Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore report

report

Published by bota_fon08, 2019-06-12 08:02:30

Description: report

Search

Read the Text Version

47 4. ควรมีการจัดทา MOU กับหน่วยงานที่เก่ียวข้องเพื่อช่วยสนับสนุนด้านการออกแบบ ผลิตภัณฑ์และสนับสนุนเงินทุนแก่ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนท่ีมีศักยภาพให้พัฒนาต่อยอดสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชน ตอ่ ไป 5. ควรมีการประสานงานกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เกี่ยวกับการอานวยความสะดวกและ การปรบั ลดค่าใช้จา่ ยในการทดสอบฝีมือแรงงานของกลุ่มเป้าหมาย กศน. Best Practice หลักสูตรการเพ้นทผ์ า้ ปาเต๊ะ การปักผ้าปาเต๊ะดว้ ยเลื่อม ของสถานศึกษาในกลมุ่ จงั หวดั อันดามนั ผ้าปาเต๊ะ เป็นผ้าที่ใช้ในวิถีชีวิตของสตรีไทยในท้องถ่ินภาคใต้ โดยเฉพาะในแถบอันดามัน อีกทั้งกระแสความนิยมใช้ของไทย การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย การแต่งกายแบบไทยกาลังเป็นที่นิยม อย่างมาก ดงั นน้ั สถานศึกษาในกลมุ่ จงั หวดั อนั ดามนั จึงไดจ้ ดั หลักสูตรการเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะและการปักผ้าปาเต๊ะ ด้วยเลื่อม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชนที่นิยมแต่งกายด้วยผ้าปาเต๊ะ โดยการออกแบบ (Design) ให้มีความแปลกใหม่ สีสันสวยงาม และเป็นการเพ่ิมมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ซ่ึงผู้เรียนสามารถนาไปใช้ หรือจาหน่ายในท้องถิ่น เป็นการลดรายจ่ายหรือเพ่ิมรายได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังเหมาะกับกลุ่มผู้เรียน ผูส้ งู อายุทสี่ ามารถใชเ้ วลาว่างสร้างรายได้ให้แกต่ นเองและครอบครัวได้ การตัดเยบ็ เส้ือผ้าของจังหวัดระนอง กรณตี ัวอยา่ ง กศน.ตาบลกาพวน อาเภอสขุ สาราญ จงั หวัดระนอง ความเป็นมา การตัดเย็บเส้ือผ้าของชาวบ้านในท้องถ่ิน ถือเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการ ตัดเย็บจากครอบครัว ซึ่งมีอาชีพการตัดเย็บ มีความรู้ความชานาญ สามารถทาเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ ให้แก่ครอบครัว โดยในปี พ.ศ. 2536 นางข้อดีย๊ะ สานัก ภูมิปัญญาด้านการปักจักร ของอาเภอสุขสาราญ ได้รับโอกาสให้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นวิทยากรวิชาชีพและกลุ่มสนใจ ณ ศูนย์อบรมศูนย์การศึกษานอก โรงเรียนจังหวัดระนอง หลังได้รับการฝึกอบรม กศน.อาเภอสุขสาราญ จังหวัดระนอง ติดต่อประสานให้จัดต้ัง กลุ่มอาชีพหลักสูตรระยะสั้น วิชาการตัดเย็บเส้ือผ้าข้ึนเป็นคร้ังแรก และยังได้เข้ารับการอบรมในโครงการ ตัดเย็บชุดนักเรียนด้วยจักรอุตสาหกรรม ณ ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนจังหวัด สระแก้ว ในเดือนกันยายน 2541 จึงได้เป็นวิทยากรสอนการตัดเย็บเส้ือผ้า และมีการตัดเย็บเส้ือผ้า เพ่ือจาหน่ายในตลาดในท้องถ่ิน ได้ถ่ายทอดการตัดเย็บให้กับสมาชิกกลุ่ม จนเกิดความชานาญ จึงเป็น จุดเริ่มต้นในการทางานอาชีพการตัดเย็บเส้ือผ้าจนถึงปัจจุบัน โดย กศน.อาเภอ ได้ให้การสนับสนุนส่งเสริม อาชพี ให้กบั ชุมชนมาโดยตลอด จึงทาใหผ้ เู้ รยี นวชิ าชีพการตัดเย็บเส้ือผ้า สามารถรวมกลุ่มจนเกิดความเข้มแข็ง ประสบผลสาเร็จ สามารถนาไปเสริมสร้างรายได้แก่ครอบครัวและประกอบอาชีพที่ม่ันคง ต่อเนื่องจนถึง ปัจจุบนั กระบวนการ วิธีการข้นั ตอน เทคนิค ข้อพึงระวัง ทใ่ี ชใ้ นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาอาชีพ สรุปสาระสาคัญโดยยอ่ ดังน้ี 1. กระบวนการดาเนินงาน ไดแ้ ก่ (1) สนับสนุนและประสานงานท้ังภายในกลุ่มและภายนอกกลุ่ม เพ่ือสร้างเครือข่ายความ รว่ มมือในการผลติ สนิ คา้ (2) สรา้ งองค์ความรู้ที่มคี ณุ ภาพ สามารถเผยแพร่ และถา่ ยทอดสกู่ ารนาไปใช้ประโยชน์ (3) ผลติ สินค้าทีส่ รา้ งสรรค์ มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและเปน็ ทีย่ อมรับ (4) พฒั นาสินค้าให้มคี วามแตกตา่ งจากตลาดท่ัวไป และมรี ปู แบบทีโ่ ดดเด่น

48 (5) คิดสรา้ งสรรค์ ภมู ปิ ัญญาทอ้ งถ่ินของผลิตภณั ฑ์ใหม้ ีความเปน็ เอกลักษณ์ (6) พัฒนาความสามารถของผู้บริหารและทีมงานให้สามารถเข้าใจ และเข้าถึงการตลาดลูกค้า และการสร้างอัตลักษณ์ เพ่อื สร้างการจดจาและเปน็ สินค้าทีม่ ีมูลค่า 2. กลยุทธ์ โดยจะมงุ่ เนน้ พัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้ (1) มุ่งเน้นการสร้างงาน สรา้ งรายไดใ้ ห้คนในชุมชน (2) ผลติ สนิ คา้ ใหม่ สร้างตลาดใหม่ พัฒนาผลิตภณั ฑ์ใหม่ นวตั กรรม (3) พัฒนาระบบการผลิต ลดขนั้ ตอนให้ประหยัดและมปี ระสิทธภิ าพ (4) พฒั นาสนิ คา้ ใหห้ ลากหลาย มีคุณภาพ ไดม้ าตรฐาน (5) มงุ่ เจาะจงลกู ค้าเฉพาะกลมุ่ และสรา้ งความแตกตา่ งของสินค้า สมาชิกกลุ่มที่ประสบผลสาเร็จในการเรียนหลักสูตรวิชาการตัดเย็บเสื้อผ้า สามาถนาไป ประกอบอาชีพได้ และลดรายจ่ายในครอบครวั ด้วยการตดั เยบ็ เสอื้ ผ้าแทนการจา้ งหรือซื้อเส้ือผา้ สาเรจ็ รปู นางรจุ ิรตั น์ ภาคยก์ ระโทก บ้านเลขที่ 1/1 หมูท่ ่ี 3 ตาบลกาพวน อาเภอสุขสาราญ จงั หวัดระนอง 6. ศูนยส์ ่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตาบล สานกั งาน กศน. ไดจ้ ดั ทาขอ้ ตกลง MOU ร่วมกับสานกั งานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการพัฒนาประชาธิปไตยให้กับประชาชน นักเรียน นักศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจในเร่ืองของการเมือง การปกครองระบอบประชาธิปไตย และในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ สานักงาน กศน. ได้ประกาศให้ กศน.ตาบลทุกแห่ง เป็นศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยประจาตาบล (ศส.ปชต.) สาหรับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ไม่มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนโดยตรง ดังนั้น การจัดกิจกรรมของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย ประจาตาบล คือนาเสนอข้อมูลวิชาการด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยและดาเนินการสอดแทรกกิจกรรม ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยในการจัดการเรียนรู้การจัดการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน การแสดงความคิดเห็นช่วยกัน แกป้ ัญหาในการพฒั นาการทางาน สภาพทีพ่ บ จากการนิเทศ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครู กศน.ตาบลผู้รับผิดชอบงานในพ้ืนท่ี สว่ นใหญ่มคี วามรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในบทบาทหน้าท่ีของ ศส.ปชต. เป็นอย่างดี เช่น บทบาทการเป็น ศูนย์กลางการปฏิบัติงาน การประสานเครือข่าย บทบาทเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งระดับครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศ ในเร่ือง การมีความรู้ความเข้าใจในสิทธิ หน้าที่ของตนเอง ยอมรับความคิดเห็นของส่วนรวม และการเลือกต้ังเกี่ยวกับ กิจกรรมรณรงค์การเลือกต้ัง การไม่ขายเสียง การสรรหากรรมการประจาหน่วยเลือกตั้ง การวางแผน การปฏิบัติงานร่วมกับคณะกรรมการ ศส.ปชต. เช่น การประชุมคณะกรรมการ การวางแผนร่วมกับ กกต.

49 จังหวัด ท้ังน้ี สถานศึกษาบางแห่งได้จัดกิจกรรมร่วมกับ กกต.จังหวัดในการอบรมประชาชนให้เป็นหมู่บ้าน “ปลอดการขายเสียง” และให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยในแต่ละตาบล โดยครู กศน.ตาบลจะต้องมีแผนและ ผลการปฏิบัติงานเป็นรายเดือน มีการให้คณะกรรมการ ศส.ปชต.ทุกคนไปขยายผลให้ความรู้กับประชาชน ในแต่ละหมู่บ้านคนละ 10 คน การจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ กกต.จังหวัดกับครู กศน.ตาบล บางพ้ืนท่ีขาดการประสานงานทีด่ ี แต่บางแหง่ ความรว่ มมือในการดาเนนิ งานของ ศส.ปชต. โดยรวมได้รับความ ร่วมมือจากเครือข่าย การจัดทาเอกสารแผ่นผับจะมีข้อมูลข่าวสารเก่ียวกับการเลือกต้ัง การเป็นพลเมืองดี ให้นักศึกษาและอาสาสมัครนาไปประชาสัมพันธ์เผยแพร่ตามสถานท่ีต่าง ๆ รวมทั้งสอดแทรกความรู้ส่งเสริม พัฒนาประชาธิปไตยในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดกิจกรรมค่ายวิชาการ ค่ายลูกเสือ ยุวกาชาด ค่ายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และจัดอบรมประชาชนตามโครงการอบรมพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย โครงการสง่ เสริมประชาธิปไตยในวถิ ชี มุ ชน ปัจจยั ท่สี ่งผลต่อความสาเรจ็ 1. ผู้บริหารสถานศึกษาและครู กศน.ตาบลผู้รับผิดชอบงานในพ้ืนที่ มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในบทบาทหน้าท่ีของ ศส.ปชต. เป็นอย่างดี 2. เครอื ข่ายในพื้นที่ใหค้ วามร่วมมือในการดาเนินงานของ ศส.ปชต. เปน็ อย่างดี ปัญหาอุปสรรค 1. ภารกจิ ของครู กศน.ตาบล มีหลายหนา้ ที่ ทาใหข้ ับเคล่อื นงานได้ลา่ ช้า 2. งบประมาณ ส่ือ อุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อการดาเนินงานส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย เช่น ไม่มีค่าใช้จ่ายในการติดต่อประสานงาน เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ามันรถ เป็นต้น ทาให้ครู กศน.ตาบลต้อง รบั ผดิ ชอบค่าใช้จ่ายในการประสานงานกับคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยเพ่ือเข้าร่วมประชุม ในแตล่ ะครงั้ 3. การประสานงานระหวา่ ง ครู กศน.ตาบลกับเจ้าหน้าท่ี กกต.จังหวัด บางแห่งยังขาดระบบ การประสานท่ดี ี ขาดการวางแผนการทางานร่วมกัน ข้อเสนอแนะเพ่อื การพัฒนา ข้อเสนอแนะสาหรับสถานศกึ ษา 1. ควรมีการวางแผนการทางานของครใู นบทบาทหนา้ ท่ขี อง ศส.ปชต. 2. ควรระดมความรว่ มมือจากเครือขา่ ยทกุ ภาคส่วนในการสนับสนุนการทางานของ ศส.ปชต. 3. ผู้บริหารสถานศึกษา ควรนิเทศ ติดตามกากับ ดูแล สร้างขวัญกาลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน และการดาเนินงานของ ศส.ปชต. อยา่ งต่อเน่ือง ขอ้ เสนอแนะสาหรบั สานกั งาน กศน.จงั หวัด 1. ควรมีการจัดทาแผนปฏิบัติงานประจาปี (แผนการจัดกิจกรรม แผนนิเทศแผนรายงาน) ร่วมกับสานักงาน กกต. ประจาจังหวัด เพ่ือให้สถานศึกษามีข้อมูลนาไปใช้พัฒนาปรับปรุงจัดทาแผนและ สามารถทางานรว่ มกบั สานกั งาน กกต. ประจาจงั หวดั ได้อย่างมคี ณุ ภาพ 2. ควรนิเทศ ติดตาม และให้ขวัญกาลังใจผู้ปฏิบัติงานอย่างต่อเน่ือง และมีการยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้ปฏบิ ัติทีเ่ ปน็ ต้นแบบหรือแบบอย่างท่ดี ี

50 ขอ้ เสนอแนะสาหรบั สานักงาน กศน. 1. ควรประสานงานกับสานักงาน กกต. สนับสนุนงบประมาณตามความเหมาะสมในการ ดาเนินงานให้กับครู กศน.ตาบล 2. ควรถอดบทเรียนการดาเนินงานของ ศส.ปชต. ร่วมกับสานักงาน กกต. เพื่อนาผลสู่ การพฒั นาให้ดยี ิ่งขนึ้ 3. ควรดาเนินการยกย่องเชดิ ชูเกยี รติผปู้ ฏบิ ตั ทิ ่เี ป็นต้นแบบหรือแบบอย่างทดี่ ี 7. โครงการภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ สานกั งาน กศน. มีเป้าหมายทีจ่ ะส่งเสรมิ การใชภ้ าษาองั กฤษแก่ประชาชนเพ่ือรองรับนโยบาย ประเทศไทย ๔.๐ เพ่ือใหป้ ระเทศไทยพฒั นาไดท้ ันต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก โดยส่งเสริมให้ครู กศน. สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการส่ือสารได้สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนและประชาชน เพื่อให้กลุ่ มเป้าหมายท่ีผ่ านการอบรมมีคว ามรู้และทักษะในก ารส่ือส ารภ าษาอังกฤษแล ะส ามารถนาไ ป ประยุกต์ใชใ้ นการดาเนินชีวิตและนาไปใช้ในการประกอบอาชีพได้จริง สภาพท่ีพบ จากการนิเทศในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 (ตุลาคม 2560 – มีนาคม 2561) พบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่มีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสารด้านอาชีพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ อาทิ ผู้ประกอบอาชีพค้าขาย เกษตรกร ผู้สูงอายุ อสม. เจ้าหน้าท่ีอุทยานแห่งชาติ ตารวจที่บริการนักท่องเท่ียว กลุ่มอาชีพบริการต่าง ๆ ได้แก่ พนักงานห้างร้าน พนักงานโรงแรม และเจ้าหน้าที่อุทยาน โดยในแต่ละจังหวัดใช้หลักวงจรคุณภาพ (PDCA) และการทางานเชิงระบบ ในการดาเนินงานตามโครงการ สาหรับจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเท่ียว เช่น จังหวัดภูเก็ต กระบ่ี ตรัง เชียงราย เชียงใหม่ ฯลฯ ได้จัดหลักสูตรภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสารให้แก่พนักงานในห้างสรรพสินค้า พนักงานโรงแรม และ สถานประกอบการตา่ ง ๆ ส่วนจงั หวดั ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคอีสาน และภาคเหนือ จัดหลักสูตรตาม บริบทของแต่ละสภาพพ้ืนที่ เช่น ภาษาอังกฤษสาหรับอาชีพเกษตร มัคคุเทศก์ การท่องเท่ียว นวดแผนไทย พนกั งานขับรถ เรอื มอเตอรไ์ ซด์รบั จ้าง และพนักงานบรกิ ารดา้ นตา่ ง ๆ ท้งั นี้ สรุปภาพโดยรวมได้ดังนี้ 1. ด้านหลักสูตร แต่ละสถานศึกษาได้มีการพัฒนาหลักสูตรและปรับปรุงเน้ือหาตามความ เหมาะสมของบริบทและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นภาษาอังกฤษพื้นฐานง่าย ๆ ท่ีจาเป็นต้องใช้ ในการสอื่ สาร เชน่ การทักทาย การแนะนาตนเอง การบอกทิศทาง การต่อรองราคาสินค้า การแนะนาสถานท่ี ทอ่ งเทีย่ ว รวมถงึ การบรู ณาการด้านประเพณวี ัฒนธรรมของเจ้าของภาษาอีกด้วย 2. ดา้ นวิทยากร ส่วนใหญส่ ถานศึกษาดาเนนิ การจดั หาวิทยากรผสู้ อนเป็น 4 ลักษณะ คือ 1) สอนโดยครูเจา้ ของภาษา 2) สอนโดยครูไทย หรอื ครู กศน.ท่ีผา่ นการอบรมภาษาอังกฤษ Boot Camp 3) สอนโดยครูเจ้าของภาษาท่ีเปน็ วิทยากรหลกั และครูไทย หรอื ครู กศน.เปน็ วิทยากรเสริม 4) สอนโดยครคู นไทยทเ่ี ป็นวทิ ยากรหลักและมีครเู จ้าของภาษาเปน็ วิทยากรเสรมิ 3. ด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน เน้นการฝึกปฏิบัติมากกว่าการบรรยายและเน้นการ มสี ว่ นรว่ มโดยฝึกปฏบิ ัติงา่ ย ๆ ทง้ั แบบกลุ่มและแบบจับคู่ ดังน้ี

51 1) การเขียน เช่น ฝึกเขยี นเกยี่ วกบั การแนะนาตัวเองหรือขน้ั ตอนการทาอาหาร เป็นตน้ 2) การพูด เช่น การกล่าวทักทาย การแนะนาตัวเอง การบอกเวลา การพูดแนะนาสินค้า และการพูดต่อรองราคาสนิ คา้ เปน็ ตน้ 3) การฟัง เชน่ ฟงั เพลงสากล ฟังการบอกเลา่ เรือ่ งสั้น ๆ เป็นต้น 4) การอ่าน เชน่ การอ่านปา้ ยต่าง ๆ การอ่านป้ายราคาสินค้า และการอา่ นฉลากยา เป็นตน้ 4. ด้านสื่อการสอน มีการใช้ใบงาน ใบความรู้ สื่อเทคโนโลยี แอปพลิเคช่ันที่หลากหลาย รวมตลอดถึงการใชค้ ลิปวดิ ีโอ การใช้ YouTube และสอื่ ชว่ ยสอนต่าง ๆ ท่มี ีความทนั สมัยและนา่ สนใจ 5. ด้านการวัดผลประเมินผล มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน การประเมินผลจากสภาพจริง ด้วยการสนทนาโต้ตอบ ซ่ึงสถานศึกษาพิจารณาจากผลการประเมินนี้ อนุมัติการจบหลักสูตร พร้อมท้ัง มอบวฒุ บิ ัตรให้แก่ผู้จบหลักสูตรทุกหลักสูตรและจากการนิเทศ ติดตามผลด้วยการสอบถาม สัมภาษณ์ สังเกต พบวา่ ผู้เรียนทีผ่ า่ นการอบรมตามหลกั สูตรสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพอ่ื การส่ือสารและใช้ในการประกอบอาชีพ ในระดับพ้ืนฐานได้ เช่น การทักทาย การแนะนาตัวเอง การบอกเวลา การแนะนาทิศทางสถานท่ีท่องเที่ยว การบอกราคา การอธบิ ายข้ันตอนทาอาหาร เปน็ ตน้ ปจั จัยทีส่ ง่ ผลตอ่ ความสาเรจ็ จังหวัดที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว มีนักท่องเท่ียวชาวต่างชาติเข้ามาอย่างสม่าเสมอ เช่น จังหวัด ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี และจังหวัดตรัง รวมทั้งจังหวัดชายแดนที่มีการติดต่อค้าขายและการท่องเท่ียว เช่น อาเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส อาเภอเบตง จังหวัดยะลา อาเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นต้น ต้องใช้ ภาษาอังกฤษในการส่ือสารกับชาวต่างชาติ ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีและมีการฝึกทักษะประสบการณ์ในสภาพจริง ซงึ่ ผู้เรยี นมโี อกาสทจี่ ะนาความรู้ที่ได้รับไปใช้อย่างต่อเนอ่ื งและเกิดทักษะได้งา่ ย ปัญหาอปุ สรรค ดา้ นวิทยากร 1. วิทยากรท่ีเป็นเจ้าของภาษาไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ทาให้ผู้เรียนไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ อย่างชัดเจนแตจ่ ะได้รับในสว่ นของสาเนียงจากเจา้ ของภาษาเท่าน้นั 2. วิทยากรบางคนขาดเทคนิคในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการสนทนาโต้ตอบและมักเน้น เฉพาะดา้ นโครงสรา้ งภาษา ทาใหผ้ ูเ้ รียนมีความรูส้ ึกวา่ ยาก เครยี ด และไม่อยากเรยี นวิชาภาษาองั กฤษ ดา้ นผ้เู รียน 1. ผู้เรียนบางคนไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าฝึก ไม่กล้าลอง ไม่กล้าพูด และบางคนมีทัศนคติ ที่ไมด่ ตี ่อภาษาองั กฤษ ทาให้การเรยี นเป็นไปไดช้ ้าและไม่ย่งั ยืน 2. ผู้เรียนมีความร้พู น้ื ฐานทแี่ ตกตา่ งกัน 3. ผูเ้ รียนทอี่ ยู่ในชนบทไม่ค่อยมีความสนใจทีจ่ ะเรยี นภาษาองั กฤษ เนือ่ งจากเห็นว่าไม่มีความ จาเป็นต้องเรยี นร้ภู าษาอังกฤษ ด้านหลักสูตร 1. ในบางพืน้ ที่หลกั สตู รไม่คอ่ ยมีความเหมาะสมกับสภาพผ้เู รยี น 2. การเรียนขาดความต่อเนื่อง เช่น เมื่อเรียนจบในแต่ละหลักสูตรผู้เรียนที่ไม่ได้นาความรู้ ไปใชใ้ นการประกอบอาชพี ก็หยุดเรยี น ทาใหข้ าดทกั ษะในการสือ่ สารและลืมในที่สุด เปน็ ต้น ดา้ นการติดตามผล การติดตามผลหลังจบหลักสูตรไม่ต่อเน่ือง ซึ่งส่งผลต่อการปรับปรุงพัฒนาโครงการในเร่ือง หลักสตู รการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการบรหิ ารจัดการ

52 ขอ้ เสนอแนะเพอ่ื การพัฒนา ข้อเสนอแนะสาหรบั สถานศกึ ษา 1. ควรจัดหาวิทยากรที่มีเทคนิคและประสบการณ์ในการถ่ายทอดความรู้ทาให้ผู้เรียนเข้าใจง่าย และสนกุ กับการเรียน 2. ควรจัดกิจกรรมท่ีสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนเห็นความสาคัญ มีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ ภาษาอังกฤษ และกลา้ ที่จะสอ่ื สารกับชาวต่างชาติ 3. ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เช่น ตั้งกลุ่ม Facebook กลุ่ม Line มีการส่ง ขา่ วสารข้อมูลทเ่ี ป็นประโยชน์ในการใชภ้ าษาต่างประเทศ 4. ควรมกี จิ กรรมส่งเสรมิ ให้ครูและผู้เกี่ยวข้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารในชีวิตประจาวัน มากยงิ่ ขึ้น 5. ควรจดั สภาพห้องเรยี นใหม้ คี วามเหมาะสม เชน่ ไม่ร้อนเกินไป ไมแ่ ออัดเกนิ ไป เป็นตน้ 6. ควรจัดเวลาเรียนให้เหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะอาชีพและเวลาว่างของผู้เรียนและ ควรจดั ระดบั ชัน้ ใหม้ ีความเหมาะสมกับสภาพผู้เรยี นและความรพู้ นื้ ฐานของผู้เรียน 7. ควรจดั ใหผ้ เู้ รยี นมีโอกาสไดฝ้ ึกสนทนากับเจา้ ของภาษาในสถานท่จี ริง 8. ควรกากับให้ครู ให้กาลังใจ และสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้เรียนอย่างสม่าเสมอ ตลอดจน แนะนาให้ฝกึ ฝนเพ่มิ เตมิ อย่างตอ่ เนือ่ ง 9. ควรจดั ใหม้ กี ารฉายภาพยนตร์พากย์ภาษาอังกฤษ (subtitle film) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ภาษาอังกฤษจากการดูภาพยนตร์ 10. ควรติดตามผลผู้เรียนหลังจบหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อนาข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุง พัฒนาหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการบริหารจัดการให้มีความเหมาะสมย่ิงขึ้น โดยเน้น การฟังและการพูดเป็นสาคญั 11. ควรปรับลดจานวนผู้เรียนจากเดิม ๓๐ คน มาเป็น ๒๐ คน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการจัดการเรยี นการสอน ขอ้ เสนอแนะสาหรับสานักงาน กศน.จงั หวัด 1. ควรอบรมผู้บริหาร ครู ศึกษานิเทศก์ และเจ้าหน้าที่ ให้มีทัศนคติท่ีดีต่อการเรียนรู้ และการสื่อสารภาษาอังกฤษตลอดจนภาษาอาเซียน รวมทั้งมีการจัดทัศนศึกษาในประเทศเพื่อนบ้าน เพอ่ื ฝึกฝนทกั ษะการใชภ้ าษา 2. ควรจดั พื้นทใี่ หม้ ีการใช้ภาษาองั กฤษ เช่น จัดงานพบปะสงั สรรค์กบั ชาวต่างชาติ 3. ควรสร้างแรงจงู ใจแก่หน่วยงานและบุคลากรให้มคี วามตระหนักและให้ความสาคัญกับการ ใช้ภาษาองั กฤษ 4. ควรจัดเวทแี ลกเปลย่ี นความเปน็ เลิศในการดาเนนิ งาน 5. ควรจดั ทาหลกั สูตรแกนกลางในแตล่ ะอาชีพตามบริบทของแต่ละพ้ืนที่ภาคต่างๆ ข้อเสนอแนะสาหรบั สานักงาน กศน. 1. ควรสนับสนนุ สอ่ื เทคโนโลยที ีเ่ ปน็ เครอื่ งช่วยสอนภาษา 2. ควรส่งเสริมให้มคี รูภาษาองั กฤษเพ่มิ มากขึน้ ตามนโยบายตวั ช้วี ดั ของสานักงาน กศน. 3. ควรทา MOU กบั ตา่ งประเทศในการแลกเปลี่ยนครูเพือ่ พฒั นาคุณภาพบุคลากร

53 4. ควรสร้างขวญั กาลงั ใจและแรงจงู ใจให้บคุ ลากรด้านการสอนภาษาองั กฤษเพื่อการส่ือสาร 5. ควรมีนโยบายในการพัฒนาครู กศน.ให้มีทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษให้เพิ่มมากขึ้น อย่างตอ่ เน่อื ง Best Practice กศน.อาเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส มีการจัดการเรียนการสอนร่วมกับเทศบาล ด้วยการใช้งบประมาณ การสรรหาวิทยากร และการบริหารจัดการร่วมกัน ส่งผลดีต่อคุณภาพการเรียน การสอนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะได้วิทยากรชาวต่างชาติท่ีอยู่ในพื้นท่ี และมีการเชิญชวนชาวต่างชาติที่เป็น อาสาสมัครจากจังหวัดเชียงใหม่มาร่วมเป็นคณะวิทยากร จานวน ๕ คน โดยไม่รับค่าตอบแทน วิทยากรมีการ ฝึกทักษะและนาไปทดลองสื่อสารในสถานการณ์จริง เช่น การซ้ือสินค้าในตลาด การแนะนานักท่องเที่ยว ท่ีสถานีรถไฟ การติดต่อ พูดคุยกับนักท่องเท่ียวท่ีด่านชายแดน เป็นต้น ทาให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างใกล้ชิด กับวิทยากร วิทยากรมีการแก้ไขข้อผิดพลาด ฝึกการออกเสียง การใช้ภาษาท่ีถูกต้องและใช้ได้จริงในวิถีชีวิต ซง่ึ งา่ ยตอ่ การเรยี นรู้ ทาใหผ้ เู้ รยี นพงึ พอใจเปน็ อยา่ งมาก 8. การจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม (Smart Farmer : เกษตรกรปราดเปร่ือง) โครงการ Smart ONIE เพือ่ สรา้ ง Smart Farmer ในการพัฒนาและเสริมสรา้ งศกั ยภาพคนให้มีคุณภาพ สานักงาน กศน. ได้ส่งเสริมการจัดการ เรียนรู้ด้านเกษตรกรรม (Smart Farmer) โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในการจัดกระบวนการ เรียนรู้ด้านเกษตรกรรมที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของชุมชน รวม ท้ังเพ่ิมมูลค่าสินค้า ทางการเกษตรและสร้างช่องทางการจาหน่ายสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยตระหนักถึงความปลอดภัยต่อ ระบบนิเวศชุมชนและผู้บริโภค สภาพท่พี บ จากการนิเทศ สรุปโดยภาพรวม พบว่า สถานศึกษาได้สารวจข้อมูลเพ่ือส่งเสริม สนับสนุน ใหป้ ระชาชนได้พัฒนาความรู้ด้านการเกษตรและยกระดับเกษตรกรตามความเหมาะสมกับบริบทสภาพปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น/ชุมชนผ่านวิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย และนาข้อมูลท่ีได้มาวิเคราะห์ โดยเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับความต้องการอาชีพ เพ่ือนามาเป็น องค์ประกอบในการตัดสินใจเลือกวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพ่ือส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการเป็น Smart Farmer และเข้าใจในเร่ืองการทาเกษตร ตามความเหมาะสมของพ้ืนท่ี ซึ่งได้ จัดทาแผน/โครงการ/กิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเป็น Smart Farmer และ เห็นช่องทาง หรือพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร ผ่านวิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย สามารถยกระดับ เป็น Smart Farmer ตามมาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กลุ่มเป้าหมายประชาชนตาบลละ 10 – 15 คนขึน้ ไป จานวน 18 ชวั่ โมง (3 วัน) หลักสูตรที่ใช้ในการสอนเป็นหลักสูตรตามที่สานักงาน กศน. กาหนด แต่หลักสูตรดังกล่าว ยังมีความไม่สมบูรณ์ ซ่ึงหลักสูตรท่ีจัดทาส่วนใหญ่ค้นคว้าข้อมูลจากเว็บไซต์ เช่น Google เป็นต้น และ หลักสูตรที่สานักงาน กศน. อนุมัติไว้ โดยบูรณาการจากสภาพปัญหาเนื่องจากส่วนใหญ่เนื้อหามาจากความ ต้องการของชุมชนซ่ึงสอดคล้องกับวิถีชีวิต มีแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และตลาดวัยแรงงาน สาหรับแผนการจัดการเรียนรู้ครู กศน.ตาบลเป็นผู้จัดทาแต่ยังขาดการประชุมช้ีแจงกับ ผู้ท่ีเก่ียวข้อง ด้านวิทยากรมีความรู้ความสามารถตามหลักสูตรที่ดาเนินการ ในการจัดอบรมได้ให้ความรู้

54 เบ้ืองต้นแก่ผู้เข้ารับการอบรม ครบทั้ง 6 หัวข้อ ได้แก่ 1) ความรู้ในเรื่องที่ทาอยู่ในพ้ืนที่ของกลุ่มเป้าหมาย 2) การเข้าถึงข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ 3) การบริหารจัดการผลผลิตและการตลาด 4) ความตระหนัก ถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค 5) ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม/สังคม และ 6) ความภูมิใจ ในความเปน็ เกษตรกร มบี างจังหวัดได้เพ่ิมเติมกรอบเน้ือหาความรู้ เช่น สานักงาน กศน.จังหวัดภูเก็ต เพ่ิมเติม ในเร่ือง 1) การเขา้ ถึงข้อมูลทางระบบเทคโนโลยีสารสารสารเทศและการส่ือสาร 2) การมีส่วนร่วมในกิจกรรม ท้องถ่ิน 3) การทาบัญชีครัวเรือน 4) เกษตรกรยุคดิจิทัล (เกษตรกรไทยยุค ๔.๐) และการสืบค้นข้อมูล ทางการเกษตร สานักงาน กศน.จังหวัดระนอง ได้เพ่ิมเติมในเนื้อหาเร่ืองที่ 2 ท่ีเน้นการเรียนรู้ การส่ือสาร การเข้าถึงแหล่งข้อมูลผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารผ่าน Internet, Mobile Phone, Smart Phone เพ่ือสืบค้นข้อมูลทางการเกษตร และสานักงาน กศน. จังหวัดพัทลุง เพ่ิมเติมเน้ือหา 2 เรื่อง คือ 1) การเพ่ิมมูลค่าสินค้าทางการเกษตร 2) การสร้างช่องทางการจาหน่ายสินค้า โดยเน้นพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้เครอื ข่ายมสี ่วนรว่ มในการพัฒนาให้เข้มแข็ง การจัดกระบวนการเรียนการสอน ส่วนใหญ่สถานศึกษาดาเนินการจัดอบรมในภาพรวมของ กศน.อาเภอ มีการคดั เลือกวิทยากรทีม่ ีความรู้ ความชานาญและประสบการณ์เฉพาะด้าน และมีความสามารถ ในการถ่ายทอดความรู้ท้ังภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติ โดยการประสานงานกับสานักงานเกษตรอาเภอ/จังหวัด/ มหาวิทยาลัย ซึ่งมีบุคลากรท่ีมีองค์ความรู้ตามเนื้อหาดังกล่าวมาเป็นวิทยากร เช่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏในพ้ืนที่ สานักงานพัฒนาชุมชนอาเภอ สานักงานพาณิชย์จังหวัด ธนาคารเพ่ือการเกษตร และสหกรณ์ สานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สานักงานปฏิรูปท่ีดินอาเภอ วิทยาลัย เกษตรและเทคโนโลยีในพื้นท่ี ปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่ท่ีมีความรู้ความสามารถตามเนื้อหาหลักสูตร และ ครู กศน.ตาบล ทาให้วทิ ยากรมีเทคนคิ การถา่ ยทอดที่เหมาะสม ตรงกับแผนการจัดการเรยี นรู้ท่ีกาหนด สาหรับ รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เน้นฝึกทักษะการปฏิบัติจริงและการศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียง โดยสานักงาน กศน.จังหวัดตราด สานักงาน กศน.จังหวัดจันทบุรี บูรณาการการเรียนรู้ โดยนาหลักการ STEM Education ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย เช่น การทดลองเปิด – ปิดน้าในสวน การสูบน้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อหาความสมดุลที่เหมาะสมที่สุดในการทาสวนผลไม้ รวมถึงความรู้ เกีย่ วกับการจัดการดา้ นการตลาดผา่ นโซเชียลมีเดยี การวัดและประเมินผล 1) สถานศกึ ษาส่วนใหญใ่ ช้แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรม 2) การสังเกตและติดตามถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้เข้ารับการอบรมที่จบหลักสูตรแล้ว สามารถนาความรู้ ไปประกอบอาชีพ มีงานทา มีรายได้ มีการรวมกลุ่มในชุมชนตามเป้าหมาย “ชุมชนพ่ึงตนเอง ทาได้ ขายเป็น” ใช้เทคโนโลยีเป็นช่องทางการเผยแพร่ จาหนา่ ยผลิตภัณฑท์ างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอ่ืน ๆ เช่น Internet, Mobile Phone, Smart Phone เป็นต้น 3) มีการจัดทาฐานข้อมูลหลักสูตร ภูมิปัญญาและ วิทยากรทุกอาเภอ 4) วัสดุ อุปกรณ์ มีความเพียงพอและสถานที่มีความเหมาะสม และเมื่อสิ้นสุด การดาเนินงานจัดการเรียนรู้ ผู้รับผิดชอบ มีการจัดทารายงานผลการจัดการศึกษาเม่ือส้ินสุดการจัดการศึกษา ตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ปจั จัยทสี่ ง่ ผลต่อความสาเร็จ 1. ผู้บริหารสถานศึกษามีความเข้าใจในนโยบายการดาเนินงานของ Smart Farmer 2. เรอื่ ง Smart Farmer เป็นเรื่องทเี่ กษตรกรมแี รงจงู ใจท่ีจะพัฒนาอาชพี เกษตรกรรม 3. เกษตรกรต้องการเข้าถงึ แหล่งข้อมูลเพ่ือประกอบการตัดสินใจในการทาฟาร์ม 4. การวางแผน การบริหารจดั การผลผลิต และการตลาดมีประสทิ ธิภาพมากขึ้น 5. เกษตรกรมคี วามตระหนกั ถงึ คุณภาพของสินค้าและความปลอดภยั ของผูบ้ รโิ ภค

55 6. ความรับผดิ ชอบตอ่ สิง่ แวดลอ้ ม/สังคม 7. ความร่วมมือและความรู้ความเข้าใจในการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ การเชื่อม่ัน ศรัทธาและ มีความภมู ใิ จในความเป็นเกษตรกร 8. ผ้ทู าหน้าทน่ี ิเทศและเจ้าหน้าที่ของสานักงานเกษตรจังหวัด ร่วมกันช้ีแจง แนะนาการออกแบบ กจิ กรรมการเรียนรู้ในแต่ละหวั ข้อ การบรรยายให้ความรู้ การใช้กระบวนการกลุ่ม การถาม – ตอบ การปฏบิ ตั ิจรงิ 9. เป็นเรอ่ื งท่ีเกษตรกรใหค้ วามสนใจ สามารถนาความรูไ้ ปใช้ในชวี ิตประจาวนั ไดจ้ รงิ 10. การนิเทศ กากับ ติดตามอย่างตอ่ เนอื่ ง 11. สานักงาน กศน. มีแนวทางการดาเนินงาน ทาให้สานักงาน กศน.จังหวัด และ สถานศึกษามีการวางแผนประสานงานกับเกษตรจังหวดั และเครือขา่ ยร่วมกนั 12. ผู้บริหารและครู กศน.ตาบล มีความรู้ ความเข้าใจในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม การเรียนรู้และปฏิบัติจริงจากเกษตรกรที่ประสบผลสาเร็จจากการใช้ เทคนิคการถามตอบ การศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ประสบผลสาเร็จใกล้บ้านในพื้นท่ี จังหวดั 13. ศึกษานิเทศก์ได้ช้ีแจง แนะนาการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในแผนการจัดกิจกรรม โดยเชิญเกษตรจังหวัดมาให้ความรู้ สรา้ งความเข้าใจตรงกนั และออกแบบการจดั การเรียนรรู้ ่วมกนั 14. มีงบประมาณสนับสนุนอย่างเพียงพอและมีการเบิกจ่ายเป็นไปตามระเบียบท่ีถูกต้อง ซง่ึ ดาเนินการไปแล้ว 15. มีแหล่งศึกษาดงู าน/แหลง่ เรียนรู้ เชน่ - ศูนย์ศกึ ษาการเรียนรู้ แนวเกษตรธรรมชาติ สวนเพชรรีเวอร์วิว รีสอร์ท ตาบลท่าไม้รวก อาเภอทา่ ยาง จงั หวดั เพชรบุรี - โครงการชัง่ หัวมัน ตาบลเขากระปุก อาเภอท่ายาง จงั หวดั เพชรบรุ ี - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเน่ืองมาจากพระราชดาริและอุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติ สริ ินธร อาเภอชะอา จังหวดั เพชรบุรี - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเน่ืองมาจากพระราชดาริ อาเภอดอยสะเก็ด จงั หวัดเชยี งใหม่ - มูลนธิ ิโครงการหลวงดอยตงุ อาเภอแมฟ่ ้าหลวง จังหวัดเชยี งราย - ศูนยพ์ ัฒนาโครงการหลวงมอ่ นเงาะ ตาบลเมอื งก๋าย อาเภอแมแ่ ตง จังหวัดเชียงใหม่ 16. การทางานร่วมกับภาคีเครือข่ายท่ีมีการประสานงานในการจัดทาหลักสูตร ส่ือ และ ร่วมเปน็ วิทยากรในการอบรม 17. หลกั สตู รมีความทนั สมยั และกลุม่ เป้าหมายสามารถนาไปใชใ้ นการประกอบอาชพี ไดจ้ รงิ 18. เป็นความตอ้ งการของกลุม่ เปา้ หมายและสอดคล้องกบั วถิ ชี วี ติ บริบทของชมุ ชน 19. วิทยากรส่วนใหญ่มีความรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับช่วงวัยและความรู้ พ้ืนฐานของแตล่ ะคน 20. กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีพ้ืนความรู้ในอาชีพเดิมอยู่แล้ว จึงเป็นการเติมเต็มความรู้ ในเร่อื งวชิ าการและการใชเ้ ทคโนโลยใี หม่ ๆ 21. กลมุ่ เปา้ หมายใหค้ วามร่วมมอื เปน็ อย่างดีในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่เสริมเติมเตม็ ให้สมบูรณ์

56 22. ผู้บริหารสานักงาน กศน.จังหวัด คณะกรรมการนิเทศ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกนั ออกแบบการดาเนนิ งานตามโครงการฯ 23. ประชุมช้ีแจงแนวทางการดาเนินงาน ให้ผู้บริหาร สถานศึกษา ร่วมกันพิจารณา และ ให้ขอ้ เสนอแนะการดาเนนิ งาน 24. สถานศึกษา พจิ ารณาคัดเลอื กตาบลนาร่อง อาเภอละ 1 แห่ง และดาเนินการตามกรอบ แนวทางทร่ี ว่ มกันพจิ ารณา 25. สถานศึกษา ครู กศน. และผเู้ กี่ยวข้อง ร่วมกนั ถอดบทเรียนการดาเนินงานรนุ่ ท่ี 1 26. การนาผลการดาเนินงานรุ่นที่ 1 ไปวางแผนพัฒนาการดาเนินงานในพ้ืนท่ีตาบลท่ีเหลือ ในร่นุ ที่ 2 และรนุ่ ที่ 3 27. มกี ารตดิ ตามผล สรุปรายงานตามที่สานักงาน กศน.กาหนด ปัญหาอปุ สรรค 1. กลุ่มเป้าหมายในการอบรมมีจานวนมาก เพราะจัดในภาพรวมอาเภอ ทาให้การ ปฏิสมั พันธร์ ะหว่างวทิ ยากรกบั เกษตรกรมนี อ้ ย เน่ืองจากต้องเร่งดาเนินการจดั อบรมใหเ้ สรจ็ ทันตามกาหนด 2. บางสถานศึกษาขาดระบบการติดตามความก้าวหน้า การนาไปใช้ของผู้เรียน และการนาผล ไปใชใ้ นการปรบั ปรุง พัฒนาอยา่ งตอ่ เนือ่ ง 3. เกษตรกรมีเวลามารว่ มกิจกรรมได้ไม่มาก 4. ผู้เข้ารับการอบรมบางคนติดภารกจิ ทาใหเ้ ขา้ ร่วมโครงการไม่ครบตลอดหลักสตู ร 5. สัญญาณอินเทอรเ์ นต็ ไมเ่ สถยี ร 6. พนื้ ฐานความร้ดู ้านเทคโนโลยีของกลมุ่ เปา้ หมายแตกตา่ งกนั 7. พน้ื ท่ที ่เี ป็นชุมชนเมือง เขตเทศบาล และเขตอตุ สาหกรรมจะไมม่ ีกลุ่มเปา้ หมาย 8. การทางานซา้ ซอ้ นกบั สานกั งานเกษตร 9. ผู้ทเ่ี ก่ยี วขอ้ งบางสว่ นยงั ไม่เข้าใจหลักการ วตั ถุประสงค์ และกระบวนการดาเนินงาน 10. พื้นฐานความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีของกลุม่ เป้าหมายแตกตา่ งกนั 11. ผู้เข้ารับการอบรมบางคนมีเครื่องมือส่ือสาร (โทรศัพท์มือถือ) ไม่ทันสมัย ไม่สามารถ เช่อื มต่อสัญญาณอนิ เทอร์เน็ตได้ 12. เน้ือหาบางหัวข้อใน 6 หัวข้อตามกรอบเน้ือหาท่ีสานักงาน กศน.กาหนด ค่อนข้างยาก จาเป็นตอ้ งตดิ ตามและให้ความร้อู ยา่ งต่อเน่ือง เพราะกลมุ่ เปา้ หมายบางคนยังไมม่ พี ้นื ฐานในบางเรอื่ ง 13. สถานศึกษาส่วนใหญ่ขาดการประเมินหลักสูตร เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การสร้างเคร่ืองมือประเมินหลักสูตร ทาให้ไม่สามารถนาปัญหาและอุปสรรคท่ีพบมาปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ได้อย่างเหมาะสม 14. หลักสูตรการอบรมแต่ละสถานศึกษามีความแตกต่างกัน เน่ืองจากไม่มีหลักสูตร คู่มือ แนวทางการดาเนนิ งานทชี่ ัดเจนใหเ้ ป็นไปในแนวทางเดยี วกนั 15. ตาบลนารอ่ งบางแห่งไม่สามารถดาเนินกิจกรรมตามแผน /แนวทาง ท่ีกาหนด เนื่องจาก มีภารกจิ ท่กี าหนดแผนไวก้ ่อน จงึ ตอ้ งเลือ่ นเวลาออกไป ข้อเสนอแนะสาหรบั การพฒั นา ขอ้ เสนอแนะสาหรับสถานศกึ ษา 1. ควรกาหนดโครงการและกิจกรรมในการพัฒนาเกษตรกรให้เป็น Smart Farmer ท่ีมี คณุ สมบตั ิตามท่กี าหนด เพ่อื พัฒนาและสง่ เสริมเกษตรกรรายนัน้ ๆ ใหต้ รงตามความต้องการ

57 2. ควรประสานงานกับผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในพ้ืนที่และองค์ความรู้ทางด้านการเกษตร สาขาต่าง ๆ เพ่ือให้คาปรึกษากับเกษตรกรในพ้ืนท่ี รวมทั้งการเรียนรู้และถ่ายทอดบทเรียนซ่ึงกันและกัน ระหว่าง Smart Farmer ต้นแบบกับเกษตรกรรายอ่ืน ๆ ซึ่งจะนาไปสู่การพัฒนาเกษตรกรพ้ืนท่ีและผลิตภัณฑ์ ไดอ้ ย่างเหมาะสม 3. ควรมีการติดตามความก้าวหน้าการดาเนินงานโครงการ Smart ONIE เพื่อสร้าง Smart Farmer ในพ้ืนที่ให้มีประสิทธภิ าพ รวมท้งั รายงานผลการดาเนนิ งานดังกล่าวในพน้ื ท่ีท่ีรับผิดชอบให้ต้นสงั กดั ทราบต่อไป 4. สถานศึกษาควรใช้ระบบนเิ ทศภายใน ในการชว่ ยเหลอื หรือให้คาแนะนาในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ของครู กศน.ตาบล 5. ควรนาเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ท่ีประสบความสาเร็จมาเสริมสร้างในการจัดกิจกรรม การเรยี นรูเ้ พือ่ สร้างความสนใจใหแ้ ก่กลุ่มเปา้ หมาย 6. ครู กศน.ตาบล ควรมีการสารวจข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทีแ่ ทจ้ ริง 7. ควรปรบั ปรงุ ระบบสัญญาณอนิ เทอร์เน็ต 8. ควรติดตามผลการนาความรูไ้ ปใช้ของผ้เู ขา้ รบั การอบรม 9. ควรจัดกจิ กรรมใหเ้ หมาะสมกบั บรบิ ทของพนื้ ที่ 10. ควรเตรยี มกลุ่มเปา้ หมายทีม่ ีความสนใจต่อการใช้ไอซีที 11. ควรเน้นย้าให้ครูติดตามผลกลุ่มเป้าหมายและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีอย่างต่อเน่ือง และนาผลท่ไี ดน้ าเสนอต่อผบู้ รหิ ารในการจดั โครงการต่อไป 12. ควรส่งเสริมให้คณะกรรมการนิเทศภายในของสถานศึกษา นิเทศติดตามการดาเนินงาน ผู้ผ่านการอบรมรุน่ ท่ี 1 เก่ยี วกับกบั นาความรู้ไปใชแ้ ละการพฒั นาตอ่ ยอดอาชีพที่ดาเนินการอยู่ ข้อเสนอแนะสาหรบั สานักงาน กศน.จงั หวดั 1. ควรสนับสนนุ ให้ศึกษานิเทศก์ ให้ความความช่วยเหลือหรือให้คาแนะนาในการจัดกิจกรรม การเรยี นรขู้ องครู กศน.ตาบล 2. ควรจัดประชุมชี้แจงเพื่อทราบแนวทางการดาเนินงานและเทคนิคการออกแบบ กระบวนการเรียนรู้ 3. ควรพัฒนาส่ือให้กลุ่มเป้าหมาย สามารถศึกษาเรียนรู้และฝึกทักษะการส่ือสารได้ด้วย ตนเอง 4. ควรส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในด้านการประเมินและการจัดทาเครื่องมือการประเมิน หลักสตู ร โดยดาเนินการร่วมกับสถานศึกษา ขอ้ เสนอแนะสาหรบั สานกั งาน กศน. 1. ควรมอบหมายให้กลุ่มจงั หวัดเปน็ ท่ปี รกึ ษา ใหค้ าแนะนาและนเิ ทศอยา่ งต่อเนื่อง 2. ควรกาหนดและจัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษาดาเนินการวิจัยทดลองเพื่อสร้างตัวอย่าง ของการบริหารจัดการงานอาชีพเกษตรกรรมตามธรรมชาติการจัดการศึกษา กศน. และหลักการ Smart Farmer 3. ควรจัดทาคู่มือและแนวการการดาเนินงานให้ชัดเจน สถานศึกษาจะได้ดาเนินการเป็น แนวทางเดยี วกนั

58 ภาพกิจกรรมการดาเนินงานโครงการ วนั ท่ี 20 - 22 มีนาคม 2561 ศกึ ษาดงู าน ณ บา้ นไร่ปา่ คา ตาบลท่าตุ้ม อาเภอปา่ ซาง จังหวัดลาพูน วนั ที่ 22 มีนาคม 2561 ศกึ ษาดูงาน ณ บา้ นปา่ ปว๋ ย ตาบลบ้านโฮง่ อาเภอบ้านโฮง่ จงั หวัดลาพนู วนั ท่ี 19 - 21 กุมภาพนั ธ์ 2561 ศึกษาดงู าน ณ ศูนย์เรียนรสู้ วนสามแสน ตาบลล้ี อาเภอล้ี จังหวัดลาพูน

59 วันท่ี 21 กมุ ภาพันธ์ 2561 ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงมอ่ นเงาะ ตาบลเมอื งก๋าย อาเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 9. กศน.ตาบล 4G สานกั งาน กศน.กาหนดนโยบายและจุดเน้นการดาเนินงานประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 นโยบายเร่งด่วนเพื่อร่วมขับเคล่ือนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์ท่ี 4 ด้านการสร้างโอกาสและ ความเสมอภาคทางการศึกษา ข้อที่ 4.5 พลิกโฉม กศน.ตาบล สู่ “กศน.ตาบล 4G” โดยมีแนวทางการดาเนินงาน ตามนโนยายและจดุ เน้น ดงั น้ี 1. พัฒนาครูและบุคลากรท่ีเก่ียวข้องกับการจัดกิจกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ : Good Teacher ให้เป็นตัวกลางในการเช่ือมโยงความรู้กับผู้รับบริการ มีความเป็น “ครูมืออาชีพ” มีจิตบริการ มีความรอบรู้และทันต่อการเปล่ียนแปลงของสังคม เป็นผู้จัดการความรู้ท่ีดี รวมท้ังเป็นผู้ปฏิบัติงานอย่างมี ความสุข 2. พฒั นา กศน.ตาบล ให้มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้อย่างต่อเน่ือง : Good Place Best Check-In มีความพร้อมในการให้บริการการศึกษาและการเรียนรู้ มีส่ิงอานวยความสะดวก เป็นแหล่งข้อมลู สาธารณะทงี่ า่ ยต่อการเขา้ ถึง และสะดวกต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างสร้างสรรค์ ดึงดูดความสนใจ และมคี วามปลอดภยั สาหรบั ผู้รับบริการ 3. ส่งเสริมการเรียนรู้ใน กศน.ตาบล : Good Activities ให้มีความหลากหลาย น่าสนใจ ตอบสนองความต้องการของชุมชน เพ่ือพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของประชาชน รวมท้ังเปิดโอกาสให้ชุมชน เขา้ มาจัดกิจกรรมเพอื่ เชือ่ มโยงความสัมพนั ธข์ องคนในชมุ ชน 4. เสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการมสี ว่ นร่วมของชุมชน : Good Partnerships เพ่ือสร้างความรู้ ความเขา้ ใจ และความรว่ มมือในการส่งเสรมิ สนับสนุน และจัดการศกึ ษาและการเรยี นรู้ให้กับประชาชนอยา่ งมีคณุ ภาพ จากการนิเทศ ติดตามผลการดาเนินงาน กศน.ตาบล 4G โดยความร่วมมือกับสถานศึกษา สานักงาน กศน.จังหวัด สถาบัน กศน.ภาค และหน่วยศึกษานิเทศก์ สานักงาน กศน. มีข้อนิเทศสรุป ในภาพรวม ดังน้ี สภาพท่ีพบ สภาพการดาเนินงานเพ่ือพลิกโฉม กศน. ตาบล สู่การเป็น “กศน.ตาบล 4G” จาแนกตาม จุดเนน้ การพฒั นา ดงั นี้

60 1. ครูมืออาชีพ (Good Teacher) ครู กศน. ตาบล ได้รับการพัฒนาทักษะที่จาเป็นในศตวรรษท่ี 21 ท้ังจากหน่วยงาน ต้นสังกัดและหน่วยงานภาคีเครือข่ายในหลักสูตร/เรื่องต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น การประเมิน และพัฒนาหลักสูตร การจัดทาส่ือการส่งเสริมการรู้หนังสือ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ การสร้าง ข้อสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน STEM Education การใช้ Digital Literacy และ E-Commerce การใช้ สื่อการสอนและการใช้เทคโนโลยีในการช่วยสอนและการประชาสัมพันธ์ (Google Classroom และ Class start) การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่ือสาร (Mini English Camp/Boot Camp) มารยาทไทยและมารยาท ทางสังคม การเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย และบุญคุณของพระมหากษัตริย์ไทย การขับเคลื่อน เศรษฐกิจพอเพียงระดับพื้นที่ เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต เป็นต้น องค์ความรู้ท่ีได้รับครูส่วนใหญ่สามารถ นาไปประยุกต์ใช้ในการทางานและการเรียนการสอน มีเพียงบางเนื้อหาท่ีไม่สอดคล้องกับธรรมชาติรายวิชา และสภาพการดารงชวี ิตของผ้เู รียน เช่น STEM Education เพราะการอบรมเนน้ เน้ือหาในเชิงวิชาฟิสิกส์เป็นหลัก ครู กศน.ตาบล ส่วนใหญ่มีแผนการพัฒนาตนเองและรายงานผลการพัฒนาตนเอง เปน็ แฟ้มสะสมงาน ครูบางคนใชว้ ิธีการคน้ ควา้ เรียนรดู้ ้วยตนเองจากสอ่ื โซเชียลมีเดยี ครู กศน.ตาบล ส่วนใหญ่บันทึกประวัติผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดทาปฏิทินการพบกลุ่ม รายภาคและมีแผนการจัดการเรยี นร้รู ายสัปดาห์ โดยใช้แผนการเรียนร้แู บบบรู ณาการมาออกแบบกระบวนการ เรียนรู้ ใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย มีการประเมินผลก่อนเรียนและหลังเรียน และการจัด การเรยี นรแู้ บบโครงงาน 2. สถานทด่ี ี (Good Place Best Check-In) สถานท่ี กศน.ตาบล มีท้ังที่เป็นเอกเทศและไม่เป็นเอกเทศ กศน.ตาบลท่ีเป็นเอกเทศ ส่วนใหญ่มีบรรยากาศที่เอ้ือต่อการเรียนรู้ได้ มีการจัดมุมให้ความรู้ต่าง ๆ มีพ้ืนท่ีจัดกิจกรรมอย่างเหมาะสม มีอุปกรณ์ โต๊ะ เก้าอี้ ช้ันวางหนังสือ และคอมพิวเตอร์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเพียงพอ มีส่ือ หนังสือ แบบเรียนพร้อมใหบ้ ริการ มสี ัญญาณอินเทอรเ์ นต็ ท่เี สถียร พน้ื ท่ีโดยรอบมีการจัด ตกแต่งภูมิทัศน์สวยงาม และ มีความพยายามจัดให้เป็นฐานการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มีการเปิดให้บริการ 3– 5 วันต่อสัปดาห์ มีครู กศน.ตาบล และอาสาสมัคร กศน.คอยดูแลอานวยความสะดวก มีการประเมินความพึงพอใจของผู้มาใช้ บรกิ าร ซ่ึงสว่ นใหญเ่ ป็นนกั ศึกษา กศน. ในสว่ นข้อมลู สารสนเทศของ กศน.ตาบลสว่ นใหญ่ยังไมเ่ ปน็ ปจั จุบัน สาหรับ กศน.ตาบลท่ีไม่เป็นเอกเทศต้องอยู่ร่วมกับหน่วยงานอื่น ส่วนใหญ่สถานที่คับแคบ โต๊ะ เกา้ อ้ี และอุปกรณ์ไมเ่ พยี งพอ สื่อแบบเรียนมนี อ้ ยและไม่ทันสมยั ไมม่ พี ืน้ ทีส่ าหรับจดั กจิ กรรม กศน.ตาบล/ศรช. บางแห่งตั้งอยู่ในสถานท่ีที่ไม่เหมาะสม เช่น ห่างไกลชุมชน ใกล้เมรุมาศ อุปกรณ์ โต๊ะ เก้าอ้ี ช้ันวางมีพอควร แต่ค่อนข้างเก่า ชารุด บางแห่งไม่มีคอมพิวเตอร์บริการ มีเพียงคอมพิวเตอร์ โนต้ บุ๊กของครู ซงึ่ ไม่เหมาะสาหรบั จดั กจิ กรรมการเรียนรู้ 3. กจิ กรรมดี (Good Activities) กศน.ตาบล ส่วนใหญ่สามารถนานโยบาย ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดาเนินงาน ของสานักงาน กศน. ไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง มีแผนการปฏิบัติงานที่สอดคล้องและเป็นไปตามความต้องการ ของชมุ ชนและกลมุ่ เป้าหมาย มีการออกแบบกจิ กรรมน่าสนใจ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะที่จาเป็น และประสาน การดาเนินงานกับเครอื ขา่ ยทห่ี ลากหลาย

61 ครูส่วนใหญ่ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติจริง การเรียนรู้ จากแหลง่ เรยี นรู้ และบุคคลที่ประสบความสาเร็จ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดคุยแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น มีกิจกรรมที่ได้ฝึกการอยู่ร่วมกัน การเป็นผู้นา การแสดงความสามารถต่าง ๆ รวมท้ังการทาโครงงาน ท่ีสอดคล้องกับวิถีชวี ิต 4. เครอื ข่ายดี (Good Partnerships) กศน.ตาบลส่วนใหญ่ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายเป็นอย่างดี และหลากหลาย ท้ังภาครัฐ เอกชน สถานประกอบการ กลุ่มบุคคลและบุคคล โดยเฉพาะเครือข่ายระดับพ้ืนที่ มีจานวนภาคี เครอื ขา่ ยเพมิ่ ข้ึนอยา่ งต่อเน่อื ง มกี ารจัดทาฐานขอ้ มลู หรอื ทาเนียบภาคีเครือขา่ ย มกี ารประสานแผนและการจัด กิจกรรมร่วมกัน มีการสนับสนุนทรัพยากรร่วมกันท้ังด้านวิทยากร อาคารสถานที่ งบประมาณ และวัสดุ ครุภัณฑ์ ในส่วนของครู กศน.ตาบลมีบทบาทในการช่วยเหลือการดาเนินงานของภาคีเครือข่ายด้านการ ประสานกลุ่มเป้าหมาย การจัดกิจกรรม และการเป็นวิทยากร กศน.ตาบลบางแห่งมีการจัดประชุม ภาคีเครือข่ายอย่างน้อยปีละ 1 คร้ังและมีกิจกรรมการยกย่องภาคีเครือข่ายดีเด่น อย่างไรก็ตาม กศน.ตาบล ส่วนใหญ่ไม่มีการประเมินความพึงพอใจของภาคีเครือข่าย ไม่มีการนิเทศ ติดตามผลการดาเนินงานร่วมกับ ภาคเี ครอื ขา่ ย กศน. ตาบลส่วนใหญ่มีคณะกรรมการ กศน.ตาบลท่ีเข้มแข็ง มีศักยภาพและความพร้อม ในการส่งเสริม สนับสนุน มีการประชุมคณะกรรมการ กศน.ตาบล 1 – 2 ครั้ง มีการให้ข้อเสนอแนะร่วมติดตาม และสะทอ้ นผลการดาเนินงานเพ่อื การพัฒนา ปัจจัยท่ีส่งผลต่อความสาเรจ็ จากการนิเทศ ติดตามดาเนินงาน กศน.ตาบล 4G พบว่า มี กศน.ตาบลท่ีสามารถดาเนินการ ประสบผลสาเรจ็ มคี วามโดดเดน่ เปน็ ทีป่ ระจกั ษใ์ นดา้ นตา่ ง ๆ ดงั น้ี 1. เขตภาคกลาง กศน.ตาบลไทรใหญ่ อาเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี โดยมีครู กศน. ตาบล ชื่อ นางสาวมาริสา โรบิน ได้ดาเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ เป็นทย่ี อมรบั โดยเฉพาะการ “พลิกโฉม กศน.ตาบลสู่ กศน. ตาบล 4G” ดังนี้ 1) Good Teacher : ครู กศน. ตาบลไทรใหญ่ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเน่ือง ซึ่งเน้นด้านส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อาทิ เทคนิคการจัดการเรียนรู้ สู่ครูในศตวรรษที่ 21 การใช้งาน Google Drive การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน Mini English Camp Digital Literacy และ E – Commerce เป็นต้น นอกจากน้ีครู กศน.ตาบลไทรใหญ่ ยงั ได้รบั รางวลั “ครสู อนด”ี จงั หวัดนนทบุรี และรางวัล “ครูผู้ได้รับทุนครูสอนดี” จากสานักงานส่งเสริมสังคม แห่งการเรยี นร้แู ละคณุ ภาพเยาวชน (สสค.) 2) Good Place Best Check-In : กศน.ตาบลไทรใหญ่ ต้ังอยู่ในบริเวณศูนย์ราชการ องค์การบริหารส่วนตาบลไทรใหญ่ อาเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ได้รับการสนับสนุนจาก อบต.ไทรใหญ่ ในการใหใ้ ชพ้ ้ืนท่ี และอาคารสถานทีเ่ ปน็ เอกเทศ มีสภาพแขง็ แรง สวยงามถึง 3 อาคาร ประกอบด้วย - อาคารหลังที่ 1 เป็นอาคารทาการ กศน.ตาบล จัดแสดงผลงาน รางวัล และ นทิ รรศการ - อาคารหลังที่ 2 เป็นท่ีต้ังของศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ประกอบด้วย ศูนย์การเรียนรู้ ตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง ศูนย์ดจิ ิทัลชมุ ชน ศนู ยฝ์ ึกอาชีพชมุ ชน และมมุ อาเซยี น

62 - อาคารหลังที่ 3 เป็นอาคารเอนกประสงค์ ใช้เป็นสถานท่ีจัดการเรียนการสอนและ การเรยี นรู้ รวมทงั้ การจัดกจิ กรรมของชุมชน 3) Good Activities : กศน.ตาบลไทรใหญ่ มีการจัดกิจกรรม กศน. ท่ีหลากหลายและ ครอบคลมุ สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้น รวมทั้งบริบทของชุมชน มีนักศึกษาที่สาเร็จการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน แล้วได้ไปศกึ ษาต่อในระดบั ทีส่ งู ขึ้น และมีนักศกึ ษาหลายคนทปี่ ระสบความสาเร็จในการประกอบอาชพี 4) Good Partnership : กศน.ตาบลไทรใหญ่ ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากภาคีเครือข่าย อย่างต่อเน่ือง ท้ังในด้านอาคาร สถานท่ี งบประมาณ และบุคลากร รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ตา่ ง ๆ เป็นทีย่ อมรับของชุมชน นักศึกษา กศน. ได้รับการยอมรับและไว้วางใจให้เป็นคณะกรรมการขับเคลื่อน การพฒั นาด้านต่าง ๆ ของตาบล 2. เขตภาคตะวันออก 1) กศน.ตาบลพระเพลิง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอาเภอ เขาฉกรรจ์ สานกั งาน กศน.จังหวัดสระแก้ว ได้ดาเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนมาพบกลุ่มร้อยละ 90 ข้ึนไป จานวน ผู้เข้าสอบปลายภาคเรยี นมากกว่าร้อยละ 80 จานวนผูเ้ ขา้ สอบ N-NET รอ้ ยละ 100 และผู้เรียนที่จบการศึกษาตาม หลักสูตรได้ประสบความสาเร็จในการประกอบอาชีพ เชน่ รับราชการตารวจ รับราชการกรมป่าไม้ เปน็ ต้น 2) กศน.ตาบลป่ายุบใน อาเภอวังจันทร์ สานักงาน กศน.จังหวัดระยอง และ กศน.ตาบล คลองตะเกรา อาเภอท่าตะเกียบ สานักงาน กศน.จังหวัดฉะเชิงเทรา สนองนโยบาย กศน. 4G ได้อย่างเป็น รูปธรรม โดยเฉพาะความโดดเด่นในด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบเทคโนโลยีดิทัลห้องเรียนออนไลน์ แบบ Google Classroom และการใช้ Smart Phone ในการเรียนการสอน ทั้งน้ี สามารถติดตามการดาเนินงาน กศน. 4G ของ กศน.ตาบลป่ายุบใน อาเภอวังจันทร์ จังหวดั ระยอง จากคลปิ วีดโิ อผ่านทางเว็บไซต์ https://goo.gl/YCfHVC หรอื สแกน QR Code ดังแนบ QR code แสดงผลงาน กศน.ตาบล 4G ของ กศน.ตาบลป่ายบุ ใน ปัญหาอุปสรรค 1. ด้านครู กศน.ตาบล : Good Teacher ปัญหาทเ่ี ก่ียวข้องกบั ครู กศน.ตาบล ได้แก่ 1) ขาดการสนบั สนนุ สอ่ื คู่มือ เอกสารท่ีทนั สมัยในการจัดการเรียนการสอน 2) ไม่มีคู่มือแนวทางการดาเนินงานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการดาเนินงาน กศน.ตาบล 4G 3) ส่วนใหญไ่ มไ่ ด้รับการอบรมพัฒนาท้งั กอ่ นและระหว่างการปฏิบัติงานอยา่ งต่อเนื่อง 4) ขาดความรูใ้ นการจดั ทาฐานขอ้ มลู ทเ่ี ปน็ ระบบ 5) ขาดความร้แู ละทกั ษะการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีเหมาะสมกับสภาพปัญหาและ ความต้องการของชมุ ชนอย่างแทจ้ ริง

63 6) ครูบางรายใช้โทรศัพท์ท่ีไม่รองรับแอปพลิเคชั่น ทาให้ไม่สามารถใช้สื่อดิจิทัลในการ จัดการเรียนรู้ได้ 7) มีภาระงานอื่น ๆ มากจนทาใหไ้ ม่มเี วลาเพยี งพอสาหรบั ปฏิบตั งิ าน ณ กศน.ตาบล 8) ส่วนใหญย่ งั ไม่เข้าใจและไมเ่ ห็นความสาคัญในการพัฒนา กศน.ตาบล 4G 9) ครบู างรายไม่ไดจ้ ัดทาแผนพัฒนาตนเอง 2. ด้านสถานท่ี : Good Place Best Check-in ปัญหาดา้ นสถานท่ีของ กศน.ตาบล ไดแ้ ก่ 1) หลายแห่งยังไม่เป็นเอกเทศ และมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงปลอดภัย ทาให้มีปัญหา ในการจัดสภาพแวดลอ้ มทีส่ ่งเสริมการเรยี นรู้ทั้งภายในและภายนอก 2) บางแหง่ ไม่มคี รปู ระจาตาบล 3) บางแห่งยงั ขาดสอื่ อปุ กรณ์ทท่ี ันสมัยในการสง่ เสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทีม่ คี วามพรอ้ มและทนั สมัย เชน่ เคร่อื งรบั สัญญาณดาวเทียม เครอ่ื งคอมพวิ เตอร์ สัญญาณอินเทอรเ์ น็ต เปน็ ตน้ 4) ขาดงบประมาณในการพฒั นา ซ่อมแซมอาคารสถานท่ี ท้งั ภายในและภายนอก 5) สอ่ื หนังสอื วารสาร ค่อนข้างเก่า ไม่หลากหลายและไมท่ ันสมัย 3. ด้านการจดั กิจกรรม : Good Activities ปัญหาด้านการจัดกิจกรรมของ กศน.ตาบล ไดแ้ ก่ 1) บางแห่งจัดกิจกรรมไมค่ รบหรือครอบคลุมทุกกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ กศน.ตาบล ทาให้การดาเนนิ งานเชิงพ้นื ทไ่ี ม่สามารถตอบสนองความต้องการของชมุ ชนและกล่มุ เปา้ หมายไดท้ ั้งหมด 2) บางแหง่ ไม่มแี ผนการตดิ ตามผลการดาเนนิ งานท่ีชัดเจน และอย่างต่อเน่อื ง 3) ส่วนใหญ่ขาดการติดตามผลผู้เรยี น การติดตามผลการนาความรู้ไปใช้หลังจบหลักสูตร 4) ขาดการวิเคราะห์ขอ้ มูล ไม่มกี ารจัดทาแผนการเรียนรู้รายชุมชน ทาให้การนานโยบาย ส่กู ารปฏบิ ัติ การจัดโครงการ/กิจกรรมไมส่ อดคลอ้ งกบั สภาพปญั หา ความต้องของประชาชน 5) กิจกรรมการเรียนรู้ท่ีจัดส่วนใหญ่ มักเป็นรูปแบบเดิม ๆ และจัดในพ้ืนท่ีภายในตาบล ไมไ่ ดจ้ ดั ที่ กศน.ตาบลโดยตรง 6) กิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่หลากหลาย ขาดการฝึกทักษะ การคิดวิเคราะห์ การคดิ แก้ปัญหา ใช้เพยี งใบงาน ใบความรู้ การอภปิ รายกลุม่ การค้นคว้าจากอนิ เทอร์เน็ต 4. ดา้ นเครอื ข่าย : Good Partnerships ปญั หาด้านเครือข่ายของ กศน.ตาบล ได้แก่ 1) ขาดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการนาผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนา กศน.ตาบล และคณะกรรมการ กศน.ตาบล 2) บางแห่งไม่มีข้อมูลหรือไม่ได้จัดทาฐานข้อมูลหรือทะเบียนภาคีเครือข่ายท่ีมีส่วนร่วม การจดั กจิ กรรมอยา่ งเป็นระบบและเปน็ ปจั จุบนั 3) ขาดการสร้างความรู้ ความเข้าใจและข้อตกลงการดาเนินงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย ท่ีชัดเจน

64 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ข้อเสนอแนะต่อสถานศกึ ษา สถานศึกษาควรดาเนนิ การปรับปรงุ แก้ไขเพ่ือการพฒั นา ดังน้ี 1. ดา้ นครู : Good Teacher 1) ชี้แจง สร้างความเขา้ ใจเก่ยี วกับบทบาทภารกจิ ของครู กศน.ตาบลใหช้ ดั เจน 2) สนับสนุนให้มีการจับคู่เพื่อนหรือพ่ีเล้ียง แนะนา ให้คาปรึกษาแก่ครู กศน.ตาบลใหม่ หรอื ครูท่ขี าดทกั ษะ เพอ่ื สามารถเรียนรู้ ฝกึ กระบวนการจดั กิจกรรมที่นา่ สนใจ เหมาะกบั ผเู้ รยี น 3) สนับสนนุ ใหค้ รู กศน.ตาบลเข้ารับการพฒั นาอย่างสมา่ เสมอและต่อเนื่อง 4) ทบทวน ให้ความรู้การจัดทาแผนจุลภาค และใช้ข้อมูลระดับจุลภาคในการดาเนินการ จดั การศกึ ษาใหส้ อดคลอ้ งกับความต้องการของผเู้ รยี นและผู้รบั บรกิ ารอย่างแทจ้ รงิ 5) ฝึกฝนกระบวนการทางานตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยเฉพาะการวางแผน (Plan) การประเมนิ (Check) และนาผลการประเมนิ ไปใช้ (Act) ให้แกค่ รู กศน.ตาบล 6) มีแผนงาน/โครงการในการพฒั นาครู กศน.ตาบลเพื่อพัฒนาทักษะทจี่ าเป็นอย่างต่อเนื่อง 7) ประชุมชี้แจงผู้เก่ียวข้องในการจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) และขับเคลื่อน แลกเปลี่ยนเรยี นรอู้ ยา่ งสมา่ เสมอ 2. ด้านสถานท่ี : Good Place Best Check-In 1) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือเป็นเครื่องมือในการ บริหารจัดการ กศน.ตาบล ให้มคี วามทนั สมัย สามารถเข้าถึงและใช้ข้อมลู ไดอ้ ยา่ งสะดวก รวดเรว็ 2) จัดหาสื่อ คู่มือ เอกสารที่หลากหลาย ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน/ ผู้รบั บรกิ าร 3) ดาเนินการให้ กศน.ตาบลได้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยสัญญาณ wi-fi ท่มี ีความเสถียร 4) ดาเนนิ การหาสถานทที่ เ่ี หมาะสมในการจดั ต้งั กศน.ตาบล 3. ดา้ นการจดั กจิ กรรม : Good Activities 1) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบฐานข้อมูลระดับตาบลให้มีความถูกต้อง สมบูรณ์ ทนั สมยั เป็นปจั จุบัน เพอ่ื ใช้ในการวางแผนการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้ประจา กศน.ตาบล 2) สง่ เสรมิ ใหม้ ีการจดั กิจกรรมใน กศน.ตาบลอย่างหลากหลาย ตอ่ เนอื่ ง 3) สนับสนุนการขับเคล่ือนการดาเนินงานของ 4 ศูนย์เรียนรู้ (ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจาตาบล ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตาบล ศูนย์ดิจิทัลชุมชน และศนู ย์การศึกษาตลอดชวี ิตชุมชน) ใหส้ ามารถบรกิ ารความร้ทู ีเ่ ชอื่ มโยงกบั เครอื ข่ายได้อย่างต่อเน่ือง 4. ดา้ นเครือขา่ ย : Good Partnerships 1) ชี้แจงและกาหนดแนวทางการดาเนินงานร่วมกันระหว่าง กศน.ตาบลและหน่วยงาน ภาคีเครือขา่ ยใหช้ ัดเจน 2) ร่วมกับภาคเี ครอื ขา่ ยในการระดมทรัพยากรเพ่ือการพัฒนา กศน.ตาบล 3) มีส่วนร่วมกับชุมชนในการศึกษาวิถีชุมชน จัดทาปฏิทินชุมชนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ในการจดั กิจกรรมให้สอดคล้องกบั วถิ ีชีวติ และความต้องการของชมุ ชน

65 ขอ้ เสนอแนะตอ่ สานักงาน กศน.จังหวัด ข้อเสนอแนะในภาพรวม คือ ให้สานักงาน กศน.จังหวัดกาหนดแนวทาง และชี้แจงแนวทาง การดาเนินงานขับเคลื่อนนโยบาย กศน.ตาบล 4G ในทุก ๆ ด้านร่วมกับสถานศึกษาให้ชัดเจน นอกจากนี้ยังมี ขอ้ เสนอแนะอ่นื ๆ แยกได้ ดงั น้ี 1. ดา้ นครู : Good Teacher 1) อบรม พัฒนาครู กศน.ตาบลให้มีความรู้และทักษะเบื้องต้นก่อนปฏิบัติหน้าท่ี และ พัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างต่อเน่ืองในเร่ืองท่ีจาเป็น เช่น การออกแบบและการจัดกิจกรรมการ เรยี นรู้ เทคนิคการทางานร่วมกับเครอื ข่าย เป็นต้น 2) ส่งเสรมิ สนบั สนุนให้ครู กศน.ตาบลได้รบั การพัฒนาศักยภาพจากหนว่ ยงานอื่น ๆ 3) จัดให้มีเวทีแลกเปล่ียนเรียนรู้ระหว่างครู กศน.ตาบล ให้รางวัลและขวัญกาลังใจ โดยการจัดการประกวด แข่งขันผลงานดีเดน่ 4) มกี ารประเมนิ ผลการปฏบิ ัติงานตามสภาพจรงิ 2. ด้านการจัดกจิ กรรม : Good Activities 1) นิเทศ กากับ ติดตามการปฏิบัติงานของครู กศน.ตาบลอย่างทั่วถึง สม่าเสมอ เพื่อให้ สามารถดาเนินงานต่าง ๆ อย่างถูกต้อง และนาสภาพปัญหาที่พบไปใช้แก้ปัญหา และนาผลการนิเทศไปใช้ เพอ่ื การพฒั นางานอยา่ งต่อเนื่อง 2) ส่งเสริมให้ครู กศน.พัฒนาผลงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี อย่างน้อยคนละ 1 กิจกรรม และจัดใหม้ กี ารคดั เลือกผลงานดเี ด่น (Best Practice) และเผยแพรผ่ ลงานใหเ้ ป็นแบบอย่าง 3) จัดประกวด กศน.ตาบลดีเด่นในด้านต่าง ๆ และมอบเกยี รตบิ ตั รในการประชุมประจาเดือน ขอ้ เสนอแนะตอ่ สานกั งาน กศน. ข้อเสนอแนะในภาพรวม คือ ให้สานักงาน กศน. กาหนดแนวทางการดาเนินงาน กศน.ตาบล 4G ในทกุ ๆ ด้านใหช้ ดั เจน เพื่อใช้เปน็ แนวทางแก่สถานศึกษาและผูป้ ฏิบัติได้ นอกจากนี้ยงั มขี ้อเสนอแนะอ่ืน ๆ ดงั นี้ 1. ด้านครู : Good Teacher 1) พจิ ารณาจดั สรรกรอบอตั ราครู กศน.ตาบลให้ครบทกุ ตาบล 2) กาหนดแผนการพัฒนา และส่งเสริม สนับสนุนให้ครู กศน.ตาบล ได้รับการพัฒนา ศกั ยภาพอยา่ งเปน็ ระบบ ตรงตามบทบาทหนา้ ที่ และสภาพปัญหา 3) ลดภาระงานของครู กศน. ตาบลในส่วนทเี่ ป็นภาระงานของหนว่ ยงานภาคีเครือข่าย 2. ดา้ นสถานท่ี : Good Place Best Check-In จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาอาคารสถานท่ีของ กศน.ตาบล และการจัดซื้อครุภัณฑ์ เชน่ คอมพิวเตอร์ โต๊ะ เกา้ อ้ี ช้ันวาง และสอ่ื วารสารท่ผี รู้ บั บริการสนใจ 3. ด้านเครือขา่ ย : Good Partnerships จดั สรรงบประมาณในการประชุมภาคีเครอื ข่ายในระดับพน้ื ที่

66 10. การศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน : หลกั สตู รการศึกษานอกระบบระดับการศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐาน พทุ ธศักราช 2551 สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สานักงาน กศน.) ได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พร้อมกันท่ัวประเทศ ต้ังแต่ภาคเรียนท่ี 1/2553 หลักสูตรดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นตามหลักการและปรัชญาการศึกษานอกโรงเรียน นโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ตลอดจนพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญา และมีศักยภาพในการประกอบอาชีพ การศึกษาต่อ และสามารถดารงชีวิตอยู่ในครอบครัว ชุมชน สังคม ได้อย่างมีความสุข ทั้งน้ี สถานศึกษาสามารถนาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ไปพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของสถานศกึ ษา โดยให้เป็นไปตามหลักการที่หลักสตู รกาหนดไว้ ดงั น้ี 1. เป็นหลักสูตรท่ีมีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และการจัดการเรียนรู้ โดยเนน้ การบูรณาการเนอ้ื หาให้สอดคล้องกบั วถิ ชี ีวิต ความแตกตา่ งของบุคคล ชุมชน และสงั คม 2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และ การศึกษาตามอัธยาศยั 3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียน มคี วามสาคญั สามารถพฒั นาตนเองได้ตามธรรมชาตแิ ละเตม็ ตามศกั ยภาพ 4. สง่ เสรมิ ให้ภาคเี ครือขา่ ยมีส่วนร่วมในการจัดการศกึ ษา จากการดาเนินการนิเทศการจัดการศึกษาข้ันพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับ การศึกษาขัน้ พนื้ ฐาน พุทธศักราช 2551 สรปุ ผลการนเิ ทศในภาพรวม ได้ดังน้ี สภาพท่ีพบ ด้านหลักสูตร สถานศึกษามีหลักสูตรท่ีผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา แต่ส่วนใหญ่ยังไม่มีการประเมินหลักสูตรเพ่ือนาไปสู่การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาส่วนใหญ่ พฒั นาหลักสตู รรายวิชาเลือกให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา ความต้องการและบริบทของชุมชน โดยเชิญ ผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเลือก ในกรณีท่ีสานักงาน กศน. มอบนโยบายให้สถานศึกษาจัดให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนรายวิชาเลือกบังคับที่ส่วนกลางพัฒนาขึ้นนั้น สถานศึกษาได้นาไปดาเนนิ การตั้งแตภ่ าคเรียนท่ี 1/2559 แต่ยังไม่มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยการ เพิ่มเติมรายวิชาเลอื กบังคับให้เปน็ ปัจจุบันและพบว่าครบู างส่วนยังไม่เข้าใจกระบวนการจดั ทาหลักสูตรรายวิชา เลอื กโดยเฉพาะครูทไี่ ดร้ บั การบรรจใุ หม่ ด้านการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนได้ดาเนินการวิเคราะห์หลักสูตร ความยากง่าย ของเนื้อหาวิชา เพ่ือนาไปใช้ในการจัดทาแผนการจัดการเรียนรู้รายภาค แผนการจัดการเรียนรู้รายสัปดาห์ ในรปู แบบของแผนการเรยี นรู้รายวิชา บางสถานศึกษาใช้รปู แบบแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ สาหรับการจัด กระบวนการเรียนรู้ สถานศึกษาบางแห่งมีการจัดทาข้อมูลผู้เรียนรายบุคคลและนาข้อมูลไปวิเคราะห์จัดทา แผนการเรียนรู้รายบุคคลเพ่ือสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ครูบางคนจัดทาแผนการเรียนรู้ แบบบูรณาการในรูปแบบ “สะเต็มศึกษา” ครูบางคนใช้ Google Classroom ในการจัดการเรียนรู้ โดยครูผู้สอน ได้นาแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามที่กาหนด และบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ครูบางส่วนสามารถนาข้อมูลที่บันทึกไปแก้ปัญหาการเรียนโดยการทาวิจัยในชั้นเรียน ในขณะท่ีมีครูบางคน บันทึกไม่เป็นปัจจุบัน หรือไม่จัดทาบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ จึงทาให้ไม่สามารถเชื่อมโยงไปสู่การทาวิจัย

67 ในชั้นเรียนได้ และข้อมูลท่ีบันทึกไม่สะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ส่วนใหญ่บันทึกปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรม ของผู้เรยี นเพราะไมเ่ ข้าใจว่าตอ้ งบันทึกสิ่งใดและมปี ระโยชน์อย่างไรต่อการจัดการเรียนรู้ และไม่ให้ความสาคัญ กับการบันทึกหลังสอนเท่าท่ีควร จึงไม่สามารถนาผลการบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้มาวิเคราะห์เพื่อนาไปสู่ การพัฒนาปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ได้เท่าท่ีควร กรณีท่ีผู้เรียนไม่มีเวลามาพบกลุ่ม ครูมีการติดตาม ผู้เรียนด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การเยี่ยมบ้านและติดตามผู้เรียนทางกลุ่ม Line และ Facebook และมีการจัด กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนหลากหลายตามกรอบแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนท่ีสานักงาน กศน. กาหนด ด้านสื่อการเรียนรู้ สถานศึกษาให้ความสาคัญกับการจัดหาส่ือเพ่ือใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยครูส่วนใหญ่ใช้ส่ือแบบเรียน ใบงาน ใบความรู้ ที่สถานศึกษาจัดหาให้ นอกจากน้ีครูยังได้รับการพัฒนา ในเร่ืองการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ท่ีหลากหลายเพ่ือกระตุ้นความสนใจและส่งเสริม การเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น คลิปวีดิโอ โปรแกรม Kahoot สื่อจาลอง สมุดบันทึกกิจกรรม แหล่งเรียนรู้ และ ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นต้น แต่มีครูบางคนที่ยังใช้เพียงหนังสือเรียนไม่ได้นาส่ือเทคโนโลยีมาใช้ในการจัด กระบวนการเรยี นรเู้ ท่าทคี่ วร ด้านการวัดผลและประเมินผล สถานศึกษาได้ดาเนินการวัดผลและประเมินผล ตามท่ีหลักสูตรสถานศึกษากาหนด โดยสถานศึกษาจัดทาระเบียบการวัดผลและประเมินผลของสถานศึกษา บางแห่งจัดทาเป็นประกาศของสถานศึกษาว่าด้วยการวัดผลและประเมินผล บางแห่งจัดทาเป็นแนวทาง การวดั ผลและประเมินผล โดยสถานศึกษาได้แจ้งหลกั เกณฑ์วิธีการวัดผลและประเมินผลให้ผู้เรียนทราบในช่วง ของการปฐมนิเทศ ซึ่งมีการจัดเก็บคะแนนเป็น 2 ส่วน คือ คะแนนระหว่างภาคเรียนและคะแนนปลายภาคเรียน ในสัดส่วน 60:40 โดยการสอบปลายภาคเรียนในรายวิชาบังคับและวิชาเลือกบังคับ ใช้แบบทดสอบ จากส่วนกลาง และในการสอบรายวิชาเลือกเสรี สถานศึกษาในแต่ละจังหวัดร่วมกันจัดทาแบบทดสอบ บางรายวิชามีการออกแบบวิธีการวัดผลและประเมินผลที่เหมาะสมกับรายวิชา เช่น วิชาโครงงานฯ แต่ครู ส่วนใหญ่ยังใช้การวัดผลจากแบบทดสอบ ใบงานและการสังเกต ยังขาดการประเมินตามสภาพจริง สถานศึกษาบางแห่งขาดการวิเคราะห์ข้อมูลจานวนผู้เรียนท่ีเข้าสอบ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางเรียน ทาให้ขาด ขอ้ มูลสารสนเทศเพอื่ นาไปใช้ในการพฒั นาคุณภาพผ้เู รยี น คะแนนเฉล่ียของผู้เข้าสอบ N-NET ประจาภาคเรียนท่ี 2/2560 จากสถานศึกษาในสังกัด สานกั งาน กศน. ในภาคต่าง ๆ แยกตามระดบั การศกึ ษา ดังน้ี

68 ระดบั ประถมศกึ ษา คร้งั ที่ 2 ปีการศกึ ษา 2560 ประเภท ทกั ษะ ทักษะ ทกั ษะ การพัฒนา คะแนน การ ความรู้ การ การ สงั คม เฉลี่ย ระดบั ประเทศ เรียนรู้ พ้นื ฐาน ประกอบ ดาเนนิ กรงุ เทพมหานคร ชีวติ 40.71 ภาคกลาง อาชพี 47.13 ภาคตะวนั ออก 43.66 ภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื 38.65 35.45 40.08 47.20 42.15 46.35 ภาคใต้ 41.56 ภาคเหนือ 44.05 38.55 47.07 56.20 49.77 38.67 37.76 40.50 37.14 43.22 51.44 46.02 42.71 39.50 45.94 55.27 48.31 38.24 36.26 41.20 49.02 43.10 37.54 33.98 38.87 43.05 39.92 37.13 33.57 36.49 42.98 38.63 จากตารางคะแนนเฉลี่ยของผู้เข้าสอบ N-NET ระดับประถมศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ย ระดับประเทศ มีค่าเท่ากับ 40.71 โดยคะแนนเฉล่ียของกรุงเทพมหานครมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 47.13 รองลงมาคอื ภาคตะวนั ออก 46.35 ภาคกลาง 43.66 และภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื 41.56 ตามลาดบั ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนต้น ครง้ั ท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2560 ประเภท ทกั ษะ ทกั ษะ การ คะแนน ทกั ษะการ ความรู้ การ การ พฒั นา เฉลีย่ ระดับประเทศ เรยี นรู้ พ้นื ฐาน ประกอบ ดาเนิน สังคม กรงุ เทพมหานคร ชีวิต 37.85 ภาคกลาง อาชีพ 42.46 ภาคตะวันออก 39.95 ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ 36.91 30.6 39.32 46.42 35.99 41.27 ภาคใต้ 35.87 ภาคเหนอื 41.5 32.99 44.07 53.58 40.18 36.9 38.74 38.72 31.64 41.63 49.95 37.82 40.08 32.01 43.06 52.23 38.96 34.82 29.69 37.34 43.21 34.3 36.86 30.13 37.91 44.48 35.12 37.55 30.92 40.35 48.27 36.63 จากตารางคะแนนเฉลยี่ ของผเู้ ขา้ สอบ N-NET ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า คะแนนเฉลี่ย ระดับประเทศ มีค่าเท่ากับ 37.85 โดยคะแนนเฉลี่ยของกรุงเทพมหานครมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 42.46 รองลงมาคอื ภาคตะวนั ออก 41.27 ภาคกลาง 39.95 และภาคเหนือ 38.74 ตามลาดับ

69 ระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลาย ครง้ั ที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ประเภท ทกั ษะการ ความรู้ ทักษะ ทักษะ การ คะแนน เรยี นรู้ พนื้ ฐาน การ การ พฒั นา เฉลยี่ ระดบั ประเทศ ประกอบ ดาเนนิ สงั คม กรงุ เทพมหานคร 35.34 อาชพี ชวี ิต 33.30 ภาคกลาง 40.79 38.28 ภาคตะวนั ออก 37.03 27.49 40.05 40.08 23.55 35.09 ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ 38.65 36.38 ภาคใต้ 32.80 30.00 48.75 46.18 25.67 30.96 ภาคเหนอื 35.58 32.99 36.08 28.43 43.44 42.62 23.92 34.23 28.96 45.57 44.32 24.40 26.33 36.12 36.94 22.63 27.26 39.24 39.28 23.58 27.96 41.15 41.77 24.18 จากตารางคะแนนเฉล่ียของผู้เข้าสอบ N-NET ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า คะแนน เฉลี่ยระดับประเทศมีค่าเท่ากับ 33.30 โดยคะแนนเฉล่ียของกรุงเทพมหานครมีค่ามากท่ีสุดเท่ากับ 38.28 รองลงมาคอื ภาคตะวนั ออก 36.38 ภาคกลาง 35.09 และภาคเหนอื 34.23 ตามลาดบั ด้านการยกระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู ครู กศน.ในแต่ละภาคจะได้รับการ พัฒนาเพือ่ การยกระดับประสิทธภิ าพการปฏบิ ัตงิ านในเร่ืองต่างๆ ดังนี้ 1. การใชเ้ ทคโนโลยีในการจดั การเรียนการสอนและการประชาสัมพันธ์ 2. การอบรมเชิงปฏบิ ัติการสรา้ งข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาค 3. การทาแผนการเรยี นการสอนวชิ าประวตั ิศาสตรช์ าติไทย และบญุ คุณของพระมหากษัตรยิ ์ไทย 4. การอบรม สะเต็มศกึ ษา 5. การใช้ Digital Literacy และ E-Commerce 6. การผลติ ส่อื การใช้ส่อื การสอนและการใช้เทคโนโลยีในการชว่ ยสอน เช่น Google classroom โ ด ย ค รู ผู้ ส อ น ไ ด้ น า ค ว า ม รู้ ท่ี ไ ด้ รั บ ไป ป รั บ ใ ช้ ใ น ก า ร จั ด ก ร ะ บ ว น ก า ร เ รี ย น รู้ ใ ห้ แ ก่ ผู้ เ รี ย น แต่เนื่องจากผลจากการอบรมบางรายการต้องนาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในภาคเรียนต่อไป จึงยังไม่เกิดผล ต่อการนาความรไู้ ปใช้ในการจัดการเรยี นรูใ้ นขณะน้ี ข้อนิเทศ 1. ผู้นิเทศได้แนะนาให้สถานศึกษาดาเนินการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา โดยสามารถ ศกึ ษาวธิ กี ารประเมนิ หลกั สตู รไดจ้ ากเอกสาร “ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ : ตัวอย่างการประเมินหลักสูตร” เพ่ือนาผล การประเมินไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง และปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นของสานักงาน กศน. นโยบาย จุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ แผนการ ศึกษาแห่งชาติ (ยุทธศาสตร์/เป้าหมาย) มาตรฐานการศึกษาของชาติ ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และ มาตรฐาน กศน. (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2560 มาตรฐานที่ 2 คุณภาพการจัดการศึกษา/การให้บริการ 2.2 คุณภาพของหลกั สตู รสถานศึกษา

70 2. ผู้นิเทศได้แนะนาให้ครูจัดทาแฟ้มผู้เรียนรายบุคคล ซึ่งจะช่วยให้ครูและผู้เรียนสามารถ ตรวจสอบยนื ยันซ่ึงกนั และกันได้วา่ ผเู้ รียนลงทะเบียนเรียนครบหรอื ไม่ มีผลการเรียนเป็นอย่างไร การประเมิน คณุ ธรรมเปน็ อย่างไร กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชวี ติ (กพช.) ครบหรอื ไม่ รวมถงึ ขอ้ มูลอน่ื ๆ ท่เี ก่ียวข้องกับผู้เรียน ในส่วนของการบันทึกหลังสอน ผู้นิเทศได้แนะนาให้ครูบันทึกข้อมูลหลังการสอนเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรก คอื ขอ้ มลู ทว่ั ไป เชน่ วนั เวลา รายวิชาเนื้อหาท่ีจัดกิจกรรม จานวนผู้เรียนท่ีมาพบกลุ่มและส่วนที่สองคือข้อมูล ผลการจัดการเรยี นรู้ในคร้งั น้ัน ๆ วา่ บรรลตุ ามวัตถุประสงค์ท่ีกาหนดไว้หรือไม่อย่างไร หากไม่บรรลุมีสาเหตุใด ท่ีทาให้ไม่บรรลุวัตถปุ ระสงค์ และหากบรรลุมีปัจจยั ใดบา้ งทีท่ าใหบ้ รรลุ เพอ่ื นาข้อมูลการบันทึกหลังสอน มาใช้ ในการพฒั นาการจัดกิจกรรมการเรียนรูใ้ นครง้ั ตอ่ ไป 3. ผู้นิเทศได้แนะนาครูโดยเน้นย้าว่า การวัดผลและประเมินผลในรายวิชาเลือกเสรี สถานศึกษาสามารถใช้การประเมินตามสภาพจริงตามระเบียบและประกาศของสถานศึกษาว่าด้วยการวัดผล และประเมนิ ผล ซึง่ จะทาใหส้ ถานศกึ ษาได้ขอ้ มลู ผลการเรยี นรเู้ ชงิ ประจักษ์ ทแ่ี สดงถึงทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการคิด ทักษะการปฏิบัติของผู้เรียนที่ชัดเจน ซึ่งหากพบข้อบกพร่องของผู้เรียนในทักษะใด สถานศึกษา สามารถจดั กิจกรรมพฒั นาคุณภาพผู้เรยี น เพ่ือเสรมิ การพัฒนาทกั ษะท่บี กพร่องให้กบั ผ้เู รยี นได้ 4. การนาความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับผู้เรียนน้ัน ครูผู้สอนต้องบันทึกผลการจัด การเรียนรู้ให้ชัดเจนเพื่อการนาผลท่ีเกิดขึ้นมาใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนาให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพย่งิ ขน้ึ ต่อไป ปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อความสาเรจ็ 1. ผู้บริหารระดับจังหวัด ระดับอาเภอ ผู้นิเทศ ครู ร่วมกาหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษาตามนโยบายที่สานักงาน กศน.กาหนด เช่น ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน ร้อยละของการเข้าสอบ การพฒั นาคณุ ธรรม ค่านิยมและการจดั กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผเู้ รยี น เปน็ ตน้ 2. ครูได้รับการอบรมและพัฒนาเร่ืองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สามารถใช้ส่ือการเรียนรู้ ท่ีหลากหลาย เชน่ ดิจิทัล โปรแกรม Kahoot และการวจิ ยั ในช้นั เรียน เปน็ ตน้ 3. ครูนาเทคโนโลยีและส่ือการเรียนรู้ที่หลากหลายทันสมัย สามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น คลิป วิดีโอช่วยแก้ปญั หาในรายวิชาทีค่ รูขาดความชานาญในเนื้อหา 4. การใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมกับสภาพของผู้เรียน เช่น การใช้หอ้ งเรยี นออนไลน์ในการแก้ปญั หาการไมม่ เี วลามาพบกลุม่ ของผู้เรยี น 5. สถานศึกษาจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เช่น สอนเสริมในรายวิชาท่ีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนต่า และตวิ เขม้ ก่อนสอบ เป็นต้น 6. สานกั งาน กศน.จังหวดั ประจวบคีรีขันธ์ จัดทาข้อสอบออนไลน์ในการสอบซ่อม ภาคเรียน ที่ 2/2560 นกั ศึกษาสามารถใชส้ มาร์ทโฟนในการทาขอ้ สอบและทราบผลสอบทันทที สี่ อบเสรจ็ 7. การสนับสนุนของเครือข่ายในเร่ืองต่าง ๆ เช่น การให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม การเออื้ เฟ้ือสถานท่ี วสั ดุ และงบประมาณ เป็นตน้ ปญั หาอปุ สรรค 1. ครมู ภี าระงานนอกเหนือจากหน้าท่ีประจา เช่น โครงการเน็ตประชารัฐ โครงการไทยนิยม ย่งั ยนื โครงการดจิ ิทลั ชุมชน และอืน่ ๆ ทาให้ไม่มีเวลาพบกลุ่ม สง่ ผลให้ผู้เรียนขาดสอบมากขึ้น และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนตา่ 2. ครูบางส่วนยังขาดความรแู้ ละทกั ษะในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ “สะเต็มศึกษา”

71 3. การบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ไม่เป็นปัจจุบันหรือไม่จัดทาบันทึก ข้อมูลที่บันทึก ไม่สะท้อนผลการจัดการเรยี นรู้ จงึ ไม่สามารถเชือ่ มโยงไปสกู่ ารทาวจิ ัยในช้นั เรยี นหรือพัฒนาการเรียนการสอนได้ 4. ครูบางส่วนยังขาดทักษะในการทาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียน และไม่พยายาม หาแนวทางในการแกป้ ัญหาการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้ท่สี ่งผลต่อการพัฒนาความรู้ของผู้เรยี น ข้อเสนอแนะเพ่ือการพัฒนา ข้อเสนอแนะต่อสถานศึกษา 1. สถานศึกษาควรจัดให้ครูไดแ้ ลกเปล่ียนเรียนรู้อย่างสม่าเสมอ เพ่ือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ อยา่ งต่อเนื่อง 2. สถานศึกษาควรนาข้อมูลผลการสอบปลายภาคและผลการทดสอบ N-NET มาวิเคราะห์ หาจดุ แขง็ จดุ อ่อน เพอ่ื จัดทาโครงการ/กจิ กรรม พัฒนาคณุ ภาพผ้เู รยี นไดต้ รงกบั สภาพปญั หา ขอ้ เสนอแนะตอ่ สานักงาน กศน.จังหวัด 1. ควรพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีความรู้ในการพัฒนาหลักสูตร การประเมิน หลกั สตู ร การวจิ ยั ในชัน้ เรียน และการใชเ้ ทคโนโลยอี อนไลน์ในการจดั กระบวนการเรยี นรู้ 2. จัดให้มีการนาเสนอผลการจัดการศึกษาข้ันพื้นฐานทุกภาคเรียน เพื่อนาปัญหา อุปสรรค ขอ้ เสนอแนะไปพัฒนาปรับปรุงผลสมั ฤทธ์ิใหส้ ูงขน้ึ ข้อเสนอแนะตอ่ สานักงาน กศน. 1. ควรมีแนวทางแนะนาผ่านสานักงาน กศน.จังหวัดให้ครูสามารถบริหารจัดการและ ให้ความสาคญั กบั การทาหน้าที่ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เพื่อให้เหมาะสมและบรรลุเป้าหมาย และพจิ ารณาบทบาทหนา้ ทีร่ ่วมกับหนว่ ยงานอน่ื 2. ควรพัฒนาโปรแกรม ITW ให้ประมวลผลเพ่ือตอบสนองกับการประเมินครู กศน. เช่น จานวนผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนเฉลี่ย 2.00 ในรายวิชาบังคับต่อภาคเรียนเมื่อเทียบกับจานวน ผู้ลงทะเบียน เปน็ ตน้ 11. การศกึ ษาต่อเนื่อง การศึกษาเพอื่ พฒั นาทกั ษะชีวติ การศึกษาเพ่ือพัฒนาทักษะชีวิต เป็นการจัดการศึกษาเพ่ือพัฒนาทักษะชีวิตให้กับ ทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะคนพิการและผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับความต้องการจาเป็นของแต่ละบุคคล และ มุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีทักษะการดารงชีวิต ตลอดจนสามารถประกอบอาชีพพึ่งพาตนเองได้ มีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถเผชิญสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดข้ึนในชีวิตประจาวันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเตรียมพร้อมสาหรับการปรับตัวให้ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงของข่าวสารข้อมูลและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในอนาคต โดยจัดกิจกรรมท่ีมีเน้ือหาสาคัญต่าง ๆ คือ สุขภาพกายและจิต การป้องกันภัยยาเสพติด เพศศึกษา คุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ความปลอดภัย ในชวี ิตและทรพั ย์สิน ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม และประชาธิปไตยในวิถีชีวิต ผ่านการศึกษารูปแบบ ตา่ ง ๆ เช่น ค่ายพัฒนาทกั ษะชวี ิต การจัดตงั้ ชมรม/ชมุ นมุ การสง่ เสรมิ ความสามารถพเิ ศษตา่ งๆ

72 สภาพท่ีพบ ด้านปัจจัยนาเข้า พบว่า สถานศึกษามีความพยายามท่ีจะจัดการศึกษาเพ่ือพัฒนาทักษะชีวิต ให้สอดคล้องตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยหลักสูตรส่วนใหญ่มีการพัฒนาขึ้นใหม่ ให้มีเน้ือหาท่ีทันสมัย ทันเหตุการณ์และเป็นไปตามความต้องการของชุมชนกลุ่มเป้าหมาย และสอดคล้องกับ แนวทางการพัฒนาประเทศ การจัดการเรียนรู้ มีการจัดทาแผนการจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นให้มีความสอดคล้องกับสภาพ ความเป็นจริงในชุมชน สังคม โดยในการจัดการเรียนรู้ สถานศึกษาได้มีการประสานบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์เฉพาะเร่ืองมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ แต่ทั้งนี้วิทยากรที่มาให้ความรู้น้ัน ส่วนใหญ่สถานศึกษายังไม่ได้มกี ารพัฒนาวทิ ยากรใหม้ คี วามเข้าใจในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ / วิธีการ จดั การเรยี นรู้ทส่ี อดคล้องกบั เนื้อหาและหลักการการจัดการเรียนรสู้ าหรบั ผูใ้ หญ่ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ พบว่าการดาเนินการจัดการศึกษาเพ่ือพัฒนาทักษะชีวิตของ สถานศกึ ษา มกี ารดาเนนิ การตามนโยบาย ดงั น้ี 1. ด้านความปลอดภัยในชีวติ และทรพั ย์สิน เช่น การทาบัญชีครัวเรือน ภาษาอังกฤษเพื่อการ ท่องเท่ียว มัคคุเทศก์ท้องถ่ิน การป้องกันอัคคีภัยเบ้ืองต้น การขับข่ีปลอดภัย และการรู้เท่าทันส่ือและ สารสนเทศไทยแลนด์ ๔.๐ การเสริมสร้างทักษะเพอื่ ชวี ิต 2. ด้านสุขภาพอนามัยและการป้องกันโรคภัย เช่น การส่งเสริมคุณภาพผู้สูงอายุ การเตรียม ความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุ การรวมพลังต่อต้านยาเสพติด การดูแลสุขภาพจิตและพัฒนาสมองโดยใช้สื่อ เทคโนโลยี 3. ด้านการอนุรักษ์ ทานุบารุงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การอนุรักษ์รักษา ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมดีชีวเี ป็นสุข การรักษ์ปะการัง การดาเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ สถานศึกษาส่วนใหญ่มีการบูรณาการการเรียนรู้ ใหม้ คี วามสอดคลอ้ งกับสภาพความเป็นจรงิ ในชุมชน สังคม และสว่ นใหญ่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาคี เครือข่าย สถานศึกษาสว่ นใหญ่กาหนดให้มีการวัดและประเมินผลอย่างเป็นระบบ ได้แก่ การประเมินผล การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หลักสูตร ท้ังน้ี ผลการประเมินด้านหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ วิทยากร และการประเมินความพึงพอใจ มีผลของการประเมินเฉลี่ย อยู่ในระดับมากข้ึนไปทุกด้าน เม่ือสิ้นสุด การดาเนินงานจัดการเรียนรู้ ผู้รับผิดชอบส่วนใหญ่ จัดทารายงานผลการจัดการศึกษาตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ด้านผลผลิต พบว่า กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจในการเรียนรู้หลักสูตรท่ีมีเนื้อหาใกล้ชิดกับ การดารงชีวิต เชน่ การทาบญั ชคี รวั เรือน การดาเนนิ กิจกรรมกลุ่มท่องเท่ียวของชุมชน การป้องกันยุงลาย และ การป้องกันโรคพษิ สนุ ขั บ้า การเตรยี มตัวก่อนแต่งงานของสตรใี นภาคใต้ ปัจจัยทสี่ ง่ ผลตอ่ ความสาเรจ็ 1. สถานศึกษามหี ลกั สตู รที่หลากหลายและสอดคล้องกบั ความต้องการของกลุ่มเปา้ หมาย 2. ครู กศน. เป็นผูม้ ีความรู้ ความสามารถในการประสานวทิ ยากรจัดกระบวนการเรียนรู้ 3. วิทยากรสว่ นใหญม่ อี งค์ความรู้และสามารถจัดกระบวนการเรยี นรไู้ ดต้ รงตามหลกั สตู ร 4. ผู้นาชุมชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมสนับสนุน งบประมาณ วิทยากร วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ในการจดั กิจกรรมเปน็ อยา่ งดี

73 ปัญหาอุปสรรค 1. ผเู้ รียนไมส่ ามารถมารว่ มกจิ กรรมไดต้ ลอดหลักสูตร 2. สถานศึกษาขาดการตดิ ตามผลหลังการจดั กิจกรรม ทาใหไ้ มม่ ขี ้อมูลในการพฒั นาหลักสูตร 3. กิจกรรมท่ีมีการใช้เทคโนโลยีผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังขาดทักษะในการใช้เทคโนโลยีส่งผล ใหห้ ลักสตู รไมบ่ รรลุเป้าหมายเทา่ ทค่ี วร ขอ้ เสนอแนะเพื่อการพฒั นา ขอ้ เสนอแนะตอ่ สถานศกึ ษา 1. ควรกากับให้ผู้รับผิดชอบโครงการมีการติดตามผลหลังการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบ และต่อเน่อื งเพื่อนาข้อมลู ไปปรบั ปรุงพฒั นาการดาเนินงานตอ่ ไป 2. ควรกาหนดและเน้นย้าให้ผู้รับผิดชอบติดตามผลการนาความรู้ไปใช้ในการดารงชีวิต โดย ให้มีระยะเวลาในการติดตามผลหลังส้ินสุดการอบรมประมาณ ๑ - 2 เดือน เพ่ือติดตามว่ากลุ่มเป้าหมาย มกี ารนาความรูไ้ ปใชแ้ บบคงสภาพความรู้ หรือมีการพัฒนาความรู้อยา่ งไร 3. ควรมีการจัดหลักสูตรทเี่ กย่ี วกับการส่งเสรมิ ทักษะการใช้เทคโนโลยีแก่ผสู้ งู อายุให้มากย่ิงข้ึน การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชมุ ชน การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม ในการพัฒนาสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยให้ประชาชน ชุมชนร่วมกันรับผิดชอบ และเห็นถึงความสาคัญ ในการฟ้ืนฟูพัฒนาสังคมและชุมชนของตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ มีการบูรณาการความรู้ ประสบการณ์ และทักษะอาชีพให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยรวม ทาให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นาไปสู่สงั คมทเ่ี ข้มแข็ง มคี วามเอื้ออาทรต่อกันและพ่ึงพาตนเองได้อย่างย่ังยืน โดยการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา สังคมและชมุ ชน เน้นการจัดกิจกรรมเพ่ือพัฒนาสังคมและชุมชนในด้านต่าง ๆ สร้างกระบวนการจิตสาธารณะ ช่วยเหลอื ซึง่ กันและกนั ในการพัฒนาสงั คมและชุมชน สภาพทพี่ บ ด้านปัจจัยนาเข้า จากการนิเทศพบว่า สถานศึกษามีความพยายามที่จะจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนให้สอดคล้องตรงตามความต้องการของชุมชน โดยหลักสูตรส่วนใหญ่ได้พัฒนา ขึน้ ใหมใ่ หม้ ีเนอื้ หาทท่ี นั สมัย ทนั เหตกุ ารณ์ ตามความต้องการของชุมชนกลุม่ เปา้ หมาย และแนวทางการพัฒนา ประเทศ การจัดการเรยี นรู้ มกี ารจัดทาแผนการจัดการเรียนรู้ ท่ีมุ่งเน้นและมีความสอดคล้องกับสภาพ ความเป็นจริงในชุมชน สังคม โดยในการจัดการเรียนรู้ สถานศึกษาได้มีการประสานบุคคลท่ีมีความรู้ ความสามารถเฉพาะเร่ืองมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ แต่ท้ังนี้ วิทยากรที่มาให้ความรู้นั้น ส่วนใหญ่สถานศึกษา ยังไม่ได้มีการพัฒนาวิทยากรให้มีความเข้าใจในการออกแบบกระบวนการ / วิธีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้อง กับหลักการการจัดการเรียนรู้สาหรบั ผ้ใู หญ่ตามปรัชญาคดิ เปน็ ด้านการจดั กระบวนการเรยี นร้ดู าเนนิ การตามนโยบาย โดยมหี ลกั สูตรดังนี้ 1) ด้านเศรษฐกจิ เชน่ ทอ่ งเทยี่ วเชิงนเิ วศน์ ธนาคารปู สร้างปา่ เพิม่ รายได้ เปน็ ต้น 2) ด้านสังคม เช่น ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในชุมชน ประชาธิปไตยกับการเป็นพลเมืองดี ชุมชนเข้มแขง็ ตามรอยพอ่ รณรงคห์ ม่บู า้ นไมข่ ายสยี ง เปน็ ต้น 3) ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ธนาคารขยะและการจัดการขยะในครัวเรือน ความรู้เก่ียวกับภัยพิบัติ และการป้องกนั ภยั การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติ การให้ ความร้ใู นการบรหิ ารจดั การนา้ โครงการเรียนรู้การทอ่ งเที่ยวเชิงอนรุ ักษ์ เปน็ ตน้

74 4) ด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น อนรุ ักษค์ วามเปน็ ไทยและพัฒนาวัด เปน็ ต้น การดาเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ สถานศึกษาส่วนใหญ่มีการบูรณาการการเรียนรู้ให้มี ความสอดคล้องกบั สภาพความเป็นจรงิ ในชุมชน สังคม การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร สถานศึกษาส่วนใหญ่กาหนดให้มีการวัดและประเมินผล อย่างเปน็ ระบบ ได้แก่ การประเมินผลการเรยี นรูต้ ามวัตถุประสงค์หลักสูตร ท้ังน้ี ผลการประเมินด้านหลักสูตร และกระบวนการจัดการเรียนรู้ วิทยากรและการประเมินความพึงพอใจ มีผลของการประเมินเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน เมื่อส้ินสุดการดาเนินงานจัดการเรียนรู้ ผู้รับผิดชอบส่วนใหญ่ จัดทารายงานผลการจัดการศึกษา ตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ด้านผลผลิต พบว่ากลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจในการเรียนรู้เน้ือหาโดยเฉพาะหลักสูตร / กจิ กรรม ที่มีเนือ้ หาสอดคล้องกับบริบทของชุมชน เช่น การจัดกลุ่มท่องเท่ียวในชุมชน การคัดแยกขยะภายใน ครัวเรือน การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน การรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และส่งิ แวดล้อม ปัจจยั ที่ส่งผลต่อความสาเร็จ 1. วิทยากรมคี วามรูส้ ามารถจัดกระบวนการเรยี นรตู้ ามหลกั สูตรไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ 2. สถานศกึ ษามหี ลักสูตรท่หี ลากหลายและสอดคลอ้ งกับความต้องการของกลมุ่ เป้าหมาย 3. มีการจัดทาแผนให้สอดคล้องตามนโยบายและจุดเน้นการดาเนินงาน และรายงานผล ในระบบ DMIS 4. ครู กศน. เป็นผูม้ คี วามสามารถในการประสานวิทยากรในการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5. เครือขา่ ยให้การสนบั สนนุ ในการจดั กจิ กรรมในดา้ นงบประมาณและสถานท่ี ปัญหาอุปสรรค 1. ผ้รู ว่ มกิจกรรมไม่สามารถเขา้ รบั การอบรมได้ครบตลอดหลักสูตร เนื่องจากมีภารกิจในการ ประกอบอาชพี 2. การจัดกิจกรรมไมค่ รบถ้วนตามหลกั สูตร 3. สถานศึกษาขาดความชัดเจนในการใช้จ่ายงบประมาณแตล่ ะกิจกรรม 4. การจัดกจิ กรรมไม่เป็นไปตามแผนเนอื่ งจากมีภารกจิ เร่งดว่ นอื่น ๆ ขอ้ เสนอแนะเพื่อการพัฒนา ข้อเสนอแนะต่อสถานศกึ ษา 1. ควรติดตามผลการจัดกิจกรรมให้ดาเนินการครบถ้วนตามหลักสูตรร่วมกับหน่วยงาน ที่เก่ยี วขอ้ ง รวมท้ังสารวจสภาพปัญหาเพือ่ หาทางแก้ไข 2. ควรนาผลการประเมินความพึงพอใจมาวิเคราะห์ในแต่ละด้านว่ามีข้อดีหรือข้อควร ปรบั ปรงุ อะไรบา้ ง เพ่ือพัฒนาให้มีประสทิ ธิภาพ และคุณภาพย่งิ ข้นึ ต่อไป 3. ควรกาหนดและเน้นย้าให้ผู้รับผิดชอบ ติดตามผลการนาความรู้ไปใช้ในการดารงชีวิต โดยให้มีระยะเวลาในการติดตามผลหลงั ส้ินสุดการอบรมประมาณ ๑ – 2 เดือน เพื่อติดตามว่ากลุ่มเป้าหมายมี การนาความรไู้ ปใช้และมีการพัฒนาความรอู้ ยา่ งไร 4. ควรศึกษาคู่มอื แนวทางการดาเนนิ งานการจัดการศึกษาต่อเน่ืองทุกกิจกรรมให้ชัดเจนก่อน วางแผนดาเนนิ งานแต่ละกิจกรรม

75 12. การศึกษาตามอธั ยาศยั การศกึ ษาตามอัธยาศัยของสานกั งานสง่ เสรมิ การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทางาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เพ่ือเพ่ิมพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนา คุณภาพชีวิต โดยมีลกั ษณะทีส่ าคัญคือ ไม่มหี ลักสตู ร ไมม่ เี วลาเรยี นท่แี นน่ อน ไมจ่ ากัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน ไมม่ ีการรบั ประกาศนยี บัตร มหี รือไมม่ ีสถานทแ่ี น่นอน เรียนท่ไี หนก็ได้ ลักษณะการเรียนส่วน ใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งยังไม่จากัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและ เกิดข้ึนในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต (กรมการศึกษานอกโรงเรียน,2538: 83) โดยมีแหล่งเรียนรู้ท่ีหลากหลาย ห้องสมุดประชาชน เป็นอีกแหล่งเรียนรู้ท่ีให้บริการประชาชน อยู่ในความรับผิดชอบของ สานักงาน กศน. ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด ดังน้ี 1. หอ้ งสมดุ ประชาชน “เฉลมิ ราชกมุ ารี” จานวน 100 แหง่ 2. ห้องสมดุ ประชาชนจงั หวดั จานวน 72 แห่ง 3. ห้องสมุดประชาชนอาเภอ จานวน 745 แห่ง สภาพท่พี บ จากการนิเทศการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยในกิจกรรมสาคัญ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน บา้ นหนังสือชมุ ชน หอ้ งสมดุ เคลอ่ื นท่สี าหรบั ชาวตลาด พบว่า ห้องสมุดประชาชนท้ัง 3 ประเภท จัดทาฐานข้อมูลด้วยโปรแกรมระบบบริการงานห้องสมุด (PLS) และระบบเช่อื มโยงฐานข้อมลู (Learning Resource Linkage System) โดยมีการสารวจความต้องการ ของผ้รู บั บรกิ าร เพื่อนาข้อมลู ทีไ่ ดม้ าวางแผนในการจัดกิจกรรม กิจกรรมท่ีจัด ได้แก่ บ้านหนังสือชุมชน บรรณสัญจร น่ังที่ไหนอ่านที่น่ัน ห้องสมุดเคล่ือนที่ สาหรับชาวตลาด และร่วมกับเครือข่าย กศน.ตาบล จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและพัฒนาความสามารถ การอา่ นในชุมชนและจดั กจิ กรรมรว่ มกับหน่วยงานอน่ื อย่างต่อเน่ือง เช่น ผู้สูงวัยใส่ใจการอ่าน ครอบครัวรักการอ่าน ห้องสมุดออนแอร์ อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน อ่านยกกาลังสุข กล่องความรู้กินได้ การเล่าเร่ืองจากภาพ หนูน้อยรักการอ่าน หนังสือทามือ แนะนาหนังสือดีที่ฉันอ่าน กิจกรรมรถโมบายเคล่ือนท่ี กิจกรรมส่งเสริม การอ่านสาหรับเด็กในการวาดภาพระบายสี และนิทาน AR การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเชิงรุกในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนประถมศึกษาในระบบ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ อาทิ การเล่านิทาน เรียนรู้คาศัพท์ จากนิทาน พ่ีร้องน้องเต้น ศิลปะสร้างสรรค์จากการอ่าน รถห้องสมุดเคลื่อนท่ี การดาเนินงานดังกล่าว เป็นการดาเนินงานในลักษณะการบริการเชงิ รุกเพื่อการกระจายการบริการให้ทวั่ ถงึ ทุกชมุ ชนหมูบ่ า้ น การจดั บรรยากาศในส่วนห้องสมดุ ประชาชนส่วนใหญ่ ดาเนินการจดั สภาพแวดล้อมเหมาะสม กับการให้บริการท้ังภายในและภายนอก และจัดสิ่งอานวยความสะดวก จัดบริการหนังสือ วารสาร นิตยสาร ส่ืออิเล็กทรอนิกส์ ให้บริการ wi-fi กาแฟและน้าดื่ม มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารอย่างเป็นระบบและ ต่อเนอ่ื งผ่านเว็บไซต์ เพจ หอ้ งสมุดประชาชน และห้องสมดุ ออนไลน์ในระบบเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้ (LRLS) โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจัดกิจกรรม ได้แก่ การสร้าง QR code ในรูปแบบหนังสือนิทานออนไลน์ เส้นทางความรู้ ใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความเป็นจริง (Augmented Reality หรือ AR) จัดบอร์ดนิทรรศการออนไลน์ ใช้แอปพลิเคชั่น Line เช่น แนะนาหนังสือใหม่ผ่าน Line เผยแพร่องค์ความรู้ ที่ทันสมัย ซ่ึงห้องสมุดหลายแห่งมี Best Practice/Good Practice และได้รับรางวัลในระดับต่าง ๆ แต่ยังมี ห้องสมุดประชาชนบางแห่งท่ีต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกให้มีความเหมาะสม แต่การเผยแพร่ ผลการดาเนินงานสู่สาธารณชนยังมีนอ้ ย

76 บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน ดาเนินการประสานงานกับ ครู กศน.ตาบล สนับสนุน การจดั ทาเนือ้ หาการเรียนรู้ สนับสนุนการศกึ ษาตอ่ เนอื่ ง ใช้เทคโนโลยสี นบั สนนุ การดาเนนิ งานส่งเสริมการอ่าน ให้บริการสืบค้นข้อมูลค้นคว้าหาความรู้ ยืม - คืนหนังสือด้วยระบบเทคโนโลยีออนไลน์ และประชาสัมพันธ์ ผ่านส่ือเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยบรรณารักษ์ / เจ้าหน้าท่ีห้องสมุดประชาชน นาความรู้ท่ีได้รับการพัฒนาในเรื่อง การทาคลปิ ข่าวประชาสัมพันธ์ เทคโนโลยสี ารสนเทศและดิจิทัล จัดทาคลิปกิจกรรม เพ่ือเผยแพร่กิจกรรมของ ห้องสมุดประชาชน ฯ จัดทาส่ือเทคโนโลยีเพื่อการบริการ กศน.ตาบลทุกแห่ง เช่น จัดทาเนื้อหาย่อ (Content Brief) พร้อมการทา QR Code แล้วส่งกลับให้ครู กศน. ตาบล นาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ รวมท้ังนาไปเผยแพร่ ใหแ้ กป่ ระชาชนในเวทตี ่าง ๆ ของชุมชน และเผยแพรผ่ ่านชอ่ งทางสื่อประเภทต่าง ๆ อีกดว้ ย การบริหารงบประมาณ ห้องสมุดประชาชนได้รับงบประมาณในการจัดซ้ือส่ือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ น้อย ทาให้ห้องสมุดประชาชนบางแหง่ ดาเนินการสรรหางบประมาณโดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดผ้าป่า ฯ เพือ่ หางบประมาณมาสนับสนุนการดาเนินงานหอ้ งสมดุ การรับบริจาคหนงั สือ ผลการดาเนินงาน ห้องสมุดประชาชนส่วนใหญ่มีผลการดาเนินงานท่ีผู้รับบริการมีความพึงพอใจ ในการใหบ้ รกิ ารดา้ นการจดั กิจกรรมที่หลากหลายตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย สาหรับโครงการบ้านหนังสือชุมชน บ้านหนังสือชุมชนส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพ้ืนท่ีท่ีประชาชน สามารถเข้าใช้บริการได้สะดวก มีผู้ดูแลรับผิดชอบ เช่น อยู่ในร้านค้า ร้านกาแฟ บ้านผู้นาชุมชน บ้านอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน บ้านอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน (อสม.) ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) รา้ นเสรมิ สวย รา้ นอาหารตามสงั่ บ้านหนังสือชุมชนหลายแหง่ มสี ภาพความพร้อมมาก ทั้งด้านสถานท่ี และสื่ออื่น ๆ บางแห่งมีแว่นตา มี wi-fi มีบริการน้าดื่ม แก่ผู้ใช้บริการ บางแห่งเป็นศูนย์บริการเน็ตประชารัฐ แต่ยังมีน้อย ผู้ดูแลบ้านหนังสือมีความพร้อม มีจิตสาธารณะในการให้บริการ และมีศักยภาพในการส่งเสริม การอ่าน หลายแหง่ มกี ารเปิดให้บริการอย่างสม่าเสมอ สถานที่มีแสงสว่าง จัดบริเวณท่ีนั่งอ่านหนังสือเป็นสัดส่วน มโี ตะ๊ เกา้ อส้ี าหรับนั่งอา่ น มอี ปุ กรณ์ ชนั้ วางหนังสือ แต่บางแห่งไมเ่ พยี งพอตอ่ ผใู้ ชบ้ รกิ าร การจัดกิจกรรมและหมุนเวียนส่ือ ส่ิงพิมพ์ ครู กศน.ตาบล ได้จัดหมุนเวียนสื่อหนังสือ ท่ีมีสภาพดี โดยจัดเป็นตะกร้า กระเป๋าหนังสือหมุนเวียน จาก กศน.ตาบลไปยังบ้านต่าง ๆ ที่มีความสนใจ ในชุมชน กิจกรรมอ่ืน ๆ อาทิ เข่งความรู้ ตู้เย็นหนังสือ ถังความรู้ โมบายคิวอาร์โค๊ต การพูดคุย แลกเปล่ียน ระหว่างสมาชกิ บางแห่งหนงั สือที่ให้บริการยังไม่หลากหลาย ส่ือส่ิงพิมพ์ไม่ทันสมัยค่อนข้างเก่า การหมุนเวียน หนังสือมีน้อย ยังคงต้องส่งเสริมศักยภาพในการอานวยความสะดวกการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน แต่ทุกแห่ง จะมกี ารประสานงานร่วมกับอาสาสมัครรักการอ่านตามระยะเวลา โดยได้รับความร่วมมือจากครู กศน. ตาบล ในการนาหนังสือไปหมุนเวียนตามวาระท่ีกาหนด ท้ังนี้บ้านหนังสือชุมชนและห้องสมุดเคล่ือนที่สาหรับชาว ตลาดบางแห่ง ผู้ใช้บริการให้ความสนใจที่จะยืมหนังสือไปอ่านท่ีบ้าน ทั้งน้ี ในการดาเนินงาน ได้รับการ สนับสนุนจากบุคคล หน่วยงานในพ้ืนที่ในการร่วมขับเคลื่อนส่งเสริมการอ่านตามพระราชดาริให้แก่ประชาชน ในพืน้ ทีค่ รู กศน. มีการสารวจความต้องการของผใู้ ชบ้ ริการ เช่น ประเภทหนังสือ ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการต้องการหนังสือ ประเภทส่งเสรมิ อาชพี ตามบริบทของชุมชน เช่น ดา้ นการเกษตร ด้านการประมง ด้านการท่องเท่ียว ประเภทศิลปะ ประดิษฐ์ ประเภทหนังสือสาหรับเด็ก นวนิยาย ทานายฝัน เป็นต้น บ้านหนังสือชุมชนทุกแห่ง มีป้ายบ้าน หนงั สือชมุ ชนเพ่ือประชาสัมพันธ์ มกี ารประชาสมั พนั ธใ์ นการประชุมหมู่บ้าน มีการบอกต่อ ประชาสัมพันธ์ผ่าน Facebook Application Line แม้จะมีการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย แต่ยังไม่ครอบคลุมมากนัก และยังมี ประชาชนทย่ี ังไมท่ ราบการจดั กิจกรรม

77 การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ บางแห่งมีการประเมินความพึงพอใจของ ผู้รับบริการอยู่ในระดับดี มีจานวนผู้ใช้บริการ เฉล่ียวันละ 15 คน/ตาบล แต่บางแห่งไม่มีการสรุปภาพรวม จึงทาใหผ้ ลการดาเนนิ งานไมช่ ดั เจน มหี ลายแห่งทีม่ กี ารยมื - คืน มกี ารหมนุ เวียนหนงั สือ มีการเก็บสถิติจานวน ผใู้ ชบ้ รกิ าร แต่ไม่คอ่ ยมกี ารสรปุ ภาพรวม หรอื นาผลการให้บริการมาวิเคราะห์ บางแห่ง มีเครือข่ายรักการอ่าน เพ่ิมข้ึนทุกเพศ ทุกวัย ชุมชนเครือข่ายมีส่วนร่วมในการสนับสนุนบ้านหนังสือชุมชน เช่น เอ้ือเฟ้ือสถานท่ี การหมุนเวียนหนังสือ โต๊ะ เก้าอ้ี ทีวี ชั้นวางหนังสือและอินเทอร์เน็ต แต่บางแห่งยังมีหน่วยงานและเครือข่าย ให้การสนับสนนุ ส่วนโครงการห้องสมุดเคล่ือนท่ีสาหรับชาวตลาด สถานศึกษาทุกแห่งดาเนินงานโครงการ ห้องสมุดเคล่ือนท่ีสาหรับชาวตลาด เป็นต้นแบบ 1 แห่ง และได้จัดให้มีห้องสมุดเคล่ือนท่ีสาหรับชาวตลาด ระดับอาเภอทุกอาเภอ คู่ขนานไปกับต้นแบบอีกด้วย ส่วนใหญ่ที่พบ สถานที่จะเป็นตลาดสด ร้านค้า ท่ีมี ความพร้อมหรือตลาดนดั โดยได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าของตลาด ในการสนับสนุนพ้ืนที่จัดกิจกรรม มีการเปิด ให้บริการอย่างสม่าเสมอทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ มีจิตอาสาฯ ช่วยดูแลหมุนเวียนเปล่ียนกัน และ ประสานงานความร่วมมอื สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์จากเจ้าของสถานประกอบการตลาดและขอรับบริจาคหนังสือ จากประชาชนท่ัวไป จัดกจิ กรรมสง่ เสริมการอา่ นทหี่ ลากหลายกิจกรรม หมุนเวียนตามกิจกรรมวันสาคัญต่าง ๆ มีการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนผู้ใช้บริการอย่างสม่าเสมอ หลายช่องทาง ได้แก่ ป้ายประกาศ แผ่นพับ การบอกต่อ หอกระจายข่าว เสียงตามสายขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน ผ่านส่ือออนไลน์อ่ืน ๆ เช่น Application Line Facebook เป็นต้น แต่ยังพบว่าห้องสมุดเคล่ือนที่สาหรับชาวตลาดบางแห่ง ประชาชนผู้มาใช้ บริการมีเวลาน้อย ไม่มีเป้าหมายในการอ่านหนังสือ พ่อค้าแม่ค้าไม่มีเวลา เน่ืองจากต้องให้บริการลูกค้า เปน็ หลกั จึงใช้บริการในมุมหอ้ งสมดุ ค่อนขา้ งนอ้ ย ทั้งนี้ ผู้รับผิดชอบได้หาวิธีการโดยเอาหนังสือใส่ถุงย่ามให้นา กลับไปอ่านท่ีบ้าน สถานท่ีบางแห่งไม่เหมาะสม เนื่องจากมีเสียงรบกวน มีกลิ่น สภาพแวดล้อม ไม่สะอาด ไม่ชวนให้เข้ามาใช้บริการ และในบางจังหวัด บางพื้นท่ี เป็นสถานที่เอกชน มีปัญหาในเรื่องของการตัดสินใจ เน่ืองจากมีหุ้นส่วนจานวนหลายคนจึงเกิดความล่าช้าในการบริหารจัดการและอานาจในการบริหารตลาด ไมเ่ ปน็ เอกเทศ ทาใหห้ ้องสมดุ เคลื่อนทีส่ าหรับชาวตลาดบางแหง่ เกิดปญั หาในการขอคืนพื้นท่ีบางสว่ น Best practice 1. นวัตกรรม “หนังสือล่องหน” ของ กศน. อาเภอยางสีสุราช สานักงาน กศน.จังหวัด มหาสารคาม นวัตกรรมส่งเสริมการอ่านตามแนวพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ของกลุ่มรอ้ ยแก่นสาร 2. นวัตกรรม “ห้องสมุด Delivery” ของสานักงาน กศน.จังหวัดกระบี่” นวัตกรรมส่งเสริม การอ่านตามแนวพระราชดารสิ มเด็จพระเทพรัตนราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี “กลมุ่ อันดามนั ” 3. รถมนิ ิโมบาย ของ สานักงาน กศน. จงั หวดั สงขลา ได้รบั งบบรู ณาการจากจังหวดั สงขลา 4. นวัตกรรม “เล่นตามพ่อ” ของ กศน.อาเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย นวัตกรรมส่งเสริม การอา่ นตามแนวพระราชดารสิ มเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี “กลุม่ องิ ดอย” https://www.facebook.com/maesuaipubliclabrary/videos/2062901277261139/

78 5. ห้องสมดุ ออนแอร์ (กศน.พบประชาชน) หอ้ งสมุดประชาชนอาเภอบ้านธิ จงั หวัดลาพนู 6. สง่ เสรมิ การอา่ นโดยใช้แอปพลิเคชนั่ ไลน์ห้องสมดุ อาเภอเมืองเชยี งใหม่ 7. จดั บอร์ดนทิ รรศการออนไลน์ ห้องสมุดอาเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชยี งใหม่ 8. กล่องความรกู้ นิ ได้ ห้องสมุดประชาชนจงั หวัดลาปาง

79 9 “อา่ นยกกาลังสขุ ” กศน.อาเภอแจห้ ม่ จงั หวัดลาปาง ปัจจยั ท่ีส่งผลต่อความสาเรจ็ 1. ห้องสมุดประชาชนบางแห่ง มีการวางแผนท่ีดี แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่สอดคล้อง กบั ความต้องการนโยบาย/จุดเนน้ การดาเนนิ งาน 2. บุคลากรทางการศึกษา ตาแหน่ง บรรณารักษ์ ซึ่งเป็นข้าราชการ มีความรู้ ความเข้าใจ และทกั ษะในการปฏบิ ัติงาน พฒั นาตนเองอย่างต่อเน่ือง มีความยินดที ่จี ะทางานยาก และทา้ ทายความสามารถ นาขอ้ บกพรอ่ งทพี่ บมาปรับปรุงเพ่ือพฒั นา 3. การกาหนดนโยบาย เป้าหมาย ตัวชี้วัดการดาเนินงาน และประชุมช้ีแจงให้ผู้ปฏิบัติทราบ อย่างชัดเจน 4. ผู้บริหารสถานศึกษาให้การส่งเสริม สนับสนุน เป็นที่ปรึกษา แนะนาท่ีดี สร้างขวัญและ กาลงั ใจใหผ้ ปู้ ฏิบัตงิ าน 5. ส่วนใหญ่นเิ ทศ ติดตาม ทง้ั การนเิ ทศภายในและภายนอกอยา่ งต่อเน่อื ง 6. การให้บริการสื่อที่หลากหลาย ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ รวมท้ังให้บริการ อินเทอรเ์ นต็ 7. การจัดกิจกรรมท่ีหลากหลายรูปแบบ เช่น ห้องสมุดประชาชน บ้านหนังสือชุมชน ห้องสมุดเคล่อื นทีส่ าหรบั ชาวตลาด นงั่ ท่ไี หน อ่านท่ีนน่ั และรถหอ้ งสมดุ เคล่อื นท่ี 8. นโยบายของบางจังหวดั เช่น สานกั งาน กศน.จังหวัดกระบี่ สานักงาน กศน.จังหวัดลาปาง สนับสนุนงบประมาณในการจัดหารถมนิ โิ มบาย และศูนย์ส่งเสริมศักยภาพเด็กปฐมวัย 9. ส่วนใหญไ่ ดร้ บั ความร่วมมอื จากเครือขา่ ยร่วมจัดกิจกรรม เช่น องคก์ รปกครองส่วนท้องถ่ิน ผปู้ ระกอบการในพ้นื ท่ีจดั โครงการหอ้ งสมดุ เคล่ือนท่ีสาหรบั ชาวตลาด

80 10. มีจิตอาสาที่ร่วมกับบรรณารักษ์ และ ครู กศน.ตาบล ในการดูแล พัฒนาสถานท่ี ให้สะอาด ทาความสะอาดช้ันวางหนังสือ และจัดหนังสือให้มีความเรียบร้อยสะดวกในการอ่าน น่าใช้บริการ อยทู่ ุกวัน 11. สถานศึกษามีการรายงานผลการดาเนินงานกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการศึกษา ตามอัธยาศัยอื่น ๆ เป็นประจาทุกเดือนต่อสานักงาน กศน.จังหวัด และในการประชุมผู้บริหารและบุคลากร ในสังกดั 12. ห้องสมุดประชาชนส่วนใหญ่ มีการเปิดให้บริการอย่างสม่าเสมอทุกวัน ไม่เว้น วันหยุดราชการ 13. สานักงาน กศน. จังหวัด สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ บุคลากรและดาเนินกิจกรรมการขอรับ บรจิ าคหนังสือจากประชาชนทว่ั ไป 14. มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ใช้บริการอย่างสม่าเสมอ หลากหลายช่องทาง เช่น ทาเปน็ แผ่นพบั ประชาสมั พนั ธ์การจัดกจิ กรรมของหอ้ งสมุดเคล่ือนที่ชาวตลาดในทุกกิจกรรม ปัญหาอปุ สรรค 1. บรรณารักษ์ ท่ีเป็นจ้างเหมาบริการและไม่มีวุฒิการศึกษาทางบรรณารักษ์ศาสตร์ บางคน ขาดความรู้ความเข้าใจในการดาเนินงานห้องสมุด ขาดความตระหนัก และขาดความกระตือรือร้นในการจัด กิจกรรมส่งเสรมิ การอา่ น 2. บรรณารักษ/์ เจา้ หน้าท่หี อ้ งสมุด ส่วนใหญ่ต้องทาหน้าที่อื่นด้วย เช่น การเงิน บัญชี พัสดุ ฯลฯ ทาให้มีเวลาในการจัดกิจกรรมส่งเสริมงานห้องสมุดน้อย และเวลาจากัด ทาให้การปฏิบัติงานเกิดความ ลา่ ช้าไม่ทันตามกาหนด 3. หอ้ งสมุดประชาชนบางแห่ง มีคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอในการให้บริการ 4. บรรณารกั ษ์ / เจา้ หนา้ ทีผ่ ปู้ ฏิบตั ิงานห้องสมดุ มไี ม่ครบทุกแหง่ 5. คนไทยในปัจจุบันส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการอ่านหนังสือท่ีเป็นส่ือส่ิงพิมพ์น้อยลง แต่หันมา อา่ นโดยผา่ นสือ่ โซเชยี ลมเี ดียและสมารท์ โฟนเป็นจานวนมาก 6. ในพ้ืนท่ีภาคใต้ การออกให้บริการนอกพื้นท่ีมีข้อจากัด เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ในพน้ื ที่จังหวดั ชายแดนใต้ 7. ห้องสมุดบางแห่งยังไม่มีการให้บริการอินเทอร์เน็ต เน่ืองจากข้อจากัดในเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ชารดุ 8. ห้องสมดุ ประชาชนสว่ นใหญย่ งั ไม่มีการวางแผนพัฒนาปรับปรุงสภาพภายในและภายนอก อยา่ งเป็นระบบ 9. สถานศกึ ษาบางแห่งขาดการตดิ ตามการดาเนนิ งานห้องสมุดอย่างต่อเนอ่ื ง 10. ห้องสมุดประชาชนบางแหง่ ไม่อยใู่ นชุมชน ทาให้ประชาชนไม่สะดวกในการเดินทางไปใช้ บริหารในห้องสมดุ 11. การได้รับจัดสรรงบประมาณจานวนน้อย ทาให้ไม่เพียงพอต่อการจัดซ้ือสื่อสิ่งพิมพ์ ทีม่ ีราคาสูง และขาดการจัดกิจกรรมเชิงรุกอย่างตอ่ เนื่อง 12. โครงการหอ้ งสมุดเคล่ือนที่สาหรับชาวตลาด ส่วนใหญ่ประชาชนผมู้ าใช้บริการมีเวลาน้อย ไม่มีเป้าหมายในการอ่านหนังสือ แม่ค้าไม่มีเวลา เนื่องจากต้องให้บริการลูกค้าเป็นหลัก จึงมีการใช้บริการ ในมุมห้องสมดุ คอ่ นข้างนอ้ ย

81 13. ห้องสมุดเคลื่อนท่ีสาหรับชาวตลาดบางแห่งไม่เหมาะสม เน่ืองจากมีเสียงรบกวน มีกล่ิน สภาพแวดลอ้ ม ไมส่ ะอาด ไม่ชวนให้เข้ามาใชบ้ ริการ 14. โครงการห้องสมดุ เคลอื่ นทีส่ าหรบั ชาวตลาด ในบางจงั หวัด บางพื้นที่ เป็นสถานท่ีเอกชน มีปัญหาในเร่ืองของการตัดสินใจ เนื่องจากมีหุ้นส่วนจานวนหลายคนจึงเกิดความล่าช้าในการบริหารจัดการ และอานาจในการบริหารตลาดไม่เป็นเอกเทศ ทาให้ห้องสมุดเคล่ือนที่สาหรับชาวตลาดบางแห่งเกิดปัญหา ในการขอคนื พื้นทีบ่ างส่วน ขอ้ เสนอแนะเพ่ือการพฒั นา ขอ้ เสนอแนะต่อสถานศกึ ษา 1. ควรสง่ เสรมิ ความรู้ ความเขา้ ใจ และทกั ษะการปฏบิ ัติงานห้องสมุดประชาชน โดยการจัดทา เป็นคู่มือการปฏิบัติงานห้องสมุดประชาชน หรือวีดิทัศน์แนะนาการปฏิบัติงานห้องสมุดประชาชน สาหรับ บุคลากรใหมแ่ ละควรนาเทคโนโลยใี หม่ ๆ และรปู แบบ/กิจกรรมส่งเสริมการอา่ นทท่ี ันสมยั มาให้บริการ 2. ควรพัฒนาเจ้าหน้าที่ห้องสมุดให้มีความรู้ท่ีจะพัฒนาระบบเช่ือมโยงแหล่งเรียนรู้ในการ ให้บรกิ าร 3. ควรส่งเสริมการอา่ น โดยจัดทาสือ่ สง่ เสรมิ การอา่ นผ่านทางโซเชียลมเี ดยี 4. ควรขยายการจัดตั้งแหล่งการอ่านในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มจานวนผู้อ่านหนังสือ เช่น ทอ่ี า่ นหนงั สือในวดั ในรา้ นกาแฟ สถานประกอบการ หรอื ในครวั เรอื นอย่างหลากหลาย เป็นตน้ 5. ควรสนบั สนุนงบประมาณในการซ่อมแซมวัสดอุ ปุ กรณ์คอมพวิ เตอร์ 6. ควรวางแผนพัฒนาปรับปรุงห้องสมุดประชาชน ท้ังสภาพภายในและภายนอกล่วงหน้า อย่างเป็นระบบ เพ่อื ให้ทันกับช่วงเวลาการขอสนับสนุนงบประมาณจากสานักงาน กศน. 7. ควรมกี ารติดตามเพอ่ื เปน็ ขวญั กาลงั ใจในการการดาเนินงานของหอ้ งสมุดอย่างตอ่ เน่ือง 8. ควรแสวงหาภาคีเครือข่ายและส่งเสริม ให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริม การอ่านมากขึน้ ข้อเสนอแนะต่อสานกั งาน กศน.จงั หวดั 1. ควรพัฒนาบรรณารักษ์ โดยเฉพาะประเภทจ้างเหมาบริการ ให้มีความสามารถในการ ออกแบบและจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านท่ีสร้างสรรค์ หลากหลาย น่าสนใจ สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ทกุ ช่วงวัยใหม้ ากยิ่งขน้ึ 2. ควรให้การสนับสนุนสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ให้เหมาะสม เพียงพอ ในการจัดกิจกรรมส่งเสริม การอ่าน 3. ควรส่งเสริมสนับสนุนให้บรรณารักษ์เพิ่มช่องทางการให้บริการส่งเสริมการอ่าน ท่ีหลากหลายโดยใชเ้ ทคโนโลยเี พิม่ มากขึ้น 4. ควรนิเทศ ติดตามผลการดาเนินงานโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และให้ ความสาคัญกับการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล รายงานผล เพ่ือนาไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุง การดาเนินงานให้ดียิ่งขึ้นตอ่ ไป 5. ควรจดั ประชมุ วเิ คราะหผ์ ลการจัดกิจกรรมสง่ เสริมการอา่ นของหอ้ งสมุดประชาชน ร่วมกับ ผู้บริหารสถานศึกษา และบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนจังหวัด/อาเภอ เพ่ือกาหนดแนวทางพัฒนาการจัด กจิ กรรมสง่ เสริมการอ่านเชิงรกุ ทห่ี ลากหลายตอ่ เน่อื งต่อไป

82 6. ควรส่งเสริมสนับสนุนการส่งเสริมการอ่าน โดยการจัดประกวดนวัตกรรมการส่งเสริม การอ่านระดับจังหวัด/กลุ่มสานักงาน กศน.จังหวัดอย่างต่อเน่ือง เพื่อกระตุ้นการจัดกิจกรรมและค้นหา นวตั กรรม ขอ้ เสนอแนะต่อ สานักงาน กศน. 1. ควรจัดทาคูม่ อื การปฏิบัติงาน/การจัดกิจกรรมเชิงรุก ของห้องสมุดประชาชนให้เหมาะกับ ยุคปัจจบุ นั เพ่อื เป็นแนวทางการปฏบิ ตั งิ านทช่ี ดั เจนใหบ้ รรณารกั ษ์ทมี่ ีการปรับเปลีย่ นบ่อย 2. ควรจดั ประกวดนวตั กรรมส่งเสริมการอ่านของห้องสมุดประชาชนในสังกัด กลุ่มเป้าหมาย ต่าง ๆ อย่างต่อเน่ือง เพื่อค้นหาและเผยแพร่นวัตกรรม เพ่ือเป็นแบบอย่างในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ใหก้ บั บรรณารักษต์ อ่ ไป 3. ควรกาหนดให้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามตัวช้ีวัดเป็นส่วนหน่ึงของการพิจารณา การเลอ่ื นข้นั เงนิ เดือน/พิจารณาตอ่ สัญญาจ้างเหมาบริการ 4. ควรจดั สรรงบประมาณเพอื่ ซอ่ มแซมวัสดุอปุ กรณค์ อมพิวเตอรเ์ พมิ่ มากขึ้น 13. งานอืน่ ๆ 1. การจัดการศึกษาในพ้ืนท่ีจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1) โครงการเรยี นรู้ภาษาเพอ่ื การสอื่ สาร สู่หม่บู า้ นชายแดนใต้ สภาพทพี่ บ สานกั งาน กศน.กลมุ่ จงั หวดั ชายแดนใต้ ได้กาหนดใหส้ านกั งาน กศน.จังหวัดทั้ง 5 จังหวัด ดาเนินกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้แก่ประชาชนในพ้ืนท่ีชายแดนใต้ เพื่อสร้างความเข้าใจและการอยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข โดยในไตรมาส 1 – 2 ได้กาหนดให้ดาเนินกิจกรรม 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ภาษาไทยเพ่ือการสื่อสารสาหรับผู้สนใจและกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ ภาษาจนี ภาษามลายูกลาง ฯลฯ) ซึ่งท้ังสองกิจกรรมกาหนดให้จัดหลักสูตรระยะสั้น จานวน 40 ช่ัวโมง ให้แก่ ประชาชนทั่วไปท่ีสนใจและต้องการเพิ่มทักษะด้านภาษา ซึ่งอาเภอที่อยู่ติดชายแดนส่วนใหญ่จะเน้นหลักสูตร ภาษาอังกฤษและภาษาจีน โดยมีการสารวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายก่อนดาเนินการ ด้วยวิธีการ สมั ภาษณ์ การจดั เวทีประชาคม ฯลฯ ด้านหลักสูตร กลุ่มศูนย์จังหวัดชายแดนใต้ได้กาหนดกรอบเน้ือหา วัตถุประสงค์ และ แบบเรียน ไว้เป็นแนวทาง เพ่ือให้สถานศึกษาไปพัฒนาเพ่ิมเติมเป็นหลักสูตรท่ีเหมาะสมกับบริบทของพื้นท่ี วทิ ยากรผู้สอนมาจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้มีความรู้ความสามารถในภาษาน้ัน ๆ มีการจัดทาแผนการสอน โดยสถานศกึ ษาร่วมกบั วทิ ยากร การดาเนินการสอนเป็นไปตามแผน แต่มีบางครั้งท่ีกระบวนการเรียนการสอน ไมเ่ ป็นไปตามแผน เนือ่ งจากผเู้ รียนและผู้สอนมเี วลาไม่ตรงกนั การจัดกระบวนการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้ทักษะภาษาในสถานการณ์ จาลอง สื่อการสอนใช้แบบเรียนท่ีกลุ่มศูนย์ฯ จัดทาขึ้น ส่วนการวัดและประเมินผลดาเนินการได้ครอบคลุม ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โดยมีการประเมินความรู้ก่อน - หลังเรียนทุกคร้ัง บางแห่งสานักงาน กศน.จังหวัด เป็นผูจ้ ดั ทาเครื่องมือประเมนิ ผลการเรียนรู้เพ่ิมเติมเพื่อประมวลผลการเรียนรู้ในภาพรวม บางแห่งสถานศึกษา เป็นผูจ้ ดั ทาเครอ่ื งมอื ประเมนิ ผลการเรียนรภู้ าพรวมเอง

83 สาหรับสถานที่จัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่มีความพร้อมและเหมาะสม เช่น ใช้สถานท่ี ของหน่วยราชการ โรงเรียนตาดีกา ศาลาอเนกประสงค์ กศน.ตาบล ท่ีทาการผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น ผู้เรียนที่จบ หลักสูตรส่วนใหญ่นาความรู้และทักษะเบ้ืองต้นไปใช้ในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสาร การประกอบอาชีพ และพฒั นาคุณภาพชวี ิต ปญั หาอปุ สรรค 1. ส่ือทใ่ี ช้ในการจดั การเรียนการสอนไมห่ ลากหลาย 2. ผู้สอนไม่ไดใ้ ช้สือ่ ตามที่กาหนดในแผนการสอนและหลักสตู ร ขอ้ เสนอแนะเพือ่ การพฒั นา ข้อเสนอแนะต่อสถานศึกษา 1. ควรกากับให้ผู้สอนจัดแผนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนฝึกทักษะการพูดในสถานการณ์จริง เชน่ การตดิ ต่อหน่วยงานราชการตา่ ง ๆ การตดิ ตอ่ ขายคา้ เป็นต้น 2. ควรกากับให้ผู้สอนจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สื่อที่หลากหลาย เช่น คลิปสั้น ๆ ภาพยนตร์สัน้ ๆ เปน็ ตน้ เพื่อใหผ้ ้เู รยี นได้ฝึกทกั ษะการฟังและการออกเสยี ง สาเนียง ขอ้ เสนอแนะต่อสานักงาน กศน.จังหวดั ควรมกี ารนิเทศติดตามผลอยา่ งต่อเน่อื งร่วมกบั สถานศกึ ษา 2) โครงการฝกึ อาชพี จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามแนวทางโรงเรียนพระดาบส สภาพที่พบ โ ร ง เ รี ย น พ ร ะ ด า บ ส จั ง ห วั ด ช า ย แ ด น ภ า ค ใ ต้ เ กิ ด ขึ้ น จ า ก พ ร ะ ร า ช ห ฤ ทั ย ห่ ว ง ใ ย ข อ ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีต่อเยาวชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา จึงได้พระราชทานแนวทาง การศึกษาตามรูปแบบโรงเรียนพระดาบสที่ส่วนกลาง ซึ่งสามารถขยายผลและประยุกต์รูปแบบบางประการ ให้เหมาะสมกับสภาพสังคม ศาสนา และวฒั นธรรมของท้องถน่ิ โดยต้ังอยู่ท่จี งั หวัดยะลา โรงเรียนพระดาบสเป็นโรงเรียนประจาในลักษณะกิน - นอน โดยรับสมัครเยาวชนชาย อายุ ๑8 - ๒๕ ปี ที่ประสงค์จะมีอาชีพ แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ มีภูมิลาเนาอยู่ใน ๔ จังหวัดและ ๔ อาเภอของ จังหวัดสงขลา เริ่มรับสมัครต้ังแต่เดือนมกราคม - มนี าคม ของทกุ ปี ปลี ะ ๘๐ คน ในการคัดเลือกใช้วิธีการสอบ ข้อเขียน สอบสมรรถภาพทางกาย และสอบสัมภาษณ์ จากคณะกรรมการท่ีมาจากหลายภาคส่วน สัมภาษณ์ ท้ังนักศึกษาและผู้ปกครอง ผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องเข้ามาพักอาศัยในโรงเรียนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความเป็นอยู่ โรงเรียนฯ มีการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพ ใน ๔ หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรช่างซ่อมและ บารงุ รกั ษารถยนต์ หลักสูตรช่างซ่อมเครื่องจักรกลการเกษตร หลักสูตรช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ และหลักสูตร ช่างไฟฟ้า โดยเริ่มเรียนทฤษฎีและฝึกทักษะ ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ในหมวดวิชาเตรียมช่าง หมวดวิชาชีพเฉพาะ หมวดวิชาทักษะชีวิต หมวดวิชากิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต และฝึกประสบการณ์ ปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม รวมระยะเวลาที่เรียนในหลักสูตร ๑,๗๒๘ ชั่วโมง ท้ังนี้ หลักสูตรสถานศึกษาท่ีใช้ พัฒนาจากหลักสูตรแกนกลางของโรงเรียนพระดาบส ในส่วนกลาง โดยเฉพาะหมวดวิชาทักษะชีวิตที่พัฒนาให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ ของผู้เรียน เช่น วิชาศาสนศึกษา วิชาศาสนาอิสลาม เป็นต้น การจัดกระบวนการเรียนการสอนเรียนทั้งทฤษฎี และปฏิบัติ เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ วิทยาลัยสารพัดช่าง วิทยาลัยเทคนิค และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน และการฝึกประสบการณ์จากสถานประกอบการต่าง ๆ โดยมีวิทยากรจากโรงเรียนพระดาบส และวิทยากร ภายนอกเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนการสอนการวัดผลประเมินผล อัตราส่วนระหว่างคะแนนระหว่างภาคและ

84 ปลายภาคเรยี น เป็น ๘๐ : ๒๐ แบง่ ระดับผลการประเมินเปน็ ๘ ระดบั ผู้จบหลกั สตู รจะได้รบั วฒุ บิ ัตรรับรองผล การเรียน ซ่ึงนักศึกษาท่ีจบหลักสูตรได้นาความรู้และทักษะท่ีจาเป็นไปประกอบอาชีพ ลดรายจ่ายในครัวเรือน ไปศึกษาต่อ โดยในแต่ละรุ่นจะมีนักศึกษาจบแล้ว มีงานทาประมาณร้อยละ ๘๐ ทั้งน้ี สานักงาน กศน. ได้สนับสนุนงบประมาณให้โรงเรียนพระดาบส ดาเนนิ การจดั กิจกรรม ดงั น้ี 1. จัดกระบวนการเรยี นรูฝ้ ึกทกั ษะอาชีพระยะส้ันและพัฒนาคุณภาพชวี ติ รนุ่ ที่ 8 1.1 ค่าตอบแทนวิทยากร หมวดวิชาชีพเฉพาะ (จานวน 4 หลักสูตรๆ ละ 288 ช่ัวโมง) ได้แก่ - หลักสูตรช่างซ่อมและบารงุ รกั ษารถยนต์ - หลักสูตรช่างซอ่ มเครอื่ งจกั รกลการเกษตร - หลักสตู รชา่ งซอ่ มรถจักรยานยนต์ - หลักสตู รช่างไฟฟ้า 1.2 ค่าตอบแทนวิทยากร หมวดวชิ าทักษะชีวิต (จานวน 7 วชิ า รวม 126 ช่วั โมง) ไดแ้ ก่ - การจดั การตนเอง (18 ชว่ั โมง) - ความเปน็ พลเมืองดี (18 ชว่ั โมง) - การจัดการสิงแวดล้อม (24 ชั่วโมง) - ศาสนศกึ ษา (9 ช่วั โมง) - อสิ ลามศึกษา (9 ชัว่ โมง) - ศาสนาเปรียบเทยี บ (12 ชัว่ โมง) - การใช้ภาษาไทยเพื่อการส่ือสาร (36 ชั่วโมง) 1.3 ค่าตอบแทนวิทยากร หมวดวิชากิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (จานวน 5 วิชา รวม 180 ชั่วโมง) ได้แก่ - ดนตรี (36 ชวั่ โมง) - ศลิ ปะทอ้ งถนิ่ (36 ชว่ั โมง) - ศิลปะประดิษฐ์ (36 ชั่วโมง) - การเกษตร (36 ช่ัวโมง) - การกีฬา (36 ชั่วโมง) 2. กิจกรรมพระดาบสเคล่ือนทรี่ ว่ มกับสานกั งาน กศน.จังหวัดยะลา ในคร่ึงปีแรก จัดกิจกรรม ๒ ครั้ง คร้ังท่ี ๑ ในวันท่ี ๑๘ มกราคม ๒๕๖๑ ณ องค์การ บริหารส่วนตาบลกรงปีนัง อาเภอกรงปีนัง และ คร้ังท่ี ๒ ในวันท่ี ๒๘ มกราคม ๒๕๖๑ ณ บริเวณรั้วรอบนอก สานักงาน กศน.จังหวัดยะลา โดยเป็นการออกหน่วยเคล่ือนท่ีให้บริการตรวจ ซ่อม เช็คสภาพรถจักรยานยนต์ และเคร่อื งใช้ไฟฟ้าให้กับประชาชน โดยมีศิษย์พระดาบสและครูทีร่ บั ผิดชอบดแู ลความเรยี บรอ้ ยในการบริการร่วมกัน ซึ่งได้รับการตอบรับจากประชาชนในพ้ืนท่ีเป็นอย่างดี ทั้งนี้ การกาหนดออกพื้นที่ให้บริการเป็นช่วงเวลาท่ีนักศึกษา ได้เรียนรทู้ ฤษฎีและทักษะกอ่ นเพื่อให้สามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง 3. กจิ กรรมส่งเสรมิ การเรียนรู้หลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง การอบรมให้ความรู้และปฏิบัติจริง หลักสูตร ๑๒ ช่ัวโมง ใช้เวลา ๒ วัน โดยเรียนรู้ เร่ืองการทาปุ๋ย การเพาะเห็ด การขยายพันธ์ุพืช เป็นต้น ซึ่งมีวิทยากรจากสานักงานเกษตรและภูมิปัญญา ท้องถ่ิน เปน็ ผู้ถา่ ยทอดความรู้ ทง้ั นี้ หลังจากอบรมแล้ว มีการฝึกปฏิบัติจริง นาผลผลิตที่ได้มาใช้บริโภคภายใน โรงเรยี น

85 จุดเดน่ 1. ศิษย์พระดาบสสามารถนาความรู้และทักษะไปทางานในสถานประกอบการและ ประกอบอาชีพส่วนตวั หลังจบการศึกษาแล้ว 2. ศิษย์พระดาบสได้รับการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นคนดี มีระเบียบวินัย อยา่ งเต็มที่ เนอ่ื งจากเป็นโรงเรยี นประจา 3. ศิษย์พระดาบสมีจิตอาสา และมีความสานึกในพระมหากรุณาธิคุณจากกิจกรรม การดาเนนิ งานทีโ่ รงเรียนจดั ให้ 4. เมือ่ ศษิ ยพ์ ระดาบสเรยี นจบหลักสูตรและผ่านการประเมินจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานประกาศนียบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ปัจจยั ท่ีส่งผลต่อความสาเร็จ 1. ครู อาจารย์ บุคลากรของโรงเรียนฯ และวิทยากรที่มาสนับสนุน ต่างมีความมุ่งมั่น ในการปฏิบัติงานเพ่ือถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และพระบรมวงศานวุ งศ์ 2. ศิษย์พระดาบสท่ีผ่านการคัดเลือกและผู้ปกครองต่างสานึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงมี ส่วนผลกั ดนั ในการกากบั ดูแลความประพฤตแิ ละการเปน็ อยขู่ องศษิ ย์พระดาบส 3. หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ และบุคคลภายนอก ต่างให้การสนับสนุนในการ ดาเนินการจัดกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนฯ ดว้ ยดีเสมอมา ปัญหาอุปสรรค 1. ขาดพ้ืนท่ีในการจัดทาโรงฝึกปฏิบัติการวิชาชีพเฉพาะ จึงจาเป็นต้องอาศัยความพร้อม จากสถาบนั ฝกึ วชิ าชีพ เช่น วทิ ยาลยั เทคนิคยะลา วทิ ยาลัยสารพดั ชา่ งยะลา สถาบนั พัฒนาฝีมือแรงงานที่ 24 ยะลา 2. เน่ืองจากโรงเรียนฯ อยู่ในช่วงการปรับปรุงหลักสูตรวิชาช่างอุตสาหกรรม โดยปรับ โครงสร้างของหลักสูตรจากเดิม หมวดวิชาพื้นฐานเตรียมช่าง 3 เดือน ปรับเป็น 6 เดือน หมวดวิชาชีพเฉพาะ 5 เดือน ปรับเป็น 3 เดือน ฝึกงานในสถานประกอบการ 3 เดือน ปรับเป็น 2 เดือน และหมวดทักษะชีวิต มีการเพิ่มเติม รายวิชา คือ 1) วิชาการเกษตรเพ่ือพ่ึงพาตนเอง 2) ภาษาอังกฤษเพื่อการส่ือสาร ซ่ึงไม่ สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรเดิม ทาให้มีปัญหาในการดาเนินงานด้านการเรียนการสอนท่ีเกี่ยวกับการเงิน และพัสดุ อน่ึง ควรมีการปรับโครงสร้างหลักสูตรวิชาช่างอุตสาหกรรม โดยปรับโครงสร้างของ หลักสูตร (เดิม) ในหมวดวิชาพ้ืนฐานเตรียมช่าง 3 เดือน ปรับเป็น 6 เดือน หมวดวิชาชีพเฉพาะ 5 เดือน ปรับเป็น 3 เดือน ฝึกงานในสถานประกอบการ 3 เดอื น ปรับเปน็ 2 เดอื น และหมวดทักษะชีวิตมีการเพิ่มเติม ๒ รายวิชา คือ 1) วิชาการเกษตรเพื่อพ่ึงพาตนเอง 2) ภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร เพื่อให้สอดคล้องกับ ข้อเสนอแนะคณะกรรมการบริหารโรงเรยี นพระดาบส และหลกั สูตรแกนกลางของโรงเรียนพระดาบส กรุงเทพ ทีไ่ ดม้ ีการปรบั เปลยี่ น ซ่งึ จาเป็นตอ้ งมกี ารปรบั โครงการที่ทางโรงเรยี นพระดาบสต้องการใหจ้ ดั การเรยี นการสอน ขอ้ เสนอแนะเพือ่ การพัฒนา ขอ้ เสนอแนะตอ่ สานักงาน กศน.จงั หวดั สานกั งาน กศน.จังหวัดยะลาควรจัดทาโครงการขอสนบั สนุนงบประมาณในปงี บประมาณ 2562 หรือ ในปีงบประมาณ 2563 เพม่ิ เตมิ เพื่อรองรบั การปรบั ปรงุ หลกั สูตรของโรงเรยี นพระดาบส

86 Good Practice 1. ศษิ ย์พระดาบสทจ่ี บการศึกษาและเข้าสู่สถานประกอบการบางส่วน ได้รับการไว้วางใจ และการสนับสนุนจากสถานประกอบการ เชน่ เป็นผจู้ ัดการฝ่ายขาย และฝา่ ยสินเชื่อบริษัทซิงเกอร์ เป็นช่างมือ อาชีพในสถานประกอบการ เปน็ ต้น 2. ศิษย์พระดาบสที่จบการศึกษาสามารถนาความรู้ไปเปิดกิจการเป็นของตัวเอง เช่น เปิดรา้ นซอ่ มรถจกั รยานยนต์ เปดิ รา้ นซ่อมรถยนต์ รบั เหมาติดตั้งอปุ กรณ์ไฟฟ้า รบั เหมาก่อสรา้ ง เป็นตน้ กิจกรรมโครงการฝกึ อาชพี จังหวดั ชายแดนภาคใต้ โรงเรยี นพระดาบสฯ ชา่ งซ่อมและบารุงรกั ษารถยนต์ ชา่ งซอ่ มเครื่องจกั รกลการเกษตร 3) โครงการจัดการศึกษาตลอดชีวติ ในสถาบนั ศึกษาปอเนาะ สถาบันศึกษาปอเนาะ เป็นสถานที่สอนศาสนาอิสลามท่ีมีหอพักอยู่ในบริเวณนั้น ซ่ึงหอพัก มีลักษณะเป็นกระท่อมเล็ก ๆ เป็นหลัง ๆ ส่วนใหญ่อยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการจัดการศึกษา ด้านศาสนาเพียงอย่างเดียว นับต้ังแต่ปี 2547 สานักงาน กศน. ได้รับการจัดสรรครูอาสาฯ ประจาสถาบัน ศึกษาปอเนาะ เพื่อเข้าไปจัดการเรียนการสอนสายสามัญ อาชีพ และเป็นผู้ช่วยโต๊ะครู ตามลาดับ ปัจจุบัน สานักงาน กศน. จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และ 4 อาเภอของจังหวัดสงลา ได้แก่ จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย เข้าไปจัดกิจกรรมจานวน 389 แห่ง โดยมีครูอาสาฯ ประจาสถาบันศึกษาปอเนาะ รับผิดชอบท้ังสิ้น จานวน 396 คน มีโครงการและกิจกรรมท่ีดาเนินงานในสถาบันศึกษาปอเนาะ 3 กิจกรรม ไดแ้ ก่ กิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพการมีงานทา กิจกรรมส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ในสถาบันปอเนาะ และกิจกรรม 1 ปอเนาะ 1 โครงการพัฒนา 1. กจิ กรรมส่งเสริมทักษะอาชีพการมีงานทา สภาพการดาเนนิ งาน กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือให้ผู้เรียนที่อยู่ในสถาบันศึกษาปอเนาะมีทักษะทางอาชีพ เพราะเม่ือออกจากสถาบันศึกษาปอเนาะไปแล้วสามารถประกอบอาชีพได้ วิชาชีพท่ีจัดส่วนใหญ่สอดคล้องกับ บริบทและความต้องการของสถาบันศึกษาปอเนาะ เช่น วิชาชีพช่างพ้ืนฐาน ได้แก่ ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า ชา่ งทาสี ฯลฯ วิชาชีพเกษตรผสมผสาน หลักสูตรขยายพันธ์ตุ น้ ทเุ รยี น หลกั สตู รการเพาะเหด็ เป็นต้น ส่วนใหญ่ ใชเ้ วลาเรยี นตลอดหลักสูตร 40 - 60 ชั่วโมง ซ่ึงสถานศึกษาได้พัฒนาหลักสูตรข้ึนมาเอง จัดทาแผนการเรียน การสอนตรงตามหลักสตู ร และสามารถสอนไดต้ ามแผนที่กาหนดไว้

87 วิทยากรส่วนใหญ่เป็นเจ้าของสถาบันศึกษาปอเนาะหรือเจ้าของสถาบันเป็นผู้จัดหา ซ่ึงส่วนใหญ่มีความรู้ความสามารถตรงตามหลักสูตร แต่ขาดเทคนิควิธีการในการถ่ายทอด สาหรับวัสดุฝึก มีความเหมาะสมและเพียงพอ ส่วนการวัดผลและประเมินผลยังไม่มีการดาเนินการอย่างเป็นระบบ ชัดเจน เท่าท่คี วร จุดเด่น หลักสูตรวิชาชีพท่ีจัดสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะสามารถนาไปใช้ประโยชน์ ได้หลากหลาย เช่น หลักสูตรช่างพ้ืนฐาน ได้นามาพัฒนาอาคารสถานที่ให้สวยงามและเอ้ือต่อการเรียนรู้และ อยู่อาศัย หลักสูตรการเกษตร ได้นาผลผลิตมาบริโภคและจัดจาหน่ายในชุมชนเพ่ือหารายได้มาพัฒนาสถาบัน ศกึ ษาปอเนาะได้ ปัญหาอุปสรรค วิทยากรขาดเทคนิคในการถ่ายทอดความรู้และการวัดผลประเมินผลท่ีเป็น ระบบตรง ตามจุดประสงคข์ องหลกั สูตร ขอ้ เสนอแนะเพ่ือการพฒั นา ข้อเสนอแนะตอ่ สถานศึกษา 1. ควรอบรมเทคนคิ การถ่ายทอดและการวดั ผลประเมินผลใหแ้ กว่ ิทยากร 2. ควรนิเทศ ติดตามผล และนาผลจากการนิเทศไปปรบั ปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะตอ่ สานักงาน กศน.จงั หวัด 1. ควรร่วมกับสถานศึกษาอบรมเทคนิคการถ่ายทอดและการวัดผลประเมินผลให้แก่ ครอู าสาฯ ประจาสถาบนั ศึกษาปอเนาะ และวิทยากร 2. ควรนิเทศ ตดิ ตาม และนาผลจากการนิเทศไปปรบั ปรุงพัฒนาอยา่ งตอ่ เนื่อง 4) กจิ กรรมส่งเสรมิ แหล่งเรยี นร้ใู นสถาบันศึกษาปอเนาะ สภาพการดาเนนิ งาน สถาบันศึกษาปอเนาะทุกแห่งท่ีเปิดให้ กศน.เข้าไปดาเนินงานร่วมกันน้ัน สานักงาน กศน.จังหวัด ไดม้ อบหมายให้ กศน.อาเภอท่รี บั ผดิ ชอบเข้าไปดาเนนิ การจัดมุมเรียนรู้ ซงึ่ ใหบ้ รกิ ารหนงั สือพิมพ์วันละ 1 ฉบับ วารสาร และหนงั สือ เพอื่ ใหน้ กั ศกึ ษาในสถาบันศึกษาปอเนาะได้มาศึกษาหาความรู้ และติดตามข้อมูลข่าวสาร วารสารและหนังสือส่วนใหญ่มีเน้ือหาเกี่ยวกับศาสนา สุขภาพอนามัย อาชีพ และหนังสือเรียน ซึ่งสารวจ จากความตอ้ งการสอ่ื ของสถาบนั ศกึ ษาปอเนาะนนั้ ๆ สถานทมี่ ีความเหมาะสมเออ้ื ตอ่ การใช้บรกิ าร ปญั หาอุปสรรค เน่ืองจากหนังสือท่ีจะนาเข้าไปในสถาบันศึกษาปอเนาะได้ จะต้องไม่ขัดกับหลักศาสนา ซึ่งหนังสือดังกล่าวในท้องตลาดหาค่อนข้างยาก มีจานวนน้อย ไม่หลากหลาย โดยเฉพาะวารสาร จึงส่งผลให้ หนังสือในมมุ เรยี นรไู้ มห่ ลากหลาย มีจานวนนอ้ ย และยังไมต่ รงกับความสนใจ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เท่าท่ีควร ขอ้ เสนอแนะเพ่ือการพัฒนา ข้อเสนอแนะต่อสถานศึกษา 1. ครูควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้แก่นักศึกษาปอเนาะ เพ่ือกระตุ้นและสร้างนิสัย รกั การอ่าน 2. ควรหมุนเวยี นหนังสอื ระหวา่ งสถาบนั ศึกษาปอเนาะ

88 ขอ้ เสนอแนะต่อสานักงาน กศน. ควรประสานงานขอรับการสนับสนุนสื่อไปยังสานักจุฬาราชมนตรี ซึ่งมีการจัดทาสื่อ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาค่อนข้างมาก เพื่อให้มีส่ือส่งไปให้แก่สถาบันศึกษาปอเนาะได้อย่างเพียงพอและตรงกับ ความต้องการ 5) กจิ กรรม ๑ ปอเนาะ ๑ โครงการพัฒนา สภาพการดาเนินงาน กิจกรรมนี้มีวตั ถุประสงค์เพื่อปรับภูมิทัศน์และพฒั นาแหล่งเรียนรู้ในสถาบันศึกษาปอเนาะ ให้เอ้ือต่อการจัดการเรียนรู้ ซ่ึงส่วนใหญ่สถาบันศึกษาปอเนาะจะพัฒนาภูมิทัศน์ด้วยการปลูกต้นไม้และ จัดสวนหย่อม ซ่อมแซมอาคารสถานที่ให้พร้อมต่อการจัดการเรียนการสอนและพักอาศัย จัดทาแหล่งเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง โดยสานักงาน กศน.จังหวัดสนับสนุนค่าวัสดุในการดาเนินงาน ส่วนการจัดทาคณะครูและ นกั ศกึ ษาในสถาบันศกึ ษาปอเนาะเป็นผู้ดาเนนิ การ จุดเด่น สถาบันศกึ ษาปอเนาะเกอื บทกุ แห่งมีภูมิทัศน์ที่สวยงามยิ่งข้ึน และมีแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพยี ง เชน่ ปลกู ผัก เลยี้ งปลา เปน็ ต้น สง่ ผลใหน้ ักศึกษามคี วามรู้ ทกั ษะ และสามารถนาไปใชใ้ นชีวิตได้ นอกจากนี้ ยังเป็นกิจกรรมท่ีเชิญชวนให้สถาบันศึกษาปอเนาะอ่ืนท่ียังไม่เข้าร่วม สนใจ ดาเนนิ งานกับ กศน.และเปิดโอกาสให้ กศน.เขา้ ไปจัดกจิ กรรมเพม่ิ มากขน้ึ ขอ้ เสนอแนะเพอ่ื การพฒั นา ข้อเสนอแนะต่อสถานศกึ ษา ๑. ควรมีการให้คาแนะนา ปรึกษาแนวทางการเขียนโครงการท่ีเหมาะสมกับสภาพพ้ืนท่ี และเกดิ ประโยชนต์ อ่ กล่มุ เปา้ หมายมากท่ีสดุ ๒. ควรนเิ ทศ ตดิ ตามใหก้ ารพัฒนาน้นั เป็นไปอย่างตอ่ เนือ่ งและเกดิ ประโยชน์สงู สดุ 2. โครงการอนั เน่ืองมาจากพระราชดาริและโครงการอันเก่ียวเนื่องจากราชวงศ์ 1) โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (กพด.) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จ พระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช บรมนาถบพติ รและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ไปทรงเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารห่างไกล การคมนาคมท่ัวทุกภาคของประเทศ ทรงพบปัญหาความยากจน และความทุกข์ยากของประชาชนด้วยพระองค์เอง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนขาดแคลนอาหารที่จะบริโภค เป็นโรคขาดสารอาหารและมีมาตรฐานทางการศึกษาต่า สุขภาพร่างกายอ่อนแอเกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย ทรงห่วงใยเยาวชนท่ีจะเป็นกาลังที่สาคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต เมื่อปี พ.ศ. 2523 พระองคท์ รงเร่ิมงานโครงการพัฒนาเดก็ และเยาวชนในถ่ินทุรกันดาร โดยทดลองทา “โครงการอาหารกลางวัน ผักสวนครัว” เปน็ โครงการแรก ในโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน จานวน 3 โรงเรียน ซึ่งระยะต่อมาได้มีการ ส่งเสริมให้เล้ียงสัตว์และปลูกผักสวนครัวด้วย จึงเรียกช่ือใหม่ว่า “โครงการเกษตรเพ่ืออาหารกลางวัน” หลังจากน้ันได้ทรงใช้หลักการ โรงเรียนเป็นฐาน การพ่ึงตนเอง การมีส่วนร่วมของชุมชน การใช้ทรัพยากร รว่ มกนั อย่างประหยดั และเกิดประสิทธผิ ลสูงสดุ

89 โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถ่ินทุรกันดารตามพระราชดาริ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) เร่ิมดาเนินงานเม่ือปี พ.ศ. 2542 ในพ้ืนท่ี 3 จังหวัด คือ จังหวัดน่าน เชียงใหม่ และจังหวัดตาก และขยายพ้ืนที่ ดาเนินงานโครงการ จนปี พ.ศ. 2560 มีพื้นที่ดาเนินงานใน 5 จังหวัด 12 อาเภอ 285 ศศช. จัดกิจกรรม ครอบคลุมสภาพปัญหาต่าง ๆ ของเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านโภชนาการและ สุขภาพอนามัย ด้านการศึกษา ด้านการส่งเสริมอาชีพ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) ในพื้นท่ีทรงงาน ตามโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี สภาพท่ีพบ โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถ่ินทุรกันดารตามพระราชดาริ สมเด็จพระเทพ รตั นราชสุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ดาเนินการในศนู ยก์ ารเรยี นชมุ ชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟา้ หลวง”(ศศช.) โดย มีการจัดกิจกรรมตามกรอบภารกิจของโครงการฯ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัย ด้านการศึกษา ด้านการส่งเสริมอาชีพ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการอนุรักษ์ วัฒนธรรมท้องถนิ่ ในพ้ืนที่ภาคเหนอื และภาคใต้ ดงั นี้ 1. ข้อมลู เชิงปรมิ าณ พ้นื ที่ สังกัด กศน. จานวนศศช. (แห่ง) จานวนครู 1.จังหวัดเชียงใหม่ 81 1.1 อาเภอแม่แจ่ม 36 9 2.จงั หวดั แม่ฮ่องสอน 235 3. จังหวดั ตาก 1.2 อาเภอกลั ยาณิวฒั นา 4 325 7 4. จงั หวัดนา่ น 1.3 อาเภออมก๋อย 113 13 20 5. จงั หวดั พงั งา รวม 153 35 รวม 5 จังหวดั 145 2.1 อาเภอแมส่ ะเรียง 3 22 65 2.2 อาเภอสบเมย 6 267 46 รวม 9 18 64 3.1 อาเภอแมร่ ะมาด 15 3 3 3.2 อาเภอท่าสองยาง 64 679 คน 3.3 อาเภออมุ้ ผาง 7 3.4 อาเภอพบพระ 2 รวม 88 4.1 อาเภอบ่อเกลือ 24 4.2 อาเภอเฉลมิ พระเกยี รติ 10 รวม 34 อาเภอคุระบุรี 1 รวม 1 12 อาเภอ 285 ศศช.

90 2. ขอ้ มูลเชงิ คุณภาพ การดาเนินงานโครงการฯ ทั้ง 5 จังหวัด ได้น้อมนาเอาพระราชดาริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มาเป็นเป้าหมายหลักในการดาเนินงาน เน้นการดาเนินงาน โดยใช้ศูนย์ การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” เป็นศูนย์บริการความรู้ ท้ังด้านการศึกษา การส่งเสริมอาชีพ การอนุรกั ษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม และการอนรุ กั ษแ์ ละสืบทอดวฒั นธรรมท้องถ่นิ จุดเดน่ ของกิจกรรม กิจกรรม กพด.ท้ัง 5 ด้าน สามารถนามาจัดเป็นกระบวนการเรียนรู้ของครูศูนย์การเรียน ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” เป็นกิจกรรมท่ีบูรณาการการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม โดยสามารถจัด กิจกรรมการศึกษาไดท้ ั้งเด็กและผู้ใหญ่ ปจั จยั ท่ีสง่ ผลต่อความสาเรจ็ 1. ผู้ร่วมโครงการเห็นความสาคัญและสานึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพ รัตนราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี 2. กระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็นการจัดกิจกรรมที่ช่วยแก้ปัญหา ซึ่งครอบคลุม สภาพปัญหาต่าง ๆ ของเด็กและเยาวชนในพ้ืนที่ ซ่ึงชาวบ้านเห็นถึงความสาคัญและประโยชน์ท่ีได้รับ ได้แก่ ดา้ นโภชนาการและสุขภาพอนามัย ด้านการศึกษา ด้านการส่งเสริมอาชีพด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และส่ิงแวดลอ้ มด้านการอนรุ กั ษว์ ฒั นธรรมท้องถ่นิ 3. ครูในพ้ืนท่ี ใช้ชีวิตร่วมกับชาวบ้านสามารถเข้าถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของ คนในชุมชน และการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้นาและชาวบ้านของครูในด้านการประสานงานกับหน่วยงาน ทงั้ ภาครฐั และเอกชนภายนอกพนื้ ท่ี

91 ปญั หาอุปสรรค พ้ืนดาเนินการโครงการ กพด.ทั้ง 5 ด้าน ส่วนใหญ่มีสภาพพื้นท่ีทุรกันดาร ปัญหาท่ีพบ จึงเป็นเร่อื งของการคมนาคมทีย่ ากลาบาก และสญั ญาณโทรศพั ท์ที่ไม่ครอบคลมุ ทุกพน้ื ที่ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ขอ้ เสนอแนะตอ่ สถานศกึ ษา 1. ควรนเิ ทศตดิ ตามเพื่อแกป้ ัญหาและสรา้ งขวญั กาลังใจแก่ผูป้ ฏบิ ตั งิ าน 2. ควรจัดหาส่ือ และส่ิงอานวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน เช่น ขยายขนาดแผงโซลา่ เซลล์ แบตเตอรร์ ่ีสาหรบั สารองไฟ วิทยุสอื่ สาร ฯลฯ ขอ้ เสนอแนะตอ่ สานกั งาน กศน.จังหวดั 1. ควรนิเทศ ติดตามเพ่ือสนับสนุนการแก้ปัญหาและสร้างขวัญ กาลังใจแก่ผู้บริหาร สถานศกึ ษาและผ้ปู ฏบิ ัตงิ านในพ้ืนท่ี 2. ควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาส่ือ และส่ิงอานวยความสะดวกในการปฏิบัติ หนา้ ที่ของผู้ปฏิบัติงาน เชน่ ขยายขนาดแผงโซลา่ เซลล์ แบตเตอร์ร่ีสาหรับสารองไฟ วิทยสุ ื่อสาร เป็นต้น ขอ้ เสนอแนะต่อสานกั งาน กศน. ควรจดั สรรงบประมาณในการดาเนนิ งาน 2) โครงการนาร่องส่งเสริมและพัฒนาทักษะการฟัง – พูดภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร สาหรับผู้ใหญ่บนพนื้ ทีส่ ูงตามพระราชดารขิ องสมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการนาร่องส่งเสริมและพัฒนาทักษะการฟัง – พูดภาษาไทยเพ่ือการส่ือสารสาหรับ ผใู้ หญ่บนพ้ืนท่ีสูงตามพระราชดาริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ดาเนินการในพื้นท่ี อาเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และอาเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก โดยมุ่งส่งเสริมและพัฒนาทักษะการฟัง การพูดภาษาไทย เพื่อการส่ือสารสาหรับผู้ใหญ่บนพื้นท่ีสูงในพ้ืนท่ีโครงการพระราชดาริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และเพื่อการศึกษาและพัฒนารูปแบบส่งเสริมและพัฒนาทักษะการฟัง การพูดภาษาไทย เพอ่ื การสือ่ สารสาหรบั ผู้ใหญ่บนพื้นทสี่ ูง ดาเนินการโดยครู ศศช. สภาพทีพ่ บ การดาเนินการสง่ เสรมิ และพฒั นาทักษะการฟงั การพูด ภาษาไทย เพื่อการสื่อสารสาหรับ ผู้ใหญ่บนพื้นที่สูงในพ้ืนท่ีโครงการพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในปงี บประมาณ ๒๕๖๑ รอบ ๖ เดือน จากการนิเทศพบว่า 1. ข้อมูลเชงิ ปริมาณ ที่ตั้งศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) จานวน ๑๓๐ แห่ง ผูเ้ รียน 2,233 คน ในพน้ื ท่ี ดงั นี้ - อาเภอท่าสองยาง จานวน 15 ศศช. (ผู้เรียน 422 คน) - อาเภออมก๋อย จานวน 115 ศศช. (ผเู้ รียน 1,811 คน) 2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ ครู ได้รับการพัฒนาท้ังความรู้และทักษะก่อนปฏิบัติหน้าท่ีจัดการเรียนรู้ โดยใช้ หลักสูตรการส่งเสริมการรู้ภาษาไทยของสานักงาน กศน. ในการจัดกิจกรรมครูจะมีผู้ช่วยหลักและผู้ช่วยรอง ทาหน้าท่ีเป็นผู้ช่วยเหลือระหว่างครูและผู้เรียนในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ และในโอกาสท่ีครูไม่ได้จัด กจิ กรรม ครูส่วนใหญ่จะบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียนเพ่ือเป็นข้อมูลในการประเมินการพัฒนาการรู้หนังสือของ ผู้เรียน ครูมีการออกแบบกิจกรรมที่หลากหลายเพ่ือเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจ และมีบางพ้ืนท่ีท่ีครูยังเข้า

92 ไปจดั กจิ กรรมไมท่ ่วั ถงึ สาเหตมุ าจากตอ้ งรบั ผิดชอบหลายพ้ืนที่ บางพื้นท่ีมีครูคนเดียวแต่มีภาระงานหลายด้าน ทาใหก้ ารจดั กิจกรรมไม่ครอบคลุมและไม่ท่วั ถงึ ขาดความต่อเน่ืองของการส่งเสริมการรู้หนงั สอื กลมุ่ เป้าหมาย/ผู้เรยี น ส่วนใหญ่ใหค้ วามสนใจในการเรียนรู้ แต่ไม่กล้าแสดงออก และ เป็นวัยผู้ใหญ่ที่กลัวและอายในการออกเสียงภาษาไทย มีส่วนน้อยที่ไม่สามารถร่วมกิจกรรมได้อย่างต่อเน่ือง ด้วยภารกิจหลักในการทาไร่ ผู้เรียนลืมง่าย เนื่องจากไม่ได้ใช้ภาษาไทยสื่อสารในชีวิตประจาวัน ยังคงใช้ภาษา ถนิ่ ของตนเปน็ หลัก ไม่คอ่ ยมีเวลาสนทนากับบคุ คลภายนอก สอ่ื ครูใช้สอื่ คอื แบบเรียน/ฝกึ และตวั ครูเป็นหลักในการจัดกิจกรรม ไม่เพียงพอในการ สง่ เสริมให้ผูเ้ รียนเกิดการเรียนรูจ้ นสามารถพูดและฟงั ภาษาไทยได้ จุดเดน่ ของโครงการ/กิจกรรม การจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาทักษะการฟัง การพูดภาษาไทย ไม่ใช้วิธีสอนหนังสือ ซึ่งจะไปทาลายความมั่นใจของผู้เรียน ใช้วิธีการธรรมชาติ โดยครูและผู้ช่วยครูทาหน้าที่ช่วยและชวนให้ผู้เรียน ได้ฟัง - พูดภาษาไทยบ่อย ๆ ด้วยการพูดคุยสนทนา และสร้างบริบท บรรยากาศที่เอ้ือให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ ฟงั - พดู บอ่ ย ๆ ปัจจัยท่สี ่งผลต่อความสาเรจ็ 1. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาไทยซ่ึงกันและกันด้วยความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและ ผู้เรยี นโดยมผี นู้ าชมุ ชนเปน็ ตวั อย่างในการใช้ภาษาไทยในการสอื่ สาร และการส่ือสารผา่ นหอกระจายขา่ ว 2. ครูไดร้ ับการพฒั นาในสาระทจี่ าเปน็ ต่อการจัดกจิ กรรมส่งเสริมและพัฒนาทักษะการฟัง การพดู ภาษาไทยเพ่อื การส่ือสารสาหรบั ผู้ใหญ่บนพื้นทีส่ งู

93 3. ผู้บริหารทุกระดับให้ความสาคัญและติดตามการดาเนินงานเพ่ือพัฒนาครูและสร้าง ขวญั กาลังใจให้ผู้เก่ียวขอ้ งทกุ ระดบั ปญั หาอุปสรรค ผู้เรียนมีพฤติกรรมการใช้ภาษาถ่ินเป็นหลัก มีความเคยชินในการใช้ภาษาถิ่นมากกว่า ภาษาไทยในการจดั กจิ กรรมขาดความตอ่ เน่ือง ผ้นู าชมุ ชนยงั ใช้ภาษาถิ่นเป็นหลักในการประชุมชาวบ้าน อีกทั้ง ไม่มีโอกาสได้ส่ือสารกับคนต่างถิ่น หรือบุคคลภายนอกชุมชน จึงทาให้ยังไม่เห็นความสาคัญของการใช้ ภาษาไทยในการส่ือสารเท่าท่ีควร ปัญหาด้านสุขภาพ เช่น อายุมากความจาส้ัน ลืมง่าย ไม่กล้าพูดกลัวออก เสียงไม่ชัด ช่วงเวลาในการส่งเสริมการรู้หนังสือไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรม เช่น หลังเลิกจากการไปไร่ กลมุ่ เป้าหมายกต็ อ้ งการพักผอ่ น ครูยังเขา้ ไปจัดกิจกรรมไม่ทั่วถึง เนือ่ งจากต้องรับผิดชอบหลายพนื้ ที่ และมีภาระงานหลาย ด้านทาให้การจัดกิจกรรมไม่ครอบคลุม บางพ้ืนท่ีจึงขาดความต่อเนื่อง ครูบางส่วนขาดเทคนิคประสบการณ์ ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ครูบางส่วนไม่เข้าใจภาษาถ่ินส่งผลให้ส่ือสารกันไม่เข้าใจกับผู้เรียน ครูขาดทักษะ ในการผลิตสื่อและเลือกใช้ส่ือเพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรม ผู้ช่วยสอนไม่เข้าใจความหมายของคาศัพท์ใน ภาษาไทยบางคา ทาให้อธิบายความหมายของคาให้กับผู้เรียนไม่ได้ หน่วยงานภาครัฐมีล่ามคอยแปลเวลาไป ติดตอ่ ราชการทาใหก้ ลุ่มเปา้ หมายไมไ่ ดพ้ ูดภาษาไทย ข้อเสนอแนะเพ่ือการพัฒนา ข้อเสนอแนะตอ่ สถานศึกษา 1. ควรสง่ เสรมิ ให้ครูใช้สอ่ื ที่หลากหลายในการจดั กจิ กรรม 2. ควรจดั หาสอ่ื ส่งเสรมิ การจัดกิจกรรม 3. ควรประสานงานกับภาคเี ครือขา่ ยให้เนน้ การใชภ้ าษาไทยในการสอื่ สารกบั ในชุมชน ข้อเสนอแนะตอ่ สานกั งาน กศน.จงั หวัด ควรพัฒนาครูให้มีความรู้ ทักษะทีจ่ าเปน็ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เชน่ การสร้างสอื่ และเทคนิค การใช้ส่ือชว่ ยสอน กิจกรรมนันทนาการสร้างสรรค์ ขอ้ เสนอแนะต่อสานกั งาน กศน. ควรพฒั นารูปแบบการสง่ เสริมการรู้หนังสอื และจัดพัฒนาบุคลกรผเู้ ก่ยี วข้อง

94 3) โครงการสร้างป่า สร้างรายได้ ตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีแนวพระราชดาริให้ดาเนินการ อนรุ กั ษ์ทรัพยากรปา่ ไมท้ ี่เหลอื อยู่ใหค้ งไว้ และฟ้ืนฟูส่วนที่เสื่อมโทรมให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิม โดยเฉพาะพื้นท่ี ป่าต้นน้า ซ่ึงเป็นต้นกาเนิดแม่น้าและลาห้วยน้อยใหญ่ และส่งเสริมให้มีการปลูกไม้ท่ีก่อให้เกิดรายได้แก่ราษฎร ในพื้นที่ด้วย ดังพระราชดารัส เมื่อวันท่ี 1 ตุลาคม 2555 ณ ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา อาเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ความว่า \"เสียดายผ่านมา ตัดป่าเสียราบ ป่านี้เป็นสมบัติของชุมชน ของชาติของเรา ของคนพื้นท่ี เป็นของ ชาวบ้าน ต้องรกั ษาไว้ เปน็ ของลูกหลาน ต้องปลูกป่าเลย ให้เร็วท่ีสุดเท่าที่จะทาได้ ให้ชาวบ้านพยายามจะคิด หาพชื ใหม่ ท่มี ีราคาแพง แดดไม่กลวั ระหว่างทีป่ ลูกใหช้ าวบา้ นมีรายได้ จรงิ ๆ .....\" สานักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตระหนักถึง พระราชหฤทัย ท่ีทรงห่วงใยป่าต้นน้า จึงได้ร่วมกับสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย และหน่วยงานต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องจัดทาโครงการสร้างป่า สร้างรายได้ข้ึนในพื้นท่ีอาเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ในปี พ.ศ. 2556 เพ่ือสนองแนวพระราชดาริดังกล่าว โดยสานักงานการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศยั อาเภอบอ่ เกลอื เป็นหน่วยงานขับเคล่ือนโครงการ โดยใช้รูปแบบการสร้างกระบวนการ เรยี นรู้เปน็ กลไกในการสรา้ งองค์ความรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ผู้ร่วมโครงการให้มีความตระหนักในการฟื้นฟูและ อนุรักษป์ า่ ต้นนา้ และสามารถมีรายได้จากกจิ กรรมการสรา้ งปา่ น้ีดว้ ย โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ สานักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จงึ ร่วมกับสานักงาน กศน. น้อมนาแนวพระราชดาริในการสร้างป่า สร้างรายได้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ ในปีมหามงคล ฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ขยายผลไปดาเนินการในพื้นท่ีทรงงานของ จังหวัดเชียงใหม่ น่าน ตาก และจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวม 11 อาเภอ เพื่อฟ้ืนฟูให้สภาพป่าไม้ได้รับการฟ้ืนฟู เป็นสภาพป่าที่สมบูรณ์ เปน็ แหลง่ อาหารทม่ี คี ุณภาพของชาวบา้ นไดเ้ ชน่ ท่ีผ่านมา ในปี พ.ศ. 2559 สานักงาน กศน. ได้ขยายพืน้ ที่ดาเนินการเพ่มิ อีก 6 อาเภอ โครงการสร้างป่า สร้างรายได้ ตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีฝึกปฏิบัติจริงท่ีสอดคล้องกับวิถีชีวิตของ ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและสามารถนาไปประกอบอาชีพให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน เป็นไปตามพระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และสร้างจิตสานึกให้ตระหนักในคุณค่าของการอนุรักษ์ป่า และอาศัยอยู่กับป่าอย่างเกื้อกูลซ่ึงกันและกัน ส่งเสริมการทางานร่วมกันของภาคีเครือข่ายที่ร่วมปฏิบัติงาน ในโครงการ ส่งเสริมทักษะด้านอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ ให้สามารถนาไปเพ่ิมรายได้ให้กับครอบครัว โดยใช้ รูปแบบการสร้างกระบวนการเรียนรู้เป็นกลไกในการสร้างองค์ความรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความตระหนักในการฟ้ืนฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน้า และสามารถมีรายได้จากกิจกรรมการสร้างป่าน้ีด้วย ในปี พ.ศ. 2561 สานักงาน กศน. ได้ดาเนินการจัดทาโครงการสร้างป่า สร้างรายได้ตามพระราชดาริต่อเนื่อง โดยเนน้ การจัดกระบวนการเรยี นรู้ให้แก่เกษตรกรผู้สมคั รใจเขา้ รว่ มโครงการ เพ่อื สรา้ งความยั่งยืนของโครงการ และเป็นการสรา้ งขวญั กาลังใจ ให้แก่เกษตรกรผูเ้ ข้ารว่ มโครงการ กิจกรรมทีก่ าหนดเปน็ การพัฒนาและติดตาม การดาเนินงานที่ผ่านมา ให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ และแนวพระราชดาริ พร้อมทั้งมีเป้าหมาย ในการขยายพ้ืนท่ีดาเนินการเพิ่มเติม ในปี พ.ศ. 2561 จานวน 5,000 ไร่ ในพ้ืนที่ 4 จังหวัด (จังหวัด เชียงใหม่ น่าน ตาก และจังหวัดแม่ฮ่องสอน) โดยสถานศึกษาในสังกัดสานักงาน กศน.จังหวัด เป็นหน่วยงาน ขบั เคล่อื นกจิ กรรมตามโครงการ

95 สภาพทีพ่ บ สถานศกึ ษามีการดาเนินการจดั ตัง้ กล่มุ อาชพี เพอื่ สรา้ งรายได้ระหวา่ งทางให้แก่เกษตรกร ผู้เข้าร่วมโครงการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายด้านงานอาชีพที่เหมาะสม กับบริบทและดา้ นการบริหารจัดการกลุ่มตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดต้ังกลุ่มอาชีพ ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ให้มีรายได้ระหว่างทางให้กับเกษตรกรท่ีเข้าร่วมโครงการในพ้ืนท่ี จังหวัด เชียงใหม่ น่าน แมฮ่ ่องสอน และจังหวัดตาก รวม 17 อาเภอ จานวน 130 กลุ่ม สาหรับรูปแบบจัดอบรม ให้ ความรู้แก่สมาชิกกลุ่ม รวม 1,280 คน นอกจากนี้ยังมีการประชุมปฏิบัติการช้ีแจงกระบวนการ ขั้นตอน การดาเนินงานตามโครงการสร้างป่า สร้างรายได้ ตามพระราชดาริฯ ให้กับผู้บริหารสถานศึกษา ครู กศน. ทีเ่ กี่ยวข้องในพื้นท่ดี าเนนิ การ ต้งั แตป่ ี พ.ศ. 2559 - 2560 เพือ่ เป็นการสรา้ งความเข้าใจในกระบวนการและ ข้ันตอนการดาเนินงาน พร้อมทั้งสนับสนุน การปฏิบัติงานของครูในพ้ืนที่ ให้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ ไดอ้ ยา่ งถกู ต้อง และเป็นไปตามข้นั ตอนที่กาหนดให้กับผบู้ ริหาร/ครู กศน. ในพืน้ ทีร่ ับผิดชอบ 1. ขอ้ มลู เชงิ ปรมิ าณ พนื้ ท่ีจานวน ๔ จงั หวดั 1.1 จังหวัดนา่ น ประกอบด้วย อาเภอบอ่ เกลือ อาเภอเฉลมิ พระเกียรติ และอาเภอเมือง 1.2 จงั หวดั เชยี งใหม่ ประกอบด้วย อาเภออมกอ๋ ย อาเภอแมแ่ จ่ม และอาเภอกลั ยาณิวฒั นา 1.3 จังหวัดตาก ประกอบด้วย อาเภอท่าสองยาง อาเภอแม่ระมาด อาเภอพบพระ และอาเภออุ้มผาง 1.4 จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย อาเภอสบเมย อาเภอแม่สะเรียง อาเภอเมือง อาเภอปาย อาเภอปางมะผา้ อาเภอขนุ ยวม และอาเภอแม่ลาน้อย 2. ข้อมูลเชงิ คณุ ภาพ การดาเนินงานโครงการฯ ทั้ง 4 จังหวัด ได้น้อมนาเอาพระราชดาริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มาเป็นเป้าหมายหลักในการดาเนินงาน เน้นการดาเนินงาน โดยใช้ศูนย์ การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” เป็นศูนย์บริการความรู้ ทั้งด้านการศึกษา การส่งเสริมอาชีพ การอนรุ ักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม และการอนุรักษ์และสบื ทอดวฒั นธรรมท้องถ่ิน

96 จดุ เด่นของกจิ กรรม กิจกรรม กพด. ทั้ง 5 ด้าน สามารถนามาจัดเป็นกระบวนการเรียนรู้ของครูศูนย์การเรียน ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” เป็นกิจกรรมท่ีบูรณาการ การศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม โดยสามารถจัด กจิ กรรมการศกึ ษาได้ท้งั เดก็ และผู้ใหญ่ ปจั จยั ทีส่ ่งผลต่อความสาเร็จ 1. ผู้ร่วมโครงการเห็นความสาคัญและสานึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 2. กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีฝึกปฏิบัติจริงท่ีสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน กลมุ่ เปา้ หมายและสามารถนาไปประกอบอาชพี ใหเ้ กดิ รายได้อย่างยัง่ ยนื 3. ผู้รว่ มโครงการมีความตระหนักในการฟ้ืนฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน้า และสามารถมีรายได้ จากกจิ กรรมการสรา้ งป่านีด้ ้วย 4. กจิ กรรมสง่ เสริมและสร้างขวัญกาลังใจให้แก่ครูและเกษตรกรด้วยการตรวจเย่ียมพื้นท่ี โดยผู้บริหารจังหวัด/สถานศึกษา กศน. ร่วมกับเครือข่ายระดับพ้ืนที่เป็นประจา ทาให้มีโอกาสแลกเปลี่ยน ประสบการณ์รว่ มกัน ปัญหาอุปสรรค พื้นท่ีในการดาเนินงาน ส่วนใหญ่อยู่ในเขตคุ้มครองของกรมป่าไม้ ส่งมีผลกระทบกับการ ทางานของชาวบา้ น และเจา้ หนา้ ทีก่ รมปา่ ไม้ ข้อเสนอแนะเพื่อการพฒั นา ขอ้ เสนอแนะต่อสถานศกึ ษา ควรนิเทศติด ตามเพื่อสรา้ งชว่ ยแก้ปญั หาและพัฒนากลมุ่ เป้าหมาย ข้อบงั คับ ข้อเสนอแนะตอ่ สานกั งาน กศน.จงั หวัด โครงการ 1. ควรประสานการมสี ว่ นรว่ มในการดาเนนิ งานกับหน่วยงานท่ีเกีย่ วข้องในระดบั จงั หวัด 2. ควรดาเนินงานระดบั สว่ นราชการ 3. ควรนเิ ทศตดิ ตามการดาเนินงานในพื้นท่ี 4. ควรกาหนดแนวทางการดาเนินงานในข้อจากัดต่าง ๆ เช่น กฎหมาย และระเบียบ 5. ควรทบทวนและกาหนดแนวทางการดาเนินการร่วมกันเพ่ือบรรลุวัตถุประสงค์ของ ขอ้ เสนอแนะตอ่ สานักงาน กศน. 1. ควรประสานช้แี จงการดาเนินงานให้หน่วยงานทเี่ ก่ยี วข้องทราบ 2. ควรทบทวนและกาหนดแนวทางการดาเนนิ การร่วมกนั ***********************************


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook