Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ข้าว ต้นธารอารยธรรมไทย

ข้าว ต้นธารอารยธรรมไทย

Description: ✍️©️✅

Search

Read the Text Version

ขา้ ว ต้นธารอารยธรรมไทย 149 คร้ันเมื่อผู้ท�ำหน้าที่กวนข้าวทิพย์ทั้งหมดสวมสายมงคล โดยท่ัวกันและข้ึนน่ังประจ�ำท่ีแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสดจ็ พระราชดำ� เนนิ ไปทรงรนิ นำ�้ พระมหาสงั ขล์ งในกระทะ แลว้ ทรงเจมิ พาย ท่ีพาดอยู่ท่ีปากกระทะ กระทะละ ๒ พาย ด้วยยันต์มหาอุณาโลม และเครือ่ งหมายสามทุกเลม่ พายแล้วทรงรนิ นำ�้ ในพระเต้าศิลาจารกึ อักษร และพระเตา้ เทวบฐิ ตอ่ ไปทวั่ ทกุ กระทะ โปรดใหพ้ ระเจา้ ลกู เธอทรงรนิ นำ�้ สม้ และเติมเนยตามไปตลอดท้ัง ๘ กระทะ จากน้ันท้าวปลัดเทียบวิเสท ซ่ึงประจ�ำกระทะเทถุงเครื่องท่ีจะกวนลงในกระทะซ่ึงมีกะทิและน้�ำตาล เคยี่ วไดแ้ ลว้ ส�ำหรับเคร่ืองท่ีจะกวนข้าวทิพย์ปรากฏในบัญชีจ่ายของ ดงั น้ี ถว่ั ด�ำ ถว่ั ขาว ถ่ัวแมต่ าย ถว่ั ราชมาษ อย่างละ ๓ ถงั ถ่วั เหลอื ง ๓ ถงั ๑๐ ทะนาน ถวั่ ทอง ถว่ั เขยี ว อยา่ งละ ๕ ถงั ถวั่ ลสิ ง ๖ ถงั งา ๕ ถงั ผลเดอื ย ๓ ถงั ๑๐ ทะนาน สาควู ลิ าด ๒ ถงั สาคูลาน ๑ ถงั เมล็ดแตงอุลิด ๓ ถงั ข้าวโพด ๓,๐๐๐ ฝัก ขา้ วฟ่าง ๒,๐๐๐ รวง ขา้ วเม่า ๕ ถงั เผอื ก มันเทศ อยา่ งละ ๓๐๐ หัว กระจบั สด แหว้ ไทย อยา่ งละ ๓ ถงั ข้าวสารหอม ๒ ถัง ผลไมแ้ ดง ๑๐ ทะนาน ผลบวั ผลมะกล่�ำใหญ่ อยา่ งละ ๓ ถัง น้�ำนมโค ๑๐ ทะนาน เนย ๔ ทะนาน นำ�้ ผงึ้ นำ�้ ออ้ ย อยา่ งละ ๑๐ ทะนาน มะพรา้ วแก่ ๕๕๐ ผล มะพรา้ วอ่อน ๕๐๐ ผล ผลชะเอมเทศ หนัก ๔ ชงั่ น้�ำตาลกรวด หนกั ๒๕ ชงั่ น้�ำตาลทราย หนกั ๕๐ ชงั่ น�้ำตาลหม้อ ๓๐๐ หม้อ ข้าวตอก ขนมปงั จดื ไมม่ กี ำ� หนด ผลไมส้ ดทหี่ าได้ คอื ทบั ทมิ นอ้ ยหนา่ เงาะ ลางสาด ละมดุ พลบั สด สาล่ี แหว้ จนี กลว้ ยหอม กลว้ ยไข่ สม้ ตา่ ง ๆ คอื สม้ เขยี วหวาน สม้ มะแปน้ สม้ ซา่ สม้ เกลย้ี ง สม้ ตรงั กานู ผลไมแ้ หง้ คอื ลน้ิ จี่ ลำ� ไย พทุ รารวิ้ พลบั แหง้ อนิ ทผลมั ผลไมแ้ ชอ่ ม่ิ คอื ผลชดิ ผลสะทอ้ น ผลไมก้ วน คอื ทเุ รยี น

150 ข้าว ต้นธารอารยธรรมไทย สับปะรดกวน และข้าวที่อ่อนเป็นนำ�้ นม ชะเอมสด ออ้ ยแดง ของเหลา่ น้ี ไม่มีก�ำหนดว่าเท่าไร อย่างไรก็ตาม เม่ือเวลาจะกวนได้มีการลดสัดส่วน ปริมาณเครื่องที่จะกวนลงไปอีกตามความเหมาะสม และในการกวน เครื่องที่จะกวนอันใดควรที่จะหั่นฝานเป็นช้ินเล็ก ๆ ก็ห่ันฝาน ที่ควรจะ โขลกต�ำก็โขลกต�ำ ที่ควรจะเปียกจะหุงก็เปียกก็หุง ส่ิงใดท่ีควรต้องค้ันน้�ำ ส�ำหรบั ใช้เจอื เมื่อเวลากวน เมอ่ื เทเครอื่ งทจี่ ะกวนดงั กลา่ วลงในกระทะแลว้ สาวพรหมจารี จับพายเริ่มกวน ขณะน้ันมีประโคมแตรสังข์ฆ้องชัยพิณพาทย์มโหรี พระมหาราชครูพิธีรดน้�ำสังข์ทุกกระทะแล้วเสด็จกลับ พอเสด็จกลับ สาวพรหมจารีก็เลิกกวน ต่อแต่นั้นให้พวกฝีพายกวนต่อไปจนสุก และกระยาสารทอีกสองกระทะก็กวนไปพร้อมกัน ระหว่างน้ันมีประโคม พิณพาทย์จนสกุ เสร็จ ข้าวทิพย์ท่ีกวนนี้เม่ือกวนเสร็จแล้วก็จะพระราชทานแก่ พวกฝีพายก่อนโดยให้ฝีพายเอาไปได้คนละเต็มหนึ่งใบพายที่จะคอนไปได้ ส่วนข้าวทิพย์ที่สุกแล้วจะน�ำมาจัดต้ังเครื่องในเวลาค่�ำก่อน และบรรจุ เตียบสัมฤทธ์ขิ นาดใหญ่ ๔ เตียบ แล้วน�ำไปตั้งบนเตยี งมณฑลสำ� หรบั เป็น เครอื่ งตน้ และจดั ลงอา่ งหยกสำ� หรบั ตง้ั ทหี่ นา้ พระสยามเทวาธริ าชอา่ งหนงึ่ รุ่งขึ้นเวลาเช้าเสด็จออกเล้ียงพระ โปรดให้ยกเตียบบนพระแท่นมณฑล ลงมาจัดข้าวทพิ ยป์ ระเคนพระสงฆ์ จากนั้นพระราชทานแจกจา่ ยขา้ วทิพย์ แกบ่ รรดาพระบรมวงศานวุ งศ์ และขา้ ราชการทง้ั ฝา่ ยหนา้ ฝา่ ยใน ตลอดจน พระสงฆ์มากนอ้ ยตามบรรดาศักด์ิ เปน็ อันเสรจ็ พระราชพิธกี วนขา้ วทพิ ย์

ข้าว ต้นธารอารยธรรมไทย 151 พระราชพิธีกวนข้าวทิพย์เน่ืองในการพระราชพิธีสารทนี้ ได้ท�ำบ้างงดบ้าง ครน้ั ลว่ งถึงรชั กาลพระบาทสมเด็จพระปกเกลา้ เจ้าอยู่หัว หลังจากว่างเว้นมิได้กระท�ำมานาน ในพุทธศักราช ๒๔๗๐ จึงได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสารทข้ึน ณ พระท่ีนั่ง อมรนิ ทรวนิ จิ ฉยั และใหต้ งั้ โรงพระราชพธิ กี วนขา้ วทพิ ยป์ ายาส ณ สวนศวิ าลยั ในพระบรมมหาราชวัง และโปรดให้สาวพรหมจารีราชอนุวงศ์เป็นผู้กวน ข้าวทิพย์ปายาส ให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายในรับรวงข้าวอ่อน ไปประกอบเป็นข้าวยาคูบรรจุในโถฟักเหลือง ซึ่งตกแต่งประดับประดา ใหว้ ิจติ รงดงาม ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลดว้ ย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ในวันแรม ๑๕ ค่�ำ เดือน ๑๐ ตรงกับวันที่ ๒๕ กันยายน เวลาเยน็ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั เสดจ็ พระราชดำ� เนนิ ไปยงั พระทนี่ งั่ อมรินทรวินิจฉัย ทรงจุดเทียนนมัสการ ทรงศีล แล้วอาลักษณ์อ่าน ค�ำประกาศพระราชพธิ จี บแล้ว พระสงฆส์ วดพระพทุ ธมนต์ สาวพรหมจารี ราชอนวุ งศซ์ งึ่ จะกวนขา้ วทพิ ยน์ ง่ั ฟงั พระสงฆส์ วดพระพทุ ธมนตใ์ นพระสตู ร เม่ือพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์จบแล้ว ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา จากน้ันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานน�้ำพระมหาสังข์ และ ทรงเจมิ พระราชทานแกส่ าวพรหมจารี แลว้ ทา้ วนางนำ� ไปสโู่ รงพระราชพธิ ี ณ สวนศวิ าลัย เมอื่ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั เสดจ็ พระราชดำ� เนนิ ไปยงั โรงพระราชพธิ แี ลว้ ทรงหลง่ั นำ้� พระมหาสงั ขล์ งในกระทะ และทรงเจมิ พาย แลว้ ทรงรนิ นำ้� พระพทุ ธมนตใ์ นพระเตา้ ลงในกระทะโดยลำ� ดบั โปรดเกลา้ ฯ ให้หมอ่ มเจ้านอ้ ย ๆ น�ำเครื่องปรุงอเนกรสหยอดตามเสดจ็ ไป เจา้ พนกั งาน เทถุงเครื่องกวนลงในกระทะ สาวพรหมจารีลงมือกวนข้าวทิพย์ปายาส

152 ขา้ ว ต้นธารอารยธรรมไทย ขณะนั้นมีประโคมฆ้องชัยสังข์แตรเครื่องดุริยางค์ พราหมณ์หล่ัง น้�ำเทพมนต์ลงทุกกระทะเพ่ือเป็นสิริมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชด�ำเนินกลับ เมื่อกวนข้าวทิพย์ปายาสได้ท่ีแล้วเจ้าพนักงาน น�ำมาบรรจุเตียบแล้วเอาไปต้ังไว้ในมณฑลพระราชพิธี ณ พระท่ีนั่ง อมรนิ ทรวินิจฉยั วนั ขนึ้ ๑ คำ�่ เดอื น ๑๑ ตรงกบั วันที่ ๒๖ กนั ยายน เวลาเชา้ มสี วดมนตท์ พ่ี ระทน่ี งั่ อมรนิ ทรวนิ จิ ฉยั เสรจ็ แลว้ เปน็ การเลยี้ งพระ ในการน้ี ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหน้ ำ� ยาคแู ละขา้ วทพิ ยป์ ายาส ถวายพระสงฆด์ ว้ ย ครน้ั ฉนั เสรจ็ แลว้ ทรงประเคนเครอ่ื งไทยธรรม พระสงฆถ์ วายอนโุ มทนา ถวาย อดเิ รก ถวายพระพรลา แลว้ เสดจ็ พระราชดำ� เนนิ กลบั จากนนั้ เจา้ พนกั งาน จะได้จ�ำแนกข้าวทิพย์ปายาสซ่ึงพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทลู ละอองธลุ ีพระบาทโดยท่ัวกนั เปน็ อนั เสร็จการพระราชพธิ ี พระราชพิธีกวนข้าวมธุปายาส กวนข้าวทิพย์ และการท�ำ ข้าวยาคูนี้ ต่อมาได้แพร่หลายไปในหมู่ประชาชนทั่วไปด้วย ในปัจจุบันน้ี แม้พระราชพิธีซ่ึงเป็นพิธีหลวงจะยกเลิกไปแล้ว แต่ในหมู่ประชาชนยังคง ถือปฏิบัติเปน็ ประเพณีสบื มาจนทุกวันนี้

ขา้ ว ตน้ ธารอารยธรรมไทย 153 บรรณานุกรม กรมศิลปากร. นางนพมาศ. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๐๓. (พมิ พเ์ ปน็ อนสุ รณใ์ นงานพระราชทานเพลงิ ศพพระมหาราชครพู ธิ ี ศรีวิสุทธิคุณ (พราหมณ์สวาสด์ิ รังสิพราหมณกุล) ณ เมรุ วดั มกุฏกษตั รยิ าราม วันที่ ๑๑ กันยายน พุทธศกั ราช ๒๕๐๓). . ศิลปวัฒนธรรมไทย เล่ม ๓ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเณศ, ๒๕๒๕. (จัดพมิ พเ์ นื่องในโอกาสสมโภชกรงุ รตั นโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พทุ ธศกั ราช ๒๕๒๕.) . อกั ขรานกุ รมประวตั ศิ าสตรไ์ ทย อกั ษร ข. กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พ์ ยูไนเตด็ โปรดกั ชน่ั , ๒๕๒๗. จรวย วัฒนพงศ์. วันสารทเดือนสิบ. วัฒนธรรมไทย ๑๑, ๗ (กันยายน ๒๕๑๔): ๑๗ - ๒๒. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. พมิ พค์ รงั้ ที่ ๑๘. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร, ๒๕๒๒. ประยุทธ สิทธิพันธ์. พระราชพิธีและประเพณีชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: ปริทัศน์ศาสตร์, ม.ป.ป. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา. สถาบันทักษิณคดี. สารานุกรม วัฒนธรรมไทยภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๒๙ เล่ม ๗. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ การพิมพ์, ๒๕๒๙.



บญุ ขา้ วจี่ โดย นางฤดรี ตั น์ กายราศ

156 ขา้ ว ต้นธารอารยธรรมไทย บุญข้าวจ*ี่ งานประเพณีท่ีนิยมจัดขึ้นภายหลังวันเพ็ญเดือน ๓ ซ่ึงเป็น วันมาฆบูชา ถือว่าเป็นวันท�ำบุญอันเนื่องด้วยวันมาฆบูชา มีการถวาย ข้าวจ่ีในวันรุ่งข้ึนซ่ึงเป็นวันแรม ๑ ค่�ำ แต่บางแห่งก็อาจจัดขึ้นในช่วง กลางเดอื น ๓ จะเปน็ ขา้ งขน้ึ หรอื ขา้ งแรมกไ็ ด้ เรยี กรวมวา่ “งานบญุ เดอื น ๓” และด้วยเหตุท่ีงานบุญนี้มีการถวายข้าวจ่ีเป็นส่ิงส�ำคัญ จึงเรียกว่า “ประเพณบี ญุ ขา้ วจ่ี” ข้าวจี่ท�ำจากข้าวเหนียวน่ึง ปั้นเป็นก้อนตามขนาด ที่ต้องการ เสียบไม้เพื่อจับถือได้สะดวกระหว่างการปิ้งหรือย่างที่เรียกว่า “การจ”ี่ จนขา้ วเหนยี วมสี เี หลอื งกลนิ่ หอมนา่ รบั ประทาน สว่ นรายละเอยี ด วธิ ีการปรงุ รสแตกตา่ งกนั ไปในแตล่ ะถน่ิ เช่น นำ� ปัน้ ข้าวเหนยี วมาโรยดว้ ย เกลือ หรอื ทาดว้ ยน�้ำเกลือแลว้ ชบุ ไข่ หรือทาดว้ ยไข่ หากต้องการรสหวาน ก็จะน�ำก้อนน�้ำอ้อยใส่ข้างใน เมื่อถูกความร้อนน้�ำอ้อยละลายกลายเป็น ไส้หวานรสอร่อย เด็ก ๆ ชื่นชอบ บางแห่งก็น�ำน้�ำอ้อยผสมไข่ทาให้ทั่ว กอ่ นองั ไฟก็มี การท่ีชาวอีสานน�ำข้าวจ่ีมาท�ำบุญถวายพระเป็นประเพณี เดอื น ๓ นนั้ สบื เนอื่ งจากมตี ำ� นานวา่ เมอ่ื ครงั้ ทสี่ มเดจ็ พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ เสดจ็ ไปบณิ ฑบาต ณ บา้ นเศรษฐีปุณณนั้น มีนางทาสีคนรับใชข้ องเศรษฐี * บทความจากหนังสือนามานุกรมขนบประเพณีไทย หมวด ประเพณีราษฎร์ เล่ม ๒ (ประเพณี เทศกาล และวันส�ำคัญทางพุทธศาสนา) พ.ศ. ๒๕๕๐

ข้าว ตน้ ธารอารยธรรมไทย 157 บงั เกิดความศรัทธาอยากตักบาตรบ้าง แตข่ ัดสนมีเพยี งข้าวเหนียวทก่ี �ำลงั ย่างไฟส�ำหรับเป็นอาหาร จึงน�ำมาถวาย แต่แล้วก็คิดกังวลว่าข้าวจ่ี เป็นเพียงอาหารของคนยากจน พระพุทธองค์อาจจะไม่เสวย สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบถึงวาระจิตของนางทาสี จึงมีพุทธด�ำรัส ให้พระอานนท์ปูอาสนะเพ่ือประทับนั่งเสวยข้าวจ่ี จากนั้นทรงแสดง พระธรรมเทศนาโปรด นางทาสีบังเกิดความปีติต้ังใจฟังพระธรรมเทศนา จนบรรลุโสดาปัตติผล คร้ันเมื่อส้ินชีวิตลงก็ได้จุติบนสวรรค์ ชาวอีสาน จึงเช่ือว่าแม้การท�ำบุญด้วยข้าวจี่ก็สามารถได้อานิสงส์อันสูงส่ง และ ความยากจนก็มิได้เป็นอุปสรรคต่อการท�ำบุญหรือการเอื้อเฟื้อเจือจุนต่อ ผอู้ นื่ บรรพบรุ ษุ ของชาวอสี านจงึ ไดส้ ง่ั สอนลกู หลานใหถ้ อื เปน็ จารตี ประเพณี ที่จะต้องท�ำบุญด้วยข้าวจี่เมื่อถึงเดือน ๓ ดังมีการผูกเป็นกลอนชาวบ้าน มาแตค่ รง้ั โบราณวา่ “ฮีตหน่งึ น้ัน เถิงเมอ่ื เดอื นสามไดพ้ ากันจข่ี า้ วจ่ี ไปถวายสงั ฆเจา้ เอาแท้หมูบ่ ญุ กุศลยงั สิคำ้� ตามเฮาเมอ่ื ละคาบ หากธรรมเนียม จ่ังซีม้ ีแท้แตน่ าน คองหากเคยมีมาแตป่ างปฐมพ้นู อย่าพากันไลถ่มิ ประเพณตี งั้ แต่เกา่ บ้านเมอื งเฮาสเิ ศร้าภัยฮา้ ยสิแลน่ ตาม” มีความหมายว่า มีจารีตหนึ่ง เมื่อถึงเดือน ๓ ให้น�ำข้าวจ่ี ไปถวายพระ บุญกุศลจะสนองตอบผู้ท�ำทุกเม่ือ ธรรมเนียมน้ีมีมานาน แลว้ ขอใหถ้ อื ปฏบิ ตั จิ ะไดบ้ ญุ ทวั่ หนา้ และอยา่ พากนั ละทง้ิ ประเพณเี กา่ แกน่ ้ี มิฉะน้ันบ้านเมืองจะเกดิ ภยั รา้ ยตามมา

158 ขา้ ว ต้นธารอารยธรรมไทย การท�ำบุญข้าวจี่ แม้เป็นงานประเพณีขนาดเล็กแต่ก็แสดง ถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวอีสาน ภายหลังการปิดยุ้งฉางแล้ว ก็ก�ำหนดวันท�ำบุญตอนเย็นก่อนวันงานหนึ่งวันเรียกว่า “วันสุกดิบ” บรรดามัคนายกผู้สูงอายุและชาวบ้านจะไปร่วมกันฟังสวดชัยมงคลที่วัด เช้ามืดของวันรุ่งข้ึนชาวบ้านต่างน�ำข้าวเหนียวผลผลิตในปีน้ันมารวมกัน ทบี่ า้ นหรอื ทวี่ ดั เพอ่ื ทำ� เปน็ ขา้ วจนี่ ำ� ไปใสบ่ าตร บางแหง่ กล็ งศาลาการเปรยี ญ นิมนต์พระเณรสวดมนต์ แล้วฉันข้าวจี่พร้อมภัตตาหารคาวหวานอื่น ๆ อุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษท่ีล่วงลับและเหล่าสัมภเวสี จากน้ัน ฟงั พระธรรมเทศนา แล้วจึงเลี้ยงกันเองอยา่ งสนกุ สนาน ตามปกติในเดือน ๓ นี้ ชาวนาส่วนใหญ่ถือปฏิบัติกันมา แต่โบราณว่าเป็นเดือนสู่ขวัญข้าว ดังน้ันเมื่อท�ำพิธีท�ำบุญเลี้ยงพระ ร่วมกันแล้ว บางแห่งยังมีการลงขันผลผลิตกันไว้ที่วัด เรียกว่าพิธี “บญุ ประทายขา้ วเปลือก” บางคนกจ็ ะกลบั ไปท�ำเปน็ พิธีเลก็ ๆ เพ่ือบชู า คณุ ของขา้ วในยุ้งฉางท่ีบ้านของตน ปจั จบุ นั ประเพณบี ญุ ขา้ วจม่ี ที ำ� กนั เปน็ สว่ นนอ้ ยในถนิ่ ชนบท อีสาน และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป ข้าวจี่อาหารวัฒนธรรมของอีสาน ท่ีมีอยู่ในต�ำนานแต่โบราณก็พัฒนาเป็นขนมประเภทต่าง ๆ ท่ีดูสวยงาม น่ารบั ประทานกวา่ ข้าวจ่ี เช่น ขนมเทยี น ขา้ วตม้ ผัด เปน็ ตน้ ยงั มงี านประเพณขี องชาวไทยพวน จงั หวดั สระบรุ ี ทมี่ รี ปู แบบ ประเพณีคล้ายกับประเพณีบุญข้าวจ่ีของภาคอีสาน เรียกว่า “ประเพณี กำ� ฟา้ ” จดั เปน็ งานประจำ� ปใี นชว่ งขน้ึ ๓ คำ�่ เดอื น ๓ ถอื เปน็ วนั ทลี่ กู หลาน ชาวไทพวนจะกลับมาเยี่ยมบ้านกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา ชาวไทพวน จะพร้อมใจกันหยุดงานร่วมกันท�ำข้าวจ่ีไปถวายพระเพื่ออุทิศส่วนกุศล

ขา้ ว ตน้ ธารอารยธรรมไทย 159 ให้แก่บรรพบุรุษ และเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของครอบครัว นอกจากนี้ ยงั มกี ารนำ� พนั ธข์ุ า้ วสว่ นหนง่ึ แบง่ ใสถ่ งุ มาเขา้ พธิ ดี ว้ ย เรยี กวา่ “พธิ สี ขู่ วญั ขา้ ว”

160 ขา้ ว ต้นธารอารยธรรมไทย บรรณานกุ รม กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย. วัฒนธรรม พัฒนาการ ทางประวตั ศิ าสตร์ เอกลกั ษณแ์ ละภูมิปัญญาจังหวัดมกุ ดาหาร. กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พค์ รุ สุ ภาลาดพรา้ ว, ๒๕๔๕. (คณะกรรมการฝา่ ย ประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอ�ำนวยการ จัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์ เนอื่ งในโอกาสพระราชพธิ มี หามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๔๒). . วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกั ษณแ์ ละ ภมู ปิ ัญญาจงั หวัดยโสธร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรสุ ภาลาดพรา้ ว, ๒๕๔๕. (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำ� นวยการจดั งานเฉลมิ พระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลมิ พระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๔๒). . วฒั นธรรม พัฒนาการทางประวัตศิ าสตร์ เอกลกั ษณ์และ ภมู ปิ ญั ญาจงั หวดั ศรสี ะเกษ. กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พค์ รุ สุ ภาลาดพรา้ ว, ๒๕๔๕. (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำ� นวยการจดั งานเฉลมิ พระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลมิ พระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๔๒).

ข้าว ตน้ ธารอารยธรรมไทย 161 กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย. วัฒนธรรม พัฒนาการ ทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดสระบุรี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๕. (คณะกรรมการ ฝา่ ยประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำ� นวยการ จัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์ เนอื่ งในโอกาสพระราชพธิ มี หามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๔๒). . วฒั นธรรม พัฒนาการทางประวตั ศิ าสตร์ เอกลักษณ์และ ภูมิปัญญาจังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, ๒๕๔๕. (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและ จดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำ� นวยการจดั งานเฉลมิ พระเกยี รติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดพมิ พ์เนอื่ งในโอกาสพระราชพธิ ี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒). ยูร กมลเสรีรัตน์. “ขนบอีสาน... เม่ือวันวาร.” วารสารวัฒนธรรมไทย ๓๖ (มกราคม ๒๕๔๒): ๔๑ - ๔๓. รชั ดา - เกษร. “อาหารเหลา่ นมี้ ตี ำ� นานและทม่ี า.” วารสารวฒั นธรรมไทย ๓๙ (ตลุ าคม - พฤศจกิ ายน ๒๕๔๔): ๒๓ - ๒๖. สริ วิ ฒั น์ คำ� วนั สา. อสี านคดี “ฮตี สบิ สองคองสบิ ส่ี หนงั สอื ชดุ ความรมู้ รดก อีสานวทิ ยาลัยครมู หาสารคาม” กรงุ เทพฯ: ไพศาลศริ ,ิ ๒๕๒๑. เอกวทิ ย์ ณ ถลาง. ภมู ปิ ญั ญาชาวบา้ นสภ่ี มู ภิ าค : วถิ ชี วี ติ และกระบวนการ เรียนรู้ของชาวบ้านไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธริ าช, ๒๕๔๐.



ขอฝน โดย นางสาวฉัตราภรน์ จินดาเดช

164 ขา้ ว ต้นธารอารยธรรมไทย ขอฝน* ขอฝน เป็นประเพณีแก้ปัญหาการขาดแคลนน้�ำด้วยวิธี เส่ียงทาย หรือบวงสรวงอ้อนวอนสิ่งศักด์ิสิทธิ์ที่เคารพนับถือ เพื่อเป็น ขวญั ก�ำลังใจในการเพาะปลกู ต่อไป ซึง่ มกั แตกตา่ งกันไปตามคติความเช่ือ ของแตล่ ะทอ้ งถน่ิ เชน่ ประเพณแี หน่ างแมวของภาคกลาง ประเพณบี ญุ บงั้ ไฟ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การแห่พระเจ้าฝนแสนห่าของภาคเหนือ เปน็ ต้น เนื่องจากสังคมไทยมีลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม น้�ำจึงถือเป็นปัจจัยส�ำคัญ อย่างยิ่งในการเพาะปลูก แต่เดิมความบริบูรณ์ของน�้ำท่าหรือน้�ำฝนนั้น ขึน้ อย่กู ับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ไมอ่ าจก�ำหนดใหเ้ ปน็ ปกตแิ น่นอน ได้ ซึ่งหากปใี ดฝนท้งิ ชว่ งไม่ตกเปน็ เวลานาน ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ก็มกั จะเกดิ ความวติ กกงั วลถงึ ความเสยี หายของพชื ผล ดงั นน้ั เพอ่ื เปน็ การแกไ้ ข หรอื ผอ่ นปรนอปุ สรรคใหเ้ บาบางหรอื ผา่ นพน้ ไปได้ และเพอ่ื บำ� รงุ ขวญั กำ� ลงั ใจ ใหม้ คี วามอดทน มคี วามหวงั ความมนั่ ใจในการแกไ้ ขหรอื ขจดั อปุ สรรคตา่ ง ๆ จงึ ไดเ้ กดิ มกี ารเสยี่ งทาย หรอื บวงสรวง ออ้ นวอนสงิ่ ศกั ดส์ิ ทิ ธต์ิ า่ ง ๆ ทเี่ คารพ นับถือขอให้ฝนตกลงมา และเมื่อเกิดผลสัมฤทธ์ิฝนตกลงมาตามท่ีขอไว้ กเ็ ชอื่ ถอื และปฏบิ ตั สิ บื ตอ่ มาเปน็ ประเพณขี อฝน ซง่ึ แตล่ ะทอ้ งถนิ่ มกั ปฏบิ ตั ิ แตกต่างกันไปตามคตคิ วามเช่ือ เชน่ * บทความจากหนังสือนามานุกรมขนบประเพณีไทย หมวด ประเพณีราษฎร์ เล่ม ๒ (ประเพณี เทศกาล และวันส�ำคัญทางพุทธศาสนา) พ.ศ. ๒๕๕๐

ข้าว ต้นธารอารยธรรมไทย 165 แหน่ างแมว เปน็ ประเพณที ม่ี มี านานแลว้ พบทว่ั ไปในชนบท ของไทย ยกเว้นภาคใต้ซึ่งไม่ค่อยประสบปัญหาเร่ืองฝน ประเพณีนี้ เกิดข้ึนจากความเช่ือที่ว่าแมวเป็นสัตว์ที่เกลียดฝน ถ้าฝนตกลงมาเมื่อใด แมวจะรอ้ งทนั ที ดงั นนั้ ชาวนาซง่ึ ตอ้ งอาศยั ฝนในการทำ� นาจงึ ถอื เปน็ เคลด็ ว่าต้องร่วมมือกันสาดน�้ำและท�ำให้นางแมวร้องมากท่ีสุดจะเป็นผลดี เกิดฝนตกลงมาตามท่ีต้องการ การแห่นางแมวเพื่อขอฝนนี้อาจมีรายละเอียดขั้นตอน พธิ กี รรมแตกตา่ งกนั ไปตามแตล่ ะทอ้ งถน่ิ โดยทวั่ ไปจะนำ� นางแมว ๑ - ๓ ตวั ใสล่ งในกรงหรอื ภาชนะอน่ื เชน่ ตะกรา้ กระบงุ กะทอ หรอื เขง่ ตอนทจี่ ะใส่ นางแมวลงไปจะพูดกบั นางแมวว่า “นางแมวเอย ขอฟ้าขอฝน ให้ตกลงมา ด้วยนะ” แล้วปิดฝาภาชนะนั้น ๆ ป้องกันไม่ให้นางแมวกระโดดออกมา แต่จะต้องเปิดช่องให้น้�ำกระเซ็นถูกตัวนางแมวได้ขณะที่สาดน้�ำ จากนั้น ต้ังขบวนแห่นางแมวไปรอบ ๆ หมู่บ้าน โดยมีนางแมวน�ำหน้าขบวนแห่ ส่วนผู้ร่วมขบวนแห่ก็จะร้องร�ำท�ำเพลงกันไปอย่างสนุกสนาน เนื้อเพลง ทข่ี บั รอ้ งจะเปน็ การขอฝน ครั้นถงึ บ้านใด เจา้ ของบา้ นที่ขบวนแห่นางแมว มาถึงจะต้องตักน้�ำสาดไปให้ถูกขบวนแห่และนางแมวด้วย ขณะท่ีสาดน�้ำ คนในขบวนแห่จะต้องทำ� ทา่ เหมอื นเปยี กฝนจรงิ ๆ หากขบวนแห่นางแมว ไปถึงบ้านใครแล้วเจ้าของบ้านเฉยเมยไม่เข้าร่วมพิธี มีความเช่ือกันว่า นางแมวจะโกรธมาก ไม่เรยี กฟา้ เรียกฝนใหต้ กลงมา หลังจากทำ� พิธนี ีแ้ ล้ว สว่ นมากฝนจะตกลงมาจรงิ ๆ หากเกนิ ๓ วนั หรอื ๗ วนั ฝนยงั ไมต่ กกต็ อ้ งจดั ขบวนแหใ่ หมอ่ กี ครงั้ โดยจดั ขบวนและมพี ธิ มี ากขน้ึ กวา่ ครง้ั กอ่ น และถา้ ยงั ไมม่ ฝี นตกลงมาอกี ครง้ั สดุ ทา้ ยนต้ี อ้ งระดมคนทงั้ หมบู่ า้ นเขา้ รว่ มขบวนแห่ ซงึ่ จะเปน็ การจดั พธิ อี ยา่ งเตม็ รปู แบบ แตถ่ า้ ยงั ไมม่ ฝี นตก เปน็ อนั วา่ ในปนี นั้ ฝนจะแลง้ ต้นขา้ วไม่งอกงาม

166 ขา้ ว ตน้ ธารอารยธรรมไทย พธิ เี ตา้ นางแมว เปน็ ประเพณขี อฝนในทอ้ งถน่ิ ภาคตะวนั ออก เฉยี งเหนอื ลกั ษณะการทำ� พธิ คี ลา้ ยกบั การแหน่ างแมวทท่ี ำ� กนั ในภาคกลาง และภาคเหนือ แตม่ ีรายละเอียดข้นั ตอนพธิ ีกรรมแตกต่างกนั เล็กนอ้ ย คอื เมอ่ื ตอนทจี่ ะนำ� นางแมวใสล่ งในกะทอหรอื เขง่ ทมี่ ฝี าปดิ จะพดู เปน็ ภาษาถนิ่ มใี จความคลา้ ยภาคกลางวา่ “นางแมวเอย ขอฟา้ ขอฝน ใหต้ กลงมาดว้ ยเดอ้ ” จากนั้นต้ังเคร่ืองสักการบูชา หัวหน้าพิธีกล่าวอัญเชิญเทวดาและต้ังจิต อธษิ ฐานขอฝน แลว้ ตง้ั ขบวนแหโ่ ดยมชี ายคหู่ นงึ่ เปน็ ผหู้ ามนางแมวนำ� หนา้ ขบวน ส่วนคนในขบวนแห่ก็จะร้องค�ำเซิ้งนางแมวพร้อมกับร่ายร�ำ อยา่ งสนกุ สนาน ตอ่ จากนนั้ นำ� นางแมวแหไ่ ปรอบ ๆ หมบู่ า้ น เมอ่ื ถงึ บา้ นใด เจ้าของบ้านจะสาดน้�ำนางแมวเหมือนกับพิธีทางภาคกลางและภาคเหนือ ชาวอีสานเชือ่ วา่ หลังจากทำ� พธิ ีเตา้ นางแมวแล้วฝนจะตกลงมา พิธีแม่นางข้อง เป็นประเพณีขอฝนในท้องถิ่นภาคตะวัน ออกเฉยี งเหนอื ชาวอสี านเชอื่ กนั วา่ ความแหง้ แลง้ ในหมบู่ า้ นเกดิ ขน้ึ เพราะ มีผีแม่แล้งอยู่ในหมู่บ้าน จึงต้องท�ำพิธีด้วยการอัญเชิญเทวดาลงมาขับไล่ ผแี มแ่ ลง้ ออกไปจากหมบู่ า้ น พธิ ขี อฝนดงั กลา่ วจะตอ้ งทำ� “เซยี งขอ้ ง” ขน้ึ มา ใชใ้ นพธิ ี โดยการนำ� ขอ้ งมาตกแตง่ ใหม้ รี ปู รา่ งคลา้ ยกบั คน ใชไ้ มเ้ สยี บกะลา ปกั ตรงปากข้องทำ� เป็นรูปศรี ษะ ใช้ผ้าแดงผกู ปากข้องทำ� เปน็ เสอ้ื ผ้า ใช้ไม้ ๒ อนั ปกั ทก่ี น้ ขอ้ งทำ� เปน็ ขา ๒ ขา เมอื่ ทำ� เซยี งขอ้ งเสรจ็ แลว้ ใชไ้ มย้ าวเสยี บ เขา้ กลางขอ้ งใหป้ ลายโผลอ่ อกมา ๒ ดา้ น เพอื่ ใชจ้ บั จากนน้ั ตงั้ เครอื่ งบชู าเทวดา หวั หนา้ พธิ กี ลา่ วอญั เชญิ เทวดาลงมาสงิ สถติ ในเซยี งขอ้ งเพอ่ื ขบั ไลผ่ แี มแ่ ลง้ เมื่อเทวดาลงมาสิงสถิตแล้วข้องจะสั่นหรือกระตุก เซียงข้องจะน�ำเอาคน จับไปยังจุดท่ีผีแม่แล้งอยู่ และจะขับไล่ผีแม่แล้งออกไปจากหมู่บ้าน ชาวอีสานเช่ือว่าหลังจากที่แม่นางข้องไล่ผีแม่แล้งออกจากหมู่บ้านแล้ว

ข้าว ต้นธารอารยธรรมไทย 167 อกี ไมน่ านฝนจะตกลงมา ถา้ ตอ้ งการทำ� นายวา่ ขา้ วปลาจะบรบิ รู ณห์ รอื ไมน่ นั้ ใหใ้ ชว้ ธิ เี สย่ี งทายวา่ หากขา้ วปลามบี รบิ รู ณข์ อใหน้ างขอ้ งสน่ั แตถ่ า้ ขา้ วปลา ไม่บริบูรณ์ขอให้น่ิงเฉย พิธีเต้าแม่นางข้องนี้นอกจากท�ำขึ้นเพื่อขอฝน และเสีย่ งทายแล้ว ชาวอสี านยงั ทำ� พธิ ีนี้เพ่ือจับขโมยและไล่ผีปอบอกี ด้วย พิธีเต้าแม่นางด้งหรือแห่แม่นางด้ง เป็นประเพณีขอฝน ด้วยการเสี่ยงทายของท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกอย่างหน่ึง มกี ระดง้ เปน็ อปุ กรณส์ ำ� คญั การทำ� พธิ เี ตา้ แมน่ างดง้ ทำ� ดงั นี้ เตรยี มตอกหลกั ๒ หลัก หลักหนง่ึ สมมตเิ ป็นหลกั แล้ง หลกั หน่งึ สมมติเป็นหลกั ฝน ตอกไว้ คนละทางแลว้ หากระดง้ มา๑คู่ไมค้ าน๑คู่มดั ไมค้ านไขวต้ ดิ กนั เปน็ รปู ตนี กา เอากระจก หวี ปั้นข้าวเหนียว ก�ำไลมือ แหวน ของหญิงหม้ายใส่ลงใน กระดง้ แลว้ เอากระดง้ อกี ใบครอบบนมดั ตดิ กบั ไมค้ าน หวั หนา้ พธิ ตี ง้ั เครอ่ื ง สักการบูชาเทวดา พร้อมดว้ ยเหล้า ๑ ขวด ไขต่ ม้ ๑ ลูก และกลา่ วอัญเชิญ เทวดามาชุมนมุ แล้วอธิษฐานขอฝน ให้คน ๒ คนจับไม้คานเตา้ แม่นางดง้ หัวหน้าพิธีน�ำชาวบ้านกล่าวค�ำเซ้ิงแม่นางด้งซึ่งเป็นการกล่าวถึงสภาพพืช ท่ีคอยฝนและเป็นค�ำอ้อนวอนให้ฝนตก เม่ือกล่าวค�ำเซิ้งจบบทหนึ่งแล้ว หากแม่นางด้งเคลอื่ นไปตีหลักฝนทายวา่ ฝนจะตก แตถ่ ้าตหี ลกั แล้งทายว่า ฝนจะแล้ง แต่ถ้าแม่นางด้งเคลื่อนท่ีไปเป็นร่องคล้ายคูน�้ำทายว่าฝนจะตก ในเร็ววัน อย่างไรกต็ าม เมอ่ื กล่าวคำ� เซง้ิ จบบทหน่ึง ๆ แลว้ หากแมน่ างด้ง ไม่เคลื่อนท่ีก็ต้องว่าคำ� เซิ้งต่อไปเรื่อย ๆ พิธีเตา้ แมน่ างดง้ นี้ นอกจากท�ำขน้ึ เพื่อขอฝนแลว้ ยังทำ� พิธนี ีเ้ พ่ือขับไล่ภูตผปี ีศาจและให้ชว่ ยจับขโมยอีกดว้ ย โยนครกโยนสาก เปน็ ประเพณขี อฝนในทอ้ งถนิ่ ภาคตะวนั ออก เฉยี งเหนอื มีอุปกรณส์ �ำคญั ในการท�ำพิธีคือครก และสากต�ำข้าว โดยเอา ครกและสากผูกด้วยเชือกอย่างละเส้น แบ่งฝ่ายชายและหญิงจ�ำนวน

168 ขา้ ว ตน้ ธารอารยธรรมไทย เท่า ๆ กัน จับปลายเชือกคนละด้าน แต่งเคร่ืองบูชาเทวดาเพ่ือขอฝน แลว้ ตงั้ จติ อธษิ ฐานวา่ ถา้ ฝนตกใหฝ้ า่ ยหญงิ แพ้ ถา้ ฝนแลง้ ขอใหฝ้ า่ ยชายแพ้ จากนั้นเริ่มดึงครกดึงสากจนทราบผลแพ้ชนะ ชาวอีสานเชื่อถือกันว่า ฝนฟา้ ในปนี ้นั จะเป็นไปตามทไี่ ด้ตัง้ จิตอธิษฐานเส่ียงทาย แห่ข้าวพันก้อน เป็นประเพณีในท้องถ่ินภาคตะวันออก เฉียงเหนือ จัดท�ำเม่ือมีการท�ำบุญพระเวสหรือบุญมหาชาติ และเมื่อฝน ไม่ตกในฤดูท�ำนาเพื่อขอฝน ซ่ึงการขอฝนดังกล่าวเป็นการขอฝนจาก พระรตั นตรัย ไมใ่ ช่ขอจากเทวดาหรอื ภูตผตี ่าง ๆ การแห่ข้าวพันก้อน คือการน�ำข้าวเหนียวน่ึงปั้นเป็นก้อน ขนาดเท่าปลายน้ิวก้อยแล้วเสียบไม้ให้ได้พันก้อน จากน้ันเตรียมเคร่ือง สกั การบชู า คอื เทียนพนั เล่ม ธูปพันดอก ดอกไมพ้ นั ดอก แห่ไปยงั สถานท่ี ที่มีส่ิงศักด์ิสิทธ์ิ เช่น พระพุทธรูปท่ีชาวบ้านศรัทธา การแห่ข้าวพันก้อน จะเร่ิมแห่จากวัดประจ�ำหมู่บ้านไปยังสถานที่ท่ีมีสิ่งศักด์ิสิทธ์ิดังกล่าว เมอื่ ไปถงึ หวั หนา้ ขบวนแหจ่ ะนำ� คนในขบวนแหส่ มาทานศลี เคารพพระพทุ ธรปู กลา่ วอญั เชญิ เทวดาขอฝนจากพระรตั นตรยั จากนน้ั แหข่ า้ วพนั กอ้ นกลบั ไป บูชาที่อารามในวัดประจ�ำหมู่บ้าน เมื่อมาถึงวัดจะมีชาวบ้านจ�ำนวนหน่ึง รอรบั และถามคนในขบวนแหว่ า่ “ดว้ ยเดชพระรตั นตรยั และพระพทุ ธรปู ศกั ดสิ์ ทิ ธท์ิ า่ นจะบนั ดาลนำ้� ฝนใหแ้ กห่ มเู่ ฮาหรอื ไม”่ คนในขบวนแหจ่ ะตอบวา่ “ท่านจะบันดาลน้�ำฝนให้แก่หมู่เฮา ต่อไปฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาล ประชาชนพลเมอื ง วัว ควาย จะสุขสบาย นำ้� จะมเี ต็มทอ้ งนา ปปู ลาอาหาร จะไมอ่ ดอยาก” ชาวบา้ นทอ่ี ยรู่ อรบั จะแสดงความยนิ ดเี ปลง่ เสยี งไชโยแลว้ พากนั รว่ มอนโุ มทนาสาธุ เสรจ็ แลว้ นำ� ขา้ วพนั กอ้ นไปประดษิ ฐานในอาราม

ขา้ ว ต้นธารอารยธรรมไทย 169 บญุ บงั้ ไฟ เปน็ ประเพณขี อฝนของทางภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื แทบทกุ จงั หวดั นยิ มประกอบพธิ กี รรมกนั ในเดอื นหกทางจนั ทรคติ หรอื อยู่ ในช่วงเดือนพฤษภาคม - มถิ ุนายนของทกุ ปี มูลเหตุแห่งการท�ำบุญบั้งไฟ สืบเน่ืองจากคติความเช่ือ ของชาวอสี านเกยี่ วกบั เทพเจา้ คอื \"แถน\"หรอื “พระยาแถน”ผสู้ ามารถบนั ดาล ใหพ้ ชื ผลตลอดจนขา้ วปลาอาหารในทอ้ งนาอดุ มสมบรู ณไ์ ด้ เพราะมหี นา้ ท่ี ควบคมุ ฝนฟา้ ใหต้ กตอ้ งตามฤดกู าล หากทำ� การเซน่ สรวงบชู าใหพ้ ระยาแถน เป็นที่พอใจกจ็ ะอนเุ คราะหบ์ ันดาลใหฝ้ นตกลงมา ทำ� ให้การท�ำนาในปนี ้ัน ไดผ้ ลบริบูรณ์ พระยาแถนเป็นเทพยดาท่ีชอบให้มีการบูชาด้วยไฟ ดังนั้น จงึ ตอ้ งมกี ารบชู าดว้ ยการจดุ บง้ั ไฟ เพอ่ื ใหพ้ ระยาแถนพอใจ ในบางทอ้ งถนิ่ เชื่อว่าการท�ำบุญบ้ังไฟเป็นการส่งสัญญาณให้พระยาแถนได้รับทราบว่า ถึงฤดูการท�ำนาแล้ว ขอให้พระยาแถนส่งฝนฟ้ามาให้ชาวนาได้ท�ำนากัน และถือเป็นคติสืบต่อมาว่าต้องมีการท�ำบุญบ้ังไฟทุกปี ถ้าไม่ท�ำเช่ือกันว่า ในปีนัน้ จะเกดิ ฝนแลง้ การเทศน์พญาคันคาก เป็นความเช่ือเก่ียวกับการขอฝน ของชาวอีสานว่า ถ้าช่วยกันรักษาศีลฟังเทศน์ฟังธรรม ฝนจะตกต้อง ตามฤดูกาล การฟงั เทศนเ์ รอ่ื งพญาคนั คากเพอ่ื ขอฝนนนั้ มาจากความเชอื่ ในนิทานเรื่อง “พญาคันคาก” พญาคันคากเสวยราชย์อยู่ในเมืองชมพู เปน็ โอรสของพระเจา้ เอกราชและพระนางสดี า เหตทุ ไ่ี ดช้ อื่ วา่ พญาคนั คาก เป็นเพราะเมื่อประสูติออกมามีผิวเน้ือและรูปร่างเหมือนคางคก แต่มี บญุ ญาธกิ ารมากเพราะมพี ระอนิ ทรค์ อยชว่ ยเหลอื ชาวเมอื งจงึ พากนั เคารพ บชู าพญาคนั คากจนลมื บชู าพระยาแถน ทำ� ใหพ้ ระยาแถนโกรธไมป่ ลอ่ ยฝน

170 ข้าว ตน้ ธารอารยธรรมไทย ให้ตกในโลกมนุษย์เป็นเวลาถึง ๗ ปี พญาคันคากจึงสั่งให้บรรดาสัตว์ เช่น นาค ปลา ปลวก ช้าง ม้า พญาหงส์ ช่วยกันสร้างทางจนไปถึง เมืองพระยาแถนภายในเวลา ๓ เดือน แล้วยกทัพไปรบกับพระยาแถน พญาคันคากได้รับชยั ชนะ พระยาแถนจึงยอมปลอ่ ยใหฝ้ นตกในโลกมนษุ ย์ ชาวอีสานเชื่อว่าด้วยฤทธ์ิเดชของพญาคันคาก หากช่วยกันรักษาศีล ฟังเทศน์ ฝนก็จะตกตามฤดูกาล พิธีฟังเทศน์พญาคันคาก จะต้องขุดสระลึกกว้างพอสมควร ตักน้�ำไปขังไว้ในสระ เอาจอกแหน ปู ปลา เต่า หอย ปล่อยลงในสระ ตามขอบสระปนั้ รูปช้าง มา้ วัว ควาย ต่อ แตน อง่ึ อ่าง กบ เขยี ด เรยี งราย รอบสระ จัดเคร่ืองบูชาเคร่ืองร้อย ได้แก่ เม่ียงร้อยค�ำ หมากพลูร้อยค�ำ ดอกไมแ้ ละนำ�้ สม้ ปอ่ ยหนงึ่ ขนั หวั หนา้ พธิ จี ะนำ� เครอื่ งสกั การบชู ามานมิ นต์ พระสงฆ์อย่างน้อยท่ีสุด ๕ รูป มาเจริญพระพุทธมนต์ ชาวบ้านจะต้อง นุ่งขาวหม่ ขาว รักษาศลี ๕ ศีล ๘ เปน็ เวลา ๓ วนั แลว้ ตง้ั จิตอธิษฐานขอให้ ฝนตก พระสงฆ์จะแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องพญาคนั คาก การสวดคาถาปลาคอ่ (ปลาชอ่ น) เปน็ การสมาทานรกั ษาศลี อ้างสจั จกริยาของพญาปลาค่อ เพือ่ ขอใหฝ้ นตก เรื่องการสวดคาถาปลาค่อเพื่อขอฝน มีต�ำนานเล่าว่า คร้งั อดีตกาลพระพทุ ธเจา้ เสวยพระชาติเปน็ พญาปลาคอ่ อาศัยอย่ใู นหว้ ย แห่งหนึ่ง คราวหนึ่งเกิดฝนแล้งน�้ำในห้วยแห้งงวด ฝูงปลาก�ำลังจะตาย พญาปลาค่อแหวกว่ายโคลนข้ึนมา ท�ำสัจจกริยาเปล่งวาจาว่า “ดูกรฝน ข้าพเจ้าถึงความทุกข์ยากเพราะอาศัยฝูงปลาทั้งหลาย เม่ือข้าพเจ้าได้รับ ความทุกข์ยากเช่นน้ี เหตุใดท่านจึงไม่ตกลงมา ข้าพเจ้าก�ำเนิดเป็นปลา แตข่ า้ พเจา้ ไมเ่ คยเคยี้ วปลากนิ เลย แมแ้ ตต่ วั เลก็ ๆ ประมาณเทา่ เมด็ ขา้ วสาร

ข้าว ตน้ ธารอารยธรรมไทย 171 มไิ ดก้ นิ สตั วเ์ หลา่ อนื่ ทมี่ ชี วี ติ แมแ้ ตส่ กั ครง้ั เดยี ว” ดว้ ยสจั จบารมแี ละอำ� นาจ ศีลธรรมของพญาปลาค่อ เมื่อเปล่งวาจาจบฝนก็ตกลงมาทันที ฝูงปลา จึงรอดพ้นจากความตาย การสวดพญาปลาค่อจึงถือเป็นประเพณีมาจน ทุกวนั น้ี พิธีสวดคาถาปลาค่อ ชาวบ้านจะจัดเคร่ืองสักการะและ นิมนต์พระสงฆ์ ๕ รูป มาเจริญพระพุทธมนตเ์ ปน็ เวลา ๓ วัน สวดคาถา ปลาคอ่ และสวดเจด็ ต�ำนานยอ่ วันละ ๑๐๘ จบ หากสวดไม่ครบในหน่ึงวนั จะสวดตามกำ� ลงั วนั กไ็ ด้ ซงึ่ เมอ่ื ไดท้ ำ� การสวดครบตามทก่ี ำ� หนด ชาวอสี าน เชือ่ ว่าฝนจะตกในไมช่ ้า การบำ� นางธรณี คอื การขอความชว่ ยเหลอื จากแมพ่ ระธรณี เพื่อขอให้ฝนตก ชาวอีสานเช่ือว่าพระธรณีมีอิทธิฤทธ์ิสามารถบันดาล ใหฝ้ นตกได้ จงึ มีพธิ บี นบานบอกกล่าวให้ชว่ ยใหฝ้ นตก พธิ กี ารบำ� แมพ่ ระธรณี ชาวบา้ นจะจดั หมากพลู บหุ รี่ ดอกไม้ ธปู เทยี น และขนั นำ�้ ไปบชู าแมพ่ ระธรณี โดยการกรวดนำ�้ ไปถงึ แมพ่ ระธรณี เพอ่ื บอกกลา่ วใหท้ ราบ พรอ้ มตงั้ จติ อธษิ ฐานบนบานขอใหฝ้ นตกจะไดท้ ำ� นา แล้วจะน�ำข้าวปลาอาหารมามอบให้ ซ่ึงเมื่อฝนตกแล้วต้องน�ำอาหาร เครอื่ งคาวหวานมาแกบ้ น หากลมื แกบ้ น แมพ่ ระธรณจี ะไมช่ ว่ ยเหลอื ตอ่ ไป การทำ� พธิ ีนีจ้ ะท�ำท่ีบ้านหรอื วดั กไ็ ด้ แห่ปลาขอฝน เปน็ ประเพณีขอฝนในทอ้ งถนิ่ ทางภาคเหนือ ปลาทนี่ ำ� มาใชแ้ หใ่ นพธิ ดี งั กลา่ ว เปน็ ปลาทแี่ กะสลกั ดว้ ยไม้ ซง่ึ ไมท้ จี่ ะนำ� มา แกะสลักเป็นรูปปลาน้ันต้องเป็นไม้ขอนไหลน้�ำในเวลาน�้ำนอง และต้อง เปน็ ไม้ท่ีไหลกบั น�ำ้ มาในลักษณะตั้งขึน้ ทงั้ นี้ ไม่มขี อ้ ก�ำหนดวา่ เปน็ ไม้อะไร และจะแกะสลกั เปน็ ปลาอะไรกไ็ ด้

172 ขา้ ว ต้นธารอารยธรรมไทย การแหป่ ลาขอฝน ชาวบา้ นจะน�ำขมนิ้ กบั สม้ ปอ่ ยมาเทรวมกนั ในอา่ งใหญห่ รือถังเปล แล้วใส่สตั วน์ ำ้� พวกหอย ปู ฯลฯ และดอกบัวลงไป ส่วนที่รอบ ๆ ชามอ่างหรือถังเปลวางรูปแกะสลักจ�ำพวกนกกระยาง กบ การแหป่ ลานี้ ถา้ จัดในเมืองจะแห่ไปรอบ ๆ เมือง ถ้าจดั ตามหม่บู า้ นจะแห่ ไปตามบ้านต่าง ๆ แล้ววกไปยังวัดหรือสถานที่ที่จัดไว้ส�ำหรับฟังเทศน์ ที่ชาวเหนอื เรยี กวา่ “ฟังธรรมปลาจอ้ น” (ปลาช่อน) โดยสถานทซี่ ง่ึ จัดไว้ ฟงั เทศนน์ น้ั ตอ้ งเปน็ สถานทก่ี ลางแจง้ มกี ารตง้ั ราชวตั ปิ ระดบั ดว้ ยตน้ กลว้ ย ตน้ อ้อย นำ� ถงั เปลและปลาวางหนา้ ภาชนะบรรจุนำ้� พระพทุ ธมนต์ จากนนั้ พระสงฆแ์ สดงพระธรรมเทศนา จบแลว้ พระสงฆป์ ระพรมนำ�้ พระพทุ ธมนต์ การแห่พระเจ้าฝนแสนห่า เป็นประเพณีขอฝนในท้องถ่ิน ทางภาคเหนือ พระเจ้าฝนแสนห่าเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะ เชียงแสน ซึ่งทางภาคเหนือนิยมสร้างไว้หลายแห่งเพื่อใช้ในพิธีขอฝน การขอฝนจะท�ำโดยการแห่พระเจ้าฝนแสนห่าไปตามที่ต่าง ๆ ตลอดทาง ชาวบ้านจะน�ำขม้ิน ส้มป่อย มาสรงองคพ์ ระ เม่อื แหพ่ ระพทุ ธรูปไปรอบ ๆ เมืองแล้วก็จะน�ำกลับคืนมายังวัด และต้ังไว้ให้ประชาชนมาสรงน�้ำ ตามประเพณี ในบางจังหวัด เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อมีการแห่ขอฝน มักจะแห่และสรงน�้ำพระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ที่วัดพระสิงห์ด้วย เพราะเชอ่ื ในพทุ ธานภุ าพ อาจดลบนั ดาลใหฝ้ นตกตามฤดกู าลได้ นอกจากน้ี ในวันสงกรานต์จะมีประเพณีสรงน�้ำและแห่พระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์ เป็นประจ�ำทุกปเี ชน่ กัน จปิ อกไฟ หรอื จุดบอ้ งไฟ เปน็ ประเพณีขอฝนในบางทอ้ งถิน่ ทางภาคเหนอื ลักษณะพธิ กี รรมคล้ายกบั บญุ บง้ั ไฟของทางภาคตะวนั ออก เฉียงเหนือ และยังคงปฏิบัติกันจนถึงปัจจุบันน้ี เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่

ข้าว ตน้ ธารอารยธรรมไทย 173 มีการจุดบ้องไฟเป็นพุทธบูชาหรือขอฝนท่ีวัดพระนอนขอนม่วงและ วัดพระนอนป่าเก็ดถ่ี เป็นงานย่ิงใหญ่ทุกปี ในงานมีการประกวดบ้องไฟ โดยเรม่ิ จดุ บอ้ งไฟตงั้ แตบ่ า่ ยจนคำ่� ประเพณนี จ้ี ะทำ� กนั ในวนั แรม ๑๔ - ๑๕ คำ�่ เดือน ๙ นอกจากท่ีจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ยังมีการจุดบ้องไฟท่ีอ่ืน ๆ อีก เช่นท่จี ังหวดั ลำ� พูน แพร่ น่าน ตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีขอฝนของทางภาคเหนือ อกี ประเพณีหนึ่ง คลา้ ยกบั ประเพณสี ลากภัตของทางภาคกลาง กว๋ ยสลาก มี ๓ อยา่ ง คอื “สลากนอ้ ย” เปน็ สลากทถ่ี วายเฉพาะวดั นน้ั ๆ “สลากหลวง” เปน็ สลากทที่ ำ� ขนึ้ ถวายในกรณที นี่ มิ นตพ์ ระภกิ ษจุ ากวดั หรอื ตำ� บลอนื่ หลาย ๆ ต�ำบลมาร่วมอนุโมทนาด้วย และ “สลากขอฝนหรือสลากพระอินทร์” ซึ่งสลากนี้จะท�ำขึ้นเม่ือบ้านเมืองเกิดความแห้งแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกต้อง ตามฤดูกาล โดยสลากขอฝนนี้ก�ำหนดให้ตานก๋วยสลาก ๒๕ ก๋วย อุทิศ ส่วนกุศลให้พระอินทร์ พระพุทธ พระธรรม และเทวดาต่าง ๆ เช่น ทา้ วกเุ วร ทา้ ววริ ฬุ ปกั ษ์ เทวดารกั ษาดนิ นำ้� ลม ไฟ และเทวดาประจำ� เมอื ง เป็นต้น เม่อื สลากไปตกอยกู่ บั พระสงฆส์ ามเณรรปู ใดก็ต้องให้พรพรรณนา เป็นโวหาร อุทิศส่วนกุศลไปให้พระอินทร์และเทวดาต่าง ๆ ดังกล่าว สลากพระอนิ ทรน์ จ้ี ะจดั ทำ� ขนึ้ ตา่ งหากไมร่ วมกบั สลากอน่ื ๆ ทก่ี ลา่ วไปแลว้ ขา้ งต้น ปัจจุบันน้ี แม้ในบางท้องถ่ินจะยังคงถือปฏิบัติประเพณี ขอฝนสืบมา แต่ก็ไม่ได้มุ่งผลสัมฤทธิ์ขอให้ฝนตกลงมาอย่างจริงจัง เช่นในอดีต เน่ืองจากภาครัฐได้เข้ามามีบทบาทช่วยแก้ปัญหา การขาดแคลนน้�ำในการท�ำการเกษตรและอุปโภคบริโภค ด้วยการ สร้างอ่างเก็บน้�ำ เข่ือน ฝาย เป็นต้น อนึ่ง นับตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๘

174 ข้าว ตน้ ธารอารยธรรมไทย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บ ร ม น า ถ บ พิ ต ร ไ ด ้ ท ร ง แ ก ้ ไ ข ป ั ญ ห า ก า ร ข า ด แ ค ล น น้� ำ ใ น ก า ร ท� ำ การเกษตรกรรมด้วยการพระราชทานโครงการฝนหลวง ซ่ึงสามารถ ท�ำให้เกิดฝนตกได้ทุกฤดูกาล อย่างไรก็ตาม เพ่ือเป็นการแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้�ำอย่างจริงจัง ควรได้มีการปลูกจิตส�ำนึกให้ทุกคน รู้จักใช้ทรัพยากรน้�ำอย่างรู้คุณค่า และร่วมช่วยกันอนุรักษ์ป่าไม้และ ส่ิงแวดล้อม เพือ่ จะไดม้ ีน้�ำใช้อุปโภคบรโิ ภคตลอดไป

ขา้ ว ต้นธารอารยธรรมไทย 175 บรรณานุกรม กรมศลิ ปากร. นานาสาระวฒั นธรรมไทย เลม่ ๑. พมิ พค์ รง้ั ท่ี ๒. กรงุ เทพฯ: กราฟฟิค ปรนิ๊ ต้ิง พรเี พลส ซสิ เต็มส์ (ประเทศไทย), ๒๕๔๗. กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย. วัฒนธรรม พัฒนาการ ทางประวตั ศิ าสตร์ เอกลักษณแ์ ละภมู ปิ ญั ญา จงั หวัดสระแก้ว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๕. (คณะกรรมการ ฝา่ ยประมวลเอกสารและจดหมายเหตใุ นคณะกรรมการอำ� นวยการ จัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์ เนอ่ื งในโอกาสพระราชพธิ มี หามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๔๒). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันไทยศึกษา. ข้าวกับวิถีชีวิตไทย. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานคณะกรรมการวฒั นธรรมแหง่ ชาต,ิ ๒๕๓๖. เจริญ ตันมหาพราน. ๓๐ พิธกี รรมพสิ ดาร เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: แสงแดด, ๒๕๓๖. มนต์ (นามแฝง). “บชู าแมน่ ำ้� - ขอฝน พธิ โี บราณทแ่ี มแ่ จม่ .” ศลิ ปวฒั นธรรม. ๑๖ (ตุลาคม ๒๕๓๘): ๓๒ - ๓๓. สมชาย นลิ อาธ.ิ “บญุ ผะเหวด - เทศนม์ หาชาตอิ สี าน : คตพิ ทุ ธ แตข่ อนำ้� ฝน ปลูกขา้ ว.” ศิลปวฒั นธรรม ๒๖ (เมษายน ๒๕๔๘): ๖๐ - ๖๓. สาร สาระทศั นานนั ท์. ฮตี สบิ สอง - คลองสิบส.่ี พมิ พ์คร้งั ท่ี ๔. ม.ป.ท.: ศนู ยศ์ ลิ ปวัฒนธรรมวิทยาลยั ครูเลย, ๒๕๓๐.



บญุ คูณลาน โดย นางสาวกมลพรรณ บุญสทุ ธ์ิ

178 ขา้ ว ตน้ ธารอารยธรรมไทย บุญคณู ลาน* ประเพณีบุญคูณลาน เป็นการท�ำบุญท�ำขวัญข้าวของ ชาวนาไทยท่ีอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระท�ำหลังจาก นวดข้าวเสร็จแล้วและน�ำมากองรวมกันไว้ท่ีลานข้าว ก่อนท่ีจะน�ำข้าว ไปใส่ไว้ในยุ้งข้าว ชาวนาจะท�ำบุญถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ ท่ีลานข้าวและท�ำขวัญข้าว โดยกระท�ำในวันใดวันหน่ึงในเดือนยี่ จะเป็น ขา้ งขนึ้ หรอื ขา้ งแรมกไ็ ด้ ซงึ่ ตรงกบั ฤดกู าลเกบ็ เกยี่ วผลผลติ โดยมคี วามเชอื่ วา่ เปน็ การทำ� บุญกุศลเพ่ือความเปน็ สริ มิ งคลแกต่ นเองและครอบครวั ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน มีประเพณี ท่ีมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง และได้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันอยู่มาก ในแตล่ ะปจี ะมีประเพณที อ้ งถน่ิ ครบทั้ง ๑๒ เดอื น เรยี กวา่ “ฮีตสบิ สอง” หมายถึงจารีตประเพณีท่ีประชาชนในภาคอีสานปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา ทงั้ ๑๒ เดอื น สบื เนอื่ งจากชาวอสี านสว่ นใหญเ่ ปน็ พทุ ธศาสนกิ ชนทศี่ รทั ธา และยดึ มนั่ ในพระพทุ ธศาสนาอยา่ งเครง่ ครดั สง่ ผลใหพ้ ธิ กี รรมในประเพณี ท้องถิ่นต่าง ๆ จะเช่ือมโยงและสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและศรัทธา ในพระพุทธศาสนาของพทุ ธศาสนิกชนชาวไทย เมื่อเจ้าภาพก�ำหนดวันท�ำบุญได้แล้วจะเชิญผู้มาร่วมงาน ท�ำบุญรวมกันในตอนเย็น นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ประมาณ ๕ - ๙ รูป * บทความจากหนังสือนามานุกรมขนบประเพณีไทย หมวด ประเพณีราษฎร์ เล่ม ๒ (ประเพณี เทศกาล และวันส�ำคัญทางพุทธศาสนา) พ.ศ. ๒๕๕๐

ข้าว ตน้ ธารอารยธรรมไทย 179 มาเจรญิ พระพทุ ธมนตท์ ล่ี านขา้ วเพอื่ ทำ� พธิ สี งฆ์ โดยจดั ทบ่ี ชู าพระรตั นตรยั นำ� ดา้ ยสายสญิ จนพ์ นั รอบฐานพระพทุ ธรปู และภาชนะทใี่ สน่ ำ�้ พระพทุ ธมนต์ โยงด้ายสายสิญจน์ให้พระภิกษุสงฆ์ท่านจับขณะสวดพระพุทธมนต์ และโยงดา้ ยสายสญิ จนต์ อ่ ไปรอบ ๆ ลานขา้ วทไ่ี ดก้ องขา้ วไว้ จากนน้ั อาจมี เทศนาหรือให้มีการเทศนาในตอนเช้าของวันรุ่งข้ึนก็ได้ ในช่วงกลางคืน มกี ารจดั งานมหรสพตา่ ง ๆ ในตอนเช้าของวนั รงุ่ ข้นึ มกี ารถวายภตั ตาหาร แด่พระภิกษุสงฆ์ และเมื่อฉันเสร็จแล้วจึงประพรมน้�ำพระพุทธมนต์ แก่ผู้มาร่วมงาน จากน้ันเจ้าภาพน�ำน�้ำพระพุทธมนต์ไปเทรดตามกองข้าว และตามทอ้ งนา เพราะมคี วามเชอื่ วา่ นำ�้ พระพทุ ธมนตอ์ นั ศกั ดส์ิ ทิ ธน์ิ จี้ ะทำ� ให้ ต้นกล้าที่อยู่ในท้องนาเจริญเติบโตงอกงามให้ได้ผลผลิตเป็นจ�ำนวนมาก ต่อไป จากนั้นจึงกรวดน้�ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เป็นที่รักและเคารพ ทล่ี ว่ งลบั ไปแลว้ เปน็ การกระทำ� ทสี่ รา้ งความสบายใจแกเ่ จา้ ภาพ เพราะเชอื่ วา่ เมอื่ ไดท้ ำ� บญุ กศุ ลแลว้ นบั แตน่ ไ้ี ปสง่ิ ทเี่ ปน็ สริ มิ งคลตา่ ง ๆ จะเขา้ มาทำ� ให้ การดำ� เนนิ ชวี ติ มคี วามเจรญิ รงุ่ เรอื งตอ่ ไป และเลยี้ งอาหารแกผ่ มู้ ารว่ มงาน เป็นอนั เสร็จพิธี จากนน้ั จึงขนข้าวทอี่ ย่ใู นลานข้าวไปใสใ่ นยุง้ ข้าวต่อไป กองขา้ วทอ่ี ยใู่ นลานขา้ วนนั้ บางทอ้ งถน่ิ มกี ารประดบั ตกแตง่ เครอื่ งขวญั ข้าวดว้ ย คือ มีการประดับดอกไม้ ธปู เทยี น กล้วย ออ้ ย เม่ียง หมาก ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวน่ึง ไข่ต้ม เป็นต้น น�ำมาจัดใส่ในภาชนะ มลี ักษณะคล้ายกระจาดหรอื ตะกรา้ โดยตงั้ ไว้บนกองขา้ ว ในตอนกลางคนื เจ้าภาพจะท�ำพิธีอัญเชิญขวัญข้าว ที่เช่ือว่ามีแม่โพสพเป็นเทพีที่คอย ปกปักรักษาคุ้มครองอยู่ โดยกล่าวอัญเชิญท่านไปยังยุ้งข้าวพร้อมกับน�ำ เครอ่ื งขวญั ขา้ วไปดว้ ยเพอ่ื ความเปน็ สริ มิ งคล เรยี กพธิ กี รรมนว้ี า่ “สขู่ วญั ขา้ ว” เม่ือจัดการขนข้าวจากลานมาเก็บใส่ไว้ในยุ้งข้าวเรียบร้อยแล้ว บางแห่ง

180 ข้าว ตน้ ธารอารยธรรมไทย มกี ารจดั พธิ สี ขู่ วญั เลา้ (ยงุ้ ขา้ ว) โดยการจดั ทำ� พานบายศรี ซงึ่ ประกอบดว้ ย ดอกไม้ ธูปเทียน เม่ยี ง หมาก อาหารคาว - หวาน ซึง่ เครื่องประกอบนี้ จะเหมือนกับเครื่องขวัญข้าว จากนั้นหมอสู่ขวัญมาท�ำพิธีสู่ขวัญ และเลีย้ งอาหารแกผ่ ู้มารว่ มงาน เป็นอนั เสร็จพิธี ประเพณีบุญคูณลานท่ีมีเอกลักษณ์เฉพาะของชาวนาไทย ในภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ทไี่ ดย้ ดึ ถอื ปฏบิ ตั สิ บื ทอดกนั มาจนถงึ ปจั จบุ นั น้ี เปน็ สว่ นหนง่ึ ทส่ี ะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ ความเชอ่ื และความศรทั ธาในพระพทุ ธศาสนา ของพุทธศาสนิกชนชาวไทย ท่ีเช่ือมั่นว่าทุกส่ิงทุกอย่างล้วนมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครอง และดลบันดาลให้เกิดสิ่งท่ีดีหรือสิ่งร้ายก็ได้ ดังน้ันจึงต้องมี พิธีกรรมที่แสดงความเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่าน้ันเพ่ือความสบายใจ และเป็นการสรา้ งความมน่ั ใจในการดำ� เนินชวี ติ ต่อไปอยา่ งราบรน่ื

ขา้ ว ตน้ ธารอารยธรรมไทย 181 บรรณานุกรม สมปราชญ์ อมั มะพนั ธ.์ ประเพณแี ละพธิ กี รรมในวรรณคดไี ทย. กรงุ เทพฯ: โอ เอส พร้นิ ต้ิงเฮา้ ส,์ ๒๕๓๖. สาร สาระทศั นานันท.์ ฮตี สบิ สอง - คลองสบิ สี.่ พมิ พค์ ร้งั ที่ ๔. ม.ป.ท.: ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรมวทิ ยาลยั ครูเลย, ๒๕๓๐. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นต้ิง แอนด์พับลิชช่ิง, ๒๕๓๙. (มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณชิ ย์ ธนาคารไทยพาณชิ ย์ จำ� กดั (มหาชน) จดั พมิ พ์ เนอื่ งในวโรกาสสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงพระชนมายุ ๔๐ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๕๓๘).



บญุ ขา้ วสาก โดย นายสถาพร ดงขนุ ทศ

184 ข้าว ต้นธารอารยธรรมไทย บุญขา้ วสาก* บุญข้าวสาก หรือ ข้าวสลาก คืองานบุญเดือนสิบ และ สลากภตั ของชาวอีสาน จดั ข้นึ ในวนั ขึน้ ๑๕ คำ�่ เดือน ๑๐ ความเป็นมาของสลากภัตอีสาน กล่าวไว้ในธรรมบทว่า มีบุตรชายกุฎุมพีผู้หน่ึง เมื่อพ่อเสียชีวิตแล้ว แม่ได้หาผู้หญิงท่ีมีอายุและ ตระกูลเสมอกันให้เป็นภรรยาอยู่ด้วยกันหลายปีแต่ไม่มีบุตร แม่จึงหา หญงิ อนื่ ใหเ้ ปน็ ภรรยาอกี ตอ่ มาภรรยานอ้ ยมลี กู ภรรยาหลวงอจิ ฉาจงึ คดิ ฆา่ ทง้ั ลกู และภรรยานอ้ ย ฝา่ ยภรรยานอ้ ยกอ่ นจะตายไดอ้ าฆาตภรรยาหลวงไว้ ในชาตติ อ่ มาฝ่ายหน่งึ ไปเกดิ เป็นแมว อีกฝา่ ยหนง่ึ ไปเกิดเปน็ ไก่ แมวจงึ กนิ ไก่และไข่ อีกชาติต่อมาฝ่ายหน่ึงไปเกิดเป็นเสือ อีกฝ่ายไปเกิดเป็นกวาง เสือจึงกินกวางและลูก ชาติสุดท้ายฝ่ายหน่ึงไปเกิดเป็นคน อีกฝ่ายหนึ่ง ไปเกิดเป็นยักษิณี พอฝ่ายเป็นคนไปแต่งงานคลอดลูก ยักษิณีจองเวร ได้ตามไปกินลูกถึงสองครั้ง ต่อมาเม่ือต้ังครรภ์ครั้งท่ีสาม นางได้หนีไป อยู่กับพ่อแม่ของตนพร้อมกับสามี เม่ือนางคลอดลูกเห็นว่าปลอดภัยแล้ว จงึ กลบั บา้ นพรอ้ มดว้ ยสามแี ละลกู พอดนี างยกั ษณิ มี าพบเขา้ จงึ ไลต่ ามนาง กับสามีและลูก นางจึงพาลูกพร้อมกับสามีเข้าไปยังพระเชตวันมหาวิหาร ซึ่งขณะน้ันพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ นางและสามีจึงน�ำ ลกู นอ้ ยเขา้ ไปถวายขอชวี ติ ไว้ ยกั ษณิ จี ะตามเขา้ ไปในพระเชตวนั มหาวหิ าร * บทความจากหนังสือนามานุกรมขนบประเพณีไทย หมวด ประเพณีราษฎร์ เล่ม ๒ (ประเพณี เทศกาล และวันส�ำคัญทางพุทธศาสนา) พ.ศ. ๒๕๕๐

ขา้ ว ต้นธารอารยธรรมไทย 185 แตเ่ ขา้ ไปไมไ่ ด้ พระพทุ ธเจา้ จงึ โปรดใหพ้ ระอานนทไ์ ปเรยี กยกั ษณิ เี ขา้ มาฟงั พระธรรมเทศนา พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไม่ให้พยาบาทจองเวรกัน แล้วโปรดให้ยักษิณีไปอยู่ตามหัวไร่ปลายนา เพราะยักษิณีตนน้ีมีความรู้ เกณฑ์พิรุณศาสตร์ คือมีความรู้เกี่ยวกับฝนและน้�ำ ปีไหนฝนจะตกดี หรือไม่ดีจะแจ้งให้ชาวเมืองทราบ ชาวเมืองให้ความนับถือมากและ นำ� อาหารไปสง่ ใหย้ ักษิณอี ย่างบริบรู ณ์โดยสม�ำ่ เสมอ ยักษิณีนำ� อาหารทไี่ ด้ รับเหล่านั้นไปถวายเป็นสลากภัตแด่พระภิกษุสงฆ์วันละแปดที่เป็นประจ�ำ ชาวอสี านจงึ ถอื เอาการถวายสลากภตั หรอื บญุ ขา้ วสากนเี้ ปน็ ประเพณสี บื มา ก่อนถึงวันท�ำบุญข้าวสาก ชาวบ้านจะเตรียมข้าวเม่า ขา้ วพอง ขา้ วตอก ขนม อาหารคาวหวานอน่ื ๆ และผลไมต้ า่ ง ๆ ไว้ สำ� หรบั ข้าวเม่า ขา้ วพอง และข้าวตอกนั้น จะคลุกเขา้ กันและใสน่ �้ำออ้ ย น้�ำตาล ถั่ว งา มะพร้าว ให้เป็นข้าวสาก ซึ่งคล้ายกับกระยาสารทของภาคกลาง แตล่ กั ษณะเชน่ นม้ี ไิ ดท้ ำ� เหมอื นกนั หมดทกุ ที่ บางแหง่ กม็ ไิ ดค้ ลกุ เขา้ ดว้ ยกนั คงแยกท�ำบุญเป็นอย่าง ๆ ตามเดิม เมื่อเตรียมของท�ำบุญเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะเอาข้าวปลาอาหารที่มีอยู่ไปให้ญาติพี่น้องและผู้รักใคร่นับถือ จะเอาไปให้ก่อนวันท�ำบุญหรือในวันท�ำบุญเลยก็ได้ แล้วแต่ความสะดวก ส่ิงของเหล่าน้ีมักแลกเปลี่ยนกันไปมาระหว่างญาติพี่น้องและชาวบ้าน ท่ีอยู่บ้านใกล้เรือนเคียง ถือว่าเป็นการได้บุญและเป็นการผูกไมตรีกันไป ในตวั ด้วย เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ คำ�่ เดือน ๑๐ อนั เปน็ วนั ท�ำบญุ ข้าวสาก ในตอนเชา้ ชาวบา้ นจะพากนั นำ� อาหารคาวหวานตา่ ง ๆ ไปทำ� บญุ ตกั บาตร ท่วี ัด และถวายทานอทุ ิศสว่ นกศุ ลไปใหญ้ าตมิ ิตรผ้ลู ่วงลบั ไปแลว้

186 ขา้ ว ต้นธารอารยธรรมไทย ตอนสายก่อนเพล ชาวบ้านจะน�ำข้าวปลาอาหารที่เตรยี มไว้ ไปวัดอีกคร้ังหน่ึง โดยเอาอาหารต่าง ๆ จัดเป็นส�ำรับหรือชุดส�ำหรับ ถวายเปน็ สลากภัต การถวายอาหารตอนน้ีจะจดั ใส่ภาชนะต่าง ๆ แล้วแต่ ความนยิ มของแตล่ ะทอ้ งถน่ิ บางแหง่ จดั ใสถ่ ว้ ยชามถวาย บางแหง่ ทำ� เปน็ หอ่ ทำ� เปน็ กระทงดว้ ยใบตองหรอื กระดาษ บางแหง่ ใสช่ ะลอมซง่ึ สานดว้ ยไมไ้ ผ่ และกรดุ ว้ ยใบตองหรอื กระดาษ แตล่ ะบา้ นจะจดั ทำ� สกั กชี่ ดุ แลว้ แตศ่ รทั ธา การถวายสลากภัตท�ำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับชาวบ้านผู้เป็น ทายกทายิกาในท้องถ่ินน้ัน ๆ ก�ำหนด บางแห่งก่อนจะน�ำของถวายพระ ชาวบ้านจะจับสลากช่ือพระภิกษุสามเณรก่อน จับได้ช่ือรูปใดก็น�ำของไป ถวายพระภิกษุสามเณรรูปนั้น บางแห่งผู้ถวายจะเขียนชื่อของตนใส่ลงไป ในบาตร แล้วให้พระภิกษุสามเณรเป็นผู้จับสลาก จับได้เป็นช่ือของผู้ใด ผู้นั้นก็น�ำของไปถวายพระภิกษุสามเณรรูปนั้น บางแห่งผู้มีจิตศรัทธา ถวายขา้ วสากหรอื สลากภตั หลายชดุ กจ็ ะเขยี นชอื่ เจา้ ของพรอ้ มกบั จ�ำนวน ชดุ สงิ่ ของและคำ� อทุ ศิ สว่ นกศุ ลใสก่ ระดาษไปดว้ ย เมอื่ ทกุ คนไปพรอ้ มกนั แลว้ จะน�ำเอาสลากน้ันใส่ลงไปในขันหรือบาตรรวมกัน แล้วจับสลากขึ้นมา ทลี ะใบ สลากทถี่ กู จบั ขนึ้ มาจะอา่ นชอ่ื เจา้ ของสลากพรอ้ มคำ� อทุ ศิ สว่ นกศุ ล เมอ่ื อา่ นจบแลว้ เจา้ ของสลากจะนำ� สำ� รบั อาหารและสง่ิ ของตา่ ง ๆ เหลา่ นน้ั ไปถวายพระภกิ ษสุ งฆ์สามเณร กอ่ นจะเรม่ิ พธิ สี งฆข์ องงานบญุ ขา้ วสาก จะมกี ารตง้ั เครอื่ งเซน่ อันเป็นมงคล เรียกว่า “คายมุงคุล” ซึ่งเป็นเคร่ืองบูชาส�ำคัญของ บญุ ขา้ วสากโดยชาวบา้ นจะนำ� ดอกไม้ขา้ วสารประมาณ๑ทะนานมาจากบา้ น แลว้ รว่ มกันจดั คายมงุ คุลข้ึน โดยน�ำข้าวสารใส่ในพานดอกไม้ เอาด้ายฟัน่ จัดเป็นรูปตีนกาใส่ในขันน้�ำ จากนั้นมัคนายกจะน�ำไปประเคนพระสงฆ์

ข้าว ตน้ ธารอารยธรรมไทย 187 และจดั สายสิญจนผ์ ูกโยงกบั ตนี กาในขันนำ�้ แลว้ จึงเริม่ พธิ ีสงฆ์ ในระหว่าง พธิ สี งฆจ์ ะมกี ารกลา่ วถวายสลากภตั ซง่ึ คำ� กลา่ วถวายสลากภตั ของงานบญุ ขา้ วสาก มีดังนี้ ค�ำบาลี เอตานิ มะยัง ภันเต สะลากะภัตตานิ สะปะรวิ ารานิ อะสุกัฏฐาเน ฐะปติ านิ ภิกขสุ ังฆสั สะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ เอตานิ สะลากะภตั ตานิ สะปะรวิ ารานิ ปะฏคิ ณั หาตุ อมั หากญั เจวะ มาตาปติ อุ าทนี งั ญาตะกานญั จะ กาละกะตานงั ทีฆะรตั ตัง หติ ายะ สุขายะ ค�ำแปล ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งสลากภัต กับทั้งบริวารเหล่านี้ แดพ่ ระภกิ ษุสงฆ์ จงให้โอกาสรับ ซ่งึ สลากภตั กับทง้ั บริวารเหล่านี้ เพื่อเป็นประโยชน์และความสุข แกข่ ้าพเจา้ ทงั้ หลาย และญาติทัง้ หลาย มมี ารดาบิดา เป็นตน้ ซึ่งลว่ งลบั ไปแล้ว ตลอดกาลนานเทอญ

188 ขา้ ว ต้นธารอารยธรรมไทย ข้าวสากหรือสลากภัต นอกจากจะน�ำมาจับถวาย พระภิกษุสงฆ์แล้ว ชาวบ้านยังเอาห่อหรือชะลอมข้าวสากอีกส่วนหนึ่ง ไปวางไว้ตามที่ต่าง ๆ ในบริเวณวัด พร้อมท้งั จดุ ธูปเทยี นและบอกกลา่ วให้ ผีเปรตหรือญาติผู้ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารต่าง ๆ ท่ีวางไว้ เรียกว่า แจกห่อขา้ วนอ้ ย และขอให้มารับส่วนกุศลท่ีอทุ ศิ ใหด้ ้วย เม่ือถวายข้าวสากแด่พระภิกษุสงฆ์และน�ำอาหารไปวางไว้ บริเวณวัดเสร็จแล้ว มีการฟังเทศน์ฉลองข้าวสาก และกรวดน�้ำอุทิศ สว่ นกุศลไปใหเ้ ปรตและญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นอันเสร็จพธิ ี สว่ นผมู้ ีท่ีนา หรอื ชาวนา ในวนั นจ้ี ะน�ำเอาอาหารไปเลยี้ งยกั ษณิ ตี ามความเชอ่ื ทกี่ ลา่ วมา ขา้ งต้นในบริเวณที่นาของตน แตเ่ ปลยี่ นชอ่ื เรียกยกั ษิณีวา่ ตาแฮก

ขา้ ว ตน้ ธารอารยธรรมไทย 189 บรรณานุกรม จังหวัดมหาสารคาม. บุญเบิกฟ้า. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์, ๒๕๓๓. (จัดพิมพ์เน่ืองในงานบุญเบิกฟ้าและงานกาชาดจังหวัด มหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๓๓) มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. สารานุกรม วัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : สยามเพรส แมเนจเม้นท์, ๒๕๔๒. (จัดพิมพ์เน่ืองในพระราชพิธีมหามงคล เฉลมิ พระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๔๒).



ขา้ วทพิ ย์ โดย นางสาวฉตั ราภรน์ จนิ ดาเดช

192 ขา้ ว ตน้ ธารอารยธรรมไทย ข้าวทพิ ย*์ ข้าวทิพย์ เป็นอาหารชนิดหน่ึง มีพิธีกรรมและลักษณะ กรรมวิธีในการปรุงท่ีพิถีพิถันเป็นพิเศษ ใช้ส่วนผสมหลายอย่าง และมี ข้อก�ำหนดว่าผู้กวนข้าวทิพย์ต้องเป็นสาวพรหมจารี ถือกันว่าข้าวทิพย์ เป็นอาหารวิเศษ มีรสอร่อยปานอาหารทิพย์ เม่ือรับประทานแล้วจะเกิด สวัสดิมงคลและระงับโรคภัยได้ เร่ืองการกวนข้าวทิพย์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชาธิบายไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระราชพิธี สิบสองเดือน ความว่า การกวนขา้ วทพิ ย์เปน็ พิธีทีม่ มี าแตโ่ บราณ แต่ไมม่ ี มูลเหตุท่ีมาปรากฏชัดในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเหมือนอย่างการท�ำ ข้าวยาคู มีแต่เร่ืองการหุงข้าวปายาสหรือมธุปายาส เช่น ในพุทธประวัติ ตอนที่นางสุชาดาหุงข้าวมธุปายาสด้วยนมโคสดถวายสมเด็จพระสัมมา- สัมพุทธเจ้าก่อนจะตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน ๖ หรือในมงคลทีปนีมีนิทาน เรือ่ งหน่งึ กลา่ วถึงเศรษฐีขีต้ ระหนหี่ งุ ขา้ วปายาสบรโิ ภคเอง โดยใช้ขา้ วสาร หุงด้วยน้�ำตาลและน้�ำนม ดังนั้น ข้าวทิพย์ก็เห็นจะเน่ืองมาแต่ข้าวปายาส หรือมธุปายาสของพราหมณ์ หากแต่มีลักษณะกรรมวิธีการปรุงตลอดจน รสชาติเปน็ อยา่ งคนไทยกินอร่อย เพยี งแตข่ อยมื ชอ่ื ของเก่ามาใชเ้ ท่านนั้ * บทความจากหนังสือนามานุกรมขนบประเพณีไทย หมวด ประเพณีราษฎร์ เล่ม ๒ (ประเพณี เทศกาล และวันส�ำคัญทางพุทธศาสนา) พ.ศ. ๒๕๕๐

ข้าว ตน้ ธารอารยธรรมไทย 193 การประกอบพิธีกวนข้าวทิพย์น้ัน เดิมนิยมท�ำกันในช่วง เดือน ๑๐ หรือเทศกาลสารท มีมาต้ังแต่คร้ังสมัยสุโขทัย ครั้นถึง สมัยรัตนโกสินทร์การกวนข้าวทิพย์ได้รับการฟื้นฟูอีกคร้ังในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แล้วก็งดไปในรัชกาล พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลศิ หลา้ นภาลยั และพระบาทสมเดจ็ พระนง่ั เกลา้ เจ้าอยู่หัว จวบจนรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง โดยได้เพ่ิมพิธีทางพุทธศาสนาเข้ามาด้วย และเปลยี่ นแปลงเพม่ิ เตมิ สว่ นผสมในการกวนขา้ วทพิ ยอ์ กี หลายอยา่ งเทา่ ท่ี จะหาไดใ้ นขณะนนั้ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงอธบิ าย ถงึ สว่ นผสมของข้าวทพิ ย์ในการพระราชพิธคี ร้ังน้นั วา่ “ข้าวทิพย์ที่เรากวนอยู่ในพระราชพิธีทุกวันน้ี เห็นจะเกิดข้ึนด้วยนึกเอาเอง ดูตั้งใจจะให้มีถ่ัวงานม เนยและผลไมต้ า่ ง ๆ ใหพ้ รอ้ มทกุ อยา่ ง เปน็ อนั รวบรวม รสต่าง ๆ ลงมาเป็นอันหน่ึงอันเดียว จนเรียกกันใน ค�ำประกาศว่า อเนกรสปายาส” การกวนข้าวทิพย์ตามแบบโบราณของไทยตามที่ปรากฏ ในพระราชนิพนธ์เร่ืองพระราชพิธีสิบสองเดือน มีส่วนผสมดังนี้ ถั่วด�ำ ถ่วั ขาว ถ่วั แมต่ าย ถั่วราชมาษ อย่างละ ๓ ถงั ถ่ัวเหลอื ง ๓ ถงั ๑๐ ทะนาน ถวั่ ทอง ถ่ัวเขยี ว อยา่ งละ ๕ ถัง ถัว่ ลิสง ๖ ถัง งา ๕ ถงั ผลเดอื ย ๓ ถงั ๑๐ ทะนาน สาควู ิลาด ๒ ถัง สาคูลาน ๑ ถงั เมล็ดแตงอลุ ดิ ๓ ถงั ข้าวโพด ๓,๐๐๐ ฝัก ข้าวฟา่ ง ๒,๐๐๐ รวง ขา้ วเมา่ ๕ ถัง เผอื ก มนั เทศ อยา่ งละ ๓๐๐ หัว กระจับสด แห้วไทย อย่างละ ๓ ถัง ข้าวสารหอม ๒ ถัง ผลไม้แดง ๑๐ ทะนาน ผลบัว ผลมะกล�่ำ อย่างละ ๓ ถัง น�้ำนมโค

194 ขา้ ว ตน้ ธารอารยธรรมไทย ๑๐ ทะนาน เนย ๔ ทะนาน นำ้� ผง้ึ นำ้� ออ้ ย อยา่ งละ ๑๐ ทะนาน มะพรา้ วแก่ ๕๕๐ ผล มะพร้าวอ่อน ๕๐๐ ผล ผลชะเอมเทศ หนกั ๔ ชง่ั น้�ำตาลกรวด หนกั ๒๕ ช่ัง นำ�้ ตาลทรายหนกั ๕๐ ชัง่ นำ�้ ตาลหมอ้ ๓๐๐ หมอ้ ข้าวตอก ขนมปังจืด ไม่มีก�ำหนด ผลไม้สดที่หาได้ คือ ทับทิม น้อยหน่า เงาะ ลางสาด ละมดุ พลบั สด สาลี่ แหว้ จีน กล้วยหอม กล้วยไข่ สม้ ตา่ ง ๆ คอื สม้ เขยี วหวาน สม้ มะแปน้ สม้ ซา่ สม้ เกลย้ี ง สม้ ตรงั กานู ผลไมแ้ หง้ คอื ลนิ้ จ่ี ล�ำไย พุทราร้ิว พลับแห้ง อินทผลัม ผลไม้แช่อ่ิม คือ ผลชิด ผลสะท้อน ผลไมก้ วน คือ ทุเรียน สับปะรดกวน และข้าวทอ่ี อ่ นเป็นนำ�้ นม ชะเอมสด ออ้ ยแดง ของเหล่านไ้ี มม่ กี ำ� หนดว่าเทา่ ไร อยา่ งไรก็ตาม เมอื่ เวลาจะกวน อาจลดสัดส่วนปริมาณเครื่องท่ีจะกวนตามความเหมาะสม และ ในการกวน เครื่องท่ีจะกวนอันใดที่ควรจะห่ันฝานเปน็ ชิ้นเลก็ ๆ ก็หัน่ ฝาน ที่ควรจะโขลกต�ำก็โขลกต�ำ ที่ควรจะเปียกจะหุงก็เปยี กก็หุง ส่ิงใดควรต้อง คนั้ น�้ำก็ค้ันน�้ำส�ำหรับใช้เจือเม่ือเวลากวน ลักษณะของข้าวทิพย์ เม่ือกวนเสร็จจะมีความเหนียว พอประมาณ เมื่อเยน็ สนทิ แล้วสามารถนำ� มาป้ันหรือกดลงพมิ พเ์ ปน็ ช้นิ ได้ ไม่แข็งกระด้าง หอมกล่ินผลไม้ต่าง ๆ กะทิ และน�้ำตาล มีสีสันของ ส่วนผสม สามารถมองเห็นเนื้อข้าว สีของผลไม้ และส่วนผสมอื่น ๆ ได้ มองดูน่ารับประทาน เคล็ดลับส�ำคัญในการกวนข้าวทิพย์ คือ ขณะกวน ต้องกวนไปทางเดียวกันตลอดจนกระท่ังเสร็จ เพื่อให้มีความเหนียวและ กะทิไม่แยกตวั จากน้ำ� ตาล จากความเป็นมาและลักษณะกรรมวิธีในการปรุงที่พิถีพิถัน เปน็ พเิ ศษ จะเหน็ วา่ การกวนขา้ วทพิ ยน์ ม้ี ไิ ดท้ ำ� กนั งา่ ย ๆ ตอ้ งประกอบดว้ ย พธิ กี รรมหลายอยา่ งทงั้ พธิ สี งฆแ์ ละพราหมณ์ เชน่ ตอ้ งมพี ธิ บี วงสรวงเทวดา

ข้าว ตน้ ธารอารยธรรมไทย 195 และท้าวจตุโลกบาล ส่วนผสมหากใช้แบบโบราณก็ต้องมีหลายสิบอย่าง แตใ่ นปจั จุบันใช้ส่วนผสมหลกั ๆ ๙ อย่าง ได้แก่ น�้ำนมขา้ ว เนย น้�ำอ้อย นำ้� ผงึ้ นำ้� ตาล นม ถวั่ งา และขา้ วเมา่ การกวนครงั้ แรกตอ้ งใชส้ าวพรหมจารี ต้องใช้ไม้ชัยพฤกษ์หรือไม้พุทราเป็นฟืนเท่าน้ัน อีกท้ังไฟที่ใช้ต้องเกิดจาก แสงแดดส่องผ่านแว่นขยายที่เรียกว่า “สุริยกานต์” ด้วยถือเอาตามคติที่ พระอนิ ทรเ์ ปน็ ผลู้ งมาจดุ ไฟในเตาใหน้ างสชุ าดา และตอ้ งใชน้ ำ�้ พระพทุ ธมนต์ พรมเครื่องปรุง เป็นตน้ ซึ่งจากพธิ กี รรมในการปรงุ ทพี่ ิเศษเช่นนี้ ตลอดจน ความเช่ือท่ีว่า “ข้าวทิพย์” เป็นข้าวศักด์ิสิทธิ์ท่ีจะท�ำให้ผู้รับประทาน พน้ จากโรคภยั ไขเ้ จบ็ มคี วามสขุ สวสั ดี และเปน็ มงคลแกช่ วี ติ น้ี ทำ� ใหป้ จั จบุ นั นี้ มกี ารกวนข้าวทิพยใ์ นเทศกาลสำ� คญั อื่น ๆ ในบางทอ้ งถิน่ นอกเหนอื จาก การทำ� บญุ ในเทศกาลสารทเดอื น๑๐ดว้ ยเชน่ งานวนั ออกพรรษางานวนั เพญ็ เดือนวิสาขะ วันเพ็ญเดือนสิบสอง งานปอยหลวง งานฉลองถาวรวัตถุ งานพิธพี ทุ ธาภิเษก เปน็ ตน้ ซึง่ ภาคใตส้ มัยก่อนยงั นยิ มท�ำในงานบวชนาค และชว่ งวนั ขึ้น ๑๓ - ๑๔ ค่�ำ เดอื น ๓ ตอ่ เนื่องกับวนั มาฆบูชา แตม่ กั จะ เรยี กกนั วา่ “ขา้ วยาค”ู มากกว่าจะเรียกว่าขา้ วมธปุ ายาส จะเห็นได้ว่าการกวนขา้ วทพิ ย์แต่ละครั้ง นบั ว่าเป็นงานใหญ่ ที่ต้องใช้ทั้งทุน ความศรัทธา และความร่วมมือร่วมใจจากชุมชน เป็นอย่างมาก จึงถือได้ว่าการพิธีกวนข้าวทิพย์มีส่วนช่วยท�ำให้เกิด ความสมัครสมานสามัคคีในท้องถิ่น รวมท้ังช่วยสืบสานพระพุทธศาสนา ใหด้ ำ� รงอย่ตู ่อไปดว้ ย

196 ขา้ ว ตน้ ธารอารยธรรมไทย บรรณานกุ รม กรมศิลปากร. ค�ำให้การชาวกรุงเก่า ค�ำให้การขุนหลวงหาวัด และ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ. พระนคร: คลังวทิ ยา, ๒๕๒๐. . นางนพมาศหรอื ตำ� รบั ทา้ วศรจี ฬุ าลกั ษณ.์ กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พ์ อสั สมั ชญั , ๒๕๓๐. (พมิ พเ์ ปน็ อนสุ รณใ์ นงานพระราชทานเพลงิ ศพ นางศรีบุรินทร์ (เยื้อน รัตนไชย) ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร วันที่ ๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐). กรมศลิ ปากร. กองวรรณคดแี ละประวตั ศิ าสตร.์ ศลิ ปวฒั นธรรมไทย เลม่ ท่ี ๓ ขนบประเพณีและวัฒนธรรม กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเณศ, ๒๕๒๕. (คณะกรรมการจัดงานสมโภช กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ ๒๐๐ ปี จดั พมิ พเ์ ปน็ ทร่ี ะลกึ เนอ่ื งในโอกาสสมโภช กรุงรตั นโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕). จ. เปรียญ (นามแฝง). ประเพณีและพิธีมงคลของไทย. กรุงเทพฯ: อำ� นวยสาสน์ , ๒๕๒๒. จนั ทร์ ไพจติ ร. ประมวลพธิ มี งคลของไทย. กรงุ เทพฯ: วฒั นาพานชิ , ๒๕๒๐. (บริษทั สำ� นักพมิ พว์ ัฒนาพานชิ จำ� กัด พิมพ์เปน็ อนุสรณเ์ น่อื งใน พิธีถวายศาลาจงพิพัฒนสุข ณ วัดเทพธิดาราม ส�ำราญราษฎร์ กรุงเทพมหานคร วันพฤหัสบดี ท่ี ๑๓ มกราคม ๒๕๒๐). จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. พมิ พ์คร้ังท่ี ๑๔. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร, ๒๕๒๒.

ข้าว ต้นธารอารยธรรมไทย 197 เบญจมาศ พลอนิ ทร.์ วรรณคดขี นบประเพณี พระราชพธิ ีสิบสองเดอื น. กรงุ เทพฯ: โอเดยี นสโตร์, ๒๕๒๓. ปรมานุชิตชิโนรส, กรมสมเด็จพระ. พระปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ: โรงพมิ พ์การศาสนา, ๒๕๐๕. ประพันธ์ กุลวินิจฉัย. รวมบทความ เทศกาลประเพณีไทย ๑๒ เดือน ตามแนวพระราชพธิ สี บิ สองเดอื น ของลน้ เกลา้ ฯ ร.๕. กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พม์ หาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย, ๒๕๔๖. ประยุทธ สิทธิพันธ์. พระราชพิธีและประเพณีชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: ปริทัศนศ์ าสตร,์ ๒๕๒๒. สมปราชญ์ อมั มะพนั ธ.์ ประเพณแี ละพธิ กี รรมในวรรณคดไี ทย. กรงุ เทพฯ: โอ.เอส. พริ้นตง้ิ เฮา้ ส,์ ๒๕๓๖. เสฐียรโกเศศ (นามแฝง). “กระยาสารท.” สารานุกรมไทย ฉบับ ราชบณั ฑติ ยสถาน. ๑ (๒๔๙๘ - ๒๔๙๙) : ๓๓๘ - ๓๔๘. อนุมานราชธน, พระยา. งานนิพนธ์ชุดสมบูรณ์ของ ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน หมวดขนบธรรมเนียมประเพณี เล่ม ๕ ประเพณีเก่ียวกับเทศกาลตรุษ - สารท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ คุรสุ ภาลาดพรา้ ว, ๒๕๓๒. (กรมศลิ ปากร องค์การคา้ ของครุ ุสภา และมูลนิธิเสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป จัดพิมพ์เน่ืองในวาระ ครบรอบ ๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน). อุรคินทร์ วิริยะบูรณะ. ประเพณีไทยฉบับพระมหาราชครูฯ. พระนคร: โรงพมิ พ์ประจกั ษ์วทิ ยา, ๒๕๑๐.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook