Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ✍️ กำกึ๊ดกำปาก

✍️ กำกึ๊ดกำปาก

Description: ✍️ กำกึ๊ดกำปาก

Search

Read the Text Version

150 ก�ำ กด๊ึ ก�ำ ปาก Jonsson, Hjorleifur (2003) “Mien through Sports and Culture: Mobilizing Minority Identity in Thailand”, Ethnos 68(3): 317-40. Kammerer, Cornelia Ann and Nicola Tannenbaum (eds.) (1996) Merit and blessing in Mainland Southeast Asia in comparative perspective. New Haven, Conn.: Yale University Southeast Asia Studies. Kataoka, Tatsuki (2013) “Millenarianism, Ethnicity and the States: Khruba Bunchum Worship among the Lahu in Thailand and Burma”, Proceedings Asian Core Workshop on Interface, Negotiation and Interaction in Southeast Asia 22-23 February. Kyoto: Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University. Keyes, Charles F. (1995) “Who are the Tai? Reflections on the Invention of Identities”, in Ethnic Identity: Creation, Conflict, and Accommodation Third Edition, Walnut Creck, CA: Alta Mira Press. Keyes, Charles F. (2008) “Ethnicity and the Nation-States of Thailand and Vietnam,” in Prasit Leepreecha, Don Mccaskill and Kwanchewan Buadaeng (eds.) Challenging the Limits: Indigenous Peoples of the Mekong Region (pp. 13-54). Chiang Mai: Mekong Press. Kwanchewan Buadaeng (2003) Buddhism, Christianity and the Ancestors: Religion and Pragmatism in a Skaw Karen Community of North Thailand. Chiang Mai: Social Research Institute, Chiang Mai University Thailand. Kwanchewan Buadaeng (2006) “The Rise and Fall of the Tribal Research Institute (TRI): “Hill Tribe” Policy and Studies in Thailand”, Tonan Ajia Kenkyu (Southeast Asian Studies). 44(3): 359-384. Kwanchewan Buadaeng (2013) “Talaku Movement among the Karen in Thai-Burma Borderland: Territorialization and Deterritorialization Processes”, in Olivier Evrard, Dominique Guillaud and Chayan Vaddhanaphuti (eds.) Mobility and Heritage in Northern Thailand and Laos: Past and Present (Pp. 167-184). Proceedings of the Chiang Mai Conference 1-2 December 2011. Chiang Mai: Good Print. Kwanchewan Buadaeng and Panadda Boonyasaranai (2008) “Religious Conversion and Ethnic Identity: The Karen and the Akha in Northern Thailand”, in Don McCaskill, Prasit Leepreecha and He Shaoying eds. Living in a Globalized World: Ethnic Minorities in the Greater Mekong Subregion. Chiang Mai: Mekong Press. Kwanchewan Buadaeng (et al.) (2002) A Study of the Socio-Economic Vulnerability of Urban-Based Tribal Peoples in Chiang Mai and Chiang Rai, Thailand. Chiang Mai: Social Research Institute, Chiang Mai University.

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 151 Leach, Edmund (1954) Political Systems of Highland Burma: A Study of Kachin Social Structure. Boston: Beacon Press. Lewis, Paul W. (2002) Akha Oral Literature. Bangkok: White Lotus. McGilvary, Daniel (2002) A Half Century Among the Siamese and the Lao: An Autobiography. Bangkok: White Lotus Press. McKerron, Morag (2003) ‘Neo-Tribes and Traditional Tribes: Identity Construction and Interaction of Tourists and Highland People in a Village in Northern Thailand’. M.A. Thesis, RCSD, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University. Mckinnon, John and Vienne, Bernard (eds.) (1989) Hill Tribes Today: problem in change. Bangkok: White Lotus. Mischung, Roland (1980) ‘Religion in a cgau(Sgaw) Karen Village of Western Upland Chiang Mai Province, Northwest Thailand’, Final research report presented to the National Research Council of Thailand. Nishimoto, Yoichi (1998) ‘Northern Thai Christian Lahu narratives of inferiority : a study of social experience,’ M.A. Thesis in Social Development, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University. Pinkaew Luangaramsri (2002) Redefining nature: Karen ecological knowledge and the challenge to the modern conservation paradigm. Chennai: Earthworm Books. Pinkaew Luangaramsri (2003) “Women, Nation, and the Ambivalence of Subversive Identification among Shan Women along the Thai-Burmese Borders”, a paper presented at the workshop on “Borders and Regional Markets, Economics, Cultures” July 4-6, 2003, Chiang Mai, Thailand. Platz, Roland (2003) “Buddhism and Christianity in Competition? Religious and Ethnic Identity in Karen Communities of Northern Thailand”, Journal of Southeast Asian Studies 34 (3): 473 -490. Prasert Rangla (2012) “Karen Refugees’ Self-Settlement: Refuge in Local Administration and Contingent Relations”, Journal of Social Sciences, Chiang Mai University 24 (1-2/2555): 159-196. Prasert Trakansuphakon (2007) ‘Space of resistance and place of local knowledge in the Northern Thailand ecological movement’. Ph.D. dissertation in Social Sciences, Chiang Mai University. Prasit Leepreecha (2001) ‘Kinship and Identity among Hmong in Thailand’. Ph.D. Dissertation, University of Washington, Seattle, USA.

152 กำ�กดึ๊ ก�ำ ปาก Pun, Angela and Lewis, Paul W. (2002) 49 Lahu Stories. Bangkok: White Lutus. Samata, Runako (2003) ‘Agricultural transformation and highlander choice: a case study of a Pwo Karen Community in Northwestern Thailand.’ M.A. Thesis, Chiang Mai University. Sang Kook, Lee (2001) ‘The Adaptation and Identities of the Karen Refugees: A Case Study of Mae La Refugee Camp in Northern Thailand’. A Master thesis for Graduate Interdisciplinary Program in Area Studies, Seoul National University. Soe Lin Aung (2012) “Notes on the Practice of Everyday Politics: Rereading the Labour of Self-protection among Migrant Communities on Thai-Burma Border”, The Journal of Social Sciences, Chiang Mai University 24(1-2/2555): 63-114. Sturgeon, Janet Carol (2000) ‘Practices on the periphery: Marginality, border powers, and land use in China and Thailand.’ Ph.D. Dissertation, Yale University, School of Forestry and Environmental Studies. Sturgeon, Janet (1997) “Claiming and Naming Resource on the Border of the State: Akha Strategies in China and Thailand”, Asia Pacific Viewpoint 38(2): 131-44. Tapp, Nicholas (2000) “Ritual Relations and Identity: Hmong and Others”, in Andrew Turton (ed) Civility and Savagery: Social Identity in Tai States (84-103). Richmond, Surrey: Curzon Press. Tapp, Nicholas (2003) The Hmong of China: Context, Agency and the Imaginary. Boston: Brill Academic Publishers. Tapp, Nicholas (2010) The Impossibility of Self: An Essay on the Hmong Diaspora. London: Transaction Publishers. Tomforde, Maren (2003) “The Global in the Local: Contested Resource-use Systems of the Karen and Hmong in Northern Thailand”, Journal of Southeast Asian Studies 34(2): 347-360. Tooker, Deborah (2004) “Modular Modern: Shifting Forms of Collective Identity Among the Akha of Northern Thailand”, Anthropological Quarterly 77(2): 243-88. Toyota, Mika (2003) “Contested Chinese Identities among Ethnic Minorities in the China, Burma and Thai Borderlands”, Ethnic and Racial Studies 26(2): 301-20. Walker, Andrew (2001) “The ‘Karen Consensus’, Ethnic Politics and Resource-Use Legitimacy in Northern Thailand”, Asian Ethnicity 2(2):145-162. Walker, Anthony R. (2003) Merit and the Millennium: Routine and Crisis in the Ritual Lives of the Lahu People. New Delhi: Hindustan Publishing Corporation.

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 153 Yos Santasombat (2004) “Karen Cultural Capital and the Political Economy of Symbolic Power”, Asian Ethnicity 5(1): 105-120. Young, Oliver Gordon (1961) The Hilltribes of Northern Thailand (A Socio-Ethnological Report) Prepared under the Auspices of the Government of Thailand and the Cooperation of the United States Operations Mission to Thailand http://theborderconsortium.org www.chiangmai.go.th/newweb/main/

154 ก�ำ กึ๊ดก�ำ ปาก

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 155 บทท่ี 4 พน้ื ทีท่ างวฒั นธรรม ในวาทกรรมการพัฒนา อานนั ท์ กาญจนพนั ธ์ุ 4.1 บทนำ� การเสนอให้ใช้วัฒนธรรมมาขับเคล่ือนการพัฒนาประเทศ เริ่มปรากฏขึ้น อย่างน้อยในเชิงแนวความคิดคร้ังแรกในสังคมไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 จากข้อคิด ในบทความของ พัทยา สายหู (2514) เรื่อง “การใช้ความคดิ เรื่องวฒั นธรรมในการ พฒั นาประเทศ” แตก่ ารนำ� วฒั นธรรมมาชว่ ยผลกั ดนั การพฒั นาอยา่ งจรงิ จงั นน้ั เพงิ่ เร่ิมต้นข้ึนในช่วงกลางทศวรรษท่ี 2520 และยังจ�ำกัดอยู่เฉพาะในงานพัฒนาของ องค์กรพัฒนาเอกชนเป็นส่วนใหญ่ จากการก่อตัวข้ึนขององค์การพัฒนาเอกชน อยา่ งแพรห่ ลายในชว่ งเวลานน้ั ขณะเดยี วกนั วฒั นธรรมกบั การพฒั นากไ็ ดก้ ลายเปน็ ประเด็นถกเถียงในสังคมไทยว่า ควรจะเชื่อมโยงกันอย่างไร เม่ือการพัฒนา กระแสหลกั ทเี่ นน้ เศรษฐกจิ เรมิ่ สง่ ผลกระทบในเชงิ ลบมากขนึ้ โดยเฉพาะตอ่ ชาวบา้ น ในชนบท จนเกิดการจัดเวทีสัมมนาในประเด็นปัญหาดังกล่าวหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2532 ผเู้ ขยี นเองกไ็ ดเ้ ขา้ รว่ มสมั มนาในเรอื่ งนคี้ รง้ั หนง่ึ โดยมสี มาคมสงั คมศาสตร์ แห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ (อานันท์ 2532) ในขณะน้ันความเข้าใจท่ัวไป มักมองวัฒนธรรมเป็นอุดมการณ์ คุณค่า และภูมิปัญญา ท่ีถือเสมือนหนงึ่ เป็น

156 ก�ำ กึ๊ดก�ำ ปาก รากฐานของชวี ิตในสังคมท้องถิน่ จนท�ำให้เช่ือกันว่าสามารถน�ำมาใช้เป็นพลงั ของ การพัฒนาทางเลอื กแทนพลังทางเศรษฐกิจอย่างเดยี วได้ ในชว่ งทศวรรษ 2530 นนั้ เอง แนวทางการใชว้ ฒั นธรรมกบั การพฒั นายงั ไดร้ บั การส่งเสริมจากท้ังภาครัฐและองค์กรโลกบาล เช่น ยูเนสโก ในความพยายาม ขับเคลื่อนโครงการ “ทศวรรษของโลกว่าด้วยวัฒนธรรมกับการพัฒนา” ในช่วง ระหว่างปี 2531-2541 จนการวิจัยด้านวัฒนธรรมกับการพัฒนาได้ขยายตัวอย่าง กว้างขวางมาก บนพื้นฐานของความเข้าใจความเชื่อมโยงดังที่กล่าวมาแล้วเป็น แนวทางหลัก ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของปัญญาชนระดับสากล เช่น หนงั สือ เรื่อง No Life without Roots: Culture and Development (Verhelst 1990) ที่มีส่วนอย่างส�ำคัญในการช้ีน�ำแนวทางการพัฒนาจากพลังภายในของสังคมเอง สำ� หรบั สงั คมไทยกร็ บั ความคดิ ทำ� นองนม้ี าเชน่ เดยี วกนั ซง่ึ ปรากฏอยใู่ นหนงั สอื เชน่ คำ� ตอบอยทู่ ห่ี มบู่ า้ น (รสนา บก. 2528) และ คนื สรู่ ากเหงา้ ทางเลอื กและทศั นะ วิจารณว์ ่าดว้ ยภูมปิ ญั ญาชาวบ้าน ของเสรี พงศ์พศิ (2529) เป็นต้น อยา่ งไรกต็ าม ในชว่ งทศวรรษท่ี 2530 ผเู้ ขยี นไดเ้ คยพยายามเสนอใหเ้ พม่ิ เตมิ แนวความคิดเร่ือง “สิทธิทางวัฒนธรรม” เข้ามาอีกแนวความคิดหนงึ่ โดยเฉพาะ สทิ ธชิ มุ ชนของกลมุ่ ชนตา่ งๆ ทย่ี งั มคี วามแตกตา่ งหลากหลายทางวฒั นธรรมกนั อยู่ เพอ่ื เปน็ ทางเลอื กของการพฒั นาในมติ ทิ างวฒั นธรรมดว้ ย (Anan 1993) ตอ่ มาแนวคดิ นี้ ได้กลายเป็นพื้นฐานของการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรส่วนรวม โดย เฉพาะเรื่องป่าชุมชน และยังส่งผลให้เกดิ การเคลือ่ นไหวทางสังคมอย่างกว้างขวาง เพ่ือเรียกร้องให้รัฐออกกฎหมายให้สิทธิแก่กลุ่มชนท้องถ่ินมีส่วนร่วมในการจัดการ ป่าชุมชน แม้ว่าในที่สุดรัฐจะยังไม่ได้ผ่านกฎหมายดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ช่วยสร้าง พน้ื ทว่ี ฒั นธรรมใหก้ บั การพฒั นาแกช่ มุ ชนทอ้ งถนิ่ เพมิ่ ขน้ึ อยา่ งมาก (ดู อานนั ท์ 2555) หลงั ทศวรรษที่ 2540 เป็นต้นมา งานวิจยั ในประเด็นเกยี่ วกับความสัมพันธ์ ระหว่างวัฒนธรรมกับการพัฒนาในภาคเหนือได้ปรับเปล่ียนทิศทางไปอย่าง มนี ยั สำ� คญั ซงึ่ แตกตา่ งอยา่ งมากจากชว่ งแรกๆ ของการวจิ ยั วฒั นธรรมกบั การพฒั นา ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากการหนั มามองวฒั นธรรม ทง้ั ตามแนวความคดิ วาทกรรม (Discourse)

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 157 และในมติ ขิ องแนวความคดิ เรอ่ื งพนื้ ทที่ างวฒั นธรรม (Cultural Space) มากขนึ้ เพม่ิ เตมิ จากการมองวัฒนธรรมเฉพาะในเชิงคุณค่า โดยเฉพาะคุณค่าในพุทธศาสนาและ ภูมิปัญญาท้องถ่ิน ในระยะต่อๆ มาบางคร้ังก็ยังมองในภาพรวมว่าเป็นทุนทาง วฒั นธรรมดว้ ย สว่ นความคดิ เรอ่ื งสทิ ธทิ างวฒั นธรรมและสทิ ธชิ มุ ชนนนั้ ตอ่ มาอาจจะ มองกันได้ว่ายังซ้อนทับอยู่ทงั้ ในวาทกรรมและพ้นื ทท่ี างวัฒนธรรมด้วยกต็ าม หากมองยอ้ นกลบั ไปผเู้ ขยี นเคยพยายามเสนอใหห้ นั มามองการพฒั นาในมติ ิ ทางวฒั นธรรม จากแนวความคดิ เรอื่ งพน้ื ทที่ างวฒั นธรรมตง้ั แตป่ ี พ.ศ. 2536 มาแลว้ ในฐานะทเี่ ปน็ มติ ทิ สี่ รา้ งสรรคข์ องวฒั นธรรม เพอื่ ชกั ชวนใหค้ ดิ และกา้ วขา้ มออกมา จากกับดักของการมองวัฒนธรรมแบบคู่ตรงข้าม ซึ่งแพร่หลายอยู่ตั้งแต่ในอดีต จนถึงปัจจุบัน ดังจะพบอยู่เสมอๆ ว่า ด้านหน่ึงก็มักจะมองวัฒนธรรมเฉพาะ ภายในเป็นเชิงอุดมคติ เพื่ออนุรักษ์คุณค่าและภูมิปัญญาท่ีดีงามต่างๆ ขณะที่ ในอีกด้านหนงึ่ ก็มองวัฒนธรรมในแง่ของการครอบงำ� ที่มาจากอิทธิพลภายนอก โดยเฉพาะวัฒนธรรมแบบทุนนิยม ทั้งสองด้านนั้นล้วนแล้วแต่เป็นการมอง วัฒนธรรมแบบแก่นสารนิยม (Essentialism) ที่ตายตัว ซึ่งกลายเป็นกับดักปิดกั้น ไม่ให้มองเห็นวัฒนธรรมในเชิงการเคล่ือนไหวเปลี่ยนแปลง จนท�ำให้วัฒนธรรม ไม่สามารถเป็นพลงั เสรมิ ศกั ยภาพของการพัฒนาได้ ทง้ั ๆ ท่จี รงิ แล้ว กลุ่มชนต่างๆ สามารถเรียนรู้ สร้างสรรค์ ปรับตัว และผลิตวัฒนธรรมใหม่ได้อยู่ตลอดเวลา ในกระบวนการสร้างความคิดร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นอุดมการณ์ คุณค่า ภูมิปัญญา และความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน (อานนั ท์ 2536 และ 2538) ซงึ่ ในปัจจุบนั มกั เรยี ก รวมๆ กันว่าเป็นอตั ลกั ษณ์ร่วม ปัญหาของการมองวัฒนธรรมแบบแก่นสารนิยมที่ตายตัวนั้นมีพ้ืนฐาน มาจากอดีต ทเ่ี รามกั จะเข้าใจกันว่า วฒั นธรรมแต่ละวัฒนธรรมแยกออกเป็นอสิ ระ จากกันและกัน โดยวัฒนธรรมหนงึ่ จะผูกติดอยู่กับดินแดนในอาณาบริเวณหนงึ่ เช่น ภายในพรมแดนของประเทศหนง่ึ ภาพของพื้นที่ทางวัฒนธรรมจึงมีลักษณะ กลมกลืนอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และไร้ปัญหาความขัดแย้งกันภายใน ซง่ึ หมายความว่า เราจะเน้นความสอดคล้องอย่างกลมกลืนกนั ภายในของทั้งพื้นที่

158 กำ�กด๊ึ ก�ำ ปาก สถานที่หรือดินแดนและวัฒนธรรม จนท�ำให้ไม่สนใจเรื่องของพื้นที่ทางสังคมและ วฒั นธรรม แตใ่ นโลกยคุ โลกาภวิ ตั นท์ ผี่ คู้ น สนิ คา้ และขอ้ มลู ขา่ วสารลน่ื ไหลเคลอ่ื นยา้ ย ขา้ มพรมแดนของรฐั ชาตอิ ยตู่ ลอดเวลา มผี ลใหว้ ฒั นธรรมแตกตา่ งกนั หรอื วฒั นธรรม ต่างถิ่นมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น ท้ังผสมผสานและขัดแย้งกัน จนยากท่ีจะตีกรอบ ให้วัฒนธรรมหนง่ึ ติดอยู่ในดินแดนเดียวได้อีกต่อไป หรืออาจเรียกได้ว่าวัฒนธรรม ในปัจจุบันมีลักษณะไร้พรมแดนนน่ั เอง ในสถานการณ์เช่นนจ้ี ึงเกิดค�ำถามต่อการ ศกึ ษาวจิ ยั ขน้ึ มาใหมว่ า่ เราจะเขา้ ใจวฒั นธรรมกนั อยา่ งไร เพราะวฒั นธรรมในยคุ น้ี จะแตกต่างกัน หรือจะมีลักษณะเป็นลูกผสม และจะมีความเป็นพหุนิยมมากข้ึน แม้จะอยู่ในท้องถ่นิ เดียวกนั ก็ตาม การศึกษาวิจัยวัฒนธรรมดังกล่าวนี้เก่ียวข้องอยู่กับปัญหา ในการ เปลี่ยนแปลงความเข้าใจ แนวความคิดเรื่อง “พ้ืนที่วัฒนธรรม” (Cultural Space) โดยเฉพาะทถี่ กเถยี งกนั อยใู่ นวชิ ามานษุ ยวทิ ยา ตง้ั แตเ่ รม่ิ กลา่ วถงึ ความคดิ เรอื่ งพนื้ ท่ี ท�ำนองนคี้ รง้ั แรกในงานของเดอร์กไคม์ (Emile Durkheim) เมอ่ื ต้นคริสศตวรรษที่ 20 ซึ่งเสนอให้มองพ้ืนท่ีในมิติของความสัมพันธ์ทางสังคม ทั้งในระดับรูปธรรม เชงิ ประจกั ษแ์ ละนามธรรมเชงิ ความคดิ ผา่ นการชกั ชวนใหม้ องศาสนาในฐานะทเี่ ปน็ พน้ื ทท่ี างความคิดของการจัดจ�ำแนกแยกแยะความหมาย (Kuper 1972: 411-412) แตน่ กั มานษุ ยวทิ ยาหลงั จากนน้ั ซง่ึ มงุ่ ศกึ ษาเฉพาะสงั คมของกลมุ่ ชาตพิ นั ธข์ุ นาดเลก็ มกั จำ� กดั พน้ื ทว่ี ฒั นธรรมใหเ้ ปน็ เพยี งภาพตวั แทนสว่ นรวม (Collective Representation) ท่ีมีลักษณะกลมกลืนและตายตัว จนกระท่ังมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษท่ี 20 เมื่อ นกั มานษุ ยวทิ ยาชาวตะวนั ตกหนั มาศกึ ษาสงั คมชาวนาบา้ ง ในฐานะทเี่ ปน็ สว่ นหนง่ึ ของสังคมในรัฐชาติที่มีความสลับซับซ้อน จึงเร่ิมมองเห็นความแตกต่างทาง วฒั นธรรมในสงั คมเดยี วกนั ระหวา่ งวฒั นธรรมชาตแิ ละวฒั นธรรมยอ่ ยๆ ในประเทศ ดงั ปรากฏอยา่ งชดั เจนในหนงั สอื ของเรด็ ฟลิ ด์ เรอ่ื ง Peasant Society and Culture ในปี 2499 (ค.ศ. 1956) ทน่ี ยิ ามวฒั นธรรมชาตวิ า่ วฒั นธรรมหลวง (Great Traditions) และวฒั นธรรมย่อยๆ ของชาวนาว่า วัฒนธรรมชาวบ้าน (Little Traditions) โดยท่ี วัฒนธรรมทงั้ สองแบบนนั้ กไ็ ม่ได้จำ� เป็นต้องสอดคล้องกนั เสมอไป (Redffi fii ief ld 1956)

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 159 ความแตกตา่ งและความหลากหลายทางวฒั นธรรมกลายเปน็ จดุ เนน้ ทางการ ศกึ ษามากขนึ้ ในปี พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) เมอ่ื นกั มานษุ ยวทิ ยาไดเ้ รม่ิ ตง้ั ประเดน็ ปญั หา ควบคไู่ ปกบั เชอ่ื มโยงความสมั พนั ธท์ างการเมอื งในพนื้ ทเี่ ปน็ ครงั้ แรก จากการศกึ ษา ถึงความพยายามของกลุ่มผู้น�ำชนพ้ืนเมืองในอาฟริกา ท่ีช่วงชิงความหมายของ สถานทแ่ี ตกตา่ งไปจากความหมายเชงิ สญั ลกั ษณข์ องเจา้ อาณานคิ ม หลงั จากไดร้ บั เอกราช (Kuper 1972) ซึ่งช่วยขยายความเข้าใจพ้ืนที่วัฒนธรรม จากลักษณะท่ีมี เอกภาพและกลมกลนื ให้มองเหน็ ความแตกต่างและขดั แยง้ กนั ด้วย ในช่วงระหว่าง ทศวรรษ 2520-2530 เสยี งของนกั มานษุ ยวทิ ยาทอี่ อกมาวพิ ากษว์ จิ ารณค์ วามเขา้ ใจ พ้ืนที่วัฒนธรรมแบบกลมกลืนก็ดังกระหึ่มเพิ่มมากขึ้น พร้อมๆ กับการชักชวนให้ หันมาสนใจมุมมองที่หลากหลายของกลุ่มคนต่างๆ ในพ้ืนท่ีวัฒนธรรมเดียวกัน เพราะในช่วงเวลานนั้ ผู้คนกลุ่มต่างๆ ได้เคล่ือนย้ายข้ามพรมแดนรัฐชาติกันอย่าง กว้างขวาง ภายใต้บริบทของกระบวนการโลกาภิวัตน์ และสภาวะไร้พรมแดน จนยากท่ีจะจองจ�ำพ้ืนที่วัฒนธรรมให้มีเอกภาพและหยุดนิ่งตายตัวได้อีกต่อไป แม้จะพูดถึงวัฒนธรรมของคนพ้ืนเมืองก็ตาม ซ่ึงมีส่วนอย่างส�ำคัญในการผลักดัน ให้นกั มานุษยวิทยาต้องต้ังค�ำถามไปพร้อมๆ กับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างจริงจัง ต่อการยึดติดอยู่กับกรอบความคิดความเข้าใจวัฒนธรรมแบบแก่นสารนิยม เช่นท่ีผ่านๆ มา และต้องหันมาสนใจพ้ืนท่ีวัฒนธรรมในเชิงกระบวนการแทนท่ี นอกจากนั้นยังมีความพยายามต้ังข้อสังเกตอีกด้วยว่า กระบวนการต่างๆ น้ัน เกี่ยวข้องกับการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ท่ีน่าจะเป็นประสบการณ์ตรงของ ผู้คนท้ังหลายในยุคปัจจุบันนนั่ เอง (Clifford 1988) หลงั จากการอภปิ รายถกเถยี งและวพิ ากษว์ จิ ารณก์ นั อยา่ งเขม้ ขน้ ตลอดชว่ ง ทศวรรษท่ี 2520-2530 ทา้ ยทสี่ ดุ กไ็ ดม้ คี วามพยายามสรปุ และสงั เคราะหค์ วามเขา้ ใจ พน้ื ทว่ี ฒั นธรรมขน้ึ มาใหม่ ในบทความทที่ รงอทิ ธพิ ลทางความคดิ อยา่ งมากชนิ้ หนงึ่ เรอ่ื ง “Beyond “culture”: space, identity and the politics of difference” ซง่ึ พยายาม เสนอใหน้ กั มานษุ ยวทิ ยาก้าวขา้ มออกไปจากกรอบของความเข้าใจวฒั นธรรมแบบ แกน่ สารนยิ ม และหนั ไปใหค้ วามสนใจกบั วฒั นธรรมในเชงิ ความสมั พนั ธเ์ ชอื่ มโยงกนั

160 ก�ำ ก๊ดึ ก�ำ ปาก ของความคดิ วา่ ดว้ ย พนื้ ท่ี อ�ำนาจ และ อตั ลกั ษณ์ ทโ่ี ยงใยกนั อยา่ งซบั ซอ้ นมากขนึ้ ซงึ่ ช่วยขยายความเข้าใจเกย่ี วกบั ความคดิ เรื่องพ้ืนทีว่ ัฒนธรรมขนึ้ มาใหม่ ด้วยการ นยิ ามอยา่ งชดั เจนในเชงิ วเิ คราะหว์ า่ เปน็ “สนามของความสมั พนั ธเ์ ชงิ อำ� นาจ” ใน กระบวนการผลติ สรา้ งความแตกตา่ งทางวฒั นธรรม ทงั้ นเ้ี พราะกระบวนการดงั กลา่ ว เกดิ ขน้ึ ในพนื้ ทท่ี เี่ กย่ี วเนอ่ื งกนั ภายใตบ้ รบิ ทของความสมั พนั ธท์ างเศรษฐกจิ การเมอื ง ของความไม่เท่าเทียมกัน ที่มีการครอบง�ำกันอยู่ในระบบโลก ตามนัยดังกล่าว ในด้านหนึ่งพื้นท่ีวัฒนธรรมจึงเสมือนเป็นการเมืองของการสร้างความเป็นอ่ืน ด้วยการจินตนาการและบังคับควบคุมภาพตัวแทน แต่ในอีกด้านหน่ึง พื้นท่ี วฒั นธรรมกเ็ ปิดใหม้ ตี ่อส้ชู ่วงชงิ อตั ลกั ษณ์ เพอ่ื ผลติ สร้างความแตกตา่ งใหอ้ ย่เู หนอื การควบคุมนนั้ ด้วย (Gupta and Ferguson 1992: 16-17) แนวทางการเปล่ียนแปลงความเข้าใจความหมายของวัฒนธรรมท�ำนอง ดงั กลา่ ว ไดม้ ผี นู้ �ำมาสานตอ่ เพอ่ื ชว่ ยวเิ คราะหส์ ถานะของวฒั นธรรมในการพฒั นา พร้อมทง้ั ยังขยายมุมมองเพิม่ เตมิ อีกด้วย ดงั จะเหน็ ได้จากบทความเรื่อง “Culture, development, and social theory: on cultural studies and the place of culture in development” ซง่ึ พยายามเนน้ ใหเ้ หน็ ถงึ ความส�ำคญั ของผกู้ ระทำ� การทางวฒั นธรรม มากข้ึน โดยชี้ให้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้เดินตามแนวทางวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมอย่าง ต้ังรับเสมอไปเท่านน้ั หากยังปฏิบัติการอย่างเป็นผู้กระท�ำอย่างจริงจัง ด้วยการ สรา้ งสรรค์ ชว่ งชงิ และตอ่ รองกบั ความหมายทางวฒั นธรรมตา่ งๆ ทเี่ ปลย่ี นแปลงอยา่ ง รวดเรว็ ในโลกสมยั ใหม่ เพอื่ ปรบั เปลย่ี นความสมั พนั ธเ์ ชงิ อ�ำนาจทแ่ี อบแฝงอยู่ ทง้ั ใน วาทกรรมและกระบวนการพัฒนา ผ่านการต่อสู้ในพื้นท่ีการเมืองวัฒนธรรมต่างๆ โดยเฉพาะการเมืองของอัตลักษณ์ ลีลาชีวิต (Lifestyle) และการสร้างการยอมรับ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นต้น (Clammer 2005) ในข้อเขียนบทนี้ผู้เขียนจะพยายามสังเคราะห์การวิจัยด้านวัฒนธรรมกับ การพัฒนา ในกรณขี องภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงหลังปี 2540 เป็นต้นมา เพื่อประเมินทิศทางการเปล่ียนแปลงความเข้าใจความหมายของ วัฒนธรรมและความเช่ือมโยงกับการพัฒนา ว่าเกิดขึ้นในพ้ืนท่ีวัฒนธรรมแบบใด

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 161 และเก่ียวข้องกับกลุ่มชนใดบ้าง ภายใต้บริบทของวาทกรรมการพัฒนาอะไรบ้าง บนพ้ืนฐานของวิธีวิทยาอย่างไร และจะนำ� ไปสู่ความรู้ความเข้าใจประเด็นปัญหา การเปลย่ี นวัฒนธรรมและการพัฒนามากน้อยอย่างไร 4.2 วาทกรรมการพฒั นาในการเมอื งของอตั ลกั ษณท์ างชาตพิ นั ธ์ุ ในปี พ.ศ. 2551 เมอ่ื ผเู้ ขยี นสงั เคราะหค์ วามเขา้ ใจความหมายของวฒั นธรรมใน งานวจิ ยั สงั คมไทย1 ผเู้ ขยี นเคยเสนอวา่ กลมุ่ ศกึ ษาวฒั นธรรมในฐานะทเ่ี ปน็ วาทกรรม ได้เรม่ิ กอ่ รปู กอ่ รา่ งขนึ้ ตงั้ แตร่ าวปี พ.ศ. 2530 มาแลว้ จากอทิ ธพิ ลทางความคดิ ของ มเิ ชล ฟโู กตแ์ ละสะทอ้ นออกมาอยา่ งชดั เจนครง้ั แรกๆ ในงานของยกุ ติ (2537) ทวี่ พิ ากษ์ ความคดิ ในการพัฒนาแบบวัฒนธรรมชมุ ชน ซงึ่ ชใ้ี ห้เหน็ ว่าวฒั นธรรมนนั้ เกีย่ วข้อง กบั การสรา้ งและนยิ ามความหมายใหม้ อี ำ� นาจครอบงำ� ดว้ ย โดยเพม่ิ เตมิ จากการมอง วัฒนธรรมว่าเป็นเพียงอุดมการณ์ คุณค่า และภูมิปัญญา ตามท่ีเคยยึดถือกันมา ก่อนหน้านนั้ การท่ีวาทกรรมกลายเป็นประเด็นสำ� คัญในด้านวัฒนธรรมและการ พัฒนา ก็เพราะมักจะเกี่ยวข้องกับระบอบความรู้ ซ่ึงมีแนวโน้มที่จะน�ำไปสู่การ ครอบงำ� สงู และสง่ ผลใหเ้ กดิ การพฒั นาเอนเอยี งไปในดา้ นใดดา้ นหนง่ึ แตเ่ พยี งดา้ น เดียว จนกระทบต่อชวี ิตของกลุ่มชนทีม่ ีวิถที างวฒั นธรรมแตกต่างกัน และผลกั ดัน ให้เกิดการช่วงชิงความหมายในเรื่องต่างๆ อย่างเข้มข้น (รวมพิมพ์อยู่ใน อานนั ท์ 2555: 54-68) ภายหลังจึงได้ค่อยๆ ขยายความเข้าใจมาเป็นแนวความคิดเรอื่ งพืน้ ท่ี วฒั นธรรม ในฐานะที่เป็นพน้ื ทช่ี ่วงชิงความรู้นนั่ เอง การศึกษาวัฒนธรรมในเชิงวาทกรรมจึงมีนัยของการศึกษาการเมืองของ วัฒนธรรม ท้ังน้ีแทนที่จะมองวัฒนธรรมในเชิงอุดมการณ์และคุณค่าที่ชัดเจนและ ตายตัว ก็มักจะเปลี่ยนมาให้ความส�ำคัญกับความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจท่ีแฝงอยู่ ในวัฒนธรรมมากข้ึน ขณะที่จะเน้นวัฒนธรรมในด้านของความหมาย นับต้ังแต่ 1 รวมพิมพ์อยู่ในบทท่ี 2 ของหนงั สือชุดนี้เล่ม 1 เร่ือง “ถกวัฒนธรรมในงานวิจัยภาคกลาง” (ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ บก 2558)

162 ก�ำ ก๊ดึ กำ�ปาก ความหมายของการพฒั นา สทิ ธิ อตั ลกั ษณ์ จนถงึ ความรแู้ ละภมู ปิ ญั ญาในเรอื่ งตา่ งๆ ทไี่ มช่ ดั เจนและไมต่ ายตวั แตย่ งั คงเปน็ ประเดน็ ถกเถยี ง ขดั แยง้ และชว่ งชงิ ความหมาย กันอยู่ การวิจัยในแนวทางดังกล่าวจึงมักขึ้นอยู่กับความรู้และความเข้าใจ ในแนวความคดิ และทฤษฎที างสงั คมศาสตรค์ อ่ นขา้ งมาก เพอื่ ชว่ ยเชอื่ มโยงประเดน็ และแง่มุมต่างๆ ซึ่งหากมองดูอย่างผิวเผินแล้วอาจจะมองไม่เห็นความเกี่ยวข้อง อย่างชัดเจน งานส่วนใหญ่มักจะจ�ำกัดอยู่ในงานประเภทวิทยานิพนธ์ในระดับ บัณฑิตศกึ ษา สำ� หรบั ในกรณขี องภาคเหนอื นบั ตง้ั แตป่ ี พ.ศ. 2540 เปน็ ตน้ มา จะพบการวจิ ยั ภาคสนามอย่างเข้มข้นในหัวข้อท�ำนองนี้หลายช้ิน โดยเฉพาะงานวิจัยเพ่ือการ ทำ� วทิ ยานพิ นธร์ ะดบั บณั ฑติ ศกึ ษา แมว้ า่ ประเดน็ นอ้ี าจจะคาบเกย่ี วอยบู่ า้ งกบั เรอ่ื ง ชาตพิ นั ธ์ุ ซง่ึ เปน็ ประเดน็ เฉพาะของขอ้ เขยี นอกี บทหนงึ่ ในหนงั สอื เลม่ นอี้ ยแู่ ลว้ กต็ าม แต่ในบทนจี้ ะเน้นเฉพาะประเด็นชาติพันธุ์ที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและการพัฒนา เท่านน้ั เรม่ิ จากวทิ ยานพิ นธข์ องสมบตั ิ บญุ คำ� เยอื ง (2540) เรอื่ ง ‘ปญั หาการนยิ าม ความหมายของป่าและการอ้างสิทธิเหนือพ้ืนที่: กรณีศึกษาชาวลาหู่’ ซึ่งถกเถียง ปัญหาการพัฒนาพื้นท่ีสูงว่าเกี่ยวข้องกับวาทกรรมการพัฒนาและการอนุรักษ์ ธรรมชาติ ด้วยการช้ีให้เห็นว่า ชาวลาหู่ต้องพยายามดิ้นรนต่อสู้กับการนิยาม ความหมายการพัฒนาของภาครัฐ ที่มีลักษณะครอบง�ำ ผ่านการเน้นความจริง เพยี งดา้ นเดยี ว เพราะมงุ่ เนน้ นยั ของการพฒั นาเฉพาะดา้ นการสรา้ งโครงสรา้ งพน้ื ฐาน สมยั ใหม่ เพอื่ สนบั สนนุ เศรษฐกจิ เชงิ พาณชิ ยเ์ ปน็ หลกั ขณะเดยี วกนั กใ็ ชค้ วามหมาย น้ันในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อกล่าวหาชาวลาหู่ว่าด้อยพัฒนา เพราะยังยึดติดอยู่ กับเศรษฐกิจแบบล้าหลัง บนพ้ืนฐานของการท�ำไร่แบบย้ายท่ีเพ่ือเล้ียงชีพเท่านน้ั ซง่ึ เทา่ กบั ไปลดทอนความเขา้ ใจระบบการเกษตรบนทส่ี งู ของชาวลาหลู่ งไปอยา่ งมาก จนน�ำไปสู่ความพยายามการกีดกันชาวลาหู่ไม่ให้ใช้พ้ืนที่ป่า โดยถือว่าเป็นการใช้ ท่ีท�ำลายป่า เพราะขาดความรู้ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติสมัยใหม่ ตามท่ีภาครัฐ

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 163 ใช้ในการนิยามพ้ืนท่ีป่าอนุรักษ์ให้เป็นพ้ืนท่ีของรัฐ และนำ� ไปสู่การตอกย้�ำซ�้ำเติม การกีดกันชาวลาหู่ออกไปจากการใช้พนื้ ท่ีป่าอีกทางหนง่ึ ด้วย ภายใต้บริบทของวาทกรรมครอบง�ำ และความพยายามกีดกันชาวลาหู่ ออกจากการใชพ้ นื้ ทป่ี า่ ดงั กลา่ ว การวจิ ยั ของ สมบตั ิ บญุ คำ� เยอื งไดพ้ บว่าชาวลาหู่ ไม่ได้สยบยอมหรอื อพยพบออกจากพ้นื ทไ่ี ปเสยี ทงั้ หมด แต่ชาวลาหู่บางส่วนยงั ได้ พยายามด้นิ รนต่อสู้ ผ่านการนิยามความหมายของอตั ลักษณ์หรือความเป็นตัวตน ทางชาตพิ ันธุ์ (Ethnic Identity) ให้แตกต่างจากกลุ่มชนอนื่ ๆ เพ่อื รกั ษาความมนั่ คง ในการด�ำรงชีวิต ด้วยการช่วงชิงความหมายเก่ียวกับพัฒนาและการอนุรักษ์ต่างๆ อย่างซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปล่ียนแบบแผนการใช้พ้ืนที่เพาะปลูก จาก กงึ่ เรร่ อ่ นมาเปน็ กง่ึ ถาวร พรอ้ มทงั้ การรกั ษาพน้ื ทปี่ ลกู ขา้ วแบบเกา่ ในความพยายาม อนรุ กั ษค์ วามรขู้ องกลมุ่ ชาตพิ นั ธข์ุ องตนเอง และยงั ไดเ้ ขา้ รว่ มกจิ กรรมตา่ งๆ ในการ อนรุ กั ษพ์ นื้ ทป่ี า่ อยา่ งจรงิ จงั เพอ่ื ชว่ ยสรา้ งความหมายใหมใ่ หก้ บั ความเปน็ ตวั ตนทาง ชาติพันธุ์ของชาวลาหู่ในฐานะผู้อนุรักษ์ พร้อมๆ กับช่วยเสริมให้พวกเขามีอ�ำนาจ เหนือการจัดการพ้ืนท่ปี ่าเพิม่ ข้นึ ด้วย (สมบัติ 2540: 187-206 ) หลงั จากนน้ั การเมอื งวา่ ดว้ ยอตั ลกั ษณท์ างชาตพิ นั ธ์ุ (Politics of Ethnic Identity) ก็ได้กลายมาเป็นแนวความคิดส�ำคัญ ในการวิจัยด้านวัฒนธรรมกับการพัฒนา ดงั จะพบเหน็ ในงานวทิ ยานพิ นธอ์ กี หลายฉบบั ตอ่ ๆ มา อาทเิ ชน่ วนิ ยั บญุ ลอื (2545) เรอื่ ง ‘ทนุ ทางวฒั นธรรมและการชว่ งชงิ อำ� นาจเชงิ สญั ลกั ษณข์ องชมุ ชนชาวปกาเกอะญอ’ วทิ ยานพิ นธฉ์ บบั นเี้ รมิ่ ตน้ จากความพยายามชใี้ หเ้ หน็ ความหมายทช่ี ดั เจนของตวั ตน หรอื อตั ลกั ษณว์ า่ มนี ยั ของการนยิ ามตวั เองใหแ้ ตกตา่ งจากคนอน่ื แทนทจ่ี ะถกู คนอน่ื นยิ าม ตามแนวความคิดของบาร์ธ (Barth 1969) ว่าด้วยการกำ� หนดพรมแดนของ ชาติพันธุ์ (Ethnic Boundary) ในกรณนี ช้ี าวเขาท่ีเคยถูกเรียกขานว่า “กระเหร่ียง” ก็นิยามกลุ่มชนของตนเองเสียใหม่ว่าเป็น “ปกาเกอะญอ” ซ่ึงแฝงนัยของ การปรบั เปลย่ี นความสมั พนั ธ์เชงิ อำ� นาจไวด้ ้วย เพราะในกรณที เี่ คยถกู คนอน่ื นยิ าม กลุ่มชนนนั้ ก็จะกลายเป็นฝ่ายถกู กระทำ� แต่หากนิยามตวั ตนเองได้ พวกเขาก็จะมี อ�ำนาจในการก�ำหนดตัวเองได้มากข้ึนตามมา ดังนน้ั ความพยายามในการนิยาม

164 ก�ำ กดึ๊ ก�ำ ปาก ตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ จึงมีนัยส�ำคัญต่อการเมืองของอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ตามแนวความคิดที่ได้รับอิทธิพลส่วนหน่ึงจากกรัมชี (Gramsci 1985) เก่ียวกับ การช่วงชิงความหมาย ซึ่งผู้เขียนได้ขยายความไว้แล้วในบทท่ีว่าด้วย “การเมือง วัฒนธรรมในความคิดของกรัมช”ี (อานนั ท์ 2555ง: 197-220) ทจี่ รงิ แลว้ กลมุ่ ชาตพิ นั ธต์ุ า่ งๆ บนทส่ี งู มกั จะพยายามแสดงอตั ลกั ษณข์ องตน อยา่ งหลากหลาย เพอื่ ตอ่ สกู้ บั วาทกรรมครอบงำ� จากภาครฐั และสงั คมภายนอก ซง่ึ มกั จะแฝงไวด้ ว้ ยอคตทิ างชาตพิ นั ธ์ุ ดว้ ยการกกั ขงั ภาพลกั ษณข์ องพวกเขาไวก้ บั ภาพ ด้านลบต่างๆ อย่างตายตัว ไม่ว่าจะเป็นคนท�ำลายป่า คนทเี่ ป็นภัยต่อความมั่นคง หรือคนค้ายาเสพติด ความพยายามดังกล่าวมักจะแสดงออกผ่านการปรับเปล่ียน อัตลักษณ์อย่างซับซ้อน ดังตัวอย่างในวิทยานิพนธ์ของ อรัญญา ศิริผล (2544) เรื่อง ‘ฝิ่นกับคนม้ง: พลวัตความหลากหลายและความซับซ้อนแห่งอัตลักษณ์ของ คนชายขอบ’ ซ่ึงพบว่า คนม้งให้ความหมายกับฝิ่นหลายอย่าง ท้ังด้านลบและ ด้านบวก แตกต่างจากสังคมภายนอกที่มักจะมองฝิ่นด้วยภาพด้านลบอย่างเดียว แล้วป้ายสีภาพลบนน้ั ให้กับคนม้งอย่างตายตัว คนม้งจึงต้องต่อสู้กับภาพด้านลบ ต่างๆ ในฐานะท่ีเป็นวาทกรรมครอบง�ำ เพื่อก�ำหนดทิศทางในการพัฒนาตนเอง แทนทจี่ ะเดนิ ไปตามทางทกี่ ำ� หนดจากสายตาของคนภายนอก การแสดงอตั ลกั ษณ์ อย่างหลากหลายจึงเปรียบเสมือนกลยุทธ์ทางวัฒนธรรมในการพัฒนาของกลุ่ม ชาตพิ นั ธ์ุอย่างหนงึ่ ตอ่ มา อรญั ญา ได้ประมวลและสงั เคราะหแ์ นวทางในการตอ่ รองอตั ลกั ษณ์ ของคนมง้ ในกรณศี กึ ษาออกมาอยา่ งนอ้ ย 3 แนวทางดว้ ยกนั สว่ นหนงึ่ เลอื กทจ่ี ะมงุ่ ไป ดา้ นการคา้ ขาย โดยเฉพาะการหนั ไปผลติ และขายหตั ถกรรมทางวฒั นธรรมของตน ดว้ ยการสรา้ งเครอื ขา่ ยทางการคา้ อยา่ งกวา้ งขวาง จนสามารถท�ำธรุ กจิ สง่ สนิ คา้ ออก ไปตา่ งประเทศไดเ้ อง บางสว่ นกห็ นั ไปทำ� การเกษตรแบบถาวร ดว้ ยการทำ� สวนไมผ้ ล ไม่ว่าจะเป็นล้ินจ่ี ล�ำไย หรือมะม่วง ทำ� นองเดยี วกันกับคนพ้นื ราบ แทนทจ่ี ะผกู ตดิ อยกู่ บั การพงึ่ พาการเพาะปลกู แบบยา้ ยท่ี ดว้ ยการปลกู ฝน่ิ เชน่ ในอดตี ขณะทค่ี นใน ชมุ ชนกห็ นั มาสนใจปกปอ้ งรกั ษาปา่ ศกั ดส์ิ ทิ ธิ์ ซงึ่ ถอื เปน็ ความพยายามปรบั ใชค้ วามรู้

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 165 ท้องถนิ่ เพอ่ื เสรมิ การแสดงตนเป็นผอู้ นรุ กั ษป์ ่าด้วย ในความพยายามตอ่ รองกบั รฐั เพ่อื ให้ได้สทิ ธิการอยู่อาศยั ในเขตป่า (Aranya 2006) นอกเหนือจากใช้เป็นกลยุทธ์ส่วนหน่ึงในการต่อรองอัตลักษณ์แล้ว ความพยายามของคนม้งในการจดั การป่าเชงิ อนุรกั ษ์ดังกล่าวแสดงว่า คนม้งยังได้ หันมาสนใจกับการปรับใช้ความรู้ทางวัฒนธรรมในชาติพันธุ์ของตนมากข้ึน ซ่ึงถือ เป็นความรู้ท้องถ่ินประเภทหนงึ่ เพ่ือพัฒนาทางเลือกใหม่ๆ ในปรับเปลี่ยนวิธีการ จดั การทรพั ยากร ทงั้ การจดั การปา่ และการเกษตรในเขตปา่ ดว้ ย ดงั จะพบในงานวจิ ยั ตอ่ ๆ มาอกี หลายชน้ิ ทง้ั ในกรณขี องคนมง้ เชน่ งานของ อภยั วาณชิ ประดษิ ฐ์ (2548) และชาวปกาเกอะญอ เชน่ วทิ ยานพิ นธข์ อง ทรงพล รตั นวไิ ลลกั ษณ์ (2546) เปน็ ตน้ 4.3 ความรู้ทอ้ งถ่ินกบั การชว่ งชิงความรใู้ นการพัฒนาพน้ื ทีส่ ูง เม่ือการพัฒนากระแสหลักถูกมองว่า อาจจะแฝงไว้ด้วยวาทกรรมครอบงำ� เพราะพยายามยัดเหยียดความรู้ชุดหนงึ่ บนพ้ืนฐานของความรู้แบบวิทยาศาสตร์ ให้เป็นความรู้ท่แี ท้จรงิ เพียงชุดเดียว ด้วยเหตนุ ี้เอง ในความพยายามท่ีจะแสวงหา ทางเลอื กใหมใ่ หก้ บั การพฒั นา ในระยะแรกๆ การวจิ ยั ในมติ วิ ฒั นธรรมกบั การพฒั นา จึงเริ่มหันมาสนใจชุดความรู้อ่ืนๆ และมักจะลงเอยกับความรู้ ในลักษณะท่ีเป็นคู่ ตรงกันข้ามกับชุดความรู้สากลแบบวิทยาศาสตร์ ส่วนหนึ่งก็เพราะอิทธิพลของ กระแสของวาทกรรมทอ้ งถน่ิ นยิ มในขณะนน้ั ทพี่ ยายามตอบโตก้ บั กระแสโลกาภวิ ตั น์ (Hewison 1993) โดยรวมเรยี กกนั อยา่ งกวา้ งๆ วา่ ความรหู้ รอื ภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถน่ิ ใน สังคมไทยความรู้ท้องถ่ินนน้ั ถูกจัดให้อยู่เป็นส่วนหนงึ่ ของแนวความคิดวัฒนธรรม ชุมชน (ฉตั รทิพย์ 2534) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นแนวความคิดหลักในการวิจัยด้าน วัฒนธรรมกับการพัฒนาในสังคมไทย รวมทง้ั ภาคเหนือด้วย การวิจัยในช่วงแรกๆ มักจะให้ความสำ� คัญกับความรู้ท้องถ่ินดังกล่าว ใน ฐานะทเี่ ปน็ สว่ นหนงึ่ ของการตคี วามระบบคณุ คา่ และคณุ ธรรมในพทุ ธศาสนา ซง่ึ พบ วา่ คนทอ้ งถน่ิ นำ� มาใชต้ อบโตก้ บั การพฒั นากระแสหลกั ดว้ ยการเนน้ คณุ ธรรมของคน

166 กำ�กด๊ึ กำ�ปาก ทอ้ งถนิ่ เกยี่ วกบั พนั ธะตอ่ ชมุ ชน ดงั เชน่ วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญาเอกของ ซซู าน ดารล์ งิ ตนั เรอ่ื ง ‘Buddhism, Morality and Change: Local Response to Development in Northern Thailand’ (Darlington 1990) แต่ในระยะต่อมาเมอ่ื การวิจยั ชุมชนในชนบทมีมากขน้ึ ความสนใจกลับหันไปให้ความส�ำคัญกับความรู้ในแง่ท่ีเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นแทน ในฐานะเป็นศักยภาพของชุมชนท้องถ่ินในการจัดการวิถีชีวิตด้านต่างๆ ของ ตนเอง โดยเฉพาะด้านการเกษตร การจัดการทรัพยากร และการรักษาพยาบาล ดังตัวอย่างการวิจัยระดับชุมชนท้องถ่ินในลุ่มน้�ำแม่ขาน จังหวัดเชียงใหม่ของ พรพไิ ล เลศิ วิชาและอรุณรตั น์ วเิ ชียรเขียว (2546) เร่อื ง ชุมชนหมบู่ า้ นลุ่มนำ้� ขาน แต่การวิจัยความรู้และภูมิปัญญาท้องถ่ินในภาคเหนือของนกั วิชาการไทย ในช่วงหลังปี พ.ศ 2540 เป็นต้นมา ค่อนข้างจะเน้นความเข้มข้นมากในการศึกษา กรณขี องกลุ่มชาติพันธุ์บนทีส่ งู โดยเฉพาะทีเ่ ก่ียวข้องกบั การจดั การทรัพยากรและ การเกษตร และมกั จะเนน้ ไปทชี่ าวปกาเกอะญอเปน็ สว่ นใหญ่ ในฐานะกลมุ่ ชาตพิ นั ธ์ุ ท่ีมีความสามารถในการจัดการไร่หมุนเวียนเชิงอนุรักษ์และการยังชีพได้เด่นชัด เป็นพิเศษ ส่วนกลุ่มชาตพิ ันธุ์อ่นื ๆ จะได้รับความสนใจไม่มากนกั แม้ว่าพวกเขาจะ เรมิ่ หนั มาแสดงความสามารถในการอนรุ กั ษไ์ ดเ้ ชน่ เดยี วกนั ไมว่ า่ จะเปน็ คนมง้ และ ลาหู่ ดงั ได้กล่าวถงึ ไปบ้างแล้วในหัวข้อแรก ในปี พ.ศ 2544 ขอ้ สรปุ หลกั จากการวจิ ยั ของนกั วชิ าการไทยจำ� นวนมากทว่ี า่ ชาวปกาเกอะญอมีภูมิปัญญาอย่างดีในการจัดการไร่หมุนเวียนอย่างย่ังยืนได้ถูก นกั วชิ าการชาวออสเตรเลียชือ่ แอนดรวู ์ วอคเกอร์ (Walker 2001) วพิ ากษ์วจิ ารณ์ ไปในเชงิ ทกั ทว้ งวา่ ขอ้ สรปุ ดงั กลา่ วคงจะเปน็ แคเ่ พยี ง “ฉนั ทามตขิ องชาวกะเหรย่ี ง” (Karen Consensus) ในหมนู่ กั วชิ าการและนกั พฒั นาเอกชน เพอ่ื สรา้ งความชอบธรรม ในการใชป้ า่ แตก่ ลบั ละเลยบรบิ ททางประวตั ศิ าสตรท์ บี่ ง่ บอกอยา่ งชดั วา่ ในระยะยาว แล้วยังมีการท�ำการเกษตรอย่างเข้มข้นในเชิงพาณิชย์อยู่บนที่สูงด้วย จนอาจ ท�ำให้ชาวปกาเกอะญอต้องเส่ียงท่ีจะสูญเสียโอกาส ในการเข้าถึงทรัพยากรและ การสนับสนนุ ด้านการพัฒนาได้ ข้อวิจารณ์นจี้ ึงเป็นการตั้งข้อสงสัยหรือคำ� ถามว่า ชาวปกาเกอะญอมีภูมิปัญญาท่ีมีศักยภาพดังกล่าวดีจริง หรือว่าเป็นเพียงการ ลงความเหน็ ตามๆ กนั ไป เสมอื นหนง่ึ เป็นเช่นฉนั ทามตเิ ท่านนั้

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 167 การทักท้วงดังกล่าวได้จุดชนวนให้เกิดวิวาทะทางวิชาการข้ึน เกี่ยวกับ ข้อถกเถียงในเรื่องความเข้าใจนัยของภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยยศ สันตสมบัติ (Yos 2004) นกั มานุษยวิทยาแห่งมหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่ได้เริ่มออกมาโต้แย้ง ด้วย การเสนอให้เปลี่ยนมุมมองภูมิปัญญาของชาวปกาเกอะญอเสียใหม่ว่าเป็นทุนทาง วฒั นธรรม ตามความหมายของบดู ิเออร์ (Bourdieu 1986) ที่ชาวปกาเกอะญอเอง ได้น�ำมาใช้สร้างเป็นกลยุทธ์ เพื่อต่อต้านวาทกรรมครอบง�ำของหน่วยงานภาครัฐ ท่ีมักจะมองภาพชาวปกาเกอะญอเพียงด้านลบ ผ่านการปรับเปล่ียนความรู้ให้ มีอ�ำนาจเชิงสัญลักษณ์ ในการนิยามตัวเองว่าเป็นคนอนุรักษ์ป่า เพื่อตอบโต้กับ วาทกรรมของรัฐที่มักจะมองพวกเขาว่าเป็นคนท�ำลายป่าอยู่รำ�่ ไป ขอ้ เสนอของ ยศ สนั ตสมบตั ิ ชว่ ยเปดิ มมุ มองใหมใ่ นการศกึ ษาความรทู้ อ้ งถน่ิ พรอ้ มๆ กบั การเนน้ เตอื นใหห้ นั มามองภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถน่ิ ในบรบิ ทของความสมั พนั ธ์ เชงิ อำ� นาจ ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั การตอ่ สเู้ พอื่ ปรบั เปลย่ี นอตั ลกั ษณข์ องคนทอ้ งถน่ิ ซง่ึ บง่ ช้ี ให้เห็นถึงพลวัตของภูมิปัญญาท้องถ่ินในการปรับเปลี่ยนได้อย่างสลับซับซ้อน ท้ังนกี้ ็เพื่อจะช่วยให้การวิจัยสามารถก้าวข้าม หรือทะลุออกไปจากความคิดแบบ คู่ตรงกันข้าม ในขณะท่ีวอคเกอร์มองภูมิปัญญาท้องถิ่นในบริบทของการพัฒนา ทนุ นยิ มโลก ดว้ ยความไมม่ นั่ ใจวา่ ภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถนิ่ จะตา้ นทานกระแสของทนุ นยิ ม โลกได้ เพราะยงั คงยดึ ตดิ อยใู่ นความคดิ แบบคตู่ รงขา้ มเพยี งดา้ นใดดา้ นหนงึ่ ซงึ่ กไ็ ม่ แตกตา่ งมากนกั จากนกั วชิ าการไทยบางสว่ น ทยี่ งั คงยดึ ตดิ อยกู่ บั ความคดิ คตู่ รงขา้ ม เช่นเดียวกัน เพียงแต่เชอื่ มนั่ ไปในทางตรงกนั ข้ามว่า ภมู ปิ ัญญาท้องถนิ่ มีศักยภาพ เพยี งพอในการต่อต้านทนุ นิยมโลกาภวิ ัตน์เท่านน้ั การหันมามองความรู้และภูมิปัญญาในบริบทของความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจ นน้ั ไมเ่ พยี งชว่ ยใหค้ วามคดิ ในการวจิ ยั กา้ วหลดุ พน้ ออกมาจากการเหน็ ความรแู้ บบ ตายตัวในเชิงแก่นสารนิยมเท่านน้ั แต่ยังช่วยให้เปล่ียนไปสนใจความรู้ในแง่ของ การช่วงชิงความหมาย หรือการช่วงชิงการนิยามความรู้ต่างๆ ตามแนวความคิด การเมืองวัฒนธรรมของกรัมชีด้วย จนทำ� ให้การวิจัยจ�ำนวนหนง่ึ หลังปี พ.ศ 2540 เร่ิมหนั มาปรบั ใช้มมุ มองนเ้ี พม่ิ มากขึ้น

168 กำ�ก๊ึดก�ำ ปาก อย่างไรก็ตามงานวิจัยส่วนใหญ่เหล่านนั้ ก็ยังคงเก่ียวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ บนทส่ี งู เรมิ่ จากงานของปน่ิ แกว้ เหลอื งอรา่ มศรี เรอื่ ง “The ambiguity of ‘watershed’: the politics of people and conservation in northern Thailand” (Pinkaew 2000) ซึ่ง ศกึ ษาการชว่ งชงิ ความรเู้ กย่ี วกบั ความก�ำกวมของความหมายของตน้ น้�ำ ระหวา่ งรฐั กบั กลมุ่ ชาตพิ นั ธบ์ุ นทสี่ งู ทง้ั นร้ี ฐั มกั จะนยิ ามตน้ น�้ำตามความหมายแบบชนชนั้ กลาง ว่าเป็นป่าธรรมชาติ ซ่ึงมีคุณค่าตามล�ำดับชั้นของความส�ำคัญ ป่าต้นน้�ำในท่ีสูง ตอนบนถือว่ามีความส�ำคัญสูงสุด จึงควรจะรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพเดิมโดยไร้การ รบกวนใดๆ ขณะท่ีป่าช้ันล่างต�่ำลงมามีความส�ำคัญน้อยลงไป ซึ่งก็มีนัยว่าคนใน ทรี่ าบลมุ่ สามารถถางปา่ เพอื่ การใชป้ ระโยชนอ์ ยา่ งไรกไ็ ด้ แมก้ ลมุ่ ชาตพิ นั ธ์ุ เชน่ ชาว ปกาเกอะญอ จะมองเห็นความเช่ือมโยงของท้ังสองส่วนว่าสามารถส่งผลกระทบ ซึ่งกันและกันได้ก็ตาม การนิยามความหมายของต้นน้�ำของรัฐดังกล่าว จึง เปรียบเสมือนเป็นการยัดเหยียดระบอบความรู้แบบเหมารวมของรัฐลงมาครอบ กลุ่มชนที่มวี ฒั นธรรมแตกต่างออกไป (Pinkaew 2000: 63) ดงั จะพบวา่ บนพนื้ ฐานของการนยิ ามดงั กลา่ ว มลู นธิ แิ หง่ หนง่ึ ของชนชน้ั กลาง สามารถร่วมมือกับกรมป่าไม้จัดสรรพ้ืนท่ีป่าสงวนในที่ราบให้กับชาวบ้านในที่ลุ่ม เพ่ือเป็นที่ดินท�ำกินในรูปแบบหมู่บ้านป่าไม้ ขณะเดียวกันนน้ั มูลนธิ ิดังกล่าวกลับ ระดมชาวบ้านล้อมร้ัวลวดหนาม เพ่ือปิดก้ันไม่ให้คนม้งที่อยู่สูงข้ึนไปเข้าไปท�ำกิน ในทไี่ รท่ พ่ี วกเขาพกั ดนิ ทงิ้ รา้ งไวไ้ ด้ กรณเี ชน่ นแี้ สดงใหเ้ หน็ วา่ การนยิ ามความหมาย เกยี่ วกบั ปา่ ตน้ น�้ำและการอนรุ กั ษ์ คงเปน็ เพยี งสว่ นหนง่ึ ในการสรา้ งความชอบธรรม ใหก้ บั การขยายการใชป้ ระโยชนพ์ น้ื ทปี่ า่ ของคนพน้ื ราบเทา่ นน้ั ขณะทกี่ ดี กนั กลมุ่ ชน บนทส่ี งู จากการเขา้ ถงึ ปา่ อยา่ งเขม้ งวด การใชอ้ �ำนาจนยิ ามระบอบความรทู้ ค่ี รอบง�ำ เชน่ นจี้ งึ เกยี่ วขอ้ งอยา่ งแยกไมอ่ อกกบั การชว่ งชงิ การใชพ้ น้ื ปา่ เพราะชว่ ยใหค้ นกลมุ่ หนงึ่ ไดส้ ทิ ธิ ขณะทกี่ ดี กนั คนอกี กลมุ่ หนงึ่ จนน�ำไปสคู่ วามขดั แยง้ ระหวา่ งคนทงั้ สอง กลุ่ม (Pinkaew 2000: 64-66) ภายใตบ้ รบิ ทของความสมั พนั ธเ์ ชงิ อำ� นาจทไ่ี มเ่ ทา่ เทยี มกนั ดงั กลา่ ว ปน่ิ แกว้ ยังพบอกี ด้วยว่า คนม้งในฐานะผู้ด้อยอ�ำนาจจงึ พยายามต่อสู้ ผ่านการช่วงชิงการ

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 169 นิยามความหมายของต้นน้�ำ บนพื้นฐานของความรู้ท้องถ่ิน ท่ีไม่ใช่เป็นความรู้ ตายตวั แบบแกน่ สารนยิ ม หากแตเ่ ปน็ ความรผู้ า่ นการปฏบิ ตั กิ ารเกย่ี วขอ้ งกบั วถิ กี าร ดำ� รงชวี ติ ทปี่ รบั เปลย่ี นอยตู่ ลอดเวลา นอกจากจะนยิ ามปา่ ตน้ นำ�้ วา่ เปน็ ปา่ ศกั ดส์ิ ทิ ธ์ิ ทพี่ วกเขาอนรุ กั ษไ์ วด้ ว้ ยเชน่ เดยี วกนั แลว้ พวกเขายงั อธบิ ายอกี ดว้ ยวา่ การท�ำลายปา่ ในพื้นที่ท�ำกินของพวกเขานน้ั มีท่ีมาท่ีไปจากประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์กับ อ�ำนาจภายนอกทซี่ ับซ้อน โดยเฉพาะนโยบายปราบปรามการปลูกฝิ่น ด้วยการส่ง เสรมิ การปลกู พชื ทดแทนฝน่ิ ผา่ นโครงการพฒั นาทส่ี งู ตา่ งๆ ซงึ่ สง่ ผลกระทบตอ่ การ ทำ� ลายปา่ เพอื่ ขยายทเี่ พาะปลกู เพม่ิ ขนึ้ ในขณะทพ่ี วกเขาพยายามแสวงหาทางเลอื ก ในการจัดการป่าใหม่ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนระบบการเพาะปลูกพืช เช่น ลดพ้ืนท่ี ปลกู ผักกล่ำ� ปลีลง และหนั ไปปลูกไม้ผลยืนต้นต่างๆ แทนท่ี พร้อมๆ กับทดลองจัด พื้นที่บางส่วนรอบๆ หมู่บ้านเป็นป่าชุมชนด้วย ซ่ึงแสดงถึงความพยายามปรับตัว ของคนม้งต่อแรงกดดันจากกระแสของการอนุรักษ์ เพ่ือต่อรองกับอ�ำนาจจาก ภายนอก ทจี่ ะเออ้ื ให้พวกเขาสามารถอยู่กบั ป่าต่อไปได้ (Pinkaew 2000: 67-68) กรณีศึกษาเช่นนี้จึงบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า การช่วงชิงการนิยามความรู้ ของกลุ่มชนต่างๆ นนั้ ส่งผลต่อการแสวงหาทางเลอื กในการพฒั นาและการอนุรกั ษ์ ไปดว้ ยพรอ้ มๆ กนั ดว้ ยเหตทุ กี่ ารมองความรทู้ อ้ งถน่ิ ไมส่ ามารถมองอยา่ งเหมารวม และตายตัวได้ เพราะแนวคิดใหม่ท่ีได้รับจากกรณีศึกษานี้ก็คือ ความรู้ท้องถ่ิน สามารถแสดงออกผ่านปฏิบัติการของกลุ่มชน ท่ีปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา โดย เฉพาะในบริบทของการช่วงชิงความรู้ในเร่ืองต่างๆ ซ่ึงมีนัยสำ� คัญต่อการช่วงชิง ความรู้ในการพฒั นานนั่ เอง แต่การวิจัยของนกั วิชาการชาวต่างประเทศ เช่น บทความท่ีสรุปมาจาก วทิ ยานพิ นธ์ปรญิ ญาเอกของ ทอมฟอร์ด เร่อื ง “The global in the local: contested resource-use of the Karen and Hmong in northern Thailand” (Tomforde 2003) ซึ่งศึกษาท้ังชุมชนชาวปกาเกอะญอและชาวม้งในเขตอุทธยานแห่งชาติดอย อนิ ทนนทพ์ บวา่ กลมุ่ ชาตพิ นั ธท์ุ ง้ั สองเลอื กทจี่ ะตอบโตก้ บั วาทกรรมการพฒั นาและ การอนรุ กั ษร์ ะดบั โลกแตกตา่ งกนั ในกรณขี องชาวปกาเกอะญอ ซง่ึ เดมิ เคยมคี วามรู้

170 ก�ำ กดึ๊ ก�ำ ปาก ท้องถ่ินเชิงอนุรักษ์อย่างดี แต่กลับไม่สามารถใช้ความรู้ท้องถ่ินนน้ั ของตนในการ จัดการทรัพยากรป่าเชิงอนุรักษ์ได้ตามข้อสรุปแบบ “ฉนั ทามติของชาวกะเหร่ียง” อีกทั้งยังไม่สามารถช่วงชิงความรู้ในการพัฒนาทางเลือกได้ด้วย เพราะผลกระทบ ของความคิดสิ่งแวดล้อมนิยมในฐานะวาทกรรมระดับโลกได้ส่งอิทธิพลกดดันลง มาอย่างหนกั ในระดบั ท้องถิ่น ด้วยการช่วงชิงระบบการใช้ทรพั ยากรไปจากท้องถิ่น ผ่านการสร้างข้อจ�ำกัดต่างๆ ในการใช้พืน้ ท่ีป่า พร้อมทัง้ ผลกั ดนั และส่งเสริมให้คน บนท่ีสูงเปลี่ยนระบบการเกษตร จากการเกษตรแบบย้ายท่ีให้มาเป็นการปลูกพืช พาณชิ ย์บนแปลงการเกษตรแบบถาวรแทน จนชาวปกาเกอะญอไม่สามารถรักษา ความรู้ท้องถ่ินของตน ซึ่งเกี่ยวพันอย่างแนบแน่นกับการท�ำไร่หมุนเวียน และน�ำ มาใช้ในการอนุรักษ์ป่าได้อีกต่อไป โดยพวกเขาปรับกลยุทธ์การพัฒนาด้วยการ หลีกเล่ียงความขัดแย้งกับรัฐ และหันไปปลูกพืชพาณชิ ย์ในท่ีนาข้ันบันไดหลังจาก การท�ำนาด�ำมากข้ึน เพื่อแสวงหาเงินรายได้ให้ทันกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว จนบางคนถึงกับเลิกปลูกข้าวและเปลี่ยนนาข้ันบันไดไปปลูกพืชพาณชิ ย์ ทงั้ หมดแลว้ ดว้ ยซำ้� ไป พรอ้ มๆ กบั หนั ไปพงึ่ พาความรแู้ ละความชว่ ยเหลอื จากหนว่ ย งานของรัฐมากขึน้ (Tomforde 2003: 354-356) สำ� หรบั กรณขี องชาวมง้ อาจจะดเู หมอื นไมไ่ ดม้ คี วามรทู้ อ้ งถน่ิ ในการจดั การ เชงิ อนรุ กั ษอ์ ยา่ งชดั เจนมากอ่ นเทา่ กบั กรณขี องชาวปกาเกอะญอ แตพ่ วกเขากลบั มี กลยทุ ธใ์ นการปรบั ตวั ตอบโตก้ บั แรงกดดนั จากวาทกรรมการพฒั นาและการอนรุ กั ษ์ ระดับโลกในทางตรงกันข้าม แม้ว่าจะถูกกดดันและก�ำกับควบคุมการใช้พ้ืนที่ป่า ไม่แตกต่างจากชาวปกาเกอะญอก็ตาม ในด้านหนงึ่ พวกเขาจะปรับกลยุทธ์ในการ แสวงหารายได้จากแหล่งทมี่ าอย่างหลากหลายมากขึน้ โดยเฉพาะรายได้นอกภาค การเกษตร ในอีกด้านหน่ึงแทนท่ีพวกเขาจะหลีกเล่ียงความขัดแย้งแบบชาว ปกาเกอะญอ พวกเขากลบั เลอื กทจี่ ะหลกี เลยี่ งแรงกดดนั จากภายนอก ดว้ ยการรเิ รม่ิ ปกป้องรักษาป่ารอบๆ หมู่บ้านด้วยตนเอง โดยค่อยๆ เรยี นรู้จากความรู้ภายนอก ชุมชนและผสมผสานเข้ามาเป็นความรู้ท้องถ่ินของตนในที่สุด ท้ังนกี้ ็เพ่ือพิสูจน์ว่า พวกเขาสามารถรักษาป่าได้เช่นเดียวกัน และยังช่วยลบล้างภาพลักษณ์ด้านลบ

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 171 เก่าๆ ออกไปได้อีกด้วย ซ่ึงจัดว่าเป็นการช่วงชิงความรู้ในระบบการจัดการการใช้ ทรพั ยากรอกี ทางหนง่ึ (Tomforde 2003: 357-359) ผา่ นปฏบิ ตั กิ ารเกย่ี วกบั การอนรุ กั ษ์ ป่า เพ่ือต่อรองให้รัฐยอมรับสิทธิท่ีจะให้พวกเขาอยู่กับป่าต่อไปได้ การท่ีกลุ่มชน สามารถผสมผสานความรตู้ า่ งๆ เขา้ มาไดด้ ว้ ยตนเองเชน่ นแ้ี สดงใหเ้ หน็ อยา่ งชดั เจน ว่า ความรู้ท้องถิ่นไม่จ�ำเป็นต้องอยู่ในรูปขององค์ความรู้ท่ีด�ำรงอยู่แล้วอย่างหยุด นง่ิ และตายตัวตามความคิดแบบแก่นสารนิยม แต่อาจจะแสดงออกมาในรูปของ ปฏบิ ตั กิ ารทส่ี ามารถปรับเปล่ยี นและผสมผสานกันอยู่เสมอตามสถานการณ์ (Situ- ated Knowledge as Practice) เพ่ือการต่อรองในบรบิ ทของความสัมพันธ์เชิงอำ� นาจ ท่ีไม่เท่าเทยี มกนั กไ็ ด้เช่นเดยี วกนั (ดู Nygren 1999) การตอ่ รองและชว่ งชงิ ความรดู้ งั กลา่ วยงั แสดงออกอยา่ งหลากหลายรปู แบบ โดยเฉพาะกรณขี องปฏบิ ตั กิ ารดา้ นวฒั นธรรมในลกั ษณะตา่ งๆ เชน่ พธิ กี รรมรว่ มกนั ของความเป็นชุมชน (Ritual of Communality) ดังกรณีศึกษาของ ฮายามิ เร่ือง “Internal and external discourse of communality, tradition and environment: minority claims on forest in the northern hills of Thailand” (Hayami 1997) ซ่ึงพบว่า ชาว ปกาเกอะญอ ทบ่ี า้ นวดั จนั ทร์ อำ� เภอแมแ่ จม่ 2 จงั หวดั เชยี งใหม่ ไดร้ ว่ มกนั จดั พธิ บี วชปา่ ข้ึนมา เพื่อสื่อสารเชิงวาทกรรมกับท้ังชาวบ้านภายในชุมชนด้วยกันเองและสังคม ภายนอก เมื่อต้องเผชิญกบั ภยั จากภายนอก เน่อื งจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ไดพ้ ยายามเขา้ มาสรา้ งโรงเลอื่ ยไมใ้ นปา่ สน ทอ่ี ยใู่ นเขตปา่ ตน้ น�้ำ พวกเขาจงึ กลวั วา่ ปา่ ตน้ นำ้� จะถกู ทำ� ลายและกระทบตอ่ การทำ� นาดำ� แบบขนั้ บนั ได แมก้ ารทำ� นาจะเปน็ งานของแตล่ ะครวั เรอื น ทงั้ ชมุ ชนกต็ อ้ งรว่ มกนั จดั การนำ้� สำ� หรบั ใชท้ ำ� นา และเคยจดั ทำ� พธิ กี รรมของชมุ ชนเพอื่ ชว่ ยจรรโลงสำ� นกึ รว่ มกนั มากอ่ นกต็ าม แตพ่ ธิ กี รรมเหลา่ นน้ั ก็ค่อยๆ เสือ่ มสลายหายไป หลงั จากหนั ไปรบั ศาสนาคริสต์และพุทธแทนความเช่อื เรอ่ื งผแี บบเดมิ จนทำ� ใหส้ ายตระกลู ของผนู้ ำ� พธิ กี รรมขาดชว่ งไปดว้ ย ขณะทช่ี าวบา้ น ในชมุ ชนต่างก็แข่งขันและช่วงชงิ ทรพั ยากรกันมากข้นึ (Hayami 1997: 565-568) ภายใตส้ ถานการณล์ อ่ แหลมดงั กลา่ ว ชาวบา้ นวดั จนั ทรไ์ ดห้ นั กลบั ไปพลกิ ฟน้ื 2 ปัจจุบนั คอื อ�ำเภอกลั ยาณวิ ัฒนา

172 ก�ำ กดึ๊ ก�ำ ปาก พธิ กี รรมขนึ้ มาใหม่ ในชว่ งของการรณรงคเ์ คลอ่ื นไหวตอ่ ตา้ นการสรา้ งโรงเลอื่ ยไมใ้ น ป่าสน เพื่อต่อต้านอ�ำนาจจากภายนอกและปกป้องตัวเอง (Hayami 1997: 569) ใน รปู แบบของพธิ บี วชป่า ด้วยการผสมผสานทัง้ ความเชือ่ แบบผแี ละคณุ ค่าแบบพุทธ ซงึ่ แฝงไวด้ ว้ ยวาทกรรมการอนรุ กั ษ์ บนพนื้ ฐานของคณุ คา่ ทอี่ ยใู่ นการทำ� ไรห่ มนุ เวยี น ตามประเพณี ทั้งๆ ที่ชาวปกาเกอะญอส่วนมากมุ่งจะท�ำนาด�ำเพ่ิมขึ้นแล้วก็ตาม พิธีบวชป่าดังกล่าวจึงเป็นอีกตัวอย่างหนง่ึ ของปฏิบัติการของการปรับใช้ความรู้ ท้องถ่ินตามสถานการณ์ในเชิงกลยุทธ์ ท้ังในฐานะวาทกรรมของความเป็นชุมชน เพื่อสื่อกับชาวบ้านด้วยกันเองภายในชุมชนให้ผนกึ ตัวกัน และในฐานะวาทกรรม ตา้ น เพอื่ สอ่ื สารกบั ชาวพนื้ ราบภายนอกวา่ พวกเขาทง้ั ผกู พนั อยกู่ บั ปา่ และสามารถ อนรุ ักษ์ป่าได้ ในการสร้างความชอบธรรมทจี่ ะอาศัยอยู่ในป่าต่อไป จนปฏิบัติการ ของชาวบา้ นทไี่ รอ้ �ำนาจไดส้ ง่ เสยี งเปน็ แรงบนั ดาลใจใหก้ บั ขบวนการเคลอ่ื นไหวดา้ น สง่ิ แวดลอ้ มในสงั คมไทย ซงึ่ หวลกลบั มาชว่ ยหนนุ เสรมิ ให้ พวกเขาสามารถผลกั ดนั องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ต้องยกเลกิ โครงการไปในที่สดุ (Hayami 1997: 574-575) นอกจากพิธีบวชป่าจะเป็นปฏิบัติการด้านวาทกรรม ในการสร้างความ ชอบธรรมให้กับคุณธรรมของการอนุรักษ์ธรรมชาติในความคิดสิ่งแวดล้อมนิยม แล้ว ยงั แสดงนัยของการช่วงชงิ ความหมายและต่อต้านวาทกรรมการพฒั นา ที่มุ่ง จะแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาตดิ ้านเดยี วอีกด้วย แต่หากจะมองจาก สายตาของฝ่ายท่ีมีอ�ำนาจแล้ว ทั้งวาทกรรมการอนุรักษ์และวาทกรรมการพัฒนา ล้วนเป็นปฏิบัติการของการผูกขาดการนิยามความหมายเพ่ือการครอบง�ำ ซึ่งมัก เกยี่ วข้องกบั ความพยายามท่จี ะสถาปนาอ�ำนาจเหนอื พน้ื ที่ (Territorialization) หรือ การกีดกันผู้ไร้อ�ำนาจออกจากพื้นท่ี ภายใต้การสถานการณ์ดังกล่าว ผู้ไร้อ�ำนาจก็ สามารถต่อต้านวาทกรรมครอบง�ำ ผ่านปฏิบัติการของพิธีบวชป่าได้เช่นเดียวกัน ดงั ตวั อยา่ งในบทความวจิ ยั เรอื่ ง “Contesting landscape in Thailand: tree ordination as counter-territorialization” (Lotte and Ivarsson 2002) ซงึ่ พบว่า ภายใต้กระแส สิง่ แวดล้อมนิยมทางพทุ ธศาสนา ที่บางส่วนสนับสนนุ การสถาปนาอำ� นาจรฐั เหนือ พ้ืนที่และกีดกันชาวบ้านออกจากพื้นที่ป่า ด้วยการกล่าวหาว่าพวกเขาทำ� ลายป่า

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 173 ในทางตรงกันข้าม ชาวบ้านท่ีอาศัยอยู่ในป่าก็ได้น�ำพิธีบวชป่ามาใช้ต่อต้านการ สถาปนาอ�ำนาจรัฐเหนือพ้ืนท่ี ผ่านกรณีศึกษาของชาวปกาเกอะญอในหมู่บ้าน แห่งหนึ่งในอ�ำเภอแม่แจ่ม ซึ่งผสมผสานความหมายสิ่งแวดล้อมนิยมทาง พทุ ธศาสนา ครสิ ต์ศาสนา และความเช่ือท้องถ่ินอื่นๆ ในพิธบี วชป่า ในฐานะเป็น ภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่า ที่เป็นส่วนหนง่ึ ของการจัดการป่าชุมชนเชิงอนุรักษ์ (Lotte and Ivarsson 2002: 412-413) ในทา้ ยทส่ี ดุ ลอตตแ์ ละอวิ าสนั ไดอ้ ธบิ ายเพมิ่ เตมิ ว่า แม้ชาวบ้านอาจจะไม่ได้มองเห็นไปในทางเดียวกันในทุกเรื่อง แต่ก็เข้าร่วมใน พธิ บี วชปา่ ในฐานะเปน็ สว่ นหนงึ่ ของกระบวนการปรบั ตวั ชว่ งเปลยี่ นผา่ นของการใช้ ทดี่ นิ ในเขตปา่ ภายใตแ้ รงกดดนั ตา่ งๆ จากภายนอก (Lotte and Ivarsson 2002: 414) นอกจากปฏิบัติการในพ้ืนท่ีระดับท้องถ่ินแล้ว ความรู้ท้องถ่ินยังสามารถ ขยายออกไปปฏิบัติการเคล่ือนไหวตามสถานการณ์ได้ในวงกว้างอีกด้วย ในฐานะ เป็นพลังส่วนหนง่ึ ของขบวนการเคลื่อนไหวเชิงนิเวศ ดังตัวอย่างในการศึกษาใน วทิ ยานพิ นธร์ ะดบั ปรญิ ญาเอกของ ประเสรฐิ ตระการศภุ กร เรอื่ ง ‘Space of Resistance and Place of Local Knowledge in Northern Thai Ecological Movement’ (Prasert 2007) ซ่ึงพบว่า ขบวนการเคลื่อนไหวเชิงนิเวศในภาคเหนือได้อาศัยการตีความ ภูมิปัญญาท้องถ่ินของชาวปกาเกอะญอใหม่ โดยเฉพาะความคิดและคติต่างๆ ในภาษิตท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘ทา’ ซ่ึงผู้รู้ทางวัฒนธรรมของชาวปกาเกอะญอ มักจะน�ำมาด้นไปตามสถานการณ์ ทั้งในรูปของ ค�ำพังเพย เพลง และบทกวี จึง ชว่ ยทง้ั ในการสอ่ื สารความเขา้ ใจความหมายในเรอื่ งนเิ วศการเมอื งกนั ภายในทอ้ งถน่ิ และช่วยสร้างวาทกรรมใหม่ๆ ในบริบทปัจจุบันท้ังในรูปของปฏิบัติการและคำ� พูด จนมีส่วนช่วยเปิดพ้ืนท่ีในการต่อรองและต่อต้านหน่วยงานภาครัฐ ท่ีมุ่งขับเคล่ือน นโยบายขยายพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และกีดกันชุมชนบนพ้ืนท่ีสูงไม่ให้มีส่วนร่วมในการ ใช้และจดั การทรัพยากรป่า จากตวั อยา่ งงานวจิ ยั บางสว่ นขา้ งตน้ ชว่ ยใหเ้ หน็ แลว้ วา่ นกั วชิ าการสามารถ มองความรทู้ อ้ งถน่ิ ในมติ ขิ องแนวความคดิ ทแ่ี ตกตา่ งกนั อยเู่ สมอ แมจ้ ะอยใู่ นบรบิ ท ของการชว่ งชงิ ความรใู้ นการพฒั นาเชน่ เดยี วกนั กต็ าม จากมติ แิ รกนน้ั มองวา่ ความรู้

174 ก�ำ ก๊ดึ กำ�ปาก เป็นภูมิปัญญาท่ีมีศักยภาพและพลวัตในการปรับตัวกับการพัฒนา มาสู่มิติที่สอง ด้วยการมองว่า ความรู้เป็นทุนทางวัฒนธรรม ที่สามารถเปลี่ยนให้เป็นกลยุทธ์ใน การสร้างอัตลักษณ์ เมื่ออยู่ในบริบทของการปรับเปล่ียนความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจ ส่วนมิติท่ีสามคือการมองความรู้ ในรูปของปฏิบัติการของการช่วงชิงความหมาย และมิติท่ีส่ีหันมามองความรู้ ในรูปของปฏิบัติการของการผสมผสานความรู้ต่างๆ ตามสถานการณ์ รวมท้ังสามารถน�ำมาด้นไปตามสถานการณ์ ซ่ึงช่วยให้กลุ่มชน ตา่ งๆ สามารถเลอื กกลยทุ ธใ์ นการปรบั ตวั ดา้ นการพฒั นาไดอ้ ยา่ งหลากหลาย และ เคลอ่ื นไหวได้ในหลายระดบั ท้ังในระดบั ชมุ ชน และในความสมั พันธ์กบั หน่วยงาน และองค์กรภายนอก ตลอดจนระดบั ของขบวนการเคลอื่ นไหวทางสงั คม 4.4 พลวตั ของชมุ ชนท้องถิ่นในการเมืองของการต่อรอง ความหมายและความรู้ การศึกษาชุมชนชนบทภาคเหนือในบริบทของการพัฒนาระยะแรกๆ (ของ ทศวรรษ 2520) โดยเฉพาะในหมู่นกั วิชาการไทย และนกั พัฒนาเอกชนมักจะผูก ตดิ อยู่กบั มมุ มองแบบวฒั นธรรมชุมชน ซึง่ เน้นความกลมกลืนกนั ในชุมชน ภายใต้ ศีลธรรมของการช่วยเหลือเก้ือกูลกัน ที่ถือกันว่าเป็นศักยภาพทางวัฒนธรรมใน การร่วมมือกันจัดการวิถชี วี ิตด้านต่างๆ ของตนเอง เมอื่ ต้องเผชญิ กบั ภัยของระบบ ทนุ นยิ มจากภายนอก มมุ มองเชน่ นมี้ อี ทิ ธพิ ลอยา่ งมากตอ่ แนวทางการพฒั นาชนบท ดงั จะเหน็ ไดผ้ า่ นความทรงจำ� ของทง้ั นกั พฒั นาและชาวบา้ น (Delcore 2003) แมแ้ ตใ่ น งานวจิ ยั ชว่ งหลงั จากปี 2540 แลว้ กต็ าม มมุ มองตอ่ ชมุ ชนทอ้ งถนิ่ เชน่ นกี้ ย็ งั คงดำ� รง อยู่อย่างชัดเจน ดงั ตัวอย่างงานวจิ ัยเรอ่ื ง ชุมชนหมู่บา้ นลุม่ นำ้� ขาน ของพรพิไล เลศิ วิชาและอรณุ รัตน์ วเิ ชยี รเขียว (2546) ซง่ึ ก็ยังคงตอกย้�ำภาพชนบทตามมมุ มอง แบบวัฒนธรรมชุมชนอย่างชัดเจน ทง้ั ๆ ทใี่ นชว่ งทศวรรษที่ 2520 ผเู้ ขยี นไดเ้ คยพยายามชใ้ี หเ้ หน็ วา่ ชมุ ชนทอ้ งถน่ิ

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 175 ภาคเหนือเริ่มมีการแยกแยะความแตกต่างเชิงชนช้ันและความขัดแย้งกันมานาน แล้วก็ตาม ผ่านการกล่าวหากลุ่มคนบางกลุ่มในชมุ ชนว่าเป็นผกี ะ ซึง่ บางช่วงเวลา ก็หมายถึงคนจนไร้ที่ดินท�ำกิน เพื่อกีดกันไม่ให้คนจนเข้าถึงที่นาท่ีมักจะถูกผูกขาด อยู่ในกลุ่มคนมง่ั มี (อานนั ท์ 2527 และ Anan 1984) แต่ยงั ไม่สามารถโน้มน้าวให้ นกั วชิ าการไทยเปลย่ี นมามองชมุ ชน ทเ่ี นน้ ความแตกตา่ งและความขดั แยง้ เปน็ ภาพ ทางเลอื กไดม้ ากนกั เพราะภาพของชมุ ชนทอ้ งถน่ิ แบบวฒั นธรรมชมุ ชนยงั คงครองใจ นกั วิชาการส่วนใหญ่อยู่นน่ั เอง แม้จะเป็นเพียงภาพในเชิงอุดมคติมากกว่าภาพ ความเป็นจรงิ (ดู ยกุ ติ 2537 และ 2548) ทกี่ �ำลงั เปลย่ี นแปลงไปอย่างรวดเร็วก็ตาม สำ� หรบั นกั วชิ าการชาวตะวนั ตกนน้ั ได้เรม่ิ ใหค้ วามส�ำคญั กบั ความแตกตา่ ง เหลื่อมล้�ำภายในชุมชนต้ังแต่ช่วงทศวรรษท่ี 2510 มาแล้ว (Turton 1976) และ ในช่วงหลังจากปี 2540 ก็หวนกลับมายืนยันภาพดังกล่าวอีกครั้งในบทความ เรื่อง “The alchemy of charity: of class and Buddhism in Northern Thailand” (Bowie 1998) ซง่ึ พยายามโตแ้ ยง้ กบั ขอ้ สรปุ เดมิ ทม่ี กั เขา้ ใจวา่ การทำ� บญุ ทำ� ทานของ ชาวบา้ นนนั้ ชว่ ยใหค้ นในชมุ ชนอยรู่ ว่ มกนั ไดอ้ ยา่ งเกอ้ื กลู แมจ้ ะมฐี านะทางเศรษฐกจิ แตกต่างกันกต็ าม ด้วยการช้ใี ห้เห็นว่า ความเข้าใจดังกล่าวเป็นเพียงการมองเร่อื ง การได้บุญจากด้านของผู้ให้ทานเท่านั้น และเสนอให้เปลี่ยนมามองมุมใหม่ว่า ศลี ธรรมของการทำ� บญุ ทำ� ทานนนั้ เปน็ ปฏสิ มั พนั ธข์ องทงั้ ผใู้ หแ้ ละผรู้ บั ทาน ในฐานะ ทเ่ี ปน็ พลงั ทางสงั คมทก่ี ดดนั ใหค้ นรวยตอ้ งแสดงวา่ ตนมคี วามเออื้ เฟอ้ื เผอื่ แผ่ ซงึ่ กถ็ กู นำ� มาใช้เป็นเงอื่ นไขให้คนจนสามารถกดดนั และต่อรองให้คนรวยต้องแสดงตนเป็น คนมีเมตตากรุณาได้เช่นเดียวกนั ด้วยเหตนุ เ้ี องการทำ� บุญท�ำทานจึงเปรียบเสมอื น อาวุธของคนอ่อนแอ ที่พวกเขาสามารถน�ำมาใช้สร้างแรงกดดันทางศีลธรรมต่อ คนรำ่� รวย แมจ้ ะไมส่ ามารถขจดั ฐานะทางเศรษฐกจิ และการเมอื งทเ่ี หลอื่ มลำ้� ใหห้ มด ไปกต็ าม ในท้ายทส่ี ดุ โบว์วกี ส็ รปุ ว่า การให้ทานเป็นเสมอื นภาษาในการแสดงออก ทัง้ การครอบง�ำและการต่อต้านไปพร้อมๆ กนั แต่ในความสัมพันธ์กับรัฐและการเปล่ียนแปลงทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

176 กำ�กดึ๊ ก�ำ ปาก พอล โคเฮน (Cohen 2000 และ 2001) พบวา่ ชมุ ชนทอ้ งถน่ิ ยงั นำ� คตใิ นพทุ ธศาสนามาใชใ้ น การตอ่ ตา้ นการครอบงำ� จากสงั คมภายนอก โดยเฉพาะคตเิ รอื่ งพระศรอี ารยิ เมตไตรย ผ่านการน�ำของพระสงฆ์ที่ชาวบ้านเคารพนับถือเป็นครูบา ซ่ึงมีนัยเสมือน เป็นตนบุญ ที่มาช่วยให้ชาวบ้านปรับตัวต่อการเปล่ียนแปลง ขณะที่ แอนดรู เทอรต์ นั (Turton 1991) เสนอวา่ ความคดิ ในการตอ่ ตา้ นรฐั นนั้ มอี ยแู่ ลว้ ในความรทู้ อ้ งถน่ิ โดยเฉพาะในคตเิ รอื่ ง ขา่ ม ซง่ึ หมายถงึ การอยยู่ งคงกระพนั คตทิ อ้ งถน่ิ ดงั กลา่ วจงึ มี สว่ นชว่ ยเสรมิ สรา้ งใหช้ าวบา้ นไมย่ อมจำ� นนตอ่ อำ� นาจจากภายนอกอยา่ งงา่ ยๆ ทง้ั ยงั อาจชกั นำ� ใหด้ นิ้ รนตอ่ สแู้ ละตอ่ ตา้ น ในกรณที ถี่ กู เอารดั เอาเปรยี บ ในท�ำนองเดยี วกนั อนนั ดา ราชา (Rajah 2005) ก็ได้ชี้ให้เห็นว่า ชาวบ้านยังสามารถน�ำเอาความเช่ือ ท้องถ่ินอ่ืนๆ เช่น ไสยศาสตร์และการสาปแช่งมาใช้ในการต่อต้านรัฐอีกด้วย ดังในกรณขี องการต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหารของพลเอกสุจินดา คราประยูร ในช่วงพฤษภาทมิฬปี 2535 เพ่ือแสดงสถานภาพทางศีลธรรมของตนในการต่อสู้ ทางการเมอื งว่าอยู่เหนือกว่าอ�ำนาจเผด็จการ ที่จริงแล้ว ความแตกต่างและความขัดแย้ง ท้ังความสัมพันธ์ภายในและ ความสมั พนั ธก์ บั ภายนอกชมุ ชนท้องถนิ่ นน้ั เกย่ี วพนั และเชอื่ มโยงอยกู่ บั พลวตั ของ ชมุ ชนทอ้ งถน่ิ โดยตรง เพราะนบั ตงั้ แตช่ ว่ งหลงั ทศวรรษ 2530 เปน็ ตน้ มา ชมุ ชนทอ้ งถนิ่ ในภาคเหนือได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก จากการถูกผนวกรวมเข้าเป็น สว่ นหนง่ึ ของระบบเศรษฐกจิ ทนุ นยิ มโลกอยา่ งแนบแนน่ ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากการศกึ ษา ของ เจนนเิ ฟอร์ เกรย์ (Gray 1990) ซึ่งพบว่าชาวบ้าน โดยเฉพาะหญงิ สาวได้ออก มาทำ� งานนอกภาคเกษตรในเมอื งเชยี งใหมก่ นั อยา่ งลน้ หลาม ขณะทที่ ง้ั ทนุ และรฐั ก็ ขยายตวั เขา้ มาในชมุ ชนมากขนึ้ ดว้ ย ในรปู ของโครงการและนโยบายตา่ งๆ รวมทงั้ การ ขยายตวั ของการปกครองทอ้ งถนิ่ ดว้ ยการจดั ตง้ั องคก์ รปกครองทอ้ งถนิ่ เชน่ องคก์ าร บริหารส่วนต�ำบล (หรือ อ.บ.ต) จากนโยบายการกระจายอ�ำนาจจากส่วนกลาง ซงึ่ ตามมาดว้ ยการเลอื กตงั้ สมาชกิ องคก์ รทอ้ งถน่ิ ในชมุ ชน (Bowie 2008) จนปรากฏ ให้เห็นได้อย่างชัดเจนจากการลดลงของชาวบ้านท่ีพ่ึงพาภาคเกษตรกรรม และ การเพิ่มขึ้นของความหลากหลายของอาชพี ของชาวบ้าน (ยศ 2546)

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 177 ในช่วงทศวรรษท่ี 2540 งานวิจัยของนกั วิชาการชาวต่างประเทศหลายช้ิน ได้โต้แย้งและปฏิเสธภาพสังคมชนบทแบบวัฒนธรรมชุมชนอย่างสิ้นเชิง ด้วยการ น�ำเสนอกระบวนการท่ีชุมชนท้องถ่ินภาคเหนือเข้าไปผูกพันกับระบบเศรษฐกิจโลก ภายใตอ้ ดุ มการณเ์ สรนี ยิ มใหม่ ทเ่ี นน้ ตลาดเปน็ พลงั ขบั เคลอ่ื นหลกั ทางเศรษฐกจิ ซงึ่ เปลยี่ นใหช้ าวนามอี าชพี ลกู ผสมกบั ภาคนอกการเกษตรเพมิ่ ขนึ้ จากการเขา้ ไปผลติ หอมฝรงั่ แบบเกษตรพนั ธสญั ญา จนทำ� ให้เกษตรกรมฐี านะไมแ่ ตกตา่ งจากแรงงาน รบั จา้ งบนทดี่ นิ ของตนเอง และการเขา้ ไปเปน็ แรงงานในอตุ สาหกรรมเกษตร-อาหาร เชน่ โรงงานผลติ อาหารกระปอ๋ ง (Rigg and Sakunee 2001) นอกจากนน้ั ยงั มธี รุ กจิ จาก ภายนอกขยายตวั เขา้ ไปในชมุ ชนเพม่ิ ขนึ้ บนพน้ื ฐานของชว่ งชงิ การบรโิ ภคความหมาย ชนบทในอดีต เช่น โรงแรม ซงึ่ จ้างแรงงานในชมุ ชนด้วย (Rigg and Ritchie 2002) ส�ำหรับงานวิจัยของนักวิชาการไทยน้ัน ส่วนหน่ึงจะหันมาสนใจศึกษา การเปล่ียนแปลงของชุมชนท้องถ่ินอีกครั้งหลังทศวรรษที่ 2550 ซ่ึงมักจะอยู่ใน รูปวิทยานิพนธ์เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยืนยันการเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดข้ึนก่อนหน้าน้ัน เชน่ เดยี วกนั ดงั ตวั อยา่ ง เชน่ วทิ ยานพิ นธข์ องธญั ลกั ษณ์ ศรสี งา่ (2550) ศกึ ษาคนงาน นอกระบบผู้หญิงในอุตสาหกรรมพ้ืนบ้านผลิตผ้าฝ้ายทอมือ ส่วนพรรณภัทร ปลงั่ ศรเี จรญิ สขุ (2551) ศกึ ษาชาวบา้ นทเ่ี คยเปน็ แรงงานขา้ มชาตกิ ลบั คนื ถนิ่ ขณะท่ี ชาวบ้านบางส่วน แม้จะยงั คงเป็นเกษตรกร แต่ก็มีสถานภาพกำ่� กึ่งไม่แตกต่างจาก แรงงานมากนกั เม่ือหันเข้าไปพึ่งระบบการผลิตมันฝร่ังแบบเกษตรพันธสัญญาใน ระบบอตุ สาหกรรมเกษตร-อาหาร (นาวนิ 2554) และชาวบา้ นบางสว่ นกต็ อ้ งกลายเปน็ แรงงานอย่างเตม็ ตวั เม่อื เขา้ ไปเป็นคนงานในโรงงานผลติ อาหารแช่แขง็ เพอ่ื ส่งออก ซ่ึงเป็นส่วนหนงึ่ ของระบบอุตสาหกรรมเกษตร-อาหารที่เริ่มเข้ามาตั้งโรงงานใกล้ ชมุ ชน จนทำ� ใหพ้ วกเขาตอ้ งเผชญิ กบั ชวี ติ ผกผนั ทเี่ ตม็ ไปดว้ ยความเสยี่ งตา่ งๆ มากขนึ้ เพราะต้องตกอยู่ภายใต้การก�ำกับควบคุมของโรงงาน (สืบสกลุ 2554) การที่ชุมชนท้องถ่ินได้เข้าไปผูกพันกับระบบเศรษฐกิจโลกอย่างแนบแน่น เช่นนี้ ผลท่ีตามมาอย่างหนึ่งคือการก่อตัวข้ึนมาของกลุ่มชนช้ันกลางใหม่อย่าง หลากหลายในชมุ ชน ทีม่ ฐี านะดขี ้ึนด้วยการมีชวี ติ คาบเก่ยี วอยู่กบั ภาคนอกเกษตร

178 ก�ำ ก๊ดึ ก�ำ ปาก มากขึน้ ขณะทีต่ ้องเผชิญกับความเส่ยี งใหม่ๆ เพราะเอาชีวิตไปผกู พนั อยู่กบั ระบบ ตลาดภายนอกชุมชน พร้อมๆ กับพึ่งพานโยบายของรัฐไปด้วย ซ่ึงก็ตามมาด้วย ความขัดแย้งใหม่ๆ ในชุมชนเช่นเดียวกัน แม้จะต้องเผชิญกับความเส่ียงมากข้ึน แต่กลุ่มคนในชุมชนท้องถิ่นท่ีก่อตัวขึ้นมาใหม่ๆ เหล่านก้ี ็แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับ ชาวบ้านในเศรษฐกิจแบบศีลธรรม ที่อาจจะเคยมีอยู่ในอดีต เพราะพวกเขาไม่ได้ พยายามหลีกเลี่ยงความเส่ียงในระบบตลาดอีกต่อไป ตรงกันข้ามกลับพยายาม ฉกฉวยและแสวงหาโอกาสจากตลาดอยา่ งเตม็ ที่ ดว้ ยการปรบั ตวั อยา่ งหลากหลาย เพราะมคี วามคาดหวงั ในดา้ นการบรโิ ภคมากขน้ึ ดว้ ย โดยเฉพาะการบรโิ ภคคณุ ภาพ ชีวิตที่ดี ในฐานะท่ีเป็นการช่วงชิงความหมายการพัฒนา ซ่ึงเคยผูกติดอยู่กับด้าน การผลิตที่ให้ความส�ำคัญกับรายได้เท่านน้ั ซึ่งยศ สันตสมบัติ เรียกว่าเป็นความ ยืดหยุ่นของสังคมชาวนา (ยศ 2546) ขณะเดียวกันชาวบ้านก็ต่ืนตัวทางการเมือง มากขึน้ ด้วยการพยายามเข้าไปต่อรองกบั รฐั ในลักษณะต่างๆ ปฏบิ ตั กิ ารทางการเมอื งอยา่ งหนงึ่ ทเ่ี หน็ ไดอ้ ย่างชดั เจนกค็ อื ความพยายาม ที่จะเข้าไปมีบทบาทในการเมืองท้องถ่ินมากข้ึน ผ่านระบบการเลือกตั้งท้องถิ่นใน ระดับต่างๆ เพื่อจะได้มีส่วนในการจัดการกับความเสี่ยงต่างๆ ด้วยการต่อรอง กับนโยบายและการเมอื งในระดับสงู ๆ ข้นึ ไปได้ ซง่ึ แสดงออกมาในกลุ่มของคนใน ชุมชนท้องถ่ินท่ีก่อตัวขึ้นมาใหม่ เช่น กลุ่มชาวบ้านท่ีเคยไปท�ำงานต่างประเทศ และกลบั คืนถิน่ ดังตวั อย่างในวิทยานิพนธ์ของพรรณภทั ร ปลงั่ ศรีเจรญิ สุข (2551) เร่อื ง ‘อตั ลกั ษณ์ของแรงงานข้ามชาติคืนถิน่ กับการต่อรองการพฒั นาของชาวบ้าน ในจังหวัดล�ำปาง’ งานวิจัยช้ินน้ีพบว่า เม่ือกลุ่มคนเหล่านก้ี ลับคืนถ่ินแล้วมักจะ ประกอบอาชีพทค่ี าบเกยี่ วอยู่กับทัง้ ภายในและภายนอกภาคการเกษตร เช่น การ ก่อสร้างและการค้า พร้อมๆ กับท�ำการเกษตรควบคู่ไปด้วย ขณะเดยี วกันก็อาศยั ประสบการณ์ทไี่ ด้รับมาจากต่างแดนเป็นเงอ่ื นไขในการเพ่มิ สถานภาพและบทบาท ของพวกตน ด้วยการสร้างอัตลักษณ์ของพวกตนในฐานะผู้มีทักษะในการติดต่อ ประสานงานและต่อรองกับหน่วยงานภายนอก เพ่ือลงสมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่นใน ระดบั ต่างๆ และได้รบั เลอื กเป็นผู้ใหญ่บ้านจนถงึ สมาชกิ องค์การบรหิ ารส่วนต�ำบล

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 179 แตผ่ ทู้ จี่ ะรกั ษาตำ� แหนง่ ไวใ้ หไ้ ดห้ ลายสมยั นน้ั จะตอ้ งแสดงใหช้ าวบา้ นเหน็ วา่ พวกตน สามารถตอบสนองความคาดหวังในการบรโิ ภคความเป็นสมัยใหม่ได้ ผ่านความ สามารถในการต่อรองกับรัฐและผู้น�ำท้องถิ่นภายนอกชุมชน เพื่อระดมทรัพยากร เข้ามาในชุมชน ซ่ึงถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการช่วงชิงวาทกรรมการพัฒนา ของชาวบ้าน ที่หันมาเน้นความส�ำคัญของคุณภาพชีวิต ทั้งด้านการผลิตและ การด�ำรงชีวิตให้หลุดพ้นจากภาพลักษณ์ที่ล้าหลัง แทนการยึดติดอยู่กับวาทกรรม การพฒั นาทผ่ี กู อยกู่ บั การพฒั นาโครงสรา้ งพน้ื ฐานเทา่ นน้ั อยา่ งไรกต็ ามการเลอื กตงั้ ในท้องถนิ่ ดงั กล่าวกส็ ่งผลให้ชาวบ้านแบ่งแยกออกเป็นฝักเป็นฝ่าย และขดั แย้งกนั ไปตามข้ัวอ�ำนาจต่างๆ ในชมุ ชนมากข้ึนตามมาด้วย ในบทความวิจัยเรื่อง “Standing in the shadows: of matrilocality and the role of women in a village election in northern Thailand” (Bowie 2008) กพ็ บว่า การเลอื กตั้งท้องถิน่ ท้ังการเลือกผู้ใหญ่บ้านและสมาชกิ องค์การบริหารส่วนต�ำบล มกั สรา้ งความขดั แยง้ ในชมุ ชนใหแ้ บง่ แยกออกเปน็ ฝกั เปน็ ฝา่ ยอยา่ งรนุ แรงมากกวา่ การเลือกต้ังระดับชาติเสียอีก ซ่ึงกระทบต่อทั้งการแต่งงาน เครือญาติสายผู้หญิง และ ความสัมพันธ์ต่างๆ ระหว่างชุมชน ในสภาวะดังกล่าว แม้ผู้หญิงอาจจะยัง ไม่ได้ลงสมัครเข้ารับเลือกตั้งโดยตรงมากนกั แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงไม่มี บทบาททางการเมืองเสียเลย เพราะในความจริงแล้วผู้หญงิ มบี ทบาททางการเมือง อยา่ งสำ� คญั อยหู่ ลายดา้ น ในดา้ นหนงึ่ ผหู้ ญงิ มกั จะอยเู่ บอ้ื งหลงั การเลอื กตงั้ ในภาค ทางการ ดว้ ยการใชเ้ ครอื ขา่ ยสายเครอื ญาตฝิ า่ ยผหู้ ญงิ สรา้ งโยงใยเปน็ พลงั สนบั สนนุ ผู้สมัครรับเลือกต้ัง ขณะที่ผู้ชายผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งมักเป็นคนที่แต่งงานเข้ามา ในชุมชน และอยู่ในฐานะเหมือนเป็นคนอ่ืนท่ีไร้ญาติขาดมิตรในชุมชน จึงต้องพ่ึง บทบาททางการเมอื งของผหู้ ญงิ ในอกี ดา้ นหนง่ึ ผหู้ ญงิ จะมบี ทบาททางการเมอื งใน การเชื่อมประสานรอยร้าวภายในชมุ ชนและระหว่างชมุ ชน ทเี่ กิดจากความขดั แย้ง ในการเลอื กต้งั ด้วยการไม่แสดงตนอย่างออกหน้าออกตาว่าฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนง่ึ ในทางการเมือง เพ่ือรักษาความเป็นกลางเอาไว้ ซ่ึงช่วยให้สามารถเช่ือมประสาน ระหว่างฝ่ายต่างอยู่เบื้องหลังได้อย่างดี

180 กำ�กดึ๊ ก�ำ ปาก ขณะทบี่ ทความวจิ ยั ของนติ ิ ภวคั รพนั ธ์ุ เรอ่ื ง “Traders, kinsmen and trading counterparts: the rise of local politicians in north-western Thailand” (Niti 2003) ศึกษาคนกลุ่มใหม่ในชุมชนท้องถ่ินอีกกลุ่มหนงึ่ นนั่ ก็คือกลุ่มพ่อค้าท้องถิ่น ซึ่งเริ่ม เข้ามามีบทบาทส�ำคัญในการเลือกต้ังท้องถ่ินเพ่ิมขึ้น จากกรณีศึกษาการเลือกต้ัง องค์กรปกครองท้องถ่ิน ในอ�ำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน จากเดิมที่เคยมี ฐานะเป็นสุขาภิบาลและได้เปล่ียนไปเป็นเทศบาลในปี 2542 ปรากฏว่าสมาชิก สภาเทศบาลส่วนใหญ่กม็ าจากกลมุ่ สมาชกิ สภาสขุ าภบิ าลเดมิ นนั่ เอง นกั การเมอื ง ทอ้ งถนิ่ กลมุ่ นม้ี กั มาจากพอ่ คา้ ทอ้ งถนิ่ และพนกั งานบรษิ ทั ขนาดใหญ่ ทมี่ สี ำ� นกั งาน ในอ�ำเภอ คนกลุ่มนจี้ ะรณรงค์หาคะแนนเสียงสนับสนนุ ด้วยการใช้ความสัมพันธ์ ของท้ังสายเครือญาติและการอุปถัมภ์ค�้ำชูกัน ในลักษณะของการเอื้อประโยชน์ ให้แก่กันและกันในหมู่เพ่ือนฝูงมากกว่าความสัมพันธ์ในแนวต้ังในระบบอุปถัมภ์ แบบเดมิ รวมทงั้ ดงึ การสนบั สนนุ จากวดั ดว้ ย นอกจากจะใชส้ ถานภาพทางการเมอื ง เพ่ือต่อรองทางเศรษฐกิจให้กับกลุ่มของตนแล้ว นักการเมืองท้องถ่ินเหล่าน้ี ยังพยายามสร้างฐานคะแนนเสียงเพ่ือสมัครรับเลือกตั้งในระดับจังหวัดต่อไป ด้วยการสร้างสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้ากับกลุ่มคนระดับต่างๆ ที่สูงข้ึนไป อย่างแนบแน่น การวิจัยหลายช้ินในด้านวัฒนธรรมทางการเมืองของชาวบ้านในชนบท ปจั จบุ นั ยงั พบอกี ดว้ ยวา่ ความกระตอื รอื รน้ ในการเขา้ ไปมสี ว่ นรว่ มทางการเมอื งนน้ั ไมไ่ ดจ้ ำ� กดั อยเู่ ฉพาะผนู้ ำ� ในกลมุ่ ชนชนั้ กลางใหม่ ทต่ี อ้ งการเปน็ นกั การเมอื งทอ้ งถนิ่ เท่านั้น หากยังได้แผ่ขยายไปในหมู่ชาวบ้านที่เริ่มมีฐานะดีขึ้นอย่างกว้างขวาง ผ่านปรากฏการณ์ของการออกมาลงคะแนนเสียงเลือกต้ัง ท้ังระดับท้องถ่ินและ ระดบั ชาตทิ มี่ อี ตั ราสว่ นสงู มากขนึ้ ซงึ่ แสดงใหเ้ หน็ วา่ การเลอื กตง้ั กำ� ลงั กลายเปน็ พนื้ ท่ี ของการตอ่ รองกบั อำ� นาจทางการเมอื ง เพอ่ื แสวงหาทรพั ยากรจากรฐั มาตอบสนอง การบรโิ ภคความหมายของความเป็นสมัยใหม่อย่างชัดเจน ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากกรณศี กึ ษาชมุ ชนทอ้ งถน่ิ ในอ�ำเภอแมแ่ จม่ จงั หวดั เชยี งใหม่ ในบทความวจิ ยั เรอื่ ง “The rural constitution and the everyday politics of elections in

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 181 northern Thailand” (Walker 2008) พบวา่ ในชว่ งปลายทศวรรษท่ี 2540 เมอ่ื รฐั บาลกระจาย ทรัพยากรเข้ามาในชุมชนมากขึ้น ชุมชนชายขอบก็ต่ืนตัวทางการเมืองอย่างมาก ดงั จะเห็นได้จากกจิ กรรมต่างๆ ทางการเมืองของชาวบ้าน ในลกั ษณะที่ วอคเกอร์ เรียกว่า “การเมืองในชีวิตประจ�ำวัน” ด้วยการแสดงออกผ่านความพยายาม ผกู โยงแวดวงอำ� นาจทอ้ งถน่ิ ใหส้ มั พนั ธเ์ กยี่ วขอ้ งกบั การเมอื งระดบั ชาตทิ อี่ ยหู่ า่ งไกล บนพน้ื ฐานของการประเมนิ คณุ คา่ ในทอ้ งถน่ิ ทวี่ อคเกอร์ เรยี กวา่ “ธรรมนญู ชาวบา้ น” ซงึ่ คนในชนบทได้น�ำมาใชเ้ ป็นหลกั อย่างไม่เป็นทางการในการลงคะแนนเสยี งเลอื ก นกั การเมืองให้เป็นตัวแทนจากท้องถิ่น โดยเฉพาะการเลือกต้ังผู้แทนราษฎร เช่น คุณค่าเรื่องท้องถิ่นนิยม ความเสียสละ และคนทำ� งานเก่ง เป็นต้น ความตื่นตัว ทางการเมืองดังกล่าวสะท้อนถึงความต้องการของชาวบ้าน ในการดึงทรัพยากร จากภาครฐั ให้เข้ามาสู่ชุมชนมากขึน้ นน่ั เอง ต่อมาในภายหลังวอคเกอร์ก็ได้ขยายการวิจัยกรณีศึกษาดังกล่าวไปเป็น หนงั สือเร่ือง Thailand’s Political Peasants: Power in the Modern Rural Economy (Walker 2012) โดยเสนอขอ้ ถกเถยี งเกยี่ วกบั สถานภาพทางการเมอื งของ ชาวบา้ นว่า ทงั้ ๆ ทหี่ มบู่ า้ นทศ่ี กึ ษาเปน็ ชมุ ชนทต่ี ง้ั อย่หู า่ งไกลจากศนู ย์กลางอำ� นาจ แต่เม่ือชาวบ้านมีรายได้เพิ่มข้ึนและมีชีวิตความเป็นอยู่ดีข้ึน ตลอดจนรับรู้ข้อมูล ข่าวสารมากข้ึน ชาวบ้านกลับเกิดแรงบันดาลใจทางการเมืองแบบใหม่ท่ีวอคเกอร์ เรียกว่า “แรงปรารถนาทางการเมือง” ในการเชื่อมโยงกับอ�ำนาจรัฐแทนท่ีจะ หลกี เลย่ี งรฐั (Walker 2012: 57) จนท�ำให้ชมุ ชนท้องถน่ิ ชายขอบแห่งนไ้ี มไ่ ดด้ �ำรงอยู่ ดว้ ยการตงั้ รบั หรอื รอคอยความชว่ ยเหลอื เทา่ นนั้ หากแตไ่ ดก้ า้ วเขา้ สกู่ ารเปน็ “สงั คม การเมอื ง” แลว้ ในความหมายทวี่ ่าชาวบ้านจะมปี ฏสิ มั พนั ธเ์ ชงิ บวกกบั รฐั สมยั ใหม่ เพ่ือต่อรองทางการเมืองให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากโครงการต่างๆ ของรัฐ แทนท่ี มมุ มองท่วี ่าชุมชนท้องถ่ินถกู รัฐและตลาดกำ� กบั และควบคุม จนต้องหนั มาต่อต้าน รฐั ดา้ นเดยี วตามทเ่ี คยเชอ่ื ๆ กนั มา ทง้ั นเี้ พราะชาวบา้ นไดห้ นั มาสรา้ งกลยทุ ธต์ า่ งๆ ท่ี ยงั ยดึ โยงอยกู่ บั ความเชอื่ ทางจติ วญิ ญาณขน้ึ มา เพอ่ื ใชด้ งึ ดดู อำ� นาจและทรพั ยากร ของรัฐให้เข้ามาอยู่ในชวี ิตทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชน และเพ่ือการดำ� รงอยู่ ของชมุ ชนเอง (Walker 2012: 221)

182 ก�ำ ก๊ึดกำ�ปาก อย่างไรก็ตามวอคเกอร์เองก็ยอมรับว่า โครงการและเงินอุดหนุนต่างๆ ของรฐั คงจะชว่ ยใหช้ าวบา้ นดำ� รงชวี ติ อยไู่ ดเ้ ฉพาะหนา้ ในระยะสน้ั เทา่ นน้ั แตจ่ ะไม่ สามารถช่วยให้ชุมชนท้องถิ่นเปล่ียนแปลงทางโครงสร้างในระยะยาวไปได้มากนกั เพราะยงั ขาดการสะสมทนุ (Walker 2012: 21-22) ซง่ึ แสดงวา่ วอคเกอร์ เขา้ ใจสภาวะ ความสมั พนั ธท์ างเศรษฐกจิ การเมอื งของชมุ ชนทอ้ งถนิ่ เพยี งบางสว่ นเทา่ นน้ั ขณะที่ มองขา้ มความซบั ซอ้ นและความแตกตา่ งกนั ของหนว่ ยงานตา่ งๆ ในภาครฐั รวมทงั้ ความซับซ้อนในความสัมพันธ์เชิงอำ� นาจระหว่างชุมชนท้องถ่ินและระบบการเมือง และเศรษฐกิจภายนอก ที่ยังด�ำรงอยู่อีกมากมายภายใต้กระบวนการโลกาภิวัตน์ และระบบตลาดแบบเสรีนิยมใหม่ ซ่ึงผลักดันให้ชาวบ้านต้องตกอยู่ในปัญหาต่างๆ อย่างซับซ้อนในการเผชิญหน้ากับความเสยี่ งสูง ท่ีเกดิ จากระบบเศรษฐกจิ ปัจจบุ ัน ยงั แฝงไวด้ ว้ ยการเกบ็ คา่ เชา่ สงู ทงั้ ในรปู ของอำ� นาจในการกดี กนั การเขา้ ถงึ ทรพั ยากร และการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนเกินลักษณะต่างๆ มากมาย ซ่ึงยังดำ� รงอยู่ใน ความสมั พนั ธท์ างการผลติ โดยเฉพาะการผลติ แบบพนั ธสญั ญา ดงั ตวั อยา่ งในกรณี ศกึ ษาการปลกู มนั ฝรงั่ ทม่ี กี ารเกบ็ คา่ เชา่ สงู ในรปู ของการรดั เอาเปรยี บ (นาวนิ 2554) จนท�ำให้ชาวบ้านไม่สามารถต่อรองกับรัฐในเชิงบวกเท่านน้ั หากแต่ต้องใช้กลยุทธ์ ในการต่อรองที่หลากหลายกับทั้งรัฐและทุน ซ่ึงต้องปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของ สถานการณ์ที่หลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น การนิยามสังคม การเมืองของวอคเกอร์จึงอาจจะยังมีข้อจ�ำกัดอยู่เฉพาะการเมืองในเรื่องเลือกต้ัง เช่นเดียวกันกับงานวิจัยของนกั วิชาการไทยอีกหลายช้ิน เช่น ปฐมพงศ์ มโนหาญ (2555) แต่ยังไม่ครอบคลุมปฏิบัติการทางการเมืองของชาวบ้านอีกหลากหลาย แนวทางและรูปแบบ โดยเฉพาะการเมืองท่ีเก่ียวข้องกับความพยายามในการ ปรบั เปลยี่ นโครงสร้างของความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจ ดังจะเห็นได้จากกรณีศึกษาชุมชนชาวปกาเกอะญอ ที่ต้ังอยู่บนพื้นที่ดอน ในเขตอุทยานแห่งชาติ และถกู บีบจากหน่วยงานของรัฐให้ต้องเลกิ ท�ำไร่หมนุ เวยี น จนต้องหันไปท�ำไร่ข้าวโพดเชิงพาณิชย์ ภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญาอย่าง เข้มข้นแทน ในบทความวิจัยเรอ่ื ง “Making of community” in a commercialized

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 183 community in northern Thailand” (Atchara 2009) ซงึ่ พบวา่ ในขณะทโ่ี ครงการชว่ ยเหลอื ต่างๆ ของภาครัฐ นอกจากจะไม่ได้เอ้ือให้ชุมชนเข้มแข็งแล้ว ยังสร้างปัญหา ขัดแย้งต่างๆ อย่างมากมายในด้านการจัดการกองทุน ชาวบ้านจึงหันไปเรียนรู้ ทจี่ ะใชก้ ารทำ� ไรข่ า้ วโพดเปน็ กลยทุ ธ์ เพอ่ื เสรมิ สรา้ งความเขม้ แขง็ ใหช้ มุ ชนรวมตวั กนั ได้มากข้ึน ในการต่อรองและต่อสู้กับนโยบายอนุรักษ์ป่าของรัฐ เพื่ออ้างสิทธิใน ท่ีดินท�ำกิน การเมืองของชาวบ้านท่ีนจ่ี ึงทำ� ผ่านปฏิบัติการในชีวิตประจำ� วันในการ ปรับเปล่ียนโครงสร้างของความสัมพันธ์เชิงอำ� นาจ ท่ีเก่ียวข้องกับการต่อรองสิทธิ ในการเขา้ ถงึ ทดี่ นิ โดยชาวบา้ นไดร้ วมตวั กนั เพอ่ื ก�ำหนดขอบเขตพน้ื ทไ่ี รอ่ ยา่ งชดั เจน พร้อมท้ังวางกฎเกณฑ์กันเองในชุมชนว่าจะไม่ขยายพ้ืนที่ท�ำไร่ เพื่อให้เจ้าหน้าท่ี อทุ ยานยอมรบั เขตพน้ื ทไ่ี รข่ องพวกเขา และชว่ ยให้พวกเขามอี สิ ระมากขน้ึ จากการ ถกู ก�ำกับควบคมุ จากรัฐในการใช้พ้ืนทปี่ ่าในเขตอทุ ยานแห่งชาติ การเมืองของชาวบ้านในฐานะปฏิบัติการในชีวิตประจ�ำวันของการต่อรอง เพอ่ื ปรบั เปลยี่ นความสมั พนั ธเ์ ชงิ อ�ำนาจกบั รฐั นนั้ มกั จะเกยี่ วขอ้ งกบั ความพยายาม ปรับเปล่ียนโครงสร้างของความสัมพันธ์ในระยะยาว โดยเฉพาะการช่วงชิงการ นิยามสิทธิชุมชนและวาทกรรมความรู้ ซ่ึงมีหลากหลายรูปแบบและแตกต่างกัน ไปในหลายบริบทของการพัฒนา ในกรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านทุ่งยาวของ วิเศษ สจุ ินพรหั ม (2544) เรือ่ ง ‘การเคลื่อนไหวในพื้นที่สาธารณะของผู้หญงิ ในการจดั การ ป่าชุมชนจังหวัดล�ำพูน’ มีข้อค้นพบว่า การเมืองในชีวิตประจำ� วันไม่ได้จ�ำกัดอยู่ เฉพาะบทบาทของผู้ชายเท่านน้ั เพราะผู้หญิงในกรณีศึกษานก้ี ็สามารถเข้ามามี บทบาทน�ำในการเมืองของพ้ืนท่ีสาธารณะได้ด้วย เม่ือผู้หญิงเข้ามาช่วยต่อรองกับ รฐั เพอ่ื ใหไ้ ดส้ ทิ ธชิ มุ ชนในการจดั การปา่ ทรี่ ฐั พยายามจะกดี กนั ชมุ ชนออกไป ทง้ั ๆ ท่ี ชาวบ้านได้ช่วยกนั จดั การดแู ลรกั ษาและใช้ประโยชน์มานานแล้ว แม้จะเคยเข้าใจกันว่าพ้ืนที่ของผู้หญิงมักจะผูกติดอยู่กับครัวเรือน แต่เม่ือ ปญั หาของความสมั พนั ธเ์ ชงิ อ�ำนาจนน้ั คาบเกยี่ วกบั ทงั้ สองพนื้ ท่ี ทง้ั ปา่ ในฐานะพนื้ ที่ ในครัวเรือนท่ีผู้หญิงใช้ประโยชน์ในการหาของป่า และป่าในฐานะพื้นท่ีสาธารณะ ของสิทธิชุมชนท่ีก�ำลังจะถูกลิดรอน ซึ่งย่อมจะกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร

184 ก�ำ กดึ๊ กำ�ปาก และรายได้ของครวั เรอื น จงึ ไมน่ า่ แปลกใจทผี่ หู้ ญงิ ไม่รรี อทจ่ี ะออกมาแสดงบทบาท ในการต่อรองสิทธิชุมชนในพ้ืนท่ีสาธารณะด้วย ขณะที่ผู้หญิงในภาคเหนือก็มี ศักยภาพพร้อมในการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อช่วงชิงการนิยามสิทธิชุมชนใน พนื้ ทสี่ าธารณะ เพราะมที งั้ ประสบการณใ์ นการพงึ่ พาและไดป้ ระโยชนจ์ ากปา่ และ มีฐานของเครือข่ายในระบบเครือญาติสืบเช้ือสายทางผู้หญิงเป็นพลังสนับสนนุ อยู่ เบือ้ งหลงั อีกด้วย (วิเศษ 2544) ซึง่ สอดคล้องกับข้อสังเกตของโบว์วี (Bowie 2008) การเมืองของชาวบ้านในการต่อรองและช่วงชิงการนิยามสิทธิชุมชนน้ีเอง ได้มีส่วนอย่างมากในการยกระดับการเมือง จากการต่อรองเพื่อทรัพยากรและ ผลประโยชน์เฉพาะหน้าจากรัฐ ผ่านการก�ำหนดกลยุทธ์ต่างๆ ในการเลือกต้ัง ดังได้กล่าวไปแล้ว และขยายไปสู่การเมืองของการต่อรอง ในระดับของการ ปรับเปล่ียนโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนท้องถ่ินกับรัฐในระยะยาว ผ่านการก่อตัวเป็นขบวนการทางสังคม ซึ่งร่วมมือกันระหว่างชุมชนท้องถิ่น นกั พฒั นาเอกชน นกั วชิ าการ และภาคประชาสงั คมสว่ นอนื่ ๆ เพอ่ื สนบั สนนุ ใหร้ ฐั ออก พระราชบัญญัติป่าชุมชน ในช่วงระหว่างปี 2535-2550 ท้ังๆ ท่ีภาคประชาสังคม ประสบความส�ำเร็จ ในการผลักดันให้ความคิดเรื่องสิทธิชุมชนกลายเป็นท่ี ยอมรับ ในรัฐธรรมนญู ปี 2540 และ 2550 แล้วก็ตาม แต่การผลักดันให้ออก พระราชบัญญัติป่าชุมชนตามหลักการสิทธิชุมชนกลับล้มเหลว เนื่องมาจากสาเห ตุใหญ่ๆ คือ ขาดการสนับสนนุ จากภาครัฐ ซ่งึ ยังคงต้องการผูกขาดอำ� นาจในการ จัดการทรัพยากรเชิงเดยี่ วอยู่ โดยไม่เข้าใจหลกั การสำ� คัญของการจัดการป่าชมุ ชน ซึ่งเป็นการพัฒนาการจัดการทรัพยากรเชิงซ้อนหรือการจัดการแบบมีส่วนร่วม ของหลายฝ่าย ทั้งชุมชนท้องถิ่น ภาคประชาสังคมและรัฐ (อานันท์ 2555ข) อีกท้ังองค์กรภาครัฐต่างๆ ยังคงแบ่งรับแบ่งสู้อยู่ระหว่าง ความจริงใจเพื่อการ อนุรักษ์ หรือการให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ในเชิงพาณชิ ย์ (Johnson and Forsyth 2002) ทั้งนี้เพราะความคิดในการอนุรักษ์ ข อ ง รั ฐ เ ป ็ น เ พี ย ง ก า ร เ มื อ ง ที่ น� ำ ม า นิ ย า ม เ พ่ื อ ก า ร กี ด กั น สิ ท ธิ ข อ ง ค น บ า ง กลุ่มในสังคม พร้อมๆ กับการช่วงชิงทรัพยากรไปใช้ประโยชน์อย่างอ่ืนๆ ในเชงิ พาณชิ ย์ (Anan 1998)

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 185 เบอื้ งหลงั สาเหตดุ งั กลา่ วยงั มพี นื้ ฐานเกยี่ วขอ้ งกบั วธิ คี ดิ ทค่ี นสว่ นใหญม่ กั จะ มองการอนรุ กั ษแ์ ละการพฒั นาเปน็ เสมอื นความคดิ คตู่ รงกนั ขา้ มทแี่ ยกขาดจากกนั โดยเข้าใจว่าการอนุรักษ์เป็นเพียงการสงวนไว้เฉยๆ ขณะท่ีมองการพัฒนาเฉพาะ ด้านของการน�ำเอาทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ให้เกิดมูลค่าในเชิงพาณิชย์เท่านั้น แม้แต่นกั วิชาการเองก็ยังมักจะเข้าใจอย่างผิดๆ ในทำ� นองว่า ป่าชุมชนเป็นเพียง การอนุรักษ์และไม่เก่ียวข้องกับการเกษตรที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ขณะท่ี มองป่าเป็นเพียงต้นไม้ (Walker 2004) แต่กลับมองข้ามผลผลิตจากป่าท่ีไม่ใช่ไม้ (Non-Timber Forest Product หรอื NTFP) ซง่ึ กถ็ อื เปน็ ผลผลติ จากทรพั ยากรไดเ้ ชน่ เดยี ว กบั การเกษตร เพราะยงั คงยดึ ตดิ อยกู่ บั มมุ มองเชงิ เดยี่ วและกบั ดกั ของคตู่ รงกนั ขา้ ม ท่ีแยกการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ออกจากกันอย่างเด็ดขาด ทั้งๆ ที่จริงแล้ว ปา่ ชมุ ชนเปน็ การจดั การทรพั ยากรเชงิ ซอ้ น ซงึ่ มกั จะรวมทง้ั สว่ นทเี่ ปน็ พนื้ ทปี่ า่ อนรุ กั ษ์ และพนื้ ทปี่ า่ ใชส้ อย ทสี่ ามารถไดป้ ระโยชนจ์ ากทงั้ ผลผลติ จากปา่ และอาจจะมกี าร ทำ� วนเกษตรดว้ ยการปลกู พชื สมนุ ไพรและเครอื่ งเทศผสมผสานอยดู่ ว้ ยกไ็ ด้ (อานนั ท์ 2555ข: 212) แม้การออกพระราชบัญญัติป่าชุมชนจะยังไม่ประสบผลส�ำเร็จก็ดี แต่ ท่ามกลางการเข้าร่วมอยู่ในขบวนการทางสังคมในการผลักดันพระราชบัญญัติ ดังกล่าวก็ได้สร้าง “พ้นื ทีค่ วามรู้” ให้กลุ่มชนต่างๆ ได้ผสมผสานและช่วงชิงความรู้ ไปตามสถานการณ์ ทร่ี ะบบตลาดกำ� ลงั มอี ทิ ธพิ ลมากขน้ึ ดว้ ยการไมแ่ ยกการอนรุ กั ษ์ ออกจากการพฒั นาอยา่ งสนิ้ เชงิ ซงึ่ ชว่ ยใหช้ าวบา้ นมที างเลอื กทหี่ ลากหลาย แทนท่ี จะตอ้ งถกู บบี ใหเ้ ขา้ สกู่ ารผลติ เพอ่ื ระบบตลาดโดยไรก้ ารดนิ้ รนตอ่ สู้ ดว้ ยการปลกู พชื ตามใจตลาด ทกี่ �ำลงั ขยายตัวอย่างรวดเรว็ ในพืน้ ท่ีป่า ไม่ว่าจะเป็น ข้าวโพด และ ยางพารา ซง่ึ ลว้ นแลว้ แตด่ งึ ใหช้ าวบ้านตอ้ งตกอยภู่ ายใต้ความเสย่ี งต่างๆ จนเหลอื อ�ำนาจต่อรองน้อยลงไปทุกที (อรญั ญา 2556 และ อจั ฉรา 2556) ท้ังนช้ี าวบ้านในเขตพ้ืนที่ป่าจึงใช้ป่าชุมชนเป็นทั้งพื้นท่ีช่วงชิงความรู้และ ความหมายของการพฒั นา พรอ้ มๆ ไปกบั การตอ่ รองกบั ตลาด ในบรบิ ททว่ี าทกรรม การพัฒนาในสังคมยังผูกติดอยู่กับการพึง่ พาระบบตลาดอย่างตายตวั เท่านน้ั ด้วย

186 กำ�กึ๊ดก�ำ ปาก การรว่ มมอื กนั อนรุ กั ษป์ า่ อยา่ งเขม้ แขง็ จนมผี ลใหช้ าวบา้ นสามารถหาประโยชนเ์ ชงิ พาณชิ ยแ์ ละมรี ายไดม้ ากขน้ึ จากพน้ื ทป่ี า่ อนรุ กั ษ์ แทนทจ่ี ะมงุ่ พฒั นาในความหมาย ของการถางป่าเพ่ือท�ำการเกษตรเชงิ พาณชิ ย์โดยตรง โดยหันมาใช้การอนรุ ักษ์เพื่อ การพัฒนา ในความหมายของการสร้างรายได้จากความรู้และการจัดการ ซึ่งช่วย ให้ชาวบ้านไม่ต้องพ่ึงพาตลาดฝ่ายเดียว หากยังสามารถต่อรองกับตลาดได้ดีขึ้น ด้วย เพราะการอนุรักษ์ช่วยให้ป่าสมบูรณ์มากข้ึน จนเอ้ือให้พืชหายากบางชนดิ เจรญิ เตบิ โตไดด้ ี พชื เหลา่ นเี้ องใหผ้ ลผลติ ทต่ี ลาดตอ้ งการและมรี าคาสงู ตวั อยา่ งเชน่ ผลผลิตจากต้นต๋าวหรือลูกชิด และ ผลผลิตจากต้นมะแขว่นใช้เป็นเคร่ืองเทศ เป็นต้น (อานันท์ 2555ข: 212-214) ในกรณีของหมู่บ้านป่าชุมชนทุ่งยาว กลุ่ม ผู้หญงิ ก็สามารถมรี ายได้จากการเกบ็ เห็ดขายปีละหลายล้านบาท (วเิ ศษ 2544) ใน ปัจจบุ นั มชี มุ ชนท้องถน่ิ บางสว่ นยงั มรี ายได้จากการใหบ้ รกิ ารเป็นหมบู่ ้านท่องเทยี่ ว เชิงนเิ วศ ซึง่ ล้วนเป็นผลพลอยได้จากการอนุรักษ์ป่าเชิงการพัฒนาทั้งสิ้น ภายใต้ความคลุมเครือของความหมายว่าด้วยการอนุรักษ์และการพัฒนา วาทกรรมหลักในเรื่องท้ังสองยังคงมีบทบาทครอบง�ำอยู่อย่างมาก ด้วยเหตุนี้เอง ส่วนหนึ่งของการเมืองในระดับของชุมชนท้องถิ่นจึงเก่ียวข้องกับการช่วงชิงและ ต่อรองความหมายของทั้งการอนุรักษ์และพัฒนา ซ่ึงแสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน และความลักลั่นท่ีแตกต่างกันไป ในแต่ละบริบทของความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ท้องถิ่นกับอ�ำนาจต่างๆ จากภายนอก และปรากฏออกมาในหลายพ้ืนท่ีของการ ช่วงชิงความหมายและความรู้ ภายใต้การครอบงำ� ของวาทกรรมการพัฒนาไม่ว่า จะเป็นพื้นที่ของช่วงชิงการใช้พ้ืนท่ีป่าในการปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด หรือในการ ทำ� เหมอื งถ่านหิน หรอื พืน้ ทข่ี องการช่วงชิงความหมายของการอนุรกั ษ์ในกรณขี อง วาทกรรมต่างๆ เกยี่ วกบั ปลาบกึ ตลอดจนถงึ พน้ื ที่ของการช่วงชงิ ความหมายของ ท้องถิ่นในวฒั นธรรมความเชือ่ ด้วย ในกรณขี องพนื้ ทขี่ องชว่ งชงิ การใชพ้ นื้ ทปี่ า่ ในการปลกู พชื ไร่ เชน่ ขา้ วโพดนน้ั มีตัวอย่างของการศึกษาอยู่ในบทความวิจัยของอัจฉรา รักยุติธรรม (2556) เรอ่ื ง “พนื้ ทสี่ งู ทา่ มกลางการชว่ งชงิ : ความหมายของขา้ วโพดเลย้ี งสตั วแ์ ละอตั ลกั ษณ์

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 187 ของชาวนาบนพื้นที่สูง” ซึ่งศึกษาชุมชนปกาเกอะญอในพ้ืนท่ีดอนแห่งเดียวกันกับ บทความที่อ้างถึงแล้วข้างต้น (Atchara 2009) อัจฉราได้ชี้ให้เห็นว่า ภายใต้ความ สับสนของความหมายของข้าวโพดเล้ียงสัตว์ ที่กลุ่มคนภายนอกชุมชนให้นิยามไว้ ไมว่ า่ จะเปน็ พชื อาหาร พชื แหง่ การท�ำลาย หรอื พชื แหง่ การพฒั นา และความลกั ลนั่ ขดั แยง้ กนั เองในนโยบายของรฐั บางสว่ นเนน้ การอนรุ กั ษพ์ นื้ ทปี่ า่ ขณะทอี่ กี บางสว่ น ตอ้ งการสง่ เสรมิ การปลกู พชื พาณชิ ย์ ผลทต่ี ามมากค็ อื ชาวบา้ นในกรณศี กึ ษานมี้ กั ถกู กดี กนั ไมใ่ หใ้ ชพ้ นื้ ทป่ี า่ ในเขตปา่ อนรุ กั ษ์ ทเ่ี ปน็ สว่ นหนงึ่ ของอทุ ยานแหง่ ชาตทิ ำ� ไร่ หมุนเวยี น จนขาดความมั่นคงในการถือครองทด่ี ิน ดว้ ยเหตนุ เ้ี อง ชาวบา้ นจงึ หนั ไปขยายพนื้ ทเ่ี พาะปลกู ขา้ วโพดเขา้ ไปในพนื้ ทปี่ า่ แทนการทำ� ไรห่ มนุ เวยี น เพอ่ื ตอบโตก้ บั ความไมม่ น่ั คงดงั กลา่ ว ซง่ึ ถอื เปน็ ปฏบิ ตั กิ าร ทางการเมอื งอยา่ งหนงึ่ ของชาวบา้ นในการตอ่ รองกบั รฐั ดว้ ยการนยิ ามความหมาย ของขา้ วโพดอยา่ งหลากหลายและไมย่ ดึ ตดิ กบั ความหมายใดความหมายหนงึ่ อยา่ ง ตายตัว ซึ่งช่วยให้พวกเขามีอิสระจากการครอบง�ำของความหมายท่ีถูกนิยามมา จากภายนอกด้านเดียว โดยเร่ิมจากการช่วงชิงความหมายของข้าวโพดในฐานะ พืชพาณชิ ย์เพ่ือการพัฒนา ตามความเข้าใจและนโยบายของรัฐบางส่วน ในการ ต่อรองกับเจ้าหน้าท่ีรัฐในพ้ืนที่ เพื่อสร้างความมั่นคงในการใช้ท่ีดินในป่า ตามมา ดว้ ยการใหค้ วามหมายของขา้ วโพดวา่ เปน็ พชื ทช่ี ว่ ยสรา้ งความมนั่ คงทางรายไดแ้ ละ ความม่ันคงในการด�ำรงชีวิต ที่ปลอดจากการถูกเจ้าหน้าท่ีจับกุมด้วย ซึ่งมีนัยว่า ข้าวโพดมีความหมายในเชิงความมั่นคงของชีวิตมากกว่าแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ เท่านนั้ (อัจฉรา 2556) ซง่ึ สามารถตีความได้ต่อไปอกี ว่า ชาวบ้านต้องการจะบอก เป็นนัยๆ ว่า พวกเขาไม่ได้ตั้งใจท�ำลายป่าด้วยการปลูกข้าวโพด ทั้งนกี้ ็เพื่อสร้าง ความชอบธรรมให้กับการใช้พ้นื ที่ป่าของพวกเขานน่ั เอง ส�ำหรับกรณีของการช่วงชิงการใช้พ้ืนท่ีป่าในการท�ำเหมืองถ่านหินน้ัน กติ ิมา ขุนทอง (2555) ได้ศึกษาชุมชนท้องถ่ินใกล้ชายแดนไทย-พม่าในวทิ ยานิพนธ์ เรอ่ื ง ‘ปฏบิ ตั กิ ารชว่ งชงิ ความรเู้ รอื่ งพลงั งานจากถา่ นหนิ : กรณศี กึ ษาโครงการพฒั นา เหมอื งถา่ นหนิ เวยี งแหง อ�ำเภอเวยี งแหง จงั หวดั เชยี งใหม’่ และพบวา่ เมอ่ื การไฟฟา้

188 ก�ำ กึด๊ กำ�ปาก ฝา่ ยผลติ (ก.ฟ.ผ) มโี ครงการจะเขา้ มาพฒั นาพน้ื ทปี่ า่ บางสว่ นทชี่ มุ ชนใชป้ ระโยชนอ์ ยู่ กอ่ นแลว้ เพอื่ ทำ� เหมอื งถา่ นหนิ ไดส้ ถาปนาภาพตวั แทนความจรงิ ของถา่ นหนิ ขนึ้ มา ให้เป็นเรื่องของพลังงานเช่ือมโยงกับวาทกรรมการพัฒนา ในการสร้างความ ชอบธรรมให้กบั การใช้พื้นท่ีป่า ด้วยการให้เหตผุ ลว่าถ่านหินเป็นพลังงานทางเลอื ก และราคาถกู บนพื้นฐานของความรู้แบบวิทยาศาสตร์ ซ่งึ จะช่วยสร้างความมน่ั คง ทั้งด้านพลังงานและเศรษฐกิจ และยังนิยามต่อไปอีกด้วยว่าพ้ืนที่น้ันเป็น ป่าเสอ่ื มโทรม หากน�ำป่ามาท�ำเหมอื งถ่านหินแล้วจะได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ สงู กวา่ ใชป้ ระโยชนอ์ ยา่ งอน่ื ซงึ่ กเ็ ทา่ กบั เป็นการกดี กนั ชาวบา้ นออกไปใหก้ ลายเป็น ผู้บกุ รกุ ขณะที่ภาคประชาสงั คมและนกั วชิ าการท่คี ัดค้านโครงการนก้ี ใ็ ห้เหตุผลว่า การท�ำเหมืองถ่านหินจะมีผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศและวิถีชีวิตชาวบ้าน ตลอดจนละเมิดสิทธิชุมชนและผูกติดอยู่แต่กับความแบบวิทยาศาสตร์แต่กลับ ละเลยความรู้ท้องถิ่น จนท�ำให้มองไม่เหน็ ทางเลือกอนื่ ๆ ในดา้ นของชาวบา้ นในชมุ ชนทอ้ งถน่ิ พวกเขาไมไ่ ดม้ คี วามคดิ เหน็ สอดคลอ้ ง ไปในทิศทางเดียวกนั ทัง้ หมด บางส่วนยอมรับในวาทกรรมพลังงานและการพัฒนา ของ ก.ฟ.ผ แต่กม็ คี วามกงั วลต่อปญั หาความเสย่ี งทจ่ี ะมผี ลกระทบตอ่ สขุ ภาพและ สง่ิ แวดลอ้ ม ขณะทช่ี าวบ้านอกี สว่ นหนง่ึ กลบั ปฏเิ สธวาทกรรมดงั กล่าวอยา่ งสนิ้ เชงิ ดว้ ยเหตผุ ลวา่ จะมผี ลกระทบตอ่ วถิ ใี นการดำ� รงชวี ติ ของพวกตน ซง่ึ นำ� ไปสกู่ ารเมอื ง ของการตอ่ รองและชว่ งชงิ ความหมายและความรรู้ ะหวา่ งกลมุ่ ตา่ งๆ อยา่ งเขม้ ขน้ กิ ติมาได้วิเคราะห์ว่า ชาวบ้านกลุ่มที่คัดค้านการทำ� เหมืองถ่านหินใช้การผสมผสาน ความรอู้ ยา่ งหลากหลายไปตามสถานการณ์ โดยเรม่ิ จากการชว่ งชงิ ความหมายและ ความรขู้ องพนื้ ทที่ จี่ ะนำ� ไปใชท้ ำ� โครงการเหมอื งถา่ นหนิ วา่ เปน็ แหลง่ ความมนั่ คงดา้ น อาหารและพนื้ ทท่ี างวฒั นธรรมความเชอื่ เพอ่ื ตอบโตก้ บั การอา้ งสทิ ธขิ องรฐั และยงั ชถ้ี งึ ผลกระทบตา่ งๆ ทจ่ี ะตามมาในแงข่ องความเสย่ี งทงั้ ตอ่ ระบบนเิ วศและการดำ� รง ชวี ติ นอกจากนนั้ ยงั เปน็ การละเมดิ สทิ ธชิ มุ ชนและกดี กนั การมสี ว่ นรว่ มของชมุ ชนใน การจดั การพ้นื ที่ (กิตมิ า 2555)

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 189 ในการเคลื่อนไหวเพ่ือต่อรองกับวาทกรรมการพัฒนา ชาวบ้านจะหยิบยก ประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบท่ีก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงในการด�ำรงชีวิต ในด้านต่างๆ มาใช้ต่อรองในพ้ืนท่ขี องชวี ติ ประจำ� วัน เพือ่ ปรบั เปลี่ยนความสมั พนั ธ์ ระหว่างกลุ่มต่างๆ ภายในชุมชนเองเป็นเบื้องต้น ตามมาด้วยการผลักดันให้รัฐ ยกเลิกโครงการพัฒนาเหมืองถ่านหิน บนพื้นฐานของการปกป้องดูแลทรัพยากร ส่วนร่วม ที่อาจจะได้รับผลกระทบร่วมกันทั้งลุ่มน้�ำ และท้ายท่ีสุดชาวบ้านก็ผลัก ดันให้องค์กรท้องถ่ินออกข้อบัญญัติท้องถ่ินขึ้นมารับรองอำ� นาจของชุมชนในการ สรา้ งกฎเกณฑต์ า่ งๆ ในการจดั การการใชท้ รพั ยากรในพน้ื ที่ ซง่ึ แสดงใหเ้ หน็ ถงึ ความ พยายามของชาวบา้ นในการมสี ว่ นรว่ มกบั จดั การทรพั ยากร แทนการถกู กดี กนั สทิ ธิ จากอ�ำนาจรัฐเพยี งฝ่ายเดียว (กิตมิ า 2555) อีกพ้ืนทห่ี นง่ึ ของการช่วงชงิ ความหมายเกยี่ วกับการอนรุ ักษ์และการพฒั นา ท่ีน่าสนใจในเชิงวัฒนธรรมกับการพัฒนาก็คือ กรณีการเมืองของการช่วงชิง วาทกรรมวา่ ดว้ ยปลาบกึ ดงั ตวั อยา่ งในวทิ ยานพิ นธข์ องพพิ ฒั น์ ธนากจิ (2552) เรอื่ ง ‘วาทกรรมว่าด้วยปลาบึกในเชียงของ: การต่อรองการพัฒนาของชาวบ้านใน ลุ่มน้�ำโขง’ ซ่ึงเกิดขึ้นในบริบทของการพัฒนาท่ีต่อสู้ช่วงชิงกันระหว่างวาทกรรม การพฒั นากระแสหลกั ทเี่ นน้ ความเจรญิ เตบิ โตทางเศรษฐกจิ ด้วยการผลกั ดนั ให้ใช้ แมน่ ำ้� โขงเปน็ เสน้ ทางการคา้ ขา้ มพรมแดนมากขน้ึ และวาทกรรมกระแสรองทมี่ งุ่ เนน้ การพัฒนาอย่างย่ังยืน ด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของแม่น�้ำโขง ผา่ นโครงการอนรุ กั ษป์ ลาบกึ ของภาคประชาสงั คมทงั้ ระดบั ทอ้ งถน่ิ และระดบั สากล ในชมุ ชนรมิ แมน่ ำ�้ โขงทม่ี พี รานปลาบกึ และการจบั ปลาบกึ มาอยา่ งยาวนาน โดยกลมุ่ อนรุ ักษ์จะใช้โครงการอนรุ กั ษ์ปลาบกึ นี้เองเป็นสญั ลักษณ์ในการต่อต้านการระเบดิ เกาะแก่งในแม่นำ้� โขง เพื่อเพมิ่ ความสะดวกให้กบั เส้นทางเดนิ เรือค้าขาย การศกึ ษาวจิ ยั ของพพิ ฒั น์ (2552: 173-181) พบวา่ การตอ่ สกู้ นั ของวาทกรรม การพัฒนาท้ังสองกระแสนนั้ เป็นปฏิบัติการของการช่วงชิงการนิยามความหมาย ของแม่น�้ำและปลาบึก เพ่ือจะได้มีอ�ำนาจเข้ามาควบคุมและใช้ประโยชน์ ทรพั ยากรธรรมชาตติ า่ งๆ อยา่ งสดุ โตง่ ซงึ่ นำ� ไปสกู่ ารกดี กนั ทรพั ยากรออกไปจากการ

190 ก�ำ กด๊ึ ก�ำ ปาก ควบคุมของชุมชนท้องถ่ินมากขึ้น ขณะท่ีมองข้ามการด�ำรงชีพด้วยการจับปลาบึก ท่ีมีความส�ำคัญต่อพรานปลาบึกและชุมชนท้องถ่ินว่ามีความหมายมากกว่า อรรถประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเท่านน้ั โดยภาคประชาสังคมได้นิยามปลาบึกว่าเป็น ปลาทใี่ กลส้ ญู พนั ธแ์ุ ละควรอนรุ กั ษไ์ ว้ ผา่ นพธิ กี รรมตา่ งๆ เชงิ สญั ลกั ษณ์ จนเปลยี่ น ให้ปลาบกึ กลายเป็นทรพั ยากรของสากล พร้อมๆ ไปกบั การสูญเสียอ�ำนาจในการ ควบคมุ จดั การ และการใช้ประโยชน์ของชุมชนท้องถ่นิ ภายใต้กระแสกดดันต่างๆ จากภายนอก พรานปลาบึกต้องหันไปพึ่งพา อาชีพอื่นๆ ด้วยการรับจ้างทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม ซ่ึงส่งผลให้พวกเขา ต้องเผชิญกับปัญหาความไม่มั่นคงในการด�ำรงชีพและปัญหาความลักลั่นของ การพฒั นาต่างๆ แม้จะมีความพยายามเสนอทางเลอื กต่างๆ มาช่วยเหลอื อยู่บ้าง ก็ตาม พรานปลาบึกจึงได้ลุกข้ึนมาช่วงชิงการนิยามความหมายของปลาบึกบ้าง เพ่ือตอบโต้กับวาทกรรมการอนุรักษ์ท่ียัดเยียดลงมาจากระดับสากล แต่พวกเขา ก็ให้ความหมายแตกต่างกันไปอย่างหลากหลายและไม่ได้สอดคล้องกันท้ังหมด สำ� หรบั กลมุ่ พรานปลาบกึ ทยี่ งั จบั ปลาอยจู่ ะนยิ ามปลาบกึ วา่ เปน็ อาหาร เปน็ รายได้ เปน็ จารตี วถิ ปี ฏบิ ตั ิ และเปน็ ตวั ตนของพรานปลาผา่ นสญั ลกั ษณข์ องการทอ่ งเทยี่ ว ส่วนกลุ่มพรานที่เลิกจับปลาแล้วก็จะช่วงชิงการนิยามปลาบึกว่าเป็นปลาท่ีใกล้ สูญพันธุ์และการจับปลาบึกเป็นบาป ซึ่งแสดงถึงความพยายามของพรานปลาบึก ในการต่อรองกับวาทกรรมการพัฒนาทั้งสองกระแส ท่ีก�ำลังครอบง�ำอยู่ในชุมชน ท้องถ่ินของลุ่มน้�ำโขง แต่การที่พรานปลาบึกนิยามความหมายของปลาบึกแตกต่างกัน ก็ท�ำให้ การต่อรองมีความหลากหลายไปตามเง่ือนไขของความเป็นพรานที่แตกต่างกัน นน้ั ด้วย การต่อรองแบบแรกนายพรานจะรวมตัวกันเป็นชมุ ชน และทำ� งานร่วมกบั กลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคมอนรุ ักษ์ธรรมชาติ โดยท�ำงานวิจัยของชาวบ้านเอง เพ่ือน�ำเสนอความรู้ท้องถ่ินเก่ียวกับวัฒนธรรมของการจับปลาบึก ผสมผสานกับ ความรสู้ ากลเกย่ี วกบั ปลาบกึ ในฐานะปลาทใ่ี กลส้ ญู พนั ธ์ุ สว่ นการตอ่ รองอกี แบบหนงึ่ นน้ั นายพรานจะสรา้ งอตั ลกั ษณห์ รอื ตวั ตนใหมข่ องความเปน็ พราน เชน่ พรานใจบญุ

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 191 ผู้อนุรักษ์ และมัคคุเทศก์ทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะในกลุ่มพรานที่เลิกจับปลาบึก แล้ว เพ่ือจะได้สามารถเข้าถึงโอกาสและทรัพยากรจากเครือข่ายอนุรักษ์ต่างๆ พร้อมๆ กับตอบโต้กับภาพลักษณ์จากสังคมภายนอก ท่ีตีตราพวกเขาว่าเป็น “หมู่บ้านฆ่าสัตว์ตัดชีวิต” ไปด้วย ขณะท่ีนายพรานท่ียังต้องการจับปลาบึกอยู่จะ ต่อรองผ่านการผสมผสานความรู้ท้องถิน่ และความรู้ตามสถานการณ์มาใช้โต้แย้ง กับวาทกรรมท่ีว่าปลาบึกใกล้สูญพันธุ์ ตลอดจนใช้พื้นท่ีของพิธีกรรมไหว้ผี ในการ สร้างอัตลักษณ์ของพรานท่ีมีท้ังความรู้และความสามารถ และยังซ้อนอัตลักษณ์ อื่นๆ ข้างต้นทับลงไปอีกด้วย เพ่ือต่อรองและอ้างสิทธิในการจับปลาบึก ด้วย เหตนุ เี้ องการเมอื งของการชว่ งชงิ ความหมายของปลาบกึ และการตอ่ รองสทิ ธใิ นการ จับปลาบกึ จึงมคี วามซับซ้อนอย่างมาก นอกจากการเมืองของการต่อรองเก่ียวกับสิทธิในทรัพยากรประเภทต่างๆ ดังกล่าวไปแล้ว ชุมชนท้องถ่ินก็ยังมีส่วนร่วมอยู่ในการเมืองของการช่วงชิง ความหมายทางวัฒนธรรมด้านอื่นๆ อีก ท้ังน้ีเพราะรัฐพยายามจะมีบทบาทน�ำ ผ่านกระทรวงวัฒนธรรม ในการนิยามวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของท้องถ่ินให้อยู่ ในบริบทของความเป็นไทยมาอย่างต่อเน่ือง ดังจะเห็นได้จากการเสนอข้อถกเถียง ในบทความเรอื่ ง “Ministering culture: hegemony and the politics of culture and identity in Thailand” (Connors 2005) ซึ่งมักจะแตกต่างและขัดแย้งกับการนิยาม วฒั นธรรมและอตั ลกั ษณข์ องแตล่ ะทอ้ งถน่ิ เอง ทม่ี ลี กั ษณะหลากหลายและซบั ซอ้ น มากกว่าความหมายและความเข้าใจของรฐั ด้วยเหตุนีเ้ องจงึ มักจะพบว่าพน้ื ท่ีทาง วัฒนธรรมได้กลายเป็นพื้นท่ีของการช่วงชิงและต่อรองความหมายทางวัฒนธรรม ระหว่างกลุ่มต่างๆ ในชุมชนท้องถ่นิ กบั รฐั อยู่เสมอๆ ภายใต้บรบิ ทของการพฒั นา ดังตัวอย่างเช่นในกรณีศึกษาพิธีไหว้ผีเจ้าหลวงค�ำแดงท่ีอ�ำเภอเชียงดาว จงั หวดั เชยี งใหม่ และอำ� เภอแมใ่ จ จงั หวดั พะเยา ในบทความวจิ ยั เรอื่ ง “Dynamics of power of space in the Tai Yuan Chaw Luang Kham Daeng spirit cult” (Nittaya and Siraporn 2011) ซ่ึงพบว่า แม้ผีเจ้าหลวงค�ำแดงในอดีตนน้ั จะเชื่อกันว่าเป็น ผอี ารกั ษเ์ มอื งเชยี งใหม่ โดยมเี จา้ เมอื งเชยี งใหมเ่ ปน็ ผปู้ ระกอบพธิ ี แตป่ จั จบุ นั ชาวบา้ น

192 ก�ำ กด๊ึ กำ�ปาก ในอำ� เภอเชยี งดาวเปน็ ผสู้ บื ทอดความเชอ่ื และพธิ กี รรม สว่ นชาวอ�ำเภอแมใ่ จกผ็ กู พนั กับความเชื่อเร่ืองเจ้าหลวงค�ำแดงเช่นเดียวกัน ทั้งในฐานะผีอารักษ์และวีรบุรุษ ท้องถ่ิน ด้วยการโยงใยความเก่ียวข้องตามต�ำนาน เท่าที่ผ่านมานน้ั ผู้น�ำท้องถิ่น ในฐานะผู้รู้เคยมีบทบาทหลักในการประกอบพิธีกรรมและสืบทอดความเช่ือต่างๆ ส่วนรายละเอียดของการจัดการพิธีกรรมส่วนใหญ่นน้ั ผู้ประกอบพิธีฝ่ายหญิงจะ สบื ทอดอำ� นาจในการควบคมุ พธิ กี รรมทงั้ หลาย ดงั นน้ั เมอื่ เจา้ หนา้ ทร่ี ฐั ระดบั อ�ำเภอ หนั มาสนบั สนนุ งบประมาณในการสรา้ งหอผแี ละสง่ เสรมิ พธิ กี รรมตา่ งๆ ทเ่ี กยี่ วขอ้ ง กบั เจา้ หลวงคำ� แดง ในความพยายามทจี่ ะเขา้ มามบี ทบาทนำ� ในการกำ� หนดพธิ กี รรม และความเปน็ ทอ้ งถนิ่ มากขน้ึ จงึ เกดิ การชว่ งชงิ และตอ่ รองอำ� นาจในการจดั การพน้ื ที่ พธิ กี รรมระหวา่ งเจา้ หนา้ ทร่ี ฐั และชาวบา้ น ซงึ่ ไมพ่ อใจการเขา้ มาชว่ ยเหลอื ของรฐั นกั เพราะคิดว่าคนนอกไม่รู้เรอื่ งพิธีกรรมเพยี งพอ ในปจั จบุ นั พธิ กี รรมได้เขา้ ไปมสี ว่ นอย่ใู นการเมอื งของการตอ่ รองการพฒั นา ในฐานะที่เป็นพ้ืนท่ีช่วงชิงและต่อรองความรู้และอัตลักษณ์อย่างเข้มข้นระหว่าง ชาวบ้านและรัฐ ท้ังน้ีเพราะพิธีกรรมนน้ั เป็นท้ังพื้นท่ีของความรู้และพ้ืนที่ของการ นยิ ามตวั ตนของคนท้องถน่ิ เมอื่ รฐั พยายามจะเข้ามามบี ทบาทน�ำมากขนึ้ ในพนื้ ทนี่ ี้ จึงพบว่าชาวบ้านมักจะต่อต้าน ในความพยายามที่จะต่อรองกับความรู้ท่ีครอบง�ำ และช่วงชิงอัตลักษณ์ของตนให้อิสระจากการควบคุมของรัฐให้มากที่สุด เพ่ือ พลวัตของชุมชนท้องถิ่นโดยเฉพาะในบริบทของการพัฒนาท่ีก�ำลังเปลี่ยนแปลง ให้วัฒนธรรมตายตัวและกลายเป็นสินค้ามากข้ึน ดังกรณีศึกษาต่างๆ ในหนงั สือ เรื่อง เจ้าท่ีและผีปู่ย่า: พลวัตของความรู้ชาวบ้าน อ�ำนาจและตัวตนของ คนท้องถ่ิน (อานนั ท์ 2555ข) เพราะหากชาวบ้านมีอำ� นาจในการควบคุมความรู้ และก�ำหนดอัตลักษณ์ของตนได้เองแล้ว ชุมชนท้องถ่ินก็จะสามารถปรับตัวให้มี ทางเลอื กไดอ้ ยา่ งหลากหลาย ในบรบิ ทของการเผชญิ หนา้ กบั การเปลยี่ นแปลงอยา่ ง รวดเรว็ แทนทจี่ ะผกู ตดิ อยกู่ บั วาทกรรมการพฒั นากระแสหลกั ทไี่ มไ่ ดเ้ ปดิ ทางเลอื ก ให้มากนกั

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 193 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนชี้ ุมชนท้องถ่ินท่ีอยู่ชานเมืองใหญ่ เช่น เมือง เชียงใหม่ ชาวบ้านอาจจะยังเหลืออ�ำนาจในการก�ำหนดชีวิตของตนเองได้น้อยลง ไปทุกที เพราะชมุ ชนของพวกเขาก�ำลงั เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากอทิ ธพิ ลของ กระแสการอพยพเข้ามาอยู่อาศัยในพ้ืนที่ของกลุ่มคนภายนอก ท่ีก�ำลังขยายตัว มากข้ึนอย่างต่อเน่ือง กลุ่มผู้ท่ีเข้ามาอยู่อาศัยใหม่เหล่านี้มีความแตกต่างและ หลากหลายอย่างมาก ตั้งแต่คนงานผลดั ถิ่นจากประเทศเพอื่ นบ้าน กลุ่มชาติพันธุ์ จากพนื้ ทสี่ งู ตลอดจนถงึ ชนชน้ั กลางฐานะดจี ากเมอื งใหญ่ และชาวตา่ งชาตทิ ม่ี เี มยี คนไทย ซงึ่ กระทบตอ่ ภมู ทิ ศั นท์ างวฒั นธรรมในชมุ ชนทอ้ งถน่ิ อยา่ งรนุ แรง โดยเฉพาะ ความแตกต่างและความขดั แย้งกันในการบรโิ ภคความเป็นสมัยใหม่ ดังตัวอย่างในบทความวิจัยเบ้ืองต้นเรื่อง “Migration to the countryside: class encounters in peri-urban Chiang Mai Thailand” (Tubtim 2012) ซ่ึงพบการ ปะทะกันของการบรโิ ภควัฒนธรรมในหลายแง่หลายมุม ระหว่างกลุ่มชาวบ้านเดิม และกลุ่มผู้มาอยู่อาศัยใหม่ ขณะท่ีชาวบ้านที่อยู่มาเดิมจะให้ความส�ำคัญกับ ความจำ� เปน็ ในทางปฏบิ ตั ิ เชน่ ความสะดวกดา้ นสาธารณปู โภคและความปลอดภยั จากโจรผู้ร้าย กลุ่มชนช้ันกลางที่เข้ามาอยู่ใหม่กลับให้คุณค่ากับภาพลักษณ์และ ความงามแบบชนบทตามจนิ ตนาการของตน ซง่ึ อาจจะเปน็ เพยี งการหวนหาอดตี ทง้ั ๆ ทพี่ วกเขากไ็ ม่ได้สนใจใยดีมากนกั ทจ่ี ะเข้าไปมีส่วนร่วมในการกิจกรรมต่างๆ ของ ชมุ ชน เพราะยงั คำ� นงึ ถงึ ความเปน็ สว่ นตวั มากกวา่ จนทำ� ใหค้ วามเขา้ ใจความหมาย ของการอนรุ กั ษแ์ ละการพฒั นาแตกตา่ งกนั เกอื บสน้ิ เชงิ ในลกั ษณะทคี่ ลา้ ยกบั ความ แตกตา่ งทางชนชน้ั แตอ่ าจจะไมใ่ ชช่ นชนั้ ทางเศรษฐกจิ เชน่ ทเ่ี คยเขา้ ใจกนั มาในอดตี หากเป็นชนชั้นในมิติของการบรโิ ภคความหมายและรสนิยมที่แตกต่างกันมากขึ้น ซ่ึงอาจจะกลายเป็นพลังส�ำคัญส่วนหนงึ่ ในการผลักดันการเปล่ียนแปลงชุมชน ท้องถ่ินในอนาคตก็เป็นได้ จากพลวัตของชุมชนท้องถ่ินในภาคเหนือที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังได้กล่าวไปแล้ว อาจจะเป็นไปได้ยากท่จี ะมองชมุ ชนท้องถ่ินด้วยความกลมกลืน ด้านเดียวได้อีกต่อไป หากคงต้องหันมาท�ำความเข้าใจกับความแตกต่างและ

194 กำ�กด๊ึ ก�ำ ปาก ความขัดแย้งมากข้ึนว่ามีความหลากหลายได้อย่างไร หลังจากเกิดการก่อตัวข้ึน มาใหม่ของกลุ่มชนต่างๆ ในชมุ ชนอย่างมากมาย การวจิ ัยชมุ ชนท้องถน่ิ ต่างๆ ใน เชงิ วฒั นธรรมกบั การพฒั นาทงั้ หลายขา้ งตน้ ไดย้ นื ยนั ตรงกนั อยา่ งหนง่ึ วา่ การเมอื ง ของการตอ่ รองความหมายและความรใู้ นวาทกรรมการพฒั นาระหวา่ งกลมุ่ ชนตา่ งๆ ท้ังภายในชุมชนก็ดีและระหว่างชุมชนกับพลังภายนอกก็ดี ต่างก็ช่วยกันเปิดพื้นท่ี ทางวัฒนธรรมให้กับการช่วงชิงและสร้างสรรค์ ทั้งความหมายและความรู้ใหม่ๆ ท่ีน่าจะเป็นพลังส�ำคัญต่อการขับเคล่ือนชุมชนอย่างหลากหลายในอนาคต ซึ่ง ครอบคลุมการนิยามความหมายและความรู้ของท้ังความเป็นสมัยใหม่ สทิ ธิชุมชน อัตลักษณ์ของท้องถิน่ ตลอดไปจนถงึ การพัฒนาในแง่มมุ ต่างๆ 4.5 การชว่ งชิงพน้ื ทที่ างวฒั นธรรมในการพัฒนาความเป็นเมอื ง เมื่อเปรียบเทยี บกับการพัฒนาในสงั คมชนบทแล้ว การศึกษาสงั คมเมอื งใน ประเดน็ ของวฒั นธรรมกบั การพฒั นายงั มนี อ้ ยมาก ทง้ั ๆ ทกี่ ารเปลยี่ นแปลงในเมอื ง เกดิ ขน้ึ อยา่ งรวดเรว็ และสรา้ งปญั หาของการพฒั นาอยา่ งมากมายเชน่ เดยี วกนั หาก จะมกี ารศกึ ษาอยบู่ า้ งกม็ กั จะไปจำ� กดั อยเู่ ฉพาะปญั หาของชมุ ชนแออดั ทง้ั นอี้ าจจะ เปน็ เพราะเทา่ ทผ่ี า่ นๆ มา นกั วจิ ยั สว่ นใหญเ่ ปน็ คนในสงั คมเมอื ง และไดร้ บั ประโยชน์ จากการพัฒนาเมือง ซ่ึงสร้างให้เมืองเจริญเติบโตทั้งทางเศรษฐกิจและทางด้าน กายภาพ ท่ีอ�ำนวยความสะดวกสบายให้คนในสังคมเมืองอย่างมาก จนอาจจะ หลงลืมและมองข้ามความเป็นเมืองในเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ไป ดัง ปรากฏวา่ ในชว่ งแรกๆ ของการพฒั นาเมอื งจงึ มกี ารทำ� ลายสถานทท่ี างประวตั ศิ าสตร์ หลายแหง่ ในเมอื งเชยี งใหม่ เชน่ วดั และเจดยี ร์ า้ ง ตลอดจนกำ� แพงเมอื งเกา่ เปน็ ตน้ แมเ้ มอื งใหญๆ่ ในภาคเหนอื เชน่ เมอื งเชยี งใหม่จะมปี ระวตั ศิ าสตรม์ าอย่าง ยาวนานกว่า 700 ปี แต่การมุ่งพฒั นาทางเศรษฐกิจและกายภาพอย่างมากทำ� ให้ ความหมายของความเป็นเมอื งในอดตี ค่อยๆ เลือนหายไป และผู้คนในสังคมเมอื ง รุ่นใหม่ก็มักจะหันไปรับภาพความเป็นเมืองจากวัฒนธรรมตะวันตกมาแทนที่

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 195 จนท�ำให้การพัฒนาความเป็นเมืองเริ่มตัดขาดจากอดีตและหลงทางไปมากขึ้น เร่อื ยๆ ดงั มาปรากฏเป็นปัญหาข้นึ อย่างชัดมากในช่วงทศวรรษ 2530 เม่ือกลุ่มคน ในเมืองเชียงใหม่ส่วนหนง่ึ ลุกขึ้นคัดค้านโครงการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นดอยสุเทพ เพราะเห็นว่าจะไปท�ำลายความศักดิ์สิทธิ์และความงดงามของพระธาตุดอยสุเทพ จงึ ชว่ ยกระตนุ้ ใหน้ กั วชิ าการหนั มาศกึ ษาความเปน็ เมอื งในเชงิ วฒั นธรรมกนั อยบู่ า้ ง ในระยะต่อๆ มา ดงั ตวั อยา่ งบทความวจิ ยั เรอื่ ง “The cosmology of power in Lanna” ( Rhum 1987) ซึ่งศึกษาพิธีไหว้ผีปู่แสะย่าแสะแห่งเมืองเชียงใหม่และสรุปการวิเคราะห์ไว้ว่า ความเปน็ เมอื งของลา้ นนานนั้ ไมใ่ ชเ่ ปน็ เพยี งหนว่ ยทางนเิ วศการเมอื งเทา่ นนั้ หากยงั เปน็ พน้ื ทที่ างพธิ กี รรมและจกั รวาลวทิ ยาดว้ ย ซงึ่ สอดคลอ้ งกบั ความคดิ ในบทความ เรอ่ื ง “The northern Thai city as sacred center” (Swearer 1987) ท่ีเหน็ ว่าเมืองใน ลา้ นนาเปน็ ศนู ยก์ ลางของความศกั ดสิ์ ทิ ธ์ิ ซง่ึ ผกู โยงอยกู่ บั ความหมายและความเชอ่ื ต่างๆ อย่างมากมาย ท่ีเกี่ยวข้องกับความเป็นศูนย์กลางของเขาพระสุเมรุใน ปริมณฑลของอ�ำนาจตามคติจากวฒั นธรรมอินเดยี ก่อนหน้านน้ั ในบทความเรอ่ื ง “Decline of village spirit cults and growth of urban spirit mediumship: the persistence of spirit beliefs, the position of women and modernization” (Irvine 1984) วอลเตอร์ เออร์วาย กเ็ คยตงั้ ข้อสังเกตไว้ เชน่ เดยี วกนั วา่ ในชว่ งทมี่ กี ารพฒั นาเมอื งเชยี งใหมอ่ ยา่ งรวดเรว็ นน้ั ปรากฏวา่ จำ� นวน คนทรงผเี จา้ นายมอื อาชพี เพมิ่ มากขน้ึ ทง้ั ๆ ทก่ี ารนบั ถอื ผใี นชนบทกลบั ลดลง เพราะ คนในสงั คมเมืองหนั หน้าไปพ่ึงพาบรกิ ารด้านพิธกี รรมของคนทรงอาชีพเหล่าน้ี แต่ เออรว์ าย กเ็ สนอความคดิ ไวด้ ว้ ยเชน่ เดยี วกนั วา่ การหนั กลบั ไปหาพธิ กี รรมดงั กลา่ ว มีลักษณะหลายอย่างแตกต่างไปจากพิธีกรรมในอดีต เช่น การผสมผสานคติทาง พุทธศาสนาเข้าไป เพ่ือเสริมสถานภาพของคนทรงให้มีอ�ำนาจพอที่จะรับมือกับ ปญั หาของคนในสงั คมเมอื ง ทม่ี งุ่ จะพงึ่ พาพธิ กี รรมเพอื่ ชว่ ยแกป้ ญั หาความไมม่ นั่ คง ในชวี ติ ดา้ นเศรษฐกจิ และอาชพี การงานของความเปน็ ปจั เจกชน ซง่ึ เปน็ ผลทต่ี ามมา จากการพัฒนาให้ทนั สมัยในช่วงก่อนหน้านนั้

196 กำ�กดึ๊ ก�ำ ปาก ในช่วงทศวรรษ 2530 เม่ือการพัฒนาเมืองในทางเศรษฐกิจดำ� เนนิ ไปอย่าง เข้มข้นมากข้ึน การวิจัยของนักวิชาการหลายช้ินเร่ิมถกเถียงว่า สังคมเมืองใน ภาคเหนือ เช่น เมืองเชียงใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเข้าไปสู่สังคมทางโลกหรือ ความเป็นเหตุเป็นผลมากข้ึนเท่านนั้ หากแต่ยังหันกลับไปสนใจเร่ืองของศาสนา ความศักด์ิสิทธ์ิ และความหมายของสถานท่ีในท้องถ่ินควบคู่ไปด้วย ดังเช่น งาน วิจยั วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ โรสซาลิน มอร์ริส ซง่ึ ภายหลังพิมพ์เป็นหนงั สือ เรอื่ ง In the Place of Origin: Modernity and Its Medium in Northern Thailand (Morris 2000) งานชิ้นนศี้ ึกษาลกั ษณะของความเป็นสมยั ใหม่ที่เกิดขึ้น ในเมืองเชียงใหม่ ด้วยความคิดอย่างซับซ้อนว่าเป็นการปะทะกันทางวัฒนธรรม ท่ีมองดูเหมือนจะเป็นการย้อนยุคของวัฒนธรรมล้านนา แต่มอร์ริสก็มีความเห็น คล้ายๆ กับเออร์วาย ในท�ำนองเดียวกันว่าวัฒนธรรมล้านนาย้อนยุคนี้ไม่ใช่ วัฒนธรรมต้นก�ำเนดิ ด้งั เดิมอย่างแท้จริง หากเป็นเพยี งการสร้างพ้นื ท่ีวัฒนธรรมขึ้น มาใหม่ ทง้ั ด้วยการลอกเลียนแบบและผลิตใหม่ โดยมุ่งศกึ ษาพิธีเข้าทรงผเี จ้านาย ซง่ึ ถอื เปน็ ตวั อยา่ งหนง่ึ ของการยอ้ นอดตี ในการกลบั ไปใชไ้ สยศาสตรใ์ นยคุ สมยั ใหม่ ในฐานะที่เป็นการสร้างพ้นื ท่พี ิธีกรรมอันศักด์ิสทิ ธ์ิ ในความพยายามทจี่ ะเขา้ ใจการสรา้ งพนื้ ทพี่ ธิ กี รรมดงั กลา่ วนนั้ มอรร์ สิ เสนอ ให้มองสังคมเมืองเชยี งใหม่สมยั ใหม่ว่ามีท้ังการผลิตและการบรโิ ภคความหมายอยู่ ควบคู่กัน ด้วยเหตุน้ีเองคนทรงผีเจ้านายจึงไม่ได้ปฏิเสธประวัติศาสตร์ เพียงแต่ พยายามเล่นกับอดีต พร้อมๆ กับสร้างจินตนาการของภาพตัวแทนใหม่ๆ ขึ้นมา อยา่ งไรข้ ดี จำ� กดั เพอื่ ใหพ้ นื้ ทพ่ี ธิ กี รรมชว่ ยสรา้ งภาพชวนฝนั ทล่ี นื่ ไหลและซอ้ นทบั กนั ไปมาได้ ระหว่างสถานทตี่ ้นก�ำเนดิ ท่ีดเู หมอื นไม่จริงในบางครั้ง หรอื จริงเสียยิง่ กว่า จรงิ ในอกี บางครง้ั ขณะทแ่ี ทรกซ้อนอยใู่ นปฏบิ ตั กิ ารเชงิ พนื้ ทใ่ี นโลกของวตั ถไุ ดด้ ว้ ย พรอ้ มๆ กนั ไป ดว้ ยการขา้ มไปขา้ มมาทงั้ เวลาและเหตกุ ารณ์ ซง่ึ ชว่ ยใหด้ ปู ระหนง่ึ วา่ การเขา้ ทรงก�ำลงั อยใู่ นชมุ ชนอนั ศกั ดส์ิ ทิ ธ์ิ การสรา้ งพนื้ ทพี่ ธิ กี รรมอนั ศกั ดสิ์ ทิ ธเิ์ ชน่ น้ี อาจถอื ไดว้ า่ เปน็ ลกั ษณะของการจนิ ตนาการของความเปน็ เมอื งสมยั ใหมท่ อี่ าจจะดู แปลกประหลาด แต่ในยุคปัจจุบันเมื่อความเป็นจริงได้เส่ือมหายไปกับการพัฒนา

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 197 ผู้คนก็มักจะพอใจอยู่กับของเลียนแบบมากกว่าของจริงและเปลือกนอกมากกว่า สาระ มายาภาพจึงกลายสภาพเป็นเรือ่ งของความศกั ด์ิสทิ ธิเ์ ข้ามาแทนท่ี การศึกษาพิธีกรรมในการเข้าทรงผีเจ้านายในสังคมเมืองเชียงใหม่ดังกล่าว ของ มอร์ริส ได้ชี้ให้เห็นถึงการด้ินรนต่อสู้ของกลุ่มคนในสังคมเมืองบางส่วน ซ่ึง พยายามตอบโต้กับทิศทางของการพัฒนาความเป็นเมืองในปัจจุบัน ท่ีมักจะอยู่ นอกเหนือการควบคุมของพวกเขามากขึ้นทุกที ขณะท่ียังเปล่ียนแปลงให้พวกเขา เป็นปัจเจกชนมากข้ึนอีกด้วย จนเริ่มจะมองไม่เห็นความส�ำคัญของพ้ืนท่ีส่วนรวม มากนกั พวกเขาจงึ หนั มาชว่ งชงิ พนื้ ทท่ี างวฒั นธรรม ทอ่ี าจจะยงั อยใู่ นความควบคมุ ของพวกเขาอย่บู า้ ง เพอื่ ชว่ ยใหพ้ วกเขาสามารถบรโิ ภคความหมายของการยอ้ นยคุ ได้อย่างไร้ขีดจ�ำกดั แต่ในความเป็นจริงแล้ว พ้ืนท่ีทางวัฒนธรรมและพ้ืนที่ศักด์ิสิทธ์ิเองก็ไม่ได้ รอดพน้ จากการถกู ชว่ งชงิ เชน่ เดยี วกนั ดงั ตวั อยา่ งจากกรณศี กึ ษาเรอ่ื ง “ชนพนื้ เมอื ง กบั ความเชอื่ เรอ่ื งเสาอนิ ทขลี แหง่ เชยี งใหม”่ ของชเิ กฮารุ ทานาเบ (2553) ซงึ่ ศกึ ษาพธิ ี บชู าเสาอนิ ทขลี ทเ่ี ปรยี บเสมอื นเป็นเสาหลกั เมอื งของเมอื งเชยี งใหม่ และค้นพบวา่ ในปัจจุบันนี้รัฐท้องถ่ินหรือเทศบาลนครเชียงใหม่ได้ยึดพื้นท่ีศักดิ์สิทธิ์น้ีไปอนุรักษ์ แทนกลุ่มคนท้องถ่ิน ที่เคยสืบทอดประเพณีมาจากยุคเจ้าเมืองเชียงใหม่ในอดีต ด้วยการเข้ามาก�ำกับการจัดการพิธีกรรมต่างๆ ตามคติทางพุทธศาสนามากย่ิงขึ้น เพื่อแสดงอ�ำนาจรัฐผ่านการตอกยำ้� ความเป็นพุทธของแท้ และห้ามไม่ให้ทำ� พิธีใน อดีตบางอย่าง โดยเฉพาะการฆ่าสัตว์บูชายัญและการเข้าทรง ซ่ึงเคยมีส่วนช่วย สร้างความชอบธรรมให้กับเจ้าเมือง (ทานาเบ 2553: 92-93) อีกท้ังในระยะหลังๆ มาน้ีเทศบาลและจังหวัดยังปรับประยุกต์พิธีบูชาเสาอินทขีลเพื่อส่งเสริมการ ทอ่ งเทยี่ วอกี ด้วย ซงึ่ มสี ว่ นทำ� ใหพ้ ธิ กี รรมนถี้ กู ลดทอนความหมายในเชงิ สญั ลกั ษณ์ ลงไป และกลายเป็นเพยี งวตั ถุเพื่อการบรโิ ภคเท่านนั้ (ทานาเบ 2553: 95-96) ในการต่อรองกับอ�ำนาจจากภายนอกดังกล่าว หลังจากเสร็จสิ้นพิธีฉลอง เสาอินทขีลแล้ว คนพ้ืนเมืองจะย้ายพิธีกรรมต่างๆ ที่ถูกห้ามไม่ให้ท�ำนนั้ ไปจัดท�ำ กันใหม่บริเวณหอผีประจ�ำแจ่งศรีภูมิ ซ่ึงอยู่ตรงมุมเมืองด้านตะวันออกเฉยี งเหนือ

198 ก�ำ กึด๊ กำ�ปาก ของกำ� แพงเมอื งเชยี งใหม่ องคป์ ระกอบของพธิ กี รรมตรงนบ้ี างสว่ นจะเหมอื นกบั พธิ ี ที่เสาอินทขีล แต่พิธีกรรมหลกั จะอยู่ทกี่ ารเซ่นสรวงและคนทรงจำ� นวนมากมาฟ้อน ถวายผอี ารกั ษ์ทห่ี อผถี งึ 7 วนั ประหนงึ่ เป็นการสรา้ งคตู่ รงข้ามเชงิ สญั ลกั ษณ์ใหก้ บั พธิ ที เี่ สาอนิ ทขลี ขน้ึ มา เพอ่ื ชว่ งชงิ พน้ื ทศ่ี กั ดสิ์ ทิ ธข์ิ องคนทอ้ งถนิ่ เอาไว้ แมว้ า่ จะไมใ่ ช่ พธิ ดี งั้ เดมิ ทงั้ หมดเสยี ทเี ดยี ว เพราะไดผ้ สมผสานวถิ ปี ฏบิ ตั ทิ แี่ ตกตา่ งจากอดตี เขา้ ไว้ ดว้ ย ตามประสบการณอ์ ยา่ งหลากหลายของผรู้ ว่ มพธิ ี ทมี่ าจากกลมุ่ คนเมอื งระดบั กลางและล่างในเมอื งเชยี งใหม่ (ทานาเบ 2553: 93-94) ในปจั จบุ นั นี้ การชว่ งชงิ พน้ื ทว่ี ฒั นธรรมระหวา่ งพน้ื ทศ่ี กั ดสิ์ ทิ ธแ์ิ ละการพฒั นา เศรษฐกจิ สมยั ใหมใ่ นสงั คมเมอื ง เชน่ เมอื งเชยี งใหมน่ นั้ กำ� ลงั ดำ� เนนิ ไปอยา่ งเขม้ ขน้ ซ่ึงมองเห็นได้อย่างชัดเจนในพื้นท่ีของประเพณีต่างๆ จากกระบวนการเปล่ียน วัฒนธรรมเป็นสินค้าเพ่ือการท่องเที่ยว ด้วยการลดทอนความหมายในเชิงคุณค่า ลงไปให้กลายเป็นเพียงความหมายเพือ่ การบรโิ ภคเท่านนั้ (Evrard and Prasit 2012) โดยเฉพาะกรณีการขยายตัวของประเพณีสงกรานต์เพื่อส่งเสริมการท่องเท่ียว ด้วยข้ออ้างของการอนุรักษ์วัฒนธรรม แต่อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมเชิงพาณชิ ย์ก็ ยังไม่สามารถยดึ พืน้ ท่วี ฒั นธรรมเหล่าน้ไี ด้ท้ังหมด แม้คนท้องถ่นิ อาจจะเหลอื พื้นท่ี พิธีกรรมอันศักด์ิสิทธิ์ในประเพณขี องตนน้อยลงไปบ้างก็ตาม แต่พวกเขาบางส่วน กย็ งั สามารถใช้ประเพณสี งกรานต์ ในฐานะเปน็ พน้ื ทป่ี ลดปล่อยตวั เองใหอ้ สิ ระจาก ระเบยี บสงั คมในชวี ติ ประจำ� วนั ไดอ้ ยบู่ า้ ง ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากตวั อยา่ งของงานวจิ ยั เรอื่ ง “Modernity and the evolution of a festive tourism tradition: the Songran festival in Chiang Mai, Thailand” (Ploysri and Robinson 2008: 320) การช่วงชิงพ้ืนที่วัฒนธรรมที่ส�ำคัญอีกกรณีหน่ึงก็คือ พื้นที่ของการย้อน หาอดีต ซ่ึงมีความพยายามรื้อฟื้นข้ึนมาบรโิ ภคความหมายกันอย่างกว้างขวาง ทา่ มกลางกระบวนการพฒั นาความเปน็ เมอื งในปจั จบุ นั น้ี เพอื่ เปา้ หมายหลายอยา่ ง นอกเหนอื จากการเปลย่ี นใหเ้ ปน็ สนิ คา้ เพอื่ การทอ่ งเทย่ี ว ดงั ตวั อยา่ งกรณศี กึ ษาจาก วิทยานพิ นธ์ปริญญาเอกของ จอห์นสนั เร่อื ง ‘Rebuilding Lanna: constructing and consuming the past in urban northern Thailand’ (Johnson 2010) ซง่ึ คน้ พบวา่ หลงั จาก

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 199 วกิ ฤตทางเศรษฐกจิ ในปี 2540 กลุ่มคนท้องถิ่นในสงั คมเมอื งเชยี งใหม่ ไม่ว่าจะเป็น สถาปนกิ นกั เคลื่อนไหวทางสังคม นกั ผังเมือง และแม้แต่คนทรงผีเจ้านาย ต่าง ก็จินตนาการถึงความรุ่งเรืองในอดีตของเมืองเชียงใหม่ เพราะเชื่อกันว่าเมืองเป็น พนื้ ทส่ี งิ สถติ ของอำ� นาจบารมตี า่ งๆ จงึ พยายามจะรอื้ ฟน้ื อ�ำนาจเหลา่ นน้ั ทงั้ นกี้ เ็ พอ่ื จะควบคุมผลกระทบเชิงลบจากเศรษฐกิจขาลงให้ทุเลาได้บ้าง ด้วยการประกอบ สรา้ งศกั ยภาพของเมอื งขน้ึ มาใหม่ ตามทเี่ คยเปน็ มาในยคุ ทองของอดตี ผา่ นวธิ กี าร ท่ีหลากหลายในการออกแบบพื้นที่สาธารณะใหม่ ตั้งแต่ความพยายามปรับพื้นที่ กายภาพของเมืองให้เป็นตามรูปแบบของเมืองในอดีต ไปจนถึงความพยายาม ของสาวกท้ังหลายของคนทรงผีเจ้านายในการขับไล่อาถรรพ์ต่างๆ ด้วยการร้ือฟื้น ผีอารกั ษ์เมือง แต่ถึงกระนน้ั ก็ตามยังเกิดเร่ืองเคราะห์ร้ายต่างๆ ขึ้นมาตามซากตึกที่สร้าง ขนึ้ ในชว่ งกอ่ นปี 2540 ซงึ่ ตงั้ เคยี งคอู่ ย่กู บั การก่อสรา้ งตกึ ใหมๆ่ จงึ ท�ำให้ผ้คู นเลา่ ลอื กันไปต่างๆ นาๆ ว่ายังมีผีร้ายและอาชญากรรมรุนแรงแฝงอยู่ จากกรณีเรื่อง ร้ายๆ ต่างๆ เหล่าน้ี จอห์นสัน วิเคราะห์ว่า คนในสังคมเมืองเชียงใหม่พยายาม สรา้ งและใหค้ วามหมายแกค่ ตเิ รอ่ื งผรี า้ ยจากอดตี ทง้ั เพอ่ื นำ� มาใชน้ ยิ ามและชว่ งชงิ ความหมายในการรื้อฟื้นภาพของอดีต กับการพัฒนาเมืองให้ทันสมัย เพราะการ คงอยู่ของซากตึกร้างต่างๆ และความล้มเหลวในอดตี นนั้ ทงั้ เหน่ียวร้ังและขดั แย้ง กบั ภาพในอนาคต ขณะทส่ี ำ� นกึ ในอดตี ชว่ ยปลกุ เร้าใหเ้ กดิ ภาพของศภุ นมิ ติ ในการ ขบั เคลอ่ื นการวางผงั เมอื งเชยี งใหม่ แตค่ วามพยายามสรา้ งลา้ นนายอ้ นยคุ ขน้ึ มาใหม่ ก็ยังต้องเผชิญหน้ากับความวิตกกังวลต่อความเส่ือมในบารมีของเมืองด้วย ทั้งนี้ ล้วนมผี ลมาจากคนในเมอื งมีความเป็นปัจเจกชนกนั มากข้ึน ท่ามกลางยคุ สมัยที่มี ความไม่แน่นอนทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง คนในสังคมเมืองเชียงใหม่จึงไม่ได้ กระตือรือร้นกับการฟื้นอดีตอย่างเต็มท่ี ดังนั้นเมื่อการก่อตัวของการฟื้นอดีต ล้านนาขึ้นมาใหม่ค่อยๆ เผชิญกับปัญหาความไม่นอนมากข้ึน ก็มีการพูดถึงผีท่ี สงิ สถติ อยใู่ นตกึ สรา้ งใหมต่ า่ งๆ เพม่ิ ขน้ึ เพอื่ นยิ ามปญั หาทเ่ี กดิ จากการพฒั นาเมอื ง ให้ทนั สมยั นน่ั เอง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook