Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วัฒนธรรม การแสดงมหากาพย์ รามายณะอาเซียน

วัฒนธรรม การแสดงมหากาพย์ รามายณะอาเซียน

Description: วัฒนธรรม การแสดงมหากาพย์ รามายณะอาเซียน

Search

Read the Text Version

เกียรติของพระราม คนพูดจาไพเราะเสนาะโสต ไม่กริ้วโกรธ ริษยา รักษาสัตย์ ปฏิญาณใดไว้ให้เคร่งครัด ปฏิบัติแต่กรรมดีมีศีลธรรม ที่มั่นคงส�ำคัญกตัญญู ทรงความรู้กิเลสไกลไม่ถล�ำ ใจบุญสุนทานเน้นเป็นประจ�ำ รูปงามล้�ำเลิศเหลือเหนือชายใด วาลวิกิถามปราชญ์นาถฤๅษี ว่ายังมีคนเช่นน้ีในโลกไหม นาถฤๅษีพยักหน้าตอบความนัย คนย่ิงใหญ่คนน้ันหรือ เขาชื่อราม คือพระเอกรามเกียรติ์ผู้ทรงเกียรติ ฆ่าได้เหยียดได้แต่ห้ามหยาม ยักษ์ทุเรศมาลักล้ีสีดางาม คือต้นเหตุแห่งสงครามรามเกียรต์ิ ก็เกิดศึกชิงนางล้างตาท่าน เหตุแห่งมารหัวใจไม่เสถียร ช้ีโทษผู้ไร้เกียรติบ้ีเบียดเบียน อธรรมจึงสะเทือนแพ้ธรรมะ พิบูลศักดิ์ ละครพล

บทบรรณาธิการ •เจ้าของ สัญลักษณ์รวงข้าวสีทองเช่ือมร้อยด้วยความสัมพันธ์ท่ีกลมเกลียวมาเน่ินนาน กรมสง่ เสริมวัฒนธรรม สอื่ ความหมายถงึ ๑๐ ประเทศในอาเซียน ภูมิภาคทถี่ กั ทอขน้ึ ด้วยพน้ื ฐานทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม อนั หลากหลายงดงาม ทกุ ชนชาตใิ นอาเซยี นลว้ นมเี อกลกั ษณโ์ ดดเดน่ เปน็ ของตน หากแต่ ในความต่างกลับมีความเหมือน กลายเป็นวัฒนธรรมร่วมที่ชาวอาเซียนภาคภูมิใจ หน่ึง •บรรณาธกิ าร ในนนั้ คอื การแสดงจากมหากาพยเ์ รอ่ื งรามายณะของอนิ เดยี วรรณคดเี รอ่ื งทถ่ี กู ตคี วามไป ในรูปแบบต่างๆ ตามพื้นเพวัฒนธรรมของแต่ละชาติ และต่อยอดสร้างสรรรค์ขึ้น นายชาย นครชยั เป็นชุดการแสดงท่ีบ่งบอกถึงนาฏยศิลป์ของชนชาติตน ท้ังแบบราชส�ำนัก พ้ืนบ้าน หรือ อธิบดกี รมสง่ เสริมวัฒนธรรม ร่วมสมัย เหตุใดรามายณะจึงมีบทบาทส�ำคัญต่อศิลปวัฒนธรรมอาเซียน ค�ำตอบอาจ ไมไ่ ดห้ ยดุ อยทู่ ว่ี รรณคดเี รอื่ งนค้ี อื หนงึ่ ในมหากาพยข์ องโลก แตแ่ นวคดิ ในเรอ่ื งยงั เชอ่ื มโยง •ผู้ชว่ ยบรรณาธิการ ไปถึงคตินิยมท่ีคล้ายคลึงกันต่อเร่ืองธรรมะชนะอธรรม อันฝังรากลึกอยู่ในดินแดนแห่งนี้ ติดตามเรอื่ งราวทัง้ หมดไดใ้ นวารสารวัฒนธรรม ฉบบั รามายณะอาเซยี น นางสาวอัจฉราพร พงษ์ฉวี ปจั จบุ นั การเคลอ่ื นยา้ ยถา่ ยเททางวฒั นธรรมสามารถพบเหน็ ไดท้ วั่ ไป ทงั้ ใกลต้ วั จนคาดไมถ่ ึง อย่างปลารา้ เครือ่ งปรุงรสยอดนิยมของไทย ประเทศเพื่อนบ้านรอบๆ เราก็ • รองอธิบดกี รมส่งเสรมิ วฒั นธรรม ชื่นชอบไม่แพ้กัน และหากย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ จะพบเหตุการณ์ที่สร้างความ ประหลาดใจมากมาย รู้หรือไม่ว่าโฮจิมินห์นักปฏิวัติชาวเวียดนามเคยอยู่ที่จังหวัด นายชยั พล สุขเอ่ียม พจิ ิตร และเม่ือเครอื่ งดนตรี ๑๐ ชาตอิ าเซยี นผสมวงกนั แลว้ สำ� เนยี งเสยี งเพลงจะไพเราะ รองอธิบดกี รมสง่ เสริมวฒั นธรรม เช่นไร อา่ นเรอ่ื งสนุกๆ เหล่าน้ไี ดใ้ นวารสารวัฒนธรรม วัฒนธรรมยังคงเดินทางอย่างไม่มีวันส้ินสุด ท�ำหน้าท่ีบ่งบอกความเป็นตัวตน •กองบรรณาธิการ และยังเป็นสะพานสมานมิตร เช่ือมความสัมพันธ์ สลายเขตแดนให้อาเซียนร่วม เป็นหนึ่งเดยี ว นายอสิ ระ ริ้วตระกลู ไพบลู ย์ ชาย นครชยั เลขานุการกรม ท่านที่ประสงคน์ �ำขอ้ เขียนหรือบทความใดๆ ในวารสารวฒั นธรรมไปเผยแพร่ กรุณา • นางสาวเยาวนิศ เต็งไตรรัตน์ ตดิ ตอ่ ประสานกบั กองบรรณาธกิ ารหรอื นกั เขยี นทา่ นนน้ั โดยตรง ขอ้ เขยี นหรอื บทความใดๆ • นางสาวก่ิงทอง มหาพรไพศาล ท่ีตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวัฒนธรรมฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะตัวของผู้เขียน • นายมณฑล ยงิ่ ยวด คณะผู้จัดท�ำไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีข้อผูกพันกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรมแต่อย่างใด • นางธนพร พนั ธุ์ภกั ดี หากทา่ นมคี วามประสงคจ์ ะสง่ ขา่ วกจิ กรรมเกย่ี วกบั งานศลิ ปะวฒั นธรรมตา่ งๆ รวมทงั้ ทา่ น • นายศาตนันท์ จันทรว์ บิ ูลย์ ที่ต้องการให้ข้อเสนอแนะ หรือส่งข่าวสารเพ่ือการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กรุณาส่งถึง • นายเอกสิทธ์ิ กนกผกา กองบรรณาธกิ าร วารสารวฒั นธรรม กลมุ่ ประชาสมั พนั ธ์ กรมสง่ เสรมิ วฒั นธรรม เลขที่ ๑๔ •ฝา่ ยกฎหมาย ถนนเทยี มรว่ มมติ ร เขตหว้ ยขวาง กรงุ เทพ ๑๐๓๑๐ โทรศพั ท์ ๐ ๒๒๔๗ ๐๐๒๘ ตอ่ ๑๒๐๘-๙ Facebook : วารสารวัฒนธรรม กรมสง่ เสรมิ วฒั นธรรม Website : culture.go.th นายภัทร วงศท์ องเหลือ •ฝา่ ยจัดพิมพ์ นางปนดั ดา นอ้ ยฉายา •ผ้จู ดั ท�ำ บรษิ ัท ครีเอท มายด์ จำ� กดั

วารสารราย ๓ เดือน ปีท่ี ๕๘ ฉบับที่ ๒ เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๒ ISSN 0857-3727 ๖ นกั แสดงพระรามจากนานาชาติ ปกิณกะ มรดกภมู ิปญั ญาทางวัฒนธรรม รวมแสดงฉากยกศร ในการแสดงมหากาพย์ ๓ บทบรรณาธกิ าร ๑ ๖ บวาันยเังทกเูิงลศะลิ หปน์ ังตะลุงมลายูส่อื พนื้ บา้ น รามายณะอาเซียน ๑๒๐ เปิดอ่าน สามจงั หวัดชายแดนใต้ ภาพ : วิเชยี ร วณชิ ย์วงศ์วาน ๒๔ ชผ้าน้ั ทเอชเิงมชอื า่งองบุ ลฯ เร่ืองจากปก ๔๐ มรดกภมู ิปญั ญาทางวฒั นธรรม ๖ จรกาาากมรวแารยสรณณดงคะมดอหขี าอาเซงกอยีาินนพเดยีย์ ๓๒ สพรบื ะสพาุทวธเรลูป่าลเอรยอื่ นง�ำ้ สู่การแสดงนาฏยศิลป์ ๔ ๐ กววั ีฬเทาีย-กมาเกรวลียะนเลเพน่ ช รบรุ ี ท่สี ะท้อนวฒั นธรรม ๔๘ ขพธินีถบวปายรขะา้ เวพพณีชภี าคและบุญเสยี ค่าหวั ของชนชาติต่างๆ ในอาเซยี น ขา้ โอกาส พระธาตพุ นม ๕ ๖ จดากั รราวศาาลสตทรัศส์ นโู่ ห ์ ราศาสตร์ ในราชส�ำนัก

๑๖ ๘๔ ๔๘ ๖๔ ๑๑๐ สยามศิลปิน โลกวัฒนธรรม ๗๒ ๗๒ ชศินิลปปนิ ระแสหงง่คช์ าติ ๖ ๔ แออหนลซง่ อทนอ่บง้านเทเชี่ยียวงเชงิ วัฒนธรรม ๙๒ นพิพิทิธัศภนัณ์วฑฒั ์บนา้ นธดรรงโมฮจิมนิ ห์ ดิน คอื แมแ่ หง่ ประตมิ ากรรม ๙ ๘ แปลผาน่ รดา้ .นิ..อเดาหยี าวรปลาหมกั ๗๘ เคชรดิูเตชอื ปูนชู พนาียทยกุล อตั ลกั ษณ์ประชาคมอาเซยี น ศิลปนิ แหง่ ชาติ ๑ ๐๔ เมกอยี งรตผยิ่าศนภหานพายมนตเตรย์ไทย สาขาศลิ ปะการแสดง (ดนตรีไทย) ในเวทีนานาชาติ ๘๔ พเมน้ือื่ คบนา้ โนฆพษณืน้ เามตือ้องงมนตรา ๑ ๑๐ วเคฒั รือนญธารตริดมนวตพิ รีาวกิถษีอ์าเซียน หุ่นกระบอกไทย

เรื่องจากปก เร่ือง : ดร.อนชุ า ธรี คานนท์ ภาพ : ดร.อนชุ า ธรี คานนท์ อภนิ นั ท์ บัวหภกั ดี การแสดงรามายณะในประเทศต่างๆ ล้วนเป็นการแสดงออกถงึ ความศรัทธา เนื่องในศาสนาพราหมณ์ ใช้เปน็ สือ่ (Medium) ในการสาธยายเรือ่ งราว ของพระเปน็ เจ้า ในระยะแรกคงเป็นเพียงการเล่าเรื่องหรอื สาธยายพระคัมภีร์ ด้วยท�ำนองท่มี กี ารเเสดงอารมณ์ ความรู้สกึ ชวนให้คล้อยตามหรอื เกิดความสะเทอื นใจ ระยะต่อมาจงึ มีการเล่าเร่ืองประกอบของอากปั กิรยิ า เกิดเปน็ การแสดงรูปแบบต่าง ๆ ทศกณั ฐ์ยกพระราม ในฉากยกรบระหว่างทัพฝ่ายกรงุ ลงกากับฝา่ ยทพั พระราม แสดงโดยคณะโขนกรมศิลปากร 6

เมษายน - มถิ ุนายน ๒๕๖๒ 7

๑ ในอุษาคเนย์ การแสดงรามายณะล้วนเป็นการแสดงอัน มุขปาฐะท่ีมีมาแต่เดิมซ่ึงอาจรับมาจากชวาอีกต่อหน่ึง และชวา เกี่ยวเน่ืองกับรามายณะฉบับสันสกฤตของวาลมีกิ ซ่ึงถือเป็น อาจรับมาจากมุขปาฐะของอินเดียใต้ซ่ึงสืบเนื่องมาจากเร่ืองเล่า สมฤติ (smriti) หรอื คมั ภรี ใ์ นศาสนาพราหมณฮ์ นิ ดู ทม่ี คี วามสำ� คญั ในมัธยมประเทศแต่โบราณกาล ซ่ึงอาจเกิดข้ึนก่อนหรือในสมัย รองลงมาจากคัมภีร์พระเวทย์ การแสดงรามายณะจึงจัดเป็น พุทธกาล การแสดงก่ึงพิธีกรรม อยู่ในกรอบจารีตท่ีถูกสร้างขึ้นเพ่ือคง จากเนอ้ื เรอื่ งรามเกยี รตฉิ์ บบั พระราชนพิ นธใ์ นพระบาทสมเดจ็ ความศักดิ์สิทธ์ิในเชิงความเช่ือทางศาสนารูปแบบของการแสดง พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้น ในรัชกาลต่อๆ มา ก็ได้ รามายณะที่ปรากฏในปัจจุบันของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวัน มีการน�ำมาปรับปรุงเเต่งเติมเป็นบทละครรามเกียรติ์ตอนต่างๆ ออกเฉียงใต้ที่มีการสืบทอดต่อเนื่องกันมาหลายร้อยปี ยังคงมี เพ่อื ใหเ้ หมาะสมแก่การนำ� ไปใช้ในการแสดงจริง ทัง้ ในรชั กาลที่ ๒ ความสอดคล้องในด้านเนื้อหาเเละการแสดงออกทางอารมณ์ และรัชกาลที่ ๔ นอกจากนี้ยังมีบทคอนเสิร์ต พระนิพนธ์ของ ของนักแสดง รวมทั้งมีการสวมหัวหรือหน้ากากแสดงความเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ตวั ละครรามายณะในรูปแบบศลิ ปกรรมของประเทศนั้นๆ อกี ดว้ ย ที่น�ำมาใช้ส�ำหรับการแสดงโขนอย่างแพร่หลาย และกลายมา ในประเทศไทย การแสดงรามายาณะหรือการแสดงเรื่อง เป็นต้นแบบในการปรับบทส�ำหรับการแสดงรามเกียรต์ิตอนต่างๆ รามเกียรต์ิ เป็นการแสดงที่มีหลักฐานถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิด ในปจั จบุ นั สว่ นบทละครดกึ ดำ� บรรพเ์ รอ่ื งรามเกยี รต์ิ พระราชนพิ นธ์ กับเเนวคิดด้านการปกครองตามลัทธิเทวะราชา ดังมีปรากฏเป็น ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนิพนธ์ของ หลกั ฐานทางวรรณกรรมยนื ยนั จากสำ� นวนวา่ เปน็ การแสดงทเี่ กา่ เเก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาทั้งในลักษณะของค�ำพากย์และ จะมีความแตกต่างจากฉบับอื่นๆ เพราะทรงพระราชนิพนธ์และ บทละครในสมัยรัตนโกสินทร์ บทพระราชนิพนธ์เร่ืองรามเกียรติ์ นิพนธ์ข้ึนจากฉบับของวาลมีกิโดยตรง จึงมีรายละเอียดของ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีส�ำนวนที่มาจาก ช่ือตัวละครและเน้ือเรื่องบางส่วนต่างออกไปจากรามเกียรต์ิ ค�ำพากย์เรื่องรามเกียรต์ิในสมัยอยุธยาประกอบกับวรรณกรรม ฉบบั ที่แพรห่ ลายมาตัง้ แตก่ รุงศรอี ยุธยา 8

จากหลักฐานวรรณกรรมต่างๆ บ่งช้ีให้เห็นถึงการแสดง รามเกียรต์ิ ที่มีเพียงบทพากย์ในระยะเริ่มเเรก ซ่ึงค�ำพากย์น้ัน ก็อาจใช้ในการแสดงหนังใหญ่หรือหุ่นในช่วงต้นๆ จนเกิดความ นิยมในการใช้ผู้เเสดงเข้าไปท�ำท่าทางประกอบ จนพัฒนาให้ ผู้แสดงสวมใส่เคร่ืองแต่งกายตามจิตนาการให้สอดคล้องกับรูป ลักษณะของตัวละครนั้นๆ แต่ยังคงด�ำเนินเร่ืองโดยใช้ค�ำพากย์ เช่นเดียวกับการแสดงหนงั ใหญ่ จนในท่ีสุดรามเกียรตท์ิ ีใ่ ชผ้ ูเ้ เสดง ก็เติบโตเจริญงอกงามข้ึนเป็นการแสดงโขนที่มีการสวมศีรษะ หรอื หัวโขนบ่งบอกถงึ ความเป็นตัวละครน้นั ๆ อย่างเฉพาะเจาะจง การแสดงโขนของไทยอาจกล่าวได้ว่าเป็นการแสดงท่ีมี ๒ พัฒนาการอย่างต่อเนื่องเร่ือยมา แม้ว่าจะดูเหมือนมีความซบเซา บ้างในบางยุคบางสมัย แต่รูปแบบของการแสดงโขนของไทยท่ี ปรากฏในปจั จบุ นั ซง่ึ ยดึ เอาการดำ� เนนิ เรอ่ื งตามบทพระราชนพิ นธ์ ๑. ภาพจติ รกรรมฝาผนังเรอื่ งรามเกียรติ์ จากบทพระราชนพิ นธ์ ของรัชกาลท่ี ๑ เปน็ หลกั นั้น ก็ถอื ไดว้ ่าเป็นการผสมผสานความ ของพระบาทสมเด็จพระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช รชั กาลที่ ๑ งามในอุดมคติด้านทัศนศิลป์กับนาฏศิลป์ และได้รับการขัดเกลา บรเิ วณรอบพระระเบียง วัดพระ ศรีรัตนศาสดาราม มาแล้วให้ลงตัวแนบเนียนด้วยแนวทางศิลปะของไทย และยังคง ตอนศึกมยั ราพณ์ เปน็ หลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตรท์ แี่ สดงใหเ้ หน็ รอ่ งรอยของความเชอ่ื ตามลทั ธเิ ทวะราชา ขนบธรรมเนยี มประเพณใี นราชสำ� นกั ตลอดจน ๒. โขนพระราชทาน ตอนศกึ มยั ราพณ์เช่นเดยี วกัน จ�ำลองภาพ จติ รกรรมฝาผนงั มาเปน็ ฉากการแสดงได้อย่างน่าตน่ื ตาตืน่ ใจ โลกทัศน์ในการด�ำเนินชีวิตภายใต้กรอบวัฒนธรรมประเพณี เมษายน - มถิ นุ ายน ๒๕๖๒ 9

๑ ๒ อนั ดงี ามของไทย สว่ นรปู แบบการแสดง กไ็ ดม้ กี ารผสมผสานการแสดง ทดี่ ำ� เนนิ เรอื่ งดว้ ยคำ� พากยแ์ ละเจรจาแบบโบราณ กบั การแสดงทมี่ กี าร แสดงออกทางอารมณแ์ ละท่าทางของตวั ละครอย่างละครในราชส�ำนกั และคงไวซ้ ่ึงจารีตในการสวมหวั โขนสำ� หรับตัวละครส่วนใหญ่ อันเปน็ เอกลกั ษณส์ ำ� คญั ของการแสดงโขน สว่ นผแู้ สดงทแ่ี ต่เดิมเป็นชายลว้ น กม็ กี ารใชช้ ายจรงิ หญงิ แทต้ ามตวั ละครในเรอื่ ง ยกเวน้ บางฉากบางตอน ทย่ี งั มกี ารใชน้ กั แสดงชายสำ� หรบั บทนางยกั ษ์ หรอื ตวั นางในการขน้ึ รอก อยบู่ า้ ง สำ� หรบั วธิ กี ารแสดงกม็ กี ารปรบั เปลยี่ นใหเ้ ขา้ กบั พนื้ ทแ่ี ละโอกาส แตย่ งั คงความยดื หยนุ่ และสามารถปรบั ประยกุ ตไ์ ดไ้ มว่ า่ จะเปน็ การแสดง บนลานโล่งหรือบนเวทมี ฉี ากหลัง การแสดงโขนของไทย แต่เดิมจัดเป็นมหรสพของหลวงที่อยู่ ในความดูแลของราชส�ำนักและเจ้านายตามวังต่างๆ โดยในสมัย รัตนโกสินทร์ ได้มีการจัดตั้งกรมมหรสพรับผิดชอบเร่ืองการแสดง ของหลวงโดยตรง และโอนมาอยใู่ นความรับผิดชอบของกรมศลิ ปากร ในเวลาต่อมา ซ่ึงยังจัดการแสดงตามแนวทางของโขนราชส�ำนักอยู่ นอกจากการแสดงโขนแบบราชสำ� นกั แลว้ การแสดงโขนเรอื่ งรามเกยี รติ์ ยังแพร่หลายไปสู่สังคมในวงกว้าง เกิดเป็นการแสดงโขนคณะต่างๆ 10

๓ และจัดแสดงโขนแบบพระราชนิยมในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานับสิบปี หรือโขนของ ๑ โขนพระราชทาน ในฉากยกรบระหว่างทศกัณฐ์ มูลนิธิศาลาเฉลิมกรุง ที่มุ่งเน้นการจัดแสดงแบบกระชับและรวดเร็วส�ำหรับนัก กบั พระรามและหนมุ าน ท่องเทย่ี ว โขนของสถาบันคกึ ฤทธิ์ ที่เปิดโอกาสใหเ้ ยาวชนทว่ั ไปทม่ี ีใจรัก ได้มีโอกาส ๒ โขนเปรย๊ี ะเรยี จตรว๊ บหรอื พระราชทรัพย์กัมพชู า เขา้ รับการฝึกซ้อมและรว่ มแสดง นอกจากน้ียงั มคี ณะโขนของมหาวทิ ยาลัย วิทยาลัย มหารุมเอล หรอื มัจฉานรุ บหนุมาน และโรงเรียนต่างๆ ในทุกระดบั ชั้นและชว่ งวัย ๓ โขนศาลาเฉลมิ กรงุ ฉากหนุมานเกย้ี ว อาจกล่าวได้ว่า ส�ำหรับผู้ท่ีไม่คุ้นเคยกับการแสดงโขนของไทยมากนัก จะพบ นางสวุ รรณมจั ฉา ว่าการแสดงโขนของไทยกับ “ละครโขล” ของเขมรมีความคล้ายคลึงกันมาก ทั้งนี้ ๔ หนมุ านเก้ยี วนางสุวรรณมัจฉา ภาคกัมพชู า เพราะในอดีต ทั้งสองประเทศมีความเช่ือมโยงกันในทางประวัติศาสตร์ทั้งในด้าน การเมืองการปกครองและทางสังคมอยู่มาก ส�ำหรับรูปแบบการแสดงละครโขลของ ๔ รับแสดงในงานทั่วไป ท้ังยังมีการปรับ ประยุกต์การแสดงโดยลดทอนรายละเอียด บางสว่ นใหง้ า่ ยตอ่ การแสดงและลดแบบแผน ท้ังทา่ รำ� การแตง่ กาย การขับร้อง ค�ำพากย์ และเจรจาลง เกิดเป็นรูปแบบการแสดงโขน อกี แขนงหนง่ึ ทเี่ รยี กกนั ทว่ั ไปวา่ โขนสด โดย มีผู้แสดงแต่งกายตามบทเป็นผู้ร้องเพลงและ พูดเจรจาเอง จึงสวมหัวโขนครอบไว้เพียง หนา้ ผาก เพือ่ ใหส้ ามารถรอ้ งเจรจาได้ ปจั จบุ นั นอกจากกรมศลิ ปากรแลว้ การ ฝึกซ้อมและการจัดแสดงโขนแบบประเพณี (Traditional Performance) ยงั มอี ยตู่ ามสำ� นกั และสถาบันตา่ งๆ ท่วั ประเทศ เชน่ โขนของ มลู นธิ สิ ง่ เสรมิ ศลิ ปาชพี ในสมเดจ็ พระนางเจา้ สิรกิ ิต์ิ พระบรมราชนิ ีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ท่ีมุ่งฟื้นฟูงานช่างประณีตศิลป์ แขนงต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการแสดงโขน เมษายน - มถิ ุนายน ๒๕๖๒ 11

นกั ทอ่ งเทีย่ วถา่ ยภาพตวั ละโคนและละครโขล ที่ปราสาทบายน เมอื งเสียมเรียบ 12

๑ กัมพูชาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เกิดจากการสืบทอดและฟื้นฟูขึ้นใน ๒ ระยะหลังสงคราม โดยเฉพาะการแสดง “เรียมเกร์” (Reamker) ๑ - ๒ การแสดงและการฝึกซ้อมของคณะละครโขล คณะวัดสวายอันแดต แบบราชส�ำนัก ซ่ึงมีการใช้ผู้แสดงเป็นหญิงล้วนตามแบบจารีต โบราณ มักแสดงตอนที่มุ่งเน้นการแสดงอารมณ์ของตัวละคร ไปประมาณ ๑๐ กโิ ลเมตร ซึง่ การแสดงละครโขลท่หี มู่บ้านแหง่ นี้ มากกว่าการแสดงฉากรบพุ่งหรือสงครามใหญ่ นักแสดงแต่งกาย มีรูปแบบท่ีเป็นการแสดงพ้ืนบ้าน จัดแสดงในช่วงสงกรานต์เพ่ือ ตามลักษณะของตัวละคร แบบเคร่ืองทรงอย่างราชส�ำนักกัมพูชา ถวายแด่ “นักตา” สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำ� หมู่บ้าน โดยใช้ผู้แสดงเป็น สวมหัวโขนส�ำหรับบทยักษ์ ลิง และเปิดหน้าส�ำหรับตัวพระและ ชายซง่ึ โดยมากเปน็ เดก็ ๆ ในหมบู่ า้ น แตง่ กายตามบทบาทยกั ษ์ ลงิ นางกษตั รยิ ์ สขี องเครอื่ งแตง่ กายและหวั โขนประดษิ ฐข์ น้ึ ตามสพี งศ์ ท่ีตัดเย็บกันเองอย่างง่ายๆ ผู้แสดงตัวเอกแต่งแบบโขนราชส�ำนัก ของตัวละครเช่นเดียวกับสีของตัวโขนของไทย ในปัจจุบันยังได้มี สว่ นตวั แสดงโขนยกั ษแ์ ละลงิ นงุ่ แตโ่ จงกระเบน ไมส่ วมเสอ้ื แตส่ วม การฟื้นฟูการแสดงเรียมเกร์ ที่ผู้แสดงสวมหัวโขนทั้งหมด ไม่ว่า หวั โขน ยกั ษ์และลงิ จะเปน็ พระราม พระลกั ษณห์ รือแมก้ ระทั่งนางสดี าขึน้ มาด้วย เชน่ เดยี วกับไทย นอกจากการแสดง “ละครโขล” แบบหลวง เมษายน - มถิ ุนายน ๒๕๖๒ 13 หรือแบบราชส�ำนักแล้ว ประเทศกัมพูชายังมีการแสดงละคร โขล เรยี มเกร์ แบบชาวบ้าน กล่าวกันว่าเคยมีคณะละครโขลของ ชาวบ้านตามหมู่บ้านอยู่ถึงแปดคณะในช่วงก่อนสงคราม ปัจจุบัน เหลอื การแสดงละครโขลของหมบู่ า้ นอยเู่ พยี งแหง่ เดยี ว นน่ั คอื คณะ ละครโขลวัดสวายอันแดต (Lkhon Khol Wat Svay Andet) ท่ีตำ� บลสวายอันแดต ซ่งึ อยฝู่ งั่ ตรงขา้ มแมน่ �้ำโขงจากกรุงพนมเปญ

พะลักพะลามหรอื โขนลาว คณะนาฏศิลปแ์ ห่งชาติลาว การแสดงโขลของวัดสวายอันแดตน้ีจะเน้นการรบระหว่าง ส�ำหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการแสดง กองทัพยักษ์และทัพลิงเป็นหลัก โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้รับผิดชอบ “ฟ้อนโขนพะลักพะลาม” ด�ำเนินเรื่องตามวรรณกรรมเร่ือง หลักในการจัดการแสดงประกอบกับพิธีกรรมตามความเชื่อ ซ่ึงถือ พะลักพะลามที่ถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมส�ำคัญของชาวลาว ที่มี เปน็ การสรา้ งขวญั และกำ� ลงั ใจใหก้ บั ผคู้ นในหมบู่ า้ นทตี่ า่ งพากนั มา การดัดแปลงมาจากรามายณะ โดยการดัดแปลง ต่อเติมให้มี มีส่วนร่วมในการแสดงอันเป็นกิจกรรมส�ำคัญประจ�ำปี ท้ังยัง ลกั ษณะเฉพาะถน่ิ ตามคตคิ วามเชอ่ื คา่ นยิ มและวฒั นธรรมประเพณี เชื่อกันว่าหากปีใดเว้นการแสดงละครโขลดังกล่าว ก็จะเกิด ของลาว มีการน�ำเอาเนื้อหาและตัวละครท่ีเป็นท่ีนิยมของท้องถิ่น ทพุ ภิกขภัยแกพ่ ้ืนท่กี ารเกษตรและผู้คนในหมู่บ้านน้ัน สว่ นผู้แสดง มาประยุกต์ มีการสอดแทรกวิถีชีวิต คติความเชื่อ ค่านิยม และ ซึง่ เปน็ คนของหมบู่ ้านเองกเ็ ชื่อว่า หากปใี ดไมแ่ สดงก็จะเกดิ เจบ็ ไข้ ใช้ฉากสถานท่ีมีอยู่จริงในท้องถิ่นมาผสมผสาน “ฟ้อนโขนพะลัก ไดป้ ว่ ยโดยไมท่ ราบสาเหตุ ดงั นน้ั ไมว่ า่ จะยา้ ยถนิ่ ฐานหรอื ไปทำ� งาน พะลาม” หรือ “ละคร พะลักพะลาม” ถือได้ว่า เป็นศิลปะ อยู่ที่ใด เม่ือถึงช่วงสงกรานต์ ก็จะต้องกลับไปแสดงเป็นประจ�ำ การแสดงทโ่ี ดดเดน่ ชนดิ หนงึ่ ของลาวทย่ี งั สบื ทอดมาจนถงึ ปจั จบุ นั ทกุ ปี โดยเฉพาะท่ีเมืองหลวงพระบาง ซ่ึงถือเป็นการแสดงในราชส�ำนัก ปัจจุบันด้วยการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของเมืองหลวง มาต้ังแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราช โดยจัดแสดงปีละคร้ังคือในช่วง พนมเปญ และความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ประเทศกัมพูชา งานบุญปีใหม่ใน “วันสังขานข้ึน” เป็นมหรสพท่ีเจ้ามหาชีวิตจัด จึงได้ระบุให้การแสดงโขลของวัดสวายอันแดต เป็นมรดก ให้มีข้ึนในงานพระราชทานเล้ียงแก่ราชอาคันตุกะและเจ้านาย ทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่ต้องได้รับการส่งเสริมรักษา ชั้นสูงที่มาร่วมพิธีบายศรีในพระราชวัง และจัดแสดงในคืนวัน อยา่ งเรง่ ดว่ น สรงน้ําพระบาง พระพทุ ธรูปคบู่ า้ นคูเ่ มอื งลาว 14

พะลักพะลามหรือโขนลาว คณะชาวบา้ นแอนอ้ ยหลวงพระบาง การแสดงฟ้อนโขนของลาวนั้น ผู้แสดงแต่งกายตามบทบาท และแบบชาวบา้ น ตลอดจนทเี่ ปน็ การแสดงรว่ มสมยั ทส่ี รา้ งขน้ึ ใหม่ พระ นาง ยักษ์ ลิง สวมหัวโขน เคร่ืองแต่งกายมีองค์ประกอบ เชน่ การแสดงของประเทศฟลิ ปิ ปนิ ส์ ซงึ่ ทงั้ หมดนนั้ จะขอกลา่ วถงึ ใกลเ้ คยี งกบั ไทย กลา่ วคอื ตวั พระและยกั ษ์ นงุ่ ผา้ ยก สวมเสอื้ แขน ในตอนต่อไป ยาว มีกรองคอ หอ้ ยหน้าหอ้ ยขา้ ง รัดสะเอว ใส่สังวาลไขว้ ประดบั ทับทรวง ส่วนตวั นางกษตั ริย์ นุง่ ผ้ายกมที ง้ั แบบนุง่ จบี และนุ่งเปน็ อา้ งองิ ซิ่นป้าย สวมเส้ือในนางแขนกุด ห่มสไบ กรองคอ สอดสังวาล สมยั วรรณอดุ ร, วรรณกรรมเรอ่ื งพระลกั พระลามกบั บทบาท สวมมงกุฎกษัตรี ฟ้อนประกอบการบรรเลงดนตรีด้วยวงมโหรี ในสงั คมวฒั นธรรมสองฝง่ั โขง. วารสารวชิ าการแพรวากาฬสนิ ธ์ุ ประกอบเครือ่ งเป่าคอื “แคน” มหาวทิ ยาลยั กาฬสนิ ธ,์ุ ปที ี่ 4 ฉบบั ท่ี 1 มกราคม - เมษายน ในปัจจุบัน การฟ้อนโขนพะลักพะลาม ได้รับการฟื้นฟู 2560, หนา้ 154-171. ขึ้นใหม่ มีการจัดแสดงเปน็ ประจำ� ท่ีเมอื งหลวงพระบาง นอกจากนี้ พระวรวงศเ์ ธอ กรมหมนื่ พทิ ยลาภพฤฒยิ ากร, ชมุ นมุ พระนพิ นธ์ การฟ้อนโขนพะลักพะลามยังเป็นส่วนหนึ่งของขบวนนางแก้วที่ (กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พพ์ ระจนั ทร,์ 2517). เข้าร่วมขบวนแห่วอในงานบุญปีใหม่หรือบุญสงกรานต์ของ ศรสี รุ างค์ พลู ทรพั ย์ และสมุ าลย์ บา้ นกลว้ ย, ลกั ษณะความเปน็ มา เมอื งหลวงพระบางทุกปีดว้ ย และพฤตกิ รรมของตวั ละครในเรอื่ งรามเกยี รติ์ เปรยี บเทยี บกบั ยังมกี ารแสดงรามายณะในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ตวั ละครในมหากาพยร์ ามายณะ, เอกสารวจิ ยั หมายเลข 12 ทั้งที่เป็นการแสดงแนวประเพณีที่มีการสืบทอดมาหลายช่ัวอายุคน (กรงุ เทพฯ : สถาบนั ไทยคดศี กึ ษา มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร,์ เชน่ การแสดงของประเทศเมยี นมา่ อินโดนเี ซีย ทงั้ แบบราชส�ำนกั 2524), หนา้ 183-184. Jukka O. Miettinen, Asian Traditional Theatre and Dance. Theatre Academy of the University of the Arts Helsinki, 2018. https://disco.teak.fi/asia/ เมษายน - มิถนุ ายน ๒๕๖๒ 15

บนั เทิงศลิ ป์ เรื่อง : มะยาเต็ง สาเมาะ ภาพ : อภนิ นั ท์ บวั หภักดี วายังกูเละ หนังตะลุงมลายู สื่อพื้นบ้าน สามจังหวัดชายแดนใต้ คำ่� คืน อนั สนุกสนานบนั เทิงใจ ของจังหวัดยะลา หน่ึงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เตม็ ไปดว้ ยความครกึ ครน้ื ชาวยะลา และชาวจงั หวดั ข้างเคียง อย่างชาวปัตตานี นราธิวาส และพี่น้อง ชาวมาเลเซีย ต่างตั้งตารอคอย การได้มาร่วมงาน “มลายูเดย์” ณ สนามช้างเผือกเทศบาลนครยะลา งานทร่ี วบรวมกจิ กรรมศลิ ปวฒั ธรรมมลายไู วอ้ ยา่ ง ครบครัน และในค�่ำคืนแห่งการออกร้านจ�ำหน่ายสินค้า อาหาร มะยาเต็ง สาเมาะ หัวหนา้ คณะหนงั เตง็ สาคอ ตะลุงบนั เทงิ ผู้ทยี่ ังสืบสาน เครื่องดื่มต่างๆ อย่างครึกคร้ืนแน่นขนัดน้ัน ตรงมุมเล็กๆ การแสดงวายงั กูเละ หนังตะลุงมลายู ที่สนามหญ้าเงียบสงบห่างไกลผู้คน มีเวทียกพื้นหลังย่อมๆ จัดสร้างข้ึนอย่างล�ำลองไม่น่าสนใจนัก หากพลันท่ีป้ายไวนิล ท่วงท�ำนองอันกระตือรือร้นน่าสนใจ เป็นสัญญานแห่งการ หน้าเวทีถูกขึงกางข้ึนตึงเต็มผืน จนมองเห็นได้ชัดเจนว่ากลาง โหมโรง เพ่ือบอกกับทุกผคู้ นวา่ ณ บดั นี้ การแสดงหนังตะลุง เวทีเป็นจอหนังตะลุงขาวสะอาด และมีตัวหนังสือด้านบน มลายู วายงั กเู ละ คณะหนงั เตง็ สาคอ ตะลุงบนั เทงิ ขวัญใจของ อา่ นออกไดว้ า่ .. หนงั เตง็ สาคอ ตะลงุ บนั เทิง .. เท่านั้น ผคู้ น ชาวเมืองยะลา จะเริม่ ต้นการแสดงข้ึนแล้ว จ�ำนวนมากท้งั เด็ก ผ้ใู หญ่ วยั รุ่น ผูช้ าย ผหู้ ญงิ ในงานกค็ อ่ ยๆ ทยอยกันมาที่หน้าเวที คราวละคนสองคน จนผ่านเวลาไป สักช่ัวโมงผู้คนก็มานั่งรอกันจนใกล้เต็มพื้นท่ีสนามหญ้า กวา้ งขวางหนา้ เวที ทเ่ี คยว่างเปลา่ กนั แล้ว และพลนั สนิ้ เสยี งละหมาดภาคกลางคนื ทล่ี อยลมมาไกลๆ ภาพหนังตะลุงมลายูภาพแรก ภาพฆูนุง ก็ปรากฏขึ้นกลาง จอหนังเป็นสัญญานบอกผู้คนที่มาเฝ้ารอชมว่า การแสดงใกล้ จะเร่ิมต้นแล้วอย่างแน่นอน ผู้คนจากหลายๆ เวทีการแสดง จงึ คอ่ ยๆ ยา้ ยตวั เองมานั่งรอทีส่ นามหญ้าจนมากมายเต็มพน้ื ท่ี และแล้วเสียงดนตรีปี่กลองก็เร่ิมประโคมในจังหวะและ 16

เมษายน - มถิ นุ ายน ๒๕๖๒ 17

๑ ๑ ปูเงาะห์ อาเจาะ คอื การร้อื รปู หนังจากแผงมาปกั หนังตะลุง วายงั กูเละ คืออะไร จัดเตรยี มไว้ ๒ รูปตัวหนงั ชวาเปรียบเทียบกับตวั หนงั ไทยมลายู วายงั กูเละ คือ หนังตะลงุ ของชาวไทยมสุ ลิม เปน็ ศลิ ปะการเล่นเงาของชาวไทย ๓ เด็กรุ่นใหมผ่ สู้ นใจสืบสานการแสดงวายังกูเละ ท่ีนับถือศาสนาอิสลามในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่ือว่า วายังกูเละ ได้รับแบบ อย่างมาจากอินโดนีเซียโดยผ่านทางคาบสมุทรมลายู ส่วนอินโดนีเซียรับแบบอย่าง เขา้ มาสมัครเป็นสมาชกิ ในคณะ มาจากอินเดียอีกทอดหนึ่ง อินเดียเรียกศิลปะการแสดงประเภทน้ีว่า \"ฉายนาฏกะ\" และวรรณกรรมที่ใช้แสดงก็คือ มหากาพย์รามายณะ และมหากาพย์มหาภารตะ กล่าวกันว่า หนังชวาเข้าสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๙ เม่ือสมเด็จ พระบวรราชเจา้ มหาสรุ สงิ หนาท รบั สง่ั ใหอ้ พยพครอบครวั ชาวปาตานี เขา้ มาตง้ั รกราก อยู่ในบริเวณคลองมหานาค และเขตบริเวณหน้าวัดชนะสงคราม ครั้นถึงรัชสมัย พระบาทสมเดจ็ พระนง่ั เกลา้ เจา้ อยหู่ วั กวใี นราชสำ� นกั ไดถ้ า่ ยทอดภาพพจนต์ วั หนงั ชวา ออกมาเปน็ อกั ษรครง้ั แรก ดงั ปรากฎในหนงั สอื ขนุ ชา้ งขุนแผน ตอนท�ำศพนางวันทอง ความว่า เหล่าเจ้าพวกหนงั แขกแทรกเขา้ มา พิศดูหนา้ ตามนั ปอ๋ หลอ รูปรา่ งโสมมผมหยกิ งอ จมูกโดง่ โก่งคอเหมือนเปรตยืน 18

๓ จากบทเสภาขา้ งตน้ เราไดร้ บั ความรู้ อะไรบา้ ง ขอ้ แรก ผปู้ ระพนั ธเ์ สภาตอนน้ี คอื พระสนุ ทรโวหาร (ภ)ู่ ข้อตอ่ มา สามารถ ตั้งข้อสนั นิษฐานได้ว่า สุนทรภู่ คงนำ� เอา ประสบการณ์จากการได้ชมหนังชวา ในงานพระศพสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนี ในพระบาทสมเด็จ พระนงั่ เกลา้ เจา้ อยหู่ ัว ในปี พ.ศ. ๒๓๒๙ มาประพันธ์ ท้ังน้ีเนื่องจากพงศาวดาร เมืองสงขลา กล่าวว่าในงานถวาย พระเพลงิ พระศพครง้ั นี้ พระยาสงขลา ได้ น�ำพระยาตานี พระยายิริง (ยะหร่ิง) พระยาสายบรุ ี พระยายาลอ พระยาระแงะ และพระยารามันห์ เข้าเฝ้าพระบาท สมเดจ็ พระนง่ั เกลา้ เจา้ อยหู่ วั น่าจะมีคนใด คนหน่ึงน�ำหนังชวาเข้าไปแสดงถวาย หรอื ไมก่ อ็ าจจะไดช้ มหลงั จากทอี่ พยพเขา้ ๒ มาอยใู่ นกรุงเทพฯ กเ็ ปน็ ได้ เมษายน - มิถนุ ายน ๒๕๖๒ 19

บรรยากาศด้านหลังจอหนงั ขณะทำ� การแสดงวายงั กูเละ ในสมัยเดียวกันนี้พระมหามนตรี (ทรัพย์) ได้กล่าวถึงหนังชวาไว้ในหนังสือบท ละครเรื่อง ระเด่นลันได ของท่านว่า.... นงุ่ กางเกงเข็มหลงอลงกรณ ์ ผา้ ทพิ ย์อาภรณ์พื้นขาว เจยี รระบาดเสมียนละวา้ มาแต่ลาว ดรู าวหนังแขกเม่ือแรกมี จากหนังสืองานวิจัย เร่ืองวายังกูเละ ของอาจารย์ปองทิพย์ หนูหอม ตัวหนังรปู ฆนู ุง เม่ือถกู ปักไว้กลางจอ ศูนยศ์ ิลปวัฒนธรรมวทิ ยาลยั ครยู ะลา หรอื ปจั จุบนั คอื มหาวทิ ยาลยั ภัฏ และมกี ารเล่า เป็นสญั ลกั ษณใ์ ห้รู้ว่า ใกล้ถงึ เวลาทำ� การแสดง ต่อกันมาจากรนุ่ สู่ร่นุ วา่ วายังกเู ละ เข้ามาในปตั ตานีในยคุ แรกโดยมีชาวอินโดนีเซยี ได้ อพยพเข้ามาตั้งรกรากอยู่ท่ี อ�ำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี หลังจากน้ันได้แพร่หลาย สืบทอดการเล่นวายังกูเละในรูปแบบของอินโดนีเซีย ท่ีเรียกกันว่า วายังมลายู หรือ วายังยาวอ (หนังชวา) จวบจนเวลาล่วงผ่านไปร่วม ๒๐๐ ปี การแสดงไดพ้ ฒั นารปู แบบ กลายมาเป็นวายงั กูเละในแบบฉบบั ของ ๓ จังหวดั ชายแดนใต้ 20

รปู ตัวหนังตา่ งๆ ท่ใี ช้ในการแสดง ลักษณะและธรรมเนียม โหมโรง บรรเลงเครอื่ งดนตรเี ปน็ การ \"ตาโบะ๊ ห\"์ (โหมโรง) โดยการเล่นเครื่องดนตรีล้วนๆ จะใช้เพลงทุกเพลงที่จะใช้ใน ธรรมเนียมนิยมหรือส่ิงท่ีปฏิบัติสืบเนื่องกันมาต้ังแต่อดีต การแสดงวายังกูเละในแต่ละคืน อยู่ระยะหน่ึงประมาณ ถึงปัจจุบันในการแสดงวายังกูเละ น่ันคือ เนื่องจากประชากร ๓๐ นาที เพ่ือเรียกคนดู ส�ำหรับจอหนังจะไม่ปล่อยให้ว่าง ในพนื้ ทจ่ี งั หวดั ชายแดนภาคใต้ ๘๐ % นั้นเปน็ ชาวไทยเช้ือสาย โตะ๊ ดาแลสมยั ก่อน จะคงรปู ฆูนุง (ภูเขา) ปกั ใวก้ ลางจอเสมอ มลายูที่นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้นเวลาในการท่ีจะแสดง เร่ิมต้นการแสดง การแสดงจะเร่ิมเชิดด้วยการออกฤาษี มหรสพหรือส่ิงบันเทิงและกิจกรรมรื่นเริงต่างๆ จึงต้องรอ จากนั้นสมัยก่อนจะเชิด \"แดวอ ปาเนาะห์\" คือเอารูปเทวดา ใหพ้ ้นเวลา \"ละหมาด\" (นมัสการพระอัลลอฮ)์ ซ่ึงใน ๒๔ ซม. ฝ่ายธรรมะ และเทวดาฝา่ ยอธรรม ออกมารบกนั แต่ข้ันตอนนี้ จะมอี ยู่ ๕ วักตู (เวลา) ในภาคกลางวนั ๒ วกั ตู และในภาค ไดเ้ ปลยี่ นแปลงไปประมาณ ๑๐๐ กว่าปีท่ีผ่านมา และในชว่ ง กลางคนื นน้ั ชว่ งระหวา่ งพระอาทติ ยต์ กดนิ จะมี ๒ วกั ตู (เวลา) หลงั จากนนั้ จะเปน็ การออกฤาษี แลว้ ออก \"อาเนาะกอื รอแบและห\"์ ละหมาดไปจนถงึ เวลา ๒๐.๐๐ น. จะไมใ่ หม้ กี จิ กรรมบนั เทงิ ใดๆ (ลูกลิง) มารบกัน แต่ในยุคปัจจุบันน้ี ย้อนหลังไปประมาณ ดงั นนั้ เวลาเรม่ิ ทำ� การแสดงวายงั กเู ละ จะเรมิ่ การแสดงประมาณ ๔๐ กว่าปี จะมีแต่การออกฤาษี กับนายพราน หรือ ๒๑.๐๐ น. โดยประมาณ \"ฆอแด เมาะรีมา\" (ตีเสือ) จากนั้นจะออกตัว \"มหาราชาวนอ\" (ทศกัณฐ์) ออกมา ลำ� ดับขน้ั ตอนในการแสดง ชมเมือง ต่อด้วย \"ศรีรามอ\" และตามด้วยเหล่า \"เสนา\" (ตัวตลก) แล้วด�ำเนินเรื่องต่อไป ในช่วงท่ีกล่าวมาต้ังแต่ ปเู งาะห์ อาเจาะ (แตกแผง) คอื การร้อื รูปหนังจากแผง ตาโบ๊ะห์ จนกระท่ังตัวตลกออกมาเจรจากันน้ันเป็นหน้าที่ของ มาปกั จดั เตรยี มใวเ้ พอื่ สะดวกเวลาโตะ๊ ดาแล (นายหนงั ) ตอ้ งการ \"ดาแล มดู อ\" (ลูกศษิ ย์ของโตะ๊ ดาแลคณะน้ันๆ) น�ำออกมาแสดง แลว้ จะปักรูป ฆูนงุ ไว้กลางจอ เพือ่ ใหผ้ ู้ชมได้ ตอ่ จากนนั้ จงึ จะเปน็ หนา้ ทขี่ องดาแลทวู อ (นายโรง) แสดง รวู้ า่ ใกล้ถึงเวลาทำ� การแสดงแลว้ เรือ่ งต่อไปเรื่อยๆ จนจบ โดยการออกรูปฤาษีอีกคร้งั หนึง่ พรอ้ ม บูกอปาโงง (เบิกโรง) การท�ำพิธีระลึกถึงครูบาอาจารย์ บอกจบการแสดง โดยจะประกอบไปด้วย ๑. หมากพลู ๓ ค�ำ ๒. ข้าวสาร (ข้าวเจ้า) ๑ ก�ำ ๓. ด้ายดิบ ๑ เส้น ๔. เทียน ๗ เล่ม ๕. เงิน ๑๒ บาท (ปัจจบุ นั ๓๕๐ บาท) ๖. น�้ำเย็น ๑ แกว้ เมษายน - มถิ นุ ายน ๒๕๖๒ 21

องคป์ ระกอบที่ใช้ในการแสดงวายงั กเู ละ นายหนังอายุ ๔ ขวบ จากมาเลเซีย ขณะทำ� การแสดงแลกเปลย่ี น กับคณะหนังเต็ง สาคอ ทงี่ านมลายเู ดย์ จังหวัดยะลา สว่ นประกอบต่างๆ ส�ำหรับการแสดง วายังกเู ละ ได้แก่ ดาแล นายหนงั จะเป็นผูเ้ ชิดรูปตวั วายงั กเู ละ พร้อมทั้งเลา่ เรือ่ ง และมีส่วนท้ายยื่นออกไปเป็นรูปปลายแบนเป็นดอกล�ำโพง กำ� กบั ระหวา่ งการบรรเลงเครอ่ื งดนตรี ประกอบดว้ ย ตวั นายโรง มี ๒ ใบ เสยี งสูงต่�ำ ใช้ตสี อดสลับกัน ดาแล ทวู อ และผชู้ ่วย หรอื ลกู ศษิ ยน์ ายโรง ดาแล มูดอ ตาเวาะ (ฆ้องคู่) เป็นโลหะผสม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง รปู วายัง (ตวั หนงั ตะลุง) เปน็ อปุ กรณ์ส�ำคญั ในการแสดง ประมาณ ๗๐-๗๕ ซม. หน้าฆอ้ งเป็นปมุ่ ส�ำหรับตี สงู ประมาณ ซงึ่ พอจะแบง่ รปู หนงั ออกเป็น ๔ ประเภท คือ ๑. รปู ที่ได้รบั ๕ ซม. ฆอ้ งแตล่ ะใบมรี ู ๒ รู สำ� หรบั รอ้ ยเชอื กใวผ้ กู กบั ราวไมไ้ ขว้ อทิ ธิพลจากตัวหนังชวา เช่น รปู เทวดา ๒. รปู ทเี่ ขยี นขึ้นเพอ่ื ใช้ ใหห้ ันหนา้ ฆอ้ งเขา้ หากัน ห่างกันพอจะเหวี่ยงไม้ตซี า้ ยขวาได้ แสดงเร่ืองโบราณ เช่น รูปศรีรามอ หนุแม มหาราชาวนอ จาแน (โหม่ง) เปน็ โลหะผสม มีสองใบ ใบหนึง่ เสียงสงู (ทศกัณฐ์) เป็นต้น ๓. รูปท่ีมาจากตัวหนังตะลุงไทย และ ใบหน่งึ เสยี งตำ่� ใชต้ ดี ว้ ยไม้หุม้ นวม อาเนาะอาแย (ฉง่ิ ฉาบ) ๔. รปู ตวั ละครพื้นบา้ น ในดา้ นภาษา จะใชภ้ าษามาลายใู นการแสดง จงั หวะเพลง เครอ่ื งดนตรี ทใ่ี ชใ้ นการแสดงวายงั กเู ละ จะมี ๑. ซแู น (ป)่ี ที่ใช้ประกอบการแสดง ส�ำหรับรูปหนังจะใช้รูปหน้าข้าง ซ่ึง ๑ เลา ๒. ฆอื แน (กลองแขก) ๑ คู่ ๓. ฆือดุ (กลองสองหน้า) หนังตะลุงใต้จะใช้รูปหน้าเต็ม จะมีเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของ ๑ คู่ ๔. ฆอื ดอเมาะ(ทบั ) ๑ คู่ ๕. ตาเวาะ(ฆ้อง) ๑ คู่ ๖. จาแน วายงั กเู ละในปลีกย่อยตา่ งๆ (โหม่ง) ๑ คู่ ๗. อาเนาะอาแย (ฉง่ิ หรือฉาบ) ๑ คู่ ๘. ลอื โพะ (ไมเ้ คาะจังหวะ) ๑ อัน ซูแน หรือ ซูนา ตามภาษาถ่ิน หรือปี่ ในภาษาไทย ปี่ที่ใช้แสดงวายังกูเละ จะใช้ปี่ชวา ซ่ึงการแสดงส่วนใหญ่ จงั หวดั ชายแดนใตจ้ ะใชป้ ช่ี วา อยา่ งเชน่ การแสดง ซลี ะ มะโยง่ เปน็ ตน้ ฆือแน (กลองแขก) เป็นเคร่ืองดนตรี ที่ใช้ในการแสดง พนื้ บา้ นอกี หลายๆ แขนงในพนื้ ทช่ี ายแดนใต้ ไมว่ า่ ซลี ะ มะโยง่ มโนราแขก ร็องเงง็ มะตอื รี และใชต้ ีประกอบเพลง การแสดง ลือบาดีเก (ใช้แทนร�ำมะนาหรือบานอ) ฆือแน จะใช้เป็นคู่ ลูกหน่ึงเสียงสูงและอีกลูกหนึ่งเสียงต่�ำ ตีด้วยฝ่ามือท้ังสองข้าง แตถ่ า้ ใชเ้ ปน็ ครอื่ งดนตรปี ระกอบการแสดง ซลี ะ จะตดี ว้ ยไมข้ า้ ง ที่กว้างและตีด้วยฝ่ามือข้างที่แคบ ฆือแน เป็นกลอง ๒ หน้า หน้าหน่ึงกว้าง อีกหน้าหน่ึงแคบ ตัวกลองท�ำด้วยไม้เนื้อแข็ง หน้ากลองขึงด้วยหนังวัวข้างที่กว้าง และขึงด้วยหนังแกะหรือ แพะในหนา้ อีกขา้ งหนึ่ง ใช้เส้นหวายผ่าซกี เป็นสายโยงเร่งเสยี ง โยงเส้นหา่ งๆ แต่ต่อมาใช้สายเอ็นแทนหวาย ฆอื ดู (กลองสองหนา้ ) ตวั กลองทำ� ดว้ ยไมเ้ นอ้ื แขง็ ขน้ึ ดว้ ย หนงั ววั หรอื หนงั ควาย ทงั้ สองหนา้ ตดี ว้ ยไมต้ คี ู่ สำ� หรบั การแสดง วายงั กเู ละจะใชเ้ ปน็ คู่ กลองชนดิ นม้ี ใี ชใ้ นหนงั ตะลงุ ไทย และใน การแสดงโนราในภาคใต้ของไทยเรียกว่า กลองตกุ๊ ฆือดอเมาะ (ทับ) เปน็ กลองหนา้ เดียว มสี ายโยงเรง่ เสยี งจากหนงั ถงึ คอทับ 22

การแสดงระหวา่ งตวั พระเอกกบั ตวั ตลกทเ่ี ป็นแบบเฉพาะของวายงั กูเละ บทบาทลีลาของตวั หนงั ตลุงทผี่ ่านการเชดิ ของนายหนัง ความผกู พันของการแสดงวายังกูเละ วายังกูเละ จึงถูกใช้เป็นเป็นส่ือในการเผยแพร่คุณธรรม กับวถิ ชี ีวติ คนใต้ และจริยธรรม ให้กับสังคมท้องถ่ินได้เป็นอย่างดี เพราะว่า วายังกูเละ เข้าถึงและเป็นท่ียอมรับของประชาชน ด้วยบุคลิก วายงั กเู ละเปน็ การแสดงทมี่ คี วามผกู พนั กบั วถิ ชี วี ติ ของคน ของตัวตลกทุกตัวที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นคนธรรมดาๆ มลายูในพ้ืนท่ีเป็นอย่างมาก เฉกเช่นเดียวกับหนังตะลุงของ และมีความเป็นบ้านๆ เรื่องตลกแต่ละเรื่องท่ีถูกน�ำมาใช้แสดง ชาวภาคใตใ้ นพทุ ธศาสนา เพราะวายงั กเู ละ กค็ ือ หนงั ตะลุง เป็นเหตุการณ์กลางๆ ที่พร้อมจะเกิดข้ึนกับทุกครอบครัวใน เป็นการแสดงที่เข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึก วัฒนธรรมพื้นถ่ิน สงั คม มีการพูดโกหก อวดเกง่ ทง้ั ๆ ท่ีตัวเองไมร่ ู้จริง ซึ่งคนใน แนบชดิ สนทิ สนมไปกบั ความเปน็ พนื้ บา้ น เขา้ ไปอยใู่ นจติ ใจของ ชุมชนก็จะลอ้ เลียนเปน็ สามะ หรอื เรียก แบมะ ซ่ึงเป็นตัวตลก ชาวบ้านยิ่งกว่าการแสดงชนิดใดๆ ความแตกต่างกันระหว่าง ทีม่ นี สิ ัยและบุคลิกดงั ทีก่ ลา่ วมาขา้ งต้น หนังตะลุง กับวายงั กูเละ มเี พยี งไม่กีป่ ระการ คือ ภาษาท่ีใช้ เปน็ เรอ่ื งนา่ เสยี ดายยง่ิ ทคี่ วามเปลยี่ นแปลงทางสงั คมและ เป็นสื่อ วายังกูเละ ใช้ภาษามลายูในการแสดง จังหวะ และ เศรษฐกจิ ทุกวนั นี้ มีส่วนท�ำให้คณะวายงั กูเละ ลดจ�ำนวนลงไป ท่วงท�ำนองเพลงท่ีใช้ประกอบการแสดงจะหนักไปในทางเพลง เป็นอันมาก จนเหลืออยู่เพียงสองคณะในปัจจุบนั ดังน้นั จึงเปน็ มลายูมากกวา่ และตวั หนงั ของวายังกูเละมตี ัวหนังชวา ซึง่ เป็น สาเหตุส�ำคัญท�ำให้ วายังกูเละ ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือ ตัวหนังที่ใช้รูปหน้าด้านข้าง ไม่หันหน้าตรงแบบตัวหนังไทย อย่างเร่งด่วน การท่ีวายังกูเละ ได้รับการข้ึนบัญชีเป็นมรดก และหน้าตาดูไม่เหมือนหน้าตาของมนุษย์อันเป็นไปตามหลัก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ นับเป็น ศาสนา กำ� ลงั ใจสำ� คญั ใหก้ บั คณะนกั แสดง ยงั คงมงุ่ มน่ั สานตอ่ การแสดง พ้ืนบ้านมลายูของ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ในยุคท่ีส่ือออนไลน์ โอบล้อมสอื่ พนื้ บา้ นอยา่ งประชดิ นายหนังขณะท�ำการแสดง เมษายน - มถิ ุนายน ๒๕๖๒ 23

ชั้นเชงิ ชา่ ง เร่อื ง : ดร.สิทธิชยั สมานชาติ ภาพ : ดร.สทิ ธิชัย สมานชาต,ิ ทวี ศริ ิ มรดกภูมปิ ญั ญาทางวัฒนธรรม ผ้าทอเมืองอุบลฯ มีชื่อเสียงในเรื่องความสวยงามของผ้าไหม ๑ ซ่ึงเป็นมรดกสิ่งทอที่ได้ขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๑ ภาพหม่อมเจยี งคำ� ชมุ พล ณ อยธุ ยา เจ้านายเมืองอบุ ลฯ โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ นุ่งซิ่นท่ีมีลายแนวด่ิงต่อตีนซิ่นแบบเอกลักษณ์ผ้าทอ เมอื งอุบลฯ ดว้ ยยงั มชี มุ ชนทยี่ งั คงสบื ทอดภมู ปิ ญั ญาการทอผา้ อยใู่ นปจั จบุ นั ทจี่ งั หวดั ๒ คณุ แมค่ ำ� ปนุ ศรใี ส ศลิ ปนิ แหง่ ชาติ สาขาทศั นศลิ ป-์ ประณตี อบุ ลราชธานี ไดแ้ ก่ บา้ นคำ� ปนุ อำ� เภอวารนิ ชำ� ราบ หมู่บ้านบอน อำ� เภอสำ� โรง ศิลป์ (สง่ิ ทอ) พ.ศ. ๒๕๖๑ หมบู่ า้ นลาดสมดี อำ� เภอตระการพชื ผล บา้ นปะอาว อำ� เภอเมอื ง บา้ นสมพรรตั น์ อ�ำเภอบุณฑริก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหลักฐานตัวอย่างผ้าโบราณ ทส่ี ว่ นใหญเ่ ก็บรกั ษาไวท้ พี่ พิ ิธภณั ฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี โดยจดั แสดง ทั้งตัวอย่างผ้าโบราณ เคร่ืองทอผ้าและอุปกรณ์ทอผ้า ผ้าทอเมืองอุบลฯ ยังมีภูมิหลังของการสืบทอดภูมิปัญญา มีลวดลายผ้าอันเป็นเอกลักษณ์ เป็นส่ิงแสดงความสัมพันธ์ของภูมิหลังท่ีเกี่ยวข้องกับอาณาจักรล้านช้าง ความเกี่ยวพันกับผ้าทอชนเผ่าในลุ่มแม่น�้ำโขงและความเก่ียวดองของเจ้านาย เมืองอบุ ลฯ กับราชสำ� นกั สยามที่สะทอ้ นออกจากลวดลายผ้าเป็นที่ประจกั ษ์ ภมู หิ ลัง เมอื งอุบลราชธานี ความเปน็ มาของตระกูลเจ้านายเมอื งอบุ ลราชธานี มีการสืบเชอ้ื สายจาก เจา้ นครเชยี งรงุ้ แสนหวฟี า้ ราวปี พ.ศ. ๒๒๒๘ จนี ฮอ่ ธงขาวยกทพั มาปลน้ เชยี งรงุ้ ทำ� ใหเ้ จ้าเชียงรุง้ มเี จ้าแสนหวฟี ้า เจ้าปางคำ� ไดอ้ พยพไพรพ่ ลไปพง่ึ พระบรม โพธสิ มภาร พระเจ้าสุรยิ วงศาธรรมิกราชแหง่ เวยี งจนั ทน์ ซึ่งเปน็ ญาติทางฝา่ ย มารดา (บำ� เพญ็ ณ อุบล และคะนงึ นิตย์ จนั ทรบุตร, ๒๕๓๕: ๕) เจ้าปางคำ� นั้นโปรดให้เสกสมรสกบั พระราชนดั ดา ไดโ้ อรสคอื พระวอ พระตา 24

พ.ศ. ๒๓๑๐ พระวอ พระตา เกิดความขัดแย้งกับ (ธรรมเทโว) อนุชา ของพระเจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) เจา้ สริ บิ ญุ สาร เจ้าผูค้ รองนครเวยี งจนั ทน์ ทพ่ี ระวอ พระตาเคย เจา้ นครจำ� ปาศกั ด์ิ ไดร้ บั แตง่ ตงั้ เปน็ “พระประทมุ สรุ ราช” เมอื่ สู้รบให้จนได้เป็นกษัตริย์ จึงแยกตัวออกจากการอ�ำนาจของ ปี พ.ศ. ๒๓๒๓ อนั เปน็ ตำ� แหนง่ นายกองใหญค่ มุ เลก (ไพร)่ เวยี งจนั ทนข์ า้ มฟากมาตงั้ ตวั อยฝู่ ง่ั ขวาแมน่ ำ�้ โขง สรา้ งเมอื งและ อยู่ท่บี า้ นดู่ บา้ นแก ขนึ้ กับนครจ�ำปาศักด์ิ ตอ่ มาในปี พ.ศ. ต้ังช่ือเมืองในเชิงสัญลักษณ์ถึงความเป็นอิสระและความเจริญ ๒๓๒๙ ได้ย้ายครอบครัวและไพร่พลจากบ้านดู่ บ้านแก รงุ่ เรอื งวา่ “นครเขอ่ื นขนั ธก์ าบแกว้ บวั บาน” (เตมิ วภิ าคยพ์ จนกจิ , มาตั้งบ้านเมืองใหม่ท่ีต�ำบลห้วยแจระแม โดยพระบรม ๒๕๓๐ : ๑๐๙) ท�ำให้เวียงจันทน์ไมอ่ าจยนิ ยอมได้ จงึ พยายาม ราชานุญาตในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบปรามและตดิ ตามกำ� จดั เรอ่ื ยมาจนพระตา และ พระวอตาย และตั้งช่ือ เมืองน้วี ่า \"เมอื งอบุ ลฯ\" จากการร่วมปราบกบฏ ในที่รบ แม้หนีมาพ่ึงเมืองนครจ�ำปาศักด์ิท่ีเป็นเอกราช อา้ ยเชยี งแกว้ ในปี พ.ศ. ๒๓๓๔ พระบาทสมเด็จพระพทุ ธ จากเวียงจันทน์ก็ตาม ในท่ีสุด บุตรหลานท่ีเหลืออยู่ไม่มีทาง ยอดฟา้ จฬุ าโลก จงึ โปรดเกลา้ ฯ แตง่ ตงั้ พระประทมุ สรุ ราช เลือกต้องหันมาพ่ึงพระบรมโพธิสมภารของกรุงธนบุรีและ (เจา้ คำ� ผง) เปน็ “พระประทมุ วรราชสรุ ยิ วงศ”์ และยกฐานะ กรุงเทพมหานคร เมืองอบุ ลเป็น “เมอื งอุบลราชธานศี รวี นาลัย ประเทศราช\" พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าค�ำผง) ผู้ก่อต้ังเมือง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเมืองอุบลราชธานีมี อุบลราชธานี เปน็ บุตรของพระตาและนางบุศดี เกิดเมอ่ื ปี พ.ศ. ฐานะเปน็ เมอื งประเทศราชทมี่ เี จา้ ปกครองเชน่ เดยี วกนั กบั ๒๒๕๒ ที่นครเวียงจันทน์ เสกสมรสกับเจ้านางตุ่ยธิดาอุปราช เมืองหลวงพระบางและเมืองเวียงจันทน์ คือปกครองด้วย คณะ “อาญาส”่ี อนั ประกอบดว้ ย เจา้ เมอื ง อปุ ฮาด ราชวงศ์ ๒ ราชบุตร ตามโบราณราชประเพณีล้านช้าง โดยเจ้านาย ในสายตระกูลพระวอ พระตา ได้ปกครองสืบต่อมา (เตมิ วภิ าคยพ์ จนกจิ , ๒๕๓๐ : ๓๓๕) ในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ได้ทรงด�ำเนินการปรับปรุงประเทศ ท้ังในส่วนกลางและ หัวเมือง เพ่ือต่อสู้กับภัยคุกคามจากการล่าเมืองข้ึนของ เจา้ อาณานคิ มฝรง่ั เศสโดยเฉพาะหวั เมอื งลาวฝา่ ยตะวนั ออก ได้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งต้ังข้าหลวงก�ำกับราชการจาก กรงุ เทพฯ ไปประจำ� ทเ่ี มอื งอบุ ลราชธานแี ละเมอื งจำ� ปาศกั ดิ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ พระองค์ ทรงปฏิรปู การปกครอง ด้วยการแตง่ ต้ังพระเจา้ น้องยาเธอ กรมหลวงประจกั ษศ์ ิลปาคม พระเจ้านอ้ งยาเธอกรมหลวง พิชิตปรีชากร พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิ ประสงค์ มาเป็นข้าหลวงประทับท่ีหนองคายและ อุบลราชธานี ซึ่งเป็นมณฑลที่ติดต่อกับเขตปกครองของ ฝรัง่ เศส ด�ำรงตำ� แหน่ง “ขา้ หลวงต่างพระองค์” พรอ้ มจัด แบง่ หวั เมอื งตา่ งๆ ท่ดี ำ� เนนิ การไวใ้ นปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ใหม่ ใหเ้ หมาะสมยง่ิ ขนึ้ โดยใหก้ รมหลวงสรรพประสทิ ธปิ ระสงค์ มาด�ำรงต�ำแหน่ง ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๕๓ เมษายน - มิถนุ ายน ๒๕๖๒ 25

เจา้ นายเมอื งอบุ ลฯ ไดม้ กี ารเชอ่ื มความสมั พนั ธก์ บั เจา้ นาย จากกรุงเทพฯ เมื่อกรมหลวงสรรพประสิทธิประสงค์ เสด็จมา ประทับที่เมืองอุบลได้พระชายาเป็น “นางเจียงค�ำ” ธิดาของ ท้าวสุรินทร์ชมพู (หม่ัน) บุตรของราชบุตรสุ่ย ราชบุตร เมืองอุบลราชธานี กับได้หม่อมบุญยืน (หม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยธุ ยา) ญาตหิ มอ่ มเจยี งคำ� มาเปน็ ชายาอกี คน ความเกยี่ วดอง ของเจ้านายเมืองอุบลฯ ท�ำให้เกิดการถ่ายโอนลวดลายผ้า จากราชส�ำนักสยาม ดังปรากฏพบได้ในตัวอย่างผ้าโบราณ หลากหลายผืน ๑ ๑ ฮปู แตม้ (จติ รกรรมฝาผนงั ) วดั ทงุ่ ศรเี มอื ง จงั หวดั อบุ ลราชธานี แสดงหลกั ฐาน ๒ รูปแบบผ้าซิ่นและการแต่งกายของชาวเมืองอุบลฯ ที่วาดบันทึกไว้ในช่วงต้น กรุงรัตนโกสนิ ทร์ ๒ ซิ่นลายสร้อยดอกหมาก หัวซิ่นลายดอกแก้วทรงเครื่อง ต่อตีนช่อ ตัวอย่าง ผ้าโบราณเกบ็ รักษาไวท้ พ่ี พิ ิธภัณฑสถานแหง่ ชาติ อุบลราชธานี ๓ แผนภาพแสดงทมี่ าของลายสว่ นตนี ผา้ ซนิ่ -ลายกระจบั ยอ้ ย (จาก รปู ทรงผลของ ต้นกระจบั ควาย) ๔ แผนภาพแสดงท่ีมาของลายส่วนตีนผ้าซิ่น-ลายตีนตวย (จาก ลายกรวยเชิง ของราชส�ำนกั สยาม) 26

กระจบั -ควาย ตนี ซ่นิ ลายกระจับยอ้ ย (พชื ทอ้ งถนิ่ เมอื งอบุ ลฯ) (ลายผ้าเจ้านายเมืองอุบลฯ) ๓ ลขอวดงเลมาือยงผอา้ บุแลละฯเทคนคิ การทอผา้ “ผ้าทอเมืองอุบลฯ” ยังคงสืบทอดการทอผ้าอยู่ในจังหวัด อุบลราชธานี ซ่ึงจากการส�ำรวจศึกษาหลักฐานผ้าตัวอย่าง ผ้าโบราณ จากทั้งแหล่งพิพิธภัณฑ์ คลังสะสมส่วนบุคคล รวมท้ังจากชมุ ชนแหล่งผลิตผ้าทอมือทีย่ งั สืบทอดอยู่ในปัจจบุ นั ท้ังผ้าทอแบบเจ้านายเมืองอุบลฯ และผ้าทอแบบพื้นบ้านเสนอ ขอขึน้ ทะเบียน เปน็ จ�ำนวน ๑๘ ประเภท ได้แก่ ๑) ผา้ เยยี รบบั ลาว ๒) ผ้าซ่ินยกดอกเงิน-ดอกค�ำ (ลายสร้อยดอกหมาก ลายสร้อยดอกพร้าว ลายดอกแก้ว) ๓) ผ้าซ่ินมุก/ซ่ินทิวมุก ๔) ผ้าซิ่นหมี่ค่ัน/ซิ่นหม่ีน้อย (ลายปราสาทผ้ึง ลายนาคน้อย ลายจอนฟอน ลายนาคเอย้ี ลายหมากจบั ลายคองเอยี้ ) ๕) ผา้ ซน่ิ มัดหม่ี-หมี่รวด (ลายโคมห้า ลายโคมเจ็ด ลายหมากจับ ลายหมากบก) ๖) ผ้าซ่ินทิว/ซ่ินก่วย/ซิ่นเครือก่วย ๗) ผ้าซิ่น มับไม/ผ้าซ่ินไหมก่อม/ซิ่นไหมเข็นก้อม/ซิ่นสีไพล/ซิ่นตาแหล่ ๘) ผา้ ซน่ิ หมฝี่ า้ ย ๙) แพรตมุ้ ๑๐) แพรขดิ ๑๑) แพรไสป้ ลาไหล ๑๒) แพรอีโป้ (ผ้าขาวม้าเชิงขิด) ๑๓) ผ้าตาโก้ง (โสร่งไหม) ๑๔) ผ้าธงุ ขดิ ๑๕) หมอนขดิ ๑๖) ผ้าต่อหัวซนิ่ (หัวจกดาว หัว จกดอกแก้วทรงเคร่ือง หัวขิดค่ันลายกาบพร้าว) ๑๗) ตีนซิ่น แบบเมืองอุบลฯ (ตีนตวย ตีนกระจับย้อย ตีนปราสาทผ้ึง ตีนขิดดอกแก้ว ตีนช่อ) ๑๘) ผ้ากาบบัว (ผ้าประจ�ำจังหวัด ๒๕๔๒-ปัจจบุ นั ) ลายกรวยเชงิ ลายตีนตวย (ราชสำ� นักสยาม) (เจา้ นายเมืองอุบลฯ) ๔ เมษายน - มถิ ุนายน ๒๕๖๒ 27

ในประเด็นเรื่องลวดลายผ้าและเทคนิคการทอผ้าของ เมอื งอบุ ลฯ ไดข้ อ้ สงั เกตผา้ ทอทแี่ สดงเอกลกั ษณข์ องเมอื งอบุ ลฯ ท่ีสำ� คัญไดแ้ ก่ ๑) “ผ้าเยยี รบับลาว” ผ้าทอท่ีมชี ือ่ เสียงมากที่สดุ ในเร่ืองความงดงาม ดังปรากฎค�ำชมเชยในพระราชหัตถเลขา รัชกาลท่ี ๕ ซึ่งมีตัวอย่างผ้าโบราณเก็บรักษาไว้ท่ีวัดเลียบ คลังสะสม ดร.บ�ำเพ็ญ ณ อุบล และคลังสะสมบ้านค�ำปุน ลักษณะผ้าเปน็ ผา้ ยกไหมหลากสี ใชก้ ารจกลวดลายสลับสีและ ทอแทรกด้นิ ทองดน้ิ เงิน ซ่งึ คณุ มชี ัย แตส้ ุจริยา แห่งบา้ นค�ำปนุ ไดป้ ระสบความสำ� เรจ็ ในการฟน้ื ฟผู า้ เยยี รบบั ลาวขน้ึ มาใหมจ่ าก ผา้ โบราณทม่ี ลี วดลายตามแบบฉบบั ราชสำ� นกั สยาม (ลายทอ้ งผา้ ลายสังเวียนผ้า ลายกรวยเชิง) ด้วยวิธีการทอด้วยเทคนิค ลายยกขิดท่ีเก็บตะกอลวดลาย โดยในปัจจุบันใช้วิธีการเก็บ ตะกอแนวดงิ่ ทสี่ ามารถเกบ็ ลายผา้ ไวท้ อซำ�้ ได้ ๒) ผา้ ซน่ิ ยกดอก เงิน-ดอกค�ำ เป็นผา้ ซิน่ ของกลุม่ เจา้ นายเมืองอบุ ลฯ ที่ทอยกขดิ (ทอเสริมเส้นพุ่งพิเศษ) ด้วยเส้นโลหะด้ินเงินดิ้นทองซ่ึงน�ำเข้า จากฝร่ังเศสหรืออินเดีย ทอเป็น “ลวดลายแนวด่ิง” ท่ีเรียกใน ภาษาถน่ิ วา่ “ซิ่นลายลอ่ ง” เป็นลวดลายตา่ งๆ เช่น ลายสร้อย ดอกหมาก ลายสรอ้ ยดอกพร้าว ลายดอกแกว้ เป็นตน้ ๓) ผ้า ซิ่นมุก/ซ่ินทิวมุก เป็นผ้าเจ้านายฝ่ายหญิงระดับอัญญานาง ที่มีช่ือเสียงโด่งดัง ใช้เครือเส้นยืนแบบซิ่นทิว เป็นลายร้ิวสลับ ขนาดตลอดหน้าผ้า ทอตกแต่งด้วยเทคนิคการทอเสริมเส้นยืน พิเศษผสมเทคนิคการจก/ทอเสริมเส้นพุ่งพิเศษลาย “ดาว” จึง นิยมเรียกชื่อเต็มว่า “ซ่ินทิวมุกจกดาว” ๔) ผ้าซิ่นมัดหมี่ ของ ชาวเมืองอุบลฯ จะใช้เทคนิคการ “มัดโอบ” ล�ำหม่ีเพื่อย้อมสี ๑ ลวดลายมัดหมี่ทั้งสีพ้ืนของลายหลักและสีอ่ืนๆ ของลาย ๒ 28

๑ คุณมีชัย แตส้ ุจรยิ า บา้ นคำ� ปนุ กับผ้าเยียรบับลาว ทฟี่ นื้ ฟจู ากความศรัทธาใน พระราชหตั ถเลขา ของรชั กาลที่ ๕ ทท่ี รงชมเชยผา้ เยยี รบบั ลาวของเมอื งอบุ ลฯ ๒ ผ้าแพรขิด แบบฉบับเมืองอุบลฯ ท่ียังคงสืบทอดการทอผ้าอยู่ท่ีบ้านหนองบ่อ อำ� เภอเมือง จงั หวัดอุบลราชธานี ๓ ผ้าไหมบ้านค�ำปุน ท่ีประยุกต์ลายจกดาว และลายตีนตวย มาออกแบบ ผ้าคลุมไหล่ ๔ ผา้ ซน่ิ ไหมคำ� บา้ นคำ� ปนุ ทปี่ ระยกุ ตร์ วมลายโบราณของเมอื งอบุ ลฯ มาผสมผสาน ออกแบบอยา่ งงดงาม ๓ ๔ ประกอบ โดยลวดลายเอกลกั ษณข์ อง “ผา้ ซน่ิ หมคี่ นั่ /ซน่ิ หมนี่ อ้ ย” ทม่ี กี ารพฒั นาสสี นั อนั หลากหลายกวา่ กลมุ่ อน่ื ๆ ในลมุ่ แมน่ ำ้� โขง ไดแ้ ก่ ลายปราสาทผ้งึ ลายจอนฟอน (พงั พอน) ลายขอนาค/ (ซน่ิ ทวิ สโี ทนแดง ซนิ่ ทวิ สโี ทนคราม ซนิ่ ทวิ สโี ทนเขยี ว) ดงั หลกั ฐาน นาคน้อย ลายหมากจับ ลายคลองเอี้ย เป็นต้น ส่วนลวดลาย ที่บันทึกไว้บนภาพฮูปแต้ม วัดทุ่งศรีเมือง ๘) ธุงขิด ท่ีมี เอกลักษณ์ของ ผ้ามัดหมี่ (หมี่รวด) ได้แก่ ลายหมี่โคมห้า พัฒนาการการคดิ สรา้ งสรรค์ลวดลายขดิ ทีง่ ดงาม เต็มผืน ดว้ ย ลายหมโ่ี คมเจด็ ลายหมว่ี ง หมนี่ าค หมีห่ มากจบั หมหี่ มากบก ลายหอปราสาท ลายนาค ลายมอม ลายเสือ ลายววั ลายช้าง เปน็ ตน้ ๕) “หัวซิน่ ” โดยเฉพาะ “หัวซนิ่ จกดาว” และ “หวั ซิ่น ลายม้า ลายคนทา่ ทางต่างๆ ฯลฯ ๙) ผ้ากาบบวั เปน็ ผ้าท่ีมชี ่อื จกดอกแกว้ ทรงเครอ่ื ง” ทโ่ี ดดเดน่ กวา่ “หวั ซน่ิ ขดิ คนั่ ” ทใ่ี ชท้ ว่ั ไป เสยี งประกาศขึ้นเป็นผา้ ประจำ� จงั หวดั โดยคุณมชี ยั แตส้ ุจรยิ า ในภาคอีสาน ๖) “ตีนซ่ิน” (ตีนกระจับย้อย ตีนตวย ตีนขิด บ้านค�ำปุน ได้รับมอบหมายจาก อดีตท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ปราสาทผ้ึง ตีนขดิ ดอกแก้ว ตีนชอ่ ตนี ขดิ คัน่ ) โดยลวดลายตนี ศวิ ะ แสงมณี ใหค้ ดิ คน้ ออกแบบเปน็ ผา้ ประจำ� จงั หวดั เมอ่ื ปี พ.ศ. ซ่นิ ท่ีต้องบนั ทกึ ไว้ในหน้าประวัตศิ าสตรค์ อื “ลายตีนตวย” ทไี่ ด้ ๒๕๔๓ เป็นผ้าที่ใช้วิธีการทอผ้าผสม ๔ เทคนิค ๑) มัดหมี่- รับอิทธิพลทางศิลปะที่ประยุกต์มาจาก “ลายกรวยเชิง” ที่เป็น จะนิยมมัดก้ันสีเส้นพุ่ง ๒) ขิด-ทอเสริมเส้นพุ่งพิเศษท้ังด้วย หลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างราชส�ำนักสยาม (กรุงเทพฯ) เส้นใยไหมและด้ินเงินด้ินทอง ๓) มับไม (ควบเส้น) และ กับทางเจ้านายเมืองอุบลฯ ๗) ผ้าซ่ินทิว/ซิ่นก่วย/ซ่ินเครือก่วย ๔) เครือทวิ จนไดร้ บั ความนิยมทอกันแพรห่ ลาย เมษายน - มถิ ุนายน ๒๕๖๒ 29

๑ ๑ กลุ่มช่างทอผ้าอาวุโส บ้านหนองบ่อ แต่งกายแบบด้ังเดิมด้วยซ่ินไหม เส้ือด�ำ ยอ้ มมะเกลือ พาดผ้าแพรขดิ ๒ การทอผา้ หวั ซน่ิ ลายจกดาว เอกลักษณ์ผ้าทอเมืองอบุ ลฯ ๓ ฮปู แตม้ (จติ รกรรมฝาผนงั ) วดั ทงุ่ ศรเี มอื ง จงั หวดั อบุ ลราชธานี แสดงหลกั ฐาน ผหู้ ญิงนุง่ ซน่ิ ทิว แนวขวางลำ� ตัว ๔ ตวั อยา่ งผา้ ซน่ิ ทิวมกุ โบราณ ในคลังสะสมของ ดร.บำ� เพ็ญ ณ อุบล (ถา่ ยภาพไวก้ ่อนไฟไหม้เสยี หาย) นอกจากนี้ผ้าทอเมืองอุบลฯ ยังได้เป็นส่ิงบ่งบอกความ ๒ สมั พนั ธ์กบั ชนเผา่ อืน่ ๆ ทีอ่ ยใู่ กล้เคยี งกนั ในลุม่ น�้ำโขง ไดแ้ ก่ ๑) “ผ้าซิ่นมุก/ซิ่นทิวมุก” ที่เจ้านายเมืองอุบลฯ น่าจะประยุกต์มา “หมอนขิด” และ “ธุงขดิ ” เป็นมรดกสง่ิ ทอรว่ มกันกบั “ชาวภไู ท” จากผา้ ซน่ิ มกุ ของชนเผา่ มะกอง แขวงสะหวนั นะเขต สปป. ลาว และ “ชาวไท-ลาว” ท่ีเคยอาศัยอยู่ร่วมกันในระหว่างเส้นทาง ๒) “ผ้าซิ่นไหมก่อม/ซ่ินไหมเข็นก้อม/ซ่ินสีไพล/ซิ่นตาแหล่” อพยพจากล้านชา้ ง (สปป. ลาว) ลงมาต้ังถิน่ ฐานที่เมืองอบุ ลฯ ท่ีชาวเมืองอุบลฯ มีมรดกสิ่งทอร่วมกันกับ “ชาวกูย” และ อย่างไรก็ดีผ้าทอท่ีเป็นมรดกร่วมกันนี้ส่วนใหญ่ ช่างทอชาว “ชาวเยอ” ที่เป็นชนเผ่าท่ีอาศัยอยู่ดั้งเดิมในพื้นที่อีสานใต้ ๓) เมอื งอบุ ลฯ จะมกี ารปรบั เปลย่ี นองคป์ ระกอบสสี นั ของลายผา้ ทอ “แพรไส้ปลาไหล” “แพรอีโป้” (ผ้าขาวม้าเชิงขิด) “ผ้าตาโก้ง” เพอ่ื ใหต้ รงรสนิยมเฉพาะตัวของตนเอง (โสร่งไหม) ก็เป็นผ้าทอท่ีชาวเมืองอุบลฯ ได้มีมรดกส่ิงทอร่วม กันกับคนในพื้นที่อีกกลุ่มคือ “ชาวเขมรถ่ินไทย/เขมรสูง” และ “ชาวกูย” ๔) “ผ้าซิ่นหมี่ฝ้าย” นั้นนิยมย้อมด้วยสีครามเป็นพ้ืน มัดเว้นลวดลายเป็นสีขาว อันเป็นมรดกร่วมของชาวไท-ลาว และชนเผ่าอ่ืนๆ ในพ้ืนท่ีลุ่มน้�ำโขง ๕) “แพรขิด/แพรตุ้ม” 30

การฟื้นฟผู ้าทอเมืองอุบลฯ ๓ นับต้ังแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ท่ผี า้ ทอเมืองอุบลฯ ไดข้ ึน้ บญั ชี ๔ มรดกภมู ปิ ญั ญาทางวฒั นธรรมนน้ั ไดม้ คี วามตนื่ ตวั ในการฟน้ื ฟู การทอผา้ แบบเจา้ นายเมอื งอบุ ลฯ ดว้ ยความนยิ มในคณุ คา่ ผา้ ทอ ยังมีพลังท�ำให้เกิดการขยายตัวของการผลิตไปในวงกว้าง แบบกลุ่มเจ้านายหรืออัญญานางซึ่งเป็นลวดลายเอกลักษณ์ ของภาคอีสาน ด้วยพลังความงดงามของผืนผ้าและคุณค่าทาง อนั โดดเดน่ ของผา้ ทอเมอื งอบุ ลฯ หลายชมุ ชนทมี่ ที กั ษะการทอผา้ ประวตั ิศาสตรข์ องสง่ิ ทอน้นั เอง ไดร้ บั การสง่ เสรมิ จากทง้ั หนว่ ยงานภาครฐั คอื วฒั นธรรมจงั หวดั เอกสารอา้ งองิ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอุบลราชธานี คณะ ศลิ ปประยกุ ตแ์ ละสถาปตั ยกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั อบุ ลราชธานี เตมิ วภิ าคยพ์ จนกจิ . (๒๕๓๐). ประวตั ศิ าสตรอ์ สี าน. พมิ พค์ รงั้ ท่ี ๒. และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี รวมท้ังภาคเอกชนทีเ่ ปน็ กรงุ เทพฯ : สำ� นกั พมิ พม์ หาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร.์ รา้ นผา้ ไหม เช่น ร้านค�ำปุน รา้ นต้นเทียนไหมไทย รา้ นจันทร์ บำ� เพญ็ ณ อบุ ล และ คะนงึ นติ ย์ จนั ทรบตุ ร. (๒๕๓๕). หอมไหมไทย ฯลฯ โดยมีการสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าใน “ประวตั ศิ าสตรอ์ บุ ลราชธานยี คุ ตน้ ”. อบุ ลราชธานี ๒๐๐ ป.ี หลายชุมชน ได้แก่ ๑) บ้านค�ำปุน อ�ำเภอวารินช�ำราบ อรุ าลกั ษณ์ สถิ ริ บตุ ร. (๒๕๒๖). มณฑลอสี านและความสำ� คญั ทาง ๒) หมู่บ้านบอน อ�ำเภอส�ำโรง ๓) หมู่บ้านลาดสมดี อ�ำเภอ ประวตั ศิ าสตร.์ วทิ ยานพิ นธอ์ กั ษรศาสตร์ มหาบณั ฑติ . ตระการพชื ผล ๔) บ้านปะอาว อำ� เภอเมือง ๕) บ้านสมพรรตั น์ กรงุ เทพฯ : จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั . อ�ำเภอบุณฑริก เป็นต้น โดยไดม้ กี ารน�ำลวดลายผา้ โบราณทอ่ี ยู่ เอย่ี มกมล จนั ทะประเทศ. (๒๕๓๘). สถานภาพเจา้ นายพน้ื เมอื ง ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี มาฟื้นฟูทอ อบุ ลราชธานี ระหวา่ งปี พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๗๖. วทิ ยานพิ นธ์ ข้ึนใหม่ สร้างรายได้จ�ำนวนมหาศาลแก่ผู้ประกอบการและ ปรญิ ญาการศกึ ษามหาบณั ฑติ สาขาประวตั ศิ าสตร์ ช่างทอผ้าในจงั หวัดอุบลราชธานี มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวทิ ยาลยั ดว้ ยฝมี ือความสามารถทเี่ ป็นเลศิ ของศิลปิน/ชา่ งฝีมอื การ มหาสารคาม. ทอผา้ เมอื งอบุ ลฯ โดยเฉพาะ คณุ แมค่ ำ� ปนุ ศรใี ส ทไี่ ดร้ บั ยกยอ่ ง เป็น “ศิลปินแห่งชาติประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๖๑” โดยกรมส่งเสริม วฒั นธรรม กระทรวงวฒั นธรรม และทายาทคอื คณุ มชี ยั แตส้ จุ รยิ า ซ่ึงก็ได้รับยกย่องให้เป็น “ครูช่างศิลป์ของแผ่นดิน” โดยศูนย์ สง่ เสรมิ ศลิ ปาชพี ระหวา่ งประเทศ (ศ.ศ.ป.) ชว่ ยทำ� ใหช้ อื่ เสยี งของ ผ้าทอเมืองอุบลฯ ได้รับการเผยแพร่ไปสู่สาธารณะในวงกว้าง ตลอดจนมีการท�ำวิจัยและการส่งเสริมคุณค่าผ้าทอเมืองอุบลฯ จึงท�ำให้เกิดกระแสความนิยมผ้าทอแบบเจ้านายเมืองอุบลฯ มีความต้องการมากในสังคมชั้นสูง จึงท�ำให้เกิดการขยายตัว ก�ำลังการผลิตท้ังในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี (ที่คนรุ่นใหม่ ย้ายกลบั ภูมิลำ� เนามาทอผ้าเป็นอาชพี ) และขยายตัวไปยงั พ้ืนท่ี อ่นื ๆ ในภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ อีกดว้ ย จึงนับได้ว่าลวดลายผ้าทอเมืองอุบลฯ หรือผ้าทอแบบ เจ้านายเมืองอุบลฯ น้ันเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage) ที่เป็นวัฒนธรรมมีชีวิต (Living culture) นอกจากยังสืบทอดกันในพื้นทต่ี ้นก�ำเนิดแลว้ เมษายน - มถิ นุ ายน ๒๕๖๒ 31

สบื สาวเลา่ เรื่อง เรอ่ื ง : ส. พลายนอ้ ย ภาพ : อภนิ นั ท์ บวั หภกั ดี พระพุทลธอรปู ยน้�ำ ประเทศไทยเป็นประเทศท่ีนับถือพระพุทธศาสนา แห่งเดียวในโลกท่ีมีพระพุทธรูปปางต่างๆ มากท่ีสุด มีทั้งพระพุทธรูปขนาดเล็กและขนาดใหญ่ สร้างด้วย อัญมณกี ็มี สรา้ งดว้ ยทองคำ� กม็ ี สร้างด้วยส�ำริดกม็ ี เชน่ ที่สุดในโลกที่วัดไตรมิตร และพระศรีศากยมุนี ซึ่งเป็น พระพุทธรูปหล่อท่ีใหญ่ที่สุดในบรรดาพระพุทธรูป ท่ีหล่อด้วยโลหะในเมืองไทย และยังมีพระพุทธรูป ขนาดใหญ่อีกเป็นจ�ำนวนมากท่ีขนย้ายมาจากสุโขทัย และเมืองเหนือ การขนย้ายในสมัยโบราณมีอยู่ ทางเดียวท่ีสะดวกคือมาทางน้�ำ อย่างพระศรีศากยมุนี ก็ มี ห ลั ก ฐ า น ว ่ า ไ ด ้ อั ญ เ ชิ ญ ล ง แ พ ม า จ า ก สุ โ ข ทั ย แล้วอัญเชิญชักพระขึ้นจากแพทางประตูท่าช้างวังหลวง แต่ปรากฏว่าประตูแคบไป ต้องรื้อขยายประตูให้กว้าง จงึ ชกั พระเขา้ มาไดแ้ ละอญั เชญิ เปน็ ประธานในพระวหิ าร วัดสุทศั นเทพวราราม 32

ภาพ : สมศักด์ิ ล่ำ� พงศพ์ นั ธุ์ วดั โสธรวรารามวรวิหาร ทป่ี ระดษิ ฐานองค์หลวงพอ่ โสธร รมิ แม่นำ้� บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เมษายน - มิถนุ ายน ๒๕๖๒ 33

การอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในแพลอยตามน้�ำมา หลวงพ่อโสธร และพระพุทธรปู อีก ๑๘ องค์ ประดษิ ฐานอยู่ในพระอโุ บสถหลงั ใหม่ จึงดูเหมือนพระพุทธรูปลอยน�้ำมา เรื่องเดิมก็คงพูดกันว่า หลวงพอ่ โสธร อาราธนาข้นึ จากน�้ำองคท์ ่ี ๒ เป็น “องคก์ ลาง” พระพุทธรูปลงแพลอยน้�ำมา ภายหลังค�ำพูดสั้นลงเป็นพระพุทธรูป ลอยน้�ำ พระพุทธรูปเก่าที่ไม่ทราบประวัติ แต่รู้แน่ชัดว่ามาทางน้�ำ ประกอบกับท่านมีความศักดิ์สิทธ์ิ จึงเช่ือกันว่าท่านแสดงอภิหาร ลอยน้�ำมา พระพุทธรูปตามต�ำนานดังกล่าวที่มีช่ือเสียงเล่าลือกัน ในปัจจุบันมีอยู่ ๓ องค์ด้วยกันคือ หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อ วัดบ้านแหลม และหลวงพ่อวัดบางพลี ซ่ึงชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า พระสามพ่ีนอ้ ง เพราะมตี ำ� นานเล่ากันวา่ กาลคร้ังหนึ่งจะเป็นเม่ือไหร่ไม่ปรากฏ มีพระท่ีเป็นพ่ีน้องกัน ๓ องค์ อยู่ทางเหนอื ต่างก็มอี ิทธฤิ ทธิ์สำ� แดงฤทธ์ิได้ คราวหน่งึ ได้ แสดงอภินิหารเป็นพระพุทธรูปล่องลอยมาตามแม่น้�ำจากทางเหนือ หวงั จะใหค้ นทางใตไ้ ดเ้ หน็ ไดม้ าผดุ ขนึ้ ทแี่ มน่ ำ้� บางประกง ตรงตำ� บล สัมปะทวน ได้ลอยทวนน้�ำอยู่ท้ัง ๓ องค์ให้ชาวบ้านสัมปะทวน ได้แลเห็น พวกชาวบ้านเห็นเป็นพระพุทธรูปก็ชวนกันเอาเชือกเส้น ใหญ่ลงไปผูกมัด แล้วช่วยกันฉุดลากเข้าฝั่ง แต่ถึงแม้จะใช้คนถึง ๕๐๐ คนกย็ งั ไมส่ ามารถฉดุ พระข้ึนมาได้ เชอื กท่ีใชฉ้ ุดก็ขาด หมด ปัญญากพ็ ากนั เลกิ ลา พระพุทธรปู ทัง้ ๓ องค์ก็จมหายไป สถานท่ี พระลอยทวนนำ้� อย่นู ั้นตอ่ มาจึงเรียกกันวา่ สามพระทวน (ภายหลงั จึงเพี้ยนเป็น สัมปะทวน คือบริเวณหน้าวัดสัมปะทวนอ�ำเภอเมือง ฉะเชงิ เทราปจั จบุ นั น)้ี ต่อจากนั้นพระพุทธรูปท้ัง ๓ องค์ ก็ล่องลอยไปตามแม่น้�ำ บางประกงไปถึงคุง้ น�้ำใต้วดั โสธร แล้วสำ� แดงใหช้ าวบ้านเห็น พวก ชาวบ้านก็ชวนกันฉุดลากอีก แต่ก็ไม่ส�ำเร็จ พระได้ลอยเข้าไป ในคลองเล็กๆ แห่งหนึ่ง แล้วลอยวนอยู่ สถานที่นั้นจึงมีช่ือ เรยี กว่า “แหลมหวั วน” และเรยี กคลองนั้นวา่ คลองสองพสี่ องน้อง (ต่อมาเรียกสั้นลงว่า คลองสองพี่น้อง) หลังจากนั้นองค์พี่ใหญ่ ไดส้ ำ� แดงฤทธไ์ิ ปลอยอยใู่ นแมน่ ำ้� เจา้ พระยา ตอนสามเสน ประชาชน ประมาณสามแสนคนชว่ ยกนั ฉดุ กไ็ ม่สำ� เร็จอกี เร่อื งตอนน้คี ล้ายกบั ท่ีสุนทรภู่แตง่ ไวใ้ นนิราศพระบาทมีกลอนวา่ ถึงสามเสนแจง้ ความตามสำ� เหนียก เม่อื แรกเรยี กสามแสนทงั้ กรุงศรี ประชมุ ฉุดพระพทุ ธรูปในวารี ไมเ่ คลอ่ื นทีช่ ลธารบาดาลดนิ จงึ สาบนามสามแสนเปน็ ช่อื คงุ้ เออชาวกรงุ กลบั เรียกสามเสนสิ้น ... 34

เมษายน - มถิ นุ ายน ๒๕๖๒ 35

กล่าวโดยสรุปพระพุทธรูปได้ลอยไปถึงล�ำน�้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีพวกชาวประมงอาศัยอยู่มาก ชาวประมงมีความเล่ือมใสศรัทธา จึงอาราธนาข้ึนประดิษฐาน ทว่ี ดั บ้านแหลม เรยี กวา่ หลวงพอ่ วดั บ้านแหลม เรอ่ื งน้กี ล่าวไว้ ไม่ตรงกัน ตามประวัติจังหวัดสมุทรสงครามเล่าว่า พวก บ้านแหลมปากอ่าวเมืองเพชรบุรี อพยพหนีกองทพั พม่ามาอยู่ที่ ฝั่งใต้ปากคลองแม่กลองติดกับวัดบ้านแหลม จึงตั้งชื่อหมู่บ้าน ทม่ี าอยใู่ หมน่ วี้ า่ หมบู่ า้ นแหลม ทำ� มาหาเลย้ี งชพี ดว้ ยการประมง คราวหนึ่งเอาอวนมาล้อมจับปลาในทะเล ได้พระทอง ๒ องค์ ได้แบ่งให้ชาวบ้านบางตะบูน เพชรบุรี ไปองค์หน่ึง ได้อัญเชิญ ไปไว้ท่ีเขาตะเครา เรียกกนั ว่า หลวงพ่อวัดเขาตะเครา สว่ นอีกองคห์ นงึ่ ชาวบา้ นแหลมได้อญั เชญิ มาประดษิ ฐาน ที่วัดศรีจ�ำปา ครั้นต่อมาวัดศรีจ�ำปาช�ำรุดทรุดโทรมลง ชาวบ้านแหลมท่ีอพยพมาจากเพชรบุรี จึงสร้างวัดศรีจ�ำปา ขึ้นใหม่ แล้วเปลี่ยนช่ือเป็นวัดชาวบ้านแหลม ตามช่ือบ้านเดิม ของตน และเรียกพระพุทธรูปท่ีติดอวนมาน้ันว่า “หลวงพ่อ วัดบ้านแหลม” ครน้ั ถึง พ.ศ. ๒๕๙๘ วดั บา้ นแหลมได้ยกฐานะ ข้นึ เป็นวดั หลวงเปลี่ยนช่ือเป็น “วัดเพชรสมทุ รวรวิหาร” หลวงพอ่ วดั บา้ นแหลมเปน็ พระพทุ ธรปู ยนื อมุ้ บาตร สงู เพยี ง ๕ ฟุต หลอ่ ด้วยทองเหลอื งปดิ ทอง มีคนเคารพนับถือกนั มาก เร่ืองท่ีเล่ามาข้างต้น เป็นต�ำนานจะถูกจะผิดอย่างไรก็ไม่ ทราบ กลา่ วไวพ้ อใหท้ ราบเทา่ นนั้ จะเลา่ ตามประวตั ขิ องจงั หวดั ฉะเชงิ เทราต่อไป หลวงพอ่ วดั บา้ นแหลมทรงเครอื่ งเตม็ ยศ สวมสายสะพาย ภาพในอดีตบริเวณรอบๆ วดั เพชรสมทุ รวรวิหาร พาดเคร่ืองราชอิสรยิ าภรณ์ปฐมจลุ จอมเกล้าวิเศษ คาดรดั ประคด ปกั ดิ้นเงิน ซง่ึ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั พระราชทานถวายเป็นพุทธบูชา หลวงพ่อวัดบา้ นแหลม อาราธนาขึ้นจากน้�ำองคท์ ่ี ๑ เป็น “องคพ์ ่ี” 36

หลวงพ่อ (ทอง) เขาตะเครา วดั เขาตะเครา จงั หวัดเพชรบุรี อกี หนึง่ ในต�ำนานพระพทุ ธรปู ลอยน้�ำ ตามประวัติกล่าวว่า พระสามพ่ีน้องนั้น องค์ที่เป็นพี่ใหญ่ เมื่อแรกอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนวัดน้ัน ยังไม่มีช่ือเรียก คอื หลวงพอ่ วดั บา้ นแหลม มีขนาดสงู เพียง ๕ ฟุต องคก์ ลางนน้ั และวัดยังมีช่ือว่าวัดหงส์อยู่ เพราะมีเสาหงส์อยู่หน้าวัด ต่อมา ว่าเมื่อลอยมาจากแหลมหัววนดังกล่าวแล้ว ต่อมาได้ลอยมาท่ี เสาหงส์หัก คนจึงเรียกก้นว่า วัดเสาธงทอน แล้วกลายมาเป็น หน้าวัดโสธร ประชาชนเป็นอันมากได้ช่วยกันฉุดข้ึนก็ไม่ส�ำเร็จ วดั โสธร เขา้ ใจวา่ หลวงพอ่ จะมามชี อ่ื เสยี งสำ� แดงความศกั ดสิ์ ทิ ธ์ิ ปรากฏในคร้ังน้ันได้มีอาจารย์ทางไสยศาสตร์ผู้หน่ึง ได้ท�ำพิธี ในคราวน้ี คนจึงเรียกช่ือหลวงพ่อตามช่ือวัดว่าหลวงพ่อโสธร บวงสรวงเทพยดา แล้วเอาได้สายสิญจน์ไปคล้องที่พระหัตถ์ และแต่เดิมอุโบสถที่ประดิษฐานก็คับแคบ เพราะมีพระพุทธรูป ก็อัญเชิญพระพุทธรูปข้ึนมาประดิษฐานบนวัดได้ส�ำเร็จ อย่รู วมกนั อีก ๑๘ องค์ ไม่มกี ารบรู ณะให้ดีขึ้น แล้วถวายนามหลวงพอ่ วา่ พระพุทธโสธร หรือหลวงพอ่ โสธร คร้ันถึงวันวิสาขบูชา วันท่ี ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๙ พระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ แต่เดิมน้ันว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระพุทธรปู ขนาดเล็ก หนา้ ตักกวา้ งเพยี งศอกเศษ เปน็ พระ มหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชด�ำเนินมายังวัดโสธร หล่อด้วยทองส�ำริด ต่อมาได้พอกปูนให้ใหญ่ข้ึน คือหน้าตัก วรารามวรวหิ าร เพอื่ ทรงประกอบพธิ วี สิ าขบชู า ไดท้ อดพระเนตร กวา้ ง ๓ ศอก ๕ นว้ิ เหตทุ ต่ี อ้ งพอกปูนกลา่ วกนั วา่ เป็นเพราะ เหน็ ความชำ� รุดทรุดโทรม มพี ระราชด�ำรสั ตอนหน่ึงวา่ พระพุทธรูปเดิมงามมาก ทางวัดเกรงว่าจะมีคนทุจริต ต้ังใจมานมัสการหลวงพ่อโสธรนานแล้ว ท�ำไมสร้าง คดิ อยากได้ จงึ พอกปนู ปดิ บงั ไว้ เหมอื นอยา่ งพระพทุ ธรปู ทองคำ� อุโบสถแบบน้ี ไม่สมเกียรติหลวงพ่อโสธร ให้ปรับปรุงแก้ใข วัดไตรมิตร ทร่ี อดจากอนั ตรายมาไดก้ ็เพราะการพอกปูนบังไว้ เสียใหม่ เมษายน - มิถนุ ายน ๒๕๖๒ 37

พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภมู ิพลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร เม่ือครัง้ เสดจ็ พระราชด�ำเนินมายังวัดโสธรวรารามวรวหิ าร ทรงปดิ ทองหลวงพอ่ โสธร ท่ีดา้ นหลงั องคพ์ ระ และไดถ้ ูกตพี มิ พ์เปน็ บัตรอวยพรปใี หม่ใน พ.ศ. ๒๕๑๒ ด้วยพระราชด�ำรัสดังกล่าว ทางวัดจึงด�ำเนินการปรับปรุง ดังกลา่ วข้างต้น ไดท้ รงปิดทองหลวงพอ่ โสธรดว้ ย แต่แทนที่จะ บรเิ วณวดั ใหเ้ รยี บรอ้ ยตามพระราชดำ� ริ กระทง่ั ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ทรงปิดทองด้านหน้า กลับทรงปิดทางด้านหลัง ได้ค้นดูจาก จึงมอบหมายให้นายประเวศ ลิมปรังษี เป็นสถาปนิกออกแบบ ภาพเก่าที่รวบรวมเก็บไว้ พบว่ามีผู้น�ำไปพิมพ์เป็นบัตรอวยพร พระอุโบสถ ดร.พิบลู ย์ จินาวฒั น์ เปน็ วศิ วกร ในการนี้พระบาท ปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นเวลา ๕๐ ปีพอดี เห็นว่าเป็นภาพที่ สมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช หาดไู ดย้ ากจึงสง่ มาพิมพ์ฝากไว้ บรมนาถบพิตร มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ บัตรอวยพรปีใหม่ดังกล่าว ครูสงบ สวนสิริ (สันตสิริ) พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธาน เปน็ ผู้สง่ มาให้ ภายในมีค�ำกลอนดงั น้ี กอ่ สรา้ ง และทรงเปน็ ผกู้ ำ� กบั ดแู ลงานสรา้ งพระอโุ บสถ หลงั ใหม่ “ทกุ คนคดิ ปิดทองพระปฏมิ า จนแลว้ เสรจ็ อย่างทเี่ หน็ อยู่ทกุ วันน้ี เบอื้ งพักตราแนบไว้ให้กระจา่ ง ผเู้ ขยี นระลกึ ไดว้ า่ เมอ่ื พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร ครง้ั พระองคท์ รงปดิ เบ้ืองปฤษฎางค์ มหาภมู ิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสดจ็ ไปวัดโสธร เลศิ ดว้ ยสรา้ งอุทาหรณ์ไวส้ อนใจ” 38

คนสว่ นมากถอื กนั วา่ เมอื่ ปดิ ทองพระพทุ ธรปู กต็ อ้ งปดิ ทอง ถ้ากล่าวตามหนังสือประวัติจังหวัดสมุทรปราการ ที่พิมพ์ ด้านหน้าส�ำคัญกว่าด้านหลัง เพราะมองเห็นด้านหน้าเพียง เมือ่ พ.ศ. ๒๕๐๐ ไมไ่ ด้กล่าวถึงหลวงพอ่ โต วดั บางพลี กแ็ สดง ด้านเดียว ไม่เห็นด้านหลัง ซึ่งจะตั้งติดฝาผนัง และส่วนมาก ว่าเวลานั้นไม่มีการแห่แหนอย่างที่ท�ำกันในปัจจุบัน ผู้เขียน จะคิดว่าปิดทองด้านหน้าแล้วจะได้บุญแรง แต่ความจริงแล้ว ประวัติจึงมิได้กลา่ วไว้ จะปิดด้านไหนก็ได้บุญเท่ากัน คนมาคิดกันเองว่า ปิดทอง ความจริงพระพุทธรูปลอยน�้ำเคยมีจริง เรียกกันว่า ด้านหลังแลว้ ไม่ได้หนา้ ไดต้ า สูป้ ดิ ด้านหน้าไม่ได้ เท่ากับว่าทำ� ดี “หลวงพอ่ ลอย” จะขอเล่าตามทจี่ �ำไดว้ ่า ประมาณร่วม ๑๐๐ ปี เสียเปล่าด้วยเหตุน้ัน จึงคิดกันว่าคนท่ีท�ำอะไรแม้นจะท�ำดี มาแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม (ธนบุรี) มีความส�ำคัญ แต่เม่อื ไม่มใี ครเห็นว่าส�ำคัญ กพ็ ูดกันว่า ปิดทอง ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดโคกเข็ม จังหวัดชัยนาท ในระหว่างน้ัน หลงั พระ (ดงั ปรากฏในเพลงพระราชนพิ นธ์ “ความฝนั อนั สงู สดุ ” มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยมาติดท่ีท่าหน้าวัด มีป้ายเขียน น้นั แลว้ ) บอกว่า “พระฝนแล้วใครพบให้เขี่ยท้ิงไป” สมเด็จทราบเรื่อง พระพุทธรูปลอยน้�ำองค์ใหญ่คือ หลวงพ่อวัดบ้านแหลม ส่ังใหเ้ ก็บไว้ แลว้ น�ำมาปฏิสงั ขรณล์ งรกั ปดิ ทองใหม่ ใหอ้ ญั เชญิ และพระพุทธรูปลอยน้�ำองค์กลางคือหลวงพ่อโสธร ได้รับ กลับไปไว้ท่ีวัดโคกเข็ม ปรากฎภายหลังว่า มีคนอาราธนา ความเคารพเล่ือมใสศรัทธาว่าศักด์ิสิทธิ์ มีคนเคารพนับถือมาก ขอนำ้� มนต์รกั ษาโรคต่างๆ ได้ มีความศักดิส์ ทิ ธ์เิ ลื่องลือไป ส่วนพระพุทธรูปลอยน�้ำองค์เล็กไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง แม้แต่ หลวงพ่อลอย เปน็ พระพทุ ธรูปยนื แกะดว้ ยไม้ เข้าใจว่าจะ หนงั สือประวัติจงั หวดั สมทุ รปราการก็ไม่กลา่ วถงึ เรอื่ งนี้ แต่กลบั เป็นไม้พิธตี ามความนยิ มของคนแตก่ อ่ น ฉะนั้นจึงมีนำ�้ หนักเบา ไปมีในประวัติจังหวัดฉะเชิงเทราว่า “ส่วนองค์สุดท้องล่องลอย ลอยน�้ำได้ เม่ือหลายสิบปีมาแล้วผู้เขียนอยากเห็นองค์จริงของ ไปผดุ ขน้ึ ทวี่ ดั บางพลี จงั หวดั สมทุ รปราการ และชาวบา้ นบางพลี ท่านจงึ ไปทวี่ ัดวดั โคกเขม็ กไ็ ด้ทราบว่าหลวงพ่อลอยถกู ขโมยไป ได้อัญเชิญประดิษฐานอยู่ท่ีวัดบางพลี นั้นช่ือว่า หลวงพ่อโต นานแลว้ องคท์ ม่ี อี ยเู่ ปน็ พระพทุ ธรปู หลอ่ ดว้ ยโลหะ แทนองคจ์ รงิ ปรากฎว่ามีผเู้ คารพนบั ถอื มาก” ทห่ี ายไป ขอเล่ารวมไวเ้ พราะเปน็ พระพุทธรูปลอยน้ำ� จริงๆ “หลวงพ่อโต” วัดบางพลีใหญใ่ น อาราธนาขนึ้ จากนำ้� เปน็ องคท์ ่ี ๓ เป็น“องค์นอ้ ง” เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๒ 39

กีฬา-การละเล่น เรือ่ ง : อุดมเดช เกตแุ กว้ ภาพ : อุดมเดช เกตแุ กว้ , อภินนั ท์ บวั หภักดี วัวเทียมเกวเพียชรนบุรี 40

“วัวเทียมเกวียน” เป็นท้ังเคร่ืองมือการเกษตร เป็นภูมิปัญญา ดา้ นกฬี าพนื้ บา้ น และเปน็ งานชา่ งฝมี อื ดง้ั เดมิ ของคนเมอื งเพชรบรุ ี แม้ปัจจุบันชาวเมืองเพชรบุรีจะไม่ได้ใช้วัวเทียมเกวียนในภาค การเกษตร และการบรรทกุ ขนสง่ แลว้ แตย่ งั คงมกี ารอนรุ กั ษว์ วั และ เกวยี นเพอื่ ใชใ้ นกจิ กรรมดา้ นศาสนา ศลิ ปวฒั นธรรม และกจิ กรรม ทางสังคม เช่นการแข่งขันวัวเทียมเกวียน การน�ำวัวเทียมเกวียน เขา้ ขบวนแห่แหนทางศาสนาและการทอ่ งเทย่ี ว อยา่ งสมำ่� เสมอ เมษายน - มิถนุ ายน ๒๕๖๒ 41

๑ ในอดีต “วัว” และ “เกวียน” เป็นสมบัติส�ำคัญของ วัวและเกวียน ค่อยๆ ถูกท้ิงร้างจากสังคมชาวเพชรบุรี ชาวนาไทย โดยใชเ้ ป็นเครอ่ื งทนุ่ แรงงานดา้ นการเกษตร ตัง้ แต่ เรอ่ื ยมา กระทั่งในช่วงระยะเวลา ๓๐ ปนี ี้ กลุ่มผู้เลยี้ งววั ในนาม ต้นฤดูการท�ำนาไปจนถึงการเก็บเกี่ยว หน้าท่ีหลักของ “วัว” “ชมรมอนรุ กั ษว์ ัวเทียมเกวียน–เทียมไถ จงั หวัดเพชรบุรี ราชบรุ ี ได้แก่ การไถนา คราดนา เทยี มเกวยี นบรรทุกส่ิงของ การเขน็ และกาญจนบุรี” ได้รื้อฟื้นการใช้วัวเทียมเกวียนเพ่ือการอนุรักษ์ ข้าวเข้าลาน การนวดข้าว สุดท้ายวัวยังเป็นอาหารใช้บริโภค ผ่านกิจกรรมรูปแบบต่างๆ เช่น กิจกรรมด้านสังคมและ อกี ทง้ั หนงั กระดกู และเขาววั ยงั สามารถนำ� ไปทำ� เครอื่ งประดบั วัฒนธรรม งานพิธีต่างๆ ขบวนแห่บวชนาค แห่ขันหมาก ตา่ งๆ ได้ กระท่ังถึงยุคที่มีการใช้เครื่องจักร รถไถนา รวมถึงมี ๒ เทคโนโลยีใหม่ๆ ทดแทนแรงงานคนและสัตว์ จึงท�ำให้วัวและ เกวียนต้องลดความส�ำคัญลง จากที่เคยท�ำงานกลับถูกทิ้งร้าง เกวียนแปรสภาพไปเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้านเรือน เป็นเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ขณะที่ วัว ซ่ึงเป็นวัวไทยพันธุ์ พ้ืนเมือง ก็ลดหน้าท่ีลงเหลือเพียงใช้ในการแข่งขันกีฬาวัวลาน วัวเทียมไถ วัวสวยงาม และเปน็ เนื้อววั เพื่อการบรโิ ภค แต่ส�ำหรับ “วัวลาน” ถ้าเป็นวัวฝีเท้าดี ก็จะยังคงมี ความส�ำคัญ มีมูลค่าสูง ซ้ือขายกันตัวละหลักหม่ืน หลักแสน ไปจนถึงหลักล้านไปเลยก็ยงั มี 42

๓ ๑ เกวียนท่ีประดับตกแตง่ สวยงาม จดั แสดงในบรเิ วณลานด้านข้างสนามแข่งขัน ๔ ๒–๔ เจ้าของเกวยี นที่จะนำ� เกวยี นลงแข่งขัน ท�ำพธิ เี ซน่ ไหวแ้ ละจะดูแลเกวียนเป็นอย่างดี ๕ ววั ท่เี ตรียมจะลงแขง่ ขันประลองความเร็ว แหเ่ ทยี นเขา้ พรรษา แหอ่ งคก์ ฐนิ ผา้ ปา่ และกจิ กรรมดา้ นการกฬี า สว่ นประกอบของเกวยี นแตล่ ะชน้ิ มลี กั ษณะทแี่ ตกตา่ งกนั ออกไป น�ำมาสู่การแข่งขัน “วัวเทียมเกวียนชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จ ส้ันยาวไมเ่ ทา่ กนั คด โคง้ แอ่น งอ ไมเ่ ท่ากนั ดังค�ำกลา่ วที่ว่า พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” อันเป็นสุดยอด “หงิกๆ งอๆ ท�ำหางยาม กิ่งๆ ง่ามๆ ท�ำหัวหมู” ปัจจุบัน ท่ีทาง “ชมรมก�ำนันผู้ใหญ่บ้านอ�ำเภอบ้านลาด” จ.เพชรบุรี ช่างท�ำเกวียนในจังหวัดเพชรบุรีเหลืออยู่ ประมาณ ๑๐ คน ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานต่างๆ ในท้องท่ี ในจ�ำนวนน้ีมีช่างท�ำล้อเกวียนได้ ๓ คนเท่าน้ัน เนื่องจากการ และชาวอ�ำเภอบ้านลาดร่วมกันจัดข้ึนเป็นประจ�ำทุกปี เป็นการ ท�ำลอ้ เกวยี นน้ันทำ� ยากกวา่ ชิ้นส่วนอื่นๆ สืบสานอนุรักษ์กีฬาวัวเทียมเกวียนของเมืองเพชรบุรีให้ยังด�ำรง ลกั ษณะเด่นของเกวียนเพชรบุรี คอื มีความงดงามในดา้ น คงอยู่ถงึ ปจั จุบนั งานช่างฝีมือ “งอนเกวียน” จะเลือกไม้ท่ีมีความอ่อนโค้งเป็นวง เกวียน เป็นพาหนะล้อเล่ือนประจ�ำชาติไทยชนิดหนึ่ง สวยงาม เรียกว่า “งอนยอดผกั บุง้ ” หรือ “งอนกะโหลก” อีกช้นิ ท่ีมีลักษณะเด่นคือ ท�ำด้วยไม้ท้ังคัน มีล้อไม้ ๒ ล้อ ใช้ควาย ส่วนหนง่ึ ทม่ี ีความแตกตา่ งจากเกวยี นทีอ่ นื่ ไดแ้ ก่ “ไม้เทา้ แขน” หรือวัวเทียม ลักษณะนามว่า เล่ม ส่วนค�ำว่า “เทียม” เป็นค�ำ เกวยี นหนงึ่ เลม่ จะใชไ้ มเ้ ทา้ แขนจำ� นวน ๔ ชนิ้ สว่ นหวั ของไมเ้ ทา้ กิริยาหมายถึงการน�ำสัตว์อย่างวัว หรือควายมาเทียมคือการ แขนจะแกะสลักเปน็ หวั งอน เรยี กว่า หวั นกเอยี้ ง เป็นเอกลกั ษณ์ เชอ่ื มตอ่ เขา้ กบั ยานพาหนะ ทำ� หนา้ ทฉี่ ดุ ลากลอ้ ใหห้ มนุ ไปทำ� งาน ของเกวียนเพชรบรุ ี ต่างๆ เช่น ไถ คราด และบรรทุก เป็นต้น เกวียนแบ่งเป็น ๒ ประเภท ตามแรงงานสัตว์ท่ีใช้เทียม ได้แก่ เกวียนวัว และ ๕ เกวียนควาย เกวียนวัวมีขนาดเล็กและเตี้ยกว่าเกวียนควาย เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๒ 43 ภาพจำ� ทคี่ นกรงุ เทพฯ หรอื ใครๆ นกึ ถงึ เสมอมกั เปน็ เกวยี นควาย ของชาวนาที่อ่ืนๆ เล่มสูงใหญ่ แต่เกวียนวัวจะมีขนาดเล็กกว่า ใหเ้ หมาะสมกับก�ำลงั ววั ทนี่ ้อยกว่าควาย ไม้ที่นิยมใช้ท�ำเกวียนเป็นไม้เน้ือแข็งคือ ไม้ประดู่ มี คุณสมบัติทนทาน ไสแต่งเน้ือไม้ได้ง่าย มีลวดลายท่ีสวยงาม พบตามป่าเขาและหัวไร่ปลายนาท่ัวไป รองลงมาคือ ไม้แดง ไม้สักขี ช่างท�ำเกวียนต้องมีความรู้ในการเลือกไม้ว่า ต้นไหน ทอ่ นใดเหมาะทจี่ ะใชเ้ ปน็ ชนิ้ สว่ นประกอบเกวยี นชน้ิ ใด เนอ่ื งจาก

๑ ววั เทยี มเกวยี นกบั หลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตร์ ในอดตี จงั หวดั เพชรบรุ มี สี นามแขง่ ววั เทยี มเกวยี น กระจาย อยทู่ ว่ั ไป เชน่ วดั ตน้ สนาม (วดั รา้ ง) หวั สนาม ทา้ ยสนาม เปน็ ตน้ การละเลน่ ววั เทยี มเกวยี น เปน็ การแขง่ ขนั ประลองความเรว็ สนามวัวเทียมเกวียน แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ กล่าวคือ ว่าวัวคู่ใดจะมีฝีเท้าท่ีเร็วกว่าคู่อ่ืนๆ โดยน�ำวัวงานท่ีมีขนาด สนามที่มอี ยโู่ ดยทวั่ ไป เช่น สนามบ้านดอนจุฬา, สนามไรด่ อน เท่ากันจ�ำนวน ๒ ตัว มาเทียมเกวียนในลักษณะเดียวกันกับ ตำ� บลไรส่ ม้ สนามบา้ นใหม,่ สนามโพธเ์ิ รยี ง ตำ� บลโรงเข้ เปน็ ตน้ การใช้วัวลากเกวียนบรรทุกของ แต่เกวียนเป็นเกวียนเปล่า ประเภทที่ ๒ คือ สนามกลาง สำ� หรับจัดการแข่งขนั เฉพาะกจิ และมีขนาดเล็กกว่าเกวียนที่ใช้บรรทุกของทั่วไป ในการแข่งขัน เช่น สนามหน้าเขาวงั สนามในวังบา้ นปนื สนามวัดถ�้ำแก้ว เพือ่ จะแข่งกันเป็นคู่ โดยเกวียนที่เทียมวัวคู่ทั้งสองเล่ม จะมาอยู่ การสมโภชในวาระเฉลมิ ฉลองตา่ งๆ นอกจากนอ้ี าจจะพจิ ารณา ทจี่ ดุ เรม่ิ วง่ิ เรยี กวา่ “ตง้ั ผงั ” จากนน้ั คอยฟงั สญั ญาณโกรก (เครอื่ ง ปรบั ปรงุ สนามแตล่ ะหมบู่ า้ นขน้ึ เปน็ สนามแขง่ ขนั เนอ่ื งในโอกาส ให้เสียงสัญญาณหรืออาจเรียกว่า เกราะ) แล้วจึงเริ่มวิ่งออกตัว งานตา่ งๆ ท่ีเกยี่ วข้อง และเปน็ กจิ กรรมของตำ� บลนน้ั ๆ กระทั่ง วัวก็จะวิ่งไปตามลู่วิ่งโดยมีคนแทงปฏักอยู่ด้านบนเป็นคนคอย ในยุคฟื้นฟูการแข่งขันวัวเทียมเกวียนที่ทางชมรมก�ำนัน ควบคุมทศิ ทางการวิง่ และความเร็ว ผใู้ หญบ่ า้ นอำ� เภอบา้ นลาดจดั ขน้ึ ไดใ้ ชท้ งุ่ นาหลงั ฤดกู ารเกบ็ เกย่ี ว วัว ฝ่ายใดถึงเส้นชัยก่อนเป็น ผู้ชนะ โดยจะต้องชนะกัน เป็นสนามการแข่งขันวัวเทียมเกวียนลักษณะช่ัวคราว อาทิ แบบขาดลำ� ถา้ เกวยี นสะกนั เรยี กวา่ “เฉยี บ” คอื เกวยี นฝา่ ยหนงึ่ สนามแข่งขันต�ำบลท่าเสน ต�ำบลถ�้ำรงค์ และสนามทุ่งทอง ลากเกวยี นอกี ฝา่ ยหนึ่งเขา้ เส้นชัย จะถือวา่ ผดิ กติกาท้งั สองฝ่าย ต�ำบลท่าชา้ ง อำ� เภอบา้ นลาด ในปจั จุบนั เป็นต้น ต้องทำ� การแขง่ รอบใหม่ 44

ตามประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ในจดหมายเหตุ นอกจากนี้ยังพบหลักฐานว่าวัวเทียมเกวียนของจังหวัด พระราชกิจรายวัน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เพชรบรุ ี ไดเ้ คยเขา้ ไปจดั แสดงทที่ อ้ งสนามหลวง กรงุ เทพมหานคร เจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๕ เม่ือคราวเสด็จประพาสเมืองเพชรบุรี ในชว่ งปีใหมไ่ ทยเทศกาลตรุษสงกรานต์ ปี พ.ศ. ๒๔๗๙–๒๔๘๐ ในปีจอ จุลศักราช ๑๒๔๘ (พ.ศ. ๒๔๒๙) พระยาเพชรบุรี ทางกระทรวงมหาดไทยได้ขอร้องมายังจังหวัดเพชรบุรี ให้ส่ง ได้จัดแข่งวัวเทียมเกวียนถวายทอดพระเนตร ณ ที่ประทับ การแสดงกีฬาพ้ืนบ้านของเพชรบุรี ซึ่งไม่มีในที่อ่ืน ได้แก่ ศาลานักขัตฤกษ์ ซ่ึงตั้งอยู่บริเวณพระนครคีรี (เขาวัง) วัวเกวียน และวัวระดอก (วัวลาน) ไปแสดงให้ประชาชนชม ดา้ นทิศตะวันออก ความว่า ที่ท้องสนามหลวง (ทุ่งพระเมรุ) ทางจังหวัดได้มอบหมายให้ “...เวลาบ่าย ๕ โมง เสด็จพระราชด�ำเนินลงเชิงเขา นายเทพ โซ๊ะเหม เป็นหัวหน้าน�ำวัวจากต�ำบลต่างๆ รวมกัน ทรงม้าพระท่ีน่ังเสด็จพระราชด�ำเนินประพาสตลาด มีกระบวน ประมาณ ๖๕ ตัว ไปแสดงในสนามจังหวัดและจดั สรรคา่ ใช้จ่าย รถเหมือนวันก่อน คร้ันเวลาย�่ำค�่ำเสด็จพระราชด�ำเนินกลับ ให้ทั้งหมด โดยเหมาตู้รถไฟบรรทุกวัวไปหลายตู้ พักอยู่ที่ ประทับพลับพลาไหล่เขาช้ันล่างด้านตะวันออก พระยาเพชรบุรี ท่งุ พญาไท ก ร ม ก า ร จั ด รั น แ ท ะ โ ค ร า ษ ฎ ร ซึ่ ง จ ะ ขั บ แ ข ่ ง กั น ถ ว า ย ตั ว ช่างเมืองเพชรบุรีได้ฝากฝีมือไว้บนภาพเขียนสีฝุ่น ทอดพระเนตร รันแทะน้ันเตรียมไว้มาก เลือกคัดเทียบกัน ววั เทยี มเกวยี นทส่ี วยงามไวห้ ลายแหง่ อาทิ จติ รกรรมฝาผนงั พระ ในทอ้ งสนามแลว้ ปลอ่ ยใหข้ บั แขง่ กนั เปน็ คๆู่ ๓ คู่ พระเจา้ อยหู่ วั อุโบสถวัดมหาสมณาราม (วัดเขาวัง) ภาพคอสอง ศาลา ทอดพระเนตรอยู่จนค่�ำ รันแทะหนึ่งล้มทับคนเจ้าของป่วยมาก การเปรยี ญวดั เกาะ ภาพคอสอง ศาลาการเปรยี ญวดั จนั ทราวาส พระราชทานเงิน ๕ ต�ำลึง รางวัลคนเป็นเจ้าของท่ีชนะคนละ อำ� เภอเมอื งเพชรบรุ ี ภาพคอสอง วดั ปากคลอง อำ� เภอบา้ นแหลม ๓ ต�ำลงึ แพค้ นละ ๖ บาท เวลายำ�่ ค่ำ� คร่งึ เสดจ็ ข้ึน” เป็นต้น “ววั เทยี มเกวยี น” ในกฎหมายตราสามดวง และจดหมายเหตุ ราชกิจรายวัน รชั กาลที่ ๕ เรียกว่า “วัวรันแทะ” ๒ ๑ การแขง่ ขันววั เทยี มเกวียน ประเภทความเรว็ อ.บ้านลาด จ.เพชรบรุ ี ๒ ภาพถา่ ยในอดีตแสดงให้เหน็ ถึง การใชว้ ัวเทยี มเกวียนในชวี ิต ประจ�ำวันของขาวเพชรบรุ ี สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอย่หู ัว รัชกาลท่ี ๕ เมษายน - มถิ ุนายน ๒๕๖๒ 45

วชัวิงถเท้วยี ยมพเกรวะรียานชทานสมเดจ็ พระเทพฯ ประเพณีว่ิงววั เทยี มเกวียน ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ จดั ขึ้นในชว่ งหวั คำ่� แตถ่ งึ กระน้นั กย็ ังมีประชาชนเขา้ ชมอยา่ งเนื่องแน่น และสุดยอดของ วัวเทียมเกวียน ในวันนี้คือ การแข่งขัน วัวเทียมเกวียน ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตน สมัย น.ส. สุนยี ร์ ัตน์ ภขู่ �ำ นายอ�ำเภอบา้ นลาด คณะกรรมการ ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ถือเป็นงานประจ�ำปีของอ�ำเภอ จัดงานมีความเห็นให้ย้ายสถานที่จัดงานมาจัดเป็นการเฉพาะที่ บ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี น�ำโดยนายอ�ำเภอบ้านลาด องค์กร “ทงุ่ ทอง” ต.ทา่ ช้าง รว่ มกับงาน “บ้านลาด ๑๐๑ ปี” เป็นงาน ปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ เทศบาล อบต. ก�ำนนั และผใู้ หญบ่ า้ นใน ประจ�ำปีใหม่ของอ�ำเภอบ้านลาด เป็นการน�ำภูมิปัญญา เขตพน้ื ทอ่ี ำ� เภอบา้ นลาด ซงึ่ จะจดั ใหม้ กี ารแขง่ ขนั ววั เทยี มเกวยี น ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชาวอ�ำเภอบ้านลาดมาจัดแสดง ในชว่ งงาน พระนครครี –ี เมอื งเพชร ราวเดอื นกมุ ภาพนั ธ–์ มนี าคม รว่ มกันเป็นครงั้ แรก ของทกุ ปี จงึ เปน็ อนั วางใจไดร้ ะดบั หนงึ่ วา่ ววั เทยี มเกวยี น ภมู ปิ ญั ญา จุดเร่ิมต้นของการรื้อฟื้นการแข่งขันกีฬาวัวเทียมเกวียน อันว่าดว้ ยเรื่องการเกษตร กฬี าพื้นบา้ น และช่างฝมี ือ ของชาว เร่ิมจาก “ชมรมก�ำนันผู้ใหญ่บ้านอ�ำเภอบ้านลาด” องค์กร จงั หวดั เพชรบรุ ี ในวันน้นี ้ันน่าจะไดร้ บั การสบื ทอดตอ่ ไปสู่รุ่นลกู ปกครองสว่ นทอ้ งถนิ่ และประชาชนชาวอำ� เภอบา้ นลาดไดร้ ว่ มกนั รุ่นหลานอย่างไม่มีวันหยุดยั้ง ตราบเท่าท่ียังเป็นของดีของ จดั งานววั เทยี มเกวียนเปน็ ครงั้ แรก เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ณ ทงุ่ นา ชาวอ�ำเภอบ้านลาด และจังหวัดเพชรบุรี ต่อไปเช่นดังทุกวันนี้ สนามแข่งขันชั่วคราว ริมถนนเพชรเกษม (ฝั่งขาล่องใต้) และพร้อมกันในปีพุทธศักราช ๒๕๖๑ ที่เพิ่งผ่านพ้นไป บริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๑๗๓ ต.ท่าเสน อ.บ้านลาด ในช่วง กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมสง่ เสรมิ วัฒนธรรม ได้ขึ้นบัญชีให้ “งานพระนครคีรีเมืองเพชร” คร้ังที่ ๑๗ ได้รับความนิยม “วัวเทียมเกวียน” เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ จึงมีการจัดต่อเนื่องทุกปี แต่ในคร้ังล่าสุดในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ สนับสนุนให้เป็นเกียรติเป็นศรีต่อไป ในอกี ดา้ นหนึง่ ดว้ ย 46

เครือ่ งประดบั ววั ๔. คาดเพชร ใชส้ ำ� หรบั คาดบรเิ วณหนา้ ผากววั ทำ� ดว้ ยผา้ ตดั เยบ็ ในลักษณะเดียวกับอ้อมเพชร แต่บางกว่า มีลักษณะเรียวตรงกลาง นอกจากการแขง่ ขนั กฬี า ววั เทยี มเกวยี นประเภทความเรว็ ทเ่ี รยี ก เพอื่ ใหป้ ดิ ทับในต�ำแหนง่ ของขวัญเดมิ กนั ว่า “ววั เกวียนเร็ว” แลว้ ยังมกี ารจัดแสดงโชว์และประกวด วัวเทียม ๕. เชอื กตะพาย เชือกตะพายนี้จะถกั ด้วยไหมพรมหลากสตี ลอด เกวยี นประเภทสวยงาม หรอื ทีเ่ รยี กวา่ “วัวเกวยี นงาม” โดยววั ท่ีน�ำมา เส้นใช้สำ� หรบั รอ้ ยจมกู วัว เพื่อใหจ้ บั หรอื จูง ไดส้ ะดวก เทียมเกวียนจะมีความนิ่งและการประดับตกแต่งวัวและเกวียน ๖. เครอ่ื งประดบั อนื่ ๆ เชน่ ลกู กระพวน กระดิ่ง ทำ� จากทองเหลอื ง อยา่ งสวยงาม โดยมชี น้ิ ส่วนเคร่อื งประดับที่ส�ำคญั ไดแ้ ก่ เกราะทำ� จากไม้ ใช้ส�ำหรับห้อยคอววั ทำ� ใหเ้ กดิ เสียงดัง ๑. เขารอง ท�ำด้วยไหมพรมหลากสีถักเป็นลวดลายต่างๆ ปัจจุบันงานเคร่ืองประดับตกแต่งวัวเป็นงานฝีมือพ้ืนบ้านโบราณ ใชส้ ำ� หรบั สวมเขาววั ทงั้ ๒ ขา้ ง ทางปลายแหลมนยิ มทำ� เปน็ พไู่ หมพรม ที่หาคนท�ำได้ยากข้ึน ต้องอาศัยความอุตสาหะ อดทน และท�ำด้วย ๒. ผ้าสีต่างๆ แล้วแตจ่ ะหามาตกแต่ง สว่ นใหญ่นยิ มผูกผา้ นัน้ ใจรัก อีกทั้งเป็นคติความเชื่อของเจ้าของวัวท่ีแสดงถึงความรัก เป็นช่อเล็กๆ ใช้ผูกบริเวณโคนเขาบ้าง คล้องคอ และผูกที่ข้อเท้า ความเอาใจใส่ต่อวัวท่ีตนเองเลี้ยงดู เปรียบเสมือนเพ่ือนคู่ชีวิต รวมถึง ของววั เป็นตน้ การสร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของวัวเมืองเพชรบุรีท่ีมีการตกแต่ง ๓. อ้อม หรืออ้อมเพชร ประดบั ประดาอย่างสวยงามดว้ ย หรือกะอ้อมเพชร ใช้ส�ำหรับ คล้องคอวัว ท�ำด้วยผ้าตัดให้มี เมษายน - มถิ นุ ายน ๒๕๖๒ 47 ความกว้างประมาณ ๒ นิ้ว มีความยาวรอบคอวัวเย็บซ้อน กนั หลายๆ ช้นั จนแขง็ นำ� เพชร มาประดับตกแต่งลงบนผ้า ทเี่ ยบ็ นน้ั ปลายในตำ� แหนง่ ทผี่ า้ มาบรรจบกันนิยมท�ำเป็นพู่กลม ด้วยด้ายหลากสี ขนาดเท่าๆ กันหลายลูก จัดเป็นช่อห้อย ให้สวยงาม

ขนบประเพณี เรื่อง : อธิราชย์ นนั ขนั ตี ภาพ : เจษฎาภรณ์ บัวสาย พระธาตุพนมพแลิธะถี บวุญายเสขยี้าวคพ่าหชี ภัวขาา้คโอกาส องคพ์ ระธาตพุ นม จังหวดั นครพนม นบั เป็นสักการะสถานทโ่ี ดดเด่นเป็นศรสี งา่ แห่งภาคอีสาน ประชาชนชาวไทยทั่วประเทศต่างมุ่งหมายเดินทางมานมัสการ องคพ์ ระธาตุ ชมความงดงามใหเ้ หน็ ดว้ ยตาตนเอง ไดย้ กมอื พนมไหวห้ รอื กม้ กราบลง ตรงพระมหาสถปู ดว้ ยจติ ทถี่ งึ พรอ้ มดว้ ยสมาธแิ ละปญั ญา และดว้ ยศรทั ธาเลอ่ื มใสจาก จติ ใจจรงิ แท้ นน้ั กเ็ ปน็ ความสขุ ยง่ิ แลว้ และการเดนิ ทางมานมสั การองคพ์ ระธาตพุ นม จนถึงท่ีต้ังน้ี หากจะเดินทางมาในช่วงงานนมัสการองค์พระธาตุพนมตั้งแต่วันข้ึน ๑๕ คำ่� เดือน ๓ เปน็ ระยะเวลายาวนานหลายวัน กจ็ ะยง่ิ เปน็ โอกาสดที ่จี ะได้ชื่นชม องค์พระธาตุได้อย่างลึกซึ้งกว่าทุกคราว เพราะในช่วงวันอันส�ำคัญน้ี จะมีสิ่งดีๆ ทยอยเกิดข้ึน ณ องค์พระธาตุน้ีหลากหลายรายการ อาทิ การเปิดให้เข้าชม ภายในองค์พระธาตุ ซึ่งมากมายด้วยสิ่งที่มีคุณค่าเลิศล�้ำ การร�ำบูชาบวงสรวง องคพ์ ระธาตพุ นม ขบวนอญั เชญิ พระอปุ คตุ จากแมน่ ำ�้ โขง และขบวนแหเ่ ครอ่ื งสกั การะ บูชาองค์พระธาตุพนม ที่ทุกภาคส่วนของจังหวัดนครพนมพร้อมใจกันจัดขึ้นอย่าง งดงามตระการตา เป็นต้น และในโอกาสเดียวกันนี้ ก็จะมีพิธีถวายข้าวพีชภาค ของบรรดาข้าโอกาสของ องค์พระธาตุพนม ซ่ึงเป็นพิธีกรรมที่มีการปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนานนับร้อยๆ ปี ทหี่ าชมไดย้ ากยง่ิ เพราะมที น่ี เ่ี พยี งแหง่ เดยี ว เปน็ ทน่ี า่ ยนิ ดขี องชาวนครพนมทพี่ ธิ กี รรมนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ท่ีผ่านมา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ไดข้ น้ึ ทะเบียนให้เปน็ มรดกภมู ปิ ญั ญาทางวัฒนธรรมของชาติไทยไปแลว้ เรยี บร้อย 48

องค์พระธาตพุ นม หลักชัยแหง่ พระพทุ ธศาสนาในอสี าน งดงามสว่างไสวในค�่ำคนื วนั งานนมสั การพระธาตพุ นม จารึกโบราณ ที่ถูกค้นพบ ณ ศาสนสถานหลากหลาย ในประเทศไทย ทั้งจารึกในศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนา เร่ืองหน่ึงท่ีจะได้รับการจารึกไว้เป็นหลักก็คือ เร่ืองการอุทิศ ถวายผู้คน โดยผู้มีอ�ำนาจปกครองเป็นท้าวพญามหากษัตริย์ มอบหมายหน้าที่ให้ผู้คนปฏิบัติบูชาดูแลรักษาศาสนสถานไป ช่ัวลูกหลาน และอุทิศส่ิงของจ�ำเป็นและข้าวปลาอาหารแก่ ศาสนสถานนั้นๆ เพื่อให้ผู้คนดังกล่าว มารวมทั้งพระหรือ พราหมณ์ผู้ประกอบพิธีกรรมสามารถด�ำรงชีพด�ำเนินกิจกรรม ทางศาสนาอยู่ ณ ทน่ี น้ั ใหย้ ั่งยนื ตอ่ ไป และพธิ ถี วายขา้ วพชี ภาคและบญุ เสยี คา่ หวั กเ็ ปน็ ธรรมเนยี ม โบราณของชุมชน ซึ่งเป็นข้าโอกาสวัดพระธาตุพนม ท่ียึดถือ ปฏิบตั เิ ปน็ ประเพณีตอ่ เน่อื งมายาวนาน นักวิชาการไทยจ�ำนวน หน่ึงได้ท�ำการศึกษาเรื่องราวของ ข้าโอกาส นี้ และได้ข้อสรุป ทส่ี อดคลอ้ งกนั ดังน้ี คอื มาลนิ ี กลางประพนั ธ์ สรุปว่า พธิ ีขา้ โอกาสพระธาตพุ นมถวายขา้ วพชี ภาคฯ เปน็ พธิ กี รรมเฉพาะกลมุ่ ค�ำว่า ข้าโอกาสพระธาตุพนม หมายถึง กลุ่มคนท่ีสืบทอด จากบรรพบุรุษผู้ซึ่งได้รับการอุทิศจากกษัตริย์แห่งอาณาจักร ล้านช้าง โดยมอบหมายหน้าที่ให้เป็นผู้รับใช้พระสงฆ์และดูแล พระธาตพุ นม ตามคตคิ วามเชอ่ื เรอื่ งพระธาตุ และ ธวชั ปณุ โณทก ได้ท�ำการศึกษาไว้ว่า คนกลุ่มนี้จะเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดไป โดยตลอด แม้วา่ สมรสกันมลี กู หลานออกมา บุตรธิดาก็ตกเปน็ กรรมสิทธขิ์ องวัดเช่นเดมิ และในขณะเดยี วกันคนกลุม่ ทเี่ ปน็ ขา้ โอกาสนี้ก็ขาดจากอ�ำนาจของรัฐ นั้นคือ รัฐ จะเกณฑ์แรงงาน มารับใช้รัฐหรือเจ้านายไม่ได้ และสุทธิดา ตันเลิศ สรุป เพมิ่ เตมิ วา่ ชาวลาวเรยี กผู้น�ำข้าโอกาสวา่ บงั้ จุม้ ทำ� หนา้ ท่เี ปน็ ผู้ถือกุญแจพระธาตุพนม อาศัยท่ีบ้านท่าล้งและบ้านท่าเทิง ใกลช้ ายแดนเวยี ดนาม สว่ นพระธรรมราชานวุ ตั ร อดตี เจา้ อาวาส วัดพระธาตุพนม เพิ่มเตมิ ในส่วนของเมืองมรกุ ขนคร ว่า ตาม ต�ำนานอุรังคธาตุ ได้กล่าวถึงการถวายข้าโอกาสของสมัย พญาสุมติ ร ธรรมวงศา ผ้คู รองเมืองมรกุ ขนคร ได้ทรงเลื่อมใส ในองค์พระธาตพุ นม ได้แตง่ ต้งั ขา้ ราชการ จำ� นวน ๓,๐๐๐ คน เปน็ ขา้ โอกาสให้ท�ำงานรับใชอ้ งค์พระธาตุนส้ี ืบไป เปน็ ตน้ เมษายน - มิถนุ ายน ๒๕๖๒ 49

ขบวนแหพ่ ระอุปคุต สัญลักษณแ์ หง่ การเริม่ ต้นของงานนมัสการพระธาตพุ นม พ.ศ. ๒๐๘๒ ในรัชสมัยพระเจ้าโพธิสารราช กษัตริย์ “…สกั ราช ๙๗๖ ปีกาบยี่ เดอื น ๕ ขึ้น ๕ ค�่ำ วันท่ี ๕ ... อาณาจักรล้านช้าง หลวงพระบาง ได้เสด็จลงมาบูรณะวัด พระเป็นเจ้าพระยานครหลวงพิชิตราชธานี....เป็นประธานแก่ พระธาตพุ นมทเี่ ศรา้ หมองใหส้ วยงาม สรา้ งวหิ ารหลวงมงุ หลงั คา เจา้ พระยา เสนามนตรีทั้งหลาย มีประสาทศรทั ธา... จึงมาเลิก ด้วยตะก่ัวท้ังหลัง สร้างหอพระแก้วเพ่ิมเติม ก่อนเสด็จกลับ ยกแปงตีนพระมหาธาตเุ จา้ และถอื ชะทายคาดธาตทุ ัง้ ๔ ด้าน ไดท้ รงจดั ระเบยี บขา้ โอกาส เนอ่ื งจากขา้ โอกาสในรนุ่ กอ่ นเสยี ชวี ติ กับทั้งหอข้าวพระและแท่นบูชา...ประการหนึ่ง ข้าโอกาส หรือมีการอพยพไปอยู่ถิ่นอื่น ท�ำให้ไม่สะดวกต่อการปฏิบัติ หยาดทานเขตแดนดินดินไฮ่นา น้�ำ หนอง กองปลา ที่ใด ตอ่ องคพ์ ระธาตพุ นม จึงไดร้ วบรวมเพ่มิ เตมิ ให้ครบ ๓,๐๐๐ คน อันแต่พระยาสามินทรราชให้ไว้เป็นอุปการะแก่พระมหาธาตุ ใหม้ ีหนา้ ท่อี ปุ ฏั ฐากองคพ์ ระธาตุพนม เช่นดงั เดมิ พนมเจ้าดังเก่า ไผอย่าถกอย่าถอน ผิผู้ใดโลภะตัญหามาก เขตทอ่ี ยูอ่ าศยั ของชุมชนขา้ โอกาส มีอาณาเขต ทศิ ตะวนั หากยังมาถกมาถอนดินดอนไฮ่นาบ้านเมือง น�้ำหนองกองปลา ออก ฝ่งั ขวาแม่น�้ำโขง ตามลำ� เซบ้ังไฟ ประเทศลาว บา้ นสะดือ ฝูงนน้ั ออก อปายะคมะนยี ะให้เถ่ินแก่งมัน...” บา้ นนาวาง บ้านตาลเทงิ บา้ นผกั เผ้ือ บ้านดงใน บ้านดงนอก ครั้นเม่ืออีสานตกอยู่ใต้การปกครองของไทยเมื่อ พ.ศ. ทิศตะวันตก ถึงเขตอ�ำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ทิศเหนือ ๒๓๒๒ เป็นต้นมาประชาชนที่เป็นข้าโอกาสก็ยังทำ� หน้าที่รักษา เขตห้วยบังฮวก ต�ำบลดอนนาหงส์ อ�ำเภอธาตุพนม ทิศใต้ ดแู ลพระธาตพุ นมเหมอื นเดมิ พระมหากษตั รยิ ไ์ ทยและเจา้ เมอื ง ถึงเขตอ�ำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร เพ่ิมเติมโดย ใกล้เคียงได้แก่ เมืองมุกดาหาร เมืองนครพนม ก็มิได้เกณฑ์ พระธรรมราชานวุ ตั ร นอกจากนนั้ ยงั พบหลกั ฐานจารกึ ในบรเิ วณ ประชาชนเหลา่ นน้ั มาเปน็ พลเมอื งของตนเพราะเชอ่ื วา่ เปน็ สมบตั ิ วัดพระธาตุพนม กล่าวถึงการถวายข้าโอกาสของพระเจ้า ของพระธาตุพนมแล้ว หากเจ้าเมืองใดกล้าเกณฑ์ไพร่พล นครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตรบูร เจ้าเมืองศรีโคตรบูร ได้มา ข้าโอกาสเหล่านั้น เทพประจ�ำพระธาตุพนมอาจจะท�ำให้ ปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม ปรากฏข้อความใน จารึก เจ้าเมืองตายได้โดยฉับพลัน ฉะนั้นพื้นท่ีอ�ำเภอธาตุพนมและ พระธาตุพนม ๒ ดังน้ี บรเิ วณใกล้เคียงจงึ ไม่มีเจา้ เมืองปกครอง 50