Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เอกสารประกอบการเรียน ท30207 การอ่านและพิจารณาวรรณกรรม

เอกสารประกอบการเรียน ท30207 การอ่านและพิจารณาวรรณกรรม

Published by stbuzzo, 2021-09-17 02:25:49

Description: ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น - ห้ามมิให้ใช้เชิงพาณิชย์ -

Search

Read the Text Version

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย : โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ครูรัฐพล ศรีบูรณะพิทักษ์ ชื่อ-นามสกุล ______________________________ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 / _____ เลขที่______



คำนำ เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ท30207 การอ่านและพิจารณาวรรณกรรม เป็นเอกสาร ประกอบการเรียนรายวิชาเพ่ิมเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 6 ปีการศึกษา 2564 ประกอบไปด้วยเนื้อหาความรู้ตั้งแต่หลักพ้ืนฐานในการอ่านหนังสือ จนถึงการเป็นผู้อ่านหนังสือท่ีมี ประสิทธิภาพ คือ สามารถอ่านพิจารณาหนังสือได้ตรงตามจุดมุ่งหมาย เอกสารประกอบการเรียนนี้จึงมี เน้อื หาหลกั พนื้ ฐานในการอ่านหนังสอื การแบ่งประเภทวรรณกรรม การอา่ นและพิจารณาหนังสือพิมพ์ การ อ่านและพิจารณาสารคดี การอ่านและพิจารณาบันเทิงคดี การอ่านและพิจารณาบทร้อยกรอง รวมทั้งการ พิจารณาและ การแนะนาหนังสือ ท้ังน้ีนอกจากพัฒนาความรู้ความเข้าใจแล้ว ยังเป็นการเพิ่มพัฒนาการ ในการอ่านและพิจารณาวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ โดยมีการสอดแทรกกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ภายใน เอกสารประกอบการเรียน ควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติการพิจารณาวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ นอกเอกสาร ประกอบการเรยี น รฐั พล ศรีบูรณะพิทักษ์ เรยี บเรียง เอกสารประกอบการเรยี น รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพจิ ารณาวรรณกรรม

สารบัญ หน้า บทท่ี ๑ ๑ บทท่ี ๑ ความรทู้ ่วั ไปเก่ียวกับการอา่ น ๒ ความหมายและกระบวนการของการอ่าน ๔ ความสาคัญของการอ่าน 4 ประเภทของการอ่าน ๕ ข้อแนะนาในการฝึกอา่ นในใจใหม้ ีประสิทธภิ าพ ๖ จดุ มุง่ หมายในการอ่าน ๘ พืน้ ฐานทส่ี าคัญในการอา่ น 9 ลักษณะของนักอา่ นท่ีดี ๑0 กจิ กรรมพัฒนาการเรียนรู้ ๑1 ๑2 บทที่ ๒ ประเภทของวรรณกรรม ๑3 การแบ่งประเภทของวรรณกรรม ๑5 วรรณกรรมรอ้ ยแกว้ ๑6 วรรณกรรมร้อยกรอง ๑6 ๑7 บทท่ี ๓ การอ่านและพจิ ารณาหนังสือพิมพ์ 19 ความหมายของหนังสือพิมพ์ ๒1 สภาพทวั่ ไปของหนังสือพิมพ์ ๒3 ประเภทของหนังสอื พมิ พ์ ๒5 ลักษณะเน้ือหาของหนังสอื พมิ พ์ 27 แนวการอา่ นหนังสือพิมพ์ 28 การพจิ ารณาคุณคา่ ของข่าว 28 การพิจารณาคุณคา่ ของหนังสือพิมพ์ 30 กิจกรรมพฒั นาการเรยี นรู้ 31 32 บทท่ี ๔ การอา่ นและพจิ ารณาสารคดี 32 ความหมายของสารคดี ๓3 ลักษณะสาคญั ของสารคดี 34 ความแตกต่างของสารคดีกบั ข้อเขียนประเภทอ่ืน ๆ 37 ความยาวของสารคดี 39 รปู แบบการเขียนสารคดี 43 ประเภทของสารคดี 44 สารคดที ่องเทีย่ ว 45 สารคดีชวี ประวัติ สารคดวี ิชาการ สารคดเี บอื้ งหลังข่าว สรุปแนวการอ่านและการประเมินค่าสารคดี กจิ กรรมพฒั นาการเรียนรู้ เอกสารประกอบการเรยี น รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอ่านและพิจารณาวรรณกรรม

สารบญั (ตอ่ ) ๕0 ๕0 บทท่ี ๕ การอ่านและพจิ ารณาบันเทิงคดี ๕1 นวนิยาย 54 องคป์ ระกอบของนวนิยาย 56 ประเภทของนวนยิ าย 56 คณุ คา่ ของนวนยิ าย 57 เรือ่ งส้นั 57 ความแตกต่างระหว่างเร่ืองส้นั กับนวนยิ าย 58 องค์ประกอบของเรื่องสนั้ 59 ประเภทของเรื่องสน้ั 59 ข้อสงั เกตในการอา่ นเร่ืองสน้ั 60 แนวการอ่านและการประเมินคา่ นวนิยายและเรื่องสนั้ 63 การประเมินคา่ นวนยิ ายและเรอื่ งส้ัน 65 กิจกรรมพฒั นาการเรยี นรู้ 66 67 บทที่ ๖ การอ่านและพิจารณาบทร้อยกรอง 69 ลักษณะบังคับของบทร้อยกรอง 69 ประเภทของบทร้อยกรอง 75 วตั ถุประสงค์ในการแต่งบทร้อยกรอง 78 สุนทรยี ภาพของบทร้อยกรอง 81 แนวการอ่านและประเมนิ ค่าบทร้อยกรอง 82 กจิ กรรมพฒั นาการเรียนรู้ 83 85 บทที่ ๗ การวจิ ารณ์และการแนะนาหนังสอื 86 การพจิ ารณาหนงั สอื การวิจารณ์หนังสอื การแนะนาหนังสือ บรรณานกุ รม เอกสารประกอบการเรยี น รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอ่านและพจิ ารณาวรรณกรรม

คำอธบิ ำยรำยวิชำ รหสั วิชา ท30207 รายวิชา การอ่านและพจิ ารณาวรรณกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชนั้ มธั ยมศึกษาปที ่ี 6 จานวน 1.0 หนว่ ยกติ เวลา 40 ช่ัวโมง คาอธิบายรายวชิ า การศึกษาความรู้ทั่วไปเก่ียวกับการอ่าน ประเภทของวรรณกรรม หลักเกณฑ์การพิจารณา วรรณกรรมแต่ละประเภท ท้ังหนังสือพิมพ์ สารคดี บันเทิงคดี บทร้อยกรอง หลักการวิเคราะห์และวิจารณ์ วรรณกรรม การประเมินคณุ ค่าวรรณกรรม การพิจารณา การแนะนา และการแสดงทัศนะเกี่ยวกับหนังสือ ทอ่ี า่ น ฝึกกระบวนการอ่าน วิเคราะห์และวิจารณ์ แสดงทัศนะเกี่ยวกับวรรณกรรมที่อ่าน สังเคราะห์ ความรู้และประเมินคุณค่าของวรรณกรรมที่อ่านได้อย่างมีเหตุผล รวมท้ังสามารถแนะนาหนังสือที่อ่านได้ อยา่ งเหมาะสม เพื่อให้เกิดสนใจใฝเ่ รยี นรู้ มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการอ่านและการเขียน ซาบซ้ึงในคุณค่า ของวรรณกรรมเรื่องท่ีอ่าน ตลอดจนสามารถนาข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ อยา่ งเหมาะสม ผลการเรยี นรู้ 1. บอกจุดประสงค์ของการอ่านวรรณกรรมได้ 2. บอกประเภทของวรรณกรรมท่อี ่านได้ 3. อา่ นวรรณกรรมและบอกหลักเกณฑ์การพิจารณาวรรณกรรมตามประเภทของวรรณกรรมได้ เหมาะสม 4. วิเคราะหแ์ ละวิจารณว์ รรณกรรมเร่อื งทีอ่ า่ นในทกุ ด้านไดอ้ ย่างมีเหตผุ ล 5. วิเคราะหแ์ นวคดิ และประเมินคณุ ค่าวรรณกรรมเรอ่ื งทอี่ ่านได้ 6. อธิบายวิธกี ารพิจารณา การแนะนาและการแสดงทศั นะเกย่ี วกบั หนังสอื ท่ีอ่านได้ รวม 6 ผลการเรยี นรู้ เอกสารประกอบการเรียน รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอ่านและพจิ ารณาวรรณกรรม

ทม่ี า: https://www.dek-d.com/board/view/3771630/ การอ่านเป็นวิธีการที่สาคัญอย่างหน่ึงในการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ ในปัจจุบันการพิมพ์ แพรห่ ลายไปมาก วิทยาการตา่ ง ๆ ทม่ี นุษย์สร้างสมและคิดค้นขน้ึ มา ล้วนได้รับการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์ อักษรทัง้ ส้ิน การอ่านจึงเปน็ เครอ่ื งมือสาคัญทจี่ ะชว่ ยใหเ้ ราเข้าถงึ และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ความหมายและกระบวนการของการอ่าน โกชัย สาริกบุตร (๒๕๑๘) กล่าวว่า การอ่าน คือ การแปลความหมายของตัวอักษรออกมาเป็น ความคดิ และนาความคิดนัน้ ไปใช้ใหเ้ กดิ ประโยชน์” การอ่านไม่ได้เปน็ เพียงการใช้สายตามองผ่าน ตัวอักษร ท่ีประกอบกันเข้าเป็นถ้อยคาหรือเรื่องราวต่าง ๆ เท่านั้น แต่ผู้อ่านยังต้อง เข้าใจความคิดและรับรู้ ความหมายของสิ่งท่ีอ่านด้วย ด้วยเหตุน้ีจึงกล่าวได้ว่า “การอ่านเป็นกระบวนการค้นหาความหมายหรือ ความเขา้ ใจจากตัวอกั ษรและสัญลกั ษณ์อ่นื ๆทใ่ี ชแ้ ทนความคิด” (สขุ ุม เฉลยทรพั ย์, ๒๕๒๖) กระบวนการของการอ่านมีข้ันตอนเริ่มจากการใช้สายตามองดูตัวอักษรแล้ว ทาความเข้าใจกับ ถอ้ ยคาแตล่ ะคา กลุ่มคาแตล่ ะกลุ่ม ตลอดไปจนถึงประโยคทกุ ๆ ประโยคท่ีเรียงรายต่อเน่ืองกันในหน้าหนึ่ง ๆ เมื่อเข้าใจความตลอดทั้งย่อหน้าแล้วก็ ทาความเข้าใจย่อหน้าต่อ ๆ ไปจนจบเรื่อง (สิทธา พินิจภูวดล และ ทพิ ย์สเุ นตร อนัมบตุ ร, ๒๕๒๕) เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๑

การทาความเข้าใจกับความหมายของถ้อยคาที่อ่านนั้น ผู้อ่านจะต้อง พิจารณาเลือกเอา ความหมายที่ดีทส่ี ดุ ซ่งึ เหมาะกบั ข้อความและเนื้อเร่ืองตรงน้ันมาใช้ ใหเ้ ป็นประโยชน์ ทั้งน้ีเพราะคา ๆ เดียว อาจมีความหมายไดห้ ลายอยา่ ง เชน่ คาวา่ “กิน” อาจหมายถึง การรับประทานอาหารก็ได้ ช่วงระยะเวลาก็ได้ หรอื คาวา่ “ข้ึน” อาจหมายถึง ไปสู่เบื้องบน เบ้ืองสูง หรือเบ้ืองหน้า เช่น ขึ้นต้นไม้ ขึ้น บันได เป็นต้น หมายถึง เพิ่มหรือทาให้เพิม่ เชน่ ขนึ้ ราคา หรือหมายถงึ อึดพอง กไ็ ด้ เชน่ ศพขน้ึ ทอ้ งข้นึ เป็นตน้ นอกจากนี้คายังอาจมีความหมายท้ังท่ีเป็นความหมายตามตัวอักษรหรือ ความหมายตรง และ ความหมายท่ีต้องผ่านการตีความหรือความหมายแฝง ดังนั้นในการทาความเข้าใจกับความหมายของคา ผู้อ่านจึงต้องพิจารณาจากเน้ือความหรือถ้อยคาที่แวดล้อมคานั้นประกอบด้วย เพ่ือพิจารณาเลือกเอา ความหมายทีด่ ีทีส่ ดุ ซง่ึ เหมาะกบั ขอ้ ความและเนื้อเรื่องตรงนั้นมาใชใ้ ห้เปน็ ประโยชน์ ดังกล่าวแลว้ กระบวนการของการอ่านจากทก่ี ลา่ วมาข้างตน้ น้ี อาจกล่าวโดยสรปุ ได้ว่า มลี าดบั ข้นั ดงั นี้ คือ ๑. การมองเหน็ คาและตัวอกั ษรอยา่ งชดั เจน ๒. การแปลความหมายและเข้าใจความหมายของคานั้น ๆ ๓. การร้จู กั เลอื กใชค้ วามหมายทถ่ี ูกตอ้ งตรงกับที่ผ้เู ขยี นตัง้ ใจไว้ ๔. การนาความหมายนนั้ ไปใชใ้ ห้เกิดประโยชน์ ความสาคัญของการอา่ น สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่อยู่ในยุคของข้อมูลข่าวสาร ในวันหนึ่งๆเราจะต้อง เผชิญกับข้อมูล ขา่ วสารมากมาย ไมว่ ่าเราจะทาอะไร เราก็จะได้รบั ข้อมูลข่าวสาร ติดมาดว้ ย เชน่ - ไปซอ้ื สินคา้ ท่ีตวั สินค้าก็จะมีชอ่ื สนิ ค้าและวิธใี ช้ - จะขนึ้ รถประจาทาง ท่ขี า้ งรถก็จะบอกเส้นทางท่รี ถผ่านและจดุ หมายปลายทาง - เมอ่ื ยามเจบ็ ปว่ ย ไปพบแพทย์ ท่รี ้านแพทย์กบ็ อกเวลาเปดิ -ปดิ ทาการ - เมื่อแพทย์จ่ายยา ก็มีสลากยาบอกสรรพคุณและวิธีรบั ประทาน เปน็ ต้น ข้อมูลข่าวสารต่างๆเหล่านี้ หากเราไม่สนใจอ่านเราก็จะขาดความรอบรู้ ขาดข้อมูลที่จะใช้ ประกอบในการตัดสินใจเรื่อง ต่างๆ บางคร้ังก็อาจทาให้เสียโอกาสท่ีดีในชีวิต เช่น ไม่อ่านป้ายประกาศ ตา่ ง ๆ ทาใหไ้ มท่ ราบข่าวการรบั สมัครงาน หรือกาหนดการสอบเข้าศึกษาต่อ ทาให้เสีย โอกาสในการสมัคร เข้าทางานหรือสมัครสอบ เป็นต้น การมีนิสัยรักการอ่านจึงเป็น ส่ิงสาคัญและจาเป็นย่ิงในการดารงชีวิต ในสงั คมปจั จบุ ัน นอกจากความสาคัญดงั กลา่ วขา้ งตน้ แลว้ การอา่ นยงั มีประโยชน์ตอ่ ผ้อู ่าน อีกหลายประการ เช่น ๑. การอ่านจะช่วยให้ผู้อ่านได้รับความรู้ในเร่ืองต่าง ๆ ได้รู้ความเคลื่อน ไหวของบ้านเมืองและ เหตุการณต์ า่ งๆทีเ่ กิดขนึ้ ร้เู ท่าทันความเปลย่ี นแปลงของสังคม ทาให้เป็นคนทันสมัย ทันเหตุการณ์ เมื่อใคร สนทนาเร่ืองตา่ ง ๆ ก็เขา้ ใจและรว่ มสงั คม ไดโ้ ดยไม่ขดั เขนิ ๒. การอ่านจะช่วยยกระดับสติปัญญาของผู้อ่านให้สูงขึ้น ผู้ท่ีอ่านมาก ย่อมรู้มาก การรู้มากยอม ก่อให้เกิดสติปัญญาอันเฉียบแหลม สามารถเข้าใจ สถานการณ์ต่างๆได้อย่างรวดเร็ว เมื่อประสบปัญหาก็ สามารถตัดสินหรือแก้ไข เหตุการณ์ได้ทันท่วงที เพราะความรู้ที่ได้จากการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นความรู้รอบตัว ความรู้ในสาขาวิชาชีพ หรือแม้เป็นเพียงเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ หากผู้อานอ่าน แล้วจดจานาไปใช้ ในโอกาสท่ถี ูกต้องและเหมาะสมย่อมทาให้เกิดประโยชนท์ ัง้ ส้นิ เอกสารประกอบการเรยี น รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพิจารณาวรรณกรรม ๒

๓. การอา่ นเป็นหวั ใจสาคัญของการศกึ ษา ในการเรียนทุกระดับนับตั้งแต่ ระดับชั้นประถมศึกษา จนกระทงั่ ถึงอดุ มศกึ ษาจาเปน็ ตอ้ งอาศยั การอา่ นเปน็ เครือ่ งมือในการแสวงหาความรู้ทัง้ สิ้น ในระดับประถมศึกษา การอ่านมีความจาเป็นมาก เพราะการเรียนวิชาต่าง ๆ ของนักเรียน จะต้องอาศัยการอ่านเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นวิชาคณิตศาสตร์ วิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต หรือ วิชาการงานอาชีพ เมื่อนักเรียนเรียนชั้นสูงขึ้นจนถึงระดับอุดมศึกษา การอ่านก็ย่ิงเพิ่มความสาคัญขึ้น ตามลาดับ ท้ังน้ีเพราะการเรียนในระดับนี้ผู้เรียนจาเป็นต้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเพ่ิมเติมจากการเรียน ในช้ันเรียน เพ่ือให้มีความรู้กว้างขวางลึกซึ้งย่ิงขึ้น การมีนิสัยรักการอ่านจึงเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับการศึกษา ในระดับต่าง ๆ เพราะการอ่านจะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้แตกฉาน ทาให้มีผลสัมฤทธ์ิในการเรียนดี เม่ือสาเรจ็ การศึกษาออกมาก็จะ หางานทาไดง้ ่าย ๔. การประกอบอาชีพ การประกอบอาชีพเกือบทุกอาชีพ จาเป็นต้องอาศัยผู้มีความรู้ ความสามารถในการทางาน จึงจะช่วยให้อาชีพนั้น ๆ พัฒนาก้าวหน้าไปได้ ผู้ที่มีความรู้และเตรียมพร้อม ในการพัฒนาฝีมือแรงงานและความคิดของตนอยู่เป็นประจา จึงมีโอกาสในการแสวงหางานได้ดีกว่ าผู้ท่ี ขาดความรู้และทักษะในการทางาน ขณะเดียวกันผู้ที่พัฒนาความรู้ความสามารถของตนให้ทันสมัย สอดคล้อง กับวิทยาการใหม่ ๆ อยู่เสมอ ย่อมมีความเจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพมาก กว่าผู้ที่ ไม่พัฒนาตนเอง การแสวงหาความรู้และวิทยาการใหม่ ๆ ด้วยการอ่านอย่างสม่าเสมอเพื่อนามาพัฒนา ปรับปรุงอาชีพของตนให้เจริญก้าวหน้าข้ึนจึงเป็นสิ่งจาเป็น นักธุรกิจท่ีฉลาดจึงต้องแสวงหาความรู้ด้วย การอ่านอยู่เสมอ เพ่ือนาความรู้จากการอ่านมาแสวงหาโอกาสในด้านการค้าและการลงทุน เกษตรกร ก็จะต้องอ่านเพ่ือติดตามความเจริญก้าวหน้าของการเกษตรแผนใหม่ท่ีจะนามาใช้ในการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวพืชผล การป้องกันศัตรูพืช การใช้ยาฆ่าแมลง และการเก็บถนอม พืชผล ฯลฯ แม้แต่แม่บ้าน ก็สามารถใชก้ ารอ่านในการแสวงหาความรู้ท่ีจะประกอบ อาหารให้มีคุณค่า ราคาถูก รู้จักเก็บถนอมอาหาร ให้ใช้ได้เป็นเวลานาน เรียนรู้วธิ ีการท่ีจะอบรมเลี้ยงดบู ตุ รให้เจริญเตบิ โตขนึ้ มาอย่างมีคุณภาพและมีความสุข ในชีวติ มพี ลานามยั สมบรู ณ์ทัง้ กายและใจ เรียนรู้แม้กระทง่ั วธิ ีการท่ีจะครองชีวิตในครอบครัว ให้มีความสุข ราบรื่นได้จากการอา่ นงานเขยี นซ่ึงมผี ู้รู้และผ้มู ปี ระสบการณเ์ ขยี นแนะนาไวใ้ นหนงั สือต่าง ๆ ๕. การอา่ นช่วยให้ผู้อ่านมีจิตใจเบิกบานแจ่มใส การอ่านหนังสือที่แต่งดี มีเนื้อหาน่าสนใจ ผู้อ่าน ย่อมได้รับความเพลิดเพลิน อ่านได้นาน ช่วยให้เกิดความสุข ผ่อนคลายความเครียด การอ่านหนังสือ บางประเภท เช่น หนังสือธรรมะ จะช่วยให้ผู้อ่านมีจิตใจสงบ ไม่พุ่งซาน ช่วยคลายทุกข์ และทาให้เข้าใจ ตนเองและ ผ้อู ืน่ ดขี ้ึน ด้วยเหตุท่ีการอ่านมีความสาคัญและมีประโยชน์ต่อผู้อ่านในด้านต่างๆ ดังกล่าวแล้ว เราจึงควร ฝกึ ฝนตนเองให้เป็นผู้มีนิสยั รกั การอ่าน ด้วยการใฝ่หา ความรู้และติดตามความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ด้วยการอ่านอยู่เสมอ เพื่อจะได้นาความรู้ ความคิด ท่ีได้จากการอ่านนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และสงั คม ในโอกาสตอ่ ไป เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๓

ประเภทของการอ่าน การอ่านแบ่งตามลกั ษณะท่ีอานไดเ้ ปน็ ๒ ประเภท คอื ๑. การอ่านออกเสยี ง ๒. การอ่านในใจ ๑. การอา่ นออกเสยี ง เป็นกระบวนการต่อเน่ืองระหวา่ งสายตา สมอง และการเปล่งเสียงออกมา กล่าวคือ สายตาจะจับจ้องตัวอักษรและเคร่ืองหมายต่าง ๆ แล้วสมองจะประมวลให้เป็นถ้อยคา จากน้ัน จงึ เปล่งเสียงออกมา การอา่ นออกเสียง เป็นการอ่านให้ตัวเองหรือผู้อื่นฟัง ในกรณีท่ีเป็นการอ่านให้ผู้อ่ืนฟัง ผ้อู า่ นจะต้อง คานึงถงึ ความเข้าใจของผู้ฟงั ดว้ ย การอ่านออกเสียงที่ดี ผู้อานต้องอ่านให้ถูกต้อง ชัดเจน ออกเสียงให้ดังพอ เหมาะกับจานวน ผู้ฟัง รู้จักผ่อนหายใจให้ตรงกับจังหวะหยุดของวรรคตอน ทาน้าเสียงให้สอดคล้องกับเร่ืองที่อ่าน และ ปรับจังหวะการอ่านให้พอเหมาะ ไม่ช้าหรือ เร็วเกินไป ถ้าเป็นการอ่านคาประพันธ์ก็ต้องรู้จักการอ่าน ทานองเสนาะให้ไพเราะและถูกตอ้ งตามฉันทลักษณข์ องคาประพันธ์ประเภทน้นั ๆ การอ่านออกเสียง ผ้อู านจะอา่ นได้ไมน่ านนัก เพราะจาเป็นต้องอ่านทุกตัวอักษร จะอ่านแบบ ผ่าน ๆ หรืออ่านข้ามไม่ได้ จึงทาให้เหนื่อยเร็ว อ่านได้เน้ือหาน้อยและอ่านได้ช้า จึงเหมาะสาหรับอ่าน หนงั สอื บางประเภทเท่านน้ั เชน่ ประเภทกาพย์ กลอนท่ีต้องการความไพเราะ ซาบซ้งึ เป็นตน้ ๒. การอ่านในใจ หมายถึง การอ่านให้เข้าใจเร่ือง โดยไม่ต้องเปล่งเสียง ออกมาให้ผู้อื่นได้ยิน กระบวนการในการอ่านในใจจงึ มีขั้นตอนน้อยกว่าการอ่านออก เสียง หากนากระบวนการอ่านของการอ่าน ในใจและการอา่ นออกเสยี งมาพิจารณา การอ่านในใจ เป็นการอา่ นเพื่อความเข้าใจของตนเอง ผู้ท่ีมีความสามารถใน การอ่านจะอ่าน ได้รวดเร็ว เข้าใจถูกต้อง เก็บสาระสาคัญได้ครบถ้วน ส่วนผู้ที่อ่านในใจไม่เก่ง มักจะอ่านได้ช้า อ่านได้ ไม่ตลอด จบั ใจความของเรอ่ื งทอ่ี ่านไม่ได้ หรอื ไดไ้ ม่ครบถว้ น ทาให้ไม่เขา้ ใจเร่อื งท่ีอา่ นหรอื เข้าใจผิด การอ่านในใจ ผู้อ่านสามารถอ่านได้อย่างรวดเร็ว เพราะไม่จาเป็นต้องอ่านทุกตัวอักษร อาจอ่านเพียงผ่าน ๆ เพ่ือให้เข้าใจเนื้อหาโดยส่วนรวมก็ได้ การอ่านในใจ จึงอ่านได้เป็นเวลานานและ ไดเ้ น้อื หามาก เหมาะสาหรับอ่านหนังสอื ทุกประเภท ในชีวิตประจาวันนั้น เรามักจะอ่านหนังสือหรือสารประเภทอื่นๆด้วยการอ่านในใจมากกว่า การอ่านออกเสียง ดังนั้นผู้อ่านจึงควรได้ฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถในการอ่านในใจได้อย่างมี ประสทิ ธภิ าพ ข้อแนะนาในการฝึกอ่านในใจให้มปี ระสิทธภิ าพ ๑. หาหนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆที่สอดคล้องกับความสนใจของตนมาอาน โดยใช้เวลาอ่านเพียง ระยะสน้ั ๆก่อน เชน่ ประมาณ ๕-๗ นาที ต่อไปจึงค่อยเพิ่มเวลาอ่านให้มากขึ้น โดยควบคุมจิตใจให้แน่วแน่ มีสมาธมิ นั่ คง อดทนตอ่ ส่ิงรบกวน มงุ่ อ่านข้อความใดข้อความหน่ึงท่ีสนใจใหห้ มดตอน ๒. ในขณะท่ีอ่านไม่ควรทาปากขมุบขมิบ หรือออกเสียง และไม่ควรใช้น้ิวชี้ตัวหนังสือเพราะ จะทาให้อ่านไดช้ ้า และรู้สึกเหน่ือยเร็ว ควรใชป้ ระสาทตาและสมองเทา่ นน้ั ๓. ดูให้รอบคอบในขณะท่ีอาน อย่าอ่านข้ามข้อความ ข้ามบรรทัด เพราะ จะทาให้ไม่เข้าใจและ จะตอ้ งกลบั มาอา่ นใหม่ ๔. ฝกึ กวาดสายตาเปน็ ชว่ งๆ คอื เปน็ ขอ้ ความหรอื ประโยค ไมค่ วรอา่ นทุกตวั อกั ษร เอกสารประกอบการเรยี น รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอ่านและพจิ ารณาวรรณกรรม ๔

๕. พยายามอ่านจับความเป็นตอน ๆและฝึกตอบคาถามที่ต้ังไว้เสมอ จะช่วยให้เข้าใจเร่ืองราว ทอ่ี า่ นได้ ๖. พยายามฝึกอ่านเป็นประจาและควรจับเวลาเสมอในขณะท่ีฝึกอ่านเพ่ือให้เกิดความชานาญ และให้ไดส้ ถิตสิ ูงขึ้นเรือ่ ย ๆ ตามลาดับ จดุ มงุ่ หมายในการอ่าน เม่ือมีคาถามว่า โดยท่ัวไปคนเราอ่านหนังสือเพื่ออะไร อาจสรุปเป็นจุดมุ่งหมายของการอ่านใหม่ ไดเ้ ปน็ ๓ ประการใหญ่ ๆ คอื ๑. เพื่อความรอบรู้ การอ่านเพ่ือความรอบรู้ เปน็ การอา่ นทสี่ นองความ ต้องการอยากรู้อยากเห็น อันเป็นธรรมชาติวิสัยของมนุษย์ที่อยากรู้อยากเห็นเรื่องของคนอื่น อยากรู้ความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ ตา่ งๆในสงั คม อยากมคี วามรูเ้ ร่ือง ทวั่ ไป ฯลฯ การอ่านเพอ่ื ความรอบรู้จึงเป็นการอ่านเพ่ือให้เข้าใจเร่ืองราว ต่างๆในชีวิตประจาวัน เพ่ือให้เป็นคนท่ีมีความรู้กว้างขวาง ทันโลกทันเหตุการณ์ สามารถปรับตัวเข้ากับ สังคมและส่งิ แวดล้อมได้ ๒. เพื่อการศึกษาค้นคว้า การอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า เป็นการอ่าน เพื่อแสวงหาความรู้ เพื่อ นาความรู้น้ันไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษาเล่าเรียน การปรับปรุงอาชีพ การงาน การแกป้ ัญหาต่าง ๆ ฯลฯ สังคมปัจจุบันเป็นสังคมของการแข่งขัน การท่ีจะแข่งขันกับผู้อื่นได้ก็ต้องรู้ มากกว่าคนอื่นจึง จะมีชยั ในการแข่งขัน คนท่ีฉลาดจึงมกั ศึกษาหาความรู้ดว้ ยการอา่ น อยเู่ สมอ ๓. เพ่ือความบันเทิง การอ่านเพ่ือความบันเทิงเป็นการอ่านเพ่ือผ่อนคลาย อารมณ์ หรือเพื่อหา ความเพลิดเพลินจากการอ่าน ความจริงมีกิจกรรมมากมายที่สามารถเลือกสรรมาทาเพ่ือความเพลิดเพลิน ได้ แตก่ ารหาความเพลดิ เพลนิ ที่ ลงทนุ นอ้ ยแต่ได้รับผลกาไรมาก ก็เห็นจะมีแต่การหาความเพลิดเพลินจาก การอา่ น เทา่ น้ัน ดังที่ รัญจวน อินทรกาแหง ไดก้ ล่าวไว้ตอนหนึ่งในบทท่วี า่ ดว้ ย “หนังสอื กับชีวิต” ว่า ในโลกน้ีมีสิ่งที่ให้ความเพลิดเพลินรื่นรมย์ใจแก่ชีวิตมากหลาย ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ ในทค์ ลับ สวนสตั ว์ สรุ า นารี พาชี กฬี าบัตร ฯลฯ แลว้ แตจ่ ะเลือก แล้วแต่จะ พอใจ แต่ส่ิงเหล่านั้นไม่มีสิ่งใดท่ีพร้อมจะให้บริการย่ีสิบสี่ช่ัวโมงอย่างย่ังยืน ไม่มีส่ิงใดท่ี สามารถรวมทุกรสไว้ในตัวเองได้อย่างหนังสือ บางอย่างให้ได้แต่ความ เพลิดเพลิน บางอย่างให้ได้แต่ความต่ืนเต้น มิหน้าซ้าบางอย่างให้แต่ความมัวเมา ส้าหรับหนังสือแล้ว จะต้องการรสใด เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ดร้อน อย่างใด มี ให้เลือกพร้อม เลือกได้ทุก เวลา ไมว่ ่าจะเป็นกลางวนั หรือกลางคืน ดึกด่ืนหรือ หัวค้่า หน้าร้อนหรือหน้าหนาว หนังสือ พร้อมที่จะรับใช้ รับใช้อย่างเพ่ือนก็ได้ อย่างครูก็ได้ อย่างพ่ีน้องญาติมิตรก็ได้ แล้วแต่จะ เลอื ก (รัญจวน อินทรกา้ แหง, ๒๕๑๕, หนา้ ๙-๑๐) เอกสารประกอบการเรยี น รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพิจารณาวรรณกรรม ๕

อย่างไรก็ตาม ในการอ่านทุกคร้ัง ไม่ว่าจะเป็นการอ่านสารประเภทใด ด้วยจุดมุ่งหมาย อย่างไร หน้าที่สาคัญที่ผู้อ่านจะต้องทาในฐานะผู้รับสาร ก็คือทาความเข้าใจสารที่ได้อ่านและแปลเจตนา ของผูส้ ่งสารใหถ้ กู ตอ้ ง พนื้ ฐานทีส่ าคญั ในการอา่ น การอ่านมิได้หมายเฉพาะการใช้สายตามองผ่าน ข้อความที่อ่านเท่าน้ัน แต่ยังหมายรวมถึง ความเข้าใจ หรอื การรับรู้ความหมายของขอ้ ความที่อา่ นดว้ ย ดงั นั้นหน้าท่ที ี่สาคัญที่ผู้อ่านจะต้องทาในฐานะ ผู้รับสารก็คือ ทาความเข้าใจกับข้อความนั้น จนเกิดความเข้าใจได้อย่างถูกต้องตรงตามเจตนา ในการสื่อสารของผู้เขยี น ความเขา้ ใจในการอา่ นนัน้ อาจแบ่งได้เปน็ สามระดบั ตามทกั ษะทแ่ี สดง ออกดงั น้ี คอื ความเข้าใจในการอ่านระดับแรก ได้แก่ ความสามารถในการจับใจความ สาคัญและความคิด ยอ่ ย ๆท่ีสนับสนนุ หรือขยายใจความสาคัญหรือความคิดสาคัญน้นั ได้ ทงั้ สามารถบอกได้ว่าเป็นเร่ืองเก่ียวกับ อะไร มกี ารดาเนินเรื่องอยา่ งไร ความเข้าใจในการอ่านระดับที่สอง เป็นความสามารถในการแยกแยะ ความคิดต่าง ๆ สามารถ แยกข้อเทจ็ จริงและข้อคดิ เหน็ ได้ จบั ความม่งุ หมายของ ผเู้ ขียนได้ แปลความหมายของถ้อยคาและความคิด ได้ สามารถอนุมานถึงความรู้สึก นึกคิด อารมณ์ หรือทรรศนะของผู้เขียนได้ ตลอดจนขยายควา มของ สิ่งทอ่ี ่านได้ ความเข้าใจในการอ่านระดับสุดท้าย เป็นการเข้าใจถึงคุณค่าของเรื่องท่ีอ่าน เกิดความซาบซึ้ง และ สามารถประเมนิ ค่าและตัดสนิ ค้าได้ ทักษะที่แสดงออกถึงความเข้าใจท้ังสามระดับนี้เป็นทักษะท่ีเกิดต่อเนื่องกัน เป็นพ้ืนฐาน ท่เี อือ้ อานวยต่อกัน ความเข้าใจในการอา่ นจะเกดิ ขน้ึ ได้ก็ตอ้ งประกอบด้วย ทกั ษะเหล่านี้ นอกจากจะต้องมีทักษะดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้อ่านยังต้องมีพ้ืนฐานการอ่านท่ีดี ซึ่งได้แก่ความรู้ ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับเรอื่ งราวทอี่ า่ น ดงั ตอ่ ไปน้คี ือ ๑. ความร้ใู นเรอ่ื งรปู แบบการเขียน การส่อื สารดว้ ยภาษาน้นั โดยท่ัวไปมีความมุ่งหมายอยู่ ๒ ประการใหญ่ ๆ ด้วยกนั คอื ๑.๑ เพื่อบอกกล่าวหรือเสนอข้อเท็จจริงและข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจน เร่ืองราวที่เกิดขึ้น อยา่ งตรงไปตรงมา โดยปราศจากการเสริมแตง่ ของผู้เขยี น ๑.๒ เพ่ือแสดงความรู้สึกนึกคิด โดยผู้เขียนจะสอดแทรกอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดหรือ ทรรศนะของตนลงไป เพื่อปลุกอารมณ์ ชักจูงความรู้สึกและ ความคิดของผู้อ่านให้คล้อยตาม ยอมรับ เห็นพ้องกบั ความคดิ เห็น ความรสู้ ึก หรือ ความต้องการของผูเ้ ขียน จากความม่งุ หมายของการสื่อสารท้ังสองประการนี้เอง ทาให้งานเขียนมีลักษณะและรูปแบบ แตกตา่ งกันออกไป เปน็ งานประเภทวชิ าการ สารคดี และบนั เทิงคดี ดังที่เราพบเห็นและอ่านกนั อยู่ การอา่ น ผ้อู า่ นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจว่า เรื่องที่อ่านเป็นงานเขียนประเภทใด มีลักษณะ รูปแบบอย่างไร มีความมุ่งหมายในการสื่อสารอย่างไร จึงจะช่วยให้เกิดความเข้าใจ “สาร” ท่ีผู้เขียน ต้องการ “สือ่ ” มาถึงไดถ้ ูกต้อง เอกสารประกอบการเรียน รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอ่านและพจิ ารณาวรรณกรรม ๖

๒. ความรู้เกย่ี วกับภูมหิ ลงั ของผูเ้ ขียนและส่ิงทน่ี ํามาเขียน ภูมิหลังเก่ียวกับตัวผู้เขียนและส่ิงที่นามาเขียนเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจ เรื่องราวต่าง ๆ ในงานชิ้นหน่งึ ๆ ได้ดขี นึ้ สามารถท่ีจะวนิ จิ ฉัยเร่อื งราวต่างๆนนั้ ไดถ้ กู ต้องข้นึ การที่เราสามารถอ่านงานเขยี นในยุคปจั จุบันได้อยา่ งสนกุ สนาน เขา้ ใจ เรื่องราวต่างๆได้อย่าง ถกู ต้อง กเ็ พราะเราเขา้ ใจถงึ ความเปน็ ไปในยคุ ปจั จุบนั เช่น เดียวกันเราสามารถจะอ่านงานเขียนในยุคอ่ืนๆ ได้อยา่ งสนุก หากเรามคี วามร้คู วาม เข้าใจเกย่ี วกบั ความเป็นไปของยุคสมัย สภาพสังคม ทัศนคติ ความเช่ือ และค่านิยม ของผู้เขียนและผู้คนในยุคสมัยเดียวกันกับงานเขียนนั้นๆ ทั้งนี้เพราะงานเขียนแต่ละ ช้ินย่อม ได้รบั อิทธิพลจากสังคมท่แี วดลอ้ มรอบตัวผเู้ ขียนเสมอ หากผอู้ ่านได้ทราบภูมิหลังอันเป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว ผู้เขียนและส่ิงที่นามาเขียนแล้ว ผูอ้ ่านกจ็ ะสามารถ เขา้ ใจเรือ่ งราวท่ีอา่ นไดอ้ ยา่ งลุ่มลึกข้ึน ๓. ความรเู้ ชิงภาษา ในงานเขียนชิ้นหน่ึงๆ ผู้เขียนย่อมมีความมุ่งหมายท่ีจะสื่อความคิดหรือ ทรรศนะอย่างใด อยา่ งหน่ึงแก่ผอู้ ่าน บางครั้งผู้เขียนจะบอกมาตรงๆ บางคร้ังก็แฝง อยู่ในถ้อยคาหรือขอความตอนหน่ึงตอน ใดด้วยการใช้สานวนโวหารในลกั ษณะต่าง ๆ การท่ผี อู้ า่ นจะเข้าใจสิ่งท่ีผู้เขียนต้องการบอกน้ัน ผู้อ่านต้องใช้ ความพยายามแปล ความหมายของถ้อยคา ข้อความ ตลอดจนเร่ืองราวนั้น ๆ ออกมาให้ถูกต้อง ซ่ึงการที่ จะทาเช่นน้ีได้ ผู้อ่านจาเป็นต้องมีความรู้เชิงภาษาเป็นพ้ืนฐาน กล่าวคือ ต้องมีความรู้ในเรื่องศัพท์ หรือ ถ้อยคาสานวนต่าง ๆ ในการอ่านข้อเขียนบางอย่างท่ีมีศิลปะในการใช้ถ้อยคาสานวนและการเปรียบเทียบ ท่ีคมคาย หากผู้อ่านมีความรู้เชิงภาษาไม่เพียงพอก็อาจจะไม่เข้าใจนัยแห่งความหมายที่ผู้เขียนต้องการ แสดงออกมาได้ โดยปกตผิ อู้ ่านจะร้คู วามหมายของศัพท์และสานวนที่ใช้กันทั่วไปในชีวิตประจาวัน แต่อาจจะ ไม่รู้ความหมายของศัพท์และสานวนท่ีไม่รู้จักมาก่อน เช่น ความหมายของศัพท์เฉพาะวิชา ศัพท์ในวงการ อนื่ นอกจากวงการของตน ศัพทท์ ่บี ญั ญตั ิข้ึนใหม่ ศพั ท์และสานวนโบราณ ศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ ศัพท์สะแลง หรือคาคะนอง ฯลฯ หากผู้เขียนใช้ศัพท์และสานวนเหล่าน้ี ผู้อ่านอาจจะอาศัยข้อความที่อยู่ แวดล้อมศัพท์และสานวนนั้นช่วยในการอนุมานว่าศัพท์ และสานวนน้ัน ๆ มีความหมายว่าอย่างไร หรือ อาจจะใช้วิธีค้นหาความหมายจากพจนานุกรมหรือใช้วิธีถามผู้รู้ก็ได้ ท่ีสาคัญก็คือผู้อ่านต้องไม่ปล่อย ให้ถ้อยคาที่ตนไม่เข้าใจน้ีผ่านไปโดยง่าย เพราะถ้อยคาเหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคต่อความเข้าใจเนื้อหา ในภายหลงั ได้ อย่างไรก็ตาม ความรู้เชิงภาษาเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการอ่านอย่างละเอียดและอ่าน ข้อเขียนประเภทต่างๆอยู่เสมอ ส่ิงสาคัญท่ีผู้อ่านควรตระหนักก็คือ “ภาษามีการเปลี่ยนแปลง” ด้วยเหตุนี้ จึงทาให้ภาษาที่มีลักษณะใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา การอ่านอยู่เป็นประจาเท่านั้น จึงจะช่วยให้รู้จักภาษา ทเ่ี ปล่ียนแปลงและ สามารถจบั ความคดิ จาการใชภ้ าษาไดท้ ันการณ์อยู่เสมอ ๔. ประสบการณ์ ประสบการณ์ คือ การได้พบ ได้เห็น ได้คุ้นเคยกับเหตุการณ์หรือเร่ืองราวน้ัน ๆ งานเขียน ส่วนใหญม่ กั เกดิ จากการถ่ายทอดประสบการณ์และจิตสานึกอย่างใด อย่างหน่ึงของผู้เขียน ในการอ่านหาก ผู้อ่านมีประสบการณ์ร่วมกับผู้เขียน และมี ประสบการณ์ต่าง ๆ หลาย ๆ แบบอย่างกว้างขวางก็จะช่วยให้ เขา้ ใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้เร็ว และง่ายขน้ึ อย่างไรก็ตาม การทคี่ นเราแตล่ ะคนจะเข้าใจประสบการณข์ องอกี คนหนึ่งได้ ทุกแง่ทุกมุมย่อม เป็นไปไมไ่ ด้ เพราะประสบการณ์ของแต่ละคนยอมไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุน้ี ในการอ่านผู้อ่านจึงจาเป็นต้อง ใช้จินตนาการติดตามเร่อื งราวท่อี าจอยู่ นอกเหนือประสบการณข์ องตนประกอบดว้ ย เอกสารประกอบการเรยี น รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพิจารณาวรรณกรรม ๗

ลักษณะของนกั อ่านท่ดี ี นักอ่านท่ีดีหรือนักอ่านที่มีวุฒิภาวะในการอ่านจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปน้ีคือ (สุนทร โคตรบรรเทา, ๒๕๒๖, หนา้ ๑๔) ๑. มคี วามกระตือรือร้นในการอา่ น ๒. มีแนวโน้วในการอ่านหนงั สือดังนี้ ๒.๑ ทุกประเภททใ่ี ห้ความเพลดิ เพลนิ ใหค้ วามรู้กว้าง และส่งเสริม ความคดิ สร้างสรรค์ ๒.๒ ประเภทหนักสมองซึ่งส่งเสริมการเข้าใจตนเองและผู้อื่น ตลอดจนเข้าใจปัญหาสังคม ศลี ธรรม จริยธรรม ๒.๓ อ่านอย่างตง้ั ใจในเฉพาะสาขาหรือหนังสือท่ีเปน็ หลักในศาสตร์สาขานั้น ๆ ๓. มคี วามสามารถในการแปลความหมายสิ่งที่อ่าน สามารถจับใจความสาคัญ แนวคิด ตลอดจน จดุ ประสงคข์ องผเู้ ขยี นได้ ๔. มีความสามารถที่จะมองเห็นข้อดี ข้อเสียของสิ่งท่ีอ่านสามารถจับความลาเอียงและ การโฆษณาชวนเชื่อ และสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณเก่ียวกับ ความถูกต้องและคุณค่าของแนวคิด ที่ให้ไว้ ตลอดจนความสมบูรณ์และความเหมาะสม ในการเขียน การแสดงความคิดเห็นและการสรุป ข้อเขยี น ๕. มีแนวโนม้ ในการโยงแนวคิดใหม่ทไ่ี ดจ้ ากการอ่านใหเ้ ขา้ กับประสบการณ์ ๖. มีความสามารถในการปรับอัตราเร็วในการอ่านให้เหมาะสมกับโอกาส และความต้องการ ในการตคี วามหมายอยา่ งพอเพยี ง จากลักษณะของนักอานท่ีดีดังกล่าวข้างต้นน้ี ผู้อ่านลองสารวจตนเองดูซิว่า “ท่านเป็นนักอ่าน ที่ดีแล้วหรือยงั ” เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอ่านและพิจารณาวรรณกรรม ๘

กจิ กรรมพฒั นาการเรียนรู้ ความร้ทู ว่ั ไปเก่ียวกับการอ่าน จงตอบคาํ ถามต่อไปน้ี ๑. การอา่ นคืออะไร และมีความสาคัญอย่างไร ........................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................. ๒. ผอู้ า่ นแตล่ ะคนมีจุดมงุ่ หมายในการอ่านเหมอื นกันหรือไม่ เพราะเหตใุ ด ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... ๓. การอา่ นอย่างมีจุดมุ่งหมายมีประโยชนอ์ ย่างไร ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... ๔. การอา่ นออกเสียงและการอา่ นในใจ มกี ระบวนการในการอ่านทแ่ี ตกต่างกนั อยา่ งไร ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... ๕. การอ่านหนังสือให้เข้าใจน้นั ผอู้ ่านจาเปน็ ต้องมีพน้ื ฐานท่ีสาคัญอะไรบ้าง ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... ๖. มีปจั จัยสาคญั อะไรบ้างทีท่ าให้ผอู้ ่านอา่ นหนงั สือไดช้ า้ หรอื เร็ว ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... ๗. การอา่ นหนงั สือให้เข้าใจอย่างรวดเร็ว ผอู้ า่ นควรปฏบิ ตั อิ ยา่ งไร ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... ๘. นักอา่ นทดี่ คี วรมลี ักษณะอย่างไร ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... ๙. ให้นักเรยี นสารวจตนเองเก่ยี วกับลักษณะการอ่านหนังสือของตนแลว้ นามาเปรียบเทยี บกับลักษณะของ นกั อ่านท่ีดีตามที่กล่าวในเนอ้ื หา แลว้ ลองประเมินดูวา่ นักเรยี นมลี ักษณะของนักอา่ นทด่ี ี หรือไม่ อยา่ งไร ควรปรบั ปรงุ ตนเองในจุดไหนบ้าง ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... เอกสารประกอบการเรียน รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพิจารณาวรรณกรรม ๙

ทม่ี า https://teen.mthai.com/love/58650.html คาว่า วรรณกรรม ปรากฏขึ้นครั้งแรกในพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. ๒๔๗๕ คาว่า วรรณกรรมอาจเทียบเคียงได้กับคาภาษาอังกฤษว่า Literary work หรือ general literature ความหมายแปลตามรปู ศัพท์วา่ ทาใหเ้ ปน็ หนังสือซงึ่ ดตู ามความหมายน้ีแล้วจะเห็นว่ากว้างขวาง มาก น่ันก็คือ การเขียนหนังสือจะเป็นข้อความสั้น ๆ หรือเร่ืองราวสมบูรณ์ก็ได้ เช่น ข้อความท่ีเขียนตาม ใบปลิว ป้ายโฆษณาต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงบทความ หรือหนังสือท่ีพิมพ์เป็นเล่มทุกชนิด เช่น ตารับตารา ต่าง ๆ นวนิยาย กาพย์ กลอนต่าง ๆ ก็ถือเป็นวรรณกรรมทั้งส้ิน อย่างไรก็ตามการที่จะกาหนดว่า วรรณกรรม เรอื่ งใดควรเป็นวรรณคดีหรือไม่เช่นนัน้ ต้องคานึงถงึ ระยะเวลาที่แต่งหนังสือน้ันยาวนานพอควร ด้วย เพ่ือพิสูจน์ว่าคุณค่าของวรรณกรรมนั้นเป็นอมตะ เป็นที่ยอมรับกันทุกยุคทุกสมัยหรือไม่ เพราะอาจ มีวรรณกรรมบางเรอื่ งท่ีดีเหมาะสมกับระยะเวลาเพียงบางชว่ งเท่าน้ัน ดังนนั้ อาจสรุปได้ว่า วรรณคดีน้ันก็คือ วรรณกรรมชนิดหน่ึง กล่าวคือ เป็นวรรณกรรมที่กล่ันกรองและตกแต่งให้ประณีตมีความเหมาะสม ในด้านต่าง ๆ อันเป็นคุณค่าของการประพันธ์ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งวรรณคดีน้ันเป็นวรรณกรรมแต่ วรรณกรรมไมจ่ าเปน็ ตอ้ งเปน็ วรรณคดเี สมอไป เอกสารประกอบการเรยี น รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพิจารณาวรรณกรรม ๑๐

ปจั จุบนั นี้มีวรรณกรรมเป็นจานวนมากให้ผู้อ่านเลือกอ่านได้ความสนใจ วรรณกรรมเหล่าน้ีอาจมี ชอื่ เรยี กตา่ งๆ กนั ไปตามลักษณะรปู เล่ม เนอ้ื หา ลักษณะการแต่ง และคุณสมบัติของวรรณกรรม เป็นต้นว่า วารสาร หนงั สือพมิ พ์ วรรณกรรมท่องเทยี่ ว วรรณกรรมวิทยาศาสตร์ วรรณกรรมร้อยแก้ว วรรณกรรมร้อย กลอง วรรณกรรมปัจจุบัน สารคดี นวนิยาย วรรณคดี ฯลฯ การเรียกชื่อดังกล่าว แต่ถ้าต้องการอ่านอย่าง วิเคราะห์และวิจารณ์ ก็จาเป็นจะต้องรู้จักประเภทวรรณกรรมให้ชัดเจน เพ่ือจะได้พิจารณาวรรณกรรมได้ อย่างถูกต้องตาม ความเป็นจริงมากขึ้น ดังน้ันการแบ่งประเภทวรรณกรรมจึงเป็นส่ิงจาเป็นเบ้ืองต้นใน การอา่ นและพิจารณาวรรณกรรม การแบ่งประเภทของวรรณกรรม มีนกั วิชาการแบงประเภทของวรรณกรรมไวหลายทาน ดงั น้ี จติ รลดา สวุ ตั ถิกลุ และมณฑนา วัฒนถนอม (๒๕๓๓, หน้า ๑๑-๑๒) ไดแบงประเภทวรรณกรรม ไว้ ๓ แบบ ไดแก ๑. แบงตามลักษณะการประพันธแยกได ๒ ประเภท คือ วรรณกรรมรอยกรอง วรรณกรรม รอยแก้ว ๒. แบงตามลักษณะเนื้อหาสาระของวรรณกรรม แยกไดหลายประเภท เชน ประเภท จิตวิทยา ประเภทปรชั ญา ประเภทศาสนา ประเภทวรรณคดี ประเภทการเมอื ง ๓. แบงตามจุดมุงหมายของการเขียน แยกได ๒ ประเภท คือ วรรณกรรมประเภทสารคดี วรรณกรรมประเภทบนั เทิงคดี ดนยา วงศธนะชยั (๒๕๔๒, หนา้ ๒๐) ไดจาแนกประเภท วรรณกรรมไว ๒ ประเภท ไดแก ๑. วรรณกรรมประเภทรอยแกว ๒. วรรณกรรมประเภทรอยกรอง อัญญาณี คลายสุบรรณ (๒๕๔๒, หน้า ๔) ไดแบงประเภทวรรณกรรมตามลักษณะเนื้อหาเป็น ประเภทใหญ ๒ ประเภท ไดแก ๑. บันเทงิ คดี ๒. สารคดี กัญจนี ชนะวงศ , ทองแดง ย้ิมเกิด และอภิวัฒน ดวงธรรม (๒๕๕๑, ออนไลน์) ไดจาแนก ประเภทวรรณกรรมไว ๒ประเภท คอื ๑. ตามลักษณะการประพันธ แบงเป นประเภทใหญ ๆ เป นร อยกรองและร อยแก ว ซึ่งรอยกรองแบงตามลักษณะคาประพันธตาง ๆ คือ รายกาพยกลอน โคลง และฉันท์ส่วนรอยแกว ในวรรณกรรมปจจุบนั แบงเปนบนั เทงิ คดแี ละสารคดี ๒. ตามลักษณะเน้ือหาของคาประพันธ ไดแก วรรณกรรมที่มีเน้ือหาในแนวจรรโลงสังคม วรรณกรรมเกยี่ วกบั ประเพณีและพธิ ีกรรม วรรณกรรมเชิงประวตั ิ สรุปไดวาวรรณกรรมนั้นสามารถ แบงออกไดเปนตามลักษณะการประพันธแบงตามเน้ือหาและ แบงตามจุดมุงหมายของการเขียน วรรณกรรมท่ีแบงตามลักษณะการประพันธแบงได ๒ ประเภท คือ วรรณกรรมร้อยแกว้ และวรรณกรรมร้อยกรอง เอกสารประกอบการเรียน รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๑๑

วรรณกรรมร้อยแก้ว นกั วิชาการไดกลาวถงึ วรรณกรรมรอยแกวไวดังนี้ จิตรลดา สุวัตถิกุล และมณฑนา วัฒนถนอม (๒๕๓๓, หน้า ๑๑) ไดกลาวถึง วรรณกรรม รอยแกวไดแก งานเขียนที่เกิดข้ึนจากการเรียบเรียงถ อยคาดวยวิธีธรรมดา ไมมีลักษณะบังคับใน การเรียบเรียง อยางงานเขียนรอยกรอง สามารถแยกประเภทยอยออกไดเปน ๕ ประเภท คือ เรื่องส้ัน นวนยิ าย บทละคร สารคดี และบทความ ดนยา วงศธนะชัย (๒๕๔๒, หน้า ๒๐-๒๑) ไดจาแนกวรรณกรรมรอยแกวไว ๒ ชนิด ไดแก ๑. สารคดี (Non Fiction) คือวรรณกรรมท่ีมีเน้ือหาสาระที่มุงจะใหความรู ความคิด ความจริงบางประการแกผูอาน ดวยศิลปะในการนาเสนอท่ีแยบคาย ผูอานอาจไดรับความบันเทิงจาก การ อานดวยแตเปนความบันเทิงดานภูมิปญญา ดังนั้นในการเขียนสารคดี จึงมีการใหเหตุผลและหลักฐาน ประกอบ หลักฐานประกอบสารคดีแบงเปนประเภทยอยๆ ไดดงั น้ี ๑) ความเรยี ง (Essay) เปนงานเขียนทีถ่ ายทอด ความรูความคิด ซึ่งไดจากประสบการณ์ หรือการคน้ ควา้ ใหแงคดิ เชงิ ปรัชญาทีเ่ กยี่ วกบั โลกและชีวติ ๒) บทความ (Article) เปนงานเขียนที่แสดงความรูความคิดเห็น หรือความรูสึกของ ผูเขยี นตอสภาพแวดลอมทางสงั คมที่ดารงชวี ติ อยู ๓) สารคดีท องเที่ยว (Travelogue) เป นงานเขียนที่ถ ายทอดประสบการณ จาก การทองเทีย่ วสูผูอาน ๔) สารคดีชีวประวัติ (Biography) เปนงานเขียนที่กลาวถึงประวัติชีวิตของบุคคล ท่นี าสนใจเป็นบทเรยี นแกผูอน่ื ได ๕) อนทุ ิน (Diary) เปนการจดบนั ทึกประจาวันเก่ียวกับเหตุการณตาง ๆ ท่ีเกิดข้ึนในชีวิต พรอมความคดิ เหน็ ของผูจดบนั ทกึ ๖) จดหมายเหตุ (Diary) เปนบันทึกเหตุการณสาคัญทางประวัติศาสตรของหนวยงาน ส่วนราชการ หรอื องค์กรตา่ ง ๆ เพ่ือเปน็ หลักฐานเชิงประวตั ิเหตกุ ารณ ๒. บันเทิงคดี หรือเรื่องสมมุติเป็นงานเขียนที่มุงให้ผู้อ่านไดรับความเพลิดเพลินเป็นหลัก สวนความรูเปน็ สิ่งสาคญั รองลงมา เพอื่ เปน็ หลักฐานเชงิ ประวัตเิ หตุการณ ๑) นวนิยาย (Novel) เป็นการผูกเรื่องราว เก่ียวกับชีวิตและพฤติกรรมของมนุษย์ ในลกั ษณะที่สมจริงและอาจเกิดข้นึ ไดในชวี ติ จริง ๒) เรื่องสั้น (Short Story) เปน็ งานเขยี นที่มีลักษณะเดียวกับนวนิยายแตมีขนาดส้ันกว่า จะเสนอพฤติกรรมหรือเหตุการณมุมใดมมุ หนงึ่ ของชวี ติ เทานั้น ๓) บทละคร (Drama) เปนงานเขยี นท่ีผูกเรื่องราวขึ้นจากพฤติกรรมของมนุษยเชนเดียว กับนวนิยายและเรื่องสั้น แตมีจุดมุงหมายในการเขียนตางกัน บทละครเขียนขึ้นเพื่อนาเพื่อนาไปแสดง ส่วนนวนิยายและเรื่องส้ันเขียนข้ึนเพื่ออานบทละครแบบใหมน้ียังตางจากวรรณคดี การละครแบบเดิม ของไทย คือ นาไปแสดงไดเลยโดยไมตองตัดตอนหรือดัดแปลงเพราะเขียนขึ้น เพื่อการแสดงโดยเฉพาะ บทละครแบบใหมนีค้ รอบคลมุ ไปถึงบทละครวทิ ยบุ ทละครโทรทัศน บทละครเวทีและบทภาพยนตร เอกสารประกอบการเรยี น รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอ่านและพิจารณาวรรณกรรม ๑๒

อัญญาณี คลายสุบรรณ (๒๕๔๒, หน้า ๖) ไดกลาวถึงวรรณกรรมรอยแกว คือ เปนการเขียน ที่ผูเขียนใชสาหรับเสนองานเขียนโดยท่ัว ๆ ไปทั้งในวรรณกรรมประเภทสารคดีและบันเทิงคดีรูปแบบ การเขียนแบบนจ้ี ะใชสานวนภาษาท่ีชัดเจน เรียบงายทาใหผูอานเขาใจและเขาถึงเร่ืองราวในขอเขียนนั้น ๆ ไดสะดวก รวดเร็วและตรงกบั ความตองการ ทง้ั น้ีวรรณกรรมรอยแกวสมัยกอนสวนมากจะเปนนิทานตาง ๆ หลักฐานของบานเมืองในดานประวัติศาสตร์ กฎหมาย หรือตาราทั่วไป เม่ือได รับอิทธิพลตะวันตก กม็ วี รรณกรรมประเภทอน่ื ๆ เชน สารคดที องเทีย่ ว ชีวประวตั บิ ุคคล นวนิยาย และเร่อื งสน้ั ตาง ๆ วรรณกรรมรอ้ ยกรอง นกั วชิ าการไดกลาวถงึ วรรณกรรมรอยกรองไวหลายทาน ดงั นี้ อัญญาณี คล ายสุบรรณ (๒๕๔๒, หน้า ๑๘) ได แบงประเภทของวรรณกรรมร อยกรอง เปน ๒ ลกั ษณะ คอื แบงตามลักษณะการแตงและแบงตามวตั ถปุ ระสงคในการใช ๑. แบงตามลกั ษณะการแตงแบงออกได ๗ ประเภท ๑) โคลง ๒) ฉันท ๓) กาพย ๔) กลอน ๕) ราย ๖) ลิลิต ๗) กล ๒. แบงตามวตั ถุประสงคในการใชแบงไดเปนประเภทตาง ๆ ดงั นี้ ๑) เพลงยาวใชเปนบทฝากรกั หรอื บทแสดงความในใจของผูแตง ๒) เลาเรอ่ื งเลานทิ านเชน บทเสภา นทิ านคํากลอน บทสดดุ เี ฉลมิ พระเกยี รติ ๓) แสดงความรกั ความอาลยั หรอื ครํ่าครวญในยามจากคนรักไปไกล คือ บทนิราศ ๔) บทใชในการแสดงหรือการละเลน เชน บทละครรํา บทพากยโขน บทพากยหนังใหญ บทละครรอง ฯลฯ ๕) บทรอง เชน บทมโหรเี พลงตาง ๆ ๖) บทสวด บทไหว (ประณามบท) ๗) บทสอน เชน สุภาษิตสอนหญงิ โคลงราชสวัสด์ิ ๘) บทแสดงความคดิ เหน็ และทรรศนะตาง ๆ เชน บทดอกสรอยรําพึงในปาชาโคลงโลกนติ ิ ๙) บทวิชาการตําราการแตงรอยกรอง แบบเรียน เพื่อใหจําไดงายเชน กาพยพระไชยสุริยา ไวพจนพจิ ารณ์ (ภาคอานประกอบ) ๑๐) บทที่ใช ในพิธีกรรมต าง ๆ เช น ฉันท ดุษฎีสังเวยกล อมช าง โองการแช งนํ้า รายทาํ ขวญั นาค เปนตน เอกสารประกอบการเรียน รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอ่านและพจิ ารณาวรรณกรรม ๑๓

ดนยา วงศธนะชัย (๒๕๔๒, หน้า 21) ไดจําแนกวรรณกรรมรอยกรองไว ๒ ชนิด คือ รอยกรอง ตามฉันทลกั ษณเดมิ และรอยกรองตามฉนั ทลกั ษณทีก่ าํ หนดใหม ๑. รอยกรองตามฉันทลักษณเดิม รอยกรองตามฉันทลักษณเดิม แมจะประกอบไปดวย คาํ ประพันธ โคลง ฉันท กาพย กลอน รายจะยังคงมีอยูแตมีขนาดสั้น และเนน “ขอคิด” หรือ “ความคิด” มากข้ึน ความนิยมในการตกแต่งถ้อยคําดวยความประณีตบรรจงเพ่ือความไพเราะอยางกวีในยุคเดิมลดลง และมีความสําคัญรองจากความคิดแม จะมีกวีในปจจุบัน บางกลุ มใชรอยกรองรูปแบบเดิม แตจะ ไมเครง่ ครัดในฉนั ทลกั ษณตามแบบแผนมากนักการใชถอยคํามีลักษณะกราวแกรงมากขึ้นจนบางคร้ังถึงข้ัน กาวราวก็มี ๒. ร้อยกรองตามฉันทลักษณที่กําหนดใหม เปนฉันทลักษณท่ีกําหนดข้ึนใหมสวนใหญ จะยึดหลักความเรียบงาย ชัดเจนและมีกรอบเพียงเล็กนอย ท้ังน้ีเพ่ือสื่อความคิดมากกวาความไพเราะ รอยกรองรูปแบบรอยกรองใหมน้ัน มีท้ังท่ีเปน “กลอนเปลา” หรือ กลอนแปด” สัมผัสไปจนถึงร้อยกรอง “รูปธรรม” หรือ“วรรณรปู ” ซ่ึงมีวธิ ีการแตงโดยการจัดวางถอยคําหรอื ขอความเปนภาพ ซึ่งกวีกลุมน้ีเช่ือวา การสอื่ ความคิดโดยผาน“ภาพ” จะชวยใหผูอานเขาใจความคดิ ของผูแตงชัดเจนขนึ้ จิตรลดา สุวัตถิกุล และมณฑนา วัฒนถนอม (๒๕๓๓, หน้า ๑๑) ไดกลาวถึง วรรณกรรม รอยกรอง ไดแก งานเขียนที่มีความผสมผสานกลมกลืนกันท้ังในดานแนวคิด และศิลปะการใชคําซ่ึงมี ท้ังความไพเราะและความหมาย แสดงใหเห็นเดนชัดวามีการเลือกสรรการใชคําอยางประณีตบรรจง มาเรียบเรียงกนั เขาตามแบบวธิ ขี องฉนั ทลกั ษณเดมิ หรือแบบวธิ ีท่ีอาจคิดประดิษฐขน้ึ ใหมก็ได อัญญาณี คลายสุบรรณ (๒๕๔๒, หน้า ๖-๑๘) ไดกลาวถึงวรรณกรรมประเภทรอยกรองมีมาตั้ง แตโบราณจนกระท่ังถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล าเจ าอยู หัวจึงเริ่มลดความนิยมลงรวมท้ัง แนวความคิดในเนื้อหา ก็เปลี่ยนแปลงไปที่เห็นไดชัดคือขนาด บทรอยกรองในปจจุบันมีขนาดส้ันลง มีการเปล่ียนแปลงรูปแบบของฉันทลักษณมีการเนน “แนวความคิด” มากกวาความรูสึกทางอารมณและ มีเนื้อหาหลากหลายและใกลตัวมากขึน้ ดังน้ันสรุปไดวา ประเภทของวรรณกรรมท่ีแบงตามลักษณะการประพันธ ไดแก วรรณกรรมรอย แกวและวรรณกรรมรอยกรอง ซ่งึ วรรณกรรมดงั กล่าวอาจมีเนอื้ หาเปนสารคดีหรือบันเทงิ คดีก็ได เอกสารประกอบการเรยี น รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพิจารณาวรรณกรรม ๑๔

ที่มา https://www.girlsallaround.com/be-much-smarter/ หนังสือพิมพ์เป็นหนังสือท่ีมีผู้อ่านเป็นมวลชนซ่ึงกระจัดกระจายอยู่ท่ัวประเทศ และเป็นหนังสือ ที่คนท่ัวไปได้มีโอกาสอ่านมากกว่าหนังสือประเภทอ่ืน ๆ จึงนับได้ว่า หนังสือพิมพ์เป็นส่ือท่ีมีบทบาท อย่างมากในสังคมปัจจุบัน ทั้งในด้านการแจ้งข่าวสาร ให้ความรู้ ให้ความบันเทิง เป็นปากเสียงของ ประชาชน เป็นตัวเช่ือมระหว่างสถาบันต่าง ๆ ภายในชาติ ตลอดจนถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมจาก คนรุ่นเก่าไปสู่คนรุ่นใหม่ นอกจากนี้หนังสือพิมพ์ยังมีบทบาทสําคัญซึ่งส่ือมวลชนแขนงอ่ืน ๆ เช่น วิทยุกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ อาจไม่ได้เน้นเท่าหนังสือพิมพ์ก็คือ บทบาทในฐานะเป็น “เวที” สําหรับ วพิ ากษว์ ิจารณแ์ สดงความคิดเหน็ ต่อเหตุการณ์และเรื่องราวต่างๆ ทเี่ กดิ ขนึ้ (ตรีศลิ ป์ บญุ ขจร, ๒๕๓๑) การได้อา่ นหนังสือพิมพ์เปน็ ประจําจงึ ทาํ ให้ผอู้ ่านเป็นผ้รู อบร้มู หี ตู า กว้างขวาง รู้เท่าทันเหตุการณ์ ความเปลี่ยนแปลงต่างๆท่ีเกิดข้ึนในสังคมทําให้ สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม อยา่ งไรกต็ าม หนังสอื พมิ พ์ ในปัจจุบนั นม้ี ีอยู่มากมายหลายฉบับ จนไม่สามารถตดิ ตามอา่ นได้อย่างครบถ้วน ด้วยเวลาจํากัด การศึกษาและวิเคราะห์คุณสมบัติและคุณค่าของหนังสือพิมพ์เพ่ือ พิจารณาเลือกสรร หนงั สอื พิมพท์ ดี่ ีมาอา่ นจึงนับวา่ เปน็ สิง่ จาํ เปน็ เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพิจารณาวรรณกรรม ๑๕

ความหมายของหนงั สอื พมิ พ์ ตามพระราชบญั ญตั กิ ารพมิ พ์ พทุ ธศักราช ๒๔๘๔ ไดใ้ หค้ วามหมาย ของหนังสือพิมพ์ว่า หมายถึง “สิ่งพิมพ์ท่ีมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออกหรือ มีเจตนาจะออกตามลําดับเรื่อยไป มีกําหนดระยะเวลา หรอื ไมก่ ต็ าม มีข้อความ ต่อเนอื่ งกันหรือไมก่ ็ตาม” (มาลี บญุ ศิรพิ ันธ,์ ๒๕๒๘) Dictionary of Education ของ Carter V. Good ได้ให้ความหมาย ของหนังสือพิมพ์ว่า คือ “สิ่งท่ีตีพิมพ์ออกมาตามระยะเวลาที่กําหนดต่อเนื่องกัน เป็นกระดาษขนาดใหญ่หลายหน้าสามารถพับได้ โดยมีจุดประสงคเ์ พื่อเสนอข่าวและสาระทนี่ า่ สนใจโดยทว่ั ไป ”(ก๊ดู , ๑๙๕๖) พจนานุกรมของแวบสเตอร์ (Webster's Third New International Dictionary of the English Language ) ได้ให้ความหมายของหนังสือพิมพ์สรุป ได้ว่า หนังสือพิมพ์ คือ กระดาษท่ีตีพิมพ์ข่าว บทความแสดงความคิดเห็น เช่น บทบรรณาธิการ สารคดี โฆษณา และเรื่องราวอ่ืนๆที่เป็นเหตุการณ์ ปัจจุบัน และอยู่ในความสนใจของผู้อ่าน โดยปกติแล้วหนังสือพิมพ์จะตีพิมพ์เผยแพร่เป็น ประจําทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือมีวาระอย่างใดอย่างหน่ึงตามแต่จะกําหนด แต่โดยท่ัวไปแล้วมักจะออกติดต่อกัน ในชว่ งสน้ั ๆ จากความหมายของหนังสือพิมพ์ดังกล่าวข้างต้นนี้ อาจกล่าวสรุปได้ว่า หนังสือพิมพ์ก็คือ ส่ิงพิมพ์ ท่ีออกเปน็ ประจําสมาํ่ เสมอตามระยะเวลาท่ีกําหนดไว้ อาจจะเป็นรายวันหรือมีวาระออกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งติดต่อกันในช่วงส้ัน โดยทั่วไป จะมีลักษณะรูปเล่มเป็นกระดาษขนาดใหญ่จํานวนหลายแผ่นพับได้ แต่ไม่ได้เย็บติด กันเป็นเล่ม มีเนื้อหาเน้นหนักในเรื่องการรายงานข่าวท่ีเป็นปัจจุบันและการแสดง ความคิดเหน็ นอกจากนอ้ี าจจะมเี รื่องราวอนื่ ๆ ทีอ่ ยู่ในความสนใจของผูอ้ ่านได้อีก สภาพท่ัวไปของหนงั สือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ในปัจจุบันมีอยู่หลายฉบับ หนังสือพิมพ์ที่มีแพร่หลายในท้องตลาด ได้แก่ หนังสอื พมิ พต์ ่าง ๆ ดงั นี้ หนังสอื พมิ พร์ ายวนั ภาษาไทย เช่น ๑. ไทยรัฐ ๒. เดลนิ ิวส์ ๓. สยามโพสต์ ๔. แนวหนา้ ๕. บา้ นเมือง ๖. มติชน ๗. สยามรัฐ ๘. ขา่ วสด ๙. กรงุ เทพฯธุรกิจ ๑๐. ผ้จู ัดการรายวัน ๑๑. ไทยรายวนั ๑๒. สยามกีฬารายวนั ๑๓. สปอรต์ นวิ ส์ ๑๔. วัฏจกั รรายวัน หนงั สือพมิ พร์ ายวันภาษาองั กฤษ เชน่ ๑. บางกอกโพสต์ ๒. เดอะเนช่ันรวี วิ ๓. บางกอกเวิร์ลด์ นอกจากหนังสือพิมพ์รายวันดังกล่าวแล้ว ก็มีหนังสือพิมพ์ประเภทธุรกิจ ที่ไม่ใช่รายวันอีก หลายฉบับท่ีพิมพ์จําหน่ายท่ัวไป เช่น หนังสือพิมพ์ข่าวพานิชย์ เข็มทิศ ซันเดนิวส์ ฐานเศรษฐกิจ บสิ สเิ นสวีค ประชาชาติธุรกิจ มาตุภูมิธุรกิจ ไทยแลนด์ธุรกิจ เส้นทางธุรกิจ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ในลักษณะ อืน่ ๆ เช่น วัฏจักร หญิงยคุ ใหม่ เปน็ ต้น เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๑๖

หนังสือพิมพ์อีกประเภทหน่ึงถึงแม้ว่าจะมีจํานวนจําหน่ายไม่สูงนัก แต่ก็มี อยู่ในทุกส่วนของ ประเทศนั่นคือ หนังสือพมิ พส์ ่วนภูมิภาค ซ่ึงบางฉบับอาจจะจําหน่าย แพร่หลายเฉพาะในจังหวัด บางฉบับ อาจจะจําหนา่ ยเผยแพรใ่ นระดบั ภูมภิ าคหลายๆ จังหวัด ประเภทของหนงั สือพมิ พ์ การแบง่ ประเภทของหนงั สือพิมพ์ อาจแบง่ ได้หลายลกั ษณะ โดยอาศัยเกณฑ์ตา่ ง ๆ ดังนี้ คอื ๑. แบง่ ตามแนวทางในการเสนอขา่ ว หากแบ่งประเภทของหนังสอื พิมพ์ โดยพจิ ารณาจากแนวทางในการเสนอข่าว ก็อาจแบ่งกวา้ ง ๆ ได้เปน็ ๒ ประเภท คือ ๑.๑ หนังสือพิมพ์คุณภาพ หมายถึง หนังสือพิมพ์ท่ีมุ่งเสนอข่าวที่ให้ความรู้ความเข้าใจ เก่ียวกับเรื่องต่างๆในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาเป็นหลัก และมีนโยบายที่มุ่งให้ความรู้ และสาระอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม ส่วนรวมมากกว่าให้ความบันเทิง รูปแบบการเขียนของหนังสือพิมพ์ ประเภทน้ีจะมี ลักษณะค่อนข้างจริงจัง การเสนอเน้ือหาไม่ว่าจะเป็นข่าวหรือบทความจะเน้นหนัก ไปในการเสนอรายละเอียด ข้อเท็จจริง หรอื แสดงความคิดเหน็ ด้วยเหตผุ ลมากกวา่ การเรา้ อารมณ์ หนังสือพิมพ์ประเภทนี้มีจํานวนจําหน่ายไม่สูงมากนัก ผู้นิยมอ่านส่วนใหญ่ มักเป็น ผทู้ ม่ี พี ืน้ ฐานความรู้ดพี อสมควร ตัวอยา่ งของหนงั สอื พิมพป์ ระเภทน้ี ได้แก่ สยามรัฐ มตชิ น เป็นตน้ ๑.๒ หนังสือพิมพ์ประเภทแพร่หลายท่ัวไป หนังสือพิมพ์ประเภทนี้ บางคนก็เรียกว่า หนงั สอื พมิ พป์ ระเภทประชานิยม หรอื หนังสอื พมิ พป์ ริมาณ ไดแ้ ก่ หนงั สือพมิ พ์ที่เนน้ การเสนอข่าว ประเภท ข่าวอาชญากรรม ข่าวบันเทิง ข่าวบุคคล ข่าวอุบัติเหตุต่าง ๆ ซึ่งข่าวลักษณะน้ีเป็นข่าวประเภทที่ คนธรรมดาสามัญทัว่ ไปสนใจ ตามวิสยั ปุถชุ น หนงั สือพมิ พป์ ระเภทนจ้ี ึงได้รับความนยิ มอ่านกนั ท่ัวไปจํานวน จาํ หน่ายจงึ คอ่ นขา้ งสูง รูปแบบการเขียนของหนังสือพิมพ์ประเภทน้ีจะมีลักษณะเร้าอารมณ์และดึงดูด ความสนใจของผู้อ่าน การเสนอเนื้อหามักใช้ภาษาอย่างไม่เป็นทางการมากกว่า ภาษาแบบแผน และมักมี ภาพประกอบขา่ วอยเู่ ปน็ จาํ นวนมาก ตวั อยา่ งเชน่ หนงั สอื พิมพ์ไทยรัฐ เดลินวิ ส์ ขา่ วสด ฯลฯ ๒. แบง่ ตามเน้ือหา หากพิจารณาแบ่งประเภทของหนังสือพิมพ์ตามลักษณะการเสนอเนื้อหา ก็อาจแบ่ง หนงั สือพิมพไ์ ดเ้ ปน็ ๒ ประเภท ดังน้ี ๒.๑ หนังสอื พิมพท์ ่ัวไป (General Newspapers) หมายถึง หนังสือพิมพ์ท่ีเสนอเน้ือหา หลากหลาย เหมาะแก่ผู้อ่านทั่วไป เช่น เน้ือหามีทั้งข่าว บทความ บทวิจารณ์ และคอลัมน์ต่าง ๆ ทั้งด้าน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศิลปะ บันเทิง ดนตรี กีฬา ฯลฯ หนังสือพิมพ์รายวันส่วนใหญ่ ทจี่ ําหนา่ ย อยู่ในทอ้ งตลาดจัดอยใู่ นประเภทนี้ ๒.๒ หนังสือพมิ พเ์ ฉพาะเรื่องหรือเฉพาะกลุ่ม (Specialized News papers) หมายถึง หนังสือพิมพ์ท่ีเสนอเน้ือหาหนักไปในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เน้นเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจหรือธุรกิจ เป็นต้น หนังสือพิมพป์ ระเภทนี้แม้จะมี ขา่ วในลักษณะอน่ื เช่น ขา่ วการเมือง ข่าวสังคม ข่าวบันเทิง อยู่ด้วย ก็ตาม แต่เนื้อหาของข่าวเหล่านี้มักจะต้องเสนอในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับแนวของหนังสือพิมพ์ เฉพาะเร่ือง เสมอ เชน่ ถ้าเปน็ หนงั สือพิมพ์ที่เน้นเฉพาะเร่ืองเศรษฐกจิ กจ็ ะเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เป็นต้น ตัวอย่างของหนงั สือพิมพป์ ระเภทน้ี ไดแ้ ก่ ประชาชาตธิ รุ กจิ ฐานเศรษฐกจิ ขา่ วพานชิ ย์ เขม็ ทิศ ฯลฯ เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๑๗

หนังสือพิมพ์เฉพาะเรื่องหรือเฉพาะกลุ่มน้ีเหมาะสําหรับผู้อ่านท่ีมีความสนใจ เฉพาะเรื่องนั้น ๆ จึงมีผู้อ่านจํานวนจํากัด ไม่มากเหมือนหนังสือพิมพ์ทั่วไป ส่วนใหญ่จึงมักจะออกเป็นรายสัปดาห์มากกว่า รายวัน ๓. แบง่ ตามกาํ หนดเวลาในการออกจาํ หน่ายเผยแพร่ การพิจารณาแบ่งประเภทของหนังสือพิมพ์โดยใช้เกณฑ์เร่ืองเวลาในการแบ่งน้ีอาจแยกได้ ๒ ลักษณะ คอื ๓.๑ เวลา หนังสือพิมพ์อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท ตามลักษณะ เวลาในการพิมพ์ จาํ หนา่ ยเผยแพร่ คือ ๓.๑.๑ หนังสือพิมพ์เช้า (Morning Newspapers) หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่พิมพ์ จําหน่ายตามปกติเป็นประจําในเวลาเช้าตรูในแต่ละวัน หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยส่วนใหญ่จัดเป็น หนังสือพิมพ์เช้า ยกเว้นหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ซึ่งออกในตอนบ่าย อย่างไรก็ดี หนังสือพิมพ์เช้าของไทย มีลักษณะพเิ ศษคอื ไม่ใช่ออกเฉพาะตอนเชา้ หนังสอื พิมพ์ไทยโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ที่มีจํานวนจําหน่ายสูง มักจะพิมพ์วันละหลายกรอบ (editions) กรอบแรก ๆ มักจะส่งไปจําหน่ายยังต่างจังหวัดไกล ๆ รวมท้ัง ในกรงุ เทพมหานครตามแผงหนงั สอื และให้เด็กเรข่ ายตาม ท้องถนน กรอบต่อมาก็จะส่งไปยังจังหวัดใกล้ ๆ ส่วนกรอบหลังสุดพิมพ์ออกในตอนเช้าตรู่จําหน่ายในกรุงเทพมหานครและจังหวัดรอบ ๆ รวมทั้งส่งให้ สมาชิกด้วย เหตุผลในการออกหลายกรอบนั้นก็เพ่ือให้ผลในด้านการตลาด และแก้ปัญหาความล่าช้า ในการขนส่งไปยังจังหวัดไกล ๆ โดยวิธีน้ีผู้อ่านท่ัวประเทศจะได้อ่านหนังสือพิมพ์อย่างช้าที่สุดตอนเช้าตรู่ ในวนั ที่ระบุไว้ในหนา้ หนงั สือพมิ พน์ น้ั ๆ (พรี ะ จริ โสภณ, ๒๕๒๘) ๓.๑.๒ หนังสือพิมพ์บ่าย (Afternoon Newspapers) หมายถึง หนังสือพิมพ์ท่ีพิมพ์ ออกจําหน่ายในตอนบา่ ยหรอื ตอนเยน็ หนงั สอื พิมพ์รายวัน ภาษาไทยท่อี อกในตอนบ่าย ได้แก่ หนังสือพิมพ์ สยามรฐั ๓.๒ ระยะเวลา หากพิจารณาตามระยะเวลาหรือช่วงเวลาในการออก จําหน่ายหรือ ทเ่ี รยี กกนั ว่า “ราย” กอ็ าจแบ่งหนังสอื พิมพไ์ ดด้ งั นี้ คือ ๓.๒.๑ หนังสือพิมพ์รายวัน (Dialy Newspapers) หมายถึง หนังสือพิมพ์ไม่ว่าเช้า หรือบา่ ยทอ่ี อกเปน็ รายประจําทุกวนั ๓.๒.๒หนงั สือพมิ พท์ ่ีไม่ใช่รายวัน (Non-Dialy Newspapers) หมายถึง หนังสือพิมพ์ ที่พิมพ์ออกจําหน่ายเป็นประจําอย่างสม่ําเสมอ แต่ไม่ออก ทุกวัน อาจออกเป็นรายสัปดาห์ รายสิบวัน รายปักษ์ หรอื อ่ืนๆ หนังสือพิมพ์ในเมืองไทย โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ในต่างจังหวัด มักจะมีระยะ เวลาพิมพ์ ออกจําหนา่ ยค่อนขา้ งจะแตกตา่ งกันมาก เช่น รายวันบ้าง รายสัปดาห์บ้าง รายสิบวันบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะออกเป็นรายปักษ์หรือเรียกตามภาษาปากว่า รายลอตเตอรี คือ ออกในวันประกาศผลสลากกินแบ่ง รัฐบาล ซ่ึงมกั จะเปน็ วันที่ ๑ และวันท่ี ๑๖ ของทุกเดือน เพอื่ จะได้พมิ พผ์ ลการออกสลากกินแบ่งเข้าไปด้วย เอกสารประกอบการเรียน รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๑๘

๔. แบง่ ตามขอบเขตหรือลักษณะทางภูมิศาสตร์ การแบ่งประเภทของหนังสอื พมิ พ์โดยวธิ ีน้ี นิยมแบ่งเปน็ ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ ๔.๑ หนังสือพิมพ์ระดับชาติ (National Newspapers)หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่พิมพ์ จําหน่ายแพร่หลายไปทุกส่วนของประเทศ เน้ือหาข่าวสารเป็น เร่ืองส่วนรวมของประเทศที่ทุกคนไม่ว่าจะ อยู่ในท้องถ่ินใดให้ความสนใจอ่าน หนังสือพิมพ์ รายวันที่พิมพ์ในกรุงเทพมหานครหลายฉบับ จัดได้ว่าเป็น หนังสือพมิ พ์ระดับชาติ คือ เนน้ เนอ้ื หาท่ัวไป และมกี ารจาํ หนา่ ยทว่ั ประเทศ เช่น ไทยรฐั เดลนิ วิ ส์ บ้านเมือง มตชิ น สยามรฐั เปน็ ต้น ๔.๒ หนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น (Local Newspapers) หมายถึง หนังสือพิมพ์ไม่ว่า จะเปน็ รายวนั หรอื ไมใ่ ชร่ ายวันก็ตาม ท่ีพิมพ์จําหน่ายเผยแพร่ใน ท้องถ่ินนั้น อาจจะเป็นระดับชุมชน ระดับ จังหวดั หรอื ระดับภูมภิ าคก็ได้ ห นั ง สื อ พิ ม พ์ ร ะ ดั บ ท้ อ ง ถ่ิ น จ ะ มี เ นื้ อ ห า ส า ร ะ ที่ เ น้ น ห นั ก ข่ า ว ส า ร เ ห ตุ ก า ร ณ์ ความเคล่อื นไหวในท้องถนิ่ นนั้ ๆ เป็นสําคญั และมกั มีจาํ นวนจําหนา่ ยไม่สูงนัก นอกจากจะแบ่งประเภทตามลักษณะต่างๆดังกล่าวแล้ว ยังแบ่งตามลักษณะอ่ืน ๆ ได้อีก เช่น แบ่งตามภาษาที่ใช้ เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทย หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ หนังสือพิมพ์ภาษาจีน แบ่งตาม ขนาด เป็นหนังสือพิมพ์ขนาดมาตรฐาน (๑๔-๑๗\"x ๒๓\") และหนังสือพิมพ์ขนาดเล็กหรือแทบลอยด์ (tabloid) ซึ่งมขี นาดประมาณครง่ึ หนงึ่ ของขนาดมาตรฐาน เปน็ ตน้ ลักษณะเนอ้ื หาของหนงั สือพมิ พ์ หากพิจารณาเน้ือหาของหนังสือพิมพ์โดยท่ัวไป ส่วนใหญ่มีเนื้อหาซึ่งอาจแยกกล่าวได้ดังน้ี จะ พบวา่ หนงั สอื พมิ พ์ ๑. เน้ือหาประเภทข่าว หมายถึง เนื้อหาส่วนที่เป็นรายงานเหตุการณ์ หรือสิ่งที่เกิดข้ึนใน ปัจจุบัน ท่ีมีความสําคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน หรือ ที่แปลกน่าสนใจแก่ประชาชน (รัญจวน อนิ ทรกาํ แหง, ๒๕๑๕) ข่าวที่เสนอในหนังสือพิมพ์มีหลายประเภท เช่น ข่าวการเมือง ข่ าวเศรษฐกิจ ข่าวอาชญากรรม ข่าวสังคม ข่าวกีฬา ข่าวการศึกษา ข่าวบันเทิง และอ่ืน ๆ ซ่ึงเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ของบุคคลทั่ว ๆ ไป ซึ่งหนงั สือพมิ พ์ฉบบั ใดจะเสนอข่าวประเภทใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายและประเภทของ หนังสือพิมพ์ฉบับน้ัน เช่น บาง ฉบับอาจเน้นข่าวอาชญากรรมซ่ึงแปลก เด่น ระทึกใจ บางฉบับอาจเน้น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ บางฉบับอาจเน้นท้ังข่าวอาชญากรรมและข่าวสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เปน็ ต้น ๒. เนื้อหาประเภทแสดงความคิดเห็น หมายถึง เน้ือหาส่วนที่เป็น ข้อเขียนแสดง ความคิดเห็นต่าง ๆ ซ่ึงปรากฏออกมาในรูปของบทบรรณาธิการ คอลัมน์แสดงความคิดเห็น เช่น คอลัมน์ วเิ คราะหข์ า่ ว คอลมั นบ์ ทความทวั่ ไป คอลมั น์จดหมายจากผู้อ่าน เปน็ ต้น บทบรรณาธิการ บทบรรณาธิการหรือบทนํา เป็นบทความแสดง ความคิดเห็นอย่างเป็น ทางการของหนังสือพิมพ์ต่อเร่ืองราวหรือเหตุการณ์ที่กําลังเป็นข่าวอยู่ การแสดงความคิดเห็นผ่าน บทบรรณาธิการถือว่าเป็นความคิดเห็นของ หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นโดยส่วนรวม ไม่ใช่ของผู้เขียนเพียง คนเดยี ว จงึ ไมม่ กี ารลงชอื่ ผูเ้ ขยี น และมักใช้สรรพนามแทนผเู้ ขยี นวา่ เรา เอกสารประกอบการเรยี น รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพิจารณาวรรณกรรม ๑๙

การแสดงความคิดเห็นในส่วนที่เป็นบทบรรณาธิการจะมีลักษณะค่อนข้าง เป็นทางการ มกี ารอธบิ าย วิเคราะห์ และแสดงความคิดเหน็ ตลอดจนชี้แนะทาง ออกในการแก้ปัญหานั้นอย่างเป็นกลาง สะท้อนให้เห็นถึงนโยบายและจุดยืนของ หนังสือพิมพ์ต่อเหตุการณ์นั้น โดยใช้ภาษาท่ีเป็นแบบแผน ต่างจากคอลมั นแ์ สดง ความคิดเห็นอน่ื ๆ ซึ่งมักเขียนอยา่ งเปน็ กันเอง คอลัมน์แสดงความคิดเห็น นอกจากบทบรรณาธิการแล้ว ในหนังสือพิมพ์ ยังประกอบด้วย คอลมั น์ต่างๆ ซง่ึ นักเขียนบทความประจําคอลมั น์ (columnist) เป็นผ้เู ขยี น คอลัมน์ท่ัวๆไปในหนังสือพิมพ์ มักมีความสมบูรณ์ในตัวเอง มีความยาวจํากัดอยู่ในเน้ือท่ี เฉพาะ มีชอ่ื ผ้เู ขียน และมีหน้าประจําทผี่ ้อู า่ นสามารถรไู้ ดท้ นั ทีว่า ถ้าจะอ่านคอลัมน์ของนาย ก. จะต้องเปิด ไปดทู ่ีหนา้ ใด คอลัมนท์ ่เี ปน็ การแสดงความคิดเห็นตามท่ปี รากฏอยู่ในหนงั สอื พมิ พ์ ได้แก่ คอลัมน์วิเคราะห์ข่าว ข้อเขียนประเภทนี้มักจะเป็นเร่ืองราวเกี่ยวกับ เหตุการณ์ปัจจุบัน ที่กําลังเป็นข่าว ผู้เขียนมุ่งให้สาระอธิบายความเป็นมาพร้อมกับวิเคราะห์แสดงความคิดเห็นส่วนตัว ประกอบกับเหตุผลในการคาดหมายเหตุการณ์น้ัน ๆ คอลัมน์นี้อาจมีนํ้าหนักน้อยกว่าบทบรรณาธิการ ตรงที่ทรรศนะต่าง ๆ ท่ีแสดง ออกนั้นเป็นของผู้เขียนคนเดียว หากผู้เขียนเป็นบุคคลท่ีเป็นท่ียอมรับและ มีความรู้ลึกซึ้งเก่ียวกับเรื่องที่เขียนดีพอ ก็มักจะได้รับความสนใจจากผู้อ่าน ส่วนใหญ่คอลัมน์ ประเภทน้ี จะปรากฏในหนา้ บทบรรณาธกิ ารหรอื หนา้ ตรงข้ามบทบรรณาธกิ าร คอลัมน์บทความท่ัวไป คือ เนื้อที่ที่อุทิศให้กับข้อเขียนหรือบทความท่ีส่งเข้ามาโดยผู้อ่าน นักวิชาการ ผู้เช่ียวชาญเฉพาะด้าน อาจเป็นเร่ืองเก่ียวกับสังคม เศรษฐกิจ การเมืองซ่ึงกําลังเป็นข่าว หรอื เป็นประเดน็ ท่สี มควรใหค้ วามรู้แก่ผอู้ า่ นท่ี สนใจ คอลัมน์จดหมายจากผู้อ่าน อาจจะกล่าวได้ว่า คอลัมน์น้ีมีความสําคัญต่อ หนังสือพิมพ์มาก เพราะเปน็ ส่วนหนง่ึ ทีจ่ ะแสดงให้เห็นถึงทรรศนะและการตอบสนอง จากผู้อ่าน หนังสือพิมพ์ส่วนมากจะจัด คอลมั น์นใ้ี นหน้าบทบรรณาธกิ ารซงึ่ ถือเปน็ หนา้ เวทที รรศนะอยู่แล้ว หรืออาจจะอยู่ในหน้าตรงข้ามกับหน้า บทบรรณาธิการก็ได้ นอกจากคอลัมน์ต่างๆดังกล่าวข้างต้นแล้ว ในหนังสือพิมพ์ยังประกอบด้วย คอลัมน์ซุบซิบ ซึ่ง เสนอเกร็ดข่าวเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับความเป็นไปของบุคคลในชุมชน หรือนักการเมือง คอลัมน์ตลกขบขัน ซ่ึงหยอกล้อหรอื ประชดประชันบุคคล ข่าว และเหตุการณ์ปัจจุบันซึ่งเป็นสาธารณะและคอลัมน์จิปาถะอ่ืน ๆ เกี่ยวกับส่ิงละอัน พันละน้อยซึ่งเกิดขึ้นในแวดวงสังคม ซ่ึงคอลัมน์เหล่านี้ แม้จะมิใช่คอลัมน์แสดง ความคิดเหน็ โดยตรง แต่น้ําเสียงที่ผู้เขียนแฝงมาในข้อความที่ซุบซิบหรือล้อเลียนก็สามารถทําให้ผู้อ่านทราบ ความคดิ หรือทศั นคติ ซ่ึงถอื เป็นการแสดงความคิดเห็น โดยทางอ้อมของผเู้ ขยี นได้ ๓. เนื้อหาประเภทเกร็ดความรู้ หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีเน้ือที่หน้า กระดาษสําหรับ เสนอเรื่องราวอันเป็นเกร็ดความรู้ต่าง ๆ แก่ผู้อ่าน เช่น ความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย อาหารการกิน การเพาะปลูก การประดิษฐ์ของใช้ง่าย ๆ การดูแลรักษาเคร่ืองมือเคร่ืองใช้ ฯลฯ บางฉบับอาจจะจัดวัน สําหรับเสนอเรื่องที่ให้ความรู้แก่เด็กแทรกเข้ามาเป็นพิเศษ เช่น ทุกฉบับวันอาทิตย์ เป็นต้น อาจมี การแขง่ ขันตอบปัญหา วาดภาพ เกมลบั สมอง และเกรด็ ความรู้ท่ัว ๆ ไป ๔. เนือ้ หาประเภทให้ความบันเทิง เนื้อหาประเภทให้ความบันเทิงในหนังสือพิมพ์ปรากฏ ในหลายลักษณะบางฉบับจัดเป็นหน้าศิลปวัฒนธรรม มีคอลัมน์ วิจารณ์หนังสือ วิจารณ์ศิลปะภาพยนตร์ เพลงท่ีกําลังได้รับความนิยม รายงาน ความเคลื่อนไหวเก่ียวกับวงการบันเทิงท้ังในและนอกประเท ศ โดยอาจเสนอเน้ือหา เป็นข่าวสั้น ๆ หรือรายงานข่าวโดยเน้นการเสนอภาพก็ได้ หนังสือพิมพ์บางฉบับ เอกสารประกอบการเรยี น รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอ่านและพจิ ารณาวรรณกรรม ๒๐

อาจใช้กลวิธีแทรกเน้ือหาที่ให้ความบันเทิงโดยตรง เช่น นําเอานวนิยาย หรือบทละคร โทรทัศน์ที่กําลัง ได้รับความนิยมมาลงให้อ่านเป็นตอน ๆ เป็นต้น เนื้อหาประเภทให้ความบันเทิงนี้ หนังสือพิมพ์รายวัน ประเภทแพร่หลายท่ัวไปจะให้ความสาํ คัญเป็นพเิ ศษ ๕. เนื้อหาประเภทบริการประชาชนและประเภทเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ เนื้อหาที่เป็น การบริการประชาชนท่ีปรากฏในหนังสือพิมพ์ ได้แก่ เน้ือหาที่เป็นประกาศแจ้งความต่าง ๆ เช่น ประกาศ รับสมัครงาน แจง้ ความของหาย คนหาย ประกาศขาย ท่ีดิน ขายรถยนต์ใช้แล้ว ฯลฯ นอกจากน้ีก็มีบริการ ประชาชนประเภทรับเรื่อง ร้องทุกข์ และการโฆษณาต่าง ๆ โดยเฉพาะการโฆษณาสินค้านั้นหนังสือพิมพ์ บางฉบับ จัดเน้ือที่สําหรับโฆษณาไว้เกือบคร่ึงหน่ึงของจํานวนเน้ือท่ีท้ังหมดก็มี ทั้งนี้เพราะกิจการของ หนังสอื พมิ พ์น้ัน ต้องอาศัยเงินทุนในการดําเนินงานค่อนข้างสูง การหารายได้ของหนังสือพิมพ์โดยการขาย เน้ือทีห่ น้ากระดาษสาํ หรบั โฆษณาสนิ คา้ จึงเปน็ สิง่ จาํ เป็น นอกจากเน้ือหาประเภทต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว หนังสือพิมพ์ยังอาจมี เนื้อหาเบ็ดเตล็ด อ่ืนๆแทรกอยู่ด้วย เช่น เนื้อหาประเภทพยากรณ์ชะตาชีวิต การ์ตูน ล้อบุคคลหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ และ คอลัมนเ์ บด็ เตลด็ อื่น ๆ ตามแตท่ ห่ี นงั สอื พิมพแ์ ตล่ ะ ฉบับจะเห็นเหมาะสม แนวการอ่านหนังสอื พิมพ์ เนื้อหาหลักของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับก็คือข่าว ข่าวจึงเป็นเน้ือหาสําคัญท่ีผู้อ่านหนังสือพิมพ์ส่วน ใหญ่เลือกอา่ นเป็นอนั ดบั แรก โดยทว่ั ไปขา่ วแตล่ ะขา่ วจะประกอบด้วยส่วนประกอบสําคัญ ๆ ดังน้ี คือ ๑. หัวข่าว (Headline) หัวข่าวเป็นส่วนสําคัญส่วนหน่ึงของข่าว มักเขียนข้ึนด้วยการใช้ ภาษาที่แปลก สะดุดตา หรือสั้นกะทัดรัด เพื่อเร้าความรู้สึกของผู้อ่านและทําให้ผู้อ่านเข้าใจเร่ืองได้ทันที โดยปกตขิ า่ วในหนังสือพมิ พ์ฉบบั หนงึ่ ๆจะมีหลายข่าว แต่ข่าวที่สําคัญที่สุดในฉบับนั้น หนังสือพิมพ์จะนํามา ลงไวห้ น้าแรก โดย พิมพห์ วั ขา่ วดว้ ยอกั ษรตัวโตกว่าปกติ เพ่ือใหเ้ ด่นสะดุดตา และมกั จะจัดขา่ วสําคัญ นั้นไว้ ในคอลัมน์ขวาสุด (หรือซ้ายสุด) ข่าวสําคัญเป็นอันดับสองจัดพิมพ์ไว้ในคอลัมน์ ซ้ายสุด (หรือขวาสุด) และ ข่าวสําคญั รองลงมามกั จดั พมิ พ์อย่ใู นคอลมั น์กลาง ๆ การอ่านหนังสือพิมพ์ ผู้อ่านควรจะอ่านหัวข่าวท้ังหมดตามลําดับความสําคัญของข่าว กลา่ วคอื อา่ นหัวข่าวท่ีมีความสําคัญท่ีสุดหรือหัวข่าวใหญ่ก่อน แล้วจึงอ่านหัวขาวท่ีมีความสําคัญรองลงมา ตามลําดับ และเน่ืองจากหนังสือพิมพ์ใน ปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายฉบับ แต่ละฉบับอาจเ สนอข่าว ท่ีเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้างในแต่ละวัน ดังน้ันหากเป็นไปได้ ผู้อ่านก็ควรจะอ่านหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ หลาย ๆ ฉบับ เพ่ือจะได้รู้ว่าในแต่ละวันมีข่าวหรือเรื่องอะไรท่ีสําคัญบ้าง เมื่อสนใจข่าวใดจึงลงมืออ่าน รายละเอยี ดของข่าวน้ัน ๒. ความนําหรือวรรคนํา (Lead) คือ ส่วนท่ีเป็นย่อหน้าแรกของข่าว ถัดจากส่วนท่ีเป็นหัวข่าว ข้อความท่ีเป็นวรรคนําโดยท่ัวไปมักจะเป็นการสรุปใจความสําคัญ หรือย่อเร่ืองราวท้ังหมดของข่าวไว้ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจเร่ืองราวอย่าง รวดเร็วท่ีสุดว่าข่าวนั้นเป็นเร่ืองของใคร ทําอะไร ท่ีไหน อย่างไร ทําไม ด้วยเหตุน้ี ผู้อ่านที่มีเวลาน้อยอาจเลือกอ่านอย่างละเอียดเฉพาะข่าวที่สําคัญ ๆ และอ่านข่าวอื่น ๆ โดยใช้ วธิ อี ่านแต่หัวข่าวและวรรคนํากจ็ ะสามารถรเู้ รือ่ งราวของขา่ วอยา่ งคร่าว ๆ ได้ เอกสารประกอบการเรยี น รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพิจารณาวรรณกรรม ๒๑

๓. ส่วนเชื่อมระหว่างวรรคนํากับเนื้อเร่ือง (Neck) หมายถึง ข้อความ ที่อยู่ระหว่างส่วนที่เป็น วรรคนาํ กับส่วนทเ่ี ป็นรายละเอียดของขา่ ว ขอ้ ความที่เป็นส่วนเชื่อมน้ีอาจจะส้ันหรือยาวก็ได้ ท้ังนี้ขึ้นอยู่กับ ความสําคัญของข่าวหรือเหตุการณ์ท่ีเกิดขึ้น ส่วนใหญ่ขอความที่เป็นส่วนเชื่อมนี้ มักจะเป็นการอธิบาย ขยายความเกี่ยวกับ ตัวบุคคล เวลา สถานที่ เหตุการณ์ เหตุผลอย่างใดอย่างหน่ึงเพ่ิมเติมจากที่กล่าวไว้ใน วรรคนําหรอื อาจจะมกี ารอา้ งแหล่งทม่ี าของข่าวหรือเท้าความเดิมของเหตุการณ์ ทีเ่ กิดขึ้นกไ็ ด้ การอ่านข้อความที่เป็นส่วนเช่ือมระหว่างวรรคนํากับเนื้อเร่ืองจึงช่วยให้ผู้อ่าน ได้ทราบ รายละเอียดอย่างใดอย่างหน่ึงดงั ต่อไปน้ี คอื ๑. ไดท้ ราบรายละเอียดเก่ียวกบั ตวั บคุ คล เวลา สถานท่ี เหตกุ ารณ์ เหตุผลอย่างใดอย่างหน่ึง เพมิ่ ขนึ้ ๒. ได้ทราบขอ้ เทจ็ จรงิ ทม่ี ีความสําคญั รองจากวรรคนาํ และทย่ี ังไม่ไดก้ ลา่ วถึงในวรรคนาํ ๓. ได้ทราบแหลง่ ทมี่ าของข่าว ว่าเปน็ ขา่ วทไ่ี ดม้ าจากไหน ใครพดู หรอื ใครเปน็ คนให้ขา่ วนั้น ๔. ได้ทราบความเดิมของเหตุการณ์ท่ีเกิดขึ้น ในกรณีที่ผู้อ่านไม่ได้ติดตามข่าวที่เคยเสนอ มาก่อน กจ็ ะชว่ ยให้อ่านข่าวนนั้ ไดเ้ ข้าใจยง่ิ ข้นึ ๔. เน้ือเรื่อง (Body) หมายถึง ส่วนท่ีเป็นรายละเอียดของข่าวซ่ึงจะ ทําให้ผู้อ่านเข้าใจ เรื่องราวท่ีเกิดข้ึนท้ังหมด ในการนําเสนอเน้ือเรื่องอันเป็นรายละเอียด ของข่าวน้ัน หากผู้อ่านลองสังเกตดู จะพบว่าผู้เขยี นนยิ มลาํ ดับเรือ่ งอยู่ ๒ แบบ คอื ๑) ลําดับเรอ่ื งตามความสําคญั ๒) ลาํ ดับเรื่องตามเวลาหรือเหตุการณ์ การเสนอรายละเอียดของข่าวตามลําดับความสําคัญนั้น มักปรากฏในข่าวที่มีสาระสําคัญ ซึ่งผู้อ่านควรจะทราบอย่างรวดเร็ว เช่น ข่าวการบุกโจมตีสถานที่ ราชการของผู้ก่อการร้าย หรือข่าว อบุ ตั ิเหตุท่ีมผี ู้สญู เสียชวี ติ และทรพั ย์สินจํานวนมาก เป็นต้น ส่วนการเสนอเรื่องตามลําดับเวลาน้ัน มักจะใช้ ในกรณีทีม่ ีกําหนดการหรือมีความต้องการความต่อเนื่องของเวลาหรอื กิจกรรม อย่างไรก็ตาม การลําดับเน้ือเร่ืองจะลําดับแบบใดนั้น ข้ึนอยู่กับว่าต้องการให้ผู้อ่านทราบอะไร ก่อนหลัง และข้ึนอยู่กับคุณค่าของข่าวแต่ละข่าวด้วย แต่ส่วนมากข่าวท่ัว ๆ ไป มักนิยมเขียนตามลําดับ ความสําคัญมากกว่าตามลําดับเวลา ท้ังน้ีเพ่ือให้ความสะดวกแก่ผู้อ่านท่ีไม่มีเวลามากในการอ่าน รายละเอียดของข่าว จะได้ทราบความเป็นไปของเหตุการณ์ได้ทันทีท่ีอ่านส่วนต้น ๆ ของรายงานข่าว และ เป็นการสนองความอยากรู้อยากเห็นของผู้อ่าน โดยเสนอข้อความที่สําคัญที่สุด ซ่ึงผู้อ่านอยากรู้มากที่สุด เสียก่อน ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ก็จะตามมาในย่อหน้าท้ายๆ หากผู้อ่านอยากทราบรายละเอียดก็สามารถ อา่ นตอ่ ไปได้ แตห่ ากอยากทราบเพียงประเด็นสําคัญ ๆ ของเหตุการณ์ ก็จะทราบได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว เปน็ การประหยดั เวลาสาํ หรบั ผู้ท่ีไม่มีเวลาอา่ นหนงั สือพมิ พ์ทง้ั ฉบับ การอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์น้ัน ผู้อ่านควรจะเข้าใจส่วนประกอบของข่าว ดังกล่าวข้างต้น และ ควรอ่านอย่างสม่ําเสมอติดต่อกันเป็นประจําทุกวัน ไม่ควรอ่านบ้าง ไม่อ่านบ้าง เพราะบางครั้งเม่ือมี การเสนอข่าวไปแล้ว หนงั สือพิมพ์ฉบับนั้น อาจปฏเิ สธขา่ วในภายหลังก็ได้ การอา่ นขา่ วไมต่ ิดต่อกันและขาด ตอนไปจะมีผลทําให้ ผู้อ่านได้รับความรู้อย่างกระท่อนกระแท่น ไม่รู้จริงหรือรู้ไม่ตลอดซึ่งนับเป็นอันตราย อย่างยง่ิ (ฉวลี กั ษณ์ บณุ ยะกาญจน์, ๒๕๒๓) นอกจากนี้ ผู้อา่ นจะตอ้ งเข้าใจวา่ ข่าวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ท่ีเกิดข้ึนในแต่ละวันน้ันมีอยู่มากมาย หนังสือพิมพ์แต่ละฉบับจะต้องทํางานแข่งขันกับเวลาและแข่งขันกับหนังสือพิมพ์ฉบับอ่ืน เพื่อท่ีจะรายงาน เหตุการณ์ท่ีเกิดข้ึนให้ผู้อ่านได้ทราบ อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ การทํางานอย่างเร่งรีบเช่นนี้จึงอาจทําให้ ไม่มีเวลาตรวจสอบข้อเท็จจริง ข่าวท่ีเสนอออกมาจึงอาจจะคลาดเคล่ือนจากความเป็นจริงหรือ อาจจะ ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ได้ ดังนั้นในการอ่านข่าวผู้อ่านจึงควรตรวจสอบข้อเท็จ จริงของข่าวด้วยการอ่านจาก หนงั สอื พิมพ์หลายๆฉบับแล้วนารายละเอยี ดตา่ ง ๆ มาเปรียบเทยี บกัน เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๒๒

อย่างไรก็ตาม การที่หนังสือพิมพ์หลายฉบับลงข่าวเรื่องเดียวกันไปในทํานองเดียวกัน ไม่ได้ หมายความว่าเป็นข้อเท็จจริงที่พึงเชื่อถือได้เสมอไป เพราะท่ีเป็นเช่นน้ันอาจเกิดจากทัศนคติของนักข่าว สว่ นมากทเี่ ผอญิ ตรงกนั หรอื ไดข้ ่าวจาก แหลง่ ขา่ วเดียวกัน หรือนักข่าวแลกข่าวกันเองก็ได้ การท่ีจะเชื่อถือ ข่าวใดจึงควรจะ ตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวจากหลาย ๆ แหล่งประกอบกัน เช่น ตรวจสอบจากข่าว โทรทศั นห์ รอื วิทยกุ ระจายเสียงประกอบด้วย เปน็ ต้น โดยสรุปแล้ว วิธีการอ่านข่าวที่ดีก็คือ การอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์ ทําใจให้เป็นกลางปราศจาก อคติ เมื่ออ่านแล้วอย่าเพิ่งเช่ือหรือปฏิเสธทันที แต่จงใช้ความสุขุมรอบคอบในการพิจารณาข่าวคราวและ ข้อเขียนต่าง ๆ และสิ่งท่ีควรปฏิบัติ อย่างหนึ่งก็คือเม่ืออ่านข่าวต่าง ๆ แล้ว ควรนําข่าวนั้นมาถกเถียง แลกเปลี่ยนกับ เพ่ือนฝูง เพ่ือสอบทวนความเข้าใจและพิสูจน์ความแม่นตรงของสิ่งท่ีรู้ ตลอดจน ขยายทรรศนะใหก้ วา้ งขวางขนึ้ (สิทธา พินจิ ภูวดล และทิพย์สเุ นตร อนัมบุตร, ๒๕๒๕) การพจิ ารณาคุณคา่ ของข่าว นอกจาการอ่านข่าวอย่างพนิ จิ พิเคราะห์แล้ว ผูอ้ า่ นควรจะพิจารณาคุณค่า ของข่าวด้วยว่าข่าวน้ัน เป็นขา่ วทีด่ ีหรือไมอ่ ย่างไร ลกั ษณะของข่าวทด่ี ี คอื ๑. เป็นข่าวสดทันเหตุการณ์ หมายถึง เสนอข่าวได้รวดเร็วทันใจผู้อ่าน เหตุเกิดกลางคืน เช้ามดื ผูอ้ ่านก็จะได้อา่ นขา่ วอยา่ งละเอียด เหตุเกิดตอนเช้า ตอนบ่ายผู้อ่านจะได้รู้เร่ือง ฉะน้ันหนังสือพิมพ์ บางฉบับจึงมอี อกทัง้ เช้าและบา่ ยเพอ่ื เสนอข่าวสดให้รวดเรว็ ทนั ใจผอู้ า่ น ๒. เป็นข่าวที่มีความสําคัญต่อคนหมู่มาก หรือเป็นข่าวท่ีใกล้ชิดกับตัวผู้อ่าน เช่น ข่าวท่ีเกี่ยวกับการออกกฎหมายใหม่ท่ีมีผลกระทบต่อประชาชน ข่าว อาชญากรรมท่ีผู้ร้ายใช้เล่ห์ต่าง ๆ ทปี่ ระชาชนควรทราบเพ่ือจะได้เตรียมปอ้ งกันตัว ขา่ วการลดคา่ เงินบาท ฯลฯ ๓. มีหลักฐานของความจริงอยู่ในข่าว หมายถึง มีหลักฐานอ้างอิงประกอบ ที่จะทําให้ผู้อ่าน เกิดความเช่ือถือในข่าวนั้นได้ หลักฐานที่กล่าวถึงน้ีอาจจะเป็นสถิติข้อมูลต่าง ๆ คําพูดของบุคคลสําคัญ แหลง่ ที่มาของขา่ ว ซ่ึงผู้อ่านสามารถตรวจสอบได้ ๔. มคี วามชัดเจนและกะทัดรัด หมายถึง มีการจัดลําดับและขนาดของ เร่ืองได้เหมาะสมกับ ความสําคัญของข่าว ไม่นําข่าวท่ีมีสาระเพียงเล็กน้อยมาเขียน ให้ยืดยาวออกไปโดยกล่าวซ้ําแล้วซํ้าอีก มีการใชภ้ าษาทเ่ี ขา้ ใจงา่ ย ไมว่ กวน ไมก่ ํากวม และมภี าพประกอบที่ชดั เจนและสอดคล้องกับข่าว ๕. พาดหัวข่าวมีลักษณะส้ัน กะทัดรัด อ่านแล้วเข้าใจทันทีและส่ิงที่สําคัญ ก็คือ ต้องมี ใจความตรงกับเน้ือข่าว และมีความสําคัญพอท่ีจะนํามาพาดหัวข่าว เพื่อให้สะดุดตาผู้อ่านได้ กล่าวคือ ไม่พาดหัวข่าวให้ตื่นเต้นเกินความเป็นจริงเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้อ่าน ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้ว ในเนอ้ื ข่าวไมม่ ีรายละเอยี ดที่มีน้ําหนกั หรอื มคี วามสําคัญพอทีจ่ ะนาํ มาเป็นข่าวเลย นอกจากลักษณะดังกล่าวข้างต้นแล้ว ข่าวท่ีดียังควรมีลักษณะที่สําคัญอีก ประการหน่ึง คือ มคี วามไมเ่ อาตัวไปพวั พัน (objective) หมายถงึ ไม่มกี ารสอดแทรกหรอื แสดงความคดิ เห็นเข้าไปในเนื้อข่าว ขา่ วเป็นเพียงรายงานเหตุการณ์ ท่ีเกิดขึ้น เมื่อข้อเท็จจริงของเหตุการณ์เป็นอย่างไร ก็ควรเสนอข้อเท็จจริง นั้นอย่าง ตรงไปตรงมา ผู้เขียนข่าวไม่ควรสอดแทรกหรือแสดงความคิดเห็นของตนลงไปในเน้ือข่าวด้วย เพราะถ้าผู้เขียนข่าวเข้าใจผิด มองเหตุการณ์ด้านเดียว รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ฯลฯ ก็อาจทําให้ข่าวท่ีเสนอนั้น มีลักษณะคลาดเคล่ือนจากความเป็นจริงได้ ในการอ่านข่าวผู้อ่านจึงควรพิจารณาลักษณะดังกล่าวน้ี ประกอบด้วย เอกสารประกอบการเรยี น รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอ่านและพิจารณาวรรณกรรม ๒๓

การอา่ นเน้ือหาประเภทแสดงความคิดเห็น นอกจากการอ่านข่าวแล้ว ในการอ่านหนังสือพิมพ์ผู้อ่านควรอ่านเน้ือหา ส่วนที่เป็นการแสดง ความคดิ เห็นตา่ งๆในหนงั สือพมิ พฉ์ บับน้ัน ๆ ดว้ ย ทง้ั นีเ้ พราะการอ่านเน้ือหาส่วนนี้ นอกจากจะทําให้ผู้อ่าน ได้รู้ความเคล่ือนไหวของสังคม และรู้ทรรศนะของบุคคลต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้อ่านได้ คิดใครค่ รวญถึงเหตุการณต์ ่าง ๆ ท่ีเกิดขนึ้ ดว้ ย การอา่ นเนื้อหาสว่ นท่เี ป็นการแสดงความคดิ เห็นน้ี ผอู้ า่ นพงึ สงั เกตดวู า่ ข้อความใดเป็นข้อเท็จจริง ข้อความใดเป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียน ท้ังนี้เพราะข้อเขียน แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ท่ีปรากฏ ในหนงั สอื พิมพ์ ไม่วา่ จะเสนอออกมาในรูปแบบใดก็ตาม มกั จะประกอบไปด้วยสาระสาํ คญั ๓ ประการคือ ๑. ข้อเท็จจริง หมายถึง ความจริงต่าง ๆ ท่ีมีอยู่ตามที่ผู้เขียนได้รับรู้ อาจโดยประสบการณ์ ตรง เชน่ ได้พบไดเ้ หน็ มาด้วยตนเองหรอื ประสบการณ์ออ้ ม เช่น ได้รับทราบมาจากคําบอกเล่าของผู้อ่ืนก็ได้ ข้อเท็จจริงที่เสนอน้ี อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ สัตว์ วัตถุ สถานท่ี เหตุการณ์ ฯลฯ อย่างใดอย่างหน่ึง อาจเป็นเร่ืองทีผ่ า่ นมาแล้ว หรอื กาํ ลังปรากฏอยู่และอาจเสนออยา่ งครบถ้วนหรือเสนอเพียงบางส่วนก็ได้ ๒. ข้อคิดเห็น หมายถึง ปรากฏการณ์ท่ีเกิดข้ึนในจิตของผู้เขียน อาจเป็น ความเชื่อ หรือ แนวคิดท่ผี ู้เขยี นมตี ่อส่ิงใดส่งิ หน่ึง ไมว่ า่ สิ่งน้นั จะเปน็ บุคคล วัตถุ เหตุการณ์ หรอื พฤตกิ รรมใด ๆ กต็ าม ข้อคิดเห็นที่เสนอน้ีเป็นเพียงความเช่ือหรือแนวคิดส่วนตัวของผู้เขียนเท่าน้ัน คนอ่ืนจะ เห็นด้วยหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ได้ และเน่ืองจากข้อคิดเห็นเป็นเพียง ปรากฏการณ์ที่ปรากฏอยู่ในจิตใจ หรือในสมองของบุคคล ไม่ได้ปรากฏอยู่ในลักษณะทางกายภาพเช่นข้อเท็จจริง สารประเภทข้อคิดเห็นนี้ จึงไม่อยู่ในวิสัยท่ีจะพิสูจน์ ตรวจสอบได้ว่าเป็นจริงหรือไม่ อาจกล่าวได้แต่เพียงเช่นว่า ข้อคิดเห็นนั้น นา่ รับฟัง หรอื ไม่นา่ ยอมรับหรอื ไม่เพยี งไร สมเหตสุ มผลแคไ่ หนเท่านน้ั ๓. ความรู้สึก หมายถึง ข้อความที่แสดงให้เห็นถึงสภาพจิตของบุคคล ว่าเป็นอย่างไร เช่น ดีใจ เสียใจ น้อยใจ กังวลใจ ภูมิใจ ตื่นเต้น หวงแหน ลิงโลด รวมท้ังความรู้สึกอยากได้ อยากมี อยากเป็น เหลา่ น้ี เปน็ ต้น ในการอ่านหนังสือพิมพ์ส่วนที่เป็นเน้ือหาแสดงความคิดเห็นต่างๆ ผู้อ่านจะต้องพิจารณา แยกแยะข้อเทจ็ จริงและข้อคิดเห็นของผู้เขียนออกจากกัน โดยวิเคราะห์ ให้ได้ว่า ข้อเท็จจริงที่ผู้เขียนนํามา เสนอน้ันคืออะไร เป็นเร่ืองที่น่าสนใจหรือไม่ ผู้เขียนมีความคิดเห็นอย่างไรต่อข้อเท็จจริงนั้น และ ความคดิ เห็นทีเ่ สนอน้นั เป็นความคิดเห็นที่มีเหตุผลน่ารับฟังหรือน่าเชื่อถือหรือไม่ นอกจากน้ีควรพิจารณา ดูด้วยว่าในการเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ นั้น ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร เช่น ต้องการเสนอแนะแนวทาง ในการแก้ปัญหาเรื่องอะไร อย่างไร หรือต้องการให้ผู้อ่านคิดอย่างไร ทําอย่างไร หรือเพียงแต่ต้องการ ระบายความร้สู กึ ของผู้เขียนเท่านั้น การอา่ นเน้อื หาประเภทเกร็ดความรู้ ความบันเทิง การบริการประชาชน และเน้ือหาเบ็ดเตล็ด อื่นๆ ดังได้กล่าวแล้วว่า หนังสือพิมพ์นอกจากจะเสนอข่าวและความคิดเห็นต่างๆ แล้ว ยังมีการเสนอ เน้ือหาอันเป็นเกร็ดความรู้ เน้ือหาที่เป็นการให้ความบันเทิง และ เน้ือหาที่เป็นการให้บริการประชาชน ตลอดจนเนอ้ื หาเบ็ดเตล็ดอืน่ ๆ เพอ่ื ดึงดูดใจ ผู้อา่ นด้วย เน้ือหาเหล่าน้ีเป็นเน้ือหาท่ีสนองความต้องการและ ความสนใจของผู้อ่าน ในลักษณะท่ีแตกต่างกัน ในการอ่านเน้ือหาเหล่าน้ี ผู้อ่านจึงควรเลือกอ่านตาม ความสนใจของตน ไม่จําเป็นต้องอ่านอย่างละเอียดทุกเรื่อง แต่มีส่ิงหนึ่งท่ีผู้อ่านจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ คือ การโฆษณาชวนเชื่อ เราต้องทราบว่าสารโฆษณาชวนเชื่อนั้น มีจุดประสงค์ต้องการให้ผู้อ่านเช่ือและปฏิบัติ ตาม ผูช้ วนเช่ือจะต้องหาวิธีการและเลือกสรรถ้อยคํามาใช้ให้ได้ผล ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณและเหตุผล ประกอบในการอา่ นสารประเภทนี้ เอกสารประกอบการเรยี น รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอ่านและพจิ ารณาวรรณกรรม ๒๔

การพจิ ารณาคณุ คา่ ของหนงั สอื พิมพ์ เนื่องจากหนังสือพิมพ์ในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายฉบับ ผู้อ่านอาจไม่มีเวลาหามาอ่านได้หมด ทกุ ฉบับ จึงจําเป็นตอ้ งพจิ ารณาเลอื กอา่ นเป็นประจาํ เพยี งบาง ฉบับเท่านั้น ในการเลือกหนังสือพิมพ์ ผู้อ่าน อาจพจิ ารณาคณุ คา่ ของหนังสือพิมพ์ โดยใช้แนวทางดงั ต่อไปนี้ ๑. พิจารณาดูเน้ือหาสาระของหนังสือพิมพ์ท้ังฉบับว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง โดยติดตามอ่าน หนังสือพิมพ์แต่ละฉบับหลาย ๆ วันต่อเน่ืองกัน เพ่ือจะได้ทราบแนวของหนังสือพิมพ์ท่ีอ่านว่าเป็น หนงั สอื พมิ พป์ ระเภทใด และมีแนวทางในการเสนอเน้อื หาอยา่ งไร ๒. จากนั้นจึงนําหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับมาพิจารณาเปรียบเทียบกัน เพ่ือจะได้ตรวจสอบดูว่า หนังสือพิมพ์ฉบับใดมีคุณค่าแก่ผู้อ่านมากที่สุด การอ่าน หนังสือพิมพ์หลาย ๆ ฉบับแล้วนํามาพิจารณา เปรียบเทยี บกันนี้ จะชว่ ยใหผ้ ู้อ่านสามารถเลอื กหนังสือพมิ พท์ สี่ นองความต้องการและความสนใจของตนมา อ่านได้ 3. อ่านข่าวเปรียบเทียบกัน โดยอ่านท้ังส่วนที่เป็นพาดหัวข่าว วรรคนํา และเน้ือหาอันเป็น รายละเอียดของข่าว และพิจารณาดูว่าหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับน้ัน มีรายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร และ ข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับใดมีหลักฐานน่าเชื่อถือ ได้มากกว่ากัน ท้ังนี้เพราะอาจมีหนังสือพิมพ์บางฉบับเสนอ ข่าวอย่างละเอยี ดแต่ขาดหลักฐานหรือเขียนอย่างลอย ๆ และบางข่าวก็ทําเป็นเร่ืองใหญ่โต ท้ัง ๆ ท่ีข่าวนั้น ไม่มคี ่าควรกบั การเป็นขา่ ว นอกจากการอ่านข่าวเปรยี บเทยี บกนั ดังกล่าวแล้ว ผู้อ่านควรจะใช้แนวการพิจารณาคุณค่าของ ขา่ วดงั ท่ไี ดก้ ล่าวมาแล้วข้างตน้ ประกอบในการพิจารณาเลือก หนงั สอื พิมพ์ด้วย 4. พิจารณาดูความเที่ยงตรงของหนังสือพิมพ์ โดยอ่านเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ส่วนที่เป็นคอลัมน์ แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทนําหรือบทบรรณาธิการ ซ่ึงถือเป็นบทความแสดง ความคิดเห็นอย่างเป็นทางการของ หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ แล้วพิจารณาดูว่าผู้เขียนแสดงความคิดเห็น ออกมาอย่างเท่ยี ง ตรง หรือมีใจโน้มเอียงไปในทางหนึ่งทางใดหรือไม่ ทั้งน้ีเพราะหนังสือพิมพ์ที่ดีต้องมีความ เท่ียงตรง ไม่เขียนในเชิงใส่ร้ายป้ายสี ไม่สร้างอคติ แม้จะกล่าวถึงส่วนเสียก็ ไม่กล่าวอย่างใส่ร้าย ไม่บิดเบือน ชักพาเข้าสู่ผลประโยชน์ฝ่ายตน ถึงแม้จะกล่าวถึงส่วนดี ก็ไม่ยกยอเกินไปด้วยมีฉันทาคติ คือ อคติเพราะรัก ไม่ควรชักนาํ ผู้อา่ นเขา้ สู่แนวคิดของตนฝา่ ยเดยี วโดยไม่คํานงึ ถึงความเท่ียงธรรม 5. พจิ ารณาดสู าํ นวนภาษา ภาษาของหนังสือพิมพ์เป็นภาษาทม่ี ีลักษณะพเิ ศษแตกตา่ งจากภาษาที่ ใชเ้ ขียนกนั ทวั่ ไป ทงั้ นเี้ พราะหนงั สอื พิมพม์ คี วามเรง่ ดว่ น ในการผลิตมากท้ังยงั ต้องแข่งขันกันเองในท้องตลาด จึงต้องพยายามสร้างความเด่น สะดุดตาเพ่ือให้ผลทางอารมณ์แก่ผู้อ่าน ทําให้เกิดเป็นลักษณะเฉพาะของ ภาษาหนังสือพิมพ์ข้ึน แต่อย่างไรก็ตามหนังสือพิมพ์ไม่ควรจะใช้ข้อจํากัดของตนมาเป็นข้ออ้างในการสร้าง ถ้อยคําสํานวนขึ้นมาใช้ตามความพอใจโดยไม่คํานึงถึงความถูกต้องและความเข้าใจของผู้อ่าน เพราะการใช้ ภาษาของหนังสือพิมพ์ ดังกล่าว อาจจะเป็นแบบอย่างของการใช้ภาษาที่ผิด ๆ ให้แก่ผู้อ่านโดยไม่รู้ตัวได้ ด้วยเหตุน้ีในการอ่านหนังสือพิมพ์ ผู้อ่านจึงควรพิจารณาดูการใช้สํานวนภาษาในหนังสือพิมพ์ด้วยว่า มีลักษณะแปลกใหม่แตกต่างกับภาษาท่ีใช้ส่ือสารกันโดยท่ัวไปอย่างไร ภาษาท่ีใช้น้ันมีผลต่อความเข้าใจของ ผู้อา่ นหรือไม่ เพียงไร นอกจากนี้ควรพิจารณาถึงความถูกต้องในเร่อื งสะกดการนั ตด์ ว้ ย นอกจากจะพิจารณาคุณค่าของหนังสือพิมพ์ตามแนวทางดังกล่าวข้างต้นนี้ แล้วผู้อ่านอาจจะใช้ เกณฑท์ ่ีสมาคมบรรณาธิการผู้จัดการที่สํานักข่าวเอพี (Associated Press Managing Editors Association) ตั้งข้ึนเป็นเครื่องวัด ระดับหนังสือพิมพ์ท่ีดี ประกอบในการพิจารณาคุณค่าของหนังสือพิมพ์ที่อ่านด้วยก็ได้ ซงึ่ เกณฑท์ ่ีสมาคมดงั กล่าววางไว้เปน็ บรรทัดฐานสําหรับพิจารณาคุณค่าของหนังสอื พิมพน์ ้นั มีดังนคี้ อื เอกสารประกอบการเรยี น รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๒๕

ด้านความถูกต้อง หนงั สือพิมพท์ ่ีดีควรจะ ๑. พยายามอยา่ งเต็มกาํ ลังเพอื่ ทจี่ ะเสนอแต่ความจรงิ ในทุกเหตุการณ์ ๒. พยายามตอ่ สู้เพ่ือความสมบูรณ์และเทยี่ งธรรมของข่าวทุกช้ิน ๓. ปอ้ งกนั ความสะเพร่า ลําเอียง และบดิ เบอื นมิใหเ้ กดิ ข้นึ ทัง้ โดยจงใจ หรือบงั เอิญ ดา้ นความรบั ผดิ ชอบ หนงั สอื พิมพ์ทดี่ คี วรจะ ๑. ใช้วิจารณญาณที่ประกอบด้วยเหตุผลทุกคร้ังในการพิจารณาตัดสินใจใน เร่ืองที่เก่ียวกับ ผลประโยชน์ของสาธารณชน ๒. เลอื กตรวจแกไ้ ขและนาํ เสนอข่าวสาร โดยยดึ ถือความสําคัญและผลประโยชน์ของส่วนรวม เป็นหลกั ๓. ตรวจแก้ไขขา่ วทมี่ ีผลกระทบกระเทือนต่อความดีงามของสาธารณะ โดยปราศจากอคติและ ใหม้ รี สนิยมดี หลีกเลย่ี งการเสนอในแบบท่สี ร้างความต่นื เต้น จนเกินไปหรือในเรื่องท่ีไร้สาระและมีผลไม่ดีกับ ผอู้ ่าน ๔. ลงข่าวท่ีเป็นตัวอย่างท่ีดีกับผู้อ่าน เช่น การเสียสละ วีรบุรุษ พลเมือง ดี และความรักชาติ เป็นต้น ๕. บอกแหล่งขา่ วให้ชดั เจน และบอกผู้อ่านให้เข้าใจเม่ือไม่สามารถระบุแหล่งข่าวน้นั ๆ ได้ ๖. เคารพในสิทธิส่วนบคุ คลของผอู้ น่ื ๗. อบรมใหผ้ ูร้ ว่ มงานประพฤตติ ัวอย่างมเี กียรตแิ ละศกั ดิ์ศรีที่ดีงาม ด้านความสุจริตใจ หนงั สือพมิ พ์ทีด่ จี ะต้อง ๑. รกั ษามาตรฐานของความซอื่ สัตย์และยุติธรรมในการคัดเลือกและ ตกแต่งแก้ไขเนื้อหาของ ข่าวเช่นเดียวกบั ความสมั พนั ธอ์ นั ดงี ามกับแหลง่ ข่าวและผู้อา่ น ๒. ปฏบิ ัตโิ ดยปราศจากอคติในปญั หาขดั แยง้ และยดึ ถอื ความเปน็ กลางเป็นสําคัญ ๓. มีความอดทนและสุจริตใจในข้อขัดแย้งและทรรศนะที่ไมล่ งรอยกัน ๔. เปิดเวทอี ภิปรายเพื่อแลกเปลีย่ นข้อวิจารณแ์ ละความคิดเหน็ แม้วา่ จะเป็นเร่ืองที่ขัดแย้งกับ บทบรรณาธิการ ๕. ระบคุ วามคิดเห็นทเ่ี ป็นสว่ นตวั หรือความคดิ เหน็ ท่เี ป็นบทบรรณาธกิ ารให้ชัดเจน ด้านความเปน็ ผู้นําหนังสือพมิ พท์ ่ีดจี ะต้อง ๑. ปฏบิ ตั ิอย่างกล้าหาญในการรับใชส้ าธารณชน ๒. กระต้นุ และสนับสนนุ เจา้ หน้าทีร่ ัฐ กล่มุ เอกชน หรือบุคคล ในการรณรงค์เพื่อให้กําลังใจใน การทาํ งานท่ดี ี และตอ่ ส้เู พอื่ ขจัดส่ิงชัว่ รา้ ยในชุมชน ๓. ชว่ ยปกป้องสทิ ธิตา่ งๆทีไ่ ด้รับการรบั รองโดยกฎหมาย ๔. ช่วยวพิ ากษ์วจิ ารณ์ในทางสร้างสรรค์ตอ่ การทํางานของรัฐบาลในทุกระดับ แสดงความเป็น ผูน้ ําเพอื่ การปฏริ ปู เปล่ียนแปลงในสิง่ ใหม่ ๆ และเปิดโปงการใชอ้ าํ นาจสาธารณะในทางทีผ่ ดิ ๕. ตอ่ ตา้ นการกระทําท่ีชักนําไปสู่ทางที่ผิดและการกระทําท่ีเห็นแก่ตัว หรือประโยชน์ส่วนตัว โดยไมเ่ กรงกลัวตอ่ อํานาจและอิทธิพลใด ๆ แนวทางในการพจิ ารณาคุณค่าของหนังสือพิมพ์ดังกล่าวข้างต้นน้ี หากผู้อ่านได้นําไปใช้ประกอบใน การพจิ ารณาหนังสอื พิมพ์ท่ีมีอยู่ ผ้อู ่านก็จะสามารถประเมนิ ไดว้ ่าหนังสือพิมพ์ฉบับใดมีคุณค่าควรแก่การอ่าน มากนอ้ ยกว่ากัน ซง่ึ จะช่วยให้ผอู้ ่านได้ เลือกหนงั สอื พิมพท์ ี่มคี ุณค่ามาอา่ นได้ง่ายข้ึน เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอ่านและพจิ ารณาวรรณกรรม ๒๖

กิจกรรมพัฒนาการเรยี นรู้ การอ่านและพจิ ารณาหนงั สอื พมิ พ์ ตอบคาํ ถาม - ทบทวนความรู้ ๑. หนังสอื พิมพม์ ีลกั ษณะทั่วไปแตกตา่ งจากหนงั สือประเภทอ่นื อย่างไร ............................................................................................................................. ........................................... ....................................................................................... ................................................................................. ๒. การแบง่ ประเภทของหนังสือพิมพ์มหี ลกั ในการแบง่ อย่างไรบา้ ง ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................... ......... ๓. หนังสือพมิ พค์ ุณภาพ หมายถงึ หนังสอื พิมพ์ทม่ี ลี ักษณะอย่างไร ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ๔. หนังสือพมิ พ์ประเภทแพร่หลายท่วั ไป หมายถงึ หนงั สือพมิ พท์ มี่ ี ลักษณะอย่างไร ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ๕. ขา่ วท่ีดคี วรมีลกั ษณะอย่างไร ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ๖. การอา่ นขา่ วควรปฏิบัติอย่างไร ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................... ......... ๗. นกั เรยี นมหี ลักในการพจิ ารณาคณุ คา่ ของหนงั สือพิมพอ์ ย่างไร ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอา่ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๒๗

สารคดเี ปน็ งานเขียนทใ่ี หท๎ ง้ั ความร๎ู ความคดิ และความบนั เทงิ แกผํ อ๎ู าํ น ในขณะเดยี วกัน การอําน สารคดีจงึ เป็นการอาํ นที่ให๎ประโยชน์ค๎ุมคํา เพราะผู๎อํานจะได๎ทั้งความร๎ู ความคิด ท่ีเป็นอาหารสมองแกํคน อําน และได๎ทั้งความเพลิดเพลินท่ีเป็นอาหารใจ สารคดีจึงเป็นงานเขียนอีกประเภทหน่ึงท่ีผู๎อํานไมํควร มองข๎ามความสาํ คญั ความหมายของสารคดี สารคดี (Non-Fiction) คือ เร่ืองราวที่เขียนข้ึนจากเค๎าความจริงไมํใชํ จินตนาการ” คําวํา สารคดี มีผร๎ู ูห๎ ลายทาํ นไดอ๎ ธิบายความหมายไว๎ดงั น้ี วิลาส มณีวัต (๒๕๑๗) นักเขียนสารคดีท่ีมีชื่อเสียงคนหนึ่งของไทย ได๎อธิบาย ความหมายของ สารคดไี ว๎วาํ สารคดี คือ ข้อเขียนที่มุ่งเสนอเรื่องราวของบุคคล เหตุการณ์ หรือ สถานที่ท่ีน่าสนใจ หรืออาจเสนอแนวคิดใหม่ๆ เช่น การเสนอโครงการ เป็นต้น การเขียนสารคดีมี วิธีเขียนออกมาในรูปต่างๆกัน เช่น ในรูปของหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือรูปเล่ม ถ้าเขียนลงในหนังสือพิมพ์เรียกว่า “Newspaper Feature” เขียนลงในนิตยสาร เรียกว่า “Magazine Article” ถ้าเป็นรูปเล่ม เรยี กว่า “Non-Fiction” เอกสารประกอบการเรยี น รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอาํ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๒๘

สํวน เจือ สตะเวทิน (๒๕๑๗) ได๎กลําวถึง สารคดีไว๎วํา สารคดี ไมํใชํเรื่องสมมุติ ตรงกับ คําภาษาอังกฤษวํา Non-Fiction เป็นเรื่องที่มีสาระ มีคุณคําทางสติปัญญา เป็นเรื่องทางวิชาการเป็น พน้ื เขียนขนาดเป็นเลมํ หนังสือ เชํน สาสน์ สมเด็จ ถกเขมร เป็นต๎น วงการหนังสือพิมพ์มีคําวํา Feature อีกคําหนึ่งท่ีใช๎หมายถึงบทความเดํน (Feature Article) บทความเดํนเชํนนี้ในภาษาไทยก็เรียกวํา สารคดีเหมือนกัน มีชื่อเรียกวํา สารคดีสําหรับหนังสือพิมพ์หรือ นิตยสาร จึงเห็นได๎วํา คําวํา สารคดี ในภาษาไทยตรงกับคําภาษาอังกฤษสองคํา คือ โดยนัยกว๎างตรงกับ Non-Fiction โดยนยั แคบตรงกับ Feature นอกจากน้ี ม.ล. บญุ เหลอื เทพยสวุ รรณ ได๎กลําวถงึ ความหมายของสารคดีไว๎ ดงั นี้ สารคดี ข้าพเจ้าจะใช้ในความหมายว่า งานเขียนท่ีไม่มีตัวละครสมมุติ สารคดี ถึงแม้ว่าจะเป็นงานเขียนท่ีผู้เขียนเจตนาจะให้ความรู้แก่ผู้อ่าน แต่ก็ เพ่งเล็งจะให้ ความพึงพอใจ อันเกิดจากการประกอบรูป ประกอบแบบ เพ่งเล็ง เลือกเฟ้นการใช้ ถ้อยคําในภาษา ทําให้เกิดอารมณ์ตามสมควร งานเขียนที่ เพ่งเล็งเชิงความรู้ เพ่งเล็งจะสอน โดยไม่คํานึงถึงอารมณ์ ไม่ถือเป็นสารคดี ถือ เปน็ หนังสือความรู้ หรอื หนงั สือวชิ าการ ทั้งนี้อาจมีงานเขียนท่ีผู้เขียนเจตนาจะให้ ความรู้ แต่โดยบังเอิญ งานเขียนนั้นทําให้เกิด “รส” กระทบอารมณ์ผู้อ่านด้วย ส่ิงสุนทรบางอย่างหรือ สิ่งที่เกิดจากความงามของรูปหรือแบบท่ีประกอบข้ึน หนังสือความรู้กลายเป็น ศิลปกรรมข้ึนมา ด้วยเหตุที่ผู้เขียนเป็นศิลปินโดย ธรรมชาติ หนังสือบางเลม่ นน้ั ขา้ พเจ้าอาจถือว่าเป็นวรรณคดีประเภทสารคดีได้ ชลธริ า กลดั อยํู (๒๕๒๑) กไ็ ด๎กลําวไวใ๎ นทาํ นองเดยี วกนั กับคํากลาํ วข๎างตน๎ วํา สารคดี หมายถึง งานเขียนท่ีผู้แต่งเจตนาให้สาระความรู้แก่ผู้อ่านเป็น เบ้ืองต้น มี ความเพลิดเพลินเป็นเบื้องหลัง นักเขียนสารคดีที่มีช่ือเสียงบางคน อาจเขียนสารคดี จากคําอธิบายตําง ๆ ข๎างต๎นน้ี อาจกลําวโดยสรุปได๎วํา สารคดี ก็คืองานเขียนท่ีเขียนข้ึนจาก ข๎อเท็จจริง มีจุดประสงค์เพื่อให๎ความรู๎ ความคิดอันเป็นประโยชน์ แกํผ๎ูอําน แตํในขณะเดียวกันก็ใช๎วิธีการ เขยี นอยาํ งมศี ลิ ปะเพ่อื กํอให๎เกดิ ความบนั เทงิ ใจแกผํ อู๎ าํ นด๎วย เอกสารประกอบการเรยี น รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอาํ นและพิจารณาวรรณกรรม ๒๙

ลักษณะสาคญั ของสารคดี สารคดเี ป็นงานเขยี นทม่ี ลี กั ษณะสาํ คญั พอสรปุ ได๎ดังน้ี ๑. สารคดีต๎องเป็นเรื่องท่ีผู๎เขียนมํุงเสนอข๎อเท็จจริง เพื่อให๎ความร๎ูความคิด ความกระจํางแกํ ผู๎อําน ข๎อมูลหรือเน้ือหาสาระท่ีเสนอไมํวําจะเป็นเรื่องราว เหตุการณ์ ตัวบุคคล หรือสถานที่ ต๎องเป็น ความจริง (Fact) ทั้งส้ิน และการเสนอความจริง น้ันก็มิใชํเพียงการให๎ข๎อมูลในลักษณะบอกเลําอยําง ธรรมดาวํามอี ะไรเกดิ ขึ้น หากแตเํ ปน็ การเสนอขอ๎ มูลทผี่ ๎เู ขยี นไดศ๎ กึ ษา สังเกต สาํ รวจ หรือวิเคราะห์ ตีความ เป็นอยํางดีแล๎ว ฉะนั้นการบอกเลําข๎อเท็จจริงนั้น จึงเป็นการให๎รายละเอียดและความ กระจํางชัดในเหตุ และผลพร๎อมทงั้ เสนอทรรศนะและความคดิ เห็นประกอบดว๎ ย ๒. สารคดีต๎องประกอบด๎วยลักษณะวรรณศิลป์ที่จะกํอให๎เกิด “รส” และ “ความเพลิดเพลิน” แกํผ๎ูอําน ดังได๎กลําวไว๎แล๎วข๎างต๎นวํา สารคดีน้ันเป็นงานเขียน ที่มุํงให๎สาระความร๎ู ข๎อเท็จจริงแกํผ๎ูอําน แตํในขณะเดียวกันก็ทําให๎ผ๎ูอํานได๎รับความ เพลิดเพลินประกอบด๎วย ฉะนั้นผู๎เขียนสารคดีต๎องมีศิลปะ ในการเขียนที่ทําให๎ผู๎อํานไมํหนักสมองมากนัก เชํน อาจแทรกอารมณ์ขันบ๎าง ใช๎โวหารสร๎างภาพพจน์ ให๎ผ๎ูอาํ นเกดิ จินตนาการ หรือเลํนคาํ สํานวนตาํ ง ๆ บ๎าง เปน็ ตน๎ ๓. สารคดีอาจมีจินตนาการประกอบได๎บ๎าง แตํลักษณะการสร๎างจินตนาการในสารคดี จะเป็น ลักษณะของการสร๎างภาพในใจท่ีเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ การสังเกต การพิจารณาข๎อมูลท่ีเป็นข๎อเท็จจริง ทเี่ ก่ียวเน่อื งกบั สิ่งที่เรา “คดิ ” นัน้ ไมใํ ชํสรา๎ งจินตนาการจากอารมณค์ วามรู๎สกึ หรอื การคดิ ฝนั เชนํ บนั เทิงคดี ๔. สารคดีต๎องเป็นงานทส่ี รา๎ งสรรค์ ไมํใชงํ านที่เสนอแตขํ อ๎ เทจ็ จริงเทาํ นน้ั ผเู๎ ขียนสารคดีต๎องเป็น ผ๎ูที่มีความคิดสร๎างสรรค์ เสนอความคิดเห็นและทรรศนะที่ เป็นประโยชน์แกํผู๎อํานโดยทั่ว ๆ ไป มิใชํ สร๎างสรรค์ให๎บุคคลใดโดยเฉพาะ แม๎แตํงานเขียนสารคดีประเภทอัตชีวประวัติซึ่งเป็นการเขียนถึงเรื่องราว ชีวิตของผู๎เขียนเอง ถ๎าเป็นนักเขียนท่ีดี ผ๎ูเขียนจะต๎องสอดแทรกความคิดเห็นและทรรศนะท่ีเป็นประโยชน์ แกํผู๎อาํ นโดยสํวนรวมดว๎ ย เสริมแสง พันธุมสุต (๒๕๓๓) ได๎แสดงทรรศนะไว๎วํา งานเขียนท่ีจัดวําเป็น สารคดี จะต๎องมี ลักษณะสําคัญดังกลําวข๎างต๎นน้ี เว๎นแตํในลักษณะข๎อ ๓ คือ เร่ือง จินตนาการ อาจจะมีหรือไมํก็ได๎ สํวน คุณลกั ษณะประการอน่ื ๆ จะขาดเสียไมํได๎ หากขาดไปถือวาํ งานเขยี นน้ันไมํใชสํ ารคดี เอกสารประกอบการเรียน รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอํานและพิจารณาวรรณกรรม ๓๐

ความแตกตา่ งของสารคดกี บั ข้อเขียนประเภทอืน่ ๆ ๑. สารคดกี ับตําราวชิ าการ สารคดีมีลักษณะบางอยํางคล๎ายกับตําราวิชาการ คือ มํุงให๎ความรู๎แกํผู๎อําน แตํตํางกันตรงท่ี หนังสือตําราวิชาการนั้น มํุงเสนอความร๎ู วิชาการแขนงตํางๆเพียงอยํางเดียวโดยไมํมี “รส” หรือ “วรรณศลิ ป์” กลําวคือ มงุํ บรรจุเนอ้ื หาสาระตามเนื้อหาความร๎อู ยาํ งตรงไปตรงมา ไมใํ ชล๎ ีลาการเขียนที่ชวน ให๎เกิดความเพลิดเพลิน สํวนสารคดีนั้น แม๎จะเสนอเน้ือหาที่เป็นความรู๎ แตํก็มีกลวิธีการเขียนอยํางมี วรรณศิลป์ มีการเลือกเฟ้นถ๎อยคําให๎นําอําน มีกลวิธีผูกใจผู๎อํานให๎ติดตามเรื่องราวอยํางตํอเนื่อง โดยไมํ ทาํ ให๎ผ๎ูอาํ นหนักสมองมากนกั เชนํ อาจแทรกอารมณข์ นั บ๎าง ใช๎วิธีเปรียบเทียบหรือใช๎โวหารชวนให๎ตื่นเต๎น บ๎าง การอํานสารคดีจึงได๎รับรสตํางจากการอํานตําราวิชาการซึ่งเป็นหนังสือที่มุํงให๎ความรู๎ทางวิชาการ แกํผ๎อู ําน เพยี งอยํางเดยี วโดยไมสํ ร๎างความบนั เทงิ ใจให๎แกผํ ๎อู าํ น ๒. สารคดีกับนวนิยายและเรือ่ งสนั้ สารคดเี ป็นเรอ่ื งท่ีมีสาระ มีแกํนสาร เป็นเรื่องจริง หรือมีหลักฐานที่นําเชื่อถือ ไมํใชํเรื่องท่ีคิด แตํงขึ้น โดยลักษณะนี้สารคดีจึงแตกตํางจากนวนิยายและเร่ืองสั้น ซ่ึงเป็นเร่ืองท่ีเขียนข้ึนจากจินตนาการ ของผูแ๎ ตํง แมว๎ ําบางเร่อื งอาจจะนํามาจากเร่ืองจรงิ ที่เกดิ ข้ึน แตํกไ็ มอํ าจจะนํามาใช๎อา๎ งอิงได๎ สารคดีบางเรื่องอาจมีลักษณะก้ําก่ึงกันระหวํางสารคดีกับนวนิยายหรือเรื่องสั้น ท้ังน้ีเพราะ ผูเ๎ ขยี นอาจจะเลอื กลลี าและรูปแบบของนวนิยายหรอื เร่ืองส้ันมาเป็นแนวในการเสนอสารคดีของตน เพื่อให๎ ผู๎อาํ นเกดิ ความเพลดิ เพลนิ ในการอําน แตขํ อ๎ มลู ทงั้ หมดต๎องเป็นข๎อเท็จจริงเสมอ สารคดีที่ดีผู๎เขียนควรจะมี กลวธิ ีบางอยาํ งบอก ให๎ผ๎อู ํานทราบวําเรือ่ งทเี่ ขียนนั้นเปน็ ความจรงิ มิใชํจนิ ตนาการ ๓. สารคดกี ับขา่ ว ขําวและสารคดีบางประเภทโดยเฉพาะสารคดีเชิงขําว (News Feature) ซึ่งเขียนลง ในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร มีลักษณะใกล๎เคียงกันมาก ในด๎านของการรายงานข๎อเท็จจริง แตํกระน้ัน ขอ๎ เขยี นท้งั สองก็ยังมคี วามแตกตํางกันในดา๎ นจุดประสงค์ของการนําเสนอและรปู แบบการเขยี น การรายงานขําว ผ๎ูส่ือขําวมํุงแสวงหาข๎อเท็จจริงและรายงานเฉพาะ เหตุการณ์ท่ีเกิดข้ึนให๎ ผ๎ูอํานทราบทันที ภายใต๎เง่ือนไขเวลาและเนื้อที่หน๎ากระดาษที่ จากัด มีความรวดเร็ว ความสด เป็นองค์ประกอบที่สําคัญพอ ๆ กันความถูกต๎อง เท่ียงตรงของข๎อเท็จริง รูปแบบของรายงานขําวคํอนข๎าง แนํนอนในรูปของปิรามิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) คือ เสนอข๎อเท็จจริงที่มีประเด็นสําคัญมากที่สุด กํอน แล๎วจึงลําดับสํวนท่ีสําคัญน๎อยลงไปตามลําดับ หรือลําดับจากสํวนที่นําสนใจมากที่ สุดไปสํูสํวน ที่นําสนใจน๎อยท่ีสุด เพื่อสรุปประเด็นสําคัญของเหตุการณ์ให๎ผู๎อํานทราบ อยํางรวดเร็ว และเพื่ออํานวย ความสะดวกแกํบรรณาธิการในการตัดสํวนสําคัญน๎อย ท่ีสุดของขําวในตอนท๎ายออกได๎ทันที โดยไมํเสีย สาระสาํ คญั ไปในกรณที ม่ี ขี ๎อจํากดั ในด๎านเนอ้ื ที่หนา๎ กระดาษ สํวนสารคดีมีวัตถุประสงค์ในการนําเสนอข๎อเท็จจริงเชํนเดียวกันกับขําว แตํการเขียนสารคดี ผเ๎ู ขยี นมโี อกาสแสวงหารายละเอียดได๎กว๎างขวางลึกซึง้ และมเี วลา ในการกล่ันกรองและเรียบเรียงข๎อมูลให๎ สละสลวยนําอํานได๎มากกวําการรายงานขําว ท้ังน้ีเพราะไมํมีข๎อจํากัดในเร่ืองเวลาและเน้ือท่ีหน๎ากระดาษ การเสนอเนื้อหาในรูป ของสารคดีจึงเปิดโอกาสให๎ผ๎ูเขียนแสดงออกถึงความสามารถเฉพาะตัว ท้ังการใช๎ ภาษา ลีลา และความคิดสร๎างสรรค์อยํางเต็มที่ส่ิงเหลําน้ีทําให๎เกิดรูปแบบการนําเสนอตําง ๆ กัน ไมํแนํนอนตายตัว อยํางไรก็ตาม โครงสร๎างของสารคดีสํวนใหญํจะประกอบด๎วยสํวนสําคัญสามสํวน คือ สํวนความนํา สํวนเนื้อเรื่อง และสํวนปิดเรื่อง ซ่ึงเม่ือเปรียบเทียบกับการเขียนขําวแล๎วจะมีความแตกตําง กนั ในสวํ นสุดทา๎ ย คือ สวํ นปิดเรือ่ ง ดงั โครงสรา๎ งเปรียบเทยี บตอํ ไปน้ี เอกสารประกอบการเรียน รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอาํ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๓๑

จากโครงสร๎างข๎างต๎นจะเห็นได๎วํา รูปแบบการเขียนขําวปิรามิดหัวกลับไมํมีการปิดเร่ือง ในขณะทรี่ ปู แบบการเขียนสารคดมี ีการปดิ เร่อื ง ซงึ่ ถอื วําเปน็ สํวนสาํ คัญมากพอ ๆ กบั ความนํา ความยาวของสารคดี การเขยี นสารคดี ผ๎ูเขียนมีเจตนาที่จะให๎สาระท่ีมีความสมบูรณ์ในตัวเอง เมื่ออํานจบลง ผ๎ูอํานจะ ได๎ภาพรวมของสิ่งท่ีผ๎ูเขียนนําเสนออยํางคํอนข๎างสมบูรณ์ ดังนั้นผู๎เขียนสารคดีจึงมีอิสระที่จะเขียนสารคดี ให๎มีความยาวเทําใดก็ได๎ ด๎วยเหตุนี้สารคดีจึงอาจมีความยาวตั้งแตํ ๓-๔ ยํอหน๎าขึ้นไป จนถึงเต็ม หน๎ากระดาษหนังสือพิมพ์ ถึงยาว ๓-๔ หน๎านิตยสาร หรืออาจจะยาวขนาดหนังสือฉบับกระเป๋า (Pocket- book) หรือเปน็ เลํมขนาดนวนิยาย อยํางไรก็ตาม สารคดีท่ีลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารมักจะมีความ ยาวไมํมากนัก เนื่องจากหนงั สอื พิมพแ์ ละนิตยสารไมนํ ิยมพิมพ์สารคดีเพื่อให๎รออําน ตอนตํอไปในวันรุํงข้ึน หรือฉบับตํอไป นอกจากวําผู๎เขียนมีเจตนาจะเสนอเรื่องราว เป็นตอน ๆ ท่ีจบในตัวเองและเป็นสารคดีท่ีมีเน้ือหายาวมาก สํวนสารคดที ี่จัดทาํ เปน็ หนังสือเลํมมักมีขนาดยาว รูปแบบการเขยี นสารคดี สารคดไี มํมีรปู แบบการเขียนทีก่ ําหนดไว๎อยํางแนํนอนตายตัว ผู๎เขียนสารคดี มีอิสระท่ีจะนําเสนอ เน้ือหาสาระของตนในรูปแบบการเขียนร๎อยแก๎วแบบใดก็ได๎ที่เห็นวําเหมาะสม ที่สําคัญก็คือ ต๎องเสนอ ขอ๎ เทจ็ จรงิ โดยสรา๎ งความสนใจให๎แกผํ ูอ๎ ํานตงั้ แตํ ตน๎ จนจบ อยาํ งไรกต็ าม สารคดีโดยทั่วไปมักจะคงรูปแบบ ซึ่งมโี ครงสร๎างแบงํ ออกเป็น สามสวํ นไว๎คือ ความนํา ตัวเรอ่ื ง และการปิดเรอ่ื ง รูปแบบการเขยี นสารคดีทีน่ ิยมเขียนกนั ในปัจจุบนั ไดแ๎ กํ รปู แบบการเขยี นตาํ ง ๆ ดงั นี้คือ ๑. จดหมาย จดหมายเป็นรูปแบบการเขียนที่ไมํซับซ๎อน อํานงําย ทําให๎เกิดความร๎ูสึกใกล๎ชิด และเปน็ กันเองกับผู๎อํานได๎งาํ ย จึงมผี ู๎นยิ มเสนอสารคดีในรูปแบบน้ีกันมาก สารคดีท่ีเขียนในรูปแบบนี้ได๎แกํ สารคดีเรื่อง จดหมายจากตะรุเตา ของ บุญเสริม ฤทธาภิรมย์, ฤดูใบไม๎ผลิที่เชิงเขาหิมาลัย ของ ดวงใจ, ตามเสดจ็ อเมรกิ า ของ มจ.หญงิ วิภาวดี รงั สิต, ยําญีป่ ุ่น ของ มนันยา ธนะภูมิ, ชีวิตที่เลือกไมํได๎ ของ กรุณา กศุ ลาสยั ฯลฯ ๒. บันทึก การเขียนบันทึกอาจบันทึกเฉพาะชํวงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบันทึกเป็นประจําก็ได๎ เรอื่ งราวท่ีบันทึกสํวนใหญํมักเป็นเรื่องเก่ียวกับตัวผู๎เขียน เหตุการณ์ หรือส่ิงท่ีพบเห็น หรือเร่ืองราวอันเป็น เกร็ดความรูต๎ ําง ๆ ตามที่ผเู๎ ขียนเหน็ วํามีความสําคัญ ตัวอยํางของสารคดีท่ีเขียนในรูปแบบน้ี ได๎แกํ สารคดี เรือ่ ง ๒๑ วนั ในประเทศจนี ของ นายแพทยห์ ทยั ชิตานนท์ เป็นต๎น เอกสารประกอบการเรยี น รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอํานและพจิ ารณาวรรณกรรม ๓๒

๓. จดหมายเหตุ คือ รูปแบบการเขียนท่ีเป็นการจดบันทึกเหตุการณ์และ เร่ืองราวตําง ๆ อยําง ตรงไปตรงมาตามลําดับเวลากํอนหลัง สารคดีที่เขียนในรูปแบบน้ี ได๎แกํ จดหมายเหตุลาลูแบร์ แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร, จดหมายเหตุการณ์เดินทางสูํประเทศสยาม ของ บาทหลวงตาซาร์ด แปลโดยผู๎แปล คนเดยี วกนั เปน็ ตน๎ ๔. เรื่องเล่า คือ การเขียนบรรยายเร่ืองราวหรือเหตุการณ์ตํางๆที่เกี่ยวกับตัวผู๎เลํา โดยอาจ ปรากฏตวั ผ๎ูเลําหรอื ไมํปรากฏตัวผ๎ูเลําอยูํในเร่ืองด๎วยก็ได๎ สารคดีบาง เรื่องผ๎ูเขียนทําให๎ผู๎อํานทราบได๎อยําง ชัดเจนวําผู๎เลําเร่ืองเป็นใคร มีอาชีพอะไร มีความสนใจเรื่องอะไร แตํบางเร่ืองก็ไมํปรากฏตัวผู๎เลําอยําง เดํนชดั ทง้ั น้เี พราะผเู๎ ขยี น ไปเน๎นที่สาระความรู๎ที่ต๎องการเลํามากกวําตัวผ๎ูเลําก็มี ตัวอยํางสารคดีท่ีเขียนใน รูปแบบนี้ ได๎แกํ แมํเลําให๎ฟัง พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ๎าพี่นางเธอเจ๎าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์, เที่ยวกับเมีย ของ ไมตรี ลิมปิชาติ, โครงกระดูกในตู๎ ของ พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธ์ิ ปราโมช, เม่ือคณุ ตาคุณยายยังเด็ก ของ ม.ล.ทิพยว์ าณี สนิทวงศ์ ฯลฯ ๕. ความเรียงทั่วไป นอกจากรูปแบบการเขียนข๎างต๎นแล๎ว ผ๎ูเขียนสารคดีอาจ เสนอเนื้อหา ออกมาในรูปของความเรียงทั่วไป ซ่ึงมีความยาวไมํมากนัก มีเค๎าโครง เร่ืองที่ชัดเจน มีความตํอเน่ืองใน เน้ือหา และจบในตัวเอง เชนํ สารคดีตาํ ง ๆ ใน หนังสือพิมพ์และนิตยสาร หรืออาจมีความยาวมาก แตํแบํง ลงเป็นตอน ๆ แตํละตอน มีความสมบูรณ์ในตัวเองและมีชื่อเฉพาะของตอนน้ันๆ แล๎วนํามารวบรวมพิมพ์ เปน็ เลมํ ในภายหลงั เชํน หนงั สอื “พุทธธรรมกับสงั คม” และ “วิธแี กเ๎ ซ็งสร๎างสขุ ” ของ นายแพทย์ประเวศ วะสี, “ภาพชวี ติ จากนวนิยาย” ของ คณุ รัญจวน อินทรกําแหง เป็นต๎น ๖. รูปแบบอื่น ๆ นอกจากรูปแบบการเขียนตํางๆดังกลําวมาแล๎ว ผู๎เขียน สารคดีอาจเสนองาน เขยี นออกมาในรูปแบบอนื่ ๆ ได๎อีกตามแตํทีต่ นเห็นวาํ เหมาะสม ดังท่ี กุหลาบ มลั ลกิ ะมาส” ได๎กลําวถึงสาร คดีบางรูปแบบไว๎ในการแบํงประเภท ของสารคดี เชํน อนุทิน บทวิจารณ์ บทสัมภาษณ์ บทอภิปราย ปาฐกถา เปน็ ตน๎ ประเภทของสารคดี สารคดีเป็นงานเขียนที่ครอบคลุมเน้ือหากว๎างขวางมาก เรื่องท่ีจะนํามาเขียนเป็นสารคดีน้ันไมํมี ขอบเขตจาํ กดั หากเปน็ เรอื่ งจรงิ ทใ่ี ห๎สาระท้ังความรู๎และความคิด ก็นํามาเขยี นเป็นสารคดไี ดท๎ ัง้ ส้ิน” เนื้อหาของสารคดีจึงมีหลากหลาย เชํนเดียวกับท่ีมีรูปแบบตําง ๆ มากมายดังกลําวข๎างต๎น ด๎วยเหตุนี้ ในการแบํงประเภทของสารคดี จึงยากท่ีจะแบํงให๎ครอบคลุมทั้งเน้ือหาและรูปแบบของสารคดี อยาํ งไรก็ตาม ไดม๎ ผี ๎จู ัดประเภทของสารคดไี วเ๎ ป็นหลายแบบตํางๆกนั เชํน กหุ ลาบ มลั ลิกะมาส(๒๕๑๖) ไดแ๎ บํงประเภทของสารคดีไวเ๎ ปน็ ๑๑ ประเภท ดังนี้ ๑. บทความในหนงั สือพิมพ์ ๒. สารคดีวิชาการ ๓. สารคดที ํองเท่ยี ว ๔. สารคดชี ีวประวัติ ๕. ความทรงจาํ จดหมายเหตุ - บันทึก ๖. อนทุ ิน ๗. จดหมาย ๘. คติธรรม ๙. บทวจิ ารณต์ าํ ง ๆ ๑๐. บทสัมภาษณ์ ๑๑. บทอภิปราย ปาฐกถา เอกสารประกอบการเรยี น รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอาํ นและพิจารณาวรรณกรรม ๓๓

ทวศี กั ด์ิ ญาณประทีป (๒๕๒๕) ได๎แบงํ สารคดีเป็น ๕ ประเภท คือ ๑. บทความ ๒. เรื่องเลําสํวนบุคคล ๓. ชีวประวัติและอัตชีวประวัติ ๔. ความเรียงทีเ่ ป็นเรื่องจริงจัง ๕. ความเรียงประเภทเบาสมอง ท่กี ลําวมาจะเหน็ ได๎วําเป็นการแบํงประเภท โดยใช๎ท้ังรูปแบบและเน้ือหาของ สารคดีเป็นหลักใน การพิจารณา สวํ นท่ีแบงํ ประเภทโดยใช๎เฉพาะรปู แบบของสารคดี เป็นหลกั กม็ ี เชนํ เจือ สตะเวทิน” ได๎แบํง ประเภทของสารคดีไว๎ ดังนี้ ๑. เรยี งความ (Essay) ๒. บทความ (Article) ๓. สารคดีสําหรบั หนังสือพมิ พ์ (Feature) ๔. จดหมายเหตุความทรงจาํ (Memoir) ๕. จดหมายหรอื พระราชหัตถเลขา (Letter) ๖. อนุทนิ (Diary) ๗. คําบรรยายหรอื ปาฐกถา (Lecture) ๙. คอลมั น์ประจําของหนงั สือพมิ พ์ การแบงํ ประเภทของสารคดดี ังกลําวมาทั้งหมดน้ี จะเห็นได๎วํามีผ๎ูแบํงประเภทไว๎มากบ๎างน๎อยบ๎าง ตาํ งๆกนั แล๎วแตํวําผ๎ูใดจะแยกแยะให๎ละเอียดออกไป สําหรับในท่ีน้ีจะขอยกสารคดีเฉพาะประเภทท่ีเดํนๆ มาเพยี ง ๕ ประเภท เพื่อเป็น แนวทางในการอําน ดงั น้ี ๑. สารคดที ํองเทีย่ ว ๒. สารคดชี ีวประวัติ ๓. สารคดีวชิ าการ ๔. สารคดเี บอ้ื งหลงั ขําว ๕. บทความ สารคดที ่องเที่ยว สารคดีทํองเที่ยว คือ สารคดีท่ีมีเร่ืองราวเกี่ยวกับการเดินทางทํองเท่ียว ลักษณะการเขียน สํวนใหญํ จะมํุงให๎ความร๎ูแกํผ๎ูอํานเกี่ยวกับแหลํงทํองเท่ียวในด๎าน สภาพท๎องถิ่น ความเป็นอยํูของผู๎คน ความรูท๎ างประวตั ิศาสตร์ โบราณคดี ภูมิศาสตร์ และอื่นๆ โดยใช๎ลีลาการเขียนที่มีศิลปะเพื่อให๎ผู๎อํานได๎ท้ัง ความรูแ๎ ละความเพลิดเพลนิ ในขณะเดยี วกัน ปรียา หิรัญประดิษฐ์ (๒๕๒๘) ได๎กลําวถึงหนังสือท่ีเก่ียวกับการทํองเท่ียววํา อาจ แบํงได๎เป็น ๔ ประเภท คอื ๑. ประเภทประวัติและบรรณานุกรม หนังสือประเภทน้ีมีไมํมาก เชํน หนังสืออธิบายเรื่อง เที่ยว ของพระเจ๎าบรมวงศเ์ ธอสมเด็จกรมพระยาดาํ รงราชานภุ าพ เอกสารประกอบการเรยี น รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอาํ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๓๔

๒. ประเภทแผนที่และคํูมือการทํองเที่ยว แผนท่ีจะตอบคําถามเกี่ยวกับ สถานท่ีต้ังของ สถานท่ีทํองเท่ียว สํวนคํูมือจะแนะนําให๎ร๎ูจักประวัติความเป็นมา ระยะทางไป และสถานที่ที่นําหาความร๎ู ความเพลิดเพลิน เชํน คํูมือนําชมพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ของการทํองเท่ียว แหงํ ประเทศไทย เป็นตน๎ ๓. ประเภทบรรยายเก่ียวกับสถานท่ีตํางๆในเชิงภูมิศาสตร์ เป็นการให๎ข๎อมูลทางด๎าน ภูมิศาสตร์ โดยกลําวถึงภูมิประเทศ ประชาชน สถานท่ีสําคัญ การปกครอง ประวัติศาสตร์ และเศรษฐกิจ ของสถานที่นั้น เชํน เร่ืองเท่ยี วเมอื งไทย ๗๑ จงั หวดั ของ ละออง ศรีสุคนธ์ เปน็ ตน๎ ๔. ประเภทบรรยายถงึ ประสบการณแ์ ละการสงั เกตของผู๎แตํงขณะทํองเที่ยว หนังสือประเภท น้ีเป็นท่ีสนใจของผู๎อํานมาก ถ๎าผู๎เขียนมีความสามารถใน การเขียน เพราะจะแสดงให๎เห็นบุคลิกลักษณะ และความสนใจของผ๎ูเขียน อีกทั้ง ผ๎ูอํานจะได๎รับความเพลิดเพลินด๎วย เชํน เท่ียวภาคใต๎ ของ ปราโมทย์ ทัศนาสวุ รรณ เปน็ ต๎น หากพิจารณาความเป็นมาของสารคดีทํองเที่ยวแล๎ว จะพบวําหนังสือบันทึก การเดินทาง ทํองเที่ยวน้ีมีมาแตํสมัยโบราณ เชํน บันทึกการเดินทางของมาร์โคโปโล บันทึกการเดินทางของหลวงจีน ฟาเหียน เป็นต๎น สําหรับคนไทยสมัยกํอนต๎นกรุงรัตนโกสินทร์ มีการบันทึกการเดินทางในลักษณะของ “นิราศ” แตํ “นิราศ\" สมัยนั้นไมํใชํสารคดีทํองเที่ยว เพราะจุดประสงค์ของกวีไมํได๎มุํงที่จะบันทึกส่ิงที่พบ เห็น แตํมํุงทีจ่ ะแสดงอารมณ์ ความร๎สู ึกในเชิงพรรณนา เนอื้ หาสาระในบางตอนก็เป็นการ “แตํง” ข้ึน ไมํใชํ เป็นเรือ่ งจริง เชนํ การจากนางทีร่ ัก เปน็ ตน๎ สารคดีทํองเที่ยวเลํมแรกของไทย คือ จดหมายเหตุราชทูตไทยไปกรุงลอนดอน ของหมํอม ราโชทัย (ม.ร.ว. กระตําย อิศรางกูร ณ อยุธยา) ท่ีเขียนขึ้น ในคราวเดินทางรํวมไปกับราชทูต คือ พระยา มนตรีสุริยวงศ์ (ชํุม บุญนาค) นําพระราชสาส์นและเคร่ืองบรรณาการไปถวายสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ณ กรุงลอนดอน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล๎าเจ๎าอยูํหัว ซ่ึงหลังจากน้ันก็ไมํ ปรากฏงานเขียนสารคดีทํองเท่ียวอีก จนมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล๎าเจ๎าอยํูหัว เม่ือเสด็จ ประพาสต๎นหรือเสด็จเยือนประเทศตําง ๆ ได๎ทรงพระราช นิพนธ์เลําเหตุการณ์ท่ีทรงพบเห็นไว๎ในรูปแบบ วรรณกรรมตําง ๆ เชํน บทนิพนธ์ ความเรียงเรื่องระยะทางเที่ยวชวากวําสองเดือน หรือประเภทจดหมาย เหตุ เชํน จดหมายเหตุประพาสต๎น รูปแบบใหมํท่ีทรงพระราชนิพนธ์ก็คือ พระราชนิพนธ์เร่ือง ไกลบ๎าน ในคราวเสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๙ ซ่ึงทรงใช๎กลวิธีบันทึกการเดินทางในลักษณะของ พระราชหตั ถเลขา พระราชทานแดสํ มเด็จพระเจา๎ ลูกเธอ เจ๎าฟา้ หญงิ นิภานภดล” ปัจจุบันงานเขียนสารคดีทํองเที่ยวเป็นท่ีนิยมมากในบรรดานักอําน นักเขียน สารคดีทํองเที่ยว ก็มีมากขน้ึ ลกั ษณะการเขียนมีท้ังท่ีเขียนเป็นเลํม และเขียนเป็น บทความลงในนิตยสารและวารสารตําง ๆ สารคดีทํองเที่ยวท่ีนําสนใจมีอยูํหลายเลํม อาทิ สารคดีทํองเท่ียวซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ เชนํ ยาํ แดนมังกร ทวั ร์นอ๎ งโจ๎ สิงคโปรส์ ัญจร และชมชํอมาลตี เปน็ ตน๎ สําหรับงานเขียนของนักเขียนคนอ่ืนก็มี ฉากญี่ปุ่น ของ ม.ร.ว.คึกฤทธ์ิ ปราโมช, ทัวร์อินเดียออก เนปาล ของ วัฒนะ จูฑะวิภาค, ๒๑ วัน ในประเทศจีน ของนายแพทย์หทัย ชิตานนท์, เก่ียวกับเมีย ของ ไมตรี ลิมปิชาติ, ยาญี่ปุ่น ของ มนันยา, สิงค์โปร์เมืองเนรนิต ของ บุญเสริม ฤทธาภิรมย์, มองพมํา แลลาว ชําเลืองจีน ของ ขจัดภัย บุรุษพัฒน์, ๓๖,๐๐ ไมล์ เท่ียวอเมริกาเหนือ อเมริกาใต๎ ของ พรพรรณ ธารานุ มาศ, เยอื นแสกนดิเนเวีย ของ ประกาศ วชั ราภรณ์ ฯลฯ สารคดีทํองเท่ียวในประเทศก็มีท่ีนําสนใจอยูํมาก เชํน ชุดเท่ียวเมืองไทย ของ ปราโมทย์ ทัศนา สุวรรณ, ภูเก็ต ของ สุนัย ราชภัณฑารักษ์, ลพบุรีนําร๎ู ของ หวน พินธุ์พันธ์, ภูหลวง : นิรันดร์กาลแหํง ขุนเขายะเยือก ของ ดวงดาว สุวรรณรังส,ี จดหมายจากตะรเุ ตา ของ บุญเสริม ฤทธาภริ มย์ ฯลฯ เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอาํ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๓๕

ลกั ษณะของสารคดที อ่ งเท่ยี วท่ีดี สารคดที อํ งเทยี่ วทีด่ ี ควรมีลกั ษณะดังนี้ ๑. ต๎องเขียนตามความเปน็ จรงิ มขี อ๎ มลู ทถี่ กู ต๎องแนํนอน ๒. ต๎องให๎ความร๎ูเก่ียวกับสถานที่นั้นๆแกํผู๎อํานอยํางสมบูรณ์ และหากมี ภาพประกอบก็จะชํวย ให๎หนังสือมคี ณุ คานาํ อาํ นยง่ิ ข้ึน ๓. ต๎องมีกลวิธีการเขียนท่ีนําสนใจ สามารถเร๎าใจผ๎ูอํานให๎ติดตามเรื่องไป โดยไมํเบ่ือหนําย เชํน มีการแทรกเกร็ดความร๎ู ตํานาน นิทาน เรื่องเลําหรือข๎อ ข๎าขันเก่ียวกับสถานที่น้ันด๎วยถ๎อยคําสํานวนที่ เข๎าใจงําย ชวนตดิ ตาม ใหท๎ ้ังความรู๎ และความบันเทงิ ไปในขณะเดยี วกัน เป็นต๎น ๔. ตอ๎ งแสดงความคดิ เห็น ความร๎ูสึกที่เป็นกลาง เพ่ือให๎ผู๎อํานได๎รับ ความร๎ูที่ถูกต๎อง โดยเฉพาะ การเขยี นเลาํ เปรียบเทยี บ คุณคา่ ของสารคดที ่องเทยี่ ว สารคดีทํองเที่ยวเป็นสารคดีท่ีทําให๎ผ๎ูอํานได๎รับความร๎ู ความเพลิดเพลิน และสนุกสนาน ตนื่ เตน๎ เปน็ การชดเชยอารมณ์ความต๎องการและสนองความอยากรู๎ อยากเห็นของมนุษย์ โดยเฉพาะผู๎ไมํมี โอกาสได๎เดินทางไปเท่ียวในสถานที่ท่ีตนอยากไป การอํานหนังสือสารคดีทํองเท่ียวจึงเป็นเหมือน ประสบการณ์รอง ชํวยให๎ผ๎ูอําน ได๎รู๎ได๎เห็นโลกภายนอกที่ตํางหรือนอกเหนือไปจากที่ผู๎อํานได๎พบเห็นด๎วย ตนเอง นอกจากนี้หนังสือประเภทน้ียังชํวยกระตุ๎นสัญชาตญาณการเดินทาง การแสวงหา ส่ิงแปลกใหมํ และเป็นคมํู ือใหน๎ กั เดนิ ทางทน่ี ยิ มหาประสบการณใ์ หแ๎ กตํ นเองไดเ๎ ปน็ อยํางดดี ๎วย แนวการอ่านและประเมินคา่ สารคดที อ่ งเที่ยว การอํานสารคดีทํองเท่ียวเป็นการอํานเพ่ือให๎ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับแหลํงทํองเที่ยว จึงควร อํานอยํางละเอียดตั้งแตํต๎นจนจบ ในการอํานควรพิจารณาวํา สถานที่ทํองเที่ยวน้ันต้ังอยํูที่ใด มีประวัติ ความเป็นมา มีความสําคัญ หรือมีสิ่งท่ีนําสนใจอะไรบ๎าง ผ๎ูเขียนได๎ให๎ความร๎ูและความคิดเก่ียวกับสถานที่ น้ันไว๎อยํางไรบ๎าง เม่ืออํานสารคดีเรื่องน้ันจบแล๎ว ผ๎ูอํานได๎รับสาระประโยชน์จากการอํานเรื่องน้ันหรือไมํ อยาํ งไร เพราะเหตใุ ด สํวนการประเมินคณุ คํานนั้ ควรพิจารณาจากสงิ่ ตํอไปน้ี ๑. ประเภทของสารคดีทํองเที่ยว วําเขียนในเชิงคํูมือการทํองเท่ียวหรือเชิง ภูมิศาสตร์ หรอื เชิงบรรยายประสบการณ์ ๒. คุณวุฒิของผเ๎ู ขยี น ผูเ๎ ขียนได๎ใชค๎ วามรูค๎ วามสังเกตอยํางรอบคอบ เพียงใด ถ๎าหากเป็น เร่ืองท่ีให๎ความรู๎ ผเ๎ู ขียนมีความรใ๎ู นเร่ืองนัน้ เพียงใด ๓. ความคิดเห็น ผ๎ูเขียนมีใจเป็นกลาง พยายามท่ีจะเข๎าใจการกระทํา ขนบธรรมเนียม ประเพณที ต่ี นไมํรจ๎ู ักค๎ุนเคยหรอื ไมํ เพราะผ๎เู ขยี นบางคนอาจจะ ลาํ เอยี งยกยํองหรอื ตเิ ตยี นจนเกินไป ๔. ความสําคัญและความนําสนใจของเร่ือง สถานที่ทํองเที่ยวที่นํามาเขียน นั้นนําสนใจ หรือผู๎เขียนทาํ ใหน๎ ําสนใจขนึ้ ๕. ความเป็นจริง ข๎อเท็จจริงในสารคดีทํองเท่ียวอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง หรือ คลาดเคลื่อนได๎ เพราะผู๎เขียนไมํมีเวลาตรวจสอบให๎แนํชัด นอกจากนี้กาลเวลา ก็มีสํวนทําให๎ข๎อเท็จจริง คลาดเคลอ่ื น ถ๎าหากเปน็ หนงั สอื ทอํ งเท่ียวธรรมดาก็ไมํใชํ สิ่งสําคัญนัก แตํถ๎าเป็นหนังสือท่ีแสดงความรู๎และ จะต๎องนําไปใช๎ตํอไป ขอ๎ เทจ็ จรงิ จะต๎องถกู ตอ๎ ง ๖. ลักษณะภายนอกหรือสํวนประกอบ เชํน ภาพ แผนที่ จะชํวยให๎เข๎าใจ เรื่องมากข้ึน สํวนเชงิ อรรถและภาคผนวกจะชํวยอธิบายรายละเอียดที่จําเป็น บรรณานุกรมจะทําให๎หนังสือมีคุณคําและ นําเชื่อถอื มากขน้ึ เอกสารประกอบการเรยี น รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอาํ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๓๖

๗. คณุ คาํ ทางวรรณกรรม สารคดีทํองเท่ียวท่ีดี ควรให๎คุณคําทาง วรรณกรรมด๎วย เราจะ สังเกตวําหนังสือบางเลํมเป็นท่ีนิยมอยํูยาวนาน ท้ังๆที่ สถานที่ท่ีผู๎เขียนเลําไว๎ได๎เปลี่ยนแปลงไปแล๎ว เหตุท่ี เปน็ เชนํ น้ี เพราะการบรรยาย การจัดลําดับเร่ือง สํานวนภาษาเหมาะสม ทําให๎หนังสือเลํมน้ันมีชีวิตชีวานํา อาํ น เชนํ พระราชนิพนธไ์ กลบ๎าน เป็นต๎น สารคดีชวี ประวัติ สารคดชี วี ประวัติ หมายถึง สารคดีท่ีเสนอเรื่องราวชีวิตของบุคคลที่นําสนใจ สมควรร๎ูจักจะเขียน ขึ้นจากเอกสาร จากการบอกเลําของผู๎ใกล๎ชิด หรือจากการไตํถาม สัมภาษณ์เจ๎าของประวัติโดยตรงก็ได๎ หรอื เจ๎าของประวัตอิ าจเขยี นข้นึ เองก็ได๎ ประเภทของสารคดชี วี ประวัติ สารคดีชวี ประวตั ิอาจแบงํ ได๎เปน็ ๒ อยําง คอื ๑. อัตชีวประวัติ คือ ชีวประวัติท่ีเจ๎าของเขียนเลําประวัติชีวิต เหตุการณ์ ที่เกี่ยวพันกับตนเอง โดยตรง เชํน ชีวิตจาลอง ของ พลตรีจําลอง ศรีเมือง, ความสําเร็จและความล๎มเหลว ของ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, ๕๕ ปีของข๎าพเจ๎า ของ ประเก็บ คลํองตรวจโรค, ชีวประวัติของข๎าพเจ๎า ของ มหาตมะ คานธี แปลโดย กรุณา กุศลาสัย หรืออาจเลําในรูปของการบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์แล๎ว แทรก ประวตั ขิ องตนเอง เชนํ ฝันร๎ายของข๎าพเจ๎า ของ พระยาศราภัยพิพัฒน์, เกิดวังปารุสก์ ของ พระองค์เจ๎าจุล จักรพงษ์ ชวี ิตห๎าแผํนดินของขา๎ พเจา๎ ของ พลโท ประยูร ภมรมนตรี ฯลฯ ๒. ชีวประวัติ หมายถึง หนังสือที่ผู๎หนึ่งเขียนถึงชีวิตของผู๎อื่น ซึ่งอาจจะปรากฏเป็นหนังสือ ชีวประวัติรวม คอื เขียนประวัติ ผลงาน อยํางสั้นๆหลายชีวิต ในเลํมเดียวกัน เชํน คนดีที่ข๎าพเจ๎าร๎ูจัก ของ พระเจ๎าบรมวงศ์เธอสมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ การประพันธ์และนักประพันธ์ไทย ของ ยศ วัชร เสถียร เป็นต๎น หรืออาจจะเป็นชีวประวัติของคนๆเดียวทั้งเลํม เชํน ชีวิตและงานของเสฐียรโกเศศ ของ ประพัฒน์ ตรีณรงค์, ชีวิตดุจเทพนิยายของดอกไม๎สด ของ สมภพ จันทรประภา, ตามรอยพระพุทธเจ๎า หลวง ของ ประยทุ ธ สทิ ธิพันธ์, ชวี ติ และงาน ของ ดร.ปรดี ี พนมยงค์ ของ สพุ จน์ ดาํ นตระกลู ฯลฯ นอกจากนี้ หนังสือท่ีแจกในงานฌาปนกิจศพ ซ่ึงมีบุคคลหลายคนเขียนถึง ประวัติชีวิตสํวนตัว การงาน ฯลฯ ของผ๎ูตาย เชํน ยาขอบอนุสรณ์ อนุสรณ์มนัส จรรยงค์ ฯลฯ และหนังสือท่ีแจกในงานฉลอง ครบรอบอายุของบางทาํ นกจ็ ดั เปน็ หนงั สือชีวประวัตดิ ๎วย เชํน คึกฤทธ์ิ ๖๐ เปน็ ต๎น ลกั ษณะการเขยี นสารคดีชวี ประวัติ การเขียนสารคดชี ีวประวัติอาจเขยี นไดห๎ ลายแบบ หากพิจารณาลักษณะการเขียนตามวิธีการ นาํ เสนอ ก็อาจแบํงได๎เปน็ ๕ แบบ ตามที่เจือ สตะเวทนิ ไดแ๎ บงํ ไว๎ กลาํ วโดยสรปุ ดงั นี้ ๑. ชีวประวัติแบบจําลองลักษณ์ (Portrait) คือการเขียนแบบถํายภาพ ให๎เหมือนกับตัวจริง ของเจ๎าของชีวประวัติ นักเขียนแนวนี้จะสนใจอธิบายรูปกาย ความคิด รสนิยม และอุปนิสัยอยําง ตรงไปตรงมา แตใํ ชภ๎ าษาสละสลวยเป็นพเิ ศษ ๒. ชีวประวัติแบบสดุดีหรือแบบช่ืนชม (Appreciation) เป็นการเขียน ชีวประวัติท่ีมุํง สรรเสรญิ บคุ คลเจ๎าของประวตั ิเป็นสําคญั เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอาํ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๓๗

๓. ชีวประวัติแบบรอบวง (Profile) เป็นการเขียนชีวประวัติเฉพาะใน กรอบรอบวงหนึ่ง เทํานั้น คือ ไมํได๎ให๎รายละเอียดทุกเรื่อง แตํเป็นการเขียนท่ีมุํงให๎ ผ๎ูอํานเห็นความสําคัญเฉพาะด๎านใดด๎าน หน่งึ ของประวัติเทาํ นั้น ๔. ชวี ประวตั ิแบบประเมินคุณคํา (Appraisal) การเขียนชีวประวัติแบบ นี้มีลักษณะคล๎ายกับ การเขยี นชีวประวัติแบบสดุดี แตผํ ิดกันตรงท่ีบุคลลที่เขียนถึง มักเป็นบุคคลที่ยังมีชีวิตอยูํ และเน๎นท่ีผลงาน ของบุคคลน้ันเป็นสําคัญวําเขาทําอะไรมาแล๎ว ปัจจุบันกําลังทําอะไรอยูํ และโอกาสตํอไปมีแนวโน๎มวําจะ เปน็ อยํางไร ๕. อัตชีวประวัติ (Autobiography) คือ การที่ผ๎ูเขียนเขียนเลําประวัติของ ตนเอง อาจเลํา เร่ืองโดยตรง หรอื เขยี นในรปู บนั ทึกเหตกุ ารณ์แล๎วแทรกประวัตขิ อง ตนเองลงไปกไ็ ด๎ ลักษณะของสารคดชี วี ประวัตทิ ีด่ ี สารคดีชวี ประวตั ทิ ี่ดีควรมีลักษณะดงั นี้ ๑. เปน็ สารคดชี ีวประวัติของบคุ คลจรงิ ท่นี าํ สนใจ ๒. เปน็ การแสดงเร่อื งราวของบุคคลมใิ ชํเฉพาะ “เขาคือใคร” แตํมุํงเลํา วํา “เขาเป็นคนๆน้ัน ได๎อยาํ งไร อะไรเปน็ อปุ สรรค อะไรเป็นแรงสนบั สนุนชวี ิตนั้น และแปรเปลยี่ นชีวติ นนั้ หรอื ไมเํ พียงใด ๓. รจ๎ู กั เลือกเฟ้นกลําวเฉพาะเหตุการณ์สําคัญๆที่จะชํวยให๎ผ๎ูอํานเข๎าใจ เจ๎าของชีวประวัติได๎ อยาํ งชดั เจน ๔. มขี อ๎ มลู ถูกต๎องตามข๎อเทจ็ จริงที่เช่อื ถือได๎ ๕. มีความเทย่ี งธรรมในการเขยี น ไมสํ รรเสริญหรอื กลาํ วร๎ายจนเกินความ เปน็ จรงิ ๖. ถ๎าเป็นการเขียนอัตชีวประวัติ ควรแสดงหลักการหรือทัศนคติในการครองชีวิตของตนให๎ ชดั เจน แตํไมคํ วรเป็นไปในทาํ นองส่งั สอนผอ๎ู น่ื คุณคา่ ของสารคดีชีวประวตั ิ สารคดชี วี ประวัตเิ ป็นหนังสือท่ีทําให๎เราทราบถึงประวัติของบุคคลและ เหตุการณ์ที่มีอิทธิพล ตํอบคุ คล การอํานหนังสอื สารคดีชวี ประวัติจะทาํ ใหเ๎ ราเขา๎ ใจวาํ เหตกุ ารณห์ ลํอหลอมชีวิตของบุคคลอยํางไร และความคิด การตัดสินใจ หรือการกระทําของบุคคลมีผลตํอเหตุการณ์อยํางไร นอกจากนี้ชีวประวัติของ บุคคลตํางๆ จะเป็นอุทาหรณ์ หรือตัวอยํางท่ีชี้ให๎เห็นถึงความสําเร็จและความล๎มเหลวในชีวิตท่ี ผ๎ูอําน สามารถใชเ๎ ป็นแบบอยาํ งหรอื หลีกเลี่ยงความผิดพลาดด๎วยการไมเํ อาอยาํ งได๎ แนวการอา่ นและประเมนิ คา่ สารคดีชีวประวตั ิ การอาํ นสารคดีชวี ประวัติ ผ๎ูอํานควรพจิ ารณาในดา๎ นตาํ งๆ ดงั นี้ ๑. ชีวิตสํวนตัว เชํน เป็นใคร มีกําเนิดอยํางไร บิดามารดาเป็นใคร การศึกษาเป็นอยํางไร มีความเปลี่ยนแปลงอยํางไรบ๎างในชีวิต สาเหตุของการ เปล่ียนแปลงคืออะไร ชีวิตแตํงงานเป็นอยํางไร คํูสมรสมีสํวนชํวยในความสําเร็จหรือไมํ และที่สําคัญก็คือบุคคลผู๎นั้นมีหลักการอุดมคติในการดํารงชีวิต อยาํ งไร ๒. การงาน เชนํ บคุ คลสําคญั ผน๎ู ั้นประกอบอาชีพอะไร มีอุปสรรคใน การดําเนินชีวิตหรือไมํ มอี ะไรสนับสนุนการดําเนินชวี ิตให๎รงุ เรอื่ งบา๎ ง ๓. ความสามารถเฉพาะตัว เชํน ความพากเพียรพยายาม ความสําเร็จ ในการศึกษา ความอดทน ความคดิ รเิ รม่ิ อุปนิสัยใจคอ และอ่นื ๆ ซ่งึ เป็นสํวน สาํ คญั ในการสรา๎ งความสาํ เรจ็ ๔. ความมีชื่อเสียงหรือความสําเร็จ เชํน ประสบความสําเร็จในด๎านใด ความสําเร็จที่ได๎รับ น้นั เกดิ ขึ้นเพราะเหตใุ ด ๕. คติชีวิต เชํน ข๎อคิดตํางๆที่ผ๎ูอํานได๎รับ ทัศนคติใหมํ คําแนะนําที่ เฉียบแหลมสามารถ ปฏบิ ตั ติ ามได๎ วิถีการดําเนนิ ชีวิตท่คี วรนํามาเป็นตัวอยาํ ง เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอาํ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๓๘

นอกจากท่ีกลําวมาแล๎ว ในการอํานสารคดีชีวประวัติ ผู๎อํานต๎องเข๎าใจด๎วย วําสารคดีชีวประวัติ บางเลํมผู๎เขียนเขียนข้ึนโดยท่ีไมํรู๎จักค๎ุนเคยกับเจ๎าของประวัติ แตํได๎ข๎อมูลมาจากการศึกษาค๎นคว๎าเอกสาร ตาํ ง ๆ ทัง้ ทเ่ี ป็นผลงานของบคุ คลนนั้ และผลงานทผ่ี อ๎ู ื่นเขยี นถึง แล๎วนํามาวิเคราะห์ ตีความ สารคดีบางเลํม ก็ได๎ข๎อมูลมา จากการไตํถาม สัมภาษณ์ผ๎ูใกล๎ชิดเจ๎าของประวัติ ข๎อมูลท่ีได๎รับจึงมักเป็นข๎อมูลท่ีผําน การตคี วามมาแล๎ว ถ๎าการตีความนั้นมีอคติแฝงอยํู ผู๎อํานก็อาจได๎ภาพท่ีไมํตรง ตามความเป็นจริง การอําน สารคดชี ีวประวตั ิแบบนจี้ งึ เหมือนกับ “การอํานเร่อื งราว ของสงคราม ซึ่งคูํสงครามฝ่ายใดฝ่ายหน่ึงเขียนขึ้น จากสายตาของตน” ด๎วยเหตุนี้จึงไมํควรใช๎ข๎อมูลท่ีได๎จากการอํานมาเป็นหลักฐานสําคัญในการอ๎างอิง จนกวําจะได๎ ตรวจสอบความถูกตอ๎ งของขอ๎ มูลจากแหลงํ ตาํ งๆหลายๆแหลํง จนแนํใจเสยี กํอน สํวนการอําน สารคดีท่ีเป็นอัตชีวประวัติ คือ ประวัติที่เจ๎าของประวัติเป็นผ๎ูเขียนขึ้นเอง น้ัน ผู๎อํานพึงตระหนักวําทุกคน มคี วามลับซง่ึ ตนไมตํ อ๎ งการให๎ใครร๎ู ทกุ คนมคี วาม หลงผดิ เกย่ี วกับตนเอง แตถํ ึงกระน้ันเราก็เชื่อได๎วําผ๎ูเขียน ไมํอาจเขียนประวัติตนเอง ให๎เท็จได๎ท้ังหมด เพราะต๎องมีผ๎ูร๎ูจักชีวิตของเขาคํอนข๎างละเอียด เน่ืองจากเขา ยังมี ชีวิตอยํูให๎ผ๎ูอื่นดูได๎ ฉะน้ัน อัตชีวประวัติจึงบอกความจริงเป็นสํวนมาก ทําให๎เรารู๎จักผ๎ูเขียนตาม ทผ่ี เู๎ ขียนรูส๎ ึก และร๎ูจักลักษณะเฉพาะตวั ของเขาจากการแสดงออกใน งานที่เขาเขียนอกี ด๎วย การประเมินค่าสารคดีชวี ประวตั ิ นั้นควรพิจารณาจากส่งิ ตําง ๆ ดังนี้ ๑. เน้ือหาสาระ วํามีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะชํวยให๎ผ๎ูอํานเข๎าใจบุคคล เจ๎าของประวัติได๎ อยาํ งชดั เจนหรอื ไมํ ๒. การลําดับเร่ือง เร๎าใจชวนอํานหรือไมํ มีการประมวลเหตุการณ์แวดล๎อมตํางๆอยํางรัดกุม ชวนใหเ๎ กดิ ความเขา๎ ใจและความคิดตํอเน่ืองกันเป็นอนั ดีหรือไมํ ๓. ข๎อเทจ็ จรงิ หลักฐาน เหตุผล เป็นทีน่ ําเชอ่ื ถือหรอื ไมํ ๔. กลวธิ ีการเขยี น ชวนอําน เข๎าใจงาํ ย ใช๎ภาษาสละสลวย หรือไมํ ๕. คุณคํา มีคุณคําในการชํวยให๎ผ๎ูอํานได๎เข๎าใจธรรมชาติของชีวิตและเป็น บทเรียนหรือ แบบอยาํ งแกํผ๎อู ํานในดา๎ นใดหรอื ไมํ สารคดวี ชิ าการ สารคดวี ชิ าการ เปน็ สารคดที ีม่ ีเน้อื หาเน๎นหนกั ในการให๎ความรทู๎ างวชิ าการ จึงมีลักษณะใกล๎เคียง กับหนังสือตํารามาก แตํตํางกันที่ศิลปะการเขียนซึ่งชวนให๎เกิดความเพลิดเพลินใจกวํา สารคดีวิชาการ เป็นงานเขียนท่ีผู๎เขียนต๎องอาศัยการค๎นคว๎า ข๎อมูลจากแหลํงตํางๆอยํางกว๎างขวาง เพ่ือให๎ความร๎ู ความเข๎าใจในสาขาวิชาการแขนงใดแขนงหน่ึงแกํผู๎อํานอยํางลึกซ้ึง สารคดีวิชาการบางเรื่องผู๎เขียนอาจ แสดงแหลํงท่ีมาของข๎อมูลด๎วยการอ๎างอิงไว๎อยํางเป็นระบบ สามารถใช๎เป็นคูํมือในการค๎นคว๎าตํอไปได๎ เชํน เรื่อง ภาษากฎหมายไทย ของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร, วิเคราะห์รสวรรณคดี ไทย ของ ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ เป็นต๎น แตํบางเร่ืองผู๎เขียนก็ไมํได๎อ๎างอิง หรือมีเชิงอรรถหมายเหตุไว๎ที่ใด กลับถํายทอดความรู๎ที่ได๎มานั้นไปเรื่อย ๆ โดยกลวิธี การเขียนท่ีทําให๎ผู๎อํานไมํหนักสมองเกินไป เชํน ด๎วยการเลําเปรียบเทียบบ๎าง แสดงทรรศนะสํวนตัวของผ๎ูเขียนลงไปในเชิงวิพากษ์วิจารณ์บ๎าง หรือแทรก โวหารที่ ชวนให๎ผ๎ูอํานเกิดความขบขันบ๎าง เชํน หนังสือเร่ืองยิว ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ชีวิตชาวไทย สมัยกํอน ของ เสฐยี รโกเศศ เปน็ ต๎น เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอาํ นและพิจารณาวรรณกรรม ๓๙

อยาํ งไรกต็ าม แม๎สารคดีวชิ าการจะเปน็ งานเขียนที่ผ๎เู ขยี นมงํุ ให๎ความร๎ใู นเชงิ วิชาการ แตํก็ไมํได๎มุํง ท่ีจะให๎เป็นตําราหรือแบบเรียนที่จะต๎องนํามาศึกษาเลําเรียนกัน เป็นเพียงหนังสือสําหรับสํงเสริมความรู๎ เพิ่มเตมิ และให๎ความเพลดิ เพลนิ อยํางมีสาระเทํานั้น การเสนอเนือ้ หาในสารคดีวชิ าการแม๎จะเสนอเร่ืองราว ทางด๎านหลักวิชา แตํก็เป็นความรู๎ในระดับทั่วไป ซึ่งแตกตํางจากตําราวิชาการที่มํุงให๎ความร๎ูอยํางสมบูรณ์ ตามระดับชน้ั การศกึ ษานน้ั ๆ สารคดีวชิ าการอาจแยกยอํ ยออกไปตามเน้ือหาวชิ าการตําง ๆ หลายด๎าน เชนํ ด้านประวัตศิ าสตร์ ดงั ตวั อยํางเร่ือง  กฤษฎาภนิ หิ ารอนั บดบงั มิได๎ ของ ม.ร.ว. คกึ ฤทธ์ิ ปราโมช  พบถนิ่ อนิ เดยี ของ ยวาหระลาลเนหร์ ู แปลโดยกรุณา กุศลาศยั  ขบถ ร.ศ. ๑๒๑ ของ เดช บนุ นาค  บ๎านผอื รอํ งรอยจากอดีต ของสมุ ิตร ปิติพันธ์ ฯลฯ ดา้ นภาษาและวรรณคดี เชนํ  สุนทรียภาพทางภาษา ของ ดวงมน จติ รจาํ นงค์  ภาษากบั ความคดิ ของ ประสิทธิ์ กาพยก์ ลอน  ถ๎อยคาํ สํานวน แนวคิดเชิงภาษาศาสตร์ ของ ดิเรกชัย มหัทธนะสนิ  คําของวรรณคดี ของ เสฐียรโกเศศ  วรรณกรรมพนิ จิ เชิงจิตวิทยา ของ ม.ล. ต๎ยุ ชุมสาย  อํานคนอาํ นวรรณกรรม ของ ศรเี รือน แก๎วกังวาล  วรรณกรรมการเมอื ง ของ ชัยอนันต์ สมทุ รวนชิ ฯลฯ ดา้ นศาสนา เชนํ  บนเสน๎ ทางสขี าว ของ วศนิ อินทสระ  ศาสนาและโลก ในพุทธศาสนา ของ ม.ร.ว. คกึ ฤทธิ์ ปราโมช  ศาสนาเปรยี บเทยี บ ของ สชุ ีพ ปุญญานุภาพ  ภาษาคน-ภาษาธรรม ของ พทุ ธทาสภิกขุ  พุทธธรรมกบั สงั คม ของ นายแพพทย์ประเวศ วะสี  มัชฌมิ าปฏปิ ทา ของ พระราชวรมุนี ดา้ นปรัชญา เชนํ  แพรํงชวี ิต ของ คาราน ซงิ ห์ และไดซากุ อิเกดะ แปล โดย สดใส ขันตวิ รพงษ์  มนษุ ย์ทแี่ ท๎ ของ จางจือ้ แปลโดย ส.ศิวรกั ษ์ แดหํ นมํุ สาว แปลโดย พจนา จนั ทรสนั ติ  มมุ ทีไ่ มํมเี หลยี่ ม ของ เนาวรตั น์ พงษไ์ พบูลย์ ดา้ นขนบธรรมเนยี มประเพณี เชํน  วัฒนธรรมและประเพณตี าํ งๆของไทย ของ พระยาอนมุ านราชธน  ศิลปวฒั นธรรมไทย เลํม ๑ - ๔ ของ กรมศิลปากร  กระบวนพยุหยาตรา ของ ม.ร.ว. แสงสูรย์ ลดาวัลย์  พระเมรุมาศ พระเมรแุ ละ เมรุสมัยรัตนโกสินทร์ ของ น.อ. สมภพ ภริ มย์ ฯลฯ เอกสารประกอบการเรียน รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอาํ นและพิจารณาวรรณกรรม ๔๐

นอกจากสารคดีวิชาการท่ีให๎ความร๎ูทางวิชาการสาขาตํางๆ ดังตัวอยําง ข๎างต๎นแล๎ว ยังมีสารคดี วิชาการท่ีให๎ความร๎ูรอบตัวทั่วๆไปอีกด๎วย เชํน ความร๎ู เก่ียวกับการอบรมเล้ียงดูเด็ก การรักษาสุขภาพ อนามยั การสร๎างความสาํ เร็จในชวี ติ ฯลฯ ดังตวั อยาํ งสารคดีเร่อื งตําง ๆ เชนํ  รอให๎ถงึ อนุบาลกส็ ายเสยี แล๎ว ของ นาย มาซารุ อนิ กุ ะ แปลและเรียบเรยี งโดย ธรี ะ สมุ ติ ร และพรอนงค์ นยิ มคา๎  วิธีการแก๎เซง็ สร๎างสขุ ของ นายแพทย์ ประเวศ วะสี  หนงั สอื เพอื่ ลกู ของ ชตุ มิ า สจั จานนท์  ฝัน ของ พลตรีหลวงวจิ ติ รวาทการ  ฝากเงนิ ใหร๎ วย ของนภพร เรืองสกลุ  คนกับดอกไม๎ ของ ม.ล.ตุย๎ ชมุ สาย  คมํู อื กอํ นเข๎าครัว ของ นลิ ุบล นวเรศ  ขดุ ค๎ุยถงึ บ๎านจดั สรร ของ สีรยา (นามแฝง) ฯลฯ ลักษณะของสารคดวี ิชาการที่ดี สารคดีวชิ าการท่ดี คี วรมลี ักษณะดงั น้ี ๑. มีขอ๎ มูลถูกตอ๎ ง ลึกซงึ้ เชื่อถือได๎ ๒. ให๎ความร๎คู วามเขา๎ ใจในวิชาการด๎านใดด๎านหนงึ่ อยํางกระจาํ งแจ๎ง ๓. มีลลี าการเขียนชวนอาํ น ใชภ๎ าษาสละสลวย เขา๎ ใจงําย ๔. ลักษณะรปู เลมํ และคุณภาพการพิมพ์ ชดั เจนถกู ต๎องท้งั ตัวหนังสือและ ภาพประกอบ แนวการอา่ นและประเมนิ คา่ สารคดีวิชาการ การอํานสารคดวี ชิ าการผูอ๎ ํานควรอํานอยํางละเอียด และควรพิจารณาถึงสํวนตําง ๆ ของหนังสือ ดังตํอไปน้ี ๑. ช่ือเร่ือง ผ๎ูแตํง คุณวุฒิ ประสบการณ์ สํานักพิมพ์ ปีพิมพ์ ครั้งท่ีพิมพ์ เนื่องจากสิ่งสําคัญ ของหนังสือประเภทน้ีคือ ความถูกต๎อง เชื่อถือได๎ ผู๎เขียนจึงจําเป็นต๎องเป็นผู๎มีความรู๎และประสบการณ์ใน เรือ่ งนั้นจรงิ ๆ คณุ วุฒิและประสบการณ์ ของผ๎ูเขียนสารคดวี ชิ าการจงึ เป็นส่งิ หน่ึงท่ผี ๎ูอาํ นตอ๎ งพิจารณา นอกจากนี้ควรสังเกตปพี มิ พด์ ว๎ ย เพราะวิทยาการตําง ๆ ก๎าวหน๎าไปเร็วมาก ในการเลือก ซ้ือหนงั สืออํานประเภทเดียวกันท่ีมีผ๎ูเขียนหลายคนจึงควรได๎เลือกเลํมที่พิมพ์คร้ังลําสุดมาอํานกํอน เพ่ือจะ ได๎รบั ความรูท๎ นั กับความเปล่ียนแปลง และตอํ เมื่อมเี วลาจงึ เลือกเรอ่ื งท่ีพิมพค์ รั้งกอํ น ๆ มาอํานเปรียบเทียบ กนั จะได๎มองเหน็ ท้งั ความ ตํอเนื่องและความแตกตาํ ง สํวนสํานักพมิ พ์ กค็ วรพิจารณาไวเ๎ ป็นข๎อสงั เกตวาํ สาํ นักพิมพ์น้นั ๆพมิ พ์หนังสือประเภทใด เปน็ สํวนใหญํ การพิมพ์มีคณุ ภาพใช๎ไดเ๎ พยี งไร เพอื่ จะไดเ๎ ลอื กกนั ตํอไป หรือหลีกเลี่ยงเสียถ๎าเห็นวําไมํคุ๎มกับ เวลาทีเ่ สยี ไปในการอําน ๒. คํานํา เป็นการแถลงความคิด ความในใจของผู๎เขียนให๎ผ๎ูอํานทราบ และบางครั้งก็ยังมี การแนะนําให๎ผู๎อํานทราบอีกด๎วยวําควรอํานหนังสือนี้อยํางไรจึงจะได๎ประโยชน์ การอํานคํานําจะชํวยให๎ ผู๎อํานมองเห็นแนวของหนังสือเร่ืองนั้น ๆ ทําให๎มีความเข๎าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเร่ืองที่อําน ซึ่งจะชํวยให๎อําน เรื่องราวตอํ ไปไดโ๎ ดยไมสํ บั สน และเข๎าใจแจมํ แจง๎ โดยงําย เอกสารประกอบการเรยี น รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอํานและพิจารณาวรรณกรรม ๔๑

๓. สารบัญ คือ การแสดงลําดับตอนของหนังสือวํา แบํงเน้ือหาสําคัญออกเป็นกี่ตอน ตอน หนง่ึ ๆวําดว๎ ยเรอ่ื งอะไร เรยี งลาํ ดับตอนนน้ั อยํางไร สารบัญยงิ่ ละเอยี ดก็ย่ิงชวนให๎ผ๎ูอํานมองภาพของลําาดับ เร่ืองได๎ชัดเจนยิ่งขึ้น ชํวยให๎ผู๎อํานตัดสินใจ ได๎วําในหนังสือเลํมนั้นมีเร่ืองต๎องการอําน ต๎องการทราบอยํูใน ตอนใดของหนังสอื หรอื ไมํ เปน็ การชวํ ยประหยัดเวลาในการเลือกอําน ๔. ตัวเร่อื งของหนังสือ หมายถึง เน้ือหาของหนังสือต้ังแตํบทท่ี ๑ ถึงบทสุดท๎าย ถ๎าอํานเพ่ือ ตอ๎ งการทราบเร่ืองราว เชนํ การอาํ นสารคดีวชิ าการท่ีให๎ความรู๎ รอบตัวทั่ว ๆ ไป ก็ต๎องอํานตั้งแตํต๎นจนจบ แตํถ๎าต๎องการอํานเพ่ือค๎นคว๎าเร่ืองใดเร่ือง หน่ึงโดยเฉพาะ ก็อาจเปิดอํานดูเฉพาะตอนท่ีต๎องการน้ันมีอยูํ หน๎าใดของหนงั สือ ในการอํานตัวเรื่อง ให๎สังเกตดูความตํอเน่ืองของเน้ือเรื่องด๎วยวําเก่ียวโยงสัมพันธ์กันเป็น อันดีเพียงใดหรือไมํ ท้ังนี้จะพิจารณาได๎จากความคิดของเราเอง ถ๎าความคิดในขณะที่อํานเป็นไปโดย ราบเรียบ ไมํสับสน เข๎าใจเรื่องได๎ดีโดยตลอด และเมื่อเปรียบเทียบกับเรื่องในทํานองเดียวกับท่ีเคยอําน มาแล๎วก็ไมํผิดพลาดเป็นการถูกต๎อง เน้ือเรื่องก็ใช๎ได๎ แตํท้ังนี้ต๎องอํานคํานําและสารบัญเสียกํอน ดังท่ีได๎ กลําวมาแลว๎ ข๎างต๎น ๕. บรรณานุกรม คือ รายชื่อหนังสืออ๎างอิงท่ีผ๎ูเขียนได๎อํานหรือค๎นคว๎า มาบรรณานุกรม ประกอบดว๎ ย ชอ่ื ผูแ๎ ตํง ชือ่ หนังสือ สาํ นักพิมพ์ ปที ่พี ิมพ์ แลว๎ เรยี งลาํ ดบั ตามอักษรชอื่ ผแ๎ู ตงํ ถ๎าสารคดีเลมํ น้ัน มบี รรณานกุ รมประกอบทา๎ ยเลํมด๎วย การอํานบรรณานุกรมจะทําให๎ได๎ ทราบวําหนังสือในเรื่องประเภทเดียวกันนอกจากเลํมท่ีกําลังอํานอยํู แล๎วยังมีเลํมใดอีกบ๎างที่จะหาอํานได๎ เป็นการชํวยแนะนําหนังสืออํานให๎เกิดประโยชน์ กว๎างขวางขึ้น และประหยัดเวลาที่จะต๎องไปไตํถามหรือ เสาะแสวงหาเอง ๖. ดัชนี การอํานดัชนีใหป๎ ระโยชน์อยํางย่ิง คือจะได๎ทราบวําหนังสือเรื่อง นั้นทั้งเลํมกลําวถึง ใคร อะไร ท่ไี หน และอยาํ งไรบ๎าง แล๎วยังบอกอกี วาํ เรอ่ื งทก่ี ลาํ วถึงนั้น ๆ อยํูที่หน๎าใดของหนังสือ ซ่ึงสะดวก เปน็ อนั มากในการคน๎ อําน การจัดดัชนีจะจัดเรียงลําดับตามตัวอักษรของทุกเรื่อง เพ่ือสะดวกแกํการใช๎และ การค๎นคว๎าฉะนั้นผู๎อํานควรได๎ลองใช๎ดัชนีในการศึกษาค๎นคว๎า จะรู๎สึกวําสามารถได๎เร่ืองราวของสิ่งท่ี ต๎องการได๎รวดเรว็ มาก หรือไมตํ ๎องเสียเวลาทีจ่ ะอาํ นหรอื ค๎นตํอไป เพราะร๎วู าํ ไมํมีเรอ่ื งทีต่ ๎องการในเลมํ นน้ั การประเมนิ คณุ ค่าของสารคดีวิชาการ ควรพิจารณาจากสงิ่ ตํอไปนี้ ๑. เน้ือหาสาระของหนังสอื วาํ มีความสมบรู ณ์ ถกู ตอ๎ ง เหมาะกับผ๎ูอําน ระดับใด เชํน บุคคล ท่วั ไป ครอู าจารย์ นักศึกษา ๒. วิธีเสนอเน้ือหา ชวนอํานหรือไมํ มีความยาก งํายเหมาะกับระดับ ผ๎ูอํานที่ตั้งใจเขียนให๎ อํานหรือไมํ ๓. การวางเค๎าโครง การลําดับเร่ือง ไมํซับซ๎อน ทําให๎เกิดความเข๎าใจ และความคิดท่ี ตอํ เนือ่ งกนั เปน็ อันดี ๔. คุณวฒุ แิ ละประการณ์ของผู๎เขียน เช่อื ถอื ได๎ ๕. มีสวํ นประกอบตํางๆ ซ่ึงชํวยให๎ผ๎ูอํานสามารถเข๎าใจสาระของเร่ืองได๎ ชัดเจนและรวดเร็ว เชนํ ภาพประกอบ แผนที่ ฯลฯ ๖. ลกั ษณะรปู เลํม แข็งแรง ทนทาน คณุ ภาพการพมิ พ์ ชัดเจน ถกู ตอ๎ ง เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ท๓๐๒๐๗ การอํานและพจิ ารณาวรรณกรรม ๔๒

สารคดเี บอ้ื งหลงั ข่าว สารคดีเบ้ืองหลังขําว คือ งานเขียนท่ีเป็นการค๎นคว๎ารายละเอียดของขําว ซึ่งนําสนใจมาเขียนให๎ เป็นเร่ืองใหมํ โดยขยายเร่ืองเดิมของขําวนั้นให๎กว๎างขวางย่ิงข้ึน เพ่ือให๎ขําวสารอีกแงํหน่ึงนอกเหนือจาก ท่ีปรากฏในขําว สารคดีเบื้องหลังขําวไมํมีวัตถุประสงค์เพ่ือจุดความสนใจให๎ผ๎ูอํานเก่ียวกับขําว แตํมีเป้าหมายเพื่อเสนอประเด็นท่ีอยํใู นความสนใจของมนษุ ย์ปุถุชนท่ีแฝงอยํูในขําวนั้น การนําเสนอสารคดี เบ้ืองหลัง ขําวไมํจําเป็นต๎องนําเสนอให๎ทันเหตุการณ์เหมือนกับการเสนอขําว แตํก็ไมํถึงกับล๎าสมัย โดยทั่วไปมักเสนอในขณะที่เหตุการณ์นั้นยังอยํูในความคิดคํานึงของประชาชน เชํน เหตุการณ์บางอยําง อาจเกิดมานานแล๎ว เชํน การสวรรคตของรัชกาลท่ี ๙ เกิดขึ้นมาตั้งแตํ พ.ศ. ๒๔๘๙ แตํผ๎ูเขียนสารคดี เก่ียวกับเร่ืองนี้ คือ นายแพทย์สรรใจ แสงวิเชียร และวิมลพรรณ ปิตธวัชชัย เพ่ิงเสนอสารคดีเรื่อง กรณสี วรรคต ๙ มถิ ุนายน ๒๔๘๙ เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ซ่ึงหาํ งจากเวลาทเี่ กิดเหตุการณถ์ ึง ๒๘ ปี การเขียนสารคดีเบื้องหลังขําวสามารถเขียนได๎อยํางกว๎างขวาง ไมํวําจะเป็นเบื้องหลังขําว การเมือง ขําวอาญากรรม ขําวบันเทิง ขําวกีฬา หรือขําวสังคมทั่วไปก็ตาม และอาจเขียนเป็นสารคดีส้ัน ๆ ลงในหนังสอื พิมพห์ รือนติ ยสารทาํ นองสารคดี เสริมขาํ ว คือ เลอื กเขียนเฉพาะแงํมมุ เบา ๆ ที่เป็นเกร็ดแทรก อยูํในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นขําว เพ่ือผํอนคลายอารมณ์ผู๎อํานหลังจากอํานขําวหนัก ๆ หรือ ค๎นคว๎ารายละเอียดมาเขียนเป็นเลํมหลังจากท่ีเกิดขําวหรือเหตุการณ์สําคัญ ๆ ข้ึน เชํน สารคดีเบ้ืองหลัง ขําว เรอ่ื ง บนั ทกึ การเปลย่ี นแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของ พลโท ประยูร ภมรมนตรี เบ้ืองหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ของกุหลาบ สายประดิษฐ์ วันมหาวิปโยคของ พลัง สยามพล อสูรนาทราย ของ พ.ต.อ. จินดา ดวงจินดา กรณีสวรรคต ๙ มถิ นุ ายน ๒๔๔๙ ของ สรรใจ แสงวเิ ชียร และวิมลพรรณ ปิตธวัชชัย เปน็ ตน๎ คุณคา่ ของสารคดเี บอ้ื งหลังข่าว สารคดีเบ้ืองหลังขําวเป็นสารคดีท่ีทําให๎ผ๎ูอํานได๎รับความรู๎และขําวสารอีกแงํ มุมหนึ่ง นอกเหนือจากท่ีปรากฏในรายงานขําว ทําให๎ผู๎อํานทราบรายละเอียดตํางๆที่ ผู๎อํานสงสัยอยากจะร๎ู เป็น การตอบสนองความสนใจและลกั ษณะนิสัยอยากร๎ูอยาก เห็นตามวิสัยปุถุชนของมนุษย์ นอกจากนี้การอําน สารคดเี บือ้ งหลังขาํ วยงั ทําให๎ผ๎อู าํ น เกิดความเพลดิ เพลนิ และชวํ ยให๎ไดบ๎ รรยากาศของเหตกุ ารณด์ ขี น้ึ ด๎วย ลกั ษณะของสารคดเี บอื้ งหลังขา่ วทดี่ ี สารคดีเบอื้ งหลงั ขาํ วทีด่ ีควรมีลักษณะดงั ตอํ ไปนี้ ๑. ให๎ข๎อเท็จจริงแกํผ๎ูอํานอยํางถูกต๎อง สมบูรณ์ คือ มีข๎อมูลครอบคลุม อยํางทั่วถึงในทุก ประเด็นที่ผ๎ูเขียนสร๎างไว๎ ไมํสร๎างชํองวํางของข๎อมูลให๎เกิดความสงสัย เคลือบแคลงในความร๎ูสึกของผู๎อําน ข๎อมูลท่ีค๎นคว๎ามาต๎องมีมากและละเอียดพอที่ จะตอบคําถามทุกคําถามท่ีแฝงอยูํในมโนคติของผ๎ูอํานได๎ โดยไมทํ ิ้งความเปน็ เอกภาพ ของข๎อเขยี นท้ังหมด ๒. มีศลิ ปะการเขยี นท่ีชวนให๎ผูอ๎ ํานติดตาม เชํน มีการลําดับข๎อเท็จจริงตําง ๆ อยํางตํอเนื่อง การจัดความคิดสัมพันธ์กันดี อธิบายความได๎ชัดเจนเข๎าใจงําย ใช๎ภาษาเหมาะสม สละสลวย มีความสมบูรณใ์ นลกั ษณะความเรยี งท่ีดี เปน็ ตน๎ เอกสารประกอบการเรยี น รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอาํ นและพจิ ารณาวรรณกรรม ๔๓

แนวการอ่านและประเมนิ ค่าสารคดีเบ้อื งหลังขา่ ว การอํานสารคดีเบื้องหลังขําว เป็นการอํานเพ่ือให๎ทราบเรื่องราวอันเป็นเบื้อง หลังของ เหตุการณ์หรือรายละเอียดปลีกยํอยอื่นๆที่เก่ียวข๎องกับขําว (แตํไมํปรากฏ ในรายงานขําว) การอํานผ๎ูอําน จึงควรอํานอยํางละเอียดต้ังแตํต๎นจนจบ และควรพยายามตอบคําถามให๎ได๎วํา ใคร ทําอะไร ที่ไหน เม่ือไร เพราะเหตุใด การตอบคําถามเหลํานี้จะชํวยให๎ผู๎อํานเกิดความเข๎าใจสภาพการณ์ตําง ๆ ที่ทําให๎เกิด เหตุการณ์ น้ันขึ้นตลอดจนเกิดอารมณ์รํวม และชํวยให๎ได๎บรรยากาศของเหตุการณ์ดีข้ึนด๎วย สํวน การประเมนิ คณุ คาํ ของสารคดเี บอ้ื งหลงั ขําวนน้ั ผู๎อานควรพิจารณาจากสิง่ ตําง ๆ ดงั น้ี คือ ๑. ขอ๎ มูลท่ีนาํ เสนอ วาํ มีรายละเอยี ดถกู ตอ๎ งนาํ เช่อื ถือ และมคี วามสมบรู ณ์ เพียงพอท่ีจะชํวย ใหผ๎ อู๎ ํานเข๎าใจเหตุการณต์ ําง ๆ ไดอ๎ ยํางชัดเจนหรอื ไมํ ๒. ศิลปะการเขียน เร๎าใจชวนอํานหรือไมํ ผ๎ูเขียนมีความซํางสังเกต มีความละเอียดลออ สามารถหยิบและรวบรวมเอาข๎อมูลปลีกยํอยตํางๆท่ีเก่ียวข๎องกับ เหตุการณ์ เชํน ความร๎ูสึกของผ๎ูประสบ เหตุการณ์ ความคิดของคนทั่วไปท่ีเกี่ยวข๎อง ตัวเลข สถิติ คําให๎สัมภาษณ์ท่ีเต็มไปด๎วยอารมณ์ของผู๎รํวม เหตุการณ์บางคน ฯลฯ มาประมวลเข๎ากับเหตุการณ์แวดล๎อมอ่ืน ๆ อยํางรัดกุม ชํวยให๎ได๎บรรยากาศของ เหตกุ ารณ์และชวนใหเ๎ กิดความเข๎าใจและความคดิ ตํอเนอ่ื งกันเป็นอนั ดหี รอื ไมํ ๓. สาํ นวนภาษา เข๎าใจงาํ ย สละสลวย มีชีวติ ชีวา ชวนอํานและกํอให๎ เกิดคุณคําทางอารมณ์ หรือไมํ สรปุ แนวการอา่ นและการประเมนิ ค่าสารคดี การอํานสารคดีเป็นการอาํ นเรือ่ งจรงิ ทีเ่ ลาํ ถงึ เหตุการณ์ สถานท่ี ชีวิตผู๎คนหรือความร๎ูแขนงตําง ๆ เนื้อหาของเร่ืองจริงท่ีผู๎เขียนนํามาเสนอในสารคดีแตํละประเภท จะมีความแตกตํางกัน เป็นเหตุให๎การ พิจารณาสารคดแี ตํละประเภทมรี ายละเอยี ดปลกี ยํอยทีค่ วรพิจารณาแตกตํางกันออกไปด๎วย อยํางไรก็ตาม มีสิ่งท่ีผ๎ูอํานควรให๎ความสนใจ ในการอํานสารคดี ไมํวําจะเป็นสารคดีประเภทใดก็ตาม สิ่งนั้นก็คือ ความ ถูกตอ๎ ง ชดั เจน ของขอ๎ เทจ็ จรงิ ทผ่ี ู๎เขยี นนาํ มาเสนอ และวธิ กี ารในการนาํ เสนอข๎อเทจ็ จริงน้นั การพิจารณาความถูกต๎องชัดเจนของข๎อมูล ผ๎ูอํานอาจสังเกตได๎จากความ สมบูรณ์ของเน้ือหา สาระ ความมีแกํนสาร คุณวุฒิและประสบการณ์ของผู๎เขียน สํวนประกอบตํางๆของหนังสือ เชํน ภาพประกอบ ตาราง ฯลฯ ตลอดจนคุณภาพใน ด๎านการพิมพ์ สํวนวิธีการในการนําเสนอข๎อเท็จจริงนั้น อาจพิจารณาได๎จากการจัด ลาดับเร่ือง การใช๎ภาษาและสํานวนโวหารในการเขียน กลวิธีในการเลําเร่ือง และการ เสนอทรรศนะของผู๎เขียน ซึ่งสิ่งเหลํานี้หากผู๎เขียนสามารถทําได๎ดี ผ๎ูอํานก็จะได๎ รับทั้งความร๎ูและ ความเพลิดเพลนิ จากการอําน ตรงตามเจตนาของงานเขยี นประเภทสารคดี เอกสารประกอบการเรียน รายวชิ า ท๓๐๒๐๗ การอํานและพจิ ารณาวรรณกรรม ๔๔


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook