Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แผนเพศวิถี มัธยมศึกษาปีที่ 2

แผนเพศวิถี มัธยมศึกษาปีที่ 2

Published by arms0827784830, 2021-07-05 06:33:33

Description: แผนเพศวิถี มัธยมศึกษาปีที่ 2

Search

Read the Text Version

• ส่ิงท่ีโฆษณาแต่ละชิน้ ใช้เป็นจุดขาย เพ่อื จงู ใจใหซ้ ้ือสนิ ค้าคืออะไร • โฆษณาแต่ละช้ินใหค้ วามรสู้ ึกว่าเกินจรงิ หรือไม่ อยา่ งไร ๖. หลังจากทกุ กลุ่มนำเสนอ ผู้ดำเนินกิจกรรมชวนคุย ดงั นี้ คำถามชวนคดิ • คิดว่าการโฆษณามีผลต่อตัวเราในการเลือกซ้ือหรือไม่ซ้ือสินค้าหรือไม่ เพราะอะไร • เมอ่ื คิดจะเลอื กซ้ือสนิ ค้าสกั ชน้ิ อะไรคือเง่ือนไขสำคัญทสี่ ุดท่ีทำให้ตดั สนิ ใจ ซ้ือ • มีผลิตภณั ฑช์ ิน้ ใดบ้างในปจั จบุ นั ทค่ี ดิ ว่าใช้การโฆษณาเกินจรงิ เพราะอะไร จึงคดิ เช่นนัน้ (ยกตวั อย่างสักสองสามชน้ิ ) • เราจะมวี ิธีซอ้ื สินคา้ อยา่ งไร เพอ่ื มใิ ห้ตกเป็นเหย่ือของการโฆษณา ๗. ผูด้ ำเนินกิจกรรมชวนผเู้ รยี นสรปุ การเรยี นรู้ว่า เราไดอ้ ะไรจากกิจกรรมวนั น้แี ละเพิ่มเติมประเดน็ ดงั นี ้ • ในชีวิตประจำวัน เราต้องบริโภคข้อมูลข่าวสารมากมายโดยเฉพาะสื่อที่มาจากการโฆษณา ท้ังทางตาและทางหู เราจึงต้องรู้เท่าทันวิธีการนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ ทั้งควรหมั่น เตือนตนเองเสมอว่า “โฆษณา คอื การพูดความจรงิ เพยี งครึง่ เดียว” • คณุ ลักษณะทสี่ ำคญั ของการโฆษณาคือ การสร้างแรงจงู ใจใหก้ ลมุ่ เป้าหมายเกดิ ความรูส้ กึ วา่ จำเป็นต้องมีหรือต้องใช้สินค้า/บริการชนิดนั้น ด้วยการตอกย้ำ ใช้ความถ่ี เพ่ือให้ผู้รับสาร สามารถจดจำสินค้าช้ินนั้นได้ เราจึงพบว่าโฆษณาสินค้าหลายประเภทนิยมสร้างให้เกินจริง เพอ่ื ใหเ้ ราเกดิ ความอ่อนไหวและคลอ้ ยตามโดยง่าย • เรามกั ชอบโฆษณาทีส่ ามารถตอบสนองความตอ้ งการหรือความสนใจ มากกวา่ ความจำเปน็ 144 ท่ีแท้จริง ไม่ทันศึกษาหรือพิจารณาสิ่งท่ีจะซื้อว่ามีความจำเป็นหรือไม่ แต่ซื้อตาม อารมณ์มากกวา่ เหตผุ ล ทำให้กลายเป็นคนฟุ่มเฟือย ค่มู อื การจดั กระบวนการเรียนร้ ู เพศศึกษา สำหรับนักเรยี นชั้น มธั ยมศกึ ษาปที ี่ ๒

• คนเรามักมคี วามคดิ ความเชือ่ และการปฏบิ ัตติ นตามคา่ นยิ มทางวฒั นธรรมตามแบบอยา่ ง 145 ในอุดมคติ (Role Model) กลุ่มสังคมหรือกลุ่มเพื่อน ดังน้ัน นักการตลาดจึงอาศัยแง่มุมนี้ เป็นตวั ชักชวน เช่น การขายภาพวา่ ผูห้ ญงิ ที่เปน็ แม่ควรซักผ้าไดข้ าว ทำกับขา้ วอรอ่ ย วยั รนุ่ แผนการเรยี นร้ทู ี่ ๗ ยอดนกั ขาย ชายท่ีเท่ต้องไม่มีกล่ินตัว วัยรุ่นหญิงผิวต้องขาวใสอมชมพู ฯลฯ สินค้าท่ีนำเสนอก็จะกลาย เป็นส่ิงท่ีช่วยให้กลุ่มเป้าหมายบรรลุตามค่านิยมท่ีควรจะเป็นคือ ถ้าใช้ผงซักฟอกยี่ห้อนี้ จะ ทำให้เราเป็นแม่ที่ดีเพราะซักผ้าได้ขาวขึ้น ใช้ครีมทาหน้าย่ีห้อน้ีแล้วเราจะเป็นวัยรุ่นท่ีปกติ เพราะหน้าใสอมชมพู ใช้ยาระงับกลิ่นเหง่ือนี้แล้ว เราจะเป็นหนุ่มเท่ เพราะไม่มีกล่ินตัว เป็นต้น ดูเหมือนว่า การที่เราจะเป็นอะไรนั้นก็เพราะคำช้ีชวนของโฆษณา เพื่อให้ทุกคน รู้เท่าทันและเลือกบริโภคสินค้าตามความจำเป็นและคำนึงถึงความปลอดภัย เราจึงควรรู้จัก และใชส้ ิทธผิ ู้บริโภคในการแสวงหาขอ้ มูลของผลติ ภณั ฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ สินคา้ บาง ชนิดอาจสามารถตรวจสอบได้ด้วยตา การสัมผัสหรือสังเกต แต่มีสินค้าจำนวนมากท่ีต้อง ผ่านการทดสอบ วิเคราะห์และรับรองคุณภาพจากหน่วยงานท่ีได้มาตรฐาน เช่น สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรอื สำนกั งานมาตรฐานผลติ ภัณฑ์อตุ สาหกรรม (สมอ.) ซึ่งต้องมีการปิดฉลากระบุวันผลิต วันหมดอายุ บอกส่วนผสมให้อ่านได้ชัดเจน บอกชื่อ ผผู้ ลิตที่ตดิ ตอ่ ได้ เปน็ ตน้ ข้อเสนอแนะสำหรับผูด้ ำเนินกิจกรรม ผู้ดำเนินกิจกรรมควรเลือกใช้โฆษณาสินค้าที่อยู่ในความนิยม ณ ช่วงเวลาน้ันๆ และเลือก ตัวอย่างโฆษณาจากส่ือต่างๆ ที่วัยรุ่นนิยมด้วยเช่นกัน หรืออาจเป็นการบ้านเพื่อให้ผู้เรียนเลือกส่ือ โฆษณาที่ตนเองชอบมาคนละ ๑ ชิ้น โดยบอกผู้เรยี นลว่ งหนา้ กอ่ นถึงแผนกจิ กรรมน้ ี

การวดั และประเมนิ ผล สังเกตการมีสว่ นร่วมในกจิ กรรมกลุ่ม และการอภปิ รายแลกเปล่ียน คำถามท้ายบท • บอกข้อควรพิจารณาเพื่อเลือกซ้ือสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เก่ียวกับการดูแลสุขอนามัยทางเพศ และสรรี ะรา่ งกาย มีอะไรบา้ ง 146 คูม่ อื การจดั กระบวนการเรียนรู้ เพศศกึ ษา สำหรบั นักเรียนช้นั มัธยมศกึ ษาปีท่ี ๒

ขอ้ มูลเพ่มิ เตมิ 147 สำหรบั ผู้ดำเนนิ กิจกรรม แผนการเรยี นร้ทู ี่ ๗ ยอดนกั ขาย ความรูเ้ บื้องต้นเกยี่ วกับการคุม้ ครองผู้บรโิ ภค แหลง่ ข้อมูล: สำนกั งานคุ้มครองผบู้ ริโภค รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก ท่ีใหค้ วามสำคัญของการคุ้มครองผบู้ ริโภค โดยบัญญัติถึงสทิ ธขิ องผ้บู รโิ ภคไวใ้ นมาตรา ๕๗ วา่ “สทิ ธขิ องบุคคลซึ่งเปน็ ผ้บู ริโภคยอ่ มได้รบั ความคุม้ ครองทงั้ นีต้ ามท่กี ฎหมายบญั ญัติ” พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ ไดบ้ ัญญัติสทิ ธขิ องผู้บริโภคทจ่ี ะได้รบั ความคมุ้ ครองตามกฎหมาย ๕ ประการ ดงั น้ี ๑. สทิ ธทิ จี่ ะไดร้ บั ขา่ วสารรวมทงั้ คำพรรณนาคณุ ภาพทถี่ กู ตอ้ งและเพยี งพอเกยี่ วกบั สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิท่ีจะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริง และปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า หรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอท่ีจะไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่ เป็นธรรม

๒. สิทธิท่ีจะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิท่ีจะเลือกซื้อ สินค้าหรือรับบริการโดยความสมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็น ธรรม ๓. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิท่ีจะได้ รบั สนิ คา้ หรือบริการทป่ี ลอดภัย มีสภาพและคณุ ภาพไดม้ าตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่กอ่ ให้เกดิ อันตรายตอ่ ชวี ติ รา่ งกายหรือทรัพย์สิน ในกรณใี ช้ตามคำแนะนำหรอื ระมดั ระวังตาม สภาพของสนิ ค้าหรอื บรกิ ารนน้ั แล้ว ๔. สิทธทิ จ่ี ะได้รบั ความเปน็ ธรรมในการทำสญั ญา ได้แก่ สิทธิทีจ่ ะไดร้ ับขอ้ สญั ญา โดยไม่ถูกเอารดั เอาเปรียบจากผปู้ ระกอบธรุ กจิ ๕. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิท่ีจะได้รับ การคุ้มครองและชดใชค้ ่าเสยี หาย เมื่อมกี ารละเมิดสทิ ธขิ องผู้บริโภคตามข้อ ๑, ๒, ๓ และ ๔ ดังกลา่ ว คำแนะนำเพอื่ ผ้บู รโิ ภค ขอ้ ควรปฏบิ ตั สิ ำหรบั ผ้บู รโิ ภคในการซื้อสนิ ค้าหรือบรกิ าร ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการซื้อสินค้าหรือบริการ ไดแ้ ก่ การใหค้ วามสำคัญฉลากของสินคา้ และการโฆษณาสนิ คา้ หรือบรกิ าร ๑. ผบู้ รโิ ภคต้องตรวจดูฉลากของสินคา้ เพอื่ เปน็ ข้อมลู ในการเปรยี บเทยี บสนิ ค้าแต่ละย่ีหอ้ 148 ก่อนตัดสินใจเลอื กสินค้า ฉลากของสนิ ค้าที่ควบคุมจะตอ้ งระบขุ อ้ ความดงั ตอ่ ไปนี้ คมู่ ือการจัด กระบวนการเรียนร้ ู เพศศึกษา สำหรบั นกั เรยี นชั้น มธั ยมศกึ ษาปีท่ี ๒

• ช่ือประเภท หรือชนิดของสินค้า ที่แสดงให้เข้าใจได้ว่าสินค้าน้ันคืออะไร ในกรณีที่ 149 เป็นสินค้าส่ังหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพ่ือขายให้ระบุช่ือประเทศที่ผลิตด้วย แผนการเรยี นร้ทู ี่ ๗ ยอดนกั ขาย ชื่อหรือเคร่ืองหมายการค้าท่ีจดทะเบียนในประเทศไทยของผู้ผลิตเพื่อขายใน ประเทศไทย • ช่ือหรือเคร่ืองหมายการค้าท่ีจดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้ส่ังหรือนำเข้ามาใน ราชอาณาจกั รเพ่ือขาย • สถานทีต่ งั้ ของผผู้ ลิตเพ่ือขาย หรอื ของผู้สงั่ หรอื ผนู้ ำเขา้ มาในราชอาณาจกั รเพื่อขาย แลว้ แตก่ รณี • ต้องแสดงขนาดหรือมิติ หรอื ปริมาณ หรือปริมาตร หรือน้ำหนักของสินค้าน้ัน แล้ว แตก่ รณี สำหรับหนว่ ยท่ีใช้จะใชช้ ื่อเต็มหรอื ชอื่ ยอ่ หรือสญั ลักษณ์แทนก็ได้ • ต้องแสดงวิธใี ช้ เพอื่ ใหผ้ บู้ รโิ ภคเข้าใจวา่ สินคา้ นั้นใช้เพือ่ สิง่ ใด • ข้อแนะนำในการใชห้ รือหา้ มใช้ เพอ่ื ความถกู ตอ้ งในการท่ใี ห้ประโยชนแ์ กผ่ ู้บริโภค • คำเตือน (ถา้ มี) • วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุการใช้ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อน วัน เดือนปีที่ระบุนั้น เพื่อให้เข้าใจในประโยชน์ของคุณภาพหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น (ถา้ มี) • ราคาโดยระบหุ น่วยเปน็ บาท และจะระบเุ ปน็ เงินสกลุ อ่ืนก็ได ้ ๒. สอบถามขอ้ เทจ็ จริงเก่ยี วกับคณุ ภาพของสินค้าจากผู้ขาย หรอื ผู้ท่เี คยใชส้ ินค้านน้ั แล้ว ๓. ศกึ ษาเงื่อนไข หรือข้อจำกดั ของสินค้า เชน่ วนั เดอื น ปี ทีผ่ ลิตหรอื หมดอายุ วธิ กี าร ใช้ การเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อควรระวังของสินค้าให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพ่ือ ผ้บู ริโภคสามารถใช้สินคา้ ไดอ้ ย่างเต็มประสิทธภิ าพและประหยดั ๔. ร้องขอให้หน่วยงานที่เก่ียวข้องตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของสินค้าว่าเป็นจริง ตามท่ีระบุไว้ที่ฉลากของสินค้าหรือไม่ เพื่อให้ได้สินค้าท่ีมีคุณภาพและเป็นธรรมแก่ ผบู้ ริโภค

๕. ผู้บริโภคอย่าด่วนหลงเช่ือคำโฆษณาของสินค้าหรือบริการ ต้องศึกษาเง่ือนไขราย ละเอยี ดอื่นๆ ของตัวสินคา้ หรือบรกิ ารท่อี าจไม่ไดร้ ะบุไว้ในการโฆษณา เน่อื งจากการ โฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่จะเสนอแต่ข้อดีและเง่ือนไขที่ เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ส่วนข้อเสียมักจะไม่กล่าวถึงในการโฆษณา จึงจำเป็นท่ี ผ้บู รโิ ภคตอ้ งศกึ ษาหาความรู้เพ่ิมเตมิ จากการสอบถามผขู้ ายหรือบริษทั ผผู้ ลิต ข้อความโฆษณาต่อไปน้ี ถือว่าเป็นข้อความท่ีไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือเป็น ขอ้ ความทีอ่ าจก่อใหเ้ กดิ ผลเสียหายตอ่ สงั คมเป็นส่วนรวม • ข้อความทเี่ ปน็ เท็จหรอื เกนิ ความจรงิ • ข้อความท่ีก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะ เป็นการกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือส่ิงใดสิ่งหน่ึงอันเป็น ความจริง หรอื เกินความจริงหรอื ไมก่ ็ตาม • ข้อความท่ีเป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย หรือ ศลี ธรรม หรือนำไปสู่ความเส่อื มเสียในวฒั นธรรมของชาต ิ • ขอ้ ความทจี่ ะทำให้เกดิ ความแตกแยก หรอื เสอ่ื มเสียความสามคั คีในหมปู่ ระชาชน • ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงท่ีผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุข้อความให้ ครบถว้ น • หากฝ่าฝนื มโี ทษตามกฎหมาย 150 คูม่ อื การจัด กระบวนการเรียนรู้ เพศศกึ ษา สำหรบั นักเรียนช้นั มธั ยมศกึ ษาปีท่ี ๒

แผนการเรียนรูท้ ่ี ๘ 151 สรา้ ง แผนการเรยี นร้ทู ี่ ๗ ยอดนกั ขาย สะพาน

แผนการเรียนรู้ท่ี ๘ สร้างสะพาน สาระสำคญั ความขัดแย้งระหว่างวัยรุ่นและผู้ใหญ่เป็นเร่ืองที่เกิดข้ึนเสมอเพราะความแตกต่าง ของวัยและประสบการณ์ ความห่วงใยของผู้ใหญ่ที่ปรากฏผ่านการว่ากล่าว ตกั เตอื น ห้ามปราม ใหค้ วามรสู้ กึ ไม่ไว้ใจและกงั วลเกนิ ความจำเป็นตอ่ กลุ่มวัยรนุ่ การเรียนรู้ถึงความแตกต่างของวัยและประสบการณ์ของท้ังสองฝ่าย จะช่วยสร้าง ความเข้าใจ ลดขอ้ ขัดแย้ง และสอ่ื สารกนั ไดม้ ากขึ้น จดุ ประสงค ์ ๑. อธบิ ายที่มาของความขดั แย้งระหว่างผูใ้ หญ่และเด็ก ๒. แสดงใหเ้ หน็ วิธกี ารส่ือสารทจ่ี ะชว่ ยลดความขัดแย้ง อุปกรณ์ และสอื่ ๑. กระดาษฟลปิ ชาร์ท ๒. กระดาษกาว 152 ๓. ปากกาเคมี คู่มอื การจดั กระบวนการเรยี นรู ้ เพศศึกษา สำหรับนกั เรยี นชั้น มธั ยมศกึ ษาปที ่ี ๒

ข้นั ตอนการดำเนนิ กิจกรรม 153 ๑. ผู้ดำเนินกิจกรรมช้ีแจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมนี้ว่า เป็นการสำรวจท่ีมาของความขัดแย้ง แผนการเรยี นร้ทู ี่ ๘ สรา้ งสะพาน ระหวา่ งผใู้ หญก่ บั วยั รนุ่ และหาวธิ ลี ดชอ่ งวา่ งเพอ่ื เปดิ ใหม้ กี ารสอื่ สาร และทำความเขา้ ใจกนั มากขน้ึ ๒. ผู้ดำเนินกิจกรรมถามผู้เรียนว่า เรื่องท่ีวัยรุ่นมักถูกผู้ใหญ่ตำหนิมีอะไรบ้าง เขียนคำตอบบน กระดาน และใหเ้ ลอื กเรื่องทถ่ี กู ตำหนมิ ากท่สี ดุ /บอ่ ยทีส่ ุด ๔ เรือ่ ง เรยี งตามลำดับ ๓. จากน้ัน แบ่งกลุ่มผ้เู รยี นเปน็ ๘ กลุ่ม โดยกลมุ่ ๑ - ๔ เปน็ ตวั แทนวยั รุน่ และกลมุ่ ๕ - ๘ เป็น ตัวแทนผู้ใหญ่ ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ ๔ อันดับเรื่องที่ถูกตำหนิ โดยใช้คำถามเหล่านี้ (ใหเ้ วลา ๕ นาที) กลุ่มที่เป็นวัยรุน่ • อะไรเปน็ สาเหตทุ ่ีทำใหถ้ กู ตำหนใิ นเร่อื งนน้ั คดิ ว่าผูใ้ หญ่ตอ้ งการอะไรจึงใชก้ ารตำหน ิ • เมือ่ โดนตำหนิ เราจะพูด/อธิบายกับผู้ใหญ่อย่างไร กลมุ่ ท่เี ปน็ ผใู้ หญ ่ • อะไรเปน็ สาเหตใุ หเ้ ราตำหนเิ ดก็ ในเรอ่ื งนน้ั เรารสู้ กึ อยา่ งไร เราตอ้ งการอะไรจงึ ใชก้ ารตำหน ิ • นอกจากใช้วธิ ตี ำหนแิ ลว้ เราคดิ วา่ มวี ิธพี ดู กบั วยั รนุ่ อยา่ งไรอีกบ้าง ๔. เม่ือหมดเวลา ผดู้ ำเนินกิจกรรมให้นำเสนอทลี ะเรอ่ื ง โดยใหท้ ง้ั ตวั แทนกลุ่มเดก็ และผู้ใหญ่เสนอ ในเรอื่ งนัน้ ๆ ๕. เม่ือทุกกลมุ่ นำเสนอแล้ว ผ้ดู ำเนนิ กจิ กรรมชวนคยุ โดยใช้คำถามดังน้ ี คำถามชวนคดิ • ผลท่ตี ามมาจากการท่เี ราตำหนใิ ครสกั คน มอี ะไรบา้ ง • สิ่งทผี่ ู้ใหญแ่ ละเด็กคิด เหมือนและตา่ งกนั อย่างไร • แต่ละคนชอบวธิ กี ารพูดหรือวธิ ีจดั การของผใู้ หญ่แบบใดบ้าง เพราะเหตใุ ด • การพูดหรือวิธีการแบบใดบ้างที่ทำให้ความขัดแย้งเพ่ิมมากขึ้น และแบบใด ท่ีจะชว่ ยลดความขดั แย้ง

๖. ผ้ดู ำเนนิ กจิ กรรมชวนผเู้ รยี นสรุปวา่ เราได้อะไรจากกิจกรรมวันน้ีและเพิม่ เตมิ ประเดน็ ได้แก่ • การตำหนิเป็นวิธีท่ีผู้ใหญ่ใช้เพ่ือแสดงถึงความห่วงใยและความต้องการท่ีจะให้วัยรุ่นเปลี่ยน พฤตกิ รรม เนอ่ื งจากผ้ใู หญใ่ ชป้ ระสบการณ์ของตนมาคาดเดาถงึ ผลทอ่ี าจเกิดข้นึ เม่อื เห็นการ กระทำของวัยรุ่น การตำหนิจึงมักมาพร้อมกับท่าทีขุ่นเคือง โมโห บ่น ทำให้ดูเหมือนว่า ผูใ้ หญ่ชอบใชอ้ ารมณ์ ไม่ใช้เหตผุ ล ไม่ค่อยยอมรับสงิ่ ทเ่ี ปน็ อยขู่ องวัยรุ่น • วัยรุ่นต้องการการยอมรับและการรับฟังอย่างเปิดใจ วัยรุ่นรู้สึกว่าตัวเองโตพอท่ีจะคิดได้เอง ว่ากำลงั ทำอะไรอยู่ จะมผี ลอยา่ งไรบา้ ง วยั รนุ่ ไมอ่ ยากใหผ้ ใู้ หญด่ ว่ นสรปุ วา่ สง่ิ ทว่ี ยั รนุ่ ทำตา่ ง ไปจากสมัยรุ่นพ่อแม่น้ันเป็นสิ่งที่ผิด ไม่อยากให้ผู้ใหญ่มาส่ังหรือบอกว่าเขาควรจะทำอะไร อยา่ งไร อยากให้เป็นการพูดคุยกันและฟังเขาบ้าง เผ่ือใจให้เขาสามารถทำและคิดแตกต่าง ได้บ้าง • เม่ือผู้ใหญ่และวัยรุ่นต่างมีความคาดหวังต่อกัน การท่ีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอาแต่ความคิดความ ต้องการของตัวเองเป็นท่ีตั้ง ไม่พยายามเข้าใจอีกฝ่ายหนึ่งว่าต้องการอะไร ย่อมทำให้เกิด ความขัดแยง้ กนั การหาทางออกจงึ ต้องเริ่มจากตวั เองกอ่ นในการเปิดใจมองหาความหมายที่ อีกฝ่ายพยายามส่ือสารผ่านการกระทำซึ่งเราอาจไม่ชอบใจ การเข้าใจความหมายที่แท้จริง จะชว่ ยให้เกดิ การสอื่ สารระหว่างกนั ไม่ตดิ กบั อารมณ์และท่าทีของกนั และกัน การวัดและประเมินผล สังเกตการมสี ว่ นรว่ มในกิจกรรมกลุ่ม และการอภปิ รายแลกเปล่ียน คำถามทา้ ยบท • สาเหตทุ ี่วยั ร่นุ มกั ถกู ผใู้ หญต่ ำหนคิ ืออะไร เมอ่ื ถกู ตำหนิ ต่อว่า นักเรยี นจะปฏบิ ัตอิ ยา่ งไร 15ก4ระคบเู่มวพนอืศกกศาากึ รรษเจ ราดั ีย นรู้ สมำธั หยรมบั ศนึกักษเราปยี ทีนี่ช๒้ัน

แผนการเรยี นรู้ที่ ๙ 155แผนการเรยี นร้ทู ี่ ๘ สรา้ งสะพาน เรอ่ื งของ ปักเปา้

แผนการเรยี นรทู้ ี่ ๙ เรอ่ื งของปกั เป้า สาระสำคัญ ในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อ่ืน เราควรปฏิบัติต่อกันในแง่สร้างสรรค์ การ ล้อเลียนเพ่ือความสนุกสนานของฝ่ายหนึ่งอาจสร้างความเดือดร้อนใจให้กับผู้ที่ตก เป็นเป้าของการลอ้ เลยี น ถ้าคำพดู หรอื การกระทำของเรามีผลในทางทไี่ มด่ ี ทำให้ เพื่อนเสียใจ ก็ต้องกล้าหาญพอท่ีจะกล่าวคำขอโทษและรับผิดชอบต่อส่ิงที่ตนเอง กระทำ จดุ ประสงค ์ ๑. เหน็ ตวั อย่างการบอกความรู้สึกทไ่ี ม่พอใจเมอ่ื ถูกล้อเลียน โดยใช้คำพูดทต่ี รง กับความรูส้ ึก โดยไมแ่ สดงอาการตอบโตด้ ว้ ยอารมณ ์ ๒. บอกวิธแี สดงการขอโทษ เสียใจ เมือ่ ทำให้ผู้อน่ื เสียหายได้ อปุ กรณ์ และสื่อ ๑. ใบกรณศี ึกษา “เรือ่ งของปกั เปา้ ” 156 ๒. กระดาษฟลปิ ชาร์ท กระดาษกาว ปากกาเคม ี กระคบู่มวนอื กกาารรเจ รดั ยี นรู้ เพศศึกษา สำหรับนกั เรยี นชั้น มธั ยมศกึ ษาปที ่ี ๒

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 157 ๑. ผู้ดำเนินกจิ กรรมชแี้ จงวตั ถปุ ระสงคข์ องกิจกรรมนี้วา่ ต้องการให้ผ้เู รยี นเขา้ ใจความรสู้ ึกของการ แผนการเรียนร้ทู ่ี ๙ เรื่องของปกั เปา้ ถูกล้อเลียน และจะทำอย่างไรหากเรารู้สึกไม่พอใจ และหากเราเป็นฝ่ายทำให้เพื่อนไม่พอใจ จะมีวิธแี กไ้ ขอยา่ งไร ๒. ถามผู้เรียนว่า ใครเคยถูกล้อเลียนบ้าง ขออาสาสมัครตอบ ๒ - ๓ คน และถามความรู้สึกเมื่อ ถกู ล้อเลียน ๓. จากนั้น แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยไม่เกินกลุ่มละ ๗ คน แจกใบกรณีศึกษา “เร่ืองของปักเป้า” ใหก้ ลมุ่ ละ ๑ แผน่ ให้กล่มุ พดู คยุ และแลกเปลีย่ นกนั ตามคำถามในใบกรณีศึกษา และให้เขียน คำตอบลงในกระดาษฟลปิ ชารท์ ใหเ้ วลา ๒๐ นาที ๔. เม่ือหมดเวลา ผู้ดำเนินกิจกรรมถามคำถามทีละคำถาม และขอคำตอบจากทุกกลุ่ม ให้บอก คำตอบท่ีไม่ซำ้ กัน • ปักเปา้ กำลังรสู้ ึกอยา่ งไร • เอด็ ดจี้ ะรสู้ กึ อย่างไรเมอ่ื ปักเป้าเปลยี่ นไป • คดิ อยา่ งไรกับการตัดสินใจของปกั เปา้ • มคี ำแนะนำให้ปักเปา้ กับเอ็ดดี้อย่างไรบา้ ง • หากเราเปน็ เพ่ือนทชี่ อบลอ้ ปักเปา้ เราจะทำอยา่ งไร ๕. จากน้ัน ผ้ดู ำเนนิ กิจกรรมใช้คำถามชวนคดิ เพ่ือเปิดประเดน็ ให้มีการแลกเปลยี่ นในกลมุ่ ใหญ่ ถงึ การจดั การเม่อื อยู่ในสถานการณท์ ส่ี ร้างความไม่พอใจ คำถามชวนคดิ • ผู้ชายกบั ผ้หู ญงิ ทส่ี นทิ กันตอ้ งเป็นแฟนกนั เสมอ จริงหรือไม่ เพราะอะไร • เราเคยมปี ระสบการณร์ ู้สึกไม่พอใจอย่างมากเมอ่ื ถูกลอ้ เลยี นบ้างหรอื ไม่ ถ้า มี เปน็ เรือ่ งอะไร และทำอยา่ งไรเมือ่ อยใู่ นสถานการณ์นั้น • เราสามารถทำอะไรได้บ้างเมื่อรู้ว่าการล้อเล่นของเราทำให้เพื่อนไม่พอใจ คิดว่าวธิ ไี หนไดผ้ ลดีทสี่ ดุ เพราะอะไร

๖. ผู้ดำเนินกจิ กรรมชวนผเู้ รยี นสรุปวา่ เราได้อะไรจากกจิ กรรมวันนี้ และเพม่ิ เตมิ ประเดน็ ดงั นี ้ • มิตรภาพระหว่างเพ่ือนมีได้หลายแบบไม่จำเป็นต้องเกิดกับคนเพศเดียวกันเท่าน้ัน ผู้ชายกับ ผู้หญงิ คบหาเปน็ เพ่ือนกันไดโ้ ดยไมต่ อ้ งเป็นแฟน • การเรียนรู้ท่ีจะจัดการกับความโกรธของตนเอง เป็นทักษะหน่ึงท่ีจำเป็นต่อการรักษา สัมพันธภาพกับคนอ่ืน ด้วยการบอกความรู้สึกของตนเองว่ารู้สึกอย่างไรเม่ือถูกเพื่อนล้อ เพราะเราไม่สามารถควบคุมคนอื่นได้เท่าควบคุมตนเอง เช่นในกรณีเร่ืองของปักเป้า เรา สามารถใช้หลักตอ่ ไปน้ีในการบอกใหผ้ อู้ ืน่ รถู้ ึงความรู้สึกและความตอ้ งการของเรา ทบทวนเรอื่ ง + บอกความรู้สึก + ผลกระทบ + ระบุความต้องการ ตวั อย่างคำพูด “ที่เธอชอบล้อฉันเร่ืองเอ็ดดี้กับฉัน ทำให้ฉันรู้สึกอึดอัด จนต้องเลิกคบกับเขาทั้งที่เราโตมาด้วยกัน ฉันอยากใหเ้ ธอหยุดพูดเรือ่ งน้”ี “เรอื่ งทพ่ี วกเธอชอบล้อกันบ่อยๆ ฉนั รสู้ กึ เป็นห่วงเอด็ ด้ที ี่เขาไม่สบายใจจนต้องอยูค่ นเดียว ฉันขอให้ เธอเลกิ พดู เรอื่ งนี”้ • การสร้างสมั พนั ธภาพกับผอู้ น่ื ควรปฏิบัตติ อ่ กันในทางสร้างสรรค์ ดงั นั้น หากเราทำให้เพือ่ น เกิดความไม่พอใจ ก็ควรแสดงความรับผิดชอบให้สอดคล้องกับสิ่งท่ีตนเองทำ เช่น กล่าว ขอโทษ ลงมอื แก้ไขสง่ิ ท่เี กดิ ขึ้นจากการกระทำของเรา เปน็ ตน้ ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ดำเนินกิจกรรม หากผู้เรียนยกกรณีตัวอย่างของสถานการณ์ท่ีเก่ียวกับการสื่อสารโดยเป็นเร่ืองท่ีเกิดจริงกับ 158 เพื่อนในห้อง ผู้ดำเนนิ กิจกรรมต้องพยายามไกลเ่ กลีย่ ใหบ้ รรยากาศด ี คูม่ อื การจัด กระบวนการเรยี นร ู้ เพศศึกษา สำหรบั นกั เรียนชน้ั มธั ยมศึกษาปีที่ ๒

การวัดและประเมินผล 159 สงั เกตการมีสว่ นร่วมในกจิ กรรมกลมุ่ และการอภิปรายแลกเปลี่ยน แผนการเรียนร้ทู ่ี ๙ เรื่องของปกั เปา้ คำถามทา้ ยบท • เหน็ ดว้ ยหรือไม่วา่ “การล้อเลยี นกนั ถอื เปน็ เรือ่ งสนกุ ไม่ใช่เรอ่ื งเสยี หาย” เพราะอะไร

กรณศี ึกษา เรื่องของปักเปา้ ปักเปา้ กับเอด็ ด้ี สนิทสนมกันมาก ชอบเดินกลับบา้ นดว้ ยกันหลังเลกิ เรียน วนั หนง่ึ เมอ่ื ถกู เพอื่ นๆ ลอ้ วา่ ทง้ั คเู่ ปน็ แฟนกนั ปกั เปา้ โกรธมากทถ่ี กู ลอ้ จงึ ตดั สนิ ใจเลกิ พดู กบั เอด็ ด้ี และไม่ยอมเดนิ กลบั บ้านกับเอ็ดดอี้ ีกเลย • ปกั เปา้ กำลงั รู้สึกอยา่ งไร • เอ็ดดี้จะรสู้ ึกอย่างไรเมือ่ ปกั เป้าเปลยี่ นไป • คิดอย่างไรกบั การตดั สนิ ใจของปักเป้า • มคี ำแนะนำใหป้ กั เป้ากับเอ็ดดี้อยา่ งไรบา้ ง • หากเราเป็นเพื่อนท่ีชอบลอ้ ปักเปา้ เราจะทำอยา่ งไร 160 คู่มอื การจัด กระบวนการเรยี นรู ้ เพศศึกษา สำหรบั นักเรยี นชั้น มธั ยมศึกษาปีที่ ๒

แผนการเรียนรู้ท่ี ๑๐ 161แผนการเรียนร้ทู ่ี ๙ เรื่องของปกั เปา้ โลกของเธอ โลกของฉนั

แผนการเรยี นรู้ท่ี ๑๐ โลกของเธอ โลกของฉัน สาระสำคญั แมเ้ ราจะอยูใ่ นสงั คมเดียวกนั แตเ่ ราล้วนมคี วามแตกต่างกันไปในแตล่ ะบุคคล ทงั้ เรื่องรูปลักษณ์ภายนอก บุคลิกภาพ ความชอบ/ไม่ชอบ นิสัย พื้นฐานครอบครัว ความเช่ือ ศาสนา รวมท้ังรสนิยมทางเพศ จึงเป็นเรื่องสำคัญท่ีจะเรียนรู้ท่ีจะอยู่ ร่วมกับคนอน่ื ๆ ในสังคม เข้าใจและเคารพความแตกตา่ งระหวา่ งบคุ คล โดยไม่มี อคติ หรอื การเลอื กปฏบิ ตั ิกบั คนทแี่ ตกต่างจากเรา จุดประสงค ์ ๑. บอกความรู้สึกของคนที่อย่ใู นสถานการณซ์ ่งึ อาจแตกต่างจากคนสว่ นใหญ่ ๒. บอกผลกระทบที่เกดิ จากอคติตอ่ คนทแ่ี ตกตา่ งจากเรา อุปกรณ์ และส่ือ ๑. บตั รคำบนกระดาษเอส่ี คำละ ๑ แผ่น กลุ่ม ๑ ฉนั เปน็ ผู้ติดเชอื้ เอชไอวี 162 กลมุ่ ๒ แม่ของฉนั ติดเชอื้ เอชไอวี กระคบ่มูวนอื กกาารรเจ รดั ยี นร้ ู กลุ่ม ๓ ฉนั เปน็ เกย์ เพศศึกษา สำหรับนักเรยี นชัน้ มธั ยมศึกษาปที ี่ ๒

กลุ่ม ๔ ฉนั เปน็ ทอม 163 กลมุ่ ๕ ฉันอยากเปน็ ผู้หญิง ฉันจะไปผา่ ตัดแปลงเพศ กลุ่ม ๖ ฉนั เคยมเี พศสมั พนั ธก์ ับท้งั หญงิ และชาย แผนการเรยี นร้ทู ี่ ๑๐ โลกของเธอ โลกของฉนั ๒. กระดาษฟลิปชาร์ท ปากกาเคม ี ขัน้ ตอนการดำเนนิ กิจกรรม ๑. ผู้ดำเนนิ กจิ กรรมช้ีแจงวัตถปุ ระสงค์ของกจิ กรรมน้ีวา่ เปน็ การเรยี นรู้ทจ่ี ะอยู่ร่วมกบั คนอ่นื ๆ ใน สังคม ๒. ผดู้ ำเนนิ กิจกรรมถามผ้เู รยี นว่า โดยทั่วไป คนทส่ี ังคมไม่ให้การยอมรบั หรือคนท่มี กั ถกู รงั เกียจมี ใครบา้ ง และถามผเู้ รียนวา่ คดิ วา่ สาเหตุของการไม่ยอมรับ หรือการรงั เกยี จคืออะไร ๓. ใหผ้ เู้ รยี นนับ ๑ - ๖ เพือ่ แบ่งผู้เรียนออกเป็น ๖ กลุม่ อธิบายวา่ แตล่ ะกลุม่ จะไดร้ บั บัตรคำ ๑ ใบ อย่าให้กลุ่มอ่ืนรู้ว่ากลุ่มเราได้รับบัตรคำอะไร ให้สมาชิกของกลุ่มทุกคน ลองสวมบทบาทเป็น คนๆ น้ัน และให้แลกเปล่ยี นกันตามประเด็น และเขยี นคำตอบลงบนกระดาษฟลปิ ชารท์ • ถ้าเราเป็นคนๆ น้ัน เราคิด/รู้สึกอย่างไร • คิดว่าคนอื่นๆ จะคิด/ร้สู ึกและปฏิบตั ิกบั เราอยา่ งไร • อยากให้คนอ่ืนปฏบิ ตั ิกับเราอย่างไร ๔. ให้เวลากล่มุ ย่อย ๑๐ นาที จากนั้น ดำเนนิ การดังนี้ • ให้ตัวแทนกลุ่มออกมาหน้าช้ันและบอกว่าเป็นใคร เชน่ ตวั แทนกลุ่ม ๑ จะบอกว่า “ฉนั เป็น ผ้ตู ดิ เชื้อเอชไอว”ี • ผ้ดู ำเนนิ กจิ กรรมเปิดโอกาสใหอ้ กี ๕ กลุ่มถามคนๆ นัน้ ในสิ่งทอี่ ยากรู้ กลุม่ ละ ๑ คำถาม ผู้ดำเนินกิจกรรมบันทึกคำถามท่ีเกิดข้ึน เพ่ือช่วยในระหว่างการตั้งคำถามชวนคิดช่วงต่อไป และให้คนท่ีสวมบทบาทตอบตามความรสู้ กึ ของตนเอง ตามทคี่ ุยกันในกลุ่ม • ให้โอกาสถามเพมิ่ ได้ ๑ - ๒ คำถาม (หากมเี วลา หรอื มีประเดน็ ท่ีกลุม่ อยากถามเพิ่ม) • จากนัน้ ให้กลมุ่ ท่เี หลอื ออกมา และทำกระบวนการเหมอื นกนั จนครบทกุ กลุม่

๕. เมอื่ ทุกกลมุ่ นำเสนอแล้ว ให้นำกระดาษฟลปิ ชารท์ ของกลุม่ ติดไวบ้ นกระดาน ๖. ผู้ดำเนินกจิ กรรมชวนคุย โดยใช้คำถามดังนี้ คำถามชวนคิด • รู้สกึ อย่างไรกับการสวมบทบาทตามบัตรคำทีเ่ ราได้รบั • ตัวแทนกลมุ่ และสมาชกิ กลุ่ม ร้สู กึ อย่างไรกบั คำถามท่เี พ่ือนๆ ถาม เพราะ เหตใุ ด (หากจำไมไ่ ด้ ให้ดจู ากคำถามท่ผี ู้ดำเนินกจิ กรรมจดไว)้ • มีคำถามใด ท่ีชอบ/ไม่ชอบ ใหย้ กตวั อย่าง และบอกเหตุผล • จากคำถามท่ีเพื่อนๆ ถาม กลุ่มคิดว่าตรงกับสิ่งที่เราคาดหวังให้คนอ่ืน ปฏิบัติกับเรามากน้อยเพียงใด (เปรียบเทียบกับส่ิงท่ีกลุ่มเขียนในกระดาษ ฟลิปชารท์ ) • นักเรยี นรูจ้ ักคนทีม่ ีลักษณะตามบตั รคำท้ัง ๖ ใบหรอื ไม่ คดิ วา่ คนเหล่านน้ั เผชิญกบั สถานการณ์หรือปฏกิ ิรยิ าจากคนรอบขา้ งอย่างไรบา้ ง • คิดวา่ เป็นเพราะเหตุใด ท่คี นบางกลุม่ รงั เกียจหรอื เลือกปฏิบตั ติ ่อคนท่เี พยี ง แต่แตกต่างไปจากเรา เชน่ รกั เพศเดยี วกนั ผ้มู ีเชอื้ เอชไอวี ฯลฯ ๗. ผู้ดำเนนิ กจิ กรรมชวนผเู้ รียนสรปุ ว่า เราไดอ้ ะไรจากกิจกรรมวนั น ้ี ๘. ผูด้ ำเนนิ กิจกรรมอาจเพ่ิมเตมิ ประเด็น ดังน้ ี • ภาพลักษณ์ท่ีเรามีต่อคนท่ีมีรสนิยมทางเพศท่ีแตกต่าง (เช่น รักเพศเดียวกัน รักสองเพศ คนแปลงเพศ คนติดเช้ือเอชไอวี ฯลฯ) เกิดข้นึ จากการรับรู้ทผ่ี ่านมาท้ังจากครอบครัว เพ่ือน หรือสื่อตา่ งๆ ซึง่ อาจมีทงั้ ขอ้ เทจ็ จรงิ ขอ้ คดิ เหน็ และความเช่ือ ที่สำคญั ภาพลกั ษณด์ ังกล่าว อาจไม่ได้สะท้อน “ความจรงิ ” ทั้งหมด 164 • หากเราแยกแยะได้ระหว่างข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็น เราจะสามารถลดอคติในตัวเองลง ไปได้ เชน่ หากเราไมช่ อบคนๆ หนึ่ง ก็เพราะความขัดแยง้ ระหวา่ งเรากบั คนๆ นั้น ค่มู ือการจดั หรือลักษณะส่วนบุคคลของคนๆ น้ัน แต่ไม่ใช่เพราะคนๆ น้ันเป็นคนรักเพศ กระบวนการเรยี นรู ้ เพศศกึ ษา สำหรบั นกั เรยี นชนั้ มัธยมศกึ ษาปีที่ ๒

เดียวกัน เพราะคนรักเพศเดียวกันแต่ละคน ก็อาจมีความแตกต่างกันไปเช่นเดียวกับคนท่ี 165 เป็นรกั ต่างเพศ • ในกรณกี ารตดิ เชอ้ื เอชไอวี หากเราเขา้ ใจเรอ่ื งชอ่ งทางการตดิ ตอ่ ของเชอื้ เอชไอววี า่ เชอ้ื เอชไอวี แผนการเรยี นร้ทู ี่ ๑๐ โลกของเธอ โลกของฉนั ไม่ได้ติดต่อกันง่ายๆ และการใช้ชีวิตประจำร่วมกับผู้ที่มีเช้ือ ไม่สามารถทำให้เราติดเชื้อได้ รวมท้ังเข้าใจอคติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีท่ีเกิดจากความเชื่อผิดๆ ก็จะช่วยให้เราม่ันใจท่ีจะใช้ ชวี ติ กับเพ่ือนทีม่ ีเช้ือเอชไอวีได้ ขอ้ เสนอแนะสำหรับผดู้ ำเนินกจิ กรรม ผู้ดำเนินกิจกรรมควรระมัดระวังท่าทีของตนเองในการพูดถึงการรักเพศเดียวกัน หรือการ ติดเช้ือเอชไอวีท่ีอาจเป็นการตอกย้ำทัศนคติในทางลบ หรือกระทบอารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียนท่ีอยู่ ในสถานการณ์นั้นๆ โดยควรสังเกตปฏิกิริยาของผู้เรียนหากมีการพูดจาล้อเลียนเพื่อนที่มีลักษณะ ดังกลา่ ว เพราะในห้องเรยี นอาจมผี เู้ รียนทเี่ ป็นรกั เพศเดียวกนั หรอื มคี นร้จู ัก คนในครอบครวั ทีม่ ีเชอื้ เอชไอวี หรือแม้กระท่ังผู้เรียนบางคนอาจเป็นผู้มีเช้ือเอชไอวีก็ได้ ทั้งน้ี เพื่อให้เกิดบรรยากาศการ เรยี นร้ทู ่เี ออื้ ประโยชน์สำหรับผูเ้ รียนทุกคนอยา่ งแทจ้ รงิ การวดั และประเมนิ ผล สังเกตการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุม่ และการอภิปรายแลกเปลยี่ น คำถามท้ายบท • ผลกระทบจากการถกู รังเกียจ ไม่ยอมรับจากคนในชุมชนมีอะไรบา้ ง และจะแก้ไขได้อย่างไร

คำวา่ “วัยรุน่ ” เป็นคำใหม ่ ทีเ่ พง่ิ เกดิ ขึ้นในสงั คมไทย สมัยก่อน พอโตขน้ึ มา เด็กผหู้ ญงิ ก็เอาผัว เด็กผูช้ ายก็ไปไร่ไปนาแล้ว แตเ่ ดก็ อายุ ๑๒ ทกุ วนั นีอ้ ยู่ ในโรงเรียน ดร.พิชญ์ พงษส์ วัสด์ ิ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั 166 คู่มือการจัด กระบวนการเรียนรู้ เพศศึกษา สำหรบั นกั เรยี นชั้น มธั ยมศกึ ษาปีที่ ๒

แผนการเรยี นร้ทู ี่ ๑๐ โลกของเธอ โลกของฉนั 167 แผนการเ ีรยน ้รู ่ทีรวม ิมตร๑๑

แผนการเรยี นรูท้ ี่ ๑๑ รวมมิตร สาระสำคัญ ความเป็นเพ่ือน หมายถึง การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนอ่ืนๆ โดยยังคงความเป็น ตัวของตัวเองได้และเรียนรู้ท่ีจะเคารพและให้คุณค่ากับความแตกต่างระหว่าง บุคคล จดุ ประสงค ์ ๑. บอกวิธีปฏิบัติตัวระหว่างเพ่ือนที่แสดงถึงการยอมรับความแตกต่างระหว่าง บคุ คล ๒. บอกข้อดีของการสร้างสัมพันธภาพท่ียังคงความเป็นตัวของตัวเอง พร้อมกับ การยอมรบั ตวั ตนของผู้อ่ืน อุปกรณ์ และสอื่ ๑. กระดาษฟลิปชาร์ท ๒. กระดาษกาว 168 ๓. ปากกาเคม ี กระคบ่มูวนอื กกาารรเจ รัดีย นร ู้ เพศศึกษา สำหรับนักเรยี นช้ัน มัธยมศกึ ษาปีที่ ๒

ขน้ั ตอนการดำเนนิ กจิ กรรม 169 ๑. ผดู้ ำเนนิ กิจกรรมชี้แจงวัตถปุ ระสงคข์ องกจิ กรรมนว้ี า่ เราจะเรียนรูเ้ รอ่ื งความเปน็ เพือ่ นร่วมกนั แผนการเรยี นรู้ท่ี ๑๑ รวมมติ ร ๒. ให้ผู้เรียนจับคู่กับเพ่ือนสนิท หรือจับกลุ่มเพื่อนท่ีรู้สึกว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน (ตามความสมัครใจ ของผูเ้ รียน) ๓. ให้แต่ละคู่ หรือแต่ละกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยน พร้อมทั้งเขียนลงในกระดาษฟลิปชาร์ท โดยแบ่ง ช่องในกระดาษออกเป็น ๒ ชอ่ ง ช่องความเหมือน และ ชอ่ งความตา่ ง ในประเด็นตอ่ ไปน้ี ให้ เวลา ๑๐ นาท ี • มีอะไรบา้ งทเี่ พ่อื นในกลุ่มชอบเหมือนกัน • ใหแ้ ตล่ ะคนในกลมุ่ บอกความเปน็ ตวั ของตวั เองทค่ี ดิ วา่ ไมเ่ หมอื นคนอนื่ หรอื เพอ่ื นๆ ชว่ ยกนั บอกลกั ษณะเฉพาะของเพอ่ื นแต่ละคนในกลมุ่ ๔. ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอความเหมือนและความต่างของเพื่อนกลุ่มเดียวกันต่อ กลมุ่ ใหญ่ กลุ่มละ ๒ นาที ๕. ระหวา่ งที่แตล่ ะกลุม่ นำเสนอ ผู้ดำเนินกิจกรรมสงั เกตขอ้ เหมอื นและข้อต่างของแตล่ ะกลมุ่ วา่ มี มากนอ้ ยอยา่ งไร ๖. เมอ่ื ทุกกลุ่มนำเสนอแล้ว ผดู้ ำเนินกจิ กรรมชวนแลกเปลีย่ นดังน ี้

คำถามชวนคิด • มีอะไรบ้างท่ีทำให้แต่ละคนรู้สึกสนิทกับเพื่อน หรือทำให้เรารวมกันเป็น กลุม่ ได้ • จำเป็นหรือไม่ที่ทุกคนในกลุ่มต้องเหมือนกัน หรือทำตัวแบบเดียวกัน เพราะอะไร • รู้สึกอย่างไรกบั ความแตกตา่ งของเพอ่ื นในกลุม่ • คิดว่าความแตกต่างน้ันส่งผลต่อการรวมกลุ่มเป็นเพื่อนกันหรือไม่ อย่างไร บา้ ง • หากมีใครสักคนในกลุ่มพยายามทำให้ทุกคนชอบเหมือนกัน หรือทำตัว แบบเดียวกัน จะเปน็ อยา่ งไร • หากเกิดความขัดแย้งระหว่างการเป็นตัวของตัวเองกับการอยู่เป็นกลุ่มกับ เพือ่ น เราจะทำอย่างไร ๗. ผ้ดู ำเนินกิจกรรมชวนผเู้ รียนสรปุ วา่ เราได้อะไรจากกิจกรรมวนั น้ี และเพม่ิ เติมประเด็น ดังนี ้ • ทุกคนล้วนมีลักษณะเฉพาะของตนเอง ซึ่งไม่ใช่เรื่องดี หรือไม่ดี แต่เป็นเรื่องความแตกต่าง ระหว่างบุคคล • การเป็นเพ่ือนกันคือ การท่ีแต่ละคนยังสามารถเป็นตัวของตัวเอง ขณะเดียวกันก็เรียนรู้ท่ีจะ ยอมรับผอู้ ่นื ซง่ึ เป็นพ้นื ฐานในการสรา้ งสัมพันธภาพกบั ผู้อ่นื เพราะทุกคนล้วนมีข้อดี ข้อเสยี ที่ตา่ งกนั ไป • การทำความรู้จัก เรียนรู้ และยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นพ้ืนฐานในการสร้าง สัมพนั ธภาพกบั ผู้อ่ืน 170 คู่มอื การจัด กระบวนการเรยี นรู้ เพศศกึ ษา สำหรบั นกั เรยี นช้นั มธั ยมศกึ ษาปีท่ี ๒

ขอ้ เสนอแนะสำหรบั ผู้ดำเนินกิจกรรม 171 ผู้ดำเนินกิจกรรมอาจสังเกตว่ามีผู้เรียนคนใดที่อาจมีความขัดแย้ง มีปัญหากับเพ่ือน หรือ แผนการเรยี นรู้ท่ี ๑๑ รวมมติ ร ไม่ค่อยมีเพื่อน และช่วยสร้างบรรยากาศที่ช่วยให้มีการเรียนรู้และยอมรับกันมากขึ้น เช่น ชวนเล่น เกมสนั ทนาการสร้างความคุ้นเคย หรือสนุกสนานกอ่ นเร่มิ กิจกรรม ฯลฯ การวดั และประเมนิ ผล สงั เกตการมีส่วนรว่ มในกิจกรรมกลมุ่ และการอภิปรายแลกเปล่ียน คำถามทา้ ยบท • ถ้าเพ่อื นสนิทชวนโดดเรยี น นักเรยี นจะทำอยา่ งไร • หากเพื่อนมีความคดิ เห็นขัดแยง้ กับเรา นักเรียนจะปฏบิ ัติตวั ต่อเพ่ือนอยา่ งไร

“ความคิดก็เปลย่ี นไป คอื ไม่วา่ จะทำอะไรสกั อยา่ งก็จะต้องคิด คดิ คิด เชน่ ถ้าจะพดู อะไรสักอยา่ ง กต็ อ้ งคิดว่าพดู ไปแลว้ เพอื่ นจะร้สู กึ ยงั ไง พดู ไปแลว้ จะสง่ ผลอยา่ งไรบา้ ง ตอนเด็กๆ จะทำแบบไม่ไดย้ ้ังคิด ทำแล้วคอ่ ยมาคิดทีหลงั ซ่ึงตอนน้ันผลก็เกดิ ข้ึนมาแล้ว เกดิ ผลกระทบแลว้ แตต่ อนนี้ คดิ ก่อนทำทกุ คร้ัง ไม่วา่ จะเป็นเรื่องอะไร” รณชิต ภกั ดชี น เยาวชนกล่มุ มหาสดัม จากเอกสารสรปุ บทเรียนเยาวชนอาชีวศึกษา

แผนการเรยี นรู้ที่ ๑๒ อยาก บอกเธอ

แผนการเรยี นรู้ที่ ๑๒ อยากบอกเธอ สาระสำคัญ การแสดงความรู้สึกต่อคนท่ีเราพึงพอใจ อาจมีหลายวิธีและควรคำนึงถึงการ แสดงออกที่ให้เกียรติกับคนที่เราพึงพอใจ รวมท้ังตระหนักว่าความรู้สึกที่เกิดข้ึน ระหวา่ งคนสองคนอาจไมต่ รงกนั ได้ แต่มไิ ดห้ มายถงึ ความสัมพนั ธต์ อ้ งยตุ ิลง หาก ยอมรบั และปรบั ความรู้สึกเพ่ือยังคงสัมพนั ธภาพทีด่ ีตอ่ กันตอ่ ไป จดุ ประสงค ์ ๑. บอกวิธีแสดงความร้สู กึ ทแ่ี สดงถึงการใหเ้ กยี รติตอ่ อกี ฝา่ ย ๒. ระบุวิธีการบอกปฏิเสธ หรือบอกความรู้สึกที่ไม่ตรงกัน โดยไม่ทำลายความ รสู้ ึกของอีกฝา่ ย อปุ กรณ์ และสอ่ื ๑. กระดาษเอสี่สองสี เพ่ือแบ่งหญิงชาย ตัดแบ่งเป็นสี่ส่วนหรือหกส่วน เท่า จำนวนผู้เรียน 174 ๒. กล่องกระดาษทบึ ๒ ใบ สำหรับใสก่ ระดาษคำตอบหญิง และคำตอบชาย กระคบ่มูวนอื กกาารรเจ รัดีย นร้ ู ๓. กระดาษฟลิปชาร์ท กระดาษกาว ปากกาเคม ี เพศศกึ ษา สำหรับนกั เรียนช้ัน มธั ยมศึกษาปที ่ี ๒

ขัน้ ตอนการดำเนินกิจกรรม 175 ๑. ผู้ดำเนินกิจกรรมช้ีแจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมน้ีว่า เป็นการเรียนรู้ถึงวิธีแสดงความรู้สึกโดย แผนการเรยี นร้ทู ี่ ๑๒ อยากบอกเธอ ไม่ทำรา้ ยความรสู้ ึกของอีกฝ่าย ๒. ผู้ดำเนินกิจกรรมเกร่ินนำเพ่ือเข้าสู่บทเรียนโดยถามว่าเวลาท่ีวัยรุ่น “ป๊ิง” กัน มีวิธีสื่อสารให้อีก ฝา่ ยรอู้ ยา่ งไรบา้ ง สมุ่ ถามผเู้ รยี น ๓ - ๔ คน ใหช้ ว่ ยบอกเลา่ วธิ สี อื่ สารทตี่ วั เองใชห้ รอื คดิ วา่ จะใช้ ๓. จากนั้น แจกกระดาษให้ผูเ้ รยี น โดยแยกสสี ำหรับเพศหญงิ และเพศชาย ๔. ถามคำถาม และใหแ้ ตล่ ะคนตอบคำถามในกระดาษทแี่ จกให้ไมต่ ้องลงชอื่ • ถา้ มคี นมาชอบเรา วธิ ีบอกรักทจ่ี ะทำให้เราประทับใจคือ ๕. ให้เวลา ๑ นาที แล้วนำกระดาษคำตอบใส่ลงในกล่องที่เตรียมไว้หน้าห้อง โดยให้แยกคำตอบ หญิงชายไว้คนละกล่อง ๖. ขออาสาสมคั ร ๒ ทมี ๆ ละ ๒ คน ให้ชว่ ยกันรวบรวมคำตอบจากกระดาษในกลอ่ ง และเขียน คำตอบเหลา่ นั้นลงบนกระดาษฟลปิ ชารท์ (คำตอบที่ซ้ำกนั ให้แจงความถี่ ทา้ ยคำตอบ) ๗. ระหว่างท่ีอาสาสมัครรวบรวมคำตอบ ผู้ดำเนินกิจกรรมให้ผู้เรียนท่ีเหลือแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น ๖ กลุ่ม ให้ระดมความเห็นจากโจทย์ ให้เวลากลุ่มย่อย ๑๕ นาที • สามกลุ่มแรกตอบโจทยว์ า่ ถา้ มคี นบอกรกั เรา และเรากช็ อบเขา เราจะทำอยา่ งไร • สามกลุ่มหลงั ตอบโจทยว์ ่า ถา้ มคี นบอกรักเรา แต่เราไมช่ อบเขา เราจะทำอย่างไร ๘. ในกลุ่มย่อย ให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนบอกความรู้สึกของตัวเองก่อน โดยมีผู้ทำหน้าที่บันทึก ลงกระดาษฟลิปชาร์ท หลังจากนั้น ค่อยระดมเพิ่มเติมความเห็นของกลุ่มว่าจะทำอะไรได้อีก จากนั้น ให้โหวตว่าในกลุ่มชอบวิธีไหนมากท่ีสุด เตรียมส่งตัวแทนออกมาแสดงบทบาทสมมติ ตามวิธีท่ีกลุ่มเลือกให้เพือ่ นกลมุ่ ใหญด่ ู ๙. ผู้ดำเนินกิจกรรมให้ ๓ กลุ่มแรก ท่ี “มีคนบอกรัก และเราก็ชอบเขา” แสดงก่อน กลุ่มละไม่ เกนิ ๒ นาที เม่ือทง้ั สามกลุ่มแสดงครบแล้ว ให้ถามผเู้ รียนวา่ • มีข้อสังเกตอย่างไร ตอ่ การตอบรบั แตล่ ะแบบ • มขี อ้ เสนออน่ื ๆ หรอื ไม่ ในการแสดงการตอบรบั

๑๐. จากน้ัน ให้อีก ๓ กลมุ่ ทเี่ ปน็ การบอกวา่ “ไมช่ อบหรือปฏเิ สธ” เมอ่ื ครบท้ังสามกล่มุ ใหช้ วนคยุ ดังน ้ี • มขี ้อสังเกตอย่างไร ต่อการตอบปฏเิ สธของแต่ละกล่มุ • วธิ ใี ดทคี่ ดิ วา่ จะไม่ทำใหอ้ ีกฝา่ ยเสียความรสู้ กึ และยงั สามารถเป็นเพื่อนกนั ต่อได้ • มขี อ้ เสนออ่นื ๆ หรือไม่ หากรู้สกึ ไม่ตรงกนั หรือการบอกปฏิเสธแบบอื่นๆ ที่ยงั คงความเป็น เพอ่ื นไวไ้ ด้ ๑๑. จากนัน้ อาสาสมัครนำเสนอคำตอบ “วิธบี อกรกั ” ที่รวบรวมเสรจ็ แลว้ อ่านให้เพ่ือนๆ ฟงั ๑๒. สุ่มถามผู้เรียน ๓ - ๔ คนถึงคำตอบท่ีอาสาสมัครอ่านให้ฟังว่า จากวิธีบอกรักท้ังหมดน้ีชอบวิธี ไหนมากที่สดุ เพราะอะไร ๑๓. ผู้ดำเนินกิจกรรมชวนกลุ่มใหญ่คุยหลังจากทุกกลุ่มนำเสนอจบ โดยใช้คำถามชวนคิดเพ่ือเปิด ประเดน็ แลกเปล่ยี น คำถามชวนคิด • หญิงกับชายมีวิธีการแสดงความรู้สึกว่ารัก พึงพอใจเป็นพิเศษแตกต่างกัน หรือไม่ อย่างไร • หากหญิงชายแสดงออกตา่ งกัน อะไรเปน็ สาเหตใุ ห้หญิงกับชายแสดงความ รสู้ ึกพิเศษต่างกนั • จำเป็นหรอื ไมท่ เี่ ราต้องบอกความรู้สกึ ของตนแก่คนทเี่ ราร้สู กึ “ดๆี ” เพราะ อะไร • ถา้ บอกรักไปแลว้ ถกู ปฏิเสธ เราจะปฏบิ ัตติ อ่ คนนัน้ อย่างไร เพราะอะไร • หากถูกปฏิเสธ จะยงั คงความเป็นเพอื่ นกันไดห้ รือไม่ เพราะเหตุใด 176 คมู่ อื การจดั กระบวนการเรียนร ู้ เพศศึกษา สำหรับนักเรยี นชน้ั มธั ยมศกึ ษาปีที่ ๒

๑๔. ผูด้ ำเนินกจิ กรรมชวนผูเ้ รียนสรปุ วา่ เราได้อะไรจากกิจกรรมวันน้แี ละเพ่มิ เตมิ ประเด็นดังน ้ี 177 • เป็นเร่ืองธรรมดาสำหรับวัยรุ่นท่ีจะเกิดความรู้สึกพึงพอใจใครสักคนเป็นพิเศษหรือมีใครมา ชอบ และเป็นเร่ืองธรรมดาอีกเช่นกันท่ีบางคนอาจยังไม่มีความรู้สึกเหล่านี้ เนื่องจากการได้ แผนการเรยี นร้ทู ี่ ๑๒ อยากบอกเธอ พบคนถกู ใจเป็นเรือ่ งของโอกาส • หากเรามีความรู้สึกพิเศษกับใคร ก็จะเกิดอารมณ์ความรู้สึกอีกหลายอย่างตามมา เช่น ต้องการให้คนที่เราชอบชอบเราด้วย กระวนกระวาย ต้องการรู้ว่าเขาจะคิดเหมือนเราไหม อยากรู้ว่าถ้าเราแสดงความรู้สึกออกไปให้เขารู้ เขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ถ้าแสดงความรู้สึก ออกไปแล้ว กลัวถกู ปฏิเสธ จงึ ลงั เลไม่กล้าแสดงออก ฯลฯ • การแสดงออกซ่ึงความรู้สึกท่ีพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการตอบรับหรือปฏิเสธ ควรต้ังอยู่บนพ้ืน ฐานความจริงใจ แม้จะไม่ได้รู้สึกตรงกันก็ไม่ได้หมายความว่าต้องยุติความสัมพันธ์อย่างเด็ด ขาด ยงั มีความสมั พนั ธอ์ กี หลายแบบทเ่ี รายังคงไว้ได้ ขอ้ เสนอแนะสำหรบั ผู้ดำเนนิ กิจกรรม อาจมีผู้เรียนที่กำลังชอบพอกันอยู่หรือเลิกกันแล้ว หรือผู้ที่กำลังเสียใจจากการถูกปฏิเสธ ผูด้ ำเนินกจิ กรรมจึงควรคำนงึ ถึงบรรยากาศการเรียนรู้ ระมัดระวังไม่ใหเ้ กดิ การพาดพิง ลอ้ เลยี นกนั การวัดและประเมนิ ผล สงั เกตการมีส่วนรว่ มในกจิ กรรมกลมุ่ และการอภปิ รายแลกเปลย่ี น คำถามทา้ ยบท • เห็นดว้ ยหรือไมว่ ่า “เปน็ เรื่องนา่ อาย ถ้าฉันจะบอกความรู้สึกของตัวเองใหค้ นอ่ืนร”ู้ เพราะอะไร • หากถูกปฏเิ สธความรู้สกึ ทดี่ ที ่ีมีให้กับคนๆ หนึง่ จะทำอยา่ งไร

วยั เดยี วทท่ี ำเพศศกึ ษาได้คือ วยั เรยี น ครูและผปู้ กครอง จงึ ตอ้ งเขา้ มามีส่วนรว่ ม โรงเรยี นอาจช่วยฝกึ ผปู้ กครอง ให้เป็นทีป่ รึกษากบั ลกู ของตัวเอง การดึงผปู้ กครองมามีส่วนรว่ ม ต้องเร่มิ จากผ้ปู กครองท่ี ใจกว้าง หรือการเลอื กครู ก็ต้องเริม่ จากครทู ี่ม ที ศั นคติที่เปิดกวา้ ง จอน อ๊งึ ภากรณ ์ อดีตสมาชิกวุฒสิ ภา ตัวแทนผูป้ กครอง

แผนการเรยี นรู้ที่ ๑๓ จนิ ตนาการ รกั

แผนการเรียนรู้ที่ ๑๓ จนิ ตนาการรัก สาระสำคัญ ความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคนซึ่งมีความพึงพอใจต่อกันเป็นพิเศษ อาจพัฒนา ไปไดห้ ลายรปู แบบ ทัง้ นี้ แตล่ ะคนควรตระหนกั วา่ ตนสามารถกำหนดและเลอื กได้ ว่าต้องการให้ความสัมพันธ์เป็นไปอย่างไร และควรเป็นการตัดสินใจร่วมกันท้ัง สองฝ่าย โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นรวมทั้งความพร้อมในการรับผิดชอบ ต่อผลของการตดั สนิ ใจร่วมกนั จุดประสงค ์ ๑. บอกพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคนท่ีมีความพึงพอใจต่อกันเป็น พิเศษ ๒. สำรวจความรู้สึก และความต้องการของตนเอง ต่อการมีแฟน และการม ี เพศสัมพนั ธ ์ ๓. ประเมินความพร้อมของตนเองต่อการรับผิดชอบผลท่ีอาจเกิดขึ้นจากการ ตดั สินใจหรือการกระทำของตวั เองในการพฒั นาความสมั พนั ธ์ 180 คมู่ อื การจัด กระบวนการเรียนรู้ เพศศึกษา สำหรับนักเรียนชนั้ มธั ยมศกึ ษาปีท่ี ๒

อปุ กรณ์ และสอื่ 181 ๑. ภาพชุดจนิ ตนาการรักสำหรบั ๖ กลมุ่ แผนการเรียนร้ทู ่ี ๑๓ จนิ ตนาการรกั ๒. กระดาษเอส่ี ๓. สเี มจกิ สไี ม้ หรือปากกาเคม ี ๔. กระดาษกาว เวลา ๒ คาบเรยี น คาบท่ี ๑ ขัน้ ตอนการดำเนินกจิ กรรม ๑. ผู้ดำเนินกิจกรรมชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมน้ีว่า เป็นเร่ืองพัฒนาการของความสัมพันธ์ ระหว่างคนสองคนซง่ึ มคี วามพงึ พอใจตอ่ กนั เป็นพิเศษ ๒. แบง่ ผู้เรียนเป็นกลุ่มยอ่ ย ๖ กลุ่ม แยกเพศ (หญิง ๓ กลุ่ม ชาย ๓ กล่มุ หรอื กลุม่ ละประมาณ ๖ - ๘ คน) ๓. ผ้ดู ำเนนิ กจิ กรรมแจกชดุ ภาพจินตนาการรัก ชดุ ละ ๔ ภาพ ใหแ้ ต่ละกลมุ่ ๔. ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันอธิบายภาพท้ัง ๔ ภาพ และเล่าเรื่องราวโดยมีรายละเอียดเรื่องระยะเวลา จากภาพหน่ึงไปอีกภาพหน่ึง ระบุสถานท่ีและสิ่งที่คิดว่าจะเกิดขึ้นในแต่ละภาพ ให้เวลากลุ่ม ย่อย ๑๕ นาท ี ๕. ผู้ดำเนินกิจกรรมให้แต่ละกลุ่มเล่าและอาจใช้แนวคำถาม ถามเพิ่มเติมในแต่ละภาพ โดยเน้น การถามความคดิ เห็นของทง้ั ฝา่ ยหญิงและฝ่ายชายดังนี้ (ไมจ่ ำเป็นต้องใช้คำถามท้ังหมด) • ภาพแรก หญิง/ชาย กบั จนิ ตนาการในอารมณร์ ัก (อยากมแี ฟน) - เหตกุ ารณแ์ บบนี้ อาจเกิดขนึ้ ในช่วงอายุเท่าไหร่ หรือเรียนชนั้ ไหน - ส่วนใหญว่ ัยรนุ่ อยากมีแฟนแบบไหน • ภาพสอง ป๊ิงกัน ท่ามกลางหมู่เพ่ือน - เวลา “ปิง๊ ” กนั จะแสดงใหอ้ ีกฝา่ ยรอู้ ย่างไร มีวิธีการอะไรบา้ ง - หากเราไม่ป๊ิงเขา จะบอกอย่างไร

• ภาพสาม จบี กนั /โทรคุย/เดินดว้ ยกนั /กินข้าว/ดหู นัง (ฉากสาธารณะ/ไม่ส่วนตวั ) - จากภาพทสี่ อง (ปงิ๊ กัน) มาภาพทสี่ าม (จบี กัน) ใช้เวลานานแคไ่ หน - ใครเป็นคนเรม่ิ จีบกอ่ น เวลาจีบกันทำอยา่ งไรบา้ ง - ถา้ ฝา่ ยหญงิ เปน็ ฝ่ายเริ่มจบี กอ่ น จะเปน็ อย่างไร - ถ้าเราเปน็ ฝ่ายถกู จีบ แลว้ ไมช่ อบ จะทำอย่างไร - ถ้าเป็นฝ่ายจีบ แลว้ รวู้ ่าอีกฝา่ ยไมเ่ ลน่ ดว้ ย เรารูส้ กึ อยา่ งไร และจะทำอยา่ งไร - ความรู้สกึ ตอนชว่ งจีบกนั เปน็ อยา่ งไร - ใชเ้ วลาจีบกันนานไหม กว่าจะตกลงเปน็ แฟนกนั - เปน็ แฟนกันหมายถึงอะไร รไู้ ด้อยา่ งไรว่าตกลงเปน็ แฟนกันแล้ว - เวลาเปน็ แฟนกนั แสดงออกตอ่ กันได้แคไ่ หน เช่น จบั มือ โอบ หอมแกม้ ฯลฯ - ตอ้ งเป็นแฟนกันนานแค่ไหน ถงึ จะทำแต่ละอย่างได ้ • ภาพส่ี พยายามหาโอกาสอยู่สองต่อสอง (ชวนไปบ้าน/ห้อง, ไปเที่ยวต่างจังหวัด โดยอาจ แสดงความรักต่อกัน ด้วยการนอนหนนุ ตัก, จบั มือ, จบู มือ, ลูบผม, คลอเคลยี ฯลฯ) - คนทช่ี อบกัน รักกัน หาโอกาสมเี วลาสองตอ่ สองอย่างไร - หากไปกับเพอ่ื นเป็นกลุ่มมีวธิ อี ย่างไรทจ่ี ะไดอ้ ยู่สองตอ่ สอง - จากภาพทส่ี าม (จีบกัน) มาภาพท่สี ่ี (อยากมีเวลาสองต่อสอง) ใชเ้ วลานานแคไ่ หน - ในวัยแบบพวกเรา ถ้าอยากมเี วลาดว้ ยกัน จะชวนกนั ไปไหนบ้าง - การแสดงออกเมอ่ื อย่สู องต่อสองกับเมอ่ื อยู่ตอ่ หน้าคนอ่ืน เหมอื นหรอื ต่างกันอย่างไร - ความรสู้ กึ ทมี่ ตี อ่ กนั ในชว่ งนเี้ ปน็ อยา่ งไร ชายหญงิ จะรสู้ กึ หรอื แสดงออกเหมอื นหรอื ตา่ งกนั อยา่ งไร - ในช่วงความสัมพันธ์แบบน้ี เป็นไปได้หรือไม่ว่าจะมีเรื่องขัดแย้ง หรือทะเลาะกัน ถ้าม ี สว่ นใหญ่เป็นเรอื่ งอะไร ๖. เม่อื ทุกกลมุ่ นำเสนอแล้ว ผูด้ ำเนนิ กิจกรรมชวนคยุ ดังน้ ี 182 คูม่ ือการจัด กระบวนการเรยี นรู้ เพศศึกษา สำหรับนกั เรยี นช้ัน มธั ยมศึกษาปที ี่ ๒

คำถามชวนคดิ 183 • เวลาไปปิง๊ ใครสักคน เราเลา่ ให้ใครฟงั หรือปรกึ ษาใครบ้างหรอื ไม่ แผนการเรียนร้ทู ่ี ๑๓ จนิ ตนาการรกั • ตอนตัดสินใจจะเป็นแฟนใคร ต้องถามความเห็นคนอ่ืนไหม เช่น เพื่อน พ่อแม่ ฯลฯ และทำอย่างไร ถ้าเพอ่ื นหรือพอ่ แมไ่ มเ่ ห็นด้วย • เราจะบอกใครบ้าง ว่ามีแฟนแลว้ เพราะอะไร • จะบอกพอ่ แมไ่ หมว่ามแี ฟนแลว้ เพราะเหตใุ ด • หากเป็นแฟนกันตั้งแต่ ม.๒ คิดว่าท้ังสองคนจะมีโอกาสเป็นแฟนกันต่อไป นานแค่ไหน • คทู่ ่ตี กลงใจเปน็ แฟนกัน จะคดิ ถงึ เรื่องการเลกิ กนั หรือไม่ เพราะเหตใุ ด • สาเหตทุ ีอ่ าจทำใหเ้ ลิกเป็นแฟนกนั มีอะไรบา้ ง ๗. ผ้ดู ำเนนิ กิจกรรมสรปุ ประเด็นดังนี้ • การมีความรกั พงึ พอใจใครบางคนเป็นพเิ ศษ หรือมแี ฟนในช่วงวยั รุ่นเปน็ เร่ืองธรรมดาทเี่ กดิ ขน้ึ ได้ และเป็นรปู แบบหนงึ่ ของความสมั พนั ธ์ • เมื่อเกิดความรู้สึกพิเศษกับคนบางคน ความรู้สึกที่ตามมาคือ ต้องการอยู่ใกล้ชิด อยู่ตาม ลำพัง ต้องการแสดงออกถึงความรู้สึกท่ีมีต่อกัน ซ่ึงเป็นจังหวะก้าวในการพัฒนาความ สมั พันธข์ องคนสองคน • ความสัมพันธ์ของคนสองคน เช่น การมีแฟน เป็นเร่ืองท่ีแต่ละคนต้องตอบตัวเองก่อนว่า เราอยากให้ความสมั พันธท์ ่ีมเี ปน็ อยา่ งไร โดยคำนึงถงึ ส่งิ ที่จะเกิดขนึ้ ตามมากับชวี ิตเรา สว่ น การกำหนดรูปแบบและลักษณะความสัมพันธ์ เป็นเรื่องคนสองคนจะต้องตกลงกัน ไม่ควร ให้ฝา่ ยใดฝ่ายหนง่ึ เปน็ ฝ่ายกำหนด • ทกุ คนควรเรียนรวู้ ่า ในขณะที่เราสามารถพัฒนาสัมพันธภาพให้ดีและแนน่ แฟน้ ขนึ้ ได้ กต็ ้อง ตระหนักด้วยว่า ความสัมพันธ์อาจยุติลงได้เช่นกัน และการยุติความสัมพันธ์ไม่จำเป็นต้อง ทำให้คนสองคนเลิกคบกัน หรอื ใช้ความรนุ แรงตอ่ กัน

• ดังน้ันเมื่อมีความรัก การเผื่อใจคิดถึงโอกาสที่ความสัมพันธ์กับคนท่ีเรารักจะยุติลง จะช่วย ให้เราพยายามรักษาความสัมพันธ์ท่ีดีให้ดีต่อไป และเตรียมใจไว้หากมีการเปล่ียนแปลงใดๆ เกิดขึน้ คาบท่ี ๒ ขัน้ ตอนการดำเนนิ กจิ กรรม ๑. ผู้ดำเนินกิจกรรมทวนภาพชุดจินตนาการรักทั้ง ๔ ภาพอีกครั้ง และให้เข้ากลุ่มเดิม หรือแบ่ง กล่มุ ใหม่ ๖ กลุม่ (แยกหญงิ ชาย) ๒. ให้กลุ่มช่วยกันระดมสมองว่า ความสัมพันธ์หลังจากน้ีของทั้งสองคนในภาพจะเป็นอย่างไรต่อ ไป โดยให้วาดออกมาเป็นภาพที่ ๕ และ ๖ เพ่ือแสดงถึงความสัมพันธ์ที่จะดำเนินต่อไป ให้ เวลา ๑๐ นาท ี ๓. ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอภาพที่ ๕ และ ๖ (กลุม่ ละ ๒ นาที) ๔. หลงั จากนำเสนอครบทุกกลมุ่ ผู้ดำเนินกจิ กรรมชวนคยุ โดยใช้คำถามชวนคิด 184 คำถามชวนคดิ คูม่ ือการจัด • เราแต่ละคนสามารถเลือกไดห้ รอื ไมว่ ่า ต้องการใหค้ วามสมั พนั ธ์ของตวั เอง กระบวนการเรียนร ู้ เป็นไปอย่างไร เพศศึกษา • เราจะรไู้ ดอ้ ยา่ งไรว่าอีกฝ่ายหนง่ึ ตอ้ งการให้ความสัมพนั ธ์ท่ีมีเป็นไปแบบใด สำหรับนกั เรยี นชั้น • หากทั้งสองฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกันว่า ควรพัฒนาความสัมพันธ์ไปใน มธั ยมศึกษาปีท่ี ๒ แบบใด คดิ วา่ ทงั้ สองคนจะมวี ธิ แี กป้ ญั หาอย่างไรบา้ ง • เป็นไปไดห้ รือไมท่ ่คี นสองคนตกลงเปน็ แฟนกันและมีความสัมพนั ธ์ทดี่ ี โดย ไม่ตอ้ งมเี พศสัมพนั ธ์ เพราะเหตใุ ด ทำไดง้ า่ ยหรอื ยาก อย่างไร • ถ้าท้ังสองฝ่ายเลือกจะไม่มีเพศสัมพันธ์กัน ท้ังสองคนสามารถแสดงความ รักด้วยวิธอี ื่นๆ ไดอ้ ย่างไรบ้าง

คำถามชวนคิด 185 • หากจะมีเพศสัมพันธ์กัน ใครเป็นคนตัดสินใจ หากเห็นไม่ตรงกันจะทำ แผนการเรียนร้ทู ่ี ๑๓ จนิ ตนาการรกั อย่างไร • ในการตัดสินใจว่ามีเพศสัมพันธ์หรือไม่ ท้ังสองคนควรคิดหรือคุยกันเรื่อง อะไรบ้าง ๕. ผู้ดำเนินกจิ กรรมชวนผเู้ รยี นสรปุ วา่ เราได้อะไรจากกจิ กรรมวันนี้ และเพิม่ เตมิ ประเด็นดงั น ี้ • การตัดสินใจวา่ จะมีความสมั พันธก์ นั อยา่ งไร เป็นเรอื่ ง “ความพร้อม” ของคนสองคน และ เป็นเรือ่ งทีไ่ มม่ ีใครบอกใครได้ แต่ “เรา” ตอ้ งบอกตวั เราเองให้ได้ ดงั นนั้ สง่ิ ท่เี ราตอ้ งคดิ ไว้ เสมอคือ “เราอยากให้หรือจะยอมให้เกิดอะไรข้ึนกับชีวิตเราบ้าง” ถ้าอยากให้เกิด จะทำ อย่างไร และถ้าไม่อยากให้เกิดขึ้น เราจะทำอะไรได้บ้าง (อาจยกตัวอย่างจากภาพท่ีผู้เรียน วาดว่า ถ้าไม่ต้องการให้มีปัญหาท่ีตามมาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่พร้อม หรือไม่ป้องกัน เช่น การท้อง เราจะทำอะไรได้บ้าง หรือถ้าต้องการให้ความสัมพันธ์ที่เรามีกับคนรักพัฒนา ไปเรื่อยๆ และเรียนรู้กันมากขึ้นจนถึงข้ันตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน เราจะต้องทำ อย่างไรบ้าง หรือถา้ เราตอ้ งการยุติความสัมพนั ธ์ เราจะทำอย่างไร เปน็ ต้น) • “ความรับผดิ ชอบ” เปน็ เร่ืองสำคญั ทคี่ นสองคนควรจะมใี หต้ อ่ กัน การแสดงความรบั ผดิ ชอบ คือการคำนึงถึงสิ่งที่อาจเกิดข้ึนกับตัวเองและคนท่ีเรารัก หรือมีความสัมพันธ์ด้วย และช่วย กันทำให้เกิดส่ิงที่คาดหวังร่วมกัน และช่วยกันป้องกันหรือจัดการไม่ให้เกิดสิ่งท่ีอาจเป็น ปญั หา หรอื สง่ิ ทก่ี ลบั มาทำลายความสมั พนั ธท์ ี่มีต่อกนั ขอ้ เสนอแนะสำหรับผดู้ ำเนนิ กจิ กรรม • ผู้ดำเนินกิจกรรมจะต้องทำใจให้ว่าง และกว้าง โดยไม่ด่วนตัดสินคุณค่าของการมีแฟนหรือมี เพศสัมพันธ์ในวัยเรียนหรือเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานท่ีอาจปรากฏจากการแสดงความคิดเห็น ของผู้เรยี น

• ควรชี้ให้เห็นว่า เพศสัมพันธ์เป็นความสุขหน่ึงของชีวิตท่ีบุคคลพึงแสวงหาได้ตามความพร้อม และควรเป็นการยอมรับของทั้งสองฝ่ายท่ีจะมีความสุขร่วมกัน รับรู้และพร้อมท่ีจะรับผิดชอบต่อ ความรสู้ กึ ของกนั และกัน และผลท่จี ะตามมารว่ มกนั • เป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้ดำเนินกิจกรรมต้องช่วยเตรียมให้วัยรุ่นเกิด “ความเท่าทัน” ในอารมณ์ และความต้องการของตนเอง เพื่อให้สามารถ “คาดการณ์” ได้ล่วงหน้าว่าในสัมพันธภาพที่มี ความดึงดูดใจทางเพศ (ทั้งในเพื่อนต่างเพศหรือในเพศเดียวกัน) มักทำให้บุคคลเกิดความ ต้องการท่ีจะอยู่ใกล้ชิดกัน และอยู่โดยลำพังมากขึ้นเรื่อยๆ เม่ือใดท่ีเกิดภาวะนั้น วัยรุ่นควร ตรึกตรองดูก่อนว่าอาจเกิดอะไรข้ึนได้บ้างต่อตนเอง รวมทั้งวิเคราะห์ถึงผลที่ตามมาด้วย และ หาวธิ ีปอ้ งกนั ผลทไี่ ม่พึงประสงค์ การวดั และประเมินผล สงั เกตการมีสว่ นรว่ มในกิจกรรมกลุ่ม และการอภปิ รายแลกเปลี่ยน คำถามท้ายบท • ให้นักเรียนเขียนเรียงความ ๑ หน้ากระดาษ เรื่อง ความรักของวัยรุ่น ท่ีสะท้อนให้เห็นทั้งด้าน บวกและดา้ นลบ 186 คู่มอื การจดั กระบวนการเรยี นรู้ เพศศกึ ษา สำหรบั นกั เรียนชั้น มธั ยมศกึ ษาปที ี่ ๒

187 ๑ ๒ แผนการเรียนร้ทู ่ี ๑๓ จนิ ตนาการรกั

188 ๓ ๔ คมู่ ือการจัด กระบวนการเรียนร ู้ เพศศึกษา สำหรบั นักเรียนชั้น มธั ยมศึกษาปที ี่ ๒

แผนการเรยี นร้ทู ี่ ๑๔ ชะลอ ดกี วา่ ไหม

แผนการเรยี นรูท้ ี่ ๑๔ ชะลอดกี วา่ ไหม สาระสำคญั “การไมม่ ีเพศสัมพันธ”์ เปน็ ทางเลอื กที่ทกุ คนสามารถเลือกไดเ้ สมอ ไม่ว่าจะเคยมี ประสบการณ์ทางเพศมาก่อนหรือไม่ และหากตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์ ต้องมั่นใจ ว่าเกิดจากการยินยอมพร้อมใจทั้งสองฝ่ายและมั่นใจว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ที่ ปลอดภัย จุดประสงค ์ ๑. บอกข้อดขี องการไม่มีเพศสัมพันธ์ ๒. บอกทางเลือกอ่ืนๆ แทนการมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ได้ โดยทางเลือก เหล่าน้นั สามารถปฏิบตั ไิ ดจ้ รงิ ๓. ระบวุ ิธีทจี่ ะช่วยใหก้ ารเลอื กไมม่ เี พศสัมพันธส์ ามารถปฏบิ ตั ิได้จรงิ อปุ กรณ์ และส่ือ ไม่มี 190 ค่มู อื การจัด กระบวนการเรยี นรู ้ เพศศกึ ษา สำหรับนกั เรียนชน้ั มธั ยมศึกษาปที ี่ ๒

ขน้ั ตอนการดำเนนิ กิจกรรม 191 ๑. ผู้ดำเนินกิจกรรมชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมน้ีว่า เป็นการเรียนรู้ว่า “การไม่มีเพศสัมพันธ์” แผนการเรียนร้ทู ่ี ๑๔ ชะลอดีกวา่ ไหม เป็นทางเลอื กท่ีเราเลือกไดเ้ สมอ และสำรวจถงึ เงือ่ นไขที่จะทำใหท้ างเลอื กน้สี ามารถทำได้ และ มีอุปสรรคอะไรท่ีจะทำใหท้ ำไมไ่ ด ้ ๒. ผู้ดำเนินกิจกรรมชวนคยุ เพื่อเข้าบทเรยี นวา่ เพศสมั พันธ์หมายความวา่ อะไร ๓. อธิบายวา่ ความหมายของการไม่มีเพศสมั พนั ธค์ อื การไมม่ ีเพศสมั พันธ์แบบสอดใส่ ๔. จากนัน้ แบง่ ผ้เู รยี นเปน็ ๖ กลมุ่ ใหเ้ ตรียมโต้วาทใี นหัวขอ้ “เพศสมั พนั ธ์ ไม่มดี กี ว่าแน่ๆ” โดย ๓ กลุ่มคิดเน้ือหาเพ่ือเป็นฝ่ายสนับสนุนการไม่มีเพศสัมพันธ์ อีก ๓ กลุ่มคิดเน้ือหาเพื่อเป็น ฝ่ายค้านการไม่มเี พศสัมพนั ธ์ ใหเ้ วลาเตรียม ๑๐ นาที ประเด็นโตว้ าทสี ำหรับฝา่ ยสนบั สนุนการไมม่ เี พศสมั พันธ ์ • การไมม่ ีเพศสมั พนั ธด์ กี วา่ การมีเพศสมั พนั ธ์อยา่ งไร บอกขอ้ ด ี • มที างเลอื กอยา่ งไรบ้าง หากไม่ต้องการมเี พศสัมพนั ธ ์ ประเด็นโต้วาทีสำหรับฝา่ ยคา้ น (ไม่เห็นดว้ ยกับการตอ่ ตา้ นไมใ่ หม้ ีเพศสัมพันธ์) • เพศสัมพันธม์ ีแบบไหนได้บา้ ง ข้อดีของแตล่ ะแบบ • มีวิธกี ารเตรียมการกอ่ นมเี พศสมั พันธ์อย่างไรบ้าง ๕. หลังจากหมดเวลาระดมสมอง ให้ส่งตัวแทนออกมาโต้วาที คนละ ๒ นาที สลับกลุ่มระหว่าง ฝา่ ยสนับสนนุ กบั ฝ่ายค้าน ระหวา่ งทอี่ อกมาโต้ อนญุ าตให้เพอื่ นในกลมุ่ เขยี นขอ้ ความเพม่ิ เติม เพ่อื ส่งให้พดู ได ้ ๖. เมอื่ หมดเวลา ผดู้ ำเนนิ กจิ กรรมนำเนอ้ื หาทแี่ ตล่ ะฝา่ ยเสนอมาชวนคดิ ชวนคยุ ในประเดน็ เหลา่ น ้ี

คำถามชวนคิด • ขอ้ เสนอทีอ่ ภิปรายมาคิดว่าเปน็ เรอื่ งที่เราทำได้/เป็นไปได้จริงหรือไม่ • “มีความต้องการทางเพศ” กับ “มีเพศสัมพันธ์” สองเร่ืองน้ีเก่ียวข้องกัน อยา่ งไร มอี ะไรเหมือนกนั มอี ะไรตา่ งกัน • มีทางเลือกอะไรบ้าง ถ้าต้องการตอบสนองอารมณ์ทางเพศ โดยไม่มี เพศสัมพนั ธ์แบบสอดใส ่ • การตัดสนิ ใจว่าจะมีเพศสัมพันธ์แบบใด เม่อื ใด ควรขึ้นอยกู่ ับอะไรบา้ ง • เหน็ ดว้ ยหรอื ไมก่ บั ความเชอื่ ทว่ี า่ “ถา้ เคยมเี พศสมั พนั ธม์ ากอ่ น กต็ อ้ งมอี กี ” เพราะเหตใุ ด • หากเลือกท่ีจะไม่มีเพศสัมพันธ์ มีเงื่อนไขอะไรบ้างท่ีจะช่วยให้วัยรุ่นทำได้ จรงิ ๗. ผดู้ ำเนนิ กิจกรรมชวนผเู้ รียนสรปุ ว่า เราได้อะไรจากกิจกรรมวันนี้ และเพมิ่ เติมประเดน็ ดังน ้ี • ความหมายที่ชัดเจนที่สุดของการไม่มีเพศสัมพันธ์คือ การไม่สอดใส่ การเรียนรู้ความหมาย น้ีอย่างแท้จริงจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ท่ีไม่พร้อม การติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทาง เพศสัมพนั ธอ์ น่ื ๆ รวมท้ังเรอ่ื งอ่นื ๆ ทีอ่ าจเกิดตามมาจากการมเี พศสัมพนั ธโ์ ดยไมป่ อ้ งกัน • การแสดงออกและตอบสนองทางเพศมีได้หลายรูปแบบ ดังนั้น การเรียนรู้เรื่องอารมณ์ทาง เพศและการจัดการ เป็นส่วนหน่ึงของการเรียนรู้ที่จะเลือกมี หรือไม่มีเพศสัมพันธ์ หรือมี เพศสมั พันธ์แบบไมส่ อดใส ่ • การเลือกไม่มีเพศสัมพันธ์คือ การเลือกวิธีจัดการกับอารมณ์ทางเพศ ซึ่งรวมถึงการสร้าง 192 เงื่อนไขหรือหลีกเลี่ยงเง่ือนไขท่ีจะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ไปจนถึงการช่วยตัวเอง หรอื การช่วยกนั และกันใหม้ ีความสุขทางเพศโดยไมใ่ ช้อวัยวะเพศสอดใส ่ คมู่ ือการจัด กระบวนการเรียนรู ้ เพศศกึ ษา สำหรับนักเรยี นช้ัน มธั ยมศกึ ษาปีท่ี ๒

• การเลือกไม่มีเพศสัมพันธ์ แท้จริงเกิดจากการตระหนักถึงธรรมชาติท่ีคนจะเกิดอารมณ์ 193 ความต้องการทางเพศ และหาวิธีจัดการอย่างรู้เท่าทัน ไม่ได้หมายความว่า ให้ทำเพิกเฉย ไมส่ นใจ ทำเหมือนว่าเรือ่ งความตอ้ งการทางเพศนัน้ ไมเ่ คยเกดิ ขน้ึ และไม่ควรเกดิ ขึ้น แผนการเรียนร้ทู ่ี ๑๔ ชะลอดีกวา่ ไหม • การเลอื กไมม่ เี พศสมั พนั ธเ์ ป็นวิธกี ารปอ้ งกันทด่ี ีทส่ี ดุ ทั้งป้องกันการตง้ั ครรภ์ และการตดิ เชือ้ เอชไอวี แต่คนท่ีเลือกต้องเรียนรู้เงื่อนไขท่ีจะทำให้ทางเลือกน้ีสามารถปฏิบัติได้จริง เช่น การสอื่ สารบอกความตัง้ ใจไว้ลว่ งหนา้ เคารพความเหน็ ของกนั และกัน กล้าพูดคยุ อย่าง เปดิ เผยเพือ่ จัดการกบั เงอ่ื นไขทจ่ี ะนำไปสกู่ ารมีเพศสัมพันธ์ ขอ้ เสนอแนะสำหรบั ผ้ดู ำเนินกจิ กรรม กิจกรรมน้ี เป็นการสร้างการเรียนรู้ในเร่ืองพฤติกรรมทางเพศ โดยทำให้เห็นว่ามีหลายวิธีที่ คนจะตอบสนองตอ่ ความตอ้ งการทางเพศได้โดยไมจ่ ำเป็นตอ้ งมีเพศสมั พันธ์ หรอื ไมต่ ้องสอดใส่ หากผู้ดำเนินกิจกรรมเกิดความรู้สึกไม่สะดวกใจท่ีจะให้ข้อมูลเพ่ิมเติม อาจทำให้ กระบวนการเรียนรู้จำกัดอยู่เพียงสองเงื่อนไขคือ “มีเพศสัมพันธ์” กับ “ไม่มีเพศสัมพันธ์” และไม่ สามารถค้นหาทางเลอื กอ่ืนๆ ได้ ความเชือ่ บางอย่างอาจมอี ิทธิพลต่อการให้ข้อมลู หรือการเปดิ ประเด็นในกิจกรรมนี้ เช่น • ความเช่ือที่ว่าการให้ข้อมูล หรือบอกถึงวิธีการต่างๆ ท่ีทำได้ เม่ือเกิดความรู้สึกทาง เพศ จะทำให้คนที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ทางเพศ หรือไม่กล้า เกิดความอยากรู้ อยากลอง • ความเช่อื ทว่ี ่าวยั รุ่นไม่สามารถควบคุมจดั การกับอารมณเ์ พศทเ่ี กิดข้ึนได้ ดังนั้น ผู้ดำเนินกิจกรรมจึงควรพิจารณาและแลกเปล่ียนกับผู้ท่ีทำงานกับวัยรุ่นเพ่ือให้เกิด ความมั่นใจในแนวทางการจัดการเรียนรู้เร่ืองเพศศึกษาแบบรอบด้าน ท่ีเชื่อว่าวัยรุ่นจะเลือกสิ่งที่ดี


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook