Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 3 พว32023 ม

ชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 3 พว32023 ม

Published by s_ec0236, 2018-12-21 02:25:42

Description: ชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 3 พว32023 ม

Search

Read the Text Version

1

2 ชดุ วชิ า การใชพ้ ลงั งานไฟฟ้าในชีวติ ประจาวัน 3 รายวชิ าเลือกบงั คับ ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย รหัส พว32023 หลกั สตู รการศกึ ษานอกระบบระดับการศึกษาขนั้ พนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย สานักงานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศกึ ษาธิการ

3 คานา ชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจาวัน 3 รหัสวิชา พว32023 ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ใช้ได้กับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ชุดวิชานี้ประกอบด้วยเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า ตลอดจนการใช้และการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ซ่ึงเน้ือหาความรู้ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียน กศน. มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และตระหนักถึงความจาเปน็ ของการใชพ้ ลงั งานไฟฟ้าในชีวติ ประจาวนั สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ขอขอบคุณการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ท่ีให้การสนับสนุนองค์ความรู้ประกอบการนาเสนอเนื้อหาและงบประมาณ รวมทั้งผู้มีส่วนเก่ียวข้องในการจัดทาชุดวิชา หวังเป็นอย่างย่ิงว่าชุดวิชานี้ จะเกิดประโยชน์ตอ่ ผ้เู รยี น กศน. และนาไปสู่การใช้พลงั งานไฟฟ้าอย่างเหน็ คุณค่าตอ่ ไป สานกั งาน กศน. เมษายน 2559

4 คาแนะนาการใช้ชุดวิชา ชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจาวัน 3 รหัสวิชา พว32023 ใช้สาหรับนักศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบง่ ออกเป็น 2 สว่ น คือ ส่วนที่ 1 โครงสร้างของชุดวิชา แบบทดสอบก่อนเรียน โครงสร้างของหน่วยการเรียนรู้เน้อื หาสาระ กจิ กรรมเรยี งลาดบั ตามหนว่ ยการเรียนรู้ และแบบทดสอบหลงั เรยี น ส่วนท่ี 2 เฉลยแบบทดสอบและกิจกรรม ประกอบด้วย เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลงั เรียน เฉลย/แนวตอบกจิ กรรมทา้ ยเรื่องเรยี งลาดบั ตามหน่วยการเรียนรู้วธิ กี ารใชช้ ดุ วิชา ใหผ้ ูเ้ รยี นดาเนินการตามข้ันตอน ดงั น้ี 1. ศึกษารายละเอียดโครงสร้างชุดวิชาโดยละเอียด เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนต้องเรียนรู้เน้ือหาในเรอ่ื งใดบา้ งในรายวชิ าน้ี 2. วางแผนเพ่ือกาหนดระยะเวลาและจัดเวลาท่ีผู้เรียนมีความพร้อมที่จะศึกษาชุดวิชาเพื่อให้สามารถศึกษารายละเอียดของเน้ือหาได้ครบทุกหน่วยการเรียนรู้ พร้อมทากิจกรรมตามที่กาหนดให้ทันกอ่ นสอบปลายภาค 3. ทาแบบทดสอบก่อนเรียนของชุดวิชาตามที่กาหนด เพ่ือทราบพ้ืนฐานความรู้เดิมของผู้เรียน โดยให้ทาลงในสมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้และตรวจสอบคาตอบจากเฉลยแบบทดสอบเฉลย/แนวตอบกจิ กรรมทา้ ยเล่ม 4. ศึกษาเน้ือหาในชุดวิชาในแต่ละหน่วยการเรียนรู้อย่างละเอียดให้เข้าใจ ท้ังในชุดวิชาและสื่อประกอบ (ถา้ มี) และทากิจกรรมทีก่ าหนดไว้ใหค้ รบถ้วน 5. เม่ือทากิจกรรมเสร็จแต่ละกิจกรรมแล้ว ผู้เรียนสามารถตรวจสอบคาตอบได้จากเฉลยแนวตอบท้ายเล่ม หากผู้เรียนยังทากิจกรรมไม่ถูกต้องให้ผู้เรียนกลับไปทบทวนเน้ือหาสาระในเรื่องนน้ั ซ้าจนกว่าจะเข้าใจ 6. เมอื่ ศกึ ษาเน้ือหาสาระครบทุกหน่วยการเรยี นรูแ้ ลว้ ให้ผ้เู รียนทาแบบทดสอบหลังเรียนและตรวจคาตอบจากเฉลยท้ายเล่มว่าผู้เรียนสามารถทาแบบทดสอบได้ถูกต้องทุกข้อหรือไม่ หาก

5ขอ้ ใดยังไม่ถูกตอ้ ง ให้ผูเ้ รียนกลบั ไปทบทวนเน้ือหาสาระในเรื่องนั้นให้เข้าใจอีกครั้งหนึ่ง ผู้เรียนควรทาแบบทดสอบหลังเรียนให้ได้คะแนนมากกว่าแบบทดสอบก่อนเรียน และควรได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของแบบทดสอบทั้งหมด (หรือ 24 ข้อ) เพ่ือให้ม่ันใจว่าจะสามารถสอบปลายภาคผ่าน 7. หากผู้เรียนได้ทาการศึกษาเนื้อหาและทากิจกรรมแล้วยังไม่เข้าใจ ผู้เรียนสามารถสอบถามและขอคาแนะนาได้จากครูหรอื แหล่งค้นคว้าเพิม่ เตมิ อ่นื ๆหมายเหตุ : การทาแบบทดสอบก่อนเรยี น - หลังเรยี น และกิจกรรมทา้ ยเร่ือง ใหท้ าและ บนั ทกึ ลงในสมุดบันทึกกจิ กรรมการเรยี นรู้ประกอบชุดวิชาการศกึ ษาคน้ ควา้ เพมิ่ เตมิ ผู้เรียนอาจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น หนังสือเรียนรายวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจาวัน รหัสรายวิชา พว02027 การศึกษาจากอินเทอร์เน็ตพิพธิ ภัณฑ์ นทิ รรศการ โรงไฟฟา้ หนว่ ยงานที่เกย่ี วขอ้ งกับไฟฟา้ และการศกึ ษาจากผ้รู ู้ เปน็ ตน้การวดั ผลสัมฤทธทิ์ างการเรียน ผเู้ รียนตอ้ งวัดผลสมั ฤทธิท์ างการเรียน ดงั นี้ 1. ระหว่างภาค วัดผลจากการทากิจกรรมหรืองานท่ีได้รับมอบหมายระหว่างเรียนรายบคุ คล 2. ปลายภาค วัดผลจากการทาข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาค

6 โครงสรา้ งชุดวิชาสาระการเรยี นรู้ สาระความร้พู ืน้ ฐานมาตรฐานการเรยี นรู้ มาตรฐานท่ี 2.2 มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเก่ียวกับคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรฐานการเรียนรู้ มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเห็นคุณค่าเก่ียวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถ่ิน ประเทศและโลก สาร แรง พลังงาน กระบวนการเปล่ียนแปลงของโลก และดาราศาสตร์ มจี ติ วิทยาศาสตรแ์ ละนาความร้ไู ปใชป้ ระโยชน์ในการดาเนินชีวติผลการเรยี นรทู้ ่ีคาดหวงั อธิบาย ออกแบบ วางแผน ทดลอง ทดสอบ ปฏิบัติการเร่ืองไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม แบบขนาน แบบผสม ประยุกต์และเลือกใช้ความรู้และทักษะอาชีพช่างไฟฟ้าให้เหมาะสมกับด้านบริหารจดั การและการบริการเพื่อนาไปสู่การจดั ทาโครงงานวิทยาศาสตร์สาระสาคัญ พลงั งานไฟฟา้ เป็นปัจจยั ท่สี าคญั ในการดาเนนิ ชวี ติ และการพฒั นาประเทศ ความต้องการใช้พลงั งานไฟฟา้ ของประเทศไทยมีแนวโนม้ เพม่ิ สงู ขึ้นอย่างต่อเน่อื ง ในปัจจุบันการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศยังคงพ่ึงพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นเช้ือเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซ่ึงเช้ือเพลิงดังกล่าวกาลังจะหมดไปในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นเพื่อเป็นการลดปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในอนาคต จึงต้องมีการจัดหาพลังงานทดแทนเพื่อใช้เป็นพลังงานสาหรับผลิตกระแสไฟฟ้าแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล และกระจายการใช้เช้ือเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าให้มีความหลากหลายเพื่อให้เกิดความสมดุลในการผลิตพลังงานไฟฟ้าให้มากข้ึน นอกจากนี้ยังต้องช่วยกันประหยัดพลังงานไฟฟ้า ใช้พลังงานไฟฟ้าให้คุ้มค่าที่สุด เพ่ือให้มีพลังงานไฟฟ้าใช้ต่อไปในอนาคตได้อีกยาวไกล

7ขอบขา่ ยเน้ือหา หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 1 พลงั งานไฟฟ้า หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 2 การผลิตไฟฟ้า หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อปุ กรณไ์ ฟฟ้าและวงจรไฟฟ้า หน่วยการเรยี นรู้ที่ 4 การใชแ้ ละการประหยัดพลงั งานไฟฟ้าสื่อประกอบการเรียนรู้ 1.หนงั สอื เรียนรายวชิ าเลอื ก การใชพ้ ลังงานไฟฟ้าในชวี ิตประจาวัน พว02027 2. ชดุ วิชาการใชพ้ ลังงานไฟฟา้ ในชวี ิตประจาวนั 3 รหัสวชิ า พว32023 3. สมุดบันทึกกจิ กรรมการเรียนรู้ ท่ีใชป้ ระกอบชดุ วชิ าการใช้พลังงานไฟฟ้าใน ชวี ติ ประจาวนั 3 4. วดี ิทัศน์ 5. สอ่ื เสริมการเรียนรอู้ ่ืน ๆจานวนหน่วยกิต 3 หน่วยกติ (120 ช่วั โมง)กจิ กรรมการเรียนรู้ 1. ทาแบบทดสอบกอ่ นเรียน ตรวจสอบคาตอบจากเฉลยท้ายเล่ม 2. ศกึ ษาเนอ้ื หาสาระในหนว่ ยการเรยี นรู้ทุกหนว่ ย 3. ทากจิ กรรมตามที่กาหนดและตรวจสอบคาตอบจากเฉลยท้ายเล่ม 4. ทาแบบทดสอบหลังเรียนและตรวจสอบคาตอบจากเฉลยท้ายเล่มการประเมนิ ผล 1. ทาแบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน 2. ทากจิ กรรมในแตล่ ะหน่วยการเรียนรู้ 3. เขา้ รบั การทดสอบปลายภาค

8สารบญัคานา หนา้คาแนะนาการใช้ชดุ วิชาโครงสรา้ งชุดวชิ า 1สารบัญ 3หน่วยการเรยี นรู้ที่ 1 พลังงานไฟฟ้า 6 21 เรอื่ งท่ี 1 การกาเนิดของไฟฟ้า 26 เรื่องที่ 2 สถานการณ์พลงั งานไฟฟ้าของประเทศไทย ประเทศในอาเซยี น และโลก 27 เรื่องที่ 3 หนว่ ยงานท่ีเกย่ี วขอ้ งดา้ นพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย 67หน่วยการเรยี นรู้ที่ 2 การผลติ ไฟฟา้ 77 เรอ่ื งท่ี 1 เชอ้ื เพลงิ และพลังงานท่ใี ช้ในการผลิตไฟฟา้ 78 เรื่องที่ 2 โรงไฟฟ้ากบั การจดั การดา้ นสิง่ แวดลอ้ ม 89หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 3 อปุ กรณ์ไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้า 94 เร่อื งที่ 1 อุปกรณ์ไฟฟ้า 97 เร่อื งที่ 2 วงจรไฟฟ้า 98 เรือ่ งที่ 3 สายดินและหลักดนิ 105หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 4 การใช้และการประหยัดพลงั งานไฟฟ้า 125 เรอ่ื งท่ี 1 กลยทุ ธ์การประหยัดพลงั งานไฟฟา้ 3 อ. 136 เรื่องที่ 2 การเลือกซ้ือ การใช้ และการดูแลรกั ษาเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน 138 เรื่องท่ี 3 การวางแผนและการคานวณค่าไฟฟา้ ในครัวเรอื น 140เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน 163เฉลยแบบทดสอบหลังเรยี น 173เฉลย/แนวตอบกิจกรรมท้ายเรอ่ื งบรรณานุกรมคณะผจู้ ัดทา

