Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พระวินัยบัญญัติ

Description: พระวินัยบัญญัติ

Search

Read the Text Version

www.kalyanamitra.org

พระวนิ ยั บญั ญตั ิ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

พระวินัยบัญญัติ โดย : พระมหาโพธวิ งศาจารย์ (ทองด)ี ISBN : 978-616-455-421-4 พิมพค์ รัง้ ท่ี ๑ : กุมภาพนั ธ ์ ๒๕๖๑ จ�ำนวน ๖,๐๐๐ เล่ม พิมพค์ รัง้ ท่ี ๒ : มีนาคม ๒๕๖๑ จำ� นวน ๕,๐๐๐ เลม่ จดั พมิ พโ์ ดย : วดั ราชโอรสาราม ราชวรวิหาร แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๕๐ โทร. ๐-๒๔๑๕-๓๓๒๗ พมิ พ์ที่ : บริษทั รงุ่ ศิลป์การพมิ พ์ (๑๙๗๗) จ�ำกัด โทร. ๐-๒๑๑๘-๓๕๕๕ www.kalyanamitra.org

พระมหาโพธวิ งศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

www.kalyanamitra.org

ประวตั ิ พระมหาโพธวิ งศาจารย์ สถานะปจั จบุ นั พระมหาโพธวิ งศาจารย์ ฉายา สรุ เตโช อายุ ๗๒ พรรษา ๕๑ เจา้ อาวาสวดั ราชโอรสาราม แขวงบางคอ้ เขตจอมทอง กรงุ เทพมหานคร สถานะเดิม ชื่อ ทองดี นามสกลุ สรุ เดช เกิดพฤหัสบดที ่ี ๑๕ กมุ ภาพนั ธ์ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๘๙ ท่ีอ�ำเภอพรานกระต่าย จังหวัด กำ� แพงเพชร บรรพชา วันท่ี ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ ปีชวด ณ วัดไตรภูมิ อำ� เภอพรานกระต่าย จงั หวดั ก�ำแพงเพชร อปุ สมบท วันที่ ๒๖ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๑๐ ปมี ะแม ณ วัดไตรภูมิ อ�ำเภอพรานกระตา่ ย จงั หวดั ก�ำแพงเพชร วิทยฐานะ ทางธรรม ประโยค ป.ธ. ๙ สำ� นกั เรยี นวดั ปากนำ�้ ภาษเี จรญิ พ.ศ. ๒๕๑๕ ทางโลก ประโยควิชาครพู ิเศษมธั ยม (พ.ม.) พ.ศ. ๒๕๑๖ ต�ำแหน่งหนา้ ที่ในอดีต เปน็ เลขานุการเจ้าคณะอำ� เภอพรานกระต่าย เปน็ เลขานุการเจ้าคณะเขตบางขนุ เทียน www.kalyanamitra.org

เปน็ อาจารยส์ อนวชิ าแตง่ ฉนั ทภ์ าษามคธ ชน้ั ประโยค ป.ธ. ๘ โรงเรยี น พระปริยัติธรรมส่วนกลางของคณะสงฆ์ เปน็ ผชู้ ่วยเจา้ อาวาสวัดราชโอรสาราม เป็นเจา้ คณะแขวงบางคอ้ เป็นรองประธานกรรมการตรวจสอบต้นฉบับพระไตรปิฎก ฉบับ สังคายนา ภาษาไทยและภาษาบาลี เป็นประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาและด�ำเนินการจัดตั้งส�ำนัก หบุ ผาสวรรคเ์ ปน็ สถานศกึ ษาทางพระพทุ ธศาสนา เป็นรองประธานกรรมการตรวจส�ำนวนการแปลพระไตรปิฎก ฉบับ มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั เปน็ กรรมการผทู้ รงคณุ วฒุ ิ ในคณะกรรมการการศกึ ษาของคณะสงฆ์ เป็นกรรมการจัดทำ� แผนพฒั นาด้านศาสนา กรมการศาสนา เป็นประธานกรรมการจัดท�ำต้นฉบบั พระไตรปฎิ ก ฉบบั ภาษาไทย เปน็ กรรมการตรวจตน้ ฉบับและจัดพมิ พ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี และฉบับภาษาไทย เปน็ เจา้ คณะภาค ๑๖ เปน็ กรรมการมหาเถรสมาคม ตำ� แหนง่ หน้าทใี่ นปัจจบุ นั เปน็ เจา้ อาวาสวดั ราชโอรสาราม เป็นเจ้าส�ำนกั เรยี นวัดราชโอรสาราม เปน็ ราชบณั ฑติ สาขาวชิ าตนั ตภิ าษา สำ� นกั ศลิ ปกรรม ราชบณั ฑติ ยสภา เปน็ อาจารย์สอนวิชาแต่งไทยเปน็ มคธ ชั้นประโยค ป.ธ. ๙ โรงเรียน พระปรยิ ัตธิ รรมสว่ นกลางของคณะสงฆ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัย  มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย www.kalyanamitra.org

เปน็ หัวหน้าพระธรรมทูตสายท่ี ๘ เปน็ รองประธานโครงการฝึกอบรมพระนกั เทศน์ส่วนกลาง เป็นผ้อู �ำนวยการฝึกอบรมพระนกั เทศนใ์ นหนกลาง เปน็ ผอู้ ปุ ถมั ภส์ รา้ งวดั ในประเทศเยอรมนี คอื วดั พทุ ธวหิ าร นครเบอรล์ นิ วดั ธรรมวหิ าร เมอื งฮันโนเวอร์ และ วดั สงั ฆวหิ าร เมืองสตุ๊ดการด์ เปน็ ผอู้ ปุ ถมั ภส์ รา้ งวดั ในสาธารณรฐั เชก คอื วดั ธรรมกติ ตวิ งศ์ กรงุ ปราก ผลงานดา้ นวิชาการ หนังสือและต�ำราที่ได้เขียน แปล และรวบรวมไว้มีหลายประเภท เฉพาะท่ไี ดจ้ ดั พิมพอ์ อกเผยแพรแ่ ล้วมีดังน้ี ประเภทธรรม-ธรรมประยกุ ต์ ๑. พระในบา้ น ๒. หน้าทขี่ องคน ๓. ค�ำพ่อค�ำแม่ ๔. พทุ ธธรรม ๕ นาที ๕. ๑ นาทีเพ่ือชวี ิต ๖. ไขข้อขอ้ งใจ ๗. ธรรมสารทัศน์ ๘. ธรรมสารทีปนี ๙. ศีล ๕ รกั ษาโลก ๑๐. อนั เหลือเชือ่ เลม่ ๑-๓ และฉบับรวมเลม่ ประเภทวชิ าการ-คูม่ อื ๑. หลักการแตง่ ฉนั ทภ์ าษามคธ ป.ธ.๘ ๒. คู่มอื แตง่ ไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ www.kalyanamitra.org

๓. คู่มอื การศกึ ษาบาลี เล่ม ๑-๔ ๔. คลงั ธรรม เล่ม ๑-๓ ๕. แนวปฏบิ ตั ศิ าสนพธิ ี ๖. ชาดกในธรรมบท ๗. ขุมปญั ญาจากชาดก ๘. การเรยี นรู้พระพทุ ธพจน์ ๙ พระวนิ ัยบญั ญัติ ประเภทเทศนา ๑. ธรรมสารเทศนา เล่ม ๑-๓ ๒. กิร ดังไดส้ ดบั มา เลม่ ๑-๓, และฉบบั รวมเลม่ ๓. เทศน์ : การเผยแผท่ ่ีส�ำคัญศักดิ์สทิ ธิ์ ๔. หลักและวิธกี ารเทศน์ ๕. การตคี วามพทุ ธศาสนสุภาษติ ๖. ภาษาไทย ภาษาเทศน์ ๗. อุปมาสาธกในเทศนา ๘. วธิ เี ทศนา ประเภททั่วไป ๑. นริ าศจอมทอง ๒. ข้อคดิ ข้อเขยี น ๓. สมณศักดิ์: ยศชา้ ง ขุนนางพระ ๔. ภาษติ นิทศั น์ ๕. ธรรมบทชวี ติ ๖. ประกายความคดิ www.kalyanamitra.org

ประเภทพจนานุกรม ๑. ภาษาธรรม ๒. ค�ำวัด เลม่ ๑-๕ และฉบับรวมเล่ม ๓. ศพั ท์วเิ คราะห์ ๔. ภาษาชาวบา้ น ๕. พจนานกุ รม ไทย-บาลี ประเภทหนังสือแปล ๑. คนกินคน (มหาสตุ โสมชาดก) ๒. หวั ใจอมตะ (วิธรุ ชาดก) รายจา่ ยในการบรหิ ารวดั ราชโอรสาราม และอปุ ถัมภ์บำ� รุงท่อี ืน่ ๆ นบั ตงั้ แตด่ ำ� รงแหนง่ เจา้ อาวาสวดั ราชโอรสารามมา ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ จนถงึ ปี พ.ศ.๒๕๖๐ ไดบ้ รู ณปฏสิ งั ขรณ์และกอ่ สร้างถาวรวตั ถุ ศาสนสถาน ตา่ งๆ และกิจกรรมทสี่ �ำคัญในพระอาราม ท้ังได้อุปถมั ภ์บำ� รุงสถานทอี่ น่ื ๆ มี ยอดรายจา่ ยรวมท้งั สน้ิ ตามส่วนงาน ดงั นี้ ๑. งานศาสนศึกษา ๒๖,๙๙๑,๖๔๙ บาท (ส่งเสรมิ การศาสนศกึ ษา) ๒. งานเผยแผ่ (ในต่างประเทศ) ๑๒๙,๖๒๔,๐๐๐ บาท ๓. งานสาธารณูปการ ๓๑๘,๕๒๓,๖๒๓ บาท (กอ่ สร้างและบูรณะ) ๔. งานสาธารณสงเคราะหแ์ ละอปุ ถมั ภ์ ๒๘,๒๖๕,๕๖๖ บาท ๕. งานศึกษาสงเคราะห์ ๓๙,๘๙๐,๔๗๙ บาท รวมเป็นเงินทง้ั สิ้น ๕๔๓,๔๙๕,๓๑๗ บาท www.kalyanamitra.org

รางวัลและเกียรตคิ ณุ ท่ไี ด้รับ พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ในฐานะผู้ท�ำ คุณประโยชนต์ อ่ พระพุทธศาสนา ประเภทส่งเสริมการศกึ ษา พระพทุ ธศาสนา สาขาการแต่งหนงั สอื ทางพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๕๐ ไดร้ ับปรญิ ญาพทุ ธศาสตรดุษฎบี ณั ฑิตกติ ตมิ ศักดิ์ สาขาวชิ า ภาษาบาลี จากมหาวทิ ยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๒ ไดร้ บั รางวลั รางวลั “พทุ ธคณุ ปู การ”ระดบั “วชั รเกยี รตคิ ณุ ”จดั โดย คณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา ในนามคณะ กรรมาธกิ ารการศาสนา ศลิ ปะ และวฒั นธรรม สภาผแู้ ทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๗ ไดร้ บั รางวลั “ผนู้ ำ� พทุ ธโลก” จดั โดยสำ� นกั งานพระพทุ ธศาสนา แห่งชาตริ ว่ มกบั องคก์ ารยุวพุทธศาสนกิ สมั พันธ์แหง่ โลก พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้รับรางวัล “บัวทิพย์ ๒๕๕๗” จากกองทุน ๑๐๐ ปี พระพุทธวรญาณ (กิตติ กติ ติทินนมหาเถระ) จังหวดั ลพบุรี สมณศกั ดิ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ เปน็ พระราชาคณะช้ันสามัญ ที่ พระศรีวสิ ทุ ธิวงศ์ พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นพระราชาคณะชน้ั ราช ที่ พระราชวสิ ุทธโิ มลี พ.ศ. ๒๕๓๑ เปน็ พระราชาคณะช้ันเทพ ที่ พระเทพปรยิ ตั โิ มลี พ.ศ. ๒๕๓๕ เปน็ พระราชาคณะชน้ั ธรรมที่ พระธรรมกิตตวิ งศ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นพระราชาคณะ เจา้ คณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระมหาโพธวิ งศาจารย์ www.kalyanamitra.org

คำ� ปรารภ พระวนิ ยั จดั เปน็ ปฎิ กหนง่ึ ในพระไตรปฎิ ก และทา่ นจดั ไวเ้ ปน็ ปฎิ กตน้ ตามดว้ ย พระสตุ ตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปฎิ ก พระวินัยนถ้ี ือกันว่าเป็น รากแกว้ สำ� คญั ของพระพทุ ธศาสนา เปน็ เหตใุ หพ้ ระพทุ ธศาสนาดำ� รงมนั่ คงอยู่ มาไดต้ ราบเทา่ ทกุ วนั น้ี ดว้ ยวา่ พระวนิ ยั ปฎิ กนนั้ เปน็ ทร่ี วบรวมกฎเกณฑแ์ ละขอ้ ระเบยี บปฏบิ ตั สิ ำ� หรับภิกษุภิกษุณเี ป็นหลกั เมอ่ื ภิกษุภิกษณุ ีปฏบิ ัตติ ามแล้ว ก็ ท�ำให้เกดิ ความเรียบร้อยสวยงาม นำ� ให้เกิดศรัทธาน่าเชือ่ ถอื นา่ เคารพกราบ ไหวแ้ กผ่ พู้ บเหน็ และเมอื่ ทา่ นเหลา่ นนั้ ไดแ้ นะนำ� สงั่ สอนขอ้ ธรรมตามทตี่ นปฏบิ ตั ิ ก็ยอมปฏิบัติตาม แล้วได้รับผลเป็นความสุขความสงบ เป็นความผ่องใสแห่ง จิตทส่ี ัมผสั ไดแ้ ท้จริง พระเถระอรหันต์ทั้งหลายที่ท�ำสังคายนารวบรวมค�ำสอนของ พระพทุ ธเจ้าไว้หลงั จากถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบรมศาสดาแล้ว ได้จัด แบง่ คำ� สอนนน้ั เปน็ หมวดใหญๆ่ ได้ ๓ หมวด ทเ่ี รยี กวา่ พระไตรปฎิ ก พระวนิ ยั ได้ถูกจัดแบ่งไว้เป็นหมวดหน่ึงเรียกว่า พระวินัยปิฎก และในพระวินัยปิฎก น้ันท่านไดแ้ บง่ เป็นหมวดยอ่ ยไวอ้ กี ได้ ๕ หมวด คือ มหาวิภงั ค์ ภกิ ขนุ ีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค ปริวาร ๕ หมวดน้ีเรยี กวา่ คมั ภีร์ กไ็ ด้ มชี อื่ เรียกยอ่ ๆ สำ� หรับจดจ�ำได้ง่าย ๕ คำ� คอื อา. ปา. ม. จุ. ป. และกำ� หนดกนั ว่าพระวินยั ปิฎกน้ันมีหวั ข้อย่อยหรือเนื้อหาทแี่ สดงไว้ ๒๑,๐๐๐ เรอ่ื ง แตล่ ะหวั ข้อเรียก กนั ว่า  พระธรรมขนั ธ ์ ดังน้นั พระวินยั ปิฎกจงึ มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขนั ธ์ www.kalyanamitra.org

หนงั สอื พระวนิ ยั บญั ญตั ิ เลม่ นไ้ี ดแ้ สดงเฉพาะเรอื่ งพระวนิ ยั ทป่ี รากฏ อยใู่ นคมั ภีร์มหาวรรค ซึ่งกล่าวถงึ เร่ืองสิกขาบทของภกิ ษเุ ท่านน้ั จึงถอื ว่าน�ำ เรอื่ งบางสว่ นในพระวนิ ยั ปฎิ กมาแสดงไว้ แตก่ ม็ ไิ ดน้ ำ� มาแสดงโดยละเอยี ด หาก แตน่ ำ� เฉพาะพระวนิ ยั ทท่ี รงบญั ญตั ไิ วเ้ ปน็ ศลี ของภกิ ษุ ๒๒๗ สกิ ขาบทเทา่ นน้ั มาแสดง ท้ังน้ีก็เพื่อเป็นประโยชน์ส�ำหรับภิกษุผู้บวชใหม่จะได้ความรู้ ความ เข้าใจ และหลักปฏิบัติเพื่อให้เกิดอานิสงส์จากการบวชของตน เพื่อปฏิบัติได้ ถูกต้อง งดงาม น�ำให้เกิดศรัทธาแก่ผู้พบเห็น และเป็นความภาคภูมิใจของ ตนที่ปฏบิ ัติไดถ้ กู ตอ้ งงดงาม เปน็ ไปตามพระพทุ ธบญั ญัติ และเพ่ือเปน็ เคร่ือง ทบทวนความรู้ความเข้าใจในเรื่องพระวินัยบัญญัติส�ำหรับภิกษุผู้บวชนานท่ี เคยเรยี นเคยศกึ ษาเรอื่ งนมี้ า แตก่ น็ านแลว้ ซงึ่ อาจหลงลมื ปฏบิ ตั ผิ ดิ พลาดไปได้ หนงั สอื นมี้ หี ลายประเดน็ ทแ่ี สดงไว้ กลา่ วคอื ในเบอื้ งตน้ ไดแ้ สดงเรอื่ ง ราว ความส�ำคัญ และความรู้เก่ียวกับเร่ืองพระวินัยไว้เพื่อประดับสติปัญญา ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งได้แสดงข้อที่เป็นพระวินัยบัญญัติโดยตรงจากพระ ไตรปฎิ กมายนื เปน็ หลกั เบอ้ื งตน้ แลว้ ตามดว้ ยเนอ้ื ความแตล่ ะสกิ ขาบททท่ี า่ นยอ่ ไวใ้ นหนงั สือ นวโกวาท ซ่งึ เปน็ พระนพิ นธข์ องสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรม พระยาวชิรญาณวโรรส ท่ีใช้เป็นบทเรียนส�ำหรับภิกษุสามเณรในประเทศไทย มาต้ังแต่สมัยรัชกาลท่ี ๕ จากน้ันจึงได้อธิบายขยายความที่ส�ำคัญไว้โดยย่อ พอเปน็ ทเ่ี ขา้ ใจได้ และไดแ้ สดงเจตนารมณห์ รอื เปา้ หมายทท่ี รงบญั ญตพิ ระวนิ ยั สิกขาบทนน้ั ๆ ไว้ แล้วตอ่ ด้วยข้อยกเว้นส�ำหรบั ภกิ ษผุ ้ลู ว่ งละเมิดแตไ่ มเ่ ปน็ ผดิ เพือ่ ใหเ้ ห็นวา่ พระวินยั น้นั สามารถปฏิบัตไิ ด้โดยไม่ยากนกั www.kalyanamitra.org

ในข้อทเ่ี ป็นความอธิบายนัน้ ไดม้ าจากพระไตรปฎิ กโดยตรงบ้าง จาก อรรถกถาพระวนิ ยั บา้ ง จากพระนพิ นธข์ องสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯพระองค์ น้นั บา้ ง จากครูอาจารย์ที่แนะน�ำสง่ั สอนกันมาบ้าง จากความคดิ ส่วนตัวบา้ ง ผสมผสานกันไป แต่กเ็ สรมิ ให้สาระประเด็นความชัดเจนขึ้นเปน็ หลัก ยงั มรี ายละเอยี ดเกย่ี วกบั เรอ่ื งพระวนิ ยั บญั ญตั นิ อ้ี กี มาก และยงั มพี ระ วนิ ยั บญั ญตั ทิ เ่ี กยี่ วกบั เรอื่ งกริ ยิ ามารยาท เกยี่ วกบั การปฏบิ ตั ใิ นชวี ติ ประจำ� วนั ของภิกษุในพระวินัยปิฎกอีกมากเช่นกัน ซึ่งผู้ใฝ่รู้สามารถแสวงหาอ่านจาก พระไตรปิฎก จากอรรถกถา และจากต�ำราหรือหนังสือต่างๆ ท่ีมีพิพม์เผย แพร่ท่ัวไปได้ ในหนงั สอื นไี้ ดน้ ำ� บทพมิ พ์ ความรู้ วชิ าการ และความคดิ จากหนงั สอื หลายเลม่ ดงั ปรากฏอยใู่ นบรรรณานกุ รมทา้ ยเลม่ มาผสมผสานแสดงไว้ โดยมไิ ด้ ขออนุญาตโรงพิมพห์ รือเจ้าของหนงั สือก่อน ก็ขออนญุ าตไว้ ณ ทน่ี ้ี ทง้ั นี้ด้วย หวังความเจริญร่งุ เรอื งของพระพุทธศาสนาใหพ้ ัฒนายิ่งๆ ข้ึนไปเป็นสำ� คญั หวงั วา่ หนงั สอื นจ้ี ะเปน็ ประโยชนแ์ ละใหค้ วามรคู้ วามเขา้ ใจในเรอื่ งพระ วินยั บญั ญัตแิ กท่ า่ นผสู้ นใจตามสมควร. (พระมหาโพธวิ งศาจารย)์ เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม เขตจอมทอง กรงุ เทพฯ ๑๓ ธนั วาคม ๒๕๖๐ www.kalyanamitra.org

คำ� น�ำ หนังสือ พระวินัยบัญญัติ เล่มนี้เขียนข้ึนเพ่ือวัตถุประสงค์ให้เป็น คู่มือส�ำหรับพระบวชใหม่โดยเฉพาะ และส�ำหรับภิกษุผู้บวชนานแล้ว รวมท้ัง พทุ ธศาสนกิ ชนทว่ั ไปเปน็ สว่ นกำ� ไร โดยใชเ้ วลาในการรวบรวมและเขยี นไมน่ าน นัก เพราะเปน็ เร่ืองท่ีมีเนอื้ หากระจายอยู่ในหนังสือต่างๆ อยแู่ ล้ว เพยี งไปเก็บ ประเดน็ สาระมาเรยี งร้อยใหม่ เพื่อให้เขา้ ใจได้งา่ ยขน้ึ เทา่ นั้น หนงั สือนี้ได้โอกาสพิมพ์เผยแพรเ่ ป็นคร้งั แรก เน่ืองในงานฉลองอายุ วฒั นมงคล ๖ รอบ ๗๒ ปี ในวันท่ี ๑๕ กมุ ภาพนั ธ์ พุทธศกั ราช ๒๕๖๑ เพอื่ ถวายเปน็ เครอื่ งปฏกิ าระสนองนำ�้ ใจของพระเถรานเุ ถระผมู้ นี ำ้� ใจรบั นมิ นต์ ไปในงาน และถวายภกิ ษสุ ามเณรหลงั จากงานเพอื่ เปน็ ประโยชนส์ บื ตอ่ ไป โดย ได้รับความอุปถัมภ์จากญาติโยมคณะกัลยาณมิตรท้ังหลายเป็นเจ้าภาพจัด พมิ พ์ เปน็ เหตใุ หห้ นงั สือน้ีมจี �ำนวนมากและกระจายไปได้ท่ัวถึง เปน็ ประโยชน์ อย่างย่งิ แกภ่ ิกษุสามเณรและผู้สนใจ อันถือวา่ เปน็ บญุ ใหญ่ เป็นการใหธ้ รรม ทาน เปน็ การใหป้ ัญญาความรู้ ซ่งึ เป็นเยี่ยมกว่าการให้อามิสทานตามทร่ี ้กู ัน ขออนโุ มทนาบญุ ตอ่ ทกุ ทา่ นทเี่ ปน็ เจา้ ภาพ และทา่ นทม่ี สี ว่ นใหห้ นงั สอื นี้สำ� เร็จเรียบร้อย สวยงาม และแพร่หลายไปอย่างทั่วถึง ขอให้ทกุ ทา่ นเจรญิ ในปญั ญาบารมีย่งิ ๆ ขึ้นไป เทอญ. (พระมหาโพธิวงศาจารย์) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม เขตจอมทอง กรุงเทพฯ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ www.kalyanamitra.org

สารบัญ (๕) (๑๑) ประวัต ิ (๑๔) ค�ำปรารภ ค�ำนำ� ๑ ส่วนที่ ๑ พระวินัย ๒ ไตรสกิ ขา ๖ หน้าทแ่ี ละความส�ำคญั ของไตรสกิ ขา ๗ ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งพระธรรมกบั พระวินยั ๑๐ ความสำ� คัญของพระวนิ ัย ๑๒ อานิสงสพ์ ระวนิ ยั ๑๓ ความมงุ่ หมายในการบัญญัติพระวนิ ยั ๑๓ ประโยชน์ของพระวินยั ๑๔ ประโยชนข์ องพระวนิ ยั ตอ่ บคุ คลและองคก์ ร ๑๕ ประโยชนข์ องการเรยี นรู้พระวินยั ๑๖ ภาคส่วนของพระวินยั ๑๗ ชอื่ อืน่ ทีใ่ ชเ้ รยี กพระวนิ ัย ๑๘ ฐานะพระวินยั ๑๘ วธิ กี ารบัญญัตพิ ระวนิ ัย ๒๐ ความหมายพระวนิ ยั ๒๒ แนวทางการสรา้ งสนั ติภาพในพระวนิ ัย ๒๓ พระวนิ ยั ปฎิ กเป็นรูปธรรมทเ่ี หน็ ไดง้ า่ ย ๒๕ ส่วนท่ี ๒ พระวนิ ยั บัญญตั ิ ๒๖ ประเภทพระวนิ ัยบัญญัต ิ ๒๘ อาบตั แิ ละโทษ ๓๑ อาการตอ้ งอาบัติ ๓๒ วิธีปฏบิ ตั ิเมือ่ ต้องอาบัต ิ www.kalyanamitra.org

อาบัติ ๗ กอง ๓๔ ความหมายของอาบัติ ๗ กอง ๓๕ อนุศาสน ์ ๓๖ นิสสยั ๔ ๓๘ อกรณียกจิ ๔ ๔๑ ส่วนท่ี ๓ สกิ ขาบท ๒๒๗ ขอ้ ๔๕ ปาราชิก ๔ ๔๙ สังฆาทเิ สส ๑๓ ๙๑ อนยิ ต ๒ ๑๕๓ นิสสคั คยิ ปาจิตตยี ์ ๓๐ ๑๖๑ จวี รวรรค วา่ ดว้ ยจวี ร ๑๖๒ โกสิยวรรค ว่าด้วยสนั ถตั ใหม ่ ๑๘๗ ปัตตวรรค ว่าด้วยบาตร ๒๐๑ ปาจติ ตีย์ ๙๒ ๒๒๓ มสุ าวาทวรรค วา่ ดว้ ยการพูดเทจ็ ๒๒๔ ภตู คามวรรค วา่ ด้วยภตู คาม ๒๔๐ โอวาทวรรค ว่าด้วยโอวาทแกภ่ ิกษณุ ี ๒๕๗ โภชนวรรค ว่าด้วยโภชนะ ๒๖๒ อเจลกวรรค วา่ ด้วยนักบวชเปลอื ย ๒๘๐ สุราปานวรรค ว่าด้วยด่ืมสรุ า ๒๙๕ สปั ปาณกวรรค ว่าดว้ ยสตั ว์มชี ีวิต ๓๑๑ สหธมั มิกวรรค วา่ ดว้ ยผู้รว่ มประพฤตธิ รรม ๓๒๙ รตนวรรค วา่ ดว้ ยรัตนะ ๓๔๗ ปาฏิเทสนียะ ๔ ๓๖๓ เสขิยวัตร ๗๕ ๓๗๑ หมวดสารปู ๒๖ สกิ ขาบท ๓๗๒ หมวดโภชนปฏิสังยตุ ๓๐ สิกขาบท ๓๗๘ หมวดธัมมเทสนาปฏิสงั ยตุ ๑๖ สกิ ขาบท ๓๘๕ หมวดปกณิ ณกะ ๓ สกิ ขาบท ๓๘๘ อธกิ รณสมถะ ๗ ๓๙๑ www.kalyanamitra.org

พระวนิ ยั บญั ญตั ิ www.kalyanamitra.org

อปฺปเกนป ิ เมธาวี ปาภเฏน  วจิ กขฺ โณ สมฏุ ฺาเปติ  อตตฺ านํ อณุํ  อคคฺ ึว  สนฺธมํ ฯ ผมู้ ปี ญั ญา มคี วามพนิ ิจรอบคอบ ยอ่ มตง้ั ตัวไดด้ ้วยตน้ ทุนแมเ้ พียงเลก็ น้อย เหมอื นกอ่ ไฟกองนอ้ ยให้เป็นกองใหญ.่ ท่มี า : จลุ ลกเสฏฐชิ าดก ขุ.ชา. ๒๗/๔ www.kalyanamitra.org

ส่วนที่ ๑ พระวินยั พระพุทธศาสนา เป็นท่ีศรัทธาเล่ือมใส เป็นท่ีเคารพนับถือ เปน็ ศนู ยก์ ลางจติ ใจของคนไทยมาแตส่ มยั กรงุ สโุ ขทยั คนไทยยอมรบั พระพทุ ธ ศาสนาว่าเป็นแนวทางส�ำหรับด�ำเนินชีวิตที่เป็นหลักใหญ่ วัฒนธรรมไทย ขนบธรรมเนียมไทย ตลอดถึงการประพฤติปฏิบัติอันเก่ียวกับความเป็นอยู่ใน ชวี ติ ประจ�ำวัน ลว้ นเกย่ี วขอ้ งหรือมีรากฐานมาจากค�ำสอนในพระพทุ ธศาสนา เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นเส้นเลือดและเป็นชีวิต ของคนไทย และกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนายัง่ ยนื สบื สานต่อเน่อื งมายาวนาน ไดถ้ ึงปจั จุบนั กเ็ พราะคนไทยไม่หา่ งจากพระพุทธศาสนา พระพทุ ธศาสนาในประเทศไทยมคี ณุ คา่ แกส่ งั คมไทยในรปู แบบตา่ งๆ อย่างท่ีเห็นได้ชัดเจนเช่น พระวินัยบัญญัติ 1 www.kalyanamitra.org

๑. คุณคา่ ทางศิลปะ ไดแ้ กร่ ปู แบบของศิลปะและวัตถปุ ระเภทตา่ งๆ รสนิยมของศิลปะการก่อสร้าง ท่ีมีคุณค่ามีความส�ำคัญโดดเด่น ส่วนใหญ่ เกย่ี วขอ้ งกับพระพุทธศาสนา ๒. คุณค่าทางวัฒนธรรม ได้แก่หลักการด�ำเนินชีวิตอันเก่ียวด้วย ศีลธรรม เลือกปฏิบัติในส่ิงที่ถูกท่ีควร ภาษาท่ีใช้ ขนบ ธรรมเนียม ประเพณี ตลอดถงึ แนวกฎหมาย ส่วนใหญไ่ ดร้ ูปแบบมาจากพระพุทธศาสนา ๓. คุณค่าทางความคิด ได้แก่ วิสัยทัศน์ สติปัญญา การมองเห็น คุณค่าของความเสียสละ ความไม่เห็นแก่ตัว การช่วยเหลือเก้ือกูลผู้อ่ืน การ ปล่อยวาง เปน็ ตน้ ๔. คณุ คา่ ทางจิตใจ ไดแ้ ก่ อุปนิสยั นิสยั และอัธยาศยั ที่ประกอบ ดว้ ยคณุ ธรรม ทำ� ใหใ้ หอ้ ภัย มจี ติ เมตตา มีความเกอ้ื กลู ใจกว้าง เปน็ ตน้ ๕. คุณค่าทางสังคม ไดแ้ ก่ ทำ� ให้มวี ิถชี ีวิตท่ีเรียบงา่ ย สนั โดษ พอ เพยี ง ชอบสงบ ๖. คุณคา่ ทางความม่ันคง ไดแ้ ก่ ท�ำใหม้ คี วามสามัคคี มีความร้สู กึ เป็นพวกเดียวกนั ใหอ้ ภยั กันได้ ยอมกันได้ ไตรสกิ ขา สกิ ขา แปลวา่ การศกึ ษา, การเลา่ เรยี น ในทน่ี ห้ี มายถงึ ขอ้ ทจ่ี ะตอ้ ง ศกึ ษา, ข้อทจ่ี ะตอ้ งปฏบิ ัติ มี ๓ ประการ จงึ เรียกวา่ ไตรสกิ ขา 2 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

ไตรสกิ ขา เปน็ ขอ้ ทที่ า่ นกำ� หนดไวส้ ำ� หรบั ศกึ ษาเรยี นรู้ สำ� หรบั ปฏบิ ตั ิ คลา้ ยเปน็ หลกั สตู รเพอื่ เรยี นรพู้ ระพทุ ธศาสนาสำ� หรบั บรรพชติ คอื ภกิ ษสุ ามเณร และพทุ ธสาวกทงั้ หลาย เมอื่ เรยี นรแู้ ละปฏบิ ตั ติ ามไดแ้ ลว้ ยอ่ มไดร้ บั อานสิ งส์ ไดร้ บั ความเจรญิ กา้ วหน้าไปตามล�ำดับ จนถึงสามารถบรรลถุ งึ มรรคผลนิพพานได้ สิกขา ๓ ประการ อันเป็นระดบั เบ้อื งต้นทส่ี ามารถเรียนรูแ้ ละปฏิบัติ ตามไดท้ ่ัวไปนั้น คอื ๑. ศีล ๒. สมาธิ ๓. ปัญญา ศลี คอื ความส�ำรวมกายวาจาใหเ้ รียบรอ้ ย การรกั ษากายวาจาให้ อยใู่ นสภาวะปกตธิ รรมดา ไมใ่ ช้กายวาจาไปท�ำชั่วพดู ชั่วก่อความเดอื ดร้อนให้ แกต่ นและคนอน่ื การทำ� กจิ ทำ� หนา้ ทป่ี ระจำ� วนั อยา่ งปกตธิ รรมดา การดำ� รงอยู่ ในกรอบของกฎหมายและระเบยี บปฏบิ ตั ใิ นสงั คมอยา่ งปกติ โดยการรกั ษากาย และวาจามั่นคงอยใู่ นสุจรติ ธรรม เชน่ รกั ษาและปฏิบตั ิตามหลักศีล ๕ เปน็ ตน้ สมาธิ คือ ความรักษาใจม่ัน การรักษาใจให้สงบนิ่ง ไม่ให้ฟุ้งซ่าน ระงับใจได้ ควบคมุ ใจได้ บรรเทาความเครยี ดได้ ปัญญา คือ ความรอบรู้ในกองสังขาร การเข้าใจสภาวะความเป็น จรงิ ของรา่ งกายวา่ ตกอยใู่ นสามญั ลกั ษณะ คอื เปน็ ไปเสมอเหมอื นกนั หมด เปน็ ไปตามกฎเกณฑธ์ รรมชาติ คอื - อนจิ จัง ไม่เท่ยี ง ไม่แนน่ อน เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา - ทกุ ขัง ไมท่ นอยใู่ นสภาพเดิม ไมห่ ยดุ นิ่ง ไม่คงที่ - อนตั ตา ไม่ใชต่ วั ตน หาตัวตนท่ีแทจ้ ริงไมไ่ ด้ ไม่อาจบงั คับได้ พระวินัยบัญญัติ 3 www.kalyanamitra.org

ไตรสิกขาเชน่ น้ีเป็นไตรสิกขาระดับต้น ระดบั ฐานรากอนั เป็นพนื้ ฐาน ส�ำหรับด�ำเนินชีวิตไปตามปกติธรรมดา  เพื่อให้เกิดความสุข  ความสงบเย็น ไมเ่ บยี ดเบยี นทำ� ร้ายกัน และมคี วามรูส้ กึ ทด่ี ีตอ่ ผอู้ ืน่ เมื่อสามารถปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาเบ้ืองต้นอย่างน้ีได้ ก็จะ สุขสงบ ไม่ก่อเวรภัย ดำ� รงชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัย จิตใจก็จะเข้มแข็ง มี วิสัยทัศน์ มองเห็นสภาพความเปน็ จริงของชีวติ ได้อย่างชัดเจน ไตรสกิ ขา อกี ระดบั หนงึ่ ซง่ึ เปน็ ระดบั สงู นน้ั เปน็ ระดบั ปฏบิ ตั ขิ องภกิ ษุ ผสู้ ละเครอื ญาติ สละสมบตั ิ และความสขุ ในเพศคฤหสั ถแ์ ลว้ ออกบวชเพอื่ บรรลุ ถงึ มรรคผลนพิ พาน ไตรสิกขาระดบั น้ีมชี ่อื เรยี กโดยเฉพาะว่า ๑. อธสิ ลี สกิ ขา ๒. อธจิ ติ ตสกิ ขา ๓. อธิปญั ญาสิกขา ในพระไตรปฎิ ก มพี ระสตู รหลายพระสตู ร เชน่ สามญั ญผลสตู ร สภุ สตู ร ได้อธบิ ายความเร่ืองไตรสิกขาไว้อย่างละเอยี ด เข้าใจได้ง่าย เป็นไปตามลำ� ดับ กล่าวโดยสรุปไดว้ ่า อธสิ ีลสิกขา คอื การปฏบิ ัติมนั่ อยใู่ นศีลขันธ์ (จฬุ ศลี มชั ฌิมศีล มหา ศีล) เป็นผู้มีอินทรียสังวร ส�ำรวมอินทรีย์ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เป็นผู้ ประกอบพรอ้ มดว้ ยสตสิ มั ปชญั ญะ และเปน็ ผสู้ นั โดษในปจั จยั ๔ มจี วี ร เปน็ ตน้ อันเป็นอริยะ แล้วเสพเสนาสนะอันสงัด เช่น ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา เป็นตน้ บ�ำเพญ็ เพียรทางจิตต่อไป 4 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

อธิจิตตสิกขา คือ การบ�ำเพ็ญเพียรท�ำสมาธิเพื่อให้ใจหยุดน่ิง หลัง จากปฏิบัติมั่นอยู่ในอธิสีลสิกขาแล้ว โดยนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ด�ำรงสติ เฉพาะหน้า น่งิ แนว่ อยจู่ นกระทง่ั ละนวิ รณ์ ๕ ได้ คือ - กามฉนั ท์ พอใจรกั ใครใ่ นอารมณท์ ีช่ อบใจมรี ูปเป็นต้น - พยาบาท ความปองรา้ ยผ้อู ่นื - ถีนมิทธะ ความทจ่ี ติ หดหู่และเคลบิ เคลิ้ม - อุทธัจจกกุ กุจจะ ความฟงุ้ ซา่ นและร�ำคาญ - วจิ กิ จิ ฉา ความลงั เลไม่ตกลงได้ เมอื่ พจิ ารณาเหน็ นวิ รณ์ ๕ ทลี่ ะไดแ้ ลว้ ในตน ยอ่ มเกดิ ปราโมทย์ เมอ่ื เกดิ ปราโมทยแ์ ล้วย่อมเกดิ ปตี ิ เมอื่ มปี ตี ิในใจ กายย่อมสงบ เมอ่ื กายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสขุ จติ ยอ่ มตงั้ มน่ั ย่อมสงดั จากกาม สงัดจากอกุศลกรรม แล้วได้ บรรลฌุ านสงู ขึ้นไปตามลำ� ดับ จากปฐมฌานถงึ จตุตถฌาน อธิปัญญาสิกขา คือ การที่เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธ์ิผ่องแผ้ว ไม่มี กิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ต้ังมั่น ไม่หวั่นไหว หลังจากได้บรรลฌุ านแลว้ อย่างน้ี ย่อมโนม้ จติ ใจไปเพ่อื ญาณทัสสนะ จากนน้ั ก็จะได้บรรลุถึงวิชชาหรือญาณไปตามล�ำดับ คือ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ- ญาณ อทิ ธิวธิ ญาณ ทิพยโสตญาณ เจโตปรยิ ญาณ ปพุ เพนิวาสานสุ สติญาณ จตุ ูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ พระวินัยบัญญัติ 5 www.kalyanamitra.org

หนา้ ที่และความสำ� คญั ของไตรสิกขา ไตรสิกขาน้ี แต่ละอย่างต่างท�ำหน้าท่ีต่างกัน แต่สอดคล้องกันโดย ตลอด คอื ศีล มีหน้าที่ก�ำจัดกิเลสอย่างหยาบ ที่เกิดขึ้นทางกายและทาง วาจา และมีหน้าท่ีในการปอ้ งกันวีตกิ กมโทษ คอื โทษทเ่ี กิดจากการล่วงละเมิด สมาธิ มหี นา้ ทก่ี ำ� จดั กเิ ลสอยา่ งกลาง อนั ทำ� ใหเ้ กดิ ความกลมุ้ รมุ ใจ และมีหนา้ ท่ีปราบปริยุฏฐานกิเลส คอื ความกลมุ้ รุมใจ ปญั ญา มีหน้าท่ีก�ำจัดกิเลสอย่างละเอียดที่นอนเน่ืองอยู่ในสันดาน และมหี นา้ ทป่ี ราบอนสุ ยั คือกเิ ลสทฝี่ ังอย่ใู นสนั ดาน พระวนิ ยั หรอื ศลี ทกุ ประเภทจดั เปน็ สลี สกิ ขาในระดบั ตน้ ทง้ั ศลี ของ ภกิ ษุ ๒๒๗ สิกขาบท ศลี ของภกิ ษณุ ี ๓๑๑ สิกขาบท ศลี ของสามเณร ๑๐ สิกขาบท และศีล ๕ ศลี ๘ ของอบุ าสกอบุ าสิกา ด้วยเหตุทไี่ ตรสิกขามีความสำ� คัญดงั กล่าวมานี้ จึงเป็นสิ่งทีจ่ ำ� เป็นที่ ภกิ ษสุ ามเณร อุบาสกอุบาสิกา จะต้องศกึ ษาเล่าเรียน จะต้องสำ� เหนยี กรแู้ ละ เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพือ่ รกั ษาตนให้บรสิ ุทธบิ์ ริบูรณ์อยใู่ นสีลสิกขาเป็นพน้ื ฐาน เพื่อให้มีจิตใจม่ันคง ไม่หว่ันไหวง่าย เพื่อมีปัญญาเห็นจริงในไตรลักษณ์หรือ สามัญลักษณะในตน และเพ่ือประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง อันเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาด�ำรงมัน่ คงอยู่ตอ่ ไปตลอดกาลนาน 6 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

ความสมั พันธ์ระหวา่ งพระธรรม กบั พระวนิ ัย พระพุทธศาสนา คอื ค�ำส่งั สอนของพระพุทธเจา้ ทีพ่ ระพุทธเจ้าทรง บัญญัติและทรงแสดงไว้ตลอดระยะเวลา ๔๕ ปี หลังจากได้ตรัสรู้แล้ว ท่าน แบง่ ไว้เป็น ๒ ส่วน คือ ธรรม กบั วินยั หรอื พระธรรม กบั พระวินัย เรียก รวมกนั วา่ พระธรรมวินัย พระธรรม คือ ค�ำสั่งสอนท่ีเน่ืองด้วยข้อปฏิบัติคืออริยสัจธรรม ท่ีมี จดุ มงุ่ หมายใหผ้ ปู้ ฏบิ ตั ไิ ดร้ บั อานสิ งสห์ รอื ผลตอบแทน คอื มนษุ ยส์ มบตั ิ สวรรค์ สมบตั ิ และนพิ พานสมบตั ิ โดยทรงแสดงแนวทางเพอื่ ใหไ้ ดบ้ รรลถุ งึ อานสิ งสน์ น้ั ไวค้ รบถว้ นสมบรู ณต์ ามความตอ้ งการของแตล่ ะบคุ คล ผตู้ อ้ งการไดส้ มบตั เิ ชน่ ใด เมอื่ ปฏิบัตไิ ปตามแนวทางนน้ั ๆ ก็ยอ่ มได้สมบัติเชน่ นั้น พระธรรมได้แก่ค�ำส่ังสอนท่ีท่านรวบรวมเก็บไว้ในพระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก พระวนิ ยั คอื คำ� สง่ั สอนทเ่ี นอื่ งดว้ ยขอ้ บญั ญตั อิ นั มหี ลกั การเพอ่ื ความ สงบเรียบรอ้ ย เพื่อความดงี ามของหมู่คณะ เพ่ือให้หมคู่ ณะอยูร่ ว่ มกนั อย่างมี อิสระและปลอดภัย ตลอดถึงเพื่อความบริสุทธิ์ทางกายและวาจาอันจะน�ำพา ให้ได้บรรลุธรรมสูงข้ึนได้โดยไม่ยาก เหมือนผ้าท่ีซักสะอาดดีแล้วย่อมรับน้�ำ ย้อมไดด้ ฉี ะนนั้ พระวนิ ยั ได้แก่คำ� สง่ั สอนท่ที า่ นรวบรวมเก็บไว้ในพระวนิ ัยปฎิ ก พระวินัยบัญญัติ 7 www.kalyanamitra.org

และพระวินัยนั้นเองจัดเป็นบาทฐานให้ปฏิบัติธรรมได้โดยสะดวก เพราะผู้ปฏิบัติได้จัดระเบียบการเป็นอยู่ของตัวเองตามข้อบัญญัติถูกต้องครบ ถ้วนไม่ด่างพร้อยแล้ว จะเป็นอยู่และปฏิบัติธรรมตามล�ำพังคนเดียวก็ตาม ร่วมกับหมู่คณะก็ตาม ก็ย่อมมีความสงบ เกิดสันติภายในและภายนอกโดย ไม่ยาก ไมต่ ิดขัดในการเปน็ อย่แู ละการปฏบิ ตั ิ ยอ่ มปฏบิ ตั ไิ ปไดร้ าบรืน่ ดังน้ัน พระวินัยจึงเป็นพื้นฐานท่ีจ�ำเป็นอย่างย่ิงส�ำหรับผู้ปฏิบัติ ธรรม อนึ่ง พระวินัยนั้นมิใช่บทบัญญัติที่เป็นข้อห้ามทั้งหมด หากแต่มี บทบัญญัติที่เป็นข้ออนุญาตเชิงเป็นข้อแนะน�ำให้ปฏิบัติเข้าไว้ด้วยไม่น้อย ซึ่ง บทบัญญตั เิ ชน่ นน้ั ย่อมอาจกลา่ วไดว้ ่าเปน็ ธรรม ธรรมท่มี ีปรากฏอยู่ในพระวนิ ัยนั้น เช่น (๑) สารธรรม คือธรรมท่ีเปน็ สาระเป็นหลักการ เช่น ธมั มจกั กปั ป- วตั นสูตร อนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร เป็นตน้ พระสตู รเหลา่ น้ีลว้ น อยใู่ นพระวนิ ัยปิฎก (๒) คณุ ธรรมหรอื คณุ สมบตั ขิ องผทู้ ำ� หนา้ ทตี่ า่ งๆ ซงึ่ เปน็ หลกั ธรรม ส�ำหรับปฏิบัติโดยตรง เช่น คุณสมบัติของภิกษุผู้ควรให้อุปสมบท (คือพระ อุปัชฌาย์) มี ๕ ประการคือ ต้องเป็นผู้ไม่วิบัติด้วยศีล ไม่วิบัติด้วยอาจาระ ไม่วบิ ตั ดิ ว้ ยทฐิ ิ เป็นพหสู ตู เปน็ ผ้มู ปี ญั ญา ซ่งึ ลว้ นเป็นหลักธรรมทง้ั สิน้ (๓) ข้อปฏิบัติเชิงเป็นวินัย เช่น เรื่องที่พระพุทธองค์ทรงพยาบาล ภกิ ษอุ าพาธทอ้ งเสยี ไมม่ แี รงทจี่ ะชว่ ยเหลอื ตวั เองได้ ไดแ้ ตน่ อนจมกองอจุ จาระ ปัสสาวะอยู่ หลังจากทรงช่วยเหลืออาบน้�ำ เปลีย่ นผ้าน่งุ ห่ม ทำ� ความสะอาด 8 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

ห้องพักเช็ดถูจนสะอาดและให้เธอนอนพักหลับสบายแล้ว ทรงประชุมสงฆ์ ไต่สวนเร่ืองราว แม้จะทรงได้ความชัดว่าภิกษุรูปนั้นใจแคบ ไม่เคยช่วยเหลือ ไม่เคยอุปการะใคร และไม่ท�ำประโยชน์อะไรเลย ก็ตรัสอบรมสั่งสอนพวก ภกิ ษุว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาผู้จะพึงพยาบาล พวกเธอกไ็ มม่ ี ถา้ พวกเธอไมพ่ ยาบาลกนั เองแลว้ ใครเลา่ จักพยาบาล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพยาบาลเรา ผู้นัน้ พงึ พยาบาลภกิ ษไุ ขเ้ ถิด” ดงั นีเ้ ป็นตน้ (๔) ข้อปฏิบัตอิ ันเป็นธรรมเนยี มท่ีดงี าม เชน่ - อปุ ัชฌายวัตร ธรรมเนียมที่สัทธิวิหาริกพึงปฏิบัติต่อพระ อุปัชฌาย์ - อาจริยวตั ร ธรรมเนียมท่ีอันเตวาสิก (ศิษย์) พึงปฏิบัติต่อ อาจารย์ - อาคันตุกวัตร ธรรมเนยี มทพ่ี ระอาคนั ตุกะพงึ ปฏบิ ัติ - เสขยิ วตั ร ธรรมเนยี มปฏิบตั เิ กย่ี วกบั มารยาทที่พงึ ศกึ ษา เพอ่ื ความเรยี บรอ้ ยสวยงามเชน่ มารยาทในการ นงุ่ หม่ มารยาทในการขบฉนั ธรรมเนยี มในการ เทศนา ฯลฯ พระวินัยบัญญัติ 9 www.kalyanamitra.org

สรุปไดว้ ่า พระธรรม เปน็ เรอื่ งของเนอื้ หาสาระ เปน็ หลกั การ และเปน็ จดุ หมาย พระวนิ ัย เปน็ เรอื่ งของระบบการจดั ระเบยี บบคุ คลและองคก์ รเพอ่ื ขบั เคลอ่ื นสง่ ใหบ้ คุ คลหรอื องคก์ รนน้ั ๆ กา้ วขนึ้ สธู่ รรมได้ โดยราบรื่น ความสำ� คัญของพระวนิ ัย แต่โบราณมาท่านถือว่าพระวินัยนั้นมีความส�ำคัญอันดับต้นในการ ทำ� ใหพ้ ระพทุ ธศาสนาแพรห่ ลายขยายตวั ไดอ้ ยา่ งรวดเรว็ และมน่ั คงดำ� รงอยไู่ ด้ ดงั เชน่ สงั คมของสงฆใ์ นสมยั พทุ ธกาลมคี วามแขง็ แกรง่ และยนื หยดั อยไู่ ดอ้ ยา่ ง อาจหาญ เป็นที่เกรงขามกันท่ัวไป แม้จะอยู่ในท่ามกลางเจ้าลัทธิท่ีมีชื่อเสียง จ�ำนวนมากก็ตาม ท้ังน้ีเพราะอาศัยรากฐานสำ� คัญคือพระวินัย สังคมสงฆ์ใน ครัง้ นน้ั ส่วนใหญเ่ ปน็ สงั คมแหง่ พระอริยสงฆ์ซง่ึ มวี ัตรปฏบิ ัติท่ีงดงาม นำ� มาซ่งึ ความศรทั ธาเลือ่ มใสของประชมุ ชนท่ัวไป อนึ่ง แม้ในการประชุมพระอริยสงฆ์จ�ำนวน ๕๐๐ องค์คราวท�ำ สงั คายนาพระธรรมวินยั ครงั้ แรก พระมหากัสสปสงั ฆวฒุ าจารยผ์ เู้ ป็นประธาน ท่ีประชุมได้ถามพระอรหันต์ทั้งนั้นว่าจะสงั คายนาอะไรกอ่ น ที่ประชุมมมี ติเปน็ เอกฉนั ทใ์ หส้ งั คายนาพระวนิ ัยก่อน ดว้ ยเหตผุ ลวา่ “วินโย นาม พุทฺธสาสนสฺส อายุ, วินเย ิเต พุทฺธสาสนํ ิตํ โหติ ฯ 10 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

อนั พระวนิ ยั จดั เปน็ อายขุ องพระพทุ ธศาสนา เมอื่ พระวนิ ยั ด�ำรงอยู่ พระพทุ ธศาสนาก็ด�ำรงอยดู่ ้วย” แสดงวา่ ทา่ นใหค้ วามสำ� คญั แกพ่ ระวนิ ยั ในกาลตอ่ มาจงึ มคี ำ� กลา่ ววา่ “พระวินัยเปน็ รากแกว้ ของพระพทุ ธศาสนา” พระมหาเถระอริยบุคคลสมัยต้นให้ความส�ำคัญแก่พระวินัยอย่าง สูงสดุ เทา่ กบั เป็นอายแุ ละเปน็ ชวี ิตของพระพุทธศาสนา เมื่อพระวินัยยงั ด�ำรง อยู่ พระพทุ ธศาสนากจ็ ะยงั ดำ� รงอยู่ เหมอื นตน้ ไมด้ ำ� รงอยไู่ ดด้ ว้ ยรากแกว้ พระ วนิ ยั กเ็ ปน็ รากแกว้ ของพระพทุ ธศาสนา ซงึ่ จะประคองใหพ้ ระพทุ ธศาสนาดำ� รง อยไู่ ด้นาน อนงึ่ พระวนิ ยั เปน็ บาทฐานคอื เปน็ จดุ เรม่ิ ตน้ แหง่ การบรรลธุ รรมทสี่ งู ขน้ึ ไปตามลำ� ดับ ดงั เช่นท่ตี รสั ไวใ้ นจฬู สงคราม คมั ภรี ์บรวิ าร ว่า “วินยั มีเพือ่ ความส�ำรวม (สงั วร) ความส�ำรวมมีเพื่อความไมเ่ ดอื ดรอ้ นใจ (อวิปปฏิสาร) ความไม่เดอื ดรอ้ นใจมีเพื่อความปราโมทย์ (ปาโมชชะ) ความปราโมทย์มเี พ่อื ความอม่ิ ใจ (ปีติ) ความอ่ิมใจมเี พื่อความสงบใจ (ปัสสัทธิ) ความสงบใจมีเพอ่ื ความสบายใจ (สุข) ความสขุ มีเพอ่ื ความตง้ั ใจม่นั (สมาธ)ิ ความต้ังใจม่ันมคี วามรู้เหน็ ตามเปน็ จริง (ยถาภตู ญาณทสั สนะ) ความรเู้ ห็นตามเป็นจรงิ มเี พอื่ ความเบอื่ หน่าย (นิพพทิ า) ความเบ่อื หนา่ ยมีเพอ่ื ความส�ำรอกกิเลส (วริ าคะ) ความส�ำรอกกิเลสมเี พ่อื ความหลดุ พ้น (วมิ ุตต)ิ พระวินัยบัญญัติ 11 www.kalyanamitra.org

ความหลุดพ้นมีเพือ่ ประโยชนแ์ กค่ วามรู้เหน็ วา่ หลดุ พน้ (วิมตุ ติญาณทัสสนะ) ความรู้เหน็ ว่าหลุดพ้นมเี พ่อื ความดบั สนทิ หาเช้อื มไิ ด้ (อนปุ าทาปรินิพพาน)” แสดงวา่ พระวนิ ยั เปน็ ตน้ เคา้ ใหไ้ ตเ่ ตา้ สงู ขน้ึ ไปจนถงึ ความดบั สนทิ หา เชอ้ื มไิ ด้ ซ่ึงแปลความไดว้ ่าถ้าไมม่ ีพระวนิ ยั เป็นต้นเคา้ ก็ย่อมไม่มีความส�ำรวม เมอื่ ไมส่ ำ� รวมกเ็ ดอื ดรอ้ นใจ ฯลฯ เมอ่ื ไมร่ เู้ หน็ ความหลดุ พน้ กไ็ มม่ คี วามดบั สนทิ หาเช้อื มไิ ด้ อานิสงสพ์ ระวินยั พระวนิ ยั ทท่ี รงบญั ญตั ไิ วน้ นั้ เมอื่ ภกิ ษรุ กั ษาดแี ลว้ ดว้ ยความมน่ั ใจ ไม่ ลว่ งละเมดิ ไมว่ า่ ดว้ ยขอ้ อา้ งใดๆ ยอ่ มไดช้ อื่ วา่ เปน็ พระจรงิ พระแท้ พระผบู้ รสิ ทุ ธ์ิ เป็นบุญเขตเป็นเน้ือหาบุญอันยอดเย่ียมของชาวโลก ย่อมได้รับอานิสงส์อัน สำ� คัญ ๓ ประการ คือ ๑. ไม่มีวิปฏิสาร คือความเดือดร้อนใจ มีความสบายใจ ไม่ต้อง วติ กกงั วลเร่อื งศลี าจารวัตร เรื่องการประพฤติปฏิบตั ิของตน ๒. ได้รบั ความแช่มช่นื เพราะรู้สกึ ว่าตนประพฤติดีงามแลว้ ไม่ต้อง ถูกลงโทษหรือถูกต�ำหนติ ติ งิ จากผู้ใด ๓. ไดร้ บั ความยกยอ่ งสรรเสรญิ สามารถเขา้ สมาคมกบั ผทู้ รงศลี ได้ อยา่ งกล้าหาญ ไม่สะทกสะทา้ น 12 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

ความมงุ่ หมายในการบญั ญตั พิ ระวินัย ๑. เพื่อปอ้ งกันไมใ่ หเ้ ป็นคนเห้ยี มโหด ๒. เพ่อื ป้องกันความลวงโลกเลี้ยงชีพ ๓. เพือ่ ปอ้ งกันความดรุ า้ ย ๔. เพื่อปอ้ งกนั ความประพฤติเลวทราม ๕. เพอื่ ป้องกันความประพฤตเิ สยี หาย ๖. เพือ่ ปอ้ งกนั ความเลน่ ซกุ ซน ๗. เพอ่ื รกั ษาความนยิ มของบุคคลในสมัยนน้ั ๘. เพอ่ื เป็นธรรมเนียมของภกิ ษุ ประโยชน์ของพระวนิ ัย ในการบญั ญัตพิ ระวนิ ยั นั้น พระพทุ ธองค์ทรงอาศัยอ�ำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ ๑. สงฆฺ สุฏฐฺ ตุ าย เพอ่ื ความยอมรบั วา่ ดแี ห่งหมคู่ ณะ ๒. สงฺฆผาสุตาย เพือ่ ความผาสกุ ของหมู่คณะ ๓. ทุมมฺ งกฺ นู ํ ปุคคฺ ลานํ นิคคฺ หาย เพอ่ื ข่มบุคคลผู้เก้อยาก (คนหนา้ ดา้ น) พระวินัยบัญญัติ 13 www.kalyanamitra.org

๔. เปสลานํ ภิกขฺ นู ํ ผาสวุ หิ าราย เพ่อื การอยูอ่ ย่างผาสุกของภกิ ษผุ ้มู ีศลี เป็นทรี่ ัก ๕. ทฏิ ฺฐธมมฺ ิกานํ อาสวานํ สวํ ราย เพือ่ ปอ้ งกันมใิ ห้อาสวะในปัจจุบันเกิดขน้ึ ๖. สมปฺ รายิกานํ อาสวานํ ปฏฆิ าตาย เพ่อื ก�ำจดั อาสวะในอนาคต ๗. อปฺปสนนฺ านํ ปสาทาย เพ่อื ใหค้ นท่ยี งั ไม่เลอ่ื มใสไดเ้ ลอ่ื มใส ๘. ปสนฺนานํ ภยิ ฺโยภาวาย เพอื่ ใหค้ นทเี่ ลื่อมใสอยู่แลว้ เล่อื มใสยง่ิ ขึ้น ๙. สทฺธมมฺ ฏฺิตยิ า เพอ่ื ความม่นั คงแหง่ พระสทั ธรรม ๑๐. วินยานคุ ฺคหาย เพ่อื อนุเคราะห์เกอ้ื กูลพระวนิ ัย (ใหด้ ำ� รงอยู่ตอ่ ไป) ประโยชนข์ องพระวนิ ยั ตอ่ บคุ คลและองคก์ ร ๑. เป็นประโยชน์ต่อผู้บวช คือ ท�ำให้ผู้ที่เข้ามาเป็นสมาชิกอยู่ใน องคก์ รสงฆท์ เี่ รยี กวา่ ภกิ ษุ ภกิ ษณุ ี สามเณร สามเณรี สามารถดำ� เนนิ ชวี ติ อยา่ ง ประเสริฐแล้วพฒั นาตนให้บรรลุธรรมในระดับสูงขึน้ ไปจนถงึ พระนิพพานได้ ๒. เป็นประโยชน์ต่อองค์กรสงฆ์ คือ ท�ำให้องค์กรสงฆ์มีความรัก สามัคคีและเคารพนับถือกัน ปฏิบัติดีต่อกันด้วยจิตใจ ท�ำให้อยู่กันอย่างสันติ จนสามารถปฏิบัติธรรมได้สะดวก 14 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

๓. เปน็ ประโยชน์ตอ่ สงั คมโลก คือ ท�ำใหส้ งั คมโลกมแี บบอยา่ งท่ีดี งามสำ� หรบั ประพฤตติ าม หรอื สง่ ลกู หลานใหเ้ ขา้ มาบวชเพอื่ จะไดอ้ บรมบม่ เพาะ มารยาทและธรรมเนยี มตา่ งๆ สำ� หรบั ปฏบิ ตั ติ นใหเ้ ปน็ คนเรยี บรอ้ ยงดงามตาม อยา่ งพระสงฆ์ และเสรมิ สรา้ งศรทั ธาปสาทะใหเ้ กดิ แกส่ งั คมโลกทไ่ี ดเ้ หน็ องคก์ ร สงฆป์ ฏบิ ตั เิ ครง่ ครดั ในพระวนิ ยั อนั เปน็ แรงจงู ใจใหเ้ ขา้ มาหาแลว้ บชู ากราบไหว้ ในฐานะเปน็ เนือ้ นาบญุ อันประเสรฐิ แล้วฟงั คำ� แนะนำ� ส่ังสอนจากท่านและนำ� ไปปฏิบัติตามจนไดร้ บั ความสุขสงบในชวี ติ ๔. เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา คือ พระวินัยในฐานะท่ีเป็น รากแก้วของพระพุทธศาสนา ย่อมน�ำพาให้เกิดความมั่นคงและความเป็น ปึกแผ่นให้แก่พระพุทธศาสนาเอง ด้วยเม่ือองค์กรสงฆ์และสังคมโลกปฏิบัติ ตามหลกั พระวนิ ยั กนั ถว้ นหนา้ แลว้ ยอ่ มทำ� ใหพ้ ระพทุ ธศาสนาเขม้ แขง็ เตบิ ใหญ่ และแพรห่ ลายขยายตวั เพิม่ ข้นึ เร่ือยๆ ดงั ทท่ี า่ นกล่าววา่ “พระวินัยเป็นอายุของพระพุทธศาสนา เมื่อพระวินัยยังด�ำรงอยู่ พระพทุ ธศาสนาก็ดำ� รงอย”ู่ ประโยชน์ของการเรียนรู้พระวนิ ยั พระวนิ ยั อนั เปน็ ทร่ี วมคำ� สอนซงึ่ เปน็ ขอ้ บญั ญตั แิ ละธรรมเนยี มปฏบิ ตั ิ ต่างๆ เพื่อความเรียบร้อยดีงามขององค์กรสงฆ์น้ัน เม่ือเรียนรู้และพิเคราะห์ อยา่ งละเอยี ดถถี่ ว้ นแลว้ ยอ่ มใหค้ วามรมู้ ากมาย กลา่ วคอื ทำ� ใหร้ วู้ ธิ กี ารบรหิ าร จัดการบุคคลเป็นต้นของพระพุทธองค์ ซ่ึงสามารถน�ำมาใช้ได้แม้ในยุคสมัย ปัจจุบนั พระวินัยบัญญัติ 15 www.kalyanamitra.org

ถือไดว้ ่า พระวนิ ัยเป็นต้นแบบการเรยี นรเู้ ร่อื งเหลา่ น้ี คอื (๑) เทคนคิ การสรา้ งองคก์ ร การพฒั นา และการรกั ษาองคก์ รใหม้ น่ั คง (๒) ความรอบคอบ ปอ้ งกันไว้กอ่ น (๓) การแกป้ ัญหาที่ต้นเหตุ (๔) ความละเอยี ดลออ ไม่มองข้ามแมเ้ รื่องเลก็ นอ้ ย (๕) ความยดื หย่นุ ผอ่ นปรนแบบสายกลาง (๖) วธิ กี ำ� จดั คนไม่ดีใหอ้ อกไปจากหมคู่ ณะโดยใชก้ ฎเกณฑ์ (๗) ความมเี หตผุ ล ไมถ่ อื ตนเป็นใหญ่ (๘) วธิ ีสร้างสันติ ความสามัคคี และความม่นั คงแกห่ มคู่ ณะ (๙) วิธีสรา้ งศรัทธา รักษาศรทั ธาของชาวบา้ น (๑๐) การดแู ลตวั เอง สิง่ แวดล้อม (๑๑) วธิ ีพัฒนาตัวเองเบ้อื งต้น (๑๒) วธิ ีการอยรู่ ว่ มกันด้วยใช้ธรรมเนยี มเป็นเครอ่ื งยดึ เหนี่ยว ภาคส่วนของพระวินยั พระวนิ ยั แบ่งออกเปน็ ๒ ภาคส่วนใหญๆ่ ๒ ภาคสว่ น คอื (๑)  อาทิพรหมจริยกาสิกขา คือ ข้อศึกษาอบรมข้อปฏิบัติอันเป็น เบ้ืองต้นแห่งพรหมจรรย์ ในการด�ำเนินชีวิตอย่างประเสริฐ เป็นระเบียบที่พึง ปฏบิ ตั ใิ นสงั คมของพระอรยิ บคุ คล ไดแ้ กส่ ว่ นทเ่ี ปน็ สกิ ขาบททพี่ ระพทุ ธองคท์ รง บญั ญตั ไิ วเ้ พอ่ื ปอ้ งกนั ความเสยี หายเปน็ ตน้ มกี ารปรบั โทษกำ� กบั ไวท้ กุ ขอ้ หนกั บ้าง เบาบ้าง จัดเปน็ พทุ ธอาณา เรียกโดยท่ัวไป พระปาติโมกข์ 16 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

ภาคส่วนน้เี รยี กอกี อยา่ งหนึง่ วา่ อุภโตวภิ งั ค์ แปลว่า วภิ งั ค์ ๒ คอื - มหาวิภังค์ หรือ ภกิ ขุวภิ ังค์ ได้แก่ สกิ ขาบทหรอื ศลี ๒๒๗ ข้อของภกิ ษุ - ภกิ ขนุ วี ภิ ังค์ ได้แก่ สกิ ขาบทหรือศีล ๓๑๑ ข้อของภิกษุณี (๒)  อภิสมาจาริกาสิกขา คือ ข้อศึกษาอบรมข้อปฏิบัติอันเป็น แบบแผน ธรรมเนยี ม ความประพฤตทิ เ่ี ปน็ มารยาทเปน็ สมบตั ผิ ดู้ ี ซง่ึ ทรงบญั ญตั ิ ไว้เพื่อให้พระสงฆม์ ีความสงา่ งาม นา่ เคารพศรทั ธาเล่ือมใส เป็นสกิ ขาบททมี่ า นอกพระปาฏโิ มกข์ ภาคส่วนน้ีท่านจัดไว้เป็นหมวดๆ เรียกว่า ขันธกะ มีจ�ำนวน ๒๒ ขันธกะ ชือ่ อ่นื ที่ใชเ้ รยี กพระวนิ ยั พระวินัยมีชอ่ื เรยี กต่างๆ ตามลักษณะทีม่ ุ่งประสงค์ คือเรยี กว่า (๑) อาณาเทสนา เพราะเป็นการแสดงขอ้ ความอันเปน็ ลกั ษณะ บังคบั เปน็ กฎเกณฑท์ ี่ตอ้ งปฏบิ ตั ิตาม (๒) ยถาปราธสาสน์ เพราะเป็นค�ำสอนท่มี กี ารก�ำหนดโทษตาม ความผดิ ก�ำกับไว้ด้วย (๓) สังวราสังวรกถา เพราะว่าด้วยเร่ืองการส�ำรวมและการ ไม่ส�ำรวม พระวินัยบัญญัติ 17 www.kalyanamitra.org

(๔) อธิสีลสิกขา เพราะเป็นข้อศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อ ปรบั กายและวาจาใหส้ ะอาดบรสิ ทุ ธสิ์ ำ� หรบั รองรบั คณุ พเิ ศษ ท่ีสงู ข้ึนไป แบง่ เป็นจุลศลี มัชฌิมศลี มหาศีล (๕) วีติกกมปหาน เพราะเปน็ เครื่องกำ� จัดกเิ ลสอยา่ งหยาบ ฐานะพระวินัย พระวินัยท่ีพระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วน้ัน มีฐานะที่ส�ำคัญ ๓ ประการ คือ (๑) เป็นสาสนพรหมจรรย์ คือเป็นค�ำสอนส�ำหรับด�ำเนินชีวิต อนั ประเสรฐิ บรสิ ุทธิ์ (๒) เป็นอาทิพรหมจรรย์ คือเป็นเบื้องต้นแห่งการปฏิบัติเพื่อ ชีวติ ประเสริฐ (๓) เป็นมรรคพรหมจรรย์ คือเป็นทางส�ำหรับด�ำเนินไปสู่ส่ิง ประเสรฐิ คอื ความพ้นทุกข์ วธิ ีการบัญญตั ิพระวินยั พระพทุ ธองคม์ ไิ ดท้ รงบญั ญตั พิ ระวนิ ยั ไวล้ ว่ งหนา้ วา่ หา้ มทำ� อยา่ งนน้ั หา้ มปฏบิ ตั อิ ยา่ งนี้ เมอ่ื ทำ� แลว้ จะมโี ทษอยา่ งนน้ั อยา่ งนี้ ตอ่ เมอ่ื มเี หตเุ กดิ ขน้ึ คอื มีภิกษุหรือภิกษุณีไปประพฤติอย่างน้ันอย่างน้ีเข้า ผู้คนทั่วไปเห็นแล้วพากัน 18 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

ตำ� หนโิ พนทะนาวา่ ไมเ่ หมาะไมค่ วรจงึ นำ� มากราบทลู พระพทุ ธองค์ พระพทุ ธองค์ ทรงเห็นพ้องด้วยจึงทรงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วทรงสอบถามด้วยพระองค์ เอง เมอ่ื ไดค้ วามจรงิ กท็ รงตำ� หนแิ ลว้ ชโี้ ทษแหง่ การประพฤตเิ สยี หายเชน่ นน้ั วา่ ไมค่ วรทำ� ไมค่ วรประพฤติ ทง้ั ตรสั อานสิ งสแ์ หง่ การสำ� รวมระวงั จากนน้ั จงึ ทรง บญั ญตั เิ ปน็ สกิ ขาบทไวเ้ ปน็ บรรทดั ฐาน พรอ้ มทงั้ กำ� หนดโทษหนกั เบาตามความ ผดิ ก�ำกบั ไว้ด้วย ซ่งึ เรียกโทษนัน้ ว่า อาบตั ิ ต่อมาสิกขาบททีท่ รงบญั ญตั ิไวแ้ ลว้ น้นั ๆ ตึงเกินไปจนภิกษทุ ัง้ หลาย เกิดอาการกลัวจะปฏิบัติผิดบ้าง หย่อนเกินไปจนมีผู้หลบเล่ียงล่วงละเมิดบ้าง จงึ ทรงบญั ญตั เิ พมิ่ เตมิ สกิ ขาบทนนั้ ๆเพอื่ ใหเ้ กดิ ความคลอ่ งตวั ในการปฏบิ ตั ิ ไม่ ตงึ เกินไป ไม่หยอ่ นเกินไป พระบญั ญัตทิ ่ีทรงเพมิ่ เตมิ เชน่ นีเ้ รียกวา่ อนบุ ญั ญตั ิ ซึง่ มปี รากฏรวมอยูส่ ิกขาบทข้อน้นั ๆ สรุปแลว้ การบญั ญัติพระวินัยมจี ดุ เรม่ิ ตน้ ดังน้ี - มิได้ทรงบัญญัติไว้ล่วงหน้า เพ่ือป้องกันมิให้ภิกษุล่วงละเมิด เหมือนการบัญญัติกฎหมาย ซ่ึงตราเป็นข้อบัญญัติไว้ล่วงหน้า โดยยังไม่มี ผลู้ ว่ งละเมิดกอ่ นเปน็ หลัก - เม่ือมีเหตุการณ์ที่ภิกษุไปท�ำสิ่งที่ชาวบ้านไม่ชอบ ไม่ถูกต้อง ไม่ เหมาะ ไม่ควร หรือท�ำให้ชาวบ้านเดือดร้อนเกิดข้ึน ชาวบ้านไปฟ้องร้อง พระพทุ ธเจา้ พระองคท์ รงประชมุ สงฆเ์ พอื่ รบั ทราบขอ้ มลู รายละเอยี ดของเรอ่ื ง - ทรงไตส่ วนไลเ่ ลยี งพระทท่ี ำ� เชน่ นนั้ เมอื่ ทรงเหน็ วา่ เปน็ การกระทำ� ท่ีไม่เหมาะไม่ควรจริง ทรงแสดงโทษแห่งการกระท�ำ และทรงแสดงประโยชน์ ของการสำ� รวมระวงั ไมก่ ระท�ำเชน่ นัน้ ต่อไป พระวินัยบัญญัติ 19 www.kalyanamitra.org

- ทรงบญั ญตั เิ ปน็ ขอ้ หา้ มในเรอื่ งเชน่ นนั้ ไว้ เรยี กวา่ บญั ญตั พิ ระวนิ ยั และมีบทลงโทษหนกั บ้างเบาบ้าง ซึ่งเรียกวา่ อาบตั ิ - เม่ือทรงบัญญัติไว้แล้ว ต่อมาเป็นข้อปฏิบัติท่ีตึงเกินไป ปฏิบัติ ได้ยาก หรือหย่อนเกินไป ท�ำให้ล่วงละเมิดโดยง่าย ก็ทรงบัญญัติข้อความ เพิม่ เตมิ แตม่ ไิ ด้ยกเลกิ บทบญั ญตั ิท่ที รงบญั ญตั ิไว้แลว้ พระวนิ ยั ทีท่ รงบัญญตั ไิ ว้ในลกั ษณะน้ี มีชอ่ื เรยี กเปน็ ๒ อยา่ งคือ มูลบัญญตั ิ กับ อนุบญั ญตั ิ - มูลบัญญัติ คือ ข้อบัญญัติท่ีทรงบัญญัติไว้แต่เดิม เม่ือเกิด เหตกุ ารณข์ ึ้น - อนุบัญญัติ คือ ขอ้ บญั ญัติท่ีทรงบญั ญัตเิ พม่ิ เติมในภายหลงั ความหมายพระวินยั วนิ ัย แปลวา่ การก�ำจัด, การเลิกละ, ข้อน�ำไปให้วิเศษ, ข้อน�ำไป ให้แจง้ , ข้อน�ำไปให้ตา่ ง มอี ธบิ ายตามล�ำดับความหมายนั้นว่า การก�ำจัด หมายถึง เป็นเคร่ืองมือส�ำหรับก�ำจัดอาสวกิเลส เพราะ เปน็ ขอ้ ส�ำหรบั ฝกึ หดั พัฒนากายกับวาจาให้สงบเย็น เรยี บรอ้ ย การเลิกละ หมายถึง วิธีการฝึกหัดอบรมเพ่ือเลิกละอัชฌาจารคือ ความประพฤติช่ัว ความประพฤติเสียมารยาท ความประพฤติไม่เหมาะสมแก่ สมณะ เม่อื ปฏิบัติตามวนิ ยั ย่อมเลิกละอัชฌาจารนนั้ ๆ ได้ 20 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

ข้อน�ำไปให้วิเศษ หมายถึง ข้อปฏิบัติท่ีเป็นบาทฐานน�ำผู้ปฏิบัติให้ บรรลุคณุ วเิ ศษสูงขึ้นไปตามล�ำดบั ขอ้ นำ� ไปใหแ้ จง้ หมายถงึ ขอ้ ปฏบิ ตั ทิ เ่ี ปน็ บาทฐานนำ� ผปู้ ฏบิ ตั ใิ หบ้ รรลุ ถึงความแจ่มแจ้งในธรรม มองเห็นธรรมได้ง่าย เหมือนลมท่ีก�ำจัดเมฆหมอก ไปหมดส้ินแล้วท�ำให้เหน็ ท้องฟา้ ไดแ้ จม่ แจ้งฉะน้ัน ขอ้ นำ� ไปใหต้ า่ ง หมายถงึ ขอ้ ปฏบิ ตั ทิ นี่ ำ� ใหผ้ ปู้ ฏบิ ตั แิ ตกตา่ งไปจากคน ทวั่ ไป โดยใหส้ งบเยน็ เรยี บรอ้ ย และบรรลถุ งึ คณุ วเิ ศษระดบั ตา่ งๆ มโี สดาปตั ตผิ ล เป็นตน้ อนง่ึ ท่านใหค้ วามหมายค�ำวา่ วนิ ัย ไว้วา่ ๑. ชื่อว่า วินัย เพราะมีนัยต่างๆ โดยแบ่งเป็นปาติโมกขุทเทส กองอาบตั ิ มาตกิ า วิภงั ค์ เป็นต้น (วิวธิ นยตตฺ า) ๒. ชอื่ วา่ วนิ ยั เพราะมนี ยั พเิ ศษ โดยมอี นบุ ญั ญตั เิ พมิ่ เตมิ เพอื่ ให้ มูลบญั ญตั หิ รอื บทบญั ญัติครง้ั แรกรัดกมุ ครอบคลุมความผิด มากขน้ึ หรอื ผ่อนผันคลายความเข้มงวดลง (วิเสสนยตฺตา) ๓. ชอ่ื วา่ วนิ ยั เพราะนำ� กายวาจาใหถ้ งึ ความพเิ ศษแตกตา่ ง เหตุ ปอ้ งกนั อชั ฌาจารทางกายวาจาไวไ้ ด้ (กายวาจานํ จ วนิ ยนโฺ ต) โดยภาพรวม คำ� วา่ วนิ ยั หมายถงึ คำ� สงั่ สอนสว่ นหนงึ่ ของพระพทุ ธเจา้ ทเี่ นอ่ื งดว้ ยขอ้ บญั ญสั ำ� หรบั เปน็ หลกั ปฏบิ ตั ขิ องภกิ ษสุ งฆแ์ ละภกิ ษณุ สี งฆ์ เรยี ก โดยทั่วไปวา่ พระวนิ ยั ซง่ึ หมายความว่า พระวินัยบัญญัติ 21 www.kalyanamitra.org

“ระเบียบส�ำหรับก�ำกับความประพฤติให้เป็นระเบียบ เดียวกัน ได้แก่ค�ำส่ังสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นข้อ บัญญตั ิ เปน็ ขอ้ หา้ ม วางไวเ้ ป็นหลกั ปฏบิ ตั ิเพ่ือให้เกิด ความสงบเรียบร้อยดีงามในหมู่คณะ เป็นเคร่ืองมือ ส�ำหรับบรหิ ารหมคู่ ณะ” แนวทางการสร้างสนั ตภิ าพในพระวินยั สนั ตภิ าพ หมายถงึ ความสงบ ความสงบสขุ แบง่ เปน็ ๒ ประเภท คอื ๑. สนั ตภิ ายใน คอื ความสงบกาย วาจา ใจ ของแต่ละบุคคล ๒. สนั ตภิ ายนอก คอื ความสงบกาย วาจา ใจ ของคนอนื่ ของสงั คม พระวินัย เป็นท้ังระเบียบปฏิบัติเพื่อให้เกิดสันติภาพท้ังสองประเภท และมีบทลงโทษเพ่ือป้องกันมิให้มีการละเมิดพระวินัย เพื่อป้องกันการวิวาท ขดั แยง้ เมอ่ื ตา่ งความเหน็ กนั พระวนิ ยั จดั เปน็ ขอ้ ปฏบิ ตั เิ บอื้ งตน้ อนั จะนำ� ใหเ้ ขา้ ถงึ สนั ตภิ าพไดอ้ ยา่ ง แท้จริง  เพราะทั้งตนเองและผู้อื่นต่างก็อยู่ในระเบียบปฏิบัติท่ีไม่ก่อความ เดือดรอ้ นให้แกต่ นเองและผ้อู ่ืนเปน็ ปกติ พระวินัย ส่วนหนึ่งเป็นศีล โดยเป็นศีลของภิกษุและภิกษุณี จัดเป็น สลี สิกขา และมีข้อปฏบิ ตั ิส�ำหรับภกิ ษแุ ละภกิ ษุณอี ่นื ๆ อีก แนวทางที่จะสร้างสันติภาพได้นั้นจ�ำต้องปฏิบัติตามพระวินัยโดย ทว่ั ถงึ และเปน็ ปกติ ในพระพทุ ธศาสนา พระสงฆท์ งั้ ปวงมรี ะเบยี บปฏิบัติรกั ษา 22 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

พระวินัยในส่วนของพระปาติโมกข์คือศีลของภิกษุ โดยการประชุมกันฟัง พระปาติโมกขท์ ุกกึ่งเดอื น ในทา้ ยพระปาตโิ มกขน์ ั้นได้ส�ำแดงขอ้ ความไว้ว่า “ตตถฺ สพเฺ พเหว สมคเฺ คหิ สมโฺ มทมาเนหิ อววิ ทมาเนหิ สกิ ฺขิตพฺพ”ํ ซ่ึงแปลได้ใจความว่า อนั ภกิ ษทุ งั้ ปวงแล พงึ เปน็ ผพู้ รอ้ มเพรยี งกนั ชอบพอกนั ไมว่ ิวาทกนั ศกึ ษาในสตั ถพุ จน์อันเป็นหลักสูตรนนั้ พระสงฆท์ อี่ ยกู่ นั อยา่ งสนั ติ สขุ สงบ มคี วามพรอ้ มเพรยี งกนั ชอบพอ กัน และไม่วิวาทกัน รักษาพระศาสนามาได้แต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ก็เพราะ ตา่ งกป็ ฏบิ ตั ติ ามพระวนิ ยั ดว้ ยตนเอง ทำ� ใหเ้ กดิ สนั ตภิ ายใน และชว่ ยกนั ดแู ลให้ ผู้อ่ืนใหเ้ กิดสันติภายนอกด้วย จงึ ท�ำให้เกดิ สันตภิ าพในหมคู่ ณะ น่ันเป็นการแสดงยืนยันให้เห็นว่าพระวินัยสามารถสร้างสันติภาพให้ เกดิ ข้นึ ไดอ้ ยา่ งแท้จรงิ พระวนิ ยั ปิฎกเปน็ รปู ธรรมที่เหน็ ได้งา่ ย พระวินัยปิฎก คือ ท่ีรวมพระพุทธพจน์หรือกลุ่มแห่งคัมภีร์อันเป็น พระพุทธพจน์ท่ีเป็นข้อบญั ญัติเกีย่ วกบั ความประพฤติ มารยาท ความเป็นอยู่ ตลอดถึงธรรมเนียมปฏิบัติและการท�ำกิจกรรมของสงฆ์ท่ีเรียกรวมๆ ว่า วนิ ัยบญั ญตั ิ อภิสมาจารกิ วัตร สงั ฆกรรม อนั เปน็ ข้อทพี่ ึงเวน้ บ้าง พงึ ปฏบิ ตั ิ ตามเพ่อื ความสง่างามและความเรยี บร้อยดีงามของสังฆมณฑลบ้าง พระวินัยบัญญัติ 23 www.kalyanamitra.org

พระวินัยปิฎกจึงจัดว่าเป็นต้นแบบแห่งการปฏิบัติท่ีเป็นรูปธรรมที่สุด เมอ่ื มกี ารปฏบิ ตั ติ ามพระวนิ ยั ทรี่ วมอยใู่ นพระวนิ ยั ปฎิ ก ดว้ ยการประพฤตปิ ฏบิ ตั ิ ตามกฎกตกิ า ธรรมเนยี มปฏบิ ตั ิ และสงั ฆกรรม ตามทที่ รงบญั ญตั กิ ำ� หนดไว้ ก็ จะทำ� ให้เกิดภาพทส่ี วยงามของผูป้ ฏิบตั ิ นำ� ให้เกิดความนา่ ศรทั ธาเลือ่ มใส นา่ เคารพกราบไหว้ และนา่ บชู าดว้ ยอามสิ ทสี่ ามารถใหด้ ำ� รงชพี อยไู่ ดจ้ ากคฤหสั ถ์ เพราะเมอื่ มผี ปู้ ฏบิ ตั ติ ามพระวนิ ยั ขอ้ นนั้ ขอ้ นหี้ รอื ละเวน้ ไมล่ ว่ งละเมดิ ขอ้ นน้ั ข้อน้ี ภาพท่ีสวยงามของผู้ปฏิบัติก็จะปรากฏให้เห็นทันที ไม่ต้องรอเวลา ไม่ต้องบม่ เพาะ ไมต่ ้องมเี ง่ือนไขอยา่ งอน่ื เห็นเม่ือใดก็เปน็ เคร่ืองหมายให้รู้ และได้เห็นเปน็ รปู ธรรมวา่ ผนู้ ้ันปฏิบัติตามพระวนิ ยั สว่ นคำ� สอนทเี่ ปน็ ธรรม คอื ทเ่ี ปน็ พระสตุ ตนั ปฎิ กและอภธิ รรมปฎิ กนน้ั ค่อนข้างเปน็ นามธรรม แม้เป็นหลักปฏบิ ตั ิส�ำคญั แตจ่ �ำตอ้ งอาศยั เวลา อาศยั การบม่ เพาะ อาศยั เงอ่ื นไขอนื่ ประกอบ ซง่ึ ปรากฏใหเ้ หน็ เปน็ รปู ธรรมไดค้ อ่ นขา้ ง ยาก เชน่ ความซอ่ื สตั ย์ ความกตญั ญู ความจรงิ ใจ ความมสี ติ เหลา่ น้ี เมอ่ื เหน็ หน้าบุคคลแล้ว ก็ไม่อาจรู้ได้ทันทีว่าผู้น้ันเป็นคนซ่ือสัตย์ เป็นคนกตัญญูหรือ ไม่ กว่าจะรู้ได้แน่แท้อาจต้องใช้เวลานาน และข้อธรรมแต่ละอย่างนั้นจ�ำต้อง ใชเ้ วลาในการบม่ เพาะในการปฏบิ ตั ยิ าวนานกวา่ จะเหน็ เปน็ รปู ธรรมทส่ี มั ผสั ได้ เพราะฉะน้ัน พระวินัยปิฎกในภาพรวมท่านจึงให้ความส�ำคัญและ แสดงไว้วา่ เป็นชีวิตของพระพุทธศาสนา เปน็ รากแก้วของพระพทุ ธศาสนา. 24 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

สว่ นท่ี ๒ พระวินยั บัญญัติ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้เสด็จอุบัติมาเพ่ือ ทรงแสวงหาทางตรัสรู้ แล้วเที่ยวจาริกสั่งสอนแนะน�ำชาวโลก ร้ือขนชาวโลก ให้พ้นจากทุกข์ท้ังมวล อันเป็นภารกิจท่ียิ่งใหญ่ด้วยพระองค์เองเท่านั้น แต่ พระองคย์ งั ทรงกำ� หนดตง้ั กลมุ่ บคุ คลเพอ่ื เปน็ ตวั อยา่ งของสงั คมขน้ึ มากลมุ่ หนง่ึ กลุ่มบคุ คลนีค้ ือกลุ่มท่ีเรียกกนั วา่ ภกิ ษุสงฆ์ บคุ คลกลมุ่ นเี้ ปน็ ตวั อยา่ งทงั้ ในดา้ นการประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ ามหลกั ธรรม แล้วได้รับผลตอบแทนคือพ้นจากทุกข์ได้จริง เป็นกลุ่มบุคคลที่ช่วยเหลือการ เผยแผห่ ลกั สจั ธรรมของพระพทุ ธองคไ์ ดอ้ ยา่ งเขม้ แขง็ โดยเมอ่ื ตนไดร้ สู้ จั ธรรม ตามทท่ี รงสอนอยา่ งชดั แจง้ แลว้ กน็ ำ� ไปประกาศเผยแผแ่ กช่ าวโลกในทกุ ทศิ ทกุ ทาง และเปน็ กลมุ่ บคุ คลทเี่ ปน็ เนอ้ื นาบญุ อนั ยอดเยย่ี มทรี่ กั ษาศรทั ธาชาวโลกที่ พระวินัยบัญญัติ 25 www.kalyanamitra.org

เลอื่ มใสมโี อกาสไดท้ ำ� บญุ อยา่ งถกู วธิ ี มจี ติ ใจเมตตา มคี วามเสยี สละทส่ี ามารถ ชว่ ยเหลือเกอื้ กลู คนอื่นได้ ท�ำใหเ้ กดิ สันติสขุ ขน้ึ ในหม่สู ังคม เพราะทรงมีภาระต่อหมู่ภิกษุสงฆ์ท่ีมีมากขึ้นโดยล�ำดับ ท�ำให้พระ พุทธองค์ทรงมพี ระภาระและหน้าที่ท่ีหนกั และกวา้ งขวาง คือ - ทรงเป็นพระธรรมราชา คือ ผู้ปกครองภิกษุสงฆ์ มีหน้าท่ีใน การบญั ญัติพระวนิ ยั เพื่อใหภ้ กิ ษสุ งฆม์ ีแนวทางปฏบิ ัตเิ ปน็ แบบเดยี วกัน เพ่อื ป้องกันความเสียหายและความเสื่อมศรัทธาของชาวโลกที่อาจเกิดข้ึน ในข้อ บญั ญตั ิน้นั ทรงวางโทษที่หนักบา้ งเบาบ้างไวด้ ้วย - ทรงเป็นพระสังฆบิดร คือ ผู้ดูแลภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีหน้าที่ในการ ออกกฎระเบียบสำ� หรบั ประพฤติปฏิบตั เิ พ่ือความเรยี บร้อยดีงาม เพ่อื ความอยู่ อยา่ งผาสกุ เพอื่ ความสามคั คไี มท่ ะเลาะขดั แยง้ กนั ของภกิ ษสุ งฆ์ ทำ� ใหช้ าวโลก ศรทั ธาเลื่อมใส ถวายความอุปถัมภ์ มใิ หภ้ ิกษสุ งฆเ์ ดอื ดรอ้ นกงั วลในเรื่องการ ดำ� รงชพี อนั เปน็ เหตใุ หภ้ กิ ษสุ งฆม์ เี วลาสำ� หรบั ปฏบิ ตั ธิ รรม ยกระดบั ตนใหส้ งู ขนึ้ จนเปน็ อรยิ บคุ คลไดส้ ำ� เรจ็ โดยสะดวก แลว้ นำ� ความสำ� เรจ็ นนั้ มาเผยแผแ่ นะนำ� ชาวโลกใหป้ ฏบิ ตั ติ ามและไดร้ บั ผลอานสิ งส์ทส่ี มควรแก่การปฏิบตั ิ ประเภทพระวินัยบญั ญตั ิ พระวนิ ัยบญั ญัติ อันเปน็ ข้อบัญญัติทางพระวนิ ัยทพี่ ระพทุ ธองค์ทรง บญั ญตั ไิ วเ้ พอ่ื เปน็ ประโยชนใ์ นการปกครองและการดแู ลภกิ ษสุ งฆน์ น้ั เมอ่ื แยก ประเภทแลว้ ได้เป็น ๒ ประเภทคอื 26 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

๑. อาทพิ รหมจรยิ กาสกิ ขา เปน็ ขอ้ บญั ญตั ทิ ท่ี รงบญั ญตั ไิ วเ้ ปน็ ความ ประพฤติเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นหลักส�ำหรับปฏิบัติเพื่อการด�ำเนินชีวิต อย่างประเสรฐิ ข้อบัญญัติส่วนนี้เป็นพุทธอาณา มาในพระปาติโมกข์ อันเป็นส่วน หนึง่ ของสกิ ขาบท ๒๒๗ ขอ้ ซ่งึ ถือกันวา่ เป็นศีลของพระสงฆ์ และพระสงฆ์ จะรวมกันสวดและฟังพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน โดยไม่ขาดสายตั้งแต่อดีต จนถงึ ปัจจุบนั ๒. อภสิ มาจารกิ าสกิ ขา เปน็ ขอ้ บญั ญตั ทิ เ่ี ปน็ ธรรมเนยี มเปน็ มารยาท อนั ดงี าม ทเี่ รยี กวา่ อภสิ มาจาร ทรงบญั ญตั ไิ วเ้ พอื่ ใหพ้ ระสงฆม์ มี ารยาททดี่ ี มี ความสงา่ งาม นา่ ศรทั ธาเลอ่ื มใส ในเมอ่ื ไดป้ ฏบิ ตั ติ าม ซง่ึ บางสว่ นนบั รวมอยใู่ น พระปาติโมกขด์ ว้ ย ขอ้ บญั ญตั ิส่วนน้ี มานอกพระปาติโมกข์ สว่ นหนึ่งมไิ ดจ้ ัดไวใ้ นหมวด สกิ ขาบท ๒๒๗ ข้อ เรียกอกี อย่างหน่ึงวา่ บาลมี ตุ ตกะ คือข้อบญั ญัติทีม่ า นอกพระบาลี ทรงบญั ญตั ิและปรบั โทษไว้อยา่ งเบา เรียกว่า เป็นอาบตั ทิ ุกกฏ จงึ ถอื วา่ เปน็ สกิ ขาบทเลก็ นอ้ ย ขอ้ บญั ญตั สิ ว่ นนม้ี มี ากนบั จำ� นวนไมไ่ ด้ แตล่ ว้ น เป็นหลักปฏิบัติเพ่ือความเรียบร้อยดีงาม เพื่อเป็นศักด์ิศรี เพื่อรักษาศรัทธา เลื่อมใสทงั้ สิน้ ตอนใกล้จะเสด็จปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้โปรดประทานพระ อนญุ าตไว้ว่า “ถ้าสงฆ์ปรารถนา ก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยได”้ แต่ถึงกระนน้ั กไ็ มม่ ใี ครกลา้ ถอนสิกขาบทอันเป็นบาลีมุตตกะเหล่านี้ พระวินัยบัญญัติ 27 www.kalyanamitra.org

ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เพราะเกรงว่าจะเป็นเหตุให้พระวินัยท่ีทรงบัญญัติไว้ แม้เปน็ ขอ้ ใหญ่ๆ จะถูกถอนตามไปเรื่อยๆ โดยอา้ งวา่ เปน็ สกิ ขาบทเลก็ นอ้ ย และที่ส�ำคัญพระสงฆ์ในยุคต่อๆ มาท้ังในประเทศศรีลังกา ประเทศ พม่า และประเทศไทย ซึ่งถือพระพุทธศาสนาอย่างกวดขัน ต่างก็ยอมรับและ ปฏบิ ตั ติ ามมตขิ องพระธรรมสงั คาหกาจารยท์ ส่ี งั คายนาพระธรรมวนิ ยั ครงั้ แรก ท่ีได้ห้ามไวแ้ ล้วว่าไมค่ วรถอน ในหนังสือน้ี จักแสดงเฉพาะ พระวินัยบัญญัติ ท่ีเป็นอาทิพรหม- จรยิ กาสกิ ขาและอภสิ มาจารกิ าสิกขาที่มาในพระปาติโมกข์เทา่ น้นั พระวินัยบัญญัติส่วนน้ีเป็นมหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ได้แก่ สิกขาบทหรือศีล ๒๒๗ ข้อของภิกษุ ซึ่งเป็นพุทธอาณา เรียกโดยทั่วไป ว่า พระปาตโิ มกข์ อาบัตแิ ละโทษ อาบัติ แปลว่า การต้อง, ความต้อง หมายถึง การต้องโทษท่ีเกิด จากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ หรือหมายถึง โทษที่ภิกษุ ผลู้ ว่ งละเมิดสกิ ขาบททม่ี ีบัญญัติห้ามไว้จะต้องได้รบั กิรยิ าท่ีล่วงละเมดิ สิกขาบทเชน่ นนั้ บางทกี เ็ รียกว่า ต้องอาบตั ิ เช่น ตอ้ งสังฆาทิเสส ต้องปาจติ ตยี ์ เมื่อต้องอาบัติแล้วย่อมได้รับโทษ ซึ่งโทษเพราะล่วงละเมิดสิกขาบท น้นั จำ� แนกเปน็ ๓ ระดบั คือ 28 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

๑. โทษสถานหนัก อนั เป็นครุโทษหรอื มหนั ตโทษ จดั เป็น ครกุ าบัติ ทำ� ใหภ้ กิ ษผุ ้ลู ว่ งละเมิดขาดจากความเปน็ ภิกษุ ได้แกอ่ าบัติปาราชกิ ๒. โทษสถานกลาง อนั เปน็ มชั ฌมิ โทษ จดั เปน็ ครกุ าบตั ิ ทำ� ใหภ้ กิ ษุ ผูล้ ่วงละเมิดต้องอยกู่ รรมกอ่ นจงึ จะพ้นโทษ ได้แก่อาบัติสังฆาทเิ สส ๓. โทษสถานเบา อันเป็นลหุโทษ จัดเป็น ลหุกาบัติ ท�ำให้ภิกษุ ผู้ล่วงละเมิดต้องปลงอาบัติ คือบอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบตั ถิ ลุ ลจั จยั ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษติ โทษอีกอย่างหนึง่ ของอาบัติ มี ๒ สถาน คือ ๑. อเตกิจฉา อาบัติที่แก้ไขไม่ได้ ได้แก่ อาบัติปาราชิก คือเม่ือ ลว่ งละเมดิ แลว้ ผลู้ ่วงละเมิดยอ่ มขาดจากความเป็นภกิ ษุ แก้ไขอะไรไม่ได้ ๒. สเตกจิ ฉา อาบตั ทิ แี่ กไ้ ขได้ คอื เมอื่ ลว่ งละเมดิ แลว้ สามารถแกไ้ ข ให้มคี วามบรสิ ทุ ธิก์ ลบั คืนได้ ได้แกอ่ าบัติสังฆาทิเสส แก้ไขไดด้ ้วยการอยู่กรรม ถุลลัจจยั ปาจิตตีย์ ปาฏเิ ทสนยี ะ ทกุ กฏ ทพุ ภาษิต แก้ไขไดด้ ้วยการปลงอาบตั ิ โทษอกี อยา่ งหนึ่งของอาบตั ิ มี ๒ สถาน คือ ๑. โลกวัชชะ โทษทางโลก คือความผิดท่ีเม่ือล่วงละเมิดสิกขาบท แลว้ ชาวบา้ นไมช่ อบ ตำ� หนติ ติ งิ หรอื โพนทะนาวา่ รา้ ยวา่ ทำ� ไมเ่ หมาะไมค่ วร เหน็ เปน็ การกระทำ� ทผี่ ดิ เชน่ การดม่ื สรุ า การขบฉนั อาหารในเวลาวกิ าล การนงุ่ หม่ ไมเ่ ปน็ ปรมิ ณฑล เปน็ ตน้ หรอื เมอื่ ลว่ งละเมดิ แลว้ มโี ทษทางกฎหมายบา้ นเมอื ง เชน่ การท�ำโจรกรรม การทุบตกี ัน เปน็ ต้น พระวินัยบัญญัติ 29 www.kalyanamitra.org

๒. ปณั ณตั ตวิ ชั ชะ โทษทางพระวนิ ยั คอื ความผดิ ทไี่ ปลว่ งละเมดิ ขอ้ หา้ มตามทบ่ี ญั ญตั เิ ปน็ สกิ ขาบทเขา้ ไว้ เปน็ การไมส่ มควร ไมเ่ หมาะสำ� หรบั ผเู้ ปน็ นกั บวช เชน่ การขดุ ดนิ การขบฉนั อาหารในเวลาวกิ าล การวา่ ยนำ้� เลน่ เปน็ ตน้ การกระทำ� เชน่ นน้ั ไมเ่ ปน็ ความผดิ สำ� หรบั คฤหสั ถ์ แตเ่ ปน็ ความผดิ เฉพาะผเู้ ปน็ ภิกษุเท่าน้ัน ในโทษ ๒ สถานน้ี สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณ- วโรรส วดั บวรนิเวศวหิ าร ทรงใหค้ �ำแนะนำ� ไว้โดยสรุปว่า ๑. อาบตั ทิ เ่ี ปน็ โลกวชั ชะนนั้ ลว่ งเขา้ แลว้ ยงั ความเสยี หายใหเ้ กดิ มาก แมท้ ำ� คนื (ปลงอาบตั )ิ แลว้ ความเสยี หายนน้ั กเ็ ปน็ เหมอื นแผลทตี่ ดิ อยู่ ไมห่ าย ไดง้ า่ ย ควรประหยัดให้มาก อยา่ ลว่ งง่ายๆ ๒. อาบัติท่ีเป็นปัณณัตติวัชชะน้ัน เหล่าใดที่ภิกษุยังถือเป็นกวดขัน ล่วงอาบัติเหล่าน้ันเข้าแล้ว มีความเสียหายได้เหมือนกัน เหล่าใดไม่ถือเป็น จรงิ จัง เพราะกาลสมยั และประเทศน�ำใหเ้ ปน็ อาบัติเหลา่ น้นั แมล้ ว่ งเขา้ แลว้ ก็ ไม่สเู้ ป็นอะไรนัก ๓. ในฝ่ายเคร่ง (วินัย) ไม่ควรจะถือเอาบัติเหล่านั้นเป็นเคร่ืองมือ ส�ำหรับอวดเคร่ง ๔. ในฝ่ายที่ไม่เครง่ เหน็ ว่าอาบัติมาก หลบไมไ่ หวแลว้ ทอดธรุ ะเสีย ไม่รจู้ กั เวน้ ก็สะเพรา่ เกินไป ๕. ควรร้จู กั ประพฤติแตพ่ อดี จงึ จะสมแกศ่ าสนธรรมทว่ี า่ ปฏบิ ัติพอ กลางๆ ไม่หย่อนเกนิ ไปและไมต่ ึงจนเกนิ ไป 30 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

อาการต้องอาบัติ การต้องอาบัติหรือการล่วงละเมิดพระวินัยบัญญัติของภิกษุน้ันเกิด ขึ้นไดด้ ้วยอาการต่างๆ ท่านแสดงอาการนน้ั ๆ ไว้ รวมเป็น ๖ ประการ คือ ๑. อลชฺชติ า ตอ้ งดว้ ยไม่ละอาย คอื อาการทภี่ กิ ษรุ อู้ ยวู่ า่ สงิ่ นไี้ มค่ วรทำ� มพี ระวนิ ยั บญั ญตั หิ า้ มไว้ แลว้ แตก่ ย็ งั ขนื ดอ้ื ดงึ ทำ� ไปโดยไมส่ นใจความผดิ เชน่ พดู ปด ดม่ื สรุ า ไมส่ ำ� รวม ระวงั เป็นตน้ ๒. อญาณตา ต้องดว้ ยความไม่รู้ คือ อาการท่ีภิกษุผู้บวชใหม่หรือผู้บวชมานานแต่เป็นคนเขลา หรือผู้ไม่ได้สนใจท่ีจะรู้ จึงไม่รู้พระวินัยบัญญัติว่า ส่ิงน้ีควรท�ำ สิ่งนี้ท�ำไม่ได้ จงึ ไปลว่ งละเมิดสิกขาบทนนั้ ๆเข้าดว้ ยความไมร่ ู้ เช่น นอนรว่ มกบั อนุปสมั บัน เกิน ๓ คืน ๓. กุกกฺ จุ จฺ ปกตตฺตา ต้องดว้ ยสงสัยแลว้ ขนื ท�ำลงไป คือ อาการท่ีภิกษุต้องการด่ืมน�้ำ เกิดความสงสัยข้ึนมาขณะนั้น ว่านำ้� มตี วั สัตวห์ รือไม่ แต่กย็ ังด่ืมนำ�้ นน้ั ทัง้ ทส่ี งสยั หรอื สงสัยวา่ การทำ� อยา่ งนี้ จะผิดพระวินัยหรือไม่ พระวนิ ยั บญั ญตั ิห้ามไว้หรอื ไม่ แตก่ ท็ �ำลงไปทัง้ ทีส่ งสัย การทำ� อย่างน้นั หากเปน็ การทำ� ทม่ี พี ระวนิ ยั หา้ มไว้ ก็ตอ้ งอาบตั ติ ามวัตถุ ถา้ ไม่มี กต็ อ้ งอาบัติทกุ กฏ เพราะสงสยั แล้วขืนท�ำลงไป พระวินัยบัญญัติ 31 www.kalyanamitra.org