Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิเคราะห์หลักสูตร ป.4 ปี 65

วิเคราะห์หลักสูตร ป.4 ปี 65

Published by kroofontutor1, 2022-08-26 05:01:35

Description: วิเคราะห์หลักสูตร ป.4 ปี 65

Search

Read the Text Version

๕. ประเมนิ ความสามารถของผูเ้ รยี นในการถา่ ยโอนการเรียนร้ไู ปสู่ชวี ติ จรงิ ได้ ๖. ประเมนิ ดา้ นต่างๆ ด้วยวธิ ีทห่ี ลากหลายในสถานการณต์ ่างๆ อยา่ งต่อเนอื่ ง วธิ กี ารและแหลง่ ข้อมลู ทีใ่ ช้ เพื่อให้การวดั และประเมินผลไดส้ ะท้อนความสามารถทีแ่ ท้จริงของผเู้ รยี น ผลการประเมนิ อาจจะได้มา จากแหล่งข้อมูลและวธิ ีการต่างๆ ดังตอ่ ไปนี้ ๑. สังเกตการแสดงออกเป็นรายบคุ คลหรือรายกลุม่ ๒. ช้ินงาน ผลงาน รายงาน ๓. การสัมภาษณ์ ๔. บันทกึ ของผู้เรยี น ๕. การประชมุ ปรึกษาหารอื ร่วมกันระหว่างผู้เรียนและครู ๖. การวดั และประเมนิ ผลภาคปฏบิ ตั ิ (practical assessment) ๗. การวดั และประเมนิ ผลดา้ นความสามารถ (performance assessment) ๘. การวดั และประเมินผลการเรยี นรู้โดยใชแ้ ฟม้ ผลงาน (portfolio assessment) การวัดและประเมินผลด้านความสามารถ (performance assessment) ความสามารถของผู้เรียนประเมินได้จากการแสดงออกโดยตรงจากการทำงานต่างๆ เป็นสถานการณ์ที่ กำหนดให้ ซ่ึงเปน็ ของจริงหรือใกล้เคียงกับสภาพจริง และเปดิ โอกาสให้ผ้เู รียนไดแ้ ก้ปัญหาหรือปฏิบัติงานได้จริง โดยประเมินจากกระบวนการทำงาน กระบวนการคดิ โดยเฉพาะความคิดข้ันสูง และผลงานทไ่ี ดล้ ักษณะสำคัญของ การประเมินความสามารถคือ กำหนดวัตถุประสงค์ของงาน วิธีการทำงานผลสำเร็จของงาน มีคำสั่งควบคุม สถานการณ์ในการปฏบิ ัติงาน และมเี กณฑก์ ารให้คะแนนทีช่ ดั เจน การประเมินความสามารถทแ่ี สดงออกของผู้เรียน ทำได้หลายแนวทางตา่ งๆ กัน ขึ้นอยกู่ บั สภาพแวดล้อมสภาวการณ์ และความสนใจของผู้เรยี น ดงั ตัวอย่างตอ่ ไปนี้ ๑. มอบหมายงานให้ทำ งานที่มอบให้ทำต้องมีความหมาย มีความสำคัญ มีความสัมพันธ์กับหลักสูตร เน้อื หาวชิ า และชีวติ จรงิ ของผู้เรียน ผ้เู รยี นตอ้ งใช้ความรู้หลายด้านในการปฏิบตั ิงานท่ีสามารถสะท้อนให้เห็นถึง กระบวนการทำงาน และการใชค้ วามคิดอย่างลกึ ซ้ึง ตวั อย่างงานทมี่ อบหมายให้ทำ เช่น - บทความในเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นที่น่าสนใจและมีความสำคญั อยู่ในขณะนั้น เช่น พายุ ฝนดาวตก น้ำจะท่วมประเทศไทยจริงหรือ การโคลนน่ิงสิง่ มชี วี ติ - รายงานส่งิ ทผ่ี เู้ รียนสนใจโดยเฉพาะ เชน่ การศึกษาวงชีวติ ของแมลงวันทอง การสำรวจความหลากหลาย ของพชื ในบริเวณโรงเรียน - สงิ่ ประดิษฐ์ที่ไดจ้ ากการทำกิจกรรมท่ีสนใจ เชน่ การสร้างระบบนิเวศจำลองในระบบปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า ใช้ควบคมุ การปดิ เปิดนำ้ ชุดอุปกรณต์ รวจสภาพดิน เคร่ืองร่อนท่ีสามารถร่อนไดไ้ กลและอยู่ในอากาศไดน้ าน ๒. การกำหนดชิ้นงาน หรืออุปกรณ์ หรือสิ่งประดิษฐ์ให้ผู้เรียนวิเคราะหอ์ งค์ประกอบและกระบวนการ ทำงาน และเสนอแนวทางเพื่อพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีข้ึน ให้นักเรียนทดลองใช้อุปกรณ์แสดงการเกิดกระแส อากาศ บนั ทึกผลการทดลอง พรอ้ มกบั อภปิ รายเพอ่ื ตอบปัญหาตอ่ ไปน้ี ๒.๑ ถา้ นกั เรียนจดุ เทียนไขจะเกิดอะไรข้ึน ๒.๒. ถ้านกั เรยี นดบั เทียนไขจะเกิดอะไรขน้ึ ๒.๓. อุปกรณน์ ้ที ำงานได้อย่างไร เพราะเหตใุ ด การวิเคราะห์หลกั สตู ร วิชาวทิ ยาศาสตร์ ชั้นประถมศกึ ษาปีท่ี 4

๒.๔. ถ้านักเรียนจะปรบั ปรุงอุปกรณ์ชดุ นี้ให้ทำงานมีประสิทธภิ าพมากข้ึนจะปรับปรุงอะไรบ้าง อยา่ งไร เพราะเหตุใด ๒.๕. ถ้าตอ้ งปรับปรุงอุปกรณ์ให้ดีข้ึน จะมวี ธิ กี ารทำและตรวจสอบไดอ้ ย่างไร ๒.๖. ถา้ จะนำอปุ กรณท์ ี่ปรับปรุงแลว้ ไปใช้ประโยชน์ จะใชท้ ำประโยชน์อะไรได้บา้ ง ๓. กำหนดตัวอย่างชน้ิ งานให้ แลว้ ใหผ้ ู้เรียนศึกษางานนั้น และสรา้ งชิ้นงานท่ีมีลักษณะของการทำงานได้ เหมือนหรือดีกว่าเดมิ เชน่ การประดิษฐ์เคร่ืองร่อน การทำสไลด์ถาวรศึกษาเนื้อเย่ือพืช การทำกระดาษจากพืชใน ท้องถิ่น ฯลฯ ๔. สร้างสถานการณจ์ ำลองท่ีสัมพันธ์กับชวี ิตจริงของผู้เรียน โดยกำหนดสถานการณ์แล้วให้ผู้เรียนลงมือ ปฏบิ ัติเพอื่ แก้ปัญหา ตัวอย่างสถานการณท์ ี่ ๑ \"มีลำไยทเี่ กบ็ มาจากสวน ๔ แหง่ ต้องการตรวจสอบว่าลำไยจากสวนใดมีความหวานมากทีส่ ุด\" ๑) ใช้หลักการออสโมซสิ ๒) ใช้วธิ ีการอนื่ ใหน้ ักเรียน ๓) บอกข้ันตอนของวิธกี ารตรวจสอบของแต่ละวิธี ๔) ระบวุ ธิ ีการเก็บขอ้ มูลของแต่ละวิธี ๕) เลอื กวิธกี ารทดสอบจากทกี่ ำหนดไวใ้ น ๑) หรือ ๒) พรอ้ มใหเ้ หตผุ ลท่ีเลอื ก ๖) ดำเนินการตรวจสอบโดยใชว้ ิธกี ารออสโมซสิ และวิธีท่เี ลือกในข้อ ๓ ๗. เปรียบเทียบผลการทดลองและลงขอ้ สรุปว่าวธิ ีใดได้ผลดกี ว่ากนั ตวั อยา่ งสถานการณท์ ี่ ๒ ถ้านักเรียนมีเครอ่ื งใช้ไฟฟ้า ประกอบด้วยหลอดไฟ ๓ หลอด พัดลมติดเพดาน ใหน้ กั เรียนออกแบบผังวงจร ท่ีตดิ กบั อปุ กรณ์ พร้อมกบั ให้เหตผุ ลประกอบ ตวั อย่างสถานการณท์ ี่ ๓ โรงงานทำกระทะแห่งหน่ึงตอ้ งการทดสอบวัสดทุ ี่มีผนู้ ำมาเสนอขาย จำนวน ๓ ชนดิ ว่าชนดิ ใดเหมาะที่สุด จงึ ใหพ้ นักงานทดสอบ แล้วมารายงานใหท้ ราบ ๑) นักเรียนคดิ ว่าปัญหาคืออะไร ๒) ถ้านกั เรียนต้องทดสอบ จะต้องวางแผนการตรวจสอบและลงมือปฏิบัตอิ ย่างไร ๓) การรายงานผลการทดสอบจะมีเนื้อหาสาระอะไรบ้าง ตัวอย่างสถานการณท์ ่ี ๔ \"มีคำกล่าววา่ ไม่สามารถชุบเหล็กใหเ้ ป็นทองได้โดยตรง\" ๑) นกั เรียนจะมวี ธิ ีการทดสอบคำกล่าวนี้ไดอ้ ย่างไรบ้าง ๒) นกั เรยี นคิดวา่ วิธกี ารทดสอบใดจะได้ผลดที สี่ ดุ ๓) จงวิจารณ์ว่าวิธกี ารทดสอบที่เลือกนนั้ เป็นไปได้เพยี งใด ๔) จะทำการทดสอบเพื่อยนื ยันได้อย่างไรวา่ วธิ ีทเี่ ลือกน้ันถูกตอ้ งแผงไฟรวม การวิเคราะหห์ ลักสตู ร วชิ าวทิ ยาศาสตร์ ชั้นประถมศกึ ษาปีที่ 4

ตัวอยา่ งสถานการณ์ที่ ๕ \"นักเรยี นเชอ่ื หรือไมว่ ่าน้ำทะเลจะไมเ่ ปน็ ฟองกบั สบู่\" ๑) นักเรยี นจะมวี ิธีใดบ้างทจ่ี ะตรวจสอบว่าข้อความนี้เป็นจรงิ หรือเป็นเทจ็ ๒) จงเลือกวธิ ีทค่ี ดิ ว่าสามารถทดสอบไดผ้ ลดีท่สี ดุ พร้อมทัง้ ให้เหตผุ ลประกอบ ๓ จงลงมือทดสอบด้วยวิธีการท่เี ลือก ๔) จงวิจารณ์ว่าวธิ ที เี่ ลอื กมาทดสอบแตกต่างกนั อยา่ งไร ตวั อย่างสถานการณ์ที่ ๖ \"นำ้ บาดาลทน่ี ำมาใชบ้ รโิ ภคไม่สะอาดเพียงพอ\" ๑) มีวิธีทดสอบไดอ้ ยา่ งไรว่าขอ้ ความดังกลา่ วเป็นจริง ๒) วิธีการใดจะชว่ ยให้การตรวจสอบไดผ้ ลดที ส่ี ดุ ๓) ถ้าตรวจสอบแลว้ พบวา่ น้ำบาดาลนนั้ ไม่สะอาด ทา่ นจะมวี ธิ ีแกไ้ ขอยา่ งไร ๔) วธิ ใี ดน่าจะใช้ทำให้น้ำบาดาลสะอาดท่ีสดุ เพราะเหตใุ ดจึงเลอื กวธิ ีน้ี ๕) จงแสดงวิธีการตรวจสอบและทำใหน้ ำ้ บาดาลสะอาดจนใช้บริโภคได้ ตัวอยา่ งสถานการณ์ที่ ๗ เมื่อหย่อนส่ิงของตา่ งๆ ลงในสระนำ้ ๑) จงวเิ คราะหแ์ ละอธิบายวา่ เพราะเหตใุ ดสง่ิ ของบางชนิดจงึ จม บางชนดิ จงึ ลอย ๒) จงวางแผนและเลอื กวิธที ีจ่ ะทดสอบสมมตฐิ าน อธิบายด้วยว่าเหตุใดจึงเลือกวิธีนั้น ๓) จะนำความรู้จากการศกึ ษาเร่อื งนไี้ ปใชป้ ระโยชนใ์ นชีวติ ประจำวนั ได้อยา่ งไร ตวั อย่างสถานการณ์ท่ี ๘ จงวิเคราะหแ์ รงเสียดทานท่ีเกดิ ขน้ึ ในการข่ีจักรยาน ๑) หาวิธีลดแรงเสียดทานใหเ้ หลือนอ้ ยทีส่ ุดเทา่ ท่ีจะทำได้ ๒) ออกแบบจักรยานทมี่ แี รงเสยี ดทานน้อยท่สี ดุ เท่าทจี่ ะเปน็ ไปได้ การประเมนิ ตามสภาพจริงยังคงใช้การทดสอบดว้ ยการเขยี นตอบ แต่จะลดการทดสอบท่ีวัดดา้ นความรูค้ วามจำ โดย จะมุ่งเนน้ ประเมินดา้ นความเข้าใจ การนำไปใช้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการคิดข้ันสงู แบบทดสอบใน ลกั ษณะน้จี ะตอ้ งสรา้ งสถานการณ์ ซึ่งส่วนใหญต่ อ้ งสัมพนั ธ์กับชีวติ จริงของนักเรยี น แล้วให้นกั เรยี นตอบคำถามโดย เขยี นตอบ ลักษณะของคำถามควรนำไปสู่การวัดท่ีสูงกวา่ ความรคู้ วามจำ การวิเคราะหห์ ลกั สูตร วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 4

การประเมินผลการเรยี นร้โู ดยใชแ้ ฟม้ ผลงาน (portfolio assessment) แฟม้ ผลงานคืออะไร เมื่อผู้เรียนทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ทั้งในห้องเรียนหรือนอก ห้องเรียนก็ตาม กจ็ ะมผี ลงานที่ไดจ้ ากการทำกิจกรรมเหล่านั้นปรากฏอยู่เสมอ ซึ่งสามารถจำแนกผลงานออกตาม กิจกรรมต่างๆ ดังนี้ ๑. การฟังบรรยาย เมื่อผู้เรยี นฟังการบรรยายก็จะมีสมุดจดคำบรรยาย ซึ่งอาจอยู่ในรูปของบนั ทึกอย่าง ละเอียดหรือบันทึกแบบย่อ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของความชอบและความเคยชินของผู้เรียนในการบันทึกคำ บรรยาย ๒. การทำการทดลอง ผลงานของผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง อาจประกอบด้วยการวางแผนการ ทดลองทั้งในรูปของบันทึกอย่างเป็นระบบหรือบนั ทึกแบบยอ่ การบันทึกวธิ ีการทดลอง ผลการทดลองและปัญหาที่ พบขณะทำการทดลอง การแปลผล สรุปผลและการอภิปรายผลการทดลอง และผลงานสุดท้ายที่เก่ียวข้องกับการ ทดลอง คือการรายงานผลการทดลองทีผ่ ู้เรยี นอาจทำเปน็ กลุ่มหรอื เด่ียวกไ็ ด้ ๓. การอภปิ ราย ผลงานของผเู้ รยี นทเี่ กี่ยวข้องกบั การอภปิ ราย คือ วางหวั ข้อและข้อมูลท่ีจะนำมาใชใ้ นการ อภปิ ราย ผลที่ได้จากการอภปิ รายรวมท้ังข้อสรปุ ตา่ งๆ ๔. การศกึ ษาคน้ ควา้ เพมิ่ เตมิ จัดเปน็ ผลงานท่ีสำคัญประการหน่ึงของผเู้ รียนท่ีเกิดจากการได้รับมอบหมาย จากครผู ู้สอนใหไ้ ปค้นคว้าหาความรู้ในเร่ืองต่างๆ ท่เี กี่ยวข้องกับหัวข้อหรือประเดน็ ท่ีกำลงั ศึกษา ผลงานท่ีได้จาก การค้นคว้าเพิ่มเติมอาจอยู่ในรูปของรายงาน การทำวิจัยเชิงเอกสารหรือบันทึกประเด็นสำคัญซึ่งอาจนำมาใช้ ประกอบการอภิปรายในชั่วโมงเรียนก็ได้ ๕. การศึกษานอกสถานท่ี การศกึ ษานอกสถานทจี่ ัดเปน็ วธิ ีการที่เปิดโอกาสใหผ้ ู้เรยี นไดม้ ีประสบการณ์ตรง กับเร่ืองทีก่ ำลงั ศึกษา ผลงานที่ได้อาจประกอบด้วยการบันทึกการสงั เกต การตอบคำถามหรอื ปัญหาจากใบงาน การ เขยี นรายงานส่งิ ทีค่ ้นพบ ๖. การบนั ทึกรายวัน เปน็ ผลงานประการหน่ึงของผู้เรียนท่ีอยู่นอกเหนือจากผลงานทีแ่ สดงถึงการเรียนรู้ โดยตรง แต่จะช่วยให้ผู้เรียนหรือผู้ประเมินได้เข้าใจในประเด็นหรือส่ิงท่ีผู้เรียนนึกคดิ เกี่ยวกบั การเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ดว้ ยนอกจากกิจกรรมทีไ่ ด้กลา่ วมาแล้ว ยังอาจมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ซึ่ง ผู้เรียนสามารถแสดงออกถึงความสามารถอน่ื ๆ อกี ดว้ ยเชน่ การสอื่ สาร ผลงานเหลา่ นีถ้ ้าได้รับการเก็บรวบรวมอย่าง มีระบบด้วยตวั ผเู้ รยี นเองตามช่วงเวลา ท้ังกอ่ นและหลังการทำกิจกรรมเหลา่ น้ี โดยไดร้ ับคำแนะนำจากผสู้ อน และ ผู้เรียนฝึกทำจนเคยชินแล้วจะถือเป็นผลงานท่ีสำคัญย่ิงท่ีใชใ้ นการประเมินผลการเรยี นรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ของ ผเู้ รยี นต่อไป ในการวัดและประเมินผลด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมถึงการที่นักเรียนได้แสดงให้ครูเห็นถึงความรู้ ความสามารถท่ีครูไดค้ าดหวังว่านักเรียนจะมีความรู้เกิดข้ึนจากการเรียนรู้น้ัน การวัดและประเมินผลในด้านน้ี จะ ช่วยสะท้อนใหค้ รูและนักเรยี นได้ทราบวา่ นักเรยี นมีความกา้ วหน้าในการเรียนรมู้ ากน้อยเพยี งใด มีอะไรท่ีครูควรให้ ความชว่ ยเหลอื เป็นพิเศษ และเรยี นร้ไู ปมากน้อยเพียงใดตามจดุ ประสงค์ท่ีครูต้งั ไว้ อาจใชว้ ิธกี ารสอบวดั ผลสัมฤทธ์ิ ท้ังการสอบยอ่ ยและการสอบใหญ่ การให้นักเรยี นสอบปฏบิ ัติการต่างๆ เปน็ ตน้ แนวทางการใหค้ ะแนนเพือ่ การประเมิน การวเิ คราะห์หลักสูตร วิชาวทิ ยาศาสตร์ ชั้นประถมศกึ ษาปที ี่ 4

จากท่ีกล่าวมาแล้วว่า การประเมินจากสภาพจริงให้ความสำคัญต่อการประเมินโดยใช้ข้อสอบแบบเขียน ตอบน้อยมา แตจ่ ะใหค้ วามสำคญั ต่อการแสดงออกที่แทจ้ ริงของนักเรยี นขณะทำกิจกรรม งานหรือกิจกรรมที่ กำหนดใหน้ กั เรยี นทำจะมีแนวทางไปส่คู วามสำเร็จของงานและมีวธิ ีการหาคำตอบหลายแนวทาง คำตอบที่ได้ อาจมใิ ช่ในแนวทางที่กำหนดไว้เสมอไป จึงทำให้การตรวจใหค้ ะแนนไมส่ ามารถให้อย่างชดั เจนแนน่ อนเหมือน การตรวจให้คะแนนแบบข้อสอบเลอื กตอบ ดงั นนั้ การประเมินจากสภาพจริง จึงต้องมีการกำหนดแนวทางการ ใหค้ ะแนนอยา่ งชัดเจน การกำหนดแนวทางอาจจดั ทำโดยครู คณะครหู รอื ครูและนกั เรียนกำหนดร่วมกนั แนว ทางการประเมนิ นน้ั จะต้องมีมาตรวัดวา่ นักเรียนทำอะไรได้สำเร็จ และระดับความสำเรจ็ อยู่ในระดับใด แนว ทางการประเมินทีม่ มี าตรวดั น้ี เรยี กวา่ Rubric การประเมนิ โดยองิ Rubric นี้ โดยทวั่ ไปมี ๒ แบบคอื ๑. การใหค้ ะแนนภาพรวม (Holistic score) ๒. การให้คะแนนแยกองค์ประกอบ (Analytic score) แนวปฏบิ ตั ใิ นการวัดและประเมนิ ผลการเรียนรู้ การวัด และ ป ระ เม ิน ผล ก า รเ ร ียน ร ู้ข อ ง ผู้ เ รี ยนต ้อ ง อย ู่ บน ห ลั ก กา ร พื ้น ฐ านส อ งป ร ะ กา ร คื อ การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้ ประสบผลสำเร็จนน้ั นักเรยี นจะตอ้ งได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วดั เพ่ือให้บรรลตุ ามมาตรฐานการ เรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะสำคญั และคุณลกั ษณะอันพงึ ประสงค์ของนักเรยี นซึ่งเปน็ เป้าหมายหลกั ในการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ในระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็น กระบวนการพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการ ความก้าวหน้า และความสำเร็จทางการเรียนของนักเรยี น ตลอดจนขอ้ มูลที่เปน็ ประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ นกั เรยี นเกิด การพฒั นาและเรยี นรอู้ ย่างเต็มตามศกั ยภาพ การวัดและประเมนิ ผลการเรยี นรู้ แบง่ ออกเป็น ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับชัน้ เรียน ระดบั สถานศึกษา มี รายละเอยี ด ดงั นี้ ๑. การประเมนิ ระดับชั้นเรียน เป็นการวัดและประเมนิ ผลที่อยู่ในกระบวนการจดั การเรยี นรู้ ครู ผสู้ อนดำเนนิ การเปน็ ปกติและสม่ำเสมอ ในการจัดการเรียนการสอน ใช้เทคนิคการประเมินอยา่ งหลากหลาย เช่น การซกั ถาม การสังเกต การตรวจการบ้าน การประเมินโครงงาน การประเมินช้ินงาน/ ภาระงาน แฟ้ม สะสมงาน การใช้แบบทดสอบ ฯลฯ โดยครู ผูส้ อนเป็นผู้ประเมนิ เองหรือเปิดโอกาสใหน้ ักเรยี นประเมินตนเอง เพอ่ื นประเมินเพือ่ น ผู้ปกครองรว่ มประเมิน ในกรณีท่ไี มผ่ ่านตัวชว้ี ัดให้มีการสอนซอ่ มเสริม การประเมนิ ระดบั ชนั้ เรยี นเป็นการตรวจสอบวา่ นกั เรยี นมีพฒั นาการความก้าวหนา้ ในการเรียนรู้ อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่ และมากน้อยเพยี งใด มสี ิง่ ท่จี ะต้องได้รับการพัฒนา ปรับปรงุ และสง่ เสรมิ ในด้านใด นอกจากนยี้ ังเปน็ ข้อมูลให้ผู้สอนใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนด้วย ทั้งน้ี โดยสอดคลอ้ งกบั มาตรฐานการเรยี นรู้และตวั ชีว้ ดั ๒. การประเมนิ ระดับสถานศึกษา เป็นการประเมนิ ทส่ี ถานศกึ ษาดำเนินการเพ่ือตดั สินผล การเรยี น ของผู้เรยี นเปน็ รายปี/รายภาค ผลการประเมนิ การอ่าน คดิ วเิ คราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรยี น นอกจากนี้เพื่อใหไ้ ดข้ ้อมูลเกี่ยวกบั การจดั การศึกษาของสถานศึกษา ว่าส่งผลต่อ การเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายหรือไม่ ผเู้ รยี นมจี ุดพัฒนาในด้านใด รวมทัง้ สามารถนำผลการเรียนของ การวเิ คราะห์หลกั สตู ร วชิ าวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศกึ ษาปีท่ี 4

ผู้เรียนในสถานศึกษาเปรียบเทียบกับเกณฑร์ ะดับชาติ ผลการประเมินระดับสถานศึกษาจะเป็นข้อมูลและ สารสนเทศเพื่อการปรับปรงุ นโยบาย หลกั สูตร โครงการ หรอื วธิ กี ารจดั การเรียนการสอน ตลอดจนเพื่อการ จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาและการ รายงานผลการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงาน คณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้นื ฐาน ผปู้ กครองและชุมชน ข้อมูลการประเมินในระดับต่าง ๆ ข้างต้น เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบทบทวนพัฒนาคุณภาพ นักเรียน ทจี่ ะตอ้ งจดั ระบบดูแลช่วยเหลือ ปรบั ปรุงแก้ไข ส่งเสริมสนับสนุนเพือ่ ให้นกั เรียนได้พัฒนาเต็มตาม ศักยภาพบนพื้นฐาน ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่จำแนกตามสภาพปัญหาและความต้องการ ได้แก่ กลุ่มนักเรียนทั่วไป กลุ่มนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ กลุ่มนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ กลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหาด้านวินยั และพฤติกรรม กลุ่มนักเรียนที่ปฏิเสธโรงเรียน กลุ่มนักเรียนที่มีปัญหาทาง เศรษฐกจิ และสงั คม กลมุ่ พกิ ารทางร่างกายและสติปัญญา เป็นตน้ ข้อมูลจาก การประเมินจึงเป็นหัวใจของ สถานศึกษาในการดำเนินการชว่ ยเหลือผูเ้ รียนได้ทันท่วงที ปิดโอกาสใหผ้ ู้เรียนได้รบั การพัฒนาและประสบ ความสำเร็จในการเรียน สถานศกึ ษาในฐานะผรู้ ับผิดชอบจัดการศึกษา จะตอ้ งจดั ทำระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการ เรียนของสถานศึกษาให้สอดคล้องและเป็นไปตามหลกั เกณฑ์และแนวปฏบิ ัติท่ีเป็นข้อกำหนดของหลักสตู ร สถานศึกษา เพอ่ื ใหบ้ คุ ลากรที่เกย่ี วขอ้ งทกุ ฝา่ ยถือปฏบิ ตั ิร่วมกัน เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรยี น ๑. การตดั สิน การให้ระดบั และการรายงานผลการเรียน ๑.๑ การตัดสินผลการเรียน ในการตัดสินผลการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลกั ษณะอนั พึงประสงค์ และกิจกรรมพฒั นาผูเ้ รยี นนนั้ ผู้สอนต้องคำนึงถึงการพัฒนานกั เรยี นแต่ละคนเป็น หลัก และตอ้ งเกบ็ ข้อมูลของนักเรียนทุกด้านอย่างสม่ำเสมอและต่อเน่ืองในแต่ละภาคเรียน รวมทัง้ สอนซ่อมเสริม ผ้เู รียนใหพ้ ัฒนาจนเตม็ ตามศกั ยภาพ ระดับประถมศึกษา (๑) ผ้เู รียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกวา่ ร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรยี นทั้งหมด (๒) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของ จำนวนตัวช้วี ดั (๓) ผู้เรียนตอ้ งไดร้ บั การตัดสินผลการเรยี นทุกรายวชิ า ไม่น้อยกว่าระดบั “๑” จึงจะถือว่า ผ่านเกณฑต์ ามที่สถานศกึ ษากำหนด (๔) นกั เรยี นตอ้ งไดร้ บั การประเมนิ และมผี ลการประเมนิ การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน ใน ระดับ “ผ่าน” ขึ้นไป มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับ “ผ่าน” ขึ้นไป และมีผลการ ประเมนิ กจิ กรรมพฒั นานักเรยี น ในระดับ “ผา่ น” การพิจารณาเลื่อนชั้น ถ้านักเรียนมีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อย และพิจารณาเห็นว่าสามารถ พัฒนาและสอนซ่อมเสริมได้ ให้ผ่อนผันให้เลื่อนชั้นได้ แต่หากนักเรียนไม่ผ่ านรายวิชาจำนวนมาก และมี การวิเคราะหห์ ลกั สตู ร วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

แนวโนม้ วา่ จะเป็นปัญหาต่อการเรยี นในระดบั ช้นั ท่ีสงู ข้นึ ใหต้ ง้ั คณะกรรมการพิจารณาให้เรียนซ้ำชั้นได้ ทงั้ นีใ้ ห้ คำนึงถึงวฒุ ิภาวะและความรคู้ วามสามารถของนักเรยี นเป็นสำคัญ ๑.๒ การใหร้ ะดับผลการเรยี น ระดับประถมศึกษา ในการตัดสินเพื่อให้ระดบั ผลการเรียนรายวิชา ให้ระดับผลการเรียนหรือระดับ คณุ ภาพการปฏิบัติของนกั เรียน เป็นระบบตวั เลขแสดงระดับผลการเรียนเปน็ ๘ ระดับดงั นี้ ระดบั ผลการเรยี น ความหมาย ช่วงคะแนนรอ้ ยละ ๔ ผลการเรยี นดเี ยยี่ ม ๘๐ - ๑๐๐ ๓.๕ ผลการเรียนดีมาก ๗๕ - ๗๙ ๓ ผลการเรียนดี ๗๐ - ๗๔ ๒.๕ ผลการเรียนค่อนข้างดี ๖๕ - ๖๙ ๒ ผลการเรียนน่าพอใจ ๖๐ - ๖๔ ๑.๕ ผลการเรยี นพอใช้ ๕๕ - ๕๙ ๑ ผลการเรยี นผ่านเกณฑ์ข้ันตำ่ ๕๐ - ๕๔ ๐ ผลการเรียนตำ่ กว่าเกณฑ์ ๐ - ๔๙ การประเมนิ การอ่าน คิดวเิ คราะหแ์ ละเขียน และคณุ ลักษณะอนั พึงประสงค์น้นั ให้ระดับผลการ ประเมินเป็น ดเี ยยี่ ม ดี ผ่าน และไม่ผา่ น การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติ กิจกรรมและผลงานของผู้เรยี น ตามเกณฑท์ ่ีสถานศึกษากำหนด และใหผ้ ลการเข้ารว่ มกจิ กรรมเป็นผ่าน และ ไม่ผา่ น ๑.๓ การรายงานผลการเรยี น การรายงานผลการเรียนเป็นการส่ือสารให้ผู้ปกครองและนักเรียนทราบความกา้ วหน้า ในการ เรียนรู้ของนักเรยี น ต้องสรุปผลการประเมินและจัดทำเอกสารรายงานให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะ ๆ หรือ อยา่ งนอ้ ยภาคเรียนละ ๑ คร้ัง การรายงานผลการเรียนสามารถรายงานเป็นระดับคุณภาพการปฏิบัติของนักเรียนที่สะท้อน มาตรฐานการเรยี นร้กู ลุม่ สาระการเรยี นรู้ ๒. เกณฑ์การจบการศึกษา การวิเคราะห์หลกั สูตร วชิ าวทิ ยาศาสตร์ ช้ันประถมศกึ ษาปีท่ี 4

หลักสูตรสถานศึกษา กำหนดเกณฑ์กลางสำหรับการจบการศึกษาเป็น ๑ ระดับ คือ ระดับประถมศกึ ษา ๒.๑ เกณฑ์การจบระดับประถมศกึ ษา (๑) นักเรียนเรียนรายวชิ าพื้นฐาน และรายวิชา/กิจกรรมเพิม่ เตมิ ตามโครงสร้างเวลาเรยี น ท่ีกำหนด (๒) นักเรียนต้องมีผลการประเมนิ รายวชิ าพน้ื ฐาน ผา่ นเกณฑก์ ารประเมนิ ตามท่ีกำหนด (๓) นักเรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนในระดับผ่านเกณฑ์ การประเมนิ ตามทก่ี ำหนด (๔) นักเรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามทีก่ ำหนด (๕) นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามท่ีกำหนด สำหรับการจบการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น การศึกษาเฉพาะทาง การศึกษาสำหรับ ผู้มีความสามารถพิเศษ การศึกษาทางเลือก การศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส การศึกษาตามอัธยาศัย ให้คณะกรรมการของสถานศึกษา ดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักเกณฑ์ในแนวปฏิบัติ การวดั และประเมินผลการเรียนรู้ของหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ การวิเคราะห์หลักสตู ร วิชาวิทยาศาสตร์ ช้ันประถมศึกษาปีที่ 4

อภธิ านศัพท์ ศพั ท์ท่เี กี่ยวข้องกับตวั ชวี้ ัดกลุ่มสาระการเรยี นรูว้ ิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ความหมาย ๑ กำหนดปญั หา define problem ระบคุ ำถาม ประเด็นหรอื สถานการณท์ ่ีเป็น ขอ้ สงสัย เพื่อนำไปสู่การแกป้ ัญหาหรือ อภิปรายรว่ มกัน ๒ แก้ปญั หา solve problem หาคำตอบของปัญหาท่ียังไม่รู้ วิธีการมาก่อน ทั้งปัญหาที่ เกย่ี วข้องกบั วิทยาศาสตร์ โดยตรงและปญั หาในชวี ติ ประจำวนั โดยใช้ เทคนคิ และ วิธีการต่าง ๆ ๓ เขยี นแผนผัง/วาดภาพ construct diagram/ นำเสนอขอ้ มูลหรอื ผลการสำรวจ ตรวจสอบ illustrate ด้วยแผนผงั กราฟ หรอื ภาพวาด ๔ คาดคะเน Predict คาดการณ์ผลที่จะเกดิ ข้นึ ในอนาคต โดย อาศัยขอ้ มูลทสี่ งั เกตได้ และประสบการณ์ทีม่ ี ๕ คำนวณ calculate หาผลลพั ธ์จากขอ้ มูล โดยใช้ หลกั การ ทฤษฎี หรอื วธิ ีการทาง คณิตศาสตร์ ๖ จำแนก Classify จดั กลุ่มของส่ิงตา่ ง ๆ โดยอาศยั ลักษณะที่ เหมอื นกนั เปน็ เกณฑ์ ๗ ตงั้ คำถาม ask question พดู หรือเขยี นประโยค หรอื วลี เพือ่ ใหไ้ ด้มาซง่ึ การคน้ หา คำตอบท่ีต้องการ ๘ ทดลอง conduct/experiment ปฏบิ ตั ิการเพื่อหาคำตอบ ของคำถาม หรือ ปัญหาในการ ทดลอง โดยตงั้ สมมตฐิ านเพื่อ เปน็ แนวทางในการกำหนด ตวั แปรและ วางแผนดำเนินการ เพื่อตรวจสอบสมมติฐาน ๙ นำเสนอ Present แสดงข้อมลู เร่ืองราว หรือ ความคิด เพอ่ื ให้ ผู้อ่นื รับรู้ หรอื พิจารณา ๑๐ บรรยาย describe ให้รายละเอียดของเหตกุ ารณ์ หรือ ปรากฏการณ์ท่ีเกดิ ขน้ึ ให้ ผู้อน่ื ไดร้ บั รดู้ ้วยการ บอก หรอื เขยี น ๑๑ บอก Tell ให้ข้อมูล ขอ้ เทจ็ จริง แกผ่ ู้อนื่ ด้วยการพดู หรือเขยี น ๑๒ บันทกึ Record เขียนข้อมลู ท่ไี ด้จากการสงั เกต เพ่ือชว่ ยจำ หรอื เพอื่ เป็นหลักฐาน ๑๓ เปรียบเทยี บ Compare บอกความเหมอื น และ/หรือ ความแตกต่าง ของสิง่ ที่ เทยี บเคยี งกนั การวเิ คราะห์หลักสตู ร วิชาวิทยาศาสตร์ ช้ันประถมศกึ ษาปที ่ี 4

ท่ี ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ความหมาย ๑๔ แปลความหมาย Interpret ๑๕ ยกตวั อยา่ ง give examples แสดงความหมายของข้อมลู จากหลักฐานที่ ๑๖ ระบุ identify ปรากฏ เพ่ือลงขอ้ สรุป ๑๗ เลือกใช้ select ๑๘ วดั measure ใหข้ ้อมลู เหตุการณห์ รอื สถานการณ์ เพื่อแสดง ๑๙ วิเคราะห์ analyze ความเขา้ ใจในสง่ิ ทไี่ ด้ เรียนรู้ ๒๐ สรา้ งแบบจำลอง construct model ชบี้ อกส่งิ ตา่ ง ๆ โดยใช้ข้อมลู ประกอบอย่าง ๒๑ สงั เกต Observe เพยี งพอ ๒๒ สำรวจ explore พิจารณา และตัดสินใจนำวัสดุ สงิ่ ของ อุปกรณห์ รือวธิ ีการ มาใชไ้ ด้อย่างเหมาะสม ๒๓ สืบค้นขอ้ มลู search ๒๔ สื่อสาร communicate หาขนาด หรือปริมาณ ของ สงิ่ ตา่ ง ๆ โดยใช้ เครอ่ื งมือ ที่เหมาะสม ๒๕ อธิบาย explain ๒๖ อภิปราย discuss แยกแยะ จัดระบบ เปรียบเทยี บ จดั ลำดบั จัดจำแนก หรอื เชื่อมโยงข้อมูล ๒๗ ออกแบบการทดลอง design experiment นำเสนอแนวคดิ หรือเหตกุ ารณ์ ในรูปของ แผนภาพ ชน้ิ งาน สมการ ข้อความ คำพดู และ/ หรือใช้แบบจำลองเพื่ออธิบาย ความคิด วตั ถุ หรอื เหตกุ ารณ์ ต่าง ๆ หาขอ้ มลู ด้วยการใช้ประสาท สมั ผสั ท้งั ห้า ท่เี หมาะสมตาม ข้อเท็จจริงท่ีปรากฏ โดยไม่ ใช้ ประสบการณเ์ ดิมของผู้สงั เกต หาขอ้ มลู เกยี่ วกับส่ิงต่าง ๆ โดยใช้วธี กี ารและ เทคนคิ ที่ เหมาะสม เพื่อนำขอ้ มูลมาใช้ ตาม วตั ถปุ ระสงค์ท่ีกำหนดไว้ หาข้อมูล หรอื ข้อสนเทศท่ีมี ผรู้ วบรวมไว้แลว้ จากแหล่งต่าง ๆ มาใชป้ ระโยชน์ นำเสนอ และแลกเปลย่ี น ความคดิ ข้อมลู หรือผลจากการ สำรวจตรวจสอบ ดว้ ยวิธี ทีเ่ หมาะสม กลา่ วถึงเรื่องราวตา่ ง ๆ อย่างมี เหตุผล และมี ขอ้ มลู หรือ ประจักษพ์ ยานอ้างอิง แสดงความคิดเหน็ ต่อประเด็น หรือคำถาม อย่างมีเหตผุ ล โดยอาศยั ความรู้และ ประสบการณ์ ของผู้อภปิ รายและข้อมูล ประกอบ กำหนด และวางแผนวิธีการ ทดลองให้ สอดคล้องกับ สมมตฐิ านและตวั แปรต่าง ๆ รวมทงั้ การบนั ทึกข้อมลู การวิเคราะห์หลกั สตู ร วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศกึ ษาปีที่ 4

ศพั ทท์ ่ีเกี่ยวขอ้ งกบั ตัวชว้ี ัดสาระเทคโนโลยี ที่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ความหมาย fair use ๑ การใช้ลิขสทิ ธ์ขิ องผู้อ่นื การนำสือ่ หรือข้อมลู ท่เี ปน็ ลขิ สทิ ธข์ิ องผู้อนื่ ไป โดยชอบธรรม ใชโ้ ดยชอบ ดว้ ยกฎหมาย ภายใต้เง่อื นไข บาง ประการ เชน่ ๑) นำไปใชใ้ นการศกึ ษา หรือ ๒ การตรวจและแก้ไข debugging การคา้ ๒) งานนนั้ เปน็ งานวิชาการ หรือ บนั เทงิ ขอ้ ผดิ พลาด data processing ๓) คัดลอกเพยี งสว่ นนอ้ ย หรอื คัดลอกจำนวน มาก ๔) ทำให้เจ้าของเสยี ผลประโยชน์ ทาง ๓ การประมวลผลขอ้ มูล การเงิน มากน้อยเพียงใด ๔ การรวบรวมข้อมูล data collection กระบวนการในการค้นหา ขอ้ ผดิ พลาดของ ๕ ข้อมลู ปฐมภูมิ primary data โปรแกรม เพอ่ื แก้ไขใหท้ ำงานไดถ้ กู ต้อง ๖ เทคโนโลยี technology การดำเนินการตา่ ง ๆ กับขอ้ มูล เพ่อื ให้ได้ ผลลัพธท์ ่มี คี วามหมาย และมปี ระโยชนต์ อ่ การ ๗ แนวคิดเชิงคำนวณ computational นำ ไปใช้งานมากย่ิงขน้ึ thinking กระบวนการในการรวบรวม ข้อมูลท่เี กี่ยวขอ้ ง ๘ แนวคดิ เชิงนามธรรม abstraction จากแหล่ง ขอ้ มูลต่าง ๆ ๙ ระบบทางเทคโนโลยี technological ข้อมลู ท่ีรวบรวมโดยตรง จากแหล่งข้อมลู ขนั้ ตน้ system โดยอาจ ใช้วิธีการสังเกต การทดลอง การ สำรวจ การสมั ภาษณ์ สิ่งทมี่ นษุ ย์สร้างหรอื พฒั นาขนึ้ ซึ่งอาจเป็นไดท้ ัง้ ช้ินงาน หรือ วิธกี าร เพอ่ื ใช้แกป้ ัญหาสนอง ความตอ้ งการ หรือเพม่ิ ความสามารถในการ ทำงาน ของมนุษย์ กระบวนการในการแก้ปัญหา การคิดวเิ คราะห์ อย่างมเี หตผุ ล เป็นขั้นตอน เพื่อหาวธิ กี าร แกป้ ัญหาในรปู แบบท่ีสามารถ นำไปประมวลผล ได้ การพจิ ารณารายละเอียดทส่ี ำคญั ของปัญหา แยกแยะสาระสำคญั ออกจากส่วนท่ไี มส่ ำคญั กล่มุ ของสว่ นตา่ ง ๆ ตั้งแต่ สองสว่ นข้นึ ไป ประกอบเข้า ดว้ ยกนั และทำงานร่วมกัน เพือ่ ให้ บรรลุวัตถปุ ระสงค์ โดยในการทำงานของระบบ ทางเทคโนโลยจี ะประกอบไปด้วย ตวั ปอ้ น (input) กระบวนการ (process) และผลผลติ (output) ท่ีสมั พนั ธก์ นั นอกจากน้ีระบบทาง เทคโนโลยี อาจมขี ้อมลู ยอ้ นกลับ (feedback) เพอ่ื ใชป้ รบั ปรงุ การทำงานได้ตามวตั ถปุ ระสงค์ การวิเคราะหห์ ลักสูตร วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศกึ ษาปีที่ 4

ศพั ท์ท่ีเกีย่ วขอ้ งกบั ตวั ชว้ี ัดสาระเทคโนโลยี ที่ ภาษาไทย ภาษาองั กฤษ ความหมาย ๑๐ เหตผุ ลเชิงตรรกะ logical reasoning ๑๑ เหตผุ ลวบิ ตั ิ logical fallacy การใช้เหตุผล กฎ กฎเกณฑ์ หรอื เงือ่ นไขท่ี เกย่ี วข้อง เพื่อ แก้ปัญหาได้ครอบคลมุ ทุกกรณี ๑๒ อตั ลักษณ์ Identity การใช้เหตผุ ลท่ผี ิดพลาดไมอ่ ยู่บน พ้ืนฐานของ ๑๓ อัลกอรทิ ึม algorithm ความจริง ไม่มนี ้ำหนกั สมเหตสุ มผลมา สนับสนนุ หรือ ชีน้ ำข้อสรุปทผี่ ดิ ให้ดูน่าเชื่อถือ ๑๔ แอปพลิเคชนั software application ลกั ษณะเฉพาะหรือขอ้ มูลสำคัญ ที่บ่งบอกถึง ความเป็นตวั ตนของ บคุ คลหรือสงิ่ ใดส่ิงหน่ึง เช่น ชื่อบญั ชีผู้ใชใ้ บหนา้ ลายนวิ้ มือ ขัน้ ตอนในการแกป้ ัญหาหรอื การทำงาน โดยมีลำดับของ คำส่ังหรือวิธีการท่ชี ัดเจน ทีค่ อมพวิ เตอรส์ ามารถปฏิบตั ิ ตามได้ ซอฟตแ์ วร์ประยุกต์ที่ทำงาน บนคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน แทบ็ เลต็ หรืออุปกรณ์เทคโนโลยี อื่น ๆ การวิเคราะห์หลกั สูตร วิชาวิทยาศาสตร์ ช้ันประถมศึกษาปที ี่ 4

เอกสารอา้ งอิง กระทรวงศึกษาธกิ าร. (๒๕๕๑). หลกั สูตรการศึกษาข้นั พ้นื ฐาน พุทธศกั ราช ๒๕๕๑ . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุ สภาลาดพร้าว. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี. (๒๕๖๐). ตัวชว้ี ดั และสาระการเรยี นรู้แกนกลางกลมุ่ สาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลาง สถานศึกษาขั้นพืน้ ฐาน พทุ ธศักราช ๒๕๕๑. สภาพฒั นาการเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาต.ิ (๒๕๔๙). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี ๑๐. สำนกั งานเลขาธิการสภาการศึกษา. (๒๕๔๗). ขอ้ เสนอยุทธศาสตรก์ ารปฏริ ปู การศึกษา. กรุงเทพฯ: เซน็ จรู .่ี สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาแห่งชาต.ิ (๒๕๔๒). พระราชบัญญตั ิ การศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒. กรงุ เทพฯ: โรงพิมพ์องคก์ ารรับสง่ สินค้าและพัสดุภณั ฑ์ (ร.ส.พ.). สำนักผูต้ รวจราชการและตดิ ตามประเมินผล. (๒๕๔๘). การติดตามปัญหาอปุ สรรคการใช้หลักสตู รการศกึ ษา ข้ันพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔. บันทึก ที่ ศธ ๐๒๐๗/ ๒๖๙๒ ลงวันที่ ๑๙ กนั ยายน ๒๕๔๘. สำนักวชิ าการและมาตรฐานการศึกษา. (๒๕๖๐). เอกสารประกอบการประชมุ ปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรหลกั เพ่ือสร้าง ความเข้าใจ. ๒๗-๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๖ โรงแรมตรงั กรุงเทพฯ. (เอกสารอัดสำเนา). สำนักวชิ าการและมาตรฐานการศึกษา. (๒๕๔๖ ก.). สรุปผลการประชมุ วิเคราะห์หลักสตู รการศึกษาขน้ั พืน้ ฐาน. ๒๗-๒๘ ตลุ าคม ๒๕๔๖ เรื่อง การนำมาตรฐานการเรยี นรูแ้ ละตัวชี้วดั กลุม่ สาระการเรยี นรูค้ ณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ และสาระภมู ศิ าสตร์ ฯ (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ข้ันพื้นฐาน พุทธศกั ราช ๒๕๕๑ ไปสกู่ ารปฏิบตั ิ ๑๔-๑๖ มนี าคม ๒๕๖๑ ณ โรงแรมจอมเทียนปาล์มบชี พัทยา จังหวดั ชลบุรี. สำนักวชิ าการและมาตรฐานการศกึ ษา. (๒๕๔๘ ก). รายงานการวจิ ัยการใชห้ ลักสูตรการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน ตามทัศนะของผ้สู อน. กรุงเทพฯ: โรงพมิ พ์องคก์ ารรบั ส่งสนิ คา้ และพัสดุภัณฑ์ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศกึ ษา. (๒๕๔๘ ข.). รายงานการวิจยั โครงการวจิ ัยเชงิ ทดลองกระบวนการ สร้างหลกั สตู รสถานศกึ ษาแบบอิงมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพมิ พ์องคก์ ารรับส่งสนิ ค้าและพัสดภุ ณั ฑ์ (ร.ส.พ.). สวุ ิมล ว่องวาณิช และ นงลักษณ์ วริ ชั ชัย. (๒๕๔๗). การประเมนิ ผลการปฏิรปู การเรียนรู้ตามพระราช บัญญตั ิการศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ พหกุ รณีศึกษา. เอกสารการประชมุ ทางวิชาการการวิจัย เกี่ยวกบั การปฏิรูปการเรียนรู้ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร วันที่ ๑๙- ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗. การวิเคราะหห์ ลกั สูตร วชิ าวทิ ยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปที ี่ 4

การวเิ คราะหห์ ลกั สตู ร วชิ าวทิ ยาศาสตร์ ช้ันประถมศกึ ษาปที ่ี 4


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook