหยิบยื่นใหเปนมรดกแกเจาไม แตบิดาจะบอกความลับใหเจาวา ในพนื้ ท่ีนาของเรามขี ุมทรพั ยใหญซ อนอยู เจาจะตองขดุ ข้นึ ดู พอพูดเทาน้นั แลวก็ขาดใจยงั หาทนั จะบอก วาขุมทรัพยนั้นอยูตรงไหน ๆ ไม ฝายบุตรทั้ง 3 ต้ังแตบิดาตายแลวก็ชวยกันตั้งหนาขุดพ้ืนท่ีดินข้ึน จนทั่ว คนหาจนส้ินเชิง ก็หาพบขุมทรัพยไมแตไดรับผลที่ขดุ ไดคือ เม่ือขุดพรวนดินข้ึนดีแลว จึงหวาน

36 | ห น้ า เพาะพชื ไดผ ลเปนรางวลั ของธรรมดาโลกและอกี นัยหนงึ่ เปน ขุมทรัพยท ่ีบดิ าไดบอกไววา อยูในพืน้ ทน่ี า นั้นเอง (ความเพยี ร ธรรมจริยา ของ เจา พระยาธรรมศักดิม์ นตรี) 1.5 อปุ มาโวหาร คอื การเขียน โดยยกขอความเปรียบเทียบเพ่ือใหผูอานเขาใจเรื่องราว ตา ง ๆ ไดดยี ่ิงขึน้ ใชแ ทรกในโวหารตาง ๆ ตวั อยา ง อุปมาโวหาร ขณะน้ันโจโฉจงึ วาแกท หารทั้งปวงวา เลา ปค รั้งนีอ้ ุปมาเหมอื นปลาขังอยูใ นถัง เสอื ตกอยใู น หลุม ถาแกจะละเสยี ใหเลด็ ลอดหนีไปได บัดน้กี ็เหมือนปลอยเสือเขาปา ปลอยปลาลงในสมุทร ทหาร ทัง้ ปวงจงชวยกันขะมักเขมนจับตวั เลาปใหจ งได ทหารทัง้ ปวงตางคนตา งรีบขนึ้ หนาขับกนั ตามไป (สามกก ตอนจูลงฝาทัพรบั อาเตา ) การอานออกเสยี งรอยกรอง การอา นบทรอยกรองตาง ๆ ใหเปน ไปตามทาํ นองลีลาและจังหวะอันถูกตองจะทําใหเกิดความ ไพเราะเสนาะหู และทําใหผ ฟู ง ไดรบั อรรถรสทางภาษาดว ย หลกั การอานออกเสยี งรอยกรอง 1. อานออกเสยี งใหดงั พอเหมาะ กับสถานทีแ่ ละจาํ นวนผฟู ง 2. อา นใหค ลอง รนื่ หู ออกเสียง ใหชัดเจนโดยเฉพาะตวั ร ล ตวั ควบกล้ํา 3. อานใหถูกฉันทลักษณของคาํ ประพันธ เชน จํานวนคํา จํานวนวรรค สัมผัส ครุ ลหุ คําเปน คาํ ตาย 4. อานใสอารมณ ตามลีลาของบทรอยกรองดวยความรูสึกซาบซึ้งชื่นชมในคุณคาของ บทรอ ยกรองนัน้ ๆ โดยใหม ที ว งทาํ นอง สูง ตํา่ หนกั เบา เพอ่ื ใหไดรสถอย รสเสยี ง รสความ รสภาพ การอานกลอนสภุ าพ 1. จํานวนคําในกลอนสุภาพ ooo oo ooo ooo oo ooo ooo oo ooo ooo oo ooo 2. คณะ กลอนสภุ าพ บทหน่ึงมี 2 บาท บาทที่ 1 เรียกวา บาทเอก มี 2 วรรค คือ วรรคสดับ วรรครับ บาทท่ี 2 เรียกวาบาทโท มี 2 วรรค คือวรรครอง และวรรคสง พยางคในกลอนวรรคหนึ่ง ๆ จะบรรจุคาํ ประมาณ 6-9 คํา กลอนแปด มวี รรคละ 5 คาํ รวม 4 วรรค เปน 32 คาํ 3. วธิ อี า นกลอนสภุ าพ กลอนมีหลายชนิด ไดแก กลอนหก กลอนแปด กลอนดอกสรอย กลอนสักวา กลอนบท ละคร การอา นคลายคลงึ กนั จะแตกตางกันบางเพยี งเลก็ นอ ย ดังน้ี

ห น้ า | 37 1. อานทํานองชาวบาน คือเสียงสูง 2 วรรค คือวรรคสดับ วรรครับ และอานเสียงต่ํา ในวรรครอง และลดต่ําลงไปอีกในวรรคสง 2. อานทํานองอาลกั ษณ คอื อา นเสียงสงู 2 วรรค คอื วรรคสดับ วรรครับ และอานเสียงตํ่า ในวรรครอง และลดต่ําลงไปอกี ในวรรคสง การแบง จํานวนคํา วรรคหนึ่งจะมี 8-9 คาํ ดงั น้ี 3 2 3 เขาคลอขลยุ ครวญเสียง เพียงแผว ผิว ชะลอนิ้ว พล้ิวผา น จนมานหมอง ถา มี 9 คําจะแบงวรรคเปน 3 3 3 สรวงสวรรค ชนั้ กวี รุจรี ตั น ผอ งประภสั สร พลอยหาว พราวเวหา การอา นกาพยย านี 1. จํานวนคาํ ในกาพยยานี oo ooo ooo ooo oo ooo ooo ooo 2. วิธีอาน วรรคท่ี 1 และ 2 ในบาทเอกจะออกเสียงต่ํา วรรคท่ี 1 ในบาทโท จะอานออกเสียงสูงขึ้น หรือ อานออกเสียงเหมือนวรรคท่ี 1 ก็ไดตามความเหมาะสม วรรคที่ 2 ในบาทโท อานออกเสียงต่ํา กาพยยานีมีจงั หวะการอานดงั นี้ มัสหมน่ั แกงแกว ตา หอมยหี่ รา รสรอนแรง ชายใด ไดก ลืนแกง แรงอยากให ใฝฝนหา การอานโคลงสีส่ ภุ าพ 1. จาํ นวนคาํ ในโคลงส่สี ุภาพ oo ooo oo oo oo ooo oo oo ooo oo oo oo ooo oooo 2. คณะโคลงบทหนงึ่ มี 4 บท บทท่ี 1 2 3 4 บาทหน่งึ มี 2 วรรค คอื วรรคหนาและ วรรคหลังมจี าํ นวนคาํ เทากันคอื 5 คํา และ 2 คาํ ยกเวนวรรคหลังในบาทท่ี 4 จะมี 4 คาํ 3. วธิ ีการอา น การอา นโคลงสี่สภุ าพสามารถอานได 2 ลลี า คอื 1. อา นแบบรอ ยแกว 2. อานแบบทาํ นองเสนาะ

38 | ห น้ า การแบงชว งเสียง วรรคแรกเปน 2 ชว ง เปน 3 2 หรอื 3 2 วรรคหลัง เปน 2 การแบงชวงเสียง ตองพจิ ารณาใหคงความหมาย แทนทจ่ี ะแกต ามปกตบิ ทรอยกรองทไ่ี พเราะ กวจี ะจัดกลมุ คําไวดีแลว การเอ้ือนเสียงทอดเสียง ตามปกติจะเอื้อนเสียงทายวรรคแรกของแตละบาท ในบาทท่ี 2 อาจเอือ้ นเสยี งไดถ งึ คําที่ 1 คําท่ี 2 ของวรรคหลัง และบาทท่ี 4 ระหวางคําที่ 2 กบั คาํ ท่ี 3 ของวรรคที่ 2 และทอดเสียงตามตาํ แหนงสมั ผสั ตัวอยา งโคลงส่สี ภุ าพ เรืองเรอื ง ไตรรัตนพน พันแสง รนิ รส พระธรรมแสดง คํ่าเชา เจดยี  ระดงแซง เสียดยอด ยลยิง่ แสงแกวเกา แกนหลาหลากสวรรค (นริ าศนรนิ ทร) การอานฉันท ฉันท มีลักษณะบังคับพิเศษแตกตางไปจากคําประพันธชนิดอ่ืนโดยบังคับ ครุ ลหุ แทนคํา ธรรมดา และบังคับสัมผัส เชน เดยี วกบั คาํ ประพันธช นดิ อ่ืนๆ คาํ ลหุ (,) คอื พยางคท ีม่ ีลักษณะใดลกั ษณะหนงึ่ ดงั นี้ 1. การประสมสระเสยี งสัน้ ในแม ก กา เชน จะ ทิ ปุ ยกเวน พยางคท่ีประสมดวย สระ อํา ใอ ไอ เอา ซ่งึ จัดเปนคาํ ครุ เชน คาํ ไกล ใจ เรา 2. คาํ บ บ จดั เปน คาํ ลหุ คาํ ครุ คือ พยางคท่มี ีลกั ษณะใดลกั ษณะหนง่ึ ดังน้ี 1. ประสมสระเสียงยาวในแม ก กา เชน อา ดี เธอ ปู 2. ประสมสระ อํา ใอ ไอ เอา 3. มตี ัวสะกด เชน มด กัด เดก็

ห น้ า | 39 แผนบงั คับอินทรวิเชยี รฉันท อินทรวิเชียรฉันท บทหน่ึงมี 2 บาท บาทหน่ึงมี 2 วรรค วรรคหนา 5 คํา วรรคหลัง 6 คํา มกี ารแบงจังหวะการอา นดงั นี้ สายนั ห ตะวันยาม ขณะขา ม ทฆิ มั พร เขาภาค นภาตอน ทศิ ตะตก กร็ าํ ไร หนงั สือและสื่อสารสนเทศ หนังสือ ปจจุบันน้ีมีหนังสือออกมาจําหนายหลายประเภท ท้ังตาํ ราวิชาการ วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ นวนิยาย เร่ืองส้ัน สารคดี ฯลฯ การที่มีหนังสือออกมาจาํ หนายมากมายเชนน้ี ผูอาน จึงจาํ เปนท่ีจะตองรูวิธีการเลือกหนังสือ เพ่ือจะไดอานหนังสือที่เหมาะกับความตองการของตนเอง เหมาะกับเวลาและโอกาส วธิ ีการเลอื กหนงั สือประเภทตาง ๆ ในการเลือกอานหนังสือประเภทตาง ๆ น้ัน ผูอานควรพิจารณาใหรอบคอบ ละเอียดถี่ถวน เพอ่ื ประโยชนใ นการพิจารณาคุณคา ของหนังสือนั้น ๆ หนังสือแตล ะประเภทควรเลอื กพิจารณาดังนี้ 1. ตาํ ราวชิ าการ เปน หนังสอื ที่ใหค วามรดู า นตาง ๆ โดยเฉพาะอาจจะเสนอทฤษฎีหรือเน้อื หา สาระอยางกวาง ๆ หรือเฉพาะดานใดดานหนึ่ง โดยผูแตงมีจุดมุงหมายทางดานวิชาการโดยตรง การพจิ ารณาควรดูรายละเอียดในดานตาง ๆ ดงั นี้ 1.1 พิจารณาดานเน้ือหา เน้ือหาจะตองถูกตองกับชื่อหนังสือ เชน วิชาวิทยาศาสตร กฎหมาย ภาษาศาสตร ประวัติศาสตร คณิตศาสตร ฯลฯ หนังสือวิชาการแขนงใด เน้ือหาก็ควรจะ เนน แขนงนนั้ โดยเฉพาะ 1.2 พิจารณาขอมูลและภาพประกอบ ขอมูลและภาพประกอบควรถูกตองชัดเจน โดยเฉพาะภาพประกอบ ควรดูวาตรงกับคาํ บรรยายหรือไม และภาพน้ันนาสนใจเพียงใดเหมาะสม กบั วิชาน้นั หรอื ไม 1.3 การใชภาษา ภาษาท่ีใชควรเปนภาษาทเ่ี หมาะสมกับแขนงวิชานัน้ ๆ และดูการสะกด คาํ ดวยถา หากมคี ําผิด ก็ควรจะเลอื กดูหนังสอื ทม่ี ีคําผิดนอยท่ีสุด

40 | ห น้ า นอกจากนี้การพจิ ารณาตําราวิชาการควรดสู ว นประกอบอืน่ ๆ ดว ย เชน รูปเลม ควรมคี ํานํา สารบญั ฯลฯ 2. สารคดี เปนหนังสอื ท่ีมีสาระในดานใหความรู ความคิด พรอมทั้งใหความเพลิดเพลินดวย หนังสือประเภทน้ีมีหลายชนิด เชน วิทยาศาสตร ประวัติศาสตร ประวัติบุคคลสําคัญ ฯลฯ หนังสือ สารคดที ่มี ีคณุ ภาพนั้นพจิ ารณาในรายละเอียดตา งๆ ดังนี้ 2.1 พิจารณาดานเนอ้ื หาสาระ คุณคา ของสารคดีนน้ั อยทู ่ีเนอ้ื หาสาระเปนประการสาํ คัญ เนื้อหาท่ีดีจะตองถูกตองและสมบูรณ รวมท้ังเสนอความคิดเห็นท่ีเปนประโยชนตอผูอานและสังคม สว นรวม เชน 2.1.1 สารคดีประเภทชีวประวัติ เน้ือหาสาระจะตองตรงตอความเปนจริง ผูเขียน จะตองเขยี นดวยใจเปนธรรม ไมอ คตติ อ เจา ของประวัตินัน้ ๆ เนอ้ื หาจงึ ควรมีทง้ั สวนดแี ละสวนบกพรอ ง ของเจาของประวตั ิ 2.1.2 สารคดีประเภททองเท่ียว ควรมเี น้ือหาทีใ่ หท ้ังความรแู ละความบนั เทิงรวมท้ัง ประสบการณทแ่ี ปลกใหมนา สนใจ เพือ่ ใหผ ูอานไดท ราบขอเท็จจรงิ เก่ยี วกับสถานท่ีนั้น ๆ 2.1.3 สารคดีประเภทเชิงวิชาการ ควรมเี นอ้ื หาทใี่ หความรูอ ยา งถูกตองแมนยํา ควร มีภาพหรอื แผนท่ีประกอบใหถ ูกตอ งตรงกบั สาระของเร่ืองดว ย 2.2 พิจารณาวธิ ีการเขยี น วธิ กี ารเขียนสารคดพี ิจารณาไดจ ากหลักเกณฑต อ ไปนี้ 2.2.1 การวางโครงเรื่องและการดาํ เนินเรื่อง สารคดีตองมีวิธีการดาํ เนินเร่ือง ตามลําดับ 2.2.2 เราความสนใจ ขอเขยี นที่ดผี เู ขยี นจะมวี ิธีการเขียนที่จะดึงดูดความสนใจของ ผูอานใหตดิ ตามอา นไปเรือ่ ย ๆ โดยไมเ กดิ ความเบ่ือหนาย เชนการสอดแทรกความคดิ เหน็ หรือเหตุการณ ปจ จบุ ันทีน่ า สนใจหรอื การเลาตาํ นาน นทิ าน เกร็ดขําขันตาง ๆ เปนตน ตอนปดเร่ืองก็จบอยางซาบซึ้ง ประทบั ใจหรือใหข อ คิดอยางใดอยา งหน่ึง เพอื่ ใหผอู า นอยากติดตามอานตอ ไป 2.2.3 สํานวนภาษา ภาษาทใี่ ชใ นการเขยี นสารคดีเปน ถอยคาํ ภาษาท่ีไพเราะงดงาม มีสํานวนกะทดั รดั อา นเขา ใจงาย ไมใชสาํ นวนท่ไี มสุภาพ 2.2.4 สวนประกอบอน่ื ๆ ควรพิจารณาเก่ยี วกบั ผูแตง และสว นประกอบรปู เลม ของ หนังสือถาสารคดีน้ันเปนหนังสือเลม ซึ่งจะมีคําวา สารบัญ เนื้อเรื่อง บรรณานุกรม ฯลฯ ตามรูปแบบของหนงั สอื 3. บันเทิงคดี เปนหนังสือทีแ่ ตง เพื่อมงุ ใหผ อู า นเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน อาจจะแทรก วรรณคดี บทรอยกรอง บทละคร ซึ่งสามารถแตงเปนรอยแกวหรือรอยกรองก็ไดตามความเหมาะสม ในการพจิ ารณาเรอ่ื ง บนั เทิงคดี ควรพจิ ารณาในดานตา งๆ ดงั นี้ 3.1 โครงเรื่องและเน้ือเร่ืองสวนสาํ คัญของนวนิยายและเรื่องสั้นคือ การเลาเร่ือง โดยเลาวาเปน เรื่องของใคร เกิดขึน้ ที่ไหน เมื่อไร มีความสมั พันธระหวางเหตุการณตาง ๆ ในเร่อื งและ ระหวางบคุ คลในเรื่องเกยี่ วเนอื่ งกันไปโดยตลอด มกี ารสรางความสนใจใหผ อู า นอยากตดิ ตาม นอกจากนี้

ห น้ า | 41 เหตุการณทเ่ี กดิ ข้นึ ในเรือ่ งควรสมจริง และเปน ไปอยา งสมเหตสุ มผล และมีสวนประกอบปลีกยอ ยอืน่ ๆ เพื่อใหนาตดิ ตาม 3.2 การดําเนินเรื่อง สวนสําคัญที่ชวยใหเร่ืองนาสนใจชวนติดตามขึ้นอยูกับการดําเนิน เร่อื ง การดาํ เนนิ เรอื่ งมีอยูหลายวิธี เชน ดาํ เนนิ เร่อื งตามลาํ ดับวยั คือ เร่ิมต้งั แตตวั ละครเกิดจนกระทัง่ ถึง แกกรรมดําเนินเร่ืองยอนตน คือ เลาเหตุการณในตอนทายเสียกอน แลวยอนกลับไปเลาตั้งแตตน จนกระทั่งจบ เปนตน ฉากท่ีดีตองมีสภาพความเปนจริงท้ังสภาพภูมิศาสตรและประวัติศาสตร นอกจากนีย้ ังตอ งสอดคลอ งกบั เรือ่ งดวย 3.3 ตัวละคร ผูเขียนมีวิธีการแนะนําตัวละครไดหลายวิธี เชน ดวยการบรรยายรูปราง ลกั ษณะของตัวละครเอง ดวยการบรรยายพฤติกรรมของตัวละคร หรือดวยการใหตัวละครสนทนากัน เปนตน การบรรยายลักษณะนสิ ัยของตวั ละครท่ีดีน้นั ควรบรรยายอยา งสมจรงิ ตัวละครตัวหน่ึง ๆ จะมี ลักษณะนสิ ัยหลาย ๆ อยา ง ไมใ ชดจี นหาทต่ี มิ ไิ ด หรือเลวจนไมมคี วามดีที่จะใหช มเชย ความตองการของ ตัวละครท่ีดีควรจะเหมือนคนธรรมดาทั่ว ๆ ไป เชน มีความรัก ความโกรธ เกลียด หรือตองการความ สนใจจากผูอ ่ืน เปนตน 3.4 แนวคิดของเรอ่ื ง แนวคดิ ของเรอื่ งสวนมากผูเขยี นจะไมบอกตรงๆ ผูอา นจะตอ งคนหา เองวาไดแนวคิดอยางไร ตัวอยางเชน เรื่องลูกชายของศรีบูรพา ตองการแสดงวา “ลูกผูชายนั้น มีความหมายอยางไร” จดหมายจากเมืองไทยของโบตั๋นตองการใหเ หน็ ขอ ดีขอเสียของคนไทยโดยเฉพาะ “น้ําใจ” ซ่งึ ไมเหมอื นกันกับชาตอิ ่นื เปน ตน นวนิยายหรือเร่ืองส้ันที่ดีนั้น ผูอานตองพิจารณาคุณคาที่จะไดจากเรื่องน้ันๆ ไมทางใดก็ ทางหน่ึงดว ย 3.5 สาํ นวนภาษา เปนสิ่งสาํ คัญมากอยางหน่ึง ในการพิจารณาเลือกอานนวนิยายและ เร่ืองสั้นผูอานมักจะรูสึกวาตนเองชอบหรือไมชอบสํานวนของนักเขียนคนน้ันคนนี้ แตบางคนก็ไม สามารถบอกวาเพราะเหตุใด ส่ิงท่ีควรพิจารณาเก่ียวกับสาํ นวนภาษาคือสํานวนภาษาของตัวละคร ในบทสนทนา ตองสมจริงและเหมาะสมกับตวั ละคร ประโยคทแี่ ตกตางควรกะทดั รัด สละสลวย เขาใจ งา ย หากเปนประโยคยาวก็ควรเปน สํานวนทสี่ ามารถสรางอารมณ และความรสู ึกไดดี 4. วารสารและหนงั สือพิมพ หนงั สอื ประเภทน้ีคนทวั่ ไปไดอ า นบอยกวาหนังสอื ประเภทอ่ืนๆ ในการผลิตหนังสอื ประเภทนต้ี องแขงกับเวลา ดังนั้น โดยการพิจารณาหนังสือประเภทน้ีควรพิจารณา ดงั น้ี หนังสือพิมพ หนังสือพิมพเปนเครื่องมือส่ือสารที่จะกระจายขาวคราวเหตุการณตาง ๆ ไปท่วั ประเทศหรอื อาจทวั่ โลก โดยเฉพาะหนงั สอื พมิ พร ายวัน เปนเครื่องมอื สื่อสารทีเ่ สนอขาวท่นี า สนใจ ท่ีเกิดข้นึ ในแตล ะวนั ดังน้ันหัวใจของหนังสอื พิมพรายวันก็คือ “ขาว” การพิจารณาหนังสือพิมพรายวัน จึงควรพจิ ารณาเก่ียวกบั ขาววามสี วนในการชวยยกระดบั สังคมใหสูงข้ึนหรอื มีประโยชนต อ ชนหมมู าก

42 | ห น้ า หรือไม หากขา วนนั้ ไมเ ก่ยี วกับความเปนอยขู องคนหมมู าก หรือกระทบกระเทอื นตอ ประชาชนสวนใหญ เหตุการณเหลานั้นก็ไมควรนํามาเสนอในหนาหนังสือพิมพ ขาวที่ควรนําเสนอควรเปนขาวท่ีเก่ียวกับ การปกครอง การเมือง เศรษฐกจิ สังคม การศึกษา การอนามัย การประกอบอาชพี ฯลฯ เหตุการณท่ีไมสมควรนํามาเสนอเปนขาวอีกอยางหน่ึงก็คือเหตุการณท่ีอาจจะสงผลทําลาย ความมัน่ คงของชาติ หรือทําลายวัฒนธรรม และประเพณอี นั ดีงาม บทวิจารณ ในหนงั สอื พิมพรายวนั ทกุ ฉบบั จะมบี ทวิจารณ หรือบทวเิ คราะหข า ว ซงึ่ เปน ลกั ษณะ บทความ แสดงความคิดเห็นของผูเขียนเอง ประกอบกับขาวที่ตองการวิจารณ หรือวิเคราะหน้ัน การพจิ ารณาบทวจิ ารณในหนงั สอื พิมพ ควรพิจารณาถึงลักษณะตอ ไปนี้ 1. พิจารณาขอมูลท่ีผูเขยี นอา งอิงวาถกู ตองและมีขอเท็จจริงเพยี งใด 2. พจิ ารณาวาผูเขยี นบทความนนั้ ชีใ้ หเห็นปญ หาและวิธแี กปญ หาอยางไร 3. พจิ ารณาวา ผูเขยี นบทวจิ ารณใ ชอารมณ และนาํ ความรสู ึกสวนตวั เขาไปเกย่ี วขอ งหรือไม 4. พิจารณาภาษาทใี่ ชวา มคี วามประณีตและถูกตอ งตามหลกั ภาษาเพยี งใด วารสาร เปนหนังสือพิมพจําหนายตามกําหนดระยะเวลา เชน 7 วัน 10 วัน รายเดือน ราย 3 เดือน หรือรายป เปนตน หนังสือวารสารจึงมีเนื้อหาเนนท้ังสารคดี และบันเทิงคดี ขาวสารที่ ปรากฏมกั เปนขาวสารทมี่ รี ะยะเวลาตอ เนือ่ งกันเปน เวลานาน เชน ขา วเกีย่ วกบั นโยบายโครงการตาง ๆ หรอื ขาวเกี่ยวกับการเมืองบางเรอ่ื ง เปน ตน ดังนน้ั การอา นวารสาร จงึ ควรพิจารณาเลือกอานเรื่องที่เราสนใจ และควรพยายามอานอยาง สม่าํ เสมอ นอกจากพิจารณาเก่ียวกับขาวสารดังกลาวแลว สิ่งที่ควรพิจารณาอีกอยางหน่ึงคือรูปเลม ควรพจิ ารณาความเรยี บรอ ยและความคงทนของการจดั รูปเลม ใหเหมาะสมกับราคาดวย ประโยชนข องการเลอื กหนงั สอื การเลือกหนังสือควรคํานึงถงึ ประโยชนทจี่ ะไดร บั ดงั ตอไปน้ี 1. เพ่อื ใหไ ดห นงั สอื ท่ตี รงกบั ความสนใจ และตองการท่ีจะศกึ ษาคน ควา 2. เพ่ือใหไ ดอ า นหนังสือทดี่ มี ปี ระโยชนตอชีวิต 3. เพื่อเลอื กหนงั สือใหเ หมาะสมกบั เวลา 1. การเลอื กหนังสือท่ีตรงกบั ความสนใจ และตอ งการท่ีจะศึกษาคนควา ผูที่จะเลือกอานหนังสือประเภทนี้ก็คือ ผูท่ีมีความสนใจหนังสือเลมน้ันโดยตรง หรือผูท่ี มีความตองการศึกษาคนควา เร่ืองนั้น ๆ โดยเฉพาะ เชน ผูศึกษาคนควาตามแนวทางท่ีตนไดเ รียนมา ผูทเี่ รียนทางดา นภาษาก็จะคน ควาทางดานน้ี เพอื่ จะไดรบั ประโยชนจากการอา นอยางคมุ คา

ห น้ า | 43 2. เพ่อื ใหไดอ า นหนงั สอื ท่ีดมี ปี ระโยชนตอ ชวี ิต ผูที่อานหนังสือทุกคนยอมหวังท่ีจะไดรับประโยชนจากการอาน เชน ขอคิดเห็น ความรู ทางวิชาการ ขาวที่ทันเหตุการณ แนวทางดําเนินชีวิตท่ีดี ฯลฯ แมวาจะไดรับประโยชนเพียงเล็กนอย กต็ าม เพราะการท่ไี ดร ับประโยชนโ ดยตรงจากการอานน้ียอมทาํ ใหไมเ สียเวลาโดยเปลาประโยชน 3. เพ่ือเลอื กหนังสือใหเ หมาะสมกบั เวลา การอานหนังสือนั้นจะเสียเวลามากหรือนอยยอมแลวแตเร่ืองที่อานวามีขนาดส้ัน ยาว แคไ หน มคี วามยากงายตอการอา นมากนอ ยเพียงใด ถาหากมเี วลานอ ยควรอา นเรอื่ งสั้นท่จี บไดท นั เวลา ทม่ี ีอยู ถา มเี วลามากก็อา นเรอ่ื งยาวข้ึนโดยเลอื กใหเ หมาะสมกบั เวลา เพราะการอานหนงั สอื นั้น หากไม เลอื กใหเหมาะสมกบั เวลาอาจทาํ ใหผ ูอา นรสู ึกเบอื่ และไมอยากอา นอกี ตอไป ประโยชนที่ไดรับจากการอา นหนังสือ การอา นหนงั สือยอมไดร บั ประโยชนหลายประการ ซ่ึงพอจะสรุปไดด ังนี้ 1. อา นหนังสือตรงกับความตองการของตน 2. ไดร ับความรจู ากเรอ่ื งน้ันสมความตงั้ ใจ 3. ทําใหร กั การอานมากยง่ิ ข้นึ เพราะไดอ า นหนงั สือทตี่ นเลือกเอง 4. ชวยพฒั นาอาชพี ใหก าวหนา 5. ชวยใหเ กิดความคดิ สรางสรรค 6. ทาํ ใหเ กิดความเพลิดเพลนิ สนกุ สนาน 7. ทาํ ใหท ราบความเปน ไปของบานเมือง ทันโลก ทันเหตุการณ 8. เพิม่ พูนความรูความสามารถ เปนการพัฒนาตนเอง 9. ไดอา นหนังสอื ทีม่ คี ณุ คา คุม กบั เวลาที่เสียไป ส่ือสารสนเทศ ปจจบุ ันไดมกี ารนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนทางการศึกษา ท้ังในดานการบริหาร การจัดการและการเรียนรูดานสอ่ื อเิ ลก็ ทรอนิกส เปนการใชประโยชนจ ากแหลงความรูจากส่ือตาง ๆ ทห่ี ลากหลายมากขึ้น เพือ่ ใหป ระชาชนสามารถเรยี นรูและพฒั นาตนเองไดอยางตอเนอื่ ง สื่อสารสนเทศมีทัง้ สอ่ื ส่ิงพิมพ และสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส สอ่ื สงิ่ พิมพ ส่ิงพิมพท่ีจัดพิมพข้ึนเพ่ือนําไปใชในการจัดการเรียนการสอน เชน หนังสือเรียน ตําราเรียน แบบเรียน แบบฝกหัด ใบงาน คูมือการสอนและสงเสริมการเรียนรู เชน หนังสือสงเสริมความรู สารานกุ รม พจนานกุ รม หนังสือพิมพ หนังสือบันเทิงคดี และสารคดีท่ีมีเน้ือหาเปนประโยชน สวนส่ือ ส่ิงพิมพที่ใหความรูขาวสารตางๆ เชน หนังสือเลม หนังสือพิมพ วารสาร นิตยสาร เอกสาร จุลสาร แผนพบั แผน เปลา เปน ตน

44 | ห น้ า สอ่ื อิเลก็ ทรอนกิ ส สังคมยุคปจจุบัน การส่ือสารดวยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกสมีใชกันอยางกวางขวางท่ัวประเทศ การใชสื่ออิเล็กทรอนิกสในสังคมยุคโลกาภิวัตนเปนเร่ืองจําเปน เพราะชวยใหประชาชนเขาถึงขอมูล ขาวสารความรูตาง ๆ ไดอยางรวดเร็ว อันเปนการสงเสริมสรางโอกาสในการเขาถึงการศึกษาของ ประชาชน ใหสามารถเรยี นไดอยางตอเนือ่ งตลอดชีวติ สอ่ื อเิ ล็กทรอนิกส ไดแ ก วิทยุ โทรทศั น เทปเสียง วีดิทัศน โปรแกรมคอมพิวเตอรซอฟตแ วรในรปู แบบตา ง ๆ คอมพิวเตอรชว ยสอน เปน ตน 1. วทิ ยุ เปนสอื่ มวลชนท่ใี ชเสียงเปน สื่อ เร่ืองราวที่สื่อสารมีท้งั เร่อื งท่ีใหความบันเทิงและเร่ือง ท่ีใหสาระความรู เชน ขาว บทความ รายการตอบปญหา สัมภาษณบุคคลสําคัญ รายการวิทยุ เพอ่ื การศึกษา เปน ตน 2. โทรทัศน เปนสื่อมวลชนท่ีใชท้ังเสียงและภาพเปนสื่อ การชมรายการทางโทรทัศน นอกจากเราจะสมั ผสั ดวยหแู ลว ยังสัมผัสไดด วยตาอีกดว ย รายการโทรทัศนจงึ นา สนใจกวารายการวิทยุ และทําใหผูช มต่ืนตัวอยตู ลอดเวลา จึงประทับใจหรอื จดจาํ ไดดกี วารายการวทิ ยุ รายการตา ง ๆ ทางโทรทัศนไมต างกับรายการทางวิทยุ คือ มีทั้งรายการที่ใหความบันเทิงและ รายการท่ใี หทัง้ ขอ มูล ขาวสาร และความรทู ่ีทนั สมยั ทนั เหตกุ ารณ รวมท้ังใหค วามบันเทิง เชน รายการ ขาวท้ังในประเทศและตางประเทศ รายการโทรทัศนเพ่ือการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยรามคําแหง รายการสัมภาษณบุคคลสําคัญ รายการ รัฐบาลพบประชาชน รายการทดสอบเชาวน ความจํา และอน่ื ๆ 3. คอมพิวเตอรช วยสอน เปน สอ่ื ทผ่ี เู รียนสามารถนาํ ไปศกึ ษาดว ยตนเองในเวลาและสถานท่ี ที่ผูเรียนสะดวก ทําใหมีความเปนอิสระและเปนสวนตัวในการเรียนรู สามารถโตตอบหรือให ผลยอ นกลับไดทนั ที ทาํ ใหผ ูเ รยี นทราบความกา วหนาในการเรียนของตนซึ่งหากไมเขาใจก็ยอนกลับไป ทบทวนไดหลาย ๆ ดา น ทําใหผ ูเรยี นไดพฒั นาความรตู ามความพรอมและศักยภาพของตน 4. อนิ เตอรเนต็ (Internet) หรอื เทคโนโลยีเครือขา ยเปนการเช่อื มโยงแหลง ขอ มลู จากท่ัวโลก ท่ีหลากหลายคลายกับ “หองสมุดโลก” ใหผูเรียนไดคนควาเนื้อหาสาระท่ีตองการไดอยางสะดวก รวดเรว็ และราคาประหยดั เร่ืองท่ี 3 การอานจบั ใจความสาํ คัญ การอา นจะเกดิ ประโยชนสงู สดุ แกผูอานไดน้ัน ผูอานจะตองจับใจความสําคัญของเร่ืองที่อาน ใหไ ดแลว นาํ ไปปฏบิ ตั ิ ใจความสําคญั หมายถึง ขอความทีเ่ ปน แกนหรือหวั ใจของเรอ่ื ง การจับใจความสําคัญในการอานก็คือ กรณีเอาขอความหรือประโยคที่เปนหัวใจของเรื่องน้ัน ออกมาใหได เพราะใจความสําคัญของเรือ่ งจะเปนใจความหลักของแตละบทแตละตอน หรอื แตละเรือ่ ง

ห น้ า | 45 ใหร วู าแตล ะบทตอนน้นั กลา วถงึ เรอ่ื งอะไรเปนสาํ คญั ดังนั้น การจับใจความสําคญั ของเร่ือง ที่อานจะทํา ใหม ีความเขา ใจในเร่อื งนนั้ ๆ อยา งแจมแจง หลักการอานจบั ใจความ 1. การเขาใจความหมาย หลักเบ้ืองตนในการจับใจความของสาระท่ีอาน คือ การเขาใจความหมาย ความหมาย มีหลายระดับนับตั้งแตระดับคํา สํานวน ประโยค และขอความ คําและสํานวนเปนระดับภาษาที่ตอง ทําความเขาใจเปน อนั ดับแรก เพราะนาํ ไปสคู วามเขา ใจความหมายของประโยคและขอ ความ 1.1 ความหมายของคํา ความหมายของคําโดยทั่วไปมี 2 อยาง คือ ความหมายโดยตรง และความหมาย โดยนยั ก. ความหมายโดยตรง เปนความหมายตามรูปคําท่ีกําหนดข้ึน และรับรูไดเขาใจ ตรงกนั ความหมายประเภทนเ้ี ปนความหมายหลักทีใ่ ชสื่อสารทําความเขา ใจกัน คําท่ีมีความหมายโดยตรงในภาษาไทยมีลักษณะอยางหน่ึงท่ีอาจเปนอุปสรรค ในการสื่อสารลักษณะดังกลาว คือ การพองคํา คําพองในภาษาไทยมีอยู 3 อยาง ไดแก คําพองรูป คําพอ งเสยี ง และคําพองรูปพอ งเสยี ง คําท่พี อ งท้งั 3 ลักษณะนีม้ ีความหมายตา งกัน คาํ พอ งรูป คือ คําท่ีสะกดเหมือนกัน แตออกเสียงตาง เชน เพลารถ กับ เพลาเย็น คําแรก ออกเสยี ง เพลา คําหลังออกเสียง เพ ลา คําพองรปู เปน อุปสรรคตอการอานและทําความเขาใจ คําพองเสียง คือ คําที่ออกเสียงเหมือนกัน แตสะกดตางกัน เชน การ กาน กานต กานท กาล กาฬ กาญจน ทัง้ หมดนี้ออกเสียง “กาน” เหมือนกัน การพอ งเสยี งเปน อปุ สรรคตอการอาน เพ่ือความเขา ใจ คาํ พองรปู พองเสยี ง คือคาํ ท่ีสะกดเหมือนกนั และออกเสียงอยางเดียวกัน โดยรูปคํา จะเห็นวา เปนคําเดียวกนั แตมคี วามหมายแตกตางกัน ดงั ตัวอยา งตอไปนี้ ขัน หมายถงึ การทาํ ใหแนน ขนั หมายถงึ ภาชนะตกั นา้ํ ขนั หมายถึง ความรสู ึกชอบใจ ขัน หมายถงึ การสงเสียงรอ งของไกต ัวผู ขัน หมายถงึ การรับ ฯลฯ

46 | ห น้ า คําพองรปู พองเสียงเปนอุปสรรคตอการฟงและอานเพ่ือความเขาใจ วิธีที่จะชวยใหเขาใจ ความหมายของคําพอง จะตองดูคาํ ขางเคียงหรือคําที่ประกอบกันในประโยค หรือขอความน้ัน ท่ีเรยี กวา บรบิ ท ดงั ตัวอยางตอไปน้ี ขันชะเนาะใหแ นน หยิบขันใหท ซี ิ เขารูสกึ ขนั ไกข ันแตเ ชามืด เขาขันอาสาจะไปตดิ ตอให นอกจากดูคําขางเคียง หรือคําประกอบในประโยคแลว บางที่ตองอาศัยสถานการณ เชน ประโยคท่วี า “ทําไมตอ งดูกนั ” คาํ วา “ดู” ในสถานการณท่ัวไป หมายถึง การมอง แตในสถานการณเฉพาะเชนการสอบดู จะมคี วามหมายวา ลอกกัน เอาอยางกัน ในบทรอ ยกรอง ตองอาศยั ฉนั ทลักษณ เชน สมั ผสั เปน ตน ตัวอยางเชน อยา หวงแหนจอกแหนใหแ กเ รา แหน แ หน พอลมเพลาก็เพลาสายัณห เพลา เพ ลา คําที่ความหมายโดยตรงไดแก คําศัพท คําศัพทคือ คําท่ีตองแปลความ เปนคําไทยท่ีมาจาก ภาษาอ่ืน สันสกฤต เขมร เปนตน เชน สมโภช รโหฐาน สุคติ โสดาบัน บุคคล จตุราบาย เปนตน รวมท้ังศัพทบัญญัติทั้งหลายท่ีใชในวงวิชาการหรือกิจบางอยาง เชน มโนทัศน เจตคติ กรมธรรม เปนตน คาํ ศัพทดังกลาวน้ีจําเปนตองศึกษาวามีมูลมาอยางไร ประกอบขึ้นอยางไร และมีความหมาย อยางไร ข. ความหมายโดยนัย เปนความหมายท่ีส่ือหรือนําความคิดใหเกี่ยวโยงถึงบางส่ิง บางอยา งที่มีลกั ษณะหรือคุณสมบัติเหมือนกับคําท่ีมีความหมายโดยตรง บางทานเรียกวา ความหมาย รอง หรือความหมายแฝง ความหมายโดยนยั มีหลายลกั ษณะ กลาวคอื มีความหมายเปน เชิงเปรยี บเทยี บ เชน เปรียบเทียบโดยอาศยั นยั ของความหมายของคาํ เดิม ตวั อยางเชน เธอมใี บหนา ยมิ้ แยม แจมใส เขาทาํ งานเอาหนา หมายถงึ ทํางานเพ่ือผลประโยชนข องตน เดก็ สาดโคลนกนั เลอะเทอะ เขาสาดโคลนคณุ พอ หมายถงึ ใสร า ย ตน ไมต นนเ้ี ปลือกสวย หลอ นรวยแตเปลือก หมายถงึ ไมร าํ่ รวยจรงิ

ห น้ า | 47 มกี ารเปรียบเทยี บกบั คุณสมบัตขิ องสงิ่ ทน่ี ํามากลาว เชน เขาเปนสงิ หสนาม หมายถงึ เปน คนเลนกฬี าเกง 1.2 ความหมายของสาํ นวน สาํ นวนเปนขอความที่มีความหมายพิเศษไปจากคําที่ประกอบอยูในขอความนั้น ไมไดมีความหมายตามรูปคํา ความหมายของสาํ นวนมีลักษณะเปนเชิงเปรียบเทียบโดยอาศัยนัยของ ความหมายตามลักษณะหรือคณุ สมบตั ขิ องขอ ความน้ัน เชน ออ ยเขาปากชาง หมายถงึ ของตกไปอยใู นมือผูอ่นื แลว ไมมที างไดคืน ไกแกแมปลาชอน หมายถึง ผูทีม่ คี วามจดั จานเจนสงั เวยี น วัวหายลอ มคอก หมายถงึ เม่อื เกิดความเสยี หายแลว จงึ หาทางปองกัน กนิ ขาวตม กระโจมกลาง หมายถึง การพูดถึงสิง่ สดุ วิสยั ทีจ่ ะทําได สวนตาง ๆ ที่นาํ ไปกลาวเปรียบเทียบใหเขากับสถานการณ เรียกวา คาํ พังเพย เชน เมื่อของหายแลวจงึ คิดหาทางปอ งกนั กเ็ ปรยี บวา วัวหายลอมคอก เปนตน ความหมายของสํานวนมีลักษณะเหมือนความหมายโดยนัย คือ ตองตีความ หรือ แปล ความหมายตามนยั ของคาํ หรอื ขอความน้นั ๆ 2. การเขาใจลกั ษณะของขอ ความ ขอความแตล ะขอความตอ งมีใจความอนั เปน จุดสาํ คัญของเรื่อง ใจความของเรือ่ งจะปรากฏ ท่ีประโยคสําคญั เรยี กวา ประโยคใจความ ประโยคใจความจะปรากฏอยูในตอนใดของขอความกไ็ ด โดย ปกตจิ ะปรากฏในตอนตา ง ๆ ดังนี้ ปรากฏอยใู นตอนตนของขอ ความ ตัวอยางเชน “ภยั อนั ตรายทจี่ ะเปน เครื่องทําลายชาตอิ าจเกดิ ขนึ้ และมีมาไดท้ังแตภายนอก ทั้งท่ีภายใน อนั ตรายท่ีจะมีมาตงั้ แตภายนอกนนั้ กค็ ือ ขา ศึกศตั รยู กมายํ่ายีตีบานตีเมืองเรา การที่ขาศึกศัตรูจะมาตี นั้น เขายอ มจะเลอื กหาเวลาใดเวลาหนึง่ ซง่ึ ชาตกิ าํ ลงั ออ นแอและมไิ ดเตรยี มตวั ไวพรอ ม เพือ่ ตอสปู องกัน ตน เพราะฉะน้ันในบทที่ 2 ขาพเจาจึงไดเตือนทานท้ังหลายอยาไดเผลอตัว แตขอสําคัญท่ีสุดเปน เครื่องทอนกําลังและเสียหลักความมั่นคงของชาติ คือ ความไมสงบภายในชาติน้ันเอง จึงควรอธิบาย ความขอนสี้ ักหนอ ย (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจา อยูห วั ปลุกใจเสอื ปา ) ปรากฏอยใู นตอนกลางของขอความ ตวั อยา งเชน “อันความรัก ความชงั ความโกรธ ความกลวั ความขบขนั เหลา นเี้ ปน สามญั ลักษณะของปุถชุ น ใครหวั เราะไมเ ปน ย้มิ ไมอ อก ก็ออกจะพกิ ลอยู คนสละความรักความชงั ไดก็มีแตพระอรหันต อารมณ ความรูส ึกดังน้เี ปน ธรรมชาตขิ องมนุษย กวีและนกั ประพนั ธย อ มจะแตง เรื่องยัว่ เยาอารมณ ความรสู ึก

48 | ห น้ า เหลานี้ และถาเขาแตงเปน แตงดี ก็จะปลุกอารมณของผูอานผูฟงใหเกิดขึ้น ทานคงจะเคยเห็นคน อานเรอ่ื งโศกจบั ใจจนนา้ํ ตาไหล สงสารตวั นางเอก พระเอก อา นเรื่องขบขันจนหัวเราะทองคัดทองแข็ง ท้ัง ๆ ท่ีรูวามันเปนเร่ืองอานเลน และคนท่ีอานก็ไมไดมีสวนเสียอะไรกับตัวนาง ก็พลอยโศกเศราไป ดว ยได อยา งไรก็ดีความเศรา ของอารมณอ นั เกดิ จากความยั่วเยาของศิลปะวรรณคดี ตลอดจนนาฏกรรม ตา ง ๆ นั้น เปนความสุขชนดิ หนึ่ง มฉิ ะนน้ั เรื่องทาํ นองโศกนาฏกรรมคงจะไมมใี ครดูเลย” (นายตาํ รา ณ เมืองใต ภาษาและวรรณคดี) ปรากฏใจความอยูทา ยยอ หนา ตวั อยา งเชน “ทานกลาววา คนเปนสัตวท่ีเรียนรูคือ รูดู เห็นอะไรแลวเม่ือเห็นวาดีก็เอาไว ถาเห็นวาไมดี ก็ไมเอาและหลีกเล่ยี ง เดก็ รูรสหวาน กอ็ ยากไดอ ีก ถา รูรสขมของบอระเพ็ด หรือเมื่อถูกไฟก็รูสึกรอนจะ ไมตองการกินบอระเพ็ดหรือเขาใกลไฟอีก นี่เปนเรื่องของการผานพบเคยรูเคยเห็นเรื่องนี้ ตอ ๆ มา หลาย ๆ ครั้ง เกดิ ความชํานาญชดั เจนขึ้น โลกมคี วามเจรญิ กาวหนา เรอื่ งวัฒนธรรมก็เพราะการผานพบ และ การจัดเจนของมนุษย (เสถียรโกเศศ ชวี ติ ชาวไทยสมยั กอนและการศึกษาเรือ่ งประเพณไี ทย) ประโยคใจความอยูตอนตนและตอนทายของขอ ความ ตวั อยา งเชน “คนไทยนัน้ ถอื วาบา นเปนส่ิงจําเปนตอชีวิตต้ังแตเกิดไปจนตาย เพราะคนไทยโบราณน้ันใช บา นเปน ทีเ่ กดิ การคลอดลกู จะกระทาํ กันทบี่ า นโดยมหี มอพืน้ บา นเรยี กวา หมอตาํ แย เปนผูทําคลอด มไิ ด ใชโรงพยาบาลหรือสถานผดุงครรภอยางในปจ จบุ นั น้ี และท่ีสดุ ของชีวติ เมอ่ื มกี ารตายเกิดขึ้น คนไทยกจ็ ะ เก็บศพของผูตายท่เี ปนสมาชิกของบา นไวใ นบา นกอ นท่จี ะทําพิธีเผา เพ่อื ทําบญุ สวดและเปนการใกลชิด กับผูตายเปนคร้ังสุดทา ย ดงั น้นั บานจึงเปนที่ที่คนไทยใชชีวิตอยูเกือบตลอดเวลาต้ังแตเกิดจนตาย” (วบิ ูลย ลี้สุวรรณ “บา นไทย” ศลิ ปะชาวบา น) การเขาใจถงึ การปรากฏของประโยคใจความในตอนตาง ๆ ของขอ ความดงั ทก่ี ลา วแลว จะชวย ใหจับใจความไดด ยี ิง่ ข้ึน 3. การเขา ใจลกั ษณะประโยคใจความ เมื่อเขาใจถึงลักษณะของขอความวาตองมีประโยคใจความ และปรากฎอยูในตอนตาง ๆ ของขอความแลว ตองเขาใจตอ ไปวาประโยคใจความเปนอยา งไร ประโยคใจความคือขอความที่เปนความคิดหลักของหัวขอ หรือเรื่องของขอความนั้น ตัวอยา งเชน หัวขอ บาน ความคิดหลัก บา นเปนที่อยอู าศยั หัวขอ ราชสหี  ความคดิ หลกั ราชสีหไ ดชอ่ื วา เปน เจาปาในบรรดาสัตวท งั้ หลาย

ห น้ า | 49 ความคดิ หลกั นี้ คือประโยคใจความท่จี ะปรากฏในตอนใดตอนหน่งึ ของขอ ความที่กลาวแลว ฉะน้ันการท่ีจะทราบวาประโยคใดเปน ประโยคใจความ ตอ งพิจารณาจากหัวเร่ือง ประโยคใจความมักมี เนอื้ หาสอดคลองกับหวั เรื่อง ในกรณที ่ไี มทราบหวั ขอเรอ่ื ง ตอ งเขาใจวาสวนที่เปนประโยคใจความนั้นจะมเี น้ือความหลกั ของเนอ้ื ความอนื่ ทีป่ ระกอบกนั ข้ึนเปนหวั ขอน้ัน ถาขาดสวนที่เปนใจความ เน้ือความอื่นก็เกิดขึ้นไมได หรือความหมายออ นลง การอา นอยางวเิ คราะห การอานอยางวิเคราะห หมายถึง การอานท่ีมีการพิจารณาแยกรายละเอียดออกเปนสวน ๆ เพ่ือทาํ ความเขาใจ และใหเหน็ ถึงความสมั พันธร ะหวางสว นตา ง ๆ เหลานัน้ การอานอยา งวิเคราะหเริ่มตนจากพื้นฐานขอมูลและความคิดจากการอานเองเปนอันดับแรก เพ่อื ใหเ ขา ใจเนือ้ เร่ืองโดยตลอด ตอจากนั้นจึงแยกเรื่องในบทอานออกเปนสวน ๆ ไดรูวา ใครทําอะไร เพ่ืออะไร อยางไร ในเร่ืองมีใครบาง หรือตัวละครก่ีตัว และที่มีบทบาทสําคัญมีกี่ตัว ทําไมเหตุการณ จึงเปน อยา งนน้ั หรือเพราะเหตุใด ตอ ไปนาจะเปน อยางไร ตอไปนี้จะนํานทิ านเรอ่ื ง “กระตา ยบนดวงจนั ทร” มาเลาใหฟง นทิ านเร่ือง กระตายบนดวงจันทร กาลคร้ังหนง่ึ มีกระตา ย ลิง นกน้ํา และสนุ ัขจิง้ จอก สาบานรวมกันวาจะไมฆาสัตวตัดชีวิต และ บําเพ็ญตนเปนฤๅษีอยูในปา พระอินทรขอทดสอบในศรัทธาของสัตวทั้งสี่ จึงปลอมตัวเปนพราหมณ เทย่ี วขอบริจาคทานโดยไปขอจากลงิ เปน ตัวแรก ลงิ มอบมะมวงให จากนน้ั พราหมณไ ปขอทานจากนกนํ้า นกน้ําถวายปลาซึง่ มาเกยตนื้ อยรู มิ ฝงแมน้ํา สวนสนุ ัขจิง้ จอกก็ถวายนมหมอหน่ึงกบั ผลไมแ หง เมือ่ พราหมณไปขอบริจาคทานจากกระตาย กระตายพูดกับพราหมณวา “ขากินแตหญาเปน อาหารหญากไ็ มม ีประโยชนใด ๆ กบั ทา นเลย” พราหมณจ งึ เอย ขน้ึ วา ถากระตายบําเพ็ญพรตเปนฤๅษีที่ แทจ รงิ ขอใหสละชีวิตของตนเปนอาหารแกพราหมณ กระตายตอบตกลงทันทีและทําตามท่ีพราหมณ ขอรอ งวา ใหกระโดดลงกองไฟแดง พราหมณจะไมลงมือฆาและปรงุ กระตายเปนอาหาร กระตายปนขึ้น ยืนบนกอนหินและกระโดดลงกองไฟ ในขณะที่กระตายกําลังจะตกสูเปลวไฟนั้น พราหมณไดควา กระตายไว แลว เปด เผยตัวตนท่แี ทจ รงิ วา คือใคร แลวพระอินทรก็นํากระตายไปไวบ นดวงจันทร (จากนติ ยสารสารคดี ฉบบั ที่ 147 ปท่ี 13 หนา 30) เม่อื อา นเรื่องนี้อยางวเิ คราะหกจ็ ะตองใหความคดิ ติดตามประเดน็ ตางๆ ตวั ละครในนทิ านเรื่องน้ี มใี ครบาง มีลกั ษณะนิสยั อยางไร ตัวละครแตละตัวไดกระทําส่ิงใดบาง ทําอยางไร ผลของการกระทํา เปนอยางไร ทําไมสัตวท้งั 4 จงึ สาบานรวมกนั วาจะไมฆา สัตวและบําเพญ็ ตนเปนฤๅษีอยูในปา เพราะเหตุใด สัตวทั้ง 4 จึงบริจาคทานไมเหมือนกัน ทําไมพราหมณจึงนํากระตายไปไวบนดวงจันทรเพียงตัวเดียว หากพระอินทรน าํ สตั วท ัง้ 4 ไปไวบนดวงจนั ทรเ ราจะเห็นรปู ของสัตวท้งั 4 บนดวงจนั ทรท ้งั หมดหรอื ไม

50 | ห น้ า เร่อื งที่ 4 มารยาทในการอา น และนสิ ัยรักการอา น การอา นอยางมมี ารยาทเปนเรือ่ งทจี่ าํ เปนและสําคญั เพราะการอา นอยางมีมารยาทเปน เรอื่ ง การประพฤติปฏบิ ัตอิ ยางมีวินยั และรบั ผดิ ชอบ รวมทัง้ การมจี ิตสาํ นึกและแสดงถึงความเจรญิ ทางดาน จิตใจท่คี วรยึดถอื ใหเปนนิสยั มารยาทในการอาน คําวา มารยาท หมายถึง กิริยา วาจาท่ีเรียบรอย หรือการกระทําท่ีดีงาม ผูอานที่ดีตองมี มารยาทท่ดี ีในการอา นดงั ตอไปนี้ 1. ไมสงเสยี งดังรบกวนผอู ื่น 2. ไมท าํ ลายหนังสอื โดยการ ขูด ลบ ขดี ทบั หรอื ฉีกสว นท่ีตอ งการ 3. เม่ือคัดลอกเนื้อหาเพ่ืออางอิงในขอเขียนของตน ตองอางอิงแหลงท่ีมาใหถูกตองตาม หลกั การเขียนอางอิงโดยเฉพาะงานเขยี นเชิงวิชาการ 4. เมอ่ื อา นหนงั สอื เสร็จแลวควรเก็บหนงั สือไวทีเ่ ดมิ 5. ไมค วรอา นเร่ืองทีเ่ ปนสว นตัวของผอู นื่ 6. อา นอยางตั้งใจ และมสี มาธิ รวมทั้งไมทําลายสมาธผิ อู ่ืน 7. ไมใชส ถานทีอ่ า นหนังสอื ทํากิจกรรมอยา งอ่ืน เชน นอนหลับ รบั ประทานอาหาร นสิ ัยรักการอา น การทบี่ คุ คลใดบุคคลหนงึ่ จะมีนสิ ัยรกั การอา นไดจะตอ งไดร บั การฝก ฝนมาตง้ั แตเ ดก็ ๆ แตก ม็ ใิ ช วาเม่ือโตเปนผูใหญแลวจะไมสามารถสรางนิสัยรักการอานได ทั้งน้ีเราจะตองสรางบรรยากาศ สภาพแวดลอ มทเ่ี อือ้ ใหเ ดก็ ๆ หันมาสนใจการอานดงั นี้ 1. อานหนังสอื ทีต่ นเองชอบ จะทาํ ใหอ า นไดอ ยา งตอ เนอ่ื ง และไมเบอื่ หนา ย 2. ทาํ ตนใหเ ปนผูใฝรู 3. การอานจะตอ งมีสมาธเิ พื่อจับใจความของเรื่องทอี่ า นได 4. เรม่ิ อานหนังสอื จากระยะเวลาส้นั ๆ กอน แลว คอ ย ๆ กาํ หนดเวลาเพม่ิ ขนึ้ 5. การอานจะตอ งมสี มาธเิ พ่อื จับใจความของเรอ่ื งท่อี านได 6. จดั ตารางเวลาสําหรบั การอานหนงั สือเปน ประจําทุกวนั ใหเ กิดความเคยชินจนเกิดเปนนิสัย รักการอาน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook