Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ทักษะวัฒนธรรมชาวเล ร้อยเรื่องราวชาวเล มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ผู้กล้าแห่งอันดามัน

ทักษะวัฒนธรรมชาวเล ร้อยเรื่องราวชาวเล มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ผู้กล้าแห่งอันดามัน

Description: ทักษะวัฒนธรรมชาวเล ร้อยเรื่องราวชาวเล มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ผู้กล้าแห่งอันดามัน

Search

Read the Text Version

ค(อำ�งนค�ำ ์กขาอรงมศหูนายชม์ นา)นษุ ยวิทยาสิรนิ ธร ศนู ย์มานุษยวทิ ยาสิรนิ ธร (องค์การมหาชน) เป็นหนว่ ยงานของรฐั ในกำ� กบั ของรัฐมนตรวี า่ การกระทรวง วัฒนธรรม โดยมีภารกิจหลักในการสร้าง สะสมความรู้ เพอ่ื สร้างความเขม้ แข็งให้วงวิชาการด้านมานษุ ยวิทยา มนษุ ยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ หนังสือชุดทักษะวัฒนธรรม จัดพิมพ์บนความคิดที่ว่าการสร้างความเข้าใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท่ี หลากหลายจะเป็นหนทางแห่งการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจ ให้เกียรติและยอมรับซึ่งกันและกัน โดยมี หนังสือเล่มแรก ทักษะวัฒนธรรม คู่มือวิธีการขัดกันฉันมิตรชายแดนใต้ (2552) เป็นหนังสือท่ีให้ความรู้ เรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวมลายูมุสลิม ชาวไทยพุทธ และชาวไทยจีน ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพอื่ จะเปน็ เอกสารสำ� หรบั ขา้ ราชการ และผอู้ า่ นทวั่ ไปใหม้ คี วามเขา้ ใจวฒั นธรรม และเปน็ หนง่ึ ในความพยายาม ในการใช้มิติทางวัฒนธรรม ให้ผู้อ่านมีทักษะทางวัฒนธรรม สร้างความเข้าใจในวิถีชีวิตของผู้คนให้มากยิ่งข้ึน จากน้นั ศนู ยม์ านุษยวทิ ยาสิรนิ ธร ได้พิมพ์ รจู้ ัก(เขา) รูจ้ กั (เรา) ร้จู กั มอแกน (2552) เพ่อื บอกเล่าเรื่องราวและ วถิ ชี ีวิตชาวมอแกน กลมุ่ ชาตพิ นั ธ์ทุ ี่ถกู เรียกรวมกับมอแกลน และอรู กั ลาโว้ยวา่ “ชาวเล” การสรา้ งและรวบรวม องคค์ วามรเู้ กยี่ วกบั ชาวเลเปน็ งานทศ่ี นู ยม์ านษุ ยวทิ ยาสริ นิ ธรใหค้ วามสำ� คญั มาอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง ทงั้ ในงานฐานขอ้ มลู การสนับสนุนให้ชาวเลศึกษาวิจัยเพื่อรวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาของตนเอง และการท�ำงานกับ เครอื ขา่ ยชาวเลเพือ่ ขบั เคลือ่ นในเชงิ นโยบาย ชาวเลกระจายตวั อยใู่ น 5 จงั หวดั ทางภาคใต้ โดยอาศยั และเดนิ ทางไปมาระหวา่ งเกาะมะรดิ ประเทศพมา่ ก่อนท่ีจะมีการก�ำหนดเขตพ้ืนที่ทางกฎหมาย ชาวเลมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย สืบทอดกันมาแต่ด้ังเดิม ไม่มีแนวคิด ในการสะสม เลยี้ งชพี ดว้ ยการพ่ึงพาส่งิ มชี วี ติ ในทะเลดว้ ยเครอื่ งมืออย่างงา่ ย หากแต่ปจั จบุ ันหลายชุมชนชาวเล ถูกละเมิดสิทธิด้วยกระแสการพัฒนา ระบบทุนนิยม ความทันสมัย การพัฒนาเชิงพาณิชย์อุตสาหกรรมและ ทกั ษะวฒั นธรรมชาวเล 2

การทอ่ งเที่ยว ย่านการคา้ ทำ� ให้กลมุ่ ชาวเลกลายเป็นกลมุ่ ชายขอบ กลุม่ ชาวเลขาดความมนั่ คงด้านทอ่ี ยู่อาศัย ความเท่าเทียมกัน ศักด์ิศรีของความเป็นมนุษย์ ความรู้ความเข้าใจทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ของคนพน้ื เมอื งในพ้ืนทก่ี ลบั ไม่ไดร้ ับการกลา่ วถึง แมว้ า่ ปจั จบุ นั ภาครฐั จะมองเหน็ คณุ คา่ ในวถิ ชี วี ติ และวฒั นธรรมของชาวเลมากกวา่ แตก่ อ่ น ดงั จะเหน็ ไดจ้ าก มตคิ ณะรฐั มนตรวี นั ที่ 2 มถิ นุ ายน 2553 เรื่องการฟ้นื ฟวู ถิ ชี วี ิตชาวเล ซง่ึ กอ่ ใหเ้ กดิ การผสานความรว่ มมอื จากทง้ั ภาครฐั สถาบันวชิ าการ และภาคประชาสงั คม แตก่ ็ยงั พบวา่ ชอ่ งวา่ งทางวฒั นธรรมระหว่างชาวเล เจ้าหน้าที่รฐั และกลมุ่ ชนอืน่ ๆ ยงั มอี ยู่ ซ่ึงจะเป็นอุปสรรคตอ่ การสรา้ งความเข้าใจและการฟื้นฟูวถิ ีชวี ิตและวฒั นธรรมชาวเล หนงั สอื ทกั ษะวฒั นธรรมชาวเล รอ้ ยเรอ่ื งราวชาวเล มอแกน มอแกลน และอรู กั ลาโวย้ ผกู้ ลา้ แหง่ อนั ดามนั เปน็ หนงั สอื เลม่ ทส่ี องในชุดทักษะวฒั นธรรม ศกึ ษาและเรยี บเรยี งโดย ดร. นฤมล อรุโณทยั และคณะ โครงการ น�ำร่องอันดามันและหน่วยปฏิบัติการวิจัยชนพ้ืนเมืองและทางเลือกการพัฒนา สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลยั ได้รวบรวมองค์ความรเู้ ก่ียวกับชาวเลทง้ั ในด้านประวตั ศิ าสตร์ วถิ ีชีวติ และวฒั นธรรม พรอ้ มทั้ง ไขข้อสงสัยที่เป็นอุปสรรคในการสร้างความเข้าใจชาวเล ผ่านชุดค�ำถามเรื่องประวัติความเป็นมา ความเป็นอยู่ การท�ำมาหากนิ สง่ิ แวดลอ้ ม วฒั นธรรม หตั ถกรรม นิทาน ต�ำนาน ศลิ ปะ ดนตรี ความเช่อื พิธกี รรม ชาติพันธ์ุ สมั พนั ธ์ รวมทง้ั เรอื่ งสภาพปญั หาทชี่ มุ ชนเผชญิ อยู่ และเรยี บเรยี งใหร้ ายละเอยี ดทง้ั ในดา้ นวถิ ชี วี ติ และวฒั นธรรม ของชาวอูรักลาโว้ย มอแกลน และมอแกนได้อย่างรอบด้าน ด้วยความหวังว่าทักษะวัฒนธรรมชาวเลเล่มนี้ จะเป็นคู่มือใหผ้ ู้สนใจ ตลอดจนเจ้าหนา้ ทร่ี ฐั ให้มคี วามร้แู ละความเข้าใจในวถิ ีชวี ิตและวัฒนธรรมของชาวเล ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร จึงหวังว่าการสร้างความรู้และความเข้าใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวเล จะเป็นพ้ืนฐานส�ำคัญในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล และหวังว่าหนังสือทักษะวัฒนธรรมชาวเล ร้อยเร่ืองราวชาวเล มอแกน มอแกลน และอรู กั ลาโว้ย ผกู้ ล้าแห่งอันดามนั จะเปน็ คมู่ ือใหผ้ ู้อา่ น มคี วามรู้ และเขา้ ใจในวฒั นธรรม ของชาวเล ให้เกียรติกันและกัน และอยู่ร่วมกันในสังคมท่ีมีความแตกต่างหลากหลายเพ่ือลบล้างอคติ ทางเช้ือชาติ ศาสนา เคารพในศกั ดศิ์ รขี องเพ่ือนมนุษยแ์ ละอยรู่ ว่ มกนั อยา่ งสนั ติสุข 3 ศนู ย์มานุษยวทิ ยาสริ นิ ธร (องคก์ ารมหาชน)

คจาำ�กนค�ำ ณะผู้จดั ท�ำ กอ่ นเหตกุ ารณส์ นึ ามใิ นปลายปี พ.ศ. 2547 ผคู้ นสว่ นใหญใ่ นสงั คมไทยแทบจะไมร่ จู้ กั กลมุ่ ชาตพิ นั ธช์ุ าวเล ซ่ึงมีกลุ่มย่อยคือมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ท้ังๆ ท่ีสามกลุ่มนี้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ท่ีอยู่อาศัยและ ท�ำมาหากินในบริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามันของประเทศไทยมานานหลายร้อยปี มีภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ขนบธรรมเนียมประเพณีท่ีเปน็ เอกลักษณ์ และมีภูมิปญั ญาท่ีโดดเดน่ ทอ้ งถน่ิ ภาคใตฝ้ ง่ั อนั ดามนั บางแหง่ ยงั มอี คตทิ างชาตพิ นั ธเ์ุ กยี่ วกบั ชาวเลทฝี่ งั รากลกึ เปน็ ผลสะทอ้ นใหก้ ลมุ่ ชาวเลกลายเปน็ “คนอ่นื ” ในสังคม ดงั ทน่ี อ้ งหญิง เยาวชนชาวมอแกลนในจงั หวดั พังงาเลา่ ให้ฟงั ว่า “ตอนเด็กๆ เดินไปโรงเรียนกับเพื่อนๆ มีรถวิ่งผ่านไป เด็กบนรถขว้างน�้ำแข็งใส่หญิงและเพื่อนๆ พร้อมเสียงหัวเราะและ คำ� เยย้ หยนั วา่ “ไอล้ กู ชาวเล” วนั นนั้ รสู้ กึ เสยี ใจมากจนรอ้ งไห้ ไมอ่ ยากไปโรงเรยี นอกี ตอ่ ไปแลว้ เราเปน็ ลกู ชาวเล แลว้ ผดิ อะไร เรากเ็ ปน็ คนเหมอื นกนั ” อยา่ งไรกต็ าม ในบางพน้ื ทกี่ ลบั มี “ชาตพิ นั ธส์ุ มั พนั ธ”์ ทผ่ี คู้ นตา่ งชาตพิ นั ธ์ุ ต่างวัฒนธรรมมคี วามกลมเกลยี วกนั ท้ังชาวเล ไทยพทุ ธ ไทยมสุ ลมิ ไทยเชอ้ื สายจีน ฯลฯ อยรู่ ่วมกนั อย่างสงบ สันตแิ ละมบี ทบาททางเศรษฐกิจ สงั คม วัฒนธรรม ทพี่ ง่ึ พาอาศยั เสริมส่วนขาดของกันและกนั นโยบายของประเทศไทยในปัจจุบันไม่ได้ละเลยเรื่องวัฒนธรรม ในทางตรงกันข้าม มีการส่งเสริมความ หลากหลายทางวัฒนธรรม แต่ส่วนใหญ่มุ่งไปในเชิงกายภาพและเชิงรูปธรรม เรามองถึงความหลากหลาย ความประณตี สสี นั ความงดงามของเครอ่ื งแตง่ กาย ลกั ษณะบา้ นเรอื น เครอื่ งมอื เครอื่ งใช้ เครอ่ื งดนตรแี ละเพลง ของกลุ่มชาติพันธุ์หรือผู้คนต่างวัฒนธรรม แต่เรามักจะละเลยเร่ืองระบบคิด ปรัชญาชีวิต จริยธรรมในการอยู่ รว่ มกนั วิถีทางจิตวิญญาณ และแบบแผนการทำ� มาหากนิ ของผ้คู นเหลา่ น้ี ซึ่งกม็ คี วามงดงาม ประณตี และมี คุณคา่ ย่ิงไปกวา่ สิ่งทป่ี รากฏใหเ้ หน็ ด้วยตาเสียอกี ทกั ษะวัฒนธรรมชาวเล 4

ในกรณขี องการสง่ เสรมิ การทอ่ งเทย่ี ว มกี ารนำ� เอา ความแปลกแตกต่างทางวัฒนธรรมมาใช้ประโยชน์ ในเชิงพาณิชย์ เช่น ชาวเลถูกขนานนามในเอกสาร ท่องเท่ียวว่า “ยิปซีทะเล” (sea gypsy) ให้มีนัยท่ี ดึงดดู ตาดึงดดู ใจ นอกจากน้ี การท่องเที่ยวยังเปน็ ดาบ สองคม และคมที่เป็นภัยคุกคามต่อวัฒนธรรมชุมชน คือการรุกคืบของการพัฒนาท่ีดินและโครงสร้าง พื้นฐานด้านการท่องเท่ียวซึ่งท�ำให้ท่ีดินมีราคาสูงข้ึน เปน็ ทต่ี อ้ งการมากขน้ึ และผทู้ มี่ โี อกาสมากกวา่ กม็ กั จะ ได้ประโยชน์มากกว่าเสมอ แม้ว่าจะเป็นผู้ท่ีอยู่อาศัย บรเิ วณเกาะและชายฝง่ั ทะเลมากอ่ นทจ่ี ะเกดิ การพฒั นา พ้ืนท่ี แต่ชาวเลส่วนหน่ึงกลับขาดความมั่นคงในท่ีอยู่ อาศัยและพ้ืนท่ีท�ำมาหากินถูกหวงห้าม จนในที่สุด อาจไม่เหลือผืนดิน ผืนทะเล ซึ่งเป็นท่ีที่อยู่อาศัยและ ท�ำมาหากินมาต้ังแต่สมัยบรรพบุรุษ จึงนับว่าชาวเล เป็นกลุ่มท่ีถูกละเลยและก�ำลังจะสูญสิ้นวิถีวัฒนธรรม ไปอยา่ งน่าเสียดาย ภาพแสดงคนรุ่นอาวุโสทม่ี ีความร้ทู างวัฒนธรรม แตก่ ำ� ลัง ออ่ นแรงลง กบั คนรนุ่ ใหม่ท่มี พี ลงั และการสรา้ งสรรค์ แตอ่ าจจะขาดความรแู้ ละไม่เขา้ ใจถงึ ความลกึ ซึ้งของ รากเหงา้ ทางวัฒนธรรม 5 ศนู ยม์ านุษยวทิ ยาสริ ินธร (องคก์ ารมหาชน)

ภาพแสดงวถิ ีของชาวมอแกนบนเรอื ฉ่าพันที่ใช้เป็นพาหนะในการเดนิ ทางใกลๆ้ กับเรือท่องเท่ียวขนาดใหญใ่ นยุคการพฒั นาแบบกระแสหลัก ทักษะวัฒนธรรมชาวเล 6

ในอกี ด้านหนึง่ นโยบายและปฏิบตั ิการพัฒนาท่ีผ่านมาทำ� ใหว้ ถิ ีวัฒนธรรมของชนพนื้ เมืองในหลายพนื้ ท่ี รวมทั้งชาวเลถูกท�ำลายไปท่ามกลางการพัฒนาแบบกระแสหลัก เพราะไม่ได้เปิดโอกาสให้มีทางเลือก ท่ีหลากหลายเพียงพอ นอกจากสภาวะความเสี่ยงท่ีมากับการอ้างกรรมสิทธ์ิท่ีดิน การจ้างงานที่เสี่ยงและ ผิดกฎหมาย อคติและมายาคติทางวัฒนธรรม ฯลฯ แล้ว ยังมีสภาวะความเส่ียงที่เกิดขึ้นจากภายใน ชาวเล ส่วนหนึ่งได้ถูกกลืนกลายและปรับเปลี่ยนภาษา วิถีชีวิต และระบบคิดไปเหมือนผู้คนกลุ่มใหญ่ในสังคม ผคู้ นกลมุ่ ใหญท่ ถ่ี กู กระแสเศรษฐกจิ แบบเสรนี ยิ มใหม่ ปจั เจกนยิ ม และวตั ถนุ ยิ มเขา้ ครอบงำ� สง่ิ เหลา่ นคี้ อื ภยั คกุ คาม ต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพราะความมั่งค่ังร่�ำรวย ความรวดเร็ว ความสะดวกสบายในยุคใหม่น้ัน ลว้ นกลายเปน็ เป้าหมายรว่ มเปา้ หมายเดยี วของสังคมกระแสหลกั ไปเสยี แล้ว ประเทศไทยเรากำ� ลงั จะสญู เสยี โอกาสทจี่ ะรกั ษาชมุ ชนทางวฒั นธรรมทมี่ วี ถิ พี อเพยี ง วถิ แี หง่ ความเนบิ ชา้ มีสติและให้ความส�ำคัญแก่เพ่ือนร่วมโลก วิถีแห่งความรู้พ้ืนบ้านที่ท�ำให้การพัฒนาเป็นไปในแนวทางของ การพึ่งตนเองเป็นหลัก ประเทศก�ำลังจะสูญเสียจิตวิญญาณของความเอื้อเฟื้อเก้ือกูลกัน และสูญเสียภาษา วัฒนธรรมท่ีมีอัตลักษณ์ ความงดงามในตัวของมันเอง “ทักษะทางวัฒนธรรม” จึงไม่ใช่แค่เพียงสมรรถนะ ท่ีจะส่อื สาร ปฏิสัมพันธ์ และท�ำธุรกจิ กบั ชาวตา่ งชาตไิ ด้อย่างมปี ระสิทธภิ าพในยุคแห่งการแขง่ ขนั ทางเศรษฐกจิ ท่ีดุเดือดน้ี แต่ “ทกั ษะทางวฒั นธรรม” คือความรู้ ความเขา้ ใจ การเห็นคุณค่าและความหมายของวัฒนธรรม ทแี่ ตกตา่ ง รวมทง้ั รเู้ ทา่ ทนั ถงึ สภาวะความเสยี่ งทจ่ี ะมผี ลตอ่ วฒั นธรรมเหลา่ นี้ และเปน็ สว่ นหนงึ่ ของความพยายาม ทจี่ ะขยายวงความรู้และปกป้องคุ้มครองวัฒนธรรมทเ่ี ปราะบาง 7 ศูนยม์ านษุ ยวิทยาสริ ินธร (องคก์ ารมหาชน)

ความเปน็ มาของการรา่ งเนอื้ หาหนงั สอื เพอ่ื การเรยี นรวู้ ฒั นธรรมชาวเล ความพยายามอย่างจริงจังที่จะร้ือฟื้นวัฒนธรรมของชุมชนชาวเลเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สึนามิ เมื่อ ผู้คนภายนอกเร่ิมเข้ามาให้ความสนใจและเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมชาวเล หลายชุมชนท่ีเริ่มฟื้นตัวจาก ผลกระทบของพิบัติภัยสึนามิก็เห็นความจ�ำเป็นในการท�ำงานด้านวัฒนธรรม ในแง่นโยบายระดับชาติ มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 2 มิถุนายน 2553 เร่ืองการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลก็ท�ำให้เกิดความร่วมมือในการท�ำงาน ระหว่างหลายภาคสว่ นมากข้ึนและการพัฒนาชมุ ชนมีมิติทางวัฒนธรรมท่ีชัดเจนขึ้น หนงั สือเล่มนี้เปน็ สว่ นหน่งึ ของความพยายามทั้งการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลและการส่งเสริมเพ่ิมพูน “ทักษะทางวัฒนธรรม” ท่ีเน้นเร่ือง ความสนใจใคร่รู้จกั เขา้ ใจ ยอมรับ และใหเ้ กียรติผคู้ นต่างภาษา วัฒนธรรม วิธคี ดิ ฯลฯ ปจั จบุ นั ในประเทศไทยมหี นงั สอื ทสี่ รา้ งความเขา้ ในเรอ่ื งความแตกตา่ งหลากหลายทางวฒั นธรรม-ชาตพิ นั ธ์ุ มากขน้ึ หนงั สอื เลม่ แรกในชดุ “ทกั ษะทางวฒั นธรรม” คอื ทกั ษะวฒั นธรรม : คมู่ อื วธิ กี ารขดั กนั ฉนั มติ รชายแดนใต้ เขียนโดย แพร ศิริศักดิ์ด�ำเกิง จัดพิมพ์โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ปี พ.ศ. 2552 (150 หน้า มีภาพลายเส้นประกอบ) เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เร่ืองวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวมลายูมุสลิม ชาวไทยพุทธ และชาวไทยจีน ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หนังสืออีกเล่มหน่ึงท่ีจัดท�ำขึ้นเพื่อส่งเสริม ความรู้ความเข้าใจในวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวมุสลิม คือ มะลิ เขียนโดย ชินวุฒิ ขาวส�ำลี จัดพิมพ์โดย สำ� นักพิมพอ์ าสารักษาดินแดน ปี พ.ศ. 2553 (104 หน้า มภี าพประกอบลายเส้น) เลา่ เรือ่ งผา่ นเด็กหญิงมะลิ ซึ่งได้ลงไปเที่ยวจังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงปิดภาคเรียนท�ำให้ได้รับรู้หลักศรัทธาและแนวการปฏิบัติ ของคนในพนื้ ที่ พรอ้ มมติ รภาพกบั เพอื่ นตา่ งวัย และสถานที่ใหม่ๆ ท่เี ธอไม่เคยไปมาก่อน นอกจากน้ียงั มหี นงั สอื เพื่อนเธอ เพอื่ นฉัน เขียนโดยสรุ นติ ์ิ ฟกั มีทอง พพิ ฒั น์ วทิ ยาปัญญานนท์ และสดุ ใจ พรหมเกดิ จดั พมิ พโ์ ดย สำ� นักพมิ พม์ ลู นิธิเดก็ ปี พ.ศ. 2552 (48 หนา้ มภี าพประกอบลายเส้น) หนงั สือพยายามสอดแทรกข้อมูลความรู้ เก่ียวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมในประเทศไทย โดยน�ำเสนอผ่านเกมเติมค�ำในช่องว่าง เกมต่อจุด เกมจับคู่ การประดิษฐ์ของเล่นพ้ืนบ้าน ฯลฯ ทกั ษะวฒั นธรรมชาวเล 8

ตวั อย่างหนังสอื จากต่างประเทศ ที่ใหข้ อ้ มลู ความรู้เรื่องเด็กและ เยาวชนจากชมุ ชนพ้ืนเมือง ชุมชนชาตพิ นั ธุ์ หรอื ผูค้ นต่างวัฒนธรรม 9 ศนู ยม์ านุษยวทิ ยาสริ นิ ธร (องคก์ ารมหาชน)

ภาพปกหนังสือ ทกั ษะวฒั นธรรม : ค่มู ือวธิ กี ารขดั กันฉันมิตรชายแดนใต,้ มะลิ และเพ่ือนเธอ เพือ่ นฉนั ทักษะวฒั นธรรมชาวเล 10

ภาพปกหนงั สือ คนขเ้ี กียจ, กำ� พรา้ ขนนก และ โอมือ่ โชเปอ อยดู่ มี ีสขุ 11 ศูนยม์ านษุ ยวทิ ยาสิรนิ ธร (องค์การมหาชน)

นอกจากนัน้ ก็มหี นังสอื ชดุ นิทานปกาเกอะญอ เรยี บเรยี งโดยนาโกะ๊ ลี เลา่ ความโดย พะตจี อนิ โอ่โดเชา จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์สวนเงินมีมา คือ ก�ำพร้าขนนก (ปี พ.ศ. 2547 จ�ำนวน 120 หน้า มีภาพวาด ลายเส้นประกอบ) และ คนข้ีเกียจ (ปี พ.ศ. 2548 จ�ำนวน 102 หน้า มีภาพวาดลายเส้นประกอบ) นิทาน กวา่ 10 เรอ่ื งทน่ี ำ� เสนอในหนงั สอื แสดงใหเ้ หน็ วา่ สง่ิ ทเี่ ลา่ สบื ตอ่ กนั มานนั้ เปน็ มากกวา่ เรอื่ งราวเพอื่ ความสนกุ สนาน แตส่ อดแทรกคำ� สอน ปรชั ญาชวี ติ และสะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ วถิ ชี าวปกาเกอะญอ สว่ นหนงั สอื โอมอื่ โชเปอ อยดู่ มี สี ขุ จดั ท�ำโดยนักเรยี นโรงเรียนร่งุ อรณุ และจดั พมิ พโ์ ดยบรษิ ัทแปลน พร้ินท์ตงิ้ ปี พ.ศ. 2557 (80 หนา้ มีภาพถา่ ย และภาพวาดลายเสน้ ประกอบ) เปน็ ผลการศกึ ษาโครงงาน “การศึกษาวถิ ีพึ่งพิงและภูมิปัญญาในการจดั การ ทรัพยากรป่าและน้�ำ” กรณีศึกษาชุมชนบ้านสบลาน อ�ำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ เรื่องวิถีชาวกะเหรี่ยงที่อยู่กับผืนป่าได้อย่างมีความสุขด้วยวิถีวัฒนธรรมท่ีเรียบง่ายแต่ความ “อยู่ดีมีสุข” น้ีก็ ก�ำลังเผชิญกับความเส่ียงดว้ ยส่ิงใหมๆ่ ทีเ่ รม่ิ จะเข้ามา คณะนักเรียนสรุปว่า “หากชุมชนที่ทรงภูมปิ ัญญาแหง่ นี้ ตอ้ งสญู หายไปจากแผ่นดินไทย นนั่ คงเป็นความสญู เสยี อันย่งิ ใหญข่ องเรา” ส�ำหรับหนังสือท่ีให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวเลนั้น มีผลงานจากโครงการน�ำร่องอันดามัน สถาบันวจิ ัยสงั คม จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั 3 เรอื่ ง คอื ชวี ติ พวกเราชาวอูรกั ลาโวย้ แหลมต๊กุ แก ปี พ.ศ. 2549 (88 หนา้ มีภาพถ่ายและภาพวาดลายเสน้ ประกอบ) ชีวติ พวกเราชาวมอแกนหมู่เกาะสรุ ินทร์ ปี พ.ศ. 2549 (29 หน้า มีภาพถ่ายและภาพวาดลายเส้นประกอบ) ชีวิตพวกเราชาวทะเล จัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2553 (72 หนา้ มีภาพวาดลายเส้นประกอบ) สว่ น เร่ืองเลา่ จากหมู่บ้านชาวเล เปน็ หนงั สือทมี่ าจากขอ้ มลู ทรี่ วบรวม โดยเด็กและเยาวชนจากหมู่บ้านชาวเลอูรักลาโว้ย ราไวย์ สะป�ำ และแหลมตุ๊กแก จังหวัดภูเก็ต เรียบเรียง ขอ้ มลู โดยศจี กองสุวรรณ์ จดั พิมพ์โดย มูลนิธทิ รพั ยากรเอเชยี ปี พ.ศ. 2550 (70 หน้า มีภาพถา่ ยและภาพวาด ลายเสน้ ประกอบ) นอกจากนน้ั ยงั มหี นงั สอื ร(ู้ จกั )เขา ร(ู้ จกั )เรา รจู้ กั มอแกน เรยี บเรยี งโดยอลงกต วรรณวชิ ยั กลุ จดั พิมพ์โดยศูนย์มานษุ ยวทิ ยาสิรนิ ธร (องค์การมหาชน) ปี พ.ศ. 2552 (16 หนา้ มภี าพวาดลายเสน้ ประกอบ) หนังสือที่กล่าวถึงข้างต้นน้ันเป็นตัวอย่างของการน�ำเสนอสาระท่ีสร้างความรู้ความเข้าใจทางวัฒนธรรม เล่มท่ีท่านถืออยู่นี้ก็เช่นกัน คณะผู้จัดท�ำได้เรียบเรียงข้อมูลจากงานวิจัยภาคสนาม จากการศึกษาเอกสารและ งานที่เกี่ยวข้องกับเร่ืองชาวเล จากการจัดวงเสวนาที่ไม่เป็นทางการในชุมชนเพ่ือจัดท�ำประเด็นและรูปแบบ ทกั ษะวฒั นธรรมชาวเล 12

ภาพปกหนงั สอื ชีวิตพวกเราชาวทะเล, เรอ่ื งเลา่ จากหมบู่ ้านชาวเล, รู้(จกั )เขา รู้(จกั )เรา รู้จักมอแกน, ชีวิตพวกเราชาวอรู ักลาโวย้ แหลมตุ๊กแก และชวี ิตพวกเราชาวมอแกนหมู่เกาะสุรนิ ทร์ 13 ศนู ยม์ านุษยวทิ ยาสิรนิ ธร (องค์การมหาชน)

ในการน�ำเสนอ ซึ่งได้ข้อสรุปว่าน่าจะท�ำเป็นหัวข้อค�ำถามที่มีค�ำตอบและข้ออธิบายที่จบภายในตอนส้ันๆ ไม่เกิน 4-5 หนา้ กระดาษ เพราะในปัจจุบนั ผู้คนส่วนใหญไ่ ม่นยิ มอ่านเนอ้ื หาบรรยายยาวๆ แตอ่ ยากไดค้ ำ� ตอบ เฉพาะโจทยห์ รอื ค�ำถามทอี่ ยากรู้ ซึ่งคณะผจู้ ดั ท�ำกไ็ ดพ้ ยายามต้งั ค�ำถามเพอ่ื ท่จี ะชวนผู้อ่านให้อยากรอู้ ยากอา่ น เพิ่มเตมิ ดว้ ย ส่วนเรื่องเน้ือหาสาระน้ัน เน่ืองจากชาวเลมีทั้งกลุ่มมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย จึงได้แบ่งเนื้อหา ของหนงั สอื ออกเปน็ 5 สว่ น รวมเปน็ “รอ้ ยเรือ่ งราวชาวเล” คอื 1) สว่ นเกร่นิ นำ� ใหร้ ู้จักภาพรวมชาวเลทง้ั สามกลมุ่ โดยผ่านหวั ข้อค�ำถาม 20 หวั ขอ้ 2) ส่วนทีเ่ ป็นเนือ้ หาเก่ยี วกับชาวมอแกน ผ่านหวั ข้อคำ� ถาม 25 หวั ขอ้ 3) ส่วนท่เี ปน็ เน้อื หาเก่ยี วกบั ชาวมอแกลน ผา่ นหวั ขอ้ ค�ำถาม 25 หัวข้อ 4) สว่ นที่เปน็ เนอ้ื หาเก่ยี วกับชาวอรู กั ลาโวย้ ผ่านหัวข้อค�ำถาม 25 หวั ขอ้ 5) ส่วนทเ่ี ป็นสถานการณป์ ัจจบุ นั ผ่านหัวขอ้ คำ� ถาม 5 หวั ข้อ ขอ้ มลู ทน่ี ำ� เสนอนน้ั เลอื กสรรใหม้ คี วามหลากหลายทงั้ เรอ่ื งประวตั คิ วามเปน็ มา ความเปน็ อยู่ การทำ� มาหากนิ ส่ิงแวดลอ้ ม-วฒั นธรรม หัตถกรรม นิทานตำ� นาน ศลิ ปะ-ดนตรี ความเชื่อ-พิธีกรรม ชาติพันธส์ุ มั พันธ์ รวมทั้ง เรื่องสภาพปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ จะเห็นได้ว่าหนังสือที่เสริมความเข้าใจเร่ืองวัฒนธรรมน้ันจะส่ือความหมาย ได้ดีย่ิงข้ึนด้วยรูปภาพ รูปวาดลายเส้น แผนที่ ฯลฯ หนังสือเล่มน้ีจึงได้สอดแทรกรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ คำ� ถาม และรูปวาดลายเสน้ จากฝมี ือเด็กๆ ชาวเลเอง เพ่อื เพิ่มความมีชวี ิตจติ ใจของเน้ือหา ผู้จัดท�ำหวังวา่ “รอ้ ยเรอื่ งราวชาวเล” น้ีจะเป็นเครอื่ งมือในการเรยี นรู้วถิ ีวัฒนธรรมของเพือ่ นร่วมสังคม ใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจและเหน็ คณุ คา่ เรอื่ งความแตกตา่ งหลากหลายของวฒั นธรรม สง่ เสรมิ ความสมั พนั ธอ์ นั ดรี ะหวา่ ง ผคู้ นในสงั คม ลดปญั หาอคตทิ างชาตพิ นั ธ์ุ ปอ้ งกนั ปญั หาความขดั แยง้ ทางวฒั นธรรมทอ่ี าจเกดิ ขน้ึ ในอนาคต รวมทง้ั เพ่ือส่งเสริมให้งานฟื้นฟวู ิถชี าวเลไดด้ �ำเนนิ ไปอย่างเข้าอกเขา้ ใจ โดยมุง่ เนน้ มองวิถีวฒั นธรรมที่เป็นองค์รวมของ ชีวิตชุมชน นอกจากนี้ เนื้อหาหนังสือยังน�ำไปพัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถ่ินที่ผสานวิถีวัฒนธรรม เพ่ือให้คน ทักษะวฒั นธรรมชาวเล 14

ในทอ้ งถน่ิ ไดเ้ รยี นรปู้ ระวตั คิ วามเปน็ มา ภมู ปิ ญั ญาและวถิ ชี วี ติ ดง้ั เดมิ อนั นำ� มาซง่ึ ความภาคภมู ใิ จในวฒั นธรรม และ ทำ� ใหค้ นในท้องถนิ่ เห็นถงึ คณุ คา่ ของวิถชี วี ิตและความสัมพันธ์ทางสังคมระหวา่ งผู้คนท่ีแตกต่างหลากหลายด้วย งานนี้จะส�ำเร็จลงไม่ได้ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากชุมชนชาวเล นอกจากจะเป็นผู้เผ่ือแผ่ข้อมูลทาง วฒั นธรรมแลว้ ยงั เป็นผ้สู อนใหค้ ณะผ้จู ัดท�ำได้เรยี นรู้ถึงความส�ำคญั ของการมีทักษะทางวัฒนธรรม การจดั พมิ พ์ ครง้ั นไ้ี ดร้ บั การสนบั สนนุ เปน็ อยา่ งดยี งิ่ จากศนู ยม์ านษุ ยวทิ ยาสริ นิ ธร (องคก์ ารมหาชน) และกระทรวงวฒั นธรรม คณะผู้จัดท�ำขอขอบคุณ ศาสตราจารย์ ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และ อาจารย์ ดร. เดชา ตั้งสีฟ้า ที่กรุณา ให้ค�ำแนะน�ำอันมีค่าส�ำหรับเค้าโครงแรกของเนื้อหาหนังสือ ส่วนงานฉบับร่างได้รับข้อคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะที่ละเอยี ดและมปี ระโยชน์มากจาก ดร. ปรติ ตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล และ ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ สวุ รรณา เกรยี งไกรเพช็ ร์ ซง่ึ ทำ� ใหค้ ณะผจู้ ดั ทำ� มโี อกาสปรบั ปรงุ เนอื้ หาใหม้ คี วามสมบรู ณม์ ากขนึ้ และตอบหวั ขอ้ ค�ำถามได้ครอบคลุมมากข้ึน หากมีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องประการใด คณะผู้จัดท�ำขอน้อมรับไว้และ ขออภยั ทกุ ทา่ น หากมขี อ้ เสนอแนะในการปรบั ปรงุ เนอื้ หาหนงั สอื หรอื ในการทำ� งานสง่ เสรมิ ทกั ษะทางวฒั นธรรม การฟืน้ ฟวู ถิ ีชวี ติ ชาวเล กรณุ าติดตอ่ กบั คณะผจู้ ดั ทำ� ได้ตามทอ่ี ย่ดู ้านลา่ งน้ี โดยคณะผจู้ ดั ทำ� นฤมล อรุโณทยั พลาเดช ณ ปอ้ มเพชร อุษา โคตรศรเี พชร กิ่งแกว้ บวั เพชร จรี ะวรรณ์ บรรเทาทุกข์ สถาบนั วจิ ัยสงั คม จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย ถนนพญาไท ปทุมวัน กรงุ เทพฯ 10330 โทรศพั ท์ 02-218-7366-7, 02-218-7376 โทรสาร 02-255-2353 15 ศนู ย์มานษุ ยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)





สารบัญ ค�ำน�ำ 2 ส่วนท่ี 1 : ชาวเลคอื ใคร 24 1. ใครคอื ชาวเล ชาวเลคือใคร? 27 2. ในเมอื งไทยมชี าวเลก่กี ลุ่ม? 29 3. มีชุมชนชาวเลอยู่ทไี่ หนบา้ ง? (แสดงด้วยตารางหมูบ่ ้าน ตำ� บล อำ� เภอ และจงั หวัด) 32 4. มชี มุ ชนชาวเลอยทู่ ไี่ หนบา้ ง? (แสดงดว้ ยแผนท่ี) 35 5. ช่อื “มอแกน” นั้นมที ีม่ าอย่างไร? 37 6. ชาว “มอแกลน” นั้นมที ม่ี าอย่างไร? 39 7. ชื่อ “อรู ักลาโวย้ ” นั้นมีท่มี าอย่างไร? 41 8. ชาวเลสามกลุ่มในเมืองไทยมีความแตกตา่ งกันอย่างไร? (1) 42 9. ชาวเลสามกลุ่มในเมืองไทยมคี วามแตกตา่ งกันอยา่ งไร? (2) 45 10. ชาวเลสามกลุ่มในเมืองไทยมคี วามแตกต่างกนั อย่างไร? (3) 47 11. ท�ำไมจงึ ไมค่ วรเรียก “ชาวเล” ว่า “ชาวน้�ำ”? 49 12. ชาวเลเก่งเรอ่ื งว่ายน�้ำ ดำ� นำ�้ เดนิ เรือ และเร่ืองตา่ งๆ เกย่ี วกับทะเลจรงิ หรอื ? 51 ทกั ษะวฒั นธรรมชาวเล 18

13. นอกจากชาวเลสามกล่มุ ในประเทศไทยแลว้ ยังมชี าวเลทไี่ หนอกี บ้าง? 53 14. ชาวเลถือสญั ชาติอะไร? 55 15. ทำ� ไมชาวเลจึงเดินทางโยกยา้ ยไปมา และทกุ วันนยี้ ังคงเดนิ ทางอยู่หรอื ไม่? 57 16. เกิดอะไรขน้ึ เมอื่ ชาวเลหยดุ การเดินทาง? 59 17. มคี นกลมุ่ อืน่ ในประเทศไทยที่เคยมีวิถเี ก็บหาแบบด้งั เดมิ แบบชาวเลหรือไม?่ 61 18. ชาวเลใชน้ ามสกลุ อะไรบา้ ง? 64 19. ชาวเลมีบคุ ลิกและนสิ ยั ใจคอเป็นอย่างไร? 67 20. ทำ� ไมชาวเลจงึ มภี าพลบและค�ำวา่ “ชาวเล” เป็นคำ� ทแี่ กมความรู้สกึ ดูแคลน? 69 ส่วนท่ี 2 : มอแกน 70 1. ตน้ ตระกูลชาวมอแกนเป็นใครมาจากไหน? 73 2. ชือ่ ของชาวมอแกนมีความหมายอย่างไรบ้าง? 75 3. ชาวมอแกนอยไู่ ด้อย่างไรในช่วงฤดฝู นท่ีมีคล่ืนลมแรง? 77 4. ในหนา้ แล้ง ชาวมอแกนอยู่อาศัยในเรอื เลยหรือ? 79 5. เรอื “ก่าบาง” ของชาวมอแกนเปน็ อย่างไร? 81 6. ชาวมอแกนใช้เวลานานเท่าใดในการสรา้ งเรือ? 83 7. ทำ� ไมเรือ “ก่าบาง” ดงั้ เดมิ ของชาวมอแกนถงึ คอ่ ยๆ หายไป? 85 8. บ้านแบบดง้ั เดมิ ของชาวมอแกนเป็นอย่างไร? 87 9. ชาวมอแกนมีความเชอ่ื เก่ียวกบั การสร้างบา้ นหรอื ไม่ อย่างไร? 89 10. เครือ่ งมอื ทำ� มาหากนิ ของชาวมอแกนมีอะไรบ้าง? 91 19 ศูนยม์ านุษยวทิ ยาสิรนิ ธร (องคก์ ารมหาชน)

11. อาหารหลักของชาวมอแกนคืออะไร? 93 12. ชาวมอแกนยงั ท�ำคลอดโดยหมอต�ำแยหรอื ไม่? 95 13. ทำ� ไมในหมู่บา้ นมอแกนมักจะมผี หู้ ญิงมากกวา่ ผ้ชู าย? 97 14. พิธีกรรมทสี่ ำ� คญั ท่สี ดุ ของชาวมอแกนคอื พธิ อี ะไร และเปน็ อย่างไร? 99 15. พธิ กี รรมของชาวมอแกนมคี วามสำ� คญั อย่างไร? 101 16. ดนตรีและเพลงของชาวมอแกนเปน็ อย่างไร? 103 17. เพลงของชาวมอแกนมีการรา่ ยรำ� ประกอบหรือไม่ อยา่ งไร? 105 18. ชาวมอแกนมีหัตถกรรมพื้นบา้ นอะไรบา้ ง? 107 19. ชาวมอแกนมีนทิ านทเ่ี ล่าขานกนั หรอื ไม่? 109 20. ชาวมอแกนมีนิทานเก่ียวกับสึนามทิ ่ที �ำใหท้ งั้ หมบู่ ้านรอดตายใชห่ รอื ไม่? 111 21. ประสบการณข์ องชาวมอแกนในการเผชิญหนา้ กบั สึนามิเป็นอย่างไรบ้าง? 113 22. ชาวมอแกนคาดคะเนลมฟ้าอากาศได้หรือไม่ อยา่ งไร? 115 23. ชาวมอแกนหาทิศทางในการเดนิ เรอื โดยการดดู าวหรอื ไม่? 117 24. พิธแี ต่งงานของชาวมอแกนเปน็ อยา่ งไร? 119 25. พิธศี พของชาวมอแกนเปน็ อยา่ งไร ใชว้ ธิ ฝี งั หรอื เผา? 121 สว่ นที่ 3 : มอแกลน 122 1. ชาวมอแกลนเปน็ คนละกลุม่ กับชาวมอแกนหรอื ? 125 2. ชาวมอแกลนมวี ิถชี ีวิตอยา่ งไร? 127 3. บา้ นของชาวมอแกลนมีลกั ษณะเปน็ อยา่ งไร? 129 ทักษะวฒั นธรรมชาวเล 20

4. ชาวมอแกลนมีเรอื หรอื ไม่ ถา้ มี เรือมลี ักษณะอย่างไร? 131 5. วถิ ีแบบชาวมอแกลนในสมยั กอ่ นเปน็ อยา่ งไร? 132 6. ชาวมอแกลนเคยปลกู ข้าวไรด่ ้วยหรอื ? 135 7. ชาวมอแกลนเป็นชุมชนเก็บหา-ลา่ สตั ว์หรอื ชุมชนกสกิ รรมกนั แน่? 137 8. ชาวมอแกลนปลูกขา้ วไร่ แลว้ มปี ระเพณีเกย่ี วกับขา้ วหรือไม?่ 139 9. ท่ีไหนคือด้านเหนอื สุดและดา้ นใตส้ ดุ ท่พี บชุมชนมอแกลน? 141 10. ชาวมอแกลนใชป้ ระโยชน์จากป่าชายเลนดว้ ยหรอื ? 143 11. เมือ่ กลายเปน็ ชาวบกไปแลว้ ชาวมอแกลนยงั มคี วามเชีย่ วชาญทางทะเลอกี หรือไม?่ 145 12. ชาวมอแกลนยังคงรกั ษาดนตรแี ละเพลงรอ้ งอยบู่ ้างหรือไม่? 147 13. ชาวมอแกลนมีเพลงตันหยงด้วยหรอื ? 149 14. ชาวมอแกลนมีความรเู้ กย่ี วกับสมนุ ไพรหรือการรกั ษาพยาบาลพน้ื บ้านหรอื ไม?่ 151 15. ทำ� ไมชาวมอแกลนจงึ มีการผสมกลมกลืนทางวฒั นธรรมมาก? 155 16. ชาวมอแกลนยงั เหลืออะไรท่ีเป็นอตั ลักษณส์ �ำคัญบ้าง? 157 17. พิธกี รรมของชาวมอแกลนเหมือนกบั ของชาวมอแกนหรอื ไม่? 159 18. ถว้ ยกระเบ้ืองเคลอื บทแี่ ขวนตามฝาบา้ นชาวมอแกลนคืออะไร? 161 19. ทำ� ไมชว่ งงานบญุ เดอื นสบิ จะเห็นชาวเลข้นึ มารบั บุญอยู่ตามวดั ต่างๆ ? 163 20. ชาวมอแกลนมพี ธิ ลี อยเรือด้วยหรอื ? 165 21. ชาวมอแกลนมีความเชือ่ เรอ่ื งวญิ ญาณบรรพบรุ ุษหรือไม?่ 167 22. ทำ� ไมเกาะพระทองจงึ มีความส�ำคัญในแงม่ ุมของชาติพนั ธุ์สมั พนั ธ์? 169 21 ศนู ยม์ านุษยวิทยาสริ ินธร (องคก์ ารมหาชน)

23. โรงเรียนเปน็ แหลง่ บ่มเพาะสังคมพหุวฒั นธรรมได้หรอื ไม?่ 171 24. ชาวมอแกลนยังมีนทิ านหรือต�ำนานเกา่ ๆ เหลืออยบู่ า้ งหรือไม?่ 173 25. พธิ ีแตง่ งานของชาวมอแกลนเป็นอยา่ งไร? 175 ส่วนที่ 4 : อรู กั ลาโวย้ 176 1. ภูมิหลังของชาวอรู กั ลาโวย้ เป็นอยา่ งไร? 179 2. “บากัด” คอื อะไร และมีความส�ำคญั ตอ่ วถิ ีเกบ็ หาของชาวอรู กั ลาโวย้ อยา่ งไร? 181 3. มีชอื่ เรยี กเกาะต่างๆ เปน็ ภาษาอูรักลาโว้ยหรอื ไม่? 183 4. ชาวอรู กั ลาโว้ยเลือกท่ตี ั้งหมบู่ า้ นอยา่ งไร? 186 5. ท�ำไมจงึ เรียกเกาะลนั ตาวา่ เป็นเมืองหลวงของชาวอรู ักลาโว้ย? 189 6. บ้านแบบดง้ั เดมิ ของชาวอูรักลาโว้ยเปน็ อย่างไร? 191 7. พธิ กี รรมประจ�ำปีทส่ี �ำคญั ของชาวอรู กั ลาโวย้ มอี ะไรบา้ ง? 193 8. ในพธิ ลี อยเรือมกี ารสื่อสารผา่ นสัญลักษณอ์ ะไรบา้ ง? 195 9. ชาวอูรักลาโวย้ เคยปลูกข้าวด้วยหรือ? 197 10. ชาวอูรักลาโวย้ ได้รับผลกระทบจากเหตกุ ารณส์ งครามโลกครัง้ ที่ 2 บา้ งหรือไม?่ 199 11. เรือปราฮขู องชาวอรู ักลาโว้ยเป็นอยา่ งไร? 201 12. ชาวอูรักลาโว้ยยังมีความร้เู รอ่ื งลมชนดิ ตา่ งๆ อยหู่ รือไม?่ 203 13. เคร่อื งมอื ท�ำมาหากนิ ของชาวอรู กั ลาโวย้ มอี ะไรบา้ ง? 205 14. ท�ำไมลอบดักปลาของชาวอรู กั ลาโว้ยจงึ มีขนาดใหญม่ าก? 207 15. ชาวอูรกั ลาโว้ยไดก้ นิ อาหารทะเลสดๆ ทุกวนั เลยหรือ? 208 ทกั ษะวฒั นธรรมชาวเล 22

16. ชาวอูรกั ลาโวย้ มีวถิ ีในการอนุรักษท์ รัพยากรทางทะเลหรอื ไม่? 211 17. ร�ำมะนาเป็นชื่อเรียกเครื่องดนตรี เรยี กเพลง หรอื เรยี กวงดนตรกี นั แน่? 214 18. ชาวอรู ักลาโวย้ มศี ิลปะการป้องกนั ตวั ทเี่ รียก “สีลตั ” ใช่ไหม? 217 19. ชาวอูรกั ลาโวย้ มกี ารรอ้ งและร�ำรองเงง็ ดว้ ยใช่ไหม? 219 20. ในสมัยกอ่ น การอยู่รว่ มกันระหว่างกลมุ่ ชาตพิ นั ธตุ์ ่างๆ เปน็ อยา่ งไรบา้ ง? 221 21. ในหลวงเคยเสด็จเยย่ี มชมุ ชนอรู กั ลาโว้ยไหม? 222 22. ชาวอูรกั ลาโว้ยนับถือศาสนาอะไร? 224 23. หากไมม่ โี ตะ๊ หมอแลว้ พิธีกรรมตา่ งๆ ของชาวอูรกั ลาโว้ยจะหายไปหรอื ไม?่ 227 24. พธิ ีแต่งงานของชาวอูรักลาโว้ยเปน็ อย่างไร? 228 25. พธิ ีศพของชาวอูรักลาโวย้ เปน็ อยา่ งไร? 232 ส่วนที่ 5 : ชาวเลในกระแสคล่นื แหง่ การเปล่ยี นแปลง 234 1. ชาวเลเผชิญหนา้ กบั การเปล่ยี นแปลงอะไรบ้างในปัจจบุ นั ? 238 2. ทำ� ไมชาวเลจงึ ไมม่ กี รรมสิทธิใ์ นท่ีดินท้ังทอ่ี ยู่รมิ ทะเลมาเน่นิ นาน? (1) 241 3. ทำ� ไมชาวเลจงึ ไม่มกี รรมสทิ ธ์ใิ นท่ีดินทง้ั ท่อี ยรู่ ิมทะเลมาเนิน่ นาน? (2) 244 4. รฐั มีนโยบายส่งเสรมิ วถิ ชี ีวิตท่ีเป็นเอกลักษณข์ องชาวเลบา้ งไหม? 247 5. เขตวฒั นธรรมพิเศษคอื อะไร และเกี่ยวกบั ชาวเลอย่างไร? 251 เอกสารอ้างอิง 252 23 ศูนย์มานุษยวทิ ยาสิรินธร (องคก์ ารมหาชน)

ชาวเลคอื ใคร



วถิ ีชีวิตของมอแกน -- ชาวมอแกนใช้ฉมวก หรือ “ช้มู ” แทงปลากระบอกบริเวณแนวน�ำ้ ต้นื

1. ใครคือชาวเล ชาวเลคือใคร? ค�ำวา่ ชาวเล เป็นค�ำไทยปักษใ์ ตท้ ีย่ ่นย่อมาจาก ชาวทะเล ค�ำวา่ ชาวเล หากใช้ในความหมายทวั่ ๆ ไปก็ หมายถึง ผู้คนที่อยู่อาศัยแถบชายฝั่งทะเล หรือตามเกาะน้อยใหญ่และวิถีชีวิตผูกพันกับทะเล หากใช้ใน ความหมายเฉพาะ ค�ำว่า ชาวเล หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์หรือชนพ้ืนเมืองท่ีมีภาษาและวัฒนธรรมเฉพาะ ที่มจี ดุ เกาะเกีย่ วกับทะเลและวถิ ีชวี ติ ชายฝัง่ ชาวเลเคยมีวิถีชีวิตเร่ร่อน หรือกึ่งเร่ร่อน ใช้เวลาส่วนใหญ่ในเรือท่ีบ่อยครั้งเป็นทั้งบ้านและพาหนะ เดินทางที่น�ำไปสู่เกาะใหญ่น้อยอันเขียวชอุ่มและอุดมสมบูรณ์ในแถบทะเลอันดามัน วิถีชีวิตอันน่าท่ึงน้ี ท�ำให้ชาวตะวันตกท่ีได้พบเห็นชาวเล ขนานนามให้ว่า Sea gypsy หรือยิปซีทะเล เน่ืองจากมีวิถีชีวิต คลา้ ยกบั กลมุ่ ยปิ ซใี นยโุ รปทเี่ ดนิ ทางอพยพโยกยา้ ยไปเรอื่ ยๆ เพราะฉะนน้ั ชอื่ Sea gypsy จงึ ไมจ่ ำ� กดั อยแู่ ตเ่ ฉพาะ ชาวเล 3 กลุ่มในประเทศไทยเท่าน้ัน เพราะอันท่ีจริงแล้ว ยังมีชนเผ่าเร่ร่อนทางทะเลอยู่หลายกลุ่มกระจาย อย่ใู นหลายประเทศในเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันน้ีชาวเลส่วนใหญ่ต้ังถิ่นฐานอยู่บริเวณชายฝั่งหรือบนเกาะ ส่วนใหญ่ยังยึดอาชีพท่ีเก่ียวกับทะเล เชน่ ด�ำน้ำ� หาหอย ก้งุ ปู ตกปลา ทำ� ลอบหรอื ลงอวนดกั ปลา บางสว่ นหนั มาท�ำงานรับจ้าง เช่น ขบั เรือท่องเท่ียว ในขณะท่ีบางส่วนหันมาประกอบอาชีพอ่ืนท่ีไม่เก่ียวข้องกับทะเล อาทิ รับจ้างท�ำสวน เป็นแรงงานก่อสร้าง ท�ำงานในโรงงาน เป็นลกู จา้ งตามรา้ นคา้ หรือรสี อรท์ ฯลฯ 27 ชาวเลโดยรวม

หม่บู ้านชาวมอแกนท่เี กาะสรุ ินทร์ จังหวดั พงั งา

2. ในเมืองไทยมีชาวเลกี่กลุ่ม? ในปจั จบุ นั สามารถแบ่งชาวเลทีเ่ ปน็ กลุ่มชาติพนั ธุใ์ นประเทศไทยออกเป็นสามกลุม่ ใหญ่ๆ คอื อูรกั ลาโว้ย (Urak Lawoi) มอแกลน (Moklen) และมอแกน (Moken) ชาวเลทุกกลุ่มต้ังบ้านเรือนอยู่ตามชายฝั่งทะเล หรอื เกาะต่างๆ หรอื ในบรเิ วณทไ่ี ม่ห่างจากฝัง่ ทะเลมากนัก ตง้ั แตจ่ ังหวดั ระนอง พงั งา ภูเก็ต กระบ่ี และสตลู คาดว่ามปี ระชากรชาวเลท้ังสามกลุม่ ในประเทศไทยราว 12,000 คน เราจะพบชุมชนชาวอูรักลาโว้ยได้ที่บ้านสะป�ำ บ้านแหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่ และหาดราไวย์ ในจังหวัด ภเู กต็ บ้านโต๊ะบาหลิว บ้านในไร่ บา้ นคลองดาว และบ้านสงั กะอ้บู นเกาะลันตาใหญ่ บา้ นแหลมตงบนเกาะพพี ี และชมุ ชนบนเกาะจ�ำในจังหวดั กระบี่ ชุมชนบนเกาะบุโหลน เกาะอาดังและเกาะหลเี ป๊ะในจังหวัดสตูล ปัจจุบนั คาดว่ามีประชากรอูรักลาโว้ยอาศัยอยู่ในประเทศไทยราว 7,000 คน นับว่าเป็นชาวเลที่มีประชากรมากที่สุด ในบรรดาสามกลุ่ม สว่ นชมุ ชนชาวมอแกลนนนั้ มจี ำ� นวนหมบู่ า้ นมากทส่ี ดุ คอื กวา่ 20 แหง่ เชน่ บา้ นทงุ่ ดาบและบา้ นทา่ แปะ๊ โยย้ และอีกหลายหมู่บ้านในอ�ำเภอคุระบุรี รวมถึงบ้านทับตะวัน ล�ำแก่น ทุ่งหว้า น�้ำเค็ม บางขยะ ขนิม หินลาด ทบั ปลา เกาะนก และบา้ นทา่ ใหญ่ ในอำ� เภอทา้ ยเหมอื ง จังหวดั พังงา นอกจากนัน้ ยังมชี ุมชน ในอ�ำเภอตะก่วั ปา่ บ้านท่าฉัตรไชยและบ้านเหนือ ในจังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันคาดว่ามีประชากรมอแกลนอาศัยอยู่ในประเทศไทย ราว 4,000 คน ชาวมอแกนมีประชากรน้อยท่ีสุดในบรรดาชาวเลสามกลมุ่ มชี ุมชนอยู่ในสามจงั หวดั คอื ทจ่ี ังหวัดระนอง มีชุมชนอยู่ท่ีเกาะเหลา เกาะพยาม และเกาะช้าง ส่วนจังหวัดพังงา มีชุมชนที่หมู่เกาะสุรินทร์ และมีบางส่วน อยู่ท่ีบ้านบางแบก บ้านบางสัก ส่วนจังหวัดภูเก็ตมีชุมชนท่ีหาดราไวย์ ปัจจุบันคาดว่ามีประชากรมอแกน อาศยั อยู่ในประเทศไทยประมาณ 1,000 คน 29 ชาวเลโดยรวม

หมบู่ า้ นชาวมอแกลนทบ่ี า้ นบางสกั จงั หวดั พงั งา ทกั ษะวัฒนธรรมชาวเล 30

หม่บู ้านชาวอูรกั ลาโว้ยท่โี ตะ๊ บาหลวิ บนเกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่ 31 ชาวเลโดยรวม

3. มีชุมชนชาวเลอยู่ที่ไหนบ้าง? (แสดงด้วยตารางหมู่บ้าน ต�ำบล อ�ำเภอ และจังหวัด) จงั หวัด อ�ำเภอ ตำ� บล หมบู่ า้ น บา้ นเกาะเหลา หมูท่ ี่ 6 ปากนำ้� บา้ นเกาะช้าง หมู่ท่ี 2 บ้านเกาะพยาม หมูท่ ่ี 1 ระนอง เมอื ง เกาะพยาม เกาะสุรินทร์ หมทู่ ่ี 4 บา้ นท่าแปะ๊ โยย้ หมทู่ ่ี 2 เกาะพระทอง บ้านเทพประทาน บ้านชยั พฒั นา-กาชาดไทย หม่ทู ่ี 6 ครุ ะบรุ ี แม่นางขาว บ้านเทพรตั น์ หมทู่ ี่ 6 บา้ นกลาง หมูท่ ่ี 4 พังงา บางวัน บา้ นนำ�้ เค็ม (ซอยสพุ รรณ ซอยโกผัด ซอยองคก์ าร) (หมทู่ ี่ 7) บางม่วง บ้านทบั ตะวนั (บางสกั ) หม่ทู ่ี 7 ตะกัว่ ป่า ชุมชนบนไร่ หมทู่ ่ี 7 บ้านบางขยะ (บางขยะ แหลมปะการงั ปากวีป) คกึ คัก บา้ นทุ่งหว้า หมู่ท่ี 3, 5, 7 ทกั ษะวฒั นธรรมชาวเล 32

จงั หวัด อำ� เภอ ตำ� บล หมู่บา้ น บา้ นล�ำแก่น หมทู่ ่ี 3 ล�ำแกน่ บ้านคลองญวนใต้ บา้ นทบั ปลา พังงา ทา้ ยเหมือง ทงุ่ มะพรา้ ว บ้านเกาะนก หมู่ที่ 2 บา้ นขนิม หมู่ท่ี 7 ทา้ ยเหมอื ง บ้านหินลาด (ทา่ ดนิ แดง) หมู่ที่ 6 บา้ นลำ� ปี ตะก่วั ทุ่ง โคกกลอย บา้ นทา่ ใหญ่ (หรือบา้ นปากแหวง่ ) บ้านแหลมหลา (หรือบ้านทา่ ฉัตรไชย) หมูท่ ี่ 5 ถลาง ไม้ขาว บา้ นเหนือ (หรอื บา้ นหนิ ลกู เดยี ว) หมู่ที่ 5 บา้ นสะป�ำ (หรอื บ้านป่ามะพร้าว) ภูเก็ต เกาะแกว้ บ้านแหลมตกุ๊ แก เกาะสเิ หร่ เมอื ง รษั ฎา บ้านหาดราไวย์ หมทู่ ่ี 2 ราไวย์ 33 ชาวเลโดยรวม

จังหวดั อำ� เภอ ต�ำบล หมูบ่ ้าน อ่าวนาง แหลมตง บา้ นแหลมตง (เกาะพีพ)ี หมทู่ ี่ 8 ชมุ ชนปา่ ชายเลนโต๊ะบูหรง บ้านเกาะจ�ำ หมู่ท่ี 3 เหนอื คลอง ศรบี อยา ชุมชนบา้ นกลาโหม หมู่ท่ี 3 ชมุ ชนมตู ู หมทู่ ่ี 3 กระบี่ ชมุ ชนบา้ นกลาง หมทู่ ี่ 3 บ้านในไร่ หมู่ที่ 1 ศาลาด่าน บ้านโต๊ะบาหลวิ หมทู่ ่ี 1 เกาะลันตา บา้ นคลองดาว เกาะลนั ตาใหญ่ บา้ นหัวแหลมกลาง หมทู่ ี่ 1 บา้ นสังกะอู้ หมู่ท่ี 7 ละงู ปากนำ�้ เกาะบโุ หลนดอนและเกาะบุโหลนเล หมูท่ ี่ 3 สตลู เมอื ง เกาะสาหร่าย เกาะอาดงั เกาะหลีเป๊ะ หมู่ท่ี 7 ทกั ษะวัฒนธรรมชาวเล 34

4. มชี มุ ชนชาวเลอยทู่ ไ่ี หนบา้ ง? (แสดงด้วยแผนท่ี) 35 ชาวเลโดยรวม

เรอื แจว หรอื “ฉ่าพัน” เปน็ เรือแจวขนาดเลก็ ท่นี ิยมใชเ้ ดินทางริมชายฝั่ง โดยเฉพาะในฤดฝู นทก่ี ารเดนิ ทางออกทะเลค่อนข้างยากลำ� บาก ทักษะวฒั นธรรมชาวเล 36

5. ช่ือ “มอแกน” นั้นมีท่ีมาอย่างไร? สันนิษฐานกันว่าช่ือ “มอแกน” เป็นชื่อท่ีสืบสาวไปถึงต�ำนานเก่าแก่1 ชาวมอแกนมีต�ำนานหรือ นิทานที่เล่าสืบกันมาถึงต้นก�ำเนิดของค�ำว่ามอแกน ว่ามาจากค�ำว่า ละมอ (ในภาษามอแกน แปลว่า จมน้�ำ) และ แกน ซึ่งเป็นชื่อของน้องสาวของ ราชินีซิเปียน ผู้ครองแว่นแคว้นหนึ่งริมฝั่งทะเล ต�ำนานเร่ืองน้ีกล่าวถึง กามัน กะลาสีเรือ ผ้มู าจากดนิ แดนอนั หา่ งไกล ผนู้ �ำขา้ วสารและไฟมาส่วู ิถีชีวติ ของมอแกน ต่อมา ราชินีซเิ ปยี น และกามันรักกันจึงตัดสินใจแต่งงาน แต่ทว่าน้องสาวของราชินีที่ชื่อ แกน กลับมาแย่ง กามัน คนรักของ พ่ีสาวไป ราชินีซิเปียนจึงร่ายค�ำสาปให้คนท้ังสองและพรรคพวกมอแกนต้องมีชีวิตเร่ร่อนอยู่ในทะเลตลอดไป จึงเป็นที่มาของชอื่ (ละ)มอแกน ต�ำนานเรื่องน้ีชี้ให้เห็นว่าชาวมอแกนอาจเคยมีอาณาจักรหรือเคยตั้งถิ่นฐานถาวรบริเวณชายฝั่งทะเล อันท่ีจริงชนเผ่าเร่ร่อนหลายกลุ่มมีวิถีชีวิตท่ีสลับเปล่ียนไปมาระหว่างการต้ังถ่ินฐานกับการอพยพโยกย้าย อันเนื่องมาจากเหตุปัจจัยนานัปการ อาทิ แหล่งทรัพยากรมีสภาพเปลี่ยนไป เกิดโรคระบาด หรือเกิดภัยพิบัติ เปน็ ต้น หากเราลองคิดทบทวนดูก็จะพบว่า มุมมองที่ให้ภาพว่าชนเผ่าเร่ร่อนคือสังคมระดับล่างของวิวัฒนาการ ซึ่งจะพัฒนาต่อไปเป็นสังคมลงหลักปักฐานที่เจริญก้าวหน้านั้นเป็นมุมมองที่เรียกว่า วิวัฒนาการนิยม (Evolutionism) ซ่ึงค่อนข้างจะมองการเปล่ียนแปลงสังคมแบบเป็นเส้นตรง แต่ในปัจจุบัน เร่ิมมีมุมมองที่ ให้ภาพว่าสังคมสามารถเปล่ียนไปมาระหว่างสังคมเรร่ อ่ นและสงั คมลงหลกั ปักฐานอย่างมพี ลวัตได้เชน่ กัน 1. โปรดดูต�ำนานน้ีในหนังสือ “Rings of Coral, Moken Folktales” เขียนโดย Jacques Ivanoff, Bangkok: White Lotus Co. Ltd. (2001) 37 ชาวเลโดยรวม

ชาวมอแกลน บา้ นเกาะนกในจงั หวัดพงั งา ทกั ษะวฒั นธรรมชาวเล 38

6. ชาว “มอแกลน” น้ันมีท่ีมาอย่างไร? ต�ำนานความเป็นมาของชาวมอแกลนที่เล่าสืบทอดกันมานั้นมีหลายส�ำนวน แต่สรุปได้โดยสังเขปว่า บรรพบุรุษส�ำคัญคือพ่อตาสามพันท่ีเป็นทหารผู้แกล้วกล้า (บางส�ำนวนก็ว่าเป็นกษัตริย์) ในราชส�ำนักเก่าแก่ ท่ีปกครองอาณาบริเวณท่ีเป็นจังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน พ่อตาสามพันมีพี่น้องผู้ชายสองคน ท้ังสาม ถูกผู้มีอ�ำนาจในแผ่นดินออกอุบายให้เดินทางผจญภัยไปในที่ต่างๆ เพื่อหาสิ่งของส�ำคัญหรือสมบัติล้�ำค่า แต่ก็แคล้วคลาดจากอันตรายกลับมาได้ทุกคร้ัง จนกระท่ังครั้งสุดท้ายต้องเดินทางโดยเรือไปยังแดนไกล ท้ังเรือและไพร่พลต้องมนต์คาถาบ้าง ถูกพายุพัดจนกลายเป็นเหย่ือฉลามบ้าง แต่ด้วยความกล้าหาญอดทน สามพี่นอ้ งกร็ อดชวี ติ กลับมาโดยมปี ลากระเบนยักษศ์ ักดิ์สทิ ธิพ์ านง่ั บนหลงั มาถึงฝง่ั บรเิ วณทข่ี ึน้ ฝง่ั ก็คอื ชายหาด บา้ นบางสกั ในจังหวัดพังงา และพ่อตาสามพันไดก้ ลายเปน็ บรรพบุรุษของชาวมอแกลนในปัจจุบนั 2 ท่ชี ายหาด บางสักมีศาลาไม้ต้ังหันหลังให้ชายหาด ศาลาน้ันคือศาลพ่อตาสามพันท่ีชาวมอแกลนและคนในท้องถ่ินให้ ความเคารพนบั ถอื และชมุ ชนมอแกลนบางสกั มกี ารประกอบพธิ สี กั การะบชู าศาลเปน็ ประจำ� ในเดอื นสขี่ องทกุ ปี 2. โปรดอา่ นเพิม่ เตมิ ใน “คลน่ื แหง่ ความย่งุ ยากบนเกาะพระทอง” โดยโอลิเวียร์ แฟรร์ ารีและคณะ, อมรินทรพ์ ร้นิ ตงิ้ (2549) 39 ชาวเลโดยรวม

ชาวอรู กั ลาโว้ยชว่ ยกนั ตกแต่งเรอื ปือลาจก้ั หรือเรือลอยเคราะห์ทใี่ ชล้ อยในพธิ ีสำ� คัญประจ�ำปี

7. ช่ือ “อูรักลาโว้ย” นั้นมีที่มาอย่างไร? ค�ำวา่ อรู ักลาโว้ย มีความหมายวา่ คนทะเล เพราะคำ� ว่า อรู ัก หมายถงึ คน ส่วนค�ำวา่ ลาโวย้ หมายถงึ ทะเล สันนิษฐานกันว่าในอดีตชาวอูรักลาโว้ยเป็นชาวเลที่เดินทางไปมาและด�ำรงชีพอยู่แถบด้านตะวันตก ของแหลมมลายู โดยการเดนิ ทางนนั้ อาศยั เรอื “ปราฮ”ู เปน็ พาหนะ และใช้ “กาจยกั ” หรอื แฝกสำ� หรบั มงุ หลงั คา ท�ำเพิงพกั ช่วั คราวตามชายหาด ตอ่ มาจงึ เรมิ่ ตง้ั ถน่ิ ฐานเป็นหมู่บ้านทีถ่ าวรมากขนึ้ ตามเกาะน้อยใหญ่และชายฝ่งั ทะเลอนั ดามนั ชาวอรู ักลาโว้ยนา่ จะเป็นผูค้ นท่ีร่วมเชื้อสายกับชาว “โอรัง ลาอตุ ” หรือ Orang Laut ชาวทะเลทีเ่ คย เปน็ ผรู้ ว่ มกอ่ รา่ งสรา้ งความยงิ่ ใหญใ่ หแ้ กอ่ าณาจกั รมะละกาในสมยั กษตั รยิ ป์ รเมศวร (พ.ศ. 1887-1957) ตำ� นาน ของชาวอูรกั ลาโว้ยแสดงถึงความผูกพนั กับเทือกเขาฆนู งุ ฌไึ รในรัฐเคดะห์ (ไทรบรุ )ี ซง่ึ เชือ่ กนั ว่าเรอื ลอยเคราะห์ (ปอื ลาจั้ก) ที่ท�ำพิธกี นั ปีละสองครง้ั นนั้ จะนำ� ขา้ วสารอาหารแห้งกลับไปยังดนิ แดนฆูนงุ ฌึไรน้ี 41 ชาวเลโดยรวม

8. ชาวเลสามกลุ่มในเมืองไทยมีความแตกต่างกันอย่างไร? (1) ภาพซ้าย – หญิงชาวมอแกนทเ่ี กาะสุรนิ ทร์ จังหวดั พงั งา ภาพกลาง – หญิงชาวมอแกลนท่ีบ้านล�ำปี จงั หวดั พังงา ภาพขวา – หญงิ ชาวอรู กั ลาโว้ยท่เี กาะหลีเป๊ะ จงั หวดั สตลู ชาวเลในเมืองไทยมี 3 กลุ่ม คือมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ชาวเลทั้งสามกลุ่มมีรายละเอียด ของภาษา พิธีกรรมและเรือแบบดั้งเดิมท่ีแตกต่างกัน นอกจากนั้นยังพบว่า ชาวเลแต่ละกลุ่มมีช่ือเฉพาะท่ี ใช้เรียกชาวเลกลุ่มอ่ืน ยกตัวอย่างเช่น ชาวมอแกนเรียกตนเองว่า มอแกน ในขณะที่เรียกชาวมอแกลนว่า ออลัง ตามบั คำ� วา่ ออลงั 3 แปลวา่ คน สว่ น ตามบั สนั นิษฐานว่าเป็นชอ่ื เรยี กสถานทีห่ รอื ค�ำบรรยายลักษณะ ภูมปิ ระเทศ 3. รากศัพทเ์ ดยี วกับ orang ภาษามลายแู ละอนิ โดนีเซยี ท่แี ปลวา่ “คน” ทักษะวัฒนธรรมชาวเล 42

ในขณะเดียวกัน ชาวมอแกนเรียกชาวอูรักลาโว้ยว่า ออลัง ลอนตา ซึ่งค�ำว่า ลอนตา สันนิษฐานว่า มาจากค�ำว่า “ลันตา” ซ่ึงเป็นเกาะท่ีมีชาวอูรักลาโว้ยอาศัยอยู่เป็นชุมชนใหญ่ ค�ำเรียกชื่อชาวเลกลุ่มอื่นๆ ท่แี ตกต่างไปจากกลุ่มของตนเหล่านสี้ ะทอ้ นใหเ้ ห็นถงึ ทงั้ การตดิ ต่อสัมพันธ์และความเขา้ ใจคนกลุม่ ต่างๆ ชาวมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ยเรียกคนไทยว่า แชม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าชาวเลทั้งสามกลุ่ม มีความคุ้นเคยและติดต่อพบปะกับคนเชื้อสายไทยท่ีอยู่บริเวณนี้มาต้ังแต่ยังเรียกดินแดนและผู้คนบริเวณน้ีว่า “เสียม” หรือ “สยาม” ตารางแสดงช่ือที่ชาวเลแต่ละกลุม่ เรยี กกลมุ่ อนื่ อ้างถึง มอแกน มอแกลน อรู ักลาโว้ย อ้างโดย มอแกนตามบั ออลังลอนตา มอแกน มอแกน ออลงั ตามบั บะซิง ออลังลาโวย้ มอแกลน มาซงิ มอแกลน มอแกนปูเลา หรอื มอแกนปอลาว ชาวบก ลมู อฮลาโวย้ อูรักลาโวย้ ชาวเกาะ สิงบก อูรักลาโวย้ มอแกนเล มอแกนบก มอแกน ลาโว้ย มอแกนเกาะ สิง 43 ชาวเลโดยรวม

ภาพบน – เรอื ก่าบางมอแกนท่ีเกาะสรุ นิ ทร์ จงั หวดั พังงา ภาพกลาง – เรือมาดของชาวมอแกลนท่บี า้ นหินลาด จงั หวัดพงั งา ภาพลา่ ง – เรือปราฮขู องชาวอูรักลาโว้ยทเ่ี กาะลนั ตา จังหวัดกระบี่ ทกั ษะวัฒนธรรมชาวเล 44

9. ชาวเลสามกลุ่มในเมืองไทยมีความแตกต่างกันอย่างไร? (2) ชาวเลทงั้ สามกลุม่ คอื อูรกั ลาโวย้ มอแกลน และมอแกน แมว้ ่าจะมภี าษาและวฒั นธรรมคล้ายคลงึ กัน แต่หากพิจารณาในรายละเอียดแล้ว ก็จะพบความแตกต่างท่ีท�ำให้คนภายนอกสังเกตได้หลายประการ อาทิ ภาษา แม้จะจัดอยู่ในตระกูลออสโตรนีเชียนเช่นเดียวกัน แต่กลุ่มอูรักลาโว้ยมีภาษาท่ีแตกต่างกับกลุ่มอ่ืน คอ่ นข้างมาก ในขณะท่ีภาษาของมอแกนและมอแกลนมสี ว่ นคล้ายคลึงกัน มคี ำ� ศัพทท์ ่ีเหมอื นกนั เปน็ สว่ นใหญ่ และสามารถสื่อสารกันพอรเู้ ร่อื ง ตารางแสดงค�ำนับเลขภาษามอแกน-มอแกลน และภาษาอูรกั ลาโวย้ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 มอแกน- ชะ ถวั ะ ตะล่อย ป้าด แลม้า นม้ั ลยู ู้ก วาเล้ย แชว้าย จบั โป้ มอแกลน อรู กั ลาโว้ย ซา ดัว ตีก้า ไป้ ลมิ ่า น่มั ตยู ้กู ลาป๊ดั เซมลิ ดั ซาป่ลู ู่ รูปแบบเรือด้ังเดิมของมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ยก็แตกต่างกัน แม้ว่าจะมีลักษณะเป็นเรือไม้ มีแจว และมใี บเรือเหมอื นกัน แต่ในความทรงจ�ำของคนเฒา่ คนแก่แลว้ กลุ่มมอแกนเป็นเพียงกลมุ่ เดียวเท่าน้ัน ท่ีใช้เรือง่าม หรือเรือไม้ระก�ำท่ีมีรอยหยักเว้าท่ีหัวเรือและท้ายเรือ ส่วนเรือดั้งเดิมของชาวอูรักลาโว้ยเป็นเรือ ต่อด้วยไม้กระดาน ใช้แจวและใบเรือ และเรือมอแกลนนั้นเป็นเรือขุดเสริมกราบด้วยไม้กระดาน ใช้แจว และบางครง้ั ติดใบเรือด้วยเช่นกัน ในปจั จุบัน ชาวเลกลมุ่ อรู ักลาโว้ยและมอแกลนตัง้ ถนิ่ ฐานอย่างถาวร หนั มาประกอบอาชีพประมงชายฝง่ั รับจ้างท�ำสวน และอาชีพอื่นๆ ซึมซับวัฒนธรรมไทยมากข้ึน บ้างก็รับค�ำเรียกขานกลุ่มตนเองว่า ไทยใหม่ สว่ นกลมุ่ มอแกนคอ่ นขา้ งรกั ษาอตั ลกั ษณข์ องวฒั นธรรมไวไ้ ดม้ ากกวา่ กลมุ่ อนื่ แตก่ ม็ คี วามเปลย่ี นแปลงเพราะรบั อทิ ธพิ ลจากภายนอกเชน่ กนั 45 ชาวเลโดยรวม

พิธกี รรมสำ� คญั ของชาวเลสามกลุ่มในเมอื งไทย ภาพซ้าย – คอื พธิ เี หนเ่ อน็ หล่อโบง (มอแกน) ภาพกลาง – คือพธิ ีไหวต้ ายาย (มอแกลน) ภาพขวา – คือพธิ ลี อยเรอื (อูรักลาโวย้ ) ทักษะวฒั นธรรมชาวเล 46

10. ชาวเลสามกลุ่มในเมืองไทยมีความแตกต่างกันอย่างไร? (3) พิธีกรรมส�ำคัญของชาวเลทั้งสามกลุ่มก็มีความแตกต่างกัน ชาวมอแกนเน้นที่การฉลองวิญญาณ ในธรรมชาติและวิญญาณบรรพบุรุษ มีสัญลักษณ์เป็นเสาแกะสลักเรียกว่า เสาหล่อโบง และบางคร้ังก็มีเรือ ลอยเคราะห์ท่ีเรียกว่า ก่าบางชวาย ส่วนชาวมอแกลนเน้นการบนบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธ์ิและวิญญาณบรรพบุรุษ โดยมสี ญั ลกั ษณ์เปน็ ศาลขนาดย่อม ทท่ี างใตเ้ รียกวา่ หลาทวด รายละเอยี ดของพธิ กี รรมของมอแกลนแตกตา่ ง กันไปบ้างในแต่ละชุมชน พิธีกรรมของอูรักลาโว้ยน้ันเป็นท่ีรู้จักกันมากกว่าของชาวเลกลุ่มอื่นๆ กล่าวคือ เป็นพธิ ีลอยเรือ ปือลาจั้ก ท่ีชาวบา้ นจะน�ำเอาขา้ ว กับขา้ ว หมากพลู รูปสลกั ซ่ึงเปน็ ตวั แทนของคนในครอบครัว ขา้ วตอก และมีการตดั เล็บตัดผมใส่ไปในเรือเพอ่ื เปน็ การลอยเคราะหร์ า้ ยออกไปจากชุมชน ถึงแม้ว่ารายละเอียดพิธีกรรมของชาวเลท้ังสามกลุ่มจะแตกต่างกัน แต่ทว่าพิธีกรรมส�ำคัญส่วนใหญ่ มักจัดข้ึนในช่วงระหว่างเดือน 4-6 และเดือน 11-12 ซ่ึงเป็นช่วงรอยต่อระหว่างลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า วิถีชีวิตของชาวเลทั้งสามกลุ่มข้ึนอยู่กับจังหวะฤดูกาล ของลมมรสมุ เปน็ อย่างมาก 47 ชาวเลโดยรวม

ชาวมอแกนเดินเก็บหาหอย ปู และสตั ว์ทะเลอ่นื ๆ บรเิ วณหาดทรายในชว่ งน้�ำลด

11. ท�ำไมจึงไม่ควรเรียก “ชาวเล” ว่า “ชาวน้�ำ”? “ชาวนำ้� ” เปน็ ชอื่ เกา่ แกท่ ใี่ ชเ้ รยี กชาวเล และเปน็ ชอื่ ทปี่ รากฏในเอกสารเกา่ หลายฉบบั พจนานกุ รมฉบบั ราชบัณฑติ ยสถานที่พมิ พใ์ นปี พ.ศ. 2542 ให้ค�ำนิยาม ชาวน�้ำ วา่ เป็น “ชื่อชนชาตเิ ดมิ พวกหน่ึงอยู่ทางทะเล ดา้ นตะวนั ตกของแหลมมลายู ฉลางหรอื ชาวเลก็เรียก” ในสมยั ตอ่ มา ความหมายของ “ชาวนำ้� ” มคี วามหมายเปลย่ี นแปลงไปจากเดมิ ชาวเลหลายคนตคี วามวา่ ชาวน�้ำ หมายถึง “คนท่ีเกิดจากน�้ำเชื้อสืบพันธุ์ของหญิงชาย” และหากถูกใครเรียกว่า ชาวน้�ำ ก็จะรู้สึก ไม่พอใจ ถือเป็นค�ำท่ีดูถูกดูแคลนมาก เพราะท�ำให้ชาวเลกลายเป็นกลุ่มท่ีแปลกแยกออกไปจากกลุ่มชนอ่ืน ทง้ั ทท่ี กุ คนทกุ เผ่าพันธุก์ ็เกิดจากน�้ำเหมือนกนั ทั้งน้นั ค�ำนจี้ ึงไม่นยิ มใชก้ ันในปจั จุบัน ส่วนค�ำว่า “ไทยใหม่” เป็นอีกค�ำหนึ่งท่ีใช้เรียกชาวเล และใช้กันอย่างแพร่หลายในบางพ้ืนที่ แต่ก็เป็น ค�ำท่ีเกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 30-40 ปีมานี้เอง และมีนัยว่าชาวเลได้รับการ “ยกระดับ” ให้เป็นไทย แล้ว เพราะได้รับสัญชาตไิ ทย ติดต่อสอ่ื สารเป็นภาษาไทยได้ ได้รบั การศกึ ษาในระบบโรงเรียน และเขา้ สู่ระบบ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกบั ความเปน็ ไทย หากใช้คำ� นี้ คณุ คา่ ของภาษาและวฒั นธรรมด้ังเดิมจะถกู มองขา้ มไป นอกจากนี้ ค�ำวา่ “ไทยใหม”่ ยังท�ำให้เกิดความสับสนเพราะเปน็ คำ� รวมทใ่ี ชเ้ รียกกล่มุ มอแกน มอแกลน หรอื อูรักลาโว้ย จึงไม่สามารถจะระบุให้ชัดเจนได้ว่าเป็นชาวเลกลุ่มใด ดังนั้น ชื่อท่ีควรใช้คือเรียกตามที่คนในกลุ่ม เรียกตนเอง (Endonym) ซึ่งก็คือ “มอแกน” “มอแกลน” และ “อูรักลาโว้ย” แต่หากจะใช้ค�ำรวมท่ีมี ความหมายครอบคลุมทง้ั สามกลมุ่ กใ็ ชค้ �ำว่า “ชาวเล” ได้ 49 ชาวเลโดยรวม

เดก็ ๆ ชาวมอแกนใช้ชวี ติ อยู่ทา่ มกลางสภาพแวดลอ้ มทางธรรมชาติอนั อดุ มสมบรู ณข์ องหม่เู กาะใหญ่นอ้ ยในทะเลอันดามนั ทกั ษะวฒั นธรรมชาวเล 50