ชวี ิตเมมอื่ ทีทอ้ างไงมพ่เลร้ออืมก : ร้อยแปดพันเก้าวธิ เี พอื่ หาทางออก
ชวี ติ มที างเลือก : รอ้ ยแปดพนั เกา้ วธิ ีเพ่อื หาทางออก หนังสอื เล่มน้ี สง่ เสรมิ ทางเลอื กทเี่ หมาะสมส�ำ หรับผหู้ ญิงท้องไม่พร้อมทุกคน ที่อาจไม่จ�ำ เปน็ ต้องเลือกเหมอื นกัน โดยเราเคารพการตัดสินใจน้นั แบบไม่ตตี รา และหวงั ว่าทางเลือกน้นั จะเป็นทางเลอื กท่ีปลอดภยั ISBN 978-616-92076-3-4 พิมพ์คร้ังที่ 1 กรกฎาคม 2557 จำ�นวน 3,000 เล่ม พิมพ์ครั้งท่ี 2 พฤษภาคม 2558 จ�ำ นวน 1,000 เลม่ กองบรรณาธกิ าร ทัศนัย ขนั ตยาภรณ์, วรภัทร แสงแก้ว, มณีทิพย์ วรี ะรัตนมณี, ขนษิ ฐา บูรณพนั ศกั ด์,ิ ชุติมา พนั ธ,ุ วรญั ญา พิทักษเ์ ทพสมบตั ิ และ เรณู ชูนิล ท่ีปรกึ ษา นพ. บญุ ฤทธ์ิ สุขรตั น,์ นพ. พรเพชร ปญั จปิยะกลุ , รศ. ดร. กฤตยา อาชวนจิ กุล และ ดร. วราภรณ์ แชม่ สนทิ พฒั นาต้นแบบโดย มูลนธิ แิ พธทเู ฮลท์ (path2health foundation) อีเมล [email protected] เวบ็ ไซต์ www.teenpath.net www.path2health.or.th สนบั สนุนโดย สํานักงานกองทุนสนับสนนุ การสร้างเสริมสขุ ภาพ (สสส.) พมิ พท์ ่ี ห้างหนุ้ ส่วนจำ�กัด ภาพพิมพ์
สารบัญ 1. ทำ�ไมต้องมีหนงั สือเลม่ น้ี 4 2. สทิ ธทิ ่จี ะ “เลือก” เมื่อท้องไมพ่ ร้อม 6 3. ทำ�อยา่ งไรเมอื่ คนใกล้ตัว “ท้องไม่พรอ้ ม” 20 4. เมอ่ื ทางเลือกคือตั้งครรภ์ต่อไป 32 5. เมือ่ ทางเลือกคือยตุ กิ ารตง้ั ครรภ์ 48 6. การยุติการต้งั ครรภท์ ป่ี ลอดภยั 62 และไม่ปลอดภัยเป็นอย่างไร 75 7. ใชย้ ายุตกิ ารตั้งครรภ์ ใหป้ ลอดภัยได้อย่างไร 85 8. การดูแลหลังยตุ กิ ารตัง้ ครรภ์ 89 9. คุมกำ�เนิดเพ่ือปอ้ งกนั การท้องไมพ่ รอ้ ม
1. ทำ�ไมตอ้ งมหี นงั สอื เลม่ น้ี เพราะ... ผหู้ ญงิ : เมอ่ื ทราบวา่ ตวั เองทอ้ งไมพ่ รอ้ ม อาจสบั สน วติ กกงั วล ไม่รู้จะคยุ กับใคร พยายามหาทางออกใหต้ นเอง และอาจไรท้ ศิ ทาง ผู้ชาย: เมอ่ื ทราบว่าผ้หู ญิงทอ้ งกส็ บั สนไมแ่ พก้ ัน ไปไม่ถกู ผ้ชู าย จ�ำ นวนมากเดนิ ออกจากปัญหา เพราะไม่ร้จู ะทำ�อย่างไรโดยท้ิงภาระ ไว้เบื้องหลงั พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ครู: เมื่อทราบว่าลูกสาว ลูกศิษย์ท้อง ก็ต้องคดิ หนัก ชวี ิต-อนาคต-ภาระข้างหนา้ กังวลช่อื เสยี ง-หนา้ ตาของ ครอบครัว/โรงเรียน และหาทางออกด้วยวิธีของตัวเองโดยไม่กล้า บอกใคร ผู้ทำ�งานที่เก่ียวข้อง: เมื่อพบกลุ่มเป้าหมายท้องไม่พร้อม ใจก็ คิดอยากช่วยเหลือแนะน�ำ แต่ก็ไม่แน่ใจ ไม่เข้าใจทางเลือก และอาจ สับสนกับตัวเองหากทางเลือกคือการทำ�แท้ง จึงปล่อยให้ปัญหาผ่าน เลยไปในท่ีสุด 4 ชวี ิตมีทางเลือก
หนังสือเล่มน้ีจะทำ�ให้ผู้หญิงที่ประสบปัญหาและคนใกล้ตัว ตลอดจนผู้ให้บริการหาทางออกในเบื้องต้นได้อย่างเข้าใจ มีทิศทาง และให้คำ�แนะนำ�ได้อย่างถูกต้อง เน้ือหาครอบคลุมองค์ความรู้ท่ี จำ�เป็นต่อชีวิต ในเร่ืองท่ีสังคมไทยมักไม่ส่ือสารกัน ทั้งเรื่องทางเลือก วิธีการพูดคุยกับคนใกล้ตัว การต้ังครรภ์ การยุติการต้ังครรภ์ท่ี ปลอดภัย และการคมุ กำ�เนดิ เพื่อปอ้ งกนั ท้องไมพ่ รอ้ ม เพราะ “ชวี ติ ” ยงั มีทางเลอื กเสมอ หนังสือเล่มน้ีส่งเสริมทางเลือกท่ีเหมาะสมสำ�หรับในแต่ละคน ที่อาจไม่จำ�เป็นต้องเลือกเหมือนกัน โดยเราเคารพการตัดสินใจน้ัน แบบไมต่ ีตรา และหวังวา่ ทางเลอื กน้นั จะเป็นทางเลอื กท่ปี ลอดภยั 5ทำ�ไมต้องมีหนังสือเล่มนี้
2. สทิ ธทิ จ่ี ะ “เลอื ก” เมอ่ื ทอ้ งไมพ่ รอ้ ม ผู้หญิงที่ต้ังครรภ์ทุกคน มีสิทธิท่ีจะได้รับบริการดูแลท้ังด้าน สขุ ภาพกายและใจ เชน่ การตรวจการตง้ั ครรภ์ การรับคำ�ปรึกษา และ การดแู ลรกั ษาจากแพทย์ พยาบาล นกั จติ วิทยา นักสงั คม-สงเคราะห์ นกั สาธารณสขุ โดยไมม่ กี ารเลอื กปฏบิ ตั ิ ไมว่ า่ การตง้ั ครรภ์น้นั จะมีความ พร้อมหรอื ไม่ หากการตั้งครรภน์ ้นั มคี วามพรอ้ ม ผู้ที่ตั้งครรภ์สามารถเข้าสู่ระบบการฝากครรภ์ที่สถาน บริการสุขภาพทุกแห่ง โรงพยาบาลทุกระดับ ทั้งของ ภาครัฐบาลและภาคเอกชน หรือศูนย์บริการสาธารณสุข ที่ให้บริการอยู่แล้วในระบบปกติ ตามความต้องการและ ความเหมาะสมของหญิงตั้งครรภ์แตล่ ะคน แต่..หากพบว่าการตง้ั ครรภ์นั้นไมพ่ ร้อม ผู้หญิงอาจต้องการปรึกษาปัญหา หรือต้องการความช่วย เหลือเฉพาะบุคคล มีหน่วยบริการจำ�นวนมากท่ีให้บริการ “การปรึกษาทางเลือก” ท่ีจะช่วยผู้หญิงประเมินสภาพ ปัญหาและช่วยกันหาทางออกที่สอดคล้องกบั ชวี ติ 6 ชีวติ มีทางเลอื ก
ปจั จบุ นั บริการปรึกษาทางเลอื ก มใี นโรงพยาบาลบางแหง่ ใน หน่วยที่เรียกว่า “ศูนย์พึ่งได้” และ “คลินิกวัยรุ่น” ซ่ึงจะมีผู้ให้การ ปรึกษาที่รับฟังปัญหาและให้ข้อมูลเพ่ือหาทางออกกับการต้ังครรภ์ท่ี ไมพ่ รอ้ ม หรอื หากไมส่ ะดวกใจไปรบั บรกิ ารปรกึ ษาแบบตวั ตอ่ ตวั อาจ เลอื กใชบ้ ริการหน่วยงานท่ใี ห้การปรกึ ษาทางโทรศัพทก์ ็ได้ การปรึกษาทางเลือก มุ่งให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม รับรู้ข้อมูล ทางเลือกอย่างเพียงพอและชัดเจน เพื่อคลี่คลายความรู้สึกท่ีสับสน ไร้ทางออก ให้มีความเข้าใจ มีความเข้มแข็ง เห็นทางออกชีวิต และ สามารถตัดสินใจต่อปัญหาที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและ ความตอ้ งการ ในทางปฏิบัติผู้ให้บริการปรึกษาทางเลือก อาจมีทัศนคติต่อ ทางเลอื กการยตุ กิ ารตง้ั ครรภท์ แ่ี ตกตา่ งกนั สง่ ผลใหบ้ างคนอาจใหก้ าร ปรึกษาโดยพยายามช่วยเหลือเพ่ือให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ต่อไป อย่างไร ก็ตามสิทธิในการเลือกทางออกย่อมเป็นของผู้ประสบปัญหา ผู้หญิงทอ้ งไมพ่ รอ้ มจงึ ควรรบั รขู้ อ้ มลู รอบดา้ นเพอ่ื หาทางออกทค่ี ดิ วา่ เหมาะสมกับตัวเอง หรืออาจขอรับบริการปรึกษาจากท่ีอ่ืนๆ เพ่ือ ประกอบการตดั สนิ ใจได้ 7สิทธิที่จะ “เลือก” เมื่อท้องไม่พร้อม
เพ่ือให้เข้าใจทัศนคติและแนวคิดของคนในสังคมต่อเร่ือง การยุติการต้ังครรภ์หรือการทำ�แท้ง เราอาจแบ่งแนวคิดในเรื่อง ดังกล่าวออกเป็น 2 ด้านท่ีแตกต่างกัน คือ แนวคิดสนับสนุนชีวิต (Pro-life) หรือแนวคิดต่อต้านการทำ�แท้ง (Anti-abortion) กับแนวคิดสนับสนุนทางเลือก (Pro-choice) หรือแนวคิดสิทธิ ในการท�ำ แทง้ (Abortion rights) แนวคิดสนับสนุนชีวิต (Pro-life) เป็นแนวคิดท่ีไม่เห็น ด้วยกับการทำ�แท้ง และอาจรวมถึงการสนับสนุนให้รัฐออก กฎหมายห้ามการทำ�แท้ง โดยให้เหตุผลว่าชีวิตมนุษย์เร่ิมต้นต้ังแต่ การปฏิสนธิ และตัวอ่อนในครรภ์ถือได้ว่ามีสถานะเทียบเท่าบุคคล จึงมีสิทธิท่ีจะมีชีวิตอยู่ซึ่งใครจะละเมิดมิได้ และผู้สนับสนุน แนวคิดน้ีจำ�นวนไม่น้อย มองว่าการทำ�แท้งขัดต่อหลักความเชื่อ ทางศาสนาและถอื เป็นบาปรา้ ยแรง แนวคิดสนับสนุนทางเลือก (Pro-choice) เห็นว่าผู้หญิง ควรมีสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย สิทธิด้านสุขภาพและอนามัย เจริญพันธุ์ และสิทธิในการกำ�หนดอนาคตของตนเอง ดังน้ัน ผู้หญิงจึงควรมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเองท่ีจะตั้งครรภ์ หรือยุติการ ตั้งครรภ์ได้ในทางกฎหมาย แนวคิดนี้สนับสนุนการทำ�แท้งโดยถูก กฎหมาย โดยเฉพาะในช่วงต้นของอายุครรภ์ และมองว่าการ อนุญาตให้ทำ�แท้งโดยถูกกฎหมาย จะช่วยลดความเสี่ยงที่ผู้หญิง 8 ชวี ติ มีทางเลอื ก
ต้องเผชิญจากการทำ�แท้งท่ีผิดกฎหมายและไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจ ทำ�ให้ผู้หญิงเหล่าน้ีต้องประสบปัญหาด้านสุขภาพและอาจเป็น อนั ตรายถงึ ชีวิต ตามคำ�ประกาศสิทธผิ ูป้ ว่ ย1 10 ข้อ มขี อ้ ที่เกย่ี วขอ้ งกบั สิทธิใน ทางเลือกเม่ือท้องไมพ่ ร้อมอยู่ 3 ข้อ ได้แก่ ขอ้ 1 ผปู้ ว่ ยทกุ คนมสี ทิ ธพิ น้ื ฐานทจ่ี ะไดร้ บั บรกิ ารดา้ นสขุ ภาพ ตามทบ่ี ัญญัติไวใ้ นรัฐธรรมนญู สทิ ธขิ อ้ นร้ี วมถงึ บรกิ ารปรกึ ษาทางเลอื ก และบรกิ ารทส่ี อดคล้อง กบั ทางเลอื กในกรณที ้องไม่พรอ้ ม แม้วา่ ในปัจจบุ ัน สถานบริการดา้ น สาธารณสุขจำ�นวนมากจะยงั ไม่มคี วามพรอ้ มทจี่ ะให้บริการในทกุ ด้าน โดยเฉพาะบริการยุติการต้ังครรภ์ท่ีปลอดภัย แต่เราควรตระหนักว่าน่ี คือสทิ ธอิ ันชอบธรรมโดยพื้นฐานท่ีเราควรจะได้รบั บรกิ ารเหล่าน้ี และ หากสถานบริการสาธารณสุขน้ันๆ ไม่พร้อมท่ีจะให้บริการ เราควรมี สทิ ธทิ จ่ี ะไดร้ บั ขอ้ มลู และไดร้ บั การสง่ ตอ่ ไปยงั สถานบรกิ ารสาธารณสุข ท่ีมคี วามพรอ้ ม 1 http://www.crhospital.org/crhospital/data_center/file/9%20(4)/สิทธิ ผู้ปว่ ย.pdf สบื คน้ เมือ่ 23 มีนาคม 2557 9สิทธิที่จะ “เลือก” เมื่อท้องไม่พร้อม
ข้อ 2 ผู้ป่วยมีสิทธิท่ีจะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพโดยไม่เลือกปฏิบัติ เนื่องจากมีความแตกต่างด้าน ฐานะ เช้ือชาติ ศาสนา สังคม ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และ ลกั ษณะความเจบ็ ปว่ ย แม้ว่าผู้ให้บริการสาธารณสุขแต่ละคนอาจจะมีทัศนคติต่อ ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมแตกต่างกัน แต่ผู้ให้บริการมีหน้าท่ีให้ บริการแก่ผู้ประสบปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่มาขอรับบริการ โดย ปราศจากการเลือกปฏิบัติบนฐานทัศนคติส่วนบุคคลของตนเอง และ ควรมองเห็นว่าผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมท่ีเข้ามาขอรับบริการ คือผู้ที่ ต้องการความช่วยเหลือ และสมควรได้รับการช่วยเหลือและบริการ เช่นเดียวกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือโรคภัยไข้เจ็บอ่ืนๆ อย่างเสมอ ภาคและเทา่ เทยี ม ข้อ 7 ผปู้ ว่ ยมสี ทิ ธจิ ะไดก้ ารปกปิดข้อมูลเก่ียวกับตนเองจาก ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความ ยินยอมจากผปู้ ่วย หรือการปฏบิ ัติหน้าทต่ี ามกฎหมาย สิทธิในข้อน้ี ครอบคลุมถึงการท่ีผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขจะ ต้องปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ท่ีต้ังครรภ์ไม่พร้อม ทั้ง ในการให้บริการการปรึกษาทางเลือก และบริการอ่ืนๆ ท่ีจำ�เป็น 10 ชีวิตมีทางเลือก
โดยที่สิทธิดังกล่าวย่ิงมีความสำ�คัญ ในสภาพสังคมที่ยังไม่ยอมรับ และมีการตำ�หนิ ตีตรา หรือลงโทษวัยรุ่นที่ท้องไม่พร้อม ผู้ให้บริการ ด้านสาธารณสุขจึงย่งิ ต้องมคี วามละเอียดอ่อนเป็นพิเศษในเรื่องน้ี • นโยบายของประเทศไทยทสี่ นับสนนุ สทิ ธทิ างเลอื ก “กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนการเกิดท่ีมีคุณภาพ ทเ่ี ป็นผลมาจากการตั้งครรภข์ องผู้หญิงทพี่ รอ้ มและต้งั ใจ” (นโยบายและยทุ ธศาสตรก์ ารพัฒนา อนามัยการเจริญพนั ธแ์ุ หง่ ชาติ ฉบับท่ี 1: 2553-25572) นโยบายนี้ ส่งเสริมให้ “การกำ�เนิดชีวิตใหม่” ทุกรายให้เป็นท่ี ปรารถนา ปลอดภัย และมคี ุณภาพ เพื่อนำ�ไปสู่ประชากรที่มีคุณภาพ โดยระบไุ วว้ า่ การเกดิ ทม่ี คี ณุ ภาพจะตอ้ งเปน็ ผลมาจากการตง้ั ครรภข์ อง ผหู้ ญงิ ทพ่ี รอ้ มและตง้ั ใจ “ให้การช่วยเหลือวัยรุ่นท่ีท้องไม่พร้อมให้ได้รับการ ปรกึ ษาทางเลอื กและสง่ ตอ่ ชว่ ยเหลอื ตามทางเลอื ก...” (นโยบาย OSCC ศูนยช์ ่วยเหลอื สงั คม3) 2 กระทรวงสาธารณสุข, 2553 11 3 สำ�นักบริหารการสาธารณสขุ กระทรวงสาธารณสขุ , 2556 สิทธิที่จะ “เลือก” เมื่อท้องไม่พร้อม
ใน พ.ศ.2556 ประเทศไทยได้จัดระบบบริการช่วยเหลือกลุ่ม วัยรุ่นหญิงท่ีท้องไม่พร้อม ภายใต้ช่ือ OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม ศูนย์น้ียังให้ความช่วยเหลือกลุ่มอ่ืนๆ คือ ผู้ได้รับความรุนแรง แรงงานเด็ก และค้ามนุษย์ โดยมีจุดรับเรื่องท่ีเข้าถึงได้ง่ายด้วยการ โทรศัพทแ์ จง้ ท่ีหมายเลข 1300 เพ่ือประสานส่งต่อใหค้ วามชว่ ยเหลอื และตดิ ตามผล • ทางเลอื ก/ทางออกเมอื่ ทอ้ งไม่พร้อม คอื อะไรได้บา้ ง สิทธิทางเลือกเมื่อต้ังครรภ์ไม่พร้อม คือหนึ่งในสิทธิอนามัยการ เจรญิ พนั ธ์ุ ทก่ี ล่าวไว้ว่า “สิทธิในการเลือกที่จะตั้งครรภ์หรือไม่ ตามความพร้อม ของรา่ งกาย จิตใจ สงั คม และเศรษฐกจิ โดยไม่มีเง่ือนไข อุปสรรคจากศาสนา ประเพณี และกฎหมาย” ทางเลือกต่อทางออกของปัญหาท้องไม่พร้อม มีสองแนวทาง หลกั คอื ตง้ั ครรภ์ตอ่ และการยุติการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ต่อ ให้คำ�นึงถึงวิธีการจัดการผลกระทบต่างๆ ที่ อาจเกิดข้ึน ทั้งทางอารมณ์และการแสดงออก เช่น ความวิตกกังวล 12 ชีวติ มที างเลือก
อับอาย เสียใจ การประชด การตัดสินใจชั่ววูบ ผลกระทบทางสังคม เช่น ไม่มีที่อยู่ ไม่มีงานทำ� ไม่มีคนดูแล ความสัมพันธ์กับพ่อแม่ คูค่ รอง รวมทง้ั ผลกระทบต่ออนาคต เช่น การไดศ้ ึกษาต่อ การถกู เลิก จ้างงาน เป็นตน้ หากเลือกแนวทางนี้ ก็ต้องมีแผนชีวิตสำ�หรับตัวเองท่ีชัดเจนใน ระหว่างการตั้งครรภ์ และหลังคลอด เพื่อเลือกทางออกท่ีเหมาะสม กับตัวเอง ซึ่งอาจต้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ ท่ี เกีย่ วข้อง ดังผังภาพ ปรึกษาทางเลอื ก ต้ังครรภ์ตอ่ ระหว่างต้งั ครรภ์ หลงั คลอด การคมุ กำ�เนิดหลังคลอด บริการ บา้ น โอกาส ครอบ ชว่ ย ยกให้ ยก ฝาก พกั ศึกษา ครัว เหลอื สถาน เปน็ บตุ ร ท้องที่ รอ ต่อ อุป- เลยี้ งดู สง- บุญ เปน็ มติ ร คลอด ถัมภ์ บุตร เคราะห์ ธรรม 13สิทธิที่จะ “เลือก” เมื่อท้องไม่พร้อม
การยุติการต้ังครรภ์ ให้คำ�นึงถึงเกณฑ์การยุติการตั้งครรภ์ตาม กฎหมาย อายคุ รรภ์ ความปลอดภัย โดยเลอื กสถานบรกิ ารที่เช่อื ถือได้ และใชว้ ธิ กี ารทป่ี ลอดภยั การยตุ กิ ารตงั้ ครรภท์ ป่ี ลอดภยั ควรท�ำ ในอายุ ครรภน์ อ้ ยกวา่ 12 สปั ดาห์ หากมากกวา่ 12 สปั ดาห์ ตอ้ งท�ำ โดยแพทย์ ผู้เช่ียวชาญ โดยอายุครรภ์ที่มากกว่า 22-24 สัปดาห์ ไม่ควรยุติการ ตงั้ ครรภเ์ นอื่ งจากอาจเกดิ อนั ตรายตอ่ สขุ ภาพผหู้ ญงิ และอาจรนุ แรงถงึ เสียชวี ิตได้ ปรกึ ษาทางเลอื ก (ตงั้ ครรภต์ ่อไมไ่ ด้) ตอ้ งยุติการตงั้ ครรภ์ อายคุ รรภน์ ้อยกว่า อายคุ รรภ์มากกวา่ อายคุ รรภ์มากกวา่ 12 สัปดาห์ 12 สปั ดาห์ 22-24 สัปดาห์ คมุ ก�ำ เนดิ เพอื่ ป้องกันการ ไมส่ ามารถยตุ กิ ารตัง้ ครรภ์ได้แล้ว ท้องไม่พรอ้ มในอนาคต ขอความช่วยเหลือเพือ่ ตัง้ ครรภต์ ่อ และยงั มีทางเลอื กหลังคลอด โดยหากเลอื กแนวทางการยตุ กิ ารตง้ั ครรภ์ ควรไดร้ บั การปรึกษา ท้ังก่อน-หลังการยุติการต้ังครรภ์ เพ่ือคุมกำ�เนิดป้องกันท้องไม่พร้อม ในอนาคต รวมทั้งการดูแลสภาวะจติ ใจด้วย 14 ชีวติ มีทางเลอื ก
• การต้ังครรภ์อันเนอื่ งมาจากความรนุ แรงทางเพศ การตั้งครรภ์ท่ีเกิดจากการข่มขืนล่อลวงทางเพศ หรือในเด็กที่ อายุตำ�่ กว่า 15 ปี มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะยุติการต้ังครรภ์ได้ตาม กฎหมาย นอกจากการยุติการตั้งครรภ์แล้วผู้หญิงควรได้รับความ ช่วยเหลือในกระบวนการยุติธรรมด้วย รวมท้ังการเยียวยาทางจิตใจ ปัญหาในปจั จบุ นั คือ โรงพยาบาลในประเทศไทย อาจมคี วามพร้อมท่ี แตกตา่ งกนั ในการให้บริการด้านน้ี สามารถติดต่อไปที่ 1663 สายปรึกษาท้องไม่พร้อม เว็บไซต์ www.lovecarestation.comหรอื Facebook ที่ \"1663 สายปรกึ ษา ท้องไม่พรอ้ ม\" และ \" Lovecarestation\" หรอื ตดิ ต่อไปท่ี 1300 OSCC ศนู ยช์ ว่ ยเหลอื สงั คม และเวบ็ ไซตข์ องเครอื ขา่ ยทอ้ งไมพ่ รอ้ มฯ http://choicesforum.wordpress.com/ มีข้อมลู แหลง่ ให้ความ ช่วยเหลือต่างๆ ทั้งการปรึกษาทางเลือก ความช่วยเหลือกรณี ท้องต่อ การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย และการสงเคราะห์ อปุ การะเดก็ ฯลฯ 15สิทธิที่จะ “เลือก” เมื่อท้องไม่พร้อม
• ใครบา้ งทมี่ ขี อ้ จำ�กดั ในการ “ตดั สนิ ทางเลือก” 1. เด็ก อายุต่ำ�กว่า 18 ปีที่ท้องไม่พร้อม สามารถตัดสินใน ทางเลอื กได้เองหรือไม่ หรอื ตอ้ งใหผ้ ู้ปกครองตัดสินใจแทน ค�ำ ตอบ: โดยทวั่ ไป ต้องใหบ้ ิดามารดาหรอื ผูป้ กครองยนิ ยอมใน การท�ำ หตั ถการทางการแพทย์ เชน่ การยตุ กิ ารตงั้ ครรภ์ หรอื การคลอด ใหก้ บั ผทู้ อี่ ายตุ ่�ำ กวา่ 18 ปี ยกเวน้ แตก่ รณเี รง่ ดว่ นทเ่ี ปน็ อนั ตรายตอ่ ชวี ติ อยา่ งไรกต็ าม หากความประสงคข์ องบดิ ามารดาหรอื ผปู้ กครองขดั แยง้ กบั ผทู้ อ่ี ายตุ ่�ำ กวา่ 18 ปี ทมี สหวชิ าชพี ทชี่ ว่ ยเหลอื เรอ่ื งทอ้ งไมพ่ รอ้ มจะ เน้นทางเลือกที่เด็กเป็นผู้ตัดสินใจ ด้วยการช่วยประเมินศักยภาพของ เด็กและสภาพแวดล้อมประกอบกัน การดำ�เนินงานน้ีสอดคล้องกับ พระราชบญั ญตั ิคมุ้ ครองเดก็ พ.ศ. 2546 ท่ีให้คำ�นึงถึงประโยชนส์ ูงสดุ ของเดก็ เป็นส�ำ คัญ 16 ชีวิตมที างเลือก
2. ผหู้ ญงิ ทท่ี อ้ งไมพ่ รอ้ ม หากมคี ู่ หรอื มสี ามี สามารถตดั สนิ ใจ ทางเลือกเม่ือท้องไม่พร้อมได้เองหรือไม่ หรือต้องได้รับความ ยนิ ยอมจากคูห่ รือสามี คำ�ตอบ: โดยทั่วไป หากคู่สมรสมีความสัมพันธ์ท่ีดีต่อกัน มักจะปรึกษาหารือกันอย่างเท่าเทียมและหาทางออกท่ีสอดคล้องกับ ท้ังสองฝ่าย โดยมักจะมีการทบทวนความคิดต่อการตั้งครรภ์หรือยุติ การตั้งครรภ์รอบคอบข้ึน ในทางตรงข้ามหากความสัมพันธ์ของคู่ไม่ดี ทีมสหวิชาชีพจะให้การปรึกษาครอบครัวประกอบ เพื่อหาทางเลือก และทางออกที่เหมาะสมกับท้ังสอง รวมท้ังอาจมีกระบวนการ ครอบครัวบำ�บัดเพ่ือช่วยในการตัดสินใจอย่างรอบด้าน รวมถึงข้อมูล ทางดา้ นกฎหมายทเ่ี กยี่ วข้อง 17สิทธิที่จะ “เลือก” เมื่อท้องไม่พร้อม
ด.ญ.มิ้นท์ (นามสมมุติ) อายุ 14 ปี เรียนช้ัน ม.2 เป็นลูกสาวคนโตในจำ�นวน 3 คน พ่อแม่รับจ้างในโรงงาน แห่งหนึ่งในจังหวัดแถวภาคกลาง พ่อแม่พาม้ินท์มารับบริการ ปรกึ ษา เพราะพบเธอกบั เพอ่ื นชายอายุ 20 ปที ห่ี นา้ หา้ งสรรพสนิ คา้ หลังจากทเี่ ธอไปนอนค้างที่บ้านเพอ่ื นชาย 1 คนื พอ่ แมด่ �ำ เนนิ คดี ในข้อหาพรากผู้เยาว์กับเพื่อนชาย เจ้าหน้าที่ตำ�รวจจึงส่งตรวจ ร่างกาย จากการตรวจปัสสาวะพบเธอต้ังครรภ์ เธอบอกว่าเคยมี เพศสัมพันธ์กับเพ่อื นชายคนแรกท่เี ลิกกันเม่อื ปลายปีก่อน แล้วจึง รจู้ กั กบั เพอ่ื นชายคนนผี้ ่านโปรแกรมโซเชียลมเี ดยี ได้ 2 เดอื น มิน้ ท์ มีเพศสัมพันธ์ก่อนน้ีหลายคร้ังโดยที่พ่อแม่ไม่ทราบ ความท่ีมิ้นท์ เป็นเดก็ เรยี นดี หัวอ่อนว่างา่ ย พอ่ แม่จึงไม่ดุว่าเมือ่ เกดิ เหตุการณ์นี้ เมื่อถามเธอถึงอนาคต เธอบอกอยากเป็นหมอแต่กลัวเข็มฉีดยา ส่วนการต้ังครรภข์ องเธอก็บอกวา่ แล้วแต่พ่อแม่ จากการพูดคุยกับมิ้นท์และพ่อแม่ พบว่าเธอเป็นผลิตผล ของครอบครัวท่ีพ่อแม่คิดว่าได้เลี้ยงดูลูกอย่างดีแล้ว แต่ขาดการ พูดคุยส่ือสาร ขาดความใกล้ชิดสนิทสนม พ่อแม่ไม่เคยพูดถึงเรื่อง เพศเพราะเกรงว่าจะช้ีนำ�ลูก เธอจึงหาประสบการณ์ด้วยตนเอง โดยท่ีไม่อาจเล่าเรื่องน้ีแก่พ่อแม่ได้เลย ประกอบกับการท่ีพ่อแม่ ไม่เคยให้เธอรับผิดชอบในวิถีชีวิตประจำ�วัน การตัดสินใจต่างๆ ของเธอจึงขน้ึ อยกู่ ับพอ่ แม่ 18 ชวี ติ มีทางเลือก
การให้การปรกึ ษาทางเลอื ก จึงเร่มิ กับมน้ิ ทเ์ พอ่ื คน้ หาความ ต้องการที่แท้จริงของเธอ โดยชั่งนำ�้ หนักระหว่างความรักและ การศึกษา และอนาคตท่ีจะเกิดหากเลือกทางน้ัน การตัดสินใจต่อ ชีวิตตัวเองและอีก 1 ชีวิตในท้อง รวมท้ังแนวทางการดำ�เนินชีวิต ตามทางเลอื กตอ่ ไป เราขอใหม้ น้ิ ทท์ บทวนสิ่งทพี่ ูดคยุ กบั พอ่ แมเ่ พอ่ื คน้ หาความคดิ ของพอ่ และแมต่ อ่ เหตกุ ารณท์ เี่ กดิ ขนึ้ และตอ่ การตงั้ ครรภ์ ซ่ึงสะท้อนให้เห็นถึงการให้อภัยของพ่อในเร่ืองที่ม้ินท์มีเพศ สัมพนั ธ์ แต่หว่ งความปลอดภัยและความเจ็บปวดของลูกในการยุติ การตง้ั ครรภ์ สว่ นแมเ่ องกห็ ว่ งเรอื่ งการเรยี นจงึ อยากใหเ้ ธอตงั้ ใจสอบ กอ่ นจงึ ตดั สนิ ใจ มน้ิ ทเ์ องเหน็ ทา่ ทขี องเพอื่ นชายทใ่ี หป้ ากค�ำ ทส่ี ถานี ต�ำ รวจ ท�ำ ใหค้ น้ พบความจรงิ วา่ เรอื่ งทเ่ี พอื่ นชายเคยสญั ญาวา่ จะรกั และดแู ลกันน้นั ไมใ่ ชเ่ รอ่ื งจริง ในท่ีสุด มิ้นทก์ ็ได้ทางเลือกของเธอ มน้ิ ทค์ ิดไดว้ า่ เธอควรรัก ชีวิตของตัวเอง เธอต้องการอนาคตที่ดี ชีวิตเธอมีพ่อแม่ที่รักและ หวังดีต่อเธอ ในท่ีสุดเธอจึงตัดสินใจยุติการต้ังครรภ์โดยมีพ่อและ แมอ่ ยู่เคยี งขา้ งให้กำ�ลังใจ 19สิทธิที่จะ “เลือก” เมื่อท้องไม่พร้อม
3. ทำ�อยา่ งไรเมอื่ คนใกล้ตวั “ท้องไม่พรอ้ ม” พูดก็พดู เรอ่ื งทอ้ งไมพ่ รอ้ มน้ี หากไมเ่ กดิ กับตวั ... กอ็ าจเข้าใจไดย้ ากเหลือเกิน หากการท้องไมพ่ ร้อมเกิดขน้ึ สงั คมกม็ กั จะต�ำ หนติ ิเตียนผหู้ ญงิ ส่วนใหญ่ก็มองเรื่องนี้ในด้านลบ ผู้หญิงท่ีประสบปัญหาส่วนใหญ่มี ความอบั อาย ไมก่ ล้าปริปากบอกใคร แต.่ .หากท้องไม่พร้อมเกิดขน้ึ กบั คนใกล้ตัวล่ะ จะทำ�อย่างไร เม่ือมคี นใกล้ตัว คนในครอบครวั เดยี วกัน หรือนักเรียนของคณุ ประสบปัญหาท้องไม่พร้อม ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม เมื่อเกิด เหตุการณ์เหล่านโ้ี ปรดระลกึ เสมอว่า “เขาไม่ได้อยากใหส้ ิ่งนเ้ี กิดขึ้น” “เขาก�ำ ลงั อยูใ่ นสภาวะยากลำ�บาก” และ “คณุ คอื คนส�ำ คัญ” ทจี่ ะอยเู่ คยี งขา้ งเขา 20 ชีวติ มที างเลือก
ทำ�ไมวยั รุ่นต้องปิดบัง เพราะการท้องไม่พร้อมเป็นส่ิงที่สังคมไม่ยอมรับ คนใน สังคมรวมทั้งส่ือมวลชนมักตัดสินและตีตราวัยรุ่นหญิงท่ีตั้งท้องว่า เปน็ เด็กใจแตก ใจงา่ ย ไมร่ กั นวลสงวนตวั ไม่รักดี เป็นต้น วยั รุ่นที่ ท้องไม่พร้อมส่วนใหญ่จึงรู้สึกเกรงกลัวการตัดสินและการลงโทษ จากผู้ใหญ่ท่ีมีอำ�นาจ นอกจากน้ี วัยรุ่นที่ตั้งท้องอาจเชื่อตามการ ตัดสินของสังคม และมองว่าตนเองได้กระทำ�สิ่งท่ีเลวร้าย เป็น คนไม่ดี และรู้สึกผิดที่ทำ�ให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ญาติพ่ีน้อง และครู อาจารย์ต้องผิดหวังและเสียใจ และบางรายอาจถูกเพื่อนชายท่ีมี ความสมั พันธ์ด้วยปฏิเสธหรือตตี วั ออกห่าง จงึ นำ�มาสู่การพยายาม ปดิ บังปัญหา ส่งผลให้วยั รุ่นทตี่ ง้ั ท้องจ�ำ นวนไมน่ อ้ ยตอ้ งประสบกับ ภาวะโดดเดี่ยว วิตกกังวล หวาดกลัว อับอาย ไร้ที่พ่ึง และถูก ทอดทิ้งให้ต้องเผชิญปัญหาตามลำ�พัง นำ�ไปสู่การทำ�ร้ายตนเอง การหาทางออกโดยขาดข้อมูลและแหล่งสนับสนุน ซ่ึงรวมถึงการ เส่ียงชีวิตในการทำ�แท้งที่ไม่ปลอดภัย หรือการต้ังครรภ์ต่อโดย ไมไ่ ดร้ บั การดแู ลฝากครรภท์ ่จี �ำ เปน็ และเหมาะสม 21ทำ�อย่างไรเมื่อคนใกล้ตัว “ท้องไม่พร้อม”
ลองนึกถึงเวลาท่ีเกิดเร่ืองไม่ดีกับตัวเรา คนท่ีเราสามารถคุย ด้วยคือใคร เราวางใจเล่าเรอ่ื งราวรา้ ยแรงแบบน้ีให้ใครฟงั ลูกหลาน ลูกศิษย์ของเราก็เช่นกัน เขาต้องการ “ผู้ใหญ่ใจดี” ท่ีพรอ้ มจะรับฟงั อยา่ งเขา้ ใจ ชว่ ยเหลอื ในยามทหี่ าทางออกไมไ่ ด้ คุณมีความหมายมากสำ�หรับเขา หน้าท่ีของคุณคือการเป็น “ผใู้ หญใ่ จด”ี ทจี่ ะเปดิ ใจรบั ฟังอย่างเขา้ ใจความทกุ ขข์ องเขา ทำ�ความเข้าใจสาเหตุหลักๆ4 ทที่ ำ�ให้ผูห้ ญงิ ท้องไม่พร้อม: ได้แก่ ความไม่เข้าใจเรื่องเพศและการคุมกำ�เนิด ความ ต้องการเรียนหนังสือต่อ ไม่อยากถูกออกจากงาน เปิดเผยการตั้ง ท้องต่อคนอ่ืนๆ ไม่ได้ มีฐานะยากจน เลี้ยงลูกไมไ่ ด้ มลี ูกมาก การ ต้ังครรภ์น้ันเป็นการท้องนอกสมรส แยกทางกับคู่/คู่เสียชีวิต ฝ่าย ชายไม่รับผิดชอบ ถูกทอดท้ิง มีความรุนแรงเกิดขึ้นในครอบครัว นอกจากนี้ ยังมีผู้หญิงจำ�นวนมากที่ต้ังครรภ์เพราะถูกข่มขืนล่วง ละเมดิ ทางเพศ หรอื มเี พศสมั พันธโ์ ดยไม่สมัครใจ 4 เครอื ข่ายสนับสนนุ ทางเลือกของผหู้ ญิงทอ้ งไมพ่ ร้อม, 2556 22 ชวี ิตมที างเลอื ก
• เมอ่ื ทราบว่าคนใกล้ตวั ท้องไม่พร้อม ขอให้มีความม่ันใจว่า เราสามารถจัดการปัญหาท่ีเกิดขึ้นได้ อย่างถูกต้องและเหมาะสม ถ้าเราเพียงรับฟังเรื่องท่ีเกิดข้ึนด้วยหัวใจ ท่ีเปิดกว้าง ไม่ตำ�หนิ ไม่ดุด่า ไม่เพิกเฉย และรู้เท่าทันความรู้สึกและ อารมณข์ องตนเอง การลองทำ�สิ่งต่อไปน้ี จะทำ�ให้คุณเผชิญปัญหา และช่วยเหลือ คนที่คุณรกั ไดม้ ากขึ้น • “ตระหนักว่าคณุ คอื คนสำ�คญั ” เมื่อคนใกล้ตัวตัดสินใจที่จะบอกกับคุณว่า “ท้องไม่พร้อม” หมายความว่า คุณคือคนสำ�คัญท่ีสุดในชีวิตของเขา เป็นคนท่ีได้รับ ความไวว้ างใจ และเขาเชอื่ มน่ั วา่ คณุ จะชว่ ยแกไ้ ขปญั หาทส่ี �ำ คญั ในชวี ติ ของเขาได้ อย่าผลกั เขาออกไปเผชญิ ปญั หาเพยี งล�ำ พัง • “รูเ้ ท่าทันอารมณ์และความร้สู ึกของตนเอง” ทันทีที่คุณทราบว่าคนใกล้ตัวท้องไม่พร้อม ความรู้สึกตกใจ โกรธ เสียใจ ผิดหวัง อาจถาโถมเข้ามา ขอเพียงให้คุณรับรู้อารมณ์ และความรู้สึกที่เกิดขึ้น คุณจำ�เป็นที่จะต้องจัดการอารมณ์และความ รู้สึกที่เกิดข้ึนอย่างเหมาะสม โดยอาจใช้วิธีกลับมาอยู่กับลมหายใจ 23ทำ�อย่างไรเมื่อคนใกล้ตัว “ท้องไม่พร้อม”
ของตวั เอง หายใจเขา้ ลึกๆ หายใจออกยาวๆ สกั 5 - 10 รอบของลม หายใจ ซ่งึ จะชว่ ยใหค้ ุณสงบ มีสติ และพรอ้ มทจี่ ะรบั ฟงั เรือ่ งราว • “รบั ฟงั อย่างใสใ่ จ” การรับฟงั อยา่ งใส่ใจโดยไม่ตดั สินไมต่ �ำ หนอิ าจเปน็ เร่ืองยาก แต่ เป็นเรื่องสำ�คัญและมีคุณค่ามากที่สุด คุณต้องตระหนักว่าเขากำ�ลัง จะเล่าเร่ืองราวท่ีสำ�คัญท่ีสุด ท่ีเขาอาจไม่เคยบอกให้ใครรู้ให้คุณฟัง เพียงคุณรับฟังและอยู่เคียงข้างเขา คุณจะรับรู้...เข้าใจ และสัมผัส ความรู้สึก....ความทุกข์ที่ไม่ได้สื่อสารออกมาเป็นคำ�พูดได้ ภาษาทาง กาย สหี นา้ ท่เี ตม็ ไปด้วยความวติ กกงั วล แววตาท่ีอาจไม่กลา้ สบตาคุณ • “ใช้คำ�ถามที่สร้างสรรค์น�ำ ไปส่หู นทางในการแกป้ ญั หา” หลีกเลี่ยงคำ�ถามท่ีคาดค้ันเอาความผิดจากผู้ตอบ โดยการใช้ คำ�ถามที่ขึ้นต้นวา่ ทำ�ไม เชน่ “ท�ำ ไมไปนอนกับผู้ชายคนนไี้ ด”้ “ทำ�ไมถงึ ปล่อยใหท้ ้อง” “ท�ำ ไมไมค่ ุมกำ�เนดิ ” “ท�ำ ไม.......ฯลฯ” ค�ำ ถามเหลา่ นจี้ ะตอกย�ำ้ ใหผ้ หู้ ญงิ ทท่ี อ้ งไมพ่ รอ้ มรสู้ กึ ทกุ ขม์ ากยง่ิ ข้ึน และหลายคนย่ิงรสู้ ึกลงโทษตนเองมากขน้ึ 24 ชวี ิตมีทางเลอื ก
แตเ่ ราควรตง้ั สติ และใชค้ �ำ ถามปลายเปดิ เพอ่ื กระตนุ้ การรว่ มคดิ ร่วมวางแผน เพ่ือแก้ไขปัญหาด้วยกัน ชวนคุยให้เห็นว่าปัญหายังมี ทางออก และมที างเลอื กในการแก้ปญั หา เชน่ “หนูรูส้ ึกอย่างไรในตอนน”้ี “หนอู ยากเลา่ อะไรให้ พอ่ /แม/่ ครู ฟงั เกย่ี วกบั เรอ่ื งทเ่ี กดิ ขน้ึ บา้ ง” “หนกู ังวลในเร่อื งอะไรบา้ ง” “หนอู ยากให้ พ่อ/แม่/ครู ช่วยอะไรบา้ ง” ฯลฯ แต่หากคณุ ไมพ่ ร้อมท่ีจะรับฟงั ให้ใช้เวลาสักครู่หน่ึงในการเตรียมความพร้อมท่ีจะคุย เพราะเรื่องท่ีเกิดขึ้นเป็นเร่ืองท่ีสำ�คัญต่อชีวิตเธอและชีวิตของคุณ ที่สำ�คัญ อย่าคุยกับเธอหากคุณไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ แต่ คุณควรให้เวลากับตัวเองในการจัดการกับอารมณ์ อคติ และทุก อย่างท่ีอาจไปทำ�รา้ ยความร้สู ึกของคนทีค่ ุณรกั ได้ 25ทำ�อย่างไรเมื่อคนใกล้ตัว “ท้องไม่พร้อม”
• “ลกู /ลกู ศิษย์ท้อง” พอ่ แม่ คุณครู ท�ำ อยา่ งไร บอกกบั ตัวเองวา่ เราคอื “ผ้ใู หญ่ใจดีท่ีพร้อมรับฟงั ปญั หา” • ก่อนอื่น ควรหม่นั สังเกตการเปล่ยี นแปลงทางร่างกายของ ลกู /ลกู ศิษย์อยา่ งสม่�ำ เสมอ โดยทั่วไป วยั รุ่นหรอื ผหู้ ญิงท่ี ประสบปัญหาทอ้ งไม่พร้อม มักจะเก็บปญั หาไวค้ นเดยี ว ถา้ คณุ สงั เกตเหน็ การเปลย่ี นแปลง ควรจะสอบถามอยา่ งออ่ นโยน • หากลกู /ลกู ศษิ ย์กล้าเขา้ มาปรึกษากบั เรา คุณต้องต้งั สติ หาย ใจลกึ ๆ ยาวๆ ส�ำ รวจความพรอ้ มของตวั เอง อยา่ พดู ในสิง่ ท่ี ทำ�ใหผ้ ้ฟู งั ทกุ ขใ์ จย่ิงข้นึ • รับฟงั อยา่ งใส่ใจ มที า่ ทที เ่ี ปน็ มิตร “รอยย้ิม” จะทำ�ให้ปัญหาทุกอย่างเบาลง (แมจ้ ะ เปน็ รอยยม้ิ ทง้ั นำ�้ ตา) ในกรณีทีค่ ณุ คอื พอ่ แม่ การโอบกอด ใหก้ ำ�ลงั ใจลกู ท่าทีของความเข้าใจ ใส่ใจ อบอุ่น พร้อมใหอ้ ภัย ให้โอกาส คอื สิ่งทพ่ี ึงกระทำ� การใชค้ �ำ พดู กับลูก เชน่ “พ่อแม่เข้าใจ ชีวิตมันผิดพลาดได้ ไม่เป็นไร เราจะฝ่าฟัน ปญั หาตา่ งๆ ไปดว้ ยกัน” “หนอู ยากใหพ้ อ่ แม่ทำ�อะไรใหบ้ า้ ง” “….. (ลองคดิ ค�ำ พดู ของคณุ เอง)...” 26 ชีวติ มที างเลือก
ในกรณที ค่ี ุณคือคุณครู การสัมผัสที่ฝ่ามือ ท่าทีที่เป็นมิตร สร้างความเข้าใจ ใส่ใจ ปราศจากอคติ คอื สงิ่ ท่พี งึ กระทำ� ค�ำ พูดที่พึงใช้กับลกู ศษิ ย์ เชน่ “ครูเขา้ ใจนะ ไม่มีใครอยากให้ส่งิ นเ้ี กิดข้ึน” “แล้วหนูคดิ ว่าจะท�ำ อย่างไรตอ่ ไป” “หนูบอกพ่อแม่หรือยัง” “หนอู ยากใหค้ รชู ่วยอะไรบา้ ง” “….. (ลองคดิ คำ�พดู ของคณุ เอง)...” วิธกี ารเปิดประเด็นคุยเรื่องท้องกับผู้ใหญ่ น้องๆ นักเรียน น้องๆ ผู้หญิงที่ประสบปัญหาการตั้งครรภ์ ไม่พร้อม ขอให้มั่นใจว่าตนเองสามารถบอกพ่อแม่ผู้ปกครอง ครู หรือคนใกล้ตัวได้ โดยใหใ้ ช้วธิ ีพดู กับตนเองอย่างนอ้ ย 50 คร้ัง วา่ “ฉันท�ำ ไดๆ้ ๆๆๆๆๆ” และให้ตงั้ สติ หายใจเขา้ ...หายใจออก....ลึกๆ ยาวๆ สกั 20 รอบ และหาชว่ งเวลาทผี่ ูใ้ หญไ่ ม่เรง่ รบี พอมีเวลาที่ จะพดู คุย เร่ิมด้วยคำ�พูดท่ีง่ายๆ ชัดเจน แสดงถึงความรู้สึกผิด.. ขอความเข้าใจ เช่น “แมค่ ะ มเี รอ่ื งบางเรือ่ งท่ีเกดิ ขึ้นกับหนู หนูรู้ว่า ถ้าพ่อแม่รู้ คงต้องเสียใจ ตัวหนูเองก็เสียใจ แต่หนูก็ต้องบอก คือ “หนูท้อง” จากนั้นเล่ารายละเอียดให้พ่อแม่ฟังว่าเกิดอะไรข้ึนบ้าง ...(เลา่ เรื่องราว) ..............หนูอยากใหพ้ ่อแมใ่ ห้อภยั หนู” 27ทำ�อย่างไรเมื่อคนใกล้ตัว “ท้องไม่พร้อม”
• การพูดคยุ ทางออก ทางเลือกในการแกป้ ัญหา การหาทางออกของปัญหา เร่ิมจากการเปิดใจรับรู้ความยาก ลำ�บากของผู้หญิงท้องไม่พร้อม สร้างพลังใจให้ผู้หญิงเป็นศูนย์กลาง ในการตัดสินใจทางเลือก กระตุ้นให้คิดทบทวนเร่ืองราวของตนเอง ร่วมค้นหาทางเลือก ร่วมวางแผนหาแนวทางดำ�เนินการตามทาง เลอื ก และให้ความชว่ ยเหลอื ตามที่ตอ้ งการ กรณเี ลือกท่ีจะตงั้ ครรภต์ ่อ: ตัวอยา่ งค�ำ ถามท่สี รา้ งสรรค์ เช่น “ถา้ คลอดแลว้ จะวางแผนอย่างไรต่อไป” “ใครบา้ งทีส่ ามารถชว่ ยดูแลได”้ “อะไรที่ทำ�ให้เรามั่นใจว่าเขา (ผู้ดูแลท่ีนึกถึง) จะสามารถช่วย ดูแลทารกที่เกิดมาได”้ “วางแผนเลี้ยงลูกท่ไี หน” “วางแผนเลี้ยงลกู อยา่ งไร” “สภาพแวดลอ้ มท่ีเลย้ี งดเู ป็นอย่างไร” “วางแผนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูกอย่างไร” (เร่ิมจากแรกเกิด อุปกรณ์ในการเลี้ยงดู ค่าใช้จ่ายท่ีเกิดขึ้น (ต่อวัน/ต่อสัปดาห์/ต่อ เดอื น) “วางแผนอนาคตของเดก็ เป็นระยะๆ อย่างไร” 28 ชวี ติ มที างเลือก
“วางแผนเรื่องการศกึ ษาของเด็กอย่างไร” “วางแผนเร่อื งคา่ ใช้จ่ายที่เกดิ ขึ้นในบ้านอย่างไร” กรณีเลือกท่ีจะยุติการตั้งครรภ์: ซ่ึงอาจจะมาจากหลายสาเหตุ แต่ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดๆ ส่ิงท่ีต้องทำ�ก่อนคือ ช่วยกันคลี่คลาย ปัญหาท่ีอยู่ตรงหน้า ตัวอย่างคำ�ถามที่สร้างสรรค์เพ่ือช่วยกันหา ทางออก เช่น “ไมว่ า่ จะดว้ ยเหตุผลใดๆ ก็ตามที่เราเลอื กท่จี ะยตุ .ิ . เรากังวลใจ เรื่องอะไรมากท่สี ุด” “หลงั การยุติการตั้งครรภว์ างแผนอย่างไรกบั ตนเองต่อไป” “ไม่ว่าทางเลอื กทางไหนกล็ ว้ นเจบ็ ปวด แตเ่ ชือ่ มั่นวา่ (ลูก/หน/ู นอ้ ง/หลาน) จะสามารถรับผดิ ชอบในทกุ ทางเลือกได”้ ฯลฯ ลองคิดประโยคสนทนาลักษณะน้ีด.ู . ไมย่ ากอย่างทค่ี ิด ! ความเข้าใจท่ีแสดงออกจากสีหน้า แววตาท่ีใส่ใจ ท่าทีที่เป็น มิตร และการให้กำ�ลังใจและความชื่นชมต่อการแก้ปัญหาอย่างจริงใจ จะชว่ ยให้ผูท้ ที่ อ้ งไม่พรอ้ มเกดิ พลงั ใจในการฟนั ฝ่าตอ่ สูป้ ัญหาตอ่ ไป 29ทำ�อย่างไรเมื่อคนใกล้ตัว “ท้องไม่พร้อม”
ทางออกของท้องไม่พรอ้ มในวยั รุ่น.. ไม่ใช่การแตง่ งาน การมีความสัมพันธ์ทางเพศและต้ังครรภ์ในเด็กหญิงท่ีอายุ ต่ำ�กว่า 15 ปี เป็นเร่ืองที่ผู้ชายมีความผิดทางกฎหมายอาญา ดงั นนั้ จ�ำ เปน็ ตอ้ งมกี ารแจง้ ความลงบนั ทกึ ประจ�ำ วนั เพอื่ ใหต้ �ำ รวจ ด�ำ เนนิ คดที างกฎหมาย (หากฝา่ ยชายอายตุ �ำ่ กวา่ 18 ปี จะถกู ด�ำ เนนิ คดใี นสถานพนิ จิ เดก็ และเยาวชน) กรณนี ท้ี พี่ บมากคอื ครอบครวั ของ ฝา่ ยชายมกั ขอหมน้ั หมายหรอื บงั คบั แตง่ งาน เพอ่ื ใหจ้ บเรอ่ื งทางคดี การให้ลูกสาวท่ีต้ังครรภ์แต่งงานในลักษณะน้ี อาจทำ�ให้ พ่อแม่รู้สึกว่ามีทางออกของตนเองในลักษณะไม่เสียหน้า แต่ ทางออกนั้นอาจทำ�ให้ลูกสาวต้องเสียใจและเสียอนาคตไปตลอด ชวี ิต เพราะการแตง่ งานในอายทุ น่ี อ้ ยและไมพ่ รอ้ มน้ี ในระยะตอ่ มา... ทางฝ่ายชายมีแนวโน้มทจ่ี ะไมร่ บั ผิดชอบใดๆ ในทส่ี ดุ 30 ชีวติ มีทางเลือก
แต่ก็มีพ่อแม่ผู้หญิงจำ�นวนมาก ที่ใช้ช่องทางกฎหมายน้ี เรียกร้องค่าเสียหายจากครอบครัวของฝ่ายชาย การท�ำ เชน่ นท้ี ำ�ให้ ลกู รสู้ กึ วา่ พอ่ แมไ่ มไ่ ดร้ กั ลกู เหน็ แกไ่ ด้ เหน็ ลกู เปน็ สงิ่ ของทจี่ ะน�ำ มา ซง่ึ เงนิ ทอง ซงึ่ กลบั ไปซ�ำ้ เตมิ ความรสู้ กึ ของลกู ทกี่ �ำ ลงั ประสบปญั หา ดังน้ัน คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองต้องถามความคิดเห็น ของลูก ต้องไม่บังคับแต่งงาน ไม่เห็นแก่ได้ ไม่บังคับให้ยุติการตั้ง ครรภ์ และไมบ่ งั คับใหท้ อ้ งตอ่ เพราะทกุ การตัดสินใจ ควรเปน็ ของ ผปู้ ระสบปญั หา... 31ทำ�อย่างไรเมื่อคนใกล้ตัว “ท้องไม่พร้อม”
4. เม่อื ทางเลือกคือต้ังครรภ์ต่อไป • เตรยี มตวั เตรียมใจเผชิญการต้งั ครรภ์ “เพราะการต้ังครรภ์โดยไม่มีความพร้อม แตกต่างจากการ ต้งั ครรภท์ ่วั ไป” ผ้หู ญิงท่ที ้องไม่พร้อมจึงต้องเรียนร้แู ละเตรียมตัวในการเผชิญ ปัญหา ควรตั้งสติให้ดี หาข้อมูลจากแหล่งที่เช่ือถือได้ ไม่ควรหา ทางออกแต่เพียงลำ�พัง อาจขอรับคำ�ปรึกษาจากหน่วยงานช่วยเหลือ ตา่ งๆ ท่จี ะช่วยบรรเทาปญั หาทลี ะประเดน็ เพอ่ื ใหเ้ หน็ ทางออก ผู้หญิงจำ�นวนมากเข้าใจว่าทางออกมีทางเดียวคือการยุติการ ตั้งครรภ์ และเมื่อไม่มีข้อมูลที่มากพอ หลายคนจึงลงเอยด้วยการไป ทำ�แท้งในสถานที่และวิธีการท่ีไม่ปลอดภัยซ่ึงเสี่ยงต่อการติดเช้ือและ เสียชีวิต บางคนก็ไม่กล้าบอกใคร ทำ�ให้อายุครรภ์ล่วงเกินเลยไปมาก กว่าจะยุติการตั้งครรภ์ได้ ถึงแม้จะยุติการตั้งครรภ์ไม่ได้ ชีวิตก็ยังมี ทางออกอยู่เสมอ 32 ชวี ิตมที างเลือก
ข้อควรระวงั การยุติการตั้งครรภ์ เม่ืออายุครรภ์เกินกว่าจะยุติได้ หรือที่ อายุครรภ์มากกว่า 22-24 สัปดาห์น้ัน มีอันตรายมากต่อทั้งตัว ผู้หญงิ และตัวอ่อนในทอ้ ง ไม่ควรเอาตนเองไปเสยี่ งชีวติ เพราะอาจ ท�ำ ใหเ้ กิดความพิการ สูญเสียอวยั วะ หรือเสียชีวิตได้ การตดั สินใจ ตั้งครรภ์ต่อเพื่อให้เด็กเกิดมาแข็งแรงสมบูรณ์ดี ยังมีทางออก หากไม่พร้อมดูแล ด้วยการส่งเด็กเข้าสถานรองรับ หรือยกเป็น บุตรบุญธรรมกับผู้ที่จะอุปการะเดก็ ต่อไป • เราควรคดิ และทำ�อะไรบา้ ง 1. ฮดึ สกู้ บั สง่ิ ทตี่ อ้ งเผชญิ ในอนาคตอนั ใกล้ เราเพยี งพลาดพลงั้ ไปในอดตี แตน่ ัน่ คือสิ่งท่ผี า่ นไปแลว้ เรามีความท้าทายใน อนาคตทรี่ ออยู่ 2. ถามตนเองวา่ ตอ้ งการอะไร และจะด�ำ เนนิ ชวี ติ ตอ่ ไปอยา่ งไร อะไรคือปัญหาและอุปสรรค เพื่อค่อยๆ หาทางออกทีละ เร่อื ง 33เมื่อทางเลือกคือตั้งครรภ์ต่อไป
3. หาวิธีการบอกผู้ที่เกี่ยวข้องให้รับทราบความจริง เช่น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง แฟน ครู ฯลฯ เพื่อให้มีคนรับรู้เข้าใจว่า กำ�ลังเกิดอะไรข้ึนกับเรา และให้ความช่วยเหลือเม่ือเรา ต้องการ เช่น เม่ือครบกำ�หนดคลอด เวลาเจ็บท้องคลอด การช่วยเหลือนำ�ส่งโรงพยาบาล และช่วยเหลือดูแลหลัง คลอด 4. เมื่อตัดสินใจท้องต่อ ต้องคิดในทางบวกกับชีวิตข้างหน้า ไม่ควรคิดหรือทำ�อะไรตามลำ�พังด้วยอารมณ์ท่ีอาจส่ง ผลเสียกับตัวเอง 5. หากยงั เปน็ นกั เรยี น นกั ศกึ ษา วางแผนเรอื่ งการหยดุ พกั การ เรียน การสอบ ให้สอดคล้องกับกำ�หนดนัดวันคลอด ควร พยายามเรียนให้จบตามช่วงชั้น เพ่ือให้กลับไปศึกษาต่อได้ สะดวกข้นึ 6. หากกำ�ลังทำ�งาน ต้องวางแผนเรื่องการหยุดงานลาคลอด โดยในพระราชบัญญตั คิ ุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ลูกจา้ ง หญิงสามารถลาคลอดได้ 90 วัน (รวมวันหยุด) ระหว่าง นั้นลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่า 45 วันทำ�งาน โดยกฎหมายห้ามมิให้เลิกจ้างลูกจ้างหญิงด้วยเหตุเพราะ การต้ังครรภ์ 34 ชวี ติ มที างเลือก
หากไม่สามารถบอกพ่อแม่ หรอื ผู้ปกครอง หรือใครๆ ได้ และ มคี วามกงั วลไมร่ จู้ ะจดั การชวี ติ อยา่ งไร ควรหาทปี่ รกึ ษาเพอื่ เปน็ ตวั ชว่ ย อาจเปน็ คณุ ครู หรอื เจา้ หนา้ ทใ่ี หบ้ รกิ ารปรกึ ษาจากหนว่ ยงานตา่ งๆ เชน่ ศนู ยพ์ ง่ึ ได้ คลนิ กิ วยั รนุ่ ของโรงพยาบาล หรอื บา้ นพกั เดก็ และครอบครวั ในทุกจังหวัด หรือขอรับการปรึกษาจากสายด่วนต่างๆ เพ่อื สอบถาม ข้อมูล ขอคำ�แนะนำ�แหล่งช่วยเหลือต่างๆ ซึ่งหลายแห่งก็มีการส่งต่อ บรกิ ารช่วยเหลอื เช่น บา้ นพักรอคลอด การประสานงานกับโรงเรียน การชว่ ยเหลือสงเคราะหใ์ นชว่ งตงั้ ครรภแ์ ละหลังคลอด เบอร์โทรศพั ทเ์ ม่ือพบปัญหาทอ้ งไม่พร้อม 1663 สายปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม ปรึกษาด้าน เอดสแ์ ละทอ้ งไม่พร้อม รวมทง้ั ประสานสง่ ตอ่ ใหค้ วามช่วยเหลอื 1300 OSCC สายดว่ นสังคม รบั เร่ืองปญั หาทางสงั คมตา่ งๆ รวมทั้งท้องไม่พร้อม และประสานส่งต่อไปรับการปรึกษาต่อท่ี โรงพยาบาล 1323 สายสขุ ภาพจิต ใหก้ ารปรึกษาสุขภาพทางใจ รวมท้ัง ท้องไมพ่ รอ้ ม 35เมื่อทางเลือกคือตั้งครรภ์ต่อไป
• ดูแลเมอื่ ตงั้ ครรภ์ไมพ่ ร้อม เมอ่ื ตอ้ งตงั้ ครรภต์ อ่ ไปจนถงึ คลอด ขอใหร้ วู้ า่ ยงั มขี นั้ ตอนการชว่ ย เหลอื รองรบั อยู่ ระหวา่ งการตงั้ ทอ้ งเพยี งอกี ไมก่ เี่ ดอื นน้ี ใหร้ กั และดแู ล ตัวเองใหด้ ี เพอื่ ท้องตอ่ ได้อย่างมคี ุณภาพ และท�ำ ให้การคลอดของเรา มีความปลอดภยั ทารกออกมาอย่างสมบรู ณ์ การฝากครรภ์มีความสำ�คัญมาก สำ�หรับหญิงต้ังครรภ์ และเด็กในท้อง โดยแพทย์จะตรวจสุขภาพร่างกายฉีดวัคซีน รับ ยาบำ�รุง ตดิ ตามดูความก้าวหน้าของการตงั้ ครรภ์ พดู คุยถงึ อาการ ตา่ งๆ ท่เี กิดข้นึ ระหว่างต้งั ครรภ์ เพอ่ื ดแู ลไม่ให้เกดิ ภาวะแทรกซอ้ น ต่างๆ การฝากครรภ์น้ีจะดูแลผู้หญิงไปจนถึงการคลอด เอกสารท่ี ต้องเตรียมไว้เสมอเม่ือไปฝากครรภ์ คือ บัตรประชาชน และบัตร ผรู้ ับบริการโรงพยาบาลทไี่ ดจ้ ากการไปรบั บรกิ ารครัง้ แรก • ควรมารบั บรกิ ารตามนดั หมายทกุ ครง้ั เพอ่ื ตรวจความกา้ วหนา้ และความผดิ ปกตขิ องการตง้ั ครรภ์ โดยใหป้ ฏบิ ตั ติ ามค�ำ แนะน�ำ ของแพทย์และพยาบาล เพอ่ื เตรียมการคลอดท่ีปลอดภยั • สามารถใช้สิทธิฝากครรภ์ และคลอดได้ที่โรงพยาบาลที่ขึ้น ทะเบยี นหลกั ประกนั สขุ ภาพ หรอื ประกนั สงั คมได้ การเขา้ รบั บริการทุกคร้ังให้นำ�บัตรประชาชนติดตัวไว้เพ่ือแสดงในการ ตรวจสอบสิทธกิ ารรักษาพยาบาล 36 ชีวิตมีทางเลอื ก
• กรณีไม่ต้องการฝากครรภ์ หรือคลอดบุตรที่สถานบริการ ใกล้บ้าน เน่ืองจากสาเหตุใดก็ตาม การเข้ารับบริการ ให้ แยกเป็นการฝากท้องและการคลอด ตามสิทธิท่ีตนเองมี ดงั ตารางต่อไปนี้ สทิ ธิ หลกั ประกนั ประกนั สงั คม บริการ สุขภาพถว้ นหนา้ ฝากทอ้ ง สามารถฝากทอ้ งไดใ้ นโรงพยาบาลใน สามารถฝากทอ้ ง คลอดบุตร สังกดั กระทรวงสาธารณสุขทใ่ี ดกไ็ ด้ และคลอดบุตรท่ี โรงพยาบาลไหน ตอ้ งใชบ้ รกิ ารคลอดบุตรท่ีโรงพยาบาล กไ็ ด้ โดยนำ� ทตี่ นเองมสี ิทธิ หากไม่ประสงค์จะ เอกสารการชำ�ระ คลอดทน่ี ัน่ ก็สามารถเปล่ียน เงินมาเบกิ กับ สถานพยาบาลท่ีใช้สทิ ธิประกนั ไดโ้ ดย ส�ำ นักงานประกนั ไมต่ อ้ งย้ายทะเบยี นบ้าน* หากไมไ่ ด้ สงั คมแบบ ดำ�เนินการย้ายสทิ ธิไปทโี่ รงพยาบาล เหมาจ่าย 13,000 ท่ีต้องการคลอดบุตรก็สามารถรบั บาทตอ่ การคลอด บริการโดยชำ�ระคา่ บรกิ ารเอง บุตรหนึง่ คร้ัง** * การย้ายสิทธิประกัน ต้องทราบว่าสิทธิของตัวเองอยู่ที่โรงพยาบาลไหน ทั้ง โรงพยาบาลหลัก และโรงพยาบาลรอง (สามารถโทรสอบถามได้ท่ี สายด่วน สปสช. 1330) และทำ�เร่ืองขอย้ายสถานบริการท่ีโรงพยาบาลท่ีตนเองต้องการฝากครรภ์ได้ เลย หลักฐานที่ใช้คือ 1) บัตรประชาชน และ 2) เอกสารยืนยันการพักอาศัยอยู่ใน พื้นท่ีนน้ั ๆ เชน่ บลิ คา่ น�ำ้ บิลคา่ ไฟฟา้ (ทเี่ ปน็ ปจั จุบัน) เป็นตน้ โดยสามารถใชส้ ทิ ธิการ ยา้ ยสถานบริการไดต้ ลอดทงั้ ปี ** อัตรานี้เร่ิมใช้ วันท่ี 1 มกราคม 2554 - ปัจจุบัน 37เมื่อทางเลือกคือตั้งครรภ์ต่อไป
โรงพยาบาลบางแห่งอาจไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางนี้ได้ เพราะอาจมีผู้ฝากท้องและคลอดบุตรจำ�นวนมากจนเกินกำ�ลังของ โรงพยาบาล จงึ ควรสอบถามก่อนเขา้ รบั บรกิ ารทกุ ครั้ง เรอ่ื งของแปง้ พ่อและแม่ของ ด.ญ. แป้ง (นามสมมุติ) อายุ 14 ปี ได้ พาลูกสาวมาส่งโรงพยาบาลประจำ�จังหวัดแห่งหน่ึงในภาคกลาง เม่ือต้นปี 2556 ดว้ ยการเจ็บท้องคลอด เม่อื มาถึงห้องคลอดแพทย์ ไดท้ �ำ การตรวจแลว้ พบวา่ เป็นการเจบ็ ทอ้ งคลอดกอ่ นก�ำ หนด จงึ ได้ ช่วยเหลอื ด้วยยาระงับการคลอดก่อนก�ำ หนด และติดตามดูอาการ อยา่ งใกลช้ ดิ ระหวา่ งการดแู ลไดส้ ง่ พอ่ แมม่ าพบนกั สงั คมสงเคราะห์ ที่ศูนย์พ่ึงได้ เพื่อปรึกษา เนื่องจากเห็นว่าพ่อแม่มีสภาวะเครียด มากกับการตั้งครรภ์ของบุตรสาวในครั้งนี้ จากการพูดคุยทำ�ให้ ทราบวา่ ทง้ั สองมอี าชพี รบั ราชการในระดบั บรหิ าร มบี ตุ รสาวเพยี ง คนเดยี ว ครอบครวั อยดู่ ว้ ยกนั สามคน เพง่ิ ทราบวา่ บตุ รสาวตง้ั ครรภ์ โดยเรม่ิ สงั เกตความผดิ ปกตทิ น่ี �ำ ้ หนกั เพม่ิ ขน้ึ งว่ งนอนบอ่ ย เหนอ่ื ยงา่ ย จึงพยายามสอบถามบุตรสาวหลายคร้ังแต่ก็ไม่ได้คำ�ตอบใดๆ จน เห็นความผิดปกติมากขึน้ เม่อื สรีระเปล่ยี นแปลงไปจากเดมิ ชดั เจน จึงสอบถามเคน้ จากลูก จนลกู ยอมรับวา่ มเี พศสัมพันธก์ บั เดก็ ผ้ชู าย ข้างบ้านอายุ 14 ปี ที่ไมไ่ ดเ้ รียนหนงั สือ และฐานะยากจน มีเพยี ง 38 ชีวิตมที างเลือก
ครั้งเดยี วแลว้ ไมไ่ ดย้ ่งุ เกี่ยวกันอกี โดยแปง้ บอกกบั พอ่ แมว่ า่ ตง้ั ครรภ์ ประมาณ 3 เดอื นกวา่ พอ่ แมจ่ งึ พยายามชว่ ยเหลอื โดยการไปหาซ้อื ยาขับมาให้ใช้จนทำ�ให้แป้งเกิดอาการเจ็บท้องมากขึ้นเร่ือยๆ จึง ตัดสินใจพาลูกมาโรงพยาบาล ในที่สุด การระงับการคลอดก็ล้มเหลวเพราะการกินยาขับ เข้าไปมาก ทำ�ใหป้ ากมดลูกเปิดมากขึ้นเรื่อยๆ แพทยจ์ งึ ต้องปล่อย ให้คลอดก่อนกำ�หนด โดยแป้งได้คลอดทารกเพศชายออกมา มี นำ�้ หนักประมาณ 1,000 กรัม และทารกต้องส่งเข้ารับการรักษา ต่อท่ีแผนกวิกฤติทารกแรกเกิด ผลของอายุครรภ์จริงขณะคลอด คอื 7 เดือน เมอ่ื พ่อแมท่ ราบก็ตกใจเพราะคดิ วา่ ลูกตงั้ ครรภ์ 3 เดือนกว่า ตามที่บอก การท่ีไปซ้ือยาขับมาให้กินเพราะไม่ทราบว่าอายุครรภ์ มากแล้วจนทำ�ให้เกิดอาการเจ็บท้อง และมาถึงการคลอดก่อน กำ�หนดในคร้ังนี้ จากการพูดคุย ทั้งพ่อแม่และแป้งไม่ต้องการรับ เดก็ ไวเ้ ลย้ี งดู ตอ้ งการสง่ เขา้ สถานสงเคราะหเ์ พราะรบั ไมไ่ ดก้ บั เรอ่ื ง ทเี่ กดิ ขน้ึ และไมไ่ ดว้ างแผนรบั ปัญหามากอ่ น ญาตริ องรบั การเลีย้ ง ดเู ด็กไม่มี อีกทัง้ ไมต่ ้องการให้ใครรับรูเ้ รือ่ งน้ี กรณีนี้เจอปัญหาที่ยุ่งยากหลายอย่างคือ แป้งยังเรียน หนังสือในระดับช้ัน ม.2 ยังอยู่ในระหว่างการเรียน การหยุดมา 39เมื่อทางเลือกคือตั้งครรภ์ต่อไป
คลอดใช้เวลาพักฟ้ืนประมาณ 4-5 วัน ซึ่งต้องใช้ใบรับรองแพทย์ ไปแจ้งกับทางโรงเรียนกรณีขอลาหยุดเรียน ทำ�ให้พ่อแม่เกิดความ กังวลเพราะไม่ต้องการให้ครูทราบปัญหาท่ีเกิดข้ึนและขอให้แพทย์ ช่วยโดยการออกใบรับรองแพทย์ แต่ขอให้ระบุเป็นโรคอ่ืนๆ ไม่ใช่ การคลอดบุตร ซ่ึงทางโรงพยาบาลไม่สามารถดำ�เนินการให้ได้ เพราะเปน็ การใหข้ อ้ มลู เทจ็ และไมม่ แี พทยค์ นใดยอมเขยี นใบรบั รอง แพทย์ตามน้ัน นักสังคมฯ จึงพยายามพูดคุยทำ�ความเข้าใจให้ ครอบครัวเผชิญกับความจริง ในท่ีสุดพ่อและแม่ของแป้งก็ยอมรับ ส่วนการส่งเด็กเข้าสถานสงเคราะห์ ศูนย์พึ่งได้ได้ดำ�เนินการทำ� เรื่องให้แต่ไม่สามารถส่งเด็กเข้าได้อย่างรวดเร็วเน่ืองจากเด็กทารก ท่ีเกิดมายังต้องรักษาตัวในแผนกวิกฤติทารกแรกเกิดอีกหลาย สัปดาห์ โดยอยใู่ นตูอ้ บควบคมุ อุณหภูมิรา่ งกาย ระหว่างการรักษา พยาบาลต้องมีญาติเฝ้าเด็กเพราะพยาบาลไม่สามารถดูแลเด็ก เพียงคนเดียวแบบตัวต่อตัวได้ (การส่งเด็กเข้าสถานสงเคราะห์ เด็กอ่อน เด็กต้องอยู่ในสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดีแล้วทางสถาน- สงเคราะห์จึงสามารถรับได)้ การพยายามแก้ปัญหาท้องในกรณีของครอบครัวแป้ง โดย ขาดความร้ทู ี่ถูกต้องนัน้ ทำ�ใหพ้ ่อแมเ่ อาชีวติ ของแปง้ ไปเส่ียง แม้ว่า โชคดีท่ีแป้งไม่เป็นอะไร แต่ก็ได้เพิ่มความยุ่งยากหลายข้ันตอน ส่งผลให้การช่วยเหลือต่อไปล่าช้า จนพ่อของแป้งเครียดจัด นอน 40 ชวี ติ มที างเลือก
ไม่หลับหลายวันติดต่อกัน ต้องส่งพบจิตแพทย์เพ่ือให้ยาคลาย ความเครยี ด และเข้ารับการรกั ษาทโ่ี รงพยาบาล การแก้ปัญหาการต้งั ครรภ์ไม่พร้อมกรณีท่อี ายุครรภ์เกินกว่า จะยุติได้น้ัน ควรต้องมีความรู้ความเข้าใจ ไม่เอาชีวิตตนเองหรือ คนท่ีเรารักไปเส่ียงเช่นนี้ กรณีของแป้ง ก็ไม่ยุติธรรมกับชีวิตทารก น้อยท่ีต้องลืมตาดูโลกภายใต้นำ�้ หนักตัวที่น้อยมากและอาจมี ความผิดปกติต่อไปในอนาคต แต่หากแป้งยอมรับและบอกพ่อแม่ ตามตรง พ่อกับแม่มีสติและใช้ความรู้ในการแก้ไขปัญหา ก็จะมี แนวทางท่ีเหมาะสม เพราะอายุครรภ์ของแป้งมากเกนิ กวา่ ทจี่ ะยุติ การตง้ั ครรภ์ ดงั นน้ั หากแปง้ ไดร้ บั การดแู ลดว้ ยความรกั ความใสใ่ จ จนกระทั่งคลอดอีกเพียงไม่ถึง 3 เดือน ทารกก็คลอดออกมา ปลอดภัยและสขุ ภาพดี และแมว้ า่ จะไม่เปน็ ทป่ี รารถนาของครอบ- ครัว แต่ทารกน้อยก็มีสุขภาพท่ีแข็งแรงและมีผู้ประสงค์ที่จะรับไป เลย้ี งดอู ปุ การะดว้ ยความรกั เพอ่ื ใชช้ วี ติ ในโลกใบนไ้ี ดอ้ ยา่ งสมบรู ณ์ และมคี วามสขุ ได้... 41เมื่อทางเลือกคือตั้งครรภ์ต่อไป
• การวางแผนชวี ติ และประเมนิ ความพรอ้ มในการเลย้ี งดู ผู้หญิงท่ีต้ังครรภ์เม่ือมีอายุน้อย เช่น อายุไม่เกิน 18 ปี หรือ หญิงตั้งครรภ์ท่ีอายุเกิน 18 ปีแต่มีปัญหาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความ รนุ แรงในครอบครัว ความสมั พันธก์ ับบคุ คลในครอบครัว แยกทางกับ คู่ในขณะต้ังครรภ์ ถูกทอดทิ้งให้ท้องเพียงลำ�พัง รวมท้ังปัญหา เศรษฐกจิ เชน่ ไมม่ อี าชพี รายไดไ้ มเ่ พยี งพอ ไมม่ ที อ่ี ยอู่ าศยั ก�ำ ลงั เรียน หนงั สือ หรือปัญหาอืน่ ๆ เม่ือพบปัญหาเหล่าน้ี ผู้หญิงท่ีท้องไม่พร้อม หากต้องการจะ ท้องต่อไป กย็ ่อมต้องการความชว่ ยเหลือ ปัจจุบัน โรงพยาบาลจำ�นวนมาก มีการประเมินความพร้อม ของการเล้ียงดูบุตร โดยเจ้าหน้าท่ีจะสอบถามเพื่อประเมินสภาพ ปญั หา และใหค้ �ำ แนะน�ำ ระหวา่ งตง้ั ครรภ์ และหลงั คลอด สามารถแจง้ หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาล หรือขอความช่วยเหลือ ต่างๆ จากบ้านพักเด็กและครอบครัว หรือสำ�นักงานพัฒนาสังคม จงั หวัด หรือหนว่ ยงานภาคเอกชนท่ีท�ำ งานดา้ นน้ี เพอ่ื ท่จี ะได้ใหค้ วาม ช่วยเหลอื ที่สอดคล้องกับความต้องการตอ่ ไป 42 ชวี ิตมที างเลอื ก
• ทางเลอื กหลงั จากคลอดบตุ รแลว้ ในระหว่างการตั้งครรภ์ ทำ�ใจให้สบาย ร่างกายต้องการการ พักผ่อนอย่างเพียงพอ ระหว่างนั้นค่อยๆ คิดหาทางออก โดยให้ ถามใจตัวเองเป็นสำ�คัญว่าเราต้องการเลือกเดินทางไหน และมี ความพร้อมอยา่ งไรหลงั จากคลอดแลว้ • ต้องการเล้ียงดูเด็กที่เกิดมาเอง ให้คิดว่าเราจะพบข้อจำ�กัด อะไร และต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง โดยสามารถขอ คำ�ปรึกษาหรือติดต่อหน่วยงานรองรับ โดยขอปรึกษาศูนย์ พึ่งได้ หรือฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ของโรงพยาบาลที่เราฝาก ทอ้ งคลอด บา้ นพักเดก็ และครอบครัว หรือปรกึ ษาหนว่ ยงาน เอกชนทท่ี �ำ งานในดา้ นน้ี สภาพ แนวทางช่วยเหลอื ข้อจ�ำ กัด ปญั หา ที่มอี ยู่ ของแนวทางนี้ ต้องการ เข้าพักท่ีบ้านพกั รอคลอด • บา้ นพกั เดก็ และครอบครัว ที่พักพิง มที ัง้ ดำ�เนนิ การโดยภาครัฐ ในแต่ละจงั หวดั มคี วาม ระหว่าง และเอกชน พร้อมในการดูแลผ้หู ญงิ รอคลอด • ภาครฐั คือ บ้านพักเด็ก ทอ้ งแตกตา่ งกนั • บ้านพกั ของรฐั และเอกชน และครอบครัว ปจั จบุ นั แตล่ ะแหง่ มีเงอื่ นไข มีบริการทกุ จังหวัด ในการรับเขา้ พักและ 43เมื่อทางเลือกคือตั้งครรภ์ต่อไป
สภาพ แนวทางช่วยเหลอื ขอ้ จ�ำ กดั ปญั หา ทมี่ ีอยู่ ของแนวทางน้ี • ภาคเอกชน ได้แก่ บา้ น กฎเกณฑใ์ นการอยอู่ าศยั พกั ฉกุ เฉนิ บา้ นสขุ ฤทยั แตกตา่ งกนั ควรศกึ ษา บ้านพระคณุ เปน็ ต้น เงอื่ นไขเหล่านั้นก่อน ตัดสนิ ใจเข้าพัก ไมพ่ ร้อมที่ ส่งเดก็ เขา้ สถานสงเคราะห์ สถานสงเคราะห์เด็กออ่ น จะเลย้ี งดู เด็กออ่ น ด้วยการฝาก มบี ริการในบางจังหวัด เด็กหลงั เลี้ยงชวั่ คราวในระยะเวลา มสี ัดสว่ นพเ่ี ลี้ยงตอ่ จ�ำ นวน คลอด ไม่เกนิ 3 ปี โดยในระหวา่ ง เดก็ มาก การดูแลไมท่ ่ัวถึง นสี้ ามารถไปเยี่ยมเด็กได้ จนกระทั่งมีความพรอ้ ม แลว้ จึงรับเด็กมาเลยี้ งดเู อง การส่งเด็กไปอยใู่ น มีบริการท่หี นว่ ยบริการ ครอบครวั อุปถมั ภช์ ่ัวคราว ของเอกชน เชน่ ดว้ ยการฝากเล้ยี งใน สหทยั มูลนธิ ิ ครอบครัว วันธรรมดา เพอ่ื ให้มารดา อปุ ถัมภม์ ีจ�ำ กัดอาจไม่ ได้ทำ�งานหรือเรียนหนงั สือ เพียงพอต่อความตอ้ งการ และรับเด็กมาเลย้ี งเองใน วันหยดุ โดยสามารถ รับเดก็ มาเลย้ี งดเู องได้ เมื่อมคี วามพร้อม 44 ชวี ติ มที างเลอื ก
สภาพ แนวทางชว่ ยเหลอื ขอ้ จ�ำ กัด ปญั หา ที่มอี ยู่ ของแนวทางน้ี ไมม่ ีอาชพี ตดิ ตอ่ ขอรบั การสงเคราะห์ มรี ะยะเวลาในการชว่ ยเหลอื ไมม่ รี ายได้ เงนิ ช่วยเหลอื เฉพาะหนา้ • เงนิ สงเคราะห์ช่วยเหลอื เพยี งพอ 2,000 บาท นมผงเด็กอ่อน เฉพาะหนา้ ขอไดไ้ มเ่ กนิ เพ่ือเล้ียงดู หรอื ความช่วยเหลือ 3 ครั้งต่อปี ด้านการฝึกอาชพี • นมผง ให้สงเคราะห์ จากหนว่ ยงาน ประมาณ 3-6 เดอื น สังคมสงเคราะห์ หรือ • การฝึกอาชพี มีอาชพี ให้ สอบถามข้อมูลไดจ้ าก เลือกไม่หลากหลายนัก 1300 • ไม่เล้ียงดูเองแต่ต้องการยกให้ผู้อื่นเล้ียงดูถาวร กรณีน้ี เปน็ การยกสทิ ธกิ ารเลย้ี งดบู ตุ รใหผ้ อู้ นื่ หรอื หนว่ ยงานอน่ื เปน็ ผู้เล้ียงดูและมีสิทธิในตัวเด็กแทนมารดา โดยมีข้อกฎหมาย ผกู พนั รองรับ ซึ่งแบ่งออกเปน็ สองกรณคี อื 1. ส่งเข้าสถานสงเคราะห์ถาวร เด็กจะได้รับการดูแลใน สถานสงเคราะห์เดก็ ออ่ น จนกระทงั่ มีผมู้ าขอรับเดก็ เป็น บุตรบุญธรรม กรณีน้ีหลังจากยกเด็กให้แล้ว ไม่สามารถ ขอเด็กคืนกลับมาเล้ียงดูเองได้เช่นเดียวกับการฝากเลี้ยง ช่ัวคราว 45เมื่อทางเลือกคือตั้งครรภ์ต่อไป
2. ยกบุตรให้ผู้ต้องการอุปการะเล้ียงดู ซึ่งต้องทำ�ตาม ขน้ั ตอนการรบั บตุ รบญุ ธรรม การไมผ่ า่ นขน้ั ตอนทถ่ี กู ตอ้ ง เด็กอาจถูกนำ�ไปขายต่อในขบวนการค้ามนุษย์ได้ ควร ปรึกษาเจ้าหน้าที่ในการเตรียมเอกสารเพื่อประโยชน์ และความปลอดภัยของเด็กในระยะยาว เพราะแม้เรา จะไมส่ ามารถเลย้ี งดูเองได้ ก็ขอใหส้ ่งเดก็ ไปในที่ๆ ดีและ ปลอดภัย • ถาม-ตอบ เกย่ี วกบั การตง้ั ครรภ์ 1. การฝากท้องท่ีโรงพยาบาล ต้องมีพ่อแม่เซ็นรับรองเมื่อ ผหู้ ญงิ อายเุ ทา่ ไหร่ คำ�ตอบ กรณีท่ีหญิงต้ังครรภ์อายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ต้องมี พ่อแม่มารับรอง โดยทั่วไป โรงพยาบาลหลายแหง่ ก็ยืดหยุ่น โดยเป็น ญาติ หรอื ผู้ดูแลอ่นื ๆ ได้ ท้ังน้ี หากฝากทอ้ งและไม่มผี ้รู บั รอง ใหแ้ จง้ เจา้ หน้าทเี่ พือ่ แนะนำ�หาทางช่วยเหลอื ต่อไป 2. การตรวจอายุครรภ์สามารถทำ�ได้ที่โรงพยาบาล โดยไม่ ต้องขอฝากครรภ์ไดห้ รอื ไม่ อยา่ งไร 46 ชวี ติ มีทางเลอื ก
คำ�ตอบ โดยทัว่ ไป การขอตรวจอายุครรภ์สามารถทำ�ไดโ้ ดยไม่ ต้องมีการฝากครรภ์ แต่อาจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ด้วยว่า เห็นควรให้ทำ�หรือไม่ โดยดูตามความจำ�เป็นเฉพาะรายไป ท่ีสำ�คัญ หากต้องการตรวจโดยใช้สิทธิค่ารักษาพยาบาล ก็ควรเข้าตรวจตาม โรงพยาบาลที่ระบุไว้ในสิทธปิ ระกนั สุขภาพ หรือสิทธปิ ระกนั สงั คม 3. หากการต้ังครรภ์มีสาเหตุจากการล่วงละเมิดทางเพศ จะตอ้ งทำ�อย่างไร คำ�ตอบ หากตั้งครรภ์จากการถูกละเมิดทางเพศ อย่าแบก ส่ิงเหล่าน้ีไว้ตามลำ�พัง แต่ควรเล่าความจริงให้กับพยาบาลหรือแพทย์ ทราบ ไม่ควรปกปิด เพื่อท่ีจะหาทางช่วยเหลือได้ตรงกับปัญหา ทั้งน้ี การต้ังครรภ์ที่เกิดจากการถูกละเมิดทางเพศน้ัน จะได้รับสิทธิการ ช่วยเหลอื เพม่ิ ขึ้น เช่น • มีสิทธิยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย ทำ�ให้การช่วยเหลือก็จะ ง่ายข้ึนดว้ ย • มีสิทธิขอรับเงินช่วยเหลือในคดีอาญาจากกรมคุ้มครองสิทธิ กระทรวงยุติธรรม จำ�นวน 30,000 บาท ซึ่งโรงพยาบาล หลายแห่งสามารถดำ�เนินการส่งเร่ืองช่วยเหลือได้ หรือ ผู้ประสบปัญหาสามารถย่ืนขอที่สำ�นักงานคุมประพฤติของ ทกุ จังหวัด 47เมื่อทางเลือกคือตั้งครรภ์ต่อไป
5. เม่ือทางเลือกคือยตุ ิการต้งั ครรภ์ • “การท�ำ แทง้ ” หรอื “ยตุ กิ ารตง้ั ครรภ”์ ผดิ กฎหมาย หรอื ไม่ เป็นความเข้าใจที่ “ผิด” ว่าการทำ�แท้งผิดกฎหมายทุกกรณี เพราะประเทศตา่ งๆ ในโลกน้ี ไดใ้ หก้ ารยตุ กิ ารตง้ั ครรภเ์ ปน็ ทางเลอื กของ ผหู้ ญงิ ทอ้ งไมพ่ รอ้ ม โดยมขี อ้ กฎหมายในแตล่ ะประเทศแตกตา่ งกนั ประเทศไทย การยุติการตั้งครรภ์สามารถทำ�ได้โดยไม่ผิด กฎหมายในกรณตี อ่ ไปน้ี 1. การต้ังครรภ์นั้นสง่ ผลเสยี ตอ่ สุขภาพทางกายของผู้หญิง 2. การตงั้ ครรภ์นน้ั ส่งผลเสียต่อสขุ ภาพทางใจของผู้หญิง 3. ทารกในครรภ์มคี วามพิการรุนแรง 4. การตั้งครรภท์ ี่เกดิ จากการถกู ขม่ ขืนกระทำ�ช�ำ เรา 5. การต้ังครรภ์ในเดก็ หญงิ ที่อายไุ มเ่ กิน 15 ปี 6. การตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพ่ือทำ� อนาจาร สนองความใคร่ 48 ชวี ิตมีทางเลือก
อธิบายความแต่ละข้อได้ดงั ตอ่ ไปน้ี เกณฑท์ ีย่ ุตกิ าร อา้ งองิ คำ�อธิบายเพมิ่ เตมิ ตง้ั ครรภ์ได้ สขุ ภาพกาย มาตรา 305 ความหมาย “สขุ ภาพ” สุขภาพใจ วรรคแรก การ ตามองค์การอนามัยโลกรวม ต้ังครรภส์ ง่ ผล สุขภาพกายและใจ ซ่ึงภายใต้ข้อ กระทบต่อ บงั คับแพทยสภาฯ ระบวุ ่า ใน สุขภาพผหู้ ญงิ กรณีสุขภาพทางใจ แพทย์วนิ จิ ฉัย ไดเ้ ลยโดยทไ่ี ม่ตอ้ งปรกึ ษา จติ แพทย์ แต่ให้มีแพทยอ์ กี หนึ่ง คนลงนามรบั รอง ทารกในครรภ์ ขอ้ บงั คบั ระบุวา่ เหตุทีท่ ารกในครรภพ์ ิการ พกิ าร แพทยสภาฯ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางใจ ของผู้หญิงดว้ ยเช่นเดียวกัน ถกู ขม่ ขืน มาจากมาตรา มาตรา 276 การข่มขนื กระท�ำ กระท�ำ ชำ�เรา 305 วรรคสอง ชำ�เรา อายุนอ้ ยกวา่ การตัง้ ครรภ์ 15 ปี เกิดจาก มาตรา 277 การทำ�ใหเ้ ดก็ อายุ ความผดิ ทาง นอ้ ยกวา่ 15 ปีตงั้ ครรภ์ ไม่วา่ จะ กฎหมายอาญา เปน็ การสมยอมหรือไมก่ ็ตาม 5 มาตราคือ 49เมื่อทางเลือกคือยุติการตั้งครรภ์
เกณฑ์ทย่ี ุติการ อ้างองิ คำ�อธบิ ายเพ่ิมเตมิ ตั้งครรภไ์ ด้ มาตรา 282, 283, 284 ว่าดว้ ย การล่อลวงผู้อ่นื มาท�ำ อนาจาร ถูกลอ่ ลวง มาตรา 276 สนองความใคร่ โดยใช้อบุ าย บงั คบั ข่มข ู่ 277 282 283 ล่อลวง บงั คบั ขม่ ขู่ แมว้ า่ ในท้าย 284 ที่สดุ อาจจะเกดิ การสมยอมกนั กต็ าม แต่ถา้ มาจากสาเหตุข้างตน้ กถ็ ือวา่ เปน็ การตั้งครรภ์ทเ่ี กดิ จาก ความผิดทางอาญา • ตวั อยา่ งปญั หาทอ้ งไมพ่ รอ้ ม ทย่ี ตุ กิ ารตง้ั ครรภ์ได้ ตามเกณฑก์ ฎหมาย เขา้ ขา่ ยเกณฑ์นนั้ ๆ อยา่ งชัดเจน เป็นผลท่อี าจติดตามมาได้ อันเนอ่ื งมาจากการตง้ั ครรภ์ต่อไป โดยไม่ยุติ โดยผู้หญิงท่ีตั้งครรภ์นั้นมีปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพใจ ถกู ข่มขืน หรือการทอ้ งร่วมสายเลอื ด 50 ชีวติ มีทางเลอื ก
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112