Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ธรรมของฆราวาส ๔

ธรรมของฆราวาส ๔

Published by E-book Prasamut chedi District Public Library, 2019-12-12 01:43:05

Description: สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)
หนังสือ,เอกสาร,บทความนี้นำมาเผยแพร่เพื่อการศึกษา

Search

Read the Text Version

ธรรมของฆราวาส ๔ หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เดก็ นายทินกร ทองเศวต เปรยี ญ แตง่ ไดร้ บั พระราชทานรางวัล ช้ันที่ ๑ ในการประกวดประจ�ำ พุทธศกั ราช ๒๔๘๕

...ผู้ท่ีมีความรู้ความสามารถพร้อมเช่นบัณฑิตท้ังหลาย ย่อมมี ความตั้งใจอยู่เต็มเปีย่ ม ท่ีจะน�ำ ความรู้ความสามารถนั้นไปใช้ให้เกดิ ประโยชนแ์ กต่ นแกป่ ระเทศชาติ ความต้ังใจดังน้ี เป็นสิ่งท่ีดีมากก็จริง แต่ถ้ามีเพียงความตั้งใจ แล้วไมล่ งมือปฏบิ ตั ิ กไ็ มม่ สี ิ่งใดส�ำ เรจ็ ผลเปน็ รูปธรรมขน้ึ มาได้ บณั ฑติ เมอ่ื มคี วามรคู้ วามสามารถและมคี วามตงั้ ใจดแี ลว้ จงึ ไม่ ควรนิ่งเฉยร้งั รออยู่ ตอ้ งลงมือปฏิบตั ใิ หจ้ ริงจังด้วย ถ้ายังปฏิบัติทันทีไม่ได้ เพราะไม่รู้วิธี ก็ต้องรีบขวนขวาย เรียนรู้ ฝึกฝน แล้วตั้งต้นทำ� โดยเต็มกำ�ลังความสามารถ ด้วย ความรอบคอบ มีระเบียบ และอดทนพากเพียร

ความรคู้ วามสามารถที่มอี ยู่และการปฏิบตั ิของแต่ละคน กจ็ ะ บงั เกดิ ผลเป็นประโยชน์ เป็นความเจรญิ ม่ันคงแกต่ น แก่สว่ นรวมได้ แทจ้ ริง ดังท่ีตั้งใจปรารถนา... พระราโชวาท สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ในพธิ ีพระราชทานปรญิ ญาบัตร แกผ่ สู้ �ำ เร็จการศกึ ษาจากมหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่ ประจำ�ปกี ารศึกษา ๒๕๕๓ ณ หอประชุมมหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่ วนั จนั ทร์ ท่ี ๒๔ มกราคม ๒๕๕๔

พระประธานในพระอุโบสถ วดั มหาธาตยุ ุวกรราุงชเรทงั พสมฤหษาฎน์ิ รคารชวรมหาวหิ าร

ค�ำ นำ� สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระ- ราชประสงค์ที่จะให้เด็กไทยสนใจศึกษาพระพุทธศาสนาให้มากข้ึน จึงมีพระราชบัญชาให้คัดเลือกหนังสือที่ชนะการประกวดหนังสือ สอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชพิธี วิสาขบูชา นับต้ังแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๒ มาจัดพิมพ์ใหม่ เพ่ือ พระราชทานใหแ้ กโ่ รงเรยี นและห้องสมดุ ตา่ ง ๆ สำ�นักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาม- บรมราชกมุ ารี ได้คดั เลือกหนงั สอื ทไี่ ด้รบั พระราชทานรางวัล ชน้ั ที่ ๑ พุทธศักราช ๒๔๘๕ เร่ือง ธรรมของฆราวาส ๔ ซึ่งแต่งโดย นายทินกร ทองเศวต เปรียญ มาจัดพิมพ์ใหม่ โดยมีการปรับปรุง รูปแบบการพิมพ์เพ่ือให้น่าสนใจและเหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน มากย่ิงข้ึน แต่ยังคงเน้ือหาสาระไว้ตามต้นฉบับเดิม และหวังเป็น อย่างย่ิงว่าหนังสือนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน และผู้สนใจ ทั่วไป สมตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี สำ�นักงานโครงการ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศกั ราช ๒๕๕๗



บญั ชีเรื่อง ๙ ๑๓ บทท่ี ๑ ธรรมของฆราวาสคืออะไร ๒๑ บทท่ี ๒ ความสตั ยซ์ ่ือแกก่ ัน ๒๙ บทท่ี ๓ ความรูจ้ กั ข่มใจของตน ๓๙ บทที่ ๔ ความอดทน ๔๙ บทที่ ๕ การสละใหป้ นั บทท่ี ๖ ใจความแห่งธรรมของฆราวาส



บ๑ทที่ ธรรมของฆราวาส คอื อะไร เด็ก ๆ เคยนึกบ้างหรือไม่ว่า เราเป็นอยู่ทุกวันนี้ ต้อง เกี่ยวข้องกับใครบ้าง ถ้านึกดูแล้วจะเห็นว่า เราต้องเกี่ยวข้อง กับคนต่าง ๆ เป็นอันมาก เราต้องอาศัยอยู่กับบิดามารดา หรือ ผู้ปกครอง และยังมีพ่ีมีน้องมีผู้คนในบ้าน ช่วยเหลือเราใน กิจธุระต่าง ๆ โดยท่ีสุดเป็นเพื่อนพูดจาไต่ถามเร่ืองราวต่าง ๆ ในโรงเรียนก็มีครูอาจารย์ผู้ให้วิชาความรู้ มีเพื่อนนักเรียน ได้ รว่ มเรียนรว่ มเลน่ เปน็ ทเ่ี บิกบานใจ แต่เราเด็ก ๆ ยังต้องเกี่ยวข้องกับคนมาก ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ตอ้ งท�ำการงาน เช่น ท�ำนา คา้ ขาย หรอื รับราชการ ย่อมมีความ เกย่ี วขอ้ งกบั บคุ คลตา่ ง ๆ กวา้ งขวางออกไปตามความจ�ำเปน็ ของ กิจการน้นั ๆ ยง่ิ ประกอบการงานมคี วามเจรญิ ใหญโ่ ตกว้างขวาง ออกไปเพียงใด ก็ยิ่งเกี่ยวข้องกับคนต่าง ๆ กว้างขวางออกไป เพยี งนน้ั 9

คนท่ีมีความเกี่ยวข้องกัน ถ้ามีความรักใคร่ปรองดองกัน ต่างก็จะหวังดีต่อกัน ช่วยเหลือกันและกัน เม่ือเป็นเช่นนี้ ต่างก็ จะมแี ต่ความสุข จะท�ำการงานอะไรก็จะมแี ต่ความเจริญ ถ้าโกรธเคืองแตกร้าวกัน ต่างก็จะมุ่งร้ายต่อกัน คิดแต่จะ ท�ำลายกัน เม่ือเป็นเช่นน้ัน ต่างก็จะมีแต่ความเดือดร้อน จะท�ำ การงานอะไรก็มกั จะเส่ือมทราม ในท่สี ดุ อาจถึงความล่มจมก็ได้ แม้แต่เราเด็ก ๆ เพื่อนที่เคยรักเคยชอบกัน บางคราวเกิด ขัดใจกันขึ้น มึนชากันไปบ้าง เรายังรู้สึกว่าหมดความสุขไปมาก ทีเดียว แม้ความจริงจะมีอยู่เช่นนี้ เราก็ยังได้เห็นคนทะเลาะววิ าท กันอยบู่ ่อย ๆ ท�ำไมจึงเป็นเช่นนี้ คนทีท่ ะเลาะววิ าทกันนั้น ถา้ เราสามารถสบื สวนถึง ตน้ เหตแุ ลว้ ยอ่ มจะพบวา่ เพราะคนเหลา่ นน้ั ไม่มีความสตั ย์ซ่อื ตอ่ กัน คดโกงกันจงึ เกดิ มปี ากมเี สยี ง ทะเลาะววิ าทกันขึ้น หรือบางทีมีต้นเหตุเพียงเล็กน้อย แต่ทั้งสองฝ่ายไม่รู้จัก ข่มใจของตน และไม่มีความอดทน ต่างแสดงอาการรุนแรง เข้าหากนั เร่อื งจงึ ลุกลามไปใหญ่โต อนงึ่ ถา้ เราสบื สวนเลยไปถงึ ความประพฤตขิ องคนเหลา่ นนั้ บางทีจะพบว่า คนเหล่าน้ัน ไม่รู้จักสละให้ปันส่ิงของของตน 10

แก่คนที่ควรให้ปัน คือ ขาดความเอ้ือเฟื้อเผ่ือแผ่ ไม่ช่วยเหลือ เจอื จานกนั จงึ ตา่ งมใี จกระดา้ งกระเดอ่ื งตอ่ กนั เมอ่ื มเี หตขุ ดั ใจกนั เพยี งเล็กน้อย กค็ อยแตจ่ ะทะเลาะววิ าทกนั เพราะเหตนุ นั้ พระพทุ ธเจา้ ซง่ึ ทรงหวงั ประโยชนแ์ กค่ นทว่ั ไป จงึ ไดท้ รงวางหลักแหง่ ความประพฤติท่ฆี ราวาส คอื ผู้ครองเรือน จะพึงยึดถอื ปฏบิ ตั ิ จดั เป็นธรรมของฆราวาส ๔ อย่าง คือ ๑. ความสัตย์ซอื่ แกก่ ัน ๒. ความรู้จกั ขม่ ใจของตน ๓. ความอดทน ๔. การสละให้ปนั ฆราวาส คอื ผคู้ รองเรือน ย่อมมีความเกยี่ วขอ้ งกับคนมาก ถ้าประพฤติตามธรรม ๔ อย่างนี้แล้ว ย่อมสามารถปลูกความรกั ความนับถือในบุคคลน้ัน ๆ จะไม่มีการทะเลาะวิวาทโกรธเคือง กบั ใคร ๆ ถ้าคนท้งั หลายทม่ี ีความเกีย่ วขอ้ งกัน ต่างประพฤตติ าม ธรรม ๔ อย่างน้ีแล้ว ต่างก็จะมีความสนิทสนมกลมเกลียวกัน ไมท่ ะเลาะวิวาทแตกร้าวกนั และต่างก็จะมีความสุขความเจรญิ แมเ้ ดก็ ๆ กจ็ �ำเปน็ ตอ้ งมคี วามเกย่ี วขอ้ งกบั คนตา่ งๆ ดงั กลา่ ว แลว้ และตอ่ ไปจะเตบิ โตเปน็ ผใู้ หญ่ ครองบา้ นเรอื นและท�ำการงาน มคี วามเกย่ี วข้องกบั คนต่าง ๆ มากขึ้นทุกที สมควรที่จะอบรมตน ให้มีธรรม ๔ อย่างนี้ไว้ จะได้เป็นเคร่ืองรักษาตนให้มีความสุข ความเจรญิ ต่อไป เพราะฉะนนั้ จงศกึ ษาใหม้ คี วามเขา้ ใจในธรรมของฆราวาส ๔ อย่างน้ี ตามท่จี ะไดอ้ ธิบายเป็นอย่าง ๆ ในบทตอ่ ๆ ไป 11

คำ�ถามประจ�ำ บท ๑. เราจะอยคู่ นเดียว ไม่เกย่ี วขอ้ งกบั ใครเลย ไดห้ รอื ไม่ ? ๒. ๓. การทะเลาะววิ าทกนั ธรรมของฆราวาส คืออะไรบา้ ง ? ไม่ดอี ย่างไร ? ๔. การประพฤติตาม ธรรมของฆราวาสมี ประโยชน์อย่างไร ? 12

บ๒ทท่ี ความสตั ย์ซือ่ แกก่ ัน ไดก้ ลา่ วไวใ้ นบทที่ ๑ วา่ คนเรามคี วามเก่ียวข้องกัน ควร จะมีความรักใคร่ปรองดองกัน จึ่งจะมีความสุขความเจริญ การท่ีจะเป็นเช่นนั้นได้ ก็โดยต่างคนต่างประพฤติตามธรรมของ ฆราวาส ๔ อย่าง ซงึ่ เราควรจะศึกษาให้มคี วามเข้าใจเป็นอย่างดี ในบทนี้จะอธิบายเฉพาะข้อต้น คอื ความสตั ยซ์ อ่ื แกก่ ัน๑ ความสตั ยซ์ อ่ื แกก่ นั คอื อะไร จะยกตวั อยา่ งมาแสดงใหเ้ หน็ ดงั ต่อไปนี้ เด็ก ๆ คงจะเคยได้อ่านนิทานเรื่องเทพารักษ์กับคนตัดไม้ ในหนงั สอื นิทานอสี ป เรอ่ื งนั้นมเี คา้ ความดงั นี้ ชายคนหน่ึง ตัดต้นไม้อยู่ริมแม่น�้ำ ขวานหลุดมือตกลงไป ในนำ�้ เมอื่ ไมส่ ามารถจะงมเอาขน้ึ มาได้ หมดปญั ญากล็ งนง่ั รอ้ งไห้ อยูร่ ิมแม่นำ้� นั้น ๑ ในบาลเี รียกว่า สจั จะ 13

เทพารกั ษผ์ รู้ กั ษาแมน่ ำ้� นน้ั มคี วามสงสารจงึ เขา้ ไปปลอบโยน ให้หยุดร้องไห้แล้ว ลงไปงมเอาขวานทองขึ้นมาส่งให้ ชายคนนั้นเห็นว่าไม่ใช่ขวานของตนจึงไม่ยอมรับ กล่าวว่า “ขวานเลม่ นไ้ี ม่ใชข่ องขา้ พเจา้ ” เทพารักษ์วางขวานทองน้ันไว้ แล้วลงไปงมเอาขวานเงิน ขึน้ มาสง่ ให้อีก ชายคนน้นั คงยนื ยนั อยู่วา่ ไมใ่ ชข่ วานของตน เทพารกั ษ์จึงกลบั ลงไปอีกครัง้ หน่งึ คราวน้นี �ำขวานเหลก็ ที่ ชายคนน้ันท�ำตกนำ้� มาสง่ ให้ ชายคนนนั้ จ�ำไดว้ า่ ขวานของตน กด็ ใี จยกมอื ไหวแ้ ลว้ รบั เอา อย่างนเ้ี รียกว่า คนมีความสัตยซ์ ่อื ผลท่ีชายผ้สู ตั ยซ์ อ่ื น้ี เจา้ ซ่อื สตั ยด์ ี ได้รบั กค็ ือ เรามอบให้ หมดเลย เทพารกั ษม์ ี ความรกั และสงสาร ใหข้ วานทอง ขวานเงินนั้น เปน็ รางวลั ส่วนชายอีกคนหนึ่ง อยากจะได้ขวานทองขวานเงินบ้าง แกล้งท�ำขวานของตนตกน�้ำแล้วนั่งร้องไห้ พอเทพารักษ์น�ำ ขวานทองส่งให้ ก็รีบรับว่าเป็นขวานของตน เรียกว่า คนไม่มี ความสตั ย์ซือ่ ผลทไี่ ด้รบั ก็คือ ไมไ่ ด้ขวานทองขวานเงนิ ทอ่ี ยากได้ ซ�้ำยงั ต้องเสยี ขวานเหล็กของตนไปเล่มหน่งึ ด้วย 14

หนไี ปเลน่ เกม เด็กบางคน ดีกวา่ ผปู้ กครอง ให้ไปโรงเรียน แตง่ ตวั ถือหนังสอื ออกจากบ้าน ท�ำทีว่า ไปโรงเรยี น แล้วกไ็ ม่ไป เอาหนงั สือแอบซกุ ซ่อน หรอื ฝากใครไว้ ไถลไปเทย่ี วเสียทงั้ วัน ครง้ั ได้เวลาเลกิ เรยี น กลบั ไปเอาหนงั สอื กลับบ้าน เปน็ ทวี า่ กลับจากโรงเรียน เชน่ น้ี ก็เรียกว่า ไมม่ คี วามสัตยซ์ ือ่ เพราะเขา มีหน้าท่ีไปโรงเรียนแต่ไม่ไป ซ้�ำยังพยายามแสดงให้ผู้อื่นหลงเชื่อ วา่ ไปโรงเรยี นอีกดว้ ย ความพยายามของเขานั้น เป็นผลส�ำเร็จหรือหามิได้เลย เพราะเมื่อทางโรงเรียนเห็นขาดหายไป คงจะสอบถามไปทาง ผู้ปกครอง คราวนี้ผู้ปกครองก็จะรู้ถึงความไม่ซ่ือตรงของเขานั้น คงจะลงโทษอย่างหนกั ทเี ดยี ว คนทมี่ คี วามซอ่ื ตรงจะไมท่ �ำอยา่ งน้ี เมอ่ื มหี นา้ ทไ่ี ปโรงเรยี น เขาจะตอ้ งไปโรงเรียน และไปให้ทันเวลาเขา้ เรียนเสมอ ความซอื่ ตรงตอ่ หนา้ ทกี่ ด็ ี ความตรงตอ่ เวลากด็ ี เปน็ อาการ ของความสัตยซ์ อื่ อย่างหน่งึ ๆ ตามที่กล่าวมาน้ี คงพอจะเห็นได้แล้วว่า ความสัตย์ซ่ือแก่ กันเปน็ อย่างไร กล่าวโดยใจความ การประพฤติต่อกนั ดว้ ยน้ำ� ใจ อนั ซ่อื ตรง ไม่บิดพล้ิวหรอื คดโกง เรยี กว่า ความสัตยซ์ ื่อแกก่ ัน 15

ความสัตย์ซื่อน้ี สมควรประพฤติ ต่อบุคคลท่วั ไป ไมว่ า่ เราจะเกยี่ วขอ้ ง กบั บคุ คลใด โดยสถานใดก็ดี ควรมคี วามซอื่ ตรงตอ่ บคุ คลนนั้ เชน่ เราเปน็ บตุ รตอ้ งซอ่ื ตรง ต่อบิดามารดา เป็นนักเรียนต้องซื่อตรงต่อครู เป็นเพื่อนต้อง ซอ่ื ตรงตอ่ เพอื่ น เปน็ ลกู จา้ งตอ้ งซอื่ ตรงตอ่ นายจา้ ง เปน็ ขา้ ราชการ ต้องซื่อตรงต่อผู้บังคับบัญชา เป็นสามีต้องซื่อตรงต่อภรรยา เป็นภรรยาต้องซื่อตรงต่อสามี เป็นราษฎรต้องซื่อตรงต่อรัฐบาล และต่อประเทศชาติของตน ดังนเ้ี ปน็ ต้น ผูไ้ ม่มคี วามสัตย์ซอ่ื มกั คิดวา่ ตนฉลาดกวา่ ผู้อื่น ผูอ้ ่ืนคงไมร่ ู้ เท่าตน จึงคิดเอาเปรยี บผอู้ ืน่ ซ่งึ เปน็ ความคดิ ผดิ มกั ไดร้ ับความ เสียใจภายหลัง ส่วนคนผู้มีความสัตย์ซ่ือ เป็นคนมีใจเที่ยงธรรม ไมค่ ดิ เอาเปรยี บผใู้ ด ยอ่ มไดร้ บั ความรกั และความนบั ถอื จากผอู้ น่ื และไดร้ บั ผลดเี สมอ ดงั ตัวอยา่ งในเรือ่ งต่อไปน้ี เรอ่ื งพอ่ คา้ เรก่ บั ถาดทอง๑ นานมาแลว้ มพี อ่ คา้ เรค่ นหนงึ่ น�ำทองรปู พรรณเทย่ี วเรข่ าย ตามบ้านเรือนน้ัน ๆ ไปถึงบ้านหน่ึง ซ่ึงแต่เดิมเจ้าของบ้านเป็น เศรษฐีมีทรัพย์มาก ภายหลังกลับตกยาก และล้มหายตายจาก กันไป คงเหลืออยู่เพียง ๒ คน คือ ยายกับหลานสาว มีความ ยากจนตอ้ งรบั จา้ งเขาท�ำงานไดค้ า่ จา้ งพอประทงั ชวี ติ ไปวนั หนง่ึ ๆ ๑ เสริววาณชิ ชาดก ในอปณั ณกวรรค เอกนิบาต 16

