Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore อัชฌา สมนึก

อัชฌา สมนึก

Published by วิทย บริการ, 2022-07-11 01:37:56

Description: อัชฌา สมนึก

Search

Read the Text Version

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก อัชฌา สมนึก มหาวิทยาลยั ราชภัฏหมู่บา้ นจอมบงึ มกราคม 2565

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง ก คำนำ ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรับการดูแลมารดาและทารก ได้เรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระบบ ครอบคลุม เนื้อหาสาระบางส่วนในหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชา การผดงุ ครรภ์ไทย 1 และบคุ คลอื่นท่ีสนใจทว่ั ไป สามารถอา่ นและทำความเข้าใจในเน้อื หาได้ด้วยตนเอง โดยไม่ เขา้ ศกึ ษาในวชิ าน้ี เนื้อหาในตำราฉบับน้ี แบ่งออกเป็น 4 บท ประกอบด้วย การเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ การดูแล สตรีขณะตั้งครรภ์ การดูแลสตรีขณะคลอด และการดูแลมารดาและทารกหลังคลอด ซึ่งเนื้อเหล่านี้จะ เป็น แนวทางให้แก่นักศึกษาแพทย์แผนไทยใช้ประกอบการเรียนวิชาในหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ได้แก่วิชาการ ผดงุ ครรภไ์ ทย 1 และสามารถนำไปเป็นแนวทางในการใหบ้ รกิ ารให้บริการสาธารณสุข นำความรู้ไปเปน็ แนวทาง ประยุกต์ปรับใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพมารดาและทารก ด้วยการป้องกัน ส่งเสริม รักษาสุขภาพมารดาและ ทารกรวม ทัง้ การฟื้นฟสู ุขภาพมารดาหลังคลอดใหแ้ ขง็ แรง ผู้ เ ขี ย น ห ว ั ง เ ป็ น อย ่า ง ย ิ ่ง ว่ า ต ำ รา เ ล่ มน ี้ จ ะมี ปร ะโ ยช น์ ต ่อกา ร เ ร ีย น กา รส อน แ ละกา ร ทำ ง า นด้าน การผดุงครรภ์ไทย หากมีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงตำราฉบับนี้ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ผู้เขียนยินดีน้อมรับ และ ขอขอบคณุ ในความอนเุ คราะห์น้นั มา ณ โอกาสนด้ี ว้ ย อัชฌา สมนกึ มกราคม 2565 ตำรา การแพทย์แผนไทยสำหรับการดูแลมารดาและทารก

สารบญัมหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงข คำนำ หน้า สารบัญ สารบัญภาพประกอบ ก สารบญั ตาราง ข ง บทที่ 1 การเตรยี มความพร้อมกอ่ นการต้งั ครรภ์ จ 1.1 การกำเนิดมนุษยแ์ ละสัตว์ 1.2 การกำเนิดโลหติ ระดูแห่งสตรี 1 1.3 โลหิตระดู 1 1.4 ลักษณะของสตรีทเ่ี หมาะแก่การใหน้ มบุตรและการต้ังครรภ์ 2 1.5 ปจั จยั ทมี่ ีผลต่อการมีบตุ รยากในทฤษฎกี ารแพทย์แผนไทย 4 1.6 การดแู ลสตรที มี่ บี ตุ รยากในทางการแพทยแ์ ผนไทย 9 1.7 เอกสารอา้ งอิง 11 12 บทท่ี 2 การดแู ลสตรขี ณะตั้งครรภ์ 13 2.1 การปฏิสนธิและการเจริญเตบิ โตของทารกในครรภ์ 2.2 ครรภว์ าระกำเนิด 14 2.3 ครรภ์รกั ษา 14 2.4 ครรภป์ ริมณฑล 17 2.5 ครรภว์ ปิ ลาส 19 2.6 ประเพณีและความเชอื่ เกีย่ วกบั การตั้งครรภ์ 25 2.7 เอกสารอา้ งอิง 30 31 33 ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรบั การดแู ลมารดาและทารก

สารบัญมหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงค บทท่ี 3 การดูแลสตรีขณะคลอด หน้า 3.1 กลไกการคลอด 34 3.2 แนวทางการดแู ลรักษามารดาและทารกในระยะคลอด 34 3.3 เอกสารอา้ งอิง 37 41 บทท่ี 4 การดแู ลมารดาและทารกหลังคลอด 4.1 แนวทางการดแู ลมารดาหลังคลอด 43 4.1.1 การใชย้ าสมุนไพรสำหรบั มารดาหลงั คลอด 43 4.1.2 การนวดและการประคบสมุนไพรหลังคลอด 44 4.1.3 การทบั หม้อเกลือ 50 4.1.4 การอบไอนำ้ สมุนไพร และการเข้ากระโจม 54 4.1.5 การอาบน้ำสมนุ ไพร 56 4.1.6 การนั่งถ่าน 56 4.1.7 การรดั หนา้ ท้องหรอื การพนั ผา้ หน้าทอ้ ง 57 4.1.8 อาหารและเคร่ืองด่มื สำหรับหญิงหลังคลอด 59 4.1.9 การดูแลเตา้ นม 60 4.2 แนวทางการดูแลทารกหลงั คลอด 64 4.3 เอกสารอา้ งอิง 65 68 บรรณานุกรม 70 ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรับการดแู ลมารดาและทารก

สารบญั ภาพ ง ภาพท่ี หน้า 3.1 กลไกการคลอดในระยะท่ี 2 ของการคลอด (Second stage of labor) 40 4.1 การประคบสมนุ ไพร 53 4.2 การทบั หมอ้ เกลือ 55 4.3 การเขา้ กระโจม 57 4.4 การนงั่ ถา่ น 58 4.5 ตัวอย่างอาหารสำหรบั หญงิ หลังคลอด 62 4.6 ตัวอยา่ งเครอื่ งดื่มสำหรบั หญิงหลงั คลอด 63 4.7 การกวาดยา 67 มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรับการดูแลมารดาและทารก

สารบัญตาราง จ ตารางที่ หน้า 17 2.1 อาการของมารดาขณะต้ังครรภ์ วันปฏสิ นธิและวนั กำหนดคลอดของทารก 20 การทำนายเพศของทารก และซางเจ้าเรือน (ครรภว์ าระกำเนดิ ) 26 2.2 อาการของหญิงมีครรภ์ และการรักษาโดยใชย้ าสมุนไพร (ครรภ์รกั ษา) 2.3 อาการท่พี บบอ่ ยในหญงิ มคี รรภ์ และแนวทางการดูแลรักษา มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงบทท่ี 1 การเตรียมความพร้อมกอ่ นการตั้งครรภ์ การดูแลสตรกี ่อนการตัง้ ครรภ์เป็นสิ่งท่ีควรพจิ ารณาให้ความสำคญั โดยในส่วนของการมบี ุตรควรเริ่มตั้งแต่ การเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ ภาวะทางสุขภาพหรือความสมบูรณ์ทางร่างกายของชายและหญิงถือเป็น ปัจจัยที่สำคัญทีแ่ สดงถึงภาวะความพร้อมและความสมบูรณ์ของการเจริญพันธ์ุ และเมื่อมีการตั้งครรภก์ ็จะสง่ ผลให้ มารดาและทารกในครรภ์มีความสมบูรณ์แข็งแรงตลอดช่วงของการตั้งครรภ์ สามารถผ่านช่วงการตั้งครรภ์ การ คลอดบตุ ร รวมทงั้ หลงั คลอดได้อยา่ งปลอดภัย ในท่นี ้ีจะกล่าวถึงเนื้อหาในคัมภีรป์ ฐมจินดาและคมั ภีร์มหาโชตรัต ที่ กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ ในเนื้อหาต่อไปนี้ การกำเนิดของมนุษย์และสัตว์ ว่าด้วยกำเนิด โลหิตระดแู หง่ สตรี โลหิตระดู ลักษณะของสตรที ีเ่ หมาะแก่การให้นมบุตรและการตั้งครรภ์ อนั ไดแ้ ก่ ลักษณะสตรีชั่ว ลักษณะแม่นมท่ีดี นำ้ นมดีชั่ว นอกจากน้ไี ด้มีการกล่าวถึงการประเมินสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการ มีบุตรยากในทฤษฎีการแพทย์แผนไทย การส่งเสริมสุขภาพเพื่อปรับสมดุลร่างกาย การดูแลสตรีที่มีบตุ รยากในทาง การแพทย์แผนไทย 1.1 การกำเนิดของมนษุ ยแ์ ละสัตว์ เนอื้ หาในคัมภีรป์ ฐมจินดา ทกี่ ล่าวถึงการกำเนดิ ของมนษุ ยแ์ ละสัตว์ ระบุวา่ การสร้างโลก ต้นเหตุการณ์เกิด มนุษย์และสัตว์ การกำเนิดระดูสตรี สัตว์ทั้งหลายเมื่อมีการปฏิสนธิขึ้นมาต้อง พร้อมด้วยบิดา มารดา และมีความ ครบถว้ นของธาตุท้ัง 4 คอื ปถวีธาตุ 20 อาโปธาตุ 12 วาโยธาตุ 6 และเตโซธาตุ 4 ระคนกนั เข้า เรื่องพรหมปโรหิต กล่าวว่า ปฐมเหตุที่ทำให้มนุษย์เกิดขึ้นมาเชื่อว่าเกิดขึ้นเมื่อตั้งแผ่นดินใหม่ เกิดกัลป์ พนิ าศด้วยเพลงิ ประลัยกลั ป์ เผาไหมฟ้ ้า แผน่ ดนิ ภเู ขา และเขาพระสเุ มรุ จนสนิ้ แลว้ บงั เกิดฝนห่าใหญ่ ฝนตก 7 วัน 7 คืน น้ำท่วมชั้นพรหมปโรหติ ตอ่ มาเกดิ นิมิตรเปน็ ดอกอบุ ลผุดเหนือนำ้ 5 ดอก ท้าวมหาพรหมเห็นดงั น้ันจึง ทำนายว่า แผ่นดินใหม่นี้จะบงั เกิดสมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้ามาตรัสรู้ถึง 5 พระองค์ คอื 1. พระพุทธกกสุ ันโธ 2. พระพทุ ธโกนาคม ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 2 3. พระพทุ ธกสั สป 4. พระพทุ ธสมณโคดม 5. พระศรอี ริยเมตไตรย์ ครั้นต่อมาก็เกิดน้ำค้างเปือกตมตกลงมา 7 วัน 7 คืน ทับซ้อนกันเข้าดุจดังสระลอยอยู่เหนือผิวน้ำเกิด เปน็ ผนื แผน่ ดนิ บนโลกใหม่หนา 240,000 โยชน์ (3,840,000 กโิ ลเมตร) เมอื่ แผน่ ดนิ และเขาพระสุเมรุตั้งขึ้นซ่ึงเป็น ที่อยู่ของเทวดาและพรหมต่าง ๆ แต่ยังไม่มีมนุษย์และสัตว์ พระอิศวรจึงได้อาราธนาพระพรหม 2 องค์ นามว่า “พรหมจารี” ลงมาเกิดเป็นมนุษย์คู่แรก เมื่อพระพรหมได้กินง้วนดิน ทำให้กลายหยาบกลายเป็นมนุษย์ เมื่อเสพ เมถุนสังวาสจึงมีครรภ์ คลอดบุตร 12 คน อันพวกนั้นเกิดครรภป์ รามาศ คือ เอามือลูบนาภีก็มีบุตรเกิดแพร่ไป 4 ทวีป แตกเป็นภาษาต่าง ๆ กัน (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสรมิ การแพทย์ไทยเดิมฯ และ โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการณ์ แพทยแ์ ผนไทยประยุกตค์ ณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล มหาวทิ ยาลัยมหดิ ล, 2555) สตั วท์ ่ีมาปฏสิ นธิในชมพทู วีปมี 4 สถาน ได้แก่ 1. ชลามพุชะ สัตว์ที่มาปฏิสนธิในครรภ์เปน็ ตวั ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดา คลอดออกมาเป็นตัวและดดู นม แล้วค่อย ๆ เตบิ โตข้นึ ตามลำดับ เชน่ คน โค กระบอื สุนัข เป็นตน้ 2. อัณฑชะ สัตว์ที่มาเกิดปฏิสนธิเป็นฟอง ฟักฟองไข่ ต้องอาศัยเกิดจากมารดา แต่มีฟองห่อหุ้ม คลอด ออกมาเป็นไข่กอ่ น แล้วจงึ แตกจากไข่มาเป็นตวั แลว้ ค่อย ๆ เติบโตขึ้นตามลำดับ เช่น เปด็ ไก่ นก เปน็ ต้น 3. สังเชทชะ สัตวท์ ี่ปฏสิ นธดิ ว้ ยเปอื กตม ของช้ืนและหมกั หมมเน่าเปือ่ ย ไม่ไดอ้ าศัยเกิดจากท้องมารดา แต่ เกิดจากตน้ ไม้ ดอกไม้ ของเปียกช้ืน เชน่ หนอน พยาธิ เปน็ ตน้ 4. อปุ ปาตกิ ะ สัตวท์ ่ีปฏิสนธเิ กิดขน้ึ มาเอง ไมไ่ ดอ้ าศัยเกิดจากทอ้ งมารดา แตเ่ กิดโดยโผล่หรอื ผดุ ขน้ึ มา และ โตเตม็ ทใี่ นทนั ทเี ลย เชน่ เปรต อสุรกาย เทวดา พรหม เป็นตน้ 1.2 ว่ากำเนิดโลหติ ระดูแหง่ สตรี ตามคัมภรี ์ประถมจินดาและคัมภรี ์มหาโชตรัต มนุษย์ทง้ั หลายเมื่อถือปฏิสนธิแล้วคลอดมาจากครรภ์มารดา ถา้ เปน็ สตรจี ะมีลกั ษณะทแี่ ตกต่างจากบุรุษ คัมภรี ป์ ฐมจินดา กล่าววา่ มนุษยท์ ้ังหลายถอื ปฏสิ นธแิ ล้วคลอดออกจากครรภม์ ารดา ถา้ เปน็ สตรีมีประเภท ตา่ งจากบุรุษ 2 ประการ คอื ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรับการดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 3 1. ตอ่ มเลอื ด (มดลกู ) 2. น้ำนมสำหรบั เลย้ี งบตุ ร คัมภีรม์ หาโชตรัต กล่าววา่ มนุษยอ์ ันเกิดมาเป็นรูปสตรีภาพ ต้งั แต่คลอดออกจากครรภ์มารดา ก็มีกายต่าง จากบรุ ษุ 4 ประการ คอื 1. ถนั ประโยธร หมายถึง เตา้ นมทสี่ ร้างนำ้ นมสำหรับเลี้ยงบตุ ร 2. จริตกริ ิยา หมายถึง อาการแสดงของสตรี ออ่ นช้อย นุ่มนวล น่ารกั น่าสัมผัส แข็งแกร่ง 3. ทปี่ ระเวณี หมายถงึ ช่องคลอด หนา้ ที่ เสพสงั วาส เปน็ ทางผ่านของระดู และเปน็ ทางออกของทารก 4. ต่อมเลือดระดู หมายถึง มดลูก อยู่ของไข่ หรือตัวอ่อน/ลูก หากไม่มีลูกก็ขับออกมาเป็นเลือดระดู (พร ทพิ ย์ เทียนทองดี และกันทิมา สทิ ธิธัญกิจ (บรรณาธิการ), 2560) ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน บทบาทของเพศหญิงในเรื่องของการสืบพันธุ์มีมากกว่าในเพศชาย ไม่ เพียงแต่จะผลิตไข่ (ovum) เท่านั้น แต่หลังจากที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นแล้ว สตรีหรือมาดายังต้องคอยเลี้ยงดูและ ปกป้องตัวอ่อนซงึ่ กำลังเจริญและพัฒนาในครรภ์ (มดลกู ) หลงั คลอดก็ยงั คอยเล้ียงดูอีกระยะหนึ่ง โดยเฉพาะมารดา ที่เลี้ยงดทู ารกดว้ ยนมแม่ (มาลวี ัล เลิศสาครศิริ, 2558) ซง่ึ ไดก้ ลา่ วถึง ระบบสบื พันธ์ุเพศหญิงประกอบด้วย 1. รังไข่ (Ovary) มี 2 ข้างของมดลูก ยึดติดกับมดลูก เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธ์ุ จะมีการเจริญของไข่ 1 ใบ ทุก ๆ เดอื นสลับกันระหว่างรังไข่ ซีกซ้ายกบั ซกี ขวา ทำหนา้ ทสี่ ร้างฮอรโ์ มนเพศหญงิ ได้แก่ เอสโตรเจน (estrogen) ท่อนำไข่ (uterine tube หรือ fallopian tubes หรือ oviducts) ทำหน้าที่นำไข่จากรังไข่มาที่มดลูก (uterus) และการผสมพันธุ์ (fertilization) จะเกิดขึ้นทบ่ี รเิ วณทอ่ นำไขน่ ้ี 2. มดลกู (Uterus) เปน็ ท่อี ยแู่ ละให้อาหารแก่ทารกในครรภ์ มีรปู รา่ งคลา้ ยลูกชมพคู่ วํ่ามีทอ่ นําไข่ (Uterine Tube) ยื่นออกไปทั้งซ้ายและขวา ปลายท่อบานออกเพื่อรับเซลล์ไข่จากรังไข่เข้าสู่ท่อนําไข่ ภายในท่อมีเยื่อบุที่มีซี เลยี ช่วยในการพัดโบกไข่ เนอื้ เยอ่ื มดลกู แบง่ เป็น 3 ชน้ั 1. เนือ้ เยือ่ ชนั้ ใน (Endometrium) เปล่ยี นแปลงความหนาได้ในระยะที่ไข่ถูกผสมแล้วจะเคลื่อนที่ มาฝงั ตัวอย่ทู ช่ี นั้ นี้ 2. เนื้อเยื่อชั้นกลาง (Myometrium) มีความหนาและแข็งแรงสามารถขยายตัวได้ระหว่างที่ ต้ังครรภ์ ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรับการดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 4 3. เนื้อเยื่อชั้นนอก (Serous Layer) ทําหน้าที่ปกคลุมด้านนอกสุดทุกส่วน ยกเว้นปากมดลูก (Cervix) เป็นทางติดต่อกับช่องคลอด (Vagina) ทำหน้าที่เป็นทางรับน้ำอสุจิจากอวัยวะเพศชาย เป็น ทางผ่านของประจำเดือน (menstruation) และเป็นทางที่ทารกคลอดออกมา 3. อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงภายนอก (external genital organs) หรือ vulva ประกอบด้วย เนินหัวหนา่ ว (mons pubis) แคมใหญ่ (labia majora) แคมเล็ก (labia minora) และปุ่มกระสัน (clitoris) สามารถแข็งตัวได้ (erectile organ) เทยี บไดก้ ับ glans penis (ส่วนหัวองคชาติ) ในเพศชาย 4. เต้านม (breast) และต่อมน้ำนม (mammary gland) ทำหน้าท่ผี ลติ น้ำนมสำหรบั ทารกแรกคลอด (ธีระ พร วฒุ ยวนิช, ธรี ะ ทองสง และจตุพล ศรีสมบรู ณ์, 2535) 1.3 โลหิตระดู จากเนื้อหาในคัมภีร์ปฐมจินดา ที่กล่าวถึงการกำเนิดของมนุษย์และสตั ว์ในหัวข้อข้างต้นวา่ การปฏิสนธิจะ เกิดขึ้นมานั้นต้อง พร้อมด้วยบิดา มารดา นั่นคือผู้ต้องการมีบุตรต้องมีความบรบิ ูรณ์ของร่างกาย ในทางการแพทย์ แผนไทยจะประเมินความสมบูรณ์ของร่างกายสตรี หรือมารดา จากการมีประจำเดือนร่วมกับอาการที่เกิดขึ้นก่อน และระหว่างมีประจำเดือน ซงึ่ ทางการแพทย์แผนไทยเรียกประจำเดือนว่าโลหิตระดู ซึ่งหากโลหติ ระดูในแต่ละเดือน มาเป็นปกติ ไม่มีอาการเจ็บป่วยใด ๆ ที่รุนแรง สตรีหรือมารดาผู้นั้นก็จะสามารถมีบุตรได้ จึงได้มีการกล่าวถึง ลักษณะของการเกิดประจำเดือนที่ปกติ เรียกว่า โลหิตปกติโทษ ในคัมภีร์มหาโชตรัต ดังนี้ กลุ่มอาการปวด ประจำเดือน กลุ่มอาการโลหิตปกติโทษ และเรียกอาการแสดงของโรคทางนรเี วชวา่ โลหิตทจุ ริตโทษ ในการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์เพื่อดูแลสตรีก่อนตั้งครรภ์ มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และ เข้าใจพน้ื ฐานเรอื่ งประจำเดือน โลหติ ปกตโิ ทษ และโลหิตทจุ รติ โทษ ดงั น้ี 1) ประจำเดือน (Menstruation) ในทางการแพทยแ์ ผนปจั จุบัน ประจาํ เดือน คือ เลอื ดทีเ่ กิดจากการสลายตวั ของเยื่อบุมดลูกพร้อมกับมีการ หลุดลอกของเยื่อบุและมีเลือดออกมา วงจรการมีประจําเดือนจะสัมพันธ์กับการตกไข่ โดยในแต่ละรอบเดือนจะมี ช่วงเวลาประมาณ 26-30 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยจะมีฮอร์โมน Follicle stimulating hormone (FSH) ท่ี ผลิตจากต่อมใต้สมอง จะไปกระตุ้นรังไข่ให้ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เพื่อไปกระตุ้นการเจริญของเยื่อบุ ภายในผนังมดลูกให้เพิ่มความหนาขึ้น ขณะเดียวกันฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีปริมาณสูงขึ้นนี้ จะไปยับยั้งการผลิต ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 5 FSH และ Luteinizing Hormone (LH) จากต่อมใต้สมองจะผลิตขึน้ มาในปริมาณสูงขึ้นกจ็ ะร่วมกระตุ้นให้เกิดการ ตกไข่ เมื่อไข่หลุดออกมาแล้ว Follicle จะกลายเป็น Corpus Luteum แล้วเริ่มผลิตฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งจะไปยับยั้งการผลิต LH ในระยะนี้หากไม่มีการผสมพันธุ์ ฮอร์โมนต่าง ๆ จะลดลงเป็นผลให้มี การสลายตัวของเยื่อบุมดลูกพร้อมกับมีการหลุดลอกของเยื่อบุและตกเลือดออกมาเป็นประจําเดือน พร้อมกับเร่ิม วงจรใหม่ แต่ถ้ามีการผสมพันธ์ุในช่วงตกไข่ Corpus Luteum จะไม่สลายตัวและผลติ ฮอร์โมนต่อไป เยื่อบุมดลูกก็ ยงั คงอยู่และมกี ารฝงั ตวั ของแอมบรโิ อ ทำให้เกิดการต้ังครรภ์ (มาลวี ลั เลิศสาครศริ ิ, 2558) การเปลีย่ นแปลงในรอบ ประจําเดือน แบง่ ได้เป็น 3 ระยะ คอื 1. ระยะก่อนตกไข่ (Follicle Stage) เป็นระยะเริ่มมีประจําเดือนไปจนถึงระยะที่มีการตกไข่ ซ่ึงจะใชเ้ วลาประมาณ 13-15 วัน 2. ระยะตกไข่ (Ovulation Stage) เป็นระยะท่ี Secondary Oocyte หลุดออกจาก Follicle เนอ่ื งจากการกระต้นุ ของ LH เกดิ ข้นึ ประมาณวันท่ี 13-15 3. ระยะหลังตกไข่ (Corpus Luteum) เป็นระยะต่อจากระยะตกไข่จนถึงเริ่มมีประจําเดือน คือ ถงึ วันที่ 28-30 2) โลหติ ปกตโิ ทษ โลหติ ปกตโิ ทษ เปน็ ภาวะของกลุ่มอาการอย่างใดอย่างหนึง่ ที่เกิดขึ้นเปน็ ประจำทกุ เดือน เช่น ถ้ามี อาการปวดท้อง หรือปวดหลังก่อนมีประจำเดือน ก็จะปวดเป็นประจำทุก ๆ เดือน จึงเรียกว่า โลหิตปกติโทษ คือ โลหิตระดูให้โทษเป็นประจำ การแพทย์แผนไทยได้กล่าวถึงโลหิตระดูไว้ว่า “สิ้นตานซางแล้วต่อมโลหิตแห่งหญิงผู้ นั้นให้บังเกิดขึ้นมาตามประเวณีแห่งสตรีภาพ” สัตว์ที่จะมาปฏิสนธิในมาตุคัพโภทร (ในท้องมารดา) ก็เพราะโลหิต ระดบู ริบูรณ์ โลหติ ปกตโิ ทษมี 5 ประการ ได้แก่ 1. โลหติ ัง หทยัง ชาตัง โลหติ ปกตโิ ทษอันเกิดมาแต่หวั ใจ ชื่อวา่ หทัยวัตถุกำเดา เมื่อหญิงมีระดูมานั้น ใหค้ ลงั่ เพอ้ ไปเจรจาดว้ ยผี ให้นอนสะดงุ้ หวาด มักข้ึงโกรธไปตา่ ง ๆ ครั้นมรี ะดอู อกมาแล้วก็หายเพศ ทเี่ ปน็ นน้ั แล กล่าวคือในช่วงมีประจำเดือน จะมีอาการทางจิตที่ผิดปกติ เริ่มตั้งแต่อาการน้อย ๆ เช่น หงุดหงิด เจ้า อารมณ์ จู้จ้ีขี้บ่น โมโหง่าย ไปจนถึงมีอาการมาก เช่น คุ้มคลั่ง เสียสติ พูดจาคนเดียว ในบางรายเมื่อมีประจำเดอื น ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรับการดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 6 เริ่มมีอาการเพียงเล็กน้อย เมื่อประจำเดือนหมดไปอาการก็หายไปกลับเป็นปกติ แต่หากไม่ได้รับการรักษา อาการ อาจจะรุนแรงข้นึ เร่ือย ๆ 2. โลหิตัง ปิตตงั ชาตัง โลหิตปกตโิ ทษอนั เกิดมาแต่ข้วั ดี เม่อื จะมรี ะดูมา ใหค้ ลั่งไคล้ ละเมอเพ้อเจรจา ดว้ ยผี ใหน้ อนสะดุ้งหวาด ไป ครัน้ มรี ะดอู อกมาแล้วกห็ ายเพศนนั้ แล กล่าวคือในชว่ งมีประจำเดือน จะมีอาการไข้สูง ตัวร้อนจัดจนเพอ้ เมื่อประจำเดือนมาอาการไขก้ ็คลาย แต่ บางรายอาจมไี ข้ตลอดช่วงท่ีมปี ระจำเดือน 3. โลหิตัง มังสัง ชาตัง โลหิตปกติโทษอันเกิดมาแต่ผิวเนื้อ เมื่อจะมีระดูมา ให้นอนร้อนผิวเนื้อผิวหนงั ใหแ้ ดงดุจผลตำลงึ สกุ ลางทีให้ผุดขน้ึ ท้ังตัวดุจออกหัด และฟกเปน็ ดังไข้รากสาด เป็นไปถึง 2 วัน 3 วนั ครั้นมี ระดูออกมาแล้วกค็ ลายไป กลา่ วคอื ในช่วงมปี ระจำเดือน จะมอี าการคล้ายลมพิษขนึ้ ตามผวิ หนัง บางคนผุดเปน็ เมด็ บางคนผดุ เป็นปื้น มีอาการปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนัง แพทย์บางคนเรียกว่า ประดง เมื่อประจำเดือนมาอาการก็บรรเทาลง เดือน ต่อไปอาการก็อาจกำเรบิ ขึ้นอีกได้ หากไมไ่ ดร้ ับการรักษา อาการอาจจะรนุ แรงข้นึ 4. โลหิตัง นหารู ชาโต โลหิตปกติโทษอันบังเกิดมาแต่เส้นเอ็นทั้งปวงนั้น เมื่อจะใกล้มีระดูมาให้เป็น ประดุจดงั ไข้จบั ใหส้ ะบดั รอ้ นสะบัดหนาว ปวดศีรษะเป็นกำลัง ครั้นมีระดูออกมาแล้วกห็ ายไปแล กล่าวคือในช่วงมีประจำเดือน จะมีอาการปวดศรีษะมาก บางครั้งมีอาการร้อน ๆ หนาว ๆ เหมือนกับเป็น ไข้ เมื่อประจำเดือนมา อาการก็หายไป แต่เดือนต่อมาอการก็กลับมาเป็นอีก อาจจะปวดศีรษะมากขึ้นหรือถี่ขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา 5. โลหิตัง อัฏฐิกัง ชาตัง โลหิตปกติโทษอันเกิดมาแต่กระดูกนั้น เมื่อจะใกล้มีระดูมา ให้เมื่อยให้ขบไป ทกุ ข้อดงั จะขาดจากกัน ใหเ้ จ็บบนั้ เอวสันหลังยิง่ นัก มักบิดเกยี จคร้านบอ่ ย ๆ ครนั้ มรี ะดูออกมาแล้วกห็ ายแล กล่าวคือในช่วงมีประจำเดือน จะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว ปวดตามข้อตามกระดูก ปวดหลังปวดเอวมาก จนไม่อยากทำงานหรือทำงานไม่ได้ เม่ือประจำเดือนมาแล้ว อาการก็คลายลงหรอื หายไป แต่เดือนต่อมากป็ วดเช่นน้ี อกี ทุกเดือน โลหติ ปกติโทษท้ัง 5 ประการน้ี อธบิ ายไว้พอเปน็ ท่ีสังเกตุของแพทย์ เพราะโลหิตปกติโทษ มีมากกวา่ น้ี บาง รายอาจมอี าการแตกต่างไปจาก 5 ประการนกี้ ็ได้ ถา้ มีอาการผิดปกติเกิดข้ึนเป็นประจำทุกเดือน กเ็ รียก โลหิตปกติ ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 7 โทษ เช่นกัน (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และ โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการณ์แพทย์แผนไทย ประยุกต์คณะแพทยศาสตรศ์ ริ ริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหดิ ล, 2555) ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การที่จะเกิดการปฏิสนธิในท้องของมารดาได้นั้น มารดาจะต้องมีโลหิตระดู หรือมี ประจำเดือนที่สมบูรณ์ ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติของโลหิตระดู แพทย์จึงจำเป็นต้องรักษาหรือแก้ไข เพื่อให้ กลับมาเป็นปกติ และเมื่อโลหิตระดูกลับมาเป็นปกติ สมบูรณ์แข็งแรง ก็จะทำให้สตรีหรือมารดามีโอกาสตั้งครรภ์ มากขึน้ การรักษาโลหิตปกตโิ ทษ 1. ให้แพทย์พิจารณาดูว่า โลหิตนั้นเกิดจากที่ใด แล้วให้ปรุงยา ชื่อ ยาพรหมภักดิ์ เป็นยาประจุโลหิตร้าย เสียให้สิ้น แล้วจึงแต่งยาบำรุงไฟธาตุให้กิน เพื่อปรับธาตุทั้ง 4 ให้เสมอกัน แล้วจึงแต่งยาชื่อว่า ยากำลังราชสีห์ ยา กำลังแสงพระอาทิตย์ บำรงุ โลหิตให้บรบิ รู ณ์แล้ว เมอื่ ใด สตั ว์ทจี่ ะมาปฎิสนธิ ก็จะเกดิ ข้นึ ไดเ้ มอ่ื นั้น หรอื 2. ให้ตำรบั ยา ท่ใี ช้รักษาโลหติ ปกตโิ ทษ ตามคัมภีร์ 2.1 โลหิตปกตโิ ทษอันเกดิ มาแต่หวั ใจ ใช้ยาเกสราทคิ ณุ ยาอุดมโอสถนอ้ ย 2.2 โลหิตปกติโทษอนั เกิดมาแตด่ ี ใชย้ าประทมุ เกสรา ยามหาทิพรส ยาโอสถทพิ คณุ สำหรับความสอดคล้องของโลหิตปกติโทษ 5 ประการ กับอาการของทางแผนปัจจุบันที่ใกล้เคียงที่สุด คือ กล่มุ อาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome, PMS) เปน็ กลุ่มอาการทางร่างกายและอารมณ์ในสตรี วยั เจรญิ พันธท์ุ ่เี กดิ ข้นึ ในแต่ละรอบเดอื น เชน่ บวมนำ้ ทอ้ งอืด เปน็ สิว หงุดหงดิ ง่าย อ่อนเพลยี ซง่ึ การเกิดอาการยัง ไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุได้ชัดเจน แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในรอบประจำเดือน และปัจจัยอื่น ๆ เช่น การขาดวิตามินหรือแร่ธาตุบางชนิด และอาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ (primary dysmenorrhea) เป็นอาการปวดท้องน้อยที่ไม่รุนแรง โดยที่ตรวจไม่พบพยาธิสภาพ เกิดจากมดลูกหดเกร็งขณะมี ประจำเดือน มักเริ่มมีอาการปวดตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก มักปวด 1- 2 วันแรกของการมีประจำเดือน สามารถบรรเทาโดยการรับประทานยาแก้ปวด จะเห็นได้ว่าทางการแพทย์แผนปัจจุบันจะมีการอธิบายการอาการ โดยไม่ได้แยกประเภทหรือชนิดของอาการเช่นเดียวกับทางการแพทย์แผนไทย ซึ่งแบ่งลักษณะหรือประเภทของ อาการ เพอ่ื กำหนดตวั ยาให้เหมาะสมกับแต่ละอาการ ตามสาเหตุของโรค (นวลจันทร์ ใจอารีย์, 2561) จากตำรายา ท่รี ะบใุ นแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ มีการจัดยาโดยให้แพทย์พจิ ารณาจากโลหิต น่นั คอื อาการหรอื อาการแสดง วา่ เกิด มาจากสาเหตุใด แล้วให้ปรุงยาเพื่อกำจัดหรือขับโลหิตเน่าร้ายที่เป็นสาเหตุของการการนั้นก่อนเป็นอับดับแรก ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 8 เรียกว่าการประจุโลหติ (ทำให้สะอาด) โดยใช้ยาพรหมภกั ด์ิ ซ่งึ เปน็ ตำรับยารสร้อน และมพี รกิ ไทยเป็นสว่ นประกอบ หลัก ซึ่งจะช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีขึ้น และเพิ่มความสามารถในการขับโลหิตเน่าเสียออกจากร่างกาย เม่ือ ประจุโลหิตร้ายแล้ว (ทำความสะอาด) จึงปรับธาตุทั้ง 4 ในร่างกายอันได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ให้ สมดุลดว้ ยยาบำรุงไฟธาตุ ซึ่งโดยทวั่ ไปมกั จะประกอบด้วยตวั ยาเบญจกลู เป็นตวั ยาหลัก ซง่ึ โบราณใช้ในการปรับธาตุ ทั้ง 4 ใหส้ มดลุ จากนัน้ จงึ ใช้ยาบำรุงโลหติ ชอ่ื วา่ ยากำลงั ราชสหี ์ ยากำลังแสงพระอาทติ ย์ จะเห็นวา่ องค์ความรู้ทาง การแพทย์แผนไทยมองว่าการรักษาโลหิตระดูสตรีให้บริบูรณ์ จะช่วยให้สตรีมีความพร้อมในการมีบุตร (กชนิภา สุทธบิ ตุ ร, อรุณพร อิฐรัตน์, เพชรนอ้ ย สงิ ห์ชา่ งชยั , 2562) 3) โลหิตทจุ ริตโทษ โลหิตทจุ รติ โทษ เปน็ อาการของสตรีเม่ือถึงกำหนดมีระดูมา อาจพบอาการแปลกไปอย่างอ่นื และลมกองที่ เคยพัดประจำเกิดไม่พัด ลมกองอื่น จึงเข้าพัดแทน อาการจึงแปลกไปจากทุกเดอื นอย่างนี้เรยี กว่า โลหิตทุจริตโทษ (พรทิพย์ เทยี นทองดี และกันทมิ า สิทธิธัญกจิ (บรรณาธิการ), 2560) มี 5 ประการ คือ 1. โลหิตระดูร้าง เมอื่ จะบังเกดิ โลหติ ระดูมิไดม้ าตามปกติ บางทีใหด้ ำ และมกี ลิ่นเหมน็ เน่า บางทีจาง ดจุ นำ้ ชานหมาก บางทีใสดุจน้ำคาวปลา บางทีขาวดุจดังนำ้ ซาวข้าว กระทำใหเ้ จ็บปวด เป็นไปต่างๆ คร้ันเปน็ นาน เข้ามัก กลายเป็น มานโลหิต 2. โลหิตคลอดบุตร เมื่อจะบังเกิด ทำให้โลหิตคั่งเข้าเดินไม่สะดวก แล้วตั้งขึ้นเป็นลิ่มเป็นก้อน ให้แดก ขึ้น แดกลง บางทีให้คลั่ง ขบฟัน ตาเหลือกตาช้อน ขอบตาเขียว และริมฝีปากเขียว เล็บมือเล็บเท้าเขียว สมมุติว่า ปีศาจเขา้ สิง 3. โลหติ ต้องพฆิ าต อนั ตกตน้ ไม้ และถกู ทบุ ถองโบยตี ถา้ เปน็ ดังกลา่ วทา่ นว่า ไขน้ ้นั ถึงพิฆาต เพราะโลหิตท่ี ถูกกระทำน้ัน กระทบชำ้ ระคนกบั โลหติ ระดู เกิดแหง้ กรังเข้าติดกระดกู สันหลงั อยู่ จึงได้ชื่อวา่ โลหิตแหง้ กรัง เพราะ อาศัยโลหติ พิการ 4. โลหิตเน่า อาศัยโลหิตระดูร้าง โลหิตคลอดบุตร โลหิตต้องพิฆาต และโลหิตตกหมกซ้ำเจือมาเน่าอยู่ จึง เรยี กว่า โลหติ เนา่ เปน็ ใหญ่กว่าลมทั้งหลาย เม่ือจะใหโ้ ทษ โลหิตเนา่ มีพิษอันกลา้ แลน่ ไปทุกขุมขน บางทแี ล่นเข้าจับ หัวใจ บางทแี ลน่ ออกผิวเนื้อ ผุดเปน็ วงดำ แดง เขยี ว ขาวกม็ ี บางทีผดุ ขึ้นดงั ยอดผด ทำพิษ ใหค้ ันเป็นกำลงั ให้ทุรน ทรุ ายย่งิ นกั ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรับการดแู ลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 9 5. โลหิตตกหมกซ้ำ ก็อาศัยโลหิตเน่า เหตุเพราะแพทย์ใช้ยาประคบ ยาผาย ยาขับโลหิตไม่ถึงกำลัง หมายถึง ให้ยาน้อยกว่ากำลังเลือด และโลหิตนั้นเกิดระส่ำระสาย ออกไม่หมดสิ้นเชิง จึงตกหมกช้ำอยู่ ได้ชื่อว่า โลหิตตกหมกช้ำ บางทีตกช้ำอยู่ในเส้นเอ็น หัวเหน่า เมื่อจะให้โทษก็คุมกันเข้า กระทำให้เป็นฝีมดลูก ฝีปอดคว่ำ ฝเี อน็ ฝอี คั นีสนั ต์ ฝีปลวก และมานโลหติ สำหรับความสอดคล้องของโลหติ ทจุ ริตโทษ 5 ประการ กับอาการของทางแผนปจั จุบนั พบวา่ คล้ายกบั การ ปวดประจำเดือนชนิดทตุ ิยภูมิ (Secondary dysmenorrhea) ซึ่งเป็นอาการปวดทีร่ ุนแรงขึ้น ร่วมกับการตรวจพบ พยาธิสภาพที่เป็นสาเหตุ อาการปวดจะเริ่มภายหลังจากไม่เคยปวดประจำเดือนมาก่อน มีอาการปวดรุนแรงข้ึน เร่อื ย ๆ และไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแกป้ วด (นวลจนั ทร์ ใจอารีย์, 2561) 1.4 ลกั ษณะของสตรที เ่ี หมาะแกก่ ารให้นมบตุ รและการต้งั ครรภ์ ตามคัมภีร์โบราณจะมีการกล่าวถึงลักษณะของสตรีที่เหมาะแก่การมีบุตร (แม่นมเบญจกัลยาณี) และ ลกั ษณะสตรชี ัว่ ในคัมภีรป์ ฐมจินดา ดังน้ี 1) ลกั ษณะแมน่ มท่ีดี ซึ่งกุมารดื่มน้ำนมมไิ ดเ้ ปน็ โทษน้ันมอี ยู่ 4 จำพวก คอื 1. หญิงทมี่ ีกล่ินตัวหอมดังกล้วยไม้ ไหลผ่ าย สะเอวรดั หลงั ราบ สัณฐานตัวดำและเล็ก แก้มใส มือ และเท้าเรยี ว เตา้ นมดังอุบลพง่ึ แย้ม ผวิ เนอ้ื แดง เสยี งดังเสยี งสังข์ รสนำ้ นมนั้นหวาน มนั เจือกัน ลักษณะหญิงอย่าง นี้ ทา่ นจดั เปน็ หญิงเบญจกลั ยาณี ใหเ้ ลือกเอาไว้ใหก้ มุ ารบรโิ ภคเถดิ ดีนัก 2. หญิงที่มีกลิ่นตัวดังดอกอุบล เสียงดังเสียงแตร ไหล่ผาย ตะโพกรัด แก้มพอง นิ้วมือและนิ้วเทา้ เรียวแฉล้ม เต้านมดังบัวบาน ผิวเนื้อเหลือง น้ำนมมีรสหวาน ลักษณะหญิงอย่างนี้ท่านจัดเป็นหญิงเบญจกัลยาณี ใหเ้ ลอื กเอาไว้ใหก้ ุมารบรโิ ภคเถดิ ดีนัก 3. หญิงทีม่ กี ล่นิ ตวั ไมป่ รากฏหอมหรือเหมน็ เอวกลม ขนตางอน จมกู สูง เตา้ นมกลม หวั นมงอนดัง ดอกอุบลพึ่งจะแย้ม รสน้ำนมนั้นหวาน มันสักหน่อย ลักษณะหญิงอย่างนี้ ท่านว่าเป็นหญิงเบญจกัลยาณี ให้เลือก เอาไวใ้ ห้กุมาร บรโิ ภคเถดิ นำ้ นมดนี กั 4. หญิงที่มีกลิ่นตัวหอมเผ็ด เสียงดังเสียงจักจั่น ปากดังปากเอื้อน ตาดังตาทราย ผมแข็งชัน ไหล่ ผาย ตะโพกผาย หน้าผากสวย ท้องดังกาบกล้วย นมพวง น้ำนมขาวดังสังข์ รสน้ำนมมันเข้มสักหน่อย เลี้ยงลูกง่าย ลักษณะหญงิ จำพวกนี้ ท่านคดั เปน็ หญิงเบญจกัลยาณี ใหเ้ ลือกเอาไว้ให้กุมารบริโภคเถดิ น้ำนมดีนัก ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรับการดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 10 ลักษณะแมน่ ม 4 จำพวกนี้ เป็นแมน่ มเบญจกลั ยาณี โบราณจดั เป็นทิพโอสถประโยธร ดุจนำ้ สุรามฤต หาก ทารกไดไ้ ด้บริโภคเข้าไป ดุจด่มื กนิ ซึง่ โอสถอันเป็นทิพย์ หากทารกได้ดื่มกินก็จะมีสุขภาพรา่ งกายแข็งแรง หากมีโรค ก็สามารถบำบัดโรคได้ เพราะน้ำนมจากแม่นมเบญจกัลยาณีมีคุณดังโอสถ และมิได้แสลงโรค ดังนั้นการพิจารณา อาการเจ็บป่วยของทารกจงึ มีการพิจารณาเร่ืองของน้ำนมท่ดี ื่มกินดว้ ย ถ้าแพทย์พิจารณาว่าน้ำนมยังเป็นมลทินอยู่ (ไม่ดีพอ) โดยพิจารณาจาก การหย่อนน้ำนมที่บีบออกมาจาก เต้าลงในขัน ถ้าสีและน้ำนมขาว ดังสีสังข์และ จมลงในขัน สัณฐานเหมือนดังลูกบัวเกาะ นมอย่างนี้ จัดเอาเป็น น้ำนมอยา่ งเอก ถา้ หล่อน้ำนมลง และน้ำนมนนั้ กระจาย แตว่ ่าขันจมลงถงึ กันขันแค่ไม่กลมเข้า น้ำนมอย่างนี้ จึงเอา เปน็ นำ้ นมอยา่ งโท ถา้ พ้นจากน้ำนม 2 ประการนี้แลว้ ถึงจะมลี กั ษณะประกอบไปดว้ ยยศ ศกั ดช์ิ าติตระกลู ปานใดก็ดี ถ้ามีกุศลหนหลังยังติดตามบำรุงรักษา ไม่ให้เกิดโรคาพยาธิ รสน้ำนมนั้นเปรี้ยว ขม, ฝาด, จืด, จาง และมีกลิ่นอัน คาวน้นั ก็จัดเปน็ น้ำนมโทษท้ังสิ้นดจุ กล่าวมา นอกจากนีย้ งั มนี ้ำนมพกิ ารอีก 3 จำพวก ถ้าใหก้ ุมารบรโิ ภคเข้าไป ดุจ ให้บริโภคยาพิษ จะบังเกิดโรคตา่ งๆ คัมภีร์กล่าวไว้วา่ ให้แต่งยาประสะนำ้ นมให้รบั ประทาย เพื่อทำให้น้ำนมสะอาด ขึ้นเสียก่อน จึงจะสิ้นมลทินและโทษทั้งปวง (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และ โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยกุ ตค์ ณะแพทยศาสตรศ์ ิริราชพยาบาล มหาวิทยาลยั มหิดล, 2555) 2) ลกั ษณะสตรีช่วั ซง่ึ มีลักษณะน้ำนมให้โทษแก่กุมาร มี 2 จำพวก คือ 1. หญิงมีกลิ่นตัวคาวดังน้ำล้างมือ ลูกตาแดง เนื้อขาวเหลือง นมยาน หัวนมเล็ก เสียงพูดแหบ เครือดังเสียงการ้อง ฝ่ามือและเท้ายาว หอ้ งตวั ยาว จมกู ยาว หนังริมตาหยอ่ น สะดอื ลึก ไมพ่ ี ไมผ่ อม สันทัด คนกิน ของมาก ลักษณะหญิงอย่างนี้ชื่อว่า หญิงยักขินี เป็นหญิงมีกามแรง ถ้าให้กุมารบริโภคน้ำนมเข้าไป มักบังเกิดโรค ตา่ ง ๆ โบราณวา่ ลักษณะเช่นน้ไี ม่ควรเปน็ แม่นม 2. หญงิ ทมี่ ีกล่ินตวั ดงั บุรุษ ตาแดง ผิวเนอื้ ขาว นมดังคอน้ำเตา้ รมิ ฝปี ากกลม เสยี งแขง็ ดังเสียงแพะ ฝ่าเท้าใหญ่ข้างหนึ่งเล็กข้างหนึ่ง เจรจาปากไม่มิดกัน เดินไปมามักสะดุด ลักษณะหญิงอย่างนี้ ชื่อว่า หญิงหัศดี เป็นหญิงกามแรง ถ้าให้กุมารบริโภคน้ำนมเข้าไป ดุจดังเอายาพิษให้บริโภค โบราณว่าลักษณะเช่นนี้ไม่ควรเป็นแม่ นม นอกจากนีต้ ำราการแพทย์ไทยเดมิ ยังมีการกลา่ วถึง ลักษณะนำ้ นมพิการ 3 จำพวก คอื 1. สตรขี ัดระดูจำพวก 1 2. สตรอี ยู่ไฟมิได้ และน้ำนมนนั้ เปน็ นำ้ นมดบิ จำพวก 1 ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรับการดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 11 3. สตรมี คี รรภ์อ่อนเปน็ นำ้ เหลอื ง ไหลหล่งั ลงในน้ำเป็นสายโลหติ กับนำ้ นมระคนกัน จำพวก 1 น้ำนมเหล่านี้หากทารกดื่มเข้าไปอาจเกดิ อันตราย ดังเช่นโบราณได้กลา่ วไว้ ดุจหนึ่งใหบ้ รโิ ภคยาพิษ ทำให้ เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ทางการแพทย์แผนไทย จึงมีหลักการรักษาเริ่มต้นที่แม่นมก่อน โดยให้ประกอบยาประจุ โลหิต และรุน้ำนม บำรุงธาตุ เพื่อให้แม่นมมีความสมบูรณ์ จึงจะทำให้ได้น้ำนมที่มีคุณภาพ (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริม การแพทย์ไทยเดิมฯ และ โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกต์คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล มหาวิทยาลยั มหิดล, 2555) 1.5 ปัจจัยทมี่ ผี ลต่อการมบี ตุ รยากในทฤษฎกี ารแพทยแ์ ผนไทย ปัจจัยที่ทำให้สตรีไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ซึ่งในตำราการแพทย์ไทยเดิม (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และ โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกต์คณะ แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555) ได้กล่าวไว้ในคมั ภีรม์ หาโชตรัต ถึงเรื่อง สตรีชาตโิ ทษ 2 ประเภท คือ 1.หญิงบางจำพวกมีอายุได้ 14 ปี 15 ปี ก็ดี ควรมีระดูก็หามีระดูไม่ บางทีมีระดูมาคราวหนึ่ง สองคราวก็ แหง้ ไป ต่อมสี ามีแลว้ จงึ มรี ะดูปกตกิ ็มี บางทีมีระดูลา้ งหน้า กม็ คี รรภท์ ีเดยี ว ลกั ษณะดงั นเี้ ปน็ ชาตปิ ระเวณี แห่งหญิง นนั้ มาเปน็ ตระกูลแห่งบดิ าแหง่ มารดาแลย่ายายของสตรผี ู้นน้ั เน่อื งกันมาแต่บุราณประเพณี กล่าวคือ สตรีเมื่ออายุได้ 14 -15 ปีแต่ยังไม่มีระดู หรือ มีแต่ครั้ง สองครั้ง ก็แห้งไป แต่เมื่อมีสามีระดูก็ กลบั มาปกติ บางทกี ็มแี คร่ ะดูล้างหนา้ แล้วกต็ ัง้ ครรภ์ (มเี ลอื ดออกจากชอ่ งคลอดปริมาณเลก็ น้อยในช่วงเร่ิมต้ังครรภ์ เกดิ จากการฝังตวั ของตวั ออ่ นในเย่ือบโุ พรงมดลูก) ลักษณะดงั นี้มักเปน็ แต่กำเนดิ หรอื เปน็ กรรมพนั ธุข์ องบรรพบุรษุ 2. หญิงจำพวกหน่งึ เม่ือหาสามีมิได้ โลหิตน้นบรบิ ูณณ์งามดี ครั้นมสี ามแี ล้วได้ 1 ปี 2 ปี 1 เดอื น 2 เดือนก็ ดี โลหติ นน้ั จางไปซีดไป บางทแี หง้ ติดกระดูกสนั หลัง มีอาการให้เจ็บหลังให้เจบ็ เอว ใหเ้ ม่อื ยทุกข้อทุกลำ ให้แดกให้ จุก ใหท้ ้องขึ้นท้องพอง ให้เป็นไปต่าง ๆ ให้ผิวเน้ือชาเนือ้ ซดี หนา้ ตาอดิ โรย หิวโหยเปน็ กำลงั ให้นอนมิหลับ กินข้าว มิได้ แพทย์ผู้ใดมิรู้ ก็สมสมติว่าเถาวา่ ดานรดิ สีดวงก็ว่า เพราะโทษโลหิตน้ันเอง เพราะว่าสตรีผู้นัน้ มักมากดว้ ยราคะ กิเลส ซ่องเสพกามคุณด้วยสามีเหลือกำลังนัก ไม่เป็นที่จะกินจะนอน บางทีสามีนั้นมากด้วยกามคุรนัก สตรีนั้นมิ อาจจะทนจะทานกำลังสามีได้ โลหติ นนั้ จงึ แหง้ ไป ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 12 กลา่ วคือ สตรที ีม่ ีโลหิตบริบรู ณ์ดีเมื่อยังไม่มีสามี แตเ่ มอ่ื มสี ามไี ด้ 1 เดือน 2 เดอื น 1 ปี 2 ปี ก็เกิดโลหิตซีด จางไป หรืออาจแห้งติดกระดูกสันหลัง ในบางครั้ง มีอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดตามข้อ จุกเสียดแน่นท้อง ท้อง ขึ้นท้องเฟ้อ หน้าตาอิดโรย ผิวซีด ชา กินไม่ได้นอนไม่หลับ โลหิตแห้งไปเพราะราคะกิเลส (กลุ่มงานวิชาการเวช กรรมและผดงุ ครรภ์แผนไทย สถาบนั การแพทย์แผนไทยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง สาธารณสขุ , 2560) 1.6 การดแู ลสตรีที่มีบตุ รยากในทางการแพทย์แผนไทย ในตำราการแพทย์ไทยเดิม นอกจากกล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้สตรไี ม่สามารถตั้งครรภ์ได้ตามทฤษฎีการแพทย์ แผนไทย ในคัมภรี ม์ หาโชตรตั ถึงเร่ือง สตรชี าติโทษ (อาการไมม่ ปี ระจำเดือน หรอื มมี าแลว้ กลับแห้งไป) 2 ประเภท แล้วนนั้ ยังมีการกลา่ วถึงการดแู ลรกั ษาสตรีทีม่ ีบุตรยาก โดยได้กล่าวไวว้ า่ 1. กรณี สตรีอายุ 14 -15 ปี ไม่มีประจำเดือนหรือมีมาแล้ว กลับแห้งไป ให้แต่งยาบำรุงธาตุให้บริบูรณ์ โลหติ น้นั ก็จะบรบิ ูรณข์ ้นึ เอง 2. สตรีที่มีโลหิตบริบรู ณ์ดีเมื่อยังไม่มีสามี แต่เมื่อมีสามีแล้ว โลหิตเกิดแห้งไป ให้ประจุโลหิต (ขับเลือดเสยี ออกจากร่างกาย) ทำให้เลือดลมเดินได้สะดวก กระจายลมกองละเอียด แล้วจึงแต่งยาบำรุงธาตุให้กินให้ธาตุทั้ง 4 เสมอกัน แล้วจึงแต่งยาชื่อว่า กำลังราชสีห์และกำลังแสงพระอาทิตย์ บำรุงโลหติ ให้บริบูรณ์แล้วเมื่อใด สัตว์ที่จะมา ปฏิสนธิ ก็ต้ังขึน้ ไดเ้ ม่อื นนั้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าแพทย์แผนไทยให้ความสำคัญกับสาเหตุที่ทำให้มีบุตรยากเนื่องจาก ประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความไม่สมดุลของร่างกาย จึงควรปรับสมดุลร่างกายเพื่อให้ธาตุปกติ กล่าวโดยสรุปในการแก้ไขปัญหาภาววะการมีบุตรยากตามองค์ความรู้การแพทย์แผนไทย คือการปรับสมดุลของ ธาตุทั้ง 4 ให้บริบูรณ์ เมื่อสมดุลธาตุในสตรีเป็นปกติบริบูรณ์ย่อมสามารถตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ และให้กำเนิดชีวิต หรือทารกที่มีสุขภาพสมบูรณ์แขง็ แรงได้ (กลุ่มงานวิชาการเวชกรรมและผดงุ ครรภ์แผนไทย สถาบันการแพทยแ์ ผน ไทยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสขุ , 2560) ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรบั การดแู ลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 13 1.7 เอกสารอา้ งอิง กลุ่มงานวิชาการเวชกรรมและผดุงครรภ์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทยกรมการแพทยแ์ ผนไทยและการแพทย์ ทางเลอื ก กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มอื แนวทาง การดแู ลรักษาสขุ ภาพมารดาและทารกดา้ นการ ผดุงครรภไ์ ทย (ฉบับทดลองใช้ในระบบบริการสุขภาพ). พมิ พ์ครง้ั ที่ 1. กชนภิ า สทุ ธิบุตร, อรณุ พร อิฐรัตน์, เพชรน้อย สงิ ห์ชา่ งชยั , (2562). กล่มุ อาการก่อนมปี ระจำเดือนและตำรับยา สมนุ ไพรทใ่ี ชร้ ักษา ซ่ึงระบุในคมั ภีรม์ หาโชตรัต. วารสารธรรมศาสตรเ์ วชสาร;19(1):46-60 ธีระพร วุฒยวนิช, ธีระ ทองสง และจตุพล ศรีสมบูรณ์. (2535). ตำราสูติศาสตร์เล่ม 1,2. เชียงใหม่: หน่วย วารสารวชิ าการ คณะแพทยศ์ าสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. นวลจันทร์ ใจอารีย์. (2561). การแพทย์แผนไทยประยุกต์สำหรับดูแลหญิงก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ การทำ คลอด และหลงั คลอด. พมิ พ์คร้ังท่ี 1. กรงุ เทพฯ: สำนักพมิ พม์ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. พรทพิ ย์ เทยี นทองด,ี กนั ทิมา สิทธิธญั กิจ. (บรรณาธิการ). (2560). ตำราภูมปิ ัญญาการผดงุ ครรภ์ไทย. กลุ่มงาน วิชาการเวชกรรมและผดงุ ครรภแ์ ผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์คร้ังท่ี 1: จฑุ าเจริญทรัพย.์ มาลีวัล เลศิ สาครศริ ิ. (2558). การพยาบาลสตรใี นระยะต้ังครรภแ์ ละระยะคลอด. กรุงเทพฯ: โครงการตำรา วิทยาลยั เซนตห์ ลุยส์. มูลนิธฟิ ื้นฟสู ่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และ โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกตค์ ณะ แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวทิ ยาลัยมหิดล. (2555) ตำราการแพทยไ์ ทยเดมิ (แพทยศาสตร์ สงเคราะหฉ์ บบั อนรุ กั ษ์) เล่มท่ี 1. พิมพ์คร้งั ท่ี 3. กรุงเทพฯ: ศภุ วนิชการ พมิ พ์. ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรับการดแู ลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงบทที่ 2 การดูแลสตรีขณะต้ังครรภ์ การดูแลสตรีขณะตั้งครรภ์ ถือว่ามีความสำคัญต่อการดูแลมารดาและทารกเป็นอย่างยิ่ง การศึกษาเน้ือหา ในคัมภีร์ปฐมจินดาร์ จะทำให้เข้าใจถึงกระบวนการรักษาและทะนุถนอมชีวิตใหม่ท่ีกำลังจะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ในท่ีนี้จะกล่าวถึงเนื้อหาในคัมภีร์ปฐมจินดา ที่กล่าวถึงสตรีขณะตั้งครรภ์ในเน้ือหาดังต่อไปนี้ เร่ืองราวกำเนิดชีวิต มนษุ ย์ตั้งแต่การปฏสิ นธแิ ละการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาการแสดงขณะตั้งครรภ์ กำหนดวันคลอด ซางเจ้า เรือนของทารก อันได้แก่ครรภ์วาระกำเนิด การดูแลมารดาและทารกในระยะตั้งครรภ์จนถึงคลอดอันได้แก่ครรภ์ รักษา การดูแลมารดาและทารกเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยในระยะต้ังครรภ์จนครบกำหนดคลอดอันได้แก่ครรภ์ ปริมณฑล ลมท่ีเกี่ยวข้องกับการคลอดอันได้แก่ครรภ์ประสูติ ท่าคลอดของทารก การแก้ไขปัญหาหลังคลอดของ มารดาและทารกในระยะ 7 วันแรก อนั ได้แกค่ รรภป์ ระสตู ร และครรภ์ทีต่ กหรือแท้งไป เรยี กวา่ ครรภว์ ิปลาส 2.1 การปฏสิ นธิและการเจริญเตบิ โตของทารกในครรภ์ เนื้อหาในคัมภีร์ปฐมจินดา ทกี่ ล่าวถึงการเรม่ิ ตน้ ของการต้งั ครรภ์ ระบวุ า่ สตรีทจ่ี ะตงั้ ครรภไ์ ดน้ ้ัน อธบิ ายว่า \"อันว่า สัตว์ท้ังหลายเมื่อจะตั้งอนุโลมปฏิสนธิน้ัน พร้อมด้วยบิดา มารดา กับธาตุท้ัง 4 บริบูรณ์พรอ้ ม คือ ปถวีธาตุ 20 อาโปธาตุ 12 เตโซธาตุ 4 วาโยธาตุ 6 ระคนกันเข้า คือ โลหิตบิดามารดาระคนกัน มิได้วิปริต จ่ึงบังเกิดขึ้นด้วย ธาตุน้ำ คือต่อมโลหิตแห่งมารดา ก็ให้บังเกิดต้ังขึ้นเป็นอนโุ ลมปฏิสนธินั้น\" ในเมื่อสัตวจ์ ะปฏิสนธินั้นท่านกล่าวไว้ว่า \"สุขุมังปะระมาณูเปรียบด้วยขนทรายจามรีเส้น 1 เอาไปชุบน้ำมันงาใสน้ัน แล้วเอามาสลัดให้ได้ 7 ครั้ง แต่ติดอยู่ท่ี ปลายขนทรายจามรีมากน้อยเท่าใด อันมูลปฏิสนธแิ หง่ สัตวท์ ้ังหลาย สุขุมงั ละเอียดดจุ น้ัน แต่ต้งั ข้ึนในครรภ์มารดา แล้วละลายไปได้วันละ 7 ครั้ง กว่าจะต้ังขึ้นได้เป็นยากนัก คร้ันโลหิตตั้งข้ึนได้อยู่ 7 วัน ก็บังเกิดเป็นปฐมกะละละ น้ันเรียกว่าไชยเภท คือ มีระดูล้างหน้าที 1 ถ้ามิเป็นดังน้ัน ก็ให้มารดาฝันเห็นวิปริตก็รู้ว่าต้ังครรภ์ข้ึน” (มูลนิธิฟ้ืนฟู สง่ เสรมิ การแพทยไ์ ทยเดิมฯ และ โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการณ์แพทยแ์ ผนไทยประยกุ ต์คณะแพทยศาสตร์ศิริ ราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555) เมื่อนำองค์ความรู้มาพิจารณาความสัมพันธ์กับการแพทย์แผนปัจจุบัน พบว่าในประเด็นน้ีอธิบายอาการแสดงท่ีบ่งชี้ว่าอาจจะมีการต้ังครรภ์เกิดขึ้น จากคำกล่าวในคัมภีร์ว่า \"คร้ันโลหิต ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรับการดแู ลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 15 ต้ังขึ้นได้แล้ว อยู่ 7 วัน เรียกว่าไชยเภท ซึ่งหมายถึง เด็กที่เร่ิมกำเนิดในครรภ์มารดา มีอายุต้ังแต่เดือนท่ี 1 ข้ึนไป คือ มีระดูล้างหน้าที 1 ถ้ามิดังนั้น ก็ให้มารดาฝันวิปริต ก็รู้ว่าตั้งครรภ์ขึ้น” ระดูล้างหน้าที 1 คล้ายกับอาการเลือด ล้างหน้า (implantation bleeding) จากองค์ความรู้การแพทย์แผนปัจจุบัน เป็นเลือดท่ีออกจากช่องคลอดขณะท่ี ตัวอ่อนฝังตัวท่ีเย่ือบุโพรงมดลูก โดยจะออกมาก่อนวันท่ีคาดว่าเป็นประจำเดือนประมาณ 1 สัปดาห์ของรอบเดือน ปกติ โดยเลือดจะออกนอ้ ย และมสี จี างกวา่ ประจำเดอื นปกติ และหมดไปในเวลาประมาณ 2-3 วนั ส่วนการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์เมื่อปฏิสนธิแล้วนั้น ในคัมภีร์ปฐมจินดามีการกล่าวไว้ว่า “เมื่อ ต้งั ครรภ์แล้วมิได้มีวิปริต ครบ 7 วัน ก็ขน้ เข้าดงั น้ำล้างเนื้อ และเมือ่ ไปอีก 7 วัน เป็นช้ินเนอื้ เม่ือไปอีก 7 วนั เป็น สัณฐานดังไข่งู เมื่อไปอีก 7 วันแตกออกเป็นปัญจสาขา 5 แห่ง คือ ศีรษะ 1 มือ 2 เท้า 2 และเมื่อไปอีก 7 วันเกิด เกศา โลมา นขา ทันตา ไปตามลำดับ และเมื่อตั้งครรภ์ได้ 1 เดือนกับ 12 วัน โลหิตจึงบังเกิดเวียนเข้าเป็นตานกยูง ที่หัวใจ เป็นเครื่องรับดวงวิญญาณ หญิงเวียนซ้าย ชายเวียนขวา แต่มิได้ปรากฏออกมา (มูลนิธิฟ้ืนฟูส่งเสริม การแพทย์ไทยเดิมฯ และ โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกต์คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555) เม่ือนำองค์ความรู้มาพิจารณาความสัมพันธ์กับการแพทย์แผนปัจจุบันพบว่า ในประเด็นน้ีอธิบายการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในช่วง ระยะก่อนตัวอ่อน (pre- embryonal period) คือ เมื่อไข่มีการผสมกับตัวอสุจิเกิดการปฏิสนธิ แล้วรวมตัวกันเป็นไซโกต (zygote) 2-3 วันหลังปฏิสนธิ เซลล์จะมีการ แบ่งตัวลักษณะคล้ายน้อยหน่า (morula) เคล่ือนท่ีเข้าไปในโพรงมดลูก วันที่ 4-5 morula จะเริ่มเจริญข้ึนเป็นตัว อ่อน (blastocyst) และวันที่ 6-7 ตัวอ่อนจะเริ่มฝังตัวท่ีผนังชั้นในโพรงมดลูก (implantation) ทำให้เกิดอาการ เลือดล้างหน้า (implantation bleeding) วันท่ี 14 การฝังตัวจะเสร็จสมบูรณ์ เมื่อมีการต้ังครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ท่ี 3 ระยะตัวอ่อน (embryonal period) จะเร่ิมมีการเจริญเติบโตของระบบไหลเวยี นเลือด .สัปดาห์ท่ี 4 หลังไข่ตก ตัว อ่อนจะโค้งงอมากขึ้นคล้ายตัว C (C-shaped curve) จะเห็นหัวใจและเย่ือหุ้มหัวใจชัดเจนข้ึน เริ่มมีการสร้างท่อ ประสาท กล้ามเน้ือและกระดูก ในระยะสัปดาห์ท่ี 5 จะเริ่มมีแขนขา เริ่มสร้างตา หู มีพัฒนาการของปอด ตับ ไต และสมอง เริ่มมีตุ่ม แขน ขา และตาปรากฎให้เห็นชดั เจน เมื่อตั้งครรภ์ได้ 6 สปั ดาห์ จะเห็นหวั ใจและเยอ่ื หุ้มหัวใจ ชัดเจนข้ึน เร่ิมมีการสร้างท่อประสาท กล้ามเนื้อและกระดูก ระยะน้ีจะพบว่าศรีษะโตมากกว่าลำตัว สัปดาห์ที่ 7-8 จะเป็นช่วงสุดท้ายของระยะตัวอ่อน (embryonal period) รูปร่างเป็นคนชัดเจน มีหน้า ตา จมูก ปาก คอ ลำตัว ยืดได้ ศีรษะไม่ก้มมาก หูอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ สายสะดือเห็นได้ชัดเจน ระบบประสาทเห็นได้ชัดเจนมาก เริ่มมี ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรับการดแู ลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 16 เซลลก์ ระดกู เกิดขึ้น อวัยวะภายในเกิดขน้ึ ครบทกุ อยา่ งหวั ใจและตับเจริญขน้ึ มา มอี วยั วะสบื พันธ์ุภายนอกแล้วแตย่ ัง ไม่สามารถแยกเพศได้ (ธรี ะพร วุฒยวนิช, ธีระ ทองสง และจตพุ ล ศรีสมบรู ณ์, 2535) นอกจากนน้ั คัมภรี ป์ ฐมจินดาร์ยงั มีการกลา่ วไวว้ ่า \"เมอ่ื ตงั้ ครรภ์ไดค้ รบกำหนดไตรมาสแล้วโลหิตนั้นกแ็ ตก ออกไปตามปญั จสาขาและขากรรไกร\" (มลู นิธิฟ้นื ฟูส่งเสรมิ การแพทยไ์ ทยเดมิ ฯ และ โรงเรียนอายรุ เวทธำรง สถานการณ์แพทยแ์ ผนไทยประยุกต์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล, 2555) เมื่อนำองค์ ความรมู้ าพิจารณาความสัมพันธ์กบั การแพทย์แผนปจั จบุ นั พบว่าในประเดน็ นอี้ ธิบายการเจริญเตบิ โตของทารกใน ครรภร์ ะยะทารก (Fetus stage) พบว่าในชว่ งสัปดาห์ท่ี 9 ถงึ 12 ทารกจะยาวประมาณ 7-9 ซม. น้ำหนักประมาณ 45 กรมั น้ิวมอื นิว้ เทา้ แยกกันและมเี ล็บเกิดขน้ึ เรม่ิ แยกเพศจากอวยั วะสบื พนั ธุภ์ ายนอกได้ เริม่ มีการเคลอ่ื นไหวของ ระบบหายใจและระบบอาหารพฒั นาสมบูรณ์ ทำให้ทารกสามารถดูดกลืนนำ้ ครำ่ ได้ คัมภีรก์ ลา่ วต่ออีกวา่ \"เมื่อ ต้งั ครรภ์ได้ 4 เดือน จงึ ต้งั อาการ 32 น้นั จงึ บังเกดิ ตาแลหนา้ ผากก่อน สงิ่ ทั้งปวงจงึ บังเกดิ เปน็ อันดบั กนั ไป เม่ือ ต้งั ครรภไ์ ด้ 5 เดือน จงึ มจี ิตแลเบญจขนั ธพ์ ร้อมเมื่อต้งั เป็นรูปคนเข้าแล้วก็ให้มีวิญญาณรูจ้ ักว่าร้อนหรือเยน็ ถา้ แล มารดาบรโิ ภคอาหารสิ่งอันเผ็ดรอ้ นเข้าไปเม่ือใด กใ็ ห้ร้อนทุรนทรุ ายด้นิ เสือกไปมา เวทนาขนั ธ์ ก็บังเกิดข้ึนตามกนั คอื ที่อยู่ในท้องมารดาน้ันลำบาก ทนทุกข์ เวทนาดุจสัตวใ์ นนรกคอื น่งั ยองกอดเขา่ เอากำมอื ใส่ใต้คาง ผนิ หน้าเขา้ สู่ กระดูกสันหลงั ของมารดา ผนิ หลงั ออกข้างนาภี ก็มอี ุปมาดังลกู วานร อนั นัง่ อยู่ในโพรงไม้ น้ัน นั่งทับกระเพาะ อาหารเกา่ อันอาหารใหม่ตงั้ อยูบ่ นศีรษะ แลนำ้ อาหารกเ็ กรอะซาบลงไปทางกระหม่อม เพราะว่าทารกอย่ใู นครรภ์ น้นั กระหม่อมเปิด คร้นั มารดาบริโภคส่งิ อนั ใดที่ควรเขา้ ไปแล้ว กซ็ มึ ซาบออกจากกระเพาะขา้ วเลือ่ นลงไปใน กระหม่อม ก็ได้รับประทานอาหารของมารดา ก็ชมุ ชน่ื ชู เปน็ ปกติ ถา้ มารดามิไดบ้ ริโภคอาหารแลรสอาหารมิได้ ซาบลงไป ทารกนั้นก็มิได้รับรสอาหาร จงึ ทุรนทรุ าย กระวนกระวาย ระส่ำระสาย ดน้ิ รนต่างๆ\" เมื่อพิจารณาร่วม จากองคค์ วามรู้การแพทยป์ ัจจุบนั พบว่าทารก อายุ 13-16 สปั ดาห์ (4 เดือน) ความยาวลำตวั จะเพ่มิ ข้ึนจากเดิม เปน็ สองเทา่ ในช่วงน้ี หรอื ประมาณ 13-17 ซม. มนี ำ้ หนักประมาณ 100 กรัม หัวและตัวทารกได้สดั สว่ นกนั มากข้ึน มีขนอ่อนปกคลมุ ร่างกาย (Lanugo hair) มกี ารพัฒนาระบบกล้ามเน้อื และกระดูกมากขึ้น เรม่ิ สร้างระบบเช่อื มต่อ ระหว่างระบบประสาทและกลา้ มเน้ือ และเมอ่ื อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ (5 เดือน) ทารกจะมนี ้ำหนักประมาณ 300 กรมั ยาว 25 เซนตเิ มตร ระยะนี้มารดาครรภ์แรกจะรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวครั้งแรกของทารกในครรภ์ และทารกจะ เรมิ่ ด้นิ จนมารดารู้สกึ ได้ โดยเฉพาะเวลาทีร่ ับประทานอาหารเข้าไป สามารถเร่ิมฟังเสียงของหัวใจไดด้ ้วยหูฟงั ปอดมี ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดแู ลมารดาและทารก

17 การพฒั นามากข้นึ ผวิ หนงั จะหนาขน้ึ มีขนออ่ น (lanugo hair) ปกคลุมทั่วร่างกายและ เรมิ่ มคี ิว้ ขนตา และเสน้ ผม มาลีวลั เลิศสาครศริ ิ, 2558) 2.2 ครรภ์วาระกำเนิด เน้ือหาครรภ์วาระกำเนิดในตำราการแพทย์ไทยเดิม ได้อธบิ ายถงึ อาการของมารดาขณะต้งั ครรภ์ได้ครบ 3 เดอื น เมอ่ื สังเกตอาการของมารดา จะสามารถบอกวันที่ทารกมาปฏสิ นธิในครรภ์มารดา วันกำหนดคลอดของทารก เพศของทารก และซางเจ้าเรือนของทารกได้ ซึ่งในส่วนนี้ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตรก์ ารแพทย์ท่ีสามารถอธิบาย ได้ ยงั ต้องเก็บรวบรวมข้อมูล ในรูปแบบของงานวิจัยตอ่ ไป (นวลจันทร์ ใจอารีย์, 2561) เน้ือหาของการอธิบายเรื่อง อาการของมารดาขณะตั้งครรภ์ที่บอกถึงวันปฏิสนธิและวันกำหนดคลอดของทารก และซางเจ้าเรือนในคัมภีร์ปฐม จินดา (มูลนิธิฟ้ืนฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และ โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555), (พรทิพย์ เทียนทองดี และกันทิมา สิทธิธัญกิจ (บรรณาธกิ าร), 2560) สรุปไดพ้ อสงั เขป ดงั น้ี มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง ตารางท่ี 2.1 อาการของมารดาขณะต้งั ครรภ์ วันปฏิสนธแิ ละวันกำหนดคลอดของทารก การทำนายเพศของทารก และซางเจ้า เรือน (ครรภ์วาระกำเนิด) อาการของมารดาขณะตงั้ ครรภ์ได้ 3 เดอื น วนั ปฏิสนธแิ ละ เพศ ซางเจ้าเรอื น วนั เกิด ของทารก ซางเพลิง มีอาการท้องผูก ร่างกายผอมเหลือง ไม่ค่อยมี ของทารก (ทำนาย) ซางนำ้ แรงเดินไกล ๆ ไม่ได้ เจ็บหัวหน่าว ท้องน้อย วันอาทติ ย์ ถา้ ฝ่าเทา้ ข้างซ้ายแดง และสะโพก อยากรับประทานของหวาน เปน็ หญงิ วนั จนั ทร์ ถา้ ฝา่ เทา้ ข้างขวาแดง มีอาการปวดศีรษะ เจ็บนม ปวดเมื่อยแขนท้ัง เป็นชาย สองข้าง มตี าพาง ให้เป็นลมมึนตึง มีอาเจยี นลม ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

อาการของมารดาขณะตัง้ ครรภไ์ ด้ 3 เดอื น วันปฏิสนธิและ เพศ 18 ของทารก ซางเจา้ เรอื น วันเกิด (ทำนาย) ซางแดง ของทารก ซางสะกอ ซางวัว เปลา่ อยากรับประทานของหวาน ซางช้าง มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงมีอาการเป็นลมจุกลมเสียดและลมวิงเวียน หลัง วนั องั คาร ซางขโมย มือ หลังเท้าบวม ถึงหน้าสะโพก ปวดเมื่อยและ นอนไม่หลับ พบเม็ดยอดข้ึนที่เพดานเท่าเมล็ด ขา้ วโพด มีอาการจุกเสียดและอาเจียน บวมต้ังแต่ขาถึง วันพุธ ปลายเท้า ร่วมกับ เจ็บสะโพก รับประทาน อาหารไม่อร่อย (ข้าวขม) มีแผลเปื่อย ทวาร หนกั และทวารเบา มีเม็ดข้ึนท่ีปากและลิ้น ไม่สามารถรับประทาน วนั พฤหัสบดี ของเผ็ดของร้อนได้ เม่ือตั้งครรภ์ไปจนถึง 6 เดอื นมแี ผลเป่ือย ท่ีปากลามออกข้างลิน้ เพดาน แล้วจึงแตกเป็นระแหง คร้ันกลืนน้ำลายเข้าไปก็ ให้ตกมกู ตกเลอื ดเป็นบิดไป จนกำหนดคลอด มีเม็ดผ่ืนคัน ร่วมกับการเกิดโรคผิวหนัง เป็น วันศกุ ร์ แผลเป่ือยรอบทวาร ปวดหัวหน่าว เจ็บหน้า สะโพก ปัสสาวะแสบขัด เม่ือตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน พบอาการจุกเสียด เมื่อต้ังครรภ์ได้ 8 ถึง 9 เดือน พบอาการบวม ตามมือ และเท้า จนถึง กำหนดคลอด มีอาการท้องผกู 2 ถึง 3วนั ถึงจะถ่ายอุจจาระ วนั เสาร์ อยากรับประทานของคาว อยากเปร้ียว อยาก ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

19 อาการของมารดาขณะตั้งครรภ์ได้ 3 เดอื น วนั ปฏสิ นธแิ ละ เพศ ซางเจ้าเรอื น วันเกิด ของทารก ของทารก (ทำนาย) หวานและอาหารประเภทไข่ แลให้อยากผกั พล่า ปลายำ ร่วมกับมีอาการคล้ายท่ีจะเป็นลม หน้า มืดตาลาย ใจหวิว กระสับกระส่าย ไปจน กำหนดคลอด มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 2.3 ครรภร์ ักษา ในคัมภีร์ปฐมจนิ ดา ได้มเี น้ือหาเรอื่ งครรภ์รกั ษาท่ีระบุเกีย่ วกับอาการต่าง ๆ ของหญงิ มีครรภ์ รวมถงึ การใช้ ยาสมุนไพร เพ่ือการบรรเทาอาการต่าง ๆ และพิธีกรรมท่ีใช้ในการรักษา โดยเร่ิมกล่าวลักษณะของหญิงมีครรภ์ ต้ังแต่เม่ือต้ังครรภ์ได้ 15 วัน ในคมั ภีร์ปฐมจนิ ดาตอนหนึ่งวา่ “สตรที ัง้ ปวงนี้มคี รรภ์อนั ตง้ั ขน้ึ ได้ 15 วนั กด็ ี เดือนหน่ึง กด็ ี แสดงกายให้ปรากฏแก่คนทงั้ หลาย ให้รู้วา่ ตั้งครรภ์ขนึ้ แล้ว โดยสงั เกตเอน็ ผ่านหนา้ อกน้ันเขยี ว หัวนมน้นั คลำ้ ดำ เข้า ต้ังเป็นเม็ดรอบหัวนมน้ัน ก็ให้แพทย์พึงรู้ว่าสตรีผู้นั้นมีครรภ์โดยสังเขป” (มูลนิธิฟ้ืนฟูส่งเสริมการแพทย์ไทย เดิมฯ และ โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกต์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลยั มหดิ ล, 2555) เม่ือพิจารณารว่ มจากองค์ความรู้การแพทย์ปัจจุบัน พบวา่ ลกั ษณะ \"เอ็นผา่ นหนา้ อกนั้น เขยี ว\" มีความสอดคล้องกับ linea nigra ท่ีเกดิ จากการเปลย่ี นแปลงของฮอรโ์ มนขณะตงั้ ครรภ์ ไปกระตุ้นใหเ้ กิดการ สะสมของการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง (pigment) สีน้ำตาลดำตามผิวหนังที่หน้าท้องแนวกลางลำตัว จึงเห็นเป็นเส้น ผา่ นหนา้ อก สำหรับลักษณะ \"หัวนมน้นั คล้ำดำเข้า แล้วต้ังขึน้ เป็นเมด็ รอบหัวนมน้นั \" มีความสอดคล้องกับช่วงระยะ สปั ดาห์แรก ๆ ของการต้ังครรภ์ ผวิ หนังบริเวณรอบหัวนมและลานนมจะมสี ีเข้มข้นึ มีตมุ่ เลก็ ๆ เนอ่ื งจากการขยาย ของต่อมไขมัน (Montgomery’s tubercle) บริเวณลานนม ร่วมกับการเพ่ิมของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโป รเจสเตอโรนจะมีผลทำให้เน้ือเยื่อ ของท่อน้ำนมและเน้ือเย่ือที่ผลิตน้ำนม ขยายตัวข้ึนมาก (มาลีวัล เลิศสาครศิริ, 2558) นอกจากน้ีในคัมภีร์ปฐมจินดายังได้กล่าวถึงอาการของหญิงมีครรภ์ การรักษาโดยใช้ยาสมุนไพร และ พิธีกรรมตามอายุครรภ์ ซ่ึงจะไม่ได้กล่าวถึงในตำราเล่มนี้ จะกล่าวถึงเพียง อาการของหญิงมีครรภ์ในแต่ละเดือน ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

20 และการรักษาโดยใชย้ าสมุนไพร (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และ โรงเรียนอายรุ เวทธำรง สถานการณ์ แพทย์แผนไทยประยุกต์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555) ซ่ึงได้สรุปมาพอสังเขป ดงั ตอ่ ไปนี้ ตารางท่ี 2.2 มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงอาการของหญิงมีครรภ์ และการรักษาโดยใชย้ าสมุนไพร (ครรภร์ กั ษา) เดอื นที่ อาการ ยาสมนุ ไพรทใ่ี ช้รกั ษา ตัง้ ครรภ์ 1 มีไข้รำเพรำพัด (หมายถึงอาการเจ็บป่วยท่ี 1. จันทน์หอม ดอกบัวเผื่อน รากบัวหลวง ข้าว เกิดขึ้นโดยไม่รู้สาเหตุ) คลื่นไส้ อาเจียน เหนยี วกญั ญา บดเปน็ แท่งละลายนำ้ นมโคกิน จุกเสยี ด ละเมอเพอ้ พกดังผีเข้า 2. เนื้อโคย่าง ข้าวตอก ข้าวเหนียวกัญญา บดละลายน้ำผึ้งกิน 3. ใบไทรยอ้ ย ใบหญา้ แพรก ใบพรมมิ ใบตำลึง ดินประสิวขาว บดละลายน้ำซาวข้าวชโลมตาม ตัวเม่อื มอี าการ 2 มีไข้ อาจเปน็ ไขท้ ุกวัน หรอื มไี ขว้ ันเว้นวนั นอน 1. เกสรบัวหลวง ดอกจงกลนี หัวแห้วหมู ไมห่ ลับ รับประทานอาหารไม่ได้ เทียนดำ กระจบั บก บดละลายน้ำซาวข้าวหาก อาการไม่ดขี นึ้ ใหใ้ ช้ตำรับที่ 2 2. รากบัวหลวง รากบัวเผื่อน แห้วสด กระจับ สด ใบผักแว่น ขิงสดแต่น้อย บดดว้ ยน้ำแรมคืน (น้ำค้าง) หรือ น้ำนมโค กินแก้อาการปวดท้อง ท้องอดื ไดด้ ี 3. ใบหนาด ใบโพกพาย รากผักไห่ เมล็ดใน ขนุน ละมุด ดินสอพอง บดละลายน้ำซาวข้าว ชโลมตัว ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรบั การดแู ลมารดาและทารก

21 เดอื นที่ อาการ ยาสมุนไพรทีใ่ ชร้ กั ษา ตงั้ ครรภ์ 3 อาการไข้ ทอ้ งเสีย คลนื่ ไส้ อาเจียน จุกเสียดใน 1. ยางไข่เน่า ยางมะม่วง กระดอม บดละลาย 4 ทอ้ ง เบื่ออาหาร นอนไม่หลบั ถ้ามอี าการมาก น้ำร้อนกนิ 5มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงควรระวัง เรอื่ งการแท้งบตุ ร2. ข้าวตอก ข้าวเหนียวกัญญาบดละลายน้ำ นมววั กนิ 3. รากกระจับบก ใบบัวหลวงอ่อน มูลโคตก ใหม่ จันทน์หอม เปราะหอม หญ้าแพรก แฝกหอม เถาชิงช้าชาลี บดละลายน้ำซาวข้าว ชโลม ไข้เพ่ือเสมหะ (คือไข้ที่มีอาการหนาวสะทก 1. โกฐเขมา เกสรบัวหลวง รากขัดมอน ดอก สะท้าน ขนลุก จุกอก หลับใหล กินไม่ได้ อ่อน จงกลนี ละลายน้ำนมโคกิน แรง ฝ่ามืฝ่าเท้าซีด ปากหวาน) เป็นลม มีเหงื่อ 2. ดอกสัตตบงกช โกฐกระดูก รากบัวหลวง ออก เลือดออกทางชอ่ งคลอด กระจับบก จันทน์หอม รากขดั มอน หัวแหว้ หมู รากมะตูม ผลผักชี ขิงสด สมุนไพรทั้ง 10 ส่ิงน้ี ใช้ในสดั ส่วนที่เท่ากนั ตม้ 3 เอา 1 กนิ 3. รากสลอดน้ำ รากย่านาง รากทองหลาง หนาม รากพมุ เรยี งบ้าน พุมเรยี งป่า จันทน์แดง จันทน์ขาว รากพุงดอ รากตำลึง รากฟักข้าว เกสรบัวหลวง ดินประสิวขาว ดนิ สอพอง สมุนไพรท้ัง 12 สิ่งนี้ ใช้ในสดั ส่วนท่ี เท่ากัน บดทำแท่งไว้ เวลาใช้ให้นำไปละลาย นำ้ ซาวขา้ ว สามารถใชไ้ ด้ทงั้ กนิ หรือชโลม ไข้ ท้องเสีย คลน่ื ไส้ อาเจยี น จุกเสยี ดในท้อง 1. ดอกบัวเผ่ือน ดอกบุนนาค ยางมะม่วง บดละลายน้ำนมโคกิน บรรเทาอาการท้องเสีย ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

22 เดือนท่ีมหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงอาการ ยาสมุนไพรทีใ่ ช้รกั ษา ตั้งครรภ์ ไข้ ปวดเม่ือยบน้ั เอว สะโพก ขา คนั ทวารหนัก จุกเสยี ด 6 ทวารเบา บางทมี ีอาการคล้ายจะเปน็ ลมขณะ 2. ใบ บั วบ ก เที ย น ด ำ ข มิ้ น ผ ง ปู น แด ง อจุ จาระและปสั สาวะ บดละลายน้ำสุรากินบรรเทาอาการถ่ายเป็น เลอื ดและปสั สาวะเป็นเลือด 3. เปลือกสมุลแว้ง รากเปล้าน้อย สะค้าน สนเทศ ใช้ในสัดส่วนที่เท่ากันเวลาจะใช้ให้บด ละลายน้ำปูนใส ทาบริเวณปวดเม่ือย แต่ห้าม ทาที่ท้อง เพราะอาจจะเป็นอันตรายแก่ทารก ในครรภ์ได้ 1. เม็ดส้มซ่า เปลือกสะแก จันทน์แดง จันทน์ ขาว ดอกจงกลนี 5 สิ่งนี้เอาเท่ากัน แล้วนำมา บดละลายนำ้ นมโคกิน 2. ลูกคนท่ีสอคั่ว ว่านน้ำ เทียนดำ เทียนขาว มหาหงิ ค์ เปราะหอม หัวแหว้ หมู บอระเพ็ด เกสรบัวหลวง ดอกบุนนาค อบเชย เทศ เปลือกเงาะ ลูกเอ็น ชะเอมเทศ ลูกผักชี ในขนาดละ 2 สลึง พริกไทย 11 เม็ด นำ ทัง้ หมดมาบดทำแท่งไว้ละลายน้ำนมโคกินหรือ ชโลม 3. ใบทองหลางหนาม ใบขนุนละมุด ใบย่านาง ใบหนาด ใบเพกา ใบว่านน้ำ ใบหญ้าแพรก ขม้ินอ้อย เอาเท่ากันบดทำแท่ง เวลาจะใช้ให้ ละลายน้ำซาวข้าวชโลม ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดแู ลมารดาและทารก

23 เดอื นที่ อาการ ยาสมนุ ไพรทใี่ ชร้ ักษา ตัง้ ครรภ์ 7 อาการไข้ ท้องเสีย อาเจียน และให้รอ้ นภายใน ไม่ระบุยาทีใ่ ช้ในการรกั ษา มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงรา่ งกาย 8 เป็นไขบ้ ้าง ถอื วา่ เปน็ ปกตขิ องสตรีต้ังครรภ์ 1. เมล็ดผักกาด รากบัวหลวง ข้าวเหนียว อาการไม่รุนแรงมากนัก เพราะทารกในครรภ์ กัญญา บดละลายด้วยน้ำซาวข้าวหรือน้ำท่า ภ้ น้นั แขง็ แรงแลว้ ไม่หายให้ใช้ตำรบั ที่ 2 2. รากช้าพลู รากกระพังโหม รากกระจับบก รากบัวหลวง หัวแห้วหมู บอระเพ็ด จันทน์แดง จันทน์ขาว มะตูมอ่อน ขมิ้นอ้อย ก้านสะเดา 33 ก้าน สมุนไพรท้ังหมดนี้ ใช้สิ่งละเท่ากัน นำมาต้ม 3 เอา 1 กิน 3. รากโมง รากลำดวน รากไทรย้อย รากหญ้า แพรก รากตำลึง รากฟักข้าว ดินประสวิ ขาว สมุนไพรทั้งหมดน้ี ใช้สิ่งละเท่ากัน บดเป็นแท่ง ละลายน้ำซาวข้าวชโลมตวั 9 อาจพบเป็นไข้บ้าง ถือว่าปกติเพราะทารกใน 1. โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐหัวบัว โกฐพุงปลา ครรภ์น้ันแข็งแรงดีแล้ว แต่ให้ระวังกรณีเป็นไข้ เทยี นดำ เทยี นแดง เทียนขาว เทยี นข้าวเปลอื ก รนุ แรง มอี ณุ หภูมิรา่ งกายสูง โบราณเช่ือว่าอาจ เทียนเยาวพาณี ดอกสัตตนุษย์ ดอกบัวขม มสี าเหตุจากการตดิ เช้ือตา่ ง ๆ หรอื โดนคุณไสย ดอกบัวเผื่อน ดอกลินจง ดอกจงกลนี ผลผักชี เช่น ไข้อหิวาตกโรค กรณีน้ีอาจมีอันตรายชีวิต ล้อม ผลผักชีลา แฝกหอม ผลกระดอม ทั้งมารดาและทารกได้ บอระเพ็ด ขมิ้นอ้อย ขมิ้นเครือ กระจับบก แก่นขี้เหล็ก สมุนไพรทั้งหมดนี้ใช้ส่งละเท่ากัน นำมาต้ม 3 เอา 1 ส่วน กนิ ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรบั การดแู ลมารดาและทารก

24 เดือนท่ี อาการ ยาสมุนไพรท่ใี ชร้ ักษา ตัง้ ครรภ์ 2. ใบขี้เหล็ก ใบผักเคด็ ใบน้ำเต้า ใบเงนิ ใบทอง ใบยา่ นาง ดนิ ประสิวขาว ดินสอพอง สมุนไพร มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง ทั้งหมดนี้ใช้ในสัดส่วนท่ีเท่ากัน บดทำแท่งไว้ เวลาจะใช้ให้ละลายน้ำซาวข้าว หรือน้ำดอก มะลิสด สำหรับชโลมตัว 10 เมื่อต้ังครรภ์ได้ครบ 10 เดือน แสดงว่าทารก 1. ดอกบวั เผือ่ น ชะเอมเทศ หมากสง จนั ทน์ นนั้ เปน็ ผู้มบี ุญบารมี เทพยดาลงมาเกิดในครรภ์ แดง จนั ทน์ขาว บดละลายนำ้ นมโค หรอื หรอื หากพบว่ามอี าการต่าง ๆ ในช่วงน้ี เชน่ ไข้ น้ำดอกไม้กิน ก็ถือเป็นปกติไมน่ า่ หว่ ง 2. จนั ทน์แดง จันทนข์ าว เชอื กเขามวกแดง เชือกเขามวกขาว ชะลดู อบเชยเทศ ขอนดอก สน สัก กรกั ข์ แก่นประดู่ เปลือกตน้ ไขเ่ นา่ เปลือกมะซาง เปลือกสันพรา้ นางแอ ดอก สตั ตบุษย์ ดอกบวั เผือ่ น ดอกบวั ขม ดอกลินจง ดอกพิกุล ดอกบนุ นาค ดอกสารภี ดอกมะลิ ซอ้ น ดอกมะลิลา สมุนไพรทงั้ หมดน้ี ใชส้ ง่ิ ละ เทา่ กนั บดทำแท่งไว้ เวลาจะใชใ้ หล้ ะลายนำ้ ดอกมะลิ กินหรือชโลม ซ่งึ ตำรับน้ี ในคมั ภีร์ ระบุว่าสามารถใชต้ ั้งแต่ต้งั ครรภ์ได้เดอื น 1 ไป จนถึง 10 เดือน จะเห็นได้ว่าแต่ครั้นโบราณ การดูแลสตรีต้ังครรภ์มีการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ โดยจะเร่ิมต้นด้วยการ ดูแลทางจิตใจก่อนเสมอด้วยพิธีกรรมทแ่ี ตกต่างกันไปในแต่ละอายุครรภ์ ซ่งึ มีระบุไวใ้ นคัมภีร์ปฐมจินดา แต่ในตำรา นี้ไม่ได้กล่าวถงึ หากไม่หายจงึ ใช้ยาท้งั รบั ประทานและชโลมตามตวั เพื่อบรรเทาอาการและอาการแสดงต่าง ๆ ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 25 2.4 ครรภ์ปริมณฑล ในคัมภีร์ปฐมจินดา ได้มีการกล่าวถึง ครรภ์ปริมณฑล ว่าด้วยการรักษาครรภ์ให้เป็นปกติ ตอนหน่ึงว่า สตรีมีครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือน ไปจนถึง 10 เดือน เป็นไข้ต่าง ๆ แก้ด้วยยาขนานใดมิฟัง ให้แต่งยาขนานนี้กิน โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชยี ง โกฐก้านพรา้ ว เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนเยาวภานี เทยี นสัตตบุษย์ ดอกบัว สัตตบุษย์ ดอกบัวเผ่ือน ดอกบวั ขม ดอกลินจง ดอกจงกลนี กฤษณา กระลำพัก ชะลูด ขอนดอก จนั ทนแ์ ดง จันทน์ ขาว สน กรักขี เทพทาโร สมุลแว้ง อบเชยเทศ รากสามสิบ รวมยา 27 ส่ิง เอาเสมอภาค ต้ม 3 เอา 1 กินแก้ครรภ์ รักษาตลอดไป แต่ต้นจนปลายดีนกั อีกขนานหน่ึงมีตัวยาดังน้ี แก่นข้ีเหล็ก แก่นสะเดา แก่นสน จันทน์แดง จันทน์ขาว รากหญ้านาง ผลมะขามป้อม ผลกระดอม เถาบอระเพ็ด ผลมะตูมอ่อน หัวแห้วหมู ฝักราชพฤกษ์ ก้านสะเดา 33 ก้าน รวมยา 13 สิ่งเสมอภาค ต้ม 3 เอา 1 กินแก้ครรภ์ รักษาไข้ต่าง ๆ ให้จับลง รากเป็นโลหิต และโลหิตทำพิษต่าง ๆ แม้ คลอดแท้งลกู โลหิตทำพิษรอ้ นให้หนาว ระส่ำระสายกด็ กี ินยานี้หาย มีครรภ์ใหเ้ ป็นบิด แก้ดว้ ยยา เกสรบัวหลวง ผลทบั ทิมอ่อน เปลอื กมะขาม ครง่ั เสมอภาค บด ละลายนำ้ ร้อนกนิ หญิงมีครรภ์ตั้งแต่ 8-9 เดือน 10 เดือน ให้เป็นพรรดึก เป็นบิด ถ้าจะแก้ให้เอายาดังนี้ ดอกบัวน้ำทั้ง 5 ดอกจำปา ดอกกระดังงา ยา 7 ส่ิง เอาสิ่งละ 1 บาท เอาตรีกฏุก มหาหิงคุ์ ชะเอมเทศ เอาส่ิงละ 1 บาท ทำเปน็ จุล ทำแท่งไว้ ละลายนำ้ ผึ้ง น้ำออ้ ย นำ้ ร้อนก็ได้ เอาพิมเสนรำหัด หญิงมีครรภ์กุมารนั้นดน้ิ ถ้ามิเป็นดงั น้ัน เป็นเพราะมารดากินของแสลงเผ็ดและร้อน กุมารจงึ ด้ินรนนัก ถ้าจะแก้ให้เอายากล่อมนางนอน (ยากล่อมกุมาร) ดังนี้ เทียนท้ัง 5 โกฐทั้ง 9 เกสรบัวหลวงท้ัง 5 รากไคร้เครือ สงั กรณี ชะลูด ขอนดอก ชะเอมเทศ น้ำประสานทอง จันทนท์ ั้ง 2 กฤษณา กระลำพกั ผิวมะตูมอ่อน ชะมด พมิ เสน รวมยา 32 ส่ิง เอาส่ิงละ 2 สลึง ทำเป็นจุล บดทำแท่งไว้ เอาน้ำดอกไม้เป็นกระสาย ถ้ากระสับกระส่าย ละลาย น้ำดอกไม้เทศ ชะมด พิมเสน รำหัดกิน ให้กินตั้งแต่ครรภ์ได้ 1 เดือน ถึง 10 เดือน เพื่อมิให้ครรภ์เป็นอันตรายด้วย พษิ ตา่ ง ๆ แก้เชื่อม ละลายน้ำกฤษณากิน แก้มูกเลอื ด ละลายน้ำเปลอื กแคแดงแทรกฝ่ินกิน ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดแู ลมารดาและทารก

26 ถ้าลงหนกั ละลายน้ำกล้วยตบี กิน ถา้ เสมหะติดลำคอ ละลายน้ำมะแว้งเครอื แกร้ ้อน ละลายน้ำดอกไม้กนิ ทั้งทาและชโลม แก้กุมารครรภร์ ักษาได้ทกุ ประการ หญิงมีครรภ์แก่และคลอดบุตรยาก ให้ต้มยาน้ีกิน ขม้ินอ้อยฝาน 3 ช้ิน สมอเทศ 9 ผล สมอไทย 9 ผล สมอพิเภก 9 ผล เถาวัลย์เปรียงยาวคืบหนึ่ง 3 ท่อน ใบมะกาเต็มกำมือ กลั้นใจ ตัดหัวท้าย ต้ม 3 เอา 1 กินให้ลง 2-3 เวลา หญิงคลอดบตุ รมดลกู ไมเ่ ข้าอู่ ใชย้ านี้ รากมะยมตัวผู้ รากส้มปอ่ ย รากมะขามข้ีแมว ใบขนุน ยางแสมทะเล เสมอภาค ตม้ 3 เอา 1 กินเป็นยาชกั มดลกู หญิงคลอดบุตรรกขาดในครรภ์ ใช้ยาดังนี้ ยอดฝ้ายแดง 7 ยอด พริกไทย 7 เม็ด ขิง 7 ชิ้น กระเทียม 7 กลีบ บดดว้ ยน้ำสุรากินสะเดาะรกดีนกั ดังกล่าวข้างต้น เป็นการกล่าวถึงเน้ือหาเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ ที่เกิดข้ึนในระยะตั้งครรภ์จนถึงระยะคลอด สตรี และรายละเอียดเกี่ยวกบั เรอ่ื งการใช้สมุนไพรในการรักษา ซ่ึงในตำราเล่มนี้จะขอกลา่ วถึงอาการท่ีพบบ่อยและ เป็นอาการปกติในสตรีระยะต้ังครรภ์ ซึ่งครอบคลุมตามมาตรฐานวิชาชีพและเป็นไปตามข้อกำหนดของวิชาชีพ เร่ือง การส่งต่อเม่ือเกินขีดความสามารถของแพทย์แผนไทย หรือแพทย์แผนไทยประยุกต์ ท่ีหากมีอาการผิดปกติ สมควรส่งต่อเพ่ือให้แพทย์แผนปัจจุบันเป็นผู้ให้การรักษา (นวลจันทร์ ใจอารีย์, 2561) ซึ่งในตำราน้ีจะมีการ ยกตัวอย่างแนวทางการใช้สมุนไพรบางส่วนท่ีและการดูแลรักษาอาการพอสังเขป เพ่ือความปลอดภัยเม่ือต้องใช้ใน สตรีขณะต้ังครรภ์ มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง ตารางท่ี 2.3 อาการท่ีพบบ่อยในหญิงมีครรภ์ และแนวทางการดูแลรกั ษา อาการทีพ่ บบ่อยในหญิงมคี รรภ์ แนวทางการดูแลรักษา อาการไข้ รับประทานอาหารหรือน้ำสมุนไพรท่ีมีส่วนประกอบของ สมุนไพรต่อไปนี้ ได้แก่ รากย่านาง บอระเพ็ด ผลมะตูมอ่อน กา้ นสะเดา ในสมนุ ไพรที่มรี สขม จะชว่ ยลดไข้ได้ดี อาการท้องเสีย เกสรบวั หลวง ช่วยบำรุงรา่ งกาย ในช่วงทรี่ า่ งกายเสียนำ้ ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรับการดแู ลมารดาและทารก

27 อาการท่ีพบบ่อยในหญิงมคี รรภ์ แนวทางการดแู ลรักษา ผลฝรั่งดิบ ท่ีมีรสฝาด มีสารแทนนิน ลดการระคายเคืองของ มเี สมหะ ลำไส้ แพท้ ้อง เชน่ คลืน่ ไส้ อาเจยี น วิงเวียนศีรษะ มะแว้ง เป็นสมุนไพรในกลุ่มสาธารณสุขมูลฐานที่แนะนำให้ใช้ มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง เพ่อื ละลายเสมหะ 1. นวดและประคบสมุนไพรบริเวณบ่าและต้นคอ เพ่ือช่วยให้ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดีข้ึน และช่วยบรรเทาอาการ เกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและคอ จะช่วยทำให้รู้สึกผ่อน คลาย ลดอาการวิงเวยี นศีรษะ และชว่ ยใหส้ ดชืน่ 2. ด่ืมชาชงขิงอุ่น ๆ ที่มีรสเผ็ดรอ้ น มีสรรพคุณบำรุงอากาศธาตุ สามารถช่วยในการปรบั สมดุลธาตลุ ม 3. ใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2559 ตำรับท่ีมี รสสุขุม เพ่ือปรับสมดุลธาตุไฟและลม ได้แก่ ยาหอมทิพยโอสถ ยาหอมเทพจิตร สรรพคุณรักษาอาการลม จุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟอ้ คล่นื เหียน อาเจียน ปสั สาวะบ่อย 1. ห้ามกล้ันปัสสาวะ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดิน ตะครวิ ปัสสาวะ เกดิ อาการปสั สาวะขดั ได้ 2. ดมื่ นำ้ อ่นุ หรอื ชาชงขิงอ่นุ ๆ ท่มี ีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคณุ บำรุงอากาศธาตุ สามารถช่วยในการปรับสมดลุ ธาตลุ ม 1. การนวดและประคบสมุนไพร เพ่ือช่วยลดอาการหดเกร็งของ กลา้ มเนอื้ และเส้นเอน็ 2. การทายาคลายกล้ามเน้ือเพ่ือช่วยบรรเทาอาการหดเกร็งของ กลา้ มเนอ้ื ได้แก่ น้ำมนั ไพล ครีมไพล ยาหม่อง ฯลฯ 3. ในขณะมีอาการตะคริวท่ีขา/น่อง ให้เหยียดขาตรงกระดก ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรับการดูแลมารดาและทารก

28 อาการทีพ่ บบ่อยในหญิงมคี รรภ์มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงแนวทางการดูแลรักษา ขาบวม ปลายเท้าข้ึนหรือ ลกุ ข้ึนยืนเหยียดพนื้ และควรรับประทานปลา ปวดกลา้ มเนอ้ื ส่วนตา่ ง ๆ ตัวเล็กทัง้ กระดูก เพอื่ เสรมิ สารอาหารให้แก่ร่างกาย 4. กรณีที่มีอาการบ่อย อาจเกิดจากภาวะขาดแคลเซียม ทอ้ งผกู ควรปรกึ ษาแพทย์ท่ีฝากครรภ์ 1. การนวดและประคบสมุนไพร เพื่อช่วยให้เลือดลมไหลเวียน ได้สะดวกขน้ึ 2. ใชห้ มอนหนุนขายกปลายเทา้ ให้สงู ข้นึ 3. การแชเ่ ทา้ ดว้ ยนำ้ อุ่น 4. ควรตรวจค่าความดันโลหิตร่วม กรณีพบว่าถ้าค่าสูง 140/90 mmHg ควรส่งตอ่ แพทย์แผนปัจจบุ นั 1. การนวดและประคบสมุนไพร เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด และอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ โดยต้ังแต่ 7 เดือนเป็นต้นไป สามารถนวดได้โดยใหร้ ะมัดระวังในการนวด 2. การทายาคลายกล้ามเน้อื เพอ่ื ชว่ ยบรรเทาอาการปวด และการหดเกร็งของกล้ามเน้ือ ได้แก่ น้ำมันไพล ครีมไพล ยา หม่อง ฯลฯ 3. การบรหิ ารร่างกายด้วยท่าฤษีดัดตนเพอื่ บรรเทาอาการ กรณปี วด เชน่ ทา่ แกป้ วดทอ้ งข้อเทา้ และแกล้ มปวดศรี ษะ ทา่ แกล้ มเจบ็ ศีรษะและตามัวและแก้เกยี จ 1. รับประทานอาหารท่มี ีกากใยอาหาร หลกี เล่ยี งอาการทีม่ ี รสฝาด 2. ดืม่ น้ำอุ่นตอนเชา้ ประมาณ 2 แก้ว 3. ออกกำลงั กาย เพ่ือเพ่ิมธาตุลม ทำใหล้ ำไส้เคลื่อนไหวได้ดีขนึ้ 4. หลกี เล่ียงความเครยี ด ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดแู ลมารดาและทารก

29 อาการที่พบบ่อยในหญงิ มคี รรภ์มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงแนวทางการดูแลรักษา รดิ สดี วงทวาร 1. การรับอาหารและน้ำสมุนไพรเพอ่ื ช่วยในการระบาย เชน่ กลว้ ยนำ้ วา้ สุก สัปปะรด น้ำมะขาม น้ำกระเจี๊ยบ นำ้ มะนาว ภาวะโลหิตจาง นำ้ ตรีผลา แกงขเ้ี หล็ก อาหารประเภทต้ม ยำต่าง ๆ เปน็ ต้น 2. หลีกเล่ยี งอาหารรสฝาด อาหารประเภททอด หวั นมบอด บมุ๋ สน้ั 3. บรหิ ารร่างกายดว้ ยท่าฤษีดดั ตนตามความเหมาะสม 4. หลีกเลี่ยงมูลเหตแุ ห่งการเกดิ โรค 8 ประการที่จะส่งผลให้เกิด อาการท้องผูก เช่น อิริยาบถ (นั่งอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ) กล้นั อุจจาระปสั สาวะ มีโทสะมากหรือเครียด เปน็ ต้น 1. ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2559 ได้แก่ ยา หอมรสสุขมุ ร้อน เชน่ ยาหอมอนิ ทจักร์ 2. รับประทานอาหารหรือน้ำสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของ สมุนไพรต่อไปนี้ ได้แก่ ผักกูดมะรุม กุยช่าย แคแตร ขมิ้นขาว ผักแว่น ใบแมงลัก ผักเม็ก ผักโสน ผักผำ ยอดมะกอก ผักโขม ผักหวานบ้าน มะเขือพวง ใบช้าพลู ดอกข้ีเหล็ก ดอกกระดังงา ไทย ฝางเสน แกแล หญา้ ฝรัน่ คำไทย คำฝอย กำแพงเจด็ ช้ัน 1. การนวดเต้านมโดยการใช้น้ิวหัวแม่มือนวดสลับสองมือ โดย นวดจากฐานเต้านมไปหาหัวนม นวดสลับโดยรอบเต้านม 3-4 รอบ/ข้าง แลว้ ใช้นวิ้ คีบหรือดึงทหี่ ัวนมขึ้นใหห้ ัวนมตงึ ขน้ึ ทำสอง ข้างสลับกนั 2. การนวดเต้านมโดยการใช้นิ้ว 3 นิ้ว (น้ิวชี้ นิ้วกลาง น้ิวนาง) เรียงชิดกัน นวดสลับมือจนรอบเต้านมทั้งสองข้าง ๆ นิ้วนาง) เรยี งชดิ กัน นวดสลบั มอื จนรอบเตา้ นมทง้ั สอง 3. ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดเต้านมและบริเวณหัวนม เพ่ือช่วยกระตุ้นการไหลเวียน และลดอาการปวดเต้านมในขณะ ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรบั การดแู ลมารดาและทารก

30 อาการท่ีพบบ่อยในหญงิ มคี รรภ์ แนวทางการดแู ลรักษา เตา้ นมเริ่มยืดขยายมากขึ้น การเปลยี่ นแปลงภาวะทางอารมณ์ เชน่ วิตก 1. ใชห้ ลกั จติ านามยั ธรรมานามยั หลักธรรมศาสนา กังวล หงุดหงดิ นอนไมห่ ลบั อารมณ์ 2. ออกกำลังกายและบริหารจิตด้วยท่าฤษีอัดตนได้ตามความ แปรปรวน เหมาะสม 3. แนะนำสามหี รือบุคคลในครอบครวั ให้เขา้ ใจและดแู ลเอาใจใส่ ให้มากขน้ึ 4. ใชย้ าหอมเทพจติ ร มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 2.5 ครรภว์ ปิ ลาส ในคมั ภรี ์มหาโชตรตั ได้กลา่ วถึง เร่อื งการแท้งและสาเหตุของการแทง้ ไว้ ตอนหน่งึ วา่ 1. อันว่าหญิงจำพวกใดก็ทรงไว้ซึ่งครรภ์อันบังเกิดซ่ึงกามวิตกน้ันหนาไปด้วยไฟราคะ อันเป็นสมุฏฐานนั้น กลา้ นกั อนั ว่าสัตว์ทั้งหลายกม็ อิ าจตง้ั มลู ปฏิสนธินน้ั ขน้ึ ได้ ก็มอี นั ตรายไปตา่ ง ๆ กม็ ีด้วย ประการดงั น้ี 2. อันว่าหญิงจำพวกใดไม่ควรจะกินก็กิน ซ่ึงของอันเผ็ดร้อนเป็นต้นต่าง ๆ ซ่ึงของอันจะให้ลงท้องเป็นต้น ต่าง ๆ คือยาที่จะให้แสลงโรคต่าง ๆ เป็นลักษณะแห่งธาตุน้ำกำเริบ แห่งบุคคลผู้น้ันแล ก็มีอุปมาดังไฟประลัยกัลป์ อันจะพัดให้ฉิบหายเสีย ซ่ึงสัตว์อันจะมาเอาปฏิสนธิน้ันในครรภ์แห่งสตรีนี้ก็ไม่อาจต้ังมูลปฏิสนธขิ ้ึนได้ด้วยประการ ดงั นี้ 3. อนึ่งโสด อันว่าหญิงผใู้ ดมีจติ นน้ั มากไปด้วยความโกรธ กว็ ิ่งไปมาโดยเร็วเมื่อขณะโกรธ บางทีกท็ อดทิ้งซึ่ง ตัวเองลง ยกมือขึ้นทั้งสองประหารซ่ึงตนเอง อน่ึงอันว่าสตรีปากร้าย มิได้รู้จักซ่ึงโทษแห่งตน อมด่าตัดพ้อเป็นอัน หยาบชา้ ซงึ่ ผัวแห่งตนก็ดี ซง่ึ บุคคลผู้อนื่ กด็ ีเขากระทำโทษ คือว่าทบุ ถองตีโบยด้วยกำลังแรงนนั้ ต่างสตรีผู้นั้นก็จะเจ็บ ช้ำ ซึ่งครรภ์แหง่ สตรีนั้นก็ตกไปด้วยประการดงั นี้ 4. อน่ึงโสด อันว่าหญิงจำพวกใดก็ทรงไว้ซ่ึงครรภ์ก็ดี คือ ภูตปิศาจหากกระทำโทษต่าง ๆ ครรภ์นั้นก็มิได้ ต้ังขน้ึ บางทีต้องศาสตราคมคณุ ไสย เขากระทำกด็ ี อันวา่ ลูกอันอยูใ่ นครรภน์ น้ั กต็ กไปแทจ้ รงิ ดว้ ยประการดังน้ี การแทง้ ในครรภว์ ปิ ลาส ได้พูดถึงสาเหตขุ องการแทง้ ทม่ี าจากมารดาเป็นหลัก รว่ มกับการแทง้ โดยไม่ทราบ สาเหตุ เชน่ การรับประทานของเผ็ดรอ้ น ท่ีอาจจะเป็นยา อาหาร หรอื เครื่องดื่มท่ีมีรสเผด็ รอ้ น การรับประทาน ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรับการดแู ลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 31 อาหารที่ทำให้เกดิ อาการท้องเสีย ซง่ึ ทำให้ธาตนุ ้ำกำเริบและทำให้เกิดการแท้งบตุ รได้ นอกจากนี้ยังกล่าวถงึ มารดามี อารมณ์หงดุ หงดิ อารมณ์ร้อน โกรธงา่ ย แลว้ ทำรา้ ยรา่ งกายตนเองขณะต้ังครรภ์ หรือถูกทำรา้ ยร่างกาย จะทำใหธ้ าตุลมกำเริบและทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ และการแท้งที่ยงั ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดจึงได้กล่าวว่ามาจากการ ถกู ภตู ผปี ีศาจทำรา้ ย หรือถูกคณุ ไสย ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน การแท้ง (miscarriage) คือภาวะผิดปกติที่พบได้ในขณะตั้งครรภ์ หมายถึง การส้ินสุดของการตั้งครรภ์ ซึ่งตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์จะถูกขับออกมาก่อนอายุครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ ซ่ึงอาจมี สาเหตุจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น โครโมโซมผิดปกติ ความพิการแต่กำเนิด หรืออาจได้รับยาหรอื สารเคมีท่ีทำให้ทารกเกิดความผิดปกติต้ังแต่อยู่ในครรภ์ การที่หญิงต้ังครรภ์มีโรคประจำตวั ก็ มีโอกาสเสี่ยงท่ีจะจำให้เกิดการแท้งบุตร เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวายเร้ือรัง เป็นต้น หญิงต้ังครรภ์อายุ มากกว่า 35 ปี มีโอกาสเกิดภาวะแท้งได้ร้อยละ 15 ความผิดปกติของมดลูกและโพรงมดลูก การขาดฮอร์โมนเพศที่ ช่วยประคับประคองการตั้งครรภ์ ทำให้การฝังตัวของตัวอ่อนหรอื ถุงต้งั ครรภ์ทำไดไ้ ม่สมบูรณ์ หรอื หญิงท่ีประวัตเิ คย เกิดการแท้งมาก่อน รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น อุบัติเหตุที่กระทบต่อมดลูกหรือบริเวณท้องน้อย มีการติดเชื้อที่ช่อง คลอด น้ำหนักตัวมากหรือโรคอ้วน ด่ืมสุรา สูบบุหรี่ หรือการใช้สารเสพติด เป็นต้น (นวลจันทร์ ใจอารีย์, 2561) ซึ่งมีบางส่วนกล่าวไว้ในครรภ์วิปลาส อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันหากพบสตรีต้ังครรภ์มีภาวะผิดปกติ เช่น เลือดออก ทางช่องคลอด ปวดท้องน้อยมีอาการไข้ แนะนำให้แพทย์แผนไทยส่งต่อไประบบการแพทย์แผนปัจจุบนั เพื่อทำการ รักษาต่อไป 2.6 ประเพณแี ละความเช่ือเกี่ยวกับการตงั้ ครรภ์ การเกิดถือว่าเป็นการเร่ิมต้นชีวิต ในสมัยโบราณอันตรายท่ีเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ ตลอดจนการท่ีให้ ทารกมีชีวิตอยู่รอดปลอดภัย เป็นเรื่องยุ่งยากและก่อให้เกิดความหวาดหวั่นแก่มารดาและครอบครัว ดังน้ันสมาชิก ในสงั คมจึงไดส้ รา้ งพฤติกรรมทล่ี บลา้ งความหวาดหวนั่ ความกลวั น้ันเสีย หรอื มีขอ้ ชี้แนะให้ปฏิบตั ิ และข้อหา้ มตา่ ง ๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ซึ่งได้ถ่ายทอดสืบทอดต่อกันมาจนกลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีและความเช่ือเก่ียวการ ตัง้ ครรภ์ ระยะเวลาในการต้ังครรภ์จนถึงคลอดเป็นระยะทีเ่ ส่ยี งต่อภยันอันตรายมาก ฉะน้นั จึงต้องอบุ ายป้องกันและ ปดั เปา่ ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การผูกข้อมอื ด้วย ตะกรุดพิสมร ซง่ึ มีลกั ษณะเป็นแผ่นใบลานลงอักขระพระคาถา เรียกว่า ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 32 ลงคุณพระ แล้วพับเป็นรูปส่ีเหลี่ยมขนาดเล็ก ๆ ร้อยเชือกหรือด้ายผูก หรือคล้องข้อมือ ไว้จนกว่าจะคลอดลูก การผูกตะกรุดพิสมรเป็นความเช่ือว่าสามารถป้องกันผีร้าย มิฉะนั้นอาจทำให้แม่และทารกตายในระยะน้ี เรียกว่า ตายทงั้ กลม นอกจากนี้คนไทยยังมีความเช่ือเก่ียวกับข้อควรประพฤติและข้อห้ามในขณะที่ตั้งครรภ์ ซึ่งสอดคล้องกับ ภาษา ดังนี้ คนไทยบางทอ้ งถ่นิ มกี ารหา้ มไม่ใหห้ ญงิ มีครรภ์กนิ ฝรั่ง เพราะภาษาถิ่นท้องถนิ่ เหนอื เรียกฝรงั่ ว่า บะมั่น จงึ มี ความเช่ือว่า ถา้ คลอดลูกอาจจะทำให้ลูกติดคาอยู่ในท้อง เพราะคำวา่ ม่ัน มีความหมายหมายวา่ แนน่ บางท้องถ่ินห้ามหญิงมีครรภ์กินของ เผา เพราะเช่ือว่าจิตใจจะเหี่ยวแห้ง หรือเด็กที่เกิดมาอาจผอมแห้ง อกี นยั หนง่ึ คือคำว่า เผา มีความหมายไมด่ ี คอื ทำใหร้ ้อนให้สกุ หรอื ให้ไหม้, ทำใหเ้ ร่ารอ้ น, ทำใหห้ มดไป ห้ามหญิงมีครรภ์นั่งขวาง บันได หรือห้ามหยุดพักคาบันได เนื่องจากคำว่า ขวาง มีความหมายว่า กีดก้น, สกดั และคำว่า คา มีความหมายวา่ ค้างอยู่, ติดอยู่ ด้วยความหมายทำให้เชื่อว่าไมเ่ ปน็ มงคลและอาจทำให้ลูกคลอด ยาก คลอดไมส่ ะดวก หา้ มหญิงมีครรภ์ ตรึงหรือตอกตะปู เพราะ จะทำใหเ้ ด็กคลอดยาก เพราะคำวา่ ตรงึ กบั ตอก มี ความหมายว่า ทำให้อยูก่ ับที่ หา้ มหญงิ มีครรภ์กินของเผด็ ร้อน และ ของท่ีมรี สเค็ม เพราะจะทำใหเ้ ดก็ ในท้องทรมานและตาย ห้ามหญงิ มีครรภ์ข้ามคราด เพราะเป็นคำท่พี ้องเสยี งกบั คำว่าคลาด ท่หี มายถงึ เคล่ือนจากทหี่ มาย, เคลื่อน จากกำหนดเวลา จงึ เช่ือวา่ ถ้าขา้ มคราดแล้วจะทำใหค้ ลอดกอ่ นกำหนด หา้ มหญิงมคี รรภผ์ ่าไมร้ วก เพราะพ้องเสยี งกบั คำว่าลวก ที่หมายถงึ กริ ิยาที่ถูกน้ำรอ้ น ไอรอ้ น หรือไฟพลุง่ มากระทบผิวจงึ เชอ่ื วา่ ลกู ในท้องจะเป็นอนั ตราย เม่ือจวนจะคลอดต้องเปดิ ประตู หน้าต่าง หรือไขกญุ แจต้หู รือล้นิ ชักท่ีปิดเอาไว้ ต้องเปิดออกใหห้ มด เพราะ คำวา่ เปิด หมายถึง ทำให้สง่ิ ทีป่ ิดอย่เู ผยออกมา เชอื่ ว่าว่าจะทำให้คลอดไดส้ ะดวก ในขณะที่จะคลอดห้ามพูดวา่ ตดิ ขดั คา้ ง คา เพราะเชื่อว่าถา้ พูดคำเหลา่ นีล้ ูกจะคลอดยาก ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 33 2.7 เอกสารอา้ งองิ กลุ่มงานวิชาการเวชกรรมและผดุงครรภแ์ ผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลอื ก กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ค่มู อื แนวทาง การดแู ลรักษาสุขภาพมารดาและทารกดา้ นการ ผดุงครรภ์ไทย (ฉบับทดลองใชใ้ นระบบบรกิ ารสุขภาพ). พิมพ์คร้งั ที่ 1. กชนภิ า สุทธิบุตร, อรณุ พร อิฐรัตน์, เพชรนอ้ ย สงิ ห์ชา่ งชยั , (2562). กลมุ่ อาการก่อนมีประจำเดอื นและตำรับยา สมนุ ไพรที่ใชร้ ักษา ซ่ึงระบุในคมั ภีรม์ หาโชตรตั . วารสารธรรมศาสตรเ์ วชสาร;19(1):46-60 ธีระพร วุฒยวนิช, ธีระ ทองสง และจตุพล ศรีสมบูรณ์. (2535). ตำราสูติศาสตร์เล่ม 1,2. เชียงใหม่: หน่วย วารสารวชิ าการ คณะแพทยศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่. นวลจันทร์ ใจอารีย์. (2561). การแพทย์แผนไทยประยุกต์สำหรับดูแลหญิงก่อนต้ังครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ การทำ คลอด และหลังคลอด. พมิ พ์คร้งั ท่ี 1. กรงุ เทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์. พรทพิ ย์ เทยี นทองด,ี กนั ทิมา สิทธิธญั กจิ . (บรรณาธกิ าร). (2560). ตำราภมู ิปญั ญาการผดงุ ครรภไ์ ทย. กลมุ่ งาน วิชาการเวชกรรมและผดงุ ครรภ์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและ การแพทยท์ างเลือก กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครงั้ ท่ี 1: จุฑาเจรญิ ทรัพย์. มาลีวัล เลศิ สาครศริ ิ. (2558). การพยาบาลสตรใี นระยะตั้งครรภแ์ ละระยะคลอด. กรุงเทพฯ: โครงการตำรา วทิ ยาลยั เซนตห์ ลุยส์. มูลนิธฟิ ื้นฟสู ่งเสรมิ การแพทย์ไทยเดมิ ฯ และ โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกต์คณะ แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลยั มหิดล. (2555) ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์ สงเคราะหฉ์ บบั อนรุ กั ษ์) เล่มท่ี 1. พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพฯ: ศภุ วนิชการ พิมพ์. ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรับการดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงบทที่ 3 การดูแลสตรขี ณะคลอด การดูแลสตรีขณะคลอด ในตำราด้านการแพทย์แผนไทย ไม่ได้กล่าวถึงเนื้อหาขั้นตอนการทำคลอด อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในขณะคลอด ข้อปฏิบัติของผู้คลอด และผู้ทำคลอด เหมือนตำราทางสตู ิศาสตร์ของแพทย์แผน ตะวันออก (แพทย์แผนปัจจุบัน) มีเพียงการระบุไว้ในคัมภีร์ประถมจินดา ที่เกี่ยวข้องกับการคลอดบุตร เรียกว่า ครรภป์ ระสูติ ในที่นจ้ี ะกล่าวถึงเน้ือหาในคัมภีร์ปฐมจนิ ดาทเ่ี กย่ี วข้องกบั การดูแลสตรีขณะคลอด แนวทางการดูแล มารดาระยะคลอดบูรณาการกับการแพทย์แผนปัจจุยัน เพื่อจะได้ติดตามความก้าวหน้าในการคลอด ตลอดจน ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้กับมารดาและทารก ส่วนแนวทางการดูแลมารดาในระยะน้ีของแพทย์แผน ไทย จะให้การบำบัดดูแลอาการในระยะรอคลอด เพื่อบรรเทาอาการปวด ความไม่สุขสบาย และคลายความวิตก กังวลของมารดา 3.1 กลไกการคลอด 3.1.1 ทางการแพทยแ์ ผนไทย เนื้อหาในคัมภีร์ปฐมจินดา ไม่ได้กล่าวถึงกลไกการคลอดอย่างชัดเจน แต่ได้มีการอธิบายถึงการคลอด เรียกว่า “ครรภ์ประสูติ” พัดกำเริบให้เส้นและเอ็นท่ีรัดตัวกุมารไว้คลายออกพร้อมให้ศีรษะกลับลงเบื้องต่ำ ฤกษ์ ยามดีก็คลอดจากครรภ์มารดา เรียกว่า “ตกฟาก” โดยท่าของทารกที่ออกจากช่องคลอดของมารดา การร้อง และ ความยากง่ายในการคลอด จะทำนายได้ว่าทารกเลี้ยงง่ายหรือยาก (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และ โรงเรยี นอายรุ เวทธำรง สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกต์คณะแพทยศาสตรศ์ ิริราชพยาบาล มหาวิทยาลยั มหิดล, 2555) ดงั ได้กลา่ วในคมั ภรี ป์ ฐมจนิ ดา ตอนหนึง่ วา่ กุมารและกมุ ารีคลอดจากครรภม์ ารดา คว่ำออกมาและร้องขึ้นแล้วอาเจียนโลหิตท่อี มอยเู่ ทา่ ฟองไขแ่ ดง ออกมาจากปาก ทา่ นทายวา่ เลยี้ งง่าย กุมารและกมุ ารีคลอดจากครรภ์มารดา หงายออกมาแลว้ รอ้ งขึน้ โลหิตที่อมอยูน่ ้ันเข้าไปในคอ ตกลงไป ในทอ้ ง ท่านทายวา่ เล้ียงยากนักจะเกดิ โรคต่าง ๆ ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 35 กุมารและกมุ ารีคลอดจากครรภม์ ารดา ตะแคงออกมาจะตะแคงช้ายหรอื ขวากต็ าม โลหิตทอี่ มอยู่เข้าไป ในคอบ้างตกออกจากปากบา้ ง ทา่ นทายวา่ จะเล้ียงไม่ยากนกั ไม่ง่ายนัก เป็นปานกลาง กุมารและกมุ ารีคลอดจากครรภม์ ารดาแลว้ แลตายดา้ นไป ร้องมิออกได้แตย่ ังมีลมหายใจอยู่ ท่านใหพ้ ลิกตัว กมุ ารน้นั ใหค้ วำ่ ลงเสยี ก่อนแลว้ จึงแก้ใหร้ อ้ งขึน้ ถา้ ยังร้องมอิ อก ห้ามอยา่ ใหแ้ มร่ บั ไปก่อน ใหพ้ ่นด้วยหัวหอมและ เปราะหรอื ไพล ถ้าร้องขน้ึ ได้ โลหติ ท่ีอมไวใ้ นปากออกจากปากได้ กมุ ารนน้ั จงึ จะไมม่ ีโรคตามมาภายหลงั กมุ ารกุมารีคลอดจากครรภ์มารดานน้ั ยากนักใหข้ ดั ขวางดว้ ยเหตุส่ิงใดก็ดี บางทหี มอผดงุ ครรภข์ ่มออกมา กมุ ารน้ันคอเคลด็ หรือกระทบลงกับฟาก เม่ือเติบโตขึน้ มามักเปน็ ฝที ค่ี าง ท่ฟี องดนั และที่คอ เป็นตงั้ แตย่ งั เด็ก หรือ บางทีเปน็ เม่ืออายุได้ 15 ปี 20 ปี 30 ปี และให้เปน็ ฝีเอน็ ฝีประคำร้อย ฝีคัณฑมาลา เป็นเนอื่ งจากกระทบช้ำชอก มาแตเ่ มื่อคลอดจากครรภ์มารดานัน้ 3.1.2 ทางการแพทย์แผนปัจจบุ นั เมื่อหญิงตั้งครรภ์เข้าสู่ระยะคลอดร่างกายจะมีกลไกการเปลี่ยนแปลงโดยในขบวนการคลอดทั้งหมด (ธีระพร วฒุ ยวนชิ , ธีระ ทองสง และจตุพล ศรสี มบูรณ์, 2535) สามารถแบ่งได้เปน็ 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ของการคลอด (First stage of labor) นับตั้งแต่การเจ็บครรภ์จริง (True labor pain) คือปาก มดลูกเริ่มบางลง และเปิดขยายจนถึงปากมดลูกเปิดหมด 10 เซนติเมตร เป็นระยะรอคลอด สามารถแบ่งเป็น 2 ชว่ ง คอื 1) Latent phase ช่วงปากมดลูกเปิดช้า นับจากเริ่มเจ็บครรภ์จริง ปากมดลูกบางลงจนถึงปากมดลูกเปิด 3-4 เซนติเมตร ซึ่งในครรภ์แรกปากมดลูกจะบางลงจนหมด (100%) ก่อนแล้วจึงเริ่มเปิดขยายออก ซึ่งครรภ์แรก ระยะนีใ้ ช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 8 ชวั่ โมง สว่ นในครรภห์ ลังการบางตัวและการเปิดของปากมดลูกอาจเกิดขนึ้ พร้อม ๆ กนั ได้ จงึ ใช้เวลาเฉล่ียประมาณ 5 ชว่ั โมง แตโ่ ดยอนโุ ลมกใ็ หเ้ วลา 8 ช่ัวโมงเทา่ กนั 2) Active phase ช่วงปากมดลูกเปิดเร็ว นับตั้งแต่ปากมดลูกเปิด 3-4 เซนติเมตร จนถึงเปิดหมด ครรภ์ แรกปากมดลูกจะเปดิ ประมาณชว่ั โมงละ 1 เซนติเมตร ช่วงน้จี งึ ใช้เวลาประมาณ 7 ช่ัวโมง ส่วนครรภห์ ลงั ปากมดลูก จะเปิดประมาณชวั่ โมงละ 1.5 เซนติเมตร จงึ ใชเ้ วลาประมาณ 4-5 ช่วั โมง ถา้ นานกว่านีถ้ ือว่าผิดปกติ รวมท้ังระยะนี้ ส่วนนำของทารกจะมีการเคลื่อนต่ำลงมาตามช่องทางคลอด (Descent) และเมื่อปากมดลูกเปิดประมาณ 7-8 เซนติเมตร กจ็ ะมีการเคลือ่ นต่ำอยา่ งรวดเร็ว ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรับการดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 36 ระยะที่ 2 ของการคลอด (Second stage of labor) นับตั้งแต่ นบั จากปากมดลกู เปิดหมดจนถึงทารก คลอดออกมาทั้งตัว เป็นระยะทารกคลอด หรือระยะเบ่ง ซ่ึงครรภแ์ รกจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชวั่ โมง และในครรภ์ หลังจะใช้เวลาประมาณ 1/2 -1 ช่วั โมง ถา้ นานเกินกว่านี้ถือวา่ ผิดปกติ ในระยะน้มี ารดาจะรู้สึกอยากเบง่ มอี าการ เหมือนอยากถา่ ยอุจจาระ ในแตล่ ะคร้ังทมี่ ดลกู มกี ารหดรดั ตวั รว่ มกบั แรงเบ่งของมารดาอาจนานถึง 90 วินาที และ มรี ะยะพักไม่เกิน 1 นาที ระยะที่ 3 ของการคลอด (Third stage of labor) นบั จากทารกคลอดหมดตัวจนรกคลอดหมด เป็นระยะ รกคลอด ระยะน้ีไม่ว่าครรภไ์ หน ๆ ไมค่ วรนานเกนิ 30 นาที แตส่ ่วนใหญ่มกั จะลอกหมดและคลอดภายใน 5 – 10 นาทหี ลังจากที่ทารกคลอด ระยะที่ 4 ของการคลอด (Fourth stage of labor) ระยะ 2 ชัว่ โมงหลังคลอดใหม่ เนือ่ งจากเป็นระยะท่ีมี ความสำคัญ ต้องให้การดูแลใกล้ชิด เป็นระยะที่เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด (Early Postpartum Hemorrhage) กลไกการคลอดปกติ กลไกการคลอด คือ ลักษณะการเคลื่อนไหวของทารกเพื่อผลักดันตัวเองออกจากโพรงมดลูกผ่าน อุ้งเชิงกรานส่โู ลกภายนอก (มาลวี ลั เลิศสาครศิริ, 2558) มี 8 ขนั้ ตอน คอื 1. Engagement หมายถงึ การผ่านช่องทางเข้าของเชิงกราน คอื การทส่ี ว่ นทีก่ ว้างที่สุดของทารก (Biparietal Diameter) ผ่านช่องทางเชงิ ของเชงิ กราน (Pelvic inlet) 2. Flexion หมายถึง การก้มของศีรษะทารก คอื ส่วนศรี ษะของทารกจะงอมาขน้ึ เร่ือย ๆ จนคางชิดอก โดย เกิดขึ้นในขณะทีผ่ ่านลงมาในช่องทางคลอด การก้มของศีรษะทารกมีความสำคัญท่ีจะทำให้เกิดการคลอดปกติ เม่ือ สว่ นกวา้ งสุดของศรี ษะทารกเคล่ือนเข้าสู่อุง้ เชิงกรานไปชนกับ Ischial spine ก็จะเกดิ การหมุนหนสี ิ่งกดี ขวาง (LOA หมุนทวน / ROA หมุนตามเข็มนาฬิกา) เอารอยต่อแสกกลางของศีรษะมาอยู่แนวหน้า-หลังของมารดา ซึ่งเป็นช่อง ทางออกทก่ี วา้ งทีส่ ดุ (ทำให้ทา้ ยทอยบิดไปจากแนวลำตวั ของทารก) กจ็ ะทำใหเ้ คลอื่ นต่ำต่อไปได้ แต่เมอ่ื แม่หยุดเบ่ง ก็จะเหน็ วา่ ศีรษะเคล่ือนกลบั เขา้ ดา้ นในอีก 3. Descent หมายถึง ทารกเคลือ่ นต่ำลงไปในอุ้งเชิงกรานจุดยอดของส่วนนำทารกผา่ น Ischial spine ลง ไปหรอื ทเี่ รียกว่า Station + ซ่ึงขณะเคลื่อนต่ำจะมีแรงต้านทางเสยี ดสีของชอ่ งทางคลอด แรงเหยียดตวั ของทารก ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 37 และแรงบบี จากผนังช่องทางคลอดมาทำให้ศรี ษะทารกเกิดการกม้ จนคางจรดอก เอาเสน้ ผ่าศูนย์กลางทส่ี ้ันทสี่ ดุ ของ ศีรษะทารกนำออก ทารกก็จะเคลอ่ื นตำ่ ต่อไปได้ กลไกนี้จะเกดิ ร่วมกับกลไกอน่ื ๆ ทุกระยะของการคลอด 4. Internal Rotation of the Head หมายถึง การหมุนของศรีษะทารกภายในช่องเชิงกรานเพื่อให้มี ลักษณะเหมาะสมกับช่องทางคลอด เนื่องจากศีรษะทารกซึ่งเข้าสู่ช่องเชิงกราน ส่วนมากอยู่ในแนวขวาง หรือเฉียง แต่ช่องออกของเชิงกรานมีลักษณะเป็นรูปรีตามยาว เวลาทารกคลอดทารกต้องหมุนเอาท้ายทอยไปด้านหน้า เพอื่ ใหร้ อยตอ่ แสกกลาง (sagittal suture) อยู่ในแนวหน้า-หลังของช่องออก 5. Extension of the Head หมายถงึ การเงยของศีรษะทารกขณะผ่านพ้นช่องทางคลอดออกมาภายนอก ตามความโค้งของช่องทางคลอด ทารกจะใช้ใต้ท้ายทอยค้ำยันใต้รอยต่อกระดูกหัวเหน่าและเงยศีรษะออกสู่ ภายนอก ในช่วงนีผ้ ู้ทำคลอดตอ้ งดันศรี ษะทารกใหเ้ งยชา้ ๆ ทง้ั นเ้ี พือ่ ป้องกันการฉีกขาดของเยื่อกนั้ สมองซีกซ้าย-ขวา ซึง่ จะทำให้เลือดออกในสมองได้ 6. Restitution of the Head หมายถึง การหมุนกลบั ของศรี ษะทารกประมาณ 45 องศา เพ่อื ให้สัมพันธ์ กบั ไหล้ที่อยู่ในช่องทางคลอด เมอ่ื ศรี ษะทารกเคลอ่ื นพน้ สู่ภายนอกร่างกายมารดาแลว้ จะเปน็ อสิ ระขึ้นไม่มีส่งิ ทม่ี า บบี รดั ไวอ้ กี ก็จะหมุนคลายเกลยี วเพือ่ ให้ศรี ษะที่บิดอยู่กบั ลำตัวน้นั หมนุ กลบั มาอยู่ในแนวสมั พันธ์กบั ลำตวั ยังซงึ่ เฉยี ง อยูใ่ นอุ้งเชิงกราน (LOAหมุนตาม/ ROA หมุนทวนเขม็ นาฬิกา) 7. External Rotation of the Head หมายถึง ศรี ษะท่ีอยู่ภายนอกชอ่ งคลอดจะหมนุ ตามการหมนุ ของ ไหล่ จึงพบว่าทารกอยู่ในลักษณะตะแคงอยู่หนšาขาของมารดาข้างใดขา้ งหนึ่งแล้วแต่ทา่ ของทารก 9. Expulsion หมายถึง หมายถึง การคลอดของไหล่ ลำตัว สะโพก และขา ผ่านช่องทางคลอดสู่ภายนอก ทารกจะคลอดออกสูภ่ ายนอก ในลักษณะตะแคงขา้ ง ตัวงอทางดา้ นข้างเลก็ น้อย 3.2 แนวทางการดูแลรกั ษามารดาและทารกในระยะคลอด ในทางการแพทยแ์ ผนไทยสามารถดูแลมารดาในระยะท่หี น่ึงของการคลอด (กลุ่มงานวชิ าการเวชกรรมและ ผดงุ ครรภแ์ ผนไทย สถาบนั การแพทยแ์ ผนไทยกรมการแพทยแ์ ผนไทยและการแพทย์ทางเลอื ก กระทรวง สาธารณสุข, 2560) ดงั นี้ 3.2.1 การนวดบรรเทาอาการเจ็บปวด ในคัมภีร์ปฐมจินดากล่าวถึง ครรภ์ประสูติว่า จะเกิดลมเบ่งใน ขณะที่จะคลอด เรียกว่า “ลมกัมมัชชวาต” ในขณะรอคลอดจะพบว่าหญิงรอคลอด มีอารมณ์ในขณะรอคลอด ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรับการดแู ลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 38 หลากหลาย ทั้งตื่นเต้น ดีใจ วิตกกังวล ความไม่สบายทั้งร่างกาย การเจ็บท้องคลอด อ่อนเพลีย และมีอาการเจ็บ ครรภค์ ลอด ปัจจุบันสถานพยาบาลหลายแห่งได้ให้แพทย์แผนไทยได้เข้าไปมสี ่วนรว่ มในการดแู ลมารดาระยะคลอด เพื่อลดอาการเจ็บครรภค์ ลอด อาการปวดหลัง ปวดหน้าขา ด้วยการใชก้ ารนวดพื้นฐาน ตามสว่ นต่าง ๆ ของรา่ งกาย กรณมี ารดาทีม่ ีอาการเจ็บครรภค์ ลอด จะใช้ขัน้ ตอนการนวดดังนี้ การนวดมารดาในระยะคลอด วตั ถุประสงค์ของการนวด 1. เพ่ือบรรเทาอาการปวดจากการเจบ็ ครรภ์คลอด 2. เพอ่ื บรรเทาอาการไม่สขุ สบาย ความวิตกกงั วล และความเครยี ด ข้นั ตอนการนวด (หญงิ รอคลอดอยู่ในทา่ นอนหงาย) 1. นวดพน้ื ฐานขาทัง้ 2 ข้าง 2. นวดพ้นื ฐานหลังทงั้ 2 ขา้ ง 3. นวดพืน้ ฐานขาดา้ นนอกท้ัง 2 ข้าง 4. นวดพน้ื ฐานขาด้านในทั้ง 2 ข้าง กรณมี ารดาทมี่ ีอาการเจ็บครรภ์คลอด และไม่สามารถนอนหงายได้ (หญงิ รอคลอดอยใู่ นทา่ นอนตะแคง) จะใชข้ นั้ ตอนการนวด ดังน้ี 1. นวดพื้นฐานหลงั ทัง้ 2 ข้าง 2. นวดพ้ืนฐานขาด้านนอกทง้ั 2 ขา้ ง 3. นวดพื้นฐานขาด้านในท้ัง 2 ขา้ ง ข้อควรระวังในการนวด 1. นวดด้วยความนุ่มนวลและระมัดระวัง 2. การลงนำ้ หนกั หรือการแต่งรถมอื ไม่ควรกดหนักหรือแรงเกินไป 3.2.2 การดูแลด้านจิตใจ มารดาส่วนใหญ่มักมีความวิตกกังวลต่อการคลอด และมีความกลัว โดยเฉพาะ อย่างย่งิ กลัววา่ บุตรจะมสี ขุ ภาพร่างกายทไ่ี ม่ปกตสิ มบรู ณ์ หรือแข็งแรงหรือไม่ การคลอดจะเจ็บปวดทรมานมากน้อย เพียงใด มารดาจึงควรได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตน ในการรอคลอดและขณะคลอด รวมถึงขั้นตอนการคลอด ตั้งแต่การฝากครรภ์จนถึงการคลอด ซึ่งถ้าผู้คลอดมีความเข้าใจในเรื่องของการคลอด ก็จะช่วยให้การเจ็บครรภ์ ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรับการดแู ลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 39 คลอดและการคลอดดำเนินการไปได้อย่างสะดวก และได้รบั ความรว่ มมือจากผคู้ ลอดเป็นอยา่ งดี ดงั น้ันการดูแลเอา ใจใส่ การอยู่เป็นเพื่อนขณะรอคลอดหรือขณะคลอด ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย การให้กำลังใจ ให้ความสะดวกสบาย จึงเปน็ สิ่งจำเปน็ สำหรบั ผู้คลอด ซ่งึ เจา้ หน้าทใี่ นหอ้ งคลอดหรือห้องรอคลอด ตอ้ งสรา้ งความมน่ั ใจให้ผู้คลอด ให้รู้สึก ปลอดภัยในการคลอด รวมทั้งการดูแลในเรื่องของการนวดโดยแพทย์แผนไทย การนวดตามร่างกายด้วยความ นุ่มนวล เพื่อบรรเทาอาการปวด หรือความไม่สุขสบายของผู้คลอด การสัมผัสจะทำให้ผู้คลอดรู้สึกอบอุ่นใจได้ดี ยง่ิ ขน้ึ และสามารถลดความวติ กกงั วลได้อีกด้วย ในปจั จบุ ันในบางโรงพยาบาลอนุญาตใหส้ ามเี ข้าไปในห้องรอคลอด เพื่อดูแลและให้กำลังผู้คลอด (ธวัชชัย กมลธรรม, ปราโมทย์ เสถียรรัตน์, กันทิมา สิทธิธัญกิจ. (บรรณาธิการ), 2558) มารดาควรไดร้ บั คำแนะนำในการปฏบิ ัตติ นดงั น้ี 1. สง่ิ ที่จะพบในขณะรอคลอด ขณะคลอด เช่น การเจ็บครรภจ์ ริงเป็นอย่างไร ระยะการคลอด 2. สาเหตุของการเจ็บครรภ์ รวมถึงอาการไม่สุขสบายทีจ่ ะเกดิ ข้นึ 3. ความวิตกกังวลและความกลัว เช่น บอกถึงอุปกรณ์การคลอดและบุคลากรที่ต้องเจอในห้องคลอด ผล จากการคลอด เช่น ภาวะปกติของทารกแรกคลอด 4. สภาพเศรษฐกจิ เช่น ค่าใชจ้ ่ายในการคลอด 5. คำแนะนำในการปฏิบัติตนในระยะคลอด ผดุงครรภ์ไทยต้องอธิบายวิธีการหายใจและเบ่งอย่างถูกวิธี เพ่อื ใหก้ ารคลอดเปน็ ไปอยา่ งถกู ตอ้ งเหมาะสมและปลอดภยั ดังนี้ แนะนำให้มารดาหายใจ โดยการผ่อนลมหายใจ เนื่องจากการหดรัดตัวของมดลูกจะถ่ีขึ้น ทำให้ปวดท้อง มากยงิ่ ข้นึ แพทยแ์ ผนไทยสามารถชว่ ยนวดเบา ๆ บริเวณส่วนต่าง ๆ ของรา่ งกาย อยเู่ ป็นเพ่อื นคอยปลอบประโลม อาการที่บ่งบอกว่าใกล้คลอด เช่น การปวดท้องถีข่ ึ้น ความรู้สึกเหมือนอยากถา่ ยอจุ จาระ (ปวดเบ่ง) ถุงน้ำ คลำ่ แตก มมี กู เลือดท่ีปากมดลูก สอนวิธีการเบ่งคลอด เมื่อมดลูกหดตัวให้สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ ยาว ๆ และเบ่ง จนกว่ามดลูกจะคลายตัว เมือ่ มดลูกคลายตวั ใหเ้ ป่าลมออกจากปาก ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดแู ลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 40 ภาพท่ี 3.1 กลไกการคลอดในระยะท่ี 2 ของการคลอด (Second stage of labor) ท่มี า: F.Gary Cunningham et al., 2010 ตามที่กล่าวมาตอนต้น ปัจจุบันนี้การดูแลมารดาและทารกระยะคลอด จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดูแล ความปลอดภัยทั้งมารดาและทารก ดังนั้นจึงควรแนะนำให้มารดาในระยะตั้งครรภ์ มีความเข้าใจที่จะดูแลตัวเอง ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 41 สังเกตอาการ สิ่งผิดปกติต่าง ๆ และต้องมาฝากท้องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินอาการว่าผิดปกติหรือไม่ อย่างไร หากพบสิ่งผิดปกติที่อาจเป็นอันตราย เช่น ปวดท้องรุนแรง หน้าซีด ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว หรือมีเลือดออก ต้องไป โรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน หากแพทย์แผนไทยพบอาการดังกล่าวต้องส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อให้การรักษา อยา่ งถกู ตอ้ งรวดเรว็ ในรายวิชาผดุงครรภ์ไทยในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้เหมาะสมโดยเน้นความปลอดภัย ทั้ง มารดาและทารก ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นในระยะคลอดจึงแนะนำให้มารดาไปคลอดท่ี โรงพยาบาล สถานีอนามัย สถานบริการสาธารณสุขทั้งรัฐและเอกชน เนื่องจากสถานบริการดังกล่าวมีบุคลากร ทางการแพทย์ พร้อมเครื่องมือ อุปกรณ์ในการช่วยชีวิตครบ อีกทั้งยังสะอาด ปราศจากเชื้อ หากผดุงครรภ์ไทยที่ ปฏิบัติงานท่ี พยาบาล สถานีอนามัย สามารถช่วยทำคลอดในรายที่คลอดปกติได้ แต่หากพบอาการผิดปกติเกิดข้ึน แพทย์แผนไทยต้องสามารถให้การดูแลช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องตันและส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบันอย่างถูกต้อง และรวดเรว็ 3.3 เอกสารอา้ งองิ กลมุ่ งานวิชาการเวชกรรมและผดงุ ครรภแ์ ผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทยกรมการแพทยแ์ ผนไทยและการแพทย์ ทางเลอื ก กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มอื แนวทาง การดแู ลรกั ษาสุขภาพมารดาและทารกด้านการ ผดงุ ครรภ์ไทย (ฉบับทดลองใชใ้ นระบบบรกิ ารสขุ ภาพ). พิมพ์ครัง้ ที่ 1. กชนภิ า สทุ ธบิ ตุ ร, อรุณพร อิฐรตั น์, เพชรน้อย สงิ ห์ชา่ งชัย, (2562). กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนและตำรับยา สมุนไพรที่ใช้รกั ษา ซึ่งระบุในคมั ภีร์มหาโชตรัต. วารสารธรรมศาสตรเ์ วชสาร;19(1):46-60 ธวชั ชยั กมลธรรม, ปราโมทย์ เสถียรรัตน์, กนั ทมิ า สิทธธิ ญั กิจ. (บรรณาธิการ). (2558). ตำราการแพทย์แผนไทย สำหรับแพทย์. กลุ่มงานวชิ าการเวชกรรมและผดงุ ครรภ์แผนไทย สถาบันการแพทยแ์ ผนไทย กรมการ แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลอื ก กระทรวงสาธารณสขุ . พมิ พ์คร้ังท่ี 1: สำนกั งานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะหท์ หารผา่ นศึก. ธีระพร วุฒยวนชิ , ธรี ะ ทองสง และจตุพล ศรสี มบรู ณ์. (2535). ตำราสูติศาสตร์เล่ม 1,2. เชียงใหม่: หนว่ ย วารสารวชิ าการ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่. พรทิพย์ เทยี นทองด,ี กันทิมา สิทธิธญั กจิ . (บรรณาธิการ). (2560). ตำราภมู ิปญั ญาการผดงุ ครรภ์ไทย. กลุ่มงาน ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 42 วชิ าการเวชกรรมและผดุงครรภแ์ ผนไทย สถาบนั การแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสขุ . พมิ พ์ครั้งท่ี 1: จฑุ าเจรญิ ทรัพย.์ มาลวี ัล เลศิ สาครศิริ. (2558). การพยาบาลสตรีในระยะต้ังครรภแ์ ละระยะคลอด. กรุงเทพฯ: โครงการตำรา วทิ ยาลยั เซนตห์ ลยุ ส์. มูลนิธิฟนื้ ฟสู ง่ เสริมการแพทย์ไทยเดมิ ฯ และ โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกตค์ ณะ แพทยศาสตร์ศริ ิราชพยาบาล มหาวิทยาลยั มหิดล. (2555) ตำราการแพทยไ์ ทยเดิม (แพทยศาสตร์ สงเคราะห์ฉบบั อนุรักษ)์ เล่มท่ี 1. พิมพ์ครง้ั ที่ 3. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการ พมิ พ.์ F.Gary Cunningham, Kenneth J.Leveno, Steven L.Bloom, John C.Hauth, Dwight J.Rouse, Catherine Y.Spong. normal labour and delivery. In: F.Gary Cunningham, Kenneth J.Leveno, Steven L.Bloom, John C.Hauth, Dwight J.Rouse, Catherine Y.Spong, editors. Williams Obstetrics. 23 ed. Mc Graw Hill; 2010. p. 374-409. ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 43 บทท่ี 4 การดูแลมารดาและทารกหลงั คลอด การดูแลมารดาหลังคลอดในสมัยก่อนนั้น ผดุงครรภ์ไทยที่ทำคลอดยังไม่มีการเย็บแผล หรือการฉีดยาฆ่า เช้ือ ในศาสตร์การแพทย์แผนไทย จงึ เช่อื วา่ การดแู ลมารดาหลังคลอด จะทำให้มสี ขุ ภาพแข็งแรง ชว่ ยให้มดลูกเข้าอู่ ได้เร็ว ไม่มีปัญหาสุขภาพในอนาคตตามมา ดังนั้นศาสตร์การแพทย์แผนไทยจึงมีวิธีการต่าง ๆ ที่เรียกว่าการอยู่ไฟ ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในอดีตและมีความหมายครอบคลุมทุกกิจกรรมในการดูแลมารดาหลังคลอด รวมทั้งในปัจจุบันสถาน บริการสาธารณสุขของรัฐที่เปิดให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยหลายแห่ง และสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ก็สนับสนุนการบริการ ให้มีการดแู ลเกย่ี วกบั สุขภาพหลังคลอด นานประมาณ 3 เดอื น ซงึ่ มหี ลายวธิ ี ไดแ้ ก่ การใช้ยา สมุนไพร การอยูไ่ ฟ การอบไอนำ้ สมุนไพร การทบั หม้อเกลือ การรดั หนา้ ท้อง การอาบน้ำสมนุ ไพร การนาบอิฐ การ ประคบสมุนไพร การนั่งถ่าน การพอกผิวด้วยสมุนไพร การนวดหลังคลอด ซึ่งในแต่ละกิจกรรม จะมีข้อบ่งใช้ ประโยชน์และข้อควรระวงั เพอื่ ให้ปลอดภยั สำหรบั มารดาหลังคลอด สำหรับการดูแลทารกหลังคลอด ตามความเชื่อจะมีพิธีต่าง ๆ หลายประการ เพื่อให้เป็นสิริมงคลกับทารก ไม่ให้เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย ให้ทารกมีสุขภาพแข็งแรง เช่น การฝังรก การร่อนกระด้ง การขึ้นเปล เป็นต้น นอกจากนั้นยงั ให้การดแู ลเรื่อง อาหาร การนอน การดูแลสะดอื และวธิ กี ารปอ้ งกันและรักษาโรคแกท่ ารก 4.1 แนวทางการดูแลมารดาหลังคลอด มารดาระยะหลังคลอด จะมีการเปลี่ยนแปลงท้ังด้านรา่ งกายและจิตใจ ในการเตรียมพร้อมท่ีจะเล้ียงดูบุตร การพยาบาลทีส่ ำคัญในการดแู ลมารดาในระยะหลงั คลอดคอื การสอนและให้คำแนะนำเพ่อื ให้มารดาและครอบครัว สามารถปรบั ตัวไดด้ ี และสามารถเล้ยี งดบู ตุ รได้อยา่ งมีประสิทธภิ าพ ระยะหลังคลอด (The postpartum period or puerperium) หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่ทารก และรกคลอดครบจนถึง 6 สปั ดาห์หลงั คลอด โดยแบง่ ออกเป็น 2 ระยะ คอื 1. ระยะแรก (Immediate puerperium) เป็นระยะหลังคลอดใน 24 ชั่วโมงแรก มารดาหลัง คลอดตอ้ งไดร้ ับการดูแลอยา่ งใกลช้ ิดในเร่อื งการหดรดั ตวั ของมดลูก อาการปวดมดลกู เจ็บแผลฝีเย็บ ตำราการแพทยแ์ ผนไทยสำหรบั การดูแลมารดาและทารก

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 44 2. ระยะหลัง (Late puerperium) เป็นระยะหลังจาก 24 ชั่วโมงไปถึง 6 สัปดาห์ มารดาเริ่ม ปรับตัวได้ดีขึ้นอวัยวะต่างๆของร่างกายกลับคืนสู่สภาพปกติและต้องการสร้างความสัมพันธ์กับสมาชิกใหม่ ระยะน้ี มารดาควรได้รับคำแนะนำในเรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอดและการเลี้ยงดูบุตร (มาลีวัล เลิศสาครศิริ, 2558), (ธีระพร วุฒยวนิช, ธรี ะ ทองสง และจตุพล ศรีสมบูรณ์, 2535) ในระยะหลังคลอด จะมีน้ำเหลืองออกจากแผลรก ซึ่งโบราณเรียกว่า “น้ำคาวปลา” เพราะมีกลิ่นคาวจัด น้ำคาวปลาจะออกมาประมาณ 21 วัน บางคนออกนานถึง 1 เดือน ดังนั้นหลังคลอดหากน้ำคาวปลาผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์หรือแพทย์แผนไทย นอกจากนั้นในช่วงดงั กล่าวจะต้องดูแลสุขอนามัยช่องคลอดให้สะอาด ไม่ให้ น้ำคาวปลาหมกั หมม จนเกิดการติดเชื้อที่เรยี กว่า “สนั นิบาตหน้าเพลงิ ” ซ่ึงความหมายในพจนานุกรม หมายถึง ไข้ ประเภทหนึ่ง เกิดกับสตรีหลังคลอด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงมาก เพ้อคลั่ง ขบฟัน ตาเหลือก มือเท้าเย็น (กลุ่มงาน วิชาการเวชกรรมและผดุงครรภ์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลอื ก กระทรวงสาธารณสขุ , 2560) การอยู่ไฟเป็นการดูแลและส่งเสริมสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย เพื่อช่วยกระตุ้นการ ไหลเวียนของเลือดลมให้เป็นปกติหลังคลอดบุตร ช่วยขบั นำ้ ข้าวปลา ชว่ ยใหม้ ดลกู เขา้ อู่เรว็ ข้ึน และช่วยกระตุ้นการ สร้างน้ำนมให้มีเพียงพอต่อการเลี้ยงบุตร กรณีการคลอดปกติ การอยู่ไฟของหญิงหลังคลอดสามารถทำไดภ้ ายหลัง การคลอด 7 วันขึ้นไป ส่วนกรณีผ่าตัด สามารถทำการอยู่ไฟหลังคลอดได้ภายหลังการผ่าตัดอย่างน้อย 30-45 วัน หรือหลงั จากที่แผลผา่ ตดั หายเปน็ ปกตดิ ีแล้ว ตามหลักวชิ าการผดงุ ครรภ์ไทยได้กล่าวถึงวธิ ีการปฏบิ ตั ิตวั เพ่ือการดูแล สุขภาพของมารดาหลังคลอดดังนี้ 4.1.1 การใช้ยาสมนุ ไพรสำหรบั มารดาหลงั คลอด ยาที่ใช้ในระยะหลังคลอดในสมัยโบราณมีหลายประเภท ได้แก่ ยาดองเหล้า ยาดองแทนการอยู่ไฟ หรือยาดองอยู่ไฟ ยาขับน้ำคาวปลาเป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นยารสร้อน ยาร้อนจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่น น้ำนมไหลดี ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย เพราะการคลอดเสียเลือดมากธาตทุ ั้งสี่เกิดความไม่สมดุลส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ เมือ่ อากาศเยน็ หรอื มีลมฝนจะมีอาการหนาวสะท้าน จงึ ต้องกนิ ยาท่ีมีรสร้อนและอยู่ในท่รี ้อนคืออยไู่ ฟเพือ่ ให้ร่างกาย อบอุ่นเกดิ ความแขง็ แรงพอที่จะต่อส้กู ับสิง่ รบกวนทัง้ ภายในและภายนอกได้ ตวั อยา่ งยาทใี่ ช้ในระยะหลงั คลอด และ ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรับการดแู ลมารดาและทารก


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook