Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือประกอบ PjBL

หนังสือประกอบ PjBL

Published by Gus MO, 2021-03-04 07:27:35

Description: หนังสือประกอบ PjBL

Search

Read the Text Version

แนวทางการจดั การเรียนรู้ แบบโครงงานเปน็ ฐาน (Project-based Learning: PjBL) หนว่ ยศกึ ษานิเทศก์ สำนกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา กระทรวงศึกษาธกิ าร

แนวทางการจดั การเรยี นรู้แบบโครงงานเปน็ ฐาน (Project-based Learning: PjBL) พิมพ์ครัง้ ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 2,500 เล่ม พิมพค์ รงั้ ท่ี 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 จำนวน ๑,๐00 เลม่ ลขิ สทิ ธิ์ของหนว่ ยศกึ ษานิเทศก์ สำนกั งานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา กระทรวงศกึ ษาธิการ พิมพ์ท่ี หา้ งหุ้นสว่ นจำกดั สนิ ทวีกิจ พรนิ้ ต้ิง (สำนกั งานใหญ)่ 77/41 หมู่ที่ 7 ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จงั หวัดนครปฐม 73170 โทรศัพท์ 086-4902261, 034-964459, 034-964460 โทรสาร 034-964460

คำนำ แนวทางการจัดการเรยี นรแู ้ บบโครงงานเป็ นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้กำหนดนโยบายในการจัดอาชีวศึกษาเพื่อให้ สอดคลอ้ งกับพระราชบัญญัติการศกึ ษา พ.ศ. 2542 และทแ่ี กไ้ ขเพ่ิมเติม (ฉบบั ท่ี 2) พ.ศ. 2545 ซ่ึง เน้นการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ และพระราชบัญญัติ การอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 ที่เน้นการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพให้สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อผลิตกำลังคนที่มีสมรรถนะ วชิ าชีพ มีคณุ ธรรม จรยิ ธรรม และจรรยาบรรณวชิ าชพี สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ตรง ตามความตอ้ งการของตลาดแรงงานที่สอดคล้องกับความเจรญิ ก้าวหนา้ ทางเทคโนโลยี หรือประกอบ อาชพี อสิ ระ เพอ่ื ให้การจดั การศึกษาตอบสนองนโยบายดงั กล่าว สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ไดต้ ระหนกั ถงึ ความสำคัญของการจดั การศกึ ษาในศตวรรษท่ี 21 ที่มุ่งเนน้ ใหผ้ ู้เรยี นเป็นผู้สรา้ งความรู้ ที่เป็นของตนเองขึ้นมา ทั้งจากความรู้เดิมหรือจากความรู้ที่รับเข้ามาใหม่ จึงนำไปสู่การปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอนท่ีครตู ้องปรบั บทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบตั ิ ด้วยตนเองและสร้างองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาค้นควา้ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการเรียนมากยิ่งขนึ้ โดยผา่ นการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเปน็ ฐาน (Project-based Learning: PjBL) ท่ีเปน็ การจดั การ เรียนการสอนวิธีหนึ่งท่ีจะส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ใช้ทักษะกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้อง แสวงหาความรู้ ใช้กระบวนการคิด และพฒั นาทักษะในการแกป้ ญั หา เอกสารแนวทางการจดั การเรียนรู้แบบโครงงานเปน็ ฐาน (PjBL) จดั ทำขน้ึ เพือ่ ใชเ้ ปน็ แนวทางใน การนำการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL)สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา โดยเนื้อหาในเอกสาร ประกอบด้วย ความเป็นมา แนวคิด ประเภท ขั้นตอนและแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็น ฐาน (PjBL) พร้อมตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL)ในสถานศกึ ษา เปน็ รูปธรรมและมปี ระสิทธิภาพยิง่ ขึ้น หนว่ ยศกึ ษานเิ ทศก์ขอขอบคณุ คณะกรรมการดำเนินงาน ผู้ทรงคณุ วฒุ ิและผู้เกย่ี วขอ้ งทุกท่าน ที่ให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะและข้อมูลต่าง ๆ ในการจัดทำเอกสารฉบับนี้ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี และ หวงั เปน็ อย่างยิ่งว่าเอกสารฉบบั น้จี ะเปน็ ประโยชนแ์ ก่สถานศกึ ษาตอ่ ไป หนว่ ยศกึ ษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา กรกฎาคม 2559

สำรบญั หนา้ 1 แนวทางการจัดการเรยี นรแู ้ บบโครงงานเป็ นฐาน 1 1 บทนำ 2 • ความเป็นมา 3 • แนวคดิ เกยี่ วกับการจัดการเรยี นรู้แบบโครงงานเปน็ ฐาน (PjBL) • นยิ ามศัพท์ ๕ • ประเภทของโครงงาน ๖ ๗ ข้ันตอนการจดั การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL) ๗ • ข้ันตอนท่ี 1 การเตรียมความพร้อม ๑๐ • ขน้ั ตอนท่ี 2 การกำหนดและเลอื กหัวข้อ ๑๑ • ขน้ั ตอนท่ี 3 การเขยี นเค้าโครงของโครงงาน 1๒ • ขน้ั ตอนที่ 4 การปฏบิ ตั ิงานโครงงาน • ขนั้ ตอนท่ี 5 การนำเสนอผลงาน 1๕ • ข้ันตอนท่ี 6 การประเมินโครงงาน 1๕ 1๘ รูปแบบการจดั การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL) ๒๒ • การจดั การเรยี นร้แู บบโครงงานเปน็ ฐานทง้ั รายวชิ า • การจดั การเรยี นรูแ้ บบโครงงานเปน็ ฐานเฉพาะบางหนว่ ยการเรยี นรใู้ นรายวชิ า ๒๕ • ขอ้ พจิ ารณาในการจดั การเรยี นรแู้ บบโครงงานเปน็ ฐาน (PjBL) 2๗ เอกสารอา้ งองิ ๔๒ ๖๔ ภาคผนวก • ตวั อย่างแผนการจัดการเรยี นรแู้ บบโครงงานเปน็ ฐานทง้ั รายวชิ า • ตวั อยา่ งแผนการจดั การเรียนรูแ้ บบโครงงานเป็นฐานเฉพาะบางหน่วยการเรยี นรู้ • คณะผู้จัดทำ

แนวทางการจดั การเรยี นรู้แบบโครงงานเปน็ ฐาน 1 บทนำ แนวทางการจดั การเรยี นรแู ้ บบโครงงานเป็ นฐาน ความเป็นมา กระแสการเปลี่ยนแปลงโลกจากการก้าวผ่านศตวรรษที่ 20 เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ส่งผล กระทบทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การเมืองและการจัดการศึกษาของทุกประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเปน็ ต้องมีการวางแผนการพัฒนากำลังคนที่เหมาะสม และจัดการศึกษาให้สอดรบั กับกระแสการเปลย่ี นแปลงดงั กล่าว แนวคิดทักษะแหง่ ศตวรรษที่ 21 เชอ่ื ว่ารูปแบบการศกึ ษาแบบเดิมท่ีเนน้ ย้ำแตก่ ารเรียนและ ท่องจำเนื้อหาในสาระวิชาหลักนั้น ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตและการทำงานภายใต้ความท้าทาย ในโลกศตวรรษใหม่ แนวคิดใหม่นี้ให้ความสำคัญกับผลสมั ฤทธิข์ องการเรียนรู้และการปลูกฝังทักษะ ที่จำเป็น ได้แก่ ทักษะในการคิดขั้นสูง ทักษะในการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะชีวิตและการทำงาน ทักษะด้านสารสนเทศและการส่ือสาร ควบคู่กับเนื้อหาในสาระวิชาหลักและความรู้อื่นที่สำคัญ ผ่าน หลักสูตรที่สร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ รู้จักคิด รักการเรียนรู้ มีสำนึกพลเมือง มีคุณธรรม มีความสามารถในการแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่น นอกจากนี้ การเรียนรู้ยังต้องผสมผสานเทคโนโลยีเข้ากับเนื้อหาและวิธีการสอน โดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุน ทฤษฎีการเรียนรู้ในการพฒั นาเน้ือหาและทกั ษะแบบใหม่อกี ด้วย (สถาบันวจิ ยั เพอื่ การพัฒนาประเทศ ไทย, 2557) ในการปฏิรูปการศึกษาของไทย ได้ใช้แนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นเป้าหมายหลัก และปรับเนื้อหา สมรรถนะและลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว ผ่านหลักสูตรที่เน้นแนวคิดหลักและสาระสำคัญในสาระการเรียนรู้ โดยเรียนรู้ผ่านโครงงาน การแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม และการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการหาความรู้ด้วยตนเอง พัฒนาผู้เรียนในการคิดขั้นสูง และสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ด้วยเหตุนี้ผู้สอนจึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอน โดยนำทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มา ออกแบบการเรยี นรู้ให้เหมาะสม แนวคิดเก่ียวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเปน็ ฐาน (PjBL) แนวคิดที่นักการศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสนใจและเห็นว่าสอดคล้องกั บการจัดการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 มากที่สุด คือ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivist Learning Theory) ได้แก่ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) และทฤษฎีการสร้างความรู้ ด้วยตนเองโดยการสรา้ งสรรค์ชิน้ งาน (Constructionism) ซึ่งมีความเชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเม่อื ผู้เรียนได้สร้างความรู้ที่เป็นของตนเอง สร้างความรู้ที่เกิดจากความเข้าใจของตนเอง และมีส่วนร่วม

2 แนวทางการจดั การเรียนรู้แบบโครงงานเปน็ ฐาน ในการเรียน (Active Learning) มากขึ้น รูปแบบจากการเรียนรู้ที่เกิดจากแนวคิดนี้มีหลายรูปแบบ ได้แก่ การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) การเรียนรู้แบบช่วยเหลือกัน (Collaborative Learning) การเรียนรู้โดยการค้นคว้าอย่างอิสระ (Independent Investigation Method) รวมท้ัง การเรียนรูโ้ ดยใชป้ ญั หาเป็นฐาน (Problem–Based Learning) (ยรรยง สินธ์งุ าม, 2556) การจดั การเรยี นรูแ้ บบโครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning: PjBL) เป็นการส่งเสรมิ การเรียนรู้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย ตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งมีขั้นตอนการเรียนรู้ท่ีเกี่ยวข้องกับ การแสวงหาความรู้ การใช้กระบวนคิด และทักษะในการแก้ปัญหา ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยสร้าง องค์ ความรู้ด้วยตนเองโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ซึ่งการจัดการเรียนรู้ลักษณะนี้ ผู้เรียนต้องศึกษาค้นคว้า ทดลอง ปฏิบัติและแก้ปัญหา เพื่อสร้างผลงานหรือชิ้นงาน เป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการ กระทำเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่ถาวรด้วยตัวผู้เรียนเอง ทั้งนี้ ผู้เรียนอาจทำเป็นกลุ่มเล็กหรือเป็นกลุ่ม ใหญ่ก็ได้ ซึ่งจะเป็นการฝึกให้ผู้เรียนเกิดทักษะการทำงาน เป็นทีม ได้ร่วมมือร่วมใจในการทำงาน เพอ่ื ให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่มและเกดิ ผลสำเร็จร่วมกนั สำนักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา ตระหนกั ถึงความสำคัญของการจัดการเรยี นรู้แบบ โครงงานเป็นฐาน (PjBL) ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จึงกำหนดเป็น นโยบายหลักในการขับเคลื่อนสู่สถานศึกษา โดยการจัดการเรียนรู้แบบนี้เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียน ร่วมกันศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ปฏิบัตแิ ละแก้ปญั หา เป็นการพัฒนาความสามารถในการเรยี นรู้ที่เปิด โอกาสใหผ้ เู้ รียนไดส้ ืบค้น เพ่มิ ทกั ษะการคิดและการพึง่ พาตนเอง ซง่ึ มีวัตถุประสงคเ์ พ่ือให้ผู้เรียนได้ใช้ ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ของตนเอง แสดงออกถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาเรียนรู้และ ความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การ ฝึกฝนทักษะ การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นประชาธิปไตย กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย การกำหนดประเด็นปัญหา การกำหนดวิธีหาคำตอบ และการสรุปองค์ความรู้จาก โครงงาน (หนว่ ยศกึ ษานิเทศก์, 2556) นยิ ามศพั ท์ การจัดการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการจัดสถานการณ์ สภาพการณ์ หรือกิจกรรม การเรียนรู้ให้ผเู้ รียนได้มีประสบการณ์ เกดิ การเรียนรู้ พัฒนาตนเองในทุกดา้ นอยา่ งเตม็ ศกั ยภาพ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นการใช้กิจกรรมโครงงาน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นกำหนดและเลือกหัวข้อ ขั้นเขียนเค้าโครงของโครงงาน ขั้นปฏิบัติงาน โครงงาน ข้ันนำเสนอผลงาน และข้ันประเมนิ โครงงาน

แนวทางการจัดการเรยี นรแู้ บบโครงงานเปน็ ฐาน 3 โครงงานหรือโครงการ (Project) ซึ่งในที่นี้ใช้คำว่า “โครงงาน” หมายถึง กิจกรรมท่ี เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และ ความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการ 6 ขั้นตอน ในการศึกษาหาคำตอบในเรื่องนั้น ๆ โดยมีครูผู้สอนหรือ ครทู ี่ปรึกษาคอยกระตนุ้ แนะนำ และให้คำปรกึ ษาแกผ่ เู้ รยี นอยา่ งใกลช้ ิด โครงงานสามารถทำได้ท้ังระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ซึ่งผู้เรียนอาจทำเป็น กลุ่มเล็กหรือเป็นกลุ่มใหญ่ก็ได้ อาจเป็นโครงงานเลก็ ๆ ที่ไม่ยุ่งยากซับซอ้ น หรือเป็นโครงงานใหญ่ ที่มี ความยากและซับซ้อนขึ้นก็ได้ ทั้งนี้ อาจขึ้นอยู่กับประเภทของโครงงาน ระยะเวลา หรือขอบเขตของ การศึกษา ประเภทของโครงงาน โครงงานแบ่งเปน็ 4 ประเภท ดังนี้ (ปรชั ญนนั ท์ นิลสขุ , 2558) 1. โครงงานประเภทสำรวจ (Survey Project) 2. โครงงานประเภททดลอง (Experimental Project) 3. โครงงานประเภทสง่ิ ประดษิ ฐ์ (Development Project) 4. โครงงานประเภททฤษฎี (Theory Project) ซ่งึ โครงงานแต่ละประเภท จะมลี ักษณะแตกต่างกนั ดงั น้ี 1. โครงงานประเภทสำรวจ เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจนั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ และนำเสนอ ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีระบบ เป็นโครงงานประเภทเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อหาสาเหตุของปัญหาหรือ สำรวจความคดิ เห็น ขอ้ มูลทร่ี วบรวมได้บางอย่างอาจเป็นปญั หาที่นำไปสกู่ ารทดลองหรือค้นพบสาเหตุ ของปัญหาที่ต้องหาวธิ แี ก้ไขและปรับปรุงร่วมกนั 2. โครงงานประเภททดลอง เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะ ที่ต้องออกแบบทดลองเพื่อศึกษาว่าเป็นไปตามที่ตั้งสมมุติฐานไว้หรือไม่ มีการควบคุม ตัวแปรอื่นซึ่งอาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษา มีการรวบรวมข้อมูล การดำเนินการทดลอง การ แปลผล และสรปุ ผลการทดลองที่สอดคล้องกบั สมตฐิ านท่ตี ง้ั ไว้ 3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ในการนำเอาความรู้ ทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดมาประยุกต์ใช้ โดยการประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อ ประโยชน์ ในการเรยี น การทำงาน หรือการใช้สอยอื่น ๆ การประดิษฐ์คิดค้นตามโครงงานน้ีอาจเป็น การประดิษฐ์ขึ้นมาใหมโ่ ดยท่ยี ังไม่มีใครทำ อาจเป็นการปรบั ปรงุ เปล่ยี นแปลง หรือดดั แปลงของเดิมท่ี มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ รวมทั้งการสร้างแบบจำลองต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการ อธิบายแนวคดิ ในเรือ่ งต่าง ๆ

4 แนวทางการจดั การเรียนรแู้ บบโครงงานเป็นฐาน 4. โครงงานประเภททฤษฎี เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอความรู้ ทฤษฎี หลักการ แนวคิดใหม่ ๆ เกยี่ วกบั เร่ืองใดเรอ่ื งหนง่ึ ทีย่ งั ไมม่ ีใครคิดมาก่อน หรอื ศกึ ษาขยายจากเดิมท่ีมี อยู่ ซง่ึ ความรู้ ทฤษฎี หลกั การ หรือแนวคิดท่ีเสนอ ตอ้ งผา่ นการพสิ จู นอ์ ย่างมหี ลักการหรือใช้วิธีการ ทนี่ ่าเช่อื ถอื เชน่ วธิ ีการทางวิทยาศาสตร์ วธิ กี ารทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น ซ่งึ ผู้ทำโครงงานต้องเป็น ผู้ที่มีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี หรือต้องมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลมาประกอบอย่าง ลกึ ซง้ึ จงึ จะทำใหส้ ามารถกำหนดความรู้ ทฤษฎี หลกั การหรอื แนวคดิ ใหม่ ๆ ขึน้ ได้ ภาพท่ี ๑ แสดงการเรียนร้แู บบโครงการเป็นฐานของผู้เรียนตามสาขาวิชาและรายวิชาทเี่ รียน

แนวทางการจดั การเรยี นรูแ้ บบโครงงานเป็นฐาน 5 ขนั้ ตอนกำรจดั กำรเรยี นรู้ แบบโครงงำนเป็ นฐำน แนวทางการจดั การเรยี นรแู ้ บบโครงงานเป็ นฐาน การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เป็นวิธีการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้และทักษะผ่าน กระบวนการศึกษาค้นคว้าและการใช้ความรู้ในชีวิตจริง ขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมและการแก้ปัญหา ทที่ ้าทายรว่ มกัน โดยมีผลงานทีแ่ สดงถงึ ศกั ยภาพและความสำเร็จของผูเ้ รียน การจัดการเรยี นรูใ้ นระดับอาชีวศึกษา จำเป็นต้องเตรียมผู้เรียนเข้าสูศ่ ตวรรษที่ 21 เพื่อให้ เป็นผู้ปฏิบัติงานบนพื้นฐานความรู้ (Knowledge Worker) ที่สามารถคิดเป็น ทำเป็น มีวิธีการหา ความรู้ สร้างความรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต และนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ ดังนั้นครู จำเป็นต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ( Co- Learning Process) ศึกษาการแก้ปัญหา (Problem Solving) ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ประยุกต์ ความรู้สร้างสรรค์ชิ้นงานโครงงาน เรียนรู้โดยการกระทำ (Learning by Doing) รวมทั้งอื่น ๆ เพ่ือ เตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนเข้าสู่ทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยใช้วิธีการสอนแบบโครงงาน ซึ่งเป็น เครื่องมือการเรียนรู้เพื่อสะท้อนผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังดังกล่าวข้างต้น จึงต้องดำเนินการ 6 ขั้นตอน ดงั น้ี ข้นั ตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อม ขน้ั ตอนท่ี 2 การกำหนดและเลือกหวั ข้อ ขั้นตอนท่ี 3 การเขยี นเคา้ โครงของโครงงาน ข้นั ตอนที่ 4 การปฏิบัตงิ านโครงงาน ขั้นตอนท่ี 5 การนำเสนอผลงาน ขั้นตอนที่ 6 การประเมนิ โครงงาน ภาพท่ี ๒ แสดงขั้นตอนการจดั การเรยี นร้แู บบโครงการเปน็ ฐาน

6 แนวทางการจดั การเรยี นรแู้ บบโครงงานเปน็ ฐาน ข้ันตอนท่ี 1 การเตรียมความพรอ้ ม การเตรียมความพร้อม เป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับผู้สอนและผู้เรียน เป็นการเตรียม ความพร้อมผู้สอนเพื่อให้เข้าใจบทบาทผู้สอนในการทบทวนสร้างความเข้าใจกับกิจกรรมในแผ น การจดั การเรยี นรู้และแหล่งเรยี นรตู้ า่ ง ๆ ให้พรอ้ มตอ่ การจัดการเรียนรูแ้ บบโครงงานเป็นฐาน (PjBL) ให้ประสบความสำเร็จ ส่วนการเตรียมความพร้อมผู้เรียนเป็นการสร้างความเข้าใจในบทบาทผู้เรียน ให้เกิดความตระหนักถึงเป้าหมายการเรียนรู้และบทบาทผู้เรียนที่ต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ รวม ไปถึงการเตรียมแหล่งข้อมูล วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ ระยะเวลา ความปลอดภัย และปัจจัยอื่น ๆ ทเี่ กีย่ วขอ้ งในการทำโครงงาน ซึ่งครผู ู้สอนและผูเ้ รียนมีบทบาท ดงั นี้ บทบาทผสู้ อน 1. กำหนดขอบเขตการจดั การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL) ประกอบด้วย 1.1 การวเิ คราะห์วัตถุประสงค์รายวชิ า 1.2 การกำหนดผลสมั ฤทธิ์ที่คาดหวงั 1.3 การกำหนดประเดน็ ปญั หา/สมมตฐิ าน/ประเภทโครงงาน 1.4 การค้นคว้า/ทดลอง 1.5 การสรปุ /การประเมนิ ตนเอง 1.6 การหาความรเู้ พ่ิมเติม 1.7 การนำเสนอ เผยแพร่ 1.8 การประเมินความก้าวหนา้ 2. กำหนดแหลง่ เรียนรู้/ค้นควา้ 2.1 ชุมชน ทอ้ งถ่นิ 2.2 การใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศและการส่ือสาร (ICT) 2.3 คร/ู ผู้เชย่ี วชาญ/ปราชญช์ าวบ้าน 2.4 แหลง่ วทิ ยาการ เช่น ห้องสมุด ศูนยว์ ทิ ยบริการ ศนู ย์การเรียนรู้ เป็นตน้ 2.5 สถานทเ่ี รียนรู้ เช่น สถานประกอบการ สถานท่ภี าครฐั และเอกชน เป็นตน้ บทบาทผู้เรียน 1. มีส่วนร่วมในการกำหนดเง่ือนไขและเกณฑก์ ารประเมนิ ผลการปฏบิ ตั งิ านโครงงาน 2. กำหนดปัญหา ความตอ้ งการ 3. ศกึ ษาแหลง่ เรียนรู้/ค้นคว้า 4. แบ่งกลุ่มและทำงานรว่ มกัน

แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเปน็ ฐาน 7 ข้นั ตอนท่ี 2 การกำหนดและเลอื กหวั ข้อ การกำหนดและเลือกหัวข้อ เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของแต่ละหัวข้อที่จะทำโครงงาน รวมถงึ การศกึ ษาความคุ้มคา่ ของโครงงานที่จะทำของผู้เรยี น การกำหนดและเลือกหัวขอ้ เป็นกิจกรรม ที่ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันกำหนดหัวข้อท่ีจะทำเป็นโครงงาน ศึกษาความเป็นไปได้ ความคุ้มค่าของ แต่ละหวั ขอ้ เพ่อื เลือกโครงงานที่จะจัดทำ การกำหนดและเลือกหวั ขอ้ ได้เหมาะสมจะทำให้ผู้สอนและ ผเู้ รยี นเกดิ การเรยี นรู้ โดยเชอื่ มโยงองคค์ วามรู้เดิมและสร้างองค์ความรู้ใหม่ไปพร้อมกัน ดังนั้นผู้เรียน จะต้องนำเสนอหัวข้อโครงงานต่อผู้สอน เพื่อให้ความเห็นชอบกอ่ นการดำเนินการขั้นต่อไป ซึ่งผูส้ อน และผเู้ รียนมบี ทบาท ดังน้ี บทบาทผูส้ อน 1. จัดกิจกรรมหรือวิธีการเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนในการคิดหัวข้อเรื่องโครงงาน ดว้ ยวิธีการท่ีหลากหลาย 2. อำนวยความสะดวก หรอื ใหค้ ำแนะนำในการกำหนดหวั ขอ้ และเลอื กหวั ขอ้ 3. กำกับ ติดตามอย่างใกลช้ ิด ให้กำลังใจ ช่วยแก้ปัญหาและใหผ้ ู้เรียนคิดวิธีการใหม่ หาก ไมป่ ระสบความสำเรจ็ 4. เสนอแนะแหลง่ ขอ้ มลู แหล่งความรู้ ผู้รู้ เอกสารตา่ ง ๆ ใหผ้ ู้เรยี นศึกษาคน้ ควา้ 5. สร้างแรงจูงใจ และแรงบันดาลใจในการเลือกหัวข้อโครงงานตามศักยภาพ และความ สนใจของผเู้ รียน บทบาทผู้เรยี น 1. กำหนดบทบาทหนา้ ท่ีของสมาชิกในกลุ่ม 2. รว่ มกันกำหนดและเลอื กหัวข้อโครงงานโดยยึดหลกั ประชาธิปไตยและกระบวนการกลุ่ม 3. นำเสนอหวั ขอ้ โครงงานตอ่ ผู้สอน ขน้ั ตอนที่ 3 การเขยี นเค้าโครงของโครงงาน การเขียนเค้าโครงของโครงงาน เป็นการสรา้ งผังมโนทัศน์ (Conceptual Map) หรือแผนที่ ความคดิ (Mind Map) ท่ีแสดงถงึ ภาพรวมทั้งหมดของโครงงานต้งั แตต่ น้ จนจบ ประกอบด้วย แนวคดิ หลักการ แผนงาน และขั้นตอนในการทำโครงงานต้ังแต่เร่ิมต้นจนเสร็จส้ิน มกี ารกำหนดบทบาทและ ระยะเวลาในการดำเนินงาน ทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรัดกุม รอบคอบ ไม่สับสน ทำให้ผู้ที่ เกี่ยวข้องมองเห็นภาระงาน สามารถปฏิบัติโครงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อนนำเสนอ ต่อครูผู้สอนหรือครูที่ปรึกษาเพื่อขอความเห็นชอบก่อนนำไปปฏิบัติในขั้นตอนที่ 4 ต่อไป ซึ่งมี แนวทางในการจัดดำเนินการ ดังนี้

8 แนวทางการจดั การเรียนร้แู บบโครงงานเปน็ ฐาน หลังจากผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดหัวข้อที่จะทำเป็นโครงงานแล้ว ผู้เรียนในแต่ละ กลุ่มวางแผนการจดั ทำโครงงาน โดยระบกุ ิจกรรมในแต่ละขนั้ ตอนและตารางการดำเนนิ งาน กำหนด บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม และนำเสนอข้อสรุปแก่ผู้สอนอีกครั้ง ซึ่งครูผู้สอนและผู้เรียน มีบทบาท ดังน้ี บทบาทผูส้ อน 1. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับกระบวนการในการเขียนเค้าโครงของ โครงงานทผ่ี ูเ้ รียนจะทำ 2. ให้การสนับสนุนคำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ และตรวจสอบวิธีการเขียนเค้าโครงของ โครงงานทผ่ี ู้เรียนจะทำใหถ้ กู ต้องตามระเบยี บวธิ ี 3. ประสานงานกับหน่วยงาน บุคคล หรอื แหล่งขอ้ มูลท่ีเกย่ี วข้องกบั การจัดทำเค้าโครงของ โครงงานของผ้เู รยี นให้ถูกตอ้ งและสำเร็จลลุ ว่ งไปดว้ ยดี 4. กลนั่ กรองและเหน็ ชอบให้ผู้เรยี นจัดทำโครงงานตามทผี่ เู้ รียนเสนอ 5. กำหนดเงือ่ นไขและเกณฑก์ ารประเมนิ ผลการปฏบิ ัติงานของผู้เรยี น บทบาทผเู้ รียน 1. ศกึ ษาคน้ ควา้ จากแหลง่ เรยี นรู้ 2. รว่ มกนั เขียนเค้าโครงของโครงงานตามระเบียบวธิ ี 3. นำเสนอเคา้ โครงของโครงงานต่อครผู ู้สอน 4. นำขอ้ เสนอแนะจากครูผู้สอนมาปรบั ปรุง 5. นำเสนอขอความเห็นชอบเพือ่ ปฏบิ ัติโครงงาน โดยทว่ั ไป เคา้ โครงของโครงงาน มีสว่ นประกอบและแนวทางการเขยี น ดงั นี้ 1. ช่อื โครงงาน 2. ชื่อผ้จู ัดทำโครงงาน 3. ชือ่ ท่ปี รึกษาโครงงาน 4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 5. วัตถปุ ระสงคข์ องการทำโครงงาน 6. สมมติฐานของโครงงาน (ถา้ มี) 7. วิธีดำเนินงานของโครงงาน 8. แผนปฏิบัตงิ านของโครงงาน 9. ผลท่ีคาดว่าจะไดร้ บั จากโครงงาน 10. เอกสารอา้ งองิ หรอื บรรณานุกรม

แนวทางการจดั การเรยี นรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 9 1. ชื่อโครงงาน เป็นการเขียนว่าจะทำอะไร ควรเขียนให้ตรงกับเรื่องที่จะทำ เขียนให้ กระชับ ชัดเจน สื่อความหมาย เฉพาะเจาะจง บ่งชี้ถึงเรื่องที่จะทำหรือศึกษา ควรเป็นประโยค ท่สี มบูรณ์ มที งั้ ประธาน กรยิ า กรรม และไม่ควรเป็นประโยคคำถาม ช่อื โครงงานควรมคี วามน่าสนใจ และสอดคล้องกบั เนอ้ื เรือ่ งของโครงงานท่ีจะทำ 2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน เป็นชื่อผู้รับผิดชอบโครงงานที่จะทำ อาจทำเป็นกลุ่มเล็กหรือเป็น กลมุ่ ใหญ่ ขึ้นอยกู่ ับข้อกำหนดหรอื ขอ้ ตกลงของผู้เรียน ครูผู้สอนหรอื ครูทีป่ รกึ ษา 3. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน เป็นชื่อผู้ที่ให้คำแนะนำ ปรึกษา กำกับ ดูแล อาจเป็นครูผู้สอน ผูท้ รงคณุ วฒุ ิ หรอื ผเู้ ช่ยี วชาญในสาขาวชิ าหรอื เรอื่ งทีจ่ ะทำโครงงาน อาจมมี ากกว่า 1 คนก็ได้ แลว้ แต่ ขอ้ กำหนดหรอื ขอ้ ตกลงระหวา่ งผเู้ รยี น ครูผสู้ อนหรือครูท่ปี รึกษา 4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน เป็นการเขียนถึงสภาพปัจจุบันของปัญหาที่ผู้เรียน สนใจจะศึกษา บอกถึงเหตุผลความจำเป็น แรงบันดาลใจหรือเหตุจูงใจในการทำโครงงาน เหตุผล ที่เลือกทำโครงงานนี้เป็นกรณีพิเศษ ควรมีข้อมูลเกีย่ วกับแนวคิด ทฤษฎีหรือหลักวิชาการที่เกี่ยวขอ้ ง ปรากฏเด่นชัด เพื่อสนับสนุนว่าโครงงานนี้มีความสำคัญหรือเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ รวมทั้งบอก ข้อดี คุณค่า ความสำคญั และได้ประโยชนอ์ ะไรจากการจดั ทำโครงงานน้ี 5. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน เป็นการเขียนที่ระบุถึงสิ่งที่ต้องการจะศึกษาหรือ ทดลอง ว่าจะทำ จะศึกษาอะไร อย่างไร อาจเขียนแยกเป็นข้อ ๆ ตามสิ่งที่จะทำหรือศึกษาค้นคว้า ทดลอง วัตถุประสงค์ที่ดีควรมีความเฉพาะเจาะจง เป็นสิ่งที่สามารถวัดได้และบอกขอบเขตของงาน ที่จะทำได้ชัดเจน สอดคล้องกับชื่อของโครงงาน ไม่ควรเขียนในรูปของประโยคคำถาม และไม่ควร นำเอาประโยชนท์ เ่ี กดิ ขึน้ จากการทำโครงงานมาเขียนเปน็ วตั ถปุ ระสงค์หรอื จดุ มงุ่ หมายของการศึกษา คน้ ควา้ 6. สมมติฐานของโครงงาน (ถ้ามี) การเขียนสมมุติฐานของโครงงาน โดยทั่วไปจะใช้กับ การเขียนโครงงานประเภททดลองหรือโครงงานวิทยาศาสตร์ สมมุติฐานเป็นคำตอบหรือคำอธิบาย ที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า ทดลอง ซึ่งสมมุติฐานอาจจะถูกหรือไม่ก็ได้ แต่ที่สำคัญตอ้ งคำนึงไว้ว่าการเขียนสมมุติฐานนั้นควรมีเหตุผล คือมีทฤษฎีหรือหลกั ทางวิทยาศาสตร์ มารองรับ ส่วนใหญ่มักจะเขียนเป็นข้อความที่สามารถมองเห็นแนวทางในการดำเนินงานทดลอง ทดสอบหรือตรวจสอบได้ 7. วิธีดำเนินงานของโครงงาน เป็นการเขียนที่ระบุขั้นตอนในการดำเนินงานโครงงาน ตั้งแต่เริ่มต้นทำโครงงาน ระยะเวลาดำเนินงาน ขั้นตอน วิธีการในการปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน รวมถึงการเก็บข้อมูล ประเภทของข้อมูล เครื่องมือและ วธิ กี ารเกบ็ ข้อมลู ระยะเวลา การวเิ คราะห์ข้อมลู และสถิตทิ ใ่ี ช้

10 แนวทางการจดั การเรียนร้แู บบโครงงานเปน็ ฐาน 8. แผนการปฏิบัติงานของโครงงาน เป็นการกำหนดโครงงานแต่ละขั้นตอนอยา่ งละเอียด ต้ังแต่ต้นจนเสร็จสิ้นโครงงาน โดยอธิบายเกี่ยวกับกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนที่จะปฏิบัติในโครงงาน รวมทั้งกำหนดเวลา สถานที่ และผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานแต่ละกิจกรรม และในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่เรมิ่ ต้นปฏบิ ัติจนเสรจ็ ส้ินการดำเนินงานในตล่ ะกจิ กรรม จึงควรเขียนเปน็ แผนภูมิแสดงขั้นตอน ในการทำ 9. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงงาน เป็นการระบุถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำ โครงงาน ว่าจะไดอ้ ะไรจากการทำโครงงานนบี้ า้ ง มากน้อยเพียงใด รวมถงึ ประสทิ ธภิ าพหรือคุณภาพ ของผลที่ไดร้ ับ หรือประโยชนผ์ ูเ้ ก่ียวข้องในแต่ละระดบั เช่น ผู้เรียน ครูผู้สอน สถานศึกษาหรือสงั คม โดยรวม จะได้รบั จากการทำโครงงานครง้ั นี้ 10. เอกสารอ้างอิงหรอื บรรณานุกรม เป็นการเขยี นถึงแหลง่ ขอ้ มูลทผี่ ู้ทำโครงงานใช้ศกึ ษา ค้นคว้าและนำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อการทำโครงงาน ซึ่งอาจเป็นเอกสาร ตำรา เอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ หรือแหล่งข้อมูลอื่น เช่น อินเทอร์เน็ต สถานประกอบการ หรือผู้เชี่ยวชาญที่เป็น เจา้ ของอาชพี เป็นการบอกใหผ้ อู้ ืน่ ทราบวา่ ผู้เรยี นไดท้ ำการศกึ ษาค้นคว้าข้อมลู จากแหลง่ ใดบา้ ง อย่างไรก็ตาม การเขียนเค้าโครงของโครงงานใน 10 หวั ขอ้ นี้ เปน็ แนวทางในการเขียนแบบ หนึ่งที่ได้ประมวลจากหลาย ๆ แบบ แล้วสรุปรวมว่าน่าจะเป็นรูปแบบการเขียนที่สามารถนำสู่การ ปฏิบัติได้จริง ซึ่งครูผู้สอนสามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมของรายวิชา หรือหน่วยการ เรียนรทู้ ่จี ัดใหผ้ ูเ้ รยี นทำโครงงาน ข้ันตอนที่ 4 การปฏิบตั งิ านโครงงาน การปฏิบัติงานโครงงาน เป็นการนำขั้นตอนวิธีการตามเค้าโครงของโครงงานสู่การปฏิบัติ หลังจากที่ผู้เรียนได้รับความเห็นชอบจากครูผู้สอนหรือครูที่ปรึกษาแล้ว ซึ่งในการปฏิบัติโครงงานนี้ ครผู ูส้ อนและผ้เู รียนมบี ทบาท ดังนี้ บทบาทผ้สู อน 1. อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติโครงงานของผู้เรียน เช่น จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เปน็ ต้น 2. ตดิ ตามความกา้ วหน้าการปฏบิ ัติโครงงานของผ้เู รยี น 3. ติดตามสถานการณ์ สภาพปัญหาในการปฏิบัติโครงงานของผู้เรียนระหว่างการ ปฏิบตั งิ าน 4. ติดตามพฤติกรรม ทักษะกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น นวัตกรรมที่ใช้ วิธีการ เรียนรู้ กระบวนการแก้ปัญหาในการปฏิบัติโครงงานของผู้เรียนระหว่างการปฏิบัติงาน เป็นตน้ 5. เสรมิ แรงทางบวก สร้างขวญั กำลงั ใจใหผ้ ู้เรียนร้จู กั การค้นควา้ หาขอ้ มูลเพื่อแกป้ ัญหา

แนวทางการจัดการเรียนรูแ้ บบโครงงานเปน็ ฐาน 11 6. อำนวยความสะดวกให้เกิดการแลกเปล่ียนเรียนรู้ระหวา่ งผู้เรยี นภายในกลมุ่ หรือระหวา่ งกลมุ่ 7. เปิดโอกาสให้มกี ารแลกเปลย่ี นเรยี นรูร้ ะหวา่ งผเู้ รียนและครผู ้สู อน บทบาทผู้เรยี น 1. ปฏิบตั ิงานโครงงาน 2. ประชุมปรึกษาหารอื ระหว่างผู้เรียน 3. ประชมุ ปรึกษาหารือกบั ครูและผทู้ ่ีเก่ยี วข้อง 4. รวบรวมข้อมลู จากการปฏบิ ตั ิงานโครงงาน 5. วเิ คราะหแ์ ละแปลผลขอ้ มลู การดำเนนิ งาน ขัน้ ตอนที่ 5 การนำเสนอผลงาน การนำเสนอผลงาน เป็นการจัดทำรายงานและการนำเสนอผลการปฏิบัติโครงงาน ได้แก่ กระบวนการและผลงาน เป็นขั้นตอนทีผ่ ู้เรยี นปฏิบตั ิงานโครงงานเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ซึ่งครูผูส้ อน และผ้เู รียนมบี ทบาท ดงั นี้ บทบาทผ้สู อน 1. สรา้ งความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกย่ี วกบั กระบวนการในการเขยี นรายงานโครงงาน 2. มอบหมายให้ผเู้ รยี นจัดทำรายงานโครงงาน 3. จดั กิจกรรมให้ผูเ้ รียนนำเสนอกระบวนการและผลงานโครงงาน บทบาทผูเ้ รียน 1. เขียนรายงานโครงงาน 2. นำเสนอกระบวนการและผลงานโครงงาน ในการเขียน รายงานโครงงาน ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับ ชัดเจน ครอบคลุมประเด็น สำคัญ ๆ ของโครงงานซ่งึ เลม่ รายงานควรประกอบด้วยส่วนสำคญั ๆ 3 ส่วน ดงั น้ี 1. ส่วนหน้า โดยทวั่ ไปประกอบดว้ ย ปกนอก ปกใน คำนำ และสารบญั แตอ่ าจมีบทคัดยอ่ และกิตตกิ รรมประกาศอกี ก็ได้ 2. ส่วนเนื้อหา ประกอบดว้ ย 5 ตอน ดังน้ี ตอนที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย ความเป็นมาของโครงงาน วัตถุประสงค์ของโครงงาน ขอบเขตของโครงงาน วธิ กี ารดำเนินงาน ประโยชน์ที่ไดร้ บั และนิยามศัพท์ ตอนที่ 2 เอกสารและงานท่เี กีย่ วข้อง ตอนที่ 3 วธิ กี ารดำเนินโครงงาน ตอนที่ 4 ผลการดำเนินโครงงาน ตอนท่ี 5 สรุปผล อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ 3. สว่ นอ้างอิง ประกอบดว้ ย หนังสอื อ้างองิ หรือบรรณานุกรม และภาคผนวก

12 แนวทางการจดั การเรียนร้แู บบโครงงานเปน็ ฐาน การนำเสนอผลงานหลังจากท่ีผู้เรียนได้ดำเนินการจัดทำโครงงานเสร็จเรียบรอ้ ยแล้ว ขั้นต่อไป คือ การนำเสนอผลงานของผู้เรียน ซ่งึ ครผู ูส้ อนควรฝึกให้ผู้เรียนนำเสนอหน้าชั้นเรียน เป็นการฝึกผู้เรียน ใหม้ ีความสามารถในการสื่อสาร ขณะเดียวกนั ก็ต้องรับฟงั ข้อคิดเห็นจากเพ่ือน ๆ รว่ มช้ันเรยี น จะชว่ ยให้ ผู้เรียนเกิดทักษะในการเรียบเรียงความคิดรวบยอด (Concept) อย่างเป็นระบบ มีความความมั่นใจ ในการตอบคำถามเพื่อนในชั้นเรียน หรือผู้อื่นที่ยังสงสัยในประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน ถือว่าเป็น สิง่ จำเป็นในการจัดการเรยี นการสอนโดยใชโ้ ครงงานเป็นฐาน การนำเสนอผลงานอาจจะเป็นการนำเสนอ หน้าชั้นเรียน หรือผ่านเครื่องมือออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Video Clip, Online Text, Webpage, Blog, Face Book เปน็ ตน้ ภาพที่ ๓ แสดงการนำเสนอผลงานจากการเรยี นรู้แบบโครงการเปน็ ฐาน ขั้นตอนท่ี 6 การประเมินโครงงาน การประเมินโครงงานเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของ โครงงานในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ก่อนทำโครงงานจนถึงเสร็จสิ้นโครงงาน ซึ่งเป็นการประเมินอย่าง ต่อเนื่องด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เน้นการประเมินตามสภาพจริง ( Authentic Assessment) ทั้งความรู้ กระบวนการ พฤติกรรมของผู้เรียน ผลงาน และข้อค้นพบที่ผู้เรียนได้จาก การทำโครงงาน การประเมินเป็นบทบาทหน้าที่ของครูผู้สอนหรือครูที่ปรึกษา ซึ่งมีขั้นตอนการ ประเมินการจดั การเรยี นรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL) ดังนี้

แนวทางการจัดการเรยี นรู้แบบโครงงานเปน็ ฐาน 13 การประเมนิ ขนั้ ตอนของโครงงาน ประเดน็ /ส่ิงท่ปี ระเมิน ก่อนการทำ ขน้ั ตอนที่ 1 ประเมินความพรอ้ ม เชน่ โครงงาน การเตรยี มความพรอ้ ม แหล่งข้อมลู วสั ดอุ ุปกรณ์ และปจั จยั อ่ืน ๆ ทเ่ี กยี่ วขอ้ งในการทำโครงงาน ระหวา่ ง ข้ันตอนท่ี 2 การทำโครงงาน การกำหนดและเลอื กหวั ข้อ ประเมนิ ความเป็นไปได้ หลังเสร็จส้ิน ในการทำโครงงาน การทำโครงงาน ขัน้ ตอนที่ 3 การเขยี นเคา้ โครง ประเมินความถูกตอ้ ง ความสอดคล้อง ความเหมาะสมของเคา้ โครง ของโครงงาน ของโครงงาน ข้ันตอนท่ี 4 ประเมินความกา้ วหน้า สภาพปญั หา การปฏิบัตงิ านโครงงาน พฤติกรรม กระบวนการเรยี นรู้ กระบวนการแกป้ ญั หา ขนั้ ตอนที่ 5 ในการดำเนนิ โครงงาน การนำเสนอผลงาน ประเมินผลงาน ข้อค้นพบ ทไ่ี ด้จากการทำโครงงาน ประเมินผลกระทบทเี่ กดิ จากโครงงาน ภาพที่ ๔ แสดงข้ันตอนการประเมนิ การจัดการเรยี นรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL) • การประเมินก่อนการทำโครงงาน เป็นการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ถึงขั้นตอนที่ 3 คอื ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อม เช่น ความพร้อมของผู้เรียน แหล่งข้อมูล วัสดุ อปุ กรณ์ งบประมาณ ระยะเวลา ความปลอดภัย หรือปจั จยั อนื่ ๆ ทเี่ กีย่ วขอ้ งในการทำโครงงาน ข้นั ตอนท่ี 2 การกำหนดและเลอื กหวั ขอ้ เช่น ประเมนิ ความเป็นไปไดใ้ นการทำโครงงาน และความคุม้ ค่าของการทำโครงงาน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินการเขียนเค้าโครงของโครงงาน ที่ผู้เรียนนำเสนอขอความ เหน็ ชอบ เช่น ความถูกต้อง ความสอดคล้อง และความเหมาะสมของเคา้ โครงของโครงงาน เปน็ ต้น

14 แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเปน็ ฐาน • การประเมนิ ระหวา่ งการทำโครงงาน เปน็ การประเมินในขั้นตอนท่ี 4 คอื ขัน้ ตอนที่ 4 การปฏิบัติงานโครงงาน เชน่ ประเมินความกา้ วหน้า ประเมินสภาพปัญหา ในการดำเนินโครงงานของผเู้ รยี น ประเมินพฤตกิ รรม ทกั ษะ กระบวนการเรยี นรู้ นวัตกรรมท่ีใช้ ใน การเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และกระบวนการแก้ปัญหาในการดำเนินการของโครงงานของผู้เรยี น เปน็ ต้น • การประเมนิ หลงั เสรจ็ สนิ้ การทำโครงงาน เป็นการประเมินในข้ันตอนที่ 5 คอื ขั้นตอนที่ 5 การนำเสนอผลงานเด่น ประเมินข้อค้นพบที่ได้จากการทำโครงงาน ประเมินการนำเสนอผลงาน ประเมินผลงาน ประเมินผลกระทบที่เกิดจากโครงงาน เช่น การจัดทำ รายงาน การเรยี นรูท้ ่ไี ด้เรียนร้ทู ี่เกิดจากการทำโครงงาน เปน็ ตน้ อย่างไรก็ตามการประเมินนี้ เป็นเพียงแนวทางที่ครูผู้สอนสามารถปรับใช้ได้ตามความ เหมาะสมของลักษณะของโครงงานได้ ภาพท่ี ๕ แสดงการประเมินกระบวนการและผลงานของผเู้ รยี น

แนวทางการจดั การเรียนรแู้ บบโครงงานเป็นฐาน 15 รปู แบบกำรจดั กำรเรยี นรู้ แบบโครงงำนเป็ นฐำน แนวทางการจัดการเรยี นรแู ้ บบโครงงานเป็ นฐาน ในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานในระดับอาชีวศึกษานั้น นอกจากการทำโครงงาน ในรายวิชาโครงงาน (Project) และรายวิชาอื่นที่เน้นการทำโครงงานโดยเฉพาะ ทั้งในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสงู (ปวส.) แล้ว การจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL) ยังสามารถจัดอยู่ในรายวิชาต่าง ๆ ได้อีก ทั้งรายวิชาในหมวดทักษะชีวิต และหมวดทกั ษะวชิ าชพี ในทนี่ ีข้ อเสนอแนะแนวทางการจดั ไว้ 2 รปู แบบ ดงั น้ี 1. การจัดการเรยี นรู้แบบโครงงานเป็นฐานท้งั รายวิชา 2. การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเฉพาะบางหนว่ ยการเรียนรู้ในรายวชิ า การจดั การเรยี นรูแ้ บบโครงงานเป็นฐานท้งั รายวิชา การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานทั้งรายวิชา เป็นการออกแบบ วางแผนการจัดการ เรียนรู้ที่กำหนดให้ผู้เรียนนำองค์ความรู้ทั้งหมดของรายวิชาที่ได้เรียนรู้ มาบูรณาการในการทำ โครงงาน โดยครผู ู้สอนสามารถดำเนนิ การได้ ๒ ลักษณะ คือ ลักษณะที่ ๑ ครผู สู้ อนให้ผเู้ รยี นได้เรียนรแู้ ละฝึกปฏิบตั เิ นอื้ หาสาระในหนว่ ยตา่ ง ๆ จนครบ ทุกหนว่ ยการเรียนรู้ในรายวิชาน้ันแล้ว จงึ ใหผ้ เู้ รียนเสนอเค้าโครงเรื่องท่ีสนใจจะทำโครงงานจากสิ่งที่ ได้เรียนรู้ไปแล้วเพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติจริง จากนั้นจึงเริ่มลงมือทำโครงงาน สรุปผลการดำเนินงานและนำเสนอผลงาน การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเปน็ ฐาน (PjBL)ในลกั ษณะ นี้เหมาะกับรายวิชาที่ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะและประสบการณ์จากการเรียนรายวิชาที่เป็นพื้นฐาน มาแลว้ ระดบั หนึ่ง ทั้งนี้ ครูผสู้ อนตอ้ งวางแผนการจดั การเรยี นรู้ให้กระชับเพือ่ ให้เวลาผู้เรียนในการทำ โครงงานให้เพียงพอจนแล้วเสรจ็ สมบูรณ์ ดังตวั อยา่ ง สปั ดาหท์ ี่ ๑-๙ ครผู ู้สอนจัดการเรียนการสอนทกุ หน่วยการเรียนรู้ใหแ้ ลว้ เสร็จ สัปดาหท์ ่ี ๑๐-๑๗ ผ้เู รยี นแตล่ ะกลุม่ นำเสนอเค้าโครงเร่ือง ดำเนนิ งานโครงงาน และสรปุ ผลการดำเนนิ งาน สัปดาห์ที่ ๑๘ ผู้เรยี นแตล่ ะกลมุ่ นำเสนอผลงาน

16 แนวทางการจัดการเรยี นรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ลักษณะที่ ๒ ครูผู้สอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเนื้อหาสาระสำคัญในหน่วยการ เรยี นรตู้ ้น ๆ ของรายวิชาน้ันเพื่อเปน็ การปูพ้ืนฐานความรู้ แล้วจงึ ให้ผเู้ รียนเสนอเค้าโครงเรื่องท่ีสนใจ และลงมือทำโครงงานคู่ขนานไปกับการศึกษาเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้จนแล้วเสร็จ สรุปผล การดำเนินงานและนำเสนอ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL)ในลักษณะนี้ครูผู้สอน จะต้อง วางแผนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนให้สัมพันธส์ อดคล้องกบั ขั้นตอนการทำโครงงานของ ผเู้ รยี น เพื่อใหผ้ เู้ รยี นได้นำความรแู้ ละทกั ษะมาใช้ในการพฒั นาการทำโครงงาน ดังตวั อย่าง สัปดาหท์ ี่ ๑-๖ ครผู ้สู อนจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรยี นรทู้ ่ี ๑-๔ สปั ดาหท์ ี่ ๗-๑๗ สัปดาห์ที่ ๑๘ ครผู ้สู อนจดั การเรยี นการสอนหนว่ ยการเรียนรู้ที่ ๕-๙ ควบคู่ กับ ผ้เู รยี นแต่ละกลมุ่ นำเสนอเคา้ โครงเรือ่ ง ดำเนินงานโครงงาน และสรุปผลการดำเนนิ งาน ผูเ้ รียนแต่ละกล่มุ นำเสนอผลงาน การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานทั้งรายวิชา ตามลักษณะที่ ๑ และลักษณะที่ ๒ ครูผู้สอนอาจกำหนดให้ผู้เรียนใช้เวลาในการจัดทำโครงงานในเวลาเรียนและหรือนอกเวลาเรียนได้ ตามลกั ษณะโครงงานของผู้เรียน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ มีทักษะและประสบการณ์ในการปฏิบัติจริงด้วย ตนเองจากการนำหลักการ แนวคิด ทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ และหรือการปฏิบัตินำสู่หลักการ แนวคิด ทฤษฎี นอกจากครูผู้สอนจะต้องวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างรอบคอบเพื่อให้ ผเู้ รยี นไดเ้ รยี นรู้เนอ้ื หาสาระครบตามหลักสตู รรายวิชากำหนดแลว้ ครผู ู้สอนต้องแบง่ เวลาสำหรับการ ทำโครงงานของผู้เรียนด้วย รวมทั้งต้องวางแผนและกำหนดเวลาในการให้ความรู้ ให้คำแนะนำแก่ ผู้เรียนในการทำโครงงานตามลำดับขั้นตอน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับทราบแนวทาง เตรียมความพร้อม ในการทำโครงงาน ลงมือปฏิบัติงานโครงงาน และสรุปนำเสนอผลการเรียนรู้ให้แล้วเสร็จภายใน ภาคเรียน ทั้งนี้ ครูผู้สอนอาจแจ้งผู้เรียนไวล้ ่วงหน้าตั้งแตช่ ั่วโมงแรกของการเรียนรู้แบบโครงงานเป็น ฐาน (PjBL) เพ่ือผูเ้ รยี นจะได้ใหค้ วามสนใจเป็นพิเศษในเรื่องท่จี ะทำโครงงาน เม่อื มีการเรียนการสอน ในหัวข้อหรือเร่ืองท่เี ป็นสาระสำคัญนนั้ ๆ การให้ความรู้ในการทำโครงงานโดยกำหนดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้นั้น หากจัดการเรียนรู้ ในลักษณะที่ ๑ ครูผู้สอนอาจเริ่มจัดกิจกรรมการทำโครงงานติดต่อกันหลังจากจัดการเรียนการสอน ครบตามเนื้อหาที่กำหนดของรายวิชาแล้ว หากจัดการเรียนรู้ในลักษณะที่ ๒ ผู้สอนอาจจัดดำเนิน กจิ กรรมโครงงานควบคไู่ ปกบั การเรียนร้เู นือ้ หาของรายวชิ า

แนวทางการจัดการเรยี นรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 17 ขั้นตอนการจดั การเรยี นรู้ กิจกรรมการเรยี นรู้ ครั้งที่ 1 แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL) ขั้นนำ ขัน้ ตอนท่ี ๑ การเตรียมความพรอ้ ม ขั้นตอนท่ี ๒ การกำหนดและเลือก 1. ผสู้ อนนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อเตรยี มความพรอ้ มผู้เรียน หัวขอ้ ขน้ั สอน ขั้นตอนท่ี ๓ การเขยี นเคา้ โครงของ 1. ผู้สอนนำเสนอเนอื้ หาเกยี่ วกับโครงงานและการ โครงงาน เลือกหัวขอ้ โครงงาน แล้วให้ผเู้ รยี นพิจารณาเลือก หวั ขอ้ การทำโครงงาน ขน้ั ตอนที่ ๔ การปฏิบตั งิ านโครงงาน 2. ผสู้ อนนำเสนอเนอ้ื หาการเขยี นเค้าโครงของโครงงาน ข้ันตอนที่ ๕ การนำเสนอผลงาน แลว้ ให้ผู้เรียนเขยี นเคา้ โครงของโครงงาน ขั้นตอนที่ ๖ การประเมินโครงงาน ขั้นสรุป ภาพที่ ๖ แสดงแนวทางการจดั ทำ 1. ผู้เรียนนำเสนอเค้าโครงของโครงงาน แผนการจดั การเรียนรแู้ บบ 2. ผสู้ อนและผู้เรียนรว่ มกันสรุปและประเมนิ ผล โครงงานเป็นฐานทั้งรายวิชา กจิ กรรมการเรยี นรู้ ครัง้ ท่ี ๒ ข้นั นำ 1. ผู้สอนนำเข้าสู่บทเรยี น ขน้ั สอน 1. ผูส้ อนนำเสนอเนอ้ื หาการวางแผนการปฏิบตั ิงาน แลว้ ใหผ้ เู้ รยี นรว่ มกนั วางแผนการปฏิบัตงิ าน 2. ผู้สอนนำเสนอเนอื้ หาการเขยี นรายงานโครงงาน แลว้ ใหผ้ เู้ รียนรว่ มกนั วางแผนการเขียนรายงาน ขั้นสรปุ 1. ผู้เรียนนำเสนอแผนการปฏบิ ัติงาน 2. ผสู้ อนมอบหมายใหผ้ ู้เรยี นปฏิบัตงิ านตามท่ีวางแผน เตรียมการจดั ทำรายงานและนำเสนอผลงาน 3. ผู้สอนและผ้เู รียนรว่ มกนั สรุปและประเมินผล กจิ กรรมการเรียนรู้ ครัง้ ที่ ๓ ขน้ั นำ 1. ผสู้ อนนำเข้าสู่บทเรียน ขน้ั สอน 1. ผสู้ อนชแ้ี จงแนวทางการนำเสนอผลงานของผเู้ รียน แต่ละกลุม่ พรอ้ มชแ้ี จงเกี่ยวกบั การวัดประเมินผล 2. ผู้เรยี นแตล่ ะกลมุ่ นำเสนอผลงาน ขั้นสรปุ 1. ผสู้ อนและผู้เรียนร่วมกันสรุปและอภปิ รายผล 2. ผู้สอนประเมินผล

18 แนวทางการจดั การเรยี นรแู้ บบโครงงานเปน็ ฐาน จากภาพท่ี ๖ แสดงแนวทางการจดั ทำแผนการจดั การเรียนรแู้ บบโครงงานเปน็ ฐาน ทั้ง รายวิชา โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้ในการทำโครงงาน 3 ครั้งติดต่อกัน หลังจากจัดการเรียน การ สอนครบตามเนือ้ หาท่กี ำหนดของรายวิชาแลว้ ประกอบด้วย ครัง้ ท่ี 1 เปน็ การจัดกิจกรรมการเรียนรูเ้ พอื่ เตรยี มความพรอ้ มผู้เรยี น ใหผ้ เู้ รียนกำหนดและ เลือกหัวข้อโครงงาน โดยสามารถปฏิบัติงานได้ทั้งเป็นกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ตามความเหมาะสม กับลักษณะของโครงงาน และร่วมกันเขียนเค้าโครงของโครงงานตามรูปแบบที่กำหนด ซึ่งควรจัด ภายหลังจากเสร็จสิ้นการเรียนการสอนครบตามจุดประสงค์ เนื้อหาและกิจกรรมที่กำหนดไว้ใน รายวิชา ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเลือกหัวข้อโครงงานที่ตนสนใจจากหัวข้อหรือเรื่องที่ได้เรียนมา ทง้ั หมดในรายวชิ าตง้ั แตช่ ว่ั โมงแรกของการเรียน ไมจ่ ำกดั เฉพาะในหัวขอ้ หรือเรื่องใดเร่ืองหนึ่งเท่าน้ัน อาจเป็นการบูรณาการความรู้ในหลาย ๆ เรื่องจากที่เรียนมาก็ได้ เป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้เรียน เลอื กหัวขอ้ โครงงานตามศกั ยภาพและความสนใจได้มากขน้ึ ครั้งที่ 2 เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนร่วมกันวางแผนการปฏิบัติงาน จัดทำ ตารางเวลาปฏิบัติงาน และมอบหมายหน้าที่สมาชิกในกลุ่มในการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจรวมถึงวางแผน การเขียนรายงานโครงงานตามรูปแบบที่กำหนดและการนำเสนอผลงานของโครงงานด้วย สำหรับ บางรายวิชาที่มีจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์หลายชั่วโมง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 อาจรวมจดั ในครัง้ เดยี วกนั ได้ตามความเหมาะสม ครั้งที่ 3 เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานตามโครงงาน โดย ทุกกลุ่มที่ทำโครงงานสามารถหมุนเวียนนำเสนอจนครบในคราวเดียวกัน และเปิดโอกาสให้มีการ อภิปรายผลและการแลกเปลีย่ นเรียนรหู้ ลงั จากการนำเสนอ การจัดการเรยี นรู้แบบโครงงานเปน็ ฐานเฉพาะบางหน่วยการเรียนรใู้ นรายวิชา การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเฉพาะบางหน่วยการเรียนรู้ในรายวิชา เป็นการ ออกแบบ วางแผน การจัดการเรียนรูท้ ่ีกำหนดให้ผู้เรยี นไดเ้ รียนรู้และลงมอื ปฏบิ ัตเิ พ่อื สรา้ งองค์ความรู้ และหรือพัฒนาทักษะสำคัญเฉพาะบางหัวข้อหรือบางเรื่องที่สำคัญของรายวชิ า ผ่านการทำโครงงาน ที่สะท้อนให้เห็นว่าผู้เรียนมีความรู้ สมรรถนะ เจตคติและกิจนิสัยเป็นไปตามที่หลักสูตรรายวิชา กำหนด ซ่ึงการทำโครงงานในลักษณะน้ี ครูผ้สู อนสามารถดำเนินการได้ ๒ ลักษณะ คือ ลกั ษณะที่ ๑ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเฉพาะหน่วยการเรียนรู้หน่วยใด หน่วยหนึ่งในรายวิชา โดยครูผู้สอนออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติตาม เนื้อหาสาระของหน่วยการเรียนรูน้ ั้นเพื่อเป็นพื้นฐาน แล้วจึงให้ผู้เรียนนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำ โครงงาน ซึ่งจัดเป็นการนำหลักการ แนวคิด ทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ หรือออกแบบการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อให้เกิดองค์ความรู้และทักษะจากการทำโคร งงาน นั้น ซ่ึงเปน็ การจดั การเรียนรทู้ ใี่ ห้ลงมอื ปฏิบตั ิเพือ่ นำสู่ทฤษฎี

แนวทางการจัดการเรยี นรแู้ บบโครงงานเปน็ ฐาน 19 การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานตามลักษณะที่ ๑ นี้ ครูผู้สอนต้องวางแผนการจัด การเรียนรู้ให้กระชับเพื่อให้เวลาผู้เรียนในการทำโครงงานให้เพียงพอจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ หรืออาจ กำหนดให้เปน็ งานมอบหมายนอกเวลาเรียนกไ็ ด้ ดังตัวอยา่ ง สปั ดาห์ที่ ๑-๙ ครูผสู้ อนจัดการเรยี นการสอนหน่วยการเรียนรู้ท่ี ๑-๕ สัปดาห์ท่ี ๑๐-๑๒ ผเู้ รียนแตล่ ะกล่มุ นำเสนอเคา้ โครงเร่ือง ดำเนินงานโครงงาน และสรุปผลการดำเนนิ งาน สำหรบั หนว่ ยการเรยี นร้ทู ่ี ๖ สปั ดาห์ที่ ๑๓-๑๘ ครูผูส้ อนจดั การเรยี นการสอนหนว่ ยการเรยี นรู้ที่ ๗-๙ ลักษณะของโครงงานที่ครูผู้สอนกำหนดให้ทำเฉพาะหน่วยการเรียนรู้นี้ ควรเป็นโครงงาน ทีใ่ ชเ้ วลาตง้ั แตเ่ ร่มิ ต้นจนสน้ิ สดุ โครงงานไมม่ าก ถ้าเป็นไปได้ควรกำหนดเวลาในการทำโครงงาน ให้ สัมพันธ์กับหน่วยการเรียนรูน้ ั้น เพื่อไม่ให้กระทบต่อการเรียนรู้ในหน่วยต่อไป ดังนัน้ หากผู้เรียน ได้ ผ่านการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานมาก่อนในรายวิชาอื่นหรือภาคเรียนอื่น จะทำให้เข้าใจและ สามารถดำเนินกิจกรรมไปได้อย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่ครูผู้สอนกำหนดไว้ในแผน การจัดการเรยี นรู้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้สอนควรคำนึงถึงในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเฉพาะ หน่วยการเรียนรู้หน่วยใดหน่วยหนึ่งในรายวิชา ตามลักษณะที่ ๑ นี้ ไม่ควรกำหนดให้ผู้เรียนทำ โครงงานทุกหน่วยการเรียนรู้ เนื่องจากเนื้อหาสาระของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ไม่ได้เหมาะสมกบั การจัดกิจกรรมในรปู แบบโครงงาน และทสี่ ำคัญก็คอื จะเป็นการเพมิ่ ภาระงานให้แกผ่ ู้เรียนมากข้ึน รวมทั้งตัวครูผู้สอนเองด้วย ดังนั้นครูผู้สอนต้องพิจารณาและเลือกใช้เทคนิควิธกี ารสอนและการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนรู้ท่ีต้องการให้เกิด ข้ึนกบั ผู้เรียน ลกั ษณะที่ ๒ เป็นการจดั การเรียนรแู้ บบโครงงานเป็นฐานหลายหนว่ ยการเรียนรู้ทีเ่ ก่ยี วขอ้ ง กันในรายวิชา โดยครูผู้สอนออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติตามเนื้อหา สาระของหน่วยการเรียนรู้เหล่านั้นเพื่อเป็นพื้นฐาน แล้วจึงให้ผู้เรียนนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำ โครงงาน ตามกระบวนการนำหลักการ แนวคดิ ทฤษฎไี ปสกู่ ารปฏบิ ัติ หรือออกแบบการจัดการเรยี นรู้ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อให้เกิดองค์ความรู้และทักษะจากการทำโครงงาน ตามหลักการจัดการเรยี นรู้แบบปฏิบัตินำสู่ทฤษฎี หรอื ออกแบบให้ผ้เู รียนได้รับความรู้และฝึกปฏิบัติ ควบคูก่ นั ไปกับการทำโครงงานของผเู้ รียน การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานตามลักษณะที่ ๒ นี้ ครูผู้สอนต้องวางแผนการจัด การเรียนรู้ให้สอดคล้องสัมพันธ์กับเวลาที่ผู้เรียนต้องใช้ในการทำโครงงาน เพื่อให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ ตามท่กี ำหนด หรอื อาจกำหนดให้เป็นงานมอบหมายนอกเวลาเรียนก็ได้ ดงั ตัวอย่าง

20 แนวทางการจัดการเรียนรูแ้ บบโครงงานเป็นฐาน สัปดาหท์ ่ี ๑-๙ ครูผูส้ อนจัดการเรียนการสอนหนว่ ยการเรยี นรู้ที่ ๑-๔ สปั ดาห์ที่ ๑๐-๑๓ ผู้เรยี นแตล่ ะกลุม่ นำเสนอเค้าโครงเรือ่ ง ดำเนินงานโครงงาน และสรุปผลการดำเนนิ งาน สำหรบั หนว่ ยการเรียนรูท้ ี่ ๕-๗ สปั ดาหท์ ี่ ๑๔-๑๘ ครูผสู้ อนจดั การเรียนการสอนหนว่ ยการเรยี นรู้ที่ ๘-๙ ลักษณะของโครงงานที่ครูผู้สอนกำหนดให้ผู้เรียนบูรณาการหรือประยุกต์ใช้ความรู้และ ทักษะจากบางส่วนของรายวิชาหรือจากหลายหน่วยการเรียนรู้มาทำโครงงานนั้น ควรใช้เวลาตั้งแต่ เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงงานสัมพันธ์กบั เวลาท่ีกำหนดในแผนการจัดการเรยี นรู้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการ เรียนรู้ในหน่วยต่อไป ซึ่งครูผู้สอนอาจออกแบบการจัดการเรียนรู้ควบคู่กันไประหว่างการสอนและ การทำโครงงานของผ้เู รียนได้ตามความเหมาะสม การจดั กิจกรรมการเรียนร้แู บบโครงงานเปน็ ฐานตามลักษณะที่ ๒ น้ี ผเู้ รยี นจะมเี วลาในการ ทำโครงงานมากกว่าการจัดกิจกรรมการเรยี นร้แู บบโครงงานเปน็ ฐานตามลกั ษณะที่ ๑ เพราะสามารถ ใช้เวลาของหน่วยการเรยี นรู้หลายหน่วยทีส่ ัมพันธก์ ันมาดำเนนิ งานโครงการ โดยครูผู้สอนจะตอ้ งจดั เวลาในแผนการจัดการเรยี นรเู้ พ่ือใหค้ วามรู้ในการทำโครงงานจำนวน 2-3 ครั้ง ก่อนให้ผู้เรยี นดำเนินงาน โครงงาน แต่หากผู้เรียนมีประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานมาก่อนในรายวิชาอื่นหรือ ภาคเรียนอื่น จะทำให้เข้าใจและสามารถดำเนินกิจกรรมไปได้อย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่ กำหนด โดยครูผู้สอนอาจเพียงแค่ทบทวนขั้นตอนกระบวนการและทำความตกลงร่วมกันกับผู้เรียน เกี่ยวกบั เงอื่ นไขการทำงาน การส่งงานและการวัดประเมินผล ภาพท่ี ๗ แสดงผลงานจากการเรยี นรแู้ บบโครงงานเปน็ ฐาน (ซา้ ย) ผลงานจากการเรียนรู้แบบโครงงานเปน็ ฐานท้งั รายวิชา (ขวา) ผลงานจากการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานบางสว่ นของรายวิชา

แนวทางการจดั การเรยี นร้แู บบโครงงานเปน็ ฐาน 21 ขั้นตอนการจัดการเรยี นรู้ กิจกรรมการเรยี นรู้ คร้ังท่ี 1 แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL) ข้นั นำ ข้นั ตอนท่ี ๑ การเตรยี มความพร้อม ขนั้ ตอนท่ี ๒ การกำหนดและเลอื ก 1. ผสู้ อนนำเข้าสู่บทเรียนเพือ่ เตรียมความพร้อมผูเ้ รยี น หวั ขอ้ ขั้นสอน ขนั้ ตอนท่ี ๓ การเขียนเคา้ โครงของ 1. ผ้สู อนนำเสนอเน้ือตามหนว่ ยการเรยี นรู้ โครงงาน 2. ผสู้ อนนำเสนอเน้ือหาเกย่ี วกบั โครงงานและการ ข้ันตอนที่ ๔ การปฏิบตั งิ านโครงงาน เลอื กหัวข้อโครงงาน แล้วให้ผู้เรยี นคัดเลือกหัวขอ้ การทำโครงงาน ข้นั ตอนที่ ๕ การนำเสนอผลงาน 3. ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาการเขยี นเค้าโครงของโครงงาน ขั้นตอนที่ ๖ การประเมินโครงงาน แล้วใหผ้ ู้เรยี นเขียนเคา้ โครงของโครงงาน ภาพท่ี ๘ แสดงแนวทางการจดั ทำแผนการจดั ข้นั สรปุ การเรยี นร้แู บบโครงงานเป็นฐาน 1. ผ้เู รียนนำเสนอเค้าโครงของโครงงาน เฉพาะบางหนว่ ยการเรยี นรู้ใน 2. ผู้สอนและผ้เู รียนรว่ มกันสรุปและประเมินผล รายวชิ า กจิ กรรมการเรยี นรู้ คร้งั ที่ ๒ ข้นั นำ 1. ผู้สอนนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน 1. ผสู้ อนนำเสนอเนือ้ หาตามหน่วยการเรียนรู้ 2. ผู้สอนนำเสนอเนอ้ื หาการวางแผนการปฏิบัตงิ าน แล้วใหผ้ เู้ รียนรว่ มกันวางแผนการปฏิบตั ิงาน 3. ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาการเขียนรายงานโครงงาน แลว้ ใหผ้ ู้เรยี นร่วมกันวางแผนการเขยี นรายงาน ขน้ั สรุป 1. ผ้เู รียนนำเสนอแผนการปฏิบัติงาน 2. ผู้สอนมอบหมายใหผ้ เู้ รียนปฏิบตั งิ านตามที่วางแผน เตรียมการจัดทำรายงานและนำเสนอผลงาน 3. ผู้สอนและผู้เรียนรว่ มกนั สรปุ และประเมินผล กจิ กรรมการเรียนรู้ ครัง้ ท่ี ๓ ขั้นนำ 1. ผ้สู อนนำเข้าสู่บทเรยี น ขน้ั สอน 1. ผสู้ อนชีแ้ จงแนวทางการนำเสนอผลงานของผู้เรียน แตล่ ะกล่มุ พรอ้ มช้ีแจงเกย่ี วกบั การวัดประเมินผล 2. ผูเ้ รียนแตล่ ะกล่มุ นำเสนอผลงาน ขัน้ สรปุ 1. ผู้สอนและผเู้ รียนร่วมกันสรปุ และอภปิ รายผล 2. ผสู้ อนประเมินผล

22 แนวทางการจัดการเรียนรแู้ บบโครงงานเปน็ ฐาน การจัดทำแผนการจดั การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเฉพาะบางหน่วยการเรียนรู้ของรายวิชา ดังที่แสดงในภาพที่ ๘ ข้างต้น เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำโครงงานจำนวน 2-3 คร้ัง โดยแทรกอยู่หลงั จากการจัดการเรยี นการสอนในเนื้อหาตามหนว่ ยการเรยี นรู้ปกติแล้ว ประกอบด้วย ครงั้ ท่ี 1 เป็นการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้เพ่อื เตรียมความพร้อมผู้เรียน ใหผ้ ูเ้ รียนกำหนดและ เลือกหัวข้อโครงงาน โดยสามารถปฏิบัติงานได้ทั้งเป็นกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ตามความเหมาะสม และร่วมกันเขียนเค้าโครงของโครงงานตามรูปแบบทีก่ ำหนด โดยจัดอยู่ในแผนการจัดการเรียนรู้ที่มี หัวข้อที่ครูผู้สอนเห็นว่าน่าสนใจและเหมาะสมในการกำหนดให้ผู้เรียนทำโครงงาน รูปแบบนี้จะเปน็ การกำหนดขอบเขตหัวข้อโครงการที่แคบกว่าแบบทั้งรายวิชา เป็นการกำหนดหัวขอ้ ที่เฉพาะเจาะจง แต่เน้นความหลากหลายหรือความแตกต่างของประเด็นและวิธีการที่ผู้เรียนแต่ละกลุ่มสนใจที่จะหา คำตอบรว่ มกัน ครั้งที่ 2 เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรูเ้ พื่อให้ผู้เรยี นร่วมกันวางแผนการปฏิบตั ิงาน จัดทำ ตารางเวลาปฏิบัติงาน และมอบหมายหน้าที่สมาชิกในกลุ่มในการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจรวมถึง วางแผนการเขียนรายงานโครงงานตามรูปแบบที่กำหนดและการนำเสนอผลงานของโครงงานด้วย โดยอาจแทรกกิจกรรมการเรียนรู้นี้อยู่ในแผนการจัดการเรียนรู้ปกติในสัปดาห์ ถัดมา สำหรับ รายวิชาที่มีเวลาเรียนต่อสัปดาห์หลายช่ัวโมง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 อาจ รวมจัดในครั้งเดียวกันได้ตามความเหมาะสม โดยผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานนอกเวลาการเรียน การสอนปกติก็ได้ ครั้งที่ 3 เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานตามโครงงาน ดังนนั้ จึงควรมีระยะห่างจากครั้งที่ 2 พอสมควร เพื่อให้ผู้เรียนมีเวลาปฏิบัติงานตามโครงงาน และจัดทำ รายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงงาน รวมทั้งวางแผนและเตรียมพร้อมในการนำเสนอผลงาน โดยสามารถ จัดอยู่ในแผนการจดั การเรียนรู้เฉพาะแยกต่างหากเพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการนำเสนอ อภิปรายผล และแลกเปลย่ี นเรียนรู้หลังการนำเสนอ หรอื อาจแทรกกิจกรรมการเรยี นรู้น้ีในแผนการจัดการเรียนรู้ ปกตใิ นสัปดาหส์ ุดทา้ ยของการเรยี นการสอนกไ็ ด้ ตามความเหมาะสม สำหรับตัวอย่างการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานแบบทั้งรายวิชาและเฉพาะบาง หนว่ ยการเรยี นรู้ในรายวชิ า แสดงไวใ้ นภาคผนวก ขอ้ พิจารณาในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ถึงแม้ว่าการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL)ในระดับอาชีวศึกษาจะสามารถจัด ได้หลายรปู แบบ แต่การที่ครูผู้สอนจะประสบความสำเร็จในการจัดการเรยี นรู้ในรายวิชาที่รับผิดชอบ โดยสามารถทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามจุดประสงค์รายวิชาและ สมรรถนะรายวิชา สถานศึกษาและครูผู้สอนต้องคำนึงถึงข้อพิจารณาที่เกี่ยวข้องเพื่อการตัดสินใจ และดำเนินการ ดังน้ี

แนวทางการจัดการเรียนร้แู บบโครงงานเป็นฐาน 23 ๑. ธรรมชาติของรายวิชามีความเหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน หรือไม่ สามารถพิจารณาได้จากรายละเอียดของรายวิชา ได้แก่ จุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะ รายวชิ าคำอธิบายรายวิชา รวมทัง้ เวลาในการจัดการเรยี นรตู้ อ่ สัปดาห์และต่อภาคเรียน รายวชิ าที่ไม่ เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL) อาจจะสามารถบูรณาการร่วมกับ รายวิชาอื่นทเ่ี หมาะสมกวา่ ได้ นน่ั คอื ไมจ่ ำเป็นตอ้ งจดั การเรยี นรู้แบบโครงงานเปน็ ฐานทุกรายวิชา แต่ผู้เรียนควรได้มีการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL)อย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ โครงงาน โดยควรเป็นโครงงานที่เกดิ จากการบูรณาการความรู้ ทักษะและประสบการณ์จากรายวิชาต่าง ๆ ในภาคเรยี นน้นั และหรือจากภาคเรยี นก่อนหนา้ นำมาประยกุ ตใ์ ชใ้ นการดำเนนิ กิจกรรมโครงงาน ๒. ในรายวิชานั้นควรจะเกิดงาน ผลงาน ชิ้นงานใดจากการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL) ครูผู้สอนสามารถพิจารณาไดจ้ ากงาน ผลงานและหรือช้ินงานนัน้ ว่าสามารถสะท้อนถึงผลการ เรียนรูต้ ามจุดประสงคร์ ายวิชา สมรรถนะรายวชิ าและคำอธิบายรายวชิ าหรือไม่ อยา่ งไร และสามารถ ดำเนินการจัดการเรยี นรู้แบบโครงงานเปน็ ฐาน (PjBL)ไดค้ รบทกุ ขน้ั ตอนภายในเวลาเรียนของรายวิชา หรอื ถ้าจำเป็นก็อาจจัดทำนอกเวลาได้บา้ ง ทงั้ นี้ ครูผู้สอนต้องเข้าใจว่า การเรียนรแู้ บบโครงงานเป็น ฐาน (PjBL)ไม่ใช่การทำแบบฝึกหัด จึงไม่จำเป็นต้องทำทุกหน่วยการเรียนรู้ ไม่จำเป็นต้องทำ หลายงาน หลายผลงานและหรือหลายชิ้นงานในหนึ่งรายวิชา เพราะจะเป็นการเพิ่มภาระงาน ใหก้ ับทั้งผู้เรียนและครผู ู้สอน ๓. ในการกำหนดเวลาสำหรับการจัดการเรยี นรแู้ บบโครงงานเปน็ ฐาน (PjBL)จะต้องใช้เวลา เท่าใดเน่อื งจากการเรยี นรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL)มีข้นั ตอนกระบวนการที่ตอ้ งดำเนินการต้ังแต่ การเตรียมความพร้อม การกำหนดและเลือกหัวข้อ การเขียนเค้าโครงของโครงงาน การปฏิบัติงาน โครงงาน การนำเสนอผลงาน และการประเมนิ โครงงาน ดังน้ัน ครูผู้สอนจะต้องกำหนดเวลาที่ใช้ใน การให้ความรู้ผู้เรียนเกี่ยวกับการกำหนดและเลือกหัวข้อ การเขียนเค้าโครงของโครงงาน การ เขียนสรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งการใช้เวลาใน การเตรียมความพร้อมและการนำเสนอผลงานด้วย แต่หากผู้เรียนมีประสบการณ์ในการเรียนรู้ แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL)มาแล้วในรายวชิ าอื่นหรือภาคเรยี นอ่ืน ครูผู้สอนก็สามารถลดเวลา ในการจัดการเรยี นรู้ในบางขน้ั ตอนลงได้ ๔. การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL)ควรกำหนดให้ผู้เรียนทำเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่ม หากจัดทำเป็นกลุ่มควรมีสมาชิกต่อกลุ่มจำนวนเท่าใด ครูผู้สอนสามารถพิจารณาจาก ลักษณะขนาดของโครงงาน ความยาก-ง่าย และระยะเวลาที่ต้องใช้ในการทำงาน ผลงานและหรือ ช้นิ งาน จนแลว้ เสร็จ ทง้ั นี้ การเลอื กเร่ืองทีจ่ ะทำโครงงานควรเปน็ เรื่องท่ีผู้เรียนมีความสนใจและ ความถนัด ไม่ควรเปน็ โครงงานที่ใหญ่เกนิ ไปหรือมคี วามยุ่งยากซบั ซ้อนมากเกินไป ผู้เรียนควรได้ มีโอกาสคิด วิเคราะห์ ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและ กันโดยการทำงานร่วมกัน ครูผู้สอนควรพิจารณาการเลือกเรื่องหรือหัวข้อของแต่ละกลุ่มให้มี ความหลากหลาย ไมซ่ ้ำซอ้ น เพ่ือใหเ้ กิดประโยชน์ตอ่ การเรยี นรู้มากย่ิงขน้ึ

24 แนวทางการจดั การเรียนรูแ้ บบโครงงานเป็นฐาน ๕. การประเมินผลการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL)ควรดำเนินการเมื่อไร อย่างไร สามารถพิจารณาได้จากขั้นตอนกระบวนการของการทำโครงงานของผู้เรียน ตั้งแต่การเตรียมการ การดำเนนิ งาน จนเกดิ งาน ผลงานและหรือช้ินงาน รวมถึงพฤติกรรมลักษณะนสิ ัยในการทำโครงงาน ด้วย โดยครูผู้สอนควรวางแผนไว้ล่วงหน้า โดยอาจทำความตกลงกับผู้เรียนเกี่ยวกับเงื่อนไข หลักเกณฑ์ วิธีการและเกณฑ์การตัดสินให้คะแนน ทั้งนี้ ครูผู้สอนจะต้องทำการประเมินเป็นระยะ เพื่อเป็นการกระตุ้นและติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของผู้เรียน ทั้งก่อนการทำ โครงงาน (ขนั้ ตอนที่ 1-3) และระหวา่ งการทำโครงงาน (ขัน้ ตอนท่ี 4) สว่ นการประเมินหลงั เสรจ็ สิ้นการทำโครงงาน (ขั้นตอนที่ 5) จะให้ความสำคัญกับข้อค้นพบและผลกระทบจากการทำ โครงงาน ๖. การจะทำให้ผูเ้ รียนเห็นความสำคญั ของการเรยี นรแู้ บบโครงงาน ต้องเริ่มตน้ จากผูบ้ รหิ าร สถานศึกษาเห็นความสำคัญ สนับสนุนส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบ โครงงานเปน็ ฐาน (PjBL) สง่ เสริมให้มีการบรู ณาการการจัดการเรยี นรูใ้ นรายวิชา และระหวา่ งรายวชิ า โดยจัดแผนการเรียนในแต่ละภาคเรียนให้เอื้อต่อการบูรณาการเพื่อให้เกิดงาน ผลงานและหรือ ชิ้นงานอย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ โครงงาน เรียงลำดับจากโครงงานที่ง่ายไปถึงโครงงานที่ยากขึ้น ซับซ้อนขึ้นในแต่ละภาคเรียนตามสาขาวิชาและสาขางานที่เรียน การวางแผนร่วมกันระหว่าง ครูผู้สอนในสาขาวิชาและสาขางาน จะทำให้งาน ผลงานและหรือชิ้นงานที่เกิดจากการเรียนรู้ แบบโครงงานสามารถสะท้อนความสามารถของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ โดยเฉพาะด้านสมรรถนะวชิ าชีพของสาขาวิชาและสาขางาน และสามารถใชเ้ ป็นสว่ นหน่งึ หรือใช้ แทนการประเมินมาตรฐานวิชาชพี เพื่อการสำเร็จการศกึ ษาได้

แนวทางการจัดการเรยี นรแู้ บบโครงงานเปน็ ฐาน 25 เอกสำรอำ้ งองิ แนวทางการจดั การเรยี นรแู ้ บบโครงงานเป็ นฐาน เกษมรสั มิ์ ววิ ิตรกลุ เกษม. 2555. การจดั การเรียนการสอนแบบ Project-Based Learning ใน ระดบั อุดมศึกษา. สถาบนั เทคโนโลยีพระจอมเกลา้ เจา้ คณุ ทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ. ปรชั ญนนั ท์ นลิ สขุ . 2558. การจดั การเรียนรูแ้ บบโครงการเปน็ ฐาน (Project-based Learning).กรุงเทพฯ: MAC Education. ยรรยง สนิ ธ์ุงาม. 2556. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning: PBL). สบื ค้นเมื่อวนั ที่ 20 ธนั วาคม 2556 จาก http://www.vcharkarn.com. วัชรนิ ทร์ โพธิเ์ งนิ , พรจิต ประทมุ สวุ รรณ และสนั ติ หตุ ะมาน. 2556. การจดั การเรยี นการสอนแบบ โครงงานเป็นฐาน. ภาควชิ าครศุ าสตรเ์ ครือ่ งกล คณะครุศาสตร์อตุ สาหกรรม, มหาวิทยาลยั เทคโนโลยพี ระจอมเกลา้ พระนครเหนือ. แหล่งท่มี า: http://www.fte. kmutnb.ac.th/km/project-based%20learning.pdf, 25 มกราคม 2556. สถาบนั วิจัยเพือ่ การพฒั นาประเทศไทย. 2557. ขอ้ เสนอว่าดว้ ยการปฏิรปู ระบบการศกึ ษาไทย. กรงุ เทพฯ: สถาบันวจิ ยั เพอื่ การพัฒนาประเทศไทย. สุชาติ วงศส์ วุ รรณ. 2542. การเรียนรูส้ ำหรบั ศตวรษที่ 21 : การเรยี นรู้ที่ผูเ้ รียนเป็นผ้สู รา้ ง ความร้ดู ้วยตนเอง. กรมวิชาการ, กรงุ เทพฯ. หน่วยศกึ ษานเิ ทศก์. 2556. คู่มือการจดั การเรยี นรู้อาชวี ศึกษาแบบโครงการเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: หนว่ ยศึกษานิเทศก์ สำนกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา. --------------------------------

ภาคผนวก

แนวทางการจดั การเรยี นรูแ้ บบโครงงานเปน็ ฐาน 27 ตัวอยา่ งแผน แผนการจัดการเรยี นรูแ้ บบโครงงานเป็นฐานทั้งรายวิชา หลกั สูตรประกาศนยี บตั รวิชาชีพชน้ั สูง พุทธศกั ราช 2557 หมวดวิชาทักษะชีวิต วิชาคณติ ศาสตรแ์ ละสถติ เิ พอ่ื งานอาชพี

28 แนวทางการจดั การเรยี นรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ลักษณะรายวชิ า 3000-1404 คณิตศาสตรแ์ ละสถติ ิเพ่อื งานอาชีพ 3-0-3 จำนวนหน่วยกิต ๓ หนว่ ยกิต เวลาเรยี นตอ่ ภาคเรียน 54 ชวั่ โมง จดุ ประสงค์รายวิชา เพอ่ื ให้ 1. เกิดความคิดรวบยอดเก่ยี วกับ ตรรกศาสตร์ สถติ พิ ืน้ ฐาน และความนา่ จะเปน็ 2. นำความรูเ้ ร่ืองตรรกศาสตร์ สถิตพิ ้นื ฐาน และความนา่ จะเปน็ ประยุกต์ใชใ้ นงานอาชพี 3. มีเจตคติท่ีดตี อ่ การเรียนร้ทู างคณติ ศาสตร์ สมรรถนะรายวชิ า 1. แสดงเหตผุ ลโดยใช้ตรรกศาสตร์ 2. ดำเนนิ การเกี่ยวกับสถติ พิ น้ื ฐาน 3. ดำเนนิ การเกย่ี วกับความน่าจะเป็น 4. ประยกุ ต์ใช้ตรรกศาสตร์ สถติ ิพ้ืนฐาน และความนา่ จะเปน็ ในงานอาชีพ คำอธบิ ายรายวิชา ศกึ ษาเกย่ี วกบั การฝึกทักษะ การคดิ คำนวณและการแกป้ ัญหาเกย่ี วกบั ตรรกศาสตร์ การวัด แนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจายข้อมูล ค่ามาตรฐาน การประยุกต์ใช้สถิติในงานอาชีพ และ ความนา่ จะเปน็

แนวทางการจัดการเรยี นรูแ้ บบโครงงานเป็นฐาน 29 กำหนดการสอน 3000-1404 คณติ ศาสตร์และสถติ ิเพือ่ งานอาชพี จำนวน 3 หน่วยกติ เวลาเรยี นตอ่ สปั ดาห์ ทฤษฎี 3 ชัว่ โมง ปฏิบัติ - ชัว่ โมง รวมเวลาเรยี นต่อภาคเรยี น 54 ชัว่ โมง ชอื่ หน่วย สปั ดาห์ ชั่วโมง ท่ี ที่ ท่ี การเรยี นรู้ สมรรถนะประจำหน่วย/เกณฑ์ปฏิบตั ิงาน 1-3 1-9 /รายการสอน 4-6 10–18 1 ตรรกศาสตร์ สมรรถนะ 7–9 19–27 - แสดงเหตุผลโดยใชต้ รรกศาสตร์ 10-11 28-33 เกณฑ์ปฏบิ ัตงิ าน 12–14 34-42 - ปัญหาถูกวิเคราะห์และแก้ไขอย่างมีเหตุผลโดยใชห้ ลกั ตรรกศาสตร์ 2 การวดั แนวโน้ม สมรรถนะ เข้าสสู่ ว่ นกลาง - ดำเนินการเกี่ยวกับการวดั แนวโน้มเข้าสสู่ ่วนกลาง เกณฑป์ ฏบิ ัตงิ าน - ข้อมลู ถูกวเิ คราะหเ์ พื่อหาคา่ การวดั แนวโน้มเข้าสูส่ ว่ นกลาง 3 การวัดการ สมรรถนะ กระจายขอ้ มลู - ดำเนินการเก่ยี วกบั การวัดการกระจายข้อมูล เกณฑ์ปฏบิ ตั งิ าน - ขอ้ มูลถกู วเิ คราะห์เพ่ือหาคา่ การวัดการกระจายขอ้ มูล 4 คา่ มาตรฐาน สมรรถนะ - ดำเนินการเก่ียวกบั ค่ามาตรฐาน เกณฑป์ ฏบิ ตั งิ าน - ข้อมลู ถกู วเิ คราะห์เพ่ือหาค่ามาตรฐาน 5 ความน่าจะเป็น สมรรถนะ - ดำเนินการเกี่ยวกับความน่าจะเป็น เกณฑ์ปฏิบัติงาน - ข้อมลู ถูกวเิ คราะห์เพ่อื หาคา่ ความน่าจะเป็น

30 แนวทางการจดั การเรยี นรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ชอ่ื หน่วย สัปดาห์ ช่ัวโมง ที่ ท่ี ท่ี การเรียนรู้ สมรรถนะประจำหน่วย/เกณฑป์ ฏิบตั ิงาน 15-17 43-51 /รายการสอน 6 การประยกุ ตใ์ ช้ สมรรถนะ สถติ ิในงาน - ประยกุ ต์ใช้ตรรกศาสตร์ สถติ ิพ้นื ฐานและความน่าจะเป็น อาชพี ในงานอาชพี (PjBL) เกณฑ์ปฏบิ ัติงาน - หวั ข้อเรือ่ งงานอาชีพที่จะจัดทำโครงงานถกู กำหนดชัดเจน และมีแหลง่ ข้อมูลสนบั สนนุ ท่ีเชอ่ื ถือได้ - โครงงานสำรวจข้อมูลในงานอาชีพถูกออกแบบและวางแผน อย่างถูกต้องชัดเจนในแต่ละขัน้ ตอน รูปแบบการเขยี น ครบถ้วนสมบูรณต์ ามทีก่ ำหนดและสามารถนำไปปฏบิ ัติได้ - เครื่องมือสำรวจรวบรวมข้อมูลในงานอาชพี ถกู ออกแบบ ตามหลกั การและเหมาะสมกบั ลักษณะของขอ้ มลู ที่ต้องการ สำรวจ - ขอ้ มลู ในงานอาชีพถูกสำรวจรวบรวมตามเครอื่ งมือท่ใี ช้ ครบถว้ น ถกู ตอ้ ง เช่ือถือได้ - ข้อมลู ในงานอาชพี ถูกวเิ คราะห์ ตคี วามและสรปุ อยา่ ง ถกู ตอ้ ง เช่อื ถอื ได้ โดยใช้หลักตรรกศาสตร์ สถติ ิพื้นฐาน และความน่าจะเปน็ - รายงานการสำรวจขอ้ มลู ในงานอาชีพถูกจดั ทำตามรปู แบบ ที่กำหนด แล้วเสร็จทันเวลาและเชอ่ื ถือได้ สอบปลายภาค 18 52-54

แนวทางการจดั การเรียนรแู้ บบโครงงานเป็นฐาน 31 แผนการจดั การเรียนรู้ หนว่ ยท่ี 6 วชิ า คณติ ศาสตร์และสถิตเิ พ่ืองานอาชพี สอนครั้งที่ 15-17 ชื่อหนว่ ย การประยกุ ต์ใช้สถิติในงานอาชีพ จำนวน 9 ชั่วโมง ชอ่ื เรอ่ื ง โครงงานสำรวจขอ้ มลู ในงานอาชีพ 1. สาระสำคัญ ข้อมูลสถิติมีความสำคัญและจำเป็นต่อการบริหารงานและพัฒนาประเทศ เป็นเครื่องมือ สำหรับผ้บู ริหารใช้เปน็ แนวทางประกอบการตัดสนิ ใจในการจัดทำแผนงาน กำหนดนโยบายหรอื แก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นประโยชน์ของข้อมูลสามารถจำแนกตามการใช้ ที่สำคัญ ๆ คือ ข้อมูลสถิติที่ใช้ ในการบรหิ าร และขอ้ มลู สถติ ทิ ใี่ ช้ในการพัฒนา นอกจากนีข้ อ้ มูลสถติ ยิ งั เป็นทตี่ ้องการและใช้กนั อย่าง กว้างขวางและแพร่หลายในวงการธุรกิจเอกชน โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่ต้อง อาศัยข้อมูลในการวางแผนด้านต่าง ๆ อย่างรอบคอบ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีโอกาสที่จะประสบ ความสำเร็จ ความก้าวหนา้ ไดม้ ากทีส่ ุด ไมว่ ่าจะเป็นการวางแผนดา้ นการผลิต การตลาด การโฆษณา การกำหนดราคาสินค้าหรือบริการให้เหมาะสมกับกำลังซื้อและสภาวะการแข่งขัน จะต้องอาศัย การศกึ ษาและวิเคราะห์ข้อมลู สถิตติ า่ ง ๆ ทจี่ ำเปน็ และเปน็ ประโยชน์ในการวางแผนและการตดั สินใจ ในด้านต่าง ๆ เพื่อลดอัตราการเสีย่ งที่จะต้องประสบความล้มเหลวในการดำเนนิ การ และเพื่อให้การ แก้ไขปญั หาภาวะวกิ ฤตทางเศรษฐกจิ ได้เป็นผลสำเร็จ 2. สมรรถนะประจำหนว่ ย ประยกุ ต์ใชต้ รรกศาสตร์ สถติ ิพนื้ ฐานและความนา่ จะเปน็ ในงานอาชพี 3. จุดประสงคก์ ารเรียนรู้ 3.1 จดุ ประสงค์ทว่ั ไป เพ่อื ให้ 1) มีความรคู้ วามเขา้ ใจเกีย่ วกบั การประยุกต์ใช้ตรรกศาสตร์ สถติ พิ ้นื ฐานและความ น่าจะเปน็ ในงานอาชีพ ๒) มที กั ษะในประยกุ ตใ์ ช้ตรรกศาสตร์ สถติ พิ นื้ ฐาน และความน่าจะเปน็ ในงานอาชพี ๓) มีกิจนิสัยในการปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบ ละเอียดอบคอบ สามารถทำงาน รว่ มกันโดยใช้หลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง 3.2 จุดประสงค์เชงิ พฤตกิ รรม 1) กำหนดหวั ขอ้ โครงงานสำรวจขอ้ มูลในงานอาชพี ได้ ๒) ออกแบบและวางแผนโครงงานสำรวจขอ้ มูลในงานอาชพี ได้ ๓) เขียนโครงงานสำรวจข้อมูลในงานอาชีพได้ ๔) ออกแบบเครื่องมอื สำรวจรวบรวมขอ้ มลู ในงานอาชพี ได้ ๕) สำรวจรวบรวมข้อมูลในงานอาชพี ได้

32 แนวทางการจัดการเรยี นรแู้ บบโครงงานเปน็ ฐาน ๖) วิเคราะห์ ตีความและสรุปข้อมูลในงานอาชีพที่ได้จากการสำรวจโดยใช้หลัก ตรรกศาสตร์ สถิติพ้ืนฐาน และความนา่ จะเปน็ ได้ ๗) จดั ทำรายงานการสำรวจข้อมลู ในงานอาชพี ได้ ๘) น้อมนำหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี งมาใชใ้ นการปฏบิ ัติงานได้ 4. สาระการเรยี นรู้ 4.1 การเตรียมความพรอ้ ม 1) การทำงานร่วมกบั ผู้อื่น 2) การกำหนดปัญหา ความตอ้ งการ 3) การศกึ ษาดว้ ยตนเอง และการตอ่ ยอดองค์ความรู้ 4) การกำหนดผลสัมฤทธิ์ 5) การจดั กระบวนการคดิ การปฏบิ ตั ิ การทดลอง โดยใชก้ ระบวนการวจิ ยั เปน็ ฐาน 4.2 การกำหนดและเลอื กหวั ข้อ 1) การแบ่งกล่มุ ผู้เรยี นตามความถนดั และความสนใจ 2) การระดมสมองเพอ่ื กำหนดและเลอื กหวั ข้อโครงงาน 4.3 การเขยี นเค้าโครงของโครงงาน 1) การศึกษาขอบเขตโครงงานและแหล่งข้อมูล 2) การวางแผนการดำเนนิ งาน 3) การกำหนดบทบาทหนา้ ที่ ภาระงานของสมาชิกในกลุ่ม 4) การนำเสนอข้อสรุป 5) การเขียนโครงงาน 4.4 การปฏิบตั ิโครงงาน 1) การออกแบบและวางแผนการดำเนินโครงงาน 2) การกำหนด/เลือกวธิ ีการเรียนรู้ 3) กระบวนการแก้ปญั หา 4) การตรวจสอบความก้าวหนา้ 4.5 การประเมินการจดั การเรยี นรูแ้ บบโครงงาน 1) การประเมนิ กอ่ นดำเนินโครงงาน 2) การประเมินระหว่างดำเนนิ โครงงาน 3) การประเมินหลงั เสรจ็ สนิ้ โครงงาน 4.6 การนำเสนอผลงาน 1) การจัดทำรายงานโครงงาน 2) การนำเสนอผลงาน

แนวทางการจดั การเรียนรู้แบบโครงงานเปน็ ฐาน 33 5. กจิ กรรมการเรยี นรู้ สัปดาหท์ ี่ 15 การจัดกิจกรรมการเรยี นรู้โดยใชโ้ ครงงานเปน็ ฐาน (ข้นั ตอนที่ 1–3) ดงั น้ี 1) ครูผู้สอนเตรียมความพรอ้ มผู้เรียนในการจัดทำโครงงาน โดยอธิบายถึงความสำคัญและ ความจำเป็นของขอ้ มลู สถิตใิ นรูปแบบตา่ ง ๆ 2) ครผู ้สู อนแจกใบความรู้ที่ 6.1 การเขยี นโครงงาน พรอ้ มอธบิ ายการเขียนโครงงาน 3) ครผู ู้สอนนำเสนอแนวคดิ การสำรวจขอ้ มูลในงานอาชพี ตา่ ง ๆ พรอ้ มทงั้ แจกใบมอบหมาย งานท่ี 4.1 การทำโครงงานสำรวจในงานอาชพี 4) ครูผู้สอนแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2 คน ให้ศึกษาค้นคว้าความรู้ด้วยตนเองจากแหลง่ เรยี นรตู้ ่าง ๆ โดยใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศ เพอื่ เปน็ ข้อมูลในการกำหนดหัวข้อหรือปัญหาเก่ียวกับงาน อาชีพต่าง ๆ 5) ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมพิจารณาคัดเลือกหัวข้อจากที่กำหนดไว้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อจัดทำโครงงานสำรวจขอ้ มูลในงานอาชีพกล่มุ ละ 1 หวั ข้อ 6) ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำหัวข้อที่คัดเลือกไว้มาเขียนเค้าโครงของโครงงานตามแบบฟอร์ม ท่ีกำหนด 7) ครผู ู้สอนใหค้ ำแนะนำ ช้แี นะและสงั เกตการปฏบิ ตั งิ านของผู้เรียนทกุ กลุม่ อยา่ งใกล้ชิด 8) ผูเ้ รียนแตล่ ะกลมุ่ นำเสนอโครงงานของกลุม่ หน้าชั้นเรียน เพ่อื นในห้องและครูผู้สอนร่วม อภปิ รายซักถาม 9) ครผู ูส้ อนให้ขอ้ เสนอแนะและประเมนิ ผลงานโครงงานของกลุ่ม สปั ดาห์ที่ 16 การจดั กจิ กรรมการเรยี นร้โู ดยใช้โครงงานเปน็ ฐาน (ขั้นตอนท่ี 4) ดังนี้ 1) ครูผู้สอนแจกใบความรู้ที่ 6.2 เรื่องการวิจัยเชิงสำรวจ พร้อมอธิบายระเบียบวิธีวิจัยเชงิ สำรวจ การสรา้ งเคร่อื งมือและการใช้สถิตเิ บ้ืองตน้ 2) ครูผู้สอนแจกใบความรู้ที่ 6.3 เรื่องการเขียนรายงานโครงงาน การออกแบบเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูล และการนำเสนอผลงาน พร้อมอธิบายเพม่ิ เติม 3) ผู้เรียนแต่ละกลุม่ เขียนรายงานโครงงานบทที่ 1–3 และออกแบบเครื่องมือเกบ็ รวบรวม ขอ้ มูล 4) ครใู หค้ ำแนะนำ ช้ีแนะและสังเกตการปฏิบัตงิ านของผู้เรยี นทุกกลุ่มอย่างใกล้ชิด 5) ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอแผนการปฏิบัติงานตามโครงงานสำรวจขอ้ มูลในงานอาชีพ 6) ครผู ้สู อนใหข้ อ้ เสนอแนะเพิม่ เตมิ และประเมินผลงาน 7) ครูผู้สอนนัดหมายผู้เรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติงานตามโครงงาน การประเมินผลโครงงาน พร้อมทง้ั จดั ทำรูปเลม่ รายงานการสำรวจ และนำเสนอในสัปดาห์ท่ี 17

34 แนวทางการจดั การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน สปั ดาห์ที่ 17 การจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้โดยใช้โครงงานเปน็ ฐาน (ขั้นตอนท่ี 5 - 6) ดงั นี้ 1) ครูผสู้ อนชีแ้ จงการนำเสนอผลงานของแตล่ ะกลุ่ม โดยแบ่งเปน็ 2 สว่ น คอื ส่วนของการ ดำเนนิ โครงงาน และสว่ นของการรายงานผลการสำรวจข้อมูลในงานอาชพี 2) ผูเ้ รยี นแต่ละกล่มุ นำเสนอผลงาน 3) ครูผ้สู อนให้ขอ้ เสนอแนะและประเมนิ รายงานการจดั ทำโครงงาน 6. สื่อและแหลง่ การเรียนรู้ 6.1 ใบความรู้ ท่ี 6.1 เรอื่ ง การเขียนโครงงาน 6.2 ใบความรู้ ท่ี 6.2 เร่อื ง การวิจัยเชิงสำรวจ 6.3 ใบความรู้ ท่ี 6.3 เรอื่ ง การเขียนรายงานโครงงาน การออกแบบเครื่องมือเกบ็ รวบรวม ขอ้ มลู และการนำเสนอผลงาน 6.4 ใบมอบหมายงานท่ี ๖.1 เรือ่ ง โครงงานสำรวจข้อมูลในงานอาชีพ ๖.๕ ขอ้ มูลงานอาชีพจากเครือขา่ ยอินเทอรเ์ นต็ และสถานประกอบการ ๖.๖ แบบประเมินการปฏบิ ตั งิ านและแบบสงั เกตการปฏิบตั ิงาน พรอ้ มเกณฑ์การประเมิน 7. หลักฐานการเรยี นรู้ 7.1 หลักฐานความรู้ 1) กระบวนการดำเนนิ งานสำรวจข้อมลู ในงานอาชพี ๒) การวิเคราะห์ ตีความและสรุปผลข้อมูลโดยใช้หลักตรรกศาสตร์ สถิติขั้นพื้นฐาน และความนา่ จะเป็น 7.2 หลักฐานการปฏิบตั งิ าน 1) แบบสงั เกตพฤติกรรมลกั ษณะนสิ ยั ในการปฏบิ ตั ิงาน 2) แบบประเมนิ ผลงานและการนำเสนอผลงาน ๓) โครงงานสำรวจข้อมูลในงานอาชีพ ๔) เคร่ืองมือเก็บรวบรวมข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูล ๕) รายงานโครงงานสำรวจข้อมลู ในงานอาชพี 8. การวดั และประเมินผล สมรรถนะประจำหนว่ ย/ จดุ ประสงค์ วิธกี ารวัด เครอ่ื งมือ ผูป้ ระเมนิ เกณฑ์ปฏิบัติงาน เชงิ พฤตกิ รรม ครผู ้สู อน สมรรถนะ 1.กำหนดหัวขอ้ โครงงาน 1. สังเกตการปฏบิ ัติ 1. แบบสังเกต ครูผสู้ อน - ประยกุ ตใ์ ชต้ รรกศาสตร์ สำรวจขอ้ มูลในงานอาชพี งานกลุม่ ผเู้ รียน สถิตพิ ื้นฐาน และความ ได้ 2. ประเมนิ ชือ่ ๒. แบบประเมนิ นา่ จะเป็นในงานอาชพี หวั ข้อโครงงาน

แนวทางการจัดการเรยี นร้แู บบโครงงานเปน็ ฐาน 35 สมรรถนะประจำหนว่ ย/ จดุ ประสงค์ วธิ กี ารวดั เครอ่ื งมือ ผ้ปู ระเมนิ เกณฑ์ปฏิบตั งิ าน เชิงพฤตกิ รรม เกณฑป์ ฏบิ ตั ิงาน 2.ออกแบบและวางแผน 1. สังเกตการปฏิบัติ 1. แบบสงั เกต ครูผสู้ อน - หัวขอ้ เรอื่ งงานอาชพี ที่ โครงงานสำรวจข้อมูล งานกล่มุ จะจดั ทำโครงงานถูก ในงานอาชีพได้ 2. ประเมนิ เค้าโครง 2. แบบประเมิน ครูผสู้ อน กำหนดชัดเจนและมี ของโครงงาน แบบมาตราส่วน ผู้เรียน แหล่งข้อมูลสนับสนนุ ประมาณคา่ ท่เี ช่ือถือได้ 3.เขียนโครงงานสำรวจ 1.สงั เกตการปฏบิ ัติ 1. แบบสังเกต ครูผู้สอน - โครงงานสำรวจข้อมูลใน ขอ้ มูลในงานอาชีพได้ งานกลุม่ งานอาชพี ถกู ออกแบบ 2.ประเมินโครงงาน 2. แบบประเมิน ครูผสู้ อน และวางแผนอย่าง สำรวจในงาน แบบมาตราส่วน ผเู้ รียน ถูกต้องชดั เจนในแต่ละ อาชีพ ประมาณค่า ขนั้ ตอน รปู แบบการ 4.ออกแบบเครอื่ งมอื สำรวจ 1.สังเกตการปฏบิ ตั ิ 1. แบบสังเกต ครูผู้สอน เขียนครบถว้ นสมบรู ณ์ รวบรวมข้อมูลในงาน ตามทกี่ ำหนดและ งานกลุ่ม สามารถนำไปปฏบิ ัตไิ ด้ อาชีพได้ 2.ประเมนิ เครือ่ งมอื 2. แบบประเมิน ครูผู้สอน สำรวจรวบรวม แบบมาตราสว่ น - เคร่ืองมอื สำรวจ ข้อมลู ในงานอาชีพ ประมาณค่า รวบรวมขอ้ มูลในงาน 5.สำรวจรวบรวมข้อมูล 1.สงั เกตการปฏบิ ัติ 1. แบบสังเกต ครูผู้สอน อาชีพถูกออกแบบตาม ผู้เรียน หลักการและเหมาะสม ในงานอาชีพได้ งานกลุ่ม ครูผสู้ อน กับลกั ษณะของขอ้ มูลที่ 2.ประเมนิ ข้อมูลใน 2. แบบประเมิน ครูผสู้ อน ต้องการสำรวจ ผ้เู รียน งานอาชพี ทีไ่ ดจ้ าก แบบมาตราสว่ น ครูผสู้ อน - ขอ้ มลู ในงานอาชีพถูก การสำรวจ ประมาณค่า ครูผสู้ อน สำรวจรวบรวมตาม ผู้เรียน เครอ่ื งมอื ท่ใี ช้ ครบถว้ น 6.วิเคราะห์ ตีความและ 1.สังเกตการปฏิบัติ 1. แบบสงั เกต ครูผสู้ อน ถกู ตอ้ ง เช่ือถือได้ สรุปข้อมูลในงานอาชพี งานกลมุ่ - ข้อมูลในงานอาชพี ถูก ท่ีไดจ้ ากการสำรวจโดยใช้ 2.ประเมินผลการ 2. แบบประเมิน หลกั ตรรกศาสตร์ สถิติ วเิ คราะห์ ตคี วามและ พนื้ ฐาน และความนา่ - วเิ คราะห์ ตีความ แบบมาตราส่วน สรปุ อยา่ งถกู ต้อง และสรปุ ข้อมลู ใน ประมาณค่า จะเป็นได้ เชอ่ื ถือได้ โดยใช้หลกั งานอาชีพที่ไดจ้ าก ตรรกศาสตร์ สถิติ การสำรวจ พื้นฐาน และความ นา่ จะเปน็ 7.จัดทำรายงานการสำรวจ 1.สงั เกตการปฏิบตั ิ 1. แบบสงั เกต - รายงานการสำรวจ ขอ้ มูลในงานอาชีพได้ งานกลมุ่ ขอ้ มูลในงานอาชีพถูก 2.ประเมินรายงาน 2. แบบประเมนิ การสำรวจข้อมลู แบบมาตราสว่ น ในงานอาชีพ ประมาณคา่ จดั ทำตามรูปแบบที่ กำหนด แล้วเสร็จ ทนั เวลาและเชื่อถอื ได้

36 แนวทางการจดั การเรียนรูแ้ บบโครงงานเปน็ ฐาน สมรรถนะประจำหน่วย/ จุดประสงค์ วธิ ีการวดั เครอื่ งมือ ผปู้ ระเมนิ เกณฑป์ ฏบิ ตั งิ าน เชิงพฤติกรรม ครูผูส้ อน ผู้เรียน 8. น้อมนำหลักปรัชญาของ 1.สังเกตการปฏบิ ัติ 1. แบบสังเกต ครูผูส้ อน เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ งานกลมุ่ ในการปฏิบัติงาน 2.ประเมินผลการ 2. แบบตรวจสอบ ดำเนินงาน รายการ 9. เอกสารอา้ งองิ ๙.๑ กัลยา วานชิ ยบ์ ัญชา. (2544). หลักสถิติ. กรงุ เทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั . ๙.๒ ยุทธ ไกยวรรณ.์ (2545). พื้นฐานการวจิ ยั . กรงุ เทพฯ: สุวรี อยาสาส์น. ๙.๓ อุทมุ พร จามรมาน. (2537). การทำวจิ ยั เชงิ สำรวจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลยั .

แนวทางการจัดการเรยี นรู้แบบโครงงานเปน็ ฐาน 37 ใบมอบหมายงาน ที่ ๖.๑ หนว่ ยที่ 6 วิชา คณิตศาสตร์และสถิติเพ่ืองานอาชพี สอนครง้ั ท่ี 15-17 ชื่อหน่วย การประยกุ ต์ใช้สถิติในงานอาชีพ จำนวน 9 ชั่วโมง ช่อื เรื่อง โครงงานสำรวจข้อมลู ในงานอาชีพ จำนวน 9 ชว่ั โมง จดุ ประสงค์การมอบหมายงาน เพือ่ ให้ 1. กำหนดหัวขอ้ โครงงานสำรวจขอ้ มูลในงานอาชพี ได้ ๒. ออกแบบและวางแผนโครงงานสำรวจข้อมลู ในงานอาชีพได้ ๓. เขียนโครงงานสำรวจขอ้ มูลในงานอาชีพได้ ๔. ออกแบบเครือ่ งมือสำรวจรวบรวมข้อมูลในงานอาชีพได้ ๕. สำรวจรวบรวมข้อมูลในงานอาชพี ได้ ๖. วเิ คราะห์ ตคี วามและสรปุ ขอ้ มลู ในงานอาชพี ทีไ่ ดจ้ ากการสำรวจโดยใช้หลักตรรกศาสตร์ สถติ พิ ้ืนฐาน และความนา่ จะเปน็ ได้ ๗. จัดทำรายงานการสำรวจข้อมูลในงานอาชพี ได้ ๘. น้อมนำหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งมาใชใ้ นการปฏบิ ัตงิ านได้ แนวทางการปฏิบตั งิ าน สัปดาหท์ ี่ 15 1. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้ด้วยตนเองจากข้อมูล แหล่งเรียนรู้/ค้นคว้า ตัวอย่าง งานวจิ ัยเชงิ สำรวจในอาชพี จรงิ 2. สมาชิกกลุ่มแต่ละคนเสนอปัญหาหรือความคิดในการทำโครงงานสำรวจข้อมูลในงาน อาชีพ อย่างน้อยคนละ 2 เรื่อง แล้วใช้กระบวนการกลุ่มในการคัดเลือกปัญหาหรอื เร่อื ง ท่สี นใจเพยี งเร่ืองเดียวสำหรบั กำหนดเปน็ หวั ขอ้ โครงงาน 3. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยประเด็นที่นำเสนอประกอบด้วยปัญหา หรือหัวข้อทั้งหมดที่สมาชิกเสนอ และหัวข้อที่กลุ่มเลือกสำหรับทำโครงงาน พร้อม เหตุผลประกอบ เวลาในการนำเสนอกลุม่ ละ ๓ นาที 4. แต่ละกลุ่มนำหัวข้อที่เลือกมาเขียนเค้าโครงของโครงงานตามแบบฟอร์มที่กำหนดให้ เสร็จในเวลา ๓๐ นาที แลว้ สง่ ตวั แทนนำเสนอหนา้ ชัน้ เรยี นกล่มุ ละ ๕ นาที สปั ดาหท์ ี่ 16 5. ผูเ้ รยี นแตล่ ะกลุ่มจดั ทำแผนการปฏิบตั งิ านตามโครงงาน และการประเมนิ ผลโครงงาน ของกลุ่มจนเสรจ็ 6. ผูเ้ รยี นแต่ละกลุม่ เขียนรายงานโครงงาน บทที่ 1–3 7. ผเู้ รียนแตล่ ะกลุม่ ออกแบบเครอื่ งมอื เกบ็ รวบรวมข้อมูล

38 แนวทางการจัดการเรยี นรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 8. ผู้เรียนแต่ละกล่มุ นำเสนอเครื่องมือเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู หนา้ ชน้ั เรยี น 9. ผเู้ รียนแตล่ ะกลมุ่ เก็บรวบรวมขอ้ มลู และจัดทำรายงานโครงงานนอกเวลาเรยี น สัปดาห์ที่ 17 10. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานโครงงาน โดยจัดทำเล่มรายงานโครงงาน และ นำเสนอด้วยโปรแกรมนำเสนอ (Power Point) แหลง่ ค้นคว้า ๑. http://tdc.thailis.or.th/tdc/ ๒. http://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/ ๓. http://arit.rmutr.ac.th/?page_id=211 คำถาม/ปัญหา ๑. ผเู้ รียนใช้หลกั ตรรกศาสตรใ์ นการทำโครงงานในขั้นตอนใดบา้ ง ๒. ผเู้ รียนใช้สถิตพิ ื้นฐานอะไรบา้ งในการทำโครงงานสำรวจขอ้ มลู ในงานอาชีพ ๓. ผูเ้ รียนได้น้อมนำหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการปฏบิ ัติงานอยา่ งไรบา้ ง กำหนดเวลาส่งงาน ส่งงานสปั ดาหท์ ี่ 17 ดังน้ี 1. นำเสนอผลงานโครงงานด้วยโปรแกรมนำเสนอ (Power Point) 2. จัดทำเล่มรายงานโครงงาน กลมุ่ ละ 1 เลม่ การประเมินผล 1. สังเกตการปฏิบตั ิงาน 2. ประเมินหวั ข้อ การออกแบบและวางแผนเค้าโครงของโครงงานและการเขียนโครงงาน ๓. ประเมินเครอ่ื งมอื รวบรวมข้อมูล ๔. ประเมินความก้าวหน้าโครงงาน ๕. ประเมินผลการปฏิบัตงิ านสำรวจรวบรวมข้อมูล วเิ คราะห์ ตคี วามและสรปุ ๖. ประเมินผลรายงานโครงงาน เอกสารอ้างอิง ๑. กัลยา วานชิ ยบ์ ัญชา. (2544). หลกั สถิติ. กรงุ เทพฯ: จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั . ๒. ยทุ ธ ไกยวรรณ.์ (2545). พนื้ ฐานการวิจัย. กรงุ เทพฯ: สวุ รี อยาสาสน์ . ๓. อุทุมพร จามรมาน. (2537). การทำวิจยั เชงิ สำรวจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลยั .

แนวทางการจดั การเรยี นรแู้ บบโครงงานเปน็ ฐาน 39 แบบสังเกตการปฏิบตั งิ าน หนว่ ยท่ี 6 วิชา คณิตศาสตรแ์ ละสถติ ิเพื่องานอาชพี สอนครั้งที่ 15-17 ชื่อหนว่ ย การประยกุ ต์ใชส้ ถติ ใิ นงานอาชีพ จำนวน 9 ชว่ั โมง ชือ่ เรอื่ ง โครงงานสำรวจข้อมูลในงานอาชีพ จำนวน 9 ชั่วโมง วันที่ ............ เดือน ............................... พ.ศ. ............... เวลา .................. น. ถึง เวลา ................ น. ชื่อ–นามสกลุ ................................................. กลุ่ม .................. ช้ัน ............... แผนก ........................ ข้อท่ี รายการประเมนิ /หัวขอ้ ประเมนิ ระดบั คะแนน 54321 1 การเตรียมความพรอ้ ม 2 การกำหนดและคดั เลือกหัวข้อ 3 การเขียนเคา้ โครงของโครงงาน 4 การวางแผนการปฏบิ ัติงาน 5 ความก้าวหน้าของโครงงาน 6 การประเมนิ โครงงาน 7 การจดั ทำรายงานโครงงาน 8 การนำเสนอผลงาน รวม รวมท้งั หมด (.............................................................) ผู้ประเมนิ หมายเหตุ แบบสงั เกตการปฏบิ ตั ิงานนสี้ ามารถใช้เป็นแบบตรวจผลงานได้ โดยตัดรายการที่ 1 และ 8 ออก

40 แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เกณฑก์ ารตัดสินการประเมนิ รายการประเมิน หัวข้อประเมนิ เกณฑก์ ารให้คะแนน 1. การเตรยี ม 5 = ปฏบิ ตั ไิ ด้ 5 รายการ 1. มีการเตรียมอปุ กรณส์ ืบค้นขอ้ มูล 4 = ปฏิบตั ไิ ด้ 4 รายการ ความพร้อม 2. มกี ารกำหนดขอ้ มลู ท่จี ะคน้ หา 3 = ปฏบิ ตั ไิ ด้ 3 รายการ 3. มกี ารเตรียมแหลง่ ขอ้ มลู สารสนเทศ 2 = ปฏบิ ัตไิ ด้ 2 รายการ 2. การกำหนดและ 1 = ปฏบิ ัตไิ ด้ 1 รายการ คัดเลือกหัวขอ้ ที่จะคน้ หา 4. มกี ารวางแผนการสืบค้นข้อมลู 5 = ปฏบิ ัตไิ ด้ 5 รายการ 3. การเขยี น 5. มีการแบ่งหน้าที่ในกลุ่มเพื่อสบื คน้ เคา้ โครงของ 4 = ปฏบิ ตั ไิ ด้ 4 รายการ โครงงาน 1. มีการกำหนดปญั หาหรือเรอ่ื งท่จี ะทำ โครงงานตามเกณฑ์ท่กี ำหนด 3 = ปฏบิ ัตไิ ด้ 3 รายการ 4. การวางแผน การปฏิบัตงิ าน 2. ในกล่มุ มกี ารบันทกึ ปญั หาหรอื เรอ่ื ง 2 = ปฏบิ ตั ไิ ด้ 2 รายการ ทก่ี ำหนดทงั้ หมด 1 = ปฏิบตั ไิ ด้ 1 รายการ 3. มกี ารวพิ ากษป์ ญั หาหรอื เรอ่ื งทกุ เร่ือง 5 = ปฏิบตั ไิ ด้ 5 รายการ 4. ใชก้ ระบวนการกล่มุ เพอื่ คดั เลอื ก 4 = ปฏบิ ัตไิ ด้ 4 รายการ 3 = ปฏบิ ตั ไิ ด้ 3 รายการ หัวขอ้ 2 = ปฏิบัตไิ ด้ 2 รายการ 5. ไดห้ ัวข้อเหมาะสมกบั การทำโครงงาน 1 = ปฏิบัตไิ ด้ 1 รายการ 5 = ปฏบิ ตั ริ ายการที่ 1, 2, 3, 4 1. รว่ มกนั เขียนเคา้ โครงของโครงงาน 2. หลกั การและเหตผุ ลเหมาะสม และ 5 ได้ 3. วตั ถปุ ระสงค์เหมาะสมกับโครงงาน 4 = ปฏิบัตริ ายการท่ี 1, 2, 3 และ 4. เปน็ โครงงานทม่ี คี วามคดิ สรา้ งสรรค์ 5. โครงงานมอี งค์ประกอบครบถ้วน 4 ได้ 1. มกี ารวางแผนปฏิบัตงิ านโครงงาน 3 = ปฏบิ ตั ริ ายการที่ 1, 2 และ 3 ได้ 2. สมาชกิ ทุกคนร่วมวางแผนปฏิบัติงาน 3. แผนปฏิบตั งิ านมีระยะเวลาเหมาะสม 2 = ปฏิบตั ิรายการท่ี 1 และ 2 ได้ 4. แผนปฏบิ ตั งิ านสามารถปฏบิ ตั ิได้จรงิ 5. แผนปฏบิ ัตงิ านสอดคล้องกับ โครงงาน 1 = ปฏบิ ัตริ ายการที่ 1 ได้

แนวทางการจดั การเรียนรแู้ บบโครงงานเปน็ ฐาน 41 รายการประเมนิ หัวขอ้ ประเมนิ เกณฑ์การให้คะแนน 5. ความกา้ วหนา้ 1. มีการรายงานความก้าวหน้าของ 5 = ปฏบิ ัตไิ ด้ 5 รายการ ของโครงงาน โครงงาน 4 = ปฏิบตั ไิ ด้ 4 รายการ 3 = ปฏิบตั ไิ ด้ 3 รายการ 6. การประเมิน 2. มีการรายงานเค้าโครงของโครงงาน 2 = ปฏิบตั ไิ ด้ 2 รายการ โครงงาน 3. มกี ารรายงานวางแผนการปฏิบัติงาน 1 = ปฏิบัตไิ ด้ 1 รายการ 4. มีการรายงานความก้าวหนา้ ของ 7. การจดั ทำ รายงานผล โครงงาน โครงงาน 5. มีการรายงานผลสำเร็จของโครงงาน 8. การนำเสนอ 1. มกี ารวางแผนการประเมนิ โครงงาน 5 = ปฏิบตั ริ ายการที่ 1, 2, 3, 4 ผลงาน 2. มีการประเมินหลงั เสร็จสน้ิ โครงงาน และ 5 ได้ 3. มกี ารประเมนิ ระหว่างดำเนิน 4 = ปฏบิ ัตริ ายการที่ 1, 2, 3 และ โครงงาน 4 ได้ 4. มีการประเมินกอ่ นการดำเนิน 3 = ปฏิบัตริ ายการที่ 1, 2 และ 3 ได้ โครงงาน 5. การประเมินสอดคลอ้ งกบั โครงงาน 2 = ปฏิบัตริ ายการที่ 1 และ 2 ได้ 1 = ปฏบิ ัตริ ายการท่ี 1 ได้ 1. มีการจัดทำรายงานโครงงาน 5 = ปฏบิ ัติรายการท่ี 1, 2, 3, 4 2. รายงานผลตามวัตถุประสงค์โครงงาน และ 5 ได้ 3. รายงานตามทป่ี ระเมินโครงงานไว้ 4 = ปฏบิ ตั ริ ายการท่ี 1, 2, 3 และ 4. รายงานโครงงานถูกต้องตามรูปแบบ 4 ได้ ทก่ี ำหนด 5. รายงานโครงงานมกี ารเช่อื มโยงแตล่ ะ 3 = ปฏบิ ัตริ ายการที่ 1, 2 และ 3 ได้ หวั ขอ้ ชัดเจน 2 = ปฏบิ ตั ริ ายการที่ 1 และ 2 ได้ 1 = ปฏบิ ตั ริ ายการที่ 1 ได้ 1. มกี ารมอบหมายงานทกุ คนนำเสนอ 5 = ปฏิบตั ไิ ด้ 5 รายการ 2. มีสไลด์ (PPT) ประกอบการนำเสนอ 4 = ปฏิบตั ไิ ด้ 4 รายการ 3. รปู แบบการนำเสนอนา่ ใจ 3 = ปฏิบัตไิ ด้ 3 รายการ 4. นำเสนอชัดเจนสอดคล้องกบั 2 = ปฏบิ ัตไิ ด้ 2 รายการ โครงงาน 5. ใชค้ ำพูดในการนำเสนอชดั เจน 1 = ปฏบิ ตั ไิ ด้ 1 รายการ

42 แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเปน็ ฐาน ตวั อย่างแผน แผนการจดั การเรียนร้แู บบโครงงาน เฉพาะบางหน่วยการเรยี นรู้ในรายวชิ า หลักสูตรประกาศนียบัตรวชิ าชีพ พทุ ธศักราช 255๖ หมวดวิชาทกั ษะวิชาชีพ วิชาคอมพวิ เตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชพี

แนวทางการจัดการเรยี นรูแ้ บบโครงงานเปน็ ฐาน 43 ลักษณะรายวชิ า ๒00๑-๒๐๐๑ คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพอ่ื งานอาชีพ ๑-๒-๒ จำนวนหนว่ ยกติ ๒ หนว่ ยกิต เวลาเรยี นต่อภาคเรียน 54 ชัว่ โมง จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้ 1. เข้าใจหลักการและกระบวนการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องาน อาชีพ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป การใช้อินเทอร์เน็ตและการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ ในงานอาชพี 2. สามารถสบื ค้นและส่ือสารข้อมูลโดยใชอ้ ินเทอร์เน็ต ใชร้ ะบบปฏบิ ตั ิการคอมพิวเตอรแ์ ละ โปรแกรมสำเร็จรปู ตามลกั ษณะงานอาชพี 3. มีคณุ ธรรม จริยธรรมและความรบั ผดิ ชอบในการใช้คอมพิวเตอร์กบั ระบบสารสนเทศ สมรรถนะรายวชิ า 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการและกระบวนการใช้คอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศ ระบบ ปฏบิ ัตกิ าร โปรแกรมสำเร็จรปู และอินเทอร์เน็ตเพือ่ งานอาชีพ 2. ใช้ระบบปฏิบัติการในการจัดสภาพแวดล้อมและจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ บนเครื่อง คอมพวิ เตอร์ 3. ใชโ้ ปรแกรมสำเร็จรูปในงานอาชีพตามลักษณะงาน 4. สืบคน้ ขอ้ มูลสารสนเทศในงานอาชพี โดยใช้อนิ เทอร์เนต็ 5. สือ่ สารขอ้ มูลสารสนเทศโดยใชอ้ ินเทอร์เน็ต คำอธบิ ายรายวิชา ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศเพื่องานอาชีพ การใช้ ระบบปฏิบตั กิ าร (Windows, Mac, Open source OS, ฯลฯ ) การใช้โปรแกรมประมวลผลคำเพื่อ จัดทำเอกสารในงานอาชีพ การใช้โปรแกรมตารางทำการเพื่อการคำนวณในงานอาชีพ การใช้ โปรแกรมการนำเสนอผลงาน หรือการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามลักษณะงานอาชีพ การใช้ อินเทอร์เน็ตสืบค้นข้อมูลเพื่องานอาชีพและการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ ผลกระทบของการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ จรยิ ธรรมและความรบั ผิดชอบในการใช้คอมพวิ เตอร์กับระบบสารสนเทศและ งานอาชีพ

44 แนวทางการจัดการเรียนร้แู บบโครงงานเป็นฐาน กำหนดการสอน ๒00๑-๒๐๐๑ คอมพิวเตอร์และสารสนเทศงานอาชีพ จำนวน ๒ หน่วยกติ เวลาเรียนตอ่ สปั ดาห์ ทฤษฎี ๑ ชั่วโมง ปฏบิ ตั ิ ๒ ชว่ั โมง รวมเวลาเรียนตอ่ ภาคเรียน 54 ชัว่ โมง ชอ่ื หน่วย สัปดาห์ ชวั่ โมง ที่ ท่ี ท่ี การเรียนรู้ สมรรถนะประจำหน่วย/เกณฑป์ ฏิบัติงาน 1 1-3 /รายการสอน 2 4-6 1 ระบบ สมรรถนะ 3 7-9 คอมพิวเตอร์ - แสดงความรเู้ กีย่ วกับหลกั การและกระบวนการใช้ 4-6 10-18 คอมพิวเตอร์ - ประกอบตดิ ตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ตามคมู่ อื เกณฑป์ ฏบิ ตั งิ าน - อปุ กรณ์คอมพิวเตอรแ์ ละอุปกรณต์ อ่ พว่ งถูกตดิ ตัง้ ถูกตอ้ ง สมบรู ณ์ พร้อมใชง้ าน 2 ระบบปฏิบตั กิ าร สมรรถนะ - แสดงความรเู้ กี่ยวกับหลักการและกระบวนการติดตงั้ และ ใชร้ ะบบปฏบิ ัตกิ าร - ตดิ ตง้ั ระบบปฏบิ ตั กิ ารคอมพวิ เตอรแ์ ละโปรแกรมยูทิลติ ้ี ตามคมู่ ือ เกณฑป์ ฏิบตั งิ าน - ระบบปฏบิ ัติการคอมพวิ เตอรแ์ ละโปรแกรมยูทลิ ติ ้ถี กู ติดตั้ง ในคอมพิวเตอร์อยา่ งถูกตอ้ ง สมบรู ณ์ ใช้งานได้ 3 ระบบสารสนเทศ สมรรถนะ ในงานอาชีพ - แสดงความรู้เกีย่ วกับระบบสารสนเทศ - ประยกุ ตใ์ ชร้ ะบบสารสนเทศในงานอาชีพ เกณฑป์ ฏิบัตงิ าน - ระบบสารสนเทศในงานอาชีพถกู นำมาประยุกต์ใชต้ าม หลกั การ กระบวนการและลกั ษณะอาชพี โดยคำนงึ ถงึ ผลกระทบของการใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศ จรยิ ธรรมและ ความรับผิดชอบ 4 การใช้ สมรรถนะ โปรแกรม - แสดงความรู้เกี่ยวกบั หลกั การและเทคนิควธิ กี ารใช้ ประมวลผลคำ โปรแกรมประมวลผลคำ ในงานอาชพี - ผลติ เอกสารในงานอาชีพโดยใชโ้ ปรแกรมประมวลผลคำ (Ms-Word)

แนวทางการจัดการเรียนรแู้ บบโครงงานเป็นฐาน 45 ชอื่ หนว่ ย สมรรถนะประจำหนว่ ย/เกณฑป์ ฏบิ ัตงิ าน สัปดาห์ ชั่วโมง ท่ี การเรียนรู้ ท่ี ที่ /รายการสอน 19-27 เกณฑ์ปฏบิ ัตงิ าน 28-3๖ 37-4๕ - หวั ข้อเร่ืองเอกสารงานอาชีพทจ่ี ะจดั ทำโครงงานถกู กำหนด ชัดเจนและมีแหลง่ ข้อมูลสนับสนนุ ท่เี ช่ือถอื ได้ - โครงงานจัดทำเอกสารในงานอาชีพถูกออกแบบและวางแผน อย่างถกู ตอ้ ง ชัดเจนในแตล่ ะข้ันตอน รูปแบบการเขียน ครบถว้ นสมบูรณต์ ามท่กี ำหนดและสามารถนำไปปฏิบตั ิได้ - จดั ทำเอกสารในงานอาชพี โดยใช้โปรแกรมประมวลผลคำ และยดึ หลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัตงิ าน - เอกสารในงานอาชพี ถูกผลิตด้วยโปรแกรมประมวลผลคำ อยา่ งถูกตอ้ ง สวยงามและมคี วามคดิ ริเริ่มสรา้ งสรรค์ 5 การใชโ้ ปรแกรม สมรรถนะ 7-9 ตารางทำการ - แสดงความร้เู ก่ียวกับหลกั การและเทคนิควิธกี ารใช้ ในงานอาชพี โปรแกรมตารางทำการ (Ms-Excel) - จัดการขอ้ มลู ในงานอาชีพดว้ ยโปรแกรมตารางทำการ เกณฑ์ปฏบิ ตั ิงาน - ข้อมลู ในงานอาชีพถกู บันทกึ และคำนวณด้วยโปรแกรม ตารางทำการถูกตอ้ ง สมบรู ณต์ ามหลกั การ และมีความคดิ รเิ ร่มิ สรา้ งสรรค์ 6 การใช้โปรแกรม สมรรถนะ 10-12 การนำเสนอ - แสดงความร้เู ก่ียวกบั หลกั การและเทคนิควธิ ีการใช้ ผลงานในงาน โปรแกรมนำเสนอผลงาน อาชพี (Ms- - สรา้ งสอื่ นำเสนอในงานอาชพี ด้วยโปรแกรมนำเสนอผลงาน PowerPoint) เกณฑป์ ฏิบตั งิ าน - สือ่ นำเสนอในงานอาชีพถูกสร้างดว้ ยโปรแกรมการนำเสนอ ผลงานถูกต้อง สวยงาม และมคี วามคดิ ริเรม่ิ สรา้ งสรรค์ 7 การใช้โปรแกรม สมรรถนะ 13-1๕ สำเร็จรูปตาม - แสดงความรเู้ กี่ยวกับหลักการและเทคนิควธิ ีการใช้ ลักษณะงาน โปรแกรมสำเรจ็ รปู ตามลกั ษณะงานอาชีพ อาชพี - สรา้ งผลงานด้วยโปรแกรมสำเรจ็ รปู ตามลกั ษณะงานอาชีพ (Photoshop) เกณฑป์ ฏบิ ัติงาน - ผลงานในอาชีพถกู สร้างดว้ ยโปรแกรมสำเร็จรปู ตาม ลกั ษณะงานอาชพี อย่างถกู ตอ้ ง สมบูรณต์ ามหลกั การ และ มคี วามคิดรเิ ร่ิมสร้างสรรค์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook