Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ปริญ วีระนนท์และคณะ

ปริญ วีระนนท์และคณะ

Published by วิทย บริการ, 2022-08-15 02:02:40

Description: ปริญ วีระนนท์และคณะ

Search

Read the Text Version

เครื่องกลน่ั นำ้ มันหอมระเหยขนาดเลก็มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง Development of a Portable Essential Oil Distillation Unit นายปรญิ วีระนนท์ นายไพศาล ชมภู นายจัดพล แฉล้มนงนชุ นางสาวจริ าภรณ์ เลย่ี นเตย๊ี ะ โครงงานวจิ ัยฉบับนีเ้ ป็นส่วนของการศกึ ษาค้นคว้าตามหลักสตู ร วทิ ยาศาสตร์บัณฑติ สาขาวชิ าเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต คณะเทคโนโลยอี ุตสาหกรรม มหาวทิ ยาลัยราชภัฏหมบู่ ้านจอมบึง พ.ศ. 2564

เครอื่ งสกดั น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรขนาดเล็ก Development of a Portable Essential Oil Distillation Unit มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงนายปริญวีระนนท์ นายไพศาล ชมภู นายจัดพล แฉล้มนงนชุ นางสาวจิราภรณ์ เลี่ยนเตี๊ยะ โครงงานวจิ ยั ฉบบั น้เี ป็นส่วนของการศึกษาค้นคว้าตามหลักสตู ร วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลยั ราชภฏั หม่บู ้านจอมบึง พ.ศ. 2564

ก ชอื่ เรือ่ ง เคร่อื งกล่ันน้ำมนั หอมระเหยขนาดเล็ก ผวู้ ิจัย ปรญิ วีระนนท์ ไพรศาล ชมภู สาขาวิชา จดั พล แฉลม้ นงนุช อาจารยท์ ่ปี รึกษา จริ าภรณ์ เล่ยี นเตยี๊ ะ ปกี ารศกึ ษา เทคโนโลยีอตุ สาหกรรมการผลิต ผู้ช่วยศาสตราจารยว์ ีระยุทธ สรุ ิคำ อาจารย์ ดร.โชติ อินทวงศ์ 2564 มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ทำการออกแบบและสร้างเครื่องกลัน่ น้ำมันหอมระเหยขนาดเล็ก โดยพัฒนามา จากเคร่อื งกลน่ั นำ้ มันหอมระเหยขนาดใหญ่ซึ่งเป็นเคร่ืองต้นแบบของแบรนด์พสธุ ารา ซึ่งเป็นภาคีหลัก ของเกษตรกรอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำมันหอมระเหย สำหรับ การออกแบบเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดเล็ก มีดังนี้ 1) หม้อต้มมีลักษณะเป็นถังทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 เซนติเมตร สูง 43 เซนติเมตร ความหนา 2 มิลลิเมตร 2) ฝาหม้อต้มมี ลักษณะเป็นทรงกรวยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 24 เซนติเมตร สูง 21 เซนติเมตร 3) ระบบไหลเวียน น้ำหล่อเย็นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 เซนติเมตร สูง 35 เซนติเมตร ความหนา 2 มิลลิเมตร ใช้คอมเพลสเซอรใ์ นการทำความเยน็ และใช้เตาแก๊สในการให้ความรอ้ น ผลการทดลองเปรียบเทียบระหว่างเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ของบริษัทพสุธาราที่สามารถบรรจุพืชสมุนไพรจากใบตะไคร้ที่ใช้ในการทดลองจำนวน 6 และ 7 กิโลกรัม ตามลำดับ สามารถกลั่นน้ำมันหอมละเหยได้ 13.22 และ 18.2 มิลลิลิตร หรือคิดเป็น 0.22 และ 0.26 เปอร์เซน็ ต์ และมีประสิทธภิ าพในการผลิตอยทู่ ่ี 84.6 เปอร์เซน็ ต์ จากการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดเล็ก พบว่า มีต้นทุนใน การผลติ อยู่ท่ี 35,406 บาท และมีระยะเวลาในการคนื ทุนอยู่ที่ 22 วัน (1 วนั กล่ันนำ้ มันหอมระเหย 3 ชั่วโมง) จากการจำหน่ายทั้งน้ำมันหอมระเหยและน้ำกลั่นจากตะไคร้ อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนใน การผลติ ได้ถึง 55.74 % เมอ่ื เปรียบเทียบกบั ราคาทอ้ งตลาดท่ี 80,000 บาท

ข Research Title Development of a Portable Essential Oil Researcher Distillation Unit Parin Weeranon Department Chatphon Chnaemnongnut Advisors Paisan Chompoo Academic year Jiraporn Liantia Manufacturing Technology Assistant Professor Werayut Surikam Dr.Choat Inthawongse 2564 มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง ABSTARCT This research design and build a household size essential oil distiller. It adopted from the Pasutara brand's essential oil distiller as a prototype. The scope of this smaller-size essential oil distiller is as follows: 1) The boiler is a cylindrical tank, diameter 32 centimeters, height 43 centimeters, thickness 2 millimeters. 2) The lid of the boiler is conical, diameter 24 centimeters, height 21 centimeter. 3) The cooling water circulation system has a diameter of 25 centimeters, a height of 35 centimeters, a thickness of 2 millimeters. The system uses a compressor for cooling and a traditional gas stove for heating. To test the household size essential oil distiller: using lemongrass herbs (only the leaf part) of 6 kg, yielded 13.2 ml of distilled lemongrass essential oil, or 0.22 percent, compared to the Pasutara's prototype which was able to contain 30 kg, using plants 7 kg of lemongrass herbs yielded 18.2 ml of lemongrass herbs essential oil, or 0.26 percent. Although, the distilled lemongrass essential oil content obtained from a small essential oil distiller and a large essential oil distiller was slightly different. From the analysis of the break-even point of the small essential oil distiller after deducting the costs involved in the production of 117.36 baht per day, the essential oil needs to be distilled for 22 days to pay back the investment. Cost reduction by 55.74%.

ค กติ ติกรรมประกาศ โครงการวิจัยเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดเล็ก สามารถดำเนินการจนกระทั้งสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้เพราะได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างมากจากอาจารย์ที่ปรึกษาและ อาจารย์ทุก ๆ ท่านที่มีความเกี่ยวข้อง โดยได้รับความช่วยเหลือในการให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ สำหรับ การแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการ รวมถึงความอนุเคราะห์ในการ อนญุ าตใหใ้ ชเ้ ครอื่ งมือและเครื่องจักร ขอขอบคุณ คุณดารุณี วัฒน์นครบัญชา ที่ได้กรุณาให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณ ในการจัดทำโครงงานเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย รวมถึงการให้ความรู้ คำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับ เคร่อื งกล่นั น้ำมนั หอมระเหยและการกลนั่ น้ำมันหอมระเหย ขอขอบคุณ คุณเสกสรรค์ สุนทราวนั ต์ หวั หน้าฝา่ ยผลติ บริษัทบ้านโป่งเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และ พี่ ๆ ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ให้ความอนุเคราะห์ในการให้ความรู้ ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะ ในการสร้างเครือ่ งกลนั่ น้ำมันหอมระเหยขนาดเล็ก จนโครงงานสำเรจ็ ลุลว่ งได้ตามวัตถปุ ระสงค์ สุดท้ายนขี้ อขอบพระคุณพ่อ คณุ แม่ พ่ีสาว และสมาชกิ คณะผู้จัดทำรวมถงึ เพ่ือน ๆ ที่ให้ความ ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ และรว่ มกันดำเนนิ งานจนสามารถผ่านพ้นปัญหาตา่ ง ๆ ในการทำงาน รวมทั้ง การให้ขอ้ เสนอแนะหรอื คำแนะนำที่มปี ระโยชน์ จนทำใหโ้ ครงการวจิ ยั นี้เสร็จสมบูรณ์ คณะผวู้ ิจัย มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

สารบญั ง เรอ่ื ง หน้า บทคัดย่อภาษาไทย ก บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ข กติ ตกิ รรมประกาศ ค สารบัญ ง สารบัญภาพ ช สารบัญตาราง ซ มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง บทที่ 1 บทนำ 1 ความเปน็ มาและความสำคญั ของปญั หา 1 วตั ถปุ ระสงค์ของงานวจิ ัย 3 ขอบเขตงานวิจยั 3 ประโยชน์ท่คี าดว่าจะได้รบั 3 4 2 ทฤษฎแี ละผลงานวจิ ยั ที่เกี่ยวขอ้ ง 4 นำ้ มนั หอมระเหย 7 การกลน่ั น้ำมันหอมระเหย 12 การกลน่ั นำ้ มนั หอมระเหยจากสว่ นต่าง ๆ ของพืช 14 การใชน้ ำ้ มนั หอมระเหย 16 ทฤษฎีท่ีใชใ้ นการออกแบบเครือ่ ง 21 การคำนวณจุดค้มุ ทนุ ในเชิงเศรษฐศาสตร์ 26 ผลงานวจิ ัยท่เี กีย่ วขอ้ ง 33 33 3 วธิ กี ารดำเนนิ วิจยั 35 การออกแบบเคร่ืองกล่ันน้ำมันหอมระเหยขนาดเลก็ 36 ขน้ั ตอนการดำเนินงาน 41 ข้ันตอนการสร้างเครื่องกลัน่ น้ำมันหอมระเหยขนาดเล็ก 42 รายละเอยี ดอุปกรณ์ 43 รายละเอียดค่าใช้จา่ ย 43 43 4 ผลการทดลอง ผูท้ ำการทดลอง สถานทท่ี ดลอง

จ สารบญั (ตอ่ ) เรือ่ ง หน้า อปุ กรณ์ท่ใี ชท้ ดลอง 43 การศกึ ษาออกแบบพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของเครอื่ งกลน่ั ฯขนาดเล็ก 44 การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตรข์ องเครื่องกล่นั ฯขนาดเล็ก 47 ต้นทุนในการสรา้ งเครอื่ งกล่นั มีราคาถูกลงไมน่ ้อยกวา่ 50% เม่อื เทยี บกบั ตามท้องตลาด 49 5 สรปุ ผลการทดลอง 50 สรปุ ผลการทดลอง 50 อภปิ รายผล 51 ขอ้ เสนอแนะ 52 บรรณานกุ รม 53 ภาคผนวก 57 ภาคผนวก ก แบบเคร่ืองกลัน่ นำ้ มันหอมระเหยขนาดเล็ก 58 ภาคผนวก ข ขอขอบคณุ ความอนุเคราะหส์ นบั สนนุ งบประมาณจัดทำโครงงาน 72 ภาคผนวก ค ประวัติผู้วจิ ยั 73 มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

สารบัญภาพมหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงช ภาพท่ี หน้า 6 ภาพท่ี 2.1 สูตรโครงสร้างของสารกลมุ่ essential oils 8 ภาพที่ 2.2 การกล่นั โดยใชไ้ อน้ำ 9 ภาพที่ 2.3 การกล่นั โดยใชน้ ้ำและไอน้ำ 19 ภาพที่ 2.4 หมอ้ ตม้ 19 ภาพท่ี 2.5 ฝาหม้อต้ม 20 ภาพที่ 2.6 ระบบควบแนน่ 22 ภาพท่ี 2.7 แผนภูมิการวิเคราะห์จุดค้มุ ทุน 34 ภาพท่ี 3.1 เครื่องกลน่ั นำ้ มนั หอมระเหยขนาดเล็ก 35 ภาพท่ี 3.2 แผนผังการดำเนนิ งาน 36 ภาพที่ 3.3 การสร้างหมอ้ ตม้ 37 ภาพที่ 3.4 การสร้างตะแกรงบรรจุ 37 ภาพที่ 3.5 การสรา้ งฝาหมอ้ ตม้ 38 ภาพที่ 3.6 Safety valve 3.5 bar ½” 38 ภาพท่ี 3.7 Pressure gauge 5 kg/cm2 39 ภาพท่ี 3.8 Temperature Gauge 39 ภาพที่ 3.9 การสรา้ งฐานหม้อควบแน่น 40 ภาพที่ 3.10 คอมเพลสเซอร์ต้เู ยน็ 40 ภาพที่ 3.11 แผงความรอ้ นตู้เยน็ 40 ภาพท่ี 3.12 ท่อทองแดง 41 ภาพที่ 3.13 การสร้างท่อส่งไอนำ้

ซ สารบญั ตาราง ตารางที่ หน้า ตารางท่ี 2.1 สว่ นตา่ งๆ ของพืชท่ีนำมาสกัดนำ้ มนั หอมระเหย 12 ตารางที่ 2.2 คณุ สมบตั ิต่างๆ น้ำมันหอมระเหยของพืชแต่ละชนดิ 12 ตารางที่ 3.1 การออกแบบเคร่ืองกล่นั นำ้ มันหอมระเหยขนาดเล็ก 34 ตารางที่ 3.2 รายละเอียดคา่ ใชจ้ ่ายในการสร้างเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดเล็ก 42 ตารางที่ 4.1 การทดลองเครื่องกล่ันนำ้ มนั หอมระเหย คร้ังท่ี 1 44 ตารางท่ี 4.2 การทดลองเคร่ืองกลนั่ น้ำมนั หอมระเหยขนาดเล็ก ครั้งท่ี 2 44 ตารางที่ 4.3 การทดลองเครื่องกลนั่ น้ำมนั หอมระเหยขนาดเล็ก ครั้งท่ี 3 45 ตารางที่ 4.4 หาปริมาณน้ำมนั หอมระเหยของเครื่องกลน่ั น้ำมันหอมระเหยขนาดเล็ก 45 ตารางที่ 4.5 การทดสอบหาปรมิ าณน้ำมันฯเปรยี บเทียบขนาดเลก็ กับขนาดใหญ่ 46 ตารางท่ี 4.6 ค่าใช้จ่ายในการสร้างเครอ่ื งกลัน่ นำ้ มันหอมระเหยขนาดเล็ก 46 ตารางที่ 4.7 ตน้ ทนุ และราคาจำหน่ายนำ้ มันหอมระเหยจากตะไครแ้ ละน้ำกล่นั จากตะไคร้ 47 ตารางท่ี 5.1 ผลสรุปการทดลองเคร่ืองกลน่ั นำ้ มนั หอมระเหยขนาดเลก็ 50 มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง บทท่ี 1 บทนำ ความเปน็ มาและความสำคญั ของปัญหา ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ร้อนชื้นมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ท่ีเอื้ออำนวยต่อ การเจริญเติบโตของพืชนานาชนิด รวมถึงพืชสมุนไทยจึงเห็นได้ว่าประเทศไทยประกอบอาชีพ เกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ที่สามารถสร้างรายได้จนพืชเหล่านั้นกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ พืชจึงเป็นปัจจัย สำคัญที่หล่อเลี้ยงคนไทยมายาวนานตั้งแต่อดีตจนถงึ ปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่ปลูกแค่เพยี งบริโภคเท่านั่นแต่มี พืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้โดยมิใช่ส่งออกแต่เพียงแบบสดๆ แต่เป็นการใช้เทคนิคการเกษตร และแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ลดความเสี่ยงจากการแข่งขันในตลาดสินค้าเกษตรโภค ภัณฑ์และยกระดับรายได้ของเกษตรกรไทย ทำให้ในปี 2559 ในช่วง 10 เดือนแรกมูลค่าการส่งออก เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว มีมูลค่า 2,036.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.6 สมุนไพร มีมูลค่าส่งออก 510.4 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.8 และสารสกัดสมุนไพร มีมูลค่า 7.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.2 ขณะที่การนำเข้าเครื่องสำอาง มีมูลค่า 863.0 ล้านเหรียญ สหรัฐ เพิ่มขึน้ รอ้ ยละ 13.6 และสารหอมระเหยสกัดจากพชื มมี ลู ค่า 484.6 ลา้ นเหรียญสหรฐั เพิ่มข้ึน ร้อยละ 9.0 เทียบกับช่วงเดียวกนั ของปี 2558 จะเหน็ ไดว้ า่ ความหลากหลายของพชื สมุนไพรท่มี ีอยู่ใน ประเทศไทย ทำให้ได้รับความสนใจจากทั่วโลกด้วยสมุนไพรที่มีความต้องการในภาคอุตสาหกรรม น้ำหอม ยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและเครื่องสำอาง การผลิตน้ำมันหอมระเหยจากสมนุ ไพร ไทยมีโรงงานผลิตน้ำมันหอมระเหยที่จดทะเบียนไว้กับกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอยู่ราว 51 แห่ง ที่ ผลิตน้ำมันหอมระเหยท่ีเป็นสารสกัดจากสมนุ ไพร ที่มีมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจตัง้ แต่ฐานรากจนถึงระดับ โลกได้ สามารถใช้เป็นแผนพัฒนาและผลักดันเศรษฐกิจสมนุ ไพรของประเทศไทยให้เป็นพืชเศรษฐกิจ ตวั ใหมข่ ับเคลอื น Thailand 4.0 เพือ่ เพ่ิมโอกาสและกระจายรายไดใ้ ห้กับประชาชนมากขนึ้ กระบวนการผลิตน้ำมันหอมระเหยนั้นจำเป็นตอ้ งใช้วัตถุดิบมากแต่ยังให้ผลผลติ ค่อนข้าง ต่ำทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพ มากเพิ่มและทราบถึงปัญหาอันตรายของสารเคมีที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคใหม่ ๆ ขึ้นมากอาทิเช่น โรคเกี่ยวกับผิวหนงั โคโรน่าไวรัส (โควิด19) ที่ทั่วโลกประสบณ์อยู่ตอนนี้ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นที่ได้รับผลตอบรับได้ดีจากผู้บรโิ ภค เช่น ยารักษาโรค ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เครื่องสำอาง ยาฆ่า แมลงจากสมุนไพร ซ่ึงการกลั่นน้ำมันหอมระเหยส่วนมากนิยมกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ เป็นวิธีที่นิยมใช้ กนั อย่างแพร่หลาย เพราะเป็นวิธที ่ีประหยัดและสามารถใช้แยกน้ำมันหอมระเหยได้เกือบทุกชนิดและ สามารถใช้สกัดกลิ่นจากสว่ นต่าง ๆ ของพชื ได้ไมว่ ่าจะเป็น ราก ลำตน้ ใบ ดอก และผล ส่วนประกอบ ของเครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหยนั้นจะประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลักๆ คือ 1.ชุดหม้อต้มน้ำ 2.ท่อ ทางเดินไอระเหย 3.ชุดควบแน่น และ 4.ระบบไหลเวียนน้ำหล่อเย็น ข้อดีของวิธีนี้คือ การสกัดและ อุปกรณ์ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนกั สามารถใช้ได้กับพืชแทบทุกชนิด ซึ่งณัฐเศรษฐ์ น้ำคำ, (2561) ได้นำ

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 2 ตะไคร้หอมมาทดลองกลั่นด้วยเครื่องกลั่นน้ำมันสมุนไพรขนาดเล็กสำหรับชุมชน ใช้ตะไคร้จำนวน 4,000 กรัม ได้ปริมาณน้ำมันหอมระเหย 15.58 มิลลิลิตร คิดเป็นร้อยละเท่า 0.389 แต่ยังไม่พบชุด ควบคุมการทำงานของเครื่องและชุดแยกน้ำมันหอมระเหยออกจากน้ำ โดยโพธิ์ทอง ประณีตพลกรัง, (2561) ไดน้ ำตระไคร้ กระวานและมะกรูดมาทดลองดว้ ยเครื่องกล่ันน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร โดยใชพ้ ลังงานชีวมวลสำหรับชุมชนพบว่าใช้พืชสมุนไพรอยา่ งละ 5 กิโลกรัม ไดน้ ำ้ มันหอมระเหยจาก ตะไครป้ ริมาณ 24.01 มิลลลิ ติ ร กระวาน 18.12 มิลลลิ ิตร และมะกรดู ทั้งลูก 60 กโิ ลกรัม ได้ 185.36 มิลลิลิตร แต่ยังไม่พบการไหลเวียนของน้ำในถังควบแน่นให้มีอุณหภูมิที่คงที่หลังจากใช้งานหลาย ชั่วโมง ซึ่งปัญหาของงานทั้งสองจะเห็นได้ว่ามีงานที่ยังไม่พบชุดควบคุมการทำงานของเครื่องและชุด แยกนำ้ มนั หอมระเหยออกจากน้ำรวมถงึ การควบคุมอุณหภูมใิ ห้คงทขี่ องน้ำในถงั ควบแน่น ปัจจุบนั อตุ สาหกรรมน้ำมันหอมระเหยโดยท่ัวไปน้ันมักใชเ้ คร่ืองกลนั่ น้ำมันหอมระเหยที่มี ขนาดใหญ่ ต้องใช้พื้นท่ีเป็นจำนวนมากสำหรับการติดตั้งเครือ่ งจกั ร และเครื่องจักรมีราคาที่แพง ซึ่งมี ราคาอยู่ระหว่าง 50,000-325,000 บาท (N&B Organizer, 2561) จึงส่งผลให้การผลิตน้ำมันหอม ระเหยได้เฉพาะในกลุ่มที่มีเงินทุนสูง ส่วนกลุ่มครัวเรือนหรือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อม (Small and medium Enterprise: SMEs) มีอยไู่ มม่ ากนกั ส่งผลให้ผลิตไดใ้ นปริมาณจำกดั เน่อื งจาก ขาดเงินทุนในการซื้อเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย ที่ผ่านมากลุ่มเกษตรกรในชุมชน อำเภอสวนผ้ึง จังหวัดราชบุรีซ่ึงมีภาคีหลกั บริษัทพสุธาราจำกัดเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมอีกหนึ่งกลุ่มท่ีคิดค้นผลิตภัณฑ์ เกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรเพื่อส่งต่อคุณค่าจากธรรมชาติไปสู่ผู้บริโภค อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ที่ใช้น้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนผสมหลักในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ พบปัญหา เกี่ยวกับเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตมีขนาดใหญ่ เครื่องจักรมีราคาแพง รวมถึงไม่มีเกจวัดแรงดัน การผลิตน้ำมันหอมระเหยมีการใช้น้ำมาก เนื่องจากไม่มีระบบไหลเวียนน้ำหล่อเย็นทำให้เกิดการ สิ้นเปลืองเพราะต้องเปิดน้ำไว้ตลอดเวลาเพื่อระบายความร้อน ส่งผลทำให้เกิดเป็นไอน้ำในการกล่ัน น้ำมันหอมระเหยแต่ละครั้ง และยังขาดชุดแยกสารขณะทำการสกัดออกมาแล้วทำใหต้ ้องเสียเวลาใน การแยกสารอกี ครง้ั จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการพัฒนาเครื่องกลั่นน้ำมันหอม ระเหยขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพมากย่ิงข้ึน เพือ่ แกป้ ัญหาในเร่ืองของการใช้น้ำให้น้อยลง โดยมีระบบ ไหลเวียนน้ำหล่อเย็น มีเกจวัดแรงดันสำหรับวัดความร้อนเพื่อความปลอดภัย มีชุดแยกสารเพื่อลด ระยะเวลากระบวนการผลิต รวมถงึ ต้นทนุ ในการสร้างเคร่ืองกลัน่ นำ้ มันหอมระเหยมรี าคาไม่สงู มากนัก เพอ่ื ใหเ้ หมาะกับครัวเรอื น ทีส่ ามารถใช้งานได้ง่ายและมีต้นทนุ ทตี่ ่ำ

3 วตั ถปุ ระสงค์ 1. เพ่ือศึกษาการออกแบบและการสรา้ งเครอื่ งกลน่ั น้ำมันหอมระเหยขนาดเล็ก 2. เพ่อื หาประสิทธิภาพของเครอื่ งกล่นั น้ำมนั หอมระเหยขนาดเลก็ 3. เพือ่ วเิ คราะหห์ าจุดคุ้มทุนการผลิตของเคร่อื งกลน่ั นำ้ มนั หอมระเหยขนาดเล็ก 4. เพื่อลดต้นทุนการสร้างเครื่องให้มีราคาถูกลงไม่น้อยกว่า 50% เมื่อเทียบกับราคา ทอ้ งตลาด ขอบเขตงานวิจยั 1. เคร่อื งกลน่ั ด้วยไอนำ้ สามารถกลัน่ นำ้ มนั หอมระเหยจากตะไคร้ (เฉพาะสว่ นใบ) 2. ใช้แกส๊ หงุ ตม้ (LPG) เป็นเชอื้ เพลงิ ในการให้ความร้อน 3. เครื่องกลั่นมีขนาดหม้อต้มเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร โดยบรรจุ วัตถุดิบได้ประมาณ 5-10 กโิ ลกรมั หรือบรรจุได้ 25 ลิตร สามารถแยกสารระหว่างน้ำมันหอมระเหย กบั นำ้ 4. เครอื่ งสามารถวัดอณุ หภมู ิ วดั แรงดนั ภายในถงั ได้ 5. ระบบหม้อควบแน่นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร สามารถ ระบายความรอ้ นโดยใช้คอมเพลสเซอร์จากตเู้ ยน็ ประโยชนท์ ีค่ าดว่าจะไดร้ ับ 1. ได้เครื่องกล่ันนำ้ มันหอมระเหยขนาดเลก็ ทม่ี ีความเหมาะสมกับครวั เรอื น 2. ทราบประสทิ ธิภาพของเครื่องกลนั่ น้ำมนั หอมระเหยขนาดเลก็ 3. ทราบการวิเคราะหห์ าจุดคุ้มทุนทางดา้ นเศรษฐศาสตร์ 4. สามารถลดตน้ ทุนการสร้างเครือ่ งกล่ันให้มรี าคาท่ีถกู กว่าท้องตลาดได้ไม่น้อยกว่า50 % มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง บทท่ี 2 เอกสารและงานวจิ ยั ทเ่ี ก่ยี วข้อง กระบวนการสร้างเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดเล็กผู้วิจัยได้เริ่มดำเนินงานจาก การศึกษาค้นคว้าทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงาน ให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์ มีรายละเอียดประกอบไปด้วยน้ำมันหอมระเหย วิธีการกระบวนการที่เกี่ยวข้องกบั การสกัดน้ำมันหอมระเหย วัสดุ อุปกรณ์เครือ่ งมือ ตลอดจนงานวจิ ัยท่ีเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับงานวิจัย มี รายละเอยี ดสามารถอธบิ ายไดด้ งั น้ี 1. นำ้ มันหอมระเหย 2. การกลน่ั น้ำมนั หอมระเหย 3. การกลนั่ น้ำมันหอมระเหยจากสว่ นต่าง ๆ ของพืช 4. รปู แบบการใชน้ ำ้ มนั หอมระเหย 5. ทฤษฎีทใี่ ชใ้ นการออกแบบเคร่ือง 6. การคำนวณจดุ คมุ้ ทนุ ในเชงิ เศรษฐศาสตร์ 7. ผลงานวจิ ัยท่เี กีย่ วขอ้ ง 1. น้ำมนั หอมระเหย (Essential oil) น้ำมันหอมระเหยเป็นสารอินทรีย์ที่พืชผลิตขึ้นตามธรรมชาติเก็บไว้ตามส่วนต่าง ๆ เช่น กลีบดอก ผวิ ของผล เกสร ราก เปลอื กของลำตน้ หรือยางทีอ่ อกมาจากเปลอื ก มีองค์ประกอบทางเคมี ที่สลับซับซ้อนและแตกต่างกันกันออกไปแต่ละชนิด น้ำมันหอมระเหยมีลักษณะเป็นของเหลวไม่ เหนียวเหนอะหนะเหมือนน้ำมันพืช มีคุณสมบัติระเหยได้ง่ายที่อุณหภูมิที่ปกติ แต่เมื่อน้ำมันหอม ระเหยได้รับความร้อนจะระเหยได้เร็วมากขึ้น เวลาที่ได้รับความร้อนอนุภาคเล็ก ๆ ของน้ำมันหอม ระเหยจะระเหยออกมาเป็นไอทำให้เราได้กลิ่นหอมอ่อนๆ กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยมีลักษณะท่ี แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในพืชแต่ละชนิด (ประณีต พลกรัง ,2561) ซึ่งImael Henri Nestor Bassole, H. Rodolfo Juliani, (2012) ทำการศึกษาน้ำมัน หอมระเหยผสมและคุณสมบัติต้านจุลชีพ ได้กล่าวเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยไว้ว่า น้ำมันหอมระเหย (EO) 3,000 ชนดิ เป็นท่ีร้จู กั อยา่ งแพรห่ ลาย ซง่ึ ประมาณ 300 ชนดิ มคี วามสำคญั ในเชงิ พาณชิ ย์และถูก ใช้โดยอุตสาหกรรมเครื่องหอมและกลิ่น น้ำมันหอมระเหยหรือน้ำมันหอมระเหยจากพืช เป็นสาร ระเหยและมกี ล่ินหอมท่ีมีน้ำทม่ี ักเกดิ จากพืช พวกเขาสามารถเป็นของเหลวได้ทอี่ ุณหภูมหิ ้องแม้ว่าเป็น ของแข็งหรือเป็นยาง และแสดงสีต่างๆ ตั้งแต่สีเหลืองซีดไปจนถึงสีเขียวมรกตและจากสีน้ำเงินเป็นสี แดงอมน้ำตาลเขม้ พวกมนั ถกู สงั เคราะห์โดยส่วนต่าง ๆ ของพชื ทัง้ หมด เช่น ดอกตมู ดอกไม้ ใบไม้ ลำ ต้น กิ่ง เมล็ด ผล ราก ไม้หรือเปลือกไม้ และเก็บไว้ในเซลล์คัดหลั่งเซลล์ผิวหนังชั้นนอกหรือต่อมไทร โคมสามารถใช้เทคนิคตา่ งๆ ในการดึงน้ำมันหอมระเหยออกจากส่วนต่างๆ รวมทั้งการกลั่นน้ำหรือไอ

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 5 น้ำ การสกัดด้วยตัวทำละลาย คำว่า “น้ำมันหอมระเหย” ถูกใช้เป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 16 โดย Paracelsus von การวเิ คราะห์องคป์ ระกอบและการออกฤทธท์ิ างชวี ภาพของน้ำมนั หอมระเหยจงึ ได้รับการ ดำเนินการอย่างกว้างขวางและเขม้ ข้น ในช่วงไม่กีป่ ที ีผ่ ่านมาสุขภาพของมนุษย์ ยาเคมีและสารกันบดู ถือเป็นสาเหตุของการก่อมะเร็งและโรคร้ายต่าง ๆ รวมทั้งการเป็นพิษที่ตกค้าง ผู้บริโภคจึงต้องการ สารจากธรรมชาติและเป็นที่ยอมรับจากสังคมมากขึ้น จึงแสดงให้เห็นชัดเจนว่าน้ำมันหอมระเหยมี ศักยภาพสงู สำหรับกระบวนการทางการแพทย์และสำหรับอตุ สาหกรรมอาหาร เครื่องสำอางและยา 1.1 ประเภทของน้ำมนั หอมระเหย องคป์ ระกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยมีอยู่มากมายหลายชนิด สามารถแยกเป็นกลุ่ม ของสารได้เปน็ 7 กลุ่ม ซึง่ ในแต่ละกลุ่มจะออกฤทธ์ิในการบำบัดที่แตกตา่ งกนั ดังน้ี 1. กลุ่มแอลกอฮอล์ (alcohols) สารในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติ ฆ่าเชื้อโรค ต้านเชื้อไวรัส ยกระดับจิตใจ ได้แก่ ลินาลูล (linalool), ซิโตรเนลลอล (citronellol) พบในน้ำมันตะไคร้หอมและ น้ำมันดอกกุหลาบ, เจอรานิออล (geraniol) พบในน้ำมันดอกกุหลาบ น้ำมันตะไคร้หอมและน้ำมัน พาล์มาโรซา, พิมเสน (borneol), เกล็ดสะระแหน่ (menthol) พบในน้ำมันสะระแหน่และมินท์, เนโรลี (nerol) พบในดอกจากต้นส้ม (Bitter Orange), เทอร์ปินอล (teppineol) พบในน้ำมันสน และกระวาน เปน็ ต้น 2. กลุ่มแอลดีไฮด์ (aldehydes) สารในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการระงับประสาท ยกระดับจิตใจ ลดการอักเสบ ลดความอ้วน ขยายหลอดเลือด และมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค ตัวอย่างได้แก่ ซิดรัล (cidral), ซิโตรเนรัล (citronellal) เป็นส่วนประกอบหลักที่ทำให้น้ำมันตะไคร้มีกลิ่นมะนาว, เนรัล (neral), เจอรนิออล(geranial) พบในน้ำมันดอกกหุ ลาบ น้ำมันตะไครห้ อมและนำ้ มันพาลม์ าโรซา 3. กลุ่มเอสเทอร์ (esters) มีคุณสมบัติระงับประสาท สงบอารมณ์ ลดอาการเกร็งของ กล้ามเนื้อ ลดการอักเสบ และต้านเชื้อราได้แก่ ลินาลิลอะซิเตต (linalyl acetate) พบได้ในดอกไม้ และพืชเครื่องเทศ, เจอรานิลอะซิเตต (geranyl acetate) พบในน้ำมันส้ม, ยูจีนอลอะซิเตต (eugenyl acetate) พบในน้ำมันจากกานพลูและอบเชย, ลาเวนดูลิลอะซิเตต (lavendulyl acetate) พบในน้ำมันลาเวนเดอร์ 4. กลมุ่ คโี ทนหรือคีโตน (ketones) สาร ketones มีคุณสมบตั ิชว่ ยขยายหลอดลม ละลาย เสมหะ เสริมสร้างเนื้อเยื่อและลดการอักเสบได้แก่ ดอกมะลิ (jasmone), เฟนโชน (fenchone), การบูร (camphor), คาร์โวน (carvone) พบมากสดุ ในน้ำมนั จากเมลด็ ยีห่ รา่ สเปยี รม์ นิ้ ต์และผักชีฝร่ัง , เมนทอล (menthone) เปน็ สารทีพ่ บในมินต์ เปปเปอร์มนิ ต์ 5. กลุ่มออกไซด์ (oxides) ในสารกลุ่มนี้ มีคุณสมบัติในการขับเสมหะ ละลายเสมหะที่ สำคัญได้แก่ ซิเนออล (cineol) นอกนั้นก็มีสารที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรียและการกระตุ้นระบบ ประสาทได้แก่ ลินาลูลออกไซด์ (linalool oxide), แอสคาริโดลออกไซด์ (ascaridol oxide), ไบซาโบลอลออกไซด์ (bisabolol oxide) พบในดอกคาโมมาย

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 6 6. กลุ่มฟีนอล (phenols) มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย กระตุ้นระบบประสาท และภูมิต้านทานของร่างกายได้แก่ ยูจีนอล (engenol), ไธมอล (thymol), คาร์วาครอล (earvacrol) ซึ่ง Abdelouaheb Djilani, Amadou Dicko, (2012). กล่าวว่า ส่วนประกอบเหล่านี้มีปฏิกิริยา ตอบสนองมากท่ีสดุ อาจเปน็ พษิ และระคายเคือง โดยเฉพาะอย่างย่งิ สำหรับผิวหนังและเย่ือเมือก คุณ สมบัติคล้ยแอลกอฮอล์แต่เด่นชัดกว่า พวกมันมีคุณสมบัติต้านจุลชีพ กระตุ้นระบบประสาทและ ภมู คิ ้มุ กัน และอาจลดคอเลสเตอรอลได้ 7. กลุ่มเทอร์ปีน (terpenes) สารในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อและลดการอักเสบ ประกอบด้วย แคมเฟน (camphene), คาดีน (cadinene), คาริโอฟิลลีน (caryophyllene), เซตดรีน (cedrene) พบในน้ำมันหอมระเหยของต้นซีดาร์, การบูร (dipentene), เฟลแลนดรีน (phellandrene), เทอร์ปินีน (terpinene), ซาบินีน (sabinene), ไมร์ซีน (myrcene) สารเซสควิ เทอร์พีน (sesquiterpenes) เช่น ซามาซูลีน (chamazulene) พบในพืชหลายชนิดรวมถึงดอกคาโม ไมล์ และ ฟาร์นีซอล (farnesol) มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบและต้านเชื้อแบคทีเรีย สารลีโมนีน (limonene) มีคณุ สมบัตติ า้ นไวรสั ไพนนี (pinene) มฤี ทธฆิ์ า่ เช้อื เปน็ ต้น โดยปกติน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดจะมีสารประกอบทางเคมีตั้งแต่ 50-500 ชนิด องคป์ ระกอบทางเคมีแตล่ ะชนิดก็มีคุณสมบัตแิ ตกต่างกันไป ดังทีก่ ลา่ วมาแล้ว แต่เม่ือมาผสมผสานกัน อยู่มันก็ทำให้เกิดคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของน้ำมันหอมระเหยจากพืชแต่ละชนิด ที่มีจุดเด่น แตกต่างกันออกไปโดยมีสตู รโครงสร้างทางเคมดี ังรูป 2.1 (วิศษิ ฐิพร สุขสมบตั ิ, 2557) ภาพท่ี 2.1 สูตรโครงสรา้ งของสารกล่มุ essential oils ท่มี า: (พนิดา รตั นปติ ิกรณ์, 2561)

7 2. การกลัน่ นำ้ มันหอมระเหย การกล่นั นำ้ มนั หอมระเหยจากสมนุ ไพรแตล่ ะชนิด ไดม้ ีการทำมาเป็นเวลานานแล้ว ต้ังแต่ สมัยโบราณจะนิยมนำดอกไม้หอมมาแช่ทิ้งไว้และนำน้ำที่มีกลิ่นหอมนั้นไปใช้ดื่มหรืออาบ ต่อมาได้มี การพัฒนาวิธีการสกัดกลิ่นหอมเพื่อให้ได้กลิ่นหอมหรือน้ำมันหอมระเหย ให้มีคุณภาพและปริมาณ สงู สดุ แต่จะตอ้ งคำนงึ ถงึ ลักษณะของแต่ละพืชด้วย วธิ ีการสกดั นำ้ มนั หอมระเหยจงึ แบง่ ออกเปน็ ดังนี้ (Botanic essence, 2561) 2.1. การกลน่ั โดยใชไ้ อน้ำ (Steam Distillations) เป็นวธิ ที ่ีนยิ มมากทสี่ ุดและใช้ในการ กลั่นน้ำมันหอมระเหยเกอื บทัง้ หมดที่มีการผลติ ขึน้ วิธีการกล่ันจะเป็นการผ่านไอน้ำจากเคร่ืองกำเนิด ไอน้ำเข้าไปในหม้อควบคุมความดันที่บรรจุวัตถุดิบของพืชที่นำมากลั่นน้ำมันหอมระเหย เมื่อความ ร้อนจากไอน้ำกระทบกับวัตถุดิบ ไอน้ำก็จะนำพาน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในพืชชนิดนั้น ๆ ออกมาผ่าน ทอ่ เกลียวท่ีหล่อเลี้ยงดว้ ยน้ำเย็นเพ่ือให้เกดิ การลดอุณหภูมิและควบแนน่ กลายเป็นของเหลว หลังจาก นั้นของเหลวจากการควบแน่นที่ได้ก็จะไหลผ่านท่อควบแน่นเข้าสู่หลออดแก้ว ได้น้ำมันหอมระเหยท่ี แยกชั้นจากน้ำ แล้วจึงนำน้ำมันหอมระเหย (Pure Essential Oil) และนำน้ำสกัดน้ำมันหอมระเหย (Floral Water หรือ Hydrosol) ท่ีได้ เกบ็ ใส่ภาชนะเพอ่ื ตรวจสอบคุณภาพต่อไป ข้อดขี องวธิ ีการกลั่น น้ำมันหอมระเหยด้วยไอน้ำคือ วิธีการกลั่นและอุปกรณ์ไม่ยุ่งยากซับซ้อนสามารถใช้ได้กับพืชแทบทุก ชนดิ และนำ้ มนั หอมระเหยที่ได้มีคุณภาพดี มีความบรสิ ทุ ธ์ิ 100% การกลัน่ ด้วยไอนำ้ ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง คือ กระบวนการนี้ต้องไอน้ำที่มีความร้อนจึงไม่เหมาะกับวัตถุดิบที่มีสารกับธรรมชาติสำคัญที่ถูก ทำลายได้ง่ายเมื่อเจอกับความร้อน เช่น สาระสำคัญบางชนิดในดอกมะลิ (Jasmine) จะสลายไปเมื่อ เจอกับความร้อนเป็นต้นซึ่ง Jamel Mejria, Abdelkarim Aydib , Manef Abderrabbab and Mondher Mejric, (2018) ทำการศึกษากระบวนการสกัดน้ำมันหอมระเหยที่เกิดขึ้นใหม่ กล่าวว่า การกลั่นด้วยไอน้ำ ที่ใช้สำหรับการแยกน้ำมันหอมระเหยมีหลายอย่าง ข้อเสีย อุณหภูมิและน้ำที่สูง อาจทำให้เกิดการดัดแปลงทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย การกลั่นด้วยไอน้ำมักจะส่งผลให้สูญเสีย ส่วนประกอบท่รี ะเหยได้และบางส่วนท่ีละลายนำ้ ไดอ้ งคป์ ระกอบ อย่างไรก็ตาม ขอ้ เสยี เหลา่ นีส้ ามารถ หลกี เล่ียงได้โดยใช้ส่วนผสมของสารอินทรีย์ มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 8 ภาพท่ี 2.2 การกลัน่ โดยใชไ้ อน้ำ ทมี่ า: (Botanic essence, 2561) 2.2 การกลั่นด้วยน้ำร้อน (Water distillation & Hydro-distillation) เป็นวิธีที่ง่าย ทีส่ ุดของการกล่ันน้ำมันหอมระเหย การกลั่นโดยวิธีนี้ พน้ื ที่กลน่ั ตอ้ งจุ่มในน้ำเดือดท้ังหมด อาจพบพืช บางชนดิ เบา หรือให้ท่อไอนำ้ ผ่านการกล่นั นำ้ มนั หอมระเหยนีใ้ ชก้ ับของทีต่ ิดกันง่ายๆ เชน่ ใบไม้บางๆ กลีบดอกไม้อ่อนๆ ข้อควรระวัง ในการกลั่นโดยวิธีนี้คือ พืชจะได้รับความร้อนไม่สม่ำเสมอ ตรงกลาง มักจะได้ความร้อนมากกว่าด้านข้าง จะมีปัญหาในการไหม้ของตัวอย่าง กลิ่นไหม้จะปนมากับน้ำมัน หอมระเหยและมีสารไม่พึงประสงค์ติดมาในน้ำมันหอมระเหยได้ วิธีแก้ไข คือ ใช้ไอน้ำ หรืออาจใช้ closed steam coil จุ่มในหม้อต้ม แต่การใช้ steam coil นี้ไม่เหมาะกับดอกไม้บางชนิด เพราะเมื่อ กลีบดอกไม้ถูก steam coil จะหดกลายเป็น glutinous mass จึงตอ้ งใช้วิธใี สล่ งไปในน้ำ กลีบดอกไม้ จะสามารถหมุนเวยี นไปอย่างอิสระในการกลั่น เปลอื กไมก้ เ็ ชน่ กัน ถา้ ใชว้ ิธกี ล่นั ดว้ ยนำ้ นำ้ จะซมึ เข้าไป และนำกลิ่นออกมาหรือกลิ่นจะแพร่กระจายออกจากเปลือกไม้ได้ง่ายขึ้น ดังนั้น การเลือกใช้วิธีการ กลั่นจึงขึ้นกับชนิดของพืชที่นำมากลั่นด้วยซึ่ง Phakawat Tongnuanchan, Soottawat Benjakul, (2014) ทำการศึกษาการสกัดน้ำมันหอมระเหยฤทธิ์ทางชีวภาพใช้สำหรับถนอมอาหารได้กล่าวไว้ว่า การกล่นั ด้วยน้ำ Hydrodistillation (HD) ไดก้ ลายเป็นวธิ กี ารมาตรฐานของการสกัดนำ้ มนั หอมระเหย จากวัสดพุ ชื เช่น ไมห้ รอื ดอกไมซ้ ่ึงมักใช้เพ่ือแยกผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ไม่ละลายน้ำที่มีจุดเดือดสูง กระบวนการนีเ้ ก่ยี วข้องกับการจ่มุ วสั ดุจากพืชลงในน้ำโดยสมบูรณ์ ตามด้วยการตม้ วิธนี ปี้ กป้องน้ำมัน ที่สกัดได้ในระดับหนึ่งเนื่องจากน้ำโดยรอบทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันไม่ให้ร้อนเกินไป ไอน้ำและไอ ระเหยของน้ำมันหอมระเหยถูกควบแน่นเป็นเศษส่วนที่เป็นน้ำข้อดีของเทคนิคนี้คือความจำเป็นวัสดุ สามารถกล่นั ได้ทอี่ ุณหภูมิต่ำกว่า 100 °C ข้อควรระวังในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยโดยวิธีนี้คือพืชจะได้รับความร้อน ไม่สม่ำเสมอ ตรงกลางมักจะได้ความร้อนมากกวา่ ด้านข้าง จะมีปัญหาในการไหม้ของตวั อย่างกล่ินไหม้จะปนมากับ น้ำมันหอมระเหยและมีสารไม่พึงประสงคต์ ิดมาในนำ้ มนั หอมระเหยได้ วิธีแกไ้ ข คอื ใชไ้ อน้ำ หรืออาจ ใช้ closed steam coil จุ่มในหม้อต้ม แต่การใช้ steam coil นี้ไม่เหมาะกับดอกไม้บางชนิด เพราะ เมื่อกลีบดอกไม้ถูก steam coil จะหดกลายเป็น Glutinous mass จึงต้องใช้วิธีใส่ลงไปในน้ำ กลีบ ดอกไม้จะสามารถหมุนเวยี นไปอย่างอิสระในการกล่ัน เปลอื กไม้ก็เช่นกัน ถา้ ใช้วิธีการกล่ันด้วยน้ำ น้ำ

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 9 จะซึมเข้าไปและนำกลิ่นออกมา หรือกลิ่นจะแพร่กระจายออกจากเปลือกไม้ได้ง่ายขึ้น ดังนั้น การ เลือกใช้วิธีการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจึงขึ้นกับชนิดของพืชที่นำมากลั่นด้วย (สกุลตลา วรรณปะแข, 2554) 2.3 การกลั่นดว้ ยน้ำและไอน้ำ (water and steam distillation) การกลน่ั โดยวิธีนีใ้ ช้ ตะแกรงรองของทีจ่ ะกลนั่ ให้เหนือระดับนำ้ ในหม้อกล่ัน ตม้ ใหเ้ ดือด ไอน้ำจะลอยตัวขึ้นไปผ่านพืชหรือ ตัวอยา่ งท่จี ะกล่นั ส่วนนำ้ จะไมถ่ ูกกบั ตัวอย่างเลย ไอน้ำจากน้ำเดือดเปน็ ไอนำ้ ที่อมิ่ ตัว หรอื เรยี กว่า ไอ เปียก ไมร่ ้อนจัด เปน็ การกล่ันทส่ี ะดวกทส่ี ดุ คณุ ภาพของนำ้ มันออกมาดกี ว่าวิธแี รก การกลั่นแบบน้ีใช้ กันอย่างกวา้ งขวางในการผลิตน้ำมนั หอมระเหยทางการคา้ ภาพที่ 2.3 การกลนั่ โดยใชน้ ำ้ และไอน้ำ ท่มี า: (บดินทร์ ใจจันทร,์ เอกพันธ์ จำปา, เพลิน จนั ทร์สยุ ะ, จริ พัฒนพงษ์ เสนาบุตร, 2559) 2.4 การสกัดด้วยวธิ กี ารบีบเยน็ (Expression หรือ Mechanically Pressed) การสกัดนำ้ มันหอมระเหยด้วยวธิ ี Expression หรอื Mechanically Pressed เกือบ ทงั้ หมดใช้ในการสกัดน้ำมนั หอมระเหยจากผวิ พืชตระกลู ส้ม เชน่ สม้ มะนาว เลมอ่ น มะกรดู ฯลฯ วิธกี ารสกัดคอื การนำผิวของผลจากพืชแต่ละชนิดมาใส่ในหมอ้ ขนาดใหญ่แลว้ กดด้วยแท่นไฮดรอลิก โดยใชแ้ รงกดสงู เม่ือแท่นไฮดรอลิกบบี ลงบนวัตถดุ บิ ทำให้เซลล์ผวิ ของพชื เกิดการแตกตวั ให้น้ำมัน ออกมาลงในภาชนะท่ีรองรับเอาไว้ ข้อดขี องวิธกี ารน้ี คือ ไมม่ ีความร้อนเกิดขน้ึ ในกระบวนการบบี ซ่ึง แตกตา่ งกบั การใชก้ ารบบี แบบเครอ่ื งบบี เกลยี วหมุนหรอื เกลยี ว Screw Pressed ซึง่ จะทำให้เกิดความ ร้อนและอาจทำลายคุณภาพของน้ำมันทส่ี กัดได้

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 10 2.5 การสกดั โดยใชต้ ัวทำละลาย (Solvent Extraction) วัตถดุ บิ จากพืชหรอื ดอกไมห้ ลายชนดิ ไมส่ ามารถสกดั ด้วยวธิ ีการสกัดดว้ ยไอนำ้ ได้ เนื่องจากหลากหลายเหตุผล เชน่ สารสำคัญอาจถูกทำลายเม่ือถูกความร้อนทำให้สูญเสยี กลน่ิ หอมอนั เปน็ เอกลักษณ์ของวตั ถดุ ิบหรือเม่ือสกดั ด้วยไอนำ้ แล้วคุณสมบตั ขิ องนำ้ มนั หอมระเหยที่ได้มีกลนิ่ ไมต่ ิด ทนนานหรอื มีกล่ินหอมเพ้ียนไปจากกล่ินท่ีสดู ดม จากวัตถดุ ิบจริง ๆ จงึ ทำให้ต้องมีกระบวนการสกัด นำ้ มนั หอมระเหยอกี กระบวนการหน่ึงเขา้ มาเก่ยี วข้องนน่ั คือการสกัดน้ำมันหอมระเหยด้วยวธิ ีตัวทำ ละลาย หรือ Solven Extraction วัตถุดิบจากพชื และดอกไม้ทน่ี ยิ มใช้ในกระบวนการนีใ้ นการสกดั น้ำมนั หอมระเหย คือ มะลิ กุหลาบ ซอ่ นกลนิ่ ดอกบัว เปน็ ต้น ข้อดีของวธิ กี ารน้ี คือ น้ำหอมที่ได้จะมี กล่ินหอมที่ใกลเ้ คียงกบั กลนิ่ หอมจากวัตถุดิบจริงมากกวา่ น้ำมันหอมระเหยท่ีได้จากการสกัดดว้ ยไอน้ำ และมกี ลิน่ หอมติดทนนานกว่าจึงได้รบั ความนิยมในการนำไปใชใ้ นอตุ สาหกรรมน้ำหอมเป็นส่วนใหญ่ แมแ้ ต่พชื บางชนดิ ท่ีปกติจะสกดั นำ้ มันหอมระเหยด้วยไอน้ำเท่านน้ั เชน่ ลาเวนเดอร์ กย็ ังมีการนำมา สกัดด้วยวธิ ี Solvenent Extraction เพอื่ ให้ไดน้ ้ำมนั หอมระเหยสกดั จากดอก ลาเวนเดอร์ ท่มี ีกลน่ิ หอมตดิ ทนนานเปน็ Base Note ซ่ึงแตกต่างกับน้ำมันหอมระเหยจากดอกลาเวนเดอร์ท่ีสกัดด้วยไอน้ำ ซง่ึ ปกติจะมีคุณสมบตั ิ เป็น Top Note ข้อเสียของการสกัดดว้ ยตัวทำละลายน้ี คือ ความบรสิ ุทธ์ จะ ไม่ได้ดเี ท่าวธิ ีการสกัดดว้ ยไอน้ำ ดงั น้ันน้ำมนั หอมระเหยท่สี กกัดด้วยวิธีน้จี ึงไม่ค่อยไดร้ บั ความนยิ ม หรือไม่ถกู แนะนำใหน้ ำไปใชใ้ นเชงิ สุคนธบำบัดเทา่ ไหรน่ ัก 2.6 การสกดั โดยใชค้ ารบ์ อนไดออกไซดเ์ หลว (SFE-CO2) เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ท่สี กดั น้ำมนั หอมระเหยให้ได้คุณภาพและความบริสุทธท์ิ ด่ี ที ี่สุด เป็นการรวมข้อดีของการสกดั ดว้ ยไอน้ำและสกดั ด้วยตวั ทำละลายเขา้ ไว้ด้วยกนั คอื การสกัดดว้ ยวิธีน้ี จะทำให้ได้น้ำมันหอมระเหยท่ีมคี วามบรสิ ุทธ์เิ ทียบเทา่ กับการสกัดด้วยไอน้ำ ในขณะท่รี ักษาคณุ ภาพ ของกลิ่นหอมได้ใกล้เคยี งกบั กล่นิ หอมจากธรรมชาติมากทสี่ ุดเช่นเดียวกับการสกดั ดว้ ยวธิ ตี วั ทำละลาย เพียงแต่ข้อจำกัดคือปรมิ าณของวัตถุดิบทใี่ ช้ในการสกดั ในแต่ละคร้งั ทำได้ในปรมิ าณน้อย และ เทคโนโลยีทีใ่ ชร้ วมถงึ วสั ดุอปุ กรณแ์ ละสารทีจ่ ำเป็นในกระบวนการทำใหก้ ระบวนการสกัดดว้ ยวธิ ี SFE-CO2 มรี าคาค่อนขา้ งสงู จึงมกี ารนำมาใชก้ บั วัตถุดิบบางชนดิ ท่ีจำเป็นเท่าน้ัน เช่น ดอกมะลิ จำปี ท่ีมรี าคาสูง กระบวนการสกัดเร่มิ จากการผสมคารบ์ อนไดออกไซด์เหลวเขา้ กับวัตถดุ บิ ท่ีใช้สกดั ใน ระบบปิดท่ีมีความดันสูง (เนื่องจากคารบ์ อนไดออกไซด์จะมีสภาวะเปน็ ของเหลวที่มีอุณหภูมต่ำมาก หรอื ต้องมีความดันสูงมาก) เมื่อคารบ์ อนไดออกไซด์เหลวสามารถละลายสารหอมระเหยออกมาจาก วัตถดุ บิ พชื ท่ีนำมาสกัดไดแ้ ล้ว จงึ แยกสารละลายออกจากตัววัตถดุ ิบ จะไดส้ ารละลายท่มี ีเฉพาะ คารบ์ อนไดออกไซด์เหลวและสารหอมระเหยท่สี กดั ไดท้ ้งั หมด หลังจากนั้นจึงทำการลดความดันลง เพอื่ ใหค้ าร์บอนไดออกไซด์ระเหย เหลอื แต่น้ำมันหอมระเหยทส่ี กดั ได้ท่ีมคี วามสะอาดและมีความ บรสิ ทุ ธส์ิ ูง

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 11 2.7 การสกัดโดยใชไ้ ขมนั (Enfleurage) วิธีมักมักใช้กับดอกไม้กลีบบางพวก เช่น กุหลาบและดอกมะลิ โดยการนำดอกไม้มาวาง ทับถาดกระจกที่เกลี่ยด้วยไขมันสัตว์บาง ๆ เพื่อให้ไขมันดูดซับสารหอมจากดอกไม้ โดยใช้เวลา ประมาณ 1-3 วัน กระบวนการนี้จะทำซ้ำๆกันจนกระทั้งไขมันดูดสารหอมอย่างเพียงพอ ไขมันที่ดูด สารหอมนี้เรียกว่า pomade นำ pomade ไปละลายในแอลกอฮอล์ก็จะได้น้ำมันหอมระเหยออกมา การผลิตหอมน้ำมันหอมระเหยมักจะสกัดวิธนี ี้มากกว่า 10 % (โพธิ์ทอง ประณีตพลกรัง, ประพัน ล้ี กลุ , 2561:หน้า 8) 2.8 การสกัดดว้ ยไมโครเวฟ (microwave-assisted exraction) เป็นการใช้ คลื่นไมโครเวฟช่วยในการสกัดร่วมกับตัวทำละลาย หลักการ คือ อาศัยการ ส่งผ่านคลื่นไมโครเวฟไปยังเซลล์พืชโดยทำให้โมเลกุลของน้ำหรือความชื้นที่มีอยู่ ในเซลล์พืช สั่นสะเทือน เกิดแรงดันขึ้นภายในเซลล์ทำให้เซลล์แตกและปล่อยสารสำคัญที่อยู่ภายในออกมา ผสม กับตัวทำละลายที่ใช้สกัด ข้อดีของวิธีนี้คือ ใช้เวลา ในการสกัดสั้นไม่เปลืองตัวทำละลาย ช่วยป้องกัน การสลายตัวขององค์ประกอบสำคัญที่สกัดได้ เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นและช่วยเพิ่มปริมาณ ผลผลิตของสารสกัดที่ได้ (วรางคณา สมพงษ์, ภาสกร ธีระศิลป์วีสกุล, คณิน ศรีสาลีสกุลรัตน, 2559: หน้า 290) ซ่ึง Gabriel Abraham Cardoso-Ugarte, Gladys Paola Juárez-Becerra, María Elena SosaMorales and Aurelio López-Malo, (2013) ทำการศึกษาการสกัดน้ำมันหอมระเหยด้วย ไมโครเวฟ ได้กล่าวไว้ว่า ไมโครเวฟเป็นรูปแบบหนึง่ ของพลงั งานแม่เหล็กไฟฟา้ ท่ีไม่ทำให้เกิดไอออนท่ี ความถี่ต่างๆจาก 300 MHz ถึง 300 GHz พลังงานนี้ถูกส่งผา่ นเป็นคล่ืนซึ่งสามารถทะลุเข้าไปได้วัสดุ ชีวภาพและทำปฏกิ ิรยิ ากับโมเลกุลขั้วให้เป็นวัสดุ เช่น น้ำ เพื่อสร้างความร้อน การให้ความร้อนอย่าง รวดเรว็ เปน็ ขอ้ ไดเ้ ปรยี บหลักของไมโครเวฟ 2.9 การแยกน้ำมันหอมระเหยจากพืช ในการแยกน้ำมันหอมระเหยจากพชื อาศัยหลักความสามารถในการกลายเป็นไอของสาร ซ่ึงได้แก่ การกลั่นด้วยวธิ ตี ่าง ๆ นอกจากน้ียงั ต้องอาศัยหลักความสามารถในการละลายของสารในตัว ทำลาย ต้องพึงระลกึ อยูเ่ สมอวา่ สารระเหยมีมากมายหลายชนดิ และมีจุดเดอื ดท่แี ตกต่างกัน การเลือก กรรมวิธีที่ใช้ในการแยกนั้นต้องคำนึงถึงความเสถียรของสารระเหย ความเข้มข้นของสารระเหยเพื่อ ช่วยในการประมาณปริมาณวัสดุที่นำมาใช้สถานะของสาร พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการทดลอง องคป์ ระกอบของผลติ ภัณฑ์ท่จี ะนำมาทดลอง จึงกลา่ วไดว้ า่ วธิ ีการแยกนำ้ มันหอมระเหยจากพืชแต่ละ วิธี มกั จะมคี วามจำเพาะต่อสารจา่ งชนิดกนั ไป (ณฐั เศรษฐ์ นำ้ คำ, 2561)

12 3. การกล่ันน้ำมันหอมระเหยจากส่วนต่าง ๆ ของพชื น้ำมันหอมระเหยสามารกลั่นได้จากพืชหลายชนิด ซึ่งจะมีการนำส่วนต่างๆ ของพืชมาก ลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหยแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าเป็นพืชชนิดไหนและมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ สว่ นไหน (AIO Fresh, 2562) ตารางที่ 2.1 ส่วนตา่ ง ๆ ของพชื ที่นำมากลน่ั น้ำมันหอมระเหย มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงพชื ส่วนท่มี ีนำ้ มันหอมระเหย เปปเปอรม์ นิ ท์, กระเพรา, โหระพา,ตะไครห้ อม ใบ กุหลาบ,กระดังงา,ลาเวนเดอร์,จำปา,คาโมไมล์ ดอก มะกรูด, มะนาว, สม้ , เลม่อน เปลอื กผล กฤษณา, เมอร,์ กำยาน, แฟรงคนิ เซนส์ ยางไม้ อบเชย,ไม้จนั ทร์,ชีดาร,์ เพตตเิ กรน เปลือก, ลำต้น ขงิ , ขา่ , ไพล,กระชาย ราก, หัว ทมี่ า: (AIO Fresh, 2562) จากตารางที่ 2.1 พชื จะสรา้ งน้ำมนั และเกบ็ ไวใ้ นสว่ นตา่ ง ๆ ของพชื ซง่ึ จะพบแตกต่างกัน ออกไป เชน่ เปปเปอรม์ ินท์ กระเพรา โหระพา ตะไครห้ อม จะพบน้ำมนั มากสดุ ในส่วนของใบ เปน็ ตน้ ตารางท่ี 2.2 คุณสมบัติและประโยชนข์ องพืชในนำ้ มนั หอมระเหยของพืชแตล่ ะชนดิ นำ้ มนั หอมระเหย คุณสมบัติ กระชาย ลดการอักเสบในรา่ งกาย ชว่ ยคลายเครียด โหระพา บรรเทาอาการปวดศีรษะ หลับสบาย กระเพรา บรรเทาอาการหวดั คัดจมูก ขา่ บรรเทาอาการคล่นื ไส้ กลากเกล้ือน ตะไคร้บ้าน บรรเทาปวดศรี ษะ อ่อนเพลีย สลายเซลลูไลท์ มะกรดู ไทย คลายเครยี ด สดชื่น บรรเทารังแค ไล่ยุง ใบฝรัง่ ชว่ ยกระตนุ้ ให้สดชน่ื ระงับกล่ินปาก ขับลม ไพล บรรเทาอาการปวดเมื่อย ชว่ ยผ่อนคลาย ขมน้ิ บรรเทาอาการผิวหนงั อกั เสบ บำรงุ ผิว ที่มา: (AIO Fresh, 2562)

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 13 พืชวงศก์ ระเพรา (Lamiaceae) พืชในวงนไ้ี ด้แก่ กระเพรา โหระพา ลาเวนเดอร์ เปเปอร์ มินท์ โรสแมรี่ ไธม์ พมิ เสน เป็นต้น น้ำมนั ที่ได้ส่วนใหญ่มาจากส่วนใบ มคี ุณสมบตั ใิ นการระงบั เชื้อ ลด อาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ พืชวงศ์นี้เป็นพืชที่มีความปลอดภัยสูง ยกเว้นน้ำมันเสจ ( Sage Oil) และน้ำมันฮิสสอพ (Hyssop oil) เพราะมีองค์ประกอบพวก คีโตนหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้เป็นพิษตอ่ ระบบประสาท พืชวงศ์อบเชย (Lauraceae) พืชวงศ์นีไ้ ด้แก่ อบเชย การบูร เป็นต้น จะมีกลิ่นแรง และมี กลนิ่ ฉุน ชว่ ยทำใหเ้ บิกบาน แต่พืชวงศน์ ี้ส่วนใหญ่ทำใหเ้ กดิ พษิ สูง พชื วงศ์ชมพู่ (Myrtaceae) พืชวงศ์น้ไี ดแ้ ก่ กานพลู ยูคาลปิ ตสั เสม็ดขาว ทที รี น้ำมันเขยี ว เป็นต้น ส่วนใหญ่มากจากส่วนใบ ซึ่งมีคุณสมบัติในการระงับเชื้อ โดยเฉพาะในระบบทางเดินหายใจ ตา้ นไวรสั และบำรงุ กำลัง แตม่ ขี อ้ ควรระวงั ในการใช้ คอื อาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองผวิ หนงั พชื วงศม์ ะลิ (Oleaceae) พชื วงศ์นี้ไดแ้ ก่ มะลซิ ้อน มะลลิ า น้ำมันมะลิท่ีใช้กันจะเป็นส่วน ของ Absolute หรือเป็นสารสังเคราะห์ของ Jasmones น้ำมันมะลิมีคุณสมบัติช่วยคลายกล้ามเน้ือ (Relaxant) พืชวงศ์พริกไทย (piperaceae) พืชวงศ์นี้ได้แก่ พริกไทยดำ มีคุณสมบัติระงับปวด ขับ เสมหะ บำรุงกำลังและกระตุน้ ระบบประสาท พืชวงศ์หญ้า (Poaceae/Gramineae) พืชวงศ์นี้ได้แก่ ตะไคร้ ตะไคร้หอม แฝกหอม เป็น ต้น น้ำมันหอมระเหยจากพืชวงศ์นี้มีคุณสมบัติต้านการอักเสบและบำรุงกำลัง มีรายงานว่า แฝกหอม ชว่ ยกระตนุ้ ระบบประสาทและระบบคุ้มกนั พืชวงศ์กุหลาบ (Roseceae) พืชวงศ์นี้ชนิดที่ให้น้ำมันหอมระเหย คือ Rose otto โดย กลิ่นของน้ำมันกุหลาบที่ได้จากการกลั่นด้วยไอน้ำจะมีความหอมหวานนอ้ ยกว่าท่ีได้จากการสกัดดว้ ย ตวั ทำละลาย ซึ่งน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการกล่ันจะนำมาใชป้ ระโยชนท์ างการแพทย์มากกวา่ พืชวงศ์ส้ม (Rutaceae) นำ้ มนั หอมระเหยจากพชื วงศ์นี้ทมีที่มาหลายแหลง่ ได้แก่ บริเวณ เปลือกผลได้จากส้ม มะกรูด มะนาว เลม่อน เป็นต้น บริเวณใบและดอก ได้จาก Bitter orange (Citrus aurantiumvar amara) พืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) พืชวงศ์นี้เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี เจริญเติบโตได้ดีทั้งใน เขตร้อนและเขตอบอุน่ ที่มคี วามช้ืนสงู ได้แก่ ขิง ข่า ขมน้ิ ขม้นิ ขาว ขมน้ิ ไพล ไพล ไพลดำ เป็นต้น พืช วงศ์นี้มลี กั ษณะพิเศษตรงท่ีทกุ ที่ทกุ สว่ นของต้นจะมีกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย ใช้เป็นเคร่ืองเทศ และ ยงั เป็นพชื ทีม่ สี รรพคุณเป็นยา บางชนิดมคี ณุ สมบัตใิ นการตา้ นอนุมลู อสิ ระ

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 14 4. การใช้น้ำมันหอมระเหย นำ้ มนั หอมระเหยเป็นนำ้ มันท่สี กัดจากพชื สมนุ ไพรทีม่ ีความเข้มขน้ สูง การนำไปใช้โดยตรง กับผิวอาจจะทำให้เกิดผื่นแดง ผวิ หนงั ระคายเคือง ผู้ใช้ต้องหยดนำ้ มันหอมระเหยผา่ นอปุ กรณ์กระจาย กลิ่นหรือผสมของเหลวที่น้ำมันละลายได้ รูปแบบการใช้น้ำมันหอมระเหยมีดังนี้ (กรมส่งเสริม การเกษตร, 2554) การสูดดม (Inhalation) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วที่สุด เหมาะสำหรับการ บำบัดโรคหวัดหรือโรคทีเ่ กยี่ วกับทางเดนิ หายใจ แตไ่ มค่ วรใชก้ ับผู้ที่เปน็ โรคหอบหดื วธิ ใี ชโ้ ดยการหยด น้ำมันหอมระเหย 5-10 หยด ลงในภาชนะที่มีน้ำร้อนที่มีไอ โดยใช้ผ้าขนหนูคลุมศีรษะก้มหน้าเหนือ ภาชนะ สูดดมไอหอมระเหย โดยการหายใจลึกๆ การสูดดมไอน้ำจะช่วยให้เยื่อบุทางเดินหายใจชุ่มชื่น ทำให้ช่องเดินหายใจเปิดและรู้สึกผ่อนคลาย การนวดตัว (Aromatherapy massage) เป็นวิธีที่นิยมกันมากโดยใช้น้ำมันหอมระเหย ผสมลงในนำ้ มนั ทใี่ ชน้ วดตัว เปน็ การช่วยกระต้นุ กร้ามเนื้อ ระบบประสาท เนือ้ เยอ่ื และผิวหนงั ลดการ ปวดเมื่อย ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น วิธีทำโดยการหยดน้ำมันหอมระเหยประมาณ 10-15 หยด ผสมน้ำมันที่ใช้นวดตัว 30 มิลลิลิตรสำหรับน้ำมันที่ใช้นวดตัว นอกจากจะเป็นตัวนำพาน้ำมัน หอมระเหยซึมเขา้ สู่ผิวแลว้ ตวั พาเองกย็ งั มีสรรพคณุ บำรุงผิวพรรณ ในการใชค้ วรเลอื กให้เหมาะกับผิว ผ้ถู กู นวดด้วย เตาระเหย (Fragrancers) วิธีนี้ทำโดยหยดน้ำมันหอมระเหย 3-6 หยดลงไปในน้ำทีอ่ ยู่ใน ฝาหรือถ้วยเหนือเตาหรือตะเกียงเผาความร้อนจากเทียนประมาณ 60 องศา น้ำมันหอมระเหยจะ ค่อยๆระเหยทำให้เกิดกลิ่นหอม ช่วยสร้างบรรยากาศทำผู้สูดดมให้เกิดการผ่อนคลาย ช่วยบำบัด อารมณ์และจติ ใจตามคุณสมบตั ขิ องนำ้ มันหอมระเหยแตล่ ะชนิด ผสมน้ำอาบ (Bathing) วิธีนี้ทำโดยหยดน้ำมันหอมระเหย 5-15 หยดลงในอ่างอาบน้ำ ควรปิดประตูหรือผ้าม่านเพื่อกันกลิ่นระเหยออกไป แช่ตัวลงนาน 5-15 นาที วิธีการนี้ทำให้ได้สูดดม และสัมผัสทางผิวหนัง หากเป็นคนแพ้สารเคมีง่ายควรผสมน้ำมันหอมระเหยกับน้ำมันตัวพาเสียก่อน สำหรบั การอาบนำ้ ดว้ ยวธิ ีการตกั หรือใช้ฝักบัว หลงั การอาบน้ำเสร็จให้หยดน้ำมันหอมระเหยที่เจือจาง แล้วลงบนผ้าหรือฟองนำ้ แลว้ ถตู ัวด้วยนำ้ หมาดๆ จากนัน้ ใช้น้ำลา้ งตวั อกี คร้งั หนงึ่ การแช่มือ แช่เท้า (Hand and Foot Bath) วิธีนี้ทำโดยการหยดน้ำมันหอมระเหย 4-5 หยด ลงในน้ำอุ่นในอ่างหรอื ภาชนะอื่น แล้วแช่มอื หรือเท้านาน 10 นาที จะช่วยให้เกิดการผ่อนคลาย ความเมื่อยล้าที่มือและเท้าได้ รักษารอยแตกหยาบกร้านของผิวหนัง นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการตึง เครยี ด ปวดศีรษะหรอื ปวดไมเกรนอีกด้วย การฉีดพ่นละอองฝอย (Room Spray) วิธีการนี้ทำโดยใช้น้ำมันหอมระเหย 10 หยดผสม กับน้ำ 10 ช้อนโต๊ะ ใส่ลงในขวดที่มหี วั ฉีดเป็นสเปรยห์ รือละอองฝอย เขย่าให้ส่วนผสมเข้ากันใช้ฉดี ใน ห้องน่ังเลน่ หอ้ งทำงานหรือห้องอาหาร

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 15 การประคบ (Compresses) วิธีการทำโดยใชผ้ ้าขนหนูหรือผ้าเช็ดหนา้ จุม่ แช่ลงในน้ำอุ่นที่ ผสมน้ำมันหอมระเหย (หยดน้ำมันหอมระเหย 5-10 หยด ต่อน้ำ 160 มิลลิลิตร) บิดพอหมาดแล้ว ประคบบรเิ วณทีม่ อี าการปวดเมอ่ื ยนาน 20-30 นาที น้ำมันบำรุงผิว (Body and Facial Oils) สามารถใช้น้ำมันหอมระเหยผสมกับน้ำมันที่ใช้ บำรุงผวพรรณทัง้ ใบหน้าและผวิ กาย โดยใชน้ ้ำมันหอมระเหย 1% กับน้ำมันบำรงุ ผวิ หน้าและใช้น้ำมัน หอมระเหย 3 %กับน้ำมนั บำรุงผิวกาย เทียนหอม (Scented Candles) สามารถท่จี ะผสมน้ำมันหอมระเหยลงไปในการทำเทียน ได้ เมื่อเวลาจุดเทียนกลิ่นหอมก็จะระเหยออกมาคล้ายกับการใช้เตาระเหย หรืออาจผสมน้ำมันหอม ระเหย 2-3 หยด ลงตะเกียงก็ไดซ้ ง่ึ มีลกั ษณะเดยี วกัน กลั้วคอหรือบ้วนปาก วิธีนี้ทำได้โดยหยดน้ำมันหอมระเหย 2-3 หยดลงในน้ำ 1 ส่วน 4 แก้ว คนให้เข้ากัน ใช้กลั้วคอหรือบ้วนปากช่วยบำบัดโรคในช่องปากหรือคอ ช่วยฆ่าเชื้อโรค ลดกล่ิน ปาก การหยดลงหมอน วธิ ีน้เี หมาะสำหรบั ผทู้ ีน่ อนยากใหล้ องใช้นำ้ มนั หอมระเหยท่ีมีคุณสมบัติ ผอ่ นคลาย เช่น กระดังงา กุหลาบ มะลิ หยดลงบนหมอน 2-3 หยด จะชว่ ยหลบั ง่ายและผอ่ นคลาย ประโยชนข์ องน้ำมันหอมระเหย 1. ใชใ้ นการบำบดั ท่เี รียกวา่ aromatherapy หรอื สุวคนบำบัด 2. ใช้แตง่ กลน่ิ ในอุตสาหกรรมอาหารตา่ ง ๆ เชน่ เครอ่ื งดื่ม ผลิตภัณฑ์นม เปน็ ต้น 3. ในอตุ สาหกรรมน้ำหอม เช่น นำ้ มนั กุหลาบ นำ้ มนั กระดงั งา นำ้ มันมะลิ เป็นตน้ 4. ในอุตสาหกรรมยาและเภสัชภัณณ์ต่าง ๆ เช่น น้ำมันกานพลูสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ จึง นำมาผสมในน้ำยาบ้วนปาก น้ำมันยูคาลิปตัสใช้แก้หวัด น้ำมันไพลใช้อาการปวดบวม ฟกช้ำ และ นำ้ มันแปปเปอร์มน้ิ ต์ใชข้ บั ลมและแตง่ กล่นิ ยา เป็นต้น 5. ใช้เป็นส่วนประกอบในเครอื่ งสำอางสมุนไพร เช่น สบู่ แชมพู ครีมนวด ผลติ ภัณฑบ์ ำรุง ผวิ เป็นตน้ 6. ใชเ้ ปน็ อาหารประจำวนั เช่น กะเพรา ตะไคร้ เปน็ ต้น (ARUNRAT, 2562) ข้อควรระวังในการใชน้ ำ้ มนั หอมระเหย น้ำมันหอมระเหย แม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องระมัดระวังในการ ใช้ด้วย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา ทั้งนี้หากไม่แน่ใจว่าตนเองสามารถใช้น้ำมันหอมระเหยชนิดใดได้ หรือไม่ ก็ควรปรกึ ษาแพทยเ์ พอื่ ให้ได้คำตอบท่ชี ดั เจนก่อน (AIO FRESH, 2562) 1. ไมค่ วรนำมาใช้กบั เด็ก สตรีมีครรภแ์ ละหญงิ ให้นมบตุ รเด็ดขาด เพราะจะก่อให้เกิดการ ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจได้ ทำให้เด็กหายใจลำบาก ส่วนสตรีมีครรภ์ เมื่อสูดดมเข้าไป นานๆ ก็อาจจะไปกระต้นุ ระบบการทำงานภายในรา่ งกายให้แย่ลง ซ่ึงอาจส่งผลตอ่ ทารกในครรภ์ได้

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 16 2. ไม่ควรเปล่ยี นกล่นิ บอ่ ยโดยไมพ่ ัก แนะนำวา่ ควรเว้นช่วงพักกอ่ นเปล่ยี นกลิ่นบา้ ง เพราะอาจทำให้กล่ินผสมปนกนั จนกอ่ ให้เกิดอาการเวยี นหัว คลน่ื ไส้อาเจยี นได้ ทัง้ นี้พบว่ากลน่ิ ของ น้ำมนั หอมระเหยจะอยู่ได้นานประมาณ 2-3 ช่วั โมง ดงั นัน้ หลงั จากหมดกลิน่ แลว้ คุณอาจเวน้ ช่วงสัก 1-2 ชัว่ โมงแล้วค่อยเปลยี่ นกล่ินใหมจ่ ะดีทส่ี ุด เพื่อป้องกันการผสมของกล่ินท่อี อกมาแล้วไม่ดีเกิดขึ้น แต่ถา้ ใช้กล่ินเดิมก็ใชต้ ่อเน้ืองไดต้ ามสบายเลย 3. ผสมในอา่ งอาบนำ้ ต้องไม่เกนิ 6-8 หยด หลายคนชอบนำน้ำมนั หอมระเหยมาผสมใน อ่างอาบนำ้ เพราะจะใหก้ ลิ่นหอมและสรา้ งความสดชื่นผ่อนคลายไดด้ ี แถมยงั บำรุงผิวอีกดว้ ย แต่ การผสมมากเกนิ ไปก็อาจก่อใหเ้ กิดการระคายเคอื งได้ โดยแนะนำใหผ้ สมแค่ไมเ่ กิน 6-8 หยดเทา่ นัน้ และควรเอาแผ่นรองกนั ลน่ื ออกจากอ่างอาบน้ำก่อนผสมน้ำมันหอมระเหยดว้ ย 4. ควรเจอื จางนำ้ มันหอมระเหยก่อนการนำไปใช้ ซ่ึงหากใช้โดยตรงแบบยังไม่เจือจางก็จะ กอ่ ให้เกดิ การระคายเคืองไดง้ ่าย โดยอาจก่อใหเ้ กดิ ผลเสียต่อสุขภาพรา่ งกายของคณุ ได้อย่างมาก เพราะฉะนน้ั ก่อนใชต้ อ้ งมกี ารเจือจางก่อนทุกครั้ง ดว้ ยการนำมาผสมกบั น้ำแลว้ จงึ นำมาใช้ ไมว่ ่าจะใช้ เพือ่ สูดดม ใชเ้ พ่ือบำบดั อาการปว่ ยทางกาย หรือใช้เพือ่ ดบั กลน่ิ อบั ก็ตาม 5. ไม่ควรใช้กบั บคุ คลที่เปน็ โรคความดันโลหิตสูง ไม่ควรซ้ือน้ำมนั หอมระเหยมาใชด้ ว้ ย ตัวเอง เพราะบางชนดิ อาจกระตุ้นใหค้ วามดนั สงู ข้นึ กวา่ เดิมได้ ทั้งนหี้ ากตอ้ งการใชน้ ้ำมนั หอมระเหย จรงิ ๆ แนะนำวา่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน 5. ทฤษฎที ่ใี ช้ในการออกแบบเคร่อื ง ในการออกแบบเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดเล็ก มีทฤษฎีต่าง ๆ ในการออกแบบ เครื่องมีดงั ตอ่ ไปนี้ (สกุลตลา วรรณปะแข, 2554) หม้อกลั่น (still) น้ำหรือไอน้ำ จะสัมผัสกับพืชในภาชนะ ซึ่งมีรูปร่างที่ง่ายที่สุดเป็นถัง ทรงกระบอก ทำด้วยสแตนเลส เส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหรือน้อยกว่าความสูงเล็กน้อย มีฝาเปิด-ปิดได้ ด้านบนมีท่อต่อใหไ้ อน้ำพาน้ำมันหอมระเหยไปสู่เครื่องควบแน่น ถ้าเป็นการกลั่นแบบใช้น้ำผสมไอน้ำ ต้องมีตะแกรงวางตวั อย่างพืชที่จะกลั่นให้สูงกวา่ ก้นหม้อกลั่น ส่วนการกล่ันด้วยไอน้ำ น้ำจะถูกฉีดเข้า ไปในตะแกรงนนั้ ก้นหมอ้ กลน่ั จะต้องมีท่อก๊อกระบายน้ำท่ีกล่นั ตวั ลงหม้อกล่ัน และฝาควรมีฉนวนหุ้ม กันความรอ้ นสูญหาย เครื่องควบแน่น (Condenser) ส่วนผสมของไอน้ำและน้ำมันหอมระเหยที่ออกมาจาก หม้อกลั่น จะถูกส่งผ่านไปยังเครื่องควบแน่น ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนไอน้ำและน้ำมันหอมระเหยให้เป็น ของเหลว ลักษณะเป็น coil ม่วนอยู่ในถังที่มีน้ำเย็นผ่านจากด้านล่าง สวนทางกับไอน้ำ และน้ำมัน หอมระเหยที่นิยมอีกแบบหนึ่ง คือ ให้ไอน้ำและน้ำมันหอมระเหยผ่านในท่อ (Tube) ให้น้ำ เย็น ไหลเวียนรอบ ๆ Tube เครื่องควบแน่นควรมีขนาดใหญ่พอให้ไอกลั่นตัวเร็ว เพื่อจะได้น้ำมันหอม ระเหยที่มีคุณภาพ ถ้านานไปจะทำใหเ้ กิดไฮโดรไลซ์ของเอสเทอร์ วัสดุที่เปน็ Coil หรือ Tube ควรใช้ ทองแดงผสมดีบุกที่รองรับน้ำหรือน้ำมนั หอมระเหย (Receiver) น้ำมีปริมาณมากกว่าน้ำมัน จึงต้องมี

17 การไขนำ้ ทง้ิ ตลอดเวลา ส่วนน้ีจงึ ทำหน้าที่แยกน้ำ และน้ำมนั หอมระเหย ถา้ น้ำมันเบากว่าน้ำ น้ำมันก็ จะอยู่ที่ส่วนบน ไขน้ำด้านล่างออก ถ้าน้ำมันหนักกว่าน้ำ น้ำมันจะอยู่ด้านล่างก็ไขน้ำ ด้านบนออก เครื่องมือในห้องปฏิบัติการมักเป็นแก้วมองเห็นได้ง่าย ปริมาณน้อยกว่า 10 ลิตร แต่ ถ้ามากกว่า 10 ลิตร ควรเป็นทองแดงผสมดีบุก ไม่ควรใช้ตะกั่ว เพราะตะกั่วจะทำปฏิกิริยากับ กรดไขมัน เกิดเป็น เกลือที่เป็นพิษ การกลั่นน้ำมันหอมระเหยไม่ควรใช้สายยางต่อ เพราะสายยางจะละลายไปติดน้ำมัน หอมระเหย ทำให้กลิ่นผิดไปจากความจริง หากน้ำมันหอมระเหยไม่ค่อยแยกจากกันต้องใช้กรวยยาว ๆ รองรับ Distillate ปลายกรวยงอขึ้น การไหลของ Distillate จะไม่ไปรบกวนชั้นของน้ำมัน และ หยดน้ำมันจะลอยขึ้นช้า ๆ ไปอยู่ในชั้นของน้ำมัน น้ำมันควรแยกออกจากน้ำให้เร็วที่สุดเก็บไว้ใน ภาชนะสญุ ญากาศทเี่ ย็น 5.1 การคำนวณขนาดของหมอ้ กล่ัน ความหนาของหม้อกลั่นแรงเค้นตามแนวยาวเมื่อภาชนะคงที่ หาได้จากสมการดังนี้ (บดนิ ทร์ ใจจันทร,์ เอกพนั ธ์ จันทรส์ ุยะ และจริ พัฒนพงษ์ เสนาบุต,2559) มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง σH = Pr (1) 2t t = Pr (2) 2σH ความหนาของฝาหม้อแรงเค้นตามแนวเส้นรอบวงเมื่อภาชนะคงท่ี หาได้จากสมการดังน้ี ������H = ������������ (3) ������ (4) σH = Pr σH โดยที่ t = ความหนาของวัสดุ (m) P = ความดันที่เกิดข้ึนในภาชนะอัดความดัน (Mpa) R = รัศมขี องหมอ้ หมอ้ กลนั่ σH= ความดนั ภายในถงั ทีอ่ อกแบบ (Mpa)

18 การคำนวณหาความหนาของผนังหม้อตม้ หม้อควบแน่นและฝาหมอ้ ต้มโดยวัสดทุ ่ีใชเ้ ป็นส แตนเลส ค่าความดัน 1 เมกะปาสคาลที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส ความดัน 2 บาร์ เส้นผ่าน ศูนย์กลาง 32 เซนติเมตร สมการท่ใี ชใ้ นการออกแบบคอื 2 และ 4 ตามลำดับ t = Pr σH = 1.0(Mpa)×0.16m 2×1000(mPa) มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง t = 0.08 มิลลเิ มตร =t Pr σH = 1.0(mPa)×0.16m 1000(mPa) = 0.16 มลิ ลเิ มตร ดังน้นั จะไดค้ วามหนาของผนงั หม้อกล่ันเท่ากับ 0.08 มิลลเิ มตรและความหนาของฝาหม้อ กลั่น เท่ากับ 0.16 มิลลิเมตร ดังนั้นจึงเลือกใช้ความหนาของผนังที่ 2 มิลลิเมตร เนื่องจากในการข้ึน รูปที่มกี ารเช่อื มประกอบและความแข็งแรงเพ่มิ ข้นึ การคำนวณปริมาตรของหมอ้ กลน่ั โดยจากสตู ร V =π (5) V = 3.14 × (0.16 m2) × 0.43 V = 0.0345 m3 หรือเท่ากบั 34.57 ลิตร โดยท่ี V = ปรมิ าตรทรงกระบอก (m3) h = ความสูงของทรงกระบอก (m) r = เสน้ ผ่านศนู ย์กลางของทรงกระบอก (m) หมอ้ ต้ม หม้อตม้ ไอน้ำผลติ จากเหล็กปลอดสนิม (stainless steel) มลี ักษณะเป็นทรงกระบอก ก้น หม้อเป็นลักษณะทรงโดม ตัวหม้อต้มมีส่วนสูง 43 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 32 เซนติเมตร มี ตะแกรงทที่ ำจากอะลูมิเนียมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 26 เซนติเมตร สูง 28 เซนติเมตร รองรับตัวอย่าง พืชสมุนไพร ซึ่งสามารถถอดออกเพื่อทำความสะอาดได้ง่าย ข้างหม้อต้มไอน้ำติดเครื่องวัดอุณหภูมิ (thermometer) สามารถวัดได้ 0-180 องศาเซลเซยี ส ก้นหม้อต้มไอน้ำมีวาลว์ เปดิ -ปดิ เพื่อระบายน้ำ ตม้ ออกทง้ิ ได้ระบบใหค้ วามร้อนของหม้อต้มไอน้ำจะใช้ แก๊สเป็นเชอื้ เพลงิ

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 19 ภาพท่ี 2.4 หม้อต้ม ท่มี า: คณะผจู้ ัดทำ, 2564 ฝาหม้อต้ม ฝาหม้อต้มไอน้ำผลิตจากเหล็กปลอดสนิม (stainless steel) จะมีลักษณะเป็นทรงกรวย เน่ืองจากฝาหม้อแบบกรวยเหมาะสำหรบั การใชไ้ อน้ำมาเป็นแรงดัน มีเส้นผ่าศนู ย์กลาง 32 เซนติเมตร สูง 21 เซนติเมตร ด้านบนฝาหม้อมีเครื่องวัดความดัน (pressure gauge) และเครื่องวัดอุณหภูมิ (thermometer) สามารถวัดได้ 0-300 องศาเซลเซียส มชี ่องเปดิ -ปิดไอนำ้ ในการควบคุมการไหลของ ไอน้ำ ขอบฝาหม้อมีชุดน็อตเป็นตัวยึดฝาหม้อต้มให้ติดกับตัวหม้อต้มไอน้ำ โดยมีแผ่นยางซิลิโคนทน ความร้อนวางรองฝาหมอ้ และตวั หมอ้ ต้มเพื่อปอ้ งกนั การรว่ั ของไอน้ำ ภาพที่ 2.5 ฝาหม้อต้ม ที่มา: คณะผู้จัดทำ, 2564

20 ระบบควบแน่น ระบบควบแนน่ จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คอื 1.หมอ้ ควบแนน่ 2. ระบบไหลเวยี นน้ำหล่อ เย็น ซึ่งระบบไหลเวียนน้ำหล่อเย็นผู้วิจัยใช้คอมเพลสเซอร์จากตู้เย็นมาดัดแปลงใช้งาน เนื่องจาก สามารถทำความเย็นได้ดีกว่า ส่วนหม้อควบแน่นผลิตจากเหล็กปลอดสนิม (stainless steel) ตัวหม้อ จะมีลักษณะทรงกระบอกแนวตั้งซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 เซนติเมตร สูง 35 เซนติเมตร ภายในบรรจทุ ่อไอน้ำขดเปน็ วงกลมหลายๆท่อมีขนาดเส้นผา่ นศูนย์กลาง 9 มลิ ลเิ มตร เพื่อให้ไอน้ำอยู่ ในตัวควบแน่นได้มากขึ้น ชุดควบแน่นที่ด้านซ้ายมีท่อไอน้ำไหลเข้าและมีท่อสำหรับน้ำเย็นไหลออก สว่ นทด่ี ้านขวามที อ่ นำนำ้ มันหอมระเหยท่ปี นกบั ไอน้ำไหลออกมาแลว้ นำไปแยกน้ำมนั หอมระเหย การคำนวณหาปรมิ าตรของหม้อควบแน่น จากสมการ V = πr2h V = 3.14 × (0.125m)2 × 0.35m V = 0.0171 m3 หรอื เทา่ กบั 17.1 ลติ ร ภาพท2่ี .6 ระบบควบแน่น ทม่ี า: คณะผูจ้ ดั ทำ, 2564 มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 21 6. การคำนวณจดุ คมุ้ ทุนในเชิงเศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์ตดั สนิ ใจในการเลือกลงทนุ ในโครงการต่าง ๆ ต้องมีการพจิ ารณาในเร่ืองของ ปริมาณการผลิตที่มีความคุ้มทุนพอดี ซึ่งก็คือปริมาณการผลิตที่ทำให้รายรับและต้นทุนหรือรายจ่าย ทางบัญชีของสถานประกอบการมีความเท่ากัน นั่นก็คือผลประกอบการเป็นศูนย์และเครื่องมือที่ช่วย ในการตัดสินใจได้เป็นอยางดีคือ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (break-even point analysis) สำหรับการ วิเคราะห์จุดคุ้มทุนนั้นเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของต้นทุน (cost) รายได้ (revenue) และผล กำไร (profit) ที่ปริมาณกำลังการผลิต (volume) มีความแตกต่างกันในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และ ข้อมูลของโครงการมีความแน่นอนตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการผลิต จากที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นจะ เห็นว่าการวิเคราะห์จดุ คุม้ ทุนมีความสำคัญสำหรบั ผู้บริหารเปน็ อย่างมากท่ีจะตัดสินใจพิจารณาเลือก โครงการตา่ ง ๆ ที่สามารถทำให้สถานประกอบการดำรงอยู่ต่อไปได้ (นพดล อ่ำดี, 2561, หนา้ 209) การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนและแผนภูมิจุดคุ้มทุน (Break-Even Point Analysis (BEP) and Break-Even Chart) หมายถึง จุดที่รายรับจากการลงทุนมีความคุ้มค่ากับต้นทุนและในการวิเคราะห์ จุดคุ้มทุนจะเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางด้านต้นทุน รายได้ และผลกำไรจากปริมาณการผลิต ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่ข้อมูลของโครงการมีความแน่นอน ซึ่งสามารถช่วยให้เกิดการตัดสินใจ พิจารณาเลือกโครงการต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้น การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนจึงถือว่า เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ของปริมาณการผลิตต่าง ๆ ในช่วงระยะเวลาท่ี สั้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่ง Rudolf Kampf, Peter Majercak andPavel Svagr. (2016) ได้กล่าวว่า การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างต้นทุนคงที่ ตน้ ทนุ แปรผัน และผลตอบแทน จดุ คุม้ ทนุ (point) กำหนดเม่ือการลงทุนจะสร้าง ผลตอบแทนทเ่ี ปน็ บวกและสามารถกำหนดแบบกราฟฟิกหรือด้วยคณติ ศาสตร์อย่างง่าย การวิเคราะห์ จุดคุ้มทุนคำนวณปริมาณการผลิต ราคาที่กำหนดเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด และ Nabil Alnasser , Osama Samih Shaban and Ziad Al-Zubi, (2014) ได้ทำการศึกษาผลของการใช้ จดุ คุ้มทนุ ในการวางแผนการควบคมุ และการตดั สินใจในอตุ สาหกรรมของบริษทั จอรแ์ ดน ได้กลา่ วไว้ว่า จดุ คมุ้ ทุนของบรษิ ทั คือปรมิ าณการขายหรือรายได้ทต่ี อ้ งสร้างตามลำดับใหเ้ ท่ากนั กับรายจ่าย กลา่ วอีก นัยหนึ่งคือจุดที่บริษัทไม่ทำกำไรและไม่ขาดทุน การคำนวณจุดคุ้มทุนผ่านการวิเคราะห์สามารถเป็น เครอ่ื งมือเชิงปรมิ าณที่มปี ระสิทธิภาพสำหรับผู้จดั การ ในรปู แบบทงี่ า่ ยที่สุด การวิเคราะห์ให้ข้อมูลเชิง ลึกว่ารายได้จากผลิตภัณฑ์หรือบริการมีความสามารถหรือไม่เพื่อให้ครอบคลุมต้นทุนการผลิตท่ี เกี่ยวข้องของผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น ผู้จัดการสามารถใช้สิ่งนี้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจทางธุรกิจที่ หลากหลาย รวมถึงการตั้งราคา การจัดเตรียมการแข่งขันและการสมัครสินเชื่อ แนวคิดการบริหาร ของการวิเคราะห์จุดคุ้มทนุ พยายามหาปริมาณของผลผลติ ท่คี รอบคลุมต้นทนุ ท้ังหมดเพื่อไม่ให้ขาดทุน ถูกสร้างขึ้นเพื่อสามารถกำหนดปริมาณการขายขั้นต่ำที่บริษัทได้ จะหลีกเลี่ยงการสูญเสียในการผลิต สินคา้ ท่กี ำหนด หากสนิ ค้าไมส่ ามารถครอบคลมุ ตน้ ทนุ ของตวั เองได้

22 ส่วนประกอบของการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ได้แก่ ต้นทุนคงที่ ต้นทุนแปรผัน ต้นทุนรวม สมการรายรบั และจดุ ค้มุ ทุน 1. ต้นทุนคงที่ (fixed costs: FC) หมายถึง ต้นทุนที่มีอยู่แม้จะไม่มีการผลิตสินค้าใด ๆ หรือต้นทุนทีไ่ ม่แปรผันตามปริมาณการผลิต เช่น ค่าที่ดิน ค่าเช่า เงินลงทุนเริม่ ต้นค่าใช้จ่ายรายปีเปน็ ตน้ 2. ต้นทุนแปรผัน (variable costs: VC) หมายถึง ต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณ สนิ คา้ ท่ผี ลิต เช่น คา่ แรงต่อหน่วย ค่ากระดาษในรา้ นถา่ ยเอกสาร สกรทู ี่ใช้ในการประกอบเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น 3. ต้นทุนรวม (total costs: TC) หมายถึง ต้นทุนรวมที่เกิดขึ้นระหว่างต้นทุนคงที่และ ตน้ ทนุ แปรผนั 4. สมการรายรับหรือรายได้รวม (revenue functions: TR) หมายถึง สมการที่ได้จาก การคำนวณระหว่างราคาสินค้าคูณกับจำนวนสินค้าท่ีขายได้ โดยเริ่มต้นรายรับมีค่าเปน็ ศนู ย์ และเม่ือ มียอดขายสินคา้ มากขนึ้ ก็ทำใหส้ มรายรับเอียงขนึ้ ไปทางขวาอย่างต่อเน่ือง 5. จุดวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (break-even point analysis: BEP) หมายถึง จุดตัดกัน ระหวา่ งตน้ ทนุ รวมกับสมการรายรบั ซึง่ เป็นจุดแบง่ ระหว่างสองสถานะของสถานประกอบการดังแสดง ในภาพ 2.5 มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง ต้นทุน รายรบั กำไร รวมต(T้นRท)นุ รวม(TC) จดุ ค้มุ ทนุ ต้นทนุ (BEP) แปรผัน ขาดทนุ ตน้ ทุน ปรมิ าณการผลติ คงท่ี ภาพท่ี 2.7 แผนภูมิการวเิ คราะหจ์ ดุ ค้มุ ทนุ (break-even chart) ท่ีมา: ดร.นพดล อ่ำด,ี 2560 ภาพท่ี 2.6 ในการวิเคราะหจ์ ุดคุม้ ทุนมีสมมตฐิ านท่ใี ช้ คอื ตน้ ทุนและรายไดจ้ ะต้องเพิ่มข้ึน ในลักษณะที่เป็นเส้นตรงเพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ ซึ่งในความเป็นจริงนั้น ปัจจัยเหล่าน้ี สามารถเปล่ยี นแปลงไปตามแต่ละช่วงเวลา แผนจุดคุ้มทุนจากภาพที่ 2.6 เป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายรับหรือรายจ่าย และต้นทนุ หรือค่าใชจ้ ่ายกบั ปริมาณการผลิต โดยกำหนดใหแ้ กนนอนแทนปรมิ าณการผลิตสว่ นแกนต้ัง แทนต้นทุนและรายได้ โดยในส่วนของต้นทุนมีการพิจารณาอยู่ 2 ส่วนคือ ส่วนของต้นทุนคงที่และ

23 ส่วนของต้นทุนแปรผัน ซึ่งค่าใช้จ่ายของต้นทุนคงที่จะไม่แปรผันตามปริมาณการผลิตและจุดตัด ระหว่างเสน้ ตรงของรายรับรวม (TR) และเสน้ ตรงของต้นทนุ รวม (TC) คือ จุดคมุ้ ทุน (BEP) ในการวเิ คราะหจ์ ดุ คมุ้ ทุน (BEP) มกี ารจำแนกการวิเคราะหไ์ ด้เป็น 2 วิธี คือ การวิเคราะห์ จดุ คมุ้ ทุนดว้ ยวิธกี ราฟ และการวิเคราะห์จดุ คุ้มทนุ ดว้ ยวิธพี ชี คณติ การวเิ คราะห์จดุ คมุ้ ทนุ ดว้ ยวิธกี ราฟ มีขัน้ ตอนดังต่อไปน้ี 1. กำหนดเส้นต้นทุน โดยการลากเส้นตรงในระดับแนวแกนนอนจะได้ต้นทุนคงที่ (FC) และลากเส้นตรงจากจุดกำเนิดเอียงไปทางขวามือจะได้ต้นทุนแปรผัน (VC) โดยการคำนวณจาก ค่าแรงงาน ค่าวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่แปรผันไปตามจำนวนชิ้นงานที่ผลิต จากนั้นรวมต้นทุนคงที่ และต้นทุนแปรผันและเขียนให้เป็นเส้นตรงลากเอียง โดยเริ่มจากจุดตดั ของแกนต้นทุนกับต้นทุนคงท่ี จะได้ตน้ ทุนรวม (TC) 2. กำหนดเสน้ รายได้หรือรายรับรวม (TR) โดยการคำนวณจากราคาสินคา้ คูณกับปริมาณ สินคา้ ที่ผลิตหรือจำหน่ายได้ โดยการลากเสน้ ตรงจากจดุ กำเนิดให้เอียงไปทางขวามือ 3. จุดตัดที่เกิดขึ้นระหว่างเส้นต้นทุนรวม (TC) และเส้นรายได้หรือรายรับรวม (R) คือ จดุ คมุ้ ทุนในการผลิต (BEP) การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนด้วยวิธีพีชคณิต เป็นการวิเคราะห์ด้วยวิธีการคำนวณ โดยการ กำหนดค่าของตัวแปรตา่ ง ๆ ดังต่อไปน้ี มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง BPEN = FC p−VC BEPN = จดุ คมุ้ ทุนในจำนวนหน่วยของสินคา้ BEP$ = จดุ ค้มุ ทุนในหนว่ ยของเงิน FC = ตน้ ทนุ คงท่ี VC = ต้นทุนแปรผัน TC = ตน้ ทนุ รวม TR = รายไดห้ รือรายรบั รวม N = ปริมาณการผลติ ทหี่ น่วยใด ๆ VC = ตน้ ทุนแปรผันต่อหนว่ ย P = กำไร P = ราคาขายต่อหน่วยสินค้า ดังนน้ั ในการวเิ คราะห์จดุ คมุ้ ทนุ ดว้ ยวิธพี ีชคณิต ประกอบไปด้วยสมการดังต่อไปนี้ TR = Tc (2.1) (2.2) TR = pN (2.3) TC = FC + VC (2.4) BEPN = Fc (2.5) P−VC BEP$ = p(BEPN)

24 BEP$ = p [ fc ] (2.6) p−VC BEP$ = fc (2.7) (p−vc)/p BEP$ = fc (2.8) 1−vpc (2.9) P = TR – TC มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง P = N – [FC + VC(N)] (2.10) P = pN – FC – VC(N) (2.11) P = (p – VC) (N) – FC (2.12) สมมติฐานและข้อจำกัด และข้อควรระมัดระวังเกี่ยวกับการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Assumptions & Limitations and Cautions about BEP Analysis) จากที่ได้กล่าวไว้ในเรื่องของ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนและแผนภูมิจุดคุ้มทุนนั้น มีข้อสมมติฐานและข้อจำกัดของการวิเคราะห์ จุดคมุ้ ทนุ ดงั ตอ่ ไปนี้ (นพดล อำ่ ดี, 2560, หน้า 213-214) 1. ราคาของผลิตภณั ฑ์คงที่ตลอดระยะเวลาการดำเนนิ การของโครงการ 2. ต้นทุนต่าง ๆ สามารถกำหนดเปน็ ต้นทนุ คงท่ีและตน้ ทนุ แปรผนั ได้อยา่ งชดั เจน 3. ต้นทุนคงที่จะต้องเท่ากันตลอดระยะเวลาการดำเนินการของโครงการ โดยไม่ เปล่ียนแปลงตามจำนวนการผลิตท่เี พ่มิ ขึ้น และตน้ ทนุ แปรผนั จะเปลีย่ นแปลงตามปริมาณการผลติ 4. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ หรือนโยบายจากทางภาครัฐนั้นไม่มีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของราคาที่ดำเนินการจัดซื้อของโครงการ (มูลค่าของเงินไม่มีการ เปลี่ยนแปลง) 5. นโยบายระดับบริหาร และประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโครงการทั้งหมดไม่ เปลย่ี นแปลง 6. ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายมีความสัมพันธ์กัน โดยไม่มีผลต่อการ เปล่ยี นแปลงวสั ดคุ งคลัง น่ันหมายความว่าผลติ ออกมาเท่าไรถือวา่ จำหนา่ ยได้ท้งั หมด จากข้อสมมติฐานดังกล่าวขั้นต้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเป็น การวิเคราะหใ์ ต้ ข้อกำหนดที่มีความแน่นอนในเรื่องของโครงสร้างเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และได้มีการ กำหนดค่าของตัวแปรต่าง ๆ ให้คงที่แต่มีเพียงปริมาณการผลิตเท่านั้นที่เกิดจากเปลี่ยนแปลงไปตาม ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ ตามแผนการผลิตเนื่องจากคำสั่งผลิตของลูกค้าที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงตาม สถานการณ์น้ัน ๆ จากการวิเคราะห์ข้อสมมติฐานและข้อจำกัดของการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนที่ได้กล่าวมาแล้ว สามารถนำมาสรุปเปน็ ขอ้ ควรระวงั เกีย่ วกับการวิเคราะหจ์ ุดคมุ้ ทุน ได้ดังต่อไปนี้

25 1. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนจะเกิดประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อรายระเอียดของต้นทุนมีความ ถกู ต้องตามระบบบญั ชี และสามารถจำแนกประเภทของต้นทุนคงท่ีและตน้ ทุนแปรผนั ได้อยา่ งชัดเจน 2. ราคาจำหนา่ ยของผลิตภัณฑ์ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ ประการ และราคา จำหนา่ ยตอ้ งคงทตี่ ลอดระยะเวลาในการดำเนินงานของโครงการ 3. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ภายในช่วงระยะเวลาส้ัน ๆ ตลอดระยะเวลาในการดำเนนิ งานของโครงการ มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 4. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถช่วยในการตัดสินใจในการ ดำเนินงานของสถานประกอบการได้สมบูรณ์มากนัก เนื่องจากยังมีองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างที่มี ความสำคัญตอ่ การตัดสนิ ใจ จึงจำเป็นต้องใช้องค์ประกอบอ่ืน ๆ ในการพิจารณารว่ มสำหรับใช้ในการ ตัดสนิ ใจดว้ ย การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนสำหรับผลิตภัณฑ์หลายชนิด (Multiple Products BEP Analysis) ในกรณีที่ต้องการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนสำหรับผลิตภัณฑ์หลายชนิด การวิเคราะห์ลักษณะของ จุดคุ้มทุนสำหรับผลิตเดียวไม่สามารถใช้ได้ เนื่องจากสถานประกอบการส่วนใหญ่มีสินค้าหลาย ประเภทและสินค้าแต่ละประเภทก็มีต้นทุนและราคาจำหน่ายที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามวิธีการ แกป้ ัญหาดังกล่าวสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์จดุ คุ้มทุนสำหรับผลิตภัณฑ์หลายชนดิ หรือจุดคุ้มทุน รวม โดยการกำหนดน้ำหนักเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละให้กับสินค้าประเภทต่าง ๆ กัน (นพดล อ่ำดี, 2560, หน้า 225-227) BEP$ = Fc ซ่ึงสามารถประยกุ ต์ใชไ้ ด้ดังสมการที่ (8.13) 1−VpC BEP$ = ������������ (8.13) ∑{[1−������������������������������]×������������} เมื่อ W = เปอรเ์ ซ็นตน์ ้ำหนกั ของสินค้าแตล่ ะประเภท โดยการเปรียบเทียบกบั ยอดรวม I = สินค้าแต่ละประเภท

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 26 7. ผลงานวิจัยทีเ่ กีย่ วขอ้ ง การดำเนินงานวิจัยภายใต้หัวข้อเรื่องเครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรขนาดเลก็ นั้น เนื่องจากเกษตรกรที่ผลิตน้ำมันหอมระเหยใช้เองและแปรรูปเพื่อจำหน่ายนั้นประสบปัญหาด้าน ต้นทุนการผลิตและปริมาณการผลิต ซึ่งมีผลมาจากการที่ไม่มีเทคโนโลยีที่ครบสมบูรณ์ในการผลิต หรือต้องใช้เครื่องอุปกรณ์การผลิตที่ล้าสมัย ดังนั้นผู้วิจัยจึงรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อออกแบบ และสร้างเคร่อื งสกดั น้ำมันหอมระเหยไดอ้ ย่างมีประสทิ ธภิ าพ ดังตอ่ ไปนี้ พงกร คชาพงศ์กุล, (2562). ได้ออกแบบและสร้างเครื่องสกัดน้ำมันมะพร้าวประหยัด พลังงานแบบครบวงจรเพื่อการเกษตรและศึกษาพัฒนาระบบการอบแห้ง ระบบกรองน้ำมันมะพร้าว พลงั งานแสงอาทิตย์ซึง่ พบว่าการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องใช้กากมะพร้าวอบแหง้ 4 กโิ ลกรัมได้ น้ำมันหอมระเหย 1 ลิตร อบที่อุณหภูมิ 40-50 องศา สีของน้ำมันขาวใส มีรสชาติมะพร้าวแท้ มีกลิ่น หอมอ่อนๆ มะพร้าวอบแห้งที่อุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียสจะได้น้ำมันมะพร้าวแบบสกัดเย็นที่ได้ ตามมาตราฐานในท้องตลาดทั่วไป จากการทดสอบมีองค์ประกอบของพันธะ C-H stretch ที่ช่วง ความยาวคลื่น 2850-3000 cm-1 ซึ่งเป็นส่วนสารประกอบอัลเคนท่ีเป็นองคป์ ระกอบหลักของน้ำมนั ภายหลังจากการบีบคั้นแล้วใช้ระยะเวลากรองที่ปริมาณ 1,000 ml ใช้พลังงานไฟฟ้า 0.23 kWh เมื่อ พิจารณาค่าเฉลี่ยไฟฟ้าที่ 3.85 บาท/kWh สามารถคิดเป็นเงิน 0.89 บาท ดังนั้นการผลิตน้ำมัน มะพร้าว 1 ลิตรใช้เงินค่าไฟฟา้ 0.89 บาท พินิจ วิรัดตกูล, เวียง อากรชี, อนุชา เชาว์โชติ และสิทธิชัย ดาศร, (2562). ศึกษาและ พัฒนาเครื่องสกัดองค์ประกอบน้ำมันธรรมชาติจากพืชด้วยเทคนิคคาร์บ อนไดออกไซด์เหนือวิกฤต ร่วมกับระบบผสมแบบแมเ่ หลก็ การสกดั จะเปน็ ลักษณะการแช่และใหต้ วั ทำละลายซึมผา่ นวัตถุและให้ ตวั ทำละลายสารสำคญั ออกมาในรูปแบบของน้ำมันท่ีมีความดันสงู เหนือวิกฤตฯ และออกแบบถังสกัด ขนาดเลก็ เพ่อื หาสดั ส่วนของเวลาและความดนั ในการสกัดสารสำคัญแต่ละพชื ความดนั ท่ีใช้งานไม่เกิน 320 บาร์และมี heater ควบคุมอุณหภูมิ วัตถุดิบทีน่ ำมาใช้ควรบดยอ่ ยให้ผ่านตะแกรงเบอร์ 30 แมท จากการทดลองพบว่าสกัดน้ำมันจากไส้พริกและเมล็ดพริก 40.21 กรัมประสทิ ธภิ าพสกัดแคปไซซินได้ 6.7874 mg/ml เมื่อเทียบกับสกัดด้วยอะซิโตนมีประสิทธิภาพการสกัดแคปไซซินได้ 33.75 % ข้อดี ของระบบแช่จะมีประสิทธิภาพในการสกัดสารโดยไม่จำเป็นตอ้ งเดนิ เคร่ืองตลอดเวลา ลดการสึกหรอ ความดันระบบคงท่แี ละประหยัดพลงั งาน พงษ์ศักดิ์ จิตตบุตร, พิเศษ ตู้กลาง, ศิริลักษณ์ เหลียวกลาง และดวงนภา บำรุงนา, (2562). ได้พัฒนาระบบการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรโดยใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง จาก ผลการวิจัยพบว่าสมุนไพรข่าและตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม ใช้น้ำมนการสกัดจำนวน 5 กิโลกรัมและใช้ เวลาในการสกดั 6 ชั่วโมงต่อครงั้ สามารถสกัดได้อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพในอัตรา 20.17 และ 21.67 รอ้ ย ละโดยปรมิ าตรต่อมวลตามลำดบั โดยใช้พลังงานชวี มวลท่ีมีแกลบเป็นเชื้อเพลิงจำนวน 3 กโิ ลกรัม ซ่ึง ถอื ไดว้ ่าระบบทางความร้อนของเตาชวี มวลที่มีประสิทธิภาพสูงในการสกดั น้ำมนั จากข่าและตะไคร้คือ 16.31 % และ 16.14 % ตามลำดับ ถ้าเทียบกับงานวิจัยของคุณวิรัตน์ เจริญบุญ. (2560). ซึ่งมี ประสทิ ธภิ าพทางความร้อนอยู่ที่ 10.36 % จากผลการวเิ คราะห์น้ำมันหอมระเหยปริมาณผลผลิตของ น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากข่าและตะไคร้น้ำหนัก 1 กิโลกรัม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 201.67 มิลลิลิตร

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 27 และ 216.67 มิลลิลิตรตามลำดับ ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีถ้าเทียบกับค่ามาตราฐานทั่วไปของน้ำมัน หอมระเหยที่สกัดได้จากขา่ และตะไครจ้ ะอยู่ที่ประมาณ 180-250 มลิ ลิลิตร ณัฐเศรษฐ์ น้ำคำ,(2561). ได้สร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องกลั่นน้ำมันสมุนไพรขนาด เล็กสำหรบั ชมุ ชนโดยเครื่องกลั่นน่ันประกอบด้วย 4 ส่วน คอื 1.หมอ้ ตม้ ไอน้ำ 2.ฝาหม้อต้มไอน้ำ 3.ถัง ควบแน่นไอหอมระเหย 4.ระบบไหลเวียนน้ำหล่อเย็น มีปริมาณบรรจุ 70 ลิตร สามารถบรรจุสมุนไพร ได้ 5-15 กิโลกรัม จากการทดสอบพบวา่ การกลัน่ นำ้ มันหอมระเหยจากตะไคร้หอมจำนวน 4,000 กรัม ไดป้ ริมาณน้ำมนั หอมระเหย 15.58 มิลลิลติ ร คิดเป็น 0.389 เปอรเ์ ซน็ ต์ และการใช้พลงั งานเชื้อเพลิง จากแก๊สหุงต้มเฉลี่ย 2.56 กิโลกรัมต่อครั้ง ใช้ไฟฟ้าจำนวน 0.4657 หน่วย คิดเป็นเงิน 50.83 บาท/ ครงั้ โพธิ์ทอง ประณีตพลกรัง (2561). ได้ออกแบบและสร้างเครือ่ งกลั่นน้ำมนั หอมระเหยจาก พืชสมุนไพรโดยใช้พลังงานชีวมวลสำหรับชุมชน ประกอบไปด้วย 1.หม้อต้ม 2.ถังควบแน่น ในส่วน ของเตาชีวมวลได้ดัดแปลงใช้แก๊สขนาดเล็กที่ใช้ไปแล้วเป็นวัสดุในการทำเพื่อประหยัด จากผลการ ทดลองกลั่นพืชสมุนไพรโดยน้ำหนักของพืชที่ใช้ในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยเท่ากับ 5 กิโลกรัม นำ้ หนักเท่ากันทั้ง 4 ชนิด พบวา่ ได้ปริมาณนำ้ มันหอมระเหยจากตะไคร้ 24.01 ml ตะไครห้ อม 30.25 ml กระวาน 18.12 ml และมะกรดู 24.28 ml เมื่อเทยี บกบั เคร่ืองกลัน่ น้ำมนั หอมระเหยระดับชุมชน พบว่ามีค่าใกล้เคียงกันซึ่งเฉลี่ยน้ำหนักกับปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้ของตะไคร้หอมที่ 20 กิโลกรัมได้ปริมาณ 132.86 ml และมะกรูดทั้งลูก 60 กิโลกรัมได้ปริมาณ 185.36 ml (พงษ์ศักดิ์ พล เสนา, ยุทธนา บรรจง และลักขณา ต่างใจ, 2549: หน้า 6) ถ้าวิเคราะห์ความคุ้มค่าในกรณีของการ กล่ันนำ้ มนั หอมระเหยมะกรดู สามารถคนื ทุนได้ภายใน 5 เดือน ธีรยา แปงน้อย, ดิศรณ์ เทพวงศ์ และ เพลิน จันทร์สุยะ. (2560). ได้ศึกษาออกแบบเพื่อ พัฒนาเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับพลังงานไฟฟ้าด้วยการ ควบคุมอุณหภูมิซึ่งทำจากสแตนเลส เบอร์ 316 มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ หม้อกลั่นมีการติดตั้ง เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล 2 ตัวและเครื่องวัดอุณหภูมิแบบเข็ม 2 ตัว ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิน้ำ และใชส้ ำหรับวัดอุณหภูมิไอน้ำมีการใชเ้ ครื่องวดั อุณหภูมิแบบดจิ ิตอล และเครื่องวัดอุณหภูมิแบบเข็ม อยา่ งละ 1 ตวั เพอื่ ใหส้ ามารถวัดอุณหภูมิเปรียบเทียบได้ จากการทดลองโดยต้ังค่าอุณหภูมิผ่านปุ่มกด ตามอุณหภมู ทิ ่ีใช้กลั่นโดยใชป้ รมิ าณสมุนไพร 5 กก. ใช้นำ้ ในการตม้ 40 ลติ รป้อนขอ้ มูลอุณหภูมิที่ 90 องศา ใช้เวลาในการกลั่น 4 ชม. ได้น้ำมันฯจากผิวมะกรูด 15 มิลลิลิตร พบว่าการกลั่นด้วยการต้มกับ น้ำร้อนจะได้ปริมาณน้ำมันฯน้อยกว่าการกลั่นด้วยการต้มน้ำร้อนนำไอไปผ่านตัวสมุนไพร ในการกลัน่ ใช้พลังงานทั้งหมด 2450 วัตต์ ซึ่งจากการพัฒนาโปรแกรมการควบคุมสามารถตั้งอุณหภูมิได้ตามท่ี ตอ้ งการเพ่อื สะดวกกบั การใชง้ านพืชชนิดตา่ งๆทใี่ ช้อุณหภูมิตา่ งกัน ณัฎฐพล ศิรินภัสโภคิน. (2560). ได้ศึกษาการสกัดน้ำมันจากเมล็ดงาขี้ม้อนเพื่อประยุกต์ ในผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอาง โดยศึกษาการเตรียมน้ำมันจากงาขี้ม้อน 3 วิธี คือการสกัดเชิงกลด้วย เครื่องบีบน้ำมันแบบหมุน การสกัดด้วยซอกห์เลตและการสกัดด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิค พบว่าการอบ น้ำมันงาขี้ม้อนที่ 50 องศาก่อนเข้าเครื่องสกัด ได้ปริมาณน้ำมันที่สกัดได้สูงสุด ร้อยละ 39.50 การ วิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีพบว่า มีค่า lodine เท่ากับ 153.44±7.92 กรัม/100 กรัมน้ำมัน ซึ่งการ

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 28 ทดสอบประสิทธิภาพของน้ำมันงาขี้มอ้ นในการลบเครื่องสำอาง พบว่า มีความสามารถลบได้ในระดบั ปานกลาง บดินทร์ ใจจันทร์, เอกพันธ์ จำปา, เพลิน จันทร์สุริยะ และ จิรพัฒนพงษ์ เสนาบุตร. (2559). ได้ศึกษาเพื่อพัฒนาเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยสมุนไพรโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับ พลังงานไฟฟ้าที่มีระบบควบคุมไฟฟ้าอัตโนมัติ โดยใช้หลักการกลั่นด้วยไอน้ำ เครื่องกลั่นน้ามันหอม ระเหยท่ีพฒั นาข้ึนทำมาจากวัสดุสแตนเลสเบอร์ 316 หนา 2 มิลลเิ มตร มีสว่ นประกอบ คือ หม้อกลั่น หม้อควบแน่น โดยระบบไฟฟ้าควบคุมอุณหภมู ิในตวั เก็บรังสแี สงอาทิตย์ขนาด 70 ลิตร แล้วส่งน้ำท่มี ี อุณหภูมิ 60-80 องศาเซลเซียส ไปยังหม้อกลั่นเพื่อสั่งให้ฮีตเตอร์ทางานจนน้ำอุณหภูมิถึง 70-93 องศาเซลเซียส แล้วนำไอน้ำที่ได้ไปควบแน่นในหม้อควบแน่นที่อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส ตามลำดบั จากการทดลองพบว่าใช้ปรมิ าณสมนุ ไพรจำนวน 5 กิโลกรัม ใช้ไพลเปน็ สมุนไพรในการสกัด โดยใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด 2510 วัตต์ และระยะเวลาในการกลั่น 6 ชั่วโมง ได้น้ำมันหอมระเหย จำนวน 8 มิลลิลิตร สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ 20-25 เปอร์เซ็นต์จากการใช้พลังงานจากก๊าซหุงต้ม และฮีตเตอร์ (จากเดิม93.16 บาท ลดลงเหลือ74.94 บาท) อุปถัมภ์ โพธิกนิษฐ์, แสนสุรีย์ เชื้อวังคำ. (2559). ได้ศึกษาระบบการกลั่นเอทานอลจาก การหมักมันสำปะหลังด้วยเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์และออกแบบชุดกลั่นเอทานอลให้ได้ อย่างน้อย 70 % ซึ่งผลการวจิ ยั พบว่าในการหมักแปง้ มันสำปะหลังที่จะใหป้ ริมาณเอทานอลได้ดที ีส่ ุด จะต้องใช้ระยะเวลาในการหมักไม่น้อยกว่า 15 วัน แต่ไม่ควรเกิน 45 วัน และปริมาณเอทานอลหลัง กลั่นให้เอทานอลบริสุทธิ์ ถึง 79.12 % ซึ่งอุณหภูมิที่ใช้ในการต้มแป้งให้สุกอยู่ที่ 70 องศา จะได้ ปริมาณเอทานอลในนำ้ ส่าเริ่มตน้ สำหรบั การกลนั่ ประมาณร้อยละ 10 ซึ่งเหมาะกับการศึกษาตอ่ ไป ลญั ฉกร นิลทรัตน์, กุลยทุ ธ บญุ เซ่ง. (2559). ไดอ้ อกแบบและสรา้ งเครื่องกล่นั น้ำส้มสายชู หมักจากตาลโตนดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตโดยใช้พลังงานไฟฟ้าให้ความร้อนด้วยฮีต เตอร์ มโี ครงสร้างเครื่องแบ่งเป็น 4 ส่วน คอื 1.ชดุ หม้อตม้ มีฮีตเตอร์เปน็ ตวั ให้ความร้อน 2.ท่อทางเดิน ไอน้ำหอมระเหย 3.ชุดควบแน่น 4.ชุดระบายความร้อน ผลการทดลองพบว่ากลั่น 3 ลิตร ได้ ประสิทธิภาพมากที่สุด มีอัตราการกลั่น 42 มิลลิลิตรต่อนาที มีอุณหภูมิในการกลั่นเฉลี่ย 104.15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของถังควบแน่นมีค่าเฉลี่ย 33.85 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิของน้ำในถัง ควบแน่นอยู่ในช่วง 30-36 องศาเซลเซียส ค่าความดันต่ำกว่า 1 บาร์ ส่วนการทดลองกลั่น 10 ลิตร พบวา่ ปริมาตรการควบแน่นท่ีดีท่ีสุดอย่ทู ่ี 36 องศาเซลเซยี ส ได้ปรมิ าณน้ำสม้ สายชจู ากตาลโตนดกล่ัน 600 มิลลิลิตร ตรวจสอบพบว่ามกี รดอะซิติก 4.6 กรัม/100mg. เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด และไม่ มีกรดนำ้ สม้ เพราะเปน็ การกล่ันตามกระบวนการธรรมชาตทิ ่ีไดอ้ อกแบบมา นำ้ มนต์ โชติวศิ รตุ , เรวัฒ คำวนั และสวสั ด์ิ กีไสย.์ (2556). ได้ศึกษาเพอ่ื พฒั นาเครื่องสกัด น้ำมันงาแบบเย็นให้สามารถผลิตน้ำมันงาให้ได้สูงขึ้นและสามารถกรองกากของน้ำมันงาที่สกัดได้โดย เครื่องสกัดน้ำมันงาแบบเย็นใช้มอเตอร์ขนาด 1.5 hp 360 v ใช้รอบในการสกัด 18 rpm สามารถ สกัดน้ำมันงาได้ 18 kg/hr. ได้อัตราการผลิตน้ำมันเฉลี่ย 4.04 kg/hr. ได้เปอร์เซ็นต์น้ำมัน (Yield) 22.9 % ใชเ้ วลาในการสกัดเฉล่ีย 205.25 s (3.42 min) มีอุณหภมู ใิ นการสกัดเฉลยี่ 54.70 องศา ส่วน ชุดระบบกรองใช้ตะแกรงลวดท่ีรู 0.50 mm และใชไ้ ส้กรองแบบตะแกรงลวด มีความละเอยี ด 50 µm ขนาด 10 in ใช้ปั๊มขนาด 0.5 hp เป็นต้นกำลัง สามารถช่วยลดตะกอนได้ 803 g มีประสิทธิภาพใน

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 29 การกรอง 36.37% และยังสามารถย่นระยะเวลาในการตกตะกอนจาก 72 hr.ให้เหลือ 36 hr. ข้อแนะนำคือน้ำมันที่ผ่านกระบวนการกรองมาแล้วจะต้องนำไปกรองกากอีกครั้งหนึ่งจึงจะนำไป จำหนา่ ยได้ กิตติชับ บรรจง. (2556). ได้พัฒนาเครื่องสกัดด้วยไมโครเวฟแบบมีอุปกรณ์กวนผสม สำหรับการสกัดกากองุ่นโดยใช้ตู้ไมโครเวฟที่ประกอบด้วยขวดก้นกลมขนาด 1000 มิลลิลิตร พร้อม เครื่องควบแน่นใช้น้ำหล่อเย็นบรรจุในตู้ไมโครเวฟขนาด 20 มิลลิลิตร ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องกวน สารเคมีชนิดแท่งแม่เหล็กไว้ดา้ นล่าง กำลังไฟฟ้าที่ใช้คือ 450,600,700และ800 วัตต์ เป็นเวลา 1,2,3 และ 4 นาที ตามลำดับ การสกัดใช้กากองุ่นแดง 30 กรัม/ต่อตัวทำละลาย (50% ในน้ำกลั่น) 770 มิลลิลิตร ผลการทดลองพบว่า สภาวะที่เหมาะสมตอ่ การสกัดคือทีก่ ำลังไฟฟ้า 800 วัตต์ นาน 4 นาที ได้ปริมาณของแข็งทั้งหมด 1.97% ตรวจสอบพบปริมาณสารประกอบโพลีฟีนอลทั้งหมด 34.69 mg ปรมิ าณแอนโทไซยานนิ ท้งั หมด 49.95 mg และความสามารถในการรดี ิว์เฟอรร์ ิก 107.38 mg สกุลตลา วรรณปะแข. (2554). ได้ออกแบบและสร้างเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาด เล็กโดยใช้ท่อความร้อนในการควบแน่นน้ำมันหอมระเหย โดยโครงสร้างของเครื่องแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1.ชุดหม้อต้มมีฮีตเตอร์เป็นตัวให้ความร้อน 2.ท่อทางเดินไอระเหย 3. ชุดควบแน่นซึ่งมีด้วยกัน 5 แบบ คือ 1. ชุดควบแน่นแบบใชน้ ำ้ ไหลเวียน (ควบแน่นโดยวิธีท่ัวไป) 2. ชุดควบแน่นแบบใช้ท่อความ ร้อน 3. ชุดควบแน่นแบบใช้ชุดทำน้ำเย็น, 4. ชดุ ควบแนน่ แบบท่อความร้อนกับชดุ น้ำไหลเวียน 5. ชุด ควบแน่นแบบท่อความร้อนกับชุดทำน้ำเย็น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในของท่อความร้อนคือ 2 mm ผลการทดลองโดยใช้ผิวมะกรูด 500 กรัม อุณหภูมิที่ใช้คือ 80, 90 และ 100 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 2 ชั่วโมง พบว่าปริมาณน้ำมันฯที่ได้มากที่สุดคือ 2.2 cc โดยการใช้ชุดควบแน่นแบบท่อ ความร้อนร่วมกับชุดทำน้ำเย็น ที่อุณหภูมิ 100 องศา ข้อเสนอแนะคือ ควรพัฒนาท่อทางเดินไอให้มี ขนาดใหญ่ขึ้น ทำซีลหรือปะเก็นรอบฝาหม้อให้มดิ ชิดไม่ใหม้ กี ารรว่ั ไหลของไอระเหย เพ่ือให้เกิดแรงดัน ไอภายในถงั เพมิ่ มากขึน้ เพอื่ ให้ไอระเหยขน้ึ ไปยังชดุ ควบแน่นๆได้ดีย่ิงข้ึน สราวุฒิ สมนาม, วราห์ ธมิกานนท์. (2553) ได้ศึกษาเพื่อพัฒนาเครื่องกลั่นน้ำมันหอม ระเหยเครื่องแบบประยุกต์จากเครื่องกลั่นสุราพื้นบ้าน โดยวัสดุส่วนใหญ่ทำจากอลูมิเนียม ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ หม้อต้มวัตถุดิบ, หอควบแน่น, ภาชนะรองรับ, และฐานวางอุปกรณ์ ซึ่งมี พ้ืนทใี่ ช้สอยรวม 1.20 ตารางเมตร จากการทดสอบประสิทธภิ าพพบวา่ เคร่ืองกล่ันท่ีพัฒนาข้ึนโดยการ สกัดน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูดสดหนัก 5 กก. ได้น้ำมันหอมระเหย 121.5 ก. หรือ คิดเป็น 2.43% ใชแ้ ก๊สหงุ ตม้ ปริมาณ 0.9-1 กก. ใช้น้ำประปาประมาณ 300 ลติ ร คิดเปน็ ต้นทุน 125 บาท ตอ่ 100 กรัม ข้อแนะเสนอแนะขณะที่ไม่มีการใช้งานเครือ่ งกลั่นควรถอดแยกอุปกรณแ์ ตล่ ะส่วนออกจาก กนั เพือ่ ระบายความชืน้ บุญเจิด กาญจนา, นพดล ตรีรัตน์, วาสนา ชัยเสนา และอรรถพล ตันไสว. (2553). ได้ พัฒนาเครื่องกลั่นน้ำส้มควันไม้โดยใช้เชื้อเพลิงจากแก๊สปโิ ตรเลียมเหลว มีส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ 1. โครงเคร่อื ง 2. ถงั เกบ็ น้ำสม้ ควนั ไม้ 3.ถงั ตม้ และเตาแก๊ส 4.ถงั ควบแน่นและระบบระบายความร้อน โดยหลักการทำงานของเครื่องกลั่นน้ำส้มควันไม้ แบ่งออกเป็น 2 ระบบคือ ระบบระบายความร้อน ออกจากน้ำ และ ระบบการกลนั่ น้ำสม้ ควันไม้ ผลการทดลองพบว่ามีความสามารถในการกลั่น 2,596- 2,600 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง มีอัตราส่วนของน้ำส้มฯที่กลั่นได้ 78.87-90 % มีอัตราสิ้นเปลืองพลังงาน

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 30 7.2 บาท/ชั่วโมง ซึ่งวิธีแบบเกษตรกรมีความสามารถในการกลั่น 1,480-1,497 มิลลิลิตร/ชั่วโมงมี อัตราส่วนของน้ำสม้ ควนั ไมท้ ่ีกลั่นได้ 83-87.7 % มอี ตั ราการสน้ิ เปลืองพลงั งาน 4 บาท/ชวั่ โมง ผลการ วเิ คราะหร์ ะหวา่ งเคร่ืองกลน่ั ท่ีสร้างขึน้ กบั กล่นั วธิ ีแบบเกษตรกร พบวา่ ปริมาณสารอินทรีย์ท่ีสำคัญใน น้ำส้มฯมะขามกลั่นมีปริมาณที่ไม่แตกต่างกัน แต่ปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำส้มควันไม้มะขามกล่ัน เครอื่ งที่สร้างข้ึนมแี นวโน้มทสี่ ูงกว่าแบบวธิ ีเกษตรกร ธรรมศักดิ์ พันธุ์แสนศรี, ธัญญรัตน์ เชื้อสะอาด. (2551). ได้ศึกษาเพื่อพัฒนาและทดสอบ เครื่องสกัดน้ำมันสบู่ดำด้วยระบบอัดเกลียว โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การทดสอบสมรรถนะของ เครื่องสกัดน้ำมันและการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ พบว่าน้ำหนักเมล็ดสบู่ดำโดยเฉลี่ย 100 เมล็ด เทา่ กับ 61.32 กรมั และเมล็ดสบู่ดำท่ีใช้ในการทดสอบเฉลี่ย 100 กรัม เทา่ กับ 160 เมล็ด เมล็ดสบู่ดำ 100 กรัม มีน้ำหนักเปลือก 39.09 % น้ำหนักเมล็ด 60.97 % และน้ำหนักเปลือกต่อน้ำหนักเมล็ดใน 0.64 % จากการทดสอบพบว่าความเร็วรอบที่เหมาะสมกับการบบี สกดั น้ำมันสบดู่ ำที่ได้ คือ 30 รอบ/ นาที ซึ่งสามารถบีบสกัดน้ำมันได้เฉลี่ยที่ 312.67 กรัม สมรรถนะในการทำงาน คือ 10.75 กิโลกรัม/ ช่ัวโมง ความสามารทำงานด้วยระบบเกลียว คือ 1.84 ลิตร/ช่ัวโมง เปอร์เซ็นต์น้ำมันสบู่ดำที่ได้เฉล่ีย 15.63%โดยน้ำหนัก เปอร์เซ็นที่น้ำมันเหลือในกาก 1.97% ส่วนต้นทุนการสกัดอยู่ที่ 4.30 บาทต่อ ลิตร ขอ้ เสนอแนะคือควรมกี ารศึกษาวิธลี ดปริมาณน้ำมนั ท่ตี กคา้ งในกากและชุดบีบสกัดให้น้อยท่สี ดุ ศิริวรรณ ปรียาจิตต์. (2551). ได้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมันจากเนื้อใน เมล็ดสบู่ดำด้วยตัวทำละลายโดยมีการใช้ขนาดอนุภาคเนื้อในเมล็ดสบู่ดำ 5 ขนาด ได้แก่ 0.5-0.7 มิลลเิ มตร 0.7-1 มิลลเิ มตร 1-1.4 มิลลิเมตร 1.4-2.4 มลิ ลิเมตร และขนาดใหญก่ ว่า 2.4 มิลลิเมตร ใช้ ตัวทำละลาย 2 ชนิด ได้แก่ นอร์มัลเฮกเซนและปโิ ตรเลียมอเี ทอร์ และอตั ราสว่ นเนอ้ื ในเมล็ดสบู่ดำต่อ ตัวทำละลาย 3 อัตราส่วน ได้แก่ 1:4 1:6 และ 1:8 (กรัม/มิลลิลิตร) ใช้อุณหภูมิในการสกัด 30 องศา เซลเซียส และใช้ระยะเวลาในการสกดั 3 ชั่วโมง จากผลการทดลองพบว่าอนุภาคเนือ้ ในเมล็ดสบ่ดู ำท่ี สามารถสกัดนำ้ มันไดป้ รมิ าณมากทีส่ ุด คอื อนภุ าคขนาด 0.5-1.4 มิลลเิ มตรและอัตราส่วนเน้ือในเมล็ด สบู่ดำต่อตัวทำละลายที่สามารถสกัดน้ำมันได้ปริมาณมากที่สุดคือ 1:8 (กรัม/มิลลิเมตร) มี ข้อเสนอแนะคือควรมีการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณน้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดฯแต่ละสายพันธ์ุ เนื่องจากสภาพการปลกู และการดแู ลรักษามีผลต่อผลผลติ และคุณภาพของเมลด็ ฯ เพ่ือหาสายพันธุ์ท่ี สกัดได้มากที่สุดและคุ้มค่าต่อการลงทุน และควรมีการศึกษาต้นทุนในการสกัดน้ำมันจากเมล็ดฯ เปรียบเทยี บวิธกี ารกายภาพและทางเคมใี นระดบั อุตสาหกรรม เนอ่ื งจากตน้ ทุนในห้องปฏิบัติการไม่ได้ สะทอ้ นต้นทนุ จรงิ ๆทใี่ ช้ในระดบั อตุ สาหกรรม นงนชุ ศศธิ ร, กาญจนา ลือพงศ์ และ วโิ รจน์ ผดงุ ทศ. (2551). ได้ศึกษาการนำนำ้ หลอ่ เย็น จากเคร่อื งทำน้ำกลน่ั กลบั มาใช้ โดยการออกแบบพัฒนาระบบเดิมทเี่ ปน็ อยู่ จากนน้ั ทำการทดลองและ ปรับปรุงแก้ไขระบบ เพื่อให้ระบบสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการ ออกแบบและพัฒนาเลือกใช้ถังนำ้ เกบ็ น้ำหล่อเย็นทำจากไฟเบอร์กลาสทรงกระบอก 700 ลิตร พร้อม ฝาสำหรับใสน่ ำ้ หล่อเย็นและปล่อยใหเ้ ย็นดว้ ยการถ่ายเทความร้อนในบรรยากาศปกติ ป๊ัมน้ำที่เลือกใช้ มีอัตราการไหลเป็น 10-36 ลิตรต่อนาที ใช้ไฟขนาด 200 วัตต์ เมื่อทำการประเมินพบว่าระบบเดิมมี การใช้น้ำประปา 348,000 ลิตรต่อปีหรือ 3,480 ลูกบาศก์เมตรต่อปี คิดเป็น 7,656 บาทต่อปี ระบบ พัฒนามกี ารใช้นำ้ ประปา 17,28 ลูกบาศก์เมตรตอ่ ปี คดิ เป็น 38.36 บาทต่อปี (สามารถประหยัดน้ำได้

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 31 จากเดิม 7,617.64 บาทต่อปี) ค่าไฟฟ้าของเครือ่ งกลั่น ทำงานวันละ 6 ชม. คิดเป็นื71,280 บาทต่อปี ค่าไฟฟ้าของปั๊มน้ำ ทำงานวันละ ชม คิดเป็น 2,376 บาทต่อปี และเมื่อวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ พบว่าระยะเวลาคืนทุน คำนวณหาระยะเวลาที่ทำให้รายจ่ายเท่ากับรายรับ โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 17,503.49 บาท แต่ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายปีละ 5,241.64 บาท มีระยะเวลาคืน ทุน 3.33 ปี ซง่ึ คา่ B/C ratio = 1.26 แสดงว่าระบบนี้มีความคุ้มคา่ กบั การลงทุน ธีรศิลป์ ชมแก้ว. (2551). ได้ศึกษาการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากขิงด้วยวิธีการต้มกล่ัน และกลั่นด้วยไอน้ำด้วยเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยต้นแบบ โดยเครื่องกลั่นประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ หม้อต้มกลั่น ชุดควบแน่นและอุปกรณ์แยกน้ำมันหอมระเหยออกจากน้ำ จากการทดลองพบว่า ประสิทธภิ าพในการสกดั ใกล้เคียงกบั เครื่องคลีเวนเจอร์ ซง่ึ สภาวะทเ่ี หมาะสมในการสกัดน้ำมันฯให้ได้ ปริมาณสูง คือการสกัดด้วยวิธีการต้มกลั่นโดยใช้ขิงสดปั่นละเอียด อัตราส่วนโดยมวลขิงต่อน้ำ 0.1:1 อุณหภมู นิ ้ำหล่อเย็น 15 องศา ใช้เวลา 60 นาที คุณสมบตั ทิ างกายภาพของน้ำมันฯจากขงิ ที่สกัดได้ มี ความหนาแน่น 0.87 กรัม/มิลลิลิตร ซ่งอยู่ในช่วงมาตราฐานอเมริกากำหนดไว้ ส่วนค่าดัชนีการหักเห ของคลื่นแสง มีค่า 1.480-1.490 ข้อเสนอแนะคือควรศึกษาปรับปรุงเครื่องกลั่นในส่วนของถังบรรจุ วตั ถุดบิ ใหเ้ ป็นถาดท่ีมีรูหลายๆชั้น เพ่อื ไม่ให้วตั ถุดิบกดทบั แน่นจนเกินไปและวัตถดุ ิบสามารถสัมผัสไอ นำ้ ได้อย่างทว่ั ถึงดขี ้นึ โสฬส ศรีหมื่นไวย. (2549). ได้ออกแบบและสร้างเครื่องสกัดสารใบสบู่ดำโดยใช้พลังงาน แสงอาทิตย์ เครื่องนี้ประกอบด้วยแผงรับรังสีอาทิตย์ทำจากท่อทองแดงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตรและแผ่นฉนวนกันความร้อนเป็นท่อทางเดินน้ำ แผ่นดูดกลืนรังสีผลิตจากอะลูมิเนียมที่ทำ ด้วยสีดำ พื้นที่แผงรับรังสีอาทิตย์ 100 ซม. × 80 ซม. ความสูงของกระจก 15 ซม. ความสูงด้านหน้า ห่างจากพื้นที่วาง 40 ซม. เอียงทามุม15 องศา ถังเก็บความร้อนที่ใช้สกัดสารผลิตจากอะลูมิเนียม ขนาดความจุ 21 ลิตรห่อด้วยฉนวนกันความร้อน เก็บข้อมูลด้วยเครือ่ งบันทกึ ข้อมูล(Data recorder) และสายเทอร์โมคับเปิ้ลชนิดK ทดลองโดยแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคกลางวันและ ภาคกลางคืน จากผลการทดลองพบว่า ภาคกลางวันอุณหภูมิของน้ำเฉลี่ยที่ไหลเข้าแผงรับรังสีอาทิตย์เท่ากับ 41.6 องศาและอุณหภูมิไหลออกเฉลี่ยจากแผงเท่ากับ 48.3 องศา มีผลต่างของอุณหภูมิ 6.7 องศา โดย อุณหภูมิจะเพิม่ ตามเวลาของวนั ทำใหอ้ ุณหภูมินำ้ ในถังสกัดมีอุณหภูมิเฉลี่ยในถัง 44.3 องศา จากการ ทดลองทั้งสองครั้งอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำในถังสกัดเท่ากับ 44 องศา สีของน้ำสกัดใบสบู่ดำจะมีสีเข้ม ตามแปรตามอุณหภูมิของน้ำในถังสกัด ส่วนภาคกลางคืน อุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำที่ไหลเข้าแผงและ อุณหภูมิน้ำที่ไหลออกจากแผงรับพลังงานรังสีดวงอาทิตย์มีผลต่างของอุณหภูมิที่ 2.6 องศาและ อุณหภูมิเฉลี่ยของนำ้ ในถังสกัดเท่ากับ 37.5 องศา ข้อเสนอแนะคือในการทดลองพบว่าความเข้มแสง รังสีดวงอาทิตย์ท่ีตกกระทบแผงรับรังสีมผี ลตอ่ อุณหภูมิในถังสกัดสารและการพัฒนาฉนวนหุ้มถงั สกัด จะเปน็ แนวทางการเพ่มิ อุณหภมู ิได้ Jeffery B. Cannon, Charles L. Cantrell, Tess Astatkie, Valtcho D. Zheljazkov. (2013). ได้ศึกษาการปรับเปลี่ยนผลผลิตและองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยโดยเวลาในการกล่ัน พบว่า น้ำมันหอมระเหยเปปเปอร์มิ้นต์ ตะไคร้ และปาลมาโรซา ค่า DT 20 นาทีจะเพียงพอสำหรับ ผลผลติ นำ้ มันหอมระเหยสูงสุด ในการทดลองกล่นั แต่ละคร้ัง ตรวจพบวา่ ไม่ได้ให้ผลผลิตน้ำมันเพิ่มข้ึน อันที่จริงในน้ำมนั ตะไคร้และปาลมาโรชา DTS 240 นาทใี ห้ผลผลิตต่ำกว่า 20 ถึง 160 นาที การกลั่น

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 32 มากเกนิ ไปในน้ำมันเหลา่ น้ีทำใหผ้ ลผลติ ลดลง 20 ถงึ 160 นาที การกลั่นมากเกนิ ไปน้ำมันเหล่านี้ทำให้ ผลผลติ ลดลง 25-40% เนื่องจากการกลัน่ ด้วยไอน้ำโดยทวั่ ไปไม่ใช่ระบบปิด จึงมแี นวโน้มว่าการลดลง เหลา่ นเ้ี กดิ จากการสูญเสยี การระเหยของน้ำมันหอมระเหย Ahmet AKDAG, Ergin OZTURK. (2019) ได้ศึกษาวิธีการกลั่นน้ำมันหอมระเหย พบว่า การกลั่นน้ำมันหอมระเหยด้วยน้ำและไอน้ำเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุดเพื่อให้ได้น้ำมันหอมระเหยที่ใช้ใน หลากหลาย วิธีการสกัดด้วยตวั ทำละลายทำให้เกิดการก่อตัวตกค้างและการสูญเสยี น้ำมันหอมระเหย มี การกลั่นด้วยไอน้ำเกิดจากการที่หม้อไอน้ำออกจากระบบและอุณหภูมิภายในลดลงจนอัตราการ เสื่อมสภาพของการกลั่นน้ำลดลง แต่ปัญหาหลักของวิธีนี้คือการกำหนดอัตราการไหลของไอน้ำและ ความดนั สว่ นการกล่ันน้ำโดยใช้ไมโครเวฟชว่ ยได้รับการพัฒนาข้ึนเนื่องจากปริมาณการสกัดทั้งหมดที่ จำเป็นเพื่อให้ถึงจุดเดือดในการกลั่นน้ำมีผลเสียต่อทั้งผลผลิตและคุณภาพของการได้รับน้ำมันหอม ระเหย การกลนั่ น้ำโดยใช้ไมโครเวฟสามารถถงุ จดุ เดือดเร็วมากกว่า นอกจากนยี้ งั มกี ารกำหนดปริมาณ และคุณภาพน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการกลั่นน้ำโดยใช้ไมโครเวฟช่วยใน 30 นาที เท่ากับปริมาณ และคุณภาพของน้ำมันหอมระเหยท่ีไดจ้ ากการกลั่นด้วยนำ้ 4 ชั่วโมง 30 นาที ซึ่งเป็นวิธกี ารที่นิยมใช้ มากท่ีสุด เนอื่ งจากมีต้นทุนต่ำ Ibtehal K. Shakir, Sarah J. Salih. (2015). ได้ศึกษาการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากผล จากส้มโดยใช้การกลั่นด้วยไอน้ำด้วยไมโครเวฟ เพอ่ื สกดั น้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้ม มะนาว และ ส้มแมนดาริน ด้วยสองวิธีคือ การสกัดด้วยไอน้ำ (SD) และการสกัดด้วยไอน้ำด้วยไมโครเวฟช่วย (MASD) พบวา่ การสกัดด้วยไมโครเวฟช่วยดีกวา่ การสกัดดว้ ยไอน้ำในแงข่ องความรวดเรว็ ประหยัด พลังงานและผลผลิต โดยมีระยะเวลาในการสกัดสั้นกว่า ผลผลิตน้ำมันจากส้มที่สกัด โดย MASD เทา่ กับ 1.150 % ใน 35 นาที เทยี บกับ 1.095 % ใน 45 นาที โดยกระบวนการ SD กำลงั ไมโครเวฟที่ ดที ส่ี ุดคือ 135 W ให้ผลผลติ น้ำมนั 1.150%, 1.115%, 0.940% สำหรับสม้ มะนาวและสม้ แมนดาริน ตามลำดับ สำหรับชนิดเปลือกส้มที่ดีที่สุดซึ่งให้ผลผลิตสูงสุด ได้แก่ ส้ม รองลงมาคือมะนาวและส้ม แมนดารนิ ในทง้ั สองกระบวนการ Anca. Racoti, Adam.J. Buttress, Eleanor. Binner, Chris. Dodds, Adrian. Trifan and Ioan. Calinescu. (2017). ได้ศึกษาการใช้ไมโครเวฟช่วยในการกลั่นด้วยพลังน้ำของน้ำมันหอม ระเหยจากรากขิงสด โดยการสกัดด้วยไมโครเวฟขนาด 2 กิโลสัตต์ที่ทำงานที่ 2.45 GHZ ใช้พลังงาน 0.40 กิโลวัตต์/ชั่วโมง พบว่า สภาวะที่เหมาะสมคือ 1000 W (0.40kWh/kg) เป็นเวลา 5 นาที สำหรับขิงท้ังราก ได้น้ำมัน 0.35 g ต่อพืช 100 g เปรียบเทียบกบั ผลผลิตของตน้ 0.2 g ต่อพืช 100 g ใน 150 นาที โดยใช้การกลั่นด้วยพลังน้ำแบบธรรมดาและพืช และพืช 100 g ได้น้ำมัน 0.3 g ใน 90 นาที โดยใชก้ ารกลน่ั ด้วยไฮโดรแบบใชค้ ลื่นไมโครเวฟหลายโหมด

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง บทท่ี 3 วธิ ีดำเนนิ การวจิ ัย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อออกแบบและสร้างเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดเล็ก ได้ ดำเนินการทำอย่างเปน็ ขน้ั ตอนเพื่อไปใชง้ านได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ เพอื่ บรรลุวัตถุประสงคข์ องโครงการที่ ได้จัดตัง้ ไว้ มีวธิ ีการดังตอ่ ไปนี้ 1. การออกแบบเคร่อื งกล่ันนำ้ มันหอมระเหยขนาดเล็ก 2. ขัน้ ตอนการดำเนินงาน 3. ข้นั ตอนการสรา้ งเครอ่ื งกล่นั นำ้ มันหอมระเหยขนาดเล็ก 4. รายละเอียดอุปกรณ์ 5. รายละเอยี ดค่าใชจ้ า่ ย 1. การออกแบบเครือ่ งกลนั่ นำ้ มันหอมระเหยขนาดเล็ก การออกแบบเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดเล็กนั้นต้องทำการออกแบบเครื่องให้ เหมาะสมกับการใช้งานได้สะดวก มีความปลอดภัยและมีต้นทุนในการผลิตไม่สูงมากเหมาะสำหรับ ครวั เรอื น มีข้ันตอนดงั ต่อไปนี้ ศึกษาข้อมูลในการออกแบบ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการสร้างเครื่อง จึงจำเป็นต้อง ทำการศึกษาคน้ คว้าข้อมลู เกี่ยวกับเคร่ืองกลัน่ นำ้ มนั หอมระเหยเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่จะเกิดข้ึน โดยมี การศึกษาขอ้ มลู ดังนี้ 1.1 ศึกษาประโยชน์ของเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยศึกษา จากงานวิจยั ทีเ่ กี่ยวข้อง สอบถามผูท้ ่ีมคี วามรู้ทางด้านการกล่นั น้ำมนั หอมระเหย และผู้ที่มีความรู้ด้านการ สรา้ งเครอ่ื ง 1.2 ศึกษาความแตกต่างระบบการการทำงานของเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยที่มีการสร้าง ข้ึนในปัจจุบันจากงานวิจยั 1.3 ศกึ ษาวสั ดอุ ุปกรณ์ท่ีใช้ในการสร้างเคร่ืองกลนั่ น้ำมันหอมระเหย เลอื กหาวัสดุท่ีเหมาะสม กบั การใช้งานเพอื่ ประหยัด มีอายุการใชท้ นี่ าน และลดตน้ ทุนต่อการผลติ 2. การออกแบบเครื่อง จากการศึกษาข้อมูลในการออกแบบแล้ว เพื่อที่จะนำไปพิจารณา รูปร่างของเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดเล็ก โดยการออกแบบเครื่องสกัดใช้โปรแกรม Autodesk Inventor Professional 2019 ในการออกแบบเครอ่ื งกล่นั

34 มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงรูปภาพที่ 3.1 เครอ่ื งกลั่นนำ้ มนั หอมระเหยขนาดเล็ก ตารางที่ 3.1 การออกแบบเคร่ืองกลั่นนำ้ มนั หอมระเหยขนาดเลก็ วัสดุ คณุ ลักษณะ ขนาด หมายเหตุ หมอ้ ตม้ ทำจากสแตนเลส เสน้ ผา่ นศนู ย์กลาง 32 ซม. ทนความรอ้ น กนั สนิม สูง 43 ซม. หมอ้ ควบแน่น ทำจากสแตนเลส เสน้ ผา่ นศูนย์กลาง 25 ซม. ทนความเย็น กันสนมิ ท่อสง่ ไอนำ้ ทำจากท่อสแตนเลส สูง 35 ซม. ขนาดเสน้ ผา่ นศนู ยก์ ลาง ทนความรอ้ น ความเยน็ ได้ 12 มิลลิเมตร ดแี ละทนแรงดันได้สงู ระบบน้ำหล่อ ใช้คอมเพลสเซอร์จาก 220-240V 50Hz 1PH ทำความเยน็ ได้ดี เยน็ ตู้เยน็ เก่า

35 2. ขน้ั ตอนการดำเนนิ งาน เริม่ ต้น ศกึ ษาปัญหา มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีและทบทวน วรรณกรรมทีเ่ ก่ียวข้อง วเิ คราะห์และ ไมผ่ า่ น ออกแบบ ไม่ผ่าน สร้างเคร่อื ง ทดสอบประสทิ ธภิ าพ วิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์ สรุป จบ ภาพที่ 3.2 แผนผังการดำเนินงาน ทีม่ า: คณะผู้วจิ ยั , 2564

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 36 3. ขน้ั ตอนการสร้างเคร่ืองกลน่ั นำ้ มันหอมระเหยขนาดเลก็ จากการที่ไดท้ ำการศึกษาและออกแบบเครอื่ งกลัน่ นำ้ มันหอมระเหยขนาดเลก็ ผู้จดั ทำจึงทำ การดำเนินการสรา้ งซึ่งได้ทำการแบง่ ออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ สว่ นของหม้อต้ม สว่ นของตะแกรงบรรจุ วตั ถดุ บิ สว่ นของฝาหม้อต้ม ส่วนของท่อสง่ ไอน้ำ และส่วนระบบไหลเวยี นนำ้ หลอ่ เยน็ โดยมีขนั้ ตอนการ สร้างดังตอ่ ไปน้ี 3.1 การสรา้ งหม้อต้ม ทำการสรา้ งตามหมายเลขแบบ 0001 ดงั น้ี 3.3.1 นำแผ่นสแตนเลสหนา 2 มม. ม้วนทรงกระบอกขนาด Ø320x430 มม. แลว้ ทำการเชื่อม 3.3.1 นำแผน่ สแตนเลสหนา 7 มม. เชื่อมเพ่ือเป็นตวั ยึดกบั ฝาหมอ้ 3.3.1 ทำการเจาะรูเพ่ือใส่สำหรบั ใสต่ วั จบั ยึด 3.3.1 ทำการเจาะรูก้นหม้อต่อวาลว์ สำหรบั ระบายนำ้ ออก 3.3.1 ทำการเช่อื มต่อขาต้งั 3.3.1 ทำการขดั เจียรเ์ พ่ือเกบ็ รอยเชื่อม รูปภาพที่ 3.3 การสรา้ งหม้อต้ม ท่ีมา: คณะผู้วิจยั , 2564

37 3.2 การสรา้ งตะแกรง ทำการสร้างตามหมายเลขแบบ 0005 ดงั น้ี 3.3.1 นำสแตนเลสหนา 1.2 มม. เจาะรู Ø 3 มม. 3.3.2 ทำการม้วนเป็นรปู ทรงกระบอกขนาด Ø280x350 มม. 3.3.2 ทำการเช่ือมหหู ว้ิ สแตนเลสของตะแกรง 3.3.2 ทำการขดั เจยี ร์เพื่อเกบ็ รอยเชื่อม มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง รูปภาพท่ี 3.4 การสรา้ งตะแกรงบรรจุ ทม่ี า: คณะผู้วิจยั , 2564 3.3 การสร้างฝาหม้อตม้ ทำการสร้างตามหมายเลขแบบ 0002 ดงั น้ี 3.3.1 นำแผ่นสแตนเลสหนา 2 มม. ทำเปน็ รปู ทรงกรวย Ø 240x210 mm. 3.3.2 นำแผ่นสแตนเลสหนา 7 มม. ตดั ขนาด Outside Diameter 320 มม. และ Inside Diameter 240 mm. 3.3.3 ทำการสวมกับทรงกรวยดังขอ้ 3.3.2.1 แลว้ เช่ือม 3.3.4 ทำการขัดเจยี รเ์ พื่อเกบ็ รอยเช่อื ม รูปภาพท่ี 3.5 การสรา้ งฝาหม้อต้ม ท่มี า: คณะผูจ้ ดั ทำ, 2564

38 3.4 ระบบ Safety เม่ือทำการสรา้ งฝาหม้อตม้ เสรจ็ แล้ว ขั้นตอนตอ่ ไปต้องทำการตดิ ตง้ั ระบบเซฟตี้ ตาม หมายเลขแบบ 0003 โดยผู้จดั ทำใช้ Safety valve 3.5 bar ½” พรอ้ มกบั ติด Pressure gauge และ Temperature Gauge ดงั รูปภาพท่ี 3.6 3.7 และ 3.8 รูปภาพที่ 3.6 Safety valve 3.5 bar ½” ท่มี า: คณะผู้จดั ทำ, 2564 รูปภาพที่ 3.7 Pressure gauge 5 kg/cm2 ทมี่ า: bqtool, 2564 มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 39 รปู ภาพท่ี 3.8 Temperature Gauge ที่มา: คณะผจู้ ัดทำ, 2564 3.5 การสรา้ งหม้อควบแนน่ และระบบควบแน่น 3.5.1 นำแผน่ สแตนเลสความหนา 2 mm. มว้ นเป็นหม้อทรงกระบอกขนาด Ø250x350 mm. ตามหมายเลขแบบ 0009 3.5.2 นำเหล็กฉากมาตัดเพ่ือทำเป็นฐานตามหมายเลขแบบ 0008 3.5.3 เจาะรหู มอ้ ตดิ วาลว์ สำหรบั ระบายนำ้ ออกจากหม้อ 3.5.4 ตดิ ตัง้ ระบบไหลเวียนน้ำหลอ่ เยน็ โดยใชค้ อมเพลสเซอรจ์ ากตู้เยน็ รปู ภาพที่ 3.9 การสรา้ งฐานหมอ้ ควบแนน่ ทมี่ า: คณะผู้จดั ทำ, 2564

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 40 รปู ภาพที่ 3.10 คอมเพลสเซอร์ต้เู ยน็ ท่มี า: system air and mart, 2564 รูปภาพที่ 3.11 แผงร้อนตูเ้ ย็น ท่ีมา: คณะผูจ้ ดั ทำ, 2564

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 41 รปู ภาพที่ 3.12 ท่อทองแดง ทมี่ า: คณะผู้จัดทำ, 2564 3.6 การสรา้ งท่อส่งไอนำ้ 3.6.1 ทำการมว้ นท่อสแตนเลสขนาด 12 mm. ตามหมายเลขแบบ 0010 3.6.2 ทำการเกบ็ รายละเอียด 3.6.3 นำไปประกอบกับหม้อควบแนน่ ตามหมายเลขแบบ 0006 รูปภาพท่ี 3.13 การสร้างทอ่ ส่งไอน้ำ ที่มา: คณะผู้จัดทำ, 2564


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook