Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ภาษิต สำนวนไทย 4 ภาค

ภาษิต สำนวนไทย 4 ภาค

Description: ภาษิต สำนวนไทย 4 ภาค

Keywords: ภาษิต,สำนวนไทย,สำนวนไทย 4 ภาค

Search

Read the Text Version

ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค 39 หมอจันทร์ เมื่อมีผู้ป่วยไปหาหมอ หมอจะเจียดยาหรือจัดสมุนไพรซ่ึง ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ของพืชและสิ่งอ่ืน ๆ ให้ถูกกับโรคของผู้ป่วย นำไป ต้มกินท่ีบ้าน หรือบางรายหมออาจจะรับไว้ให้อยู่รักษาตัวท่ีบ้านหมอก็ได้ สมุนไพรท่ีหมอจัดให้เรียกว่า เครื่องยา หม้อที่ใส่เครื่องยาเรียกว่า หม้อยา และยาที่หมอจัดใหน้ ้นั เรยี กวา่ ยาหม้อ การกินยาหม้อต้องกินตามจำนวนและเวลาตามที่หมอส่ัง เช่น กินเช้า เยน็ กอ่ นหรอื หลงั อาหาร แตผ่ ปู้ ว่ ยบางรายมอี าการหนกั มากตอ้ งกนิ ยาอยเู่ สมอ เมื่ออาการไข้กำเริบ เวลาไปไหนมาไหนต้องนำหม้อยาติดตัวไปด้วยเพ่ือจะได้ กนิ ยาตามเวลา วธิ ที จ่ี ะนำหมอ้ ยาตดิ ตวั ไปไดส้ ะดวกคอื การแคระ โดยใชผ้ า้ หรอื เชือกผูกกับหม้อยาแล้วสะพายไป เรียกกิริยาเช่นน้ันว่า แคระหม้อยา จึง เปรียบเทียบผู้ที่กำลังตกอยู่ในความลำบาก ยากแก่การแก้ไข เหมือนคนป่วย หนักท่ีต้องคอยกินยาอยู่เสมอจนต้องแคระหม้อยาติดตัวไปด้วยทุกที่ เช่น พ่ีบาวดำเอาเท่ดินไปเข้าธนาคารทำนากุ้ง ขาดทุน ๒ ทีแล้ว ไม่ได้ส่งทั้งต้น ท้ังดอกเขาอี้ยึดเท่ แคระหม้อยาเสียแล้วพ่ีบาวเหอ แปลว่า พ่ีดำเอาท่ีดินไป จำนองธนาคารเพื่อเอาเงินมาลงทุนทำนากุ้ง ขาดทุน ๒ คร้ังแล้ว ไม่ได้ส่งทั้ง เงินต้นท้ังดอกเบีย้ จนเขา (ธนาคาร) จะยดึ ที่ อาการหนกั เสียแล้วพชี่ ายเอย๋ ปัจจุบัน สำนวน แคระหม้อยา ที่หมายถึงนำหม้อยาติดตัวไปด้วยก็ยัง มีใช้ในเชิงประชดประชันหรือล้อเลียนผู้ที่ต้องพกยาเป็นจำนวนมาก แม้ว่า อาการของคนปว่ ยหนกั จนตอ้ ง แคระหมอ้ ยา คงจะไมค่ อ่ ยมใี หเ้ หน็ เพราะการ รักษาโรคแผนใหม่แพร่หลายมากแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยบางโรค เช่น โรคหวั ใจ โรคหลอดลม ตอ้ งพน่ ยาเขา้ ปากหรอื อมยาใตล้ น้ิ เมอ่ื อาการโรคกำเรบิ ซึ่งพอเปรียบเทียบได้กับการ แคระหม้อยา แม้ยาสมัยใหม่พกพาได้สะดวก ไม่ตอ้ งใสห่ ม้อยา และไม่ตอ้ งแคระเหมอื นแต่ก่อน (นายธีระ แก้วประจนั ทร์)

40 ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค งบู องเวียนโคน คำว่า งูบอง หรือ งูบองหลา เป็นงูพิษอาศัยอยู่ท้ังบนบกและในน้ำ เวลาฉกจะยกหัวและลำตัวข้ึนสูงมาก ในภาษาไทยกรุงเทพเรียกว่า งูจงอาง คำวา่ บอง คือ กระบอง หลา คอื สลา หมายถึง ตน้ หมาก งูบองหลา จงึ หมายถึง งทู ี่มีลำตวั ยาวใหญเ่ หมอื นตน้ หมาก งูบองเวียนโคน เป็นสำนวนท่ีเกิดขึ้นมาจากการสังเกตของชาวใต้ ในอดีตถึงลักษณะพฤติกรรมของงูจงอางท่ีเฝ้าเวียนโคนต้นไม้อย่างใจจด ใจจ่อ เพ่ือจะให้เหยื่อท่ีมันเฝ้าอยู่ตกลงมาหรือออกมาพร้อมจะกินเป็นอาหาร ทันที โดยฝ่ายเหย่ือก็พยายามจะหนี แต่ไม่รอด เพราะความอ่อนแรงและแพ้ ตบะงจู งอาง ในทส่ี ดุ กต็ กลงจากตน้ ไมพ้ รอ้ มเปน็ เหยอื่ ของงจู งอางทนั ที เหมอื น อย่างหมาไดก้ ลนิ่ เสือแลว้ จะหมดแรง ไมส่ ามารถจะวง่ิ หนีได้ สำนวน งบู องเวยี นโคน ชาวใตม้ กั นำไปเปรยี บเทยี บกบั ผชู้ ายทรี่ กั ผหู้ ญงิ และพยายามไปเฝ้าวนเวียนอยู่บ้านฝ่ายหญิงเป็นประจำ จนกระท่ังฝ่ายหญิง ใจอ่อนเกิดความเห็นใจและยอมรับในท่ีสุด เช่น สาวขุ้มอยู่สวยยังบาว ๆ ไป เฝ้าเหมือนงูบองเวียนโคน แปลว่า นางสาวขุ้มหน้าตาสวย มีหนุ่ม ๆ ไปเฝ้า เหมือนงบู องเวียนโคน คำวา่ อยสู่ วย แปลว่า สวย, นา่ รกั ยงั แปลว่า มี บาว แปลว่า ชายหนุ่ม สาวเอียดอยู่โหฺมฺระจังหู หาไม่งูบองมาเวียนโคนสักตัว แปลว่า นางสาวเอียดขีเ้ หรม่ าก ไมม่ ีงูบองมาเวียนโคนสกั ตวั คำวา่ อยู่โหมฺ ฺระ [อยูโหมฺ รฺ ะ] แปลวา่ ขเ้ี หร่ จงั หู แปลวา่ มาก หาไม่ แปลวา่ ไม่มี (ผศ.ปองทพิ ย์ หนหู อม)

ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค 41 ดีเหมือนเหล้าเครยี ะ ดีเหมือนเหล้าเครียะ เป็นสำนวน หมายถึงบุคคลหรือสิ่งที่มีคุณภาพ หรือชน้ั เชิง ยอดเยยี่ ม คำว่า เหล้า ในที่น้ีหมายถึงเหล้าท่ีชาวบ้านต้มกินและขายกันเอง เรยี กว่า เหลา้ เถอื่ น คำว่า เครียะ หมายถึง ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เรยี กสัน้ ๆ วา่ เครยี ะ เป็นแหลง่ ผลิตเหลา้ ทม่ี ชี ่อื เสียงมาแต่โบราณ เหล้าเครียะ คือเหล้าท่ีผลิตหรือต้มที่ตำบลตะเครียะ มีชื่อเสียงว่าเป็น เหล้าท่ีมีรสชาติดี เข้มข้น ดีกรีแรงจนจุดไฟติด จากสภาพภูมิประเทศของ อำเภอระโนดและอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นบริเวณท่ีมีต้นตาลมาก เนอื่ งจากชาวบา้ นนยิ มปลกู ไวบ้ นคนั นา และตน้ ตาลมปี ระโยชนห์ ลายอยา่ ง เชน่ ลำตน้ ใช้ทำสะพาน ชานบ้าน ใบใช้กั้นฝา กา้ นใบใช้ทำรั้ว ทำฟืน เน้อื ลูกตาล ทำอาหารและขนม ท่ีสำคัญคือน้ำตาลสามารถนำไปแปรรูปได้หลายอย่าง ทง้ั เป็นนำ้ ตาลสด น้ำตาลแว่น น้ำส้ม กะแช่ และน้ำตาลโตนด น้ำตาลโตนด คือน้ำตาลสดที่นำมาเคี่ยวจนข้นเป็นสีน้ำตาลไหม้ เป็น วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการต้มเหล้า ตำบลตะเครียะมีต้นตาลมากจึงมีการเคี่ยว นำ้ ตาลโตนดมากและนำไปใชใ้ นการตม้ เหลา้ ได้ ชาวตะเครยี ะมสี ตู รและวธิ กี าร ตม้ เหล้าเปน็ พเิ ศษต่างจากเหลา้ ท่ีต้มในท้องท่ีอ่ืน เชน่ การตม้ และกล่ันจนเป็น น้ำเหล้านั้น จะนำมากินและขายเฉพาะเหล้าที่กล่ันได้น้ำแรกจนถึงน้ำห้าซึ่ง เรียกว่า เหล้าน้ำต้น เท่าน้ัน เนื่องจากผู้ต้มเหล้าขายมุ่งเอาช่ือเสียงมากกว่า เอากำไร ยอมตัดเหล้าน้ำปลายท้ิงไป จึงได้เหล้าที่มีรสชาติเข้มข้น ดีกรีแรง เป็นที่พอใจของนกั ด่มื นยิ มกันวา่ เปน็ เหลา้ ชัน้ ดี อกี ประการหนง่ึ ในบรเิ วณตะเครยี ะ ระโนด หวั ไทร ไดช้ อื่ วา่ เปน็ ดงนกั เลง คำว่า นักเลง ตามความหมายของคนภาคใต้ หมายถึง คนที่กล้าหาญ ใจถึง

42 ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค มชี ้ันเชิง รักพวกพอ้ ง ไมร่ ังแกคนทอ่ี อ่ นแอกวา่ หรอื ไม่มที างสู้ จงึ เปรียบเทียบ ยกย่องคนที่มีลักษณะเช่นน้ีว่า ดีเหมือนเหล้าเครียะ เช่น นักมวยมุมแดงชก ดีเหมอื นเหล้าเครียะ ชมุ ชนใดผลติ สิง่ ของท่มี ีคณุ ภาพ มกั ไดร้ บั การยกย่องและออกชอ่ื ชมุ ชน ท่ีผลิตให้รู้กัน เช่น กินเหมือนจอบน้ำน้อย แปลว่า จอบท่ีคมถากหญ้าได้ดี เหมือนจอบท่ีทำมาจากตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คมเหมือนพร้านาป้อ แปลว่า พร้าเล่มนั้นคมเหมือนพร้าท่ีทำมาจากตำบล นาป้อ อำเภอเมืองฯ จังหวัดตรัง (นายธีระ แก้วประจันทร)์ เตินสายให้ทำสวนพร้าว เตินเชา้ ใหท้ ำสวนยาง เตนิ คือ ต่นื สวนพรา้ ว แปลว่า สวนมะพร้าว สำนวนน้ีสอนให้เลือกทำงานหรือประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับ ลกั ษณะนสิ ยั ของตนเองหรือปรบั พฤตกิ รรมให้เหมาะสมกับงาน การทำงานใด ๆ ก็ตาม คนเฒ่าคนแกม่ กั จะสอนลกู หลานให้ตน่ื เช้า ถา้ มี สวนยางยง่ิ ตอ้ งตื่นเชา้ ประมาณตสี าม ตีส่ี คนตืน่ สายไมเ่ หมาะที่จะทำสวนยาง ตอ้ งทำงานอยา่ งอนื่ แทน จงึ เกดิ เปน็ สำนวน เตนิ สายใหท้ ำสวนพรา้ ว เตนิ เชา้ ใหท้ ำสวนยาง หมายความวา่ การทำสวนมะพรา้ วไมจ่ ำเปน็ ตอ้ งตน่ื เชา้ เพราะ การดูแลรักษาและการเก็บผลผลิตทำได้ตลอดวัน เพียงแต่ต้องเอาใจใส่ใน ระยะแรกเท่าน้ัน ส่วนการทำสวนยาง ต้องต่ืนเช้าประมาณตีสามตีส่ีเพ่ือไป กรีดยาง เพราะต้นยางจะให้น้ำยางได้ดีในเวลานั้น เนื่องจากอากาศเย็น ถ้าสายอากาศร้อนน้ำยางจะออกน้อย บางคนต้องต่ืนเช้ากว่าน้ัน เพราะมี พนื้ ที่ปลกู ยางมาก ขนึ้ กับจำนวนพ้ืนทป่ี ลูกยาง ชาวใตเ้ รียกการออกไปตดั ยาง

ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค 43 หรือกรีดยางในเวลากลางคืนน้ัน ว่า ไปโละยาง เช่น ไอ้ดำกับไอ้เขียดเติน ไปโละยางแล้วหฺม้าย แปลว่า ไอ้ดำกับไอ้เขียดตื่นไปกรีดยางแล้วหรือยัง โลกบ่าวฉาน เตินสายทุกวัน น่าอ้ีสร้างสวนพร้าว แปลว่า ลูกชายของฉัน ต่ืนสายทกุ วัน นา่ จะทำสวนมะพรา้ ว (ผศ.ปองทิพย์ หนหู อม) แถกเหมอื นโลกคลัก คนและสตั ว์มีธรรมชาติทเี่ หมือนกนั คอื การดิน้ รนต่อสเู้ พือ่ เอาชวี ิตรอด ภาษาถ่ินใต้เรียกว่า แถก แปลว่า ดิ้นกระเสือกกระสน เช่น ตีให้แถกอยู่นั้น แปลว่า ตีให้ด้ินอยู่อย่างน้ัน คำว่า แถก สามารถใช้ร่วมกับคำอื่น ๆ ทำให้มี ความหมายต่างออกไปอีก เช่น แถกเด แปลว่า ว่ายน้ำแบบตีกรรเชียงแต่ ไม่ใช้มือ ถ้าเป็นคำวิเศษณ์หมายถึงดิ้นพราด ๆ เช่น นายแดงถูกตีแถกเด อยูบ่ นหนน แปลว่า นายแดงถกู ตีด้นิ พราด ๆ อยู่บนถนน คำว่า คลัก ภาษาถ่ินภาคใต้ เป็นคำนาม แปลว่า พ้ืนดินที่สัตว์คุ้ยเข่ีย หรือนอนเกลือกกลิ้งจนกลายเป็นหลุม เป็นแอ่ง บางท้องถิ่นเรียก ปลัก เช่น คลกั ควาย หมายถงึ หนองหรอื แอง่ ทคี่ วายนอนกลงิ้ เกลอื กไปมา ถา้ เปน็ คำกรยิ า หมายถงึ เกลือกกลง้ิ เชน่ ตัวสักโคลกอย่ามาคลักบนท่ีนอน แปลว่า ตวั สกปรก อยา่ มานอนกลิง้ บนทีน่ อน ถา้ ซ้อนคำวา่ คลกั ๆ เปน็ คำวเิ ศษณ์ แปลวา่ มาก ยั้วเยี้ย เชน่ เทถ่ านรี ถไฟยังคนคลกั ๆ แปลวา่ ทีส่ ถานรี ถไฟมคี นมาก เมอ่ื ผสมคำเปน็ โลกคลกั หรอื ลกู คลกั ภาษาถน่ิ ใตเ้ ปน็ คำนาม หมายถงึ ปลาเล็ก ๆ หลายชนิดทีอ่ ยรู่ วมกันอยใู่ นแอ่ง หลุม หนอง บงึ และพบได้มาก ใน คลกั คือ ปลกั ทีน่ ำ้ แหง้ ขอด ปลาแต่ละตวั ตา่ งกด็ ิ้นรนแย่งน้ำกนั เพือ่ ความ อยู่รอด

44 ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค ฉะน้ัน สำนวน แถกเหมือนโลกคลกั จงึ เปน็ สำนวนเรยี กบุคคลทกี่ ำลัง ดนิ้ รนทกุ วถิ ที างเพอ่ื เอาตวั รอดหรอื เพอื่ เอาชวี ติ รอดจากภยั พบิ ตั ติ า่ ง ๆ เหมอื น ปลาตัวเล็ก ๆ ที่กำลังด้ินรนเป็นคร้ังสุดท้ายเพื่อเอาตัวรอดก่อนท่ีน้ำในหลุม ในแอ่งจะแหง้ หมด สำนวนน้ีมักใช้กับบุคคลผู้มีความผิดหรือบกพร่องต่อหน้าท่ีจนถูกตั้ง กรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงหรือทางคดีอาญาท่ีวิ่งเต้นเข้าไปขอ ความชว่ ยเหลอื จากผอู้ นื่ เพ่อื ให้ตัวเองพน้ ผิดว่า แถกเหมอื นโลกคลกั ปัจจุบัน ควายเหล็กได้เข้ามาแย่งหน้าท่ีไถนาไปจากควายจริงจน เกือบหมด ข้อสำคัญ ควายเหล็กมีความขยัน อดทน ไม่ยอมหยุดพักเหน่ือย ไม่ลงมานอนกล้ิงให้พ้ืนดินเป็นปลักเป็นแอก เม่ือไม่มี ปลัก หรือ โลกคลัก ก็ไมม่ สี ำนวนวา่ แถกเหมือนโลกคลัก และหายไปพร้อมกับ แกงควั่ โลกคลัก อาหารรสเลศิ ของชาวใต้ก็คงเหลือไว้แต่เพียงชือ่ ดงั บทกลอนทีว่ า่ หลบถึงเรินเดินเรอ่ื ยพี่เนือยข้าว ถามน้องสาวยังไหรให้กินมง่ั คว่ั โลกคลกั หรือวา่ เจ้ียนปลาลัง สุกแล้วยังคนดพี ี่เนอื ยจัง คำวา่ หลบ แปลวา่ กลบั เริน คือ เรือน เนือย แปลวา่ หวิ เจยี้ น แปลวา่ ทอด ปลาลัง คอื ปลาทู (นายชะเอม แกว้ คลา้ ย) น่งุ แพรขุดดิน นุ่งแพรขุดดิน เป็นสำนวน หมายถึง นุ่งผ้าแพรขุดดิน เป็นการตำหนิ ผู้ท่ีแต่งกายไม่เหมาะสมกับงาน เพราะการขุดดินเป็นงานท่ีต้องใช้แรง เหง่ือ ออกมาก ร่างกายตอ้ งเคลอื่ นไหวตลอดเวลา จงึ จำเปน็ ต้องแต่งกายดว้ ยเสอ้ื ผา้ ท่ีเหมาะสม ซับเหงอ่ื ไดด้ ี รูปทรงการตัดเยบ็ ต้องกระชับ ไมห่ ลุดลยุ่ ได้งา่ ย

ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค 45 คำว่า แพร ในสำนวน นุ่งแพรขุดดิน หมายถึงผ้าที่มีเนื้อล่ืน เรียบ เป็นมัน เน้ือหนาหรือบางก็ได้ เป็นผ้าที่ทอด้วยใยไหม มีสีสันสดใส มีหลายสี นิยมนำมาตัดเป็นชุดใสน่ อนหรอื เปน็ เครอ่ื งนอน เชน่ ผา้ ปทู ี่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม ผ้าคลุมเตียง สมัยก่อนผู้ท่ีนุ่งแพรแสดงว่าเป็นผู้มีฐานะดีหรือมียศถา บรรดาศกั ดิ์ คำวา่ ขุดดิน เปน็ คำทรี่ ูจ้ ักกันแพร่หลายในสงั คมไทย เพราะอาชพี หลกั ของไทยคอื การเกษตร เชน่ ทำนา ทำสวน ทำไร่ แมแ้ ตป่ ลูกพืชผักในครัวเรอื น ก็ต้องอาศัยการขุดดินเป็นหลุมเป็นร่องตามลักษณะงานและการบ่งใช้ว่าจะ ปลูกพืชชนิดใด เครอื่ งมือท่ีใช้ขุด เชน่ จอบ เสยี ม ชะแลง เช่น ชาวบ้านภาคใต้ เม่ือเห็นใครเดินถือจอบออกนอกบ้านไปทำสวน ทำไร่ มักจะทักทายว่า ไปขุดดินโปลกมันเหอ คำว่า โปลก คือ ปลูก มัน คือ หัวมัน เหอ แปลว่า หรือ, เหรอ การแต่งกายขุดดินต้องแต่งกายให้กระชับเหมาะที่จะขุดดิน ถ้าใครใส่ กางเกงแพรขุดดินจะถูกมองว่าแต่งตัวสำรวย หยิบหย่ง ไม่เหมาะกับงาน ชาวบ้านเห็นใครนุ่งแพรขุดดิน มักจะถูกบอกกล่าวเชิงตำหนิ เช่น โลกบ่าว บ้านนโ้ี อร้ ดจัง นุง่ แพรขดุ ดนิ แปลวา่ ลกู ชายบา้ นนโ้ี ออ้ วดมาก นุ่งแพรขดุ ดิน คำว่า โลกบ่าว แปลว่า ลูกชาย โอ้รด แปลว่า โอ้อวด และจะพูดทักทาย หยิกแกมหยอกว่า แลโด้บ่าวนุ้ยนุ่งแพรขุดดิน แลสาไปไม่รอด แปลว่า บ่าวนุ้ยนุ่งกางเกงแพรขุดดิน ดูแล้วรู้สึกว่าไปไม่รอด คำว่า แลโด้ แปลว่า ดนู นั่ , ดโู น่น แลสา แปลวา่ ดแู ล้วรูส้ ึกว่า สำนวน นุ่งแพรขุดดิน จึงเป็นสำนวนพูดเชิงตำหนิหรือบอกกล่าวให้ คิดว่าต้องแตง่ ตวั ให้เหมาะสมกบั งานหรือกาลเทศะ (ผศ.ปองทพิ ย์ หนหู อม)

46 ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค มาเหมือนฝูงเหมา มาเหมอื นฝงู เหมา เปน็ สำนวนเปรยี บเทยี บ หมายถงึ การทคี่ นมารวมกนั เปน็ จำนวนมากเพอื่ รว่ มงานตา่ ง ๆ เชน่ งานบญุ งานรน่ื เรงิ หรอื ทำกจิ กรรมอน่ื ๆ เหมอื นฝงู เหมาทีบ่ ินพรูกันออกมาจากรงั เป็นจำนวนมาก คำว่า เหมา ตรงกบั ภาษาไทยกรุงเทพวา่ แมลงเมา่ คอื ปลวกท่ีโตเตม็ ที่ จนปกี งอก จะบนิ ออกจากรงั เมอ่ื ไดเ้ วลาผสมพนั ธหุ์ รอื หลงั ฝนตกหนกั แตก่ ารท่ี เหมาบนิ ออกจากรงั คราวละมาก ๆ นน้ั ไมค่ อ่ ยมบี อ่ ยนกั เมอ่ื ฝงู เหมาออกมาจาก รงั กนั เปน็ จำนวนมากจงึ เปน็ เหตกุ ารณท์ นี่ า่ ตน่ื เตน้ ชาวบา้ นจะพากนั นำภาชนะ เชน่ โคม (กะละมงั ) หมา (ถังน้ำ) ใสน่ ้ำมาวางไวท้ ี่ชายคาบา้ นหรือกลางแจง้ เหมาจะบนิ มาตกลงในภาชนะทวี่ างไว้ จากนน้ั ในบางถนิ่ จะเอาเหมาโดยเฉพาะ ชนิดที่มีขนาดใหญซ่ าวน้ำให้ปีกหลดุ จากตัว แล้วนำไปค่วั กบั เกลือหรอื ผัดเป็น กับข้าวหรอื ของกนิ เลน่ เพราะนาน ๆ จะมเี หมาใหก้ นิ สักคร้งั หนึ่ง ส่วนเด็ก ๆ เมอื่ ฝงู เหมาบนิ ออกมา เปน็ โอกาสใหไ้ ดว้ ง่ิ เลน่ จบั เหมากนั อยา่ งสนกุ สนาน โดย ใช้ผ้าขาวม้าหรือเส้ือฟาดให้เหมาตกลงมา จำนวนเหมาท่ีได้น้ันไม่มากเท่ากับ การทเี่ อาภาชนะรองนำ้ วางดกั ไวแ้ ตเ่ ปน็ การวง่ิ เลน่ สนกุ เสยี มากกวา่ ซงึ่ เปน็ เรอ่ื ง ปรกตขิ องเดก็ ๆ ในชนบททไ่ี ม่คอ่ ยมีของเลน่ ในภาคใต้ เมอื่ มีการจัดงานตา่ ง ๆ เชน่ งานบญุ งานร่ืนเริง งานแสดง มหรสพ จะมีคนไปร่วมงานมากบ้างน้อยบ้างนั้น งานบุญข้ึนอยู่กับบารมีของ เจ้าภาพ งานแสดงมหรสพขึ้นอยู่กับช่ือเสียงของมหรสพที่มาแสดงเป็นสำคัญ จึงเปรียบเทียบการที่คนมาร่วมงานต่าง ๆ กันเป็นจำนวนมากว่า มาเหมือน ฝงู เหมา คอื มากนั มากจนนา่ ตน่ื เตน้ อยา่ งไรกต็ าม มใิ ชว่ า่ เมอ่ื ฝนตกหนกั ครงั้ ใด จะมเี หมาออกกนั มามากเมอ่ื นน้ั ทง้ั นี้ ขนึ้ อยกู่ บั สภาวะทเ่ี หมาะสม เชน่ ตวั เหมา เจริญเติบโตเต็มท่พี รอ้ มจะผสมพนั ธ์ุ สภาพอากาศเหมาะสม เชน่ เดียวกบั การ จัดงานบุญ งานร่ืนเริง หรืองานแสดงมหรสพก็ใช่ว่าจะมีคนมากันมากทุกคร้ัง

ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค 47 ดงั นั้นงานใดทีม่ คี นมาร่วมงานกันมากจนเรยี กไดว้ ่า มาเหมือนฝงู เหมา จึงเป็น ที่กล่าวถึงกันเป็นเวลานาน ดังเช่น งานบวชโลกบาวครูเริญแรกเดือนก่อนคน มาเหมือนฝูงเหมา แปลว่า งานบวชลูกชายครูเจริญเมื่อเดือนที่แล้วคนมา ร่วมงานกันมากเหมอื นฝงู แมลงเมา่ ปจั จบุ นั น้ี การทเ่ี หมาจะออกมาเปน็ ฝงู ใหด้ กั มาคว่ั เกลอื กนิ หรอื ใหเ้ ดก็ ๆ วงิ่ ไลฟ่ าดคงหาไดย้ าก เพราะสภาพภมู ปิ ระเทศเปลยี่ นไป จอมปลวกขนาดใหญ่ ท่ีเป็นรังของเหมามีน้อยลง คงมีแต่ปลวกท่ีต้องคอยให้บริษัทรับจ้างมาคอย กำจดั อยเู่ สมอ (นายธรี ะ แก้วประจนั ทร)์ เมืองลุงมีดอน เมอื งคอนมีท่า เมืองตรงั มีนา สงขลามบี ่อ สำนวนเก่ยี วกบั ชอ่ื บ้านนามเมอื งภาคใต้ขา้ งตน้ นี้ เป็นการบอกลักษณะ ภูมิศาสตร์ท้องถ่ินได้อย่างดี ปัจจุบันย่อมเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นท่ีไปตาม กาลเวลา แต่สำนวนยังคงบอกเลา่ ให้ทราบภูมิหลังสมยั น้ันอย่เู สมอ จากสำนวนข้างต้นเล่าถึงสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน คือ ตัวเมือง พัทลุงต้ังอยู่ในที่ดอน มีภูเขารายรอบ เช่น ภูเขาอกทะลุเป็นสัญลักษณ์ของ จังหวัดน้ี คำว่า ดอน หมายถึง ท่ีสูงน้ำท่วมไม่ถึง นอกจากนี้ยังมีคำว่า ควน มาจากคำมลายูวา่ guar หมายถงึ เนนิ หรือโคก ตวั อย่างชอื่ หมูบ่ า้ นในพัทลุง ขน้ึ ตน้ ดว้ ยคำว่า ดอน เชน่ ดอนหลา หรอื ดอนศาลา ดอนเคด็ ดอนคัน ซ่ึง เป็นชื่อต้นไม้ รวมทั้ง ดอนทราย และข้ึนต้นด้วยคำว่า ควน เช่น ควนขนุน ควนมะพร้าว ควนถบ ควนสาร จังหวัดนครศรีธรรมราชอยู่ริมทะเลมีท่าเรือหลายแห่ง ชื่อหมู่บ้าน มักมีคำว่า ท่า นำหน้า เช่น ท่าศาลา ท่าแพ ท่าโพธ์ิ ท่าวัง ท่าม้า ท่าซัก ท่าลาด ทา่ สงู

48 ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค จังหวัดตรังมีการทำนามาก่อนทำสวนยางพารา ช่ือหมู่บ้านมักมีคำว่า นา นำหน้า เช่น นาโยง นาทา่ ม นาปด นาข้าวเสีย นาโตะ๊ หมิง นาตาล่วง นาทุ่งนุย้ จงั หวดั สงขลาอยรู่ มิ ทะเลสาบ จำเปน็ ตอ้ งขดุ บอ่ นำ้ จดื ใชด้ มื่ กนิ ชอื่ หมบู่ า้ น มกั มคี ำว่า บ่อ นำหนา้ เชน่ บ่อทรพั ย์ บอ่ ยาง บอ่ เตย บ่อโด บอ่ โตระ ชื่อบา้ นนามเมอื งดงั กลา่ วนอกจากบอกลักษณะภมู ศิ าสตรแ์ ลว้ ยงั บอก ถึงลักษณะพ้ืนที่ เช่น ท่าลาด ท่าสูง บอกถึงพรรณไม้ เช่น บ่อยาง บ่อโด (ตน้ ประด)ู่ นาปด (ต้นรสสุคนธ์) บอกถึงบรเิ วณนั้นมสี ิง่ น่าสนใจ เช่น ท่าแพ ทา่ โพธ์ิ (เปน็ ทต่ี อ้ นรบั ตน้ โพธนิ์ ำมาจากลงั กา) ทา่ ศาลา ทา่ วงั ทา่ มา้ (สมยั นนั้ นครศรีธรรมราชมรี ถมา้ เปน็ พาหนะ) บอกช่อื คนรนุ่ บกุ เบิก เชน่ นาโต๊ะหมิง (ชื่อมุสลิม) นาตาล่วง รวมท้ังบอกที่มาจากนิทานท่ีนิยมเล่าในหมู่บ้าน เช่น ควนถบ ซงึ่ มาจากคำวา่ สนิ ธพ ทหี่ มายถงึ มา้ คอื มา้ ทเ่ี ปน็ พเี่ ลย้ี งของพระรถเสน ในนิทานเรื่องพระรถเสนหรือนางสิบสอง ควนสาร หมายถึงพระฤ ๅษี แปลงสารเพือ่ ชว่ ยพระรถเสน ชอ่ื บา้ นนามเมอื งยงั มอี กี มากมาย แตล่ ะชอ่ื ลว้ นนา่ ศกึ ษาคน้ ควา้ อยา่ งยง่ิ (รศ.ประพนธ์ เรอื งณรงค)์ โมโหไมห่ ฺมฺลัง ชังกงั้ ไม่เพือ่ น โมโหไม่หมฺ ฺลัง ชงั กั้งไมเ่ พ่อื น เปน็ สำนวนชาวใต้ท่ีเตือนสติและสอนให้ ดำรงตนอยู่ในสงั คมได้อย่างอบอ่นุ ใจ โมโหไม่หฺมฺลัง หมายถึงผู้ใดเม่ือโมโหหรือมีความโกรธแล้ว ผู้น้ัน ย่อมไม่มีกำลัง คำว่า ไม่ ชาวใต้ออกเสียงยาวว่า [หม้าย] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถงึ ไม่มี คำถดั มา หฺมลฺ ัง คำน้ีมาจากคำว่า กำลัง ภาษาถน่ิ ใต้ขึน้ ตน้ ด้วยสระอำ

ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค 49 ย่อมมีเสียง ม ตามเสมอ ดังเช่น กำลัง คำว่า กำ มีเสียง ม ตาม ตัว ม ที่ตามน้ีประสมกับคำสุดท้าย คือ ลัง และออกเสียงควบกล้ำ เป็น มฺลัง ชาวใต้นิยมเสียงสูงกเ็ พมิ่ ห เข้าไป เลยออกเสียงเปน็ หมฺ ลฺ ัง ส่วนคำหน้า คือ กำ กต็ ัดออกไป จงึ คงเหลอื แต่ หมฺ ลฺ ัง ตัวอยา่ งอ่นื ๆ เช่น สำรับ เป็น หฺมฺรับ สำโรง (ช่ือต้นไม้) เป็น โหฺมฺรง กำไร เป็น ไหฺมฺร ล้วนออกเสียง ห-ม-ร ควบกัน ถดั มาคอื ชงั กงั้ ไมเ่ พอ่ื น คำวา่ ชงั กงั้ เปน็ คำวเิ ศษณ์ แปลวา่ เกกมะเหรก, ทะลึ่งตึงตัง, ขวางหูขวางตา ถ้าเป็นคำนาม หมายถึงคนที่มีนิสัยเช่นน้ัน คำถนิ่ ใตม้ ีความหมายใกล้เคียงคำว่า ชงั กั้ง อกี หลายคำ เชน่ คำวา่ กางหลาง กายหลาย มัดกะ ช็องดอ็ ง จันหวนั บ้าหวนั คนชังกั้งไม่เพื่อน เมื่อเกิดอันตรายย่อมขาดเพ่ือนท่ีจะคอยช่วยเหลือ กรณีเพื่อนไม่คบค้าสมาคมด้วย เพราะเอาแต่ใจตนเอง มองผู้อ่ืนด้อยกว่าตน และมองผู้อนื่ เป็นศัตรู ท่สี ำคญั คอื คนชังก้ังมกั ทำใหผ้ อู้ ื่นเดอื ดร้อนอยู่เสมอ ในวรรณกรรมท้องถ่ินภาคใต้เรื่องพระรถเมรีหรือเรื่องนางสิบสอง ตอนสุดท้ายของเรื่อง กล่าวถึงตายายซึ่งเป็นพ่อแม่ของนางสิบสอง ท้ังสอง ตกระกำลำบากจากผลกรรม เมอ่ื นางสบิ สองมคี วามสขุ กน็ ำทหารมาพบพอ่ แม่ ยายเหน็ ทหารกต็ กใจและบอกตาใหอ้ ยแู่ ตใ่ นบ้าน คำกาพยบ์ รรยายไวว้ ่า กวู ่าจะไปปา่ เกบ็ ผกั เก็บหญา้ มาเทย่ี วซอ้ื ขาย ตาเฒ่าชังกง้ั ไมฟ่ งั คำยาย ยามเม่ือว่นุ วาย ไม่ตายแต่ตวั สำนวน โมโหไม่หมฺ ฺลงั ชงั ก้งั ไม่เพอ่ื น เปน็ สำนวนไม่ลา้ สมัย ยงั มีคุณคา่ และมปี ระโยชนแ์ ก่ผู้นำไปยดึ ถอื และปฏิบตั ิ (รศ.ประพนธ์ เรืองณรงค)์

50 ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค รักกับใครอย่าสิน้ ยงั สำนวน รักกับใครอย่าสิ้นยัง เป็นคำสอนหรือคำเตือนผู้มีความรัก โดยเฉพาะหนุ่มสาวว่า เม่ือรักผู้ใดก็อย่ารักแบบทุ่มตัวหรือทุ่มเทจนหมด ภาษาถิ่นใต้เรียกว่า รักแบบส้ินยัง หมายถึงรักอย่างหมดสิ้นในสิ่งท่ีมี หรือ ที่เรยี กวา่ รักจนหมดหัวใจ วรรณกรรมพืน้ บา้ นภาคใตเ้ รอ่ื งพระรถเมรี ตอนนางเภาหรือสำเภาแก้ว สอนบตุ ร คือพระรถสทิ ธิ์ ก่อนจะเดินทางไปเมอื งยกั ษ์ นางสอนว่า รักกับใคร อย่าสิ้นยงั ขณะเดียวกันกวีนำมาสอนผูอ้ า่ นหรอื ผู้ฟังด้วย ดังน้ี ตวั ตายด้วยลมลวง ทา่ นทง้ั ปวงพึงจำใจ หญงิ ชายน่งั ใกลไ้ กล รกั กับใครอย่าสนิ้ ยัง การรกั อยา่ งสน้ิ ยงั หรอื รกั อยา่ งทมุ่ เทนนั้ เกดิ จากความเชอ่ื และความหลง ดังนางเภายกตัวอย่างทศกัณฐ์หลงเชื่อหนุมานอย่างส้ินยัง ในที่สุดทศกัณฐ์ กส็ ้นิ ใจดว้ ยพญาวานรนน่ั เอง ดังคำกาพย์กลา่ ววา่ หัสกณั ฐพ์ ญามาร หลหมานลว้ งเอาดวงใจ เชือ่ คนอยา่ เชอ่ื คน เชอื่ หลายหนมกั เสยี การ วรรณกรรมท้องถ่ินภาคใต้เรียกทศกัณฐ์ว่า หัสกัณฐ์ และเรียกหนุมาน ว่า หลหมาน [หน-หฺมาน] คำวา่ ยัง ในภาษาถนิ่ ใต้ เมอ่ื เปน็ คำกริยา แปลวา่ มี เช่น ยังเบยี้ แปลว่า มเี งิน คนยงั เบย้ี แปลวา่ คนร่ำรวย นอกจากน้ียงั หมายถึง อยู่ เช่น พ่อยงั ไหม แปลว่า พ่ออยู่ไหม คำวา่ ยงั เมอ่ื เปน็ คำวเิ ศษณ์ เชน่ ยงั คำ่ แปลวา่ ตลอดคำ่ ยงั วนั แปลวา่ ยงั ไมค่ ำ่ ดงั ประโยคท่วี ่า เขาเขา้ นอนแต่ยงั วนั แปลว่า เขาเขา้ นอนแต่ยังไม่คำ่ สำนวน รกั กบั ใครอยา่ สนิ้ ยงั เปน็ คำสอนหรอื คำเตอื นใหร้ จู้ กั ระมดั ระวงั เร่ืองความรัก คือหากเราคิดรักหรือชอบใคร โดยเฉพาะหนุ่มสาวอย่ารักจน

ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค 51 ทุ่มเทหรือรักอย่างหมดตัว เพราะเมื่อพลาดรักแล้วก็จะเสียใจ และหมดใจ ยอ่ มเกิดผลเสียหายตามมา ดงั ที่เป็นขา่ วอยู่เสมอ (รศ.ประพนธ์ เรืองณรงค์) รำในวร รำในวร เป็นสำนวนเปรียบเทียบ หมายถึงดีใจจนลืมตัวลืมสำรวม โดยไม่คำนึงถึงสถานะของตน เป็นคำพูดเชิงตำหนิผู้อาวุโสซึ่งเป็นที่เคารพ นับถือของคนทั่วไปว่าไม่ระงับความรู้สึกเมื่อพบเหตุการณ์ที่ทำให้ดีใจ ถูกใจ แสดงออกจนน่าเกลียด สำนวนนี้ประกอบด้วยคำว่า รำ หมายถึง การรำอันเป็นกิริยาแสดง อารมณ์ร่ืนเริง สนุกสนาน โดยทั่วไปมักจะรำเม่ือมีงานต่าง ๆ ท่ีเป็นงานบุญ งานมงคล เชน่ แห่นาคงานบวช งานเลีย้ งสงั สรรค์ ผรู้ ำมกั จะเป็นคนหนุ่มสาว หรอื เดก็ ๆ สว่ นผู้สงู อายไุ มค่ ่อยจะรำเนือ่ งจากเปน็ การไม่เหมาะสมกับวัย คำว่า ในวร หมายถึง พระภิกษุขณะครองจีวรอยู่ แสดงว่ากำลัง ประกอบสมณกจิ ซงึ่ ตอ้ งอยใู่ นอาการสำรวม เชน่ ทำวตั ร สวดมนต์ รบั กจิ นมิ นต์ พบปะญาติโยม บางเวลาพระภิกษุอาจประกอบกิจอ่ืนที่ต้องออกแรง เช่น กวาดลานวดั ตกั นำ้ ทำงานโยธา เพอ่ื ความคลอ่ งตวั จงึ ไมต่ อ้ งครองจวี ร เพยี งแต่ นุ่งสบงและสวมอังสะเท่านั้น จึงเป็นส่ิงแสดงให้เข้าใจกันว่าพระภิกษุขณะท่ี ครองจวี รอยนู่ นั้ ทา่ นกำลงั อยใู่ นฐานะทต่ี อ้ งสำรวมใหส้ มกบั สมณเพศ สว่ นการ รำนั้นผิดศีลบัญญัติดังคำสอนพระภิกษุใหม่ที่บวชยังไม่ถึง ๕ พรรษาว่า การ ไม่ส่งเสียงเอิกเกริก ดุจการสนุกสนานร่ืนเริงหรือคึกคะนองของคฤหัสถ์ก็ดี การไม่พูดตลกโปกฮา ดุจอาการของนักแสดงจำอวดก็ดี การไม่พูดจาเอะอะ ดุจอาการของนักเลงก็ดี เรียกว่า อัปปภัสสตา และการรำขณะเป็นพระภิกษุ ยอ่ มไม่สมควรอยา่ งย่ิง

52 ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค สำนวน รำในวร จึงเป็นการเปรียบเทียบเชิงตำหนิผู้ท่ีไม่สำรวมใจกาย ให้เหมาะสมกับสถานะของตน จึงถูกผู้อื่นตำหนิได้ ดังเช่น ลุงชมพอคนมีมา ขอโลกสาวเท่าน้ันแหละ รำในวรเลย แปลว่า ลุงชมเม่ือมีคนรวยมาสู่ขอ ลูกสาวกแ็ สดงความดีใจ ไมส่ ำรวมเกบ็ อาการใหส้ มกบั เปน็ ผใู้ หญ่ (นายธรี ะ แก้วประจันทร)์ สงขลาหอน นครหมา-สงขลายอน นครปลน้ิ นับถอยจากวันนี้ข้ึนไปสัก ๕๐ ปี ใครท่ีเป็นคนสงขลาไปอยู่นครศรี- ธรรมราช หรือใครท่ีเป็นคนนครศรีธรรมราชมาอยู่สงขลา ก็คงจะเคยได้ยิน ไดฟ้ ังคำล้อเลยี นต่อไปนีอ้ ย่บู อ่ ย ๆ นัน่ คือ สงขลาหอน นครหมา กบั อกี คำคือ สงขลายอน นครปลน้ิ คงไม่ได้ยินเฉพาะคนในสงขลากับนครศรีธรรมราชเท่าน้ัน แต่คงดังไป ท่วั ท้งั ปกั ษ์ใต้บ้านเรา ดีไมด่ อี าจข้นึ ไปถึงกรงุ เทพฯ อกี ด้วย สงขลากับนครศรีธรรมราชน้ัน ว่าไปแล้วศักด์ิศรีความเป็นเมืองก็ เกือบจะพอ ๆ กัน นครศรีธรรมราชเป็นเมืองเก่า เมืองพระ เมืองการศึกษา ขณะที่สงขลาเป็นเมืองท่า เมืองธุรกิจ เศรษฐกิจ เมืองท่ีตั้งที่ว่าการมณฑล จึงเกิดการกระแนะกระแหนกันขึน้ ใครกระแนะกระแหนใครหรอื ใครเร่ิมก่อน น้ันไม่รู้ รู้แต่ว่าเหตุปัจจัยท่ีทำให้เกิดการกระแนะกระแหนกันก็คือ ลักษณะ เฉพาะตวั ของคนแต่ละเมือง นัน่ เอง คนสงขลาชอบพูดคำว่า หอน ในความหมายปฏิเสธ เช่น คำว่า ไมห่ อนพบ แปลวา่ ไมเ่ คยพบ ไมห่ อนกนิ แปลวา่ ไมเ่ คยกนิ หรอื ในความหมาย ทเ่ี ปน็ คำถาม เชน่ คำวา่ หอนพบเหอ แปลวา่ เคยพบหรอื หอนกนิ เหอ แปลวา่ เคยกินหรือ หอน ท่ีว่านี้ไม่ใช่เสียงหอนของสุนัข แต่เป็นคำเดียวกับคำว่า ห่อน ท่ีแปลว่า เคย ขณะที่คนนครศรธี รรมราชชอบพูดคำวา่ หมา เชน่ คำวา่

ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค 53 หมาพบ แปลว่า ไม่พบ หมากิน แปลว่า ไม่กิน และ หมา น่ีก็ไม่ใช่สุนัข แต่เปน็ คำปฏเิ สธวา่ ไม่ นั่นเอง ประจวบกับทีว่ ่ากันวา่ คนสงขลาชอบ ยุ ทภ่ี าษาถนิ่ ใตใ้ ช้วา่ ยอน และ คนนครศรีธรรมราชชอบ หลอก ท่ีภาษาถ่ินใต้ใช้ว่า ปลิ้น คือ ปล้ินปล้อน ก็เปน็ สงิ่ ท่ีรบั รตู้ ่อกันมาเช่นกนั จะโดยบังเอิญหรือไม่ก็ไม่รู้ ท่ีเกิดมีเสียงคล้องจองมาเป็นตัวเชื่อมโยง ระหวา่ งคำว่า หอน กับ นคร และคำว่า ยอน กับ นคร จงึ ทำใหเ้ กดิ เปน็ คำ คล้องจองกระแนะกระแหนกนั ไปมาอย่างสนกุ ปากว่า สงขลาหอน นครหมา และ สงขลายอน นครปล้นิ วา่ กันวา่ ท่ีจรงิ คนสงขลากับคนนครศรธี รรมราช ไมค่ ่อยจะไดก้ ระแนะ กระแหนกนั เองมากนกั คนถนิ่ อน่ื นา่ จะกระแนะกระแหนคนสองจงั หวดั นแี้ หละ มากกวา่ อนั นจ้ี รงิ หรอื ไมจ่ รงิ กไ็ มร่ ู้ เคยไดย้ นิ เขาพดู กนั มาอยา่ งนน้ั กเ็ กบ็ เอามา เล่าใหฟ้ งั กนั อยา่ งน้ี (ผศ.สนทิ บุญฤทธิ์) สำนวนเก่ยี วกับเปรว คำว่า เปรว เขียนเป็น เปลว ก็มี ชาวใต้หมายถึงป่าช้า อย่างที่ชาว ภาคกลางเรยี ก คำวา่ ชา้ เปน็ คำซอ้ นกบั คำว่า ชว่ั เป็น ชั่วชา้ ปา่ ช้า จงึ เป็น สถานท่ีไม่ดไี ม่เปน็ มงคล ชาวลา้ นนาและชาวอีสานเรียก ป่าชา้ วา่ ป่าเฮ่ว คอื ปา่ เรว หรือ ปา่ เลว ส่วนชาวใต้พดู อยา่ งรวบรดั ออกเสยี งควบกล้ำเปน็ เปรว หรือ เปลว วรรณกรรมทอ้ งถนิ่ ภาคใต้ เรื่อง นายดัน พดู ถึงคำวา่ เปรว ไวว้ ่า เจ้าจงกลับไปกอ่ นหรา จงึ ค่อยมาหา ให้เขากลบั มาแต่เปรว สำนวนเก่ยี วกับเปรวหรอื ปา่ ช้ามหี ลายสำนวน ดังตวั อย่างต่อไปน้ี

54 ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค สูงเหมือนเจ้าเปรว เจ้าเปรวหรือหัวหน้าดูแลภูตผี ชาวใต้เชื่อกันว่า หวั หนา้ เปรวมนี ามวา่ ตากาหลายายกาหลี เมอื่ เคลอื่ นศพไปถงึ ปา่ ชา้ ชาวบา้ น จะขออนุญาตบอกกล่าวแก่เจ้าเปรวก่อนเสมอ เช่ือกันว่ารูปร่างเจ้าเปรวคงสูง อย่างเปรต ผ้ใู ดท่ีสูงชะลดู จึงถกู เปรียบวา่ สงู เหมอื นเจา้ เปรว ไปไมพ่ น้ เหมอื นผีห่วงเปรว ผีย่อมผกู พันกับทีอ่ ยู่ของตน เม่อื ไปแหง่ ใด กย็ อ่ มกลบั มาทเ่ี ปรวเสมอ เปรียบเหมือนคนทผ่ี ูกพนั กบั อบายมุข แม้พยายาม เลกิ รากย็ งั อดใจไมไ่ ดแ้ ละหวนกลบั มาหลงใหลอกี เชน่ บาวไขกบั สาวแดงรบกนั ทุกวนั เลกิ กนั ๒ ครั้งแล้ว แต่หลบมาโอยฺ กนั เล่า ไปไม่พ้นเหมอื นผีหว่ งเปรว แปลวา่ นายไขกบั นางแดงทะเลาะกนั ทกุ วนั เลกิ กนั ๒ ครง้ั แลว้ แตก่ ลบั อยกู่ นั อกี ไปไมพ่ น้ เหมือนผีห่วงเปรว คำวา่ บาว แปลว่า หนุ่ม รบ แปลว่า ทะเลาะ หลบ แปลว่า กลบั โอยฺ แปลว่า อยู ่ เล่า แปลว่า อกี ยืนงงเหมือนผีหลงเปรว ความจริงผีย่อมชำนาญในถ่ินของมัน แต่ผี บางตนอาจหลงลืม สับสน หรืองงงันได้เหมือนกันว่ามันอยู่ส่วนไหนของเปรว เหมอื นคนบางคนเขา้ ไปในแหลง่ อบายมขุ ทค่ี นุ้ เคย กอ็ าจหลงลมื ไมย่ อมกลบั บา้ น เช่น บาวนุ้ยเทย่ี วเล่นปอเข้าบอ่ นนั้นออกบอ่ นน้ี พอตำรวจมาจับ ทำเป็นยืนงง เหมือนผีหลงเปรว แปลว่า นายนุ้ยเที่ยวเล่นโปเข้าบ่อนน้ันออกบ่อนน้ี พอ ตำรวจมาจับ ทำเปน็ ยนื งงเหมอื นผหี ลงเปรว คำวา่ เล่นปอ แปลวา่ เลน่ โป ทำเหมอื นผขี ม่ เหงเปรว ตรงกบั สำนวนภาคกลางวา่ ตายประชดปา่ ชา้ หมายถงึ ทำหรอื พดู แดกดนั ประชดอกี ฝา่ ยหนง่ึ แตต่ วั เองตอ้ งเปน็ ฝา่ ยเสยี หายเอง เช่น สาวหีดฟัดแมช่ ามจนแตกกระจายเพอื่ ให้ผวั กลัว ทำเหมอื นผขี ่มเหงเปรว แปลว่า นางหีดฟาดจานใบใหญ่จนแตกกระจายเพ่ือให้ผัวกลัว ทำเหมือนผี ข่มเหงเปรว คำว่า ฟดั คือ ฟาด แม่ชาม แปลวา่ จานใบใหญ ่ ฉกี ขากรวมเปรว คำว่า กรวม หมายถงึ ครอ่ ม ในทีน่ ค้ี ือกา้ วขาคร่อม ปา่ ชา้ หมายถงึ อาการของคนทช่ี อบกนั ทา่ ผอู้ นื่ ไมใ่ หท้ ำอะไรไดส้ ะดวก ทงั้ ๆ ท่ี

ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค 55 ตนเองก็ทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำ เช่น สาวเอียดชอบฉีกขากรวมเปรว กันท่า คนอ่ืนแต่ตัวเองทำไหฺรไม่เป็น แปลว่า สาวเอียดชอบฉีกขากรวมเปรว กันท่า คนอืน่ แต่ตัวเองทำอะไรไม่เปน็ คำวา่ ไหฺร แปลวา่ อะไร ปัจจุบัน คำว่า เปรว เลือนหายไปแล้ว ชาวใต้นำคำบาลีสันสกฤตมา ใช้แทน จึงมีคำว่า ฌาปนสถาน หรือ สุสาน ส่วนสำนวนเก่ียวกับเปรว ดังกล่าวกม็ ีเพยี งบนั ทกึ ไว้เท่านน้ั (รศ.ประพนธ์ เรืองณรงค)์ เสอื กไม่เขา้ ท่า เสือกไม่เข้าท่า หมายถึงเข้าไปยุ่งในเร่ืองของคนอ่ืนหรือเร่ืองท่ีมิใช่ หน้าที่ของตน เป็นสำนวนท่ีเกิดขึ้นจากวิถีชีวิตของคนใต้สมัยโบราณที่มี บา้ นเรอื นอาศยั อยตู่ ามสองฝง่ั แมน่ ำ้ ลำคลอง การคมนาคมทสี่ ะดวกคอื ทางเรอื การค้าขายก็ต้องใช้เรือ มีทั้งเรือแจว เรือพาย และเรือยนต์ ฉะน้ัน ทุกบ้าน ตามชายฝ่ังแม่น้ำลำคลอง จะมีบันไดหรือสะพานไม้ทอดลงสู่แม่น้ำลำคลอง เพื่อใช้เป็นท่าเรือสำหรับจอดรับส่งผู้โดยสารหรือขายสินค้า แต่ริมฝ่ังแม่น้ำ ลำคลองมกั มจี อกแหนจำนวนมาก จงึ ทำใหเ้ รอื เขา้ จอดทที่ า่ ไดย้ าก ประกอบกบั เวลาน้ำข้ึนหรือน้ำลงมีกระแสน้ำเช่ียว การบังคับเพ่ือไสหรือเสือกหัวเรือให้ เข้าจอดตรงท่าทีต่ ้องการทำไดย้ ากยิ่งข้ึน เพราะกระแสนำ้ จะพดั พาเรอื ใหไ้ หล ไปจอดท่ีท่าอ่ืน ลักษณะเช่นน้ีเรียกว่า เสือกไม่เข้าท่า คือ ไสหรือเสือก หัวเรอื เข้าไม่ตรงท่าทตี่ ้องการจอด ชาวใตม้ กั ใชส้ ำนวนนพ้ี ดู ตำหนเิ ดก็ หรอื บคุ คลผไู้ มท่ ำงานในหนา้ ทข่ี องตน แต่ไปทำงานอันเป็นหน้าท่ีของบุคคลอ่ืน จนผิดพลาดเกิดความเสียหายข้ึน ทง้ั ๆ ทเ่ี จา้ ของงานไมไ่ ดข้ อความชว่ ยเหลอื ใหท้ ำ ตรงกบั คำในภาษาไทยกรงุ เทพฯ วา่ สาระแน ซึ่งหมายถงึ แสห่ าเร่อื ง ชอบเขา้ ไปย่งุ เกีย่ วในงานของบุคคลอ่นื

56 ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค คำว่า ไม่เข้าท่า ยังใช้เป็นสำนวนแสดงถึงความระแวงสงสัยไม่แน่ใจ ได้อีกด้วย เช่น บรรยากาศแบบน้ี ดูจะไม่เข้าท่า หมายถึงเกิดความสงสัย ไม่ไว้ใจบรรยากาศโดยรอบว่าจะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ อาจเกิดอุปสรรค อะไรกไ็ ด้ ซงึ่ ตรงกับสำนวน ผิดทา่ ฉะน้ัน สำนวนว่า เสือกไม่เข้าท่า ไม่เข้าท่า และ ผิดท่า เกิดข้ึนจาก วิถีชีวิตท้องถิ่นริมแม่น้ำลำคลองของคนใต้ที่ไม่สามารถไสหรือเสือกหัวเรือ ใหต้ รงทา่ จอดทต่ี อ้ งการได้ ปัจจุบันสำนวน เสือกไม่เข้าท่า มีความหมายเปล่ียนไปในเชิงลบ ใชเ้ ปน็ คำตำหนบิ ุคคลทเี่ ข้าไปแส่เรอื่ งของผ้อู ืน่ โดยทเ่ี จ้าของเร่ืองไม่ได้ขอร้อง (นายชะเอม แก้วคล้าย) หนา้ เหมอื นเหลก็ ขดู คำว่า เหล็กขูด เป็นคำนามภาษาถิ่นใต้ หมายถึงอุปกรณ์ขูดมะพร้าว อย่างหนงึ่ ซง่ึ ตรงกบั ภาษาไทยกรุงเทพว่า กระต่ายขดู มะพร้าว ใชข้ ดู มะพร้าว ผ่าซีกท่ียังไม่กะเทาะออกจากกะลา ตัวท่อนไม้ท่ีใช้นั่งขูดมะพร้าว มักทำเป็น รปู กระตา่ ย และมแี ผน่ เหลก็ แบนทใี่ ชต้ ะไบถใู หเ้ ปน็ ซฟี่ นั ยาวเหมอื นฟนั กระตา่ ย เสียบตดิ ทหี่ วั ของตวั ท่อนไม้ นอกจากนี้ ชาวใต้ยังได้ทำตัวท่อนไม้น่ังขูดมะพร้าวเป็นรูปต่าง ๆ เช่น แมว สุนัข ม้า เสือ สิงห์ เต่า รูปคนหมอบ จึงเรียกช่ือตามลักษณะเหล็กที่ ใช้งาน คือเหล็กสำหรับขูดมะพร้าว ซึ่งเสียบติดในลักษณะหน้างอ คว่ำลง อยทู่ ่ีหัวของตวั ท่อนไมว้ า่ เหลก็ ขดู ดงั คำกลอนท่วี า่ ต้นไมน้ อ้ ยคอ่ ยแต่งดัดแปลงใหม ่ นำเหลก็ ใส่ต่อทา้ ยปลายเหนิ หาว ปลายหางช้ีขาตัง้ ตรงหลงั ยาว ขูดมะพร้าวทุกทยี่ ามมงี าน

ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค 57 สมยั ก่อนเมื่อมงี านต่าง ๆ เช่น งานบวช งานสมรส จะตอ้ งใชเ้ หลก็ ขดู หลายตวั เพ่อื นบ้านและญาติชายหญงิ ท่ีมาชว่ ยงาน โดยเฉพาะหญงิ สาว จะทำ หนา้ ทขี่ ดู มะพรา้ วอยา่ งชำนาญ หนมุ่ ทปี่ ระสงคจ์ ะใกลช้ ดิ กบั สาว กเ็ ขา้ ไปชว่ ยขดู มะพร้าว เพ่ือถือโอกาสทำความรู้จักได้อีกช่องทางหนึ่ง จึงเรียกว่า ช่องทาง พบรกั กันบนหลังเหล็กขูด ดงั เพลงลกู ทุ่งเพลงหนง่ึ ทวี่ ่า เหล็กขดู มกี ันทกุ บ้าน เวลามีงานเสยี งดงั ครดู ๆ เหลก็ ขูดมนั พูดไม่ได้ ถ้ามนั พูดไดม้ นั คงจะพูด วา่ ไอเ้ ฒา่ น้กี ับอเี ฒ่านัน้ มนั นง่ั จบี กนั บนหลังเหล็กขูด จากลกั ษณะเหลก็ ขดู ทม่ี ฟี นั ยน่ื หนา้ งอควำ่ ลงนเี้ องจงึ เปน็ ทม่ี าของสำนวน ภาษาถน่ิ ใตใ้ นเชงิ ตำหนเิ ปรยี บเทยี บบคุ คลทมี่ อี ารมณเ์ สยี แสดงอาการไมพ่ อใจ หรือโกรธจนทำหน้าบูดบึ้ง หน้างอว่า หน้าเหมือนเหล็กขูด ซ่ึงมีความหมาย เชน่ เดยี วกนั กบั สำนวนวา่ ทำหนา้ เหมอื นหวกั คอื ทำหนา้ งอหนา้ ควำ่ เหมอื นจวกั คำว่า หวัก ตรงกับคำว่า จวัก ในภาษาไทยกรุงเทพ สำนวน หน้าเหมือน เหลก็ ขดู ตรงกับสำนวนไทยภาคกลางวา่ หนา้ งอเหมือนม้าหมากรกุ ปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีอุปกรณ์ไฟฟ้า มาทำหนา้ ทขี่ ดู มะพรา้ วแทนเหลก็ ขดู เหลก็ ขดู ถกู ไลต่ อ้ นใหไ้ ปอยใู่ นพพิ ธิ ภณั ฑ์ จึงไม่มีชอ่ งทางท่ีจะพบรกั กนั บนหลังเหลก็ ขูดอกี แลว้ เสียดายจัง (นายชะเอม แกว้ คลา้ ย) หรอยถึงหวัน-หรอยปากยากรขู ี้ ในภาษาถนิ่ ใต้ คำวา่ หรอย มใี ชก้ นั อยา่ งกวา้ งขวาง เปน็ คำเดยี วกบั คำวา่ อร่อย ในภาษาไทยกรุงเทพ น่ันเอง คำนี้เม่ือใช้ประกอบกับคำอ่ืน ความก็ จะขยายตามคำท่ีมาประกอบน้ัน ดังเช่น หรอยจังหู แปลว่า อร่อยมาก, สนกุ มาก ปจั จบุ นั คำนเี้ ปน็ ทรี่ กู้ นั ทว่ั ไปในทกุ ภาค หรอยใจ แปลวา่ อรอ่ ยถงึ ใจ,

58 ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค สะใจ บางคร้ังก็ใช้เป็นคำเย้ยหยัน มีความหมายคล้ายกับคำว่า สมน้ำหน้า หรอยแรง แปลว่า แปลกจริง พิลึกจริง มักใช้ในความหมายเชิงถากถาง หรอยอี้ตาย หรอยตาย แปลว่า อร่อยเกือบตาย อร่อยมากจนเกือบตาย เปน็ สำนวนที่แสดงถึงการยืนยันหรือไม่ก็ประชด ในบรรดาสำนวนดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกสำนวนหนึ่งที่นิยมใช้กันมากใน หมูค่ นท่พี ูดภาษาถิ่นใต้ นน่ั คอื หรอยถงึ หวัน แปลวา่ อร่อยมากหรอื สนกุ มาก คือ อร่อยหรือสนุกไปจนถึงสวรรค์ อร่อยหรือสนุกจนเห็นสวรรค์ทำนองน้ัน นบั เปน็ สำนวนทเ่ี พิม่ สีสันจินตนาการไดเ้ ป็นอย่างดที ีเดยี ว อันที่จริงความอร่อยของคนเราน้ันว่าไปแล้วก็ต้องมีขอบเขตเหมือนกัน เพราะต้ังแต่ หรอยจังหู กระท่ัง หรอยถึงหวัน หากเพลิดเพลินตามใจปาก มากเกนิ ไปกจ็ ะเกิดโทษกบั ผทู้ ี่ หรอย อย่างไม่บนั ยะบันยงั น้นั ได้ จงึ ทำใหเ้ กิด สำนวนท่ีเน่ืองมาจากคำว่า หรอย นี้ อีกสำนวนหนึ่ง คือ หรอยปากยากรูข้ี น่ันคือ ความอร่อยนั้นอยู่กับปาก แต่ความอร่อยที่ปากหากมากเกินขีดจำกัด เกนิ ความพอดี ปญั หาหรอื ความยงุ่ ยากกจ็ ะเกดิ ขน้ึ กบั ระบบอน่ื ตง้ั แตก่ ระเพาะ อาหารกระทง่ั สดุ ทา้ ยความยากความเจบ็ ทรมานกจ็ ะไปเกดิ กบั รขู ี้ คอื ทวารหนกั อย่างหลกี เล่ียงไม่ได ้ สำนวนนีย้ ังมที ใี่ ชต้ า่ งกันออกไปตามบคุ คล ท้องถิ่น และ สถานการณอ์ ีก คือ หรอยแต่ปาก ยากถงึ วาน และ ตามใจปาก ยากถึงวาน แตจ่ ะสำนวนใดกม็ คี วามหมายและจดุ มงุ่ หมายเดยี วกนั นบั เปน็ สำนวนทแ่ี สดง อัตลักษณ์ของความเป็นคนปักษ์ใต้ท่ีโดดเด่นด้วยภาษาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ และยังคงความเป็นจรงิ ตลอดมาตราบเทา่ จนทกุ วันนี้ (ผศ.สนิท บญุ ฤทธิ)์

ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค 59 หรอยบอกเขากนั -กินจนส้นิ ยัง ชาวใต้บ้านเราเม่ือกินอะไรอร่อย เราก็มักจะได้ยินได้ฟังคำพูดในรูป ของสำนวนที่แสดงความรู้สึกออกมาจากปากคำของคนกินนั้นว่า หรอยบอก เขากนั หรอย คือ อร่อย กนั แปลว่า ดว้ ย หรอยบอกเขากนั แปลวา่ อรอ่ ย (จนตอ้ ง) บอกเขา (ใหร้ แู้ ลว้ มากนิ ) ดว้ ย ดังเช่น วันน้ีแกงหอยขม หรอยบอกเขากัน แปลว่า วันนี้แกงหอยขม อร่อย บอกเขาดว้ ย หรอยบอกเขากนั นำ้ ชบุ ปา้ แดงเรานะ แปลวา่ อรอ่ ยบอกเขาดว้ ย น้ำพรกิ ของป้าแดงเรานะ แสดงว่าชาวใต้เมอื่ กนิ อะไรอรอ่ ยแล้ว มักจะนกึ ถงึ คนอื่น นึกถึงพ่อแม่พ่ีน้อง นึกถึงเพ่ือน เป็นการแสดงถึงความเป็นคนมีน้ำใจ ไมตรีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่อุบหรือหวงไว้กินคนเดียว ซึ่งต่างจากสำนวนท่ีเคย ได้ยนิ มาทีว่ า่ อรอ่ ยอยา่ บอกใครเชยี ว ท่ีหมายถงึ อร่อยมาก วฒั นธรรมการตอ้ นรบั แขกผมู้ าเรอื นชานแบบประเพณไี ทยแทแ้ ตโ่ บราณ ท่ีใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับน้ันมีอยู่ทุกภาคของประเทศ ท้ังเล้ียงดูและ ปูเส่ือ คือ ท้ังให้กินและให้นอนแบบตามมีและตามเกิด ให้เพลินเพลิดกายา กว่าจะกลับ น่ันคือการต้อนรับด้วยอาหารการกิน โดยทั่วไปจึงมักเรียกว่า เล้ยี ง หรือ เลีย้ งดู และไมเ่ ฉพาะแกผ่ ู้ที่มาเรอื นชานเทา่ นั้น แม้พบกนั ท่อี ่ืนก็มี การเลยี้ งหรอื เล้ียงดแู บบนเ้ี หมือนกัน วฒั นธรรมการเลยี้ งดขู องชาวใตเ้ มอื่ กอ่ นเขาเปดิ ใจเลย้ี งดกู นั เจา้ ของบา้ น คนใดฐานะดี รำ่ รวย แขกกนิ เทา่ ไรกไ็ มร่ จู้ กั หมด สว่ นเจา้ บา้ นทฐ่ี านะพอมพี อกนิ หรือยากจนแร้นแค้น แต่มากด้วยน้ำใจ อยากให้ผู้มาเยือนได้อ่ิมหนำสำราญ

60 ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค ก็สามารถท่ีจะเลี้ยงดูแขกจนถึงที่สุดได้เหมือนกัน คือ เลี้ยงจนหมดเท่าท่ีมีอยู่ โดยการพดู กับแขกดว้ ยสำนวนท่วี ่า กินจนส้ินยงั คือ กนิ ใหห้ มดเทา่ ทม่ี ี หรือ มีเท่าไรกินให้หมด ทำนองนั้น นี่คือแก่นลึกความโอบเอื้ออาทรทางวัฒนธรรมการคบเพื่อนของคนใต้ ซ่งึ แฝงฝังอยแู่ ม้แตใ่ นวฒั นธรรมของการกนิ (ผศ.สนทิ บุญฤทธ์ิ)

ผญา ภาคอีสาน

62 ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค คณะกรรมการจัดทำเนอ้ื หาวชิ าการดา้ นภาษาไทยถิน่ ภาคอสี าน ๑. รศ. ดร.ชลธชิ า บำรงุ รักษ์ ประธานกรรมการ ๒. นายเกษียร มะปะโม กรรมการ ๓. ผศ. ดร.โกวิทย์ พิมพวง กรรมการ ๔. นายนริ ันดร์ บญุ จติ กรรมการ ๕. นางพจนีย์ เพ็งเปลย่ี น กรรมการ ๖. ผเู้ ชย่ี วชาญเฉพาะสาขาวชิ า กรรมการ (ศ. ดร.ประเสริฐ ณ นคร) กรรมการ ๗. เลขาธกิ ารราชบัณฑิตยสถาน กรรมการ (นางสาวกนกวลี ชูชยั ยะ) กรรมการ ๘. รองเลขาธกิ ารราชบัณฑิตยสถาน กรรมการ (นายบณั ฑติ ต้งั ประเสรฐิ ) ๙. ผู้อำนวยการกองศลิ ปกรรม กรรมการและเลขานุการ (นางสาวศริ ิพร อินทรเชยี รศริ )ิ กรรมการและผ้ชู ่วยเลขานกุ าร ๑๐. นางสาวชลธชิ า สดุ มขุ กรรมการและผ้ชู ว่ ยเลขานกุ าร ๑๑. นางสาวศยามล แสงมณี ๑๒. นายปยิ ะพงษ์ โพธ์เิ ยน็ ๑๓. นางสาววรรณทนา ปิตเิ ขตร

ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค 63 ผญา ผญา มาจาก คำว่า ปรัชญา ในภาษาสันสกฤต หรือ มาจากคำว่า ปญั ญา ในภาษาบาลี แลว้ กลายมาเปน็ ประญา อีสานออกเสยี ง [ปร] เปน็ [ผ] เช่น คำวา่ ปราบ อสี านออกเสยี งว่า [ผาบ] คำว่า เปรต อีสานออกเสยี ง เปน็ [เผด] คำว่า ปรากฏ อีสานออกเสยี งเป็น [ผากด] ดังน้ันคำว่า ประญา จึงกลายเป็น ผญา ในภาษาอีสาน ผญา เป็นถ้อยคำสำนวนที่ปราชญ์อีสานร้อยเรียงในรูปของคติธรรม คำสอน ภาษิตโบราณ คำเกี้ยวพาราสี คำอวยพร คำเปรียบเทียบจากนิทาน พื้นบ้าน นิทานชาดก ธรรมชาติ ส่ิงแวดล้อม และประสบการณ์ของปราชญ์ ชาวบ้าน ซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาของผู้พูด เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาว อีสานท่ีบอกเล่าสืบทอดมาแต่โบราณ ผญา จัดเป็น วรรณกรรมมุขปาฐะ ปรากฏอยู่ในนิทานพื้นบ้าน นิทานก้อม เพลงพื้นบ้าน หมอลำ เป็นต้น ภายหลังไดม้ กี ารจดบนั ทกึ ไว้ เรียกวา่ วรรณกรรมลายลักษณ์ ในอดีต ผญามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของชาวอีสานเป็นอย่างมาก ชาว อีสานใช้ผญาตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ ผู้ใหญ่ใช้ผญาภาษิตเพ่ือส่ังสอน ผู้น้อยให้ประพฤติตนเป็นคนดีมีศีลธรรม หนุ่มสาวใช้ผญาเพื่อเกี้ยวพาราสีกัน และเป็นคติเตือนใจในการอยู่ร่วมกันในสังคม ผญาของชาวอีสานมีอยู่เป็น จำนวนมาก เช่น ผญาคำสอน ผญาภาษิต ผญาเกี้ยวหรือผญาเครือ ผญาอวยพร ผญาตงโตยหรือยาบสร้อย ผญาเปรียบเทียบ ผญาเหล่าน้ีมัก จะได้ยนิ จากปากของผสู้ ูงอายมุ าแตอ่ ดีต รูปแบบและการสัมผัสตามฉันทลักษณ์ของผญาท่ีใช้พูดจากันโดยทั่วไป มี ๒ ลักษณะคือ ผญาท่ีอยู่ในรูปของร้อยกรอง มีเสียงสระสัมผัสในแต่ละ วรรคต่อเนื่องกัน คลา้ ยกบั สมั ผสั ของร่ายและกลอน ทงั้ นจี้ ำนวนคำของแตล่ ะ

64 ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค วรรคและจำนวนวรรคในแต่ละบทของผญาไม่กำหนดตายตัว เช่น คร้ันไป ใหล้ า ครั้นมาให้คอบ [คนั ไปไห่ลา คนั มาไห่คอบ] หรอื ผญาวา่ นึ่งขา้ วใหม้ ีท่า ปิ้งปลาให้มีวาด [น่ึงเข่าไห่มีท่า ปิ้งปาไห่มีวาด] และอีกลักษณะคือผญาที่ อยู่ในรูปของร้อยแก้ว ไม่มีเสียงสระสัมผัสในแต่ละวรรค แต่อาศัยจังหวะ ในการออกเสียง และใช้ระดับเสียงสูงต่ำ หนักเบา เป็นหลักสลับกันไป เช่น ใผสิมาสร้าง แปลงรวงรังให้หนูอยู่ คร้ันปากบ่กัด ตีนบ่ถีบ สังสิได้อยู่รัง [ไผสมิ าสา่ ง แปงฮ่วงฮงั ไหห่ นอู ยู่ คนั ปากบก่ ดั ตีนบถ่ บี สังสิไดอ้ ยู่ฮัง] หรือผญา ที่ว่า ข้ึนปลายตาลแล้ว ให้เหลียวลงต่ำ ขึ้นดอยสูงยอดด้อแด้ ให้เหลียว พน้ื แผน่ ดิน [ขึ่นปายตานแลว่ ไหเ่ หลียวลงตำ่ ข่ึนดอยสูงญอดดอ้ แด้ ไห่เหลียว พืน่ แผ่นดนิ ] คนอีสานแต่โบราณ เมอ่ื พบกนั ในโอกาสสำคญั เช่น ในเทศกาลงานบุญ ต่าง ๆ มักทักทายโต้ตอบกันด้วยการจ่ายผญา เพื่อแสดงไหวพริบด้านภาษา และให้ความสนุกสนานร่ืนเริง ซึ่ง การจ่ายผญา คือการพูดโต้ตอบกันด้วย สำนวนโวหาร ผทู้ มี่ คี วามสามารถในการจา่ ยผญาไดเ้ กง่ ตอ้ งเปน็ ผรู้ มู้ ากฟงั มาก มีปฏภิ าณไหวพริบในการจดจำและโตต้ อบกบั ผอู้ ืน่ ได้อย่างทันท่วงท ี ในโอกาสนี้ คณะกรรมการจัดทำเนื้อหาวิชาการด้านภาษาไทยถิ่น ภาคอีสาน ได้รวบรวมและคัดเลือกผญาที่น่าสนใจและมีคุณค่าทางภูมิปัญญา ทอ้ งถนิ่ เพอื่ ใหเ้ ยาวชนและผทู้ ส่ี นใจทว่ั ไปไดศ้ กึ ษา คน้ ควา้ และอนรุ กั ษส์ บื ทอด ใหแ้ พร่หลายตอ่ ไป

ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค 65 ผญาเกยี้ ว : ชายหน่มุ อยากเกีย้ วสาว มาเห็นนำ้ วังใส ใจอยากอาบ ย่านแตม่ เี งือกเฝ้าในน้ำ ส่องบเ่ ห็น [มาเห็นน่ำวงั ไส ไจอยากอาบ ยา่ นแตม่ ีเงือกเฝา่ ไนนำ่ สอ่ งบ่อเห็น] ผญาที่ว่า มาเห็นนำ้ วงั ใส ใจอยากอาบ [มาเห็นน่ำวงั ไส ไจอยากอาบ] แปลว่า เมื่อมาเห็นน้ำใส ๆ ในห้วยหนองคลองบึงแล้วอยากจะลงเล่นน้ำให้ เย็นฉ่ำชน่ื ใจ วงั แปลวา่ ห้วงนำ้ ลึก, เว้งิ นำ้ ผญาท่ีว่า ย่านแต่มีเงือกเฝ้าในน้ำ ส่องบ่เห็น [ย่านแต่มีเงือกเฝ่า ไนน่ำ ส่องบ่อเห็น] แปลว่า กลัวแต่ในห้วงน้ำลึกน้ันจะมีเงือกน้ำเฝ้ารักษาอยู่ ซงึ่ เรามองไม่เหน็ ยา่ น แปลวา่ กลัว เงอื ก แปลวา่ งูพิษ, ปลาไหลไฟฟ้า ดงั น้นั คำผญาท่วี ่า มาเหน็ น้ำวังใส ใจอยากอาบ ย่านแตม่ ีเงอื กเฝ้าในน้ำ สอ่ งบ่เห็น [มาเหน็ น่ำวงั ไส ไจอยากอาบ ยา่ นแต่มีเงอื กเฝา่ ไนน่ำ ส่องบ่อเห็น] หมายความวา่ ชายหนมุ่ เจอสาวงามแลว้ นกึ รกั อยากเกยี้ วมาเปน็ คเู่ คยี ง แตไ่ มก่ ล้าเพราะเกรงวา่ สาวเจ้าจะมีเจา้ ของแลว้ เปรียบสาวเจ้าเหมือนน้ำใส ๆ และน้ำใส ๆ ในวังน้ำนั้นอาจจะมีงูพิษคอยเฝ้ารักษาอยู่ ซึ่งงูพิษท่ีว่าน้ีเปรียบ เหมือนคนรกั ของสาวเจา้ น่ันเอง (นายเกษยี ร มะปะโม)

66 ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค ผญาเก้ยี ว : บอกความในใจต่อคนรกั ฝนตกยังรเู้ อ้อื น นอนกลางคืนยงั รู้ตื่น บาดอ้ายคิดฮอดนอ้ ง สงั มาเอ้อื นอม่ิ บ่เป็น [ฝนตกยังฮเู่ อื้อน นอนกางคืนยงั ฮู่ต่นื บาดอา้ ยคึดฮอดน่อง สังมาเอือ้ นอิม่ บ่อเปน็ ] ผญาที่ว่า ฝนตกยังรู้เอ้ือน นอนกลางคืนยังรู้ต่ืน [ฝนตกยังฮู่เอ้ือน นอนกางคืนยังฮู่ต่ืน] แปลว่า ฝนตกยังรู้จักหยุด นอนกลางคืนยังรู้จักต่ืน มีความหมายว่า ธรรมชาติของฝนแม้จะตกนานเท่าใดก็ตาม ยังมีเวลาหยุด ส่วนคนทน่ี อนหลับในเวลากลางคนื ยงั รสู้ ึกตัวต่นื ขึน้ มาได้ เอื้อน แปลวา่ หยดุ , ขาดหาย ผญาทว่ี า่ บาดอา้ ยคดิ ฮอดนอ้ ง สงั มาเออ้ื นอม่ิ บเ่ ปน็ [บาดอา้ ยคดึ ฮอด น่อง สังมาเอ้ือนอิ่มบ่อเป็น] แปลว่า เมื่อพี่คิดถึงน้อง ทำไมจึงไม่รู้สึกอ่ิม หมายความว่า ทำไมพ่ีจึงคิดถงึ นอ้ งอยู่ตลอดเวลาเหมือนกินข้าวไม่รจู้ กั อม่ิ บาด หรอื บดั แปลวา่ ครนั้ , เมอ่ื , แต่, แตว่ ่า คึดฮอด แปลวา่ คิดถึง สัง แปลวา่ อะไร, ทำไม ดังนั้น คำผญาท่ีว่า ฝนตกยังรู้เอ้ือน นอนกลางคืนยังรู้ตื่น บาดอ้าย คิดฮอดน้อง สังมาเอื้อนอ่ิมบ่เป็น [ฝนตกยังฮู่เอ้ือน นอนกางคืนยังฮู่ต่ืน บาดอ้ายคึดฮอดน่อง สังมาเอ้ือนอ่ิมบ่อเป็น] เป็นผญาเก้ียวพาราสีที่ชายหนุ่ม หลงรักปักใจในสาวสวยจนสุดหัวใจ จะน่ังจะนอนหรือทำอะไรก็ไม่เป็นสุข เพราะคอยพะวงคิดถึงสาวอยู่ตลอดเวลา จนต้องเอื้อนเอ่ยความในใจต่อหญิง ผูเ้ ป็นทีร่ ัก (นายเกษียร มะปะโม)

ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค 67 ผญาเกย้ี ว : ไมส่ มหวงั ในรกั มาหลตู นโตเด้ รักเพน่ิ ข้างเดยี ว แสนสิเทยี วมาจา เพิ่นบเ่ หลยี วพอนอ้ ย [มาหลูตนโตเด้ ฮักเพิ่นข่างเดียว แสนสเิ ทยี วมาจา เพิน่ บอ่ เหลยี วพอน่อย] ผญาที่ว่า มาหลูตนโตเด้ [มาหลูตนโตเด้] แปลว่า รู้สึกสงสารตัวเอง จงั เลย หลตู น แปลวา่ รสู้ กึ สงสาร บางถน่ิ ใชว้ า่ สงั ขาราชาติ [สงั ขาราซาด] โต แปลวา่ ตัว, ในท่ีนหี้ มายถึง ตัวเรา เด้ เป็นคำลงท้าย หมายถึง น่นั , แนะ่ , แท้ ผญาที่วา่ รักเพน่ิ ข้างเดียว [ฮกั เพิ่นข่างเดยี ว] แปลว่า รกั เขาขา้ งเดยี ว เพิ่น เป็นสรรพนามได้ท้ังบุรุษที่ ๑, ๒ หรือ ๓ ในท่ีนี้หมายถึง ผูห้ ญิงที่เราหลงรัก ผญาทว่ี า่ แสนสเิ ทยี วมาจา แปลวา่ แมจ้ ะเทยี วมาหาหลายครงั้ หลายครา เพื่ออ้อนวอนขอความรกั แสน แปลวา่ มาก จา แปลว่า พดู , คยุ ผญาที่วา่ เพน่ิ บ่เหลย่ี วพอน้อย [เพิ่นบ่อเหลยี วพอน่อย] แปลวา่ หญิง ทตี่ นหลงรักก็ไมส่ นใจใยดีหรือหนั มามองแม้แต่น้อย ดงั นั้น คำผญาท่วี า่ มาหลตู นโตเด้ รักเพ่ินขา้ งเดยี ว แสนสเิ ทียวมาจา เพน่ิ บเ่ หลียวพอนอ้ ย [มาหลูตนโตเด้ ฮักเพิ่นขา่ งเดยี ว แสนสิเทยี วมาจา เพิน่ บอ่ เหลียวพอนอ่ ย]

68 ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค จงึ มคี วามหมายว่า ชายหนุ่มไปหลงรกั หญิงสาวเพียงข้างเดยี ว แมจ้ ะพยายาม ไปพดู จาเกี้ยวพาราสีอยูเ่ นอื ง ๆ เพือ่ ให้ฝ่ายสาวใจอ่อนรักตอบตนบ้าง แต่สาว ก็ยงั ไมส่ นใจใยดี จึงรู้สกึ สงสารตนเองมากเหลอื เกิน (นายเกษียร มะปะโม) ผญาคำสอน : การเลอื กคบคน งว้ นกินเบอื่ อย่าไวใ้ นเรือน คนใจเบือนอยา่ เอาเปน็ พน่ี ้อง [งว่ นกนิ เบือ่ อยา่ ไว่ไนเฮือน คนไจเบอื น อยา่ เอาเปน็ พี่นอ่ ง] ผญาที่ว่า ง้วนกินเบื่ออย่าไว้ในเรือน [ง่วนกินเบ่ืออย่าไว่ไนเฮือน] แปลวา่ ยาพิษกนิ แล้วตาย อยา่ เอาไว้ในบ้าน ง้วน [ง่วน] แปลว่า ยาพิษ, ของมีพิษหรอื ของเบ่ือเมา ผญาทว่ี า่ คนใจเบอื นอยา่ เอาเปน็ พนี่ อ้ ง [คนไจเบอื นอยา่ เอาเปน็ พน่ี อ่ ง] แปลว่า คนมจี ติ ใจไมซ่ ่อื ตรง อยา่ เอาเป็นพน่ี อ้ ง เบือน แปลว่า คด, ไม่ตรง คนใจเบือน หมายถึง คนท่ีมีจิตใจ ไม่ซอื่ ตรง ดงั นน้ั คำผญาที่ว่า งว้ นกินเบือ่ อย่าไวใ้ นเรอื น คนใจเบือนอยา่ เอาเป็น พี่นอ้ ง [งว่ นกินเบือ่ อยา่ ไว่ไนเฮือน คนไจเบอื น อย่าเอาเปน็ พี่นอ่ ง] จงึ หมายถงึ ของมพี ษิ ทก่ี นิ แลว้ เปน็ พษิ ตอ่ รา่ งกายหรอื ทำใหต้ ายได้ หา้ มเกบ็ ไวใ้ นเรอื นอยา่ ง เด็ดขาด อาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยเฉพาะคนแก่และเด็ก และคนที่มี จติ ใจไมซ่ อื่ ตรงกไ็ มส่ มควรรบั เขา้ มาอยภู่ ายในบา้ น ไมน่ บั เปน็ พเี่ ปน็ นอ้ ง เพราะ เปน็ คนท่ีมักจะเอาเปรยี บผอู้ ื่นและไม่น่าไวว้ างใจ (นางพจนีย์ เพ็งเปลี่ยน)

ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค 69 ผญาคำสอน : การใหค้ วามสำคญั กบั งานทุกอย่างท่ีทำอยู่ เหลยี วเหน็ ชน้ิ วางปลาปละไปล่ บาดวา่ ไฟไหมช้ น้ิ สมิ าโออ้ า่ วปลา [เหลยี วเห็นซิ่น วางปาปะไป่ บาดว่าไฟไหมซ่ น่ิ ซมิ าโออ้ า่ วปา] ผญาทวี่ า่ เหลยี วเหน็ ชน้ิ วางปลาปละไปล่ [เหลยี วเหน็ ซน่ิ วางปาปะไป]่ แปลว่า เมอ่ื มองเห็นชน้ิ เนอ้ื กเ็ ลยทิ้งปลา ช้นิ [ซิน่ ] แปลวา่ เน้อื ววั ปละไปล่ [ปะไป]่ แปลว่า ละทงิ้ ไป ผญาท่วี ่า บาดว่าไฟไหม้ชนิ้ สมิ าโอ้อา่ วปลา [บาดวา่ ไฟไหมซ่ ิน่ ซมิ า โอ้อ่าวปา] แปลว่า คร้ันเม่ือไฟไหม้ชิ้นเน้ือจนเกรียมไปหมด จึงมาคิดถึงปลา ในภายหลัง บาด แปลวา่ เมื่อ, ครั้นเมื่อ โอ้อ่าว มักจะพูดรวมเป็นว่า โอ้อ่าวหา แปลว่า โอดครวญ, หวนคำนงึ , คดิ ถงึ ดงั นน้ั คำผญาทวี่ า่ เหลยี วเหน็ ชนิ้ วางปลาปละไปล่ บาดวา่ ไฟไหมช้ น้ิ สมิ าโออ้ า่ วปลา [เหลยี วเหน็ ซน่ิ วางปาปะไป่ บาดวา่ ไฟไหมซ่ น่ิ ซมิ าโออ้ า่ วปา] หมายความว่า การดำเนินการใด ๆ ต้องให้ความสำคัญในส่ิงนั้น ๆ อย่าง เท่าเทียมกัน อย่าให้ความสำคัญเฉพาะส่ิงใดสิ่งหนึ่งเป็นพิเศษ แม้ว่าส่ิงน้ัน จะสำคัญกว่าหรือให้ผลประโยชน์มากกว่า แล้วละท้ิงอีกสิ่งหน่ึงจนเกิดความ เสียหาย ผญานี้เปรียบความสำคัญระหว่างเน้ือกับปลา คนอีสานจะให้ความ สำคัญกับเนื้อมากกว่า เพราะเน้ือหายาก มีราคาแพง ส่วนปลาเป็นอาหารท่ี หาไดง้ า่ ย ราคาถกู กวา่ ถา้ มงุ่ ใหค้ วามสำคญั กบั ชน้ิ เนอ้ื จนละทงิ้ ปลา เมอ่ื ไฟไหม้ ช้ินเนื้อหมดแล้ว จึงหวนคิดถึงปลา ปลานั้นก็ไม่มีแล้ว ในที่สุดก็ไม่ได้กิน อะไรเลย (นายนริ ันดร์ บุญจติ )

70 ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค ผญาคำสอน : จะทำอะไรตอ้ งเตรยี มการใหพ้ รอ้ ม คร้ันมไี หมบ่มเี ขม็ รอ้ ย สิเอาหยงั หยบิ แส่ว มเี ขม็ ครน้ั บร่ อ้ ย สพิ นั แสว่ ฮอ่ มใด [คันมีไหมบอ่ มเี ข็มฮอ้ ย สเิ อาหยงั หญบิ แสว่ มีเข็ม คันบอ่ ฮ้อย สพิ นั แสว่ ฮอ่ มได] ผญาที่ว่า ครั้นมีไหมบ่มีเข็มร้อย สิเอาหยังหยิบแส่ว [คันมีไหมบ่อมี เข็มฮ้อย สิเอาหยังหญิบแส่ว] แปลว่า เม่ือมีเส้นไหมเส้นด้ายแล้ว ถ้าไม่มีเข็ม มาเย็บมาสอย จะเอาอะไรมาใช้แทนเขม็ ได้ หยบิ แปลว่า เย็บ แส่ว แปลว่า ปะ, ชนุ , เยบ็ ผญาทว่ี า่ มเี ขม็ ครน้ั บร่ อ้ ย สพิ นั แสว่ ฮอ่ มใด [มเี ขม็ คนั บอ่ ฮอ้ ย สพิ นั แสว่ ฮอ่ มได] แปลว่า มีเข็มแล้วไมม่ ีดา้ ยร้อยเขม็ จะเยบ็ ปะชนุ ไดอ้ ย่างไร ฮ่อมใด แปลวา่ อย่างไร ครนั้ มไี หมบ่มีเขม็ รอ้ ย สเิ อาหยังหยบิ แส่ว มเี ขม็ ครน้ั บร่ อ้ ย สิพันแส่วฮ่อมใด [คันมไี หมบ่อมเี ขม็ ฮ้อย สเิ อาหยงั หญิบแสว่ มีเขม็ คันบ่อฮ้อย สิพนั แส่วฮอ่ มได] เป็นคำสอนว่า จะทำการอันใดนั้นจะต้องเตรียมการวางแผนให้ดี มี เครื่องไม้เคร่ืองมือครบครัน จะทำให้การทำงานดำเนินไปด้วยดีจนบรรลุ ความสำเรจ็ เหมอื นกบั การเยบ็ ผา้ กจ็ ะตอ้ งมที ง้ั ดา้ ยและเขม็ พรอ้ ม จะขาดสง่ิ หนง่ึ ไม่ได้ ถึงจะเย็บผ้าได้ เปรียบเหมือนกับการทำงานท่ีต้องพึ่งพาอาศัยซ่ึงกัน และกนั นั่นเอง (นายนิรันดร์ บุญจิต)

ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค 71 ผญาคำสอน : ตนเปน็ ท่พี ง่ึ ของตน อย่าสหุ วงั สขุ ยอ่ น บญุ เขามาพง่ึ สุขกส็ ุขเพ่นิ พู้น บ่มาฮอดหม่เู รา ดอกนา [อยา่ สหุ วงั สุกย่อน บนุ เขามาเพง่ิ สกุ กะสุกเพ่ินพ่นุ บ่อมาฮอดหมู่เฮา ดอกนา] ผญาท่ีวา่ อย่าสุหวงั สขุ ย่อน บุญเขามาพงึ่ [อยา่ สุหวงั สกุ ย่อน บนุ เขา มาเพง่ิ ] แปลวา่ อยา่ เพยี งแตห่ วงั ความสขุ โดยอาศัยบุญของคนอนื่ สุ แปลวา่ ไม่ ย่อน แปลวา่ เพราะ, เหตุ, เนอ่ื งจาก เพิ่ง แปลว่า พ่ึง, พง่ึ พาอาศยั ผญาท่ีว่า สขุ ก็สุขเพ่ินพ้นู บม่ าฮอดหมู่เรา ดอกนา [สุกกะสกุ เพน่ิ พุ่น บอ่ มาฮอดหมูเ่ ฮา ดอกนา] แปลวา่ ความสขุ กเ็ ปน็ ความสขุ ของคนอ่นื ไม่มาถงึ พวกเราหรอกนะ พุ่น แปลวา่ นูน้ , โน้น ฮอด แปลว่า ถึง ดอกนา เปน็ คำสร้อยทา้ ยประโยคมคี วามหมายว่า ดอกนะ ดงั นน้ั คำผญาทวี่ ่า อยา่ สหุ วังสุขยอ่ น บุญเขามาพง่ึ สขุ กส็ ุขเพ่นิ พ้นู บ่มาฮอดหม่เู รา ดอกนา [อย่าสหุ วงั สกุ ยอ่ น บนุ เขามาเพ่งิ สกุ กะสกุ เพน่ิ พุน่ บ่อมาฮอดหมู่เฮา ดอกนา] จงึ มีความหมายวา่ อย่าไปหวงั พึ่งความสขุ จากคนอน่ื ถึงอยา่ งไรสขุ ของคนอ่นื ก็ไม่สามารถเผื่อแผ่มาถึงเราได้ หรือถ้าเราอยากมีความสุขเหมือนคนอ่ืน เราต้องขยนั หมั่นเพยี รดว้ ยตัวเราเอง เราจึงจะมคี วามสุขอย่างเขาได้ อยา่ หวงั

72 ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค พ่ึงให้คนอ่ืนเขาช่วยเหลือเราอย่างเดียว เราต้องช่วยเหลือตัวเองให้มาก ดัง คำกลา่ วที่วา่ ใครทำ ใครได้ หรือ อตฺตา หิ อตตฺ โน นาโถ ตนเป็นทพี่ ่ึงแหง่ ตน นั่นเอง (นายเกษยี ร มะปะโม) ผญาคำสอน : ธรรมเนียมปฏิบัตขิ องผู้เปน็ สามแี ละภรรยา อนั ว่าผัวเมยี นี้ กมู ึงอย่าไดว้ า่ ให้เอิน้ ข้อยและเจ้า ผองเฒ่าชวั่ ชีวงั ยามนอนน้นั ใหผ้ วั แพงนอนกอ่ น ใหเ้ อาขนั ดอกไมส้ มมาแลว้ จึงค่อยนอน [อนั ว่าผวั เมียนี่ กูมึงอย่าได้ว่า ไหเ้ อนิ้ ข่อยและเจา้ ผองเถา่ ซ่ัวซีวงั ยามนอนนนั่ ไหผ่ ัวแพงนอนก่อน ไหเ่ อาขนั ดอกไม่สมมาแล่ว จ่งั คอ่ ยนอน] ผญาท่ีวา่ อันว่าผวั เมียน้ี กูมงึ อยา่ ไดว้ า่ [อนั วา่ ผวั เมียนี่ กมู งึ อย่าได้วา่ ] แปลวา่ คนท่เี ป็นสามภี รรยากนั แลว้ อยา่ พดู กมู งึ ตอ่ กัน ผญาท่ีว่า ให้เอ้ินข้อยและเจ้า ผองเฒ่าชั่วชีวัง [ไห้เอ้ินข่อยและเจ้า ผองเถ่าซ่ัวซวี งั ] แปลว่า ใหเ้ รียกว่า ข้อยและเจา้ ไปจนแกเ่ ฒา่ ชั่วชวี ิต ข้อย [ขอ่ ย] แปลว่า ผม, ฉัน เจา้ แปลว่า คุณ, เธอ ผอง ในทน่ี แี้ ปลว่า ตราบเทา่ , จนถึง ผญาทว่ี า่ ยามนอนน้ัน ใหผ้ วั แพงนอนก่อน [ยามนอนน่นั ไห่ผวั แพง นอนกอ่ น] แปลวา่ เวลาเข้านอนกลางคนื ใหส้ ามีนอนกอ่ น แพง แปลว่า ทร่ี กั , รกั อยา่ งทะนถุ นอม

ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค 73 ผญาทว่ี า่ ให้เอาขนั ดอกไม้ สมมาแลว้ จงึ คอ่ ยนอน [ไหเ่ อาขันดอกไม่ สมมาแล่วจั่งค่อยนอน] แปลว่า ผู้เป็นภรรยาก่อนนอนให้นำขันดอกไม้มา กราบเท้าสามีเพือ่ ขอขมาลาโทษกอ่ นจงึ คอ่ ยเข้านอน สมมา แปลว่า ขอขมาลาโทษ ดงั นัน้ คำผญาทว่ี ่า อนั ว่าผัวเมยี น้ี กมู ึงอยา่ ได้วา่ ใหเ้ อน้ิ ข้อยและเจ้า ผองเฒา่ ชว่ั ชีวัง ยามนอนน้ัน ใหผ้ วั แพงนอนก่อน ให้เอาขนั ดอกไม้ สมมาแลว้ จึงคอ่ ยนอน [อนั ว่าผวั เมียน ่ี กูมึงอยา่ ไดว้ ่า ไห้เอิน้ ข่อยและเจา้ ผองเถ่าซ่วั ซวี ัง ยามนอนนัน่ ไห่ผวั แพงนอนก่อน ไหเ่ อาขันดอกไม ่ สมมาแลว่ จ่งั คอ่ ยนอน] จึงมีความหมายว่า ชายหนุ่มหญิงสาวเมื่อตกลงปลงใจแต่งงานกันแล้ว มี ธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาให้เรียกขานกันว่า ข้อย และ เจ้า หา้ มใช้คำว่า กู และ มึง เพราะถือว่าเป็นคำไม่สภุ าพ ครน้ั เวลากลางคืนก่อน สามเี ขา้ นอน ใหผ้ เู้ ปน็ ภรรยานำขนั ดอกไมท้ เี่ ตรยี มไวไ้ ปนง่ั ลงตรงหนา้ สามี แลว้ กล่าวคำขอขมาลาโทษที่เคยล่วงเกิน เมื่อสามีรับขันดอกไม้จากภรรยาแล้ว ภรรยาจงึ กม้ ลงกราบสามี จงึ เขา้ นอนในภายหลงั เพราะมคี วามเชอื่ วา่ การเคารพ สามนี ัน้ จะทำใชช้ วี ิตคูอ่ ยู่รว่ มกันอย่างมีความสขุ และราบรน่ื ตลอดไป (นายเกษียร มะปะโม)

74 ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค ผญาคำสอน : ไม่ใหเ้ ช่ือคนง่าย กกบ่เต้ือง ติงตายตั้งแต่ง่า งา่ บ่เหลอื้ ง ไปเตอื้ งตง้ั แตใ่ บ [กกบ่อเตอื้ ง ตงิ ตายตงั้ แต่หง่า หงา่ บอ่ เหลื้อง ไปเต้ืองตั้งแตไ่ บ] ผญาท่ีว่า กกบ่เต้ือง ติงตายต้ังแต่ง่า [กกบ่อเตื้อง ติงตายต้ังแต่หง่า] แปลว่า ตน้ ไมย้ งั ไม่ตายแตก่ ง่ิ ไม้กลับตาย กก แปลว่า ลำต้น เตือ้ งติง แปลว่า เคล่อื นไหว งา่ [หงา่ ] แปลว่า กง่ิ ไม้ ผญาทว่ี า่ งา่ บเ่ หลอื้ ง ไปเตอื้ งตงั้ แตใ่ บ [หงา่ บอ่ เหลอื้ ง ไปเตอื้ งตงั้ แตไ่ บ] แปลว่า กงิ่ ไม้ไม่ไหวตงิ แต่ใบไมย้ ังเคลอ่ื นไหวอยู่ เหลื้อง แปลว่า เคล่อื นไหว ดังน้ันคำผญาที่ว่า กกบ่เตื้อง ติงตายต้ังแต่ง่า ง่าบ่เหล้ือง ไปเต้ือง ตง้ั แต่ใบ [กกบ่อเต้อื ง ตงิ ตายตั้งแต่หง่า หง่าบ่อเหลือ้ ง ไปเตอื้ งตง้ั แตไ่ บ] จึง หมายความว่า ตน้ ไม้ทย่ี งั ไม่ตาย แต่ก่งิ นน้ั กลับตาย และกิง่ ไม้กไ็ ม่เคล่ือนไหว แต่ใบไม้ยังเคล่ือนไหวอยู่ เป็นผญาคำสอนท่ีเปรียบให้รู้จักพิจารณาคน แต่ละคนใหถ้ ้วนถ่ี กอ่ นจะคบหาหรือหลงเช่ือ เพราะคนท่ีดูภายนอกนา่ เชือ่ ถือ คือ แต่งกายดูภูมิฐาน แต่ในจิตใจอาจจะมีส่ิงไม่ดีซ่อนเร้นอยู่ และใช้คำพูดท่ี ฟังดูมีหลักการน่าศรัทธาหว่านล้อมให้คนอื่นหลงเช่ือ ตรงข้ามกับคนท่ีมองดู ไมน่ า่ ไว้วางใจ แตจ่ ริง ๆ แล้ว เขาเปน็ คนดีมีคณุ ธรรมนา่ คบหาสมาคมมากกว่า คนทแี่ ตง่ ตวั ภูมิฐานและใช้วาจาดี (นายนริ ันดร์ บุญจติ )

ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค 75 ผญาคำสอน : ไมใ่ หผ้ นู้ อ้ ยลมื คณุ ผ้ใู หญ่ เป็นเด็กนอ้ ย อยา่ ลมื คุณผูใ้ หญ่ คร้ันผใู้ หญบ่ พ่ รอ้ ม ไปได้ก็บ่เถงิ [เป็นเด็กน่อย อยา่ ลืมคนุ ผ่ไู หญ่ คนั ผู่ไหญ่บอ่ พ่อม ไปได้กะบอ่ เถงิ ] ผญาท่ีว่า เป็นเด็กน้อย อย่าลืมคุณผู้ใหญ่ ครั้นผู้ใหญ่บ่พร้อม ไปได้ ก็บ่เถิง [เป็นเด็กน่อย อย่าลืมคุนผู่ไหญ่ คันผู้ไหญ่บ่อพ่อม ไปได้กะบ่อเถิง] แปลว่า เปน็ ผนู้ ้อยอย่าลมื พระคณุ ของผู้ใหญ่ ถ้าผ้ใู หญ่ไม่สนับสนนุ จะทำอะไร ก็ไม่สำเร็จ มีความหมายว่า เราเป็นเด็ก เป็นผู้น้อยเป็นลูกศิษย์หรือเป็นลูก เป็นหลาน เม่ือได้รับการอบรมส่ังสอน ได้รับการอุปการะค้ำชูจากผู้ใหญ่หรือ พ่อแม่มาแล้ว ควรจะระลึกถึงและตอบแทนบุญคุณท่านเหล่าน้ันด้วย เพราะ การทำงานสงิ่ ใดกต็ ามถา้ ผใู้ หญไ่ มส่ นบั สนนุ ไมเ่ หน็ ดว้ ย กย็ ากทจี่ ะประสบความ สำเร็จตามท่ีตนมงุ่ หวงั เด็กน้อย [เดก็ นอ่ ย] หมายถงึ เดก็ , ลูก ๆ หลาน ๆ, ลูกศิษย์ พรอ้ ม [พอ่ ม] แปลวา่ สง่ เสริม, สนับสนุน เถงิ คือ ถงึ แปลวา่ ประสบความสำเรจ็ (นายเกษียร มะปะโม) ผญาคำสอน : ไมใ่ หล้ มื ตัว คร้ันเจ้าได้ขี่ช้างกั้งร่มเป็นพระยา อย่าสุลืมคนจนผู้แห่นำตีนช้าง [คนั เจา้ ได้ขีซ่ ่างก้ังฮม่ เป็นพะญา อย่าสลุ มื คนจนผู่แหน่ ำตนี ซา่ ง] แปลว่า คร้ัน เจ้าไดข้ ี่ชา้ งกางรม่ เปน็ พระยา อยา่ ได้ลมื บรวิ ารทแ่ี ห่แหนเดนิ ตาม กั้ง คอื กนั้ , กาง ฮ่ม คือ รม่ บางถ่ินใชว้ ่า จ้อง คนจน แปลวา่ คนทกุ ขย์ าก, คนขดั สน, คนไรท้ รพั ย์ ในทนี่ ห้ี มายถงึ บรวิ าร

76 ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค นำ แปลวา่ ตาม, ไปด้วยกนั ผญาบทนส้ี อนวา่ ถา้ มโี อกาสไดร้ ำ่ ไดเ้ รยี นสงู ๆ จนสำเรจ็ มหี นา้ ทก่ี ารงาน ทดี่ ที ม่ี น่ั คง มคี วามเปน็ อยสู่ ขุ สบาย มหี นา้ มตี าในสงั คมแลว้ ขออยา่ ลมื บา้ นเกดิ ตนเอง อย่าลืมญาติพี่น้องเพ่ือนฝูงผู้ที่เคยอยู่ร่วมกัน ขอให้เหลียวแลและ ช่วยเหลือคนที่ทุกข์ยากลำบากบ้าง อย่าได้ลืมตัว และอย่าดูถูกเหยียดหยาม คนทดี่ ้อยกวา่ ตนเอง (นายเกษียร มะปะโม) ผญาคำสอน : วถิ ที างของคนดแี ละคนชวั่ ทางคนละเสน้ ตาเวน็ คนละหนว่ ย [ทางคนละเสน่ ตาเวน็ คนละหนว่ ย] ผญาท่ีว่า ทางคนละเส้น [ทางคนละเส่น] แปลว่า เส้นทางคนละเส้น เป็นปริศนาธรรม สอนให้เห็นวิถีชีวิตของผู้คน หมายถึง คนท่ีประพฤติตนดี อยู่ในศีลธรรม ไม่ว่าจะเดินไปในทิศทางใดก็ตาม มักจะพบคนท่ีประพฤติดี คิดดีทำดีเหมือนกัน พูดคุยสนทนาปราศรัยกันด้วยเรื่องราวที่ดี มีประโยชน์ อยู่บนเส้นทางเดียวกัน ส่วนคนที่ประพฤติตนไม่ดี ไม่เข้าวัดฟังธรรม ก็มักจะ ไปพบกบั คนทม่ี ีลกั ษณะเหมือน ๆ กัน วถิ ชี วี ิตจะแบง่ คนดีและคนไม่ดีออกจาก กนั คือคนดไี ปตามทางของคนดี ส่วนคนไม่ดีกจ็ ะมีวิถีชีวติ ตรงกนั ข้ามกับคนดี ผญาทวี่ ่า ตาเว็นคนละหน่วย แปลว่า ดวงอาทติ ย์คนละดวง หมายถงึ คนดีมักเดินทางและปฏิบัติตนถูกต้องตามครรลองคลองธรรม เริ่มต้ังแต่ ดวงอาทิตย์ขึ้นจนดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เพราะไม่ต้องหลบซ่อนใคร ส่วน คนไม่ดี มักเดินทางและปฏิบัติตนยามปลอดคน ในเวลาท่ีดวงอาทิตย์อับแสง และมีแตแ่ สงไฟ แสงดาว แสงเดอื น เพื่อกระทำการทผ่ี ิดไปจากคนดี ตาเวน็ แปลวา่ ตะวนั หรือดวงอาทติ ย ์ หน่วย เป็นลักษณนามของดวงอาทิตย์ ภาษาไทยกรุงเทพ

ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค 77 เรียกวา่ ดวง ดังน้ันผญาท่ีว่า ทางคนละเส้น ตาเว็นคนละหน่วย [ทางคนละเส่น ตาเวน็ คนละหน่วย] จึงหมายถงึ การเดินทางของคนดแี ละคนไม่ดวี า่ จะไม่เดิน เส้นทางเดยี วกนั เปรียบเสมอื นมีดวงตะวนั คนละดวงนน่ั เอง นอกจากน้ี ทางคนละเสน้ ตาเว็นคนละหน่วย [ทางคนละเสน่ ตาเว็น คนละหน่วย] ยังนำไปใช้พูดตามความเช่ือของชาวอีสานโบราณเก่ียวกับการ เสียชีวิตของคนในครอบครัว หากนำศพไปฝังหรือเผาที่ป่าช้า ซึ่งคนอีสาน เรยี ก ป่าเรว่ [ป่าเฮว่ ] ก่อนจะเดนิ ทางกลับบ้าน มักจะพูดว่า บาดนเี้ ราตอ้ งไป ทางคนละเส้น ตาเว็นคนละหน่วยเด้อ บ่ต้องมาผ้อกันอีก ให้เจ้าไปดีเด้อ [บาดน่ีเฮาต้องไปทางคนละเส่น ตาเว็นคนละหน่วยเด้อ บ่อต้องมาผ้อกันอีก ใหเ่ จา้ ไปดเี ดอ้ ] แปลวา่ บดั นเ้ี ราตอ้ งเดนิ ทางกนั คนละเสน้ และมตี ะวนั คนละดวง เพราะอยกู่ นั คนละโลกแล้ว ไม่ตอ้ งมาพบกันอีก ขอใหไ้ ปดนี ะ (นางพจนยี ์ เพ็งเปล่ียน) ผญาคำสอน : สอนเดก็ ไมใ่ ห้เป็นคนโอ้อวด แนวเด็กนอ้ ยมีความรสู้ องสามความมันกอ็ ง่ ผูใ้ หญร่ ู้ตงั้ ลา้ น กอ็ ำไวบ้ ห่ ่อนไข [แนวเด็กนอ่ ยมคี วมฮู่สองสามควมมันกะอ่ง ผู่ไหญฮ่ ู่ต้ังลา่ น กะอำไว่บ่อหอ่ นไข] แนวเด็กน้อยมีความรู้สองสามความมันก็อ่ง [แนวเด็กน่อยมีควมฮู่ สองสามควมมันกะอ่ง] แปลว่า เดก็ ๆ หรือผูท้ เี่ รียนรอู้ ะไรนดิ ๆ หน่อย ๆ แล้ว มกั โอ้อวดว่ารู้มาก ชอบโต้เถยี งท้งั ๆ ท่ีตนเองรู้นดิ ๆ หน่อย ๆ แนว แปลวา่ ชนิด, แบบ, อยา่ ง, พนั ธ์ุ, วิสัย, นสิ ัย, ลกั ษณะ อง่ แปลวา่ โอ้อวด, อวดด,ี อวดเกง่ , ทะนงตน

78 ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค ผู้ใหญ่รู้ตั้งล้าน ก็อำไว้บ่ห่อนไข [ผู่ใหญ่ฮู่ตั้งล่าน กะอำไว่บ่อห่อนไข] หมายความว่า ผู้ใหญ่ผู้มีความรอบรู้และมีประสบการณ์มาก แต่ไม่เปิดเผย หรือพูดแสดงตนง่าย ๆ ลา้ น [ลา่ น] แปลว่า มากมาย อำ หมายความวา่ ปดิ บงั , ปกปดิ , ไมเ่ ปดิ เผย, ไมพ่ ดู , เกบ็ ไวใ้ นใจ หอ่ น แปลวา่ ไม่ ไข แปลวา่ เปิด, พดู , กล่าว, บอก แนวเดก็ นอ้ ยมีความรู้สองสามความมนั กอ็ ่ง ผู้ใหญร่ ู้ต้ังล้าน กอ็ ำไว้บ่ห่อนไข [แนวเดก็ นอ่ ยมคี วมฮสู่ องสามควมมันกะอ่ง ผไู่ หญ่ฮ่ตู ัง้ ลา่ น กะอำไวบ่ อ่ ห่อนไข] ผญาบทนมี้ คี วามหมายวา่ วสิ ยั ของเดก็ ๆ ผมู้ คี วามรนู้ อ้ ยดอ้ ยประสบการณ์ พอได้เรียนรู้แมเ้ พยี งเล็กนอ้ ย ก็มักแสดงตนโออ้ วดว่าตนรู้มากกวา่ ผู้อื่น ซึง่ ตา่ ง จากผูใ้ หญ่ นกั ปราชญ์ หรือผรู้ ทู้ ั่ว ๆ ไป ทา่ นจะไม่แสดงตนว่ารูม้ ากจนเกนิ งาม แตจ่ ะคอยแนะนำใหค้ ำปรึกษาในสิ่งทีถ่ ูกต้อง (นายเกษยี ร มะปะโม) ผญาคำสอน : สอนเด็กให้ตัง้ ใจเรยี น ยามยงั นอ้ ย ใหเ้ จ้าหมน่ั เรียนคณุ ลางเทอ่ื บุญเรามสี ยิ ศสูงเพียงฟ้า ไปทางหน้า หาเงินไดพ้ ันหม่นื ใผผคู้ วามรตู้ นื้ เงนิ เบยี้ บแ่ กน่ ถงุ ดอกนา [ยามยังน่อย ไหเ่ จ้าหมนั่ เฮียนคุน ลางเทอื บุนเฮามี สิยดสงู เพียงฟ่า ไปทางหนา่ หาเงินไดพ้ นั หม่ืน ไผผูค่ วมฮูต่ ้ืน เงนิ เบี้ยบแ่ กน่ ถง ดอกนา] ผญาท่ีว่า ยามยังน้อย ให้เจ้าหมั่นเรียนคุณ [ยามยังน่อย ไห่เจ้าหมั่น เฮยี นคุน] แปลว่า เมื่อยังเปน็ เดก็ ใหเ้ จ้าขยันหม่นั เพยี รเรียนหนงั สือ

ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค 79 ยงั นอ้ ย [ยังนอ่ ย] แปลว่า ยงั เด็ก ผญาที่ว่า ลางเทื่อบุญเรามี สิยศสูงเพียงฟ้า [ลางเทือบุนเฮามี สิ ยดสูงเพยี งฟา่ ] แปลว่า บางทหี ากเรามีบญุ วาสนา อาจจะมยี ศศกั ดิ์สงู เทียมฟ้า ลางเทอื่ [ลางเทอื ] แปลวา่ บางท,ี บางครัง้ ผญาทว่ี า่ ไปทางหนา้ หาเงนิ ไดพ้ นั หมน่ื [ไปทางหนา่ หาเงนิ ไดพ้ นั หมน่ื ] แปลวา่ ในอนาคตขา้ งหนา้ เราอาจจะหาเงินได้เปน็ พันเปน็ หมนื่ ทางหน้า [ทางหน่า] แปลวา่ ในอนาคต ผญาท่ีว่า ใผผู้ความรู้ตื้น เงินเบี้ยบ่แก่นถุง ดอกนา [ไผผู่ควมฮู่ต้ืน เงนิ เบย้ี บแ่ ก่นถง ดอกนา] แปลว่า ใครท่ีมีความร้นู ้อย จะไม่สามารถหาเงนิ มา ใสใ่ นกระเปา๋ ได้ดอกนะ ใผ แปลว่า ใคร, ผ้ใู ด แก่น แปลว่า คุน้ เคย, สนิทสนม, ชอบพอ ดอกนา เป็นคำสร้อยท้ายประโยค ดงั นัน้ คำผญาวา่ ยามยังน้อย ให้เจ้าหม่ันเรยี นคุณ ลางเทื่อบญุ เรามีสิยศสูงเพียงฟ้า ไปทางหนา้ หาเงินได้พันหม่นื ใผผู้ความรู้ต้นื เงนิ เบ้ียบ่แก่นถงุ ดอกนา [ยามยังนอ่ ย ไห่เจ้าหม่นั เฮียนคนุ ลางเทือบนุ เฮามี สยิ ดสูงเพยี งฟ่า ไปทางหน่า หาเงนิ ไดพ้ นั หมน่ื ไผผูค่ วมฮู่ตื้น เงินเบี้ยบแ่ ก่นถง ดอกนา] จึงมีความหมายว่า ในวัยเด็กมีหน้าท่ีเรียนหนังสือ ก็ต้องขยันหม่ันเพียร ขวนขวายหาความรู้ ตอ่ ไปเราอาจจะไดย้ ศไดเ้ กยี รตไิ ดต้ ำแหนง่ ทสี่ งู ขนึ้ ในอนาคต ขา้ งหนา้ จะหาเงนิ หาทองไดม้ ากมาย ถา้ เราไมห่ มน่ั หาความรใู้ สต่ วั จะทำใหห้ าเงนิ หาทองไดย้ าก ชวี ติ ความเปน็ อยูก่ จ็ ะตกระกำลำบาก (นายเกษยี ร มะปะโม)

80 ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค ผญาคำสอน : ใหข้ ยนั หมั่นเพียรไมเ่ กียจคร้าน เงนิ คำแก้ว บ่แม่นของใผ ผใู้ ดมใี จเพยี ร หากสิหลวงหลอนผ้อ [เงินคำแกว้ บอ่ แมน่ ของไผ ผู่ไดม๋ ไี จเพียน หากสหิ ลงหลอนผ้อ] ผญาทว่ี า่ เงนิ คำแกว้ บแ่ มน่ ของใผ [เงนิ คำแกว้ บอ่ แมน่ ของไผ] แปลวา่ แกว้ แหวนเงนิ ทองไม่มใี ครคนใดคนหนงึ่ เป็นเจา้ ของตลอดไป เงิน หมายถึง ทรพั ยส์ มบตั ิ คำ แปลว่า ทองคำ แก้ว หมายถงึ อญั มณที ้ังหลาย ในสำนวนอสี านมกั จะพูดเป็นคำรวมกันว่า เงินคำกำ่ แก้ว ผญาทีว่ ่า ผู้ใดมีใจเพียร หากสหิ ลวงหลอนผอ้ [ผูไ่ ด๋มีไจเพียน หากสิ หลงหลอนผ้อ] แปลว่า ถ้าใครต้ังใจขยันหมั่นเพียร ก็มีโอกาสได้เป็นเจ้าของ แกว้ แหวนเงินทองเหล่านี้ เพียร แปลวา่ ขยันหมน่ั เพียร หลงหลอน แปลว่า อาจจะ ผอ้ แปลวา่ พบ หลงหลอนผอ้ แปลวา่ อาจจะมโี อกาสไดพ้ บไดเ้ จอไดเ้ ปน็ เจา้ ของ ดังนั้น คำผญาที่ว่า เงินคำแก้ว บ่แม่นของใผ ผู้ใดมีใจเพียร หากสิ หลวงหลอนผอ้ [เงนิ คำแกว้ บอ่ แมน่ ของไผ ผไู่ ดม๋ ไี จเพยี น หากสหิ ลงหลอนผอ้ ] หมายความว่า ทรัพย์สินเงินทองแก้วแหวนที่มีอยู่ในโลกน้ี มิใช่สมบัติของใคร คนใดคนหนง่ึ ขนึ้ อยกู่ บั วา่ ใครขยนั ทำมาหากนิ ไมข่ เี้ กยี จ กห็ ามาเปน็ เจา้ ของได ้ คร้ันหามาได้แล้ว ให้รู้จักกินรู้จักใช้ ไม่สุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือยรู้จักเก็บก็จะเป็นคน มเี งนิ มที อง แตถ่ า้ หามาไดแ้ ลว้ ไดม้ าเทา่ ไรกนิ หมดใชห้ มด กจ็ ะทกุ ขย์ ากลำบาก เมื่อเป็นเช่นน้ี ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวอีสานจึงมักสอนลูกหลานให้ต้ังหน้าตั้งตาทำมา

ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค 81 หากนิ ไปอยทู่ ไ่ี หนกใ็ หท้ ำงานอยา่ ขเ้ี กยี จ อยา่ เลอื กงาน เมอ่ื ไดเ้ งนิ มาแลว้ ใหร้ จู้ กั ประหยดั ตอ่ ไปภายหนา้ ก็จะมคี วามสุขความสบายไม่เดอื ดรอ้ น (นายเกษียร มะปะโม) ผญาคำสอน : ให้คิดก่อนทำ คิดไจไ้ จ้ในใจใหแ้ จ้งก่อน จงึ ค่อยควั่ เวียกค้น ผลได้เครอ่ื งคูณ การบ่คิดถถ่ี ว้ น สโิ อ้โอ่ยภายหลัง มนั สเิ สยี ของขวัญเคร่ืองคณู ควรได้ [คดึ ไจ้ไจ้ไนไจไห้แจ้งกอ่ น จงึ คอ่ ยค่ัวเวียกค่น ผนไดเ้ ค่ืองคนู กานบค่ ดึ ถ่ถี ว่ น สโิ อโ้ อย่ ภายหลัง มนั สเิ สียของขวนเคื่องคูนควนได้] ผญาทว่ี ่า คดิ ไจ้ไจใ้ นใจให้แจ้งกอ่ น จึงคอ่ ยคว่ั เวยี กคน้ [คึดไจไ้ จไ้ นไจ ไห้แจ้งก่อน จงึ ค่อยค่ัวเวยี กค่น] หมายความวา่ ก่อนจะลงมอื กระทำการใด ๆ ให้คิดไตรต่ รองให้ดเี สียกอ่ น จึงค่อยเลอื กหาการงานทเ่ี หมาะสมกบั ตวั เรา ไจ้ไจ้ แปลว่า บ่อย ๆ, ซำ้ ๆ, เช่น สังมาเว้าไจไ้ จแ้ ท้ [สังมาเว่า ไจไ้ จ้แท]่ แปลวา่ ทำไมพูดซำ้ ซาก ค่ัว แปลว่า ค้นหา, เสาะหา, แสวงหา, เช่น ไปคั่วปูค่ัวหอย หมายความว่า เอาเสียมไปขุดหาหอยที่ฝังตัวอยู่ใต้ดินริมคันนาและขุดหาปู ท่อี าศัยอยใู่ นรูตอนหนา้ แล้ง เวยี ก หมายถึง กจิ การงาน, ธุระ ผญาทว่ี า่ ผลได้เครื่องคูณ [ผนไดเ้ ค่อื งคูน] หมายความวา่ งานทที่ ำมา ก็จะเป็นงานท่ีดมี ปี ระโยชน์ เครอ่ื งคณู [เค่อื งคูน] แปลว่า ของดขี องงามท่เี ปน็ สริ ิมงคล ผญาท่ีว่า การบค่ ดิ ถ่ีถว้ น สโิ อ้โอ่ยภายหลงั [กานบ่คึดถถ่ี ว่ น สโิ อโ้ อ่ย พายหลัง] หมายความว่า การไม่คิดไตร่ตรองให้ดีเสียก่อนลงมือกระทำ ก็จะ โอดครวญในภายหลังได้

82 ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค ผญาทว่ี ่า มนั สเิ สยี ของขวญั เครื่องคูณควรได้ [มันสเิ สยี ของขวนเคื่อง คูนควนได้] หมายความว่า การทำงานที่ผิดพลาด อาจจะทำให้สูญเสียผล ประโยชน์ท่คี วรจะไดร้ ับ ผญาคำสอนนี้ จึงเป็นข้อเตือนใจให้ชาวอีสานทุกคนก่อนจะลงมือทำ การงานใด ๆ ใหค้ ดิ ทบทวนใหร้ อบคอบถว้ นถจ่ี นเขา้ ใจดแี ลว้ จงึ ลงมอื ทำงานนน้ั กจ็ ะเกิดผลสำเร็จของงานอย่างงดงาม และจะไม่เสียใจในภายหลัง (นายนิรนั ดร์ บญุ จติ ) ผญาคำสอน : ใหเ้ ช่อื ฟงั คำสั่งสอนของบดิ ามารดา งอู ย่าขนื ใจแข้ หางยาวเสมอภาคกันแลว้ พรา้ อยา่ หวงั หนา่ ยด้าม คมสิเหี้ยนก่อนสัน [งูอย่าขนื ไจแข ่ หางยาวเสมอพากกันแลว่ พ่าอยา่ หวังหนา่ ยด้าม คมสิเห่ยี นก่อนสนั ] ผญาทวี่ ่า งอู ยา่ ขนื ใจแข้ [งูอย่าขนื ไจแข]่ แปลวา่ งูอยา่ ขนื ใจจระเข้ แข้ [แข่] แปลว่า จระเข้ ผญาที่ว่า หางยาวเสมอภาคกันแล้ว [หางยาวเสมอพากกันแล่ว] แปลว่า หางยาวเทา่ กนั ผญาที่ว่า พร้าอย่าหวังหน่ายด้าม [พ่าอย่าหวังหน่ายด้าม] แปลว่า มีดอยา่ เบอื่ หนา่ ยดา้ ม หวงั หนา่ ย แปลวา่ เบื่อหน่าย ผญาท่ีว่า คมสิเหี้ยนก่อนสัน [คมสิเห่ียนก่อนสัน] แปลว่า คมมีดจะ สกึ หรอก่อนสนั เห้ยี น [เหีย่ น] แปลวา่ สั้น, สึกหรอ สัน หมายถงึ สันมีด

ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค 83 ดงั นน้ั คำผญาทว่ี า่ งอู ยา่ ขนื ใจแข้ หางยาวเสมอภาคกนั แลว้ พรา้ อยา่ หวงั หน่ายด้าม คมสิเหี้ยนก่อนสัน [งูอย่าขืนไจแข่ หางยาวเสมอพากกันแล่ว พ่าอย่าหวังหน่ายด้าม คมสิเหี่ยนก่อนสัน] แปลว่า ผู้เป็นลูกนั้นต้องเชื่อฟัง คำสอนของบดิ ามารดา เมอื่ เตบิ โตข้ึนเปน็ ผ้ใู หญแ่ ล้ว อย่าขัดขนื ใจของทา่ นให้ เจบ็ ชำ้ นำ้ ใจ ลกู หลานหากเถยี งพอ่ แมค่ ำไมต่ กฟาก คนอสี านเชอื่ วา่ ชวี ติ ของลกู จะไมเ่ จรญิ กา้ วหนา้ นบั วนั แตจ่ ะตกตำ่ เปรยี บลกู ทที่ ำตวั เหมอื นงทู คี่ ดิ จะวดั หาง ของตนว่ายาวเท่ากับหางจระเข้คือพ่อแม่ที่มีพระคุณแก่ตน และเปรียบลูก เหมอื นตวั มดี หรอื พร้าถ้าไม่มีดา้ มคอื พอ่ แม่ คอยประคับประคองแล้ว ลกู ก็จะ มชี ีวติ อย่อู ย่างไร้ทศิ ทาง (นายนิรันดร์ บุญจติ ) ผญาคำสอน : ให้ดิน้ รนเพือ่ ความอยรู่ อด ทุกข์บ่มีเส้ือผ้า ฝาเรอื นเพพอลีอ้ ยู่ ทกุ ขบ์ ่มขี ้าวอยู่ท้อง นอนล้ีอยบู่ เ่ ปน็ [ทุกบ่อมีเสื่อผา่ ฝาเฮอื นเพพอลี่อย ู่ ทกุ บอ่ มเี ขา่ อย่ทู ่อง นอนลี่อยบู่ ่เปน็ ] ผญาท่ีวา่ ทุกข์บม่ ีเสื้อผา้ ฝาเรอื นเพพอลอ้ี ยู่ [ทุกบอ่ มีเสือ่ ผา่ ฝาเฮอื น เพพอลีอ่ ยู่] แปลว่า ยากจนแม้ไม่มีเส้อื ผา้ จะสวมใส ่ ฝาเรือนผุ ๆ พัง ๆ กย็ ังพอ อาศยั หลบอยไู่ ด้ ทุกข์ แปลวา่ ทกุ ขย์ าก, จน, ลำบาก ล้ี [ล่]ี แปลวา่ หลบซ่อน, แอบ เพ แปลวา่ ผุ ๆ พงั ๆ ผญาที่ว่า ทุกข์บ่มีข้าวอยู่ท้อง นอนล้ีอยู่บ่เป็น [ทุกบ่อมีเข่าอยู่ท่อง นอนลีอ่ ยบู่ ่เป็น] แปลวา่ ยากจนไม่มขี ้าวอย่ใู นทอ้ ง นอนหลบลอี้ ยู่ไมไ่ ด้ บ่เป็น แปลว่า ไม่ได้ ดงั นน้ั ผญาทวี่ า่ ทกุ ขบ์ ม่ เี สอื้ ผา้ ฝาเรอื นเพพอลอ้ี ยู่ ทกุ ขบ์ ม่ ขี า้ วอยทู่ อ้ ง

84 ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค นอนลอี้ ยบู่ เ่ ป็น [ทกุ บ่อมีเสอื่ ผ่า ฝาเฮือนเพพอล่ีอยู่ ทุกบอ่ มเี ขา่ อย่ทู ่อง นอนล่ี อยู่บ่เป็น] หมายความว่า ความยากลำบากของคนจนที่ไม่มีแม้แต่เสื้อผ้าจะ ปกปดิ รา่ งกาย หรอื อยใู่ นบา้ นทผี่ ุ ๆ พงั ๆ ถงึ แมจ้ ะอบั อายผคู้ นสกั ปานใดกต็ าม กย็ งั ทนหลบลห้ี นหี นา้ ผคู้ นอยไู่ ด้ แตค่ วามยากลำบากทไี่ มม่ อี าหารจะกนิ คงทน อยูไ่ ม่ได้เพราะความหวิ จงึ ตอ้ งออกไปหาอาหารเพ่ือความอยู่รอด (นางพจนีย์ เพง็ เปลีย่ น) ผญาคำสอน : ใหต้ ้งั ใจทำงานให้สำเร็จ จองคร้นั บม่ ีด้าม สิเป็นบ่วงตักแกงไดบ้ ่ บุงครนั้ บม่ ีสาย กเ็ ปน็ ทอยารา้ ง [จองคนั บ่อมดี ้าม สเิ ปน็ บว่ งตกั แกงไดบ้ ่อ บงุ คนั บ่อมีสาย กะเป็นทอยาฮา่ ง] ผญาทวี่ า่ จองครน้ั บม่ ดี า้ ม สเิ ปน็ บว่ งตกั แกงไดบ้ ่ [จองคนั บอ่ มดี า้ ม สเิ ปน็ บ่วงตักแกงได้บอ่ ] แปลวา่ จองถา้ ไมม่ ีดา้ มจะใช้เป็นช้อนตกั แกงได้อยา่ งไร จอง หรอื กะจอง เป็นภาชนะสำหรบั ตกั แกงชนิดหนง่ึ ทำดว้ ย กะลามะพร้าวขัดมนั มดี ้ามจบั คล้ายทพั พี บว่ ง หมายถึง ชอ้ นตักแกง ทำจากกะลามะพร้าวขัด กาบหอย เปน็ ตน้ ผญาท่ีวา่ บงุ ครนั้ บ่มสี าย ก็เปน็ ทอยาร้าง [บุงคันบอ่ มสี าย กะเป็นทอ ยาฮ่าง] แปลวา่ กระบุงถา้ ไม่มีสายรัดก้น กจ็ ะเป็นกะทอยาผุ ๆ พงั ๆ บงุ คอื กระบงุ ทอยา คือ กะทอยา หมายถึง ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ตาโปร่ง รูปทรงกระบอก มีขนาดใหญ่กว่าชะลอม มีใบตองตึงกรุโดยรอบ สำหรับใส่ ยาเส้น นำ้ ตาลปึก ฝ้าย ข้าวเปลือก หรอื เกลือ เปน็ ตน้ รา้ ง [ฮ่าง] แปลว่า เก่า ผพุ งั แตใ่ ชก้ ารได้ จองครน้ั บม่ ดี า้ ม สเิ ปน็ บว่ งตกั แกงไดบ้ ่ บงุ ครนั้ บม่ สี าย กเ็ ปน็ ทอยารา้ ง

ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค 85 [จองคันบ่อมีด้าม สิเป็นบ่วงตักแกงได้บ่อ บุงคันบ่อมีสาย กะเป็นทอยาฮ่าง] เป็นผญาคำสอนว่า ถ้าตั้งใจจะทำการสิง่ ใดน้ัน อย่าทำครึง่ ๆ กลาง ๆ จงทำให้ สำเร็จ จงึ จะเกดิ ประโยชนต์ อ่ การดำรงชวี ิต เปรียบกบั การทำจองถา้ ไม่ทำด้าม กจ็ ะใช้ตกั แกงไม่ได้ และทำกระบุงถา้ ไมม่ สี ายรัดกน้ กระบุงก็ไมส่ ามารถใช้หาบ สง่ิ ของไปได้ เหมือนกะทอยาทผ่ี ุ ๆ พงั ๆ เพยี งแตใ่ ชใ้ สส่ ่งิ ของตง้ั ไว้ (นายนิรนั ดร์ บญุ จติ ) ผญาคำสอน : ให้เป็นคนขยันหมัน่ เพียร ใจคิดสรา้ ง กลางดงกว็ า่ ท่งุ ใจขคี้ ร้าน กลางบา้ นกว็ ่าดง [ไจคึดสา่ ง กางดงกะวา่ ทง่ ไจขีค่ ่านกางบ้านกะว่าดง] คำผญาขา้ งต้น ใจคิดสรา้ ง กลางดงกว็ า่ ทุง่ [ไจคดึ ส่าง กางดงกะว่าทง่ ] แปลวา่ ใจคดิ จะสร้างสิ่งใดก็ตาม แม้จะเปน็ ปา่ ดงก็ยังคดิ ว่าเป็นทุ่งนา ผญาทว่ี า่ ใจขคี้ รา้ น กลางบา้ นกว็ า่ ดง [ไจขคี่ า่ นกางบา้ นกะวา่ ดง] แปลวา่ ใจขี้เกยี จอยู่กลางบา้ นกย็ ังคดิ ว่าเปน็ ปา่ ดง ข้ีครา้ น [ข่คี ่าน] แปลวา่ ขเ้ี กียจ ดังนน้ั คำผญาทว่ี ่า ใจคิดสรา้ ง กลางดงกว็ ่าทุง่ ใจขคี้ ร้าน กลางบ้านก็วา่ ดง [ไจคดึ สา่ ง กางดงกะวา่ ทง่ ไจขี่ค่านกางบ้านกะว่าดง] หมายความว่า คนขยันนั้นสามารถทำงานได้ไม่ว่าจะเป็นท่ีใด ส่วนคนขี้เกียจ แมจ้ ะอยทู่ ่ที ส่ี ามารถทำงานได้ ก็ยังรสู้ กึ ลำบาก ไมอ่ ยากทำงาน เปรียบเสมอื น กับคนท่ีขยัน แม้จะอยู่กลางป่ากลางดงก็ยังขยันหักร้างถางพง แม้จะเป็น ปา่ รกทบึ กย็ งั คดิ สทู้ ำงานไมท่ อ้ ถอย ไมเ่ หมอื นกบั คนขเี้ กยี จ ถงึ แมจ้ ะอยกู่ บั บา้ น ไมม่ ตี ้นไม้ใหญใ่ ห้ต้องหักร้างถางพงก็ยังขเ้ี กียจไมย่ อมทำอะไรเลย (นายนริ นั ดร์ บุญจติ )

86 ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค ผญาคำสอน : ใหเ้ ปน็ คนเตรียมพรอ้ มในการท่จี ะดำรงชวี ติ แนวบวยบ่มดี ้าม สิเสียทรงทางวาด เขาสิเอ้ินวา่ โป๋หมากพรา้ ว บเ่ อิ้นวา่ บวย [แนวบวยบอ่ มีด้าม สเิ สียซงทางวาด เขาสิเอน้ิ วา่ โป๋หมากพา่ ว บ่อเอนิ้ ว่าบวย] ผญาท่ีว่า แนวบวยบ่มีด้าม สิเสียทรงทางวาด [แนวบวยบ่อมีด้าม สเิ สยี ซงทางวาด] แปลว่า ลกั ษณะของกระบวยนัน้ ถ้าไมม่ ีด้ามกไ็ ม่ใช่กระบวย แนว แปลวา่ ลักษณะ, วิสัย บวย คอื กระบวย เปน็ ภาชนะสำหรบั ตกั นำ้ ทาํ ดว้ ยกะลามะพรา้ ว มีดา้ มถอื ทางวาด แปลวา่ ลักษณะกริ ิยาทา่ ทาง, บคุ ลิกภาพ ผญาที่ว่า เขาสิเอิ้นว่าโป๋หมากพร้าว บ่เอ้ินว่าบวย [เขาสิเอิ้นว่าโป๋ หมากพ่าว บ่เอิ้นว่าบวย] แปลว่า เขาจะเรียกว่ากะลามะพร้าว ไม่เรียกว่า กระบวย เอิน้ ตรงกับภาษาไทยกรุงเทพว่า เออื้ น แปลวา่ เรยี ก โป๋ แปลว่า กะลามะพร้าว แนวบวยบม่ ีด้าม สิเสียทรงทางวาด เขาสเิ อ้ินวา่ โป๋หมากพร้าว บ่เอน้ิ ว่าบวย [แนวบวยบ่อมดี ้าม สเิ สยี ซงทางวาด เขาสเิ อน้ิ ว่าโป๋หมากพา่ ว บอ่ เอ้นิ วา่ บวย] หมายความว่า เป็นคนหากไม่มีสติปัญญาเป็นเครื่องประดับแล้ว จะ ดำรงตนให้อยู่ดีมีสุขได้อย่างไร ก็เพียงได้ช่ือว่าเกิดมาเป็นคนเท่านั้น เปรียบ เหมือนกระบวยตักน้ำ ถ้าไม่มีด้ามจับกระบวยน้ัน แม้จะใช้ตักน้ำได้ คนเขา ก็ยังเรียกวา่ กะลามะพร้าว (นายนริ นั ดร์ บญุ จติ )

ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค 87 ผญาคำสอน : ให้เปน็ คนสชู้ วี ติ เช้อื ชาตมิ ้า บห่ ลีกทางกระแส ตีตามลม บ่เหน็ รอยเต้น [เซ่ือซาตมิ ่า บอ่ หลกี ทางกะแส ตตี ามลม บอ่ เห็นฮอยเตน้ ] ผญาท่วี า่ เชอื้ ชาติมา้ บ่หลีกทางกระแส [เซอื่ ซาติม่า บ่หลกี ทางกะแส] แปลว่า เชื้อชาติมา้ ไมว่ ่ิงหนีออกจากลู่ว่งิ ทางกระแส [ทางกะแส] แปลวา่ ตามทาง, สายทาง ผญาทวี่ า่ ตีตามลม บเ่ หน็ รอยเตน้ [ตตี ามลม บ่อเห็นฮอยเต้น] แปลว่า มา้ ดีดขากระโจนไปตามลมจนไม่เหน็ รอยเทา้ ตี ในท่ีนี้แปลวา่ ดดี ขา ตตี ามลม แปลวา่ เอาขาดดี ลม รอยเต้น [ฮอยเต้น] แปลวา่ รอยเท้าของม้าทีว่ ิง่ ไปด้วยความเร็ว ดงั นน้ั ผญาคำสอนทว่ี า่ เชอื้ ชาตมิ า้ บห่ ลกี ทางกระแส ตตี ามลม บเ่ หน็ รอยเต้น [เซื่อซาติม่า บ่อหลีกทางกะแส ตีตามลม บ่อเห็นฮอยเต้น] เป็น คำสอนใหเ้ ปน็ คนท่ีว่องไว ขยันหม่ันเพยี รในการงาน เม่ือตัดสนิ ใจทำอะไรแลว้ กใ็ หก้ ระทำดว้ ยความกระตอื รอื รน้ ตงั้ ใจทำงานใหด้ ที ส่ี ดุ โดยไมก่ ลวั ปญั หาและ อปุ สรรคใด ๆ จนงานนั้นสำเร็จตามเปา้ หมายทตี่ ง้ั ไว้ เปรยี บเสมือนมา้ เม่ือเขา้ เสน้ ทางวง่ิ แลว้ กก็ ระโจนวง่ิ ออกไปตามทางจนสดุ แรง ดว้ ยพละกำลงั อยา่ งรวดเรว็ (นายนิรนั ดร์ บุญจิต) ผญาคำสอน : ให้รักเพอ่ื นบา้ น ไทไกลนี้จูงแลนเข้าป่า บ่ท่อหูพว่ี ี่ ไทใกล้โกก้ ลิงดอกตี้ [ไทไกน่ีจงู แลนเข่าปา่ บ่อทอ่ หูพีว่ ี่ ไทไกโ้ ก้กลงิ ดอกต]้ี ผญาที่วา่ ไทไกลนจี้ ูงแลนเขา้ ป่า [ไทไกนี่จูงแลนเขา่ ป่า] แปลว่า คนท่ี อยู่หมู่บ้านอื่น เม่ือไล่จับตะกวดได้แล้วจะจูงตะกวดหายเข้าไปในป่า ไม่อยาก แบ่งคนอนื่

88 ภาษติ สำนวนไทย ๔ ภาค ไทไกล [ไทไก] หมายถงึ คนบ้านไกล คนที่อยูห่ มูบ่ า้ นอื่น อาจจะ เปน็ ญาติพี่นอ้ ง เพ่อื นฝงู หรือคนท่รี ู้จกั มกั คนุ้ กัน แลน แปลวา่ ตะกวด เป็นสัตว์ทอี่ าศัยอย่ใู นปา่ โปรง่ หากนิ ตาม พ้นื ดิน ขึน้ ตน้ ไม้เก่งและจบั ได้ยาก เปน็ อาหารป่าช้นั ดขี องชาวอสี าน ถา้ วนั ใด จบั ไดถ้ อื วา่ วันนนั้ หมาน คอื โชคดี บ่ท่อหูพ่ีวี่ ไทใกล้โก้กลิงดอกต้ี [บ่อท่อหูพี่วี่ ไทไก้โก้กลิงดอกตี้] แปลวา่ ไม่เทา่ คนบา้ นใกล้เรือนเคียงทีเ่ ห็นหน้ากันอย่ทู ุกวัน มที ะเลาะกนั บา้ ง ทอ่ แปลว่า เทา่ เชน่ มอื ท่อกะดง้ แปลวา่ มือโตเทา่ กระดง้ พว่ี ี่ หมายถงึ ลกั ษณะของสงิ่ ทเ่ี ปน็ ใบ เชน่ ใบไมห้ รอื ใบหตู งั้ ตรงขน้ึ และเห็นชดั เจน ไท แปลวา่ คนท่ัวไป เช่น เจ้าเปน็ ไทบ้านใด [เจา้ เป็นไทบา้ นได]๋ แปลว่า เจ้าเปน็ คนบา้ นไหน เพิน่ เปน็ คนไทนอก แปลวา่ เขาเป็นคนต่างถ่ิน ไทใกล้ [ไทไก้] แปลว่า คนบ้านใกลเ้ รอื นเคยี ง โกก้ แปลว่า ดรุ ้าย โก้กลิง แปลว่า ลิงดุร้าย ดอกต้ี แปลวา่ อย่างแน่นอน, อย่างนัน้ แหละ ไทไกลนจี้ งู แลนเขา้ ปา่ บท่ อ่ หพู ว่ี ่ี ไทใกลโ้ กก้ ลงิ ดอกตี้ [ไทไกนจี่ งู แลน เข่าป่า บ่อท่อหูพี่วี่ ไทไก้โก้กลิงดอกตี้] หมายความว่า คนที่อยู่ไกลกันแม้จะ เป็นญาติสืบสายโลหิตเดียวกัน ถึงมีอาหารการกินก็ไม่สามารถแบ่งปันกันได้ หรือมีเร่ืองทุกข์ร้อนก็ไม่สามารถช่วยเหลือกันได้ทันท่วงที สู้คนบ้านใกล้ เรือนเคียงไม่ได้ แม้จะทะเลาะเบาะแว้งกันบ้างก็ยังได้พ่ึงพาอาศัยกันในคราว จำเป็น แสดงให้เห็นวัฒนธรรมความมีน้ำใจของชาวอีสาน ท่ีคอยช่วยเหลือ เกื้อกูลกนั และกัน (นายนิรันดร์ บุญจติ )