Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore wish_eruuengelaaephuuekhwaamhwangaelaphlangaic

wish_eruuengelaaephuuekhwaamhwangaelaphlangaic

Description: wish_eruuengelaaephuuekhwaamhwangaelaphlangaic

Search

Read the Text Version

1

จดั ทำ� โดย สำ� นกั งานกองทุนสนบั สนุนการสรา้ งเสริมสขุ ภาพ (สสส.) 99 อาคารศูนยเ์ รียนร้สู ขุ ภาวะ ซอยงามดพู ลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรงุ เทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ 0-2343-1500 โทรสาร 0-2343-1501 www.thaihealth.or.th, www.thaihealthcenter.org WISH เรอ่ื งเลา่ เพือ่ ความหวงั และพลังใจ ชดุ WISDOM บรรณาธกิ าร : ทวีศกั ดิ์ อชุ คุ ตานนท์ สมั ภาษณ์และเรยี บเรียง : ประพัฒน์ สกุณา ปก, รูปเล่มและภาพประกอบ : ไตรรงค์ ประสิทธผิ ล พมิ พ์ครั้งแรก : กันยายน 2555 พมิ พ์ที่ : บรษิ ทั แปลนพร้นิ ทต์ ิ้ง จำ� กัด ( มหาชน) ดำ� เนินการผลติ โดย ส�ำนักพมิ พ์บา้ นภายใน บรษิ ทั บา้ นภายใน จ�ำกัด 123/1182 หมู่ 3 ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 โทรศพั ท์ / โทรสาร : 0-2750-7384, 08-1402-0103 e-mail : [email protected] “ทัศนะความคิดเหน็ จากบทสมั ภาษณซ์ ่งึ ปรากฏในหนังสอื นี้ ไมจ่ ำ� เปน็ ที่กองทุนสนับสนนุ การสร้างเสรมิ สขุ ภาพ (สสส.) ตอ้ งเห็นด้วยเสมอไป”

คำ� นำ� ตลอด  10  ปที ผี่ า่ นมากบั ความ มงุ่ มนั่ ของส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสรมิ สขุ ภาพ(สสส.) ในการจุดประกาย กระตนุ้ สนับสนุน  เช่ือมประสานภาคีเครือข่าย  เพ่ือ ให้ “ทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยมีขีดความ สามารถ สงั คม ส่งิ แวดล้อม ทีเ่ อือ้ ตอ่ สขุ ภาวะ” อยา่ งยง่ั ยืน จึงเปน็ ทีม่ า ของการจัดตั้ง  “ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ”  ที่มีวัตถุประสงค์เพ่ือเป็นพ้ืนที่ เรียนรู้การสร้างสุขภาวะอย่างครบวงจร  ผ่านการสร้างสรรค์กิจกรรม นิทรรศการ และการบริการข้อมลู ขา่ วสารด้านสุขภาวะ เป็นตน้ โดย สสส. หวังวา่ พืน้ ทีเ่ รยี นรู้สุขภาวะแหง่ น้ี จะสรา้ งแรงบนั ดาลใจใหแ้ ก่ ประชาชนท่ีเข้ามาเย่ียมชม  เกิดการเรียนรู้  เปิดประสบการณ์  และ ความตั้งใจที่จะรเิ รม่ิ สร้างสขุ ภาวะและส่ิงดี ๆ ให้แก่สังคมต่อไป “WISH เรื่องเล่าแหง่ ความหวงั และพลงั ใจ” เป็นชุดหนังสอื ท่ีศูนย์เรียนรู้สุขภาวะมีความตั้งใจจัดท�ำขึ้น  เพ่ือให้ผู้อ่านทุกท่าน สามารถเข้ามาเรียนรู้มุมมองแนวคิด  ประสบการณ์ชีวิต  ตลอดจน เคล็ดลับการเอาชนะต่ออุปสรรคปัญหาของผู้คนที่น่าสนใจถึง  100 คน  ซ่ึงล้วนเป็นบุคคลท่ีได้มีส่วนร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่  โดย มีการเรียบเรียงเปน็ 4 เล่มตามชอ่ื หนังสอื คอื W – Wisdom, I – Inspiration, S – Sharing และ H – Health & Happiness ดว้ ยหวัง ว่าเรอ่ื งราวชีวิตอันมีคุณค่าของทา่ นทัง้ หลายเหลา่ น้ี จะเป็นตวั อย่าง และบทเรียนที่จุดประกายความหวังและพลังใจให้ผู้อ่านได้ลุกข้ึนมา เปล่ียนแปลงและสรา้ งสุขภาวะองคร์ วมท้ัง 4 มติ ิ คือ กาย ใจ สังคม และปญั ญา เพอ่ื ความสขุ ทยี่ ง่ั ยนื ของตนเองและสงั คมไทย ทพ.กฤษดา เรอื งอารีย์รชั ต์ ผู้จัดการ สสส.

จาก...บรรณาธิการ ชีวิตของมนุษย์เรา  หลายครั้งอาจมีอุปสรรค  และอาจต้อง พานพบกับวิกฤตการณ์คร้ังใหญ่ของชีวิตอีกด้วยแต่การก้าวเดินผ่าน ความยากล�ำบากก็เป็นส่วนหน่ึงของการเติบโตของคนเรา  หากการ จะเดินตอ่ ไปไดใ้ นสภาวะที่ยากลำ� บากกค็ ือ การกา้ วเดินอย่างมคี วาม หวัง เร่ืองเล่าแห่งความหวังและพลังใจ รวมเรื่องราวของ บุคคลชั้นน�ำในวงการต่างๆ  ท่ีเราน�ำเสนอมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ การสร้างความสุขให้แก่ประชาชนคนไทย  เพ่ือให้คนไทยมีชีวิตอย่าง มีหวังและมีพลัง  แม้ว่า...ในชีวิตจริงที่ประสบ  สังคมของเราก็ยังมี วิกฤตการณท์ างการเมือง สังคม เศรษฐกจิ และธรรมชาตทิ เี่ ป็นภยั พบิ ตั ิ ดังนั้นการเรียนรู้บทเรียนจากปัจเจกชนอิสระท้ัง  100  ท่าน จึงอาจเป็นแรงใจท่ีส�ำคัญ  และอาจมีใครสักคนหนึ่งที่จุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้คุณลุกขึ้นมาท�ำสิ่งที่แตกต่างให้แก่สังคมของ เราดว้ ย 4

เรื่องราวท่ีล้มเหลวของใครบาง คนอาจเปน็ บทเรยี นสอนใจให้แกค่ ุณ เรื่องราวแห่งความส�ำเร็จของ อีกคนก็อาจเป็นพลังใจให้คุณมีแรง อยากสร้างความสำ� เร็จเชน่ นีบ้ ้าง มีหลายคนท่ีอ่านหนังสือชุดน้ี แล้วบอกวา่ “พอได้อ่านเรื่องราวของคนดี ๆ มากมายเช่นนี้  ท�ำให้รู้สึกมีความหวังต่อ สงั คมไทยมากข้ึน” เราก็หวังเช่นกันว่าคุณจะรู้สึก เชน่ น้ีบ้าง ทวศี กั ด์ิ อุชคุ ตานนท์ บรรณาธิการอำ� นวยการ โครงการเรอ่ื งเลา่ แหง่ ความหวงั และพลังใจ 5

ส า ร บั ญ พระอาจารยไ์ พศาล วสิ าโล 9 18 แมช่ ศี นั สนยี ์ เสถยี รสตุ 26 34 ภกิ ษณุ ธี ัมมนนั ทา 40 48 รศ.ประภาภทั ร นยิ ม 58 66 พระพรพล ปสนั โน 74 82 ศ.นพ.อดุ มศิลป์ ศรีแสงนาม 90 98 พระอาจารยม์ ติ ซูโอะ คเวสโก ฐิตินาถ ณ พัทลุง สุวรรณา โชคประจักษช์ ัด โชคชัย ลิ้มประดษิ ฐ์ จริ ะนันท์ พติ รปรีชา ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ 6

ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยธุ ยา 106 ประมวล เพ็งจันทร์ 112 วจิ กั ขณ พานิช 124 พญ.คณุ หญงิ พรทพิ ย์ โรจนสนุ ันท ์ 130 ปราโมทย์ ไมก้ ลดั 138 ศ.ดร.สมิทธ ธรรมสโรช 145 ศ.ดร.สนุ ทร บญุ ญาธกิ าร 153 อาจารย์ณรงค์ เพชรประเสรฐิ 161 อาจารยว์ รศกั ดิ์ มหัทธโนบล 166 นพ.ยงยทุ ธ วงศ์ภริ มย์ศานติ์ 174 วรตั ดา ภทั โรดม 182 หมอเขียว ใจเพชร กล้าจน 190 ดร.สมเกยี รติ อ่อนวมิ ล 198 7

8

พระอาจารยไ์ พศาล วสิ าโล เจา้ อาวาสวัดป่าสุคะโต อย่อู ย่างมีสขุ ให้คิดถึงผู้อ่ืนมากกว่าตัวเอง  แล้วหมั่นมองตน  ให้รักตัวเอง อย่างแท้จริง  ให้รู้จักตัวเอง  ส่ิงนี้จะช่วยท�ำให้เราอยู่ในโลกน้ีได้อย่างมี ความสุข พระอาจารย์ไพศาล  วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต  คือพระ นักคิดนักเขียนท่ีมีผลงานเขียนออกมาอย่างสม่�ำเสมอ  ธรรมะของท่าน ที่สั่งสอนผู้คน จะเน้นหนักเรื่องราวท่ีเก่ียวกับสังคมเป็นหลัก  ดังน้ันเม่ือ เกิดปัญหาหรือความขัดแย้งในสังคมคร้ังใด  ท่านก็จะถูกสื่อสัมภาษณ์ เพ่ือให้แนวคิดในการแก้วิกฤตอยู่เสมอ  ส่ิงหน่ึงท่ีพระอาจารย์เน้นย�้ำ ในทุกการสัมภาษณ์  เม่ือสังคมต้องเผชิญความขัดแย้งก็คือ  การมอง ความขดั แย้งอยา่ งเปน็ กลาง  และตอ้ งท�ำใจ  เพราะความขดั แย้งน้นั เป็น 9

ธรรมดาของโลก และส่ิงส�ำคัญท่สี ดุ ที่จะทำ� ใหท้ ุกคนมีความสขุ ได้ ไม่ ไดอ้ ยูท่ ี่ไหน  มันอย่ทู ใ่ี จตนเอง ท่ามกลางความวุ่นวายของสังคม  เราสามารถหาความสุข สงบได้ “ท่ีจริงในบ้านของตัวเองมันก็เป็นที่สงบสุขได้  ในห้องนอน ของเรากไ็ ด้ ถ้าไมใ่ ช่คนทอ่ี ยู่ทา่ มกลางผู้คน หอ้ งนอนก็เป็นท่ที ีส่ งบได้ แต่อาตมาพบว่าหลายคนแม้จะอยู่ในห้องคนเดียวก็ไม่สงบ  เพราะ เด๋ยี วก็มีเสียงโทรทศั นเ์ ข้ามา มีอเี มล์ มีเฟซบกุ๊ มแี บล็กเบอร์รี่ดัง มี เอสเอ็มเอสเข้ามา  มันไม่สงบแม้จะอยู่คนเดียว  เพราะว่าคุณปล่อย ให้ข้อมูลข่าวสารมันหลั่งไหลเข้ามาในชีวิตจิตใจ  ทางออกที่ดีคือคุณ ควรปิดโทรทัศน์บ้าง ปิดเครอื่ งคอมพิวเตอร์  ปดิ มอื ถอื  อย่าเปดิ ตลอด เวลา   บางครั้งมันวุ่นวายมาก  วันเสาร์อาทิตย์ก็ปิดบ้าง  อาตมารู้จัก คนหลายคน  บางทีเขามีอาชีพการงานท่ีต้องรับผิดชอบ  เป็นนักข่าว นักหนังสือพมิ พ์ เปน็ ฝร่งั เยน็ วนั ศุกร์จนถงึ เชา้ วันอาทิตยป์ ดิ โทรศัพท์ อยู่กับครอบครัวและตัวเอง  ออกไปจ๊อกกิ้ง  อาตมาคิดว่าเราไม่ต้อง ไปไหนหรอก แค่อยู่บ้าน หาโอกาสทจี่ ะอยู่คนเดียวจริงๆ แลว้ ปิด เคร่ืองมือส่ือสารท้ังหลาย  ต่อมาก็หันมามองตน  หันมาดูจิตใจบ้าง ถ้าหากว่าคนเราว้าวุ่นเพราะใจ   ไม่ใช่เพราะส่ิงภายนอก  แม้อยู่คน เดียวในป่าคุณกจ็ ะว้าว่นุ ถา้ ใจคุณเตลิดเปิดเปงิ ไป บางคนอยูใ่ นป่า อยู่ในห้องคนเดียวบางทีอยู่ไม่ได้  เพราะว่าใจมันว้าวุ่น   ปรุงแต่งไป ตา่ งๆ แล้วคนเรานี่ชอบหนตี วั เอง ทนอยกู่ ับตัวเองไม่ได้ ก็เลยหนไี ปหา เพื่อน หนีไปคุย ไปเท่ียว ไปเลน่ เฟซบกุ๊ เสร็จแลว้ ก็บน่ ว่าไม่มีเวลาให้ กับตวั เอง แตค่ รน้ั เวลาอย่คู นเดียวจรงิ ๆ ก็อยู่ไม่ได้ เพราะวา่ จิตใจมนั 10

ว้าวุ่น   แลว้ เราควรทำ� อยา่ งไร วิธแี ก้คือมีสตริ ู้เทา่ ทันความรู้สกึ นกึ คดิ ทีป่ รุงแตง่ พอรู้ปบุ๊ แล้ววาง ไมใ่ ชห่ า้ มคิด ใหม้ ีสติรู้ แต่คนสว่ นใหญไ่ ม่ ค่อยมีเวลากลับมาดูใจของตัวเอง  แม้อยู่คนเดียวก็เจอแต่ความทุกข์ แต่การรู้ทันความคิดแล้ววางได้  แม้ว่ามันจะมีเสียงมากระทบก็ไม่มี ปัญหา แตม่ ปี ญั หาเพราะวา่ ใจเราไม่ชอบเสียงน้นั ใจเรามีปฏิกริ ิยา ตอ่ เสียงที่แทรกเขา้ มา แตถ่ ้าเรามีสติ เราร้วู ่ามีอะไรแทรกเขา้ มา เรา ร้กู ท็ ำ� ใจใหเ้ ป็นกลาง เสยี งดังกท็ �ำอะไรเราไม่ได้ เพราะฉะน้ันนี่คอื สิง่ ท่ีส�ำคัญท่ีสุดท่ีช่วยให้เราไม่ต้องหนีไปไหน  มันต้องเริ่มหาท่ีหาทางท่ี สงบใหต้ ัวเอง ปดิ เครอ่ื งมือสื่อสาร แลว้ จากนัน้ กห็ ันมาดูใจ มาเจริญ สมาธิ ภาวนาให้มสี ติ” ต้องรู้จักท�ำใจ  เราถึงจะสามารถอยู่กับความขัดแย้งได้อย่าง มคี วามสขุ “เร่ืองนี้เป็นเร่ืองของการท�ำใจ  มองว่าหน่ึง  ความขัดแย้งเป็น เรือ่ งธรรมดา แม้แตเ่ ราบางทีอยู่คนเดียวเรากย็ งั ขัดแยง้ กบั ตวั เอง จะ ไปเที่ยวทีไ่ หนดี ก็มีสองสามความเหน็ ในใจ ตอ้ งมองวา่ ความขัดแยง้ เป็นเร่ืองธรรมดา  มองความขัดแย้งอย่างเข้าใจ  ประการท่ีสองมอง ว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องท่ีเป็นความต่างกันเฉพาะบางแง่มุม  บาง ดา้ น เวลาคนสองคนขดั แย้งกันไม่ใชว่ ่าเขาขดั แยง้ กันทกุ เรอ่ื ง  เพราะ ขดั แย้งในบางเร่ือง เขาอาจจะเห็นตรงกัน อยเู่ ก้าสิบห้าอยา่ ง แตอ่ าจ จะเห็นต่างกันหา้ อยา่ ง ก็ไมค่ วรท่ีจะทะเลาะ มองกนั เป็นศัตรู เราเห็น ตา่ งกันแค่นน้ั ทำ� ไมเราตอ้ งเปน็ ศัตรกู ับเขา เขาเองก็มอี ะไรเหมอื นกบั เรา เหมือนกบั เขา พดู งา่ ย ๆ คือกำ� จัดความขัดแย้ง ความเหน็ ด้วยหรือ ไมเ่ ห็นด้วยในความคดิ ของเขาเปน็ บางเรอื่ ง มันท�ำให้เราเป็นเพื่อนกับ เขาได้ แมว้ ่าจะเห็นไมต่ รงกนั ” 11

“ประการท่ีสามคือ  มองว่าความขัดแย้งมันเป็นเร่ืองชั่วคราว ก่อนหน้าน้ีเราก็มีอะไรเหมือนกันต้ังหลายอย่าง  แต่วันนี้ขัดแย้ง กัน  พรุ่งนี้เราอาจจะกลายเป็นเพ่ือนร่วมทริป  ร่วมงานที่สอดคล้อง กัน  เพราะฉะนั้นอย่าไปเอาเป็นเอาตายกับความขัดแย้ง   เพราะว่า คนท่ีเคยท�ำสงครามกัน  อย่างอเมริกากับเวียดนาม  สามสิบปีก่อน รบกันจะเป็นจะตาย  แต่ตอนน้ีกอดคอท�ำการค้าไปแล้ว  หลายคนท่ี ขึ้นเวทีพันธมิตรก็เคยจับปืนไล่ล่ากัน  คนหนึ่งเป็นทหาร  คนหนึ่งเป็น คอมมวิ นิสต์ มองใหม้ ันเป็นของช่ัวคราว   อยา่ ไปยดึ มั่นถือมน่ั กบั มัน มาก  ถ้าเรามองแบบน้เี ราจะปลอ่ ยวางไดม้ ากขึน้ เราจะไม่รู้สกึ ว่ามนั เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย  ขัดแย้งกันด้วยความคิดก็โต้เถียงกัน  แต่ กย็ งั รกั กนั ไม่รสู้ กึ วา่ จะเปน็ จะตาย ถ้าเราท�ำแบบน้ี เรากจ็ ะไมท่ ุกข์ กับความขัดแย้ง  เราก็เห็นเพียงว่าเป็นสิ่งแปลกเข้ามาในชีวิต  แต่ไม่ ได้แปลว่าเราไมเ่ ปน็ ตวั ของตวั เองนะ เราเห็นต่างเรากพ็ ดู ไมใ่ ช่วา่ เออออกับเธอนะ ไม่กลา้ ขัดแย้งกับใคร ไมใ่ ชแ่ บบน้นั ความขดั แย้ง มันสามารถอยบู่ นตวั ของตวั เองได้ แต่เราต้องไม่ทกุ ข์ อาตมาคิดวา่ ชีวิตคนเรามันมีหลายแง่มุม  ส่วนที่ขัดแย้งกับใครก็ขัดแย้งบางเรื่อง เรากอ็ ย่าหมกมุ่นกบั มัน เชน่ มีความขัดแยง้ เร่อื งการเมอื ง ถา้ เราไม่ เปดิ โทรทัศน์ ไม่ดเู ฟซบ๊กุ เราไม่เดือดร้อนอะไร เมอ่ื เราต้องทำ� งานเรา กท็ ำ� งานของเราไป มเี วลาวา่ งกเ็ ปิดทวี ี ตอ้ งรจู้ ักจำ� กดั การรับรู้ อยา่ ไปหมกมุ่นกบั มันจนกระท่ังไมเ่ ปน็ อันทำ� งาน อาตมาคดิ ว่าถ้าเราอยู่ กับปัจจบุ ัน เรากท็ ำ� งานของเราให้ดี เราจะพบกบั ความขัดแยง้ น้อย ลง ไมใ่ ชไ่ ม่รบั รนู้ ะ แตเ่ รารับรเู้ มอ่ื ถึงเวลา แลว้ เรากใ็ สใ่ จในฐานะทเ่ี รา เปน็ คนไทย ใสใ่ จแต่ไม่ใชห่ มกมนุ่ ไมท่ �ำให้มนั ท�ำร้ายจติ ใจ จนทำ� รา้ ย ตวั เอง” 12

ความรักที่ท�ำให้เกิดทุกข์ ไม่ใช่ความรกั ทีแ่ ท้จริง ความรกั ใน ทางพทุ ธศาสนา คือความรกั ทเ่ี รยี ก วา่ เมตตา “รักมันท�ำให้เกิดทุกข์  คือ รักท่ีหมายถึงการยึดมั่นถือมั่น  เพ่ือ สนองตัวเอง  รักเขาเพ่ือต้องการให้ เขามาปรนเปรอ หรือเรารักเขาท่เี ขา สามารถให้ความสุขความสบายกับ เราได้  เพราะฉะนั้นเราก็เลยอยาก ให้เขาเป็นแบบที่เราคิด  มันท�ำให้เกิดทุกข์  มันท�ำให้เกิดการท�ำร้าย กัน แบบนไี้ มไ่ ด้เป็นความรัก เพราะความรกั ในทางพุทธศาสนา คอื มี ความรกั ที่เรยี กว่าเมตตา ความรักทีเ่ ป็นการยึดมนั่ ถือมั่นเพ่อื สนองตวั ตนของเรา เราเรยี กว่าเสน่หาหรือราคะ  ความรกั แบบน้ที �ำให้เกิดทุกข์ ทั้งผู้ถูกรักและผู้รัก  แต่ว่ามันก็ให้ความสุขในชั่วระยะเวลาหนึ่ง  คือ ในช่วงเวลาทท่ี ้งั สองคนเออออห่อหมกกนั แต่พอขดั แย้งกนั กเ็ รม่ิ ทุกข์ แลว้ หรือวา่ ตายจากกันกย็ ง่ิ ทุกข์ใหญ่ แต่ความรกั ทเ่ี รยี กว่าเมตตา ปรารถนาดีโดยที่ไม่ต้องการอะไรจากเขา  มีให้แต่ความปรารถนาดี อาตมาเช่ือว่าทุกวันน้ีที่โลกอยู่ได้เพราะมีความรักแบบน้ีมาเจือปน บางทีก็ไปผสมอยู่กับความรักประเภทแรก  คนเราบางทีก็ไม่ได้มีแต่ เสน่หาอย่างเดียว  มันมีเมตตาเข้าไปด้วย  เช่นความรักระหว่างสามี ภรรยา พ่อแม่ลกู เพอื่ น มนั มเี มตตาเขา้ ไปผสม มากบ้างนอ้ ยบ้าง ตรง น้ตี า่ งหาก ทที่ �ำใหโ้ ลกอย่ไู ด้ เพราะมันท�ำใหเ้ กิดการเออื้ เฟ้อื เกื้อกลู 13

กันอย่างแท้จริง  ถ้าขาดเมตตาธรรมน่ีโลกอยู่ไม่ได้เลย  เพราะ พระพุทธเจ้าบอกว่าเมตตาธรรมค้�ำจุนโลก คือถ้าไมม่ เี มตตา โลก มันคงพินาศไปแลว้ ทุกศาสนากเ็ น้นชปู ระเด็นความรกั แบบน้ ี  คือ ความรักที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว  ท่ีฝร่ังเรียกว่าความรักแบบ ไม่มเี ง่ือนไข แตว่ า่ ตราบใดทเ่ี ราปฏเิ สธความรักแบบประเภทแรก ไมไ่ ด้ กค็ วรพัฒนาให้มีความรกั แบบทสี่ องเข้ามาเจอื ปน เข้ามาเปน็ ตัวน�ำ จะชว่ ยทำ� ใหอ้ ยู่ด้วยกนั อย่างมคี วามสขุ ” ปัญญาทางวิทยาศาสตร์และปัญญาทางธรรมน้ันจ�ำเป็นท่ี จะตอ้ งอยู่คกู่ ันไป “วิทยาศาสตร์เป็นเร่ืองของความรู้  ไม่ใช่เป็นเร่ืองของ คุณค่า  วิทยาศาสตร์ยากท่ีจะบอกว่าอะไรดีไม่ดี  แต่วิทยาศาสตร์ บอกอะไร  ท�ำไม  อย่างไร  แต่ว่าดีหรือไม่ดีเป็นเร่ืองของจริยธรรม เป็นเร่ืองของฝ่ายศาสนา  แต่ศาสนาบางทีก็ตัดสินผิด  นี่คือเร่ืองท่ี หนง่ึ วทิ ยาศาสตรค์ อื เร่ืองของความรู้ แตไ่ มใ่ ช่เร่อื งคณุ คา่ “สองมันคือเรื่องของการพัฒนาสมองแต่ไม่ใช่เรื่องของ การพัฒนาจิตใจ  เร่ืองของการพัฒนาจิตใจเป็นเรื่องของคุณธรรม เป็นเร่ืองของการปฏิบัติธรรม  เรื่องของการท�ำความดี  มันนอก ขอบข่ายของวิทยาศาสตร์  บางทีก็ใช้วิทยาศาสตร์ในการท�ำลาย อย่างเช่นฮิตเลอร์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีรมแก๊สชาวยิวตาย ไปหกล้านคน  เราใช้วิทยาศาสตร์เพ่ือสร้างระเบิดนิวเคลียร์  เพ่ือ สร้างเทคโนโลยีท�ำลายส่ิงแวดล้อม  วิทยาศาสตร์มันมีขอบเขต จ�ำกัดแต่ส�ำคัญต้องพัฒนาจิตใจ  ถ้าถามว่าวิทยาศาสตร์อย่าง เดียวพอไหม  บอกเลยว่าไม่พอ  ไอน์สไตน์พูดว่ามนุษย์เราต้องการ 14

ท้ังวิทยาศาสตร์และศาสนา  ต้องมีสองอย่างคู่กัน  มีศาสนาไม่มี วิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้ ศาสนาจะพาไปงมงาย  ถ้ามวี ทิ ยาศาสตร์แต่ขาด ศาสนา  คนก็อาจจะท�ำร้ายด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี  คนเราทุกวันนี้ เอาเขา้ จรงิ ๆ นักวทิ ยาศาสตรท์ เี่ จริญคอื เจรญิ ในรปู ของเทคโนโลยี แต่ ความคิดแบบวิทยาศาสตร์มันไม่ได้ซึมไปถึงจิตใจผู้คน  บางทีถึงจะ เจริญ  แต่คนกย็ งั งมงาย ไสยศาสตร์กย็ ังเฟื่องฟู เพราะวา่ เราไมไ่ ด้คดิ แบบวิทยาศาสตร์ เราเชื่องา่ ย มขี า่ วลอื อะไรกเ็ ชอื่ โดยทไี่ ม่ตัง้ คำ� ถาม มวี ัวหกขา กไ็ ปกราบไหว้ โดยทไี่ มไ่ ด้มองว่ามันกเ็ ปน็ เร่อื งผดิ ปกติทาง ธรรมชาตเิ ทา่ น้นั เอง แลว้ ตอนน้ีก็ลอื กันใหญว่ ่าจะเกดิ ภยั พบิ ตั ิ แลว้ คนที่ลอื กโ็ หราศาสตร์ นักพยากรณ์กม็ สี ว่ น กไ็ ม่ได้ใชค้ วามคิดทาง วทิ ยาศาสตร์มาพูด มาคดิ พดู แล้วนา่ เชอื่ ถอื ไหม เพราะฉะน้นั ทำ� ให้ คนแตกตนื่ คนกย็ งั งมงายต่อไป คนกย็ ังเห็นแกต่ วั ต่อไป คนก็ยังเอา รดั เอาเปรยี บกนั ตอ่ ไป มนั กเ็ ลยเกิดความวุ่นวาย” คนเกง่ กบั คนดี สามารถอยคู่ ู่กนั ในคนคนเดยี วได้ “ในทางพระพุทธศาสนาพูดถึงปัจจัยหลักๆ  ที่ท�ำให้คนเป็น คนเก่งและคนดี  หน่ึง  ปัจจัยภายนอกคือกัลยาณมิตร  รวมถึงสิ่ง แวดลอ้ ม สอ่ื มวลชน หนงั สือ ครูบาอาจารย์ พ่อแม่ เขา้ ใจงา่ ยๆ คอื กัลยาณมิตร อันท่สี องคือปจั จัยภายใน โยนิโสมนสกิ าร คือวา่ คิดเกง่ ฉลาดคิด คิดถกู คดิ เป็น คดิ ชอบ พดู งา่ ยๆ คือฉลาดคิด ตรงนม้ี นั จะ ท�ำให้เกิดปัญญา  เก่งในทางโยนิโสมนสิการ  จะท�ำให้รู้จักคิด  คน เราจะเก่งได้ต้องรู้จักคิด  ไม่ใช่แค่มีข้อมูลเยอะ  ข้อมูลเยอะไม่ส�ำคัญ แม้ว่าคุณมีข้อมูลน้อยแต่ถ้าคุณรู้จักคิดคุณก็จะสามารถฉลาดได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้ต้องท�ำให้เกิดกัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการ มันย้อนกลับไปท่ีอาตมาพูด  คือมันอยู่ท่ีการเลี้ยงดู  การศึกษา  ซึ่ง 15

เป็นการศึกษาทีท่ �ำให้คนฉลาดคดิ แล้วกค็ ิดเป็น ท�ำให้เขาร้วู ่าความ จริงแล้วคนเราถ้าอยากมีความสุขต้องท�ำความดี  ต้องเอ้ือเฟื้อเก้ือกูล   ไม่เห็นแก่ตวั เกง่ กบั ดีเกิดขึน้ ได้ ถ้ามีสองปัจจัยน้”ี ให้คิดถึงผู้อ่ืนมากกว่าตัวเอง  แล้ว หม่ันมองตน  ให้รักตัวเองอย่างแท้จริง  ให้ รู้จักตัวเอง  ส่ิงน้ีจะช่วยท�ำให้เราอยู่ในโลก น้ีได้อย่างมีความสุข  พบกับความสงบเย็น ภายใน  แล้วก็อยู่กับผู้อื่นได้อย่างเก้ือกูล เป็นทั้งคนดีและคนมีน�้ำใจ  แล้วก็มีความ สุขในเวลาเดยี วกัน 16

17

แม่ชศี นั สนีย์ เสถียรสุต เรียนรทู้ ่จี ะอย่อู ยา่ งสขุ “ถา้ เราถอดถอนทฐิ ิ ไม่มี สิ่งที่ถูกใจเราเป็นของเรา  ไม่มี กายเรา  ไม่มีใจเรา  แต่มันเป็น ธรรมชาตลิ ้วนๆ ไดเ้ มื่อไหร่ เราจะ กลายเป็นคนที่อยู่ในโลกใบน้ี  ที่ โลกน้ีไม่มีตัวเรา  มีแต่การกระท�ำ มีแต่ความรู้สึก  เกิดดับฉับพลัน อิสสรชนเช่นน้ีจะพ่ึงพาหัวใจตัว เองได้” ธรรมดาของความเปล่ียนแปลงย่อมน�ำมาซ่ึงความทุกข์  ยิ่ง โลกหมุนเร็วมากเท่าไรคนก็ย่ิงทุกข์  โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่ผู้คน ไมม่ ีเวลาแมก้ ระท่งั หยุดทบทวนตวั เอง หลายคนเลือกทีจ่ ะเสพสขุ โดย แลกมาจากผลตอบแทนของการท�ำงาน โดยไมร่ ู้ทางออกของการแก้ ความทกุ ขค์ อื อะไร ‘แมช่ ศี ันสนยี ์ เสถยี รสุต’ คือมนษุ ยค์ นหน่ึงทใ่ี น อดีตกเ็ คยมที กุ ข์ แตเ่ พราะธรรมะขององคส์ ัมมาสัมพุทธเจ้า ทำ� ให้ ปัจจุบันน้ีท่านได้กลายเป็นผู้ช้ีทางออกแห่งทุกข์แก่ผู้คนในสังคม เมือง ผา่ นสถานท่ีทส่ี งบรม่ เย็นอยา่ งเสถียรธรรมสถาน หนมุ่ สาว สมยั ใหมช่ อบมคี ำ� ถามว่า ท�ำอย่างไรจะสขุ ใจได้ในสงั คมปจั จุบัน บท 18

สัมภาษณ์ต่อไปน้ีมีข้อคิดดีๆ จากแม่ชีศันสนีย์  เพ่ือให้ทุกคนในสังคม และคนรุ่นใหม่สามารถเรียนรู้ท่ีจะมีความสุขได้จากภายในใจของ ตนเอง ธรรมะสร้างเสถียรธรรมสถาน “เสถียรธรรมสถานไม่ได้เกิดข้ึนมาจากเงินหรือความต้องการ จะท�ำอะไร  แต่มันเกิดมาจากความกตัญญูจากพระธรรม  เพราะ ธรรมะมนั สามารถเปลย่ี นชีวติ ของเราได้ และท่สี ำ� คญั คอื เราสามารถ พ้นทุกข์ได้ด้วยธรรม  เพราะฉะนั้นมันเป็นความกตัญญูที่เราอยากจะ เสนอออกมาเป็นผู้รับใช้  ที่จะใช้ธรรมะเป็นเคร่ืองมือที่จะท�ำให้เรารู้ เท่าทันชีวติ และปัจจุบนั ขณะของเรา ธรรมะเปน็ หยดน้ำ� เล็กๆ ทท่ี �ำให้ ชีวิตงอกงามได้” ตอ้ งรจู้ กั และเข้าใจค�ำว่าทกุ ข์ “ถ้าเราได้กล่ินของดอกไม้  เราจะเห็นการท�ำงานของจมูก และกล่นิ ท่มี ากระทบกัน จมูกเป็นอายตนะภายใน กลิ่นเป็นอายตนะ ภายนอก เวลาที่เราหอมเราก็จะรสู้ กึ เพลดิ เพลิน แตเ่ วลาท่ีเราเหม็น เราก็รู้สึกไม่เหมือนกัน  เวลาท่ีเรารู้สึกอึดอัดกับส่ิงที่ไม่เป็นอย่างท่ีใจ เราอยากให้เป็น  ถ้าเราไม่ตีอกร�่ำไห้อยู่กับส่ิงท่ีเป็นด่ังใจเรา  เรารู้ว่า ทั้งหอมและเหม็นเป็นความชอบชังที่เกิดดับอย่างฉับพลันเท่าน้ัน   ใจ ของเราจะเรียนรู้ต่อไปได้กับทุกเร่ือง  ในกระบวนการของการจัดการ ที่ดี  ปัญญาเป็นกระบวนการของการจัดการการเรียนรู้อย่างมีสติ  เฝ้า สังเกตและเรียนรู้ว่าท้ังชอบท้ังชังหรือสุขทุกข์มันเป็นแค่ปรากฏการณ์ เพียงชว่ั ครู่ อย่ายดึ ถอื ไวว้ า่ เป็นเรา ถา้ เราถอดถอนทฐิ ิ ไมม่ สี ง่ิ ทถี่ กู ใจ เราเปน็ ของเรา ไมม่ ีกายเรา ไมม่ ใี จเรา แต่มันเปน็ ธรรมชาติล้วนๆ ได้ เมอ่ื ไร เราจะกลายเปน็ คนที่อยใู่ นโลก ที่โลกน้ไี มม่ ตี วั เรา มีแตก่ าร 19

กระทำ� มีแตค่ วามรูส้ กึ เกดิ ดับฉบั พลัน อสิ รชนเชน่ นจี้ ะพ่ึงพาหัวใจตวั เองได”้ คนปัจจุบนั เบือ่ ง่าย ไมช่ อบอะไรจำ� เจ แตเ่ ราสามารถจดั การ มนั ได้ “เราต้องรู้ว่าความเบื่อมาจากไหน  เบ่ือมาจากความคิดปรุง แต่ง  เวลาท่ีเราคิดอะไรแล้วไม่ร่าเริงไม่เบิกบาน  ความเบื่อเกิดจาก ความคิดที่ไม่รู้เท่าทันความเป็นจริง  เราอาจจะแก้ความเบ่ือด้วยการ ถ่ายพลังของตัวเอง  การออกก�ำลังกาย  การรู้จักรับประทานอาหาร และการพักผอ่ นทีด่ ี จะทำ� ให้เรามีทุนของชีวติ ในฝา่ ยของกายภาวนา เข้มแข็งข้ึน  และจิตของเราก็จะมีสติอารักขาจิตได้ทุกลมหายใจ ความเบ่ือเป็นแบบฝึกหัดที่ท�ำให้เรารู้ว่า  เราต้องเผชิญกับสิ่งท่ีเราจะ คดิ ครั้งใหม่ท่คี มกว่าเกา่ ถ้าเรารูว้ ่าคิดอยา่ งนี้ผลเปน็ อยา่ งน้ี และคดิ อยา่ งไรผลมนั ถงึ จะเปลย่ี น การเข้าไปเหน็ ถึงลูท่ างของการเกดิ ข้นึ ของ ความเบอื่ เป็นปญั ญาอย่างหนึ่ง ถ้าเราคิดอะไรซ�ำ้ ๆ ถอนหายใจลึกๆ เรากย็ งั ไมส่ ดชืน่   ให้เราถ่ายพลังสักหนอ่ ยก็ได้ เชน่   ออกไปทำ� อะไรให้ กระฉับกระเฉงข้ึนแล้วกลับมาคิดด้วยจิตท่ีรู้เท่าทันความคิดมากขึ้น ถา้ รูค้ ิดไม่หลงคดิ ความเบื่อกเ็ ป็นเร่ืองที่สามารถแก้ได้ง่ายๆ” สุขจากวตั ถุนิยม สขุ จริงหรอื ไม่ “น่ีเป็นธรรมชาติหนึ่งของคนท่ีอยู่ในวัฒนธรรมบริโภคนิยม อย่าไปมองว่ามันดีหรือไม่ดี  แต่ถ้าเราบริโภคนิยมจนเราขาดอิสรภาพ เรากลายเป็นมนุษย์ท่ีต้องเสพก่อนจึงจะสุข  ท่ีเสถียรธรรมสถาน การ ท�ำงานคือความสุข  เป็นความสุขเม่ือสร้าง  ไม่ใช่สุขเม่ือเสพ  ในขณะ ที่เราสร้างงาน  เราจะพบว่าความสุขในปัจจุบันขณะท�ำให้เราถึงเป้า 20

หมาย แตก่ ารท่เี รารอวา่ เสรจ็ จงึ สขุ มันก็เหมือนเราทำ� งานในขณะตก นรก  ท�ำงานไปบ่นไป  ตกนรกไป  แต่กว่าจะได้ช่ืนชมความส�ำเร็จก็ เครียดแล้ว  มันก็เป็นธรรมชาติของคนรุ่นใหม่ที่ใจของเขาเปราะบาง เพราะเขารอว่าซ้ือเสพจึงสุข   แต่ไม่ได้สุขเมื่อสร้าง  เขาไม่ได้สุขง่าย จากการใช้น้อย เขาทุกขง์ ่ายถา้ ใชน้ อ้ ย แลว้ กค็ ดิ วา่ สขุ มากจากการใช้ มาก เพราะฉะนัน้ ต้องเหน็ ใจ แล้วกย็ งั คงตอ้ งท�ำงานตอ่ ไป แตเ่ ราควร จะรวู้ า่ ไมว่ า่ โลกจะเปน็ อย่างไรใจต้องไม่ทุกข์” จดั การอารมณส์ ุขได้ในแตล่ ะวนั ดว้ ยลมหายใจ “เม่ือเราฝึกเจริญสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก  เราจะเรียก รวมๆ ว่าเราเลน่ เกมลมหายใจ มีลมหายใจแห่งสติ มีสตอิ ารกั ขาจิต แต่ละวนั เราจะเห็นว่าการเดินทางของชวี ติ เวลาทม่ี โี ลกมากระทบ เราจะรถู้ งึ สิ่งทม่ี ากระทบ เราจะร้ทู ัน ใจตน่ื เราจะเหน็ เพยี งแค่วา่ โลก เปน็ แคป่ รากฏการณ์ธรรมชาตอิ ยา่ งหนง่ึ อารมณ์เปน็ สิง่ ที่มาแลว้ ไป ในหัวใจของเราไม่สามารถจะจมเจ่าอยู่กับอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด เพราะวา่ จิตอารักขาเราอยเู่ สมอ เวลาทีเ่ รารเู้ ท่าทนั อารมณ์ และไม่ หลงอารมณ์  เราจะเห็นว่าโลกเป็นเพียงโลกธรรม  มีได้ลาภเส่ือมลาภ มียศเสื่อมยศ  มีสรรเสริญมีนินทา  ปรากฏของสภาวะธรรมใดสภาวะ ธรรมหนงึ่ มาเพยี งแค่เห็นเทา่ นั้น   ไม่ใชใ่ ห้เราไปคลุกคลี เราจะเห็นว่า เราจะอสิ ระ อยูก่ บั โลกทม่ี ากระทบรทู้ นั   ใจตื่น แลว้ ถา้ เราเจริญอานา- ปานสั สตอิ ยเู่ รื่อยๆ เราจะเห็นวา่ นิพพานชิมลองนนั้ เปน็ เร่ืองที่ทุกคน สามารถจะสัมผสั ไดด้ ว้ ยตนเอง” 21

จรงิ หรอื ไม ่  ทใ่ี ดมรี กั ทน่ี ั่นมที ุกข์ “รักให้เป็นก็จะไม่เป็นทุกข์  เราต้องภาวนากับความรักของ เรา  ให้รักของเราได้รับการพัฒนาสติปัญญา  เพ่ือจะท�ำให้เรารักอย่าง ไม่มีเง่ือนไข  ถ้ารักอย่างยึดติดมันก็จะน�ำมาซ่ึงความยึดม่ันถือมั่น  อัน น้ีไม่ใช่รัก  เขาเรยี กวา่ หลง และคนหน่มุ สาวมักเข้าใจผดิ ว่าความรัก นน้ั จะนำ� ไปส่เู ซก็ ซ์ ทีจ่ รงิ เซ็กซ์กบั ความรักมาจากใจเหมอื นกนั แต่ ความหลงท่ีมีอิทธิพลจะน�ำไปสู่ความใคร่  กับสติปัญญาและความ เข้าใจซ่ึงจะเป็นพ้ืนฐานของความรัก  มันจะท�ำให้รักเป็นทุกข์หรือหลง เปน็ ทุกข์ ความรกั เปน็ ของสวยงาม ถ้าเราเขา้ ใจท่จี ะรกั ถา้ เราเร่ิม ต้นความรักด้วยการขาดสติปัญญาเราจะพบว่าความรักนั้นจะน�ำพา ความเจ็บปวดมาสูเ่ รา เวลาที่เรารักเราต้องฝึกฝนทีจ่ ะเขา้ ใจคนที่เรา รกั แต่ถา้ เราปรารถนาจะให้คนรกั ท�ำอะไรอยา่ งทใ่ี จเราต้องการ  เราก็ อาจจะทุกข์ก็ได้  แต่ถ้าเผ่ือเรามีโอกาสที่จะพัฒนาสติปัญญาของเรา 22

แล้วก็เข้าใจคนที่เรารักอย่างลึกซึ้ง   และถ้าเรามองคนท่ีเรารักอย่าง ลึกซ้ึง  เราจะเข้าใจว่าท�ำไมเขาถึงเป็นอย่างน้ัน  เวลาเราฝึกมองคน อย่างน้ี  เราจะรู้ว่าความกรุณาของเราท่ีออกไปน้ันเป็นมิติท่ีเป็นผล พวงของความรกั การท่ีเราใหโ้ อกาสคนทเ่ี รารักได้มีโอกาสปรับเปลย่ี น พฤติกรรมอย่างทีเ่ ขารูว้ ่าเราให้โอกาสเขาเสมอ เปน็ หนทางท่ีดที ่ีทำ� ให้ ความรกั ของเราย่งั ยนื อย่าคดิ ทจ่ี ะรักแค่เพยี งรกั แล้วทำ� ให้คนทเี่ รารัก เปน็ ดัง่ ใจเรา แตข่ อแคใ่ ห้เรามีความสขุ ท่ีได้รัก และพฒั นาชวี ติ ท่ีจะ รักอยา่ งต่อเนือ่ ง แม้ว่าคนทเ่ี รารกั จะทำ� ผดิ พลาด แต่สง่ิ ทที่ �ำผิดพลาด น้ันก็จะทำ� ให้เรามองหาทางออกทจ่ี ะพฒั นาความรักของเราดว้ ย จง พฒั นาสตปิ ัญญาของเราเพือ่ รัก  และจงมคี วามสุขทไ่ี ด้รกั ” ทุกคนสามารถเรียนรไู้ ดจ้ ากธรรมชาติ “ธรรมชาตสิ อนให้เราเหน็ ความไมเ่ ทย่ี งอยตู่ ลอดเวลา เพราะ มีดอกไม้บาน มดี อกไม้ร่วง   มันจะเป็นความสวยงามของธรรมชาติท่ี เราสัมผสั ได้ แต่ถ้าไม่มีความเปลี่ยนแปลง เรากอ็ าจจะไม่เห็นความ เปลี่ยนแปลงท่ีสวยงามของธรรมชาติ  เพราะการเปลี่ยนแปลงมัน เป็นส่ิงท่ีธรรมชาติสอนให้เรารู้ว่า  เราควรแกะโซ่ตรวนแห่งความยึด มั่นถอื มน่ั ในทกุ ๆ การกระท�ำของเราและทกุ สิ่งท่ีเรายึดถืออยู่ และถา้ เราเห็นว่าส่ิงที่เรายึดถือและเช่ือถืออยู่เป็นเหตุแห่งทุกข์  เราก็ควรจะ ออกมา การฝกึ หายใจอย่างมสี ตจิ ะทำ� ให้เราเหน็ วา่   การมองส่ิงเหลา่ นีเ้ ปน็ เรอ่ื งทีเ่ ราหลกี ออกมาไดอ้ ย่างเปน็ ธรรมชาติมากข้นึ จะไม่ผา่ น กระบวนการคิด  แต่จะเป็นการพิจารณาให้เห็นในความเป็นจริงว่า สง่ิ ต่างๆ  ไมเ่ ทีย่ ง ทนอยู่ไดย้ ากแลว้ กจ็ ะจบลง ธรรมชาติรอบตวั เรา ก�ำลงั สอนใหเ้ หน็ ถงึ ความจรงิ เหลา่ นนั้ แล้วเราจะกลับเขา้ สธู่ รรมชาติ ภายในตนของเรา และเราจะเห็นวา่ สภาวะจติ ภายในตนของเรากไ็ ม่ 23

เที่ยงเชน่ กัน ถา้ เราข้ามไปถงึ ภาวะผูร้ ู้ผตู้ ื่นผู้เบกิ บานได้ เราจะเห็นว่า ทุกการกระท�ำน้ันเป็นปรากฏการณ์พิเศษท่ีท�ำให้เราละ  ท�ำให้เราจาง คลายจากความยดึ มน่ั ได้ เม่ือเราจางคลายจากความยดึ ม่ันถือมั่นได้ เราจะพบอิสระทแ่ี ท้จริงของชวี ิต” “เพราะชีวิตคอื การเดินทาง” 24

ถ้าเราเปรียบชีวิตคือการเดินทาง  การ จราจรของชีวิตที่จะท�ำให้เราเดินทางปลอดภัย ก็ต้องอาศัยวินัย  และวินัยของชีวิตก็เปรียบ เหมือนสติ  ถ้าสติอารักขาใจเราก็สามารถจะ ไปถึงฝั่งฝันที่เราต้องการ  ถ้าเราสร้างวินัยคือ การเคยชินที่ดีงามให้เกิดข้ึน  เราจะรู้ว่าการเดิน ทางของเราจะไม่หยุดและจะราบร่นื 25

ภิกษุณีธมั มนันทา เรียนรู้ปัญญาทางโลก และทางธรรมเพือ่ น�ำชีวิต “ปัญญาทางธรรมตัวน้ี จะต้องน�ำเราไปสู่ความสุข  แต่ ต้องเป็นความสุขที่แท้จริงนะ ไม่ใช่ความสขุ จอมปลอม” จะมีสักกี่คนที่คิดว่าการประสบความส�ำเร็จสูงสุดในชีวิต ทางโลกนนั้   ไม่ใชจ่ ดุ สงู สุดของชวี ติ แตห่ ญงิ ผ้มู ีปัญญาทางโลกระดบั ด็อกเตอร์อย่าง  รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์  กบิลสิงห์  อดีตอาจารย์ประจ�ำ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  หรือปัจจุบัน  ท่านคือภิกษุณีธัมมนันทา  หรือ ‘หลวงแม่’  กลับมองเห็นถึงความ สำ� คัญของปญั ญาทางธรรมมากกว่า เพราะน่นั คือทางออกในการแก้ ปญั หาของชวี ิต หลวงแมม่ องว่า ปญั ญาทางโลกเพียงอย่างเดยี วนนั้ บางครงั้ ก็ไม่สามารถแก้ปญั หาในชวี ิตได้ ในชีวิตคนเรามนั ควรจะมที ง้ั ปญั ญาทางโลกและทางธรรมประกอบกัน 26

“เราต้องรู้จักสองสิ่งนี้ก่อน  ปัญญาทางโลกก็คือ  ท�ำอย่างไร ให้รวยมากข้ึน ท�ำอย่างไรใหม้ ชี อ่ื เสยี งมากข้ึน อาจเปน็ ด้วยวธิ กี ารท่ี ถูกต้องหรอื ไม่ถูกตอ้ งกต็ าม สง่ิ ที่เรียกว่าปัญญาทางโลกจะสนบั สนุน ให้เราไปสู่จุดนนั้ คา้ ขายเก่ง อาจคา้ ขายมาผา่ นขบวนการการคดโกง ก็ได้  คดโกงเกง่ คนโกงเนยี นมาก คนจับไม่ได้นีเ่ ปน็ ปญั ญาทางโลก” “พอเป็นปัญญาทางธรรมแล้ว  ปัญญาทางธรรมตัวนี้จะต้อง นำ� เราไปสูค่ วามสุข แต่ต้องเป็นความสขุ ทแี่ ทจ้ ริงนะ ไม่ใชค่ วามสุข จอมปลอม  น�ำเราไปสู่การละคลายซ่ึงความทุกข์  การละคลายซึ่ง ความทกุ ข์ ฐานของความทกุ ข์ แก่นของความทุกข์ คอื การยึดมน่ั ถอื มั่นในตัวตน” “เพราะฉะนั้นปัญญาในทางโลกทางธรรมมันจะมาเพื่อจุด ประสงคต์ ่างกนั ปญั ญาทางโลกจะไปในแนวครอบครอง ‘To Have’ ในขณะที่ปัญญาทางธรรมจะเป็นไปในแนว ‘To Be’ ใช้คำ� ว่าปญั ญา เหมือนกนั แตถ่ า้ เปน็ ทางโลกกับทางธรรม จะมีเปา้ หมายตา่ งกัน” หลวงแม่บอกว่า  แม้เราจะมีปัญญาทางโลกมากแค่ไหน ก็ตาม  แต่ไม่ได้เป็นเคร่ืองยืนยันว่าเราจะสามารถเข้าใจถึงปัญญา ทางธรรมทแ่ี ก้ไขความทุกขไ์ ดม้ ากกวา่ คนอ่ืน 27

“ไม่มีการันตีเลยว่าคนมีปัญญาทางโลกมากจะเข้าถึงธรรม ได้ง่ายกว่าคนอ่ืน  เผลอๆ คนที่มีปัญญาทางโลกอาจมีอุปสรรคต่อ การเข้าหาปัญญาทางธรรม  เพราะว่าถ้าหากว่าเขาใช้ปัญญาในเร่ือง การกินการเสพมาก  การที่เขามีการกินมาก  เสพมาก  ใช้มาก  คดโกง มาก  อาจเป็นอุปสรรคต่อการที่จะมองเห็นปัญญาทางธรรม  หรือใน ทางกลบั กัน เม่อื เขาเสพเตม็ ทแี่ ลว้ เขาอาจเหน็ ว่า ที่สุดแลว้ มนั ไมไ่ ด้ มีอะไร ชีวิตเรามันแสวงหามากกวา่ น้ัน ชวี ติ เราแสวงหาส่ิงทีไ่ ปให้พน้ จากการยดึ มัน่ ถือมั่นในตัวตน  อาจเป็นจุด starting point ใหเ้ ขาได”้ เพราะฉะนั้นคนที่มีปัญญาทางโลกมากหรือคนเก่งต้องมี ความดีประกอบกนั ด้วย “เก่งและต้องดีไง  มันต้องท้ังเก่งและท้ังดี  แต่แม้กระท่ังค�ำ วา่ ดี มนั กต็ ้องมาให้ค�ำนยิ ามวา่ ในค�ำวา่ ดี เราต้งั ใจจะหมายความวา่ อยา่ งไร ดรี ะดับโลก หรือดีทางธรรม” ดีระดับโลกคือเป็นด็อกเตอร์ดีแล้ว  ดร.ฉัตรสุมาลย์  ดีแล้ว แต่ ดร.ฉัตรสุมาลย์อาจเต็มไปด้วยความทุกข์  เพราะไม่ได้เข้าถึง ปัญญาทางธรรม  แต่พอเราได้เข้ามาปฏิบัติธรรม  ได้เข้ามาลิ้มรส เพียงลิ้มรสนะ  ยังไม่ได้บรรลุธรรมอะไรนะ  เพียงเข้ามาล้ิมรสธรรมะ ของพระพุทธเจ้า  รู้แล้วว่าหนทางนี้เป็นหนทางที่จะท�ำให้ชีวิตของ เรามีความหมายมากข้ึน ชีวติ ของเราทงิ้ จากตวั ตนเลก็ ๆ ไปสู่ตัวตน ใหญ่ เราไมท่ �ำเฉพาะตัวเราแลว้   แตเ่ ราจะทำ� เพือ่ สังคม เราจะท�ำเพื่อ ประเทศชาติบ้านเมือง  เราจะท�ำเพ่ือศาสนา  เราจะท�ำเพื่อสถาบัน กษัตรยิ  ์  อย่างน้ีเป็นต้น ท้ิงจากตวั ตนเล็ก soul เอสตัวเล็กนะ ไปสู่ Soul เอสตวั ใหญ่” 28

หลวงแม่ให้ความกระจ่างว่า  การท่ีเราจะเข้าถึงธรรมน้ันไม่ จ�ำเป็นจะต้องละท้ิงทางโลกเลยทีเดียว  เพราะทุกคนต้องการความสุข เหมือนกัน อย่ทู ีว่ า่ จะประยกุ ตใ์ ช้อย่างไร และต้องตดั ความยึดติดให้ ได้ “จริงๆ  แล้วความสุขที่ย่ังยืนเป็นสิ่งท่ีทุกคนต้องการ  ไม่ว่า ตวั นอ้ ยๆ ก็ตอ้ งการ วัยรุ่นกต็ อ้ งการ คนแก่ก็ตอ้ งการ แตห่ ากว่าเราจับ ยดึ ใหช้ ดั เจนแลว้ เราจะขา้ มพ้นการยดึ ตดิ ในตัวบคุ คล ติดคนโน้นติด คนนี้ ตดิ พ่คี นนั้นคนน้ี ท้ังหมดนม่ี ันจะผ่านไป แลว้ ท้ายท่ีสุดถ้าไม่มพี ่ี พีเ่ หลา่ น้ันตาย เราตอ้ งตายด้วยไหม” “เรารักคนนี้  เรายึดติดเขามากเลย   แล้วเขาก็ผ่านไป  ลูก จะทุกข์มาก  กินไม่ได้นอนไม่หลับ  แต่หลวงแม่จะรู้ว่า   อ๋อ...มันเป็น เช่นนน้ั เอง เขา้ มาแล้วก็ผ่านไป ดลู มหายใจของตวั เอง มลี มหายใจ เข้าและลมหายใจออก  ไม่สามารถจะอยู่ได้ด้วยลมหายใจออกอย่าง เดยี ว ไมส่ ามารถจะอยู่ได้โดยลมหายใจเขา้ อยา่ งเดยี ว มนั อิงอาศยั กนั ลักษณะอะไรก็ตามท่มี นั อิงอาศยั กนั เราเอาแนก่ ับมนั ไมไ่ ด้ นค่ี อื ธรรมะใช่ไหม  ถ้าจับตรงน้ีไม่ได้ก็ทุกข์เยอะนะ  วิ่งไปตามจับเงา  จับ อยา่ งไรกไ็ ม่ติดหรอก” “ในท้ายที่สุดแล้วเราก็พบว่าสาระของชีวิตมันต้องก้าวพ้น บคุ คล ก ข ค ก้าวพน้ ไปสู่สง่ิ ที่เป็นคณุ ธรรมทีอ่ ยู่เหนือตวั เรา แลว้ เรา เข้าสู่หนทางนั้น   ด�ำเนินชีวิตของเราเข้าสู่หนทางนั้นท่ีเป็นหนทางอัน เกษม ศาสนาพทุ ธบอกว่าเปน็ หนทางอันเกษม” 29

ในสังคมทางโลก  หลวงแม่ บอกว่าเราสามารถเรียนรู้ธรรมจาก คนทุกประเภทแล้วน�ำมาปรับใช้กับ ชีวิต ไมจ่ ำ� เปน็ ทจ่ี ะต้องเรียนรู้จากคน ดเี พียงอยา่ งเดยี ว “คนเราทุกคน  ไม่ว่าคนดีคน เลว  มีส่ิงท่ีให้เราเรียนรู้  ขงจ๊ือบอกว่า ถ้ามีคนสองคนน่ังอยู่ข้างหน้าเรา  เขา ทง้ั สองคนเปน็ ครเู รา คนนเ้ี ขาเก่งเหลอื เกนิ เราต้องเรยี นรู้ทจี่ ะเก่งเทา่ เขา คน น้ีไม่เอาไหนเลย  เราต้องเรียนรู้ท่ีจะ ไม่เป็นอย่างเขา  เพราะฉะนั้นใครท่ีอยู่ ขา้ งหนา้ เรา เราจบั เป็นครเู ราได้หมด” ส�ำหรับวัยรุ่นและคนท�ำงาน ควรหยิบหลักธรรมข้อไหนไปใช้ ชีวิตจงึ จะมคี วามสุข “จริงๆ  แล้วศาสนาพุทธให้ธรรมะส�ำหรับชีวิตประจ�ำวัน ศาสนาพุทธไม่ได้เป็นปรัชญาลึกซึ้งที่จะอยู่ในบล็อกบล็อกหน่ึง  ที่ไม่ ได้เก่ียวเน่อื งกบั ชวี ิตเราเลย ต่ืนเช้าข้ึนมาเวลาที่เราไปทำ� งานเจ้านาย ก็อยากได้คนท�ำงานที่ร่าเริงแจ่มใส  โดยเฉพาะถ้าลูกเป็นพนักงาน ขาย ถา้ พนกั งานขายมกี ล่ินเหลา้ กลนิ่ บหุ ร่ีโชยมา  หน้าตาหมองมัวนะ จะดูจติ ตกเลย” 30

“เพราะฉะน้ันธรรมะที่เราจะใช้ได้เลย  ต่ืนขึ้นมาหลวงแม่ สอนลกู ทว่ี ดั วา่   ตน่ื มาใหร้ สู้ กึ ขอบคณุ   ลกู จะถามวา่ รสู้ กึ ขอบคณุ อะไร   ขอบคุณท่ีเรามีวันน้ีไง  ใช่ไหม  เรามักจะทึกทักเอาว่า  เราก็ต่ืนทุก วัน  จริงหรือท่ีว่าเราจะต้องตื่นทุกวัน  มันมีนะคนที่เขาตายตอนกลาง คืน แต่คงไม่ใชเ่ ราหรอก เราจะพูดอย่างนัน้ เข้าขา้ งตัวเองว่าไมใ่ ช่ เราหรอก  รู้ได้อย่างไรว่าจะไม่ใช่เรา  ขอให้ดีใจก่อนว่าตื่นขึ้นมานะ ร่างกายเราพร้อม  บางคนต่ืนข้ึนมาแต่เป็นอัมพาต   ไม่สามารถจะ ฟังก์ชั่นได้ นิว้ มือน้ิวเท้าไมส่ ามารถจะฟงั กช์ ่นั ได้ ตนื่ ข้ึนมาแลว้ ...ออ้ อวัยวะเรายังพร้อมมูลนะ  เราควรดีใจ  ดีใจว่าเรายังมีชีวิตอยู่อีกวัน นึง” “การปฏิบัติธรรมอย่าเอาหลายวัน  เอาวันน้ีก่อน  อย่าไป สัญญากับพระเจ้าที่ไหนว่าจะปฏิบัติไปตลอดชีวิต  ชีวิตของลูกคือ วันน้ีจรงิ ๆ เราจะตัง้ ใจนะ  ว่าใจของเราจะเปน็ กุศล ใจ วาจา กายเปน็ กุศล นนั่ กค็ ือพูดอะไรออกไปจากปากเราให้เป็นประโยชนต์ ่อตวั เรา เอง ตอ่ คนฟัง อะไรที่ไมด่ จี ำ� เป็นตอ้ งพูดไหม ไม่ตอ้ งพดู ก็ได้ จ�ำเป็น ต้องด่าไหม  พักเอาไว้ก่อนก็ได้  ถ้าเราคิดอย่างน้ีแต่ละวัน  อย่าไป คิดถงึ ธรรมะทล่ี กึ ซึง้ เอาแค่น้กี อ่ นไดไ้ หม รกั ษาใจใหเ้ ป็นกุศลวาจาให้ สง่ิ ทีเ่ ราทำ� เปน็ กศุ ล เปน็ กุศลส�ำหรับตวั เราเอง เป็นกุศลสำ� หรบั คนอื่น แม่ก็ทำ� ได้ ลูกวยั รนุ่ ก็ทำ� ได้ เด็กตัวน้อยๆ ก็ท�ำได”้ 31

“อีกค�ำถามหนึ่งท่ีคนชอบถามมากเลย  เด็กเล็กๆ จะสอน ธรรมะอะไร  หลวงแม่บอกว่าไม่ต้องอะไรลึกซ้ึง  เอาแค่ให้เขารับผิด ชอบตัวเอง  การรับผิดชอบตัวเองคือการเคารพตัวเองและเคารพผู้อ่ืน พอเด็กอนบุ าลเข้ามานง่ั ยน่ื เทา้ ให้แม่ถอดรองเทา้ ยื่นเท้าให้ยายถอด รองเทา้ ใชไ่ หม เราต้องปลูกฝงั ตั้งแต่ตอนน้ีเลย ลกู ถอดรองเทา้ นะคะ ลกู ถอดรองเทา้ ใหแ้ ม่ด้วย อุ๊ย มือแม่ถอื ของอย่ทู �ำอยา่ งไรคะ แมย่ ังถือ ของอยู่แม่ยังถอดรองเทา้ ไม่ได้ หนถู อดรองเทา้ ใหแ้ ม่ได้ไหมคะ มันจะ ท�ำให้เขารู้สึกว่าเราต้องการความช่วยเหลือจากเขานะ  เด็กจะท�ำเป็น เดก็ ฉลาด แตเ่ รามกั จะทำ� ใหเ้ ขาหมด  เราไม่สอนข้ันพน้ื ฐานความรบั ผดิ ชอบ เล็กๆ เขากท็ �ำได”้ 32

พอเป็นปัญญาทางธรรมแล้ว  ปัญญาทาง ธรรมตัวน้ีจะต้องน�ำเราไปสู่ความสุข  แต่ต้องเป็น ความสขุ ทีแ่ ท้จริงนะ ไมใ่ ช่ความสขุ จอมปลอม น�ำ เราไปสู่การละคลายซึ่งความทกุ ข์ การละคลายซ่ึง ความทุกข์ ฐานของความทุกข์ แกน่ ของความทุกข์ คอื การยดึ มน่ั ถือม่นั ในตัวตน 33

รศ.ประภาภัทร นิยม ผู้อำ� นวยการโรงเรียนรุ่งอรุณ “ถ้าเยาวชนแต่ละบุคคล ได้พัฒนาตัวเองให้ดีที่สุดแล้ว  โลกน้ีก็จะน่าอยู่มาก  ไม่ต้องมีใคร มาคอยตามจับผู้ร้ายที่ไหน  ถ้า ทุกคนเข้าใจอย่างนี้ได้โลกก็จะ สันติสุข  เหมือนท่ีท่านพุทธทาส กล่าวไว้ว่า  เยาวชนคือสันติภาพ ของโลก” รศ.ประภาภัทร  นิยม  คืออดีตนักเรียนและครูท่ีสอนด้านงาน สถาปัตยกรรมมาอย่างยาวนาน  เป็นสถาปนิกท่ีได้รับการยอมรับ  จน วันหน่ึงเมื่อมีจุดพลิกผันส�ำคัญในชีวิต  จากสถาปนิกแถวหน้าก็ได้ผัน ตัวเองมาเป็นคนท�ำงานด้านศึกษาทางเลือก  มีเครือข่ายด้านการศึกษา ทางเลือกท่ีกว้างขวางท่ีเน้นหลักการศึกษาเชิงบูรณาการ  จนก่อให้เกิด โรงเรียนรุ่งอรุณท่ีผู้เรียนกับผู้สอนเรียนรู้ไปพร้อมๆ  กัน  เพราะนอกจาก นักเรียนแล้ว  ครูก็มีส่วนส�ำคัญในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้กับเด็ก และน่ันจึงเป็นท่ีมาของโครงการจะเปิดการศึกษาระดับปริญญาตรีท่ี เรียกวา่ อาศรมศิลป์ ท่ีจะสอนการเรียนรู้ที่ไม่ได้อยู่แคก่ รอบการศกึ ษา เพยี งอย่างเดียว แต่เป็นการเรยี นแบบครบวงจร ร้ลู กึ และได้ประโยชน์ จากการเรียนรนู้ น้ั โดยความหวังสูงสดุ ของอาจารย์ประภาภทั ร คอื การได้ เหน็ พัฒนาการทีด่ ีขึ้นของคนทุกวยั ที่มใี จอยากจะเรยี นรสู้ ง่ิ ต่างๆ บนโลก ใบนี้ 34

สถาปนกิ ผู้ออกแบบการเรียนรแู้ บบใหมใ่ หเ้ ดก็ “มีคนถามเสมอว่าจากสถาปนิกมาเป็นนักการศึกษาได้ อยา่ งไร สง่ิ หนึง่ กค็ งมาจากประสบการณต์ รงของตัวเองที่ไดพ้ บเจอ กบั การเล้ียงลูก เพราะลกู เราเขามีความบกพรอ่ งเรอ่ื งการเรียนรู้ ตอน นนั้ การรักษาเดก็ ทมี่ ภี าวะแบบน้ีเปน็ เรอื่ งยาก เรากม็ าคดิ วา่ ควรจะท�ำ อย่างไรที่จะทำ� ใหเ้ ขาสามารถเรยี นรไู้ ดเ้ หมอื นเดก็ อนื่ ๆ ในใจลกึ ๆ เรา เชอื่ วา่ เขามศี ักยภาพอยใู่ นตวั เอง อยู่ท่เี ราว่าจะสามารถดงึ ศักยภาพ นั้นออกมาได้อย่างไร จากความเชื่อลึกๆ เราก็เริ่มศึกษามากขนึ้ ก็เรมิ่ เข้าใจว่า จรงิ ๆ ลูกเราสามารถเรียนรไู้ ด้นะ เราแคต่ ้องหาวิธที ่ีถกู เรา จึงใช้วิธเี ปดิ การเรยี นร้กู ับเขา เขา้ ไปอย่ใู นโลกของเขา ลองใช้วธิ กี าร เรียนรแู้ บบเขาดู เหมอื นเราเรยี นร้ไู ปพรอ้ มๆ กบั เขา ก็เร่มิ สือ่ สารกัน ได้มากข้ึน ปรับให้เขาอย่ใู นโลกปรกตไิ ดม้ ากขน้ึ ตอนไปเขา้ โรงเรยี น สาธิตจุฬาฯ ครู ป. 1 ก็ชว่ ยไดม้ าก เขาช่วยสรา้ งเรอื่ งภาษาท่ีใช้ในการ สื่อสาร ตลอดจนวธิ ีการเรยี นรตู้ า่ งๆ นานา เราปรกึ ษากนั ตลอดเหมือน ทำ� วจิ ยั ลกู สอนกันไปสกั เทอมหน่งึ จากท่อี ่านหนงั สือไม่เป็น ไมร่ ูว้ ธิ ีที่ จะเรยี นตามปรกติ อยู่ๆ วันหนงึ่ เขากอ็ ่านหนังสือพมิ พแ์ บบผู้ใหญ่ได้ และเรยี นจนสามารถสอบเข้ามหาวทิ ยาลัยได้ นัน่ จึงท�ำใหเ้ ราเรมิ่ เช่ือ ในเร่อื งมนุษยม์ ากขึ้น เชอ่ื ว่ามนษุ ยม์ ีธรรมชาตอิ ันพเิ ศษ คอื มคี วาม สามารถท่ีจะพัฒนาการเรียนรขู้ องตวั เอง พฒั นาจากข้างใน ซ่ึงมติ นิ ี้ คนไม่ค่อยมอง แตว่ ่าเม่ือเราเรมิ่ ใช้วิธอี ยา่ งน้กี ับตัวเองและลูก เราเร่ิม รู้ว่าความสามารถของมนุษย์มันพัฒนามาจากภายใน  คนส่วนใหญ่ จะให้ความส�ำคัญกับการสอนเร่ืองข้างนอกเป็นตัวต้ัง  แต่ไม่ค่อยรู้ ขา้ งในตัวเอง ไมค่ อ่ ยร้ถู ึงภาวะของการรบั รู้ ดงั นน้ั การจดั การเรื่องราว ต่างๆ เกีย่ วกับการใหค้ วามรูก้ ็จะขา้ มขั้นตอนน้ีไป” 35

โรงเรียนรุ่งอรุณ  ศักยภาพสร้างได้ผ่านการเรียนรู้จากทั้ง ภายในและภายนอก “ส่งิ ทไี่ ด้รับระหว่างทพ่ี ยายามชว่ ยใหล้ ูกมพี ฒั นาการดีขนึ้ คือ การค้นพบว่า  วิธีการพัฒนาศักยภาพของเด็กน้ันมีหลายแบบ  ขึ้นอยู่ กับตัวผู้เรียนแต่ละคน   ถ้าเราสามารถเข้าใจความต้องการของเด็ก ได้ มันก็จะท�ำให้การเรยี นการสอนสัมฤทธผิ์ ลมากขึน้ มันจึงเป็นท่ีมา ของแนวคิดที่เราอยากทดลองสร้างหลักสูตรแบบใหม่ในรูปแบบของ โรงเรียน โดยที่ให้ผเู้ รยี นเขาลงมือปฏบิ ัตแิ ละเรยี นร้ดู ว้ ยตวั เอง วิธีการ เรียนการสอนของครูก็เน้นการคิดส่ือการสอน   ที่จะท�ำให้เด็กได้ท�ำ กิจกรรมท่ีเกิดการเรียนรู้  โดยเราไม่อิงจากต�ำราเพียงอย่างเดียว  ใน ช่วงแรกที่เปิดการสอน  มีนักเรียนประมาณร้อยกว่าคนเท่าน้ัน  หลัก การของเราก็คือเราต้องมองเด็กว่าเขาจะไม่ใช่ผู้ถูกสอน  เราต้องมอง เด็กว่าเขาเป็นผู้เรียน  ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราจะอธิบายเรื่องป่า  เรื่อง สตั ว์กับเขา ถ้าเราให้เขาดูแต่หนงั สอื แล้วบอกใหฟ้ งั ไมม่ ที างทีเ่ ขาจะ เขา้ ใจได้ นอกจากพาเขาไปเจอจริงๆ เรอ่ื งพวกนี้โรงเรยี นรงุ่ อรุณทำ� อยู่ เปน็ ประจำ� มีการพาเด็กๆ ไปทศั นศกึ ษาดูส่งิ ตา่ งๆ ทน่ี อกเหนือจากใน ต�ำรา หรือเป็นสง่ิ ท่ไี ม่สามารถอธิบายใหเ้ ขา้ ใจได้จากตำ� รา เมือ่ เขา ไดเ้ ห็นเขาจะจดจำ� ไปตลอด เดก็ ชอบ เพราะชวี ิตคนเราจะเรียนร้ไู ด้ เมอ่ื เจอสง่ิ ท้าทาย เดก็ เหล่านเี้ ขาจะซึมซับวิธกี ารเรียนรู้ด้วยตวั เองไป จนโต พอไปเจออะไร ไดพ้ บอะไร เขาจะได้เรยี นรู้และแก้ปัญหาเปน็ สุดท้ายเขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถดึงศักยภาพในตัวเองออกมาได้ มากทสี่ ดุ ” 36

กระบวนการคิดแบบพุทธศาสนาคือหลักยึดส�ำคัญในการ เรยี นรู้ “โยนโิ สมนสิการ คอื อะไร กค็ ือ วิธกี ารคดิ ทแ่ี ยบยล คดิ อยา่ ง มเี หตุมีผล คิดอยา่ งสืบสาว คดิ อย่างมีท่ีมาทีไ่ ป คดิ อย่างเขา้ สู่ความ จริง คิดอย่างเหน็ ธาตแุ ทธ้ าตเุ ทียม เพราะฉะนน้ั เราน�ำสิง่ เหล่านี้มาสู่ กระบวนการเรียนรู้ เราแทรกไปกบั การเรยี นการสอน เมอื่ เดก็ ได้เร่อื ง เหลา่ นี้ พร้อมไปกบั พัฒนาศกั ยภาพของตวั เองแลว้ เขาจะเปน็ คนท่ี สามารถเขา้ ใจอะไรไดง้ า่ ยมากยง่ิ ขึน้ ในเรื่องธรรมะ เดก็ จะสามารถ เขา้ ใจหลกั เรอื่ งทกุ ขแ์ ละการแก้ความทุกขไ์ ด้ดกี ว่าผ้ใู หญ่ เพราะเดก็ เขาจะตรงไปตรงมากวา่ เขารู้ว่าถ้าไมค่ ิดจะไม่ทุกข์ คนเราย่ิงทุกข์ก็ เพราะการคดิ คิดโนน่ นีไ้ มร่ ูจ้ ักปล่อยวาง สดุ ทา้ ยก็เปน็ ทุกข์ เร่ืองน้ี ผูใ้ หญ่เปน็ มากกวา่ เดก็ เพราะเดก็ เม่ือเขาเข้าใจแล้ว เขาก็จะบอกวา่ คดิ ท�ำไม ถา้ ไมค่ ดิ กไ็ มท่ กุ ข์ แต่ผูใ้ หญม่ ักท�ำไมไ่ ด้ เพราะเราไมร่ ู้ทนั ตัว เองและไมซ่ อ่ื สัตย์กับความร้สู กึ ตัวเองเท่ากบั เดก็ ” 37

การเรียนรทู้ ่ีเร่ิมจากครูสู่ศิษย์ “นี่คือที่มาของอาศรมศิลป์ที่เราต้องการให้เป็นท่ีสร้างครูให้ เป็นนักออกแบบ   แต่เป็นการออกแบบในเร่ืองการเรียนการสอน   เรา ต้องการผลิตครูและหาวิธีการเรียนการสอนที่ไปให้ถึงจิตวิญญาณ โดยมีจุดแข็งก็คือไม่ว่าจะเรียนอะไร  เราต้องเรียนให้ลึกซ้ึง  ไปให้ถึง คณุ คา่ แทข้ องเรื่องน้นั โดยมหี ลกั สูตรทางด้านการเรยี นการสอนแบบ บรู ณาการ แตว่ ่าผ่านทางภูมศิ าสตรบ์ า้ ง ผ่านทางนวัตกรรมการเรยี นรู้ บา้ ง หรอื ไมก่ ผ็ ่านทางด้านการศึกษาสู่แนวพุทธบา้ ง แลว้ ก็มีทางด้าน ศลิ ปะ ศลิ ปะกเ็ ปน็ พน้ื ฐานการเรยี นรไู้ ดแ้ ทบจะทกุ วชิ า อยา่ งศิลปะ กบั การคดิ ค�ำนวณ ดนตรีกบั การคำ� นวณ กเ็ ปน็ เรื่องที่เก่ยี วเน่อื งกัน ได”้ 38

ผู้ใหญ่ตอ้ งทำ� ใหร้ ู้ว่าเยาวชนคือคนส�ำคญั เพราะเยาวชนน้ัน คือความหวงั ของโลก “ผู้ใหญ่ต้องท�ำให้เยาวชนรับรู้ว่าเขามีก�ำลังของสติปัญญา เป็นอนาคตท่สี ำ� คัญของโลก พลงั ของเยาวชน ถา้ หากใชใ้ ห้ถูก จะ เหมือนกบั ได้สร้างส่ิงท่ดี ีทีส่ ุดให้กับโลกใบน ี้  เยาวชนมีพลังชวี ิตที่ดี จะ ทำ� อะไรกท็ ำ� ได้ สำ� เร็จไปหมด แต่ถ้าหากเลยเวลานั้นไปแล้ว มาเริ่ม ตอนแก่ จะท�ำอะไรมนั จะชา้ มนั ไม่แจม่ ใสเหมือนตอนเป็นเยาวชน เยาวชนทำ� อะไรไดเ้ หมือนผู้ใหญ่ คิดอะไรก็คิดได้เหมือนผู้ใหญ่ เข้าใจ อะไรกเ็ ขา้ ใจเหมือนผ้ใู หญ่ แมว้ า่ ประสบการณม์ ไี ม่มากเท่า แตก่ ็ขอ ให้เขามีสติปัญญาพอที่จะท�ำความรู้ความเข้าใจได้เสมอกันกับผู้ใหญ่ อย่าไปรอวา่ เรือ่ งอย่างน้ตี อ้ งรอแกๆ่ ซะก่อนคอ่ ยรู้ ไม่ใช่ รีบๆ ร้ไู ป เลย อย่าใหช้ ีวิตเราสญู เปล่าไปกบั ความฟงุ้ เฟอ้ เกนิ ไป ยังมขี องท่เี รา ตอ้ งคน้ พบ มีค่ามากกว่านน้ั อีกมากมาย ท่ีเราต้องค้นใหพ้ บ เพราะ ฉะนั้นลองมาสนใจในเรือ่ งทีเ่ ปน็ เรือ่ งตวั ของเราเอง เปน็ ชวี ิตของเรา เอง  ทั้งร่างกายและจิตใจของเราเอง  ถ้าแต่ละบุคคลได้พัฒนาตัว เองให้ดที ี่สุดแลว้ โลกนก้ี ็จะน่าอยูม่ าก ไมต่ อ้ งมีใครมาคอยตามจบั ผู้ร้ายท่ีไหน  ถ้าทุกคนเข้าใจอย่างนี้ได้โลกก็จะสันติสุข  เหมือนท่ีท่าน พทุ ธทาสท่านสอนไวว้ า่ เยาวชนคือสันตภิ าพของโลก” 39

พระพรพล ปสันโน หนุ่มสาว ความสขุ และความตาย “ไม่จ�ำเป็นท่ีเราจะต้อง ปล่อยให้ใจเราช�้ำ  แล้วค่อยมา ศึกษาศาสนา เราอยา่ ไปท�ำรา้ ยตวั เองมากขนาดนน้ั มันไม่ดี ศึกษา ก่อนเราดับทุกข์ได้ก่อน  ชีวิตก็จะมี ความสุขไดก้ ่อน” ในปัจจุบันมีคนหนุ่มสาวจ�ำนวนไม่น้อยท่ีสนใจศาสนา  แต่ จะมีสักก่ีคนท่ีได้สัมผัสค�ำสอนของศาสนาแล้วคิดจะเลือกใช้ชีวิต ที่เหลือบนเส้นทางนี้  มันเป็นการตัดสินใจครั้งส�ำคัญในชีวิต  และ เป็นการตัดสินใจซ่ึงจะน�ำชีวิตไปสู่เส้นทางความสุขสงบท่ีแท้จริง พระพรพล  ปสันโน  จากวัดพระรามเก้า  คือคนหนุ่มซึ่งมีอดีตที่เพียบ พรอ้ มไปด้วยความรู้ ความรกั และหน้าท่กี ารงานอนั มนั่ คง แต่เพราะ การบวชทดแทนคุณตามหน้าที่ของลูกผู้ชายครั้งน้ัน  ท�ำให้ท่านได้ สัมผัสเส้นทางสายพุทธศาสนาที่มั่นคง   และเป็นสุขย่ิงกว่าทางโลก มากนกั 40

“ไม่เคยคิดว่าจะบวชนานขนาดน้ี  ครั้งนั้นที่บวชเป็นการบวช ตามประเพณีคนไทย  อายุครบย่ีสิบห้าก็บวชตามหน้าท่ี  แต่พอเรา ได้ศกึ ษาและได้อย่ใู กล้กบั ธรรมะท่ที ่านเจ้าคณุ  (ทา่ นปิยโสภณ) แล้ว ก็พระเดชเจ้าคุณหลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดพระรามเก้า  มันก็ท�ำให้เรา เปลี่ยนความคิดไปโดยที่เราไม่รู้ตัว   จริงๆ  จะบวชช่ัวคราว  คือสาม เดือนในช่วงเข้าพรรษา  สาเหตุท่ีบวชก็ตามที่บอก   หน่ึงก็คือตาม ประเพณี  สองกค็ อื เหนอ่ื ยมาก ท�ำงานหนัก คดิ ว่ามนั ไม่ได้พักเลย ไม่ ไหวแล้ว  ถ้าไม่ได้พักมันน่าจะหาจุดท่ีเราพักก่อนท่ีจะเดินทางต่อไป  แล้วถ้าเราได้มาศึกษาด้านธรรมะก็น่าจะเอาส่ิงนี้ไปใช้ในการท�ำงาน  ทเ่ี ราจะต้องกลับไปเจอในอนาคตข้างหน้าได้   กค็ ดิ ไวแ้ ค่น้นั แต่พอมาบวชแล้ว  เราพบว่าชีวิตในศาสนามันแตกต่าง จากชีวติ ฆราวาส มนั เป็นความสบายใจ คอื ชวี ิตของพระนไ่ี มต่ อ้ งไป หวังเร่ืองของผลประโยชน์หรือผลก�ำไร  มันเป็นเร่ืองของการแข่งขัน น้อย  เป็นเรื่องของการร่วมมือกันมากกว่า  ตอนท่ีเราอยู่ในโลกธุรกิจ คนทเี่ จอกเ็ ปน็ คนอกี แบบหน่ึง เป็นคู่แขง่ เป็นคคู่ ้า ความคดิ เรือ่ งผล ประโยชน์มันมีค่อนข้างมาก  แต่พอเรามาบวช  คนที่เราเจอเป็นคนท่ี เขาไม่คิดจะแข่งกับเรา  เพราะเขาไม่คิดท่ีจะเอาผลก�ำไรจากเรา  แต่ ส่วนใหญ่คิดที่จะช่วยและก็มีความรักมีความหวังดีกับเรา  คนที่อยู่ รอบๆ  เราก็เป็นคนอีกแบบหน่ึง  สถานที่ที่เราไปมันก็เป็นสถานท่ีอีก แบบหนึ่ง  ความรู้สึกมันแตกต่างค่อนข้างมากนะ   ตอนบวชใหม่ๆ  ก็ ตดิ ตามรบั ใชห้ ลวงพ่อกับทา่ นเจา้ คณุ ไปแต่ทดี่ ๆี เจอแตค่ นดๆี ก็พบ แตส่ ่งิ ดีๆ ต้ังแตก่ า้ วแรกที่เรามาบวช” 41

ศาสนาช่วยทำ� ให้เข้าใจและร้จู กั ตวั เอง “แต่ก่อนเราก็คิดแต่จะท�ำอะไรให้ตัวเราเอง  ท�ำอะไรให้ ครอบครวั เรา   ทำ� อะไรให้ธุรกิจของเรา พอมาบวชเรามาเหน็ หลวงพ่อ ทำ� สิ่งทท่ี ่านเจ้าคุณท�ำ ทา่ นไม่ไดท้ �ำเพ่ือตวั เอง ธรรมะทท่ี า่ นสอนก็ ไมไ่ ด้สอนเพือ่ ตวั เอง ทา่ นสอนใหค้ นอนื่ เป็นคนดี มีความสุข การช่วย เหลือคนอ่ืนให้พ้นทุกข์เป็นงานหลักของท่าน  แล้วท่านก็มีความสุข เรามาอยู่ด้วยก็เลยมีความสุขโดยที่ไม่รู้ตัว  มันก็เลยเปล่ียนความคิด ว่าการท�ำงานให้คนอ่ืนมีความสุขมันก็เป็นงานอันยิ่งใหญ่เช่นกัน  แต่ ก่อนเราก็ท�ำใหต้ ัวเรา อยา่ งดีกค็ รอบครวั เรา ธรุ กจิ ของเรา ก็คดิ ว่ายงิ่ ใหญแ่ ลว้ แต่จรงิ ๆ มันมีงานทย่ี ง่ิ ใหญก่ วา่ นนั้ อกี คือการทำ� ให้กบั คน ทเี่ ราไม่รจู้ กั เลย ชว่ ยเหลือให้เขาพ้นทกุ ข์  ใหเ้ ขามีความสุขได้ มันเป็น ความคิดใหม่ที่เกิดขึ้น  ท่ีเราไม่เคยคิดมาก่อนเลย  แล้วเราได้มาท�ำก็ ถอื ว่าเปน็ บุญเหมือนกนั ซง่ึ สมยั ทอี่ ยใู่ นโลกธุรกิจมนั ไมเ่ คยคิดเร่อื ง อยา่ งนี้ มันคดิ แคว่ า่ บรษิ ัทตอ้ งทำ�  บรษิ ัทต้องได้ มากกว่าจะท�ำให้คน อ่นื ไดเ้ ปน็ อนั ดับแรก” ศาสนาสามารถชว่ ยคนในโลกวัตถุนยิ มใหม้ ีความสุขได้ “หลวงพี่ว่าไม่ว่าจะเป็นคนหนุ่มสาว  คนวัยไหน  จิตใจก็ ต้องการท่ีพ่ึง  เหมือนเราต้องการท่ีจะต้องหาอะไรจับ  หาอะไรเกาะ ไว้  เพราะไม่ว่าจะคนหนุ่มหรือคนสาวหรือเด็กหรือผู้ใหญ่  จิตใจก็ ตอ้ งการที่พึง่ เชน่ เปน็ คนหนมุ่ คนสาวมันกม็ ีโอกาสเสียใจ มีโอกาสผิด หวงั ใครไม่มคี วามผดิ หวงั มนั เป็นไปไม่ได้ เปน็ เดก็ ถามวา่ เสียใจไหม เด็กกเ็ สยี ใจ ผ้ใู หญเ่ สียใจไหม ผใู้ หญก่ ็เสียใจ  แตค่ นทีไ่ ปหาศาสนา 42

ตอนอายุเยอะๆ แล้ว เพราะมันเสยี ใจอยา่ งมาก เพราะตอนเดก็ ตอน หนมุ่ สาว มนั ช้�ำแลว้ ช�้ำอีก เจอแลว้ เจออกี เหมอื นกบั เขาเจ็บปวดมาก แลว้ เขากไ็ มร่ ู้จะหาทางออกยังไง คือหามาทกุ อย่าง แล้วมนั หาไม่เจอ “สุดท้ายคนเหล่าน้ันก็เลยมาเจอพระพุทธศาสนาท่ีจะช่วย เป็นหลกั ใหเ้ ขานน้ั พ้นจากความทกุ ข์ได้ แต่เรามองอีกมมุ หน่ึง ถา้ เรา ไม่ตอ้ งแก่ เรายังเป็นหนุ่มเปน็ สาวอยู่ เราไม่จ�ำเป็นทีจ่ ะต้องรอใหเ้ รา ช�ำ้ กอ่ น เราถึงจะต้องไปหาศาสนา ถ้าเรารจู้ กั ศาสนากอ่ น เรารู้จกั วิธี ดับทกุ ขก์ อ่ น เราก็ไมช่ ำ�้ แลว้ เรามีเหตผุ ลอะไรท่เี ราจะรอใหท้ ุกขซ์ ้�ำจน ชำ�้ แลว้ เราคอ่ ยมาศกึ ษา ท�ำไมเราไม่ศกึ ษาตั้งแต่เรายงั หนุ่มยังสาว รา่ งกายเรายงั ดี ชีวิตเรายงั ทำ� อะไรได้อกี เยอะแยะ  ใหเ้ รามคี วามสขุ ” 43

“ทำ� ไมเราไมเ่ ริ่มกอ่ น คนที่เรมิ่ กอ่ นแสดงวา่ เปน็ คนทมี่ คี วาม ทกุ ข์นอ้ ย คนทเี่ ริ่มทหี ลงั มนั ชำ้� แบบไม่ไหวแลว้ คอ่ ยไปเริม่ ทำ� ไมเรา ตอ้ งทำ� ร้ายตัวเองซะขนาดน้นั เพราะอยา่ งน้ันหนุ่มสาวที่หันมาสนใจ ทางศาสนาเด๋ียวน้ีมีเยอะ  เพราะบางคนมองเห็นความส�ำคัญของการ ดับทุกข์ต้ังแต่เขายังเด็ก  บางคนอาจจะเจอทุกข์หนักๆ  ปัญหาของ คนหนมุ่ สาวคือเร่ืองของความรัก ผิดหวังอกหกั หนกั ๆ ผดิ หวงั ในเรื่อง ความรักหนกั ๆ โดนหลอกมากๆ ชำ้� ซำ�้ แลว้ ซำ�้ อกี กย็ ังเป็นเหมอื น เดมิ ก็ยังหลงไปในราคะ  ในโทสะ โมหะ  เหมือนเดมิ ชีวติ มนั กท็ ุกข์ซ�้ำ เดิมๆ เจอ...หาย...เป็น เจอ...หาย...แลว้ กเ็ ปน็ นีเ่ หน็ ไหม ชวี ิตทจ่ี ะว่งิ ไปหาความสุขแบบใหม่  มันก็เจอความทุกข์แบบเก่า  ถึงจุดหนึ่งก็เลย เอ...? ท�ำอยา่ งไรดี มนั เข็ด มนั กลวั มันไม่อยากท่จี ะไปทุกข์ซ้ำ� แบบ นั้นแล้ว   ก็เลยมาหาศาสนา  แล้วศาสนาก็ท�ำให้เขาพ้นทุกข์ได้  หนุ่ม สาวท่ีเจอแบบน้ีมีอยู่เยอะ  เพราะงั้นก็เลยคิดว่า  เราน่าจะใช้โอกาส พวกนี้บอกเล่าเผยแผ่ไปให้ใครท่ียังเป็นเยาวชน หรือใครที่ยังเป็นหนุ่ม สาวอยู่ว่า  ไม่จ�ำเป็นที่เราจะต้องปล่อยให้ใจเราช้�ำแล้วค่อยมาศึกษา ศาสนา เราอยา่ ไปท�ำรา้ ยตวั เองมากขนาดนน้ั มันไม่ดี ศึกษากอ่ นเรา ดับทกุ ข์ไดก้ ่อน ชีวติ ก็จะมคี วามสขุ ไดก้ ่อน” 44

หลกั ธรรมงา่ ยๆ ท่ีน�ำใชไ้ ด้ในชีวิตประจ�ำวัน “ศลี นเี้ ป็นหลัก ถา้ เราไม่มีศลี ก็เหมอื นชวี ิตไม่มหี ลกั ไม่รู้ท�ำ อะไรถกู ไม่รู้ทำ� อะไรผิด กท็ ำ� ส่ิงท่ผี ดิ ชวี ติ มันก็เปน็ ทุกข์ มันก็ทกุ ข์ซ�ำ้ ๆ เพราะท�ำผิดซ้ำ� ๆ เพราะงั้นถ้าเราไมม่ ีศีล ชีวิตมันจะอยู่ไดย้ าก เพราะ มันไม่รู้ว่าควรท�ำอะไรและไม่ควรท�ำอะไร  คนที่มีศีลได้ชีวิตก็จะปกติ ส่วนเร่ืองของสมาธิ  ชีวิตคนเราทุกคนต้องการสมาธิ  แต่คนมักไม่ เขา้ ใจ นกึ ว่าสมาธิสำ� หรับนักบวช สำ� หรับคนทป่ี ฏิบตั ิธรรมอยา่ งทคี่ น สากลโลกเข้าใจผดิ ถ้าเราตอ้ งกลับบา้ นเหน่อื ยๆ เราก็ตอ้ งนอนพักทุก วนั วนั ไหนเราไม่นอนพักเราไม่ไหว...เราจะตาย  การนอนหลับคือการ ท�ำสมาธิอย่างหน่ึง  แต่น่ันเป็นสมาธิแบบธรรมชาติ  ซึ่งมันก็เรียกได้ ว่าสามารถที่จะใช้ในการฟื้นฟูพลังมาท�ำงานได้  แต่มันยังไม่สามารถ ท่ีจะมีสมาธิหรือพลังจิตที่จะต่อสู้กับอารมณ์ร้ายๆ  ของเราได้  เราก็ ต้องท�ำสมาธิเพ่ิม  มันก็นอนแล้วก็ต่ืนมาทุกคนแหละ  มันก็เดินกันได้ ทุกคนแหละ  ทำ� งานไดท้ ุกคน กินข้าวได้ทุกคน แตค่ นทำ� ไมต่างกัน ต่างกันท่ีคนท่ีมีพลังจิต  คนที่ท�ำสมาธิเพิ่มข้ึน  อารมณ์เขาจะต่าง  คน เหมอื นกนั ตา่ งกนั ท่อี ารมณ์ คนที่มีสมาธิดี พลงั จิตดี เขาจะควบคมุ อารมณ์ได้ดี เขาจะเลอื กอารมณ์ไหนดี อารมณไ์ หนไมด่ ี แตค่ นที่ใช้ แบบสมาธธิ รรมชาตอิ ยา่ งเดยี วคือการนอน ก็นอนแล้วก็ตนื่ มาเหมอื น คนอ่ืน ไปทำ� งานได้ ไปโรงเรยี นได้ ไปกนิ ข้าวได้ ไปเท่ยี วได้ แต่เวลา อารมณ์ไม่ดีขนึ้ มา ทำ� งานไม่ได้ ไปเท่ียวไมไ่ ด้ กนิ ขา้ วไมไ่ ด้ ทะเลาะ โวยวาย มเี รื่องมีราวกบั คนอนื่ เบียดเบยี นคนอน่ื เบียดเบยี นตวั เอง บางทอี าจจะถงึ แก่ชีวิต บางทอี าจจะถูกไลอ่ อกจากงาน เพราะฉะน้ัน ตอบค�ำถามไดช้ ดั เจนเลยวา่ ชวี ิตเราตอ้ งการสมาธิ ขัน้ พนื้ ฐานคือการ นอนหลบั เป็นสมาธขิ ้นั พนื้ ฐาน และสมาธิทเ่ี ราฝกึ เพ่ิมเขา้ ไปอกี น�ำ 45

มาใชเ้ วลาอารมณไ์ ม่ดี เวลาทเี่ ราต้องคดิ อะไรท่จี �ำเปน็ เวลาทเ่ี ราต้อง ทำ� อะไรที่ยากๆ ถา้ เราไม่มีสมาธิเราก็ทำ� ไม่ได้ เพราะอย่างน้นั สมาธิ จะท�ำให้เรานั้นเกิดปัญญา  แล้วเราก็จะตัดสินได้ว่าสิ่งไหนควรท�ำไม่ ควรทำ� แล้วเราจะทำ� งานได้ดีขนึ้ ” ชีวิตจะดีข้ึน ถ้าเราเรยี นรูท้ ีจ่ ะอย่กู ับความตาย เพราะความ ตายอยกู่ บั เราทุกวินาที “จริงๆ  ความตายอยู่คู่กับเราตลอด  ศาสนาพุทธสอนให้ไม่ ประมาท  ก็คือศาสนาพุทธสอนว่าเราต้องเข้าใจว่าความตายน้ันเป็น สิง่ ท่ีเปน็ ธรรมชาติ เกดิ แก่เจ็บตาย ถ้าเราใช้ชวี ิตโดยไมป่ ระมาท เรา ทำ� ความดีตลอด ตอนทเ่ี รามลี มหายใจ เราก็ตายไปกับความดี เรา จะกลวั อะไร แต่ถา้ เราอย่กู บั สง่ิ ท่ไี ม่ดี ใช้ลมหายใจไปทำ� บาป ไป เบียดเบียนเราก็จะตายไป ตอนที่เรายังไมม่ ีความดีเลย คนกจ็ ะกลวั ตาย  เพราะง้ันถ้าเรามีทุกอย่างพร้อมหมดแล้ว  เราก็พร้อมท่ีจะเดิน ทาง แตถ่ า้ passport ไม่มี visa กไ็ ม่มี เงนิ ค่าตวั๋ เคร่ืองบนิ กไ็ มม่ ี มัน ก็ไม่อยากเดนิ ทาง มันกก็ ังวล เพราะงั้นถ้าเรามคี วามพรอ้ มที่จะเดิน ทางหมดแล้ว วนั ไหนตาย เราก็ไมก่ ลัว เราก็จะอยกู่ ับปัจจบุ นั อย่าง มีสตมิ ากท่สี ดุ เราพรอ้ มเดินทางตลอด คือมบี ญุ อยู่แลว้ เราก็ไมก่ ลวั อะไร เพราะอยา่ งนน้ั ชว่ งท่เี รามีชวี ติ อยู่เรากต็ อ้ งเตรียมเสบียงชีวติ ไว้” 46

ศีลนี้เป็นหลัก  ถ้าเราไม่มีศีล  ก็เหมือนชีวิต ไม่มีหลัก  ไม่รู้ท�ำอะไรถูกไม่รู้ท�ำอะไรผิด  ก็ท�ำสิ่ง ทผ่ี ดิ   ชีวิตมนั ก็เป็นทกุ ข์ มนั ก็ทกุ ข์ซ้ำ� ๆ เพราะท�ำ ผิดซ�ำ้ ๆ   ถา้ เราไม่มศี ลี   ชวี ิตมนั จะอยไู่ ดย้ าก 47

ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรแี สงนาม เตรียมกายเตรยี มใจ   อยูก่ ับเพ่อื นชื่อความตายอยา่ งสงบ “ผมซ้อมตายทุกคืน  เพราะมี อะไรท่ีแน่นอนกว่าความตายหรือมี ใครหลดุ พน้ ได้ไหม? มีใครหนรี อด ได้ไหม?  แล้วมีใครรู้ว่าจะตายเมื่อ ไหร่  พรุ่งน้ีเช้าจะตื่นขึ้นมาอีกไหม? เพราะฉะนั้นทุกคืนซ้อมตายไว้  ทุก คืนก่อนนอนจะเจริญสติซ้อมตาย ถ้าพรุ่งน้ีผมไม่ลืมตาตื่นขึ้นมา  วัน นี้ผมท�ำแต่ความดีพอหรือยัง  ได้ เตรียมพร้อมส�ำหรับความตายพอ หรอื ยัง” ศาสตราจารย์นายแพทย์อุดมศิลป์  ศรีแสงนาม  คือผู้ใหญ่คน สำ� คญั ในวงการแพทยข์ องไทย เป็นครขู องแพทย์รุ่นใหมๆ่ และยงั เป็น ประธานคณะกรรมการ โครงการสรา้ งเสริมสุขภาวะทางจติ วญิ ญาณ หรอื เรียกวา่ การสร้างจิตตปญั ญา โครงการที่อาจารย์บอกวา่ มคี วาม ส�ำคัญมาก  เพราะนี่คือการสร้างภาวะทางความสุขท่ีเหนือกว่า สขุ ภาพทางกาย หากทุกคนสามารถเขา้ ถึงและเข้าใจสขุ ภาวะทางจิต วิญญาณได้ ไม่ใช่แค่แต่ตวั ผ้ปู ฏิบัติจะมีความสขุ เท่านน้ั แตโ่ ลกใบน้ี จะสามารถด�ำรงอยู่อย่างมคี วามสงบสุข 48

สขุ ภาวะทางจิตวญิ ญาณส�ำคัญอยา่ งไร “คนเรากายกับใจมันท�ำงานสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง ยก ตัวอย่างง่ายๆ  คือกายป่วยกายไม่สบาย  เช่น  เราเป็นหวัด  มีผลท�ำให้ จิตใจหดหู่  ในทางตรงกันข้ามถ้าใจไม่สบาย  เช่น  เราเครียด  เราโกรธ ใจเต้นเร็วขึ้น  ความดันเลือดสูงขึ้น  อย่างน้ีเป็นต้น  เพราะฉะน้ันกาย กับใจท�ำงานสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง  แต่น่ันก็แค่เป็นอารมณ์กับการ ท�ำงานกับอวัยวะต่างๆ  ในร่างกาย  แต่จิตตปัญญามันเหนือข้ึนไปอีก จิตตปัญญาก็คือส่วนสูงของสมองเรา  ซึ่งท�ำให้เรารู้ว่าอะไรดีอะไรไม่ ดี  อะไรถูกอะไรผิด  มีความรู้สึกเสียสละอยากช่วยเหลือ  อยากเก้ือกูล คนอ่ืน เป็นต้น  อันนี้คือจิตตปัญญา  คือปัญญาท่ีท�ำให้จิตใจเรานั้น ลอยข้ึนมาเหนือกิเลสตัณหาอุปาทานและความเห็นแก่ตัว  ซึ่งอันนี้ น่าจะมีความส�ำคัญกว่าด้วยซ้�ำไป  เพราะว่าถ้าเอาแค่กายและใจ เทา่ นนั้ ก็แค่อยรู่ อดคนเดยี วเทา่ นน้ั สังคมหรอื สิง่ แวดลอ้ มหรอื คนอ่ืนๆ   เพ่ือนร่วมโลกก็อาจจะไม่รอดก็ได้  แต่ถ้ามีจิตตปัญญาแล้วจะเห็นแก่ ตัวน้อยลง  เห็นแก่ส่วนรวมมากข้ึน  จะท�ำให้โลกใบน้ีน่าอยู่มาก  ไม่ เฉพาะแต่มนุษย์ด้วยกันเท่านั้น  กับสรรพสัตว์ท้ังหลายและส่ิงมีชีวิต อยา่ งอน่ื ด้วย” สุขภาวะทางจิตวิญญาณหรือจิตตปัญญาเริ่มต้นได้จาก ครอบครัว “มบี างสว่ นท่เี ราสามารถสมั ผสั ได้จัดการเองได้ กับส่วนทเ่ี รา ไม่สามารถจัดการเองได้  เช่นส่วนที่เราไม่สามารถจัดการเองได้คือ  ตั้งแต่เล็กมาส�ำนึกด้านจิตวิญญาณหรือจิตตปัญญาที่เราพูดถึงมัน ไม่ได้  อยู่ดีๆ  จะเกิดข้ึนได้   เอาไม้เท้ากายสิทธ์ิมาแตะไหล่แล้วจะเกิด 49

ขึ้นได้ หรอื แตง่ ตั้งมอบหมายให้เกิดขึน้ ได้ แตเ่ ปน็ สง่ิ ทต่ี ้องเพาะต้อง บ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาด้วยซ้�ำไป  หญิงชายน้ันเม่ือจะอยู่กินเป็น คู่ผัวตัวเมียกันและจะมีลูกสืบสกุล  นอกจากจะค�ำนึงถึงปัจจัยอย่าง อื่นของการใช้ชีวิตคู่แล้ว  ต้องค�ำนึงถึงว่า  มีลูกสืบสกุลนั้นท�ำอย่างไร ถึงจะให้ลูกท่ีคลอดออกมาเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคต  เพราะ ฉะน้ันการเตรียมการต้ังแต่ทารกในครรภ์  การเล้ียงดูรวมไปถึงการ กระท�ำในวัยเดก็ จะเปน็ การปลูกฝงั ความนกึ คิดต่างๆ ขน้ึ มา มคี นถามวา่ ท�ำไมผมถงึ มาท�ำงานนี้ ก็เพราะมปี ัจจยั ทพี่ อ่ กบั แม่ผมเขาปลูกฝังไว้  ปัจจัยอะไรท่ีผมนึกออกอย่างแรกคือการ์ตูน ‘ซ�ำ- เหมาพเนจร’ ผมโตมากับซ�ำเหมาพเนจรนะครบั เพราะวา่ คณุ พอ่ คุณ แม่ซ้ือให้อ่าน  เราก็เห็นชีวิตของซ�ำเหมาซ่ึงในนั้นนอกจะเป็นการ์ตูน ท่ีดูสนุกเส้นสายสวยแล้ว  ยังช้ีให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมในสังคม ความเหลื่อมล้�ำต�่ำสูงต่างๆ  คนท่ีเกิดมายากจนเหมือนซ�ำเหมาพเนจร น้ันก็จะเห็นถึงความทุกข์ยาก  ท�ำให้เราเกิดความรู้สึกว่า  ถ้าเราอยู่ใน สถานะทส่ี ามารถช่วยเหลอื เก้อื กลู คนอื่นได้ก็จะทำ� นคี่ อื พนื้ ฐานตอน เด็ก  เมื่อผมโตแล้ว  รู้ความแล้วผมคิดว่ามีหลายอย่างท่ีเราสามารถท่ี จะพัฒนาจิตตปัญญาของเราให้ดีข้ึนได้  นอกจากการศึกษาเล่าเรียน ตามต�ำราตามหนังสือหรือความรู้ต่างๆ  ผมคิดว่าการพัฒนาให้เกิด ความรู้ความเข้าใจในเร่ืองของส่ิงท่ีเรียกว่านามธรรม  ปรัชญา  ความ รู้สึกถูกผิดชั่วดี  สามัญส�ำนึกในเรื่องต่างๆ  ส�ำนึกต่อสังคม  หรือความ ได้เปรียบเสียเปรียบทั้งหลายทั้งปวงเป็นเรื่องท่ีเราศึกษาเพิ่มเติมได้ แต่ก็เป็นท่ีน่าเสียดายว่า  เด็กสมัยน้ีไม่มีโอกาสได้รับการอบรมศึกษา เร่อื งนีผ้ า่ นการอา่ นหนังสือ” 50


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook