Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ✍️ กำกึ๊ดกำปาก

✍️ กำกึ๊ดกำปาก

Description: ✍️ กำกึ๊ดกำปาก

Search

Read the Text Version

50 กำ�กึ๊ดกำ�ปาก 2.4 วาทกรรมในศลิ ปวฒั นธรรม กรอบการอธิบายและวิเคราะห์ศิลปวัฒนธรรมอีกแบบหนึ่งที่ส�ำคัญและ ก�ำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ กรอบการวิเคราะห์เชิงวาทกรรม (discursive mode of analysis) วิธีวิทยาดังกล่าวเป็นส่วนหนงึ่ ของกระแสทฤษฎีหลังสมัยใหม่ (postmodernism) ทเี่ น้นในประเดน็ ความสมั พนั ธเ์ ชงิ อำ� นาจในระดบั ทเ่ี ปน็ วาทกรรม ศิลปวัฒนธรรมได้รับการนิยามใหม่ มิได้ถูกมองจากแง่มุมเชิงสุนทรียะ หรือมอง เชิงบวกในแง่ที่เป็นกระบวนการถ่ายทอดปลูกฝังค่านิยมและบรรทัดฐานทางสังคม อีกต่อไป แต่กลับเป็นส่วนหนง่ึ ของกระบวนการสร้างและสถาปนาความเป็นจริง ทางสงั คม ศลิ ปวัฒนธรรมจงึ อยู่ในมิตขิ องการปะทะประสานของอำ� นาจ งานของ เธยี รชาย อกั ษรดษิ ฐ์ (2545, 2548) และงานของปฐม หงษส์ วุ รรณชใี้ หเ้ หน็ ศลิ ปะใน แง่ทเี่ ป็นข้อความทางการเมอื ง (political statement) เธยี รชาย (2548) ศึกษาตำ� นาน พระเจ้าเลียบโลกและปฐม (2548) ศึกษาต�ำนานของชาวไทเก่ียวกับคนลัวะ ทั้งคู่ ชี้ให้เห็นว่าต�ำนานเป็นเครื่องมือช้ันยอดในการสร้างความชอบธรรมทางการเมือง กรณเี รอื่ งพระเจา้ เลยี บโลก วฒั นธรรมพทุ ธซงึ่ เขา้ มาทหี ลงั พยายามสถาปนาอำ� นาจ เหนอื วฒั นธรรมผที มี่ อี ยกู่ อ่ น ดว้ ยการเสนอภาพวา่ วฒั นธรรมพทุ ธเจรญิ กวา่ ทงั้ ดา้ น เทคโนโลยีและจิตวิญญาณ และเสนอแบบฉบับของเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ท่ีเสดจ็ มาเยือนดินแดนน้ี และทรงได้สอนคนพื้นเมืองให้รู้จกั วิทยาการใหม่ๆ หลาย ประการ ส่วนต�ำนานของคนไทหลายเผ่านน้ั ก็สร้างภาพเก่ียวกับคนลัวะคล้ายกัน ในแง่วา่ เปน็ พวกป่าเถอื่ น กนิ เนอื้ คน ท�ำใหค้ นลวั ะซงึ่ เปน็ ชนพน้ื เมอื งเดมิ ตอ้ งกลาย สภาพมาเป็นคนชายขอบทไ่ี ร้อารยธรรม งานศึกษาประเพณี “ชุธาต”ุ ของเธยี รชาย (2545) ชีใ้ ห้เห็นความพยายาม อยา่ งแอบแฝงของผนู้ �ำทางการเมอื งลา้ นนาซงึ่ สถาปนาระบบพระธาตปุ ระจ�ำปเี กดิ ท่โี อบเอาพระธาตสุ �ำคัญในเขตล้านนา ล้านช้าง พม่า อีสาน อนิ เดยี รวมถึงพนื้ ที่ ศักด์ิสิทธิ์ในจินตนาการเช่นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อันเป็นท่ีสถิตของพระธาตุจุฬามณี เขา้ ไวร้ วมกนั เปน็ ดนิ แดนศกั ดสิ์ ทิ ธใิ์ นจนิ ตนาการ ดนิ แดนดงั กลา่ วจงใจตดั พน้ื ทแ่ี ละ

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 51 พระธาตใุ นเขตสยามประเทศออกจากระบบจักรวาลอนั ศักดิส์ ิทธิ์ นี่เท่ากับเป็นการ ท้าทายเชิงสัญลักษณ์ต่อการแผ่อิทธิพลและอ�ำนาจของสยามเหนือหัวเมืองต่างๆ ในยุคสมัยช่วงกลางของรัตนโกสินทร์ จุดเด่นของงานชิ้นนคี้ ือนำ� เอาประเพณีและ พธิ กี รรมทางศาสนาทดี่ จู ะไมเ่ กย่ี วขอ้ งใดๆ กบั การเมอื งมาอา่ นใหมจ่ ากมมุ มองของ การเมืองเชิงพ้นื ที่ (geopolitics) นอกจากความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจระหว่างต่างเผ่าพันธุ์หรือต่างรัฐแล้ว ยัง มีการศึกษาความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจระหว่างเพศด้วย โขมสี (2548) ศึกษาความ รุนแรงในปัญญาสชาดกฉบับล้านนาโดยช้ีให้เห็นความอยุติธรรมที่สามีกระท�ำต่อ ภรรยา และความมุ่งมั่นของตัวเอกหญิง ท่ีไม่ยอมจ�ำนนต่อชะตากรรม พยายาม ร�่ำเรียนอาคมซ่ึงเป็นพื้นที่วัฒนธรรมของชาย จนสามารถท�ำสงครามชนะสามีเก่า ได้ โขมสีอ่านชาดกเรื่องนคี้ วบคู่กับการวิเคราะห์มังรายศาสตร์ และพระไตรปิฎก ตลอดจนมนูธรรมศาสตร์ของฮินดูโบราณ จนได้ข้อสรุปถึงความลักล่ันเกี่ยวกับ ผู้หญิงในคัมภีร์เหล่าน้ี ด้านหนงึ่ แม้จะมีข้อความปกป้องคุ้มครองสิทธิบางอย่าง ของผู้หญงิ แต่เมื่อดลู ะเอยี ดลงไปก็พบว่ามีการให้ความคุ้มครองเพศทงั้ สองไม่เท่า เทยี มกนั หากมีการท�ำผิดเหมือนกัน ผู้หญิงจะต้องโทษหนกั กว่าผู้ชายเช่นเรอื่ งการ คบชู้หรือการฆ่าคู่ครองตน งานวิจัยท่ีได้อิทธิพลทฤษฎีหลังสมัยใหม่นนั้ มักสนใจเสียงของผู้ถูกศึกษา โดยเฉพาะกลมุ่ ทเี่ ปน็ คนชายขอบ วทิ ยานพิ นธข์ องปราโมทย์ (2547) ทศ่ี กึ ษาเรอื่ งผา้ ทอ แม่แจ่มก็เป็นอีกตัวอย่างหนง่ึ ของการใส่ใจกับเสียงที่ถูกกลบหาย ผู้วิจัยพยายาม ช้ีให้เห็นว่าวาทกรรมของผ้าทอมีหลายชุด ซึ่งอาจซ้อนเหล่ือมและขัดแย้งกันก็ได้ ความขดั แยง้ นที้ วเี ขม้ ขน้ ขนึ้ ภายในบรบิ ททแ่ี มแ่ จม่ ถกู ทำ� ใหก้ ลายเปน็ ศนู ยก์ ลางการ ทอ่ งเทย่ี ว นกั วชิ าการและนกั พฒั นาเอกชนจำ� นวนหนงึ่ พยายามตา้ นกระแสโลกานวุ ตั ิ ดว้ ยการสถาปนาวาทกรรมใหซ้ น่ิ ตนี จกแมแ่ จม่ กลายเปน็ สญั ลกั ษณข์ อง “ความเปน็ ลา้ นนาดง้ั เดมิ ” ทผี่ กู ไวก้ บั ความเชอื่ ในพทุ ธศาสนาและภาพอดตี ทง่ี ดงามกลมเกลยี ว แม้วาทกรรมท้องถ่ินนิยมดังกล่าวต้องการต้านกระแสโลกานุวัติ แต่ผลกลับกลาย เป็นการกระพือความนิยมการท่องเที่ยวแม่แจ่มให้เข้มข้นข้ึน และชาวบ้านกลุ่ม

52 ก�ำ ก๊ึดกำ�ปาก ต่างๆ ในแม่แจ่มมีโอกาสเข้าถึง ได้รับทรัพยากรและผลประโยชน์ที่มาจากกลุ่ม ข้างนอกได้ไม่เท่าเทียมกัน ในเวทีเสวนาระดับท้องถิ่นท่ีจัดขึ้นในโอกาสต่างๆ กันนน้ั ความหมายท่ี ลักลั่นของผ้าทอปะทะสังสรรค์กันอย่างมีชวี ิตชีวา แม่เฒ่าช่างทอบางคนยืนยันค�ำ บอกเล่าท่ีขัดกับค�ำอธิบายที่นกั วิชาการและนกั พัฒนาสถาปนาไว้ เช่นแม่เฒ่าไม่ เหน็ ดว้ ยกบั เรอื่ งทว่ี า่ ผหู้ ญงิ สมยั กอ่ นตอ้ งมตี นี จกคนละผนื กนั ทกุ คน ซง่ึ ขอ้ สรปุ แบบนี้ กลบเกลอื่ นความเหลอ่ื มล้�ำทางชนชัน้ และเรอ่ื งทว่ี ่าผู้หญิงพากเพียรทอตนี จกเพ่อื ให้ได้บุญไปสวรรค์ ค�ำยืนยันของแม่เฒ่าชี้ให้เห็นว่าการทอตีนจกไม่เก่ียวกับความ เช่ือการไปสวรรค์แต่อย่างใด (ปราโมทย์, 2547: 228-34) ขณะเดียวกันนกั พัฒนา ผมู้ สี ว่ นสถาปนาวาทกรรมผา้ ทออธบิ ายบนเวทเี ดยี วกนั วา่ การวเิ คราะหส์ ญั ลกั ษณ์ ทางศาสนาในผ้าทอโดยคนนอกนนั้ อาจแตกต่างกับมมุ ของคนใน นกั พฒั นาปะติด ปะต่อเชื่อมโยงแรงบันดาลใจทางศาสนาจากพฤติกรรมอ่ืนๆ ของชาวบ้าน ไม่ว่า จะเป็นความนิยมในการฟังเทศน์มหาชาติ ความนิยมในการบูชาพระธาตุ รวม ทั้งการตีความสัญลักษณ์บางอย่างบนลายผ้า นกั พัฒนาจึงสรุปว่า “การอธิบาย ความหมายตนี จก....ดเู ปน็ เรอื่ งของปรชั ญาสงู สดุ ทคี่ นแมแ่ จม่ สามารถจรรโลงรกั ษา สญั ลกั ษณอ์ นั นอ้ี ยไู่ ด้ ทงั้ ๆทเ่ี มอ่ื คยุ กบั แมอ่ ยุ๊ เขาอาจถอดรหสั ตรงนไ้ี มไ่ ด.้ ..นเ่ี ปน็ วธิ ี การ approach ...ท่ที ำ� ให้ตนี จกมันมีคณุ ค่า” (ปราโมทย์,2547: 231) แม้ปราโมทย์จะมิได้ขยายความเรื่องความลักล่ันดังกล่าว เพราะมุ่งเพียง เสนอเสียงของผู้อยู่ชายขอบ แต่ประเด็นนี้มีความส�ำคัญมากในเชิงวิธีวิทยาการ ศึกษาวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของวงการมานุษยวิทยาตั้งแต่แรกเร่ิมจนปัจจุบัน เหว่ียงขั้วไปมาในเร่ืองของ “มุมมอง” นกั มานุษยวิทยาควรมอง “คนอื่น” จาก มุมของตนเองหรือมุมของเจ้าของวัฒนธรรมกันแน่ แนวทางแรกเห็นว่าผู้ศึกษามี เคร่ืองมือในการเจาะทะลุปรากฏการณ์ลงไปถึงความจริงท่ีอยู่ระดับลึกกว่าซึ่งอาจ ไม่เป็นที่ตระหนกั ของเจ้าของวฒั นธรรมนน้ั ๆ (เช่นทฤษฎีโครงสร้างนยิ ม, โครงสร้าง หน้าที่นิยม, จิตวิเคราะห์) ส่วนแนวทางหลังให้ความส�ำคัญกับความจริงในระดับ ประสบการณ์ของผู้ถูกศึกษา (ทฤษฎีปรากฏการณ์นิยมและการตีความ) การให้

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 53 นำ�้ หนกั แกเ่ สยี งของผถู้ กู ศกึ ษาตามแนวทางหลงั นตี้ อ้ งประสบปญั หาทางญานวทิ ยา ตรงทว่ี า่ นกั มานษุ ยวทิ ยาไมม่ ที างรสู้ กึ หรอื คดิ ในแบบเดยี วกนั กบั ทชี่ าวบา้ นรสู้ กึ หรอื คิดจริงๆ เพราะมนุษย์ทุกคนล้วนไม่อาจเป็นอิสระจากกรอบกรงขังทางวัฒนธรรม ของตนเองได้ เท่าที่เราพยายามท�ำได้มากทส่ี ดุ กค็ ือการจินตนาการ และพยายาม คดิ เปรยี บเทยี บประสบการณข์ า้ มวฒั นธรรมไปมาระหวา่ งมมุ ของเราและมมุ ของเขา ซง่ึ เทา่ กบั เปน็ กระจกทส่ี อ่ งใหน้ กั มานษุ ยวทิ ยาเหน็ ตนเองชดั ขนึ้ กวา่ เกา่ ดว้ ย ส�ำหรบั แนวทางของกลมุ่ หลงั สมยั ใหม่ ไดฐ้ านวธิ วี ทิ ยามาจากแนวคดิ การตคี วาม แตไ่ ปไกล กวา่ นน้ั อกี ขน้ั หนงึ่ คอื วพิ ากษค์ วามสมั พนั ธเ์ ชงิ อำ� นาจระหวา่ ง “เสยี ง” หลายๆ เสยี ง ในสนาม รวมท้งั เสยี งระหว่างชาวบ้านและนกั วจิ ัยอกี ด้วย ประเด็นอยู่ที่ว่า เสียงที่ แตกตา่ งกนั นม้ี โี อกาสเปลง่ ออกมาไดเ้ ทา่ กนั ไหม มโี อกาสสนทนาซง่ึ กนั และกนั มาก น้อยอย่างไร หรอื เม่ือเปล่งออกมาแล้ว มคี นฟังและเชอ่ื เท่ากันไหม การแทรกแซง ของนกั วิจยั เองมสี ่วนในความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างไร งานปราโมทยช์ ใ้ี หเ้ หน็ ความสมั พนั ธเ์ ชงิ อำ� นาจ ทไี่ มเ่ ทา่ กนั ระหวา่ งนกั พฒั นา กบั ชาวบา้ นอย่างชดั เจน ในเวทเี สวนาในหม่บู ้าน แม้ผ้เู ขา้ รว่ มทกุ คนสามารถแสดง ความเหน็ ไดอ้ ยา่ งเสรี แตเ่ มอื่ เกดิ ความขดั แยง้ ระหวา่ งการตคี วามของนกั พฒั นากบั แมเ่ ฒา่ ชา่ งทอ กจ็ ะมผี เู้ ขา้ รว่ มบางสว่ นออกมากลบเกลอ่ื นกระแสความขดั แยง้ ดว้ ย การพดู สนบั สนนุ ความเหน็ ของนกั พฒั นาวา่ น่าจะเป็นความเหน็ ทถ่ี กู ต้องในฐานะที่ “เป็นคนทศี่ ึกษาเรื่องราวของแม่แจ่มมาก่อนเมิน คือฮู้นกั (รู้มาก) เฮาควรจะยอมรับ และพร้อมท่ีจะศึกษาจากเปิ้น” (ปราโมทย์: 230) ดังนน้ั บางทีอ�ำนาจที่เหนือกว่า อาจไม่ได้มาจากเจตนาของตัวนกั พัฒนาเอง แต่มาจากการยอมรับจากชาวบ้าน คนอน่ื ๆทม่ี สี ่วนชว่ ยกนั สถาปนาสถานภาพ “ความรู้” ของนกั พฒั นาใหส้ ูงกว่าและ ดูเป็นจริงกว่าความรู้ของชาวบ้าน อยา่ งไรกต็ าม งานของปราโมทยก์ ย็ งั มไิ ดก้ ลา่ วถงึ บทบาทของตวั นกั วจิ ยั เอง ว่ามีส่วนในการสถาปนาวาทกรรมอย่างไร ในประเดน็ นี้ บทความต่างๆ ในหนงั สอื คนใน: ประสบการณ์ภาคสนามของนกั มานุษยวิทยาไทย (2545) ได้เน้นถึงความ ครุ่นคิดตรึกตรองของนกั มานุษยวิทยาเกี่ยวกับประสบการณ์สนามของตนเอง ใน

54 ก�ำ ก๊ึดกำ�ปาก หลายกรณชี ี้ให้เห็นการปะทะประสานระหว่างคนในกับคนนอก วิธีที่ชาวบ้านอ่าน และประเมนิ นกั มานษุ ยวทิ ยามสี ว่ นตอ่ ขอ้ มลู ทนี่ กั มานษุ ยวทิ ยาไดร้ บั และ บางครงั้ กรอบคดิ ทแ่ี ตกตา่ งกนั ของของนกั มานษุ ยวทิ ยาและชาวบา้ นท�ำใหน้ กั มานษุ ยวทิ ยา ตคี วามขอ้ มลู ของชาวบา้ นพลาดไปเปน็ ตน้ การทบทวนตำ� แหนง่ แหง่ ทข่ี องตนในงาน สนามจึงสำ� คญั มากในเชงิ วิธีวิทยา 2.5 ศลิ ปวัฒนธรรมกบั การวจิ ยั แบบมสี ่วนร่วม ยังมีแนวทางการวิจัยอีกกลุ่มหนงึ่ ที่เน้นวิธีวิทยาที่นกั วิจัยเข้าไปมีส่วนร่วม ตลอดกระบวนการวิจัย งานในกลุ่มนี้รวมศูนย์อยู่ที่งานวิจัยภายใต้การสนับสนนุ ของส�ำนกั กองทุนสนับสนนุ การวิจัย (สกว.) การก่อต้ังสำ� นกั งานในเขตภาคเหนือ ขึ้นโดยมีส�ำนกั งานที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นน้ั ได้เอ้ือต่อการ พัฒนาโครงการวิจัยในลักษณะดังกล่าวมาก การวิจัยแนวนี้ แม้ว่าจะมีการเริ่มใน ประเทศไทยกอ่ นหนา้ นี้ ภายใตก้ ารเตบิ โตและการสนบั สนนุ ขององคก์ รพฒั นาเอกชน ต่างๆและนกั วิชาการที่สนใจยุทธศาสตร์การวิจัยแนวดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การ สนบั สนนุ ปรชั ญาและยทุ ธศาสตรแ์ นวนขี้ องสกว. นบั วา่ ไดเ้ ปดิ ฉากการขยายตวั และ ปรับปรุงวิธีการท�ำวิจัยในแนวน้ีอย่างเป็นระบบเพ่ือให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมี ประสิทธภิ าพมากขึ้น งานวิจัยแนวนี้ ในเชิงทฤษฎีมีลักษณะการปฏิเสธค่านิยมบางประการของ แนวคดิ ปฏฐิ านนยิ ม (positivism) ประเดน็ สำ� คญั ทถ่ี กู ปฏเิ สธกค็ อื การแยกขว้ั ระหวา่ ง นกั วิจัยและผู้ถูกวิจัย โดยปฏฐิ านนิยมจะช่ืนชมการมีระยะห่าง และยึดถือความ เป็นกลางของผู้วิจัยว่าเป็นส่ิงการันตี “ความเป็นวิทยาศาสตร”์ ของงานวิจัยนน้ั ๆ ทว่าปฏฐิ านนิยมเองก็ถูกโจมตีมากตรงจุดน้ี ความเป็นกลางคืออะไรกันแน่ มีจริง หรอื หรอื วา่ เปน็ เพยี งมายาคตทิ ป่ี ดิ บงั “แวน่ ” ของนกั วจิ ยั ทำ� ใหด้ รู าวกบั วา่ นกั วจิ ยั สามารถเข้าถงึ ข้อมลู “ความเป็นจรงิ ” ของโลกข้างนอกได้อย่างตรงไปตรงมาด้วย เคร่ืองมือทางวิทยาศาสตร์ และยังปิดบังความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจระหว่างนกั วิจัย

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 55 กับผู้ถกู วิจัย เพราะท�ำให้แลดรู าวกับว่าฝ่ายแรกคือผู้ค้นพบ “ความจริง” เกีย่ วกับ ฝา่ ยหลงั โดยทฝี่ า่ ยเจา้ ของวฒั นธรรมเองอาจไมส่ ามารถเขา้ ถงึ ความจรงิ ของตนเอง ได้ลึกซง้ึ เท่ากบั “คนนอก” เช่นนกั วจิ ัย ปรชั ญาและยทุ ธศาสตรข์ องการวจิ ยั แบบมสี ว่ นรว่ มมสี มมตฐิ านตรงกนั ขา้ ม กบั ทก่ี ลา่ วมา โดยเหน็ “เสยี ง” ของผถู้ กู ศกึ ษาเปน็ สำ� คญั โจทยว์ จิ ยั และกระบวนการ วจิ ยั ควรถกู ก�ำหนดนยิ ามและด�ำเนนิ การโดยเจา้ ของวฒั นธรรมนนั้ ๆ เอง คนนอกท�ำ หน้าที่เป็นเพียงพ่ีเล้ียงและผู้ประสานงาน จากชุดงานวิจัยของสกว. เกี่ยวกับศิลป วัฒนธรรมภาคเหนือ (กรรณกิ าร์ 2545, เกศสดุ า 2548,ก�ำธร 2546, ปฏิภาณ 2548, ลำ� แพน 2546) จดุ ทถี่ กู เนน้ ในวธิ กี ารวจิ ยั อยา่ งมสี ว่ นรว่ มกค็ อื ประการแรก การเรยี น รแู้ ละแลกเปลย่ี นประสบการณ์ ประการทสี่ อง การสรา้ งเครอื ขา่ ย (network) ใหเ้ ปน็ สว่ นหนงึ่ ของระเบยี บวธิ วี จิ ยั จดุ นมี้ าจากปรชั ญาการพฒั นาของแนวคดิ วฒั นธรรม ชมุ ชนทส่ี กว. สนบั สนนุ ตามแนวคดิ ดงั กลา่ ว เครอื ขา่ ยคอื พน้ื ฐานของความเขม้ แขง็ ของชมุ ชน ในดา้ นเศรษฐกจิ และการท�ำมาหากนิ ชาวบา้ นสรา้ งเครอื ขา่ ยการพง่ึ พา อาศัยบนฐานความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติ ในด้านวัฒนธรรมและอุดมการณ์ เครือข่ายร่วมทางวัฒนธรรมสร้างจิตส�ำนกึ และความผูกพันร่วม ความส�ำคัญของ เครือข่ายดังกล่าวเป็นที่ตระหนกั ดีในหมู่ผู้สนใจแนวคิดน้ี อย่างไรก็ตาม ชุดงาน วิจยั ของสกว. ได้พฒั นาเครือข่ายขึ้นในอกี มติ ิหนง่ึ นนั่ กค็ ือ เครือข่ายในฐานะเป็น ยุทธศาสตร์ของระเบียบวิธีวิจัย ท่ีท�ำให้เราสามารถมองเครือข่ายไปพ้นจากกรอบ คดิ แบบโครงสร้างหน้าทซ่ี ่ึงเน้นเครอื ข่ายในระบบความสมั พนั ธ์เชงิ หน้าท่ี เครอื ข่าย ในฐานะที่เป็นส่วนหนงึ่ ของวิธีการวิจัยต้ังอยู่บนพ้ืนฐานความเชื่อเรื่องกระบวนการ เรยี นรทู้ เี่ กดิ จากปฏสิ มั พนั ธ์ ในแงน่ เี้ ครอื ขา่ ยจงึ หมายถงึ เครอื ขา่ ยของการเรยี นรู้ และ แลกเปลย่ี นประสบการณ์ ทีมนกั วจิ ยั ซ่ึงจะมีทงั้ นกั วชิ าการจากภายนอก เจ้าหน้าที่ ของสกว. และปราชญ์ชาวบ้านจะมีการประชุมพบปะ พูดคุยกันครั้งแล้วคร้ังเล่า เพ่ือก�ำหนดปัญหาของการวิจัย ที่ส�ำคัญคือการประชุมในหมู่ชาวบ้านด้วยกันเอง เครือข่ายชาวบ้านทั้งในระดับอ�ำเภอ ต�ำบล และหมู่บ้านจึงเป็นเวทีที่โจทย์วิจัยถูก ท�ำให้ชัดเจน กระบวนการวิจัยถูกก�ำหนดเป็นข้ันตอน แต่หัวใจส�ำคัญท่ีสุดก็คือ

56 ก�ำ กดึ๊ กำ�ปาก เครอื ขา่ ยเปน็ ชอ่ งทางทคี่ วามรแู้ ละประสบการณถ์ กู ถา่ ยทอด ขบคดิ ถกเถยี ง ตอ่ รอง ชงั่ นำ้� หนกั องคป์ ระกอบของความรแู้ ละวฒั นธรรมหลายๆ อยา่ งถกู ประเมนิ ตคี วาม ใส่คุณค่า และบางอย่างถูกโละท้ิงไป เม่ืออ่านรายงานการวิจัยท่ีบอกกล่าวถึง รายละเอยี ดของการประชมุ จะมองเห็นภาพทมี่ ีชวี ติ ชวี ายงิ่ งานที่ให้สีสันในเรื่องนี้ได้มากคืองานของปฏิภาณ อายิและคณะ (2548) ทศ่ี ึกษาเรอ่ื งพธิ ีกรรมของชาวอ่าข่า และงานของเกศสดุ าและคณะ (2548) ทีศ่ ึกษา พิธีกรรมของคนนาหมื่นที่จังหวัดน่าน เป้าหมายของงานวิจัยทั้งสองช้ินคือการ กระตนุ้ ใหช้ มุ ชนไดท้ บทวนทงั้ เรอื่ งรปู แบบ เนอื้ หา และจดุ ประสงคข์ องพธิ กี รรมตา่ งๆ และหาทางปรับเปลี่ยนลักษณะบางอย่างของพิธีกรรมท่ีไม่เอื้อต่อสภาพสังคมใน ปัจจุบันเพื่อให้พิธีกรรมเหล่าน้ันสามารถคงความหมายส�ำหรับชุมชนต่อไปได้ คงมิใช่ความบังเอิญท่ีงานศึกษาเกี่ยวกับพิธีกรรมจะก่อให้เกิดการถกเถียงและ ต่อรองทีย่ าวนานและเข้มข้น เพราะพธิ กี รรมเก่ียวพนั ถึงอารมณ์ความรู้สึกท่ีรุนแรง อธบิ ายยาก ไม่ต้องการเหตุผล และสร้างความติดยึดกบั จารตี ทีเ่ หนียวแน่นยง่ิ การเลือกไป “แตะ” เรื่องทีล่ ะเอยี ดอ่อนเช่นน้ีย่อมทำ� ให้กระบวนการการมี ส่วนร่วมกลายเป็นกระบวนการต่อรองที่เคล่ือนไหวได้ การปรับเปล่ียนทัศนคติต่อ จารตี ทมี่ กี ารสบื เนอ่ื งมายาวนานนน้ั ท�ำไม่ไดง้ า่ ยๆ ทมี วจิ ยั ตอ้ งท�ำงานอย่างหนกั ใน การประสานความเขา้ ใจ ต้องเปิดเวทสี นทนานบั ครงั้ ไม่ถว้ น ต้องคดิ หายทุ ธศาสตร์ ในการจัดความสัมพันธ์เพื่อให้ผู้มีความเห็นที่แตกต่างไม่รู้สึกอึดอัดและสามารถ แสดงความเห็นออกมาได้ ที่ส�ำคัญสมาชิกที่เข้าร่วมในเครือข่ายล้วนถูกกระตุ้นให้ ต้องไตร่ตรองใคร่ครวญ (self-reflfel xive) อย่างต่อเน่อื งและลกึ ซึง้ ถึง “ความหมาย” ของประเพณี และเม่ือเร่ืองทต่ี ้องคดิ ทบทวนเป็นเรอ่ื งของอตั ลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่สุดแล้ว การยอมเปล่ียนแปลงจารีตอันเป็นผลสุดท้ายจึงเท่ากับเป็นการปรับ อัตลักษณ์ท้ังในระดับชุมชนและระดับปัจเจกด้วย วิธีการวิจัยแนวนี้ ผลการวิจัย ท่ีได้ในตอนสุดท้ายจึงไม่ส�ำคัญเท่ากับตัวกระบวนการสนทนาท้ังระหว่างชาวบ้าน ด้วยกันเอง และที่เกิดภายในจิตใจชาวบ้านคนหนง่ึ ๆ ตลอดจนกระบวนการปรับ อตั ลกั ษณ์ทเ่ี กดิ ตามมา

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 57 ประการต่อมา ซ่ึงนับเป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของการพัฒนาวิธีวิจัยใน แนวเครือข่ายนี้ นนั่ ก็คือ การสร้างระบบและทีมงานในการบริหารการวิจัย ความ จ�ำเป็นของการพัฒนาระบบดังกล่าวเกิดมาจากข้อเท็จจริงท่ีว่า การกระตุ้นการ เรียนรู้ในลักษณะเครือข่ายและลักษณะที่ให้ชาวบ้านเข้าร่วมก�ำหนดทิศทางนนั้ มี จำ� นวนผเู้ ขา้ รว่ มทห่ี ลากหลาย มาจากหลายฝา่ ย ในบางกรณศี กึ ษากห็ ลายหมบู่ า้ น ทำ� ให้ประเด็นการประสานงาน ประสานความเข้าใจ และประสานความขดั แย้งใน หลายระดบั เป็นสิ่งที่เหนด็ เหนอ่ื ย ต้องอาศัยเวลาและจำ� เป็นต้องมีทมี งานประสาน นอกจากนี้ สกว.ยังมีวิสยั ทัศน์ทเ่ี ล็งเหน็ ความจำ� เป็นที่ต้องสร้างแผนการวิจัยระดบั มหภาคท่ีเน้นการประสานงานของเครือข่ายในภาคต่างๆ และมองไกลถึงในระดับ ภูมิภาคด้วย ส�ำหรับระดับรากหญ้าในพื้นท่ีนนั้ มีนโยบายจัดตั้งทีมเจ้าหน้าที่ผู้ ประสานงานในพ้ืนท่ีหรือ “พี่เลี้ยง” (research counselors) ซึ่งมีหน้าที่แปรความ ตอ้ งการของชาวบา้ นใหก้ ลายเปน็ โจทยว์ จิ ยั จดั ประสานงานเพอื่ กำ� หนดกระบวนการ วจิ ยั ประสานทศั นคติ เออื้ ใหก้ ารตอ่ รองเปน็ ไปได้ ชว่ ยเกบ็ รวบรวมและบนั ทกึ ขอ้ มลู ช่วยคิดวิเคราะห์ เขียนรายงาน ตลอดจนจัดการด้านงบประมาณ การเงิน การ บญั ชี การจดั ทำ� สญั ญา และเมอ่ื ผลงานวจิ ยั เสรจ็ ออกมาแลว้ กช็ ว่ ยจดั การใหม้ กี าร เสนองานกลับสู่ชุมชน กล่าวโดยรวมคือบริหารจดั การให้โครงการดำ� เนนิ ไปอย่างมี ประสิทธภิ าพ ในแงโ่ ครงสรา้ งมหภาค สกว.จดั ตง้ั ศนู ยป์ ระสานการวจิ ยั เพอ่ื ทอ้ งถนิ่ (node) เพ่ือหนนุ เสริมเครือข่ายของระบบวิจัยขึ้นในจังหวัดต่างๆ ท่ัวทุกภาคในประเทศ ในชว่ งการเกบ็ ขอ้ มลู ในปี 2550 มพี เี่ ลย้ี งงานวจิ ยั เพอื่ ทอ้ งถนิ่ ทง้ั หมดจำ� นวน 45 คน ประจำ� อยู่ใน 32 ศนู ย์ประสานงาน ครอบคลมุ พ้นื ท่ี 49 จงั หวดั โดยในภาคเหนอื มีจ�ำนวนศูนย์และพ่ีเล้ียงมากที่สุด คือ 12 ศูนย์ และพี่เล้ียง 13 คน (สกว. การ ประชมุ ประจำ� ปงี านวจิ ยั เพอ่ื ทอ้ งถน่ิ , 2548: 33) เนอ่ื งจากการเชอื่ มโยงเครอื ขา่ ยเปน็ หวั ใจของยทุ ธศาสตร์การวจิ ยั สกว.จงึ เน้นมติ กิ ารเชอื่ มโยงความร้ทู ง้ั ในแนวดง่ิ และ แนวราบ ในแนวราบคือการประสานเครือข่ายกับองค์กรภายนอกเช่นสสส. หรือ องค์กรพัฒนาเอกชนและหน่วยงานอื่นของรัฐ นอกจากนน้ั ยงั นยิ มสร้างเครอื ข่าย

58 ก�ำ กด๊ึ กำ�ปาก ความรู้ในระดับประเทศด้วยการสร้าง ชุดโครงการวจิ ัยซ่ึงจะแบ่งตามหวั เรอื่ งต่างๆ เช่นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เศรษฐกิจ ชมุ ชน เกษตรกรรมยั่งยนื หรอื สุขภาพ หมอเมืองและสมนุ ไพร เป็นต้น ชดุ ประเดน็ เหล่านก้ี ่อให้เกิดโครงการวิจัยย่อยๆ อีกมากมายภายใต้หัวข้อเดียวกันในทุกภาค ของประเทศ ผลการวิจัยที่ออกมาช่วยเอื้อต่อการศึกษาเปรียบเทียบเรื่องเดียวกัน ในภมู ิภาคต่างกนั ส�ำหรบั การเช่ือมโยงองค์ความรู้ในแนวดิง่ นน้ั มกี ารส่งเสรมิ งาน วจิ ยั ประเภทประเมนิ สถานภาพองคค์ วามรใู้ นสาขาตา่ งๆ ซง่ึ ทำ� ใหเ้ กดิ การเชอื่ มโยง ระหว่างองค์ความรู้ของชาวบ้านกับองค์ความรู้ของนกั วิชาการ ระหว่างความรู้ที่ ประมวลจากระดับรากหญ้าและความรู้ระดับนามธรรมที่เกิดจากการสังเคราะห์ ภาพรวม อาจกลา่ วไดว้ า่ จดุ เดน่ ของสกว.คอื การสรา้ งและพฒั นายทุ ธศาสตรก์ ารวจิ ยั อย่างเป็นระบบท่ีมีเครือข่ายเช่ือมโยงต้ังแต่ระดับรากหญ้าขึ้นไปถึงระดับมหภาค เน้นการเช่ือมโยงท้ังในแนวดิ่งและแนวราบ ด้วยเหตุนจี้ ึงท�ำให้งานวิจัยท้องถ่ินมี ศกั ยภาพและแรงขับเคล่ือนสงู อย่างไรก็ตาม ในแง่ของยุทธศาสตร์การวิจัยอย่างมีส่วนร่วมน้ี เมื่อศึกษา เปรียบเทียบงานวิจัยในพื้นที่ต่างๆ แล้ว พบว่ายังมีจุดที่ควรปรับปรุงแก้ไขได้อีก มโนทัศน์ “การมีส่วนร่วม” นน้ั เบอื้ งหลงั มกั แฝงสมมติฐานว่าชาวบ้านเป็นฝ่ายถูก กระท�ำจากทุนและรัฐ สังคมหมู่บ้านต้องอ่อนแอลงเพราะการพัฒนากระแสหลัก การมสี ว่ นรว่ มจงึ มจี ดุ ประสงคท์ จ่ี ะฟน้ื ฟคู วามเขม้ แขง็ (empower) และความสามคั คี กันให้แก่ผู้ถูกกระท�ำ ผลที่ตามมาก็คือ การวิจัยแนวนจ้ี ึงอาจละเลยความขัดแย้ง ภายในระหวา่ งชาวบา้ นเอง หรอื ถงึ แมจ้ ะเหน็ อยวู่ า่ มี แตก่ ม็ งุ่ จะกอ่ ใหเ้ กดิ บรู ณาการ มากกว่า กล่าวอีกนัยหนงึ่ เบ้ืองหลังวิธีคิดนี้ คือการมีมโนทัศน์คู่ตรงข้ามระหว่าง ชาวบ้านกับรฐั และทนุ ระหว่างชนบทกบั เมอื ง ระหว่างศูนย์กลางและชายขอบ สงิ่ นที้ ำ� ใหเ้ ปา้ หมายการวจิ ยั มงุ่ เนน้ ทก่ี ารฟน้ื ฟแู ละความกลมเกลยี วมากกวา่ จะใส่ใจตงั้ คำ� ถามว่าการมีส่วนร่วมนนั้ ทุกฝ่ายในชมุ ชนสามารถเข้าถึงเวทนี ไี้ ด้เท่า กันหรือไม่ จากโครงการวิจัยต่างๆ พบว่า ระดับของการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 59 กลมุ่ ตา่ งๆ นนั้ มไี มเ่ ทา่ กนั สงิ่ นส้ี ว่ นหนงึ่ เกดิ จากตวั หวั ขอ้ หรอื โจทยก์ ารวจิ ยั เอง บาง คร้ังหัวข้อจะก�ำหนดบทบาทและตัวผู้เข้าร่วม เช่น หากหัวข้อเป็นเรื่องการทอผ้า กแ็ นน่ อนวา่ เปน็ พน้ื ทขี่ องผหู้ ญงิ แตห่ ากเปน็ เรอ่ื งอนื่ ๆ เชน่ พธิ กี รรม หรอื ศลิ ปะแขนง อน่ื ๆ หรอื การส�ำรวจแหล่งโบราณสถาน ก็จะพบว่าเป็นเรอ่ื งของผู้ชาย นอกจากน้ี “ผู้ชาย” ทวี่ ่านน้ั กม็ กั จะเป็นผู้นำ� ชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน หรอื ผู้อาวุโสเสยี มากกว่า ผู้ชายกลุ่มอ่ืนๆ ส่วนเด็กๆ มักมีบทบาทในฐานะผู้เป็นเป้าหมายที่จะต้องถูกทำ� ให้ เรยี นรู้มากกว่าทจ่ี ะมามีส่วนร่วมเป็นฝ่ายก�ำหนดกระบวนการเรยี นรู้ งานวิจัยช้ินต่างๆ นนั้ จะพบว่ามีระดับของการต่อรองต่างกัน บางช้ินนน้ั ดูราวกับว่าองค์ความรู้มีลักษณะทางเดียวจากบนลงล่าง เช่นในงานวิจัยของ กรรณกิ าร์และคณะ (2546) ในหัวข้อ “กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนกับการ ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถ่ินด้านดนตรีพ้ืนบ้านเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและ ลักษณะนิสัยของเยาวชน” เห็นได้ชัดเจนว่าโจทย์ถูกก�ำหนดมาก่อนแล้ว เด็กๆ ตกเปน็ ผรู้ บั สารทถ่ี กู คดั กรองแลว้ โดยผใู้ หญ่ ถกู ก�ำหนดมากอ่ นแลว้ วา่ จะตอ้ งเรยี นรู้ อะไรบา้ ง และเรยี นรอู้ ยา่ งไร กระบวนการมสี ว่ นรว่ มในกรณนี จ้ี งึ เปน็ กระบวนการใช้ ดนตรเี ปน็ เครอื่ งมอื ขดั เกลาทางสงั คม (socialization) อยา่ งตรงไปตรงมาเสยี มากกวา่ ประเด็นก็คอื การขดั เกลาความเป็นมนุษย์ผ่านศลิ ปะเกิดขึ้นจากแรงบนั ดาลใจเชิง สุนทรียะ เกิดจากความงามอันน�ำสู่ความสะเทือนอารมณ์ท่ีปราณตี และจะเกิด ขน้ึ เมอื่ มนษุ ย์เข้าใจและเข้าถงึ ความลกึ ซ้ึงของศลิ ปะแขนงนนั้ ๆ อย่างไรกต็ าม หาก ดนตรีถูกใช้เป็นเครื่องมือการสอนคุณธรรมโดยตรง และหากนค่ี ือหน้าท่ีประการ ส�ำคัญท่ีสุดของศิลปะแล้วละก็ ค�ำนิยามว่าศิลปะคืออะไรจะมีปัญหาทันที เพราะ ในทสี่ ดุ กอ็ าจเกดิ การตง้ั ค�ำถามได้ว่า การปลูกฝังคนให้เป็นคนดนี นั้ อาจไม่ต้องท�ำ ผ่านศลิ ปะกไ็ ด้ หรือต่อให้คนคนนนั้ เป็นคนดไี ด้เพราะศิลปะ ก็ไม่เกี่ยวกับว่าจะต้อง เป็นคนดีของสังคมเสมอไป การมีสมมติฐานแฝงที่ผูกโยงศิลปะเข้ากับหน้าที่เชิง อดุ มการณอ์ ยา่ งตรงไปตรงมาอาจสามารถถกู วพิ ากษไ์ ดว้ า่ มนั จะนำ� ไปสกู่ ารลดิ รอน “อสิ รภาพเชงิ สนุ ทรยี ะ”ของตวั ศลิ ปะและปดิ กนั้ พลงั สรา้ งสรรคข์ องศลิ ปะเองหรอื ไม่ นอกจากนน้ั กระบวนการกลุ่มในกรณนี กี้ ด็ ูจะเป็นกระบวนการทางเดียว จากบนลง

60 กำ�กดึ๊ ก�ำ ปาก ล่าง ทมี่ กี ารเตรียมเพลงเตรียมศลิ ปินเตรยี มกจิ กรรมมาไว้แล้ว และเด็กๆ กเ็ ป็นได้ แต่เพียงผู้รบั สารเท่านนั้ แตใ่ นงานวจิ ยั บางชนิ้ กจ็ ะเหน็ กระบวนการตอ่ รองเกดิ ขนึ้ ภายในกระบวนการ มสี ว่ นรว่ มดว้ ย ซง่ึ ขน้ึ อยกู่ บั โจทยเ์ ปน็ สำ� คญั วา่ เกย่ี วขอ้ งกบั เรอ่ื งละเอยี ดออ่ นหรอื ไม่ เชน่ งานของเกศสดุ าและคณะ (2548) และปฏภิ าณและคณะ (2548) ดงั ไดก้ ลา่ วแลว้ วา่ งานวจิ ยั ทงั้ สองชน้ิ นเ้ี กยี่ วขอ้ งกบั พธิ กี รรม งานของเกศสดุ าศกึ ษาการปรบั เปลยี่ น พธิ ที ำ� ศพ พบความแตกตา่ งทางความคดิ สงู อยา่ งไรกต็ ามกจ็ ะเปน็ ความแตกตา่ งใน หมผู่ อู้ าวโุ สซงึ่ เปน็ ผชู้ าย เชน่ พระและพอ่ หนานหรอื ปจู่ ารยซ์ ง่ึ เปน็ ผปู้ ระกอบพธิ กี รรม ในทส่ี ดุ ทมี วจิ ยั และชาวบา้ นกส็ ามารถหาขอ้ สรปุ รว่ มกนั ในการปรบั เปลยี่ นลกั ษณะ บางอยา่ งของพธิ กี รรมไดเ้ พอื่ ลดคา่ ใชจ้ า่ ย และเพอื่ คงแกน่ สาระของพธิ กี รรมไว้ สว่ น งานของปฏิภาณท่ีศึกษาพิธีกรรมอ่าข่านนั้ น่าสนใจตรงที่ เราได้ยินเสียงของผู้ท่ีไม่ ค่อยมสี ิทธม์ิ เี สียงในชุมชน นนั่ ก็คือกลุ่มผู้หญงิ ซง่ึ ก่อนหน้านต้ี ามจารีตธรรมเนยี ม ดั้งเดิมจะไม่มีบทบาทในพิธีกรรม ผู้หญิงอ่าข่าจะไม่สามารถสวมรองเท้า กางเกง หรือทำ� พธิ ีกรรมได้ ย่ิงหากเป็นหญงิ มคี รรภ์ด้วย จะถูกถือเป็นผู้ไม่บริสทุ ธิ์ และหาก คลอดลกู แฝด จะถอื เปน็ เสนยี ดจญั ไรอยา่ งแรง ตอ้ งฆ่าทารกแฝดทงิ้ ทงั้ พ่อและแม่ จะถกู รงั เกยี จจากชมุ ชน ธรรมเนยี มอา่ ขา่ ใหอ้ ภสิ ทิ ธแิ์ กเ่ ฉพาะบตุ รชายทสี่ ามารถทำ� และสืบทอดพิธีกรรมได้ ดังนน้ั ครอบครัวท่ีไม่มีบุตรชายจึงเท่ากับหมดสิทธ์ิในการ สบื ทอดพธิ กี รรมโดยปรยิ าย จารตี เชน่ นจ้ี งึ มผี ลใหค้ รอบครวั ทไี่ มม่ บี ตุ รชายเลกิ นบั ถอื ผี หันไปนับถือศาสนาอ่ืนแทน ทีมวิจัยและชาวบ้านมองเห็นจุดอ่อนดังกล่าว จึง หารอื กนั และในทส่ี ดุ กย็ อมแกไ้ ขจารตี เดมิ เสยี ใหม่ คอื ยนิ ยอมใหผ้ หู้ ญงิ สามารถเขา้ รว่ มพธิ กี รรมได้ อยา่ งไรกต็ าม นา่ สงั เกตวา่ สาเหตหุ ลกั ทผ่ี อู้ าวโุ สยนิ ยอมแกไ้ ขจารตี มาจากความต้องการให้พิธกี รรมสามารถได้รับการสืบทอดต่ออย่างมนั่ คงมากกว่า ที่จะมาจากการปรับเปลี่ยนทัศนคติท่ีมีต่อผู้หญิงหรือต้องการปรับสถานภาพทาง สงั คมใหพ้ วกเธอ นบั วา่ ทมี งานวจิ ยั มคี วามละเอยี ดออ่ นทจี่ ะฟงั และใหท้ ท่ี างแกเ่ สยี ง ที่เคยถูกเบียดขบั เป็นชายขอบ และพยายามต่อรองให้คนกลุ่มน้ไี ด้มาเป็นส่วนหนงึ่ ของการวจิ ัย กรณนี ช้ี ่วยให้เห็นกระบวนการของความสมั พันธ์เชงิ อ�ำนาจ ความไม่

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 61 เท่าเทียมและการต่อรองภายในกระบวนการมีส่วนร่วม แม้ผู้วิจัยจะเป็นชาวอ่าข่า เองด้วย แต่ก็มิได้พยายามกลบเกลื่อนส่ิงที่เป็นจุดอ่อนและความขัดแย้งภายใน จารีตประเพณดี ้ังเดิม การดึงผู้หญิงเข้าร่วมท�ำให้กระบวนการประดิษฐ์ประเพณี (invention of tradition) กลายเป็นเวทีเปิดของการต่อรอง ในกระบวนการวิจัย จะเห็นว่า สกว.ให้ความส�ำคัญแก่กระบวนการกลุ่ม มาก เนื่องมาจากปรัชญาการวิจัยที่ต้องการให้งานวิจัยน้ีเป็นของชาวบ้านอย่าง แท้จรงิ อย่างไรก็ตาม เม่อื ศกึ ษาตวั รายงานการวิจัย จะพบแบบแผนการน�ำเสนอ งานวจิ ยั คลา้ ยกนั คอื มไิ ดแ้ จกแจงบรรยากาศหรอื รายละเอยี ดของการสนทนากลมุ่ สักเท่าใด มักมีแต่การสรุปผลของการสนทนา ให้ข้อมูลว่ามีกลุ่มใดบ้างท่ีเข้าร่วม และผลสรุปออกมาเป็นอย่างไร ส่วนหนง่ึ ก็เพราะตัวกระบวนการกลุ่มเองมิได้เป็น โจทย์ของการวิจัย แต่เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการท�ำงานที่มุ่งน�ำไปสู่ ผลสรปุ มากกวา่ กลา่ วอกี นยั หนงึ่ กระบวนการกลมุ่ สำ� คญั ในฐานะเปน็ เครอ่ื งมอื ทนี่ ำ� สู่เป้าหมายเท่านนั้ ข้อเสนอแนะเพมิ่ เติมในที่นกี้ ค็ อื น่าจะลองให้ตัวกระบวนการมี ส่วนรว่ มนน้ั มฐี านะเป็นโจทยข์ องการวจิ ยั ดบู า้ ง โดยศกึ ษาปฏสิ มั พนั ธ์ระหวา่ งกลุม่ ตา่ งๆ ในกระบวนการตอ่ รองทกี่ �ำลงั ดำ� เนนิ อยู่ ทำ� อยา่ งไรจงึ จะใหผ้ ทู้ เี่ ราไมเ่ คยไดย้ นิ เสียงมีโอกาสเปล่งเสียงออกมา อันท่ีจริงแล้ว ความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจปรากฏใน บรรยากาศของวงเสวนาหรือวงสนทนาทั่วๆ ไปอยู่เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นวงสนทนาท่ี เปน็ ทางการหรอื ไมเ่ ปน็ ทางการ จะพบวา่ บอ่ ยครง้ั มกั มใี ครสกั คนทส่ี ามารถนำ� การ สนทนา หรอื ชกั จงู การสนทนาไปในทศิ ทางใดทศิ ทางหนงึ่ ตวั อยา่ งจากงานวจิ ยั ของ ปราโมทย์ท่กี ล่าวไปในหัวข้อ 2.4 ท่ผี ่านมา เราได้เหน็ ว่า ในท่ามกลางบรรยากาศ การเสวนากลุ่มนน้ั เสียงของแม่เฒ่าช่างทอผ้าถูกกลบหายไปในสถานการณ์ใด หาก สกว. ยงั คงตอ้ งการสง่ เสรมิ เสยี งของคนชายขอบ โจทยเ์ รอ่ื งกระบวนการ กลุ่มก็ควรได้รับการใส่ใจในฐานะหน่วยในการศึกษาวิเคราะห์ด้วย สังคมหมู่บ้าน มใิ ชจ่ ะปราศจากชว่ งชนั้ ในการประชมุ เรามกั ไดย้ นิ เสยี งของผอู้ าวโุ สชายทเ่ี ปน็ ผนู้ �ำ ทางการหรือผู้น�ำที่ได้รับยกย่องเป็นปราชญ์ชาวบ้าน ส่วนคนอ่ืนๆ รวมท้ังผู้หญิง และเดก็ มกั เลน่ บทผฟู้ งั เปน็ สว่ นใหญ่ ผหู้ ญงิ มกั มบี ทบาทในการจดั การอยเู่ บอ้ื งหลงั

62 กำ�ก๊ึดก�ำ ปาก เช่น เม่อื มงี านนทิ รรศการแสดงผลงานวจิ ัย ผู้หญิงและเดก็ ๆ กจ็ ะเข้ามามสี ่วนร่วม ในการเตรียมงาน ท�ำอาหารและขายของ ท�ำอย่างไรจึงจะได้ยินเสียงของพวกเขา เหล่านน้ั บ้าง การต้ังโจทย์ที่ตัวกระบวนการกลุ่มน้ีเกี่ยวพันกับการสร้างคุณค่าใหม่ ดว้ ย เนอ่ื งจากในระบบคณุ คา่ เกา่ อาจจะไมไ่ ดเ้ นน้ ถงึ ประชาธปิ ไตยในการแสดงออก ซึง่ ความเหน็ แต่หากสิง่ นี้เป็นเป้าหมายของสกว.ด้วยแล้ว ก็จำ� ต้องให้ความส�ำคญั กับการปรับเปลีย่ นความสัมพนั ธ์เชิงอ�ำนาจในกระบวนการกลุ่มด้วย ท่ีผ่านมา ตอนจบของงานวิจัยมักให้ภาพซ�้ำๆ ของพลังความกลมกลืน บรู ณาการทเี่ พม่ิ ขนึ้ ในชมุ ชน แตเ่ ปา้ หมายการใชป้ ระเพณวี ฒั นธรรมมาสรา้ งจติ สำ� นกึ ร่วมและความเป็นปึกแผ่นอาจท�ำให้ทีมวิจัยมองข้ามหรือพยายามเอาชนะความ ขัดแย้งของทัศนคติที่เกิดขึ้น ทว่าการศึกษาการมีส่วนร่วมที่แท้จริงน่าจะเปิดเผย ถึงความไม่เท่าเทียมในการกระจายอ�ำนาจที่มีอยู่เดิมในชุมชน ไม่ควรผลิตซ้�ำภาพ อุดมคติแสนงามของความกลมเกลียว การวิจัยควรเปิดโอกาสให้มีการร้ือสร้าง กระบวนการอ�ำนาจดังกล่าว อย่างไรก็ตาม คงเป็นไปได้ยากท่ีจะทำ� ให้เกิดความ เทา่ เทยี มกนั จรงิ ๆ ในชมุ ชน เพราะหากเรามงุ่ เนน้ ตรงนก้ี เ็ ทา่ กบั เราตดิ กบั ทอี่ นั ตราย อยใู่ นภาพอดุ มคตอิ กี เชน่ กนั วา่ ความเทา่ เทยี มนา่ จะเปน็ ธรรมชาตหิ รอื เปา้ หมายของ ชมุ ชน อย่างไรก็ตาม หากวฒั นธรรมประเพณเี ป็นเร่ืองของการเลอื กสรร (selective tradition) และการตอ่ รอง อยา่ งนอ้ ยเรากค็ วรไดเ้ หน็ กลมุ่ ชายขอบในชมุ ชนเคลอื่ นไหว ได้บ้าง เช่นน้ีแล้วการรื้อฟื้นประเพณกี ็จะไม่เป็นเพียงการสงวนรักษา หรือการมุ่ง ฟื้นฟูคณุ ค่าด้งั เดิม แต่ย่อมหมายถึงศักยภาพในการตคี วามใหม่ การเลอื กรบั อะไร บางอย่างและการตัดทอนบางอย่าง ปรบั เปลีย่ นบางอย่างไปในกระบวนการกลุ่ม 2.6 ศลิ ปวฒั นธรรมเชิงวพิ ากษ์ การมองวฒั นธรรมในเชงิ สารตั ถะนยิ มวา่ เปน็ แกน่ แกนของพลงั ทางสงั คมนน้ั นับเป็นกระแสหลักของการมองวัฒนธรรมในสังคมไทย และเป็นกระแสหลักของ ค�ำนิยามวัฒนธรรมท่ีพบในงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 63 กม็ แี นวโนม้ ใหมซ่ งึ่ แมจ้ ะยงั คงเปน็ เสยี งขา้ งนอ้ ย และเมอื่ นบั จ�ำนวนชน้ิ งานวจิ ยั แลว้ มปี รมิ าณนอ้ ยกวา่ แบบแรกมาก ทวา่ มคี วามส�ำคญั ในแงท่ เ่ี สนอคำ� นยิ ามวฒั นธรรม ต่างออกไป น่ันก็คือการต้ังค�ำถามกับการมองวัฒนธรรมจากกรอบคิดแบบ สารัตถะนิยม และมองวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ โดยเห็นว่าค�ำนิยามวัฒนธรรมก็ดี หรือปฏิบัติการทางวัฒนธรรมก็ดีล้วนเก่ียวข้องกับกระบวนการเชิงอำ� นาจของการ สถาปนาความเปน็ จรงิ ทางสงั คมบางอยา่ งขน้ึ มา งานวจิ ยั แนวนเ้ี พง่ิ ไดร้ บั ความนยิ ม ในช่วงไม่ก่ีปีท่ีผ่านมา จัดได้ว่าเป็นงานท่ีอยู่ในกระแสธารความคิดของแนวทฤษฎี หลงั สมัยใหม่ และอทิ ธิพลจากแนววัฒนธรรมศกึ ษา (cultural studies) งานในกลุ่มนตี้ ั้งค�ำถามกับการผูกโยงความหมายของศิลปวัฒนธรรมกับ เรื่องของระบบคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าทางสุนทรียะหรือคุณค่าร่วมทางสังคม จดุ รว่ มของงานในกลมุ่ น้ี กค็ อื เสนอการมองวฒั นธรรมใหม่ โดยมงุ่ จะสลดั มโนทศั น์ นใ้ี ห้หลดุ พ้นจากการผูกกบั วิธคี ดิ แบบสารัตถะนยิ ม ประการแรก กลุ่มน้ี มองศิลป วฒั นธรรมเปน็ เรอื่ งของภาพแทนความจรงิ (representation) มากกวา่ ทจี่ ะมองวา่ ศลิ ป วัฒนธรรมสะท้อนความเป็นจริง เร่ืองน้ีเป็นประเด็นเชิงญานวทิ ยา (epistemology) นนั่ ก็คือ วิธีคิดนตี้ ้ังค�ำถามกับความเคยชินที่เรามักทึกทักเอาตามสามัญสำ� นกึ ว่า ส่ิงต่างๆ รอบตัวเรา ท้ังสิง่ ทมี่ ีอยู่ในธรรมชาติ เช่นต้นไม้ ภเู ขา หรือ ความเป็นชาติ วัฒนธรรม หรอื ความเป็นเพศของตวั เราเอง ล้วนเป็น “ความจริง” ท่ีถกู กำ� หนดมา ให้ “ตามธรรมชาต”ิ แนวคดิ หลังสมยั ใหม่วพิ ากษ์ความไร้เดยี งสาทไ่ี ม่ตระหนกั ว่า เรามองเห็นและเข้าใจทุกๆ สิ่งผ่านเคร่ืองกรองทางวัฒนธรรมเสมอ เพียงแต่ว่า เครอื่ งกรองนนั้ โปรง่ ใสเสยี จนเรามองไมเ่ หน็ และไมต่ ระหนกั วา่ มนั มอี ยู่ วธิ คี ดิ ทส่ี ลาย มายาการเชน่ น้ี ทำ� ใหศ้ ลิ ปวฒั นธรรมกลายเปน็ สว่ นหนงึ่ ของเครอื่ งกรองทเ่ี ราใชม้ อง โลกและสงิ่ ตา่ งๆ เมอื่ เปน็ เชน่ นนั้ ระบบคณุ คา่ ทงั้ สามประการของงานศลิ ปะทก่ี ลา่ ว ไปข้างต้น คือความงามทางสุนทรียะ พลังสร้างสรรค์ความงามของปัจเจก และ ระบบคุณค่าและภูมิปัญญาของสังคมซ่ึงเคยถูกถือว่าเป็นสารัตถะของวัฒนธรรม และเป็นความจริงในตัวเองล้วนต้องถูกต้ังค�ำถามท้ังสิ้น ศิลปะคืออะไรแน่ ต้องเป็นเรื่องความงามเท่านน้ั หรือ อะไรคอื มาตรวัดว่าสง่ิ ใด “งาม” หรอื “ไม่งาม”

64 ก�ำ ก๊ดึ กำ�ปาก มาตรวดั นม้ี คี วามเปน็ สากลหรอื ไม่ ใครควรเปน็ ผกู้ ำ� หนดมาตรวดั นี้ สงั คมแตล่ ะยคุ นยิ ามความงามเหมอื นกันหรือไม่ ประการที่สองที่สืบเน่ืองมาจากข้างต้น แทนที่จะมองศิลปวัฒนธรรมเป็น เรอ่ื งของระบบคณุ คา่ รว่ มทผี่ กู โยงสงั คมใหเ้ ปน็ อนั เดยี วกนั วธิ คี ดิ นเ้ี ปดิ เผยใหเ้ หน็ วา่ ทจ่ี รงิ แลว้ การผกู โยงดงั กลา่ วเปน็ เรอื่ งของอำ� นาจในการนยิ ามความหมายทส่ี ถาปนา อาณาจักรแห่งความจริงเกี่ยวกับเร่ืองต่างๆ แม้อ�ำนาจดังกล่าวแนบเนียนและ ซมึ ซ่านไปในทกุ อณขู องสงั คม แต่กไ็ ม่มใี ครสามารถผกู ขาดอำ� นาจการนยิ ามความ จรงิ ไดอ้ ยา่ งเบด็ เสรจ็ เดด็ ขาด เพราะวฒั นธรรมเปน็ เรอ่ื งของการน�ำเสนอภาพตวั แทน ความจริง จึงไม่มีใครสามารถพูดเกี่ยวกับความจริงได้ท้ังหมด ความจริงในเรื่อง ต่างๆล้วนเป็นเพียงความจรงิ บางส่วน (partial truth) ท่ีมองจากมุมบางมมุ ของคน บางกลุ่มเท่านน้ั การท้าทายและการต่อรองจึงเกิดข้ึนได้เสมอ ศิลปวัฒนธรรมจึง สามารถเปน็ ทัง้ พน้ื ท่แี ห่งการสถาปนาอำ� นาจและพนื้ ท่ีที่ท้าทายอำ� นาจได้ด้วย เม่อื เรามองเรื่องน้ีเป็นกระบวนการของการปะทะประสานและการช่วงชิงความหมาย ความจรงิ ทางวฒั นธรรมจงึ ไมห่ ยดุ นง่ิ ตายตวั แตไ่ หลเลอ่ื นเปลยี่ นแปลงได้ การมอง เช่นนที้ �ำให้งานศึกษาหันมาสนใจวัฒนธรรมในแง่ที่เป็น “กระบวนการ” และเป็น ปฏบิ ตั กิ ารทไ่ี มเ่ บด็ เสรจ็ มองเหน็ การผสมผสาน เลอื กสรร ตอ่ รอง คดั ทงิ้ สรา้ งใหม่ (selective tradition) มากกว่าทจี่ ะมองวฒั นธรรมในฐานะท่เี ป็น “โครงสร้าง” หรือ “ระเบยี บ” ทีม่ เี อกภาพหรอื อำ� นาจก�ำหนดครอบคลมุ สำ� หรบั งานวิจัยศิลปวัฒนธรรมในแนวนน้ี น้ั ส่วนหนงึ่ ได้กล่าวถึงไปแล้วใน หวั ขอ้ 2.4 ทวี่ า่ ดว้ ยวาทกรรม ในหวั ขอ้ นม้ี งุ่ จะกลา่ วถงึ งานวจิ ยั อกี จำ� นวนหนงึ่ ทเ่ี นน้ ศึกษาการ “เลื่อนไหล” ของความหมายของงานศิลปะในบริบทโลกานุวัติ ระบบ ดงั กลา่ วนผ้ี ลติ พลงั ตา้ นตวั มนั เองออกมาในนามของ กระแสทอ้ งถน่ิ นยิ ม (localism) อยา่ งไรกต็ าม พลงั ทงั้ สองขว้ั นม้ี ใิ ชค่ ปู่ ฏปิ กั ษก์ นั ตรงกนั ขา้ ม มนั กลบั ปะทะประสาน กันอย่างมีชีวิตชีวายิ่ง การปะทะประสานดังกล่าวรู้จักกันดีในนามของกระแส โลกาเทศานุวัติ (glocalization) งานวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการนี้มักเน้นศึกษาการ ปะทะประสานขององค์ประกอบทางวัฒนธรรมต่างๆ และบทบาทของรัฐซง่ึ เป็นตัว

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 65 เชอ่ื มทส่ี ำ� คญั ระหวา่ งโลกานวุ ตั กิ บั ทอ้ งถน่ิ นยิ ม เราไมส่ ามารถเขา้ ใจความนยิ มฟน้ื ฟู ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างมากมายในสองสามทศวรรษท่ีผ่านโดยมองข้าม กระบวนการน้ีไปได้ งานวิจัยของอุดมลักษณ์ (2553) ศึกษาการเมืองวัฒนธรรม (cultural politics) ของพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในล�ำพูน พิพิธภัณฑ์ของราชการและ พพิ ิธภณั ฑพ์ นื้ บ้านต่างนยิ ามอดตี ของล�ำพนู แตกตา่ งกนั ออกไป บางครง้ั การนิยาม ซอ้ นทับคาบเกยี่ วกนั บางครง้ั กท็ า้ ทายกนั และกนั การจดั แสดงวตั ถทุ างวฒั นธรรม จงึ สะท้อนการปะทะสงั สรรค์ระหว่างศนู ย์กลางและท้องถน่ิ อย่างซับซ้อน นอกจากน้ี ยังมีงานศึกษาความนิยมเล่นเพลงคาวบอยลูกทุ่งตะวันตก ตามร้านอาหารในเชียงใหม่ (Ferguson, 2010) ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากระบวนการรับเพลง พ้นื บ้านตะวันตกกลายเป็นการสร้างอัตลกั ษณ์ล้านนาในยคุ โลกานวุ ัติ ซึ่งซ่อนแฝง การทา้ ทายการครอบงำ� ทางวฒั นธรรมจากกรงุ เทพฯ ความเปน็ ลา้ นนาจงึ กลายเปน็ ลกู ผสมทางวฒั นธรรม แตค่ วามยอ้ นแยง้ กเ็ หน็ ไดจ้ ากการทนี่ กั รอ้ งพยายามออกเสยี ง ภาษาอังกฤษให้ถูกต้องอันสะท้อนมาตรฐานจากส่วนกลางอยู่ดี ในเรื่องเพลง ยังมกี ารศึกษาการเมืองของการอนุรกั ษ์ฟื้นฟูซอล่องน่าน (ชตุ พิ งศ์, 2556) ซงึ่ พบว่า โลกานุวัติสร้างลูกผสมทางวัฒนธรรมหลายส�ำนวนแก่ซอล่องน่าน จนเกิดความ พยายามฟน้ื ฟขู องเกา่ จากรฐั และทอ้ งถนิ่ แตค่ วามพยายามของรฐั ทจ่ี ะสรา้ ง “ความ เปน็ สถาบนั ” แกศ่ ลิ ปะพน้ื บา้ นกลบั ทำ� ใหค้ วามยดื หยนุ่ และความเปน็ อสิ ระของเพลง ในอดตี ลดหายไป เกดิ การปะทะประสานกนั และกนั ของ ค่ายพื้นถน่ิ หลายส�ำนวน ในกระบวนการนี้ การพยายามสถาปนา “ความดั้งเดิมท่ีจริงแท้” (authenticity) กลายเป็นหัวใจของการสร้างความชอบธรรมแก่การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม จึงเกิด ความพยายามสร้างสารัตะถะนิยมแบบใหม่แก่เพลงพ้ืนบ้านชนดิ น้ีเพ่ือท�ำให้มัน กลายเป็นสัญลักษณ์ประจ�ำจังหวัด จนเกิดการแย่งชิงอัตลักษณ์ของซอล่องน่าน ระหว่างกลุ่มตวั กระท�ำท้ังภาครฐั เอกชน สถานศึกษา และกลุ่มศลิ ปินหลากหลาย จากจงั หวดั ต่างๆ ในภาคเหนือ การนิยามความด้ังเดิมท่ีจริงแท้ดังกล่าวยังเห็นได้ในงานวิจัยกระบวนการ กลายเป็นสินค้าของงานหัตถกรรมทอี่ �ำเภอบ้านถวาย จ.เชยี งใหม่ (Wherry, 2006)

66 ก�ำ กดึ๊ ก�ำ ปาก งานวิจัยพบว่าผู้ผลิตงานไม้ต่างนิยามความเป็นดั้งเดิมจริงแท้แก่งานหัตถกรรมไม้ แตกต่างกันไปตามลักษณะและความเข้มข้นของการถูกดูดเข้าสู่ระบบตลาดโลก ผู้ผลิตหัตถกรรมบางรายลังเลท่ีจะรับสัญญาจ้างจากลูกค้าตะวันตกเพื่อต้องการ สงวนลกั ษณะพ้ืนบ้านบางอย่างไว้ แต่บางรายปรับเลือกรูปแบบท้องถ่นิ เพ่อื เข้ากบั ความต้องการลกู คา้ ตา่ งชาติ แตก่ ย็ งั คงนยิ ามลกั ษณะทป่ี รบั ไปวา่ เป็นความดง้ั เดมิ ด้วยเช่นกัน 2.7 ศิลปะกบั ความเปน็ จรงิ ทางสงั คม ค�ำนิยามที่ส�ำคัญอีกประเด็นหนงึ่ ที่อาจใช้เป็นแกนในการจัดแบ่งกลุ่มงาน วิจัยได้ก็คือ ประเดน็ ความสมั พนั ธ์ระหว่างศลิ ปะกับสงั คม ศิลปะสัมพนั ธ์กบั สังคม อย่างไรนนั้ บางครั้งก็อยู่ในโจทย์วิจัยตรงๆ แต่หากแม้ไม่อยู่ในโจทย์วิจัยก็ตาม ก็มกั แฝงอยู่ในลักษณะการน�ำเสนอผลงานวิจัยนนั้ ๆ การตอบประเด็นนจี้ ะโดยตรง หรือโดยแฝงกต็ าม กลายเป็นสิ่งก�ำหนดทิศทางและยทุ ธศาสตร์การวจิ ัยด้วย ในที่ นจ้ี ะขอแบ่งกลุ่มงานวิจัยตามทิศทางในการตอบประเด็นดังกล่าวได้เป็นสามกลุ่ม กลมุ่ แรก คอื กลมุ่ ทเี่ นน้ ประเดน็ ทวี่ า่ ศลิ ปะเปน็ กระจกทส่ี ะทอ้ นความจรงิ ทางสงั คม กลุ่มท่ีสอง เป็นกลุ่มงานวิจัยท่ีช้ีให้เห็นลักษณะการก�ำหนดซ่ึงกันและกันระหว่าง ศิลปะและสงั คม กลุ่มทีส่ ามเน้นพลังของศลิ ปะในการสร้างคุณค่าใหม่ขึ้นในสังคม กลุ่มแรกคืองานที่มีสมมติฐานพื้นฐานว่า ศิลปะท�ำหน้าท่ีเป็นกระจกที่ “สะทอ้ น” ความเปน็ จรงิ ทางสงั คมอยา่ งทมี่ นั เปน็ อยจู่ รงิ ๆ เพลง การละเลน่ พนื้ บา้ น ภาพวาด ผ้าทอ โคลง สุภาษิตต่างๆ สามารถสะท้อนภาพวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ จารีตประเพณี ความสัมพันธ์ทางสังคมท่ีเป็นจริงของคนในยุคสมัยน้ันๆ ได้ ในแงน่ ี้ วฒั นธรรมจงึ เปน็ “ความจรงิ ” ทถ่ี กู กำ� หนดมากอ่ น หรอื มมี าอยกู่ อ่ นหนา้ แลว้ ผวู้ จิ ยั มกั จะไม่สนใจสบื สาวกระบวนการทางสงั คมของการกอ่ ตวั ของความเปน็ จรงิ ทางวัฒนธรรม ท�ำให้วิธีวิเคราะห์วัฒนธรรมโน้มเอียงไปในทางที่มีลักษณะหยุดนงิ่ ส่วนการท่ีเห็นว่าศิลปะสะท้อนความเป็นจริงเหล่าน้ันได้ราวกับเป็นกระจกเงา

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 67 กช็ ใี้ หเ้ หน็ ปรญั ชาความรแู้ บบประจกั ษน์ ยิ ม (empiricism) เบอ้ื งหลงั งานวจิ ยั เหลา่ นนั้ ทเี่ ชอ่ื วา่ เราสามารถ “เขา้ ถงึ ” ความเปน็ จรงิ ในโลกนไี้ ดอ้ ยา่ งตรงไปตรงมา นอกจาก น้ี นำ�้ เสยี งของงานวจิ ยั ในแนวนสี้ ว่ นใหญม่ กั ประเมนิ คา่ เชงิ บวกแกร่ ะบบคณุ คา่ ทอี่ ยู่ ในตวั ศลิ ปะ มองเหน็ วา่ เปน็ สงิ่ กลอ่ มเกลาชท้ี างแกส่ มาชกิ ของสงั คม ศลิ ปวฒั นธรรม จงึ เปน็ “ความจรงิ ” อนั ทรงคณุ คา่ ในตวั เองและเปน็ มรดกทสี่ งั คมมอบแกช่ นรนุ่ หลงั วิธีที่ศิลปะสะท้อนความเป็นจริงทางสังคมนน้ั สามารถศึกษาได้หลายวิธี วิธแี รก คือ ศึกษาระบบคณุ ค่าภมู ิปัญญาของสังคมตรงๆ จากตวั เน้อื หา (content) ของงานศลิ ปะแขนงนนั้ ๆ เชน่ ศกึ ษาเนอื้ หาของโคลงลา้ นนา (ทรงศกั ดิ์ & หทยั วรรณ, 2542) หรอื การศึกษาเปรียบเทยี บระหว่างสภุ าษิตไทล้อื ไทยวนและไทยภาคกลาง และพบความคล้ายคลึงกันอย่างมากในแง่เน้ือหาท่ีถ่ายทอดค�ำสอนต่างๆ (ลมูล 2538) และการศกึ ษาเนือ้ หาของเพลงพื้นบ้าน (รุจพร, 2539) ว่าสะท้อนค�ำสอนทาง ศลี ธรรม วิธีการครองเรือน คุณธรรมของผู้ปกครองอย่างไรบ้าง วิธีที่สองคือ ศึกษาผ่านรูปแบบ โครงสร้าง (form and structure) และ องคป์ ระกอบทางศลิ ปะ จะเหน็ ชดั จากงานทศ่ี กึ ษาสถาปัตยกรรม เช่น รปู แบบของ เรือนล้านนา (อนวุ ิทย์, 2539) ความหมายของเสา การวางทิศ การจดั พน้ื ทีภ่ ายใน และภายนอกตวั อาคาร หรอื การวางผงั วดั หลวงในลา้ นนา (กรกนก, 2545) หรอื การ ศึกษาองค์ประกอบของจิตรกรรม (ทพิ วรรณ, 2546) เป็นต้น วธิ ที สี่ าม คอื การศกึ ษาความเปน็ จรงิ ในระดบั ลกึ วธิ วี จิ ยั ในขอ้ นจี้ ะตา่ งจาก สองขอ้ ขา้ งตน้ ตรงทมี่ ไิ ดอ้ งิ อยกู่ บั ปรชั ญาประจกั ษน์ ยิ ม ความเปน็ จรงิ ทงั้ เกย่ี วกบั ตวั มนุษย์และสังคมเป็นความเป็นจริงเชิงโครงสร้างระดับลึกท่ีไม่อาจมองเห็นได้อย่าง ตรงไปตรงมา แตต่ อ้ งอาศยั วธิ กี าร “ถอดรหสั ” ทางวฒั นธรรม วธิ กี ารเชน่ นเ้ี ปน็ การ ศกึ ษาในระดบั ทไ่ี ปพน้ จากจติ สำ� นกึ ของเจา้ ของวฒั นธรรมเอง โดยมสี มมตฐิ านวา่ มี โครงสร้างจิตมนุษย์ในระดับลึกท่ีก�ำหนดโครงสร้างของสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม ตา่ งๆ วธิ กี ารแบบโครงสรา้ งนยิ มนจ้ี ะวเิ คราะหโ์ ครงสรา้ งขององคป์ ระกอบทางศลิ ปะ โดยแยกองค์ประกอบเหล่านน้ั เป็นส่วนย่อยๆ เพ่อื หาลกั ษณะพนื้ ฐาน ตวั อย่างงาน วจิ ัยในแนวนไ้ี ด้กล่าวละเอยี ดไปแล้วในหวั ข้อ 2.2

68 ก�ำ ก๊ดึ ก�ำ ปาก สำ� หรบั กลุ่มทห่ี นงึ่ และสอง การมองว่าศลิ ปะสามารถสะท้อนความเป็นจรงิ ทางสงั คมไดอ้ ยา่ งตรงไปตรงมาน้ี หากมองอยา่ งผวิ เผนิ กไ็ มน่ า่ จะมปี ญั หาแตอ่ ยา่ งใด อย่างไรก็ตามปัญหาน้ันก็มีอยู่ตรงประเด็นญานวิทยา ความเป็นจริงทางสังคม เป็น “ข้อเท็จจริง” ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ผ่านการแสดงออกในศิลปะ จริงหรือ เราสามารถเห็นได้จากงานวิจัยหลายชิ้นว่า ภาพของความเป็นจริงทาง ประวตั ศิ าสตร์สงั คมนนั้ มหี ลายแง่มมุ แล้วแต่นกั วจิ ัยจะเลอื กมอง การมองต่างมมุ ทำ� ให้ “ขอ้ เทจ็ จรงิ ” ทไี่ ดอ้ าจกลายเปน็ ตรงขา้ มกนั กม็ ี ตวั อยา่ งเชน่ งานวจิ ยั เกย่ี วกบั ผ้าและการใช้ผ้าในชีวิตประจ�ำวันของคนภาคเหนือในสมัยก่อน มีงานวิจัยจ�ำนวน หนงึ่ ที่เขียนโดยท้ังชาวไทยและชาวต่างประเทศซ่ึงให้ภาพว่า การทอผ้าซึ่งถือเป็น กิจกรรมส�ำคัญของผู้หญิงนน้ั เป็นสิ่งท่ีบ่งบอกอัตลักษณ์ของตัวเธอ ผู้หญิงสมัย ก่อน จะยากดีมีจนอย่างไร ก็ต้องทอผ้าเป็นและทุกคนจะมีผ้าทอดีๆ ของตนเอง สักผืนหนง่ึ เอาไว้ใส่ไปวัด และไม่ค่อยมีความแตกต่างกันเท่าใดในแง่ของวิถีการ แต่งกายระหว่างชาวบ้านและเจ้านายกับชนชั้นสูง นี่เท่ากับว่าผ้าทอสามารถข้าม ทะลุเส้นแบ่งทางชนช้ันได้ และให้ภาพสังคมในด้านการแต่งกายว่า ไม่ค่อยมีการ แบ่งช้นั สักเท่าใด อย่างไรก็ตาม นกั วิจัยบางคนกลับมองภาพน้ีแตกต่างออกไป แคทเธอรี โบวี (K. Bowie, 1993) พยายามพิสจู น์ว่า ผ้าและการแต่งกายกลับเป็นเคร่อื งบ่งชี้ สถานภาพทางสงั คมทแ่ี ตกตา่ งกนั อยา่ งมากของคนยคุ กอ่ น โดยศกึ ษาทงั้ จากขอ้ มลู ประเภทเอกสาร จดหมายเหตุ และค�ำบอกเล่าจากการสัมภาษณ์ ในศตวรรษท่ี 19 คนรบั ใช้ ทาสหรอื ผเู้ ชา่ นาใสเ่ สอ้ื ผา้ ทท่ี งิ้ แลว้ ทไี่ ดร้ บั จากนายของตน สำ� หรบั ชาวนาจน ผ้าเป็นสง่ิ หายาก เสอ้ื ผ้าที่มีต้องปะแล้วปะอกี ชาวนารวยบางคนเท่านนั้ ที่แต่งกาย เลียนแบบชนชั้นสูง เช่นเส้ือผ้าไหม ส่วนตีนจกของซิ่นผู้หญิงที่มีฐานะก็จะทำ� จาก ไหม หรือไหมปนฝ้าย ในขณะทซ่ี ่ิน สไบหรือเส้ือของขนุ นางและชนชั้นสูงจะมกี าร ตัดเยบ็ และตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดาร ตัวอย่างน้ี มิใช่เป็นเพียงเร่ืองที่ว่านกั วิจัยสองกลุ่ม น�ำเสนอข้อมูลคนละ กองหรอื ไดข้ อ้ เทจ็ จรงิ ทางประวตั ศิ าสตรท์ แ่ี ตกตา่ งกนั เทา่ นนั้ ทส่ี �ำคญั เปน็ เรอ่ื งทวี่ า่

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 69 นกั วจิ ัยกลุ่มแรกมีภาพสังคมสมัยก่อนว่าค่อนข้างกลมเกลยี ว ไม่แบ่งแยก เส้นแบ่ง ทางชนชั้นท่ีแสดงออกผ่านการแต่งกายมองเห็นไม่สู้ชัดเจน ขณะท่ีโบวีดูจะมีมโน ทัศน์ว่า ศิลปวัฒนธรรมคือการแต่งกายสามารถเป็นเคร่ืองบ่งชี้ความแตกต่างทาง ชนช้ันท่ีส�ำคัญ ประเด็นจึงอยู่ตรงท่ีมโนทัศน์เกี่ยวกับสังคมและศิลปะของนกั วิจัย แตกต่างกัน จึงท�ำให้ภาพของสังคมและศิลปะที่น�ำเสนอแตกต่างกันไปคนละทาง นนั่ เอง ประเด็นเรื่อง “การกำ� หนด” (determination) ระหว่างสงั คมและศิลปะนี้เป็น สว่ นหนง่ึ ของการถกเถยี งทสี่ �ำคญั ซงึ่ เปน็ หวั ใจของทฤษฎสี งั คมศาสตรท์ วี่ า่ ระหวา่ ง ปจั เจก (individual)กบั พลงั เชงิ โครงสรา้ งสงั คม (social structure) อะไรเปน็ ตวั กำ� หนด พื้นฐานของการกระท�ำของมนุษย์กันแน่ ในแง่หนง่ึ ศิลปะเป็นผลผลิตของพลัง สร้างสรรค์ของปัจเจกชน แต่ในอีกแง่หนง่ึ ส่ิงที่ผลักดันอยู่เบ้ืองหลังการสร้างงาน นนั้ กค็ อื กระบวนการทางสงั คม พลงั ของโครงสรา้ งทางการเมอื งและอดุ มการณท์ าง สงั คมมสี ่วนก�ำหนดท้งั เนอ้ื หาและรปู แบบของงานศิลปะในแต่ละยคุ อย่างไรกต็ าม งานศลิ ปบ์ างชนิ้ เมอ่ื ถกู ผลติ ออกมาแลว้ สามารถกอ่ แรงบนั ดาลใจอยา่ งสงู จนอาจ ก่อให้เกิดผลสะเทอื นทางการเมืองหรอื วฒั นธรรมได้ด้วยเช่นกนั มีงานวิจัยบางช้ินเน้นศึกษาตัวศิลปินผู้สร้างงาน เน่ืองจากวัฒนธรรม ไทยปัจจุบันเน้นเชิดชูผลงานของปัจเจกชน และมีธรรมเนียมมอบรางวัลด้านศิลป วัฒนธรรมหลายรางวัลแก่ศิลปินหลายแขนง ทั้งศิลปินระดับชาติ หรือศิลปินพื้น บ้านในสาขาต่างๆเป็นประจ�ำทุกปี ปัจจัยนจี้ ึงเอ้ือให้มีการผลิตงานวิจัยเพ่ือเชิดชู เกยี รตศิ ลิ ปินเป็นรายบคุ คลดว้ ย ลกั ษณะงานวจิ ยั แนวนม้ี กั ประกอบด้วยชวี ประวตั ิ ของศิลปิน การรวบรวมตวั ผลงาน และการประเมนิ ค่างานของศิลปินนนั้ ๆ ในกลุ่ม นี้ มงี านท่ีน่าสนใจสองช้ิน ช้นิ หนงึ่ คืองานทศ่ี กึ ษาอินสนธิ์ วงศ์สาม (วฒั นะ, 2546) ผู้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาประตมิ ากรรม ประจ�ำปี 2542 และงานอกี ชนิ้ หนง่ึ ศึกษา คำ� อา้ ย เดชดวงตา (อารยะ & ประดษิ ฐ,์ 2547) ผไู้ ดร้ บั เลอื กใหเ้ ปน็ ครภู มู ปิ ญั ญาไทย สาขาศิลปกรรมปี 2542 สิ่งท่ีน่าสนใจในงานวิจัยสองช้ินนี้ ก็คือวิธีการวิเคราะห์ที่ ผวู้ จิ ยั ทำ� ใหผ้ อู้ า่ นเหน็ วา่ ตวั ศลิ ปนิ ปจั เจกนน้ั เปน็ พน้ื ทขี่ องการผสมผสานและเชอื่ มตอ่

70 กำ�กด๊ึ กำ�ปาก (mediative space) พลงั หลายๆ อยา่ งเขา้ ดว้ ยกนั ทงั้ พลงั ขบั เคลอ่ื นภายในตวั ปจั เจก คือพลังขับจากจิตส�ำนกึ หรือ จิตใต้ส�ำนกึ หรือ แรงบันดาลใจต่างๆ และพลังเชิง โครงสรา้ งของสงั คม เชน่ มรดกทางสงั คมวฒั นธรรม หรอื โครงสรา้ งชนชน้ั และระบบ อุปถัมภ์ต่างๆ ศิลปินคือผู้ผนวกอิทธิพลทางศิลปะจากหลายแหล่ง รวมกับความ สุกงอมของประสบการณ์ชีวิตของเขา กลนั่ ออกมาเป็นตวั งาน ผู้วิจัยลงรายละเอียดในประสบการณ์ชีวิตหลายๆ ตอนของศิลปินเพ่ือให้ ผู้อ่านเข้าใจอุปนิสัย และแรงบันดาลใจของศิลปิน กรณีศึกษาอินสนธิ์ซึ่งมีชีวิต โลดโผน ผ่านร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้�ำนน้ั ผู้วิจัยช้ีให้เห็นว่า ภาพแกะสลักไม้เป็นลาย เส้นโค้งพนั ไปมาอย่างอ่อนไหวราวมชี วี ิต บนบานประตู หรอื ช่องลมนน้ั มีลกั ษณะ ผสมผสานทางวฒั นธรรมอย่างซับซ้อน ด้านหนง่ึ ก็ละม้ายคล้ายหำ� ยนต์ทนี่ ยิ มแกะ ในภาคเหนอื แตก่ ไ็ มใ่ ชห่ ำ� ยนต์ อกี ดา้ นกเ็ หมอื นหนง่ึ ไดอ้ ทิ ธพิ ลจากลายอารบคิ ของ อิสลาม แต่ก็ไม่ใช่ งานภาพพมิ พ์แกะไม้ ก็ผสานความเป็นเอเชยี หลากหลายอย่าง น่าพิศวง ตั้งแต่ศิลปะภาพพิมพ์ไม้ของญ่ีปุ่น ศิลปะบาติคของ ชวา ไล่มาถึงลาย รดน้�ำของไทย ผู้วิจัยเหน็ ว่า “การลงสิว่ ตอกเนอื้ ไม้ให้ขาดออกไปทลี ะชน้ิ หนกั เบา ไมเ่ ทา่ กนั ... สะเกด็ ไมห้ ลายรอ้ ยชนิ้ ทหี่ ลดุ ออกอปุ มาเหมอื นการทมี่ นษุ ยต์ อ้ งสลดั สง่ิ หอ่ หมุ้ ตนเองออก ...ยงิ่ ถกู ตดั สกดั ออกมากเทา่ ใด ความงามยอ่ มปรากฏขน้ึ ตามมา เพียงนนั้ ...นกี่ ็คือการเจียรนยั ชีวิตของอนิ สนธ์ินน่ั เอง” (วฒั นะ: 65) การสร้างงาน ของศลิ ปินคือกระบวนการหล่อหลอมประสบการณ์ และพลงั ทางสังคมต่างๆ ที่มา กระทบกระแทก ศิลปินซมึ ซบั พลังเหล่านน้ั ท้งั รู้ตวั และไม่รู้ตัว และกลน่ั งานออกมา เป็นความเข้าใจชวี ิตของเขาเอง ส่วนค�ำอ้าย เดชดวงตาก็เช่นกัน ผู้วิจัยพยายามช้ีให้เห็นว่า ความรู้และ ประสบการณ์ท่ีศิลปินซึมซับจากบริบททางสังคม เช่น การมาจากครอบครัว เกษตรกรที่ยากจน การเรียนหนงั สือในโรงเรียนคริสต์ การรับราชการในกระทรวง อุตสาหกรรม และการคลุกคลีอยู่กับวงการขายงานไม้แกะสลกั จนรู้ปัญหาของช่าง พนื้ บา้ น ตอ่ เมอื่ ประสบความสำ� เรจ็ ไดร้ บั รางวลั ตา่ งๆ จงึ เกดิ แรงบนั ดาลใจจงึ อยาก ก่อต้ังศูนย์ศิลปะชุมชนและโรงเรียนศิลปหัตถกรรมเพ่ือคืนโอกาสแก่ช่างท่ียากไร้

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 71 ความท่ีเติบโตมาจาก “พ้ืนบ้าน” ท�ำให้เขาเลือกช้างเป็นงานท่ีถ่ายทอดความคิด และอารมณค์ วามรสู้ กึ แตก่ ม็ กี ารประยกุ ตค์ วามรดู้ า้ นการออกแบบ เขยี นแบบ รวม ทงั้ การตคี วามเชงิ นามธรรมมาผสานกบั การแกะชา้ งของเขา งานจงึ พฒั นาจากเดมิ ทเี่ คยเนน้ รายละเอยี ด ขดั งานดว้ ยกระดาษทรายไมใ่ หเ้ หน็ รอยสว่ิ กก็ ลายมาเปน็ ทงิ้ ใหเ้ หน็ รอยสวิ่ ของชา่ ง และหนั มาเนน้ ความเรยี บงา่ ยมากขน้ึ จดุ เดน่ ของงานวจิ ยั ทง้ั สองชน้ิ นกี้ ค็ อื การไมเ่ นน้ เฉพาะตวั ศลิ ปนิ โดดๆ แตม่ องปจั เจกบคุ คลเปน็ จดุ เชอื่ มตอ่ ของทั้งพลังทางสงั คม ความงาม สุนทรียะ และพลงั สร้างสรรค์เฉพาะตัว นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกกลุ่มหนง่ึ เน้นศึกษาท่ีกระบวนการทางสังคม ในการประกอบสร้างศลิ ปวัฒนธรรม ประเด็นทแ่ี ตกต่างออกมาจากกลุ่มแรก ก็คอื มิได้เห็นว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งท่ีถูกก�ำหนดมาก่อนหรือมีมาอยู่ก่อนแล้วโดยปริยาย งานวิจัยกลุ่มหลังนจี้ ึงนิยามวัฒนธรรมว่าเป็นเรื่องของการจัดการความสัมพันธ์ ทางสังคม และมีจุดร่วมเหมือนกันตรงท่ีเห็นว่า ความคิด ค่านิยม และโลกทัศน์ ต่างๆ มิอาจด�ำรงอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง แต่เกิดและทรงพลังอยู่ได้ก็ด้วยอาศัย รูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมแบบต่างๆ ระหว่างคนหลากหลายกลุ่ม ความ สัมพันธ์ทางสังคมแบบหนงึ่ ๆ ก็มักท�ำให้เกิดวิธีคิดหรืออุดมการณ์ทางสังคมแบบ หนง่ึ ๆ ดว้ ย ศลิ ปะกเ็ ชน่ กนั มไิ ดม้ แี ตเ่ พยี งมติ ดิ า้ นความงาม แตย่ งั สมั พนั ธแ์ นบแนน่ กับพลงั หรือบทบาททางสงั คมบางอย่างเสมอ ในกลมุ่ หลงั นี้ มวี ธิ กี ารศกึ ษาศลิ ปะกบั ความสมั พนั ธท์ างสงั คมหลายลกั ษณะ อย่างแรกคือเน้นศึกษาการจัดความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตงาน ศิลปะแขนงนนั้ ๆ งานศึกษาจิตรกรรมฝาผนงั ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นของปริตตา (2536) แมจ้ ะศกึ ษาพน้ื ฐานและโครงสรา้ งขององคป์ ระกอบทางศลิ ปะ เชน่ ลายกนก เส้นโค้ง การจัดพนื้ ทใ่ี นภาพวาด การใช้สี รปู ลกั ษณะทางกายภาพของตัวละครที่ ถูกวาด ซ่ึงอาจจัดได้ว่าได้อิทธิพลทฤษฎีแนวโครงสร้างนิยม และมีลักษณะการ วเิ คราะหใ์ นเชงิ สถติ ย์ แตใ่ นชว่ งตอ่ มาของงานวจิ ยั ผวู้ จิ ยั พยายามผนวกทฤษฎที เ่ี นน้ บทบาทของศิลปิน ทว่ามไิ ด้ศึกษาศลิ ปินในฐานะปัจเจกชน แต่เน้นศึกษาในฐานะ ของกลมุ่ ทางสงั คมโดยวเิ คราะหก์ ารจดั องคก์ รทางสงั คมของชา่ ง ซงึ่ ทำ� ใหม้ องเหน็ วา่

72 ก�ำ กึ๊ดก�ำ ปาก ศลิ ปะยคุ นน้ั มอี ยไู่ ดก้ ด็ ว้ ยการองิ อาศยั ระบบอปุ ถมั ภแ์ ละระบบศกั ดนิ า ท�ำใหเ้ ขา้ ใจ ไดว้ า่ วธิ คี ดิ และโลกทศั นข์ องชนชนั้ สงู ซมึ แทรกเขา้ มากำ� หนดรปู แบบและเทคนคิ ทาง ศลิ ปะท่ีถูกเลือกใช้ ตลอดจนกำ� หนดมาตรฐานของความงามเชงิ สนุ ทรียะอย่างไร นอกจากนยี้ งั มงี านวจิ ยั ทศ่ี กึ ษาความสมั พนั ธท์ างสงั คม ในกระบวนการผลติ งานศิลปะในบรบิ ทที่เปล่ียนแปลงของยุคโลกานุวัติ ทำ� ให้เหน็ ว่าพลงั เชิงโครงสร้าง ของตลาดมีอิทธิพลต่อตัวศิลปินและงานศิลปะอย่างไร และศิลปินต้องปรับตัว อยา่ งไรภายใตค้ วามบบี คน้ั ดงั กลา่ ว งานทนี่ า่ สนใจคอื งานศกึ ษาของวฒั นะและคณะ (2544) ซ่ึงส�ำรวจกระบวนการปรับตัวของศิลปินพื้นบ้านในหลายสาขาต่อแรงบีบ เชิงพาณชิ ย์ ผู้วิจยั มไิ ด้มีทัศนะว่า การท่ชี ่างฝีมือจ�ำต้องผลิตงานออกมาในรสนิยม “ตลาด” เช่นแกะไม้เป็นรูปมิกกี้เมาส์หรืออินเดียนแดงนน้ั เป็นสิ่งท่ีลดทอนคุณค่า ของงานศิลปะให้กลายเป็นของตลาด ผู้วิจัยช้ีให้เห็นว่า ในบริบทตลาดโลกานุวัติ ตัวช่างฝีมือเองมิได้แยกแยะระหว่างศิลปะและตลาดให้เป็นคู่ตรงข้าม หรือเห็นว่า สองส่ิงนีอ้ ยู่ร่วมกันไม่ได้ พวกเขาคิดว่างานแกะแบบนนั้ กม็ คี ณุ ค่าในตัวของมันเอง คณะผู้วจิ ยั เลอื กศึกษาเจาะลึกตวั ศลิ ปินและกลุ่มศิลปิน ทส่ี ามารถปรับเทคนคิ การ ผลิตงานที่สูงขึ้น ซ่ึงสามารถสงวนความเป็น high culture ด้วยการเลือกใช้วัสดุ และพัฒนาเทคนคิ การผลิตจนสามารถประสบความส�ำเร็จเชิงตลาด มีลูกค้าเป็น กลุ่มชนชั้นกลางทมี่ รี ายได้สูง ผู้วิจัยต้องการช้ีให้เหน็ ว่าพ่อค้าทดี่ ตี ้องมคี วามเข้าใจ ธรรมชาตขิ องศลิ ปินและธรรมชาตขิ องการผลติ งานศลิ ปะ และตอ้ งสามารถคน้ พบ “จุดลงตัว” ระหว่างแรงดึงของตลาดและคุณค่าทางศิลปะให้ได้ ในท่ามกลางแรง กดดนั ของตลาด พอ่ คา้ และศลิ ปนิ มไิ ดเ้ ปน็ เพยี งฝา่ ยถกู กระท�ำ หรอื ถกู ตลาดจงู จมกู พ่อค้าและศิลปินจ�ำนวนหนง่ึ สามารถสงวนรักษาทั้งคุณค่าเชิงสุนทรีย์และพัฒนา ฝีมอื ไปพร้อมๆ กบั ประสบความสำ� เรจ็ เชิงธุรกิจได้เช่นกนั การศึกษาเรื่องศิลปะกับการจัดความสัมพันธ์ทางสังคมอีกแนวหนึ่ง ท่ี ตรงกันข้ามกับกรณที ่ีเพิ่งกล่าวไป คือการเน้นความขัดแย้งอย่างรุนแรง ในเรื่อง ระบบคุณค่าในการท�ำงานศิลปะในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม งาน ของปราโมทย์และทรงศักดิ์ (2549) ศึกษาความขัดแย้งระหว่างค่านิยมในระบบ

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 73 ทุนนิยม ที่เห็นวัฒนธรรมเป็นสินค้ากับจารีตเก่าท่ีให้ความส�ำคัญทางศีลธรรมและ จิตวิญญาณแก่งานศิลปะ ผู้วิจัยเลือกศึกษากรณีท่ีโรงแรมหรูระดับห้าดาวใน เชยี งใหมล่ อกเลยี นแบบซมุ้ ประตโู ขงทเ่ี กา่ แกข่ องวดั ไหลห่ นิ ในจงั หวดั ล�ำปางโดยมไิ ด้ ขออนญุ าตชาวบ้าน ท�ำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และคัดค้านอย่างกว้างขวางถึง ความไม่เหมาะสม ที่น�ำเอาสัญลักษณ์ของส่ิงศักดิ์สิทธิ์มาลดทอนคุณค่าเป็นเพียง เครอ่ื งประดบั โรงแรมใหด้ อู ลงั การ เมอื่ เรอ่ื งท�ำทา่ จะบานปลาย ฝา่ ยเจา้ ของโรงแรมก็ ใชก้ ลยทุ ธห์ ลายอยา่ งเพอ่ื ทำ� ใหเ้ รอื่ งราวสงบลง แนวโนม้ ตอนสดุ ทา้ ยดจู ะเปน็ ชยั ชนะ ของฝ่ายทุนที่เอาใจชาวบ้านส่วนหนึ่งด้วยการบริจาคเงินถวายวัดของชาวบ้าน รวมทงั้ การทเี่ จา้ หนา้ ทฝี่ า่ ยรฐั กเ็ ขา้ ขา้ งนายทนุ ซง่ึ สอดคลอ้ งกบั นโยบายการสง่ เสรมิ การท่องเทีย่ วอย่างเข้มข้นของรัฐท่สี นบั สนนุ การขายสนิ ค้าทางวฒั นธรรม ปัจจุบนั แม้ความขดั แย้งจะซาลงไป แต่กรณนี คี้ งไม่ใช่กรณสี ุดท้ายที่จะเห็นความศักดส์ิ ิทธิ์ ถกู ท�ำให้กลายเป็นสนิ ค้า 2.8 ศิลปะกับการท้าทายระบบคณุ คา่ ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งศลิ ปะกบั สงั คมในแงส่ ดุ ทา้ ยทจ่ี ะกลา่ วถงึ กค็ อื บทบาท ของศิลปะในการท้าทายระบบคุณค่าหลักท่ีมีอยู่ในสังคม และการน�ำเสนอคุณค่า ใหม่ๆ ทั้งคุณค่าทางสังคมตลอดจนค�ำนิยาม “ความงาม” ของศิลปะ งานวิจัย แนวนี้ มักได้แรงบันดาลในเชิงทฤษฎีจากกระแสหลังสมัยใหม่ การวิพากษ์ความ สมั พนั ธ์เชงิ อำ� นาจของศลิ ปะ การต้ังค�ำถามกับค�ำนิยามศิลปะเชิงจารีตท่ีมองศิลปะเป็นที่รวมของคุณค่า ทางสนุ ทรยี ะ คงจะเหน็ ไดช้ ดั เจนในงานวจิ ยั บณั ฑติ (Pandit, 2006) ซงึ่ ศกึ ษาผลงาน ของศิลปินร่วมสมยั ท้ังทีก่ รงุ เทพฯและภาคเหนอื เพ่อื ชใ้ี ห้เห็นว่างานศลิ ปะสามารถ เป็นปฏิบัติการทางการเมืองทั้งในแง่ของการสถาปนาหรือต่อต้านอุดมการณ์ทาง การเมืองและวัฒนธรรมกระแสหลักได้ บัณฑิตนิยามอุดมการณ์ทางวัฒนธรรม- การเมอื งกระแสหลกั รว่ มสมยั ของไทยวา่ “Siamese diorama” ซงึ่ ชใี้ หเ้ หน็ การผนวก

74 ก�ำ กึ๊ดก�ำ ปาก มโนทศั นเ์ รอื่ งอำ� นาจเขา้ กบั ปรมิ ณฑลของการมองเหน็ ศพั ทค์ ำ� วา่ diorama นน้ั มตี น้ เคา้ มาจากเทคนคิ การน�ำเสนองานศิลปะในปลายศตวรรษท่ี 19 ถึงต้นศตวรรษท่ี 20 ในยุโรปท่ีมีการคิดค้นเทคนิคที่ขยายศักยภาพและขอบเขตของ “การมองเห็น” (visual fei ld) ของผู้เสพย์งานศลิ ป์ให้ไพศาลยงิ่ ขน้ึ เขาขยายความแนวคิดของฟูโกต์ (Foucault) เรื่องอ�ำนาจท่ีมาจากการควบคุมพื้นที่ของการมองเห็น และอธิบายว่า ตัวเทคนคิ การสร้างภาพนนั้ มีอ�ำนาจเหนือผู้ชม เพราะเทคนคิ แต่ละอย่างสามารถ จัดวางต�ำแหน่งแห่งทท่ี างวฒั นธรรมและจนิ ตนาการให้แก่ผู้ชมต่างกันออกไป และ สามารถสรา้ งอารมณใ์ หค้ ลอ้ ยตาม เขาจงึ เลอื กใชม้ โนทศั นด์ โี อรามามาอธบิ ายการ ท�ำงานของอุดมการณ์รัฐชาติไทยในยุคปัจจบุ นั อย่างไรก็ตาม งานวิจัยของเขามีจุดเน้นท่ีศิลปะไทยร่วมสมัยท่ีต่อต้านและ ทา้ ทายดโี อรามาทางการเมอื งดงั กลา่ ว เขาเลอื กงานศลิ ปะทต่ี งั้ ค�ำถามกบั คำ� นยิ าม ศิลปะตามแนวจารีต เช่นงานประติมากรรมรูปโครงเหล็กที่ผูกโยงกันไว้เป็นทรง สามเหลี่ยมคล้ายพระสถูป ของมณเฑียร บุญมาซึ่งต้องการส่ือให้คนมองทะลุ ภาพปรากฏผวิ เผนิ ของพระสถปู เจดยี ท์ เ่ี สรจ็ งดงาม วา่ เบอ้ื งหลงั ความงดงามนนั้ คอื หยาดเหง่ือแรงงานของช่างซึ่งถูกหลงลืมละเลย เพราะช่ือบุคคลท่ีได้รับการจารึก มักเป็นช่ือของเจ้าภาพท่ีถวายปัจจัยสร้างสถูปเท่านั้น อีกตัวอย่างหน่ึง คือผล งานของฤกษ์ฤทธิ์ ตีรวณชิ ซ่ึงดัดแปลงสตูดิโอศิลปะของเขาที่นิวยอร์คให้กลาย เป็นสถานที่ท�ำก๋วยเต๋ียวผัดไทยแก่ผู้เข้าชมงานศิลปะได้ลองชิม กรณนี ้ี กระแทก คำ� นยิ ามตามจารตี เดมิ ๆ ของการจดั หอ้ งแสดงภาพทมี่ กั ทำ� ใหศ้ ลิ ปะเปน็ เรอื่ งขรมึ ขลงั จรงิ จงั และเปน็ เรอื่ งเฉพาะทาง มที ที่ างจดั แสดงเปน็ การเฉพาะ ผสู้ รา้ งงานตอ้ งเปน็ มืออาชีพและศิลปะเป็นเรื่องความงามที่ต้องอาศัยความรู้และต้องมีจารีตระเบียบ บางอยา่ งในการเขา้ รบั ชม ผเู้ ขา้ ชมเปน็ เพยี ง “ผดู้ ”ู ทไ่ี มม่ สี ว่ นในงานนน้ั ๆ ฤกษฤ์ ทธิ์ ต้องการสลายเส้นแบ่งดังกล่าว ด้วยการท�ำให้กิจกรรมพ้ืนๆ ท่ีแสนจะธรรมดาใน ชีวิตประจ�ำวันกลายเป็น “ศิลปะ” และให้ผู้ชมสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับการ ผลิตงานได้อย่างใกล้ชิด เช่นนี้เท่ากับศิลปินไทยได้สานต่อการวิจารณ์ค�ำนิยาม ศิลปะของศิลปินตะวันตกอย่างเช่น มาร์เซ็ล ดูช็องป์ (Marcel Duchamp) และ

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 75 แอนด้ี วารโ์ ฮล (Andy Wahrhol) ทต่ี ง้ั คำ� ถามวา่ ศลิ ปะคอื อะไรดว้ ยการนำ� โถปสั สาวะ สำ� เร็จรูปและกล่องใส่สบู่มาวางกระแทกความรู้สึกของผู้ชมในแกลเลอรี นอกจากศลิ ปนิ ชายแลว้ บณั ฑติ ยงั คดั เลอื กงานของศลิ ปนิ หญงิ มาอา่ นใหม่ ด้วย อารยา ราษฎร์จ�ำเริญสุขจากมหาวิทยาลยั เชียงใหม่ ก่อให้เกดิ กระแสวพิ ากษ์ ในหมนู่ กั วจิ ารณง์ านศลิ ปะเมอื่ เธอนำ� เอาศพของจรงิ มาเปน็ องคป์ ระกอบสำ� คญั ของ งานศลิ ปะ มภี าพชดุ ในวดี โิ อทอี่ ารยาอา่ นบทกวจี ากเรอื่ ง “อเิ หนา” ใหศ้ พผหู้ ญงิ ฟงั เป็นบทกวีท่ีร�ำพึงร�ำพันแสดงความอาลัยต่อการสูญเสียความรัก วิดิโออีกชุดหนงึ่ ฉายภาพอารยาเดินช้าๆ อ่านบทกวีท่ามกลางศพท่ีนอนเรียงราย มีผู้ต้ังค�ำถามว่า น่ีเป็นการละเมิดสิทธ์ิของผู้ตายหรือไม่ ผู้บริจาคศพเพ่ือการศึกษาทางการแพทย์ คงคาดไม่ถึงว่าร่างของพวกเธอจะต้องกลายมาเป็นวัตถุทางศิลปะ เป็นวัตถุแห่ง การจ้องมองของคนเป็น นี่เป็นค�ำถามเชิงศีลธรรม ขอบเขตและความสัมพันธ์ ระหว่างงานศลิ ปะและศีลธรรมอยู่ตรงไหน บณั ฑติ เองก็เห็นด้วยว่างานของอารยา ชใ้ี ห้เหน็ ความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจท่ไี ม่เท่าเทยี มระหว่างคนเป็นและคนตาย อย่างไรกต็ ามยงั มีประเดน็ อ่ืนด้วย บัณฑิตอ่านงานของอารยาด้วยแว่นของ จูดิธ บัทเลอร์ (Judith Butler) นกั สตรีนิยมแนวหลังสมัยใหม่ท่ีไถ่ถอนการยึดติด กับสารัตถะแห่งความเป็นเพศสภาพด้วยมโนทัศน์ “ศักยภาพแห่งการแสดง” (performativity) คำ� คำ� นจี้ งใจใหม้ นี ยั ยะตา่ งจากคำ� วา่ “การแสดงออก” (expression) ซง่ึ แฝงการอา้ งองิ ถงึ อะไรบางอยา่ งทมี่ มี าอยกู่ อ่ นขา้ งในตวั คน อาจเปน็ ความนกึ คดิ หรืออารมณ์ลึกๆ ที่เป็นตัวตนแก่นแท้ หรือเอกลักษณ์บางอย่างซ่ึงถูกแสดงออก มาให้เห็นด้านนอก แต่มโนทัศน์ “ศักยภาพแห่งการแสดง” ท�ำให้เพศสภาพหลุด ออกจากการผูกติดกับความมีแก่นแกนหรอื สารตั ถะด้านใน การแสดงเป็นเพยี งชดุ การกระทำ� ซำ�้ ๆ มลี กั ษณะคลา้ ยพธิ กี รรมตรงทม่ี นั ประจไุ วด้ ว้ ยระบบคณุ คา่ บางอยา่ ง การแสดงนี้มีฐานที่ร่างกาย และแบบแผนการกระท�ำซ�้ำๆ นี่เองที่สร้างแบบแผน ความเป็นเพศบางอย่างข้ึนมา เช่นท�ำให้กุลสตรีต้องมีความเคยชินในอากัปกิริยา แบบหนง่ึ ๆ ท่ีถือว่าถูกต้องเหมาะสม แต่บัทเลอร์เห็นว่าเนื่องเพราะเพศสภาพเป็น เพียงการแสดง คนเราจงึ สามารถปฏเิ สธการแสดงทถ่ี กู ยัดเยยี ดมาให้และสามารถ สร้างการแสดงชุดใหม่ได้เสมอ

76 ก�ำ กึ๊ดก�ำ ปาก บัณฑิตเห็นว่างานศิลปะของอารยาเป็นการแสดง ท่ีมีจุดประสงค์ท้าทาย ขนบจารีตหลายอย่าง ศิลปินจงใจใช้ศพ ซ่ึงตรงข้ามกับส่ิงที่คนท่ัวไปคาดว่าจะ เป็นวัตถุของงานศิลปะ ก็เพ่ือให้ความรุนแรงทางความรู้สึกนก้ี ระแทกผู้ชมออกมา จากความเคยชินเก่าๆ ศพของผู้หญิงคือสัญลักษณ์อันเป็นรูปธรรมท่ีสุดของ ชะตากรรมอนั ขมขน่ื คบั แคน้ ของผหู้ ญงิ ในสงั คม ทถ่ี งึ แมจ้ ะยงั คงมชี วี ติ แตก่ อ็ าจไม่ ตา่ งจากศพเดนิ ไดท้ ต่ี อ้ งถกู จำ� กดั ถกู บงการ ถกู ควบคมุ ตดั สนิ อยภู่ ายใตค้ า่ นยิ มแบบ ชายเป็นใหญ่ เช่นน้แี ล้ว มอี ะไรต่างกันระหว่างศพเดินได้กับศพในโลงเล่า อารยา จงใจให้คนดูสัมผัสได้กับความอ้างว้างหดหู่ส้ินหวัง จงใจเขย่ามาตรฐานในการ ตัดสินและนิยามงานศิลปะ และตั้งค�ำถามอย่างถึงรากกับพิษภัยของวัฒนธรรม ในสงั คมชายเป็นใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยของทัศนัย (Thassanai, 2011) ที่ศึกษาขบวนการ เคลื่อนไหวทางสังคมท่ีเรียกว่า “กลุ่มเชียงใหม่จัดวางสังคม” ซ่ึงปรากฏตัวขึ้นใน ปี 2535 จดุ ประสงค์หลักคอื ดงึ งานศลิ ปะออกมาจากแกลเลอรใี ห้ประชาชนเข้าถึง ได้ง่าย ศลิ ปินทง้ั ไทยและเทศ ครูสอนศิลปะ นกั ศกึ ษา นกั เคล่ือนไหวท้องถน่ิ และ นักวิชาการได้รับเชิญให้เข้าร่วมเสนอความคิดและงาน มีทั้งการจัดบรรยาย นทิ รรศการ เสนอปญั หาสงั คมตา่ งๆ ทงั้ ปญั หาชนกลมุ่ นอ้ ย ผตู้ ดิ เชอ้ื เอดส์ สลมั ในเมอื ง โสเภณี เปน็ ตน้ งานศลิ ปะหลากแบบถกู จดั วางตามกำ� แพงเมอื งเกา่ รมิ คเู มอื ง รมิ ถนน ป่าช้า ลานวัด ซากปรักหักพังของเจดีย์ และสะพานต่างๆ ในเมือง ต่อมามีการ ขยายพนื้ ทจี่ ดั แสดงงานไปตามบา้ นพกั และทสี่ าธารณะอน่ื ๆ กจิ กรรมดงั กลา่ วทำ� ให้ ศิลปะกลายเป็น “การปั้นรปู สังคม” (social sculpture) ซงึ่ เป็นมโนทศั น์ทเี่ สนอโดย โจเซฟ บอยซ์ (Joseph Beuys) ศลิ ปนิ ชาวเยอรมนั ผตู้ อ้ งการใหง้ านศลิ ปะเปน็ หนทาง สร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม งานศลิ ปะทก่ี ลา่ วมานม้ี งุ่ ตงั้ คำ� ถามกบั มาตรฐานเชงิ จารตี ทเี่ ปน็ ระบบคณุ คา่ ตา่ งๆ ทง้ั ทางศลิ ปะและวฒั นธรรมการเมอื งในอดุ มการณก์ ระแสหลกั อยา่ งไรกต็ าม การปฏเิ สธคุณค่าเหล่านนั้ มไิ ด้หมายถึงการปฏิเสธคุณค่าใดๆ ทงั้ หมด หรอื ปฏิเสธ จะนยิ ามศลิ ปะกบั คณุ คา่ อยา่ งสน้ิ เชงิ ตรงกนั ขา้ ม งานศลิ ปะทางเลอื กมงุ่ ยนื อยขู่ า้ ง

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 77 เสยี งสว่ นนอ้ ยทเ่ี ปน็ ชายขอบของสงั คม เลอื กทจ่ี ะนยิ ามตนกบั คณุ คา่ ทถี่ กู ปฏเิ สธจาก วฒั นธรรมกระแสหลกั มงี านวจิ ยั ทมี่ งุ่ ศกึ ษาวฒั นธรรมกระแสรองดงั กลา่ วอยหู่ ลายชน้ิ งานของสรุ ยิ าและคณะ (2541) มองลเิ กในกรอบของ “วฒั นธรรมประชา” (popular culture) โดยใช้กรอบมโนทศั น์หลังสมยั ใหม่มาอ่านและประเมินค่าลเิ ก และมองลเิ กเป็นพืน้ ท่ี ในการต่อรองระหว่างวัฒนธรรมหลวงและวัฒนธรรมราษฎร์ แม้วัฒนธรรมหลวงจะ ดแู คลนลิเก แต่วัฒนธรรมประชาก็มใิ ช่คู่ตรงข้ามกับวฒั นธรรมหลวง ทน่ี ่าสนใจกค็ ือ ผู้วิจัยมิได้จ�ำแนกให้ลิเกเป็นประเภทหน่ึงของวัฒนธรรมพ้ืนบ้าน หรือวัฒนธรรม เฉพาะถนิ่ เน่อื งจากผู้วจิ ยั เหน็ ว่า ในแง่ของต้นเค้าก�ำเนดิ ลเิ กอุบัติข้ึนจากการพัฒนา รูปแบบและการผสมผสานระหว่างบทสวดของแขกอิสลามและบทสวดพระมาลัย ลเิ กจงึ มไิ ดเ้ ปน็ สมบตั ขิ องถนิ่ ใดถนิ่ หนง่ึ เปน็ การเฉพาะ แมใ้ นแตล่ ะทจี่ ะมกี ารประยกุ ตใ์ ห้ เขา้ กบั ความนยิ มเฉพาะถน่ิ นนั้ ๆ กต็ าม ผวู้ จิ ยั จงึ จดั ใหล้ เิ กอยใู่ นหมวดวฒั นธรรมประชา ซงึ่ นอกจากจะเปน็ ศลิ ปะทปี่ ระชาชนเปน็ เจา้ ของ ผผู้ ลติ และผเู้ สพแลว้ ยงั มกี ารปรบั ตวั ให้โอบรับเอาความทันสมัยในแง่ต่างๆ เข้ามาด้วย วัฒนธรรมด้ังเดิมจึงปนเปไปกับ ความเป็นสมัยใหม่ในลเิ ก ผู้วิจัยยังประยุกต์มโนทัศน์ร่างอุจาด (grotesque body) ของมิคาเอล บัคติน (Mikhail Bakhtin) มาใชว้ เิ คราะหก์ ารทลี่ เิ กแสดงออกอยา่ งตรงไปตรงมาถงึ ความเปน็ จรงิ ของชวี ติ จากกจิ กรรมพนื้ ๆ เชน่ ขบั ถา่ ย หรอื การรว่ มเพศ ซงึ่ ถกู กดบงั คบั และนยิ ามเปน็ ความอจุ าดในวฒั นธรรมชนั้ สงู นอกจากบนเวทแี ลว้ นอกเวทลี เิ กแมย่ กทมี่ ฐี านะบางคน ยังนิยมตามจีบและมีเพศสัมพันธ์กับพระเอกลิเกด้วย นี่ก็นับเป็นการแหวกจารีต ประเพณขี องผหู้ ญงิ ทด่ี เี ชน่ กนั การแสดงกจิ กรรม “อจุ าด” ตา่ งๆ ทงั้ บนเวทหี รอื นอกเวที จงึ ท�ำให้ร่างกายนน้ั มีนัยยะทางการเมอื งของการท้าทายและมองโลก จากการหกหวั กลบั ดา้ นของคา่ นยิ มหลกั ทางสงั คม มโนทศั นก์ ารวจิ ยั ดงั กลา่ วจงึ ท�ำใหผ้ อู้ า่ นมองลเิ ก เสียใหม่ ว่ามีศักยภาพเชิงท้าทายอุดมการณ์และค่านยิ มหลกั ของสังคม นอกจากน้ี ยังมีงานน่าสนใจในแนวประวัติศาสตร์วิพากษ์อีกชิ้นหนึ่ง ท่ีศึกษาการตีความความหมายของช่ือเมืองโบราณคือ “หริภุญไชย” และ “ล�ำพูน” (เพ็ญสุภา, 2548) เน่ืองจากมีการตีความหมายของค�ำท้ังสองต่างกันไป

78 ก�ำ กด๊ึ กำ�ปาก หลากหลายแนว รวมถงึ วธิ สี ะกดคำ� วา่ “หรภิ ญุ ไชย” และ “หรภิ ญุ ชยั ” วา่ อยา่ งไหนแน่ ที่ถูกต้อง ในประเด็นความหมายของช่ือเมืองน้ัน มีทฤษฎีที่ตีความต่างกันไป หลายแนว สรุปลงได้เป็นความต่างใหญ่ๆ สามแนว แนวแรกตีความว่าชื่อเมืองนี้ เกี่ยวข้องกับประวัติพระนางจามเทวี ตอนท่ีมีการอภิเษกพระนางบนกองทอง (หริ=ทองค�ำ, ปุญเช=กองเนิน) แนวที่สอง ตีความโดยสัมพันธ์กับอิทธิพลของ พุทธศาสนาในดินแดนแถบน้ี เพราะปราชญ์ท้องถ่ินบางท่านเสนอค�ำแปลว่า หริตะ=ผลสมอ, ภุญชะ=การกิน ดังนนั้ เมืองนน้ี ่าจะเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคย ประทบั ฉนั ลกู สมอตามคตคิ วามเชอื่ ของลา้ นนาในเรอ่ื งการเสดจ็ มาของพระพทุ ธเจา้ ในแถบนซี้ ง่ึ หยงั่ รากฝงั ลกึ และปรากฏในต�ำนานทอ้ งถนิ่ หลายฉบบั สว่ นการตคี วาม แบบท่ีสาม หริ=พระนารายณ์, ปัญจ์ชยะ=หอยสังข์ การตีความแนวนข้ี ัดแย้งกับ กลุ่มท่ีสองเป็นอย่างมากเพราะเสนอว่าอิทธิพลทางวัฒนธรรมของฮินดูต่างหากท่ี ฝังรากหยง่ั ลึกในแถบน้ี มใิ ช่วัฒนธรรมพทุ ธ โดยมีหลักฐานอน่ื ๆ ท่ีสนับสนนุ เช่น ผังเมืองล�ำพูนท่ีมีรูปร่างคล้ายหอยสังข์ตลอดจนชื่อเมืองโบราณอีกหลายแห่งที่ ข้ึนต้นด้วย “หร”ิ เช่นกนั ความขัดแย้งในการตีความดังกล่าวมีมานานก่อนหน้าการตีพิมพ์งานช้ินน้ี และเป็นความขัดแย้งท่ียากลงเอยได้เพราะนอกจากแต่ละฝ่ายจะพยายาม หาหลกั ฐานมาสนบั สนนุ การตคี วามของตนแลว้ ประเดน็ นย้ี งั เกย่ี วขอ้ งกบั ความรสู้ กึ ละเอยี ดออ่ นของคนปจั จบุ นั ทม่ี ตี อ่ อดตี ของตน ชาวลา้ นนาทนี่ ยิ ามความเปน็ ลา้ นนา กับความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาย่อมยากท่ีจะยอมรับอดีตแห่งความรุ่งเรืองของ วัฒนธรรมพราหมณ์ ส่วนผู้ท่ีนิยามล�ำพูนกับต�ำนานพระนางจามเทวีก็ย่อมผูกพัน กับการตีความแบบแรก การตีความอดีตกลับกลายเป็นการเมืองของความทรงจ�ำ ของคนปัจจุบัน อดีตในความเป็นจริงจะเป็นเช่นไรอาจไม่ส�ำคัญเท่ากับว่า คนปจั จบุ นั ตอ้ งการมองอดตี ตนเชน่ ไร จดุ ทนี่ า่ สนใจของหนงั สอื เลม่ นอี้ ยทู่ วี่ า่ เมอื่ เรอื่ ง นก้ี ่อกระแสความระคายเคืองในความรู้สึกของผู้คนที่เก่ียวข้อง ผู้รวบรวมงานชิ้นนี้ จึงใช้วิธีการจัดเวทีเสวนาสาธารณะแบบประชาพิจารณ์เชิงวิชาการหลายครั้งโดย ระดมผู้เชี่ยวชาญหลากแขนง ทั้งนกั ประวัติศาสตร์ นกั นิรุกติศาสตร์ ผู้เช่ียวชาญ การปรวิ รรตอกั ขระโบราณ นกั ลา้ นนาคดี นกั มานษุ ยวทิ ยา ผเู้ ชย่ี วชาญประวตั ศิ าสตร์

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 79 พทุ ธศาสนา และพระสงฆ์ เปน็ ตน้ ใหม้ าเขา้ รว่ มเสวนาโดยระมดั ระวงั และพยายาม จะให้ผู้ที่เห็นต่างกันทุกฝ่ายมีโอกาสเสนอความคิดของตน และผู้ประสานงาน ท�ำหน้าที่เป็นเพียงผู้เรียบเรียงความเห็นเหล่านน้ั ออกมาตีพิมพ์ นน่ี ับเป็นทางออก ที่ดีท่ีให้ทุกฝ่ายมีโอกาสเปล่งเสียงของตน ที่สำ� คัญท�ำให้เราเห็นประวัติศาสตร์ว่า เปน็ เรอื่ งของการครนุ่ คดิ ถงึ ความเปน็ ไปไดข้ องอดตี มากกวา่ ทจี่ ะเปน็ การประทบั ตรา มาตรฐานแห่งความจริงลงบนอดตี งานของเพ็ญสุภาจึงน่าสนใจตรงท่ีพยายามเสนอจารีตใหม่ในวงวิชาการ คือการใช้แนวทางการเสวนาประชาพิจารณ์เชิงวิชาการไปใช้กับข้อถกเถียงทาง ประวัติศาสตร์ที่มีความละเอียดอ่อน อันท่ีจริง เรายังมีประเด็นทางประวัติศาสตร์ ที่ยังถกเถียงกันไม่ลงตัวอีกหลายเร่ือง และน่าสังเกตว่าหลายๆ เร่ืองก่อให้เกิด ความขัดแย้งและความรู้สึกปกป้องอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นสูงย่ิง เมื่องานวิจัยบางชิ้นพยายามชี้ให้เห็นความเป็นวาทกรรมของอัตลักษณ์ดังกล่าว ที่ผ่านมา หลายกรณที �ำให้เกิดกระแสอารมณ์ท่ีรุนแรงของชุมชนท้องถ่ินตอบโต้ นกั วิจัยและผลงานวิจัยจนกระท่ังกลายเป็นประเด็นทางการเมืองย่อยๆ และท�ำให้ ความน่าสนใจเชิงวิชาการถูกกลบหาย จึงควรอย่างยิ่งท่ีจะมีการสนับสนนุ ให้นำ� จารตี ของการเปิดเสวนาเช่นนไี้ ปลองใช้กบั กรณีอ่นื ๆ ดูบ้าง 2.9 บทสรปุ จากที่กล่าวมาทง้ั หมด จะเหน็ ได้ว่า โจทย์และทิศทางของงานวิจัยเกย่ี วกับ ศิลปวัฒนธรรมนั้นถูกก�ำหนดเป็นอย่างมากจากความเข้าใจของผู้วิจัยเก่ียวกับ ความหมายและค�ำนิยาม ศิลปวัฒนธรรมนั้นเอง งานวิจัยส่วนใหญ่ยังคงมอง ศิลปวัฒนธรรมจากมุมมองแบบสารัตถะนิยม คือ มองเห็นว่าศิลปวัฒนธรรมเป็น เรอื่ งของระบบคณุ คา่ รว่ ม วฒั นธรรมเปน็ “ความจรงิ ” ทมี่ สี ารตั ถะแนน่ อน และมพี ลงั ในการสร้างความผูกพัน สร้างอัตลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์และความเป็นชาติ เป็นการมองวัฒนธรรมเชิงบวก อย่างไรก็ตาม ก็พบว่ามีงานวิจัยจ�ำนวนหนึ่ง

80 ก�ำ กึ๊ดก�ำ ปาก แม้จะไม่มากเท่ากลุ่มแรก แต่ก็มีคำ� นยิ ามศิลปวัฒนธรรมท่ตี ่างออกไป คือมองเห็น เรอ่ื งดงั กลา่ วเป็น “วาทกรรม” หรอื ภาพแทนความจรงิ ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั ความสมั พนั ธ์ เชงิ อำ� นาจทง้ั อำ� นาจในระดบั มหภาค เชน่ การเมอื งระหวา่ งรฐั หรอื เผา่ พนั ธท์ุ แี่ ตกตา่ ง กันไปจนถึงอ�ำนาจในระดับจุลภาคที่ควบคุมพฤติกรรมของปัจเจก การมอง แบบหลังนี้จึงท้าทายระบบคุณค่าร่วมที่ทัศนะแบบแรกน�ำเสนอ และไม่มอง วฒั นธรรมว่าเป็นปกึ แผน่ แนน่ หนา ตรงข้าม มกั เน้นความขดั แย้งภายในวฒั นธรรม และนำ� เสนอระบบคณุ ค่าใหม่ท่ีวิพากษ์และตั้งค�ำถามกบั ระบบคณุ ค่าเดิมท่ีมอี ยู่ ขอ้ เสนอแนะทา้ ยบทมสี องดา้ น ดา้ นแรกเปน็ เรอื่ งของทศิ ทางงานวจิ ยั เกย่ี วกบั ศลิ ปวฒั นธรรมทน่ี า่ จะสนบั สนนุ ในอนาคต ดา้ นทส่ี อง เปน็ เรอื่ งของทศิ ทางเกย่ี วกบั นโยบายดา้ นวฒั นธรรมของรฐั ทง้ั สองประเดน็ นค้ี าบเกยี่ วกนั อยู่ เนอื่ งจากมที ม่ี าจาก รากของปญั หาเดยี วกนั ผเู้ ขยี นเหน็ วา่ ปญั หาส�ำคญั เกยี่ วกบั วฒั นธรรมในปจั จบุ นั นี้ มีรากเหง้าส�ำคัญอย่างหนึ่ง น่ันก็คือ อาการขาดวุฒิภาวะทางวัฒนธรรม ซึ่ง แสดงออกให้เห็นจากวิธีการที่สังคมหรือรัฐตอบโต้ต่อปัญหาทางวัฒนธรรมต่างๆ ที่เกิดข้ึน ในส่วนภาคสังคม เราจะเห็นการตอบโต้ด้วยอารมณ์รุนแรง ในกรณีท่ีสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมบางอย่างถูกตั้งค�ำถาม ไม่ว่าจะเป็นกรณีท่ี นกั การเมืองหญิงจากภาคกลางเสนอให้วัดทางภาคเหนือยกเลิกประเพณี ท่ีห้าม ผู้หญิงเข้าไปในเขตด้านในของพระธาตุ หรือกรณีวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของ นกั ศกึ ษาจากมหาวทิ ยาลยั ในภาคกลางแหง่ หนงึ่ ตงั้ ข้อสงั เกตเกยี่ วกบั ความเปน็ มา ทางประวัติศาสตร์ของท้าวสุรนารีว่า อาจเป็นเร่ืองของวาทกรรมการสร้างวีรสตรี กไ็ ด้ สงิ่ ทน่ี า่ สนใจกค็ อื ทอ้ งถนิ่ ทอ่ี า้ งความเปน็ เจา้ ของวฒั นธรรมมไิ ดพ้ ยายามหกั ลา้ ง อธิบายประเด็นในเชิงข้อมูลหรือข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ แต่กลับมีปฏิกิริยา ตอบโต้ด้วยอารมณ์ท่ีรุนแรงถึงข้ันรวมกลุ่มสาปแช่ง และท�ำให้กระบวนการศึกษา หาข้อเท็จจริงในประเด็นนนั้ ๆ ถูกกลบหาย กลายเป็นเร่ือง “ของของข้า ใครอย่า แตะ” ในสว่ นภาครฐั นนั้ อาการขาดวฒุ ภิ าวะทางวฒั นธรรมเหน็ ไดช้ ดั จากนโยบาย เก่ียวกับวัฒนธรรมของรัฐเอง นโยบายด้านวัฒนธรรมของรัฐมีสมมติฐานอยู่ท่ี

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 81 การมองวัฒนธรรมในเชิงสารัตถะนิยม คือการเห็นวัฒนธรรมเป็นสิ่งท่ีมีแก่นแกน มีความต่อเน่ือง แก่นแกนดังกล่าวสัมพันธ์กับจิตส�ำนึกชาตินิยมอย่างแยกไม่ ออก คุณค่าและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมคือ “ความเป็นไทย” ถึงขั้นท่ีคร้ังหนง่ึ มกี ารใหน้ ยิ ามทชี่ ดั เจนวา่ เอกลกั ษณค์ วามเปน็ ไทยทวี่ า่ น้ี คอื อะไรบา้ ง และนโยบาย เชิงอนุรักษ์ก็จะเน้นการตอกย�้ำที่ตัวรูปแบบทางวัฒนธรรม และเม่ือใดก็ตามที่เกิด ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางวัฒนธรรม จะพบการแก้ปัญหาของรัฐในลักษณะ วัวหายล้อมคอก หรือการเน้นนโยบายป้องปราม โดยเฉพาะปัญหาพฤติกรรมที่ ไม่เหมาะสมของวยั รุ่น ไม่ว่าจะเป็นเรอื่ งยาเสพตดิ และพฤติกรรมด้านเพศสัมพนั ธ์ สิ่งท่ีน่าจะเป็นโจทย์การวิจัยท่ีน่าให้การสนับสนุนเป็นอย่างยิ่งก็คือ ตัวอาการขาดวุฒิภาวะทางวัฒนธรรมน่ีเอง ว่ามาจากไหนและเกิดจากเง่ือนไข ทางประวตั ศิ าสตรส์ งั คมอย่างไร อนั ทจ่ี รงิ กเ็ คยมคี วามพยายามจะวิเคราะห์อาการ ดงั กลา่ วอยบู่ า้ ง เชน่ บทความของเกษยี ร เตชะพรี ะเรอื่ ง “บรโิภคความเปน็ ไทย” (2539) ทไ่ี ดร้ บั การสนบั สนนุ จากสกว. ซงึ่ เสนอการวเิ คราะหก์ ระแสนยิ มบรโิ ภคความเปน็ ไทย จากมุมมองทางทฤษฎีแบบสัญศาสตร์ (semiotics) และได้ข้อสรุปประการหนง่ึ ว่า เพราะ “ความเป็นไทย” เป็นสิง่ ว่างกลวงนีเ่ อง จงึ ท�ำให้สามารถนำ� ไปปะตดิ ปะต่อ ผสมผสานเข้ากับอะไรมากมายทไ่ี ม่ใช่ไทย อย่างไรกต็ ามข้อสรุปนก้ี ย็ ังมใิ ช่ข้อสรุป สดุ ทา้ ย แตอ่ ยา่ งนอ้ ยกเ็ ปน็ ความพยายามทจ่ี ะกระเทาะเปลอื กแหง่ มายาคตใิ หเ้ หน็ กระบวนการประกอบสร้างความเป็นไทยขน้ึ มา ผู้เขียนใคร่เสนอว่าอาการขาดวุฒิภาวะทางวัฒนธรรมดังกล่าว ส่วนหนง่ึ มาจากการขาดกระบวนการไตร่ตรองมองตน (self-reflflflexivity) ทางวัฒนธรรม กระบวนการน้ีเป็นการใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง และประกอบไปด้วยความสามารถท่ี จะกา้ วออกมาจากจดุ ทต่ี นเองยนื อยแู่ ละมองยอ้ นกลบั ไปทตี่ นเอง กลา่ วอกี นยั หนง่ึ จ�ำต้องมีมุมมองเชิงวิพากษ์ต่อตนเอง (self-criticism) เป็นองค์ประกอบส�ำคัญ จะเหน็ ไดว้ า่ วฒั นธรรมไทยคอ่ นขา้ งมอี คตติ อ่ ความคดิ เชงิ วพิ ากษ์ เมอื่ หลายปกี อ่ น มี โฆษณาทางโทรทศั นช์ นิ้ หนงึ่ ทเี่ สนอภาพคตู่ รงขา้ มหลายๆ คู่ เชน่ ตะวนั ตก-ตะวนั ออก หนง่ึ ในตัวอย่างท่ีน�ำเสนอเป็นคู่ตรงข้ามระหว่าง “สร้างสรรค์” ซึ่งแทนภาพด้วย

82 กำ�ก๊ึดกำ�ปาก ปลายของดินสอ และ “วิพากษ์วิจารณ์” ซ่ึงแทนภาพด้วยด้านท่ีเป็นยางลบ บนหัวดินสอ นี่แสดงว่าการวิพากษ์วิจารณ์หรือการมีความเห็นแตกต่างถูกมองว่า เปน็ อนั ตรายตอ่ ความสามคั คหี รอื ความสมานฉนั ทแ์ หง่ ชาติ ความคดิ เชน่ นเ้ี รยี กรอ้ ง ให้ทกุ ๆ คนต้องคดิ เหมือนๆ กนั ไปหมด และความแตกต่างถือเป็นภัยคุกคามทาง วัฒนธรรม นี่เป็นตัวอย่างชัดเจนของการขาดความอดกลั้นซ่ึงท้ายสุดสามารถ นำ� ไปสู่ความรนุ แรงท้ังทางวฒั นธรรมและทางการเมือง ดังนั้น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในด้านท่ีเก่ียวกับทิศทางการวิจัยทาง วฒั นธรรมกค็ อื นา่ จะมกี ารสนบั สนนุ งานวจิ ยั ศลิ ปวฒั นธรรมเชงิ วพิ ากษ์ให้มากขนึ้ อนั ทจ่ี รงิ การทง่ี านวจิ ยั แนววพิ ากษม์ ไี มม่ ากนกั กเ็ ปน็ ขอ้ เทจ็ จรงิ ทฟี่ อ้ งวา่ สงั คมไทย ยังไม่ค่อยเคยชินหรือยอมรับกับทัศนะเชิงวิพากษ์ โดยเฉพาะเมื่อส่ิงท่ีถูกวิพากษ์ ไดร้ บั การประทบั ตราเปน็ “เอกลกั ษณข์ องชาต”ิ ผเู้ ขยี นอยากเสนอวา่ นา่ จะตง้ั โจทย์ วจิ ยั ในทำ� นองทว่ี า่ องคป์ ระกอบและกระบวนการประกอบสรา้ ง “วฒั นธรรมแหง่ ชาต”ิ และศิลปวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีเงื่อนไขใดบ้าง ท่ที ำ� ให้วัฒนธรรมสามารถกลายไปเป็นเครอ่ื งมอื ของความรนุ แรง ความรนุ แรงทาง วัฒนธรรมแสดงออกในรูปแบบใดบ้าง และมีกลไกทางสังคมใดท่ีเอื้อเฟื้อให้พลัง เหล่านน้ั คงอยู่ และมีเงื่อนไขใดบ้างที่เอื้อเฟื้อให้วัฒนธรรมท่ีแตกต่างกันสามารถ อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ นอกจากนนั้ น่าจะสนับสนนุ แนวการศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ หรือการจัดเสวนาประชาพิจารณ์เชิงวิชาการในประเด็น ทเ่ี ปน็ ขอ้ ขดั แยง้ ทางวชิ าการและทางวฒั นธรรม อกี ประเดน็ หนงึ่ ทนี่ า่ สนบั สนนุ กค็ อื งานวจิ ัยเชงิ ศลิ ปวัฒนธรรมเปรียบเทียบซ่ึงก็ยังมีไม่มากเช่นกนั อาจเป็นการเปรยี บ เทียบระหว่างภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยในหัวข้อเดียวกัน หรือเปรียบเทียบ ระหวา่ งไทยกบั ประเทศเพอื่ นบา้ นกไ็ ด้ งานศกึ ษาเปรยี บเทยี บอาจจะชว่ ยท�ำให้เหน็ แบบแผนทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกัน หรือมองเห็นร่องรอยของการหยิบยืมถ่ายทอด ดัดแปลงหรอื ตคี วามใหม่ ข้อเสนอแนะประการท่ีสองคือประเด็นเกี่ยวกับทิศทางของนโยบาย ด้านวัฒนธรรมของรัฐ รัฐคงต้องพยายามปรับเปล่ียนทัศนคติต่อวัฒนธรรมให้มี

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 83 ความยืดหยุ่นมากข้ึน โดยตระหนกั ว่า ความเข้มแข็งท่ีแท้จริงของวัฒนธรรมมิได้ ขึ้นอยู่กับความพยายามตีกรอบจ�ำกัดตนเอง และขจัดส่ิงแปลกปลอมที่ขัดแย้งกับ ค�ำนิยามของระบบคุณค่าของตนออกไป ความเข้มแข็งที่แท้จริงข้ึนอยู่กับว่าแม้ จะพบกับการท้าทาย หากวัฒนธรรมใดสามารถโอบเอาความแตกต่างเข้ามาหรือ หาวิธีอยู่กับความแตกต่างได้โดยไม่เป็นปฏิปักษ์ จึงนับว่าวัฒนธรรมน้ัน มีความเข้มแข็งที่แท้จริง หากเราไม่รู้เท่าทันกระบวนการทางวัฒนธรรม หลาย กรณกี ารณ์กลายเปน็ วา่ เรากำ� ลงั ใชว้ ฒั นธรรมเป็นเครอ่ื งมอื ของความรนุ แรง ไม่วา่ จะเป็นความรุนแรงเชิงกายภาพหรือเชิงสัญลักษณ์เพ่ือจัดการกับ “ความเป็นอื่น” เรากลวั วา่ “ความไมไ่ ทย” นน้ั จะมาคกุ คามเรา แตด่ เู ราจะไมส่ นใจเวลาทเ่ี ราบรโิ ภค “ความเป็นอืน่ ” ในบางลกั ษณะเช่น เคร่ืองส�ำอางของนอก ดังนั้น การสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมจึงมิใช่การพยายามบังคับ ให้ต้องเคารพธงชาติ และการอนุรักษ์ก็มิใช่การตอกย้�ำท่ีตัวรูปแบบทางวัฒนธรรม หรือตอกย�้ำจิตส�ำนกึ ให้ยึดติดความเป็นไทยตรงรูปแบบ การสร้างความเข้มแข็ง น่าจะมาจากการปลูกฝังให้มีการใคร่ครวญมองตนอย่างใจกว้างและลึกซ้ึง ทางวัฒนธรรม สนับสนุนให้เรามีศักยภาพที่จะมองตนเองได้จากเหล่ียมมุมท่ี ต่างออกไปจากจุดทเี่ รายืนอยู่ มีความพร้อมท่ีจะรบั ฟังความเหน็ ต่าง และมองเหน็ ว่าวัฒนธรรมเป็นเร่ืองของกระบวนการสนทนาต่อรองและกระบวนการปรับเปลี่ยน อตั ลกั ษณ์ทเ่ี ปลย่ี นแปลงอยู่ตลอดเวลา

84 กำ�ก๊ดึ ก�ำ ปาก บรรณานกุ รม กรกนก รัตนวราภรณ์ (2545) “จกั รวาลคติในการวางผงั วดั หลวงล้านนา : สญั ลกั ษณ์สะท้อน อำ� นาจรฐั ในอนภุ มู ภิ าคเอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต้ชว่ งพทุ ธศตวรรษที่ 21” ใน ล้านนา:จกั รวาล ตวั ตน อำ� นาจ สำ� นกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การวิจยั กรรณิการ์ ไชยลงั กา (2548) การถ่ายทอดภมู ิปัญญาท้องถ่นิ ด้านดนตรีพืน้ บ้าน เพ่ือการ ปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะนิสัยของเยาวชนบ้านทุ่งหลวงและ บ้านร่องจว้า อ.ดอกคำ� ใต้ จ.พะเยา ชดุ โครงการศลิ ปวฒั นธรรม/ประวตั ศิ าสตร์ท้องถิ่น ส�ำนกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การวจิ ยั สำ� นกั งานภาค เกษียร เตชะพรี ะ (2539) ‘บริโภคความเป็นไทย’ ใน จนิ ตนาการส่ปู ี 2000: นวกรรมเชงิ กระบวน ทศั น์ด้านไทยศกึ ษา ชยั วฒั น์ สถาอานนั ท์ (บก.) ส�ำนกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การวจิ ยั เกศสดุ า สิทธิสนั ติกลุ (2548) สาง “ความเช่ือ” เพ่ือ “แก่นธรรม”: พิธีกรรมคนนาหม่ืน โครงการวิจยั รูปแบบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาท่ีเอือ้ ต่อการเรียนรู้ของชุมชน ส�ำนกั งาน กองทนุ สนบั สนนุ การวจิ ยั ส�ำนกั งานภาค เกรียงศกั ดิ์ และ คมเนตร เชษฐพฒั นวนิช (2539) ‘ขดึ ’ เอกสารประกอบการสมั มนาไทยศกึ ษา ครัง้ ท่ีหก เชียงใหม่ กิจชยั สอ่ งเนตร (2547) กรณีศึกษานักคิดท้องถ่ินในกลุ่มซอพืน้ เมือง: นายคำ� ผาย นุปิ ง ชดุ โครงการวิจยั เครือขา่ ยความหลากหลายทางวฒั นธรรมภาคเหนือ เร่ืองการศกึ ษานกั คดิ ท้องถ่ิน ส�ำนกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การวจิ ยั ก�ำธร ธิฉลาด (2546) พหภุ าคีกบั การมีส่วนร่วมของท้องถ่นิ ในการศกึ ษาศลิ ปะวัฒนธรรม: กรณีศึกษาลุ่มน�ำ้ กวงตอนปลายเขตต�ำบลต้นธงและต�ำบลเวียงยอง อ. เมือง จ. ลำ� พนู ชดุ โครงการศลิ ปะวฒั นธรรม/ประวตั ศิ าสตร์ท้องถ่ิน ส�ำนกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การวจิ ยั ส�ำนกั งานภาค โขมสี แสนจิตต์ (2548) “ความรุนแรงในปัญญาสชาดก” เอกสารประกอบการประชมุ ประจ�ำปี ทางมานษุ ยวทิ ยาครัง้ ท่ี 4 เรื่องวฒั นธรรมไร้อคติ ชีวติ ไร้ความรุนแรง, 23-25 มีนาคม 2548, ศนู ย์มานษุ ยวทิ ยาสริ ินธร จินตนา มธั ยมบรุ ุษและ ยพุ ิน เข็มมกุ ด์ (บก.) (2539) สรรพช่าง: ภมู ปิ ัญญาท้องถ่นิ เชียงใหม่ ศนู ย์วฒั นธรรมจงั หวดั เชียงใหม่ ศนู ย์ศลิ ปวฒั นธรรม สถาบนั ราชภฏั เชียงใหม่ และองค์การ บริหารสว่ นจงั หวดั เชียงใหม่ จริ วฒั น์ พริ ะสนั ต์ (2540) ‘ปฏสิ มั พนั ธ์ของการเรียนรู้ศลิ ปกรรมท้องถน่ิ ในชมุ ชนและมหาวทิ ยาลยั ’ วฒั นธรรมแห่งการเรียนรู้ของคนไทย (หน้า 314-26) กรุงเทพฯ: คณะมนษุ ยศาสตร์และ สงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั นเรศวร

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 85 จิรศกั ดิ์ เดชวงศ์ญา (2539) ‘กระหนกล้านนา’ เอกสารประกอบการสมั มนาไทยศกึ ษาครัง้ ท่ีหก เชียงใหม่ ฉลอง พินิจสวุ รรณ (2545) จ.พรหมมินทร์: ตำ� นานชีวิตจิตรกรพืน้ บ้านแห่งล้านนาไทย เชียงราย:สำ� นกั พิมพ์ครูศลิ ปะ ชนิดา ตงั้ ถาวรสริ ิกลุ (2541) ‘ส่ือสญั ลกั ษณ์ผ้าลาวเวียงจนั ทน์’ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ-กาญจนา ละอองศรี (บก.) ส�ำนกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การวจิ ยั ชตุ พิ งศ์ คงสนั เทียะ (2556) ‘ซอลอ่ งนา่ น: พลวตั กิ ารผลติ ซ�ำ้ ทางวฒั นธรรมของเพลงพืน้ บ้านไทย ภาคเหนือ’ วทิ ยานิพนธ์มหาบณั ฑิต สาขาการพฒั นาสงั คม มหาวิทยาลยั เชียงใหม่ ไชยนั ต์ รัชชกลู (2546) ‘บทสำ� รวจงานวจิ ยั ในภาคเหนอื : ข้อคดิ ความสำ� คญั และนยั ทาง นโยบาย’ เอกสารประกอบการประชมุ วชิ าการ “พลงั สงั คมไทยในทศวรรษหน้า: ทางเลอื กกบั ความเป็น จริง ภาควชิ าสงั คมวทิ ยามานษุ ยวทิ ยา มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่ ณรงค์ชยั ปิฎกรัชต์, ฤชุ สงิ คเสลติ และคณะ (2542) เค่งและเพลงในพธิ ีตจอ ผล่ขี องชนเผ่าม้ง วิทยาลยั ดรุ ิยางคศลิ ป์ มหาวทิ ยาลยั มหิดล ทรงศกั ดิ์ ปรางวฒั นากลุ (2533) ผ้าล้านนา ยวน ลือ้ ลาว โครงการศนู ย์สง่ เสริมศลิ ปวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั เชียงใหม่ ทรงศกั ดิ์ ปรางค์วฒั นากลุ และ หทยั วรรณ ไชยะกลุ (2542) การศกึ ษาวเิ คราะห์วรรณกรรม ประเภทโคลงคำ� สอนของล้านนา ภาควชิ าภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่ ทพิ วรรณ มง่ั มี (2546) การจดั องค์ประกอบศลิ ป์ ในจติ รกรรมฝาผนังล้านนา คณะวจิ ติ รศลิ ป์ มหาวิทยาลยั เชียงใหม่ เธียรชาย อกั ษรดิษฐ์ (2545) “ชุธาตุ : ความเช่ือเร่ืองพระธาตุประจ�ำปี เกิดในล้านนา” ใน ล้านนา:จกั รวาล ตวั ตน อำ� นาจ ส�ำนกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การวิจยั เธียรชาย อกั ษรดษิ ฐ์ (2548) “ตำ� นานพระเจ้าเลยี บโลก: วรรณกรรมทางศาสนาทว่ี า่ ด้วยภมู ปิ ัญญา และ ท้องถ่ินศึกษา” เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ส�ำนกั กองทนุ สนบั สนนุ การวจิ ยั นชุ นาฎ ดีเจริญ (2545) ร�ำมงั คละในจงั หวดั พิษณโุ ลก สโุ ขทยั และอตุ รดิตถ์ ความรู้คู่สังคม: รวมผลงานวิจัยของคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั นเรศวร (หน้า 55-66) กรุงเทพฯ: มหาวทิ ยาลยั นเรศวร นสุ รา เตียงเกตุ (2539) “ผ้าจกพืน้ เมืองแมแ่ จม่ ” ใน จินตนา มธั ยมบรุ ุษ และยพุ ิน เข็มมกุ ด์(บก.) สรรพช่าง: ภูมิปัญญาท้องถ่ินเชียงใหม่ ศนู ย์วฒั นธรรมจงั หวดั เชียงใหม่ ศนู ย์ศิลป วฒั นธรรมสถาบนั ราชภฏั เชียงใหม่ องค์การบริหารสว่ นจงั หวดั เชียงใหม่ บาหยนั อ่ิมสำ� ราญ (2548) ‘เสือโค : ความรุนแรงและการสบื ทอด’ เอกสารประกอบการประชมุ ประจำ� ปีทางมานษุ ยวทิ ยาครัง้ ท่ี 4 เร่ืองวฒั นธรรมไร้อคติ ชวี ติ ไร้ความรุนแรง 23-25 มนี าคม 2548 ศนู ย์มานษุ ยวทิ ยาสริ ินธร

86 ก�ำ กึ๊ดก�ำ ปาก ปฐม หงษ์สวุ รรณ (2548) “ลวั ะกนิ คน-วาทกรรมการสร้างภาพลกั ษณ์ความรุนแรงจากต�ำนานและ พธิ ีกรรมของคนตา่ งชาตพิ นั ธ์”ุ เอกสารประกอบการประชมุ ประจำ� ปีทางมานษุ ยวทิ ยาครงั้ ท่ี 4 “วฒั นธรรมไร้อคติ ชีวติ ไร้ความรุนแรง” 23-25 มีนาคม 2548 ศนู ย์มานษุ ยวทิ ยาสริ ินธร ปฐม หงษ์สวุ รรณ (2552) “อมราพศิ วาส: โลกของผ้หู ญิงรักพระกบั นยั ยะของความรุนแรง” เอกสาร ประกอบการประชมุ เวทีวจิ ยั มนษุ ยศาสตร์ไทย ครัง้ ที่ 5 “ข้า คา่ ฆา่ : อตั ลกั ษณ์ คณุ คา่ และ ความรุนแรง” คณะอกั ษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั 25-27 พฤศจิกายน 2552 ปรางทิพย์ ฮอนบตุ ร (2541) ‘ภมู ิปัญญาชาวบ้านจากประเพณีบางอยา่ งในวรรณคดีเรื่องขนุ ช้าง ขนุ แผน’ วิทยานิพนธ์ศลิ ปศาสตร์มหาบณั ฑิต สาขาวชิ าภาษาไทย มหาวิทยาลยั นเรศวร ปราณี เกศสวุ รรณ (2540) ‘จริยธรรมทางพระพทุ ธศาสนาจากหนงั สือด้วยปัญญาและความรัก นิทานเมืองเหนือ รวบรวมโดยเวาน์ เพลงเออ’ วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวชิ าภาษาไทย มหาวทิ ยาลยั นเรศวร ปฏิภาณ อายิ และคณะ (2548) เทศกาลและพิธีกรรมท่ีเหมาะสมในสภาวะปัจจบุ นั กรณีศกึ ษา: ชมุ ชนอา่ ขา่ บ้านแสนเจริญเก่า ต.วาวี อ.แมส่ รวย จ.เชียงราย ชดุ โครงการศลิ ปวฒั นธรรม/ ประวตั ศิ าสตร์ท้องถิ่น สำ� นกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การวิจยั ส�ำนกั งานภาค ปราโมทย์ ภกั ดีณรงค์ (2547) ‘การเมืองของสนุ ทรียภาพผ้าซ่ินตีนจกกับกระบวนการรือ้ ฟื น้ วฒั นธรรม แมแ่ จม่ ’ วทิ ยานิพนธ์มหาบณั ฑิต สาขาพฒั นาสงั คม มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่ ปราโมทย์ ภกั ดณี รงค์ และทรงศกั ด์ิแก้วมลู (2549)“จากเหตกุ ารณ์สร้างสนิ ค้า“โรงแรม-วดั ล้านนา” ถงึ ผลกระทบในบ้านของผม” เอกสารประกอบการประชมุ ประจ�ำปี ทางมานษุ ยวทิ ยาครัง้ ที่ 5 “วฒั นธรรมบริโภค บริโภควฒั นธรรม” 29-31 มีนาคม 2549 ศนู ย์มานษุ ยวิทยาสริ ินธร ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนนั ตกลู (2536) ‘ภาษาของจิตรกรรมไทย: การศกึ ษารหสั ของภาพและ ความหมายทางสงั คมวฒั นธรรมของจิตรกรรมพทุ ธศาสนาต้น รัตนโกสินทร์’ เอกสารการ วิจยั สถาบนั ไทยคดีศกึ ษา มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ปริตตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บก.) (2545) คนใน: ประสบการณ์ภาคสนามของ นักมานุษยวทิ ยาไทย กรุงเทพฯ: ศนู ย์มานษุ ยวทิ ยาสริ ินธร พชั รินทร์ จนั ทนานวุ ฒั น์กลุ , ดรุณี ณ ล�ำปาง, วินยั ป่ิ นมณี, ชยั มงคล ตระกลู ดี (2542) ‘ซอ พืน้ เมือง: สือ่ พืน้ บ้านเพ่ือการพฒั นา’ คณะมนษุ ยศาสตร์ มหาวิทยาลยั เชียงใหม่ เพ็ญสภุ า สขุ คตะ ใจอินทร์ (2548) ปริวรรตภาษา: ชื่อบ้าน นามเมือง, สืบค้นความหมาย ถ่ายทอดอกั ขระ ค�ำว่า “หริภญุ ไชย” และ “ล�ำพนู ” พิพิธภณั ฑสถานแห่งชาติหริภญุ ไชย ส�ำนกั พิพิธภณั ฑสถานแหง่ ชาติ กรมศลิ ปากร มนู ควนั่ ค�ำ (2542) ‘โคลงนิราศหริภุญไชย: การศึกษาประวตั ิศาสตร์เส้นทางคมนาคมจาก เชียงใหมไ่ ปล�ำพนู ’ คณะมนษุ ยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ สถาบนั ราชภฏั เชียงใหม่ รณชิต แม้นมาลยั (2536) ‘กลองหลวงล้านนา: ความสมั พันธ์ระหว่างชีวิตและชาติพันธ์ุ’ วทิ ยานิพนธ์ศลิ ปศาสตร์มหาบณั ฑิต สาขาวฒั นธรรมศกึ ษา มหาวทิ ยาลยั มหิดล

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 87 รุ่งนภา ฉิมพฒุ ิ (2545) “ลเิ กในจงั หวดั พิษณโุ ลก” ความรู้คู่สังคม: รวมผลงานวจิ ยั ของคณะ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยนเรศวร (หน้า 69-74) พิษณโุ ลก: คณะ มนษุ ยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลยั นเรศวร รุจพร ประชาเดชสวุ ฒั น์ (2539) ภมู ปิ ัญญาเพลงพนื้ บ้าน : กรณีศกึ ษาเปรียบเทยี บล้านนา กับสบิ สองปันนา ศนู ย์ศลิ ปวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั พายพั ลมลู จนั ทน์หอม (2538) ‘การศกึ ษาเปรียบเทียบสภุ าษิตล้านนากบั สภุ าษิตไทลือ้ ’ ศนู ย์วิจยั และ บริการการศกึ ษา สถาบนั ราชภฏั เชียงใหม่ ล�ำแพน จอมเมือง และ สทุ ธิพงศ์ วสโุ สภาพล (2546) ผ้าทอไทลือ้ : เศรษฐกจิ ชุมชนเพ่อื การ พ่งึ ตนเอง โครงการวิจยั เศรษฐกิจชมุ ชนหมบู่ ้านไทย สกว. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์ วฒั นะ วฒั นาพนั ธ์ุ (2546) ชวี ประวตั แิ ละตำ� นานการสร้างสรรค์ศลิ ปะของ อนิ สนธ์ิ วงศ์สาม ศลิ ปิ น แห่งชาตสิ าขาประตมิ ากรรมปี 2542 สำ� นกั งานคณะกรรมการวฒั นธรรม แหง่ ชาติ วฒั นะ วฒั นาพนั ธ์ุ บปุ ผา วฒั นาพนั ธ์ุ และ สามารถ ศรีจ�ำนงค์ (2544) งานวจิ ยั ศลิ ปะ พนื้ บ้าน ล้านนา: การเปล่ียนแปลงเพ่อื การดำ� รงอยู่ มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่ ศิราพร ณ ถลาง (2539) การวิเคราะห์ตำ� นานสร้างโลกของคนไท กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช ศริ าพร ณ ถลาง (2548) ทฤษฎคี ตชิ นวทิ ยา: วธิ วี ทิ ยาในการวเิ คราะห์ตำ� นาน-นิทานพนื้ บ้าน กรุงเทพฯ: ศนู ย์คติชนวทิ ยา จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ส�ำนกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การวจิ ยั สำ� นกั งานภาค ‘ชมุ ชนท้องถิน่ กบั การจดั การความรู้โดยอสิ ระ’ รวมเอกสารการประชมุ ประจำ� ปี งานวจิ ยั เพื่อท้องถ่ินภาคเหนือ ครัง้ ท่ี 2 28-29 พฤศจิกายน 2545 โรงแรมเชียงใหมภ่ คู �ำ จ. เชียงใหม่ สรุ พล ด�ำริห์กลุ (2544) ลายคำ� ล้านนา กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ สรุ ิยา สมทุ คุปต์ และ พฒั นา กิติอาษา (2536) ฮีตบ้านคองเมือง : รวมบทความทาง มานุษยวทิ ยาว่าด้วยสงั คมและวฒั นธรรมอสี าน โครงการจดั ตงั้ พพิ ธิ ภณั ฑ์มานษุ ยวทิ ยา ของอีสาน สำ� นกั วิชาเทคโนโลยีสงั คม มหาวิทยาลยั เทคโนโลยีสรุ นารี สรุ ิยา สมทุ คปุ ติ์ พฒั นา กิตอิ าษา และศลิ ปกิจ ต่ีขนั ตกิ ลุ (2541) แต่งองค์ทรงเคร่ือง “ลเิ ก” ใน วัฒนธรรมประชาไทย สาขาวิชาศกึ ษาทวั่ ไป ส�ำนกั วิชาเทคโนโลยีสงั คม มหาวิทยาลยั เทคโนโลยีสรุ นารี สรุ ิยา สมทุ คปุ ติ์ และ พฒั นา กิติอาษา (2543) ผ้าขาวม้า, ย่าม, ว่าว : ความเรียงว่าด้วย ร่างกาย อตั ลกั ษณ์และพนื้ ท่ใี นวฒั นธรรมไทย สำ� นกั วชิ าเทคโนโลยสี งั คม มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยีสรุ นารี อนวุ ิทย์ เจริญศภุ กลุ และ วิวฒั น์ เตมียพนั ธ์ (2539) เรือนล้านนาไทยและประเพณีการปลูก เรือน กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชปู ถมั ภ์ อานนั ท์ กาญจนพนั ธ์ุ (2548) ทฤษฎแี ละวธิ ีวทิ ยาของการวจิ ยั วฒั นธรรม กรุงเทพฯ: อมรินทร์

88 กำ�กด๊ึ ก�ำ ปาก อานันท์ กาญจนพนั ธ์ุ (2545 ) “มองข้ามวฒั นธรรมสู่การเรียนรู้ท่ีชายขอบสงั คมไทย” ใน ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บก.) คนใน: ประสบการณ์ ภาคสนามของ นักมานุษยวทิ ยาไทย ศนู ย์มานษุ ยวทิ ยาสริ ินธร อารยะ ภสู าหสั และ ประดษิ ฐ์ สรรพชา่ ง (2547) คำ� อ้าย เดชดวงตา : นกั คดิ กล่มุ งานแกะสลกั ไม้ ชดุ โครงการวิจยั เครือขา่ ยความหลากหลายทางวฒั นธรรมภาคเหนือเรื่องการศกึ ษานกั คิด ท้องถ่ิน สำ� นกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การวิจยั อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล (2553) ‘พิพิธภัณฑ์ชาติและพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น: พืน้ ท่ีของการให้ ความหมายและการรับรู้ตอ่ อดีตของล�ำพนู ’ วิทยานิพนธ์บณั ฑิตศกึ ษา สาขาพฒั นาสงั คม มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่ Amporn Jirattikorn (2006) “Lukthung: Authenticity and Modernity in Thai Country Music” Asian Music, Winter/ Spring. Belsey, Catherine (2002) Poststructuralism: A Very Short Introduction. Oxford: Oxford University Press. Bourdieu, Pierre (1977) Outline of a Theory of Practice. Cambridge: Cambridge University Press. Bowie, Katherine A. (1993) “Assessing the Early Observers: Cloth and the Fabric of Society in 19th Century Northern Thai Kingdoms”, American Ethnologist (20)1: 138-58. Conway, Susan (2003) Silken Threads, Lacquer Thrones: Lan Na Court Textiles. Cambridge: Cambridge University Press. Dauber, Kenneth (1994) “Object, Genre, and Buddhist Sculpture”, Theory and Society, 21(4): 561-92. Ferguson, Jane M. (2010) “Another Country is the Past: Western Cowboys, Lanna Nostalgia and Bluegrass Aesthetics as Performed by Professional Musicians in Northern Thailand”, American Ethnologist, 37(2): 227-240. Ferguson, John P. and Christina B. Johannsen (1976) “Modern Buddhist Murals in Northern Thailand: A Study of Religious Symbols and Meaning”, American Ethnologist, 4(4): 645-69. Formoso, Bernard (1990) “From the Human Body to the Humanized Space: The System of Reference and Representation of Space in Two Villages of Northeast Thailand”, The Journal of Siam Society, 78 (part two):67-83. Friedman, Jonathan (1994) Cultural Identity and Global Process. London: SAGE. McGraw, Andrew (2007) “The Pia’s Subtle Sustain: Contemporary Ethnic Identity and the Revitalization of the Lanna ‘Heart Harp’”, Asian Music 38(2): 115-142.

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 89 Muench, Richard and Niel Smelser (eds.) (1992) Theory of Culture. Berkeley: University of California Press. Pandit Chanrochanakit (2006) ‘The Siamese Diorama and Thai National Imagery in Contemporary Thai Art’ Ph.D Dissertation, University of Hawaii. Swearer, Donald K. (1995) “Hypostasizing the Buddha: Buddha Image Consecration in Northern Thailand” History of Religion (34)3: 263-81. Thassanai Sethaseree (2011) ‘Overlapping Tactics and Practices at the Interstices of Thai Arts’, Ph.D. Dissertation, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University. Turton, Andrew. (1980) ‘The Thai House: Domestication of Ideology’, Architectural Association Quarterly, 12(2): 4-11. Waterson, Roxana (1990) The Living House: An Anthropology of Architecture in Southeast Asia. Singapore: Oxford University Press. Wherry, Frederic (2006) “The Social Sources of Authenticity in Global Handicraft Markets”, Journal of Consumer Culture, 6(1): 5-32.

90 ก�ำ กึ๊ดก�ำ ปาก

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 91 บทท่ี 3 ความเคล่ือนไหว และอตั ลักษณ์ทางชาตพิ นั ธ์ุ ขวัญชีวนั บัวแดง 3.1 บทนำ� บทความน้ีเป็นการสังเคราะห์และประเมินองค์ความรู้จากงานศึกษาวิจัยท่ี เกีย่ วพนั กบั มติ ิด้านชาตพิ ันธ์ุสัมพันธ์ (Ethnicity) ท่มี ขี อบเขตพืน้ ที่การศึกษาวจิ ัยใน บรเิ วณภาคเหนอื ของประเทศไทยโดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ในเขตจงั หวดั เชยี งใหม่ ลำ� พนู ล�ำปาง แพร่ น่าน เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ตากและประเทศลาว ซึ่งส่วน ใหญ่เป็นพื้นที่สูงเขตป่าเขา และมีพ้ืนที่ติดกับชายแดนประเทศพม่า พ้ืนท่ีเหล่านี้ เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ท่ีหลากหลายทั้งที่อาศัยอยู่ในพื้นท่ีสูงและที่ราบ ทง้ั ทอ่ี ยอู่ าศยั ในพนื้ ทม่ี าเปน็ เวลานาน และยา้ ยเขา้ มาในเขตประเทศไทยในชว่ งเวลา ทแ่ี ตกตา่ งกนั เพอื่ แสวงหาพนื้ ทท่ี �ำกนิ และอพยพหนภี ยั สงครามและภยั การคกุ คาม กดข่ีในรูปแบบอ่ืนๆ การสังเคราะห์และประเมินจากงานศึกษาวิจัยได้รวบรวมขึ้น ภายใตโ้ ครงการประเมนิ และสงั เคราะหส์ ถานภาพองคค์ วามรกู้ ารวจิ ยั วฒั นธรรมใน ประเทศไทย ซงึ่ ไดร้ บั ทนุ จากสำ� นกั งานคณะกรรมการวฒั นธรรมแหง่ ชาต1ิ ใหด้ ำ� เนนิ การ 1 เปล่ียนเป็นกรมสง่ เสริมวฒั นธรรม ตงั้ แตป่ ี 2553

92 ก�ำ กึ๊ดก�ำ ปาก ในช่วงปี 2547-2549 โดยมีการรวบรวมงานศึกษาวิจัยในรูปแบบของหนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความทั้งท่ีน�ำเสนอในที่ประชุมสัมมนาและตีพิมพ์ในวารสารและ หนงั สอื รวมบทความ รวมทงั้ รายงานการวจิ ยั ทง้ั ภาษาไทยและภาษาองั กฤษ ยอ้ นหลงั ไปประมาณ 10 ปี (2539-2549) นอกจากน้ผี ู้เขียนยงั ได้ทบทวนงานศึกษาทที่ �ำหลัง ปี 2549 เพิ่มเติม โดยส่วนใหญ่เป็นงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท สาขาการพัฒนาสังคม ซ่ึงเป็นสาขาที่ด�ำเนินการโดยภาควิชาสังคมวิทยาและ มานษุ ยวทิ ยา คณะสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหมท่ ผ่ี เู้ ขยี นสงั กดั อยแู่ ละเขา้ ถงึ ได้โดยง่าย รวมถึงชุดโครงการวิจัยท่ีท�ำเกี่ยวกับเร่ืองชาติพันธุ์ท่ีด�ำเนินการโดย นักวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยผู้เขียนได้เข้าไปร่วมอีกจ�ำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ดี ผลงานที่รวบรวม ถือเป็นเพียงส่วนหนง่ึ ของงานศึกษาวิจัยที่เก่ียวกับ ชาติพันธ์ุทัง้ หมดซึ่งมจี �ำนวนมากกว่าทีไ่ ด้อ้างถึงในบทความนี้ ในบทความน้ีผู้เขียนได้สรุปเนื้อหาหลัก แนวทางและระเบียบวิธีวิจัยที่ นกั ศึกษาและนกั วิจัยใช้ในช่วงเวลากว่าหนง่ึ ทศวรรษท่ีผ่านมา แต่ก่อนท่ีจะเป็น การสังเคราะห์เน้ือหาและระเบียบวิธีของงานวิจัย บทความเริ่มจากการอธิบายถึง ความหมายของชาตพิ นั ธส์ุ มั พนั ธท์ ใี่ ชเ้ ปน็ ขอบเขตของการรวบรวมเอกสารงานศกึ ษา จากนน้ั เป็นเร่ืองบริบททางสังคมที่ส�ำคัญในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ท่ีส่งผลต่อ การเกดิ ปญั หาหรอื ปรากฏการณด์ า้ นชาตพิ นั ธ์ุ ทน่ี กั ศกึ ษาและนกั วจิ ยั หยบิ ยกขน้ึ มา เป็นประเด็นการวิจัย ต่อจากนนั้ จึงเป็นการสังเคราะห์เนื้อหาของการวิจัย แนวคิด และระเบยี บวธิ วี จิ ยั และในสว่ นสดุ ทา้ ยเปน็ การประเมนิ สรปุ ทเ่ี นน้ วเิ คราะหช์ อ่ งวา่ ง การวิจยั ทางชาตพิ ันธ์ุท่มี อี ยู่ ค�ำว่าชาติพันธุ์สัมพันธ์หรือในภาษาอังกฤษท่ีใช้ค�ำว่า ethnicity นั้น มีการให้ความหมายที่แตกต่างกันออกไปตามแนวคิด มุมมอง หรือความ เชื่อทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่แตกต่างกันออกไป ในแนวความคิด แบบโครงสร้างนยิ ม ชาติพันธ์ุสมั พนั ธ์เป็นส่ิงท่ีถูกสร้างโดยสงั คม เป็นจติ ส�ำนกึ ร่วม ทเี่ นน้ ความเปน็ อนั หนง่ึ อนั เดยี วกนั ในทางเชอื้ สายทสี่ บื ทอดกนั มา ดงั เชน่ การอธบิ าย ของ สเุ ทพ สนุ ทรเภสชั (2548:10) ซง่ึ เปน็ ผทู้ แี่ ปลคำ� วา่ ethnicity เปน็ ชาตพิ นั ธส์ุ มั พนั ธ์

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 93 และให้ความหมายว่าชาติพันธุ์สัมพันธ์เป็นสิ่งท่ี “สังคมสร้างขึ้นมา เกี่ยวกับการ สบื เชอ้ื สายและวฒั นธรรม (Social Construct of Descent and Culture) รวมทง้ั ความ หมายของระบบการจำ� แนกประเภท (classicfi ation System) ทเี่ กดิ ตามมา” ดว้ ยเหตนุ ี้ กลุ่มชาติพันธุ์ ก็หมายถึง การสร้างจินตนาการหรือประดิษฐ์คิดค้นทางสังคม ในเรอื่ งทเ่ี กย่ี วกบั การสบื เชอื้ สายและวฒั นธรรมรว่ มกนั โดยในทางรปู ธรรมอาจจะมี การสืบเชื้อสายและวัฒนธรรมร่วมกันอยู่จริงก็ได้ขณะเดียวกันก็เป็นกลุ่มท่ีสร้างขึ้น ทางสังคมด้วย (Socially Constructed) ดังตวั อย่างกลุ่ม “ไดยกั ” (Dayak) ในบรเิ วณ ชายแดนของมาเลเซียและอนิ โดนีเซยี ท่ี สเุ ทพ สนุ ทรเภสัช (2548:11) ยกตัวอย่าง ว่าหมายถึงกลุ่มใดกันแน่ เม่ือค�ำว่า “ไดยัก” เป็นภาษามลายูที่มีความหมายว่า “ชนบท” บางทอี าจจะถกู เรยี กด้วยชอ่ื อน่ื อกี หลายชอื่ เช่น “อบี าน” หรอื “บดิ ายฮุ ”์ จึงเป็นค�ำถามว่าชาวไดยักเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ท่ีแท้จริงหรือไม่ ในความหมายใด นอกจากนี้ สเุ ทพ สนุ ทรเภสชั (2548: 35) ยงั เนน้ วา่ “ชาตพิ นั ธส์ุ มั พนั ธ์ ไมใ่ ชเ่ ปน็ เพยี ง “ความแตกตา่ ง” เทา่ นนั้ แตย่ งั เปน็ เรอื่ งของความไมเ่ ทา่ เทยี มกนั ทางโครงสรา้ งและ การลำ� ดบั ขน้ั ของความแตกตา่ ง” อกี ดว้ ย ในขณะทฉี่ ววี รรณ ประจวบเหมาะ (2547: 4) แปลค�ำว่า ethnicity เป็นชาติพันธุ์ธ�ำรง หรือการศึกษาการธ�ำรงชาติพันธุ์หรือ จิตส�ำนกึ ชาติพันธุ์ และเห็นว่ามีการให้ความหมายหลายแบบ บางคนเช่น Isajew (1973: 111 อา้ งใน ฉววี รรณ ประจวบเหมาะ 2547:5) ใหค้ วามหมายทแ่ี คบถอื วา่ การ ศกึ ษาชาตพิ นั ธ์ุธ�ำรง (ethnicity) คือการศึกษากลุ่มชาตพิ นั ธุ์ (ethnic group) ในขณะ ท่แี อบเนอร์ โคเฮน (Abner Cohen) ให้ความหมาย ชาตพิ นั ธุ์ธำ� รงในลกั ษณะทกี่ ว้าง นนั่ คือถอื ว่าเป็น “ระดบั ที่สมาชิกขององค์รวม (collectivity) ยอมรบั เอาบรรทัดฐาน ร่วมในกระบวนการปฏสิ ัมพันธ์ทางสังคม” (เพง่ิ อ้าง หน้า 5) สำ� หรับแนวทางหน้าท่ีนยิ ม เน้นทำ� ความเข้าใจชาตพิ นั ธ์ุสัมพันธ์ในลกั ษณะ เครอ่ื งมอื ของการปรบั เปลย่ี นสถานภาพ เพอ่ื การอยรู่ ว่ มกนั ไดอ้ ยา่ งสงบสขุ ในสงั คม แนวทางนี้เก่ียวพันกับแนวทางโครงสร้างนิยม ที่ให้ความสำ� คัญกับการท�ำความ เข้าใจโครงสร้างความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ท้ังภายในและระหว่างกลุ่มหรือชุมชน และศึกษาวิเคราะห์ว่าชาติพันธุ์สัมพันธ์มี

94 ก�ำ กด๊ึ ก�ำ ปาก หน้าที่ท่ีท�ำให้เกิดการบูรณาการระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในโครงสร้างอย่างไร เพื่อให้เกิดความมั่นคงและเสริมสถานภาพท้ังในระดับปัจเจกและระดับองค์กร งานของเอด็ มนั ลชี (Leach 1968) ทศ่ี กึ ษาระบบการเมอื งในพน้ื ทส่ี งู ของประเทศพมา่ ทเี่ นน้ โครงสรา้ งการเมอื งภายในกลมุ่ ฉานและกลมุ่ คะฉนิ่ นน้ั เปน็ ตวั อยา่ งทสี่ ำ� คญั ของ แนวทางการศึกษาโครงสร้างหน้าท่ีนิยม โดยเอ็ดมัน ลีช ชี้ให้เห็นว่าในท่ามกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มนนั้ ความเป็นชาติพันธ์ุของแต่ละบุคคลอาจจะมีการ ปรับเปล่ียนได้ คนที่เคยอยู่ในกลุ่มคะฉน่ิ อาจจะระบุว่าตัวเองเป็นฉานได้ เมื่อมี การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตรวมท้ังรูปแบบการท�ำการเกษตรจากการท�ำไร่บนพ้ืนที่สูง มาเป็นการท�ำนาในลักษณะเดียวกับคนฉาน รวมทั้งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ คนฉาน ดังนน้ั การเป็นคนฉานหรือคะฉน่ิ จึงไม่ใช่ส่ิงที่ตายตัวแต่ปรับเปลี่ยนได้ ในท่ามกลางความสัมพันธ์กับกลุ่มต่างๆ ตามการปรับเปล่ียนโครงสร้างสังคมเช่น โครงสร้างการเมอื ง และโครงสร้างเศรษฐกจิ เป็นต้น ส�ำหรับกลุ่มมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ให้ความสนใจภาษา พฤติกรรมและ บุคลิกภาพของผู้คน ในโลกตะวันออกท่ียังอยู่ในยุคก่อนความทันสมัย มีโครงการ ศกึ ษากลมุ่ คนทอ่ี าศยั อยใู่ นหมเู่ กาะ ทงุ่ หญา้ ทะเลทราย ปา่ เขา พน้ื ทส่ี งู ชายทะเล เป็นจ�ำนวนมากตั้งแต่ยุคอาณานคิ มมาจนถึงการเกิดรัฐชาติสมัยใหม่ที่ประกาศตัว มากข้ึนในช่วงหลังสงครามโลกครั้งท่ี 2 เป็นต้นมา การศึกษาลักษณะเฉพาะทาง วฒั นธรรมของกลมุ่ คน ซง่ึ ในยคุ นม้ี กั จะจำ� แนกออกเปน็ เชอื้ ชาติ (Race) ชนเผา่ (Tribe) และกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) และพยายามท�ำความเข้าใจว่าแต่ละกลุ่มมี อัตลักษณ์ (identity) อย่างไร เพื่อช่วยเจ้าอาณานิคมหรือรัฐบาลในเรื่องของ การจำ� แนกชาตพิ นั ธ์ุ (ethnic classicif ation) และการกำ� หนดนโยบายและแนวทางในการ “จัดการ” แต่ละกลุ่มคนทางด้านการเมืองการปกครอง และเพื่อการ “พัฒนา” สู่ความทันสมัยในด้านต่างๆ การศึกษาวิจัยของนกั วิชาการในกลุ่มน้ี ทำ� ให้มีงาน ประเภทชาติพันธุ์วิทยา (ethnology) จ�ำนวนมากที่ศึกษาเช้ือชาติ ชนเผ่า และ กลุ่มชาติพันธุ์ซ่ึงส่วนใหญ่จะเป็นชนกลุ่มน้อยท่ีอยู่บนพื้นท่ีสูง บริเวณพรมแดน ชายขอบของรัฐ กลุ่มท่ีมีวิถีชีวิตแบบเคลื่อนย้ายเนื่องจากต้องพ่ึงพาธรรมชาติ

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 95 ท้ังในส่วนของกลุ่มเล้ียงสัตว์ตามทุ่งหญ้า กลุ่มคนที่อยู่ชายฝั่ง หรือหมู่เกาะ กลุ่มท่ีอยู่บนพื้นท่ีสูง หรือตามแหล่งน�้ำธรรมชาติ โดยเป็นการศึกษาที่เน้นเฉพาะ กลมุ่ ใดกลมุ่ หนง่ึ และครอบคลมุ ทกุ ดา้ น ไดแ้ ก่ ระบบการเมอื ง เศรษฐกจิ วฒั นธรรม สงั คม ศาสนา ฯลฯ การศกึ ษาในลกั ษณะนี้ ทำ� ใหเ้ ขา้ ใจวา่ การศกึ ษาชาตพิ นั ธส์ุ มั พนั ธ์ ก็คือการศกึ ษากลุ่มชาติพันธ์ุ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เป็นการศึกษาเพอื่ ท�ำความเข้าใจ อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ซึ่งหมายถึงลักษณะเฉพาะทางภาษาและวัฒนธรรมของ แต่ละกลุ่ม ในยุคของการเคลื่อนย้ายผู้คนและสิ่งของและการติดต่อสื่อสารท่ี สะดวกรวดเร็วเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีการส่ือสาร อันเป็นยุคท่ีแนวทาง การศึกษาแบบหลังสมัยใหม่พัฒนาขยายตัว การศึกษาด้านชาติพันธุ์สัมพันธ์ เริ่มใช้แนวคิดหลังสมัยใหม่ในการศึกษามากขึ้น ชาติพันธุ์สัมพันธ์ถูกศึกษา ในลกั ษณะของ “วาทกรรม” ทเ่ี ปน็ การสรา้ งความหมาย ผา่ นสถาบนั การศกึ ษาหรอื สถาบันท่ีสร้างความรู้และความเป็นจริง ในท่ามกลางการช่วงชิงเพื่อการครอบง�ำ และการต่อต้านในความสัมพันธ์เชงิ อ�ำนาจ ตามแนวคิดของฟโู กต์ (Foucault 1980) “ความเป็นชาติพันธุ์” ถือเป็นวาทกรรมอย่างหนงึ่ ว่าด้วยความหมายและความรู้ ของประวตั ิความเป็นมา ลักษณะทางวฒั นธรรม ความคดิ ความเชอ่ื และแนวทาง ปฏบิ ัติต่างๆ ของกลุ่มคน ซ่ึงเป็นการสร้างตวั ตนความเป็น “เรา” ที่ต่างจาก “เขา” โดยพบว่า การเกิด “ความเป็นชาติพันธุ์” เริ่มจากนโยบายของรัฐท่ีมีการ จ�ำแนกแยกแยะประเภทของผู้คนเพ่ือประโยชน์ทางการเมืองและการปกครอง ในขณะเดยี วกนั กลมุ่ ตา่ งๆ กพ็ ฒั นา “ความเปน็ ชาตพิ นั ธ”์ุ ของตนเองขนึ้ เพอื่ สรา้ ง ภาพลักษณ์ใหม่ สัญลักษณ์ใหม่ เพื่อการรวมตัวให้มีพลังในการต่อสู้กับรัฐหรือ กลุ่มอ่ืน อันจะน�ำไปสู่การปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจ ดังตัวอย่างของ กลุ่มชาติพันธุ์บนพ้ืนท่ีสูงในประเทศไทยที่มีข้อเรียกร้องและการเคล่ือนไหวในราว สองทศวรรษทผ่ี า่ นมาในสองเรอ่ื งทส่ี ำ� คญั ได้แก่ การเรยี กชอ่ื กล่มุ องคก์ รชาตพิ นั ธ์ุ รณรงค์ให้เรียกชื่อกลุ่มที่มีนัยท่ีเป็นคนป่าล้าหลังหรือเป็นช่ือที่ผู้อ่ืนเรียก ให้เป็นชื่อ ท่ีคนในกลุ่มเรียกเองเช่นจาก “กะเหร่ยี ง” หรือ “ยาง” เป็น “ปกาเกอะญอ” จาก

96 ก�ำ กดึ๊ ก�ำ ปาก “แมว้ ” เปน็ “มง้ ” จาก “อกี อ้ ” เปน็ “อา่ ขา่ ” และจาก “มเู ซอ” เปน็ “ลาห”ู่ เปน็ ตน้ เรอื่ งทส่ี อง การรณรงคใ์ หส้ อ่ื อธบิ ายวถิ ชี วี ติ และวฒั นธรรมในลกั ษณะทถ่ี กู ต้องและ เป็นด้านบวก การเรียก “ไร่หมนุ เวยี น” แทนท่ี “ไร่เลือ่ นลอย” การแก้ความเข้าใจ ทผี่ ดิ พลาด เชน่ เรอ่ื งของ “มดิ ะ” และ “ลานสาวกอด” ทถ่ี กู ใหค้ วามหมายในเรอ่ื งเพศวถิ ี ในทางลบ รูปแบบทางวัฒนธรรมเช่นเครื่องแต่งกาย ที่น�ำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องใน ภาพยนตร์และสอ่ื อื่นๆ เป็นต้น ในการรวบรวมงานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับชาติพันธุ์สัมพันธ์ทางภาคเหนือ ของประเทศไทย ในระยะกว่าทศวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าแนวทางการศึกษาแบบ หลังสมยั ใหม่จะเป็นที่นิยมมากขึ้น แต่ผู้เขยี นกพ็ บว่ายงั มกี ารใช้แนวทางการศกึ ษา แบบอ่ืน ด้วยเหตุน้ี การใช้ค�ำท่ีเหมือนกันในแต่ละงาน อาจจะมีความหมาย ไม่เหมือนกัน เช่น การศึกษา “อัตลักษณ์ชาติพันธุ์” ที่ยังคงนิยมศึกษามาจนถึง ปจั จบุ นั อาจจะมคี วามหมายเดยี วกบั วฒั นธรรมเฉพาะของกลมุ่ ชาตพิ นั ธ์ุ หรอื อาจจะ หมายถงึ กระบวนการสรา้ งวาทกรรมทเี่ กย่ี วกบั ความเปน็ กล่มุ ชาตพิ นั ธ์ุ หรอื อาจจะ เป็นเรื่องของการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในพิธีกรรม ต�ำนาน การปฏิบัติ ทางวัฒนธรรม หรือในชีวิตประจ�ำวัน ตามแต่แนวทางที่ผู้ศึกษาจะน�ำมาใช้ ท้ังนี้ งานศึกษาท่ีรวบรวมส�ำหรับการสังเคราะห์และประเมินคร้ังน้ี มีทั้งงานท่ีศึกษา กลุ่มชาตพิ ันธ์ุเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนงึ่ ในกลุ่ม “ชาวเขา” ที่อยู่บนพ้นื ท่สี งู หรอื กลุ่ม คน “ไท” หรือ “ไต” ท่ีอพยพมาอยู่ในประเทศไทยนานแล้ว หรือแรงงานย้ายถิ่น จากประเทศเพ่ือนบ้าน ซ่ึงจ�ำนวนไม่น้อยมาจากกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันกับท่ีมีอยู่ ในประเทศไทย งานศกึ ษาเหลา่ นอี้ าจจะเกยี่ วพนั กบั เรอ่ื งใดเรอ่ื งหนงึ่ หรอื ประเดน็ ใด ประเด็นหนงึ่ เช่น การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกจิ การค้า การท่องเท่ียว ระบบการเมอื งการปกครอง ประวตั ิศาสตร์ ศาสนา ฯลฯ เป็นงานศกึ ษาขบวนการ เคลอื่ นไหวของกลมุ่ ชาตพิ นั ธใ์ุ นทา่ มกลางความสมั พนั ธแ์ ละความขดั แยง้ กบั รฐั และ กลุ่มอื่นๆ หรือเป็นงานท่ีน�ำมิติชาติพันธุ์สัมพันธ์ไปศึกษาเชื่อมโยงกับมิติอื่นเช่น เพศสภาพ ชนชั้น วรรณะ (caste) สถานภาพ (status) ฯลฯ อนึ่ง ในระยะกว่าทศวรรษที่ผ่านมา มีวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาวิจัย จำ� นวนมาก ทใ่ี ชก้ ลมุ่ ชาตพิ นั ธบ์ุ นพน้ื ทส่ี งู หรอื “ชาวเขา” เปน็ กลมุ่ หรอื พน้ื ทเี่ ปา้ หมาย

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 97 ของการศึกษา เช่น งานในสาขาวิชาการศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผล การเรยี นการสอน การพฒั นาแผนการสอนในโรงเรยี นทปี่ ระกอบไปดว้ ยเดก็ ชาตพิ นั ธ์ุ งานประเมินผลกระทบจากนโยบายและการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น การวางแผน ครอบครัว การส่งเสริมนวัตกรรมการเกษตร โครงการฝึกอาชีพ โครงการพัฒนา คุณภาพชีวิต เป็นต้น งานเหล่านแี้ ม้จะมีการแนะนำ� กลุ่มชาตพิ นั ธ์ุหรือพน้ื ท่ศี กึ ษา ที่เป็นท่ีอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ไม่ได้ใช้แนวคิดที่เกี่ยวพันกับชาติพันธุ์สัมพันธ์ใน การวางแนวทาง ไมม่ กี ารรวบรวมขอ้ มลู และวเิ คราะหว์ า่ ความเปน็ ชาตพิ นั ธเ์ุ กยี่ วขอ้ ง กบั ประเดน็ ทศ่ี กึ ษาอยา่ งไร งานเหลา่ นจี้ งึ ไมไ่ ดน้ �ำมาสงั เคราะหม์ ากนกั ในบทความนี้ 3.2 บริบททางสังคมและการเคลือ่ นไหวทางชาตพิ ันธุ์ ความทันสมัยและโลกาภิวัฒน์ที่มีผลต่อการเปล่ียนแปลงชีวิตของผู้คน ทงั้ ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมอื งและวฒั นธรรมในระยะกว่าสบิ ปีท่ีผ่านมา ไม่ได้ ทำ� ใหม้ ติ ชิ าตพิ นั ธส์ุ มั พนั ธม์ คี วามสำ� คญั นอ้ ยลง กลบั มกี ารแสดงออกและเปน็ ปจั จยั ทส่ี ำ� คญั ในกจิ กรรมทกุ ด้านของสงั คม ดว้ ยเหตนุ กี้ ารวจิ ยั ในพนื้ ทท่ี างภาคเหนอื ของ ประเทศไทยในหัวข้อท่ีเก่ียวกับชาติพันธุ์สัมพันธ์จึงมีจ�ำนวนไม่น้อย ปรากฏการณ์ สังคมท่สี �ำคัญท่ีมผี ลต่อเรือ่ งชาติพนั ธ์ุสมั พนั ธ์สรปุ ได้ดงั ต่อไปนี้ 1) การพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานเทคโนโลยีการเดินทางและการ สอื่ สาร การพฒั นาเทคโนโลยกี ารสอ่ื สารเชน่ โทรศพั ทเ์ คลอ่ื นทแ่ี ละระบบอนิ เตอรเ์ นต็ มอี ยา่ งตอ่ เนอ่ื ง มปี ระสทิ ธภิ าพสงู ขน้ึ และเครอื ขา่ ยครอบคลมุ กวา้ งขวางขน้ึ สง่ ผลตอ่ การรบั รขู้ อ้ มลู ขา่ วสารไดม้ ากและรวดเรว็ ยงิ่ ขน้ึ และการเชอ่ื มตอ่ กบั ผคู้ นทอ่ี ยหู่ า่ งไกล กันท�ำได้สะดวก เช่นเดียวกับโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการเดินทางได้สะดวก รวดเร็วท้ังทางอากาศ ทางบก และทางน�้ำ เทคโนโลยกี ารเดินทางและการสอ่ื สาร ที่สะดวกข้ึน เอื้อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เป็นประเด็นศึกษาหลายประเด็น เช่น

98 กำ�กึ๊ดกำ�ปาก เรอื่ งของการเดนิ ทางทอ่ งเทยี่ วขา้ มชาตพิ นั ธแ์ุ ละวฒั นธรรม ซง่ึ เกยี่ วพนั กบั การพฒั นา ด้านเศรษฐกิจการค้าที่รองรับนกั ท่องเที่ยว รวมท้ังการผลิตสินค้าด้านหัตถกรรม วัฒนธรรมประเพณที ่มี กี ารปรับเป็นเชงิ พาณชิ ย์ เรือ่ งของการเดินทางเข้าเมอื งและ ขา้ มชาตเิ พอ่ื การทำ� งานและการตง้ั ถน่ิ ฐานใหม่ เรอ่ื งของการใชเ้ ทคโนโลยกี ารสอ่ื สาร เพอ่ื การแลกเปลยี่ นขอ้ มลู ขา่ วสารระหวา่ งญาตพิ นี่ ้องและเพอื่ นฝงู ในกลมุ่ ชาตพิ นั ธ์ุ เดยี วกนั ทอี่ าศยั อยใู่ นหลายประเทศ กอ่ ใหเ้ กดิ ความพยายามรวมตวั กนั และจดั การ พบปะ จัดกจิ กรรมร่วมกนั เช่น กจิ กรรมทางศาสนา และในรปู แบบของการประชุม กลุ่มชาติพนั ธ์ุข้ามชาติในระดบั ต่างๆ อย่างสม่�ำเสมอ เป็นต้น 2) การเปิดพรมแดนและการรวมตวั ของประชาคมอาเซยี น หลงั จากทป่ี ระเทศจนี ลาว และกมั พชู า เปลยี่ นแปลงนโยบายดา้ นเศรษฐกจิ โดยเปดิ ใหม้ กี ารคา้ และการลงทนุ โดยเสรตี ง้ั แตช่ ว่ งพทุ ธทศวรรษท่ี 2520 เปน็ ตน้ มา ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพ่ือนบ้านในด้าน เศรษฐกิจมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น2 มีการท�ำข้อตกลงความร่วมมือหลายฉบับ เชน่ การพฒั นาพน้ื ทส่ี เี่ หลยี่ มเศรษฐกจิ การพฒั นาระเบยี งตะวนั ออกตะวนั ตก ฯลฯ น�ำไปสู่การเปิดด่านการค้าบริเวณชายแดน การร่วมมือกนั ในการพฒั นาโครงสร้าง พนื้ ฐานและการลงทนุ ตอ่ มา การประกาศจดั ตงั้ ประชาคมอาเซยี นใหเ้ กดิ ขนึ้ ภายในปี 2558 เป็นอกี ความพยายามทจ่ี ะทำ� ให้ประเทศอาเซยี นมีความเข้มแข็งโดยแบ่งเป็น สามด้านท่ีส�ำคัญหรือที่เรียกว่าสามเสาหลักได้แก่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC- ASEAN Economic Community) ประชาคมการเมืองและความมน่ั คงอาเซียน (ASEAN Security Community) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) (ประภสั สร์ เทพชาตรี 2554) ก่อให้เกิดความ เคล่ือนไหวเพ่ือก�ำหนดแนวทางการจัดต้ังประชาคมร่วมกันของประเทศสมาชิก อาเซียน เช่น เวทีการประชุมของรัฐและเอกชนในหลายระดับและหลายประเด็น ผลกระทบทเ่ี หน็ ไดช้ ดั เจนประการแรกคอื การปรบั ทศิ ทางการเมอื งของประเทศพมา่ 2 โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ในชว่ งปี 2530 ที่นายกรัฐมนตรีชาตชิ าย ชณุ หะวนั ประกาศนโยบายเปลย่ี นสนามรบ ให้เป็นสนามการค้า โดยเน้นการเปิ ดพรมแดนเพ่ือท�ำการค้ากบั ประเทศเพ่ือนบ้าน

งานวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ 99 ให้มีรูปแบบท่ีเป็นประชาธิปไตยมากข้ึนหลังการเลือกต้ังในปี 2553 พม่าได้รับ การยอมรับให้เป็นประธานอาเซียนในปี 2559 และเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน กฬี าซีเกมส์ (South East Asian Games) ในปี 2556 ประการที่สอง มีความพยายาม จัดท�ำข้อตกลงการจัดการปัญหาที่ค้างคาอันเนื่องมาจากการข้ามแดนโดยไม่ ถูกกฎหมายของแรงงานข้ามชาติ หรือการด�ำรงอยู่ของผู้ล้ีภัยตามแนวชายแดน ไทย-พม่า โดยมีกระบวนการทำ� ให้เป็นแรงงานท่ีถูกกฎหมาย หรือการหาแนวทาง การสง่ กลบั ผลู้ ภ้ี ยั ประการทสี่ าม การปรบั เปลยี่ นเขา้ สเู่ ศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ มเตม็ ท่ี ของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น การสร้างท่าเรือน�้ำลึก การสร้างนคิ มอุตสาหกรรม การสรา้ งเขอ่ื น ฯลฯ กอ่ ใหเ้ กดิ ผลกระทบตอ่ กลมุ่ ชาตพิ นั ธซ์ุ งึ่ เปน็ ชนกลมุ่ นอ้ ยทอ่ี าศยั อยู่ในบริเวณป่าเขาและชายทะเล ซ่ึงเป็นพ้ืนที่ที่เป็นเป้าหมายการบุกเบิกเพ่ือท�ำ โครงสรา้ งพน้ื ฐานและโครงการธรุ กจิ ขนาดใหญ่ ปญั หาการแยง่ ชงิ ทดี่ นิ ทรพั ยากรนำ�้ ปา่ ไม้ ทจี่ ะรนุ แรงยง่ิ ขนึ้ สง่ ผลตอ่ การเปลย่ี นแปลงวถิ ชี วี ติ แบบดง้ั เดมิ และการเปลย่ี น เป็นแรงงานอพยพ ประการสดุ ท้าย การร่วมมอื กันในประชาคมเศรษฐกจิ อาเซียน หมายถึงการเปิดเสรีทั้งในเรื่องของการค้า การบริการ การเคล่ือนย้ายเงินทุน และแรงงาน ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุนจากประเทศท่ีมีรายได้มากกว่า เข้าไปช่วงชิง ทรพั ยากรจากประเทศทม่ี รี ายไดน้ อ้ ยกวา่ และผทู้ จ่ี ะไดร้ บั ผลกระทบมากทส่ี ดุ กเ็ ปน็ กลมุ่ ชาตพิ นั ธท์ุ ม่ี ชี วี ติ ตอ้ งพงึ่ พงิ ทรพั ยากรธรรมชาติ ทสี่ ำ� คญั คอื แหลง่ นำ้� และปา่ ไม้ 3) การลงนามในปฏิญญาสากลและข้อตกลงของสหประชาชาติ (United Nations) และองคก์ รระหวา่ งประเทศ ในระยะเวลากว่าหนึ่งทศวรรษท่ีผ่านมา สมัชชาใหญ่ สหประชาชาติได้ รบั รองอนสุ ญั ญาหลายฉบบั ทสี่ นบั สนนุ การรบั รองสทิ ธขิ องผทู้ ไี่ รอ้ ำ� นาจในสงั คม เชน่ เดก็ ผหู้ ญงิ ชนพนื้ เมอื ง แรงงาน ฯลฯ โดยมรี ฐั ตา่ งๆ ทยอยลงนามหรอื ใหค้ วามเหน็ ชอบ ในชว่ งเวลาทตี่ า่ งกนั ออกไป ขนึ้ อยกู่ บั กระบวนการใหค้ วามเหน็ ชอบหรอื ความพรอ้ ม ของสว่ นตา่ งๆ ทเ่ี กยี่ วขอ้ งในแตล่ ะรฐั เชน่ ในสว่ นของ “อนสุ ญั ญาวา่ ดว้ ยสทิ ธเิ ดก็ ” มกี ารรับรองโดยสมชั ชาใหญ่ สหประชาชาติ เมือ่ วนั ที่ 20 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2532


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook