Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พระพุทธ

พระพุทธ

Description: พระพุทธ

Search

Read the Text Version

พระพุทธบารมใี นอดีต อ. วศนิ อินทสระ

ชมรมกลั ยาณธรรม www.kanlayanatam.com หนงั สอื ดอี ันดบั ท่ี : ๑๘๓ พระพุทธบารมีในอดีต อาจารยวศิน อนิ ทสระ อุทศิ เปน พทุ ธบูชา ในโอกาส ๒๖๐๐ ปแ ตปตรสั รู พิมพคร้ังท่ี ๑ สงิ หาคม ๒๕๕๕ จำนวนพิมพ ๓,๐๐๐ เลม จัดพิมพถ วาย ชมรมกัลยาณธรรม (สงวนลขิ สทิ ธ)์ิ เปนพทุ ธบชู าโดย ๑๐๐ ถ.ประโคนชัย ต.ปากนำ้ อ.เมือง จ.สมทุ รปราการ ๑๐๒๗๐ รปู เลม โทรศัพท. ๐-๒๗๐๒-๗๓๕๓ และ ๐-๒๗๐๒-๙๖๒๔ ภาพวาดประกอบ ๙ (เกา) ศักดิ์สิทธ์ิ ภัทรประกฤต (ตา ร) พิสูจนอกั ษร ยุวดี อ๊ึงศรีวงษ พิมพท ี่ สำนกั พมิ พกอนเมฆ โทร. ๐๘๙ ๗๘๕ ๓๖๕๐ สัพพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ การใหธ รรมะเปนทาน ยอ มชนะการใหทง้ั ปวง

คำอนโุ มทนา ชมรมกลั ยาณธรรมโดยทนั ตแพทยห ญงิ อจั ฉรา กลน่ิ สวุ รรณผ ู เปน ประธานชมรม ไดขออนญุ าตพิมพห นังสือเรอ่ื ง ”พระพุทธบารมี ในอดีต” ขาพเจาอนุญาตดว ยความยินดีย่งิ เรื่องนี้ เดิมทีเดียวขาพเจาเขียนเพ่ือลงในวารสารศุภมิตร ของมลู นธิ กิ จิ การสง เสรมิ ศาสนาและมนษุ ยธรรม(กศม.) ของวดั มกฏุ กษัตริยาราม กรุงเทพฯ ซ่ึงต้ังข้ึนโดยพระดำริริเริ่มของสมเด็จพระ อริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชแหงวัดมกุฏฯ ซึ่งขาพเจา เปนบรรณาธิการแหงนติ ยสารฉบบั น้ันอยู ไดเ ริ่มเขยี นลงต้ังแตเดือน มถิ นุ ายน พ.ศ.๒๕๔๐ จัดลงเปน ตอนๆ หลายตอน ไปจบลงในเดือน ตลุ าคม พ.ศ.๒๕๔๑ เปน เวลา ๑ ปกับ ๕ เดือน เขียนได ๕ เรื่องตงั้ แต เรื่องพระเตมยี จนถงึ เร่ืองมโหสถบณั ฑติ กห็ ยุดเขยี นไป เพราะมีภาระ อ่ืนอีกมากท่จี ะตองทำ ไดรวบรวมเกบ็ ตน ฉบบั ไว แตย งั ไมม โี อกาสได รวมพิมพเปนเลม บัดน้ี ชมรมกัลยาณธรรมไดมีกุศลฉันทะ จัดพิมพหนังสือ เรื่องนีอ้ อกเผยแผใ หแพรห ลาย ขา พเจา ปลืม้ ใจมากท่ไี ดเห็นหนังสือนี้ ออกสสู ายตาของชาวพุทธอกี ครั้งหน่ึง และอาจจะมีคร้ังตอๆ ไป นา อนุโมทนาตอชมรมกลั ยาณธรรมยงิ่ นกั

พระพุทธบารมีทั้ง ๑๐ ประการมี ทาน เปนตน อันท่ีจริง พระพุทธองคทรงบำเพ็ญทุกชาติที่ทรงไดกำเนิดเปนมนุษย ตางแต เพียงวา บางชาติทรงเนนหนักไปในบางเร่ือง เชน พระชาติท่ีเปน สวุ รรณสามดาบสทรงหนกั ไปทางเมตตาบารมี เปน ตน เมอ่ื พระบารมี เต็มเปยมแลวจึงไดตรัสรูเปนพระสัมมาสัมพุทธเจา ทรงเผยแผพระ ธรรมอนั เปนประโยชนไ พศาลแกช าวโลกมาจนถงึ ปจ จบุ นั นี้ พระพทุ ธ บารมีและพระพทุ ธานุภาพไดแผป กคลมุ ไปยังโลกท้งั ปวง ทำใหบคุ คล ผูเล่ือมใสและปฏิบัติตามโดยชอบ ไดปลดเปล้ืองความทุกขและ ประสบสขุ แหงชีวิตตามสมควรแกก ำลงั แหง การปฏบิ ตั ิ ขาพเจามีความสุขใจที่จะไดเห็นหนังสือเร่ืองน้ีพิมพออก เปนเลม หาก บุญ กุศล ใด พึง บังเกิด มี แก ขาพเจา ใน การ น้ี ขอพระพุทธบารมี พระพุทธานุภาพและบุญกุศลนั้นซ่ึงขาพเจาได ทำแลว พึงอำนวยผลใหขาพเจาเปนผูมีอาพาธนอย มีโรคเบาบาง เพ่ือจักไดมีโอกาสบำเพ็ญประโยชนแกพระพุทธศาสนาและแกสังคม ตอไป เทาท่ีกำลังและความสามารถยังมีอยู ขอพระพุทธานุภาพ ไดโปรดคุมครองใหการเผยแผธรรมของชมรมกัลยาณธรรมต้ังมั่น เจรญิ รงุ เรอื งยงิ่ ๆข้นึ ไป ขออนุโมทนา ดว ยความปรารถนาดอี ยา งยิง่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕

คำนำ ของชมรมกัลยาณธรรม ขาพเจาไดปรารภเรื่องขออนุญาตเลือกงานหนังสือในนิพนธ ของทานอาจารยวศิน อินทสระเพ่ือรวมฉลองชวงปมหามงคลของ ชาวพทุ ธ ซง่ึ ชาวพทุ ธท่วั โลกมคี วามตืน่ ตัวทจ่ี ะรว มกนั ปฏบิ ัตบิ ชู าและ จัดกิจกรรมตางๆ อันจะชวยจรรโลงสงเสริมพระพุทธศาสนา เพ่ือ นอมถวายเปน พุทธบชู า ในวาระครบรอบ ๒๖๐๐ ป นบั แตป ฐมกาล ท่ีพระพุทธองคตรัสรูเปนพระสัมมาสัมพุทธเจา เม่ือทานอาจารยได เลือกงานเขียนของทานเรื่อง “พระพุทธบารมีในอดีต” มาจัดพิมพ เปนรูปเลมเพ่ืออุทิศเปนพุทธบูชา ในโอกาส ๒๖๐๐ ป แตปตรัสรู ดังกลาวแลว ขาพเจาจึงยินดีย่ิงท่ีจะไดนำเพชรเม็ดงามแหงธรรม ทานดังกลาว มาจัดพิมพแจก เปนมหากุศลสองทาง คือทั้งไดตาม รอยพระบาทพระบรมศาสดาและตามรอยธรรมของครูบาอาจารยท่ี เคารพอยางยิง่ เรา ทราบ ดี วา พระพุทธ บารมี ใน อดีต หรือ ท่ี เรียก วา “พระเจา ๑๐ ชาต”ิ กลาวถงึ ในชวงทเ่ี ปน ๑๐ พระชาติสำคัญท่ีทรง บำเพ็ญบารมีเนนหนักไปในดานตางๆ ลวนนาสนใจติดตามศึกษา เพราะเปนที่มาขององคพระสัพพัญูผูรูแจงโลก ผูเปนพระโลกนาถ

ที่นำพาปวงสัตวใหพนจากวังวนวัฏฏะ ถึงแมวาในหนังสือนี้ ทาน อาจารยจะเขียนไวไดเพียง ๕ ชาติดวยมีภารกิจมากจึงไมไดเขียน ตออีก ๕ ชาตทิ ี่เหลือ แตทกุ เร่ืองท่ที านเรียบเรยี งมากม็ คี วามงดงาม สมบูรณอยูในตัว ท้ังอรรถรสและสาระ อันจะเปนพลังใจใหสาธุชน มคี วามมงุ มั่นตามรอยพระบาทตอไปอยางไมย อ ทอ ชมรมกัลยาณธรรมขอนอมถวายธรรมทานนี้เปนพุทธบูชา และนอมบูชาอาจริยคุณแดทานอาจารยวศิน อินทสระ ขอบุญ กุศลแหงการเผยแผธรรมทานท่ีทานอาจารยอุทิศเปนพุทธบูชา มาอยางตอเนื่อง รวมเขากับสายธารบุญกุศลท่ีพวกเราชาวชมรม กัลยาณธรรมไดรวมกระทำมา จงมาอภิบาลคุมครองทานอาจารย ใหเปนผูมีอาพาธนอย อยูสุข สงบ สบายกายใจ ตลอดทุกวันคืน เพ่อื เปน แสงสวางแหงธรรมสอ งสใู จมวลชนตราบกาลนาน ดวยความเคารพอยางสูง ทพญ. อัจฉรา กลนิ่ สุวรรณ ประธานชมรมกัลยาณธรรม

พระพทุ ธบารมใี นอดตี เร่ืองที่ ๑ พระเตมีย์

พระเนกขมั มบารมี พระเตมีย์ วันหน่ึง เม่ือพระผมู ีพระภาคเจาประทับอยู ณ เชตวัน วิหาร ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันท่ีธรรมสภาสนทนากัน ถึงเนกขัมมบารมีแหงพระพุทธองค พระผูมีพระภาคทรง ทราบดวยทิพยโสตแลวเสด็จมาสูธรรมสภาตรัสวา ภิกษุท้ัง หลาย เราผูมีบารมีเต็มเปยมแลว ท้ิงรชั สมบัติออกแสวงหา คณุ ธรรมอนั ยง่ิ ใหญใ นกาลนี้ หาเปน สง่ิ อศั จรรยไ ม แตส มยั เมอ่ื เรายงั มบี ารมไี มแ กก ลา เพอ่ื บำเพญ็ เนกขมั มบารมนี เ้ี ราไดล ะทง้ิ

อ. วศนิ อินทสระ ๙ รชั สมบตั อิ อกมหาภเิ นษกรมณน น่ั แล เปน คณุ อนั นา อศั จรรยย ง่ิ ตรัสดังน้แี ลว ทรงดุษณอี ยู เมอื่ ภกิ ษุเหลา นนั้ ทลู วงิ วอนใหท รง แสดงเรอื่ งในอดตี จึงตรสั วา ภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล เมือ่ พระเจากาสกิ ราชครอง ราชสมบัติโดยธรรมในเมืองพาราณสี พระองคทรงมีพระสนม มาก แตน างเหลานน้ั ไมม ใี ครมบี ุตรเลย ประชาชนพากันเดือด รอนวา จะไมม รี าชกมุ ารผสู บื สันตติวงศ จงึ ชวนกนั มาประชมุ ท่พี ระลานหลวง ทูลเร่อื งทงั้ ปวงใหพระราชาทรงทราบวา การ ท่ีพวกเขามาประชุมกันนี้ก็ดวยวิตกกังวลเรื่องผูสืบสันตติวงศ ขอพระองคจงพจิ ารณาเถิด พระราชากาสิกราชทรงสดับแลวทรงขอบใจราษฎรที่ มีความจงรกั ภักดี และหวงั ดีตอ พระองคแ ละราชบัลลังก แลว รบั สั่งใหประชุมมเหสี และสนมนารที ั้งปวง ขอใหทกุ พระองค จงบำเพญ็ คณุ ความดแี ลว อธษิ ฐานปรารถนาบตุ ร หรอื ไหวว อน เทพเจา ขอใหประทานบตุ รให บรรดาสนมนารีเหลาน้ี มีพระนางพระองคหนึ่ง ทรงนามจันทเทวี ผูเปนอัครมเหสีเลิศกวาหญิงท้ังปวง พระนางทรงเปนธิดาแหงมัทราช๑ ทรงสมบูรณดวยศีลาจาร วัตรท้ังปวง พระนางสดับพระราชดำรัสของพระราชาแลว ก็ ๑ สตรีแควน มัททะนนั้ ไดร บั การยกยอ งมาก ในโบราณวาเปน สตรีทด่ี ีทีส่ ดุ

พระพุทธบารมใี นอดตี ๑๐ ทรงรับเพื่อปฏิบัติตาม จึงทรงสมาทานอุโบสถในวันเพ็ญ เปล้ืองสรรพาภรณทั้งปวง บรรทมเหนือพระยี่ภูนอย ทรง ระลกึ ถงึ แตศ ลี ของพระองค กระทำสัจจกริ ิยาวา หากขาพเจา รักษาศีลไมขาด ขอบตุ รจงมแี กข าพเจา ธรรมดาคนดี มศี ลี มธี รรมอนั งาม เมอื่ เดอื ดรอ น เทวดา ยอมพลอยเดือดรอนดวย ดังนั้น ทาวสักกะผูเปนใหญในหมู เทพ ทรงทราบความเดือดรอนของพระนางจนั ทเทวีแลว ทรง ประสงคจะชว ยเหลือ ทรงใครค รวญถึงผูซง่ึ เหมาะสม ไดมอง เห็นพระโพธิสัตว จึงเสด็จไปเชิญพระโพธิสัตวเทพบุตรใหลง มาจุติในพระครรภของพระนางจันทเทวี เพื่อบำเพ็ญบารมีให เต็มเปยมตอไป พระโพธิสัตวก็ทรงรับปฏิญญาและเสด็จอุบัติ ณ คัพโภทรแหง พระนางจนั ทเทวี พระนางทรงทราบวา ตง้ั พระครรภ จงึ ทูลพระราชสวามี ใหทรงทราบ พระราชาทรงปติโสมนัสเปนลนพน ทรงใหการ ประคบประหงมอยางดียิ่ง เม่ือครบกำหนดแลวพระนางก็ ประสูติพระโอรสอันสมบูรณดวยบุญลักษณะอันอุดม วันน้ัน ฝนตกลงท่วั กาสกิ รัฐ พระราชาพระราชทานนางนม๑ ๖๔ นาง ลวนเปนผมู ี ลกั ษณะปราศจากโทษ มสี งู นกั เปน ตน เพอื่ ใหท ารกปราศจาก โทษดวย สตรีที่สูงนกั เมอื่ ทารกนงั่ ดื่มนม คอของทารกจักยดื

อ. วศิน อนิ ทสระ ๑๑ ยาวเกนิ ไป สตรที ่ตี ่ำนกั คอของทารกจักสั้น สตรีทีผ่ อมนกั ขา ทั้งสองของทารกจักเสียดสีกัน สตรีที่อวนนัก เทาท้ังสองของ ทารกจักเพลีย สตรีที่ดำนัก น้ำนมเย็นเกินไป สตรีท่ีขาวนัก นำ้ นมรอนเกนิ ไป สตรที ่นี มยาน จมูกของทารกจกั แบน สตรี เปน โรคหดื นำ้ นมเปรย้ี ว สตรเี ปน โรคมองครอ นำ้ นมมรี สวกิ าร ตางๆ มีรสเผ็ด เปน ตน พระราชาทรงกระทำราชูปถัมภแกพระโอรสเปนอยาง ดี และพระราชทานพรแกพระนางจันทเทวีอัครมเหสี พระนาง ทรงรับพรแลว ถวายคืนไวกอน ในวนั ขนานพระนาม พระราชาทรงใหป ระกอบเปน พธิ ี ใหญ เชิญพราหมณผูรูพยากรณพระลักษณะมาเล้ียงอาหาร ท่ีพระราชวัง แลวตรัสถามถึงอันตรายของพระโอรสวามีอะไร บาง หากมีจะไดหาวิธีกำจัดหรือหลีกเล่ียงเสีย พราหมณ ท้ังหลายดูพระลักษณะตามตำราพยากรณศาสตรแลวทูลวา พระราชโอรสไมม โี ทษใดๆ เลย ทรงสมบรู ณดวยบญุ ลกั ษณะ อนั อดุ ม ทรงสามารถเปน ราชาธริ าชได ๑ ทา นผอู า นอาจรูส กึ วา ทำไมจึงพระราชทานนางนมถงึ ๖๔ นาง อาจเปน ตวั เลขที่มากเกินไป แตเม่อื สมยั พระเจาหลุยสท ี่ ๑๔ แหงฝรง่ั เศสน่เี อง เมอ่ื ตนื่ บรรทมจะตอ งมีขาราชบรพิ ารจำนวนรอยเขา ไปในหองบรรทม คอยปฏิบตั ิ หนา ทเ่ี กี่ยวกับการแตง พระองค

พระพทุ ธบารมีในอดีต ๑๒ พระเจา กาสที รงสดบั แลว ดพี ระทยั ขนานพระนามพระ ราชโอรสวา เตมิยกุมาร เพราะถือเอานิมิตวาในวันประสูติ น้ัน มีฝนตกชุมช้ืนทั่วแควนกาสี และเพราะเหตุท่ีพระราช กมุ ารนำความชมุ ช่ืนเบกิ บานพระทยั มาให ทัง้ แกพระองคแ ละ ประชาชนของพระองคทัง้ ปวง คราวหนึ่ง นางสนมท้ังหลายตกแตงพระกุมารอยางดี แลว นำขน้ึ เฝา พระราชา บรมกษตั รยิ ท อดพระเนตรพระปโ ยรส แลวทรงสวมกอด จุมพิตที่พระเศียร ใหประทับบนพระเพลา เปน ที่ร่ืนรมยอ ยู ขณะน้ันราชบุรุษนำโจร ๔ คนมาหนาพระท่ีนั่ง พระ ราชาทรงวินิจฉัยตัดสินเร่ืองเอง รับส่ังใหลงอาญาโจรเหลาน้ัน โดยวธิ ตี า งๆ กนั คอื ใหเ ฆย่ี นโจรคนหนงึ่ พนั ทดี ว ยหวายทม่ี หี นาม ใหเ อาโซตรวนจำโจรคนหน่งึ แลว สงเขา เรอื นจำ ใหเ อาหอกแทง สรีระของโจรคนหนงึ่ และใหเอาหลาวเสียบโจรอกี คนหนึ่ง เตมิยกุมาร ไดทรงสดับพระดำรัสของพระราชบิดาดัง นนั้ ทรงสะดงุ เปน อนั มาก ทรงจนิ ตนาการวา โอ ราชสมบตั ทิ ำให บุคคลตองทำกรรมหนกั ถงึ เพียงนเ้ี ชยี วหรือ กรรมนี้เปนกรรม ที่ทำใหบ ุคคลไปสสู วรรคมิไดเลย มแี ตจะดงิ่ ลงไปในนรก เมื่อ พระราชกมุ ารบรรทมภายใตเ ศวตฉตั ร ทรงมองเห็นเศวตฉัตร เปนส่ิงนา กลัว เปน สิ่งบังคับใหค นตองทำบาป ทรงจนิ ตนาการ

อ. วศิน อินทสระ ๑๓ ตอ ไปวา เรามาจากไหนหนอ ลำดบั นนั้ การระลกึ ชาตกิ ป็ รากฏ แกพระองค พระองคเคยเปนกษัตริยครองราชสมบัติ ณ แควน กาสเี ปน เวลา ๒๐ ป และตองตกนรกชือ่ อสุ สทุ นรกถงึ แปดหม่นื ป แลว จงึ ไปเกิด ณ สคุ ตโิ ลกสวรรค บัดนมี้ าเกดิ ใน เรือนหลวงอนั เปนดจุ เรอื นโจรนอี้ ีก หากครองราชสมบัติตอ ไป กจ็ ะตอ งเวยี นไปตกนรกอกี บดั นน้ั สรรี กายและพระทยั ของพระ ราชกมุ ารกเ็ หย่ี วแหง เชน ดอกปทมุ ทถี่ กู ขยำ ทรงจนิ ตนาการอยู วา ไฉนหนอเราจะพนจากเรือนโจรนีเ้ สยี ได เม่ือทรงจินตนาการมากเขาก็ทรงพบชองทางคือต้ัง พระทัยจะทำใบ หนวก และทำเปนงอยเปล้ียเสียขา เพื่อคน ท้ังหลายจักไดเห็นวาพระองคเปนกาฬกัณณี ไมควรแกการ ครองราชสมบัติ ตองไมป ระกาศความฉลาดรอบรขู องตนเปน อันขาด ตงั้ แตบ ดั นนั้ มา พระโพธสิ ตั วก ็ทรงอธิษฐานพระทยั วา ไมใ บก็จกั ทำเหมือนใบ ไมหนวกกจ็ ักทำเหมอื นหนวก ไมง อ ย เปล้ียก็จกั ทำเหมือนงอยเปล้ยี เมื่อกุมารอ่ืนๆ ผูเปนบริวารของพระองครองไหอยาก ดื่มนม พระองคกไ็ มทรงกันแสง ถูกทรมานใหอดนมวันหน่งึ บาง สองวันบาง เพ่ือใหทรงกันแสงเหมือนเด็กอื่นแตก็ทรง อดทน ทรงอธิษฐานพระทัยม่ันคงวาจะยอมตายดีกวาทำลาย

พระพุทธบารมีในอดีต ๑๔ ความต้ังพระทัยอันเด็ดเด่ียวน้ี พระองคทรงเกรงภัยในนรก มากกวา ภยั ในโลกมนุษย พวกนางนมสงสัยเหลือประมาณวา พระราชโอรสจะ เปนใบงอยเปลี้ยหรือไฉน แตพิจารณาท่ัวกายแลวก็ลงความ เห็นวา มือเทาของคนงอยเปล้ียไมใชอยางนี้ คางของคนใบ ไมใ ชอ ยางนี้ ชองหูของคนหนวกไมเปนอยา งน้ี พวกนางนมท้งั หลายก็ทดลองโดยใหอ ดนมอีก ดทู หี รอื วาพระกุมารจะทรงกันแสงหรือไม แตพระราชกุมารก็มิได แสดงอาการใดๆ เลย นอกจากนิ่งเฉย จนพระราชชนนไี มอ าจ ทนได ก็ใหพ ระโอรสเสวยนมของพระนางเอง ตอแตนั้นพระราชกุมารถูกทดลองโดยการเอาขนมมา ลอ เอาผลไมม าลอ เอาของเลน มาลอ พวกเด็กอ่นื ๆ ซ่ึงเปน บริวารตางก็แยงกัน แตเตมิยกุมารคงประทับนิ่งเฉยมิไดสน พระทัยเลย เพราะทรงดำริวาของเหลาน้ี เม่ือทองเที่ยวอยูใน สังสารวฏั ไดบ ริโภคมาแลวนบั ไมถ วน หมูอ ำมาตยกราบทลู พระราชาวา เดก็ รุน ๕ ขวบยอ ม กลวั ไฟขา พระองคจ ะทดลองดว ยไฟ ดงั นแี้ ลว จงึ ปลกู เรอื นใหญ ท่ีพระลานหลวงมีประตูมากมาย ใหมุงดวยใบตาล อัญเชิญ พระโพธิสัตวใหประทับนั่งทามกลางความแวดลอมแหงเด็กท่ี

อ. วศิน อนิ ทสระ ๑๕ เปน บรวิ าร และจดุ ไฟขึ้นเผาบา น เดก็ ท้งั หลายเหน็ ไฟไหม ก็ ตกใจกลวั พากนั วิ่งหนี แตพระโพธสิ ัตวท รงจินตนาการวา ไฟ นี้รอนนอยนัก เมื่อเทียบกับเพลิงในนรก จึงประทับนั่งเฉย มิไดลุกข้นึ เม่อื เพลิงโหมเขา มาใกล พวกอำมาตยราชบรพิ าร ท้งั หลายกร็ ีบไปอมุ พาพระโพธสิ ตั วออกมาเสีย พระโพธสิ ตั วถูกทดลองโดยวิธนี ้เี ปน เวลาถึง ๑ ปแตไม ทรงแสดงอาการพิรุธแตประการใด ตอมาถูกทดลองโดยการ ปลอยชางซับมันใหพระโพธิสัตวประทับนั่งท่ีพระลานหลวง มี เด็กอื่นๆ แวดลอม ชางนั้นบรรลือเสียงโกญจนาท เอางวงตี แผนดนิ เดก็ ท้งั หลายเห็นดังน้ันกพ็ ากันวิ่งหนแี ตพระโพธสิ ตั ว ทรงดำริวา การตายเพราะชางยังประเสริฐกวาการไปตกนรก จึงประทับน่ิงเฉยไมหว่ันไหว ชางนั้นไดรับการฝกฝนดีแลว เอางวงจบั พระโพธสิ ตั ว เหมอื นจบั กำดอกไม แตไ มท ำอนั ตราย ราชบรุ ุษเห็นดงั นนั้ จึงไปชว ยรับดว ยอาการถนอม ตอมาถูกทดลองดวยงู ดวยมหรสพ มีการฟอนรำ ขับรองเปนตน ดวยศัตราวุธ ดวยการใหเปาสังขใตที่บรรทม ดว ยเสียงกลอง ดว ยประทีปโคมไฟ ดวยแมลงวัน คือเอาออ ย ทาพระวรกายแหงพระโพธิสัตวเพ่ือใหแมลงวันตอมดวยการ ไมส รงนำ้ ให ไมจดั ใหไ ดล งบังคน แมจมอยใู นกองมตู ร คูถ มี กลิน่ เหม็นคลงุ พระโพธสิ ัตวก ท็ ำประทับเฉย

พระพทุ ธบารมีในอดตี ๑๖ เตมิยกุมารถูกทดลองนานาประการ ยิ่งกวาที่กลาว มาแลว นี้ ไดร ับทกุ ขเวทนาเปนอนั มาก จนพระทยั แหงสมเด็จ พระราชชนนหี ว่นั ไหวปวดรา วไมอ าจทนดไู ด จงึ คอยชวยเหลอื และปลอบโยนวา “พอ เตมยี เ อย! หากเจาไมใบ ไมหนวก ไม งอยเปล้ียเสียขา ก็จงแสดงอาการตามปกติเชนคนท้ังหลาย อยาไดท ำใบ ทำหนวกเลย” แตพระโพธสิ ัตวม ีพระทยั แนว แน เสยี แลว เม่ือพระโพธิสัตวมีพระชนมายุได ๑๖ พรรษา พวก อำมาตยรวมท้ังพระชนกชนนี มีความคิดตรงกันวาธรรมดา บุรุษอายุขนาดนี้ยอมพอใจในสตรีที่สวยงาม จึงปรารถนา ทดลองดวยสนมนารีผูทรงสิริโสภาคยจึงจัดแจงอาบน้ำหอม อยางดใี หพระโพธสิ ัตวแ ละประดบั ประดาดว ยสรรพาภรณ ให บรรทมบนพระย่ีภูอันมีสิริแลวใหสนมนารีลวนแตจำเริญตา ใหเขา มาสูหอ งบรรทม รายรำย่ัวยวนกวนกามกเิ ลสเขาไปใกล กระซิบเวาวอนดวยคำหวาน เปนเชิงเชิญชวนใหรวมอภิรมย แตพระโพธิสัตวก็ม่ันอยูในอุเบกขาธรรม หาไดหว่ันไหวดวย วิสภาคารมณ อันนาตื่นเตนระทึกใจน้ันไม พระองคไดกาว ลวงพนอารมณอันเปนวิสัยแหงโลกียชนเสียแลว เพราะการ กลวั ภัยในอบาย การทดลองตา งๆ ไดส น้ิ สดุ ลงดว ยประการฉะนเี้ ปน เวลา นานถงึ ๑๖ ป

อ. วศิน อนิ ทสระ ๑๗ บรมกษัตริยกาสิกราช ทรงรอนพระทัยเปนหนักหนา เรียกพราหมณทั้งหลายมาตรัสถามความเกาวากอนนี้เมื่อ ราชกุมารประสูติใหมๆ ทานทั้งหลายทำนายวา ราชกุมารน้ี อุดมดวยลักษณะแหงผูมีบุญทุกประการ แตเวลา ๑๖ ปได พิสูจนใหเห็นวาคำทำนายของทานนั้นผิดโดยส้ินเชิง โอรส ของเราเปนทั้งใบ ท้ังหนวก ทั้งงอยเปลี้ยเสียขา เราจะทำ ประการใด พวกพราหมณท ้ังหลายกราบทลู วา การณใ ดๆ ทพี่ วก ขาพระพุทธเจาไมทราบหามีไม แตดวยเกรงวาพระองคจะ ทรงโทมนัสเมื่อทรงทราบแตเบื้องตนวาพระโอรสของพระองค จะเปนเชนนี้ จึงมิไดทูลความเปนจริง โอรสของพระองคน้ัน เปนกาฬกัณณี หากอยูในพระนครจะมีภัยพิบัติเกิดขึ้น ๓ ประการ คอื อนั ตรายแหง ชวี ติ อนั ตรายแหง เศวตฉตั ร อนั ตราย แหงอคั รมเหสี พระราชาทรงสดับดังนั้นหวั่นพระทัย ตรัสถามวาเรา พึงทำอยางไรตอโอรส พวกพราหมณกราบทูลวาตองนำไปฝง ทั้งเปน ทีป่ าชาผีดิบ ฝายอัครมเหสี ผูเปนพระราชชนนีไดทรงทราบขาวนี้ รอนพระทัยย่ิงนัก จึงรีบเขาเฝาพระเจาอยูหัว ทูลออนวอนมิ ใหทรงปฏิบัติตามคำแนะนำของพราหมณ และทูลทวงถึงพร

พระพุทธบารมใี นอดีต ๑๘ ทพ่ี ระราชาไดเ คยพระราชทานเมอื่ ประสตู พิ ระโอรสใหมๆ และ พระนางถวายคนื ไว บดั นี้เปนโอกาสทพ่ี ระนางจะทูลขอพรน้ัน แลวเมื่อพระราชาทรงอนุญาตจึงทูลขอราชสมบัติใหราชโอรส แตพระราชาไมทรงอนุญาตโดยทรงอางวา เตมิยกุมาร ไมใช เปนบุคคลสมบรู ณ พระนางจันทเทวีอัครมเหสี พยายามออนวอนขอราช สมบตั ใิ หพ ระโอรสครองเพยี ง ๗ ป แตพ ระราชาไมท รงอนญุ าต พระนางทลู ขอเรื่อยมา ๖ ป ๕ ป ๑ ป จนถงึ ขอใหพ ระโอรส ครองราชยเ พยี ง ๗ วนั พระราชาทรงอนุญาตเพยี ง ๗ วนั เมื่อเปนดังน้ี พระนางจันทเทวีจึงใหตกแตงพระโอรส เปนพิเศษแลวใหปาวประกาศไปทั่วพระนครวาบัดน้ีราชสมบัติ เปนของเตมิยกุมาร ทรงใหประดับนครอยางสวยงามให พระราชกมุ ารประทับนง่ั บนคอชาง ยกเศวตฉตั รขึ้นเหนอื พระ เศยี รแหง พระราชกมุ ารน้ันกระทำประทักษณิ พระนคร เมื่อกลับแลว พระอัครมเหสีจึงเวาวอนพระราชโอรส วา “เตมิยะ ลูกรกั ! แมไมเปน อันหลับอันนอนเพราะเจา ขอเจาจงเห็นใจแมเถิด สิบหกปแลวที่แมตองรองไห ดวงตา ของแมฟ กชำ้ หวั ใจของแมเ หมอื นจะแตกสลายเพราะความโศก

อ. วศนิ อินทสระ ๑๙ แมรูวา ลกู มิใชคนงอ ยเปลย้ี มิใชคนใบหรือหนวก เหตุไฉนลกู จึงทำเชนนี้ เหน็ ใจแมบ า งเถดิ ลูกรัก ขอลูกจงเดนิ จงพดู คดิ วาเพือ่ ความสขุ ของแมและเพ่ือความเจรญิ รงุ เรอื งของลูก” พระนางเฝาออนวอนพระโอรสอยูเชนน้ีเปนเวลา ๕ วันแตไมไดผลอะไรเลย พระราชกุมารคงประพฤติพระองค เหมอื นเดิม เมื่อถึงวันท่ี ๖ พระราชาตรัสเรียกนายสุนันทะสารถี มารบั สงั่ วา พรุงน้เี ชาใหจัดแจงรถเทยี มมาอวมงคล ๒ ตัวนำ เจาชายเตมิยะไปฝง เสยี ณ ปาชาผดี ิบ เม่อื ฝง ลงไปแลว กอน กลบดนิ ใหเอาสนั จอบทบุ ศรี ษะใหตาย พระนางจันทเทวีทรงทราบเรื่องนี้แลวเศราโศกย่ิงนัก ประหน่ึงวาพระทัยจะแตกทำลาย เสด็จไปหาพระราชปโยรส แลวตรัสวา “ลูกรัก! พรุงนี้แลว พระบิดาของลูกรับสั่งให นำลูกไปฝงท้ังเปนที่ปาชาผีดิบ ลูกจะตองวายชนมเปนแนแท พูดเถอะลูก หากลูกพูดเมื่อไรลูกก็จะไมถูกฝงท้ังเปน แมก็ จะมีความสุข ความหวังของคนท้ังปวงที่อยากไดรัชทายาท ไวสืบราชสมบัติก็จะเต็มเปยม การพูดของลูกเพียงคำเดียว จะเปนประโยชนแกคนทุกฝาย ตลอดถึงแควนกาสีของ เราดว ย”

พระพทุ ธบารมใี นอดตี ๒๐ พระราชกุมารทรงทราบดังนั้น ก็มีพระมนัสแชมชื่น ทรงดำริวาความพยายามที่ขาพเจาไดทำมาถึงสิบหกปแลวน้ัน จะสำเร็จสมตามความมุงหมายแลวในวันพรุงน้ี เมื่อทรง จนิ ตนาการเชนนี้ พระปต กิ เ็ กดิ ข้ึนภายในพระกมล พรงุ นี้แลว …พรงุ นแ้ี ลว เปน วนั แหง ความสขุ ของเรา เปน วนั ทเ่ี ราจะไดอ อก จากเรอื น อันเปนเสมอื นเรือนโจร เชาวันรุงขึ้น พระนางจนั ทเทวีใหพระโอรสอาบและด่มื ตามความปรารถนา แลว ใหป ระทับนง่ั บนพระเพลา สวมกอด พระโอรสนั้น พิลาปรำพันนานาประการ แตพระโพธิสัตวหา ไดห วั่นไหวไม ไดเวลานายสุนันทะสารถี ก็นำรถเทียมมามา ณ พระตำหนักเขาไปสูหองอันมีสิริ ถวายบังคมพระอัครมเหสี แลวกราบทูลวา ขอพระแมเจาอยาไดกริ้วขาพระบาทเลย ขา พระบาทรับพระราชบัญชามา กราบทูลฉะน้ีแลว เอาหลังมือ กนั ใหพ ระนางผสู วมกอดพระโอรสอยหู ลกี ไป อมุ พระราชกมุ าร ประหนึ่งกำดอกไมล งจากปราสาท ขณะนั้นพระนางจันทเทวี ก็สยายพระเกศาขอน พระทรวงทรงปริเทวนาการดังสน่ันอยูกับหมูนางสนมใน ปราสาทน้ัน พระโพธิสัตวทอดพระเนตรเห็นพระราชมารดา ทรงกนั แสง กท็ รงโทมนสั ตาม กร่ิงวาพระมารดาจกั วายชนม

อ. วศนิ อินทสระ ๒๑ เพราะความโศกน้ัน จึงมีพระประสงคจะตรัสดวย แตเมื่อมา คำนึงวา หากพดู ออกไป ความพยายามทที่ ำมาตลอดเวลา ๑๖ ปก ็จะไรผ ล หาประโยชนอนั ใดมไิ ด ถา เราไมพ ูดออกไป ก็จะ เปนประโยชนท ัง้ แกต วั เราเอง แกพระราชมารดา และแกพระ มหาชน คิดดังน้ีจึงมไิ ดพ ดู แมจ ะมอี าการโศกาอาดรู อยูก ท็ รง อดกล้นั เสยี ลำดับน้ันสุนันทะสารถี ยกพระโพธิสัตวขึ้นบนรถ ตง้ั ใจวา จะขบั ตรงไปทางประตดู า นตะวนั ตก แตถ กู เทพเจา ดลใจ ใหข บั รถตรงไปทางประตทู ิศตะวนั ออก เมอ่ื ลอรถกระทบธรณี ประตู พระโพธิสัตวทรงดำริวาความปรารถนาของเราจวนจะ ถึงที่สุดแลว ทรงแชมช่ืนอยางย่ิง ปาที่นายสารถีขับรถไปนั้น ไมใชปาผีดิบ แตปรากฏแกเขาเสมือนวาเปนปาชาผีดิบ เขา ไดพบท่ีอันนารื่นรมยแหงหน่ึงจึงแวะหยุดรถเขาขางมรรคา แลวลงจากรถเปล้ืองเคร่ืองแตงองคพระโพธิสัตวออกหอวาง ไว แลวถือจอบเริ่มขุดหลุมเปนสี่เหล่ียม ขณะน้ันเตมิยกุมาร ทรงจินตนาการวา เราไมไดใชมือและเทามาเปนเวลา ๑๖ ป มือเทาของเรายังใชไดหรือไมหนอ ดำริดังนั้นแลวจึงเสด็จ ลุกข้ึนลูบพระหัตถเบ้ืองขวาเบื้องซายก็ทรงทราบไดวายังมี กำลังดีอยู เสด็จดำเนินไปไดหนอยหน่ึงจึงทราบวากำลังของ พระองคสามารถไปไดถึง ๑๐๐ โยชน

พระพทุ ธบารมีในอดีต ๒๒ พระโพธิสัตวทรงทราบวา หากนายสารถีจะทำราย พระองคพ ระองคก พ็ อสไู ด จงึ เสดจ็ ไปยงั ทข่ี ดุ หลมุ กลา วทกั ทาย นายสนุ ันทะขึน้ วา ทานรบี ขดุ หลมุ สีเ่ หลยี่ มทำไม นายสนุ นั ทะ ตอบวา พระราชโอรสของพระเจาอยูหัวเปนใบ หนวก งอย เปล้ยี เสยี ขา เปน คนไมม ีจติ ใจ พระเจา อยูหวั ตรัสสงั่ ใหข า พเจา นำมาฝงเสยี ในปา เจาชายรัชทายาทแหงแควนกาสี ตรัสวา “เรามิได เปน หนวก มไิ ดเ ปน คนใบ มไิ ดเ ปน คนงอ ยเปลยี้ มไิ ดม อี นิ ทรยี  วิกลวิการ หากทานฝงเราเสียในปาทานก็ไดช่ือวาไดทำส่ิงท่ี ไมเ ปน ธรรม ทานจงดขู าทั้ง ๒ ของเราซิประหนึง่ ลำตนกลว ย แขนท้ังสองของเราคลายสีแหงใบกลวยทองคำ ทานจงฟง คำท่ีเรากลาวเถิด ลวนเปนคำที่ออนหวาน เราไมใบเลยนะ สุนันทะ” นายสารถีฟงแลว สงสัยย่ิงนัก เงยหนาข้ึนดูจำ พระโพธิสัตวไมได จึงถามวา “ทานเปนเทวดาหรือคนธรรพ เปนใครหรอื เปนบุตรแหงใคร” พระโพธิสัตวตอบวา “เรามิใชเทวดา มิใชค นธรรพ เราเปนราชโอรสแหงพระเจากาสิกราชพระราชาผูท่ีทานพ่ึง พระบารมเี ลีย้ งชีพอยูเสมอ ถาทานฝงเราเสียในปา ชอ่ื วาได ทำสิง่ ท่ีไมเ ปน ธรรม”

สุนันทะเอย! บุคคลนง่ั นอนใตรม เงาแหง พฤกษชาตใิ ด ไมค วรหกั กา นรานกงิ่ แหง พฤกษชาตนิ น้ั หากทำลงไปชอ่ื วา เปน ผูประทุษรายมิตร เปนคนลามก พระราชาเปนเหมือนตนไม เราเปนเหมอื นกง่ิ ไม ตวั ทา นน้นั เปนเหมือนคนอาศยั รมเงา นายสุนันทะ, เมื่อพระโพธสิ ตั วต รสั อยอู ยางนี้ ก็ยังไม เชอื่ ทเี ดยี ว โอรสแหง พระเจา กาสี มคี วามประสงคใ หน ายสารถี เชื่อความขอนั้น และเพื่อใหเหลาเทพเจาไดสาธุการ จึงตรัส คาถาบชู ามติ รหรือหลักแหง มติ รธรรมดงั ตอ ไปน:ี้ -

พระพุทธบารมีในอดีต ๒๔ ๑. บุคคลใดไมประทุษรายมิตร ชนเปนอันมากชอบ เขา ไปพงึ่ พาอาศยั บคุ คลน้นั เขาจากบานเรอื นของตนไปสูท่ใี ด กต็ าม ยอ มไดร ับภกั ษามากมาย ไมอดอยาก ๒. บุคคลใดมิไดป ระทษุ รายมติ ร บุคคลนนั้ ไปสชู นบท นคิ มราชธานีใดๆ ก็เปนผอู นั หมูชนในชนบทนิคมราชธานีนั้นๆ บชู ามใิ หขัดสนอยา งใดอยา งหน่งึ ๓. บุคคลใดมิไดประทุษรายมิตร โจรท้ังหลายมิอาจ ย่ำยบี คุ คลผูนนั้ ได กษัตรยิ กม็ อิ าจดหู ม่นิ บคุ คลผูน้นั ยอมขา ม พน หมอู มิตรทั้งปวง ๔. บุคคลใดมิไดประทุษรายมิตร ยอมกลับมาสูเรือน ของตนดวยอาการแชมช่ืน เมื่อเขาสูสภาก็ไดรับการตอนรับ เปน ผูสงู สุดในหมญู าติ ๕. บุคคลใดมิไดประทุษรายมิตร บุคคลน้ันสักการะ ผูอ่ืนแลวยอมไดรับการสักการะตอบ เคารพผูอ่ืนแลวยอมได รบั การเคารพตอบ เปน ผูมคี ุณอนั ใครๆ ชอบพรรณนาถงึ และ มีเกยี รติศัพทเลาลือกนั วาเปน คนดี ๖. บคุ คลใดมไิ ดป ระทษุ รายมติ ร ผนู น้ั เปนผูบ ูชาผูอ่นื ยอ มไดร บั การบชู าตอบ เปน ผไู หวผ อู น่ื ยอ มไดร บั การไหวต อบ ยศและเกียรตยิ อ มฟุง ขจรไป

อ. วศิน อินทสระ ๒๕ ๗. บคุ คลใดมไิ ดป ระทษุ รา ยมติ ร บคุ คลนนั้ ยอ มรงุ เรอื ง ดุจกองเพลิง หรือไพโรจนดุจเทพยดาผูมีเดชานุภาพเปนผูรุง เรืองดวยศิริ ๘. บคุ คลใดมไิ ดประทุษรายมติ ร โคของบุคคลนนั้ ยอม เกิดมากมาย พืชที่หวานลงในนาของเขายอมเจริญงอกงาม เขายอมไดบริโภคผลของพืชท่ีหวา นแลว ๙. บคุ คลใดมิไดป ระทษุ รายมติ ร บคุ คลนั้นเมอื่ ตกจาก ภูเขาหรือตน ไม ยอมไดทีพ่ ง่ึ ไมม อี นั ตราย ๑๐. บคุ คลใดมไิ ดประทษุ รายมติ ร ศัตรูทงั้ หลายยอม ย่ำยเี ขาไมได เหมอื นลมทำลายไมไ ดซงึ่ ตนไทร ท่ีมีรากตดิ ตอ กนั พัวพันงอกงามหยงั่ ลกึ ลงในแผนดิน นายสุนันทะสารถีแมสดับคาถา ๑๐ คาถาอยูเชนน้ัน ก็ยังจำพระโพธิสัตวไมได (ตามตำนานวาเพราะพระโพธิสัตว ทรงฉลองพระองคด วยอาภรณทีเ่ ทวดานำมาให) จงึ ดำรวิ าใคร หนอ กลา วคำเปน สุภาษิตไพเราะนกั เงยข้นึ ดูกย็ ังจำไมไ ด แต ไดหยุดการขุดหลุมไปที่รถ ไมเห็นพระโพธิสัตวและหอเคร่ือง ประดบั จงึ กลับมาแลดอู ีกครง้ั หนึ่งจงึ จำได เขาประคองอญั ชลี ถวายบังคมแลวทลู วา

พระพุทธบารมีในอดีต ๒๖ ขอพระราชบุตรจงเสด็จมาเถิด ขาพระองคจักนำไปสู พระราชวัง ครองราชสมบัติ จะประโยชนอะไรดวยการอยูใน ปา พระราชบุตรจึงตรสั ตอบวา “สารถเี อย! เราไมต อ งการราชสมบตั ิ ทรัพยหรือญาติ ใดๆ ท้ังส้ิน หากราชสมบัตินั้นเราจะไดมาดวยการประพฤติ อธรรม” “พระองคผ ปู ระเสริฐ” สนุ นั ทะทลู “เมอื่ พระองคเสดจ็ กลบั จากท่นี ี่ ขาพระองคจะมคี วามยินดยี งิ่ นกั และเมอ่ื เสดจ็ ถงึ พระราชวงั พระชนกชนนจี กั ยนิ ดีเปนทีย่ ง่ิ ” “นอกจากน้ี สนมนารี และพอคาประชาชนจะแสดง ความยินดเี ปนอนั มาก คงใหร างวัลแกขา พระพทุ ธเจามากมาย แมกองทพั ตา งๆ คอื กองทพั ชา ง มา รถ และพลเดินเทา กเ็ ชน กนั คงมคี วามปรดี า ประทานรางวลั แกข า พระพทุ ธเจา ขอพระ ราชบตุ รจงเสด็จกลับไปเถดิ จะอยทู ำไมในปา” พระโพธสิ ตั วต รสั วา “ดกู อ นสารถี เรานั้นอันพระราชมารดาบิดาสละละทิง้ แลว ชาวแวน แควนสละเราแลว เหยาเรอื นของเราไมม ี เราถกู ทอดทง้ิ แลว จรงิ ๆ เราจะดำรงตนอยเู พยี งผเู ดยี ว และจะบวชอยู ในปา ไมป รารถนากามารมณใดๆ ท้ังส้นิ ”

อ. วศนิ อินทสระ ๒๗ เม่ือเตมียกุมารตรัสถึงพระคุณธรรมของพระองค อยา งน้ีพระปต กิ ็บงั เกิดขนึ้ เพราะมไิ ดเ ห็นโทษประการใดๆ ของตน จึงเปลง พระอทุ านดวยกำลังพระปติวา ความหวังผล ยอ มสำเรจ็ แกผรู ูจักรอคอย เราเปน ผมู ีพรหมจรรยแกก ลา สกุ งอมเตม็ ทแ่ี ลว ความหวงั ผล และประโยชนโ ดยชอบ ยอม สำเรจ็ แกผูรูจกั รอคอย เรามพี รหมจรรยอ นั สุกงอมเตม็ ทแี่ ลว ออกบวชแลว จะมภี ัยแตท ่ีไหน นายสารถีทูลวา “พระองคผปู ระเสรฐิ ! พระองคม พี ระ วาจาสละสลวยเห็นปานน้ี ไฉนจึงไมตรสั ในสำนักแหง พระราช มารดาบดิ าเลา?” พระโพธสิ ตั วตอบ “เรามิไดเปนใบ หรอื หนวกหรอื งอ ย เปลี้ยเสียขาแตประการใด แตเพราะระลึกถึงชาติกอนที่เคย ครองราชสมบัติ แลวตองตกนรกอันเปนสถานท่ีเสวยทุกขยิ่ง เราครองราชยเพียง ๒๐ ปตองเสวยทุกขในนรกถึงแปดหม่ืน ป เราจงึ กลวั การครองราชสมบัติ จงึ อธษิ ฐานจติ วา ขอชนทัง้ หลายอยาไดอภิเษกเราในราชสมบัติเลย เพราะฉะน้ันเราจึง มิไดพดู ในสำนกั ของพระบดิ า เราเคยนัง่ บนพระเพลาของพระ บิดา ไดย นิ เสยี งสั่งใหนำโจรไปฆา ไปจองจำเฆยี่ นตที รมาน ให แทงโจรผหู นึ่งดวยหอก ราดรดน้ำเกลอื ทีแ่ ผล เราไดฟง ดงั นนั้ แลวหวาดกลัวตอการครองราชย ดังนั้น เรามิไดเปนใบก็ทำ เสมอื นวา ใบ มไิ ดง อ ยกท็ ำเสมอื นวา งอ ย แกลง กลงิ้ เกลอื กจมอยู

พระพุทธบารมีในอดตี ๒๘ ในกองอจุ จาระปส สาวะของตน เราไดม องเหน็ โดยชดั เจนวา ชวี ติ น้ีลำบาก เปน ของนอย ทง้ั ประกอบไปดวยทกุ ขน านาประการ ทำไมเลา จะตองอาศยั ชีวติ ซึง่ นอ ยอยแู ลวนีท้ ำเวรกรรม เพ่ือประกาศความเด็ดเด่ียวของพระองคในการไมยอม เสดจ็ กลบั พระนคร พระโพธสิ ตั วจ งึ ตรสั ซำ้ อกี วา “ความหวงั ผล ยอ มสำเรจ็ แกผ รู จู กั รอคอย พรหมจรรยข องเราสกุ งอมแลว แก เตม็ ทแ่ี ลว เราออกบวชแลวไมมภี ยั อยางแนน อน ดูกอนสารถี ทานจงรอู ยางนเี้ ถิด” สุนันทะสารถีฟงดงั นนั้ เกดิ ความสังเวชสลดจิตวา โอ, พระราชกุมารผูเพียบพรอมดวยบุญญาธิการ มีหวังในราช สมบัติอันโอฬารปานน้ี ยังสละเสียแลวออกบวช ก็ตัวเราเอง เลามีสมบัติอะไรท่ียิ่งกวาพระราชบุตร ทรัพยสมบัติของเรา เทียบกันไมไดเลยกับทรัพยของพระองค เราจะอยูทำไมเลา เราควรบวชเชนเดยี วกนั จงึ กราบทูลพระราชบุตรวา “ขาแตพระราชบุตร ขาพระองคจักขอบวชในสำนัก ของพระองคเ หมอื นกนั ” เตมยิ กมุ าร ทรงรำพงึ วา หากนายสนุ นั ทะบวชเสยี เวลา นี้ พระราชมารดาและพระราชบิดาจะไมมีโอกาสเสด็จมาที่นี่ ความเสือ่ มจกั มีแกพ ระองคท้งั สอง มา รถ และเครื่องประดับ อันมีคาก็จะสูญหายเปลา อน่ึงความครหาอาจเกิดข้ึนแกเรา

อ. วศนิ อินทสระ ๒๙ วา นายสนุ นั ทะถูกเราผูเปน ยักษเ ปน ปศาจกินเสยี แลวจงึ มไิ ด กลบั ไป จึงตรสั กับสนุ นั ทะวา “สนุ ันทะ ทานยงั มีหน้ีอยู มา รถ และเครอ่ื งประดบั เหลา นี้ ขา พเจา ขอมอบใหทาน ขอใหท านนำรถมาและเคร่ือง ประดับกลับไปกอน บรรพชาของทานผูหาหนี้มิไดจึงจะชอบ เปนการอันทานผูแสวงหาคุณอันยิ่งใหญมีพระพุทธเจาเปนตน สรรเสริญ” นายสุนันทะรำพึงวา “หากเรากลับไปสูพระนครเลา ความตามเปนจริงใหพระราชาและอัครมเหสีทรงทราบแลว พระองคจ ะตอ งเสดจ็ มา หากไมเห็นพระราชกมุ ารจะพงึ วาเรา หลอกลวงพระองค และจะพงึ ลงราชทณั ฑแ กเ ราเปน แนแ ท เรา ควรผูกมัดซ่ึงพระราชกุมารไวดวยวาจากอ น” แลว จงึ ทลู วา “ขา แตพ ระยพุ ราช ขา พระองคจ กั กลบั ไป หากพระองค พระราชทานปฏญิ าณขอ หนงึ่ แกข า พระพทุ ธเจา ขา พระพทุ ธเจา ก็จะกลับไป ส่ิงที่ขาพระองคขอพระราชทานก็คือตลอดเวลา ที่ขาพระพุทธเจายังไมกลับมา ขอใหพระองคประทับอยูท่ีนี่ อยา ไดเ สดจ็ ไปไหน” เขามองพระยพุ ราชดว ยสายตาแสดงความ วงิ วอน พระโพธิสัตวพระราชทานปฏิญญานั้น สุนันทะจึงรีบ ขบั รถเทยี มมา มุงหนา สปู ระตูเมืองพาราณสี พระนางจนั ทเทวี

พระพุทธบารมใี นอดีต ๓๐ ประทับอยูท่ีริมพระแกลดวยพระทัยกระวนกระวาย เมื่อเห็น สนุ นั ทะกลบั มาแตเ พยี งผเู ดยี ว ดวงหฤทยั ของพระนางประหนง่ึ วาจะแตกทำลายลง อา! ดวงใจของแมชางเปยมไปดวยความรักความ หวงั ดตี อ ลกู ไมม ที ส่ี นิ้ สดุ เสยี นกี่ ระไร ไมว า ลกู นนั้ จะเปน อยา งไร ใครจะดูหม่ินเหยียดหยามวาใบบา หรือพิกลพิการอยางไร ดวงใจของแมท ีเ่ ปย มดว ยความรกั ตอลูก หาไดเ ปลีย่ นแปลงไม พระนางจันทเทวี มีพระเนตรทั้ง ๒ เปยมลนไปดวย พระอัสสุชล ดว ยเขาพระทัยวา นายสารถีไดฝ งพระราชโอรส เสยี แลว แตเ มอ่ื ยงั ไมท ราบความจริงแท พระนางกย็ งั มคี วาม หวงั แมจ ะเหลอื อยเู พยี งเลก็ นอ ยกต็ าม ความหวงั ซง่ึ เปน โอสถ หลอเลี้ยงดวงใจของมนุษยใหมีชีวิตอยูไดตอไป จริงอยูเม่ือไม หวังความผิดหวังก็ไมมี แตใครเลาจะตัดเสียไดซ่ึงความหวัง พระนางจนั ทเทวกี ็ทำนองน้ัน รับสัง่ ใหน ายสารถรี บี เขาเฝา ทั้งพระเนตรทย่ี งั นองดวยพระอสั สุชลนั่นเอง พระนาง ไดตรัสถามนายสนุ นั ทะดว ยกระแสเสียงระคนสะอน้ื วา สุนันทะเอย! “บอกฉันหนอยซิวาลูกฉันเปนใบหรือ หนวก หรืองอ ยเปลี้ยเสยี ขาจรงิ หรอื ไม? ในขณะทีเ่ ธอฝง โอรส ของเราในแผนดินนั้น เขากระดุกกระดิกมือหรือเทาอยางไร บาง”

อ. วศิน อินทสระ ๓๑ บาวผูซื่อสัตยไดเห็นอาการแหงนายตน เปยมไปดวย ความวิปโยคเชนนั้น ใหรูสึกมีความโศกอยางลึกซึ้ง แตเปน ไปเพียงครูเดียว แลแลวปติโสมนัสก็มาขมความโศกน้ันเสีย เม่ือระลึกถึงพระอาการแหงเจาชายที่มีลักษณะอุดมดวยผูมี บุญญาธกิ าร มพี ระวาจาไพเราะ เพ่ือปลอบพระทัยพระนาง และทูลแถลงความจริง นายสุนันทะจึงทูลวา “ขาแตพระแมเจา ขอพระองคประทาน อภัยแกขาพระองคดวยเถิด จะขอกราบทูลตามความเปนจริง ทไ่ี ดเ หน็ และไดฟ งในสำนักแหงพระราชโอรส” แลแลว นายสุนันทะสารถีก็ไดกราบทูลความจริงทุก ประการแกพระนางจันทเทวี ปติ โสมนัส ได เออ ทน ขึ้น ทวม ทั บ พระ มนั ส แห ง พระ อัครมเหสี พระนางทรงยม้ิ อยา งช่ืนบาน ปานประหน่ึงบุปผชาติ รับน้ำคางพรางพรมในราตรี แลว ไดร ับรัศมีแหงแสงทองเม่ือแรก รุงอรุณ อา! ชางนาพิศวงอะไรเชนน้ี ความเศราและความสุข ความขมข่ืนและความช่ืนบานหมุนเวียนเปลี่ยนแปรเขามาใน วิถีชีวิตอยูเสมอมิไดขาด ไมวาชีวิตน้ันจะเปนของพระราชาหรือ ยาจกของพระอัครมเหสี หรือของนารีผูมีศักดิ์เพียงนางทาสใน เรอื นเบย้ี พระนางอทุ านออกมาวา โอ! เทพยดาผศู กั ดสิ์ ทิ ธไิ์ ดช ว ย ขา แลว ขาวใดเลาจะทำใหด วงใจของเราเตม็ บริบูรณเ ชน ขาวนี้

พระพุทธบารมีในอดตี ๓๒ ฝายเตมียกุมารโพธิสัตว เมื่อนายสารถีกลับไป แลว จึงอธิษฐานเพศบรรพชาเพ่ือแสวงหาความหลุดพนจาก โลกียารมณท้ังปวง ทรงกระทำหนังเสือเฉวียงพระอังสา ผูก มณฑลชฎา ยกคานขึ้นเหนือพระอังสา ทรงถือธารพระกร สำหรับคนชรา เสด็จออกจากอาศรมทรงจงกรมกลับไปกลับ มา เพอ่ื ใหสริ ิแหง บรรพชติ เกดิ ข้ึน ลำดับน้ันความสุขอันยังไมเคยเกิดไดเกิดขึ้นแลว เปน ความสขุ ท่ีเกิดจากความปลอดโปรง ไมมคี วามกงั วลใดๆ ทรง เปลงอุทานขน้ึ วา การผนวชของเราเปน สุขอยางยิ่ง แลว เสดจ็ เขา สบู รรณศาลาประทบั นง่ั บนที่ลาดดว ยใบไม ทำอภญิ ญา ๕ และสมาบตั ิ ๘ ใหเกดิ ขนึ้ เสด็จออกจากบรรณศาลาในเวลา เย็น เก็บใบหมากเมาที่เกิดอยูใกลที่จงกรมนึ่งในภาชนะเสวย แลว เจริญพรหมวหิ าร ๔ สำราญพระอิรยิ าบถอยู ณ ทน่ี นั้ ฝา ยพระเจา กาสกิ ราช และพระอคั รมเหสี ไดท รงทราบ ขาวอันเปนมงคลน้ันแลวรีบเสด็จไปยังปาอันเปนท่ีประทับของ พระโพธิสัตว พระเตมียราชฤษีทรงตอนรับพระราชาดวยดี รับส่ังใหราชบุรุษปูลาดราชบัลลังกเพ่ือพระราชาประทับ แต พระเจา กาสกิ ราชหายอมประทบั ไม เพราะความเคารพในพระ ราชฤษี พระโพธสิ ัตวจ งึ รับสงั่ ใหร าชบุรษุ ปลู าดใบไมถวายพระ ราชา แตพระราชากไ็ มยอมประทบั อีก เพราะทรงเกรงพระทัย และเคารพ พระราชาประทบั นั่งบนแผน ดิน

อ. วศนิ อินทสระ ๓๓ พระเตมิยกุมารเขาสูบรรณศาลา นำใบหมากเมาออก มาถวายพระราชา จอมคนแหงแควนกาสีทอดพระเนตรแลว ตรัสวา “ดฉิ นั ไมบ รโิ ภคใบหมากเมา โภชนะของดฉิ นั ไมใ ชอ ยา ง น้ี ดฉิ ันบรโิ ภคขาวสกุ แหง ขาวสาลีอันเจือดวยมังสะสะอาด” ทรงหยิบใบหมากเมาใสฝาพระหัตถหนอยหนึ่งดวย ความเคารพในพระโพธิสตั วแ ลวตรัสถามวา “ทา นเสวยใบหมากเมานห่ี รือเปน อาหาร?” “นแ่ี หละมหาบพิตร เปนอาหารของอาตมาภาพ” แมพระองคเองจะไมเสวย แตก็ทรงสรรเสริญ๑ อาหาร ของพระโพธสิ ตั วว า หาไดง า ย ไมม โี ทษเปน ตน ประทบั นงั่ รบั สงั่ วาจาอันเปนทร่ี ักกบั พระโพธสิ ัตวอ ยู ขณะน้ันเอง พระนางจันทเทวีอันนางสนมแวดลอม แลวเสด็จมาจับพระบาททั้งสองแหงพระปโยรสราชฤษี ทรง กราบแลวกันแสง พระราชาทรงสงใบหมากเมาใหพระราชินี ทอดพระเนตร พลางตรัสวาน่ีแหละโภชนะของโอรสเรา เธอ ๑ ทำนองเดยี วกบั ฆราวาสผใู หญใ นเมืองเรา ไมบ รโิ ภคอาหารเลว แตเม่อื พระ ฉันอาหารเชน นนั้ ไดก น็ ยิ มเล่ือมใส – วศ.

พระพทุ ธบารมีในอดีต ๓๔ จงดูเถิด ทานอยูไดดวยโภชนะอยางน้ี ทรงประทานใบหมาก เมาแกพระนาง พระนางประทานใหแกสนมนารีอ่ืนๆ คนละ นดิ เพือ่ ดูเปนตวั อยาง นางสนมเหลานนั้ เลือ่ มใสยิ่งแลว นำใบ หมากเมาวางบนศีรษะแหงตนดวยความเคารพและกลาววา พระเตมยิ ราชฤษีทรงกระทำสิ่งท่ที ำไดยากอยา งยงิ่ พระโพธิสัตวม าอยูใ นปา ได ๔ วันแลว พระราชาและ พระราชนิ จี งึ เสดจ็ มาเฝา เหน็ พระราชโอรสผวิ พรรณผอ งใส แม จะเสวยเพียงใบหมากเมาก็ตาม ทรงประหลาดพระทัยยิ่ง จึง ตรสั ถามวา “ดิฉันอัศจรรยใจยิ่งนักวา เมื่อทานอยูในปาแตผูเดียว น่ังนอนบนที่ลาดดวยใบไม ฉันอาหารเพียงใบหมากเมา ไฉน ผิวพรรณจึงผองใส” พระโพธิสตั วตรสั ประกาศความขอ นัน้ วา “อาตมาภาพนอนรปู เดยี ว บนเครอื่ งลาดทที่ ำดว ยใบไม กองรักษาการของอาตมาภาพไมมี อาตมาภาพมีผิวพรรณ ผองใสเพราะนอนผูเดียวน้ัน และเพราะไมตามเศราโศกถึง อารมณท ล่ี ว งแลว ไมป รารถนาอารมณท ย่ี งั ไมม าถงึ ยงั อตั ตภาพ ใหเ ปนไปดว ยปจจุบนั ธรรม (วปิ ส สนา)”

อ. วศิน อนิ ทสระ ๓๕ “เพราะปรารถนาอารมณอ นั ยงั ไมม าถงึ เพราะตามเศรา โศกถึงอารมณอันลวงแลว คนพาลท้ังหลายยอมเหือดแหงซูบ ผอมดจุ ไมอ อ สดทีบ่ ุคคลตดั แลว ทง้ิ ไวก ลางแดด” สมเด็จพระราชบิดายังทรงอาลัยในพระโพธิสัตวอยู มี ความปรารถนาจะอภเิ ษกพระราชโอรสไวในราชสมบัติ จงึ ทรง เช้อื เชิญโดยนำราชสมบตั ิมาลอวา “หากพระราชฤษีจะพอพระทัยในการครองราชย ดิฉันจะมอบใหซึ่งกองชาง, รถ, มา และพลเดินเทาทั้งปวง พระราชนเิ วศนส ถานอนั นา รนื่ รมย นางในทส่ี วยประดบั ประดา ดวยสรรพาภรณใหทรงอภิรมยตอชีวิตหนุมเสียกอน แลวจึง คอยบวชในภายหลัง” พระหนอ พทุ ธะจึงตรัสตอบพระราชบดิ าวา “กุลบุตรควรรีบประพฤติพรหมจรรยเสียตั้งแตยังเปน หนุม ลกั ษณะนีท้ า นผแู สวงหาคณุ อนั ยิง่ ใหญทงั้ หลายสรรเสริญ อาตมาภาพพอใจในการประพฤติพรหมจรรย หาพอใจในสมบตั ิ ไม คนทั้งหลายทั้งบุรุษและสตรีโดยมากยังไมทันแกก็ตายแลว ใครจะถอื วสิ าสะตอ ชวี ติ ไมไ ดว า เรายงั หนมุ ยงั ไกลตอ ความตาย อายขุ องบคุ คลนอ ยนกั วนั คนื ลว งไปชวี ติ กส็ น้ั เขา ไมผ ดิ อะไรกบั ชีวิตของปลาทั้งหลายในหนองที่มีน้ำนอย สัตวโลกถูกชราและ

พระพทุ ธบารมีในอดตี ๓๖ มรณะหอ มลอ มครอบงำอยเู ปน นติ ย อาตมาภาพจงึ ไมป รารถนา ราชสมบัติ เพราะมนั ตา นทานความชราและมรณะไมไ ด” “วนั คนื ลว งไป มไิ ดล ว งไปเปลา ยอ มทำใหอ ายผุ วิ พรรณ และกำลังสิ้นไปดวย ขอพระองคทรงทราบเถิดวา เมื่อผาใน หูกท่ีชางหูกทอ ทอไปไดเทาใด สวนที่เหลือก็มีนอย ฉันใด ชวี ิตของสตั วท งั้ หลายท่ีเหลืออยกู น็ อ ยฉนั นนั้ แมน ำ้ ทเ่ี ตม็ มแี ต ไหลลงยอมไมไหลกลับ อายุของมนุษยท้ังหลายมีแตลวงไปๆ ไมถอยหลังกลับเลย ความแกและความตายยอมพัดพาเอา ชวี ติ ของสตั วท งั้ หลายไป เหมอื นนำ้ หลากพดั เอาตน ไมท เี่ กดิ อยู ริมฝง ใหโคน ลง” เมอ่ื พระราชาทรงออนวอนอกี พระโพธิสัตวจ ึงตรัสวา “พระราชบิดาอยาใหอาตมาภาพตองเสื่อม (จาก คุณธรรม) เพราะทรัพยส มบัติเลย ความเปนหนุม ลงทายดว ย ความคร่ำคราเพราะชรา ประโยชนอะไรดวยบุตรและภรรยา ในโลกน้ี อาตมาภาพเปนผพู นแลว จากเคร่อื งผกู ทัง้ ปวง ความ ตายไมเ วนใครไวเลย จะตอ สูดวยกองทัพใดๆ กไ็ มไ ด กองทพั เหลาน้ันไมมีในมรณสงคราม เพราะฉะน้ันบุคคลจึงควรรีบ ทำความเพียรเผาบาปเสียแตในวันนี้ทีเดียว ใครจะรูไดวาพรุง นี้จะตายหรือไม เราจะผัดเพี้ยนดวยมัจจุราชผูมีเสนาใหญนั้น มิไดเลย อาตมาภาพปรารถนาพรหมจรรยย่ิงกวาอยางอื่น ทง้ั หมด”

อ. วศิน อนิ ทสระ ๓๗ พระ ราชา และ ราช บริษัท บังเกิด ความ เล่ือมใส ใน ธรรมกถาของพระโพธิสัตว ประกอบดวยความรักที่มีอยูใน พระราชโอรส จงึ ทรงสละราชสมบัติออกผนวชมีขา ราชบริพาร ออกบวชตามจำนวนมากมาย สวนพระราชินีและสนมนารี ทั้งหลายก็บวชเปนดาปสินี ยังอภิญญาและสมาบัติใหเกิดข้ึน แลว ไดมองเหน็ คุณคาแหง ชีวิตอยางแทจรงิ พระศาสดาทรงเลาเรื่องนี้จบแลว ตรัสย้ำเปน นิคมพจนวา “ภิกษุทั้งหลาย! เราตถาคตสละราชสมบัติ ออกมหาภิเนษกรมณในกาลนี้กห็ าไม แมใ นกาลกอ นเม่ือเปน โพธสิ ัตวอ ยู เรากเ็ คยสละมาแลว” ภกิ ษุท้ังหลายฟงแลว บันเทงิ ใจเปนที่ยิง่ จบเร่ืองพระเตมยี 

พระพุทธบารมีในอดตี เร่อื งที่ ๒ พระมหาชนก

อานุภาพแหง่ ความเพยี ร** และเนกขมั มบารมี พระมหาชนก “เราเห็นทางดำเนนิ ของโลกอยู และเหน็ คุณของความเพยี ร แมมองไมเห็นฝง กพ็ ยายามวา ยอยทู า มกลางมหาสมุทร” ** นา สังเกตวา ตามเร่ืองน้ี ทรงปรารภเร่อื งการเสียสละราชสมบตั ิออกผนวช มิไดป รารภเรือ่ งความเพยี ร – วศ.

พระพทุ ธบารมีในอดีต ๔๐ ความเบอื้ งต้น ณ เชตวันมหาวิหาร วนั หนึ่งภกิ ษทุ งั้ หลายประชมุ กันที่ ธรรมสภา ปรารภเรอื่ งมหาภเิ นษกรมณ (การออกทรงผนวช) หรือเนกขัมมบารมีของพระบรมศาสดาวา เปนการเสียสละ อนั ยงิ่ ใหญ พระผูมีพระภาคเจาเสด็จมาทรงทราบความแลวจึง ตรัสวา แมใ นกาลกอ นกเ็ สดจ็ ออกผนวชเพ่อื คณุ อันยิง่ ใหญมา แลว เหมอื นกัน ดังนแ้ี ลว ตรัสเลา เรือ่ ง พระมหาชนกโพธสิ ัตว* ดงั ตอ ไปนี้ * เร่ืองพระมหาชนก ปรากฏในพระสุตตันตปฎ ก ขทุ ทกนกิ าย ชาดก มหา นิบาต พระไตรปฎกเลมท่ี ๒๘ ขอ ๔๔๒ – ๔๘๑ และอรรถกถาแหงมหานิบาต ชาดก รายละเอียดจากอรรถกถาแหง มหาชนกชาดกนัน้ ไดยอความใหส ั้นเขา ตัดบางสวนออก คงไวเทาท่ีเห็นจำเปน ทา นผูสนใจรายละเอียด โปรดอานจาก อรรถกถาชาดกแปล เลม ๖๓ ฉบบั ของมหามกุฏราชวิทยาลัย – วศ.

อ. วศนิ อินทสระ ๔๑ ตระกูลของพระมหาชนก พระมหาชนกโพธิสัตว เปนพระราชโอรสของพระ เจาอริฏฐชนก แหงนครมิถิลา* เช่ืออำมาตยยุยงใหแตก กับพระอนุชา คือ พระโปลชนกจับพระอนุชาไปขังไว แต พระอนชุ าหนรี อดไปได รวบรวมผคู นในปจ จนั ตชนบท ไดก ำลงั มากแลว กลบั มายดึ นครมถิ ลิ าได พระเจา อรฏิ ฐชนกสนิ้ พระชนม ในสนามรบ สวนพระมเหสี ซึ่งกำลังมีครรภหนีรอดไปไดโ ดย การปลอมพระองค เดินทางไปเมืองกาลจัมปากะ(๑) ประสูติ พระราชโอรสทน่ี นั่ คอื พระมหาชนกโพธสิ ตั ว เมอื่ ทรงเจรญิ วยั * เมืองหลวงของแควน วิเทหะ ขอความในมหาโควนิ ทสตู รวา มหาโควนิ ทะ สถาปนกิ ใหญ เปน ผสู รา งเมอื งมถิ ลิ า มชี อ่ื เสียงมากอ นพุทธกาล ปจ จบุ ันคอื เมอื งชนกปรู (เมอื งพระชนก) เปน เมืองเล็กๆ อยใู นเขตประเทศเนปาล (๑) เมืองหลวงของแควนองั คะ หา งจากกรุงมถิ ิลาไป ๖๐ โยชน มีทาง เกวียนไปได ในคมั ภรี บาลีเรียกเมอื งนว้ี า จมั ปาหรอื จมั ปกะเปนสว นมาก ตั้งอยู รมิ ฝงแมนำ้ จมั ปา. อรรถกถาอังคตุ รนกิ ายเลา วา พระโสณะ โกิวิสะ ผเู ลิศทาง ทำความเพียรก็เกิดที่นครนี้เปนนครหน่ึงที่พระอานนททูลใหพระผูมีพระภาค เสดจ็ ไปปรินพิ พาน แสดงวา เปน เมืองใหญ เทียบกนั ไดกบั ราชคฤห, สาวัตถี, สาเกต, โกสัมพี และพาราณสี ณ นครน้ีมสี ระใหญอ ยูสระหนง่ึ คอื คคั ครา โปกขรณี ซงึ่ พระราชนิ ีคคั ครารบั สัง่ ใหขดุ พระพุทธองคเ สด็จประทบั ณ ริมสระ นบี้ อ ยคร้ัง เมอื่ เสดจ็ เมอื งจัมปา บางแหงวา ที่ชอื่ เมืองจัมปา เพราะมตี น จมั ปกะ มาก มหาโควินทะ สถาปนิกเปน ผูสรางเมอื งนอ้ี ีกเหมือนกัน จมั ปกะ คือตนจำปานั่นเอง (the champac tree, Michelia cham- paca) พจนานกุ รมไทยอธิบายวา เปนตนไมขนาดใหญใ นวงศ Magnoliaceae ดอกสีเหลอื งอมสม กลีบดอกใหญยาว มีหลายกลีบ กล่นิ หอม

พระพทุ ธบารมใี นอดตี ๔๒ ทรงทราบพระประวัติของพระองคเองแลว อาศัยทรัพยสินที่ พระมารดาติดพระองคมาเปนตนทุนไปคาขายทางเรือ คิดวา เมอ่ื ไดท รัพย ไดกำลังคนแลว จะไปยึดเมอื งมิถิลากลับมา แต เรือแตกเสียในมหาสมุทร คนทั้งหลายยอมตายโดยไมพยายาม เพราะคิดวา พยายามไปกไ็ รผ ล แตพ ระโพธสิ ตั วผ ยู ง่ิ ดว ยความเพยี ร ไมย อม ยอทอ ลองพยายามดู วายอยู ๗ วัน จนมเี ทพธิดาประจำสมุทร มาชว ย เทพธิดาจะมาชวยจริงหรือไมก็ตาม แตผลของความ เพียรน้ันมีอยู นักปราชญทั้งหลายสรรเสริญความเพียรวา เปนส่ิงควรทำ เมื่อทำไป แมทีแรกๆ จะมองไมเห็นฝงแหง ความสำเร็จ แตในท่ีสุดเทพธิดาแหงความสำเร็จยอมปรากฏ ใหเห็น ขอเลา ยอ นหลงั เลก็ นอ ย เพอื่ ใหเ ขา ใจเรอื่ งชดั เจนขน้ึ คอื เมื่อพระมเหสีของพระเจาอริฏฐชนกเดินทางไปเมืองจัมปาน้ัน เนอื่ งจากไมเคยเสดจ็ ไปไหนมากอนเลย จึงเสดจ็ ไปประทับรอ อยูที่ศาลาแหงหน่ึงคอยตรัสถามวามีใครเดินทางไปเมืองจำปา บา งจะไดอาศยั ไปดวย

อ. วศิน อนิ ทสระ ๔๓ เน่อื งจากพระโอรสในครรภข องพระนางเปนผมู บี ุญ มี บารมอี นั ไดบ ำเพญ็ มาดแี ลว จงึ ไดม ผี ชู ว ยเหลอื *ใหเ ดนิ ทางไปถงึ เมอื งจำปาไดส ะดวกโดยเกวยี นทเ่ี ขาขบั ไปถงึ เมอื งจำปาในเวลา เยน็ พระนางไดน ง่ั อยทู ศ่ี าลาแหง หนงึ่ ไดพ ราหมณท ศิ าปาโมกข ผูหนึ่งเห็นพระนางแลวรูสึกรักเหมือนนองสาวทราบเร่ืองราว แลว จงึ นำไปบานของตน บอกลูกศษิ ยวาเปน นองสาวแทๆ ที่ จากกนั ไปนาน อยทู น่ี น่ั ไมน าน พระนางกป็ ระสตู พิ ระราชโอรส ทรงขนานพระนามเหมอื นพระอยั กาคือ “มหาชนก” เมื่อเจริญวัยไดทรงทราบพระประวัติของพระองคจาก พระมารดาแลว มีพระประสงคจะไปคาขายรวบรวมทรัพยสิน และผคู นเพอื่ ไปยดึ ราชสมบตั คิ นื จากพระเจา อาคอื พระโปลชนก แตเ รอื แตกเสียกอ นดังกลา วมาแลว สถานท่ีซ่งึ จะเสดจ็ ไปคา ขายนน้ั ในชาดกกลาววา เปน เมืองสวุ รรณภูมิ ซ่ึงสันนษิ ฐานกันวา ไดแกดนิ แดนแหลมทอง ซง่ึ มอี าณาเขตกวา งขวาง ครอบคลมุ พมา (เมยี นมา ร) ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มลายูและสิงคโปร เมอื่ เรอื แตกในมหาสมทุ ร คนทง้ั หลายรอ งไหค รำ่ ครวญ ออ นวอนเทวดาทัง้ หลายของตนๆ แตพระมหาชนกโพธสิ ตั วไ ม ทรงครำ่ ครวญ ไมอ อ นวอนเทวดา เมือ่ ทรงทราบวา เรือจะจม * ในชาดกวาเปนทา วสักกเทวราช ปลอมพระองคเ ปน พราหมณแกขับเกวียนมา ถามวา ใครจะไปเมอื งจำปาบาง

พระพทุ ธบารมใี นอดีต ๔๔ แนแลว ก็ทรงคลุกน้ำตาลกรวดกับเนย เสวยจนเต็มทองแลว เอาผา เนอ้ื เกลยี้ ง ๒ ผนื ชบุ นำ้ มนั จนชมุ ทรงนงุ อยา งมน่ั คงแลว เกาะเสากระโดงเรือไว เสดจ็ ข้นึ ยอดเสากระโดง ประทับยืนที่ ยอดเสา ขณะทม่ี หาชนเปน ภกั ษาแหง ปลารา ย นำ้ โดยรอบเปน สเี ลอื ด พระโพธสิ ตั วก ำหนดวา เมอื งมถิ ลิ าอยทู ศิ ใดแลว กระโดด จากยอดเสากระโดง ลวงพน อาณาเขตของฝูงปลาเพราะทรงมี กำลังมาก ทา นเลา ไวว า วนั น้ันเอง พระเจา โปลชนก มอี าการ ปว ยหนกั บรรทมแลว เสด็จลกุ ขึ้นไมไ ด (นา จะเปน อมั พาต) สวรรคตในวันนน้ั พระโพธสิ ัตวว ายน้ำอยู ๗ วัน จนนางมณีเมขลามา พบเขา นางคดิ วา ถา ไมช วยผูมคี ุณธรรมและมีคณุ สมบัตเิ ชน น้ีนอกจากนางจะเดอื ดรอนใจแลว นางอาจถกู ทำโทษไมให เขาเทวสมาคมอีกตอไป นางตั้งใจชวย แตข อถามอะไรๆ เสยี กอ น ทรงสนทนากับนางมณเี มขลา ตอไปน้เี ปนคำสนทนาระหวางพระมหาชนกโพธิสตั วกับ เทพธดิ าเมขลาประจำมหาสมทุ ร

อ. วศิน อนิ ทสระ ๔๕ ถาม : นใ่ี ครนะ เมอ่ื แลไมเ หน็ ฝง ก็ยังพยายามวา ยนำ้ อยทู า มกลางมหาสมทุ ร ทา นรเู หน็ ประโยชนอ ยา งไรจงึ พยายาม วายอยเู ชนน้ี ตอบ : เราพจิ ารณาเห็นปฏิปทา (ทางดำเนนิ หรอื วตั ร) ของโลกอยแู ละเหน็ คณุ ของความเพยี ร แมไ มเ หน็ ฝง กพ็ ยายาม วายอยูทา มกลางมหาสมทุ ร ถาม : ในมหาสมทุ รอนั ลกึ ประมาณมไิ ด ฝง มไิ ดป รากฏ แกท า นความพยายามของทา นกส็ ญู เปลา ยงั ไมท นั ถงึ ฝง ทา นก็ คงตายเสียกอน ตอบ : บคุ คลเม่ือทำความเพียร ทำกิจของบรุ ุษอยู แม จะตายกช็ อ่ื วา เปน ผไู มม หี นก้ี บั ญาตพิ นี่ อ ง พอ แมแ ละเทวดาและ จะไมเ ดอื ดรอ นภายหลงั ดว ย ถาม : การงานใด (เม่ือรูวา) ไมอ าจใหสำเร็จไดด วย ความพยายาม (อปารเณยยฺ )ํ การงานนน้ั กไ็ มม ผี ลอะไร เหนอ่ื ย แรงเปลา การทำความเพียรในฐานะอันไมสมควรจนตัวตาย ก็ไมมีประโยชน ตอบ : ผูใดรูวาการงานท่ีทำไมอาจใหลุลวงไปไดดวย ความพยายาม ก็ไมพึงรักษาชีวิตของตนไว (คือยอมตาย เสียดีกวา) ถาเขาละทิ้งความเพียรเสีย ก็จะไดรูผลของความ เกยี จครา น (ในกาลภายหนา ) คนบางพวกในโลกน้ี ตอ งการผล แหง ความประสงคข องตน จงึ ประกอบการงานทงั้ หลาย การงาน

พระพุทธบารมใี นอดีต ๔๖ นัน้ จะสำเร็จหรอื ไมกต็ าม ทานกเ็ หน็ ผลแหง การกระทำ (ของ ขา พเจา) ประจกั ษแลวมิใชหรอื ? คนอน่ื ๆ จมลงในมหาสมทุ ร เหลอื ขา พเจา ผเู ดยี ววา ยขา มอยู และมโี อกาสไดเ หน็ ทา นมาสถติ อยู ณ ทีใ่ กล ขา พเจา จกั พยายามเรื่อยไปตามสตั ตกิ ำลงั (ยถา สตฺต*ิ ยถาพลํ) จกั ทำความเพยี รเทาทบ่ี รุ ุษจะพึงทำ ไปใหถ งึ ฝงมหาสมุทรจงได เทพธิดาฟงแลว สรรเสรญิ วา “ทานเปนผูสมบูรณดวยความพยายามโดยธรรม ไม จมลงในหวงมหรรณพอันลึกประมาณมไิ ดเ หน็ ปานนี้ ดวยกรรม คือความเพียรของตน ทานจงไปยังสถานที่ท่ีใจของทานยินดี เถิด” เทพธิดาถามพระโพธิสัตวมหาชนกวาจะไปท่ีใด ทาน ตอบวาจะไปยังกรุงมิถิลา นางจึงอุมพระโพธิสัตวเหมือนยก กำดอกไม ใชแ ขนประคองใหนอนจนแนบทรวง พาเหาะไปใน อากาศเหมือนอุม ลกู รัก พระโพธิสตั วม ีสรรี ะเศราหมองเพราะ น้ำเค็มมา ๗ วัน ไดรับสัมผัสทิพยก็หลับไปในออมแขนของ เทพธดิ า เมอื่ มาถึงกรุงมถิ ลิ าแลว ใหบรรทม ณ สวนมะมว ง มอบใหเ ทพเจาในสวนมะมวงคอยอารักขาตอไป * ๑. สตตฺ ิ แปลวา กำลงั เหมือนกัน อำนาจทั้ง ๓ ท่ีเรียกวา สตฺติ หรือ ศกตฺ ิ คือ (๑) ปภาโว หมายถงึ อานภุ าพ (dignity) (๒) อตุ ฺสาโห หมายถงึ กำลัง ทนทาน (energy) (๓) มนฺตํ หมายถึงการปรกึ ษาหารอื (counsel) ๒. สตั ติ แปลวา หอก ก็มี แปลวา นก กม็ ี

อ. วศิน อนิ ทสระ ๔๗ ทรงครองราชย์ ตอ มา พระมหาชนกโพธสิ ตั วไ ดค รองราชยใ นกรงุ มถิ ลิ า อนั เปน ราชสมบตั เิ ดมิ ของพระชนกของพระองคน นั่ เอง ดว ยการ ใชสตปิ ญ ญาแกปญ หาตา งๆ ของพระนางสีวลีราชธิดา เมอ่ื ไดค รองราชยแ ลว ทรงอนสุ รณถ งึ ความเพยี รทท่ี รง กระทำมา ทรงดำรวิ า ถา ไมท ำความเพยี รในมหาสมทุ รกค็ งไมไ ด ราชสมบัตินี้ เกิดปติ โสมนสั ซาบซาน ทรงเปลงอุทานวา บุคคลผูเปนบัณฑิต พึงหวังเขาไว ไมพึงเบ่ือหนาย เราไดเหน็ ตวั เองเปน ตัวอยา งแลว หวงั อยา งใด ไดเ ปน อยา ง น้ันแลว เราขึ้นบกไดตามปรารถนา เปนพระราชาไดตาม ตองการ ผูมีปญญาแมประสบทุกขก็ไมพึงส้ินหวังในความ สขุ คนเปน อนั มากถกู ความทกุ ขก ระทบกระทง่ั แลว กท็ ำสงิ่ อนั ไมเ ปน ประโยชน เมอื่ มคี วามสขุ จงึ จะทำสงิ่ อนั เปน ประโยชน คนเหลาน้ันไมไดตรึกถึงขอน้ี จึงตองตาย สิ่งที่มิไดคิดไว อาจเปน ไดม ีได ส่ิงท่คี ิดไวอ าจพนิ าศได โภคะของหญิงหรือ ชายมิไดสำเร็จเพราะเหตุเพียงแตคิดเอา (จึงควรทำความ เพียรเพ่ือความสำเร็จ, สิ่งท่ีมิไดคิดไวอาจสำเร็จไดแกผูมี ความเพียร)

พระพทุ ธบารมใี นอดตี ๔๘ พระมหาชนกโพธิสัตว ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม บำรงุ พระปจ เจกพทุ ธเจา ทง้ั หลายอยเู นอื งนติ ย* ตอ มาพระนาง สีวลี อัครมเหสีของพระมหาชนกประสูติพระราชโอรส ซ่ึง สมบูรณดวยลักษณะแหงผูมั่งค่ังและผูมีบุญ มีพระนามวา ฑีฆาวุกุมาร เม่ือเจริญวัยแลวไดรับการอภิเษกเปนอุปราช ปรากฏวาครองราชยอยูถงึ ๗,๐๐๐ ป (เจ็ดพันป) ** เหตุเตือนพระทัย วนั หนงึ่ พระมหาชนกไดร ับผลไมนอยใหญและดอกไม หลากสีซ่ึงคนเฝาพระราชอุทยานนำมาถวาย ทรงชื่นชม ยนิ ดี ตรัสกับคนเฝา พระราชอุทยานวา จะเสด็จประพาส ขอ ใหตกแตงอุทยานใหดี คนเฝาราชอุทยานรับพระราชบัญชา ตกแตง พระราชอุทยานแลว กราบทลู ใหทรงทราบ เสดจ็ ประพาสพระราชอทุ ยานโดยมชี า งเปน ราชพาหนะ พรอ มดว ยขา ราชบรพิ ารหมใู หญ ถงึ ประตูพระราชอุทยาน ณ ท่นี นั้ มตี นมะมว งใหญ ๒ ตน สวยงามมีใบเขยี วชอมุ เหมือน * พระปจ เจกพทุ ธเจา : พระพทุ ธเจาตรสั รเู ฉพาะตน (Individual Buddha) ไมต้ังศาสนา บังเกิดขน้ึ ในพทุ ธนั ดร (a Buddha – interval; the period be- tween the appearance of one Buddha and the next.) คือชว งวางระหวา ง พระพุทธเจา องคห น่ึงกบั อกี องคห น่ึง ** สมัยน้ัน มนษุ ยม ีอายุขยั หนง่ึ หม่นื ป

อ. วศนิ อินทสระ ๔๙ กนั ตา งกนั แตเ พยี งตนหนึ่งมผี ลอีกตน หน่ึงไมมผี ล ตน ทีม่ ีผล นน้ั มรี สเลศิ แตไ มม ใี ครกลา เกบ็ กนิ เพราะพระราชายงั มไิ ดเ สวย พระราชาเก็บผลหน่ึงเสวยบนคอชาง เพียงพอถึงปลายพระ ชวิ หาเทานนั้ ทรงรสู กึ ซาบซา นปานประหนึ่งไดท รงล้มิ รสทิพย ทรงดำริวา จะเสวยใหเ ต็มทีเ่ มอ่ื เสดจ็ กลับจากพระราชอุทยาน คนทั้งหลายอ่ืน ต้ังแตอุปราชลงมาจนถึงคนเล้ียงชาง เลี้ยงมา เห็นวาพระราชาเสวยแลวก็พากันเก็บเสวยและกิน ตามปรารถนาจนหมดตน บางคนตอ งการผล แตห กั กานราน กงิ่ มะมว งยบั เยนิ ไปหมด สว นมะมว งอกี ตน หนงึ่ ตง้ั อยอู ยา งสงา งามเหมอื นเดมิ เมื่อเสด็จกลับออกมาจากพระราชอุทยาน ทอด พระเนตรเหน็ ความแตกตางแหง ตน มะมวง ๒ ตน เชนน้นั จงึ ตรัสถามวา เพราะเหตุไร? มหาอำมาตยไดกราบทูลใหทรง ทราบตามเปน จริงแลวทรงรำพงึ ดว ยความสังเวชพระทยั วา “ตนมะมวงตน หน่งึ ยงั เขยี วสดอยูเพราะไมม ีผล อีกตน หน่งึ ถกู หักกานรานก่ิงใบรว งหลน เพราะมผี ล ราชสมบัตเิ ปน เชน ตน ไมม ผี ล การบวชเปน เชน กบั ตน ไมไ มม ผี ล (ไมถ กู รบกวน ไมต องกงั วล - วศ.) ภัยยอมมีแกผูม คี วามกงั วล, ไมม ีแกผูไ มมี ความกังวล เราจักเปนเชนตนไมไมมีผล สละราชสมบัติออก ผนวช”


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook