Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รัตติกาล ทองเก่งกล้า

รัตติกาล ทองเก่งกล้า

Published by วิทย บริการ, 2022-07-04 01:52:12

Description: รัตติกาล ทองเก่งกล้า

Search

Read the Text Version

การสอน โดยวิธีนี้เหมาะสมสำหรับกิจกรรมสะเต็มศึกษาที่ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม คอ่ นข้างมากหรือมีความซบั ซ้อนและยากและมขี ้อดีที่ทางผสู้ อน สามารถจัดหาอาจารย์ท่ีปรึกษาให้แก่ นักเรียนได้ครอบคลุมในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาหรือออกแบบและสร้าง ช้ินงานของนักเรยี นได้ 3. จัดกิจกรรมไว้ในกลุ่มกิจกรรมนอกห้องเรียนต่าง ๆ เช่น ชุมนุม ชมรม ค่าย ซึ่งรูปแบบ การจัดกิจกรรมแบบนี้ มักเป็นกิจกรรมสะเต็มศึกษาที่มีหัวข้อและหัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสร้าง นวัตกรรมที่สามารถใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของส่วนรวม การจัดกิจกรรมโดยวิธีนี้มีข้อดีที่นักเรียน สามารถทำกจิ กรรมไดต้ ลอดเวลาและต่อเนื่อง มานะ อินทรสว่าง (2556, 11-13) ได้ให้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็ม ศกึ ษาไว้ ดงั นี้ 1. เชื่อมโยงเนื้อหาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีสู่โลกจริง คือ นักเรียนมองเห็นว่า แนวคิดหลักหรือกระบวนการที่เรียนรู้นัน้ สามารถเกิดขึ้นได้ธรรมชาติ ใช้ประโยชนไ์ ด้ในชีวิตจริงก็เปน็ ก้าวแรกสู่การบูรณาการความรู้สู่การเรียนอย่างมีความหมายเนื่องจากปรากฏการณ์ใด ๆ รอบตัวเรา ไม่ได้เป็นผลของความรู้จากศาสตร์หนึ่งศาสตร์ได้เพียงศาสตร์เดียว การประยุกต์ความรู้ง่าย ๆ เช่น การคำนวณพื้นท่ีของกระดาษชำระแบบมว้ นเชื่อมโยงสู่ความรู้ ความสงสัยด้านวัสดุศาสตร์เทคโนโลยี การผลิตและการใช้กระบวนการทางวิศวกรรมวิเคราะห์ปัญหาและสร้างสรรค์วิธีแก้ไขได้อย่าง หลากหลาย 2. การสืบเสาะหาความรู้การจัดการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนได้ศึกษาประเด็น ปัญหาหรือ ตั้งคำถามแล้วสร้างคำอธิบายด้วยตนเองโดยการรวบรวมประจักษ์พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง สื่อสาร แนวคิด และเหตุผลเปรียบเทียบแนวคิดต่าง ๆ โดยพิจารณาความหนักแน่นของ หลักฐานก่อนการ ตัดสินใจไปในทางใดทางหนึ่งนั้น เป็นกระบวนการเรียนรู้สำคัญที่ไม่เพียงแต่ สนับสนุนการเรียนรู้ใน ประเด็นที่ศกึ ษาเท่านัน้ แตเ่ ปน็ ชอ่ งทางให้มีการบูรณการความรใู้ นศาสตร์ อ่ืน ๆ ท่เี กยี่ วขอ้ งกับคำถาม นับเป็นแนวทางการจัดการเรยี นรูท้ ่ีสนบั สนนุ จดุ เนน้ ของสะเต็มศกึ ษาได้ เปน็ อยา่ งดี 3. การเรยี นรูโ้ ดยใช้โครงงานเป็นฐาน การทำโครงงานเป็นการสืบเสาะหาความรู้ในรูปแบบหนึ่ง แต่ผู้เขียนได้แยกโครงงานออกมาเป็นหัวข้อเฉพาะ เนื่องจากเป็นแนวทางที่สามารถ ส่งเสริมการ บูรณาการความรู้สู่การแก้ปัญหาได้ชัดเจน การสืบเสาะหาความรู้บางครั้งครูเป็นผู้กำหนดประเด็น ปัญหาหรือให้ข้อมูล สำหรับศึกษาวิเคราะห์หรือกำหนดวิธีการในการสำรวจ ตรวจสอบตามข้อจำกัด ของเวลาเรียนวัสดุอุปกรณ์หรือปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ แต่การทำโครงงานนั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ นักเรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้สำคัญในทุกขั้นตอนด้วยตนเอง ตั้งแต่ การกำหนดปัญหาศึกษา ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ออกแบบวิธีการรวบรวมข้อมูล ดำเนินการลงข้อสรุป และสื่อสารสิ่งที่ค้นพบ

โครงงานในรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ จะมีการบูรณาการกระบวนการทางวิศวกรรมได้อย่างโดดเด่น แต่ โครงงานในรูปแบบอื่นทั้งโครงงานเชงิ ทดลอง เชงิ สำรวจหรือเชิงทฤษฎีก็มีคุณค่าควรแก่การสนับสนุน ไม่แพ้กัน แม้นักเรียนจะมีบทบาทหลักในการเรียนรู้ผ่านการทำโครงงาน แต่บทบาทของครูในการให้ คำปรึกษาระหว่างนักเรียนทำโครงงานนั้นเป็นบทบาทที่ สำคัญและท้าทาย เนื่องจากครูมีความ รบั ผิดชอบในการสนับสนุนให้นกั เรยี นเกดิ ความรคู้ วามสามารถตามเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ โดยครู ตอ้ งเตรียมพร้อมทีจ่ ะเรียนรสู้ งิ่ ใหม่ ๆ ไป พร้อม ๆ กบั นักเรยี นในทุกหวั ข้อโครงงาน 4. การสร้างสรรค์ชิ้นงาน ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานเป็นการสร้างทักษะการคิด การออกแบบ การตัดสินใจ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยเฉพาะอย่างย่ิงชิ้นงานท่ีครูผู้สอนเปิดโอกาสให้ นักเรียนคิด อยา่ งอสิ ระและสร้างสรรค์การสร้างช้นิ งานเหล่านีจ้ ะประยุกต์ใชค้ วามรวู้ ิทยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์อย่าง ไม่รตู้ ัว บางครั้งครูอาจจัดให้นกั เรียนสะท้อนความคดิ วา่ ไดเ้ กิดประสบการณ์หรือ เรียนรู้อะไรบ้างจาก งานที่มอบหมายให้ทำ เพราะเป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่กระบวนการทำงานด้วยเช่นกัน หาก นักเรียนมองเพียงเป้าหมายชิ้นงานที่สำเร็จอย่างเดียวอาจไม่ตระหนักว่าตนเองได้ เรียนรู้บทเรียน สำคัญมากมายระหว่างทาง 5. การบูรณาการเทคโนโลยี เพียงครูบูรณาการเทคโนโลยีที่เหมาะสมสูก่ ระบวนการเรียนรู้ของ นักเรียน ครูก็ได้ก้าวเข้าให้เป้าหมายการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาอีกก้าวหนึ่งแล้ว เทคโนโลยีทีค่ รสู ามารถใชป้ ระโยชน์ในช้ันเรียนปัจจบุ ันมีได้ต้ังแต่การสบื ค้นข้อมูล ลกั ษณะต่าง ๆ การ บันทึกและนำเสนอข้อมูลด้วยภาพนิ่ง วีดิทัศน์ และมัลติมีเดีย การใช้อุปกรณ์ Sensor/Data logger บันทึกข้อมูลในการสำรวจตรวจสอบการใช้ซอฟแวร์จัดการวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีอื่น ๆ อีก มากมาย การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้กระตุ้นให้นักเรียนสนใจการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ ประยกุ ตใ์ ชค้ วามรู้แก้ปญั หาและทำงานร่วมกัน รวมทง้ั สรา้ งทกั ษะสำคัญในการศึกษาต่อและประกอบ อาชพี ต่อไปในอนาคต 6. การมุ่งเน้นทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา พัฒนา ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) ตามกรอบแนวคิดของ partnership for 21th century skills ที่ครองคลุม 4c คือ การคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) การสื่อสาร (communication) การทำงานร่วมกัน (collaboration) และการคิดสร้างสรรค์ (creativity) จะเห็นได้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ โครงงานหรือการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น สามารถสร้างเสริมทักษะเหล่านี้ได้มาก อย่างไรกต็ ามในบริบทของโรงเรียนทั่วไป ครูอาจไม่สามารถให้นกั เรยี นร้ดู ้วยการทำโครงงานหรือ การ สรา้ งสรรค์ชน้ิ งานเทา่ นนั้ ดงั นั้นในบทเรียนอืน่ ๆ ถ้าครมู ุง่ เนน้ ทกั ษะแห่งศตวรรษท่ี 21 ในทุกโอกาสที่ เอื้ออำนวยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นทำงานร่วมกัน เรียนรู้การหาที่ติ (ฝึกคิดเชิง

วิพากษ์) หาที่ชมหรือเสนอวิธีการใหม่ (ฝึกคิดเชิงสร้างสรรค์) ก็นับว่าครูจัดการเรียนการสอนเข้าใกล้ สะเตม็ ศกึ ษามากขนึ้ ตามสภาพจริงของชั้นเรยี น 7. การสร้างการยอมรับและการมสี ว่ นร่วมจากชมุ ชน ครูหลายท่านอาจเคยมี ประสบการณ์กบั ผู้ปกครองท่ไี มเ่ ขา้ ใจแนวคิดการศึกษาที่พัฒนานักเรียนใหเ้ ป็นคนเตม็ คน แตม่ ุ่งหวงั ให้สอนเพียงเน้ือหา ติวข้อสอบ อยากให้ครูสร้างเด็กที่สอบเรียนต่อได้แต่อาจใช้ชีวิตไม่ได้ในสังคมจริงของการเรียนรู้และ การทำงาน เมื่อครูมอบหมายให้นักเรียนสืบค้นสร้างชิ้นงานหรือทำโครงงาน ผู้ปกครองไม่ให้การ สนับสนุนหรืออีกด้านหนึ่งผู้ปกครองรับหนา้ ที่ทำให้ทุกอย่าง อย่างไร ก็ตามผลงานจากความสามารถ ของเด็กเป็นอาวุธที่สำคัญที่ครูจะนำมาเผยแพร่จัดแสดงเพื่อชนะใจ ผู้ปกครองและชุมชนให้ได้ การ สนับสนุนการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ครูสามารถนำนักเรียนไปศึกษาในแหล่งเรียนรู้ของ ชมุ ชนสำรวจส่งิ แวดล้อมธรรมชาติในท้องถน่ิ ศกึ ษาและรายงานสภาพมลพิษหรอื การใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรในพื้นที่ให้ชุมชนรับทราบตลอดจนศึกษา และแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในชุมชน กิจกรรมการเรียนรู้เหล่านี้เกิดประโยชน์สำหรับนักเรียนเองอาจเป็นประโยชน์สำหรับชุมชนและ สามารถสร้างการมีส่วนร่วม ความภาคภูมิใจและที่สำคัญอย่างยิ่งคือความรู้สึกของเจ้าของร่วม รับผิดชอบคณุ ภาพการจดั การศึกษาในท้องถนิ่ ตัวเองใหเ้ กดิ ขนึ้ ได้ 8. การสร้างการสนบั สนุนจากผู้เชีย่ วชาญในทอ้ งถ่ิน การใหน้ กั เรียนศกึ ษาปญั หา ปลายเปดิ ตาม ความสนใจของตนเองในลักษณะโครงงานตลอดจนเชื่อมโยงการเรยี นรู้สู่การใช้ ประโยชน์ในบรบิ ทจริง นั้น บางครั้งนำไปสู่คำถามที่ซับซ้อนจนต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง ครูไม่ควรกลัวจะ ยอมรบั กบั นักเรียนว่าครูไมร่ ู้คำตอบหรือครชู ว่ ยไม่ได้ แตค่ วรใช้เครอื ข่ายที่มเี ชื่อมโยงให้ผู้เชี่ยวชาญใน ท้องถิ่นมาช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน เครือข่าย ดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้งศิษย์เก่า ผู้ปกครอง ปราชญ์ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่รัฐหรืออาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น ครูสามารถเชิญวิทยากร ภายนอกมาบรรยายหรือสาธิตในบางหัวข้อหรือใช้เทคโนโลยีเช่น ประชุมผ่านวิดีทัศน์เอื้ออำนวยให้ ผเู้ ช่ยี วชาญสามารถพูดคยุ ใหค้ วามคิดเห็น หรือวิพากษผ์ ลงานนักเรียน เป็นต้น 9. การเรียนรูอ้ ย่างไม่เป็นทางการ (informal learning) เด็ก ๆ นนั้ รักความสนุก หากเราจำกัด ความสนุกในหอ้ งเรียน ความสุขคงอยูห่ ่างไกลจากครแู ละจากเด็ก ๆ ไปเรือ่ ย ๆ แตจ่ ะบูรณาการ ความ สนุกการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีผ่านกระบวนการแก้ปัญหา อย่างไร ต้อง อาศยั ความคดิ สรา้ งสรรคข์ องครใู นการออกแบบกิจกรรมการเรยี นรู้ที่ทา้ ทาย เพลดิ เพลิน ให้ การเรยี น เหมือนเป็นการเล่นแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องอาศัยความรู้และความสามารถตามวัตถุประสงค์ของ หลักสตู รด้วยการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ ท่ไี ด้รับความนิยมคือการจัดกจิ กรรม ค่ายการเรียนรู้จาก เพลง เกมส์ ละครหรือการประกวดแข่งขัน กิจกรรมเหล่านี้เป็นโอกาสดีที่จะสร้าง การมีส่วนร่วมจาก ชุมชน เช่น อาจเชิญผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นเป็นวิทยากรในคา่ ย เป็นกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิหรือให้การ สนับสนุนของรางวัล

10. การเรียนรู้ตามอัธยาศัย (non-formal learning) เมื่อครูได้ดำเนินการ 9 ข้อข้างต้นแล้ว อาจมองออกนอกขอบเขตรั้วโรงเรียน สร้างนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้เป็นวัฒนธรรมของชุมชน ร่วมกันสร้างแหล่งเรียนรู้ด้านสะเต็มศึกษาในท้องถิ่น เช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติหรือประยุกต์ ความรู้สะเต็มเพื่อสนับสนุนแหล่งเรียนรู้วิถีชุมชน เช่น ส่งเสริมให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีที่ เหมาะสม นำเสนอข้อมลู ภมู ศิ าสตร์ ประวตั ิศาสตร์ และวัฒนธรรมชุมชนและการออกแบบเชิง 6.5 ประโยชนข์ องสะเต็มศกึ ษา ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ (2557, 5) ได้กล่าวถึงประโยชน์ที่ได้จากการจัดการเรียนรู้ สะเต็มศกึ ษา มีดงั ต่อไปนี้ 1. นกั เรียนมที ักษะการคดิ วิเคราะห์ และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ท่ีใช้วทิ ยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและกระบวนการทางวศิ วกรรมเป็นฐาน 2. นักเรยี นเข้าใจและสนใจการประกอบอาชีพดา้ นสะเตม็ ศึกษามากขึน้ 3. นกั เรียนเขา้ ใจสาระวชิ าและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตรม์ ากขนึ้ 4. หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมสนับสนนุ การจดั กิจกรรมของครแู ละบุคลากรทางการ ศกึ ษา 5. ส่งเสรมิ การจดั การเรียนรูแ้ ละเชอื่ มโยงระหว่าง 8 กลมุ่ สาระวชิ า 6. สรา้ งกำลงั คนด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย เพอ่ื เพิ่มศกั ยภาพทางเศรษฐกจิ แลนซ์ (Lantz, 2009) สรุปการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของสะเต็มศึกษาวา่ เป็นการ ส่งเสริม คุณภาพการสอน ดังนี้ 1. นักเรียนสามารถที่จะสร้างแรงกระตุ้นในการพัฒนาตนเอง มีแรงจูงในในการพัฒนา ความรู้ และเพิ่มความเช่อื ม่นั ในตนเองในการทำงานในชว่ งเวลาและสถานการณท์ ่ีแตกต่างกนั ได้ 2. นักเรียนสามารถที่จะเข้าใจเหตุและผล และตรรกะผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์ และวศิ วกรรมศาสตร์ในการออกแบบส่งิ ประดิษฐ์หรอื นวตั กรรมตา่ ง ๆ ได้ 3. นักเรียนสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อกำหนดกรอบหรือขอบเขตที่จะศึกษา โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานสู่การออกแบบทางวิศวกรรม เพื่อสร้างสรรคส์ ิง่ ต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของโลกปัจจุบนั 4. นักเรียนมีความเข้าใจและสามารถอธิบายธรรมชาติของเทคโนโลยี การพัฒนาทักษะ ที่ จำเปน็ และสามารถนำความร้ไู ปใชป้ ระยกุ ตใ์ ช้ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม 5. นักเรยี นสามารถทจี่ ะกำหนดคำถามและปัญหา ออกแบบและค้นควา้ เพอื่ รวบรวมขอ้ มูล ลง ข้อสรุป และสามารถประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ใหม่ ๆ ได้ โดยใช้ทักษะความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และ คณติ ศาสตรร์ ว่ มดว้ ย

6. นักเรียนสามารถออกแบบอย่างสร้างสรรค์ทำการทดลอง และออกแบบซ้ำโดยการนำความรู้ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การนำไปใช้ในชีวิตจริงเพื่อตอบสนองความต้องการ ของสงั คม บายบี (Bybee, 2013) ได้กลา่ วถึงประโยชน์ของสะเตม็ ศึกษา ดงั นี้ 1. การได้เรียนรู้ถึงความรู้ด้านสะเต็มศึกษาและใช้ความรู้เหล่านั้นมาระบุปัญหา ได้เรียนรู้องค์ ความรู้ใหมแ่ ละประยุกต์ใช้ความร้ทู สี่ มั พนั ธ์กับสะเตม็ ศกึ ษาในประเด็นปญั หาต่าง ๆ 2. เข้าใจลักษณะของสาขาทางด้านสะเต็มศึกษาว่าเป็นความพยายามของมนุษย์ที่ได้รวมเอา กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ความรู้ทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มาใช้ในการ ออกแบบทางวศิ วกรรมศาสตร์ 3. ตระหนักรู้ถึงรูปแบบของสะเต็มศึกษา ทั้งด้านเนื้อหาการใช้ปัญญาและเป็นวัฒนธรรมหน่ึง ของโลก 4. เขา้ ร่วมในประเด็นทีส่ ัมพนั ธก์ บั สะเต็มศึกษา สามารถใชแ้ นวคิดเกี่ยวกบั สะเต็มศึกษา ว่าเป็น สิง่ ทีเ่ กีย่ วข้องกบั พลเมอื งโลก จากการศกึ ษาเอกสารที่กลา่ วมา ทำให้พอสรปุ ได้ว่าสะเต็มศึกษาเปน็ การส่งเสรมิ การเรียนรู้ผ่าน กิจกรรมหรือโครงงานที่มุ่งแก้ไขปัญหาที่พบเห็นในชีวิตจริง เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ทักษะชีวิต ความคิดสร้างสรรค์นำ ไปสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงาน นักเรียนที่ได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมหรือได้ทำ โครงงานสะเต็มศึกษาจะมีความพร้อมท่ีจะใช้องค์ความรู้และทักษะทางดา้ นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี รวมถึงกระบวนการออกแบบเชงิ วิศวกรรมได้อย่างมีประสทิ ธิภาพ ซึ่งในการประเมินคร้งั น้ี เพื่อให้สอดคล้องวัตถุประสงค์ของโครงการผู้วิจัยจึงกำหนดการประเมินผลที่เกิดกับนักเรียนที่ร่วม โครงการใน 2 ประเดน็ ดงั ต่อไปน้ี 1. ทกั ษะการแก้ปัญหา หมายถงึ ความสามารถของนักเรยี นในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหาใน สถานการณ์ต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาการทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน โดยใช้ความรู้และ ทักษะ พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการแก้โจทย์ปัญหา 4 ขั้นตอนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ บูรณาการสะเตม็ ศกึ ษา ตามขน้ั ตอนของเวยี ร์ (Weir, 1974, 18) คือ ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหา หมายถึง ความสามารถในการระบุปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ กำหนดให้มากทส่ี ดุ ภายในขอบเขตข้อเทจ็ จรงิ ท่ีกำหนดให้ ขัน้ ท่ี 2 ขั้นวเิ คราะหป์ ัญหา หมายถึง ความสามารถในการระบุสาเหตุทท่ี ำใหเ้ กิดปัญหา โดย พจิ ารณาจากข้อเทจ็ จรงิ ของสถานการณท์ ่ีกำหนดให้ ขั้นที่ 3 ขั้นเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหา หมายถึง ความสามารถในการวางแผนหรือเสนอ แนวทางในการคิดแก้ปัญหาที่ตรงกับสาเหตุของปัญหา และลงมือปฏิบัติตามที่ระบุไว้อย่าง สมเหตุสมผล

ขนั้ ที่ 4 ขั้นตรวจสอบผลลพั ธ์ทไ่ี ด้จากปญั หา หมายถงึ ความสามารถในการอธิบายไดว้ ่า ผลที่ เกิดขึน้ จากการกำหนดวธิ กี ารแก้ปญั หาน้ันสอดคล้องกับปัญหาทร่ี ะบุไว้หรอื ไม่ (Weir, 1974, 18) 2. ทักษะการสร้างสรรค์ชิ้นงาน หมายถึง การออกแบบและการสร้างสรรค์ชิ้นงานของนักเรียน สามารถวัดได้จากแบบประเมินการออกแบบและการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ซึ่งสร้างขึ้นตามแนวทางการ ออกแบบการจัดการเรียนรูแ้ บบบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษากับการพัฒนาทักษะในศตวรรษท่ี 21 โดยกำหนด ประเดน็ ในการวัด 4 หวั ข้อ คือ 2.1 การใชห้ ลกั การทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยแี ละกระบวนการออกแบบ ทาง วิศวกรรม หมายถึง นักเรียนนำหลักการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและ กระบวนการ ออกแบบทางวิศวกรรมมาใชใ้ นการออกแบบและการสรา้ งสรรคช์ ิน้ งาน 2.2 ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง นักเรียนสามารถใช้ความคิดของตนเองทีม่ ีความแปลกใหม่ ในการสร้างสรรค์ช้นิ งาน พัฒนาและปรับปรุงชิน้ งาน 2.3 ความสำเร็จของงาน หมายถึง ความสามารถของนักเรียนในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน จน สำเร็จ 2.4 ประสทิ ธภิ าพของผลงาน หมายถึง ชิน้ งานของนักเรียนมีการออกแบบวธิ กี ารทดสอบการ ใชง้ านของชน้ิ งานไดอ้ ยา่ งเหมาะสม (Guildford, 1967) งานวจิ ยั ท่ีเกี่ยวข้อง 1. งานวิจยั ในประเทศ งานวจิ ัยในประเทศ ซง่ึ ผ้วู จิ ัยได้ศกึ ษาคน้ ควา้ เพ่ือการวจิ ัยในคร้งั นี้ มดี ังน้ี ชูชัย นิลสันเทียะ (2554) ศึกษาเรื่องการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและ ค่านิยมท่ีพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนปากช่อง 2 ผลการศึกษาพบว่า โครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนปากช่อง 2 มี ระดับคุณภาพอยู่ในระดับมาก ท่สี ุด ดงั นี้ 1. ดา้ นบริบท มคี วามสอดคล้องชัดเจนของวัตถปุ ระสงค์ของโครงการกับความเหมาะสมใน การนำไปปฏิบัติได้จริงสอดคล้องกับสภาพปัญหาของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ด้านปัจจัย นำเข้า มีการจัดสรรทรัพยากรที่เอื้อต่อการดำเนินงานของ โครงการในด้านบุคลากร ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองและนักเรียน งบประมาณ วัสดุ-อุปกรณ์ และ สถานที่ อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ด้าน กระบวนการ มีการแก้ปัญหาจากการบริหารงานโครงการ ตลอดจนการวางแผนการปฏิบัติงานที่ ชัดเจนรัดกุม มีระบบการดูแล ติดตามและการนิเทศการดำเนินงานหรือการบริหารโครงการอยู่ใน ระดับมาก 4. ด้านผลผลิต มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมจากการดำเนินโครงการ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนและความพึงพอใจ ของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด 5. ด้าน ผลกระทบ มีการยอมรับจากผู้ปกครองและชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด 6. ด้านประสิทธิผล

มีประเมินผลที่เกิดกับนักเรียนภายหลังสิ้นสุดโครงการนักเรียน มีความมั่นใจในองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน ระดบั มาก 7. ดา้ นความย่งั ยนื นักเรยี นสามารถนำความรู้และประสบการณ์ท่ีได้จากโครงการไปใช้ใน การดำเนนิ ชวี ิต และการมีทักษะในการแก้ไขปัญหาในชีวติ ดว้ ยวธิ ีการท่เี หมาะสมอยู่ในระดับมากท่ีสุด 8. ด้านการถ่ายโยงความรู้ นักเรียนมีพฤติกรรมที่เป็นแบบอย่างด้านคุณธรรมจริยธรรมให้ผู้อื่นปฏิบัติ ตามอยู่ในระดับมาก ธนพล สุประดิษฐ์พงศ์ (2554) ศึกษาเรื่องการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน และชุมชน กรณีศึกษาโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนของหมู่บ้านสันทรายต้นกอก ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่าในด้านบริบทของโครงการมี การให้ความสนใจในวัตถุประสงค์ที่ให้ประชาชนฐานรากสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่ งยืนมากเกินไป โดยมองข้ามความสมดุลที่จำเปน็ ต้องมีโครงการที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสนับสนุนและสง่ เสริมให้ทุก ภาคส่วนในชุมชนร่วมกันบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพของตนเอง ด้านข้อมูลนำเข้าพบว่าข้อมูล นำเข้าส่วนใหญ่นั้นมีความเหมาะสมสำหรับแนวทางใน การประสบความสำเร็จเพียงเชิงธุรกิจแต่ไม่ สอดคล้องกับแนวคิดที่เกี่ยวกับโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนเนื่องจากโครงการ เหล่านมี้ วี ตั ถปุ ระสงคต์ ้องการพฒั นาศักยภาพของชาวบ้านสนั ทรายตน้ กอกยึดเพียงความสำเร็จในเชิง ธุรกิจ ด้านกระบวนการ พบว่ากระบวนการ ดำเนินงานมีปัญหาเนื่องจากการเพิ่มเงื่อนไขคุณสมบัติ และเพิ่มขั้นตอนของการคัดเลือกบุคคลจึงทำให้โครงการมีวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินงาน เปลี่ยนแปลงไปโดยส่งผลให้โครงการที่ดำเนินการไปไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ด้าน การประเมินผลผลิต พบว่าสิ่งทีได้รับจากโครงการไม่มีความสอดคล้องกับแนวคิดของโครงการพัฒนา ศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนซึ่งเหมือนกับไม่มีเปลี่ยนแปลงใดหลังจากมีการดำเนินโครงการไปใน หมู่บ้านสนั ทรายต้นกอก ภัสสร ติดมา (2558) ได้ศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM education เรื่องระบบ ของร่างกายมนุษย์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 48 คน ของโรงเรียนแห่งหนึง่ ในจังหวัดสุโขทัย ที่ได้จากการสุ่มอย่างเฉพาะเจาะจง วัตถุประสงค์ของการ วิจัย 1) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรคก์ ่อนเรียนและหลังเรยี นของนักเรียนมธั ยมศกึ ษาปีที่ 2 ท่ี เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM education เรื่อง ระบบของร่างกายมนุษย์ 2) เพื่อ ศึกษาพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระหว่างเรียน การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM education เร่ือง ระบบของร่างกายมนุษย์เคร่ืองมือทใี่ ช้ ในงานวจิ ัยประกอบดว้ ย 1) แผนการ จัดการเรียนรตู้ ามแนวทาง STEM education 2) แบบทดสอบวัดความคดิ สร้างสรรค์ 3) แบบประเมิน ความคิดสร้างสรรค์ของชิ้นงานนักเรียน 4) แบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ ทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิง เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนโดยการจัดการ เรียนรู้ตามแนวทาง STEM education

มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ . 05 2) นักเรียนมีพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ระหว่างเรียนการ จัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM education เพิม่ สูงขนึ้ อาทิตยา พูนเรือง (2558) ได้ทำการศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตโดยการจัดการ เรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเรื่องเคมีท่ี เปน็ พนื้ ฐานของส่งิ มีชีวิต ที่ได้รบั การจดั การเรยี นร้ตู ามแนวทางสะเต็มศึกษา กล่มุ ทศี่ กึ ษาเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน ที่สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากโรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ บทปฏิบัติการ (รวมทั้ง เรื่องกรดโฟลิก) แผนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี น และแบบทดสอบวดั ความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมลู โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที แบบกลมุ่ ทีศ่ ึกษาท่ไี ม่เปน็ อิสระต่อกนั ผลการวิจยั พบว่า ผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี นและความสามารถใน การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตรห์ ลังเรยี นสูงกวา่ กอ่ นเรียน อยา่ งมีนัยสำคญั ทางสถิตทิ ีร่ ะดบั .05 สุพัตรา โคตะวงค์ (2559, บทคัดย่อ) ที่ได้ทำการวิจัยการส่งเสริมทักษะการทำงานเป็น ทีมด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนช้ัน มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมแพศึกษา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการ เรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เมกุยแกนส์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินทักษะทำงานเป็นทีมก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการทำงานเป็นทีมกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/13 โรงเรียนชุมแพศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็ม ศกึ ษาร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมอื 2) แผนจดั การเรยี นรู้ จำนวน 9 แผน 3) แบบประเมินทักษะการ ทำงานเป็นทีม 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน t-test (Dependent samples) และสัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์เพียร์สนั ผลการวิจยั พบวา่ กิจกรรมการ เรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เมกุยแกนส์ ผู้เรียน มีทักษะการทำงานเป็นทีมสูงขึ้นตามลำดับ วงรอบที่ 1 ร้อยละของคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 53.67 วงรอบที่ 2 ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 63.33 และวงรอบที่ 3 มีร้อยละของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 80.33 ผู้เรียนมีผลการประเมินทักษะการทำงานเป็นทีมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษะการทำงานเป็นทีมมีความสัมพันธ์กับงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมี

นัยสำคัญทางสถิตทิ ี่ระดับ .05 และผู้เรียนมคี วามพึงพอใจตอ่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวมอย่ใู น ระดบั มากทีส่ ุด 2. งานวจิ ยั ต่างประเทศ ฮาดิ, สัจจาดีม,บารัตปูร์, และโตเกียนี (Hadi, Sajjadi, Baratpour, & Toghiani, 2013) ศึกษาเรื่อง การประเมินผลการปฏิบัติงานของระบบข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารของระบบ ข้อเสนอแนะ และคณะกรรมการมืออาชีพและทั่วไป ของ IUMS ผลการศึกษาพบว่า ค่าคะแนนของประสิทธิภาพของการทำงานของระบบดังกล่าวเท่ากับ ร้อยละ 50.47 ผลการประเมิน ประสิทธิภาพของการทำงานของระบบอยู่ในระดับปานกลาง การ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลการประเมินตามรูปแบบ CIPP Model พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้ามีค่า คะแนนสูงสุดรองลงมาคอื ด้านกระบวนการ และดา้ นผลผลิตมคี ่าเฉล่ียต่ำท่ีสดุ โนวชิน, ไฟซา, มูฮัมหมัด, ยาร์ฮัมหมัด, และมาซูเมห์ (Nooshin, Faezeh, Mohammad, Yarmohammadianc, & Masumeh (2011) ไดศ้ ึกษาเร่ืองการประยกุ ตใ์ ชร้ ปู แบบการประเมิน CIPP Model สำหรับการประเมินเวชระเบียนหลักสูตรการศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์ การแพทย์อิหร่าน มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ พบว่าด้านบริบทของหลักสูตรการศึกษามีค่าคะแนน 3.20 ในระดับปานกลาง ด้านปัจจัยนำเข้าของหลักสูตรมีค่าคะแนน 3.43 ในระดับปานกลาง กระบวนการของหลักสูตร : ผลที่เกี่ยวข้องกับส่วนนี้จะดำเนินการโดยการประเมินกระบวนการของ การศึกษามีค่าคะแนน 3.19 ในระดับปานกลาง ด้านผลผลิตของหลักสูตรมีค่าคะแนน 3.38 ในระดับ ปานกลาง เจิง, ชาง, โหลว, และเฉิน (Tseng, Chang, Lou, & Chen, 2011) ได้ศึกษาเจตคติต่อ การบูรณาการวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ (STEM) ในการเรียนรู้แบบ โครงงาน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ผู้ท่ี เริ่มทำงานใหม่ในสถาบันเทคโนโลยีในไต้หวัน จำนวน 5 แห่ง รวม 30 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่ม ตัวอย่างที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยโครงงานเป็นฐาน มีเจตคติต่อวิศวกรรม เปล่ียนไปอย่างมนี ัยสำคัญ จากการสัมภาษณ์ เกอื บทงั้ หมดแสดงให้เหน็ ถงึ ความสำคัญของ STEM คือ ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ทางด้าน STEM จะเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพในอนาคต สามารถนำมาใช้เทคโนโลยวี ศิ วกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ร่วมกับการใชโ้ ปรแกรม (ER & P) มีผล การเรยี นร้ดู ขี ้นึ ไดอาน่า (Diana, 2012) ได้ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน โดยใช้

นักเรียนเกรด 3-8 เป็นกรณีศึกษาให้ทำโครงงานในหัวข้อเรื่อง ดาวอังคารในจินตนาการ โดยมี ขั้นตอนการจัดกิจกรรมเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบความพื้นฐานให้จินตนาการศึกษาค้นคว้า สำรวจ ตรวจสอบ สร้างสรรค์ออกแบบโมเดลดาวองั คาร และแลกเปลีย่ นความคิดการออกแบบของตวั เอง ให้ เพื่อน ๆ ได้รู้จักผลการศึกษาพบว่าการจัดการเรียนรู้บูรณาการ STEM ในการให้นักเรียนได้ทำ โครงงานส่งผลทำ ให้นักเรียนสามารถถ่ายโอนความรู้และทักษะสู่การแก้ปัญหาในชีวิตจริงท่ี เผชิญหนา้ และประยุกตใ์ ชก้ บั ปญั หาใหม่ ๆ ชวง และคนอื่น ๆ (Quang, et al., 2015) ได้ศึกษาการบูรณาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) ผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการ ออกแบบของเล่นเชิงเทคนิคของนักเรียนในโรงเรียนของเวียดนาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา สะเต็มศึกษา 2) ศึกษากิจกรรมสะเต็มศึกษากับความคิดสร้างสรรค์และการเสริมสร้างประสบการณ์ 3) แนะนำการประยุกต์ใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบของเล่นเชิงเทคนิคสำหรับ นกั เรียนในระดบั มัธยมศึกษา การศกึ ษาคร้ังน้ีใชว้ ธิ กี ารวจิ ยั เชิงคุณภาพ ใช้การบูรณาการการเรียนการ สอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา และนำไปใช้กับการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีในโรงเรียนระดบั มัธยมศึกษาในประเทศเวียดนาม ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2015 ผลการวิจัย พบว่า การบูรณาการ สะเต็มศกึ ษาผา่ นการออกแบบของเล่นเชงิ เทคนคิ สำหรบั นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาของเวยี ดนาม ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้และเห็นประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม และแนวทางการบูรณาการสะเต็ม ศึกษาผ่านการออกแบบของเล่นเชิงเทคนิคมีความเป็นไปได้และมีความสอดคล้องกับการพัฒนา ความสามารถของนักเรยี น จากการศึกษางานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องจะพบว่ารูปแบบการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (stufflebeam) นั่นมีการประเมินที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้าน บริบท (context) ด้านปัจจัยนำเข้า (input) ด้านกระบวนการ (process) และด้านผลผลิต (product) การประเมินแบบ CIPP Model เป็นการประเมินวัตถุประสงค์และรายละเอียดต่าง ๆ เพ่ือ ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการและกิจกรรม มีลักษณะเป็นแบบประเมินความก้าวหน้าเพื่อช้ี จุดเด่นจุดด้อยของการดำเนินงาน ทั้งในระยะก่อนการดำเนินงาน ระหว่างการดำเนินงาน และเมื่อ เสร็จสิ้นการดำเนินงาน ซึ่งผลที่ได้จากการประเมินในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ที่มีความ เกี่ยวข้องในการปรับปรุงและแก้ไข พัฒนาโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรียนออ้ มนอ้ ยโสภณชนปู ถัมภ์ อำเภอกระทมุ่ แบน จงั หวัดสมุทรสาคร ตอ่ ไป

บทที่ 3 วิธดี ำเนนิ การวิจยั การวจิ ยั เร่อื งโครงการขบั เคลอ่ื นการจัดการเรียนรู้สะเต็มศกึ ษา (STEM education) โรงเรียน ออ้ มน้อยโสภณชนปู ถมั ภ์ อำเภอกระทมุ่ แบน จังหวดั สมุทรสาคร ผวู้ ิจยั ได้ดำเนินการวจิ ยั ตามขนั้ ตอน ดังนี้ 1. กลุม่ เปา้ หมายในการให้ขอ้ มูล 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจยั 3. การเก็บรวบรวมข้อมลู 4. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติท่ีใช้ในการวิจยั กลุ่มเป้าหมายในการให้ข้อมูล ประชากรและกลุ่มตวั อยา่ งท่ใี ชใ้ นการวิจัย คือ ผู้ที่มสี ่วนเก่ยี วข้องกับโครงการขบั เคลือ่ นการ จัดการเรยี นรสู้ ะเต็มศึกษา (STEM education) อำเภอกระทุม่ แบน จงั หวดั สมทุ รสาคร โดยใช้วธิ ีการ เลอื กแบบเจาะจง (purposive sampling) จำแนกได้ตามตารางท่ี 1 ตารางที่ 1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างทีผ่ ้ทู ี่มีสว่ นเก่ียวข้องกบั โครงการขับเคล่อื นการจัดการ เรียนรูส้ ะเตม็ ศึกษา (STEM education) ประเภท ประชากร กลมุ่ ตวั อย่าง วิธกี ารได้มาของ (คน) (คน) กล่มุ ตัวอยา่ ง 1. ผอู้ ำนวยการโรงเรยี นออ้ มน้อย 1 1 จากผดู้ ำรงตำแหน่ง โสภณชนูปถมั ภ์ ปจั จุบนั 2. ผู้ช่วยผูอ้ ำนวยการโรงเรียนอ้อมน้อย 3 3 จากผดู้ ำรงตำแหนง่ โสภณชนปู ถัมภ์ ปจั จบุ นั 3. หัวหน้ากลุ่มสาระการเรยี นรูว้ ิทยาศาสตร์ 2 2 จากผู้ดำรงตำแหน่ง และเทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ ปจั จุบนั 3. ครูผู้สอนกล่มุ สาระการเรียนร้วู ิทยาศาสตร์ 25 25 จากผดู้ ำรงตำแหนง่ และเทคโนโลยี และคณติ ศาสตร์ ปจั จุบัน

ตารางท่ี 1 (ต่อ) ประชากร กลุ่มตวั อยา่ ง วธิ ีการไดม้ าของ ประเภท (คน) (คน) กลุ่มตัวอย่าง 537 70 นักเรียนช้นั 4. นักเรียนช้ันมัธยมศกึ ษาตอนปลายภาค มธั ยมศึกษาปที ่ี 5 เรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2563 588 101 แผนวิทย์-คณติ ภาคเรียนที่ 1 ปี รวมทั้งส้ิน การศึกษา 2563 เคร่ืองมือทใี่ ช้ในการวจิ ัย เคร่อื งมือทใ่ี ชใ้ นการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปดว้ ย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และ แบบทดสอบวดั ทกั ษะการเรยี นรู้ ท่ีผู้วจิ ัยสรา้ งขึน้ โดยการศกึ ษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร หนงั สอื และ งานวจิ ัยทเ่ี ก่ยี วข้องมีดังนี้ 1. แบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด ได้แก่ ชดุ ท่ี 1 แบบสอบถามสำหรับครผู ู้รบั ผิดชอบโครงการและครผู สู้ อน มี 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วย เพศ อายุ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ประสบการณ์ด้านการสอน ตำแหน่งวิทยฐานะและระดับชั้นที่สอน เป็น แบบสอบถามชนิดปลายปิด ประเภทแบบตรวจสอบรายการ (check-list) และแบบสอบถาม ปลายเปิด (open–ended form) ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็น เพื่อประเมินข้อมูลด้านบริบท (context) ด้านปัจจัย นำเข้า (input) ด้านกระบวนการ (process) ดา้ นผลผลติ (product) และดา้ นผลกระทบ (impact) มี ลกั ษณะเปน็ มาตรประเมนิ คา่ (rating scale) 5 ระดับ ประกอบด้วย 5 หมายถึง เหน็ ดว้ ยในระดบั มากทีส่ ดุ 4 หมายถงึ เห็นดว้ ยในระดับมาก 3 หมายถึง เหน็ ดว้ ยในระดับปานกลาง 2 หมายถึง เห็นด้วยในระดบั นอ้ ย 1 หมายถงึ เห็นดว้ ยในระดับน้อยท่สี ุด ตอนที่ 3 แบบสอบถามปัญหาและขอเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการขับเคลื่อนการจัดการ เรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นแบบสอบถาม ปลายเปิด (open–ended form)

เกณฑก์ ารใหค้ ะแนนและการแปลความหมายของคะแนน เกณฑ์การให้คะแนนขอ้ คำถามตอนท่ี 2 ของแบบสอบถาม ท่มี ีลกั ษณะเป็นประเภทมาตร ประเมินค่า (rating scale) 5 ระดับ มีเกณฑ์การให้คะแนนดงั นี้ คะแนน ระดับความคดิ เหน็ คา่ เฉล่ีย 4.21-5.00 หมายถึง ระดบั คุณภาพในการดำเนินการระดับมากทส่ี ุด คา่ เฉลยี่ 3.41–4.20 หมายถึง ระดบั คุณภาพในการดำเนนิ การระดบั มาก คา่ เฉล่ยี 2.61–3.40 หมายถึง ระดับคุณภาพในการดำเนินการระดับปานกลาง ค่าเฉลีย่ 1.81–2.60 หมายถึง ระดับคณุ ภาพในการดำเนินการระดับน้อย ค่าเฉลีย่ 1.00–1.80 หมายถงึ ระดับคณุ ภาพในการดำเนนิ การระดับน้อยท่ีสุด การสรา้ งแบบสอบถาม (questionnaire) 1. ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี หลักการจากหนังสือและตำราต่าง ๆ ตลอดจนงานวิจัยที่ เก่ยี วขอ้ ง เพื่อเปน็ แนวทางการสรา้ งแบบสอบถาม 2. ศึกษารูปแบบการสร้างเครื่องมือ วิธีการสร้างเครื่องมือและรายละเอียดของเครื่องมือ เพื่อ เป็นแนวทางในการสร้างและปรบั ปรงุ แบบสอบถาม 3. นำแนวคดิ หลักการ และขอ้ มูลตา่ ง ๆ มาสรา้ งแบบสอบถาม 4. นำแบบสอบถามฉบับร่างเสนอต่ออาจารยท์ ี่ปรึกษา เพื่อตรวจสอบความ ถูกต้องของเนื้อหา และความเหมาะสมของแบบสอบถาม ทำการปรบั ปรงุ แก้ไขตามคำแนะนำ 5. นำแบบสอบถามที่แก้ไขแล้วเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบความ เที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) ของข้อคำถามและหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC: index of item objective congruence) (Cronbach 1974, 161) โดยมีเกณฑก์ ารใหค้ ะแนน ดังนี้ +1 หมายความวา่ แน่ใจว่าข้อคำถามสอดคล้อง/ตรงตามวตั ถุประสงค์ 0 หมายความว่า ไม่แน่ใจวา่ ข้อคำถามสอดคลอ้ ง/ไมส่ อดคลอ้ งหรือตรงตามวตั ถปุ ระสงค์ -1 หมายความว่า ขอ้ คำถามไม่สอดคลอ้ ง/ไมต่ รงตามวตั ถุประสงค์ คา่ IOC ท่คี ำนวณได้มีคา่ เท่ากบั 0.98 จงึ จะถอื ว่าข้อคำถามน้ันมีความเทีย่ งตรงเชิงเนื้อหา 6. นำไปทดลองใช้ (try out) กับครูผู้สอน จำนวน 30 คน จากโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ จังหวัดสมุทรสาคร ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาค่าความเชื่อมั่น (reliabiliy) ตามวิธีการหาความ สอดคล้องภายในซ่งึ ได้ค่าความเชอ่ื ม่นั เท่ากบั 0.71 โดยใช้วิธแี อลฟ่าของครอนบาค (Cronbach) 7. ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมและดำเนินการจัดพิมพ์เป็นแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์เพื่อใช้ใน การเกบ็ รวบรวมข้อมูลตอ่ ไป

2. แบบสมั ภาษณ์ (interview form) เปน็ การสมั ภาษณ์แบบมโี ครงสรา้ ง (structured interview or standardized interview) ใชเ้ กบ็ รวบรวมขอ้ มูลจากการสมั ภาษณ์ผ้ทู ี่เกีย่ วข้องจำนวน 1 ชดุ ได้แกแ่ บบสมั ภาษณ์สำหรบั ผบู้ ริหาร สถานศกึ ษา 3 ตอน ดงั นี้ ตอนที่ 1 แบบสัมภาษณ์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ถูกสัมภาษณ์ ประกอบด้วย เพศ อายุ คุณวุฒิ การศกึ ษาสงู สดุ และระยะเวลาการปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ี ตอนที่ 2 แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น เพื่อประเมินข้อมูลด้านบริบท (context) ด้านปัจจัย นำเข้า (input) และดา้ นกระบวนการ (process) ตอนที่ 3 แบบสัมภาษณ์ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการขับเคลื่อนการจัดการ เรียนรสู้ ะเตม็ ศกึ ษา (STEM education) อำเภอกระทมุ่ แบน จงั หวดั สมุทรสาคร การสร้างแบบสัมภาษณ์ (interview form) 1. ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีหลักการจากหนังสือและตำราต่าง ๆ ตลอดจนงานวิจัยที่ เกี่ยวขอ้ งเพอ่ื เปน็ แนวทางการสร้างแบบสัมภาษณ์ 2. ประมวลข้อมูลที่ได้จากการศึกษา สร้างเป็นข้อคำถามที่สอดคล้องกับประเด็นหรือ วัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์และขอบเขตเนื้อหา โดยขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อ ตรวจสอบความเหมาะสมของเนอื้ หาทำการปรบั ปรงุ แกไ้ ขตามคำแนะนำ 3. นำแบบสัมภาษณ์ที่ปรบั แก้แล้วเสนอต่อผู้เชย่ี วชาญ เพ่อื ตรวจสอบความเทยี่ งตรงเชิงเน้ือหา (content validity) ของข้อคำถามและหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC: index of item objective congruence) (Cronbach, 1974, 161) โดยมีเกณฑ์การใหค้ ะแนน ดงั นี้ +1 หมายความว่า แนใ่ จวา่ ขอ้ คำถามสอดคลอ้ ง/ตรงตามวตั ถปุ ระสงค์ 0 หมายความว่า ไมแ่ นใ่ จว่าข้อคำถามสอดคลอ้ ง/ไม่สอดคลอ้ งหรือตรงตามวตั ถุประสงค์ -1 หมายความวา่ ขอ้ คำถามไม่สอดคลอ้ ง/ไมต่ รงตามวตั ถปุ ระสงค์ ค่า IOC คำนวณได้มคี า่ เท่ากบั 1.00 จึงถอื วา่ ขอ้ คำถามมีความเท่ยี งตรงเชงิ เนอื้ หา 4. นำแบบสัมภาษณ์ที่ไดป้ รับปรุงแกไ้ ขเรียบร้อยแลว้ ไปใชส้ ัมภาษณจ์ ริง 3. แบบทดสอบวัดทกั ษะการเรียนรู้ 3.1 แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา เป็นแบบอัตนัยโดยมีข้อคำถามเรียงกันเป็นชุด โดยแต่ละ ชุดจะมีการกำหนดสถานการณ์และให้นักเรียนเขียนตอบการแก้ปัญหา จำนวน 1 สถานการณ์โดย กำหนดประเด็นในการวัด 4 ด้าน ตามขั้นตอนของเวียร์ (Weir, 1974, 18) คอื

3.1.1 ขัน้ ตง้ั ปญั หา 3.1.2 ขนั้ วิเคราะหป์ ญั หา 3.1.3 ข้นั เสนอแนะวิธกี ารแก้ปัญหา 3.1.4 ขน้ั ตรวจสอบผลลัพธ์ทไ่ี ด้จากปัญหา 3.2 แบบประเมินการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เป็นแบบประเมินการสร้างสรรค์ชิ้นงานของ นักเรยี นหลงั ได้รับการจดั การเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศกึ ษา โดยพจิ ารณา 4 ดา้ น คือ 3.2.1 การใช้หลกั การทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและกระบวนการ ออกแบบทางวศิ วกรรม 3.2.2 ความคิดสร้างสรรค์ 3.2.3 ความสำเร็จของงาน 3.2.4 ประสทิ ธิภาพของงาน ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนนแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) ค่า 5 ระดับ ตามวิธีของ ลิเคริ ์ท (Likert scale) การสรา้ งเคร่อื งมือทใี่ ชใ้ นการเก็บรวบรวมขอ้ มลู ผู้วจิ ัยได้ดำเนนิ การสร้างตามลำดบั ข้ันตอน ดงั ตอ่ ไปน้ี การสรา้ งแบบทดสอบวัดทกั ษะการเรยี นรู้ 1. แบบวดั ทักษะการแกป้ ัญหา 1.1 ศึกษาความหมาย ทฤษฎี เอกสารที่เกี่ยวข้องกับทักษะการแก้ปัญหาเพ่ือใช้เป็นแนวทาง ในการสรา้ งแบบทดสอบวดั ทกั ษะการแก้ปญั หา 1.2 สร้างแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาตามนิยามเชิงปฏิบัติการโดยให้มีความสอดคล้องกับ ขั้นตอนการแก้ปัญหาของเวียร์ (Weir, 1974, 18) ซึ่งแบบวัดทักษะเป็นแบบอัตนัย ผู้วิจัยกำหนด ประเด็นการประเมิน 4 ด้านคือ 1) ขั้นตั้งปัญหา 2) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา 3) ขั้นเสนอแนะวิธีการ แก้ปญั หา และ 4) ขั้นตรวจสอบผลลพั ธ์ท่ไี ด้จากปัญหา 1.3 นำแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อตรวจสอบ ความถูกตอ้ งเหมาะสม จากนนั้ ดำเนินการแก้ไขปรบั ปรงุ ตามคำแนะนำ 1.4 นำแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ใช้การเลือกแบบ เจาะจง ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผล เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จากนั้นนำผลการ ประเมินของผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC: index of item objective congruence) (Cronbach 1974, 161) โดยมีเกณฑก์ ารให้คะแนน ดังน้ี

+1 หมายความว่า แน่ใจวา่ ข้อคำถามสอดคล้อง/ตรงตามวตั ถปุ ระสงค์ 0 หมายความวา่ ไม่แน่ใจว่าขอ้ คำถามสอดคลอ้ ง/ไมส่ อดคลอ้ งหรือตรงตามวัตถุประสงค์ -1 หมายความว่า ข้อคำถามไม่สอดคล้อง/ไม่ตรงตามวตั ถปุ ระสงค์ ค่า IOC คำนวณไดม้ ีค่าเทา่ กบั 1.00 จงึ ถอื วา่ ขอ้ คำถามมีความเทย่ี งตรงเชงิ เนื้อหา ปรับปรุง แกไ้ ขแบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาตามคำแนะนำของผู้เช่ียวชาญ 1.5 นำแบบวัดทกั ษะการแก้ปญั หาไปทดลองใช้ (try -out) กบั นักเรียนชนั้ มัธยมศึกษาปีท่ี 6 โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ที่เคยเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ใน ภาคการศึกษาปีท่ี 1 ปีการศกึ ษา 2562 จำนวน 70 คน 1.6 นำคะแนนของนักเรียนที่ได้จากการประเมินไปวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น เพื่อหาค่า ความเชื่อมั่น (reliabiliy) ตามวิธีการหาความสอดคล้องภายในซึง่ ได้ค่าความเชื่อมั่นเทา่ กับ 0.72 โดย ใช้วธิ แี อลฟ่าของครอนบาค (Cronbach) 1.7 นำแบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาที่พัฒนาคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ท่ีกำหนดไปใช้ กบั กลมุ่ ตวั อย่าง โดยทำการวัดทกั ษะการแก้ปญั หาของนักเรยี นก่อนเรยี นและหลังเรยี นดว้ ยแบบวัดชุด เดียวกัน 2. แบบประเมนิ การสรา้ งสรรคช์ ิ้นงาน 2.1 ศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวจิ ัยที่เกย่ี วขอ้ งกับการสร้างสรรคช์ ิน้ งาน 2.2 ศกึ ษาวธิ กี ารสร้างแบบประเมนิ จากหนังสือและเอกสารท่เี กีย่ วข้อง 2.3 สร้างแบบประเมินการสร้างสรรค์ชิ้นงานซึ่งสร้างขึ้นตามแนวทางการออกแบบการ จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษากับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยกำหนดประเด็น การประเมิน 4 ดา้ น คือ 1) การใช้หลกั การทางวิทยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์ เทคโนโลยีและกระบวนการ ออกแบบทางวิศวกรรม 2) ความคิดสร้างสรรค์ 3) ความสำเร็จของงาน 4) ประสิทธิภาพของผลงาน กำหนดเกณฑ์การประเมินเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) ค่า 5 ระดับ ตามวิธีของ ลิเคิร์ท (Likert scale) โดยกำหนดใหม้ รี ะดบั การประมาณค่าดังน้ี ดีมาก ดี ปานกลาง พอใช้ และควร ปรับปรงุ มคี ะแนนเป็น 5 , 4 , 3 , 2 และ 1 ตามลำดับ 2.4 นำแบบประเมินการสร้างสรรค์ชิ้นงานเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เพ่ือ ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมจากน้นั ดำเนนิ การแก้ไขปรบั ปรงุ ตามคำแนะนำ 2.5 นำแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ใช้การเลือกแบบ เจาะจง ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผล เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จากนั้นนำผลการ

ประเมินของผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC: index of item objective congruence) (Cronbach, 1974, 161) โดยมเี กณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ +1 หมายความว่า แน่ใจว่าขอ้ คำถามสอดคล้อง/ตรงตามวตั ถปุ ระสงค์ 0 หมายความว่า ไม่แนใ่ จว่าขอ้ คำถามสอดคล้อง/ไมส่ อดคลอ้ งหรือ ตรงตามวตั ถุประสงค์ -1 หมายความวา่ ขอ้ คำถามไม่สอดคลอ้ ง/ไมต่ รงตามวัตถปุ ระสงค์ ค่า IOC คำนวณได้มีค่าเท่ากับ 1.00 จึงถือว่าข้อคำถามมีความเที่ยงตรงเชิงเน้ือหา จากน้ัน ปรบั ปรุงแก้ไขแบบทดสอบวัดทกั ษะการแก้ปญั หาตามคำแนะนำของผูเ้ ชย่ี วชาญ 2.6 นำแบบประเมินการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่มีคุณภาพเป็นไปตาม เกณฑ์ที่กำหนดไปทดลอง ใช้กับกลมุ่ ตวั อย่าง การเก็บรวบรวมขอ้ มลู การเก็บรวบรวมข้อมูลผูว้ จิ ยั ได้ดำเนินการตามขัน้ ตอน ดงั ต่อไปน้ี 1. การเกบ็ รวบรวมข้อมลู จากแบบสอบถาม 1.1 ผู้วิจัยทำการขอหนังสือขอความอนุเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูลจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ถึงผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้ดำเนินโครงการ เพื่อขอความ ร่วมมอื ในการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู 1.2 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยดำเนินการส่งแบบสอบถาม และเก็บ รวบรวมแบบสอบถามคนื ด้วยตนเอง 1.3 ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาตรวจสอบความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ของ แบบสอบถามและตรวจสอบความครบถ้วนของข้อคำถามท่ีได้จากแบบสอบถาม 1.4 ผู้วิจัยนำแบบสอบถามมาดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป โดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูป ทางสังคมเพ่อื คำนวณหาค่าสถิตติ ่อไป 2. การเกบ็ รวบรวมข้อมลู จากแบบสมั ภาษณ์ 2.1 ผู้วิจัยทำการขอหนังสือขอความอนุเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูลจากบัณฑิตวิทยาลัย ราชภัฏหมบู่ ้านจอมบึง ถงึ ผอู้ ำนวยการโรงเรยี น เพ่ือขอความรว่ มมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนัด วนั เวลาและสถานทีใ่ นการสมั ภาษณ์ 2.2 ผ้วู ิจัยเดนิ ทางไปสมั ภาษณ์ด้วยตนเอง ซง่ึ มขี ้นั ตอนการดำเนนิ การสมั ภาษณ์ ดงั น้ี 2.2.1 ขั้นเตรียมตัวก่อนสัมภาษณ์ เตรียมแบบสัมภาษณ์ที่ได้สร้างขึ้น พร้อมเตรียม อุปกรณ์หรือเครื่องมือในการบันทึกการสัมภาษณ์ ได้แก่เทปบันทึกเสียงและซักซ้อมการสัมภาษณ์ รวมทงั้ วธิ กี ารบนั ทกึ ข้อมูล

2.2.2 ขั้นดำเนินการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยแนะนำตนเองและบอกจุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์ และผวู้ จิ ัยสมั ภาษณต์ ามประเดน็ ในแบบสัมภาษณ์ทีผ่ ู้วิจัยสรา้ งขน้ึ มา 2.2.3 ขั้นบันทึกผลการสมั ภาษณ์ ผูว้ จิ ยั บนั ทกึ ผลการสมั ภาษณท์ ันที หลงั จากสมั ภาษณ์ 2.2.4 ขั้นปิดการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยกล่าวขอบคุณผู้ให้การสัมภาษณ์พร้อมมอบของที่ระลึก และกลา่ วอำลา 3. การเก็บรวบรวมขอ้ มูลจากแบบทดสอบวัดทักษะการเรยี นรู้ 3.1 นำแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาไปทดสอบกับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอ้อม น้อยโสภณชนูปถัมภ์ จำนวน 70 คน ใช้เวลาทดสอบ 1 ชั่วโมง แล้วบันทึกคะแนนกลุ่มตัวอย่างจาก การทดสอบคร้งั นีเ้ ปน็ คะแนนกอ่ นเรยี น (pre–test) 3.2 ดำเนินการโครงการขบั เคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากบั นักเรียนช้ันมัธยมศึกษา ปีท่ี 5 ภาคเรียนท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2563 จำนวน 70 คน 3.3 นำแบบวัดทักษะการแก้ปญั หานักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอ้อมนอ้ ยโสภณชนปู - ถัมภ์ จำนวน 70 คน ใช้เวลาทดสอบ 1 ชั่วโมงเป็นคะแนนหลังสอบ (Post–test) แล้วบันทึกคะแนน กล่มุ ตัวอยา่ งจากการทดสอบ 3.4 นำแบบประเมินการสรา้ งสรรค์ช้นิ งานประเมนิ ช้นิ งานจากการจัดการเรียนร้สู ะเต็มศึกษา นักเรยี นมธั ยมศกึ ษาปที ี่ 5 โรงเรยี นออ้ มนอ้ ยโสภณชนูปถัมภ์ จำนวน 70 คน ใชเ้ วลาประเมนิ 3 ช่ัวโมง และบันทกึ คะแนนกลุม่ ตัวอย่างจากการประเมิน การวิเคราะหข์ อ้ มลู และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ผู้วจิ ัยไดด้ ำเนินการวเิ คราะห์ข้อมลู ดงั น้ี 1. การวเิ คราะหแ์ บบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ หลังจากได้รับแบบสอบถามผู้วิจัยนำข้อมูลทั้งหมดมาจัด ระเบยี บขอ้ มลู โดยใช้โปรแกรมสำเรจ็ รูปทางสงั คมเพ่ือคำนวณหาคา่ สถิติ ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ประเภทแบบตรวจสอบ รายการ (check-list) ใชก้ ารวิเคราะหด์ ้วยสถติ ิร้อยละ ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็น เพื่อประเมินข้อมูลด้านบริบท (context) ด้านปัจจัย นำเข้า (input) ด้านกระบวนการ (process) และด้านผลผลิต (product) ลักษณะคำถามเป็น แบบสอบถามชนิดปลายปิด (closed–ended form) ประเภทมาตรประเมินค่า (rating scale) 5 ระดับ ใช้การวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยมีเกณฑ์ตัวชี้วัดตาม เกณฑ์ของเบสท์ (Best 1981, 179-187)

ตอนที่ 3 แบบสอบถามปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการขับเคลื่อนการจัดการ เรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นแบบสอบถาม ปลายเปิด (open–ended form) ใชก้ ารวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) โดยนำเสนอในรูปการ บรรยายเป็นความเรยี ง 2. การวเิ คราะหแ์ บบสมั ภาษณ์ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) โดยนำเสนอใน รูปการบรรยายเป็นความเรียงแสดงถึงผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็ม ศกึ ษา (STEM education) โรงเรยี นออ้ มนอ้ ยโสภณชนปู ถมั ภ์ อำเภอกระทมุ่ แบน จังหวัดสมุทรสาคร 3. การวเิ คราะห์แบบทดสอบ 3.1 ดา้ นทกั ษะการแกป้ ญั หา เปรยี บเทยี บคะแนนด้านทกั ษะการแก้ปัญหาก่อนและการเขา้ รว่ มโครงการขับเคล่ือน การจัดการเรยี นรสู้ ะเต็มศึกษา (STEM education) โดยการทดสอบคา่ ที (t-test for dependent sample) 3.2 ดา้ นทักษะการสร้างสรรค์ชนิ้ งาน เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการสร้างสรรค์ช้ินหลังเข้าร่วมโครงการกับเกณฑ์คะแนนท่ี กำหนดโดยการทดสอบคา่ ที (one sample t-test) สถิติทใ่ี ช้ในการวเิ คราะห์ข้อมลู 1. สถติ ิบรรยาย (descriptive statistics) ไดแ้ ก่ 1.1 คา่ เฉล่ยี (mean) ใช้สูตร X=  ƒx N X = คา่ เฉลีย่  ƒx = ผลรวมของความถีข่ องคะแนนทั้งหมด N = จำนวนผปู้ ระเมนิ ทง้ั หมด 1.2 ส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน (standard deviation)

ใชส้ ูตร S.D. = nX 2 − (x)2 n(n −1) S.D. = ค่าความเบย่ี งเบนมาตรฐาน X 2 = ผลรวมของกำลงั สองของคะแนน (x2 ) = ผลรวมของคะแนนท้ังหมด ยกกำลังสอง n = จำนวนคนในกลุ่มตวั อยา่ ง 1.3 การทดสอบค่าที (one sample t-test) (ชศู รี วงศร์ ตั นะ, 2553, 72) ใชส้ ูตร t = X −  Sn df = n – 1 เมอ่ื X = คา่ เฉลีย่ ของกลุ่มตวั อยา่ ง  = ค่าเฉล่ยี ของเกณฑ์ที่ต้ังขึ้น S = ความเบีย่ งเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง n = ขนาดของกลุม่ ตัวอยา่ ง 1.4 การทดสอบค่าที (t-test for dependent sample) (ลว้ น สายยศ และ อังคณา สายยศ, 2538, 104) t = x1 − x2 , df = n1 + n2 − 2 sp 2  1 + 1   n1 n2 

2. สถิตทิ ีใ่ ชใ้ นการตรวจสอบคณุ ภาพเครอ่ื งมือ 2.1 ค่าความเท่ยี งตรง (validity) โดยใช้สตู รการหาค่าความสอดคล้อง IOC (สมนกึ ภทั ทิยธนี, 2546, 166–167) ใช้สตู ร IOC =  R N IOC = ดชั นคี วามสอดคลอ้ งระหว่างข้อคำถาม กบั ลกั ษณะเฉพาะตวั ช้วี ดั R = ผลรวมของคะแนนความคดิ เห็นของผู้เช่ยี วชาญเน้อื หาท้ังหมด N = จำนวนผู้เชยี่ วชาญ 2.2 หาค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยการหาความสอดคล้องภายใน (internal consistency method) ด้วยวิธีแอลฟา่ ของครอนบาค (Cronbach, 1974) มีสตู รการคำนวณ ดงั น้ี ใช้สูตร R2 = K 1 − S 2  K− i 1 S 2  t S 2 = ผลรวมแปรปรวนของแบบประเมนิ ในแต่ละข้อ i S 2 = ความแปรปรวนของแบบประเมิน t K = จำนวนขอ้ ทง้ั หมดในแบบประเมิน

ตารางที่ 2 แนวทางการประเมินโครงการขับเคล่อื นการจดั การเรียนรสู้ ะเตม็ ศ จังหวัดสมุทรสาคร องค์ประกอบการประเมิน วตั ถุประสงค์ของการประเมิน แหล่งข้อม 1. ดา้ นบรบิ ท (context) 1. วัตถปุ ระสงคข์ องโครงการ ผู้บริหาร 2. นโยบายของโครงการ ครูผู้รบั ผิดช 3. หลักการ และขั้นตอนในการ ครูผู้สอน ดำเนนิ โครงการ 2. ดา้ นปจั จัยนำเขา้ 1. ผูบ้ รหิ าร ระบบขอ้ มลู ผู้บรหิ าร (input) นโยบายของโรงเรยี น ครผู ู้รับผิดช 2. แผนงาน กิจกรรมโครงการ ครูผ้สู อน 3. วัสดอุ ุปกรณ์ อาคาร สถานท4ี่ . งบประมาณ บคุ ลากร

ศกึ ษา (STEM education) โรงเรียนออ้ มน้อยโสภณชนูปถมั ภ์ อำเภอกระทมุ่ แบน มลู /ผู้ให้ข้อมูล เครือ่ งมือ การวิเคราะหข์ ้อมลู เกณฑ์การประเมนิ ชอบโครงการ แบบสอบถาม - ค่าเฉลีย่ ผลการประเมินความ แบบสัมภาษณ์ - สว่ นเบีย่ งเบน เหมาะสมขอโครงการ มาตรฐาน ด้านบริบท (context) -การวิเคราะห์ กำหนดค่าเฉลี่ยตั้งแต่ เน้อื หา 3.5 ขึ้นไปจากมาตร ประเมนิ ค่า 5 ระดบั ชอบโครงการ แบบสอบถาม - ค่าเฉลี่ย ผลการประเมินความ แบบสัมภาษณ์ - สว่ นเบ่ยี งเบน เหมาะสมขอโครงการ มาตรฐาน ด ้ า น ป ั จ จ ั ย น ำ เ ข้ า -การวเิ คราะห์ (input)กำหนดค่าเฉล่ีย เนอ้ื หา ตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไปจาก มาตรประเมินค่า 5 ระดับ

ตารางที่ 2 (ต่อ) องค์ประกอบการประเมิน วตั ถปุ ระสงคข์ องการประเมิน แหล่งข้อม 3. ดา้ นกระบวนการ 1. การจัดทำโครงการ ผู้บรหิ าร (process) 2. การจัดกจิ กรรมการจัดการ ครผู ูร้ ับผิด เรียนร้สู ะเต็มศึกษา ครูผู้สอน 3. การตรวจสอบการปฏิบัติงาน 4. การนิเทศ กำกับ ตดิ ตาม การดำเนินงาน 4. ดา้ นผลผลติ (product) 1.นักเรยี นเกิดทักษะการ ครผู ู้สอน แก้ปัญหาและมีทักษะการ นักเรียนท สรา้ งสรรคช์ น้ิ งานจากการจัด โครงการ โครงการขบั เคล่ือนการจัดการ เรียนรู้สะเต็มศึกษา(stem education)

มลู /ผใู้ หข้ ้อมลู เครื่องมอื การวิเคราะห์ เกณฑ์การประเมนิ ขอ้ มูล ผลการประเมินความ แบบสอบถาม - ค่าเฉล่ีย เหมาะสมของโครงการ ด้านกระบวนการ ดชอบโครงการ แบสัมภาษณ์ - สว่ นเบีย่ งเบน ( process) ก ำ ห น ด ค่ า เฉลี่ยตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป มาตรฐาน จากมาตรประเมินค่า 5 ระดับ -การวเิ คราะห์ เน้อื หา ท่เี ข้าร่วม แบบสอบถาม - คา่ เฉลย่ี ผลการประเมินความ แบบทดสอบ - สว่ นเบย่ี งเบน เหมาะสมของโครงการ ด ้ า น ผ ล ผ ล ิ ต ( product) มาตรฐาน กำหนดคา่ เฉลี่ยตั้งแต่ 3.5 -t-test ขึ้นไปจากมาตร ประเมินค่า 5 ระดับ

บทท่ี 4 ผลการวเิ คราะห์ขอ้ มูล ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ประเมินโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จงั หวัดสมุทรสาคร โดยใช้รูปแบบ การประเมนิ CIPP Model ซงึ่ ผูว้ ิจยั ไดร้ วบรวม ข้อมลู จากผูท้ เ่ี กีย่ วข้อง โดยแบง่ เปน็ ข้อมูลที่นำไปสู่ผล การประเมินโครงการ ได้แก่ ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้จากการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม และแบบทดสอบ และขอ้ มูลเชิงคุณภาพ ไดจ้ ากการเก็บข้อมลู จากการสมั ภาษณ์ ดังน้ี สญั ลักษณท์ ีใ่ ช้ในการวเิ คราะหข์ ้อมลู ในการวเิ คราะหข์ ้อมลู และแปลความหมายผลการวิเคราะหข์ ้อมูล เพ่อื ใหเ้ กดิ ความเขา้ ใตรงกนั ในการนำเสนอ ผวู้ จิ ัยจึงกำหนดสญั ลักษณ์ ที่ใชใ้ นการวเิ คราะห์ข้อมูล ดงั น้ี X แทน ค่าเฉลีย่ S.D. แทน ส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน t–test แทน การทดสอบที ผลการวเิ คราะห์ขอ้ มูล โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลผลการวิเคราะห์โดยใช้ตารางประกอบพร้อม คำบรรยายแบ่งเปน็ 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามการประเมินโครงการขับเคลื่อน การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอ กระทมุ่ แบน จงั หวัดสมทุ รสาคร โดยใชร้ ูปแบบการประเมิน CIPP Model จากการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ โดยเป็นแบบสอบถามสำหรับ ผู้รับผิดชอบโครงการและครูผูส้ อน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ดังตาราง ที่ 3 แสดงขอ้ มูลพื้นฐานของผูต้ อบแบบสอบถาม ต่อไปน้ี

ตารางที่ 3 ข้อมลู พืน้ ฐานของผตู้ อบแบบสอบถาม (n=30) จำนวน รอ้ ยละ ข้อมูลทั่วไป 1. เพศ 9 30.00 21 70.00 1.1 ชาย 1.2 หญิง 1 3.30 2. ตำแหน่ง 12 40.00 2.1 ครผู ชู้ ่วย 7 23.40 2.2 ครู คศ.1 9 30.00 2.3 ครู คศ.2 1 3.30 2.4 ครู คศ.3 -- 2.5 พนักงานราชการ 2.6 ครอู ตั ราจา้ ง 4 13.30 5 16.70 3. ระดับชน้ั ที่สอน 6 20.00 3.1 ม.1 4 13.30 3.2 ม.2 6 20.00 3.3 ม.3 5 16.70 3.4 ม.4 3.5 ม.5 21 70.00 3.6 ม.6 9 30.00 -- 4. วฒุ กิ ารศึกษา 4.1 ปริญญาตรี 8 26.70 4.2 ปรญิ ญาโท 9 30.00 4.3 ปรญิ ญาเอก 9 30.00 4 13.30 5. อายุ 5.1 ตำ่ กว่า 30 5.2 31–40 ปี 5.3 41–50 ปี 5.4 50 ปีข้ึนไป

จากตารางท่ี 3 พบวา่ ขอ้ มูลพ้นื ฐานของผตู้ อบแบบสอบถามในการวิจยั คร้ังนเ้ี ป็นข้อมูลที่ได้จาก ผู้รับผิดชอบโครงการและครูผู้สอน จำนวน 30 คน จำแนกเป็นเพศชาย จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 30.00 และเพศหญิง จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 70.00 สำหรับตำแหน่งส่วนมากอยู่ในตำแหน่ง ครู คศ.1 จำนวน 12 คน คดิ เป็นรอ้ ยละ 40.00 ระดับชัน้ ทีส่ อนส่วนใหญส่ อนระดบั ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 5 จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 วุฒิการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ระดับปริญญาตรี จำนวน 21 คน คดิ เป็นรอ้ ยละ 70.00 และมีอายุส่วนมากในสองชว่ งคือ อายุ 31 ถึง 40 ปแี ละ อายุ 41 ถึง 50 ปี จำนวน 9 คน คดิ เป็นรอ้ ยละ 30.00 ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้รปู แบบการประเมนิ CIPP Model จากการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม เป็นการรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบบั โดยเปน็ แบบสอบถามสำหรับผรู้ ับผดิ ชอบโครงการและครผู ู้สอน แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้บริหาร และแบบทดสอบวัดทักษะการเรยี นรู้ของนกั เรยี นท่ีเข้ารว่ มโครงการจำนวน 2 ฉบับ ซง่ึ มีการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และค่า ทดสอบ t สรุปผลการวิเคราะหข์ ้อมลู ได้ ดังต่อไปน้ี 2.1 ผลการวเิ คราะหข์ ้อมลู ด้านบรบิ ท (context) 2.1.1 ผลการวเิ คราะหข์ ้อมลู แบบสอบถามของผ้รู ับผดิ ชอบโครงการและครผู สู้ อนด้าน บรบิ ท (context) ตามตารางท่ี 4 ดงั นี้ ตารางท่ี 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามของผู้รับผิดชอบโครงการและครูผูส้ อนด้านบรบิ ท (context) (n=30) ข้อท่ี ประเด็นการประเมิน X S.D. ระดบั 1 โครงการสอดคล้องกบั นโยบายของโรงเรยี นและหนว่ ยงานตน้ สังกัด 4.33 0.48 มากที่สดุ 2 รฐั บาลมนี โยบายชัดเจนในการดำเนนิ กจิ กรรม 4.07 0.58 มาก 3 กจิ กรรมของโครงการสอดคล้องกบั ความต้องการของโรงเรียนและ นกั เรียน 3.87 0.73 มาก 5 วตั ถปุ ระสงค์ตรงตามเป้าหมายของโรงเรียนและหนว่ ยงาน 3.63 0.72 มาก 6 วตั ถปุ ระสงค์ของโครงการสอดคล้องกับสภาพความต้องการของครู 3.90 0.72 มาก

ตารางที่ 4 (ต่อ) (n=30) X S.D. ระดับ ขอ้ ที่ ประเด็นการประเมนิ 7 วัตถปุ ระสงค์ของโครงการมุ่งเน้นใหน้ ักเรียนผลผลสัมฤทธทิ์ างการ 3.83 0.65 มาก เรยี นที่ดขี ้นึ 3.97 0.72 มาก 8 มีการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรในโรงเรยี นทำให้เกิดความ 3.93 0.28 มาก ร่วมมอื ในการดำเนินโครงการ รวม จากตารางท่ี 4 พบว่าผลการประเมินโครงการขบั เคลื่อนการจัดการเรียนรสู้ ะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรยี นอ้อมน้อยโสภณชนูปถมั ภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมทุ รสาคร โดยใช้รูปแบบ การประเมิน CIPP Model ด้านบริบท (context) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.93, S.D. = 0.28) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าโครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน และหน่วยงานต้นสังกัดมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( X = 4.33, S.D. = 0.48) รองลงมาคือรัฐบาลมีนโยบาย ชัดเจนในการดำเนินกิจกรรม ( X = 4.07, S.D. = 0.58) และวัตถุประสงค์ตรงตามเป้าหมายของ โรงเรียนและหนว่ ยงานมีคา่ เฉลยี่ ต่ำสดุ ( X = 3.68, S.D. = 0.72) 2.1.2 ผลการวเิ คราะห์ข้อมลู แบบสัมภาษณผ์ ูบ้ ริหารด้านบริบท (context) ดังต่อไปน้ี ด้านบริบท (context) ของโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรยี นรูส้ ะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จากการ สัมภาษณ์พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับกับนโยบายจากทางภาครัฐที่ต้องการ ให้มีการจัดการเรียนรู้การแบบบูรณาการ ให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนเพ่ือ พฒั นาการเรียนการสอนให้นักเรยี นได้มคี ณุ ภาพชวี ิตท่ดี แี ละสามารถนำความรูไ้ ปใชใ้ นชวี ิตประจำวัน “STEM เกี่ยวข้องกับหลักสตู รอยู่แล้ว ซึ่งเป็นการบูรณาการกลุ่มวิชา 4 กลุ่มเข้าด้วยกนั จริง ๆ ถ้าศึกษาต่อไปก็ยังเช่ือมโยงไปยังกลุ่มสาระอื่น ๆ ได้อีกอย่างเช่น ศิลปะ เพราะฉะนั้นโครงการ STEM ของโรงเรียนอ้อมน้อยชนูปถัมภ์ก็จะเน้นในเรื่องทักษะการปฎิบัติ อย่างเชน่ สื่อที่ใชใ้ นการจัดการเรียน การสอน ซ่ึงสามารถเป็นแรงจูงใจใหน้ ักเรียนสามารถเรยี นวิทย์ คณิต เทคโนโลยีให้สู่การปฏิบัติงานใน ชวี ิตจริงได้” (พงศกร พลสู มบัติ, 2564, มถิ ุนายน 15)

2.2 ผลการวเิ คราะหข์ ้อมลู การประเมินโครงการด้านปจั จยั นำเขา้ (input) 2.2.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามของผู้รับผิดชอบโครงการและครูผู้สอนด้าน ปัจจยั นำเขา้ (input) ตามตารางท่ี 5 ดงั น้ี ตารางท่ี 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามของผู้รับผิดชอบโครงการและครูผู้สอนด้านปัจจัย นำเขา้ (input) (n=30) ข้อท่ี ประเด็นการประเมนิ X S.D. ระดับ 1 การดำเนินการโครงการมีจำนวนบุคลากรเหมาะสมและ เพยี งพอ 3.97 0.56 มาก 2 มีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู และนักเรียนเข้ามาช่วยเหลือในการดำเนินงานโครงการ อย่างเพียงพอ 3.67 0.55 มาก 3 โครงการได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินโครงการ อย่างเพยี งพอ 3.97 0.67 มาก 4 ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความสามารถในโครงการที่ รับผิดชอบ 4.00 0.64 มาก 5 ผู้เกี่ยวข้องในโครงการสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เคร่อื งใช้ ในการดำเนนิ โครงการไดอ้ ยา่ งดี 3.63 0.72 มาก 6 การเลือกใช้อาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติงาน และที่อื่น ๆ ตามโครงการไดอ้ ย่างความเหมาะสม 4.07 0.69 มาก 7 โครงการได้รับวสั ดอุ ปุ กรณ์ ท่ีใช้ในโครงการอยา่ งเพียงพอ 3.77 0.73 มาก 8 ผรู้ บั ผดิ ชอบโครงการได้รับนโยบายจากผบู้ ริหารโรงเรียนให้ สามารถดำเนินงานตามโครงการได้อย่างเต็มท่ีและผู้บริหาร โรงเรียนพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำ และขอ้ เสนอแนะในการทำงาน 4.00 0.70 มาก รวม 3.88 0.29 มาก จากตารางที่ 5 พบว่าผลการประเมินโครงการขบั เคล่ือนการจัดการเรียนร้สู ะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรยี นอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จงั หวดั สมุทรสาคร โดยใช้รูปแบบ การประเมิน CIPP Model ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

( X = 3.88, S.D. = 0.29) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าการเลือกใช้อาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติงาน และท่อี ่ืน ๆ ตามโครงการได้อย่างความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( X = 4.07, S.D.= 0.69) รองลงมา คือผู้รับผิดชอบโครงการได้รับนโยบายจากผู้บริหารโรงเรียนให้สามารถดำเนินงานตามโครงการได้ อย่างเต็มที่และผูบ้ ริหารโรงเรียนพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกและใหค้ ำแนะนำและข้อเสนอแนะใน การทำงาน ( X = 4.00, S.D. = 0.70) และมีผู้เกี่ยวข้องในโครงการสามารถใชว้ สั ดุอุปกรณ์ เครื่องมอื เครื่องใช้ ในการดำเนนิ โครงการได้อยา่ งดี มีค่าเฉลี่ยตำ่ ทสี่ ดุ ( X = 3.67, S.D. = 0.55) 2.2.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารด้านปัจจัยนำเข้า (input) ดังต่อไปนี้ ด้านปัจจัยนำเข้า (input) ของโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครจาก การสัมภาษณ์พบว่า บุคลากร ความรู้ความสามารถ สื่อการจัดการเรียนการสอน งบประมาณในการ ดำเนินการโครงการนั้นมีความพร้อมในการจัดดำเนินโครงการโดยบุคลากรมีการเข้ารับการฝึกอบรม พัฒนาตนเองเพื่อนำความรู้ทางด้านSTEM มาบูรณาการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกดิ ประโยชน์แก่ นักเรียน โดยมีงบประมาณในการสนับสนุนสื่ออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอน การจัด อาคารสถานทใ่ี ห้เหมาะสมแกก่ ารจดั การเรียนรู้ “มีการปรับปรุงห้องปฏิบัติการเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยแก่การจัดการเรียนการ สอน เพ่อื ให้นกั เรยี นมีความสนใจ เม่ือนักเรียนมีความสนใจก็เช่ือว่านักเรียนจะเกิดคุณภาพ เกิดความ ประสบผลสำเร็จขึ้น การจัดซื้อสื่อวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับ STEM ต่าง ๆ หรือครูผลิตขึ้นมาเพื่อสามารถ นำไปใช้ในการจัดการเรยี นการสอนต่อไปได้ ครูต้องมีการปรบั ตวั เพื่อที่จะไดน้ ำความรู้มีจัดการเรยี นรู้ ต่อไปไดโ้ ดยเน้นใหต้ วั นักเรยี นมีทกั ษะการคดิ ด้วย” (พงศกร พลสู มบัต,ิ 2564, มถิ นุ ายน 15) 2.3 ผลการวเิ คราะห์ข้อมลู การประเมนิ โครงการด้านกระบวนการ (process) 2.3.1 ผลการวิเคราะหข์ ้อมลู แบบสอบถามของผู้รบั ผิดชอบโครงการและครูผูส้ อนด้าน กระบวนการ (process) ตามตารางที่ 6 ดังนี้ ตารางที่ 6 ผลการวเิ คราะหข์ ้อมูลแบบสอบถามของผู้รบั ผิดชอบโครงการและครผู สู้ อนด้าน กระบวนการ (process) (n=30) ขอ้ ที่ ประเดน็ การประเมิน X S.D. ระดับ 1 ความรว่ มมอื ของครูในการดำเนินโครงการขบั เคล่อื นการ จัดการเรยี นรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) ของโรงเรียน ในดา้ นต่าง ๆ 4.20 0.41 มาก

ตารางที่ 6 (ต่อ) (n=30) ขอ้ ท่ี ประเดน็ การประเมิน X S.D. ระดบั 2 การมีส่วนรว่ มของครูในการจัดกจิ กรรมในโครงการขับเคลื่อน การจดั การเรียนร้สู ะเต็มศกึ ษา (STEM education) 4.17 0.59 มาก 3 นักเรียนมีความสนใจ และตั้งใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ใน ระหว่างการจัดการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมของโครงการ ขับเคลอื่ นการจัดการเรยี นรู้สะเตม็ ศึกษา (STEM education) 4.03 0.49 มาก 4 นักเรียนดำเนินกิจกรรมท่ีกำหนดไว้ในโครงการขับเคลื่อนการ จดั การเรียนรู้สะเต็มศกึ ษา (STEM education) ทุกกจิ กรรม 4.00 0.70 มาก 5 มกี ารนิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินโครงการขับเคล่ือนการ จัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โดยผู้บริหาร โรงเรยี น 4.07 0.69 มาก 6 มีการแจ้ง ผลการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน ในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ตลอดระยะการดำเนินโครงการขับเคลือ่ น การจัดการเรยี นรสู้ ะเต็มศกึ ษา (STEM education) แกผ่ ้บู รหิ าร 3.83 0.79 มาก รวม 4.05 0.29 มาก จากตารางที่ 6 พบว่า พบว่าผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเตม็ ศึกษา (STEM education) โรงเรียนออ้ มนอ้ ยโสภณชนูปถมั ภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้ รูปแบบการประเมนิ CIPP model ด้านกระบวนการ (process) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมาก ( X = 4.05, S.D. = 0.29) เมื่อพิจารณารายด้านพบความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) ของโรงเรียนในด้านต่าง ๆ มีค่าเฉลี่ย สูงสดุ ( X = 4.20 , S.D. = 0.41) รองลงมาคือ การมีสว่ นร่วมในการจัดกิจกรรมในโครงการขับเคล่ือน การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) ( X = 4.17, S.D. = 0.59) และมีการแจ้งผลการ ประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดระยะการดำเนินโครงการ ขบั เคลอ่ื นการจดั การเรยี นร้สู ะเต็มศึกษา (STEM education) แกผ่ บู้ ริหารมีคา่ เฉลย่ี ต่ำสดุ ( X = 3.83, S.D.= 079)

2.3.2 ผลการวเิ คราะห์ข้อมูลแบบสมั ภาษณผ์ ้บู รหิ ารดา้ นกระบวนการ (process) ด้านกระบวนการ (process) ของโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จาก การสัมภาษณ์พบว่า ครูต้องมีการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนสามารถเกิดทักษะ กระบวนการต่าง ๆ ขึ้นมาได้ โดยสร้างสื่อที่บูรณาการความรู้ต่าง ๆ ให้นักเรียนเกิดความสนใจอยาก ทดลองทำโดยที่ไม่มีบังคับ มีการกำกับ ติดตาม นิเทศการจัดการเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสดุ ตอ่ ไป “STEM เป็นเหมือนกลยุทธ์ให้ครูได้มีกระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่ไม่น่าเบื่อ เพราะ ถ้าไม่มี STEM ครูก็ยังมีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของโรงเรียนต่อไปไม่เกิดการเรียนรู้ที่ แปลกใหม่ สร้างความเรา้ ใจใหน้ กั เรียนในการจดั กระบวนการเรียนรู้ STEM เป็นการสรา้ งแรงจูงใจให้ ครมู กี ระบวนการ มสี อื่ การเรยี นการสอนเพิ่มเติมขึ้นมา และทีส่ ำคญั ท่สี ดุ คือการให้เชอื่ มโยงกลุ่มสาระ ต่าง ๆ ให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการคิด ออกแบบชิ้นงาน และยังสามารถต่อยอดไปใช้ใน ชวี ติ ประจำวันได้อกี ด้วย STEM จะเร่งรัดไม่ไดต้ ้องคอ่ ยเปน็ ค่อยไป เพื่อครจู ะได้พฒั นาตนเอง นกั เรียน ก็ไดร้ บั การเรียนรูด้ ว้ ย” (พงศกร พลสู มบัต,ิ 2564, มิถุนายน 15) 2.4 ผลการวิเคราะหข์ ้อมูลการประเมินโครงการด้านผลผลิต (product) 2.4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามของผู้รับผิดชอบโครงการและครูผู้สอน ด้านผลผลติ (product) ตามตารางท่ี 7 ดงั นี้ ตารางท่ี 7 ผลการวิเคราะหข์ ้อมลู แบบสอบถามของผรู้ ับผิดชอบโครงการและครผู ้สู อนด้านผลผลิต (product) ( n = 30) ขอ้ ท่ี ประเด็นการประเมนิ X S.D. ระดับ 1 ผลสำเรจ็ ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ท่เี นน้ ผู้เรียนเป็น สำคัญ 3.87 0.68 มาก 2 ผลสำเรจ็ การจัดกิจกรรมการเรยี นรูท้ ่หี ลากหลายโดยมีการ บรู ณาการการจัดการเรียนรู้สะเตม็ ศึกษา 3.63 0.56 มาก 3 ผลสำเร็จการมีสว่ นร่วมในการเสนอแนะแนวทางการจดั การ เรียนรู้เพอ่ื ให้ครวู างแผนการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ เพ่ือ สง่ ผลใหน้ ักเรยี นเกดิ การเรียนรมู้ ากทสี่ ุด 3.97 0.67 มาก

ตารางที่ 7 (ต่อ) ( n = 30) ขอ้ ท่ี ประเดน็ การประเมนิ X S.D. ระดบั 4 ระดับความสนใจและความตงั้ ใจของนักเรยี นในการปฏบิ ัติ กิจกรรม 4.23 0.57 มากที่สุด 5 ระดบั การมีสว่ นรว่ มในการทำกิจกรรมในการจัดการเรียนรู้ นักเรียน 3.93 0.64 มาก 6 ระดบั การมีปฏสิ มั พนั ธท์ ดี่ ีต่อครแู ละเพอ่ื นของนักเรยี น 4.07 0.58 มาก 7 การกลา้ แสดงออก กลา้ ถาม และกลา้ ตอบคำถาม ในการ เรียนรอู้ ยา่ งถูกต้องและมีเหตุผลของนักเรียน 3.70 0.54 มาก 8 ความประพฤตดิ ีในขณะที่ทำกิจกรรมการเรยี นรู้ของ นกั เรียน 4.03 0.41 มาก 9 ทกั ษะในการแกป้ ัญหาจากการจดั กจิ กรรมการจดั การเรยี นรู้ โครงการขับเคล่ือนการจัดการเรียนรูส้ ะเตม็ ศึกษา (STEM education) ของนักเรยี น 4.00 0.59 มาก 10 ทกั ษะความคิดสรา้ งสรรคจ์ ากการจัดกจิ กรรมการจดั การ เรยี นร้โู ครงการขบั เคลอื่ นการจัดการเรียนรสู้ ะเต็มศึกษา (STEM education)ของนักเรียน 3.63 0.615 มาก รวม 3.91 0.21 มาก จากตารางที่ 7 พบว่าผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนปู ถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวดั สมทุ รสาคร โดยใช้รูปแบบ การประเมิน CIPP Model ด้านผลผลิต (product) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.91, S.D. = 0.21) เมอื่ พจิ ารณารายดา้ นพบวา่ ระดบั ความสนใจและความต้ังใจของนักเรียนใน การปฏิบตั ิกจิ กรรมมีคะแนนเฉล่ียสงู สูด ( X = 4.23, S.D.= 0.57) รองลงมาคือระดับการมีปฏิสัมพันธ์ ที่ดีต่อครูและเพื่อนของนักเรียน ( X = 4.07, S.D. = 0.58) สำหรับค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ผลสำเร็จการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยมีการบูรณาการการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ( STEM education) ( X = 3.63, S.D. = 0.56)

2.4.2 ผลวิเคราะหข์ ้อมลู เปรียบเทยี บการวัดทักษะการแก้ปัญหาและการสร้างสรรคช์ ิ้นงาน ของนักเรยี นที่ไดเ้ ข้าร่วมโครงการขบั เคลื่อนการจัดการเรียนร้สู ะเตม็ ศึกษา (STEM education) โรงเรยี นอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จงั หวัดสมุทรสาคร 1) ผลการวเิ คราะห์ข้อมูลเปรยี บเทียบทักษะการแกป้ ญั หา ผู้วิจัยวัดทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนวิทย์–คณิต จำนวน 70 คน ที่เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยแบบวัดทักษะการ แก้ปัญหา แบบอัตนัยมีเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค (analytic rubric) กำหนดเกณฑ์ในการ ประเมินทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตั้งปัญหา 2) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา 3) ขั้นเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหา และ4) ขั้นตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้จากปัญหา โดยทำการทดสอบก่อน และหลัง การดำเนินโครงการ จากนั้นนำคะแนนมาหา ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที แบบกล่มุ ไมอ่ ิสระ (t–test for dependent sample) ดังผลตามตารางที่ 8 ตารางท่ี 8 การเปรยี บเทยี บคะแนนทักษะการแก้ปัญหากอ่ นและหลังการไดเ้ ขา้ ร่วมโครงการ ขบั เคลอ่ื นการจดั การเรยี นร้สู ะเต็มศกึ ษา (STEM education) โรงเรียนอ้อมนอ้ ย โสภณชนปู ถมั ภ์ อำเภอกระทมุ่ แบน จังหวัดสมุทรสาคร คะแนน คะแนนเตม็ X S.D. p- N t value กอ่ นเข้ารว่ มโครงการ 70 20 8.60 2.83 14.51** .00 หลงั เขา้ ร่วมโครงการ 70 20 14.04 3.31 **P< .01 จากตารางที่ 8 แสดงให้เห็นว่าคะแนนเฉลี่ยการวัดทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนช้ัน มธั ยมศึกษาปีที่ 5 แผนวทิ ย์–คณิตท่เี ขา้ รว่ มโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนร้สู ะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรยี นออ้ มน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทมุ่ แบน จังหวดั สมุทรสาคร มคี ะแนนเฉล่ีย ก่อนเข้าร่วมโครงการเท่ากับ 8.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.83 หลังเข้าร่วมโครงการมี คา่ เฉลี่ยเทา่ กับ 14.04 ส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐานเทา่ กับ 3.31 คา่ t เท่ากบั 14.51 ซ่ึงแสดงว่านักเรียนมี คะแนนทกั ษะการแก้ปญั หาหลังเข้ารว่ มโครงการสูงกว่าก่อนเข้ารว่ มโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ท่ีระดบั .01

2) ผลวิเคราะห์แบบประเมินสรา้ งสรรค์ช้นิ งาน ผู้วจิ ัยประเมนิ การสรา้ งสรรค์ช้ินงาของนักเรียนดว้ ยแบบประเมินการสร้างสรรค์ช้ินงาน มี เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค (analytic rubric) กำหนดเกณฑ์ในการประเมินทักษะความคิด สรา้ งสรรค์ของนักเรียน 4 หัวข้อใหญ่ คอื 1) การใชห้ ลกั การทางวทิ ยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม 2) ความคดิ สรา้ งสรรค์ 3) ความสำเร็จของงานและ 4) ประสิทธิภาพของงาน โดยทำ การประเมินการสร้างสรรค์ชิ้นงานของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครหลังจากสิ้นสุดการดำเนินการโดยให้นักเรียนทำการทดลอง เพื่อให้ได้ชิ้นงานจากนั้นนำมาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว (one sample t-test) ดงั ผลตามตารางท่ี 9 ตารางท่ี 9 การเปรยี บเทียบคะแนนการสร้างสรรคช์ ้ินงานหลงั เขา้ ร่วมโครงการขบั เคลอ่ื นการ จัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระท่มุ แบน จงั หวดั สมทุ รสาคร Test – value = 13 คะแนนเฉล่ยี N คะแนนเกณฑ์ X S.D. t-test p-value หลงั เขา้ ร่วมโครงการ 70 13 13.93 1.78 4.36** .00 **P< .01 จากตารางที่ 9 แสดงให้เห็นว่าคะแนนเฉลี่ยวัดการสร้างสรรค์ชิ้นงานของนักเรียนที่เข้าร่วม โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education)โรงเรียนอ้อมนอ้ ยโสภณชนูปถมั ภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร หลังจากสิ้นสุดการเข้าร่วมโครงการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.78 ค่า t เท่ากับ 4.36 ซึ่งนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่ กำหนดอยา่ งมีนยั สำคัญทางสถติ ทิ ี่ .01

บทท่ี 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การวิจยั เรอ่ื งโครงการขับเคล่ือนการจัดการเรยี นรสู้ ะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรียน อ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ผู้วิจัยนำเสนอ 3 ประเด็นที่สำคัญ คือ 1) สรุปผลการวิจัย 2) อภิปรายผลการวิจัย และ 3) ข้อเสนอแนะ ซึ่งแต่ละประเด็นมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อประเมินโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรยี นออ้ มน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระท่มุ แบน จังหวดั สมุทรสาคร โดยใช้ รปู แบบการประเมนิ CIPP Model ของสตัฟเฟลิ บีม (Stufflebeam) ในการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบริบท (context) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (input) 3) ด้านกระบวนการ (process) และ4) ด้าน ผลผลติ (product) วิธีดำเนินการวิจัยผู้วิจัยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ในการวิจัยครั้งนี้โดยมีการวิจัย แบบผสมผสานวิธี (mixed method) โดยใชว้ ธิ เี ชงิ ปรมิ าณ และวธิ ีเชิงคณุ ภาพ ในรปู แบบการประเมิน แบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s CIPP Model) ซ่ึงมีขอบข่ายเกี่ยวกับการ ประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบริบท (context) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (input) 3) ด้านกระบวนการ (process) และ4) ด้านผลผลิต (product) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์ สำหรับผู้บริหาร จำนวน 1 คน และกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และครผู สู้ อน จำนวน 30 คน และนักเรียนท่เี ข้ารว่ มโครงการขบั เคลอ่ื นการจดั การเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 70 คน เคร่ืองมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์จำนวน 1 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 1 ชุด และแบบทดสอบทักษะการเรียนรู้จำนวน 2 ฉบับ การวเิ คราะห์ข้อมูลทางสถติ ิ โดยการหาคา่ เฉลยี่ ส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน ค่า t-test และการวิเคราะห์ เนื้อหา สรปุ ผลการวจิ ยั จากการวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรยี นออ้ มน้อยโสภณชนูปถมั ภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวดั สมทุ รสาคร ไดแ้ ก่ 1) ด้าน บรบิ ท (context) 2) ด้านปัจจยั นำเข้า (input) 3) ดา้ นกระบวนการ (process) และ 4) ด้านผลผลิต (product) สรุปได้ดังน้ี

1. ผลการประเมินโครงการด้านบริบท ในภาพรวมผลการประเมนิ โครงการจากการสอบถาม ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอนและการสัมภาษณ์ผู้บริหาร มีความ เหมาะสมในระดับมาก เม่ือ พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โครงการสอดคลอ้ งกบั นโยบายของโรงเรียนและหน่วยงานตน้ สงั กดั รองลงมาคือรฐั บาลมีนโยบาย ชัดเจนในการดาเนินกิจกรรม และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ วัตถุประสงค์ตรงตามเป้าหมายของ โรงเรียนและหน่วยงานจากการสัมภาษณ์พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับกับ นโยบายจากทางภาครฐั ท่ีต้องการให้มีการจัดการเรียนรู้การแบบบรู ณาการ ให้เกดิ ทกั ษะในศตวรรษท่ี 21 เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้นักเรียนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถนำ ความรไู้ ปใชใ้ นชีวิตประจำวันได้ 2. ผลการประเมินโครงการด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมผลการประเมินโครงการจากการ สอบถามครูผรู้ ับผดิ ชอบโครงการ ครผู ู้สอนและการสัมภาษณ์ผบู้ ริหาร มีความ เหมาะสมในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีผลการประเมินในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือการ เลือกใช้อาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติงาน และที่อื่น ๆ ตามโครงการได้อย่างความเหมาะสม รองลงมา ได้แก่ ผู้รับผิดชอบโครงการได้รับนโยบายจากผู้บรหิ ารโรงเรียนให้สามารถดำเนินงานตามโครงการได้ อยา่ งเต็มท่ี และผบู้ รหิ ารโรงเรียนพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะใน การทำงาน และ ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความสามารถในโครงการที่รับผิดชอบ สำหรับข้อที่มี ค่าเฉลี่ยต่ำสุด ผู้เกี่ยวข้องในโครงการสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการดำเนิน โครงการได้อย่างดี จากการสัมภาษณ์พบว่า บุคลากร ความรู้ความสามารถ สื่อการจัดการเรียนการ สอน งบประมาณในการดำเนินการโครงการนนั้ มีความพร้อมในการจัดดำเนินโครงการโดยบุคลาการมี การเข้ารับการฝกึ อบรมพฒั นาตนเองเพ่อื นำความรทู้ างด้าน STEM มาบรู ณาการจัดการเรยี นการสอน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นกั เรียน โดยมีงบประมาณในการสนับสนุนสื่ออุปกรณ์ท่ีใช้สำหรับการจัดการ เรียนการสอน การจดั อาคารสถานทใี่ หเ้ หมาะสมแกก่ ารจดั การเรียนรู้ 3. ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการ ในภาพรวมผลการประเมินโครงการจากการ สอบถามครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอนและการสัมภาษณ์ผู้บรหิ าร มีความเหมาะสมในระดับมาก เมือ่ พิจารณารายข้อมีผลการประเมินในระดับมากทุกข้อ โดยข้อท่ีมคี ่าเฉลี่ยมากทีส่ ุด คือความร่วมมือ ในการดำเนินโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) ของโรงเรียนใน ด้านต่าง ๆ รองลงมา คือการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะ เต็มศึกษา (STEM education) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีการแจ้งผลการประเมินการเรียนรู้ของ นักเรียน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดระยะการดำเนินโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะ เต็มศึกษา (STEM education) แก่ผู้บริหาร จากการสัมภาษณ์พบว่า ครูต้องมีการบูรณาการการ

จัดการเรียนการสอนให้นักเรียนสามารถเกิดทักษะกระบวนการต่าง ๆ ขึ้นมาได้ โดยสร้างสื่อที่บูรณา การความรู้ต่าง ๆ ให้นักเรียนเกิดความสนใจอยากทดลองทำโดยที่ไม่มีบังคับ มีการกำกับ ติดตาม นเิ ทศการจัดการเรียนการอย่างต่อเนือ่ งเพือ่ ใหเ้ กิดประโยชน์สูงสุดต่อไป 4. ผลการประเมินโครงการด้านผลผลติ ในภาพรวมผลการประเมนิ โครงการจากการสอบถาม ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอน และการทดสอบแบวัดทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนที่เข้าร่วม โครงการ ดงั ต่อไปนี้ 4.1 ผลการประเมนิ โครงการมคี วามเหมาะสมในระดบั มาก เมื่อพิจารณารายข้อมีผลการ ประเมินในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ระดับความสนใจและความตั้งใจของ นักเรียนในการปฏิบัติกิจกรรม รองลงมาคือระดับการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อครูและเพื่อนของนักเรียน และข้อทม่ี ีค่าเฉล่ียตำ่ ท่ีสุด ได้แก่ทักษะในการแก้ปญั หาจากการจดั กจิ กรรมการจัดการเรียนรู้โครงการ ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) ของนักเรียนและผลสำเร็จการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยมีการบูรณาการการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ( STEM education) 4.2 ผลการทดสอบทักษะการแก้ปัญหาพบว่านักเรียนที่เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนการ จดั การเรียนร้สู ะเต็มศกึ ษา (STEM education) โรงเรียนออ้ มนอ้ ยโสภณชนปู ถมั ภ์ อำเภอ กระทุ่ม แบน จังหวัดสมุทรสาคร มีคะแนนหลังเข้าร่วมโครงการสูงกว่าคะแนนก่อนเข้าร่วมโครงงานอย่างมี นยั สำคญั ทางสถิตทิ ี่ .01 4.3 ผลการประเมินผลงานการสร้างสรรค์ชิ้นงานพบว่าหลังนักเรียนเข้าร่วมโครงการ ขับเคล่ือนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุม่ แบน จงั หวัดสมทุ รสาคร มคี ่าคะแนนเฉลีย่ สูงกวา่ เกณฑท์ ่ีตงั้ ไว้อยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถิติ ที่ .01 อภปิ รายผลการวจิ ยั จากการศึกษาและโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา โรงเรียนอ้อมน้อย โสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model เพอ่ื ศกึ ษาผลการประเมนิ โครงการ ปัญหาและแนวทางการสง่ เสริมความสำเรจ็ ของโครงการมีประเด็น อภิปรายผล ดงั นี้ 1. ผลการประเมินด้านบริบท (context) พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณา รายด้านพบวา่ วัตถปุ ระสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายหนว่ ยงานตน้ สงั กัดอยู่ในระดับ มากที่สุด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นหน่วยงานต้น สังกัด ซึ่งมีนโยบายกำหนดให้ทุกโรงเรียนต้องดำเนินการจัดทำโครงการขึ้นมา กรณีวัตถุประสงค์ตรง

ตามเปา้ หมายของโรงเรยี นและหน่วยงานมีผลสำรวจตำ่ กว่าดา้ นอื่น ๆ นี้อาจเปน็ เพราะว่าเมอื่ ผู้บริหาร รับนโยบายและค่าเป้าหมายมาแล้วมีการอธิบายและสือ่ สารต่อผู้รับผิดชอบโครงการและผูป้ ฏิบัติงาน เกิดความคลาดเคลื่อนกัน จึงทำให้ค่าเป้าหมายตรงตามวัตถุประสงค์ของโรงเรียนได้คลาดเคลื่อน ซ่ึง สอดคล้องกับการศึกษาของ รัญสญา สหฤทานันท์ (2554, 76) ที่ได้วิจัยเรื่อง ประเมินผลโครงการ อัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์มูลนิธิชัยพัฒนา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยพบว่า รูปแบบและ กระบวนการการปฏิบัติงานของโครงการสามารถตอบสนองตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้อย่าง เหมาะสมตามแนวพระราชดำริ 2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (input) พบว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก และเม่ือพิจารณารายด้านพบวา่ อาคารสถานท่ี หอ้ งปฏบิ ตั ิการ และทอ่ี นื่ ๆ ตามโครงการมีความ เหมาะสมอยใู่ นระดบั มาก ทัง้ นี้อาจเปน็ เพราะโรงเรยี นให้ความสำคัญกับอาคาร สถานท่ีห้องปฏิบตั ิการ ต่าง ๆ ให้เกิดความพร้อมใช้งานและเกิดความปลอดภัยสูงสุด ในการจัดการเรียนการสอนและสร้าง บรรยากาศการเรียนรู้เรียนให้แก่นักเรียน กรณีที่ผู้เกี่ยวข้องในโครงการสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ เคร่อื งมือ เคร่ืองใชใ้ นการดำเนินโครงการได้อย่างดีมีผลสำรวจตำ่ ท่ีสดุ อาจเปน็ เพราะผู้เกีย่ วข้องอาจไม่ ชำนาญในการใช้อุปกรณ์เครื่องมอื ที่เฉพาะเจาะจงทางด้านสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการ เรียนรู้ต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ จันทิมา ผึ้งผัน (2555, บทคัดย่อ) ได้วิจัยเรื่อง การ ประเมินผลโครงการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม ด้านปัจจัยนำเข้า มีความพร้อมของ ทรัพยากร เช่น งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ที่ มีสามารถรองรับกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เป็นอย่างดีจากผลการประเมินความคดิ เห็นที่อยใู่ นระดับมาก 3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (process) พบว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมาก เมอ่ื พิจารณารายด้านพบวา่ ความรว่ มมอื ของครใู นการดำเนนิ โครงการจัดการเรยี นรู้ สะ เต็มศึกษา (STEM education) ของโรงเรยี นในด้านต่าง ๆ มคี วามเหมาะสมในระดบั มาก โดยอาจเปน็ เพราะว่าโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเป็นโครงการที่ต้องบูรณาการการจัดการ เรียนรู้ 4 สาขาวิชาจึงทำให้ครูที่ดำเนินโครงการต้องมีการแลกเปลี่ยนความรู้ของแต่ละสาขาวิชา เพื่อที่จะได้ดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้แก่นักเรียน กรณีการแจ้งผลการประเมินการเรียนรู้ของ นักเรียนในการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการขับเคล่ือนการจัดการเรียนรู้ สะเต็มศึกษา (STEM education) แก่ผู้บริหารพบวา่ มีผลสำรวจตำ่ ทีส่ ุดอาจเป็นเพราะทางโรงเรียนมี การนิเทศติดตามจากผู้บริหารไม่เป็นทางการไม่มีตารางนิเทศติดตามจากผู้บริหารจึงทำให้เกิดการ คลาดเคลื่อนในการเข้าใจในการแจ้งผลการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นควรจัดทำปฏิทินการนิเทศ กำกับ ติดตามผลจากผู้บริหารอย่างเป็นทางการ ซึ่งสอดคล้องกับ ธัญญามาศ ดุษฎี (2553, บทคัดย่อ) วิจัย เรื่องการศึกษาสภาพปัญหาและความคาดหวังต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการ เรยี นการสอนของอาจารย์ โรงเรียนสารสาสนว์ เิ ทศบางบอน กรงุ เทพมหานคร พบว่าสถานศกึ ษามกี าร

จัดทำคู่มือการนิเทศ ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานอย่างไม่ ต่อเนื่อง และไม่มีการวาง แผนการติดตามและนเิ ทศการดำเนินงานโครงการ 4. ผลการประเมนิ ด้านผลผลิต (product) 4.1 ผลการประเมินความคิดเห็นโดยครูผู้รับผิดชอบโครงการและครูผู้สอน พบว่าใน ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่านักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการ เรียนรู้ด้วยความสนใจและตั้งใจ อาจเนื่องจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้ นผู้เรียนเป็น สำคัญ ซง่ึ นักเรียนไดล้ งมอื ปฏิบัติและมสี ว่ นรว่ มในการทำกิจกรรมในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างดี ทำให้ นักเรียนมีความประพฤติดีในขณะที่ทำกิจกรรมการเรียนรู้และสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อครูและเพื่อนๆ นักเรียนจึงเกิดทักษะในการแก้ปัญหาจากการจัดการเรียนรู้โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะ เต็มศึกษา (STEM education) ได้ สำหรับทักษะความคิดสร้างสรรค์จากการจัดกิจกรรมการจัดการ เรียนรู้โครงการสะเต็มศึกษาพบว่ามีค่าสำรวจต่ำ อาจเนื่องจากเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มี เวลาที่จำกัดและนักเรียนยังยึดติดการจัดการเรียนรู้ที่ให้ครูช่วยแนะนำจึงทำให้นักเรียนไม่กล้าแสดง ความคิดเห็นต่าง ๆ และกรณีผลสำเร็จการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยมีการ บูรณาการ การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) มีค่าต่ำอาจเนื่องจากการจัดการเรียนการสอน แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ต้องใช้การบูรณาการทั้ง 4 สาขา วิชาจึงทำให้มีการจำกัด ด้านเนื้อหาที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันจึงทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ไม่หลากหลาย เท่าท่คี วรซงึ่ สอดคล้องกับ ทวี อปุ สุขนิ (2554, 112-113) ผลการประเมนิ ด้านผลผลติ ในดา้ นผลที่เกิด กับนักเรียนในด้านอาชีพ พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การ ประเมินในด้านผลที่เกิดกับนักเรียนในด้านอาชีพ ที่พบว่าการดำเนินงานโครงการประสบความสำเร็จ เน่อื งจากนักเรยี นได้รบั ประโยชน์ และนำไปใชใ้ นการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้ด้านอาชีพ เหมาะสมกบั วัย ของนกั เรียน และนกั เรียนไดร้ บั การยอมรับจากเพอื่ นนักเรยี น ครู ผู้ปกครอง และ บุคคลทว่ั ไป 4.2 การทดสอบจากนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร แบ่ง ออกเป็น 2 ประเด็นดังนี้ 4.2.1 นักเรียนที่ได้เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ทักษะ การแก้ปัญหาหลังเข้าร่วมโครงการสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 เนื่องจากการโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา เป็นการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม STEM โดยที่นักเรียน เป็นผู้ลงมือปฏิบัติ ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยัง สามารถเน้นให้นกั เรยี นนำความรู้จากวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและการออกแบบทาง

วศิ วกรรมศาสตรม์ าใช้เพ่ือแก้ปัญหาทเ่ี กี่ยวข้องกับ ชวี ติ ประจำวนั ได้ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สะเต็มศึกษาน้ันนักเรียนจะต้องใช้ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะต่าง ๆ ในการพัฒนาผลลัพธ์ให้มี ประสทิ ธิภาพในการแก้ปัญหามากขน้ึ เพ่ือแก้ปญั หาในชีวิตประจำวันได้ ซ่งึ สอดคล้องกับสุดารัตน์ ไชย เลิศ (2553, 10) ได้กล่าวถึงทักษะการแก้ปัญหาไว้ว่าต้องอาศัยกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ตลอดจนประสบการณ์เดิมจากการเรียนรู้ ทั้งทางตรงและทางอ้อมมาใช้ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมาย และสอดคลอ้ งกับงานวจิ ัยของ ประดษิ ฐ์ ประสิทธิศลิ ปช์ ัย (2557, บทคดั ยอ่ ) ท่ไี ดศ้ ึกษาผลการจัดการ เรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตาม แนวทางสะเต็มศึกษา และกลุ่มควบคุมที่สอนโดยวิธีสอนแบบปกติ กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการ เรยี นรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา มคี ่าเฉลยี่ สงู กวา่ กลุ่มควบคุมท่ีสอนโดยวิธสี อนแบบปกติ 4.2.2 นักเรียนที่ได้เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา มีทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานหลังเข้าร่วมโครงการสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท่ี ระดับ .01 เนื่องจากโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา มีการจัดการเรียนรู้ผ่าน กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ พร้อมทั้งมีการบูรณาการความรู้จากวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และการออกแบบทางวิศวกรรมมาใช้ในการแก้ปัญหา จน นำไปสู่การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็ม ศึกษา นักเรียนจะต้องใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบชิ้นงาน ตลอดจนการสร้างสรรค์ ชิ้นงาน อีกทั้งยังเป็นการฝึกให้นกั เรยี นมีการพัฒนาทักษะ ความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ นักเรียนมีทักษะความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ชวงและคนอื่น ๆ (Quang, et al. 2015) ที่ได้ศึกษาการบูรณาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และ คณิตศาสตร์ (STEM) ผ่านการ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการออกแบบของเล่นเชิงเทคนิคของ นักเรียนในโรงเรียนของเวียดนาม พบว่า การบูรณาการสะเต็มศึกษาผ่านการออกแบบของเล่นเชิง เทคนิคสำหรับนักเรียนใน โรงเรียนมัธยมศึกษาของเวียดนาม ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้และเห็น ประโยชน์ทเี่ ป็นรปู ธรรม และแนวทางการบรู ณาการสะเต็มศกึ ษาผ่านการออกแบบของเลน่ เชิงเทคนิค มีความเป็นไปได้และมี ความสอดคล้องกันกับการพัฒนาความสามารถของนักเรียน อีกทั้งยัง สอดคลอ้ งกับงานวิจัยของ ภสั สร ติดมา (2558, บทคดั ย่อ) ได้ศึกษาการจัดการเรียนรตู้ ามแนวทางสะ เต็มศึกษา เรื่องระบบของร่างกายมนุษย์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนช้ัน มัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่านักเรียน ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา มีคะแนน ความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และนักเรียนมี พฒั นาการดา้ นความคิด สร้างสรรคร์ ะหวา่ งเรยี นการจดั การเรยี นร้ตู ามแนวทางสะเต็มศึกษาเพ่ิมสงู ขึน้

ข้อเสนอแนะ ขอ้ เสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้ 1. ด้านบรบิ ท (context) พบว่าโครงการขับเคลอื่ นการจดั การเรียนรู้สะเต็มศึกษา เปน็ โครงการ ที่มีความเหมาะสม ที่ทำให้นักเรียนมีความสามารถพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้ ดังนั้นโรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการดำเนินโครงการต่อไปเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง โดยควรกำหนด แนวทางปฏบิ ตั ิทช่ี ัดเจนเพอื่ ใหเ้ ป็นไปตามวัตถุประสงคข์ องโครงการมากยิ่งข้ึน 2. ด้านปัจจัยนำเข้า (input) พบว่า โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) มีความพร้อมในการจัดโครงการในด้านต่าง ๆ แต่ควรเพิ่มการจัดอบรมครูและบุคลกรท่ี เกี่ยวข้อง เพือ่ เตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนแบบ STEM education เพื่อให้เข้าใจถึง วิธีการจัดการเรยี นรแู้ ละการใช้ สอื่ และอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างถกู ตอ้ ง 3. ด้านกระบวนการ (process) พบว่า โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจในการ เรยี นรู้มากยงิ่ ขึน้ แตเ่ นือ่ งจากการจดั การเรียนรู้ตอ้ งเน้นการสรา้ งทักษะการเรียนรูต้ ่าง ๆ ซ่งึ เปน็ เรื่องที่ ค่อนข้างใหม่สำหรับครูผูส้ อน จึงควรต้องใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อเรียนรู้และสร้างองคค์ วามรู้ ใหม่ ๆ เพอ่ื นำมาใช้จดั การเรยี นการสอนเพ่ือใหเ้ กิดประโยชน์สงู สุดแกน่ กั เรียน 4. ด้านผลผลิต (product) พบว่า โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาควร พัฒนาการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมในโครงการให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้นเพื่อนักเรียนที่เข้าร่วม โครงการจะได้เกิดทักษะการเรยี นรู้ในศตวรรษที่ 21 และนำไปใชใ้ นชวี ิตประจำวนั ตอ่ ไป ข้อเสนอแนะในการวจิ ัยคร้งั ตอ่ ไป 1. ควรมีการศึกษาผลที่เกิดกับตัวผู้เรียนในด้านทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านอื่น ๆ เชน่ ทักษะความรว่ มมอื การทำงานเปน็ ทมี และภาวะผนู้ ำ เป็นต้น 2. ในการวิจัยประเมินผลโครงการครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาผลกระทบของโครงการ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ผลการทดสอบระดับชาติ (O–net) ในราย วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3. ควรมีการศึกษาแนวปฏิบัติทดี่ ี (best practice) ในการดำเนนิ โครงการเพื่อนำไปใช้ในการ ขยายผลโครงการให้กับโรงเรียนอื่น ๆ หรือใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียน การสอนแบบบรู ณาการตอ่ ไป

บรรณานกุ รม

บรรณานกุ รม กนกวรรณ จนั ทร์เจรญิ ชัย. (2553). การเตรยี มและการประเมนิ โครงการ. กรงุ เทพฯ : ภาควิชา เศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กำจัด มงคลกุล. (2549). การสรา้ งความตระหนกั ดา้ นวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยใี นสังคมไทย : กลยุทธ์แห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักงาน นายกรัฐมนตรี. คณะกรรมาธิการการส่ือสารมวลชน การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสารสนเทศ สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ. (2558). STEM Education: นโยบายเชิงรุก ในการพัฒนากำลังคนด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, กระทรวงศกึ ษาธิการ. จันทิมา ผึ้งผัน. (2555). การประเมินผลโครงการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศลิ ปากร. จริ าณี เมืองจันทร.์ (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรยี นร้แู บบร่วมมอื เทคนิค STAD แบบ ผสมผสานเรื่องคำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปรญิ ญานพิ นธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวทิ ยาศาสตรศ์ ึกษา บัณฑิตวทิ ยาลัย มหาวิทยาลัย นเรศวร. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2546). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั . ชชู ัย นิลสนั เทยี ะ. (2554). การประเมนิ โครงการพฒนาคณุ ณธรรมจรยิ ธรรมและคา่ นิยมทพ่ี งึ ประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนปากชอ่ ง 2. นครราชสีมา : โรงเรียนปากช่อง 2. ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรนี ครินทรวโิ รฒ. ไชยยศ ไพวทพิ ยศิณิธรรม. (2550). การพฒั นารูปแบบการประเมนิ หลกั สูตร: การประยุกตใ์ ช้การ ประเมินอภิมาน. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนา หลักสตู ร บัณฑิตวทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครินทรวิโรฒ. ทวี อปุ สุขนิ . (2554). รายงานการประเมนิ โครงการการพฒั นาการจดั การศึกษาด้านอาชีพของ นักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาลำ พูน เขต 1. ลำพูน : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1.

บรรณานกุ รม (ตอ่ ) ทวีป แซฉ่ นิ . (2556). การพฒั นากจิ กรรมการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎี Constructionism เพ่ือ พัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมด้วยโปรแกรม App Inventor สำหรับนักเรียนช้ัน มัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ศกึ ษา บณั ฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร. ธนพล สปุ ระดิษฐพ์ งศ.์ (2554). การประเมนิ โครงการพัฒนาศักยภาพของหม่บู า้ นและชุมชน : กรณีศึกษาของหมู่บ้านสันทรายต้นกอก ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยั เชียงใหม.่ ธัญญมาศ ดุษฎี. (2553). การศึกษาสภาพปัญหา และ ความคาดหวังต่อการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนของอาจารย์ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ บางบอน กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระศกึ ษาศาสตรมหาบัณฑติ สาขาวิชาเทคโนโลยี การศกึ ษา บัณฑติ วทิ ยาลยั มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร. ธรี ศักดิ์ อ่นุ อารมย์เลิศ. (2556). การประเมนิ โครงการ (พมิ พค์ รัง้ ท่ี 2). นครปฐม : มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร. ประดิษฐ์ ประสิทธิศลิ ปช์ ัย. (2557). ผลการจัดการเรยี นรู้แบบสะเตม็ ศกึ ษาเพื่อส่งเสริมทกั ษะการ แก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนลำปาววิทยาคม. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 26, 2563, จาก http://www.lampao.ac.th/downloads/published/บทคัดย่อสะเต็ม ลงเว็ปไซต์ พงศกร พลูสมบัติ. (2564, มิถุนายน 15). ผู้อำนวยการ. โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. สมั ภาษณ์. ภสั สร ตดิ มา. (2558). การพฒั นาความคดิ สรา้ งสรรค์เรอื่ งระบบรา่ งกายมนษุ ย์ดว้ ยกระบวนการ ออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญา นิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย นเรศวร. มานะ อินทรสว่าง. (2556). รายงานการใช้นวตั กรรม ชดุ ทดลองสำหรับจดั การเรยี นการสอนแบบ สะเตม็ ศกึ ษาเร่อื ง ไฟฟ้ากระแสตรง. ค้นเมอื่ กมุ ภาพนั ธ์ 26, 2563, จาก http://swis.acl.ac.th/html_edu/act/temp_emp_research/2605.pdf เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2551). การประเมินโครงการแนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย.

บรรณานุกรม (ตอ่ ) รัญสญา สหฤทานันท์. (2554). การประเมินโครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์มูลนิธิชัยพัฒนา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชิ ารัฐประศาสนศาตร์ บณั ฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร. ล้วน สายยศ, และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สวุ รี ิยาสาส์น. วรเดช จนั ทรศร, และ ไพโรจน์ ภัทรนรากุล. (2546). การประเมนิ ผลในระบบเปดิ (พิมพค์ ร้ังที่ 8). กรุงเทพ ฯ : โครงการเอกสารและตำรา สมาคมรฐั ประศาสนศาสตร์ นิดา้ . วารณุ ี หนองห้าง. (2553). ทักษะการคดิ พ้ืนฐานวชิ าภาษาองั กฤษของนกั เรียนช้ันมธั ยมศกึ ษาปีท่ี1 โรงเรียนหนอง ห้างพิทยา จังหวัดกาฬสินธุ์ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการ สอนเพื่อให้เกิดมโนมติของบรูเนอร์. รายงานการศึกษาอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสตู รและการสอน บัณฑติ วทิ ยาลัย มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ . วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้ เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิ สดศรี-สฤษด์ิวงค์. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งท่ี 7). กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศนู ยส์ ะเตม็ ศกึ ษาแหง่ ชาติ. (2557). คูม่ ือเครอื ขา่ ยสะเต็มศึกษา. กรงุ เทพฯ : ผู้แตง่ . สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท). (2558). หลักสูตรอบรมศึกษานิเทศก์. กรุงเทพฯ : ผ้แู ต่ง. _________. (2560). หลักสตู รอบรมศกึ ษานเิ ทศก.์ กรงุ เทพฯ : ผูแ้ ตง่ . สมคิด พรมจุย้ . (2542). เทคนคิ การประเมินโครงการ (พิมพค์ รง้ั ที่ 2). นนทบรุ ี : มหาวทิ ยาลัยสุโขทัย ธรรมมาธิราช. สมนกึ ภทั ทยิ ธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา (พมิ พค์ ร้งั ที่ 4). กาฬสินธ์ุ : ประสารการพิมพ์. สมหวงั พธิ ิยานวุ ัตน.์ (2544). รวมบทความในการประเมินโครงการ. กรงุ เทพฯ : จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย. สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพน้ื ฐาน. (2560). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขัน้ พื้นฐาน ปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ : ผู้แตง่ .

บรรณานุกรม (ต่อ) สุดารัตน์ ไชยเลศิ . (2553). การสรา้ งแบบวัดความสามารถในการคดิ แกป้ ญั หาสิง่ แวดล้อม ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษา มหาบณั ฑติ สาขาวชิ าการวัดผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรนี ครนิ ทรวิโรฒ. สุพกั ตร์ พบิ ลู ย.์ (2551). ชดุ เสริมทักษาการประเมินโครงการ. นนทบุรี : จตุพรดไี ซน์. สุพตั รา โคตะวงค์. (2559). การสง่ เสรมิ ทักษะการทำงานเป็นทมี ดว้ ยกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ สะ เต็มศึกษาร่วมกับการเรยี นรู้ แบบร่วมมือของนักเรยี นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน ชุม แพศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิต วทิ ยาลัย มหาวิทยาลยั ราชภัฏมหาสารคาม. สมุ าลี ชัยเจรญิ . (2557). การออกแบบการสอน:หลกั การทฤษฎีสู่ การปฏิบัต.ิ ขอนแกน่ : แอนนา ออฟเซต. อลิศรา ชูชาต.ิ (2549). “เสริมสร้างประสิทธภิ าพการเรยี นรู้วทิ ยาศาสตรผ์ ่าน ICT” นวตั กรรมการ จัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย. อภิสิทธิ์ ธงชัย. (2556). เทคโนโลยีและวิศวกรรมคืออะไรในสะเต็มศึกษา. นิตยสาร สสวท, 42, 35-37. อาทิตยา พนู เรือง. (2558). การเปรียบเทยี บผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการ แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โดยการจัดการเรียนรู้ ตาม แนวทางสะเตม็ ศึกษาสำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปี ที่ 5. ปรญิ ญานิพนธ์การศึกษา มหาบณั ฑติ สาขาวชิ าชีววทิ ยา บณั ฑติ วิทยาลยั มหาวทิ ยาลัยศรนี ครินทรวโิ รฒ. Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice. Bybee, R. W. (2013). The case for STEM education: Challenges and opportunities. Arlington: National Science Teachers Association. Cronbach, L. J. (1974). Essential of psychological testing. New York: Harper & Row. Diana, L. R. (2012). Integrated STEM Education through project-based learning. Retrieved February 12, 2021, from http://www.rondout.k12.ny.us/- commonpages/DisplayFile.aspx? itemId= 16466975 Guilford, J. P. (1967). The nature of human intelligence. New York: McGraw-Hill.

บรรณานกุ รม (ตอ่ ) Hadi, M., Sajjadi, H. S., Baratpour, S., & Toghiani, A., (2013). Performance evaluation of the suggestion system. Retrieved February 12, 2021, from http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24341062?report=abstract&format=text. Lantz, H. B. (2009). Science, technology, engineering, and mathematics (STEM) education what form? what function?. Retrieved February 12, 2021, from http://www.currtechintegrations.com/pdf/STEMEducationArticle.pdf. Nooshin, M., Faezeh, A., Mohammad, H., Yarmohammadiancand., & Masumeh, K. (2011). Application of CIPP model for evaluating the medical records education course at master of science level at Iranian medical sciences universities. Procedia Social and Behavioral Sciences, 15, 3286–3290 Retrieved February 12, 2021, from http://ac.elscdn.com/ S1877042811008330/1-s2.0- S1877042811008330-main.pdf O’Neil, T. L., Yamagata, J. Y., & Togioka, S. (2012). Teaching STEM means teacher learning. Phi Delta Kappan, 1, 36-40. Quang, L. T., Hoang, L. H., Chaun, V. D., Nam, N. H., Anh, N. T., & Nhung, V. T. (2015). Integrated science, technology, engineering and mathematics (STEM) education through active experience of designing technical toys in Vietnamese schools. British Journal of Education, Society & Behavioural Science, 11(2), 1-12. Retrieved February 16, 2021, from https://arxiv.org/ftp/arxiv/papers/1509/1509.03807.pdf Tseng, K., Chang, C., Lou, S., & Chen, W. (2011). Attitudes toward science, technology, engineering and mathematics (STEM) in a project-based learning (PjBL) environment. International Journal of Science and Mathematics Education, 23, 87-102. Worthen, B. R., & Sanders, J. R. (1987). Educational evaluation: Alternative approaches and practical guideline. New York: Longman. Weir, J. J. (1974). Problem solving is everybody’s problem. The Science Teacher, 4, 16-18.

ภาคผนวก


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook