Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ภณิชชา จงสุภางค์กุล

ภณิชชา จงสุภางค์กุล

Published by วิทย บริการ, 2022-07-05 03:29:46

Description: ภณิชชา จงสุภางค์กุล

Search

Read the Text Version

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง เอกสารประกอบการสอน รายวชิ าอนามัยชมุ ชน ภณิชชา จงสุภางคกุล วทิ ยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทยแผนไทย มหาวิทยาลัยราชภฏั หมูบานจอมบึง 2564

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง เอกสารประกอบการสอน รายวิชาอนามัยชมุ ชน ภณิชชา จงสุภางคกลุ พย.บ., ส.ม. (สาธารณสขุ ศาสต) วทิ ยาลัยมวยไทยศกึ ษาและการแพทยแผนไทย มหาวิทยาลัยราชภฏั หมูบานจอมบงึ 2564

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง คาํ นาํ เอกสารประกอบการสอน รายวิชาอนามัยชุมชน รหัสวิชา HE 58620 จัดอยูในหมวด วิชาเอกบังคับ กลมุ วชิ าชีพสาธารณสุข ตามหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุข ศาสตร วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทยแผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมูบานจอมบึง พุทธศักราช 2558 เปดสอนสําหรับนักศึกษาปริญญาตรี เนื้อหาวิชามุงเนนใหนักศึกษามีความรูความ เขาใจโดยมีขอบเขตเนื้อหาจะเปนความรูในกลุมวิชาชีพสาธารณสุขเก่ียวกับชุมชนและสุขภาพชุมชน การทําแผนที่ชุมชน การประเมินภาวะอนามัยชุมชน การวินิจฉัยปญหาอนามัยชุมชน การวางแผน ดําเนินการและการประเมินผลการแกไขปญหาอนามัยชุมชน และการเยี่ยมบานสําหรับงาน สาธารณสุข โดยมวี ตั ถปุ ระสงคเพ่อื ใหส ามารถนําความรคู วามเขาใจ ไปประยุกตใชในงานสาธารณสุข ตอไป สําหรับแผนบริหารการสอนประจําวิชานี้ ไดเขียนขึ้นจากคําอธิบายรายวิชาในหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏหมูบานจอมบึง พุทธศักราช 2558 โดยไดแบงเนื้อหารายวิชาไวจํานวน 6 บท ไดแก ชุมชนและสุขภาพชุมชน, การทําแผนที่ชุมชน, การประเมินภาวะอนามัยชุมชน, การวินิจฉัย ปญหาอนามัยชุมชน ,การวางแผนดําเนินการและการประเมินผลการแกไขปญหาอนามัยชุมชน และ การเย่ียมบานสําหรับงานสาธารณสุข ในการเรียบเรียงเอกสารการสอนฉบับนี้ ผูเขียนไดคนควาจาก เอกสารหลายเลม ผูเขยี นหวงั วา เอกสารประกอบการสอนฉบับนจี้ ะเปนประโยชนตอผูเรียน ผูสอน และผูสนใจ ท่จี ะศกึ ษา เจาหนา ท่ที ่เี กย่ี วขอ งกบั งานสาธารณสุขไมม ากก็นอ ย หากมีขอเสนอแนะประการใดผูเขียน ขอนอ มรบั และขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสน้ดี ว ย ภณิชชา จงสภุ างคก ุล 30 ธันวาคม 2564 [1]

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง สารบัญ หนา คํานํา…………………………………………………………………………………………………………………….. (1) สารบัญ…………………………………………………………………………………………………………………. (3) สารบัญภาพ………………………………………………………………………………………………………….. (5) สารบญั ตาราง……………………………………………………………………………………………………….. (6) แผนบรหิ ารการสอนประจาํ วิชา………………………………………………………………………………… (7) แผนบรหิ ารการสอนประจาํ บทท่ี 1……………………………………………………………………………. 1 บทท่ี 1 ชุมชนและสุขภาพชุม…………………………………………………………………………………… 3 ความหมายของชมุ ชนและสุขภาพชมุ ชน....................................................................... 3 องคประกอบของชุมชน................................................................................................. 4 โครงสรางของชมุ ชน…………………………………………………………………………………………. 5 ปจ จัยกําหนดสุขภาพ..................................................................................................... 6 แนวคดิ เกย่ี วกบั ชุมชน……………………………………………………………………………………….. 10 ลกั ษณะชุมชน………………………………………………………………………………………………….. 11 ทักษะท่ีจําเปนในงานชมุ ชน……………………………………………………………………………….. 16 บทสรปุ ……………………………………………………………………………………………………………. 18 คําถามทา ยบท………………………………………………………………………………………………….. 19 เอกสารอา งอิง…………………………………………………………………………………………………… 19 แผนบริหารการสอนบทที่ 2……………………………………………………………………………………… 20 บทท่ี 2 การทําแผนท่ีชุมชน…………………………………………………………………………………….. 23 ความหมายแผนที่ชุมชน……………………………………………………………………………………. 23 ชนดิ ของแผนท1่ี6………………………………………………………………………………………………… 23 องคประกอบแผนทช่ี มุ ชน16…………………………………………………………………………………. 24 ขนั้ ตอนการทาํ แผนท่ีชุมชน……………………………………………………………………………….. 28 ประโยชนของแผนทช่ี มุ ชน………………………………………………………………………………… 28 บทสรปุ …………………………………………………………………………………………………………… 29 คาํ ถามทา ยบท………………………………………………………………………………………………… 29 เอกสารอางอิง…………………………………………………………………………………………………. 29 แผนบรหิ ารการสอนบทที่ 3……………………………………………………………………………………… 30 บทท่ี 3 การประเมนิ ภาวะอนามัยชุมชน…………………………………………………………….......... 32 เครื่องมือที่ใชในการประเมินอนามยั ชุมชน………………………………………………………….. 32 แหลง และประเภทของขอมลู อนามัยชุมชน…………………………………………………………. 41 วิธีการเกบ็ รวบรวมขอ มลู อนามยั ชมุ ชน………………………………………………………………. 42 การวิเคราะหแ ละการนําเสนอขอมลู …………………………………………………………………… 43 บทสรปุ …………………………………………………………………………………………………………… 43 [3]

สารบญั (ตอ) หนา มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง คําถามทายบท………………………………………………………………………………………………….. 48 เอกสารอางอิง………………………………………………………………………………………………….. 48 แผนบริหารการสอนบทท่ี 4……………………………………………………………………………………… 49 บทท่ี 4 การวนิ ิจฉยั ชมุ ชน………………………………………………………………………………………… 51 วัตถปุ ระสงคในการวินิจฉัยชมุ ชน………………………………………………………………………… 51 กระบวนการแกไขปญหาสุขภาพชมุ ชน………………………………………………………………….. 51 ข้นั ตอนการวินิจฉัยชมุ ชน……………………………………………………………………………………… 51 การระบุปญหาอนามัยชุมชน…………………………………………………………………………………. 52 การจดั ลาํ ดบั ความสําคัญ……………………………………………………………………………………… 53 การวเิ คราะหส าเหตุของปญหา……………………………………………………………………………… 64 คาํ ถามทายบท…………………………………………………………………………………………………….. 68 เอกสารอา งองิ ……………………………………………………………………………………………………… 68 แผนบรหิ ารการสอนบทท่ี 5……………………………………………………………………………………… 69 บทที่ 5 การวางแผนการดาํ เนนิ การและการประเมินผลการแกไขปญหาอนามัยชุมชน……. 71 ความสาํ คัญของการวางแผนอนามัยชมุ ชน………………………………………………………… 71 ประโยชนของการวางแผนอนามัยชมุ ชน…………………………………………………………… 71 ลักษณะของแผนพัฒนาอนามัยชมุ ชน……………………………………………………………….. 72 กระบวนการวางแผนอนามยั ชุมชน…………………………………………………………………… 73 การเขยี นโครงการ………………………………………………………………………………………….. 73 การประเมินผลการดาํ เนินการแกไขปญ หาอนามยั ชุมชน…………………………………….. 77 คาํ ถามทายบท……………………………………………………………………………………………….. 80 เอกสารอางองิ ………………………………………………………………………………………………… 80 แผนบริหารการสอนบทท่ี 6……………………………………………………………………………………… 81 บทท่ี 6 การเยีย่ มบา นสําหรับงานสาธารณสุข……………………………………………………………….. 83 วตั ถปุ ระสงคในการเยีย่ มบาน………………………………………………………………………….. 85 ทักษะทีจ่ ําเปน ในการเยี่ยมบาน……………………………………………………………………….. 85 ประเภทของการเย่ยี มบาน……………………………………………………………………………… 85 การจัดลําดบั ครอบครวั เพ่ือการเย่ียมบาน…………………………………………………………. 88 กระบวนการเยย่ี มบา น…………………………………………………………………………………… 89 การใชกระเปาเยีย่ มบาน………………………………………………………………………………… 91 การบันทึกการเยี่ยมบาน…………………………………………………………………………………. 92 คาํ ถามทา ยบท……………………………………………………………………………………………… 97 เอกสารอางอิง……………………………………………………………………………………………… 97 บรรณานกุ รม……………………………………………………………………………………………………….. 98 [4]

สารบญั ภาพ ภาพประกอบที่ หนา 1.1 กรอบแนวคิดปจ จยั กําหนดสุขภาพของประเทศอังกฤษ………………………………… 7 1.2 กรอบแนวคดิ ปจจัยกําหนดสุขภาพของชุมชนกลุมนํา้ มนู ตอนลาง…………………. 8 2.1 แสดงสญั ลกั ษณข องทศิ กาํ กบั ในแผนท่ี……………………………………………………… 24 มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง2.2 สัญลกั ษณที่ใชใ นการเขียนแผนทชี่ มุ ชน…………………………………………………….. 26 2.3 แผนทีส่ ังเขปแหลง เรยี นรูดา นวฒั นธรรม ต.ทุงสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบรุ ี…… 27 2.4 แผนที่เดินดินชุมชนบา นละบงุ หมทู ี่ 3 ต.มวงนอ ย อ.ปาซาง จ.ลําพนู ……………… 27 2.5 แสดงแผนที่เดินดนิ …………………………………………………………………………………… 34 2.6 แสดงการเขียนผงั เครือญาต…ิ ……………………………………………………………………… 35 2.7 แสดงโครงสรางองคกรชมุ ชน……………………………………………………………………… 36 2.8 แสดงผงั ระบบสขุ ภาพชุมชน………………………………………………………………………. 37 2.9 แสดงปฏิทนิ ชุมชน…………………………………………………………………………………….. 38 2.10 แสดงประวตั ศิ าสตรช ุมชน………………………………………………………………………… 40 3.1 แผนภูมิจํานวนนักศึกษาของสถาบนั การศึกษาแหงหนึ่ง………………………………….. 46 3.2 กราฟเสนขอมลู ของนกั ศึกษาในมหาวิทยาลัยแหงหนึ่ง…………………………………… 47 3.3 แผนภูมิวงกลมยอดขายของพนกั งานแตละคน……………………………………………. 47 3.4 แผนภูมภิ าพปรมิ าณนักศึกษาทสี่ มคั รสอบเขา มหาวทิ ยาลยั …………………………… 48 4.1 การเขียนการวิเคราะหสาเหตุของปญหา แบบ Fish bone diagram………………. 65 4.2 การเขียนการวเิ คราะหสาเหตขุ องปญหา แบบ Mind diagram ……………………… 67 6.1 แนวทางปฏบิ ัติในการเย่ียมบา น………………………………………………………………………… 97 [5]

สารบญั ตาราง หนา ตารางที่ 44 45 3.1 ตารางการวิเคราะหขอมลู ……………………………………………………………………………. 45 5.1 ตารางทางเดียว………………………………………………………………………………………….. 46 5.2 ตารางสองทาง…………………………………………………………………………………………… 54 5.3 ตารางหลายทาง……………………………………………………………………………………….. 54 5.4 ตารางเกณฑก ารใหคะแนนของปญ หา………………………………………………………… 55 5.5 ตารางความรนุ แรงของปญหา……………………………………………………………………… 56 5.6 ตารางความยากงายในการแกปญหา…………………………………………………………… 57 5.8 ตารางความสนใจตอ กนั แกป ญ หา……………………………………………………………….. 75 5.9 ตารางการคิดคะแนนเพอื่ จัดลาํ ดบั ความสาํ คญั ของปญ หา……………………………… 5.10 ตารางแผนปฏิบตั งิ าน……………………………………………………………………………….. มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง [6]

แผนการบริหารการสอนประจําวชิ า รหสั วชิ า HE 58620 3(2-2-5) รายวิชา อนามัยชมุ ชน เวลาเรียน (Community Health) 60 ช่วั โมง/ภาคเรยี น มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง คําอธิบายรายวชิ า ศึกษานิยาม ความหมาย ขอบเขต แนวคิด และความสําคัญของงานอนามัยชุมชน วิธีการ คนหาปญหาของชุมชนดวยกระบวนการวินิจฉัยชุมชน อันประกอบดวย การเก็บรวบรวมขอมูล การ ประมวลผลขอ มูล การวเิ คราะหข อ มลู การวเิ คราะหส ถติ ิ และการสังเคราะหขอมูลดานสุขภาพอนามัย การเศรษฐกิจ การสังคม ภูมิศาสตร ประวัติศาสตร ศักยภาพชุมชน หนวยงานองคกรชุมชนสัมพันธ และสภาพการณส่ิงแวดลอม การกําหนดวาสิ่งใดคือปญหาของชุมชน การวิเคราะหปญหา การจัดทํา ลาํ ดบั ความสาํ คญั ของปญหาชุมชน การจดั ทาํ โยงใยแหง สาเหตุของปญหา การวิเคราะหหาสาเหตุแหง ปญหา การจัดทําแผนงานคุณภาพและโครงการแกไขปญหาชุมชน การใชหลักการ วิธีการ กลยุทธ เทคนิค และเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในการแกไขปญหาของชุมชน การฟนฟูสุขภาพผูปวย การ สง เสรมิ สุขภาพ การควบคุมปองกันโรค เทคนิคการรกั ษาโรคเบื้องตน การอนุรักษสิ่งแวดลอมในชุมชน และการสรางการมีสวนรวมของคนในชุมชน รวมทั้งการเปล่ียนแปลงนโยบายของรัฐบาลและของ กระทรวงสาธารณสุขไปสกู ลยทุ ธแหงการพัฒนาสุขภาพอนามัยของชุมชน วตั ถปุ ระสงคท ่ัวไป 1. เพอ่ื ใหนักศกึ ษาบอกถึงแนวคิด ขอบเขต และความสาํ คญั ของงานอนามัยชุมชนได 2. เพื่อใหน ักศกึ ษาอธิบายความสัมพันธของชมุ ชนกบั ปญ หาอนามัยชุมชนได 3. เพือ่ ใหนกั ศกึ ษาวิเคราะห/ ฝก ปฏบิ ัตกิ ารใชก ระบวนการในงานอนามัยชุมชนได 4. เพอ่ื ใหน กั ศึกษาอธบิ ายขั้นตอนในการวนิ ิจฉยั ปญหาอนามยั ชุมชนได 5. เพ่ือใหนกั ศึกษาวิเคราะห/ฝกปฏิบัติการเย่ียมบานและการบริการดูแลสุขภาพของบุคคล ในชุมชนได 6. เพือ่ ใหนักศึกษาประยกุ ตใ ชกระบวนการอนามยั ชุมชนไปใชใ นหนว ยบรกิ ารสุขภาพได [11]

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงเนอื้ หา 4 ชั่วโมง บทที่ 1 ชุมชนและสุขภาพชมุ ชน 8 ชั่วโมง ความหมายของชมุ ชนและสุขภาพชมุ ชน 12 ชว่ั โมง องคป ระกอบของชุมชน 20 ชวั่ โมง ปจ จัยกาํ หนดสุขภาพชุมชน 4 ชัว่ โมง หลักการพ้นื ฐานในการดแู ลสุขภาพชมุ ชน แนวคิดเกยี่ วกบั ชมุ ชน ทกั ษะท่ีจาํ เปนในงานอนามยั ชมุ ชน บทท่ี 2 การทาํ แผนทชี่ มุ ชน องคประกอบชองแผนที่ หลกั การทาํ แผนที่ ประโยชนข องแผนที่ในการดําเนนิ งานในชุมชน บทที่ 3 การประเมินภาวะอนามัยชุมชน เครือ่ งมือในการประเมินอนามยั ชุมชน 17 แหลงและประเภทของขอมลู อนามัยชมุ ชน 17 วิธกี ารเกบ็ รวบรวมขอมลู อนามยั ชมุ ชน 17 การวเิ คราะหและการนาํ เสนอขอ มลู อนามัยชมุ ชน บทท่ี 4 การวินิจฉัยปญหาอนามัยชุมชน ความหมายการวินจิ ฉัยปญหาอนามยั ชุมชน กระบวนการแกไขปญ หาอนามยั ชุมชน การระบุปญ หาดานอนามยั ชุมชน การจัดลาํ ดับความสําคัญของปญหาอนามัยชุมชน การวเิ คราะหสาเหตุของปญหาอนามัยชุมชน บทที่ 5 การวางแผนการดาํ เนินการและการประเมนิ ผล ความสําคญั ของการวางแผนอนามัยชุมชน ประโยชนข องการวางแผนอนามยั ชมุ ชน ลกั ษณะของแผนพัฒนาอนามัยชมุ ชน กระบวนการวางแผนอนามัยชุมชน การเขยี นโครงการ การประเมนิ ผลการดาํ เนนิ การแกไ ขปญหาอนามยั ชุมชน [12]

เนื้อหา (ตอ) 12 ชว่ั โมง บทท่ี 6 การเย่ยี มบานสําหรบั งานสาธารณสุข วตั ถปุ ระสงคใ นการเยีย่ มบาน ทกั ษะทีจ่ าํ เปนในการเย่ยี มบา น ประเภทของการเยี่ยมบาน การจดั ลําดบั ครอบครวั เพ่อื การเยยี่ มบา น กระบวนการเย่ยี มบาน การใชก ระเปาเย่ยี มบาน การบนั ทึกการเยี่ยมบาน มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 17วิธสี อนและกิจกรรม 1. ฟงบรรยาย ประกอบไฟล Power point 2. แบง กลุม อภปิ รายตามเนื้อหาท่ีกําหนดให 3. อธบิ ายตวั อยา ง และฝกปฏบิ ัติจากตัวอยางทีก่ าํ หนดให 4. แบง กลมุ ทาํ แบบฝกหัด 5. ศกึ ษาจากเอกสารประกอบการสอน 6. ศึกษาเพ่ิมเติมจากตําราในหองสมดุ , web site ทเี่ กี่ยวของ, หอ งเรียนออนไลนท ี่ผูสอนสรางข้นึ 7. อธิบายนิยามและทฤษฎีบทตาง ๆ ประกอบไฟล Power point 8. ทาํ แบบฝกหดั ทา ยบท 9. ทาํ แบบทดสอบทกี่ าํ หนดให 10. การใชปญหาเปนพ้นื ฐาน กรณศี ึกษา 11. เรียนรูจากสถานการณจริง ทั้งการเรียนรูใ นชนั้ เรียน และชุมชน 12.17 17 การนาํ ประเดน็ ทผ่ี ูเรยี นสนใจเพือ่ การเรียนรูร ว มกันของกลุม 17ส่ือการเรยี นการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนวิชาอนามัยชุมชน 2. หนงั สือ/เอกสารคน ควา เพิ่มเตมิ ท่ีเกยี่ วของ 3. แผนภูมิรปู ภาพ 4. คอมพิวเตอร 5. Web site ท่ีเกี่ยวของ 6.17 video YouTube [13]

การวัดผลและประเมนิ ผล รอ ยละ 70 รอยละ 30 1. 17การวัด 17 รอ ยละ 20 1.117 คะแนนระหวา งภาคเรียน รอ ยละ 10 17 1.1.1 การทดสอบยอย รอ ยละ 10 1.1.2 การทดสอบภาคปฏบิ ตั /ิ โครงการ 1.1.3 ทําแบบฝก หัดทายบท/รายงาน 1.1.4 ประเมินพฤตกิ รรมดา นคณุ ธรรม มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 1.217 คะแนนสอบกลางภาค รอยละ 15 1.3 คะแนนสอบปลายภาค รอยละ 15 2. 17การประเมนิ ผล 17ระดบั คะแนน 17ความหมายของผลคะแนน 17คา ระดับคะแนน 17คารอยละ A 17ดเี ยี่ยม 4.017 1780-100 B+ 17ดมี าก 3.517 1775-79 B ดี17 3.017 1770-74 C+ 17ดีพอใช 2.517 1765-69 C 17พอใช 2.017 1760-64 D+ 17ออ น 1.517 1755-59 D 17ออนมาก 1.017 1750-54 E ตก17 0.017 170-49 [14]

แผนการบริหารการสอนประจาํ บทท่ี 1 หัวขอ เนื้อหาประจาํ บท 1. ความหมายของชมุ ชนและสุขภาพชมุ ชน 2. องคป ระกอบของชมุ ชน 3. ปจจัยกําหนดสขุ ภาพชมุ ชน 4. หลกั การพัฒนาอนามยั ชมุ ชน 5. แนวคิดเกีย่ วกับชมุ ชน 6. ทักษะท่ีจาํ เปนในงานอนามัยชมุ ชน วัตถปุ ระสงคเชิงพฤตกิ รรม เมือ่ เรียนจบในเนื้อหาบทนี้แลวสามารถทาํ สงิ่ ตอไปน้ีได 1. บอกความหมายของชุมชนและสขุ ภาพชุมชนได 2. อธิบายองคป ระกอบของชุมชนได 3. ระบุปจ จัยกําหนดสขุ ภาพชุมชนได 4. อธิบายหลกั การพัฒนาอนามยั ชุมชนได 5. อธบิ ายแนวคดิ เกี่ยวกับการอนามยั ชุมชนได 6. บอกทักษะท่จี าํ เปนในงานอนามยั ชมุ ชนได มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง วธิ กี ารสอนและกิจกรรมการเรยี นการสอน 1. วิธสี อน 1.1 วิธสี อนแบบบรรยาย 1.2 วิธีการสอนแบบจดั กจิ กรรมกลมุ 1.3 วธิ สี อนจากกรณีศึกษา 1.4 วธิ สี อนโดยศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน 2. กจิ กรรมการเรยี นการสอน 2.1 ผูส อนอธบิ ายทฤษฎแี ละซักถามพรอมยกตัวอยางประกอบการบรรยาย โดยใช power point 2.2 แบง ผูเ รียนเปน กลมุ ๆ ละประมาณ 5 คน เพ่ือศึกษาตามสถานการณทีก่ าํ หนดให รว มกับเอกสารประกอบการสอน 2.3 ผูสอนและผูเรยี นรวมกันอภิปรายและหาขอสรปุ รว มกนั อีกคร้ังหน่ึง 2.4 นาํ เสนองานหนา ช้ันเรียน 2.5 ใหผเู รยี นทาํ แบบฝกหดั บทที่ 1 สงในวนั ถดั ไป สอ่ื การเรียนการสอน 1

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง1. เอกสารประกอบการสอนอนามยั ชมุ ชน 2. ไฟลเอกสารประกอบการสอนอนามยั ชุมชน 3. คอมพิวเตอร 4. หนังสอื อา นประกอบคนควา เพ่มิ เติม 5. แบบฝกหัดบทท่ี 1 การวัดผลและประเมนิ ผล 1. แบบประเมนิ พฤติกรรมการมสี ว นรวมโดย 1.1. สงั เกตจากการซักถามผูเรยี น 1.2. สงั เกตจากการรวมกิจกรรม 1.3. สงั เกตจากความสนใจ 2. ประเมนิ จากการทําแบบฝกหดั 3. ประเมนิ จากการสอบยอย 4. ประเมินจากการสอบปลายภาค 2

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงบทท่ี 1 ชุมชนและสขุ ภาพชุมชน คําวา “ชุมชน” มีความหมายในลักษณะตาง ๆ มากมาย เชน ดานการปกครอง ดานการ พัฒนา ดานวัฒนธรรม ดานวิชาการ และในฐานะหนวยทางสังคมท่ีทําหนาที่ในการตอบสนองความ ตองการขั้นพื้นฐาน เปนตน ดังน้ันการนิยามความหมาย คําวา ชุมชนจึงมีขอบเขตกวางขวางมาก การศึกษาเพ่ือทําความรูความเขาใจเกี่ยวกับชุมชนจึงเปนพ้ืนฐานที่สําคัญตอการดําเนินงานดานการ พัฒนาชุมชน ทง้ั น้ีชุมชนจะเปนทง้ั กลมุ คนและพื้นทเี่ ปาหมายของการพัฒนา โดยในบทนี้จะเปน ความรู และความเขาใจเก่ียวกับแนวคิดพ้ืนฐานเกี่ยวกับชุมชน ประกอบดวย ความหมายของชุมชน แนวคิด เกีย่ วกบั ชมุ ชน ลักษณะของชมุ ชน ความเปน ชุมชน การเกดิ ขึน้ ของชมุ ชน โครงสรางของชุมชน ประเภท ของชมุ ชนและหนาทีข่ องชุมชน ความหมายของชุมชนและสุขภาพชมุ ชน ปจจุบันคําวา “ชุมชน” เปนศัพทที่บัญญัติมาจากภาษาอังกฤษ คือคําวา “Community” โดยมีรากศัพทเดิมที่มาจาก Indo-European คือคําวา “Mei” ซ่ึงแปลวาการเปล่ียนแปลง (Change) หรอื การแลกเปลยี่ น (Exchange) สําหรบั ในประเทศไทยคาํ วา ชมุ ชนไดถกู นาํ มาใชอยางเปนทางการใน ปพ .ศ.2505 เมอื่ มีการเปล่ยี นแปลงโครงสรางหนว ยราชการท่ีมีการแยก สวนพัฒนาการทองถ่ินออกจาก กรมมหาดไทยแลวจัดต้ังเปนกรมการพัฒนาชุมชน สังกัด กระทรวงมหาดไทย คําวา ชุมชนท่ี นํามาใชนั้นมีความหมายซอนทับกับคําวา “บานหรือหมูบาน” เปน หนวยการปกครองพื้นฐานใน สังคมไทยมาแตดั้งเดิมดวย จากนั้น ชุมชนจึงถูกนํามา ใชในความหมายของลักษณะตาง ๆ มากมาย อาทิ ความหมายที่เปนรูปแบบของ หนวยทางสังคมและสถาบันการปกครอง เชน ดานการปกครอง ดานการพัฒนา ดานวัฒนธรรมและ ดานวิชาการ เปนตน ตลอดจนลักษณะของชุมชนท่ีมีความสัมพันธ ในเชิงกระบวนการ เชน ชุมชน ชนบท ชุมชนเมืองและชุมชนแออัด เปนตน ประกอบกับแนวคิดอื่นท่ี หลากหลาย เชน องคกรชุมชน ผูผูนําชุมชน พัฒนาชุมชน วัฒนธรรมชุมชน สิทธิชุมชนและอํานาจ ชุมชน เปนตน ดังนั้น คําวาชุมชนจึงเปนความหมายที่มีขอบเขตกวางมาก ซึ่งนักวิชาการสวนใหญให ความหมายทใี่ กลเ คียงกนั ดังนี้ ราชบณั ฑติ ยสถาน (2542 : 368) ไดใหความหมายของชุมชนไววา ชุมชน คือหมูชน กลุมคน ท่ี อยรู วมกันเปนสังคมขนาดเลก็ อาศัยอยูในอาณาบริเวณเดียวกันและมผี ลประโยชนร ว มกนั ปราสาท หลกั ศลิ า (2519 : 2) กลา ววา ชมุ ชน หมายถึง กลุมคนพวกหนึ่งซ่ึงครอบครอง บริเวณ ที่มีอาณาเขตแนนอน โดยถือวาตนมีความผูกพันอยูกับอาณาบริเวณแหงน้ันและมีความยึด เหน่ียวกัน เปน ปก แผน มั่นคง 3

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงสัญญา สญั ญาววิ ฒั น (2525 : 6) ไดใหความหมายวา ชุมชน หมายถึง องคการทางสังคม อยาง หนึ่งท่ีมีอาณาเขตครอบคลุมทองถิ่นหน่ึงและปวงสมาชิกสามารถบรรลุถึงความตองการพื้นฐาน สวน ใหญไดแ ละสามารถแกไ ขปญหาสวนใหญใ นชมุ ชนของตนเองได จิตติ มงคลชยั อรัญญา (2540 : 3) กลาววา ชมุ ชนประกอบไปดวย ระบบความสัมพันธของ คน ความเช่ือ ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ อาชีพ ระบบการเมือง ระบบการปกครอง และ โครงสรางอํานาจ รวมถึงระบบนิเวศวิทยา ส่ิงแวดลอมและเทคโนโลยีดานตาง ๆ ซ่ึงระบบเหลาน้ี มี ความสัมพันธตอกันและระหวา งกนั หรือเรียกอีกอยางหนึ่งวามีความเชื่อมโยงกันชนิดท่ีไมสามารถ แยก จากกันได ประเวศ วะสี (2541 : 13) ใหความหมายวา ชุมชน หมายถึง การท่ีคนจํานวนหน่ึงมี วัตถุประสงครวมกัน มีความเอ้ืออาทรตอกัน มีความพยายามที่จะทําอะไรรวมกัน มีการเรียนรูรวมกัน ในการกระทาํ ซึ่งรวมถงึ การสือ่ สารกนั องคป ระกอบของชมุ ชน องคป ระกอบของชุมชนเปนสวนประกอบที่สําคัญ เปนสิ่งท่ีแสดงใหเห็นการกําเนิดของชุมชนที่ ไมไดเกิดข้ึนเองโดยธรรมชาติ แตหากองคประกอบที่กลาวถึง เกี่ยวของกับ อาณาบริเวณ คน ความ สนใจ ความสัมพนั ธ และการปฏบิ ตั ิตอ กนั ซึง่ ก็หมายถงึ การเช่อื มโยง 3 ดาน คือ 1. ดานภูมิศาสตร หมายถึง สภาพแวดลอม ทรัพยากรธรรมชาติ ปา และแมนํ้า อาณาบริเวณ ( Area ) คน และสถานที่ เกือบจะแยกกันไมได ตางก็เปนสวนประกอบสําคัญและมีสวนสัมพันธกัน มี คนกต็ องมีสถานที่ แตการจะกาํ หนดขอบเขต และขนาดของสถานที่ของชมุ ชนหน่ึงๆเปน เรอื่ งยาก 2. ดานสังคม หมายถึง คน (People ) คนเปนองคประกอบสําคัญ ของชุมชน หากปราศจาก คน ก็จะไมมีความเปนชุมชน ความสนใจรวมกัน (Common Interest ) คนที่อยูในชุมชน จะตองมี ความสนใจอยางใดอยางหนึ่งรวมกัน และความสนใจดังกลาวเปนผลมาจากการอยูรวมกันในอาณาเขต บริเวณเดียวกัน การอยูรวมกัน การติดตอส่ือสาร วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ( Cultural Traditions) ตลอดจนแบบแผนของการดําเนินชีวิตในชุมชน ( Pattern of Community Life ) ซึ่งสวน ใหญมลี ักษณะคลายคลงึ และเปน รูปแบบเดยี วกัน 3. ดานจิตวิทยา หมายถึง ความเปนพวกเดียวกัน ความ และเอ้ืออาทรตอกัน ปะทะสังสรรคตอ กัน (Interaction ) เมื่อมีคนมาอยูรวมชุมชนเดียวกันแตละคนตองมีการติดตอแลกเปล่ียน และปฏิบัติ ตอกัน ความสัมพันธของสมาชิก ( Relationship ) ความสัมพันธตอกันของสมาชิกในชุมชนเปนส่ิงที่ ผกู พนั ใหส มาชิกอยรู วมกนั ในชุมชนนน้ั ในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนน้ัน จะตองใชชุมชนเปนฐาน ดึงเอากลุมตางๆ ที่ เกี่ยวของท้ัง ในและนอกชมุ ชนเขา มารว มมอื กัน ซึ่งประกอบดวย 1. กลุมหรือองคกรประชาชน หมายถึง องคกรชุมชน องคกรเอกชนหรือภาคเอกชน ท่ีมีการ รวมตวั กนั เปนกลมุ ชมรม สมาคม มลู นิธิ หรอื องคกรท่ีเรียกชื่ออื่นตั้งแต 5 คน ขึ้นไป ซ่ึงเปนการรวมตัว กันดํา เนินกิจกรรม โดยมีวัตถุประสงคไมแสวงหาผลกํา ไร ท้ังน้ีจะ เปนนิติบุคคลหรือไมก็ได ตัวอยางเชน แกนนํา พัฒนาชุมชน คณะกรรมการตางๆ ชมรมอาสา สมัครสาธารณสุข (อสม.) ชมรม/ 4

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงกลุมผูสูงอายุ กลุมเยาวชน กลุมหนุมสาว สภาเด็กและเยาวชน กลุมอาชีพและวิสาหกิจชุมชน (กลุม เกษตรกร ผูเล้ียงไก กลุมแมบาน กลุมจักสานงานฝมือ กลุมเกษตรอินทรีย ฯลฯ) หรือชมรม/ กลุม แพทยพน้ื บา น เปน ตน 2. องคกรปกครองสวนทองถ่ิน หมายถึง องคการบริหารสวนตําบล เทศบาล หรือ องคกร ปกครองสวนทองถ่ินรูปแบบอื่นที่มี กฎหมายจัดตั้ง โดยรวมกับทีมผูบริหารในทอง ที่เชน กํานัน ผใู หญบา น เปน ตน 3. องคกรดานสุขภาพ หมายถึง หนวยบริการ ซ่ึงไดขึ้นทะเบียนไวตามพระราชบัญญัติ หลกั ประกันสุขภาพแหง ชาติ พ.ศ. 2545 เชน หนวยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพ ตาํ บล) โรงพยาบาล ชุมชน รวมทั้งหนวยงานสาธารณสขุ ซงึ่ มีภารกจิ ดา นการสาธารณสุขโดยตรงแตมิได เปนสถานบริการหรือหนวยบริการ ไดแก กอง สาธารณสุขและส่ิงแวดลอม สวนสาธารณสุข สํานักงาน สาธารณสขุ อําเภอ (สสอ.) สํานักงานสาธารณสขุ จงั หวัด (สสจ.) เปน ตน 4. หนวยงานอนื่ หมายถงึ หนว ยงาน ทีม่ ไิ ดมภี ารกจิ ดา นการสาธารณสุขโดยตรงแต อาจดํา เนิน กิจกรรมดานสงเสริมสุขภาพหรือ ปองกันโรคไดในขอบเขตหน่ึง เชน โรงเรียน สถาบันการศึกษา วัด หรอื ศาสนสถานของ ศาสนาตางๆ เปนตน 5. องคกรทางวิชาการ เชน สถาบัน วิชาการ มหาวิทยาลัยรวมทั้งหนวยงานท่ีมี บทบาท การศกึ ษาวิจัยพฒั นาองคค วามรซู ่ึงมี บุคลากรท่ีทํา งานวิชาการที่เกี่ยวของกับการ พัฒนาระบบสุขภาพ ชมุ ชน โครงสรางชมุ ชน โครงสรางชุมชนเปรียบเสมือนตนไม ประกอบไปดวยราก ใบ ลําตน และสวนประกอบอ่ืนๆ หรือถาเปรียบกับบานก็ไดแก พื้น เสา ขื่อ คาน เปนตน ซึ่งสิ่งเหลานี้ประกอบเขาดวยกันอยางเปน ระเบยี บ สว นโครงสรางของชุมชนบททส่ี าํ คัญนนั้ ไดแ ก 1. บุคคล หมายถึง คนหน่ึง ๆ ท่ีมีคุณลักษณะหรือบุคลิกแตกตางกันไป เน่ืองจากพันธุกรรม และสงิ่ แวดลอมเปน ตวั กาํ หนด 2. กลมุ คน หมายถึง บุคคลตงั้ แต 2 คน ทีม่ คี วามสัมพนั ธทางสังคมดวยการกระทําตอกัน คือ มี ปฏกิ ริ ิยาโตต อบกันและเขา ใจกนั 3. สถานภาพและบทบาท ไดแก ตําแหนงหนาท่ีของบุคคลซ่ึงผูกพันกันอยูในสังคมบุคลแตละ คนจะมีสถานภาพและบทบาทหลายอยา งตามกลุมทีส่ ังกดั อยู 4. ระบบสังคม เปนเคร่ืองมือซึ่งกําหนดและเปนแนวทางใหสมาชิกของสังคมยึดถือปฏิบัติเพื่อ ความเปนระเบียบเรยี บรอ ยและสงบสขุ ของสังคม 5. สถาบันทางสังคม หมายถึง คุณธรรมและกิจกรรมบางอยางท่ีมีความสําคัญตอสังคมมนุษย เชน สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันทางการเมืองการปกครอง สถาบัน นนั ทนาการ เปน ตน 6. การแบงชนชนั้ ทางสงั คม ไดแ ก 6.1 การแบง ช้นั ในสงั คมเมือง คอื ตระกลู เจา นาย ขุนนาง ขนุ หลวง พระ พระยา ความสาํ เร็จทางราชการ อํานาจทางเศรษฐกจิ และการเมอื ง ชนิดของอาชีพ 6.2 การแบงชนชน้ั ในสังคมชนบท คอื ชนช้ันผนู ําทองถิ่นกบั ชนช้ันชาวบานท่วั ไป 5

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงปจจยั กําหนดสุขภาพชมุ ชน สุขภาพของมนุษย มีความสัมพันธเชิงพลวัตกับปจจัยตาง ๆ มากมาย การเปลี่ยนแปลง ทางดานส่ิงแวดลอมกายภาพ ทางเศรษฐกิจ และสังคม ท่ีเกิดจากการพัฒนาและการดําเนินโครงการ พฒั นา จงึ สงผลกระทบตอสุขภาพของมนุษยอยางหลีกเล่ียงไมได เนื่องจากสุขภาพมิไดถูก กําหนดโดย ระบบบริการสขุ ภาพและวิถีชีวิตเทานั้น แตเงื่อนไขทางสังคม เศรษฐกิจ และปจจัยดานอื่นๆ นอกเหนือ ดานสุขภาพท่ีประชาชนอาศัยอยูเชนระบบการขนสง การจางงาน การอยูอาศัย ฯลฯ ยอมมีผลตอ สขุ ภาพเชนกัน ปจจัยกําหนดสุขภาพทางสังคม (Social Determinants of Health) หมายถึง ขอบเขต ปจจัยดานบุคคล สังคมเศรษฐกิจ ประชากร และสิ่งแวดลอม ซึ่งเปนตัวกําหนดสถานะทางสุขภาพของ บุคคล หรือ ซึ่งในเอกสารฉบับนี้จะใชคําวา “ปจจัยกําหนดสุขภาพ” ในความหมายเดียวกับ “ปจจัย กําหนดสขุ ภาพทางสังคม” การมีสุขภาพหรือสุขภาวะที่ดี ลวนมีอิทธิพลจากปจจัยกําหนดสุขภาพตางๆ ที่สงผลท้ัง ทางบวก และทางลบตอการมีสุขภาพดี ปจจัยกําหนดสุขภาพเปนการพยายามระบุสาเหตุ ของปจ จัย หรอื ความสัมพันธของปจจัยตาง ๆ ที่มีผลตอสุขภาพของมนุษย โดยตั้งอยูบนสมมุติฐานท่ีวา เม่ือมีเหตุการณหรือ กิจกรรมหน่ึงกิจรรมใดท่ีทําใหปจจัยเหลานั้นเปล่ียนแปลงไปยอมสงผลตอสุขภาพ ของคนกลุมน้ันดวย มีหลายหนวยงาน ไดเสนอปจจัยกําหนดสุขภาพไวหลายกรอบสําหรับ ในที่น้ีจะ นําเสนอตัวอยา งของกรอบแนวคดิ เพ่อื เปรยี บเทยี บใหเห็นขอแตกตางของปจจัยกําหนดสุขภาพตางๆ ใน บรบิ ท ของตา งประเทศและประเทศไทย ดงั นี้ 2.1 กรอบแนวคิดปจจัยกําหนดสุขภาพของประเทศแคนาดา หนวยงานสุขภาพ ของประเทศ แคนาดา ระบุปจจัยกําหนดสุขภาพ ไว 12 ประเดน็ ดงั นี้ (1) รายไดและสถานะทางสังคม (Income and Social Status) (2) เครือขายชวยเหลอื กันทางสังคม (Social Support Networks) (3) การศึกษา (Education and Literacy) (4) การมีงานทาํ และสภาพการทํางาน(Employment Working Conditions) (5) ส่ิงแวดลอ มทางกายภาพ (Physical Environment) (6) สงิ่ แวดลอมทางสังคม (Social Environment) (7) พฤติกรรมสขุ ภาพ และทกั ษะชีวิต (Personal Health Practice) (8) การพัฒนาในวัยเดก็ (Healthy Child Development) (9) ปจจยั ทางชวี ภาพ และพนั ธุกรรม (Biology and Genetic Endowment) (10) บรกิ ารสุขภาพ (Health Service) (11) เพศ (Gender) (12) วัฒนธรรม (Culture) 2.2 กรอบแนวคิดปจ จัยกาํ หนดสุขภาพของประเทศอังกฤษ กําหนดเปน 5 ระดบั ดงั นี้ (1) ปจจัยที่อยูในตัวมนุษยเอง เชน อายุ เพศ และพันธุกรรม ไมสามารเปลี่ยนแปลง ไดหรือเปลย่ี นแปลงไดย าก (2) ปจจัยท่ีเกย่ี วของกับพฤติกรรมสว นบุคคลของมนุษย พฤตกิ รรมการบริโภค พฤติกรรมการเดนิ ทาง พฤติกรรมการพักผอน (3) ปจ จัยทเ่ี กีย่ วกบั เครอื ขายทางสังคมและชมุ ชน เชน ความสัมพันธภ ายในชุมชน 6

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงวัฒนธรรม ประเพณคี วามเขมแข็งของชุมชน (4) เง่อื นไขการดําเนินชวี ิตและการททํางาน การผลติ อาหารและผลผลติ การเกษตร สภาพที่อยูอาศัย การศึกษา ส่ิงแวดลอมในการททํางาน การวางงาน การจัดหาน้ําสะอาด และ สุขาภบิ าล การบริการทางสุขภาพ (5) เงือ่ นไขโดยรวมทางเศรษฐกจิ สังคม วฒั นธรรมและส่งิ แวดลอ ม ซึ่งมักเกยี่ วพัน กบั นโยบายสาธารณะ ในระดับภูมภิ าค ระดับชาตแิ ละระดับนานาชาตริ ายละเอียด ดังรูป รูปภาพท่ี 1 กรอบแนวคดิ ปจจยั กาํ หนดสขุ ภาพของประเทศองั กฤษ 2.3 กรอบแนวคดิ ปจ จัยกาํ หนดสุขภาพของ Quigley Quigley และคณะ ไดแ บงประเภทปจจัย กําหนดสุขภาพไว 3 ดาน คอื (1) ดา นปจเจกบุคคล (Individual Factor) เชน พันธุกรรม พฤตกิ รรม (2) ปจ จัยดานสงั คม และสิง่ แวดลอม (Social and Environmental Factor) เชน ส่งิ แวดลอ มทางกายภาพ ชมุ ชน เศรษฐกิจ และระบบการเงิน (3) ปจจัยดา นองคก ร หรอื สถาบนั (Institution Factor) 2.4 กรอบแนวคิดของชมุ ชนลุมนํา้ มูนตอนลาง สดใสและคณะ (2545) อางถึงในเดชรตั สขุ กําเนิดและคณะ (2545) ไดสรุป ปจจัยกําหนดสุขภาพของชุมชนลุมนํ้ามูนตอนลาง ซ่ึงไดรับผลกระทบ จากการกอสรางโครงการโรงไฟฟาพลังน้ํา เข่ือนปากมูล และไดตอสูเรียกรองสิทธิจนกระทั่งมีการเปด ประตรู ะบายนํา้ เข่ือนปากมูล และไดรวมกันทําการ ประเมนิ ผลกระทบทางสขุ ภาพจากการสรา งเขอื่ น “ปจจัยท่ีมีผลตอสุขภาพ” ดังน้ี คําวา “สุขภาพ” ในความหมายของชุมชนลุมน้ํามูน คือ การมี ชวี ิตอยูอยา งเปน สุข และการทจ่ี ะมคี วามสขุ เกยี่ วขอ งกับองคป ระกอบหรือปจจัยหลายประการ ดงั นี้ (1) การมีอยูมีกินอยางเพียงพอ การมีอาหารการกินท่ีหลากหลาย มีคุณภาพที่ดี ปลอดจาก สารพิษ มีแหลงท่ีมาที่สามารถเขาถึงไดงาย มีอาหารท่ีพอเพียงสําหรับการบริโภค และการแบงปนให ญาตพิ ่นี อง เพ่ือนบาน และการทําบุญ (2) การมอี าชีพทมี่ นั่ คง การมงี านท าตลอดปม รี ายไดท่ีสามารถเลี้ยงครอบ ครัวไดมีเงินเพียงพอ สาํ หรบั การรกั ษาพยาบาล การศึกษาของบตุ ร การทํา 7

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง(3) มีครอบครัวท่ีอบอุน การไดอยูกันพรอมหนา พอ แมลูก ปูยา ตา ยาย มีเครือ ญาติท่ี เออื้ เฟอ เผือ่ แผแ ละมคี วามเคารพนบั ถอื กัน เม่อื มีปญหาสามารถหันหนามาปรึกษาหารือกัน และชวยกัน แกไ ขปญ หา ลูกหลานไดมีโอกาสทจ่ี ะเรยี นรวู ิธกี ารทาํ มาหากนิ จากพอแมหรือปูยาตายาย คนเฒา คนแก อบอุน อยูในวงลอมความรกั ของลกู หลาน (4) มีรางกายท่ีแข็งแรง หมายถึง มีสภาพรางกายที่แข็งแรง สามารถทํางานไดนานๆ และ ออกกําลังกายไดเสมอ ไมเจ็บไขไดปวยดวยโรคท่ีรายแรง มีอายุยืน ข้ึนรถลงเรือไมเกิดอาการ วิงเวียน และไมปวดขา หรอื เปน เหนบ็ ชาเวลานัง่ ฟงพระเทศนนานๆ (5) มจี ิตใจรา เริงเบกิ บาน มคี วามสงบ ไมตอ งวติ กกงั วล ไมตอ งกลุมใจวาวันพรุงนี้ จะหาอะไรให ลูกกิน ไมตองกลัวโรคภัยไขเจ็บ ไมตองกังวลวาใครจะเกลียดชัง ไมทะเลาะเบาะแวงกับใคร ไดไปวัด ทําบุญทําทานรวมกนั (6) อยูใ นชุมชนทเี่ อ้ืออารีตอกัน แบงปนกัน มีเพื่อนบานท่ีเหมือนเปนญาติกัน อบอุน ปลอดภัย ชวยกันพัฒนาดูแลหมูบาน รวมกันทําบุญตามเทศกาล และรวมกันทํากิจกรรมตามประเพณี ดวยความ รวมแรงรว มใจ (7) มีทรัพยากรธรรมชาติทเี่ อ้ือตอ การดาํ รงชวี ิตมคี วาม สมบูรณของที่ดิน แมน้ํา ปาไมเกาะแกง ปลา พืชผัก ซ่ึงจะเปนแหลงที่มาของอาหารการกิน อาชีพ รายไดการแบงปน การพักผอน การสอนให ลูกหลานรูจักการทาํ มาหากินและใชในการประกอบกจิ กรรมตามประเพณี รูปภาพท่ี 2 ปจ จยั กําหนดของชุมชนลุมนาํ้ มูนตอนลา ง 2.5 กรอบแนวคดิ กําหนดสุขภาพของจังหวัดระยอง ไดกาํ หนดไว 4 ดา น คือ (1) ปจ จัยดา นสงิ่ แวดลอม (Environmental Factor) ซงึ่ ประกอบดว ยมลพษิ จาก โรงงานอุตสาหกรรม อันตรายจากสารเคมี การเจ็บปวย และความเสี่ยงจากมลพิษ มลพิษทางอากาศ และ สารอินทรียระเหยงาย (VOCs) มลพิษทางน้ํา และการปนเปอนโลหะหนัก ขยะของเสียอันตราย อุบตั ภิ ัย สารเคมีศกั ยภาพการรองรับมลพษิ (2) ปจ จัยดา นทรัพยากรธรรมชาติ (Resources) เชน การแยง ชงิ การใชนา้ํ การกัด เซาะชายฝง การท้งิ ของเสยี ลงทะเล การขาดหรือรอ ยหรอของประมงชายฝง 8

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง(3) ปจ จยั ดานปญ หาสงั คม (Social Factor) ซง่ึ ประกอบดว ย แรงงานอพยพ และ ประชากรแฝง ความสัมพันธในครอบครัวและชุมชน แหลงเส่ือมโทรม และแหลงมั่วสุม ความปลอดภัย ในชีวิต และทรัพยสิน การลงทุนและการบริการทางสังคม ความเครียด และความกดดันในชีวิต ความ ขัดแยงจากการ พัฒนาอุตสาหกรรม ภูมิปญญา และวัฒนธรรมทองถ่ินปญหาจากการขาดความ ปลอดภัยในชวี ติ เปน ตน (4) ปจ จัยทางดานเศรษฐกจิ (Economic Factor) การเตบิ โตทางเศรษฐกิจ การ พ่ึงพาการนําเขาและเศรษฐกิจภายนอก การกระจายรายได การจัดสรร และการแยงชิงทรัพยากร มลพิษและการท าลายฐานทรัพยากร ระบบภาษีและการลงทุนทางสังคม เชน ความเส่ียงจาก อตุ สาหกรรม นําเขา การชะลอตัวทางเศรษฐกจิ ของภาคเกษตร และประมง 2.6 ปจจัยกําหนดสุขภาพ ท่ีกําหนดไวในหลักเกณฑและแนวทางการประเมินผล กระทบทาง สุขภาพท่ีเกิดจากนโนบายสาธารณะ ส สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแหงชาติ กําหนดใหในการ ประเมินผลกระทบดาน สุขภาพในกรณีท่ีทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม ผูท่ีดําเนินการ จะตอ งพิจารณา วิเคราะหและ ใหขอมลู ในประเดน็ ทส่ี าํ คญั ดังตอไปน้ี (1) การเปล่ยี นแปลงสภาพและการใชท รัพยากรธรรมชาตไิ มว าจะเปน ทรัพยากร ท่ีดิน ทรัพยากรน้ํา ทรัพยากรประมง ทรัพยากรปาไมความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรแรธาตุ ทรัพยากรธรรมชาติอืน่ ๆ และระบบนเิ วศ (2) การผลิต ขนสง และการจัดเกบ็ วัตถอุ ันตราย โดยจะตอ งแจง ประเภท ปรมิ าณ และวิธดี ําเนนิ การของวัตถุอันตรายทุกชนิด (3) การกําเนิด และการปลอ ยของเสีย และส่งิ คกุ คามสขุ ภาพ จากการกอสราง จาก กระบวนการผลิต และกระบวนการอื่นใด ไมวาจะเปนขยะ กากของเสีย กากของเสียอันตราย น้ําเสีย ขยะติดเช้อื ความรอ น มลสารทางอากาศ ฝุน แสง เสยี ง กลนิ่ การสนั่ สะเทือน และกมั มนั ตภาพรังสี (4) การรบั สัมผสั ตอ มลพิษ และสงิ่ คกุ คามสขุ ภาพ ไมว า จะเปน เสนทางการรบั สัมผัสเขาสูรางกาย เชน โดยการหายใจ การรับประทาน การสัมผัสทางผิวหนัง เปนตน การรับสัมผัส ของ คนงานหรือผูป ฏิบตั ิงานในโครงการ การรับสมั ผสั ของประชาชนโดยรอบโครงการ เปน ตน (5) การเปล่ียนแปลง และผลกระทบตอ อาชีพ การจางงาน และสภาพการททาํ งาน ในทองถิ่น ท้ังทางบวก และทางลบ เชน ความเส่ียง และอุบัติเหตุจากการทํางานการเปล่ียนแปลงใน ระบบ นิเวศ ทรัพยากร และหวงโซอุปทานของสินคา และบริการท่ีเปนฐานการดํารงชีวิตหลักของ ประชาชนกลมุ ใด กลมุ หน่ึงในพื้นที่ 6) การเปล่ยี นแปลง และผลกระทบตอความสมั พนั ธของประชาชน และชมุ ชน ท้งั ความสัมพนั ธภายในชุมชนและภายนอกชมุ ชน โดยเฉพาะอยา งยิง่ การอพยพของประชาชน และแรงงาน การเพ่ิม/ลดพื้นที่สาธารณะของชุมชน (Public Space) และความขัดแยงท่ีอาจจะเกิดขึ้นจากการ ดาํ เนนิ โครงการ/กจิ กรรมดังกลาว 7) การเปลี่ยนแปลงในพื้นทีท่ ่มี คี วามสําคญั และมรดกทางศิลปวฒั นธรรม เชน ศาสนสถาน สถานที่ท่ีประชาชนสักการะบูชา หรือสถานท่ีประกอบพิธีกรรมของชุมชนทองถิ่น พ้ืนที่ที่มี ความสําคญั ทางประวัติศาสตรแ ละโบราณสถานสาํ คญั 9

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง(8) ผลกระทบทเี่ ฉพาะเจาะจงหรอื มคี วามรุนแรงเปน พเิ ศษตอประชากรกลมุ ใด กลุม หน่ึง โดยเฉพาะกลุมประชากรท่ีมีความเปราะบาง เชน เด็ก ผูพิการผูสูงอายุ พอแมเล้ียงเดี่ยว ชนกลุม นอย เปนตน (9) ทรพั ยากรและความพรอมของภาคสาธารณสขุ ท้ังในแงข องการสรางเสรมิ การ ปองกัน การรักษา และการฟนฟูสุขภาพของประชาชน ที่อาจเกี่ยวเน่ืองกับโครงการ/กิจกรรม รวมถึง ความ พรอมของขอมูลสถานะสุขภาพในพ้ืนที่กอนมีการดําเนินการ การจัดระบบฐานขอมูลเพื่อติดตาม ผลกระทบขีด ความสามารถการสํารวจโรคและการรบั มอื กบั อบุ ัติภัยและภยั พิบตั ทิ ี่อาจเกิดข้นึ กรอบแนวคดิ เรื่องปจ จัยกาํ หนดสุขภาพ มีมีความสําคัญในข้ันตอนของการกําหนดขอบเขตการ ประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ตองระบุปจจัยกําหนดสุขภาพใหครอบคลุม เหมาะสม จึงจะสามารถ ประเมินผลกระทบทางสุขภาพไดอยางมีประสิทธิผล และการกําหนด แนวคิดดานสุขภาพที่แตกตางกัน จะนําไปสกู ารดาํ เนนิ การในการสง เสรมิ สขุ ภาพ ปองกันโรค และการดแู ลสขุ ภาพทีแ่ ตกตา งกันดวย หลักการพัฒนาอนามยั ชุมชน หลักการพื้นฐานในการดแู ลสขุ ภาพชุมชน เนน ใหเ กดิ การพัฒนาทศั นคติ พฤติกรรม แบบ แผนการดาํ เนนิ ชวี ิตของคน ครอบครัว ชุมชน ใหม ีคุณภาพชวี ติ ทดี่ ีข้นึ และนําไปสูการมีชุมชนสุขภาพ โดยมหี ลกั การสําคญั ในการพัฒนาอนามยั ชมุ ชน ดังน้ี 1. การพัฒนาโดยยึดคนเปน ศนู ยกลางในการพัฒนา โดยเนนการพฒั นาคนใหส ามารถชวย ตนเองได และพ่ึงพาตนเองได ปลูกฝงใหคนในชุมชนไดรูจักตนเอง คนหาความตองการในการพัฒนา ชุมชนของตนเอง ในลักษณะของการตัดสินใจในการพัฒนาชุมชนของตนเอง มีความรักในชุมชนและ รว มรบั ผิดชอบในการพฒั นาชุมชน 2. การพฒั นาดานสขุ ภาพอนามัยไปพรอ มๆกับการพฒั นางานดา นอื่นๆ เพือ่ ใหเ กดิ การ พฒั นาที่เหมาะสมสอดคลองกับการพัฒนาในดานการศึกษาเกษตร สังคม และเศรษฐกิจ ทั้งนี้เจาหนาท่ี ผมู ีสวนเกย่ี วของจะตองรวมมอื ประสานการปฏบิ ัติงาน 3. การพฒั นาโดยใหป ระชาชนมีสวนรวมในการพัฒนา ซึง่ การมีสวนรวมของประชาชนใน การพัฒนาจะทําใหประชาชนไดมีโอกาสตัดสินใจ ในการพัฒนาชุมชนของตนตามความตองการของ ชุมชนอยางแทจริง และเกิดการยอมรับในการพัฒนาและความรับผิดชอบ สงผลตอการพัฒนาอยาง ตอเนอื่ งและยั่งยนื ตอไป 4. การพัฒนาโดยใชทรัพยากรทองถน่ิ ใหเกดิ ประโยชนสูงสุด ทั้งในสวนของการใช ศักยภาพของประชาชนในชุมชนใหเ ต็มทใี่ นการพัฒนาชุมชนของเขา เชน การสรางกลุมชาวบาน การจัด ใหมีคณะกรรมการหมูบาน อาสาสมัครในการปฏิบัติงานดานตางๆ ทั้งน้ีเพ่ือเปนแกนนําในการพัฒนา รวมท้งั ใชภ ูมปิ ญ ญาทองถิน่ ทรพั ยากรท่มี ใี นทองถิน่ ในการพัฒนาใหเกดิ ประโยชนสูงสุด 5. การพฒั นาโดยใหเกดิ ความสอดคลอ งกับแบบแผนชีวิตและความเปน อยูของประชาชน 10

การพัฒนาจะตองคอยเปนคอยไป ไมขัดตอแบบแผนของการดําเนินชีวิต คานิยม วัฒนธรรมและการ ประกอบอาชีพของประชาชน ชุมชนแตละแหงยอมมีความแตกตางกัน ดังนั้น การจะใชรูปแบบการ พฒั นาที่เปน แบบเดยี วกันหมดมาใชใ นชมุ ชนท่ีตา งกันนัน้ จําเปนทจี่ ะตองพจิ ารณาใหรอบคอบ 6. การพฒั นาโดยใชแผนเชงิ รุกมากกวา เชิงรบั ในดา นสุขภาพ การปอ งกันโรคมคี วามจาํ เปนมากกวาการรักษาพยาบาลเม่ือเกิดการเจ็บปวย ซึ่งเสียคาใชจายสูง ตองมีการดําเนินการวางมาตร กรการเฝาระวังโรค การระบาดของโรคอยางใกลชิดและจัดระบบขอมูลขาวสารในชุมชนใหถูกตอง ทันสมยั และสามารถใชไ ดอ ยเู สมอ 7. การพัฒนาโดยเนนการประสานงานกบั ผูนําชมุ ชนและผเู กี่ยวขอ ง เพอื่ ใหเ กดิ ความ รวมมือในการปฏิบัติงานและไมเกิดความซ้ําซอนในการปฏิบัติ และเกิดการประหยัดทรัพยากรในการ ดําเนินการ ซึ่งท้งั นจ้ี ะตองมีการวางแผนรว มกันกบั หนวยงานทเี่ ก่ียวของเพื่อการพัฒนาชุมชนแบบบูรณา การทกุ ดาน เพื่อใหเกดิ การเปนชุมชนสขุ ภาพ 8. การพัฒนาโดยยดึ หลักประชาธิปไตยในการปฏบิ ัติงานรว มกับชมุ ชน ใหป ระชาชนมสี ทิ ธิ ในการพิจารณาความตองการการรับความชวยเหลือและการพัฒนา โดยเจาหนาท่ีของรัฐเปนเพียง ผสู นบั สนุนใหเกดิ การพัฒนา 9. การพัฒนาโดยยึดหลักความมปี ระสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการพัฒนางานอนามยั ชมุ ชน ซึ่งตอ งพิจารณาจัดทาํ โครงการเพ่ือแกป ญหาและพัฒนางานอยางมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคํานึงถึงคาใชจาย ผลที่ได เวลาท่ีเสียไป ความคุมคา ผลกระทบ และการครอบคลุมประชนชาที่ ตองการไดรบั การพัฒนา ใหมากกวาการกําหนดโครงการตามทเ่ี จา หนา ท่ีตองการ 10. การพัฒนาโดยยดึ หลกั ใหประชาชนเกิดความสขุ ความพงึ พอใจทีจ่ ะรับการพัฒนา งาน พัฒนาอนามัยชุมชนท่ีชมุ ชนทใี่ หก ับประชาชนในชุมชนน้ัน ประชาชนตองเกิดความพึงพอใจและมีความ ตอ งการท่จี ะรับการพฒั นา การดาํ เนินการพฒั นาในกิจกรรมตางๆ ตองไมฝนความรูสึกของประชาชนใน การเปล่ยี นแปลง การเปล่ียนแปลงตองกอใหเ กดิ ผลดแี ละทาํ ใหประชาชนมีความสขุ ในการดํารงชีวิตและ เห็นประโยชนจ ากการพัฒนาอยา งแทจรงิ มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง แนวคดิ เกย่ี วกับชุมชน “ชุมชน” มีนัยยะและความหมายทอี่ ยบู นฐานของการเปล่ยี นแปลงและเคลื่อนไหวไปตาม กระแสสงั คม เพราะชมุ ชนไมใชส ง่ิ ทหี่ ยุดนิ่ง แตว าชมุ ชนในทนี่ ้ีหมายถึงชุมชนทมี่ ีชวี ติ ดงั น้นั แนวคิด ทางสงั คมศาสตรจะชวยสะทอนใหเหน็ ถงึ ความเปน ชมุ ชนหรอื ความเปน หมูคณะ ซ่งึ จะชวยอธิบาย และสรางความเขาใจเกย่ี วกบั คาํ วา ชุมชนไดช ัดเจนยิง่ ข้นึ ในทน่ี ี้จะกลา วถึงแนวคิดทางสังคมศาสตรวา ดวยความหมายของชมุ ชน ทนี่ ักวิชาการผทู รงความรูไ ดใ หแนวคิดไว จํานวน 4 แนวคดิ ดวยกัน คอื แนวคิดทางสงั คมวิทยา แนวคิดทางมนษุ ยวทิ ยา แนวคิดในมิติประชาสังคมและแนวคดิ ชมุ ชนเสมอื น จรงิ และเครอื ขายสังคม ซ่งึ มอี ธิบาย ดงั น้ี 11

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง1. แนวคดิ ทางสังคมวิทยา (Sociological Perspective) ชุมชนในแนวคิดทางสงั คมวิทยา หมายถงึ หนวยทางสังคมและทางกายภาพท่มี ลี ักษณะการ จดั การรวมกันในมิติตาง ๆ อันไดแก หมูบาน ชุมชน เขตและเมือง โดยมคี วามหมายดังน้ี 1.1 ชุมชนในฐานะหนวยทางอาณาบริเวณ (Community as a Territorial Unit) ที่ ทําใหชุมชนมีลักษณะเปนรูปธรรม มีหลักแหลงที่ต้ังแนนอนและมีสมาชิกสามารถระบุที่อยู ของตนได โดยอาณาบริเวณทางภูมิศาสตร มีอิทธิพลตอชุมชนและชุมชนก็มีอิทธิพลตออาณาบริเวณ ทาง ภมู ศิ าสตร เชน สภาพทางทางภูมิศาสตรจะเปนตัวกําหนด สถานท่ีต้ังและศักยภาพในการ เจริญเติบโต ของชุมชน กลาวคือชุมชนมักจะเกิดข้ึนในบริเวณที่มีทรัพยากรธรรมชาติท่ีสมบูรณหรือ ท่ีซ่ึงมีการ คมนาคมสะดวกเหมาะแกการตั้งถิ่นฐานอยางถาวร ในขณะเดียวกันชุมชนก็มีอิทธิพล ตออาณาบริเวณ ทางภูมิศาสตร แมวาตัวแปรเกี่ยวกับอาณาบริเวณทางภูมิศาสตรจะมีอิทธิพลตอสถาน ท่ีต้ังและพลวัต การเจริญเติบโตของชุมชน แตการปรับตัวของคนตออาณาบริเวณทางภูมิศาสตรของ ชุมชนก็ข้ึนอยูกับ วัฒนธรรมและการรจู กั ปรับตัวดวย ดังนั้นมนุษยเองมีสวนในการกระทําตอ สภาพแวดลอมของตนไมวาจะโดยทางบวกหรือลบ โดยการปรับสิ่งแวดลอมทางกายภาพใหสอดคลอง กับความตองการและความจําเปนของมนุษย เชน การทํานาแบบข้ันบันได การสรางเหมืองฝาย ชลประทานและการปรับปรุงแกไขและสรางท่ีอยูอาศัยให สอดคลองกับสภาพภูมิศาสตร หรือการทําลายสภาพแวดลอม การศึกษาชุมชนตามแนวคิดสังคมวิทยา ถอื วาตวั แปรทางดานภมู ศิ าสตรจะเปน ส่ิงที่ ละเลยเสยี มไิ ด แนวคิดน้จี ดั วา มีอิทธิพลตอทฤษฎีนิเวศวิทยา ของมนุษย 1.2 ชุมชนในฐานะหนวย/ระบบทางสงั คม (Community as a Social System Unit) การวิเคราะหแบบ Social System Approach จะชวยทําใหเห็นภาพลําดับข้ัน (Hierarchy) เร่ิมจาก ระดับลางท่ีประกอบดวยกลุมบุคคล 2 คนขึ้นไป จนถึงระดับชาติหรือระดับโลก ชุมชนเปน ระบบยอย อันแรกที่มีศักยภาพในการจัดการใหมีส่ิงตาง ๆ เพื่อตอบสนองความตองการของคนทั้งทาง กายภาพ จิตใจและสังคม ซึ่งในระบบครอบครัว กลุมเครือญาติก็เล็กเกินไปไมมีสถาบันทางสังคมที่ สมบูรณเพื่อ ตอบสนองความตองการของมนุษย สวนระบบท่ีใหญกวาน้ี เชน กลไกของรัฐก็ใหญโตและ ซับซอน เกนิ ไป จนเขาไมถึงอารมณความรูสึกของคนจึงไมสามารถตอบสนองความตองการทั้งทางกาย และทาง ใจได โดยนัยนี้ชุมชนจึงมีความหมายที่เปนระบบทางสังคมวา เปนเครือขายปฏิสัมพันธของ มนุษย (Network of Interaction) ซึ่งประกอบดวย สถานภาพ บทบาท กลุมคนและสถาบัน ชุมชน จึงมี ความสัมพันธเหมือนลูกโซ ที่ระบบยอยระบบหนึ่งจะไดรับปจจัยนําเขาท่ีตองการจากระบบอ่ืน ๆ และ ในทางกลับกันก็จะใหผ ลผลติ ของตนแกร ะบบยอ ยอ่ืน ๆ ปจ จัยนาํ เขาและผลผลิตท่ีไดรับ ซ่ึงให แกกันใน ระหวางชุมชนหรือระบบยอยน้ีอาจเปนชุมชนรูปของการเงิน แรงงาน ความกดดันทางสังคม และ ทรัพยากรตาง ๆ 12

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงแนวคิดที่เห็นวาชุมชนอยูในฐานะหนวยทางสังคมมี ความเห็นวาชุมชนตองมีลักษณะ 3 ประการ คือ ประการท่ี 1 ชุมชนในฐานะเปนอาณาบริเวณ การพิจารณาชุมชนในขอน้ีมิใชเฉพาะ เปน บริเวณท่ีเปนแหลงท่ีอยูอาศัยของกลุมคนเทาน้ัน ยังตองพิจารณาถึงมิติตาง ๆ เชน ในฐานะที่อยู อาศัย การใชพ น้ื ที่ และบรเิ วณของชุมชน ประการที่ 2 ชุมชนในฐานะเปนที่รวมประชากร โดยจะเนนที่ลักษณะของประชากร ท่ีอยูใน บรเิ วณชุมชน ในดา นทส่ี าํ คัญ คือ การเปลยี่ นแปลงประชากรในชวงระยะเวลาหน่ึง โครงสราง ประชากร เชน สดั สว นเพศชายเพศหญงิ อายุ อาชพี การศึกษา เปนตน ประการที่ 3 ชุมชนในฐานะที่เปนระบบความสัมพันธของสมาชิกท่ีอยูในชุมชนและ ความสัมพันธกับชุมชน โดยพิจารณาถึงระบบความสัมพันธของชุมชน ประกอบดวย ความสัมพันธใน ครอบครัว เครือญาติ มิตรสหาย ระบบความสัมพันธทางเศรษฐกิจ ระบบความสัมพันธของวัฒนธรรม เปน ตน 1.3 ชุมชนในฐานะหนวยทางจิตวิทยาวัฒนธรรม (Community as a Psycho Cultural Unit) ในมติ นิ ี้เนน เร่อื งที่วา ชมุ ชนจะตองมีความผูกพันในระหวางสมาชิกดวยกัน ความ ผูกพัน นี้จะตีความวาเปนท้ังทางดานจิตวิทยาและวัฒนธรรม โดยในทางจิตวิทยานั้น คนจะมีความ ม่ันคง เพราะสามารถจะระบุไดวาตนเปนสมาชิกของกลุม หมูหรือท่ีใด มีความรูสึกวาตนเองมีสังกัด คือ อาจ ตอบไดวา “ฉันเปนใคร” และ “อยูท ่ไี หน” นอกจากแนวคิดสังคมวิทยาจะมองชุมชนทองถิ่นในสามมิติท้ัง ดังกลาวแลว เรายังสามารถ มองชุมชนในฐานะ “หนวยทางการปกครอง” ท่ีหมายถึง “หมูบาน” ตามลักษณะการปกครองใน สังคมไทย ซ่ึงเปนหนวยทางสังคมระดับฐานลางที่มีความสัมพันธเปนลําดับชวงช้ันกับระดับท่ีเหนือกวา ตามโครงสรางการปกครองที่ประกอบดวย หมูบาน ตําบล อําเภอ จังหวัดและประเทศ ชุมชนหมูบาน เปนชุมชนที่มีพ้ืนท่ีทางภูมิศาสตร นัยของการนิยามหมูบานใหติดกับพ้ืนที่เกิดข้ึนจากการท่ีรัฐพยายาม รวมศูนยอํานาจและแบงพื้นท่ีเปนหนวยยอย ๆ กําหนดใหหนวยยอย ๆ รวมกันเปนหนวยใหญขึ้น มี กลไกการปกครองเปน ลําดบั ชนั้ เพ่ืองา ยตอการปกครอง ซึ่งจําเปนตองมองลักษณะของความเปน ชุมชน หมูบานที่สัมพันธกับรัฐ จะเห็นไดวาหมูบานมีความสัมพันธกับรัฐมาโดยตลอดเพียงแตจะมี ความสมั พนั ธเร่ืองใดมากหรอื นอยเพียงใดในแตล ะชวงเวลา 2. แนวคิดทางมานุษยวิทยา (Humanistic Perspective) แนวคิดนี้มุงเนนความเปน ชุมชนที่กอใหเกิดมิตรภาพ ความเอื้ออาทร ความมั่นคงและความ ผูกพัน อันสืบเนื่องมาจากขอจํากัด การปฏิสัมพันธทางสังคมในยุคปจจุบันท่ีกวางใหญเกินไปและไม สามารถตอบสนองตอความตองการ ของปจเจกบุคคลได ดงั น้ันความเปนชุมชนจึงข้นึ อยูกับปฏิสัมพันธ โตตอบและความเปนมิตรภาพที่มีตอ กันภายใตร ะบบสื่อสารและการพบปะทํากิจกรรมรว มกัน นักมานุษยวิทยา นิสเบ็ต (Robert A. Nisbet, 1962) มีความเห็นวาสังคมสมัยใหมทําใหเกิดการสูญเสีย ความรูสึกผูกพันของชุมชน (Sense of 13

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงCommunity) ซึ่งเกิดจากเง่ือนไขของสังคมสมัยใหมที่ไม สามารถตอบสนองใหปจเจกบุคคลเกิดความ ม่ันคง เขาไดแสดงใหเ ห็นวาในลักษณะรฐั การเมอื ง สมยั ใหม รัฐไมส ามารถตอบสนองความม่ันคงของคน ได ไมมีองคกรขนาดใหญใดที่สามารถตอบสนอง ความตองการทางดานจิตใจของคนไดเพราะโดย ธรรมชาติแลวองคการเหลานี้มีขนาดใหญ ซับซอน และเปนทางการเกินไป รัฐอาจจะกอใหเกิดความ เคลือ่ นไหวในนามของรัฐ เชน สงคราม แตในการ ตอบสนองอยางปกติธรรมดาอยางความตองการของ คนในเชิงการยอมรับมิตรภาพ ความม่ันคง ความ เปนสมาชิก รัฐจะทําในสิ่งเหลาน้ีไมได ซึ่งแนวคิดนี้มี ลักษณะสาํ คญั 3 ประการ คือ 1. ไมไดใ หค วามสนใจหรือความสาํ คญั กับอาณาบริเวณทางภมู ศิ าสตรหรือพ้นื ท่ี 2. เนนความสมั พนั ธร ะหวางเพื่อนมนุษยท มี่ ปี ฏสิ มั พันธต อกนั 3. เปนลักษณะความรูสึกเชิงอัตวิสัยของความเปนชุมชนหรือแบบแผนในอุดมคติ กลาวคือ นําเสนอลักษณะชุมชนที่ควรจะเปนชุมชนท่ีดีหรือชุมชนในอุดมคติน่ันเอง และหาก พิจารณาโดยนัย ดังกลาวขางตน อาจกลาวไดวาชุมชนน้ันเปน “หนวยพ้ืนฐานของการพึ่งตนเอง” ซึ่ง พิจารณาจาก ลักษณะที่สําคัญ เชน ชุมชนตั้งอยูบนพื้นฐานของความสัมพันธในหมูคนที่รูจักกันใกลชิด มีการใช ประโยชนจากพ้ืนที่และมีกิจกรรมเพื่อการดํารงชีวิตรวมกัน มีระบบความสัมพันธแบบ ครอบครัว เครือ ญาติ มีการแลกเปล่ียน พึ่งพารวมทั้งมีความขัดแยง โดยคุณลักษณะสําคัญของชุมชน ทองถ่ินที่เปน หนวยพ้ืนฐานการพึ่งพาของสังคมนั้นมีศักยภาพในการจัดใหมีกิจกรรมตาง ๆ เพื่อ ตอบสนองตอความ ตองการในดานตาง ๆ ของคนในชุมชนทั้งในดานการพัฒนาทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และจิตใจ 3. แนวคิดในมิติประชาสังคม (Civil Society) ความหมายของชุมชนในมิติประชาสังคม เกิดขน้ึ จากการวิพากษร ะบบของภาครฐั และภาค ธุรกิจเอกชนท่ีมีบทบาทชี้นําหรือครอบงําความคิด ทิศ ทางการพัฒนาของสังคม โดยที่ผูคนสวนใหญใน สังคมมีสวนรวมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย ทิศ ทางการพัฒนาและการจัดกิจกรรมสาธารณะ คอนขางนอย รวมทั้งการมองเห็นขอออนของ ประชาธิปไตยแบบตัวแทนหรือพรรคพวกและกลุม ผลประโยชน จึงเกิดการเรียกรองหรือตองการอุด ชอ งวา งดว ยการสงเสริมการมีสวนรวมและเสริมพลัง อํานาจใหกับ “ภาคประชาชน” ในการท่ีจะเขามา มสี ว นรวมในกระบวนการตดั สนิ ใจในนโยบายและ ทศิ ทางการพัฒนาหรอื กิจกรรมสาธารณะดงั กลา ว แนวคิดชุมชนในมิติประชาสังคมเปนการอธิบายความเปนกลุม องคกร ชมรม สมาคม ฯลฯ ท่ี เปนโครงสรางซึ่งอยูกึ่งกลางระหวางปจเจกบุคคลและรัฐหรือท่ีเรียกวา “Mediating Structure” ปฏิเสธรัฐขนาดใหญซึ่งมีบทบาท อํานาจหนาที่มากมายและทําการแทนสังคมในแทบทุกเร่ืองและก็ไม ชอบในลัทธิปจเจกชนจนสุดข้ัวที่ไมหวงใยสังคม โดยอยากใหปจเจกชนรวมกันเปนกลุมกอนที่มุงจะ ทาํ อะไรที่ใหญกวา กวางขวางข้นึ ไปและเนน การรวมตวั ของคนใกลช ดิ สัมพันธใกลชิด เชน ครอบครัว วัด มัสยิด บาน โรงเรียน เปนตน 4. แนวคิดชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community) และเครือขายสังคม (Social Network) เกิดข้ึนพรอมกับการกาวหนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ การเชื่อมโยงระบบขอมูลขาวสาร การประกอบกิจกรรม การท างานและการใชชีวิตประจําวัน ผานระบบการสื่อสารทางเครือขายของ อินเตอรเ น็ตและคอมพิวเตอร เพือ่ ประโยชนในการศึกษาขอมูลขา วสาร การรับ-สง ขอมูล การตลาด การ 14

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงบนั เทิง การสอ่ื สารทางการเมอื ง เปน ตน รวมทงั้ ปญหาของสังคมสมัยใหมที่ทวีความซับซอนและ รุนแรง ข้นึ การพิจารณาปญหาและแนวทางในการแกปญหาจึงไมอาจจํากัดอยูในขอบเขตของชุมชน ท่ีมีอาณา บริเวณทางภมู ศิ าสตรเ ลก็ ๆ ไดเ พียงลาํ พัง เพราะบางปญหาก็เกดิ จากอทิ ธพิ ลและปจจัย ภายนอกชุมชน ท่ีมีผลกระทบตอการจัดการในเรื่องนั้น ๆ เชน การเขารวมเปนประชาคมอาเซียน การเขามาของทุน นิยมและกระแสวัฒนธรรมตางประเทศ ดังนั้นการแกปญหาจึงตองการการรวมพลัง ความรวมมือและ ทรัพยากรภายนอกชุมชนโดยอาศัยความเปนเครือขายที่มีพลังในการจัดการชูเลอร (Schuler, 1996 : 116-121) ไดกลาวถึงชมุ ชนในรูปแบบใหมที่มีการติดตอสื่อสาร ระหวางกันผานเทคโนโลยีวาเปนชุมชน เสมือนจริง (Virtual Community) เปนชุมชนที่กลุมคน อาจจะไดพบกันโดยตรงหรือไมก็ตาม แตมี โอกาสสื่อสารดวยถอยคําภาษาและความคิดผานเครือขาย สังคม (Social Network) โดยสมาชิกไม จาํ เปน ตอ งพบหนากันก็ได เชน การสรางชุมชนบนเครือขาย สังคมทางอินเตอรเน็ต (Internet) ท่ีมีการ เชื่อมโยงกันเปนเครือขายท่ัวโลกเปนชุมชนไรพรมแดน โดย 47 อาศัยความกาวหนาของเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเปนสําคญั ซ่ึงมคี วามเกี่ยวขอ งกับการ ส่ือสารและเทคโนโลยีสมัยใหมที่สําคัญ หลาย ๆ ดา น เชน 1. รูปแบบการส่ือสาร (Communication Platform) ที่คอย ๆ เปล่ียนจากการสนทนา แบบ จุดตอจุดและแบบสองทางไปสูการส่ือสารระหวางผูใชหลายคนมากขึ้นและมีการใชล้ิงค (Link) วิดีโอ ภาพถา ยและเนื้อหามัลติมีเดยี มากข้ึน โดยการขบั เคลือ่ นของกลุมคนรุนใหมที่เรียกวา Net Generation ซ่ึงเปนตัวแปรท่ีสําคัญท่ีทําใหรูปแบบการส่ือสารเปล่ียนแปลงไป คนกลุมนี้ชื่นชอบการ แลกเปลี่ยน เนื้อหา การใชเทคโนโลยีใหม ๆ และเติบโตมาพรอมกับแนวคิด “ความฉลาดของฝูงชน” อาทิ การท า หนาที่ใหคะแนน การจัดอันดับผูใชคนอ่ืน ๆ รวมถึงจัดอันดับสินคาและบริการ เปนตน เครือขายสังคม ออนไลนจงึ กลายเปนชอ งทางการสื่อสารหลักสําหรับคนกลุมน้ีและกลายเปนชุมชนและ เครือขายสังคม มากข้ึน ซ่ึงในอนาคตอาจจะเขามามีบทบาทในการทํากิจกรรมทางสังคมและการ ติดตอสื่อสารแทนท่ี ระบบอเี มลหรอื ระบบโทรศัพททีม่ ีอยู 2. การควบคุมการสื่อสาร (Communication Control) การเปล่ียนแปลงบทบาทของผู ใหบริการโทรคมนาคมจากที่เคยเปนผูควบคุมและออกแบบแพลตฟอรมแบบปด (Web 1.0) ไปสูผู ใหบริการบนแพลตฟอรมเปดบนอินเตอรเน็ต (Web 2.0) ซ่ึงเปนผลมาจากการท่ีมีเทคโนโลยีการ ส่ือสารที่ดีข้ึนและมีราคาถูกลง รวมถึงการใชบอรดแบนดและเครือขายไรสาย (Wireless) เพิ่มมากข้ึน สงผลใหแพลตฟอรมแบบเปดอยางเว็บไซตสังคมออนไลนกลายเปนแพลตฟอรมท่ีมีประสิทธิภาพมาก ขึ้น สําหรับบริการสื่อสารและผูบริโภคก็ตอบสนองตอแนวโนมน้ีอยางกวางขวางซ่ึงเปนผลใหเกิดการ สรางเครือขา ยสงั คมขึ้นมาอกี จํานวนมาก 3. แนวโนม และพฤตกิ รรมการใชอินเตอรเนต็ ในปจจบุ นั การพฒั นาเทคโนโลยีการรับ-สง ขอมูล ผานบอรดแบนด (Broadband) หรืออินเตอรเน็ตความเร็วสูง (Hi-Speed Internet) เปนปจจัย หน่ึงท่ี ผลักดันใหความตองการใชงานอินเตอรเน็ตในประเทศไทยเพ่ิมสูงข้ึนอยางตอเนื่อง สงผลตอการ ขยายตัวของจํานวนผใู ชอ นิ เตอรเ น็ตในประเทศไทยท่เี พิม่ ขึน้ ในอัตราที่สูงในชวง 2-3 ปท่ีผานมา โดย ใน ป 2552 ประเทศไทยมีจํานวนผูใชอินเตอรเน็ตประมาณ 16.1 ลานคน เพิ่มขึ้นจากป 2551 ท่ีมี จาํ นวนผูใ ชอนิ เตอรเน็ต 13.4 ลานคน การเติบโตของผูสมัครใชงาน อินเตอรเน็ตบอรดแบนดทั้งแบบใช สายและไรสายก็มีการขยายตัวเพิ่มข้ึนอยางรวดเร็วและตอเน่ือง โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ขณะทแี่ นวโนม การใชงานอนิ เตอรเ น็ตแบบธรรมดาใน ระบบความถ่ีแคบ (Narrowband) ซ่ึง 15

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงโดยท่ัวไปแลวเปนการเช่ือมตออินเตอรเน็ตผานสายโทรศัพท (Dial-up) กลับมีปริมาณการใชงานลดลง อยางตอเน่ืองตัง้ แตป 2548 นอกจากน้ันการเชื่อมตอ อินเตอรเน็ตอีกรูปแบบหน่ึงที่เปนที่นิยมอยางเห็น ไดชัดและมีปริมาณความตองการที่เพิ่มสูงอยาง ตอเน่ือง คือการใชงานอินเตอรเน็ตผานโทรศัพทมือถือ (Mobile Internet) ซ่งึ ไดมกี ารพัฒนาเทคโนโลยี 3G เพอ่ื ใหเครือขายโทรศัพทมือถือสามารถรองรับการ ใหบริการภาพและเสียงและการ รับสงขอมูลตาง ๆ ผานเทคโนโลยี WAP, GPRS, EDGE และ Bluetooth เปน ตน ลักษณะของชมุ ชน ลักษณะของชุมชน จากความหมายและแนวคิดเก่ยี วกบั ชมุ ชนดงั ทกี่ ลา วมาแลว นั้น จะเหน็ ได วาชมุ ชนมีลกั ษณะทส่ี ําคญั หลายประการไดอธิบายลกั ษณะของชุมชนเอาไว ดังนี้ 1. การรวมตัวกันของกลุมคน (Group of People) กลาวคือเปนการรวมตัวกันของบุคคล ตั้งแต 2 คนข้นึ ไปจนเปนประชากรหรือพลเมอื งของชุมชนที่มีความหลากหลาย ในดานของกลุมคน เชน โครงสรางประชากร ประกอบดว ย เพศ อายุ สถานภาพ เชื้อชาติ ศาสนา การศึกษา อาชีพ รวม กระทั่ง คนพิการและผูดอยโอกาสอื่น ๆ นอกจากนี้การรวมตัวกันเปนกลุมคนอาจมีความแตกตางกัน ออกไป ตามระดับความพรอมหรือลักษณะของกิจกรรมท่ีสนใจรวมกัน เชน ดานอาชีพ การเมือง ส่ิงแวดลอม การสรา งนวตั กรรม เปนตน ซ่งึ เรม่ิ ตง้ั แตการรวมเปน กลมุ เลก็ องคกรชมุ ชน สถาบัน มูลนิธิ สหกรณหรือ เรยี กชอื่ เปนอยางอืน่ ในเครอื ขายสังคมเสมือนจริง 2. มีอาณาเขตบริเวณทางภูมศาสตรสําหรับที่ต้ัง (Area) เปนขอบเขตของการรวมตัว กัน ซึ่ง อาจจะเปนขอบเขตเชิงนิเวศ เปนพ้ืนท่ีธรรมชาติตามสภาพภูมิศาสตรหรือภูมิประเทศของ ชุมชนน้ัน ๆ เชน พ้ืนท่ีริมฝงทะเล พื้นท่ีเชิงเขา พื้นท่ีลุมนํ้าหรืออาจจะเปนพื้นที่ที่มนุษยสรางข้ึน เชน อาคาร บานเรือน สถานท่ีทําการ เปนตน หรืออาจจะเปนขอบเขตพื้นท่ีทางการปกครอง เชน หมูบาน ตําบล อําเภอ จังหวัด เขตและแมกระท่ังเขตพ้ืนท่ีลักษณะเฉพาะ เชน เขตเศรษฐกิจ เขตการพัฒนา เขต อนุรกั ษและการทองเที่ยว เปนตน 3. มีปฏิสัมพันธหรือปฏิบัติตอกัน (Relationship or Interaction) คือการติดตอสัมพันธ กันมี ความสนใจทางสังคมรวมกัน มีกิจกรรมตางๆ รวมกัน มีความสนิทสนมกัน มีความสัมพันธแบบ พบปะ กันโดยตรง (Face to Face) ซ่ึงการที่กลุมคนมาอยูรวมกัน มีการใชชีวิตรวมกันในชุมชน ยอมจะมีการ ติดตอสัมพันธและมีการปฏิบัติตอกันหรือการกระทํารวมกันระหวางญาติพ่ีนองหรือเพ่ือน บาน ทั้งใน ระดบั ครอบครัว หมูบาน ตําบล เปน ซ่ึงอาจจะเปนลักษณะโดยตรงหรือโดยออม เชน การ แลกเปลี่ยน ความคดิ เห็น การเรยี นรซู ่ึงกันและกัน การตดิ ตอ สอ่ื สารกัน การรวมแรงรวมใจกัน การ ชวยแกไขปญหา ตาง ๆ ท่ีเกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งการมีปฏิสัมพันธรวมกันระหวางคนในชุมชนและนอก ชุมชน จะเปนไปใน ลกั ษณะของชมุ ชนแหงการเรียนรู (Learning Community) 4. มีความผูกพนั และความรูสึกเปนเจาของ (Sense of Belongingness) โดยเปนความรักและ ความหวงแหนในชมุ ชน กลาวคือสมาชกิ ทร่ี วมกนั ในชุมชนมีลกั ษณะเปนประชาธิปไตย มกี าร เปดโอกาส ใหสมาชิกทุกคนเขามามีสวนรวมในเร่ืองตาง ๆ และสมาชิกที่มีความหลากหลายนั้นยอม จาํ เปน ตองสรางพน้ื ฐานความรัก ความเมตตา เอื้ออาทรตอ กนั สมานฉันท สามัคคีตอกัน เพราะ เง่ือนไข 16

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงดังกลาวจะทําใหเกิดความผูกพัน ความรูสึกเปนเจาของตอชุมชน ซึ่งจะเปนสวนเช่ือมโยงให เกิดความ รว มมอื อยา งมีพลงั และชมุ ชนเขมแขง็ ตอไป 5. มีวัตถุประสงคและเปาหมายรวมกัน (Goal and Target) การรวมตัวของกลุมคนใน ชุมชน จะเปนการรวมตัวทไ่ี มห ละหลวมเพียงชั่วคร้งั ช่ัวคราว แตเปนการรวมตัวที่มีวัตถุประสงคและ เปาหมาย ที่ดีงามและปรารถนากระทําใหสําเร็จรวมกัน ทั้งที่เปนเปาหมายสวนตัวของสมาชิกและ เปาหมายของ ชุมชนที่จะตองคํานึงถึงควบคูกันไปและท่ีสําคัญจะตองสอดคลองกับเปาหมายหลักของ ประเทศดวย เชน ชุมชนชนบทมีการรวมตัวกันเพื่อพัฒนาทองถ่ินและแกไขปญหาของทองถ่ินที่เนน การพัฒนาและ ถายทอดวัฒนธรรมและภูมิปญญาทองถิ่นหรือชุมชนวิชาการ เปนการรวมกลุม นักวิชาการเพ่ือคิด วิเคราะห วิพากษเร่ืองตาง ๆ ที่เปนประโยชนตอสวนรวม เปนตน ซึ่งการกําหนด วัตถุประสงคและ เปาหมายนั้นสมาชิกในชุมชนจะตองสรางวิสัยทัศนรวมกัน โดยการคิด วิเคราะห สถานการณ แนวโนม การเปลย่ี นแปลงในอนาคต เพอื่ ใหเ กิดการเรียนรูอันจะนําไปสูการแสวงหาแนว ทางแกไขหรือทางเลือก ใหม ๆ และจะจะไดด ําเนินกจิ กรรมใหเปนไปตามทิศทางและเปาหมายท่ีกําหนด 6. มจี ิตสํานึกรวมกันและมีสวนรวมในกจิ กรรมตาง ๆ เพื่อน าไปสูเปาหมายของชุมชน (Public Consciousness) สมาชิกทีร่ วมตัวกันจะมคี วามหลากหลายของกลุมในชุมชน การกระทํา หรือกิจกรรม กจ็ ะมคี วามหลากหลายตามลักษณะการเกิดขึ้นของกลุมเหลาน้ัน นอกจากน้ีชุมชนยังมี กิจกรรมท่ีทําให เกิดผลประโยชนและเพ่ือบริการสาธารณะและใชประโยชนรวมกัน เชน ปจจัย โครงสรางพื้นฐาน บริการสาธารณสุข บริการดานการศึกษา การแกปญหาจราจร เปนตน ซ่ึงกิจกรรม เหลาน้ีสมาชิกมี กระบวนการเรียนรูรวมกันหรือการเปนสังคมแหงการเรียนรู (Learning Society) จากการเขาไปมีสวน รวมของสมาชิกในการรับรู ตัดสินใจและการปฏิบัติรวมกันดวยจิตสํานึก ของความ เปนพลเมือง ส่ิง เหลาน้ีหากสมาชิกรวมตัวกันนานจนนําไปสูเปาหมายและทํากิจกรรมบางสิ่งบางอยาง รวมกันอยาง ตอ เนอ่ื ง 7. มีการจัดระเบียบของชุมชน (Organization) เปนการจัดระเบียบความเรียบรอยของ ชุมชน การควบคุมความสัมพันธของสมาชิก เชน บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) การจัดชวง ช้ันทาง สังคม (Social Stratification) สถาบันทางสังคม (Social Institution) และวัฒนธรรมของ ชุมชน (Culture) มีระบบการจดั การท่ดี มี ปี ระสทิ ธภิ าพ เพื่อใหสมาชิกไดประพฤติปฏิบตั ติ ามระเบียบ แบบแผน และวัฒนธรรมท่ีไดส รา งไว ท้ังนเ้ี พื่อใหสมาชิกในชมุ ชนไดใชช ีวติ อยูร วมกนั อยางสงบสุข 8. มีการติดตอ สื่อสารและมีเครือขาย (Communication and Network) ในชุมชน สมาชิกจะ มีระบบของการติดตอส่ือสารเพื่อการแลกเปล่ียนเรียนรูซึ่งกันและกันทั้งท่ีเปนทางการและ ไมเปน ทางการ เชน การพบปะพูดคยุ การประชุม การใชส่ือพื้นบาน การใชเทคโนโลยีสื่อสาร ระบบ Internet Social Network เปนตน และนอกจากน้ีในชุมชนจะมีระบบเครือขายการเรียนรูและดําเนิน กิจกรรม ตาง ๆ ของชุมชนทั้งที่เปนเครือขายระหวางกลุม องคกรตาง ๆ ในชุมชนและนอกชุมชน โดยเฉพาะ เครือขายสังคมออนไลนน้ัน การส่ือสารและการมีเครือขายเปนสิ่งสําคัญในการสรางความ เปนชุมชน เพราะจะนําไปสูการแบงปน การแลกเปลี่ยนขอมูล ความรูและกระบวนการจัดการใน ชุมชนและนอก ชุมชนนนั้ คือพ้ืนทป่ี ฏบิ ัตกิ ารจรงิ ของสงั คม 17

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงทักษะท่ีจําเปน ในงานอนามัยชุมชน 1. บทบาทของผูบรหิ ารจดั การ การปฏิบัตงิ านในชมุ ชน ตองอาศยั ความรวมมอื จากบุคคล ในทีมสุขภาพ เพื่อใหการสงเสริมสุขภาพ การปองกันโรค การฟนฟูสภาพของประชาชนในชุมชนที่ รับผดิ ชอบ ซึ่งผูปฏิบัติงานตองมีบทบาทสําคัญในการวางแผน การปฏิบัติงานตามแผน การประวานกับ ทีมงานและประชาชน การจัดหาทรัพยากรท่ีจะสนับสนุนกิจกรรม ท้ังในสวนที่เปนงบประมาณของรัฐ และการแสวงหาแหลงทรัพยากรจากแหลงตางๆ การควบคุมกํากับงานกิจกรรมตางๆ ใหเปนไปตาม แผนงานและเปาหมาย และการประเมินผลงานกิจกรรม ดานสุขภาพเพ่ือใหเห็นการเปลี่ยนแปลงดาน สุขภาพของชมุ ชนที่รับผิดชอบ 2. บทบาทของผูส อนและใหค ําปรึกษา การปฏิบตั ิงานดานสขุ ภาพนน้ั เปนการปฏิบตั งิ าน ท่ีตองการใหประชาชนมีพฤติกรรมการดํารงชีวิตที่สงผลตอสุขภาพท่ีดี การท่ีจะทําใหประชาชนไดมี พฤติกรรมการดํารงชีวิตท่ีดีน้ัน จําเปนที่ผูปฏิบัติงานตองใหความรูแกประชาชน ในการประพฤติปฏิบัติ ตนในดานสุขภาพทีถ่ ูกตอง หรือใหเ กิดการเปลี่ยนแปลงพฤตกิ รรมที่เหมาะสมกบั การดํารงชีวิตท้ังในดาน การปองกนั โรค การสงเสรมิ สขุ ภาพ และการฟน ฟูสภาพ 3. บทบาทของผใู หก ารดูแลดา นสขุ ภาพ โดยที่การพฒั นาอนามยั ชมุ ชนน้ัน เปน การ ดําเนนิ งานเพอื่ พฒั นาสุขภาพคนในชุมชน ดังนน้ั ผปู ฏิบัติงานจะตองดูแลสุขภาพประชาชนไมใหเจ็บปวย หรือเจ็บปวยลดลง และเมื่อมีปญหาดานสุขภาพเกิดข้ึน จะตองใหการชวยเหลือ ดูแลในดานการ รักษาพยาบาลเบ้ืองตน การสงเสริมสุขภาพ การปองกันโรคและการฟนฟูสภาพ หากไมสามารถใหการ ชว ยเหลอื ดแู ลไดตอ งดาํ เนินการสง ตอ เพื่อการรกั ษาตอไป 4. บทบาทของผูพิทักษส ทิ ธขิ องประชาชน การพฒั นาอนามัยชุมชนน้ันเนนการสงเสรมิ สุขภาพ และการทาํ ใหป ระชาชนมีสุขภาพดโี ดยใหประชาชนมสี วนรวมในการดําเนินการมากที่สุด ดังน้ัน ปญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับชุมชนโดยเกิดจากการกระทําของกลุมที่ไมหวังดีตอสุขภาพขอชุมชน ผปู ฏิบัตงิ านจะตองมี 5. บทบาทของผปู ระสานงาน การพัฒนาอนามยั ชุมชน ในชมุ ชนจะประสบความสาํ เรจ็ ไป ตามวัตถุประสงคของชุมชนได ตองอาศัยความรวมมือจากทุกฝายในชุมชน ท้ังประชาชน กลุมคนและ หนวยงานของภาครัฐและเอกชน ดังนั้น เพ่ือใหเกิดกิจกรรมงานตางๆท่ีเกี่ยวของกับการพัฒนาอนามัย ชุมชนโดยเฉพาะดานสุขภาพ ซ่ึงการประสานงานนั้น อาจจะประสานงานท้ังในสวนของหนวยงาน เดียวกัน และหนวยงานอ่ืนท่ีเก่ียวของโดยที่การประสานงานนั้น ผูปฏิบัติงานจะตองเขาใจและ ประยกุ ตใชหลกั การของการสือ่ สาร และการประสานงานไดอยางมปี ระสิทธภิ าพ 6. บทบาทของผเู สริมสรางความรว มมอื ความรว มมอื ของประชาชนในชุมชนเปนหวั ใจ ของการพัฒนาอนามัยชุมชน ผูปฏิบัติงานมีบทบาทสําคัญในการเสริมสรางความรวมมือใหเกิดข้ึนใน ชมุ ชน โดยกระตนุ ใหประชาชนไดเขามามีสวนรวมในกระบวนการตัดสินใจรับผิดชอบ และวางแผนการ พัฒนาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนดวยตัวของเขาเอง ใหประชาชนไดมีการบริหารจัดการ ในองคกรของชุมชนกันเองและกําหนดเปาหมายการพัฒนาชุมชนของตนเอง ซึ่งอาจจะจัดในลักษณะ การจัดเวทีการเสวนาปญหาดานสุขภาพในชุมชน โดยเชิญผูรูในชุมชนเปนผูรวมเสวนา ในการพัฒนา อนามัยชุมชนน้ัน ผูปฏิบัติงาน จะตองผูใหขอมูลที่ถูกตองกับชุมชนไดเปนอยางดี เพ่ือนําไปสูการ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชน ท้ังในดานบวกและลบ เพ่ือการตัดสินใจที่ถูกตองของชุมชน 18

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงเปดโอกาสใหประชาชนสามารถตรวจสอบขอมูลได และกระตุนใหเกิดการสรางเครือขายเพ่ือการ ประสานงาน รวมมือในระหวางกลุมของชุมชนท้ังภายในและภายนอกชุมชน 7. บทบาทของผูว จิ ัย ในการพัฒนาอนามัยชมุ ชน นกั วิชาการสาธารณสุขจะตองดาํ เนินการ วิจัย ศึกษาในปญหาตางๆที่เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อการพัฒนาแนวทางใหมๆในการแกปญหาท่ีเกิดขึ้น โดยเฉพาะปญหาของสุขภาพทีเ่ กดิ จากพฤติกรรม จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพชุมชน ซ่ึงมีผลกระทบ ตอ คุณภาพชวี ติ ของคนในชุมชน บทบาทของนกั จดั การสขุ ภาพ มีดังนี้ 1. มคี วามรูความเขา ใจในเร่ืองสุขภาวะ จติ อาสา การมสี ว นรว ม 2. มีความรแู ละความเขาใจในเรอ่ื งระบบสขุ ภาพชมุ ชน 3. มคี วามรแู ละความเขา ใจในเรือ่ งการดําเนนิ งานหมบู านจดั การสุขภาพ 4. มีความรูและความเขา ใจในเรอื่ งแผนชมุ ชนและกระบวนการทําแผนชุมชน 5. มคี วามรูและความเขาใจในเรอ่ื งกระบวนการทํางานแบบมีสว นรว ม การทํางานแบบ เครอื ขา ย การทําประชาคม 6. มีความรูและความเขาใจในเรื่องการสือ่ สาร และการสรา งพลงั ชุมชน 7. มีความสามารถในการสอื่ สาร และการเปนวทิ ยากรกระบวนการ 8. มีความสามารถในการจดั กระบวนการเรยี นรูและสรางทมี งานเพ่ือไปขยายผลการ ดาํ เนนิ งานหมบู านจัดการสขุ ภาพ 9. มีความสามารถในการจัดกระบวนการประเมนิ ผลแบบมีสวนรวมได คาํ ถามทายบท 1. ชมุ ชน หมายถึงอะไร จงอธิบาย พรอ มยกตัวอยางมาโดยละเอยี ด 2. โครงสรา งชุมชน ประกอบดวยอะไรบา ง จงอธบิ ายพรอ มยกตวั อยา งประกอบมาใหเ ขา ใจ 3. จงบอกทักษะทีจ่ าํ เปน ในงานอนามยั ชุมชน 4. จงสรุปแนวคิดเกี่ยวกับชมุ ชน มาพอสงั เขป 5. ถาทานเปนนักวชิ าการสาธารณสุขตองใหความรูกับประชาชนทานจะใหค วามรเู กย่ี วกบั เรื่องอะไร พรอมยกตวั อยา งประกอบ เอกสารอางองิ กรมการพัฒนาชุมชน. (2526). คูมือการปฏบิ ัตงิ านพัฒนาชุมชนสาํ หรบั นักพฒั นากร.กรงุ เทพฯ: กรมการพฒั นาชมุ ชน กระทรวงมหาดไทย. นาถ พนั ธมุ นาวนิ . (2523). สังคมวิทยาชนบท. กรุงเทพมหานคร : สํานกั สง เสริมและสง เสริม มหาวทิ ยาลยั เกษตรศา สตร. ประดษิ ฐ มฌั ชมิ า. (2522). สังคมวิทยาชนบท. กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพม หาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร ไพรตั น เตชะรินทร. (2524). การบรหิ ารงานพฒั นาชนบท. กรงุ เทพ ฯ; ไทยวฒั นาพานชิ . รชั นกี ร เศรษฐโส. (2522). สังคมวทิ ยาชนบท. กรงุ เทพฯ: คณะสังคมศาสตร มหาวทิ ยาลัย เกษตรศาสตร. 19

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงราชบัณฑติ ยสถาน. (2542). พจนานกุ รมฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรงุ เทพฯ: บริษทั นามี บคุ สพับลิเคชั่นส จาํ กดั . สนธยา พลศร.ี (2533). ทฤษฎีและหลกั การพฒั นาชุมชน. กรุงเทพฯ; โอเดียนสโตร. สญั ญา สญั ญาวิวฒั น. (2526). การพฒั นาชมุ ชน. กรงุ เทพฯ: ไทยวฒั นาพานชิ . เสถียร เหลืองอรา ม. (2533). การบรหิ ารงานบคุ คล. กรุงเทพฯ; พมิ พลักษณ. 20

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง แผนการบริหารการสอนประจาํ บทที่ 2 หวั ขอ เนื้อหาประจําบท การทําแผนทีช่ มุ ชน 1. องคประกอบของแผนทช่ี ุมชน 2. หลกั การทาํ แผนทีช่ มุ ชน 3. ประโยชนข องแผนท่ใี นการดําเนินงานในชุมชน วัตถปุ ระสงคเ ชิงพฤติกรรม เมือ่ เรยี นจบในเน้ือหาบทน้ีแลวสามารถทาํ สิ่งตอไปน้ีได 1. บอกความหมาย ชนดิ และองคประกอบของแผนที่ชุมชนได 2. อธิบายหลักการทาํ แผนทชี่ ุมชนได 3. บอกปะโยชนของแผนที่ในการดาํ เนนิ งานในชุมชนได วธิ กี ารสอนและกจิ กรรมการเรียนการสอน 1. วธิ ีสอน 1.1 วิธีสอนแบบบรรยาย 1.2 วธิ กี ารสอนแบบจดั กิจกรรมกลมุ 1.3 วิธสี อนจากกรณีศึกษา 1.4 วธิ สี อนโดยศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน 2. กิจกรรมการเรยี นการสอน 2.1 ผสู อนอธิบายทฤษฎีและซักถามพรอมยกตัวอยา งประกอบการบรรยาย โดยใช power point 2.2 แบง ผูเรยี นเปนกลมุ ๆ ละประมาณ 5 คน เพอ่ื ศึกษาฝกปฏบิ ตั ิการเขยี นแผนท่ี ชุมชน 2.3 ผสู อนและผเู รียนรว มกันอภิปรายและหาขอสรุปรวมกันอีกครงั้ หนึ่ง 2.4 นําเสนองานหนา ชั้นเรียน 2.5 ใหผูเรยี นทําแบบฝกหัดบทท่ี 2 สงในวนั ถัดไป 1

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงสอ่ื การเรยี นการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนอนามยั ชมุ ชน 2. ไฟลเอกสารประกอบการสอนอนามยั ชุมชน 3. คอมพวิ เตอร 4. หนงั สืออา นประกอบคนควา เพ่มิ เติม 5. แบบฝก หดั บทที่ 2 การวัดผลและประเมินผล 1. แบบประเมินพฤติกรรมการมีสว นรวมโดย 1.1. สังเกตจากการซักถามผเู รยี น 1.2. สงั เกตจากการรวมกิจกรรม 1.3. สังเกตจากความสนใจ 2. ประเมินจากการทาํ แบบฝกหดั 3. ประเมินจากการสอบยอย 4. ประเมินจากการสอบปลายภาค 2

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง บทท่ี 2 การทําแผนทีช่ ุมชน ในการศึกษาเพื่อประเมนิ ชุมชนจาํ เปน ตองมีการสํารวจพื้นที่โดยรอบ การทาํ แผนท่ีชุมชนเปน วธิ ีการหน่ึงทท่ี าํ ใหภาพการต้ังของที่อยูอาศยั การกระจายของบานเรือน แหลงนํ้า แหลงทรัพยากร เสน ทางคมนาคม สถานทสี่ ําคัญ และแหลงประโยชนในชมุ ชน เชน สถานศกึ ษา สถานบริการสุขภาพ หนวยงานตา งๆเปน ตน ความหมายของแผนท่ีชมุ ชน แผนท่ี คอื แผนภาพจาํ ลองแสดงเนือ้ ทโ่ี ดยยอของภูมปิ ระเทศจริงในแนวราบ จัดทําดวย เครอ่ื งหมายตา งๆ ในลักษณะเสน สี สญั ลักษณ เพือ่ ใชแ ทนของจรงิ ที่อยูบ นพ้ืนผวิ โลก ซึ่งตองอาศัย มาตราสว น เพือ่ ใหมีความถกู ตองทง้ั ระยะทาง ทิศทาง และความสูง ชนิดแผนที่ แผนท่สี ามารถแบงออกไดเ ปน 1.แผนท่ีภูมิประเทศ (Topographic map) ไดแก แผนที่แสดงรายละเอียดท่ัวไปรวมทั้ง ลกั ษณะสงู ต่ําของภมู ปิ ระเทศ ซ่งึ อาจเปนแผนทท่ี มี่ ีมาตราสวนใหญแ ละปานกลาง 2. แผนท่ภี าพถาย (Photo map) เปน แผนที่ ทท่ี ําจากภาพถายทางอากาศ ซึ่งอาจเปนสีหรือ ภาพขาวดํา ซ่ึงมีโครงสรา งพิกัดศพั ททางภูมศิ าสตร มคี วามยากในการอานแตจดั ทาํ ไดอยางรวดเรว็ ในการศึกษาชุมชนนิยมทํา แผนท่ีสังเขป คือ แผนที่ซึ่งจัดทําข้ึนอยางงายๆโดยมีรายละเอียด เฉพาะอาณาเขตบริเวณใดบริเวณหน่ึงและเครื่องหมายท่ีจําเปนตามความตองการของหนวยงาน เชน ขอบเขตบานเรือน หนวยบริการสุขภาพ วัด แมน้ํา สะพาน ถนน เปนตน ทั้งนี้ระยะทาง รูปราง มุม อาจไมละเอียดสมบูรณ แตใกลเคียงกับสภาพความเปนจริง เน่ืองจากไมไดใชอุปกรณในการวัดระยะ จริง แผนท่ีโดยสังเขปสามารถนํามาใชในการปฏิบัติงานดานสาธารณสุขได นอกจากนี้ การจัดทํา แผนท่ีสังเขปสามารถเกบ็ รวบรวมขอมูลหนาท่ที างสังคมซ่งึ เปนขอ มูลทางมานุษยวิทยารวมกับการเก็บ รวบรวมขอ มูลจากพื้นท่ีทางกายภาพที่เรียกวา “แผนที่เดินดิน” โดยรายละเอียดการทําแผนท่ีเดินดิน จะไดกลา วในหัวขอ ตอ ไป 3

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงองคป ระกอบของแผนทชี่ ุมชน การทําแผนที่จะตองมีความถูกตองในรายละเอียด ความสวยงาม เคร่ืองหมายมีความ เหมาะสม และตองประหยัดท้ังแรงงาน เวลา และงบประมาณในการจัดทํา แผนท่ีสังเขปของชุมชน และแผนทโี่ ดยทวั่ ไป จะแสดงองคป ระกอบทส่ี าํ คัญไว เพื่อใหเขา ใจไดโดยงาย ดงั น้ี 1.ช่ือแผนที่ เพื่อบงบอกวาเปนแผนท่ีชนิดใด แสดงอะไร ของชุมชนไหน ซ่ึงนิยมเขียนไว ดา นบนของแผนท่ี เชน แผนทีส่ งั เขป หมูที่ 1 ตําบลบา นเลือก อาํ เภอโพธาราม จังหวัดราชบรุ ี เปน ตน 2. มาตราสว น หมายถงึ อตั ราสว น ทีแ่ สดงความสัมพันธของระยะทางบนแผนท่ีกับระยะทาง ของภูมิประเทศจริงตามแนวราบ การยอสวนในแผนที่แผนเดียวกันจะตองใชมาตราสวนเดียวกัน มาตราสวนที่ใชตองเขียนไวอยางชัดเจนและสามารถประมาณสภาพความเปนจริงไดอยางถูกตอง มาตราสวนที่นิยมใชเปนเลขเศษสวน โดยเลขเศษจะเปน 1 เสมอ เชน 1:1000 หรือ 1 ตอ 1000 (ไม ตองแสดงหนวย) ซ่ึงมีความหมายวา วัดระยะทางในแผนท่ีได 1 เซนติเมตร เทียบไดกับระยะทางจริง เทา กบั 1000 เซนตเิ มตร สวนใหญนยิ มเขยี นมาตราสวนไวด า นลา งสุดของแผนท่ี 3.ทิศ แผนทีจ่ ะตอ งแสดงทิศใหถูกตองตามจริง โดยใชทิศเหนือเปนหลัก ซ่ึงจะกําหนดไวดาน บนสุดของแผนท่ีเสมอ เรียกวา “ทิศเหนือแผนที่” ดานลางเปนทิศใต ดานขวามือเปนทิศตะวันออก และดานซายมอื เปน ทศิ ตะวันตก นยิ มเขยี นสญั ลักษณของทศิ กาํ กับในแผนท่ี ดงั นี้ การหาทศิ ในการทําแผนที่ มหี ลายวิธี ดงั น้ี 1) การใชเ ขม็ ทศิ เปน วิธีท่งี ายท่ีสุด โดยอาศยั การทํางานของเข็มทิศสัมพันธก บั การทํางาน ของสนามแมเหล็กโลก คือ ปลายเข็มทิศขางหน่ึงจะช้ีไปทางทิศเหนือเสมอ เรียกวา “ปลายชี้เหนือ” สว นปลายเข็มทิศอีกขา งจะชไี้ ปทางตรงขามเสมอ 2) การหาทศิ โดยสังเกตการข้ึนและตกของดวงอาทิตย ปกติดวงอาทติ ยจ ะข้ึนทางทิศ ตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก แตในความเปนจริงการโคจรของดวงอาทติ ยไมคงท่ี ดังนี้ 2.1 ฤดตู ะวันออ มเหนือ (ประมาณเดือนเมษายนถงึ สงิ หาคม) เวลาจะปรากฏ ดังน้ี -ตอนเชา เงาจะทอดไปทางทศิ ตะวันตกเฉยี งใต 4

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง -ตอนเทย่ี ง เงาจะทอดไปทางทิศใต -ตอนบา ย เงาจะทอดไปทางทศิ ตะวนั ออกเฉยี งใต 2.2 ฤดตู ะวันออ มใต (ประมาณเดือนกนั ยายนถึงเดือนมนี าคม) เงาจะปรากฏดงั น้ี เมอ่ื ยนื หนั หนาไปทางทิศตะวนั ออกเงาจะทอดไปทางทศิ ตะวนั ตกเฉยี งเหนอื เล็กนอย ดังนี้ -ตอนเชา เงาจะทอดไปทางทิศตะวนั ตกเฉียงเหนอื -ตอนเท่ยี ง เงาจะทอดไปทางทิศเหนอื -ตอนบาย เงาจะทอดไปทางทิศตะวันออกเฉยี งเหนือ 3) หาทิศโดยอาศยั ดวงจันทรหรอื ดวงดาว คนื ขางขึน้ ดวงจนั ทรจะหนั ดา นเวาไปทางทศิ ตะวันออก คืนขางแรมหันดานเวาไปทางทิศตะวันตก หรือจากการดูดาวเหนือที่จะขึ้นทางทิศเหนือ เสมอ 4) สังเกตจากส่ิงแวดลอมและธรรมชาติอื่นๆ เชน โบสถทางพุทธศาสนานิยมสรางในทิศ ตะวันออก-ตะวันตก และพระพุทธรูปจะหันหนาไปทิศตะวันออก สวนหลุมฝงศพจะหันศีรษะไปทิศ ตะวันตก เปนตน 4. ระยะทาง ในภูมิประเทศจรงิ ระยะทางมี 3 ชนดิ 4.1 ระยะทางตามแนวนอน ไดแก ระยะหางระหวางจุดสองจุดท่ีวัดตามแนวระดับ ราบ 4.2 ระยะทางตามแนวยนื ไดแ ก ระยะหางระหวา งจดุ สองจดุ ทวี่ ัดตามแนวดิ่ง 4.3 ระยะทางลาด ไดแ ก ระยะหา งระหวางจุดสองจุดที่วัดตามทางลาด ระยะทางใน แผนที่จะตองเปน ระยะทางในแนวนอนหรือแนวราบเสมอ หากเปนเนินสูงตองดัดแปลงระยะความสูง ใหอยูในแนวราบ โดยทําเปนรูปสามเหลย่ี มมุมฉาก 5. เครอื่ งหมายแผนท่ีหรือสัญลกั ษณ เพ่ือใชแ ทนภมู ปิ ระเทศและสิ่งตางๆท่ีปรากฏอยูบนแผน ที่ แสดงดวยสี เสน รปู ภาพ ตัวอกั ษร ตัวเลข เคร่อื งหมายขนาดยอ 5.1 สัญลกั ษณท ่ีใชท่ัวไปในการทําแผนที่ 5.1.1 สิ่งท่ีเกิดข้ึนโดยการทําของมนุษย เชน ทางรถไฟ ถนน บานเรือน นยิ มแสดงดวยเสน สดี ําและสีแดง 5.1.2 ส่ิงที่เปนนํ้า เชน แมน้ํา คลอง บึง ทะเล ใชแสดงดวยสีฟาหรือสีนํ้า เงนิ 5.1.3 สิ่งที่สูงกวาระดับปกติ เชน ภูเขา เนิน ใชเสนแสดงความสูงดวยสี นํ้าตาล 5.1.4 สง่ิ ท่ีเปน พืชพนั ธุ เชน ทงุ หญา ปาไม ตนไม ใชแ สดงดว ยสีเขยี ว 5

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 5.2 ตวั อกั ษรทเ่ี ขยี นบนแผนท่ี 5.2.1 ช่ือแผนท่ี ขอความบางอยางบนแผนท่ี นิยมเขียนใหตัวอักษรหันไป ทางทิศเหนอื หรอื ดา นหัวกระดาษ ถา แผนท่ไี มแ สดงทศิ ไวถ ือเอาตัวอกั ษรเปน ทิศเหนือ 5.2.2 อักษรกาํ กับภาพเล็ก เชน ช่อื ถนน ซอย มกั เขยี นอักษรตรงและวางไว ตามแนวความยาว คลายกับวา แนวน้นั เปนเสนบรรทดั ช่อื แมน้าํ เขยี นอกั ษรเอนหรือโยหลัง ตวั อยา ง สัญลกั ษณท ใี่ ชใ นการเขยี นแผนที่ชุมชน ผูจัดแผนที่ตองระบุดวยวาสัญลักษณที่ปรากฏบนแผนที่น้ันหมายถึงอะไร นิยมเขียนไว ดา นขวาลา งของแผนท่ี 6. วัน เดือน ป ควรเขยี นวัน เดือน ปที่ทําแผนท่ีกํากับไวบนแผนท่ีดานลาง เพราะระยะเวลา ทผ่ี านไป สงิ่ ตา งๆในชุมชนอาจมกี ารเปลี่ยนแปลง 7. ช่ือผูทําแผนท่ี ผูจัดทําแผนที่ควรเขียนชื่อกํากับไวดานลางของแผนที่ หากผูใชหรือผูอาน แผนท่ีสงสัย และตองการรายละเอียดเพิม่ เตมิ จะสามารถตดิ ตอสอบถามขอมูลจากผทู าํ แผนทไ่ี ด 6

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง ตวั อยาง แผนท่ีสงั เขปแหลงเรียนรูดา นวัฒนธรรมตาํ บลทุงสมอ อาํ เภอพนมทวน จังหวดั กาญจนบุรี ตัวอยา ง แผนทเ่ี ดนิ ดนิ ชุมชนบา นสะปุง หมทู ่ี 3 ตาํ บลมว งนอย อาํ เภอปา ซาง จงั หวดั ลําพนู 7

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงขั้นตอนในการทําแผนทส่ี งั เขป 1.การสํารวจ กอนการจดั ทาํ แผนท่ี ควรสํารวจพ้ืนที่ท่ัวไปของชุมชน โดยสํารวจภูมิประเทศ ในภาพรวม เพ่ือใหเห็นลักษณะของชุมชนและรูขอบเขตอยางคราวๆจากนั้นใหวาดโครงรางอยาง หยาบๆไว เชน สถานท่ีสําคัญ หรือจุดสังเกต (Land mark) โดยคาดคะเนดวยสายตา ใหมีลักษณะ ทิศทางใกลเคยี งกับความเปนจรงิ 2. การหาทศิ เหนือ หาทศิ เหนอื กอนเพือ่ เปนหลักในการหาทศิ อื่นตอ ไป 3. การหาระยะทาง การคาดคะเนระยะทางสามารถทําได โดยกาวเดินในแนวตรง 10 กาว เทาๆกัน แลววัดระยะเพื่อมาเฉล่ียหาความยาวใน 1 กาว ตัวเลขท่ีจะนํามาคํานวณระยะทางในการ จัดทําแผนทส่ี ังเขปตอ ไป จากนั้นเริ่มวัดระยะกวาง-ยาวของพื้นที่ท่ีตองการ โดยเริ่มกาวเดินจากจุดหน่ึงไปยังจุดหนึ่ง และจดบนั ทึกจาํ นวนกาวไว ในระหวางการเดนิ ควรสังเกตสถานที่สําคัญและจดบันทึกไว เพ่ือใชในการ คนหาส่ิงที่ตองการในแผนท่ีไดสะดวก จากนั้นใหจดบันทึกจํานวนกาวลงไปบนแผนท่ีอยางหยาบๆ กอนที่จะลงแผนที่จริงตอไป การจดบันทึกการนับกาวจากจุดหน่ึงไปยังจุดหนึ่งควรบันทึกเปนระยะๆ เมื่อเร่ิมจุดใหมก็จดบันทึกตอไป เพื่อปองกันการผิดพลาด เชน วัดระยะทางจากบานท่ี 1 ไปบานที่ 2 ได 10 กาว จากบา นท่ี 2 ไปบา นท่ี 3 ได 25 กาว 4. สงั เกตสง่ิ แวดลอมในขณะเดินผานจากจุดหน่ึงไปจดุ หน่งึ ใหส งั เกตสิง่ แวดลอมและสถานที่ สําคัญ เชน บานเรือน อาคาร รานคา วัด บานผูนําชุมชน จากนั้นใหจดบันทึกไว เพื่อนํามาจัดทํา รายละเอียดในแผนทีภ่ ายหลงั 5. การคัดลอกและยอสวนตามมาตราสวน โดยเร่ิมจากคัดเลือกวัสดุการจัดทําแผนที่ให เหมาะสม จากน้ันวางทิศเหนือไวดานบนของแผนท่ี และเริ่มวางโครงรางจุดหลัก เชน ถนน ซอย แมน้ํา และเร่ิมเขียนรายละเอียดตั้งแตจุดเริ่มตนติดตอกันไป ใชเครื่องหมายและสัญลักษณในการทํา แผนท่ี ใชเ สนและสีเพอ่ื เนน ใหเกดิ ความเดน ชัด ปรับปรุงส่ิงคลาดเคลื่อนตางๆใหใกลเคียงกับพ้ืนท่ีจริง มากท่ีสุด ซึ่งความถูกตองของแผนท่ีขึ้นอยูกับผูสํารวจและผูจัดทําแผนท่ี ควรมีความรูและมีความ ละเอยี ดรอบคอบ มีการเก็บรวบรวมขอมูลท่ีมีรายละเอียดครบถวน การกําหนดมาตราสวนเหมาะสม กบั ชนิดและขนาดของแผนที่ และใชอุปกรณห รือเครือ่ งมอื เครื่องใชท ม่ี ีความเหมาะสม ประโยชนของแผนที่ แผนทที่ ดี่ คี วรมีประโยชนในการดําเนนิ งานในชมุ ชน ดงั นี้ 1. ทําใหทราบระยะทางจากหมบู า นหนง่ึ ไปหมูบา นหนงึ่ หรือจากหมบู านไปสถานบรกิ าร สุขภาพ ระยะทางอาจวดั เปนกโิ ลเมตรกไ็ ด 2. สามารถนํามาใชในการวางแผน การนเิ ทศงาน การประเมนิ ผลงาน และจดั ลาํ ดบั การ ใหบริการในชุมชน ตลอดจนเลอื กการเดินทางเพ่อื ใหเ กิดความสะดวก และประหยัดเวลา 8

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 3. ทําใหทราบลักษณะภมู ปิ ระเทศวาเปน ภเู ขา ทล่ี ุม หรือชายฝง ทะเล 4. ทาํ ใหทราบสถานท่ีราชการ และแหลงประโยชนตางๆ เชน วดั โรงเรยี น 5. ทาํ ใหทราบขอมูลดา นสขุ าภบิ าลส่ิงแวดลอม แหลง นํา้ ใช น้าํ ดมื่ บอ น้าํ และจํานวนสวม ตลอดจนลกั ษณะชุมชนเกษตรกรรมหรอื อตุ สาหกรรม 6. เพอ่ื ใชประกอบในการจัดทาํ โครงการ การรายงานผล และตดิ ตามผลเปนระยะๆ 7. เปนขอ มลู ในการสาํ รวจสขุ ภาพอนามัยของประชาชน โดยการใชหมุดสิตางๆระบุ ครอบครัวท่ีมีปญหาดานสุขภาพอนามัย หรือครอบครัวท่ีควรใหการดูแลเปนพิเศษ เชน ใชเข็มหมุดสี แดงปกในครอบครวั ทอี่ ยูในแผนท่สี ังเขป เพื่อแสดงวา ครอบครัวนน้ั มมี ารดาและทารกแรกเกิดอยู 8. ทาํ ใหทราบอาณาเขตของชมุ ชนในความรบั ผดิ ชอบของเจาหนาท่ีสาธารณสุขประจํา โรงพยาบาลสง เสรมิ สขุ ภาพตําบล ทจ่ี ะตอ งใหบ ริการสขุ ภาพ นิเทศงาน และประเมนิ ผลงาน สรปุ การทําแผนที่สังเขปทีใ่ ชใ นการใหการประเมนิ ชมุ ชนเพ่ือใชในการวางแผนให บริการชุมชนน้ัน หากมีการเก็บรวบรวมขอมูล และมีการจัดทําอยางถูกหลักการ ครบถวนตามความ เปน จริง ก็จะเปนประโยชนในการบรกิ ารสขุ ภาพของประชาชนในชมุ ชนไดอยา งมีประสทิ ธิภาพ การทําความเขา ใจเร่ือง “ชุมชน” เปนพื้นฐานสําคัญในการศึกษาชุมชน ผูเรียนควรเขาใจวาชุมชนคือ อะไร มีองคประกอบอยางไร ตลอดจนลักษณะสําคัญของชุมชนทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท เพอื่ เปนพนื้ ฐานสําคัญการนําความรเู กีย่ วกับชมุ ชนไปใชในการศึกษาชุมชนตอไป คําถามทา ยบท 1. จงอธิบายองคประกอบในการทําแผนทช่ี มุ ชน 2. จงบอกประโยชนใ นการทําแผนที่ชุมชน 3. จงหาคา เฉลี่ยในการเดนิ นับกาวของ นาย ก ดังน้ี บา นที่ 1 ไปบา นที่ 2 20 กา ว บา น ท่ี 2 ไปบา นที่ 3 15 กาว บา นที่ 3 ไปบา นท่ี 4 30 กาว เอกสารอา งองิ ศิวพร อ้ึงวฒั นา. (2555). การทําแผนท่.ี เอกสารประกอบการสอน กระบวนวชิ า 551312 การ พยาบาลชุมชน. คณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยเชยี งใหม. ศวิ พร อึ้งวฒั นา. (2560). การพยาบาลสาธารณสขุ . กรุงเทพมหานคร: สิง่ พมิ พแ ละบรรจภุ ัณฑ สมารทโคตตง้ิ แอนด เซอรว สิ จาํ กดั . สาํ นักงานพัฒนาเทคโนโลยที างอากาศ และภมู ิสารสนเทศ(องคก ารมหาชน). (2559). การทาํ แผนท.่ี สบื คนเม่ือ 23 พฤศจกิ ายน 2564. จาก http;//www.gistda.or.th/main/th/node/926. 9

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง แผนการบริหารการสอนประจาํ บทที่ 3 หวั ขอเนอ้ื หา การประเมินภาวะอนามัยชุมชน 1. เคร่ืองมอื ในการประเมินอนามัยชุมชน 2. แหลง และประเภทของขอมลู อนามัยชมุ ชน 3. วธิ กี ารเกบ็ รวบรวมขอมูลอนามยั ชมุ ชน 4. การวิเคราะหและการนําเสนอขอมลู อนามยั ชุมชน วตั ถุประสงคเ ชงิ พฤติกรรม 1. อธบิ ายเครอื่ งมอื ในการประเมินอนามยั ชมุ ชนได 2. อธิบายแหลงและประเภทของขอมลู อนามัยชุมชนได 3. บอกวิธีการเก็บรวบรวมขอมลู อนามยั ชมุ ชนได 4. อธิบายการวเิ คราะหแ ละการนําเสนอขอมลู อนามยั ชุมชนได วธิ ีการสอนและกจิ กรรมการเรยี นการสอน 1. วธิ ีสอน 1.1 วิธสี อนแบบบรรยาย 1.2 วิธีการสอนแบบจัดกจิ กรรมกลมุ 1.3 วิธีสอนจากกรณีศกึ ษา 1.4 วธิ สี อนโดยศกึ ษาจากเอกสารประกอบการสอน 2. กิจกรรมการเรยี นการสอน 2.1 ผสู อนอธบิ ายทฤษฎีและซักถามพรอมยกตวั อยางประกอบการบรรยาย โดยใช power point 2.2 แบงผเู รยี นเปน กลมุ ๆ ละประมาณ 5 คน เพอ่ื ศกึ ษาตามสถานการณท ี่กาํ หนดให รวมกบั เอกสารประกอบการสอน 2.3 ผูสอนและผูเรยี นรวมกันอภิปรายและหาขอสรปุ รว มกันอีกคร้ังหนึง่ 2.4 นาํ เสนองานหนา ชัน้ เรยี น 2.5 ใหผ เู รียนทาํ แบบฝก หดั บทที่ 1 สง ในวนั ถัดไป ส่อื การเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนอนามยั ชุมชน 2. ไฟลเอกสารประกอบการสอนอนามัยชุมชน 3. คอมพวิ เตอร 1

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 4. หนังสอื อานประกอบคนควา เพิม่ เตมิ 5. แบบฝก หดั บทท่ี 2 การวัดผลและประเมินผล 1. แบบประเมนิ พฤติกรรมการมีสวนรวมโดย 1.1. สงั เกตจากการซักถามผูเ รียน 1.2. สงั เกตจากการรวมกิจกรรม 1.3. สังเกตจากความสนใจ 2. ประเมินจากการทาํ แบบฝกหดั 3. ประเมินจากการสอบยอย 4. ประเมินจากการสอบปลายภาค 2

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง บทที่ 3 การประเมนิ ภาวะอนามยั ชมุ ชน การประเมินภาวะอนามัยชุมชน หมายถึง ข้ันตอนของการรวบรวมขอมูลพื้นฐาน ภาวะ สุขภาพ ขอมูลสิ่งแวดลอม ขอมูลดานพฤติกรรมสุขภาพ ตลอดจนความสามารถของ ชุมชนและ หนว ยงานท่เี กี่ยวของในการแกไ ขปญ หา เพื่อชวยใหเ ขา ใจปญ หาสขุ ภาพของคนในชุมชน กระบวนการ นี้ใหความสําคัญกับ 3 ประเด็น ไดแก 1) การคนหา เขาถึงขอมูลท่ีเกี่ยวกับสุขภาพคนในชุมชน 2) การเปดเผยใหเห็นปญหาสุขภาพของคนในชุมชน พรอมท้ังศักยภาพในการแกไขปญหาและ 3) กระบวนการ สรางการมีสวนรวมของผูท่ีเก่ียวของ ทั้งภาคสวนของ องคกรหนวยงานรัฐ ภาค ประชาชน และองคกรชุมชน ในการใหขอมูล เก็บขอมูล และรับทราบขอมูลรวมกัน ซ่ึงในการ ประเมินภาวะอนามัยชมุ ชน ตองประกอบดว ย 1. เคร่อื งมือในการประเมนิ อนามยั ชมุ ชน 2. แหลงและประเภทของขอ มลู อนามัยชุมชน 3. วิธีการเกบ็ รวบรวมขอมลู อนามยั ชมุ ชน 4. การวเิ คราะหและการนําเสนอขอมูลอนามยั ชมุ ชน โดยจะขออธบิ ายรายละเอียดแตละ องคประกอบ ดังน้ี 1. เครื่องมือท่ีใชในการประเมินอนามัยชุมชน ถือเปนเครื่องมือท่ีชวยในการศึกษาและเขาใจให ลึกซึ้งและสามารถเช่ือมโยงแงมุมหรือมิติตางๆ ของชุมชนกับงานสาธารณสุขใหเปนองครวมและ ผสมผสานไดอยางมที กั ษะ ได้แก่ 1.1 เครือ่ งมอื ทางระบาดวทิ ยา (Epidermiology) ปจ จยั กาํ หนดสุขภาพ เชน -อตั รา (Rate) เปรยี บเทยี บความถ่ีของการเจ็บปว ย -อตั ราสว น (Ratio) เปรียบเทยี บคา ของตัวเลขจาํ นวนหนึ่งกับอีกจาํ นวนหนึ่ง -สดั สว น (Proportion) เปรยี บเทยี บระหวางตัวต้ังซ่ึงเปน สว นหนง่ึ ของตัวหาร -สถติ ิและดัชนที างวทิ ยาการระบาด เชน Incidence Rate, Prevalence Rate, Morbidity Rate และMortality Rate -ดชั นีอนามัยอืน่ ๆทเ่ี กีย่ วขอ งกับสขุ ภาพ เชน Crude Birth Rate, Vital Index or Birth Death Rate และNatural Increase 1.2 เคร่ืองมอื การวดั พฤติกรรมสุขภาพ ไดแ ก -แบบสอบถามความรูทางสขุ ภาพ -แบบสํารวจทัศนคติ -แบบสํารวจทางการปฏิบัติ -วดั พฤตกิ รรม 3

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 1.3 เครือ่ งมือประเมินชมุ ชนโดยใชครอบครัวเปนฐาน ไดแก -แฟมสุขภาพครอบครัว (Family Folder/Family File) เชน แผนที่บาน, ผังเครือ ญาต,ิ การลงทะเบยี นครอบครัว, ชีวประวตั ิและขอมูลทางเศรษฐกจิ และสงั คม -แบบสาํ รวจความจาํ เปน พื้นฐาน จปฐ. (Basic Mininum Needs) 1.4 เครื่องมือประเมินชุมชนโดยใชแนวคิดการประเมินชุมชนในฐานะผูรับบริการ (Community as a Client) ไดแก Community as a place, Community as a people, Community as a social system 1.5 เครื่องมือการประเมินชุมชนโดยวิธีทางมานุษยวิทยา เปนการพัฒนาโดย อ.โก มาตร จึงเสถียรทรัพย ไดแก เคร่ืองมือการศึกษาชุมชนทั้ง 7 ชิ้น ประกอบดวย แผนท่ีเดินดิน, ผัง เครือญาติ,โครงสรางองคกรชุมชน, ระบบสุขภาพชุมชน, ปฏิทินชุมชน,ประวัติศาสตรชุมชน และ ประวตั ชิ วี ติ บคุ คลที่นา สนใจ โดยสามารถอธบิ ายรายละเอยี ดของเครอื่ งมอื 7 ชิน้ ไดด งั น้ี 1. แผนท่ีเดินดิน (Geo-Social Mapping) คือการเขาไปในโลกของ ชุมชน และทําความ รจู ักชุมชนท้งั ทางกายภาพและสิ่งแวดลอม การทําแผนที่ชุมชน เปนเสมือนบันไดขั้นแรกที่สําคัญที่สุด ท่ีจะนําเราไปสูการเขาใจชุมชน แผนที่ชุมชน ตางกับแผนที่ท่ัวไปคือ ผูศึกษาตองทําทั้งแผนที่ทาง ภูมิศาสตรและแผนที่ทางสังคม ไปพรอมๆ กัน ขอมูลที่นอกจากกายภาพแลวยังไดขอมูลเกี่ยวกับคน ดวย การเก็บ ขอมูลดวยการเดินสํารวจ ทําใหสามารถเช่ือมโยงกิจกรรมของมนุษยบนพ้ืนที่เขาไวใน แผนท่ี ท่ีสําคัญเราไดพูดคุยกับชาวบานทําใหรูจักแตละคน รูท้ังปญหา ความ สัมพันธของคนใน หมูบาน ขอมลู ท่ไี ดมาสามารถนําไปวเิ คราะหเชอ่ื มโยงไปถึงองครวมดานอืน่ ดว ย แผนที่นี้ทําเพ่ือรูจักคนไมใชแครูจักพื้นท่ีเพียงอยางเดียว สิ่งนี้ทําใหตางจากแผนที่ตั้งโตะหรือ แผนทท่ี ไี่ ดจ ากโปรแกรมแผนทดี่ าวเทียมท้ังหลาย หลักการทําแผนที่เดินดนิ มดี งั น้ี 1.1 พื้นท่ีทางกายภาพกับพื้นที่ทางสังคม ส่ิงสําคัญคือการไดเห็นและเขาใจ พ้ืนที่ทางสังคม (Social space) ที่ซอนอยูกับพื้นท่ีทางกายภาพ (Physical space) การเขาใจส่ิงน้ีตองเขาไปคลุกคลี พูดคุย สงั เกต หากไมท ําเชนนั้นก็จะไมเ ห็นพน้ื ที่ ทางสังคมที่ซอนทับอยู เชน บอโยกในหมูบาน หากดู จาก “แผนท่ีนั่งโตะ” ก็ไมรูวา บอไหนเปนอยางไรบาง บอไหนแหงไปแลว หรือบอไหนแมบานใชซัก ผามากหรือ นอยเพียงไร การไดเห็นกลุมแมบานมาซักผาท่ีบอน้ํา ซึ่งเปนจุดที่แมบานไดมา พบปะ พดู คุยกนั เปนพนื้ ทขี่ องผูห ญงิ ที่ใชแลกเปลย่ี นขอ มูลขาวสารกัน ปรับทุกข และปรกึ ษาหารือเร่ืองตางๆ กัน หากเราสามารถเขาไปคุยก็จะสามารถเขาใจวา เธอมาจากไหน เก่ียวของสัมพันธกันอยางไร มี ปญหาหรือวิตกกงั วลเรอ่ื งอะไรบาง การเดินดูใหเห็นกับตาและไดพบปะพูดคุยจะชวยใหเห็นพื้นที่ทาง สังคม (Social space) และเขาใจความหมายและหนาที่ในทางสังคมของพ้ืนท่ีทางกายภาพ ซึ่งจะทํา ใหเขา ใจปรากฏการณต างๆ ท่เี กิดขน้ึ ในชุมชน 1.2 ไมใชแ คแผนทีแ่ ตเ ปน ระบบการจัดการขอมลู พืน้ ที่ แผนที่ชุมชนไมได ใชเพียงหาตําแหนง หรือสถานที่ใหพบเทานั้น แตการนําเอาขอมูลทางสังคมอื่นๆ มาเชื่อมโยงกับพื้นที่ทางกายภาพทําให แผนทีเ่ ดินดนิ เปนเคร่อื งมอื ในการจัดขอ มลู ตางๆ โดยการนาํ มาบนั ทกึ ซอ นลงไปในแผนท่ีทางกายภาพ ขอมูลพื้นทห่ี ลากหลาย เรื่องราวจึงสามารถอานไดจากแผนที่เดินดนิ เพยี งแผนเดียว 4

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง รูปท่ี 3 แสดงแผนท่ีเดนิ ดนิ 2. ผังเครือญาติ (Genogram) เปนเครื่องมือเขาใจความสัมพันธแบบ เครือญาติ ทําใหรูวา ใครเปนใครและมีความสัมพันธกับคนอ่ืนๆ ในชุมชนอยางไร เครือญาติเปนสวนสําคัญของอัตลักษณ บคุ คล ผังเครือญาติจึงเปนเครอ่ื งมอื สําคัญ ในการทําความรูจักผูคนในระบบความสัมพันธพ้ืนฐานของ เขา การไดรูวาคนในชุมชนแตละคนมีญาติพี่นองเปนใครบาง ทําใหเห็นรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตทาง สงั คมของเขาไดม ากขน้ึ การทาํ ผังเครอื ญาติจึงเปนวิธีการชวยใหเราสามารถจดจํา และรูจักคุนเคยกับ คนในชุมชนเปนจํานวนมากในระยะสั้น ชุมชนน้ันเปรียบเสมือน โรงละครใหญและแผนผังชุมชนก็ เหมือนการทําผังของตัวละครที่เลนในโรงละคร ซ่ึงจะทําใหเราสามารถเขาใจเรื่องราวในชุมชนไดงาย ขนึ้ ผังเครือญาติคือแผนผังท่ีเขียนข้ึนเพ่ือแสดงความสัมพันธในเชิงเครือญาติ โดยใชสัญลักษณ แทนตวั บุคคลและเสนแสดงความสัมพันธทางสายเลือด (Consanguinity) และความสัมพันธจากการ แตงงาน (Affinity) ผงั เครอื ญาติ จงึ บอกถึงความสมั พันธ ทีเ่ ปนรากฐานท่สี ุดของชีวิตครอบครัวและจะ มคี วามเกีย่ วขอ งกันไปตลอดชวี ิต การทาํ ผงั เครือญาติจงึ ทาํ ใหเ ราเขาใจระบบความสัมพันธ ที่สําคัญใน ครอบครัวและชมุ ชน หลกั การทาํ ผงั ชุมชนมดี งั นี้ 2.1 ความสัมพันธแบบเครือญาติมีท้ังความสัมพันธโดยสายเลือดและโดย การแตงงานอยูกิน กัน (ดองกัน) การทําผังเครือญาติตองครอบคลุมความสัมพันธ ท้ังสองแบบ ทั้งความสัมพันธแบบเปน ทางการและไมเ ปนทางการ 2.2 เครือญาติเกี่ยวพันใกลชิดกับการนับญาติ ซ่ึงจะแตกตางกันไปในแตละ สังคมวัฒนธรรม หรอื แตละทอ งถิ่น เชน การนับญาติฝายพอหรือฝายแมหรือทั้ง สองฝาย นอกจากนี้ยังมีแบบแผนการ พักอาศยั เชน แตง เขา ครอบครวั ฝายชาย หรอื แตงเขาครอบครัวฝายหญงิ 5

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 2.3 การนับญาติและแบบแผนการพํานักอาศัย ในการแตงงานมีสวนสําคัญ ในการกําหนด อํานาจในครอบครัว สทิ ธใิ นทรัพยสิน การแบง มรดก การใชป ระโยชน จากของสวนรวม 2.4 ในชนบทที่เปนสังคมดง้ั เดมิ การทําผังเครือญาติไมจําเปนตองจํากัดวา จะตองทําเพียง 3 รนุ อาจทาํ 7 รนุ หรอื มากกวาน้นั โดยเฉพาะชุมชนท่มี ปี ระวัติ ความเปนมายาวนาน 2.5 นอกจากทําการสัมภาษณหรือสอบถามเพื่อบันทึกขอมูลเครือญาติแลว คนทํางานชุมชน ยังตองตามไปรูจักตัวบุคคลท่ีปรากฏอยูในผังเหลาน้ันดวย การได รูจักตัวตน บุคลิก นิสัยอาชีพ รวมทั้งความชํานาญตา งๆ จะทาํ ใหเ ราเขาใจครอบครวั และญาติของเขาดีข้ึน และเปนประโยชนอยาง ยงิ่ ในการทาํ งานชุมชน เครือญาติยังมีความหมายถึงเครือขายทางสังคม (social network หรือ supporting network) กาทําผังเครือญาติจึงทําใหเราสามารถรูถึงเครือขายทาง สังคม ที่สําคัญคือทําใหสามารถ เขาใจสภาพทางสังคมของแตละครอบครัว การทํา ผังเครือญาติตองเขาใจสัญลักษณท่ีจะใชในการใช แทนคนกลมุ ตา งๆ เชน เพศหญงิ ชาย ขา มเพศ คนปว ย คนตาย เปนตน ตองรูวาใครจะเปนผูสามารถ ใหขอมูลหลกั และตองไดข อมูลการเชื่อมโยงระหวางครอบครัว รวมท้ังยังตองเขียนเพิ่มเติมใน กรณีท่ี พิเศษตางๆ รูปที่ 4 แสดงการเขียนผังเครือญาติ 3. โครงสรางองคกรชุมชน (Community Organization) คือระบบ ความสัมพันธที่ หลากหลายท่ซี อ นทับอยูใ นชมุ ชน ประกอบดวยบุคคลและองคกร ตางๆ ที่มีบทบาทในชุมชนท้ังท่ีเปน ทางการและไมเปนทางการ การศึกษาโครงสราง องคกรชุมชนทําใหเกิดประโยชนคือ ทําใหเราเห็น ความสมั พนั ธใ นชมุ ชนชัดเจน ทัง้ ความสัมพันธท างอํานาจ ความสัมพนั ธท ่ีเปนมติ รและขัดแยงกัน และ เนื่องจาก โครงสรางองคกรชุมชนเปนความสัมพันธที่เปนเครือขายเราจึงเห็น “ทุนทางสังคม” ซ่ึงมี ความสําคัญตอการแกปญหาและทําใหชุมชนเขมแข็ง ผังโครงสรางองคกรชุมชน จะทําใหเราเห็น ศกั ยภาพที่มอี ยผู า นเครือขายความสมั พันธท่ีมอี ยแู ลว หลักการสาํ คญั ของโครงสรา งองคก รชมุ ชน มดี งั นี้ 6

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 3.1 การทําความเขาใจระบบความสัมพันธตางๆ ที่มีอยูในชุมชน การศึกษา น้ีสามารถแยก ออกเปน 2 ข้ันตอน คือการทําความเขาใจแบบแผนความสัมพันธใน ชุมชน และการจัดทําผัง โครงสรางองคกรชมุ ชน 3.2 การทาํ ความเขา ใจแบบแผนความสัมพันธทางสังคมของชุมชนเปนกระ บวนการที่ตองทํา อยางตอเน่ือง เพราะความสัมพันธในชุมชนเปนส่ิงที่ซับซอนและ มีอยูหลายมิติ ท้ังความสัมพันธทาง เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง การไดขอมูล จําเปนตองตองอาศัยการพูดคุย การสัมภาษณและการ สังเกต 3.3 โครงสรางองคก รชุมชนไมไ ดมคี วามหมายเพยี งแค กรรมการ กองทุน หรือกลุมทางการท่ี ถูกจัดขึ้น แตหมายถึง “ระบบความสัมพันธ” โดยมีหลักการอยู วาที่ใดก็ตามท่ีมีความสัมพันธยอมมี โครงสราง การศึกษาโครงสรางองคกรชุมชน จึงตองเริ่มตนจากการมองใหเห็นความสัมพันธท่ี หลากหลายในชุมชน ระบบความ สมั พันธท ี่ไมเปนทางการอาจมีความสัมพนั ธมากกวาท่ีเปน ทางการ 3.4 การทําผังชุมชนไมสามารถนําเอาทุกเรื่องมาใสไวได ดังนั้นจะตองเลือก เฉพาะบทบาท และความสัมพันธทีส่ ําคญั เทา น้นั 3.5 ความสัมพันธของชุมชนหนึ่งๆ มีประวัติศาสตรความเปนมาที่มีเหตุปจจัย ท้ังทาง เศรษฐกิจสังคมและการเมือง มที ้ังความเอื้อเฟอและความขัดแยงแตกแยก การมองชุมชนแบบโรแมน ติกวามีแตความสามัคคี รักใคร ทําใหละเลยมิติของ ความแตกตางขัดแยง ซ่ึงจะสงผลถึงการเขาใจ และทํางานชมุ ชนทผี่ ิด 3.4 โครงสรางองคกรชุมชนมีวิธีการทําอยางงายโดยการวิเคราะห เครือขาย ความสัมพันธ (Social network analysis) โครงสรางองคกรชุมชนมีท้ังโครงสรางทางการเมือง โครงสรางทาง เศรษฐกิจ และโครงสรางทางสังคม นอกจากจะทําความเขาใจวาใครเปนใครแลวยังตองเขาใจ ความ เปนมา ใครมีบทบาทท่ีแทจริง ความสําคัญของการเขาใจโครงสรางองคกร ชุมชนอยูที่การเขาใจ บทบาทและความสัมพันธของผูคนในชุมชน เพราะผูท่ีมี รายช่ืออาจจะมีแตในนามเทานั้น ไมใชผู ปฏิบัตกิ าร ดังน้ันเราตอ งหาองคกรท่มี ี ปฏิบัติการ (Organization in action) บทสรุปสําหรับการศึกษา คือการวิเคราะหโครงสรางองคกรชุมชนจะทําให เราเห็น ความสัมพนั ธด า นเศรษฐกิจ สังคม การเมอื ง และเขาใจถึงบทบาทหนาท่ี และความสัมพันธเชิงอํานาจ ขององคก รชมุ ชน และควรใหความสําคญั กบั องคก ร ที่มปี ฏิบัติการหรือมกี จิ กรรมและองคกรธรรมชาติ ที่ไมเปนทางการมากกวารายช่ือ คณะกรรมการตางๆ ท่ีจัดตั้งโดยไมมีการเคล่ือนไหว พฤติกรรมใน ชุมชนเปน ผลลพั ธของโครงสรา งความสมั พนั ธและอาํ นาจ โครงสรางชุมชนเปนเครื่องแสดงให เห็นถึง ศักยภาพของชมุ ชน 7

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง รูปท่ี 4 แสดงโครงสรางองคกรชมุ ชน 4. ระบบสุขภาพชุมชน (Local Health System) คือการเช่ือมโยง สุขภาวะทางกาย ใจ สังคมและสิ่งแวดลอม การเรียนรูระบบสุขภาพชุมชนทําให เขาใจถึงระบบวิธีคิด โลกทัศน หรือ จักรวาลวิทยาของทอ งถน่ิ เพราะการเผชญิ กับ วิกฤติสุขภาพมักทําใหมนุษยตองอาศัยคําตอบจากการ อธิบายที่มรี ากฐานจากวิธีคดิ และโลกทศั นในวฒั นธรรมทองถิ่น หลกั การสาํ คญั ของระบบสุขภาพชุมชน มีดงั น้ี 4.1 การทําบันทึกเหตุการณการเจ็บปวย ซึ่งจะทําใหเราไดภาพของความ หลากหลายของ การเยียวยารักษาโรค การรับรูเก่ียวกับระบบสุขภาพชุมชนที่เรามี อาจเปนเพียงสวนเล็กๆในโลก สุขภาพของชาวบานเทานั้น ชาวบานอาจจะมีการ เยียวยารักษาโรคที่เราไมรูและอยูนอกระบบการ รกั ษาแบบสมัยใหม 4.2 ระบบดูแลสุขภาพชุมชนเปน “ระบบการแพทยแบบพหุลักษณ” ที่ซอนกัน คือ 1.ระบบ ดูแลสุขภาพตนเองของภาคประชาชน ซ่ึงทําโดยครอบครัวเครือญาติ 2.ระบบการแพทยพ้ืนบานหรือ แพทยท างเลือก และ 3.การแพทยวชิ าชพี หรือแพทย แผนใหม 4.3 ในแตละระบบการแพทยมีองคประกอบยอย 2 สวน คือ ระบบทฤษฎีโรค และการดูแล สุขภาพซง่ึ จะเกี่ยวของกบั วธิ คี ิด การกระทํา ความสัมพนั ธข องคนใน ชุมชน ซ่ึงคนทํางานชุมชนจะตอง จําแนก และเกบ็ ขอมลู ทั้ง 2 เรือ่ ง การทาํ ผังระบบสุขภาพชมุ ชนเปนเทคนิคท่ีสําคัญที่ทําใหสามารถทํา ใหเรา เขาใจระบบคิด ความสัมพันธของคนในชุมชน ระบบนิเวศนวัฒนธรรมและ กิจกรรมตางๆ ที่ เกดิ ขึน้ ทาํ ใหสามารถเขา ใจชมุ ชนอยา งเช่อื มโยงในทกุ มิติ ดงั แผนภาพผังระบบสุขภาพชุมชน การศึกษาระบบสุขภาพชุมชน ตองเขาใจวาชุมชนไมใชภาชนะวางเปลา มี กิจกรรม เทคนิค การรักษาแบบพ้ืนบาน ผูรูดานสุขภาพ พิธีกรรม และภูมิปญญา สุขภาพอยูในชุมชน ส่ิงเหลาน้ีคือ ศักยภาพหรอื ทนุ ทางสังคมของชุมชน 8

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง รูปท่ี 5 แสดงผงั ระบบสุขภาพชุมชน 5. ปฏิทินชุมชน (Community Calendar) คือตารางกิจกรรมที่เกิดขึ้น ในชุมชนแตละ ชวงเวลา ส่ิงที่ผูคนในแตละอาชีพทําในแตละชวงการผลิตตลอดทั้งป หรือกิจกรรมทางวัฒนธรรม ปฏิทินเวลาในสังคมเกษตรอาจรวมกิจกรรมการผลิต ต้ังแตตนจนสิ้นสุดการผลิต อาจรวมทั้งการ เดินทางอพยพเขาเมืองเพ่ือหางานทาํ ตางถน่ิ ชวงเวลาท่ีชาวบานทํางานบุญ บวชลูก แตงงาน รวมทั้ง ปรากฏการณ ธรรมชาติ เชน ฝนตก ฝนแลง นาํ้ ทวม ปฏิทนิ ชมุ ชนเปนเครอ่ื งมอื ในการเรยี นรูชมุ ชนในเรื่องเวลา (Time) ขณะท่ี แผนท่ีเดินดินเปน การเรียนรูชุมในเรื่องสถานที่ (Place) และผังเครือญาติเปน การเรียนรูชุมชนในเร่ืองของบุคคล (Person) การเรียนรูท้ังสามมิติทาํ ใหเ ราเขา ใจ เรือ่ งราวทีเ่ กดิ ขนึ้ ในชุมชน หลกั การสําคญั ของปฏิทนิ ชมุ ชน มดี งั น้ี 5.1 ใหจําแนกปฏิทินชุมชนเปน 2 ลักษณะ คือปฏิทินดานเศรษฐกิจและปฏิทินวัฒนธรรม ประเพณี 5.2 ปฏิทินเศรษฐกิจจะตองใหครอบคลุม 3 กิจกรรมคือ อาชีพของคนใน ชุมชน อาชีพของ คนอนื่ ท่ีมาหากินในชุมชน และอาชีพของคนในชุมชนท่ีไปหากิน ที่อนื่ 5.3 ปฏิทินกิจกรรมบางกจิ กรรมมีการกาํ หนดเวลาท่แี นนอน บางกิจกรรม เปนชวงเวลา และ บางชุมชนมกี ลมุ คนทีต่ า งวฒั นธรรมกนั จําเปนตองรวบรวมให ครอบคลุมกลุมตางๆ การศึกษาปฏิทิน ชมุ ชน คอื การเรียนรวู ิถีชุมชน ทําใหเขาใจมิติเวลาในโลก ของชาวบาน การเรียนรูวาแตละวัน แตละ เดอื น แตละฤดูการหรอื ในรอบปหนง่ึ ๆ ชุมชนมีกิจกรรมอะไรเกดิ ข้ึนเปนปกติบาง จะชวยใหคนทํางาน ชุมชนสามารถ กําหนดปฏทิ นิ การทาํ งานใหเ หมาะสมกบั จังหวะชวี ติ ของชมุ ชน 9

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง รปู ท่ี 6 แสดงปฏทิ นิ ชุมชน 6. ประวัติศาสตรชุมชน (Local History) ก็เปนเชนเดียวกับประวัติศาสตร อื่นๆ ที่ตองมี มิติของเวลาเขามาเก่ียวของ ความแตกตางกับประวัติศาสตรอื่นๆ อยูที่ การเลาเรื่องในอดีตท่ีเปน เร่ืองราวความเปน มาของชุมชนท่ีบอกเลาจาก มุมมองของชุมชนเอง ซ่ึงอาจจะตางจากมุมมองของรัฐ หรือนักวิชาการ ดังน้ัน ประวัติศาสตรชุมชนจึงเปนสวนผสมของขอเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ จินตนาการ และความทรงจําของทองถ่ิน ซ่ึงถูกสืบทอดกันมาผานชื่อที่เรียกวา เรื่องเลา ตํานาน สถานท่ี บนั ทึก ขนบธรรมเนียมประเพณี และแบบแผนการปฏบิ ัตขิ องชมุ ชน ประวัติศาสตรชุมชนมีบทบาทสําคัญตออัตลักษณ ความรูสึกนึกคิด ทัศนะ และ ทาทีของ ชุมชนตอสิ่งตางๆ จนอาจกลาวไดวาชุมชนเปนผลผลิตของประวัติศาสตร การศึกษาประวัติศาสตร ชุมชนทําใหเขาใจชุมชนและความเปนมาของสิ่งตางๆ ไดดี ทําใหเราลดอคติและเพิ่มความ ละเอียดออนในการทํางาน ตลอดจนสามารถเลือก วิธีการทํางานกับชุมชนไดสอดคลองกับ ประสบการณ ความคาดหวงั และศกั ยภาพ ของชุมชน หลกั การสําคัญในการศกึ ษาประวตั ศิ าสตรชุมชน มดี ังน้ี 6.1 เน่ืองจากชุมชนมักจะไมจดบันทึกไวเปนหลักฐานที่สามารถใชไดโดยตรง การศึกษา ประวัติศาสตรชุมชนจึงตองอาศัยหลักฐานจากความทรงจํา เร่ืองเลา สิ่งที่ ถูกบันทึกไวในชุมชนไดแก สถานท่ี ขาวของ หรือบุคคล เร่ืองเลาในคําสอนหรือ ผญา เพลง พิธีกรรม การแตงกายหรือแบบแผน พฤตกิ รรมตางๆ 6.2 ประวัติศาสตรชุมชนเปนสวนผสมของเหตุการณ จินตนาการและการ ตีความ พอๆ กับ เร่ืองขอเท็จจริง หลักฐานและเหตุผล ดังน้ัน ประวัติชุมชนจึง แตกตางหรือขัดแยงกับประวัติศาสตร ของทางการหรือแมแ ตใ นชุมชนเดยี วกนั ก็อาจจะมคี วามแตกตา งไปตามผบู อกเลา 10


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook