มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง ความเปน็ ครมู ืออาชพี อนงค์ สระบวั คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภัฏหม่บู ้านจอมบึง 2565
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง ความเป็นครูมืออาชพี อาจารย์ ดร.อนงค์ สระบัว ปร.ด. (การบรหิ ารการศกึ ษา) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมบู่ า้ นจอมบึง 2565
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง คำนำ ตำราเร่ือง “ความเป็นครูมืออาชีพ” เลม่ นี้จัดทำขน้ึ เพื่อใหน้ ักศกึ ษาวิชาชพี ครู มหาวิทยาลัย ราชภัฏหมู่บา้ นจอมบึง ใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้าประกอบรายวิชา PC62501 คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และจิตวิญญาณความเป็นครู โดยมีจุดมุ่งหมายให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าเกี่ยวกับ ความเปน็ ครู และการประกอบวชิ าชพี ครู เนื้อหาของตำราแบ่งออกเป็น 6 บท ประกอบด้วย บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ความเป็นครู บทที่ 2 การประกอบวิชาชีพครู บทที่ 3 มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชพี บทที่ 4 คุณธรรม และจริยธรรม สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครู บทที่ 5 ความเป็นครูมืออาชีพ บทที่ 6 การพัฒนาวิชาชีพครู ตำราเล่มนี้ นอกจากจะให้ความรู้เรื่องพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู ที่เป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูแล้ว ผู้สนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครู รวมทั้งครู ประจำการ ตลอดจนบุคลากรทางการศึกษา ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับศึกษาหรือปฏิบัติงาน ของตนเองไดอ้ ีกด้วย ขอขอบพระคุณผู้เขียนเอกสาร ตำรา บทความ และงานวิจัยที่ได้นำมาใช้ในการอ้างอิง ตามบรรณานุกรมท้ายตำราเล่มนี้ รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ให้ความช่วยเหลือและเป็นกำลังใจ ในการจัดทำตำรานี้จนแล้วเสร็จ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าตำราเล่มน้ีคงจะอำนวยประโยชน์ แก่นักศึกษาผทู้ เี่ รียนในรายวชิ าน้ี รวมทงั้ ผ้ทู ี่สนใจใฝ่ร้ทู ัว่ ไป อาจารย์ ดร.อนงค์ สระบัว 27 มกราคม 2565 (3)
สารบัญ หน้า คำนำ (3) สารบัญ (4) บทท่ี 1 ความรู้เบ้ืองตน้ เกี่ยวกบั ความเปน็ ครู ......................................................................... 1 มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง ความหมายของคำว่า “ครู” “อาจารย”์ และ “ความเป็นครู” ......................................... 1 องคป์ ระกอบของความเปน็ ครู .......................................................................................... 8 ความสำคัญของความเปน็ ครู ........................................................................................... 10 สมญานามทเี่ นน้ ให้เหน็ ความสำคญั ของครู ...................................................................... 17 ประเภทของครู ................................................................................................................ 20 ครูทด่ี แี ละมปี ระสิทธภิ าพ ............................................................................................... 23 บทบาท หน้าท่ี และความรบั ผิดชอบของครู .................................................................... 25 บทสรปุ ............................................................................................................................ 29 คำถามทบทวน ................................................................................................................. 31 บทที่ 2 การประกอบวิชาชีพครู ............................................................................................. 32 ความหมายของวิชาชพี ครูและผู้ประกอบวิชาชพี ครู ........................................................ 32 ความสำคัญของวิชาชพี ครู .............................................................................................. 34 เกณฑ์พจิ ารณาวชิ าชพี .................................................................................................... 37 วิชาชีพครใู นฐานะวิชาชพี ชน้ั สงู ...................................................................................... 37 องค์กรวิชาชพี ครู ............................................................................................................. 40 ใบอนญุ าตประกอบวิชาชีพ ............................................................................................. 43 บทสรปุ ........................................................................................................................... 52 คำถามทบทวน ............................................................................................................... 52 บทที่ 3 มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวชิ าชพี ......................................................... 53 มาตรฐานวชิ าชพี ทางการศกึ ษา ....................................................................................... 53 มาตรฐานวิชาชพี ครู ........................................................................................................ 55 จรรยาบรรณของวชิ าชพี ................................................................................................ 57 แผนแบบพฤตกิ รรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู ...................................................... 59 บทสรปุ .......................................................................................................................... 63 คำถามทบทวน .............................................................................................................. 64 (4)
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงบทที่ 4 คณุ ธรรม และจริยธรรม สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครู ............................................ 65 ความหมายของคณุ ธรรม และจรยิ ธรรม ....................................................................... 65 ความสำคัญของคณุ ธรรม และจริยธรรม ...................................................................... 69 ประโยชนข์ องคุณธรรมและจรยิ ธรรม ............................................................................ 71 หลักคุณธรรมสำหรับผปู้ ระกอบวิชาชพี ครู .................................................................... 72 จรยิ ธรรมสำหรบั ผปู้ ระกอบวิชาชีพครู .......................................................................... 83 ความสำคญั ของจรยิ ธรรม ............................................................................................. 95 ประมวลจริยธรรมสำหรับครู .......................................................................................... 97 การปลูกฝงั คุณธรรม และจริยธรรมสำหรับครู .............................................................. 101 บทสรปุ ......................................................................................................................... 101 คำถามทบทวน ............................................................................................................ 103 บทที่ 5 ความเปน็ ครมู ืออาชีพ ............................................................................................ 104 ความหมายของครมู ืออาชพี ......................................................................................... 104 คุณลกั ษณะของความเป็นครูมืออาชพี ......................................................................... 106 อดุ มการณ์ของความเป็นครูมืออาชีพ ......................................................................... 108 ครูมอื อาชีพกับการจัดกระบวนการเรยี นรู้ ................................................................. 109 การพัฒนาไปสคู่ วามเป็นครมู ืออาชีพ ......................................................................... 112 การปฏิรูปตนเองสู่การเป็นครูมอื อาชพี ..................................................................... 114 บทสรุป ..................................................................................................................... 116 คำถามทบทวน ......................................................................................................... 118 บทท่ี 6 การพัฒนาวิชาชพี ครู .......................................................................................... 119 สถานการณ์ครูไทยปัจจบุ ัน ....................................................................................... 119 การยกระดบั และการพฒั นาครปู จั จุบนั ..................................................................... 120 บทบาทครูในศตวรรษท่ี 21 ...................................................................................... 121 การจัดการศกึ ษาในศตวรรษที่ 21 ............................................................................ 122 ขอ้ เสนอการยกระดับคุณภาพครใู นศตวรรษที่ 21 ..................................................... 122 การพัฒนาวชิ าชีพครู ................................................................................................... 124 บทสรปุ ....................................................................................................................... 136 คำถามทบทวน ............................................................................................................ 137 บรรณานุกรม..................................................................................................................... 138 (5)
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง บทที่ 1 ความรู้เบ้ืองต้นเก่ยี วกบั ความเปน็ ครู การศึกษาเป็นปัจจัยที่สำคัญท่ีสุดประการหนึ่งของชีวิต เพราะการศึกษาเป็นรากฐาน ของความเจริญของคน ถ้าคนในประเทศชาติมีการศึกษาที่ดี สามารถนำความรู้ ความสามารถ ไปพัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาประเทศได้ก็จะทำให้บุคคล สังคม และประเทศนั้น ๆ มีความ เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ดังน้ัน การศึกษาจึงเป็นรากฐานสำคัญของความม่ันคง ในทุก ๆ ด้าน และผู้ท่ีมีบทบาทสำคัญส่วนหน่ึงในการจัดการศึกษาก็คือ “ครู” ซ่ึงจะเป็นผู้ นำนโยบายการศึกษาของประเทศท่ีกำหนดไว้ รวมท้ังแนวทางในการจัดการเรียนการสอนมาสู่ ห้องเรียนและนักเรียน (สุปราณี จิราณรงค์, 2558, หน้าคำนำ) ดังนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพครูอาจารย์ ในสถานศึกษา ควรมีความรู้เบื้องต้นเก่ียวกับความเป็นครูเพื่อเตรียมตนเองให้พร้อมทั้งด้านความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะความเป็นครูที่ดี เพ่ือสามารถนำไปเป็นแนวทางในการประพฤติ ปฏิบัตติ นใหเ้ หมาะสบกับการเป็นผปู้ ระกอบวชิ าชีพชัน้ สงู เมื่อครูมคี วามพรอ้ มดงั กลา่ วแล้วจะทำใหค้ รู เหล่านน้ั เปน็ ครมู อื อาชีพได้อย่างแท้จริง ในบทท่ี 1 น้ี ผู้เขียนจะกล่าวถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความเป็นครูในเรื่อง ความหมาย ของคำว่า “ครู” “อาจารย์” และ “ความเป็นครู” องค์ประกอบของความเป็นครู ความสำคัญ ของความเป็นครู สมญานามที่เน้นให้เห็นความสำคัญของครู ประเภทของครู ครูท่ีดีและมี ประสทิ ธิภาพ บทบาท หนา้ ท่ี และความรบั ผิดชอบของครู โดยมีรายละเอียดดังตอ่ ไปนี้ ความหมายของคำว่า “คร”ู “อาจารย์” และ “ความเปน็ ครู” ครูท่ีแท้ย่อมมีความรัก ความห่วงใย และความปรารถนาดีต่อศิษย์ มุ่งหวังให้ศิษย์ มีความเจริญมั่นคงในชีวิต เช่นเดียวกับบิดา มารดา ผู้ที่รักและหวังดีต่อบุตร ธิดา อยู่ตลอดเวลา เน่ืองจากปัจจุบันคำว่า “ครู” และ “อาจารย์” มักใช้ควบคู่กันเสมอ จนบางคร้ังมักจะเข้าใจผิด หรือมีความสับสนว่าทั้งสองคำมีความหมายเหมือนกันเป็นคำเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงท้ังสองคำ มคี วามแตกต่างกัน เพื่อเป็นพ้ืนฐานให้เกิดความเข้าใจสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้เขียนขอนำเสนอ ความหมายของคำวา่ “คร”ู และ “อาจารย”์ ตามลำดับ ดังนี้ 1. ความหมายของคำวา่ “ครู” ได้มี นักวิชาการ นักการศึกษา พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้ทางการศึกษา รวมท้ัง หน่วยงานราชการต่าง ๆ ได้ให้ความหมายของคำว่า “ครู” ไวห้ ลากหลาย ดังน้ี พจนานุกรมแปล ไทย-องั กฤษ NECTEC's Lexitron Dictionary ใหค้ วามหมายคำวา่ “ครู” (teacher) หมายถึง ผู้ส่ังสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ส่วนพจนานุกรมแปล ไทย-ไทย
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 2 เปล้ือง ณ นคร ให้ความหมายคำวา่ “ครู” หมายถึง ผู้มีความหนักแน่น ผู้ควรแก่การเคารพของศิษย์ ผู้ส่ังสอน สอดคล้องกับพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายคำว่า “ครู” หมายถึง “ผู้ส่ังสอนศิษย์, ผถู้ ่ายทอดความรใู้ ห้แก่ศษิ ย์” มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีวา่ “ครุ หรือ ครุ ุ” หรือจากภาษาสันสกฤตว่า “คุรุ” ท่ีเป็นคำวิเศษณ์ แปลว่า หนัก, สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง (ราชบณั ฑิตยสถาน, 2556, ออนไลน)์ พระธรรมโกศาจารย์หรือพุทธทาสภิกขุ (2529, หน้า 92 อ้างถึงใน ยนต์ ชุ่มจิต, 2558, หน้า 3) ได้อรรถาธิบายความหมายของ “ครู” ไว้ว่า ในสมัยโบราณ คำว่า “ครู” เป็นคำท่ีสูงมาก “ครูเป็นผู้เปิดประตูทางวิญญ าณ” และนำวิญญาณไปสู่คุณธรรมชั้นสูง เป็นเรื่องทางจิตใจ โดยเฉพาะ ครูเป็นผู้ควรเคารพหรือมีความหนักที่เป็นหน้ีอยู่เหนือศีรษะ เป็นเจ้าหน้ีอยู่เหนือศีรษะ คนทกุ คน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (2545, หน้า 3-4) มาตรา 4 กำหนดความหมายคำว่า “ผู้สอน” หมายความว่า ครูและคณาจารย์ ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ โดย “ครู” หมายความว่า “บุคลากรวิชาชีพซ่ึงทำหน้าท่ีหลักทางด้าน การเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาท้ังของรัฐ และเอกชน” พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 (2546, หน้า 3) มาตรา 4 กำหนดความหมาย คำว่า “ครู” หมายความว่า “บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียน การสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพ้ืนฐาน และอุดมศึกษาท่ีต่ำกวา่ ปริญญาท้ังของรัฐและเอกชน” สันติ บุญภิรมย์ (2557, หน้า 3) ได้สรุปว่าคำว่า ครู หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่ทำหน้าท่ี หลักในการส่ังสอนและถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ด้วยความหนักแน่นในด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาท้ังภาครัฐและเอกชน ซ่ึงศิษย์ควรแก่การ ให้ความเคารพ วิไล ตั้งจิตสมคิด (2557, หน้า 133) สรุปคำว่าครูโดยท่ัวไป หมายถึง ผู้อบรมส่ังสอน ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ เป็นผู้ที่มีความหนักแน่นควรแก่การเคารพบูชาของศิษย์ แต่ปัจจุบัน ครู หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพอย่างหนึ่งท่ีทำหน้าที่สอนคน และมักจะใช้กับผู้สอนในระดับท่ีต่ำกว่า วทิ ยาลยั และมหาวิทยาลัยหรอื อุดมศึกษา ยนต์ ชุ่มจิต (2558, หน้า 3) กล่าวว่า “ทุกคนเกิดมาต้องมีครู” และ “ทุกคนต้องเป็นครู” ครูคนแรกของทุกคน คือ บิดา มารดา ในกรณีท่ีบุคคลใดเกิดมาแล้วไม่ได้พบหน้าบิดา มารดา ก็ให้ ถือว่าผู้อุปการะเล้ียงดูอย่างใกล้ชิดน้ันเป็นครูคนแรกของตน ส่วนที่กล่าวว่า “ทุกคนต้องเป็นครู” นั้น เพราะทุกคนสามารถสอนตนเองได้ทุกขณะที่มีสติสัมปชัญญะ เช่น เตือนให้ตัวเองระมัดระวัง
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 3 ขณะเดินทางไปทำงานหรือไปศึกษาเล่าเรียน เตือนให้ตนเองรู้จักประหยัดในการใช้จ่ายเงิน หรือการ ให้คำแนะนำบุคคลอน่ื ในการกระทำบางสงิ่ บางอยา่ ง เปน็ ต้น พร้อมไดส้ รุปความหมายของคำวา่ “ครู” เฉพาะประเดน็ สำคัญ ๆ ไว้ดังน้ี 1. คำว่า “ครู” มาจากรากศัพท์เดิมในภาษาบาลีว่า “ครุ-คุรุ” หรือจากภาษาสันสกฤต วา่ “คุร”ุ ซ่งึ เปน็ รากศัพทเ์ ดมิ ของคำว่า “คารวะ” แผลงไปเป็น “เคารพ” 2. การคารวะหรือเคารพ หมายถึง การตระหนัก ซ่ึงหมายถึงการเอาใจจดจ่อในความดี อันมีอยู่ในตัวคนหรือสิ่งของ ครูเป็นผู้ตระหนักโดยใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญในส่ิงที่ดี-ชั่ว ถูก-ผิด ควร-มคิ วร และเป็นบคุ คลที่ศิษย์ควรตระหนัก 3. คำว่า “ครู” ในสมัยโบราณ หมายถึง เป็นผู้นำทาง หรือเป็นผู้เปิดประตูทางวิญญาณ ของศิษย์เพ่อื นำศิษยไ์ ปสู่คุณธรรมชัน้ สงู และมักใชก้ บั ผสู้ อนทเ่ี ป็นคฤหัสถ์หรือบคุ คลทั่วไป 4. ปัจจุบัน ครู หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพอย่างหนึ่งที่ทำหน้าท่ีสอนคน คือ เป็นผู้ส่ังสอน ศิษย์หรือถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ และจะใช้กับผู้ที่ทำการสอนในสถานศึกษาท้ังของรัฐและเอกชน ระดบั ตำ่ กว่าปรญิ ญา กิตติชัย สุธาสิโนบล (2560, หน้า 5) ได้สรุปคำว่า ครู คือ ผู้ที่ทำหน้าที่สอนให้ศิษย์ เกดิ ความรู้ และมคี ุณธรรม จริยธรรมท่ีดี นำประโยชน์ใหแ้ กส่ ังคมไดใ้ นอนาคต ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ (2560, หน้า 28) ให้ความหมายคำว่า ครู คือบุคลากรวิชาชีพ ในสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ทำหน้าที่หลักในการส่ังสอนและถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ เป็นผู้ทำหน้าที่หลักในการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการท่ีหลากหลาย ในด้านการ เรียนการสอน การส่งเสรมิ การเรียนรู้ ปลูกฝังค่านิยม การเสริมสร้างความเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม สบื สานวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาตา่ ง ๆ กุลิสรา จิตรชญาวณิช (2561, หน้า 113) ให้ความหมายคำว่า ครู หมายถึง บุคลากรซ่ึงทำ หน้าท่ีอบรมสั่งสอนถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ต่าง ๆ ให้ศิษย์ เพ่ือพัฒนาให้ศิษย์มีความเจริญ งอกงามท้ังทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และเป็นทรัพยากรมนุษย์ท่ีมีคุณภาพในสังคม ซึง่ ทำหนา้ ทีส่ อนในสถานศกึ ษาท้งั ของรฐั และเอกชนในระดบั ต่ำกวา่ ปริญญา ธีรศักดิ์ (อุปรมัย) อุปไมยอธิชัย (2563, หน้า 4) ได้สรุปความหมายของคำว่า ครู หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนในสถานศึกษาท้ังของรัฐและเอกชน โดยได้รับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาทีไ่ ดร้ ับการรับรองจากคุรสุ ภาให้สามารถทำการสอนได้ ตามที่กฎหมาย กำหนดให้ทำหน้าท่ีถ่ายทอดความรู้โดยวิธีสอนและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ศิษย์ ผนวกกับ มีจติ วิญญาณและมคี ณุ ธรรมอนั เป็นคุณลกั ษณะเฉพาะตวั ยึดม่ันต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษตั ริย์ ความหมายของคำว่า “ครู” ตามท่ีผู้เขียนได้นำเสนอมาอย่างหลากหลายดังกล่าวข้างต้นน้ี ก็เพื่อให้ผู้ท่ีกำลังศึกษาวิชาชีพครู และผู้ท่ีประกอบวิชาชีพครู ได้เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างท่องแท้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 4 ในพัฒนาการของความเป็นครู เพ่ือจะได้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับผู้ท่ีอยู่ ในวชิ าชีพครู กล่าวโดยสรุป คำว่า “ครู” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Teacher” หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษาในสถานศึกษาระดับปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐ และเอกชน โดยทำหน้าท่ีหลักทางด้านการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ ทักษะและ ประสบการณ์ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงาม ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรู้ ของผู้เรียน ด้วยเทคนิคและวิธีการที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเจริญงอกงาม ทัง้ ทางด้านร่างกาย สติปญั ญา อารมณ์ และสงั คม 2. ความหมายของคำว่า “อาจารย์” คำว่า “อาจารย์” ได้มีนักวิชาการ นักการศึกษา พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้ทางการ ศกึ ษา รวมทง้ั หน่วยงานราชการต่าง ๆ ได้ให้ความหมายไว้หลากหลาย ดงั น้ี พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร ให้ความหมายคำว่า “อาจารย์” หมายถึง “ครู, นักปราชญ์, ผู้สอนวิชาและความประพฤติ” มรี ากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตว่า “อาจรฺย” และ ภาษามคธวา่ “อาจริย” ส่วนพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 แปลว่า “ผ้สู ่ังสอนวิชา ความรู้” หรือ “คำที่ใช้เรียกนำหน้าช่ือบุคคลเพ่ือแสดงความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง” มีรากศพั ทม์ าจากภาษาสนั สกฤตและภาษาบาลีวา่ “อาจรยิ ” (ราชบณั ฑิตยสถาน, 2556, ออนไลน)์ หนังสือ Dictionary of Education ของคาร์เตอร์ วี กูด (Carter V. Good, 1973, p.307 อ้างถึงใน ยนต์ ชุ่มจิต, 2558, หน้า 7) ให้ความหมายคำว่า “อาจารย์” (instructor) คือ ผู้สอน ในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยท่ีมีตำแหน่งต่ำกว่าระดับศาสตราจารย์ และเป็นผู้สอนท่ีต้องรับผิดชอบ ต่อการสอนนักศึกษาใหเ้ กิดความก้าวหนา้ ตามจดุ ประสงคเ์ ฉพาะของการศกึ ษาที่กำหนดไว้ พุทธทาสภิกขุ (2529, หน้า 93 อ้างถึงใน กิตติชัย สุธาสิโนบล 2560, หน้า 6) ได้จำแนก ความหมายของ “อาจารย์” เป็น 2 แบบ คอื 1. ความหมายด้ังเดิม หมายถึง ผู้ฝึกมารยาท หรือเป็นผู้ควบคุมให้อยู่ในระเบียบวินัย เปน็ ผรู้ กั ษาระเบียบกฎเกณฑต์ า่ ง ๆ 2. ความหมายปัจจุบัน หมายถึง ฐานะชั้นสงู หรอื ช้ันหน่งึ ของผู้ทเ่ี ปน็ ครู พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต), 2559, หน้า 159) อธิบายคำว่า “อาจารย์” ไว้ใน พจนานุกรมพทุ ธศาสตร์ ฉบบั ประมวลธรรม ดังน้ี 1. ผู้ประพฤติการอนั เก้ือกูลแกศ่ ษิ ย์ 2. ผูท้ ่ศี ิษย์พึงประพฤตดิ ้วยความเอ้ือเฟื้อ 3. ผู้ส่ังสอนวิชาและอบรมดแู ลความประพฤติ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 5 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (2545, หน้า 4) รวมท้ัง พระราชบญั ญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 (2547, หน้า 2) มาตรา 4 ไม่ได้กำหนดคำว่า “อาจารย์” ไว้ แต่ใช้คำว่า “คณาจารย์” แทน และให้ หมายความว่า “บุคลากรซ่ึงทำหน้าท่ีหลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษา ระดับอดุ มศกึ ษาระดบั ปรญิ ญาของรัฐและเอกชน” ยนต์ ชุ่มจิต (2558, หน้า 9) ไดส้ รปุ ความหมายเกย่ี วกับคำวา่ “อาจารย์” ไว้ดงั น้ี 1. คำว่า “อาจารย์” เป็นคำท่ีมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตว่า “อาจารฺย, อาจริย” และใน ภาษาอังกฤษใช้ “Instructor” 2. เดิมใช้เรยี กพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นหัวหน้าพระหรอื พระท่ีทำหน้าที่สอนนักธรรมหรือเปรียญ ธรรมแกพ่ ระภิกษุสามเณร 3. ความหมายดั้งเดิมของอาจารย์ หมายถึง ผู้ฝึกอบรมมารยาท หรือเป็นผู้ควบคุมให้อยู่ใน ระเบยี บวินยั เปน็ ผดู้ แู ลรกั ษากฎเกณฑ์ตา่ ง ๆ 4. ความหมายในปจั จบุ นั สรุปได้ดังนี้ 4.1 ผสู้ ่ังสอนวชิ าความร้แู ละอบรมดแู ลความประพฤติของศษิ ย์ เป็นผทู้ ่ีมีความเอ้ืออาทร แกศ่ ษิ ย์ และศษิ ยพ์ งึ ประพฤตดิ ว้ ยความเอ้ือเฟ้ือ 4.2 ผู้สอนในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยมีสถานภาพสูงกว่าตำแหน่ง “ครู” แตต่ ่ำกวา่ ผู้สอนในระดับศาสตราจารย์ 4.3 ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ไม่มีคำว่า “อาจารย์”แต่ใช้คำว่า “คณาจารย์” ซง่ึ หมายถงึ อาจารยข์ องหมู่คณะหรือคณะอาจารย์ อย่างไรก็ตามปัจจุบันผู้ทำหน้าท่ีทางการสอนไม่ว่าจะมีคุณวุฒิระดับใดหรือทำการสอน ในระดับไหนสังคมมักนิยมเรียกนำหน้านามว่า “อาจารย์” เหมือนกันหมด ซึ่งความจริงก็มิได้เป็นการ เสียหายแต่ประการใด ในทางตรงกันข้าม กลับเป็นการยกย่องเชิดชเู กียรติและศักดิ์ศรีเพ่ือความเสมอ เหมือนกันของบุคคลที่ประกอบวิชาชีพเดียวกันและทีสำคัญที่สุดความสำคัญหรือคุณค่าของความ เปน็ ครหู รืออาจารยน์ ้นั มิใชอ่ ย่ทู จี่ ะเรยี กวา่ อยา่ งไร แต่อยู่ทก่ี ารปฏิบัตหิ นา้ ท่ขี องตนใหส้ มบรู ณท์ ่สี ุด กุลิสรา จิตรชญาวณิช (2561, หน้า 114) สรุปคำว่า อาจารย์ คือ ผู้ที่มีความเช่ียวชาญ เฉพาะด้านซึง่ ทำหน้าที่ส่ังสอนให้ความรู้และอบรมความประพฤติของศิษย์ โดยทำหน้าที่ทางการสอน อยู่ในระดับอุดมศึกษา ท้ังน้ีในปัจจุบัน ผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสอน ไม่ว่าจะมีคุณวุฒิระดับใด หรือสอนในระดับใด ส่วนใหญ่คนในสังคมมกั จะนิยมเรียกว่า “อาจารย์” เหมือนกันหมด เพื่อเปน็ การ ให้เกียรติและยกย่องผู้ที่ประกอบวิชาชีพครู ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการเสียหายแต่ประการใด และไม่ควร ยดึ ตดิ ทค่ี ำเรยี กขาน แต่ควรมองคุณคา่ ท่ีการปฏบิ ัติหน้าที่มากกว่า
6 กล่าวโดยสรุป คำว่า “อาจารย์” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Instructor” หมายถึง “ผู้ท่ีทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนวิชาความรู้และอบรมดูแลความประพฤติของศิษย์ให้มีคุณธรรม จริยธรรม อยู่ในกฎเกณฑ์ระเบียบวินัยต่าง ๆ ของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ และเอกชน รวมท้ังทำการวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่และความเช่ียวชาญเพื่อนำไปพัฒนาการสอน ให้ศิษย์มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ท่ีสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง สงั คม และประเทศชาติ 3. ความหมายคำว่า “ความเปน็ ครู” ในสังคมไทยและตามประเพณีไทยให้เกียรติยกย่องสำหรับผู้ท่ีทำหน้าท่ี “ครู” ว่าเป็น “พ่อพิมพ์ แม่พิมพ์ของชาติ” เป็นปูชนียบุคคล เป็นผู้นำในชุมชน เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นครู จะต้องตระหนักในความเป็นครูและประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับที่ได้ชื่อว่า “ครู” ในทุกสถานการณ์ที่ดำรงอยู่ โดยท่ีครูมีหน้าที่ถ่ายทอดวิชาการต่าง ๆ บทบาทของครูอีกมุมหนึ่ง ถือว่าเป็นผู้จุดประทีปแห่งปัญญาไว้ในดวงจิตของศิษย์ทุกคน เป็นประทีปแห่งปัญญาท่ีส่องสว่าง ไม่มีวันจบสิ้น แสงประทีปน้ันก็คือปัญญาที่บังเกิดแก่ศิษย์ เพ่ือนำความรู้ไปปฏิบัติถ่ายทอดต่อไป เป็นรุ่นต่อรุ่นอย่างไม่มีท่ีสิ้นสุดหรือเรียกว่าเป็นมรดกทางปัญญาที่ไขความมืดให้สว่างไสว ดังคำกล่าว ของพูนทรัพย์ เกตุวรี ะพงศ์ (2556, ออนไลน์) ที่วา่ ครู คอื ผู้ - หงายของทค่ี ว่ำ ( ให้ความรู้โดยไม่เลือกชน้ั วรรณะ ) - เปดิ ของที่ปิด ( เป็นผเู้ จยี รนัยใหเ้ กิดความงามแห่งปัญญา ) - บอกทางแกค่ นหลงทาง ( ชี้ทางทนี่ ำไปสคู่ วามสำเรจ็ และความดีงาม ) - จดุ ประทปี ในความมืด ( ถา่ ยทอดความรู้ใหท้ ง้ั หมดเป็นการใหค้ วามจรงิ แก่ชีวิต ) “...ความเป็นครูนี้เป็นของมีค่า และถ้าได้พิจารณ าให้ลึกซึ้งลงไปด้วยแล้ว ก็จะเห็น ความสำคัญย่ิงขึ้นไปอีก ความเป็นครู หมายถึง การมีความรู้ดี ประกอบด้วยหลักวิชาท่ีถูกต้อง แน่นแฟ้นและแจ่มแจ้งแก่ใจ รวมท้ังคุณความดีและความเอื้ออารี ปรารถนาที่จะถ่ายทอดเผ่ือแผ่ ให้ผู้อื่นได้มีความรู้ความเข้าใจท่ีดีด้วย ความแจ่มแจ้งแน่ชัดในใจย่อมทำให้สามารถส่องแสดงความรู้ ออกมาให้เข้าใจตามได้โดยง่าย ท้ังในการปฏิบัติงานก็ย่อมทำให้ผู้ร่วมงานได้เข้าใจโดยแจ่มชัด ส่วนความหวังดีโดยบริสุทธ์ิใจน้ัน จะน้อมนำให้ เกิดศรัทธาแจ่มใสมีใจพร้อมท่ีจะรับความรู้ ดว้ ยความเบิกบาน ทั้งพร้อมท่ีจะรว่ มงานกับผู้ที่มีคุณสมบัติของครูโดยเต็มใจและมั่นใจ ดงั นนั้ ก็จะทำ ให้กิจการใด ๆ ที่กระทำอยู่ดำเนินไปโดยสะดวกราบร่ืนและสำเร็จประโยชน์ท่ีมุ่งหมายโดยสมบูรณ์ ความเป็นครูจึงมิใช่คุณสมบัติเฉพาะสำหรับครูเท่าน้ัน หากแต่จะเป็นคุณสมบัติที่จะอำนวยประโยชน์ เก้ือกูลมากแก่ทุกคนและแก่กิจการทุกอย่าง...” (พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันพฤหัสบดี ท่ี 25 ตลุ าคม 2522)
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 7 “...ความเป็นครูนั้นประกอบขึ้นด้วยสิ่งที่มีคุณค่าสูงหลายอย่าง อย่างหนึ่งได้แก่ปัญญา คือ ความรู้ที่กระจ่างแน่นแฟ้น ประกอบด้วยหลักวิชาและเหตุผล รวมทั้งความเฉลียวฉลาด สามารถท่ีจะพิจารณาเร่ืองต่าง ๆ ได้โดยถูกต้อง อย่างหนึ่งได้แก่ความดี คือ ความสุจริต ความเห็นใจ และเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่นโดยเสมอหน้า ความเป็นครูมีอยู่แล้ว ย่อมเปล่งออกให้ผู้อื่นได้รับ ประโยชน์ด้วย กล่าวคือ ความรู้ที่มีอยู่อย่างแจ่มแจ้งแน่ชัด ย่อมทำให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจตามได้โดยง่าย ความหวังดี และบรสิ ุทธ์ิใจ ย่อมน้อมนำให้ผู้อ่ืนเกิดศรัทธา มีใจพร้อมท่ีจะรับความรู้ความดีโดยเต็มใจ และโดยนัยนี้ ผู้ท่ีได้รับแสงสว่างแห่งความเป็นครูชุบย้อมกายใจจึงเป็นผู้มีความรู้ ความฉลาด และความดีพร้อม ทั้งยังช่วยให้ทุกคนท่ีมีโอกาสเข้ามาสัมพันธ์เก่ียวข้องบรรลุถึงความดีความเจริญ ไปด้วย...” (พระราชดำรัส สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในโอกาสที่คณะครู อาวุโสเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติครูอาวุโสและเงนิ ช่วยเหลอื ณ ศาลาดุสดิ าลัย วนั ศกุ รท์ ่ี 13 ตุลาคม 2532) จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของท้ังสองพระองค์ตามท่ีได้อัญเชิญมาน้ี เป็นเคร่ืองยืนยันให้เห็นถึงคุณค่าของความเป็นครูที่มีต่อบุคคลที่มีโอกาสเข้ามาสัมพันธ์เก่ียวข้อง ดังนั้น หากผู้เป็นครูเห็นความสำคัญของความเป็นครูและปฏิบัติตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ดังกล่าวแล้ว การจะทำกิจการใด ๆ ก็จะดำเนินไปโดยสะดวกราบร่ืนและสำเร็จประโยชน์ท่ีมุ่งหมายโดยสมบูรณ์ แต่หากผู้เป็นครูมิได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของความเป็นครูแล้วย่อมส่งผลเสียตามมาทั้งต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตอนหนง่ึ ทมี่ ตี ่อครูอาวุโสในโอกาสเข้าเฝ้าฯ ท่ีพระตำหนกั จิตรดารโหฐาน วนั ท่ี 21 ตุลาคม 2521 ความว่า “...ถ้าครูไม่ห่วงประโยชน์ที่ควรจะห่วง หันไปห่วงอำนาจ ห่วงตำแหน่ง ห่วงสิทธิและห่วง รายได้กันมาก ๆ เข้า และจะเอาจิตใจที่ไหนมาห่วงความรู้ ความดี ความเจริญของเด็ก ความห่วงใย ในสิ่งเหล่าน้ันก็จะค่อย ๆ บ่ันทอนทำลายความเป็นครูไปจนหมดส้ิน จะไม่มีอะไรเหลือไว้พอท่ีตัวเอง จะภาคภมู ใิ จหรอื ผูกใจใครไวไ้ ด้ ความเปน็ ครูก็จะไม่มีค่าเหลือใหเ้ ป็นทเ่ี คารพบชู าอีกต่อไป...” จะเห็นได้ว่า พระราชดำรัสที่พระองค์พระราชทานมาน้ันล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อผู้ ประกอบวิชาชีพครูที่จะได้น้อมนำไปสู่การปฏิบัติ เพ่ือการพัฒนาการศึกษาและการสร้างเด็กไทย ซงึ่ เปน็ ศษิ ยใ์ ห้เปน็ คนดี คนเก่ง สามารถนำชาติไทยให้เจริญกา้ วหน้าแห่งอนาคตไดอ้ ยา่ งยั่งยืนสบื ไป ม.ล.ป่ิน มาลากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซ่ึงถือได้ว่าเป็นผู้หนึ่งที่ได้สร้าง คุณูปการให้แก่วงการศึกษาไทยเป็นอย่างมาก ครั้งหน่ึง ท่านได้สะท้อนแนวคิดถึงครูเพื่อให้ครู ตระหนักในความเป็นครูหรือมีความอดทนมุ่งม่ันต่อการสร้างศิษย์ให้มีความเจริญก้าวหน้า แม้จะใช้ เวลามากน้อยแค่ไหนก็ตาม ความตอนหนึ่งว่า “การอบรมบ่มนิสัยให้ศิษย์น้ัน เพียงแต่วันละนาที ยังดีถม ศิษย์จะดีมีช่ือหรือล่มจ่ม อาจเป็นเพราะอบรมหน่ึงนาที” (รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร, 2560, ออนไลน์)
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 8 สุรางค์ โค้วตระกูล (2564, หน้า 2) กล่าวถึง ความเป็นครู ว่า การเป็นครูนั้น ไม่เพียงแต่ จะต้องมีความรู้ทางวิชาการเพื่อท่ีจะสอนนักเรียนเท่านั้น แต่ครูยังจะต้องเป็นผู้ช่วยนักเรียนให้พัฒนา ท้ังทางด้านสติปัญญา บุคลิกภาพ อารมณ์ และสังคมด้วย ดังน้ัน ครูต้องเป็นผู้ท่ีให้ความอบอุ่นแก่ นักเรียน เพื่อนักเรียนจะได้มีความเช่ือและไว้ใจครู พร้อมที่จะเข้าพบครูเวลาที่มีปัญหา นอกจากน้ี ครูจะต้องเป็นต้นฉบับท่ีดีแก่นักเรียน ถ้าหากจะถามนักเรียนต้ังแต่ชั้นประถม จนถึงนิสิตนักศึกษา ขั้นมหาวิทยาลัย ว่ามีใครบ้างในชีวิตของนักเรียนท่ีนักเรียนยึดถือเป็นต้นฉบับ นักเรียนส่วนมาก จะมีครูอย่างน้อยหน่ึงคนยึดเป็นต้นฉบับหรือตัวแบบและนักเรียนจะยอมรับค่านิยมและอุดม การณ์ ของครู เพื่อเปน็ หลักของชีวติ อิทธิพลของครูที่นกั เรียนยดึ เปน็ ตน้ ฉบบั จะตดิ ตามไปตลอดชีวิต กล่าวโดยสรุป “ความเป็นครู” หมายถึง คุณสมบัติที่เป็นองค์ประกอบทางด้านการมี ความรู้ดีในหลักวิชา เหตุผล และความสามารถท่ีจะพิจารณาเร่ืองต่าง ๆ ได้โดยถูกต้อง รวมทั้ง ด้านคุณความดี ความเอื้ออารี และปรารถนาดีต่อผู้อื่นด้วยความบริสุทธ์ิใจโดยเสมอหน้า เต็มใจท่ีจะ ถ่ายทอดให้ศิษย์ได้มีความรู้ความเข้าใจท่ีดี มีความอดทนมุ่งม่ันต่อการสร้างศิษย์ให้มีความ เจริญก้าวหนา้ ท้งั ยังช่วยใหท้ ุกคนที่มโี อกาสเข้ามาสัมพนั ธเ์ ก่ยี วข้องบรรลุถงึ ความดีความเจรญิ ไปด้วย องค์ประกอบของความเป็นครู ภารกิจท่ีสำคัญยิ่งของผู้ประกอบวิชาชีพครู คือ การสอน เพราะการสอนเป็นกระบวนการ เฉพาะตัวและมคี วามซบั ซอ้ น โดยปกติการสอนเป็นกระบวนการทผ่ี สมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์ 1. ศาสตร์ และ ศลิ ป์ คำว่า “ศาสตร์” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, ออนไลน์) ระบุไว้ว่า หมายถึง ระบบวิชาความรู้, มักใช้ประกอบหลังคำอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เป็นต้น และวิชาการที่เป็นวิชาชีพชั้นสูง เช่น วิศวกรรมศาสตร์ สถาปตั ยกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ เปน็ ตน้ พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว) (2553, หน้า 65-66) กล่าวว่า สำหรับศาสตร์ ซ่ึงเป็น วิชาการท่ีเป็นวิชาชีพช้ันสูงน้ัน กว่าผู้เรียนจะเรียนจบหลักสูตรก็นับว่าเป็นเร่ืองยากย่ิงอยู่ในระดับ หนึ่งแล้ว ครั้งเม่ือเรียนจบแล้ว การที่จะนำความรู้ภาคทฤษฎีไปประกอบอาชีพยิ่งยากข้ึนอีก เพราะต้องนำศาสตร์มาประยุกต์ใช้สร้างงานให้เกิดประโยชน์สุขอีกต่อหน่ึง ใครสามารถประยุกต์ ศาสตร์ที่ตนเรียนรู้มาสร้างงานให้เกิดประสิทธิผลได้มากน้อยเพียงใด ก็เป็นเร่ืองของความสามารถ เฉพาะตวั ซงึ่ เปน็ เรื่องของฝีมอื หรอื เรียกอีกอย่างหน่ึงวา่ “ศลิ ป์” คำว่า “ศลิ ป์” พจนานุกรม ฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (ราชบณั ฑิตยสถาน, 2556, ออนไลน์) ระบุไว้เป็นคำนาม หมายถึง ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้วิจิตรพิสดาร, รากศัพท์ ภาษาบาลแี ปลว่า มีฝีมืออยา่ งยอดเยย่ี ม หรอื จากภาษาสนั สกฤตแปลว่า ศิลฺป
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 9 กล่าวได้ว่า บัณฑิตทุกคนที่เรียนจบสาขาวิชาชีพเดียวกัน ย่อมมีความรู้ในศาสตร์ที่เรียนมา เท่าเทียมหรือใกล้เคียงกัน แต่ฝีมือหรือศิลป์ในการนำศาสตร์มาใช้สร้างงานน้ันย่อมแตกต่างกันไป ดังน้ันจึงจะเห็นได้ว่า การท่ีคนเราจะประสบความสำเร็จในอาชีพการงานน้ัน จะมีแต่ ศาสตร์ เพียงอยา่ งเดยี วไม่ได้ จำเป็นต้องมศี ลิ ป์ดว้ ย และศิลป์นี่เองเป็นเคร่ืองบง่ ช้ีความสำเรจ็ ของการทำงาน สำหรับความสำเร็จในการทำหน้าที่ของครู จำเป็นต้องมีท้ังศาสตร์และศิลป์ แต่ศิลป์ของครู น้ันจะต้องนำศาสตร์แตกต่างจากวิชาชีพอ่ืน ๆ โดยส้ินเชิง ท้ังนี้เพราะครูจะต้องนำศาสตร์มาเปลี่ยน ให้เป็นความสามารถ และฝึกตนให้เกิดนิสัยละอายต่อชั่ว และเกรงกลัวต่อผลของบาป ครูต้องมี หิริโอตตัปปะเป็นนิสัย เพ่ือจะได้เป็นเครื่องมือสำหรับปิดนรกและเปิดสวรรค์ให้กับตน ขณะเดียวกัน ก็มีความเป็นครูหรือมีวิชาครู สามารถฝึกอบรมศิษย์ให้มีนิสัยดี ๆ น่ีคือศิลป์ของครู ซึ่งจัดว่าเป็น “ศิลป์ข้ันต้น” เท่านั้น ส่วน “ศิลป์ขั้นสูงสุด” ก็คือ ความสามารถในการกำจัดกิเลสให้หมดส้ินแล้ว บรรลุมรรคผลนพิ พาน กล่าวโดยสรุปได้ว่า ครูบาอาจารย์ผู้ชื่อว่าครูดีนั้นต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์เหนือกว่าบรรดา ลกู ศษิ ย์ของตนในลักษณะตอ่ ไปนี้ คือ 1. ในด้านวิชาการทางโลก ครูต้องรู้จริง ทำได้จริง และทางธรรมน้ัน ครูต้องมีนิสัยหรือ ความประพฤติดีเย่ียมจรงิ จึงสามารถตง้ั หลักฐาน สามารถปดิ นรกและเปดิ สรรคใ์ หต้ วั เองไดจ้ รงิ 2. สามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถให้ลูกศิษย์รู้จริง ทำได้จริง มีความ ประพฤติดเี ยี่ยมจรงิ สามารถตั้งหลักฐานได้จรงิ ปดิ นรกและเปิดสรรค์ให้ตนเองตามตวั อยา่ งครูได้จรงิ 2. องค์ประกอบของความเป็นครู การเป็นครูนั้นมิใช่เพียงแต่มีความรู้ในหลักวิชาการก็สามารถเป็นครูที่ดีได้ แต่จะต้องอาศัย แรงจูงใจในด้านอ่ืน ๆ มาประกอบอีกมากมาย เช่น ความมีศรัทธาในวิชาชีพ มีวิญญาณความเป็นครู หรือความรักในการสอน ความเต็มใจท่ีจะรับใช้บริการ (service mind) และความรักความเมตตา ต่อเด็ก ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยนต์ ชุ่มจิต (2558, หน้า 2) การเป็นครูน้ันเป็นกระบวนการท่ีต้อง อาศัยองค์ประกอบอย่างน้อย 2 ประการ ประการแรก “องค์ประกอบทางจิตวิสัย” (subjective factors) คือ องค์ประกอบ ทางด้านความสามารถและบุคลิกภาพสว่ นตวั ประการท่ีสอง “องค์ประกอบทางวตั ถวุ ิสยั ” (objective data) เป็นองค์ประกอบทางดา้ น ความร้ใู นหลักวิชาทไ่ี ดศ้ ึกษาเล่าเรียนมาจากสถาบันการศึกษา หรือจากผทู้ รงคณุ วุฒติ ่าง ๆ การใช้องค์ประกอบทางด้านจิตวิสัยหรือศิลปะ และข้อมูลทางวัตถุวิสัยหรือศาสตร์น้ัน จะเห็นได้จากผู้เป็นครูอาจารย์บางคนท่ีเข้ามาทำการสอนใหม่ ๆ ซ่ึงยังขาดท้ังความรู้และ ประสบการณ์ ครูอาจารย์เหล่านั้นได้ใช้วิธีการบางอย่างไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ แต่ก็สามารถ ทำใหน้ ักเรียนทุกคนในช้นั สามารถอ่านออกเขยี นได้ น่ีแสดงให้เห็นวา่ ครูไดน้ ำศิลปะหรือความสามารถ
10 และบุคลิกภาพเฉพาะตัวมาใช้ในการสอน ขณะเดียวกัน ครูที่มีความรู้ในหลักวิชาการอย่างเพียงพอ ก็จะนำเอาหลักวิชาการมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพ่ือให้เกิดประสิทธิภาพย่ิงขึ้น นั่นคือ ครูได้น ำเอาทั้งห ลักวิช าการห รือความรู้ที่ได้ศึกษ าเล่าเรีย น แล ะคุณ ส มบัติเฉพาะตัว ของครูมาใช้ ในการสอนนัน่ เอง มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงความสำคญั ของความเป็นครู “ครู”เป็นผู้ประกอบวิชาชีพสอนคนให้มีความรู้ ความสามารถ สอนให้คนได้มีอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพใด ๆ ก็ตามล้วนผ่านการสอนของครูท้ังนั้น ถ้าไม่มีครูแล้วก็ไม่มีอาชีพต่าง ๆ เกิดขน้ึ มาได้ “ครู” คือ เบ้ืองหลังของความสำเร็จของผู้อยู่ในอาชีพต่าง ๆ ดังนั้น ผู้ทป่ี ระสงค์จะเข้ามา สู่วิชาชีพครู จึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของความเป็นครู เพราะครูมีความสำคัญยิ่งต่อความ เจริญก้าวหน้า ท้ังในด้านส่วนบุคคล สังคม ประเทศชาติ รวมทั้งความสันติสุขของโลก ดังคำกล่าว อย่างมน่ั ใจถงึ ความสำคญั ของครขู องยนต์ ชมุ่ จติ (2558, หนา้ 51) ท่ีวา่ “หากโลกยงั อยู่ย้ัง ยนื ยง ครกู ็ยังอยู่คง โลกดว้ ย หากโลกสลายลง ครูอยู่ ไดฤ้ า ครแู ละโลกคงม้วย ดบั ส้นิ พร้อมกัน” เพ่ือให้นักศึกษาครูและผู้ท่ีกำลังปฏิบัติหน้าที่ครูได้ตระหนักถึงความสำคัญของความเป็นครู ยนต์ ชุ่มจิต (2558, หน้า 52-54) ได้อัญเชิญพระราโชวาทของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเรจ็ การศึกษาจากวิทยาลัยครู ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร เมอื่ วันพุธ ท่ี 26 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2523 มากล่าวในทนี่ ้ี ดังปรากฏขอ้ ความตอนหนึ่งว่า “...หน้าท่ีของครูนั้นเป็นหน้าท่ีท่ีมีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการปลูกฝังความรู้ ความคิด และจิตใจให้แก่เยาวชน เพ่ือที่จะได้เติบโต ข้ึนเป็นผลเมืองท่ีดีและมีประสิทธิภาพของประเทศชาติ ในกาลข้างหน้า ผู้เป็นครูจึงจัดได้ว่าเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญ ในการสร้างสรรค์บันดาลอนาคต ของชาติบา้ นเมือง...” อีกตอนหน่ึงเป็นพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครู ณ อาคารใหม่สวนอัมพร เมอื่ วนั พธุ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ความตอนหนึ่งว่า “...อาชีพครูถึงว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญ มั่นคง และก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้น จะต้องพัฒนาคน ซึ่งก็ได้แก่เยาวชนของชาติ เสียก่อน เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าสมบูรณ์ทุกด้าน จึงจะสามารถช่วยกันสร้างความ เจรญิ ใหแ้ กช่ าตติ ่อไปได้ ...”
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 11 จากพระราโชวาทของท้ังสองพระองค์ตามที่ได้อัญเชิญมาน้ี เป็นเคร่ืองยืนยันให้เห็น ถึ งคว าม ส ำคั ญ ขอ งบุ ค ค ล ที่ เป็ น ค รูท่ี มี ต่ อ คว าม เจ ริ ญ ขอ งบุ ค ค ล แ ล ะช าติ บ้ า น เมื อ งเป็ น อ ย่ างยิ่ ง ทั้งนี้เพราะ “ชาติบ้านเมืองจะมีความเจริญมั่นคงอยู่ได้ก็เพราะประชาชนในชาติได้รับการพัฒนา อย่างถูกวิธี การพัฒนาคนจะดำเนินไปอย่างถูกต้องก็เพราะมีระบบการศึกษาท่ีดี และระบบการศึกษา จะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก็เพราะมีครูท่ีมีคุณภาพ” ถ้าหากสถาบันการศึกษาทุกระดับ ไดค้ รูท่ีมคี ุณภาพแล้ว ย่อมเปน็ ที่เช่ือได้วา่ การพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้านจะต้องประสบความสำเร็จ ภายในเวลาอันสั้น ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้ว่าเราจะมีหลักสูตรที่ดี มีอาคารเรียนท่ีทันสมัย มีวัสดุ อุปกรณ์ทางการศึกษาอย่างพร้อมเพรียง รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากชุมชนในการจัดการศึกษา เป็นอย่างดี แต่ทว่าในสถาบันการศึกษาแต่และแห่งมีแต่ครูที่ไร้คุณภาพแล้ว รับรองได้ว่าการพัฒนา การศกึ ษาและการพฒั นาประเทศในหลาย ๆ ด้านจะต้องเปน็ ไปอย่างล่าชา้ และยากยิ่ง ได้มีนักวิชาการ นักการศึกษา ผู้ทรงไว้ซ่ึงความรู้ทางการศึกษา ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญ ของครู ไว้หลากหลายทัศนะ สุรางค์ โค้วตระกลู , 2564 หน้า 16-18 ; ยนต์ ชุ่มจิต, 2558, หน้า 51-70) สรุปไดด้ ังต่อไปนี้ 1. ความสำคัญของครู คอื พอ่ แมค่ นท่สี องของศษิ ย์ ครูอาจารย์และผู้ประกอบวิชาชีพครูถูกสังคมเรียกโดยยกย่องว่า ครูเป็นพ่อแม่คนที่สอง ของศิษย์หากจะกล่าวว่าครูเป็นดัง “พ่อแม่คนที่สอง” ของศิษย์คงไม่ผิด เพราะครูมีบทบาท ความรับผิดชอบในการส่ังสอน อบรม ให้การดูแลและพัฒนาศิษย์ตง้ั แต่เยาว์วยั ต้ังแต่เด็กเล็กท่ีเรียกว่า “อนุบาล” จนจบการศึกษา อีกทั้งในแต่ละวนั เด็กทุกช่วงชั้นจะมีเวลาอยทู่ ี่โรงเรยี นมากถึง 6-8 ช่วั โมง ต่อวัน หรืออาจมากกว่าน้ันเม่ือศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ขณะที่พ่อแม่มีภารกิจในการหาเล้ียงครอบครัว ฉะน้ัน บทบาทของครูในปัจจุบัน ย่อมมีอิทธิพลอย่างมากในการดูแลและอบรมเด็กเหมือน ดังเช่น พ่อแม่ดูแลลูก ทั้งในด้านการให้ความรู้การพัฒนาทักษะความสามารถ การให้ความรัก ความอบอุ่น ความใกล้ชิด การใช้เวลาในการปฏิสัมพันธ์ดูแลเอาใจใส่เด็ก จึงถือได้ว่า “เป็นพ่อแม่คนท่ีสอง” (พระมงคลสตุ าคม (สิทธชิ ัย อติธมฺโม), 2560, หน้า 1) 2. ความสำคัญของครใู นฐานะผตู้ ัดสนิ ใจ ห้องเรียนแตล่ ะห้องไม่หยุดนงิ่ อยูเ่ ฉย ๆ เพราะห้องเรียนประกอบด้วยนักเรียน ซึ่งมีทั้งความ แตกต่างระหว่างบุคคลและความแตกต่างภายในตัวบุคคลแต่ละคน มีภูมิปัญญาแตกต่างกัน นอกจากนี้ พฤติกรรมของนักเรียนข้ึนกับวิชาที่เรียนและครูท่ีสอน ดังน้ัน จึงไม่มีหลักสูตรหรือตำรา สำหรับ “การสอนที่ดี” ท่ีครูทุกคนจะนำมาใช้ นอกจากหลักทั่ว ๆ ไป ครูจะต้องเป็นผู้รู้จักปรับ การสอนให้เข้ากับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม แต่ละช่ัวโมงจะต้องตัดสินใจเก่ียวกับเร่ืองการสอนและ การเรียนรู้หลายอย่าง ครูท่ีเป็นครูใหม่ทุกคนจะรู้สึกว่าไม่พร้อมที่จะเข้าสอน เพราะแม้ว่าจะมีความรู้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 12 ทางวิชาการในวิชาท่ีตนสอน และได้เรียนจิตวิทยาการศึกษาและวิธีการสอนวิธีต่าง ๆ มาแล้วก็ตาม แตจ่ ะมคี ำถามหลายอยา่ งที่ตนเองไม่แน่ใจวา่ จะมคี ำตอบถูกต้องหรอื ไม่ เป็นต้นว่า 1. นักเรียนที่จะสอนจะสามารถเรียนรู้ในบทเรยี นท่ตี นเตรยี มจะสอนหรือไม่ 2. วัตถุประสงคท์ สี่ ำคัญของบทเรยี นท่ีจะสอนคืออะไร 3. ถา้ หากนกั เรียนไมเ่ กิดการเรียนรู้จะมวี ิธแี ก้ไขได้อย่างไร 4. วธิ สี อนอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับนกั เรียนทุกคน 5. จดั เตรยี มการสอนอยา่ งไรจงึ จะดีทส่ี ดุ 6. ถา้ มีปัญหาเก่ยี วกบั การจดั การห้องเรยี น จะมวี ิธีแก้ไขอยา่ งไร 7. จะใช้หลกั ในการประเมนิ ผลและการตดั เกรดของนกั เรยี นอย่างไร ฯลฯ นอกจากตัวอย่างคำถาม 7 ข้อดังกล่าวในวันหน่ึงวันหน่ึง ครูจะต้องตัดสินใจในเร่ืองอื่น ๆ อกี ตง้ั แตก่ อ่ นเข้าห้องเรียนจนกระทงั่ โรงเรียนเลิก (สุรางค์ โค้วตระกูล, 2564, หน้า 16) 3. ความสำคญั ของครใู นฐานะเป็นนักวทิ ยาศาสตร์พฤติกรรม พื้นฐานความคิด (Basic Assumptions) ในทางวิทยาศาสตร์พฤติกรรมท่ีครูควรจะยึดถือ เป็นหลกั มดี งั ต่อไปน้ี 1. พฤติกรรมของบุคคลแต่ละอย่างจะตอ้ งมีสาเหตุ 2. พฤตกิ รรมหน่งึ อาจจะมาจากสาเหตไุ ด้หลายอย่าง ซง่ึ มีปฏิสัมพันธ์ซ่งึ กันและกนั 3. พฤติกรรมอย่างเดียวกนั อาจจะเน่ืองมาจากสาเหตตุ า่ งชนดิ กนั การที่จะเข้าใจพฤติกรรมของนกั เรียนครูจะต้องพยายามนำหลักการในการศึกษาพฤติกรรม ของนกั จิตวทิ ยามาใช้ด้วย ในการศึกษาพฤติกรรมนั้น นักจิตวิทยาเชื่อว่าพฤติกรรมของแต่ละบุคคล (B) เป็นผลของ ความปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมรอบตัวของบุคคล (E) และเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล (P) หรือ ถ้าเขยี นเป็นสมการก็จะเขียนได้ดังนี้ คอื B = E x P อาจกล่าวได้วา่ พฤติกรรมของแตล่ ะบุคคลจะเปลี่ยนไปถ้าหากส่ิงแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือ พฤติกรรมของแต่ละบุคคลจะเปล่ียนไปตามประสบการณ์ท่ีสะสม ถ้าหากครูพยายามนึกอยู่เสมอว่า พฤติกรรมทกุ ชนิดจะต้องมีสาเหตุ การพยายามศึกษาหาสาเหตขุ องพฤติกรรมกเ็ ป็นวธิ ชี ่วยนักเรียนที่มี ปญั หาได้เชน่ เดยี วกนั ถ้าครพู ยายามจัดสงิ่ แวดล้อมและจดั หาประสบการณท์ ่ดี ีใหน้ กั เรียนก็จะเป็นการ ชว่ ยให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ในตัวแปรที่ดีต่าง ๆ ซ่ึงจะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของนักเรียนได้ สรุปแล้ว ลำดับขนั้ ของการศึกษาพฤติกรรมของนักเรยี นมีดังต่อไปนี้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 13 1. ครูจะต้องทราบก่อนว่าควรศึกษาพฤติกรรมอะไร และควรจะให้คำจำกัดความของ พฤติกรรมน้ัน ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการศึกษาพฤติกรรม “ก้าวรา้ ว” ของเด็กชาย ก. ครูจะต้องอธิบาย วา่ พฤตกิ รรมก้าวร้าวของเดก็ ชาย ก. หมายความว่าอย่างไร 2. ควรหาตัวแปรที่เป็นสาเหตขุ องพฤตกิ รรมนนั้ 3. ควรหาวิธีการเก็บข้อมูล เพื่อท่ีจะทราบว่าตัวแปรแต่ละอย่างมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม น้ัน ๆ อยา่ งไร ผู้ท่ีจะเป็นครูไม่ควรคิดว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่จะต้องมีพรสวรรค์ อาชีพครูเป็นอาชีพที่มี หลักการเป็นวิทยาศาสตร์ ดังนนั้ ถ้าครูจะพยายามศึกษาและนำผลของการวิจัยเก่ยี วกับการเรียนการสอน มาใช้กส็ ามารถปรับปรุงตนเองให้เปน็ ครูทด่ี ีมปี ระสิทธภิ าพได้ (สรุ างค์ โค้วตระกูล, 2564, หน้า 18) 4. ความสำคัญของครูในฐานะเป็นวศิ วกรสงั คม ก่อนท่ีจะกล่าวถึงความสำคัญของครูในฐานะวิศวกรสังคม ให้เข้าใจเบ้ืองต้นก่อนว่า วิศวกร คือ นักสร้างสรรค์ทางแนวคิดและหลักการ สร้างอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนอาคาร โครงสร้าง และสิ่งซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลัง คือ การเป็นนักแก้ไขปัญหา กล่าวโดยสรุป “วิศวกร คือ นักสร้าง นักออกแบบ นกั แก้ไข นกั ปรบั ปรุง นักเปล่ียนแปลง และนกั พัฒนา” การท่ีครูไดร้ ับการยกย่องให้เป็นวิศวกรสงั คมก็เพราะครูมีบทบาททางสังคมเช่นเดียวกับงาน วิศวกรในฐานะนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ได้กระทำ กล่าวคือ ครูเป็นนักสร้าง นักออกแบบ นักแก้ไข นักปรับปรุง นักเปลี่ยนแปลง และเป็นนักพัฒนา ด้วยเหตุนี้สังคมจึงยกย่องให้ครูเป็นวิศวกรสังคม งานของครูในฐานะท่ีเปน็ วศิ วกรสังคมที่สำคัญ ๆ มีดงั น้ี 4.1 ครูทำงานวิจัย ผู้ประกอบวิชาชีพครูต้องพยายามศึกษาค้นคว้าวิจัยต้ังแต่ระดับง่ายจนถึงขั้นสลับซับ ซับซ้อนเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอน เช่น แก้ปัญหาการหนีเรียนของนักเรียน นักเรียนขาดเรียน โดยไม่ทราบสาเหตุ วิจัยเพ่ือปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน หรือการวิจัยเพ่ือ แก้ปัญหาในดา้ นพฤติกรรมของผ้เู รยี น 4.2 ครทู ำงานพฒั นา ครูได้นำความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าทดลองทางการศึกษาและจิตวิทยา ไปทดลองใช้ ในการเรียนการสอน เพ่ือหาความเหมาะสมและพัฒนาให้ดียิ่งข้ึน จุดมุ่งหมายท่ีสำคัญย่ิงคือ “การพัฒนาคน” 4.3. ครทู ำงานออกแบบ ครูออกแบบด้านกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพ้ืนฐานความสามารถ ของนักเรียน และให้สอดคล้องกับวัสดุอุปกรณ์ท่ีนำมาใช้ในการประกอบการสอนระดับต่าง ๆ นอกจากน้คี รยู ังต้องออกแบบผเู้ รยี นให้มีคุณลักษณะตามทีส่ ังคมและประเทศชาตติ ้องการอีกด้วย
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 14 4.4 ครูทำงานการผลิต ครูให้ความรู้ความสามารถแกน่ ักเรียนนักศึกษาก่อนท่ีเขาเหล่าน้นั จะออกไปรับใช้สังคม ครจู ะต้องทดสอบคร้ังแล้วครงั้ เล่าเพอื่ ให้ผลติ ผลของครเู ปน็ บคุ คลทมี่ ีคณุ ภาพตามท่ีสังคมต้องการ 4.5 ครูทำงานก่อสรา้ ง ครูสร้างพฤติกรรมของคนให้เป็นไปตามรูปแบบที่สังคมส่วนใหญ่ต้องการ ซึ่งเป็นงาน ทีม่ ีความยุ่งยากซบั ซอ้ นมากกว่าการก่อสร้างตกึ สร้างอาคารบ้านชอ่ งเท่านกั 4.6 ครูทำงานควบคุมโรงเรียน หากครูสามารถควบคุมดูแลโรงเรียนให้สะอาดเรียบร้อยตกแต่งอาคารบริเวณสวยงาม มีบรรยากาศน่าอยู่น่าเรียน นักเรียนในโรงเรียนอยู่ด้วยกันด้วยความรักสามัคคี สภาพแวดล้อม ทางกายภาพและสังคมดี การจัดกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนน้ันก็จะเป็นไปอย่างมี ประสิทธภิ าพซึ่งส่งผลไปถงึ ผลผลติ ของโรงเรยี นคือ นกั เรียนจะต้องมคี ณุ ภาพดว้ ยอย่างแน่นอน 4.7 ครูทำงานทดสอบ งานทดสอบเป็นส่วนสำคัญของงานวิศวกรรม ๆ ด้าน เช่นเดียวกันในการศึกษา ทุกสาขาวิชาจะต้องมีการทดสอบและประเมินผล จนสามารถกล่าวได้ว่า “ณ ท่ีใดมีการสอน ท่ีน่ัน จะต้องมีการสอบ” ท้ังนี้เพราะการสอบทำให้ผู้สอนสามารถทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของผู้เรียน จากระดับไปสู่อกี ระดับหนึ่ง ครูจะเป็นผ้รู บั ผดิ ชอบในการออกแบบการทดสอบและดำเนินการทดสอบ เองตามความเหมาะสม แต่ในบางครั้งก็อาจจะมีการร่วมกันหลาย ๆ ฝ่าย หรือมอบให้หนว่ ยงานกลาง เปน็ ผรู้ ับผิดชอบในการออกขอ้ สอบเพ่ือวัดผลสัมฤทธิข์ องผู้เรียนในบางระดับก็ได้ 4.8 ครูทำงานการขายและการตลาด ครูต้องเป็นบุคคลสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับชุมชน โรงเรียน เปรียบเสมือนบริษัทหรือโรงงานผลิตสนิ คา้ นักเรยี นคือสินคา้ ส่วนชุมชนหรือสงั คมเปรียบเสมือนผู้ซื้อ หรอื ลูกคา้ ถา้ ผเู้ รยี นมีคุณภาพดีแสดงว่าเป็นท่ีตอ้ งการของตลาดมากครูก็มคี ุณภาพ 4.9 ครูทำงานบรหิ าร งานวิศวกรรมศาสตร์ยุคใหม่ต้องใช้บุคลากรทำงานเป็นคณะ การทำงานเป็นคณะ จะสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต่อเมื่อมีผู้นำกลุ่มท่ีดีและเข้มแข็ง เช่นเดียวกันในทางการศึกษา การบริหาร เป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะในแต่ละสถาบันการศึกษาจะมีครูอาจารย์และนักเรียนจำนวนมาก หากการ บริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ขวัญและกำลังใจในการทำงานของครูอาจารย์ไม่ดี ซ่ึงจะมีผล ไปถึงคณุ ภาพของการสอนและคุณภาพของนักเรยี นด้วย ความรู้ด้านการบริหารงานมิใช่เป็นสิ่งจำเป็นเฉพาะผู้บริหารเท่านั้น ผู้ท่ีเป็นครู อาจารย์ ทุกคนก็จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้บริหาร
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 15 ระดับต่าง ๆ และครูอาจารย์ นอกจากน้ียังเป็นการเตรียมครูอาจารย์ที่จะก้าวไปสู่ตำแหน่งผู้บริหาร ในโอกาสต่อไปอีกด้วย 4.10 ครทู ำงานท่ปี รกึ ษา งานของครูทุกระดับช้ันต้องเกี่ยวข้องกับการให้คำปรึกษาแก่ศิษย์ และบางครั้งต้องให้ คำปรึกษาแก่ประชาชนในชุมชนใกล้เคยี งสถานศึกษาดว้ ย โดยเฉพาะอย่างย่งิ ใหค้ ำปรึกษาแก่ศิษยน์ ้ัน เป็นสิ่งสำคัญย่ิง เพราะครูอาจารย์ท่ีปรึกษาสามารถช่วยให้ผู้เรียนขจัดปัญหาในการเรียนและปัญหา ส่วนตัวบางอย่าง บทบาทของครูอาจารย์ในการให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนนี้มีมาก ดังนั้นในสถานศึกษา ทุกร ะดั บ จึ งได้ จั ด ให้ มี ครูห รืออาจ าร ย์ ที่ป รึกษ าแล ะต้ั งคณ ะกร รมการแ น ะแน วข้ึน เพ่ื อท ำห น้ าที่ ให้คำปรึกษาหารือแก่ผู้เรียนทตี่ ้องการความชว่ ยเหลอื 4.11 ครูทำงานการศึกษาโดยตรง งานการศึกษาเป็นงานของครูโดยตรง ครตู ้องรับผิดชอบตอ่ การศกึ ษาทกุ ระดบั ชั้น ตั้งแต่ ระดับการศึกษาปฐมวัยจนกระทั่งระดับอุดมศึกษา รับผิดชอบในการสร้างคุณภาพของคนเพ่ือให้คน ไปสรา้ งสังคมต่อไป (ยนต์ ชมุ่ จิต, 2558, หน้า 61-70) 5. ความสำคัญของครตู ่อการพฒั นาเยาวชน งานสำคัญของครใู นการพฒั นาเยาวชน ได้แก่ 5.1 การให้ความรู้เชิงวิชาการเพอื่ เป็นฐานในการศึกษาเลา่ เรียน หรือการประกอบอาชพี 5.2 การให้ความรู้สึก หมายถึง การพยายามทำให้เยาวชนมีความสำนึกว่าอะไรดี อะไรไม่ดี สิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ เหล่านี้เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหลา่ นีค้ รูต้องพยายามกระทำควบคกู่ บั การให้วิชาความรูท้ ่ัวไป 5.3 การให้ความคิด หมายถึง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การรู้จักคิดเพ่ือแก้ไขปัญหา ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ รู้จักประเมินการกระทำและเหตุการณ์ต่าง ๆ ทเี่ กิดขน้ึ ในสงั คมปจั จบุ นั บทบาทของครูต่อการพัฒนาเยาวชนถือว่าเป็นงานท่ีสำคัญมาก ครูจะทำหน้าท่ีในฐานะ เป็นวิศวกรสังคมได้สมบูรณ์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการพัฒนาเยาวชน กล่าวคือ ถ้าครูสร้างคนไป ในรูปแบบใด สังคมก็จะเป็นแบบน้ันเพราะคนคือผู้สร้างสังคมอีกทอดหนึ่ง ดังท่ีท่านพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวย้ำไว้ว่า เยาวชนน้ันคือผู้สร้างโลกในอนาคต เดี๋ยวนี้เป็นเยาวชนอยู่ ศึกษาอยู่ เสร็จแล้วก็จะ บนั ดาลโลกในอนาคตให้เป็นอย่างไร ถ้าเยาวชนดีถูกต้องก็จะบันดาลให้โลกน่าดนู ่าอยู่ ให้มแี ต่สันติสุข ฉะนั้นเยาวชนมีความสำคัญในข้อวา่ โลกในอนาคตนนั้ มันขึน้ อยู่กบั เยาวชนในปัจจบุ ัน (พุทธทาสภิกขุ, 2529, หน้า 175 อา้ งถึงใน ยนต์ ช่มุ จติ , 2558, หน้า 65-66)
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 16 6. ความสำคญั ของครตู ่อการพฒั นาสังคม 6.1 ให้การศกึ ษาและความรู้แกป่ ระชาชนทั่วไป 6.2 เป็นผู้นำหรือรเิ ร่ิม ปรับปรงุ ความเป็นอยู่ของสังคมและวัฒนธรรม 6.3 เป็นผู้ปรับปรงุ ส่งเสริม 6.4 เป็นทปี่ รึกษาแก่ชมุ ชน 6.5 เป็นผู้สร้างความต่ืนตัว 6.6 เป็นผู้อำนวยความสะดวกและประสานงาน 7. ความสำคญั ของครูตอ่ การพัฒนาการเมอื งการปกครอง 7.1 ใหค้ วามรู้ความเข้าใจแก่เยาวชนและประชาชนท่ัวไปเกี่ยวกับระบบการปกครองประเทศ 7.2 ฝึกหัดให้เยาวชนในสถานศึกษานำรูปแบบการปกครองประเทศมาใช้กับการดำเนิน กจิ กรรมบางอยา่ งในสถานศึกษา 7.3 ครเู ปน็ ตัวแทนของรฐั ในการเชญิ ชวนใหป้ ระชาชนไปใชส้ ิทธ์ิใชเ้ สียงในการเลอื กตั้ง 7.4 สร้างคา่ นิยมระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชน 7.5 แนะนำประชาชนในท้องถ่ินมิใหเ้ ห็นแก่อามสิ สินจา้ งรางวัล การซอ้ื สิทธขิ ายเสียง 8. ความสำคัญของครตู ่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ 8.1 สอนนกั เรียนท่ตี ัวครูเองรับผดิ ชอบอย่ใู ห้เตม็ เวลา เมหลักสูตร เตม็ ความสามารถ 8.2 ส่งเสรมิ ให้นกั เรยี นนักศึกษาไดใ้ ช้เวลาว่างให้เกิดประโยชนส์ งู สดุ 8.3 ส่งเสรมิ กจิ กรรมด้านสหกรณร์ ้านค้าในโรงเรยี นอย่างจรงิ จงั 8.4 ส่งเสริมการออมทรพั ย์ของครูและนักเรยี น 8.5 ให้คำปรึกษาแนะนำกระต้นุ เรง่ เร้าหรือเรง่ งานอาชพี ใหม่ ๆ 8.6 ร่วมมอื กบั หน่วยงานต่าง ๆ เพือ่ จัดฝกึ อาชพี ใหมใ่ ห้แก่ประชาชนในทอ้ งถน่ิ 8.7 ให้ความรแู้ ละสง่ เสริมสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน 8.8 สง่ เสริมการผลติ และแนะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ 9. ความสำคัญของครูตอ่ การสง่ เสริมความมนั่ คงทางศาสนาและวัฒนธรรม 9.1 มคี วามเลอ่ื มใสศรทั ธาในส่ิงทต่ี นนับถอื 9.2 ศึกษาหาความรู้ความเข้าใจให้ถกู ตอ้ งในหลักธรรมคำสอนทตี่ นนับถือ 9.3 นำหลักธรรมคำสอนมาปฏบิ ัติ 9.4 ปฏบิ ัติศาสนกิจเปน็ ประจำ 9.5 ประพฤตติ นเป็นแบบอยา่ งท่ดี ีแกเ่ ยาวชน 9.6 ศึกษา คน้ ควา้ และทำการวิจัยทางวฒั นธรรมต่าง ๆ 9.7 ลือกสรรวฒั นธรรมทด่ี งี ามเพ่ือนำไปถ่ายทอดใหก้ ับเยาวชนอย่างเหมาะสม
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 17 9.8 ศกึ ษาหาวธิ ที จี่ ะถา่ ยทอดวฒั นธรรมให้เปน็ เร่ืองทีน่ า่ สนใจมากขึ้น 9.9 ปรับปรุงเนือ้ หาสาระในวชิ าการต่าง ๆ 9.10 สอดแทรกวัฒนธรรมบางส่ิงบางอยา่ ง โดยเฉพาะด้านคติธรรม 9.11 ครูและอาจารย์ทุกคนต้องร่วมมือกันจัดกิจกรรมเพ่ือส่งเสริมวัฒนธรรมที่พึง ประสงคอ์ ยเู่ สมอ 9.12 ครแู ละอาจารยท์ ุกคนต้องได้รบั การพัฒนาความคิดและเจตคติทด่ี ตี ่อวฒั นธรรม 9.13 ครอู าจารย์ทุกคนตอ้ งประพฤตปิ ฏิบตั ิตนใหเ้ ป็นแบบอยา่ งตามวัฒนธรรมทดี่ งี ามของชาติ 9.14 ศึกษาค้นคว้าและทำการวิจัยทางวัฒนธรรมต่างๆ และนำผลการวิจัยเผยแพร่ แกช่ ุมชนใหม้ ีความรู้ 9.15 จัดห้องวัฒนธรรมในสถานศึกษาให้ทั่วถึง เพ่ือเป็นท่ีรวบรวมและเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรม (ยนต์ ชุ่มจิต, 2558, หน้า 66-70) สมญานามทีเ่ นน้ ให้เห็นความสำคญั ของครู เนื่องจากครูมีความสำคัญต่อการพัฒนาคนและการพัฒนาชาติบ้านเมือง ดังน้ัน สังคม จงึ ยกย่องครโู ดยให้สมญานามใหค้ รใู นลกั ษณะต่าง ๆ ดงั น้ี 1. ครู คอื นกั ปฏิวัตใิ นสนามรบทางการศกึ ษา หมายความว่า ครูเป็นผู้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการศึกษาของชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง ย่ิงขึ้น ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะนักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา เช่น ร่วมกับคณะครูสำหรับพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนที่ตนปฏิบัติงานร่วมกับคณะครูในโรงเรียน เพ่ือช่วยกำหนดนโยบายสำหรับการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ร่วมกับคณะครู เพอ่ื พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาใหส้ นองความตอ้ งการท้องถิ่น ร่วมกับคณะครูเพ่ือปรับปรุงวิธกี ารสอน ให้ทันสมยั และร่วมคดิ จัดสื่อการสอนใหท้ นั สมยั ประหยัดและเกิดประโยชนส์ ูงสดุ 2. ครู คือ ผู้ใช้อาวุธลบั ของชาติ หมายความว่า ครูเป็นผู้คอยอบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษาซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธลับ ของชาติให้เป็นไปตามสังคมกำหนด ภารกิจท่ีครูพึงกระทำในฐานะผู้ใช้อาวุธลับของชาติ เช่น ปลูกฝังให้ศิษย์จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ปลูกฝังให้ศิษย์ยึดมั่นในประชาธิปไตย ปลูกฝังให้ศิษย์มีความซื่อสัตย์ ปลูกฝังให้ศิษย์เข้าใจสิทธิและหน้าท่ี ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพสิทธิ และหน้าท่ีของบุคคลอ่ืน ปลูกฝังให้ศิษย์บำเพ็ญตนเป็นพลเมืองที่ดี ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพกฎระเบียบ ของสังคม ปลูกฝังให้ศิษย์มีน้ำใจนักกีฬา และปลูกฝังให้ศิษย์รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชนส์ ่วนใหญ่ของสงั คม
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 18 3. ครู คือ ทหารเอกของชาติ หมายความว่า ครูเป็นบุคคลที่มีความเก่ง มีความสามารถ เป็นผู้นำของชาติบ้านเมือง ในทุก ๆ ด้าน ภารกิจท่ีครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะทหารเอกของชาติ เช่น เป็นผู้นำ ด้านระเบียบพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรมในชุมชมท้องถิ่น เป็นผู้เผยแพร่หลักธรรมคำสอนแก่ชุมชน เป็นผู้นำความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมที่ดีมาสู่ชุมชน เป็นผู้นำทางความคิดแก่ชุมชนเพ่ือพัฒนา อาชีพ เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ชุมชม เป็นผู้นำทางการเมืองการปกครอบในระบอบประชาธิปไตย เปน็ ผู้เผยแพรข่ อ้ มูลข่าวสารในชุมชน และเป็นผู้ประสานความเข้าใจอันดรี ะหว่างชมุ ชน 4. ครู คอื แม่พิมพ์ของชาติ หมายความว่า ครูเป็นแบบอย่างแก่เยาวชนและบุคคลท่ัวไปท้ังด้านความรู้และพฤติกรรม ต่าง ๆ ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะแม่พิมพ์ของชาติ เช่น เป็นแบบอย่างท่ีดี ในการปฏิบัติตามมารยาท เป็นแบบอย่างที่ดีแก่การปฏิบัติตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย เป็นแบบอย่างที่ดีโดยนำเอาหลักธรรมในการปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นแบบอย่างที่ดีด้านความ ซ่ือสัตย์ เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการประหยัดอดออม เป็นแบบอย่างท่ีดีด้านการพัฒนาตนเอง เป็นแบบอย่างท่ีดีในการแต่งกาย เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขอนามัย เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการบำเพ็ญ ตนเป็นพลเมืองดี เป็นแบบอย่างท่ีดีด้านการใช้ภาษาไทย เป็นแบบอย่างท่ีดีด้านความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเปน็ แบบอยา่ งที่ดดี ้านเปน็ บุคคลท่ีมชี ีวิตในครอบครัวอย่างผาสุก 5. ครู คือ กระจกเงาของศษิ ย์ หมายความว่า ครูเป็นผู้คอยชี้แนะ แนะนำตักเตือนศิษย์ให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่กระทำส่ิง ที่นำความเดือนร้อนมาสู่ตัวเองหรือผู้อ่ืน ภารกิจท่ีครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะ กระจกเงาของศิษย์ เช่น ตักเตือนศิษย์ท่ีแต่งกายไม่ถูกต้อง ตักเตือนศิษย์ท่ีมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ตักเตือนศิษย์มิให้ครบเพ่ือนซึ่งมีพฤติกรรมทางเส่ือมเสีย ตักเตือนศิษย์ท่ีมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อเพื่อน ตักเตือนศิษย์ให้เลิกลักขโมย ตักเตือนศิษย์ให้ตรงต่อเวลา ตักเตือนศิษย์ท่ีมีนิสัยเกียจคร้าน ตักเตือน ศษิ ย์ให้ไมเ่ ลียนแบบพฤติกรรมไม่ดีงานจากบุคคลที่มชี ่ือเสียง และตักเตือนศิษยม์ ิให้ปฏบิ ัตติ ามคา่ นยิ ม ไมด่ งี ามบางอย่าง 6. ครู คอื ดวงประทปี ส่องทาง หมายความว่า ครูเป็นผู้ให้ความรู้ให้ปัญญาแก่เยาวชน คนที่มีปัญญาย่อมมองเห็นทุกสิ่ง ทุกอย่างเหมือนมีดวงประทีปส่องทางให้กับตนเองตลอดเวลา ภารกิจท่ีครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้อง กระทำในฐานะดวงประทีปส่องทาง เช่น ให้ความรู้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ สอนศิษย์ให้รู้จัก พิจารณาสิ่งต่างๆ สอนให้ศิษย์ละเว้นความช่ัวทั้งปวง สอนให้ศิษย์ประพฤติแต่สิ่งดีงาม แนะนำศิษย์ ให้สำรวจว่าตนเองมีความสามารถด้านใด แนะแนวอาชีพท่ีตรงกับความถนัดของศิษย์ ให้ความรู้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 19 ทันสมัยแก่ศิษย์เพ่ือให้ศิษย์เป็นคนทันโลกทันเหตุการณ์ แนะนำแหล่งวิทยาการแก่ศิษย์ และแนะนำ สิ่งทีเ่ ปน็ บญุ กุศลแก่ศษิ ย์ 7. ครู คือ ผู้สรา้ งโลก หมายความว่า ครูเป็นผู้พัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถเพ่ือให้คนเหล่าน้ันไปพัฒนา สังคมประชาชาติ ภารกิจท่ีครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้สร้างโลก เช่น สอนให้ศิษย์ เป็นนักคิด สอนให้ศิษย์มีจิตใจที่เข้มแข็ง สอนให้ศิษย์ขยัน สอนให้ศิษย์สร้างครอบครัวท่ีม่ันคง สอนให้ศิษย์ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม สอนให้ศิษย์สามัคคี และสอนใหศ้ ิษยพ์ ัฒนาตนเองอย่างตอ่ เน่ือง 8. ครู คือ ผู้กมุ ความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมอื หมายความว่า ชาติจะเจริญก้าวหน้าหรือล้มสลายก็เพราะครู ภารกิจที่ครูพึงกระทำ หรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ เช่น ไม่สอนวิชา ท่ีไม่ถูกต้องตามหลักวิชาแก่ศิษย์ ไม่แนะนำสิ่งผิดให้นักเรียน ไม่ยุยงให้ศิษย์สร้างความแตกร้าว ในสังคม ไม่แสดงความคิดเห็นท่ีเป็นมิจฉาทิฏฐิให้ศิษย์ในท่ีสาธารณะ ไม่สอนศิษย์เพียงให้พ้นหน้าที่ ประจำวัน ไม่เป็นผู้ก่อความแตกร้าวทางความคิดให้แก่คนในชาติ และไม่อาศัยช่ือเสียงหรือบารมี ของตนเพอ่ื สร้างความสับสนใหก้ บั สังคม 9. ครู คอื ปูชนียบุคคล หมายความว่า ครูเป็นบุคคลที่มีความน่าเคารพบูชาของศิษย์และบุคคลท่ัวไป ภารกิจที่ครู พึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะปชู นียบุคคล เชน่ ลดละเลิกพฤติกรรมท่ีเป็นความชั่วทางกาย ทั้งปวง ฝึกฝนให้ตนมีวจีสุจริต ฝึกให้ตนมีมโนสุจริต พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งกายและใจ และพยายามสั่งสมวิชาความร้ทู ้ังทางโลกและทางธรรม 10. ครู คือ วศิ วกรสงั คม หมายความว่า ครูเป็นนักสร้างให้เป็นไปตามทิศทางท่ีสังคมต้องการ เน่อื งจากปัจจุบันสังคม ยกย่องให้ครูเป็นวิศวกรทางสังคม เพราะครูทำหน้าท่ีเสมือนวิศวกรทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ งานของครูในฐานะเป็นวิศวกรสังคม มีดังนี้ ครูทำงานวิจัย ครูทำงานพัฒนา ครูทำงานออกแบบ ครูทำงานผลิต ครูทำงานก่อนสร้าง ครูทำงานควบคุมโรงเรียน ครูทำงานทดสอบ ครูทำงานการขาย และการตลาด ครูทำงานบริหาร ครูทำงานที่ปรึกษา และครูทำงานการศึกษาโดยตรง (ยนต์ ชุ่มจิต 2558, หนา้ 54-60)
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 20 ประเภทของครู การปลูกฝัง อบรม หล่อหลอมนักเรียนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม จำเป็นต้องมีแม่พิมพ์ เป็นต้นแบบ และแม่พิมพ์ท่ีจะเป็นต้นแบบของศิษย์ก็คือครูน่ันเอง ครูผู้ได้ชื่อว่าเป็นแม่พิมพ์ต้นแบบ ต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1) เป็นต้นแบบความรู้ความสามารถด้านวิชาการทางโลก ได้จริง 2) เป็นต้นแบบความประพฤติ หรือความดี มีศีลธรรมประจำใจม่ันคงจริง 3) มีวิชาครู เหล่านี้ คือคุณสมบัติโดยรวม แม่พิมพ์ตน้ แบบนีเ้ องคอื ครดู ีที่โลกต้องการ ครูท่สี ามารถสอนตนเองและลกู ศิษย์ ได้ทั้งทางโลกและทางธรรม ซ่ึงพระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว), 2553, หน้า 59-64) ได้จำแนก ประเภทครู ออกเป็น 3 ประเภท คอื 1. ครูคนท่หี น่งึ หรอื ครูในบา้ น เนื่องจากคนเราต่างเกิดมาพร้อมกับอวิชชา คือความไม่รู้ทุก ๆ เรื่อง จึงจำเป็นต้องมีครู ปลูกฝัง อบรม สั่งสอนความรู้ต่าง ๆ ให้ ตามธรรมดา “ครูคนแรก” หรือ “ครูคู่แรก” ของเราก็คือ “พอ่ และแม”่ ซง่ึ เป็นครูในบ้าน สิ่งทพ่ี ่อแมต่ ้องปลูกฝังอบรมสง่ั สอนลูกตั้งแต่เกดิ มากค็ อื นิสยั ดี ๆ เช่น การให้กินอาหาร นอนหลับพักผ่อน และขับถ่ายให้เป็นเวลา และตรงเวลา ฯลฯ ซึ่งจะเป็นการปลูกฝัง วินัยให้ติดเป็นนิสัยของเด็กต้ังแต่เยาว์วัย ในทางกลับกันหากพ่อแม่ไม่ดูแลอบรมส่ังสอน ปล่อยปละ ละเลยลูกยอ่ มจะกลายเปน็ การเพาะนิสัยไม่ดหี ลาย ๆ ดา้ นใหแ้ กท่ ารก คร้ันเมื่อลูกเจริญเติบโตข้ึนมาพอท่ีจะสามารถรับรู้ส่ือสารด้วยภาษาท่าทางหรือถ้อยคำได้ ก็ควรได้รับการปลูกฝังอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับคุณธรรมต่าง ๆ เช่น การกราบไหว้พระ การกราบไหว้ ผู้ใหญ่ การกลา่ วคำทกั ทาย และการสวดมนต์ไหวพ้ ระ โดยสรุปก็คือ พ่อแม่ต้องปฏิบัติหน้าท่ีตามพุทธกำหนด ห้ามลูกไม่ให้ทำความช่ัว สอนลูก ให้ตั้งอยู่ในความดี มีคุณธรรมต่าง ๆ เพิ่มข้ึนตามวัย ท้ังน้ีก็เพ่ือป้องกันมิให้เด็กเกิดความคิดเห็นที่เป็น มิจฉาทฐิ ิด้วยประการท้ังปวง สำหรับพ่อแม่ท่ีไม่รู้หรือไม่สนใจปลูกฝังนิสัยดี ๆ ให้แก่ลูก หรือพ่อแม่และสมาชิกใน ครอบครัวที่ยังแสดงพฤติกรรมเลวทรามทั้งทางกายและวาจาให้ลูกเห็นเป็นประจำ ลูกก็จะซึมซับและ เลยี นแบบพฤติกรรมเลวทรามเหล่านั้น ซึ่งในทสี่ ุดก็จะกลายเป็นนสิ ัยไมด่ ีจนกระท่ังถึงคราวไปโรงเรียน กจ็ ะไปสร้างปญั หาหนักใจให้แกค่ รูบาอาจารยต์ ่อไปอีก 2. ครูคนท่ีสอง หรือ ครูในโรงเรยี น ต่อจากพ่อแม่ก็คือครูในโรงเรียน ซึ่งแต่ละท่านต่างต้องปฏิบัติหน้าที่ในเร่ืองการปลูกฝัง อบรมคุณธรรมเป็นอันดับแรก ดังคำกล่าวท่ีว่า แนะนำดี และเร่ืองวิชาการทางโลกเป็นอันดับรอง ดังคำกล่าวทวี่ ่า เรียนใหด้ ี ดงั นนั้ ครูทกุ คนในโรงเรียนจงึ ตอ้ งให้ความใส่ใจในเร่อื งการปลูกฝัง อบรมศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมแก่ศษิ ย์ ช่วยแก้นิสัยท่ีไม่ดีของศิษย์ พร้อมท้ังป้องกันมิให้ศิษย์เป็นมิตรเทียม กล่าวได้ว่า
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 21 ครูคนท่ีสองหรือบรรดาคณาจารย์ท่ีโรงเรียนเป็นผู้มีบทบาทยาวนานที่สุด และสำคัญที่สุดในการ ปลูกฝงั อบรมบ่มนิสัยใหแ้ กศ่ ิษย์ 3. ครูคนท่สี ามหรือครูในวัด คือ สมณะ หรือ พระภิกษุสงฆ์ ผู้เป็นแหล่งความรู้และความประพฤติทางธรรมให้แก่ ชาวโลก ต้องปฏิบัติตามพุทธกำหนด ที่สำคัญท่ีสุด คือ ห้ามไม่ให้ทำความช่ัว และแก้ไขไม่ให้มี ความเห็นเปน็ มิจฉาทฐิ ิ แล้วใหต้ งั้ อยู่ในความดี คอื ปลูกฝงั สมั มาทิฐิให้ เป็นส่ิงท่ีแน่นอนเหลือเกินว่า ถ้าความร้คู วามสามารถในการทำหน้าท่ีของครูทั้ง 3 ประเภท รวมอยู่ในตวั ครูท่านใดท่านหน่ึงโดยเฉพาะก็จะวิเศษย่ิง ขณะที่ ยนต์ ชุ่มจติ (2558, หนา้ 16-22) ไดจ้ ำแนกประเภทครูตามลักษณะต่าง ๆ ดงั นี้ 1. จำแนกประเภทของครตู ามลกั ษณะงาน หากพิจารณาจากลักษณะการทำงานของครู สามารถแบง่ ออกเป็น 4 ประเภท คือ 1.1 ครูประจำบ้าน หมายถึง ครูท่ีบ้าน ซ่ึงได้แก่ บิดา มารดา ซ่ึงเป็นผู้ให้กำเนิดและถือ ว่าเป็นครูคนแรกของทุกคนท่ีเกิดมา เรียกว่า “บูรพาจารย์” หรืออาจารย์เบื้องต้น นอกจากบิดา มารดาจะเป็นครูประจำบ้านแล้ว ในกรณีท่ีบางคนขาดซึ่งบิดาหรือมารดาต้ังแต่ยังเยาว์ ให้ถือว่าผู้ อุปการะเลยี้ งดูเรานนั้ เปน็ ครูประจำบา้ นแทนบดิ ามารดาของเรา 1.2 ครูประจำโรงเรียน ได้แก่ ครูอาจารย์ที่ทำการสอนนักเรียนตามโรงเรียน หรือ สถานศึกษาต่าง ๆ จะกระทำโดยสำนึกหรือด้วยวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริง หรือกระทำ ตามหน้าท่ีท่ีได้รบั มอบหมายจากทางราชการ ก็สามารถเรยี กวา่ “ครปู ระจำโรงเรียน” ได้ทั้งน้นั 1.3 ครูประจำวัด ได้แก่ พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาหรือนักบวชในศาสนาอื่น ๆ ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักคำสอนในศาสนาของตนเพียงพอ แล้วนำคำสอนของพระศาสดา มาเผยแพร่เพ่ือให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เป็นคนดีมีศีลธรรม ทำให้สามารถดำรงตนอยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสงบสขุ 1.4 ครูประจำโลก ได้แก่ พระบรมศาสดาของพระพุทธศาสนา และศาสดาของ ศาสนา ต่าง ๆ ที่ได้ค้นพบหลักธรรมคำสอนอันประเสริฐ แล้วนำหลักธรรมน้ัน ๆ มา เผยแพร่อบรมให้มนุษย์ ในโลกได้รู้ได้เข้าใจ และนำไปประพฤติปฏิบัติเพ่ือความสุขความ เจริญและความร่มเย็นแห่งชีวิต และความสงบสุขของสังคมโลก 2. จำแนกประเภทของครตู ามลกั ษณะคุณธรรม ถา้ หากจะจำแนกประเภทของครูออกตามลกั ษณะคณุ ธรรมของครู จะไดด้ งั ตอ่ ไปน้ี 2.1 ครูประเภทเปลือกครู เป็นครูท่ีด้อยในคุณธรรมอย่างยิ่ง ท้ังนี้อาจเกิดจากการที่มิได้ศรัทธาต่อความเป็นครู มีพฤติกรรมบางอย่างท่ีทำลายภาพลักษณ์ของความเป็นปูชนยี บุคคล มีวิญญาณความเป็นครูน้อยมาก
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 22 จะทำการสอนไปวันหนึ่ง ๆ เพียงเพ่ือให้วันเวลาผ่านพ้นไป ไม่คำนึงว่าศิษย์ของตนจะมีความรู้หรือไม่ จะดีหรือช่ัวอย่างไรไม่สนใจ ด้วยเหตุเหตุน้ีจึงเปรียบครูประเภทน้ีเสมือนเปลือกไม้ซ่ึงด้อยด้วยคุณค่า บางคร้ังอาจจะด้อยคุณค่ากว่าเปลือกไม้บางชนิดเสียด้วยซ้ำ เพราะเปลือกไม้บางชนิดยังมีประโยชน์ ในการทำยารักษาโรคได้ 2.2 ครปู ระเภทเนอ้ื ครู เป็นครูท่ีมีคุณธรรมของความเป็นครูสูงกว่าครูประเภทเปลือกครู นั่นคือ มีความ รับผิดชอบในหน้าที่การงานดีขึ้น พยายามทำหน้าท่ีการงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ ทำการสอน นกั เรยี นตามหน้าท่ีหรือตามตารางสอน เม่ือเสร็จสิ้นจากการสอนแลว้ ไม่สนใจในการอบรมสั่งสอนศิษย์ ศิษย์จะดีจะเลวอย่างไรไม่สนใจ ถ้าเป็นนอกเวลาทำการสอนแล้วไม่สนใจทั้งส้ิน ขณะท่ีทำการสอน ก็จะเน้นเฉพาะเนื้อหาวิชาตามที่กำหนดในหลักสูตร ไม่มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม อย่างไร กต็ ามครูประเภทนีย้ ังนบั ว่าดีกว่าครปู ระเภทเปลือกครู เพราะนกั เรียนยังได้ศึกษาเล่าเรียนความรมู้ าก ขนึ้ เหตุท่ีเปรียบครปู รเภทน้ีเปน็ เน้ือครกู ็เพราะมลี ักษณะเหมือนเน้ือไมซ้ ึ่งได้ประโยชน์ใช้สอยมากกว่า เปลอื กไม้ 2.3 ครปู ระเภทแก่นครู เป็นครูท่ีมีคุณธรรมของความเป็นครูสูง เป็นครูในอุดมคติ เป็นครูเพราะมีศรัทธา ในวิชาชีพครูอย่างแท้จริง เมื่อเข้ามาศึกษาเล่าเรียนวิชาชีพครูก็ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง เมื่อสำเรจ็ การศึกษาออกไปประกอบวชิ าชพี ครกู ็กระทำหน้าทดี่ ้วยสำนึกในความเป็นครตู ลอดเวลา ครู ประเภทน้ีเปรียบเสมือนแก่นไม้ซึ่งมีความม่ันคงแข็งแกร่งและมีคุณค่าต่อการใช้สอยมากกว่าเนื้ อไม้ หากสถาบันวชิ าชีพครูมีครูประเภทนี้มากเท่าใดกจ็ ะทำให้สถาบนั วิชาชีพครูไดร้ ับการยกย่องสรรเสริญ จากสงั คมมากเท่านัน้ 3. จำแนกประเภทของครูตามลกั ษณะอตั ตา (ตัวตน) การจำแนกประเภทของครูออกตามลักษณะอัตตา หมายถึง การพิจารณาประเภทของครู ตามตัวตนของครู ซ่งึ สามารถจำแนกออกไดเ้ ปน็ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังน้ี 3.1 ครทู ีเ่ ปน็ บคุ คล หมายถงึ ครทู ่มี ีตัวตน ซ่ึงไดแ้ ก่บคุ คลตา่ ง ๆ 3.2 ครูท่ีไม่ใช่บุคคล หมายถึง สิ่งของและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มีผลหรืออิทธิพลต่อ ความรู้สึกนึกคิดของตน ทำให้บุคคลน้ันนำไปเป็นแบบกระสวนพฤติกรรมในการทำงานหรือการ ดำรงชวี ิต การจำแนกประเภทของครู อาจแบ่งได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับทัศนะของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามไม่วา่ ครูจะไดร้ ับการจำแนกออกเป็นลักษณะอย่างไร ก็มทิ ำให้ผปู้ ระกอบวชิ าชพี ครูไม่รับ ความเสียหาย ตรงกนั ข้ามกลบั เป็นการชว่ ยกระตุน้ เตอื นให้ผูเ้ ป็นครูมีสำนึกในความเปน็ ครูมากยิ่งขนึ้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 23 ครทู ี่ดีและมีประสทิ ธิภาพ การเป็นครูที่ดีและมีประสิทธิภาพเป็นส่ิงท่ีครูทุกคนปรารถนา แต่มักจะคิดกันว่ายาก ท่ีจะทำได้ บางคนคิดว่าการเป็นครูที่มีประสิทธิภาพน้ันจะต้องมีพรสวรรค์ หรือเกิดมาด้วยความ เป็นครูอยู่ในตัว ท่ีจริงแล้วถ้าหากครูมีความรักอาชีพครู รักนักเรียน และอยากจะช่วยเหลือนักเรียน การเปน็ ครทู ่ีดแี ละมปี ระสิทธภิ าพยอ่ มเปน็ ไปไดส้ ำหรบั ทุกคน ลกั ษณะของครูทด่ี ีและมปี ระสิทธภิ าพ ครูที่ดีและมีวิธีสอนอย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึงครูท่ีมีการสอนท่ีรับรองได้ว่านักเรียน จะเกิดการเรียนรู้ นักจิตวิทยาการศึกษาหลายท่านได้ทำการวิจัยหรือหาตัวแปรที่ทำให้การสอน มีประสิทธิภาพ ศาสตราจารย์ จอห์น แคร์รอล (John Carroll, 1963) ได้เขียนบทความจิตวิทยา การศึกษาเก่ียวกับรูปแบบการสอน เพ่ือให้เกิดการเรียนรู้ท่ีมีอิทธิพลมากที่สุด บทความนี้ชื่อว่า “A Model of School Learning” แคร์รอลได้อธิบายความหมายของครูที่มีประสิทธิภาพว่า เป็นครู ท่ีสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ให้เวลาแก่นักเรียนแต่ละคนได้เรียนรู้โดยพิจารณาความแตกต่าง ของบุคคล และวิชาท่ีสอน บางคนต้องการเวลามากแต่บางคนต้องการเวลาน้อย ซึ่งข้ึนกับวิชาที่สอน รวมท้งั จัดกิจกรรมและประสบการณ์เพ่ือจะชว่ ยให้เกิดการเรียนรู้ แคร์รอล กล่าวต่อไปว่าการสอนท่ีมี ประสิทธิภาพไม่ได้ขึ้นกับการสอนของครูเท่าน้ัน แต่ขึ้นกับตัวนักเรียนด้วย คุณลักษณะของนักเรียน มีส่วนให้นกั เรยี นเรียนรู้ในอัตราความเรว็ แตกตา่ งกันดว้ ยคือ 1. ความถนดั (Aptitude) หมายถึง ความสามารถของนกั เรยี นทีจ่ ะเรยี นรู้ 2. ความสามารถที่จะเข้าใจสง่ิ ที่ครสู อน (Ability to Understand Instruction) 3. ความเพียรพยายาม (Perseverance) นักเรียนใช้เวลาสำหรับการเรียนรู้ ซึ่งมักจะ เน่ืองมาจากการทน่ี กั เรยี นมีแรงจูงใจทจี่ ะเรยี นรู้ 4. การมีโอกาส ครูให้เวลานักเรียนในการเรียนรู้สิ่งท่ีครูสอน โดยคิดถึงความสามารถและ ความถนัดของนกั เรียน โดยสรุป ครูสามารถสอนอย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึงการสอนของครูท่ีสามารถ ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามความถนัดและความสามารถของทุกคน (สุรางค์ โค้วตระกูล, 2564, หนา้ 13) จากการวิจัยของนักจิตวิทยาการศึกษาทีเ่ กี่ยวกับคุณลักษณะของครทู ่ีดีและมีประสทิ ธิภาพ หลายท่าน ก็ได้ผลคล้ายคลึงกันและอาจสรุปได้ดังต่อไปนี้ (Emmer, Evertson and Anderson, 1980 ; Good and Grows, 1979 ; Housner & Griffy, 1983, Brophy, 1992 อ้างถึงใน สุรางค์ โค้วตระกูล, 2564, หนา้ 14-15)
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 24 1. ต้องเป็นนักมนุษยนิยม (Humanist) คือ เป็นผู้ท่ียอมรับนักเรียนอย่างจริงใจ ให้ความ อบอุ่น มีความเข้าใจนักเรียน มีความยุติธรรม และมีคุณลักษณะของครูตามทัศนะของนักจิตวิทยา มนษุ ยนิยม และเป็นกัลยาณมติ รของนักเรยี น 2. เป็นผู้ที่มีความรู้และมีความเข้าใจเก่ียวกับจิตวิทยาการเรียนการสอน คือ ครูต้องเข้าใจ ธรรมชาติของกระบวนการเรียนรู้และสามารถท่ีจะให้วิธีสอนท่ีเหมาะสม และจูงให้นักเรียนอยาก เรียนรู้ ครจู ะตอ้ งใชว้ ธิ กี ารประเมนิ ผลที่สามารถบอกได้ว่าการเรยี นรู้ได้เกิดขนึ้ จรงิ 3. เป็นผู้ที่รู้จักนักเรียน ครูไม่เพียงแต่เป็นผู้สอนนักเรียนทางวิชาการเท่านั้น แต่เป็นผู้ท่ีมี อิทธิพลต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพของนักเรียนด้วย ดังน้ัน ครูต้องมีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยา พฒั นาการ เพื่อจะช่วยนักเรยี นให้มพี ฒั นาการทัง้ ดา้ น 4. เป็นผู้ที่มีคุณวุฒิทางวิชาการ โดยเฉพาะในวิชาต่าง ๆ ที่ตนจะต้องสอน สำหรับความรู้ ด้านวิชาการน้ัน เมื่อนิสิตนักศึกษาครูเรียนจบหลักสูตรแล้ว ก็อาจจะเชื่อได้ว่าได้รับการเตรียมตัว พร้อมท่ีจะเป็นผู้สอนได้ และนอกจากนี้ถ้านิสิตนักศึกษาเป็นผู้ที่พยายามขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอ ไมว่ ่าจะดว้ ยการอ่านคน้ คว้าดว้ ยตนเอง หรือไปอบรมต่อในวิชาท่ีตนสอนก็จะเปน็ บุคคลท่ีมีคณุ วุฒิทาง วิชาการทที่ ันสมัยเสมอ 5. เป็นผู้นำที่ดีและเป็นผู้ฟังที่ดี สามารถจะช่วยนักเรียนให้มีความเข้าใจซึ่งกันและกันใน กรณที ่มี คี วามขดั แย้งกนั ท้ังในห้องเรยี นและนอกหอ้ งเรียน 6. มีทักษะในการจดั การห้องเรยี นใหเ้ อ้ือต่อการเรยี นรู้ 7. เป็นผู้ที่นิยมในวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเข้าใจกฎแห่ งพฤติกรรม และเป็น นักวิทยาศาสตรพ์ ฤติกรรม 8. จะต้องมีทักษะของชีวิต (Life Skill) คือ เป็นผู้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี และมี ความสัมพันธ์อันดีหรือต้องมีมนุษยสัมพันธ์ สามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจได้ มีสุขภาพดีทั้งกายและ ใจ จะตอ้ งมจี ดุ มุ่งหมายของชวี ิตและมีใจรกั อาชีพทเ่ี ลือก นอกจากคุณลักษณะท่ัวไปดังกล่าว ยังมีลักษณะเฉพาะที่นักจิตวิทยา เอมเมอร์และคณะ (Emmer, Evertson and Anderson, 1980) ผู้ศึกษาความแตกต่างของครูท่ีมีการสอนอย่างมี ประสิทธิภาพ และครูที่ไม่มีประสิทธิภาพ ได้พบตัวแปรหรือเทคนิคที่ทำให้ครูมีประสิทธิภาพ ดงั ต่อไปนี้ 1. อธิบายวตั ถุประสงค์ของบทเรียน หนว่ ยเรียนทต่ี อ้ งการให้นักเรียนรู้อยา่ งแจม่ แจง้ 2. ใช้อปุ กรณว์ ัสดุเกีย่ วกบั การสอนหลายชนิด 3. เตรยี มการสอนและเครอื่ งใชท้ ่จี ะใชใ้ นการสอนอย่างพร้อม 4. ใชห้ นงั สอื ประสบการณ์ กิจกรรมทจ่ี ะช่วยใหน้ ักเรียนเกดิ การเรียนรู้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 25 5. บอกนักเรียนถึงเหตุผลวา่ ทำไมบทเรียนที่ครูสอนจึงมีความสำคญั และนักเรียนต้องตงั้ ใจ เรยี นให้เกิดการเรยี นรู้ 6. รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ทุกวินาที และปรับเนื้อหาให้เหมาะสมโดยคิดถึงระยะเวลา ความใส่ใจของนกั เรยี น 7. ครคู วรจะสอนนักเรยี นให้มีอัตราความสำเร็จในการเรียนรอู้ ยา่ งสมำ่ เสมอ 8. เนือ้ หาท่สี อนเป็นทสี่ นใจ่แกน่ กั เรยี น 9. การตั้งความคาดหวังของครู และการต้ังเกณฑ์ของความสำเร็จของนักเรียนจะต้อง เหมาะสม ไมส่ ูงหรอื ต่ำจนเกิดไป นอกจากตัวแปร 9 อย่าง ดังกล่าว เอมเมอร์และคณะ พบว่า ครูจะต้องมีความสามารถ ในการส่ือสาร เพราะการท่ีครจู ะสอนหรอื พูดให้นักเรยี นเขา้ ใจได้ ครูจะต้องมีทักษะในการพูด สามารถ จะสื่อสารให้นักเรียนเข้าใจในส่ิงที่ครูต้องการให้นักเรียนเรียนรู้ได้ และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ครูจะต้องรู้จักหลักการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feed back) เช่น นอกจากจะบอกนักเรียนว่าทำ “ถูก” หรือ “ผิด” ครูจะต้องให้คำชมเวลานักเรียนทำถูกและไม่ติว่านักเรียนเป็นส่วนตัวเวลาผิด เช่น “เธอนโี่ ง่จรงิ ” แต่บอกนักเรยี นให้ทราบว่าทำไมถ่ งึ ผดิ บทบาท หน้าท่ี และความรบั ผิดชอบของครู ในสภาพปัจจุบัน ครูนับว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคม และประเทศชาติ เพราะครูมีหน้าที่ต้องพัฒนาคน พัฒนาความคิด พัฒนาความรู้ และพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่ เยาวชนของชาติ เพ่ือท่ีพวกเขา จะได้เป็นคนท่ีมีคณุ ภาพของสังคมต่อไป ดงั น้ันจึงขอนำพระราโชวาท ท่กี ล่าวถงึ บทบาท หนา้ ที่ของครู ไว้ดังนี้ พระราโชวาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทาน ปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครู ณ อาคารใหม่สวนอัมพร วันพุธ ท่ี 18 พฤษภาคม 2526 ความตอนหนงึ่ ว่า “...ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพราะเป็นผู้ให้การศึกษาหล่อหลอมเยาวชน ผูเ้ ป็นกำลังและอนาคตของชาติใหเ้ จริญงอกงามด้วยความร้คู วามสามารถ ด้วยความคิดจิตใจ และด้วย คุณธรรมความดีทุก ๆ ด้าน อันเป็นสมบัติของคนดี ผู้ท่ีเข้ามาเป็นครูจึงสมควรอย่างยิ่งท่ีจะต้อง ใช้ความรู้ความคิดวิทยาการ ความหนักแน่นอดทน พร้อมด้วยความอุตสาหะพากเพียรโดยเต็มกำลัง เพอื่ ปฏิบัติหน้าทอ่ี นั สำคญั และมีเกยี รตินัน้ ให้บรรลุผลอันพึงประสงค์...” และอกี ตอนหน่ึงเม่ือคราวเสด็จพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัย ครู ณ อาคารใหม่สวนอมั พร วันอาทิตย์ ท่ี 22 พฤษภาคม 2526 ความตอนหนงึ่ วา่
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 26 “...การปฏิบัติหน้าท่ีของครูให้สัมฤทธ์ิผลด้วยดีน้ัน จะต้องอาศัยความรู้ความสามารถทาง วชิ าการเป็นหลัก อาศัยจิตใจอันสุจริตหนักแน่นเป็นพ้ืนฐาน และอาศัยคุณสมบัติพิเศษหลายประการ เป็นเคร่ืองประกอบเกื้อกูล วนั น้ีจะพดู กับทา่ นทัง้ หลายถึงเร่อื งความรบั ผิดชอบ งานใด ๆ ก็ตาม จะดำเนินไปได้สำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ก็เพราะผู้ปฏิบัติมีความ รับผิดชอบ คนรับผิดชอบ หมายถึงคนทีไ่ ด้รบั มอบหมายหน้าที่การงานใดมาแล้ว ไม่ทอดทิ้ง ไม่ปล่อยเฉย ไม่เกี่ยง ไม่โยนไปให้คนอื่น หากแต่ตั้งอกต้ังใจทำ และพยายามทำให้ดีท่ีสุดอย่างนี้อย่างหน่ึง กับอีกอย่างหนึ่ง หมายถึงต้องรับรู้ด้วยว่า งานท่ไี ด้ทำไปแลว้ มีขอ้ ใดสว่ นใดเสยี หายอยา่ งใดเพียงใดบ้าง เพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขป้องกันไม่ให้เป็นอีก และพร้อมกันน้ันก็ต้องเห็นต้องรู้ว่างานท่ีได้ทำไป มีสิ่งใดถูกต้องเหมาะสม เป็นผลดีบ้าง จะได้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป และปรับปรุงให้ดีย่ิงข้ึน ผู้มีความรับผิดชอบจะทำการงานใด ก็เป็นท่ีวางใจได้สนิทว่าจะไม่ทำให้งานเสียหาย มีแต่เจริญขึ้น ตรงข้ามกับคนไม่รับผิดชอบซ่ึงให้ทำอะไรก็เสียงานหมด ยิ่งให้ทำงานใหญ่ ๆ สำคัญ ๆ เช่นงาน ให้การศึกษาแล้ว ก็จะพาให้อนาคตของชาติมืดมนเอาทีเดียว ข้าพเจ้าจึงใคร่ขอให้บัณฑิตครูสังวร ในเรอ่ื งความรบั ผดิ ชอบใหม้ ากท่สี ดุ ...” พูนทรัพย์ เกตุวรี ะพงศ์. (2556, ออนไลน์) กลา่ วว่า ตามบทบาทและหนา้ ที่ของ “ครู” น้นั มี ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะโดยเนื้อแท้แล้วครูเป็นผู้สร้างและยกระดับอนาคตเยาวชนของชาติ ครูจึงเป็นเมล็ดพันธ์ุแห่งความดีงามความงดงามแห่งปัญญาที่เป็นความหวัง เป็นพลังของชาติ มบี ทบาทของการสรา้ งทย่ี ิ่งใหญ่ สร้างคนดี สร้างคนเกง่ และคนกล้าใหเ้ กดิ ข้นึ ในแผน่ ดนิ 1. บทบาท หนา้ ท่ขี องครู ตามทศั นะของพทุ ธทาสภิกขุ พทุ ธทาสภกิ ขุ (2529, หนา้ 242-253) ไดก้ ล่าวถงึ บทบาท และหน้าทข่ี องครู ไวว้ ่า 1.1 บทบาทของครู ครู คือผนู้ ำทางวิญญาณ ท้ังแกบ่ ุคคลและสังคม ใน ๓ ประการคือ (1) สอนใหร้ ู้จกั ความรอดท่แี ท้จรงิ คือการดับทุกข์ (2) สอนให้รู้จักความสุขท่ีแท้จริง คือความสุขจากการทำหน้าที่ หน้าที่น้ันแยกได้ 2 ประการ ประการที่ 1 คือ การบริหารชีวิตให้เป็นสุข ประการที่ 2 คือ การใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ มากทสี่ ุด ท้งั แกต่ นเองและผูอ้ ื่น (3) สอนให้รู้จักหน้าที่ท่แี ท้จริง คือรจู้ กั หน้าที่ในฐานะท่เี ปน็ สิง่ สูงสุด รักที่จะทำหน้าท่ี และมคี วามสุขในการทำหน้าที่ 1.2. ครเู ป็นผู้สรา้ งโลก บุคคลในโลกจะดีหรอื เลว ก็เพราะการศึกษาและผู้ใหก้ ารศกึ ษา ก็คือครู ดงั นนั้ ครจู ึง เป็นผสู้ รา้ งโลกในอนาคต โดยผ่านศษิ ย์ โลกท่ีพึงประสงคค์ อื โลกของคนดีอนั เปรียบได้กบั (1) มนุษยโลก คอื สรา้ งบคุ คลท่ีมีจิตใจสูง
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 27 (2) พรหมโลก คอื สร้างบคุ คลท่ีประเสรฐิ รกั เพ่ือนมนุษย์ มีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรณุ า มุทิตา อุเบกขา (3) เทวโลก คอื สร้างบุคคลใหม้ หี ริ ิ โอตตัปปะ 1.3. หน้าทข่ี องครู หน้าท่ี ของครู คือสร้างความอยู่รอดของสังคม โดยการให้การศึกษาท่ีสมบูรณ์แก่ศิษย์ การศึกษาทส่ี มบรู ณค์ อื การศกึ ษาทีค่ รบองค์สาม อันได้แก่ (1) ให้ความรู้ทางโลก หมายถงึ การเรียนหนังสือ เพื่อพัฒนาสติปัญญาและการเรียน วชิ าชพี เพอ่ื ให้สามารถอยรู่ อดทางกาย (2) ให้ความรู้ทางธรรม เพ่ือให้ใจอยู่รอด คือรอดพ้นจากความครอบงำของกิเลส มี ความเปน็ มนษุ ย์ คือใจสงู ใจสว่าง และใจสงบ (3) ให้ร้จู กั ทำตนให้เป็นประโยชน์ ท้งั ตอ่ ตนเองและสงั คม 2.2 บทบาท หนา้ ท่ี และความรบั ผิดชอบของครู ตามทัศนะของยนต์ ชุมจิต ยนต์ ชุมจิต (2558, หน้า 76–83) ได้อธิบายถึงบทบาท หน้าที่ และความรบั ผิดชอบของครู ตามรูปคำภาษาอังกฤษ คือ “Teachers” โดยสรุปจากคำอธิบายของ ยนต์ ชุ่มจิต ในหนังสือ ความ เปน็ ครู ดังน้ี T (Teaching) – การสอน หมายถึง การอบรมสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้ ความสามารถ ในวิชาการท้ังหลายทั้งปวง ซ่ึงถือว่าเป็นงานหลักของครูทุกคนทุกระดับช้ันท่ีสอน ตามระเบียบคุรุสภาว่าด้วยจรรยามารยาทและ วินัยตามระเบียบประเพณีของครู พ.ศ. 2526 ข้อ 3 กำหนดไว้ว่า ครูต้องตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติ หน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์จะละท้ิงหรือทอดทิ้งหน้าท่ีการงาน มิได้ และในข้อ 6 กำหนดไว้ว่า ครูต้องถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพรางไม่นำ หรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนเองไปใช้ในทางที่ทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษยชาติ จาก ข้อกำหนดท้ัง 2 ข้อ ท่ีนำมากล่าวน้ีจะเห็นว่าหน้าท่ีของครูท่ีสำคัญคือการอบรมสั่งสอนศิษย์ การ ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ โดยเฉพาะในข้อ 3 ของระเบียบประเพณีของครู พ.ศ. 2526 นี้ ถือว่า การอบรมส่ังสอนศิษย์เป็นหน้าที่ท่ีสำคัญมาก จะละทิ้งหรือทอดทิ้งไม่ได้เพราะถ้าหากครูละทิ้งการ สอนก็คือครูละท้ิงหน้าที่ของครูซ่ึงการกระทำเช่นนั้นจะมีผลต่อการเจริญเติบโตทางความคิด และสติปัญญาของศิษย์เป็นอย่างมาก กล่าวคือ ศิษย์ของครูจะไม่ได้รับการพัฒนา ความคิด ความรู้ และสติปัญญา หรือได้รับบ้างแต่ก็ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังน้ันครูทุกคนควรตระหนักในการสอน เป็นอันดับแรกโดยถือว่าเป็นหัวใจของความเป็นครูคือการอบรมส่ังสอนศิษย์ให้เป็นคนดีมีความรู้ใน วทิ ยาการท้ังปวง ซึ่งการทีค่ รูจะปฏิบัติหน้าท่ีในการสอนของครูได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์นั้น ซึ่งสำคัญ ท่คี รูตอ้ งเพิม่ สมรรถภาพในการสอนใหแ้ กต่ นเอง
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 28 E(Ethics) - จรยิ ธรรม หมายถงึ หนา้ ทีใ่ นการอบรมจริยธรรมให้แก่นักเรยี นซึง่ ถือวา่ เป็นหนา้ ที่หลักอีกประการหน่ึง นอกจากการสั่งสอนในด้านวิชาความรู้โดยท่ัวไปนอกจากนี้ครูทุกคนจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็น ผู้มีจริยธรรมอันเหมาะสมอีกด้วยเพราะพฤติกรรมอันเหมาะสมท่ีครูได้แสดงออกจะเป็นเคร่ืองมือ ทสี่ ำคัญในการปลกู ฝงั ศรัทธาให้ศษิ ย์ได้ปฏิบัติตาม A ( Academic) – วิชาการ หมายถึง ครูต้องมีความรับผิดชอบในวิชาการอยู่เสมอ กล่าวคือ ครูต้องเป็นนักวิชาการ อยู่ตลอดเวลา เพราะอาชีพของครูต้องใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ดังน้ันครูทุกคน ตอ้ งศึกษาหาความร้เู พ่ิมเติมอยูเ่ ป็นประจำ หากไมก่ ระทำเช่นนั้นจะทำให้ความรู้ท่ไี ด้ศกึ ษาเลา่ เรยี นมา นน้ั ลา้ สมัย ไม่ทันกับการเปลย่ี นแปลงทางวชิ าการใหม่ ๆ ซง่ึ มีอยา่ งมากมายในปจั จบุ นั C (Cultural Heritage) – การสืบทอดวัฒนธรรม หมายถึง ครูต้องมีหน้าท่ีรับผิดชอบเก่ียวกับการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากคนรุ่นหน่ึง ให้ตกทอดไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง หรือ รุ่นต่อ ๆ ไป ซึ่งมีวิธีการที่ครูจะกระทำได้ 2 แนวใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ 1. การปฏิบัติตามวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามอย่างถูกต้องเป็นประจำ กล่าวคือ ครูทุกคนจะต้องศึกษาให้เข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติอย่างถ่อง แท้เสียก่อน ต่อจากนั้นจึงปฏิบัติตามให้ถูกต้องและเหมาะสม เพ่ือให้ศิษย์และประชาชนท่ัวไปยึดถือ เป็นแบบอย่าง เช่น - การแต่งกายให้เหมาะสมตามโอกาสต่าง ๆ - การแสดงความเคารพและ กริ ิยามารยาทแบบไทย ๆ - การจดั งานมงคลสมรส 2. การอบรมสั่งสอนนกั เรียนให้เขา้ ใจในวฒั นธรรม และประเพณีอันดีงามของไทยอย่างถูกต้อง และในขณะเดียวกันก็กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนได้ ประพฤติปฏิบัตติ ามให้ถกู ตอ้ งตามแบบฉบับอันดีงามทีบ่ รรพบรุ ษุ ไดย้ ดึ ถือปฏบิ ัติสบื ต่อกนั มา H ( Human Relationship) – มนษุ ย์สัมพนั ธ์ หมายถึง การมีมนุษย์สัมพันธ์อันดีของครูต่อบุคคลท่ัวๆไป เพราะการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี จะช่วยให้ครูสามารถปฏิบัติหน้าท่ีของครู ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ของครูยังช่วยทำให้สถาบันศึกษาท่ีครูปฏิบัติงานอยู่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วอีกด้วย ดังน้ัน ครูทุกคนจึงควรถือเป็นหน้าท่ีและความรับผิดชอบอีกประการหนึ่งที่จะต้องคอยผูกมิตรไมตรีอันดี ระหว่างบคุ คลต่าง ๆ ท่คี รมู ีส่วนเก่ียวข้องดว้ ย E (Evaluation) – การประเมินผล หมายถึง การประเมินผลการเรียนการสอนนักเรียนซ่ึงถือวา่ เป็นหน้าท่ีและความรับผิดชอบ ที่สำคัญยิ่งอีกประการหน่ึงของครูเพราะการประเมินผลการเรียนการสอนเป็นการวัด ความ เจริญก้าวหน้าของศิษย์ในด้านต่างๆหากครูสอนแล้วไม่มีการประเมินผลหรือวัดผลครูก็จะไม่ทราบได้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 29 ว่าศิษย์มีความเจริญก้าวหน้าในด้านใดมากน้อยเพียงใด ดังนั้น ครูจึงควรจะระลึกอยู่เสมอว่า ณ ที่ใด มกี ารสอน ทนี น่ั จะตอ้ งมีการสอบ R (Research) – การวจิ ัย หมายถึง ครูต้องเป็นนักแก้ปัญหา เพราะการวิจัยเป็นวิธีการแก้ปัญหาและการศึกษาหา ความจริง ความรู้ท่ีเชื่อถือได้โดยวิธี การวิจัยของครูในที่น้ี อาจจะมีความหมายเพียงแค่ค้นหาสาเหตุ ต่าง ๆ ท่ีนักเรียนมปี ัญหาไปจนถึงการวิจัยอย่างมีระบบในชั้นสงู ก็ได้ สาเหตุท่ีครตู ้องรับผิดชอบในดา้ น นี้ก็เพราะในการเรียนการสอนทุก ๆ วิชา ควรจะต้องพบกับปัญหาต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่น ปัญหา เด็กไม่ทำการบ้าน เด็กหนีโรงเรียน เด็กท่ีชอบรังแกเพื่อน และเด็กท่ีชอบลักขโมย เป็นต้น พฤติกรรม ต่าง ๆ เหล่าน้ี ถา้ ครสู ามารถแก้ไขได้กจ็ ะทำใหก้ ารเรยี นการสอนมปี ระสิทธิภาพยง่ิ ขนึ้ S (Service) บรกิ าร หมายถึง การให้บริการ คือ ครูจะต้องให้บริการแก่สังคมหรือบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ ต่อสังคม ดังต่อไปนี้ 1. บริการความรู้ท่ัวไป ให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชนในท้องถ่ิน 2. บรกิ าร ความรู้ทางด้านความรู้และสุขภาพอนามัย โดยเป็นผู้ให้ความรู้หรือเป็นผู้ประสานงานเพื่อดำเนินการ ให้ความรแู้ ก่ประชาชน 3. บริการด้านอาชีพ เช่น ร่วมมอื กับหน่วยงานอ่ืนเพ่ือจัดฝึกอบรมอาชีพระยะ สั้นให้ประชาชนในท้องถ่ิน 4. บรกิ ารให้คำปรึกษาหารือทางด้านการศึกษาหรอื การทำงาน 5. บริการ ดา้ นแรงงาน เชน่ ครูร่วมมือกับนักเรียนเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน 6. บริการด้านอาคารสถานที่แก่ผปู้ กครอง นักเรียนทมี่ าขอใชอ้ าคารสถานที่ในโรงเรียนดว้ ยความเตม็ ใจ กล่าวได้ว่า ครูไม่ได้เป็นแต่ผู้สั่งสอนศิษย์แต่เพียงอย่างเดียว ครูยังต้องทำหน้าท่ีอบรม จริยธรรมให้แก่นักเรียนซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่หลักอีกประการหน่ึง ครูต้องมีความรับผิดชอบในวิชาการ อยู่เสมอ หน้าท่ีรับผิดชอบเก่ียวกับการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งให้ตกทอดไปสู่คน อีกรุ่นหนึ่ง หรือ รุ่นต่อ ๆ ไป ครูต้องมนุษย์สัมพันธ์อันดีคอยผูกมิตรไมตรีอันดีระหว่างบุคคลต่าง ๆ ที่ครูมีส่วนเก่ียวข้องด้วย ทำหน้าท่ีประเมินผลการเรียนการสอนนักเรียนซ่ึงถือว่าเป็นหน้าที่และความ รับผิดชอบที่สำคัญยิ่ง ครูต้องทำวิจัยเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาทางการศึกษาต่าง ๆ เกิดกับนักเรียน นอกจากนี้ ครูจะต้องใหบ้ ริการแกส่ งั คมหรือบำเพ็ญตนให้เปน็ ประโยชน์ต่อสงั คมอีกด้วย บทสรปุ ความเป็นครูเป็นของมีค่า หมายถึง การมีความรู้ดี ประกอบด้วยหลักวิชาที่ถูกต้อง แน่นแฟ้นและแจ่มแจ้งแก่ใจ กอปรทั้งคุณงามความดี และความเอ้ืออารี ปรารถนาดีที่จะถ่ายทอด เผ่ือแผ่ให้แก่คนอื่น ได้มีความรู้ความเข้าใจที่ดีโดยที่ “ครู” (Teacher) หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษาในสถานศึกษาระดับปฐมวัย ข้ันพ้ืนฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและ เอกชน โดยทำหน้าท่ีหลักทางด้านการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการณ์
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 30 การปลกู ฝงั คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมท่ีดงี าม ตลอดจนการสง่ เสริมการเรยี นรู้ ของผู้เรียนด้วยเทคนิค และวิธีการท่ีหลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความเจริญงอกงามทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม องค์ประกอบของความเป็นครู เป็นลักษณะเฉพาะตัวของครูแต่ละบุคคล เป็นส่ิงสำคัญยิ่ง สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครู เพราะครูมภี ารกิจหลักคือการสอนเป็นกระบวนการท่ีมคี วามสลับซับซอ้ น ท่ีต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นองค์ประกอบอย่างน้อย 2 ประการ ประการแรก “องค์ประกอบ ทางจิตวิสัย” (subjective factors) คือ องค์ประกอบทางด้านความสามารถและบุคลิกภาพส่วนตัว ประการทีส่ อง “องค์ประกอบทางวัตถวุ ิสัย” (objective data) ครูมีความสำคัญมาก เพราะครคู ือผู้เบื้องหลังของความสำเร็จของผู้อยู่ในอาชีพตา่ ง ๆ สังคม เปรียบครู คือ พ่อแม่คนที่สองของศิษย์ มีความสำคัญในฐานะผู้ตัดสินใจในห้องเรียนที่ประกอบด้วย นักเรียนซ่ึงมีความแตกต่างระหว่างบุคคลและภูมิปัญญาที่แตกต่างกัน สำคัญในฐานะนักวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมที่จะช่วยพัฒนาพฤติกรรมและบุคลิกภาพของนักเรียนแต่ละคนได้ สำคัญในฐานะวิศวกร สังคม ในการเป็นนักสร้าง นักออกแบบ นักแก้ไข นักปรับปรุง นักเปลี่ยนแปลง และนักพัฒนา ให้นักเรียนเป็นไปตามเป้าหมายท่ีกำหนด นอกจากนี้ ยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาเยาวชน พัฒนา สังคม การเมืองการปกครอง เศรษฐกจิ ของชาติ ต่อการส่งเสริมความม่ันคงทางศาสนาและวฒั นธรรม จนได้รับสมญานาม เช่น นักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา ผู้ใชอ้ าวุธลับของชาติ ทหารเอกของชาติ แม่พิมพ์ของชาติ กระจกเงาของศิษย์ ดวงประทีปส่องทาง ผู้สร้างโลก ผู้กุมความเป็นความตายของ ชาติไวใ้ นกำมอื และครูคอื ปูชนียบุคคล เป็นต้น ครูคือแม่พิมพ์ท่ีเป็นต้นแบบของศิษย์ ท่ีสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ครูในบ้าน คือ ครูคนแรก ทเ่ี ป็นพอ่ และแม่ ที่คอยปลูกฝังอบรมสั่งสอนลูกต้ังแต่เกิดจนเติบ ครูคนท่ีสอง คือ ครูใน โรงเรียน ที่ทำหน้าที่ต่อจากพ่อแม่ผู้ที่คอยสั่งสอน อบรม และคอยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่ศิษย์ ครูคนท่ีสาม คือ ครูในวัด หรือพระภิกษุสงฆ์ ผู้เป็นแหล่งให้ความรู้และความประพฤติทางธรรม แก่ชาวโลก ลักษณะครทู ่ีดีและมปี ระสิทธภิ าพ หมายถึงครูท่ีมีการสอนที่รับรองได้ว่านักเรียนจะเกิดการ เรียนรู้ตามความถนัดและความสามารถของทุกคน โดยประพฤติปฏิบัติตนสมกับบทบาท หน้าท่ี และ ความรับผิดชอบของคำว่า Teachers ท่ีเกี่ยวกับ การสอน การปลูกฝังจริยธรรม การรับผิดชอบต่อ งานวิชาการ มีมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลที่ครูเก่ียวข้องด้วย มีความรับผิดชอบต่อการประเมินผลผู้เรียน ทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของนักเรียน รับผิดชอบต่อการบริการลูกศิษย์ ผู้ปกครอง ตลอดจนชุมชนใน ท้องถน่ิ ดว้ ย
31 คำถามทบทวน หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้แล้ว จงอธิบายข้อความหรือตอบคำถาม ต่อไปนี้ให้ถูกต้องชัดเจน 1. ในความคิดเหน็ ของท่าน คำว่า “ครู” กับ “อาจารย์” เหมือนหรือต่างกนั อย่างไร 3. จงแสดงความคิดเหน็ ตอ่ คำกล่าวที่วา่ “ครมู บี ทบาทท่สี ำคญั ยงิ่ ในการพัฒนาประเทศ” 4. อธิบายครบู ทบาท หนา้ ที่ ของครูแตล่ ะประเภทมาให้เขา้ ใจ 5. ให้ยกตวั อยา่ งสมญานามของครมู า 2-3 สมญานาม แล้วอธิบายสมญานามทีย่ กมานั้น 6. เพราะเหตุใดสังคมจึงยกให้ครูคอื วศิ วกรของสงั คม 7. จงอธิบายคำกล่าวท่ีว่า “บทบาททำให้เกิดภาระ ภาระทำให้เกิดหน้าท่ี และหน้าที่ทำให้ เกิดความรบั ผิดชอบ” 8. “ณ ท่ีใดมีการสอน ท่ีน่ันต้องมีการสอบ” ท่านเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้หรือไม่ อย่างไร ให้ อธิบายพร้อมยกตวั อย่างใหเ้ หน็ 9. การวจิ ัยมีความจำเป็นสำหรับการเรยี นการสอนหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด ให้อธิบาย มาให้เขา้ ใจ 10. บทบาทของครตู อ่ การจัดการเรียนการสอนให้มปี ระสทิ ธิภาพควรทำอย่างไรบ้าง มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง บทที่ 2 การประกอบวชิ าชีพครู จากการท่ีรัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการโดยจัดให้มีกฎหมายเก่ียวกับการศึกษา แ ห่ ง ช า ติ เพื่ อ เป็ น ก ฎ ห ม า ย แ ม่ บ ท ใ น ก า ร บ ริ ห า ร แ ล ะ ป รั บ ป รุ ง ก า ร ศึ ก ษ า ให้ ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ ความเปล่ียนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และได้ประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545 (หน้า 31) หมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากร ทางการศึกษา มาตรา 52 “ใหก้ ระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพฒั นาครู คณาจารย์ แล ะบุ ค ล าก รท างก ารศึ ก ษ าให้ มี คุ ณ ภ าพ แ ล ะม าต รฐ าน ท่ี เห ม าะส ม กั บ ก ารเป็ น วิช าชี พ ช้ั น สู ง โดยการกำกับและประสาน ให้สถาบันที่ทำหน้าท่ีผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ รวมทั้งบุคลากร ทางการศึกษาให้มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่และการพัฒนาบุคลากร ประจำการอยา่ งต่อเนื่อง” จากข้อกำหนดของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ จะเห็นได้วา่ วชิ าชีพ ครูได้รับการยกฐานะให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง น่ันหมายความว่าไม่ใช่ใครก็ได้ท่ีจะมาเป็นครู แต่บุคคล ที่จะมาเป็นครูจะต้องผ่านกระบวนการเสริมสร้างความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ ท า ง วิ ช า ชี พ ค รู แ ล ะ ต้ อ ง มี ใบ อ นุ ญ า ต ป ร ะ ก อ บ วิ ช า ชี พ ต า ม ม า ต ร ฐ า น ท่ี อ ง ค์ ก ร วิ ช า ชี พ ก ำ ห น ด จึงจะสามารถเข้าสู่วชิ าชีพครูได้ ดังนั้น ในบทที่ 2 น้ี ผู้เขียนจะได้อธิบายให้เข้าใจเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพครู ซ่ึงมีประเด็นสำคัญท่ีจะนำเสนอในท่ีนี้ ได้แก่ ความหมายของวิชาชีพครูและผู้ประกอบวิชาชีพครู ความสำคัญของวิชาชีพครู เกณฑ์พิจารณาวิชาชีพ วิชาชีพครูในฐานะวิชาชีพช้ันสูง องค์กรวิชาชีพครู และใบอนญุ าตประกอบวิชาชีพ โดยมรี ายละเอียดดงั ต่อไปนี้ ความหมายของวชิ าชีพครแู ละผู้ประกอบวชิ าชพี ครู นักวิชาการ นักการศึกษา ท้ังไทยและต่างประเทศ รวมทั้งหน่วยงานราชการต่าง ๆ ได้ให้ ความหมายของคำว่า “วิชาชพี ” และวิชาชีพครู ไว้หลากหลาย ดังเช่น 1. ความหมายของคำว่า “วชิ าชพี ” และ “วชิ าชพี ครู” พจนานุกรมแปล ไทย-อังกฤษ อ. สอ เสถบุตร อธิบายคำว่า “วิชาชีพ” เป็น คำนาม หรือ คำคุณ ศัพท์ ภาษาอังกฤษเขียนว่า a vocation, a profession, a learned profession หรือ vocational (schools), professional (training) พ จ น านุ ก รม แ ป ล ไท ย -อั งก ฤ ษ NECTEC's Lexitron Dictionary อธิบายคำว่า วิชาชีพ (vocation) เป็น คำนาม หมายความว่า “อาชีพที่ต้อง อาศัยวิชาความรู้ ความชำนาญ” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 อธิบายคำว่า “วิชาชีพ” เป็นคำนาม หมายความว่า “วิชาที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น วิชาแพทย์
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 33 วิชาช่างไม้ วิชาช่างยนต์” ส่วนพจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร อธิบายคำว่า วิชาชีพ เป็นคำนาม หมายความว่า “วิชา ท่ีศึกษาเล่าเรียนจบแล้วมีความรู้ความชำนาญสามารถประกอบ อาชพี ไดท้ นั ที หรอื วิชาเฉพาะเพอ่ื การประกอบอาชีพ” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, ออนไลน์) พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 4 (2546, หน้า 2) ให้นิยามคำว่า “วิชาชีพ” หมายความว่า “วิชาชีพทางการศึกษาท่ีทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียน การสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมท้ังการรับผิดชอบการบริหาร สถานศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาท่ีต่ำกว่าปริญญาท้ังของรัฐและเอกชน และการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นท่ีการศึกษา ตลอดจนการสนับสนุน การศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเน่ืองกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศกึ ษาในหน่วยงานการศกึ ษาตา่ ง ๆ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 (2547, หน้า 2) มาตรา 4 ได้กำหนดความหมายของ คำว่า “วิชาชีพ” หมายความว่า วิชาชีพครู วิชาชีพ บรหิ ารการศกึ ษา และวิชาชพี บุคลากรทางการศกึ ษาอนื่ ขอ้ บังคับคุรสุ ภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 (2556, หนา้ ท่ี 1) ใหค้ วามหมายคำว่า “วิชาชีพ” หมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษาท่ีทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการ ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมท้ังการรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาใน สถานศึกษาปฐมวัย ขัน้ พ้ืนฐาน และอุดมศึกษาทตี่ ่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน และการบรหิ าร การศึกษานอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นท่ีการศกึ ษา ตลอดจนการสนับสนุนการศึกษาใหบ้ รกิ ารหรือ ปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาใน หนว่ ยงานการศึกษาตา่ ง ๆ สันติ บุญภริ มย์ (2557 หน้า 2) สรุปคำว่า วิชาชพี หมายถึง การประกอบอาชีพท่ีตอ้ งอาศัย ความรู้ ความชำนาญเป็นการเฉพาะท่ีไม่ซ้ำกับวิชาชีพอื่น และมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพ เพื่อการให้บริการแก่สาธารณะ เช่น วิชาชีพครู ซ่ึงเป็นวิชาชีพทางการศึกษาที่ทำหน้าท่ีหลักทางด้าน การเรยี นการสอนและการสง่ เสรมิ การเรียนร้ขู องผ้เู รยี นดว้ ยวิธีการตา่ ง ๆ ศักด์ิชัย ภู่เจริญ (2560, หน้า 44) สรุปคำว่า วิชาชีพ หมายถึง อาชีพท่ีบุคคลหรือคณะ บคุ คลให้บริการแก่สาธารณชนท่ีมกี ารใช้ความรู้ ความสามารถและความชำนาญเป็นการเฉพาะและมี มาตรฐานในการประกอบอาชพี เปน็ การเฉพาะ กิตติชัย สุธาสิโนบล (2560 หน้า 8) ให้ความหมายคำว่า “วิชาชีพครู” หมายถึง อาชีพ ที่ให้บริการแก่นักเรียนและสาธารณชนที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเป็นการเฉพาะ ไม่ซ้ำซ้อนกับ วิชาอื่น และมีมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพครูต้องฝึกอบรม ทง้ั ภาคทฤษฎแี ละภาคปฏบิ ัตอิ ย่างเพยี งพอก่อนที่ประกอบวิชาชพี ครู
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 34 2. ความหมายผปู้ ระกอบวิชาชพี ครู พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 (2546, หน้า 3) มาตรา 4 ให้นิยามคำว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” ประกอบด้วย ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหาร การศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซ่ึงได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตาม พระราชบญั ญตั ิน้ี พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 (หน้า 2) มาตรา 4 ได้กำหนดความหมายของ คำว่า “ข้าราชการครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษา” หมายความว่า บุคคลซ่ึงได้รับการบรรจุและแต่งต้ังตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงิน งบประมาณแผ่นดิน งบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือนในกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการ ทอ่ งเทีย่ วและกฬี า กระทรวงวัฒนธรรม หรอื กระทรวงอ่นื ท่ีกำหนดในพระราชกฤษฎกี า “ข้าราชการครู” หมายความว่า ผู้ที่ประกอบวชิ าชีพซ่ึงทำหน้าท่ีหลักทางด้านการเรียนการ สอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผเู้ รยี นด้วยวิธกี ารตา่ ง ๆ ในสถานศกึ ษาของรฐั มาตรา 56 ผู้ใดได้รับการบรรจุและแต่งต้ังให้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา เพ่ือแต่งตงั้ ใหด้ ำรงตำแหนง่ ใด ให้บรรจุและแตง่ ต้ังจากผ้สู อบแขง่ ขนั ไดส้ ำหรับตำแหน่ง น้ัน โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับท่ีในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ โดยให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการใน ตำแหน่งน้ัน แต่ถ้าผู้ใดได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งครูผู้ช่วย ให้ผู้นั้นเตรียมความพร้อมและ พัฒนาอย่างเข้มเป็นเวลาสองปีก่อนแต่งต้ังให้ดำรงตำแหน่งครู ท้ังนี้ การทดลองปฏิบัติหน้าท่ีราชการ และการเตรียมความพร้อมและพฒั นาอย่างเข้ม ใหเ้ ปน็ ไปตามหลกั เกณฑแ์ ละวธิ ีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด กล่าวโดยสรุป คำว่า “วิชาชีพครู” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Teaching Profession” หมายความว่า วิชาที่จะนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูให้เกิดความรู้ความชำนาญเป็นการเฉพาะ ตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ โดยผูป้ ระกอบวิชาชพี ครูตอ้ งได้รับอนุญาตใิ ห้ประกอบ วิ ช า ชี พ ใน ก าร ท ำ ห น้ า ท่ี ห ลั ก ท า งด้ า น ก าร เรี ย น ก า ร ส อ น แ ล ะก า ร ส่ ง เส ริ ม ก า ร เรี ย น รู้ ข อ ง ผู้ เรี ย น ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ข้ันพ้ืนฐาน และอุดมศึกษาท่ีต่ำกว่าปริญญาท้ังของรัฐ และเอกชน รวมทงั้ ต้องประพฤติปฏบิ ัติตนตามมาตรฐานการปฏบิ ัติงานและจรรยาบรรณของวชิ าชพี ความสำคญั ของวชิ าชีพครู วิชาชีพทุกวิชาชีพย่อมมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมด้วยกันท้ังน้ัน เป็นการยากท่ีจะ บ่งบอกว่าอาชีพใดสำคัญกว่าอาชีพใด แต่ในที่น้ีเราจะพิจารณาเฉพาะวิชาชีพครูว่ามีความสำคัญ ต่อสังคมและประเทศชาติเพียงใด จึงขออัญเชิญพระราโชวาทของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครู ณ อาคาร ใหมส่ วนอมั พร วนั พุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ความตอนหนง่ึ ว่า
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 35 “...อาชพี ครูถือได้วา่ สำคญั อย่างย่ิง เพราะครูมบี ทบาทสำคญั ในการพัฒนาประเทศใหเ้ จริญ ม่ันคง และก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้น้ันจะต้องพัฒนาคน ซึ่งได้แก่ เยาวชนของชาติ เสยี กอ่ น เพ่ือให้เยาวชนเติบโตเปน็ ผู้ใหญท่ ่ีมีคุณค่าสมบูรณ์ทกุ ด้านจึงสามารถ ชว่ ยกันสรา้ งความเจริญ ใหแ้ ก่ชาตติ ่อไปได้...” จากพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพฯ ตามท่ีไดอ้ ัญเชิญมากล่าวไว้ขา้ งต้น เป็นเครอื่ งยืนยัน ให้เห็นถึงความสำคัญของครูท่ีมีต่อความเจริญของบุคคล และชาติบ้านเมืองเป็นอย่างย่ิง ชาติบ้านเมืองจะเจริญได้เพราะประชาชนในชาติได้รับการศึกษาที่ดี และมีครูท่ีมีคุณภาพ ในอดีต ครูมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมมาก แต่ในปัจจุบันความสำคัญของเปลี่ยนไปมีสาเหตุ หลายประการท่ีทำใหค้ วามสำคัญของครูในอดีตกับครใู นปัจจุบันแตกตา่ งกนั สามารถอธบิ ายไดด้ ังนี้ 1. ด้านหลกั สตู รการสอน 1.1 ในอดีต “ตัวครู” คือ “หลักสูตร” ครูมีความสามารถในเรื่องใด หรือมีวิธีการสอน อย่างใดก็สอนกันไปเชน่ นน้ั ครมู ีความสำคญั มากในการที่จะดูแลปรับปรุงพฤตกิ รรมของเด็ก 1.2 ในปัจจุบัน หลักสูตรการเรียนสอนในระดับต่าง ๆ มีมาก และแต่ละสาขาวิชาก็จะมี ครูเฉพาะสาขาวิชาทำการสอนในวิชาน้ัน ๆ อยู่ นักเรียนจะมีโอกาสได้เรียนกับครูหลาย ๆ คน ทำให้ความผูกพันระหว่างครูกับนักเรียนลดน้อยลง นักเรียนจะไม่ค่อยเห็นคุณค่าความสำคัญของครู เท่าใดนัก 2. ด้านจำนวนครู 2.1 ในอดีต จำนวนครูมีน้อย คนที่จะมาเป็นครูได้นั้นจะต้องมีการคัดเลือกผู้ที่มี สติ-ปัญญาดี และมนี ิสัยเหมาะสมท่ีจะเป็นครู สามารถประพฤติปฏิบัติตนใหเ้ ป็นแบบอย่างแก่ลูกศิษย์ ได้ ดงั นั้น ความสำคัญของครจู ึงมมี าก 2.2 ในปัจจบุ ัน การศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเปน็ ท่จี ะตอ้ งเพ่ิมจำนวนครู ให้มากข้ึน และมีคนเป็นจำนวนมากที่มิได้ศรัทธาที่จะเป็นครู แต่จำเป็นต้องประกอบอาชีพนี้ เพียง เพ่ือให้มีโอกาสได้งานทำ จึงทำให้ครูบางคนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นครู ไม่มีศรัทธา ในวิชาชีพทีท่ ำอยู่ 3. ดา้ นจำนวนนักเรยี น 3.1 ในอดีต จำนวนประชากรมีน้อยกว่าปัจจุบันมาก ผู้ท่ีสนใจจะเรียนหนังสือก็มีจำนวน ไม่มาก ครผู ู้สอนแตล่ ะคนสามารถดูแลอบรมนักเรียนไดอ้ ย่างท่ัวถึง มคี วามผูกพันซ่ึงกันและกัน 3.2 ในปัจจุบัน จำนวนนักเรียนในแต่ละระดับ แต่ละห้องมีมากขึ้น ครูบางคนต้องสอน นกั เรยี นหลายห้อง เม่ือสอนหมดช่ัวโมงหนึง่ กต็ ้องรีบไปสอนต่ออีกห้องตอ่ ไป ทำให้ความผกู พนั ใกล้ชิด กันระหว่างครูกบั ลูกศิษย์ลดนอ้ ยลงตามลำดับ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 36 4. ด้านอนาคตของศษิ ย์ 4.1 ในอดตี คนท่มี โี อกาสไดศ้ กึ ษาเลา่ เรียนเกือบทุกคนจะไดด้ ี มงี านทำ 4.2 ในปัจจุบัน คนท่ีเรียนหนังสือมีมากขึ้น และเป็นพวกที่ไม่เห็นความสำคัญของครู เทา่ ไรนกั 5. ดา้ นความรสู้ กึ ของศิษย์และผปู้ กครอง 5.1 ในอดีต ลูกศิษย์เรียนจบมีงานทำดี ๆ ทั้งลูกศิษย์และผู้ปกครองมักจะนึกถึง บญุ คณุ ครทู เี่ คยี่ วเข็ญและส่ังสอนมา 5.2 ในปัจจุบัน ลูกศิษย์มักจะไม่นึกถึงบุญคุณครูเท่าไรนัก เพราะครูไม่ได้อยู่ใกล้ชิด ส่ังสอนอบรมลูกศษิ ยเ์ ชน่ ครูในอดีต จากความสำคัญของครูและสาเหตุท่ีทำให้ครูในอดีตแตกต่างจากครูในปัจจุบัน สรุปได้ว่า อาชีพครูถือเป็นอาชีพที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคง ความสำคัญของครู ในอดีตและปัจจุบันมีความแตกต่างกนั ไม่ว่าจะเป็นทางด้านหลักสูตร จำนวนครู จำนวนนักเรียน และ ความรู้สึกของนักเรียนและผู้ปกครองท่ีมีต่อครู ท้ัง ๆ ท่ีในความเป็นจริงความสำคัญของครูมิได้ลด น้อยลงไปเลย ครูยังมีบทบาทและความสำคัญอยู่เสมอ เพียงแต่คนบางกลุ่มในยุคปัจจุบันมิได้เห็น ความสำคัญว่าครูมีความสำคัญต่อตน เช่นเดียวกับลูกศิษย์ในสมัยก่อน จึงมีความจำเป็นอย่างย่ิงที่ครู ในยุคปัจจุบันจะต้องเร่งพัฒนาตนเองให้เป็นมืออาชีพ เพ่ือเป็นท่ีศรัทธาและเป็นที่พึ่งของศิษย์ในยุค ปจั จุบันอย่างแท้จรงิ (กติ ตชิ ัย สธุ าสโิ นบล, 2560, หน้า 10-11) เม่ือมองความสำคัญของวิชาชีพครูโดยแบ่งครูตามประเภทลัทธิปรัชญาการศึกษา สามารถ แบง่ ได้ 6 ประเภท คอื 1. สารตั ถนิยม (Essentialism) คือ ครูประเภททถี่ า่ ยทอดเก่ง และประพฤตเิ ป็นแบบอย่างได้ 2. นิรันตรนิยม (Perennialism) คือ ครูประเภทท่ีสอนความรู้เพ่ือให้ผู้เรียนพัฒนาปัญญา และเหตุผล 3. พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ ครูประเภทท่ีเป็นผู้ใฝ่รู้ มีประสบการณ์ กว้างขวาง สอนตามความสนใจของผเู้ รียน และใหผ้ ้เู รยี นแก้ปญั หาดว้ ยตนเอง 4. ปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) คือ ครูประเภทที่ทันสมัย จะกระตุ้นให้ผู้เรียน คิดวิเคราะห์ แกป้ ญั หาสงั คมและสร้างสรรคป์ ระชาธปิ ไตย 5. อัตถิภาวนิยม (Existentialism) คือ ครูประเภทท่ีให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนอย่างเต็มที่ ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง สามารถพัฒนาตนเองและนำศักยภาพของตนมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ 6. พุทธปรัชญา (Buddhism) คือ ครูประเภทที่มีปัญญาเป็นพหุสูตรและกัลยาณมิตร ของผ้เู รยี น มีคุณธรรมและประพฤติตนน่าเลอื่ มใส (กิตติชยั สุธาสิโนบล, 2560, หน้า 12)
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 37 เกณฑ์พิจารณาวิชาชีพ เกณฑ์การพจิ ารณาวชิ าชพี แบ่งออกเป็น 2 ระดบั คอื 1. เกณฑ์การพิจารณาวิชาชีพในระดับมหภาคหรือภาพรวมของสังคม ได้แก่ การประกอบ วิชาชีพตรงเวลา การจัดแบบการศึกษาโดยสมาคมวิชาชีพ การจัดต้ังสมาคมวชิ าชพี และออกกฎหมาย รับรองสถานภาพของวิชาชีพ การมีจรรยาบรรณหรือจริยธรรมวิชาชีพ การมีองค์ความรู้ที่เป็นระบบ การเป็นท่ียอมรับของสังคม การมีความรู้ในการประกอบอาชีพ การให้บริการตามมาตรฐานอาชีพ และการมคี วามเป็นอสิ ระในวิชาชพี 2. เกณฑ์การพิจารณาวิชาชีพในระดับจุลภาคหรือระดับบุคคล ได้แก่ การได้รับการศึกษา ตรงตามสาขาที่ประกอบอาชพี การมีผู้คอยสนับสนุนในการประกอบอาชีพ การมีการวางแผนล่วงหน้า ท่ีจะประกอบอาชีพ การมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเข้าสู่ตลาดวิชาชีพ การมีความกระตือรือร้นใน วิชาชีพ การประพฤติตามจริยธรรมวิชาชีพ การมีความจงรักภักดีและความผูกพันต่อวิชาชีพ การ มองเห็นอนาคตในการประกอบวิชาชพี และการมคี วามเจรญิ กา้ วหน้าในวิชาชพี ของตน จากเกณฑ์การพิจารณาวิชาชีพท่ีได้นำเสนอข้างต้น เกณฑ์การพัฒนาวิชาชีพครู จะต้อง พิจารณาความสำคัญในฐานะเป็นกรอบท่ีกำหนดคุณลักษณะของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้ประกอบ วิชาชีพครูต้องใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพัฒนาคุณลักษณะย่อย ๆ เพ่ือนำไปสู่การมีคุณลักษณะใหญ่ ตามเกณฑพ์ จิ ารณาวิชาชีพครู (กติ ติชยั สุธาสโิ นบล, 2560, หนา้ 8) วิชาชพี ครูในฐานะวิชาชีพช้ันสูง วชิ าชีพครู ไดร้ บั การยกย่องใหเ้ ป็นวชิ าชีพชั้นสงู มาตั้งแตส่ มัยกรีกและโรมนั กลา่ วคือในสมัย กรีกและโรมันน้ัน เรียกวิชาชีพครูว่า “วิชาครู (Pedagogy)” ซ่ึงหมายถึง 1) อาชีพครู 2) ศิลปะ และศาสตร์ของการสอน เน้นเรื่องวิธีสอน โดยวิชาครูแต่เดิมจัดเป็นส่วนหน่ึงของคณะวิชา อักษรศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ หรือศิลปะศาสตร์ แต่ปัจจุบันวิชาครู เปลี่ยนสภาพมาเป็น “วิชาการศึกษา (Education)” ซ่ึงมีความหมายกว้างมากกว่า “วิชาครู (Pedagogy)” อีกทั้งท่ัวโลกยอมรับกันว่า “การสอนเป็นวิชาชีพชั้นสูง” (Teaching is a profession) ดังน้ัน ครูในฐานะสมาชิกของวิชาชีพชั้นสูงจึงได้รับการยกย่อง (ปริยาภรณ์ ต้ังคุณานันต์ 2557, หน้า 187) การพิจารณาวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพช้ันสูง สามารถพิจารณาได้จากองค์ประกอบต่าง ๆ ลกั ษณะหรือเกณฑม์ าตรฐานของวิชาชีพ สรุปไดด้ ังตอ่ ไปนี้ วิจิตร ศรีสอ้าน (2535, หน้า 23-24 อ้างถึงใน ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ, 2560, หน้า 46-47) ได้ให้ ความคิดเห็นว่า การเรียกอาชีพทม่ี ีความเฉพาะเจาะจงว่า “วิชาชีพ” น่าจะเรียกเป็น “วชิ าชีพช้นั สูง” โดยไดอ้ ธิบายคณุ ลักษณะของวิชาชพี ช้ันสูงไว้ 6 ลักษณะ ดังน้ี
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 38 1. วิชาชีพชั้นสูงจะต้องบริการให้แก่สังคมที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงและจำเป็น (Social service) วิชาชีพหลกั ๆ ในแต่ละวิชาชีพต่างกม็ ีบรกิ ารทใ่ี ห้แก่สังคมเป็นการเฉพาะของแต่ละ วิชาชีพโดยไม่ซ้ำซ้อนกัน บริการของวิชาชีพน้ีอาจจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น บริการของ แพทย์กับพยาบาล หรอื วิศวกรกับสถาปนิก แต่ทุกฝ่ายก็มีขอบเขตบริการของตนเองทีช่ ัดเจนแยกออก จากกนั ได้ วิชาชีพช้นั สูงเนน้ การบริการต่อสังคมมากกว่าการหาประโยชนจ์ ากผูร้ บั บรกิ าร 2. สมาชิกของวิชาชีพชั้นสูงจะต้องใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริการ (Intellectual method) หมายความว่า การวินิจฉัยตัดสินใจในการปฏิบัติต่อผู้รับการบริการของวิชาชีพนั้นจะต้อง อาศัยความรู้ ความคิด และสติปัญญาเป็นพ้ืนฐานสำคัญ มากกว่าการใช้ทักษะและความชำนาญการ แต่เพียงด้านเดียว แต่เป็นกิจกรรมท่ีต้องอาศัยความรู้ ความคิด หลักการ และทฤษฎีมาประกอบกัน วิธกี ารอย่างน้ีเรยี กว่า “วธิ ีการแหง่ ปัญญา” 3. สมาชิกของวิชาชีพชั้นสูงจะต้องได้รับการศึกษาอบรมให้มีความรู้กว้างขวางลึกซึ้ง โดยใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร (Long period of training) เน่ืองจากต้องใชว้ ิธีการแห่งปัญญา ในการให้บริการ โดยปกติมักจะถือเป็นเกณฑ์ว่า อย่างน้อยควรต้องได้รับการศึกษาในสาขาวิชาชีพ นัน้ ๆ ไมต่ ่ำกวา่ ระดบั ปรญิ ญาตรี และมกั จะใชเ้ วลาศึกษามากกวา่ 4 ปี หลังจบมัธยมศึกษาตอนปลาย ท้ังนี้เพ่ือจะให้หลักประกันแก่ผู้รับบริการว่าผู้ให้บริการสามารถให้บริการท่ีมีคุณภาพตามมาตรฐาน วิชาชพี ไดเ้ พราะมกี ารศึกษาอบรมมากพอ 4. สมาชิกของวิชาชีพชั้นสูงจะต้องมีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพนั้น ๆ ตามมาตรฐาน ของวิชาชีพ (Professional autonomy) หมายความว่า การวนิ ิจฉัยในการให้บริการภายในขอบเขต ของวิชาชีพแต่ละวิชาชีพนั้น สมาชิกของวิชาชีพนั้น ๆ ควรจะมีเสรีภาพในการให้บริการโดยปราศจาก การแทรกแซงจากบุคคลภายนอก การใช้เสรีภาพทางวิชาชีพเป็นความรับผิดชอบสำคัญในเมื่อผู้ท่ีเป็น สมาชิกของวิชาชีพได้รับการศึกษาอบรมมาดีแล้วก็เป็นธรรมดาท่ีจะสามารถวินิจฉัยเพื่อให้บริการ ได้ถูกต้องตามลำพัง ความเป็นอิสระในการให้บริการเป็นลักษณะที่จำเป็นที่ทุกวิชาชีพต้องมี แต่จะมี มากนอ้ ยเพยี งใดข้นึ อยู่กบั การยอมรบั ของสังคมและผูร้ บั บริการเป็นสำคญั 5. วิชาชีพชั้นสูงจะต้องมีจรรยาบรรณ (Professional ethics) จรรยาบรรณเป็นแนวทาง ของการปฏิบัติวิชาชพี ผูท้ ี่ละเมิดจรรยาบรรณจะตอ้ งได้รับการลงโทษ ในกรณีร้ายแรงอาจถูกเพิกถอน ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ ในทุกสังคมจะมีกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพ โดยเฉพาะ วชิ าชีพหลัก ๆ ซ่ึงให้บริการอันอาจจะมีผลกระทบต่อสวัสดิการ สวัสดิภาพ และความมั่นคงปลอดภัย ของสังคม ในประเทศไทยก็มีกฎหมายคุ้มครองการปฏิบัติวิชาชีพอยู่หลายวิชาชีพ ผู้จะปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจึงจะกระทำได้ เช่น วิชาชีพเวชกรรม การแพทย์ วิศวกรรม หรือสถาปตั ยกรรม เป็นตน้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 39 6. วิชาชีพชั้นสูงจะต้องมีสถาบันวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์ จรรโลง มาตรฐานของวิชาชีพ (Professional institution) สถาบันหรือองค์กรวชิ าชีพเป็นแหล่งกลางในการ เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของวิชาชีพ สถาบันวิชาชีพมี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 เป็นสถาบันควบคุมและพัฒนามาตรฐานและการปฏิบัติวิชาชีพ เช่น แพทยสภา หรือ เนติบัณฑิตย สภา ลักษณะที่ 2 เป็นสมาคมวิชาชีพ เพ่ือเป็นแหล่งส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก และ เสริมสร้างความแข็งแกร่งและความก้าวหน้าของวิชาชีพ เช่น แพทยสมาคม หรือสมาคมการจัดการ ธรุ กิจแห่งประเทศไทย เปน็ ต้น นอกจากน้ี ยนต์ ชุ่มจิต (2558, หน้า 30-32) ได้กล่าวว่า อาชีพครูเป็นอาชีพชั้นสูง หรือวิชาชีพหรือไม่ จะต้องนำลักษณะงานของครูไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของงานวิชาชีพ หรืออาชพี ชัน้ สูงอน่ื ๆ ซึ่งมเี กณฑม์ าตรฐานที่สำคัญ ดงั ต่อไปน้ี 1. การยอมรับเป็นอาชีพได้ตลอดชีวิต (life – long career commitment) หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการฝึกฝนอบรมตามหลักสูตรการฝึกหัดครู จนมีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถใช้ความรู้ความสามารถของตนประกอบวิชาชีพครูโดยอิสระหรือสมัครเข้ารับการ บรรจุเป็นครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาได้ เม่ือพ้นจากภาระหน้าท่ีตามเกณฑ์ท่ีกำหนดแล้ว ก็ยัง สามารถนำความร้คู วามสามารถทม่ี อี ยู่ประกอบอาชีพได้ตลอดไป 2. บริการสังคม (social service) กล่าวกคือ งานทางการสอนน้ันเป็นงานที่ให้บริการแก่ สงั คมอยา่ งแท้จรงิ การให้บรกิ ารของครนู ้ันส่วนใหญจ่ ะเกีย่ วข้องกับนักเรยี น นักศึกษา เพ่ือใหน้ ักเรยี น นกั ศกึ ษา เปน็ ผู้มชี ีวิตทีด่ ีขนึ้ 3. ใช้วิธีการทางปัญญา (intellectual techniques) กล่าวคือ วิชาชีพครูเข้าเกณฑ์ มาตรฐานข้อน้ีอย่างแน่นอน เพราะการสอนเป็นงานที่เก่ียวกับกิจกรรมทางปัญญามากกว่างาน อย่างอ่ืน และงานของครูทุกระดับถือได้ว่าเป็นพ้ืนฐานสำหรับการเตรียมบุคคลท่ีจะออกไปประกอบ วิชาชีพอื่น ๆ ทุกอาชีพ ดังนั้น จึงพออนุมานได้ว่า “วิชาชีพครูเปรียบเสมือนแม่ของวิชาชีพต่าง ๆ” (mother of professions) (Stinnett, 1970, p.55) 2.4 มีจรรยาบรรณ (code of ethics) กล่าวคือ วิชาชีพชั้นสูงหรืองานวิชาชีพทุกอย่าง จะตอ้ งมีจรรยาบรรณหรือจรรยาวชิ าชีพสำหรับควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพ หรอื มีไว้ สำหรับให้สมาชิกได้ยึดถือปฏิบัติเพ่ือก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองท้ังทางด้านส่วนตัวของผู้ประกอบ วิชาชีพ และเพื่อความเจรญิ ก้าวหนา้ ของวชิ าชพี นนั้ ๆ 2.5 มีอิสระในการตัดสินใจตามสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพหรือความเป็นอิสระ ของผู้ประกอบวิชาชีพ (independent judgement relative to professional performance) กล่าวคือ งานวิชาชีพหรืออาชีพชั้นสูงทุกอย่าง ผู้ประกอบวิชาชีพน้ัน ๆ จะต้องมีอิสระในการวินิจฉัย หรือดำเนินงานในหน้าท่ีของตน เช่น แพทย์ย่อมมีอิสระในการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยที่ตนรับผิดชอบ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 40 ดแู ล รวมท้ังการมีอิสระในการเยียวยารักษา เช่นเดียวกันผู้ประกอบวิชาชีพครูย่อมมีอิสระในการสอน การสอบ ตลอดจนการประเมนิ ผลการเรียนการสอนของนักเรียนตามความเหมาะสมด้วย 2.6 ใช้ระยะเวลาในการศึกษาอบรมยาวนาน (professional training or requires extended professional preparation) กล่าวคือ งานวิชาชีพทุกอย่างต้องการให้ผู้ประกอบวิชาชีพ เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญมากเป็นพิเศษ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาอบรม ยาวนาน หรือใช้เวลาในการเตรยี มการมากเป็นพิเศษมากกว่าอาชีพท่ัวไป โดยปกติต้องใช้เวลาฝึกฝน อบรมหรือเตรยี มการอย่างนอ้ ยเปน็ เวลา 4 ปี หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมศึกษา 2.7 มีการฝึกอบรมประจำการอย่างต่อเน่ือง (continuous in – service growth) กล่าวคือ การฝึกอบรมประจำการอย่างต่อเน่ือง เป็นหลักพยานที่ยืนยันถึงความเป็นวิชาชีพ ท้ังนี้ เน่ืองจากด้วยความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและความเปล่ียนแปลงทางสังคมเกิด ขน้ึ อยู่ตลอดเวลา ดังน้ันจึงจำเป็นสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพที่จะต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ ใหท้ ันสมัย อยู่เสมอ วิชาชีพครูก็เช่นเดียวกัน จำเป็นต้องมีการพัฒนาตัวครูผู้สอนอยู่เสมอด้วยการจัดให้มีการ ฝกึ อบรมประจำการอยา่ งตอ่ เนื่อง 2.8 มีองค์กรพิทักษ์ประโยชน์ (professional organization) กล่าวคือ การมีองค์กร พิทักษ์ประโยชน์ก็เพ่ือคอยควบคุมดูแลและพิทักษ์ประโยชน์ให้แก่สมาชิกในองค์กรวิชาชีพของตน สำหรบั องคก์ รพิทักษป์ ระโยชน์ของครู คือ “ครุ สุ ภา” จากเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 8 ประการดังกล่าว จึงสามารถสรุปความเห็นได้ว่า อาชีพครูเป็น วิชาชีพหรืออาชีพช้ันสูงอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องยืนยันให้เห็นว่าการเป็นวิชาชีพนั้น จะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเน่ือง ดังปรากฏตามเกณฑ์มาตรฐานข้อท่ี 7 ที่กำหนดไว้ว่า “มีการ ฝกึ อบรมประจำการอย่างตอ่ เนอ่ื ง” นั่นเอง องค์กรวชิ าชพี ครู องค์กรวิชาชีพครู มีการก่อตั้งและดำเนินการเกี่ยวกับครูมาโดยตลอด โดยที่สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน (2552, หน้า 114-117 อ้างถึงใน ศักด์ิชัย ภู่เจริญ, 2560, หน้า 47-48) ได้นำเสนอความเป็นมาในเรื่องนี้ไว้ว่า การควบคุมและรักษามาตรฐานการประกอบ วิชาชีพครูของไทยมีมานานก่อนวิชาชีพชั้นสูงในปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่ครั้งท่ีมีการจัดตั้งกรมศึกษาธิการ เม่ือประมาณปี พ.ศ. 2430 เป็นต้นมา การศึกษาได้ก้าวหน้าข้ึนมาก ความจำเป็นใสนการประสิทธ์ิ ประสาทความรู้ใหม่ ตลอดจนอบรมครูให้รู้วิชาครู และวิชาสอนจึงมีมากข้ึน สมัยน้ันมีครูที่ไปเรียน วิชาทางการศึกษาจากต่างประเทศไม่ก่ีคน ได้นำความรู้มาเปิดอบรมครูขึ้นที่ “วิทยาทานสถาน” ในปี พ.ศ. 2438 และในปี พ.ศ. 2443 ก็ได้มีการตั้งสภาสำหรับอบรมและประชุมครูข้ึน โดยใช้ชื่อ “สภาไทอาจารย์” เปิดสอนครูทุกวันพระซึ่งเป็นวันหยุดราชการ และได้ทำหนังสือพิมพ์สำหรับครู
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 41 ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อหนังสือว่า “วิทยาจารย์” ในปี พ.ศ. 2445 กรมศึกษาธิการ ได้ตั้งสถานที่ ประชุมอบรมและสอนครูในรูปสมาคมขึ้น ใช้ชื่อว่า “สามัคยาจารย์สโมสรสถาน” และได้เปลี่ยนช่ือ เป็น “สามัคยาจารย์สมาคม” ในปี พ.ศ. 2447 ต้ังอยทู่ ี่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลยั ไดด้ ำเนินกิจการ เพื่อครูอย่างกว้างขวางเป็นบ่อเกิดแห่งศิลปะวิทยาการสำหรับครู มีการชุมนุมเพ่ือปรึกษาหารือ เรื่องการศึกษา การจัดอบรม และปาฐกถาพิเศษ รวมท้ังเป็นแหล่งสังสรรค์สโมสรสำหรับสมาชิก นอกจากน้ัน สมาชิกจะได้รับหนังสอื พมิ พ์วทิ ยาจารยฟ์ รีอีกด้วย 1. สามัคยาจารย์สมาคมได้รับเกียรติอย่างสูง โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ครง้ั ยงั ดำรงพระราชอสิ ริยยศเป็นสมเดจ็ พระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมงกุฎ ราชกมุ าร มีพระมหากรุณาธคิ ณุ ทรงรับสามัคยาจารย์สมาคมให้อยใู่ นพระบรมราชูปถมั ภ์ต้งั แตป่ ี พ.ศ. 2448 มาโดยตลอด นับว่าเป็นสมาคมท่ีเป็นท่ีรู้จักอย่างมากแห่งหน่ึงในประเทศไทยท่ีพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยหู่ ัวทุกพระองค์นบั แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา้ เจ้าอยู่หัว ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินมา ทอดพระเนตรละครและฟังปาฐกถาพิเศษหลายครั้ง การดำเนินงานในรูปสมาคมวิชาชีพครูได้รุ่งเรือง มาเกือบศตวรรษ แต่มาประสบความผันผวนเน่ืองจากภาวะเศรษฐกิจที่เส่ือมโทรมหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ เกิดความรู้สึกว่ามีความไม่ก้าวหน้า ในอาชีพ ทำใหค้ รูดี ๆ ทม่ี คี วามสามารถจำนวนมากละท้ิงอาชีพครหู ันไปประกอบอาชีพอ่ืน จงึ ได้มกี าร ตราพระราชบัญญัติครูในปี พ.ศ. 2488 ข้ึน สาระสำคัญ คือ มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่า “คุรุสภา” ซึ่งเป็นนิติบุคคล คุรุสภาจึงเป็นองค์กรครูแห่งแรกของประเทศไทยที่ทำหน้าท่ีควบคุม และรักษามาตรฐานความรู้ของผู้ประกอบวิชาชีพครู และดำเนินงานตามอำนาจหน้าท่ีท่ีกำหนดไว้ ในพระราชบัญญัติครู พ.ศ. 2488 มาโดยตลอด คุรุสภาตามพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 มีหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ เป็นสภาท่ีปรึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อช่วยฐานะครูและ เพอ่ื ใหค้ รูปกครองครู ซ่ึงคุรสุ ภาได้ทำหนา้ ท่ีโดยสมบูรณต์ ลอดมา 2. คุรุสภา ในปัจจุบัน เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เพื่อปฏิรูประบบการศึกษาคร้ังใหญ่ คุรุสภาได้ปรับบทบาทใหม่ โดยมีการตราพระราชบัญญัติสภาครู และบุคลากรทางการศกึ ษา พ.ศ.2546 ข้ึน ให้เป็นกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา มี เห ตุ ผ ล ส ำ คั ญ เพ่ื อ สื บ ท อ ด เจ ต น า ร ม ณ์ ข อ ง ก า ร จั ด ต้ั ง คุ รุ ส ภ า ให้ เป็ น ส ภ า วิ ช า ชี พ ค รู ต่ อ ไป พระราชบัญญัติสภาครูฯ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2546 กำหนดให้องค์กรวิชาชีพ 2 องค์กร คือ สภาครูและบคุ ลากรทางการศึกษา เรียกวา่ “คุรุสภา” มีฐานะเป็นนิตบิ ุคคลอยู่ในกำกับ ของกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าท่ีเก่ียวกับการควบคุมและรักษามาตรฐานวิชาชีพครูและบุคลากร ทางการศึกษา อีกองค์กรหนึ่ง คือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศกึ ษา เรียกว่า “สกสค.” มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกำกับกระทรวงศึกษาธกิ าร
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 42 มีหน้าท่ีเกี่ยวกับการส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ และส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธกิ าร (ครุ สุ ภา, ออนไลน์) สำหรับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 เพือ่ ปรบั เปล่ยี นสภาในกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติ ครู พ.ศ. 2488 เป็นองค์กรวิชาชพี ครู ในฐานะของสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกช่ือว่า “คุรุสภา” เช่นเดิม ดังน้ัน องค์กรวิชาชีพ ครู คือ คุรุสภา ในขณะเดียวกันพระราชบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็น สภาวิชาชพี ครตู อ่ ไป พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 (หน้า 5-7) กำหนดให้ คุรุสภามีวัตถปุ ระสงค์ และอำนาจหนา้ ท่ี ดงั ตอ่ ไปน้ี ครุ ุสภามีวัตถปุ ระสงค์ ดงั ต่อไปนี้ (มาตรา 8) 1. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับ ดูแลการ ปฏบิ ัติ ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวชิ าชพี รวมทง้ั การพัฒนาวชิ าชพี 2. กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวชิ าชีพ 3. ประสาน สง่ เสริมการศึกษาและการวิจัยเกยี่ วกบั การประกอบวิชาชพี คุรุสภามีอำนาจหน้าท่ี ดังตอ่ ไป (มาตรา9) 1. กำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชพี 2. ควบคมุ ความประพฤตขิ องผ้ปู ระกอบวชิ าชพี ทางการศึกษา 3. ออกใบอนญุ าตใหแ้ ก่ผูข้ อประกอบวชิ าชพี 4. พักใชใ้ บอนญุ าตหรือเพกิ ถอนใบอนญุ าต 5. สนับสนนุ และพฒั นาวชิ าชพี 6. ยกยอ่ ง และผดุงเกยี รติผูป้ ระกอบวิชาชีพทางการศึกษา 7. รบั รองปรญิ ญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันตา่ ง ๆ ตามมาตรฐานวชิ าชีพ 8. รบั รองความรูป้ ระสบการณ์ ในการประกอบวชิ าชพี 9. ส่งเสริมการศกึ ษาและการวจิ ยั เก่ียวกบั การประกอบวิชาชีพ 10. เป็นตัวแทนผ้ปู ระกอบวิชาชพี ทางการศึกษาของประเทศไทย 11. ออกขอ้ บงั คับคุรุสภาว่าด้วย (ก) การกำหนดลกั ษณะต้องห้ามตามมาตรา 13 (ข) การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรบั รองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ (ค) หลกั เกณฑแ์ ละวิธีการในการขอรับใบอนญุ าต (ง) คุณสมบตั ิและลักษณะตอ้ งหา้ มของผ้ขู อรบั ใบอนุญาต
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 43 (จ) จรรยาบรรณของวชิ าชพี และการประพฤตผิ ดิ จรรยาบรรณ (ฉ) มาตรฐานวิชาชีพ (ช) วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกต้ัง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภาและ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (ซ) องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วธิ กี ารคดั เลือกคณะกรรมการสรรหา (ฌ) หลกั เกณฑแ์ ละวธิ กี ารสรรหาเลขาธกิ ารครุ ุสภา (ญ) การใด ๆ ตามทก่ี ำหนดในพระราชบญั ญตั นิ ี้ 12. ใหค้ ำปรึกษาหรอื เสนอแนะต่อคณะรฐั มนตรีเก่ียวกบั นโยบายการพัฒนาวชิ าชพี 13. ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ หรือ การ ออกกฎกระทรวง ระเบยี บ 14. กำหนดให้มคี ณะกรรมการเพอ่ื กระทำการใด ๆ อนั อย่ใู นอำนาจหน้าทข่ี องคุรสุ ภา 15. ดำเนินการใหเ้ ปน็ ไปตามวตั ถุประสงค์ของครุ สุ ภา ข้อบังคับขอคุรุสภาตาม (11) น้ัน ต้องไดร้ ับความเหน็ ชอบจากรฐั มนตรี และเมอ่ื ได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาแลว้ ใหใ้ ชบ้ ังคับได้ ใบอนุญาตประกอบวชิ าชีพครู พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (หนา้ 15) มาตรา 53 ใหม้ ีองค์กรวชิ าชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา มีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารของสภา วชิ าชีพ ในกำกับของกระทรวง มีอำนาจหน้าท่ีกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนา วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศกึ ษาอน่ื ทง้ั ของรัฐและเอกชนตอ้ งมีใบอนญุ าตประกอบวิชาชีพตามท่ีกฎหมายกำหนด พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 (หน้า 24) มาตรา 43 กำหนดให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา เป็นวิชาชีพควบคุม ห้ามมิให้ผู้ใด ประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดงั ตอ่ ไปน้ี 1. วทิ ยากรพิเศษทางการศึกษา 2. ผู้ท่ีไม่ได้ประกอบวิชาชพี หลักทางด้านการสอนแต่ในบางคร้ังตอ้ งทำหน้าที่สอนด้วย 3. นักศึกษา หรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซ่ึงฝึกหัดในความควบคุมของผปู้ ระกอบ วชิ าชีพทางการศึกษา 4. ผ้ทู จ่ี ัดการศึกษาตามอัธยาศัย
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 44 5. ผู้สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานท่ีเรียนที่ หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถ่ิน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบนั สังคมอนื่ เป็นผ้จู ัด 6. คณาจารย์ ผู้บรหิ ารในระดับอุดมศกึ ษาระดบั ปริญญาทง้ั ของรัฐและเอกชน 7. ผบู้ ริหารการศกึ ษาระดับเหนอื เขตพ้ืนท่ีการศึกษา 8. บคุ คลอน่ื ตามทคี่ ณะกรรมการคุรสุ ภากำหนด ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2559 ให้ความหมาย คำว่า “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงาน หรอื ผู้มีความประสงค์จะปฏิบตั ิงานในตำแหนง่ ครู ส่วนที่ 1 คุณสมบตั แิ ละลักษณะตอ้ งหา้ มของผู้ขอรบั ใบอนุญาต ข้อ 6 ผู้มีความประสงค์จะขอข้ึนทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จะต้องมี คุณสมบัติ ดังตอ่ ไปน้ี (ก) คุณสมบตั ิ (1) มีอายุไม่ต่ำกวา่ ย่ีสิบปบี รบิ รู ณ์ (2) มีวฒุ ิปริญญาทางการศกึ ษา หรอื เทียบเทา่ หรอื มคี ุณวุฒอิ ่นื ที่ครุ ุสภารับรอง (3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็น เวลาไม่นอ้ ยกวา่ หน่ึงปี และผา่ นเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงื่อนไข ท่คี ณะกรรมการกำหนด (ข) ลกั ษณะต้องหา้ ม (1) เปน็ ผู้มคี วามประพฤตเิ สือ่ มเสยี หรือบกพรอ่ งในศลี ธรรมอันดี (2) เปน็ คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไรค้ วามสามารถ (3) เคยต้องโทษจําคุกในคดีท่ีคุรุสภาเห็นว่าอาจนํามาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ แห่งวิชาชีพ ข้อ 7 ชาวต่างประเทศท่ีไม่มีสัญชาติไทย หรือผู้มีสัญชาติไทยท่ีใช้คุณวุฒิที่สำเร็จ การศึกษาจากต่างประเทศในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู นอกจากไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามข้อ 6 (ข) แลว้ ต้องมคี ณุ สมบัติ ดงั ต่อไปนี้ (1) มอี ายุไมต่ ่ำกวา่ ยสี่ ิบปีบริบรู ณ์ (2) มวี ฒุ กิ ารศึกษา ขอ้ ใดข้อหน่งึ ดงั นี้ (ก) มีวฒุ ปิ รญิ ญาทางการศึกษาหรอื เทยี บเท่า (ข) มวี ุฒปิ รญิ ญาอื่นและมใี บอนญุ าตประกอบวิชาชีพครูจากตา่ งประเทศ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 45 (ค) มีวุฒิปริญญาอื่นและมีคุณวุฒิประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูท่ีใช้เวลา ศึกษาไมน่ ้อยกว่าหนึง่ ปี (ง) มีวุฒิปริญญาอ่ืนและผ่านการรับรองความรู้วิชาชีพครูตามมาตรฐานของคุรุ สภาตามหลกั เกณฑแ์ ละวธิ กี ารทคี่ ณะกรรมการกำหนด (3) ผา่ นการปฏิบตั กิ ารสอนในสถานศึกษาเปน็ เวลาไมน่ ้อยกวา่ หน่งึ ปี ตามหลักเกณฑ์ และวิธกี ารทคี่ ณะกรรมการกำหนด (4) มใี บอนญุ าตใหท้ ำงานในประเทศไทย (Work Permit) (5) มหี ลักฐานการใหพ้ ํานักอย่ใู นประเทศไทย กรณี ผ้มู ีสญั ชาตใิ ห้ยกเวน้ คณุ สมบัตใิ นขอ้ (4) และ (5) ทั้งน้ี สถานศึกษาที่รับครูชาวต่างประเทศเข้าประกอบวิชาชีพครูในสถานศึกษา ต้องให้ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการเป็นครูในประเทศไทยอย่างน้อยในเรื่อง ภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และกฎหมายเกยี่ วกับการประกอบวชิ าชีพทางการศึกษา สว่ นที่ 2 การขอขน้ึ ทะเบียนรับใบอนุญาตและการออกใบอนญุ าต ข้อ 9 ผู้ขอข้ึนทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ให้ยื่นคําขอต่อเลขาธิการตาม แบบท่ีกำหนด พร้อมด้วยเอกสารและหลกั ฐาน ดงั ตอ่ ไปนี้ (1) สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจําตัว เจา้ หนา้ ท่ีของรัฐ (2) สำเนาวุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่าที่คุรุสภารับรองพร้อมสำเนาใบ รายงานผลการศกึ ษา (3) รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว ซ่ึงถ่ายไว้ไม่เกินหกเดือน จำนวน 2 รปู (4) หลักฐานการชําระเงินค่าธรรมเนียมการข้ึนทะเบียนรับใบอนุญาต ในอัตราตาม ประกาศกระทรวงศึกษาธกิ าร (5) เอกสารอ่ืน ๆ (ถา้ ม)ี กรณี ผู้มีสัญชาติไทยแต่ใช้คุณวุฒิท่ีสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศต้องมีเอกสาร หลักฐานแสดงคุณวุฒิข้อใดข้อหน่ึงตามท่ีระบุไว้ในข้อ 7 (2) พร้อมต้นฉบับหนังสือรับรองการสำเร็จ การศึกษาของสถาบันการศึกษาในตา่ งประเทศ หรือต้นฉบับหนงั สอื รับรองสถานะใบอนุญาตประกอบ วชิ าชีพครู (Professional Standing Certification) แลว้ แต่กรณี ข้อ 10 ชาวต่างประเทศท่ีไม่มีสัญชาติไทย ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบ วชิ าชีพครู ใหย้ ื่นคําขอต่อเลขาธิการตามแบบทกี่ ำหนด พร้อมด้วยเอกสารและหลกั ฐาน ดังต่อไปนี้
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147