1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พลังงานไฟฟ้าสาระสาคัญ พลังงานไฟฟ้ามีกาเนิดหลายลักษณะ ซ่ึงก่อให้เกิดพลังงานที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ เช่น ความร้อน แสงสว่าง เป็นต้น โดยการได้มาซ่ึงพลังงานไฟฟ้าจะต้องอาศัยเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ในปัจจุบันเช้ือเพลิงจากฟอสซิลยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในการผลิตไฟฟา้ และมีแนวโน้มจะหมดไปในระยะเวลาอันใกล้ แต่ทุกประเทศมีแนวโน้มการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มข้ึนอยา่ งตอ่ เนอื่ ง ตามอัตราการขยายตวั ของภาคครัวเรือน เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และบริการจึงเป็นเหตุผลให้ทุกประเทศต้องมีการวางแผนการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการและเกิดความม่ันคงทางพลังงานไฟฟ้า สาหรับประเทศในกลุ่มอาเซียนนอกจากจะมีแผนในการจัดการกับความมัน่ คงทางพลงั งานไฟฟ้าแล้ว ยงั มกี ารวางแผนการผลิตและการใช้พลังงานไฟฟ้าร่วมกัน โดยมกี ารเชื่อมโยงโครงข่ายระบบไฟฟา้ ในระดบั ภูมิภาค การบรกิ ารด้านพลงั งานไฟฟ้าของประเทศไทยจะมหี นว่ ยงานทีร่ ับผดิ ชอบดูแลตัวชี้วดั 1. บอกการกาเนดิ ของไฟฟา้ 2. บอกสัดส่วนเช้ือเพลิงท่ีใช้ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ประเทศในกลมุ่ อาเซยี นและโลก 3. ตระหนักถึงสถานการณ์ของเชือ้ เพลงิ ทใี่ ชใ้ นการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 4. วิเคราะหส์ ถานการณพ์ ลงั งานไฟฟ้าของประเทศไทย 5. เปรียบเทียบสถานการณ์พลงั งานไฟฟา้ ของประเทศไทย ประเทศในกลุ่มอาเซยี นและโลก 6. อธิบายองค์ประกอบในการจัดทาแผนพัฒนากาลังการผลติ ไฟฟา้ ของประเทศไทย (PDP) 7. ระบุชื่อและสังกดั ของหนว่ ยงานท่เี ก่ยี วขอ้ งด้านพลงั งานไฟฟา้ ในประเทศไทย 8. อธิบายบทบาทหน้าท่ขี องหนว่ ยงานท่เี ก่ยี วขอ้ งดา้ นพลงั งานไฟฟา้ 9. แนะนาบริการของหนว่ ยงานท่ีเกยี่ วข้องดา้ นพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยขอบข่ายเนอื้ หา เรื่องที่ 1 การกาเนิดของไฟฟา้ เรอ่ื งท่ี 2 สถานการณ์พลงั งานไฟฟ้าของประเทศไทย ประเทศในกลุ่มอาเซยี น และโลก เรื่องที่ 3 หน่วยงานท่ีเก่ียวข้องดา้ นพลังงานไฟฟา้ ในประเทศไทย

2เวลาที่ใชใ้ นการศกึ ษา 15 ชว่ั โมงสือ่ การเรยี นรู้ 1. ชดุ วชิ าการใชพ้ ลังงานไฟฟ้าในชวี ิตประจาวัน 3 รหัสวิชา พว32023 2. วีดทิ ัศน์ เร่ือง ทาไมค่าไฟฟ้าแพง เรอ่ื ง ไฟฟ้าซ้อื หรอื สร้าง เรอ่ื ง ขุมพลงั อาเซยี น

3เร่ืองท่ี 1 การกาเนดิ ของไฟฟา้ ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคาว่า “ไฟฟ้า” ไว้ว่า “พลังงานรูปหนึ่งซึ่งเก่ียวข้องกับการแยกตัวออกมา หรือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือโปรตอนหรืออนุภาคอื่นที่มีสมบัติแสดงอานาจคล้ายคลึงกับอิเล็กตรอนหรือโปรตอน ที่ก่อให้เกิดพลังงานอ่ืน เช่น ความร้อนแสงสว่าง การเคลื่อนที่ ”เป็นต้น โดยการกาเนิดพลังงานไฟฟ้าท่สี าคัญ ๆ มี 5 วิธี ดังนี้ 1. ไฟฟ้าทเ่ี กดิ จากการเสียดสีของวัตถุ เป็นไฟฟ้าที่เกิดข้ึนจากการนาวัตถุต่างกัน 2 ชนิดมาขัดสีกัน เช่น จากแท่งยางกับผ้าขนสัตว์ แท่งแก้วกับผ้าแพร แผ่นพลาสติกกับผ้า และหวีกับผมเป็นต้น ผลของการขดั สีดังกล่าวทาใหเ้ กดิ ความไม่สมดลุ ขนึ้ ของประจุไฟฟ้าในวตั ถุทั้งสอง เนื่องจากเกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้า วัตถุท้ังสองจะแสดงศักย์ไฟฟ้าออกมาต่างกัน วัตถุชนิดหนึ่งแสดงศักย์ไฟฟ้าบวก (+) ออกมา วัตถุอีกชนิดหนึ่งแสดงศักย์ไฟฟ้าลบ (-) ออกมา ซึ่งเรียกว่า“ไฟฟ้าสถติ ” ดงั ภาพ แท่งยาง ภาพอปุ กรณ์ไฟฟ้าทเี่ กิดจากการเสียดสขี องวตั ถุ 2. ไฟฟ้าท่ีเกิดจากการทาปฏิกิริยาทางเคมี เป็นไฟฟ้าที่เกิดจากการนาโลหะ 2 ชนิดท่แี ตกตา่ งกัน โลหะท้งั สองจะทาปฏิกิริยาเคมีกับสารละลายอิเล็กโทรไลท์ ซึ่งปฏิกิริยาทางเคมีแบบนี้เรียกว่า “โวลตาอิกเซลล์” เช่น สังกะสีกับทองแดงจุ่มลงในสารละลายอิเล็กโทรไลท์ จะเกิดปฏิกริ ยิ าเคมที าใหเ้ กดิ ไฟฟ้าดังตัวอย่างในแบตเตอรี่ และถา่ นอัลคาไลน์ (ถ่านไฟฉาย) เป็นต้น

4 แบตเตอรี่ ถ่านอลั คาไลน์ 1.5 โวลต์ ถ่านอลั คาไลน์ 9 โวลต์ ภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าทเ่ี กดิ จากการทาปฏิกริ ยิ าทางเคมี3. ไฟฟ้าท่ีเกิดจากความร้อน เป็นไฟฟ้าท่ีเกิดข้ึนจากการนาแท่งโลหะหรือแผ่นโลหะต่างชนิดกัน 2 แท่ง โดยนาปลายด้านหนึ่งของโลหะท้ังสองต่อติดกันด้วยการเชื่อมหรือยึดด้วยหมุดปลายทเี่ หลอื อกี ด้านนาไปต่อกับมิเตอร์วัดแรงดัน เมื่อให้ความร้อนท่ีปลายด้านต่อติดกันของโลหะทั้งสอง ส่งผลให้เกิดการแยกตัวของประจุไฟฟ้าเกิดศักย์ไฟฟ้าขึ้นท่ีปลายด้านเปิดของโลหะ แสดงค่าออกมาทมี่ เิ ตอร์ ภาพการตอ่ อปุ กรณ์ให้เกดิ ไฟฟ้าจากความรอ้ น 4. ไฟฟ้าท่ีเกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยสามารถสร้างเซลล์แสงอาทิตย์(Solar Cell) ที่ทาหน้าที่เปล่ียนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้ เช่น นาฬิกาข้อมือ เคร่ืองคิดเลข เป็นต้น แต่ค่าใช้จ่ายในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ค่อนขา้ งสูง

5 ภาพเซลล์แสงอาทิตยท์ ีใ่ ชใ้ นการผลิตไฟฟ้าของเขอ่ื นสิรินธร จังหวดั อบุ ลราชธานี 5. ไฟฟ้าท่ีเกิดจากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าท่ีได้มาจากพลังงานแม่เหล็กโดยวธิ ีการใช้ลวดตัวนาไฟฟ้าตัดผ่านสนามแม่เหล็ก หรือการนาสนามแม่เหล็กวิ่งตัดผ่านลวดตัวนาอย่างใดอย่างหน่ึง ทั้งสองวิธีนี้จะทาให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในลวดตัวนาน้ัน กระแสที่ผลิตได้มีทั้งกระแสตรงและกระแสสลับภาพ อปุ กรณ์กาเนดิ ไฟฟ้าจากพลงั งานแมเ่ หล็กไฟฟา้ นอกจากน้ี ไฟฟ้ายงั มกี าเนดิ จากวธิ อี นื่ ๆ อีก เชน่ ไฟฟ้าจากแรงกดอัด โดยอาศัยผลึกของสารบางชนิด ท่ีมีคุณสมบัติทาให้เกิดไฟฟ้าได้เมื่อได้รับแรงกดอัด กระแสไฟฟ้าจะมากหรือน้อยขึ้นกับแรงท่ีกด กระแสไฟฟ้าท่ีได้จะมีกาลังต่า จึงนามาใช้ได้กับอุปกรณ์บางประเภท เช่นไมโครโฟน หัวเข็มแผน่ เสยี ง เปน็ ตน้กจิ กรรมทา้ ยเรื่องที่ 1 การกาเนิดของไฟฟา้(ให้ผเู้ รยี นไปทากิจกรรมเรอ่ื งท่ี 1 ท่ีสมุดบันทกึ กิจกรรมการเรียนรู้)

6เร่ืองท่ี 2 สถานการณพ์ ลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ประเทศในกลุ่มอาเซียน และโลก ปัจจุบันการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ท่ัวโลกเพิ่มสูงขึ้นอยา่ งต่อเนื่อง โดยเชอ้ื เพลงิ หลักทีน่ ามาใช้ในการผลิตไฟฟ้า คือ เช้ือเพลิงฟอสซิล เร่ิมลดลงเร่ือย ๆดังนั้นหากผู้ใช้พลังงานไฟฟ้ายังไม่ตระหนักถึงสาเหตุดังกล่าว จนอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟา้ ในอนาคตอันใกล้ จงึ จาเปน็ ตอ้ งเข้าใจถึงสถานการณ์พลังงานไฟฟ้า และแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าในอนาคต ในเรื่องที่ 2 ประกอบดว้ ย 3 ตอน คอื ตอนท่ี 1 สถานการณ์พลงั งานไฟฟ้าของประเทศไทย ตอนที่ 2 สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของประเทศในกล่มุ อาเซียน ตอนที่ 3 สถานการณ์พลงั งานไฟฟ้าของโลกตอนท่ี 1 สถานการณ์พลงั งานไฟฟา้ ของประเทศไทย พลังงานไฟฟา้ เปน็ ปัจจยั ท่ีสาคัญในการดาเนินชวี ิตและการพัฒนาประเทศ ที่ผ่านมาความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยเพิ่มข้ึนอย่างต่อเนื่องประมาณร้อยละ 4 - 5 ต่อปี ซ่ึงสอดคล้องกับจานวนประชากรท่ีเพ่ิมขึ้นและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันพลังงานไฟฟ้าได้เข้ามามีบทบาทต่อการดารงชีวิตประจาวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมท้ังเป็นปัจจัยสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2557 ประเทศไทยมีการใช้ไฟฟ้าเป็นอันดับท่ี 24ของโลก ซึ่งเป็นที่น่ากังวลว่าพลังงานไฟฟ้าจะเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตหรือไม่ดังน้นั ความมน่ั คงทางพลังงานไฟฟา้ จงึ มีประเดน็ สาคญั ทปี่ ระชาชนทกุ คนควรรู้ ดงั นี้ 1. สัดสว่ นการผลิตไฟฟ้าจากเช้ือเพลงิ ประเภทตา่ ง ๆ ของประเทศไทย การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยมีการใช้เช้ือเพลิงท่ีหลากหลาย ซ่ึงได้มาจากแหล่งเช้ือเพลิงท้ังภายในและภายนอกประเทศ จากข้อมูลปี พ.ศ. 2558 พบว่า ประเทศไทยมีการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 69.19 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด รองลงมา คือถ่านหินนาเข้าและถ่านหินในประเทศ (ลิกไนต์) ร้อยละ 18.96 พลังงานหมุนเวียน ร้อยละ 11.02น้ามนั เตาและน้ามนั ดเี ซล ร้อยละ 0.75 และมีการนาเขา้ ไฟฟ้าจากมาเลเซีย รอ้ ยละ 0.07

7 ท่ีมา : การไฟฟา้ ฝ่ายผลติ แห่งประเทศไทย, ธันวาคม 2558 แผนภูมิสดั ส่วนเชอ้ื เพลิงที่ใช้ในการผลติ ไฟฟ้าของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558 แม้ว่าในปัจจุบันการผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศไทยจะเพียงพอและสามารถรองรับความต้องการได้ แต่ในอนาคตยังคงมีความเส่ียงต่อความม่ันคงทางพลังงานไฟฟ้าค่อนข้างสูงเน่ืองจากประเทศไทยมีการพ่ึงพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้ามากเกินไป โดยก๊าซธรรมชาติที่นามาใชผ้ ลิตไฟฟา้ ของประเทศไทยมาจาก 2 แหล่งหลัก ๆ คือ แหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยประมาณร้อยละ 60 ซ่ึงจากการคาดการณ์ปริมาณก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้วในอ่าวไทย ข้อมูลณ ปี พ.ศ. 2557 มีเหลือใช้อีกเพียง 5.7 ปี เท่าน้ัน ส่วนที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 40 นาเข้ามาจากเมยี นมาร์ โดยมาจากแหลง่ ยาดานาและเยตากนุ จากการท่ปี ระเทศไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากเกินไปจึงทาให้เกิดปัญหาอย่างต่อเน่ืองทุกปี เม่ือแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติมีปัญหาหรือต้องหยุดการผลิตเพื่อการซอ่ มบารงุ หรือในกรณขี องทอ่ ส่งก๊าซธรรมชาตเิ กิดความเสียหาย ทาให้ไม่สามารถส่งก๊าซธรรมชาติได้ ส่งผลให้กาลังการผลิตไฟฟ้าส่วนหนึ่งหายไป เช่น ในช่วงระหว่างวันท่ี 5 - 14 เมษายนพ.ศ. 2556 เมียนมาร์ได้หยุดทาการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา เพื่อบารุงรักษาตามวาระได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เน่ืองจากโรงไฟฟ้าท่ีใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งดังกล่าวของเมียนมาร์ เช่น โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ โรงไฟฟ้าพระนครใต้โรงไฟฟ้าวังน้อย เป็นต้น ต้องหยุดการผลิตไฟฟ้า ทาให้กาลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหายไปร้อยละ 25 ของกาลังการผลิตไฟฟ้าในแต่ละวัน ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความ

8ต้องการไฟฟ้าสูงสุดท่ีได้คาดการณ์ไว้ ทาให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต้องจัดทามาตรการรับมือไว้หลายด้าน เช่น การประสานงานขอซ้ือไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน การนาน้ามันมาใช้เป็นเช้ือเพลิงสาหรับโรงไฟฟ้าท้ังหมดท่ีสามารถเดินเครื่องด้วยน้ามันได้ เป็นต้น ซ่ึงในกรณีท่ีนาน้ามันมาใช้เป็นเชื้อเพลิงอาจทาให้ราคาค่าไฟสูงข้ึน เพราะต้นทุนค่าเช้ือเพลิงท่ีนามาใช้มีราคาสูง นอกจากนยี้ งั ได้มกี ารประชาสัมพนั ธร์ ณรงคใ์ หป้ ระชาชนประหยัดพลังงาน เพ่ือให้สามารถผ่านพ้นช่วงวกิ ฤตไปได้ ดังนนั้ การสร้างความมั่นคงทางพลงั งานไฟฟ้า ประเทศไทยจึงควรพิจารณาการเลือกใช้เช้อื เพลงิ ในการผลิตไฟฟา้ โดยคานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ 1) ต้องมปี รมิ าณเช้อื เพลิงสารองเพียงพอและแน่นอนเพื่อความมั่นคงในการจดั หา 2) ต้องมีการกระจายชนิดและแหล่งท่ีมาของเชื้อเพลิง เช่น การใช้ถ่านหิน หรือพลงั งานทางเลอื กใหม้ ากข้นึ เป็นตน้ 3) ต้องเป็นเชื้อเพลิงทม่ี ีราคาเหมาะสมและมีเสถยี รภาพ 4) ต้องเป็นเช้ือเพลิงท่ีเม่ือนามาผลิตไฟฟ้าแล้ว สามารถควบคุมมลพิษให้อยู่ในระดับมาตรฐานคุณภาพทีส่ ะอาดและยอมรับได้ 5) ต้องใช้ทรัพยากรพลังงานภายในประเทศที่มอี ย่อู ยา่ งจากัดให้เกิดประโยชนส์ ูงสุด 2. การใชไ้ ฟฟ้าในแตล่ ะช่วงเวลาในหนึ่งวนั ของประเทศไทย การเลือกใช้เช้ือเพลิงมาผลิตไฟฟ้า นอกจากการพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วน้ัน อีกปัจจัยสาคัญท่ีต้องนามาพิจารณาด้วย คือ ประเภทของโรงไฟฟ้าท่ีต้องการในระบบให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลา เพ่ือความมีประสิทธิภาพของระบบและต้นทุนค่าไฟฟ้าท่ีเหมาะสม เพราะโรงไฟฟ้าแต่ละประเภทมีความเหมาะสมในการผลิตไฟฟ้าในแตล่ ะช่วงเวลาท่ีต่างกัน และโรงไฟฟ้าแตล่ ะประเภทก็มีการใช้เชือ้ เพลงิ ที่แตกต่างกนั ดว้ ย ดังภาพ

โรงไฟฟา้ ฐาน 9 ระดับ 3 ระดับ 2 ระดับ 1โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ความต้องการไฟฟา้ สูงสุดเดินเครื่องตลอด 24 ชวั่ โมงราคาถูก พลงั น้า นา้ มนั ความตอ้ งการไฟฟ้าปานกลาง ก๊าซธรรมชาติ พลงั งานทดแทน ความต้องการไฟฟา้ พ้ืนฐาน (โรงไฟฟา้ ฐาน) ก๊าซธรรมชาติ ลกิ ไนต์ ภาพการใช้ไฟฟ้าแต่ละชว่ งเวลาในหนงึ่ วนั กล่าวคือ การใช้ไฟฟ้าแต่ละช่วงเวลาในหน่ึงวันของประเทศไทย มีปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าไม่สม่าเสมอ โดยความต้องการไฟฟ้าสูงสุดจะเกิด 3 ช่วงเวลา คือเวลา 10.00 – 11.00 น. เวลา 14.00 –15.00 น. และเวลา 19.00 –20.00 น. และความต้องการใชไ้ ฟฟ้าในแตล่ ะวันจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดงั น้ี ระดับ 1 ความต้องการไฟฟ้าพื้นฐาน (Base Load) เป็นความต้องการใช้ไฟฟ้าต่าสุดของแต่ละวัน ซึ่งในแต่ละวันจะต้องผลิตไฟฟ้าไม่ต่ากว่าความต้องการในระดับน้ี โดยโรงไฟฟ้าที่ใช้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าตามความต้องการไฟฟ้าพื้นฐานจะเรียกว่า “โรงไฟฟ้าฐาน” ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่และต้องเดินเครื่องอยู่ตลอดเวลา จึงควรเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เช้ือเพลิงราคาถูกเป็นลาดับแรกได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนท่ีใช้ถ่านหินเป็นเช้ือเพลิง โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ใช้กา๊ ซธรรมชาตเิ ป็นเช้ือเพลงิ และโรงไฟฟ้าพลงั งานนวิ เคลียร์ ระดับ 2 ความต้องการไฟฟ้าปานกลาง (Intermediate Load) เป็นความต้องการใช้ไฟฟา้ มากขึ้นกว่าความต้องการพื้นฐานแต่ก็ยังไม่มากถึงระดับสูงสุด โรงไฟฟ้าท่ีผลิตพลังงานไฟฟ้าช่วงท่ีมีความต้องการไฟฟ้าปานกลางควรเดินเคร่ืองโรงไฟฟ้าตลอดเวลาเหมือนกับโรงไฟฟ้าชนิดแรก แต่สามารถเพ่ิมหรือลดกาลังการผลิตได้ โดยการป้อนเช้ือเพลิงมากหรือน้อยข้ึนกับความตอ้ งการ เชน่ โรงไฟฟ้าพลงั ความรอ้ นรว่ มทใี่ ชก้ า๊ ซธรรมชาตเิ ปน็ เช้อื เพลงิ พลังงานทดแทน เปน็ ตน้ ระดับ 3 ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak Load) เป็นความต้องการใช้ไฟฟ้าบางช่วงเวลาเท่าน้ัน สาหรับโรงไฟฟ้าท่ีผลิตไฟฟ้าในช่วงท่ีมีความต้องการนี้จะทาการเดินเคร่ืองผลิต

10ไฟฟ้าในช่วงเวลาท่ีมีความต้องการไฟฟ้าสูงสุดเท่าน้ัน และเป็นโรงไฟฟ้าท่ีเดินเครื่องแล้วสามารถผลิตไฟฟา้ ได้ทนั ที เช่น โรงไฟฟ้ากงั หันก๊าซทใี่ ชน้ ้ามันดีเซลเป็นเช้ือเพลิง โรงไฟฟ้าพลังน้า โรงไฟฟ้าพลงั น้าแบบสบู กลับ เปน็ ต้น 3. สภาพปจั จบุ นั และแนวโนม้ การใชพ้ ลังงานไฟฟา้ กาลังการผลติ ไฟฟา้ ของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2558 มจี านวนรวมท้ังสิ้น 38,774 เมกะวัตต์แบ่งเป็นกาลังการผลิตภายในประเทศ 35,387 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 91.26 และกาลังผลิตที่มีสัญญาซ้ือไฟฟ้าจากต่างประเทศอีก 3,387 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 8.74 โดยมีความต้องการไฟฟา้ สูงสดุ ท่ี 27,346 เมกะวตั ต์ ซง่ึ ความต้องการไฟฟ้ามแี นวโน้มเพ่ิมขึ้นทุกปีตามสภาพภูมิอากาศจานวนประชากรทีเ่ พ่ิมสงู ขนึ้ และการขยายตัวทางเศรษฐกจิ และอตุ สาหกรรม

11 ภาพการใช้พลงั งานไฟฟา้ ของประเทศไทย จากภาพ จะเห็นได้ว่า การใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2558 มีการใช้พลังงานไฟฟ้า 183,288 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2557 ร้อยละ 3.2 เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าเกือบทุกประเภทมีการใช้ไฟฟ้าตามภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีข้ึน โดยภาคอุตสาหกรรม มีการใช้ไฟฟ้ามากท่ีสุด ถึงร้อยละ 45 รองลงมาคือ ภาคครัวเรือน ร้อยละ 22 ภาคธุรกิจ ร้อยละ 19 ภาคกิจการขนาดเล็ก ร้อยละ 11 และอ่ืน ๆ ร้อยละ 3 จากการประมาณการภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าในปี พ.ศ. 2559 เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 3.7 สานักงานนโยบายและแผนพลังงานจึงประมาณความต้องการพลังงานไฟฟ้าของประเทศภายใตส้ มมติฐานดังกลา่ ว ซ่ึงไดม้ ีการคาดการณ์วา่ ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในปี พ.ศ. 2559อยู่ที่ 28,470 เมกะวัตต์ หรือเพ่ิมขึ้นร้อยละ 4.1 และจากการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าของประเทศในอีก 20 ปีข้างหน้า พบว่า ประเทศไทยจะมีความต้องการใช้ไฟฟ้าขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2579 ความต้องการพลังงานไฟฟ้ารวมสุทธิ 326,119 ล้านหน่วยและมีความต้องการไฟฟ้าสูงสุดสุทธิ 49,655 เมกะวัตต์

12 4. แผนพฒั นากาลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (Power Development Plan :PDP) แผนพัฒนากาลังการผลิตไฟฟ้า คือ แผนแม่บทในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ว่าด้วยการจดั หาพลงั งานไฟฟา้ ในระยะยาว 15 – 20 ปี เพื่อสร้างความมั่นคงและความเพียงพอต่อความต้องการใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปัจจุบันใช้แผนพัฒนากาลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2558 - 2579 (PDP 2015)ซงึ่ เปน็ แผนฉบับล่าสดุ และเปน็ แผนที่สอดคล้องกบั แผนอนุรักษพ์ ลังงาน ที่มีเป้าหมายเพื่อประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ซ่ึงการจัดทาแผน PDP ต้องจัดทาค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าของประเทศ เพ่ือนาค่าพยากรณ์ความตอ้ งการไฟฟ้าจดั ทาแผนการกอ่ สร้างโรงไฟฟ้าใหเ้ พยี งพอในอนาคตตอ่ ไป การจดั ทาคา่ พยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าของประเทศนั้น ใช้ค่าประมาณการแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจระยะยาว อัตราการเพ่ิมของประชากร และมีการประยุกต์ใช้แผนการอนุรกั ษ์พลังงาน รวมทง้ั พจิ ารณากรอบของแผนพัฒนาและพลังงานทางเลือกด้วย สาหรับกรอบในการจดั ทาแผนพัฒนากาลังการผลติ ไฟฟ้าประเทศไทย มีดงั นี้ 1) ด้านความมั่นคงทางพลังงาน (Security) ต้องจัดหาไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าและใช้เชื้อเพลิงหลากหลาย รวมท้ังมีความเหมาะสมเพ่ือลดความเสี่ยงจากการพงึ่ พาเช้อื เพลงิ ชนิดใดชนดิ หนง่ึ มากเกินไป 2) ด้านเศรษฐกิจ (Economy) ต้องคานึงถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสมและคานึงถึงการใช้ไฟฟา้ อยา่ งมีประสทิ ธิภาพในภาคเศรษฐกจิ ตา่ ง ๆ 3) ด้านส่ิงแวดล้อม (Ecology) ต้องลดผลกระทบที่เกิดข้ึนกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยเฉพาะเปา้ หมายในการปลดปลอ่ ยกา๊ ซคารบ์ อนไดออกไซด์ตอ่ หนว่ ยการผลติ ไฟฟ้า

13 • • • • ภาพปัจจัยทตี่ ้องคานงึ ถึงในการจดั ทาแผนพัฒนากาลังการผลติ ไฟฟา้ ของประเทศ (PDP) จากกรอบแผนพัฒนากาลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ท่ีใช้เป็นแนวทางในการจัดทาแผนพัฒนากาลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2558 - 2579 (PDP 2015) ซึ่งได้วางแผนกาลังการผลิตไฟฟ้าในอีก 20 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2579) เพื่อให้กาลังการผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการในปี พ.ศ. 2579 จะต้องมีกาลังการผลิตเพิ่มข้ึนจาก 37,612 เมกะวัตต์เปน็ 70,335 เมกะวตั ต์ โดยมีการกระจายสดั สว่ นการใชเ้ ชอื้ เพลิงในการผลิตพลงั งานไฟฟา้ ตารางสดั สว่ นการใชเ้ ชอื้ เพลงิ ตามแผนพฒั นากาลงั การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2558 – 2579 ดเี ซล / นา้ มันเตา ท่ีมา : สานกั งานนโยบายและแผนพลงั งาน

14ตอนท่ี 2 สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของประเทศในกลมุ่ อาเซียน อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association ofSoutheast Asian Nation : ASEAN) เป็นองค์กรท่ีก่อต้ังข้ึนเพ่ือสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนามาซึ่งเสถียรภาพทางการเมืองและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวกันและเป็นฐานการผลิตร่วมที่มีศกั ยภาพในการแขง่ ขันทางการค้ากบั ภมู ิภาคอ่ืน ๆ ของโลก ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 10 ประเทศแบ่งออกเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์สิงคโปร์ และประเทศไทย ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม อาเซียนถือเป็นภูมิภาคท่ีมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจท่ีรวดเร็ว ทาให้ความต้องการพลังงานไฟฟา้ เพม่ิ สูงขนึ้ อย่างต่อเนื่อง ดังนนั้ เพือ่ เปน็ การเตรียมพร้อมรบั มือกับสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าท่ีกาลงั จะเกิดขนึ้ จงึ จาเปน็ ตอ้ งมีความรคู้ วามเขา้ ใจถึงสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน เพื่อจะได้เลือกใช้ทรัพยากรพลังงานได้อย่างเหมาะสมและสามารถสารองพลงั งานใหเ้ พียงพอกับความตอ้ งการใช้ในอนาคต อาเซียน เป็นภูมิภาคที่มีทรัพยากรพลังงานมากและมีความหลากหลาย โดยกระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั้งน้ามัน ก๊าซธรรมชาติ พลังน้า และถ่านหิน โดยทางตอนเหนือของภูมิภาคได้แก่ ประเทศเมียนมาร์ ลาว และเวียดนาม มีแหล่งน้ามากที่มีศักยภาพในการนาน้ามาใช้ผลิตไฟฟ้า ส่วนตอนกลางและตอนใต้ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ไทย กัมพูชา บรูไน และอินโดนีเซีย มีแหลง่ ก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีแหลง่ ถ่านหนิ ในประเทศไทย มาเลเซยี และอนิ โดนีเซยี ดว้ ย สัดส่วนการผลิตไฟฟา้ จากเชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ ของประเทศในกลมุ่ อาเซียน จากความหลากหลายของทรัพยากรพลังงานที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน จึงทาให้แต่ละประเทศมีนโยบายและเป้าหมายทางด้านพลังงานไฟฟ้าท่ีแตกต่างกัน โดยสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของประเทศในกลุ่มอาเซียนจะแตกต่างกันขึ้นกับทรัพยากรพลังงานของประเทศน้ัน ๆ โดยประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติมากท่ีสุด รองลงมา คือ ถ่านหิน พลังน้า น้ามัน และพลังงานทดแทน ตามลาดับสาหรับสัดสว่ นการใชเ้ ชอื้ เพลงิ ผลติ ไฟฟา้ ของแตล่ ะประเทศในกลมุ่ อาเซยี น ปี พ.ศ. 2557 ดังภาพ

15 ทมี่ า : The World Bank-World Development Indicators ภาพสัดส่วนการใชเ้ ชื้อเพลิงในการผลติ ไฟฟา้ ของประเทศในกลุ่มอาเซียน ปี พ.ศ. 2557 1) เมียนมาร์ (สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร)์ เมียนมาร์ เป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ท่ีสาคัญ คือ ก๊าซธรรมชาติและน้ามัน นอกจากน้ียังมีแหล่งน้าที่มีศักยภาพในการนาน้ามาใช้ผลิตไฟฟ้าอีกด้วย ดังน้ันสัดส่วนเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของเมียนมาร์จึงมาจากพลังน้าและก๊าซธรรมชาติ โดย ในปีพ.ศ. 2557 มีการผลิตไฟฟ้าท้ังสิ้น 8,910 ล้านหน่วย ส่วนใหญ่มาจากพลังน้า ร้อยละ 71.2รองลงมา คือ ก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 22.3 ถ่านหิน ร้อยละ 6.3 และอนื่ ๆ ร้อยละ 0.2 2) กัมพูชา (ราชอาณาจกั รกมั พชู า) กัมพูชา มีแหล่งเช้ือเพลิงท่ีสาคัญ คือ พลังงานชีวมวล แต่เนื่องจากพลังงานดังกล่าวไม่เหมาะสมที่จะนามาใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2557 มีการผลิตไฟฟ้าท้ังสิ้น 1,220 ล้านหน่วย ส่วนใหญ่ผลิตจากน้ามัน ร้อยละ 48.4 และพลังน้า ร้อยละ 34.4รองลงมา คือ พลังงานความร้อนใต้พภิ พ รอ้ ยละ 13.1 ถา่ นหิน รอ้ ยละ 2.5 และอ่ืน ๆ ร้อยละ 1.6 3) เวยี ดนาม (สาธารณรฐั สังคมนิยมเวยี ดนาม) เวียดนาม มแี หลง่ พลังงานทสี่ าคัญ คือ น้ามัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน นอกจากน้ียังมีแหล่งน้าที่มีศักยภาพในการนาน้ามาใช้ผลิตไฟฟ้าด้วย ดังน้ันสัดส่วนเชื้อเพลิงหลักในการผลิต

16ไฟฟ้าของเวียดนามจึงมาจากพลังน้า ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน โดยในปี พ.ศ. 2557 มีการผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 140,670 ล้านหน่วย ส่วนใหญ่ผลิตจากพลังน้า ร้อยละ 38.5 และก๊าซธรรมชาติร้อยละ 35.4 รองลงมา คือ ถ่านหิน ร้อยละ 20.9 น้ามัน ร้อยละ 5.1 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.1เวียดนามเป็นประเทศท่ีจาเป็นต้องเพิ่มกาลังการผลิตไฟฟ้าในปริมาณมาก เพ่ือรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการเพ่ิมกาลังการผลิตจากถ่านหินและพลังงานนิวเคลียร์ ทั้งน้ีเวียดนามมีแผนสรา้ งโรงไฟฟา้ พลงั งานนิวเคลียร์เป็นแห่งแรกในอาเซียน พร้อมท้ังมีแผนจะพัฒนาทุ่งกังหันลม(Wind farm) นอกชายฝัง่ แหง่ แรกในเอเชียดว้ ย 4) ลาว (สาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว) ลาวมสี ภาพภูมิประเทศท่ีมแี มน่ า้ หลายสายไหลผ่าน จึงทาให้ลาวอุดมไปด้วยพลังงานจากน้า ดังนั้นสัดส่วนเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของประเทศลาวจึงมาจากพลังน้า โดยในปีพ.ศ. 2557 มีการผลิตไฟฟ้าทั้งส้ิน 10,130 ล้านหน่วย โดยการผลิตเกือบท้ังหมดมาจากพลังน้าถึงรอ้ ยละ 90.7 รองลงมา คอื ถา่ นหิน ร้อยละ 6.2 และน้ามนั ร้อยละ 3.1 5) มาเลเซยี (สหพนั ธรฐั มาเลเซยี ) มาเลเซีย มีแหลง่ พลังงานที่สาคญั คือ ก๊าซธรรมชาติ โดยในปี พ.ศ. 2557 มีการผลิตไฟฟ้าท้ังส้ิน 122,460 ล้านหน่วย ถือเป็นประเทศที่มีกาลังการผลิตไฟฟ้าเป็นอันดับ 3 ของกลุ่มประเทศอาเซยี น โดยเป็นการผลิตจากก๊าซธรรมชาติมากที่สุด ร้อยละ 43.2 รองลงมา คือ ถ่านหินร้อยละ 39.2 น้ามัน ร้อยละ 9.0 พลังน้า ร้อยละ 6.8 และอ่ืน ๆ ร้อยละ 1.9 อย่างไรก็ตามมาเลเซียกาลังเผชิญกับภาวะปริมาณสารองก๊าซธรรมชาติค่อย ๆ ลดลง จึงมีแผนลดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติลง โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้ถ่านหิน ซึ่งต้องมีการนาเข้าถ่านหินและพยายามกระจายแหล่งนาเข้าถ่านหินจากหลาย ๆ ประเทศ นอกจากนี้ยังมีแผนกระจายแหล่งเช้ือเพลิงให้หลากหลายมากขึ้น ทั้งมีการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน และมีแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลงั งานนวิ เคลยี ร์ 6) อินโดนเี ซยี (สาธารณรัฐอินโดนเี ซีย) อินโดนีเซยี เป็นประเทศท่ีมีแหล่งเช้ือเพลิงจานวนมาก ท้ังก๊าซธรรมชาติ น้ามัน และถ่านหิน เนื่องจากมีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเกาะและมีภูเขาไฟ จึงทาให้มีทรัพยากรดังกล่าวมากกว่าประเทศอ่ืนในกลุ่มประเทศอาเซียน สาหรับการผลิตไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2557 มีการผลิตไฟฟ้าท้ังสิ้น 194,160 ล้านหน่วย ถือเป็นประเทศที่มีกาลังการผลิตไฟฟ้าเป็นอันดับ 1 ของกลุ่ม

17ประเทศอาเซยี น โดยเปน็ การผลิตจากถ่านหินมากที่สุด ร้อยละ 49.2 รองลงมา คือ น้ามัน ร้อยละ22.5 กา๊ ซธรรมชาติ ร้อยละ 19.8 พลังน้า ร้อยละ 7.0 พลังงานความร้อนใต้พิภพ ร้อยละ1.4 และอน่ื ๆ ร้อยละ 0.1 อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ต้องเพ่ิมกาลังการผลิตไฟฟ้าตามความต้องการท่ีมากข้ึนเพ่ือสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีแผนการกระจายเช้ือเพลิงและลดการใช้น้ามัน การท่ีเป็นประเทศที่มีแหล่งเชื้อเพลิงมาก จึงมุ่งเน้นการใช้เชื้อเพลิงในประเทศก่อน แต่เนื่องจากปริมาณก๊าซธรรมชาติก็เริ่มลดลง จึงมีแผนท่ีจะลดสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติลง โดยเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมนุ เวยี น ซงึ่ เน้นพลังนา้ และพลงั งานความร้อนใตพ้ ิภพ เน่ืองจากมศี กั ยภาพมากพอ 7) ฟิลิปปินส์ (สาธารณรัฐฟิลปิ ปนิ ส์) ฟิลิปปินส์ มีแหล่งพลังงานท่ีสาคัญ คือ ก๊าซธรรมชาติ สาหรับการผลิตไฟฟ้า ในปีพ.ศ. 2557 มีการผลติ ไฟฟ้าท้ังส้ิน 62,480 ล้านหน่วย โดยส่วนใหญ่ผลิตจากถ่านหิน ร้อยละ 48.3เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ากว่า รองลงมา คือ ก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 28.9 พลังน้า ร้อยละ13.8 น้ามัน ร้อยละ 8.6 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.4 ฟิลิปปินส์มีแผนเพ่ิมกาลังการผลิตไฟฟ้า โดยมุ่งสารวจหาแหล่งก๊าซธรรมชาติและถ่านหินในประเทศมาใช้เพิ่มเติม แต่ขณะเดียวกันก็มีแผนกระจายสัดส่วนการใช้เช้ือเพลิง โดยการเพ่ิมการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน ซ่ึงจะเน้นพลงั นา้ และพลงั งานความรอ้ นใตพ้ ภิ พ 8) บรไู น (เนการาบรไู นดารุสซาลาม) บรไู น มีแหล่งพลังงานหลัก คือ ก๊าซธรรมชาติและน้ามัน สาหรับการผลิตไฟฟ้า ในปีพ.ศ. 2557 มีการผลิตไฟฟ้าท้ังส้ิน 3,490 ล้านหน่วย โดยการผลิตเกือบทั้งหมดมาจากกา๊ ซธรรมชาติ ร้อยละ 99.1 และน้ามนั ร้อยละ 0.9 9) สงิ คโปร์ (สาธารณรัฐสงิ คโปร์) สงิ คโปร์ เป็นประเทศที่เป็นตลาดการซ้ือขายน้ามันแหล่งใหญ่แห่งหน่ึงในอาเซียน จึงมีการใช้พลังงานหลักจากน้ามันและก๊าซธรรมชาติ สาหรับการผลิตไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2557 มีการผลิตไฟฟ้าท้ังส้ิน 47,210 ล้านหน่วย โดยส่วนใหญ่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 48.3 รองลงมาคือ น้ามนั ร้อยละ 22.1 และอืน่ ๆ รอ้ ยละ 2.5 ในอดีตสิงคโปร์ตอ้ งนาเข้าก๊าซธรรมชาติจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย โดยส่งผ่านทางท่อส่งก๊าซเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 สิงคโปร์ได้สร้างสถานี รับ - จ่าย ก๊าซธรรมชาติเหลว

18(Liquid Natural Gas : LNG) แล้วเสร็จ ทาให้สามารถกระจายแหล่งนาเข้าก๊าซธรรมชาติจากหลายประเทศมากข้ึน ในอนาคตสิงคโปร์มีแผนจะรับซ้ือไฟฟ้าจากหลายประเทศ โดยใช้โครงข่ายระบบสง่ ที่จะเช่ือมต่อกันในภูมิภาค (ASEAN Power Grid) นอกจากนี้รัฐบาลสิงคโปร์ยังลงทุนเพื่อพฒั นาการผลิตไฟฟา้ ดว้ ยพลังงานแสงอาทิตย์ และการวิจัยเพ่ือหาความเป็นไปได้ในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ จะเห็นได้ว่า สิงคโปร์พยายามรักษาความมั่นคงทางพลังงาน โดยการกระจายแหล่งนาเขา้ เช้ือเพลิง และพลงั งานไฟฟา้ จากหลายประเทศ 10) ไทย (ราชอาณาจกั รไทย) ไทย มีแหล่งพลังงานหลัก คือ ก๊าซธรรมชาติและน้ามัน สาหรับการผลิตไฟฟ้า ในปีพ.ศ. 2557 มีการผลติ ไฟฟ้าทงั้ สนิ้ 174,960 ล้านหนว่ ย ถือเป็นประเทศท่ีมีกาลังการผลิตไฟฟ้าเป็นอันดับ 2 ของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยส่วนใหญ่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 70.4 รองลงมาคือ ถา่ นหนิ ร้อยละ 21.4 พลงั นา้ ร้อยละ 3.2 นา้ มนั ร้อยละ 2.3 และอน่ื ๆ รอ้ ยละ 2.7 จะเหน็ ไดว้ ่า ทุกประเทศในกลมุ่ อาเซียน ตอ้ งรบั มือกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงข้ึน และเช้ือเพลิงฟอสซิลยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ทุกประเทศต้องพึ่งพาอยู่ แต่ขณะเดียวกันทุกประเทศก็มีแผนในการจัดการกับความมัน่ คงทางพลังงานไฟฟ้า โดยเนน้ การกระจายแหล่งเช้ือเพลิงให้หลากหลาย แสวงหาแหล่งพลังงานทดแทนอื่น ๆ ทั้งพลังงานหมุนเวียนและพลังงานนิวเคลียร์รวมถงึ แผนซอื้ ไฟฟา้ จากประเทศในภูมิภาคด้วย นอกจากนี้เพื่อเสริมสร้างความม่ันคงทางพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน กลุ่มประเทศสมาชิกจึงได้ดาเนินโครงการผลิตและการใช้พลังงานร่วมกัน เช่น โครงการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบไฟฟา้ ของอาเซยี น (ASEAN Power Grid) เป็นโครงการทีม่ วี ัตถปุ ระสงค์ ในการส่งเสริมความม่ันคงของการจ่ายไฟฟ้าของภูมิภาค และส่งเสริมให้มีการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างประเทศ เพื่อลดตน้ ทนุ การผลติ ไฟฟา้ ซ่ึงมีการดาเนินงานเพอ่ื เชอ่ื มโยงโครงข่ายทงั้ ส้ิน 16 โครงการ เปน็ ต้นตอนท่ี 3 สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของโลก ปจั จุบนั ความต้องการไฟฟ้ายงั คงเพ่ิมข้ึนทั่วโลก สอดคล้องกับจานวนประชากรท่ีเพิ่มขึ้นและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จากการประเมินขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ(International Energy Agency : IEA) ระบุว่า การใช้พลังงานของโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยแหล่งพลังงานท่ีใช้สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ น้ามัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน

19ที่สาคัญหากโลกมีการใช้พลังงานในระดับท่ีเป็นอยู่ในปัจจุบันและไม่มีการค้นพบแหล่งพลังงานอ่ืนเพ่ิมเติมได้อีก คาดว่าโลกจะมีปริมาณสารองน้ามันใช้ได้อีก 52.5 ปี ก๊าซธรรมชาติ 54.1 ปี และถ่านหินอีกประมาณ 110 ปี เท่านน้ั ดังนั้นการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานเหล่าน้ีจาเป็นต้องคานึงถึงความสมดุลระหว่างความต้องการใช้พลังงานกับปริมาณสารองของพลังงานท่ีมีเหลืออยู่อีกท้ังจาเป็นต้องทาการศึกษาและพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ เพื่อทดแทนแหล่งพลังงานเก่าที่กาลังจะหมดไป นอกจากนี้สิ่งที่ต้องตระหนักเป็นอย่างยิ่ง คือ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้พลงั งานเหลา่ นโ้ี ดยเฉพาะปญั หาด้านสิง่ แวดล้อม อัตราการเพิ่มขึ้นของกาลังผลิตไฟฟ้าในทวีปต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ โดยทวีปเอเชียจะมีอัตราการผลิตไฟฟ้าเพ่ิมขึ้นสูงสุด เนื่องจากประเทศในทวีปเอเชียส่วนใหญ่เป็นประเทศที่กาลังพัฒนาจึงมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง และมีแนวโน้มเพ่ิมสูงข้ึนอีกในอนาคต ในขณะที่ประเทศในทวีปยุโรปซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีและประชาชนมีการดารงชีวิตท่ีสูงกว่ามาตรฐานน้ันจะมีอัตราการใชพ้ ลังงานคอ่ นขา้ งคงที่ ในอดีตการผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่อาศัยแหล่งพลังงานหลักจากน้ามัน ก๊าซธรรมชาติ และถา่ นหนิ แต่เม่ือพิจารณาถึงแหล่งพลังงานท่ีมีอยู่อย่างจากัด และคานึงถึงผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมท่ีจะเกดิ จากการใชพ้ ลังงานเหล่าน้ีมาผลิตไฟฟ้า ทาให้ท่ัวโลกพยายามแสวงหาแหล่งพลังงานอื่น ๆมาใช้ทดแทน เช่น พลังน้า พลังงานนิวเคลียร์ พลังลม พลังงานแสงอาทิตย์ ชีวมวล เป็นต้น ดังจะเหน็ ได้จากภาพแผนภูมวิ งกลมแสดงการผลิตไฟฟา้ จากแหลง่ พลังงานต่าง ๆ ของโลก ปี พ.ศ. 2557 ทม่ี า: The World Bank-World Development Indicators

20 ภาพแผนภูมแิ สดงการผลติ ไฟฟา้ จากแหลง่ พลังงานตา่ ง ๆ ของโลก ปี พ.ศ. 2557 จากข้อมูลปี พ.ศ. 2557 พบว่า ทั่วโลกมีการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินมากที่สุด ร้อยละ 38.9รองลงมา คือ ก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 22.0 พลังน้า ร้อยละ 16.8 พลังงานนิวเคลียร์ ร้อยละ 10.8น้ามนั รอ้ ยละ 4.6 และพลังงานทดแทนอ่ืน ๆ อีกร้อยละ 3.7 ถึงแม้ว่าปัจจุบันการผลิตไฟฟ้ายังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก ซึ่งผลิตจากถ่านหินมากที่สุด เนื่องจากถ่านหินเป็นเช้ือเพลิงราคาถูก แต่ในหลายประเทศได้มีนโยบายเรื่องส่ิงแวดล้อมและมีการกระตุ้นให้เปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงสะอาด ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทาให้การผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลกเร่ิมลดลง ส่งผลให้มีการใช้เช้ือเพลิงหมุนเวียนมากข้ึน นอกจากน้ีพลังงานนิวเคลียร์ถูกพิจารณาว่าจะมีการนามาใช้มากข้ึนโดยจะสูงข้ึนกว่าเดิมร้อยละ 80 ภายในปี พ.ศ. 2583 แต่ปัจจุบันการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ชะลอตัวลงหลังอุบัติเหตุโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่เมืองฟุกุชิมะในประเทศญี่ปุ่น เม่ือพ.ศ. 2554 เนื่องจากการพิจารณาเรื่อง กฎระเบียบด้านความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ดี การผลิตไฟฟา้ จากพลังงานนิวเคลียรย์ งั คงเพม่ิ ข้นึ โดยเฉพาะในประเทศจนี เกาหลใี ต้ อนิ เดีย และรสั เซียกิจกรรมท้ายเรื่องที่ 2 สถานการณพ์ ลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ประเทศในกล่มุ อาเซยี นและโลก(ใหผ้ ู้เรียนไปทากิจกรรมเร่อื งท่ี 2 ทสี่ มุดบนั ทกึ กิจกรรมการเรียนรู้)

21เรื่องที่ 3 หน่วยงานทเี่ กยี่ วขอ้ งดา้ นพลงั งานไฟฟ้าในประเทศไทย หน่วยงานท่รี ับผิดชอบเก่ียวกบั ไฟฟา้ ในประเทศไทยตั้งแต่ระบบผลิต ระบบส่งจ่ายจนถึงระบบจาหน่ายใหก้ บั ผูใ้ ชไ้ ฟฟา้ แบง่ เป็น 2 ภาคส่วน คอื 1) ภาครัฐ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) และการไฟฟา้ นครหลวง (กฟน.) 2) ภาคเอกชน มีเฉพาะระบบผลิตไฟฟ้าเท่านั้น เช่น บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งจากัด (มหาชน) บรษิ ทั ผลิตไฟฟ้า จากดั (มหาชน) เปน็ ตน้ นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซ่ึงเป็นองค์กรอิสระที่ทาหน้าที่กากับกิจการไฟฟ้าและกิจการก๊าซธรรมชาติภายใต้กรอบนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงพลังงาน ระบบผลติระบบจาหนา่ ย ภาพการส่งไฟฟา้ จากโรงไฟฟ้าถงึ ผ้ใู ชไ้ ฟฟา้ 1. การไฟฟ้าฝา่ ยผลติ แห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก่อต้ังขึ้นเมื่อวันท่ี 1 พฤษภาคมพ.ศ. 2512 โดยรฐั บาลไดร้ วมรฐั วสิ าหกิจทรี่ บั ผิดชอบในการจัดหาไฟฟา้ ซึง่ ไดแ้ ก่ การลิกไนท์ (กลน.)การไฟฟ้ายันฮี (กฟย.) และการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ (กฟ.อน.) เป็นหน่วยงานเดียวกัน คือ“การไฟฟา้ ฝา่ ยผลติ แห่งประเทศไทย” มชี อื่ ย่อวา่ “กฟผ.” มีนายเกษม จาติกวณิช เปน็ ผวู้ ่าการคนแรก

22 กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงานภายใต้การกากับดูแลของกระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลงั มภี ารกจิ ในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้แก่ประชาชน โดยการผลิต จัดส่ง และจาหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้ใช้ไฟฟ้ารายอ่ืน ๆตามที่กฎหมายกาหนด รวมท้ังประเทศใกล้เคียง พร้อมท้ังธุรกิจอ่ืนๆ ท่ีเก่ียวเนื่องกับกิจการไฟฟ้าภายใต้กรอบพระราชบัญญัติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยระบบผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.ประกอบด้วยโรงไฟฟ้า 5 ประเภท คือ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมโรงไฟฟ้าพลังน้า โรงไฟฟา้ พลังงานทดแทน และโรงไฟฟา้ ดเี ซล นอกจากการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. แล้ว กฟผ. ยังรับซ้ือไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน รวมทั้งรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว และมาเลเซีย ซึ่งดาเนินการจัดส่งไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. รวมถึงที่รับซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายอื่นผ่านระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งมีโครงข่ายครอบคลุมท่ัวประเทศ เพ่ือจาหน่ายไฟฟ้าให้แก่ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ใช้ไฟฟ้าที่รับซ้ือโดยตรง และประเทศเพ่ือนบ้าน ได้แก่ ลาวเมยี นมาร์ และกัมพูชา Call center ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแหง่ ประเทศไทย หมายเลข 1416 2. การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค (กฟภ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นรัฐวิสาหกิจด้านสาธารณูปโภค สังกัดกระทรวงมหาดไทย ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 โดยรับโอนทรัพย์สิน หนี้สิน และความรับผิดชอบขององค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในขณะนั้นมาดาเนินการอยู่ภายใต้การกากับดูแลของกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจในการผลิต จัดให้ได้มา จัดส่ง

23จัดจาหน่ายและการบริการด้านพลังงานไฟฟ้าให้แก่ประชาชน ธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่างๆในเขตจาหนา่ ย 74 จงั หวดั ทว่ั ประเทศ ยกเว้น กรุงเทพมหานคร นนทบรุ ี และสมทุ รปราการ การไฟฟ้าส่วนภมู ภิ าคมสี านักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีหน้าท่ีกาหนดนโยบายและแผนงาน ให้คาแนะนา ตลอดจนจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้หน่วยงานในส่วนภูมิภาค สาหรับในส่วนภูมิภาค แบ่งการบริหารงานออกเป็น 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลางและภาคใต้ แต่ละภาคแบ่งออกเป็นเขต รวมเป็น 12 การไฟฟ้าเขต มีหน้าที่ควบคุมและให้คาแนะนาแก่สานักงานการไฟฟ้าต่าง ๆ ในสังกัดรวม 894 แห่ง ในความรับผิดชอบ 74จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ การไฟฟ้าจังหวัด 74 แห่ง การไฟฟ้าอาเภอ 732 แห่ง การไฟฟ้าตาบล88 แหง่ หากประชาชนในสว่ นภมู ิภาคไดร้ บั ความขัดขอ้ งเกี่ยวกบั ระบบไฟฟ้า เช่น หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิดเสาไฟฟ้าล้ม ไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าตก บิลค่าไฟฟ้าไม่ถูกต้อง เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการขอใช้ไฟฟ้า เปล่ียนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า สามารถติดต่อได้ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคท่ีอยู่ในแต่ละพนื้ ท่ี หรือติดตอ่ Call Center Call Center ของการไฟฟา้ สว่ นภูมภิ าค หมายเลข 1129 3. การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้านครหลวงจัดต้ังข้ึนเม่ือวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2501ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2530 และ พ.ศ. 2535เป็นรฐั วสิ าหกจิ ประเภทสาธารณูปโภค สาขาพลังงาน สังกัดกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจในการจัดให้ได้มา จาหน่าย ดาเนินธุรกิจเก่ียวกับพลังงานไฟฟ้า และธุรกิจเก่ียวเนื่องหรือท่ีเป็นประโยชน์แก่การไฟฟ้านครหลวง โดยมีพื้นที่เขตจาหน่ายใน 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ

24 หากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ได้รับความขัดข้องเก่ียวกับระบบไฟฟ้า เช่น หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิด เสาไฟฟ้าล้ม ไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าตก บิลค่าไฟฟ้าไมถ่ ูกตอ้ ง เปน็ ตน้ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการขอใช้ไฟฟ้า เปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า สามารถติดต่อได้ที่การไฟฟ้านครหลวงท่ีอยู่ในแต่ละพื้นท่ี และมีช่องทางการติดต่อ คือ ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร และศูนยบ์ ริการขอ้ มูลผู้ใช้ไฟฟา้ (MEA Call Center) ศูนยบ์ รกิ ารข้อมูลขา่ วสารการไฟฟ้านครหลวง โทรศัพท์ 0-2252-8670 ศูนย์บรกิ ารข้อมูลผูใ้ ชไ้ ฟฟ้า (MEA Call Center) โทรศัพท์ 1130 หรือ อเี มล์ แอดเดรส : [email protected] (ตลอด 24 ชั่วโมง) 4. คณะกรรมการกากบั กิจการพลงั งาน (กกพ.) คณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน (กกพ.) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันท่ี 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เพื่อแยกงานนโยบายและงานกากับดูแล ออกจากการประกอบกิจการพลังงาน โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทมากขึ้น รวมท้ังให้การประกอบกิจการพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความม่ันคง มีปริมาณเพียงพอและทั่วถึงในราคาท่ีเป็นธรรมและมีคุณภาพได้มาตรฐาน โดย กกพ. ทาหน้าท่ีกากบั กิจการไฟฟา้ และกิจการก๊าซธรรมชาติภายใต้กรอบนโยบายของรัฐ ในการดาเนินงานของ กกพ. มีเป้าหมายสูงสุด คือ การกากับดูแลกิจการพลังงานไทยให้เกิดความมั่นคง และสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชน โดยมีการดาเนินงานท่ีสาคัญ ได้แก่การจัดทาแผนยุทธศาสตร์การกากบั กจิ การพลังงาน การจดั ทาร่างกฎหมายลาดับรองตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน เช่น การเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา การออกประกาศและระเบียบเก่ียวกับการออกใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน ท้ังนี้ ในการออกระเบียบและประกาศที่เก่ียวข้องกับการบริหารและกากับดูแลกิจการพลังงานที่มีผู้ได้รับผลกระทบ จะต้องดาเนินการด้านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นด้วย การออกใบอนุญาตการประกอบกิจการ

25พลังงานและการอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม กาหนดโครงสร้างค่าไฟฟ้า โดยพิจารณาปรับค่าไฟฟ้าฐานและคา่ ไฟฟ้าผันแปร (Ft) สามารถตดิ ตอ่ ได้ ตามช่องทางต่าง ๆ โทร: 0 2207 3599 Call Center: 1204 อเี มล:์ [email protected]กจิ กรรมท้ายเรือ่ งที่ 3 หนว่ ยงานที่เกยี่ วข้องด้านพลงั งานไฟฟ้าในประเทศไทย(ให้ผู้เรียนไปทากิจกรรมเร่ืองท่ี 3 ที่สมดุ บันทกึ กจิ กรรมการเรยี นร)ู้

26 หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 2 การผลิตไฟฟ้าสาระสาคัญ การผลิตไฟฟ้าสามารถผลิตได้จากเชื้อเพลิงและพลังงานหลายประเภท ซ่ึงเชื้อเพลิงและพลังงานแต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อจากัดท้ังในแง่ต้นทุนและผลกระทบ สาหรับเช้ือเพลิงฟอสซิลซ่ึงเปน็ เช้ือเพลิงหลกั ในการผลติ พลงั งานไฟฟา้ ในปจั จุบันกาลังจะหมดไปในอนาคต ส่งผลให้ต้องมีการจัดหาพลงั งานทดแทนอื่นมาใชใ้ นการผลิตพลังงานไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการผลิตพลังงานไฟฟ้าไม่ว่าจะเชอื้ เพลงิ ประเภทใด อาจสง่ ผลกระทบตอ่ สงิ่ แวดล้อมและประชาชน ดงั นนั้ จงึ ต้องมีข้อกาหนดให้โรงไฟฟ้าต้องมีการดาเนินการเก่ียวกับการวิเคราะห์ผลกระทบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการวเิ คราะห์ผลกระทบสิง่ แวดลอ้ มสงั คมและสขุ ภาพ (EHIA)ตัวชี้วดั 1. อธิบายกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากเชอื้ เพลงิ แต่ละประเภท 2. วิเคราะหศ์ กั ยภาพพลังงานทดแทนทีม่ ีในชมุ ชนของตนเอง 3. เปรยี บเทียบข้อดี ข้อจากัดของเชื้อเพลงิ และพลงั งานทีใ่ ช้ในการผลติ ไฟฟ้า 4. เปรียบเทียบตน้ ทนุ การผลติ พลงั งานไฟฟ้าต่อหนว่ ยจากเชอ้ื เพลงิ แตล่ ะประเภท 5. อธบิ ายผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมท่ีเกดิ จากโรงไฟฟ้า 6. อธบิ ายการจดั การดา้ นสิง่ แวดล้อมของโรงไฟฟ้า 7. อธิบายข้อกาหนดเก่ียวกับการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดลอ้ ม สังคม และสุขภาพ (EHIA) 8. เปรียบเทียบการวิเคราะห์ผลกระทบส่ิงแวดล้อม (EIA) และการวิเคราะห์ผลกระทบ สิง่ แวดลอ้ ม สังคม และสุขภาพ (EHIA) 9. มีเจตคติท่ีดีตอ่ โรงไฟฟ้าแต่ละประเภทขอบขา่ ยเนื้อหา เรอื่ งท่ี 1 เชอื้ เพลงิ และพลงั งานที่ใช้ในการผลิตไฟฟา้ เรอ่ื งที่ 2 โรงไฟฟา้ กบั การจดั การด้านส่ิงแวดล้อมเวลาท่ใี ชใ้ นการศกึ ษา 45 ชั่วโมงส่อื การเรยี นรู้ ชดุ วิชาการใชพ้ ลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจาวนั 3 รหัสวิชา พว32023

27เร่อื งท่ี 1 เชื้อเพลิงและพลังงานท่ีใช้ในการผลติ ไฟฟา้ พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปหนึ่งท่ีมีความสาคัญและมีการใช้งานกันมาอย่างยาวนานโดยสามารถผลิตได้จากเชื้อเพลิงตา่ ง ๆ ได้แก่ เช้ือเพลิงฟอสซิลและพลังงานทดแทน ปัจจุบันมีการใช้พลังงานไฟฟ้าเพ่ิมมากข้ึนทาให้ต้องมีการแสวงหาเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการโดยแต่ละประเทศมีสัดส่วนการใช้เช้ือเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าแตกต่างกันไปตามศักยภาพของประเทศนั้น ๆ อย่างไรก็ตามการผลิตกระแสไฟฟ้ายังต้องคานึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงต้องมีการจัดการและแนวทางป้องกันที่เหมาะสมภายใต้ข้อกาหนดและกฎหมายแบง่ เปน็ 5 ตอน ดังนี้ ตอนท่ี 1 เชือ้ เพลงิ ฟอสซิล ตอนที่ 2 พลังงานทดแทน ตอนที่ 3 พลงั งานทดแทนในชมุ ชน ตอนท่ี 4 ต้นทุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าตอ่ หนว่ ยจากเชอ้ื เพลงิ แต่ละประเภท ตอนที่ 5 ขอ้ ดีและขอ้ จากดั ของการผลติ ไฟฟา้ จากเชือ้ เพลิงแต่ละประเภทตอนที่ 1 เชอ้ื เพลิงฟอสซิล เช้ือเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuel) หมายถึง เช้ือเพลิงที่เกิดจากซากพืช ซากสัตว์ที่ทับถมจมอยู่ใต้พนื้ พิภพเปน็ เวลานานหลายร้อยล้านปโี ดยอาศยั แรงอัดของเปลือกโลกและความร้อนใต้ผิวโลกมที งั้ ของแขง็ ของเหลวและก๊าซ เชน่ ถา่ นหนิ น้ามนั ก๊าซธรรมชาติ เปน็ ตน้ แหลง่ พลังงานนี้เป็นแหล่งพลังงานท่ีสาคัญในการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันสาหรับประเทศไทยได้มีการนาเอาพลังงานฟอสซิลมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าประมาณรอ้ ยละ 90 1. ถ่านหนิ (Coal) ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลที่อยู่ในสถานะของแข็ง เกิดจากการทับถมกันของซากพืชในยุคดึกดาบรรพ์ ถ่านหินมีปริมาณมากกว่าเช้ือเพลิงฟอสซิลชนิดอ่ืน ๆ และมีแหล่งกระจายอยู่ประมาณ 70 ประเทศทั่วโลก เช่น อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย แอฟริกา เป็นต้น จากการคาดการณ์ปริมาณถ่านหินท่ีพิสูจน์แล้ว ข้อมูล ณ ปี พ.ศ. 2557 จาก BP Statistical Review ofWorld Energy คาดว่า ถ่านหินในโลกจะมีเพียงพอต่อการใช้งานไปอีก 110 ปี และถ่านหินในประเทศไทยมีเหลือใช้อีก 69 ปี ซึ่งถ่านหินที่นามาเป็นเชื้อเพลิงสาหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า ได้แก่ลกิ ไนต์ ซบั บิทูมินัส บทิ ูมนิ ัส

28 ถ่านหินส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยเป็นลิกไนต์ที่มีคุณภาพต่า ปริมาณสารองส่วนใหญ่ท่ีนามาใช้เป็นเช้ือเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่ที่เหมืองแม่เมาะ จังหวัดลาปางในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยมีการผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินร้อยละ 18.96 ซ่ึงมาจากถ่านหินภายในประเทศและบางสว่ นนาเขา้ จากตา่ งประเทศ โดยนาเขา้ จากอินโดนเี ซียมากทีส่ ดุ กระบวนการผลติ ไฟฟ้าจากถา่ นหิน การผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหิน เร่ิมจากการขนส่งถ่านหินจากลานกองถ่านหินไปยังยุ้งถา่ น จากนั้นถา่ นหนิ จะถกู ลาเลียงไปยังเคร่ืองบด เพื่อบดถ่านหินให้เป็นผงละเอียดก่อนที่จะถูกพ่นเข้าไปเผายังหม้อไอน้า เมื่อถ่านหินเกิดการเผาไหม้ก็จะถ่ายเทความร้อนให้แก่น้า ทาให้น้าร้อนข้ึนจนเกิดไอนา้ จะมีความดันสูงสามารถขบั ใบพัดกังหันไอน้าทาให้กังหันไอน้าหมุนโดยแกนของกังหันไอน้าเช่ือมต่อกับเคร่ืองกาเนิดไฟฟ้าจึงทาให้เคร่ืองกาเนิดไฟฟ้าทางาน สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้ ภาพข้ันตอนการผลติ ไฟฟ้าด้วยถ่านหิน การเผาไหม้ของถ่านหินจะเกิดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ฝุ่นละออง และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซ่ึงอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าได้ ดังนั้นโรงไฟฟ้าถ่านหินในปัจจุบัน เรียกว่า “โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด(Clean Coal Technology)” ซึ่งมีการติดตั้งเคร่ืองกาจัดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ เครื่องกาจัด

29ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และเคร่ืองดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต ทาให้ลดมลสารท่ีเกิดขึ้นจากการเผาไหม้ และสามารถควบคุมการปล่อยมลสารให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามท่ีกฎหมายกาหนด จึงไม่กระทบตอ่ สิ่งแวดลอ้ ม แม้ประเทศไทยจะเคยประสบปัญหาเร่ืองผลกระทบดา้ นสิง่ แวดล้อมอันเกิดมาจากฝุ่นละออง ก๊าซซลั เฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ จากการใช้ถ่านหินลิกไนต์มาผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เน่ืองจากถ่านหินมีคุณภาพไม่ดีและเทคโนโลยีในขณะนั้นยังไม่ทันสมัยแต่หลังจากท่ีประเทศไทยได้มีการนาเอาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยการติดตั้งระบบกาจัดและควบคุมมลสารท่ีมีประสิทธิภาพสูง ซ่ึงช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของชมุ ชนไดเ้ ปน็ อยา่ งดี ปัจจบุ นั แม่เมาะเป็นชมุ ชนทนี่ า่ อย่แู ละมอี ากาศบริสทุ ธ์ิ 2. น้ามนั (Petroleum Oil) น้ามันเป็นเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลที่มีสถานะเป็นของเหลว เกิดจากซากสัตว์และซากพืชทับถมเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี พบมากในภูมิภาคตะวันออกกลาง สาหรับประเทศไทยมีแหล่งน้ามันดิบจากแหล่งกลางอ่าวไทย เช่น แหล่งเบญจมาศ แหล่งยูโนแคล แหล่งจัสมินเป็นต้น และแหล่งบนบก ได้แก่ แหล่งสิริกิต์ิ อาเภอลานกระบือ จังหวัดกาแพงเพชร จากการคาดการณ์ปริมาณน้ามันท่ีพิสูจน์แล้ว ข้อมูล ณ ปี พ.ศ. 2557 จาก BP Statistical Review ofWorld Energy คาดวา่ นา้ มนั ในโลกจะมีเพียงพอตอ่ การใชง้ านไปอกี 52.5 ปี และนา้ มันในประเทศไทยมเี หลอื ใช้อีก 2.8 ปี น้ามันท่ีใช้ในการผลิตไฟฟ้ามี 2 ประเภท คือ น้ามันเตาและน้ามันดีเซลในปี พ.ศ. 2558 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ใช้น้ามันผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น เน่ืองจากมีต้นทุนการผลิตสูงสาหรับการใช้น้ามันมาผลิตไฟฟ้าน้ันมักจะใช้เป็นเช้ือเพลิงสารองในกรณที ่ีเชื้อเพลิงหลัก เชน่ กา๊ ซธรรมชาติ มปี ัญหาไมส่ ามารถนามาใช้ได้ เป็นตน้ กระบวนการผลติ ไฟฟา้ จากน้ามนั 1) การผลิตไฟฟ้าจากน้ามันเตาใช้น้ามันเตาเป็นเช้ือเพลิงให้ความร้อนไปต้มน้า เพื่อผลิตไอนา้ ไปหมุนกังหนั ไอนา้ ท่ตี อ่ อยูก่ ับเครอื่ งกาเนิดไฟฟา้ 2) การผลิตไฟฟ้าจากน้ามันดีเซล มีหลักการทางานเหมือนกับเคร่ืองยนต์ในรถยนต์ทวั่ ไป ซ่งึ จะอาศัยหลกั การสันดาปของนา้ มนั ดีเซลท่ีถูกฉีดเข้าไปในกระบอกสูบของเคร่ืองยนต์ที่ถูกอัดอากาศจนมีอุณหภูมิสูง และเกิดระเบิดดันให้ลูกสูบเคล่ือนท่ีลงไปหมุนเพลาข้อเหวี่ยงซึ่งต่อกับ

30เพลาของเคร่ืองยนต์ ทาให้เพลาของเครื่องยนต์หมุน และทาให้เคร่ืองกาเนิดไฟฟ้าซึ่งต่อกับเพลาของเคร่อื งยนตห์ มนุ ตามไปด้วยจงึ เกดิ การผลิตไฟฟ้าออกมา ภาพการผลติ ไฟฟา้ จากน้ามันดีเซล เนื่องจากการเผาไหม้นา้ มันในกระบวนการผลิตไฟฟ้านั้น จะมีการปลดปล่อยก๊าซกามะถัน ก๊าซซัลเฟอรไ์ ดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ รวมท้ังฝุ่นละออง ซ่ึงอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนท่ีอาศัยอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าได้ จึงได้มีการติดตั้งเครื่องกาจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue Gas Desulfurization: FGD) เพ่ือลดการปล่อยก๊าซกามะถัน และมีการควบคุมคณุ ภาพอากาศให้ได้ตามมาตรฐานสง่ิ แวดลอ้ ม 3. กา๊ ซธรรมชาติ (Natural Gas) ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลท่ีมีสถานะเป็นก๊าซ ซึ่งเกิดจากการทับถมของซากสัตว์และซากพืชมานานนับล้านปี พบมากในภูมิภาคตะวันออกกลาง จากการคาดการณ์ปริมาณก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้ว ข้อมูล ณ ปี พ.ศ. 2557 จาก BP Statistical Review ofWorld Energy คาดว่า ก๊าซธรรมชาติในโลกจะมีเพียงพอต่อการใช้งานไปอีก 54.1 ปี และก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยมีเหลือใชอ้ กี 5.7 ปี กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากกา๊ ซธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยกระบวนการเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติ ในห้องสันดาปของกังหันก๊าซท่ีมีความรอ้ นสูงมาก เพ่ือใหไ้ ด้ก๊าซร้อนมาขับกงั หัน ซงึ่ จะไปหมุนเคร่ืองกาเนิดไฟฟ้า จากนั้นจะนาก๊าซร้อนส่วนท่ีเหลือไปผลิตไอน้าสาหรับใช้ขับเครื่องกาเนิดไฟฟ้าแบบกังหันไอน้า สาหรับไอน้าส่วนท่ี

31เหลือจะมีแรงดันต่าก็จะผ่านเข้าสู่กระบวนการลดอุณหภูมิ เพื่อให้ไอน้าควบแน่นเป็นน้าและนากลับมาปอ้ นเขา้ ระบบผลิตใหมอ่ ยา่ งต่อเน่ือง หมอ้ แปลงไฟฟา้ ภาพกระบวนการผลิตไฟฟา้ จากกา๊ ซธรรมชาติ

32ตอนที่ 2 พลงั งานทดแทน พลังงานทดแทน (Alternative Energy) ตามความหมายของกระทรวงพลังงานคือพลังงานที่นามาใช้แทนน้ามันเชื้อเพลิงซ่ึงเป็นพลังงานหลักที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันพลังงานทดแทนที่สาคัญ เช่น พลังงานน้า พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพพลงั งานจากชีวมวล และพลงั งานนิวเคลียร์ เป็นตน้ ปัจจุบันท่ัวโลก โดยเฉพาะประเทศไทย กาลังเผชิญกับปัญหาด้านพลังงานเช้ือเพลิงฟอสซิล เช่น น้ามัน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ท้ังในด้านราคาท่ีสูงขึ้น และปริมาณที่ลดลงอย่างตอ่ เน่ือง นอกจากนปี้ ัญหาสภาวะโลกร้อนซึ่งส่วนหน่ึงมาจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่มากข้ึนอย่างตอ่ เนอื่ งตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ดังน้ันจึงจาเป็นต้องมีการกระตุ้นให้เกิดการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีท่ีใช้พลังงานชนิดอ่ืน ๆ ข้ึนมาทดแทนซึ่งพลังงานทดแทนเป็นพลังงานชนิดหนึ่งท่ีได้รับความสนใจ และภาครัฐได้มีนโยบายส่งเสริมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนอยา่ งกว้างขวางในประเทศ เน่ืองจากเป็นพลงั งานที่ใชแ้ ลว้ ไมท่ าลายสงิ่ แวดลอ้ ม โดยพลังงานทดแทนท่ีสาคัญและใชก้ นั อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ลม น้า แสงอาทิตย์ ชีวมวลความรอ้ นใตพ้ ิภพ และนวิ เคลยี ร์ ซึง่ มีรายละเอียดดังนี้ 1. พลังงานลม การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมจะใช้กังหันลมเป็นอุปกรณ์ในการเปลี่ยนพลังงานลมเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยจะต่อใบพัดของกังหันลมเข้ากับเครื่องกาเนิดไฟฟ้า เมื่อลมพัดมาปะทะจะทาให้ใบพัดหมุน แรงจากการหมุนของใบพัดจะทาให้แกนหมุนท่ีเช่ือมอยู่กับเคร่ืองกาเนิดไฟฟา้ หมุน เกิดการเหนี่ยวนาและได้ไฟฟ้าออกมา อย่างไรก็ดีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลมก็จะขึ้นอยู่กับความเร็วลม สาหรับประเทศไทยมีศักยภาพพลังงานลมต่าทาให้ผลิตไฟฟ้าได้จากัดไมเ่ ตม็ กาลงั การผลิตตดิ ตง้ั พลังงานท่ีได้รับจากกังหันลม สามารถแบ่งช่วงการทางานของกังหันลมไดด้ งั นี้ 1) ความเร็วลมต่าในช่วง 1 - 3 เมตรต่อวินาที กังหันลมจะยังไม่ทางานจึงยังไมส่ ามารถผลติ ไฟฟ้าออกมาได้ 2) ความเร็วลมระหว่าง 2.5 - 5 เมตรต่อวินาที กังหันลมจะเริ่มทางาน เรียกช่วงนี้วา่ “ชว่ งเริม่ ความเรว็ ลม” (Cut in wind speed)

33 3) ความเร็วลมช่วงประมาณ 12 - 15 เมตรต่อวินาที เป็นช่วงท่ีเรียกว่า “ช่วงความเร็วลม” (Rate wind speed) ซึ่งเป็นช่วงท่ีกังหันลมทางานอยู่บนพิกัดกาลังสูงสุด ในช่วงที่ความเร็วลมไต่ระดับไปสู่ช่วงความเร็วลม เป็นการทางานของกังหันลมด้วยประสิทธิภาพสูงสุด(Maximum rotor efficiency) 4) ช่วงที่ความเร็วลมสูงกว่า 25 เมตรต่อวินาที กังหันลมจะหยุดทางาน เน่ืองจากความเร็วลมสูงเกินไป ซ่ึงอาจทาให้เกิดความเสียหายต่อกลไกของกังหันลมได้ เรียกว่า “ช่วงเลยความเรว็ ลม” (Cut out wind speed) กังหันลมขนาดใหญ่ในปัจจุบันนั้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของใบพัดมากกว่า65 เมตร ในขณะที่กังหันลมขนาดที่เล็กลงมามีขนาดประมาณ 30 เมตร (ซึ่งส่วนมากใช้อยู่ในประเทศกาลงั พัฒนา) สว่ นเสาของกงั หันมคี วามสงู อย่รู ะหวา่ ง 25 - 80 เมตร ภาพกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานไฟฟา้ ศกั ยภาพของพลังงานลมกับการผลติ พลงั งานไฟฟา้ ศักยภาพของพลงั งานลม ไดแ้ ก่ ความเร็วลม ความสม่าเสมอของลม ความยาวนานของการเกิดลม ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนมีผลต่อการทางานของกังหันลมเพ่ือผลิตพลังงานไฟฟ้าดังนน้ั การตดิ ตงั้ กงั หนั ลมเพื่อผลติ พลังงานไฟฟ้าในพ้ืนท่ตี ่าง ๆ จึงตอ้ งพจิ ารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังท่ีกล่าวมา และต้องออกแบบลักษณะของกังหันลมท่ีจะติดตั้ง ได้แก่ รูปแบบของใบพัด วัสดุที่ใช้ทาใบพัด ความสูงของเสาท่ีติดต้ังกังหันลม ขนาดของเครื่องกาเนิดไฟฟ้า และระบบควบคุมให้มีลกั ษณะที่สอดคลอ้ งกับศกั ยภาพของพลงั งานลมในพน้ื ท่ีนน้ั ๆ ปัจจุบันมีการติดต้ังเครื่องวัดความเร็วลมในพื้นท่ีต่าง ๆ ของประเทศไทย เพ่ือหาความเร็วลมในแตล่ ะพนื้ ท่ี ซง่ึ แผนทแ่ี สดงความเร็วลมมีประโยชน์มากมาย เช่น ใช้พิจารณากาหนด

34ตาแหน่งสถานท่ีสาหรับติดต้ังกังหันลมเพ่ือผลิตพลังงานไฟฟ้า ใช้ออกแบบกังหันลมให้มีประสิทธิภาพการทางานสงู สุด ใช้ประเมินพลงั งานไฟฟ้าท่ีกังหันลมจะสามารถผลิตได้ และนามาใช้วิเคราะห์และพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานลมในด้านต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมกับศักยภาพของพลังงานลม เป็นต้น 1 ขอ้ มลู 1 ปี ขอ้ มลู น้อยกวา่ 1 ปี แผนที่ศักยภาพพลังงานลมของประเทศไทย ความเร็วลมในประเทศไทยในพ้ืนที่ส่วนใหญ่เป็นความเร็วลมต่าประมาณ 4 เมตรตอ่ วินาที บางพน้ื ทม่ี รี ะดบั ความเร็วลมเฉล่ีย 6 - 7 เมตรต่อวินาที ซึ่งได้แก่ บริเวณเทือกเขาสูงของภาคตะวันตกและภาคใต้ พื้นท่ีบางส่วนตรงบริเวณรอยต่อระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณรอยต่อระหว่างภาคตะวันออกกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

35และชายฝ่ังบางบริเวณของภาคใต้ ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากพลังงานลมจึงควรพัฒนากังหันลมผลติ ไฟฟา้ ใหม้ คี วามเหมาะสมกบั ความเร็วลมที่มอี ยู่ ประเทศไทยมีการนาพลังงานลมมาใช้เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้ายังไม่ค่อยแพร่หลายเนื่องจากความเร็วลมโดยเฉล่ียมีค่าค่อนข้างต่า ทาให้หลายพ้ืนที่ยังไม่มีความเหมาะสมที่จะติดตั้งกงั หันลมเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าในเชงิ พาณิชย์ ทตี่ อ้ งใช้ความเร็วลมในระดบั 6 เมตรตอ่ วนิ าที ขน้ึ ไป ภาพโรงไฟฟา้ กังหันลมบนเขายายเทีย่ ง อาเภอสคี วิ้ จังหวัดนครราชสีมา 2. พลังงานน้า การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้าโดยการปล่อยน้าจากเขื่อนให้ไหลจากท่ีสูงลงสู่ที่ต่าเม่ือน้าไหลลงมาปะทะกับกังหันน้าก็จะทาให้กังหันหมุนแกนของเครื่องกาเนิดไฟฟ้าท่ีถูกต่ออยู่กับกังหันน้าดังกล่าวก็จะหมุนตาม เกิดการเหนี่ยวนาและได้ไฟฟ้าออกมา จากน้ันก็ปล่อยน้าให้ไหลสู่แหล่งน้าตามเดิม แต่ประเทศไทยสร้างเข่ือนโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการกักเก็บน้าไว้ใช้ในการเกษตร ดังนั้นการผลติ ไฟฟ้าดว้ ยพลังงานนา้ จากเขอ่ื นจึงเปน็ เพยี งผลพลอยได้เทา่ น้นั

36 ภาพการผลิตไฟฟ้าดว้ ยพลังงานน้า โรงไฟฟ้าพลังน้าในปัจจุบันที่มีท้ังโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ซ่ึงหลักการทางานและลกั ษณะของโรงไฟฟ้าท้ัง 2 ประเภท มีดงั น้ี 2.1 โรงไฟฟ้าพลังน้าขนาดใหญ่ มีกาลังผลิตพลังงานไฟฟ้ามากกว่า 15 เมกะวัตต์จะใช้น้าในแม่น้าหรือในลาน้ามาเป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยจะสร้างเข่ือนกั้นน้าไว้ 2 แบบคอื 1) ในลักษณะของฝายกั้นน้าและ 2) ในลักษณะของอ่างเก็บน้าโดยใช้หลักการปล่อยน้าไปตามอุโมงค์ส่งน้าจากท่ีสูงลงสู่ท่ีมีระดับต่ากว่า เพ่ือนาพลังงานน้าท่ีไหลไปหมุนกังหันน้าให้เครื่องกาเนิดไฟฟ้าทางานและผลิตพลังงานไฟฟ้าออกมาจากนั้นก็จะปล่อยน้าให้ไหลลงสู่แม่น้าหรอื ลาน้าตามเดมิโรงไฟฟา้ พลังน้า เขอ่ื นปากมลู จงั หวดั อุบลราชธานี โรงไฟฟา้ พลังน้า เข่ือนภมู ิพล จงั หวดั ตากกั้นแมน่ ้ามูล มีกาลังการผลติ 136 เมกะวตั ต์ กน้ั แม่น้าปิง มีกาลังการผลติ 779.2 เมกะวตั ต์ภาพโรงไฟฟ้าพลงั นา้ ขนาดใหญ่

37 2.2 โรงไฟฟ้าพลังน้าขนาดเล็ก เป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าที่สาคัญของประเทศไทย จุดประสงค์หลักของโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก คือ เพื่อให้ชุมชนท่ีอยู่ห่างไกลจากระบบสายส่งไฟฟ้ามีพลังงานไฟฟ้าใชใ้ นครวั เรอื น และช่วยแก้ปัญหาข้อจากัดของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ต้องใช้พื้นท่ีในการกักเก็บน้าเป็นบริเวณกว้าง โรงไฟฟ้าพลังน้าขนาดเล็กมีกาลังผลิตพลังงานไฟฟ้าตั้งแต่200 กโิ ลวัตต์ จนถึง 15 เมกะวัตต์ จะใช้น้าในลาน้าเป็นแหล่งในการผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยจะก้ันน้าไว้ในลักษณะของฝายกั้นน้าให้อยู่ในระดับที่สูงกว่าระดับของโรงไฟฟ้า จากนั้นจะปล่อยน้าจากฝายกั้นน้าให้ไหลไปตามท่อส่งน้าเข้าไปยังโรงไฟฟ้า เพื่อนาพลังงานน้าท่ีไหลไปหมุนกังหันของเครื่องกาเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า จากนั้นจะปล่อยน้าลงสู่ลาน้าตามเดิม ซึ่งหลักการน้ีจะคล้ายคลึงกับหลักการทางานของโรงไฟฟ้าพลังน้าขนาดใหญ่ สาหรับโรงไฟฟ้าพลังน้าขนาดเล็กในประเทศไทย เช่น โรงไฟฟ้าบ้านขุนกลางจังหวัดเชียงใหม่ โรงไฟฟ้าพลังน้าคลองช่องกล่าจังหวัดสระแก้ว เป็นต้น ภาพแสดงแผนผงั องคป์ ระกอบของโรงไฟฟา้ พลังงานนา้ ขนาดเล็ก 3. พลังงานแสงอาทติ ย์ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ซึ่งเป็นส่ิงประดิษฐ์ทางอเิ ล็กทรอนิกส์ชนิดหน่ึงทามาจากสารกึ่งตัวนาพวกซิลิคอนสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตยใ์ หเ้ ป็นพลังงานไฟฟา้ ไดโ้ ดยตรง เซลล์แสงอาทิตยแ์ บง่ ตามวสั ดุท่ใี ชผ้ ลิตได้ 3 ชนิดหลักๆคือ เซลล์แสงอาทิตย์แบบผลึกเด่ียว เซลล์แสงอาทิตย์แบบผลึกรวม และเซลล์แสงอาทิตย์แบบอะมอรฟ์ ัส มีลกั ษณะดังภาพ

38 ภาพเซลลแ์ สงอาทติ ยแ์ บบผลกึ เดี่ยวภาพเซลลแ์ สงอาทิตยแ์ บบผลกึ เด่ยี ว ภาพเซลล์แสงอาทิตยแ์ บบผลึกรวม ภาพเซลล์แสงอาทิตย์แบบอะมอรฟ์ ัส เซลล์แสงอาทิตย์แต่ละชนิดจะมีประสิทธิภาพของการแปรเปล่ียนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าตา่ งกัน ดงั น้ี 1) เซลล์แสงอาทติ ยแ์ บบผลกึ เดยี่ ว มปี ระสทิ ธิภาพ ร้อยละ 10 – 16 2) เซลล์แสงอาทิตยแ์ บบผลึกรวม มีประสทิ ธิภาพ ร้อยละ 10 - 14.5 3) เซลลแ์ สงอาทิตยแ์ บบอะมอร์ฟัส มปี ระสทิ ธิภาพ ร้อยละ 4 – 9 แม้พลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นพลังงานสะอาดแต่ก็มีข้อจากัดในการผลิตไฟฟ้า โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้แค่ช่วงที่มีแสงแดดเท่านั้น ประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้าขึ้นอยู่กับความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ ซ่ึงจะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปตามเส้นละติจูด ช่วงเวลาของวัน ฤดูกาล สภาพอากาศ ศักยภาพของพลงั งานแสงอาทติ ย์กบั การผลติ พลังงานไฟฟ้า ศักยภาพของพลังงานแสงอาทิตย์ของพื้นท่ีแห่งหน่ึงจะสูงหรือต่า ขึ้นกับปริมาณความเข้มและความสม่าเสมอของรังสีดวงอาทิตย์โดยหากมีการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในพื้นที่ที่มีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์มาก ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจะสูงขึ้น ในขณะเดียวกันอุณหภูมิของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่จะเพิ่มขึ้นจากการตากแดด จะทาให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์มีประสทิ ธภิ าพลดต่าลง โดยศักยภาพของพลงั งานแสงอาทิตยเ์ ป็นดังภาพ

39 ภาพแผนที่ศักยภาพพลงั งานแสงอาทติ ยเ์ ฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทย ความเข้มแสงอาทิตย์ของประเทศไทยมีการเปล่ียนแปลงตามพื้นท่ีและฤดูกาลโดยไดร้ บั รังสีดวงอาทิตย์คอ่ นขา้ งสงู ระหว่างเดอื นเมษายน และพฤษภาคม เท่าน้ัน บริเวณท่ีรับรังสีดวงอาทิตย์สูงสุดตลอดท้ังปีท่ีค่อนข้างสม่าเสมออยู่ในบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี และอุดรธานี บางส่วนในภาคกลางที่จังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาทพระนครศรีอยุธยา และลพบุรี ส่วนในบริเวณจังหวัดอื่น ๆ ความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ยังมีความไม่สม่าเสมอและมีปริมาณความเข้มต่า ยังไม่คุ้มค่ากับการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพือ่ หวงั ผลในเชิงพาณชิ ย์ ในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย ควรคานึงถึงสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศดังกล่าวไปแล้วข้างต้น เพราะโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นั้น

40ต้องการพื้นท่ีมาก ในการสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1 เมกะวัตต์ ต้องใช้พื้นท่ีมากถึง 15 -25 ไร่ ซึ่งหากเลอื กพ้ืนท่ที ีไ่ ม่เหมาะสม เช่น เลอื กพน้ื ทท่ี ีม่ คี วามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ มีต้นไม้ใหญ่หนาแน่นอาจต้องมีการโค่นถางเพื่อปรับพื้นที่ให้โล่ง ส่ิงน้ีอาจเป็นการทาลายทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากจะไม่ชว่ ยเรือ่ งภาวะโลกรอ้ นแลว้ อาจสรา้ งปัจจัยทที่ าให้เกิดสภาวะโลกรอ้ นเพ่มิ ข้นึ ด้วย ตาแหน่งท่ีติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ต้องเป็นตาแหน่งที่สามารถรับแสงอาทิตย์ได้ดีตลอดทั้งวนั ตลอดทง้ั ปี ต้องไม่มสี ่ิงปลกู สร้างหรือสิง่ อนื่ ใดมาบงั แสงอาทติ ย์ตลอดทั้งวนั และไม่ควรเป็นสถานท่ีที่มีฝุ่น หรือไอระเหยจากน้ามันมากเกินไป เพื่อประสิทธิภาพในการแปรเปล่ียนแสงอาทิตยเ์ ปน็ ไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดลพบุรีมขี นาดกาลังการผลติ 84 เมกะวัตต์ ใช้พน้ื ที่ 1,400 ไร่ แสดงดังภาพ ภาพโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จังหวดั ลพบุรี 4. พลงั งานชีวมวล ชีวมวล (Biomass) หมายถึง อินทรียสารที่ได้จากส่ิงมีชีวิต ท่ีผ่านการย่อยสลายตามธรรมชาติ โดยมีองค์ประกอบพนื้ ฐานเป็นธาตุคาร์บอน และธาตุไฮโดรเจน ซึง่ ธาตุดงั กล่าวได้มาจากกระบวนการดารงชีวติ ของสิ่งมีชวี ติ เหล่านนั้ แล้วสะสมไวถ้ งึ แมจ้ ะย่อยสลายแลว้ กย็ ังคงอยู่ ชีวมวลมีแหล่งกาเนิดมาจากภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคชุมชนสาหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม ทาให้มีผลผลิตและวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรในอดีตชีวมวลส่วนใหญ่จะถูกท้ิงซากให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือเผาทาลายโดยเปล่าประโยชน์ อีกท้ัง

41ยังเป็นการสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม อันท่ีจริงแล้วผลผลิตและวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรดังกลา่ วมีคุณสมบตั เิ ปน็ เชอื้ เพลิงไดอ้ ยา่ งดี ซงึ่ ใหค้ วามรอ้ นในปริมาณสงู สามารถนามาใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานทดแทนได้ หรือนามาใช้โดยผ่านกระบวนการแปรรูปให้เป็นเช้ือเพลิงท่ีอยู่ในสถานะต่าง ๆ ไดแ้ ก่ ของแขง็ ของเหลว และกา๊ ซ เรยี กว่า “พลังงานชีวมวล” ชีวมวล สามารถนาไปใช้เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน (Renewable EnergySource) ท้ังในรูปของเช้ือเพลิงท่ีให้ความร้อนโดยตรง และเปล่ียนรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า อีกท้ังยังสามารถนามาใช้เป็นวัตถุดิบ (Materials) สาหรับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่พลังงานได้ด้วย เช่นอาหาร ปยุ๋ เคร่อื งจกั สาน เปน็ ตน้ ภาพแหล่งกาเนิดชีวมวล

42 ผลผลิตทางการเกษตรที่มีวัสดุเหลือทิ้งสามารถนามาใช้เป็นแหล่งพลังงานชีวมวลได้ดงั ตวั อย่างต่อไปนี้ ชวี มวลทไ่ี ดจ้ ากพืชชนดิ ตา่ ง ๆ ชนิดของพชื ชวี มวลข้าว แกลบ ฟางขา้ วโพด ลาต้น ยอด ใบ ซงัออ้ ย ยอดใบ กากสับปะรด ตอ ซังมันสาปะหลัง ลาตน้ เหงา้ถั่วเหลือง ลาตน้ เปลอื ก ใบมะพรา้ ว กะลา เปลือก กาบ กา้ น ใบปาลม์ น้ามัน กา้ น ใบ ใย กะลา ทะลายไม้ เศษไม้ ขี้เลือ่ ย ราก ชีวมวลในท้องถิ่นหรือชุมชนแต่ละชุมชนอาจไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับพื้นที่ในแต่ละท้องถิ่นว่ามีชีวมวลชนดิ ใดบา้ งทสี่ ามารถแปรรูปเป็นพลังงานหรือนามาใช้ประโยชน์ได้ เช่น พื้นที่ที่มกี ารปลกู ขา้ วมากจะมีแกลบที่ได้จากการสีข้าวเปลือก สามารถนามาใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้ผสมลงในดินเพ่ือปรับสภาพดินก่อนเพาะปลูก หรือในพื้นท่ีที่มีการเล้ียงสัตว์มากทาให้มีมูลสัตว์ สามารถนามาใชผ้ ลิตกา๊ ซชวี ภาพและทาเปน็ ป๋ยุ เป็นต้น ปัจจุบันในประเทศไทยมีการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงกันอย่างแพรห่ ลายซงึ่ มีหลักการทางานจาแนกเปน็ 2 ประเภท ดงั น้ี 1) โรงไฟฟา้ พลังความร้อนชีวมวล การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลส่วนใหญ่เลือกใช้ระบบการเผาไหม้โดยตรง (Direct-Fired) โดยชีวมวลจะถูกส่งไปยังหม้อไอน้า (Boiler) หม้อไอน้าจะมีการเผาไหม้ทาให้น้าร้อนขึ้นจนเกดิ ไอนา้ ต่อจากนน้ั ไอน้าถกู สง่ ไปยงั กังหันไอนา้ เพื่อปน่ั กังหันท่ีตอ่ อยู่กับเคร่ืองกาเนิดไฟฟ้า ทาให้ไดก้ ระแสไฟฟา้ ออกมา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook