Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

200

Published by วีรสิทธิ์ หารัญดา, 2019-05-14 23:18:35

Description: 200

Search

Read the Text Version

กรมพลศกึ ษา รายงานการวิจัย เรื่อง ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย Profiles of anthropometric, body composition and motor fitness in Thai youth futsal players โดย กลุ่มวิจัยและพัฒนา สำ�นักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ISBN : 978-616-297-194-5 จัดพิมพ์โดย : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 154 ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ผลิตโดย : บริษัท กู๊ดอีฟนิ่ง ติงค์ จำ�กัด 49/73 ซอยวิภาวดีรังสิต 64 แยก 13 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 graphic credit : designed by Freepik.com พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์วีรวรรณ พริ้นติ้งค์ แอนด์ แพ็คเก็จจิ้ง พิมพ์ครั้งที่ 1 : มิถุนายน 2558 จำ�นวนพิมพ์ 1,000 เล่ม ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data สุพัชริน เขมรัตน์. ลักษณะของขนาดสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬา ฟุตซอลระดับเยาวชนไทย : รายงานการวิจัย.-- กรุงเทพฯ : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา, 2558. 144 หน้า. 1. สมรรถภาพทางกาย--ฟุตซอล. 2. ฟุตซอล. I. นิรอมลี มะกาเจ, ผู้แต่งร่วม. I. ชื่อเรื่อง. 796.3348





คำ�นำ� กีฬาฟุตซอลเป็นกีฬาที่มีการเล่นกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ระดับเยาวชนรวมถึง ประชาชนทั่วไป ปัจจุบันมีการจัดการแข่งขันถึงระดับชิงแชมป์โลกภายใต้การรับรอง การแข่งขันโดยสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือฟีฟ่า ด้วยรูปแบบการเล่นที่เป็นไปด้วย ความรวดเร็วผู้เล่นต้องมีเทคนิคและใช้ความสามารถเฉพาะตัวสูง การที่นักกีฬา มีขนาดของสัดส่วนร่างกายและองค์ประกอบของร่างกายที่เหมาะสมจะทำ�ให้การ แสดงออกทางทักษะที่ใช้ขณะแข่งขันและการเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ การทราบข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของขนาดสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และระดับสมรรถภาพทางกายที่เหมาะสมและเฉพาะเจาะจง กับชนิดกีฬาจะมีประโยชน์มากสำ�หรับผู้ฝึกสอนและผู้เกี่ยวข้องในการนำ�ข้อมูลที่ได้ ไปกำ�หนดแนวทางการส่งเสริมและพัฒนารวมทั้งใช้เป็นข้อมูลในการคัดเลือกนักกีฬา ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของชนิดกีฬา กรมพลศึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ฝึกสอน นักกีฬา หรือผู้สนใจทั่วไปจะนำ� ผลการวิจัยที่ได้ในครั้งนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาขีดความสามารถของ นักกีฬา นอกจากนั้น กรมพลศึกษา ขอขอบคุณ ผศ.ดร.อภิลักษณ์ เทียนทอง คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ปรึกษาในการทำ�วิจัย ขอขอบคุณคณะผู้ฝึกสอนกีฬาที่ให้ความอนุเคราะห์กลุ่มตัวอย่างและนักกีฬาที่ เข้าร่วมการแข่งขันฟุตซอลนักเรียน กรมพลศึกษา ประจำ�ปีการศึกษา 2557 ประเภท ก รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี 16 ปี และ 18 ปี ที่ให้ความร่วมมือในการทำ�วิจัย จนสำ�เร็จลุล่วงไปด้วยดี ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ (ดร.พัฒนาชาติ กฤดิบวร) อธิบดีกรมพลศึกษา

6

หัวข้อวิจัย ลกั ษณะของสดั สว่ นรา่ งกาย องคป์ ระกอบของรา่ งกาย และ สมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย Profiles of anthropometric, body composition and motor fitness in Thai youth futsal players หน่วยงาน กลุ่มวิจัยและพัฒนา สำ�นักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปีที่ทำ�การวิจัย ปีงบประมาณ 2557 7

บทคัดย่อ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างของขนาดสัดส่วน ร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับ เยาวชนไทย โดยจำ�แนกตามรุ่นอายุและระดับความสำ�เร็จของการแข่งขัน รวมถึงศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านขนาดสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และ สมรรถภาพทางกลไกกบั ระดบั ความส�ำ เรจ็ ของการแขง่ ขนั กลมุ่ ตวั อยา่ งเปน็ นกั กฬี าฟตุ ซอลชาย ที่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตซอลนักเรียน กรมพลศึกษา ประจำ�ปีการศึกษา 2557 ประเภท ก แบ่งเป็น 3 ระดับอายุ คือ รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี และรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี แต่ละรุ่นมีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 16 ทีม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างในแต่ละทีม จำ�นวน 6 คน แบ่งเป็นผู้รักษาประตู 2 คน และผู้เล่น 4 คน ดังนั้น ในแต่ละรุ่นอายุจะมีจำ�นวนกลุ่มตัวอย่าง รุ่นละ 96 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัยทั้งสิ้น 288 คน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ท�ำ การประเมนิ ขนาดสดั สว่ นรา่ งกายโดยการวดั ความยาวของขา เสน้ รอบวงของกลา้ มเนอ้ื ตน้ ขา พื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อขาและดัชนีมวลกาย ประเมินองค์ประกอบของร่างกายโดย วัดจากเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และประเมินสมรรถภาพทางกลไกด้านพลังของกล้ามเนื้อ ความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไว ด้วยวิธีการทดสอบยืนกระโดดสูง ยืนกระโดดไกล ความเรว็ ของเทา้ ความเรว็ ในการวง่ิ 5 เมตร ความเรว็ ในการวง่ิ 10 เมตร ความเรว็ ในการวง่ิ 20 เมตร และทดสอบความคลอ่ งแคลว่ วอ่ งไวโดยใชแ้ บบทดสอบ 5-10-5 และแบบทดสอบ FAF slalom ผลการวิจัยพบว่านักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทยในรุ่นอายุต่างๆ มีตัวแปรของ ขนาดสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกแตกต่างกันอย่างมี นัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งตำ�แหน่งผู้เล่นและผู้รักษาประตู และนักกีฬาทีมที่ ประสบความสำ�เร็จในการแข่งขันมีขนาดสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกายและ สมรรถภาพทางกลไกแตกต่างกับทีมที่ไม่ประสบความสำ�เร็จในการแข่งขันอย่างมีนัยสำ�คัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนั้นพบว่าตัวแปรด้านขนาดสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบ ของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับระดับความสำ�เร็จของ การแข่งขันอย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยที่ได้ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ กับนักกีฬาและผู้ฝึกสอนในการประเมินขนาดสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทยให้มีความเหมาะสมและ สอดคล้องกับการเจริญเติบโตตามระดับอายุและสามารถนำ�ไปใช้ร่วมกับกระบวนการคัดเลือก ตัวนักกีฬาฟุตซอล รวมถึงการวางแผนโปรแกรมการฝึกซ้อมได้อย่างเหมาะสมกับนักกีฬา ฟุตซอลระดับเยาวชนไทยต่อไป คำ�สำ�คัญ: ขนาดสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย สมรรถภาพทางกลไก ฟุตซอล และนักกีฬาระดับเยาวชน 8

Abstract The purpose of this research were to compare the anthropometrics, body composition and motor fitness variables in difference age level and competitive success achieved level and to study correlation between all variable with competition success achieved. The 288 subjects were young male futsal players who participated the physical education department futsal competition 2014 division 1. The competition comprised of three age levels (under 14 years: U-14, under 16 years: U-16 and under 18 years: U-18) each age level consisted of 16 team. The subject in each team were 6 players (2 goalkeepers and 4 outfield player), the total subject in each age level were 96 players. All subject were assessed for anthropometric variable (length, circumference, cross sectional area of leg and body mass index), body composition (%body fat) and motor fitness were assessed muscle power, speed and agility (standing long jump test, vertical jump test, fast feet test, speed 5 m test, speed 10 m test, speed 20 m test , 5-10-5 agility test and FAF slalom test. The results showed that anthropometric, body composition and motor fitness variable in U-18 were high significance (P<0.05) than U-16 and U-14 respectively and there were significance differences between competitive success achieved level. Futuremore we found that the anthropometric, body composition and motor fitness variable were significance correlated (P<0.05) with competition success achieved. The findings of this study, used to appropriate assessing anthropometric, body composition and motor fitness for Thai young male futsal players with the growing age and used to futsal player selection process including used to plan an appropriate training programs. Keywords: Anthropometric, Body composition, Motor fitness, Futsal, Youth Athletes ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 9



สารบัญ คำ�นำ� �������������������������������������������������������������������������������������������������������������������������������� 5 บทคัดย่อภาษาไทย........................................................................................................... 8 บทคัดย่อภาษาอังกฤษ..................................................................................................... 9 สารบัญ............................................................................................................................ 10 สารบัญตาราง................................................................................................................. 12 สารบัญภาพ.................................................................................................................... 13 ความสำ�คัญของปัญหา1�������������������������������������������������������������������������������������������������� 14 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง....................................................................................... 28 วิธีการดำ�เนินการวิจัย4����������������������������������������������������������������������������������������������������� 42 ผลการวิจัย...................................................................................................................... 56 อภิปรายผลการวิจัย....................................................................................................... 96 สรุปผลการวิจัย.............................................................................................................. 110 ข้อเสนอแนะ....................................................................................................................... 114 เอกสารอ้างอิง................................................................................................................ 116 ภาคผนวก ภาคผนวก ก เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัย................................................ 120 ภาคผนวก ข รูปภาพการดำ�เนินการเก็บรวบรวมข้อมูล1��������������������������������������� 126 ภาคผนวก ค วิธีการทดสอบสมรรถภาพทางกลไก............................................... 136 คณะผู้จัดทำ�รายงานการวิจัย1����������������������������������������������������������������������������������������� 144

สารบัญตาราง ตารางที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัย จำ�แนกตามตำ�แหน่งและ รุ่นการแข่งขัน.................................................................................................. 58 ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของลักษณะทางกายภาพของ กลุ่มตัวอย่าง จำ�แนกตามตำ�แหน่งและรุ่นการแข่งขัน0������������������������������������� 60 ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบความแตกต่างของขนาดสัดส่วนร่างกายและองค์ประกอบ ของร่างกาย จำ�แนกตามตำ�แหน่งและรุ่นการแข่งขัน2�������������������������������������� 62 ตารางที่ 4 การเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถภาพทางกลไก จำ�แนกตามตำ�แหน่ง และรุ่นการแข่งขัน............................................................................................. 65 ตารางที่ 5 การเปรียบเทียบความแตกต่างของขนาดสัดส่วนร่างกายและองค์ประกอบของ ร่างกาย จำ�แนกตามตำ�แหน่งและระดับความสำ�เร็จของการแข่งขัน ในรุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี...................................................................................... 67 ตารางที่ 6 การเปรียบเทียบความแตกต่างสมรรถภาพทางกลไก จำ�แนกตามตำ�แหน่ง และระดับความสำ�เร็จของการแข่งขัน ในรุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี7������������������������� 70 ตารางที่ 7 การเปรียบเทียบความแตกต่างของขนาดสัดส่วนร่างกายและองค์ประกอบ ของร่างกาย จำ�แนกตามตามตำ�แหน่งและระดับความสำ�เร็จของการแข่งขัน ในรุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี...................................................................................... 72 ตารางที่ 8 การเปรียบเทียบความแตกต่างสมรรถภาพทางกลไก จำ�แนกตามตำ�แหน่ง และระดับความสำ�เร็จของการแข่งขัน ในรุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี7������������������������� 74 ตารางที่ 9 การเปรียบเทียบความแตกต่างของขนาดสัดส่วนร่างกายและองค์ประกอบ ของร่างกาย จำ�แนกตามระดับความสำ�เร็จของการแข่งขัน ในรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี...................................................................................... 76 ตารางที่ 10 การเปรียบเทียบความแตกต่างสมรรถภาพทางกลไก จำ�แนกตามตำ�แหน่ง และระดับความสำ�เร็จของการแข่งขัน ในรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี7������������������������� 78 ตารางที่ 11 ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดสัดส่วนร่างกายและองค์ประกอบของร่างกายกับ ระดับความสำ�เร็จของการแข่งขันในรุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี จำ�แนกตามตำ�แหน่ง0����������������������������������������������������������������������������������������� 80

ตารางที่ 12 ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกลไกกับระดับความสำ�เร็จของ การแข่งขันในรุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี จำ�แนกตามตำ�แหน่ง3���������������������������������� 83 ตารางที่ 13 ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดสัดส่วนร่างกายและองค์ประกอบของร่างกายกับ ระดับความสำ�เร็จของการแข่งขันในรุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี จำ�แนกตามตำ�แหน่ง5����������������������������������������������������������������������������������������� 85 ตารางที่ 14 ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกลไกกับระดับความสำ�เร็จของ การแข่งขันในรุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี จำ�แนกตามตำ�แหน่ง8���������������������������������� 88 ตารางที่ 15 ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดสัดส่วนร่างกายและองค์ประกอบของร่างกายกับ ระดับความสำ�เร็จของการแข่งขันในรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี จำ�แนกตามตำ�แหน่ง0����������������������������������������������������������������������������������������� 90 ตารางที่ 16 ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกลไกกับระดับความสำ�เร็จของ การแข่งขันในรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี จำ�แนกตามตำ�แหน่ง3���������������������������������� 93 สารบัญภาพ ภาพที่ 1 เครื่องวัดองค์ประกอบร่างกายระบบวัดความต้านทานไฟฟ้า (inbody)............... 121 ภาพที่ 2 เครื่องวัดความหนาไขมันใต้ผิวหนัง (lange skinfold caliper)............................ 122 ภาพที่ 3 ตำ�แหน่งการวัดไขมันใต้ผิวหนัง1���������������������������������������������������������������������������� 123 ภาพที่ 4 เครื่องสแกนองค์ประกอบของร่างกายระบบ 3 มิติ (3D body scan)................. 124 ภาพที่ 5 ชุดวัดความเร็วและพลังกล้ามเนื้อ (kinematic measurement system)............... 125 ภาพที่ 6 การวัดขนาดสัดส่วนร่างกาย................................................................................ 127 ภาพที่ 7 การวัดองค์ประกอบของร่างกาย ........................................................................ 134 ภาพที่ 8 การทดสอบสมรรถภาพทางกลไก ....................................................................... 135

ความสำ�คัญของปัญหา

กีฬาฟุตซอลเป็นกีฬาหนึ่งที่ได้รับความนิยม เป็นอย่างมากในประเทศไทย มีการเล่นกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ระดับ เยาวชนรวมถึงประชาชนทั่วไป ปัจจุบันมีการจัดการแข่งขันถึงระดับ ชิงแชมป์โลก ภายใต้การรับรองการแข่งขันโดยสหพันธ์ฟุตบอล นานาชาติหรือฟีฟ่า (Federation international football association: FIFA) และในปี พ.ศ.2555 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟีฟ่า ฟุตซอล เวิลด์คัพ ไทยแลนด์ ปี 2555 (FIFA FUTSAL WORLD CUP THAILAND 2012) ทีจ่ ดั ขึน้ เปน็ ครัง้ ที่ 7 มที มี เขา้ รว่ มการแขง่ ขนั จาก 24 ประเทศทั่วโลก สื่อมวลชนจากทั่วโลกมาทำ�ข่าว รายงานผล และ ถ่ายทอดสดการแข่งขันในครั้งนี้ประมาณ 200 ประเทศ จึงเห็นได้ว่า กีฬาฟุตซอลเป็นกีฬาที่ประชาชนทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลกเพื่อให้ประชาชนได้รับชมการแข่งขันอย่าง ทั่วถึงและสำ�หรับประชาชนไทยก็มีความตื่นตัวและตื่นเต้นกับโอกาส จะได้สัมผัสประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่กับการแข่งขันครั้งนี้เช่นกัน ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 15

ฟุตซอลเป็นกีฬาที่มีรูปแบบการเล่น ที่เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ผู้เล่นต้องมีเทคนิค และใช้ความสามารถเฉพาะตัวสูง มีทักษะ การเล่นกับบอลที่ดีทั้งการรับบอล การส่งบอล การเลี้ยงบอล การป้องกัน และการยิงประตู โดยแต่ละทีมจะมีโอกาสและจังหวะในการ ทำ�ประตูอยู่ตลอดเวลา จึงทำ�ให้ฟุตซอลเป็น กีฬาที่สร้างความสนุกสนาน ตื่นเต้นและเร้าใจ ตลอดการแข่งขัน ในปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ส่งเสริมและสนับสนุน การจัดการแข่งขันรายการต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะอยา่ งยิง่ ในระดบั เยาวชน เชน่ รายการ แข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ กีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งประเทศไทย เจ เพรส จูเนียร์ ฟุตซอล และฟุตซอลนักเรียน สพฐ. เป็นต้น ซึ่ ง ร า ย ก า ร แ ข่ ง ขั น ดั ง ก ล่ า ว ต่ า ง ไ ด้ รั บ ก า ร ตอบรับจากทางโรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง ด้ ว ย ก า ร ส่ ง นั ก กี ฬ า เ ข้ า ร่ ว ม การแข่งขันอย่างสม่ำ�เสมอ ซึ่งนอกจากจะ เป็นประโยชน์จากการส่งเสริมให้เยาวชนสนใจ และรักการเล่นกีฬารวมถึงมีสุขภาพร่างกาย ที่สมบูรณ์แข็งแรงแล้ว ยังเป็นแนวทางหนึ่ง ที่สำ�คัญมากที่จะทำ�ให้นักกีฬาฟุตซอลใน ระดับเยาวชนได้มีการพัฒนาความสามารถ อย่างต่อเนื่อง และจะเป็นกำ�ลังสำ�คัญ ในการก้าวขึ้นไปเล่นในทีมระดับมหาวิทยาลัย ระดับสโมสร และระดับชาติต่อไปในอนาคต ดังน้นั แนวทางดังกล่าวจึงเป็นประโยชน์อย่างย่งิ ในการพัฒนากีฬาฟุตซอลในภาพรวมของ ประเทศไทย 16

หากวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำ�ให้นักกีฬา ในกลุ่มของนักกีฬาระดับเยาวชน ประสบผลสำ�เร็จในการแข่งขันพบว่าปัจจัย ซึ่งเป็นวัยที่อยู่ในช่วงการเจริญเติบโต ด้านสมรรถภาพทางกายเป็นปัจจัยหนึ่ง ลักษณะโครงสร้างร่างกาย ขนาดสัดส่วน ที่สำ�คัญมากในกีฬาฟุตซอล เนื่องจากกฎ ร่ า ง ก า ย ร ว ม ถึ ง อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ข อ ง และกติกาของการแข่งขันที่กำ�หนดขึ้น ร่างกายในแต่ละช่วงระดับอายุจะมีการ ทำ�ให้นักกีฬาต้องมีเคลื่อนที่เพื่อการเล่น เปลี่ยนแปลงในอัตราที่เร็วมาก (Reilly เกมรุกและเกมรับที่ค่อนข้างรวดเร็วมาก et al, 2000) ขนาดสัดส่วนร่างกาย มีการวิ่งด้วยความเร็วที่หลากหลายระดับ และองค์ประกอบของร่างกายเป็นปัจจัย ในทศิ ทางตา่ งๆ รวมทัง้ จะตอ้ งมกี ารคาดเดา ที่มีบทบาทสำ�คัญมากในการที่จะจำ�กัด เหตกุ ารณล์ ว่ งหนา้ มกี ารคดิ และการตดั สนิ ใจ ค ว า ม ส า ม า ร ถ ใ น ก า ร เ ค ลื่ อ น ที่ ใ น กี ฬ า ที่รวดเร็วในการตอบสนองต่อการแก้ไข โดยเฉพาะกฬี าทต่ี อ้ งใชส้ มรรถภาพทางกลไก เ ห ตุ ก า ร ณ์ เ ฉ พ า ะ ห น้ า ที่ เ กิ ด ขึ้ น ไ ด้ ใ น ที่เกี่ยวข้องกับความเร็วและความสามารถ สถานการณ์ต่างๆ ขณะแข่งขันได้ตลอดเวลา ในการเปลย่ี นทศิ ทางแบบฉบั พลนั ทนั ทที นั ใด (Burns, 2003) ดงั นน้ั สมรรถภาพทางกลไก รวมถึงกีฬาที่ใช้พลังของกล้ามเนื้อแบบ (motor fitness) หรือสมรรถภาพ แรงระเบิดต่างๆ (Sisodiya and Monica, ท่เี ก่ยี วข้องกับการแสดงออกทางทักษะกีฬา 2010) การที่นักกีฬามีขนาดสัดส่วน (skill / performance - related fitness) ร่างกายและองค์ประกอบของร่างกายใน ซ่ึงเก่ียวข้องกับความสามารถในการทำ�งาน ระดับที่เหมาะสมจะทำ�ให้แสดงออกทาง ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (neuro- ทักษะที่ใช้ขณะแข่งขันและการเคลื่อนไหว muscular function) จึงมีความจำ�เป็นและ ของร่างกายโดยใช้สมรรถภาพทางกาย มีความสำ�คัญสำ�หรับนักกีฬาฟุตซอล ด้านต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ องคป์ ระกอบสมรรถภาพ มากยิ่งขึ้น (สำ�นักงานพัฒนาการกีฬาและ ทางกายด้านความเร็ว ความคล่องแคล่ว นันทนาการ, 2549; Zhang, 2010) วอ่ งไว เวลาปฏกิ ริ ยิ า และพลงั ของกลา้ มเนือ้ (Federation International de Football Association: FIFA, 2003) ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 17

การทราบข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของขนาด สัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และระดับ สมรรถภาพทางกายที่เหมาะสมและเฉพาะเจาะจง กับชนิดกีฬาจะมีประโยชน์มากสำ�หรับผู้ฝึกสอนและ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการนำ�ข้อมูลที่ได้ไปกำ�หนดแนวทาง การส่งเสริมและพัฒนาโปรแกรมการฝึกกีฬา รวมทั้ง ใช้เป็นข้อมูลในการคัดเลือกนักกีฬาให้เหมาะสมและ สอดคล้องกับความต้องการของชนิดกีฬานั้นๆ (Drink- water et al, 2008) จากการทบทวนเอกสารและ ผลการวิจัยต่างๆ พบว่าข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ด้านลักษณะของขนาดสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบ ของร่างกาย และระดับสมรรถภาพทางกลไกในนักกีฬา ฟุตซอลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับเยาวชนยังมี การศึกษาน้อยมาก และจากการที่ปัจจุบันมี ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูงขึ้นทำ�ให้ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดขนาดของ สัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย รวมไปถึง การประเมินสมรรถภาพทางกายของนักกีฬามี ความทันสมัยมากขึ้นสามารถให้ผลที่แม่นยำ�และ ถูกต้องมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลสำ�คัญที่ทำ�ให้ คณะผู้วิจัยมีความประสงค์ที่จะศึกษาลักษณะของ ขนาดสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับ เยาวชนไทย โดยมุ่งที่จะให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมกับ ตัวแปรในองค์ประกอบด้านต่างๆ และเป็นปัจจุบันให้ มากที่สุด ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นแนวทางหนึ่ง ในการยกระดับและพัฒนาความสามารถของนักกีฬา ฟุตซอลในระดับเยาวชนของประเทศไทยต่อไปได้ 18

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างของขนาดสัดส่วน ร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไก ของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย จำ�แนกตามรุ่นอายุ ไม่เกิน 14 ปี 16 ปี และ 18 ปี 2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างของขนาดสัดส่วน ร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไก ของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย จำ�แนกตามระดับ ความสำ�เร็จของการผลการแข่งขัน 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกกับระดับ ความสำ�เร็จของการผลการแข่งขันของนักกีฬาฟุตซอลระดับ เยาวชนไทย ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 19

สมมุติฐานของการวิจัย 1. ขนาดสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และ สมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย แตกต่างกันตามระดับอายุ ตำ�แหน่งการเล่น และระดับ ผลสำ�เร็จของการแข่งขัน 2. ขนาดสัดส่วนร่างกายและองค์ประกอบของร่างกาย มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬา ฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 20

ขอบเขตของการวิจัย 1. การวจิ ยั ครง้ั นเ้ี ปน็ การวจิ ยั ทศ่ี กึ ษาขนาดสดั สว่ นรา่ งกาย องคป์ ระกอบ ของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกในกลมุ่ นกั กฬี าฟุตซอลระดับ เยาวชนไทย ซง่ึ ไดเ้ ขา้ รว่ มการแขง่ ขนั ฟตุ ซอลนกั เรยี น กรมพลศกึ ษา ประจ�ำ ปกี ารศกึ ษา 2557 ประเภท ก ระหวา่ งวนั ท่ี 1 กันยายน – 30 ตุลาคม 2557 โดยแบ่งเป็นรุ่นการแข่งขัน 3 ระดับ คือ รุ่นอายุ ไม่เกิน 14 ปี รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี และรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี โดย แต่ละรุ่นจะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 สายๆ ละ 4 ทีม 2. การจำ�แนกผลการศึกษาจะจำ�แนกตามความสำ�เร็จในการแข่งขัน โดยกลุ่มตัวอย่างทีมที่ประสบผลสำ�เร็จ หมายถึงทีมที่สามารถ เขา้ มาแขง่ ขนั ในรอบกอ่ นรองชนะเลศิ จ�ำ นวน 8 ทมี ซง่ึ ไดจ้ ากทมี ทม่ี ี คะแนนเปน็ 2 อนั ดบั แรกของแตล่ ะสาย สว่ นทมี ทไ่ี มป่ ระสบผลส�ำ เรจ็ คือทีมที่ไม่สามารถผ่านเข้ามาเล่นในรอบก่อนรองชนะเลิศได้ จำ�นวน 8 ทีม ซึ่งได้จากทีมที่มีคะแนนเป็น 2 อันดับสุดท้ายของ แต่ละสาย 3. การจำ�แนกผลการศึกษาตามตำ�แหน่งในการเล่น จำ�แนกเป็น ตำ�แหน่งผู้รักษาประตู (goal keeper) และตำ�แหน่งของผู้เล่น (outfield players) ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 21

4. 4.1ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ขนาดสดั สว่ นร่างกาย ประกอบด้วย ความยาวของรา่ งกาย (body length) ความกว้างร่างกาย (breadth sites) ขนาดรอบร่างกาย (circumference girth sites) และดัชนีมวลกาย (body mass index) 4.2 องค์ประกอบของร่างกาย ประกอบด้วย เปอร์เซนต์ไขมันใน ร่างกาย (% body fat) 4.3 สมรรถภาพทางกลไก ประกอบดว้ ย ความเรว็ (speed) ความเรว็ ในการเปลี่ยนทิศทาง (change of direction speed) ความคล่องแคล่วว่องไวเชิงปฏิกิริยา (reactive agility) และ พลังกล้ามเนื้อ (muscle power) 22

ข้อตกลงเบื้องต้น 1. เครือ่ งมือทีใ่ ช้วัดขนาดสดั ส่วนร่างกาย องคป์ ระกอบของรา่ งกาย และสมรรถภาพทางกลไก เป็นเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงและ เชื่อถือได้ 2. กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัยเป็นผู้เล่นตัวหลักของแต่ละทีม และให้ความร่วมมือเข้าร่วมการวิจัยด้วยความเต็มใจ 3. การวัดขนาดสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และ สมรรถภาพทางกลไก คณะผู้วิจัยดำ�เนินการเสร็จสิ้นในช่วงก่อน การแข่งขันของกลุ่มตัวอย่างแต่ละทีม อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 23

นิยามศัพท์ นักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย หมายถึง นักกีฬาฟุตซอลที่เข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตซอลนักเรียน กรมพลศึกษา ประจำ�ปีการศึกษา 2557 ประเภท ก รุ่นอายุ ไม่เกิน 14 ปี 16 ปี และ 18 ปี ตำ�แหน่งของการเล่น หมายถึง ตำ�แหน่งผู้รักษาประตูและตำ�แหน่งผู้เล่น ทีมที่ประสบผลสำ�เร็จในการแข่งขัน หมายถึง ทีมท่ีสามารถเข้ามาแข่งขัน ในรอบกอ่ นรองชนะเลศิ จำ�นวน 8 ทีม ซึ่งได้จากทีมที่มีคะแนนเป็น 2 อันดับแรก ของแต่ละสาย ทีมที่ไม่ประสบผลสำ�เร็จในการแข่งขัน หมายถึง ทีมที่ไม่สามารถผ่านเข้ามาเล่น ในรอบก่อนรองชนะเลิศได้ จำ�นวน 8 ทีม ซึ่งได้จากทีมที่มีคะแนนเป็น 2 อันดับ สุดท้ายของแต่ละสาย 24

ขนาดสดั สว่ นรา่ งกาย(anthropometry)หมายถงึ ขนาดตา่ งๆของรา่ งกายการวจิ ยั น้ี ประกอบด้วย การวัดความยาวของขา ความยาวของขาส่วนบน ความยาวของ ขาส่วนล่าง เส้นรอบวงของต้นขา พื้นที่หน้าตัดของต้นขา และดัชนีมวลกาย องค์ประกอบของร่างกาย (body composition) หมายถึง ส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกายที่รวมเป็นน้ำ�หนักตัว การวิจัยนี้ประเมินจากเปอร์เซ็นต์ของไขมัน ในร่างกาย สมรรถภาพทางกลไก (motor fitness) หมายถึง สมรรถภาพที่เกี่ยวข้อง และสัมพันธ์กันระหว่างระบบประสาทกล้ามเนื้อ การวิจัยนี้ประกอบด้วย สมรรถภาพทางกลไกดา้ นความเรว็ ความคลอ่ งแคลว่ วอ่ งไว และพลงั ของกลา้ มเนอ้ื ความเร็ว (speed) หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหว จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งโดยใช้ระยะเวลาน้อยที่สุด การวิจัยครั้งนี้ทดสอบโดยใช้ แบบทดสอบความเร็วของเท้า ความเร็วในการวิ่งระยะ 5 เมตร ความเร็ว ในการวิง่ ระยะ 10 เมตร ส�ำ หรบั ต�ำ แหนง่ ผูร้ กั ษาประตู และแบบทดสอบความเรว็ ของเท้า ความเร็วในการวิ่งระยะ 5 เมตร ความเร็วในการวิ่งระยะ 10 เมตร และ ความเร็วในการวิ่งระยะ 20 เมตร สำ�หรับตำ�แหน่งผู้เล่น ความคล่องแคล่วว่องไว (agility) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทาง ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้ทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ FAF Slalom สำ�หรับตำ�แหน่งผู้เล่น และแบบทดสอบ 5-10-5 สำ�หรับตำ�แหน่ง ผู้รักษาประตู พลังของกล้ามเนื้อ (muscle power) ความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อ อย่างเต็มที่ในช่วงเวลาที่สั้นที่สุด การวิจัยครั้งนี้ทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ ยนื กระโดดสงู และยนื กระโดดไกล ส�ำ หรบั ต�ำ แหนง่ ผเู้ ลน่ และต�ำ แหนง่ ผรู้ กั ษาประตู ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 25

กรอบแนวคิดการวิจัย จากทฤษฎีและสมมุติฐานการวิจัย ผู้วิจัยกำ�หนดการวัดตัวแปรขององค์ประกอบ ด้านต่างๆ โดยสรุปเป็นกรอบแนวคิดของการวิจัย ดังต่อไปนี้ นักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย การแข่งขันฟุตซอลนักเรียนกรมพลศึกษาฯ • รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี • รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี • รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี • ตำ�แหน่งผู้รักษาประตู • ตำ�แหน่งผู้เล่น • ทีมที่ประสบความสำ�เร็จในการแข่งขัน • ทีมที่ไม่ประสบความสำ�เร็จในการแข่งขัน 26

ขนาดสัดส่วนร่างกาย (anthropometrics) • ความยาวของร่างกาย (body length) • ความกว้างของร่างกาย (breadth sites) • ขนาดรอบร่างกาย (circumference girth sites) • ดัชนีมวลกาย (body mass index) องค์ประกอบของร่างกาย (body composition) • เปอร์เซ็นต์ไขมันในรางกาย (%body fat) สมรรถภาพทางกลไก (motor fitness) • ความเร็ว (speed) • ความเร็วในการเปลี่ยนทิศทาง (change of direction speed) • ความคล่องแคล่วว่องไวเชิงปฏิกิริยา (reactive agility) • พลังกล้ามเนื้อ (muscle power) ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 27

เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับขนาดสัดส่วนของร่างกาย องค์ประกอบ ร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกในนักกีฬาฟุตซอล จากเอกสาร ตำ�รา และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีรายละเอียดดังนี้ ธรรมชาติและสรีรวิทยาของกีฬาฟุตซอล ฟุตซอล เป็นกีฬาที่มีต้นกำ�เนิดมาจากประเทศแคนาดาตั้งแต่ปี ค.ศ.1854 เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงฤดูหนาวมีหิมะปกคลุมทั่วบริเวณ ทำ�ให้ยากแก่การเล่นฟุตบอลในสนามกลางแจ้ง จึงได้จัดให้มีการเล่นฟุตบอล ในร่ม โดยใช้สนามแข่งขันบาสเกตบอลภายในยิมเนเซียม ซึ่งในเวลานั้น หเรรียอื กฟกาตุ รบเอลล่นฟ5ุตคบนอ(ลfiปvรeะ-aเภ-sทidนe้ีว่าso“cอcินerด)อโรด์ซยอคค�ำ เวกา่ อฟร์”ตุ ซ(inอdลoo(rfusotcscaelr)) มีรากศัพท์มาจากภาษาสเปนหรือภาษาโปรตุเกสที่เรียกคำ�ว่า Soccer เป็น “Futebol” และภาษาฝรั่งเศสหรือสเปนเรียก indoor ว่า “Salon” หรือ “Sala” เมื่อนำ�มารวมกันเกิดเป็นคำ�ว่า “FUTSAL” เกมฟุตซอลได้รับ ความนยิ มมากในประเทศแถบอเมรกิ าใต้ เชน่ ประเทศบราซลิ ประเทศปารากวยั ประเทศอรุ กุ วยั หรอื ในประเทศแถบยโุ รป เชน่ ประเทศสเปน ประเทศโปรตเุ กส หรือประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น ปัจจุบันกีฬาฟุตซอลมีการจัดการแข่งขัน ถึงระดับชิงแชมป์โลก ภายใต้การรับรองการแข่งขันโดยสหพันธ์ฟุตบอล นานาชาติหรือฟีฟ่า (Federation international football association: FIFA) (ฝ่ายวิชาการ, สกายบุ๊ก, 2547) ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 29

FIFA กำ�หนดกติกาการเล่นและ จากการที่กีฬาฟุตซอลต้องเล่นใน ก า ร แ ข่ ง ขั น กี ฬ า ฟุ ต ซ อ ล ขึ้ น ที่ ทำ � ใ ห้ มี สนามที่มีขนาดความกว้าง 18 - 22 เมตร ลักษณะเกมการเล่นที่มีเอกลักษณ์และ และความยาว 25 - 42 เมตร เมื่อเทียบกับ ลักษณะเฉพาะ ซึ่งได้แก่เกมที่เน้นการ อัตราส่วนของพื้นที่สนามกับจำ�นวนผู้เล่น สง่ บอลเปน็ หลกั มกี ารใชค้ วามเรว็ ในชว่ งสน้ั ๆ ที่แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นข้างละ 5 คน ในการเล่นอย่างต่อเนื่อง มีการหมุน พบว่าผู้เล่นแต่ละคนจะมีพื้นที่ว่างสำ�หรับ วนสลับตำ�แหน่งทดแทนกันในการเล่น การเล่นลูกค่อนข้างน้อยมาก กติกาที่ ตลอดเวลา เปน็ เกมทน่ี กั กฬี าตอ้ งใชค้ วามคดิ กำ�หนดขึ้นดังกล่าวนี้ จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำ�ให้ การแก้สถานการณ์เฉพาะหน้าและใช้สมาธิ ผู้เล่นต้องมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาเพื่อ ค่อนข้างสูง อีกทั้งนักกีฬาจะต้องมี หาพื้นที่ว่างในการครอบครองบอล อีกทั้ง ก า ร สื่ อ ส า ร ร ะ ห ว่ า ง ผู้ เ ล่ น ต ล อ ด เ ว ล า ระยะเวลาที่ผู้เล่นต้องทำ�การแข่งขันมี ซึ่งจะต้องอาศัยการทำ�งานเป็นระบบทีม ทั้งหมด 2 ครึ่งๆ ละ 20 นาที เวลาจะหยุด โดยผู้เล่นท้ัง 5 คนในสนามต้องทำ�งาน เมื่อลูกตายหรือลูกเสีย (คณาธิป, 2548) ประสานกันเพื่อทำ�ประตูและป้องกันประตู ซึ่งจากกติกาของกีฬาฟุตซอลในเรื่องของ บ่อยครั้งที่มีการเผชิญหน้าแบบตัวต่อตัว จำ�นวนผู้เล่น ขนาดสนาม และระยะเวลา ของผู้เล่นทั้งสองฝ่าย ซึ่งถือเป็นการพัฒนา ที่ใช้ในการแข่งขัน จึงทำ�ให้นักกีฬาฟุตซอล เทคนิคการเล่นส่วนบุคคลในการเล่นเกมรุก จำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสมรรถภาพ และเกมรับ และด้วยลูกบอลที่มีขนาดเล็ก ทางกายอยู่ในระดับดี แต่มีน้ำ�หนัก จึงช่วยให้ผู้เล่นเกิดการพัฒนา เทคนิคเฉพาะตัวได้ง่ายขึ้น อีกทั้งความเร็ว ของเกมการเล่นจะเป็นเงื่อนไขสำ�คัญ ที่บังคับให้ผู้เล่นต้องใช้เทคนิคการเล่นและ การตัดสินใจที่รวดเร็ว ดังนั้นจึงเป็นการ เ ส ริ ม ส ร้ า ง แ ล ะ พั ฒ น า ใ ห้ นั ก กี ฬ า เ กิ ด ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว รวมถึง ปฏิกิริยาการตอบสนองที่ดีได้ นอกจากนั้น ในตำ�แหน่งของผู้รักษาประตูนักกีฬาจะได้ เรียนรู้การทำ�เกมรุกกับทีม และที่สำ�คัญคือ ช่วยให้ผู้รักษาประตูสามารถพัฒนาทักษะ การเลน่ บอลดว้ ยเทา้ ไดด้ ยี ง่ิ ขน้ึ (Burns, 2003) 30

นริ อมลี (2555) พบวา่ นกั กฬี าฟตุ ซอลไทย โดย 83% ของเวลาท้ังหมดจะถูกใช้ไปกับ ระดับช้นั เลิศใช้ระดับความหนักขณะแข่งขัน กิจกรรมท่มี ีความหนักระดับสูงร้อยละ 16 ประมาณ 90% HRmax ผู้เล่นจะใช้เวลา ของเวลาท้ังหมดจะใช้ไปกับความหนัก ประมาณร้อยละ 80 ของเวลาทั้งหมด ระดับปานกลางและร้อยละ 1.3 ของ ที่เคลื่อนที่โดยใช้ความหนักที่มากกว่า เวลาท้ังหมดใช้ไปกับความหนักระดับต่ำ� 85% HRmax นอกจากนั้นค่าเฉล่ีย และระยะทางทั้งหมดที่นักกีฬาเคล่ือนท่ี ของระดับความเข้มข้นของแลคเตทในเลือด ตลอดท้ังเกม เฉล่ียเท่ากับ 4,314 เมตร ขณะแข่งขันเท่ากับ 5.5 มิลลิโมล/ลิตร หรอื คดิ เปน็ 117.3เมตรตอ่ นาที นอกจากนน้ั พลังงานทั้งหมดที่ใช้ตลอดการแข่งขัน Castagna et al. (2008) พบว่านักกีฬา ประมาณ 600 กิโลแคลอรี่ โดยระยะทาง ฟุตซอลใช้ระดับความหนักขณะแข่งขัน ที่นักกีฬาเคลื่อนที่ตลอดทั้งเกมการแข่งขัน เท่ากับ 90% HRmax มีระดับความเข้มข้น ประมาณ 5,100 เมตร แบ่งเป็นสัดส่วน ของแลคเตทในเลอื ดเทา่ กบั 5.3 มลิ ลโิ มล/ลติ ร ของกิจกรรมการยืนอยู่กับที่ร้อยละ 4.2 และระยะทางทั้งหมดที่นักกีฬาเคลื่อนที่ใน การเดนิ รอ้ ยละ26.1 การวง่ิ เหยาะรอ้ ยละ18 กิจกรรมต่างๆ ตลอดทั้งเกมเท่ากับ 4,840 การวิ่งด้วยความเร็วระดับต่ำ�ร้อยละ 19.4 เมตร แบ่งออกเป็น กิจกรรมการยืนอยู่กับที่ การวิ่งด้วยความเร็วระดับปานกลางร้อยละ ร้อยละ 1 การเดินร้อยละ 21 การวิ่งด้วย 17.1การวง่ิ ดว้ ยความเรว็ ระดบั สงู รอ้ ยละ8.7 ความเร็วระดับต่ำ�ร้อยละ 30 การวิ่งด้วย และการว่งิ ด้วยความเร็วระดับสูงสุดร้อยละ ความเร็วระดับปานกลางร้อยละ 31 การวิ่ง 6.5 ซึง่ สอดคลอ้ งกบั งานวจิ ยั ของ Barboro- ด้วยความเร็วระดับสูงร้อยละ 5 และการวิ่ง Alvarez et al. (2008) ทีศ่ กึ ษาการตอบสนอง ดว้ ยความเรว็ สงู สดุ รอ้ ยละ12ของระยะทาง ทางสรีรวิทยาและรูปแบบกิจกรรมท่ีใช้ ทั้งหมด ในขณะแขง่ ขนั ของนกั กฬี าฟตุ ซอลอาชพี ของ ประเทศสเปน พบวา่ อตั ราการเตน้ ของหวั ใจ ในขณะแข่งขันเฉลี่ยเท่ากับ 90% HRmax ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 31

ระยะทางที่นักกีฬาฟุตซอลเคลื่อนที่ตลอดทั้งเกมการแข่งขัน Barboro-Alvarez et al. (2008) นิรอมลี (2555) 4ปร,ะ3มา1ณ4 เมตร Castagna et al. (2008) ประมาณ 4ปร,ะ8มา4ณ0 เมตร 5,100 เมตร การยืนอยู่กับที่ิ 4.2% การยืนอยู่กับที่ิ 1% การเดิน 26.1% การเดิน 21% การวิ่งเหยาะ 18% การวิ่งด้วยความเร็วระดับต่ำ� 30% การวิ่งด้วยความเร็วระดับต่ำ� 19.4% การวิ่งด้วยความเร็วระดับปานกลาง 31% การวิ่งด้วยความเร็วระดับปานกลาง 17.1% การวิ่งด้วยความเร็วระดับสูง 5% การวิ่งด้วยความเร็วระดับสูง 8.7% การวิ่งด้วยความเร็วระดับสูงสุด 12% การวิ่งด้วยความเร็วระดับสูงสุด 6.5% 32

จากข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการทาง Burns (2003) กลา่ ววา่ นกั กฬี าฟตุ ซอล สรีรวิทยาของกีฬาฟุตซอล Makaje et al. ต้องมีสมรรถภาพทางกายด้านความเร็ว (2012) สรุปว่ากีฬาฟุตซอลเป็นกีฬาที่มี ความคลอ่ งแคลว่ วอ่ งไว ปฏกิ ริ ยิ าตอบสนอง ระดับความหนักของกิจกรรมค่อนข้างสูง ความแข็งแรงและพลังของกล้ามเนื้อ และไม่ต่อเนื่อง (intermittent high- ความอดทนแบบแอโรบิค และความอดทน intensity) นักกีฬาต้องวิ่งด้วยความเร็ว แบบแอนแอโรบิค ซึ่งในขณะแข่งขัน ทค่ี วามหนกั ระดบั สงู ซ�ำ้ กนั ตดิ ตอ่ หลายเทย่ี ว นักกีฬาจะใช้องค์ประกอบสมรรถภาพ และที่สำ�คัญมีช่วงระยะเวลาพักสั้นมาก ทางกายในด้านดังกล่าวแตกต่างกันไป จึงจำ�เป็นอย่างยิ่งที่นักกีฬาฟุตซอลต้อง ขึ้นอยู่กับทักษะและลักษณะกิจกรรมที่ใช้ มี ส ม ร ร ถ ภ า พ ท า ง ก า ย ด้ า น ค ว า ม เ ร็ ว ในขณะแข่งขัน นอกจากนั้นจากลักษณะ ความคล่องแคล่วว่องไว และความอดทน ธรรมชาติของรูปแบบการเล่นในกีฬา ในระดับสูงเป็นพิเศษ ดังนั้นการเตรียมทีม ฟุตซอลที่ต้องมีการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ฝึกซ้อมเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันฟุตซอล ความสามารถในการเลย้ี งบอล ครอบครองบอล อย่างมีประสิทธิภาพจึงต้องให้ความสำ�คัญ และเปลย่ี นทศิ ทางเพอ่ื หลบหลกี ฝา่ ยตรงขา้ ม กบั การวางแผนการฝกึ ซอ้ มดา้ นสมรรถภาพ จะเห็นได้ว่าสมรรถภาพทางกลไก (motor ทางกายรว่ มดว้ ย ซง่ึ หากนกั กฬี ามสี มรรถภาพ fitness) ซึ่งเป็นความสามารถที่เกิดจาก ทางกายอยู่ในระดับดีแล้วจะส่งผลให้ ประสิทธิภาพจากการทำ�งานของระบบ ความสามารถทั้งด้านเทคนิค ด้านแทคติค ประสาทสง่ั การและกลา้ มเนอ้ื มคี วามส�ำ คญั มาก รวมไปถึงสมรรถภาพทางจิตใจที่ใช้ใน โดยองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกลไก ขณะฝึกซ้อมและแข่งขันจะมีประสิทธิภาพ ที่จำ�เป็นและเกี่ยวข้องกับกีฬาฟุตซอล เพิ่มขึ้นตามไปด้วย (Bompa,1999) ได้แก่ ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว เวลาปฏิกิริยา และพลังกล้ามเนื้อ ซึ่ง ขณะแข่งขันนักกีฬาต้องใช้องค์ประกอบ ดงั กลา่ วในระดบั สงู มาก ดงั นน้ั การเสรมิ สรา้ ง และพัฒนาสมรรถภาพทางกลไกรวมถึง การทดสอบและการประเมินผลจะเป็น กระบวนการและขั้นตอนที่สำ�คัญ โดยต้องมี การวางแผนและลงรายละเอียดอย่างถูกวิธี ตามหลักวิชาการเนื่องจากเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่จะทำ�ให้นักกีฬาประสบผลสำ�เร็จใน การแข่งขันได้ ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 33

การวัดขนาดสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกในนักกีฬาประเภทต่างๆ สำ�หรับกลุ่มนักกีฬาระดับเยาวชนซึ่งถือเป็นวัยที่อยู่ในช่วงของ การเจริญเติบโตทั้งด้านโครงสร้าง สรีรวิทยาการทำ�งานของร่างกาย รวมถึงมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์ จติ ใจ และสงั คม ดงั นัน้ ในการฝกึ ซอ้ มกฬี าเพือ่ ความเปน็ เลศิ ส�ำ หรบั นักกีฬาเยาวชนจำ�เป็นต้องคำ�นึงถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการ การเจริญเติบโตในแต่ละด้านด้วย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย Drinkwater et al, (2006) และ Garganta, et al (1993) ได้รายงานว่า การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการฝึกซ้อม หรอื แขง่ ขนั กฬี าในกลมุ่ นกั กฬี าเยาวชนจะศกึ ษาจากขนาดสดั สว่ นรา่ งกาย (anthropometric)และองคป์ ระกอบของรา่ งกาย(bodycomposition) เนื่องจากตัวแปรดังกล่าวมีบทบาทสำ�คัญในการที่จะเป็นตัวจำ�กัดหรือ ส่งเสริมความสามารถทางการกีฬา 34

ขนาดสัดส่วนร่างกาย เป็นการวัดเกี่ยวกับขนาดและสัดส่วน ของร่างกาย เช่น การวัดขนาดเส้นรอบวง (circumferences) การวัดความกว้างของกระดูก (skeletal diameter) และการวัด ความยาวของสว่ นตา่ งๆของรา่ งกาย(segmentlength)โดยการวดั ขนาด สัดส่วนของร่างกายสามารถใช้วัดและติดตามการเจริญเติบโตใน เด็กและเยาวชนได้ ซึ่งข้อได้เปรียบของการใช้วิธีการวัดขนาด สัดส่วนของร่างกาย คือ เป็นวิธีการวัดที่ไม่มีอันตราย เครื่องมือ ไม่แพง และมีความง่ายในการปฏิบัติ สามารถเคลื่อนย้ายเครื่องมือ ไปทำ�การวัดได้ทุกสถานที่ สามารถวัดในกลุ่มคนได้เป็นจำ�นวนมาก ตรงตามวัตถุประสงค์ (Australian Sports Commission, 2000) c ircumferences s keletal diameter s egment length ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 35

ส�ำ หรบั องคป์ ระกอบของรา่ งกาย หมายถงึ สว่ นตา่ งๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นน้ำ�หนักตัวของร่างกาย โดยแบ่งเป็น FAT MASS 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นไขมัน (fat mass) และส่วนที่ ปราศจากไขมัน (fat-free mass) เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ Fat และแร่ธาตุต่างๆ ในร่างกาย โดยทั่วไปองค์ประกอบ ของร่างกายจะเป็นดัชนีประมาณค่าที่ทำ�ให้ทราบถึง เปอร์เซ็นต์ของน้ำ�หนักที่เป็นส่วนของไขมันที่มีอยู่ ในร่างกาย ดังนั้นถ้ามีองค์ประกอบของร่างกายอยู่ FAT-FREE MASS ในสภาวะที่สมดุลจะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพและ Bone Minerals สมรรถภาพทางกายที่ดี โดยระดับเปอร์เซ็นต์ไขมันใน ร่างกาย (% body fat) เป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงความสมดุล ขององค์ประกอบร่างกาย วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของ Muscle การทดสอบองค์ประกอบของร่างกาย คือ เพื่อใช้เป็น ดัชนีที่ชี้วัดถึงการเจริญเติบโตของเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึง การหาอัตราเสี่ยงของการเป็นโรคต่างๆ จากการมีระดับ ของเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายน้อยหรือมากเกินไป ในทางกีฬาจะใช้สำ�หรับการประเมินน้ำ�หนักตัวที่เหมาะสมสำ�หรับนักกีฬาที่ใช้น้ำ�หนักตัว เป็นตัวแบ่งรุ่นของการแข่งขัน เช่น มวย เทควันโด ยกน้ำ�หนัก และเพาะกาย นอกจากนั้น ใช้ในการประเมินน้ำ�หนักตัวที่เหมาะสมสำ�หรับนำ�ไปคำ�นวณสัดส่วนอาหาร รวมถึงให้ ค�ำ แนะน�ำ และจดั โปรแกรมการออกก�ำ ลงั กาย (Reilly el al., 2000) ดงั นัน้ การทดสอบหรอื การวดั ขนาดสดั สว่ นของรา่ งกายและองคป์ ระกอบของรา่ งกายจงึ เป็นสิ่งจ�ำ เป็นสำ�หรับแพทย์ นักโภชนาการ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา นักพลศึกษา รวมไปถึงผู้ฝึกสอนกีฬาประเภทต่างๆ มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับขนาดสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกายและ สมรรถภาพทางกลไกอย่างกว้างขวางแต่สำ�หรับในนักกีฬาฟุตซอลยังไม่มีการศึกษาวิจัย ในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใดโดยเฉพาะในกลุ่มของนักกีฬาระดับเยาวชน ดังนั้นการตรวจ เอกสารหรือทบทวนวรรณกรรมของการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องจึงจำ�เป็นจะต้องศึกษา กับงานวิจัยที่ศึกษาในกีฬาชนิดอื่นๆ ที่มีลักษณะธรรมชาติและรูปแบบการการเล่นคล้ายๆ กีฬาฟุตซอล เช่น กีฬาฟุตบอล (Pantelis and Karydis, 2011) บาสเกตบอล (Gabbett, 2000 และ Gabbett el al., 2009) และวอลเลย์บอล (Singh and Singh, 2010) เป็นต้น โดยงานวิจัยที่มีการศึกษาเกี่ยวกับขนาดสัดส่วนของร่างกาย องค์ประกอบของ ร่างกายและสมรรถภาพทางกลไกในนักกีฬาชนิดต่างๆ มีดังต่อไปนี้ 36

กลุ่มวิจัยและพัฒนา สำ�นักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ ในปี พ.ศ.2549 ได้ทำ�การศึกษาชนิดรูปกายและองค์ประกอบร่างกายของนักกีฬา ฟุตบอลเยาวชน พบว่ามีค่าเฉลี่ยของน้ำ�หนักเท่ากับ 63.03 กิโลกรัม และ สว่ นสงู เทา่ กบั 168.48 เซนตเิ มตร โดยมชี นดิ รปู กายแบบเอนโด – เมโสมอรฟ์ คือ ร่างกายมีแขนขา กล้ามเนื้อใหญ่ชัดเจน และค่อนข้างอ้วน มีการสะสม ไขมันในร่างกายมาก ทั้งนี้พบว่าผู้เล่นตำ�แหน่งประตู มีเปอร์เซ็นต์ไขมันเฉลี่ย มากที่สุด รองลงมา คือ กองหน้าและกองกลาง ตามลำ�ดับ นอกจากนั้น จากข้อมูลเปรียบเทียบขนาดรูปร่างและส่วนประกอบของร่างกายในนักกีฬา ฟุตบอลระดับเยาวชนทีมชาติไทยและนักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชนทีมชาติ ออสเตรเลียพบว่านักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชนทีมชาติไทยมีค่าเฉลี่ย น้ำ�หนักตัวและส่วนสูง (63.3 กิโลกรัม, 172.1 เซนติเมตร) มากกว่าทีมชาติ ออสเตรเลีย (59.8 กิโลกรัม, 165.5 เซนติเมตร) (การกีฬาแห่งประเทศไทย, 2547 อ้างอิงใน สุรศักดิ์, ม.ป.ป.) 172.1 cm. 165.5 cm. 63.3 kg. 59.8 kg. (การกีฬาแห่งประเทศไทย, 2547) ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 37

The Diet Pump (2555) ซึ่งได้ให้บริการด้านโภชนาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและ พัฒนาการของนักกีฬาฟุตบอล จำ�นวน 51 คน พบว่า ส่วนสูง 2สูง7% 50% 2สูง9% 43% 65% สูง ปกติ ปกติ 39% 28% เตี้ย 8% เตี้ย ปกติ อายุ 14-17 ปี อายุ 6-10 ปี 11% เตี้ย อายุ 11-13 ปี 1) ส่วนสูงส่วนใหญ่ตั้งแต่อายุ 6-13 ปี 2) สัดส่วนองค์ประกอบร่างกายพบว่า สงู เทยี บเทา่ เกณฑม์ าตรฐานสากล แตพ่ อถงึ มปี รมิ าณไขมนั อยใู่ นเกณฑส์ งู และกลา้ มเนอ้ื นอ้ ย ช่วงอายุ 14 ปีขึ้นไป ความสูงกลับเพิ่มขึ้น เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วสูงถึงร้อยละ 67 น้อยกว่าที่ควรจะเป็นหรือหยุดนิ่ง จนทำ�ให้ นอกจากนั้นพบว่าลักษณะสัดส่วนของ ส่วนสูงไม่เป็นไปตามแนวโน้มที่ควรจะเป็น ร่างกายที่มีผลต่อสุขภาพในแบบร่างกาย ซึ่งเห็นได้ชัดว่านักฟุตบอลเตี้ยมีเปอร์เซ็นต์ อ่อนแอ (weak type) ร้อยละ 67 แบบ สงู สดุ ในชว่ งอายุ14-17ปี (ชว่ งอายุ6-10ปี สุขภาพดี (healthy type) ร้อยละ 67 และ ความสูงปกติ ร้อยละ 65 สูงร้อยละ 27 แบบนักกีฬา (athletic type) ร้อยละ 23 และเตี้ยร้อยละ 8 ช่วงอายุ 11–13 ปี สำ � ห รั บ จำ � น ว น นั ก กี ฬ า ฟุ ต บ อ ล ร ะ ดั บ ความสูงปกติ ร้อยละ 39 สูงร้อยละ 50 เยาวชนจำ�แนกตามลักษณะสัดส่วนของ และเตี้ยร้อยละ 11 ช่วงอายุ 14–17 ปี ร่างกายที่มีผลต่อสุขภาพ คือ แบบร่างกาย ความสูงปกติ ร้อยละ 43 สูงร้อยละ 29 อ่อนแอ แบบสุขภาพดี และแบบนักกีฬา และเตี้ยร้อยละ 28) มีดังนี้ 38

ลักษณะสัดส่วนร่างกาย Silvestre et al. (2006) ได้ศึกษา ที่มีผลต่อสุขภาพ องค์ประกอบของร่างกายและสมรรถภาพ อายุ 6-10 ปี ทางกายในนักกีฬาฟุตบอลชายในระดับ ดิวิชั่น 1 ของประเทศสหรัฐอเมริกา 81% โ ด ย ศึ ก ษ า ใ น ช่ ว ง ก่ อ น เ ริ่ ม ต้ น ฤ ดู ก า ล 4% และหลังจบฤดูกาลแข่งขันในปี ค.ศ. 15% 2 0 0 3 - 2 0 0 4 ตั ว แ ป ร ที่ ศึ ก ษ า คื อ ขนาดสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบ อายุ 11-13 ปี ข อ ง ร่ า ง ก า ย ( วั ด โ ด ย ใ ช้ วิ ธี d u a l 50% 17% energy x-ray absorptiometry) ความสามารถในการกระโดดสงู การทดสอบ 33% ว่งิ เร็ว พลังของกล้ามเน้อื และความอดทน ของระบบหัวใจและหายใจ ผลการศึกษา อายุ 14-17 ปี พบวา่ หลงั จบฤดกู าลแขง่ ขนั นกั กฬี าฟตุ บอล 57% 14% มีนำ้�หนักตัว นำ้�หนักของมวลกล้ามเน้ือขา และกลา้ มเนอ้ื ล�ำ ตวั เพม่ิ ขน้ึ อย่างมีนัยส�ำ คัญ 29% ทางสถติ ทิ รี่ ะดบั 0.05อยา่ งไรกด็ ใี นสว่ นของ สมรรถภาพทางกายด้านต่างๆ ในช่วงก่อน แบบร่างกายอ่อนแอ และหลังส้นิ สุดฤดูกาลไม่แตกต่างกันอย่างมี แบบสุขภาพดี นัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แบบนักกีฬา Hencken and White (2006) ไดศ้ กึ ษา ชว่ งอายุ 6–10 ปี รอ้ ยละ 81 รอ้ ยละ 4 ขนาดสัดส่วนร่างกายในนักกีฬาฟุตบอล และรอ้ ยละ 15 ตามล�ำ ดบั ชว่ งอายุ 11–13 ปี ที่เข้าแข่งขันลีก Premiership ของประเทศ ร้อยละ 50 ร้อยละ 17 และร้อยละ 33 อังกฤษ พบว่าขนาดความสูง น้ำ�หนักตัว ตามลำ�ดับ ช่วงอายุ 14–17 ปี ร้อยละ 57 ไขมันในร่างกาย และน้ำ�หนักของมวล ร้อยละ 14 และร้อยละ 29 ตามลำ�ดับ กล้ามเน้อื ระหว่างผ้เู ล่นในตำ�แหน่งกองหน้า กองกลาง กองหลัง และผู้รักษาประตู ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 39

Cossio-Bolanos et al. (2012) Zhang (2010) ได้ทำ�การศึกษา ไดศ้ กึ ษาขนาดสดั สว่ นรา่ งกายและองคป์ ระกอบ ความสัมพันธ์ของขนาดสัดส่วนร่างกาย ของร่างกายในนักกีฬาฟุตบอลระดับชั้นเลิศ กั บ ส ม ร ร ถ ภ า พ ท า ง ก า ย ใ น นั ก กี ฬ า ของประเทศเปรู พบว่าเมื่อเปรียบเทียบ วอลเลยบ์ อลหญงิ ของประเทศจนี ผลการศกึ ษา ระหว่างตำ�แหน่ง น้ำ�หนักตัว ส่วนสูง อายุ พ บ ว่ า ข น า ด ค ว า ม ก ว้ า ง ข อ ง ก ร ะ ดู ก ประสบการณ์ เปอร์เซ็นต์ไขมัน และน้ำ�หนัก biepicondylar femur และขนาดเสน้ รอบวง ไขมัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำ�คัญทาง ของน่องมีความสัมพันธ์กับความสูงในการ สถิตทิ ีร่ ะดบั 0.05 แต่อย่างไรกด็ ีในต�ำ แหน่ง วิ่งกระโดดอย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับ ก อ ง ก ล า ง มี ข น า ด ข อ ง ม ว ล ก ล้ า ม เ นื้ อ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบจำ�แนกตาม น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับตำ�แหน่งอื่นและ ตำ�แหน่งการเล่น พบว่าน้ำ�หนักตัว ส่วนสูง แตกต่างกับตำ�แหน่งของผู้รักษาประตู และส่วนสูงในการเหยียดแขนตรงแนวดิ่ง อย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 อีกทั้งความยาวของกระดูก Wong et al. (2009) ได้ศึกษา radiale-stylion, acromiale-dactylion, ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดสัดส่วนร่างกาย midstylion-dactylion, iliospinale, tibiale กับตัวแปรทางสรีรวิทยาและสมรรถภาพ -laterale และความกว้างของกระดูก ทางกายในนักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชน biacromial, กระดูก biiliocristal และ พบวา่ น�ำ้ หนกั ตวั มคี วามสมั พนั ธก์ บั ความเรว็ transverse chest และขนาดรอบวงของ ในการยิงประตู(r=0.50; P<0.05) gluteal แตกต่างกันอย่างมีนัยสำ�คัญ และสัมพันธ์กับความเร็วในการวิ่ง 30 เมตร ทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อเปรียบเทียบ ( r = - 0 . 5 4 ; P<0.05) ความสูงของ ระหว่างตำ�แหน่งการเล่น นักกีฬามีความสัมพันธ์กับผลการทดสอบ ก ร ะ โ ด ด สู ง ( r = 0 . 3 6 ; P < 0 . 0 5 ) แ ล ะ สั ม พั น ธ์ กั บ ค ว า ม เ ร็ ว ใ น ก า ร ว่ิ ง 10 เมตร และ 30 เมตร (r=-0.36 และ - 0 . 3 2 ; P < 0 . 0 5 ) ดั ช นี ม ว ล ก า ย มีความสัมพันธ์กับความเร็วในการยิงประตู (r=0.30; P<0.05) และสัมพันธ์กับ ความเร็วในการวิ่ง 30 เมตร (r=-0.24; P<0.05) 40

Gabbett (2005) ไดศ้ กึ ษาและเปรยี บเทยี บ Sisodiya and Monica (2009) ตัวแปรทางสรีรวิทยาและขนาดสัดส่วน ไดศ้ กึ ษาความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งขนาดสดั สว่ นของ ร่ า ง ก า ย ข อ ง นั ก กี ฬ า รั ก บี้ ที่ เ ล่ น ลี ก ใ น ร่างกายกับความสามารถในการใช้ทักษะ ระดบั เยาวชนโดยจ�ำ แนกตามต�ำ แหนง่ การเลน่ ในกีฬาบาสเกตบอล พบว่าขนาดสัดส่วน พบว่าตำ�แหน่งเอาท์ไซด์แบ็คมีความสูง รา่ งกายดา้ นน�ำ้ หนกั สว่ นสงู ความยาวของขา น้ำ�หนัก และความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง ขนาดรอบตน้ ขาขนาดรอบนอ่ งความยาวแขน ดีกว่าตำ�แหน่งอื่น ส่วนตำ�แหน่งฮาล์ฟแบ็ค และรอบแขนมีความสัมพันธ์กันอย่างมี และเซน็ เตอร์มคี วามเรว็ ในการวง่ิ ระยะ20เมตร นัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับทักษะ 40 เมตร และความคล่องแคล่วว่องไว ที่ใช้ในกีฬาบาสเกตบอล ได้แก่ ความเร็ว ดีกว่าตำ�แหน่งอื่นๆ อย่างมีนัยสำ�คัญ ในการชตู้ บอล ความแมน่ ย�ำ ในการขวา้ งบอล ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความสามารถในการเลี้ยงบอล Chaouachi et al. (2009) ได้ศึกษา จากการตรวจเอกสารและงานวิจัย ขนาดสัดส่วนของร่างกาย ตัวแปรทาง ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั การศกึ ษาเกย่ี วกบั ขนาดสดั สว่ น สรีรวิทยา และความสามารถทางการกีฬา ร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และ ในกลุ่มนักกีฬาแฮนด์บอล โดยจำ�แนกตาม สมรรถภาพทางกลไก ในนักกีฬาฟุตบอล ตำ�แหน่งของการเล่น พบว่าความสูงและ วอลเลย์บอล บาสเกตบอล รักบี้ฟุตบอล เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายระหว่างต�ำ แหน่ง และแฮนด์บอล สรุปได้ว่าขนาดสัดส่วน การเลน่ แตกตา่ งกนั อยา่ งมนี ยั ส�ำ คญั ทางสถติ ิ ร่างกายและองค์ประกอบของร่างกาย ที่ระดับ 0.05 นอกจากนั้นความสามารถ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการ ในการกระโดดแนวราบขาเดยี วมคี วามสมั พนั ธ์ แสดงความสามารถของนกั กฬี าไมว่ า่ จะเปน็ กับขนาดสัดส่วนร่างกายและระยะทาง ทางทักษะกีฬาหรือสมรรถภาพทางกาย ในการวิ่ง 5 เมตร 10 เมตร และ 30 เมตร ดงั นัน้ ผูฝ้ กึ สอนและผูเ้ กีย่ วขอ้ งตอ้ งค�ำ นงึ ถงึ (r= 0.51-0.80; P<0.01) ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ข น า ด สั ด ส่ ว น ร่ า ง ก า ย แ ล ะ อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ร่ า ง ก า ย ท่ีเ ห ม า ะ ส ม สำ � ห รั บ ก า ร ฝึ ก ซ้ อ ม แ ล ะ ก า ร คั ด เ ลื อ ก ตัวนักกีฬาต่อไป ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 41

วิธีการดำ�เนินการวิจัย

อุปกรณ์ 1 2 เคร่ืองสแกนองค์ประกอบของร่างกาย เครื่องวัดองค์ประกอบร่างกาย ระบบ 3 มิติ (3D body scan) พร้อม ระบบวัดความต้านทานไฟฟ้า อปุ กรณค์ อมพวิ เตอร์ เครือ่ งหมายการคา้ (inbody) VITRONIC รุ่น VITUS smart ประเทศ เยอรมัน ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 43

3 ชดุ วดั ความเรว็ และพลงั กลา้ มเนอ้ื (kinematic measurement system) 4 แผ่นยางวัดระยะยืนกระโดดไปด้านหน้า (standing board jump) 5 เครื่องวัดความหนาไขมันใต้ผิวหนัง (lange skinfold caliper) 44

6 นาฬกิ าจบั เวลาแบบดจิ ติ อล เครอ่ื งหมายการคา้ Casio รนุ่ HS – 80 TW ประเทศญี่ปุ่น 7 ตัวติดแสดงตำ�แหน่ง (maker) แบบแถบเทป 8 กรวยยาง 9 ตลับเมตร 10 นกหวีด ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 45

11 แบบบันทึกผล ใบบันทึกผลการทดสอบ โครงการวจิ ยั เรอ่ื งลกั ษณะของขนาดสดั สว่ นรา่ งกาย องคป์ ระกอบของรา่ งกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย ประจำ�ปีงบประมาณ 2557 วันที่.................................. ชื่อ-นามสกุล........................................อายุ.............ปี ส่วนสูง.............ซม. โรงเรียน.....................................................ID:…………….…………………….…… รุ่นอายุ 14 ปี 16 ปี 18 ปี ตำ�แหน่ง ผู้เล่น ผู้รักษาประตู 1. Inbody 2. Skinfold: Biceps = ……….........… mm. Triceps = ……..………. mm. Subscapular = ………… mm. Supraileac = …………. mm. 3. Body scan 4. Fitness test 4.1 Speed ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 - 5 m. Sec. Sec. - 10 m. Sec. Sec. - 20 m. Sec. Sec. 4.2 Agility Sec. Sec. - FAF’ s Slalom test Sec. Sec. - 5-10-5 Agility test Cm. Cm. 4.3 Standing board jump Speed = ……………………………………..… Change of direction speed = ……………………………………..… Reactive agility = ……………………………………..… Muscle power = ……………………………………..… 46

วิธีการ ประชากร เป็นนักกีฬาฟุตซอลชายที่เข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตซอลนักเรียน กรมพลศึกษา ประจำ�ปีการศึกษา 2557 ประเภท ก โดยแบ่งเป็น 3 ระดับอายุ คือ รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี และรุ่นอายุ ไมเ่ กนิ 18ปีแตล่ ะรนุ่ มที มี เขา้ รว่ มแขง่ ขนั จ�ำ นวน16ทมี โดยแบ่งการแข่งขันเป็นสายๆ ละ 4 ทีม แต่ละทีมส่ง รายชือ่ นกั กฬี าเขา้ รว่ มการแขง่ ขนั จ�ำ นวนทมี ละ 15 คน รวมกลุ่มประชากรทั้งสิ้น 720 คน การแข่งขันฟุตซอลนักเรียนกรมพลศึกษา ประจำ�ปีการศึกษา 2557 ประเภท ก รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี 1234 1234 1234 5678 5678 5678 9 10 11 12 9 10 11 12 9 10 11 12 13 14 15 16 13 14 15 16 13 14 15 16 ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 47

กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัย จำ�นวน 288 คน โดยแต่ละรุ่นอายุมีกลุ่มตัวอย่าง จำ�นวน 96 คน โดยใช้ วธิ กี ารสมุ่ ก�ำ หนดตามสดั สว่ น (proportionate stratified random sampling) และใชว้ ธิ กี ารสมุ่ อยา่ งงา่ ย ซง่ึ ไดจ้ าก ผู้เล่นของแต่ละทีม จำ�นวน 6 คน โดยแบ่งเป็นตำ�แหน่ง 720 คน ผู้รักษาประตู จำ�นวน 2 คน และตำ�แหน่งผู้เล่น จำ�นวน 4 คน โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง เขา้ รว่ มการวจิ ยั (inclusion criteria) และเกณฑก์ ารคดั กลุ่มตัวอย่าง กลมุ่ ตวั อยา่ งออกจากการวจิ ยั (exclusion criteria) ดงั น้ี 288 คน (สุ่มกำ�หนดตามสัดส่วน) เกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง เกณฑ์การคัดกลุ่มตัวอย่าง เข้าร่วมการวิจัย (inclusion criteria) ออกจากการวิจัย (exclusion criteria) นักกีฬาไม่มีปัญหาการบาดเจ็บของ ก ลุ่ ม ตั ว อ ย่ า ง เ กิ ด เ ห ตุ สุ ด วิ สั ย กล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อหรือการบาดเจ็บ ที่ไม่สามารถเข้าร่วมการวิจัยต่อไปได้ เช่น อื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคในการเข้าร่วมการวิจัย มีปัญหาการบาดเจ็บ อุบัติเหตุหรือมีอาการ และมีความสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย เจ็บป่วย รวมถึงไม่ให้ความร่วมมือ ขาดการเข้าร่วมวิจัยตามวันและระยะเวลา ท่ีผู้วิจัยกำ�หนดไว้ และไม่สมัครใจที่จะ เข้าร่วมการวิจัย 48

การเก็บรวบรวมข้อมูล 1 2 ศึ ก ษ า ร า ย ล ะ เ อี ย ด เ กี่ ย ว กั บ ประชุมเพื่ออธิบายและชี้แจงวัตถุประสงค์ของ วิธีการ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ การวิจัย ลำ�ดับขั้นตอนการวิจัยและวิธีการวิจัย ในการวิจัยจากงานวิจัย ตำ�รา รวมถึงข้อห้ามในระหว่างการเข้าร่วมการวิจัย และเอกสารทางวิชาการ กับคณะผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย 3 4 ปฏิบัติตามขั้นตอนที่คาดว่า ท�ำ หนงั สอื ขอความรว่ มมอื ในการใชก้ ลมุ่ ตวั อยา่ ง จะเกบ็ ขอ้ มลู จรงิ กบั กลมุ่ ตวั อยา่ ง เพื่อการวิจัยถึงผู้ฝึกสอนที่ส่งนักกีฬาเข้าร่วม ที่ มี คุ ณ ส ม บั ติ ใ ก ล้ เ คี ย ง กั บ การแข่งขันฟุตซอลนักเรียน กรมพลศึกษา กลมุ่ ตวั อยา่ ง เพอ่ื หาขอ้ ผดิ พลาด ประจำ�ปีการศึกษา 2557 ประเภท ก ในรุ่นอายุ จากการปฏิบัติและทำ�การแก้ไข ไม่เกิน 14 ปี 16 ปี และ 18 ปี ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูลจริง ลักษณะของสัดส่วนร่างกาย องค์ประกอบของร่างกาย และสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย 49

5 ศกึ ษารายละเอยี ดเกีย่ วกบั วธิ กี าร เครือ่ งมอื อปุ กรณ์ รายละเอยี ดในการท�ำ วจิ ยั และจัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ แบบบันทึกผล เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล หลังจากนั้นเชิญกลุ่มตัวอย่างมาชี้แจงขั้นตอนวิธีการวิจัยโดยละเอียด พร้อมลงนามในใบยินยอมสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย 6 7 ผู้ วิ จั ย ข อ เ ชิ ญ ผู้ ฝึ ก ส อ น ห รื อ กลุ่มตัวอย่างสวมเสื้อชุดกีฬาปกติ ผู้ ทำ � ห น้ า ที่ ดู แ ล นั ก กี ฬ า เ ข้ า ร่ ว ม (กางเกงขาสั้น) โดยชั่งน้ำ�หนักตัว ประชุมทบทวนวัตถุประสงค์และ วัดส่วนสูง และวัดองค์ประกอบของ กระบวนการวิจัย เมื่อกลุ่มตัวอย่าง ร่างกายในส่วนของเปอร์เซ็นต์ไขมัน สมคั รใจเขา้ รว่ มการวจิ ยั ใหก้ ลมุ่ ตวั อยา่ ง ด้วยเครื่อง inbody ลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความยินยอม ในการเข้าร่วมการวิจัย 50


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook