www.kalyanamitra.org
อุบาสกิ า ฉบบั ราชนกิ ูล-พระเถรี ISBN : 978-616-8103-00-5 เรียบเรยี ง : สิรปิ ุณโฺ ณ ภาพประกอบ : www.dmc.tv ออกแบบปก : อนันตชนิ วงศสนุ า/Landai รปู เลม่ /จดั อารต์ : สกุ ัญญา บุญทนั พมิ พ์ครง้ั ท่ี ๑ : พ.ศ. ๒๕๖๐ ลขิ สิทธ์ิและจัดพิมพโ์ ดย : สมาคมสมาธเิ พือ่ การพัฒนาศีลธรรมโลก โทร. ๐๓๘-๔๒๐๐๔๓ พมิ พ์ที่ : บริษัท พมิ พ์ดี จ�ำกัด โทร. ๐-๒๔๐๑-๙๔๐๑ ขอ้ มลู ทางบรรณานุกรมของสำ� นกั หอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloguing in Publication Data อุบาสิกา ฉบบั ราชนิกลู -พระเถรี ชลบุรี : สมาคมสมาธิเพ่ือการพฒั นาศีลธรรมโลก, ๒๕๖๐. ๑๗๖ หนา้ ๑. ธรรมะ, ๒. คาถาธรรมบท, ๓. ภาษาไทย. I. สิริปุณฺโณ เรียบเรียง II.ชื่อเรื่อง 294.313 ISBN : 978-616-8103-00-5 www.kalyanamitra.org
ค�ำ น�ำ จากต้นฉบับเรื่อง ธรรมบทเกี่ยวกับอุบาสิกาท่ีจัดท�ำข้ึน ปลายปี พ.ศ.๒๕๕๓ ตอ่ มาจัดท�ำเปน็ เลม่ เมอ่ื ตน้ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ บดั นล้ี ว่ งเลยเวลามาเกอื บ ๖ ปี จงึ คดิ วา่ จะทำ� การปรบั ปรงุ เป็นรูปเล่มให้น่าอ่านยิ่งขึ้น เรียบเรียงความต่อเนื่องของเน้ือหา แตล่ ะเร่ืองใหม้ ากขึน้ เนอ่ื งจากมจี ำ� นวนเรอื่ งและหนา้ มาก จงึ ตอ้ งแบง่ เปน็ ๒ เลม่ ในเล่มนมี้ ี ๑๕ เรอ่ื ง ใชช้ ่อื ว่า อุบาสิกาฉบับ ราชนกิ ูล-พระเถร,ี อกี เลม่ ใชช้ อื่ ว่า อบุ าสกิ า ฉบบั สามญั ชน มี ๒๐ เร่ือง บางเรื่องได้รวบรวมไว้ในเล่มอ่ืน ๆ ก่อนหน้า เช่น เรื่อง พระนางมัลลิกาเทวี ปรากฏอยู่ในหนังสือ ดุสิตบุรี แต่ก็เอามา รวบไว้ในเล่มนี้ด้วย เรอ่ื งทห่ี ยบิ ยกมาศกึ ษา เปน็ แคต่ วั อยา่ ง พอใหเ้ หน็ แนวทาง วา่ อบุ าสกิ าท่ีแท้จริงในสมัยพทุ ธกาลมลี กั ษณะเปน็ เช่นไร สิรปิ ุณฺโณ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๐ Line ID : Siripunno Fanp@ge : Siripunno E-mail : [email protected] www.kalyanamitra.org
สารบัญ ๗ ๑) เรื่องพระนางมัลลกิ าเทวี (ต้นคดิ อสทิสทาน แต่หลอกพระสวามวี ่าไมไ่ ด้ เสพเมถุนกบั สนุ ขั ตกนรกอเวจี ๗ วนั กอ่ นไปเกดิ ดสุ ิต) ๑๕ ๒) เรอ่ื งเจ้าหญิงโรหณิ ี (ท�ำความสะอาดเสนาสนะรักษาโรคผิวหนัง) ๒๓ ๓) เรือ่ งพระนางสามาวดี พระนางวาสุลทัตตา และพระนางมาคันทยิ า (แผเ่ มตตาจติ กบั ผคู้ ดิ รา้ ย, กรรมเกา่ สง่ ผลถกู ไฟคลอกตาย) ๗๗ ๔) เร่อื งขุชชุตตรา (กรรมชว่ั ในอดีตสง่ ผลในปจั จุบนั ,หยุดกรรมชัว่ มุ่งกรรมดี) ๘๕ ๕) เรือ่ งมารดาของพระกมุ ารกัสสปเถระ (ตัดอาลยั พระลกู ชายจึงบรรลธุ รรม) ๙๕ ๖) เรอ่ื งพระนางมหาปชาบดโี คตมี (พระศาสดาทรงเป็นพระอาจารยแ์ ละพระอปุ ัชฌายใ์ ห)้ ๙๗ ๗) เรื่องพระนางรปู นันทาเถรี (บวชเพราะตดิ ญาติ ไมอ่ ยากไปฟังธรรม) www.kalyanamitra.org
๑๐๗ ๘) เรอ่ื งพระนางเขมา (พระสวามีแตง่ เพลงหลอกไปวัด) ๑๑๓ ๙) เรอ่ื งพระอุบลวรรณาเถรี (พระขีณาสพยอ่ มไมย่ ินดใี นกามสุข) ๑๒๑ ๑๐) เรื่องนางกิสาโคตมี (ธิดาตระกูลเก่าจับถา่ นเป็นทอง, ลูกนอ้ ยตายทุกข์) ๑๒๙ ๑๑) เรือ่ งนางปฏาจารา (ครอบครวั ตายหมดเลยเปน็ บา้ ,บวชบรรลุอรหตั ) ๑๔๑ ๑๒) เร่ืองพระกณุ ฑลเกสีเถรี (ฆา่ สามีโจรแลว้ บวชเป็นปริพาชกิ า, บวชบรรลอุ รหตั ) ๑๕๓ ๑๓) เร่ืองพระธรรมทนิ นาเถรี (สามีบรรลอุ นาคามผิ ล) ๑๕๗ ๑๔) เรอ่ื งพระพหุปุตตกิ าเถรี (มีลูกมากก็ใช่ว่าจะสบายในบ้นั ปลาย) ๑๖๑ ๑๕) เรอ่ื งพระอุตตราเถรี (อายุ ๑๒๐ ปี อดอาหาร ๓ วัน ฟงั ธรรมบทเดยี ว บรรลโุ สดาบัน) ๑๖๔ ภาคผนวก, บทสรุป www.kalyanamitra.org
6 อบุ าสิกา ฉบับราชนกิ ูล-พระเถรี www.kalyanamitra.org
๑ เร่ืองพระนางมลั ลกิ าเทว๑ี สถานท่ีตรสั พระเชตวนั เล่ากันว่า วันหน่ึงพระนางมัลลิกาเทวีน้ัน เสด็จ เข้าไปยังซุ้ม ส�ำหรับสรงสนาน ทรงช�ำระพระโอษฐ์แล้ว ทรงน้อมพระสรีระลงปรารภเพื่อจะช�ำระพระชงฆ์ (แข้ง) มีสุนัขตัวโปรดตัวหน่ึง เข้าไปพร้อมกับพระนางทีเดียว, มันเห็นพระนางน้อมลงเช่นนั้น จึงเร่ิมจะท�ำอสัทธรรม สนั ถวะ (เสพกาม) พระนางทรงยินดีผัสสะของมัน จึงได้ ประทบั ยนื อย.ู่ พระราชาทรงทอดพระเนตรทางพระแกล (หนา้ ตา่ ง) ในปราสาทชนั้ บน ทรงเหน็ กริ ยิ านนั้ ในเวลาพระนางเสดจ็ มาจากซุม้ น้�ำน้ัน จึงตรัสวา่ “หญงิ ถอ่ ย จงฉิบหาย เพราะ เหตุไร เจ้าจึงได้ท�ำกรรมเหน็ ปานน้ี?” ๑ ตน้ ฉบบั ธมั มปทฏั ฐกถา อรรถกถาขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท, โกธวรรควรรณนา, ล.๔๒, น.๑๖๖, มมร. 7 พระนางมลั ลิกาเทวี www.kalyanamitra.org
พระนาง. “หมอ่ มฉันทำ� กรรมอะไร? พระเจา้ ขา้ .” พระราชา. “ท�ำสนั ถวะกับสนุ ัข.” พระนาง. “เรื่องนีห้ ามิได้ พระเจ้าขา้ .” พระราชา. “ฉันเองเห็น ฉันจะเชื่อเจ้าไม่ได้, หญิงถ่อย จงฉบิ หาย.” พระนาง. “ขอเดชะฝา่ ละอองธลุ พี ระบาทปกเกลา้ ฯ ผู้ใด ผหู้ นงึ่ เขา้ ไปยงั ซมุ้ นำ�้ นผี้ เู้ ดยี วเทา่ นน้ั กป็ รากฏ เป็นสองคน แกผ่ ้ทู ีแ่ ลดทู างพระแกลน.ี้ ” พระราชา. “เจ้าพดู ไมจ่ รงิ หญิงช่วั .” พระนาง. “พระเจ้าข้า ถ้าพระองค์ไม่ทรงเชื่อหม่อมฉัน ขอเชิญพระองค์เสด็จเข้าไปยังซุ้มน�้ำนั้น. หมอ่ มฉันจะแลดูพระองค์ทางพระแกลน.้ี ” พระราชาตดิ จะเขลา จงึ ทรงเชอื่ ถอ้ ยคำ� ของพระนาง แลว้ เสดจ็ เขา้ ไปยงั ซมุ้ น�้ำ. ฝ่ายพระนางเทวนี ้ันแล ทรงยืน ทอดพระเนตรอยู่ที่พระแกล ทูลว่า “มหาราชผู้มืดเขลา อะไรนั่น. พระองคท์ รงทำ� สันถวะกบั นางแพะ” แม้เม่ือพระราชาจะตรัสว่า “นางผู้เจริญ ฉันมิได้ ท�ำกรรมเห็นปานนั้น” ก็ทูลว่า “แม้หม่อมฉันเห็นเอง หม่อมฉนั จะเช่ือพระองค์ไม่ได้.” พระราชาทรงสดับค�ำน้ันแลว้ กท็ รงเช่ือว่า ‘ผู้เข้าไป ยงั ซ้มุ นำ้� น้ี ผูเ้ ดียวเทา่ นน้ั ก็ย่อมปรากฏเปน็ สองคนแน่.’ 8 อุบาสิกา ฉบบั ราชนิกลู -พระเถรี www.kalyanamitra.org
พระนางมลั ลกิ าทรงดำ� รวิ า่ ‘พระราชานเี้ ราลวงไดแ้ ลว้ กเ็ พราะพระองคโ์ งเ่ ขลา, เราทำ� กรรมชว่ั แลว้ กพ็ ระราชานี้ เรากล่าวตู่ด้วยค�ำไม่จริง, แม้พระศาสดาจะทรงทราบ กรรมน้ีของเรา, พระอัครสาวกทั้งสองก็ดี พระอสีติมหา- สาวกก็ดี จะทราบ, ตายจริง เราทำ� กรรมหนักแลว้ .’ พระนางมลั ลกิ านไ้ี ดม้ สี ว่ นในอสทสิ ทานของพระราชา. ก็ในอสทิสทานนั้น การบริจาคท่ีทรงท�ำในวันหน่ึง มีค่า ถึงทรัพย์ ๑๔ โกฏิ. ก็เศวตฉัตร บัลลังก์ประทับนั่ง เชิงบาตร ตั่งส�ำหรับรองพระบาทของพระตถาคตเจ้า ๔ อยา่ งน้ี ไดม้ ีคา่ นับไม่ได.้ ในเวลาจะส้ินพระชนม์ พระนางมัลลกิ านัน้ มิไดท้ รง นึกถึงการบริจาคใหญ่ เห็นปานนั้น ทรงระลึกถึงกรรม อนั ลามกนน้ั อยา่ งเดยี ว สน้ิ พระชนมแ์ ลว้ กบ็ งั เกดิ ในอเวจ.ี พระนางมลั ลกิ านนั้ ไดเ้ ปน็ ผโู้ ปรดปรานของพระราชา อยา่ งยง่ิ . ทา้ วเธออนั ความโศกเปน็ กำ� ลงั ครอบงำ� รบั สง่ั ให้ ทำ� ฌาปนกจิ พระสรรี ะของพระนางแลว้ ทรงดำ� รวิ า่ ‘เราจะ ทูลถามสถานท่ีเกิดของพระนาง’ จึงได้เสด็จไปยังส�ำนัก ของพระศาสดา. พระศาสดาไดท้ รงทำ� โดยประการทที่ า้ วเธอระลกึ ถงึ เหตุที่เสด็จมาไม่ได้. ท้าวเธอทรงสดับธรรมกถาชวนให้ 9 พระนางมลั ลิกาเทวี www.kalyanamitra.org
ระลึกถึงในส�ำนักของพระศาสดาแล้ว ก็ทรงลืม; ในเวลา เสด็จเข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ ทรงระลึกได้ จึงตรัสว่า “พนาย (ค�ำเรียกคนในบังคับ, ‘พ่อนาย’) ฉันตั้งใจว่า ‘จะทูลถามที่พระนางมัลลิกาเทวีเกิด’ ไปยังส�ำนักของ พระศาสดากล็ มื เสยี . วนั พรงุ่ น้ี ฉนั จะทลู ถามอกี ” ดงั นแี้ ลว้ กไ็ ดเ้ สดจ็ ไป แม้ในวนั รงุ่ ขึ้น. ฝ่ายพระศาสดาก็ได้ทรงท�ำโดยประการที่ท้าวเธอ ระลกึ ไม่ได้ตลอด ๗ วนั โดยล�ำดบั . ฝ่ายพระนางมัลลิกานั้นไหม้ในนรกตลอด ๗ วัน เทา่ นน้ั . ในวนั ที่ ๘ จตุ จิ ากท่ีน้ันแล้ว เกดิ ในดสุ ติ ภพ. ถามวา่ ก็เพราะเหตุไร พระศาสดาจึงได้ทรงท�ำความท่ี พระราชานน้ั ทรงระลึกไม่ได?้ แกว้ า่ ทราบว่า พระนางมัลลิกาน้ันได้เป็นที่โปรดปราน พอพระทัยของพระราชานั้น อย่างท่ีสุด เพราะฉะน้ัน ท้าวเธอทราบว่า พระนางเกิดในนรกแล้ว ก็จะทรง ยึดถือมิจฉาทิฏฐิ ด้วยทรงด�ำริว่า ‘ถ้าหญิงผู้สมบูรณ์ 10 อุบาสิกา ฉบบั ราชนกิ ลู -พระเถรี www.kalyanamitra.org
ดว้ ยศรทั ธาเหน็ ปานน้ี เกดิ ในนรกไซร้ เราจะถวายทาน ท�ำไม?’ ดังน้ีแล้ว ก็จะรับส่ังให้เลิกนิตยภัตที่เป็นไป ในพระราชนเิ วศนเ์ พอ่ื ภกิ ษุ ๕๐๐ รปู แลว้ พงึ เกดิ ในนรก เพราะฉะนน้ั พระศาสดาจงึ ทรงทำ� ความทพ่ี ระราชา นั้นทรงระลึกไมไ่ ดต้ ลอด ๗ วนั ในวนั ที่ ๘ ทรงด�ำเนินไปเพื่อบณิ ฑบาต ไดเ้ สด็จไป ยงั ประตพู ระราชวงั ด้วยพระองคเ์ องทเี ดยี ว. พระราชาทรงทราบว่า ‘พระศาสดาเสด็จมาแล้ว’ จึงเสด็จออก ทรงรับบาตรแล้ว ปรารภเพ่ือจะเสด็จขึ้นสู่ ปราสาท. แตพ่ ระศาสดาทรงแสดงพระอาการเพอื่ จะประทบั นง่ั ที่โรงรถ. พระราชาจึงทูลอัญเชิญพระศาสดาให้ประทับนั่ง ณ ท่ีน้ันเหมือนกัน ทรงรับรองด้วยข้าวยาคูและของควร เคี้ยวแล้ว จึงถวายบังคม พอประทับนั่ง ก็กราบทูลว่า “หม่อมฉันมาก็ด้วยประสงค์ว่า ‘จะทูลถามที่เกิดของ พระนางมัลลิกาเทวี แล้วลืมเสีย พระนางเกิดในท่ีไหน หนอแล? พระเจ้าข้า.’ ” 11 พระนางมลั ลกิ าเทวี www.kalyanamitra.org
พระศาสดา. “ในดุสติ ภพ มหาบพิตร.” พระราชา. “พระเจา้ ขา้ เมอ่ื พระนางไมบ่ งั เกดิ ในดสุ ติ ภพ คนอนื่ ใครเลา่ จะบงั เกดิ พระเจา้ ขา้ หญงิ เชน่ กับ พระนางมัลลิกานั้นไม่มี เพราะในที่ๆ พระนางนงั่ เปน็ ตน้ กจิ อน่ื เวน้ การจดั แจงทาน ด้วยคิดว่า ‘พรุ่งน้ี จะถวายส่ิงนี้ จะท�ำสิ่งนี้ แด่พระตถาคต’ ดังน้ีไม่มีเลย พระเจ้าข้า ตงั้ แตเ่ วลา พระนางไปสปู่ รโลกแลว้ สรรี ะของ หมอ่ มฉันไมค่ อ่ ยกระปรี้กระเปร่า.” ลำ� ดบั นน้ั พระศาสดาตรสั กบั ทา้ วเธอวา่ “อยา่ คดิ เลย มหาบพิตร น้ีเป็นธรรมอันแน่นอนของสัตว์ทุกจ�ำพวก” แล้วตรัสถามว่า “นรี้ ถของใคร? มหาบพิตร.” พระราชาทรงประดิษฐานอัญชลีไว้เหนือพระเศียร แลว้ ทูลวา่ “ของพระเจ้าป่ขู องหม่อมฉนั พระเจ้าขา้ .” พระศาสดา. “น้ี ของใคร?” พระราชา. “ของพระชนกของหมอ่ มฉนั พระเจา้ ขา้ .” เมื่อพระราชากราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระศาสดา จึงตรัสว่า “มหาบพิตร รถของพระเจ้าปู่ของมหาบพิตร เพราะเหตุไร จึงไม่ถึงรถของพระชนกของมหาบพิตร, 12 อบุ าสิกา ฉบบั ราชนกิ ลู -พระเถรี www.kalyanamitra.org
รถของพระชนกของมหาบพิตร ไม่ถึงรถของมหาบพิตร, ความคร่�ำคร่าย่อมมาถึง แม้แก่ท่อนไม้เห็นปานน้ี, ก็จะ กล่าวไปไย ความคร่�ำคร่าจะไม่มาถึงแม้แก่อัตภาพเล่า? มหาบพติ ร ความจรงิ ธรรมของสัตบุรษุ เทา่ น้ันไมม่ ีความ ชรา, สว่ นสตั วท์ ัง้ หลายช่อื ว่าไมช่ รา ย่อมไมม่ ี.” ดังน้ีแล้ว ตรัสพระคาถานว้ี า่ ราชรถท่วี ิจติ รดี ยงั ครครา่ ไดแ้ ล, อน่งึ ถงึ สรรี ะ กย็ อ่ มถึงความคร่าครา่ , ธรรมของสัตบรุ ุษหาเขา้ ถึงความครา่ ครา่ ไม,่ สตั บรุ ษุ ท้งั หลายแล ยอ่ มปราศรยั กบั ด้วยสตั บรุ ษุ .0 ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผล ทง้ั หลาย มโี สดาปัตติผลเปน็ ต้น ดงั นแี้ ล. เรื่องพระนางมัลลกิ าเทวีจบ. 13 พระนางมัลลกิ าเทวี www.kalyanamitra.org
14 อุบาสกิ า ฉบับราชนิกลู -พระเถรี www.kalyanamitra.org
๒ เรื่องเจ้าหญิงโรหณิ ๒ี สถานทต่ี รัส นิโครธาราม เล่ากันว่า สมัยหนึ่ง พระอนุรุทธผู้มีอายุได้ไปเมือง กบิลพสั ดุ์พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รปู . พวกพระญาติของท่าน ทรงสดับว่า ‘พระเถระมา’ จงึ ไดไ้ ปสสู่ ำ� นกั พระเถระ เวน้ แตพ่ ระนอ้ งนางของพระเถระ ช่อื ‘โรหณิ ’ี พระเถระถามพวกพระญาติว่า “พระนางโรหิณีอยู่ ที่ไหน ?” พวกพระญาติ. “อยู่ในตำ� หนกั เจา้ ข้า.” พระเถระ. “เหตุไร ? จึงไมเ่ สดจ็ มา.” พวกพระญาต.ิ “พระนางไม่เสด็จมาเพราะทรงละอายว่า ‘โรคผิวหนงั เกดิ ที่สรีระของเขา’ เจา้ ขา้ .” ๒ ตน้ ฉบบั ธมั มปทฏั ฐกถา อรรถกถาขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท, โกธวรรควรรณนา, ล.๔๒, น.๔๒๖, มมร. 15 เจ้าหญงิ โรหิณี www.kalyanamitra.org
พระเถระกล่าวว่า “ท่านท้ังหลาย จงเชิญพระนาง เสด็จมาเถิด” ให้ไปเชิญพระนางเสด็จมาแล้ว จึงกล่าว อย่างนี้ กับพระนางผู้ทรงฉลองพระองค์เสด็จมาแล้วว่า “โรหิณี เหตุไรเธอจึงไมเ่ สด็จมา?.” พระนางโรหณิ .ี “ท่านผู้เจริญ โรคผิวหนังเกิดข้ึนที่สรีระ ของหม่อมฉนั ; เหตุน้ัน หมอ่ มฉนั จึงมิได้ มาดว้ ยความละอาย.” พระเถระ. “ก็เธอควรทรงท�ำบญุ ไม่ดหี รอื ?” พระนางโรหณิ ี. “จะท�ำอะไรดี? เจ้าขา้ .” พระเถระ. “จงใหส้ ร้างโรงฉนั .” พระนางโรหณิ ี. “หม่อมฉันจะเอาอะไรไปทำ� ?” พระเถระ. “ก็เครอื่ งประดบั ของเธอไม่มีหรือ?” พระนางโรหิณ.ี “มีอยู่ เจา้ ขา้ .” พระเถระ. “ราคาเทา่ ไร?” พระนางโรหณิ .ี “จะมรี าคาหนง่ึ หมน่ื .” พระเถระ. “ถ้าอย่างนั้น จงขายเครื่องประดับนั้น ให้สรา้ งโรงฉันเถิด” พระนางโรหิณ.ี “ผู้ใดเล่า? จะทำ� ใหห้ มอ่ มฉนั เจา้ ขา้ .” พระเถระ แลดพู ระญาตซิ งึ่ ยนื อยใู่ นทใ่ี กลแ้ ลว้ กลา่ ววา่ “ขอจงเปน็ ภาระของพวกทา่ นทั้งหลาย.” พวกพระญาติ. “ก็พระคุณเจา้ จะท�ำอะไรหรือ? เจ้าข้า.” 16 อุบาสกิ า ฉบับราชนกิ ูล-พระเถรี www.kalyanamitra.org
พระเถระ. “แม้อาตมภาพก็จะอยู่ในท่ีนี้เหมือนกัน, ถ้ากระนั้น พวกทา่ นจงน�ำทัพพสัมภาระ๓ มาเพื่อโรงฉนั นี่.” พวกพระญาติน้ัน รับว่า “ดลี ะ เจา้ ข้า” จึงนำ� มาแล้ว. พระเถระเมอ่ื จะจดั โรงฉนั จงึ กลา่ วกบั พระนางโรหณิ ี วา่ “เธอจงใหท้ ำ� โรงฉนั เปน็ ๒ ชนั้ เมอ่ื พน้ื ชนั้ บนเรยี บรอ้ ย แลว้ จงกวาดพื้นล่าง แลว้ ให้ปูอาสนะไวเ้ สมอ ๆ, จงใหต้ ง้ั หมอ้ นำ�้ ดมื่ ไว้เสมอ ๆ.” พระนางรับค�ำวา่ “ดีละ เจ้าข้า” แล้วจำ� หนา่ ยเครื่อง ประดบั ใหท้ ำ� โรงฉัน ๒ ช้ัน เม่ือพื้นชั้นบนเรียบรอ้ ยแล้ว ไดท้ รงทำ� กจิ มกี ารกวาดพนื้ ลา่ งเปน็ ตน้ เนอื ง ๆ. พวกภกิ ษุ ก็นั่งเสมอ ๆ. เมื่อพระนางกวาดโรงฉันอยู่นั่นแล. โรคผิวหนัง ก็ราบไปแล้ว เมื่อโรงฉันเสร็จ พระนางนิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้วได้ถวายขาทนียะ๔ และ โภชนียะที่ประณีตแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ซง่ึ นั่งเต็มโรงฉัน. ๓ อา่ นวา่ สำ� -พา-ระ แปลวา่ น. สงิ่ ของตา่ งๆ เชน่ เครอ่ื งมอื เครอื่ งใช้ และเสบียงซ่ึงสะสมรวบรวมหรอื จัดเตรยี มไว้เพอื่ ภาระต่าง ๆ ๔ อา่ นวา่ ขา-ทะ-น-ี ยะ แปลวา่ น. อาหารควรเคยี้ ว มกั ใชเ้ ขา้ คกู่ บั คำ� โภชนยี ะ เปน็ ขาทนยี โภชนยี ะ หมายความวา่ อาหารทคี่ วร เคีย้ วและอาหารทค่ี วรบรโิ ภค. 17 เจา้ หญิงโรหิณี www.kalyanamitra.org
พระศาสดา ทรงท�ำภัตกิจเสร็จแล้ว ตรัสถามว่า “น่เี ปน็ ทานของใคร?” พระอนุรทุ ธ. “ของโรหิณีพระน้องนางของข้าพระองค์ พระเจา้ ขา้ ” พระศาสดา. “กน็ างไปอย่ทู ี่ไหน?” พระอนรุ ุทธ. “อยใู่ นตำ� หนัก พระเจา้ ข้า.” พระศาสดา. “พวกท่านจงไปเรยี กนางมา.” พระนางไม่ประสงค์จะเสด็จมา. ทีน้ัน พระศาสดา รับสั่งให้เรียกพระนางแม้ไม่ปรารถนาจะมาจนได้, ก็แล พระศาสดาตรสั กบั พระนางผเู้ สด็จมาถวายบงั คม ประทบั นัง่ แลว้ วา่ “โรหณิ ี เหตไุ รเธอจงึ ไมม่ า?” พระนางโรหิณ.ี “โรคผิวหนังมีที่สรีระของหม่อมฉัน พระเจ้าข้า. หม่อมฉันละอายด้วยโรคน้ัน จงึ มิได้มา.” พระศาสดา. “ก็เธอรู้ไหมว่า ‘โรคนั้นอาศัยกรรมอะไร ของเธอ จึงเกดิ ขึ้น?’ ” พระนางโรหิณี. “หม่อมฉันไมท่ ราบ พระเจา้ ข้า.” พระศาสดา. “โรคน้ันอาศัยความโกรธของเธอ จึง เกิดข้นึ แล้ว.” พระนางโรหิณี. “กห็ มอ่ มฉนั ทำ� กรรมอะไรไว?้ พระเจา้ ขา้ .” 18 อบุ าสิกา ฉบับราชนิกลู -พระเถรี www.kalyanamitra.org
ล�ำดับนั้น พระศาสดาทรงน�ำอดีตนิทานมาตรัสแก่ พระนางวา่ :- ในอดีตกาล พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ผูกอาฆาตในหญิงนักฟ้อนของพระราชาองค์หน่ึง ทรง ด�ำริว่า ‘เราจะให้ทุกข์เกิดแก่หญิงนั้น’ แล้วให้เขาน�ำ ลูกเต่าร้างใหญ่ มารับสั่งให้เรียกหญิงนักฟ้อนนั้นมายัง ส�ำนักของตนแล้ว. ให้ใส่ผงเต่าร้างบนท่ีนอน ที่ผ้าห่ม และที่ระหว่างเคร่ืองใช้ มีผ้าปูท่ีนอนเป็นต้นของหญิง นักฟ้อนน้ัน โดยประการท่ีนางไม่ทันรู้ตัว. โปรยลงแม้ท่ี ตัวของนาง ราวกระทำ� ความเย้ยหยัน๕ เลน่ ทนั ใดนั้นเอง สรรี ะของหญงิ นน้ั ไดพ้ พุ องขน้ึ เปน็ ตมุ่ นอ้ ยตมุ่ ใหญ.่ นางเกา อยู่ไปนอนบนท่ีนอน. เมื่อนางถูกผงเต่าร้างกัด แม้บน ที่นอนน้ัน เวทนากล้าย่ิงนักเกิดข้ึนแล้ว. พระอัครมเหสี ในกาลน้ันไดเ้ ป็นพระนางโรหิณี. พระศาสดา ครนั้ ทรงน�ำอดีตนทิ านนมี้ าแล้ว ตรัสว่า “โรหณิ ี กก็ รรมนน่ั ทเี่ ธอทำ� แลว้ ในอดตี กาลนนั้ , กค็ วามโกรธ ก็ดี ความริษยาก็ดี แมม้ ีประมาณเลก็ นอ้ ย ย่อมไม่ควรทำ� เลย” ดังน้แี ล้ว จึงตรสั พระคาถาน้ีว่า :- ๕ ก. พดู หรอื แสดงกริ ยิ าดถู กู เยาะเยย้ ใหไ้ ดอ้ าย ใหเ้ จบ็ ใจ ใหโ้ กรธ. 19 เจา้ หญงิ โรหิณี www.kalyanamitra.org
บคุ คลพึงละความโกรธ, สละความถอื ตวั , ลว่ งสงั โยชน์ทัง้ ส้นิ ได้ ทุกข์ท้ังหลายย่อมไมต่ กตอ้ ง บคุ คลน้ัน ผู้ไม่ข้องในนามรูป ไมม่ กี ิเลสเครอื่ งกงั วล. เมอื่ จบเทศนา ชนเปน็ อนั มากบรรลอุ รยิ ผลทงั้ หลาย มีโสดาปัตติผลเปน็ ตน้ . แม้พระนางโรหิณี ก็ด�ำรงอยู่ในโสดาปัตติผล สรีระ ของพระนางไดม้ ีวรรณะดจุ ทองค�ำ ในขณะนนั้ เอง. พระนางละจากอตั ภาพนน้ั แลว้ เกดิ ในระหวา่ งเขตแดน ของเทพบุตร ๔ องค์ ในภพดาวดึงส์ ได้เป็นผู้น่าดู น่าเลือ่ มใส ถึงความเปน็ ผมู้ ีรูปงามเลิศ เทพบตุ รทง้ั ๔ องคเ์ หน็ นางแลว้ เปน็ ผเู้ กดิ ความสเิ นหา ววิ าทกันวา่ “นางเกิดภายในแดนของเรา, นางเกิดภายใน แดนของเรา,” ไปสสู่ ำ� นกั ของทา้ วสกั กเทวราช กราบทลู วา่ “ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระองค์ทั้งสี่เกิดคดีขึ้น เพราะอาศัย เทพธิดานี้, ขอพระองคท์ รงวนิ จิ ฉยั คดีนั้น.” แมท้ า้ วสกั กะ ครน้ั พอไดท้ รงเหน็ พระนางกเ็ ปน็ ผเู้ กดิ สิเนหา ตรัสอย่างนว้ี า่ “เม่ือเวลาท่พี วกท่านเห็นเทพธดิ า นแ้ี ลว้ จติ เกิดข้นึ อยา่ งไร?” 20 อุบาสิกา ฉบับราชนิกลู -พระเถรี www.kalyanamitra.org
เทพบุตรองค์หนึ่งกราบทูลว่า “จิตของข้าพระองค์ เกิดขึ้นดุจกลองในคราวสงครามก่อน ไม่อาจจะสงบลง ได้เลย.” องค์ท่ี ๒ “จิตของข้าพระองค์ เกิดข้ึนเหมือนแม่น้�ำ ตกจากภูเขายอ่ มเปน็ ไปเร็วพลนั ทเี ดยี ว.” องคท์ ี่ ๓ “ตง้ั แตท่ ขี่ า้ พระองคเ์ หน็ นางนแ้ี ลว้ ตาทงั้ สอง ถลนออกแล้ว ดุจตาของป.ู ” องคท์ ่ี ๔ “จิตของข้าพระองค์ประดุจธงที่เขายกข้ึน บนเจดีย์ ไม่สามารถจะดำ� รงนิง่ อยูไ่ ด.้ ” ครง้ั นน้ั ทา้ วสกั กะตรสั กบั เทพบตุ รทง้ั สน่ี น้ั วา่ “พอ่ เจา้ ท้ังหลาย จิตของพวกท่านยังพอข่มได้ก่อน ส่วนเราเม่ือ ไดเ้ หน็ เทพธดิ าน้ี จงึ จะเปน็ อย,ู่ เมอื่ เราไมไ่ ด้ จะตอ้ งตาย.” พวกเทพบุตรจึงทูลว่า “ข้าแต่มหาราช พวกข้า พระองค์ไม่มีความต้องการด้วยความตายของพระองค์” แลว้ ต่างสละเทพธดิ านัน้ ถวายทา้ วสกั กะแล้วหลีกไป. เทพธดิ านน้ั ไดเ้ ปน็ ทร่ี กั ทพี่ อพระหฤทยั ของทา้ วสกั กะ เม่ือนางกราบทูลว่า “หม่อมฉันจะไปสู่สนามเล่นชื่อโน้น” ทา้ วสกั กะกไ็ มส่ ามารถจะทรงขดั คำ� ของนางไดเ้ ลย ดงั นแี้ ล. เรอื่ งเจา้ หญิงโรหิณี จบ. 21 เจ้าหญิงโรหิณี www.kalyanamitra.org
22 อุบาสกิ า ฉบับราชนิกลู -พระเถรี www.kalyanamitra.org
๓ เร่ืองพระนางสามาวด๖ี ประวตั ิพระนางสามาวดี พระนางวาสลุ ทัตตา และพระนางมาคันทยิ า ในกาลนนั้ เศรษฐนี ามวา่ ‘ภทั ทวตยิ ะ’ ในภทั ทวดนี คร ไดเ้ ปน็ อทฏิ ฐบพุ พสหาย (เพ่ือนทไี่ ม่เคยพบเหน็ กนั ) ของ โฆสกเศรษฐแี ล้ว. โฆสกเศรษฐีได้ฟังถึงสมบัติและวัยและประเทศ๗ ของภัททวติยเศรษฐีจากพวกพ่อค้า ซึ่งมาแล้วจาก ภทั ทวดนี คร ปรารถนาความเปน็ สหายกบั เศรษฐนี น้ั จงึ สง่ เครอื่ งบรรณาการ๘ ไปแล้ว. ๖ ตน้ ฉบบั ธมั มปทฏั ฐกถา อรรถกถาขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท, ๗ อนปั. ตปำ�มบาลท,วบรรา้ คนวเมรรือณง,นแาว,่นลแ.๔คว๐้น, นม.๒อี า๒ณ๐า,เมขมตรแ.นน่ อน มีอ�ำนาจ อธิปไตย ท่ีจะใช้ได้อย่างอิสรเสรี เพื่อประโยชน์สุขของมนุษย์ ๘ ทอา่ี่อนยวรู่ า่่วมบกนั นั -น, า-กาน แปลวา่ น. สง่ิ ทสี่ ง่ ไปใหด้ ว้ ยความเคารพ นับถอื หรอื ดว้ ยไมตร.ี 23 พระนางสามาวดี www.kalyanamitra.org
แมภ้ ทั ทวตยิ เศรษฐไี ดฟ้ งั ถงึ สมบตั แิ ละวยั และประเทศ ของโฆสกเศรษฐจี ากพวกพอ่ คา้ ซงึ่ มาแลว้ จากกรงุ โกสมั พี ปรารถนาความเปน็ สหายกบั เศรษฐี จงึ สง่ เครอ่ื งบรรณาการ ไปแล้ว เศรษฐีท้ังสองน้ันได้เป็นอทิฏฐบุพพสหายกัน และกนั อยู่แลว้ อย่างน.ี้ ต่อมา เกิดอหิวาตกโรคขึ้น ในเรือนของภัททวติย เศรษฐี เมอื่ อหวิ าตกโรคนนั้ เกดิ แลว้ แมลงวนั ยอ่ มตายกอ่ น, จากนั้น ตั๊กแตน หนู ไก่ สุกร สุนัข แมว โค ทาสหญิง ทาสชาย ยอ่ มตายไปตามลำ� ดบั กันทีเดียว. ผ้เู ป็นเจ้าของ เรือนย่อมตายทีหลังเขาทั้งหมด. คนเหล่านั้น พวกใด หนไี ปจากเรือน พวกน้ันยอ่ มรอดชวี ิต. ในเวลานนั้ เศรษฐี ภรยิ าและลกู สาวกห็ นไี ปโดยวธิ นี นั้ ปรารถนาจะเหน็ โฆสกเศรษฐี จงึ เดนิ ทางไปสกู่ รงุ โกสมั พ.ี ๓ คนนนั้ มเี สบยี งหมดลงในระหวา่ งทาง มรี า่ งกายอดิ โรย ดว้ ยลมและแดด และดว้ ยความหวิ กระหาย ถงึ กรงุ โกสมั พี ด้วยความล�ำบาก อาบน�้ำในสถานที่สบายด้วยน้�ำแล้ว ก็ เขา้ ไปสู่ศาลาแห่งหนึง่ ทปี่ ระตูเมอื ง. ครงั้ น้นั เศรษฐีกล่าวกบั ภรยิ าว่า “นางผเู้ จริญ ผู้มา ลักษณะน้ี ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจ แม้แต่แม่ผู้บังเกิดเกล้า, ทราบว่า ‘สหายของเราสละทรัพย์วันละพัน ให้ทานแก่ 24 อบุ าสิกา ฉบับราชนิกูล-พระเถรี www.kalyanamitra.org
คนเดินทาง คนก�ำพร้าเป็นต้น’ เราส่งลูกสาวไปในที่น้ัน ให้น�ำอาหารมากินในที่นี้ และอีกสกั วนั สองวันแลว้ จึงจะ ไปเยอื นสหาย.” นางรับว่า “ดีแล้วนาย” เขาพากันพักอยู่ที่ศาลา นน่ั แล. วันรุ่งขึ้น เมื่อเขาบอกเวลาแล้ว เมื่อคนก�ำพร้าและ คนเดินทางเป็นต้น ก�ำลังไปเพ่ือต้องการอาหาร, มารดา และบิดาจึงส่งลูกสาวไปด้วย กล่าวว่า “แม่หนู จงไปน�ำ อาหารมาเพือ่ พวกเรา.” ธดิ าของตระกลู ทมี่ โี ภคะมาก ไมล่ ะอายเทยี ว เพราะ ความละอายของตนถกู ทำ� ลายหมดสน้ิ แลว้ ถอื ถาดไปเพอ่ื ขออาหารพร้อมกบั คนกำ� พรา้ มิตตกุฏมุ พี ถามวา่ “ท่านจะรับก่สี ่วน? แมน่ าง” กบ็ อกว่า “๓ ส่วน.” มติ ตกุฏมุ พจี ึงให้ภัตตาหาร ๓ ส่วนแก่นาง. เมอื่ นางนำ� ภตั มาแลว้ ทง้ั ๓ กน็ งั่ เพอ่ื บรโิ ภครว่ มกนั . ครั้งน้ัน มารดาและลูกสาวจึงกล่าวกับเศรษฐีว่า “นาย ความวบิ ตั ยิ อ่ มเกดิ ขนึ้ แมแ้ กต่ ระกลู ใหญ,่ อยา่ นกึ ถงึ พวกฉนั จงบริโภคก่อนเถิด, อย่าคิดเลย.” อ้อนวอนด้วยประการ ต่าง ๆ ท�ำใหเ้ ศรษฐนี นั้ บรโิ ภคแล้ว ดว้ ยประการอย่างน.้ี 25 พระนางสามาวดี www.kalyanamitra.org
เศรษฐนี น้ั บรโิ ภคแลว้ อาหารไมอ่ าจยอ่ ยได,้ วนั รงุ่ ขนึ้ ไปไดล้ ะโลกแล้ว. มารดาและลูกสาวครำ่� ครวญ ร�่ำไห้ดว้ ย ประการต่าง ๆ. วันรุ่งข้ึน สาวน้อยเดินร้องไห้ไปหาเพ่ือขออาหาร มิตตกุฏุมพีน้ันเห็นเขาแล้ว จึงถามว่า “เจ้าจะรับกี่ส่วน? แม่นาง” จงึ บอกว่า “๒ ส่วน.” มิตตกุฏุมพีน้นั จึงได้ให้ ๒ ส่วน. นางนำ� มาแลว้ กอ็ อ้ นวอนใหม้ ารดาบรโิ ภค. มารดานน้ั เมอ่ื ธดิ าของตนนนั้ ออ้ นวอนใหบ้ รโิ ภคแลว้ อาหารกไ็ มอ่ าจ ย่อยได้เช่นกนั ในวนั นั้นก็ไดล้ ะโลกไปอีก. สาวนอ้ ยผเู้ ดยี วเทา่ นนั้ รอ้ งไหร้ ำ่� ไร เปน็ ผมู้ คี วามทกุ ข์ เพราะความหิว และทุกข์เกิดขึ้นแล้วอย่างมาก เพราะ ความทกุ ขท์ บี่ ดิ าและมารดาจากไปน้นั วันรุ่งขน้ึ เดนิ ร้องไห้ไปเพื่อขออาหารพรอ้ มกับพวก ยากจน มติ ตกุฏุมพถี ามวา่ “เจา้ จะรบั กีส่ ่วน? แม่นาง” จึงบอกวา่ “สว่ นเดียว.” มติ ตกฏุ มุ พจี ำ� นางผรู้ บั ภตั ไดท้ ง้ั ๓ วนั , เพราะเหตนุ น้ั จึงกล่าวกับนางว่า “ให้ตายเถิด หญิงถ่อย วันนี้เจ้ารู้จัก ประมาณทอ้ งของเจา้ หรอื ?” 26 อุบาสิกา ฉบับราชนกิ ูล-พระเถรี www.kalyanamitra.org
ธิดามีตระกูลสมบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ เหมือน ถูกแทงที่อกด้วยหอก และเหมือนรดด้วยน้�ำด่างที่แผล ร้องถามวา่ “อะไรหรอื ? นาย.” มิตตกุฏุมพี. “วนั ก่อนเจา้ รบั เอาไปแล้ว ๓ ส่วน, เมื่อวาน ๒ ส่วน วันนี้รับเอาส่วนเดียว, วันน้ี เจ้ารู้ ประมาณท้องของตวั แลว้ หรือ?” กุลธดิ า. “นาย ทา่ นอยา่ เขา้ ใจฉนั วา่ ‘รบั ไปเพอื่ ตนเอง ผู้เดยี ว.’ ” มิตตกฏุ ุมพี. “เมอ่ื เปน็ เชน่ นี้ ทำ� ไมเจา้ จงึ รบั เอาไป ๓ สว่ น? แมห่ นู.” กุลธดิ า. “ในวันก่อน พวกฉันมีด้วยกัน ๓ คน นาย, เมอ่ื วานนี้ มี ๒ คน, วนั นมี้ ฉี นั ผเู้ ดยี วเทา่ นนั้ .” มิตตกฏุ ุมพีจึงถามวา่ “เพราะเหตไุ ร?” ฟังเรอ่ื งท้ังหมดท่ีนางเล่าแล้ว ตงั้ แตต่ น้ ไม่สามารถ จะกลนั้ นำ้� ตาไวไ้ ด้ เกดิ ความเศรา้ ใจอยา่ งเหลอื เกนิ จงึ บอก วา่ “แม่หนู เมอ่ื เปน็ อยา่ งนี้ อยา่ คดิ ไปเลย, ท่านเป็นธิดา ของภทั ทวตยิ เศรษฐี ตงั้ แตว่ นั นไ้ี ป จงเปน็ ธดิ าของเราเถดิ ” ดังนีแ้ ลว้ จุมพติ ทศ่ี ีรษะ นำ� ไปสู่ท่เี รือน ตั้งไว้ในตำ� แหน่ง ธิดาคนโตของตนแล้ว. ธดิ าเศรษฐนี น้ั ฟงั เสยี งองึ คะนงึ ในโรงทาน จงึ ถามวา่ “พอ่ ทำ� ไมจงึ ไมท่ ำ� คนพวกนใ้ี หเ้ งยี บเสยี ง แลว้ ใหท้ านเลา่ ?” 27 พระนางสามาวดี www.kalyanamitra.org
มิตตกฏุ มุ พี จึงกลา่ ววา่ “ไมอ่ าจทำ� ได้ แมห่ น.ู ” ธดิ าเศรษฐี. “อาจทำ� ได้นะ พ่อ.” มติ ตกฏุ ุมพ.ี “ท�ำอยา่ งไร? แม่หน.ู ” ธิดาเศรษฐ.ี “พ่อ ขอท่านจงล้อมโรงทาน ติดประตูไว้ ๒ แห่งพอประมาณคนผู้เดียวเข้าไปได้เท่านั้น แล้ว จงบอกว่า ‘พวกท่านจงเข้าประตูหนึ่ง ออกประตหู นงึ่ ’ ดว้ ยอาการอยา่ งน้ี คนทง้ั หลาย กจ็ ะเงยี บเสยี งเอง แลว้ มารบั ทานไป.” มิตตกุฏุมพีได้ฟังค�ำนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า “อุบาย เขา้ ทดี ี แม่หนู” ดังนี้ ใหก้ ระท�ำตามดังน้นั แล้ว. ธดิ าเศรษฐีนนั้ เมอ่ื กอ่ น ช่ือ ‘สามา’, แต่เพราะนาง ให้กระท�ำรวั้ ข้ึน จึงมีชอ่ื ว่า ‘สามาวด’ี , ตั้งแต่น้ัน ความโกลาหลในโรงทาน ก็ขาดหายไป. โฆสกเศรษฐีได้ฟังเสียงน้ัน ในเวลาก่อน ๆ ก็พอใจว่า ‘เสียงในโรงทานของเรา’, แต่เมือ่ ไม่ไดย้ ินเสยี ง ๒-๓ วัน จึงถามมิตตกุฏุมพีผู้มาสู่เรือนของตนว่า “ทานเพ่ือ คนก�ำพร้าและเพ่ือคนเดินทางไกลเป็นต้น อันท่านยังให้ อยู่หรอื ?” มติ ตกฏุ มุ พ.ี “ขอรับ นาย.” โฆสกเศรษฐี. “เมอ่ื เป็นอย่างน้ี ท�ำไม ฉนั จงึ ไม่ได้ยนิ เสยี ง มา ๒-๓ วนั แล้ว?” 28 อบุ าสกิ า ฉบับราชนิกูล-พระเถรี www.kalyanamitra.org
มิตตกุฏมุ พี. “ฉนั มหี นทาง ทจี่ ะทำ� ใหพ้ วกเขาไมม่ เี สยี งดงั เวลารับของกนั .” โฆสกเศรษฐ.ี “เมอ่ื เปน็ อยา่ งนี้ เพราะเหตไุ ร ทา่ นจงึ ไมท่ ำ� เสียตั้งแตเ่ ม่อื ก่อนเล่า?” มติ ตกฏุ ุมพี. “เพราะไมร่ ้วู ิธี นาย.” โฆสกเศรษฐ.ี “แล้วเดย๋ี วนี้ ท่านรู้ได้อยา่ งไรเลา่ ? ” มิตตกฏุ ุมพ.ี “ลกู สาวของฉนั บอกให้ นาย. ” โฆสกเศรษฐ.ี “ลกู สาวของท่านทีฉ่ ันไมร่ ูจ้ กั มอี ยูห่ รอื ?” มติ ตกฏุ มุ พนี น้ั เลา่ เรอ่ื งของภทั ทวตยิ เศรษฐที งั้ หมด ต้งั แตเ่ กดิ อหิวาตกโรคแลว้ ก็บอกความที่ตน ตัง้ ธิดาของ เศรษฐีน้ันไวใ้ นตำ� แหนง่ ลกู สาวคนโตของตน. ครงั้ นน้ั เศรษฐกี ลา่ วกบั มติ ตกฏุ มุ พนี น้ั วา่ “ เมอื่ เปน็ อย่างน้ี เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่บอกแก่ฉัน? ธิดาแห่ง สหายของฉัน ก็ช่ือวา่ ธดิ าของฉนั ” ดังนี้แล้ว ให้เรยี กนางสามาวดนี ัน้ มาถามวา่ “แม่หนู ทา่ นเปน็ ลกู สาวเศรษฐีหรือ?” สามาวดี. “จะ้ คุณพอ่ .” โฆสกเศรษฐีกล่าวว่า “ถ้าอยา่ งนั้น เจา้ อยา่ คิดมาก ไปเลย เจ้าเปน็ ธดิ าของฉัน” ดงั นี้ จุมพิตนางสามาวดีนัน้ ทศี่ รี ษะ ใหห้ ญงิ ๕๐๐ นางแกน่ างสามาวดนี น้ั เพอ่ื เปน็ บรวิ าร ต้งั นางสามาวดนี ้ันไว้ในต�ำแหนง่ ธดิ าคนโตของตนแล้ว. 29 พระนางสามาวดี www.kalyanamitra.org
ต่อมาวันหน่ึง ในนครนั้นประกาศนักขัตฤกษ์แล้ว ก็ในงานนักขัตฤกษ์น้ัน แม้กุลธิดาท้ังหลายผู้มิได้ออกไป ภายนอก ต่างพากันเดนิ ไปสู่แมน่ ำ�้ อาบน�้ำกบั ด้วยบริวาร ของตนๆ. ในวันนั้น แม้นางสามาวดีอันหญิง ๕๐๐ นาง แวดลอ้ มแลว้ กไ็ ดไ้ ปเพอื่ อาบนำ้� ไปตามทางพระลานหลวง เช่นเดียวกัน. ฝ่ายพระเจ้าอุเทนประทับอยู่ท่ีสีหบัญชร (หนา้ ตา่ ง) ทอดพระเนตรเหน็ นางสามาวดนี นั้ จงึ ตรสั ถาม วา่ “พวกน้ี หญิงฟอ้ นของใคร?” ราชบรุ ษุ ทลู วา่ “ไม่ได้เป็นหญิงฟ้อนของใคร พระเจ้าข้า.” พระเจา้ อเุ ทน. “เมอ่ื เปน็ เชน่ น้ี เปน็ ลกู สาวของใครกนั เลา่ ?” ราชบรุ ุษ. “เป็นลูกสาวของโฆสกเศรษฐี พระเจ้าข้า นางนน้ั ชื่อ ‘สามาวด.ี ’ ” พระเจ้าอุเทนพอทอดพระเนตรเห็น ก็ทรงเกิด พระสเิ นหา จงึ รับส่งั ให้ส่งสาสน์ไปใหเ้ ศรษฐีวา่ ‘ได้ยนิ ว่า ขอท่านเศรษฐี จงสง่ ธิดามาใหแ้ ก่ฉัน.’ เศรษฐี. “ส่งใหไ้ ม่ได้ พระเจ้าข้า.” พระเจา้ อเุ ทน. “ไดย้ นิ วา่ ขอทา่ นเศรษฐอี ยา่ ทำ� อยา่ งนเ้ี ลย, ขอทา่ นเศรษฐีจงส่งมาจงได.้ ” 30 อุบาสิกา ฉบับราชนกิ ลู -พระเถรี www.kalyanamitra.org
เศรษฐี. “พวกข้าพระพุทธเจ้า ช่ือว่าคฤหบดี ให้ไมไ่ ด้ กเ็ พราะกลัวภัย คือการโบยตคี ร่า นางกมุ ารกิ า พระเจา้ ข้า.” พระราชาทรงกริว้ จงึ รบั ส่งั ให้ตตี ราเรือน จับเศรษฐี และภรยิ าของเศรษฐที ีม่ อื ใหอ้ ยู่ ณ ภายนอก. นางสามาวดอี าบนำ�้ แลว้ กลบั มา ไมส่ ามารถเขา้ บา้ น ได้ จงึ ถามว่า “น่เี กิดอะไรขนึ้ ? พ่อ” บดิ าตอบวา่ “แมห่ นู ในหลวงสง่ สาสนม์ า เพราะเหตุ ต้องการเจ้า. เมื่อพวกเรากล่าวว่า ‘ไม่ให้’ จึงรับส่ังให้ ตีตราเรอื น แลว้ รับสง่ั ให้พวกเราอยู่ ณ ภายนอก.” นางสามาวดจี งึ กลา่ ววา่ “พอ่ กรรมหนกั อนั พอ่ ทำ� แลว้ , ธรรมดาพระราชาเมอื่ สง่ สาสนม์ าแลว้ ไมค่ วรทลู วา่ ‘ไมใ่ ห’้ ควรทูลว่า ‘ถ้าพระองค์จะทรงรับธิดาของข้าพระพุทธเจ้า พรอ้ มทง้ั บริวาร กจ็ ะถวายสิพ่อ.’ ” เศรษฐีกล่าวว่า “ดีละ แม่หนู เม่ือเจ้าพอใจ พ่อก็ จะท�ำตามอย่างน้ัน” ดังนี้แล้ว จึงให้ส่งสาสน์ไปถวาย พระราชาตามนน้ั . พระราชาทรงรับว่า “ดแี ลว้ ” ทรงน�ำนางสามาวดีนัน้ มาพรอ้ มทง้ั บรวิ าร ทรงอภเิ ษกตงั้ ไวใ้ นตำ� แหนง่ อคั รมเหสี แล้ว. หญิงทีเ่ หลือก็ได้เปน็ บริวารของนางเหมือนกนั . นีเ้ ปน็ เรื่องของนางสามาวดี. 31 พระนางสามาวดี www.kalyanamitra.org
พระนางวาสุลทตั ตา (ปรากฏอยใู่ นเร่อื ง พระนางสามาวดี๙) พระเจา้ อุเทนไดม้ พี ระราชเทวีอกี พระองคห์ นึง่ ทรง พระนามว่า ‘พระนางวาสุลทัตตา’ เป็นพระราชธิดาของ พระเจ้าจัณฑปชั โชต. ในเมอื งอชุ เชนี มีพระราชาทรงพระนามวา่ ‘พระเจ้า จณั ฑปชั โชต.’ วนั หนง่ึ พระองคเ์ สดจ็ มาจากพระราชอทุ ยาน ทอดพระเนตรดูสมบัติของพระองค์แล้ว ตรัสว่า “สมบัติ เชน่ น้ี ของใครๆ อน่ื มไี หมหนอ?” เม่ืออ�ำมาตย์กราบทูลว่า “น่ีจะเรียกว่าสมบัติอะไร? สมบัติของพระเจ้าอุเทนในเมืองโกสัมพีมากย่ิงนัก” ดังนี้ แลว้ ตรัสว่า “ถา้ อย่างนั้น เราจะจับพระเจา้ อเุ ทนน้นั .” อ�ำมาตย์. “ใครๆ กไ็ มส่ ามารถจบั ทา้ วเธอได้ พระเจา้ ขา้ .” พระราชา. “เราจะท�ำอบุ ายบางอย่าง จับใหไ้ ด้.” อ�ำมาตย์. “ไมส่ ามารถหรอก พระเจ้าข้า.” พระราชา. “เพราะเหตุอะไร?” ๙ ตน้ ฉบบั ธมั มปทฏั ฐกถา อรรถกถาขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท, อปั ปมาทวรรควรรณนา, ล.๔๐, น.๒๖๔, มมร. 32 อุบาสกิ า ฉบับราชนิกูล-พระเถรี www.kalyanamitra.org
อำ� มาตย.์ “เพราะพระเจา้ อเุ ทนนน้ั รศู้ ลิ ปะ ชอ่ื ‘หสั ดกี นั ต’์ , ทรงร่ายมนต์แล้วดีดพิณหัสดีกันต์อยู่ จะให้ ช้างหนไี ปก็ได้, จะจับเอากไ็ ด้, ผทู้ ่ีพรงั่ พร้อม ด้วยพาหนะช้าง เช่นกับท้าวเธอ เปน็ ไม่มี.” พระราชา. “เราไมอ่ าจทจี่ ะจบั เขาไดห้ รอื ?” อ�ำมาตย์. “พระเจ้าข้า หากพระองคม์ ีความจ�ำนงพระทยั ฉะน้ี โดยสว่ นเดยี วแลว้ , ถา้ เชน่ นน้ั ขอพระองค์ จงรบั สงั่ ใหน้ ายช่างท�ำช้างไม้ข้ึน แล้วส่งไปยัง ทอ่ี ยขู่ องพระเจา้ อเุ ทนนน้ั , ทา้ วเธอทรงสดบั ถงึ พาหนะช้างหรือพาหนะม้าแล้ว ย่อมเสด็จไป แมท้ ไ่ี กล, เราจะสามารถจบั ทา้ วเธอผู้เสด็จมา ในทนี่ ัน้ ได.้ ” พระราชาตรสั ว่า “อบุ ายนี้ใช้ได้” ดังนีแ้ ลว้ จึงรับสง่ั ใหน้ ายชา่ งทำ� ชา้ งยนตส์ ำ� เรจ็ ดว้ ยไม้ เอาผา้ เกา่ หมุ้ ขา้ งนอก แล้วท�ำเป็นลวดลาย ให้ปล่อยไปที่ริมสระแห่งหน่ึง ในที่ ใกลแ้ วน่ แควน้ ของพระเจ้าอุเทนนนั้ . บรุ ษุ ๖๐ คนเดินไป มาภายในท้องชา้ ง, พวกเขาน�ำมูลชา้ งมาทิ้งไว้ในทน่ี ้ันๆ. พรานปา่ คนหนง่ึ เหน็ ชา้ งแลว้ กค็ ดิ วา่ ‘ชา้ งนค้ี คู่ วรแก่ พระเจ้าแผ่นดนิ ของเรา’ ดงั นี้แลว้ จงึ ไปกราบทูลพระเจ้า 33 พระนางวาสลุ ทัตตา www.kalyanamitra.org
อุเทนว่า “พระเจ้าข้า ข้าพระองค์พบช้างตัวประเสริฐ ซง่ึ เผือกลว้ น มีสว่ นเปรยี บด้วยยอดเขาไกรลาศ คคู่ วรแก่ พระองคท์ ีเดียว.” พระเจ้าอุเทนให้พรานป่านั้นเป็นผู้น�ำทาง ขึ้นทรง ช้างพร้อมด้วยบริวาร เสด็จออกไปแล้ว เหล่าจารบุรุษ ทราบการเสด็จมาของท้าวเธอ จึงไปกราบทูลแด่พระเจ้า จัณฑปชั โชต. พระเจา้ จณั ฑปชั โชตนนั้ เสดจ็ มาแลว้ ซมุ่ กำ� ลงั พลไว้ ๒ ขา้ ง ปล่อยว่างไว้ตรงกลาง. พระเจา้ อุเทนไม่ทรงทราบ ถงึ การเสดจ็ มาของทา้ วเธอจงึ ตดิ ตามชา้ งไป. มนษุ ยท์ อ่ี ยู่ ขา้ งใน รบี พาชา้ งไมห้ นีไปโดยเร็ว. เมื่อพระราชาทรงร่ายมนต์ดีดพิณอยู่, ช้างไม้ท�ำ เหมือนไม่ได้ยินเสียงแห่งสายพิณ หนีไปถ่ายเดียว. พระราชาไม่อาจทันพระยาช้างได้ จึงเสด็จขึ้นม้าติดตาม ไป. เมื่อท้าวเธอรีบตามไปโดยเร็ว ก�ำลังพลก็ล้าหลัง. พระราชาได้เป็นผเู้ สดจ็ พระองค์เดียวเท่านั้น. เหลา่ ราชบรุ ษุ ของพระเจา้ จณั ฑปชั โชต ซงึ่ ดกั ซมุ่ อยู่ แล้ว ณ ๒ ข้างทาง จึงจับท้าวเธอถวายพระเจ้าแผ่นดิน ของตน. ตอ่ มา กำ� ลงั พลของทา้ วเธอทราบวา่ ‘พระราชาของ ตนตกไปสอู่ �ำนาจแหง่ ขา้ ศกึ แลว้ .’ จึงต้งั คา่ ยอย่ภู ายนอก. 34 อุบาสิกา ฉบบั ราชนกิ ลู -พระเถรี www.kalyanamitra.org
ฝ่ายพระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงสั่งให้จับเป็นพระเจ้า อุเทน แล้วขังไว้ในเรือนขังโจรหลังหนึ่ง ให้ปิดประตูเสีย ทรงด่ืมน�ำ้ ชัยบานตลอด ๓ วนั . ในวนั ที่ ๘ พระเจา้ อเุ ทนทรงถามพวกผคู้ มุ วา่ “พอ่ คณุ ทั้งหลาย พระเจา้ แผน่ ดินของพวกเจา้ ไปไหนเสีย.” พวกผูค้ มุ . “พระเจ้าแผน่ ดนิ ทรงด่มื น้�ำชัยบาน ด้วย ทรงยนิ ดวี ่า เราจบั ปจั จามิตร (ศตั รู) ได.้ ” พระเจ้าอุเทน. “พระเจา้ แผน่ ดินของพวกเจา้ มีกิริยา ชา่ งกระไร ดงั ผหู้ ญงิ , การจบั พระเจา้ แผน่ ดนิ ผเู้ ปน็ ศตั รกู นั ได้แลว้ จะปล่อยหรอื ฆ่าเสยี จงึ ควรมใิ ชห่ รอื ? น่สี ิ กลับให้ เราน่งั ทนทุกข์ แล้วไปน่ังดื่มนำ้� ชัยบานเสีย.” เหล่าผู้คุมก็พากันไปทูลเน้ือความน้ันแด่พระราชา พระองค์เสดจ็ ไป ตรสั ถามวา่ “ได้ยินว่า ทา่ นพดู อยา่ งนจี้ ริงหรือ?” อเุ ทน. “ถูกแลว้ ท่านมหาราชเจ้า.” จณั ฑปชั โชต. “ดลี ะ เราจะปลอ่ ยทา่ น, ทราบวา่ ‘ทา่ นมมี นต์ เชน่ น’้ี , ทา่ นจะใหม้ นตน์ ้ันแก่เราไหม?” อเุ ทน. “ตกลง ขา้ พเจา้ จะให.้ ในเวลาเรียน จงไหว้ ข้าพเจ้าแล้วเรียนมนต์นั้น, ก็ท่านจะไหว้ ข้าพเจา้ หรอื ไม่เลา่ ?” 35 พระนางวาสลุ ทัตตา www.kalyanamitra.org
จณั ฑปัชโชต. “เราจะไหว้ทา่ นท�ำไมเล่า?” อุเทน. “ท่านจะไมไ่ หว้หรือ?” จัณฑปัชโชต. “เราจะไมไ่ หว.้ ” อเุ ทน. “แมข้ ้าพเจา้ ก็จะไมใ่ ห้.” จณั ฑปชั โชต. “เมอ่ื เปน็ เชน่ นี้ เราจะลงราชอาชญาแกท่ า่ น.” อุเทน. “เชญิ ทำ� เถดิ , ทา่ นเปน็ อสิ ระแกร่ า่ งกายของ ขา้ พเจา้ , แตไ่ ม่เปน็ อิสระแก่จิต.” พระราชาทรงสดบั ถอ้ ยคำ� อนั องอาจของทา้ วเธอแลว้ จึงทรงด�ำริว่า ‘เราจะเรียนมนต์ของพระเจ้าอุเทนนี้ ได้ อย่างไรหนอ?’ แล้วทรงคิดได้ว่า ‘เราไม่อาจให้คนอ่ืนรู้ มนต์น้,ี เราจะให้ธิดาของเราเรียนกับพระเจา้ อุเทนนี้ แลว้ จึงเรียนต่อจากนาง.’ ทา้ วเธอจงึ ตรสั กบั พระเจา้ อเุ ทนนนั้ วา่ “ทา่ นจะใหแ้ ก่ คนอ่นื ผู้ไหว้แลว้ เรียนเอาหรือ?” อุเทน. “อยา่ งนน้ั ท่านมหาราช.” จณั ฑปัชโชต. “ถ้ากระน้ัน ในเรือนของเรามีหญิงค่อมอยู่ คนหนึ่ง, ทา่ นยืนอยูภ่ ายนอกมา่ น จงบอก มนต์แก่หญงิ นน้ั ผนู้ ั่งอย่ภู ายในม่านเถดิ .” อุเทน. “ดลี ะ ทา่ นมหาราช นางจะเปน็ คนคอ่ มหรอื คนง่อย กช็ า่ งเถอะ, เม่ือนางไหว้, ข้าพเจา้ จะให.้ ” 36 อุบาสิกา ฉบบั ราชนกิ ูล-พระเถรี www.kalyanamitra.org
ลำ� ดบั นนั้ พระราชาเสดจ็ ไปตรสั บอกพระนางวาสลุ - ทตั ตาราชธดิ าวา่ “ลกู หญงิ ชายเปน็ โรคเรอื้ นนำ�้ เตา้ คนหนงึ่ รู้มนต์หาค่ามิได้, พ่อไม่อาจที่จะให้คนอ่ืนรู้มนต์นั้นได้, เจ้าจงน่งั ภายในมา่ นไหวช้ ายนน้ั แล้วเรียนมนต์, ชายนั้น ยืนอยู่ภายนอกมา่ น จะบอกแก่เจา้ , พ่อจะเรียนจากเจ้า.” พระเจ้าจัณฑปัชโชตน้ันตรัสท�ำให้พระราชธิดาเป็น หญิงค่อม ฝ่ายพระเจ้าอุเทนให้เป็นชายโรคเร้ือนน้�ำเต้า อยา่ งนี้ เพราะทรงเกรงคนทง้ั สองนน้ั จะทำ� สนั ถวะ (ชดิ เชย) กนั และกนั . พระเจา้ อเุ ทนนน้ั ประทบั ยนื อยนู่ อกมา่ นเทยี ว ไดต้ รสั บอกมนต์แก่พระนางผู้ไหวแ้ ล้วนงั่ ภายในมา่ น. ต่อมาวันหน่ึง พระเจ้าอุเทนตรัสกับพระนาง ผู้อัน ทา้ วเธอตรสั บอกบอ่ ยๆ กไ็ มส่ ามารถจะกลา่ วบทแหง่ มนต์ ได้ว่า “เหวย อีหญิงค่อม! ปากของมงึ มีริมขอบและกระพุ้ง แก้มอันหนานัก, มึงจงวา่ ไปอย่างนี.้ ” พระนางทรงกรว้ิ จงึ ตรสั วา่ “เหวย อา้ ยขเี้ รอ้ื น ชวั่ ชาติ มึงพูดอะไร? คนเชน่ กูนะหรอื ช่ือวา่ ‘หญงิ ค่อม’ ?” ดังนี้ แลว้ ทรงยกมุมมา่ นข้นึ , 37 พระนางวาสุลทตั ตา www.kalyanamitra.org
38 อุบาสกิ า ฉบับราชนิกลู -พระเถรี www.kalyanamitra.org
เมือ่ พระเจ้าอเุ ทนตรสั ถามวา่ “ทา่ นเปน็ ใคร?” จึงตรัสบอกวา่ “เราช่ือว่า ‘สุลทัตตา’ ธิดาของพระเจ้า แผ่นดนิ .” พระเจา้ อเุ ทน. “บิดาของท่าน เมื่อตรัสถึงท่านแก่เรา ก็ตรสั ว่า ‘หญงิ ค่อม.’ ” วาสลุ ทตั ตา. “แม้เม่ือตรัสแก่เรา พระบิดาก็ทรงกล่าว ท่านเปน็ คนโรคเรือ้ นนำ้� เต้า๑๐.” ท้ังสององค์น้ันทรงด�ำริว่า ‘ค�ำน้ัน ท้าวเธอคงจะ ตรสั ดว้ ยเกรงเราจะทำ� สนั ถวะกนั ’ แลว้ กท็ รงทำ� สนั ถวะกนั ในภายในมา่ นนน่ั เอง. จ�ำเดิมแต่นั้น การเรียนมนต์หรือการเรียนศิลปะ จึงไมม่ ี. ฝ่ายพระราชาทรงถามพระธิดาเป็นนิตย์ว่า “เจ้ายัง เรยี นศลิ ปะอยหู่ รือ? ลกู .” พระนางตรัสว่า “ข้าแต่พระบิดา กระหม่อมฉันยัง เรียนอยู่ เพคะ.” ต่อมาวันหนึ่ง พระเจ้าอุเทนตรัสกับพระนางว่า “นางผู้เจริญ ช่ือว่าหน้าที่ซ่ึงสามีพึงกระท�ำ มารดาบิดา พนี่ อ้ งชาย และพน่ี อ้ งหญงิ ไมส่ ามารถจะทำ� ไดเ้ ลย, หากเธอ ๑๐ โลหติ และนำ้� เหลอื งกำ� เรบิ 39 พระนางวาสลุ ทตั ตา www.kalyanamitra.org
จะให้ชีวิตแกเ่ รา เราจะใหห้ ญิง ๕๐๐ นางเปน็ บรวิ าร แล้ว ใหต้ ำ� แหนง่ อคั รมเหสีแก่เธอ.” พระนางตรัสว่า “ถ้าพระองค์จะอาจเพื่อตั้งอยู่ใน พระด�ำรัสน้ี, หมอ่ มฉนั กจ็ ะถวายทานนแี้ ดพ่ ระองค.์ ” พระเจา้ อเุ ทนตรสั ตอบวา่ “พระนอ้ งหญงิ เราจะอาจ.” พระนางทรงรบั พระดำ� รสั วา่ “ตกลง เพคะ” ดงั นแ้ี ลว้ ก็เสด็จไปสูส่ �ำนักพระราชบิดา ถวายบงั คมแลว้ ไดย้ ืนอยู่ ข้างหนงึ่ . ล�ำดับนน้ั ท้าวเธอตรสั ถามพระนางว่า “ศลิ ปะสำ� เร็จ แลว้ หรอื ? ลูกหญิง.” วาสุลทัตตา. “ข้าแต่พระบิดา ศิลปะยังไม่ส�ำเร็จ เพคะ.” ล�ำดับนั้น พระเจ้าจัณฑปัชโชตตรัสถามพระนางว่า “ทำ� ไมเล่า ลูกหญิง?” วาสุลทัตตา. “ข้าแต่พระบิดา กระหม่อมฉันควรจะ ไดป้ ระตู ๑ ประตู กบั พาหนะ ๑ ตวั .” จัณฑปัชโชต. “นี้ เปน็ อยา่ งไรเลา่ ลกู หญงิ ?” วาสุลทัตตา. “ข้าแต่พระบิดา ทราบว่า ‘มีโอสถ ขนานหนงึ่ จะตอ้ งเกบ็ ในเวลากลางคนื ดว้ ยสญั ญาดวงดาว เพอ่ื ประโยชนเ์ ปน็ อปุ การะแหง่ มนต’์ , เพราะฉะนน้ั ในเวลา 40 อุบาสกิ า ฉบบั ราชนิกลู -พระเถรี www.kalyanamitra.org
ท่ีหม่อมฉันออกไปในเวลาหรือนอกเวลา จึงควรที่จะได้ ประตูหน่ึงประตู กับพาหนะหน่ึงตัว.” พระราชาตรัสรับวา่ “ได้.” พระเจา้ อเุ ทนและพระนางวาสลุ ทตั ตานนั้ ไดท้ รงยดึ ประตหู นงึ่ ซงึ่ ตนพอใจ ไวใ้ นเงือ้ มมอื แล้ว. ก็พระราชามีพาหนะทงั้ ๕ คอื :- นางช้างตัว ๑ ชื่อ ‘ภทั ทวด’ี ไปได้วันละ ๕๐ โยชน.์ ทาสช่อื ว่า ‘กากะ’ ไปได้ ๖๐ โยชน.์ ม้า ๒ ตวั คือ ม้าเวลกงั สิ และ ม้ามญุ ชเกสิไปได้ ๑๐๐ โยชน์ ชา้ งนาฬาคิรีไปได้ ๑๒๐ โยชน.์ เลา่ กนั วา่ พระราชาพระองคน์ น้ั ในเมอื่ พระพทุ ธเจา้ ยงั มไิ ดท้ รงอบุ ตั ขิ นึ้ ไดเ้ ปน็ คนรบั ใชข้ องอสิ รชน (ผเู้ ปน็ ใหญ)่ ผหู้ นึ่ง. ต่อมาวันหน่ึง เมื่ออิสรชนผู้นั้นไปนอกพระนคร อาบน�้ำแล้วมาอยู่, พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หน่ึงเข้าไปสู่ พระนครเพื่อบิณฑบาต ไม่ได้ภิกษาเลยสักอย่างหนึ่ง เพราะชาวเมอื งท้ังสิ้นถกู มารดลใจ มบี าตร (เปล่า) ตามท่ี ล้างไว้แล้วออกไป. 41 พระนางวาสลุ ทตั ตา www.kalyanamitra.org
ล�ำดับน้ัน มารเข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยเพศท่ีไม่มีใครรู้จัก แล้วถามท่านในขณะท่ีท่านถึง ประตูพระนครวา่ “ท่านเจ้าขา้ ท่านไดอ้ ะไรๆ บ้างไหม?” พระปัจเจกพุทธเจ้าตอบว่า “ก็เจ้าท�ำอาการคืออันไม่ได้ แกเ่ ราแล้ว มิใช่หรอื ?” มาร. “ถ้ากระน้ัน ขอท่านจงกลับเข้าไปอีก, คราวนี้ ขา้ พเจา้ จะไมท่ ำ� .” พระปจั เจกพุทธเจา้ . “เราจะไม่กลับอีก.” ถ้าพระปัจเจกพุทธเจ้าน้ันพึงกลับไปไซร้ มารน้ัน จะพงึ สงิ รา่ งของชาวเมอื งทงั้ สนิ้ แลว้ ปรบมอื ทำ� การหวั เราะ เย้ยอีก, เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่กลับ มารก็หายไป ในทน่ี ัน้ เอง. ขณะน้ัน อิสรชนผู้น้ัน พอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผมู้ าอยดู่ ว้ ยทง้ั บาตร (เปลา่ ) ตามทลี่ า้ งไวแ้ ลว้ จงึ ไหว้ แลว้ ถามวา่ “ท่านเจา้ ขา้ ทา่ นได้อะไรๆ บา้ งไหม?” ทา่ นตอบวา่ “ผูม้ ีอายุ ฉนั เทีย่ วไปแลว้ ออกมาแล้ว.” เขาคิดว่า ‘พระผู้เป็นเจ้าไม่ตอบค�ำที่เราถาม กลับ กลา่ วค�ำอ่นื เสีย, ท่านคงจะยงั ไม่ไดอ้ ะไรๆ.’ ในทันใดนั้น เขาแลดูบาตรของท่าน เหน็ บาตรเปลา่ ก็เป็นผู้แกล้วกล้า แต่ไม่อาจรับบาตร เพราะยังไม่รู้ว่า 42 อบุ าสกิ า ฉบับราชนกิ ลู -พระเถรี www.kalyanamitra.org
ภัตในเรือนของตนเสร็จแล้วหรือยังไม่เสร็จ จึงกล่าวว่า “ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงรอหน่อย” ดังน้ีแล้ว ก็ไปสู่เรือน โดยเรว็ ถามวา่ “ภตั ส�ำหรบั เราเสร็จแลว้ หรอื ?” เมอื่ คนรบั ใช้ตอบว่า “เสร็จแลว้ ” จึงกล่าวกับคนรับใช้นั้นว่า “พ่อคุณ คนอื่นที่มี ความเรว็ อนั สมบรู ณ์กว่าเจ้าไมม่ ี, ด้วยฝีเท้าอันเร็ว เจา้ จง ไปถึงพระผู้เปน็ เจ้านัน้ กล่าววา่ ‘ทา่ นเจ้าข้า ขอท่านจงให้ บาตร’, แลว้ รบั บาตรมาโดยเรว็ .” เขาวง่ิ ไปดว้ ยคำ� สง่ั คำ� เดยี วเทา่ นน้ั รบั บาตรนำ� มาแลว้ . แม้อิสรชนท�ำบาตรให้เต็มด้วยโภชนะของตน แล้ว กลา่ ววา่ “เจา้ จงรบี ไป ถวายบาตรนแี้ กพ่ ระผเู้ ปน็ เจา้ เราจะ ใหส้ ว่ นบญุ แตท่ านนีแ้ กเ่ จ้า.” เขารับบาตรน้นั แลว้ ไปดว้ ยฝีเท้าอันเรว็ ถวายบาตร แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้ว กล่าวว่า “ท่านเจ้าข้า เวลาจวนแจแล้ว, ข้าพเจ้าไปและ มาด้วยฝีเท้าอันเร็วย่ิง, ด้วยผลแห่งฝีเท้าของข้าพเจ้าน้ี ขอพาหนะทั้งหลาย ๕ ซึ่งสามารถจะไปได้ ๕๐ โยชน์, ๖๐ โยชน,์ ๑๐๐ โยชน์, ๑๒๐ โยชน์ จงเกิดข้ึนแก่ขา้ พเจา้ , อนง่ึ รา่ งกายของข้าพเจ้าผมู้ าอยู่และไปอยู่ ถูกแสง แหง่ ดวงอาทติ ยแ์ ผดเผาแลว้ , ดว้ ยผลแหง่ ความทร่ี า่ งกาย 43 พระนางวาสุลทัตตา www.kalyanamitra.org
ถกู แสงแหง่ ดวงอาทติ ยแ์ ผดเผานนั้ ของขา้ พเจา้ ขออาชญา ของข้าพเจ้า จงแผ่ไปเช่นกับแสงแห่งดวงอาทิตย์ ในท่ีๆ เกดิ แลว้ และเกดิ แลว้ , สว่ นบญุ ในเพราะบณิ ฑบาตนี้ อนั นาย ใหแ้ ลว้ แกข่ า้ พเจา้ , ดว้ ยผลแหง่ สว่ นบญุ นน้ั ขอขา้ พเจา้ จง เปน็ ผ้มู สี ่วนแหง่ ธรรมอันท่านเห็นแลว้ .” พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า “ขอความปรารถนา ทที่ า่ นตัง้ ไวน้ ้ี จงสำ� เรจ็ ” แล้วได้กระทำ� อนุโมทนาวา่ :- ส่งิ ท่ตี ้องการแลว้ ปรารถนาแล้ว จงพลันสำ� เร็จแกท่ า่ น, ขอความดำ� รทิ ง้ั ปวง จงเตม็ ดงั พระจนั ทร์ ซงึ่ มใี นดถี ที ่ี ๑๕. สิ่งท่ตี อ้ งการแลว้ ปรารถนาแล้ว จงพลันสำ� เรจ็ แกท่ ่าน, ขอความดำ� รทิ ้งั ปวงจงเต็มดังแกว้ มณี ชอื่ วา่ ’โชติรส.’ ได้ทราบว่า คาถา ๒ คาถาน้ีแล ชื่อว่า ‘คาถา อนุโมทนา’ ของพระปัจเจกพุทธเจ้าท้ังหลาย. รัตนะคือ แกว้ มณี อนั ใหส้ งิ่ ทม่ี งุ่ หมายทงั้ ปวง แกว้ สารพดั นกึ เรยี กวา่ ‘แก้วมณีโชติรส’ ในคาถาน้ัน. นเ้ี ปน็ บรุ พจรติ แหง่ บรุ ษุ รบั ใชน้ น้ั . เขาไดเ้ ปน็ พระเจา้ จัณฑปัชโชต ในบดั น.ี้ และดว้ ยผลแหง่ กรรมนั้น พาหนะ ๕ เหล่าน้ีจึงเกดิ ข้ึน. 44 อุบาสกิ า ฉบับราชนิกูล-พระเถรี www.kalyanamitra.org
ต่อมาวันหน่ึง พระราชาเสด็จออกเพื่อทรงกีฬาใน พระราชอทุ ยาน. พระเจา้ อุเทนทรงด�ำริวา่ ‘เราควรจะหนไี ป ในวันนี’้ จึงทรงบรรจุกระสอบหนังใหญ่ๆ ให้เต็มด้วยเงินและทอง วางเหนือหลังนางช้าง แลว้ พาพระนางวาสลุ ทัตตาหนีไป. ทหารรกั ษาวงั ทงั้ หลายเหน็ พระเจา้ อเุ ทน กำ� ลงั หนไี ป จึงกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาทรงส่งพลไปด้วย พระด�ำรัสสง่ั วา่ “พวกเจ้าจงไปเรว็ .” พระเจ้าอุเทนทรงทราบว่า ‘ก�ำลังพลไล่ตามแล้ว.’ จงึ ทรงแกก้ ระสอบกหาปณะ ทำ� กหาปณะใหต้ ก. พวกมนษุ ย์ เก็บกหาปณะข้นึ แลว้ ไล่ตามไปอกี . ฝา่ ยพระเจา้ อเุ ทนกท็ รงแกก้ ระสอบทองแลว้ ทำ� ใหต้ ก เมอื่ มนษุ ยเ์ หลา่ นนั้ มวั เนน่ิ ชา้ อยู่ เพราะความละโมบในทอง กเ็ สดจ็ ถงึ ค่ายของพระองค์ ซง่ึ ตงั้ อยูภ่ ายนอก. ขณะนน้ั กำ� ลงั พลพอเหน็ ทา้ วเธอเสดจ็ มา กแ็ วดลอ้ ม เชิญเสด็จให้เข้าไปสู่พระนครของตน. ท้าวเธอคร้ันพอ เสด็จไปแล้ว ก็อภิเษกพระนางวาสุลทัตตา ตั้งไว้ใน ตำ� แหนง่ อัครมเหส.ี นีเ้ ป็นเรื่องของพระนางวาสลุ ทตั ตา. 45 พระนางวาสลุ ทตั ตา www.kalyanamitra.org
นางมาคนั ทยิ า (ปรากฏอย่ใู นเรือ่ ง พระนางสามาวดี๑๑) หญิงอีกคนชื่อ ‘นางมาคันทิยา’ ก็ได้ต�ำแหน่งแห่ง อัครมเหสี ในสำ� นกั ของพระราชา. ได้ยินว่า นางเป็นธดิ าของพราหมณช์ อ่ื ‘มาคันทยิ ะ’ ในแคว้นกุรุ, แม้มารดาของนางก็ชื่อว่า ‘มาคันทิยา’ เหมอื นกัน. ถึงอาของนางกช็ ือ่ ว่า ‘มาคันทยิ ะ’ ดว้ ย นางเป็นคนมีรูปงามเปรียบด้วยเทพอัปสร. บิดา ของนาง เมอื่ ไมไ่ ดส้ ามที คี่ คู่ วรแกน่ าง แมจ้ ะถกู ตระกลู ใหญๆ่ อ้อนวอน ก็กลับตะเพิด๑๒ เอาว่า “พวกท่านไม่คู่ควรแก่ ลกู สาวของฉนั ” แล้วไลส่ ง่ ไป. ตอ่ มาวนั หนง่ึ พระศาสดาทรงตรวจดสู ตั วโลก ในเวลา ใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งอนาคามิผลของมาคันทิย- พราหมณ์พร้อมทั้งปชาบดี (ภรรยา) ทรงถือบาตรจีวร ของพระองค์แล้ว ได้เสด็จไปสู่สถานเป็นท่ีบูชาไฟของ พราหมณ์น้นั ในภายนอกนคิ ม. ๑๑ ตน้ ฉบบั ธมั มปทฏั ฐกถา อรรถกถาขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท, อัปปมาทวรรควรรณนา, ล.๔๐, น.๒๖๔, มมร. ๑๒ ก. ตวาดใหห้ นไี ป, รอ้ งให้ตกใจหนไี ป, ไล่สง่ . 46 อบุ าสิกา ฉบับราชนกิ ลู -พระเถรี www.kalyanamitra.org
พราหมณ์นั้นแลเห็นอัตภาพอันเลิศด้วยความงาม แห่งพระรูปของพระตถาคตแล้ว ก็คิดว่า ‘ช่ือว่าบุรุษอื่น ผู้เช่นกับบุรุษนี้ ย่อมไม่มีในโลกน้ี, บุรุษน้ีเป็นผู้คู่ควร แกธ่ ดิ าของเรา, เราจะให้ธดิ าของเราแกบ่ ุรุษนี้ เพอื่ จะได้ เลี้ยงดูกัน’ ดังน้ีแล้ว จึงกล่าวว่า “ท่านสมณะ ธิดาของ ขา้ พเจา้ มอี ยคู่ นหนงึ่ ขา้ พเจา้ ยงั ไมเ่ หน็ ชายผคู้ คู่ วรแกน่ าง ตลอดเวลายาวนานเท่าน้ี, ท่านเป็นผู้คู่ควรแก่นาง และ นางกเ็ ปน็ ผคู้ คู่ วรแกท่ า่ นแท,้ ควรทา่ นไดน้ างไวเ้ ปน็ ภรรยา และนางก็ควรได้ท่านไว้เป็นสามี, เราจะให้นางแก่ท่าน ทา่ นจงยืนอยู่ในทนี่ ้ี จนกวา่ ข้าพเจ้าจะกลบั มา.” พระศาสดาไมต่ รสั อะไร ไดท้ รงดษุ ณภี าพ (ความยนิ ด)ี . พราหมณ์ไปสู่เรือนโดยเร็วกล่าวกับนางพราหมณี ว่า “นาง! นาง! เราเหน็ ผู้ทีส่ มควรแก่ลกู สาวของเราแลว้ , หลอ่ นจงแตง่ ตวั ลกู เรว็ ๆ เขา้ ” ใหธ้ ดิ านนั้ แตง่ ตวั แลว้ พาไป พรอ้ มกับนางพราหมณี ได้ไปหาพระศาสดา. ทั่วพระนครกึกก้องแตกต่ืนว่า “พราหมณ์นี้ไม่ให้ ลูกสาวแก่ใครๆ ด้วยอ้างว่า ‘ชายผู้สมควรแก่ลูกสาว ของเราไม่มี’ ตลอดเวลายาวนานเท่านี้ ได้ยินว่า ‘เขา กลา่ ววา่ ‘วนั นี้ เราเหน็ ชายผสู้ มควรแกล่ กู สาวของเราแลว้ ’, 47 พระนางมาคนั ทิยา www.kalyanamitra.org
ชายผู้น้ันจะเปน็ เชน่ ไรหนอ? พวกเราจะไปดชู ายคนนั้น.” มหาชนจึงออกไปพรอ้ มกับพราหมณน์ น้ั ด้วย. เมื่อพราหมณ์น้ันพาธิดามาหา. พระศาสดามิได้ ประทับยืนในท่ีที่พราหมณ์นั้นพูดไว้ ทรงแสดงเจดีย์ คือ รอยพระบาทไวใ้ นทนี่ นั้ แลว้ ไดเ้ สดจ็ ไปประทบั ยนื ในทอ่ี น่ื . เจดยี ค์ อื รอยพระบาทของพระพทุ ธเจา้ ทงั้ หลาย ยอ่ ม ปรากฏในท่ีทพ่ี ระองค์ทรงอธษิ ฐานแล้วเหยยี บไว้เท่าน้ัน, ย่อมไมม่ ีในทีอ่ ่ืน, เจดีย์คือรอยพระบาท เป็นส่ิงที่ทรงอธิษฐานไว้ เพื่อประสงค์แก่บุคคลเหล่าใด, บุคคลเหล่าน้ันพวกเดียว ยอ่ มแลเหน็ เจดีย์คอื รอยพระบาทนน้ั ; ก็สัตวม์ ชี ้างเปน็ ตน้ จงเหยียบก็ตาม, มหาเมฆ และห่าฝนใหญ่ จงตกก็ตาม, ลมบา้ หมู จงพดั กต็ าม เพอื่ จะใหบ้ คุ คลเหลา่ นนั้ แลไมเ่ หน็ , ใคร ๆ กไ็ มส่ ามารถเพอื่ จะลบเจดยี ์ คอื รอยพระบาทนนั้ ได.้ นางพราหมณีกล่าวกับพราหมณว์ ่า “ชายคนน้ันอยู่ ท่ไี หน?” พราหมณค์ ิดว่า ‘เราได้พดู กบั เขาว่า ‘ท่านจงยืนอยู่ ในที่น้,ี เขาไปเสียในทีไ่ หนหนอ?’ แลดูอยู่ ก็เหน็ เจดยี ค์ ือ รอยพระบาท จึงกล่าวว่า “นี้เป็นรอยเท้าของคนผู้น้นั .” 48 อบุ าสิกา ฉบับราชนกิ ลู -พระเถรี www.kalyanamitra.org
นางพราหมณรี า่ ยลกั ษณมนตแ์ ลว้ ตรวจตราดลู กั ษณะ แห่งรอยพระบาท เพราะความเป็นผู้แคล่วคล่องในเวท ท้ัง ๓ พร้อม ทั้งมนต์ส�ำหรับทายลักษณะ กล่าวว่า “ท่านพราหมณ์ นี้มิใช่รอยเท้าของผู้มักเสพกามคุณ ๕ แล้วกล่าวคาถาน้ีวา่ “กค็ นเจ้าราคะ พึงมีรอยเท้ากระหยง่ (เวา้ กลาง), คนเจ้าโทสะ ยอ่ มมรี อยเท้าอนั ส้นบีบ (หนักสน้ ), คนเจา้ โมหะ ยอ่ มมรี อยเทา้ จกิ ลง (หนกั ทางปลายนว้ิ เทา้ ), คนมกี เิ ลสเครอ่ื งมงุ บงั อันเปดิ แล้วมรี อยเชน่ น้ี น.ี้ ” พราหมณก์ ล่าวกับนางวา่ “นาง หล่อนเปน็ ผู้มปี กติ เหน็ มนตเ์ หมอื นจระเขใ้ นตมุ่ นำ้� เหมอื นโจรอยใู่ นทา่ มกลาง เรอื น, จงนิ่งเสียเถิด.” นางพราหมณีกล่าวว่า “ท่านพราหมณ์ ท่านอยาก จะพูดค�ำใด ก็จงพูดค�ำน้ัน, รอยเท้าน้ี มิใช่รอยเท้าของ ผู้มักเสพกามคุณ ๕.” พราหมณ์แลดูข้างโน้นข้างน้ี เห็น พระศาสดาแล้วกลา่ วว่า “น่นั คอื ชายผนู้ ้ัน” จึงไปกล่าวว่า “ทา่ นสมณะ ข้าพเจา้ จะให้ธดิ าเพอ่ื จะได้เลีย้ งดกู นั .” พระศาสดาไม่ตรัสเลยว่า “เรามีความต้องการด้วย ธดิ าของทา่ นหรอื ไมม่ ”ี ตรสั วา่ “พราหมณ์ เราจะกลา่ วเหตุ อนั หนงึ่ แก่ทา่ น” 49 พระนางมาคนั ทิยา www.kalyanamitra.org
50 อุบาสกิ า ฉบับราชนิกลู -พระเถรี www.kalyanamitra.org
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176