Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความปลอดภัย เด้อ

ความปลอดภัย เด้อ

Published by apichat05082516, 2018-05-01 03:43:28

Description: group1

Search

Read the Text Version

ความปลอดภัยในงานวิศวกรรม ประธานคณะทาํ งาน นายพิพฒั น นพทปี กงั วาล คณะทํางาน นายอคั รพงษ นวลออน นายดาํ รงค เปรมสวัสดิ์ นายพัทธพงษ อางทอง 1-1

หมวดท่ี 1การบรหิ ารความปลอดภัย ในงานวิศวกรรม 1-2

บทท่ี 1 วศิ วกรรมความปลอดภัย ความรูพ้ืนฐาน โดยทางทฤษฎีแลวความปลอดภัยในการทํางานจะถูกจัดใหมีขึ้นโดยอาศัยหลักพ้ืนฐาน 3 ประการ หรือที่เรียกวา 3 E คือ Engineering หลักการทางดานวิศวกรรมEducation หลักการศึกษาอบรม และ Enforcement หลักการบังคับใหเปนไปตามระเบียบขอ บังคบั ขององคก รและบานเมือง ทุกประเทศที่มีการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมที่กาวหนาแลว จะมีสมาคมวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมความปลอดภัยโดยเฉพาะเชน American Society of Safety Engineersในสหรัฐอเมริกา และ Institute of Safety Engineers ในสหราชอาณาจักร เปนตน สําหรับการผลิตบุคลากรดานความปลอดภัยในสหรัฐอเมริกา มีการเรียนการสอนเรื่องวิศวกรรมความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยประมาณ 30 แหง ซ่ึงก็ไดมีการสอนจนถึงระดับปริญญาเอกอยูหลายแหงและผูประกอบอาชีพในสหรัฐอเมริกาก็ควรจะไดรับประกาศนียบัตร CSE(Certified Safety Engineer) จาก American Society of Safety Engineers กอน สวนในทวีปยุโรป เชน สหราชอาณาจักร ผูท่ีเปนวิศวกรความปลอดภัยจะตองเปนผูที่ผานการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ดานใดดานหน่ึงกอนเปนระยะเวลาประมาณ 5 ป แลวมาขอรับการอบรมดา นวิศวกรรมความปลอดภยั เพิ่มเติม จึงจะเปนวศิ วกรรมความปลอดภัยโดยสมบูรณไ ดวิศวกรคอื ใคร สมัชชาเพ่ือการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมแหงสหรัฐอเมริกา (Engineering Council forProfessional Development) ไดสรุปความเห็นรวมกันของผูประกอบอาชีพวิศวกรรมจากนานาชาติ เมอ่ื ป ค.ศ. 1949 วา “An engineer is characterized by his ability to apply creatively scientific principlesto design and develop Structures, machines apparatus for manufacturing processes, orworks utilizing them singly or in combination; or to forecast their behaviors underseparation and safety to life and proper” (อา งจาก โกวทิ ศตวุฒิ , 2529) จากขอความดังกลาวขางตนจะเห็นไดชัดเจนวาการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมนั้นนอกจากจะตองมีความรูพื้นฐานทางดานวิศวกรรมแลว ยังตองคํานึงถึงองคประกอบดานการประหยัดและความปลอดภยั เปนสาระสําคญั อกี ดว ย หนวยงานราชการที่มีบทบาทเกี่ยวของกับความปลอดภัยไดแก กองตรวจความปลอดภัย (Safety Inspection Division) และสถาบันความปลอดภัยในการทํางานแหงชาติ(National Institute for Improvement of working Conditions and Environment, NICE) 1-3

กรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน จัดต้ังขึ้นเม่ือ ป พ.ศ. 2525 มีหนาท่ีในการสง เสริมพัฒนา ตรวจสอบและกํากบั ดูแลความปลอดภัยในการทาํ งานใหเปนไปตามกฎหมายความปลอดภัยและมาตรฐานสากล กําหนดคณะกรรมการการปองกันอุบัติภัยแหงชาติ(National Safety Council of Thailand , NSCT) ท่ีไดจัดต้ังข้ึนเม่ือป พ.ศ. 2526 โดยมีบทบาทหนาที่กําหนดนโยบายและแผนหลักการปองกันอุบัติภัยแหงชาติ ประสานงานกับหนวยงานตางๆ และติดตามประเมินผลและแกไข นอกจากนี้ยังมีหนวยงานของกระทรวงอุตสาหกรรมควบคุมดูแลดวยเชนกัน ผูเขียนหวังไววาวงการ ท่ีรับผิดชอบดานการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเชน สภาวิศวกร จะมีความเห็นเชนเดียวกับสมัชชาเพ่ือการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมของสหรัฐเอมริกา และมีการกําหนดความรูพ้ืนฐานดานวิศวกรรมความปลอดภัยใหเปนคณุ สมบัตหิ น่ึงของวศิ วกรทกุ แขนงดว ย งานในหนาที่ของวิศวกรความปลอดภัย ดังเปนท่ีทราบกันดีอยูแลววา “วศิ วกร” โดยรากศัพท แปลวา “ผูสราง” ในปจจุบันวิศวกร นอกจากจะทําหนาท่ีผูสรางแลวยังตองทําหนาที่บํารุงรักษาซอมแซม ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แกไขใหส่ิงหรือระบบท่ีตนไดสรางข้ึนมาสามารถทํางานใหแกมนุษยไดใชจนบรรลุวัตถุประสงคได เพราะฉะน้ัน วิศวกรความปลอดภัยนอกจากจะมีหนาท่ีสรางและปรับปรุงระบบปองกันอุบัติภัย และระบบความปลอดภัยในการทํางานแลวยังจะตองมีหนาที่ทําใหระบบน้ันๆ ทํางานไดดีตามวัตถุประสงค นั่นคืองานตรวจสอบความปลอดภัย งานฝกอบรมความปลอดภัย งานประสานกับคณะกรรมการความปลอดภัยงานสืบสวนหาเหตุปจจยั ของอบุ ัติเหตแุ ละงานรว มมอื กับฝายจัดการระดับกลาง เปน ตน 1. งานสรางและปรับปรุงระบบปองกันอุบัติภัย ในฐานะที่เปนวิศวกรท่ีไดรับการศึกษามาทางดานวิศวกรรม ยอมจะมีความรูความเขาใจการทํางานของเคร่ืองยนตกลไกเครื่องไฟฟา การทรงตัวและความแข็งแรงของอาคารไดดี และรวดเร็วกวาผูมีวิชาชีพสายอื่นจึงนาจะเปนผูที่มีความสามารถสูงในการออกแบบและสรางระบบปองกันภัยท่ีเปนฮารดแวรไดดีเชนการออกแบบและสรางอุปกรณปองกันชิ้นสวนท่ีเคลื่อนไหวของเครื่องมืออุปกรณ เปนตนวิศวกรความปลอดภัยตองทํางานรวมกับฝายวิจัยและพัฒนา ( research and developmentdepartment ) ขององคกรนั้นอยางใกลชิด และมักจะทํางานรวมกันไดดีเพราะสวนใหญก็จะมีวิชาชพี เปน วิศวกรเชนเดยี วกนั 2. งานตรวจสอบความปลอดภัย งานตรวจสอบความปลอดภัยเปนงานหลักอีก งานหน่ึงของวิศวกรความปลอดภัย (Safety Engineer) ท่ีจะตองกระทําเปนประจํานอกเหนือจากการท่ีจะตองกําหนดแผนใหผูเกี่ยวของทําการตรวจสอบความปลอดภัยตามแบบฟอรมสํารวจท่ีกําหนดวิธีการไวแลวลวงหนา วิศวกรความปลอดภัยจะตองทําหนาที่เปนท่ีปรึกษาแกพนักงานที่รับผิดชอบในเรื่องการปองกันอุบัติภัยเฉพาะจุด เพ่ือใหระบบภายในองคกรเปนมาตรฐานอยางเดียวกันวิศวกรความปลอดภัยทําหนาที่แนะนํา ชี้แจงระบบปองกันอุบตั ิภัยแกบุคคลภายนอก แกเ จาพนักงานผมู ีหนา ท่ีตามกฎหมายวาดว ยความปลอดภยั วิศวกร 1-4

ความปลอดภัยตองเปนศูนยกลางรวบรวมขอมูลการตรวจความปลอดภัยท้ังหมดในหนวยงานโดยไมคํานึงวาแผนกใด ฝายใดเปนผูตรวจ และรายงานสรุปตอฝายจัดการพรอมขอเสนอแนะเพอ่ื ปรับปรงุ ระบบตอไป 3. งานฝกอบรมความปลอดภัย ในฐานะที่วิศวกรความปลอดภัยไดเปนศูนยกลางของขอมลู ระบบปองกนั อุบัตภิ ยั ท้งั หมดในหนวยงานยอมทราบดวี า หนวยใด ฝา ยใด ขององคกรมีจุดออน จุดแข็ง ในเรื่องที่เก่ียวกับความรูความเขาใจและทัศนคติตอระบบปองกันอุบัติภัยอยางไรก็จะมีความสามารถในการจัดโครงการฝกอบรมพนักงานในหนวยนั้น ฝายน้ันใหมีความเขาใจในระบบเปนอยางเดียวกัน โครงการฝกอบรมในระหวางการทดลองงาน( on-the-job training) เปนโครงการท่ีมีความสําคัญที่สุดของโครงการปองกันอุบัติภัยเพราะเปนการปูพ้ืนฐานใหพนักงานทุกคน ไดมีแนวคิดและวิธีการปฏิบัติอยางเดียวกัน กอนที่จะเปนพนักงานขององคกรอยางเต็มตัววิศวกรความปลอดภัยจะตองรับผิดชอบโครงการน้ีดวยความรวมมือจากทุกฝายทุกหนวย การบรรยายที่เปนการใหความรูในเรื่องวัตถุอันตราย(hazardous materials) เสี่ยงภัย (hazards) ในการทํางาน การปฏิบัติงานใหปลอดภัย การใชอุปกรณปองกันภัยสวนบุคคล การฝกหัดใหเปนคนชางสังเกตความผิดปกติ เปนสิ่งที่วิศวกรความปลอดภัยจะมีความสามารถกระทาํ ไดด ี 3. งานประสานงานกับคณะกรรมการความปลอดภัย วิศวกรรมความปลอดภัยตองเปนผูที่มีมนุษยสัมพันธดี และมีความสามารถทํางานรวมกับคณะกรรมการความปลอดภัยขององคกรนั้นไดเปนอยางดี เนื่องจากคณะกรรมการความปลอดภัยถูกจัดต้ังขึ้นเพื่อใหเปนแหลงความคิดท่ีจะจัดการกับปญหาตางๆ ของความไมปลอดภัยในหนวยงาน ดังนั้นวิศวกรความปลอดภัยจะตองมีความรูในวัตถุประสงคของโครงการที่คณะกรรมการชวยกันคิดเพ่ือแกปญหานั้น เปนการปองกันมิใหมีการทํางานซํ้าซอนเปนการปองกันมิใหมีขอมูลขาวสารที่จะแจงแกพนักงานมีความขัดแยงกันและเปนการประกันความเชื่อม่ันวาวิธีการปญหาความไมปลอดภัยท่ีจะถือปฏิบัติตอไปนั้นจะไมขัดตอแนวนโยบายหลักดานความปลอดภัยในการทํางานของหนวยงาน 4. งานสืบสวนหาเหตุปจจัยของอุบัติเหตุ ทุกคร้ังท่ีอุบัติเหตุเกิดขึ้นตองมีการสอบสวนทันทีเพื่อวัตถุประสงค 2 ประการ คือ เพื่อหาเหตุปจจัยของการเกิดอุบัติเหตุน้ันสําหรับการคิดคนหาวิธีปองกันมิใหเหตุรายในทํานองเดียวกันเกิดข้ึนอีกซํ้าสองเปนประการท่ีหนึ่ง และเพ่ือเปนการหาขอมูลขาวสารที่เปนความจริงแกคลินิก โรงพยาบาลแพทยผูรักษาผูบาดเจ็บ กองทุนเงินทดแทนและแกบริษัทประกันอุบัติเหตุ (ถามี) เปนประการท่ีสอง ผูเปนหัวหนาชุดสืบสวนในกรณีนี้มักจะเปนวิศวกรความปลอดภัยเปนสวนใหญ เน่ืองจากเปนผูที่มีความคุนเคยกับเจาหนาที่ฝายชาง ฝายเทคนิคที่สวนใหญมักจะมีสวนเก่ียวของกับอุบัติเหตุไมมากก็นอย 1-5

5. งานรวมมือกับฝายจัดการระดับกลาง การท่ีหนวยงานหรือองคกรจะกําหนดใหวิศวกรความปลอดภัยทํางานอยูภายใตการกํากับดูแลของฝายบริหารระดับสูงน้ัน เกรงวาจะไมไดผลดีเทาท่ีควร ที่ถูกตองเหมาะสมแลววิศวกรความปลอดภัยควรจะทํางานรวมกับฝายบริหารระดับกลาง สวนจะอยูภายใตการกํากับดูแลดวยหรือไมนั้นคงจะตองพิจารณาเปนกรณีไป เชน โรงงานท่ีมีฝายผลิตเปนฝายท่ีมีบทบาทมากในโรงงาน การจัดใหวิศวกรความปลอดภัยทํางานอยูภายใตการกํากับดูแลของฝายผลิตน้ันก็นับวาเหมาะสม ถาเปนบริษัทท่ีมีขนาดใหญมาก มีทั้งฝายผลิต ฝายบริการ ฝายอาคาร ฝายยานพาหนะ การท่ีจะใหวิศวกรความปลอดภัยสังกัดฝายผลิตก็จะดูกระไรอยู ถาเปนเชนนี้มักจะใหไปสังกัดฝายวิศวกรรม หรือจัดต้ังฝายความปลอดภัยข้ึนมาทําหนาที่เปนฝายสนับสนุน เสนอแนะ ประสานงาน กําหนดวิธีปฏิบัติการทํางานมาตรฐาน แตกวาที่จะไปใชไดก็จะตองผานคณะกรรมการชุดใหญขององคกรนั้น ซ่ึงการทํางานในลักษณะน้ีคอนขางจะขาดประสิทธิผลแตก็เปนลักษณะเดนขององคการขนาดใหญ และเปนที่เขาใจของทุกคน ดังนั้นการทํางานของวิศวกรความปลอดภัยที่มีประสิทธิผลในองคการขนาดใหญตองเบียดแทรกเขาไปในทุกฝายเพื่อมีใหมีการปฏิบัติเกิดข้ึนจริงๆ การรายงานผลการปฏบิ ัติงานตามแผนอยา งเดียวไมพอตองลงมือทําตามแผนนนั้ ดวยเพื่อที่จะไดรูวาแผนและวิธีการน้ันมีปญหาและขอขัดของอยางไร ดังน้ันในกรณีนี้วิศวกรความปลอดภัยจะทํางานภายใตการกํากับดูแลของแตละฝายเมื่อครบกําหนดประชุมเพ่ือแลกเปล่ียนความเห็นระหวางวิศวกรความปลอดภัยดวยกันก็จะแยกกลุมออกมาเปนครั้งคราวผลการประชุมเปนอยางไรวิศวกรความปลอดภัยจะตองนําไปหารือกับฝายที่ตนสังกัดอยูทุกคร้ังเพ่ือหาแนวทางปฏบิ ตั ทิ ่ีถกู ตอ ง เปนอันหน่ึงอนั เดียวกันคําจํากัดความ เพ่ือความเขาใจในแงผลของเหตุการณ ซึ่งจะนําไปสูการเกิดความเสียหาย จําเปนตองทําความเขาใจเก่ียวกับสิ่งท่ีเราพยายามจะปองกัน หรือควบคุมเสียกอน โดยอาจจะกําหนดนิยามวา “อุบัติเหตุ” ก็คือ “เหตุการณอันไมพึงปรารถนา ซ่ึงผลของมันเปนอันตรายตอผูคนทําลายทรัพยสิน หรือ สรางความเสียหายใหกับกระบวนการผลิต” สวนใหญผลท่ีเกิดข้ึนจะเกย่ี วของกับวตั ถุหรือแหลงพลังงาน (ทางเคมี อุณหภูมิ เสียง เครื่องจักร ไฟฟา ฯลฯ) ซ่ึงมีคา สูงกวาคาขีดจํากัดพื้นฐาน (THRESHOLD LIMIT) ของทางกายภาพหรือโครงสราง ในสวนที่เกี่ยวกับมนุษย ผลอาจจะเกิดข้ึนในรูปของการฉีกขาด การไหม ถลอก แตก ฯลฯ หรือขัดขวางการทํางานตามปกติของรางกาย (เชน เกิดมะเร็ง ปอดอักเสบ ฯลฯ ) สําหรับความเสียหายที่เกิดแกทรัพยสินอาจจะเปนเหตุใหเกิดเพลิงไหม การแตกหัก การผิดรูปผิดรางไปจากเดิม ฯลฯมสี าระสาํ คญั อยู 3 ประการดว ยกนั ในการใหค ําจํากัดความ “อุบัติเหตุ คือ เหตุอันไมพึงปรารถนา ซึ่งผลของมันกอใหเกิดอันตรายแกมนุษย ทําลายทรัพยส ิน หรอื สรางความเสยี หายใหกับกระบวนการผลิต” 1-6

ประการแรก ไมไ ดจํากัดวาผลท่ีเกิดกับมนุษยจะตองเปน “การบาดเจบ็ ” แตใชถ อยคําวา“เปนอันตรายแกมนุษย” ซ่ึงรวมความถึง การบาดเจ็บและการเจ็บปวย ท้ังจากสภาวะจิตเบี่ยงเบน ผลกระทบทางประสาทและระบบอื่นๆ อันเนื่องมาจากการทํางานหรือสภาพแวดลอมในการทํางานที่ตองเผชิญ (ANSI Z 16.2 - 1962, Rev. 1969) กลาวอยางส้ันๆ คําวา“บาดเจ็บ” และ “เจ็บปวย” จะถูกนํามาใชภายหลัง ข้ึนอยูกับคําจํากัดความที่ดีท่ีสุดของอันตรายท่เี กิดกับพนกั งาน ประการสอง คําจํากัดความขางตนจะไมทําใหเกิดความสับสนระหวางคําวา “บาดเจ็บ”กับคําวา “อุบัติเหตุ” ทั้งสองคําน้ีไมเหมือนกันเลย อาการบาดเจ็บและเจ็บปวยเปนผลมาจากอุบัติเหตุแตก็มิใชวาอุบัติเหตุทุกครั้งจะทําใหเกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บปวยเสมอไป ความแตกตางตรงจุดน้ีมีความสําคัญย่ิงตอความกาวหนาของการควบคุมความปลอดภัย และสุขภาพการเกิดอุบัติเหตุเปนสิ่งซ่ึงสามารถควบคุมได แตความรายแรงของอาการบาดเจ็บอันเปนผล มาจากอุบัติเหตุเปนเร่ืองของโชคโดยแท เน่ืองจากมีปจจัยหลายประการที่เขามาเก่ียวของเชน ความชํานิชํานาญ ปฏิกิริยาตอบสนองตอเหตุการณสภาพรางกาย อวัยวะสวนท่ีไดรับบาดเจ็บ ปริมาณของพลังงานที่มีการแลกเปล่ียน ส่ิงกีดขวางในบริเวณที่เกิดเหตุ และการสวมอุปกรณปองกันภัย เปนตน ขอแตกตา งระหวางอุบัตเิ หตแุ ละการบาดเจบ็ ทําใหเรามุงความสนใจไปที่ การเกดิ อบุ ตั ิเหตมุ ากกวาจะพิจารณาถงึ การบาดเจบ็ ซง่ึ อาจเกดิ ขนึ้ ได ประการสุดทาย หากเหตุการณท่ีเกิดข้ึนมีผลตอการสรางความเสียหาย ใหแกทรัพยสินหรือ กระบวนการผลิตเพียงอยางเดียว โดยไมมีการบาดเจ็บแตอยางใด ใหถือวาเปนอุบัติเหตุดวยเชนกัน มี บอยครั้งท่ีอุบัติเหตุสรางความเสียหายท้ังตอมนุษย ทรัพยสินและกระบวนการผลิตพรอมๆ กัน แตอ ยางไรก็ตาม อุบัตเิ หตทุ ่ีมีผลตอทรพั ยสนิ จะเกิดมากกวาอบุ ัตเิ หตุทที่ ําใหเกิดการบาดเจ็บ ความเสียหายของทรัพยสินไมเพียงแตจะมีมูลคาสูงเทาน้ัน แตเครื่องมือเค รื่ อ ง จั ก ร ต ล อ ด จ น อุ ป ก ร ณ ท่ี เกิ ด จ า ก ก า ร เสี ย ห า ย ยั ง ทํ า ให เกิ ด อุ บั ติ เห ตุ ต อ เน่ื อ ง ไ ด อี กการวิเคราะหอุบัติเหตุที่สรางความเสียหายใหกับทรัพยสิน หากดําเนินการบอยครั้งเทาใดก็จะชวยใหไดขอมูลมาใชเปนแนวทางในการปองกันและการทําความเขาใจเก่ียวกับสาเหตุของปญหาที่ทําใหเกิดอุบัติเหตุไดมากข้ึนเทาน้ัน โครงการความปลอดภัยซ่ึงละเลยความเสียหายของทรัพยสินที่เกิดจากอุบัติเหตุจะทําใหมองขามขอมูลเก่ียวกับอุบัติเหตุ ซึ่งมีมากกวาที่วิเคราะหออกมา อันนับเปนอุปสรรคขัดขวางประสิทธิภาพในการลดการบาดเจ็บ หรือคาใชจายในการควบคมุ บริษัทหลายแหงที่มีโครงการละเอียดซับซอน จะจัดเหตุการณท่ีไมพึงปรารถนาทุกชนิดเปน “เหตุการณผิดปกติ” เพื่อขยายขอบเขตการควบคุมความเสียหายในโครงการของตนใหกวางขวางมากข้ึนเหตุการณท่ีไมสรางความเสียหายจะถูกจัดใหมีศักยภาพสูง เพ่ือจะไดรับความใสใจมากเทาๆ กับเหตุการณท่ีมีความเสียหายรุนแรง คําจํากัดความเชนนี้จะรวมเอา 1-7

อุบัติการณ เหตุที่เกือบกลายเปนอุบัติเหตุท่ีเกิดกับการผลิตหรือคุณภาพ หรือเหตุท่ีเกือบเกิดความเสียหาย คาํ จาํ กดั ความทัง้ 2 ประการตอ ไปน้ี เปนส่ิงจาํ เปน และสมควรนํามาใช อบุ ตั ิการณ (Incident) คอื เหตุการณท ไี่ มพ งึ ปรารถนา ซง่ึ เมอื่ มีการเปลย่ี นแปลงสภาพไปจาก เดมิ เพยี งเลก็ นอ ยจะเปนอนั ตรายตอมนุษย ทําลายทรพั ยสนิ และสรา งความเสยี หายใหก ับกระบวนการได จากการกําหนดนิยามคําวา “อุบัติเหตุ” ของเราไดระบุไววา อุบัติเหตุ คือ ผลของการสมั ผสั ใกลชดิ กบั วตั ถุหรือแหลง พลังงานทม่ี ีคามากเกินกวาขดี จาํ กดั พ้นื ฐานของรา งกาย หรือโครงสรางรางกายมนุษยมีระดับความอดทน หรือขีดจํากัดของการบาดเจ็บสําหรับวัตถุแตละชนดิ หรือพลงั งานแตล ะรปู แบบ โดยท่ัวไป ผลกระทบที่ทําใหเกิดอนั ตรายจากการสัมผสั กับส่งิ เหลานี้เพียงคร้งั เดียว เชน การถกู บาด หัก เคลด็ การตัดแขน (ขา) การไหมจากสารเคมี ฯลฯลวนถือเปนอาการบาดเจ็บ สวนอันตรายที่เกิดจากการสัมผัสซํ้าๆ เชน เอ็นอักเสบ มะเร็งตับถูกทาํ ลาย สูญเสยี การไดย นิ ฯลฯ ถอื เปนการเจ็บปว ย (พงึ ตระหนักดว ยวา การเจ็บปวยอาจเกิดจากการสมั ผัสเพียงอยา งเดยี วไดเ ชนกัน) อุบัตเิ หตุ (Accident) เปน ผลมาจากการสมั ผสั กบั วัตถุ หรอื แหลง พลงั งานที่มีปริมาณมากเกิน กวาขดี จํากัดพนื้ ฐานของรา งกายหรือโครงสรา งทจ่ี ะทนทานได จุดวิกฤตของทั้งสองประเด็น ก็คือ การมีองคประกอบรวมกัน ไดแก การสัมผัสกับวัตถุหรือแหลงพลังงานที่มีปริมาณมากกวาขดี จาํ กัดของรางกาย หรือโครงสรางท่ีจะทนทานได ไมวาจะเปนเพียงบางสวนหรือท่ัวรางกายก็ตามและทายที่สุด ทั้งสองประเด็นก็มีการควบคุมเหมือนกันอีกดวย น่ันคือ การปองกันการสัมผัสหรือลดระดับใหอยูในขั้นท่ีปราศจากอันตราย ท้ังคูจะเกี่ยวของกับข้ันตอนการดําเนินการเดียวกันคือ การจําแนกการสัมผัสการประเมินผลความรุนแรง และความเปนไปไดในการเกิดเหตุการณ รวมถึงการพัฒนาวิธีการควบคุมท่ีเหมาะสม การดําเนินการกับปญหาท่ีเกิดจากงานอาชีพจะตองมีความรูท่ีกวางไกล โครงการความปลอดภัยและสุขภาพที่มีประสิทธิผลจะตองลึกซ้ึงเพียงพอที่จะรับมือกับอุบัติเหตุท้ังหมดไมวาผลลพั ธจ ะกอใหเกิดการบาดเจบ็ การเจบ็ ปว ย ทรพั ยสินเสยี หายหรือเกือบเสียหายกต็ าม 1-8

ความปลอดภยั (Safety) คือ การควบคุมความเสียหายที่เกดิ จากอุบัตเิ หตุ นิยามของศัพทคําที่สาม ไดแก คําวา “ความปลอดภัย” ซ่ึงมักจะกําหนดวาเปนภาวะปลอดจากอุบตั ิเหตหุ รอื จากการเจบ็ ปวย การบาดเจบ็ หรือความเสยี หาย อยา งไรก็ดี ความหมายท่ีเปนรูปธรรมมากกวาก็คือ “การควบคุมความเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุ” คําจํากัดความเชนนี้เกี่ยวของกับการบาดเจ็บ การเจ็บปวย ทรัพยสินเสียหาย และความเสียหายท่ีมีตอกระบวนการ ซ่ึงรวมไวท้ังการปองกันอุบัติเหตุ และการลดความเสียหายใหนอยลงเม่ือเกิดอบุ ัติเหตุ นอกจากน้ยี งั เกยี่ วขอ งกบั งานการควบคมุ ในระบบการจดั การอกี ดวยการศึกษาเกยี่ วกับความปลอดภยั ผลการศึกษาท่ีจะอธิบายตอไปนี้ จะชวยใหผูอานเขาใจไดมากข้ึนวาเหตุใดเราจึงควรใหความใสใ จกับอุบตั ิเหตทุ ี่ทาํ ใหทรัพยสินเสยี หาย 1-9

ในการอา งถึงอตั ราสว น 1-10-30-600 ผลการศกึ ษาอัตราสว นการเกิดอบุ ัตเิ หตุ 1 = การบาดเจบ็ สาหัส หรืออาการรนุ แรงถงึ ขนั้ พิการ 10 = การบาดเจบ็ ไมรนุ แรง 30 = อบุ ตั ิเหตทุ ่ีทําใหท รัพยสนิ เสยี หายทุกประเภท 600 = เหตกุ ารณทไ่ี มเกดิ การบาดเจ็บหรอื ความเสยี หายใดๆ (เหตุการณท่ี เกอื บกลายเปนอุบัตเิ หตุ) พึงระลึกไววา ตัวเลขเหลานี้เปนเพียงเหตุการณและอุบัติเหตุที่มีรายงานไวเทาน้ันไมใชจ ํานวนเหตุการณท ีเ่ กดิ ข้นึ ทั้งหมด เม่ือพิ จารณ าตัวเลขอัตราสวนจะสังเกตเห็นวามีการรายงานอุบัติเหตุท่ีทําใหทรัพยสินเสียหายไว 30 คร้ังตออาการบาดเจ็บสาหัสหรือทุพพลภาพ 1 ครั้ง อุบัติเหตุที่ทําใหทรัพยเสียหาย มีมูลคาหลายพันลานดอลลาร ในแตละปมกั จะถูกเรียกผดิ ๆ วาเปน “เหตกุ ารณทเี่ กือบกลายเปน อบุ ัตเิ หตุ” คํานี้ไดมาจากการฝก อบรมในระยะแรกๆ และกลายเปน แนวคิดผดิ ๆ ท่ีทําใหหัวหนางานพิจารณาคาํ วา “อุบัติเหตุ” เฉพาะเหตุท่ที ําใหเกดิ การบาดเจ็บเทา นัน้ ความสัมผัสของอัตราสวน 1-10-30-600 แสดงใหเห็นอยางชัดเจนวาเปนการเขลาอยางย่ิงที่จะมุงความพยายามท้ังมวลไปท่ีเหตุการณเพียงไมก่ีคร้ังที่ทําใหเกิดการบาดเจ็บสาหัสหรือพิการ ใน เม่ือมีโอกาสสําคัญๆ อีกมากมายท่ีเปดใหควบคุมความสูญเสียทั้งหมดที่เกิดจากอุบัติเหตุไดอยางมีประสิทธิผลมากกวาเดิมสมควรเนนย้ําไวตรงนี้ดวยวา การศึกษาในเรื่องอัตราสวนดังกลาวเปนการดําเนินการของกลุมองคกรขนาดใหญในชวงเวลาท่ีกําหนด จึงไมจําเปนวาอัตราสวนนี้จะตองเหมือนกันกับของกลุมอาชีพหรือองคกรอ่ืน ๆ เพราะนั่นไมใชเจตนารมณของการศึกษาครั้งน้ี จุดสําคัญอยูที่วาการบาดเจ็บรายแรงเปนเหตุการณท่ีเกิดข้ึนนอยครั้ง ในขณะที่เหตุการณที่ไมรุนแรงมากนักจะมีโอกาสเกิดขึ้นไดบอยครั้งกวาจําเปนตองดําเนินการเพ่ือปองกันไมใหความสูญเสียรายแรงเกิดข้ึนได ผูนําในเรื่องความปลอดภัยตองยํ้าดวยวาการดําเนินการเหลาน้ันจะมีประสิทธิผลมากท่ีสุด เมื่อใชกับเหตุการณและอุบัติเหตุเล็กๆนอยๆ แตม ศี กั ยภาพในการสรา งความเสียหายโดยตรงแบบจําลองสาเหตุทีท่ ําใหเ กิดความเสียหาย เมื่อไมก่ีปมานี้ มีการแนะนําแบบจําลองสาเหตุท่ีทําใหเกิดอุบัติเหตุและความเสียหายมากมายหลายรูปแบบ มีเปอรเซ็นตสูงกวาที่วาแบบจําลองเหลานั้นซับซอน และยุงยากเกินกวาจะเขาใจ และจดจําได แบบของสาเหตุความเสียหายท่ีจะนําเสนอตอไปนี้ เปนแบบที่งายใหขอมูลประเด็นสําคัญเทาท่ีจําเปนซึ่งชวยใหผูใชเขาใจและคงความรูเก่ียวกับขอเท็จจริงสําคัญๆ ซ่ึงใชในการควบคุมอุบัติเหตุไดอยางกวางขวาง ตลอดจนชวยแกไขปญหาการจัดการเกีย่ วกับความเสยี หายที่เกดิ ขนึ้ ได 1 - 10

แบบจาํ ลองสาเหตุทท่ี าํ ใหเกดิ ความเสียหายขาดการควบคุม สาเหตพุ นื้ ฐาน สาเหตุในขณะน้ัน เหตุการณผ ิด ความเสีย ปจจยั จากคน1. โครงการไม ปจ จัยจากงาน การกระทํา สมั ผัส คนเพยี งพอ และ กบั พลังงาน ทรัพยสิน2. มาตรฐานของ กระบวนการโครงการไม สภาพแวดลอม หรือเพียงพอ ทไ่ี มได วตั ถุ3. การปฏิบตั ิ มาตรฐานตามมาตรฐานไมเพียงพอ โปรดระลกึ วา สาระสาํ คญั บางประเด็นตามท่แี สดงไวในแบบจําลอง จะชว ยใหผูใ ชจ ดจํารายละเอยี ดท่ีเสนอไวใ นหนังสอื เลมนไ้ี ดมากข้ึน 1 - 11

บทที่ 2 อุบัตเิ หตุ ความสูญเสยี และการควบคมุความสญู เสีย (LOSS) ตามที่สะทอนออกมาในนิยามเก่ียวกับอุบัติเหตุจะเห็นไดชัดเจนในแงท่ีสรางอันตรายใหกับผคู น ทรพั ยส ินหรือกระบวนการ ความหมายโดยนยั สําคญั ของความเสียหาย คอื “การกระทําที่ขัดขวางความเปนปกติ” และ “การทําใหผลกําไรลดลง” ดังน้ัน ความเสียหายยอมเกี่ยวของกบั คน ทรพั ยสิน กระบวนการและทายท่ีสุดคือ ผลกาํ ไร เม่ือเหตุการณผิดปกติเกิดขึ้นในแตละคร้ัง ลักษณะและระดับความรุนแรงของความเสียหายจะเปน เรื่องของโชคชะตา ผลท่ีเกดิ ข้ึนอาจจะเปน เรือ่ งเล็กนอย ไมม ีความสําคญั ไปจนถึงข้ันหายนะก็ไดหรือเปนรอยถลอกขีดขวนไปจนถึงข้ันเสียชีวิต หรือเสียหายทั้งโรงงานก็ไดลักษณะและระดับความรุนแรงของความเสียหายสวนหน่ึงจะข้ึนอยูกับความบังเอิญของสภาพเหตุการณ และอีกสวนหนึ่งจะขึ้นอยูกับการดําเนินการ ซ่ึงทําใหความเสียหายลดนอยลงการกระทาํ เพ่ือลดความเสยี หายในข้ันนี้ รวมถึงการใหก ารปฐมพยาบาลทท่ี ันทว งทีและเหมาะสมการผจญเพลิงท่ีรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การซอมแซมเคร่ืองมือ และอุปกรณท่ีชํารุดอยางรวดเร็ว การดําเนินการตามแผนฉุกเฉินไดอยางมีประสิทธิภาพ และการฟนฟูบุคลากรอยางไดผลเพอ่ื ใหการทาํ งานไดดังเดมิ 1 - 12

1 - 13

ความสูญเสียที่เกดิ จากอบุ ตั เิ หตุเวลาของพนักงานทไ่ี ดรบั บาดเจ็บ - เวลาในการผลิตยอมเสียไป เมื่อพนักงานบาดเจ็บและไมอาจทดแทนไดดวยการจาย เงินชดเชยใหเวลาของเพอื่ นรว มงาน - เวลาท่ีเสียไปเนื่องจากอยูรวมในเหตุการณ รวมท้ังชวยนําคนเจ็บสงหองพยาบาล หรือ รถพยาบาล - เสียเวลาเน่ืองจากความเห็นอกเห็นใจ หรือความอยากรูอยากเห็น การทํางานถูกขัด จังหวะ ขณะเกิดการบาดเจ็บและหลังจากนั้น เม่ือมีการวิพากษวิจารณเหตุการณที่ เกิดขน้ึ - การเสียเวลาตามปกติ ซึ่งเปนผลมาจากการทําความสะอาดหลังเกิดเหตุ รวบรวมเงิน บริจาคไปชวยเหลือพนักงานและครอบครัวของเขา การพิจารณาคําใหการของผูเห็น เหตุการณ คาลวงเวลาในการจางบุคคลอ่ืนมาทํางานแทน และเวลาท่ีเจาหนาท่ีจาก หนวยงานความปลอดภยั ใชใ นการสอบสวนอบุ ตั ิเหตุเวลาของหัวหนางาน เวลาท่หี วั หนา งานใชในการจัดการอุบัติเหตุควรรวมถึง - การชวยเหลอื พนักงานทไ่ี ดรบั บาดเจบ็ - สอบหาสาเหตุของอุบัติเหตุ เชน การสอบสวนเบื้องตน การติดตามผล ทําวิจัยเพ่ือหา ทางปองกัน ฯลฯ - จดั การใหมกี ารทาํ งานตอไป จดั หาวัสดใุ หม จัดตารางการทํางานเสียใหม - คดั เลือกและจดั อบรมพนกั งานใหม รวมถึงเปดรับใบสมัคร ประเมินผลผูสมัคร ฝกอบรม พนักงานใหม และสับเปลย่ี นกาํ ลังคน - จัดทํารายงานอุบัติเหตุ เชน รายงานการบาดเจ็บ รายงานความเสียหายของทรัพยสิน รายงานอุบตั ิเหตุทเี่ กิดข้นึ กับเคร่อื งมอื ตา งๆ ฯลฯ - เขารวมฟงคําใหก ารเกี่ยวกบั อบุ ตั ิเหตุ 1 - 14

ความเสยี หายท่วั ๆ ไป - เวลาของการผลติ เน่ืองจากความเสยี ใจ ความตกใจ การหนั เหความสนใจของพนักงาน การพดู คยุ กับพนักงานอืน่ ๆ ท่ไี มไดอ ยูในเหตุการณ - เกิดความเสียหายของงานเนื่องจากตองหยุดเครื่องจักร เครื่องมือ โรงงาน อุปกรณ ตางๆ ฯลฯ ซ่ึงอาจจะเปนเพียงช่ัวคราวหรือระยะยาวก็ได และกอใหเกิดผลกระทบตอ เคร่ืองมือและแผนปฏบิ ตั ิการอ่นื ๆ ดวย - ประสิทธิภาพของพนักงานที่ไดรับบาดเจ็บจะลดลง เมื่อกลับมาทํางานอีกครั้ง เปน เพราะขอ จํากัดของงาน ความพกิ ารของรางกาย ขาหักตองเขา เฝอกเปนตน - ธุรกิจและชื่อเสียงของบริษัทตองเสียหาย ทําใหสาธารณชนไมพอใจ ฯลฯ ลวนเปน ความเสยี หายท่ีพบไดท่ัวไป - คาใชจายเพ่ิมข้ึนจากการจายเงินชดเชย จายคาประกัน ฯลฯ ซึ่งเปนคาใชจายทาง กฎหมาย - คาใชจายเพิ่มจากการสํารองจายคาประกันและภาษี ซ่ึงเปนเพียงจํานวนเล็กนอยในแต ละป เม่ือเทียบกบั ตนทุนของความเสียหายทีเ่ กิดขนึ้ - สิ่งเบ็ดเตล็ดอ่ืนๆ ท่ีเพิ่มเขามา ซึ่งอาจจะเปนลักษณะเฉพาะของกระบวนการใด กระบวนการหนึ่งและเหมาะสมกบั กรณีอบุ ัติเหตุความเสียหายของทรัพยส นิ - คาใชจ า ยของอะไหลและเคร่ืองมือฉกุ เฉินตา งๆ - คาใชจายของเคร่ืองมือและวัสดุนอกเหนือจากที่ใชงานตามปกติ ซ่ึงอาจไดมาจาก ความชวยเหลอื กไ็ ด - คา ซอ มแซมและหาชิ้นสวนมาแทนของเกา - มูลคาของเวลาที่ใชในการซอมแซมและหาเครื่องมือมาทดแทนของเกา จะเปนในแง ของความเสียหายของกาํ ลังการผลติ และทําใหตารางการซอมบํารุงเครอ่ื งมืออนื่ ๆ ตอง ลา ชาไปดวย - คาใชจายในการปรบั แกก ารดาํ เนนิ การใหถ กู ตองมากกวา การซอ มแซม - ความเสยี หายจากความเกาลาสมัยของชิ้นสว นอะไหลทเ่ี กบ็ ไว - คาเสื่อมสภาพของอปุ กรณก ภู ยั และอปุ กรณฉุกเฉนิ - คาเส่ือมสภาพของผลผลิตระหวางที่คนงานดําเนินการกับอุบัติเหตุท่ีเกิดขึ้น การสอบ สวน การเกบ็ กวาดทําความสะอาด การซอ มแซมและการหาขอ พสิ ูจน 1 - 15

ความสญู เสยี อ่ืนๆ - การลงโทษ การปรบัการกระทําและสภาพการณท่ีต่ํากวามาตรฐาน มักจะพบเห็นในรูปแบบใดรูปแบบหนึง่ ดังตอ ไปน้ีการกระทาํ ทตี่ าํ่ กวามาตรฐาน - ใชเครอ่ื งมอื โดยท่ไี มมีหนาทีเ่ กี่ยวของ - ลม เหลวในการเตอื นภัย - ลม เหลวในการรกั ษาความปลอดภัย - ใชเครื่องมอื ทํางานดว ยอัตราความเรว็ ทไี่ มเ หมาะสม - ใชเ ครอื่ งมอื ความปลอดภัยที่ไมม ีประสิทธิภาพ - การถอดระบบปองกันภัยออก - ใชเ คร่อื งมอื ท่ชี าํ รุด - ใชอุปกรณปองกันอันตรายสว นบุคคลทไ่ี มเหมาะสม - ใชเ คร่อื งมือไมเหมาะสม - การตดิ ต้งั ไมเ หมาะสม - การยกไมเหมาะสม - ตาํ แหนง ท่ีรับผิดชอบไมเ หมาะสมกบั งานที่ทาํ - ซอ มอุปกรณใ นขณะทกี่ ําลังใชง านอยู - การลอเลนกันขณะทาํ งาน ซ่งึ อาจกอ ใหเกดิ อนั ตราย - ดืม่ แอลกอฮอล และ/หรอื ใชยาสภาพการณท ตี่ ่ํากวามาตรฐาน - เคร่อื งกําบัง (Guard) ไมเหมาะสม - อุปกรณป อ งกันภัยไมเพียงพอหรือไมเ หมาะสม - เครือ่ งมือ อปุ กรณ หรอื วัสดชุ าํ รดุ เสียหาย - การทํางานในท่แี ออัดหรือคบั แคบ - ระบบการเตอื นภัยไมเพียงพอ - อยูในสภาวะทล่ี อแหลมตอการเกิดเพลิงไหมหรอื เกดิ ระเบิด - การดูแลสถานทไี่ มเหมาะสม ทีท่ าํ งานไมเ ปน ระเบยี บ - สภาพแวดลอมเสีย่ งอนั ตราย มีกา ซ ฝนุ ละออง ควัน ไอกาซ ไอน้ํา - เสียงดงั มาก - สมั ผัสกับสารกัมมนั ตรังสี - อุณหภูมทิ ี่สงู หรือตํา่ มากเกนิ ไป 1 - 16

- แสงสวา งไมเพยี งพอหรอื แสงจา มากเกินไป - การถา ยเทอากาศไมเพียงพอสาเหตุพืน้ ฐาน ( BASIC CAUSES ) สาเหตุพื้นฐาน ก็คือ โรคหรอื สาเหตุทแ่ี ทจ ริงของโรคที่อยูเบอื้ งหลงั อาการทีแ่ สดงออกมาเปนเหตุผลที่วา ทําไมการกระทําหรือสภาพการณที่ต่ํากวามาตรฐานจึงเกิดข้ึน และเปนปจ จัยท่ีเมื่อวิเคราะหแลวพบวา เพ่ือใหเกิดการควบคุมการจัดการที่ไดผล บอยครั้งท่ีสิ่งเหลาน้ีจะถูกเรียกขานวาเปน “สาเหตุรากฐาน” “สาเหตุที่แทจริง” “สาเหตุโดยออม” “สาเหตุส่ังสมหรือสาเหตุสงเสริม” เนื่องจากสาเหตุในขณะน้ัน (อาการ การกระทําและสภาพเหตุการณที่ไมไดมาตรฐาน) เปนสิ่งที่เห็นไดชัดเจนทันที แตสาเหตุพื้นฐานจะตองใชการตรวจสอบ ซึ่งกินเวลากวาจะเขา ถงึ และสามารถควบคมุ ได เน่ืองจากเหตุการณของการจัดกลุมสาเหตุในขณะน้ัน (IMMEDIATE CAUSES) เปน2 กลุมใหญๆ (การกระทําที่ตํ่ากวามาตรฐานและสภาพการณท่ีไมไดมาตรฐาน) จึงจัดกลุมสาเหตุพ้ืนฐาน (BASIC CAUSES) ออกเปน 2 กลุมดวยเชนกัน ไดแก ปจจัยจากบุคคลและปจ จัยจากงานสาเหตพุ ื้นฐานของความเสียหาย ปจ จยั จากบุคคลการขาดความสามารถทางกาย / การทาํ หนา ทข่ี อง ความเครียดทางจิต / การทํางานของจติ ใจรา งกาย - ความเครยี ดทางอารมณ- ความสูง นํ้าหนกั ขนาด ความแข็งแรง การ - ความเหนือ่ ยลา อันเน่ืองจากการเหยียด ฯลฯ ไมเ หมาะสม ทาํ งานหนกั ของจติ ใจ- ความจาํ กดั ในการเคลอื่ นไหวรางกาย - การตัดสินใจ / การพิจารณาตดั สิน- ขดี จาํ กดั ความสามารถในการทรงกาย ในปญหาทีห่ นกั หนว งในทาตา งๆ - การทํางานประจํา ทําหนาทเี่ ดยี วซํ้าๆ- ไวตอ การรบั สาร / ภูมิแพ ซงึ่ ตองการความเอาใจใสอ ยา งมาก- ไวตอความรสู กึ (อุณหภมู ิ เสียง ฯลฯ ) - ทาํ กจิ กรรมทไ่ี มมคี ุณคา สาระ “หรอื ”- บกพรอ งในการมองเห็น ไมมี “คณุ คา”- บกพรอ งในการไดยนิ- บกพรองตอประสาทสัมผัสอ่ืนๆ - สบั สนเก่ยี วกบั ทศิ ทาง - มีความตองการขดั แยง ในตวั เอง (การแตะตอง รส การไดกล่นิ การทรงตวั ) - หมกมนุ กับปญหา - มีความคบั ขอ งใจ 1 - 17

ปจจยั จากบคุ คลการขาดความสามารถทางกาย / การทําหนาทขี่ อง ความเครียดทางจิต / การทาํ งานของจติ ใจรางกาย (ตอ) (ตอ )- การขัดของของระบบทางเดนิ หายใจ - เจ็บปว ยทางจิต- การขาดสมรรถภาพทางกายโดยถาวรอ่ืนๆ การขาดความรู- การทพุ พลภาพชว่ั คราว - ขาดประสบการณการขาดความสามารถทางจติ / การทําหนา ที่ของ - การแนะนาํ งานไมเ พียงพอจติ ใจ - การฝก หัดเบอ้ื งตนไมเ พยี งพอ- กลัวและเจ็บปวยดว ยโรคหวาดกลัว - การฝก อบรมเพม่ิ เตมิ ไมเ พียงพอ- อารมณถ ูกรบกวน - เขาใจผิดเกย่ี วกับทศิ ทาง- ความเจบ็ ปว ยทางจติ การขาดความชํานาญ- ระดบั สตปิ ญญา - การสอนงานเบอื้ งตน ไมเพยี งพอ- ดอ ยความสามารถในการเขา ใจส่งิ ตางๆ - การฝกงานไมเ พยี งพอ- ตัดสินพจิ ารณาสงิ่ ตา งๆ ไดไมดี - ขาดการฝกฝน- รว มมอื กบั ผูอื่นไดไ มดี - ขาดการชแี้ นะ- มปี ฏกิ ิริยาตอบโตช า แรงจงู ใจไมเหมาะสม- ความสามารถของกลไกทางจติ ตํ่า - เรยี กรองความสนใจ- ความสามารถในการเรียนรตู ่ํา - แรงกดดนั จากเพื่อน- ลมเหลวในการจดจํา - หวั หนางานเปน ตวั อยา งไมเหมาะสมความเครียดทางกายหรือการทาํ หนา ทขี่ อง - การ FEED BACK ผลการปฏิบตั งิ านรางกาย ไมเพียงพอ- บาดเจ็บหรือเจบ็ ปว ย - การผลกั ดนั ใหเ กิดพฤติกรรมท่เี หมาะสม- ออนลาเนือ่ งจากทํางานหนกั เปนเวลานาน ไมเ พยี งพอ- ออนเพลยี เนื่องจากขาดการพกั ผอน - แรงจงู ใจในการผลติ ไมเ หมาะสม- ออนเพลยี จากประสาทสัมผัสทํางานหนัก - ใหรางวัลกบั การกระทําท่ีไมเ หมาะสม- เผชิญกบั อันตรายทม่ี ผี ลตอสุขภาพ - การกระทาํ ท่ีเหมาะสมกลับถูกลงโทษ- เผชญิ กับอณุ หภูมิท่ีรนุ แรง - ขาดแรงกระตุน- การขาดออกซิเจน - มคี วามคับของมากเกินไป- ความแปรปรวนของความกดอากาศ - แสดงความกา วราวอยา งไมเหมาะสม- การฝนรา งกายใหเคลอื่ นไหว - พยายามจะประหยัดเวลาหรอื แรงงาน ขัดกบั สภาพธรรมชาติ อยา งไมสมควร- ระดับนา้ํ ตาลในเลือดตํ่า - พยายามหลีกเลยี่ งความลาํ บากอยา ง- การใชยา ไมส มควร 1 - 18

ปจจัยจากงานภาวะผนู าํ และ / หรือ การแนะนาํ ไมเพียงพอ เครอ่ื งมือและอปุ กรณไมเ พียงพอ- ขาดความชัดเจน หรือมีความขัดแยง กัน - การประเมนิ ความตองการและความเสี่ยงในสายบงั คบั บัญชา ไมเพยี งพอ- ขาดความชดั เจน หรอื ขัดแยงกันในการ - การพิจารณาวาดว ยการจดั สภาพงานและมอบหมายหนาท่ี ทา ทางการทํางานไมเพียงพอ- การมอบหมายอํานาจใหท าํ การแทนไม - มาตรฐานหรอื แบบกําหนดไมเ พียงพอเหมาะสม หรือไมเพยี งพอ - เคร่อื งมอื ที่มไี มเ พียงพอ- มอบนโยบาย วธิ ีการ การดําเนินการ - การดดั แปลง /ซอมแซม/บาํ รุงรักษาไมเพยี งพอหรอื แนวทางไมเ พยี งพอกบั ความ - การประหยดั และการนาํ มาใชป ระโยชนตอ งการ อกี ยงั ไมเ พยี งพอ- มีความขัดแยง กันในวตั ถุประสงค - การถอดออกหรือแทนทอ่ี ปุ กรณไ มเ หมาะสม เปาหมาย หรือมาตรฐานทม่ี อบให มาตรฐานของการทํางานไมเพียงพอ- การวางแผนหรอื วางโครงการเกี่ยวกบั - การพฒั นามาตรฐานยงั ไมเ พียงพอ งานไมเพยี งพอ - รายการและการประเมินผลความตองการ - สอดคลอ งกบั การออกแบบขบวนการผลิต- การสอนงาน การชีแ้ นะแนวทาง และ / - การมสี ว นรวมของพนักงาน หรือ การฝก อบรมไมเพียงพอ- จดั หาวัสดอุ างอิง คูม อื และแนวทาง - มาตรฐาน / วิธีการ / กฎระเบยี บ ไมเปนการปฏิบัติงานไมเ พียงพอ อนั หน่งึ อันเดยี วกัน- การระบแุ ละประเมนิ ความเสียหาย - การส่อื สารเก่ียวกบั มาตรฐานไมเพยี งพอท่เี กดิ ข้นึ ไมเ พยี งพอ - สงิ่ พมิ พ- ขาดความรูในเรือ่ งการแนะนาํ งาน / - การแจกจา ยการจดั การ - การแปลเปน ภาษาทีเ่ หมาะสม- การจดั คนใหมคี ณุ สมบตั ติ รงกับความ - การฝก อบรมตองการยังไมเพียงพอ - การเสรมิ สรางโดยใชเ คร่อื งหมาย รหสั สี- การดาํ เนนิ การเพ่ือการวดั และประเมนิ และเครอื่ งทนุ แรงผลไมเ พยี งพอ- การให FEED BACK เกี่ยวกับการกระทาํ ท่ไี มถ กู ตอ งยังไมเ พียงพอ 1 - 19

ปจจัยจากงานการควบคุมทางวศิ วกรรมไมเพยี งพอ มาตรฐานของการทาํ งานไมเ พียงพอ (ตอ)- การประเมนิ ความเสยี หายทเี่ กิดขนึ้ - การขนสงวสั ดไุ มเหมาะสมยงั ไมเพียงพอ - การเก็บวัสดุไมเหมาะสม- การคาํ นงึ ถึงทา ทางการทาํ งาน - การดแู ลมาตรฐานไมเ พียงพอการจัดสภาพงานยงั ไมเ พยี งพอ - การติดตามสายการปฏิบตั งิ าน- มาตรฐาน แบบกาํ หนด และ / หรือ - การปรบั ปรงุ ใหกาวหนาเกณฑใ นการออกแบบยงั ไมเ พยี งพอ - ติดตามการใชม าตรฐาน/วธิ ีการ/กฎระเบียบ- การตรวจสอบการกอสรา งยงั ไมเพยี งพอ - การแยกแยะรายการทเี่ ปน อนั ตรายไมเพียง- การประเมินความพรอ มในการดําเนนิ พอการยงั ไมเ พียงพอ - การกําจดั ของเสียและขยะไมเหมาะสม- การติดตามการดาํ เนนิ การเบื้องตน การชํารดุ เสยี หายยังไมเ พียงพอ - การวางแผนการใชงานไมเพียงพอ- การประเมินผลความเปลีย่ นแปลง - ยดื อายุการใชงานไมเหมาะสมยังไมเ พียงพอ - การตรวจสอบ และ/หรอื การติดตามผล ควบคุมจัดซอื้ ไมเพยี งพอ ไมเพียงพอ- แบบกําหนดหรือขอกําหนดความ - การรับน้าํ หนกั หรอื อตั ราการใชง านตอ งการไมเพียงพอ ไมเหมาะสม- การวิจัยวา ดวยวัสดุ/เคร่ืองมือ - การบาํ รุงรักษาไมเพียงพอยงั ไมเ พียงพอ - ใชงานโดยผทู ไ่ี มม คี ณุ สมบตั หิ รือไมไ ดรบั- ใหขอ มูลหรอื ขอกาํ หนดความตอ งการ การฝก อบรมมากบั ผูผลติ ไมเพยี งพอ - ใชง านผิดวตั ถปุ ระสงค- เสนทางการขนสง สินคา ไมเพียงพอ การใชงานในทางท่ีผดิ- ขนั้ ตอนการตรวจรับ, ตรวจสอบและ - ยอมใหใชโ ดยหวั หนางาน รบั สนิ คาไมเพยี งพอ - เจตนา- การสื่อสารดา นความปลอดภัยและ - ไมเจตนาอาชีวอนามยั ไมเ พยี งพอ - ไมย อมใหใ ชโดยหวั หนางาน - เจตนา - ไมเจตนา 1 - 20

ปจจยั จากงาน การซอมบาํ รงุ ไมเ พียงพอ - การปอ งกันไมเ พียงพอ - ประเมินความตองการ - การหลอล่ืนและการใชงาน - การปรบั แตง / การประกอบ - การทําความสะอาด / ขดั สนมิ - การซอมแซมไมเพยี งพอ - การบอกกลา วความตอ งการ - ตารางเวลาทํางาน - ตรวจสอบแตละระบบ - การเปล่ยี นอะไหลการขาดการควบคมุ (LACK OF CONTROL) การควบคุม เปนหนึ่งในส่ีของงานการจัดการท่ีมีความสําคัญย่ิง ประกอบดวยการวางแผน การจัดระเบียบองคกร การนําและการควบคุม หนาที่เหลานี้เปนงานของผูจัดการทุกระดับทุกตําแหนงงานใดๆ ไมวาจะเปนการบริหาร การตลาด การผลิต คุณภาพวิศวกรรม การจัดซ้ือหรือความปลอดภัย ผูแนะนํางาน/หัวหนางาน/ผูจัดการตองเปนผูวางแผนวางระเบียบ เปนผูนําและควบคุมใหเกิดประสิทธิผลมีเหตุผล 3 ประการ สําหรับการขาดการควบคมุ ไดแ ก1. โครงการไมเพียงพอกบั ความตอ งการ โครงการควบคุมความปลอดภัย / ความสูญเสีย อาจไมเพียงพอ เน่ืองจากกิจกรรมในโครงการนอยเกินไป ในขณะท่ีกิจกรรมที่จําเปนตองมีในโครงการจะผันแปรไปตามขอบเขตลกั ษณะและประเภทขององคก ร งานวจิ ัยและประสบการณจ ากโครงการที่ประสบความสําเร็จในหลายๆ บริษัทและในหลายๆ ประเทศไดชี้แนะถึงกิจกรรมที่จะเปนรากฐานของความสําเร็จซ่ึงองคกรตางๆ ท่ัวโลก ไดนําไปใชเปนตนแบบในการจัดต้ังโครงการการจัดการเพ่ือควบคุมความปลอดภยั และความสูญเสีย2. มาตรฐานของโครงการไมเ พียงพอ สาเหตุพื้นฐานท่ีทําใหเกิดความสับสนและความลมเหลวได ไดแก มาตรฐานที่มีไมกําหนดความตองการเฉพาะ ไมชัดเจน และ/หรือ มาตรฐานไมเพียงพอ ตัวอยางขางลางนี้ คือมาตรฐานสิบประการ ซ่ึงบริษัทยักษใหญแหงหน่ึงใชงานอยู มาตรฐานเชนน้ีจะชวยใหพนักงานรูไดวา บริษัทคาดหวังอะไรจากพวกตน และใหเกณฑวัดท่ีชัดเจนวาส่ิงที่กระทําสัมพันธกับมาตรฐานมากนอยเพียงไร มาตรฐานท่พี อเพยี งมีบทบาทสาํ คญั ย่ิงตอ การควบคมุ 1 - 21

3. การปฏิบัตติ ามมาตรฐานไมเพียงพอ การไมปฏิบัติตามมาตรฐานที่มีอยู เปนเหตุผลหลักของการขาดการควบคุม อันท่ีจริงผูจัดการสวนใหญตางเห็นดวยวา น่ีเปนเหตุผลใหญที่สุดเพียงประการเดียวของความลมเหลวในการควบคุมความเสียหายจากอุบัติเหตุ ความเห็นพองที่เกือบเปนเอกฉันทนี้ อธิบายใหเขาใจวาเหตใุ ดจงึ เนนเรอื่ งการวัดปรมิ าณและคณุ ภาพของความพยายามท่มี ตี อโครงการ เพ่ือใหเขาใจเกี่ยวกับสภาพการณท่ีนําไปสูสาเหตุการเกิดเหตุการณท่ีไมพึงปรารถนาไดดีย่ิงข้ึน จะตองพิจารณาถึงองคประกอบหลักหรือสวนหน่ึงของระบบในการดําเนินธุรกิจซ่งึ จะเปนแหลง กาํ เนดิ ขององคป ระกอบดงั กลาว องคป ระกอบ 4 ประการทีว่ า ประกอบดวย 1. คน (PEOPLE) 2. เครอื่ งมอื (EQUIPMENT) 3. วสั ดุ (MATERIALS) 4. สภาพแวดลอม (ENVIRONMENT) องคประกอบทั้ง 4 ประการนี้ จะตองเก่ียวของ หรือมีปฏิสัมพันธอยางเหมาะสมซง่ึ กันและกนั หรือปญหาซงึ่ อาจนําไปสูความเสียหายได คน (PEOPLE) องคประกอบตัวนี้รวมถึง ผูจัดการ พนักงาน ผูรับเหมา ลูกคา แขกผูมาเยือน ผูคารายยอย สาธารณชน รวมเขาเปนมนุษย จากประสบการณแสดงใหเห็นวาองคป ระกอบทเี่ ปนคนมีสว นเกีย่ วขอ งกบั สาเหตุของอบุ ัติเหตุ/เหตทุ ่ีเกดิ ขึน้ เปนสัดสว นคอนขางมาก อยางไรก็ดี “คน” มิไดหมายถึง “พนักงานผูมีสวนเกี่ยวของกับเหตุการณ” แนวความคิดเดิมๆ ที่เช่ือวา กวา 85% ของอุบัติเหตทุ ีเ่ กิดขึน้ มีสาเหตุมาจากความผดิ พลาดของคนงาน ไดร บัการวิเคราะหเจาะลึกมากขึ้นเรื่อยๆ ดวย ความรูและประสบการณยุคใหม องคประกอบที่เปน“คน” จะเกี่ยวขอ งกับ - ผูบริหารผูซึ่งกําหนดนโยบาย วิธีการปฏิบัติ การดําเนินงาน มาตรฐานและเร่ืองอื่นๆ ที่ เกีย่ วของกบั “บรรยากาศของบริษทั ” - วิศวกรและผูออกแบบซ่ึงเปนผูที่สรางสรรคสภาพแวดลอมในการทํางาน ท่ีพนักงานจะ ตองทาํ งานดวย - ผูซ่ึงจัดการเกี่ยวกับระบบการบํารุงรักษาเชิงปองกัน ดูแลเครื่องมือ เครื่องจักรและ อปุ กรณใ หอยูใ นสภาพท่ีดี และใชงานไดโ ดยปลอดภยั - ผจู ดั การซง่ึ จะคดั เลือก จา ง และจดั จําหนายในการทํางานใหก ับพนกั งาน - หัวหนางานผูซ่งึ แนะนํา ใหข อมลู สอน จงู ใจ ชีแ้ นะ และเปนพีเ่ ล้ยี งหนา งาน ดังที่กลาวมาแลววา มีหลักฐานพยานเพิ่มข้ึนเรื่อยๆ วา อยางนอย 80 % ของความ ผิดที่เกิดจากมนุษย สามารถใช “การจัดการ” เพียงอยางเดียวเทานั้นที่จะชวยไดบาง 1 - 22

การจัดการกับองคประกอบที่เกี่ยวกับคนและการมีปฏิสัมพันธกับองคประกอบอื่นๆ ใน ระบบ นบั เปน วธิ กี ารที่สาํ คญั ในการควบคุมใหเ กดิ ประสิทธิผล เคร่ืองมือ (EQUIPMENT) องคประกอบนี้จะเก่ียวของกับเครื่องมือและเครื่องจักรท้ังหมดท่ีพนักงานตองทํางานดวยหรืออยูใกลชิด เคร่ืองจักรที่ติดตั้งอยูกับที่ ยานพาหนะอุปกรณที่ใชงานกับวัสดุตางๆ เคร่ืองมือที่ตองใชมือทํางาน เครื่องปองกันภัยสวนบุคคล และอื่นๆ ส่ิงของซ่ึงคนเราตองทํางานดวยน้ีเปนแหลงใหญของการเกิดการบาดเจ็บ และการเสียชีวิต มันเปนเปาหมายมานานแสนนานในการออกกฎหมายควบคุมความปลอดภัยของเครื่องจักรกล และการฝกอบรมผูปฏิบัติงาน มาเมื่อเร็วๆ น้ีเอง ท่ีขอบังคับไดขยายออกไปโดยเนนหนักในเร่ืองของการจัดสภาพแวดลอมในการทํางาน หรือ “ปจจัยทางวิศวกรรมที่เกี่ยวของกับมนุษย” ปจจัยดังกลาวเปนเร่ืองของการออกแบบงานและสถานที่ทํางานใหเหมาะกับสมรรถนะของมนุษย ใหเหมาะกับขนาดรางกาย การเหยียดกาย พิสัยของการเคล่ือนไหวความสามารถในการมองเห็น รูปแบบของปฏิกิริยาตอบสนอง ขีดจํากัดความเครียดและอื่นๆความลมเหลวของการรับรู สภาพทางกายภาพที่ไมไดมาตรฐาน ดังท่ีเคยเปนมาในอดีตนําไปสูการจําแนกสาเหตุของอุบัติเหตุวาเปน “การกระทําท่ีไมปลอดภัย” เปาหมายหลัก คือการออกแบบเคร่ืองมืออุปกรณตางๆ ตลอดจนสภาพแวดลอมเพ่ือทําให “การทําหนาท่ีของพนักงาน” เปนธรรมชาติและมีความสะดวกสบายมากข้ึน และชวยปองกันความสับสนความออนลา ความคับของใจ การทํางานหนักเกินไป ความบกพรอ งและอุบตั เิ หตุดวย วสั ดุ (MATERIALS) รวมถึงวัตถุดิบ สารเคมีและสารอ่ืนๆ ซ่ึงพนักงานใชทํางานดวยและเปนสวนประกอบในกระบวนการ นับเปนแหลงสําคัญของความเสียหายจากอุบัติเหตุอีกประการหนึ่ง ในหลายๆ บริษัท การบาดเจ็บอันเก่ียวเนื่องจากวัสดุใชงานมีอัตราเฉล่ีย 20 %ถึง 30% ของการบาดเจ็บท้ังหมด เชนเดียวกันกับความเสียหายของทรัพยสิน ซึ่งมักจะเกย่ี วของกบั วัสดุท่ีลน หก การกดั กรอนโดยกรด การไหมหรือการระเบดิ สวนยอยของระบบในประเด็นน้ีไดรับความสนใจในงานการจัดการเพิ่มมากขึ้นเร่ือยๆเม่ือไมกี่ปมานี้ ซึ่งมีเหตุจูงใจมาจากการเนนความสําคัญของงานดานอาชีวะอนามัยมากข้ึนปจจุบันนี้เราแทบจะไมพบผูจัดการยุคใหมที่ไมรูจักคูมือความปลอดภัยในการใชวัสดุและการรักษาสุขภาพ ตลอดจนการดําเนินการเพ่ือรักษาความปลอดภัยจากวัสดุอันตรายตางๆไมมีผูจัดการคนใดจะทํางานควบคุมความเสียหายจากอุบัติเหตุไดเปนที่นาพอใจ หากไมสามารถดาํ เนินการใหการใชวสั ดุเปน ไปอยางเหมาะสมและปลอดภัย สภาพแวดลอม (ENVIRONMENT) รวมถึงทุกสวนที่อยูลอมรอบ ไมวาจะเปนอาคารรั้วที่ลอมรอบผูคน เคร่ืองมือและวัสดุ พ้ืนผิวที่สิ่งตางๆ ตั้งอยูและเคล่ือนท่ีไป ของเหลว และอากาศซ่ึงอยูรอบๆ สสารอื่นๆ อันตรายจากสารเคมี เชน หมอก ไอนํ้า กาซ ไอกาซ ฝุนละอองอากาศและปรากฏการณที่เกี่ยวกับบรรยากาศ อันตรายจากชีวภาพ เชน รา เห็ด แบคทีเรียไวรัส และสภาพทางกายภาพ เชน แสงสวาง เสียง ความรอน ความเย็น ความกดอากาศความชนื้ และการแผรังสี 1 - 23

องคประกอบหลักหรือระบบยอย 4 ประการของระบบการบริหารองคกรทั้งระบบ(คน เครื่องมือ วัสดุ สิ่งแวดลอม) ไมวาจะเปนแตละองคประกอบหรือจากความสัมพันธที่มีตอกัน ลวนเปนแหลงสําคัญของสาเหตุ ซึ่งมีสวนรวมทําใหเกิดอุบัติเหตุและเหตุการณ และอาจสรางความเส่ียงอ่ืนๆ ดังนั้นตองมีการพิจารณาองคประกอบทั้ง 4 อยางระมัดระวังทุกคร้ังที่ทําการตรวจสอบเหตุการณดังกลาวโดยเฉพาะอยางยิ่งเม่ือมีการพัฒนาและจัดทํามาตรการเพื่อการแกไขและปอ งกัน ผจู ัดการทีม่ ปี ระสิทธิภาพควรจะตอ งดแู ลระบบทัง้ หมดขน้ั ตอน 3 ประการ ในการควบคมุ ความสญู เสยี แบบจําลองไมเพียงแตจะสะทอนใหเห็นถึงสาเหตุนานัปการเทานั้น แตยังชี้ใหเห็นถึงโอกาสอันมากมายในการควบคุมอีกดวย ซึ่งโอกาสดังกลาวอาจแบงออกเปน 3 กลุม หรือ3 ข้ันตอนในการควบคมุ ไดแ กการควบคมุ กอนการสมั ผสั กับเหตกุ ารณ (PRE-CONTACT CONTROL) เปนข้ันตอนซึ่งรวมเอาทุกส่ิงที่ตองทําเพ่ือพัฒนา และจัดทําโครงการเพ่ือหลีกเลี่ยงความเส่ียงปองกันความเสียหายจากการเกิดเหตุการณ และวางแผนดําเนินการเพื่อลดความเสยี หายเม่อื เหตกุ ารณเกดิ ขน้ึ การควบคุมกอนการสัมผัสกับเหตุการณเปนข้ันตอนท่ีบังเกิดผลมากท่ีสุด ณ จุดน้ีเราจะพัฒนาโครงการท่ีไดผลดีท่ีสุด สรางมาตรฐานที่ใหผลมากท่ีสุด คงไวซ่ึงผลตอบกลับของการกระทาํ ทีม่ ีประสทิ ธิภาพและจัดการใหมกี ารปฏิบัตติ ามมาตรฐานในการดาํ เนินการ เปาหมายของข้นั ตอนน้ี คือ “การปองกนั ” อนั เปนสวนหน่งึ ของการควบคุมการควบคมุ เมือ่ สัมผสั กับเหตกุ ารณ ( CONTACT CONTROL ) อบุ ตั เิ หตมุ ักจะเกยี่ วโยงกับการสัมผัสกบั แหลงของพลงั งาน หรอื สสาร ซึ่งมคี าเหนือขีดจาํ กัดพน้ื ฐานความทนทานของรางกายหรือโครงสราง มาตรการในการควบคมุ หลายๆ ประการจะใหผลยังจุดและชวงเวลาท่ีมีการสัมผัส ดวยการลดการแลกเปลี่ยนปริมาณพลังงาน หรือการสมั ผัสท่จี ะกอ ใหเ กิดอนั ตราย ตัวอยา งเชน - การแทนทด่ี ว ยรูปแบบของพลงั งานหรือสารท่มี ีอันตรายนอ ยกวา - ใชม อเตอรไฟฟาแทนเพลาและสายพาน (SHAFT AND BELT) - ใชส ารท่ีมีจุดตดิ ไฟสงู หรอื วสั ดทุ ีไ่ มต ดิ ไฟ - ใชของแขง็ ของเหลว นํ้า และกาซ ที่มคี วามเปน พิษนอ ย - ใชเครอื่ งชวยยกของหนกั ๆ แทนทจี่ ะใชค นยก - ลดปริมาณของพลงั งานท่ใี ชห รอื ท่ีปลอยออกมา - หามวิ่งในสถานที่ทาํ งาน - ใชเครื่องมอื ทีม่ แี รงเคลอ่ื นไฟฟา หรอื แรงดนั ตํ่า 1 - 24

- ลดอุณหภมู ใิ นระบบนํ้ารอ นลง- ใชว สั ดุซ่งึ ไมจ ําเปนตองใชอ ุณหภมู ิสูงในการผา นกระบวนการ- ใชแผนรองกันกระแทกเพอ่ื ลดความเร็วในการเดนิ เคร่อื ง- ควบคุมความเร็วของยานพาหนะ- ควบคุมความสัน่ สะเทือนและสิ่งซึ่งจะทําใหเ กิดเสยี ง- ก้ัน ปด บัง และยอ มสเี พอ่ื ลดความรอน แสงสวา ง และแสงจาเกนิ ไป- สรา งเครือ่ งกดี ขวางระหวา งแหลง พลังงานกบั ผูคนหรอื ทรัพยสนิ- ใชอุปกรณห รอื เครอ่ื งมอื ปองกันอนั ตรายสว นบุคคล- ทาครีมหรือโลช่ันท่ีผิวหนัง- สรางแนวปองกันไฟ- หลมุ หลบระเบดิ- กองหรือกําจัดสารพิษออกจากอากาศ- สรางเครื่องกําบังหรือฉนวนปองกันเสียงดังจากเครื่องจักร ความรอน ความเย็นไฟฟา และกัมมนั ตภาพรังสีการแกไ ขพน้ื ผิวท่ีมกี ารสมั ผสั- มีการรองรับจุดทม่ี กี ารสัมผัส- เสรมิ เคร่ืองกันกระแทกดวยการสรา งเสาคาํ้ ยันในบริเวณทีม่ ีการขนยาย- ใชวสั ดุหุมเหล่ียม มุมของเกาอี้ทาํ งาน เคานเตอร เฟอรนเิ จอร และเคร่อื งมอื ตา งๆ- ขัดพืน้ ผิวท่ีขรขุ ระหรือมมุ ทีแ่ หลมคมของเครือ่ งมอื และวสั ดุตางๆ ใหเ รียบ- เก็บเศษวัสดุ กลบหลมุ และส่ิงชาํ รดุ ตางๆ ใหพ น จากพ้ืนทยี่ านพาหนะใชสัญจรเพมิ่ ความแขง็ แรงใหกับรา งกายหรอื โครงสราง- ควบคมุ นํ้าหนักและสภาพรา งกาย- ฉีดวคั ซีนสรางภมู คิ มุ กัน- ใชยารกั ษาเพ่อื ชวยใหเ ลอื ดแขง็ ตวั ในรายทเ่ี ปน โรคโลหิตไหลไมหยดุ ฯลฯ- เสริมความแข็งแรงบริเวณหลังคา พ้ืน เสา ชานชาลา อุปกรณยกของ บริเวณขนถาย สินคา ฯลฯ- เสริมความแขง็ แรงใหโ ครงสรา งของยานพาหนะ เพื่อใหมแี รงตา นความสั่นสะเทือน- ชุบเครือ่ งมอื เชน ใบมีดท่ีใชต ัดใหแข็งขน้ึ 1 - 25

ข้นั ตอนการสมั ผัสกบั เหตุการณที่เกดิ ขึ้น อาจจะเกิดหรอื ไมเ กดิ ความเสียหายกไ็ ด ขึ้นอยู กับปริมาณของพลังงานหรือสารที่เก่ียวของ การควบคุมท่ีไดผลจะมีการแลกเปล่ียนใหมี ปริมาณนอยลง ซ่ึงมีผลใหเกิดความเสียหายเพียงเล็กนอยแทนที่จะรุนแรง มาตรการ ดั ง ก ล า ว ไ ม ไ ด ป อ ง กั น ก า ร สั ม ผั ส กั บ เห ตุ ก า รณ แ ต มี ส ว น สํ า คั ญ ยิ่ ง ใน ก า ร ค ว บ คุ ม ความเสยี หาย การควบคุมหลังจากการสัมผสั กบั เกตกุ ารณ (POST – CONTACT CONTROL) หลังเกิดอุบัติเหตุ หรือ หลัง “การสัมผัสกับเกตุการณ” ปริมาณความเสียหายยอมควบคุมไดใ นหลายวิธดี ว ยกนั เชน - ดําเนินการตามแผนปฏิบตั ิเมือ่ เกิดเหตุฉุกเฉิน - ใหก ารปฐมพยาบาลและรกั ษาพยาบาลอยา งเหมาะสม - ดาํ เนินการกูภัย - ควบคุมเพลงิ ไหมแ ละการระเบิด - เคล่ือนยายเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณท่ีเสียหายออกไป และไมใชงานจนกวาจะ ซอ มเสรจ็ - ซอ มแซมเคร่อื งมอื วัสดุ อุปกรณ ทช่ี าํ รุดโดยเรว็ - รบี เรงระบายมลภาวะในอากาศในบรเิ วณทที่ ํางานออกไปโดยเรว็ - ชําระลางส่ิงที่หกลน ออกมาอยางมีประสทิ ธภิ าพ - ควบคุมการเรยี กรอ งเงนิ ชดเชย - ใชมาตรการขนยายและควบคุมความเสียหาย เพ่ือรวบรวมของที่ชํารุดแลวกลับมาใช ประโยชนใหม - ฟนฟสู ุขภาพพนักงานทีไ่ ดร ับบาดเจ็บอยา งมีประสิทธภิ าพและโดยรวดเร็ว การควบคุมภายหลังการสัมผัสกับเหตุการณไมอาจปองกันอุบัติเหตุได แตชวยลดความเสียหายใหนอยลง ทั้งยังใหเห็นความแตกตางระหวางการบาดเจ็บและการเสียชีวิตความเสียหายแบบท่ียังนํากลับมาซอมแซมไดกับการสูญเสียโดยส้ินเชิง การรองทุกขกับการฟอ งรอ ง และระหวางธุรกจิ หยดุ ชะงักกับการตอ งปด กิจการ 1 - 26

บทท่ี 3 การปองกันและระงับอคั คภี ัยในสถานประกอบการ การปองกันอัคคีภัยเปนวิทยาศาสตรแขนงหน่ึง ซ่ึงตองอาศัยเวลาและความรูพื้นฐานในดานตา งๆ เชน เคมี ฟส กิ ส วิศวกรรม เพื่อความรคู วามเขาใจอยา งลึกซึ้ง ดงั นน้ั การออกแบบระบบการปองกันอัคคีภัยควรเปนความรับผิดชอบของผูเชี่ยวชาญเทาน้ัน เพราะถามีระบบการปองกันอัคคีภัยอยางมีประสิทธิภาพแลวยังชวยประหยัดคาใชจายในการปองกันอัคคีภัยอกี ดวย เมื่อโรงงานจัดต้ังระบบการปองกันอัคคีภัยข้ึนแลว ก็เปนหนาท่ีของเจาหนาที่และผูควบคุมงานท่ีจะดูแลใหระบบการปองกันอัคคีภัยเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ และใชงานไดอยา งถูกตองเหมาะสมสาเหตุของการเกิดและแหลงกาํ เนิดอคั คภี ยั เพื่ อ ช ว ย ใ ห เจ า ห น า ที่ แ ล ะ ผู ค ว บ คุ ม ง า น ไ ด มี ร ะ บ บ ก า ร ป อ ง กั น อั ค คี ภั ย อ ย า ง มีประสิทธิภาพ ดังน้ันการเขาใจสาเหตุของอัคคีภัยจะชวยใหสามารถพบแหลงเกิดอัคคีภัยไดงายและรายงานใหผ รู ับผดิ ชอบหาทางปองกนั ภาพองคป ระกอบของการเกดิ เพลิงไหม การเกิดและการลุกลามของเพลิงไหมโดยทั่วๆไป เกิดข้ึนจากองคประกอบ 4 อยาง คือเชื้อไฟ,อากาศ (ออกซิเจน), ความรอน (อุณหภูมิที่ทําใหเชื้อไฟลุกไหม) และปฏิกิริยาลูกโซทางเคมี สําหรับองคประกอบท่ี 4 น้ัน เกิดขึ้นหลังจากท่ีเกิดเพลิงไหมแลว แตองคประกอบ 1 - 27

3 อยางแรกนั้น ถาอยูรวมกันเมื่อใดก็จะทําใหเกิดเพลิงไหมได ดังนั้น การปองกันการเกิดเพลิงไหมก็คือ การควบคุมองคประกอบ 3 อยางแรก แตการจะระงับอัคคีภัยนั้นตองควบคุมองคประกอบท่ี 4 ดวย เพราะฉะนั้น การออกแบบระบบการปองกันอัคคีภัยนั้น จะตองมีการตรวจตราเสียกอนวา สาเหตุของการเกิดเพลิงไหมจะเกิดไดในบริเวณใดบาง และจะเกิดปฏิกิริยาลูกโซทางเคมีในลักษณะใดไดบาง เพื่อจะไดเลือกใชอุปกรณดับเพลิงอยางถูกตองเหมาะสม โดยทางปฏิบัติ การควบคุมเพลิงไหม กระทําโดยควบคุมเช้ือไฟหรือความรอน วิธีที่ดีทส่ี ุดในการปองกันการเกิดความรอ นสูงจนถึงจุดตดิ ไฟน้ัน กระทําไดโดยการตรวจตราและกาํ จัดไมใหมีแหลงกําเนิดความรอนสูง สําหรับการควบคุมเช้ือไฟนั้นทําไดโดยการดูแลโรงงานใหสะอาด เปนระเบียบเรียบรอยและปฏิบัติตามคําแนะนําของผูเช่ียวชาญในการเก็บรักษาสารทีไ่ วไฟอยางไรกต็ ามแหลง กาํ เนดิ เพลงิ ไหมท่พี บเหน็ อยเู สมอๆ ในโรงงานคอื (1) อุปกรณไฟฟา อาจเกิดประกายไฟซึ่งมีความรอนสูงเนื่องมาจากสายไฟท่ีเปนฉนวนหุมเปอยลอกออก นอกจากนี้อุปกรณไฟฟาบางชนิดซึ่งไดรับการดูแลรักษาที่ไมเหมาะสมอาจมีความรอนสูงในตัวของมันเอง เม่ือถูกตองกับฝุนละออง กาซ ไอของสารไวไฟ หรือเชื้อไฟอื่นๆ ก็อาจเกิดการลุกไหมได (2) ความเสียดทาน ของสว นประกอบของเครือ่ งจักรเคร่อื งยนต เชน ตลับลกู ปน เพลาซ่ึงทําใหเกิดความรอนสูงเม่ือถูกตองกับเช้ือไฟ เชน ฝุนผง ใยผา พลาสติก เปลือกแหงของเมลด็ พืช สารเคมบี างชนิด ขีเ้ ลอ่ื ย ฯลฯ อาจเกดิ การลุกไหม (3) วัสดุไวไฟชนิดพิเศษ เชน โซเดียม โปแตสเซียม ซึ่งสามารถลุกไหมไดเองในนํ้าฟอสฟอรัส ซึ่งลุกไหมไดเองเมื่อถูกกับอากาศ หรือวัสดุอื่นๆ ซ่ึงสามารถลุกไหมไดเอง เมื่อสมั ผัสกบั เชอ้ื ไฟกจ็ ะเกิดการลกุ ไหมข นึ้ (4) การเช่ือมและการตัดโลหะ ซ่ึงจะเกิดประกายไฟตลอดเวลาที่ทํางาน เมื่อสัมผัสกบั เช้ือไฟกเ็ กิดการลกุ ไหมข ้ึน (5) เตาเผาซึ่งไมมีฝาปดหรือเปลวไฟที่ไมมีส่ิงปดคลุม ถาในบริเวณใกลเคียงมีเชื้อไฟซึ่งไมไดรับการระมัดระวังดูแล เมื่อเกิดการสัมผัสระหวางเปลวไฟกับเชื้อไฟก็จะเกิดการลุกไหม (6) การสูบบุหร่ีหรือการจุดไฟ บริเวณที่มีไอของสารไวไฟ เชน นํ้ามันเบนซิน ถาไมระมัดระวัง อาจเกิดการจุดระเบิดและอันตรายถึงชีวิต นอกจากน้ี ความรอนจากกนบุหรี่ท่ีติดไฟและไมข ดี ท่ใี ชจ ุดไฟแลว อาจทําใหเชื้อไฟบางชนิดเกิดการลุกไหมไ ดโ ดยงาย (7) วัตถุที่ผิวรอนจัด เชน เหล็กที่ถูกเผา ทอไอน้ํา ฯลฯ เมื่อมีการกระทบระหวางผิวท่ีรอ นจดั กบั เชือ้ ไฟอาจเกิดการลกุ ไหม (8) ไฟฟาสถิต คือการสัมผัสของประกายไฟซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการถายเทประจุไฟฟาสถิตกบั เชือ้ ไฟอาจทําใหเ กดิ การลุกไหม 1 - 28

(9) เครื่องทําความรอน เน่ืองจากเคร่ืองทําความรอนจะมีทั้งเปลวไฟซึ่งเกิดขึ้นจากการเผาไหมของเช้ือเพลิงที่ใชทําความรอนและความรอนสะสมไวที่ตัวเครื่อง ถาเกิดการสัมผัสเปลวไฟ หรอื ความรอ นกับเชื้อไฟกย็ อมเกิดการลุกไหมไ ด (10) การลุกไหมดวยตนเอง เชน พวกขยะ การสะสมของสารบางชนิด จะกอใหเกิดความรอ นข้ึนในตัวของมนั เองจนกระทั่งถึงจดุ ติดไฟ เม่ืออยรู วมกับเชอ้ื ไฟกย็ อมเกิดการลกุ ไหมอนั ตรายจากอคั คภี ยั เม่ือพิจารณาถึงความปลอดภัยจากอัคคีภัยนั้น สิ่งสําคัญท่ีสุดก็คือ การรักษาชีวิตของผูประสพอัคคีภัย สวนเรื่องการรักษาทรัพยสินนั้น เปนเร่ืองรองลงมา ดังน้ัน เราตองเขาใจกอนวา ไฟทําใหคนเสียชีวิตไดอยางไร เพอื่ จะไดหามาตรการในการปองกันท่ีตนเหตขุ องการบาดเจ็บและเสียชวี ิต ซึ่งโดยทว่ั ไปแลว ไฟจะทาํ อนั ตรายแกผปู ระสบเหตุไดในสามรปู แบบคือ ความรอน ไฟไหมทําใหเกิดความรอนไดอยางรุนแรง โดยที่อุณหภูมิในพ้ืนท่ีที่เกิดไฟไหมอาจสูงถึง 500-1300 องศาเซลเซียส (ลองเทียบกับอุณหภูมิของนํ้าเดือดเทากับ100 องศาเซลเซียส) ซ่ึงความรอนที่อุณหภูมิขนาดนี้ จะสามารถทําลายเน้ือเย่ือของรางกายไดอยางรุนแรง การสูดอากาศท่ีมีความรอนนี้เขาไปสามารถลวกและทําลายเน้ือเยื่อของปอดไดในทันทแี ละการสมั ผสั กับความรอนสงู ขนาดน้ี อาจทาํ ใหเกดิ การหมดสติไดอ ยา งรวดเรว็ อยางไรก็ตาม ความรอนก็เปนเพียงสวนอันตรายสวนหน่ึงของไฟไหม และ จากสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกา การเสียชีวิตจากเพลิงไหมบานนั้น หนึ่งในสี่เทานั้นท่ีเกิดจากความรอน สวนอีกสามในสีน่ ้ัน การเสยี ชวี ิตเกิดจากควนั และกาซพิษ และ การขาดอากาศหายใจ การขาดอากาศหายใจ ในการเกิดไฟไหม ออกซิเจนในบริเวณน้ันจะถูกใชไปในปฏิกิริยาการเผาไหม ทําใหปริมาณออกซิเจนในอากาศลดลงอยางรวดเร็ว โดยท่ัวไปอากาศท่ีเราหายใจมีออกซเิ จนอยูประมาณ 21 % ถาระดับออกซเิ จนลดลงเหลือ 17 % สมองจะเริม่ ต้ือและการควบคุมกลามเน้ือจะทําไดลําบากขึ้น ซ่ึงทําใหการคิดและการหนีไฟทําไดยากลําบากมากขึ้น ถาระดับออกซิเจนลดลงเหลือ 6-10 % การหายใจจะหยุด หลังจากเราขาดออกซิเจนเพียง 4-6 นาที ก็อาจจะเกิดสมองตายได ดังนั้น จึงเห็นไดวาระยะเวลาที่เรามีการหนีไฟน้ันมจี ํากัด และเปนเวลาท่ีมีคา มาก จึงจําเปนอยางยิ่งท่ีเราตองมีการเตรียมตัวใหพรอมและใชเวลาทีม่ ีจาํ กดั นน้ั ใหค มุ คา ที่สดุ กาซพิษและควัน กาซพิษและควัน เปนสาเหตุหลักของการเสียชีวิตท่ีเกิดจากเพลิงไหม โดยเฉพาะในกรณีท่ีไฟไหมตอนกลางคืนขณะที่คนสวนใหญกําลังนอนหลับ คนท่ีนอนหลับอยูและสูดเอากาซเขาไป อาจไมต่ืนขึ้นมาอีกเลย หรือ อาจจะหมดสติทันทีที่ลุกข้ึนเพื่อจะพยายามหนไี ฟกาซพิษที่มกั จะเกิดขึ้นในเพลงิ ไหมอาคารทั่วไปมี 4 ประเภท ไดแ ก - กาซคารบอนมอนอกไซด เปนกาซที่มีพิษและจะเขาไปแทนท่ีออกซิเจนในเลือด พบไดใ นไฟไหมท กุ ประเภท 1 - 29

- กาซไฮโดรเจนไซยาไนด เปนกาซพิษที่เกิดจากการไหมของผาไหม ผาขนสัตว ผา ไนลอน และพลาสติกบางประเภท ท่ีมักจะพบในวัสดุทําผาหม เฟอรนิเจอร ผามาน และเสอ้ื ผา - กาซไฮโดรเจนคลอไรด เปนกาซท่ีเกิดจากพลาสติกที่มีคลอรีนเปนสวนผสม ทําให เกิดการระคายเคืองในตา และ ระบบทางเดินหายใจ ทําใหเปนอุปสรรคตอการ หนีไฟ - กาซคารบ อนไดออกไซด เปนกาซที่จะทาํ ใหผสู ูดตองหายใจเรว็ ขึน้ ทาํ ใหส ดู เอากาซ พิษชนิดอื่นเขาสูรางกายมากขึน้ นอกจากน้ี ยังมีควันซ่ึงประกอบดวยอนุภาคขนาดเล็กท่ีจะบดบังแสง และทําใหความสามารถในการมองเหน็ ลดลง ชนดิ และปรมิ าณของกาซพษิ และควัน ขน้ึ อยกู บั วสั ดทุ ่ีเปน เช้อื เพลงิ ดังน้ัน การเลือกใชวัสดุที่ไมกอใหเกิดควัน และ กาซพิษ นับวาเปนแนวทางที่สําคัญที่ชวยลดอันตรายที่เกิดจากควนั และกา ซพิษไดลักษณะการเกดิ อัคคภี ยั อัคคีภัย สวนใหญแลวจะเก่ียวของกับวัสดุที่เปนเชื้อเพลิงของแข็ง และจะเกิดขึ้นตามลําดับเปน 4 ระยะ ดวยกัน(1) ระยะเริ่มตน การสลายตัวเนื่องจากความรอนของวัสดุที่ไหมไฟได จะเกิดอนุภาคเล็กๆ จํานวนมากซึ่งอนุภาคเหลานี้มีท้ังอนุภาคของแข็งและอนุภาคของเหลว ซ่ึงประกอบดวย คารบอนซึ่งยังไมไหมไ ฟ ไอนา้ํ และกา ซตา งๆ ซงึ่ เกดิ ข้ึนดว ยการสลายตวั เนอ่ื งจากความรอ น อนุภาคที่ไหมไฟเหลานี้ ในระยะเรม่ิ ตนจะมีขนาดเล็กมาก นอยกวา 1 ไมครอน (หนึ่งในลานของเมตร) ซ่ึงตาของมนุษยโดยท่ัวไปแลวไมอาจมองเห็นอนุภาคที่เล็กกวา 5 ไมครอนไดดงั นัน้ การเกดิ การเผาไหมในระยะเร่ิมตนนจ้ี ึงยังมองไมเหน็(2) ระยะเกิดเปนควนั ถาเพลิงท่ีเกิดในเชื้อเพลิงท่ีเปนของแข็งยังคงดําเนินตอไป มันจะถึงระยะที่เกิดเปนควันขึ้น การเผาไหมจะเพ่ิมขึ้นจนถึงจุดซึ่งท้ังปริมาณและมวลสารของอนุภาครวมตัวกันเพ่ิมข้ึนจนเกิดเปนควันที่มองเห็นได ความรอนที่ออกมาจะเพิ่มข้ึนแตยังไมเพียงพอท่ีจะชวยใหการลกุ ไหมดําเนินตดิ ตอ ไปไดเอง 1 - 30

(3) ระยะเกิดเปลวไฟ ระยะน้ีเม่ือปริมาณความรอนมากพอที่จะจุดกาซ และอนุภาคท่ียังไมไหมไฟซึ่งเกิดจากความรอนใหลุกไหมข้ึน เม่ือไฟเขามาถึงระยะเกิดเปลวแลว มันจะเกิดพลังงานพอเพียงท่ีจะทําใหเกิดการลุกไหมตอไปไดดวยตัวของมันเอง และความรอนจะสูงขึ้น ตราบใดท่ียังมีเชื้อเพลิง,ออกซิเจน และอุณหภมู สิ ูงเกินกวา จุดติดไฟของเชอ้ื เพลิงน้ันอยู(4) ระยะเกดิ ความรอ นสูง ระยะนี้เปนระยะสุดทายของเพลิง เปนชวงท่ีเกิดความรอนสูงตามมาอยางรวดเร็วถา เพลงิ ลุกลามขน้ึ มาถึงข้ันน้ีจะกอใหเกิดความเสยี หายอยางมากมาย และยากท่จี ะดบั ลงได อัคคีภัยเปนปรากฏการณธรรมชาติ ซ่ึงเกิดข้ึนเม่ือสสารมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงอุณหภูมิวิกฤติจะเกิดปฏิกริยาทางเคมี เชน เมื่อถูกกับออกซิเจน จะเกิดความรอน เปลวเพลิง แสงสวางควัน ไอนํ้า คารบอนมอนอกไซด หรอื ผลตอเน่ืองอื่นๆประเภท (Classification) ของอปุ กรณต รวจจบั อคั คภี ัยโดยอัตโนมตั ิ อุปกรณต รวจจับ แบง เปน ประเภทตาง ๆ ดังนี้ 1. อปุ กรณต รวจจบั ความรอน (Heat Detector) คืออุปกรณต รวจจบั อณุ หภมู ิหรืออัตราการเพิ่มของอุณหภูมสิ ูงกวา ปกติ 2. อุปกรณตรวจจับควัน (Smoke Detector) คืออุปกรณตรวจจับ อนุภาคท่ีเกิดจาก การเผาไหมทงั้ สภาวะทม่ี องเหน็ ไดแ ละมองไมเ หน็ 3. อปุ กรณต รวจจบั กาซเพลิงไหม (Fire Gas Detector) คอื อุปกรณต รวจจับกา ซตางๆ ที่เกดิ จากเพลงิ ไหม 4. อปุ กรณตรวจจบั อนื่ ๆ คือ อุปกรณตรวจจับการเกดิ อคั คภี ัยในสภาพอื่นๆ นอกเหนือจากความรอ น ควัน เปลวเพลิง หรือกา ซทกี่ ลา วขางตนชนดิ ของอปุ กรณต รวจจบั 1. ชนิดเสน (Line Type) เปนอุปกรณตรวจจับอัคคีภัย ลักษณะเปนเสนยาวตอเนื่องกัน ยกตัวอยางเชน อุปกรณตรวจจับอัตราการเพ่ิมอุณหภูมิโดยทอลม อุปกรณตรวจจับควนั โดยลาํ แสง หรือ เคเบิลไวตอ ความรอน 2. ชนิดจุด (Spot Type) เปนอุปกรณตรวจจับอัคคีภัยที่ตําแหนงเฉพาะเปนจุดๆยกตัวอยางเชน อุปกรณตรวจจับชนิดใชโลหะคู (Bi-metal) ชนิดใชโลหะผสมหลอมละลาย(Fusible Alloy) ชนดิ ใชอตั ราการเพิ่มของลม (Pneumatic rate of rise) ชนดิ ตรวจจบั ควนั และชนิดไฟฟาพลังความรอ น (Thermoelectric) 1 - 31

3. ชนิดชักตัวอยางอากาศ (Air Sampling Type) ประกอบดวย ตัวอุปกรณตรวจจับซึ่งตอทอกระจายไปทั่วบริเวณที่จะปองกัน มีปมดูดอากาศตัวอยางจากบริเวณดังกลาวผานทอไปยังกลอ งชกั ตัวอยา ง ซ่ึงจะวิเคราะหอ นุภาคตา งๆ ทเ่ี กดิ จากเพลงิ ไหมสภาวะของการทํางาน 1. ชนิดไมคืนสภาพเดิม (Non-Restorable) เมื่ออุปกรณทํางานตรวจจับสภาวะเพลิงไหมแ ลวสารทเ่ี ปนองคป ระกอบจะถูกทําลาย 2. ชนิดคืนสภาพเดิม (Restorable Detector) เมื่ออุปกรณทํางานตรวจจับสภาวะเพลงิ ไหม สารเปน องคป ระกอบไมถูกทําลาย การคืนสภาพทาํ ไดโดยบุคคลหรืออัตโนมตั ิอปุ กรณต รวจจบั ความรอ น ความรอนเปนพลังงาน ทําใหสารมีอุณหภูมิสูงข้ึน และโดยนัยเดียวกันพลังงานความรอ นจะเกดิ ข้นึ จากการเผาไหมของสาร หลักการทํางาน อปุ กรณตรวจจับอุณหภูมติ ายตวั (Fixed Temperature Deteclor) 1. อปุ กรณต รวจจับชนดิ นจ้ี ะทาํ งานเมือ่ อณุ หภูมสิ งู ขนึ้ ถึงระดบั ท่ีตั้งไว 2. ความรอนหนวง (Thermal lag) ในขณะที่อุปกรณชนิดนี้ทํางาน โดยปกติแลวอุณหภูมิของบรรยากาศรอบๆ จะสูงกวาอุณหภูมิตายตัวของอุปกรณ คาความแตกตางระหวางอณุ หภูมิตายตัวกับอุณหภมู ขิ องบรรยากาศรอบๆ เรียกวา “ความรอ นหนว ง” และเปนสัดสว นกับอตั ราการเพิ่มของอุณหภมู ิ 3. ตวั อยา งของสารองคป ระกอบสาํ หรบั อปุ กรณชนดิ อุณหภูมิตายตวั ก) โลหะคู (Bi-metallic) ประกอบดวย โลหะ 2 ชนิด ซึ่งมี คาสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวดวยความรอนท่ีตางกัน จัดประกบติดกันในลักษณะที่ทําใหงอไปดานหนึ่งเม่ือได รบั ความรอ นและงอไปทางดานตรงขา มเมื่อเยน็ ลง ข) ตัวนําไฟฟา (Electrical Conductivity) สารองคประกอบ เปนลวดความตานทาน ซ่ึงคาความตานทานจะเปลี่ยน แปลงไปตามอณุ หภูมิ ค) โลหะผสมหลอมละลาย (Fusible Alloy) สารองคประกอบ เปนโลหะผสมพิเศษ ซึ่งจะหลอมละลายเมื่อรอนถึง อณุ หภูมิพกิ ดั ง) เคเบิลไวตอความรอน (Heat Sensitive Cable) เปน อุปกรณชนิดเสนชนิดแรกท่ีประกอบดวยสายนํากระแส จํานวน 2 เสน กั้นดวยฉนวนไวตอความรอนซ่ึงจะออน 1 - 32

ตัวลงที่อุณหภูมิพิกัดและทําใหสายท้ัง 2 เสนนั้นเปนตัว สัมผัสทางไฟฟา ชนิดท่ีสองเปนสายเสนเดี่ยว สอดอยู กลางทอโลหะ โดยอัดสารพิเศษระหวางชองวางของสาย กับทอ เม่ือสารนั้นรอนถึงอุณหภูมิวิกฤติจะเปล่ียนสภาวะ จากฉนวนไฟฟาเปนตัวนําไฟฟา ทําใหเกิดตัวสัมผัสทาง ไฟฟาระหวา งทอ กบั สาย จ) การขยายตัวของของเหลว สารองคประกอบเปนของเหลว ซ่งึ ขยายตัวทางปริมาตรตามอณุ หภูมทิ ส่ี ูงข้ึนอุปกรณต รวจจับอัตราการชดเชย (Rate Compensation Detector) 1. เปนอุปกรณซ่ึงทํางานเม่ืออุณหภูมิของบรรยากาศโดยรอบสูงถึงจุดท่ีต้ังไว โดย ไมขน้ึ กับอตั ราการเพิม่ ของอุณหภมู ิ 2. ตัวอยางของอุปกรณชนิดนี้ไดแก อุปกรณตรวจจับเฉพาะจุด ประกอบดวย หลอดโลหะซึ่งจะขยายตัวตามยาวเมื่อรอน ถาการขยายตัวถึงจุดท่ีกําหนด จะทําให เกิดแรงดันบิดตัวสัมผัส และภายในหลอดจะมีโลหะอีกชิ้นหนึ่งคอยสงแรงดานไมให ตัวสัมผัสปด แรงทั้งสองจะอยูในภาวะสมดุลย เม่ืออัตราการเพ่ิมอุณหภูมิของ อากาศโดยรอบสูงขึ้นชาๆ ทําใหความรอนสามารถผานไปถึงชิ้นโลหะภายในและ เกิดแรงตานตัวสัมผัสใหเปดอยูจนกระทั่งอุณหภูมิสูงข้ึนถึงพิกัดที่กําหนด อยางไร ก็ตามหากอุณหภูมิโดยรอบสูงขึ้นอยางรวดเร็ว จนไมมีเวลาเพียงพอท่ีจะทําให ช้ินโลหะภายในรอน ตัวสัมผัสจะปดในขณะท่ีอุณหภูมิของอุปกรณยังต่ําอยู ผลไดร ับคือการชดเชยความรอ นหนว ง (Com-pensates for Thermal Lag)อุปกรณตรวจจับอัตราการเพมิ่ (Rate of Rise Detector) เปน อุปกรณซ ่งึ จะทาํ งานเมอื่ อัตราการเพม่ิ ของอณุ หภมู สิ งู ข้ึนเกินอตั ราพิกดั ทตี่ ้ังไวเชน ก) อุป กรณ ตรวจจับดวยอัตราการเพ่ิ มความดันในเสนท อ (Pneumatic Rate-of-Rise Tubing) อุปกรณตรวจจับชนิดนี้เปน เสนยาว ประกอบดวย ทอท่ีมีเสนผาศูนยกลางเล็กๆ โดยปกติ เปนทอทองแดง ติดต้ังอยูบนฝาเพดาน หรือขอบบนของพ้ืนที่ที่ ตองการปองกันอัคคีภัยปลายทอตอเขาเคร่ืองตรวจจับ ซึ่ง ประกอบดวย ไดอะเฟรมและชุดของตัวสัมผัส ซึ่งจะทํางานท่ี พิกัดความดันท่ีตั้งไว ระบบจะปดสนิท (Sealed) ยกเวนปรับแตง การระบายอากาศได เพื่อใหชดเชยตอการเปลี่ยนอุณหภูมิตาม สภาวะปกติ 1 - 33

ข) อุปกรณตรวจจับดวยอัตราการเพ่ิมของความดันของลมชนิดจุด (Spot-Type Pneumatic Rate of Rise Detector) อุปกรณชนิดนี้ ประกอบดวยกลองอากาศ (Air Chamber) ไดอะแฟรม ตัวสัมผัส และรูระบายอากาศบรรจุรวมอยูในกลองเดียวกัน หลักการ ทํางานเหมอื นกับชนิด ก. ค) อุ ป ก ร ณ ต ร ว จ จั บ ด ว ย ผ ล ข อ ง ไ ฟ ฟ า พ ลั ง ค ว า ม ร อ น (Thermoelectric Effect Detector) ประกอบดวยองคประกอบไว ตอความรอน ชนิดเทอรโมคัปเปล (Thermocouple) หรือเทอร โมไพล (Thermopile) ซ่ึงศักยไฟฟาสูงข้ึนตามอุณหภูมทิ ี่เพิ่มขึ้น ศักยไฟฟาจะตรวจทราบ (Monitor) โดยอุปกรณควบคุม และจะ เร่ิมสัญญาณเตือนภัย เม่ืออัตราการเพ่ิมของศักยไฟฟาเร็วกวา ปกติอุปกรณตรวจจับควนั ควัน คือ อนุภาคที่เกิดจากการเผาไหมของสสารรวมตัวกันในบรรยากาศทั้งท่ีมองเห็นไดและมองไมเห็นหลกั การทํางาน (1) อุปกรณตรวจจับควันโดยอาศัยหลักการเกิดไอออน (Ionization Smoke Detection Principle) สวนใหญเปนอุปกรณชนิดจุด ประกอบดวย สารกัมมันตภาพรังสี บรรจุอยูในกลองตรวจจับ (Sensing Chamber) เปน ผลใหอากาศภายในกลองเกิดไอออนมีสภาพเปนตัวนํา และทําใหกระแส ไฟฟาไหลผานไดระหวางข้ัวอีเลคโทรด เมื่ออนุภาคควันผานเขาในกลอง อนุภาคควันจะจับตัวรวมกับไอออนทําใหการเคล่ือนท่ีชาลงและคาความนํา ไฟฟาลดลง อุปกรณตรวจจับจะเร่ิมสัญญาณเมื่อคาความนําลดลงถึง จดุ พกิ ัดท่ีกําหนดไว (2) อุปกรณตรวจจับควันโดยอาศัยหลักการบดบังไฟฟาพลังแสง (Photoelectric Light Obscuration Smoke Detection Principle) ประกอบดวยแหลง กาํ เนิดแสงท่ีฉายลําแสงตรงไปยังอุปกรณไวแสง (Photo sensitive device) อุปกรณตรวจจับและเร่ิมสัญญาณ เม่ืออนุภาคควันท่ีอยู ระหวางแหลงกําเนิดแสงกับอุปกรณไวแสงบดบังและลดปริมาณแสงถึง จดุ พกิ ดั ท่ีกาํ หนด 1 - 34

อปุ กรณต รวจจับที่อาศัยหลักการขางตน โดยปกติเปนชนิดจุด (Spot Type) สําหรับอุปกรณตรวจจับชนิดเสน (Line Type) จะตรวจจับควันโดยการ ฉายลาํ แสงผา นบริเวณพื้นท่ีทีต่ องการปอ งกัน ไปยังอปุ กรณไวแสง (3) อุปกรณตรวจจับควันโดยอาศัยหลักการกระจายไฟฟาพลังแสง (Photoelectric Light Scattering Smoke Detection Principle) เ ป น อุปกรณชนิดจุดประกอบดวยแหลงกําเนิดแสง และอุปกรณไวแสง โดยแสง จากแหลงกําเนิดมิไดสองตรงยังอุปกรณไวแสง เม่ือมีอนภุ าคควนั เกิดข้ึนใน บริเวณน้ัน แสงจะกระทบอนุภาคควันแลวสะทอนไปยังอุปกรณไวแสง ทาํ ใหอุปกรณตรวจจบั ควันเร่ิมสญั ญาณ (4) อุป ก รณ ต รวจจับ ค วัน โด ยอาศั ยห ลัก บ ริด จค วาม ต าน ท าน (Resistance Bridge Smoke Detection Principle) เปนอุปกรณชนิดจุด เมื่อมีอนุภาคควันและความชื้นจากเพลิงไหมตกกระทบตาขายบริดจไฟฟา คาความนําไฟฟาของวงจรตาขายจะเพ่ิมขึ้นถึงจุดพิกัด ทําใหอุปกรณตรวจ จับเร่ิมสัญญาณ (5) อุปกรณ ตรวจจับควันโดยอาศัยหลักกลองหมอกควัน (Cloud Chamber Smoke Detection Principle) เปนอุปกรณตรวจจับโดยการดูด อากาศตัวอยางโดยใชปมเขาไปในกลองท่ีมีความช้ืนสูงภายใน เมื่ออากาศ เขาสูภายในความกดดันของอากาศจะลดลง ถาหากมีอนุภาคควันปนอยู ความช้ืนในอากาศจะกล่ันตัวเปนหมอกคลุมอนุภาคควัน ความหนาแนน ของหมอกควนั จะถกู ตรวจวัดโดยหลกั การของไฟฟาพลังแสงเมื่อความหนา แนนหมอกควนั สงู ถงึ จดุ พิกดั จะทาํ ใหอ ุปกรณตรวจจบั ควันเรมิ่ สงสญั ญาณอปุ กรณต รวจจับเปลวเพลิง เปลวเพลิงจะเปนแสงเปลงออกจากกลุมกาซรอนจัดเนื่องจากการเผาไหมของเชื้อเพลิงเปลวเพลิงทีเ่ กิดข้นึ จากการเผาไหมข องสารบางชนิด เชน กาซไฮโดรเจน จะไมสามารถมองเห็นดวยตาเปลาหลักการทาํ งาน อุปกรณตรวจจับเปลวเพลิง (Flame Detector) คือ อุปกรณท่ีทํางานเน่ืองจากพลังงานของการแผร ังสีในชว งทมี่ องเหน็ ได (ประมาณ 4,000 ถึง 7,700 อังสตรอม) และทม่ี องไมเ หน็ 1. อุปกรณตรวจจับการกระพริบของเปลวเพลิง (Flame Flicker Detector) คือ อุปกรณตรวจจับเปลวเพลิงแบบไฟฟาพลังแสงซ่ึงประกอบดวยกรรมวิธีท่ีปองกันมิ ใหมีปฏิกิริยาตอบสนองตอแสงที่มองเห็น จนกวาแสงน้ันจะถูกผสมคลื่น (Modulated) ใหเ กดิ ความถท่ี ่มี ีคณุ ลกั ษณะเหมอื นการกระพริบของเปลวเพลงิ 1 - 35

2. อุปกรณตรวจจับรังสีอินฟราเรด (Infrared Detector) คืออุปกรณที่ทํางานเน่ืองจาก พลังงานของการแผรงั สีในชวงที่มองไมเ ห็น (สงู กวา 7,700 อังสตรอม) 3. อุปกรณตรวจจับเปลวเพลิงโดยไฟฟาพลังแสง (Photoelectric Flame Detector) คืออุปกรณท่ีประกอบดวยเซลลพลังแสง (Photo cell) ซึ่งเม่ือไดรับพลังงานของ การแผรังสีจะแปรคาความนําไฟฟา หรอื เกิดศักยไ ฟฟา 4. อุปกรณตรวจจับรังสีอุลตราไวโอเล็ต (Ultraviolet Detector) คืออุปกรณ ท่ีทํางาน เนื่องจากพลงั งานของการแผร งั สใี นชว งที่มองไมเ หน็ (ตํ่ากวา 4,000 องั สตรอม)อปุ กรณตรวจจับกา ซทเ่ี กดิ จากเพลิงไหม กาซซึ่งเกิดจากการเผาไหมของสสาร คือ โมเลกุลที่ไมรวมตัวกันและอาจจะผสมกับออกซเิ จน หรอื ไฮโดรเจนไดหลกั การทาํ งาน (1) สารกง่ึ ตัวนํา (Semiconductor) อุปกรณช นดิ ใชส ารกึ่งตัวนําจะมีปฏกิ ริ ิยาตอบสนองโดยอาศัยหลักการท่ีวา คุณสมบัติทางไฟฟาของสารกึ่งตัวนําเม่ือกระทบกับกาซผสม ออกซิเจนหรือไฮโดรเจน (Oxidizing or Reducing Gases) จะเปล่ียนคาความนําไฟฟา (2) สารเรงปฏิกิริยา (Cataytic Element) อุปกรณชนิดนี้ประกอบดวยสารคงสภาพซ่ึงชวยเรงอัตราการผสมออกซิเจน (Oxidation) ของกาซเผาไหมเปนผลใหสารนั้นมีอุณหภูมิสูงขน้ึ ถงึ พกิ ดั ทํางานการดูแลควบคุมแหลง กาํ เนดิ อัคคภี ัย เกิดเพลิงไหมนั้นเกิดขึ้นเน่ืองจากปฏิกิริยาระหวางความรอน เช้ือไฟ และออกซิเจนในอากาศเมื่อทราบวาอะไรบางที่สามารถผลิตความรอนสูงพอท่ีจะติดไฟได ก็จําเปนตองควบคุมไมใหมีองคประกอบอีก 2 อยางเขาไปอยูรวมดวย แตถาควบคุมไมไดท้ังสองอยาง ซึ่งปกติเราควบคุมออกซิเจนไมไดเพราะมันมีอยูในอากาศ เราก็ตองคอยดูแลควบคุมไมใหมีเชื้อไฟเขาไปสัมผัสกับสิ่งที่ทําใหเกิดความรอนสูง ขอแนะนําสําหรับการดูแลควบคุมแหลงกําเนิดอัคคีภัยน้ันอาจทําไดโดยการลดความรอน และ/หรือ การกําจัดหรือปองกันไมใหมีเชื่อไฟท่ีจะไปสัมผัสความรอน ซง่ึ กลาวโดยสงั เขปไดด งั นี้ อุปกรณไฟฟา ควรใชสายไฟ มอเตอร สะพานไฟ ฯลฯ ท่ีเหมาะสมกับงาน ตองแนใจวาการตอสายไฟทําอยางถูกตอง ควรมีการตรวจสอบสายไฟ และรอยตอสายไฟอยูเสมอๆ เพ่ือความแนใจวาจะไมเกิดการชอต นอกจากนี้ การทําความสะอาดอุปกรณไฟฟาควรใชน้ํายาเฉพาะ และควรเปนชนิดท่ีไมไวไฟ การลดความเสียดทาน อาจทําไดโดยการใชสารสําหรับหลอล่ืนท่ีไมไวไฟและเปนชนิดที่ไดรับการแนะนําจากผูสรางอุปกรณหรือฝายวิศวกรรม ควรมีการทําความสะอาดอุปกรณเสมอๆ เพ่ือไมใ หเกดิ การสะสมของฝุนซ่ึงอาจเปน เชอ้ื ไฟ วัสดุไวไฟ 1 - 36

ชนิดพิเศษ ควรเก็บรักษาใหถูกตอง ซ่ึงควรเปนการเสนอแนะจากฝายวิศวกรรมหรือผูเช่ียวชาญ การเช่ือมและการตัดโลหะ ควรจัดเปนบริเวณแยกตางหากจากงานอ่ืนๆ ควรอยูในบริเวณที่มีการถายเทอากาศสะดวกและพื้นที่จะตองเปนชนิดทนไฟ แตถาหากจัดใหอยูแยกตา งหากไมได ก็ควรท่ีจะปฏิบตั ิตามกรรมวธิ ตี อ ไปนี้คือ ก. ตองเปน บริเวณท่ีฝา ยปอ งกนั อคั คีภัยรบั รองวา ใชได ข. ตองมีการจัดเตรียมบริเวณและหลักปฏิบัติสาํ หรับการปองกันอัคคีภัยอนั อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุตา งๆ การจัดเตรียมบริเวณสําหรับการตัดและการเชื่อมน้ัน ตองคํานึงถึงพ้ืนท่ีทนไฟการปองกันประกายไฟจากการเช่ือมหรือตัดไมใหกระเด็นไปบริเวณอื่นๆ โดยเฉพาะตองไมมีเช้อื ไฟอยูในบรเิ วณใกลเ คียง และควรจัดหาอปุ กรณสาํ หรับดับเพลงิ ไวในบรเิ วณน้ดี วย การใชเตาเผาแบบเปดหรือเปลวไฟท่ีไมมีส่ิงปดคลุม ตองมีการปองกันการกระเด็นของลูกไฟตองไมเก็บสารท่ีเปนเช้ือไฟไวในบริเวณท่ีใกลเคียง รวมท้ังตองมีการถายเทอากาศที่เหมาะสม หัวแรงสําหรับเช่ือมหรือส่ิงที่ใหเปลวไฟโดยไมมีสิ่งปดคลุมไมควรท้ิงไวโดยไมมีการดแู ล การสูบบุหร่ีและการประจุไฟ ฝายจัดการควรจัดใหมีบริเวณสําหรับใหพนักงานสูบบุหร่ีถา บริเวณใดท่ีสูบบุหรี่ไมไดควรจัดปายแสดงบอกไวและตองเขมงวดใหพนักงานทํา ตามบริเวณท่ีอนุญาตใหสูบบุหรี่ควรจัดภาชนะสําหรับใสข้ีบุหร่ี และจัดเตรียมบริเวณสําหรับปองกันการเกิดอัคคีภัยที่อาจเกิดจากความเลินเลอ รวมท้ังประกาศหลักปฏิบัติในการใชบริเวณนี้เพื่อใหพนักงานเขาใจและใหค วามรวมมือปอ งกนั อคั คีภัย ในบริเวณใดท่หี ามการสบู บหุ รคี่ วรหามจุดไฟดวย สําหรับบริเวณท่ีตองการจุดไฟ เชน การจุดไฟหัวแรงสําหรับเช่ือม ควรมีภาชนะสําหรับใสไมขีดหรือส่ิงที่ใชจุดไฟอื่นๆ ท่ีใชแลว วัตถุท่ีผิวรอนจัดในกรณีของไฟ ทอไอน้ํา ทอนํ้ารอนฯลฯ ไมควรเดินทอเหลานี้ผานสวนที่เปนพ้ืนหรือเพดาน ควรจัดใหผานผนังทนไฟ หรือมีการหุมหอดวยสารทนไฟและถายเทความรอนได สําหรับพวกโลหะท่ีถูกทําใหรอนจัดควรบรรจุในภาชนะและผา นไปตามอปุ กรณท จี่ ัดไวโดยเฉพาะเทาน้ัน ไฟฟาสถิต ประจุไฟฟาสถิตสวนใหญเกิดขึ้นเน่ืองจากการเสียดสีกันของสารที่ไมเปนตัวนําซึ่งเมื่อเกิดการถายเทประจุไฟฟา ก็จะทําใหเกิดประกายไฟ และถาประกายไฟสัมผัสกับเช้ือไฟก็อาจเกิดการลุกไหม การปองกันไมใหเกิดไฟฟาสถิตเปนไปไมได วิธีแกไขที่นิยมใชโดยทั่วไปก็คอื ก. การตอ สายลงดิน (Grounding) ข. การตอ กบั วัตถุทีท่ ําหนา ที่เปนตัวรบั ประจุได (Bonding) ค. รกั ษาระดบั ความช้ืนสัมพทั ธในระดับท่ีเหมาะสม ง. การทําใหบรรยากาศรอบๆ เปนประจุไฟฟา ซ่ึงจะทําหนาท่ีเปนตัวนําประจุไฟฟาออกจากวัตถุท่ีเก็บประจุไฟฟาสถิตไวในตัวมัน แตวิธีน้ีควรใชภายใตคําแนะนําของผูเช่ียวชาญ 1 - 37

ทางดานน้ีเทานั้นเพราะมิฉะนั้นกรรมวิธีในการทําใหเกิดประจุไฟฟา อาจเปนตัวกอใหเกิดการลกุ ไหมเสียเอง เครื่องทาํ ความรอ น เช้ือเพลิงทใี่ ชสาํ หรับเครื่องทาํ ความรอ นควรมีจุดติดไฟท่ีอุณหภูมสิ ูงบริเวณที่ติดต้ังเคร่ืองควรมีการระบายอากาศที่ดี เพราะเช้ือเพลิงถาเผาไหมไมสมบูรณจะเกิดกาซคารบอนมอนนอกไซดซึ่งเปนอันตรายตอคน ควรอยูหางจากสารไวไฟในกรณีที่มีเปลวไฟควรมีฝาปดก้ันที่ทนไฟและไมติดไฟ มีปลองสําหรับปลอยอากาศรอนหรือกาซท่ีเกิดจากการ เผาไหม พวกขี้เถาที่เกิดขึน้ จากการเผาไหมไมควรตักออกจนกวาไฟจะมอดหมดแลว พวกเครือ่ งทําความรอ นท่ีหวิ้ หรอื ยา ยเปลี่ยนทีไ่ ด ควรมีทสี่ ําหรบั หว้ิ หรือการขนยายท่ีเหมาะสม การลุกไหมดวยตนเอง เกิดจากปฏิกิริยาการสันดาปของออกซิเจนกับเชื้อไฟจนกระท่ังติดไฟและเกิดการลุกไหมขึ้น สวนมากมักจะเกิดข้ึนในบริเวณที่มีอากาศพอท่ีจะเกิดการสันดาปแตไมมากพอที่จะถายเทอากาศซ่ึงจะทําใหเกิดความรอนสูง ดังน้ันในท่ีท่ีเก็บสารที่อาจเกิดการสันดาปไดควรมีการถายเทอากาศท่ีเหมาะสม และปราศจากเช้ือไฟที่อาจเรงปฏิกิริยาการสันดาป การใชถังขยะชนิดที่มีฝาปดมิดชิดสําหรับขยะท่ีเปอนนํ้ามันหรือสีจะชวยปองกันการลกุ ไหมด วยตนเองไดการใชอุปกรณปองกันอคั คีภยั ระบบการปองกันอัคคีภัยท่ีสมบูรณแบบจําเปนอยางยิ่งที่จะตองรวมถึงการดับเพลิงเพราะไมวาจะมีระบบการปองกันอัคคีภัยท่ีดีอยางไร อุบัติเหตุอาจเกิดข้ึนไดเสมอ เมื่อเกิดเพลงิ ไหมส่งิ สําคัญสองส่งิ ทจ่ี ะตอ งระลกึ ถงึ เสมอก็คอื (1) กดปมุ เตอื นอัคคีภัยทนั ที่ ไมว าขนาดของเพลงิ นัน้ จะเลก็ หรือใหญ (2) พยายามดับเพลิงหรือควบคุมเพลิง ดวยเคร่ืองมือดับเพลิงท่ีเหมาะสมเพื่อลดภัยอันเกิดจากเพลงิ ไหมใหเ หลอื นอยทส่ี ุด การเตือนอคั คภี ัย ภายในโรงงานควรมีเครื่องเตือนภัยอันเกิดจากเพลิงไหมอยูในท่ีท่ีใชไดสะดวกและเห็นไดงาย ถาเปนไปไดควรมีเคร่ืองเตือนภัยท่ีสามารถสงสัญญาณถึงหนวยดับเพลิง (ท้ังของโรงงานเองและของหนว ยราชการ) นอกจากนี้พนักงานทกุ คนควรไดรับการแนะนาํ (ถาเปนไปไดควรฝกดวย) สําหรับการรายงานการเกิดเพลิงไหมวาควรจะรายงาน อยางไร เมื่อไร และที่ไหนเพราะเม่ืออยูในสภาวะที่ต่ืนตกใจ การไมคุนตอการรายงานเกิดเพลิงไหมจะทําใหเสียเวลาในการลดอคั คภี ัย เคร่อื งดับเพลงิ ผูควบคุมงานควรทราบถึงชนิดของเพลิง ซ่ึงอาจเกิดขึ้นในบริเวณที่เขารับผิดชอบอยูรวมท้ังชนิดของเคร่ืองดับเพลิงท่ีจะตองใชสําหรบั แตละชนิดของเพลิง โดยท่ัวไป ชนิดของเครือ่ งดับเพลิงซึ่งจาํ แนกตามชนิดของเพลิงอาจแบง ไดโดยสงั เขปดงั นี้ 1 - 38

(1) ชนิด A (Class A) เปนเพลิงที่เกิดขึ้นจากการลุกไหมของสารที่เปนเช้ือไฟธรรมดา เชน ไมกระดาษ หรือเส้ือผา เคร่ืองดับเพลิงสําหรับเพลิงชนิดน้ีคือ นํ้า หรือสารผสมซงึ่ มีน้าํ เปน สว นประกอบสาํ คัญ (2) ชนิด B (Class B) เปนเพลิงท่ีเกิดขึ้นจากการลุกไหมของเชื้อไฟประเภทท่ีเปนของเหลว ยางเหนียว นํ้ามัน สําหรับการดับเพลิงประเภทน้ี ทําใหโดยการปองกันไมใหมีอากาศเขาไปชวยในการลุกไหม ดังนั้นเคร่ืองดับเพลิงจึงเปนประเภทสารเคมีท่ีหนักกวาอากาศเมื่อ ฉีดเขาไปในเพลิงจะเปนตัวขัดขวางไมใหอากาศเขาไปสัมผัสกับตนเพลิงอีก เชนกา ซคารบอนไดออกไซดเหลว (3) ชนิด C (Class C) เปนเพลิงท่ีเร่ิมตนจากอุปกรณไฟฟา สารที่จะนํามาใชดับเพลิงตองเปน สารที่ไมเปนตัวนําไฟฟา และเนื่องจากเมื่อเกิดเพลิงแลว ตัวทท่ี ําหนา ที่เปนเช้ือไฟมักจะเปนเช้ือไฟประเภท A หรือ B ดังน้ันสารที่จะใชดับเพลิงจะตองสามารถดับเพลิงสารประเภทอ่นื ไดด ว ย (4) ชนิด D (Class D) เปนเพลิงท่ีเกิดขึ้นจากเชื้อไฟท่ีเปนโลหะ เชน แมกนีเซียม,ลเิ ทียม, และโซเดยี ม เครื่องดบั เพลิงและวธิ ีใชจ ะตอ งเปนชนิดพเิ ศษ สําหรับการตัดสินใจซ้ือหรือติดต้ังเครื่องดับเพลิงชนิดใดยี่หอใดเปนการตัดสินใจของฝายจัดการอยางไรก็ดี เม่ือมีการติดต้ังเคร่ืองดับเพลิง ก็ควรจะใหผูขายอธิบายถึงประโยชนและการใชเคร่ืองดับเพลิงน้ันแกผูควบคุมงานและพนักงานดวย เพราะในปจจุบันวิวัฒนาการของเคร่ืองมือดับเพลิงเจริญขึ้นเร่ือยๆ เคร่ืองดับเพลิงบางชนิดอาจใชไดเฉพาะชนิดของเพลิงบางชนิดอาจใชไดกับเพลิงทุกชนิด เครื่องดับเพลิงบางชนิดอาจจะทําลายผลิตภัณฑบางอยางเชน สิ่งทอ แตบ างชนิดไมม ปี ฏิกริ ิยากับสง่ิ ทอ ฯลฯ ดงั น้นั การตดิ ตง้ั เครื่องดบั เพลิงควรอยใู นทท่ี ี่เหน็ ไดง ายใชไดสะดวกและติดตั้งในลักษณะที่ใชไดสะดวก เชน ควรติดอยูตามผนัง หรือเสา และอยูสูงจากพื้นไมเกิน 5 ฟุต สําหรับเครื่องดับเพลิงขนาดไมเกิน 40 ปอนด และไมเกิน 3.5 ฟุต จากพ้ืนสําหรับเคร่ืองดับเพลิงขนาดมากกวา 40 ปอนด ผูควบคุมงานตองถือเปนหนาที่ที่จะตองดูแลไมใหมีสิ่งใดไปขัดขวางการเขาไปใชเคร่ืองดับเพลิง บริเวณที่ติดต้ังเคร่ืองดับเพลิงควรทาสีแดงเพื่อสังเกตเห็นไดงาย ควรมีการตรวจสอบการบํารุงรักษาเคร่ืองดับเพลิงอยางสมํ่าเสมอ เพราะเคร่ืองดับเพลิงบางชนิดจะตองมีการบรรจุนํ้ายาใหมทุกๆ ระยะ และการละเลยอาจหมายถึงความสญู เสียจากอัคคภี ัยอยางมหาศาลการปอ งกนั อัคคภี ัยในอาคารสูง สิ่งแรกท่ีเราควรจะศึกษาและสํารวจ เม่ือเราตองเขาไปใชอาคารสูง ไมวาจะเปนท่ีพักอาศัยถาวร โรงแรม หรือท่ีทํางาน ก็คือทางหนีไฟ ซ่ึงทางหนีไฟก็คือเสนทางท่ีเราใชหรือออกจากอาคารเม่ือเกิดไฟไหมข้ึน โดยทางหนีไฟของอาคารสูงจะประกอบดวยสวนหลักสามสวน ไดแก 1 - 39

1. เสน ทางสบู นั ไดหนีไฟ 2. บันไดหนีไฟ 3. ชอ งทางเปดสภู ายนอก1. เสนทางสบู นั ไดหนไี ฟ คือ เสนทางจากจุดใดๆ ในแตละช้ันถึงบันไดหนีไฟของชั้นนั้น ซึ่งนับวาเสนทางน้ีเปนสวนที่มีอันตรายมากที่สุดของการหนีไฟ เพราะตามหลักการในการปองกันอัคคีภัยน้ัน เมื่อทานไดเขาไปสูบันไดหนีไฟแลว ถือวาทานไดเขาสูพื้นที่ปลอดภัยและจะสามารถหนีออกสูภายนอกอาคารไดโ ดยมีหลักเกณฑใ นการพิจารณาเสนทางสูบนั ไดหนีไฟดังนี้ ทกุ จดุ ในแตล ะช้ัน ตองมีเสนทางสูบันใดหนีไฟอยางนอยสองทาง เพราะในกรณีท่ีเสนทางใดเสนทางหนึ่งเกิดถูกปกคลุมดวยไฟหรือควัน ผูใชอาคารยังมีเสนทางเหลืออีกอยางนอย 1 เสนทางเพื่อท่ีจะหนีไปสูบันไดหนีไฟ ดังนั้น ทานควรจะพิจารณาวา ตําแหนงท่ีทานอยูในอาคารนั้นมีเสนทางสูบันไดหนีไฟมากกวา 1 เสนทางหรือไม เชน ในกรณีที่ทานไปพักในโรงแรม และพบวาหองพักของทานนั้นอยูปลายทางเดินซึ่งเปนทางตัน และ มีทางเดียวเทานั้นที่ทานจะหนีไปสูทางหนีไฟไดคือยอนกลับไปตามทางเดิม ทานอาจจะพิจารณาขอเปลี่ยนหองใหอยูในตําแหนงท่ีปลอดภัยข้ึน หรืออาจจะพิจารณาไดวาโรงแรมท่ีทานพักน้ัน อาจมีความบกพรอ งเรอื่ งการปอ งกันอคั คีภยั และ เลอื กทีจ่ ะไปพักโรมแรมอนื่ แทน เสนทางสูบันไดหนีไฟ ตองมีระยะใกลที่สุด และไมมีสิ่งกีดขวาง ในการออกแบบอาคารเพ่ือความปลอดภัยจากอัคคีภัยที่ถูกตองนั้น ตองพยายามใหแตละจุดในพื้นที่มีเสนทางสูบันไดหนีไฟที่ส้ันท่ีสุดเพื่อลดอันตรายท่ีอาจจะเกิดขึ้นขณะหนีไฟ ดังน้ันบันไดหนีไฟตองกระจายอยูในตําแหนงท่ีเหมาะสมและไมอยูใกลกันเกินไป โดยหลักในการพิจารณาอยางงายน้ัน คือ ระยะจากจุดใดๆ ในอาคารถึงบันไดหนีไฟที่ใกลท่ีสุดไมควรเกิน 60 เมตร สําหรับอาคารที่มีการติดต้ังระบบหัวฉีดนํ้าดับเพลิงอัตโนมัติ และไมควรเกิน 30 เมตร สําหรับอาคารท่ีไมมีการติดตั้งหัวฉีดนํ้าดับเพลิงอัตโนมัติ สําหรับบุคคลที่มีขอจํากัดดานการหนีไฟ เชน เด็กและ คนชรานั้น ตองพิจารณาเร่ืองเสนทางสูบันไดหนีไฟนี้เปนพิเศษ เชน ในการพักในโรงแรมอาจจะเลอื กหองทีอ่ ยใู กลกับทางหนไี ฟมากที่สดุ เสนทางสูบันไดหนีไฟ ตองมีปายบอกทางชัดเจน ในอาคารสูงตองมีปายบอกเสนทางในการหนีไฟท่ีชัดเจน และตองแยกออกจากปายบอกเสนทางสัญจรในเวลาปกติ โดยปายบอกทางนี้ตองมแี สงสวางแมแตใ นกรณีท่ไี ฟฟาดับ2. บันไดหนีไฟ บันไดหนีไฟเปนหัวใจหลักของเสนทางหนีไฟในอาคารสูง โดยมีหลักการที่สําคัญ คือเม่ือผูใชเขามาสูบันไดหนีไฟถือวาปลอดภัย ดังน้ันบันไดหนีไฟจึงตองมีระบบองคประกอบทสี่ ําคญั หลายประการดังตอไปนี้ 1 - 40

ระบบปองกันไฟ บันไดหนีไฟตองอยูในพ้ืนท่ีท่ีสามารถปองกันไฟท่ีไหมอยูในบริเวณอื่นของอาคารได ดังน้ันผนังของปลองบันไดหนีไฟตองทําดวยวัสดุท่ีสามารถทนไฟไดเชน คอนกรีตผนังอฐิ ผนังคอนกรีตบล็อค และตองแยกจากสว นอน่ื ของอาคารอยา งเด็ดขาด ระบบปองกันควัน ควันและกาซพิษถือวาเปนสาเหตุหลักของการตายจากอัคคีภัยดังนัน้ ตอ งมกี ารปองกันไมใ หควนั และกา ซพษิ เขา มาทาํ อันตรายผูทกี่ ําลังหนีไฟอยูได โดยทว่ั ไปแลวบนั ไดหนไี ฟในอาคารแบงออกเปนสองประเภท ไดแ ก บันไดหนีไฟนอกตัวอาคาร มีลักษณะเปนบันไดเปดโลงที่อยูหางจากตัวอาคารพอสมควร บันไดหนีไฟดังกลาวเปนบันไดท่ีมีความปลอดภัยสูงและเหมาะสมกับการใชงานในประเทศไทย เนื่องจากมีการระบายอากาศตามธรรมชาติและไมม ีปญหาในการปอ งกนั ควนั บันไดหนไี ฟภายในตัวอาคาร มีลกั ษณะเหมือนเปนปลอ งบันได ซึ่งบนั ไดประเภทนี้ถาไมมีระบบปองกันควันท่ีดีแลวและควันสามารถเขาสูปลองบันไดไดแลว ก็จะมีพฤติกรรมเหมือนเปนปลองควันและปลองไฟที่จะนําความรอนและควันไฟไปสูสวนตางๆ ของอาคารดา นบน และกอใหเ กิดอนั ตรายแกผ ูใชเปน อยางมาก เหมือนในกรณขี องโรงแรมรอยัลจอมเทยี นที่พทั ยา สาํ หรบั การปอ งกันควนั เขา สปู ลอ งบันไดน้ัน มีแนวทางในการทาํ ไดดังตอไปนี้ 1. ตองมีการแยกปลองบันไดจากพื้นท่ีสวนอ่ืนของอาคารดวยผนัง หรือ ประตู ที่สามารถปองกันควัน และปดไดโดยอัตโนมัติเพ่ือปองกันไมใหมีการเปดท้ิงไว และ เปน ชอ งทางใหควันเขาสปู ลองบันไดได 2. มรี ะบบอัดอากาศในปลองบันได เพ่ือเพ่ิมความดันอากาศในปลองบันไดและปองกัน ไมใหควันไฟเขา ไปสปู ลอ งบนั ได 3. มีการทําโถงกันควัน (Smoke Lobby) ซึ่งมีลักษณะเหมือนเปนหองโถงเล็กๆ ก้ัน กอนที่จะเขาสูบันไดหนีไฟ โดยในหองโถงนี้จัดใหมีระบบระบายอากาศซ่ึงอาจเปน แบบธรรมชาติ หรือ แบบใชเ ครื่องยนตเ พอื่ ปองกนั ไมใ หควนั เขา ไปสปู ลอ งบนั ได ถา ทางหนีไฟที่อยูภายในอาคารของทา น มีลักษณะเปนปลองบันไดโลง ๆ และไมมีประตูหรอื ผนังกั้นจากพนื้ ท่ีอ่นื ของอาคาร ตอ งระวังทางหนไี ฟน้ันอาจไดร บั อันตรายจากควันไฟได ประตูหนีไฟ เสนทางเขาสูบันไดหนีไฟน้ัน ตองปดก้ันดวยประตูหนีไฟท่ีมีอัตราการทนไฟทีเ่ หมาะสม โดยสว นประกอบท่ีสําคญั ของประตูหนไี ฟไดแ ก 1. บานประตู สวนใหญทําจากเหล็ก อาจมีกระจกไดแตไมควรมีขนาดใหญมากนักถา ประตหู นไี ฟทําดวยไม หรือ วัสดตุ ดิ ไฟอน่ื ควรจะสงสยั ไวกอ นวา ไมไดม าตรฐาน 2. Door Closer หรือ ตัวปดประตูอัตโนมัติ เพื่อทําหนาท่ีผลักประตูใหปดสนิทอยูตลอดเวลาเพ่ือปองกันไมใหควันไฟสามารถเขาไปสูปลองบันไดหนีไฟได และชวยในการรักษาความดันในกรณีท่ีปลองบันไดมีการอัดอากาศขณะเกิดไฟไหม ประตูหนีไฟที่ไมมี 1 - 41

Door Closer อาจถูกเปดทิ้งไวและเปนทางเขาของควันสูปลองบันได หรืออาจทําใหระบบอัดอากาศไมส ามารถรกั ษาความดนั ทเี่ หมาะสมในปลอ งบันไดไวไ ด 4. Panic Bar หรอื Push Bar เปนอุปกรณท ่ีใชผ ลักประตูใหเปดออก โดยสามารถใชทอนแขนหรือลําตัวในการผลักใหประตูเปดออก โดยประตูหนีไฟไมควรเปนระบบลูกบิดธรรมดา เพราะอาจจะไมสะดวกในการหนีไฟเนื่องจากผูท่ีหนีไฟอาจไดรับบาดเจ็บท่ีมือจนไมสามารถเปดประตูได อาจมีการถือของ หรืออุมเด็กไว ทําใหการบิดลูกบิดทําไดยาก หรืออาจมคี นทีห่ นีไฟอีกเปนจาํ นวนมากดนั ตอ เนอ่ื งมาจากดานหลัง ทาํ ใหไ มส ามารถบิดลกู บิดประตูได ทิศทางในการเปดประตูหนีไฟนั้น ตองเปนไปตามทิศทางการหนีไฟเพื่อทําใหสามารถเปดไดสะดวกในกรณีท่ีมีคนหนีไฟจํานวนมาก โดยในชั้นบนตองมีการเปดเขาสูปลองบันไดและขณะที่ในชน้ั ลางสดุ ตองมที ิศทางการเปดออกจากปลองบนั ไดออกสพู ืน้ ทป่ี ลอดภยั ภายนอก บันไดหนีไฟตองไมมีสิ่งกีดขวางและมีขนาดเพียงพอตอจํานวนผูใช การหนีไฟในบันไดหนไี ฟตอ งสามารถทําไดโดยสะดวก โดยมหี ลกั เกณฑในการพจิ ารณาดงั นี้ 1. ตองไมมีการเกบ็ ของในปลองบันไดหนีไฟ หรือ ใชปลอ งบนั ไดหนไี ฟเพอ่ื จดุ ประสงคอื่น 2. การหนีไฟในปลองบันไดหนีไฟตองสามารถทําไดโดยสะดวก และไมมีส่ิงกีดขวางเชน บานประตูหนีไฟ เม่อื เปด ออกตองไมก ีดขวางเสนทางการหนีไฟในปลอ งบนั ได 3. บันไดหนีไฟของอาคารสูงไมควรเปนบันไดเวียน เพราะการหนีไฟทําไดลําบากและอาจเกิดอันตราย 4. ขนาดความกวางและจํานวนบันได ตองเพียงพอตอการอพยพหนีไฟของคนท่ีอยูในอาคารทั้งหมดเม่ือทานตองใชอาคารสูงไมวาจะเปนโรงแรม คอนโดมิเนียม ท่ีทํางาน ส่ิงแรกท่ีทานควรจะทําเปนอยางยิ่ง ก็คือใชเวลาสัก 15 นาทีในการสํารวจเสนทางของการหนีไฟในปลองบันไดหนีไฟ โดยลองเดินลงมาจากช้ันท่ีทานอยูจนถึงช้ันลางสุด เพ่ือใหทานเกิดความคุนเคย และทราบวาเสนทางบันไดหนีไฟนี้มีอุปสรรคหรือความปลอดภัยมากนอยเพียงไร หรือวามีเสนทางอ่ืนท่ีปลอดภัยกวาหรือไมในการหนีไฟ ซ่ึงการสํารวจดังกลาวอาจสามารถชวยชีวิตของทาน ครอบครัว หรือเพื่อนรวมงานไดในกรณีที่เกิดเพลิงไหม เนื่องจากในขณะท่ีเกิดเพลิงไหมเวลาทุกวินาทีมีความหมาย ถาทานตัดสินใจมุงหนาไปในเสนทางท่ีผิดทา นอาจจะพบกบั อันตรายที่ไมค าดคิดและไมมโี อกาสทจ่ี ะกลับไปสเู สน ทางท่ีปลอดภยั ได ระบบไฟฉุกเฉิน ในปลองบันไดหนีไฟตองมีการติดตั้งระบบไฟฉุกเฉินเพ่ือใหแสงสวางในกรณีท่ีเกิดไฟดับ โดยระบบไฟฉุกเฉินดังกลาวตองไดรับการดูแลใหอยูในสภาพดีและพรอ มท่ีจะทํางานตลอดเวลา3. ชองทางเปด สูภายนอก เมื่อทานหนีไฟลงมาตามปลองบันไดหนีไฟ เสนทางนั้นตองนําทานสูที่ปลอดภัยภายนอกอาคารโดยชอ งทางเปดสภู ายนอกอาคารนั้น ควรมลี ักษณะดังตอ ไปนี้ 1 - 42

1. ปลองบันไดหนีไฟควรเปดออกสูพื้นท่ีปลอดภัยภายนอกอาคาร โดยผูท่ีหนีไฟตองสามารถออกสูพื้นที่ปลอดภัยไดอยางตอเนื่อง อยางไรก็ตามมีอาคารสูงหลายแหงท่ีปลองบันไดหนีไฟเปดสูพื้นที่ภายในอาคารท่ีมีอันตราย เชน ตองมีการเดินผานหองเก็บของ หรือ หองครัวกอนท่ีจะถึงพ้ืนท่ีปลอดภัยดานนอกอาคาร ซ่ึงถือวาผิดหลักการของการปองกันอัคคีภัยเน่ืองจากวาความปลอดภัยของผูหนีไฟลดลงเม่ือออกจากปลองบันได ดังนั้น ในกรณีท่ีปลองบันไดหนีไฟเปดสูพ้ืนท่ีในอาคาร ตองมีการปองกันพ้ืนท่ีดังกลาวใหมีความปลอดภัยตอเนื่องจนถึงพืน้ ทภ่ี ายนอกอาคาร 2. พ้ืนที่บริเวณทางออกตองเพียงพอสําหรับคนท่ีอยูในอาคาร บริเวณที่ปลองบันไดหนีไฟเปดสูภายนอกอาคารน้ี ตองมีพ้ืนท่ีมากพอที่จะรับคนไดไมนอยกวาคร่ึงหนึ่งของผูที่อาศัยอยูในอาคาร 3. การหนีขึ้นทางหลังคาควรเปนทางเลือกสุดทาย สําหรับการหนีไฟขึ้นไปสูดาดฟานั้น ตามหลักการแลว ไมถือวาเปนเสนทางในการหนีไฟที่ปลอดภัย เพราะการนําคนลงจากดาดฟาโดยอาศัยเฮลิคอปเตอรหรือรอกโรยตัวนั้น ยังเปนวิธีการที่ไมมีความแนนอนและข้ึนอยูกับหลายปจจัย เชน สภาพภูมิอากาศ และสภาพของบุคคลที่ทําการหนีไฟดังนั้น วิธีดังกลาวจึงตองเปนทางเลือกสุดทายจริงๆ ในกรณีที่จะอพยพคนข้ึนดาดฟา ก็ตองม่ันใจดวยวาสภาพโครงสรา งของพื้นดาดฟา ยงั คงแขง็ แรงพอที่จะรบั นา้ํ หนักของผทู ีก่ าํ ลงั หนีไฟได 4. ประตูทางออกตองเปดไดจากภายในตลอดเวลา ประตูที่เปดออกสูภายนอกตองเปนประตูท่ีสามารถเปดจากภายในปลองบันไดไดตลอดเวลา และไมมีการติดต้ังกลอนดานนอกในอาคารสูงหลายอาคารมกี ารลอคประตทู ่ีเปด ออกจากปลองบนั ไดหนีไฟ เน่อื งจากกลวั เก่ยี วกับการรักษาความปลอดภัย ซ่ึงการกระทําดังกลาวเปนอันตราย ตอชีวิตของผูที่กําลังหนีไฟเปนอยา งมากอุปกรณเ สริมความปลอดภัยในอาคาร นอกจากทางหนีไฟซ่ึงเปนสวนสําคัญที่สุดในการปองกันอัคคีภัยของอาคารสูงแลวอาคารสูงตองมอี ปุ กรณเ สริมสาํ หรบั ความปลอดภัยจากอคั คภี ัยดังตอไปนี้ ระบบหวั ฉีดนาํ้ ดับเพลิงอตั โนมตั ิ เปนอุปกรณที่ชวยเพิ่มความปลอดภัยจากอัคคีภัยในอาคารสูงไดเปนอยางมาก โดยมีการเร่ิมการพัฒนาในประเทศสหรัฐเอมริกาต้ังแตป ค.ศ. 1878 และมีการพัฒนามาอยางต อ เนื่ อ ง โด ย มี ลั ก ษ ณ ะ เป น หั ว ฉี ด น้ํ า ดั บ เพ ลิ ง ที่ จ ะ ทํ า ง า น โ ด ย อั ต โน มั ติ ใน ก ร ณี ที่ อุ ณ ห ภู มิในบริเวณน้ัน สูงกวาคาที่กําหนดไว โดยหัวฉีดน้ําจะทําการพนน้ําออกมาเพ่ือทําการดับเพลิงท่ีอยูในพื้นท่ี จากการเก็บขอมูลในตางประเทศในชวง 100 ป ท่ีผานมาพบวา ระบบนี้นับวาเปนระบบท่ีมีประสิทธิภาพสูงมากในการปองกันอัคคีภัย อยางไรก็ดีการทํางานของระบบหัวฉีดนํ้าอัตโนมัตินี้ก็ข้ึนอยูกับปจจัยหลายประการ เชน มาตรฐานของอุปกรณท่ีใช ปริมาณ 1 - 43

และแรงดันของน้ําที่สงใหกับหัวฉีดนํ้า การดูแลบํารุงรักษาระบบใหอยูในสภาพที่พรอมตลอดเวลา ซ่ึงเปนจุดท่ีตองใหความสําคัญโดยเฉพาะในประเทศไทยท่ีอาจมีปญหาของระบบท่ีไมไดมาตรฐาน และขาดการบาํ รงุ รกั ษาในระยะยาว ระบบตรวจจบั และระบบแจง เหตไุ ฟไหม ในอาคารสูงจะตองมีระบบตรวจจับการเกิดไฟไหม ซ่ึงอาจเปนระบบตรวจจับความรอนระบบตรวจอัตราการเพ่ิมความรอน หรือระบบตรวจจับควัน ซึ่งเม่ือมีการตรวจจับวามีการเกิดอัคคีภัยข้ึน ก็จะมีการสงสัญญาณไปยังหองควบคุมของอาคารเพ่ือท่ีจะมีการดําเนินการตามวิธีปฏิบัติที่ไดกําหนดไว นอกจากระบบตรวจจับแลว ก็ตองมีระบบแจงเหตุซ่ึงมีลักษณะเปนอุปกรณสําหรับใหผูประสพเหตุทําการแจงถึงการเกิดอัคคีภัย โดยอุปกรณแจงเหตุดังกลาวตองติดต้ังอยูในท่ีท่ีเห็นไดชัด และอยูในเนนทางของการหนีไฟเพ่ือท่ีผูท่ีแจงเหตุจะไดสามารถหนไี ฟไดทันท่ีทแี่ จง เหตุแลว ระบบเคร่อื งดบั เพลิงมอื ถอื ในแตละชั้นของอาคารสูง ควรมีการติดตั้งเครื่องดับเพลิงมือถือขนาด 5.5 กิโลกรัมไวโดยเฉล่ียไมนอยกวา 1 เคร่ืองตอพื้นท่ี 1,000 ตารางเมตรและติดต้ังเพ่ิมเติมในจุดที่มีความเสยี่ งจากการเกดิ อคั คีภยั เชน หองเกบ็ ของ หอ งซักรีด เปน ตน ระบบทอ ยนื และสายฉดี นํา้ ดบั เพลิง เปนระบบท่ีใชจายน้ําสําหรับดับเพลิงในอาคารสูง โดยทั่วไปจะประกอบดวยสองสวนคือมีหัวตอสายฉีดน้ําดับเพลิงขนาด 2 น้ิวคร่ึง สําหรับพนักงานดับเพลิงหรือผูท่ีไดรับการฝกฝนมาแลวฉีดนํ้าดับเพลิงขนาดใหญและสายฉีดนํ้าดับเพลิงขนาด 1 ½ น้ิว หรือ 1 น้ิว สําหรับผูอยูอาศัยในอาคารใชจนกวาพนักงานดับเพลิงจะมาถึง โดยสายฉีดน้ําดับเพลิงนี้มีสองประเภทคือ สายสงน้ําแบบพับ (Hose Rack) มีลักษณะเปนทอพับแขวนไว โดยในการใชงานตองคลี่ทอท้ังหมดออกกอนจึงจะใชงานได ซึ่งอาจจะเปนอุปสรรคในการดับเพลิงที่อยูใกลกับตําแหนงของสายสงนํ้า และอีกประเภทเปน แบบสายยางฉีดนํา้ ชนิดแข็ง (Hose Reel) มีลกั ษณะเปนทอแข็งมวนอยูในลูกลอ และสามารถดึงออกมาใชตามความยาวที่ตองการ ซึ่งมีความสะดวกในการใชง านมากกวา สายสงนํ้าแบบพับ ประตทู นไฟ ในอาคารสูงที่เปนท่ีพักอาศัย เชน โรงแรม คอนโดนิเนียมน้ัน มีเปนจํานวนมากท่ีประตูหองพักทําดวยไม ท่ีสามารถทนไฟไดไมเกิน 5 นาที ซ่ึงนับวาเปนอันตรายเพราะประตูประเภทน้ีไมสามารถกันไฟไดทั้งในกรณีที่เกิดเพลิงไหมภายนอกหองและลามเขามาในหองหรือ เกิดเพลิงไหมภายในหองและลามออกไปนอกหอง ซึ่งจะมีผลใหการลามของไฟและควันในอาคารสูงเปนไปอยางรวดเร็ว โดยทั่วไปแลวประตูท่ีกั้นหองพักอาศัยในอาคารสูงควรมีอัตราการทนไฟไมน อยกวา 30 นาที ซึ่งสามารถสอบถามไดจ ากผผู ลติ อปุ กรณเสริมเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัยเหลานี้ เปนหนาท่ีของวิศวกรและสถาปนิกทีจ่ ะออกแบบใหมีประเภทและจํานวนท่ีเพียงพอกับการใชง านในแตละอาคาร สาํ หรบั ผูใ ชอาคาร 1 - 44

ทั่วไปนั้น หนาที่ของทานก็คือ ตรวจดูวาในอาคารสูงที่ทานอยูอาศัยหรือเขาไปใชงานน้ันมีอุปกรณเหลานี้อยูครบหรือไม ถามีไมครบตองตรวจสอบกับผูรับผิดชอบวาทําไมจึงไมมีการติดต้ังอุปกรณเหลาน้ี นอกจากน้ีอุปกรณเพ่ือความปลอดภัยเหลานี้จะสามารถทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพก็ตอเม่ือมีการดูแลบํารุงรักษาท่ีถูกตอง ดังนั้นทานในฐานะผูใชอาคารตองคอยตรวจสอบวาทางอาคารมีการดูแลบํารุงรักษาอุปกรณเหลานี้อยางไร ใครเปนผูรับผิดชอบในการตรวจสอบและมกี าํ หนดในการตรวจสอบอยางไรขอปฏิบตั ิตนเมื่อเกดิ ไฟไหม ในกรณที ท่ี า นตองอยูในเหตกุ ารณไฟไหม เวลาทกุ วินาทมี ีคาและการตัดสนิ ใจของทา นในเสยี้ ววนิ าทนี น้ั อาจมีผลตอชวี ิตของทา นและบุคคลอนื่ อยา งใหญห ลวง ดังนนั้ ทานควรมกี ารเตรียมตวั ใหพรอ มอยเู สมอ โดยมีแนวทางในการปฏบิ ตั ิตนดงั นี้ 1. เม่ือทราบวาเกิดไฟไหม ตองมีสติและประเมินสถานการณวาจะใชเสนทางใดใน การหนไี ฟ 2. ถาคิดวาเพลิงไหมมีขนาดเล็ก และทานม่ันใจวาสามารถดับเองได ตองทําการแจง เหตุเพลิงไหมหรือใหคนแจงเหตุเพลิงไหม และ เริ่มการอพยพผูคนกอนท่ีจะเร่ิม ดับไฟ ไฟที่จะทําการดับเองนั้นตองมีขนาดเล็กและอยูในพ้ืนท่ีจํากัด ทานตองอยู ในตําแหนงที่สามารถหนีไฟไดอยางทันทีในกรณีท่ีไมสามารถดับไฟได และตอง แนใจวาขณะที่ดับไฟตองไมมีควันเกิดขึ้นมาก เพราะขณะดับเพลิงน้ันทานจะไมมี อปุ กรณชวยในการปองกันควันเลย 3. การเปดประตูเขาไปในหองท่ีมีไฟไหมอยู อาจทําใหควันและความรอนอยางรุนแรง พุงเขามาในหองท่ีทานอยูและทําอันตรายแกทานและผูอื่นได ดังน้ันกอนท่ีจะเปด ประตูใดๆ ก็ตามตองตรวจกอนวาประตูนั้นรอนหรือไม โดยใชหลังมือสัมผัสลูกบิด บานประตูวาอุณหภูมิสูงกวาปกติหรือไม ถาอุณหภูมิไมสูงกวาปกติใหเปดประตู ดวยความระมัดระวัง เพราะไฟท่ีดับไปแลวอาจลุกติดข้ึนมาอีกจากการไดรับ ออกซิเจนจากการเปดประตู ถาอุณหภูมิของประตูสูงกวาปกติ ใหใชเสนทางหนีไฟ เสน ทางอ่ืน 4. หา มใชลฟิ ตในขณะเกดิ เพลงิ ไหมโดยเด็ดขาด 5. ปดประตูในเสนทางท่ีทานผานใหสนิท เพ่ือลดการลามของไฟและควันไปยังสวน อนื่ ของอาคาร 6. ในกรณีที่ทานอยูในอาคารเตี้ย ทานอาจใชหนาตางเปนทางหนีไฟ แตกอนท่ีเปด หนาตาง ทานตองปดประตูทั้งหมดในหองใหเรียบรอยกอน เพราะเมื่อเปด หนาตา งอาจเกดิ ลมดดู ทาํ ใหไฟและควันพงุ เขาสหู อ งทีท่ า นอยู 1 - 45

7. ในการหนีไฟ ถาทางท่ีทานหนีไฟปกคลุมดวยควันใหใชเสนทางอ่ืน ถาไมมี เสนทางอื่นใหคลานต่ําๆ โดยใหหายใจในระดับ 30-60 เซนติเมตร (12-24 นิ้ว) เหนอื ระดบั พ้นื8. ในกรณีที่ทานติดอยูในหองและไมสามารถหนีออกมาได ใหปดประตูทุกบาน ใหส นิท และใชผ าเช็ดตวั ผา หม หรือเทปกาว ปด รอยแยกตามประตแู ละผนังทุกจุด ในกรณี ท่ีทานอยูในอาคารสูงอยากระโดดออกทางหนาตางโดยเด็ดขาด ใหพยายามแจงใหเจาหนาท่ีดับเพลิงทราบวาทานติดอยูในหองโดยทางโทรศัพท หรือใหผ าโบกทางหนา ตา ง9. ถาเส้ือผาของทานติดไฟ อยาวิ่งเพราะจะทําใหไฟลุกมากขึ้นเนื่องจากเปน การเพ่ิมออกซิเจนใหกับไฟ ใหหยุดเคล่ือนท่ีลมตัวนอนลงกับพื้น เอามือคลุมหนา ไว และกล้งิ ตัวเพอ่ื ดับไฟ ในกรณที ่ีคนอื่นเสื้อผาติดไฟ จบั ใหเขา ลมลงและกล้งิ ตัว หรือใชผาหม ผนื ใหญคลุมตงั เพื่อดับไฟ10. ในกรณีท่ีมีบาดแผลไฟลวก ไมใหใชวัสดุที่มีลักษณะเปนน้ํามันทาแผล เพราะจะทํา ใหความรอนไมสามารถระบายออกและทําการบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น ควรทําใหบาด แผลเย็นลงดวยการปลอยใหน้ําเย็นไปผานแผลประมาณ 10-15 นาที และรีบไปพบ แพทยทันที11. ในกรณีท่ีทานอาศัยอยูในอาคารสูง แตละอาคารอาจจะมีขั้นตอนในการปฏิบัติเม่ือ สัญญาณเตือนอัคคีภัยดังขึ้นที่แตกตางกัน ใหปรึกษาเจาหนาท่ีผูรับผิดชอบของ อาคารใหเ ขาใจถึงขัน้ ตอนในการปฏิบตั ิที่ถกู ตอง ความปลอดภัยจากอคั คภี ัยน้นั เปน เรื่องสําคัญที่เราทุกคนตองมีความเขาใจ เพราะวาเปนภัยใหตัวที่อาจจะเกิดกับเรา ไดทกุ เวลา การเตรยี มตวั ใหพรอมจะมสี วนสําคัญเปน อยา งย่ิงในการรักษาชวี ิตของ ตัวทา น และครอบครัวของทาน 1 - 46

แผนผังแสดงการจดั ตําแหนงของบันไดหนไี ฟทไ่ี มเ หมาะสม แตละหองพักมีเนนทางหนีไฟเพียงเสนทางเดียว คือตองวิ่งมาที่สวนกลางของอาคารถาเกดิ ไฟไหมใ นเสน ทางหนไี ฟ จะทําใหผ ูอยูอาศยั ไมส ามารถหนไี ฟได ภาพแสดงการกาํ หนดเสนทางหนีไฟในอาคารสูง แผนผังแสดงการจัดตําแหนงของบันไดหนีไฟท่ีเหมาะสม แตละหองพักมีเสนทางหนีไฟสองเสนทางคือวิ่งออกทางซายหรือขวาของอาคาร ถาเกิดไฟไหมในเสนทางหนีไฟเสนทางหนงึ่ ผอู ยอู าศัยสามารถเลือกใชเ สนทางอกี เสน ได 1 - 47

บทที่ 4 กจิ กรรมสงเสริมความปลอดภยั ในการทาํ งาน การสงเสริมความปลอดภัยในโรงงาน เปนกิจกรรมท่ีมีความสําคัญยิ่งในการสรางเสริมทัศนคติจิตสาํ นึก ความรูและความเขา ใจของพนักงานทุกระดับคือ ตั้งแตฝายจัดการวิศวกร ผูควบคุม จนถึงพนักงาน น่ันคือเมื่อผูบริหารทุกระดับมีจิตสํานึกและรับผิดชอบในเร่ืองความปลอดภัย และถือปฏิบัติเชนเดียวกับการบริหารงานดานอื่นๆ แลว ก็ยอมจะหวังไดวา พนักงานจะไดรับการคุมครองดูแลทั้งในดานการปองกันอุบัติเหตและสุขภาพอนามัย และในอันดับถัดไปจะตองพยายามสงเสรมิ ใหพนกั งานทกุ คนไดม ีจิตสํานึกและทัศนคติ ตลอดจนความรูในการปฏิบัติงานอยางปลอดภัย และรวมมือในการดูแลใหสถานท่ีทํางานนี้ปลอดภัยตลอดเวลาทงั้ น้ีเพราะการปองกนั อนั ตรายจากงานเปนความ “ปรารถนา” ของบุคคล การแบงความรับผิดชอบและหนาท่ีในการทํางานของบริษัทน้ัน เร่ิมมาจากจุดสูงสุดคือ ฝายจัดการจายงานมาสูผูควบคุมงานใหมีความรับผิดชอบภายในขอบเขตหน่ึงๆ และหนาท่ีตองดูแลควบคุมลูกนองใหทํางานเปนไปตามเปาหมายของบริษัท จากนั้น ผูควบคุมงานควรแจกจายงานพรอมทั้งความรับผิดชอบของงานแกพนักงานในสวนท่ีตัวเองควบคุมอยูทํานองเดียวกันเม่ือคํานึงถึงระบบความปลอดภัยของพนักงานฝายจัดการระดับสูงสุดจะเปนกําหนดนโยบายใหเกิดความปลอดภัยของพนักงาน จากนั้นผูควบคุมจะเปนผูรับสนองนโยบายของฝายจัดการมาดําเนินการตอไป พรอมท้ังหาวิธีปฏิบัติใหแกลูกนองในสายงานใหเกิดความสนใจแกมบังคับใหตองชวยกันดูแลความปลอดภัยของตัวเอง และสวนรวม พนักงานจะเกิดความสนใจในเร่ืองความปลอดภัยไดนั้น จะเริ่มจากการสังเกตเห็นผูควบคุมงานมีความกระตือรือรนในดานการดูแลความปลอดภัย มีความพยายามในการดูแลทุกขสุขของพนักงาน การช้ีแนะถึงอันตรายตางๆ ที่จะเกิดขึ้นพรอมท้ังความเสียหายท่ีตามมา มีการหมั่นดูแลรักษาเคร่ืองจักรใหทํางานอยูในสภาพปกติ และเกิดความปลอดภัยอยูเสมอ ฯลฯ สําหรับผูควบคุมงานน้ัน จะเกิดความสนใจในการดูแลความปลอดภัยก็อยูที่ฝายจัดการมีนโยบายหลักท่ีแนนอน มีความกระตือรือรนถึงความปลอดภัย มีการสนับสนุนชวยเหลือตามขอเสนอแนะท่ีผคู วบคุมงานเสนอมา จัดใหมีหนวยพยาบาล พรอมทั้งใหมีการตรวจรา งกายพนักงานทกุ คนเปนประจํา ความสนใจ และรับแกไขปญหาตางๆ ที่เปนบอเกิดแหงอันตราย ฝายจัดการควรแสดงความจริงใจตอการดูแลความปลอดภัยใหปรากฎแกผูควบคุมงาน พรอมท้ังสรางทัศนคติท่ีดีแกพนกั งานดวย กิจกรรมสงเสริมความปลอดภัยน้ีอาจมีหลายกิจกรรมท้ังท่ีเปนกิจกรรมท่ีใหพนักงานปฏิบัติ และกิจกรรมจูงใจ เพ่ือสนับสนุนใหพนักงานไดปฏิบัติดวยความปลอดภัยอีกดวย ดงั นี้ 1 - 48

(1) ขาวสาร (2) สนทนาความปลอดภัย (3) การประกวดลดอุบตั ิเหตุ (4) การประกวดความสะอาด เปนระเบียบเรียบรอย (5) การประกวดคาํ ขวญั (6) การประกวดพนกั งานสวมเครอ่ื งปองกัน (7) การประกวดหวั หนางานตัวอยาง (8) การประกวดความคดิ (9) แถลงนโยบาย (10) ฝก อบรม (11) การพบปะรายบคุ คล (12) ชมเชยพนกั งานที่ไมเคยปวยในงาน (13) ตอบปญหาชิงรางวัล (14) ใหรางวัลและสิง่ ตอบแทน (15) ตูร บั ความคดิ เห็น (16) ทัศนาจรนอกโรงงาน (17) ประกวดพนกั งานดเี ดน ดว นความปลอดภยั ประจาํ ป (18) รายงานสภาพงานทไี่ มป ลอดภัย (19) ปา ยประกาศและแผนปายความปลอดภัย (20) แผน ปา ยสถิติอบุ ตั ิเหตุ (21) การแสดงผลงาน (22) การจัดนิทรรศการ (23) เลยี้ งสังสรรคฉ ลองความสําเรจ็ ดา นความปลอดภัย (24) การตดิ โปสเตอร (25) การตดิ สญั ลักษณความปลอดภัย (26) ตง้ั คณะกรรมการระดบั พนักงาน เปนตน ในการดําเนินการนั้น ก็คงจะขึ้นอยูกับความเหมาะสมของแตละโรงงาน และแตละหนวยงานท่ีจะเลือกดําเนินการกิจกรรมสงเสริมความปลอดภัย ซึ่งอาจจะกลาวถึงรายละเอยี ดในบางกิจกรรมดังน้ี 1. การจดั ตง้ั คณะกรรมการความปลอดภยั วิธีท่ีดีที่สุดวิธีหน่ึงที่จะจูงใจใหพนักงานเกิดความสนใจในการดูแลความปลอดภัยเพราะพนักงานมีสวนรับรู แสดงความคิดเห็นและชวยกันควบคุมไมใหเกิดอุบัติเหตุขึ้น เพราะพวกเขา 1 - 49

เปนผูใกลชิดกับงานโดยตรงยอมทราบสาเหตุอยางแทจริง นอกจากนั้นยังเปนการเสริมสรางความรูแ กพนักงานและถายทอดไปยงั ผูร วมงานอน่ื ๆ ที่ไมไดเปน กรรมการอยา งใกลชิด หลักการทจ่ี ะชวยใหคณะกรรมการระดับพนักงานชว ยกันดแู ลความปลอดภัยใหประสบผลสําเรจ็ ก็คอื (1) สรางความตอ งการรว มกันในการชว ยเหลือซ่งึ กนั และกันในหมคู ณะกรรมการ (2) แมวาผูควบคุมงานจะแจกจายหนาที่ดูแลความปลอดภัยใหแกคณะกรรมการกต็ ามแตเขาก็ยงั คงมีสว นรบั ผดิ ชอบในการดูแลความปลอดภัยอยนู นั่ เอง (3) เพ่ือใหสอดคลองกับหนาที่ท่ีไดรับ (ตรวจสอบสภาพการทํางาน สังเกตจุดอันตราย สอบสวนอุบัติเหตุ และรายงานเสนอแนะ) คณะกรรมการตองมีการกําหนดการที่แนนอนและต้งั เปา หมายไวดว ย (4) ผูควบคุมงานควรทําการติดตอสั่งงานกับสมาชิกในแผนกของตนเอง ไมควรยกเอาคณะกรรมการข้นึ มาอา ง (5) ควรรบั ฟง ขอเสนอแนะของคณะกรรมการ และหากขอเสนอแนะทีด่ ีมีคุณคากค็ วรนํามาปฏิบัติ แตถาอยูเหนืออํานาจของผูควบคุมงานตัดสินใจไดก็ควรเสนอใหระดับบริหารที่สงู กวาตัดสินใจ และหากขอเสนอแนะนั้นไมสามารถปฏิบัติไดก็ควรมีการช้ีแจงแกคณะกรรมการใหกระจาง (6) ระเบียบวาระการประชุมของคณะกรรมการควรจํากัดอยูแตเฉพาะเร่ืองการดูแลความปลอดภัย คณะกรรมการไมควรเขาไปเกี่ยวของกับงานดานแรงงานสัมพันธ หรือเร่ืองอ่ืนใดท่ไี มเก่ยี วกบั การปองกันอบุ ตั เิ หตุ (7) ควรมกี ารกําหนดเวลาในการหมนุ เวยี นเปลี่ยนคณะกรรมการ เพ่อื ใหพนักงานอื่นมโี อกาสบาง (8) มีการเก็บบันทกึ การประชมุ ทุกคร้งั (9) การประชุมควรเปน ไปตามกาํ หนดและยอมใหผูสนใจเขา ฟง ไดดวย 2. โปสเตอรเ กี่ยวกับความปลอดภัย โปสเตอรเก่ียวกับความปลอดภัย เปนเครื่องเตือนพนักงานใหหมั่นระมัดระวังในการปฏบิ ัติงานอยา งปลอดภัย ปกติผูควบคุมงานจะเปนผูกําหนดโปสเตอรแ ละลักษณะภาพท่จี ะติดประกาศในแผนกใหสอดคลองกับนโยบายหลักในการดูแลความปลอดภัย สถานท่ีในการเลือกติดโปสเตอรควรอยูในที่เดนสะดุดตา มองเห็นไดงาย และไมควรกีดขวางการสัญจรระดับท่ีจะติดโปสเตอรท่ีดีควรอยูระดับสายตาประมาณ 63 น้ิวจากพ้ืน ควรอยูในบริเวณท่ีมีแสงสวางดี หรือในบางกรณี อาจตองมีไฟสองเฉพาะขนาดที่ใชติดโปสเตอรท่ีดีควรมีความกวาง22 น้ิว ยาว 30 นิ้ว หรืออาจจะใหญพอท่ีจะติดโปสเตอรได 1 แผน ขนาดโปสเตอรมาตรฐานมีอยู 2 ขนาดคือ 1 - 50


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook