Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียน

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียน

Description: รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียน

Search

Read the Text Version

45 ทาให้ชุมชนมีความรู้ทางกฎหมายก็จะทาให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ มากขึ้น การก่อตัว ความหมาย สถานะ สทิ ธิและหน้าท่ขี องชุมชน ได้มคี วามเห็นทางวชิ าการท่ี หลากหลาย ดังนี้ - ความเหน็ ดา้ นสังคมวทิ ยาเชื่อว่า ชุมชน (Community) คือ “หมู่คณะซ่ึงดาเนินวิถีชีวิต ร่วมกัน ในท้องที่ใดท้องท่ีหนึ่งโดยมิได้มีเปูาหมายหรือตกลงดาเนินกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดร่วมกัน แต่มีสาย สัมพันธ์ระหว่างกันตามธรรมชาติ” (กิตติศักด์ิ ปรกติ. 2550 : 9) ความเช่ือดังกล่าวยังสรุปว่าเปูาหมาย ของชมุ ชนไม่ได้มี การตกลงกนั อย่างชัดเจนแต่เป็นการมารวมกันแบบเปน็ ไปเอง - ความเห็นด้านนิติศาสตร์ในช่วงปลายศตวรรษท่ี 19 จากการศึกษาของกิตติศักดิ์ ปรกติ ชุมชน (Community) เป็นแกนสาคัญของสังคมเพราะชุมชนเป็นที่รวมกันของผลประโยชน์เป็นที่รวมส่ิงต่างๆ ของบคุ คลเขา้ ดว้ ยกัน ทง้ั สานึกผิดชอบชั่วดี ความคิด ความรู้สึก ความผูกพัน อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง ไม่มีบุคคลหรือปัจเจกบุคคลใดอยู่ได้โดยอิสระหากแต่ต้องอยู่ร่วมกันเป็น ชุมชน จึงถือว่าชุมชนเป็นหน่วย พื้นฐานของสังคม การก่อตัวของชุมชนเป็นไปโดยการดาเนินชีวิตร่วมกันของคนในชุมชน อย่างไรก็ดี กฎหมายในอดีตที่ผ่านมาได้ยอมรับสถานะทางกฎหมายให้เฉพาะ แต่บุคคลท่ีเป็นปัจเจกบุคคลและรัฐ เท่านั้นไม่ได้ยอมรับสถานะทางกฎหมายของชุมชน แต่ในความเป็นจริงชุมชนคือกลุ่มคนที่มีตัวตนอยู่จริง และแทรกตนอยู่ในสังคมระหว่างบุคคลกับรัฐ และตามข้อเท็จจริงชุมชนสามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ เชน่ กนั โลกมนุษย์มีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนานต่อเนื่องจากยุคหินมา จนถึงยุคของเทคโนโลยี สารสนเทศ เม่ือเอากฎเกณฑ์ธรรมชาติมามองมนุษย์จะเห็นว่ามนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ ตลอดเวลาและเม่ือมนษุ ยอ์ ยรู่ วมเป็นสังคม การดารงชีวิตท่ีมนุษย์คนหน่ึงย่อมมีผลกระทบต่อคนที่อยู่รอบ ข้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความสัมพันธ์น้ีมีลักษณะท่ี “พ่ึงพากัน” อยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ท่ีเรา บอกว่า “เสมอภาคเท่าเทียม” ช่วยเหลือเกื้อกูลกันหรือความสัมพันธ์ท่ี “กดขี่” “ครอบงา ” “เอารัดเอา เปรียบ ” ฯลฯ ก็ตาม (กวิน ชุติมา. 2535 : 63 - 64) ในความสัมพันธ์เหล่านี้ ความสัมพันธ์ที่มีลักษณะ เป็น “ความร่วมมือ” (Cooperation) หรือ “ประสานงาน” (Coordination) ย่อมเป็นความสัมพันธ์ที่พึง ปรารถนามากท่สี ดุ เพราะเปน็ ความสมั พันธท์ ีค่ กู่ รณีได้รบั ประโยชน์ดว้ ยกันทั้งสองฝาุ ย อาจจะไม่ถึงกับเท่า เทียมกันทั้งหมด แต่ทั้งสองฝุายมีความพึงพอใจในส่วนของตน และเห็นว่าจะนาไปสู่ความสัมพันธ์ท่ีจะยัง ประโยชน์รว่ มกันไดต้ ่อไปในระยะยาวความสัมพนั ธท์ มี่ นษุ ย์มีต่อส่ิงแวดล้อม และมีต่อมนุษย์ด้วยกันเองทา ให้สามารถดารงชีวิตมาได้อย่างต่อเนื่อง และความสัมพันธ์ท่ีเกิดขึ้นของมนุษย์ได้เกี่ยวข้องกับเหตุปัจจัย และข่ายใยแห่งความสัมพันธ์ในมิติต่าง ๆ อย่างน้อย 3 มิติ ดังนี้ (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). 2547 : 5 - 8) 1. ข่ายใยชีวิต (Web of Life) หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ท่ีเป็นสภาวะจริงตามธรรมชาติ เป็น กระบวนการทผี่ สานสงิ่ ตา่ ง ๆ เขา้ ดว้ ยกนั โดยทีไ่ ม่อาจลด หรอื แยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกไปเป็นการอธิบาย ถึงข่ายใยชีวิตท่ีมีการเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง และสลับซับซ้อน โดยท่ีไม่มีรูปแบบแห่งความสัมพันธ์ท่ีเป็น ความลืน่ ไหลไปตามกฎเกณฑข์ องธรรมชาติ และตามเหตุปัจจัยทเ่ี กดิ ข้ึน


46 2. เครอื ขา่ ย (Network) หมายถึง เครือข่ายที่เชื่อมโยงเป็นข่าย ซ่ึงมีความหมายในหลายมิติ โดย อาจหมายถึงทั้งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และอาจหมายถึงโครงข่ายของระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เช่น ระบบน้า ประปา ไฟฟูา โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต หรือระบบเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ เป็นโครงสร้างทางกายภาพ ซึ่งมีการโยงใยเครือข่ายที่ต่อเน่ือง โดยเป็นทั้งโครงข่ายที่มีการกาหนดแบบ แผน และมิได้กาหนดแบบแผนแห่งความสัมพันธ์เอาไว้ รวมทั้งมีขนาด และรูปแบบความสัมพันธ์ / การ เชือ่ มโยงท่ีแตกตา่ ง และหลากหลาย 3. เครอื ข่ายทางสังคม (Social Network) หมายถึง ความสัมพันธ์ในสังคมมนุษย์ทั้งระดับปัจเจก บุคคล ปัจเจกบุคคลกับบุคคล กลุ่มกับกลุ่ม และกลุ่มกับเครือข่าย โดยเป็นการอธิบายถึงพฤติกรรม และ ความสัมพันธ์ท่ีเกี่ยวข้องกับส่ิงต่าง ๆ เช่น กิจกรรมการส่ือสาร ความร่วมมือการพึ่งพาอาศัย การ แลกเปล่ียนเรียนรู้ ฯลฯ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ท่ีมีโครงสร้างและรูปแบบท่ีหลากหลายโดยเป็นกระบวนการ ทีเ่ กยี่ วข้องกบั กจิ กรรมการปฏสิ ัมพนั ธ์ระหว่างกนั และความสมั พนั ธอ์ นั ใกล้ชิด โดยสรุป ข่ายใยชีวิต (Web of Life) เครือข่าย (Network) และเครือข่ายทางสังคม (Social Network) มีนัยและความหมายที่เก่ียวข้องกับระบบความสัมพันธ์ทั้งในด้านความสัมพันธ์ที่มีอยู่จริงใน สภาวะตามธรรมชาติ ซงึ่ เป็นแนวคดิ ของข่ายใยชีวิตกระบวนการเชื่อมโยงของโครงข่าย และเครือข่ายทาง สงั คมในสังคมมนุษย์ท่มี ีรปู แบบนยั ท่หี ลากหลายแตกต่างกนั 2.6.1 ความหมายของเครอื ขา่ ย คาวา่ “เครอื ข่าย” ในพจนานกุ รมฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (ราชบัณฑิตยสถาน.2546 : 184) ได้ปรากฏคาอธิบายความหมายของคาว่า เครือข่าย ท่ีมีเป็นคาอธิบายความหมายของคาว่า “ข่ายงาน” ว่าหมายถึง วงงานที่อยู่ในความควบคุมดูแลประสานกันในทานองเดียวกันพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545 ไม่ปรากฏคาว่าเครือข่ายหรือ การสร้างเครือข่ายแต่มีคา หลายคา ท่ีอธิบายลักษณะของเครือข่ายในหลายมาตรา (เสริมศักดิ์ วิศาลา ภรณ์. 2545 : 27) ดังนี้ มาตรา 8 (2) ใหส้ ังคมมีส่วนรว่ มในการจดั การศึกษา มาตรา 9 (6) การมีส่วนร่วมของบุคคล, ครอบครัว, ชุมชน, องค์กรชุมชน, องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น, เอกชน, องค์กรเอกชน, องค์กรวิชาชีพ, สถาบันศาสนา, สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น มาตรา 24 (6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานท่ี มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบคุ คลในชุมชนทุกฝุายเพอื่ รว่ มกนั พฒั นาผูเ้ รียนตามศักยภาพ มาตรา 29 ในสถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการ แลกเปลย่ี นประสบการณ์การพัฒนาระหวา่ งชมุ ชน มาตรา 52 ให้กระทรวงสง่ เสรมิ ให้มีระบบ กระบวนการ โดยการกากบั และประสานให้สถาบันทา หนา้ ท่ผี ลิต และพัฒนาครจู ะเห็นได้แม้ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จะไม่ปรากฏคาว่า “เครือข่าย” แต่คาที่ขีดเส้นใตข้ ้างต้น ต่างอธบิ ายลักษณะบางประการของเครือข่าย


47 นอกจากน้ี อภิญญา เวชยชัย (2544 : 69) ได้ให้นิยามของคาว่า NETWORK ว่ามีองค์ประกอบ ตามความหมายของคา ดังนี้ N = Nature คือ ธรรมชาติ ในเครือขา่ ยต้องมีความสมั พันธ์แบบธรรมชาติ ต้องเป็นความสัมพันธ์ ทอี่ ยู่บนฐานของความเทา่ เทยี ม สมาชิกท้ังมวลที่เข้ามาอยู่ในองค์ประกอบแบบเครือข่ายไม่มีใครเหนือใคร ไม่มีใครต่ากว่าใคร ไม่มีใครเป็นนาย ไม่มีใครเป็นลูกน้อง เป็นลักษณะที่ต่างฝุายต่างเป็นอิสระ มีสภาวะ ของความเทา่ เทยี มกนั ดว้ ยความเคารพ ยอมรับในศกั ดิ์ศรขี ององคก์ ร และผู้แทนทีเ่ ขา้ มาทางานร่วมกัน E = Exchange คือ การแลกเปลี่ยน แลกเปล่ียนบนจุดท่ียอมรับในความต่าง และรู้คุณค่าของ ความต่างน้นั ว่าจะเอามาหนุนเสริมให้กันอย่างไร เพราะฉะน้ันในเรื่องของการแลกเปล่ียนจึงเป็นประเด็น ท่ีต้องเข้าใจว่า ไม่ใช่แลกเปล่ียนเพ่ือประโยชน์เราฝุายเดียว แต่เพื่อประโยชน์ของทั้งมวลการคิดถึง Win Win Strategy ชนะชนะร่วมกัน รู้จักที่จะใช้ประโยชน์จากกันและกัน รู้ว่าแต่ละหน่วยงานท่ีมาทางาน รว่ มกัน ตา่ งมีกลไก มเี คร่ืองมือทีแ่ ตกตา่ งกัน จะมาหนนุ เสริมกนั ไดอ้ ย่างไร W = Wide คือ ความกว้างขวาง คนที่ทางานในเครือข่ายน้ันต้องใจกว้าง ขอบเขตในการทางาน ต้องกว้างขวางไม่ใช่อะไรท่ีเล็ก ๆ เพราะฉะน้ัน จึงมีลักษณะที่ไม่มีกรอบที่ตายตัว แต่ขึ้นอยู่กับความสนใจ และขอ้ เสนอทีน่ า่ สนใจ O = Organize คอื เรอื่ งของการจดั การในเครือข่ายก็ต้องมีการจัดการ เพื่อให้รู้ว่าจะประสานกัน อย่างไร บริหารกันอยา่ งไร แต่อาจจะมีลักษณะการบริหารที่หลวม ๆ ไม่ใช่แข็งตรงเกินไป และการบริหาร จัดการเครอื ข่ายศลิ ปะท่ียนื อยูบ่ นรากฐานของมนุษยส์ ัมพนั ธ์ เสมอภาค ไม่ใช่ฐานท่ีเปน็ แนวดิ่ง R = Resource คือ ทรพั ยากรรวมถึงการแบ่งปัน การมองเหน็ ประโยชน์ของกันและกันและนามา แบ่งปันกนั อย่างไร K = Kids คือ เคร่ืองมือท่ีเป็นกิจกรรม เครือข่ายที่มีกิจกรรมทาร่วมกันจะทาให้เป็นเครือข่ายท่ีมี ชีวิต ถ้าเครือข่ายที่ไม่มีกิจกรรมทาร่วมกัน ก็จะเป็นเครือข่ายท่ีตายแล้ว คือ ตั้งแล้วล้มซ่ึงอาจเป็นปัญหา ทาให้เครือข่ายอ่อนแอไมเ่ ข้มแข็ง และลม่ สลายในท่สี ดุ นอกจากนี้ ได้มีนักศึกษา และนักวิชาการให้คาจากัดความว่า “เครือข่าย” ไว้จานวนมากและ หลากหลาย แต่เม่ือให้ความหมายของคาว่าเครือข่ายมาเป็นกรอบในการพิจารณา พบว่าในความหมายท่ี ไปในทศิ ทางเดียวกนั สามารถจัดเปน็ กลุ่มได้ 2 กลุ่ม ดงั นี้ กลุ่มแรก ขนฏิ ฐา กาญจนรังสีนนท์ (2542 : 12) กล่าวว่า เครือข่าย คือ กลุ่มของคนหรืองค์กรท่ี สมัครใจแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน หรือทากิจกรรมร่วมกันในลักษณะที่บุคคลหรือองค์กร สมาชิกยังคงมีความเป็นอิสระในการดาเนินกิจกรรม และอีกความหมายหน่ึง โดยกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดกิ าร (2547 : 6) ให้ความหมายคาว่า เครือข่ายหมายถึง กลุ่มของคน หรือกลุ่มหรือองค์กร ท่ีมีความ สมัครใจในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ประสบการณ์ระหว่างกัน หรือลงมือทากิจกรรม ร่วมกัน มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และอ่ืน ๆ โดยมีการ จัดรปู แบบการจดั การให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเช่ือมโยงกิจกรรมร่วมกันกิจกรรมเครือข่ายต้องมีลักษณะเท่า เทียมกัน และเปน็ ความตระหนักร่วมกันในเปูาหมาย และแผนงานท่ีจะทา และนฤมล นิราทร (2543 : 6)


48 ให้ความหมายคาว่าเครือข่าย หรือ Network ว่ามีความหมายได้หลายลักษณะหากมองในเชิงโครงสร้าง เครือขา่ ย หมายถงึ กลุ่มของจุดต่าง ๆ ซ่งึ เชือ่ มตอ่ ด้วยเส้นจุดตา่ ง ๆ ท่วี ่าน้ี คอื บุคคล หรือกลุ่ม ส่วนเส้นท่ี เชอื่ มต่อนี้ หมายถงึ ความสัมพนั ธท์ ่บี คุ คล หรอื กลุม่ ตา่ ง ๆ มตี ่อกนั เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2545 : 5) ใหค้ วามหมายคาว่าเครอื ขา่ ย หมายถึงการที่บุคคลกลุ่มบุคคล สถาบัน หรือองค์การเชื่อมโยงติดต่อกันมีปฏิสัมพันธ์กัน มีประสานสัมพันธ์กัน เพ่ือการทางานด้วยกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาวิชาชีพ สอดคล้อง กับความคิดเห็นของ (Richardson, 1994, p. 14) ที่ให้ความหมายคาว่า เครือข่าย หมายถึง เป็นกลุ่ม บุคคลท่ีมีความรู้จักกัน หรือสามารถทาความรู้จักกันเพื่อแลกเปล่ียนข้อมูลข่าวสารซ่ึงกันและกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สถานภาพ และบทบาทของบุคคลนั้นตลอดจนความแตกต่างของ พ้ืนที่ และความสัมพันธ์ของกลุ่มบุคคล องค์กร ท่ีมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันตามวัตถุประสงค์ มี การติดต่อสื่อสารท้ังที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ มีความร่วมมือและปฏิบัติงานร่วมกันให้ความ ชว่ ยเหลอื ซ่ึงกันและกัน พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 3) บัญญัติคาว่า “ภาคีเครือข่าย” หมายถึง บุคคล, ครอบครัว, ชุมชน, องค์กรชุมชน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, องค์กรเอกชน, องค์กรวิชาชีพ, สถาบันศาสนา, สถาน ประกอบการ และองค์กรอื่น รวมทั้งสถานศึกษาอ่ืน ที่มิได้สังกัดสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มีส่วนร่วม หรือวัตถุประสงค์ในการดาเนินการศึกษานอกระบบ และ การศกึ ษาตามอธั ยาศัย โดยสรุป ความหมายของเครือข่ายในกลุ่มแรกให้ความสาคัญกับคน กลุ่มคน หรือองค์กรเป็น ลาดับแรกทตี่ ้องมาเก่ียวข้องสัมพันธซ์ ึง่ กันและกนั เพ่ือทางานร่วมกันในรปู แบบเครือขา่ ย กลุ่มท่ีสอง กรมการศึกษานอกโรงเรียน (2536 : 1) ให้ความหมายคาว่า เครือข่ายหมายถึง แนวคิด และกระบวนการในการจัดการระบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคลชุมชนตลอดจน องค์กรให้เก้ือกูลเชื่อมโยงกัน กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน (2535 : 16) โดยกล้าสมตระกูล ให้ ความหมายไว้น่าสนใจ ได้อธิบาย คาว่า เครือข่าย โดยแยกคากล่าวคือ คาว่า เครือหมายถึง ลักษณะของ การรวมกันของหลายหน่วยย่อย เช่น เครือกล้วย ส่วนคาว่า ข่าย ลักษณะการเชื่อมต่อเหมือนกับตาข่าย สรุปคาว่า เครือข่าย หมายถึง การเชื่อมต่อหลาย ๆ หน่วยย่อยเข้าด้วยกันเช่นเดียวกับ ธนา ประมุขกุล (2544 : 104) ท่ีใหค้ วามหมายคาว่า เครือข่าย หมายถึงการเช่ือมโยงอย่างมีเปูาหมาย การเชื่อมโยงนี้อาจ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างระบบที่ปฏิบัติการอยู่เข้าด้วยกันเช่นการเช่ือมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ต เป็นต้น หรืออาจเป็นการเช่ือมโยงระหว่างบทบาทของบุคคลองค์กรต่าง ๆ ภายใต้ วตั ถุประสงค์ใด ๆ ของภาคสี มาชกิ สุพิทย์ กาญจนพันธ์ (2541 : 171) ให้ความหมายคาว่า เครือข่าย หมายถึง ระบบการการ เชื่อมโยงซงึ่ กนั และกันระหว่างองค์กร ตัวแทน หรือสถาบันเข้าด้วยกัน ทาให้สามารถแจกจ่ายแลกเปลี่ยน ทรัพยากร พลังงาน หรือสารสนเทศได้


49 มะลิ วิมาโน (2547 : 5) กล่าวว่า เครือข่าย หมายถึง ระบบติดต่อส่ือสาร และเชื่อมโยงกันของ กลุม่ บุคคล หรือองคก์ รที่ร้จู ักกัน มีความไว้วางใจกันเพื่อเปูาหมายในการแลกเปล่ียนข้อมูลข่าวสารความรู้ ซ่งึ กนั และกันตามวตั ถุประสงค์ มกี ารตดิ ตอ่ ส่ือสารทัง้ ทีเ่ ปน็ ทางการ และไม่เป็นทางการมีความร่วมมือและ ปฏิบัติงานร่วมกันให้ความช่วยเหลือกันท้ังน้ี ข้ึนอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สถานภาพ และ บทบาทของบคุ คลน้นั สาหรบั ศิริวรรณ เสรีรัตน์ (2538 : 219) ให้ความหมายว่า เครือข่าย หมายถึงส่วนประกอบของ กระบวนการจัดการท่ีประกอบด้วย ความสัมพันธ์ของบุคคลแต่ละบุคคล ซ่ึงช่วยให้ผู้บริหารบรรลุความ ต้องการในการปฏิบัตงิ านอยา่ งมีประสิทธภิ าพ และประสิทธผิ ล โดยสรุปความหมายของเครือข่ายในกลุ่มน้ีให้ความสาคัญกับเร่ืองของแนวคิด กระบวนการหรือ ระบบมากกวา่ ตัวบุคคล กลุม่ หรอื องคก์ าร ซงึ่ มแี นวความคดิ และจดุ เน้นทแี่ ตกตา่ งจากกลุ่มแรก กลุ่มที่สาม เสรี พงศ์พิศ (2548 : 8) ให้ความหมายว่า เครือข่ายหมายถึง ขบวนการทางสังคมอัน เกิดจากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่ม องค์กร สถาบัน โดยมีเปูาหมายวัตถุประสงค์ และ ความต้องการบางอยา่ งรว่ มกัน และร่วมดาเนินกิจกรรมบางอย่างโดยสมาชิกของเครือข่ายยังคงความเป็น เอกเทศไม่ขึ้นต่อกัน (Alter and Hage, 1993) เสนอว่าเครือข่าย หรือ Networkเป็นรูปแบบทางสังคมที่ เปดิ โอกาสให้เกิดการปฏิสมั พนั ธ์ระหว่างองคก์ ร เพือ่ การแลกเปลย่ี นการสร้างความเปน็ อันหน่ึงอันเดียวกัน และการรว่ มกนั ทางาน เครอื ขา่ ยประกอบดว้ ยองค์กรจานวนหนึง่ ซ่งึ มีอาณาเขตแน่นอนหรือไม่ก็ได้ องค์กร เหลา่ นจ้ี ะมีฐานะเท่าเทยี มกัน โดยสรุปกลุ่มนี้ ให้ความสาคัญกับขบวนการ หรือรูปแบบทางสังคม ซึ่งมีความแตกต่างจากสอง กลุ่มแรก มีความหมายไปในแนวทางของเครอื ข่ายทางสังคมจะไดศ้ ึกษาความหมายกันต่อไป จากความหมายของคาวา่ เครือขา่ ย ดงั กล่าว สรุปความหมายโดยรวมคาว่า “เครือข่าย”หมายถึง กระบวนการ หรือระบบการเชื่อมโยงบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์การให้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กันประสาน สมั พันธ์กนั เพ่ือการทางานร่วมกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกนั แลกเปล่ียนประสบการณ์กันช่วยเหลือซ่ึง กันและกัน เพื่อวัตถุประสงค์หนึ่งอันเป็นเปูาหมายร่วมกันโดยท่ีสมาชิกเครือข่ายต่างมีอิสระมีความเท่า เทียมกัน และเปน็ เอกเทศไม่ขนึ้ ต่อกัน 2.6.2 ภาคเี ครือขา่ ยการศกึ ษา ภารกิจของรัฐในการจัดการการศึกษา เพ่ือปวงชนมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้นในปี พ.ศ. 2533 เมื่อองค์การยูเนสโก UNESCO ได้จัดให้มีการประชุมนานาชาติว่าด้วยการจัดการศึกษาเพื่อ ปวงชน ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ หาดจอมเทียน พัทยา ชลบุรี และได้กาหนดข้อตกลงร่วมกันท่ีเรียกว่า “ปฏิญญาสากลว่าด้วยการจัดการศึกษาเพ่ือปวงชน” ซึ่งเป็นพันธกิจที่ประเทศสมาชิกจะดาเนินการจัด การศึกษาเพ่ือปวงชน ตามแนวทางการศึกษาตลอดชีวิต (ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา.2545 : 1) ซ่ึง แนวคิดในการจัดการศึกษาเพ่ือปวงชนได้บัญญัติไว้ในกฎหมายการศึกษาฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และท่ีแก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ตามมาตรา 8 ว่าด้วยการจัด


50 การศึกษาให้ยึดหลักเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสาหรับประชาชนทุกคนเพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต อย่างต่อเน่ืองตลอดชีวิตต้ังแต่เกิดจนตาย และยึดหลักให้ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมในการจัด การศึกษา เพ่ือให้เกิดการเรยี นร้อู ยา่ งต่อเนื่องตลอดชีวิต การจัดการการศึกษาเพ่ือปวงชนนั้น เป็นหลักการท่ีสอดคล้องกับแนวคิดของ ประเวศ วะสี. (2553 : 59) ที่เช่ือว่า การศึกษาเป็นเรื่องใหญ่มาก และควรจะเป็นพลังท่ีสาคัญท่ีสุดของชาติเพ่ือทุกคน และทุกภาคส่วนของสังคม หมายถึง ทุกคน ทุกองค์กร ทุกสถาบัน เครื่องมือ และทรัพยากร ทั้งมวลต้อง ทุ่มเทเพ่ือการศึกษา เช่นกัน ไม่ใช่เรื่องของสถานศึกษาและครูผู้สอนเท่าน้ันซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับ การศึกษาตลอดชีวิตตามแนวคิดของ โกวิท วรพิพัฒน์ (2544 : 197 - 202) เจ้าของทฤษฎีคิดเป็น และ เปน็ ผบู้ กุ เบกิ งานการศกึ ษานอกโรงเรียนตัง้ แต่ดารงตาแหน่งหัวหน้ากองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 - 2518 และเป็นอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียนเม่ือปี พ.ศ. 2525 - 2529 ได้ กล่าวถงึ ความจริงที่ว่า การศึกษาไม่ได้เร่ิมต้นและส้ินสุดท่ีการศึกษาในโรงเรียนเท่านั้น หากครอบคลุมไป ถึงการเรียนรู้ที่ได้รับจากแรกเกิดจนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิตซึ่งรวมทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอก ระบบ และการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการร่วมกันซึ่งการจัดการศึกษาดังกล่าว จะสัมฤทธิ์ผลได้หน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานอื่น ๆ ต้องร่วมกันจัดวางระบบตลอดจนร่วมกันส่งเสริม และสนับสนุนให้ ระบบดังกล่าวสามารถดาเนินการได้อย่างต่อเนื่องดังน้ัน แนวคิดในการผลักดันให้หน่วยงานต่าง ๆ ท่ี เก่ียวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดหรือส่งเสริมการจัดการศึกษาร่วมกับสถานศึกษาของกศน. ดาเนินมา อย่างยาวนานตอ่ เนือ่ ง ตงั้ แตย่ คุ บุกเบกิ ทีเ่ ป็นกองการศึกษาผ้ใู หญ่ จนเป็นกรมการศึกษานอกโรงเรียน และ เปน็ สานักงานกศน. ในปัจจุบนั แนวคดิ เรอื่ งการทางานร่วมกันในลกั ษณะเครือข่าย หรือภาคีเครือข่ายก็ยัง ดารงอยู่ และมีความเข้มข้นมาก (สมุ าลี สงั ขศ์ รี. 2544 : 174 - 180) นอกจากน้ี ทองอยู่ แก้วไทรฮะ (2544 : 21 - 25) กล่าวถึง การปฏิรูปการศึกษา : จากการศึกษา นอกโรงเรยี นสู่การส่งเสริมการศกึ ษาตลอดชีวิต ด้วยการเปิดโอกาสให้ทุก ๆ ฝุายในสังคมเข้ามามีส่วนร่วม และต้องถือเป็นหน้าที่ท่ีต้องจัดการศึกษาหรือกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลายด้วย ตนเอง โดยทุกฝุายมีส่วนรว่ มรับผิดชอบร่วมกัน ท้ังนี้รัฐต้องเปล่ียนบทบาทท่ีมีต่อการจัดการศึกษา โดยรัฐ ควรมีบทบาทท่ีมีต่อการจัดการศึกษา โดยรัฐควรมีบทบาทในการส่งเสริมและประสานงานให้มากขึ้น ลด บทบาทของการเป็นผู้จัดการศึกษาลดลง และส่งเสริมโอกาสของครอบครัว ชุมชน องค์กรเอกชน สถาน ประกอบการและหน่วยงานต่าง ๆ ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และกิจกรรมการเรียนรู้ให้ มากขนึ้ โดยสรุปแนวคิด การจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ไม่สามารถสาเร็จลงได้ถ้าขาดซ่ึงการมีส่วนร่วมใน การจดั การศึกษาของทุกภาคส่วนในสังคม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมจึงเป็นสิ่งสาคัญ และสิ่ง เหล่าน้ีจะถูกสะท้อนออกมาจากแนวคิดของนักการศึกษานอกโรงเรียนคนสาคัญ ๆ ดังกล่าว จึงอาจกล่าว ไดว้ า่ “งานกศน. เกดิ ข้ึนได้ หรอื สาเรจ็ ได้ เพราะเครอื ข่าย”


51 นอกจากน้นั พระราชบัญญัติสง่ เสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ให้ความหมายคาว่า ภาคีเครือข่าย หมายถึง บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วน ท้องถ่ิน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และองค์กรอื่น รวมท้ัง สถานศึกษาอื่นท่ีมิได้สังกัดสานักงาน กศน. ที่มีส่วนร่วม หรือมีวัตถุประสงค์ในการดาเนินงานการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 3) ในกฎกระทรวงว่าด้วยการ กาหนดจานวนอนุกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของประธาน และอนุกรรมการ วาระการ ดารงตาแหน่ง และการพ้นจากตาแหน่ง รวมทั้งอานาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการภาคีเครือข่าย พ.ศ. 2552ซึ่งเป็นกฎหมายลูก ไดก้ าหนดประเภทของภาคเี ครือขา่ ยเปน็ 11 ประเภท มรี ายละเอียด ดังนี้ 2.6.2.1 ภาคเี ครือขา่ ยออกเปน็ 6 ประเภท ไดแ้ ก่ 1) หนว่ ยงานภาครฐั หมายถึง สถานศกึ ษาของภาครัฐ เชน่ ศูนยก์ ารเรยี น โรงเรียน วิทยาลัย หน่วยงานทางการศึกษา เช่น สานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตร์เพ่ือ การศึกษา หน่วยงานอ่ืนของรัฐ เช่น หน่วยงานทหาร เรือนจา / ทัณฑสถาน รวมท้ังองค์กรปกครองส่วน ทอ้ งถิน่ เชน่ องค์การบริหารส่วนตาบล องค์การบรหิ ารส่วนจงั หวดั และเทศบาล ฯลฯ 2) หนว่ ยงานภาคเอกชน หมายถงึ สถานศกึ ษาของภาคเอกชน เช่น ศูนย์การ เรียนโรงเรียน วทิ ยาลยั และสถานประกอบธุรกิจเอกชนท่ีเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัท ห้างร้าน ห้างหุ้นส่วน จากัดบริษัท จากดั โรงแรม ธนาคาร ฯลฯ 3) สถาบนั ศาสนา หมายถึง สถานที่ปฏบิ ัติศาสนกิจของทุกศาสนา เช่น วดั โบสถ์ มสั ยดิ 4) ประชาสังคม หมายถึง การที่คนในสังคมซ่งึ มใิ ชภ่ าครฐั และระบบราชการ ซึ่งมีจิตสานึกร่วมกันมารวมตัวในลักษณะเป็นหุ้นส่วนกัน ไม่ข้ึนตรงต่อกันเพื่อกระทาบางอย่างที่เป็น ประโยชน์ต่อกัน ประกอบดว้ ย ชมุ ชน และองคก์ รชมุ ชน 5) องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) หมายถึง การรวมตัวของกลุ่มคนจากสาขา อาชพี ต่าง ๆ เพอ่ื รว่ มทากิจกรรมให้สังคมโดยไมแ่ สวงหาผลกาไร และ เพื่อลดช่องว่างของสงั คมด้วยการ แกไ้ ขปัญหาด้วยตวั เอง ประกอบด้วย องคก์ รเอกชน และองคก์ รวิชาชีพ 6) บคุ คล / นักวชิ าการ หมายถงึ บุคคลทีเ่ ขา้ มามีสว่ นร่วมจดั กิจกรรมการศกึ ษา นอกโรงเรยี นประกอบด้วยบุคคล และครอบครวั 2.7 แนวคดิ ทฤษฎเี กี่ยวกบั การมสี ่วนร่วม การมีส่วนร่วม เป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม ตัดสินใจในการ ปฏิบัติงานและการร่วมรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้ให้การปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์โดยมี นกั วิชาการหลายทา่ นไดใ้ ห้แนวคิดและทฤษฏใี นการมีสว่ นร่วม ดังนี้


52 2.7.1 ความหมายของการมีสว่ นรวม การมีส่วนรวม เป็นกระบวนการท่ีเปิดโอกาสให้บุคคลท่ีมีส่วนในการดาเนินงานได้เข้ามามีส่วน ร่วมในการทากิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งได้มีนักวิชาการหลายท่าน ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมไว้หลาย แนวคิด โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ การมสี ว่ นร่วมดา้ นการศึกษา ดังน้ี จอมพงศ์ มงคลวนิช (2554 : 36) ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วม คือ การเปิดโอกาสให้ บุคลากรมคี วามเชือ่ มโยงใกลช้ ิดกับการดาเนินงานเกิดผลดีต่อการขับเคลื่อนองค์การหรือเครือข่าย เพราะ มีผลในทางจิตวิทยาเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือผู้ท่ีเข้ามามีส่วนร่วมย่อมเกิดความภาคภูมิใจท่ีได้เป็นส่วนหน่ึง ของการบริหาร ความคิดเห็นถูกรับฟังและนาไปปฏิบัติเพื่อการพัฒนาและที่สาคัญผู้มีส่วนร่วมจะมี ความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการหรือองค์การ ความรู้สึกเป็นเจ้าของจะเป็นพลังงานในการขับเคลื่อน องคก์ ารและหนว่ ยงานดที ่สี ดุ ปารชิ าติ วลยั เสถยี ร (2555 : 54) ไดใ้ หค้ วามหมายของการมีส่วนร่วม คือ การร่วมมือร่วมใจ การ ประสานงาน ความรับผิดชอบ หรืออาจหมายถึงการทางานร่วมกับกลุ่มเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้วย ความตัง้ ใจ โดยดาเนินการอยา่ งถกู จังหวะและเหมาะสมท้ังดว้ ยความรู้สึกผูกพันและสามารถเชอื่ ถือได้ ธนสาร บัลลังกป์ ทั มา (2561 : 1-15) ไดใ้ หค้ วามหมายของการมีส่วนร่วม คือ การเปิดโอกาสให้ผู้ มีส่วนได้ส่วนเสยี เขา้ มามีส่วนรว่ มดาเนินกิจกรรม ต้ังแต่การศึกษาปัญหาการวางแผนการดาเนินการ การ ตัดสินใจ และการประเมินร่วมกัน เพื่อขับเคล่ือนให้กิจกรรมน้ัน ดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึด หลกั การมสี ่วนรว่ ม คอื หลกั ร่วมคดิ รว่ มทา ร่วมตรวจสอบ รว่ มรับผิดชอบ ปรัชญา เวสารัชช์ (2561 : 72) ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วม คือ การท่ีประชาชนได้ใช้ ความพยายามหรือใช้ทรัพยากรบางอย่างของตน เช่น ความคิด ความรู้ความสามารถ แรงงาน เงินทุน วัสดุ ในกิจกรรมการพัฒนานั้น การมีส่วนร่วมจะทาให้ประชาชนหลุดพ้นจากการเป็นผู้รับผลจากการ พฒั นาและเปน็ ผู้กระทาใหเ้ กดิ กระบวนการพัฒนา การมีส่วนร่วมเป็นได้ท้ังวิธีการที่นาไปสู่การพัฒนาและ เป็นผกู้ ระทาใหเ้ กิดกระบวนการพฒั นาดว้ ย วนั ชยั โกลละสตุ (2561 : 70) ไดใ้ ห้ความหมายของการมีส่วนร่วม คือ ทรัพยากรในการบริหารที่ เป็นส่วนของแต่ละบุคคลในแต่ละระดับการปฏิบัติมีส่วนในกระบวนการวางแผนการจัดองค์การ การสั่ง การ และควบคุมการปฏบิ ัตใิ นแต่ละส่วน ๆ อย่างเต็มความสามารถ ท้ังในทิศทางเพ่ือการปฏิบัติด้านเดียว หรอื การนาเสนอเชิงความคิดในการดาเนินการตามกระบวนการนั้น อยา่ งใดอยา่ งหนึง่ สตีเวนเฮเกน (Stavenhagen. 1971 : 356) ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมไว้ว่าหมายถึง กระบวนการท่ีสมาชิกของกล่มุ ทม่ี ีการกระทาออกมาในลักษณะของการทางานร่วมกันในการท่ีจะแสดงให้ เห็นถึงความสนใจและความต้องการร่วมกันและต้องการท่ีจะบรรลุเปูาหมายร่ว มทางด้านเศรษฐกิจสังคม หรือการเมือง หรือการดาเนินการร่วมกัน เพื่อให้มีอิทธิพลต่ออานาจมติชนท้ังทางตรงและทางอ้อมหรือ อาจจะเป็นการดาเนินการร่วมกันในการเพ่ิมอานาจต่อรองทางการเมืองทางเศรษฐกิจและการปรับปรุง สถานภาพทางสงั คมของกล่มุ


53 แอวิน (Erwin. 1976 : 138) ได้ให้ความหมายการมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง กระบวนการใหป้ ระชาชนเขา้ มามีสว่ นร่วมเก่ยี วขอ้ งในการดาเนินงานพัฒนาร่วมคิดร่วมตัดสินใจแก้ปัญหา ของตนเองเนน้ การมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องอย่างแขง็ ขนั ของประชาชนให้ความคดิ สรา้ งสรรค์ และความชานาญ ของประชาชนแก้ไขปัญหาร่วมกันการใช้ทรัพยากรท่ีเหมาะสมและสนับสนุนผลการปฏิบัติงานขององค์กร และเจ้าหนา้ ทีท่ เ่ี ก่ยี วขอ้ ง โคเฮน และ อัพฮอฟฟ์ (Cohen & Uphoff . 1981 : 6) ได้ให้ความหมายการมีส่วนร่วมของ ชุมชนว่า สมาชิกของชุมชนต้องเขา้ มามีสว่ นเก่ยี วข้อง ได้แก่ 1. การมสี ว่ นร่วมการตัดสนิ ใจว่าควรทาอะไรและทาอยา่ งไร 2. การมีสว่ นรว่ มเสยี สละในการพัฒนารวมทง้ั ลงมอื ปฏบิ ัตติ ามทไ่ี ดต้ ัดสินใจ 3. การมสี ่วนร่วมในการแบง่ ปันผลประโยชนท์ เี่ กดิ ขึ้นจากการดาเนินงาน 4. การมีสว่ นรว่ มในการประเมินผลโครงการ โดยสร้างโอกาสให้สมาชิกทุกคนของชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือและเข้ามามีอิทธิพลต่อ กระบวนการดาเนินกิจกรรมในการพฒั นา รวมถงึ ได้รับผลประโยชนจ์ ากการพฒั นาน้ันอย่างเสมอภาค องคก์ ารสหประชาชาติ (United Nation. 1981 : 5) ได้ให้ความหมายเจาะจงถึงการมีส่วนร่วมว่า การมีส่วนร่วมเป็นการปะทะกันทางสังคมทั้งในลักษณะการมีส่วนร่วมของปัจเจกบุคคล และการมีส่วน ร่วมของกลุ่มจากการศึกษาความหมายของการมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนไม่ว่า บคุ คลหรือกลมุ่ บุคคลเขา้ มามีสว่ นร่วมในกจิ กรรมไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะของการร่วม รับรู้ร่วมคิด ร่วมทาเพ่ือให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความตั้งใจไว้ โดยการกระทาด้วยความรู้สึกผูกพัน มี ความเชื่อถือและไว้วางใจได้ การมีส่วนร่วมเป็นหัวใจของการเสริมสร้างพลังในการทางานร่วมกันที่มี ประสทิ ธิภาพและสนับสนุนการเปลยี่ นแปลงโดยเฉพาะทาให้ผเู้ กยี่ วข้องหรือผู้มีส่วนเข้าใจสถานการณ์และ อทุ ิศตนเพื่อการเปลีย่ นแปลงและพัฒนา จากท่ีกล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนไม่ว่าบุคคล หรือกลุ่มบุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะของการร่วมรับรู้ ร่วมคิดร่วมทา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความตั้งใจไว้ โดยการกระทาด้วยความรู้สึกผูกพันมีความ เช่ือถือและไว้วางใจได้ การมีส่วนร่วมเป็นหัวใจของการเสริมสร้างพลังในการทางานร่วมกันที่มี ประสิทธภิ าพและสนบั สนุนการเปล่ียนแปลงโดยเฉพาะทาใหผ้ ้เู กี่ยวข้องหรอื ผู้มีส่วนเข้าใจสถานการณ์และ อทุ ิศตนเพอื่ การเปลี่ยนแปลงและพฒั นา 2.7.2 ประโยชนข์ องการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมมีประโยชน์ต่อการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ซ่ึงมีนักการศึกษาได้กล่าวถึงประโยชน์ ของการมสี ว่ นรว่ มของชมุ ชนไว้ดังนี้ จรวยพร ธรณนิ ทร์ (2550 : 38) กลา่ วถงึ ประโยชน์ของการทางานในรปู แบบการมสี ่วนร่วม ดงั นี้ 1. ชว่ ยใหอ้ งคก์ รตัดสินใจไดเ้ ร็ว สามารถแก้ปญั หาไดอ้ ย่างรวดเร็วท่ามกลางความไม่แน่นอน และ ความสลบั ซบั ซอ้ นของปัญหา


54 2. ลดค่าใช้จ่ายในการบรหิ ารงาน รวมท้งั คา่ ใช้จา่ ยของผบู้ รกิ าร 3. สามารถใหบ้ ริการแกก่ ลมุ่ เปาู หมายได้ตรงความตอ้ งการ 4. เป็นการสรา้ งทุนทางสงั คมให้แก่หนว่ ยงานและประเทศชาติ 5. กอ่ ใหเ้ กดิ แหล่งขอ้ มูลเพมิ่ มากขนึ้ 6. เกิดแหลง่ การแลกเปลยี่ นเรียนร้มู ากยง่ิ ข้ึน 7. ทาให้การทางานเกิดความยืดหยุ่น โดยการอาศัยความชานาญและประสบการณ์ ของหลาย ๆ ฝาุ ย 8. ทาใหไ้ ดร้ ับองคค์ วามรู้ที่ลกึ ซึง้ ท่ีเกิดจากผ้เู ชยี่ วชาญโดยตรง ธรี ะพงษ์ แก้วหาวงษ์ (2552 : 154) กล่าวถึงประโยชน์อ่ืน ๆ ของการมีส่วนร่วมท่ีมีต่อองค์กร คือ การยอมรบั การเปลี่ยนแปลงมีมากกว่า ดงั นี้ 1. ความสัมพันธร์ ะหว่างผบู้ ังคบั บัญชา - ผู้อยใู่ ต้บงั คับบัญชา มีความราบร่นื มากข้นึ 2. องค์กรธรุ กิจ ระหวา่ งฝุายบริหาร – สหภาพแรงงานมคี วามราบร่นื มากข้ึน 3. ความผกู พันของพนักงานต่อองคก์ รเพ่ิมข้นึ 4. ความไว้วางใจฝาุ ยบรหิ ารมีมากข้ึน สานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2552 : 61) กล่าวถึงการปรับเปล่ียนการบริหาร ราชการของหนว่ ยงานภาครฐั ท่ีเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะของหุ้นส่วนการพัฒนา จะกอ่ ให้เกดิ ประโยชน์ตอ่ หน่วยงานภาครัฐในหลายประการ ไดแ้ ก่ 1. การตดั สินใจทมี่ ีคุณคา่ และความหมาย เพราะภาคประชาชนได้เข้ามาส่วนร่วมในการจัดลาดับ ความสาคญั ของโครงการ แผนงาน การใช้งบประมาณ 2. การใช้ทรัพยากรอย่างรอบคอบ เพราะภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามและ ประเมินผลการดาเนนิ งาน 3. ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ เพ่ือหาทางแก้ไขปัญหาสาธารณะ ต่าง ๆ ทาให้แนวทางเหล่านั้นได้รับการสนับสนุนเมื่อนาไปปฏิบัติ และทาให้ภาครัฐไม่ต้องทางานใน ลกั ษณะโดดเด่ียวตอ่ ไป 4. การทางานในลักษณะหุ้นส่วน โดยภาครัฐปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ประสานและอานวยความ สะดวก ซึ่งสอดคล้องกับบทบาทภาครัฐในการบริหารราชการยุคใหม่ ทาให้รัฐสามารถลดขนาดลง และ ทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะมีหุ้นส่วนการพัฒนามาช่วยแบ่งเบาภาระด้านค่าใช้จ่าย บุคลากรและงบประมาณ 5. ความสามารถในการใหบ้ ริการทด่ี ขี น้ึ เพราะสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ อย่างทั่วถงึ มปี ระสทิ ธภิ าพ และตรงจดุ ขนึ้ เช่น สาธารณสุข การศึกษา เปน็ ตน้ 6. ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งภาครัฐและประชาชนมคี วามไว้วางใจเปน็ พืน้ ฐาน อันเปน็ ผลสืบเนื่องจาก การได้ร่วมคิด ร่วมทา และร่วมรับผลประโยชน์ รวมทั้งมีการแลกเปล่ียนข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ อยา่ งเปดิ เผยระหว่างกัน


55 จอมพงศ์ มงคลวนิช (2554 : 45) กลา่ วถึง ประโยชน์ของการมสี ่วนร่วม คือ 1. ทาให้การบริหารหรือการพิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหามีความหลากหลายเป็นไปอย่าง ถ่ีถ้วน รอบคอบ เพราะเป็นการระดมแนวคิด จากบุคคลท่ีมีความหลากหลายทั้งความรอบรู้และ ประสบการณ์ 2. ทาให้มีการถ่วงดุลอานาจซึ่งกันและกัน โดยมิให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีอานาจมากเกินไป ซ่งึ นาไปสกู่ ารใชอ้ านาจในทางทไ่ี ม่ถกู ต้องอนั เกดิ ผลเสยี หายแกอ่ งค์การได้ 3. เป็นการขจัดปัญหา มิให้มีการดาเนินนโยบายใด ๆ มีผลต่อกลุ่มใดกลุ่มหน่ึงมากหรือน้อย เกินไป ซง่ึ จะกอ่ ให้เกดิ ความยุติธรรมในการดาเนนิ การต่อทุกฝุายได้ 4. กอ่ ใหเ้ กิดการประสานทดี่ ี ทาใหก้ ารบริหารเปน็ ไปอยา่ งรายรน่ื และมปี ระสิทธภิ าพ 5. การรวมตัวกันของบุคคลเปน็ เครือข่ายจะก่อให้เกิดพลังเข้มแข็ง สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมให้ เปน็ ไปตามวัตถุประสงค์และเปาู หมาย โดยทกุ คนมีความรู้สึกเป็นเจา้ ของ จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่าการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานั้นก่อให้เกิดประโยชน์กับสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ผู้เรียน รวมท้ังบุคคลท่ีเก่ียวข้อง ดังน้ันการร่วมกันคิด ร่วมกันทา ย่อม สง่ ผลต่อประสทิ ธภิ าพและผลสาเร็จตามความมุ่งหมายในการทางาน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความสามัคคี ระหว่างผู้บริหารและผู้ร่วมงานในทุกระดับทุกองค์กร ลดความขัดแย้งในการทางาน และเพิ่มความ ไวว้ างใจซงึ่ กันและกันมากขึ้น สร้างบรรยากาศท่ีดีในการทางาน ช่วยให้ผู้ร่วมงานมีสุขภาพจิตที่ดี ทุกคนมี งานทาสร้างความเป็นประชาธิปไตยในองค์กร ลดค่าใช้จ่ายและใช้ทรัพยากรอย่างทะนุถนอม ช่วยให้ พนักงานร้สู กึ ว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร รู้สึกรักและผูกพันในโรงเรียน การมีส่วนร่วมจะช่วยให้บุคคล ได้พัฒนาบุคลิกภาพของตนเองในด้านการตัดสินใจ การควบคุมการทางาน การแสดงออก ทัศนคติ และ การใช้ความสามารถที่จะประสบผลสาเรจ็ ได้ 2.7.3 ลกั ษณะการมีสว่ นรว่ ม ลักษณะหรือรูปแบบการมีส่วนร่วมน้ันมีหลายลักษณะ และได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านได้ กล่าวถงึ และใหค้ วามหมายไว้หลายรปู แบบในลักษณะต่าง ๆ กนั ดังตอ่ ไปนี้ จนิ ตวรี ์ เกษมสุข (2554 : 3) ได้กล่าวไว้ว่า การที่ประชาชนภายในพื้นท่ีมีการรวมกลุ่มในรูปของ ประชาคมหรือชุมชน ซึ่งเป็นแนวคิดท่ีสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมโดยเน้นการมีส่วนร่วม ของประชาชน ให้ร่วมคิด ร่วมทา ร่วมแก้ไขปัญหา ซึ่งการแก้ไขปัญหานั้น จาเป็นต้องมีความร่วมมือทา พร้อม ๆ กันในทกุ ระดบั ต้องระดมทุกองค์ประกอบในสงั คม โดยเฉพาะชุมชนเพ่อื เสรมิ สรา้ งความเป็นชุมชนให้มีความเขม้ แข็ง สามารถแก้ปัญหาตา่ ง ๆ ได้ ดว้ ยตนเองรปู แบบของการมสี ่วนรว่ มทดี่ าเนนิ อยทู่ ่ัวไป สามารถสรุปได้ 4 รปู แบบ คือ 1. การรบั รู้ขา่ วสาร (Public information) ประชาชนและหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องจะต้องได้รับการ แจ้งให้ทราบถึงรายละเอียดของโครงการท่ีจะดาเนินการ รวมท้ังผลกระทบท่ีคาดว่าจะเกิดขึ้น ทั้งน้ีการ ได้รับแจ้งข่าวสารดังกล่าวจะตอ้ งมกี ารแจ้งก่อนท่ีจะต้องตัดสนิ ใจดาเนินโครงการ


56 2. การปรึกษาหารือ (Public consultation) เป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมท่ีมีการจัดการหารือ ระหว่างผู้ดาเนินการโครงการกับประชาชนท่ีเกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและ ตรวจสอบข้อมลู เพิ่มเตมิ เพือ่ ให้เกดิ ความเข้าใจในโครงการและกิจกรรมมากขึน้ 3. การประชุมรับฟังความคิดเห็น (Public meeting) มีวัตถุประสงค์เพ่ือให้ประชาชนและฝุายท่ี เกี่ยวข้องกับโครงการหรือกิจกรรม และผู้มีอานาจตัดสินใจในการทาโครงการหรือกิจกรรมนั้นได้ใช้เวที สาธารณะในการทาความเข้าใจ และค้นหาเหตุผลในการดาเนินโครงการหรือจัดกิจกรรมในพ้ืนท่ีน้ัน ซึ่งมี หลายรูปแบบได้แก่ การประชุมระดับชุมชน (Community meeting) การประชุมรับฟังความคิดเห็นใน เชิงวิชาการ (Technical hearing) การประชาพิจารณ์ (Public hearing) และการร่วมในการตัดสินใจ (Decision making) สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติ (2554 : 7) ได้แบง่ ลักษณะการมีร่วม 4 ลักษณะ คอื 1. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Decision- making) ในกระบวนการของการตัดสินใจน้ัน ประการแรกทส่ี ุดทจี่ ะตอ้ งกระทา คือ การกาหนดความต้องการและการจัดลาดับความสาคัญต่อจากน้ันก็ จะเลือกนโยบายและประชากรที่เกี่ยวข้อง การตัดสินใจน้ีเป็นกระบวนการต่อเน่ืองท่ีต้องดาเนินการต่อ เรื่อย ๆ ต้ังแต่การตัดสินใจในช่วงเร่ิมต้น การตัดสินใจในช่วงดาเนินการวางแผน และการตัดสินใจในช่วง การปฏบิ ตั ิตามแผนทีว่ างไว้ 2. การมีส่วนร่วมในการร่วมดาเนินการ (Implementation) ในส่วนท่ีประกอบในการดาเนิน โครงการนั้นจะได้จากคาถามท่ีว่าใครจะทาประโยชน์ได้โดยวิธีใด เช่น การช่วยเหลือด้านทรัพยากร การ บริหารงาน การประสานงาน และการขอความชว่ ยเหลอื 3. การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (Benefits) ในส่วนที่เก่ียวข้องกับผลประโยชน์ นอกจาก ความสาคญั ของผลประโยชน์ในเชิงปริมาณและคุณภาพแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงการกระจายผลประโยชน์ ภายในกลุ่มดว้ ยผลทัง้ ทางบวกละทางลบ ซงึ่ จะเกิดกับบคุ คล และสังคม 4. การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation) นั้น ส่ิงสาคัญท่ีจะต้องสังเกต คือ ความเห็น (View) ความชอบ (Preferences) และความคาดหวัง (Expectations) ซ่ึงจะมีอิทธิพลซึ่งสามารถ แปรเปลี่ยนพฤตกิ รรมของบุคคลในกลุ่มตา่ ง ๆ จากที่กล่าวมา สรุปได้ว่าลักษณะและรูปแบบของการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาคือ การที่ ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกหน่วยงาน ทุกสังกัด รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการรับบริการมีส่วนร่วมในการ ประชมุ ปรกึ ษาหารือ รว่ มรบั รูข้ ่าวสาร ร่วมแก้ปัญหา ร่วมวางแผนร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติตามแผน และ ร่วมประเมนิ ผล เพอ่ื ใหเ้ กดิ ประโยชน์สูงสดุ แก่หนว่ ยงาน 2.7.4 ความสาคัญของภาคเี ครือข่ายในการจดั การศึกษา ในการดาเนินของภาคเี ครอื ขา่ ยของชมุ ชน ได้มีการทางานร่วมกันในด้านต่าง ๆ ของชุมชนซึ่งรวม ไปการพัฒนาการศึกษาของคนในชุมชน อาจกล่าวได้ว่าการทางานในชุมชนนั้นไม่อาจจะขาดทีมงานส่วน


57 ใดส่วนหนึ่งไปได้ เนื่องจากทุกส่วนมีความสาคัญในการทาให้ชุมชนเกิดการพัฒนา ได้มีการกล่าวถึง ความสาคัญของภาคเี ครือข่าย ดงั น้ี ประเวศ วะสี (2543 : 9 - 10) ยังได้กล่าวถึงความจาเป็นที่จะต้องให้ทุกฝุายเข้ามามีส่วนร่วม ในการพัฒนาการศึกษาว่า การศึกษาเป็นความหวังของสังคมและเป็นเหมือนต้นทางแห่งสภาพจิตใจ ครอบครัว วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมเป็นกระบวนการทางการศึกษาจึงมีความ เคลื่อนไหวตลอดทกุ เวลา เป็นกระบวนการที่เปน็ กลางทกุ คนสามารถเขา้ มามีสว่ นรว่ มได้ สานักงานปฏิรูปการศึกษา (2543 : 77 - 86) ท่ีกล่าวถึง ภารกิจท่ีมุ่งให้ภาคีเครือข่ายเข้ามา ส่วนร่วมในการพฒั นาการศกึ ษาในทุกระดับและทุกประเภท สรุปไดด้ ังน้ี 1. การมีสว่ นร่วมในทางวิชาการ แนวทางการพัฒนาการศึกษาในยุคปฏิรูปท่ียึดหลักให้ผู้เรียน สาคัญที่สุด เพื่อให้เป็นคนเก่ง คนดี มีปัญญา มีความสุข มีความเป็นไทย และความเป็นสากล โดยการ สร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะดังกล่าวน้ี กระทาได้โดยผ่านการพัฒนาหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้ซ่ึง ทกุ ฝาุ ยในสงั คมและชุมชนมสี ว่ นร่วมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1.1 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ได้เปิดโอกาสให้สถานศึกษาข้ัน พ้ืนฐานในท้องถิ่นสามารถกาหนดสาระของหลักสูตร ส่วนท่ีเก่ียวข้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถ่ิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้เป็นสมาชิกท่ีดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และ ประเทศชาติ การพฒั นาหลกั สตู รดังกลา่ วนี้เปน็ ไปตามแนวคิดการให้ชุมชนเปน็ ฐานซ่ึงเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้อยู่ในชุมชนจากประสบการณ์จริงในสถานการณ์จริง เรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้รู้ ผู้มี ประสบการณ์ และสถานการณ์ชุมชนในฐานะเป็นท่ีรู้จักท้องถ่ินของตนเป็นอย่างดี จะเป็นผู้มีส่วนร่วมได้ดี ยิง่ 1.2 การมีส่วนร่วมในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้จาเป็นต้องมีการจัดหาและพัฒนาส่ือ กระบวนการต่าง ๆ ทั้งนี้ ชุมชนสามารถใช้สื่อที่มีอยู่ในท้องถิ่น ใช้แหล่งเรียนรู้โดยประสานความร่วมมือ ระหว่างสถานศึกษากับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝุายเพื่อจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุก สถานท่แี ละทุกเวลา รวมถึงการเขา้ ไปมสี ่วนชว่ ยรฐั กับสถานศึกษาจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ในชมุ ชนให้เพียงพอและมีประสทิ ธภิ าพ และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถ่ินควบคู่กับวิทยากรสากล ขณะที่ต้อง พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้วิทยากรสากลและใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย การพัฒนาสาระและกระบวนการ เรียนรู้ ควรเน้นไปที่การใช้ประโยชน์จากผู้รู้ในท้องถิ่น ท้ังนี้ผู้นาชุมชนอาจร่วมเป็นวิทยากรหรือร่วมจัด กิจกรรมในสถานศึกษาเพ่ือจะได้นาประสบการณ์ ความรอบรู้ ความชานาญ และภูมิปัญญาท้องถ่ินของ บคุ คลดงั กล่าวมาใช้ใหเ้ กดิ ประโยชน์ทางการศกึ ษา และยกยอ่ งเชดิ ชูผ้ทู ่ีส่งเสรมิ และสนบั สนนุ การจัด การศึกษา รวมทัง้ การสนบั สนนุ ให้สถานศึกษาร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาส่ือการเรียนโดยใช้ภูมิปัญญา ในชมุ ชนอีกดว้ ย 1.3 การมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนาชุมชน ในยุคการปฏิรูปการศึกษา เปาู หมายของการให้การศกึ ษาจะไม่จากดั เฉพาะผ้เู รียนหรือจากัดแต่ภายในโรงเรียนแต่ยังรวมไปถึงการให้ ความรู้ ทักษะ การสร้างเจตคติและจิตสานึกร่วมกันในการพัฒนาท้องถิ่นของตนผู้นาชุมชนจึงต้องเป็นผู้ที่


58 รู้จักประสานเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ รวมทั้งสถานศึกษาโดยอาจขอความร่วมมือในการแนะนา เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มผลผลิตในชุมชน ขอวิทยากรให้ความรู้หรือขอความร่วมมือให้สถานศึกษา ทาการค้นคว้าวิจัยในหัวข้อที่เป็นปัญหาของชุมชน หรือเข้าไปให้ความร่วมมือกับโครงการท่ีสถานศึกษา หรอื หน่วยงานอ่ืนท่จี ดั ขน้ึ เพื่อพฒั นาความเปน็ อยู่ทีด่ ีของชุมชน 1.4 การมีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากการศึกษาต้องเป็น กระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต คนในชุมชนทุกคนควรท่ีจะมโี อกาสได้เรียนรู้“ทักษะการเรียนรู้” เพื่อท่ีจะ ได้พัฒนาตนเองและสังคมได้ ผู้นาชุมชนต้องมีบทบาทในการสร้าง “เครือข่ายการเรียนรู้ชุมชน” หรือ “ศนู ยก์ ารเรียนรูท้ อ้ งถนิ่ ” ด้วยการเชอื่ มโยงและแลกเปลย่ี นเรียนร้รู ะหวา่ งสถานศึกษา ท้องถิ่น และชมุ ชน จีระวิทย์ มั่นคงวัฒนะ (2557 : 1) ได้กล่าวว่า สานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ตระหนักถึงความสาคัญของการจัดการศึกษา โดยเน้นการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา รวมท้ัง ส่งเสริมสนับสนุนให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับต่าง ๆ ตามแนวคิดพ้ืนฐานการพัฒนาแบบเครือข่ายมี สว่ นร่วมจึงไดม้ ีนโยบายจดั ต้ังกล่มุ เครอื ข่ายซง่ึ ประกอบดว้ ย 1. กลุ่มเครอื ข่ายสง่ เสรมิ ประสทิ ธภิ าพ การจัดการศกึ ษาปฐมวยั 2. กลมุ่ เครือข่ายสง่ เสรมิ ประสทิ ธิภาพ การประถมศกึ ษาและศูนยพ์ ฒั นากลมุ่ สาระการเรียนรู้ 3. กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ การมัธยมศึกษาตอนต้นและศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการ เรียนรู้ 4. กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ การมัธยมศึกษาตอนปลายและศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการ เรียนรู้ ตวั ช้ีวดั ความเขม้ แข็งของภาคีเครอื ข่าย 1. มีเปาู หมายร่วมกนั ชดั เจน 2. มีระบบบรหิ ารจัดการที่ดี 3. มกี ิจกรรมรว่ มกันอยา่ งตอ่ เน่ือง 4. การแลกเปลีย่ นเรียนร้รู ว่ มกัน 5. มีการไหลเวยี นข้อมูลข่าวสารอยา่ งต่อเนื่อง 6. มีนวัตกรรมที่เกิดจากการทางานเครอื ข่าย 7. มีการสรุปบทเรียนร่วมกนั (เพื่อจดั ทาแผนปีต่อไป) นอกจากนี้ในการทางานร่วมกันกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่นในลักษณะของเครือข่ายย่อมข้ึนอยู่ กับระดับของความร่วมมือคอื (จีระวิทย์ มัน่ คงวฒั นะ. 2557 : 1) 1. การประสานงาน (Coordination) หมายถึง วิธีซ่ึงคนจานวนมาก มาร่วมกันทางานเพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้ตกลงกันไว้ โดยกาหนดกิจกรรมต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่ เพ่ือมอบหมายให้ ผู้รับผิดชอบปฏิบัติด้วยความสามัคคี สมานฉันท์ และมีประสิทธิภาพท่ีสุด หรืออาจ กล่าวได้ว่า การ ประสานงาน หมายถึง การจัดระเบียบวิธีการทางาน เพื่อให้เจ้าหน้าท่ีฝุายต่าง ๆ ร่วมมือ ปฏิบัติงานเป็น


59 นา้ หนึง่ ใจเดียวกัน เพื่อให้งานหรือกิจกรรมดาเนินไปอย่างราบร่ืนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนโยบาย ขององคก์ รนั้นอยา่ งสมานฉนั ท์ 2. ความร่วมมือ (Cooperatoin) หมายถึง ความเต็มใจของแต่ละคนในการช่วยเหลือซ่ึงกันและ กนั เพอื่ ไปสเู่ ปูาหมายใดเปาู หมายหนึ่ง ตามเปูาหมายขององค์การหรือหน่วยงานความร่วมมือ จะเป็นการ ท่ีฝุายใดฝุายหน่ึงเป็น “เจ้าของหรือเจ้าภาพ” งานหรือกิจกรรมนั้น ๆ แล้วขอให้ฝุายอื่นเข้ามาร่วม มี ลักษณะเกิดขน้ึ เป็นคร้งั ๆ ไป ไม่มงุ่ ความตอ่ เนอ่ื งและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม แต่ มุ่งจะให้กิจกรรมนั้น ๆ แล้วเสร็จตามความต้องการของฝุายเจ้าของงาน ความร่วมมือเป็นการช่วยเหลือ ด้วยความสมัครใจ แม้จะไม่มีหน้าที่โดยตรง อาจจะทาเร่ืองเดียวกันในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลาก็ได้ แมก้ ระทงั่ อาจใหค้ วามรว่ มมือทาบางเร่ืองบางเวลา 3. การทางานร่วมกัน (Collaboration) หมายถึง การท่ีบุคคล ต้ังแต่ 2 คนขึ้นไป หรือองค์กร ตั้งแต่ 2 องค์กรขึ้นไปมาทางานร่วมกัน มีการช่วยเหลือซ่ึงกันและกันในกลุ่ม และรับรู้ว่าตนเป็นส่วนหนึ่ง ของกลุ่มตามโครงสร้างที่มีอยู่ในองค์กร รวมทั้งเข้าใจวัตถุประสงค์ของการทางานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุ จุดมุ่งหมายเดยี วกันอยา่ งมปี ระสิทธิภาพ และผู้ปฏิบัตงิ าน ต่างก็เกดิ ความพอใจในการทางานน้นั 4. การมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การท่ีสมาชิกทุกคนของหน่วยงานหรือองค์กร ร่วมกันดาเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีลักษณะของกระบวนการ (Process) มีขั้นตอนท่ีมุ่งหมายจะให้ เกิดการเรียนรู้ (Learning) อย่างต่อเน่ือง มีพลวัต (Dynamic) กล่าวคือ มีการเคลื่อนไหวเปล่ียนแปลง อย่างต่อเนื่องสม่าเสมอ มีการแก้ปัญหา การร่วมกันกาหนดแผนงานใหม่ ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนใน ความสัมพันธ์ของทุกฝุายท่ีเข้าร่วมดาเนินการ การมีส่วนร่วมก่อให้เกิดผลดีต่อการขับเคล่ือนองค์กรหรือ เครอื ขา่ ย ผู้ทเ่ี ข้ามามีส่วนร่วมย่อมเกิดความภาคภูมิใจท่ีได้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร และท่ีสาคัญผู้ที่มี ส่วนรว่ มจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของเครือข่ายความรู้สึกเป็นเจ้าของจะเป็นพลังในการขับเคล่ือนเครือข่ายท่ี ดีทส่ี ุด จากที่กล่าวมาข้างต้นเก่ียวกับความสาคัญการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษา สรุปได้ว่า ความสาคัญการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย คือ การเข้ามามีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการ พัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา รวมท้ังส่งเสริมสนับสนุนให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับต่าง ๆ การมีส่วนร่วมในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้จาเป็นต้องมีการจัดหาและพัฒนาส่ือกระบวนการต่าง ๆ รวมท้ังทรัพยากรทางการศกึ ษาอีกดว้ ย 2.7.5 องคป์ ระกอบของภาคเี ครือขา่ ย องคป์ ระกอบของภาคีเครือข่ายความร่วมมือมอี งคป์ ระกอบหลายอย่างที่สาคัญ ซง่ึ ไดม้ นี กั การ ศึกษา นกั วิชาการหลายทา่ นไดก้ ลา่ วถึงองค์ประกอบของเครอื ข่ายความรว่ มมือไว้ ดงั น้ี คณะครศุ าสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั (2553 : 33) กลา่ วถงึ องคป์ ระกอบของการสร้าง เครือข่ายและการมีส่วนร่วมว่าควรมอี งค์ประกอบ 5 องคป์ ระกอบ คอื 1. วตั ถุประสงคห์ รอื เปาู หมาย 2. สมาชกิ


60 3. ผ้ปู ระสานงานและคณะกรรมการ 4. กจิ กรรม 5. ทรพั ยากร เพือ่ การดาเนนิ การให้ เกิดประสทิ ธภิ าพของเครือข่ายสถานศึกษา เกรยี งศักด์ิ เจรญิ วงศ์ศักด์ิ (2555 : 197) ได้นาเสนอองค์ประกอบสาคัญของเครอื ขา่ ยไว้ 7 องค์ประกอบ คือ 1. การรับร้มู มุ มองร่วมกัน (Common perception) 2. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Common Vision) 3. การมผี ลประโยชน์ และความสนใจร่วมกนั (Mutual Interests/ Benefits) 4. การมสี ว่ นรว่ มของสมาชิกเครือขา่ ยอยา่ งกวา้ งขวาง (All stakeholder participation) 5. การเสริมสรา้ งซึ่งกันและกัน (Complementary relationship) 6. การพึ่งพาร่วมกัน (Interdependence) 7. การปฏิสัมพนั ธ์เชงิ แลกเปลี่ยน (Interaction) จากทไี่ ด้กลา่ วมาขา้ งต้น สรปุ ไดว้ ่า องคป์ ระกอบหลกั ที่สาคัญของเครือข่ายรว่ มมือ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน สมาชิกและโครงสร้างของเครือข่าย การมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่าย การทา หน้าท่ีอยา่ งมจี ติ สานึก กิจกรรมของกลมุ่ เครอื ข่าย การเรียนรแู้ ละการพฒั นาบคุ ลากรเครอื ข่าย 2.7.5 แนวความคดิ ของการมีส่วนร่วมของภาคเี ครอื ข่ายในการจดั การศกึ ษา แนวความคดิ การส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เป็นการทางานร่วมกันมีการช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน ในกลุ่ม ซ่ึงได้มีนักวิชาการหลายท่าน ได้ให้แนวความคิดของการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ไว้หลาย แนวคิด โดยเฉพาะอย่างย่งิ การมสี ว่ นร่วมดา้ นการศึกษา ดงั น้ี หน่วยศึกษานิเทศก์ สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (2551 : 48) ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมว่าการท่ีสมาชิกทุกคนของหน่วยงานหรือองค์กรมาร่วมดาเนินการ อยา่ งใดอยา่ งหนง่ึ โดยการดาเนินการน้ันมีลักษณะของกระบวนการ (Process) มีขั้นตอนท่ีมุ่งหมายจะให้ เกิดการเรียนรู้ (Learning) อย่างต่อเน่ืองมีพลวัต (Dynamic) กล่าวคือ มีการเคล่ือนไหวเปล่ียนแปลง อย่างต่อเนื่องสม่าเสมอ มีการแก้ปัญหาการร่วมกันกาหนดแผนงานใหม่ ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนใน ความสัมพันธ์ทุกฝุายที่เข้าร่วมดาเนินการ การมีส่วนร่วมก่อให้เกิดผลดีต่อการขับเคล่ือนองค์กรหรือ เครอื ขา่ ย เพราะมผี ลในทางจิตวิทยาเป็นอย่างย่ิง กล่าวคือ ผู้ท่ีเข้ามามีส่วนร่วมย่อมเกิดความภาคภูมิใจท่ี ได้เป็นส่วนหน่ึงของการบริหาร ความคิดเห็น ถูกรับฟังและนาไปปฏิบัติเพื่อการพัฒนาเครือข่าย และที่ สาคญั ผทู้ ่มี ีสว่ นรว่ มจะมีความรสู้ กึ เปน็ เจา้ ของเครือข่ายความรู้สึกเป็นเจ้าของจะเป็นพลังในการขับเคล่ือน เครือขา่ ยทีด่ ีที่สุด หน่วยศึกษานิเทศก์ สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (2551 : 26) ได้สรุปว่า เครือข่ายการเรียนรู้ คือ การประสานแหล่งความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อรับและส่งหรือ ถ่ายทอดความรู้ประเภทต่าง ๆ ไปยังประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาและเครือข่ายการเรียนรู้คือ การ


61 จัดและเชื่อมโยงแหล่งการเรยี นรูใ้ ห้เปน็ ระบบ เพือ่ ใหป้ ระชาชนมาถงึ ความโอกาสได้เรียนรู้อย่างกว้างขวาง และต่อเน่ืองตลอดชีวิต โดยนาเทคโนโลยีท่ีทันสมัยมาใช้เพ่ือขยายบริการการศึกษา แลกเปลี่ยนและ กระจายความรู้ ข้อมูลข่าวสารไปสู่วงกว้างได้อย่างรวดเร็ว และการถ่ายทอดแลกเปล่ียนและการกระจาย ความรทู้ ้งั ท่เี ป็นภมู ิปัญญา และองค์ความรูใ้ หม่ ๆ ให้กับชมุ ชน ไพบูลย์ วัฒนาศิริธรรม (2553 : 10) ได้เสนอแนวคิดของการ มีส่วนร่วมของชุมชนไว้ว่าเกิดจาก จิตใจทต่ี ้องการเข้ารว่ มในกจิ กรรมใดกิจกรรมหน่ึง เพื่อให้เกิดผลต่อความต้องการของกลุ่มคนที่สอดคล้อง กับวิถีชีวิตทางสังคม ท้ังน้ีในการท่ีจะให้ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริงน้ันการจัดกิจกรรมการมีส่วน ร่วมต้องคานึงถึงวิถีการดาเนินชีวิต ค่านิยม ประเพณี ทัศนคติของบุคคลเพื่อให้เกิดความสมัครใจเข้าร่วม กิจกรรม เพราะกลุม่ คน ในชุมชนมีความแตกต่างกันในลักษณะสว่ นบุคคล ลักษณะทางเศรษฐกิจ และการ ได้รับข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้การมีส่วนร่วมของชุมชนโดยสรุปมีทั้งสิ้น 5 ขั้นตอนคือ 1) การวิเคราะห์ – สังเคราะห์ปัญหาของชุมชน 2) การวางแผนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิต 3) การกาหนดกิจกรรม 4) ความสาคัญโดยใชช้ มุ ชนเป็นศนู ยก์ ลาง 5) การประเมินผลกิจกรรม ซึง่ เป็นขั้นตอนของการเข้ามามีส่วน ร่วมท่ีให้ความสาคัญโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางโดยมีหน่วยงานภาครัฐ คอยช่วยเหลือให้คาแนะนาหรือ อานวยความสะดวกเท่านนั้ จากท่ีกล่าวมาข้างต้นเก่ียวกับแนวความคิดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษา สรุปได้ว่า แนวความคิดการส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย หมายถึง การที่บุคคลต้ังแต่ 2 ขึ้นไป หรือองค์กร ต้ังแต่ 2 องค์กรขึ้นไป มาทางานร่วมกันมีการช่วยเหลือซ่ึงกันและกันในกลุ่มและรับรู้ว่าตนเป็นส่วนหนึ่ง ของกลุ่มตามโครงสร้างท่ีมีอยู่ในองค์กร รวมทั้งเข้าใจวัตถุประสงค์ของการทางานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุ จุดมงุ่ หมายเดียวกันอยา่ งมีประสทิ ธิภาพและผู้ปฏิบัติงานต่างเกิดความพึงพอใจในการทางานน้ัน ทางด้าน การทางานของภาคีเครอื ขา่ ยนัน้ จะสาเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมอื ของทกุ ฝาุ ย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาทางาน รว่ มกนั เพ่อื ดาเนินการ หรือดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้ถึงเปูาหมาย ที่กาหนดไว้ ถึงจะสามารถจะทาให้การ ทางานร่วมกนั สามารถขบั เคลือ่ นไปไดด้ ว้ ยดี 2.8 บริบทของวิทยาลยั เทคนิคเกษตรวิสยั วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ช่ือเดิมคือวิทยาลัยการอาชีพเกษตรวิสัย จังหวัด ร้อยเอ็ด ต้ังอยู่เลขท่ี 231 หมู่ 3 ตาบลเมืองบัว อาเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด บนเน้ือที่ 200 ไร่ บริเวณโนนหนองคู อยู่ห่างจากอาเภอเมืองเกษตรวิสัยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 4 กิโลเมตร ทิศ ตะวนั ออกจดที่สาธารณะประโยชน์ ทิศตะวันตกจดถนน รพช. เกษตรวิสยั – ดงครัง่ ใหญ่ ทิศเหนือจดท่ีดิน เอกชน ทิศใต้จดท่สี าธารณะประโยชน์ เพ่ือขยายโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพ เป็นวิทยาลัยที่สร้างขึ้น ในระดับอาเภอ และได้รับอนุมัตจิ ดั ตงั้ เมื่อวนั ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 โดย ฯพณฯ ท่านรัฐมนตรีช่วยว่า การกระทรวงศึกษาธกิ าร นายชิงชัย มงคลธรรม ซึ่งได้รับงบประมาณในการก่อสร้างเป็นเงิน 26,440,000 บาท และมีการพัฒนาเป็นลาดับเร่ือยมา และมีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ืองการเปลี่ยนช่ือ สถานศกึ ษาสังกดั สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และเห็นชอบให้สถานศึกษาในสังกัดสานักงาน


62 คณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปลี่ยนช่ือสถานศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานศึกษาที่ต้ังและรองรับ พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.2551 ฉะนั้น จึงอาศัยอานาจตามความในมาตร 40 แห่ง พระราชบญั ญตั กิ ารปรับปรงุ กระทรวง ทะบวง กรม พ.ศ. 2545 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย การต้ังช่ือสถานศึกษา พ.ศ.2547 กระทรวงศึกษาธิการ จึงให้มีการเปล่ียนช่ือวิทยาลัย จากวิทยาลัยการ อาชพี เกษตรวสิ ัย จงั หวดั รอ้ ยเอ็ด เป็นวทิ ยาลยั เทคนคิ เกษตรวสิ ัย จงั หวัดร้อยเอ็ด โดยประกาศ ณ.วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ดังนั้น การรายงานผลการวิจัยคร้ังน้ี ผู้วิจัยจึงเปล่ียนช่ือสถานศึกษาจาก วทิ ยาลยั การอาชพี เกษตรวิสยั จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นวิทยาลยั เทคนคิ เกษตรวสิ ัย จังหวดั ร้อยเอด็ ปรชั ญา ระเบยี บวินยั ดี มนี า้ ใจ ใฝคุ ณุ ธรรมนาทักษะวชิ าชพี วสิ ยั ทัศน์ ภูมิทัศนน์ า่ อยู่ คกู่ ารบริการ มีคุณภาพตามมาตรฐานงานอาชีพ สรา้ งสรรคส์ ังคมแห่งการ เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม ก้าวนาเทคโนโลยี ส่วู ถิ ีเศรษฐกจิ พอเพียง พันธกิจ ประกอบการ 1. ผลติ และพฒั นากาลังคนดา้ นวิชาชีพใหม้ มี าตรฐานตามความตอ้ งการของสถาน 2. ปลกู จิตสานึกผู้เรียนใหม้ คี ุณธรรม จรยิ ธรรม 3. จดั การศึกษาแบบหลากหลาย 4. สรา้ งและพัฒนาเทคโนโลยใี ห้ทันสมัย 5. จัดสภาพแวดล้อมภายในให้เหมาะแกก่ ารเรียนรู้ 6. ส่งเสรมิ การบริหารจดั การตามหลกั ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง 7. เสริมสร้างความร่วมมือกับชุมชนและสถานประกอบการ 8. สง่ เสรมิ และพฒั นานวตั กรรม งานวจิ ยั สิ่งประดิษฐ์ 9. ส่งเสริมและจัดการอาชวี ศกึ ษาให้ได้มาตรฐาน 10. พัฒนาระบบบริการ เป้าประสงค์ 1. พัฒนาคุณภาพนกั เรยี น นักศึกษาด้านทักษะวชิ าชีพใหไ้ ดม้ าตรฐาน และดารงชีวิต ตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี งอยา่ งมีความสุขในสงั คม


63 2. พัฒนาครแู ละบคุ ลากรของสถานศกึ ษาใหส้ ามารถจัดการเรียนการสอนได้อยา่ งมี คณุ ภาพ มาตรฐาน 3. พัฒนาสถานศึกษาให้เปน็ แหล่งเรียนร้ทู างเทคโนโลยี สารสนเทศ นวตั กรรมท่ี ทนั สมัย 4. พฒั นาคุณภาพการบรหิ ารจดั การทัง้ ในและนอกสถานศึกษาให้มสี ว่ นร่วมในการจดั การศกึ ษาทุกภาคส่วน โดยมีระบบบริหารจดั การตามหลกั ธรรมาภบิ าล อตั ลกั ษณ์ ทกั ษะดี มีจิตอาสา เอกลกั ษณ์ บรกิ ารชุมชน จุดเนน้ ในการพัฒนาสถานศึกษา 1. พัฒนาผลงานนวตั กรรมสง่ิ ประดิษฐ์ 2. ส่งเสรมิ การจดั กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รียน 3. จัดการศึกษาท้งั ระบบปกตแิ ละระบบทวิภาคี 4. พฒั นาสถานศกึ ษาขนาดเล็กใหไ้ ด้มาตรฐานอาชวี ศึกษา 5. เพมิ่ ปรมิ าณผู้เรียนลดปญั หาการออกกลางคนั 6. พัฒนาระบบการประกันคุณภาพใหม้ ปี ระสิทธิภาพ 2.9 งานวจิ ยั ทเี่ กีย่ วข้อง 2.9.1 งานวจิ ัยในประเทศ ประโยชน์ คล้ายลักษณ์ (2556 : 136 - 145) ได้ศึกษา รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทา งานเปน็ ทมี ของบุคลากรทางการศึกษาผู้ปฏิบัติงานในสานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษา การวิจัย ขั้นที่ 1 เปน็ การวิจยั เชงิ สารวจโดยแบบสอบถาม เพื่อทราบความต้องการองค์ประกอบ และวิธีการพัฒนา สมรรถนะการทางานเป็นทีม จากบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติหน้าท่ีในสานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา ประถมศึกษา จานวน 350 คน ข้ันตอนที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทางาน เป็นทีม จากข้อมูลการวิจัยขั้นตอนที่ 1 โดยผู้วิจัย แล้วตรวจสอบรับรองรูปแบบท่ีพัฒนาข้ึนถึงความ เหมาะสมของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาหลักสูตร นักวิชาการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษา หรือผู้แทน จานวน 7 คน และขั้นตอนท่ี 3 เป็นการตรวจสอบประเมินรปู แบบการพฒั นาสมรรถนะด้านการทางานเป็นทีมของบุคลากรทางการศึกษา


64 ผู้ปฏิบัติงานในสานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษา ในประเด็นความเหมาะสมความสอดคล้อง ความเป็นไปได้ และความถูกต้องครอบคลุม โดยการสนทนากลุ่มอิงผู้เชี่ยวชาญจานวน 10 คน พบว่า 1) บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในสานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษา ต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการ ทางานเปน็ ทีมในมติ เิ ก่ียวกบั การกาหนดเปาู หมายรว่ มกัน การสื่อสารอยา่ งสรา้ งสรรค์การมีส่วนร่วมในการ ดาเนินการ การไว้เนื้อเช่ือใจ และการยอมรับนับถือ โดยต้องการวิธีการพัฒนาสมรรถนะในลักษณะการ ฝึกอบรมเชิง ปฏิบัติการการฝึกอบรม และการฝึกปฏิบัติงานกับผู้เช่ียวชาญ 2) รูปแบบการพัฒนา สมรรถนะด้านการทางานเป็นทีมของบุคลากรทางการศึกษาผู้ปฏิบัติงานในสานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษา ประถมศกึ ษา มีลักษณะเปน็ หลกั สตู รการฝกึ อบรม และคมู่ ือการฝึกอบรมท่ีประกอบด้วย โครงสร้างสาคัญ 6 ส่วน ได้แก่ หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร เนื้อหาหลักสูตร และ กิจกรรมการฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรม การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม และ 3) รูปแบบการ พัฒนาสมรรถนะด้านการทางานเป็นทีมของบุคลากรทางการศึกษาผู้ปฏิบัติงานในสานักงานเขตพื้นท่ี การศกึ ษาประถมศกึ ษาทพี่ ัฒนาขนึ้ ได้รับการพิจารณาจากผู้เชยี่ วชาญผ้ทู รงคุณวุฒิ และผู้ปฏิบัติในลักษณะ เหน็ ชอบถึงความเหมาะสมความสอดคล้อง ความเปน็ ไปได้และความถูกต้องครอบคลมุ ในระดับมาก วศนิ ี รงุ่ เรือง (2558 : 123) ได้ศึกษาการประเมินสมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตร วชิ าชีพพทุ ธศกั ราช 2556 สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก ระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก โดยใช้ รูปแบบการประเมินแบบ 360 องศา ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะผู้เรียนโดยรวม อยู่ในระดับมาก เม่ือ พิจารณาสมรรถนะผู้เรียนในแต่ละด้านโดยรวม พบว่า ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และด้านสมรรถนะ วิชาชพี อยใู่ นระดับมาก สาหรบั ดา้ นสมรรถนะหลัก และสมรรถนะทัว่ ไปอยูใ่ นระดับมาก มงคล แสงอรุณ และคณะ (2558 : 212) ได้ศึกษารูปแบบการเสริมสมรรถนะของผู้เรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเสริมสมรรถนะของผู้เรียน ประกอบไปด้วย ส่วนประกอบ 9 ส่วน ได้แก่ กรอบมาตรฐานหลักสูตรอาชีวศึกษา กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพ ความ ต้องการของสถานประกอบการของผู้เรียน การวิเคราะห์งานการทดสอบสมรรถนะ การเสริมสมรรถนะ Social Media และตัวชี้วัดสมรรถนะผู้เรียน 2) การเสริมสมรรถนะของผู้เรียนประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขัน้ ตอนการแนะนาชน้ิ งาน ขนั้ ตอนการสาธิตปฏิบัติตามข้ันตอน ข้ันตอนประยุกต์สร้างช้ินงาน และ ขัน้ ประเมนิ ผลชิ้นงาน และ 3) ผู้เช่ียวชาญมีความคิดเห็นต่อรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากท่ีสุด ขั้นตอน โดยรวมอยู่ในระดบั มากท่สี ดุ ธนิต เหง่ียมสมบัติ (2560 : 181-192) ได้ศึกษารูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงาน เทศบาลตาบลในจังหวัดมหาสารคาม พบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงาน เทศตาบลในจังหวัดมหาสารคาม พบว่า มี 4 ปัจจัย 5 ตัวแปร คือ 1) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ มี 2 ตัวแปร คือ 1) องค์กรส่งเสริมให้ทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การ 2) การส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศ การทางานแบบเปิดเผย โปรง่ ใส สุจริต ไว้วางใจกัน ยอมรับซ่ึงและกัน 2) ปัจจัยด้านความผูกพันในงาน มี 1 ตัวแปร คือ ความภูมิใจในหน้าที่ของตนเอง 3) ปัจจัยด้านการจูงใจ มี 1 ตัวแปร คือ คนในองค์กรได้รับ


65 การสนับสนุนให้ได้พัฒนา ตนเอง 4) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ มี 1 ตัวแปร คือ มีการประเมินผล สาเร็จของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2) รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลตาบล ในจังหวัดมหาสารคาม มีกิจกรรมอบรม 6 กิจกรรม ดังนี้ 1) การส่งเสริมให้ทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ องค์การ 2) การส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศการทางานแบบเปิดเผยโปร่งใส สุจริต ไว้วางใจกัน ยอมรับ ซึ่ง กันและกัน 3) การสร้างความภูมิใจในหน้าที่ของตน 4) การสร้างทักษะในบทบาทหน้าที่ของตนเองและ การสร้างทัศนคติ หรือเจตคติต่อหน้าที่ของตนเอง 5) การพัฒนาตนเองในการศึกษาต่อและการอบรม 6) การประเมินผลสาเร็จในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ3) การประเมินรูปแบบการพัฒนาทรัพยากร มนุษยข์ องพนักงานเทศบาลตาบลในจังหวัดมหาสารคาม พบว่า ก่อน และหลัง การทดลองใช้รูปแบบการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มทดลองมีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การ และมีการทางานแบบเปิดเผย โปร่งใส สุจริต ไว้วางใจกัน ยอมรับซึ่งและกัน มีความภูมิใจในหน้าที่ของตนเองได้รับการสนับสนุนให้ได้ พฒั นาตนเองในการศึกษาต่อและการอบรม มีการประเมินผลสาเรจ็ ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และมี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลตาบลแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลงั การทดลองมผี ลการพัฒนาทรพั ยากรมนษุ ยด์ ีขึน้ ไพฑูรย์ สังข์สวัสด์ิ. (2560 : 290) ได้ศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวิศึกษาระบบ ทวิภาคีที่เหมาะสมกับประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจยั พบว่า 1. รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) ด้าน บุคลากร 2) ด้านหลักสูตร 3) ด้านการวัดผลและประเมินผล 4) ด้านการจัดการเรียนการสอน 5) ด้าน ความร่วมมอื กับสถานประกอบการ 2. ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลรูปแบบการจัดการอาชีวิศึกษาระบบ ทวิภาคีด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมี นัยสาคญั ทางสถิติที่ระดบั .01 ทุกคา่ 3. ผลการประเมินประสิทธผิ ลของมาตรฐานด้านการใช้ประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความ เหมาะสม และด้านความถูกตอ้ ง ทกุ มาตรฐานมีผลประเมนิ อยู่ในระดับมากทส่ี ดุ นันทนา ชวศิริกุลฑล และคณะ. (2560 : 88). ได้ศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหาร สาหรับผู้บริหารสถานศึกษา เอกชนนอกระบบเพ่ือเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสังเคราะห์สมรรถนะการบริหารสถานศึกษามี 3 สมรรถนะหลัก คือ สมรรถนะขององคก์ ร สมรรถนะประจาตาแหนง่ งาน และสมรรถนะส่วนบุคคล และสมรรถนะย่อยรวม 36 สมรรถนะ 2) สมรรถนะส่วน บุคคลที่ผู้บริหารต้องการพัฒนาอันดับ 1 ได้แก่ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยี และวิธกี ารพัฒนาเปน็ วิธีการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 3) ความรู้ ความเข้าใจภายหลังฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสาคัญท่ีระดับ .05 และความพึงพอใจจากการได้รับการฝึกอบรม เชิงปฏบิ ัตกิ ารอยู่ในระดับมากทสี่ ดุ (  = 4.56) สรปุ ได้ว่ารูปแบบการ พฒั นาสมรรถนะการบริหารสาหรับ ผู้บรหิ ารสถานศึกษาเอกชนนอกระบบเพื่อเตรยี มความพรอ้ มส่ปู ระชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน มีข้ันตอนดังนี้


66 1) กาหนดสมรรถนะจาเป็น 2) ศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะ 3) การพัฒนาสมรรถนะ และ 4) ศกึ ษาประสทิ ธิผลของการพฒั นาสมรรถนะ อดิศร ภูกงลี. (2560 : 151-152 ). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการเครือข่าย การศกึ ษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดกาฬสินธ์ุ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยท่ีมีผลต่อ การพัฒนาสมรรถนะการบรหิ ารจดั การเครือขา่ ยการศกึ ษานอกระบบ และการศึกษาตามอธั ยาศัย ไดแ้ ก่ 1.1) ด้านการทางานเปน็ ทีม และประสานงาน 1.2) ดา้ นความรอบร้ใู นงาน 1.3) ด้านการบริหารความคิดเชงิ วเิ คราะห์ 1.4) ดา้ นการคิดเชิงระบบ 1.5) ดา้ นการเปน็ ผ้นู า 1.6) ด้านการติดต่อสือ่ สารทดี่ ี และ 1.7) ด้านการบรหิ ารการเปลย่ี นแปลงตวั แปร ท้ังหมดร่วมกันทานายประสิทธิผลการบริหารจัดการเครือข่ายได้ คิดเป็นร้อยละ 86.6 2) จะต้อง เปน็ รูปแบบที่ไดจ้ ากผลการวจิ ยั ข้อท่ี 1 เอาปจั จยั ตัวท่ี Sig มาพัฒนาการบริหารจัดการเครอื ขา่ ยการศกึ ษา นอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั ในจงั หวัดกาฬสินธ์ุ ประกอบดว้ ย 5 ข้ัน ได้แก่ การตระหนักถึงความ จาเป็นของเครือข่าย / ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา / คืนข้อมูล วางแผน และสร้างพันธะสัญญาร่วมกันการ ปฏิบัติตามแผน การรักษาความสัมพันธ์อย่างต่อเน่ือง และการประเมินผลลัพธ์ การสะท้อนผลและการ แลกเปล่ียนเรียนรู้ (APIRE Model) โดยท่ีรูปแบบการบริหารจัดการฯ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ใน ระดับมากท่ีสุด (Mean = 4.73, S.D. = 0.21, Mdn = 4.50 - 5.00) และ 3) ภายหลังการพัฒนา พบว่า เครือข่ายมีสมรรถนะการบริหารจัดการ โดยรวมทุกด้าน เพ่ิมข้ึนจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติ (P - Value < 0.001) กล่าวโดยสรุปได้ว่า รูปแบบบริหารจัดการเครือข่ายการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตาม อัธยาศยั ทีผ่ ้วู จิ ัย พัฒนาข้ึนเป็นรูปแบบท่ีผ่านการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ และสามารถพัฒนาสมรรถนะ การปฏิบตั ิงานของเครอื ข่ายได้ มานิตย นาคเมือง (2561 : 13) ได้ศึกษาเรื่อง รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะประจาสายงาน ครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐาน จุดมุ่งหมายของการวิจัยน้ี เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ ประจาสายงานครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ ประจาสายงานครูผู้สอนในสถานศึกษาข้ันพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก ส่วนที่ 1 สมรรถนะประจา สายงานครูผ้สู อน มี 5 สมรรถนะ คือ สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สมรรถนะการพัฒนาผู้เรียน สมรรถนะ การบริหารจัดการชัน้ เรยี น สมรรถนะการวิเคราะห์ สงั เคราะห์ และวิจัย และสมรรถนะการทางานร่วมกับ ชุมชน ส่วนที่ 2 หลักการในการพัฒนาสมรรถนะประจาสายงานครูผู้สอน มี 5 หลักการ คือ หลักการมี ส่วนร่วมของผู้รับการพัฒนา หลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่หลักการสนองความต้องการของผู้รับการพัฒนา หลักการความยืดหยุ่นของกระบวนการและวิธีการพัฒนา และหลักการความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่วน


67 ท่ี 3 กระบวนการพัฒนาสมรรถนะประจาสายงานครูผู้สอน มี 5 ขั้นตอน คือ การสร้างความต้องการใน การพัฒนา การวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนา การวางแผนการพัฒนา การดาเนินการพัฒนา และ การประเมินผลการพัฒนา 2) ผลการตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะประจาสายงานครูผู้สอนโดย การสัมภาษณ์ผู้เช่ียวชาญ พบว่า องค์ประกอบของสมรรถนะประจาสายงานครูผู้สอน มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในระดับมาก ด้านหลักการในการ พัฒนาสมรรถนะประจาสายงานครูผู้สอน มีความ เหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมากเช่นเดียวกัน ส่วนด้านกระบวนการพัฒนาสมรรถนะประจาสาย งานครูผู้สอน มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการ พัฒนาสมรรถนะประจาสายงานครูสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คณะครูผู้เข้าร่วมการทดลองให้ ความสนใจใช้รูปแบบมาก และผลการประเมินสมรรถนะประจาสายงานครูผู้สอนหลังการทดลองใช้ รูปแบบฯ สูงกว่าผลการประเมินก่อนการใช้รูปแบบฯ 4) ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ ครูผ้สู อนในสถานศกึ ษาข้ันพืน้ ฐาน พบวา่ ดา้ นความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับเป็นประโยชน์มาก และด้าน ความถูกต้องเฉล่ยี อยู่ในระดับถกู ต้องมากทส่ี ดุ อดิศักด์ิ ชัชเวช (2562 : 31) ได้ศึกษารูปแบบการจัดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถาน ประกอบการ ผลวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถาน ประกอบการ ด้านการดาเนินการ ด้านกระบวนการฝึก ด้านการวัดผลและประเมินผลอยู่ในระดับมากทุก ด้าน ส่วนผลจากการประชุมสนทนากลุ่มพบว่า ด้านการดาเนินการสถานศึกษาต้องมีหน่วยงานหลัก รับผิดชอบและคู่มือในการดาเนินการด้านการพัฒนาครูนิเทศก์ และครูฝึก จะต้องมีหลักสูตรฝึกอบรมครู นิเทศและครูฝึกที่มีความสอดคล้องกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการเป็นระยะ ด้าน การวัดผลและประเมนิ ผล จะตอ้ งมสี อบมาตรฐานวิชาชพี ของสถานประกอบการและสมรรถนะวิชาชีพจาก หน่วยงานท่มี คี ุณภาพได้รับการยอมรบั จากหนว่ ยงานทัง้ ภาครฐั ภาคเอกชน พรศักด์ิ สุจริตรักษ์และคณะ (2563 : 166) ได้ศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูรองรับ การศึกษายุค 4.0 ผลวจิ ัยพบวา่ 1.สมรรถนะครูรองรับการศึกษายุค 4.0 มีจานวน 7 สมรรถนะหลัก 122 สมรรถนะย่อย ดังนี้ 1) ด้านหลักสูตรและเนอื้ หาวิชา มี 8 สมรรถนะย่อย 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน มี 26 สมรรถนะย่อย 3) ด้านการพัฒนาตนเองและเทคโนโลยี มี 48 สมรรถนะย่อย 4) ด้านคุณธรรม จริยธรรมมี 9 สมรรถนะย่อย 5) ด้านความสัมพันธ์กับชุมชนและการมีส่วนร่วม มี 11 สมรรถนะย่อย 6) ด้านการให้ความสาคัญกับผู้เรียน มี 16 สมรรถนะย่อย และ 7) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มี 4 สมรรถนะย่อย 2.รปู แบบการพัฒนาสมรรถนะครรู องรับการศกึ ษายคุ 4.0 ประกอบดว้ ย 7 ดา้ น ดังน้ี 1) กิจกรรม เพ่อื พัฒนาศาสตร์การสอน 2) การนิเทศ และติดตามผล 3) การใชเ้ ทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 4) การ แสวงหาและพฒั นาตนเอง 5) การสร้างเครือข่าย ทีมงาน และความร่วมมือ 6) การเสริมแรง และ 7) การ เปลยี่ นบทบาท 3.ผลการยนื ยนั รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูรองรับการศึกษายุค 4.0 ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็น สอดคล้องกันวา่ มคี วามเป็นไปได้ ความมีประโยชน์ และความถกู ตอ้ งครอบคลุม


68 สาธิต จีนขจร (2563 : 115-122) ได้ศึกษาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพของนักเรียน ระดับประกาศนยี บัตรวิชาชีพ สาขาวชิ าชา่ งไฟฟูากาลงั จังหวัดลพบุรี ผลการวิจยั พบวา่ 1) สภาพที่เป็นอยู่ จริงของการสง่ เสริมสมรรถนะวิชาชีพของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างไฟฟูากาลัง จังหวัดลพบุรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ2) แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพของนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างไฟฟูากาลัง จังหวัดลพบุรี ได้แก่ (1) เน้นการฝึกปฏิบัติให้มีทักษะท่ี ชานาญอย่างจริงจังและสม่าเสมอ (2) สร้างทัศนคติท่ีดีเกี่ยวกับการทางานและความปลอดภัย (3) สนับสนุนครุภัณฑ์และวัสดุฝึกให้พร้อมฝึกปฏิบัติการควบคุมการหมุนของมอเตอร์ไฟฟูา เป็นต้น และ (4) สนบั สนุนส่ือการสอนทีท่ ันสมัยรองรับการทางานในสถานประกอบการตามลาดบั วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล (2564 : 247-249) ไดศ้ กึ ษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการ เรียนรู้ของนักศึกษาครูโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการสรา้ งสรรค์นวัตกรรมของนักเรยี น ผลการวิจยั พบวา่ 1.รูปแบบมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ: การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของ นักศึกษาครูมุ่งเน้นให้นักศึกษาสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยใช้การแสวงหาความรู้จากการลงมือปฏิบัติ มีการศึกษาปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาท่ีหลากหลายเพ่ือส่งเสริมความคิดสร้างสรร ค์และทาโครงงาน รว่ มกันโดยใชก้ ระบวนการทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการกลุ่มที่เน้นการร่วมมือและแลกเปล่ียนเรียนรู้ ร่วมกนั เพอ่ื สร้างสรรค์นวัตกรรมการสอนที่ทาให้นักเรียนมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ 2) วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครูและพัฒนาความสามารถในการ สร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียน 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 6 ข้ันตอน ได้แก่ กระตุ้นความสนใจ วิเคราะห์ปัญหา คิดวิธีแก้ปัญหา วางแผนทาโครงงาน รายงานผลและประเมินผล 4) การวัดผลและ ประเมนิ ผล ได้แก่ ประเมนิ สมรรถนะการจัดการเรยี นรขู้ องนักศกึ ษาครูจากทกั ษะการสรา้ งสรรค์นวัตกรรม และความสามารถในการทาโครงงานและความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียน และ 5) เง่ือนไขสาคัญในการนารูปแบบไปใช้: ผู้สอนต้องมีความสามารถและประสบการณ์ด้านการสอนและการ โคช้ และอานวยความสะดวกในการดาเนินกิจกรรม 2.ประสิทธผิ ลของรปู แบบ ดงั นี้ 2.1) ผลท่เี กิดกับนักศึกษาครู พบว่า หลังใช้รูปแบบนักศึกษาครูมี ทักษะการสรา้ งสรรคน์ วัตกรรมอยู่ในระดบั ดี ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์อย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ มีความสามารถในการทาโครงงานอยใู่ นระดบั ดี สูงกว่าเกณฑ์อย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ มีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้อยู่ระดับดี 2.2) ผลที่เกิดกับนักเรียนหลังทดลองใช้นวัตกรรมการสอนของ นักศึกษาครู พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอยู่ในระดับดีและนักเรียนมีความ พึงพอใจตอ่ การสอนของนักศกึ ษาครู 3. ผลการรับรองรูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมสอดคล้องของแนวคิดพื้นฐานและ องค์ประกอบในระดับมากทส่ี ุด


69 2.9.2 งานวิจยั ต่างประเทศ จากการศกึ ษางานวิจยั ตา่ งประเทศท่เี ก่ยี วข้องกับการรูปแบบการพฒั นาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนมี ผู้ศกึ ษาไว้หลายลกั ษณะ ซงึ่ ผวู้ ิจัยไดค้ ้นควา้ มาอา้ งไว้เป็นแนวทางการวิจัยดังนี้ บลองเซโร, โบรอสกีและดายเออร์ (Blancero, Boroski, and Dyer, 1996) ได้ศึกษา เกี่ยวกับ สมรรถนะท่ีต้องการในหน่วยงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นสมรรถนะหลักท่ีจาเป็นต่อ การ ปฏิบัติงานประกอบด้วย 3 ส่วน โดยบรรยายด้วยสมรรถนะ 11 สมรรถนะ คือ 1) สมรรถนะหลัก (Core Competency) เป็นสมรรถนะที่ทุกตาแหน่งงานในหน่วยงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้อง มี ประกอบด้วย 11 สมรรถนะแบ่งออกเปน็ 3 กลุ่มดงั น้ี กลมุ่ ท่ี 1 ศกั ยภาพส่วนบุคคล (Personal Integrity) ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ คือ จริยธรรม (Ethics) มาตรฐานของคุณภาพการปฏิบัติงาน (Standard of Quality) และการตัดสินใจโดยอาศัยหลักของความเป็นเหตุเป็นผลและความเป็นจริง กลุ่มท่ี 2 การมุ่ง ความก้าวหน้าและแรงผลักดัน (Ambition and Drive) ประกอบด้วย 4 สมรรถนะ คือ การมุ่งผลสาเร็จ (Result Orientation) ความคิดริเร่ิม (Initiative) ความมั่นใจ (Self Confidence) และความ กระตือรือร้นในการทางาน (Enthusiasm and Commitment) กลุ่มที่ 3 ทักษะในการทางานเป็นทีม (Team Skill)ประกอบด้วย 4 สมรรถนะ คือ การสื่อสาร (Communication) การฟังและการตีความ (Listening) การสร้างความสัมพันธ์ (Relationship Building) และความร่วมแรงร่วมใจ (Teamwork) 2) สมรรถนะเสริม (Leverage Competency) เป็นสมรรถนะเสริมท่ีใช้ในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 6 สมรรถนะ คือ การสร้างผลกระทบทางอ้อม (Influence) การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า (Utilization of Resource) ความตระหนักในความ ต้องการของลูกค้า (Cluster Awareness) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การตั้งคาถามและตีความ (Questioning) และความรู้สึกส่วนบุคคล (Organization Astuteness) 3) สมรรถนะประจาตาแหน่งงาน (Role-Specific Competency) ประกอบด้วย 6 สมรรถนะ คือ สมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานด้าน การศึกษาและสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์(Human Resource Competency Practitioner) นักกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Strategist/ Generalist) การริเร่ิมและ คิดค้นในงานด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Initiative Leader) การสนับสนุนงานด้าน ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Operation Support) ท่ีปรึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Consultant) ผู้นาด้านในการบริหารทรัพยากร มนุษย์ (Human Resource Organization Leader) โดยท่ีท้ัง 6 ตาแหน่งงานจะประกอบด้วยสมรรถนะ ทแ่ี ต่ละตาแหนง่ งาน ต้องการต่างกนั และตอบสนองหน้าท่ี การทางานเฉพาะทาง ไรท์ (Write, 2001) ได้ศึกษาเร่ือง ความสามารถของทรัพยากรมนุษย์: ส่ิงที่ถูกต้องที่ควรได้รับ ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะเป็นส่วนสาคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเป็นตัวชี้ทิศทางและเป็น ตัววัดความเจริญเติบโตตัวบุคคลซ่ึงเป็นทุนมนุษย์โดยเป็นตัวเสริมหน้าที่ในการบริการ และเป็นกลยุทธ์ที่ สาคัญในการติดตามงาน และเป็นตัวขับเคล่ือนความสาเร็จท่ีสาคัญขององค์การ ซึ่ง ประกอบด้วย 1) ความสามารถให้เกิดอิทธิพลหรือชักชวน 2) ทักษะระหว่างบุคคล 3) ความรู้ทาง เทคนิคและ 4) ความสามารถในการจดั การกบั ความคลุมเครอื


70 คาวาเลีย, ดอน อาร์และคณะ (Cavalier, Don R. and others, 2005) ได้ศึกษาเรื่อง ความ คิดเห็นของผู้จ้างงานเก่ียวกับสมรรถนะหลักของลูกจ้าง โดยการจัดสัมมนากลุ่มย่อยผู้จ้างงาน ประเภท ของหน่วยงานที่ทาการสัมมนากลุ่มย่อยในการสารวจครั้งนี้ได้แก่ มหาวิทยาลัย หน่วยจัดการ ปุาไม้ ธนาคาร การเกษตร บริการทางการเงิน สถานพยาบาล เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานและ สาขา วิชาชีพต่างๆ ในประเทศกลุ่มสหราชอาณาจักร จานวน 53 ราย ได้ผลการสารวจดังนี้ในส่วน ของ สมรรถนะด้านที่ 1 สมรรถนะด้านการส่ือสาร กลุ่มผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่เห็นว่าลูกจ้างมีสมรรถนะด้าน การ สื่อสารอยู่ในระดับต่าท่ี ระดับคะแนนเฉล่ีย 1.79 ในด้านการเขียน ความเข้าใจและการใช้ เทคโนโลยีใน การส่ือสารด้วยการเขียน ในส่วนของการสื่อสารด้วยการฟัง การอ่านและการพูด เห็นว่า มีประสิทธิภาพ ในระดับปานกลางที่ คะแนนเฉลี่ย 2.34 ในส่วนของสมรรถนะด้านที่ 2 คือ สมรรถนะ ด้านการคิด แกป้ ัญหา กไ็ ดผ้ ลการวจิ ัยออกมาในลกั ษณะเดียวกับสมรรถนะด้านการสื่อสาร สมรรถนะ ด้านการทางาน ร่วมกับผู้อ่ืน ผลการวิจัยพบว่า ลูกจ้างมีการทางานร่วมกับผู้อ่ืนในเชิงบวก ได้ผลของ ประสิทธิภาพ ค่อนข้างดีสาหรับสมรรถนะด้านนี้สาหรับคาถามในการสัมมนากลุ่มในประเด็นความ คิดเห็นเกี่ยวกับการ พัฒนาสมรรถนะให้คุณค่าในลูกจ้างและข้อเสนอต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้อง ได้ผลการ สัมมนาดังนี้ด้านสมรรถนะ ในการสื่อสารควรมีการนาเทคโนโลยีมาใช้เพ่ือสร้างความเชื่อม่ันและ รองรับความต้องการในการบริการ ลูกค้าในทุก ๆ วันเพ่ิมการสร้างสรรค์ในการเขียนและการพูด เพ่ิม ทักษะทางเทคโนโลยีท่ีเก่ียวข้องและมี ความสมั พันธก์ ับบุคคล สอนความรู้และทกั ษะคอมพิวเตอร์ให้มี ทัศนคติและความเป็นมืออาชีพ พัฒนาให้ มีทักษะการฟังที่ดีเป็นผู้ฟังที่ดีสมรรถนะด้านการคิด วิเคราะห์และแก้ปัญหา มีข้อเสนอแนะจากผู้ร่วม สัมมนา ดังนี้ เพิ่มความเขม้ ขน้ ในดา้ นจรยิ ธรรมในงาน จากสถานศึกษาและพ้ืนหลังและประวัติการทางาน พัฒนาให้มีทัศนคติเชิงบวก สร้างให้เกิดความ เช่ือม่ันในการเรียนรู้ท่ีจะทางานตามความต้องการ และ สามารถปรบั ตวั เปลย่ี นแปลงไปตามอปุ ทาน ของธุรกิจ คิดทจี่ ะทางานและแก้ปญั หาของทีม ทางานหนัก มี เกียรติตลอดเวลา มีทักษะของสัญชาตญาณพ้ืนฐาน (Common Sense Skills) เข้าใจคุณค่าของ ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสามารถ บรหิ ารเวลาได้อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ ในส่วนของสมรรถนะด้านการทางาน ร่วมกับผู้อ่ืน มีข้อเสนอแนะ จากการสัมมนา ดังน้ีมีความยืดหยุ่น เต็มใจท่ี จะเรียนรู้มีความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการ ตอบสนองความต้องการ สมรรถนะท่ีต้องการในอนาคตสาหรับการจ้างคือ สมรรถนะด้าน เทคโนโลยี สารสนเทศ การสื่อสารท่ีก้าวหน้ามีความชัดเจน มีประสิทธิภาพสามารถเข้าถึงการส่ือสารที่ หลากหลาย ใช้เทคโนโลยีข้ันสูงและมีพื้นความรู้ทางอุตสาหกรรมและการทางาน สามารถ เปล่ียนแปลง ตามเทคโนโลยแี ละทันกระแสของเทคโนโลยีความรู้และประสบการณ์การใช้ คอมพิวเตอร์และการเกษตร การใช้ทรัพยากรธรรมชาติการติดต่อทางธุรกิจ ในส่วนของสมรรถนะ ด้านการคิดวิเคราะห์ท่ีมีความ ตอ้ งการในอนาคต ได้แก่ ความรู้เรื่องคุณภาพและการจัดการ กระบวนการผลิต การขับเคล่ือนธุรกิจ การ คิดนอกกรอบ ตระหนักถึงการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลง สมรรถนะด้านการทางานร่วมกับผู้อื่นท่ี คาดหวังให้มีในอนาคตได้แก่ การเรียนรู้โลกกว้าง นวัตกรรม ทักษะบุคคล ความเป็นผู้นา และการเป็น หัวหนา้ งาน


71 พรีโกย และโคเดอร์ Peregoy and Kroder, 2000,อ้างใน,) ได้พัฒนากลยุทธ์สาหรับเครือข่าย ด้านการศกึ ษาในมหาวิทยาลัยดัลลัส ในสหรัฐอเมริกา พบว่า กลยุทธ์การพัฒนาเครือข่ายด้านการศึกษามี ปัจจัยหลายประการท่ีช่วยทาให้เกิดประสิทธิภาพและเครือข่ายเกิดความเข้มแข็ง คือ เน้นการมีส่วนร่วม โดยเน้นเปูาหมายเป็นสาคัญ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับโครงสร้างการบริหารเครือข่าย การให้การ สนับสนุน ด้านปจั จัยสง่ิ อานวยความสะดวก และอาคารสถานที่ การบริหารจดั การที่ท้าทาย โดยเฉพาะจุด แข็งของเครือข่ายจะมีองค์ประกอบสาคัญ ได้แก่ ประสบการณ์ของบุคลากรในเครือข่าย คุณสมบัติความ เป็นมอื อาชพี 1) มลี ักษณะแบบไม่เป็นทางการ มีความยืดหยนุ่ สมาชิกของเครือขา่ ยรวมตัวเป็นกลุ่มแต่เปิด โอกาสให้สมาชิกในเครือข่ายทางานแบบกระจายงานไปอย่างทั่วถึง โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม 2) มีการพัฒนาศักยภาพของแต่ละคนให้เข้มแข็ง โดยตระหนักถึงประสบการณ์ของแต่ละคนในเครือข่าย รวมท้ังมีการจูงใจ และกระตุ้นให้สมาชิกแบบขับเคลื่อนการทางานไปสู่เปูาหมาย 3) สนับสนุนสมาชิกให้ ทุกคนมีหน้าท่ีรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ท่ีได้รับมอบหมายเต็มกาลังความสามารถ 4) ทุกคนใน เครือข่ายมีความร่วมมือกัน ประสานงาน แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ช่วยเหลือเก้ือกูลกันให้เครือข่าย สามารถพ่ึงตนเองได้ 5) มีการสนับสนุนให้ทางานเป็นระบบ โดยมีการกากับติดตาม และประเมินผลการ ทางาน สนบั สนุนการบรหิ ารจดั การทรัพยากรให้สามารถปฏิบตั ไิ ด้ Vissee and Mirabile (2004) ได้ศึกษา ทัศนคตติ ามบริบททางสงั คม ผลกระทบต่อองค์ประกอบ เครือข่ายของชุมชน การศึกษาตามอัธยาศัย วิธีการศึกษาใช้การหาความสัมพันธ์และการวิจัยเชิงทดลอง พบวา่ ทศั นคติตามบริบทของสังคมมีความสาคัญต่อเครือข่ายการบริหารชุมชนโดยเฉพาะทัศนคติของคน ในสงั คมมีความสาคญั มาก ทาใหเ้ ครือข่ายของชุมชนมคี วามเข้มแข็งขนึ้ Barbara and Dina (2006) ได้ศึกษา ผลการเรียนรู้ของสมาชิกในชุมชนจากการเรียนรู้ตาม สภาพจรงิ ในชุมชนจากภมู ิปญั ญาท้องถิ่น โดยการทากรณีศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิตการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี พบว่า การเรียนรู้ของบุคคลเกิดจากการปฏิบัติจริง และการประกอบอาชีพท่ีสามารถนาไปสู่ความ เช่ียวชาญ และประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ ๆ การเรียนรู้ตามสภาพจริงในชุมชนสนับสนุนให้สมาชิก จานวนหนึ่งมีการพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสมาชิกส่วนหนึ่งสามารถพัฒนานวัตกรรมได้ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรปู้ ระสบการณ์จากภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถน่ิ และสภาพท่เี ป็นจรงิ 2.10 กรอบแนวคดิ ในการวจิ ยั จากการทบทวนวรรณกรรมข้างต้น ผู้วิจัย ได้กาหนดกรอบแนวคิดการวิจัย เรื่อง รูปแบบการ พฒั นาสมรรถนะวิชาชพี ผู้เรยี นด้วยความรว่ มมอื กบั ภาคเี ครือขา่ ย วทิ ยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ครั้งนี้ ผู้วิจัย ได้แบ่งการวจิ ยั ออกเป็น 3 ระยะ โดยมีรายละเอียด ดังนี้


72 การวจิ ัยระยะท่ี 1 การศึกษาปจั จยั ท่มี ีผลต่อสมรรถนะรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียน ด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย โดยการใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ เพ่ือให้ได้เหตปุ จั จัยท่ีมผี ลตอ่ การพฒั นาสมรรถนะวิชาชีพผูเ้ รยี น การวิจัยระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคี เครอื ขา่ ย วิทยาลยั เทคนิคเกษตรวสิ ยั ใชว้ ธิ ีการวกิ ารวจิ ยั เชิงคณุ ภาพ และ การวิจัยระยะที่ 3 การทดลองใช้ และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วย ความร่วมมอื กบั ภาคีเครือข่าย วิทยาลยั เทคนิคเกษตรวสิ ยั แลว้ สรุปผลการใช้รปู แบบ (Model) การพัฒนา สมรรถนะวชิ าชพี ผู้เรยี นดว้ ยความรว่ มมอื กับภาคเี ครือขา่ ย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสยั ดังน้ี ระยะท่ี 1 ตัวแปรอิสระ ตวั แปรตาม สถานภาพส่วนบคุ คล รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ 1.เพศ วิชาชพี ผูเ้ รียน 2.อายุ 3.สถานภาพตาแหนง่ ด้านสมรรถนะวชิ าชีพ 1.ด้านลักษณะท่ีพงึ ประสงค์ 2.ดา้ นสมรรถนะแกนกลาง 3.ดา้ นสมรรถนะวชิ าชพี ด้านความรว่ มมือภาคี เครือข่าย กรอบแนวคิดระยะที่ 1


บทท่ี 3 วิธีดาเนนิ การวิจัย การวิจัย เรื่อง รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนคิ เกษตรวสิ ยั ครั้งน้ี ผวู้ ิจยั ได้แบง่ การวจิ ยั ออกเปน็ 3 ระยะ โดยมรี ายละเอียด ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย โดยการใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อให้ได้เหตุปัจจัยท่ีมีผลต่อ สมรรถนะวิชาชพี ผูเ้ รียนดว้ ยความร่วมมือกบั ภาคเี ครอื ขา่ ย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ระยะที่ 2 การสรา้ งรูปแบบการพฒั นาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วทิ ยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ใชว้ ธิ กี ารวิจัยเชิงคณุ ภาพ ระยะท่ี 3 การทดลองใช้ และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความ ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย แล้วสรุปผลการใช้รูปแบบ (Model) การพัฒนา สมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ขั้นตอนน้ี ผู้วิจัย ใช้การวิจัยกึ่งทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง จานวน 30 คน จากการวิจัยท้ัง 3 ระยะดังกล่าว ผู้วิจัยได้นาเสนอ รายละเอยี ดแตล่ ะขั้นตอน ดงั น้ี


74 ขัน้ ตอนการวจิ ยั การดาเนินการ ผลทไี่ ดร้ บั ระยะที่ 1 1. ประมวลเอกสารทเี่ กย่ี วขอ้ ง ไดป้ ัจจัยทีม่ ผี ลตอ่ สมรรถนะ การศึกษาเหตปุ จั จัยท่ีมผี ลตอ่ 2. การเกบ็ รวบรวมขอ้ มูลในข้นั ตอน วชิ าชพี ผู้เรยี นดว้ ยความ สมรรถนะวชิ าชพี ผู้เรียนดว้ ย นขี้ อ้ มลู เพอื่ ทดสอบแนวคิด รว่ มมือกับภาคเี ครือข่าย ความรว่ มมือกับภาคเี ครือขา่ ย ชัว่ คราวทสี่ รา้ งขึน้ วิทยาลยั เทคนิคเกษตรวสิ ัย วทิ ยาลยั เทคนิคเกษตรวิสยั 3. วเิ คราะห์ปจั จยั ทม่ี ีผลต่อ สมรรถนะวิชาชีพผเู้ รียนดว้ ยความ ไดร้ ่างรูปแบบการพฒั นาสมรรถนะ ร่วมมอื กับภาคเี ครือขา่ ย วชิ าชพี ผูเ้ รียนด้วยความร่วมมือกบั วิทยาลยั เทคนิคเกษตรวสิ ัยอยา่ งมี ภาคีเครอื ขา่ ย วิทยาลยั เทคนคิ นัยสาคัญทางสถติ ิ เกษตรวิสัย ระยะท่ี 2 1. การสรา้ งรปู แบบการพัฒนา สรา้ งรูปแบบการพัฒนา สมรรถนะสมรรถนะวชิ าชพี ผู้เรยี นดว้ ย สมรรถนะวชิ าชพี ผเู้ รียนด้วย ความรว่ มมอื กับภาคเี ครอื ข่าย ความรว่ มมือกบั ภาคเี ครือขา่ ย 2. ประเมนิ รปู แบบโดยการระดมสมอง วทิ ยาลยั เทคนคิ เกษตรวิสยั เพือ่ วพิ ากยแ์ ละปรับปรุงตาม ข้อเสนอแนะ ระยะท่ี 3 1. แบบแผนการทดลอง (One ไดร้ ปู แบบการพัฒนาสมรรถนะ การทดลองและประเมนิ ผล Group วชิ าชพี ผู้เรยี นด้วยความรว่ มมือกับ รปู แบบการพัฒนาสมรรถนะ Pretest - Posttest Design) ภาคเี ครือข่าย วิทยาลยั เทคนิค วชิ าชพี ผเู้ รียนด้วยความรว่ มมือ 2. ขน้ั ดาเนนิ การทดลอง เกษตรวิสัย กับภาคีเครอื ขา่ ย วทิ ยาลยั เทคนคิ เกษตรวิสยั ภาพท่ี 3.1 กระบวนการพัฒนาสมรรถนะวชิ าชีพผ้เู รียนด้วยความรว่ มมือกบั ภาคเี ครือข่าย


75 ระยะที่ 1 การศกึ ษาปัจจัยท่ีมผี ลต่อสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมอื กับภาคเี ครือข่าย วิทยาลัยเทคนคิ เกษตรวิสัย เป็นกระบวนการวิจัย แบบมุ่งพรรณนาปรากฏการณ์ (Descriptive Research) การพัฒนา สมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัยดาเนินการวิจัย โดยใชว้ ธิ ีการวจิ ัยในเชงิ ปริมาณ (Quantitative Methodology) มีวิธีดาเนินการวิจยั มขี ้ันตอน ดงั ตอ่ ไปนี้ 1. ประชากร และกล่มุ ตัวอย่าง ในการวจิ ยั ระยะท่ี 1 1.1 ประชากร การวจิ ัยในครงั้ น้ี มีหน่วยการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) เป็นนกั เรยี น นกั ศึกษา ผู้บรหิ าร ครู ผูน้ าชมุ ชน ผ้ปู ระกอบการ วทิ ยาลยั เทคนคิ เกษตรวสิ ยั จากการลงพ้ืนท่ีสารวจ (Pre - Survey) และจากการทาแบบทผี่ ู้วิจยั สร้างข้นึ มา จานวน 618 คน 1.2 กลมุ่ ตวั อย่าง 1.2.1 การกาหนดขนาดกลมุ่ ตัวอยา่ งทัง้ หมด ใชส้ ูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane. 1967 : 158) ท่รี ะดบั ความเชือ่ มน่ั ร้อยละ 95 สาหรบั ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 และใช้การ สมุ่ กล่มุ ตัวอยา่ งแบบแบง่ ชน้ั (Stratified Random Sampling) ตามสัดส่วนประชากรจาแนกตามหน่วย ประชากร N สูตร n = 1  Ne2 n = ขนาดกล่มุ ตัวอยา่ ง N = จานวนประชากรทง้ั หมด e = ความคลาดเคลอื่ นทย่ี อมให้เกดิ ขน้ึ ได้ ในที่นี้กาหนดไวท้ ี่ .05 แทนค่าในสตู ร n = 618 1  618(0.05)2 n = 242.82 จากการคานวณหาขนาดตัวอย่างโดยการใชส้ ตู รทาโร่ ยามาเน่ ดังกลา่ ว ได้กล่มุ ตัวอย่างเทา่ กบั 242.82 คน และเพ่ือให้ง่ายต่อการจาแนก ผู้วิจยั ได้ปัดเศษ จงึ กาหนดเป็นกลมุ่ ตวั อยา่ ง 243 คน และเพ่ือกระจายข้อมลู ตามหน่วยประชากรต่าง ๆ โดยใช้สูตรในการคานวณสัดสว่ นจานวนหนว่ ย ประชากร n = จานวนหน่วยประชาการ x 243 618


76 n = 242.82 1.2.2 วิธีการสุม่ ตัวอยา่ ง ในการวิจยั มขี ั้นตอนดังน้ี ขน้ั ตอนท่ี 1 ใชว้ ธิ กี ารส่มุ ระดับ (Stratified Random Sampling) ซึง่ เปน็ การ สมุ่ ตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มย่อย เรยี กวา่ ระดบั ช้ัน หรือชั้นภูมแิ ลว้ สมุ่ ตวั อย่างจากทุก ระดับชน้ั จากน้นั จงึ ใช้วิธีการสุม่ ตัวอยา่ งงา่ ย (Simple Random Sampling) เอาหน่วยตัวอย่างจากแต่ละ กลุ่มระดับชั้นตามจานวนสัดสว่ นท่กี าหนดตามตัวอยา่ ง ขั้นตอนที่ 2 ใช้วิธกี ารจับสลากโดยรวมรายชอ่ื ตามหน่วยประชากรตา่ ง ๆ ของ กลุ่มตวั อยา่ งจนครบจานวนที่ต้องการ ตามตารางท่ี 3.1 มาเปน็ กลุม่ ตวั อยา่ ง ดังนี้ หนว่ ยประชากร จานวนประชากร วธิ ีคานวณ กลุ่มตวั อย่าง ผบู้ ริหาร 4 (4x243) ÷618 2 ข้าราชการครู/พนกั งานราชการ 12 (40x243) ÷618 16 ลูกจ้างชว่ั คราวทาหนา้ ทส่ี อน 32 (32x243) ÷618 12 ผู้นาชมุ ชน 10 (10x243) ÷618 4 สถานประกอบการ 95 (95x243) ÷618 37 นักเรียน 220 (220x243) ÷618 87 นกั ศึกษา 216 (216x243) ÷618 85 รวม 618 243 2. ตวั แปรในกลุ่มปัจจัยที่ใช้ในการวิจยั ระยะท่ี 1 2.1 ตวั แปรอิสระ (Independent Variables) ไดแ้ ก่ ปัจจัยทม่ี ผี ลต่อการพฒั นา สมรรถนะวชิ าชีพผูเ้ รียนด้วยความ รว่ มมอื กับภาคีเครือข่าย วทิ ยาลยั เทคนิคเกษตรวสิ ัย 2.1.1 ปจั จัยส่วนบุคคลไดแ้ ก่ 1) เพศ 2) อายุ 3) สถานภาพปัจจบุ ัน 2.2 ตวั แปรตาม (Dependent Variables) ซ่ึงเป็นผลลพั ธ์ คือ สมรรถนะวชิ าชพี ผเู้ รยี น 3. เครื่องมือทีใ่ ชใ้ นการรวบรวมข้อมูล เครือ่ งมือที่ใช้ในการรวบรวมขอ้ มลู การวิจัยระยะท่ี 1 เปน็ แบบสอบถามท่ผี วู้ ิจยั ได้ปรบั ใช้และพฒั นาเครือ่ งมือมาจากแบบสอบถามทม่ี ีนักวิชาการได้ทาการศึกษาไว้แล้ว และนาเคร่ืองมือวัดนัน้ มาปรบั ข้อคาถามบางสว่ น เพ่ือใหส้ อดคลอ้ งกบั บรบิ ททท่ี าการศึกษาในครั้งน้ี คาแนะนาจากผ้เู ช่ยี วชาญ ลักษณะของเครื่องมือท่ีใชใ้ นการวจิ ัยจะแบ่งออกเปน็ 2 ตอน คือ


77 ตอนท่ี 1 แบบสอบถามเก่ยี วกับปัจจัยสว่ นบคุ คลเกีย่ วกบั สถานภาพสว่ นตัวของผตู้ อบ แบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพปจั จบุ นั ตอนที่ 2 แบบสอบถาม ปจั จยั ที่ส่งผลต่อการพฒั นาสมรรถนะวชิ าชีพผ้เู รียนด้วยความ ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วทิ ยาลัยเทคนิคเกษตรวสิ ยั ประกอบด้วย 1. ดา้ นคณุ ลกั ษณะท่ีพงึ ประสงค์ จานวน 10 คาถาม 2. ด้านสมรรถนะแกนกลาง จานวน 6 คาถาม 3. ด้านสมรรถนะวิชาชพี จานวน 5 คาถาม 4. ดา้ นความรว่ มมือภาคเี ครอื ขา่ ย จานวน 5 คาถาม 3.1 การหาคุณภาพเคร่ืองมือวัดท่ใี ชใ้ นการวิจยั การหาคุณภาพเคร่ืองมือวัดในการวิจัยระยะที่ 1 น้ี ผู้วิจัยกาหนดวิธีการตรวจสอบ เพ่ือหาคุณภาพของเคร่ืองมือวดั โดยมีข้นั ตอน ดังน้ี 3.1.1 เคร่ืองมอื วัดทุกฉบับได้ผ่านการพจิ ารณาดา้ นเนอ้ื หา ความหมาย และการใช้ ภาษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบ ความสอดคล้องของข้อคาถามกับวัตถุประสงค์ (Item Objective Congruence : IOC) ว่าข้อคาถามเก่ียวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความ ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ท้ัง 4 ด้าน น้ัน เป็นข้อคาถามที่ตรงกับส่ิงที่ต้องการ วิจัย มีความถูกต้องและครอบคลุมเน้ือหาท่ีได้ศึกษาวิเคราะห์และกาหนดไว้เป็นนิยามศัพท์หรือไม่ และ ตรวจสอบการใช้ถ้อยคาภาษามีความเหมาะสมและส่ือความหมายที่ตรงกับส่ิงท่ีต้องการจะสอบถาม หรอื ไม่ โดยใหผ้ ้เู ชยี่ วชาญจานวน 5 ท่าน คือ 1. รองศาสตราจารย์ สุพรรณ สุดสนธิ์ รองอธกิ ารบดี มหาวิทยาลยั กาฬสนิ ธ์ุ 2. ดร.วานชิ ประเสรฐิ พร คณบดคี ณะศึกษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยภาค ตะวนั ออกเฉียงเหนือ 3. ดร.พชั รี ศิลารตั น์ อาจารยป์ ระจาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑติ มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั 4. ดร.ธปิ ดิ์ พาสวา่ ง รองผูอ้ านวยการเช่ียวชาญ วทิ ยาลัยการอาชีพพยคั ฆ ภมู ิสยั จงั หวดั มหาสารคาม 5. ดร.อดลุ ย์ พมิ พ์ทอง ผูอ้ านวยการเชีย่ วชาญ วทิ ยาลยั การอาชีพขอนแก่น จงั หวัดขอนแก่น โดยผทู้ รงคณุ วฒุ แิ ต่ละทา่ นพจิ ารณาลงความเห็นและใหค้ ะแนน ดังนี้ + 1 เมือ่ แนใ่ จว่า ข้อคาถามนั้นสอดคลอ้ งกับสิง่ ท่ีตอ้ งการวัด 0 เม่อื ไม่แน่ใจวา่ ข้อคาถามนัน้ สอดคล้องกบั สง่ิ ที่ต้องการวดั หรอื ไม่ - 1 เมอ่ื แนใ่ จวา่ ข้อคาถามน้ันไมส่ อดคลอ้ งกบั ส่ิงท่ตี ้องการวดั


78 R สตู ร IOC = N เมอ่ื IOC หมายถงึ ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคาถามกับลักษณะพฤติกรรม  R หมายถึง ผลรวมของคะแนนความคดิ เหน็ ของผทู้ รงคณุ วฒุ ทิ งั้ หมด N หมายถึง จานวนผทู้ รงคุณวฒุ ิ ตัวอย่างข้อคาถาม ท่านปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาแล ะสถาน ประกอบการ ผู้เชย่ี วชาญคนที่ 1 + 1 เมอื่ แน่ใจว่า ขอ้ คาถามน้ันสอดคล้องกับสิง่ ท่ตี ้องการวัด ผเู้ ชย่ี วชาญคนท่ี 2 + 1 เมอื่ แน่ใจว่า ข้อคาถามน้ันสอดคล้องกบั ส่ิงท่ีต้องการวดั ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 3 + 1 เมื่อแนใ่ จว่า ข้อคาถามนั้นสอดคล้องกบั สิ่งท่ีต้องการวดั แทนค่าจากสูตร กรณผี ทู้ รงคณุ วฒุ ทิ ้ัง 3 ท่าน มคี วามเห็นตรงกนั วา่ ใหข้ อ้ คาถามเป็นตัวแทน ของลกั ษณะพฤตกิ รรม IOC = = 1 จากตัวอยา่ ง สามารถคานวณคา่ IOC ของข้อคาถามมีค่าเท่ากับ 1 ซง่ึ ผวู้ จิ ยั ไดแ้ สดงค่า ข้อคาถามท่ีผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญไว้ในภาคผนวก จากนั้นคัดเลือกข้อคาถามที่มีค่าดัชนี IOC มากกวา่ 0.67 เพอื่ นาเครอ่ื งมอื ไปทดลองใช้ (Try – Out) กับนักเรียน นักศึกษา ผู้บริหาร ครู ผู้นาชุมชน และผปู้ ระกอบการ วทิ ยาลยั การอาชพี ร้อยเอด็ จานวน 40 คน ซ่งึ ไมไ่ ด้เปน็ กลุ่มตวั อยา่ งในการวจิ ัย 3.1.2 นาแบบสอบถามท่ีสร้างข้ึนและผ่านการตรวจสอบเชิงโครงสร้างและเชิงเนื้อหา แล้วไปทดลองใช้กับนักเรียน นักศึกษา ผู้บริหาร ครู ผู้นาชุมชน และผู้ประกอบการ จานวน 40 คน ซึ่ง ไมไ่ ดเ้ ปน็ กลมุ่ ตัวอยา่ งในการวจิ ยั 3.1.3 จากนั้นนาข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าความเช่ือมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับโดย วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach, Lee Josphen. 1970 : 161) มี รายละเอียดดงั ต่อไปน้ี


79 ตารางท่ี 3.2 ค่าสมั ประสิทธิ์แอลฟา่ (Alpha Coefficient) ตวั แปรอิสระ ค่าสมั ประสิทธ์แิ อลฟา่ (Alpha Coefficient) ดา้ นคณุ ลกั ษณะทพี่ ึงประสงค์ .985 ดา้ นสมรรถนะแกนกลาง .973 ด้านสมรรถนะวิชาชพี .979 ด้านความร่วมมือภาคีเครือข่าย .982 จะเห็นไดว้ า่ ทุกตัวแปรมคี ่าความเช่ือม่ันในระดบั สูง ซงึ่ วา่ แบบสอบถามเป็นแบบสอบถาม ท่มี คี วามเชื่อมั่นสูง สามารถนาไปใช้เพ่ือทาการสอบถามได้ 3.1.4 ผวู้ ิจยั นาแบบสอบถามท่ปี รบั ปรุงแก้ไขแลว้ จงึ นาไปจดั พิมพ์ แบบสอบถามฉบบั สมบรู ณ์ แลว้ นาไปใชเ้ กบ็ รวบรวมขอ้ มูลกบั กลุ่มตัวอยา่ งต่อไป 4. การเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู การเก็บรวบรวมข้อมูลในข้ันตอนน้ี เป็นการเก็บข้อมูลเพ่ือทดสอบสมมติฐานเชิงแนวคิดทฤษฎี หรือทฤษฎีช่ัวคราว ท่ีสร้างข้ึนในขั้นตอนแรก โดยเก็บข้อมูลจากนักเรียน นักศึกษา ผู้บริหาร ครู ผู้นา ชุมชน และผู้ประกอบการ จานวน 243 คน โดยใช้ผู้ช่วยวิจัย จานวน 5 คน เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูล รว่ มกับผู้วจิ ัย แบ่งกลมุ่ เกบ็ รวบรวมข้อมลู ในแตล่ ะพื้นที่เปา้ หมาย 5. การวเิ คราะหข์ ้อมลู (Analysis of Data) การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยในระยะที่ 1 น้ี ผู้วิจัยนาข้อมูลทั้งหมดมาจัดหมวดหมู่ และบันทึก คะแนนแต่ละข้อในรูปแบบรหัส (Coding Form) หลังจากน้ันนาข้อมูลทั้งหมดไปวิเคราะห์ด้วยเครื่อง คอมพวิ เตอรโ์ ดยใชโ้ ปรแกรมสาเร็จรปู เพ่อื ทดสอบสมมตฐิ านเชงิ แนวคิด ทฤษฎีช่ัวคราวท่ีสร้างขึ้นก่อนการ วิจัย 5.1 การวิเคราะห์ขอ้ มลู เกยี่ วกับการบรรยายปัจจัยส่วนบคุ คลของสมาชกิ ภาคีเครอื ขา่ ย การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย วิเคราะห์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่ (Frequencies) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉล่ีย (Mean) และส่วนเบ่ียงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) 5.2 นาผลค่าเฉลยี่ ในการวเิ คราะห์ข้อมูล ทม่ี ีคา่ เฉล่ยี น้อยท่ีสุดนามาสรา้ งรูปแบบการ พัฒนาสมรรถนะวิชาชพี ผู้เรยี นดว้ ยความร่วมมอื กบั ภาคีเครือข่าย วทิ ยาลัยเทคนิคเกษตรวสิ ัย


80 ระยะท่ี 2 สรา้ งรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชพี ผูเ้ รียนดว้ ยความรว่ มมอื กับภาคเี ครอื ขา่ ย วิทยาลัยเทคนคิ เกษตรวสิ ัย จากการวิเคราะห์ปัจจัยท่ีมีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคี เครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย พบว่า มีตัวแปรท่ีมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ ผู้เรยี นดว้ ยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ผู้วิจัย ได้ นาตัวแปรเหล่าน้ันมาสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วทิ ยาลัยเทคนคิ เกษตรวิสยั ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ท่ัวไปของการวิจัย เพื่อสร้างและการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความ ร่วมมือกบั ภาคีเครอื ข่าย วิทยาลยั เทคนิคเกษตรวสิ ัย 2. วัตถปุ ระสงคเ์ ฉพาะของการวิจยั 2.1 เพื่อกาหนด และยกร่างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับ ภาคีเครอื ขา่ ย วทิ ยาลัยเทคนคิ เกษตรวสิ ัย 2.2 เพ่ือประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความ รว่ มมือกับภาคีเครือขา่ ย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวสิ ยั 3.กลุ่มเปา้ หมาย ในการวิจัยในระยะท่ี 2 ประกอบด้วย นกั เรียน จานวน 5 คน นักศึกษา จานวน 5 คน ผู้บริหาร จานวน 5 คน ครู จานวน 5 คน ผู้นาชุมชน จานวน 5 คน และผู้ประกอบการ 5 คน รวม 30 คน ใช้เลอื กแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 4. วิธีดาเนนิ การวิจยั 4.1 กาหนด และยกรา่ ง การพฒั นาสมรรถนะวิชาชพี ผเู้ รยี นด้วยความรว่ มมือกบั ภาคี เครอื ข่าย วทิ ยาลยั เทคนิคเกษตรวิสัย 4.2 การตรวจสอบยืนยันโดยประเมินความเหมาะสมจากการอา้ งอิงของทรงคณุ วุฒเิ พ่อื ยืนยันตัวแบบการวิจัย ว่าตัวแบบดังกล่าวมีความเหมาะสมหรือไม่ เพื่อนาผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด ม า จั ด ท า เ ป็ น รู ป แ บ บ ก า ร พั ฒ น า ส ม ร ร ถ น ะ วิ ช า ชี พ ผู้ เ รี ย น ด้ ว ย ค ว า ม ร่ ว ม มื อ กั บ ภ า คี เ ค รื อ ข่ า ย วทิ ยาลัยเทคนิคเกษตรวิสยั ทีส่ มบูรณ์ ดังรายละเอียดตอ่ ไปนี้ 4.2.1 ประเมินและยืนยันตัวแบบโดยประเมินความเหมาะสมจากการอ้างอิงของ ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบยืนยัน ว่าตัวแบบที่ได้จากการวิเคราะห์ โดยอาศัยผู้เขา้ ร่วม ซงึ่ มีขน้ั ตอนของการพฒั นากรอบแนวคิดการตรวจสอบยืนยันตัวแบบ คือ ศึกษาข้อมูล และเลอื กผ้เู ข้าร่วมซ่งึ เคยมปี ระสบการณด์ า้ นตา่ ง ๆ เพ่ือให้เกิดความเชื่อม่ันท่ีได้จากการวิเคราะห์ จานวน 30 คน ประกอบด้วย ผู้เข้าร่วมเป็นผู้ปฏิบัติงานเก่ียวกับการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความ รว่ มมือกับภาคีเครอื ข่าย วทิ ยาลัยเทคนิคเกษตรวิสยั จานวน 30 คน 4.2.2 กาหนดคณุ สมบัตขิ องกลุ่มเปา้ หมายทเ่ี ปน็ ผเู้ ชย่ี วชาญ โดยพิจารณาจากความรู้ ความสามารถในสาขาอาชีพและประสบการณ์ทางานมีลักษณะคล้ายคลึงกัน (Homogenous Groups) ซ่ึงแบง่ เปน็ 6 กลุม่ ดงั นี้


81 ตาราง 3.3 กลุ่มผ้บู ริหาร ลาดบั รายชื่อ ตาแหนง่ สังกัด 1 นายสทิ ธศิ ักดิ์ เพ่ิมพูล วทิ ยาลยั เทคนิคเกษตรวสิ ัย 2 นางอาภรณ์ ไชยภูมิ ผ้อู านวยการ วทิ ยาลยั เทคนคิ เกษตรวสิ ัย 3 สบิ เอกสุรเดช หมอกสังข์ รองผู้อานวยการฝา่ ยวชิ าการ วิทยาลยั เทคนิคเกษตรวสิ ัย รองผู้อานวยการฝ่ายบรหิ าร 4 นายประสทิ ธ์ิ พอ้ งเสยี ง ทรพั ยากร วทิ ยาลัยเทคนคิ เกษตรวิสัย รองผู้อานวยการฝา่ ยแผนงาน 5 นายกิตติ สที ะ และความรว่ มมือ วทิ ยาลยั เทคนิคเกษตรวิสัย รองผอู้ านวยการฝา่ ยพฒั นา กจิ การนักเรียน นักศึกษา ตารางท่ี 3.4 ครู ลาดบั รายชอื่ ตาแหนง่ สังกดั 1 นางวนั เพ็ญ ภนู ะ หวั หน้างานทะเบยี น วิทยาลัยเทคนคิ เกษตรวสิ ยั 2 นายพิทักษ์ สงวนรัตน์ หวั หนา้ งานพัสดุ วทิ ยาลยั เทคนคิ เกษตรวิสยั 3 นางสาววไิ ลพร จรนามล หวั หน้างานวดั ผลและประเมินผล วทิ ยาลยั เทคนคิ เกษตรวิสยั 4 นายทวิ านนท์ จนั ทสาร หัวหน้างานอาชวี ระบบทวิภาคี วิทยาลยั เทคนิคเกษตรวสิ ยั 5 นางพงษพ์ ันธ์ ตะภา หวั หน้างานความร่วมมอื วทิ ยาลัยเทคนิคเกษตรวสิ ัย


82 ตารางที่ 3.5 ผนู้ าชมุ ชน ลาดับ รายชือ่ ตาแหน่ง สังกัด 1 นายประภาส ศรีวงษ์กลาง นายกเทศมนตรี เทศบาลตาบลเมืองบวั 2 นางบุญเกิด ภานนท์ ผูจ้ ดั การธนาคารเพ่ือการเกษตร ธนาคารเพ่ือการเกษตรและ และสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์การเกษตร ตาบล 3 นายสหี า กาฬสวุ รรณ เมืองบัว เกษตรวสิ ัย สมาชกิ สภาเทศบาลตาบลเมือง เทศบาลตาบลเมืองบวั 4 นายชนะชาญ ศรปี ญั ญา บัว นายกองคก์ ารบริหารส่วนตาบล องค์การบรหิ ารสว่ นตาบล 5 นายพทิ ยา โยวะผยุ สาวแห สาวแห กรรมการวทิ ยาลยั วทิ ยาลัยเทคนิคเกษตรวสิ ยั ตารางท่ี 3.6 ผู้ประกอบการ ลาดบั รายช่อื ตาแหนง่ สังกัด 1 นายสมใจ มะเสนา ผจู้ ดั การฝา่ ยศนู ยฝ์ กึ อบรม บรษิ ัท โคว้ ยูฮ่ ะมอเตอร์ จากัด ดา้ นงานขายและบรกิ ารหลัง โทร.081-053-3553 2 นางสุดถวลิ จันทะเสน การขาย ผู้จัดการ โรงแรมกรองทิพย์ อ.เกษตร 3 นายศรัทธาเทพ แถสงู เนิน วิสัย จังหวัดร้อยเอด็ 4 นายกิตติพงศ์ ศิรโิ สม ผจู้ ัดการร้าน โทร.088-498-5279 เจ้าหน้าทส่ี รรหาวา่ จา้ งอาวุโส บริษทั แอดไวซ์เกษตรวสิ ัย 5 นายวนชิ กริ ิยะ บริษทั ทีเอ็มที สตลี จากัด ประธานกรรมการบรษิ ัท (มหาชน) โทร.02-685-4000 บรษิ ทั พนมไพร พรีซิซั่น จากดั โทร.089-832-3703


83 ตารางท่ี 3.7 นกั ศกึ ษา ตาแหน่ง สงั กัด ลาดบั รายช่ือ นกั ศกึ ษา วิทยาลยั เทคนคิ เกษตรวิสยั นักศึกษา วิทยาลัยเทคนคิ เกษตรวิสัย 1 นายกตัญญู วงศ์คาแก้ว นักศกึ ษา วิทยาลยั เทคนคิ เกษตรวิสยั 2 นายภานุวฒั น์ ไชยงาม นกั ศกึ ษา วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสยั 3 นายกติ ตพิ ศ สงิ หว์ สิ ทุ ธ์ิ นกั ศึกษา วทิ ยาลัยเทคนคิ เกษตรวิสยั 4 นางสาวณชั ลิดา ทวินันท์ 5 นายชลทศิ ภูโพนม่วง ตารางท่ี 3.8 นกั เรียน ตาแหนง่ สงั กัด ลาดบั รายชื่อ นักเรียน วิทยาลัยเทคนคิ เกษตรวิสัย นักเรียน วทิ ยาลยั เทคนคิ เกษตรวสิ ยั 1 นายธนากร จอดนอก นกั เรียน วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวสิ ัย 2 นายเจนณรงค์ พิเนตร นกั เรียน วทิ ยาลยั เทคนคิ เกษตรวสิ ัย 3 นายศรายุทธ อุดทา นกั เรียน วทิ ยาลัยเทคนิคเกษตรวสิ ัย 4 นางสาวศิริญญา ผดุงศรี 5 นางสาวณฐั วิภา บุยผาลา 4.2.3 เครอื่ งมือที่ใชว้ ิจยั ระยะที่ 2 คือ แนวทางการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนดว้ ย ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ที่ผู้วิจัยนาผลจากการวิจัยในระยะที่ 1 มาสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นร่างในการ พิจารณา ในการจัดประชุมเชงิ ปฏิบัตกิ าร (Workshops) เพ่ือให้ผเู้ ชย่ี วชาญ นักวิชาการ และผู้เก่ียวข้องใน การพฒั นาสมรรถนะวชิ าชีพผูเ้ รยี นด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วทิ ยาลัยเทคนคิ เกษตรวิสยั 4.2.4 เครื่องมือทใ่ี ช้ในการเก็บรวบรวมขอ้ มูล การวิจัยระยะที่ 2 นี้ เป็นการสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความ ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพ่ือให้ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร ครู ผู้ประกอบการ ผู้นาชุมชน นักเรียน นักศึกษา และผู้เก่ียวข้องในการ พัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ได้มีการ ประชุมกลุ่มย่อย (focus group) เฉพาะกลุ่มของตน และเมื่อแต่ละกลุ่มได้ข้อมูลและรูปแบบท่ีจะเสนอ แล้ว ตอ่ จากนน้ั จะให้ทุกกลุ่มร่วมกระบวนการระดมสมอง (Brain Storming) เพื่อวิพากษ์ให้ข้อเสนอแนะ และแนวทางการปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลยั เทคนิคเกษตรวิสัย


84 การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยในระยะที่ 2 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบรวบรวมการวิจารณ์และ ขอ้ เสนอแนะ โดยการจดบนั ทกึ ลงในแบบวิจารณ์และข้อเสนอแนะ และการทาบันทึกภาพ บันทึกเสียงทุก เน้ือหา และทาการสังเคราะห์ข้อมูลจากการวิจารณ์และข้อเสนอแนะจากการถอดข้อความ เพ่ือนามา เทียบเคียงกับบริบทของการวิจัย และการปรับปรุงรูปแบบตามการวิจารณ์และข้อเสนอแนะ ต่อจากน้ัน นามาประเมินโดยผู้เช่ียวชาญอีกครั้ง เพ่ือให้ได้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความ รว่ มมือกบั ภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัยทสี่ มบรู ณ์ 4.2.5 การวเิ คราะหข์ อ้ มูลและสรา้ งรปู แบบการพฒั นา การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยในระยะท่ี 2 ผู้วิจัยทาการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ เชิงคณุ ภาพ โดยมีขน้ั ตอนดงั น้ี 4.2.5.1 ผู้วิจัยจัดทาร่างการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคี เครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย โดยใช้ผลจากการวิจัยในระยะท่ี 1 ซ่ึงผู้วิจัยจะ grouping การ พัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย โดยอาศัย ผลจากการถอดข้อความการวิจัยในระยะที่ 1 และนาเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญทาการวิพากษ์และเสนอแนะใน ขัน้ ตอนตอ่ ไป 4.2.5.2 ผู้วจิ ยั จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workgroup) ผู้เชี่ยวชาญ 30 คน การประชุม เชิงปฏิบัติการ (Workgroup) มี 2 ช่วง คือ 1) การจัดทาการประชุมย่อย (Focus group) ของแต่ละกลุ่ม ผู้เช่ียวชาญ ซ่ึงแบ่งเป็น 6 กลุ่มย่อย โดยในแต่ละกลุ่มจะทาการวิพากษ์ร่างการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ ผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ท่ีผู้วิจัยจัดทาข้ึนมาและคิดการ พัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัยของผู้วิจัย เพ่ือนาเสนอในการประชุมระดมสมองต่อไป และ 2) การจัดทาการระดมสมอง (Brainstorming) โดยนา ผูเ้ ช่ียวชาญท้ัง 30 คน 6 กล่มุ ประชุมร่วมกนั เพื่อทาการวิพากษ์รา่ งการพฒั นาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วย ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ท่ีผู้วิจัยจัดทาขึ้นมาและให้แต่ละกลุ่มได้เสนอ การพฒั นาสมรรถนะวิชาชพี ผ้เู รียนด้วยความร่วมมอื กับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัยท่ีได้จาก การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญท้ัง 30 คน จะร่วมกันวิพากษ์และวิเคราะห์ร่างการ พัฒนาสมรรถนะวิชาชพี ผ้เู รียนดว้ ยความร่วมมือกบั ภาคเี ครือขา่ ย วทิ ยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ท้ังหมดท่ีได้ จากการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อให้ได้การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือ กบั ภาคีเครอื ขา่ ย วทิ ยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัยที่ดีท่สี ุด 4.2.5.3 นาการพัฒนาสมรรถนะวิชาชพี ผู้เรยี นด้วยความรว่ มมือกับภาคีเครอื ข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ท่ีได้จากการประชุมปฏิบัติการ (Workshop) นาเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน รูปแบบเลือกกิจกรรม ด้วยการให้คะแนนความเหมาะสม 5 ระดับ คือ เหมาะสมอย่างยิ่ง (5) เหมาะสม มาก (4) เหมาะสมปานกลาง (3) ไม่เหมาะสม (2) ไม่เหมาะสมอย่างย่ิง (1) และเลือกรูปแบบกิจกรรมที่มี ค่าคะแนนความเหมาะสมตั้งแต่ 3.51 - 5.00 และพัฒนาปรับปรุงรูปแบบตามข้อเสนอแนะของ ผู้เชีย่ วชาญใหส้ มบรู ณ์ ก่อนที่จะนาไปทดลองใชใ้ นการวจิ ยั ระยะท่ี 3 ตอ่ ไป


85 เครอ่ื งมอื ที่ใช้ในการประเมิน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของร่าง รปู แบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย จากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยแบบสอบถามเป็นมาตรวัดประมาณคา่ (Rating Scale) 5 ระดับตามแบบของลิเคิร์ท (Likert) 5 ระดับ คือ มากที่สุด มากปานกลาง น้อย และน้อยท่ีสุด ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนนความ เหมาะสมและความเปน็ ไปได้ในทางปฏบิ ตั ิ ดังน้ี ระดับ หมายถึง ความเหมาะสม 5 หมายถึง เหมาะสมมากทีส่ ดุ 4 หมายถงึ เหมาะสมมาก 3 หมายถึง เหมาะสมปานกลาง 2 หมายถงึ เหมาะสมน้อย 1 หมายถึง เหมาะสมน้อยที่สุด เกณฑ์ในการแปลความหมายคะแนน ดังน้ี 4.51 - 5.00 หมายถงึ เหมาะสมมากท่ีสุด 3.51 - 4.50 หมายถึง เหมาะสมมาก 2.51 - 3.50 หมายถงึ เหมาะสมปานกลาง 1.51 - 2.50 หมายถึง เหมาะสมน้อย 1.00 - 1.50 หมายถงึ เหมาะสมน้อยที่สุด เกณฑ์การยอมรับตัวแบบพิจารณาจากค่าเฉลยี่ ของผทู้ รงคุณวุฒโิ ดยตอ้ งมี คา่ เฉลี่ยอยูใ่ นระดับมากขนึ้ ไป จึงยอมรบั ได้ว่ารูปแบบการพฒั นาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือ กับภาคเี ครอื ข่าย วทิ ยาลัยเทคนิคเกษตรวิสยั มคี วามเหมาะสมตามเกณฑ์ 4.2.6 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผ้วู ิจัย ออกหนงั สอื ถึงผทู้ รงคุณวุฒิ จากนั้นสง่ หนงั สอื ขอ ความอนเุ คราะหป์ ระเมินความเหมาะสมในทางปฏิบัติของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วย ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย จัดส่งทางจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ รายละเอียด ดงั นี้ 4.2.6.1 ผู้วจิ ัย จดั ทาหนังสอื ขอความรว่ มมอื ถึงกลมุ่ ผ้ใู หข้ อ้ มูล โดยประเมิน ความเหมาะสมจากการอ้างอิงของทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) จากน้ันส่งหนังสือขอความร่วมมือ โดยส่งรา่ งรูปแบบทางไปรษณยี ์ 4.2.6.2 วเิ คราะหข์ อ้ มลู ดว้ ยวิธกี ารวิเคราะหเ์ นื้อหา (Content Analysis)


86 ระยะท่ี 3 การทดลองใช้ และประเมินผลรูปแบบการพฒั นาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรยี นด้วยความ ร่วมมอื กับภาคเี ครือข่าย วทิ ยาลยั เทคนิคเกษตรวิสัย 1. กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองในการวิจัยในระยะที่ 3 คือ นักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ผู้วิจัยได้ เลือกเป็นกลุ่มทดลองในการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคี เครือข่าย วิทยาลัยเทคนคิ เกษตรวสิ ัย ด้วยเหตุผลดงั น้ี 1.1 เปน็ กลมุ่ นักศกึ ษาท่ีมคี วามต้องการท่ีจะเปน็ กล่มุ ทดลอง 1.2 มีความพร้อมในด้านบุคลากรท่ีมีความต้องการ และตั้งใจจริงท่ีจะทดลองใช้ รูปแบบการ พฒั นาสมรรถนะวชิ าชพี ผู้เรียนดว้ ยความร่วมมือกบั ภาคเี ครือขา่ ย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวสิ ัย 1.3 เปน็ กล่มุ นกั ศกึ ษาทผี่ ้วู ิจัยสามารถจะทาการตดิ ตามและประเมินผลการทดลองได้อย่างใกล้ชิด 2. ตัวแปรที่ใช้ศกึ ษาในการวิจยั 2.1 ตัวแปรอสิ ระ คือ การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผเู้ รยี น 2.2 ตวั แปรตาม คอื รูปแบบการพฒั นาสมรรถนะวชิ าชพี ผู้เรียนดว้ ยความร่วมมือกบั ภาคี เครอื ข่าย วทิ ยาลยั เทคนิคเกษตรวสิ ัย และตวั แปรในระยะท่ี 1 ทม่ี คี า่ เฉล่ียนอ้ ยท่สี ุด ไดแ้ ก่ ด้านความ รว่ มมือภาคีเครอื ขา่ ย 3. เครื่องมือทใ่ี ชใ้ นการวจิ ัย แบบทดสอบก่อนการทดลอง และหลังทดลองในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความ รว่ มมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวสิ ยั ได้แก่ การพฒั นาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนและตัวแปร ในระยะท่ี 1 ทม่ี คี า่ เฉลี่ยน้อยท่ีสุด 4. วิธดี าเนินการ การดาเนินการในขัน้ ตอนนี้ ใชว้ ิธกี ารวิจัยแบบก่ึงทดลอง (Quasi - Experimental Design) โดย มแี บบแผนการวจิ ยั แบบ One -Group Pretest-Posttest Design ซง่ึ มแี บบแผนการวิจัย ดังน้ี (Cook & Campbell. 1979 : 99) O1-----------------------------X------------------------------------O2


87 เม่อื O1 แทน การทดสอบก่อนการทดลอง X แทน การทาการทดลอง O2 แทน การทดสอบหลงั การทดลอง โดยมีขั้นตอนดังต่อไปน้ี 4.1 เลือกกลุ่มตัวอย่างในการดาเนินการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วย ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จานวน 40 คนซง่ึ เปน็ นักเรยี น และนกั ศกึ ษาวิทยาลัยเทคนิคเกษตรวสิ ยั 4.2 ทาการเก็บข้อมูลก่อนทดลองกบั กลุ่มตวั อยา่ ง เป็น Pretest 4.3 ดาเนินการทดลองใช้รปู แบบการพฒั นาสมรรถนะวชิ าชีพผเู้ รียนด้วยความร่วมมือกบั ภาคี เครอื ข่าย วทิ ยาลัยเทคนิคเกษตรวสิ ัย กับกลุม่ ทดลอง จานวน 40 คน 4.4 ทาการเก็บข้อมลู หลงั การทดลองกับกลุ่มทดลอง เป็น Posttest 4.5 นาผลท่ไี ด้จาการทดลองมาวเิ คราะห์ข้อมลู แล้วสรปุ ผลการดาเนนิ การ 5. ประเมนิ ผลการพฒั นาสมรรถนะวชิ าชพี ผเู้ รยี นดว้ ยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิค เกษตรวสิ ยั กา ร ป ร ะเ มิ นผ ล ใ น กา ร พั ฒน า ส ม ร ร ถนะวิ ช า ชี พผู้ เ รีย น ด้ ว ย คว าม ร่ ว ม มื อกับ ภา คีเ ครื อข่า ย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย เป็นการวิจัยระยะที่ 3 ซึ่งเป็นการนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ ผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ท่ีปรับปรุงแล้วมาทดลองใช้กับ นักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ท่ีผู้วิจัยได้เลือกไว้ จานวน 40 คน โดยมีระยะเวลาในการ ทดลองใช้และเก็บข้อมูลก่อนหลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความ รว่ มมือกับภาคีเครือขา่ ย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย เป็นเวลา 4 เดือน จากน้ันนาผลการทดลองท่ีได้ไป ทาการวิเคราะห์ขอ้ มลู เพ่อื ตอบวัตถุประสงค์การวิจัยระยะท่ี 3 โดยใช้ข้อมูลการปฏิบัติของนักเรียน และ นักศึกษากลุม่ ทดลอง จานวน 40 คน เปรียบเทียบระหว่าง ก่อนการทดลองและหลังการทดลองด้วย โดย ใชค้ า่ เฉลยี่


88 6. กระบวนการวจิ ัยเพื่อพฒั นาสมรรถนะวชิ าชีพผเู้ รียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือขา่ ย วิทยาลัยเทคนคิ เกษตรวิสัย 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาปจั จยั เชงิ ที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะวชิ าชพี ผู้เรยี นด้วยความรว่ มมือกับภาคเี ครือข่าย วทิ ยาลัยเทคนิคเกษตรวสิ ัย ตวั แปรทีใ่ ชใ้ นการวจิ ัย ตัวแปรอิสระ ไดแ้ ก่ 1. เพศ 2. อายุ 3. สถานภาพปัจจบุ ัน/หนา้ ทีค่ วามรับผดิ ชอบ ตัวแปรตาม คือ การพฒั นาสมรรถนะวิชาชพี ผเู้ รยี น ประชากรและกลุม่ ตวั อย่าง ไดแ้ ก่ ผบู้ ริหารสถานศกึ ษา ครู และพนักงานราชการ/ลกู จา้ ง ผปู้ ระกอบการ ผ้นู า ชมุ ชน นักศึกษา นักเรยี น เครอ่ื งมอื ทใ่ี ชใ้ นการวิจยั ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะหข์ อ้ มูล การวิเคราะหเ์ ชิงพรรณนาเพอ่ื อธิบายขอ้ มูลทว่ั ไป สถติ ิที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลยี่ รอ้ ยละ และค่า เบ่ยี งเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการพฒั นาสมรรถนะวิชาชพี ผู้เรียนด้วยความรว่ มมือกับภาคเี ครอื ข่าย วิทยาลยั เทคนคิ เกษตรวิสัย กลุม่ ตัวอย่างเป้าหมาย ไดแ้ ก่ นักเรยี น จานวน 5 คน นกั ศึกษา จานวน 5 คน ผ้บู รหิ าร จานวน 5 คน ครู จานวน 5 คน ผนู้ าชุมชน จานวน 5 คน และผปู้ ระกอบการ 5 คน ใช้การเลอื กแบบเฉพาะเจาะจง เครือ่ งมือท่ีใชใ้ นการวิจยั ไดแ้ ก่ การนาผลการวิจัยระยะท่ี 1 สมรรถนะท่ีมีคา่ เฉล่ยี นอ้ ยทสี่ ดุ นามาสรา้ ง รูปแบบการพฒั นาสมรรถนะวชิ าชพี ผเู้ รียนด้วยความรว่ มมือกับภาคเี ครือข่าย วทิ ยาลยั เทคนคิ เกษตรวิสัย เพื่อใช้เปน็ ร่างในการพจิ ารณา เครอ่ื งมือท่ีใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการวจิ ยั โดยการประชมุ เชิงปฏบิ ัติการ (Workshop) ใช้การประชมุ กลมุ่ ย่อย (Focus Groups) และ การระดมสมอง (BrainStorming) และการมสี ว่ นรว่ ม ระยะที่ 3 การทดลองใช้ ประเมนิ ผลการใช้รปู แบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผูเ้ รียนด้วยความร่วมมือกบั ภาคี เครือข่าย วิทยาลัยเทคนคิ เกษตรวิสัย กลมุ่ ทดลองใชใ้ นการวิจยั คอื นกั เรียน นกั ศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย การรวบรวมขอ้ มลู การวิจัยระยะที่ 3 ใช้รปู แบบการพฒั นาทส่ี รา้ งขน้ึ ในระยะที่ 2 ทดลองใชก้ ับกลมุ่ ทดลอง ประมาณ 4 เดอื น และการเก็บขอ้ มลู 3 ระยะ ดังน้ี ระยะท่ี 1 ก่อนทดลอง รวบรวมข้อมูลจากกลมุ่ ทดลองกอ่ นทดลอง (Pretest) ระยะท่ี 2 ขณะทดลอง การรวบรวมข้อมูลใช้การสงั เกตแบบมีสว่ นรว่ ม ระยะท่ี 3 หลังทดลอง รวบรวมข้อมูลจากกล่มุ ทดลองหลงั ทดลอง (Posttest) และเปรยี บเทยี บขอ้ มลู ก่อนและ หลังทดลองดว้ ย ด้วยค่าเฉล่ีย


บทท่ี 4 ผลการวเิ คราะห์ข้อมลู การวจิ ัยเร่อื ง เรื่องรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย คร้ังนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ ผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนา สมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย และทดลองและ ประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตร วสิ ัย ผวู้ ิจยั แบง่ การนาเสนอผลการวิเคราะหข์ อ้ มลู ดงั นี้ ระยะที่ 1 ผลการวเิ คราะห์ข้อมลู ปัจจัยทส่ี ง่ ผลต่อการพัฒนาสมรรถนะวิชาชพี ผ้เู รยี นด้วย ความร่วมมือกบั ภาคีเครอื ขา่ ย วทิ ยาลยั เทคนคิ เกษตรวสิ ัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับ ภาคเี ครือข่าย วิทยาลยั เทคนคิ เกษตรวสิ ยั ในระยะที่ 1 ผูว้ ิจยั ไดส้ งั เคราะห์เชิงเน้ือหาทม่ี ีความถ่ี และคา่ เฉล่ยี ความสอดคล้อง พบว่า ปัจจัยท่ีมีผลต่อการ พัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ประกอบด้วย ปัจจัยด้านส่วนบุคคล ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านสมรรถนะแกนกลาง ด้าน สมรรถนะวิชาชีพ ด้านความร่วมมือภาคีเครือข่าย ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความ ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือใน การวิจัย โดยนาแบบสอบถามไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียน นักศึกษา ผูบ้ ริหาร ครู ผนู้ าชุมชน และผู้ประกอบการ จานวน 243 คนผลการวิจัยในระยะที่ 1 สามารถสรุปผลการ วเิ คราะห์ข้อมลู ปรากฏดงั แสดงในตารางที่ 4.1


90 ตารางที่ 4.1 รอ้ ยละ ข้อมูลคณุ ลกั ษณะปจั จัยสว่ นบุคคลของกลุ่มตวั อยา่ ง ขอ้ มูลคุณลักษณะปัจจยั ส่วนบคุ คล จานวน รอ้ ยละ 1. เพศ 135 55.60 ชาย 108 44.40 หญงิ 243 100 รวม 215 88.50 11 4.50 2. อายุ 9 3.70 ต่ากวา่ 30 ปี 8 3.30 30-39 ปี 243 100 40-49 ปี 50 ปีขึน้ ไป 2 0.80 37 15.22 รวม 16 6.60 12 4.90 3. สถานภาพปัจจบุ ัน/หน้าที่ความรบั ผิดชอบ 4 1.60 ผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษา 85 35.00 ผู้ประกอบการ 87 35.80 ครผู สู้ อน 243 100 พนักงานราชการ/ลกู จา้ ง ผูน้ าชมุ ชน นกั ศึกษา นักเรียน รวม จากตารางที่ 4.1 พบวา่ ปัจจัยท่ีส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับ ภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.60 มีอายุต่ากว่า 30 ปี ร้อย ละ 88.50 และสถานภาพปัจจบุ นั /หน้าท่ีความรบั ผิดชอบ เป็นนกั เรยี น รอ้ ยละ 35.80


91 ตารางที่ 4.2 แสดงค่าเฉล่ยี (  ) สว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การพัฒนาสมรรถนะวชิ าชพี ผเู้ รยี น ด้วยความร่วมมือกบั ภาคเี ครือขา่ ย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย โดยรวมและ รายด้าน ระดบั ความคิดเหน็ การพฒั นาสมรรถนะวิชาชีพ (n243) ดา้ นลักษณะที่พึงประสงค์  S.D แปลผล อนั ดบั ดา้ นสมรรถนะแกนกลาง ดา้ นสมรรถนะวิชาชีพ 4.48 0.52 มาก 1 ดา้ นความรว่ มมือภาคีเครือข่าย 3.56 0.58 มาก 2 รวม 3.37 0.67 ปานกลาง 3 2.66 0.56 ปานกลาง 4 3.51 0.27 มาก จากตารางท่ี 4.2 พบว่า การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย โดยภาครวมอยู่ในระดับมาก เม่ือพิจารณาเป็นรายด้าน มีระดับมากที่สุดคือ ด้านลักษณะท่ีพึงประสงค์ (  = 452, S.D = 0.58) รองลงมาอยู่ในระดับมาก คือ ด้านสมรรถนะ แกนกลาง (  = 4.29, S.D = 0.31) และมีระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านสมรรถนะวิชาชีพ และด้าน ความร่วมมือภาคเี ครือข่าย


92 ตารางที่ 4.3 แสดงค่าเฉลีย่ (  ) ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน (S.D.) การพัฒนาสมรรถนะวชิ าชพี ผู้เรยี น ด้วยความร่วมมือกับภาคเี ครือขา่ ย วิทยาลัยเทคนคิ เกษตรวิสัย ดา้ นคณุ ลักษณะทพ่ี ึง ประสงค์ ระดบั ความคดิ เห็น การพัฒนาสมรรถนะวิชาชพี ผเู้ รียน (n243) ดา้ นคุณลกั ษณะท่พี ึงประสงค์  S.D แปลผล อันดบั 1.ท่านปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาและ 4.35 0.92 มาก 8 สถานประกอบการ 2.ท่านมีความรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตนเองตาม 4.60 0.68 มากที่สดุ 1 ระบอบประชาธปิ ไตย 3.ทา่ นแสดงกริ ยิ าทา่ ทางสภุ าพ พดู จาสภุ าพ ต่อลูกคา้ เสมอ 4.56 0.72 มากทสี่ ุด 5 4.เมื่อมีส่ิงท่ีไม่ถูกต้องท่านกล้าแสดงออกและทักท้วงในสิ่งท่ี 4.44 0.88 มาก 7 ถกู ต้อง 5.จิตสาธารณะและมีจิตสานึกรักษส์ ่ิงแวดล้อม 4.59 0.69 มากทส่ี ุด 2 6.ท่านใช้ทรัพย์สินของตนเองและทรัพยากรของส่วนรวม 4.53 0.69 มากทสี่ ุด 6 อยา่ งประหยัด 7.ท่านแสวงหาความร้ใู หม่ ๆ มาพฒั นาตนเองอยูเ่ สมอ 4.57 0.73 มากที่สดุ 4 8.ท่านนาความรู้ ข่าวสารใหม่ๆและวิธีการใหม่ ๆมาใช้ในการ 4.58 0.77 มากที่สุด 3 ปฏบิ ตั ิงาน 9.ท่านสามารถคิดเพ่ือแก้ปัญหาในงานท่ีปฏิบัติอย่างละเอียด 4.31 0.94 มาก 9 รอบคอบและมเี หตผุ ล 10.ท่านสามารถช่วยเหลือตนเอง โดยไม่เป็นภาระของเพ่ือน 4.25 1.01 มาก 10 รว่ มงาน รวม 4.48 0.52 มาก จากตารางท่ี 4.3 พบว่า การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เม่ือพิจารณาเป็นราย ข้ออยู่ในระดับมากท่ีสุดหกข้อ และอยู่ในระดับมากส่ีข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉล่ียมากท่ีสุด คือ ท่านมีความ รับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตนเองตามระบอบประชาธิปไตย รองลงมา คือ จิตสาธารณะและมี จิตสานกึ รักษส์ ่งิ แวดลอ้ ม ส่วนขอ้ ทม่ี คี า่ เฉลย่ี น้อยท่ีสุด คือ ท่านสามารถช่วยเหลือตนเอง โดยไม่เป็นภาระ ของเพอ่ื นรว่ มงาน


93 ตารางท่ี 4.4 แสดงคา่ เฉล่ีย (  ) ส่วนเบยี่ งเบนมาตรฐาน (S.D.) การพฒั นาสมรรถนะวิชาชพี ผู้เรียน ดว้ ยความรว่ มมือกบั ภาคีเครอื ขา่ ย วิทยาลยั เทคนคิ เกษตรวิสยั ด้านสมรรถนะแกนกลาง การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผูเ้ รียน ระดบั ความคดิ เหน็ ด้านสมรรถนะแกนกลาง (n243) 1.ท่านมที ักษะในการปรบั ตวั และดาเนนิ ชีวติ ในสงั คมสมยั ใหม่  S.D แปลผล อันดับ 3.70 1.23 มาก 1 2.ท่านมคี วามใฝ่รู้ ทักษะรวมถงึ ความรับผดิ ชอบต่อตนเอง และสังคม 3.54 1.19 มาก 4 3.ทา่ นมีการวางแผน และตดั สินใจกอ่ นลงมือปฏิบัตงิ าน เพอ่ื ให้สิง่ ทีค่ าดหวงั ไว้ 3.46 1.15 มาก 6 4.ทา่ นมีความรู้ ทกั ษะและความสามารถในการประยกุ ต์ใช้ใน ด้านภาษาและการสื่อสาร 3.64 1.15 มาก 2 5.ทา่ นสามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการตดิ ตอ่ กบั ลูกค้า 3.56 1.15 มาก 3 6.ท่านสามารถแก้ปญั หาและอปุ สรรคตา่ ง ๆ ทเ่ี ผชญิ ในขณะ 3.52 2.22 มาก 5 ปฏบิ ัตงิ าน 3.56 0.58 มาก รวม จากตารางที่ 4.4 พบว่า การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลยั เทคนิคเกษตรวสิ ัย ดา้ นสมรรถนะแกนกลาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เม่ือพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ ในระดับมากหกข้อ โดยข้อท่ีมีค่าเฉลี่ยมากท่ีสุด คือ ท่านมีทักษะในการปรับตัวและดาเนินชีวิตในสังคม สมัยใหม่ รองลงมา คือ ท่านมีความรู้ ทักษะและความสามารถในการประยุกต์ใช้ในด้านภาษาและการ สื่อสาร สว่ นขอ้ ที่มีค่าเฉลีย่ น้อยท่สี ดุ คอื ทา่ นมีการวางแผน และตดั สนิ ใจก่อนลงมือปฏบิ ตั ิงาน เพื่อให้สิ่งที่ คาดหวงั ไว้


94 ตารางที่ 4.5 แสดงคา่ เฉล่ยี (  ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การพฒั นาสมรรถนะวชิ าชีพผูเ้ รยี น ดว้ ยความรว่ มมอื กับภาคเี ครอื ขา่ ย วิทยาลยั เทคนคิ เกษตรวสิ ัย ดา้ นสมรรถนะวิชาชีพ การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียน ระดบั ความคดิ เห็น ด้านสมรรถนะวิชาชีพ (n243) 1.ท่านสามารถปฏบิ ตั ิงานภายใตร้ ะบบมาตรฐานตา่ งๆตามที่  S.D แปลผล อนั ดับ สถานประกอบการกาหนด 3.34 1.18 ปานกลาง 4 2.ท่านสามารถใช้คอมพวิ เตอร์ และโปรแกรมสาเรจ็ รูปในงาน ทีป่ ฏบิ ัตไิ ด้ 3.35 1.13 ปานกลาง 3 3.ทา่ นสามารถจาแนกโครงสร้างของงาน บทบาทหนา้ ทแี่ ละ ความรับผิดชอบในสถานประกอบการที่ปฏบิ ัติ 3.31 1.10 ปานกลาง 5 4.ท่านสามารถใช้เอกสารตา่ ง ๆ เก่ยี วขอ้ งกับการปฏิบัตงิ าน 5.ท่านสามารถนาความรทู้ ักษะพืน้ ฐานดา้ นเทคโนโลยมี าปรับ 3.42 1.15 ปานกลาง 2 ใช้ในการปฏบิ ตั ิงาน 3.44 1.12 ปานกลาง 1 รวม 3.37 0.67 ปานกลาง จากตารางท่ี 4.5 พบว่า การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วทิ ยาลัยเทคนิคเกษตรวิสยั ด้านสมรรถนะวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับปานกลางห้าข้อ โดยข้อท่ีมีค่าเฉล่ียมากท่ีสุด คือ ท่านสามารถนาความรู้ทักษะพ้ืนฐานด้าน เทคโนโลยีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ ท่านสามารถใช้เอกสารต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติงาน ส่วนข้อท่ีมีค่าเฉลี่ยน้อยท่ีสุด คือ ท่านสามารถจาแนกโครงสร้างของงาน บทบาทหน้าท่ีและ ความรบั ผิดชอบในสถานประกอบการที่ปฏิบัติ