เกีย่ วกบั ผเู้ ขยี น ปราบดา หยนุ่ เป็นคนเขยี นหนังสืออสิ ระ และเป็นผูก้ ่อตั้งส�ำ นักหนังสอื ไตฝ้ ่นุ (www.typhoonbooks.com)
เปน็ : เรยี งความว่าดว้ ยลมหายใจในตวั หนังสอื
เป็น: เรียงความวา่ ด้วยลมหายใจในตัวหนังสือ พิมพ์ครงั้ แรก มิถุนายน 2546 รวมบทความและความเรียง โดย ส�ำ นกั พิมพ์ openbooks พิมพ์ในรปู แบบอเิ ล็กทรอนิกสค์ รั้งแรก เมษายน 2555 ปราบดา หยุ่น เขยี น ภิญโญ ไตรสรุ ิยธรรมา บรรณาธิการ ปกและรปู เล่ม Typhoon Studio เจ้าส�ำ นัก ปราบดา หย่นุ ผ้จู ดั การสำ�นัก ปาลดิ า พิมพะกร สมาชิกส�ำ นัก บุญศรีกลุ ทิวาสัมฤทธิ์ สำ�นกั หนังสอื ไต้ฝนุ่ ไต้ฝุ่น สตดู โิ อ 139/5 ชนั้ 3 ถนนวทิ ยุ แขวงลุมพินี เขตปทมุ วนั กทม. 10330 โทรศัพท/์ โทรสาร 0-2654-0458 หรอื โทรศพั ท์ 0-80218-7770 Website: www.typhoonbooks.com E-mail: [email protected] Facebook: www.facebook.com/typhoonstudio
ผลงานอ่ืนของ ปราบดา หยุ่น รวมเรอื่ งส้ัน นวนิยาย เมืองมุมฉาก ชทิ แตก! ความนา่ จะเปน็ แพนดา้ อุทกภยั ในดวงตา ฝนตกตลอดเวลา ส่วนทเ่ี คล่อื นไหว นอนใต้ละอองหนาว เรื่องน้เี กดิ ขนึ้ จรงิ เร่ืองสัน้ ขนาดยาว กระทบไหลเ่ ขา แสงสลาย ความสะอาดของผู้ตาย พาไรโดเลยี รำ�ลึก ดาวดึกด�ำ บรรพ์ รวมบทความและความเรียง บทภาพยนตร์ ภาพไมน่ ่งิ เรือ่ งรัก น้อยนิด มหาศาล น้ำ�ใส่กะโหลก (Last Life in the Universe) อย่าอ่านเลย กแ็ ล้วกัน Invisible Waves: สมมตุ สิ ถาน ค�ำ พิพากษาของมหาสมทุ ร (เปดิ ไป) หน้าศูนย์ เร่อื งตบตา เขียนถึงญีป่ ่นุ ดนตรที ีม่ ีน้ำ�ตา หนังสอื ภาพ Wildwitness Project: I Met a Lazy Bear I Knew a Handsome Elephant หนังสือแปล I Flirted with a Cute Dolphin คนหวั หมา โดย อาเธอร์ แบรดฟอรด์ (Dogwalker by Arthur Bradford) จะเป็นผู้คอยรบั ไว้ ไม่ให้ใครร่วงหลน่ (The Catcher in the Rye by J.D. Salinger) ห.ส.ร. หุน่ ยนตส์ ากลราวี (R.U.R. (Rossum’s Universal Robots) by Karel Capek) คนไขลาน (A Clockwork Orange by Anthony Burgess) กับวนิ ทร์ เลยี ววารณิ ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 1-7
สารบญั (กอ่ นจะมาเปน็ เปน็ ) ปราบดา หยุ่น 15 บทที่ 1 เป็นตัว 25 บทท่ี 2 เป็นอยู่ 51
บทที่ 3 เปน็ ร่าง 69 บทท่ี 4 เปน็ เรอ่ื ง 87 บทที่ 5 เปน็ ลม 103
ค�ำ น�ำ เม่อื อา่ นหนงั สือเล่มน้จี บลง ผมอดคิดถงึ เหยือกแกว้ ใบหน่งึ ท่เี ด็กๆวางเอาไวใ้ นลำ�ธารเพือ่ ดกั จบั ปลาตวั เล็กๆไมไ่ ด้ มันเป็นฉากหนึ่งในหนังสือ Remembrance of Things Past ของมาร์แซล็ พรูสต์ ผมไม่เคยติดใจเหยือกแก้วใบนั้นเลย จนกระท่ัง ไดอ้ ่านบทความของ นพพร ประชากุล วา่ ดว้ ยเหยือกแก้ว ใบนัน้ กบั ข้นั ตอนการทำ�งานของพรสู ต์ แลว้ ผมก็ต้องอศั จรรยใ์ จ... ความรสู้ กึ ของผมประหนง่ึ ถกู ดงึ ลากออกมาโอบอมุ้ ประคบั ประคอง ตบตี สง่ั สอน เมอื่ อา่ นบทความนน้ั จบ น้ำ�ตา ของผมปริ่ม ต่ืนเตน้ ประหวนั่ อม่ิ ใจ แฟบฟบี พองโต และ ฟฟู อ่ ง
พรสู ตเ์ ขยี นถงึ เหยอื กแกว้ ใบนน้ั โดยตง้ั ขอ้ สงั เกตวา่ เหยือกแก้วท่ีถูกทิ้งไว้ในลำ�น้ำ� เป็นเหยือกท่ีท้ังบรรจุน้ำ� ไว้ภายใน และท้ังถูกน้ำ�ล้อมอยู่ภายนอก เหยือกก็ใส น้ำ�กใ็ ส ทงั้ เหยือกและน้ำ�จงึ คล้ายเปน็ ภาพของความชื่นฉ่ำ� เดียวกัน พรูสต์ทำ�ให้เราฉงนไปกับความกำ�กวมของน้ำ� และแกว้ ซึ่งนอกจากจะมีลกั ษณะคลา้ ยกนั แลว้ ยังซอ้ นทับ กนั อยู่เปน็ ภาวะนอก-ในทล่ี ้ำ�ลกึ นอกจากน้ีพรสู ตย์ งั เชอ่ื มโยง เหยือกแก้ว ‘ใส่น้ำ�’ ใบที่วางอยู่ในลำ�น้ำ�นั้นกับเหยือกแก้ว ใส่น้ำ�ที่วางอยู่บนโต๊ะด้วย, ว่าเหยือกแก้วท่ีอยู่ในลำ�น้ำ� ชวนให้เรากระหายย่ิงกว่ากระหาย อยากด่ืมน้ำ�ในเหยือก ก้นลำ�ธารเสียยิ่งกว่าเหยือกแก้วบนโต๊ะ เพราะมันคือ เหยือกแก้วใส่น้ำ�ที่ล้อมไว้ด้วยน้ำ�อีกชั้นหนึ่ง ทว่าความ กระหายนี้กลับเป็นความกระหายที่ไม่มีวันสมปรารถนา เพราะมันวางอยใู่ นธารน้ำ� การยกมันขน้ึ มาจะท�ำ ให้เหยอื ก ไมม่ นี ้ำ�ลอ้ มอกี ตอ่ ไป จะท�ำ ลายทกุ สงิ่ ดงั นนั้ ‘ภาพ’ ทเ่ี ราเหน็ , ‘ภาพ’ ทีเ่ รากระหายยิง่ กวา่ กระหาย, จงึ เปน็ ‘ภาพ’ ที่วง่ิ หนี เราไปเรอื่ ยๆ ไมม่ วี นั เตมิ ความกระหายของเราใหเ้ ตม็ อม่ิ ได้ แต่เพราะมันวิ่งหนีเราไปเร่ือยๆไม่มีที่สิ้นสุดน้ีเอง ความกระหายจึงยงั ตดิ นิ่งอยใู่ นความรู้สกึ เจ็บปวด ขอ่ นใจ และค้างคา ชวนใหก้ ระหายอีกซ้ำ�แลว้ ซ้ำ�เล่า
พรูสต์ไม่ได้เห็นเหยือกแก้วในลำ�ธารแล้วเขียน ข้อความส่วนน้ีข้ึนทันที จากการศึกษาพบว่าเขาเก็บภาพ ท่ีเห็นไว้ในใจ แล้วเขียนถึงมันต่างกรรมต่างวาระถึงสาม ครั้ง ก่อนจะแปรสภาพเป็นส่วนหน่ึงของนิยายเร่ืองใหญ่ อนั ยอดเยย่ี ม รายละเอียดเล็กน้อยในชีวิตแปรสภาพไปเป็น ความย่ิงใหญ่ในงานเขียน ไม่ใช่เพียงเพราะการสังเกต เยยี่ งนกั วทิ ยาศาสตร์ หากแต่เป็นขน้ั ตอนวธิ คี ิดแบบศลิ ปิน ทท่ี ำ�ท้ังเปรยี บ ตบ ตัด ขบ และพงุ่ กระเจิงข้นึ สสู่ ภาวะเหนอื สามัญ แค่เหยือกใบหนึ่งท่ีวางอยู่ใต้ลำ�ธาร ก็ทำ�ให้มนุษย์ คน้ พบสภาวะย่ิงใหญบ่ างอยา่ ง บางครง้ั การเขยี นหนงั สอื กค็ ลา้ ยการ ‘กลาย’ ไปเปน็ เหยอื กแกว้ ใบนัน้ ในเนื้อเนียนใสของเหยือกแก้วมีความกำ�กวม ไม่รู้ตัวตน ไม่แน่ใจว่าคืออะไร ระหว่างน้ำ�ใสหรือผลึกแก้ว ระหว่างผลึกแก้วที่ละลายไหลไปคล้ายสายน้ำ� หรือมวล ของน้ำ�ทหี่ ยดุ นงิ่ แขง็ ตัวอยกู่ บั ที่คลา้ ยแกว้ เราเปน็ ใครในระหวา่ งผคู้ นทโี่ ลดแลน่ อยใู่ นเรอ่ื ง หรอื ผ้คู นทีโ่ ลดแล่นอยู่ในเรือ่ งจะเปน็ เรา แลว้ ผ้คู นและสรรพส่งิ ท่โี ลดแล่นอยู่ในโลกเลา่ ?
การเขียนหนังสอื ไมม่ ีอะไรยาก แตก่ ารเขียนหนังสอื ใหด้ ี, ไมม่ ีอะไรงา่ ย พรูสต์เขียนครั้งแล้วคร้ังเล่า เพื่อกลั่นกรองและ ตรวจสอบความคดิ ของตวั เองจนผสานศลิ ปะเขา้ กบั ปรชั ญา ได้โดยแนบเนียนและไมร่ ูต้ วั ผมเชอ่ื วา่ เขาไมร่ ู้ตวั การหมกมุ่นย้ำ�ๆซ้ำ�ๆท่ีอยู่กับสิ่งเดิมอันวนเวียน เขา้ สหู่ ว้ งค�ำ นงึ ครง้ั แลว้ ครง้ั เลา่ และการแปรสภาพสง่ิ เหลา่ นน้ั เมื่อมีสิ่งอ่ืนมาตกกระทบจนเฉไฉไปมา–ผมไม่เช่ือว่า เกดิ ขึ้นด้วยอาการ ‘รู้ตวั ’ การเขียนหนังสือให้ดีเกิดข้ึนพร้อมอาการ ‘รู้ตัว’ ไม่ได้ ทว่าขาดสติก็ไม่ได้อีกเช่นกัน การเขียนหนังสือให้ดี จงึ คลา้ ยยนื อย่บู นขอบของการ ‘กลาย’ เปน็ อะไรบางอยา่ ง คลบั คล้ายและพร้อมจะเป็นส่ิงนัน้ ทว่าก็หาได้เปน็ ‘เป็น’ แตไ่ ม่ไดเ้ ป็น คลบั คล้าย, แต่ไมไ่ ดก้ ลับกลาย อยบู่ นขอบผา, ทวา่ ไมไ่ ด้ตกลงไป จงึ มสี ต,ิ แตไ่ มร่ ู้ตวั และมีความคิด, หากไม่ไดน้ กึ คิด ผมเชอื่ เหมอื นปราบดาอยา่ งหนง่ึ วา่ ถา้ เราสามารถ ปลุก ‘ลม’ หรือ ‘วิญญาณ’ ของตัวหนังสือได้ ตัวหนังสือ
ของเราจะกลายเปน็ ตวั หนงั สอื ทม่ี ชี วี ติ จากนน้ั มนั จะโลดเตน้ และเปน็ ผฉู้ ุดลากเราเขา้ สู่สภาวะพิสดารบางอย่าง หมกม่นุ อย่กู ับสภาวะพสิ ดารบางอยา่ ง สภาวะท่ีทำ�ให้เรากลายเป็นเหยือกแก้วใสใบนั้น ไมอ่ าจต้านทาน เปน็ เหยอื กแกว้ ใบทไี่ มอ่ าจร-ู้ วา่ ตวั มนั คอื กระแสน้ำ� ที่จับแข็ง หรอื เนอื้ ผลกึ แกว้ ใสทีไ่ หลลอ่ งไปไม่มวี นั สิ้นสดุ กระหาย แตไ่ ม่อยากดืม่ ออกเดินทาง ออกไปอยู่ระหว่าง, อยากไปถึง แต่ ไม่อยากไปให้ถงึ -จึงจะไปถึง ถ้าคุณอยากออกเดินทางสู่สภาวะพิสดารนั้น หนงั สือเลม่ น้ี หกั รา้ งถางพงเอาไวบ้ ้างแลว้ โตมร ศุขปรชี า
(กอ่ นจะมาเปน็ เป็น) ต้นฉบับที่เติบโตขึ้นเป็นหนังสือบางๆเล่มนี้ มีที่มา คอ่ นไปขา้ งแปลก เพราะตง้ั แตเ่ กดิ มา ผมไมเ่ คยมคี วามคดิ วา่ ตวั เองโอหงั พอจะเขียนหนังสอื เก่ยี วกับ ‘การเขยี นหนงั สือ’ ออกมาอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ไม่ว่าจะเป็น ‘เขียนหนังสืออย่างไรให้ได้ดี’ ‘เขียน หนังสืออย่างไรจึงจะขายดี’ ‘เขียนหนังสืออย่างไรคนจึงจะ นึกว่าท่านเป็นปัญญาชน’ ‘เขียนหนังสืออย่างไรท่านจึงจะ มสี าวก’ ‘เขยี นหนงั สอื อยา่ งไรใหอ้ า่ นไมร่ เู้ รอ่ื ง’ ‘เขยี นหนงั สอื อย่างไรให้คนหมั่นไส้’ ตลอดถึง ‘เขียนหนังสืออย่างไรให้ อา่ นไม่รู้เรอ่ื ง คนหมั่นไส้ แต่ได้รางวลั ’ ผมก็ไม่เคยแมแ้ ตจ่ ะ ยา่ งกรายเขา้ ไปใกลค้ วามตอ้ งการจะผลติ ตน้ ฉบบั อนั เกย่ี วแก่ ศิลปะของการเขียนหนังสือในลักษณะน้ัน ด้วยมีความเช่ือ ติดตัวมานานว่า งานและประสบการณ์ทางด้านศิลปะเป็น ปราบดา หยนุ่ 15
เรอ่ื งสว่ นบคุ คล ถา่ ยทอดใหเ้ ขา้ ใจอยา่ งถอ่ งแทแ้ กส่ าธารณะ ไดย้ ากยง่ิ เมื่อ คุณมนทิรา จูฑะพุทธิ แห่ง อีโอทูเดย์ (EO TODAY) เอ่ยปากชักชวนให้ผมเป็นวิทยากรในโครงการ อ-ี เลริ น์ นง่ิ (E-LEARNING) ของปี พ.ศ. 2545 โดยผมตอ้ ง รบั ผดิ ชอบชนั้ เรยี นภายใตห้ วั ขอ้ ‘เรอ่ื งสนั้ ’ – กลา่ วคอื ผมตอ้ ง ท�ำ หนา้ ทเี่ ปน็ เสมอื นอาจารยห์ รอื ผรู้ เู้ กย่ี วกบั ศลิ ปะการเขยี น เรอื่ งสน้ั แลว้ พยายามถา่ ยทอดวชิ าใหผ้ เู้ ขา้ เรยี นจำ�นวนหนง่ึ ฟัง เป็นเวลา 5 ครั้ง–ผมย่ิงสะดุ้งกับความคิดที่ว่าจะต้อง ไปยืนหน้าห้องเพื่อพูดพล่ามถึง ‘ความเช่ือ’ ของตัวเองให้ คนอื่นฟัง ผมอ้ำ�อง้ึ ไมก่ ลา้ รบั คำ�ชวน และพยายามอธิบาย ใหค้ ณุ มนทริ า หรอื ‘พอี่ อ้ ย’ เขา้ ใจในความไรส้ มรรถภาพของ ผม แตเ่ ธอกเ็ กลย้ี กลอ่ มจนผมตอ้ งกลบั ไปนอนกา่ ยหนา้ ผาก ตรึกตรองลองคิดโอหงั ดสู กั ตั้ง สาเหตหุ ลกั ทท่ี �ำ ใหผ้ มกระดากเกนิ จะรบั ค�ำ ชวน คอื โดยปกติผมเป็นคนข้ีอายอย่างแรงกล้า ไม่สามารถทำ�ตัว ‘สบายๆ’ ต่อหน้าคนจำ�นวนมาก ไม่สามารถเรียบเรียง ความคิดเพื่อพูดให้ปะติดปะต่อตลอดรอดฝ่ัง และท่ีสำ�คัญ ผมเปน็ นกั พดู ผจู้ ดื ชดื และไรส้ สี นั ยงิ่ กวา่ หนงั ขาวด�ำ เกย่ี วกบั แมลงวันเอากัน–แค่ยืนพูดคนเดียวนานๆก็จะตายอยู่แล้ว จงึ ไมส่ ามารถสรรหามขุ ตลกหรอื ประดษิ ฐท์ า่ ทางสรา้ งความ 16 เปน็ : เรยี งความวา่ ดว้ ยลมหายใจในตัวหนังสือ
บันเทิงระหว่างการพูด ให้เปน็ ท่คี ร้นื เครงกนั ถ้วนทั่วได้ คนท่ีเคยฟงั ผมพลา่ มนานๆ มกั มมี ารยาทพอจะไม่ เอย่ ปากประณามความนา่ เบ่ือหน่ายอนั โหดรา้ ยของผม แต่ ก็อดไม่ได้ที่จะบอกให้ฟังอย่างสุภาพว่า “เอ่อ...คล่ืนเสียง ของคณุ นฟ่ี งั เปน็ ระดบั เดยี วกนั ดนี ะ” ซงึ่ ถา้ มลี า่ มถอดภาษา มารยาทยืนฟังอยู่ข้างๆ เขาอาจจะแปลความเห็นนั้นเป็น “เออ่ ...ขอปนื กระบอกนงึ ยงั ไมร่ จู้ ะยงิ ใคร แตม่ นั เปน็ วธิ เี ดยี ว ทีจ่ ะหลีกหนคี วามน่าเบือ่ บัดซบของคณุ ” คุยไปคุยมา ผมก็เสนอพ่ีอ้อยว่า ถ้าไม่ได้เป็น การสอนในลกั ษณะ ‘ถ่ายทอดวชิ า’ (เพราะผมไม่มีวิชาอะไร จะถ่ายและทอด) แตเ่ ปน็ การพดู คยุ หรอื ท�ำ กจิ กรรมร่วมกนั ในรูปแบบเวิร์คช็อป ผมก็จะรู้สึกหายใจท่ัวท้องกว่า และ ความน่าเบ่ือของผมอาจได้กิจกรรมต่างๆช่วยบดบังรัศมี จนคนไม่สังเกต และคิดว่าอย่างน้อยนายคนนี้ก็ธรรมดา ฟังได้เพลินๆ พดู งา่ ยๆ–แทนทจี่ ะเปน็ การ ‘สอน’ วธิ เี ขยี นเรอื่ งสน้ั ผมอยากปรับให้มันกลายเป็น 5 วันของการฝึกเขียนและ ทำ�ความรู้จักเรื่องสั้นไปพร้อมๆกัน โดยอาจแทรกบางช่วง ดว้ ยการฟังผมพล่ามนิดๆหนอ่ ยๆ ถึงทัศนะส่วนตัวของผม ท่มี ตี อ่ เรือ่ งสนั้ หรืองานวรรณกรรมอย่างกวา้ งๆ เพ่ือไม่ใหม้ ี ความฉงนใจขน้ึ วา่ แลว้ ไอห้ วั เหมง่ นม่ี นั มหี นา้ ทอ่ี นั ใดในหอ้ งน้ี ปราบดา หยนุ่ 17
พ่ีอ้อยไม่ตะขิดตะขวงต่อข้อเสนอของผม เราจึง ตกลงกันว่าจะเปิดคอร์สช่ือ ‘เป็น : ว่าด้วยลมหายใจใน ตวั หนงั สอื ’ และพว่ งวงเลบ็ (เรอื่ งสน้ั ) ไวข้ า้ งทา้ ย ส�ำ หรบั คนท่ี สนใจเร่ืองส้นั โดยเฉพาะ แตไ่ มร่ ะบวุ ่าเป็นการ ‘สอน’ ต้ังแต่วันที่ตกปากรับคำ� ผมก็เริ่มร่างสุนทรพจน์ สำ�หรับการพบปะระหว่างผมกับผู้สมัครร่วมกิจกรรม ระหว่างร่างก็ฝึกทักษะการพูดหน้าคนหมู่มากไปด้วย เมื่อ เวลาจริงมาถึงผมจะได้ไม่ประหม่าจนเกินไปนัก แต่แล้วก็ พบว่าเรื่องแบบนี้ตระเตรียมยากลำ�บากเช่นกัน การฝึกคน ไม่ให้ตื่นเต้น อาจจะยากกว่าฝึกหมาให้ถ่ายเป็นที่เป็นทาง ดว้ ยซ้ำ� เพราะตอนฝกึ ยงั ไงกไ็ มต่ น่ื เตน้ อยแู่ ลว้ พดู คนเดยี ว หน้ากระจก ใครๆก็ท�ำ จนชำ�นาญได้ ปล่อยมุขอะไรออกมา กระจกมันก็ฮาดว้ ย ทำ�ท่าท�ำ ทางอย่างไร กระจกมันก็เห็นดี เห็นงาม ก็มันเป็นกระจกของเรา เราย่อมเป็นเลิศในปฐพี วนั ยังค่ำ� เวลาผ่านไปอย่างเงียบเชียบ ผมไม่ได้พูดคุยกับ พี่อ้อยหรือใครท่ีอีโอทูเดย์สักระยะหนึ่ง แต่ความต่ืนเต้น กลับกระเต้อื งขึ้นทกุ วัน ทุกวนั จนในท่ีสุด เม่ือเส้นตายใกล้เข้ามา ก็ยังไม่มีใคร ติดต่อผม ความแปลกใจทำ�ให้ผมนิ่ง ไม่กล้ายกหูโทรศัพท์ ไปถามไถ่ 18 เป็น: เรียงความว่าดว้ ยลมหายใจในตัวหนงั สือ
แตแ่ ลว้ พอ่ี อ้ ยกเ็ ปน็ คนโทรฯบอก ‘ขา่ วร’ี (ขา่ วไมร่ รู้ า้ ย หรอื ดี จงึ ออกจะรๆี ) วา่ จ�ำ เปน็ ตอ้ งยกเลกิ โครงการของผม เพราะมีคนสมัครเรียนไม่พอ–กล่าวคือ มีคนอยาก ฟังผมพล่ามจ�ำ นวนนอ้ ยนิดจนนา่ ใจหาย! อันนผี้ มไมแ่ ปลกใจ พอี่ อ้ ยบอกวา่ มคี นสนใจและโทรศพั ทเ์ ขา้ ไปถามไถ่ เกีย่ วกบั โครงการ ‘เปน็ ’ ค่อนขา้ งมาก แตค่ ำ�ถามสว่ นใหญ่ มักจะเปน็ ทำ�นองว่า “ถ้ามาเรียนจบแลว้ จะเขียนเรอื่ งสัน้ ได้ หรือเปล่า” ซ่ึงก็ต้องตอบกันไปตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่ กิจกรรมสอนเขียนเรื่องสั้นให้ ‘เป็น’–คำ�ตอบน้ีคงไม่ค่อย ถกู ใจคนถาม จงึ ไมม่ ใี ครหลวมตวั สมคั รเขา้ รว่ มสนกุ เทา่ ไหร่ สิ่งแรกท่ีผมรู้สกึ เม่ือทราบขา่ วรีนี้ คอื ‘โล่งอก’ และความรู้สึกถัดมา คือ คนจำ�นวนมากยังเชื่อว่า ทกุ สงิ่ ทกุ อยา่ งในโลกนส้ี ามารถเรยี นรไู้ ดใ้ นลกั ษณะการอา่ น ‘ต�ำ รา’ ดว้ ยเหตนุ เี้ อง หนงั สอื ‘คมู่ อื ’ นานาชนดิ จงึ ตดิ อนั ดบั หนงั สอื ขายดอี ยเู่ สมอ และหากผมตงั้ ชอ่ื หลอกลวงประชาชน บนปกว่า ‘5 ทางลัดสู่การเป็นนักเขยี นหนังสือขายดี และได้ รางวลั ชวั รๆ์ ’ ผมมน่ั ใจเปน็ อยา่ งยง่ิ วา่ จะท�ำ ใหห้ นงั สอื บางๆที่ ไมค่ วรจะขายดบิ ขายดอี ะไรนกั เลม่ น้ี กระโดดขนึ้ ไปตดิ อนั ดบั เบสต์เซลเลอรไ์ ด้ไมย่ าก ปราบดา หยุ่น 19
เช่นเดียวกับโครงการพบปะและร่วมกิจกรรม ที่ไม่มีใครสนใจจะเสียเวลามาร่วมในคร้ังนั้น (อุตส่าห์ไป ซอ้ื หนงั สอื ‘วธิ พี ดู ในทสี่ าธารณะใหค้ นฮอื ฮา’ มาศกึ ษาอยา่ ง คร่ำ�เครง่ แลว้ เชยี วนา) หนงั สอื เลม่ นก้ี จ็ ะไมม่ ปี ระโยชนอ์ ะไร นักส�ำ หรบั ผทู้ ี่อยากเป็นนักเขียน ‘เปน็ ’ ในที่น้ี ไม่ใชเ่ ปน็ ในความหมายของการเขยี น เป็น แตเ่ ปน็ เปน็ ในความหมายตรงขา้ มของ ‘ตาย’ ‘เป็น’ ในความหมายของสิง่ ทีม่ ลี มหายใจ มีจังหวะ การเต้นของหัวใจ และมีอะไรต่ออะไรท่มี ีคำ�วา่ ‘ใจ’ ฝงั อยู่ ผมเขียนมันขึ้นเพ่ืออธิบายความรู้สึกของตัวเอง ทม่ี ตี อ่ ภาษาและการเขยี นหนงั สอื ในลกั ษณะของการพดู คยุ ไมใ่ ชง่ านเชิงวชิ าการ เพอื่ ยนื ยนั ทศั นคติทว่ี ่าภาษาเป็นส่ิงมชี ีวิต และถึงแม้จะไม่มีศักยภาพพอจะสอนใครต่อใคร ให้เขียนหนังสือเป็นได้ (เขียนหนังสือให้ขายดียิ่งไม่ต้อง พูดถึง) แตผ่ มคดิ ว่าการเริ่มมองตัวหนังสือเป็นส่งิ มชี วี ติ จะ ช่วยถากถางพงหญ้ารกร้างท่ีก้ันขวางหนทางสู่ความเข้าใจ ในศลิ ปะการเขยี นให้เดนิ ไปถงึ อยา่ งอารมณ์ดขี นึ้ แต่ไมใ่ ช่เรว็ ขึ้นแนน่ อน เพราะทางลัดส่วนใหญ่ถูกสร้างโดยความมักง่าย และสันดานทุจริต–ยิ่งเลวย่งิ ตอ้ งรีบ 20 เปน็ : เรียงความวา่ ดว้ ยลมหายใจในตัวหนังสือ
ผมขัดเกลาต้นฉบับจากโครงการในคร้ังนั้น แล้วพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือเล่มนี้ ด้วยทึกทักเอาว่า ประสบการณ์ระหว่างทางในการอ่านและเขียนของตัวเอง อาจจะมีประโยชน์ทางความคิดหรือความรู้สึก–แม้เพียง น้อยนิด–สำ�หรับผู้นิยมหลุดล่องสู่โลกของตัวหนังสือ ในลักษณะของการเสพศิลปะ และไม่ได้หวังผลประโยชน์ อะไรมากมายกวา่ น้ัน พูดง่ายๆ : ผมอยากให้คนอ่านหนังสือได้ยินเสียงหายใจของ สญั ลักษณ์ยึกยอื เหล่านี้ อยา่ งท่ผี มได้ยนิ และทุกอย่างท่ี ‘เป็น’ ย่อมต้องการเพื่อนคุย ในบางครง้ั ปราบดา หย่นุ 2546 ขอบคุณครบั : พอ่ี อ้ ย–มนทิรา ปราบดา หย่นุ 21
…every time I am faced with a blank page, I feel that I have to rediscover literature for myself. -Jorge Luis Borges, This Craft Verse ทุกครง้ั ที่เผชญิ กับหนา้ กระดาษเปลา่ ผมรู้สึกว่าต้องทำ�การคน้ พบวรรณกรรมส�ำ หรบั ตวั เอง -ยอรจ์ ลุยส์ บอรเ์ ฮส จากหนังสอื This Craft Verse แดผ่ ้ปู กครองทง้ั สองของผม
(หนา้ กระดาษเปลา่ )
บทท่ี 1 เป็นตัว : ท�ำ ความรจู้ ักกบั ตัวเอง การเขียนหนังสือคืองานศิลปะแขนงหนึ่ง ประโยคน้ีคือ ความรู้สึก (ไม่ถึงข้ันความเชื่อ) และพ้ืนฐานในการทำ�งาน ของผม ซึ่งต้องอธิบายให้ชัดเจนเป็นอันดับแรก เพราะ เป็นความรู้สึกที่เช่ือมโยงต่อไปถึงความรู้สึกอันดับต่อมา น่ันก็คอื การเขยี นหนงั สอื เป็นส่ิงที่สอนกนั ไม่ได้ สอนไม่ได้ ไม่ใช่เพราะเป็นศาสตร์ซับซ้อนยุ่งยาก เกนิ เอ้ือม หรือต้องอาศัยพรสวรรคเ์ กื้อหนนุ มากกวา่ ทฤษฎี ในต�ำ รา แตท่ สี่ อนไมไ่ ด้ เพราะผมรสู้ กึ วา่ ธรรมชาตขิ องศลิ ปะ คือการทดลอง การเปล่ียนแปลง การเติบโตงอกเงย และ การเรียนรู้อันไม่มีวันสิ้นสุดของตัวผู้สร้างสรรค์เอง ดังนั้น การ ‘สอน’ ด้วยหลักสูตรหรือแนวทางสำ�หรับปฏิบัติ โดย มจี ดุ ประสงคใ์ หผ้ เู้ รยี นกา้ วไปสคู่ วามส�ำ เรจ็ ณ จดุ ใดจดุ หนงึ่ จึ ง ขั ด แ ย้ ง กั บ ค ว า ม ห ม า ย แ ล ะ ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ศิ ล ป ะ ปราบดา หยนุ่ 25
เป็นอนั ตรายอย่างยงิ่ ตอ่ การแตกหนอ่ ของจนิ ตนาการ แม้ว่าในโลกนี้จะมีผู้รู้ นักวิชาการ นักทฤษฎีและ ครูบาอาจารย์มากมาย ที่พร้อมจะร่างกฎเกณฑ์ต่างๆขึ้น เพื่อวางมาตรฐานของการเขียนหนงั สือ เพอื่ ตัดสินคณุ ภาพ งานของนักเขียน และเพื่อกำ�หนดประเภทของงานเขียน เป็นหมวดหมู่ แต่กิจกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นภายใต้โครงสร้าง ทางการศึกษา และเพื่อเติมเต็มช่องว่างให้วงจรปัญญาชน ของบางวงการและบางกลุม่ คนเท่าน้ัน ในบรรดากิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ การ สร้างสรรค์งานศิลปะคือกิจกรมที่มีอิสระท่ีสุด หลายคนมัก ลมื หรอื มองขา้ มอสิ ระมหาศาลนี้ เพราะเปน็ กงั วลกบั สายตา และคำ�พิพากษาของคนอื่นมาก เสียจนเกือบจะสร้างกรง ขึน้ มาขังจนิ ตนาการตวั เอง กฎในการเขียนหนังสือที่จำ�เป็นจริงๆมีอยู่ข้อเดียว น่ันคือต้องส่ือสารกับผู้อ่าน เพราะการเขียนหนังสือเป็น ศิลปะท่ีผลิดอกออกจากความต้องการท่ีจะพูดคุยกันของ มนษุ ย์ สว่ นจะส่ือสารอะไร สอื่ สารแบบไหน และส่อื สารเพ่อื อะไร ลว้ นขึ้นอยผู่ ้เู ขยี นทั้งสน้ิ ทว่าการ ‘ข้ึนอยู่กับผู้เขียน’ นี่เอง ท่ีเป็นความ ยากเย็นสาหัสของการเขยี นหนงั สอื และทนี่ ่ากลวั กค็ ือ ผม คิดว่ามันจะเป็นความยากเย็นที่มีแต่จะยากและเย็นขึ้น 26 เปน็ : เรียงความวา่ ดว้ ยลมหายใจในตัวหนงั สือ
เร่อื ยๆ ไมล่ ดนอ้ ยถอยลงตามเวลาและประสบการณ์ ส�ำ หรบั ผม งานเขยี นทต่ี อ้ งใชจ้ นิ ตนาการ ไมใ่ ชง่ านที่ ยิง่ ท�ำ ย่ิงเกง่ ยง่ิ ท�ำ ยิ่งชำ�นาญ ตรงกนั ขา้ ม ผมเช่อื ว่าผ้เู ขียน ควรจะหลกี ลห้ี นคี วามเกง่ และความช�ำ นาญใหห้ า่ งไกลทส่ี ดุ เท่าท่ีจะเป็นไปได้ เพราะความชำ�นาญเกิดขึ้นพร้อมๆกับ ความจำ�เจซ้ำ�ซาก อันเป็นศัตรูตัวสำ�คัญของจินตนาการ และความคดิ สรา้ งสรรค์ เวน้ แตว่ า่ ตอ้ งการอยา่ งนนั้ ตอ้ งการ จะเป็นนักเขียน ‘เฉพาะด้าน’ เช่น ชีวิตนี้จะเขียนแต่เรื่อง รักหวานแหววไปจนตาย หรือรักความบริสุทธิ์ของเด็ก เสยี เหลอื เกนิ ยงั ไงกจ็ ะเขยี นแตว่ รรณกรรมเยาวชนไปจนแก่ จนเฒ่า ผมคงไมส่ ามารถออกความเห็นอะไรได้ ทง้ั นผี้ มมไิ ดเ้ สนอวา่ คนเราไมค่ วรเรยี นรู้ ตรงกนั ขา้ ม เราควรเรยี นรู้ให้มากทส่ี ุดเทา่ ทจ่ี ะเปน็ ไปได้ และควรเรียนรู้ จากคนอืน่ แตเ่ มอื่ เรียนรูจ้ ากคนอน่ื ไดพ้ อประมาณแล้ว ผม คิดว่าสิ่งสำ�คัญต่อมาคือต้องหัดเรียนรู้จากตัวเอง หัดสอน ตัวเอง หัดวิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง หัดแก้ไขตัวเอง เพราะ คนอื่นไม่มีทางเข้ามาใช้มุมมองในสมองของเราได้ คนอื่น ไม่รู้ว่าเราเหมาะกับอะไร ถ้าเราฝึกทักทายและรู้จักตัวเอง แต่เน่ินๆ เราจะสามารถเป็นท่ีปรึกษาและเป็นท่ีพ่ึงอย่าง แน่นแฟ้นและเช่ือถือได้ที่สุดของตัวเอง โดยเฉพาะกับ งานเขยี นหนงั สอื และงานศลิ ปะทกุ แขนง อนั เปน็ งานทต่ี อ้ ง ปราบดา หยนุ่ 27
บ่มเพาะภายใน จะไม่มีใครช่วยเราได้ หากเราเห็นตัวเอง เป็นคนแปลกหนา้ คำ�แนะนำ�ในการเขียนหนังสือท่ีมักได้ยินบ่อยครั้ง จากนักเขียนคือ ‘เขียนถึงสิ่งที่ตัวเองรู้จัก’ ถึงแม้จะเป็น คำ�แนะนำ�ท่ีใช้ได้ในบางคร้ังบางคราว แต่ผมเห็นว่าไม่ใช่ หลักการตายตวั เสมอไป นักเขียนในอดตี บางคนก็สามารถ เขียนถึงสิ่งท่ีพวกเขาไม่รู้จักได้เป็นวรรคเป็นเวรและ เขียนได้อย่างสนุกสนานน่าทึ่งเสียด้วย เพราะสำ�หรับ งานเขยี นท่ีใชจ้ ินตนาการเปน็ ไฟฉายส่องทางตัวผ้เู ขียนเอง บางครั้งก็ไม่สามารถคาดเดาว่ามีอะไรรอคอยอยู่ใน ความมดื บา้ ง นนั่ คอื ความตนื่ เตน้ ระทกึ ขวญั อยา่ งหนง่ึ ในโลก แหง่ ตัวหนงั สือ สำ�หรับผม หลักการตายตัวเร่ิมแรกสำ�หรับการ เขียนหนังสือ และการสร้างสรรค์งานศิลปะใดๆก็ตาม คือ การท�ำ งานอยา่ ง ‘รู้จักตัวเอง’ การรู้จักตัวเองเป็นสิ่งท่ีทำ�ได้ง่ายและยากที่สุด ในชวี ิต เป็นกจิ กรรมท่ีไมม่ วี ันสิน้ สุด เพราะ ‘ตวั ตน’ ของเรา มีสิทธิ์เปล่ียนแปลงได้ตามเวลาและสภาพแวดล้อมตาม ระบบการเมืองและกฎเกณฑ์สังคม ดังนั้น จะเรียกว่าการ เขียนหนังสือสำ�หรับผม คือการทำ�ความรู้จักกับตัวเอง ไปจนตายก็ไม่ผดิ นัก 28 เปน็ : เรยี งความว่าดว้ ยลมหายใจในตัวหนงั สือ
จะได้รจู้ กั จริงๆสักครงั้ ไหมก็ไม่รู้! ความสนใจในตัวหนังสือของผมเกิดจากความ สนุกสนานไปกับจินตนาการ ไม่น่าเช่ือว่าตัวหนังสือ ที่เรียงร้อยเป็นคำ�บนหน้ากระดาษ จะสามารถสร้างภาพ ต่างๆนานาในหัวน้อยๆของเราได้ ทั้งยังสามารถกระตุ้น อารมณ์ให้เกิดอาการร่วมไปกับตัวละคร เกิดความรู้สึก เคลิ้มคล้อยไปกับบรรยากาศในเรื่อง ลุ้นระทึกถึงบทสรุป ท่ีไม่อยากให้มาถึงรวดเร็วเกินไปนัก และเมื่ออ่านจบแล้ว ต้องจบั หนังสอื ทงั้ เลม่ นั้นพลกิ ไปมาในมอื ดแู ลว้ ดอู กี พลาง นึกในใจด้วยความสนเท่ห์ว่า “กระดาษปึกน้ีมีโลกซ่อนเร้น อยู่ได้อยา่ งไร!” พลังของตัวหนังสือกระทบโดนคนอ่านแต่ละคน ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะซาบซึ้งไปกับตัวหนังสือที่ บรรยายถึงธรรมชาติอันงดงามยิ่งใหญ่ บางคนอาจจะ ฮึกเหิมไปกับตัวหนังสือท่ีอัดแน่นด้วยอุดมคติและปรัชญา เร่าร้อน บางคนอาจจะถูกกล่อมจนต้องนอนยิ้มท่ิมแก้ม โดยตัวหนังสือที่แต่งแต้มความสดใสของวัยเยาว์และ ความฝัน แรงกระทบหลากหลายรูปแบบเหล่านั้น ทำ�ให้ คนอา่ นบางคนเกดิ อยากเปน็ คนเขยี นเองบา้ ง และวฒั นธรรม การเขียนหนงั สือจงึ สบื ทอดตอ่ มาและตอ่ ไปในสงั คมมนษุ ย์ ปราบดา หยนุ่ 29
ในเมื่อแรงบันดาลใจเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ การ เขยี นหนงั สอื จงึ เปน็ ศลิ ปะแขนงหนงึ่ ทเ่ี ตม็ ไปดว้ ยอสิ ระ หาก มีใครมาประกาศปาวๆว่าการเขียนหนังสือต้องเป็น อย่างนั้นอย่างน้ี ต้องเขียนเพื่อน่ันเพ่ือนี่ คนคนน้ันคือ เผด็จการ เป็นผู้ทำ�ลาย และเป็นศัตรูสำ�คัญของศิลปะและ จนิ ตนาการ สำ�หรับคนเขียนหนังสือ ทั้งที่เขียนเป็นอาชีพและ เขียนเพราะรักท่ีจะเขียน การทำ�ความรู้จักกับตัวเองก็คือ การเขา้ ใจใน ‘อิสระ’ ของศิลปะแขนงน้ดี ้วย ผมขอยกตัวเองเป็นตัวอย่าง เพราะคงไม่แข็งแรง พอจะยกคนอื่นไหว พ้ืนฐานการอ่านหนังสือของผมแบ่งได้คร่าวๆเป็น ส่ีหมู่ (1) วรรณกรรมแปล ทั้งจากตะวันตกท่ีมีเนื้อหา เกี่ยวกับการผจญภัย การสืบสวน เร่ืองล้ีลับ เร่ืองแนว วทิ ยาศาสตร์ และวรรณกรรมแปลกำ�ลังภายในของจนี (2) วรรณกรรมไทย ที่มีเน้ือหาใกล้เคียงกับ วรรณกรรมตะวันตกในข้อแรก โดยเฉพาะวรรณกรรมชุด ลอ่ งไพร ของ นอ้ ย อนิ ทนนท์ เรอ่ื งสน้ั และนยิ ายบางเลม่ ของ หมอ่ มราชวงศค์ ึกฤทธ์ิ ปราโมช และงานตลกเรอ่ื ยเปื่อย แต่ ปราดเปรอื่ งของ ฮวิ เมอรสิ ต์ เรอ่ื งสนั้ ‘เพอื่ ชวี ติ ’ บางเลม่ และ 30 เปน็ : เรยี งความว่าดว้ ยลมหายใจในตวั หนงั สือ
อารมณข์ นั แบบ ‘’ถาปัดจฬุ า’ ท่ีรุ่งเรืองมากในยคุ หน่งึ (3) วรรณกรรมภาพวาด หรือ ‘หนังสือการ์ตูน’ โดยเฉพาะการ์ตูนญี่ปุน่ (4) กวีนิพนธ์และเน้อื เพลง เมื่อไปศึกษาต่อท่ีสหรัฐอเมริกา ความสนใจใน การอ่านการเขียนก็ยังสืบสาน ทำ�ให้ผมเริ่มศึกษาทั้ง ในห้องเรียนและด้วยตัวเองเรื่อยมา ได้รู้จักวรรณกรรม ต่างแขนงต่างรูปแบบ และพยายามค้นคว้าหาความรู้ เก่ียวกับประวัติศาสตร์วรรณกรรม รวมถึงทฤษฎี หลากประเภท จนบัดน้ีก็ยังศึกษาไม่จบส้ิน (และหวังว่าจะ ไมม่ วี นั จบ) แตผ่ มเชอื่ วา่ พนื้ ฐานหลกั จากประสบการณก์ ารอา่ น ในวยั เดก็ และวยั รนุ่ ฝากฝงั รากไวล้ กึ จนเปน็ สว่ นทสี่ �ำ คญั ยงิ่ ของ ‘ตัวผม’ และไม่ว่าจะมีความรู้ความสนใจเพ่ิมพูน ขน้ึ อกี เทา่ ไร ไมว่ า่ ปรชั ญาหรอื มมุ มองเกยี่ วกบั ชวี ติ และโลก ของผมจะขยับเขยื้อนไปทางไหน พื้นฐานสี่ข้อน้ันก็จะยัง ตามไปด้วยเหมอื นอวัยวะชนิ้ หนง่ึ ของร่างกาย ไม่ได้แปลว่าผมรู้จักตัวเองดีแล้ว แต่พ้ืนฐานทำ�ให้ พอจะเข้าใจแรงขับเคลื่อนภายในท่ีช่วยผมในการสื่อสาร ด้วยตัวหนังสือ พอจะเข้าใจว่าความชอบส่วนตัวที่ปรากฏ ในเน้ืองาน (บางครั้งก็ปรากฏแบบแอบๆ) คืออะไรบ้าง ปราบดา หยนุ่ 31
ผมชอบความลึกลับ ผมชอบประเด็นท่ไี มม่ คี �ำ ตอบ ผมชอบ ความสนุกของจินตนาการ ผมชอบสร้างโลกข้ึนใหม่บน หน้ากระดาษ ผมชอบหาสาระในสิ่งท่ีเหมือนจะไม่มีสาระ ผมชอบอารมณ์ขัน ผมชอบพฤติกรรมแปลกๆ (แต่ท่ีจริง แสนจะธรรมดา) ของคนในสังคม สิ่งเหล่าน้ีจึงจะมีอยู่ ในตัวหนังสือของผมเสมอ ไม่ว่าผมจะเลือกส่ือสารกับ คนอา่ นอยา่ งไร ไมว่ า่ ผมจะใช้ ‘ลกู เลน่ ’ หรอื ความคกึ คะนอง ทางรูปแบบประเภทใด กล่ินอายบางอย่างจากพ้ืนฐาน สี่ข้อน้ันจะยังหลงเหลือให้สัมผัส อาจจะเบาบางบางครั้ง หรือหนาแน่นบางคราว คละเคล้ากันไปตามความ เปล่ยี นแปลงของสภาพอารมณ์ การรจู้ กั อทิ ธพิ ลหรอื แรงบนั ดาลใจใหเ้ ขยี น เปน็ การ ทำ�ความรู้จักและทักทายตัวเองอย่างง่ายๆและรวดเร็ว ที่สุด และควรทำ�ด้วยความซ่ือสัตย์ โดยไม่ต้องเขินอาย หรือเกรงว่าแรงบันดาลใจของตนไร้สาระ ไม่จำ�เป็นหรอก ที่แรงบันดาลใจจะต้องมาจากวรรณกรรมยิ่งใหญ่ระดับ โลกหรือหนังสือประเภทปฏิวัติปรับเปล่ียนการปกครอง พลิกโฉมหน้าสังคม บางคนอาจจะชอบอ่านนิทานมาก จึงอยากเขียนนิทาน บางคนอาจจะชอบอ่านเร่ืองเกี่ยวกับ จติ วิญญาณ จึงอยากเขยี นผสี างนางไม้ บางคนอาจไม่ชอบ อา่ นอะไรเลย จงึ อยากเขยี นอะไรทตี่ วั เองอยากอา่ นขน้ึ มาเอง 32 เป็น: เรยี งความวา่ ด้วยลมหายใจในตวั หนังสอื
(ผมยงั ไม่เคยเจอคนประเภทนี้ แตก่ ็เป็นไปได้ทีจ่ ะมีอยูจ่ ริง) นักเขียนในอดีตหลายคนที่มีอิทธิพลต่อวงการวรรณกรรม ระดับสากล ก็มีพื้นฐานและได้แรงบันดาลใจจากการ์ตูน จากนยิ ายประโลมโลกมามากต่อมาก อิทธิพลและแรงบันดาลใจเป็นเพียงแรงขับ เป็น เช้ือเพลงิ ไมไ่ ด้หลอมเปน็ เนอื้ เป็นตัวของผูใ้ ช้ จงึ ไมจ่ �ำ เปน็ ที่งานเขียนของผมจะต้องออกมาในรูปแบบเดียวกันกับ งานของคนที่ผมอ่านหรือช่ืนชอบ เพราะเม่ือรู้จักว่าตัวเรา ใช่อะไร ไม่ใช่อะไร ก็จะสามารถใช้เช้ือเพลิงท่ีได้มาจาก คนอื่น ไปในเส้นทางเหมาะสมกับตัวเอง ซ่ึงอาจจะขนาน ไปกับทางของแรงบันดาลใจเหล่านั้น หรือถ้าไปบน เสน้ เดียวกัน กระทงั่ สวนทางกันก็เป็นได้ มงี านเขยี นหลายชนิ้ ทผ่ี มเคยชอบมากเมอ่ื สมยั เดก็ แต่เม่ือผ่านพ้นวัยหน่ึง ก็กลับเปล่ียนใจกลายเป็นไม่ชอบ และไม่รู้สึกอยากอ่านอีกเลย นี่เป็นปรากฏการณ์ปกติของ การเติบโตและมุมมองที่เปลี่ยนแปลงไปของคน ถึงกระนั้น ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่ิงที่เราเคยชอบ ได้กลายเป็นเช้ือเพลิง ในตวั เราเรยี บรอ้ ยแลว้ ทงั้ ยงั ถอื วา่ มบี ญุ คณุ กบั สมองไมน่ อ้ ย จึงไม่ควรหันไปดูถูกหรือเหยียดหยาม ไม่ชอบก็ไม่ชอบ เทา่ นนั้ คนทย่ี งั ชอบ และยงั ไดแ้ รงบนั ดาลใจจากสง่ิ เหลา่ นน้ั กม็ ถี มไป ปราบดา หยุ่น 33
ยกตัวอย่างง่ายๆด้วยภาพยนตร์ ผมเคยชื่นชม ผลงานการกำ�กบั หนังของ สตีเว่น สปลี เบิรก์ มาก ถงึ ขัน้ วา่ หนังเร่ืองไหนมีชื่อเขาปรากฏ ไม่ต้องกำ�กับก็ได้แค่เป็น ผู้ผลิต เป็นผู้นำ�เสนอ เท่านั้นผมก็เชื่อม่ันแล้วว่าต้องเป็น หนังดี เป็นหนังสนุก และในสมัยที่ผมเคยอยากจะเป็น ผกู้ �ำ กบั หนงั ผมกอ็ ยากเปน็ อยา่ งฮโี รค่ นนนั้ นน่ั เอง ทวา่ เมอ่ื โตขึ้น ร่ำ�เรียนมากขึ้น ได้รู้ได้เห็นอะไรมากขึ้น ได้ดูหนัง หลากหลายรูปแบบขึ้น ความคิดเกี่ยวกับสปีลเบิร์กก็ เปลี่ยนไป เดี๋ยวน้ีผมรู้สึกเหมือนเขาเป็นคนทำ�ลูกกวาด ทำ�ขนม แถมยงั ท�ำ ไม่อรอ่ ยเหมือนกอ่ น จึงไม่กระตอื รือรน้ จะดูหนังเขาทุกเร่ืองอีกแล้ว หนำ�ซ้ำ�ยังมีอคติในใจต้ังแต่ ยังไม่ได้ดูว่าหนังของเขาต้องแย่แน่ๆ ตรงกันข้ามกับ ความรู้สึกตอนเด็กชนิดสุดโต่ง แต่ผมก็พยายามสำ�นึก อยู่เสมอว่าเขามีส่วนกระตุ้นความสนใจเกี่ยวกับภาพยนตร์ ให้ผมอย่างมหาศาลในคร้ังหน่ึง ใครหรืออะไรก็ตามที่ สามารถกระตุ้นสมองของเด็กๆได้ผมถือว่าต้องไม่ธรรมดา และสปลี เบิรก์ ก็ไม่ธรรมดาแนน่ อน เพียงแตผ่ มได้รูจ้ ักคนท่ี ไม่ธรรมดาย่ิงไปกว่าเขาอีกมากหน้าหลายตาหลังจากน้ัน เหมอื นวันหน่งึ กร็ วู้ ่าไม่ควรกินลูกกวาด จึงเลิกกิน แตค่ วาม ตื่นเต้นทีเ่ คยได้ลิม้ ในอดตี ยังตราตรึงในความทรงจำ�เสมอ การทำ�ความรู้จักกับแรงขับพื้นฐานของตัวเอง 34 เปน็ : เรยี งความวา่ ด้วยลมหายใจในตัวหนังสือ
จึงมิได้แปลว่างานจะต้องออกมาในรูปแบบเดียวกันกับ อิทธิพลเหล่าน้ัน ระยะเวลาเบื้องต้นของชีวิต คือการเปิด คลงั สมองรับข้อมูล เมือ่ รบั เขา้ มามากพอ และถงึ เวลาอยาก ปล่อยข้อมูลออกไปให้คนอื่นบ้าง เราอาจจะเลือกปล่อย ข้อมูลท่ีแตกต่างจากที่เคยรับมาโดยสิ้นเชิง เพราะชีวิต เต็มไปด้วยประสบการณ์มากมายนอกเหนือไปจาก การอา่ นหนงั สอื อทิ ธพิ ลอน่ื กม็ บี ทบาทส�ำ คญั ไมน่ อ้ ยในการ ก่อรา่ งสรา้ ง ‘ตวั ตน’ ใหก้ ับมนุษย์คนหนึง่ อิทธิพลอ่ืนๆน่ันเอง ท่ีทำ�ให้การรู้จักตัวตนเพื่อ การเขียนหนังสือทำ�ได้ยากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้า ต้องการเขียนตัวหนังสือท่ีหายใจในแบบของตัวเอง ไม่หยิบยืมหรือลักขโมยปอดหรือจมูกของนักเขียนคนอ่ืน มาใช้ ณ บดั นี้ ผมเป็นชายวัยใกลส้ ามสบิ ปที ่ีไม่เคยเผชญิ กับความลำ�บากทางร่างกายและการเงิน ในยุคเร่ิมแรก สมัยที่ผมยังเด็ก ฐานะทางครอบครัวถือว่าปานกลาง ไมร่ วย ไมจ่ น ไมเ่ คยตอ้ งอดมอ้ื กนิ มอื้ ตอ่ มาเมอื่ ธรุ กจิ ของพอ่ เตบิ โตขนึ้ ฐานะทางการเงนิ กด็ ขี น้ึ โดยทผ่ี มไมไ่ ดร้ เู้ รอื่ งรรู้ าว หรือใส่ใจนัก รู้แต่ว่าตัวเองได้ร่ำ�เรียนครบถ้วน และ มโี อกาสจะไดไ้ ปเรยี นตอ่ ตา่ งประเทศ แสดงวา่ คงมเี งนิ พอใช้ จนทุกวันน้ี ถึงจะมีคนจำ�นวนมากมองว่าผมเป็นลูกเศรษฐี ปราบดา หยุ่น 35
แต่โดยส่วนตัวแล้วผมไม่รู้สึกเช่นนั้นเลย ก็ยังคงรู้สึกแค่ว่า มเี งนิ พอใชไ้ มล่ �ำ บาก เพราะพอ่ กบั แมก่ ไ็ มเ่ คยพดู ถงึ เรอ่ื งเงนิ หรอื แสดงความร่ำ�รวยใหเ้ ห็นในการดำ�เนินชวี ิตวันตอ่ วัน สถานภาพทางครอบครัวย่อมเป็นอิทธิพลหนึ่ง ในการทำ�งานแน่นอน เนื่องจากไม่เคยต้องลำ�บาก ความสนใจของผมจงึ ปราศจากอปุ สรรค ความชน่ื ชอบศลิ ปะ จงึ มงุ่ ไปในทศิ ทางของปรชั ญา อารมณ์ ความรสู้ กึ พนื้ ฐานและ พฤติกรรมสากลของมนุษย์ มากกว่าอุดมคติทางการเมือง หรือความต้องการ ‘ยกระดับสังคม’ และถึงแม้จะคำ�นึงถึง ปัญหาต่างๆท่ีเกิดขึ้นรอบตัว ผมก็สำ�นึกเสมอว่าตนไม่มี ประสบการณ์ร่วมจริง และหากพยายามเค้นอุดมการณ์ ออกมาเป็นตัวหนังสือ ก็จะเป็นการหลอกท้ังตัวเองและ ผอู้ น่ื อยา่ งใหอ้ ภยั ไมไ่ ด้ แตเ่ นอ่ื งจากไมเ่ คยใชช้ วี ติ สรุ ยุ่ สรุ า่ ย แบบเศรษฐี บางครั้งผมจึงสามารถอยากเขียนสะท้อน ความฟุ่มเฟือยเฟะฟะอันเกินขอบเขตของคนรวยได้อย่าง ไมเ่ คอะเขนิ ดว้ ยเชน่ กนั (แถม : เคยไดย้ นิ ค�ำ สอนทว่ี า่ คนเรา ควรรู้ค่าของเงินไหมครับ ทำ�ไมไม่สอนกันว่าท่ีจริงแล้ว เงินไม่มีค่าบ้างก็ไม่รู้ ผมว่าน่ันต่างหากท่ีเป็นความจริง หรอื นจ่ี ะเปน็ เพยี งตวั อยา่ งหนง่ึ ของความคดิ แบบชนชน้ั กลาง ทไ่ี ม่เคยล�ำ บาก!) 36 เป็น: เรยี งความว่าด้วยลมหายใจในตัวหนงั สือ
คงเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ไม่ใช่เล่น ท่ีใครบางคนจะ เขียนหนังสือสักเล่ม แล้วส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ในสังคมได้ แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถเขียนหนังสือเล่มน้ัน และท่สี ำ�คัญยิง่ กวา่ ก็คือ ใช่ว่าทกุ คนจะ ‘ต้อง’ เขียนหนงั สอื เล่มนนั้ การทำ�ความรู้จักกับตัวเองอีกข้ันหน่ึง คือรู้จัก สถานภาพของตัวเอง ท้ังฐานะความเป็นอยู่และฐานะ ทางปญั ญา ผมเชื่อว่าศิลปะไม่ใชเ่ คร่อื งมอื ของคนชนชน้ั ใด ชนช้ันหนึ่ง ถึงแม้จะติดเกาะอยู่คนเดียว ก็มีสิทธ์ิสร้างงาน ศลิ ปะได้ ดงั นน้ั อยา่ วางงานเขยี นหนงั สอื ไวบ้ นหง้ิ อยา่ บชู า วา่ วรรณกรรมคอื สงิ่ ศักด์สิ ิทธ์ิที่ตอ้ งมีความ ‘สำ�คัญ’ ตอ่ โลก อยากจะเขียนอะไรก็เขียน ไม่มีอะไรสำ�คัญ และไม่มีอะไร ไม่สำ�คัญ อย่าดูถูกคนเขียนหนังสือที่ทำ�งานต่างไปจาก ความสนใจของเรา หากลองนกึ กลบั ไปถงึ พน้ื ฐานขน้ั ตน้ ในประสบการณ์ การอ่านของตัวเอง หนังสือตลกโปกฮาอันเบาบางทั้งสาระ และความงดงามทางภาษา บางครั้งกลับเปลี่ยนอารมณ์ ผู้อ่านได้อย่างน่าท่ึง จากเศร้าให้เป็นสุข จากเหงาหงอย เป็นร่ืนรมย์ อย่างน้ีจะดูถูกว่าหนังสือเร่ืองน้ันเป็น ขยะวรรณกรรมหรือ อะไรที่ใช้ประโยชน์บางอย่างได้ ย่อมไม่ใช่ขยะ ขยะเกิดขึน้ จากการไม่รจู้ กั ใช้เท่าน้นั ปราบดา หยนุ่ 37
ผมไม่ได้ชอบงานเขียนทุกรูปแบบ เปล่าครับ-ยัง ไม่ใจกวา้ งขนาดนั้น แต่ในความไมช่ อบ ตอ้ งเข้าใจวา่ ความ หลากหลายเป็นปัจจัยส�ำ คญั ยง่ิ ของศลิ ปะ ผมเคยอ่านเรือ่ ง ของคนไมช่ อบความหลากหลายอยคู่ นหนงึ่ ทงั้ ๆทเี่ ขากช็ อบ ศิลปะเหมอื นกนั เขาชื่อเอดอรฟ์ ฮิตเลอร์ เขาฆ่าคนไปเป็น จ�ำ นวนมาก เพยี งเพราะอคตแิ ละความรงั เกยี จ ฮติ เลอรเ์ คย สมคั รเขา้ โรงเรยี นศลิ ปะแลว้ เขา้ ไมไ่ ด้ ซงึ่ สมควรแลว้ เพราะ ศลิ ปะกบั การฆา่ คนไม่เคยอยรู่ วั้ เดยี วกนั การทำ�ความรู้จักตัวเองท่ีอาจจะยากที่สุดในการ เขยี นหนงั สอื คอื รจู้ กั วา่ เขยี นเพอื่ อะไร ฮติ เลอรเ์ ขยี นหนงั สอื (ไมร่ ใู้ ช้ Ghostwriter หรอื เปล่า) ขนึ้ มาเลม่ หนึ่ง และส่งั เผา เลม่ อน่ื ทงิ้ หมด เพอื่ ครอบง�ำ ประชาชนใหค้ ลอ้ ยตามความคดิ ของเขาคนเดยี วเราอยากเขยี นหนงั สอื เพอ่ื จดุ ประสงคเ์ ดยี วกบั ฮิตเลอร์หรือเปล่า คงมีน้อยคน แต่สิ่งท่ีคนเขียนหนังสือ ส่วนมากมีเหมือนกันกับฮิตเลอร์ คือความต้องการส่ือสาร ความเชื่อบางอย่างหรือหลายอย่างของตัวเองให้คนอื่น ไดร้ ับรู้ ไม่ว่าความเชื่อนั้นจะแอบแฝงอยู่ในรูปแบบของ สัญลักษณ์ในเนื้อหา หรือจะประกาศออกมาโต้งๆตลอด เร่ือง ไม่ว่าจะเป็นความเช่ือระดับปรัชญาล้ำ�ลึกหรือเพียง ตอ้ งการบอกวา่ กอ่ นขา้ มถนน ควรหนั มองซา้ ยขวา กถ็ อื เปน็ 38 เปน็ : เรยี งความว่าด้วยลมหายใจในตัวหนงั สือ
แกนสำ�คัญของการสื่อสารระหว่างคนเขียนและคนอ่าน และทำ�ให้ตัวหนังสือมีความ ‘เป็น’ มีลมหายใจ มีนิสัย มีสมอง มีบุคลิกขึ้นมาได้ เมื่อนั้นเองท่ีจะเกิดศิลปะขึ้น บนหน้ากระดาษ แทนท่จี ะเปน็ เพียงการเขยี นแบบบรรยาย ใตภ้ าพเพือ่ รายงานข่าวด้ือๆ การ ‘หา’ จุดประสงค์ในการเขียนหนังสือ ไม่ใช่ เรอื่ งยาก เพราะสามารถเลยี นแบบจดุ ประสงคข์ องคนอนื่ ได้ มากมาย ทยี่ ากคอื การท�ำ ความรจู้ กั กบั จดุ ประสงคข์ องตวั เอง และเรยี บเรยี งใหต้ วั เองเขา้ ใจไดว้ า่ ตอ้ งการสอื่ สารเรอ่ื งอะไร กับคนอ่าน ทั้งน้ีมิได้แปลว่านักเขียนคนหนึ่งต้องมีจุดประสงค์ เดียวในการเขียนหนังสือ ในทางตรงกันข้ามย่ิงมีหลาย จุดประสงค์ก็จะย่ิงทำ�งานได้อย่างไร้ขีดจำ�กัด และ จุดประสงค์ก็เปลี่ยนแปลงได้ตามความสนใจอีกเช่นกัน จะเห็นว่าชาวตะวันตกยุคบุปผาชนจำ�นวนมากได้แปรผัน ตัวเองมาเป็นนักธุรกิจเป็นชาวทุนนิยมเต็มตัว กระโดด เปลย่ี นจดุ ยนื โดยไมห่ นั กลบั ไปมอง การเปลยี่ นแปลงอยา่ งน้ี เปลย่ี นทงั้ มมุ มองและพฤตกิ รรมในชวี ติ ประจ�ำ วนั การเขยี น หนงั สอื กส็ ามารถเกดิ กรณนี น้ั ไดเ้ ชน่ กนั จากเพอ่ื ชวี ติ คนอน่ื เป็นเพ่ือชีวิตตัวเอง จากเพ่ือความฝันและจินตนาการเป็น เพอ่ื ธรุ กจิ การเงนิ กไ็ มแ่ ปลก เพยี งแตต่ อ้ งยอมรบั และซอ่ื สตั ย์ ปราบดา หย่นุ 39
กับความเปลย่ี นแปลงเทา่ นั้น เสน่ห์อย่างหนึ่งในการอ่านหนังสือ คือได้ค้นหา จดุ ประสงคข์ องผเู้ ขยี นไปดว้ ย ไดซ้ มึ ซบั ปรชั ญาและมมุ มอง ชวิี ติ ในแบบเฉพาะของคนคนนนั้ มนั อาจจะไมง่ า่ ยนกั ยงิ่ ถา้ จดุ ประสงคเ์ หลา่ นไ้ี มไ่ ดถ้ กู เขยี นออกมาอยา่ งชดั เจนแจม่ แจง้ แต่ผมคิดว่าการ ‘ต้อง’ ค้นหา ทำ�ให้ตัวหนังสือย่ิงมีเสน่ห์ และในทางกลบั กนั การประกาศตัวเองอย่างโฉง่ ฉา่ ง ทำ�ให้ เสน่ห์ในเนื้อหาลดน้อยลง เช่น นักเขียนผู้ฝักใฝ่ในปรัชญา สังคมนิยม แทนที่จะให้ตัวละครพูดปาวๆว่าสังคมนิยม ดีอย่างนั้นอย่างน้ี ก็อาจจะหลบเล่ียงโดยการให้ตัวละคร มีรอยสักเปน็ หัวประธานเหมา อยูบ่ า้ นกน็ ่งั อา่ นหนงั สือของ คาร์ล มารก์ ซ์ อะไรทำ�นองนนั้ แลว้ ใหค้ นอา่ นเขา้ ใจไปเอง (ถ้าไม่เข้าใจก็ทำ�ให้ต้องไปค้นคว้า ได้ความรู้เพิ่มข้ึนอีก ต่างหาก) หรือจะเขียนเรื่องท่ีสอนสัจธรรม ‘เวรย่อมระงับ ด้วยการไม่จองเวร’ ก็ใช้การผูกเรื่องให้ส่ือได้ความหมาย เดียวกัน ไม่ต้องให้พระสงฆ์มายืนค้ำ�หัวแล้วเทศน์ออกมา ให้เปลืองน้ำ�ลาย เปลืองตวั หนังสอื และซ้ำ�ซากจ�ำ เจ คนที่มีจุดประสงค์ให้กับตัวเอง แม้จะเขียนเรื่อง ไร้สาระ ก็สามารถใช้ความไร้สาระให้ส่ือเป็นปรัชญาหรือ มุมมองชวี ติ ซึง่ ในความเห็นส่วนตวั ผมรู้สึกทึง่ กับนกั เขียน ทที่ �ำ อยา่ งนน้ั ได้ มากกวา่ นกั เขยี นทใี่ ชต้ วั หนงั สอื เตม็ ไปดว้ ย 40 เป็น: เรยี งความวา่ ดว้ ยลมหายใจในตวั หนงั สอื
สาระเพ่ือเสนอสาระด้วยซ้ำ� เพราะผมคิดว่าธรรมชาติก็ สอนคนดว้ ยวธิ เี ดยี วกนั ในกระแสลมทพี่ ดั เยน็ ๆ นอกจากจะ มคี วามสบายกายแลว้ ยงั มวี ทิ ยาศาสตรใ์ หศ้ กึ ษา ใหท้ ดลอง ดอกไม้นอกจากจะสวยเม่ือได้เห็น ก็ยังมีรายละเอียดให้ เรียนรู้ลึกซึ้งไปกว่าภาพภายนอก การอ่านหนังสือที่ เตม็ ไปดว้ ยความสนกุ สนาน แลว้ จๆู่ กต็ อ้ งชะงกั เพอ่ื หยดุ คดิ จู่ๆสมองต้องตกเก้าอี้ จู่ๆสติก็สว่างโร่พร้อมๆกับอุทานว่า “เออ! จริงด้วย!” ผมคิดว่าน่ันคือตัวหนังสือที่ก้าวถึงความ เปน็ ศิลปะอยา่ งแท้จรงิ เม่ือเป็นนักเขียนที่คนรู้จักขึ้นมา จะมีคำ�ถามเสมอ ว่า “ต้องการส่ืออะไร” คำ�ถามนี้มักออกจากปากของคนที่ ไม่อ่าน หรือพื้นฐานการอ่านไม่แข็งแรง เพราะการเขียน หนังสือก็คือการส่ือบางอย่างอยู่แล้ว ถึงผมจะเขียนแค่ว่า ‘นกตกลงมาจากกงิ่ ไม’้ กส็ อ่ื บางอยา่ ง และสอ่ื ชดั เจนเสยี ดว้ ย ดงั นน้ั ส�ำ หรบั ค�ำ ถามนี้ ผมคดิ วา่ ไมต่ อ้ งตอบ หรอื ไมเ่ ชน่ นนั้ กต็ อบโม้ๆไปเลยดกี วา่ ถา้ ผมต้องการสื่อดว้ ยค�ำ พดู ผมคง ไม่เขยี น ความเชอ่ื เกยี่ วกบั วรรณกรรมของคนเราในปจั จบุ นั ถูกจำ�กัดขอบเขตไว้มาก ไม่ว่าจะโดยนักวิชาการ หรือ โดยนักเขียนเผด็จการ เม่ือได้อ่าน ‘นกตกลงมาจากก่ิงไม้’ ผู้อ่านหลายคนจึงคิดว่าผู้เขียนต้องพยายามแอบแฝง ปราบดา หยุน่ 41
ความหมายลึกซ้ึงบางอย่างเอาไว้ในคำ�เจ็ดคำ�น้ันเป็นแน่ ใครเล่าจะง่ีเง่าถึงขั้นเขียนประโยคไร้สาระอย่างนั้นออกมา เฉยๆ เป็นไปได้ท่ีบางคนอาจจะใช้นกเป็นสัญลักษณ์ของ อิสรภาพ และการตกลงมาจากกิ่งไม้ก็คือการสูญสลายไป ของอิสรภาพน้ัน แต่ก็เป็นไปได้เช่นกัน ท่ีบางคนจะเขียน เพียงต้องการส่ือตรงๆ ว่านกตัวหน่ึงตกลงมาจากก่ิงไม้ ใครจะท�ำ ไม ผมเห็นความงดงามในสองมุมมองเท่าเทียมกัน แต่วรรณกรรมปัจจุบันมักโอนเอียงไปในทาง ‘ความหมาย’ มากกวา่ ความรสู้ กึ ดงั นนั้ คนทน่ี ยิ มจะบอกแคว่ า่ นกตกลงมา จากกิ่งไม้ จึงถูกต้ังข้อสงสัยมากกว่าคนท่ีใช้นกเป็น สัญลกั ษณ์ การรู้จักตัวเองและรู้จักส่ิงที่ตัวเองต้องการจะส่ือ จงึ ส�ำ คญั เมอื่ ตอ้ งเผชญิ กบั สายตาของผอู้ า่ น มใิ ชเ่ พอ่ื ปกปอ้ ง ผลงานหรือความเช่ือของตัวเอง แต่เพ่ือความมั่นคงใน การกระทำ� กับงานเขียนของผม มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ หลายคร้ังว่าอ่านไม่รู้เร่ือง ไม่รู้จะอ่านไปทำ�ไม อ่านแล้ว ไม่ได้อะไรข้ึนมา อ่านแล้วไม่สื่ออะไรเลย ซ่ึงถ้าผมไม่รู้จัก ตัวเอง ไม่รู้จักสิ่งท่ีตัวเองต้องการจะสื่อ ก็ไม่รู้จะเขียน ต่อไปทำ�ไมจริงๆ 42 เปน็ : เรียงความว่าด้วยลมหายใจในตัวหนงั สือ
ผมสื่อบางอย่างแน่นอน เพียงแต่สิ่งท่ีสื่อ อาจจะ สะกดิ บางคน ไม่สะกิดบางคน เป็นเรอ่ื งเหนือความควบคมุ ของผม บางครง้ั นกของผมกห็ มายถงึ อสิ รภาพทถ่ี กู กระชาก ไปจากมนุษย์ บางครง้ั มนั กเ็ ปน็ นกธรรมดาท่ีหวั ใจวายตาย จึงตกลงมาจากกง่ิ ไม้ ส่ิงที่สำ�คัญท่ีสุดสำ�หรับผู้สนใจจะให้ตัวหนังสือสื่อ จนิ ตนาการ คือตอ้ งระลึกวา่ ในโลกน้ี ในเอกภพน้ี ไมม่ อี ะไร ไร้สาระ และไม่มีอะไรท่ี ‘ไม่มีอะไรเลย’ แมแ้ ตใ่ นอากาศใสๆตรงหนา้ ยงั มฝี นุ่ ละอองลอ่ งลอย เกลือ่ นกลาด เพียงแต่เรามองไม่เหน็ เท่าน้ัน ‘นกตกลงมาจากกงิ่ ไม’้ จงึ มเี สนห่ น์ า่ คน้ หาลน้ เหลอื โดยไม่ตอ้ งแอบแฝงสัญลกั ษณ์อะไรเขา้ ไปแมแ้ ต่นอ้ ย มีคนเคยพูดว่า “เม่ือเล่าเรียนจบแล้ว ชีวิตที่เหลือ ควรใชไ้ ปกบั การลบล้างสิง่ ที่เรียนมา” ผมจำ�ไมไ่ ด้วา่ ใครพูด แตม่ นั เปน็ ความเหน็ ทน่ี า่ ฟงั ไมน่ อ้ ย ถงึ แมก้ ารศกึ ษาจะเปน็ ปัจจัยบังคับสำ�คัญอันดับหน่ึงสำ�หรับการใช้ชีวิตในสังคม ปัจจบุ นั และยังเปน็ ตวั ชน้ี ำ�ทาง ‘อ�ำ นาจ’ ว่าใครจะไดด้ หี รอื ไมไ่ ดด้ ี ได้การงานใหญโ่ ตหรือหนา้ ทต่ี ่ำ�ตอ้ ย ได้เป็นครใู หญ่ หรือภารโรง แตก่ ารศึกษาก็เปน็ กรอบอยา่ งหนง่ึ ของมนุษย์ ที่สร้างข้ึนเพื่อจุดประสงค์เฉพาะเท่านั้น คนท่ีเรียนจบสูงๆ มักจะได้รับคำ�เยินยอว่าเป็นปัญญาชน เป็นคนฉลาด ปราบดา หยนุ่ 43
ในขณะที่ผู้ด้อยการศึกษามักถูกมองว่าโง่เขลา ไม่ทันคน ไมม่ คี วามสามารถทจ่ี ะคดิ อะไรล้ำ�ลกึ ได้ ทงั้ หมดน้ี คนมกั จะ ลมื ไปวา่ มนั เปน็ เพยี งการมองโลกภายใตก้ ฎเกณฑข์ องสงั คม ถงึ แมว้ า่ การศกึ ษาจะท�ำ ใหส้ มองของคนเราไดใ้ ชง้ านมากขน้ึ จริง แต่ก็มิได้แปลว่าจะเป็นส่ิงถูกต้องหรือมีคุณค่าต่อชีวิต ไปเสียท้ังหมด ในเม่ือเป็นกรอบเป็นกฎ การศึกษาจึงต้อง ถูกออกแบบให้ครอบคลุมคล้ายกัน ท้ังท่ีโดยธรรมชาติของ แตล่ ะคนยอ่ มเหมาะสมกบั ความรูท้ ่แี ตกตา่ งกัน ปัญหานั้นยังไม่น่ากลัวเท่าไรนัก แต่การท่ีคนมัก ทึกทักเอาว่าความรู้ท่ีตนศึกษาจากสถาบันนั้นย่อมเป็น ความจริง เป็นความถูกต้อง เป็นสากลโลก น่ันต่างหากที่ ผมคิดว่าเป็นปญั หาบั่นทอนการเขา้ ใจชวี ิต เม่ือคนเช่ือในตำ�ราเช่ือในทฤษฎีท่ีถูกเสี้ยมสอน ก็ละเลยท่ีจะต้ังคำ�ถาม และเหมาเอาว่าตนรู้ทุกอย่างดังท่ี ควรจะรู้และเชือ่ ถือแลว้ อุปสรรคใหญ่ของการรู้จักตัวเองก็คือการศึกษา ท่สี ะสมอย่ลู ้นหลามจากหลักสูตรต่างๆน่นั เอง ในงานเขียน หรืองานศิลปะทุกแขนง เร่ืองน้ีก็เป็นตัวการสำ�คัญท่ีทำ�ให้ ความคิดสร้างสรรค์ของเรามีขีดจำ�กัดต่ำ�กว่าท่คี วร เราใช้ มุมมองและแนวคิดท่ีถูกป้อนใส่สมองจากห้องเรียน และตำ�รามากเกินไป ส�ำ หรบั คนทโี่ ชคดี มีโอกาสได้ร่ำ�เรยี น 44 เป็น: เรียงความว่าดว้ ยลมหายใจในตัวหนังสอื
สูงๆ หรือมีประสบการณ์ถึงเมืองนอกเมืองนา ก็น่ายินดี และผมเชื่อว่าถ้าใครสามารถศึกษาหาความรู้ไปได้เรื่อยๆ ตลอดชีวิต ก็ย่ิงควรทำ�อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ในขณะที่ เรียนอยู่นั้น ก็จำ�เป็นท่ีจะต้องทบทวนสิ่งท่ีเรียนมา และ ใช้เหตุผลลบล้างบางอย่างหรือหลายอย่างออกไปด้วย ตำ�ราไม่ได้ถูกเสมอไป ครูบาจารย์ไม่ได้ถูกเสมอไป แม้แต่ ความเชอื่ ของเราเองกไ็ มไ่ ดถ้ กู เสมอไป ดงั นนั้ กจิ กรรมส�ำ คญั ในการรู้จักตัวเอง คือการหัดชะล้างส่ิงที่ไม่ใช่ตัวเองออก การเรียนอะไรนานๆ ก็เหมือนถูกล้างสมอง หรือถูก เคลือบสมองด้วยความคิดและความเชื่อของคนอ่ืน เม่ือ สมองถูกเคลือบหนาขึ้น ก็น่าจะขูดมันออกบ้าง กอ่ นทเ่ี รา จะมองไมเ่ หน็ สมองของตวั เองอกี เลย เมื่อพอจะรู้จักและเข้าใจตัวเองแล้ว ความมั่นใจ ในการสื่อสารกับคนอื่นก็จะเกิดข้ึนโดยอัตโนมัติ และโดย ไม่ต้องแหกปากป่าวประกาศให้ใครรู้ เราจะรู้ของเราเอง จะเข้าใจของเราเอง และถึงแม้บางความคิดจะดูเหมือนว่า สอ่ื สารออกมายากเยน็ เหลอื เกิน ดูเหมือนจะไม่มใี ครเขา้ ใจ เอาเสยี เลย ผมคดิ ว่าอย่างไรเสยี กต็ ้องมีอีกหน่งึ คนท่เี ขา้ ใจ ถา้ เรารจู้ กั ตวั เองจรงิ ความไมเ่ ขา้ ใจจากขา้ งนอกจะไมท่ �ำ ให้ เราหว่นั ไหว ปราบดา หยนุ่ 45
คนท่ีสนใจจะเขียนหนังสือ เพราะมีความผูกพัน กับตัวหนงั สือ เพราะมีความรักทจ่ี ะท�ำ ถึงแมไ้ ม่มคี นเขา้ ใจ ผมเชื่อว่าก็ยังต้องทำ�อยู่ดี เพราะมันขาดไม่ได้ ไม่ทำ�ไม่ได้ ดังนั้นคนที่พยายามแล้วรู้สึกว่าตนไม่สำ�เร็จ คนอื่นไม่เห็น จะอา่ น ไมเ่ หน็ จะมาสนใจ เขียนเทา่ ไรกไ็ มด่ ังเสยี ที แมแ้ ต่ ตวั เองกไ็ มส่ นกุ ท่ีจะเขียน กเ็ ป็นวสิ ยั ที่โทษคนอ่นื ไม่ได้ เมื่อ ไมม่ คี วามสขุ ทจ่ี ะท�ำ ก็ไมค่ วรทำ� อาจจะฟังดโู หดรา้ ยสักนดิ แตผ่ มไมเ่ ชอ่ื ในการฝนื ความสามารถหรอื ความรสู้ กึ ของตวั เอง ในศลิ ปะทกุ แขนง ผมเชอ่ื วา่ ความผกู พนั ตอ้ งมากอ่ น ความเปน็ อาชพี ถา้ เรม่ิ เขยี นหนงั สอื เพราะคดิ วา่ จะขายดี จะ เปน็ เบสตเ์ ซลเลอร์ จะเท่ จะท�ำ ใหต้ วั เองดชู าญฉลาด อยา่ งนี้ ผมว่าอย่าเขียนเลย เพราะผิดจุดประสงค์ต้ังแต่แรกแล้ว และในความเป็นจริงก็คือ มีอาชีพมากมายท่ีจะนำ�เงินมา เข้ากระเป๋าคนได้มากกว่าการเขียนหนังสือ จะเสียเวลา เมอ่ื ยสมองท�ำ ไม แตว่ นั ใดทค่ี วามผกู พนั กบั ตวั หนงั สอื ของใครคนหนง่ึ เป็นที่รู้จักในวงกว้าง กลายเป็นนักเขียนอาชีพท่ีมีคน ตามอา่ นเหนียวแนน่ คนคนนน้ั จะเป็นคนท่นี ่าอิจฉา แมว้ า่ มันจะไม่ใช่งานที่เป็นธุรกิจร่ำ�รวย และไม่สามารถคาดเดา ความอยรู่ อดในอนาคตได้ แต่ ณ เวลาท่ีตัวหนงั สือของเขา หรอื เธอมลี มหายใจแขง็ แรงจนพดู คยุ กบั คนอนื่ รเู้ รอื่ ง แถมยงั 46 เป็น: เรียงความว่าด้วยลมหายใจในตัวหนังสือ
เป็นที่นิยม เป็นที่ต้องการ นนั่ คอื ความสำ�เร็จของ ‘ตวั ตน’ ของคนคนน้ันอย่างแท้จริง ไม่ใช่ความสำ�เร็จที่มากจาก ตำ�แหน่งการงาน พื้นฐานการศึกษา ฐานะทางครอบครัว หรือรูปร่างหน้าตา แต่เป็นความสำ�เร็จจากการสื่อสารจาก ภายในลว้ นๆ ที่ไมส่ ามารถมีใครมาโค่นล้างได้ สำ�หรับผม การเขียนหนังสือเป็นศิลปะท่ี มีความพิเศษตรงความเป็นงานท่ีง่ายที่สุดและยากที่สุด สบายที่สุดแต่ลำ�บากท่ีสุด ว่างเปล่าท่ีสุดแต่ลึกซึ้งที่สุด เงยี บเหงาท่สี ุดแต่ครกึ ครนื้ ท่ีสุด และเป็นส่ิงทไ่ี ด้ใช้ ‘ตวั ตน’ ของเราใหค้ ้มุ คา่ ทส่ี ุด ผมยงั จ�ำ ไดว้ า่ ครงั้ หนง่ึ ขณะก�ำ ลงั นงั่ วาดรปู ระบายสี อยกู่ บั เพอื่ น ผมบน่ ขน้ึ วา่ ถา้ เลอื กได้ ผมอยากเขยี นหนงั สอื มากกว่าเขียนรูป เพราะการเขียนหนังสือเกือบจะไม่ต้อง ใช้อุปกรณ์อะไรเลย ในขณะท่ีงานศิลปะแขนงอ่ืน ตอ้ งพงึ่ อปุ กรณม์ ากมาย วาดรปู กต็ อ้ งมสี ี มพี กู่ นั มผี า้ ใบ มไี ม้ มีโน่นมีนี่สารพัด แต่ถ้าจะเขียนหนังสือ มีแค่ดินสอกับ กระดาษก็พอ หรือถ้าความเจริญทุกอย่างบนผิวโลกต้อง พังพินาศไปสักวันหน่ึง ผมก็ยังเขียนหนังสือได้ ตราบใดท่ี ยังมสี มองอยู่ ทกุ วนั นผ้ี มกเ็ ชอ่ื อยา่ งนน้ั ผมเขยี นหนงั สอื ในหวั กอ่ น เสมอ และถงึ แมจ้ ะชอบความ ‘สด’ และการ ‘ดน้ ’ เรอื่ งโดยไม่ ปราบดา หยนุ่ 47
วางพลอ็ ตอยา่ งละเอยี ดกอ่ นเขยี น แตก่ ไ็ มม่ งี านชน้ิ ไหนเลย ที่ผมเขียนออกมาจากสมองกลวงๆ ถึงจะเตรียมการน้อย ขนาดไหน ในหวั กม็ บี างอยา่ งถกู เขยี นขนึ้ แลว้ และนน่ั คอื การ เขยี นหนังสอื ท่แี ท้จรงิ กระดาษเปน็ เพยี งวธิ แี ปรคลน่ื สมอง เป็นรูปธรรมเทา่ น้นั การรู้จักตัวเองทำ�ให้การเขียนหนังสือเกิดข้ึนได้ โดยไม่ต้องเขียน และย่ิงรู้จักมากเท่าไร เข้าใจมากเท่าไร การเขียนความคิดลงบนกระดาษ ลงบนคอมพิวเตอร์ก็จะ ย่ิงง่ายข้ึน นักเขียนท่ีทำ�ได้อย่างน้ัน จะไม่มีวันได้นั่งนอน หรือยืนอยู่เฉยๆ โดยไม่ทำ�งานอีกเลยตลอดชีวิต เพราะ สมองจะเขยี นอยไู่ มห่ ยดุ หยอ่ น เหน็ นกั เขยี นนง่ั เหมอ่ อยนู่ งิ่ ๆ อย่านึกว่าเขาข้ีเกียจหรือเมายา เขาอาจกำ�ลังทำ�งานอยู่ อยา่ งขะมักเขมน้ ผมรู้สึกเป็นอย่างย่ิงว่าใครท่ียังไม่ค่อยรู้จักตัวเอง จะเร่ิมเขียนหนังสือได้ด้วยความยากลำ�บาก และในท่ีสุด กจ็ ะท้อถอยไป ดังนัน้ กอ่ นจะเขยี นอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น เรอื่ งสน้ั เรอ่ื งยาว สารคดี บทกวี คอลมั น์ อะไรกต็ ามทต่ี อ้ งใช้ ศิลปะแห่งภาษาในการทักทายสายตาและสมองของคนอื่น จ�ำ เปน็ อยา่ งยง่ิ ทจี่ ะตอ้ งทกั ทายสายตาและสมองของตวั เอง อย่างเหมาะสม แต่อย่าเช่ือผมมากนะครับ! 48 เปน็ : เรียงความวา่ ดว้ ยลมหายใจในตัวหนังสือ
กจิ กรรม 1. นึกกลับไปถึงแรงบันดาลใจแรกๆที่ทำ�ให้อยากเขียน หนังสือ เขียนชื่อสิ่งเหล่านั้นลงบนกระดาษ แล้วลอง เปรยี บเทยี บดวู า่ แตล่ ะอยา่ งมคี วามคลา้ ยคลงึ หรอื แตกตา่ ง กันอยา่ งไร 2. แรงบนั ดาลใจหรอื อทิ ธพิ ลในปจั จบุ นั คอื อะไร เปรยี บเทยี บ กบั แรงบนั ดาลใจหรอื อทิ ธพิ ลในอดตี แลว้ เปน็ อยา่ งไร มอี ะไร เพม่ิ ข้ึนมาหรอื จางหายไปบ้าง 3. เลือกหนังสือหน่ึงเล่มที่เคยชอบในอดีต แต่งเร่ือง ความยาว 1-3 หน้ากระดาษ ในแนวเดียวกันกับหนังสือ เลม่ นั้น โดยให้ตวั เองเปน็ ตวั ละครหลัก ปราบดา หย่นุ 49
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106