หลานสาวเห็นพ่อค้านั้นน�ำเคร่ืองประดับมาร้องขาย ก็มี ความอยากได้ จงึ วอนยายใหซ้ ือ้ ให้ ยายพูดว่า “แน่ะแม่ เวลาน้ีเราตกยาก จะเอาเงินทอง ท่ีไหนไปซอ้ื ” หลานจงึ แนะว่า “มถี าดเกา่ ๆ อย่ใู บหนงึ่ เราไมไ่ ดใ้ ช้อะไร แลว้ เอามาแลกเครื่องประดับเถดิ ” ถาดท่ีหลานสาวพูดถงึ น้ี ความจริงเปน็ ถาดทองค�ำ ซงึ่ ทา่ น เศรษฐีเคยใช้สอย มีราคาถึงแสนกษาปณ์๑ เก็บปนไว้กับภาชนะ อนื่ ไมไ่ ดใ้ ชน้ านเขา้ มลทนิ จบั หมองไป แตเ่ พยี งวา่ ถาดนน้ั เปน็ ทอง สองยายหลานก็หารไู้ ม่ เม่อื หลานสาวพดู ดงั นนั้ ยายจงึ เรียกพ่อค้าน้นั มาเชิญให้นัง่ แล้วส่งถาดน้ันให้ พูดว่า “ขอนายรับถาดน้ีไปแล้วให้ของอะไร แก่นอ้ งสักอยา่ งหน่ึงเถดิ ” พอ่ คา้ นน้ั จบั ดู เขา้ ใจวา่ จะเปน็ ทองค�ำ พลกิ ควำ�่ เอาเขม็ ขดู ดู กร็ ู้ว่าเป็นทองค�ำแน่ ถาดเก่าๆ แตเ่ ขาเป็นคน ไมม่ ีคา่ ไมม่ ีความสัตยซ์ ือ่ ฉันไม่เอาหรอก คดิ จะเอาเปล่า แสรง้ ท�ำพดู ว่า “ถาดใบนมี้ รี าคาอะไร กงึ่ มาสก๒ กไ็ ม่ได”้ แล้ววางเสยี ลุกหลกี ไป ๑ กษาปณ์ เปน็ เงินตราสมยั โบราณมีราคามากกว่าเงินบาทของเรา ๒ มาสก มรี าคา ๑ ใน ๒๐ ของกษาปณ์ 17

เม่ือพ่อค้านั้นไปแล้ว ไม่ช้าก็มีพ่อค้าเร่อีกคนหน่ึง น�ำทอง รูปพรรณเที่ยวเร่ขายมาถึงบ้านน้ัน หลานสาวก็วอนยายให้ซื้อ เครื่องประดับให้อีก ยายจึงให้เรียกพ่อค้านั้นมา เชิญให้นั่งแล้ว สง่ ถาดใบนน้ั ให้ พอ่ คา้ คนนม้ี ลี กั ษณะตรงกนั ขา้ มกบั พอ่ คา้ คนกอ่ น คอื เปน็ คนมคี วามสตั ยซ์ อ่ื เมอื่ พจิ ารณาดถู าด รวู้ า่ เปน็ ทองค�ำแลว้ กแ็ จง้ แก่หญิงทั้งสองตามจรงิ วา่ “ถาดใบน้ีมีราคา นีถ่ าดทองค�ำ จรงิ รึ ถึงแสนกษาปณ์ นะยาย ของราคาเทา่ กนั ท่พี อจะแลกได้ ไม่มีในมือฉนั ” หญงิ นนั้ จงึ วา่ “พอ่ คา้ คนกอ่ นวา่ ถาดใบนร้ี าคาไมถ่ งึ กงึ่ มาสก แตน่ ายวา่ ราคาถงึ แสนกษาปณ์ ชะรอยจะเปน็ บญุ ของนาย ถาดใบนี้ จึงกลายเป็นทองค�ำไป ดิฉันขอให้แก่นาย นายให้อะไรสักอย่าง แล้วเอาไปเถิด” พอ่ คา้ นน้ั จงึ ใหส้ นิ คา้ ทมี่ อี ยใู่ นมอื ทง้ั หมดราคา ๕๐๐ กษาปณ์ กบั ตวั เงินท่มี ีอยู่ ๕๐๐ กษาปณ์ แก่หญิงทัง้ สอง แล้วรบั ถาดนั้น กลับไป ฝ่ายพ่อค้าคนก่อนย้อนกลับมาอีก กล่าวแก่หญิงน้ันว่า “หยิบถาดน้นั มาเถดิ ฉนั จะให้อะไรแกท่ ่านบ้าง” หญิงนัน้ จึงวา่ “ถาดทองของเราราคาถงึ แสนกษาปณ์ ทา่ น ตีราคาไมถ่ ึงก่งึ มาสก มีพ่อคา้ ผเู้ ท่ียงธรรมคนหนึ่ง ซ่งึ เปน็ เหมือน กับนายของท่าน ให้ทรพั ยแ์ กเ่ ราพนั กษาปณเ์ อาไปเสียแลว้ ” 18

พอได้ยนิ เท่านัน้ พอ่ คา้ คนน้นั โอ๊ย..! มีความเสียใจ เสยี ดาย จะเป็นลม ถึงส้นิ สติ แต่จะโทษใครได้ เป็นความผดิ ของตนเอง ท่ีไมม่ คี วามสตั ยซ์ ื่อ ในเร่ืองน้ี มขี ้อที่ควรก�ำหนด คอื พ่อค้าคนก่อนเป็นคนไม่มี ความสตั ยซ์ อื่ รวู้ า่ ถาดของหญงิ นนั้ เปน็ ทองค�ำ กไ็ มบ่ อกแกเ่ จา้ ของ ตามจริง แสร้งบอกว่า เป็นของไม่มีราคาด้วยคิดจะเอาของเขา เปลา่ ๆ ในทีส่ ดุ ตอ้ งไดร้ ับความเสยี ใจ สว่ นพอ่ คา้ อกี คนหนงึ่ มคี วามสตั ยซ์ อื่ รวู้ า่ ถาดนน้ั เปน็ ทองค�ำ ราคามาก ก็บอกแกเ่ จ้าของตามจริง ในที่สุดได้ถาดทองใบน้ัน คนทงั้ หลายทเ่ี กย่ี วขอ้ งกนั ถา้ ไมม่ คี วามสตั ยซ์ อื่ แกก่ นั ตา่ งก็ จะไม่มีความเชื่อถือไว้วางใจกัน มีแต่ความระแวงสงสัยในกันอยู่ เสมอ เมอ่ื เปน็ เชน่ น้ี กจ็ ะไมม่ คี วามสบายใจ ในทส่ี ดุ อาจแตกรา้ วกนั อนั เปน็ หนทางของความเส่ือม ถ้าต่างมีความสัตย์ซื่อแก่กันแล้ว ต่างก็จะมีความเช่ือถือ ไว้วางใจในกัน ความสัตย์ซ่ือน้ันเป็นรสอันประเสริฐ สมานใจให้ มีความรักอันดูดดื่มอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ย่อมจะมีแต่ความ สามัคคีพรอ้ มเพรยี งเปน็ น�้ำหนึง่ ใจเดยี วกัน ต่างจะเป็นประโยชน์ แก่กันและกัน แล้วต่างก็จะมีความสุขความเจริญ เพราะเหตุนี้ ท่านจงึ จัดความสัตยซ์ ื่อแกก่ นั เป็นธรรมของฆราวาสขอ้ ต้น 19

คำ�ถามประจ�ำ บท ๑. ความสตั ยซ์ ่อื แก่กนั คอื อะไร ? ๒. ๓. เราควรมีความสตั ยซ์ ่ือ พอ่ ค้าคนแรกทีม่ าพบ ถาดทองก่อนแล้ว ตอ่ ใครบา้ ง ? กลับไม่ไดถ้ าดนนั้ เปน็ เพราะเหตุไร ? ๔. เหตุไร ทา่ นจงึ จัด ความสตั ย์ซื่อแก่กัน เป็นธรรมของฆราวาส ? 20

บ๓ทท่ี ความรจู้ กั ข่มใจ ของตน ในบทที่ ๒ ไดก้ ล่าวถึงธรรมของฆราวาสข้อต้น คอื ความ สตั ยซ์ อื่ แกก่ นั มาแลว้ ในบทนจ้ี ะกลา่ วถงึ ขอ้ ๒ คอื ความรจู้ กั ขม่ ใจ ของตน๑ ตอ่ ไป เรารู้มาแล้วว่า คนเราถ้าจะให้มีความเช่ือถือไว้วางใจกัน อยู่ด้วยกันด้วยความรักใคร่ปรองดอง ไม่แตกร้าวกัน จะต้องมี ความสตั ยซ์ ่ือแกก่ ัน บดั น้ี ควรรอู้ กี อย่างหนึ่งวา่ นอกจากจะมีความสัตย์ซอ่ื แก่ กนั แลว้ ยงั จะต้องรจู้ กั ขม่ ใจของตนดว้ ย เพราะคนเราอยู่ดว้ ยกัน ย่อมจะมีการกระทบกระท่ังล่วงเกินกันบ้างเป็นธรรมดา แม้จะ ไม่มีความตั้งใจ ก็อาจเป็นไปได้โดยความพล้ังเผลอ คนโบราณ ท่านจึงเปรียบไว้ว่าเหมือนล้ินกับฟันยังมีเวลากระทบกันได้ บางคราวก�ำลงั เคยี้ วอาหาร ฟนั ขบลน้ิ เสยี จนเลอื ดออก บางคราว ฟันก�ำลงั ปวด ลน้ิ กด็ นุ ฟนั ใหป้ วดหนักขึ้น ๑ ในบาลเี รียกวา่ ทมะ 21

ในคนคนเดียวกันยงั เป็นเช่นน้ี ต่างคนตา่ งจิตใจ อยดู่ ้วยกนั จะไมใ่ หก้ ระทบกระทง่ั กนั บา้ งเลย ยอ่ มเปน็ ไปไมไ่ ด้ แตถ่ า้ ตา่ งคน ตา่ งรจู้ กั ขม่ ใจของตน ความกระทบกระทง่ั กนั กจ็ ะมนี อ้ ย แม้มขี นึ้ แล้ว ถ้าฝ่ายท่ถี กู กระทบ รจู้ กั ข่มใจไดไ้ มโ่ กรธตอบ เรื่องกจ็ ะหยุด อย่เู พียงนั้น ไมล่ ุกลามตอ่ ไป ท�ำอย่างไรเรียกวา่ รจู้ กั ขม่ ใจของตน เราไปโรงเรยี นทกุ วนั บางคราวรสู้ กึ เบอ่ื ไมอ่ ยากไปโรงเรยี น นกึ อยากจะไปเทย่ี วเลน่ กบั เพอ่ื น แตเ่ ราเหน็ วา่ ถา้ เราขาดเรยี นใน วนั ใด กจ็ ะขาดความรทู้ คี่ รสู อนในวนั นนั้ จะเรยี นไมท่ นั เพอื่ น และ อาจถกู ครูหรือผ้ปู กครองลงโทษ ดังนี้แลว้ เราก็หกั ใจไปโรงเรยี น จนได้ เช่นน้ีก็เรียกว่า เราร้จู กั ขม่ ใจของตน เม่อื ใครมาท�ำอะไรขดั ใจเรา หรือมาดา่ เรา เราโกรธ นกึ อยากจะดา่ จะว่า เสียให้สมแคน้ แตม่ านกึ ได้วา่ การดา่ การวา่ เช่นนัน้ เป็นค�ำหยาบคาย ไมส่ มควรทเี่ ราจะพดู จึงข่มความโกรธเสียได้ ไม่ด่าไม่ว่าออกไปเช่นนี้ ก็เรียกว่า เรารจู้ กั ข่มใจของตน เรามีเรื่องโกรธเคืองอยู่กับเพื่อนนักเรียนคนหน่ึง ภายหลัง มานึกได้เอง หรือได้ฟังค�ำส่ังสอนของครูว่า การโกรธเคืองกัน เป็นการไม่ดี อยู่โรงเรียนเดียวกัน ควรจะรักกันเหมือนพ่ีน้อง 22

ดงั น้ีแลว้ เราก็พยายามฝืนใจ ท�ำดีตอ่ เขา พยายามพดู ด้วย มขี อง กินก็แบ่งให้บ้าง ถึงใจเราจะไม่อยากท�ำเช่นน้ัน ก็ฝืนใจท�ำจนได้ ดว้ ยอาการย้ิมแยม้ แจ่มใส ไม่ชา้ เรากจ็ ะหายโกรธกนั กลบั รักกัน เหมอื นแต่กอ่ นหรอื ย่งิ กวา่ เช่นนีก้ ็เรยี กวา่ เรารจู้ ักข่มใจของตน รวมความว่า การไม่ท�ำตามใจตัวในทางท่ีไม่ดีไม่งาม และ การฝนื ใจท�ำในสง่ิ ท่ดี ที งี่ ามได้ เรียกว่า ความร้จู กั ขม่ ใจของตน ใจของคนเรา ถ้าไม่รู้จักข่มไม่รู้จักฝึกแล้ว ก็เป็นใจที่ไม่ดี ใช้การไม่ได้ เหมือนสัตว์พาหนะ เช่น มา้ ถ้าไมข่ ม่ ไม่ฝกึ ก่อนแลว้ ก็เป็นสัตว์มีพยศมาก จะน�ำมาใช้การ เช่น ขับข่ี หรือเทียมรถ ไมไ่ ด้ฉะน้ัน แม้แต่ช้างเขาจับมาแต่ปา่ ยังข่มใหล้ ะพยศและฝึกหัด จนใช้การงานได้ เช่น ใชใ้ หง้ ดั ซงุ อย่างสงู ถงึ ใช้เปน็ ชา้ งทรงของพระมหากษตั ริย์ ใจของเรากข็ ม่ และฝกึ ไดเ้ ชน่ เดยี วกนั และถา้ เรารจู้ กั ขม่ รจู้ กั ฝกึ แลว้ กจ็ ะใชก้ ารไดด้ ี มปี ระโยชนย์ งิ่ กวา่ สตั วเ์ หลา่ นน้ั เปน็ ไหนๆ คนที่ไม่รู้จักข่มใจของตน มักจะเป็นคนหุนหันพลันแล่น นึกจะพูดอะไรก็พูดออกไป นึกจะท�ำอะไรก็ท�ำลงไป ไม่คิดหน้า คดิ หลงั ซง่ึ อาจจะเปน็ ภยั แกต่ นและคนอนื่ ได้ สว่ นคนทรี่ จู้ กั ขม่ ใจ ของตนน้ันตรงกันข้าม นอกจากจะไม่พูดไม่ท�ำอะไรให้เป็นที่ เสียหายแก่ตนและคนอื่นแล้ว ยังสามารถช่วยให้ผู้อ่ืนเป็นคนดี ไดด้ ้วย ดงั ตวั อย่างในเรอื่ งตอ่ ไปนี้ 23

เร่ืองนางอตุ ตรา๑ ครั้งพระพุทธเจ้าของเรายังทรงพระชนม์อยู่นั้น มีสตรีสาว คนหน่ึงช่ืออุตตรา๒ เป็นบุตรีคนเดียวของท่านเศรษฐีปุณณะ มี ความนับถือพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด นางต้องไปอยู่บ้าน สามี ซ่ึงเป็นสกุลเศรษฐีเหมือนกัน แต่ไม่นับถือพระพุทธศาสนา เมื่อไม่มีโอกาสท�ำบุญให้ทานและฟังธรรม ก็รู้สึกอึดอัดใจ แต่ก็ มไิ ดแ้ สดงอาการใหป้ รากฏ นอกจากสง่ ขา่ วไปปรบั ทกุ ขเ์ รอื่ งนก้ี บั ทา่ นเศรษฐปี ณุ ณะบดิ าของนาง ทา่ นเศรษฐปี ณุ ณะมคี วามสงสาร จงึ สง่ เงนิ ไปให้หมนื่ ห้าพันกษาปณ๓์ นางไดเ้ อาเงินจ�ำนวนนี้ ไปว่าจา้ งนางสิรมิ า ซ่ึงเป็นนางบ�ำเรอรปู งาม มอี ัตราคา่ จ้างถึง วนั ละพนั กษาปณ์ เพ่ือให้ไปปฏิบตั สิ ามี แทนตนสกั ๑๕ วนั สว่ นตนจะถวายทานและฟงั ธรรม เม่อื ตกลงกันแลว้ จงึ พา ไปหาสามี ช้ีแจงความประสงค์ให้ทราบ เม่ือสามีอนุญาตแล้ว นางกไ็ ปเฝา้ พระพทุ ธเจา้ กราบทลู ขอใหเ้ สดจ็ พรอ้ มดว้ ยพระสงฆ์ ไปยังบ้านของนางทุกวนั มีก�ำหนด ๑๕ วัน เพอื่ นางจะได้ถวาย ทาน และฟงั ธรรม ๑ เร่อื งนีม้ าในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๖ ๒ อา่ นวา่ อตุ ตะรา ๓ กษาปณ์ ดูอธบิ ายในบทท่ี ๒ หน้า ๑๗ 24

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับแล้ว นางก็กลับไปบ้านตระเตรียม ข้าวของส�ำหรับท�ำบุญ มีความดีใจท่ีได้ถวายทานและฟังธรรม มไิ ดเ้ หน็ แกค่ วามเหนด็ เหนอ่ื ย เขา้ ครวั สง่ั การจดั ท�ำอาหารส�ำหรบั เลี้ยงพระดว้ ยตนเองทกุ วัน วนั หนึง่ สามขี องนางมองดูทางหนา้ ต่างเรอื นใหญ่ เหน็ นาง ก�ำลังดูแลการท�ำอาหารอยใู่ นโรงครัว จงึ คดิ ว่า นางคนโง่ อยู่ดี ๆ ไม่ชอบ พอใจไปยุ่งอยูก่ บั การท�ำอาหารส�ำหรับเลี้ยงพระ เขาเหน็ เปน็ ท่นี า่ ขัน จงึ หัวเราะแล้วหลีกไป นางสิรมิ าสงั เกตเหน็ อาการน้นั นกึ สงสัย จึงไปดูท่หี นา้ ตา่ ง น้ัน เห็นนางอุตตราอยู่ในโรงครัว ส�ำคัญว่าสามีหัวเราะด้วย ความชืน่ ชมตอ่ นางอุตตรา กบ็ ังเกิดความริษยา๑ ขนึ้ ทันที ลมื วา่ ตัวเปน็ แต่ คนภายนอก กลบั ส�ำคัญวา่ ตวั เป็นใหญ่ในบา้ นน้ี มคี วามหงึ หวงเปน็ ก�ำลงั ตรงเข้าไปในโรงครวั หยิบทัพพีตักน้�ำมันเนย ซึ่งก�ำลังเดือดพล่านอยู่ในกระทะ ทอดขนม ตรงเข้าไปจะรดศีรษะนางอุตตรา นางอตุ ตราเหน็ อาการเชน่ นนั้ แทนทจ่ี ะโกรธ กลบั หกั ใจใหเ้ กดิ ความเอน็ ดคู ดิ วา่ เพอ่ื นหญงิ ของเราคนน้ี มบี ญุ คณุ ตอ่ เราลน้ เหลอื ๑ รษิ ยา คอื ความไมพ่ อใจ เม่อื เห็นผอู้ ื่นดีกวา่ ตน 25

เพราะได้อาศัยเธอ เราจึงมีโอกาสท�ำบุญให้ทาน และฟังธรรม เอาเถิด ถ้าเรายังมีใจโกรธเคืองเธออยู่บ้าง ก็ให้น้�ำมันเนยนั้น ลวกเราเถิด แต่ถา้ เรามิไดม้ คี วามโกรธเคืองต่อเธอ น้�ำมนั เนยนน้ั จงอยา่ ลวกเราเลย นางอตุ ตราเช่อื มัน่ ในเมตตาจติ ๑ ของตนถงึ เพยี งนี้ และด้วยอ�ำนาจ เมตตาจิตน้ัน นำ�้ มันเนยท่ี นางสิริมารดลงไป บนศรี ษะนางอตุ ตรา จงึ เป็นเหมอื นนำ�้ เย็น นางสิริมาคิดว่า น้�ำมันเนยนี้คงเย็นไปเสียแล้ว ยังไม่หาย โกรธ กลบั ไปตกั มาใหม่ ตรงเขา้ ไปจะรดซำ้� อกี ทนั ใดนน้ั พวกหญงิ คนใชข้ องนางอตุ ตรากเ็ ขา้ ขดั ขวาง แลว้ กลมุ้ รมุ กนั ทบุ ตนี างสริ มิ า จนล้มลง แล้วกห็ าหยดุ มือไม่ นางอตุ ตรารบี เขา้ หา้ มปราม พานางสริ มิ าไปอาบนำ้� อนุ่ แลว้ เอานำ�้ มันอยา่ งดมี าทาให้ ทันใดน้ัน นางสิริมาก็พลนั ส�ำนึกไดว้ ่า ตวั เปน็ แตค่ นภายนอก หาใชผ่ เู้ ปน็ ใหญใ่ นบา้ นนไ้ี ม่ และรสู้ กึ บญุ คณุ ของนางอุตตรา ท่ีมิได้โกรธเคือง กลับช่วยเหลือตนเป็นอย่างดี รสู้ กึ ตวั วา่ เปน็ ฝา่ ยผดิ จงึ ขอโทษนางอตุ ตรา ตอ่ จากนน้ั นางอตุ ตรา ได้ชักนำ� นางสริ ิมาให้ไดฟ้ ังค�ำสง่ั สอนของพระพทุ ธเจา้ จนบังเกดิ ความเลอ่ื มใสกลายเปน็ ผนู้ บั ถอื พระพทุ ธศาสนาทเ่ี ครง่ ครดั คนหนง่ึ ๑ เมตตาจติ คอื ความคิดให้ผู้อ่ืนเปน็ สุข มลี กั ษณะตรงกันขา้ มกับความโกรธ 26

ในเรอื่ งนจี้ ะเหน็ วา่ นางสริ มิ านน้ั เปน็ คนไมร่ จู้ กั ขม่ ใจของตน เพียงแต่เห็นสามีหัวเราะ ก็บังเกิดความริษยาหึงหวง โกรธเคือง นางอุตตราซึง่ หาความผดิ มไิ ด้ ตรงเข้าไปจะท�ำร้าย แต่นางอุตตราเป็นคนรู้จักข่มใจของตน มิได้มีความโกรธ เคืองนางสริ มิ า กลบั หกั ใจนกึ ไปในทางดี มีไมตรจี ติ ต่อนางสิรมิ า อย่างม่ันคง จึงไม่เป็นอันตราย นางสิริมาผู้มุ่งร้ายกลับแพ้ภัย ตนเอง ถูกทุบตบี อบช้ำ� หากนางอตุ ตราเขา้ ชว่ ยจงึ พ้นภัย ความดีของนางอุตตรา ท�ำให้นางสิริมาส�ำนึกได้ว่าตัวผิด ในท่ีสุดได้ฟังค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า บังเกิดความเชื่อม่ันใน พระพุทธศาสนา นับว่านางอตุ ตราชนะความโกรธของนางสิริมา ด้วยความไม่โกรธตอบ และชนะความไม่ดีของนางสิริมาด้วย ความดขี องตน ท้งั น้ี ก็เพราะความร้จู กั ขม่ ใจของตนน่ันเอง ความรู้จักข่มใจของตน เป็นเครื่องรักษาตน และผู้อ่ืนให้ พ้นภัย และเป็นเคร่ืองรักษาความรักความนับถือให้กันและกัน ท�ำใหม้ คี วามสามคั คกี ลมเกลยี วไมแ่ ตกรา้ วกนั อยา่ งนี้ ทา่ นจงึ จดั เป็นธรรมของฆราวาสอกี ข้อหน่ึง เป็นข้อท่ี ๒ 27

ค�ำ ถามประจ�ำ บท ๑. ๒. ทำ�อย่างไร เรียกวา่ นางสริ ิมาคดิ จะทำ�ร้าย รจู้ กั ข่มใจของตน นางอตุ ตรา เหตไุ รจงึ กลบั รกั จงยกตวั อย่าง ? และนบั ถอื นางอตุ ตราและ กลายเป็นคนดไี ปได้ ? ๓. ๔. นางอตุ ตราชนะนางสิรมิ า ความร้จู ักขม่ ใจของตน ผมู้ ่งุ รา้ ยด้วยวิธใี ด ? มผี ลดอี ย่างไร ? 28

บ๔ทท่ี ความอดทน เราได้ศกึ ษาธรรมของฆราวาสแล้ว ๒ ขอ้ คอื ความสัตย์ซือ่ แก่กัน และความรู้จักข่มใจของตน บัดนี้จะได้ศึกษาต่อไปอีก ขอ้ หนง่ึ คือ ความอดทน๑ ในบทที่ ๓ ได้กล่าวมาแล้วว่า คนเราอยดู่ ว้ ยกนั ย่อมจะมี การกระทบกระทง่ั กนั บา้ งเปน็ ธรรมดา แตถ่ า้ ตา่ งคนตา่ งรจู้ กั ขม่ ใจ ของตนแลว้ ความกระทบกระทง่ั กันกม็ นี ้อย แต่คนโดยมากไม่ค่อยรู้จักข่มใจของตน นึกจะพูดอะไรก็ พูดออกไป นึกจะท�ำอะไรก็ท�ำลงไป จะกระทบกระทั่งท�ำความ เดอื ดร้อนแกใ่ ครบา้ ง ไมค่ ่อยนกึ ถงึ ยิ่งคนทีม่ ีนสิ ยั หยาบด้วยแล้ว อาการทที่ �ำและค�ำทพี่ ดู ออกไป กม็ กั จะหยาบคายรา้ ยกาจ ถา้ เรา ไม่รจู้ กั อดทนบา้ งแลว้ ก็จะไมม่ คี วามสุข และถ้าเราอดทนไว้ไมไ่ ด้ ไปโตเ้ ถยี งกบั เขา เรอ่ื งกจ็ ะไมส่ งบลงได้ อาจกลายเปน็ การทะเลาะ ววิ าทกันต่อไป เพราะฉะนนั้ เราจึงจ�ำเป็นต้องมีความอดทน ๑ ในบาลเี รยี กว่า ขนั ติ 29

พระพุทธเจ้าของเราเป็นท่ีเคารพสักการะของคนทุกช้ัน แม้เช่นนั้น ก็ยังต้องทรงอดทนต่อค�ำล่วงเกินของพวกคนพาล เช่น คร้ังหนึ่งขณะที่เสด็จเข้าไปในเมืองโกสัมพี ได้ถูกชาวเมือง ซึ่งเป็นพวกพ้องของนางมาคันทิยาด่าว่า ด้วยค�ำหยาบช้าต่าง ๆ จนพระอานนท์มีความร�ำคาญใจ ทลู ขอให้เสดจ็ ไปเมอื งอืน่ พระองค์ไมท่ รงเห็นดว้ ย ตรัสว่า พระองค์เหมอื นชา้ งเข้าสู่ สงคราม๑ อันช้างที่เข้าสงครามต้องอดทนต่อลูกศรท่ีฝ่ายข้าศึก ยงิ มา ฉันใด พระองค์ก็จักทรงอดทนต่อค�ำลว่ งเกิน ฉันนัน้ เพราะ คนท่ีมีความประพฤติไมเ่ รยี บร้อยยังมอี ยู่มาก๒ ดูเถิด แมถ้ ึงพระพทุ ธเจา้ ก็ยังตอ้ งทรงอดทนต่อค�ำล่วงเกนิ ของพวกคนพาล ก็เหตุไรเล่า คนธรรมดาสามัญอย่างเรา ๆ จะ ไม่จ�ำเปน็ ตอ้ งอดทน เมอื่ คนทโ่ี ตกวา่ เรา มกี �ำลงั มากกว่าเรา มาดา่ ว่าเรา หรอื ท�ำอะไร ขัดใจเรา เราเห็นวา่ เขาโตกวา่ มกี �ำลังมากกวา่ ถ้าจะไปโต้เถียงข้ึนปากข้ึนเสียงกับเขา เขาคงจะไม่ยอมลดละ ๑ ในสงครามสมัยโบราณ เขาใช้ช้างออกรบในแนวหน้าดว้ ย ๒ เรื่องน้ีมาในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๗ 30

และอาจท�ำร้ายเราให้เจ็บตัวเปล่า เราจึงน่ิงเสีย ไม่โต้เถียงและ พยายามท�ำดตี อ่ เขา เชน่ นก้ี เ็ รยี กวา่ เรามคี วามอดทน ความอดทน อย่างนี้ เป็นเคร่อื งรกั ษาตวั เราให้พน้ ภัย เมอ่ื ผปู้ กครอง หรอื ครอู าจารยว์ า่ กลา่ วตกั เตอื นเรา แมท้ า่ น จะใชถ้ อ้ ยค�ำทรี่ นุ แรงบา้ ง เรากต็ งั้ ใจฟงั ดว้ ยความยนิ ดี และก�ำหนด จดจ�ำไว้ เช่นน้กี เ็ รียกว่า เรามคี วามอดทน ที่จริง ถอ้ ยค�ำ ของผใู้ หญท่ ว่ี า่ คทรำ� ูสไอมนเวเลธาอ กลา่ วตักเตอื น ไม่ตงั้ ใจเรยี น ดว้ ยความหวังดีนน้ั คนทดี่ มี ีความคิด จะไมถ่ อื โกรธเลย เพราะเป็นเครื่องช้ีทางช่ัวทางดี เพ่ือให้หลีกทางชั่วและด�ำเนิน ในทางดี เหมือนกบั ท่านชบี้ อกขมุ ทรพั ยใ์ ห้ เพราะฉะนนั้ เราควรจะอดทนตอ่ ถอ้ ยค�ำเช่นนี้ ยิ่งกว่านั้น เราควรจะยินดีเต็มใจทีจ่ ะไดฟ้ งั เสมอ ๆ ความอดทนอย่างนี้ เป็น เหตใุ ห้ผใู้ หญ่รกั และสงสาร เปน็ หนทางแห่งความเจรญิ ของเรา เมอ่ื คนท่เี ท่ากนั มาด่าวา่ เรา หรอื ท�ำอะไรขัดใจเรา เราอาจ จะดา่ ตอบ ถงึ หากจะเกิดสรู้ บตบมือกนั ข้นึ เราก็ส้ไู ด้ แตเ่ ราเหน็ ว่าการท�ำเชน่ นน้ั เปน็ การไมด่ ี จะท�ำใหเ้ ปน็ ศตั รกู นั ต่อไป รกั กัน ไว้ดีกว่าชังกนั เราจึงน่งิ เสยี ได้ ไม่โต้เถียง แตพ่ ยายามท�ำดีต่อเขา เชน่ น้ีก็เรียกวา่ เรามีความอดทน 31

ความอดทนอยา่ งนี้ แงๆ้ ๆ เยๆ้ ๆ เป็นเครื่องรักษาตัวเรา ฉนั กลัวจิ้งจก สนกุ จงั เลย เอาไปไกลๆ ไม่ใหม้ เี วรเป็นศัตรูกับใคร ๆ ย่งิ กวา่ นน้ั เมือ่ อกี ฝ่ายหนงึ่ หายโกรธ คดิ เห็นความดี ของเราที่มคี วามอดทน ไมถ่ อื โกรธ ก็ยอ่ มจะมี ความรกั ความนบั ถือในเราตอ่ ไป เป็นเหตใุ ห้เรามพี วกพอ้ งเพ่ือนฝูงมาก เม่ือคนท่เี ลก็ กวา่ หรือมกี �ำลงั นอ้ ยกวา่ เรามาดา่ วา่ หรอื ท�ำ อะไรขัดใจเรา เรามีก�ำลังพอทจี่ ะขม่ ขไี่ ด้ แต่เราเห็นว่า การท�ำเชน่ นน้ั เปน็ การแสดงกริ ยิ า หยาบคายร้ายกาจ ไม่สมควรแกเ่ รา ใคร ๆ อาจหาว่า เราขม่ เหงเดก็ หรอื รังแกผ้อู ่อนแอกวา่ กไ็ ด้ เราจึงน่ิงเสียได้ หรือพูดเอาอกเอาใจปลอบโยนให้เขาหายโกรธ เช่นน้ีกเ็ รยี กว่า เรามีความอดทน ความอดทนอย่างน้ี นักปราชญ์ท่านยกย่องว่า เป็นความ อดทนอย่างสูง เป็นคุณสมบัติของผู้ใหญ่ แม้เราเป็นเด็กท�ำได้ อยา่ งน้ี ก็เรียกวา่ วางตัวเป็นผู้ใหญ่ น่าสรรเสรญิ 32

ความอดทนดงั กลา่ วมาน้ี รวมเรยี กวา่ ทนเจบ็ ใจ นอกจากน้ี เรายังมีเร่ืองท่ีจะต้องอดทนอย่างอ่ืนอีก คือ ทนตรากตร�ำท�ำ การงาน และทนเจบ็ ปวดในเวลาปว่ ยไข้ คนเราเกิดมาต้องท�ำงาน เมื่อเป็นเด็กก็ต้องเรียนหนังสือ บางทีตอ้ งชว่ ยท�ำการงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ทบ่ี า้ น เช่น ท�ำสวนครวั เล้ียงสัตว์ เป็นต้น เม่ือเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ต้องท�ำงานอาชีพ เช่น ท�ำนา ท�ำไร่ ท�ำสวน ค้าขาย หรือรับราชการ เปน็ ต้น ในการท�ำงานนั้น เราจะต้องตรากตร�ำต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย บางคราวต้องอดหลับอดนอน ต้องทนเม่ือยเหน็บ เจ็บหลงั จงึ จะสามารถท�ำการงานนัน้ ๆ ใหส้ �ำเรจ็ ลลุ ว่ งไปได้ ข้ีเกยี จ ถ้าเราไมม่ ีความอดทน ท�ำงานจัง มกั จะอา้ งวา่ หนาวนกั อ่านการต์ นู ดกี ว่า รอ้ นนกั หิวนัก กระหายนกั และอะไรตา่ ง ๆ แล้วลงทา้ ยกไ็ ม่ท�ำงาน การงานก็จะคั่งคา้ ง ทีค่ วรจะแล้วกไ็ ม่แล้ว บางทีก็ลว่ งเวลาเสียคราวไป ตอ้ งลม้ เหลว ไมไ่ ดร้ บั ผลท่ีมุ่งหวงั ความอดทนต่อหนาว รอ้ น หวิ กระหาย อดหลบั อดนอน ทนเมื่อยเหน็บ เจ็บหลัง เพื่อให้ท�ำงานให้ส�ำเร็จผลทันเวลา เช่นนี้ เรยี กวา่ ทนตรากตร�ำ 33

อนง่ึ คนเราเกิดมา ย่อมจะมีการปว่ ยไขบ้ า้ ง เชน่ ปวดฟนั ปวดทอ้ ง ปวดศีรษะ เปน็ ต้น อาการเหล่าน้ี แมจ้ ะมหี ยกู ยาเปน็ เคร่ืองระงับและในท่ีสุดอาจหายไปได้ก็จริง แต่ในระหว่างท่ียัง ไมร่ ะงับ หรือยงั ไมห่ ายนั้น ถ้าเราไมร่ จู้ กั อดทนบา้ งแลว้ โอ๊ย..! เบาๆ หน่อยสิ เจบ็ นะหมอ ก็อาจร้องครวญคราง ให้เป็นทร่ี �ำคาญผอู้ น่ื และบางทีกเ็ ลย ลืมคดิ ที่จะเยยี วยารักษา อาการที่ควรจะเปน็ นอ้ ย ก็จะกลายเป็นมากไป เพราะฉะนนั้ เราจงึ ตอ้ งมคี วามอดทน แมจ้ ะเจบ็ ปวดกไ็ มร่ อ้ ง ครวญครางหรอื ดน้ิ ทรุ นทรุ ายไป ซง่ึ ไมม่ ปี ระโยชนอ์ ะไร ถา้ จ�ำเปน็ จะ ตอ้ งขอความชว่ ยเหลอื ผอู้ นื่ เชน่ ผปู้ กครองหรอื หมอ กไ็ ปขอความ ชว่ ยเหลอื บอกเลา่ อาการทเ่ี ปน็ ใหฟ้ งั อยา่ งนเี้ รยี กวา่ ทนเจบ็ ปวด ความอดทน ๓ อย่างน้ี มีผลดีต่าง ๆ กัน ทนเจ็บใจ จะ ป้องกันมิให้เกิดบาดหมางทะเลาะวิวาทกัน เป็นเครื่องรักษาตน และผู้อื่นให้พ้นภัย ทนตรากตร�ำ จะช่วยให้ท�ำการงานส�ำเร็จ ทนเจ็บปวด มีผลดใี นยามป่วยไข้ ด่ังไดอ้ ธิบายมาโดยล�ำดับ คนที่มีความอดทน ย่อมมีอาการเรียบร้อย งดงามน่ารัก น่านับถือ นักปราชญ์ คือ ผู้มีการศึกษาดี มีความรู้สูง ย่อมมี ความอดทนนี้ เป็นเครื่องประดับ ท�ำให้งดงาม น่ารัก น่าบูชา เชน่ พระสารีบตุ รเป็นตวั อย่าง มเี ร่ืองดงั ต่อไปน้ี 34

เรื่องพระสารบี ตุ ร๑ พราหมณ์คนหน่ึง ได้ยินค�ำคนพูดสรรเสริญพระสารีบุตร อยบู่ อ่ ยๆ วา่ ทา่ นเปน็ ผมู้ คี วามอดทนนกั คดิ จะทดลองใหป้ ระจกั ษ์ วา่ ทา่ นจะมีความอดทนจรงิ หรือไม่ นแ่ี น่ะ..! วนั หนึ่ง พระสารบี ุตร ดสู ิวา่ จะอดทน ก�ำลังเท่ียวบิณฑบาตอยู่ จรงิ หรอื เปล่า พราหมณผ์ ูน้ ี้ กล็ อบเขา้ ไปข้างหลงั เอาฝา่ มอื ตบเขา้ กลางหลงั ทา่ นเตม็ แรง ท่านมไิ ด้เหลียวดูเลย คงเดนิ ตอ่ ไปตามปรกติ พราหมณเ์ กดิ ความรอ้ นใจขน้ึ ทนั ที เหน็ วา่ ทา่ นทรงคณุ ธรรม สงู แท้ จึงหมอบลงทเี่ ท้าของทา่ น กล่าวค�ำขอขมาโทษ ท่านถามคล้ายกับมิได้มีเร่ืองอะไรเกิดข้ึนเลยว่า “นี่เร่ือง อะไรกนั ” เมอ่ื พราหมณน์ นั้ แจง้ เรอ่ื งแลว้ ทา่ นกก็ ลา่ ววา่ “เอาเถดิ ฉันยกโทษให้ท่าน” พราหมณ์มีความเล่ือมใสนิมนต์ท่านไปเรือน ถวายอาหาร บณิ ฑบาตเล้ยี งดูท่าน ๑ เร่อื งน้ีมาในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๘ 35

ขณะน้ัน คนท้ังหลายที่ทราบเร่ือง ต่างพากันโกรธเคือง พราหมณ์น้ัน คิดจะลงโทษเสียเอง จึงต่างถือก้อนดินบ้าง ทอ่ นไมบ้ ้าง อาวุธอยา่ งอ่ืนบ้าง พากันไปยนื คอยอยูท่ ปี่ ระตเู รอื น ของพราหมณ์นน้ั พระสารีบุตรเกรงว่า พราหมณ์จะได้รับอันตราย จึงส่ง บาตรของท่านใหพ้ ราหมณ์ถือตามหลังทา่ นออกประตเู รอื น คนเหล่าน้ันเห็นพราหมณ์ถือบาตรของพระสารีบุตรอยู่ ก็ ไมอ่ าจท�ำร้าย ท่านช้ีแจงแก่คนเหล่านั้นว่า พราหมณ์นี้ ได้ขอขมาโทษ ตอ่ ทา่ นแลว้ ขอใหค้ นเหลา่ นน้ั กลบั ไป เมอื่ คนเหลา่ นน้ั กลบั ไปแลว้ ทา่ นรบั บาตรจากพราหมณ์ ให้พราหมณก์ ลับบา้ นแลว้ จงึ ไปวัด พระสารีบุตร ถูกพราหมณ์ตีแล้ว ยังช่วยพราหมณ์น้ัน ให้รอดอันตราย นึกดูเถิดว่า พราหมณ์น้ันจะเคารพบูชาท่าน สกั เพียงไร ฆราวาส คอื ผู้ครองเรือน มเี ครือ่ งกระทบกระท่ังมาก ถ้ามีความอดทนอย่แู ล้ว ใจก็จะเปน็ สุข ไม่ตอ้ งเดอื ดรอ้ นเพราะ เครือ่ งกระทบกระทัง่ เหลา่ นั้น และสามารถตัดต้นทางของการทะเลาะววิ าทเสยี ได้ 36

นอกจากนี้ ฆราวาสมีการงานทต่ี อ้ งท�ำมาก บางคราวตอ้ ง ตรากตร�ำตอ่ หนาว รอ้ น หิว กระหาย และการอดหลบั อดนอน เพื่อท�ำการงานนั้น ๆ ให้แล้วเสร็จทันเวลา ถ้ามีความอดทน ก็ จะสามารถทนต่อการตรากตร�ำน้ัน ๆ ท�ำการงานให้ส�ำเร็จผลท่ี มุ่งหมายได้ อน่ึง ในยามเจ็บไข้ ถ้ามีความอดทนอยู่แล้ว ก็จะไม่แสดง อาการทรุ นทรุ าย หรอื รอ้ งครวญคราง ใหเ้ ปน็ ทรี่ �ำคาญแกค่ นรกั ษา พยาบาล ความอดทน มคี ณุ แกฆ่ ราวาสอยา่ งนี้ ท่านจึงจดั เปน็ ธรรม ของฆราวาสอีกขอ้ หนงึ่ เปน็ ข้อที่ ๓ อกี นดิ เดียว กจ็ ะเสร็จแล้ว 37

ค�ำ ถามประจ�ำ บท ๑. อาการเชน่ ไร เรียกว่า อดทน ? ๒. ๓. เหตุไร เราจงึ ต้อง พราหมณต์ พี ระสารบี ุตร มีความอดทน ? แลว้ กลบั เคารพนับถือท่าน เพราะเหตุไร ? ๑. เหตุไร ทา่ นจงึ จัด ความอดทนเปน็ ธรรม ของฆราวาส ? 38

บ๕ทที่ การสละให้ปัน บา้ นเราทำ� ขนม ขอบใจจ๊ะ แบ่งกันนะ เรากซ็ อ้ื นำ้� ผลไม้ มาฝากเธอดว้ ย เราไดศ้ กึ ษาธรรมของฆราวาสมาแลว้ ๓ ขอ้ คอื ความสตั ยซ์ อื่ แก่กัน ความรู้จักข่มใจของตน และความอดทน ยังเหลืออยู่อีก ข้อหนง่ึ คือ การสละให้ปัน๑ ซ่ึงเราจะไดศ้ กึ ษาตอ่ ไปน้ี ไดก้ ลา่ วมาแลว้ วา่ คนเรามคี วามเกยี่ วขอ้ งกนั ถา้ มคี วามรกั ใครป่ รองดองกนั แลว้ ตา่ งกจ็ ะอยดู่ ว้ ยกนั ดว้ ยความผาสกุ และตา่ ง จะเปน็ ประโยชนแ์ กก่ นั และกนั การทจี่ ะเปน็ เชน่ นน้ั ได้ ตา่ งฝา่ ยจะ ต้องมีความสัตย์ซ่ือต่อกัน จึงจะมีความไว้วางใจกัน ไม่กินแหนง แคลงใจกัน และต้องรู้จักข่มใจของตน ไม่เอาแต่ใจตัว พูดหรือ ท�ำอะไรใหเ้ ปน็ ทเ่ี ดอื ดรอ้ นร�ำคาญแกผ่ อู้ นื่ ตอ้ งมคี วามอดทนตอ่ กนั ไม่ถือโกรธในเมอื่ อกี ฝา่ ยหนง่ึ พดู หรือท�ำอะไรใหเ้ ปน็ ท่ีขดั ใจ ๑ ในบาลเี รยี กวา่ จาคะ 39

นอกจากนี้ คนเรายังตอ้ งมีการเออ้ื เฟ้ือเผอื่ แผต่ อ่ กัน จงึ จะ มคี วามรกั และนับถอื กันย่ังยืนตลอดไป เพราะฉะนั้น การสละให้ ปนั จงึ เปน็ กจิ ส�ำคญั ทคี่ นเราจะพงึ กระท�ำตอ่ กนั ตามแตจ่ ะมคี วาม เกยี่ วขอ้ งกนั อยอู่ ยา่ งไร จะยกมากลา่ วพอเปน็ ตวั อยา่ ง ดงั ตอ่ ไปน้ี บิดามารดาต้องเล้ียงดูบุตรธิดา๑ ของตน ต้องให้เล่าเรียน เพ่ือมีความรู้ความฉลาดสามารถตั้งตัวได้ต่อไป ในการนี้ต้องให้ อาหารเคร่ืองแต่งกาย เคร่ืองใช้ หนังสือ เครื่องเขียน เงินค่า เลา่ เรยี น และอนื่ ๆ อกี เปน็ อนั มาก นอกจากนย้ี งั ใหท้ รพั ยแ์ กบ่ ตุ ร ธิดาเป็นครั้งเป็นคราว เช่น ให้ของขวัญในวันเกิด ให้ทุนรอนใน คราวแต่งงาน เป็นตน้ บตุ รธดิ าต้องไมล่ มื ขา้ วผัดใกล้ บญุ คุณบดิ ามารดา เสร็จแลว้ นะครบั เม่อื เตบิ โตเปน็ ผู้ใหญ่ ท�ำงานมีรายได้ข้ึนแล้ว ควรเอาใจใส่บ�ำรุงเล้ยี ง บิดามารดามิใหอ้ ดอยาก หรือได้รับความล�ำบากทีต่ อ้ งท�ำการงานเมอ่ื แกเ่ ฒา่ ถงึ ทา่ นจะมฐี านะดี ไมถ่ งึ กบั จะตอ้ งอดอยากหรอื ไดร้ บั ความ ล�ำบากเช่นนั้น บุตรธิดาก็ไม่ควรละเลยเสียทีเดียว มีผลไม้หรือ ของกนิ แปลกๆ ควรนกึ ถงึ ทา่ น ถา้ สามารถจะน�ำไปหรอื สง่ ไปใหไ้ ด้ กค็ วรน�ำไปหรือส่งไปให้ และควรหาโอกาสบูชาคุณท่านเป็นครง้ั เปน็ คราว เชน่ น�ำผา้ คไู่ ปรดนำ้� ในวนั ขน้ึ ปใี หม่ เปน็ ตน้ บดิ ามารดา เม่ือบตุ รธดิ าน�ำของไปให้แม้เพียงเล็กน้อย ก็ชืน่ ชมยินดมี าก ๑ บตุ ร คือ ลูกชาย, ธิดา คอื ลกู หญิง 40

คนทเ่ี ปน็ ญาตพิ นี่ อ้ งกนั หรอื เปน็ เพอื่ นรกั สนทิ ทเี่ รยี กวา่ มติ ร ก็จ�ำเปน็ ต้องอนเุ คราะห์ช่วยเหลือกนั ถา้ ฝ่ายหน่ึงตอ้ งภัยพิบตั ิ เปน็ ยงั ไงบา้ ง เช่น ถูกโจรปล้น ไฟไหม้ ไหวไหมครบั หรอื น้�ำท่วม เป็นต้น ไมม่ ีทอ่ี ยอู่ าศยั หรอื ขาดทุนรอน อีกฝา่ ยหน่ึงมกี �ำลงั พอจะชว่ ยเหลือได้ ก็ช่วยเหลือให้ท่ีพ�ำนักอาศัย หรือให้ทุนรอน ตามสมควรแก่ ความจ�ำเป็น และก�ำลังของตน เมื่อฝ่ายหน่ึงมีการงาน เช่น งานโกนจุก บวชนาค หรืองานสมรส เป็นต้น อีกฝ่ายหน่ึงควร ช่วยเหลือน�ำสิ่งของ หรือเงนิ ทองไปใหต้ ามควรแกก่ ารงานนั้น ๆ เจ้าของบ้าน เมื่อมีแขกมาถึงบ้าน ต้องต้อนรับเล้ียงดูให้ สมควรแกฐ่ านะของผ้เู ป็นแขกและธรุ ะของเขา ทจ่ี ะมาพกั อยู่เร็ว หรือช้า ถ้าเขามาเยี่ยมเยือนช่ัวพักช่ัวครู่ ก็ต้อนรับแต่เพียงด้วย บุหรน่ี �ำ้ ชาหรือนำ้� เยน็ สุดแต่จะมี ถ้าเขามาพกั ค้างแรมอยู่ด้วย เจา้ ของบ้านควร เลยี้ งดแู ละจัดท่พี กั เชญิ นัง่ กอ่ นครับ อาศัยใหอ้ ยสู่ บาย ทก่ี ลา่ วน้ี หมายถึง การต้อนรบั แขก ท่มี าถึงบา้ นเรือนตามปรกติ 41

บางคราว เจ้าของบา้ น ขอบคณุ มากคะ่ ทใ่ี หเ้ กยี รตมิ า รว่ มงานของเรา เช้ือเชิญญาตมิ ติ รเพือ่ นฝงู มา จะเป็นโดยมกี ารงาน เช่น งานโกนจุก บวชนาค งานสมรส เปน็ ตน้ หรือไม่มีการงานอะไรก็ตาม เป็นหน้าที่ของเจ้าของบ้านจะต้อง ทำ� การต้อนรบั เลย้ี งดแู ขกให้อ่มิ หนำ� ส�ำราญ การใหป้ นั ดงั กลา่ วมาขา้ งตน้ นนั้ เปน็ การใหป้ นั ในระหวา่ งคน ที่มีความเกี่ยวข้องกันจ�ำเพาะตัว เช่น บิดามารดากับบุตรธิดา ญาตกิ ับญาติ มติ รกับมิตร มีลักษณะเปน็ การชว่ ยเหลือเกือ้ กลู กนั เป็นสว่ นตวั แตค่ นเรามใิ ชจ่ ะมคี วามเกย่ี วขอ้ งกนั แตโ่ ดยเฉพาะตวั เทา่ นนั้ ยังมีความเกี่ยวเน่ืองอยู่ในส่วนรวมด้วย เช่น ในหมู่คณะและ ประเทศชาติ เปน็ ต้น ย่อมไดร้ ับประโยชนจ์ ากสว่ นรวมนั้น และมี สว่ นไดส้ ว่ นเสยี ในความเจรญิ หรอื ความเสอ่ื มของสว่ นรวมนน้ั ดว้ ย เช่น เราเป็นนักเรียนอยู่ในโรงเรียนใด ก็มีความเก่ียวเน่ืองอยู่ใน สว่ นรวมคอื โรงเรยี นนน้ั ยอ่ มไดร้ บั ประโยชน์ คอื วชิ าความรู้ความดี ความงาม และถา้ โรงเรยี นของเรามเี กยี รตยิ ศชอ่ื เสยี งดี เรากพ็ ลอย มีหนา้ มีตาไปด้วย เราเป็นพลเมืองของประเทศไทย ก็มีความเกี่ยวเนื่องอยู่ ในสว่ นรวมคือประเทศไทย ย่อมไดร้ ับประโยชน์คือ ความรม่ เยน็ เปน็ สุขอยูใ่ นความคมุ้ ครองป้องกนั ของประเทศไทย เราภมู ใิ จได้ ว่าเป็นอิสระ เป็นไทแก่ตัว ก็เพราะชาติไทยเป็นชาติอิสระ มิได้ อยู่ในอ�ำนาจของชาติอนื่ 42

เพราะฉะน้ัน เราจึงมีหน้าที่ท่ีจะต้องบ�ำรุงหมู่คณะ และ ประเทศชาติของตน เชน่ ขอบคุณมากครบั ในส่วนโรงเรียน ทช่ี ว่ ยจา่ ยค่าบำ� รงุ เราต้องเสียเงิน ให้กบั สถานศึกษา คา่ เลา่ เรียน และคา่ บำ� รงุ อน่ื ๆ ทีโ่ รงเรยี นจดั ขึน้ ในสว่ นประเทศชาติ เราจะต้องเสยี เงนิ ค่าภาษอี ากรตา่ ง ๆ เงินบ�ำรุงท้องถ่ิน เงินบ�ำรงุ การศกึ ษา และสละทรพั ย์ บ�ำรงุ การทหาร เหลา่ นเี้ ป็นการ สละทรัพย์ เพื่อประโยชน์ ในสว่ นรวม นอกจากน้ี ยงั มกี ิจการทเ่ี ป็นประโยชน์แกค่ นทั่วไป ซ่ึงเรา ควรจะช่วยกันบ�ำรุงอีกหลายอย่าง เช่น การศาสนา และ การพยาบาล เป็นตน้ เม่ือพูดถึงการศาสนา ก็ท�ำให้นึกถึงวัด เพราะวัดเป็น สถานทส่ี ำ� หรับการศาสนาโดยตรง 43

วัดในพระศาสนา โดยมากเป็นสถานท่ีงดงามน่ารื่นรมย์ เราไม่สบายใจ ไปถงึ วัดสถานที่อนั ร่มรน่ื และเงียบสงัด อาจท�ำให้ เราสบายใจขน้ึ ได้ ยิ่งกว่าน้ัน วัดเป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ ซ่ึงล้วนเป็นผู้มี ความประพฤติดี มใี จงาม ท่ีเรยี กวา่ ทรงศลี ทรงธรรม ทา่ นเปน็ ผ้รู ักษาพระพทุ ธศาสนา คอื ค�ำสั่งสอนของพระพทุ ธเจา้ อันเป็น ค�ำสง่ั สอนที่ดีจริง อาจท�ำคนผปู้ ระพฤติตามใหเ้ ป็นคนดีไดจ้ ริง ๆ พระสงฆ์ ทา่ นศกึ ษาเล่าเรยี นพระพุทธศาสนา แลว้ ท�ำการ เผยแพร่แก่คนทั้งหลาย หน้าท่ีและธุระของท่านเกี่ยวกับการ ศาสนาโดยเฉพาะ ท่านไม่มีโอกาสจะท�ำการงานอันเป็นอาชีพ ส่วนตัวได้ ชีวิตความเป็นอยู่ของท่านจึงต้องเนื่องด้วยผู้อ่ืน คือ ตอ้ งอาศยั ผู้อน่ื เลยี้ งชพี เวลาเชา้ ๆ เราจะได้เหน็ พระสงฆ์ออกเที่ยวบิณฑบาต และมีคนตักบาตร ถวายอาหารแก่ท่าน บางทีเรากเ็ คย ตกั บาตรบ้างเหมือนกนั น่ันเปน็ การบ�ำรงุ พระสงฆส์ ่วนหนง่ึ โดยเหตุท่ีธุระหน้าท่ีของพระสงฆ์ เก่ียวกับการศาสนา โดยเฉพาะ ฉะนนั้ การบ�ำรงุ พระสงฆ์ จง่ึ นบั วา่ เปน็ การบ�ำรงุ การ ศาสนา 44

โอ๊ย..! การพยาบาล คอื ปวดหวั หน้ามืด การรักษาโรคภัยไขเ้ จบ็ ตาลาย โรคภัยไขเ้ จบ็ เม่ือเกิดขึ้นแกผ่ ้ใู ด ก็ท�ำผู้นั้น ใหเ้ จบ็ ปวดเดอื ดรอ้ น เสียงานเสยี การ ถ้าไม่ได้รับการรักษา พยาบาลใหถ้ ูกตอ้ งแลว้ อาจเปน็ อันตรายถงึ เสยี ชีวติ ก็ได้ เพราะฉะน้ัน ทางบ้านเมืองจึงได้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นไว้ ส�ำหรบั ใหก้ ารรกั ษาพยาบาลทถี่ กู ตอ้ งแกค่ นไข้ มแี พทยท์ มี่ คี วามรู้ ความช�ำนาญ มีคนพยาบาลไข้ที่ได้รับการอบรมฝึกหัดแล้วเป็น อย่างดี มีเครื่องมือแพทย์ และเคร่ืองใช้ในการรักษาพยาบาลไข้ อยา่ งพรอ้ มเพรยี ง และรบั รักษาโรค แกค่ นทว่ั ไป ไม่เลือกวา่ ยากดีมจี น สมควรทเ่ี ราจะช่วยบ�ำรุง เช่น เขา้ เป็นอนุสมาชิก หรือสมาชิกของสภากาชาดไทย เป็นตน้ 45

การสละให้ปนั อันเป็นการชว่ ยเหลือเกื้อกลู กันเป็นสว่ นตัว ย่อมเปน็ เหตใุ ห้ผ้รู บั บงั เกดิ ความรกั และความนับถือในผ้ใู ห้ ข้อนเ้ี ป็นความจรงิ ขอบใจนะ เมอ่ื ฝ่ายหนึ่ง ท่ีหายโกรธ แสดงน�้ำใจดี เราเอา มาฝาก กนั แล้ว ต่ออกี ฝา่ ยหน่งึ ด้วยการให้ปัน ดังกล่าวแลว้ ฝ่ายผู้รบั กค็ งร้สู ึก รักน�้ำใจผู้ให้ อย่าวา่ แต่คนที่ชอบกนั เลย แม้คนทไ่ี มช่ อบกนั ถ้าฝา่ ยหนึ่ง แสดงนำ�้ ใจดดี ว้ ยการใหป้ นั อยเู่ นอื งๆ แลว้ อกี ฝา่ ยหนง่ึ กค็ งจะไมท่ �ำ ใจด�ำเฝา้ ชงิ ชงั อยไู่ ด้ คงจะกลบั ใจรกั และชอบไดส้ กั คราวหนง่ึ เปน็ แน่ ตรงกนั ข้าม ถึงจะให้ชอบกนั สกั เพียงไร ถา้ ตา่ งฝา่ ย ต่างท�ำใจจืดใจด�ำ ไม่ช่วยเหลือ เจือจานกันบา้ งแลว้ ไม่ช้าต่างก็จะรู้สึกจืดจาง คลายความรัก ความชอบ ในที่สุด อาจกลายเปน็ เกลยี ดชังกนั ไปก็ได้ 46


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook