Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สารานุกรมลูกเสือเล่ม3

สารานุกรมลูกเสือเล่ม3

Description: สารานุกรมลูกเสือเล่ม3

Search

Read the Text Version

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภมู พิ ลอดุลยเดช พระประมขุ คณะลกู เสอื แหง่ ชาติ พระราชดำรสั พระราชทานแกผ่ ู้บังคับบญั ชาลูกเสือ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ “การมีวินัย มีความสามัคคี และรู้จักหน้าที่ ถือกันว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญประจำตัว ของคนทุกคน แต่ในการสร้างเสริมคุณสมบัติ ๓ ข้อนี้ จะต้องไม่ลืมว่า วินัย สามัคคี และหน้าที่นั้น เป็นได้ท้ังในทางบวกและทางลบ ซึ่งย่อมให้คุณหรือให้โทษได้มากเท่า ๆ กัน ท้ัง ๒ ทาง เพราะฉะน้ัน เม่ือจะอบรมจำเป็นต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ แน่ชัดก่อนว่า เป็นวินัย สามัคคีและหน้าท่ีดีคือ ปราศจากโทษ เปน็ ประโยชน์ เป็นธรรม”



คำนิยม กระทรวงศึกษาธิการมีแนวคิดและนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรทุกภาคส่วนในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งผู้ที่มีหน้าท่ีในการถ่ายทอดและให้องค์ความรู้แก่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษา นอกสถานศึกษา และตามอัธยาศัยทุกระดับ อีกทั้งยังมุ่งส่งเสริมให้บุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการได้รับ การส่งเสริม สร้างสมประสบการณ์ทางด้านวิชาการ ตลอดจนกิจกรรมในการพัฒนาทักษะชีวิตทั้งต่อตนเอง และผู้อื่นอย่างหลากหลาย สมกับคำว่า “คุรุ” คือผู้เชี่ยวชาญ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้อย่าง เหมาะสม และเป็นไปตามเจตนารมณ์ ดังนั้น การที่สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน ได้ดำเนินการจัดทำ “สารานุกรมลูกเสือ เล่มที่ ๓” จนสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย กระทรวงศึกษาธิการ ได้พิจารณาเห็นว่า “สารานุกรมลูกเสือ เล่มท่ี ๓” นี้ จะเป็นตำราทางวิชาการท่ีทรงคุณค่า น่าศึกษา เป็นข้อมูลท่ีถูกต้องและเหมาะสมที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการลูกเสือ ซ่ึงเป็นกระบวนการ ท่ีกระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญและสนับสนุน เพ่ือสร้างความมั่นคงและคงอยู่ตลอดไป ขอขอบคุณ คณะผู้จัดทำทุกคน ตลอดจนสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ ที่ได้สนองตอบนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นอยา่ งดยี ง่ิ เพอ่ื ขบั เคลอ่ื นคณุ ธรรมจริยธรรมให้เกิดแก่เดก็ และเยาวชนของชาตสิ ืบไป (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) รฐั มนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานคณะกรรมการบริหารลกู เสือแหง่ ชาติ ก

คำนยิ ม ปัจจุบันนี้วิวัฒนาการเชิงรุกทั้งในด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ ๆ สื่อการเรียนการสอน ในรูปแบบต่าง ๆ มีผู้คิดค้นและออกแบบมาเพ่ือใช้งาน มีความหลากหลาย น่าสนใจ น่าศึกษาค้นคว้า และเป็นไปอย่างผสมกลมกลืนสอดคล้องต้องกัน ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากมาย โดยจะต้องคำนึง และให้ความสำคัญอย่างมากในการเลือกส่ิงเหล่าน้ันมาประยุกต์ใช้ ดังน้ัน การสร้างและผลิตสิ่งใหม่ ๆ ในหลายรูปแบบล้วนแล้วแต่มีคุณค่า เพราะทำให้มนุษย์มีโอกาสในการเลือกใช้สิ่งท่ีเหมาะสมกับ ความต้องการ การเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือของสถานศึกษาในระดับต่าง ๆ ก็มีความจำเป็นอย่างย่ิง ท่ีจะต้องค้นหา ทดลอง และเลือกวิธีปฏิบัติ เพ่ือให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจังต่อการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมแก่เด็กและเยาวชนของชาติ การจัดทำสารานุกรมลูกเสือขึ้นถือว่าเป็นเรื่องใหม่และทันสมัย เพราะบุคลากรทางการลูกเสือจะได้นำไปใช้อ้างอิง เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาอุปสรรคต่อการเรียน การสอนกิจกรรมลูกเสือ ท้ังยังเป็นพลังในการขับเคล่ือนไปสู่เป้าหมายอย่างมีคุณภาพ สำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ขอขอบคุณสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะผู้จัดทำทุกฝ่ายท่ีให้ความสำคัญต่อการจัดทำและผลิต “สารานุกรมลูกเสือ เล่มท่ี ๓” ฉบับน้ี และขอใหม้ กี ารจัดทำเอกสารทางวิชาการทมี่ คี ุณคา่ ในลักษณะน้สี บื ไป (นางพนิตา กำภู ณ อยธุ ยา) ปลดั กระทรวงศกึ ษาธกิ าร รองประธานคณะกรรมการบรหิ ารลกู เสือแหง่ ชาติ ข

คำนยิ ม กระผมขอแสดงความชื่นชมและยินดีเป็นอย่างย่ิงท่ีสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการ นักเรียน พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงทางการลูกเสือ กรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ สภาลูกเสือไทย และคณะผู้จัดทำที่ได้ทุ่มเทความวิริยอุตสาหะ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ท่สี ั่งสมทางการลกู เสือ รว่ มกนั จดั ทำและรวบรวมสรรพส่ิงต่าง ๆ ที่สำคัญอันเกี่ยวขอ้ งกบั กิจการลูกเสือ เป็นตำราทางวิชาการในรูปแบบของ “สารานุกรมลูกเสือ” จนล่วงมาถึงเล่มท่ี ๓ ฉบับน ้ี โดยระบบของโครงสร้างการทำงานท่ีเกย่ี วเนือ่ งกัน ทำใหก้ ระผมได้มีโอกาสศึกษา ติดตาม และตรวจสอบขอ้ มลู รวมถึงรูปแบบของการจัดทำ “สารานุกรมลูกเสือ” ต้ังแต่เล่มที่ ๑ จนถึงเล่มท่ี ๓ อย่างละเอียด พร้อมท้ัง ให้คำแนะนำต่อคณะผู้จัดทำในเรื่องของข้อมูลท่ีอาจคลาดเคลื่อนไปบ้าง ในขณะเดียวกันก็มีพ่ีน้องลูกเสือ ที่มีความสนใจและมีความรู้ดี กรุณาให้คำแนะนำ เพื่อการปรับปรุงให้สมบูรณ์ ซ่ึงกระผมและคณะผู้จัดทำ ไดม้ ีการปรกึ ษาหารือและนำมาแกไ้ ข เพื่อใหถ้ ูกต้องมากย่งิ ขน้ึ กระผมจึงมีความเห็นวา่ “สารานุกรมลูกเสือ เลม่ ท่ี ๓” น้ี มีความสมบรู ณ์ เชอ่ื ถอื ได้ มีคณุ คา่ ทจ่ี ะเป็นเครือ่ งมือในการสรา้ งเสรมิ ให้กิจการลูกเสือของชาต ิ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง กระผมขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เก่ียวข้องทุกท่าน ที่ได้ช่วยกัน จรรโลงและสรา้ งความเจรญิ ก้าวหนา้ ให้กับกิจการลกู เสือ ตลอดจนพี่นอ้ งลูกเสือทกุ คนท่ไี ด้กรณุ าให้ข้อเสนอแนะ ทเ่ี ปน็ ประโยชน์ และเอาใจชว่ ยมาโดยตลอด จงึ ขอขอบคุณมา ณ โอกาสน ้ี (นายศุภกร วงศป์ ราชญ)์ รองปลดั กระทรวงศกึ ษาธิการ เลขาธิการสำนักงานลกู เสอื แห่งชาติ ค

คำนำ กิจการลูกเสือไทยเป็นกิจการหนึ่งท่ีมีความย่ังยืนและมีความเป็นมาท่ียาวนาน ท่ีต้องจารึกและ คำนึงถึงคุณค่าท่ีสร้างคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองดีของชาติ ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยปี คนไทยทุกเพศ ทุกวัย ล้วนให้ความสนใจต่อกิจกรรมลูกเสือ ที่เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตประจำวันของเขาเหล่านั้นอย่างผสมกลมกลืน เร่ืองการเรียนรู้และการปรับเปล่ียนพฤติกรรมที่ด ี โดยแต่ละยุค แต่ละสมัย กิจการลูกเสือมีการพัฒนาเน้ือหาสาระ ตลอดจนรูปแบบกิจกรรมท่ีเสริมสาระ ให้มีความสอดคล้องกับการเรียนในสถานศึกษา ให้มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ปลูกฝัง คณุ ธรรม สรา้ งความเปน็ ผู้นำและผ้ตู ามท่ดี ี มีความเป็นพลเมอื งทมี่ ีคุณภาพ ซง่ึ มีสง่ิ ช้ีนำคือ “ระบบหมขู่ อง ลูกเสือ” จน ณ ปัจจุบันน้ีกิจการลูกเสือนับได้ว่าเป็นแกนหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ท่ีสถานศึกษา ในสังกัดทุกระดับ รวมท้ังหน่วยงานต่าง ๆ นำไปเป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ในด้านพฤติกรรมและ การอยู่ร่วมกันโดยสันติ สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน เป็นหน่วยงานหน่ึงภายใต ้ การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ มีบทบาทและหน้าท่ีในการคิดค้นนวัตกรรม การผลิตตำรา และคู่มือกจิ กรรมลกู เสือ เพ่ือสนองตอบตอ่ การเรยี นการสอนกจิ กรรมลูกเสอื ในสถานศกึ ษา ใหม้ ีวิวัฒนาการ ที่ทันสมัยและมีความภูมิใจในรากฐานท่ีแท้จริงของกิจการลูกเสือ ดังน้ัน การจัดทำตำราทางวิชาการลูกเสือ ในรูปแบบของ “สารานุกรมลูกเสือ” แต่ละเล่ม จึงมีการวางพ้ืนฐานและลำดับความสำคัญ รวมท้ัง การกระตุ้นแนวคิดและสร้างศรัทธาให้เกิดแก่ผู้นำไปศึกษาจนเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติได้อันเป็น ประเดน็ หลัก ง

ในนามของสำนกั การลูกเสือ ยุวกาชาด และกจิ การนกั เรยี น สำนักงานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ ขอกราบขอบพระคุณประธานคณะกรรมการฯ กรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาลูกเสือไทย ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิทางการลูกเสือจากหน่วยงานและสถานศึกษาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทุกท่านท่ีรวมพลัง เสียสละด้วยเจตนาบริสุทธิ์ เพื่อร่วมกันพัฒนากิจการลูกเสือไทยให้มีความเจริญก้าวหน้า อย่างย่ังยืน จนทำให้ “สารานุกรมลูกเสือ เล่มที่ ๓” นี้ สำเร็จสมบูรณ์ทุกประการ ในการน้ ี หากมีข้อบกพร่องประการใด สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียนขอน้อมรับคำแนะนำ เพ่ือการปรับปรุงในโอกาสต่อไป ท้ังนี้ เพราะหวังที่จะให้เกิดงานสร้างสรรค์ต่อการพัฒนากิจการลูกเสือไทย เพ่ือความม่นั คงของประเทศชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์สืบไป (นายดำรง ลมิ าภริ กั ษ)์ ผู้อำนวยการสำนกั การลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรยี น จ



สารบัญ หน้า พระราชดำรสั คำนิยมของรฐั มนตรีว่าการกระทรวงศกึ ษาธิการ ก ประธานคณะกรรมการบริหารลกู เสอื แห่งชาติ คำนิยมของปลัดกระทรวงศึกษาธกิ าร ข รองประธานคณะกรรมการบรหิ ารลกู เสอื แหง่ ชาติ คำนยิ มของรองปลดั กระทรวงศกึ ษาธกิ าร เลขาธิการสำนกั งานลูกเสอื แหง่ ชาต ิ ค คำนำของผูอ้ ำนวยการสำนกั การลูกเสอื ยวุ กาชาด และกิจการนักเรยี น ง-จ สารบัญ ฉ-ฌ การฝึกอบรมบคุ ลากรทางการลูกเสอื ๑ ความหมายของบคุ ลากรทางการลูกเสือ ๑ บุคลากรทางการลกู เสือ (Adults in Scouting) ๑ คณะกรรมการทรัพยากรบุคลากรทางการลูกเสือ ๒ ความหมายของการฝกึ อบรมบคุ ลากรทางการลกู เสอื ๓ ประวตั ิการฝกึ อบรมบุคลากรทางการลูกเสอื ๓ ประวัติการฝกึ อบรมผ้บู งั คบั บัญชาลกู เสือแบบกลิ เวลล์ ปาร์ค ๓ ประวตั กิ ารฝกึ อบรมผบู้ งั คับบญั ชาลูกเสือแบบสำนกั งานลกู เสอื โลก ๕ ประวตั ิการฝึกอบรมผูบ้ ังคบั บญั ชาลกู เสือแบบประเทศไทย ๗ การฝึกอบรมบคุ ลากรทางการลูกเสอื ๑๐ ๑. ระดบั ทีห่ นงึ่ การฝึกอบรมผกู้ ำกบั ลูกเสือ ๑๐ ระดบั ทีห่ นึง่ ข้นั ทีห่ นึ่ง ขั้นความร้ทู วั่ ไป (General Information Course) ๑๑ ระดบั ที่หนึ่ง ขน้ั ทส่ี อง ข้นั ความรู้เบ้อื งต้น (Basic Unit Leader Training Course) ๑๒ ระดบั ทห่ี น่งึ ขั้นท่ีสาม ข้ันฝึกหัดงาน (In-Service Training) ๑๗ ระดับที่หนงึ่ ขนั้ ทส่ี ี่ ขนั้ ความร้ชู ้ันสูง (Advanced Unit Leader Training Course) ๑๘ ระดับท่หี น่ึง ขนั้ ที่หา้ ข้นั ปฏบิ ัติการและประเมนิ ผล (Application and Evaluation) ๒๓ ฉ

สารบัญ (ต่อ) หน้า ๒๕ ๒. ระดับทสี่ อง การฝึกอบรมผใู้ ห้การฝกึ อบรมผู้กำกับลกู เสอื ๒๖ ระดบั ท่สี อง ขัน้ ทห่ี นงึ่ การฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสอื ข้ันผู้ชว่ ยหวั หน้า ผู้ให้การฝึกอบรมผกู้ ำกบั ลูกเสอื (Assistant Leader Trainers Course) ๓๑ ระดบั ทีส่ อง ข้นั ทีส่ อง การฝกึ อบรมบคุ ลากรทางการลูกเสอื ขน้ั หัวหน้า ผ้ใู หก้ ารฝกึ อบรมผู้กำกับลูกเสือ (Leader Trainers Course) ๓๖ การฝึกอบรมผู้บงั คับบญั ชาลูกเสือสมทุ ร ๓๗ ๑. ระดับที่หนึง่ การฝึกอบรมผ้บู ังคบั บญั ชาลูกเสือสมุทรขั้นความร้ชู ้นั ต้น ๓๙ ๒. ระดบั ท่ีสอง การฝึกอบรมผูบ้ งั คบั บญั ชาลูกเสอื สมุทรขน้ั ความรูช้ นั้ สูง ๔๑ การฝกึ อบรมผู้บังคับบญั ชาลกู เสืออากาศ ๔๑ ๑. ระดับทห่ี นึง่ การฝกึ อบรมผูบ้ งั คับบัญชาลกู เสอื อากาศขัน้ ความรชู้ น้ั ต้น ๔๔ ๒. ระดบั ทส่ี อง การฝกึ อบรมผ้บู งั คับบัญชาลกู เสอื อากาศข้ันความรู้ชั้นสงู ๔๖ การฝกึ อบรมผู้บงั คับบัญชาลกู เสืออากาศหรือวิชาเฉพาะทาง ๔๗ บุคลากรในการฝึกอบรมลูกเสือ ๔๗ ความหมาย ๔๗ ๑. คณะผูใ้ ห้การฝกึ อบรมลกู เสอื ๔๗ ๑.๑ ผบู้ ริหารโครงการ ๔๘ ๑.๒ ทป่ี รกึ ษา ๔๙ ๑.๓ ผอู้ ำนวยการฝกึ อบรมลูกเสอื ๕๐ ๑.๔ รองผูอ้ ำนวยการฝึกอบรมลกู เสือ ๕๐ ๑.๕ วิทยากรลูกเสือ ๕๑ ๑.๕.๑ วิทยากรทางวชิ าการลกู เสือ ๕๒ ๑.๕.๒ วทิ ยากรประจำหม/ู่ กลมุ่ ลกู เสอื ๕๓ ๑.๕.๓ วทิ ยากรประจำวนั ๕๓ ๑.๕.๔ วทิ ยากรพเิ ศษ ๕๕ ๑.๕.๕ วิทยากรฝ่ายบริการและสนบั สนนุ ๕๖ ๒. ผ้เู ข้ารบั การฝกึ อบรมลูกเสือ ๕๖ ความหมาย ช

สารบัญ (ต่อ) หน้า การดำเนินการฝกึ อบรมบุคลากรทางการลูกเสือ ๕๘ วธิ กี ารและขน้ั ตอนในการดำเนินการฝกึ อบรมบคุ ลากรทางการลกู เสือ ๕๘ คำแนะนำทัว่ ไปในการฝึกอบรมบุคลากรทางการลกู เสือ ๖๕ ความหมาย ๖๕ การขออนญุ าตจัดการฝึกอบรมบคุ ลากรทางการลูกเสอื และการทำรายงาน ๖๕ การรายงานผลการฝกึ อบรมบุคลากรทางการลูกเสือ ๖๕ การปฐมนเิ ทศ ๖๖ สาระสำคัญของการปฐมนเิ ทศ ๖๗ การแต่งกายในการฝกึ อบรมบุคลากรทางการลกู เสอื ๖๘ ผเู้ ขา้ รบั การฝกึ อบรมลูกเสอื ๖๘ ผู้ให้การฝกึ อบรมลกู เสอื ๗๑ โอกาสในการแตง่ กาย ๗๒ ผู้เขา้ รบั การฝกึ อบรมลกู เสอื ๗๒ ผูใ้ หก้ ารฝึกอบรมลกู เสือ ๗๔ การถวายราชสดุดพี ระบรมรูปรัชกาลท่ี ๖ (ภายในอาคาร) ๗๕ การจัดโต๊ะหมบู่ ูชา ๗๕ การจดั เคร่อื งทองน้อย ๗๖ การถวายราชสดดุ ีพระบรมรปู รชั กาลที่ ๖ (ภายนอกอาคาร) ๗๙ การลอดซมุ้ ในการฝกึ อบรมผู้บงั คับบญั ชาลกู เสอื ๗๙ พธิ ีรอบเสาธงในตอนเช้าระหวา่ งการฝกึ อบรมลกู เสอื ๘๑ การบูชาพระรตั นตรยั ๘๖ การใช้คำบอกกอ่ นการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมใี นการฝึกอบรม ๘๖ บุคลากรทางการลกู เสอื การตรวจตอนเช้าในการฝึกอบรมผู้กำกับลกู เสอื ข้นั ความรู้ชน้ั สงู ๘๗ การชกั ธงเขียวใหญ่ ๙๓ การตรวจสมดุ บนั ทึกของผเู้ ข้ารบั การฝึกอบรมลูกเสอื ๙๔ กิจกรรมยามว่าง ๙๕ ซ

สารบญั (ต่อ) หนา้ การประชุมนายหมูใ่ นการฝึกอบรมผกู้ ำกบั ลกู เสอื ขนั้ ความรูช้ ัน้ สงู ๙๖ การเลอื กประธานรุน่ และนายหมู่ถาวร ๙๗ การกล่าวคำปราศรัยในพิธเี ปิด-ปดิ การฝึกอบรมบคุ ลากรทางการลูกเสอื ๙๙ การฝกึ อบรมโดยระบบฐานและวธิ กี ารปฏบิ ตั ิ ๑๐๐ พธิ เี ปดิ การฝกึ อบรมผู้บงั คับบญั ชาลูกเสอื (ตามประเพณีไทย) ๑๐๒ การจัดงานสังสรรค ์ ๑๐๔ การประชมุ คณะผูใ้ หก้ ารฝึกอบรมลูกเสอื ๑๐๖ หน้าทีข่ องวทิ ยากรประจำหม่/ู กลุ่มบริการ ๑๐๘ การทำความรจู้ กั ซึง่ กันและกัน ๑๐๙ การประเมินผลขนั้ สุดท้าย ๑๑๐ หนงั สอื ค่มู อื การฝึกอบรมลกู เสือ ๑๑๐ หน้าทีข่ องหมู่/กลุ่มบริการ ๑๑๑ แนวการปราศรยั ของผูอ้ ำนวยการฝกึ อบรมลกู เสือ รอบเสาธง คร้ังแรก ๑๑๒ แนวการปราศรยั ของผอู้ ำนวยการฝกึ อบรมลกู เสือ รอบเสาธง ประจำวัน ๑๑๒ ประวัตลิ ูกเสือสมุทร ๑๑๓ ประวัติลกู เสอื อากาศ ๑๑๗ ประวตั ิความเปน็ มาของลูกเสือสำรอง ๑๒๓ ประวัตกิ ิจการลูกเสือวิสามัญในประเทศไทย ๑๒๔ นอ้ มระลึกถึงพระคุณในความรว่ มมือ ๑๒๘ บรรณานุกรม ๑๒๙ ภาคผนวก ๑๓๑ คณะกรรมการและคณะทำงานโครงการจัดทำและผลติ สารานุกรมลกู เสอื เลม่ ที่ ๓ ๑๓๒ ผ้เู ขยี นสารานกุ รม ๑๓๔ ฌ

การฝกึ อบรมบคุ ลากรทางการลูกเสือ ความหมายของบคุ ลากรทางการลกู เสือ ๑บุคลากรทางการลูกเสือ หมายถึง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ อาสาสมคั รลกู เสือ และเจา้ หน้าทีล่ ูกเสอื หนงั สือพระราชบัญญตั ลิ ูกเสอื พ.ศ. ๒๕๕๑ บุคลากรทางการลกู เสือ (Adults in Scouting) ขบวนการลกู เสือได้เกิดขนึ้ เม่อื พ.ศ. ๒๔๕๐ (ค.ศ. ๑๙๐๗) โดยท่านลอร์ด เบเดน-โพเอลล์ เปน็ ผกู้ ่อตั้ง เร่ิมแรกนำเด็กชาย ๒๐ คน ไปตั้งค่ายพักแรมท่ีเกาะบราวน์ซี ประเทศอังกฤษ ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๖) มีประเทศสมาชิกลกู เสอื ท่วั โลก ๑๖๑ ประเทศ จำนวนลกู เสือมากกว่า ๓๐ ล้านคน การลูกเสือเจริญก้าวหน้าได้มากหรือน้อยน้ันไม่ได้อยู่ที่จำนวนลูกเสืออย่างเดียว หากอยู่ที่ “ผู้ใหญ่” ที่เป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือท่ีทำงานในองค์กรของลูกเสือท่ัวโลกนั่นเอง บี-พี ได้กล่าวไว้ว่า “การลูกเสือเป็นกิจกรรมสนุกสนานและมีสาระสำหรับเด็ก แต่เป็นงานสำหรับผู้ใหญ่” ตัวลูกเสือจะได้รับ ผลประโยชน์มากน้อยเพียงใดจากกิจกรรมลูกเสือขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพ คุณภาพของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ซ่ึงจะเป็นผู้จัดการ เตรียมการ เสนอแนะ แนะนำ และนำให้ลูกเสือได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามความ เหมาะสม ตามความต้องการของลูกเสือและสังคม บุคลากรท่ีมาร่วมในการจัดกิจกรรมให้ลูกเสือ คือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ อาสาสมัครลูกเสือ และเจ้าหน้าที่ลูกเสือ เรยี กบุคลากรเหล่านี้วา่ “บุคลากรทางการลกู เสือ” (Adults in Scouting) สำนักงานลูกเสือโลกได้ทำการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเก่ียวกับงานบุคลากรทางการลูกเสือ และ รวบรวมแนวความคิดเก่ียวกับงานบุคลากรทางการลูกเสือ แล้วได้นำเสนอในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก คร้งั ที่ ๓๒ ณ กรุงปารีส ใน พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ. ๑๙๙๐) สรปุ ปญั หาเร่อื งบคุ ลากรทางการลูกเสอื ๓ ประเดน็ ดงั น้ี ๑ จากพระราชบญั ญัตลิ กู เสือ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔ หน้า ๒. สารานุกรมลูกเสอื ๑๐๐ ปี ลูกเสอื ไทย เล่มที่ ๓

๑. หลายประเทศมีปัญหาความยุ่งยากในการเลือกสรรบุคลากรมาปฏิบัติงานลูกเสือ อีกท้ัง มีปญั หาในเร่ืองการฝกึ อบรมบุคลากรเหลา่ น้ีใหม้ ีคณุ ภาพ และประสิทธิภาพในการปฏบิ ัตงิ านลูกเสือ ๒. หลายประเทศไมม่ ขี ีดความสามารถในการฝึกอบรมผบู้ ังคบั บญั ชาลกู เสือ ๓. หลายประเทศไม่สามารถจะผูกใจ จูงใจให้บุคลากรที่มีความสามารถอยู่ช่วยงานลูกเสือได ้ ในระยะเวลานาน ท่ีประชุมมีมติใหท้ ุกประเทศทวั่ โลกตอ้ งพฒั นาบุคลากรทางการลูกเสอื อย่างเป็นระบบ มแี นวทาง วิธีการเดียวกัน เป็นการสนับสนุนให้คณะลูกเสือทุกประเทศได้ดำเนินการพัฒนาเยาวชนลูกเสือของตน ให้เปน็ เยาวชนท่ีทรงคุณคา่ มคี ณุ ภาพทด่ี ี และเป็นพลเมอื งดขี องสงั คมประเทศชาตแิ ละสงั คมโลกตอ่ ไป ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๖ (ค.ศ. ๑๙๙๓) จากการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก คร้ังที่ ๓๓ ท่ี กรุงเทพมหานครได้มีมติเน้นย้ำให้ทุกประเทศวางระบบการพัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือ ตามแนวทาง ของสำนักงานลูกเสือโลก อีกทั้งยังให้ทุกประเทศมีคณะกรรมการทรัพยากรบุคลากรทางการลูกเสือ ซึ่งคณะกรรมการชุดน้ีจะกำหนดนโยบาย ระบบ แนวทาง และวิธีการการพัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือ ตามข้อเสนอแนะของสำนักงานลกู เสอื โลก คณะกรรมการทรัพยากรบุคลากรทางการลกู เสอื เพอ่ื ให้การดำเนนิ การในเรือ่ งบุคลากรทางการลกู เสอื เปน็ แนวทางเดยี วกนั ทว่ั โลก คณะกรรมการ ลกู เสอื โลกจึงกำหนดใหม้ คี ณะกรรมการทรัพยากรบุคลากรทางการลกู เสอื ทุกระดับดงั น ้ี ๑. คณะกรรมการทรพั ยากรบุคลากรทางการลกู เสอื ระดบั โลก ๒. คณะกรรมการทรัพยากรบุคลากรทางการลูกเสือระดบั ภาคพื้นต่าง ๆ ๓. คณะกรรมการทรัพยากรบคุ ลากรทางการลกู เสือระดบั ชาต ิ สำหรับประเทศไทยน้ันได้ดำเนินการแต่งต้ังผู้ตรวจการฝ่ายบุคลากรทางการลูกเสือข้ึน เปน็ ครง้ั แรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ (ค.ศ. ๒๐๐๑) คอื นางสมุ น สมสาร ผตู้ รวจการลูกเสอื ฝ่ายฝึกอบรม ทำหนา้ ท ี่ ผู้ตรวจการฝ่ายบุคลากรทางการลูกเสือ และมีคณะกรรมการฝ่ายบุคลากรทางการลูกเสือ ซ่ึงทำหน้าท ่ี คณะกรรมการทรพั ยากรบุคลากรทางการลูกเสือระดับชาติ นางสุมน สมสาร อดีตผ้ตู รวจการลกู เสอื ฝ่ายฝกึ อบรม  สารานุกรมลูกเสอื ๑๐๐ ปี ลกู เสอื ไทย เล่มท่ี ๓

ความหมายของการฝกึ อบรมบุคลากรทางการลูกเสอื การฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ หมายถึง การฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ รวมท้ัง บคุ คลท่ีใหค้ วามสนใจกิจการลูกเสอื เพื่อให้ผเู้ ข้ารบั การฝึกอบรมมคี วามรู้ ความเข้าใจ ทกั ษะ และเจตคติท่ดี ี เปน็ กำลังสำคญั ของการลูกเสอื การฝกึ อบรมบคุ ลากรทางการลกู เสอื ประกอบด้วยวิธีการฝกึ อบรมท้งั ภาคทฤษฎีและภาคปฏบิ ัต ิ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรน้ัน ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการลูกเสือหรือเพ่ิมประสิทธิภาพ ในการปฏบิ ตั ิงานลูกเสอื ประวัตกิ ารฝกึ อบรมบุคลากรทางการลกู เสอื ประวตั กิ ารฝกึ อบรมผู้บังคับบัญชาลกู เสอื แบบกิลเวลล์ ปารค์ ลอร์ด เบเดน-โพเอลล์ (บี-พี) ได้ตั้งกองลูกเสือขึ้น เม่ือ พ.ศ. ๒๔๕๐ (ค.ศ. ๑๙๐๗) ท่ีประเทศ อังกฤษ พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. ๑๙๑๑) ได้มีการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรก มีการบรรยาย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ มีกิจกรรมท้ังการเล่นเกม-เพลง ผู้เข้ารับการฝึกอบรม คือ ผกู้ ำกบั ลกู เสอื ของประเทศอังกฤษ พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ. ๑๙๑๔) บี-พี กำหนดให้จัดโครงการฝึกอบรมลูกเสือ ข้ันวูดแบดจ์ (The Woodbadge Scheme) แต่ได้เกิดสงครามโลก คร้ังท่ี ๑ ขึ้น ประกอบกับยังไม่มีสถานที่ฝึกอบรม ถาวร โครงการนี้จงึ ยังมอิ าจดำเนินการไปได ้ พ.ศ. ๒๔๖๒ (ค.ศ. ๑๙๑๙) เมอื่ สงครามโลก ครั้งที่ ๑ ได้สิ้นสดุ ลง มสิ เตอร์ ดับเบิลยู เดอ บัวส์ แมคคาเรน (Mr. W. De Bois Maclaren) ผู้ตรวจการลูกเสืออำเภอ (District Commissioner for Reseneath in Bunbartanashir Scotland) ได้มอบท่ีดินที่กิลเวลล์ ปาร์ค จำนวน ๕๗ เอเคอร์ (ประมาณ ๑๔๒ ไร่) ให้แก่คณะลูกเสืออังกฤษ บี-พี ได้จัดสร้างข้ึนเป็นสถานฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ การฝึกอบรมลูกเสือขั้นวูดแบดจ์ มีขึ้นเม่ือวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๒ (ค.ศ. ๑๙๑๙) สาระสำคัญของ การอบรมฝึกลูกเสือขั้นวูดแบดจ์ คือ การอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นระบบหมู่ในค่าย การเรียนรู ้ ด้วยวิธีการบรรยาย การสาธิต การเปลี่ยนหน้าท่ีของสมาชิกในหมู่ทุกวัน เพื่อให้ทุกคนได้มีประสบการณ์ ในการเป็นผ้นู ำ เปน็ พลาธิการ เป็นคนครวั ฯลฯ ในระยะตอ่ มาเนอื้ หาวิชาที่อบรมและวธิ กี ารสอนได้เปลยี่ นแปลง ไปบ้าง แต่หลักการสำคัญมิได้เปลี่ยนแปลงไป บี-พี ได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับศูนย์ฝึกกิลเวลล์ ปาร์ค อย่างใกลช้ ดิ ตลอดชวี ติ ของท่าน สารานุกรมลกู เสือ ๑๐๐ ปี ลกู เสือไทย เล่มที่ ๓

บ-ี พี วทิ ยากร และผบู้ งั คบั บัญชาลูกเสอื ๑๙ คน ในการฝึกอบรมลูกเสอื ข้ันวดู แบดจค์ รง้ั แรก ณ กิลเวลล์ ปาร์ค ค.ศ. ๑๙๑๙ จากการเข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก (World Jamboree) คร้ังท่ี ๑ ถึงครั้งท่ี ๓ ได้มีผู้บังคับ บัญชาลูกเสือจากประเทศต่าง ๆ เดินทางมายังประเทศอังกฤษมากข้ึน มีความสนใจสมัครเข้ารับ การฝกึ อบรมลกู เสอื ที่กิลเวลล์ ปาร์ค และมีความประทบั ใจในการฝึกอบรมลกู เสอื มาก ได้นำวิชาความรู้ทไ่ี ด้รับ กลบั ไปใชย้ งั ประเทศของตน การฝกึ อบรมลูกเสอื แบบกิลเวลล์ ปาร์ค จึงได้กระจายไปยังประเทศอ่นื ๆ การฝึกอบรมลูกเสอื ขั้นวดู แบดจแ์ บบกลิ เวลล์ ปาร์ค การฝกึ อบรมลกู เสอื ขนั้ วูดแบดจแ์ บบกิลเวลล์ ปาร์ค คร้งั แรก ๆ ได้จดั ขนึ้ สำหรับผู้กำกับลกู เสอื อังกฤษโดยเฉพาะ และถอื ว่าเปน็ ความรเู้ บ้ืองต้นท่ีจำเปน็ สำหรับผกู้ ำกับลกู เสือทกุ คน พ.ศ. ๒๔๖๕ (ค.ศ. ๑๙๒๒) มีการจัดการฝึกอบรมลูกเสือขั้นวูดแบดจ์ สำหรับผู้กำกับลูกเสือ สำรองเปน็ คร้ังแรก พ.ศ. ๒๔๗๐ (ค.ศ. ๑๙๒๗) มีการจัดการฝึกอบรมลูกเสือขั้นวูดแบดจ์ สำหรับผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ เป็นครัง้ แรก พ.ศ. ๒๔๙๙ (ค.ศ. ๑๙๕๖) มีการจัดการฝึกอบรมลูกเสือข้ันวูดแบดจ์ สำหรับผู้กำกับลูกเสือ สามัญรุ่นใหญ่ และมีการฝึกอบรมลูกเสือขั้นผู้ให้การฝึกอบรมเป็นรุ่นแรก (The First Official Training the Team Course)  สารานกุ รมลกู เสอื ๑๐๐ ปี ลูกเสือไทย เล่มที่ ๓

ตกึ ขาว ณ กิลเวลล์ ปารค์ ปัจจุบนั สญั ลักษณ์ของกลิ เวลล์ ปาร์ค คอื ขวานสบั ขอนไม้ ระดับการฝึกอบรมลูกเสือ แบ่งออกเป็น ๒ ระดับ ๑. ระดับผกู้ ำกับลกู เสือ มี ๒ ขั้น คือ ๑.๑ ข้นั ความรเู้ บือ้ งตน้ หรอื P.T.C. (Preliminary Training Course) ๑.๒ ขน้ั วดู แบดจ์ แบ่งเปน็ ๓ ภาค ภาค ๑ ภาคทฤษฎี เป็นการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการลูกเสือ มีการตอบคำถาม เป็นลายลกั ษณอ์ กั ษร ภาค ๒ ภาคปฏิบตั ิ เป็นการฝกึ เกี่ยวกบั วิชาการลูกเสือ มีการอยคู่ า่ ยพกั แรม ภาค ๓ ภาคปฏิบัติการและประเมินผล เป็นการปฏิบัติการและประเมินผล โดยผู้กำกับลูกเสือนำวิชาท่ีได้เรียนรู้มาจากภาค ๑ และภาค ๒ ไปใช้ฝึกอบรมลูกเสือในกองหน่ึงกองใด มีเจ้าหน้าท่ีไปตรวจ และรายงานผลการปฏิบัต ิ ๒. ระดับผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ หรือ T.T.C. (Training the Team Course) นอกจากน้ีมีการฝึกอบรมลูกเสือเกี่ยวกับวิชาเฉพาะเรียกว่า Technical Courses เช่น วิชาการชุมนุม รอบกองไฟ (Camp Fire Course) วชิ าการบุกเบกิ (Pioneering Course) หรอื หลักสูตรผตู้ รวจการลกู เสือ (Commissioners Course) ประวตั ิการฝกึ อบรมผบู้ ังคบั บัญชาลูกเสอื แบบสำนักงานลกู เสือโลก กิลเวลล์ ปาร์ค เป็นศูนย์การฝึกอบรมนานาชาติ (International Training Center) มาจนถึง พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ. ๑๙๖๙) ได้มีการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ ๒๒ ท่ีนครเฮลซิงกิ (Helsinki) ประเทศฟินแลนด์ ท่ีประชุมมีมติให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ โดยให้ เหตผุ ลวา่ ๑. เนื่องดว้ ยมกี ารขยายกิจการลกู เสอื ด้านปริมาณและอาณาเขตทางภมู ศิ าสตร์ ๒. แต่ละประเทศมีความตอ้ งการในการฝึกอบรมผบู้ งั คับบญั ชาลูกเสอื แตกต่างกนั ๓. ผู้บงั คบั บญั ชาลกู เสอื มเี จตคติและความต้องการ (Needs) แตกต่างกัน ๔. แตล่ ะท้องถิน่ มวี ฒั นธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา และส่ิงแวดล้อมท่แี ตกต่างกนั สารานกุ รมลูกเสือ ๑๐๐ ปี ลกู เสอื ไทย เล่มที่ ๓

ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ศูนย์ฝึกอบรมนานาชาติขาดความเป็นเอกภาพ มีจุดอ่อน ที่ประชุมจึงได้จัดต้ังคณะกรรมการฝ่ายการฝึกอบรมของสำนักงานลูกเสือโลก (World Training Committee) ทำการศึกษาเก่ียวกับการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือทั่วไป และคณะกรรมการฝ่าย การฝึกอบรมของสำนักงานลูกเสือโลกได้มีความเห็นพ้องกันข้อหน่ึงว่า ควรท่ีจะยึดถือแนวทางการฝึกอบรม ผู้บงั คับบญั ชาลูกเสือแบบกลิ เวลล์ ปารค์ ไว้ หลักการทัว่ ไปทคี่ ณะกรรมการฝา่ ยการฝกึ อบรมของสำนกั งาน ลกู เสือโลกได้เสนอไว้ คือ ๑. ประเทศสมาชิกควรยอมรับแนวทางการฝึกอบรมลูกเสือแบบสำนักงานลูกเสือโลกน ้ี ด้วยความสมคั รใจเพื่อความเปน็ อนั หนึ่งอันเดยี วกันในกระบวนการลูกเสือโลก ๒. ให้ประเทศสมาชิกรับผิดชอบในการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือของตนเอง โดยกำหนด ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เน้ือหาวิชา และวิธีการฝึกอบรมตามความต้องการของประเทศตนเอง ทั้งน ้ี มีข้อเสนอแนะวา่ เนอ้ื หาวิชาและวิธกี ารฝกึ อบรมนัน้ ควรให้ได้รบั ผลตามเป้าหมาย ดังต่อไปนี้ ๒.๑ ให้เกิดความเข้าใจและซาบซ้ึงในภาระหน้าที่ที่จะต้องทำ รวมทั้งความเข้าใจ ในหลักการสำคัญของการลูกเสอื และหนา้ ท่ีของผกู้ ำกับลูกเสือ ๒.๒ ให้เข้าใจถึงความต้องการของเด็กและเยาวชน และทักษะวิธีการของการลูกเสือ ที่เหมาะสม เพอ่ื ให้บรรลุความต้องการเหลา่ น้ี ตามสภาพสิง่ แวดล้อมและสังคมทแ่ี ตกต่างกัน ๒.๓ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของผู้ใหญ่ที่จะเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างท่ีดีของเด็ก และเยาวชนแต่ละบุคคล เป็นภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาลูกเสือท่ีจะต้องศึกษา หาความรู้เพอ่ื พฒั นาตนเองอยูเ่ สมอ คณะกรรมการฝ่ายฝึกอบรมของสำนักงานลูกเสือโลกได้ขอให้สมาคมลูกเสือประเทศต่าง ๆ ยอมรับเอาสญั ลักษณ์ของการฝึกอบรมลูกเสอื ขัน้ วดู แบดจ์ (Wood Badge Insignia) ไปใชต้ อ่ ไปดว้ ย ทง้ั น้ี เพ่ือเป็นทร่ี ะลกึ ถึงผใู้ หก้ ำเนดิ ลูกเสอื โลก ระดบั ของการฝึกอบรมลูกเสอื แบบสำนกั งานลูกเสอื โลก ระดับของการฝกึ อบรมลูกเสอื แบบสำนกั งานลูกเสอื โลก แบง่ ออกเปน็ ๒ ระดบั คอื ระดับทีห่ นง่ึ สำหรับผ้กู ำกบั ลูกเสอื มี ๒ ขน้ั ดังน้ี ๑. ข้ันความรู้เบ้ืองตน้ หรอื B.T.C. (Basic Unit Leader Training Course) ๒. ข้นั ความรชู้ ั้นสูง หรอื A.T.C. (Advanced Unit Leader Training Course) หมายเหตุ ก่อนที่บุคคลจะเข้าเป็นผู้กำกับลูกเสือ คณะกรรมการฝ่ายฝึกอบรมของสำนักงาน ลูกเสือโลกแนะนำให้เข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือขั้นความรู้ทั่วไป (Introductory Course) ซึ่งใช้เวลา ๘-๑๒ ช่ัวโมง หรือ ๑ วนั กอ่ น ระดับท่ีสอง เป็นการให้การฝึกอบรมลูกเสือแก่ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมลูกเสือวิชาผู้กำกับลูกเสือ มาแล้ว มี ๒ ขั้น ดังน้ี  สารานกุ รมลกู เสือ ๑๐๐ ปี ลกู เสือไทย เลม่ ท่ี ๓

๑. ขัน้ ผู้ให้การฝกึ อบรมลูกเสือระดบั ชาติ หรือ N.T.C. (National Training the Team Course) ๒. ขั้นผู้ให้การฝึกอบรมลูกเสือระดับนานาชาติ หรือ I.T.T.C. (International Training the Team Course) ประวตั กิ ารฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลกู เสอื แบบประเทศไทย การประกาศตั้งกองฝึกหัดผู้กำกบั ลกู เสอื “นายกองใหญ่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชริ าวธุ พระมงกฎุ เกล้าเจา้ อยหู่ ัว ผ้ทู รงดำรง ตำแหน่งนายกเสือป่า มีพระบรมราชโองการฯ สั่งว่า น่าที่ผู้กำกับลูกเสือน้ันเปนน่าที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะต้องเปนผู้ฝึกฝนให้กุลบุตร รู้จักรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเรียนรู้แบบแผนวิชาการนักรบ ท่ีจะทำการเปนคุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเกิดเมืองนอน เพราะฉะน้ันในน่าที่ผู้กำกับจึงต้องเปนผู้ที่มีคุณวุฒิ พิเศษ ซึ่งเป็นผู้ได้เรียนรู้การในน่าท่ีเสือป่าดีมาแล้ว แต่อาไศรยที่กิจการแห่งกองลูกเสือได้ดำเนินไป โดยรวดเร็ว และขยายเปนการแพร่หลายน้ัน จึงยังมิทันมีโอกาสท่ีจะจัดการศึกษาวิชาผู้กำกับให้พอเพียง แก่น่าท่ีได้ และเมื่อขยายการปกครองลูกเสือเปนการแพร่หลายซึ่งมีกองลูกเสือต้ังข้ึนในเมืองมณฑลต่าง ๆ มาก... ด้วยเหตุนี้ จึงทรงพระราชดำริห์ว่า เพ่ือจะคงไว้ซึ่งระเบียบการฝึกหัดส่ังสอนลูกเสือตามเมืองมณฑล ต่าง ๆ ให้ทำการเปนระเบียบเหมือนอันหน่ึงอันเดียวกันนั้น จึงเปนการสมควรจะจัดต้ังกองฝึกหัดผู้กำกับ ลูกเสือข้นึ ในกรงุ เทพฯ แห่งหน่งึ ....” จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ต้ังกองฝึกหัดผู้กำกับลูกเสือข้ึนในบริเวณสโมสรคณะเสือป่า ณ พระราชวังสวนดุสิต สำหรับเปนท่ีสำนักศึกษาวิชาผู้กำกับท่ัวไปท้ังกรุงเทพมหานครแลหัวเมือง กำหนด เวลาเล่าเรียน ๒ เดอื นเต็ม เร่มิ แตว่ นั ท่ี ๑ พฤศจกิ ายน เปนตน้ ไปจนถงึ วันที่ ๓๑ ธนั วาคม เสมอไปทกุ ๆ ปี หรอื ถ้าเต็มใจจะโดยเสด็จพระราชดำเนริ ในการฝึกหัดประลองยทุ ธเสอื ป่ากองเสนาหลวงดว้ ยก็ได้ เม่ือศึกษาวิชาครบกำหนดและสอบไล่ได้ตามหลักสูตร จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานใบประกาศนียบัตร เปนสำคัญ ใบประกาศนียบัตรนั้นมีเปน ๒ ประเภท คือ ประเภทท่ี ๑ เปนใบประกาศนียบัตรพิเศษ สำหรับนักเรียน ที่สอบไล่ได้ตามหลักสูตร ซ่ึงเปนผู้ท่ีได้โดยเสด็จพระราชดำเนิร ในการฝึกหัดประลองยุทธเสือป่ากองเสนาหลวง ประเภทที่ ๒ เปนใบประกาศนียบัตรสามัญ สำหรับพระราชทานแก่นักเรียน ที่สอบไล่ได้ตามหลักสูตร ท่ีมิได้โดยเสด็จพระราชดำเนิร ในการฝกึ หัดประลองยทุ ธเสอื ปา่ กองเสนาหลวง สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๗๐ (ค.ศ. ๑๙๒๗) ได้ส่งหลวงกวี จรรยาวิโรจน์ และหลวงปราโมทย์ จรรยาวิภาค ไปรับการฝึกอบรมลูกเสือ ท่ีกลิ เวลล์ ปารค์ ประเทศองั กฤษ สารานุกรมลกู เสอื ๑๐๐ ปี ลูกเสือไทย เล่มท่ี ๓

ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๒ (ค.ศ. ๑๙๒๙) มีการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ ณ สามัคยาจารย์สมาคม ในบรเิ วณโรงเรยี นสวนกุหลาบวิทยาลยั ระหว่างวนั ท่ี ๒๙ สงิ หาคม ถงึ วันท่ี ๔ กนั ยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ การฝกึ อบรมผ้กู ำกบั ลกู เสอื ณ สามคั ยาจารยส์ มาคม ในบริเวณโรงเรยี นสวนกหุ ลาบวทิ ยาลัย ทม่ี า : เพทาย อมาตยกุล. (๒๕๑๔) จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๔ (ค.ศ. ๑๙๓๑) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศตั้งโรงเรียน ผู้กำกับลูกเสือในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการฝึกอบรมเจ้าหน้าท่ีลูกเสือ ข้ึนเป็นงานประจำปี พระราชทานสถานท่ีในบริเวณพระรามราชนิเวศน์ (พระราชวังบ้านปืน) จังหวัดเพชรบุรี เป็นสำนักฝึกอบรม เรมิ่ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๔ เป็นตน้ ไป พระองคเ์ จ้าธานีนวิ ัต ทรงเยย่ี มและเปดิ การฝึกอบรม เครอ่ื งหมายผา่ นการฝกึ อบรม ผูก้ ำกับลกู เสอื ณ พระรามราชนเิ วศน์ (พระราชวังบา้ นปนื )  สารานุกรมลกู เสอื ๑๐๐ ปี ลูกเสือไทย เล่มที่ ๓

จวบจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ใน พ.ศ. ๒๕๐๐ (ค.ศ. ๑๙๕๗) สำนักงานคณะกรรมการบรหิ ารลูกเสอื แห่งชาติ ไดส้ ่งนายเชาวน์ ชวานชิ นายสมรรถไชย ศรกี ฤษณ์ นายเพทาย อมาตยกุล นายกมล พันธุ์มีเชาวน์ และนายสว่าง วิจักขณะ ไปเข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือ ที่กิลเวลล์ ปาร์ค ประกอบกับ นายพาโดลินา (Mr. Padolina) ผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายบริหาร (Executive Commissioner) จากสำนกั งานลูกเสอื เขตเอเชยี -แปซิฟกิ ไดม้ าแนะนำวิธกี ารฝึกอบรมแบบกิลเวลล์ ปาร์ค กจิ การลกู เสอื ไทย จงึ ได้ดำเนินการฝึกอบรมแบบกิลเวลล์ ปาร์ค มาจนถึง พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ. ๑๙๖๙) ใน พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ. ๑๙๖๙) ได้มีการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ ๒๒ ที่นครเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ที่ประชุมมีมติให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือเป็นแบบของ สำนักงานลูกเสือโลกแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงได้ปรับปรุงให้ใช้การฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ แบบกิลเวลล์ ปาร์ค เป็นแกนกลาง โดยประเทศสมาชิกสามารถกำหนดเน้ือหาวิชา และวิธีการฝึกอบรม ตามความต้องการของประเทศนัน้ ๆ ใน พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. ๑๙๗๗) คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ได้ยกเลิกการฝึกอบรม ลูกเสือแบบกิลเวลล์ ปาร์ค และออกระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติว่าด้วย การฝึกอบรมผบู้ งั คับบญั ชาลูกเสือเพอ่ื รบั เครื่องหมายวดู แบดจ์ พ.ศ. ๒๕๒๑ (ค.ศ. ๑๙๗๘) เพ่ือใหส้ อดคล้อง กับนโยบายของสำนักงานลูกเสือโลกและใชม้ าจนถึงปัจจุบนั (พ.ศ. ๒๕๕๖) การฝึกอบรมผกู้ ำกบั ลกู เสือวสิ ามญั ครง้ั แรก ณ ค่ายลูกเสอื วชริ าวธุ อำเภอศรรี าชา จังหวดั ชลบุรี วันที่ ๑๒-๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖ สารานุกรมลูกเสือ ๑๐๐ ปี ลกู เสือไทย เลม่ ที่ ๓

การฝึกอบรมบคุ ลากรทางการลูกเสือ ความหมาย การฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ หมายถึง มวลประสบการณ์ท้ังเน้ือหาสาระและกิจกรรม ท่ีจัดให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือ เพื่อให้เกิดความรู้ ความสามารถ และเจตคติ เป็นไปตาม วตั ถปุ ระสงคข์ องการฝกึ อบรมลูกเสือทีไ่ ด้กำหนด การฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ มีสองระดับ ดงั ต่อไปนี้ ระดับที่หนึ่ง ผู้กำกับลูกเสือ มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือไปเป็น ผ้กู ำกับลูกเสอื และได้รับเครื่องหมายวดู แบดจ ์ ระดบั ท่ีสอง ผู้ใหก้ ารฝึกอบรมผู้กำกบั ลกู เสือ มวี ัตถุประสงคเ์ พอื่ ใหส้ ามารถบริหารจัดการการฝึก อบรมผู้กำกบั ลูกเสือ ๑. ระดบั ทหี่ น่ึง การฝกึ อบรมผู้กำกบั ลูกเสอื มีห้าขั้น ดงั ตอ่ ไปนี้ ข้ันท่ีหนง่ึ ขัน้ ความรู้ทว่ั ไป (General Information Course) ข้ันที่สอง ข้ันความรู้เบ้ืองต้น (Basic Unit Leader Training Course) แบ่งออก ตามประเภทของลูกเสือ คือ ลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลูกเสือวิสามัญ โดยมีอักษรยอ่ B.T.C. ขั้นท่สี าม ขัน้ ฝึกหัดงาน (In-Service Training) ข้ันที่ส่ี ข้ันความรู้ชั้นสูง (Advanced Unit Leader Training Course) แบ่งออก ตามประเภทของลูกเสือ คือ ลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลูกเสือวิสามัญ โดยมอี ักษรย่อ A.T.C. ขัน้ ทห่ี ้า ข้นั ปฏิบตั กิ ารและประเมนิ ผล (Application and Evaluation) 10 สารานุกรมลกู เสือ ๑๐๐ ปี ลกู เสือไทย เลม่ ที่ ๓

ระดบั ทีห่ น่งึ ข้นั ทหี่ น่งึ ขนั้ ความรู้ทว่ั ไป (General Information Course) วตั ถุประสงค ์ เพ่ือให้บุคลากรทางการลูกเสือและผู้สนใจในกิจการลูกเสือ มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดี ต่อวัตถุประสงค์และสาระสำคัญของการลูกเสือเมื่อผ่านการฝึกอบรมในข้ันนี้แล้วจะได้รับวุฒิบัตร และ สามารถเขา้ รับการฝึกอบรมลกู เสือ ขน้ั ความรู้เบ้ืองตน้ ต่อไปได ้ สาระสำคัญของหลักสตู ร เน้ือหาวิชาประกอบด้วย สาระทางการลูกเสือ ผู้ใหญ่ในกิจการลูกเสือ วิชาผู้กำกับลูกเสือ ขน้ั ความรู้ทัว่ ไป เงือ่ น วินยั ความเป็นระเบียบ และสัญญาณตา่ ง ๆ ระบบหมู่ ฯลฯ ขนั้ ตอนและวธิ ีการ รายละเอียดในการฝกึ อบรม มีดงั ตอ่ ไปนี้ ๑. ระยะเวลาฝกึ อบรมหนึ่งวัน ๒. ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรม ได้แก่ บุคลากรทางการลูกเสือ หรือผู้สนใจในกิจการลูกเสือท่ีมีอายุ ตั้งแต่สิบแปดปีขน้ึ ไป ๓. ผรู้ บั ผดิ ชอบในการดำเนนิ งาน ส่วนกลาง ได้แก่ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ สำนักงานลูกเสือกรุงเทพมหานคร สมาคม สโมสรลูกเสือหรือสโมสรลูกเสือท่ีเป็นนิติบุคคล และหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตอ้ งได้รับอนุญาตจากสำนักงานลูกเสือแห่งชาต ิ ส่วนภูมิภาค ได้แก่ สำนักงานลูกเสือจังหวัด สำนักงานลูกเสือเขตพ้ืนท่ีการศึกษา สมาคม สโมสรลูกเสือหรือสโมสรลูกเสือที่เป็นนิติบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง ตอ้ งไดร้ ับอนญุ าตจากสำนกั งานลกู เสือจังหวัด ๔. ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือ (Course Leader) ได้แก่ บุคลากรทางการลูกเสือท่ีมีคุณวุฒิ หัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (Leader Trainer) โดยมีอักษรย่อ L.T. หรือที่มีคุณวุฒ ิ ผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (Assistant Leader Trainer) โดยมีอักษรย่อ A.L.T. และได้รับแต่งตง้ั ใหเ้ ป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมลกู เสือจากผรู้ บั ผดิ ชอบในการดำเนนิ งาน ๕. คณะผู้ให้การฝึกอบรมลูกเสือประกอบด้วยผู้ท่ีได้ผ่านการฝึกอบรมช้ันหัวหน้าผู้ให้การฝึก อบรมผ้กู ำกับลกู เสือ (Leader Trainers Course) โดยมอี ักษรยอ่ L.T.C. หรือขั้นผู้ชว่ ยหวั หนา้ ผ้ใู หก้ ารฝกึ อบรมผูก้ ำกบั ลูกเสือ (Assistant Leader Trainers Course) โดยมีอกั ษรย่อ A.L.T.C. ๖. ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสืออาจเชิญผู้ท่ีได้รับเคร่ืองหมายวูดแบดจ์หรือผู้เช่ียวชาญเฉพาะทาง รว่ มเป็นวิทยากรได้ตามท่ีเห็นสมควร สารานกุ รมลกู เสือ ๑๐๐ ปี ลกู เสอื ไทย เลม่ ที่ ๓ 11

๗. ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือเป็นผู้ลงนามในวุฒิบัตรตามแบบที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ กำหนด มอบให้ผู้ท่ีผ่านการฝึกอบรมลูกเสือเมื่อเสร็จส้ินการฝึกอบรมลูกเสือ ให้ผู้อำนวยการฝึกอบรม ลูกเสือรายงานผลไปยังผู้อนุญาตให้มีการฝึกอบรมลูกเสือภายในสิบห้าวัน และให้ผู้อนุญาตรายงาน ตอ่ ไปยงั สำนักงานลกู เสอื แหง่ ชาติภายในสามสิบวนั ๘. สำนกั งานลูกเสือแหง่ ชาตเิ ปน็ ผอู้ อกวฒุ ิบัตร ๙. การเก็บเงินเป็นค่าธรรมเนียมในการฝึกอบรมลูกเสือให้เป็นไปตามท่ีกำหนดในข้อบังคับ คณะกรรมการบรหิ ารลกู เสือแห่งชาติว่าด้วยค่าบำรงุ ค่าธรรมเนยี ม และค่าบรกิ ารอน่ื คุณค่าที่ไดร้ บั จากการฝกึ อบรมลูกเสือขั้นความรทู้ ว่ั ไป ๑. สร้างบุคลากรทางการลูกเสือเป็นเครือข่ายของกิจการลูกเสือนำไปสู่ความก้าวหน้าของ กิจการลูกเสือทางด้านปริมาณ ๒. ลูกเสือได้รับการส่งเสริมใหม้ สี ว่ นร่วมในการช่วยเหลือผูอ้ ่นื และกระทำสาธารณประโยชน ์ ๓. สังคมไทยเห็นคุณค่าของกิจกรรมลูกเสือ เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนส่งเสริมกิจการ ลกู เสือใหแ้ พรห่ ลายมากขึ้น ระดับที่หนึง่ ขัน้ ทีส่ อง ขน้ั ความรเู้ บอ้ื งตน้ (Basic Unit Leader Training Course) วัตถปุ ระสงค์ เพ่ือให้บุคลากรทางการลูกเสือและผู้สนใจในกิจการลูกเสือ มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติท่ีดี ในวิธีการฝึกอบรมลูกเสือ สามารถวางแผนจัดทำโครงการฝึกอบรมลูกเสือแต่ละประเภท และทำหน้าท ่ี รองผู้กำกับลูกเสือตามประเภทลูกเสือนั้น ๆ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือเม่ือผ่านการฝึกอบรม ในขน้ั นแี้ ล้วจะได้รบั วุฒบิ ตั รและหว่ งสวมผ้าผกู คอกลิ เวลล์ สาระสำคญั ของหลกั สูตร ๑. การฝึกอบรมผู้กำกับลกู เสอื สำรองขั้นความร้เู บือ้ งต้น เน้ือหาวิชาประกอบด้วย ประวัติและโครงสร้างขององค์การลูกเสือโลก ประวัติและโครงสร้าง ของการลูกเสือไทย คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสำรอง การวางแผนการฝึกอบรมลูกเสือสำรอง การบรหิ ารงานในกองลูกเสือสำรอง วินัยความเปน็ ระเบยี บเรยี บรอ้ ยและสญั ญาณต่าง ๆ การฝกึ อบรมผู้กำกบั ลูกเสือสำรอง การบันเทิงในกองลูกเสือสำรอง เกมสำหรับลูกเสือสำรอง กิจการลูกเสือสำรอง รู้จักลูกเสือสำรอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสำรอง พิธีการลูกเสือสำรอง บทบาทหน้าที่ของผู้กำกับลูกเสือสำรอง ความสมั พนั ธ์กับกองลูกเสอื สามัญ ระบบหมู่ วชิ าพิเศษ การเล่าเร่อื งสัน้ ทเ่ี ปน็ คติ การแสดงเงียบ 12 สารานุกรมลกู เสือ ๑๐๐ ปี ลกู เสือไทย เลม่ ท่ี ๓

โรงเรยี นอนบุ าลมหาไถ่ศึกษาบา้ นไผ่ ร่วมกบั สำนักงานเขตพ้ืนทปี่ ระถมศกึ ษาขอนแก่น เขต ๒ จดั การฝกึ อบรมผู้กำกบั ลกู เสือสำรองข้ันความรู้เบื้องต้น เมอ่ื วันท่ี ๒๗-๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ๒. การฝกึ อบรมผกู้ ำกับลูกเสือสามญั ขนั้ ความรเู้ บอ้ื งต้น เน้ือหาวิชาประกอบด้วย ประวัติและโครงสร้างขององค์การลูกเสือโลก ประวัติและโครงสร้าง ของการลูกเสือไทย คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสามัญ วินัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและระเบียบแถวลูกเสือ การวางแผนการฝึกอบรมลูกเสือสามัญ การบริหารงานในกองลูกเสือสามัญ การบันเทิงในกองลูกเสือสามัญ เกมสำหรับลูกเสือสามัญ การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญ การจัดทำสื่อการสอนลูกเสือสามัญ กิจการ ลูกเสือสามัญ รู้จักลูกเสือสามัญ หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ พิธีการลูกเสือสามัญ บทบาทหน้าที่ ของผกู้ ำกบั ลกู เสอื สามัญ การเดนิ ทางไกลและอยู่คา่ ยพักแรม ระบบหมแู่ ละการเรียนระบบฐาน การสง่ เสริม กิจการลูกเสือสามัญ ทักษะลูกเสือสามัญ เง่ือนเชือก การเล่าเร่ืองส้ันท่ีเป็นคติ ลูกเสือสามัญกับปรัชญา เศรษฐกจิ พอเพยี ง การสวนสนาม แผนท่ีเขม็ ทิศ การฝกึ อบรมผู้กำกับลกู เสือสามัญ ข้ันความรเู้ บ้อื งตน้ เมือ่ วันท่ี ๑๔-๑๖ ธนั วาคม ๒๕๕๕ ณ คา่ ยลกู เสือชว่ั คราวโรงเรยี นสวา่ งศรทั ธาธรรมสถาน อำเภอพนมสารคาม จงั หวดั ฉะเชิงเทรา สารานกุ รมลูกเสือ ๑๐๐ ปี ลูกเสอื ไทย เล่มที่ ๓ 13

๓. การฝึกอบรมผกู้ ำกับลูกเสอื สามญั รนุ่ ใหญข่ ั้นความร้เู บ้ืองต้น เนื้อหาวิชาประกอบด้วย ประวัติและโครงสร้างขององค์การลูกเสือโลก ประวัติและโครงสร้าง ของการลูกเสือไทย คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วินัยความเป็นระเบียบเรียบร้อย และระเบียบแถวลูกเสอื การวางแผนการฝึกอบรมลกู เสอื สามญั รนุ่ ใหญ่ การบรหิ ารงานในกองลูกเสอื สามัญ รุ่นใหญ่ การบันเทิงในกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ เกมสำหรับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ การฝึกอบรมผู้กำกับ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ บทบาทของผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ การจัดทำส่ือการสอนลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ จุดหมาย วิธีการของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ รู้จักลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และธรรมชาติของเด็ก หลักสูตรและ วชิ าพเิ ศษลูกเสอื สามัญรนุ่ ใหญ่ พิธีการลูกเสือสามญั รุ่นใหญ่ บทบาทหนา้ ท่ขี องผู้กำกบั ลูกเสอื สามัญร่นุ ใหญ่ การเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม ระบบหมู่ การประชุมคณะกรรมการกอง ลูกเสือกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การเรียนระบบฐาน การส่งเสริมกิจการลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ทักษะลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ เงื่อนเชือกและการบุกเบิก การปฐมพยาบาล การเล่าเรื่องส้ันที่เป็นคติ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่กับปรัชญา เศรษฐกจิ พอเพยี ง การสวนสนาม แผนทเี่ ขม็ ทิศ สำนกั งานเขตพ้นื ท่ีการศึกษามัธยมศกึ ษา เขต ๑๘ จดั การฝกึ อบรมผกู้ ำกบั ลกู เสือสามญั รนุ่ ใหญ่ ขัน้ ความรเู้ บ้ืองตน้ ณ ค่ายลกู เสือชวั่ คราวโรงเรยี นชลราษฎรอำรงุ ๒ จงั หวดั ชลบุรี เมอ่ื วนั ที่ ๒-๔ มิถนุ ายน ๒๕๕๕ ๔. การฝึกอบรมผกู้ ำกบั ลูกเสอื วิสามัญขัน้ ความรูเ้ บอื้ งตน้ เน้ือหาวิชาประกอบด้วย ประวัติและโครงสร้างขององค์การลูกเสือโลก ประวัติและโครงสร้าง ของการลูกเสือไทย คำปฏิญาณและกฎของลกู เสือวิสามญั วินัยความเปน็ ระเบียบเรยี บรอ้ ยและระเบยี บแถว 14 สารานุกรมลกู เสือ ๑๐๐ ปี ลูกเสอื ไทย เลม่ ที่ ๓

ลูกเสือ การวางแผนการฝึกอบรมลูกเสือวิสามัญ การบริหารงานในกองลูกเสือวิสามัญ การบันเทิงในกอง ลูกเสือวิสามัญ เกมสำหรับลูกเสือวิสามัญ การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ บทบาทของผู้กำกับ ลูกเสือวิสามัญ การจัดทำส่ือการสอนลูกเสือวิสามัญ จุดหมาย วิธีการของลูกเสือวิสามัญ หลักสูตรและ วิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ พิธีการลูกเสือวิสามัญ บทบาทหน้าท่ีของผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ ระบบหม ู่ การประชมุ คณะกรรมการกอง ลูกเสอื กับการอนุรกั ษ์ธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ ม การส่งเสรมิ กิจการลกู เสอื วสิ ามญั การบริการ การปฐมพยาบาล การอภิปรายและการพูดในที่ชุมชน การเล่าเรื่องสั้นที่เป็นคติ ลูกเสือวิสามัญ กับปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง การสวนสนาม แผนท่ีเข็มทศิ ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั อำเภอบางไทร จดั การฝึกอบรมผกู้ ำกับลกู เสอื วิสามัญ ขัน้ ความรเู้ บือ้ งต้นผสมขน้ั ความรูท้ ัว่ ไป เมอ่ื วนั ที่ ๙-๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ ค่ายลูกเสอื ชวั่ คราวศภุ าลัย ป่าสัก รสี อรท์ แอนด์ สปา อำเภอแกง่ คอย จังหวัดสระบุรี ขั้นตอนและวิธีการ รายละเอียดในการฝึกอบรม มีดงั ต่อไปน ี้ ๑. ระยะเวลาฝกึ อบรมสามวัน โดยอยูป่ ระจำ ณ ค่ายฝึกอบรม ๒. การจัดการฝึกอบรม ให้จัดแยกตามประเภทลูกเสือ คือ ลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลกู เสอื วิสามัญ ๓. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้แก่ บุคลากรทางการลูกเสือหรือผู้สนใจในกิจการลูกเสือ ที่ได้ผ่าน การฝกึ อบรมลกู เสอื ข้ันความร้ทู ่ัวไป มาแลว้ สารานกุ รมลูกเสือ ๑๐๐ ปี ลกู เสอื ไทย เลม่ ที่ ๓ 15

๔. ผู้รบั ผิดชอบในการดำเนนิ งาน ส่วนกลาง ได้แก่ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ สำนักงานลูกเสือกรุงเทพมหานคร สมาคม สโมสรลกู เสอื และหนว่ ยงานที่เกย่ี วข้อง สำหรบั หนว่ ยงานทเี่ ก่ยี วขอ้ งตอ้ งไดร้ ับอนญุ าตจากสำนักงานลกู เสือแห่งชาติ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ หรือสำนักงานลูกเสือกรุงเทพมหานคร เป็นผู้กำหนดเลขรุ่น แลว้ แต่กรณ ี ส่วนภูมิภาค ได้แก่ สำนักงานลูกเสือจังหวัด สำนักงานลูกเสือเขตพ้ืนที่การศึกษา สมาคม สโมสรลูกเสือ และหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง สำหรับหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ลกู เสือจงั หวดั ใหเ้ ปน็ ผูด้ ำเนนิ การ สำนักงานลูกเสอื จงั หวัดเป็นผกู้ ำหนดเลขร่นุ ๕. ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือ (Course Leader) ได้แก่ บุคลากรทางการลูกเสือท่ีมีคุณวุฒิ หัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (Leader Trainer) โดยมีอักษรย่อ L.T. หรือที่มีคุณวุฒิ ผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (Assistant Leader Trainer) โดยมีอักษรย่อ A.L.T. และ ได้รบั แต่งตั้งให้เป็นผ้อู ำนวยการฝกึ อบรมลกู เสอื จากผู้รบั ผิดชอบในการดำเนนิ การ ๖. คณะผู้ให้การฝึกอบรมลูกเสือประกอบด้วยผู้ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมข้ันหัวหน้าผู้ให้ การฝึกอบรมผกู้ ำกบั ลูกเสือ (Leader Trainers Course) โดยมอี ักษรยอ่ L.T.C. หรอื ขน้ั ผู้ชว่ ยหัวหนา้ ผูใ้ ห ้ การฝกึ อบรมผู้กำกบั ลกู เสอื (Assistant Leader Trainers Course) โดยมอี กั ษรย่อ A.L.T.C. ๗. ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสืออาจเชิญผู้ที่ได้รับเคร่ืองหมายวูดแบดจ์หรือผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางร่วมเป็นวิทยากรได้ตามท่ีเห็นสมควร ๘. ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือเป็นผู้ลงนามในวุฒิบัตรตามแบบท่ีสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ กำหนด พร้อมด้วยห่วงสวมผ้าผูกคอแบบกิลเวลล์ มอบให้ผู้ท่ีผ่านการฝึกอบรมลูกเสือเม่ือเสร็จส้ิน การฝึกอบรมลูกเสือ ให้ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือรายงานผลไปยังผู้อนุญาตให้มีการฝึกอบรมลูกเสือ ภายในสิบหา้ วนั และให้ผู้อนุญาตรายงานตอ่ ไปยงั สำนกั งานลูกเสือแห่งชาติภายในสามสิบวนั ๙. สำนักงานลกู เสอื แห่งชาตเิ ป็นผู้ออกวฒุ ิบัตร ๑๐. การเก็บเงินเป็นค่าธรรมเนียมในการฝึกอบรมลูกเสือให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับ คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติว่าดว้ ยค่าบำรงุ ค่าธรรมเนียม และค่าบริการอนื่ คณุ ค่าท่ไี ด้รบั จากการฝึกอบรมผูก้ ำกับลกู เสอื ข้นั ความรู้เบอ้ื งตน้ ๑. เสริมสร้างบุคลากรทางการลูกเสือที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชา ลูกเสอื ในระดบั รองผกู้ ำกบั ลูกเสือ ทม่ี ีผลตอ่ การขยายกิจการลูกเสอื ทงั้ ดา้ นปริมาณและคุณภาพ ๒. ลูกเสือได้เข้าไปมีบทบาทในการมีส่วนร่วมกิจกรรมของท้องถิ่น ช่วยให้ท้องถิ่นมีความ เปน็ อยู่ทดี่ ีข้ึน ๓. กิจกรรมของท้องถ่ินได้รับความร่วมมือ ช่วยเหลือจากกิจการลูกเสือ ก่อให้เกิดความ สมคั รสมานสามคั คี ระดบั ทหี่ นึ่ง 16 สารานกุ รมลูกเสอื ๑๐๐ ปี ลูกเสือไทย เลม่ ที่ ๓

ระดบั ทีห่ น่งึ ขัน้ ท่สี าม ขนั้ ฝกึ หดั งาน (In-Service Training) วตั ถปุ ระสงค์ เพ่ือให้ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมลูกเสือนำความรู้ทั่วไปและความรู้เบื้องต้นไปฝึกใช้ในการฝึกอบรม ลูกเสือ โดยส่งเสริมให้มีการศึกษาหาความรู้ภาคปฏิบัติเพิ่มเติมจากการไปดูงาน แลกเปลี่ยนความรู ้ ความคิด และประสบการณ์กับผู้บังคับบัญชาลูกเสืออ่ืน เสริมสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าท่ีในฐานะ รองผู้กำกับลกู เสอื ขั้นตอนและวิธีการ รายละเอียดในการฝึกหดั งาน มีดงั ตอ่ ไปน้ ี ๑. ระยะเวลาดำเนินการฝึกหัดงานหลังจากท่ีได้ผ่านการฝึกอบรมข้ันความรู้เบ้ืองต้นแล้ว มีระยะเวลาดำเนนิ งานไม่น้อยกว่าสเี่ ดอื น ๒. การดำเนนิ การฝกึ หดั งาน ๒.๑ ทำการฝกึ อบรมลูกเสอื ในกองลกู เสอื อยา่ งน้อยแปดคร้ัง ๒.๒ เข้าร่วมในการวางแผนและปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การเดินทางไกล การอยู่ ค่ายพักแรม การสะกดรอย การเดินทางสำรวจ การให้บริการและพัฒนาชุมชน การไปเย่ียมชมแหล่ง ทรัพยากรของทอ้ งถน่ิ เป็นตน้ อยา่ งนอ้ ยหนงึ่ คร้ัง ๒.๓ ศึกษาดูงานกิจการลูกเสือของกองลูกเสืออ่ืนอย่างน้อย ๑ ครั้ง เช่น ไปดูการบริหารงาน การจัดกิจกรรมลกู เสือ การอยคู่ ่ายพักแรมของโรงเรียนอืน่ ๆ ๓. ให้ผู้อำนวยการลกู เสือโรงเรียนเปน็ ผรู้ บั รองการฝกึ หัดงาน คณุ คา่ ท่ีได้รบั จากการฝกึ หัดงานลกู เสือ ๑. สรา้ งบคุ ลากรทางการลกู เสือที่มีประสทิ ธภิ าพในดา้ นการปฏบิ ัตกิ าร และเปน็ หนทางนำไปสู่ การฝกึ อบรมลกู เสอื ในระดับสูงข้ึน ๒. ลูกเสือได้รับการฝึกอบรมด้วยวิธีการของลูกเสือ ได้ปฏิบัติกิจกรรมตามคำปฏิญาณและกฎ ของลูกเสือ ๓. การมองเห็นปัญหาของท้องถ่ินในการกระทำบำเพ็ญประโยชน์ของลูกเสือปรากฏชัดเจนข้ึน เปน็ แนวทางให้ลูกเสอื ได้มีส่วนร่วมในการแกป้ ัญหาและพัฒนาท้องถิ่น สารานุกรมลูกเสือ ๑๐๐ ปี ลกู เสือไทย เล่มท่ี ๓ 17

ระดับทห่ี นึง่ ขั้นท่ีส่ี ขั้นความรชู้ ัน้ สงู (Advanced Unit Leader Training Course) วัตถุประสงค ์ เพ่ือการพัฒนาอย่างต่อเน่ืองของบุคลากรทางการลูกเสือ ท้ังในด้านการเป็นผู้นำและทักษะ ในการฝึกอบรมแก่ลกู เสือในระดบั สูง เปน็ การเพมิ่ ประสบการณใ์ นการฝกึ ทักษะทจี่ ำเปน็ ในการปฏบิ ัตหิ น้าท่ี ในกองลูกเสือ เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีและแลกเปล่ียนประสบการณ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาลูกเสือด้วยกัน สามารถทำหน้าที่ผู้กำกับกองลูกเสือหรือรองผู้กำกับลูกเสือ เพ่ือส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าให้แก่กิจการ ลูกเสือ สาระสำคญั ของหลักสูตร ๑. การฝกึ อบรมผูก้ ำกับลูกเสือสำรองข้นั ความรชู้ ัน้ สูง เน้ือหาวิชาประกอบด้วย ประวัติและโครงสร้างขององค์การลูกเสือโลก ประวัติและโครงสร้าง ของการลูกเสือไทย คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสำรอง วินัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและระเบียบแถว ลูกเสือ การวางแผนการฝึกอบรมลูกเสือสำรอง การบริหารงานในกองลูกเสือสำรอง การบันเทิงในกอง ลูกเสือสำรอง เกมสำหรับลูกเสือสำรอง การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสำรอง บทบาทของผู้กำกับ ลูกเสือสำรอง การจัดทำส่ือการสอนลูกเสือสำรอง จุดหมาย วิธีการของลูกเสือสำรอง หลักสูตรและ วิชาพิเศษลูกเสือสำรอง พิธีการลูกเสือสำรอง บทบาทหน้าที่ของผู้กำกับลูกเสือสำรอง ทักษะลูกเสือสำรอง ระบบหมู่ การประชุมคณะกรรมการกอง การสนับสนุนกองลูกเสือสำรอง ลูกเสือกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ และส่ิงแวดล้อม การเล่าเร่ืองสั้นท่ีเป็นคติ การฝีมือและอุปกรณ์การฝึกอบรม การทำงานโครงการ วิถีชีวิต ลูกเสือกับปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง การฝกึ อบรมผกู้ ำกบั ลกู เสือสำรองขัน้ ความร้ชู นั้ สูง (A.T.C.) เมือ่ วนั ที่ ๘-๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณ ค่ายลกู เสอื จงั หวดั กำแพงเพชร 18 สารานุกรมลกู เสือ ๑๐๐ ปี ลูกเสือไทย เล่มที่ ๓

๒. การฝึกอบรมผกู้ ำกบั ลูกเสือสามัญ ขัน้ ความรู้ช้นั สูง เน้ือหาวิชาประกอบด้วย ประวัติและโครงสร้างขององค์การลูกเสือโลก ประวัติและโครงสร้าง ของการลูกเสือไทย วิชาชาวค่าย คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสามัญ วินัยความเป็นระเบียบเรียบร้อย และระเบยี บแถวลูกเสือ การวางแผนการฝึกอบรมลูกเสอื สามัญ การบรหิ ารงานในกองลูกเสือสามัญ การบันเทงิ ในกองลูกเสือสามัญ เกมสำหรับลูกเสือสามัญ การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญ บทบาทของผู้กำกับ ลูกเสือสามัญ การจัดทำสื่อการสอนลูกเสือสามัญ แผนปฏิบัติการส่วนตัว การกล่าวคำปราศรัยครั้งสุดท้าย จุดหมาย วิธีการของลูกเสือสามัญ หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ พิธีการลูกเสือสามัญ บทบาท หน้าที่ของผู้กำกับลูกเสือสามัญ ทักษะลูกเสือสามัญ ระบบหมู่ การดำเนินงานของหมู่ลูกเสือสามัญ การอบรมนายหมู่ และการประชมุ คณะกรรมการกอง การสนับสนนุ กองลกู เสอื สามัญ การเดินทางไกลและ อยู่คา่ ยพกั แรม การสำรวจ เง่ือนเชือกกบั การบุกเบกิ การเลา่ เรือ่ งสน้ั ท่ีเป็นคติ ผจญภัย การทำงานโครงการ วถิ ชี ีวิตลูกเสอื กบั ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง การฝกึ อบรมผกู้ ำกบั ลกู เสอื สามัญขน้ั ความรู้ชั้นสงู (A.T.C.) เม่ือวนั ท่ี ๑๘-๒๔ มกราคม ๒๕๕๖ ณ ค่ายลูกเสือช่วั คราวโรงเรียนบา้ นหว้ ยหาร อำเภอร่อนพบิ ลู ย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ๓. การฝกึ อบรมผู้กำกบั ลูกเสอื สามัญรุ่นใหญ่ขัน้ ความรูช้ นั้ สงู เนื้อหาวิชาประกอบด้วย ประวัติและโครงสร้างขององค์การลูกเสือโลก ประวัติและโครงสร้าง ของการลูกเสือไทย คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วินัยความเป็นระเบียบเรียบร้อย และระเบียบแถวลูกเสือ วิชาชาวค่าย การวางแผนการฝึกอบรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ การบริหารงาน สารานุกรมลกู เสือ ๑๐๐ ปี ลูกเสือไทย เลม่ ท่ี ๓ 19

ในกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ การบันเทิงในกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ เกมสำหรับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ การฝึกอบรม ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ บทบาทของผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ การจัดทำสื่อการสอน ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ แผนปฏิบัติการส่วนตัว การกล่าวคำปราศรัยคร้ังสุดท้าย จุดหมาย วิธีการของ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ พิธีการลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ บทบาท หน้าที่ของผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ทักษะลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ระบบหมู่ การดำเนินงานของหมู่ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ การอบรมนายหมู่และการประชุมคณะกรรมการกอง การสนับสนุนกองลูกเสือสามัญ รุ่นใหญ่ การเดนิ ทางไกลและอยคู่ ่ายพักแรม แผนที่เขม็ ทิศ เงื่อนเชอื กกบั การบกุ เบกิ การเล่าเร่ืองสั้นที่เปน็ คต ิ ผจญภัย การทำงานโครงการ วถิ ชี ีวติ ลกู เสอื กับปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง การฝึกอบรมผูก้ ำกับลูกเสือสามญั รุน่ ใหญข่ น้ั ความรู้ชัน้ สงู (A.T.C.) เม่ือวนั ท่ี ๒-๙ เมษายน ๒๕๕๒ ณ คา่ ยลูกเสือศรีสองรักษ์ อำเภอเมือง จังหวดั เลย ๔. การฝึกอบรมผ้กู ำกับลกู เสอื วิสามญั ข้นั ความรู้ชัน้ สูง เน้ือหาวิชาประกอบด้วย ประวัติและโครงสร้างขององค์การลูกเสือโลก ประวัติและโครงสร้าง ของการลูกเสือไทย คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือวิสามัญและค่านิยม วินัยความเป็นระเบียบเรียบร้อย และระเบยี บแถวลูกเสือ วิชาชาวคา่ ย การวางแผนการฝกึ อบรมลกู เสือวสิ ามัญ การบริหารงานในกองลกู เสือ วิสามัญ การบันเทิงในกองลูกเสือวิสามัญ การลูกเสือนานาชาติและการเดินทางสำรวจ เกมสำหรับ ลูกเสือวิสามัญ การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ บทบาทของผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ การจัดทำ สื่อการสอนลูกเสือวิสามัญ การเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม แผนปฏิบัติการส่วนตัว โครงการฝึกอบรม ผู้กำกับลูกเสือ การกล่าวคำปราศรัยคร้ังสุดท้าย จุดหมาย วิธีการของลูกเสือวิสามัญ หลักสูตรและ วิชาพิเศษลกู เสอื วิสามญั พธิ กี ารลกู เสือวิสามญั บทบาทหน้าที่ของผ้กู ำกบั ลูกเสือวสิ ามัญ ทกั ษะลกู เสือวสิ ามญั 20 สารานกุ รมลูกเสือ ๑๐๐ ปี ลูกเสือไทย เลม่ ท่ี ๓

ระบบหมู่ การดำเนินงานของหมู่ลูกเสือวิสามัญ การอบรมนายหมู่ การประชุมคณะกรรมการกอง การสนับสนุนกองลูกเสือวิสามัญ การหาสมาชิกใหม่และการสัมพันธ์กับกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ การทำงานร่วมกับกองลูกเสืออื่น กิจกรรมในกิจการของลูกเสือวิสามัญ เหตุการณ์ปัจจุบัน วัฒนธรรม ความเป็นไทยและเอกลักษณ์ไทย โครงการ World Award การทำงานโครงการเพ่ือการบริการชุมชน วิถชี วี ิตลูกเสอื กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การฝึกอบรมผ้กู ำกบั ลูกเสือวสิ ามญั ขั้นความรูช้ ัน้ สงู (A.T.C.) ท่คี า่ ยลกู เสือลูโดวิโก โรงเรยี นอัสสัมชัญศรรี าชา เมอ่ื วนั ที่ ๑๗-๒๓ ตุลาคม ๒๕๔๘ ข้ันตอนและวิธีการ รายละเอยี ดในการฝึกอบรม มีดงั ต่อไปนี้ ๑. ระยะเวลาฝึกอบรมลูกเสือเจด็ วัน โดยอยูป่ ระจำ ณ คา่ ยฝึกอบรม ๒. การจดั ฝึกอบรมลูกเสือใหจ้ ัดแยกกันตามประเภทลกู เสอื ๓. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือ ได้แก่ บุคลากรทางการลูกเสือท่ีได้ผ่านการฝึกอบรมลูกเสือ ข้นั ความรู้เบือ้ งตน้ มาแล้วไม่น้อยกวา่ ส่ีเดอื น และไดผ้ า่ นการฝกึ หดั งานข้ันท่สี ามมาแล้ว ๔. ผรู้ ับผดิ ชอบในการดำเนินงาน ส่วนกลาง ได้แก่ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ สำนักงานลูกเสือกรุงเทพมหานคร สมาคม สโมสรลูกเสือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับหน่วยงานที่เก่ียวข้องต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ลูกเสอื แห่งชาติ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติหรือสำนักงานลูกเสือกรุงเทพมหานคร เป็นผู้กำหนดเลขรุ่น แล้วแตก่ รณี ส่วนภูมิภาค ได้แก่ สำนักงานลูกเสือจังหวัด สำนักงานลูกเสือเขตพ้ืนท่ีการศึกษา สมาคม สโมสรลูกเสือ และหน่วยงานที่เก่ียวข้อง สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ลกู เสือจังหวดั ใหเ้ ปน็ ผูด้ ำเนนิ การ สำนกั งานลกู เสอื จังหวัดเป็นผูก้ ำหนดเลขรนุ่ สารานุกรมลูกเสอื ๑๐๐ ปี ลูกเสอื ไทย เล่มท่ี ๓ 21

๕. ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือ (Course Leader) ได้แก่ บุคลากรทางการลูกเสือที่มีคุณวุฒิ หัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (Leader Trainer) โดยมีอักษรย่อ L.T. และได้รับแต่งต้ังให้เป็น ผู้อำนวยการฝกึ อบรมลูกเสอื จากผู้รับผดิ ชอบในการดำเนินงาน ๖. ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสืออาจเชิญผู้ที่ได้รับเคร่ืองหมายวูดแบดจ์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง รว่ มเปน็ วทิ ยากรได้ตามทเี่ ห็นสมควร ๗. ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือเป็นผู้ลงนามในวุฒิบัตรตามแบบที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ กำหนด มอบให้ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมลูกเสือเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรมลูกเสือ ให้ผู้อำนวยการฝึกอบรม ลูกเสือรายงานผลไปยังผู้อนุญาตให้มีการฝึกอบรมลูกเสือภายในสิบห้าวัน และให้ผู้อนุญาตรายงาน ตอ่ ไปยังสำนักงานลกู เสอื แหง่ ชาตภิ ายในสามสบิ วัน ๘. สำนกั งานลกู เสอื แห่งชาติเป็นผูอ้ อกวฒุ ิบัตร ๙. การเก็บเงินเป็นค่าธรรมเนียมในการฝึกอบรมลูกเสือให้เป็นไปตามท่ีกำหนดในข้อบังคับ คณะกรรมการบริหารลกู เสอื แห่งชาตวิ ่าดว้ ยคา่ บำรงุ คา่ ธรรมเนยี ม และค่าบริการอื่น การฝึกอบรมผู้กำกับลกู เสือสามญั ร่นุ ใหญ่ข้ันความรู้ชนั้ สงู (A.T.C.) ร่นุ ท่ี ๑ เมื่อวนั ท่ี ๒๖ มนี าคม ถงึ วนั ที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๕ ณ คา่ ยลูกเสือจงั หวัดกำแพงเพชร คุณคา่ ท่ไี ด้รบั จากการฝกึ อบรมลูกเสือข้ันความร้ชู น้ั สงู ๑. พัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือท่ีมีความม่ันใจ พร้อมท่ีจะเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือในระดับ ผกู้ ำกบั ลกู เสอื ท่ีมผี ลตอ่ การพฒั นาคณุ ภาพกจิ การลกู เสอื ๒. ลูกเสือได้รับการพัฒนาด้วยวิธีการของลูกเสือ ให้เป็นคนดีของสังคมสามารถพัฒนาตนเองได ้ และมีส่วนรว่ มในการพฒั นาทอ้ งถิน่ ของตน ๓. ท้องถิ่นได้รับการพัฒนาด้วยวิธีการของลูกเสือ ให้เป็นคนดีของสังคมสามารถพัฒนาตนเองได้ และมสี ว่ นรว่ มในการพฒั นาทอ้ งถนิ่ ของตน 22 สารานุกรมลูกเสอื ๑๐๐ ปี ลูกเสือไทย เลม่ ที่ ๓

ระดับที่หนง่ึ ขนั้ ที่ห้า ขน้ั ปฏิบตั กิ ารและประเมินผล (Application and Evaluation) วัตถปุ ระสงค์ เพ่ือนำความรู้และประสบการณ์ท่ีได้รับมาจากการฝึกอบรมลูกเสือตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งถึงข้ันที่สี่ไปใช้ ในการฝึกอบรมลูกเสือ ส่งเสริมการพัฒนาตนเองให้มีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น และได้รับการประเมินผล ข้นั สุดท้ายเพื่อรบั เครื่องหมายวูดแบดจ ์ ขน้ั ตอนและวิธกี าร รายละเอียดในการปฏบิ ตั ิการและประเมนิ ผล มีดงั นี้ ๑. บุคลากรทางการลูกเสือท่ีผ่านการฝึกอบรมลูกเสือส่ีขั้นดังกล่าวข้างต้นมาแล้ว ต้องนำ ความรู้และทักษะท่ีได้รับจากการฝึกอบรมลูกเสือไปดำเนินการในกองลูกเสือของตนเป็นเวลาอย่างน้อย สี่เดือน แต่ไม่เกินสองปี นับจากวันสิ้นสุดการฝึกอบรมข้ันความรู้ช้ันสูง จากนั้นให้เสนอรายงานไปยัง สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ สำนักงานลูกเสือกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานลูกเสือจังหวัดแล้วแต่กรณ ี ตามแบบทีส่ ำนกั งานลูกเสอื แห่งชาตกิ ำหนด เพอ่ื ใหม้ ีการประเมินผล ๒. การตรวจข้ันปฏิบัติการและการประเมินผลจะการตรวจและประเมินผลภาคปฏิบัติตาม หลกั เกณฑ์ และวิธกี ารทสี่ ำนักงานลูกเสอื แห่งชาตกิ ำหนด ๓. ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ผู้อำนวยการลูกเสือกรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัดแล้วแต่กรณี เสนอรายชื่อบุคลากรทางการลูกเสือท่ีมีคุณวุฒิหัวหน้าผู้ให ้ การฝึกอบรมผู้กำกบั ลกู เสอื (L.T.) หรือผู้ชว่ ยหวั หน้าผใู้ หก้ ารฝกึ อบรมผู้กำกบั ลกู เสือ (A.L.T.) ที่มีคุณลกั ษณะ มีความรู้ ความสามารถ และเป็นแบบอย่างท่ีดี สมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในการตรวจข้นั ปฏบิ ัติการและประเมินผลไปยังเลขาธิการสำนักงานลกู เสือแห่งชาตเิ พ่อื พิจารณาแตง่ ตั้ง ๔. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการปฏิบัติหน้าที่ได้คราวละส่ีปี นับแต่วันได้รับการแต่งตั้ง และอาจไดร้ บั การแต่งตัง้ อีกได ้ ๕. ในการตรวจข้ันปฏิบัติการและประเมินผลแต่ละคร้ังให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามท่ี กำหนดไว้อย่างนอ้ ยหนงึ่ คน ๖. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจข้ันปฏิบัติการและประเมินผลเป็นผู้เสนอผลการตรวจ ข้ันปฏิบัติการและประเมินผลไปยังสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ สำนักงานลูกเสือกรุงเทพมหานคร หรือ สำนักงานลกู เสอื จงั หวดั แล้วแต่กรณี สารานกุ รมลูกเสือ ๑๐๐ ปี ลูกเสือไทย เลม่ ท่ี ๓ 23

๗. ให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เป็นผู้เสนอรายชื่อผู้ที่เห็นสมควรได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ สองท่อนไปยงั ผู้ตรวจการลูกเสอื ฝา่ ยพัฒนาบุคลากรพจิ ารณา และเสนอเลขาธกิ ารสำนักงานลกู เสอื แห่งชาติ อนมุ ตั ิแตง่ ต้ัง ๘. ให้มีการประกอบพิธีมอบเครื่องหมายวูดแบดจ์สองท่อน และหนังสือสำคัญแต่งตั้งให้ ผทู้ ีไ่ ด้รบั อนุมัตใิ หไ้ ด้รับเครือ่ งหมายวดู แบดจ์สองทอ่ นตามความเหมาะสม ๙. สำนักงานลกู เสือแห่งชาตเิ ป็นผอู้ อกเคร่อื งหมายวดู แบดจส์ องทอ่ น การตรวจขั้นทีห่ า้ ขน้ั ปฏบิ ัตกิ ารและประเมินผลเพือ่ รับเคร่ืองหมายวดู แบดจ์สองทอ่ น ผบู้ งั คบั บัญชาลูกเสอื สามัญ และลกู เสือสามญั รนุ่ ใหญ่ ของโรงเรยี นภราดานุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวดั อตุ รดติ ถ์ เมื่อวนั ที่ ๒๓ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๕๕ คุณค่าที่ได้รบั จากการฝึกอบรมลกู เสือข้ันปฏบิ ตั ิการและประเมนิ ผล ๑. พัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือให้มีคุณวุฒิสูงข้ึน มีความม่ันใจ เช่ือมั่น ท่ีจะนำหลักการ และวิธีการของลูกเสือไปดำเนินการจัดกิจกรรมลูกเสือแก่เยาวชนลูกเสือให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค ์ ของกระบวนการลกู เสอื ๒. ลูกเสือได้รับการเสริมสร้างด้วยหลักการและวิธีการของลูกเสือ ให้มีวุฒิภาวะสามารถ แก้ปัญหาและพัฒนาการดำเนินชีวิตของตนเองได้ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชน ชาติ บ้านเมือง ในฐานะเปน็ พลเมอื งดีของชาติ 24 สารานุกรมลูกเสอื ๑๐๐ ปี ลูกเสอื ไทย เลม่ ที่ ๓

๓. สังคมมีเจตคติที่ดี และศรัทธาในกระบวนการลูกเสือที่เป็นกำลังสำคัญในการแก้ปัญหาและ พฒั นาสังคม การตรวจข้นั ทห่ี ้า ขนั้ ปฏบิ ัตกิ ารและประเมินผลการฝกึ อบรมผกู้ ำกบั ลกู เสอื เมื่อวันท่ี ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ของคณะครูโรงเรยี นเทศบาล ๔ (เพาะชำ) จังหวัดนครราชสีมา ๒. ระดับท่ีสอง การฝึกอบรมผ้ใู หก้ ารฝึกอบรมผู้กำกับลกู เสอื มสี องขน้ั ดังต่อไปน้ี ขั้นที่หน่ึง เรียกว่าการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือข้ันผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรม ผกู้ ำกับลกู เสือ (Assistant Leader Trainers Course) โดยมอี กั ษรย่อ A.L.T.C. ขั้นท่ีสอง เรียกว่า การฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือข้ันหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับ ลูกเสือ (Leader Trainers Course) โดยมีอักษรยอ่ L.T.C. สารานุกรมลูกเสอื ๑๐๐ ปี ลกู เสอื ไทย เล่มท่ี ๓ 25

ระดบั ทีส่ อง ข้ันทห่ี นงึ่ การฝึกอบรมบคุ ลากรทางการลกู เสือ ขั้นผู้ชว่ ยหวั หนา้ ผใู้ ห้การฝกึ อบรมผูก้ ำกบั ลูกเสอื (Assistant Leader Trainers Course) ความหมาย การฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือข้ันผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ หมายถึง การฝึกอบรมลูกเสือเพ่ือให้บุคลากรทางการลูกเสือทราบหลักการสำคัญของการลูกเสือและนโยบาย ของคณะลูกเสือแห่งชาติ สามารถนำไปใช้ในการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ ทราบนโยบายของ องคก์ ารลกู เสอื โลกเกยี่ วกับด้านวิชาการ การฝกึ อบรม การบริหารงานลกู เสือ และพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ทกั ษะและเจตคติเพ่มิ ข้ึน ความเปน็ มา ๑ศูนย์ฝึกอบรมลูกเสือของลูกเสือมลายูท่ีค่ายซีแมนแกท (Semangat) ในเมืองกัวลาลัมเปอร ์ ไดเ้ ปดิ การฝึกอบรมผบู้ งั คบั บัญชาลกู เสอื ซ่งึ ได้รับเครื่องหมาย Wood Badge มาแล้ว จงึ เรยี กการฝึกอบรม นว้ี า่ “Training the Team Course” หรือวชิ าคณะผ้ใู หก้ ารฝกึ อบรมลกู เสือ การฝกึ อบรมลูกเสือน้ีจัดขนึ้ ระหวา่ งวนั ท่ี ๒๗ ธนั วาคม ๒๕๐๒ ถึงวันท่ี ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๓ ใชเ้ วลาฝึกอบรมรวมหก วัน ผู้เข้ารบั การฝึกอบรมลูกเสือครั้งน้ีล้วนมาจากประเทศต่าง ๆ ในภาคตะวันออกไกล คือ จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย มลายู ซาราวคั สิงคโปร์ และไทย ผทู้ ผ่ี า่ นการฝกึ อบรมลูกเสอื น้แี ล้วจะได้รบั แตง่ ตง้ั ให้เปน็ รองผู้อำนวยการ ฝึกอบรมของสมาคมลกู เสือนานาชาติ ซง่ึ เรียกว่า รองผู้บงั คบั การคา่ ย (Deputy Camp Chief) ใช้ตวั ยอ่ วา่ D.C.C. สำหรับเฉพาะผู้ฝึกอบรมวิชาลูกเสือสำรอง ก็จะเป็นรองผู้อำนวยการฝึกลูกเสือสำรอง ซึ่งเรียกว่า หัวหน้าผู้กำกับลูกเสือสำรอง (Akela Leader) ใช้ตัวย่อว่า Ak.L. ท้ังนี้ เพื่อเป็นผู้ฝึกให้แก่ผู้บังคับบัญชา ลูกเสือแทนสมาคมลกู เสือนานาชาติตอ่ ไป สำหรับประเทศไทย ผู้บังคับบัญชาลูกเสือท่ีมีโอกาสได้ไปเข้ารับการฝึกอบรมในโอกาสน ้ี มี ๕ ทา่ นดว้ ยกนั คอื ๑. นายสว่าง วิจักขณะ หัวหนา้ กองการลกู เสือ ๒. นายเพทาย อมาตยกลุ ผตู้ รวจการลกู เสือโรงเรยี นสนั ติราษฎรบ์ ำรุง ๓. นายสมรรถไชย ศรีกฤษณ์ หวั หน้าแผนกฝึกและอบรม กองการลกู เสอื ๔. นายเชาวน์ ชวานิช หัวหน้าแผนกวิชาการ กองการลูกเสอื ๕. นายกมล พันธมุ์ เี ชาวน์ ผกู้ ำกบั ลูกเสือโรงเรียนอำนวยศิลป์ ธนบรุ ี ๑ จากหนังสือพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และประวัติการลูกเสือไทย เขียนโดย นายเสท้ือน ศภุ โสภณ หนา้ ๔๓๗-๔๓๘. 26 สารานกุ รมลูกเสือ ๑๐๐ ปี ลกู เสอื ไทย เลม่ ที่ ๓

ซ่ึงผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือดังทั้ง ๕ ท่านนี้ จะมีค่าเท่ากับได้รับการฝึกอบรมลูกเสือจาก ศูนยก์ ารฝกึ ของกลิ เวลล์ ปาร์ค เหมือนกัน นับเปน็ ครงั้ แรกในประวตั กิ ารลกู เสอื ไทยท่ีมผี ู้บังคับบญั ชาลกู เสือ ไดเ้ ขา้ รับการฝึกอบรมดงั กล่าว นายสมรรถไชย ศรกี ฤษณ์ นายเพทาย อมาตยกุล นายกมล พนั ธุม์ ีเชาวน์ สาระสำคัญของหลกั สตู ร ผู้เข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือเม่ือจบการฝึกอบรมลูกเสือตามหลักสูตรและได้รับเครื่องหมาย วูดแบดจ์สาม ท่อนน้ีแล้ว จะสามารถไปเป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้เบ้ืองต้นได้ ฉะน้ัน จะต้องเป็นผู้ท่ีมีความรู้ ความชำนาญในกระบวนการลูกเสือ ในหลักการและวิธีการของลูกเสือ อย่างลึกซ้ึง ชัดเจน และปฏิบัติได้ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ จึงได้กำหนดแนวทางให้ไว้ว่า เม่ือจบ การฝึกอบรมแลว้ ผูเ้ ข้ารับการฝึกอบรมควรจะสามารถ ดังต่อไปน้ ี ๑. อธบิ ายหลักการสำคญั ของกิจการลกู เสือและวิธกี ารทน่ี ำมาใชใ้ นการฝึกอบรมลูกเสอื ได้ ๒. ชี้แจงนโยบายของคณะลูกเสือแห่งชาติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเร่ืองท่ีเก่ียวกับวัตถุประสงค์ ของการฝกึ อบรมลูกเสอื ๓. เขียนวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมลูกเสือเป็นรายวิชา รวมถึงการฝึกอบรมวิชาพิเศษ และวชิ าเทคนคิ ต่าง ๆ ซึง่ รวมอยใู่ นกระบวนการฝกึ อบรมผบู้ ังคบั บัญชาลกู เสือได ้ ๔. จัดดำเนินการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือประเภทต่าง ๆ และเป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือ ขั้นความรู้เบือ้ งตน้ ได้ ๕. เปน็ วทิ ยากรในคณะผใู้ ห้การฝกึ อบรมลูกเสือขน้ั ความรู้ช้ันสงู ได ้ ๖. ระบคุ วามตอ้ งการในการฝกึ อบรมผู้กำกบั ลกู เสอื ประเภทตา่ ง ๆ ได้ ๗. จัดทำตารางการฝึกอบรมลูกเสือ และสามารถปรับปรุงตารางให้เหมาะสมกับสถานการณ ์ ในท้องถนิ่ เพื่อสนองความต้องการของผู้เข้ารบั การฝกึ อบรมลูกเสือได ้ ๘. อธบิ ายหลกั การเรียนรู้โดยทัว่ ไปสำหรบั ผูใ้ หญ่ได ้ สารานกุ รมลูกเสือ ๑๐๐ ปี ลกู เสือไทย เลม่ ที่ ๓ 27

๙. จัดลำดับและเลือกใช้แบบวิธีการฝึกอบรมให้เหมาะสม ตลอดจนรู้จักจัดหาและเลือก อุปกรณ์การสอนต่าง ๆ เพื่อใช้ในการฝกึ อบรมได้ สำหรับการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือข้ันผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ เป็นหลักสูตรท่ีใช้กันทั่วโลก ซ่ึงได้รับการรับรองจากสำนักงานลูกเสือโลกแล้วว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพ มแี นวทางเพ่อื เพม่ิ พนู ความรู้ ความสามารถ และไปให้การฝึกอบรมไดอ้ ย่างมคี ณุ ภาพ เน้ือหาจะประกอบดว้ ย เช่น ภูมิหลังและกิจการลูกเสือโลก ประวัติลูกเสือไทย สาระสำคัญของการลูกเสือ โครงสร้างคณะลูกเสือ แห่งชาติ ทักษะวิชาลูกเสือ ภาวะการเป็นผู้นำ การสื่อความหมาย หลักการสอนและการเรียนรู้เบ้ืองต้น การอภิปรายกลุ่ม การประชุมกลุ่มย่อย การระดมสมอง การอภิปรายเป็นคณะ การเตรียมและการใช ้ โสตทัศนปู กรณ์ การบรรยาย การสาธิต การสอนแบบฐาน การศกึ ษารายกรณี การแบง่ กลุ่มปฏบิ ตั งิ านตาม โครงการกิจกรรมเก่ยี วกับการผจญภัย บทบาทหน้าทขี่ องผู้บริหารการลกู เสือและสนบั สนุนกิจการลกู เสือ ขัน้ ตอนและวธิ กี าร รายละเอยี ดในการฝกึ อบรม มีดงั ตอ่ ไปนี้ ๑. กำหนดระยะเวลาฝกึ อบรมเจ็ดวันโดยอยปู่ ระจำ ณ ค่ายฝึกอบรม ๒. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือ ได้แก่ บุคลากรทางการลูกเสือท่ีได้ผ่านการฝึกอบรมลูกเสือ ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์สองท่อนมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี และในระยะเวลาสองปีน้ัน ได้ทำการฝึกอบรม ลูกเสือได้ผลดีหรือเข้าร่วมในการจัดกิจกรรมลูกเสืออย่างต่อเนื่องและได้รับเชิญจากผู้อำนวยการฝึกอบรม ผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้เบ้ืองต้นหรือขั้นความรู้ชั้นสูง ให้อยู่ในคณะผู้ให้การฝึกอบรมลูกเสือมาแล้ว ไม่น้อยกวา่ สามครงั้ และผอู้ ำนวยการฝกึ อบรมลกู เสอื รบั รองผลการปฏิบตั ิหนา้ ที่ ๓. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือเป็นผู้มีคุณลักษณะเหมาะสมท่ีจะเป็นผู้อำนวยการฝึกอบรม ผู้กำกับลกู เสือขน้ั ความรูเ้ บื้องตน้ และผู้อำนวยการสำนกั เลขาธิการ สำนกั งานลกู เสือแห่งชาติ ผอู้ ำนวยการ ลูกเสือกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด หรือหน่วยงานต้นสังกัดแล้วแต่กรณี สนับสนุน และอนญุ าตใหเ้ ขา้ รบั การฝกึ อบรม ๔. ผ้รู ับผิดชอบในการดำเนนิ งาน สำนักงานลกู เสอื แห่งชาติ สำนักงานลกู เสือกรุงเทพมหานคร สำนักงานลูกเสือจังหวัด สมาคมสโมสรลูกเสือ หรือหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง สำหรับหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องต้อง ได้รบั อนุญาตจากสำนกั งานลูกเสือแหง่ ชาตใิ ห้เป็นผู้ดำเนินการ สำนกั งานลกู เสอื แห่งชาตเิ ปน็ ผกู้ ำหนดเลขรุ่น ๕. ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือเป็นผู้ท่ีได้รับการแต่งต้ังเป็นหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับ ลกู เสอื (L.T.) และไดร้ ับการแต่งต้งั ใหเ้ ป็นผู้อำนวยการฝกึ อบรมลูกเสือ ๖. คณะผู้ให้การฝึกอบรมลูกเสือ ประกอบด้วย ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ ขั้นหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (L.T.C.) หรือข้ันผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (A.L.T.C.) หรือผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสืออาจเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางร่วมเป็นวิทยากรได้ตามที่ เหน็ สมควร 28 สารานกุ รมลูกเสือ ๑๐๐ ปี ลูกเสอื ไทย เล่มที่ ๓

๗. เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือขั้นผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับ ลูกเสือแต่ละครั้ง ให้มีการมอบวุฒิบัตรตามพิธีการท่ีสำนักงานลูกเสือแห่งชาติกำหนดให้กับผู้ท่ีได้ผ่าน การฝึกอบรมลูกเสือ โดยมีผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือ และเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็น ผู้ลงนามในวุฒิบัตรท่ีจัดทำโดยสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ให้ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือรายงานผลไปยัง ผู้อนุญาตให้มีการฝึกอบรมลูกเสือภายในสิบห้าวัน และให้ผู้อนุญาตรายงานต่อไปยังสำนักงานลูกเสือแห่งชาต ิ ภายในสามสบิ วัน ๘. สำนกั งานลกู เสอื แห่งชาตเิ ปน็ ผูอ้ อกวฒุ ิบัตร ๙. การเก็บเงินเป็นค่าธรรมเนียมในการฝึกอบรมลูกเสือให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับ คณะกรรมการบริหารลูกเสือแหง่ ชาตวิ า่ ดว้ ยค่าบำรงุ ค่าธรรมเนียม และค่าบริการอนื่ ผู้เขา้ รับการฝกึ อบรมบคุ ลากรทางการลูกเสือขั้นผชู้ ่วยหวั หน้าผใู้ หก้ ารฝึกอบรมผู้กำกบั ลกู เสอื (A.L.T.C) รุ่นท่ี ๖๗๐ ณ ค่ายลกู เสอื วชริ าวธุ จงั หวัดชลบรุ ี ผู้ท่ีได้รับการแต่งต้ังเป็นผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (Assistant Leader Trainers Course) โดยมีอักษรยอ่ A.L.T. มีคุณสมบัติและรายละเอียด ดงั ต่อไปน ี้ ๑. ได้ผ่านการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือข้ันผู้ช่วยผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ มาแลว้ ไม่นอ้ ยกวา่ หนง่ึ ปี ๒. ได้รับแต่งต้ังหรือได้รับเชิญให้ร่วมอยู่ในคณะผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือข้ันความรู้เบื้องต้น (B.T.C.) หรือขั้นความร้ชู ั้นสูง (A.T.C.) หรอื ขั้นผู้ช่วยผูใ้ ห้การฝึกอบรมผ้กู ำกับลกู เสือ (A.L.T.C.) ไมน่ ้อยกวา่ หกคร้ัง หรือได้รับแต่งต้ังหรือได้รับเชิญให้ร่วมอยู่ในคณะผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้เบ้ืองต้น (B.T.C.) หรือขั้นความรู้ชั้นสูง (A.T.C.) หรือขั้นผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (A.L.T.C.) ไม่น้อยกว่าสามครั้ง และเป็นผู้รับผิดชอบการฝึกอบรมลูกเสือ เช่น วิชานายหมู่ลูกเสือ วิชาอยู่ค่ายพักแรม หรืออ่ืน ๆ ไม่น้อยกวา่ สามครั้ง รวมกันไมน่ อ้ ยกว่าหกครั้ง สารานกุ รมลกู เสอื ๑๐๐ ปี ลูกเสือไทย เล่มท่ี ๓ 29

๓. ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ผู้อำนวยการลูกเสือกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด หรือหน่วยงานต้นสังกัดแล้วแต่กรณี เป็นผู้เสนอขอให้ได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (A.L.T.) โดยทำเป็นรายงานผลการปฏิบัติงานตามแบบ ท่ีสำนักงานลูกเสอื แหง่ ชาตกิ ำหนด เสนอไปตามลำดับจนถงึ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ๔. ให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้เสนอรายช่ือผู้ท่ีเห็นสมควรได้รับเคร่ืองหมายวูดแบดจ์ สามท่อน และแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (A.L.T.) ไปยังผู้ตรวจการลูกเสือ ฝ่ายพัฒนาบคุ ลากรเพือ่ พิจารณา และเสนอเลขาธิการสำนักงานลกู เสือแห่งชาติอนุมัตแิ ต่งต้งั ๕. สำนักงานลูกเสือแหง่ ชาตเิ ป็นผู้ออกเครอื่ งหมายวูดแบดจส์ ามท่อน คุณค่าท่ีได้รับจากการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือข้ันผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรม ผู้กำกับลูกเสอื ๑. สร้างบุคลากรทางการลูกเสือท่ีมีประสิทธิภาพในระดับสูงท่ีสามารถทำหน้าท่ีเป็นวิทยากร ขั้นความรู้ชั้นสูง เป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือขั้นความรู้เบื้องต้น เป็นรองผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือ ขน้ั ความรู้ชนั้ สูง มีผลตอ่ การพฒั นาผู้บังคับบญั ชาลูกเสือทัง้ ทางด้านปรมิ าณและคุณภาพ ๒. กิจการลูกเสือได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ เปน็ ท่ปี ระจกั ษใ์ นสงั คมไทย ๓. สังคมไทยมีบุคลากรและเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนาบ้านเมือง มากขน้ึ การฝกึ อบรมบคุ ลากรทางการลกู เสอื ข้ันผชู้ ่วยหวั หนา้ ผใู้ ห้การฝกึ อบรมผกู้ ำกบั ลกู เสอื (A.L.T.C.) รนุ่ ท่ี ๖๗๒ ณ ค่ายลกู เสอื วชริ าวุธ อำเภอศรีราชา จงั หวดั ชลบุรี โดยมี นางพนติ า กำภู ณ อยธุ ยา ปลัดกระทรวงศกึ ษาธิการ เขา้ รับการฝึกอบรมฯ พรอ้ มด้วยผ้บู ริหารระดบั สูงของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 30 สารานกุ รมลกู เสอื ๑๐๐ ปี ลูกเสือไทย เล่มท่ี ๓

ระดบั ทีส่ อง ขนั้ ทีส่ อง การฝกึ อบรมบุคลากรทางการลูกเสือ ข้นั หัวหน้าผู้ใหก้ ารฝกึ อบรมผ้กู ำกบั ลกู เสือ (Leader Trainers Course) ความหมาย การฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือข้ันหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ หมายถึง การฝึกอบรมลูกเสือเกี่ยวกับการนำหลักการสำคัญของการลูกเสือและนโยบายของคณะลูกเสือแห่งชาติ และองค์การลูกเสือโลกไปใช้ในการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ ยอมรับนโยบายขององค์การลูกเสือโลก เกี่ยวกับด้านวิชาการ การวางแผนการฝึกอบรม การบริหารงานลูกเสือ และสร้างภาวะผู้นำให้มีความรู้ ทกั ษะ ความสามารถในการบริหารจัดการ และมอี ดุ มการณ์ในกิจการลกู เสือ สาระสำคญั ของหลกั สูตร เมื่อจบการฝึกอบรมลูกเสอื แลว้ ผ้เู ขา้ รบั การฝกึ อบรมบคุ ลากรทางการลูกเสือควรมีความสามารถ ดังต่อไปนี้ ๑. บรรยายหลกั การสำคญั ของการลกู เสอื และวธิ ีการทใี่ ช้ในการลกู เสือได้ ๒. ชแ้ี จงนโยบายของคณะลกู เสือแห่งชาตไิ ด้ โดยเฉพาะทเี่ ก่ียวกบั การฝกึ อบรมลกู เสอื ๓. กำหนดจุดมงุ่ หมายของการฝึกอบรมลูกเสอื ประเภทต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ การฝกึ อบรม ผู้กํากับลูกเสือขนั้ ความรชู้ ัน้ สูง ๔. ระบุวิธีจัดหา เลือกวิทยากรให้การฝึกอบรมลูกเสือ คณะวิทยากรและการใช้วิทยากรน้ัน ๆ ใหเ้ หมาะสมกับความรูแ้ ละสตปิ ัญญาในระหว่างการฝึกอบรมลกู เสือได้ ๕. อธิบายและใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการฝึกอบรมผู้ใหญ่ได้ ท้ังในส่วนท่ีเกี่ยวกับลูกเสือ และไมเ่ ก่ยี วกับลกู เสอื ๖. บรรยายไดถ้ งึ วธิ ีการใชก้ ระบวนการกลุ่ม (Group Process) เพอื่ สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ อยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ ๗. วางแผน จดั อํานวยการและควบคมุ การฝกึ อบรมลกู เสอื น้ัน ๆ ได ้ ๘. ช้ีแจงให้ผู้กำกับลูกเสือได้ตระหนักถึงความต้องการและความจำเป็นในการฝึกอบรมลูกเสือ ของตัวเขาเอง และสามารถสนองตอบความต้องการนั้นได้ กับท้ังช่วยให้ผู้กำกับลูกเสือสามารถวางแผน การฝึกอบรมลกู เสือดว้ ยตนเองได ้ ๙. อธิบายได้ถึงวิธีการฝึกอบรมที่จัดข้ึน เพื่อให้เป็นที่ดึงดูดใจและเพลิดเพลินแก่สมาชิกทุกคน โดยให้สมาชิกมีสว่ นรว่ ม และใหไ้ ดม้ ีประสบการณอ์ ย่างจริงจังในกระบวนการเรียนรู้ทมี่ ปี ระสิทธิภาพ ๑๐. ระบบุ ทบาทของตนเองในระบบการฝึกอบรมผกู้ าํ กบั ลกู เสอื รวมท้ังทักษะตา่ ง ๆ ทีจ่ ะปฏิบตั ิ บทบาทเหลา่ นน้ั ได ้ ๑๑. ชีแ้ จงหลักสูตรการฝึกอบรมผู้กํากบั ลูกเสอื ข้ันความรชู้ นั้ สงู ได ้ สารานุกรมลูกเสือ ๑๐๐ ปี ลกู เสอื ไทย เล่มที่ ๓ 31

สำหรับการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือขั้นหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ เป็นการช้ีแจงแนะนำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือได้ทราบถึงความจำเป็นท่ีตนเองจะต้องมีความร้ ู ความเข้าใจ และการได้รับประสบการณ์ในเร่ืองนโยบายและวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมลูกเสือ การฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือในปัจจุบัน เยาวชนในปัจจุบัน สาระสำคัญของการลูกเสือ ความต้องการ ในการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ ระบบการฝึกอบรมลูกเสือ การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล ความจำเป็น ในการวางแผนเพ่ือการฝกึ อบรมลกู เสอื การวางแผนระยะส้นั เกี่ยวกับการฝกึ อบรมลูกเสือ การสร้างและการพฒั นา หลักสูตรการฝึกอบรมลูกเสือ แหล่งทรัพยากรและการจัดทำงบประมาณเพ่ือการฝึกอบรมลูกเสือ การสร้างโครงการฝึกอบรมลูกเสือและกิจกรรม ข้อคิดในการเรียนรู้ หลักสูตรการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ ข้ันความรู้ช้ันสูง การกำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน บทบาทวิทยากรประจำกลุ่ม การลูกเสือโลก การประเมินผล การฝึกอบรมลูกเสือ โครงการปฏิบัติงานภายหลังการฝึกอบรมลูกเสือและปณิธาน หน้าที่ของ ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือ ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการฝึกอบรม ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ เพื่อรับเครื่องหมายวูดแบดจ์ส่ีท่อน ทั้งนี้ เพ่ือผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำไปใช้ ในการฝึกอบรมผกู้ ำกับลูกเสือระดบั ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฝกึ อบรมบุคลากรทางการลูกเสือขน้ั หวั หนา้ ผู้ให้การฝกึ อบรมผ้กู ำกบั ลกู เสือ รนุ่ ที่ ๙๘ (L.T.C. 98) เม่อื วันที่ ๑๗-๒๓ กันยายน ๒๕๕๕ ณ ค่ายลกู เสือวชริ าวธุ อำเภอศรรี าชา จงั หวัดชลบรุ ี 32 สารานกุ รมลูกเสอื ๑๐๐ ปี ลูกเสอื ไทย เลม่ ที่ ๓

ขนั้ ตอนและวิธีการ รายละเอียดในการฝกึ อบรม มีดังตอ่ ไปน้ ี ๑. กำหนดระยะเวลาฝกึ อบรมเจ็ดวัน โดยอยู่ประจำ ณ คา่ ยฝึกอบรม ๒. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือ ได้แก่ บุคลากรทางการลูกเสือที่ได้ผ่านการฝึกอบรมลูกเสือ และได้รับเคร่ืองหมายวูดแบดจ์สามท่อนมาแล้วไม่น้อยกว่าหน่ึงปี เคยเป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมผู้กำกับ ลูกเสือข้ันความรู้เบื้องต้น มาแล้วอย่างน้อยสองครั้ง ได้รับแต่งต้ังหรือได้รับเชิญจากผู้อำนวยการฝึกอบรม ผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้ชั้นสูง ให้อยู่ในคณะผู้ให้การฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสองคร้ัง และผู้อำนวยการ ฝึกอบรมรับรองผลการปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้มีคุณลักษณะเหมาะสมท่ีจะเป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ ข้ันความร้ชู ้ันสงู ๓. ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ผู้อำนวยการลูกเสือกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด หรือหัวหน้าหน่วยงานต้นสังกัดแล้วแต่กรณี สนับสนุนและอนุญาตให้เข้ารับ การฝึกอบรมลกู เสือ ทง้ั น้ี โดยความเหน็ ชอบของผตู้ รวจการลกู เสอื ฝา่ ยพัฒนาบคุ ลากร ๔. ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ หรือสำนักงานลูกเสือ กรุงเทพมหานคร สำนักงานลูกเสือจังหวัด สมาคมสโมสรลูกเสือ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องได้รับ อนุญาตจากสำนักงานลูกเสอื แหง่ ชาตใิ หเ้ ปน็ ผู้ดำเนนิ การ โดยสำนกั งานลกู เสอื แห่งชาติเป็นผู้กำหนดเลขรุ่น ๕. ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับ ลูกเสือ (L.T.) และได้รบั การแต่งตงั้ ใหเ้ ป็นผู้อำนวยการฝึกอบรม ๖. คณะผู้ให้การฝึกอบรมลูกเสือ ประกอบด้วย ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าผู้ให้ การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (L.T.) หรือผู้เช่ียวชาญเฉพาะทางซึ่งผู้อำนวยการฝึกอบรมเชิญมาร่วมเป็น วทิ ยากรได้ตามท่ีเหน็ สมควร ๗. เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือขั้นหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ แต่ละคร้ังให้มีการมอบวุฒิบัตรตามพิธีการที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติกำหนดให้กับผู้ท่ีได้ผ่าน การฝึกอบรมลูกเสือ โดยมีผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือและเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้ลงนาม ในวุฒิบัตรที่จัดทำโดยสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ให้ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือรายงานผลไปยังผู้อนุญาต ให้มีการฝึกอบรมลูกเสือภายในสิบห้าวัน และให้ผู้อนุญาตรายงานต่อไปยังสำนักงานลูกเสือแห่งชาติภายใน สามสบิ วัน ๘. สำนกั งานลูกเสอื แหง่ ชาติเปน็ ผอู้ อกวฒุ บิ ัตร ๙. การเก็บเงินเป็นค่าธรรมเนียมในการฝึกอบรมลูกเสือให้เป็นไปตามท่ีกำหนดในข้อบังคับ คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาตวิ ่าด้วยคา่ บำรุง ค่าธรรมเนียม และค่าบรกิ ารอนื่ สารานกุ รมลกู เสอื ๑๐๐ ปี ลูกเสอื ไทย เล่มท่ี ๓ 33

อนึ่ง การฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือในหลักสูตรต่าง ๆ และวิธีการฝึกอบรมลูกเสือ ทุกประเภท การฝึกอบรมลกู เสอื เฉพาะเหลา่ เช่น ลกู เสอื สมทุ ร ลกู เสอื อากาศ การฝึกอบรมวิทยากรประจำ วิชาการบุกเบิก แผนที่ เข็มทิศ ระเบียบแถว การอยู่ค่ายพักแรม ให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการ บรหิ ารลูกเสอื แหง่ ชาตกิ ำหนด เพื่อสง่ เสรมิ ความเจรญิ ก้าวหน้าของกิจการลูกเสือและเป็นกรณที ี่มีความจำเป็นอาจมีการผ่อนผนั การปฏบิ ัติตามหลักเกณฑ์ทีร่ ะเบยี บฯ กำหนดไว้ โดยใหผ้ ู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายพัฒนาบคุ ลากรพจิ ารณาเสนอ เลขาธิการสำนกั งานลูกเสือแห่งชาติอนุมตั ิ ทงั้ น้ี ใหเ้ ป็นไปตามคณะกรรมการบรหิ ารลกู เสอื แห่งชาตกิ ำหนด ให้เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบฯ และให้มีอำนาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบฯ คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติว่าด้วย การฝึกอบรมบคุ ลากรทางการลูกเสอื พ.ศ. ๒๕๕๖ นายนวิ ตั ร นาคะเวช อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปน็ ประธานเปิดการฝึกอบรมบุคลากรทางการลกู เสอื ขัน้ หวั หนา้ ผูใ้ หก้ ารฝกึ อบรมผกู้ ำกบั ลกู เสอื (L.T.C.) รนุ่ ท่ี ๘๙ เมอื่ วันท่ี ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ คา่ ยลูกเสอื วชิราวธุ จงั หวดั ชลบุรี ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (Leader Trainer) โดยมี อักษรยอ่ L.T. มีคณุ สมบตั แิ ละรายละเอียด ดงั ตอ่ ไปนี้ ๑. ผ่านการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือขั้นหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (L.T.C.) มาแลว้ ไม่นอ้ ยกวา่ หนึ่งปี และ ๒. เป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือข้ันความรู้เบ้ืองต้น (B.T.C.) มาแล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง และได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับเชิญให้ร่วมอยู่ในคณะผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือข้ันความรู้ช้ันสูง 34 สารานกุ รมลกู เสอื ๑๐๐ ปี ลกู เสือไทย เล่มที่ ๓

(A.T.C.) หรือขั้นผู้ช่วยผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (A.L.T.C.) หรือท้ังสองอย่างรวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า สคี่ รัง้ หรือ ๓. เป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้เบื้องต้น (B.T.C.) มาแล้วไม่น้อยกว่า หน่ึงคร้ัง และเป็นผู้รับผิดชอบการฝึกอบรมลูกเสือ เช่น วิชานายหมู่ลูกเสือ วิชาอยู่ค่ายพักแรมหรืออื่น ๆ ไม่น้อยกว่าหนึ่งคร้ัง รวมกันไม่น้อยกว่าสองครั้ง และได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับเชิญให้ร่วมอยู่ในคณะผู้ให ้ การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้ช้ันสูง (A.T.C.) หรือข้ันผู้ช่วยผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (A.L.T.C.) หรอื ท้งั สองอยา่ งรวมกนั มาแล้วไมน่ ้อยกวา่ สีค่ ร้งั ๔. ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ผู้อำนวยการลูกเสือ กรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด หรือหน่วยงานต้นสังกัด เป็นผู้เสนอขอให้ได้รับการแต่งต้ังให้เป็นหัวหน้า ผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (L.T.) โดยทำเป็นรายงานผลการปฏิบัติงานเสนอไปตามลำดับจนถึง สำนกั งานลกู เสอื แห่งชาติ ๕. สำนักงานลูกเสือแห่งชาติเสนอรายช่ือผู้ท่ีเห็นสมควรได้รับเคร่ืองหมายวูดแบดจ์สี่ท่อนและ แต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (L.T.) ไปยังผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายพัฒนาบุคลากร เพื่อพจิ ารณา และเสนอเลขาธิการสำนักงานลกู เสอื แหง่ ชาติอนมุ ัตแิ ต่งตงั้ ๖. สำนกั งานลกู เสอื แห่งชาตเิ ป็นผูอ้ อกเครื่องหมายวูดแบดจส์ ่ีทอ่ น นายสวุ ิทย์ คณุ กิตติ อดตี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ ม เขา้ รับประกาศนียบตั ร พร้อมเครื่องหมายวูดแบดจ์ส่ีทอ่ น คุณค่าที่ไดร้ บั จากการฝึกอบรมบุคลกรทางการลกู เสอื ขัน้ หัวหน้าผู้ใหก้ ารฝกึ อบรมผูก้ ำกับลกู เสือ ๑. พัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือท่ีเป็นหลักสำคัญของกิจการลูกเสือของชาติ มีภาวะผู้นำ สามารถแกป้ ญั หาและพฒั นากิจการลกู เสอื ให้เจรญิ ก้าวหนา้ ไดอ้ ย่างมปี ระสิทธภิ าพสงู สดุ ๒. กิจการลูกเสือเป็นกระบวนการท่ีมีคุณค่า มีความม่ันคงในการพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลัง สำคญั เสรมิ สร้างความเจรญิ มนั่ คงสถาพรของชาต ิ ๓. ประเทศชาติได้รบั การเสรมิ สร้างใหเ้ กดิ ความเจริญมั่นคงสถาพร สารานกุ รมลกู เสือ ๑๐๐ ปี ลูกเสอื ไทย เลม่ ที่ ๓ 35

การฝกึ อบรมผูบ้ งั คับบญั ชาลูกเสอื สมุทร ความหมาย หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือสมุทร หมายถึง ประมวลประสบการณ์ที่จัดให้กับ ผู้เข้ารับการฝกึ อบรมลกู เสือ เพือ่ ให้เกดิ ความรู้ ความสามารถเป็นไปตามวัตถปุ ระสงค์ของกจิ กรรมทีไ่ ด้กำหนด การฝกึ อบรมผบู้ งั คบั บญั ชาลูกเสือสมุทร มีสองระดับ ดังต่อไปน ี้ ระดบั ทหี่ นึ่ง การฝกึ อบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสอื สมทุ รขั้นความรชู้ ้ันตน้ ระดับที่สอง การฝกึ อบรมผูบ้ ังคับบญั ชาลกู เสอื สมทุ รขั้นความรูช้ นั้ สูง การฝกึ อบรมผบู้ ังคับบัญชาลกู เสอื สมทุ รขั้นความรู้ชน้ั ต้น 36 สารานกุ รมลกู เสือ ๑๐๐ ปี ลกู เสอื ไทย เลม่ ที่ ๓

ระดบั ทหี่ นง่ึ การฝึกอบรมผบู้ งั คับบัญชาลูกเสือสมทุ รขัน้ ความร้ชู ั้นตน้ วัตถุประสงค์ เพ่ือให้บุคลากรทางการลูกเสือและผู้สนใจในกิจการลูกเสือสมุทร มีความรู้ ความเข้าใจเบ้ืองต้น ข้ันพื้นฐานของลูกเสือสมุทร สามารถปฏิบัติหน้าท่ีผู้กำกับลูกเสือสมุทร หรือรองผู้กำกับลูกเสือสมุทร ตามประเภทลูกเสือน้ัน ๆ สามารถนำไปประกอบในการขอตั้งกลุ่ม/กองตามท่ีสำนักงานลูกเสือแห่งชาต ิ กำหนดระเบียบไว้ได้ ตลอดจนเป็นพ้ืนฐานในการเข้าอบรมลูกเสือสมุทรข้ันความรชู้ ั้นสูง หรือวิชาเฉพาะทาง หรือเฉพาะเหล่าตอ่ ไป ผู้เข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือสมุทร เม่ือผ่านการฝึกอบรมในขั้นนี้แล้วจะได้รับวุฒิบัตรและ เครอ่ื งหมายแสดงคุณวฒุ ิ สาระสำคัญของหลกั สตู ร เนื้อหาสาระประกอบด้วย ลูกเสือสมุทรคืออะไร ประวัติความเป็นมาของลูกเสือสมุทรโลก ประวัติลูกเสือสมุทรไทย ประวัติการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือสมุทร หลักสูตรการฝึกอบรมลูกเสือ และผู้บงั คบั บญั ชาลูกเสอื สมทุ ร เครื่องแบบลูกเสอื และผู้บงั คบั บัญชาลกู เสอื สมุทร การดำเนินการจัดตง้ั กอง ลูกเสือสมุทร ขนบประเพณีทหารเรือ ประวัติยุทธนาวีของกองทัพเรือ การกระเชียง การใช้ดิ่งน้ำตื้น การเดินเรือนำร่อง การเรือท่วั ไป ภารกิจกองทพั เรือ อตุ ุนิยมวิทยา พ.ร.บ. เก่ียวกบั การเดินเรอื การแล่นใบ ทัศนสัญญาณ เง่อื นทหารเรือ กายบรหิ ารทา่ ราชนาว ี ข้ันตอนและวธิ ีการ รายละเอียดในการฝึกอบรมผู้บงั คับบัญชาลูกเสอื สมุทร มดี งั ต่อไปนี้ ๑. ระยะเวลาการฝึกอบรมลูกเสือสมทุ รขัน้ ความรชู้ ัน้ ต้นสามวันสองคืน โดยอยปู่ ระจำ ณ ค่าย ฝึกอบรมและมีการไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ในด้านเก่ียวกับทหารเรือบริเวณใกล้เคียง เช่น กองทัพเรือ หนว่ ยตา่ ง ๆ ของทหารเรือ ๒. การจัดการฝึกการอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือสมุทร เป็นการฝึกอบรมเพื่อการแต่งตั้งเป็น ผูก้ ำกบั ลูกเสอื สมุทรทุกประเภทของเหลา่ สมทุ ร ๓. ผู้ท่ีเข้ารับการฝึกอบรม ได้แก่ บุคลากรทางการลูกเสือหรือผู้บริหารโรงเรียนและผู้ที่สนใจ ในกิจการลูกเสือสมุทร ซึ่งผ่านการฝึกอบรมลูกเสือขั้นความรู้เบ้ืองต้นมาแล้ว หรือเป็นข้าราชการ ในหน่วยงานของกองทัพเรือท่ีมีหน้าที่รับผิดชอบให้การสนับสนุนลูกเสือสมุทรทุกหน่วยงาน ตามนโยบาย ของกองทพั เรือกำหนดไว้ ๔. มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป ๕. ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือสมุทร (Course Leader) ได้แก่ บุคลากรทางการลูกเสือ ที่มีคุณวุฒิหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (L.T. หรือ L.T.C.) หรือผู้ช่วยผู้ให้การฝึกอบรม สารานกุ รมลูกเสือ ๑๐๐ ปี ลูกเสอื ไทย เล่มท่ี ๓ 37


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook