Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิจัยสังคม พอเพียง ป.4

วิจัยสังคม พอเพียง ป.4

Published by สุรารักษ์ อูปเสาร์, 2020-08-22 03:58:01

Description: วิจัยสังคม พอเพียง ป.4

Search

Read the Text Version

การศึกษาผลสัมฤทธิท์ างการเรยี นวิชาสงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง ของนักเรยี นช้นั ประถมศึกษาปที ่ี 4 ทไี่ ดร้ ับการจัดการเรยี นรูโ้ ดยใชผ้ ังมโนทศั น์ ภาคเรยี นที่ 2 ปกี ารศึกษา 2556 นางรจนา ป้อมแดง ครูโรงเรียนอนุบาลน้องหญงิ

โรงเรยี นอนบุ าลน้องหญงิ อาเภอตระการพชื ผล จังหวดั อุบลราชธานี สานกั งานเขตพนื้ ท่ีการศึกษาประถมศกึ ษาอบุ ลราชธานี เขต 2 ชอ่ื งานวจิ ัย : การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรม เร่ือง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง ของนกั เรยี นช้ันประถมศกึ ษาปีที่ 4 ทไี่ ดร้ ับการจัดการเรยี นรู้โดยใช้ผังมโนทศั น์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศกึ ษา 2556 ชือ่ ครผู ้สู อน : นางรจนา ป้อมแดง สาขาวชิ า : สังคมศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรม ปกี ารศึกษา : 2556 บทคัดย่อ ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการ เรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้ผังมโนทัศน์ เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรม ของนักเรยี นช้ันประถมศึกษาปีที่ 4 ท่ีได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์ ก่อน การทดลองกับหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4/2 โรงเรียนอนุบาลน้อง หญิง อาํ เภอตระการพชื ผล จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จํานวน 37 คน โดยการ กาํ หนดแบบเจาะจง เครอ่ื งมอื ท่ใี ช้ในการศึกษา คร้ังนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม เร่ือง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2556 จํานวน 5 แผน เวลาเรยี น 5 ช่วั โมง แบบทดสอบวดั ผลสัมฤทธทิ์ างการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ช้ันประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2556 จํานวน 30 ข้อ ผลการศึกษามีดงั น้ีพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้ผังมโนทัศน์ เร่ือง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพสามารถใช้ในการ จัดการเรียนรู้ได้ มีค่า IOC โดยเฉลี่ย (  ) เท่ากับ 0.85 สูงกว่า 0.50 ซ่ึงแสดงว่า แผนการจัดการเรียนรู้มี จัดทําขึ้นมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ท่ีดี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง โดยใช้ผังมโนทศั นข์ องนกั เรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู โดยใช้ ผังมโนทศั น์นกั เรยี นมผี ลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี นสูงขึ้น แตกตา่ งกันอย่างมนี ัยสําคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .01

กิตตกิ รรมประกาศ รายงานการศึกษาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เร่ือง หลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 4 ท่ีได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังมโน ทัศน์ ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2556 เล่มนี้ได้รับความกรุณาจากนายบํารุง แก้วจันดี ผู้จัดการโรงเรียน อนุบาลน้องหญิง และนางธนพรรณ แก้วจันดี ผู้อํานวยการโรงเรียนอนุบาลน้องหญิง ท่านท้ังสองได้เมตา และกรุณาต่อผู้ศึกษาเป็นอย่างย่ิง นับตั้งแต่ท่ีผู้ศึกษาเข้ามาสอนในโรงเรียนอนุบาลน้องหญิงแห่งน้ีจนถึง ปัจจุบันทําให้ผลงานการศึกษาเล่มน้ีสําเร็จลงด้วยดี ผู้ศึกษารู้สึกซาบซึ้งในความกรุณา จึงขอกราบ ขอบพระคณุ ท่านทั้งสองเปน็ อยา่ งสูงไว้ ณ โอกาสน้ี ขอขอบพระคุณ นายบํารุง แก้วจันดี ผู้จัดการโรงเรียนอนุบาลน้องหญิง นางธนพรรณ แก้วจันดี ผู้อํานวยการโรงเรียนอนุบาลน้องหญิง และคุณครูพัชรา ทุมนันท์ รองผู้อํานวยการฝุายบริหารงานทั่วไป โรงเรียนอนุบาลน้องหญิง ท่ีท่านให้การสนับสนุนทุนในการทําวิจัยในครั้งน้ี นอกจากนี้ท่านยังคอยให้ความ ชว่ ยเหลอื และใหก้ าํ ลังใจจนงานประสบความสาํ เรจ็ ขอขอบพระคุณที่ปรกึ ษาโรงเรยี นอนุบาลนอ้ งหญงิ ทั้งสองคอื อาจารย์สมพงษ์ หาคํา และอาจารย์ ศศิธร หาคํา ซ่ึงกรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเคร่ืองมือในการทําวิจัย และประสิทธิประสาท วิทยาการความรู้ใหก้ ับผู้ศึกษาทุกส่งิ ทกุ อยา่ งทที่ า่ นทัง้ สองได้ถ่ายทอดความรู้ให้ล้วนเป็นองค์ประกอบสําคัญ ท่ีทําให้ผู้ศึกษาได้ดําเนินการศึกษาครั้งน้ีสําเร็จได้ และนอกจากความรู้ต่างๆ ที่ท่านท้ังสองได้มอบไห้แก่ผู้ ศึกษาแล้ว ความเมตากรุณาที่ท่านทั้งสองได้มอบให้ล้วนเป็นส่ิงที่มีคุณค่าอย่างมาก ทําให้ผู้ศึกษามีกําลังใจ ในการทาํ งานใหป้ ระสบความสําเรจ็

ขอขอบพระคณุ ผู้เช่ยี วชาญ อาจารย์สมพงษ์ หาคํา คุณครูจันทร์เพ็ญ กุลโท และคุณครูมณีพรรณ มนัสสา ซ่งึ กรณุ าตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ และตรวจสอบเคร่ืองมือในการทําวิจัย ตลอดจนคณะครู นกั เรียน และบุคลลากร โรงเรียนอนุบาลน้องหญิงทุกท่านท่ีคอยให้ความช่วยเหลือและให้กําลังใจ อํานวย ความสะดวกในการทดลองเครื่องมือ ขอขอบใจนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 ที่ให้ความร่วมมือในการ เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นอย่างดี ขอกราบขอบพระคุณบดิ า มารดา นายประมวล ทันธิมา และนางจอมศรี ทันธิมา ท่ีได้ให้กําเนิด อุปการะเล้ียงดูผู้ศึกษามาเป็นอย่างดี และให้การสนับสนุนด้านการศึกษามาโดยตลอดขอขอบคุณคุณสามี นายชรนิ ทร์ ปอู มแดง ทีเ่ ปน็ กาํ ลังใจ ช่วยเหลือทุกส่ิงทุกอย่าง ขอบคุณพี่ๆน้องๆเพื่อนๆทุกๆคน ที่ให้ความ ชว่ ยเหลือ คอยเปน็ กาํ ลงั ใจทส่ี าํ คญั อย่างมากให้กับผู้ศึกษา ทุกๆกําลังใจจากท่านเป็นแรงผลักดันให้วิจัยเล่ม น้สี าํ เรจ็ ลุลว่ งไปด้วยดี คุณค่าและประโยชน์อันเกิดจากศึกษาเล่มน้ี ขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณ บิดา มารดา ครู อาจารย์ และผู้มีพระคณุ ของผู้ศกึ ษา รจนา ปูอมแดง มิถนุ ายน 2557 สารบญั เรือ่ ง หน้า 1 บทนา............................................................................................................................... 1 ความเปน็ มาและความสําคัญของปัญหา..................................................................................... 1 วตั ถปุ ระสงคข์ องการศกึ ษา......................................................................................................... 3 ขอบเขตของการศึกษา................................................................................................................ 3 นยิ ามศัพทเ์ ฉพาะ........................................................................................................................ 4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รบั .......................................................................................................... 5 2 เอกสารและงานวจิ ัยทเี่ กี่ยวข้อง……………………………………………………………………………… 6 หลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขนั้ พืน้ ฐาน พทุ ธศักราช 2551....................................................... 7 สาระการเรยี นร้แู กนกลางกลุ่มสาระการเรยี นร้สู งั คมศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรม พทุ ธศักราช 2551…………………………………………………………………………………………………………. 9 เอกสารเกย่ี วกับหลกั สตู รสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส 14101 ตามหลักสตู ร แกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศกั ราช 2551(ปรับปรุง 2556) ชนั้ ประถมศึกษาปที ี่ 4

โรงเรียนอนุบาลนอ้ งหญงิ ………………………………………………………………………………………………... 12 สังคมศึกษา ………………………………………………………………………………………………………………….. 14 ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี น………………………………………………………………………………………………….. 15 การวัดผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนสังคมศึกษา……………………………………………………………………….. 15 การประเมินผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสังคมศกึ ษา……………………………………………………………….. 16 ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง…………………………………………………………………………………………. 16 เอกสารที่เกีย่ วกับการสอนโดยใชผ้ ังมโนทศั น์…………………………………………………………………….. 21 ประวัติความเป็นมาของ Concept Mapping…………………………………………………………………… 21 ลกั ษณะของผังมโนทศั น์…………………………………………………………………………………………………. 22 การนํา Concept Mapping ไปใช้ประโยชน์……………………………………………………………………. 22 ขอ้ แตกต่างระหวา่ ง Concept Mapping กบั Mind Mapping…………………………………………… 22 องคป์ ระกอบของผังมโนทัศน์…………………………………………………………………………………………… 22 ประเภทของผังมโนทัศน์………………………………………………………………………………………………….. 23 การสร้างผงั มโนทศั น์………………………………………………………………………………………………………. 24 การเขียนแผนทมี่ โนทัศน์ (Concept Mapping)………………………………………………………………… 25 การสอนสร้างผังมโนทัศน์………………………………………………………………………………………………… 28 ประโยชน์ของผงั มโนทศั น์………………………………………………………………………………………………… 29 งานวจิ ยั ที่เกีย่ วขอ้ ง…………………………………………………………………………………………………………. 30 3 วิธกี ารดาเนินการ............................................................................................................... 33 ประชากร/กลมุ่ ตัวอย่าง.............................................................................................................. 33 เครื่องมือทีใ่ ช้ในการศึกษา.......................................................................................................... 33 การสร้างและหาคุณภาพเครือ่ งมือทใ่ี ช้ในการศึกษา................................................................... 33 การสร้างและหาคุณภาพแบบทดสอบวดั ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน............................................ 35 วิธีการดาํ เนินการทดลองและการเก็บรวบรวมขอ้ มลู ............................................................... 36 การวิเคราะหข์ ้อมูลและสถิตที่ใชใ้ นการวิเคราะห์ข้อมลู ........................................................... 36 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมลู ............................................................................................................ 38 สญั ลักษณท์ ใี่ ชใ้ นการวเิ คราะหข์ ้อมลู ...................................................................................... 38

ผลการหาคุณภาพของแผนการจดั การเรยี นรู้ โดยผเู้ ชี่ยวชาญ............................................... 38 ผลการเปรยี บเทียบความก้าวหน้าผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนระหวา่ งก่อนเรยี นและหลังเรยี น…... 39 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ........................................................................................ 40 วัตถปุ ระสงค์ของการศกึ ษา........................................................................................................ 40 วิธกี ารดาํ เนินการศึกษา..............................................................................................................41 สรปุ ผลการศกึ ษา....................................................................................................................... 41 อภิปรายผล................................................................................................................................ 41 ขอ้ เสนอแนะ.............................................................................................................................. 42 บรรณานกุ รม................................................................................................................................. 43 ภาคผนวก............................................................................................................................ ภาคผนวก ก รายช่อื ผเู้ ชยี่ วชาญ............................................................................................. 46 ภาคผนวก ข แบบทดสอบ ตัวอยา่ งผลงานนกั เรียน ………………………................................... 43 ภาคผนวก ค การเปรยี บเทยี บคะแนนเฉลย่ี ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียนกอ่ นเรียนกบั หลังเรยี น การวเิ คราะหค์ ะแนนผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียน การวเิ คราะห์ระหวา่ งเรยี น แบบประเมนิ ความสอดคล้องของแผนจดั การเรยี นร้.ู .............................................78 ภาคผนวก ง แผนจัดการเรยี นร.ู้ ..............................................................................................85 ประวัตยิ ่อผ้วู จิ ยั ..........................................................................................................................125 สารบัญตาราง ตารางท่ี หน้า 1 แสดงแผนการจดั การเรยี นรเู้ ร่ือง หลกั ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4…. 35

2 ตารางแสดงรายชอื่ ผูเ้ ช่ยี วชาญ…………………………………………………………………………...……. 35 3 ตารางแสดงคุณภาพของแผนการจดั การเรยี น จากการตรวจพิจารณาโดยผู้เช่ียวชาญ……. 38 4 แสดงผลการเปรยี บเทียบคะแนนเฉลีย่ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นก่อนเรยี นกับหลงั เรียน…….. 39 สารบญั ภาพ ภาพที่ หน้า 1 สรุปหลักปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง …………………………………………………………………..…. 20 2 การพัฒนากจิ กรรมผเู้ รียนดว้ ยการสอนโดยยดึ ผเู้ รียนเป็นสําคญั ……..……………………...……. 21 3 ตวั อย่างการเรียนร้วู ธิ คี ิดแบบตา่ งๆ…………………………………………………………………….……. 26 4 การคดิ ด้วยชว่ งชั้นความคิด…………………………………………………………………………………….. 27

บทที่ 1 บทนา ความเปน็ มาและความสาคัญของปญั หา พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542 แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545 เป็น กฎหมายวาดวยการศึกษาแหงชาติ ไดกําหนดความมุงหมายและหลักการของการจัดการศึกษา ตองเปนไป เพ่ือพัฒนาคนไทยใหเปนมนุษยที่สมบูรณ ทั้งรางกาย จิตใจ สติปญญา ความรู และคุณธรรม มีจริยธรรม และวฒั นธรรมในการดาํ รงชวี ติ สามารถอยูรวมกับผูอื่นไดอยางมีความสุขและในกระบวนการเรียนรูตองมุ่ง ปลกู จติ สาํ นึกทีถ่ กู ตองเก่ียวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเป็น ประมุข รูจักรักษาและสงเสริมสิทธิ หนาที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรี ความเปนมนุษย มีความภาคภูมิใจในความเปนไทย รูจักรักษาผลประโยชนสวนรวมและของประเทศชาติ รวมท้ังสงเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปญญาทองถิ่น ภูมิปญญาไทย และความรู อันเปนสากล ตลอดจนอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รูจักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสรางสรรค ใฝรู และเรียนรูดวยตนเองอยางตอเน่ือง(กระทรวงศึกษาธิการ ,2546) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 มุงพัฒนาผูเรียนใหเปนคนดี มีปญญา มคี วามสุข มีศกั ยภาพในการศกึ ษาตอและประกอบอาชีพ จึงกําหนดเปนจุดหมาย เพื่อใหเกิดกับผูเรียน คือ ผูเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคานิยมท่ีพึงประสงค เห็นคุณคาของตนเองมีวินัยและปฏิบัติตนตาม หลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาท่ีตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความรู อันเปนสากล และมีความสามารถในการส่ือสาร การคิด การแกปญหา การใชเทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัยและรักการออกกําลังกาย มีความรักชาติ มีจิตสํานึกในการเป็ น พลเมืองไทยและพลเมืองโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริยทรงเปนประมุข มีจิตสํานึก ในการอนุรักษวัฒนธรรมและภูมิปญญาไทย การอนุรักษและพัฒนาส่ิง แวดลอม มีจิตสาธารณะท่ีมุงทําประโยชนและสรางสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยูรวมกันในสังคมอยางมี ความสุข (กระทรวงศกึ ษาธกิ าร, 2551) กลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นหนึ่งในแปดกลุมสาระการเรียนรูที่ สถานศึกษาตองใชเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน และเป็นกลุ่มสาระการเรียนรูที่ผูเรียนทุกคนใน ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตองเรียนใน5 สาระหลัก ดังนี้ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สาระ หนาทีพ่ ลเมอื ง วัฒนธรรม และการดําเนินชีวิตในสังคม สาระเศรษฐศาสตร สาระประวัติศาสตร และสาระ ภูมิศาสตร(กรมวิชาการ, 2551) ซึ่งโดยธรรมชาติวิชาของกลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม เปนวิชาท่วี าดวยความสัมพนั ธระหวางมนุษยกับสภาพแวดลอมทง้ั ทางธรรมชาติและสังคม มุงให ผูเรียนรูจักการปรับตัวใหสัมพนั ธระหวา่ งมนษุ ยกบั สภาพแวดลอมทั้งทางธรรมชาติและสังคม มุ่งใหผูเรียนรู

จกั การปรบั ตัวใหเขากบั สภาพแวดลอมน้นั ผูเรยี นจะตองรูจักการพัฒนากระบวนการเรียนรู โดยรูจักการคิด วิเคราะห คดิ สังเคราะหมวี ิจารญาณ มีความคิดสร้างสรรค คิดไตรตรองและมีวิสัยทัศนสามารถเผชิญสถาน การณทเี่ กิดขึ้นและมีการเปลย่ี นแปลงอย่างรวดเร็วในชวี ติ ประจําวันได โดยเรยี นรูดวยวิชาการท่ีหลากหลาย เรียนรูจากข้อมูลข่าวสารทั้งภายนอกห้องเรียนและภายในหองเรียน ซ่ึงเป็นความรูใหม่ๆ ท่ีเกิดข้ึนอย่าง ต่อเนื่องและจําเป็นต้องแสวงหาความรูตลอดเวลา โดยใชเทคโนโลยีและสื่อ สารสนเทศต่างๆไดอย่างเป็น ประโยชน ผูเรียนสามารถเรียนรูแกปญหาท่ีเกิดข้ึนดวยตนเองไดอยางมีประสิทธิภาพ รูจักทํางานรวมกัน เป็นหมูคณะตามระบอบประชาธิปไตยบนพ้ืนฐานของหลักคุณธรรม จริยธรรมและคานิยมอันพึงประสงค การจัดการเรียนการสอนกลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ใหผูเรียน มีคุณลักษณะ อันพึงประสงคตามมาตรฐานการศึกษา ครูผูสอนเปนผูมีบทบาทสําคัญอยางยิ่ง จึงตองรูจักนําวิธีการสอน หรือเทคนิคการสอนที่หลากหลายมาใชในการเรียนการสอน ในการจัดกระบวนการเรียนรู ตองจัดเน้ือหา สาระและกิจกรรมใหสอดคลองกับความสนใจและความถนัดของผูเรียน คํานึงถึงความแตกต่างระหว่าง บุคคล และจะต้องรูวิธีการฝึกผู้เรียนให้มีทักษะการคิดการจัดการ การเผชิญสถานการณ และการประยุกต์ ความรูมาใช้(กรมวิชาการ, 2551) และการจัดการเรียนรูควรเน้นการเรียนรูตามสภาพจริง การเรียนรูด้วย ตนเอง การเรียนรูรว่ มกนั การเรียนรูจากธรรมชาติ การเรียนรูจากการปฏิบัติจริง และการเรียนรูแบบบูรณา การ(กรมวชิ าการ,2545) จะเป็นการกระตนุ้ ให้ผู้เรยี นสนใจและเอาใจใสต่อบทเรียนมีความเข้าใจในบทเรียน ดยี ิง่ ขน้ึ จากสภาพการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของ โรงเรียนอนบุ าลน้องหญิง เท่าที่ผ่านมา ไม่ประสบผลสําเร็จตามความมุ่งหมายเท่าที่ควร กล่าวคือ มีผลการ ทดสอบระดับชาติ (o-net) รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในปีการศึกษา 2555 มีค่าคะแนน เฉลย่ี ต่ํา (  =55.13) ซง่ึ ตาํ่ กวา่ เกณฑท์ โ่ี รงเรียนกําหนด (  =60.00) (อนุบาลน้องหญิง, 2556) ดังน้ันครูผู สอน จะตองแสวงหาวิธีการสอนท่ีจะช่วยให้ผูเรียน สามารถเรียนรูด้วยตนเอง ซึ่งเป็นรากฐานท่ีสําคัญ สําหรับการศึกษาตลอดชีวิต การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ คือ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็น ศูนยกลางแหงการเรียนรู้อย่างแท้จริง และผู้เรียนไดฝกทักษะในการแสวงหาความรูด้วยตนเอง ครูจะต้อง เปล่ียนบทบาทจากครูผูสอนมาเป็นผูจัดการหรือ ผูท่ีมีหนาที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพ แวดลอมและสื่อการเรียนรูไวอย่างเหมาะสมและเพียงพอ(วิมลรัตน สุนทรโรจน,2549) ซ่ึงสอดคล้อง งานวิจัยของ อัญชลี ตนานนท์; และคณะ(2542) ได้ศึกษาผลของการใช้แผนภูมิมโนทัศน์ ในการสรุป บทเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการพัฒนาแผนการสอนเพื่อเสริมทักษะการคิดในหลักสูตร โรงเรียนมัธยมศึกษา วิชาสังคมศึกษา ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษา ฝรั่งเศส ผลการวิจัยพบว่า การใช้แผนการสอนโดยใช้แผนภูมิมโนทัศน์ในการสรุปบทเรียนทําให้ผลสัมฤทธ์ิ ทางการเรียนของนักเรียนดีข้ึน ภัทราภรณ์ พิทักธรรม (2543) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 5 ท่ีได้รับ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้กิจกรรมสร้างแผนภูมิมโนทัศน์กับการสอนตามคู่มือครู ผลการวิจัย

พบว่านักเรยี นทไี่ ดร้ ับการสอนแบบสบื เสาะหาความรู้ โดยใช้กจิ กรรมสร้างแผนภูมิมโนทัศน์กับการสอนตาม คู่มือครูมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .01 ศิริพร ทรุเครือ (2544) ศึกษาผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้แผนผังมโนทัศน์ที่มีต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและความคงทนใน การเรยี นรกู้ ลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4 ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ ได้รับการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้แผนผังมโนทัศน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีความคงทนในการเรียนรู้ สูงกว่านักเรียนท่ีไดร้ บั การสอนตามปกติอย่างมีนัยสาํ คัญทางสถติ ิที่ระดบั .01 จากการศึกษางานวิจัยดังกล่าวผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาวิธีสอนด้วยการนํานวัตกรรม การศึกษาท่ีน่าสนใจมาใช้ เพื่อให้การจัดการเรียนรู้สัมฤทธิ์ผลตามต้องการ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยให้ ผูเ้ รียนมสี ว่ นร่วมในกจิ กรรม ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์ (Concept Mapping) ช่วยแก้ปัญหา การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียน เปน็ ศนู ย์กลาง ทาํ ใหผ้ ้เู รยี น เรียนอยา่ งมคี วามสขุ เกิดความมั่นใจตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ผู้เรียนสรุป ความคิดรวบยอด โดยกระบวนการแลกเปล่ียนประสบการณ์ แสดงความคิดระหว่างเพ่ือนนักเรียนด้วยกัน ทําให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจย่ิงข้ึน ครูผู้สอนมีบทบาทกระตุ้นให้ผู้เรียนให้เกิดแนวคิดด้วยการตั้งคําถาม ดังน้ัน ผู้ศึกษาจึงสนใจนําวิธีการน้ีมาทดลองสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพ่ือศึกษาผลสัมฤทธ์ิ ทางการเรียนรายวิชาสังคมศกึ ษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนท่ีได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังมโน ทัศน์ อีกทั้งเพ่ือเป็นแนวทางในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ให้มี ประสทิ ธภิ าพตอ่ ไป วัตถปุ ระสงค์ของการศึกษา 1. เพอื่ หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดย ใช้ผังมโนทศั น์ เรื่อง หลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง ของนักเรยี นชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2. เพ่ือศกึ ษาผลสัมฤทธท์ิ างการเรียนรายวิชาสังคมศกึ ษา ศาสนาและวฒั นธรรม เรื่อง หลักปรัชญา ของเศรษฐกจิ พอเพยี ง ของนักเรียนชัน้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 4 ท่ีได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์ ก่อน การทดลองกบั หลงั การทดลอง ความสาคัญของการศึกษา การศึกษาคร้ังนี้จะทําให้ได้ทราบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม ของนกั เรยี นชั้นประถมศกึ ษาปที ่ี 4 ที่ได้รบั การจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้ผังมโนทัศน์ เพ่ือเป็นแนวทาง ในการพฒั นาแผนการจดั การเรียนร้สู งั คมศกึ ษา ศาสนาและวัฒนธรรม ใหม้ ีประสทิ ธภิ าพต่อไป ขอบเขตของการศึกษา

การศึกษาครั้งน้ีจะทําให้ได้ทราบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม ของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์ ผู้ศึกษาได้ กาํ หนดขอบเขตการศกึ ษาไว้ดังนี้ 1. ประชากรท่ีใชใ้ นการศกึ ษา ประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4 โรงเรียนอนุบาลน้องหญิง อําเภอตระการ พชื ผล จงั หวดั อุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศกึ ษา 2556 จาํ นวน 2 หอ้ งเรยี น รวม 67 คน 2. กลุม่ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา กลมุ่ ตัวอยา่ งที่ใช้ในการศกึ ษาครงั้ น้ีเปน็ นักเรยี นชั้นประถมศึกษาปที ี่ 4/2 โรงเรียนอนุบาลน้องหญิง อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จํานวน 37 คน โดยการ กําหนดแบบเจาะจง เน้อื หาท่ใี ชใ้ นการศกึ ษา เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าคร้ังนี้เป็นเน้ือหาหลักรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เร่ือง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการนําเศรษฐกิจ พอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน อาชีพ สินค้าและบริการท่ีผลิตในชุมชน ประเภทของทรัพยากร หลักการและวิธีการใชท้ รัพยากร การสรา้ งจิตสาํ นึกและการวางแผนการใชท้ รพั ยากร ระยะเวลาทใี่ ช้ในการศกึ ษา ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาคร้ังน้ีการทดลองใช้เวลาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จํานวน 5 ชว่ั โมง ตวั แปรทีศ่ กึ ษา 1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้ผงั มโนทศั น์การสรุปความรู้ 2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี นวชิ าสงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เร่อื ง หลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง นิยามศพั ทเ์ ฉพาะ 1. ผังมโนทัศน์ (Concept Mapping) หมายถึง แผนภูมิที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ ตา่ ง ๆ โดยมีเสน้ เชอื่ มโยงระหวา่ งมโนทศั น์ และสามารถเขียนเป็นความคิดรวบยอด 2. วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้ศึกษา นําแบบการใช้ผังมโนทัศน์มาจัดกิจกรรมระดมความคิดโดยผ่านกระบวนการอ่านแล้วเขียนสรุปโดยใช้ผัง มโนทัศน์ มีข้ันตอนการจัดการเรียนรดู้ ังนี้

ขน้ั ท่ี 1 ครบู อกชือ่ เรอ่ื งที่กําหนดให้นักเรียนอ่าน และสนทนาเก่ียวกับชื่อเรื่อง เพ่ือสร้างความสนใจ และโยงประสบการณ์เดิมของนักเรียนกับเรือ่ งทีอ่ า่ น ครูเขยี นประสบการณ์ของนกั เรียนแต่ละคนเป็นผังมโน ทัศน์ ขั้นท่ี 2 นักเรยี นศึกษาใบความรู้เร่ือง ผงั มโนทัศน์ ข้ันที่ 3 นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน อ่านเน้ือเร่ืองทีละตอน สรุปสาระสําคัญและรายละเอียด ของเร่ืองจากคําถาม เช่น เร่ืองน้ีเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ใจความสําคัญในแต่ละย่อหน้าคืออะไร มีข้อความ ใดสนับสนนุ บ้าง แลว้ เขียนเปน็ ผังมโนทศั น์ ตัวแทนกลมุ่ อธบิ ายผงั มโนทศั น์ท่ีเขยี นขึ้น ครเู สนอแนะเพิ่มเตมิ ขน้ั ท่ี 4 นักเรียนศึกษาใบความรู้ เร่ือง หลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 5 นกั เรียนทบทวนความรูร้ ว่ มกนั โดยใชผ้ งั มโนทศั น์ และอภปิ รายของเรื่องท่ีไดอ้ ่าน ขั้นที่ 6 นักเรยี นคิดโครงเรื่องทีจ่ ะเขยี นโดยแบ่งกลุม่ ๆละ5 คน ระดมความคิดเขียนเป็นผังมโนทศั น์ ขั้นท่ี 7 นักเรียนแต่ละกลุ่มเขยี นสรปุ เน้อื หาเป็นผงั มโนทัศน์ ครูตรวจแกไ้ ข นกั เรียนนาํ ไปปรับปรุง ขั้นท่ี 8 นกั เรียนแตล่ ะกลุ่มเขียนสรปุ เรื่อง หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากผังมโนทัศน์แต่ละ กลุม่ นาํ เสนอผลงาน ครูและนกั เรียนร่วมกันพจิ ารณาแก้ไข 3. ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาสงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรือ่ ง หลักปรชั ญาของ เศรษฐกจิ พอเพียง หมายถงึ ความสามารถของนักเรยี นด้าน ความรู้ ความจํา ความเขา้ ใจ การนําไปใชแ้ ละ การคิดวเิ คราะห์ของนักเรียนทวี่ ัดจากคะแนนการทําแบบทดสอบวดั ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียน เรือ่ ง หลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบบปรนยั เลือกตอบ จาํ นวน 30 ข้อ ทผ่ี ู้ศกึ ษาสรา้ งข้ึน กรอบแนวคดิ ของการศกึ ษา ตัวแปรตาม ผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรียนวิชาสังคม ตวั แปรตน้ ศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรม เร่อื ง การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรม หลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง เร่อื ง หลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งโดยใชผ้ งั มโน ทัศน์ กรอบแนวคิดของการศกึ ษา ประโยชน์ที่คาดวา่ จะไดร้ บั 1. ได้แนวทางในการจัดการเรียนรู้เรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เร่ือง หลักปรัชญา ของเศรษฐกจิ พอเพียงของนักเรยี นชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 4 โดยใช้ผังมโนทศั น์

2. ค้นพบรูปแบบการวจิ ัยในการพัฒนาการจดั การเรยี นรูเ้ รียนวชิ าสงั คมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม เรอ่ื ง หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง ของนักเรยี นชน้ั ประถมศกึ ษาปที ี่ 4 3. ได้แนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนกั เรยี นระดบั ช้ันประถมศึกษาปที ี่ 4 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยทเ่ี กีย่ วข้อง

ในการศกึ ษาครงั้ น้ี ผู้ศกึ ษาไดศ้ ึกษาและคน้ คว้าเอกสารและงานวจิ ยั ที่เก่ียวข้อง เพื่อเป็นแนวทางใน การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เร่ือง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงของนักเรียนชนั้ ประถมศึกษาปีท่ี 4 ท่ไี ด้รับการจดั การเรยี นรูโ้ ดยใช้ผงั มโนทศั น์ ตามลําดับดงั นี้ 1. เอกสารหลักสตู ร 1.1 หลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขน้ั พืน้ ฐาน พุทธศกั ราช 2551 1.2 สาระการเรยี นรู้แกนกลางกลมุ่ สาระการเรยี นรู้สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม พุทธศักราช 2551 1.3 เอกสารเก่ยี วกับหลกั สตู รสังคมศกึ ษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส 14101 ตามหลกั สูตรแกนกลาง การศกึ ษาข้นั พนื้ ฐาน พุทธศกั ราช 2551(ปรับปรงุ 2556) ชั้นประถมศกึ ษาปีที่ 4 โรงเรยี นอนุบาลน้องหญิง 2. เอกสารทเี่ ก่ยี วกับเน้ือหาสังคมศกึ ษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐกจิ พอเพียง 2.1 สังคมศึกษา 2.2 ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี น 2.3 การวดั ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนสงั คมศึกษา 2.4 การประเมนิ ผลสัมฤทธท์ิ างการเรียนสังคมศึกษา 2.5 ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. เอกสารท่ีเกี่ยวกับการสอนโดยใช้ผังมโนทศั น์ 3.1 ประวตั คิ วามเปน็ มาของ Concept Mapping 3.2 ลกั ษณะของผังมโนทัศน์ 3.3 การนาํ Concept Mapping ไปใช้ประโยชน์ 3.4 ขอ้ แตกต่างระหวา่ ง Concept Mapping กับ Mind Mapping 3.5 องค์ประกอบของผังมโนทัศน์ 3.6 ประเภทของผังมโนทัศน์ 3.7 การสร้างผังมโนทศั น์ 3.8 การเขียนแผนที่มโนทัศน์ (Concept Mapping) 3.9 การสอนสร้างผังมโนทัศน์ 3.10ประโยชนข์ องผังมโนทัศน์ 4. งานวิจัยที่เกยี่ วข้อง

1. เอกสารหลกั สตู ร 1.1 หลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน พุทธศกั ราช 2551 1. แนวคดิ หลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พื้นฐาน มงุ่ พัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกําลังของชาติให้เป็นมนุษย์ ทมี่ ีความสมดุลท้ังดา้ นร่างกาย ความรู้ คณุ ธรรม มจี ิตสํานึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่น ในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพ้ืนฐาน รวมท้ัง เจตคติ ทีจ่ าํ เปน็ ตอ่ การศึกษาต่อ การประกอบอาชพี และการศกึ ษาตลอดชวี ติ โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็น สาํ คัญบนพนื้ ฐานความเชือ่ วา่ ทุกคนสามารถเรียนรู้และพฒั นาตนเองไดเ้ ตม็ ตามศักยภาพ 2. หลักการ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน มีหลกั การท่ีสําคญั ดังน้ี 2.1 เป็นหลักสูตรการศึกษาเพ่ือความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐาน การเรียนรู้ เป็นเปูาหมายสําหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความ เปน็ ไทยควบคู่กบั ความเป็นสากล 2.2 เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมคี ณุ ภาพ 2.3 เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอํานาจให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้ สอดคลอ้ งกับสภาพและความตอ้ งการของท้องถ่ิน 2.4 เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นท้ังด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและ การจัดการ เรียนรู้ 2.5 เปน็ หลกั สูตรการศึกษาท่ีเน้นผเู้ รยี นเปน็ สาํ คัญ 2.6 เปน็ หลกั สตู รการศกึ ษาสาํ หรบั การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุก กล่มุ เปาู หมาย สามารถเทยี บโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ 3. จุดหมาย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มี ศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกําหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เม่ือจบ การศกึ ษาข้ันพน้ื ฐาน ดงั น้ี 3.1 มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตน ตามหลกั ธรรมของพระพุทธศาสนา หรอื ศาสนาท่ตี นนบั ถอื ยึดหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง

3.2 มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะ ชวี ิต 3.3 มสี ขุ ภาพกายและสขุ ภาพจติ ที่ดี มีสขุ นสิ ยั และรักการออกกําลงั กาย 3.4 มีความรักชาติ มีจิตสํานึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดม่ันในวิถีชีวิตและการ ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรยิ ท์ รงเป็นประมุข 3.5 มีจิตสํานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาส่ิงแวดล้อม มี จิตสาธารณะทมี่ งุ่ ทําประโยชนแ์ ละสร้างสิ่งที่ดงี ามในสังคม และอยรู่ ่วมกันในสงั คมอยา่ งมคี วามสุข 4. สมรรถนะสาคัญของผเู้ รียน และคณุ ลกั ษณะอนั พึงประสงค์ ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสตู รแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานที่กําหนด ซง่ึ จะชว่ ยใหผ้ ู้เรียนเกิดสมรรถนะสําคัญและคุณลกั ษณะ อันพึงประสงค์ ดงั นี้ 4.1 สมรรถนะสาคัญของผ้เู รยี น หลกั สตู รแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน มุ่งใหผ้ ู้เรยี นเกดิ สมรรถนะสําคัญ 5 ประการ ดงั นี้ 4.1.1 ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการ ใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพ่ือแลกเปล่ียนข้อมูล ข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพ่ือ ขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความ ถกู ต้อง ตลอดจนการเลือกใชว้ ิธีการสอ่ื สาร ท่มี ปี ระสทิ ธิภาพโดยคาํ นึงถงึ ผลกระทบท่มี ตี ่อตนเองและสังคม 4.1.2 ความสามารถในการคิด เปน็ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคดิ สังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพ่ือนําไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือ สารสนเทศเพ่ือการตัดสินใจเก่ยี วกับตนเองและสงั คมได้อยา่ งเหมาะสม 4.1.3 ความสามารถในการแกป้ ญั หา เปน็ ความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพ้ืนฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจ ความสัมพันธ์และการเปล่ียนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ใน การปูองกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจท่ีมีประสิทธิภาพโดยคํานึงถึงผลกระทบท่ีเกิดข้ึนต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดลอ้ ม 4.1.4 ความสามารถในการใช้ทกั ษะชีวติ เป็นความสามารถในการนํากระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ ในการดําเนนิ ชวี ติ ประจําวนั การเรียนร้ดู ้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเน่ือง การทํางาน และการอยู่ร่วมกัน ในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปล่ียนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเล่ียง พฤติกรรมไมพ่ งึ ประสงค์ที่สง่ ผลกระทบต่อตนเองและผู้อ่ืน

4.1.5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลอื ก และใช้ เทคโนโลยีด้าน ต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การ ส่ือสาร การทาํ งาน การแกป้ ญั หาอยา่ งสรา้ งสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคณุ ธรรม 4.2 คณุ ลักษณะอนั พึงประสงค์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพือ่ ให้สามารถอยูร่ ่วมกบั ผู้อน่ื ในสังคมได้อย่างมคี วามสขุ ในฐานะเป็นพลเมอื งไทยและพลโลก ดงั น้ี 1.) รกั ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2.) ซ่อื สตั ย์สุจรติ 3.) มวี ินัย 4.) ใฝเุ รยี นรู้ 5.) อยู่อย่างพอเพยี ง 6.) มุ่งมั่นในการทํางาน 7.) รกั ความเป็นไทย 8.) มจี ติ สาธารณะ นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกําหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพ่ิมเติมให้สอดคล้องตาม บรบิ ทและจุดเน้นของตนเอง 5. มาตรฐานการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคํานึงถึงหลักพัฒนาการทาง สมองและพหุปัญญา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน จึงกําหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการ เรียนรู้ ดงั นี้ 1.) ภาษาไทย 2.) คณติ ศาสตร์ 3.) วทิ ยาศาสตร์ 4.) สงั คมศกึ ษา ศาสนา และวัฒนธรรม 5.) สขุ ศึกษาและพลศกึ ษา 6.) ศิลปะ 7.) การงานอาชพี และเทคโนโลยี 8.) ภาษาตา่ งประเทศ ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กําหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเปูาหมายสําคัญของ การพัฒนา คุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุส่ิงท่ีผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึง ประสงคเ์ ม่ือจบการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสําคัญ ในการขับเคลื่อน พัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมท้ังเป็นเคร่ืองมือในการตรวจสอบเพื่อ การประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบ

การประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก ซ่ึงรวมถึงการทดสอบระดับเขตพื้นที่ การศึกษา และการทดสอบระดับชาติ ระบบ การตรวจสอบเพ่ือประกันคุณภาพดังกล่าวเป็นสิ่งสําคัญที่ช่วย สะท้อนภาพการจัดการศึกษาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามท่ีมาตรฐานการเรียนรู้กําหนด เพยี งใด 1.2 สาระการเรียนรู้แกนกลางกลมุ่ สาระการเรยี นรู้สังคมศกึ ษา ศาสนาและวัฒนธรรม พุทธศักราช 2551 วิสัยทัศน์ สงั คมโลกมีการเปลยี่ นแปลงอยา่ งรวดเร็วตลอดเวลา กลุม่ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ วฒั นธรรม ชว่ ยใหผ้ ู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ว่ามนุษยด์ าํ รงชวี ติ อยา่ งไร ทงั้ ในฐานะปัจเจกบุคคล และการ อยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม การจัดการทรัพยากรท่ีมีอยู่อย่างจํากัด นอกจากน้ี ยัง ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการพัฒนา เปล่ียนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลา ตามเหตุปัจจัยต่างๆ ทําให้เกิดความ เขา้ ใจในตนเอง และผู้อืน่ มคี วามอดทน อดกลนั้ ยอมรบั ในความแตกต่าง และมีคุณธรรม สามารถนําความรู้ ไปปรับใช้ในการดําเนนิ ชีวิต เปน็ พลเมอื งดีของประเทศชาติ และสงั คมโลก พนั ธกิจ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมว่าด้วยการอยู่ร่วมกันในสังคม ท่ีมีความ เชื่อมสัมพันธ์กัน และมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้สามารถปรับตนเองกับบริบท สภาพแวดล้อม เปน็ พลเมอื งดี มคี วามรับผดิ ชอบ มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมท่ีเหมาะสม โดยได้ กาํ หนดสาระต่างๆไว้ ดงั น้ี  ศาสนา ศลี ธรรมและจรยิ ธรรม แนวคดิ พ้นื ฐานเก่ียวกับศาสนา ศลี ธรรม จริยธรรม หลักธรรม ของพระพุทธศาสนาหรอื ศาสนาทีต่ นนบั ถือ การนาํ หลกั ธรรมคําสอนไปปฏิบัติในการพัฒนาตนเอง และการ อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นผู้กระทําความดี มีค่านิยมที่ดีงาม พัฒนาตนเองอยู่เสมอ รวมท้ังบําเพ็ญ ประโยชน์ตอ่ สงั คมและสว่ นรวม  หนา้ ทพี่ ลเมอื ง วฒั นธรรม และการดาเนนิ ชีวิต ระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลักษณะและความสําคัญ การเป็น พลเมืองดี ความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ค่านิยม ความเช่ือ ปลูกฝังค่านิยมด้าน ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สิทธิ หน้าท่ี เสรีภาพการดําเนินชีวิตอย่างสันติสุขใน สงั คมไทยและสงั คมโลก

 เศรษฐศาสตร์ การผลิต การแจกจ่าย และการบริโภคสินค้าและบริการ การบริหารจัดการ ทรัพยากรทีม่ ีอยู่อย่างจํากัดอย่างมีประสิทธิภาพ การดํารงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ และการนําหลักเศรษฐกิจ พอเพยี งไปใช้ในชีวิตประจําวนั  ประวัติศาสตร์ เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการของ มนุษยชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์และเปล่ียนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ผลกระทบท่ีเกิดจาก เหตุการณ์สําคัญในอดตี บุคคลสาํ คญั ทีม่ อี ทิ ธิพลต่อการเปล่ียนแปลงต่างๆในอดีต ความเป็นมาของชาติไทย วฒั นธรรมและภูมิปัญญาไทย แหลง่ อารยธรรมทสี่ ําคญั ของโลก  ภูมิศาสตร์ ลักษณะของโลกทางกายภาพ ลักษณะทางกายภาพ แหล่งทรัพยากร และ ภูมิอากาศของประเทศไทย และภูมิภาคต่างๆ ของโลก การใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ ในระบบธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และส่ิงทมี่ นุษย์สร้างข้นึ การนาํ เสนอข้อมูลภมู สิ ารสนเทศ การอนรุ ักษ์ส่งิ แวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สาระและมาตรฐานการเรยี นรู้ สาระท่ี 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม มาตรฐาน ส 1.1 รู้ และเข้าใจประวัติ ความสําคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือ ศาสนาท่ีตนนับถือและศาสนาอ่ืน มีศรัทธาท่ีถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตาม หลักธรรม เพือ่ อยรู่ ว่ มกนั อย่างสนั ตสิ ขุ มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนกั และปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธํารงรักษาพระพุทธศาสนา หรอื ศาสนาทตี่ นนบั ถือ สาระท่ี 2 หนา้ ท่ีพลเมือง วัฒนธรรม และการดาเนินชวี ติ ในสังคม มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมท่ีดีงาม และธํารง รักษาประเพณีและวฒั นธรรมไทย ดาํ รงชวี ติ อย่รู ่วมกนั ในสงั คมไทย และสังคมโลก อยา่ งสันตสิ ขุ มาตรฐาน ส 2.2 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธาและธํารงรักษา ไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธปิ ไตยอันมีพระมหากษตั รยิ ์ทรงเปน็ ประมุข สาระท่ี 3 เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส.3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ ทรัพยากรท่ีมีอยู่จํากัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการ ของเศรษฐกจิ พอเพยี ง เพ่ือการดาํ รงชวี ิตอย่างมีดลุ ยภาพ มาตรฐาน ส.3.2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและ ความจาํ เป็นของการรว่ มมือกนั ทางเศรษฐกจิ ในสงั คมโลก

สาระที่ 4 ประวตั ิศาสตร์ มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสําคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้ วธิ ีการทางประวัตศิ าสตรม์ าวเิ คราะห์เหตุการณต์ ่างๆ อยา่ งเปน็ ระบบ มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และ การเปลีย่ นแปลงของเหตุการณอ์ ย่างตอ่ เนือ่ ง ตระหนักถึงความสําคัญและสามารถ วิเคราะหผ์ ลกระทบทีเ่ กดิ ข้นึ มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของช าติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทยมีความรัก ความภมู ิใจและธํารงความเปน็ ไทย สาระท่ี 5 ภูมศิ าสตร์ มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพส่ิงซึ่งมีผล ต่อ กันและกันในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเคร่ืองมือทางภูมิศาสตร์ ในการ ค้นหาวเิ คราะห์ สรุป และใช้ขอ้ มูลภูมสิ ารสนเทศอยา่ งมปี ระสิทธิภาพ มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการ สร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสํานึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรและ สงิ่ แวดลอ้ ม เพอื่ การพัฒนาที่ยั่งยืน คณุ ภาพผู้เรียน จบช้นั ประถมศกึ ษาปีที่ 3  ได้เรยี นรู้เรื่องเกยี่ วกับตนเองและผทู้ ่อี ยรู่ อบข้าง ตลอดจนสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นที่อยู่อาศัย และเชอ่ื มโยงประสบการณไ์ ปสู่โลกกว้าง  ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีทักษะกระบวนการ และมีข้อมูลท่ีจําเป็นต่อการพัฒนาให้เป็นผู้มี คุณธรรม จริยธรรม ประพฤติปฏิบัติตามหลักคําสอนของศาสนาที่ตนนับถือ มีความเป็นพลเมืองดี มี ความรับผิดชอบ การอยู่รว่ มกนั และการทาํ งานกับผู้อื่น มสี ว่ นร่วมในกิจกรรมของห้องเรียน และได้ฝึกหัด ในการตดั สินใจ  ได้ศึกษาเร่ืองราวเก่ียวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนในลักษณะการบูรณาการ ผู้เรียนได้เข้าใจแนวคิดเก่ียวกับปัจจุบันและอดีต มีความรู้พื้นฐานทางเศรษฐกิจได้ข้อคิดเกี่ยวกับรายรับ- รายจา่ ยของครอบครัว เขา้ ใจถึงการเป็นผูผ้ ลติ ผบู้ ริโภค รจู้ กั การออมขนั้ ตน้ และวิธกี ารเศรษฐกจิ พอเพียง  ได้รับการพัฒนาแนวคิดพ้ืนฐานเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และภมู ิปัญญา เพ่ือเปน็ พ้ืนฐานในการทาํ ความเขา้ ใจในข้นั ที่สูงต่อไป จบช้นั ประถมศกึ ษาปีท่ี 6

 ได้เรียนรู้เร่ืองของจังหวัด ภาค และประเทศของตนเอง ทั้งเชิงประวัติศาสตร์ ลักษณะทาง กายภาพ สังคม ประเพณี และวัฒนธรรม รวมท้ังการเมืองการปกครอง สภาพเศรษฐกิจโดยเน้นความเป็น ประเทศไทย  ไดร้ บั การพัฒนาความรแู้ ละความเขา้ ใจ ในเรือ่ งศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตนตามหลัก คําสอนของศาสนาท่ีตนนับถือ รวมทัง้ มสี ว่ นรว่ มศาสนพิธี และพิธกี รรมทางศาสนามากยิง่ ขึ้น  ได้ศึกษาและปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีของท้องถิ่น จังหวัด ภาค และประเทศ รวมทั้งได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ของ ท้องถ่ินตนเองมากย่ิงขึ้นได้ศึกษาเปรียบเทียบเรื่องราวของจังหวัดและภาคต่างๆของประเทศไทยกับ ประเทศเพ่ือนบ้าน ได้รับการพัฒนาแนวคิดทางสังคมศาสตร์ เก่ียวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หน้าที่ พลเมือง เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์เพ่ือขยายประสบการณ์ไปสู่การทําความเข้าใจ ใน ภูมิภาค ซีกโลกตะวันออกและตะวันตกเก่ียวกับศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม การดําเนินชีวิต การจัดระเบียบทางสังคม และการเปล่ียนแปลงทาง สงั คมจากอดตี สูป่ ัจจุบัน 1.3 เอกสารเก่ียวกับหลักสูตรสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส 14101 ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 4 โรงเรียนอนุบาลน้องหญิง (อนบุ าลน้องหญิง, 2551) คาอธบิ ายรายวชิ า ผู้เรียนได้รบั การพัฒนาให้มีความรเู้ กีย่ วกบั การศกึ ษา ความสําคัญของพุทธศาสนาที่ตนนับถือ พุทธ ประวัติศาสดาท่ีนับถือ แบบอย่างการดําเนินชีวิต และข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดกและศาสนิกชน แสดง ความเคารพพระรัตนตรัยและปฏิบัติตามหลักธรรมโอวาทในพุทธศาสนา การทําความดีของตนเองและ บุคคลในครอบครัว โรงเรยี นและแนวทางในการปฏิบตั ใิ นการดําเนนิ ชีวิต ฝึกสวดมนต์ไหว้พระสรรเสริญคุณ พระรัตนตรัยและแผ่เมตตา การปฏิบัติตนตามหลักศาสนาท่ีตนนับถือ ประวัติพระศาสดาของศาสนาอ่ืนๆ การบําเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนถานของศาสนา การปฏิบัติมรรยาทของชาวพุทธ การปฏิบัติตนในศาสน พิธีกรรมในวันสาํ คัญทางพุทธศาสนา การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดีตามระบอบประชาธิปไตย การเป็นผู้นํา และผู้ตามท่ีดี สิทธิเด็กตามกฎหมาย วัฒนธรรมของไทยในภาคต่างๆความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่ม คนในท้องถิ่นและในกลุ่มประเทศอาเซียน ปัญหาและสาเหตุของการเกิดความขัดแย้งในชีวิตประจําวัน ความสําคัญของอํานาจอธิปไตยต่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย บทบาทหน้าท่ีของพลเมืองใน การเลือกต้ัง ความสําคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ ปัจจัยท่ีมีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและการบริการ การรกั ษาสิทธิและผลประโยชน์ของผู้บริโภค หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง อาชีพ สินค้า และบริการต่าง ๆ ที่ผลิตในชุมชน หน้าท่ีเบ้ืองต้นของเงิน การใช้แผนที่ ภาพถ่ายลักษณะทางกายภาพของจังหวัดตนเอง บอกตําแหน่ง ระยะทางและทิศของทรพั ยากรและสิ่งต่าง ๆ ในจงั หวัดของตนเอง ส่ิงต่าง ๆ ท่ีมีอยู่ในจังหวัด

ตามแผนที่จังหวัดตนเอง สภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนท่ีส่งผลต่อการดําเนินชีวิตของจังหวัดของ เรา กาเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในจังหวัดและผลที่เกิดจากการเปล่ียนแปลง อนุรักษ์ ส่ิงแวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติในจงั หวดั ปรากฏการณ์ธรรมชาตทิ ี่มผี ลต่อสิง่ แวดล้อมของประเทศในกลุ่มอาเซยี น โดยผ่านกระบวนการ อธิบาย วิเคราะห์ ระบุ การอ่าน การฟัง การเล่าเร่ือง การสรุปความ การ สร้างผังความคิด การสังเคราะห์ การสรุปความ การเรียงความ การเรียนรู้จากแผนท่ี การจัดทําโครงงาน และการจดั นิทรรศการ ทักษะการสืบค้นข้อมลู ไดอ้ ย่างมปี ระสิทธภิ าพ เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจ แสวงหาความรู้ ใฝุเรียนใฝุรู้ มีวินัย ขยัน ซ่ือสัตย์ รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เกิดความรักความเป็นชาติไทย สามารถเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอ่ืนได้อย่างมี ความสขุ ตวั ชว้ี ัด ส 1.1 ป.4/1 , 4/2 , 4/3 , 4/4 , 4/5 , 4/6 , 4/7 , 4/8 ส 1.2 ป.4/1 , 4/2 , 4/3 ส 2.1 ป.4/1 , 4/2 , 4/3 , 4/4 4/5 ส. 2.2 ป.4/1 , 4/2 , 4/3 ส. 3.1 ป.4/1 , 4/2 , 4/3 ส 3.2 ป.4/1 , 4/2 ส. 5.1 ป.4/1 , 4/2 , 4/3 ส. 5.2 ป.4/1 , 4/2 , 4/3 รวม 30 ตัวชี้วดั สาระและมาตรฐานการเรยี นรู้ สาระที่ 1 ศาสนา ศลี ธรรม จรยิ ธรรม มาตรฐาน ส 1.1 รู้ และเข้าใจประวัติ ความสําคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือ ศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอ่ืน มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตาม หลักธรรม เพอ่ื อยู่ร่วมกนั อยา่ งสนั ตสิ ขุ มาตรฐาน ส 1.2 เขา้ ใจ ตระหนกั และปฏบิ ตั ติ นเปน็ ศาสนกิ ชนท่ดี ี และธาํ รงรกั ษาพระพุทธศาสนา หรอื ศาสนาท่ีตนนบั ถือ สาระที่ 2 หนา้ ทพี่ ลเมือง วัฒนธรรม และการดาเนินชวี ติ ในสงั คม มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหนา้ ท่ขี องการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมท่ีดงี าม และธํารง รักษาประเพณแี ละวฒั นธรรมไทย ดํารงชวี ติ อยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสงั คมโลก อย่างสันตสิ ุข

มาตรฐาน ส 2.2 เขา้ ใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดม่ัน ศรัทธา และธํารงรักษา ไว้ซง่ึ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอนั มพี ระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมขุ สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส.3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ ทรพั ยากรทีม่ อี ยู่จาํ กดั ไดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจ หลักการของ เศรษฐกิจพอเพยี ง เพือ่ การดาํ รงชีวติ อย่างมดี ลุ ยภาพ มาตรฐาน ส.3.2 เขา้ ใจระบบ และสถาบนั ทางเศรษฐกิจต่างๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความ จําเป็นของการร่วมมือกนั ทางเศรษฐกิจในสงั คมโลก สาระท่ี 4 ประวัตศิ าสตร์ มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสาํ คัญของเวลาและยุคสมยั ทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้ วธิ กี ารทางประวตั ศิ าสตรม์ าวิเคราะหเ์ หตกุ ารณต์ ่างๆ อยา่ งเป็นระบบ มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบันในด้านความสัมพันธ์และ การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนอ่ื ง ตระหนักถึงความสําคัญและสามารถ วเิ คราะห์ผลกระทบทีเ่ กิดข้นึ มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจ และธาํ รงความเปน็ ไทย สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพส่ิงซ่ึงมีผลต่อกัน และกันในระบบของธรรมชาติ ใชแ้ ผนทแ่ี ละเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วเิ คราะห์ สรุป และใช้ข้อมลู ภมู สิ ารสนเทศอยา่ งมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการ สร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสํานึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรและ ส่งิ แวดล้อม เพือ่ การพฒั นาทย่ี ั่งยนื จากความหมายของการสอนตามหลักสตู รการศกึ ษาข้ันพนื้ ฐานสรุปได้ว่า การจดั การเรียนการสอน สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ครูผู้สอนตอ้ งเลือกกจิ กรรมการเรยี นการสอนใหส้ อดคล้องกับมาตรฐาน และตวั ชวี้ ดั 2. เอกสารทเี่ ก่ยี วกับสงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2.1 ความหมายของสังคมศึกษา

กลมุ่ สาระสงั คมศกึ ษาศาสนาและวัฒนธรรมเปน็ กลุ่มสาระท่ีมีขอบข่ายกว้างขวางครอบคลุมเนื้อหา หลายสาระ จงึ ควรเข้าใจความหมายให้ชดั เจน จากนักการศกึ ษาและนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมาย ของสังคมศกึ ษาไว้ ดังน้ี พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายว่าสังคมศึกษา หมายถึงกลุ่ม สาระท่ีประกอบด้วยสาระภมู ศิ าสตร์ ประวตั ิศาสตร์ หน้าทพี่ ลเมอื งและศีลธรรม โกวิท วรพิพัฒน์ (วิเชียร อําพนรักษ์. 2537: 5; อ้างอิงจาก โกวิท วรพิพัฒน์. ม.ป.ป)กล่าวถึง กลุ่ม สาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมว่าเป็นกลุ่มสาระท่ีมีความสําคัญ และมีความสัมพันธ์กับการพัฒนา ประเทศในด้านการเตรียมคนใหเ้ ป็นคนดี มีความรบั ผิดชอบและมคี ณุ ธรรม เผด็จ กุลประดิษฐ์ (2540: 7) ให้ความหมายว่าสังคมศึกษาเป็นกลุ่มสาระที่เก่ียวข้องกับ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับส่ิงแวดล้อม การอยู่ร่วมกันของกลุ่มชน ตลอดจนการปรับตัวให้สามารถ ดํารงชีวติ อยู่ในสงั คมนัน้ ๆไดอ้ ย่างมีความสขุ จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่ากลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นกลุ่มสาระท่ี ศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์กับส่ิงแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคม และเป็นวิชาท่ีมีความสําคัญต่อการ พัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี สามารถจัดการให้ตนเองได้ดํารงชีพอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และมีความสุข สบื ทอดวฒั นธรรม ซึง่ เปน็ เอกลักษณ์ของความเป็นชาตไิ ทย ในความเป็นสากล ในยุคแห่โลกาภิวัตน์ได้อย่าง ภาคภูมใิ จ 2.2 ผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี น ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน (Achievement) เป็นสรรถภาพของสมองในด้านต่างๆ ท่ีนักเรียนได้รับ จากประสบการณ์ท้ังทางตรงและทางอ้อมจากครูนักการศึกษา จึงได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนไว้ ดังนี้ พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2530: 29) ได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ว่า หมายถึง คุณลักษณะรวมท้ังความรู้ความสามารถหรือมวลประสบการณ์ท้ังปวงที่บุคคลได้รับจากประสบการณ์การ เรียนการสอน ทาํ ใหบ้ ุคคลเปลี่ยนแปลงพฤตกิ รรมดา้ นต่างๆ 2.3 การวดั ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสงั คมศึกษา บลูม (Bloom. 1976: 139) กล่าวว่า การวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนจะต้องสอดคล้องกับ วตั ถปุ ระสงค์เชิงพฤติกรรม 3 ดา้ น คือ 1. ด้านความรู้ความคิด (Cognitive Domain) พฤติกรรมด้านน้ีเก่ียวกับกระบวนการต่างๆ ทางดา้ นสติปญั ญาและสมอง ประกอบดว้ ยพฤตกิ รรม 6 ดา้ น ดงั นี้ 1.1 ด้านความรคู้ วามจาํ หมายถึง ความสามารถระลึกถงึ เร่ืองราวประสบการณท์ ผ่ี ่านมา 1.2 ด้านความเข้าใจ หมายถึง ความสามารถในการจับใจความ การแปลความการตีความ การขยายความของเรือ่ งได้

1.3 การนําไปใช้ หมายถึง ความสามรในการนําความรู้หรือหลักวิชาท่ีเรียนมาแล้วใน กาสารสร้างสถานการณ์จรงิ ๆ หรอื สถานการณ์ที่คล้ายคลงึ กัน 1.4 การวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะเร่ืองราวต่างๆ หรือวัตถุสิ่งของ เพ่อื ต้องการค้นหาสาเหตเุ บือ้ งตน้ หาความสัมพันธ์ระหว่างใจความ ระหว่างส่วนรวมระหว่างตอนตลอดจน หาหลักการทีแ่ ฝงอยูใ่ นเรือ่ ง 1.5 การสังเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการนําความรู้มาจัดระบบใหม่เป็นเร่ืองใหม่ ทไ่ี ม่เหมอื นเดิม มีความหมายและประสทิ ธภิ าพสงู กวา่ เดมิ 1.6 การประเมินค่า หมายถึง การวินิจฉัยคุณค่าของบุคคลเร่ืองราว วัสดุส่ิงของอย่างมี หลักเกณฑ์ 2. ด้านความรู้สึก (Affective Domain) พฤติกรรมด้านนี้เก่ียวข้องกับการเจริญเติบโตและ พัฒนาการในด้านความสนใจ คณุ ค่าความซาบซ้ึงและเจตคติต่างๆ ของนกั เรียน 3. ด้านการปฏิบัติการ (Psycho – motor Domain) พฤติกรรมด้านนี้เก่ียวข้องกับการพัฒนา ทกั ษะในการปฏิบตั แิ ละการดําเนินการ เชน่ การทดลอง สรุปได้ว่า การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนั้น สามารถวัดได้ทั้งด้านทักษะปฏิบัติ โดยการใช้ แบบทดสอบภาคปฏิบัติและการวัดทางด้านเนื้อหาโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนให้ สอดคลอ้ งกบั วตั ถุประสงค์เชิงพฤตกิ รรม 3 ดา้ น 1. ด้านความรู้ความคิด (Cognitive Domain) โดยวัดพฤติกรรมด้านความรู้ – ความจํา ความ เขา้ ใจ การนาํ ไปใช้ การวเิ คราะหแ์ ละการประเมินคา่ 2. ด้านความรู้สึก (Affective Domain) พฤติกรรมด้านน้ี เก่ียวข้องกับการเจริญเติบโต และ พัฒนาการในด้านความสนใจ คณุ คา่ ความซาบซงึ้ และเจตคตติ า่ งๆ ของนักเรียน 3. ด้านการปฏิบัติการ (Psycho – motor Domain) พฤติกรรมด้านนี้เก่ียวข้องกับการพัฒนา ทักษะในการปฏิบัติ และการดําเนนิ การ 2.4 การประเมนิ ผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรียนกล่มุ สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กรมวชิ าการ (2544: 56) กลา่ ววา่ ในการวดั และประเมนิ ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียน เพ่ือให้ได้ข้อมูลท่ี เน้นความสามารถและคณุ ลักษณะทีแ่ ทจ้ ริงของผู้เรียนจะต้องใชว้ ธิ ีการและเคร่ืองมอื ท่ีหลากหลาย เชน่ 1. การทดสอบ เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความรู้ ความคิด ความก้าวหน้าในสาระการเรียนรู้ มเี ครอ่ื งมือวดั หลายแบบ เช่น แบบทดสอบเลอื กตอบ แบบเติมคําส้นั ๆ แบบถูกผิด แบบจบั คู่ เปน็ ตน้ 2. การสังเกต เป็นการประเมินพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน เช่น ความสัมพันธ์ ในการ ทํางานกลุ่ม การวางแผน ความอดทน วิธีการแก้ปัญหา การใช้เคร่ืองมืออุปกรณ์ต่างๆ ในระหว่างการเรียน การสอนและการทํากิจกรรมต่างๆ โดยผู้สอนสามารถสังเกตได้ตลอดเวลา ซึ่งจะบันทึกข้อมูลลงในแบบ สังเกตท่ีสรา้ งข้นึ

3. การสมั ภาษณ์ เปน็ การสนทนาซักถามพูดคุย เพื่อค้นหาข้อมูลที่ไม่อาจพบเห็นได้อย่างชัดเจนใน ส่ิงที่นกั เรยี นประพฤตปิ ฏบิ ัติ 4. การประเมินภาคปฏิบัติ เป็นการประเมินการกระทํา การปฏิบัติงานในการสร้างผลงานให้สําเร็จ โดยผู้สอนต้องจัดทาํ ประเด็นการประเมินและเครื่องมือเพื่อประกอบการประเมินด้วยเช่น Scoring Rubric, Rating Scale หรอื Checklist เปน็ ตน้ 5. การประเมินแฟูมสะสมผลงาน เป็นการประเมินความสามารถในการผลิตผลงานการบูรณาการ ความรู้ รวบรวมผลงาน การคัดเลอื กผลงานและศกั ยภาพในการเรยี นรู้ วันเพ็ญ วรรณโกมล (2542: 19 – 22) ได้กล่าวว่า ในยุคที่มีการปฏิรูปการศึกษาของไทยต้ังแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา สังคมไทยจึงมีความต้องการคนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินประเมินค่า เลือกรับข้อมูลข่าวสารอย่างเหมาะสม มีความรู้ทั้งหลักการและทักษะดังน้ัน มิติใหม่ของ การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จึงควรพัฒนาให้ ผู้เรียนได้เกิดทักษะ กระบวนการคิดท่หี ลากลายซง่ึ แนวความคิดดงั กล่าวไดส้ อดคล้องกบั จากการศึกษาค้นคว้าดังกลา่ ว จึงสรปุ ไดว้ า่ การเรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ต้องพยายามยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้สอนต้องแสวงหาวิธีการจัดการเรียนรู้แบบต่างๆ ให้เหมาะสม สอดคล้องกบั เน้ือหาความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีทักษะ ในการคิดอย่างมีเหตุผล มีค่านิยมที่ถูกต้อง สามารถนําความรู้ไปปรับใช้กับการดําเนินชีวิตได้อย่างมี ความสขุ 2.5 ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง ความเป็นมาและความสาํ คญั ของปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดํารัส ชี้แนะแนวทางการดําเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทาง เศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นยํ้าแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดํารงอยู่ ได้อย่าง ม่นั คงและย่งั ยนื ภายใต้กระแสโลกาภวิ ตั น์และความเปล่ียนแปลงต่างๆ ประมวลพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงที่ พระราชทานในโอกาสต่างๆ (อ้างในคณะอนุกรรมการขับเคล่ือนเศรษฐกิจพอเพียง, 2551: บทนํา) สรุปได้ วา่ ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาท่ีช้ีถึงแนวทางการดํารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุก ระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ท้ังในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดําเนินไป ในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นท่ีจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวท่ีดี พอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงท้ังภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างย่ิงในการนําวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและ การดําเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพ้ืนฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะ

เจ้าหน้าท่ีของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสํานึกในคุณธรรมความซ่ือสัตย์ สุจริต และให้มี ความรอบรู้ท่ีเหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้ สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางท้ังด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวฒั นธรรมจากโลกภายนอกไดเ้ ปน็ อยา่ งดี ในเรื่องน้ีสุเมธ ตันติเวชกุล (อ้างในคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง, 2550: 21) กล่าวว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจท่ีสามารถอุ้มชูตัวเองอยู่ได้ โดยไม่ต้องเดือดร้อน โดยต้องสรา้ งพ้ืนฐานทางเศรษฐกิจของตนเองใหด้ เี สยี ก่อน คือ ต้ังตัวให้มีความพอกิน พอใช้ ไม่ใช่มุ่งหวังแต่ จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจได้รวดเร็วแต่เพียงอย่างเดียว เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียง พอทจ่ี ะพง่ึ ตนเอง ย่อมสามารถสรา้ งความเจรญิ กา้ วหน้าและฐานะทางเศรษฐกจิ ที่สงู ข้นึ ไปตามลาํ ดบั ส่วนนิธิ เอียวศรีวงษ์ (อ้างในคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง, 2550:21) กล่าวว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เทคนิค แต่มีความหมายกว้างกว่านั้นมาก เพราะต้องรวมเอา 1) อุดมการณ์บางอย่าง 2)โลกทัศน์บางอย่าง 3) ความสัมพันธ์บางอย่าง และ 4) ค่านิยมบางอย่างอยู่ในนั้น ด้วย จึงจะนบั ได้ว่าเปน็ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่แท้จริง โดยทั้ง 4 ประการ ที่จะกล่าวถึงน้ี คือ ส่วน ที่เรารู้จักกันว่าวัฒนธรรมน่ันเอง ถ้าไม่เข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามความหมายเช่นนี้ ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงจะมีความเป็นไปได้แก่ คนจํานวนน้อยเท่าน้ัน คือ เกษตรกรท่ีมีที่ดินของตนเองใน ปริมาณเพียงพอจะผลิต เพื่อพอบริโภคหรือทํารายได้พอสําหรับครัวเรือนเท่าน้ัน ฉะน้ัน ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงจึงนิยมกันไว้เพียงว่าเศรษฐกิจพอเพียง คือ วัฒนธรรม ไม่ใช่เทคนิคการเพาะปลูกหรือ ศีลธรรม ความไม่ละโมบและการประหยัดเท่าน้ัน แม้ว่าเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ของปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพยี งก็ตาม สําหรับประเวศ วะสี (2550:21) กล่าวว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้แปลว่าไม่เก่ียวข้อง กับใคร ไม่ค้าขาย ไม่ส่งออก ไม่ผลิตเพ่ือคนอื่นไม่ทําเศรษฐกิจมหาภาค ส่ิงเหล่านี้หลายคนอาจคิดเอาเอง พูดเอาเอง และกลัวไปเองทั้งนั้น ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง พอเพียงในอย่างน้อย 7 ประการ ด้วยกัน คอื 1.พอเพียงสาํ หรับทุกคน ทุกครอบครัว ไม่ใชเ่ ศรษฐกจิ แบบทอดทิ้งกนั 2.จิตใจพอเพยี ง ทาํ ใหร้ ักและเออื้ อาทรคนอื่นได้ คนทไ่ี มพ่ อ จะรักคนอ่นื ไม่เปน็ และทาํ ลายมาก 3. สิง่ แวดลอ้ มพอเพียง การอนุรักษ์และเพม่ิ พูนสิ่งแวดล้อม ทาํ ให้ยังชพี และทํามาหากินได้ เช่น การทําเกษตรผสมผสาน ซึง่ ได้ทัง้ อาหาร ไดท้ ัง้ ส่งิ แวดลอ้ ม และได้ท้งั เงิน 4. ชมุ ชนเข้มแขง็ พอเพียง การรวมตัวกันเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง จะทําให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ เชน่ ปญั หาสังคม ปญั หาความยากจน หรือปญั หาส่ิงแวดลอ้ ม เป็นตน้ 5. ปัญหาพอเพียง มีการเรียนร้รู ่วมกันในการปฏิบัติ และปรับตวั ได้อย่างต่อเนื่อง 6. อยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรมพอเพียง วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิตของกลุ่มชนท่ีสัมพันธ์อยู่กับ ส่ิงแวดล้อมท่ีหลากหลาย ดังน้ัน เศรษฐกิจจึงควรสัมพันธ์และเติบโตข้ึนจากฐานทางวัฒนธรรมจึงจะม่ันคง

เช่น เศรษฐกิจของจังหวัดตราด ไม่กระทบกระเทือนจากฟองสบู่แตก ไม่มีคนตกงาน เพราะอยู่บนพื้นฐาน ของส่ิงแวดล้อม และวัฒนธรรมท้องถิ่นท่เี ออื้ ต่ออาชีพการทาํ สวนผลไม้ ทําการประมง และการท่องเที่ยว 7. มีความมั่นคงพอเพียง ไม่ใช่วูบวาบ เด๋ียวจน เด๋ียวรวยแบบกะทันหัน เดี๋ยวตกงานไม่มีกิน ไม่มี ใช้ ถา้ เป็นแบบน้ันประสาทมนุษย์คงทนไม่ไหวต่อความผันผวนที่เร็วเกินไป จึงทําให้สุขภาพจิตเสีย เครียด เพี้ยน รนุ แรง ฆ่าตัวตาย ตดิ ยา ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงทีม่ ่ันคง จงึ ทําใหส้ ขุ ภาพจติ ดี ส่วนปรียานุช พบิ ลู สราวุธ (2551: 73) ได้กล่าวไว้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นท้ังหลักคิด และหลักปฏิบัติท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบันได้พระราชทานให้ปวงชน ชาวไทยทุกหมู่เหล่า น้อมนําไปเป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตของแต่ละครอบครัว หรือกลุ่ม องค์กร ให้ สามารถดํารงอยู่และก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุล ตลอดจนพร้อมรับต่อการเปล่ียนแปลงต่างๆ ได้ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ นอกจากน้ันปรียานุช พิบูลสราวุธ (2551: 74) ยังได้เสนอเพ่ิมเติมไว้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงเป็นหลักการดําเนินชีวิตตามแนวทางสายกลาง ไม่สุดโต่งข้างใดข้างหน่ึง การตัดสินใจหรือปฏิบัติ ภารกิจใดๆ ต้องอยู่บนพ้ืนฐานของความเป็นจริง ความถูกต้องอย่างเป็นเหตุเป็นผลและไม่ประมาท เป็น หลักการท่ีมีพ้ืนฐานมาจากวิถีชีวิตด้ังเดิมของสังคมไทย ท่ีอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถนํามา ประยุกตใ์ ชไ้ ด้ในปัจจุบนั กับการปฏบิ ตั ติ นของประชาชนทกุ ระดบั จากความเห็นของนักวิชาการดังกล่าว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจึงหมายถึงหลักการปฏิบัติ และดํารงอยู่ของประชาชนทุกระดับตามพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตผุ ล รวมถงึ ความจําเป็นที่จะตอ้ งมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี อยู่บนพื้นฐานของ เง่ือนไขความรูแ้ ละคุณธรรม องค์ประกอบของหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาท่ีเป็นท้ังแนวคิด หลักการ และแนวทางปฏิบัติตนของแต่ละบุคคล และองค์กร โดยคํานึงถึงความพอประมาณกับศักยภาพของตนเองและสภาวะแวดล้อม ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง โดยใช้ความรู้อย่างถูกหลักวิชาการด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง ควบคู่ไปกับความมีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เบียดเบียน แบ่งปัน ช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน และร่วมมือ ปรองดองกันในสังคม ซ่ึงจะช่วยเสริมสร้างสายใยเช่ือมโยง คนในภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมเข้าด้วยกัน สรา้ งสรรค์พลังในทางบวกนําไปสู่ความสามัคคี การพัฒนาท่ีสมดุลและย่ังยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ได้ โดยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีองค์ประกอบด้านคุณลักษณะ 3 ประการ ดังนี้ (ปรยี านุช พบิ ลู สราวุธ, 2551: 76) (1) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจําเป็นและเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียน ตนเองและผ้อู ่ืน

(2) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดําเนินการเร่ืองต่างๆ อย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมท่ีดีงามโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยท่ีเกี่ยวข้อง ตลอดจนคาํ นงึ ถึงผลที่คาดว่าจะเกิดข้ึนจากการกระทํานน้ั ๆ อยา่ งรอบรแู้ ละรอบคอบ (3) ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบและการ เปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม ส่ิงแวดล้อมและวัฒนธรรมเพ่ือให้สามารถ ปรบั ตวั และรับมือไดอ้ ยา่ งทนั ท่วงที เงื่อนไขสาํ คัญที่จะทําให้การตัดสนิ ใจและการกระทาํ เปน็ ไปอย่างพอเพียง จะต้องอาศัยท้ังคุณธรรม และความรู้ ดงั น้ี เงือ่ นไขความรู้ ประกอบดว้ ยการฝึกตนใหม้ คี วามรอบรู้เก่ียวกับวิชาการต่างๆท่ีเกี่ยวข้องอย่างรอบ ด้าน มีความรอบคอบและความระมัดระวังท่ีจะนําความรู้ต่างๆ เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพ่ือ ประกอบการวางแผนในขน้ั ปฏบิ ตั ิ เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างให้เป็นพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ประกอบด้วย ด้านจิตใจ คือ การตระหนักในคุณธรรม รู้ผิดชอบชั่วดี ซื่อสัตย์สุจริต ใช้สติปัญญาอย่างถูกต้องและเหมาะสมในการ ดําเนินชีวิต และด้านการกระทํา คือ มีความขยันหม่ันเพียร อดทน ไม่โลภ ไม่ตระหน่ี รู้จักแบ่งปันและ รบั ผดิ ชอบในการอยู่ร่วมกบั ผ้อู น่ื ในสังคม จากองค์ประกอบของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอประมาณ ความมีเหตผุ ล และระบบภมู คิ มุ้ กันในตวั ทีด่ ี บนเง่อื นไขความรู้ และคณุ ธรรมนัน้ ผู้วิจยั ไดน้ ํามาเป็นกรอบใน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเก่ียวกับปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงให้แก่นักเรียนซ่ึงถือว่าเป็นเยาวชนท่ีจะเป็นกําลังหลักในการพัฒนาประเทศในวันข้างหน้า เพ่ือให้ นักเรียนทุกคนสามารถนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจําเป็น อย่างย่ิงที่ครูผู้สอนต้องมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมท่ีสามารถสร้างความเข้าใจ และปลูก จิตสํานึกให้นักศึกษาเห็นคุณค่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เพือ่ ความอย่ดู ี มสี ุข สําหรับองค์ประกอบของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเรียกส้ัน ๆ ว่า 3 ห่วง 2 เง่ือนไข สมดุล 4 มติ ิ สามารถสรปุ เปน็ ภาพได้ดงั น้ี

สรปุ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทางสายกลาง เง่อื นไขความรู้ เงื่อนไขคณุ ธรรม (รอบรู้ รอบคอบ ระมดั ระวัง (สติ ปัญญา ขยัน หม่นั เพยี ร อดทน ในการนาํ หลกั วชิ าการต่างๆ มาใช้) นำไป ซอ่ื สัตยส์ จุ รติ ไม่เบียดเบยี น แบ่งปนั ) สู่ เศรษฐกิจ/สงั คม/สงิ่ แวดล้อม/วฒั นธรรม กา้ วหน้าไปพร้อมกับความสมดุล ม่ันคง ยั่งยนื ภาพท่ี 1 สรุปปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง (ปรียานุช พิบลู สราวุธ, 2551: 78) ผู้ศึกษาได้นําองค์ความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข สมดุล 4 มิติ มา ประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพ่ือสร้างความเข้าใจ และปลูกจิตสํานึกให้นักเรียนเห็น คุณค่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมเพื่อความอยู่ดี มีสุข เป็นส่วนหนึ่งที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในด้านการเผยแพร่ ความรู้ และการนาํ ขอ้ มูลไปใชป้ ระกอบการวางแผนพฒั นาเยาวชนของชาติต่อไป นอกจากน้ัน ปรยี านุช พิบูลสราวุธ (2552: 13) ยังได้เสนอแนวทางการนําปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงมาปรับใชใ้ นการจัดกจิ กรรมพฒั นาผู้เรียนดงั นี้ ลกั ษณะกิจกรรมพฒั นาผเู้ รียน

1. ตอ่ ยอดหรือพฒั นากจิ กรรมท่ีสอดคล้องกับภูมสิ ังคม/บรบิ ท 2. ดําเนินการหลักโดยผู้เรยี นด้วยความสมัครใจ โดยมีครูช่วยสนบั สนุน 3. ผู้เรียนใชห้ ลักคดิ /หลกั ปฏบิ ตั ิที่สอดคล้องกบั หลักวิชาการอย่างสมเหตสุ มผล 4. มกี ารวางแผนอยา่ งรอบคอบ คํานงึ ถงึ ความเสยี่ งตา่ งๆ 5. ส่งเสริมการเรียนร้แู ละคุณธรรม กิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพอื่ ใหน้ ักเรยี นไดป้ ฏบิ ตั ิเกี่ยวกับเรื่องต่อไปน้ี 1. การมีวินัยในการใชจ้ ่าย 2. การประหยดั การอดออม 3. การพ่ึงตนเอง โดยการผลติ หรอื สรา้ งรายได้ 4. การรู้จักชว่ ยเหลือสงั คมหรือชุมชน 5. การสร้างสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ พลงั งานและส่ิงแวดล้อม 6. การสบื สานวฒั นธรรมไทย 7. การส่งเสริมการปฏิบตั ติ ามคําสอนทางศาสนา 8. การสร้างความสมานฉนั ท์ จดั กิจกรรม ปลกู ฝัง เรียนรู้จาก หลากหลาย คณุ ธรรม ธรรมชาติ ทางานเป็ นกลมุ่ จดั สภาพแวดล้อม จงู ใจ เรียนรู้จาก ผู้เรียน สร้างจดุ เดน่ สถานการณ์จริง ซอ่ มจดุ ด้อย สร้ างวินยั แก้ปัญหาเอง เน้นกระบนการ ใสใ่ จนกั เรียนเป็ น เรียนรู้ รายบคุ คล จินตนาการ นร.มีสว่ นร่วม ภาพท่ี 2 การพฒั นากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนดว้ ยการสอนโดยยดึ ผูเ้ รียนเป็นศูนย์กลาง (ปรียานชุ พบิ ลู สราวุธ, 2552: 10)

ผู้ศึกษาได้นําการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้วยการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางท่ี ผทู้ รงคุณวุฒิดา้ นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้นําเสนอไว้ มาเป็นกรอบในการพัฒนารูปแบบการจัดการ เรียนรเู้ พ่อื ให้เกิดผลอยา่ งเป็นรูปธรรม สามารถสร้างศรัทธาในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วัยรุ่นสามารถ นําไปประยุกต์ใชใ้ นชีวติ ประจําวนั จนเกิดเป็นวิถีวัฒนธรรมแหง่ ความพอเพยี งได้ 3. เอกสารเก่ียวกบั การสอนโดยใช้ผงั มโนทัศน์ 3.1 ประวัติความเป็นมาของ Concept Mapping คิดค้นโดย Prof. Joseph D.Novak แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล (Cornell University) ประเทศสหรัฐอเมรกิ า ในปี ค.ศ. 1960 โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎกี ารเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Learning) ของเดวิด ออซูเบล (David Ausubel. 1968 อ้างถึงใน http://www.bangkaew.com/ wai/article.php?story=20080705142111778) 3.2 ลกั ษณะของผงั มโนทัศน์ มนัส บุญประกอบ (ม.ป.ป.:1) กลา่ ววา่ ผงั มโนทัศน์ (Concept Mapping)ตรงกับคําอื่น ๆ ในภาษาอังกฤษอีกหลายคํา เช่น Conceptual Mapping, Concept Maps หรือ C-Maps. Conceptual Framework, Semantic Mapping, Semantic Maps, Semantic Networking, Plot Maps. Clustering, Concept webs และ Semantic webs เป็นต้น จากอิทธิพลแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล ซึ่งเช่ือว่าโครงสร้าง การรู้คิดของบคุ คลมลี กั ษณะเปน็ ลําดับข้ันลดหล่ันกันลงมา เมื่อประสบการณ์ใหม่สัมพันธ์กับมโนทัศน์เดิมที่ เคยทราบมาแลว้ ก็จะให้การเรยี นรู้นั้นมีความหมายแก่บุคคลน้ันทันที โนแวคเป็นผู้ที่ทําให้แนวความคิดของ ออซเู บลมองเห็นเปน็ แผนภูมิท่ีเข้าใจเป็นรูปธรรมได้และได้วิจัยบุกเบิกอย่างจริงจังต่อเน่ืองกันมาต้ังแต่ก่อน ปี ค.ศ. 1973โนแวค ได้จัดแยกประเภทมโนทัศน์เป็นหลายระดับ ได้แก่ มโนทัศน์หลัก มโนทัศน์รอง มโน ทศั น์ยอ่ ย มโนทัศนเ์ จาะจง และตัวอยา่ ง ซง่ึ มลี ักษณะเป็นลําดบั ช้นั ลดหลนั่ กันลงมา ดูคล้ายกับการแตกราก ของพชื ยืนต้นที่แยกจากรากแกว้ เปน็ รากกิ่ง รากแขนง รากจ๋ิว และรากขนอ่อน ซ่ึงมีผลทําให้ได้โครงสร้างที่ แตกต่างไปจากเดมิ 3.3 การนาํ Concept Mapping ไปใชป้ ระโยชน์ การเขียน Concept Maps มีประโยชน์อย่างมากต่อบุคคลที่ต้องการการแสดงออก หรือ จดั การทางดา้ นความคดิ เพ่ือสรุปความเข้าใจของตนเอง และให้บุคคลอื่นเข้าใจได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น อาจารย์ใช้ในการเรียนการสอน, นักเรียนนักศึกษาใช้ในการสรุปความเข้าใจของตนเอง, นักวิจัยใช้ใน การเขยี นกรอบความคิด, ผู้บริหารสามารถนําเอา idea ที่น่าสนใจของทีมงานของมาผสมผสานเป็นแผนผัง ความคิด และสามารถนาํ มาสรา้ งเป็นแผนผังยุทธศาสตร์ (Strategic Map) ไดอ้ กี ด้วย เป็นต้น 3.4 ข้อแตกต่างระหว่าง Concept Mapping กบั Mind Mapping

- จุดเร่ิมต้น/ใจกลาง Concept Maps อาจมีความคิดรวบยอดได้มากกว่าหนึ่งประเด็น แต่ Mind Maps มีได้ประเด็นเดียวเท่านัน้ - สี Concept Map น้ันไมส่ นใจ แต่ Mind Maps จะถอื วา่ สาํ คัญมาก - Concept Maps มกี ารกาํ หนดกรอบ/ประเด็น/ แนวทาง ให้สรุป แต่ Mind Maps เป็น การระดมสมองไดอ้ ย่างอิสระ 3.5 องคป์ ระกอบของผงั มโนทัศน์ มนัส บุญประกอบ (2542: 48) กล่าวว่าโครงสร้างผังมโนทัศน์ประกอบด้วยส่วนสําคัญ ดังน้ี 1. คํามโนทศั น์ ซงึ่ อาจเขยี นดว้ ยคาํ สามานยนาม หรือวลี 2. คําเชื่อมโยง มักใช้คํากริยาหรือวลีโดยเขียนกํากับไว้บนแนวเส้นเช่ือมโยง แต่บางทีก็ไม่ จําเป็นต้องเขยี นกํากับไวเ้ สมอไป 3. เส้นเชอื่ มโยง ใช้ลากโยงความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งมโนทศั น์ด้วยเสน้ ตรงหรือเส้นโค้ง บางทีอาจแสดง ทศิ ทางความสัมพันธด์ ้วยหัวลูกศรทางเดียวหรือสองทิศทางกํากบั ไวด้ ว้ ย สรุปได้ว่า มโนทัศน์ ประกอบด้วย คํามโนทัศน์ คําเช่ือม และเส้นเช่ือมโยง สําหรับคํา เชื่อมโยงนั้นจะมีหรือไม่มีก็ได้ ถ้าความสัมพันธ์น้ันมีความชัดเจนแล้วก็ไม่จําเป็นต้องมีคําเชื่อมเรื่องการใช้ คําเชื่อมโยงในผังมโนทัศน์นั้น สุนีย์ เหมะประสิทธ์ิ (2543: 49-50) ได้ทดลองให้นิสิตปริญญาโทภาคพิเศษ วิชาเอกการประถมศึกษา ช้ันปีที่ 1 วิเคราะห์เนื้อหาของหน่วยการเรียนต่างๆ ตามท่ีหลักสูตรกําหนด ผล ปรากฏวา่ นิสติ ตา่ งบอกว่าเขยี นยาก ผู้สอนจงึ สันนษิ ฐานวา่ เป็นเพราะมีคําเชื่อม จึงทดลองให้เด็กชั้นอนุบาล 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เขียนผังมโนทัศน์แบบมีคําเช่ือม ผลคือเด็กท้ังสองเบื่อและไม่ค่อยอยากเขียน ต่อมาจึงทดลองให้เขียนแบบไม่มีคําเช่ือม ผลปรากฏว่าเด็กท้ังสองสามารถเขียนผังมโนทัศน์ได้ จากการ ทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคําเชื่อมเป็นอุปสรรคต่อการเขียนผังมโนทัศน์ จึงมีผู้พัฒนาการเขียนผังมโน ทัศนข์ องโนแวค เป็นแบบไม่มีคําเช่ือมและต้ังชื่อใหม่เป็นอย่างอื่น เช่น ผังการวิเคราะห์เนื้อหา (สุนีย์ เหมะ ประสิทธ์ิ. 2543: 50) แผนท่ีความคิด หรือMind Map (บูซาน. 2542) ซ่ึงต่อมามีผู้นิยมการเขียนผังมโน ทัศน์โดยไม่มีคําเชื่อมมากข้ึน เพราะทําให้การเชื่อมโยงความคิดในรูปของมโนทัศน์กระจายออกไปได้อย่าง อิสระ 3.6 ประเภทของผงั มโนทศั น์ โดยทัว่ ไปผงั มโนทศั นม์ ปี ระมาณ 13 ชนดิ คอื 1. Concept map (ผังมโนทศั น์หรอื ผังมโนภาพ) 2. Mind map หรอื Mind mapping (แผนท่คี วามคดิ ) 3. Web Diagram หรอื Spider Map(แผนผงั ใยแมงมุม) 4. Tree Structure (แผนภมู ิโครงสร้างตน้ ไม้) 5. Vynn Diagram(แผนภมู เิ วนน์)

6. Descending Ladder หรือTime Ladder Map (แผนภมู ชิ นั้ บันได) 7. Cycle Graph (แผนภาพวงจร, แผนภูมิแบบวัฎจักร) 8. Flowchart Diagram (แผนผังการดําเนนิ การ) 9. Matrix Diagram (แผนภาพหรือแผนภูมแิ สดงความสัมพันธ)์ 10. Fishbone Map (แผนภูมิหรือแผนผงั ก้างปลา) 11. Intervar Graph หรือTime line (แผนภาพแสดงความสมั พันธข์ องเหตกุ ารณต์ ่างๆ) 12. Order Graph , Events Chain (แผนภาพแสดงลําดับเหตกุ ารณ์) 13. Classification map (แผนผงั แสดงความสัมพันธ์แบบจําแนกประเภท) นอกจากน้ี มนัส บุญประกอบ (2542: 48-50) กล่าวถึงประเภทของผังมโนทัศน์ว่า มีการ จดั ประเภทของ ผังมโนทัศนโ์ ดยใชเ้ กณฑต์ า่ งกนั ไปหลายแนวคิด แต่มแี นวคิดท่สี ําคญั 2 แนวคดิ ดงั นี้ 1.มนิ ท์เซส วอนเดอร์ซี และ โนแวค ไดแ้ บง่ ผังมโนทศั น์ออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ 1.1 แผนภมู หิ ลัก (Macro map) ซึ่งแสดงความสมั พันธร์ ะหวา่ งมโนทัศน์ท่ีสําคญั ๆทา่ นน้ั 1.2 แผนภูมิย่อย (Micro map) แสดงรายละเอียดเพ่ิมเติมเฉพาะมโนทัศน์องค์ประกอบของ แผนภูมหิ ลกั ดจุ แผนทโ่ี ลกและแผนท่เี ฉพาะประเทศ 2. ดร. เมิร์ล ตนั แห่งมหาวทิ ยาลยั ฟลิ ปิ ปินส์ ไดแ้ บง่ ผังมโนทศั นอ์ อกเปน็ 4 ประเภท ไดแ้ ก่ 2.1 ชนดิ ปลายเปิด มกี ารแตกกิ่งกา้ นสาขาลงไปเร่ือย ๆ จากบนลงล่าง 2.2 ชนดิ ปลายปิด หรอื เปน็ วงปดิ 2.3 ชนิดเชื่อมโยงข้ามชุด คล้ายชนิดท่ี 1 แต่มีการเขียนเส้นเชื่อมโยงข้ามกลุ่มในทิศทางใดทิศทาง หนง่ึ 2.4 ชนิดกระจายออกจากมโนทัศน์หลัก โดยเขียนแตกออกไปทุกทิศทาง ซึ่งบางแห่งเรียกว่า Spider gram หรอื Spider Map หรอื Mind Mapping 3.7 การสรา้ งผังมโนทศั น์ อัลท์ (Ault. 1985: 41) กล่าวถึงการสร้างผังมโนทัศน์ว่าไม่มีทิศทางในการสร้างที่แน่นอน ตายตัวแต่สามารถสร้างได้หลายวิธี ซ่ึงแต่ละวิธีควรเร่ิมต้นด้วยการแนะนําแนวคิดเกี่ยวกับผังมโนทัศน์โดย ทาํ ในรูปของกจิ กรรมการเรียนรู้หรือแนะนําโดยตรง โนแวค (Novak. 1984: 17) และอัลท์ (Ault. 1985: 41) ได้แนะนําข้ันตอนการสร้างผัง มโนทศั นไ์ ว้ 5 ข้ัน ดังน้ี ขน้ั ท่ี 1 เลือก การเลือกเร่ืองที่จะสร้างแผนผังมโนทัศน์อาจนํามาจากตํารา สมุดจดคําบรรยาย คาํ อธบิ ายก่อนการปฏบิ ตั กิ าร เรม่ิ จากการอา่ นขอ้ ความน้นั อย่างน้อย 1 ครั้ง แล้วระบุมโนทัศน์ที่สําคัญ โดย

ขีดเส้นใต้คําหรือประโยคที่สําคัญ ซ่ึงอาจจะเป็นวัตถุหรือเหตุการณ์แล้วลอกมโนทัศน์ เหล่านี้ลงใน แผน่ กระดาษเลก็ ๆ เพ่อื สะดวกในการจัดความสัมพันธ์ ข้นั ท่ี 2 จัดลําดับ นํามโนทัศน์ที่สําคัญซ่ึงได้เขียนลงในแผ่นกระดาษเล็ก ๆ แล้วนํามาจัดลําดับจากมโน ทัศน์ท่ีมีความหมายกว้างไปสูม่ โนทัศน์ท่มี ีความเฉพาะเจาะจง ข้ันที่ 3 จดั กลุ่ม นาํ มโนทศั นม์ าจดั กลุ่มเขา้ ดว้ ยกันโดยมเี กณฑ์ 2 ขอ้ คือ 1. จดั กลมุ่ มโนทศั นท์ ีอ่ ยู่ในระดับเดียวกัน 2. จัดกลมุ่ มโนทัศน์ทม่ี ีความเกย่ี วขอ้ งกันอยา่ งใกลช้ ิด ขัน้ ท่ี 4 จัดระบบ เมื่อจัดระบบมโนทัศน์ที่สําคัญแล้ว นํามโนทัศน์ท่ีมีอยู่ในกลุ่มเดียวกันมาจัดระบบ ตามลําดบั ความเกี่ยวข้อง ซงึ่ ในขั้นนยี้ งั สามารถเปล่ยี นแปลงไดห้ รอื อาจหามโนทศั นอ์ ่ืน ๆ มาเพ่ิมเติมได้อีก ข้ันท่ี 5 เช่ือมโยงมโนทศั น์ท่มี ีความสมั พนั ธก์ นั เมื่อจัดระบบมโนทัศน์ที่สําคัญแล้วนํามโนทัศน์ที่มีความสัมพันธ์กันมาเช่ือมโยงกันโดย การลากเส้นเชอื่ มโยงกัน และมีคําเชื่อมระบุความสัมพันธ์ไว้ทุกเส้น และเมื่อใส่คําเชื่อมแล้วจะสามารถอ่าน ได้เป็นประโยค เส้นท่ีเช่ือมโยงอาจเชื่อมระหว่างมโนทัศน์ในชุดเดียวกัน หรือเชื่อมโยงระหว่างชุดของมโน ทัศน์ท่ตี ่างกนั ได้ อัญชลี ตนานนท์ (2535: 51) ได้แสดงลําดับขัน้ ในการสร้างผังมโนทัศนไ์ ว้ 7 ข้ันตอน ซึ่ง ได้ ทดลองใช้ในการสอนนกั เรียนและนกั ศึกษาแลว้ ได้ผล มขี ้นั ตอนการสอนดงั นี้ 1. เลอื กและเขียนรายการของคํามโนทัศน์ทเ่ี กย่ี วขอ้ ง 2. เรยี งลําดบั ความสําคญั ของคาํ มโนทัศน์ในขอ้ 1 จากมโนทัศนใ์ นขอ้ 1 จากมโนทัศนห์ ลกั ไปยงั มโนทศั น์รองและลดหลน่ั ไปเรอ่ื ย ๆ 3. สร้างหรอื วาดผังมโนทัศน์ โดยเรม่ิ จากมโนทศั น์หลกั กอ่ น และใช้คาํ เชอื่ มความสัมพันธ์ ของมโนทัศน์หลักไปยังมโนทัศน์รองและลดหลั่นกันไปถึงมโนทัศน์ย่อยและมโนทัศน์เฉพาะ ใน ระหว่างการสรา้ งเนื้อความหรือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ต่าง ๆ นั้นผู้สร้างอาจจะเพิ่มเติมคํา มโนทัศนเ์ ข้าไปไดเ้ สมอ ถ้าหากคาํ มโนทศั น์นนั้ ชว่ ยให้มองเหน็ ความสัมพันธไ์ ด้ชัดเจนขนึ้ 4. สรา้ งความสัมพันธร์ ะหวา่ งชดุ นอกจากความสัมพันธท์ เี่ ร่ิมจากมโนทศั น์หลกั ไปยงั มโน ทัศน์รองและลดหลั่นกันไปเรื่อย ๆ จนถึงมโนทัศน์ย่อยหรือมโนทัศน์เฉพาะแล้ว ความสัมพันธ์ ระหว่างมโนทัศน์สามารถมีได้ในลักษณะหรือทิศทางที่ย้อนกลับข้ึนไป หรือเป็นความสัมพันธ์ในแนวนอน ระหว่างมโนทัศน์ในส่วนต่าง ๆ ของผังมโนทัศน์ ความสัมพันธ์ระหว่างชุดนี้จะสังเกตได้ด้วยเส้นโยง ความสัมพันธ์ซง่ึ มีลูกศรกํากบั อยู่ 5. ประเมินผังมโนทัศน์ด้วยตนเอง โดยท่วั ๆ ไปผังมโนทัศน์ที่สร้างขึ้นเปน็ ครง้ั แรกจะมี

ขอ้ บกพร่องอยมู่ ากในเร่อื งของตําแหน่งหรือลาํ ดับช้ัน คําเช่ือม ตลอดจนความสบั สนของเสน้ โยง ความสัมพันธ์ ดังน้ันผู้สร้างจะต้องประเมินและปรับปรุงผังมโนทัศน์อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนท่ีจะนําไปให้ ผู้เชย่ี วชาญประเมินในขั้นที่ 6 6. สง่ ผงั มโนทศั น์ใหผ้ ูเ้ ชี่ยวชาญประเมิน การประเมนิ น้ันจะตอ้ งประเมินทงั้ ลักษณะทด่ี ีของ ผังมโนทศั นแ์ ละความถกู ต้องของความสัมพนั ธ์ตา่ ง ๆ ทเ่ี ขยี นไว้ 7. ปรบั ปรุงผงั มโนทศั นโ์ ดยอาศัยข้อมลู ท่ีได้รบั ในข้อ 6 3.8 การเขยี นแผนที่มโนทัศน์ (Concept Mapping) การเขียนแผนที่มโนทัศน์ (Concept Mapping) ให้มีความสมบูรณ์ จะต้องเรียนรู้หลักการพื้นฐาน บางประการที่เก่ยี วขอ้ งกบั เร่อื งของความคิด และองค์ความรู้ เรื่องท่ีจะต้องเรียนรู้ ประกอบด้วย ด้านต่างๆ (http://www.prachasan.com/cmap/principle.html) ดงั ตอ่ ไปนี้ 1. เรยี นรวู้ ิธคี ดิ แบบต่างๆ (Know the ways of Thinking) หลักการคิดมีหลากหลายแนวทาง ไม่ ว่าจะเป็นแนวคิด เรื่องผู้ชนะ 10 คิดของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ซึ่งประกอบด้วย การคิดเชิง อนาคต (Futuristic Thinking) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking) การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) การคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking) การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) การคิด เชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking) การคิดเชิงมโน ทศั น์ (Conceptual Thinking) โดยเรา สามารถนาํ เอาหลักการในการคิดแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้ หรือมา เป็นฐานในการคิด (Thinking base) โดยเฉพาะ หลักการคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) เพื่อ ความเขา้ ใจ ในการเชยี นแผนท่มี โนทัศน์ อาจจะแสดงภาพหลักการง่ายดังน้ี ในการประยุกต์ใช้แนวคิด ของ ศ.ดร.เกรียงศักด์ิ เจริญวงศ์ศักด์ิ อีกหลักการคิดแบบหน่ึงก็คือ การคิดแบบหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats) ของท่าน Dr.Edward De Bono ซ่ึงจะมาช่วยเสริมให้การเขียนแผนที่มโนทัศน์มีความสมบูรณ์ ย่ิงขึ้นไปอีก และในมิติของการคิดเชิงพุทธ เรื่องของโยนิโสมนสิการ เพื่อการคิดแบบแยบคาย และลุ่มลึกก็ ควรจะมีส่วนช่วยให้ แผนที่มโนทัศน์ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีก แผนท่ีมโนทัศน์ เร่ืองการประยุกต์ใช้ หลักการคิดแสดงไดด้ งั ภาพ

ภาพท่ี 3 ตัวอย่างเรยี นรู้วิธีคิดแบบต่างๆ (Know the ways of Thinking) (http://www.prachasan.com/cmap/principle.html) 2. ฝึกการมองภาพในสองมิติสลับไปสลับมา (Two Dimension view) มองเชิงกว้าง (Wide) มองเชิงลึก (Depth) การมองท้ังสองมิติจะช่วยให้เรามีทิศทางในการเขียนท่ีชัดเจน หรืออาจจะ เรียกได้ว่า เรามองภาพสุดท้ายก่อนจะเริ่มต้นเขียน (Begin With The End In Mind) ซ่ึงมันจะช่วยกํากับ กรอบในการคิดใหก้ บั เราได้ 3. การคิดดว้ ยช่วงช้ันของความคิด (Basic Ordering Ideas - BOIs) เร่ืองของช่วงชั้นของ ความคิด เป็นหัวใจสําคัญของการเขียนภาพความคิด (Visualize Thinking ) ไม่ว่าจะเป็นการเขียนแผนท่ี ความคิด (Mind Mapping) การเขียนแผนภูมิของเขตความคิด (MindScape) ซึ่งจะนําเสนอในอนาคต หรือ แผนที่มโนทัศน์ (Concept Mapping) หลักการของช่วงช้ันความคิดประกอบด้วย 9 ก คือ แกน จะต้องหาแกนของความคิดให้ได้ก่อน เก่ียว สร้างเส้นเช่ือมความคิดที่เกี่ยวข้องกันให้ได้ กลุ่ม จัดกลุ่มของ ความคิดโดยอาจจะเขียนเส้นขอบเขต (Boundary) กิ่ง แตกแขนงย่อยของรายละเอียดลึกลงไป กระจาย แนวคิดไปรอบๆ กระชับ ใช้คําที่กระชับเข้าใจง่ายๆ ก่อน - หลัง อะไรมาก่อนมาหลัง แยกจากทิศทางของ หัวลูกศร กรอบ ใส่กรอบให้ความคิด หรืออาจจะหมายถึงยึดแนวทางใดแนวทางหน่ึงในการคิดหรือการ เขยี น กระโดด ระวังความคดิ จะกา้ วกระโดด ข้ามประเดน็ สําคัญไป

ภาพที่ 4 การคดิ ด้วยช่วงชน้ั ของความคดิ (Basic Ordering Ideas - BOIs) (http://www.prachasan.com/cmap/principle.html) 4. ฝึกการคิดแบบ Hierachical Thinking หรือการคิดแบบช่วงช้ัน ให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การคดิ แบบ Outline view หรอื ดเปน็ โครงสร้างของความคิด จากบนลงล่าง ซึ่งในโปรแกรม CM aptools หรือโปรแกรม Inspiration สามารถสลบั ไปมาระหวา่ ง Concept Map View กับ Outline View ได้ แสดง ตวั อย่างการคิดแบบช่วงชน้ั นอกจากน้ี Concept Mapping มีลักษณะเป็นแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยง แนวความคดิ (Concepts) ซง่ึ เขยี นลงใน Block (รปู วงกลม หรือ รูปสีเ่ หลย่ี ม) เชอ่ื มโยงโดยใช้เส้นตรง หรือ ลูกศรแสดงทิศทางความสัมพันธ์ จะมีคําอธิบายความสัมพันธ์บนเส้นเชื่อมโยงนั้น หรือไม่มีก็ได้ตามความ เข้าใจของผู้เขียน เพ่ือแสดงออกถึงแนวความคิดให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม ซ่ึงแผนที่มโนทัศน์ (Concept Mapping) ตรงกับคําภาษาอังกฤษหลายคํา เช่น Concept Maps หรือ C-Maps, Conceptual Framework, Semantic Mapping, Semantic Networking, Plot Maps เป็นต้น และตรงกับคํา ภาษาไทย เชน่ ผงั มโนทัศน์, ผังมโนภาพ, แผนท่มี โนมติ, แผนผังมโนมติ เปน็ ตน้

ซึ่งการเขียน Concept Maps สามารถเขียนได้หลายรูปแบบด้วยกัน ตามความถนัด และวัตถุประสงค์การใชง้ าน แบ่งออกเปน็ 1. Spider Concept Maps แบบใยแมงมมุ หรือดาวกระจาย 2. Hierarchy Concept Maps แบบชว่ งชัน้ ของความคิด 3. Flowchart Concept Maps แบบตามลาํ ดบั ของงานก่อนหลงั 4. System Concept Maps แบบเชิงระบบ เชื่อมโยง 5. Picture Landscape Concept Maps แบบแผนภาพ การเขียน Concept Maps สามารถเร่ิมต้นเขียนได้ด้วยมือ ไม่ยุ่งยาก หรือใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ เชน่ โปรแกรม Inspiration, CMaptool, SmartDraw, MS Visio เป็นต้น 3.9 การสอนสร้างผังมโนทัศน์ โนแวค; และโกวิน (NOVAK; & GOWIN. 1984: 37-40) เสนอขั้นตอนในการสร้างผังมโน ทัศนไ์ ว้ 2 ขัน้ ตอน ดังน้ี ข้นั ท่ี 1 กิจกรรมการเตรยี มตวั เพ่ือสร้างผังมโนทศั น์ 1. ให้ชุดของคําท่ีนักเรียนคุ้นเคย 2 ชุด โดยเขียนบนกระดานหรือเคร่ืองฉายภาพข้ามศีรษะคําชุด หน่งึ เปน็ วตั ถุ เช่น รถยนต์ สุนขั เก้าอี้ ต้นไม้ เมฆ หนงั สอื ฯลฯ คําอีกชุดหนึ่งเป็นเหตุการณ์ เช่นฝนตก การ เล่น การคิด ฟาู ร้อง งานวนั เกิด ฯลฯ แล้วใหน้ กั เรยี นบอกความแตกต่างของคําท้ัง 2 ชุด ครูพยายามช่วยให้ นกั เรยี นบอกได้วา่ คาํ ชดุ แรกเป็นวตั ถุ คาํ ชุดท่ี 2 เป็นเหตกุ ารณ์ 2. ให้นักเรียนอธิบายถึงส่ิงที่คิดเมื่อได้ยินคําต่าง ๆ เช่น รถยนต์ สุนัข ครูอธิบายให้เห็นว่าแม้จะใช้ คําเดียวกันแต่แต่ละคนก็คิดสิ่งท่ีแตกต่างกันบ้าง ภาพท่ีเกิดข้ึนในสมองสําหรับคําเหล่าน้ีเรียกว่า มโนทัศน์ แล้วอธบิ ายความหมายของมโนทศั น์ 3. ทํากิจกรรมเช่นเดียวกับข้อ 1.2 แต่ใช้ชุดของคําที่เป็นเหตุการณ์ และช้ีให้เห็นความแตกต่างที่ เกิดขึ้นในสมอง ครูเพ่ิมเติมว่า การท่ีคนเราเข้าใจไม่ตรงกันเป็นเพราะว่าแต่ละคนมีมโนทัศน์ที่ไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะเป็นมโนทัศน์ของสิ่งเดียวกัน คําเป็นสิ่งที่บอกมโนทัศน์ แต่คนเราได้รับความหมายของคําแต่ละคํา แตกตา่ งกนั จึงทาํ ใหเ้ กดิ มโนทศั นแ์ ตกต่างกนั 4. ครเู ขยี นคาํ ว่า เปน็ ท่ีไหน คือ นัน่ แลว้ ดว้ ย ไว้บนกระดานแล้วถามนักเรียนว่าเกิดภาพอะไรข้ึน ในใจ เม่ือได้ยินคําเหล่าน้ี คําเหล่าน้ีไม่ใช่คําที่ทําให้เกิดมโนทัศน์ เราเรียกว่า คําเชื่อม จะใช้เช่ือมระหว่าง มโนทศั น์ เพื่อสรา้ งประโยคทมี่ ีความหมาย 5. ครูอธิบายว่าวิสามานยนาม ไม่ใช่คําท่ีทําให้เกิดมโนทัศน์ แต่เป็นเพียงช่ือเฉพาะของคน เหตุการณ์ สถานที่ หรือวัตถุ ยกตัวอย่างเพ่ือให้นักเรียนเห็นความแตกต่างระหว่างคําสามัญที่แสดง เหตุการณ์หรอื วตั ถุ กับคาํ วิสามานยนามซึ่งเปน็ คาํ เฉพาะ เช่น ชื่อคน

6. ครูยกตัวอย่างมโนทัศน์ 2 มโนทัศน์และคําเช่ือม แล้วสร้างเป็นประโยคสั้น ๆ บนกระดานเพ่ือ อธิบายให้เห็นว่าคําแสดงมโนทัศน์รวมกับคําเช่ือมตามท่ีเราใช้กันอยู่น้ันสามารถสื่อความหมายได้อย่างไร เช่น สนุ ขั กําลงั วงิ่ อยู่ มเี มฆและฟาู ร้อง 7. ให้นกั เรยี นแตง่ ประโยคส้นั ๆ แล้วบอกว่าคาํ ใดเป็นคาํ มโนทศั น์ และคาํ ใดเป็นคาํ เช่ือม 8. ถา้ มีนักเรียนต่างภาษาอยู่ในชั้น ก็ให้นักเรียนคนน้ันบอกคําท่ีเป็นวัตถุ หรือเหตุการณ์เป็นภาษา ของเขา แล้วบอกให้นักเรียนในช้ันทราบว่าภาษาไม่ใช่ส่ิงที่จะใช้บอกมโนทัศน์ แต่เป็นเครื่องหมายที่ใช้ สําหรบั มโนภาพนนั้ ๆ 9. ให้คําใหม่ท่ีนักเรียนยังไม่คุ้นเคย เช่น ห่าม โหม คร่า คําเหล่าน้ีใช้แทนมโนทัศน์ท่ีนักเรียนรู้อยู่ แล้ว แต่มีความหมายพิเศษ ช่วยให้นักเรียนมองเห็นว่าความหมายของมโนทัศน์ไม่เคร่งครัดและไม่ตายตัว แต่สามารถขยายตวั และเปล่ยี นแปลงได้เมือ่ เราเรียนมากขน้ึ 10. เลือกเนื้อหาตอนท่ีมีสาระชัดเจนตอนใดตอนหนึ่ง ทําสําเนาแจกให้นักเรียนอ่านแล้วบอกมโน ทัศน์ท่ีสําคัญ ข้ันที่ 2 กิจกรรมสรา้ งผังมโนทัศน์ 1. เลือกข้อความจากตําราเรียนหรือสิ่งพิมพ์อ่ืน 1-2 ย่อหน้า ให้นักเรียนอ่านแล้วเลือกมโนทัศน์ สําคัญที่ทําให้เกิดความเข้าใจความหมายของบทอ่าน แล้วนํามโนทัศน์เหล่านี้เขียนบนกระดานจากน้ันให้ นกั เรียนอภปิ รายวา่ มโนทศั นใ์ ดสําคญั ท่ีสดุ มโนทศั น์ใดมคี วามหมายกวา้ งทีส่ ดุ 2. เขยี นมโนทัศนท์ ี่มคี วามหมายกว้างสดุ ไวด้ า้ นบน แล้วเรียงลําดับมโนทัศน์จากมโนทัศน์กว้างไปสู่ มโนทัศน์แคบ ซ่งึ นักเรยี นอาจเรยี งลําดับไม่ตรงกนั แสดงให้เห็นว่าความหมายจากบทอ่านอาจเป็นได้ต่าง ๆ กันไป 3. ให้นักเรียนเร่ิมสร้างผังมโนทัศน์ โดยใช้ชุดของคําที่เรียงลําดับไว้ก่อนและเลือกคําท่ีเหมาะสมท่ี จะทําให้เกดิ ความสัมพันธ์ระหวา่ งมโนทัศน์ วิธีทีจ่ ะช่วยฝกึ นกั เรยี นให้สรา้ งผังมโนทัศน์ได้ดคี ือ เขียนคําเชื่อม และมโนทศั น์ลงในกระดาษส่เี หล่ยี มแล้วนํามาทดลองจัดผังมโนทัศน์จนกระทง่ั ได้ผังท่เี หมาะสม 4. พิจารณาคําเช่ือมระหว่างมโนทัศน์ตอนใดตอนหนึ่งของผัง ให้นักเรียนช่วยกันเลือกคําเชื่อม สําหรับเส้นโยง 5. ผังมโนทศั น์ทเ่ี ขยี นข้ึนครั้งแรกอาจไม่เหมาะสมนัก ควรสร้างใหม่ และชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจว่า บางคร้งั ตอ้ งสรา้ งใหม่ 2-3 ครง้ั จงึ จะได้ผังมโนทัศนท์ ่ดี ี 6. ครูและนกั เรียนรว่ มกนั อภิปรายถึงเกณฑก์ ารให้คะแนนผงั มโนทศั น์ แล้วให้คะแนนผังมโนทัศน์ท่ี สร้างข้นึ ชี้ให้เห็นโครงสรา้ งทค่ี วรเปล่ยี นแปลงซ่งึ อาจช่วยใหค้ วามหมายดขี ้นึ 7. ให้นักเรียนเลือกเนื้อหาตอนใดตอนหน่ึงของหนังสือเรียน แล้วดําเนินการตามข้ันตอนที่2.1-2.6 อกี ครง้ั หนงึ่ ดว้ ยตนเอง หรอื เป็นกลมุ่ กลุม่ ละ 2-3 คน 8. เสนอผังมโนทัศน์ที่สร้างขึ้นต่อช้ันเรียนโดยเขียนบนกระดาน หรือใช้เคร่ืองฉายภาพข้ามศีรษะ ให้ผสู้ รา้ งผังอา่ นใหน้ กั เรียนในชั้นเข้าใจใหช้ ัดเจน

9. ใหน้ ักเรียนสร้างผังมโนทัศน์สาํ หรบั แนวคดิ ทส่ี ําคัญ ๆ ในเรื่องที่นักเรยี นสนใจ นาํ มาติดไว้ในห้อง และสนับสนุนให้มกี ารอภปิ รายกนั อย่างไมเ่ ป็นทางการ 10. รวบรวมคําถามเก่ียวกับการสร้างผังมโนทัศน์ ในบททดสอบต่อไปเพื่อแสดงให้ชัดเจนว่าการ สร้างผังมโนทัศน์เป็นวิธีการประเมินที่เที่ยงตรง ซึ่งต้องใช้ความคิดอย่างหนัก และใช้เป็นเครื่องแสดงถึง ความเขา้ ใจเนอื้ หาวชิ าได้ 3.10 ประโยชน์ของผงั มโนทัศน์ โนแวค; และ โกวิน (NOVAK; & GOWIN. 1984: 40-50) กล่าวถึงประโยชน์ของผังมโน ทัศน์สรุปได้ดังนี้ 1. ใช้ผงั มโนทศั น์ในการสาํ รวจความรู้พ้ืนฐานของนักเรียน โดยใช้สํารวจความรู้ที่นักเรียนมีมาก่อน เพื่อนําไปใชใ้ นการเตรียมการสอนใหเ้ หมาะสมกบั นักเรียน 2. ใช้ผังมโนทัศน์แสดงความสัมพันธ์ของมโนทัศน์ต่าง ๆ ท่ีอยู่ในความคิดของนักเรียนซึ่งจะทําให้ ทราบว่านักเรยี นกําลังคิดอะไร และกาํ ลังจะคดิ ทําอะไรเพื่อให้บรรลุเปูาหมายท่ีวางไว้ คล้ายกับเดินทางโดย ใชแ้ ผนที่ 3. ใช้ผังมโนทัศน์ในการสรุปความหมายจากตํารา ซึ่งจะทําให้ประหยัดเวลาในการอ่านคร้ังต่อไป และไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการอา่ น 4. ใช้ผังมโนทัศน์ในการสรุปความหมายจากการปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ หรือในการปฏิบัติการ ภาคสนาม ผังมโนทัศน์จะเป็นแนวทางให้แก่นักเรียนว่าควรจะทําอะไรบ้าง สังเกตสิ่งใดบ้างเพ่ือให้บรรลุ วัตถุประสงคท์ ว่ี างไว้ 5. ใช้ผังมโนทัศน์เป็นเคร่อื งมือในการจดบันทึกการอ่านจากหนงั สือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร 6. ใชผ้ งั มโนทศั นใ์ นการวางแผนการเขียนงานทางวิชาการ หรือการเขียนรายงาน อลั ท์ (Ault. 1985: 42) ได้กลา่ วถงึ ประโยชนข์ องผังมโนทศั นไ์ ว้ ดงั นี้ 1. ใชผ้ งั มโนทัศนใ์ นการเตรียมการสอน ซึง่ จะช่วยบูรณาการเนอ้ื หาวชิ าตา่ ง ๆ เขา้ ด้วยกนั 2. ใช้ผงั มโนทศั นใ์ นการวางแผนประเมินหลกั สูตร 3. ใช้ผังมโนทัศนเ์ ป็นแนวทางในการกาํ หนดประเดน็ อภิปราย 4. ใช้ผังมโนทัศน์เป็นแนวทางในการปฏิบัติการทดลอง จะทําให้นักเรียนเข้าใจและปฏิบัติการ ทดลองได้ตามวตั ถุประสงค์ 5. ใช้ผงั มโนทศั น์ในการจับใจความสําคัญจากตําราเรียน จะทาํ ให้เกิดความเข้าใจมากข้ึน 6. ใชผ้ งั มโนทัศนใ์ นการตอบขอ้ สอบแทนการเขียนตอบ มนัส บุญประกอบ (2542: 50-51) กล่าวว่าผังมโนทัศน์อาจจะเป็นเครื่องมืออย่างหน่ึงท่ี ช่วยส่งเสรมิ และพัฒนา สุ จิ ปุ ลิ ซึง่ ถือว่าเป็นหัวใจนกั ปราชญ์ ไดด้ งั ต่อไปนี้ 1. “สุ” หมายถึง สาระความรทู้ ไ่ี ด้จากการฟังผู้รู้ หรือการอ่านเอกสาร ตํารา นําสาระความรู้น้ันมา ย่อเป็นผงั มโนทศั นจ์ ะชว่ ยให้เห็นภาพรวมของท้ังเรอื่ งได้

2. “จิ” หมายถึง การใช้ความคิด จินตนาการและการคิดวิเคราะห์ เม่ือต้องการคิดถึงเรื่องใดเร่ือง หนึง่ ใช้การระดมความคิดโดยคดิ คนเดยี วหรือคิดรวมกับเพ่ือน แล้วเขียนส่ิงที่คิดได้ลงไปบนกระดาษโดยไม่ วพิ ากษ์วจิ ารณ์ จากนั้นมองหาความสัมพนั ธ์ระหว่างมโนทัศน์ต่าง ๆ จัดเป็นกลุ่มแล้วเชื่อมโยงความสัมพันธ์ อาจนําไปสู่แนวความคิดใหม่ ๆ แตกกิ่งออกไปได้อีก ซ่ึงผังมโนทัศน์น้ีเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดระบบ ความคดิ ไดอ้ ยา่ งดี 3. “ป”ุ หมายถงึ การถามหรือสัมภาษณ์บุคคล เพ่ือให้ได้สารสนเทศท่ีเป็นความรู้อย่างใดอย่างหน่ึง โดยการเขยี นเปน็ ผงั มโนทศั นค์ ร่าว ๆ หรือโดยละเอยี ดไวก้ อ่ นว่าควรจะซกั ถามหรอื สมั ภาษณ์ประเด็นใดบ้าง มีลําดับกอ่ นหลงั และประเด็นท่เี ช่ือมโยงกันอยา่ งไรบา้ ง 4. “ลิ” หมายถึงการเขียนที่อาจเป็นการเขียนโครงร่างความคิดเก่ียวกับบทความหรือการ สงั เคราะห์แนวคิดเขยี นรายงานเร่อื งใดเร่ืองหนึ่ง แม้กระทั่งการเขียนเรียงความและการเขียนเน้ือหาความรู้ เป็นบท เป็นเล่ม โดยการระดมความคิดของตนในรูปผังมโนทัศน์ก่อนแล้วจึงเขียนเป็นประโยคข้อความได้ เปน็ เรือ่ งราวทล่ี ะเอยี ดลออมากขน้ึ ซึง่ ประโยชนข์ องผงั มโนทศั น์ดังกล่าว สามารถสรุปได้ 3 ประเด็น (กฤษลดา ขาหลงวรสิริ, 2552) ดังนี้ 1. ใช้ผังมโนทัศน์ในการวางแผนการดําเนินงานต่าง ๆ ก่อนลงมือปฏิบัติ เพ่ือให้งานนั้นดําเนินไป ตามขัน้ ตอน สะดวกและงา่ ยขน้ึ 2. ใช้ผังมโนทศั นเ์ ป็นเครอื่ งมือในการเรียนรู้ โดยการสรุปความรู้ที่ได้จากการอ่านเอกสารตําราต่าง ๆ เขียนเป็นผังมโนทัศน์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของเนื้อหาทั้งหมด สามารถใช้อ่านทบทวนได้เมื่อต้องการ และจดจาํ ไดน้ าน 3. ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน โดยการให้สรุปส่ิงที่ เรยี นเป็นผังมโนทศั น์ เพือ่ ตรวจสอบความเขา้ ใจเน้อื หาที่เรยี น 4. งานวจิ ยั ทีเ่ กย่ี วข้อง 4.1 งานวิจัยตา่ งประเทศ เบรนแนน (Brennan. 1996: 1965-A) ได้ศึกษาผลของการใช้ผังมโนทัศน์ท่ีมีต่อการสอนวิชา วิทยาศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาล โดยสํารวจความคิดเห็นครูผู้สอนในโรงเรียนอนุบาลที่ได้รับการ ฝึกสร้างผังมโนทัศน์ ผลการสํารวจพบว่าเด็กในโรงเรียนอนุบาลที่ได้รับการสอนให้สร้างผังมโนทัศน์จากครู สามารถรวบรวมขอ้ มูลและเชอื่ มโยงความคิดบนแผนผังที่สร้างได้ สติร์ม (Sturm. 1996) ได้ศึกษาผลของการสร้างผังมโนทัศน์ในการเขียนเรื่องอธิบายโดยการสร้าง ผังมโนทัศน์ด้วยมือและใช้คอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับ 8 ท่ีด้อยความสามารถทางการเรียนและด้วย ความสามารถทางการอ่าน ผลการศึกษาพบว่านักเรียนท่ีด้อยความสามารถทางการเรียนและด้อย

ความสามารถของการอ่านท้ังกลุ่มท่ีสร้างผังมโนทัศน์ด้วยมือและใช้คอมพิวเตอร์มีความสามารถทางการ เขียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสาํ คญั ทางสถติ ิ 4.2 งานวิจัยในประเทศ อัญชลี ตนานนท์; และคณะ (2542) ไดศ้ กึ ษาผลของการใชแ้ ผนภูมมิ โนทัศน์ในการสรุปบทเรียนท่ีมี ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการพัฒนาแผนการสอนเพื่อเสริมทักษะการคิดในหลักสูตรโรงเรียน มัธยมศึกษา วิชาสังคมศึกษา ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาฝร่ังเศส ผลการวิจัยพบว่า การใช้แผนการสอนโดยใช้แผนภูมิมโนทัศน์ในการสรุปบทเรียนทําให้ผลสัมฤทธ์ิทางการ เรียนของนักเรียนดขี ้นึ ภัทราภรณ์ พิทักธรรม (2543) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหา ความรู้ โดยใช้กจิ กรรมสร้างแผนภูมิมโนทัศน์กับการสอนตามคู่มือครู ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการ สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้กิจกรรมสร้างแผนภูมิมโนทัศน์กับการสอนตามคู่มือครูมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรยี นแตกตา่ งกันอยา่ งมีนัยสําคัญทางสถิตทิ ่รี ะดับ .01 มนมนัส สุดสิ้น (2543) ศึกษาผลสัมฤทธ์ิทางวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ ด้านความรู้-ความจําด้าน ความเข้าใจ ด้านการนําไปใช้ และด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์วิจารณ์ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ประกอบการ เขียนแผนผังมโนมติกับการสอนตามคู่มือครู ผลการวิจัยพบว่านักเรียนท่ีได้รับการสอนแบบสืบเสาะหา ความรู้ประกอบการเขียนแผนผังมโนมติกับการสอนตามคู่มือครู มีผลสัมฤทธ์ิทางวิทยาศาสตร์ท้ัง 4 ด้าน แตกต่างกนั อยา่ งมีนัยสาํ คญั ทางสถติ ทิ ี่ระดับ .01 และมคี วามสามารถในการคิดวิเคราะห์วิจารณ์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคญั ทางสถติ ิที่ระดบั .01 ศริ พิ ร ทรุเครือ (2544) ศึกษาผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้แผนผังมโนทัศน์ที่มีต่อผลสัมฤทธ์ิ ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษ าปี ท่ี 4 ผลการวจิ ัยพบวา่ นักเรยี นที่ไดร้ ับการเรยี นแบบร่วมมือโดยใชแ้ ผนผังมโนทัศน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และมีความคงทนในการเรียนรู้สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

บทที่ 3 วิธดี าเนินการ การดําเนินการศึกษาค้นคว้าครั้งน้ี ผู้ศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคม ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4 โดยดาํ เนินการดงั น้ี 1. การกาํ หนดประชากรและการส่มุ กลมุ่ ตวั อย่าง

2. การสร้างเคร่ืองมอื ทใี่ ช้ในการศึกษา 3. การเก็บรวบรวมข้อมลู 4. การจดั กระทําและการวิเคราะหข์ ้อมูล 1. การกาหนดประชากรและการสมุ่ กลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตวั อยา่ งที่ใช้ในการศกึ ษา 1.1 ประชากรทใี่ ชใ้ นการศึกษา ประชากรท่ใี ชศ้ กึ ษาเป็นนกั เรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4 โรงเรียนอนุบาลน้องหญิง อําเภอตระการ พชื ผล จงั หวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2556 จํานวน 2 ห้องเรยี น รวม 67 คน 1.2 กลุ่มตวั อย่างทีใ่ ช้ในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างท่ีใช้ในการวิจัยคร้ังน้ีเป็นนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4/2 โรงเรียนอนุบาลน้องหญิง อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2556 จํานวน 37 คน โดยการ กาํ หนดแบบเจาะจง 2. การสรา้ งเคร่ืองมือที่ใช้ในการศึกษา เครอ่ื งมือท่ีใชใ้ นการศึกษาคน้ ควา้ ในคร้ังน้ี ประกอบดว้ ย 1. แผนการการจดั การเรยี นรโู้ ดยใช้ผังมโนทศั น์ 2. แบบทดสอบวดั ผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นวชิ าสังคมศกึ ษา ศาสนาและวฒั นธรรม เรอื่ ง หลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง 3. การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือทใี่ ช้ในการศกึ ษา 3.1 การสรา้ งและหาคณุ ภาพแผนการจดั การเรยี นรู้ 3.1.1 ศกึ ษาและวิเคราะห์หลักสูตรสังคมศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรม ศึกษาหลักสูตร คําอธิบายรายวิชา และขอบข่ายเนื้อหาวิชาหลักสูตรสังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม ส 14101 (ฉบับปรับปรุง 2556) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นประถมศกึ ษาปที ่ี 4 โรงเรยี นอนุบาลน้องหญงิ ผู้วิจยั ไดด้ ําเนินการดงั น้ี 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของรายวิชา โดยจําแนกออกเป็น 3 ส่วน คือ กิจกรรม เน้ือหา และตวั ช้วี ดั 2) วิเคราะห์กิจกรรมรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยนําเอากิจกรรมท่ี กาํ หนดในรายวิชามาวเิ คราะห์หารปู แบบการสอน 3) วเิ คราะหส์ าระการเรยี นร้รู ายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยนําเอาเน้ือหา หลักของรายวิชามาวิเคราะหเ์ น้อื หาย่อย

4) วิเคราะห์ตัวช้ีวัด โดยนําเอาตัวชี้วัดแต่ละข้อมาจําแนกเป็นด้าน คือ ด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะ 3.1.2 จัดหนว่ ยการเรยี นรู้รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ผู้ศึกษาได้นําข้อมูลจากการวิเคราะห์หลักสูตรมาจัดหน่วยการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและ วฒั นธรรม 3.1.3 คัดเลอื กหน่วยการเรยี นรู้เพอื่ การศึกษา ผู้ศึกษาได้คัดเลือกหน่วยการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพยี ง 3.1.4 ศึกษา ค้นคว้า นวัตกรรมการจัดการเรยี นรู้ ผู้ศกึ ษาไดศ้ ึกษา คน้ ควา้ เก่ียวกบั นวัตกรรมการเรียนรทู้ ี่เหมาะสมกับหน่วยการเรียนรู้น้ีโดยผู้ศึกษา พจิ ารณาแล้วเหน็ ว่ารูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับหน่วยน้ีมากทสี่ ุด โดยใช้แผนผงั มโนทศั น์ 3.1.5 เขยี นแผนการจดั การเรียนรู้ เน้ือหาท่ีใช้ในการศึกษาค้นคว้าคร้ังนี้เป็นเนื้อหาหลักรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรอ่ื งเศรษฐกจิ พอเพียง ไดแ้ ก่ หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการดาํ รงชีวิต นํามาสรา้ งแผนการจัดการเรยี นรู้โดยใช้ผงั มโนทัศน์ คือ 1) แผนการจดั การเรียนร้โู ดยใช้ผังมโนทัศน์ โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวข้องกับการ สอนโดยใชผ้ ังมโนทัศน์ และกําหนดขัน้ ตอนการจดั การเรยี นรู้ ดังน้ี ขั้นท่ี 1 ครบู อกชอ่ื เร่ืองทก่ี าํ หนดใหน้ ักเรียนอ่าน และสนทนาเก่ียวกบั ชื่อเร่ือง เพือ่ สร้าง ความสนใจและโยงประสบการณ์เดิมของนักเรียนกบั เรื่องที่อา่ น ครูเขียนประสบการณ์ของนักเรียนแต่ละ คนเปน็ ผงั มโนทศั น์ ขั้นท่ี 2 นกั เรยี นศกึ ษาใบความรู้ เร่อื ง ผงั มโนทศั น์ ข้ันท่ี 3 นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน อ่านเน้ือเร่ืองทีละตอน สรุปสาระสําคัญและ รายละเอยี ดของเรือ่ งจากคําถาม เช่น เร่ืองน้ีเป็นเร่ืองเกี่ยวกับอะไร ใจความสําคัญในแต่ละย่อหน้าคืออะไร มีข้อความใดสนับสนุนบ้าง แล้วเขียนเป็นผังมโนทัศน์ ตัวแทนกลุ่มอธิบายผังมโนทัศน์ท่ีเขียนขึ้น ครู เสนอแนะเพิม่ เติม ข้ันท่ี 4 นกั เรยี นศกึ ษาใบความรู้ เรือ่ ง หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นท่ี 5 นักเรียนทบทวนความรรู้ ่วมกันโดยใช้ผังมโนทัศน์ และอภปิ รายของเร่ืองท่ีไดอ้ ่าน ขั้นท่ี 6 นักเรียนคิดโครงเรื่องท่ีจะเขียนโดยแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน ระดมความคิดเขียน เปน็ ผงั มโนทศั น์ ขน้ั ที่ 7 นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนสรุปเน้ือหาเป็นผังมโนทัศน์ ครูตรวจแก้ไข นักเรียนนําไป ปรบั ปรงุ

ข้นั ท่ี 8 นักเรยี นแตล่ ะกลุ่มเขียนสรุป เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากผังมโน ทัศน์แตล่ ะกลมุ่ นาํ เสนอผลงาน ครูและนักเรยี นร่วมกันพิจารณาแก้ไข 2.) ดาเนินการเขียนแผนการจดั การเรียนรู้ ตารางท่ี 1 ผู้ศึกษาไดด้ ําเนนิ การเขยี นแผนการจัดการเรียนรู้ โดยแบง่ เป็น 5 แผนย่อย ได้แก่ ที่ เร่ือง ช่ัวโมง 1 หลกั การของเศรษฐกจิ พอเพยี ง 1 2 หลกั การนาํ เศรษฐกิจพอเพยี งไปประยุกต์ใช้ในชวี ติ ประจําวัน 1 3 อาชีพ สนิ ค้าและบริการในชุมชน 1 4 ประเภทของทรัพยากรหลักการและวิธีการใชท้ รัพยากร 1 5 การสรา้ งจติ สาํ นึกและการวางแผนการใช้ทรัพยากร 1 3.) ประเมินแผนการจดั การเรียนรู้ โดยใชแ้ บบประเมนิ แผนการจัดการเรียนรู้ นาํ ข้อมลู ที่ไดม้ า ปรับปรุงแผนใหส้ มบรู ณ์ 4.) ให้ผู้เช่ียวชาญตรวจพจิ ารณาแผนการจดั การเรียนรู้ หลังจากผู้ศึกษาได้จัดทําแผนการเรียนรู้เรียบร้อยแล้ว ได้นําแผนดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ พิจารณาความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้กับกิจกรรมการเรียนรู้ ซ่ึงมี รายนามผเู้ ชยี่ วชาญ ดังน้ี ตารางท่ี 2 ผเู้ ช่ยี วชาญตรวจพจิ ารณาแผนการจัดการเรียนรู้ ท่ี ช่อื - สกลุ ตาแหน่ง/สถานท่ที างาน ความเช่ียวชาญ 1 นายสมพงษ์ หาคํา ทปี่ รกึ ษาโรงเรียนอนุบาลนอ้ งหญงิ การวิจยั 2 นางจนั ทร์เพญ็ กลุ โท รองผอู้ ํานวยการโรงเรียนอนบุ าลน้องหญงิ การสอนภาษาไทย 3 นางสาวมณีพรรณ มนสั สา ครโู รงเรียนอนุบาลนอ้ งหญงิ การสอนสงั คมศึกษา 5.) ปรบั ปรุงและแก้ไขแผนการจดั การเรยี นร้ใู หเ้ ป็นแผนการจดั การเรียนร้ทู ส่ี มบรู ณ์ 6.) นําแผนการจัดการเรียนร้ไู ปทดลองใช้จริงกับนกั เรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนอนุบาล น้องหญงิ ท่เี ป็นกลุ่มตัวอย่าง ในภาคเรยี นที่ 2 ปกี ารศึกษา 2556 3.2 การสร้างและหาคณุ ภาพแบบทดสอบวัดผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพยี ง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 4 มขี ัน้ ตอนการสร้างและการหาคุณภาพตามลําดับ ดังนี้ 1. ศกึ ษาหลกั การและเทคนิคการสรา้ งแบบทดสอบแบบเลือกตอบ

2. วิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ และตัวชี้วัด เพ่ือวางแผนการออกข้อสอบให้สอดคล้องกับ เน้ือหาและพฤติกรรมทตี่ ้องการวดั 3. เลือกประเภทของแบบทดสอบที่จะวัด คือ เป็นแบบทดสอบชนิดปรนัยเลือกตอบ จํานวน 30 ขอ้ 4. เขียนข้อสอบตามทวี่ างแผนไว้ 5. นําแบบทดสอบที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นจํานวน 30 ข้อนําไปใช้ให้ผู้เช่ียวชาญ 3 ท่าน ซ่ึงเป็น ผู้เชี่ยวชาญชุดเดียวกับท่ีประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ ตรวจสอบเพื่อหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดย คํานวณหาค่าดรรชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบทดสอบ เลือกข้อสอบท่ีมีค่าความเที่ยงตรงมากกว่า หรือเทา่ กับ 0.50 ข้ึนไป และปรบั ปรงุ ตามขอ้ เสนอแนะของ ผูเ้ ช่ยี วชาญ 6. จดั ฉบบั จัดพมิ พ์เปน็ ข้อสอบชนิดปรนัย แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลอื ก จํานวน 30 ขอ้ 3.3 วิธีดาเนนิ การทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาไดด้ าํ เนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปกี ารศึกษา 2556 ตามข้นั ตอนดังน้ี 1. ทดสอบก่อนการเรียน (Pretest) กับนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยแบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศาสนาและวัฒนธรรม เร่ือง หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพยี ง ทีผ่ ูศ้ ึกษาสรา้ งขึ้น และผา่ นการตรวจสอบคุณภาพแลว้ 2. ดาํ เนินการทดลอง โดยผู้ศึกษาทําการสอนด้วยตนเอง เร่ือง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไดแ้ ก่ หลกั การของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน การดาํ รงชวี ิต จาํ นวน 5 ชวั่ โมง ใช้วธิ ีการจดั การเรยี นรโู้ ดยใช้ผงั มโนทัศน์ 3. เม่ือทดลองครบ 5 ช่ัวโมงแล้ว ทําการทดสอบหลังการทดลอง (Posttest) กับนักเรียนด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เร่ือง หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพยี งฉบับเดียวกันกบั ที่ใชใ้ นการสอบก่อนการทดลอง 4. ตรวจแบบทดสอบวดั ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เร่ือง หลัก ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง แลว้ นําผลทีไ่ ด้มาวิเคราะห์โดยใช้วธิ ีการทางสถติ ิ 4. การวเิ คราะหข์ ้อมลู และสถิติที่ใชใ้ นการวิเคราะหข์ อ้ มูล 4.1 การวเิ คราะห์ข้อมลู สถิติที่ใชใ้ นการหาคุณภาพเครือ่ งมือท่ใี ช้ในการศกึ ษา 4.1.1 การหาความเที่ยงตรงเชิงเน้ือหา (Content Validity) ของรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เร่อื ง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 และ แผนการจดั การเรียนรู้ โดยให้ผเู้ ชย่ี วชาญพิจารณา ใช้สูตรดงั นี้ IOC   R N

IOC หมายถงึ ดชั นคี วามสอดคล้องระหว่างนวัตกรรมกบั จุดประสงค์ ท่ีวัด / ความสอดคลอ้ ง เหมาะสมของแผนการจัดการเรยี นรู้  R หมายถึง คะแนนรวมความคิดเหน็ ของผูเ้ ชี่ยวชาญ N หมายถงึ จาํ นวนผูเ้ ชยี่ วชาญท้ังหมด 4.2 สถิตทิ ใ่ี ชใ้ นการวเิ คราะห์ข้อมูล 4.2.1 หาคา่ เฉลีย่ (X ) ของคะแนนผลสัมฤทธ์ทิ างการเรียน คะแนนผลการประเมินทักษะ หรือคะแนนการประเมินความพงึ พอใจ ใชส้ ตู ร เมอื่ X X X N แทน คะแนนเฉลยี่ X แทน ผลรวมของคะแนนทง้ั หมด N แทน จํานวนนักเรียน 4.2.2 หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของคะแนนผลสัมฤทธท์ิ างการเรียน คะแนนผล การประเมนิ ทกั ษะ หรือคะแนนการประเมินความพึงพอใจ ใชส้ ูตร N X2  ( X)2 S. D. N(N  1) เม่ือ S.D. แทน ส่วนเบยี่ งเบนมาตรฐาน X2 แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละตวั ยกกําลงั สอง (X)2 แทน ผลรวมของคะแนนทง้ั หมดยกกําลังสอง N แทน จาํ นวนนักเรยี น 4.2.3 สถติ ทิ ี่ใชใ้ นการทดสอบสมมตฐิ าน สถิติที่ใช้ในการทดสอบความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยวัด ก่อนเรียน และหลังเรียนโดยคํานวณจากสูตร t-test dependent (ล้วน สายยศ ; และอังคณา สายยศ. 2538) t= D ; df = n - 1 nD2 (D)2 n 1 เมอื่ t หมายถงึ คา่ ทีท่ใี ช้ในการพจิ ารณา

D หมายถงึ ความแตกตา่ งของคะแนนแตล่ ะคู่ n หมายถงึ จาํ นวนคู่ D2 หมายถงึ ผลรวมของ D แตล่ ะตัวยกกาํ ลังสอง (D)2 หมายถึง ผลรวมของ D ทั้งหมดยกกําลังสอง บทท่ี 4 ผลการวิเคราะหข์ ้อมลู ผลการศึกษาผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นวิชาสังคมศกึ ษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรอ่ื ง หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4 ท่ีได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์ ในการ วิเคราะห์ข้อมูลและเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพ่ือให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการอ่ านผลการวิเคราะห์ ขอ้ มลู ผู้ศกึ ษาจงึ ไดก้ ําหนดสัญลกั ษณท์ ี่ใชใ้ นการวิเคราะห์ขอ้ มลู ต่อไปน้ี X แทน คะแนนเฉล่ีย (Mean) S.D. แทน สว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) ∑D แทน คะแนนรวมของผลต่างของคะแนนการทดสอบก่อนเรยี นและ หลังเรียน ∑D2 แทน คะแนนรวมของผลตา่ งของคะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรยี นยกกาํ ลงั สอง t แทน ค่าสถติ ิท่ใี ช้พิจารณาในการแจกแจงแบบที ( t – distribution) p แทน คา่ ความนา่ จะเป็นของค่าสถิติท่ีใช้ทดสอบ * แทน ค่านัยสําคัญทางสถิตทิ ่รี ะดบั .01


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook