Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ 4_1544650950

การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ 4_1544650950

Published by pla_enter2, 2019-09-12 07:56:37

Description: การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ 4_1544650950

Search

Read the Text Version

526 บทท่ี 13 บทบาทของบคุ ลากรตอ่ การปรับปรุงและเปลยี่ นแปลงหลกั สูตร ฝึกทักษะการปฏิบัติงานให้กับผู้ท่ีได้รับการโค้ชด้วยวิธีการที่หลากหลายสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของการโค้ช โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ที่ได้รับการโค้ชมีความรู้ ทักษะ ความชานาญ ความเช่ียวชาญในการปฏิบัติงาน ตลอดจนเจตคติท่ีดีต่อการปฏิบัติงาน และการโค้ชเพื่อการรู้คิด เป็นบทบาทของผู้สอนในปัจจุบันท่ีช่วยให้ผู้เรียนปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนรู้ได้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผล และมีความผูกพันอยู่กับการ เรียนรู้ สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดแสวงหาคาตอบและพัฒนาตนเอง เต็มตามศกั ยภาพ

บทท่ี 13 บทบาทของบุคลากรต่อการปรับปรุงและเปลย่ี นแปลงหลกั สตู ร 527 บรรณานุกรม วิชัย วงษใ์ หญ่ และมารุต พัฒผล. (2558). การโค้ชเพือ่ การรู้คดิ . (พมิ พ์คร้งั ที่ 5 ฉบบั ปรบั ปรงุ ) กรงุ เทพฯ: จรัลสนทิ วงศก์ ารพิมพ.์ Achinstein, Betty., and Athanases, Steven Z. (2006). Mentors in the Making: Developing New Teachers. New York: Teachers College Press. Aguilar, Elena. (2013). The Art of Coaching: Effective Strategies for School Transformation. San Francisco: Jossey – Bass. Costa, Arthur L. and Garmston, Robert j. (2002). Cognitive Coaching A Foundation for Renaissance Schools. 2nd ed. Massachusetts: Christopher – Gordon Publishers, Inc. Draft, Richard L. (2011). Leadership. Australia: South – Western Engage Learning. DuFour, Richard., and DuFour, Rebecca. (2012). The School Leader’s Guide to Professional Learning Communities at Work. Bloomington: Solution Tree Press. Glanz, Jeffery. (2002). Finding Your Leadership Style: A Guide for Educators. Alexandria: Association for Supervision and Curriculum Development. Glatthorn, Allan A. and others. (2009). Curriculum Leadership: Strategies for Development and Implementation. 2nd ed. Los Angeles: Sage Publications. . (2012). Curriculum Leadership: Strategies for Development and Implementation. 3rded. Los Angeles: Sage Publications.

528 บทท่ี 13 บทบาทของบุคลากรต่อการปรับปรงุ และเปล่ยี นแปลงหลักสูตร Hughes, Richard L. (2015). Leadership: Enhancing the Lessons of Experience. New York: McGraw – Hill Education. Knight, Jim. (editor). (2009). Coaching: Approaches and Perspective. California: Corwin Press. Lattuca, Lisa R., and Stark, Joan S. (2009). Shaping the College Curriculum: Academic Plans in Context. 2nded. San Francisco: Jossey – Bass. Lieberman, Ann., and Miller, Lynne. (2004). Teacher Leadership. San Francisco: Jossey – Bass. McCauley, Cynthia D., and Velsor, Ellen Van. (editor). (2004). The Center for Creative Leadership Handbook of Leadership Development. San Francisco: Jossey – Bass. Pierce, Jon L., and Newstrom, John W. (2003). Leaders & the Leadership Process: Reading, Self – Assessment, & Applications. Boston: McGraw – Hill, Irwin. Richard, Riding. (2007). Cognitive Styles and Learning Strategies: Understanding Style Differences in Learning and Behavior. London: D. Fulton. Robertson, Jan., and Timperley, Helen. (editor). (2011). Leadership and Learning. Thousand Oaks, CA: SAGE Publications. Schedlitzki, Doris. (2014). Studying Leadership: Traditional & Critical Approaches. Los Angeles: Sage Publications. Schedlitzki, Doris., and Edwards, Gareth. (2014). Studying Leadership: Traditional & Critical Approaches. Los Angeles: Sage Publications. Sweeney, Diane. (2011). Student–Centered Coaching: A Guide for K – 8 Coaches and Principals. California: Corwin Press.

บทท่ี 13 บทบาทของบคุ ลากรตอ่ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลกั สูตร 529 Tomlinson, Harry. (2004). Educational Leadership: Personal Growth for Professional Development. London: Sage Publications. Tomlinson, Carol Ann., and Allan, Susan Demirsky. (2000). Leadership for Differentiating Schools & Classroom. Alexandria: Association for Supervision and Curriculum Development. Western, Simon. (2013). Leadership: A Critical Text. Los Angeles: Sage Publications. Whitehead, Bruce M., Jensen, Devon E. N., and Boschee, Floyd. (2013). Planning for Technology: A Guide for School Administrators, Technology coordinators, and Curriculum Leaders. California: Corwin Press.

530 บทที่ 13 บทบาทของบุคลากรต่อการปรับปรุงและเปล่ยี นแปลงหลกั สูตร การปรบั ปรุงและเปล่ียนแปลงหลักสตู ร ตอ้ งอาศัยความรว่ มมอื ร่วมใจ ของบคุ ลากรทกุ ฝา่ ยมาทางานร่วมกันในลกั ษณะ ชมุ ชนแห่งการเรียนรเู้ ชิงวิชาชีพ

บทท่ี 14 การพฒั นาผสู้ อนให้พร้อมตอ่ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลกั สตู ร 531 บทท่ี 14 การพฒั นาผ้สู อนให้พร้อมต่อการปรบั ปรงุ และเปล่ยี นแปลงหลักสูตร

532 บทท่ี 14 การพัฒนาผู้สอนให้พรอ้ มตอ่ การปรับปรงุ และเปลี่ยนแปลงหลกั สูตร การพฒั นาผู้สอน ให้มีศกั ยภาพทางวิชาการ เป็นปัจจัยความสาเร็จ ของการใช้หลกั สูตรทกุ ระดบั

บทที่ 14 การพัฒนาผสู้ อนให้พรอ้ มต่อการปรับปรุงและเปลย่ี นแปลงหลกั สูตร 533 14.1 การพัฒนาผูส้ อนโดยใชโ้ รงเรยี นเป็นฐาน 14.2 การพัฒนาผสู้ อนโดยใช้ชมุ ชนแหง่ การเรียนรู้ เชิงวิชาชีพ 14. การพฒั นาผ้สู อน ใหพ้ รอ้ มตอ่ การปรับปรุง และเปลีย่ นแปลงหลักสูตร 14.3 การพฒั นาผูส้ อนโดยใช้การวิจัย และพัฒนานวตั กรรมในงานประจา 14.4 แนวทางการพัฒนาผู้สอนใหพ้ รอ้ ม ต่อการปรบั ปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร: ถอดบทเรียนจากประสบการณก์ ารวิจัย

534 บทท่ี 14 การพัฒนาผู้สอนให้พร้อมตอ่ การปรับปรุงและเปลย่ี นแปลงหลกั สตู ร การพัฒนาผู้สอน โดยใช้โรงเรียนเปน็ ฐาน และชมุ ชนแห่งการเรียนรู้เชงิ วชิ าชพี เป็นวธิ ีการพัฒนาทส่ี อดคล้องกบั หลกั การทรงงาน “ระเบดิ จากขา้ งใน”

บทท่ี 14 การพฒั นาผสู้ อนใหพ้ ร้อมต่อการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลกั สูตร 535 สาระสาคญั สาหรับในบทท่ี 14 เร่ืองการพัฒนาผู้สอนให้พร้อมต่อการปรับปรุงและ เปลย่ี นแปลงหลกั สตู ร มีสาระสาคญั ดังต่อไปน้ี 1. การพั ฒ น าผู้สอนมีเป้าหมายคือการพัฒ นาให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และคุณลักษณะ การพัฒนาผู้สอนเป็นภารกิจท่ี สาคัญสาหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในทุกประเทศท่ัวโลก และเม่ือผู้สอนได้รับ การพฒั นาแล้วทาให้ผูเ้ รียนมีคุณภาพสูงข้นึ 2. การพัฒนาผู้สอนโดยใชโ้ รงเรียนเป็นฐานเปน็ กระบวนการพฒั นา ผู้สอนตามสภาพปัญหาและความต้องการของสถานศึกษา ผู้สอน ชุมชน ท้องถ่ิน เพ่ือเพ่มิ ขีดความสามารถทีเ่ กี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ท่ีมีประสทิ ธิภาพ 3. ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ เป็นการผสมผสานแนวคิด 2 ประการ ได้แก่ ความเป็นมืออาชีพ และชุมชนแห่งการเรียนรู้ หมายถึงการรวมกลุ่ม กันของบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยมีจุดมุ่งหมายเพ่ือพัฒนาสมรรถนะ เชิงวิชาชพี และคุณภาพของผู้เรยี นร่วมกนั 4. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในงานประจา เป็นการผสมผสาน กันระหว่างการวิจัยและพัฒนา การวจิ ัยในงานประจา และนวัตกรรมมีลักษณะเป็นการ วิจัยที่เป็นเน้ือเดียวกับการปฏิบัติงานประจา ช่วยทาให้มีนวัตกรรมสาหรับการ ปฏบิ ตั ิงานประจามปี ระสิทธิภาพและประสทิ ธิผลมากขนึ้ 5. การพัฒ นาศักยภาพผู้สอนให้พร้อม ต่อการปรับปรุงและ เปล่ียนแปลงหลักสูตรเป็นภารกิจสาคัญของผู้บริหารตลอดจนผู้สอนเองในการพัฒนา ความรู้และทกั ษะต่างๆ อย่างตอ่ เนื่อง

536 บทท่ี 14 การพฒั นาผู้สอนให้พรอ้ มตอ่ การปรบั ปรุงและเปลย่ี นแปลงหลกั สตู ร ผู้สอนเป็นบคุ ลากรที่มคี วามสาคัญที่สดุ ในการพัฒนาคุณภาพการศกึ ษา จาเปน็ ต้องไดร้ ับการพัฒนาด้านวชิ าการ อย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการท่ีสอดคลอ้ งกับ วฒั นธรรมองค์กร และวัฒนธรรมการทางาน

บทท่ี 14 การพัฒนาผ้สู อนให้พรอ้ มต่อการปรับปรุงและเปลย่ี นแปลงหลกั สูตร 537 14.1 การพัฒนาผู้สอนโดยใชโ้ รงเรียนเป็นฐาน การพัฒนาผู้สอน (teachers professional development) มีเป้าหมาย คือการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และคุณลักษณะ การพัฒนาผู้สอนเป็นภารกิจที่สาคัญสาหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในทุกประเทศ ทวั่ โลก เม่ือผสู้ อนได้รบั การพัฒนาแล้วทาให้ผู้เรยี นมีคุณภาพสูงขึน้ ก า รพั ฒ น าผู้ ส อ น โด ย ใช้ โรง เรี ย น เป็ น ฐ า น ให้ พ ร้อ ม ต่ อ ก า ร ปรับปรงุ และเปลย่ี นแปลงหลักสตู ร การพัฒนาผู้สอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเป็นกระบวนการพัฒนา ผู้สอนตามสภาพปัญหาและความต้องการของสถานศึกษา ผู้สอน ชุมชน ท้องถ่ิน เพ่ือเพ่ิมขีดความสามารถที่เก่ียวข้องกับการจัดการเรียนรู้ท่ีมีประสิทธิภาพ โดยวิธีการ พัฒนาเน้นการปฏิบัติจริงตามบริบทของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการมีส่วน ร่วมของทุกฝ่าย มีการแลกเปล่ียนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาตลอดจน พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา (ศศิธร เขียวกอ. 2548, สวุ ิมล ว่องวานชิ . 2546) ภายใต้บริบทของชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมมือร่วมใจ การเรียนรู้ ประสบการณ์การปฏิบัติงานในพื้นท่ี และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่องการ ทางานร่วมกันและความรับผิดชอบต่อตนเอง ทาให้ผู้สอนมีความรู้ในเนื้อหาและ เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอน ส่งผลทาให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมี ประสทิ ธิผล เกดิ การปรบั ปรุงและพัฒนาอย่างต่อเน่อื ง โดยได้รับการโค้ชเพ่ือการรู้คิดให้มีความรู้ ความสามารถ การตรวจสอบ ประเมินตนเอง กาหนดทิศทางการพัฒนาตนเองได้ โดยใช้เทคนคิ วิธีการต่างๆ เช่น การ ตั้งคาถาม การให้ข้อมูลย้อนกลับ การให้คาแนะนา การแนะแนวการคิด วิธีการคิด วิธีการเรยี นรทู้ ่ีทาให้เกิดแรงบันดาลใจนาไปส่กู ารแสวงหาความรู้ การฝึกฝนทกั ษะ

538 บทท่ี 14 การพัฒนาผูส้ อนใหพ้ ร้อมตอ่ การปรับปรงุ และเปล่ียนแปลงหลกั สตู ร จากประสบการณ์การทาวิจัยพัฒนาผู้สอนของผู้เขียน ได้แก่ 1) การพัฒนา ความสามารถในการจัดทาหน่วยการเรียนรบู้ ูรณาการท่ีสอดคล้องกับท้องถ่ินของผู้สอน ระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน (พ.ศ. 2553) 2) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้สอนเพื่อ เสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (พ.ศ. 2555) 3) รูปแบบการพัฒนาผู้สอนด้านการจัดการเรียนรู้ท่ีเสริมสร้างการรู้คิดและความสุขใน การเรียนรู้ของผู้เรียนระดับประถมศึกษา (พ.ศ. 2556) และ 4) รูปแบบการเสริมสร้าง ศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน (พ.ศ. 2557) ทาให้ พบว่า การพฒั นาผูส้ อนโดยใช้โรงเรยี นเป็นฐาน มีขอ้ ดีดงั ต่อไปนี้ 1. กจิ กรรมการพัฒนาบรู ณาการกบั งานประจาของผสู้ อนไดด้ ี 2. ผู้สอนไม่ตอ้ งท้งิ ชนั้ เรยี นเพื่อเข้ารบั การพัฒนา 3. ประหยดั ทรัพยากรด้านต่างๆ เชน่ เวลาการเดนิ ทาง งบประมาณ 4. ผสู้ อนสามารถนาความรู้ ทักษะ ไปใชใ้ นชน้ั เรยี นไดท้ ันที 5. สร้างบรรยากาศท่ีผอ่ นคลายและการแลกเปลี่ยนเรยี นรู้ไดง้ ่าย ภาพถ่ายการร่วมกันออกแบบ ก ารเรีย น รู้แ บ บ บู รณ าก าร ในโครงการพัฒนาผู้สอนโดยใช้ โร ง เรี ย น เป็ น ฐ า น หั ว ข้ อ “การจัดการเรียนรู้แบบบูรณา การ” ของผู้เขียน ท่ีโรงเรียน ศรีสวัสดิ์พิทยาคม อ.ศรีสวัสด์ิ จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 10 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทท่ี 14 การพัฒนาผสู้ อนให้พร้อมตอ่ การปรบั ปรุงและเปล่ยี นแปลงหลักสตู ร 539 ภาพถ่ายจากการสังเกตพฤติกรรม การโค้ชของผู้สอน ในโครงการ พั ฒ น าผู้ ส อน โด ยใช้ โรงเรีย น เป็นฐาน หัวข้อ “การการโค้ช เพื่ อ ก า ร รู้ คิ ด ” ข อ ง ผู้ เขี ย น ท่ี โ ร ง เรี ย น วั ด ด อ น เจ ดี ย์ ร า ษ ฎ ร บูรณ ะ อ.เมือง จ.สุพ รรณ บุ รี ใน ช่ ว ง พ ฤ ศ จิ ก าย น 2557 – มนี าคม 2558 14.2 การพัฒนาผู้สอนโดยใช้ชมุ ชนแหง่ การเรยี นร้เู ชิงวชิ าชีพ ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) เป็ น การผ สม ผ สาน แน วคิด ส องป ระก ารได้ แก่ ค วาม เป็ น มื ออ าชี พ (professional) และ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (learning community) หมายถึง การรวมกลุ่มกันของบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยมีจุดมุ่งหมายเพ่ือ พฒั นาสมรรถนะเชิงวิชาชีพ และคุณภาพของผู้เรียนร่วมกนั ผา่ นกระบวนการเรียนรู้ ร่วมมือร่วมใจ การเรียนรู้ประสบการณ์การปฏิบัติงานในพ้ืนที่ และการแลกเปล่ียน เรียนร้อู ยา่ งต่อเนือ่ ง จุดเน้นของชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ คือ การเรียนรู้ร่วมกัน การทางานแบบร่วมมือร่วมใจ (work collaborative) และความรับผิดชอบต่อ ตนเอง (self - accountable) บุคลากรเกิดความผูกพันกับองค์กร โดยมีการพัฒนา บุคลากรท่ีสอดคล้องกันตามลาดับความสาคัญของภารกิจ การพัฒนาภาวะผู้นากับ ผบู้ รหิ าร การทุ่มเทการสอื่ สารค่านยิ มขององค์กรกบั พันธกจิ ใหบ้ คุ ลากรเขา้ ใจตรงกัน

540 บทท่ี 14 การพฒั นาผู้สอนให้พร้อมตอ่ การปรับปรงุ และเปลย่ี นแปลงหลักสตู ร องค์ความรู้ท่ีเกิดจากการจัดการเรียนรู้ในช้ันเรยี นของผู้สอนแต่ละคนจะ ถูกนามาจัดการความรู้อย่างเป็นระบบและนามาแลกเปล่ียนเรียนรู้ซ่ึงกันและกัน อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยกระบวนการจัดการความรู้ ช่วยทาให้ผู้สอนมีความรู้ในเน้ือหา และเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ ส่งผลทาให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล เกิดการปรบั ปรุงและพัฒนาอย่างต่อเน่ือง การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ เพื่อการ ขับเคล่ือนกรอบแผนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านอาชีพท้องถ่ิน มอี งค์ประกอบ 5 ประการดงั ต่อไปนี้ 1. การแลกเปลี่ยนคุณค่าและวิสัยทัศน์ (shared values and vision) หมายถึง การแลกเปลี่ยนแบ่งปัน และกาหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน ตลอดจนการมีพันธสัญญาร่วมกันระหว่างครูและผู้บริหารในการยกระดับ คณุ ภาพการจัดการศกึ ษา 2. วัฒนธรรมความร่วมมือร่วมใจ (collaborative culture) หมายถงึ พันธสัญญาเกี่ยวกับ ความรว่ มมือรว่ มใจของครูทกุ คน รวมทั้งผบู้ ริหาร สาหรับ การดาเนินกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพโดยมีเป้าหมายเดียวกัน มีความรบั ผิดชอบตอ่ การเรียนรู้ของผู้เรยี น 3. มุ่งเน้นการตรวจสอบและปรับปรุงผลการเรียนรู้ของผู้เรียน (focus on examining outcomes to improve student learning) หมายถึง การให้ความสาคัญกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการประเมินผลการเรียนรู้และ นาข้อมูลสารสนเทศจากการประเมินมาวางแผนและดาเนินการพัฒนาคุณภาพของ ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซ่ึงครูและผู้บริหารต้องมีความรับผิดชอบต่อผลการตรวจสอบ ดงั กล่าวซ่งึ ถือว่าเป็นความรบั ผิดชอบร่วมกัน 4. การสนับสนุนและแลกเปล่ียนภาวะผู้นา (supportive and shared leadership) หมายถึง การให้การสนับสนุนการดาเนินการของชุมชนแห่ง การเรียนรู้เชิงวิชาชีพ รวมท้ังการให้ครูทุกๆ คน เป็นผู้นาในการตัดสินใจบนพ้ืนฐาน

บทท่ี 14 การพฒั นาผูส้ อนให้พรอ้ มตอ่ การปรบั ปรงุ และเปล่ยี นแปลงหลักสูตร 541 ความเท่าเทียมกัน และข้อมูลสารสนเทศ บทบาทภาวะผู้นา มีจุดเน้นท่ีการกระตุ้นให้มี การแลกเปลี่ยนเรยี นรู้ร่วมกนั ให้มากทสี่ ุดเพ่ือคุณภาพของผูเ้ รยี น 5. การแลกเปล่ียนประสบการณ์การปฏิบัติส่วนบุคคล (shared personal practice) หมายถึง การนาความร้แู ละประสบการณ์ท่ีได้รับจากการจดั การ เรียนรู้ในชั้นเรียน จากการประเมินตนเอง การสังเกตการจัดการเรียนรู้ของเพื่อนครู และผลการประเมินต่างๆ เช่น ทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน มาแลกเปล่ียนเรียนรู้กับ เพ่ือนครูในชุมชนแห่งการเรยี นรเู้ ชิงวิชาชีพ ซึ่งการแบ่งปนั ประสบการณ์การปฏิบัติส่วน บุคคลนี้จะช่วยทาให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาความเป็นมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง และยง่ั ยืน วัฒนธรรม ความรว่ มมอื ร่วมใจ การแลกเปล่ียนคณุ ค่า มุ่งเน้นการตรวจสอบ และวสิ ยั ทศั น์ และปรับปรุง ชมุ ชนแห่งการเรยี นรู้เชิงวิชาชพี ครู ผลการเรยี นรขู้ องผูเ้ รียน การแลกเปล่ยี นประสบการณ์ การสนับสนนุ การปฏบิ ัตสิ ่วนบคุ คล และแลกเปลย่ี นภาวะผนู้ า แผนภาพ 73 องค์ประกอบของชุมชนแหง่ การเรียนรเู้ ชิงวชิ าชพี

542 บทท่ี 14 การพฒั นาผสู้ อนใหพ้ รอ้ มตอ่ การปรบั ปรุงและเปลย่ี นแปลงหลักสูตร การใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสามารถพัฒนาศักยภาพของ ผู้สอนให้มีความพร้อมต่อการปรับปรุงและเปล่ียนแปลงหลักสูตรได้ ในแง่ของการ พัฒนาความรู้ ความสามารถ ตลอดจนทักษะต่างๆ ที่ทันสมัย สอดคล้องกับบริบทการ จัดการศึกษาท่ีเป็นปัจจุบัน ดังเช่นงานวิจัยของปองทิพย์ เทพอารีย์ นิสิตปริญญาเอก สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร ได้ทาปริญญานิพนธ์ เร่ือง การพัฒนารูปแบบชุมชน แห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครูประถมศึกษา โดยผู้เขียนทาหน้าที่เป็นประธาน คณะกรรมการควบคุมปริญญานิพนธ์ ผลจากการวิจัยทาให้พบว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้ เชิงวิชาชีพสามารถพัฒนาผู้สอนให้มีสมรรถนะวิชาชีพ 4 ด้าน คือ การพัฒนาตนเอง การจัดการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง และ การทางานเป็นทีม นอกจากนี้จากการที่ผู้สอนได้นาความรู้และประสบการณ์จากการ ทากิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ยังทาให้ผู้เรียนมี ทักษะการเรยี นรแู้ ละนวตั กรรม ทกั ษะสารสนเทศสงู ขึ้น นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้ทาวิจัยการพัฒนาผู้สอนโดยนาแนวคิดหลักการ ของชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพมาใช้ในการวิจัย เช่น การวิจัยเสริมสร้าง ศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน เม่ือ พ.ศ. 2557 เป็นต้น ซ่ึงหากสถานศึกษาสามารถนาแนวคิดหลักการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิง วิชาชีพไปใช้พัฒนาศักยภาพของผู้สอนให้มีความพร้อมต่อการปรับปรุงและ เปล่ียนแปลงหลักสูตรท่ีจะเกิดขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างดี นับได้ว่าเป็นวิธีการที่ควร นาไปปรับประยุกต์ใช้ต่อไป ซ่ึงนอกจากผู้สอนจะได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถต่างๆ แล้ว ยังนับว่าเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการปรับปรุงและ เปล่ียนแปลงหลกั สตู รทอี่ าจเกดิ ขึน้ ไดด้ ว้ ย

บทที่ 14 การพฒั นาผู้สอนใหพ้ ร้อมต่อการปรับปรงุ และเปลย่ี นแปลงหลักสตู ร 543 ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิง วิ ช า ชี พ ค รู โ ร ง เรี ย น ตารวจตระเวนชายแดน บ้านต้นมะม่วง รวมกลุ่ม กันเรียนรู้เร่ืองการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ใน โครงการวิจัยเสริมสร้าง ศั ก ย ภ าพ ก ารจั ด ก าร เรี ย น รู้ ข อ ง ค รู โ ร ง เรี ย น ตารวจตระเวนชายแดน ในงานวจิ ัยของผูเ้ ขยี น ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน วัดสุธาสินี รวมกลุ่มกันเรียนรู้เรื่องการวิจัยเพ่ือพัฒนาการเรียนรู้ ในโครงการวิจัยเสริมสร้าง ศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนในงานวิจัยของ ผูเ้ ขยี น

544 บทที่ 14 การพัฒนาผู้สอนให้พร้อมต่อการปรบั ปรุงและเปลยี่ นแปลงหลักสตู ร 14.3 การพฒั นาผู้สอนโดยใช้การวิจยั และพฒั นานวตั กรรม ในงานประจา การวิจัยและพัฒนานวตั กรรมในงานประจา เป็นการผสมผสานกนั ระหว่าง การวิจัยและพัฒนา (research and development) การวิจัยในงานประจา (routine to research) และนวัตกรรม (innovation) มีลักษณะเป็นการวิจัยท่ีเป็น เน้อื เดียวกับการปฏิบัติงานประจา ช่วยทาให้มนี วตั กรรมสาหรับการปฏิบัติงานประจามี ประสทิ ธภิ าพและประสทิ ธิผลมากข้ึน การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยท่ีมีกิจกรรมหลัก 2 ประการ คือ การวิจัย (Research: R) และการพัฒนา (Development: D) เพ่ือให้ได้นวัตกรรมที่ต้องการ โดยท่วั ไปเรียกสน้ั ๆ วา่ R & D อย่างไรกต็ ามในแง่ของการปฏบิ ัตินั้นการวจิ ัยและพฒั นาสามารถเรมิ่ ต้นจาก การวิจัยตามด้วยการพัฒนา (R D) หรือจะเริ่มต้นจากการพัฒนาแล้วตามด้วยการ วจิ ัย (D R)กไ็ ด้ นอกจากนี้ยังดาเนินการได้หลายวงรอบโดยไมม่ ีขีดจากดั จนกว่าจะ ไดน้ วัตกรรมทม่ี ปี ระสิทธภิ าพ ดงั นน้ั วงจรการวจิ ัย (R D) จึงอาจขยายเปน็ R1 D1 R2 D2 R3 D3 กกหรอื D1 R1 D2 R2 D3 R3 กกหรือ การวิจัยในงานประจาเป็นการวจิ ัยท่ีมุ่งพัฒนางานประจาให้มีประสทิ ธภิ าพ และมีประสิทธิผลมากข้ึน โดยอาจใช้วิธีการวิจัยประเภทต่างๆ เช่น การวิจัยเชิงสารวจ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น โดยผู้ท่ีทาหน้าที่เป็นนักวิจัยคือผู้ปฏิบัติงานน้ันเอง ทาไดร้ วดเรว็ ไม่ต้องใชง้ บประมาณสูง มุ่งเน้นการพัฒนางานประจาให้ดีข้ึน โดยการวจิ ัย จะเร่ิมต้นจากการวิเคราะห์ปัญหาของการปฏิบัติงานแล้วแสวงหาวิธีการแก้ปัญหานั้น ด้วยวิธีการต่างๆ แล้วนามาทดลองปรับปรุงเปล่ียนแปลงการปฏิบัติงาน โดยมีการเก็บ

บทท่ี 14 การพฒั นาผสู้ อนให้พรอ้ มต่อการปรบั ปรงุ และเปลย่ี นแปลงหลักสูตร 545 รวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบว่าการปฏบิ ัติงานด้วยวิธีการใหมน่ ้ันมีประสิทธภิ าพดีกว่า เดิมหรือไม่อย่างไร หากพบว่าวิธีการใหม่ดีกว่าวิธีการเดิมก็จะใช้วิธีการใหม่นั้นแทน วธิ กี ารเดิม นวัตกรรม เป็นความชานาญหรือความสามารถในการใช้กระบวนการทาง ความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้จินตนาการและการถ่ายทอด ใช้ทักษะในการสร้างส่ิงที่มี เอกลกั ษณข์ องตนจนทาให้เกดิ ส่ิงใหมห่ รือนวตั กรรมที่ทาข้นึ ใหม่หรอื พฒั นาข้ึน นวัตกรรมสามารถอยู่ในรูปแบบของความคิด วิธีการ การกระทาหรือ ส่ิงประดิษฐ์ต่างๆ โดยอาจเป็นส่ิงใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียงบางส่วน และอาจใหม่ ในบริบทใดบรบิ ทหน่ึงหรอื ในช่วงเวลาใดเวลาหนงึ่ จากท่ีกล่าวมาข้างต้นนั้น สามารถแสดงแผนภาพแนวคิดของการวิจัย และพฒั นานวตั กรรมในงานประจา ไดด้ ังตอ่ ไปน้ี Routine R1 D1 R2 D2 Routine ปัญหา วจิ ยั ศกึ ษา ออกแบบ วิจัย ปรับปรุง งานประจา ในงาน ข้อมูลสาคญั นวตั กรรม ดาเนนิ การ นวัตกรรม มปี ระสิทธิภาพ ประจา สาหรบั ทส่ี อดคลอ้ ง ทดลองใช้ และนามา และประสทิ ธผิ ล การ กับสภาพ นวตั กรรม ใชอ้ ย่าง มากขึน้ ออกแบบ ปญั หา ควบคู่กบั ต่อเนอ่ื ง นวตั กรรม การปฏิบัติ งานประจา แผนภาพ 74 แนวคดิ ของการวิจัยและพัฒนานวตั กรรมในงานประจา

546 บทที่ 14 การพฒั นาผูส้ อนใหพ้ ร้อมต่อการปรับปรุงและเปลย่ี นแปลงหลกั สตู ร 14.4 แนวทางการพัฒนาผู้สอนให้พร้อมต่อการปรบั ปรุง และเปลี่ยนแปลงหลกั สูตร: ถอดบทเรยี นจากประสบการณ์ การวจิ ัย การพัฒนาศักยภาพผู้สอนให้พร้อมต่อการปรับปรุงและเปล่ียนแปลง หลักสูตร เป็นภารกิจสาคัญของผู้บริหารตลอดจนผู้สอนเองในการพัฒนาความรู้ และทักษะต่างๆ ให้พร้อมต่อการเปล่ียนแปลงต่างๆ เช่น ในปี พ.ศ. 2544 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 และสถานศกึ ษาตอ้ งดาเนินการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกบั สภาพบริบท ของสถานศึกษา และมีการพัฒนาผู้สอนในด้านการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษา ทัว่ ประเทศ เป็นตน้ ประกอบกับด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการ เปลี่ยนแปลงทางสังคม ทาให้ผู้สอนต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้มี ความสามารถจดั การเรยี นรตู้ ลอดจนปฏิบตั ิภารกจิ อ่ืนๆ ท่ีเก่ียวข้องกับการพัฒนาผเู้ รยี น ได้อยา่ งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จากประสบการณ์การวจิ ัยของผเู้ ขยี น ไดแ้ ก่ 1. การพัฒนาความสามารถในการจัดทาหน่วยการเรียนรู้บูรณา การทีส่ อดคลอ้ งกับท้องถ่ินของผู้สอนระดบั การศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน (พ.ศ. 2553) 2. การพฒั นาหลกั สูตรฝกึ อบรมผสู้ อนเพื่อเสริมสรา้ งความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิจัยเปน็ ฐาน (พ.ศ. 2555) 3. รูปแบบการพัฒนาผู้สอนด้านการจัดการเรยี นรู้ทีเ่ สริมสร้างการ รูค้ ดิ และความสขุ ในการเรียนรขู้ องผเู้ รยี นระดบั ประถมศึกษา (พ.ศ. 2556) 4. รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรยี นตารวจตระเวนชายแดน (พ.ศ. 2557) 5. รูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาด้านการโค้ชเพื่อการรู้คิด (พ.ศ. 2558)

บทท่ี 14 การพัฒนาผ้สู อนให้พร้อมตอ่ การปรบั ปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสตู ร 547 ทาใหเ้ ห็นวา่ การพัฒนาศักยภาพของผูส้ อนนน้ั เป็นภารกิจท่ีสาคญั อยา่ งย่ิง ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเตรียมความพร้อมต่อการปรับปรุงและ เปลี่ยนแปลงหลักสูตร ซึ่งมีแนวทางท่ีสาคัญหลายประการ ซ่งึ กอ่ นจะสังเคราะห์ให้เห็น ว่าแนวทางดังกล่าวประกอบด้วยอะไรบ้าง ผู้เขียนขอนาเสนอผลการวิจัยท้ัง 5 เรื่อง ดงั กลา่ วโดยสรปุ สาระสาคัญ ดงั ต่อไปน้ี ผลการวจิ ยั เรือ่ งท่ี 1 “การพัฒนาความสามารถในการจัดทาหนว่ ยการเรยี นรบู้ ูรณาการ ท่สี อดคล้องกับทอ้ งถิน่ ของผู้สอนระดบั การศกึ ษาข้ันพ้นื ฐาน” การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาความสามารถในการจัดทาหน่วยการเรียนรู้บูรณา การที่สอดคล้องกับท้องถ่ินของผู้สอนในบริบทโรงเรียนขนาดเล็กท่ีเป็นห้องเรียนสาขา ของโรงเรียนหลัก ซ่ึงมีการบริหารจัดการเบ็ดเสร็จในตัวเอง (school in school) ดาเนินการพัฒนาทโ่ี รงเรยี น โดยใช้แนวคดิ การเรยี นรู้จากการปฏิบตั ิ (action learning) และการเพ่ิมพลงั อานาจ (empowerment) มสี าระสาคัญดงั นี้ (มารุต พฒั ผล. 2553) วัตถปุ ระสงค์ เพ่ือพัฒนาความสามารถในการจัดทาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการที่สอดคล้อง กับท้องถิ่นของผสู้ อน กระบวนการพัฒนา 4 ข้นั ตอน ดาเนนิ การตามขั้นตอนดังนี้ ข้ันตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการพฒั นาตนเองของผู้สอน จากการสอบถามผู้สอนท้ัง 6 คน เกี่ยวกับความต้องการพัฒนา ความสามารถของตนเองด้านการจัดทาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ พบว่า ผู้สอนทุกคน มีความต้องการพัฒนาตนเองในด้านการจัดทาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการท่ีสอดคล้อง กับทอ้ งถ่ิน โดยเน้นการลงมอื ปฏบิ ตั ิจรงิ อย่างครบวงจร

548 บทท่ี 14 การพฒั นาผสู้ อนใหพ้ รอ้ มตอ่ การปรับปรงุ และเปลย่ี นแปลงหลักสตู ร ขนั้ ตอนที่ 2 การวางแผนกิจกรรมการพฒั นา จากการดาเนินการประชุมสัมมนาผู้สอนทุกคนเพ่ือร่วมแสดงความ คิดเห็นและวางแผนกิจกรรมการพัฒนาความสามารถในการจัดทาหน่วยการเรียนรู้ บูรณาการ โดยให้มีความสอดคล้องกับการปฏิบัติงานในการจัดการเรียนการสอนและ เน้นการปฏบิ ัติจริง ผลการวางแผนกิจกรรมการพฒั นาปรากฏดงั ตารางต่อไปนี้ ตารางแผนกจิ กรรมการพัฒนา ขัน้ ท่ี วัตถปุ ระสงค์ กจิ กรรม ผลลัพธ์ ผู้รับผิดชอบ ผสู้ อนมีความรู้ความ ผ้วู จิ ัย 1 เพอื่ ให้ความรูค้ วาม การบรรยายหัวข้อ เขา้ ใจการจัดทาหนว่ ย การเรยี นรบู้ ูรณการ ผู้สอน เขา้ ใจเกี่ยวกบั หน่วย หน่วยการเรียนรู้ ทราบความต้องการ ทกุ คน ของผ้เู รยี นและหวั การเรยี นรบู้ รู ณาการ บรู ณาการ เรอ่ื งของหน่วยการ ผู้สอน เรียนรู้ ทกุ คน 2 เพ่อื ทราบความ ศึกษาความต้องการ ได้ความคิดรวบยอด ตอ้ งการของผเู้ รยี น ของผเู้ รยี นเกย่ี วกบั ของแตล่ ะสาระ การเรยี นรูท้ ่มี คี วาม เกีย่ วกบั สิ่งทส่ี นใจ สงิ่ ที่สนใจอยาก เชอ่ื มโยงกบั หวั เร่อื ง หนว่ ยการเรียนรู้ อยากเรยี นรแู้ ละ เรียนรู้ กาหนดหวั เร่ือง ของหน่วยบูรณาการ 3 เพ่ือเช่อื มโยงความคดิ ศกึ ษามาตรฐาน รวบยอดของแต่ละ การเรยี นรูแ้ ละ สาระการเรยี นรู้ ตัวชว้ี ดั ของหลกั สตู ร กบั หวั เรอื่ งหนว่ ยการ แล้ววิเคราะห์ เรยี นร้แู ละความ ความคดิ รวบยอด ตอ้ งการของผู้เรียน หลักกบั หวั เร่ือง หน่วยการเรยี นรู้ และความต้องการ เรียนรขู้ องผเู้ รียน

บทที่ 14 การพฒั นาผสู้ อนให้พร้อมต่อการปรับปรุงและเปล่ยี นแปลงหลกั สตู ร 549 ตารางแผนกิจกรรมการพัฒนา (ตอ่ ) ขนั้ ที่ วัตถปุ ระสงค์ กจิ กรรม ผลลัพธ์ ผูร้ ับผิดชอบ 4 เพ่อื เขียนแผนการจดั ผสู้ อนรว่ มกนั เขียน มีแผนการจดั การเรยี น ผู้สอน ทุกคน การเรยี นการสอน แผนการจดั การ การสอนหน่วยการ ผู้สอน หน่วยการเรียนรู้ เรยี นการสอนหนว่ ย เรียนร้บู รู ณาการ ทุกคน บรู ณาการ การเรยี นรบู้ ูรณาการ 5 เพอื่ ดาเนินการจดั การ ผู้สอนร่วมกันจดั การ ผูเ้ รยี นเกิดการเรยี นรู้ เรียนการสอนหนว่ ย เรยี นรหู้ น่วยการ ตามวัตถุประสงค์ การเรยี นรบู้ ูรณาการ เรียนรบู้ รู ณาการ ทีก่ าหนดไว้ รวมท้ังการวัด รวมทงั้ การวัด ประเมินผล ประเมินผล ขั้นตอนที่ 3 การดาเนินกิจกรรมการพัฒนา 1. ประชุมสัมมนาเพื่อทาความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทาหน่วยการเรียนรู้ บรู ณากาท่ีผสู้ อน ทกุ คนทาความตกลงรว่ มกนั และมีสว่ นรว่ มในกจิ กรรมทกุ ขั้นตอน 2. ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับการ จัดทาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการที่สอดคล้องกับท้องถิ่นตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พทุ ธศักราช 2551 3. ดาเนินการจัดทาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการที่มีความสอดคล้องกับ ท้องถ่นิ ตามหลักสตู รแกนกลางการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 4. ออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดยการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และ ตัวช้ีวัดที่อยู่ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 และ เชอ่ื มโยงกบั สภาพของท้องถิ่น 5. ดาเนินการร่วมกันเขียนแผนการจดั การเรียนรู้ โดยมอี งค์ประกอบสาคัญ ไดแ้ ก่

550 บทท่ี 14 การพฒั นาผู้สอนให้พรอ้ มต่อการปรบั ปรุงและเปลยี่ นแปลงหลกั สตู ร 1) มาตรฐานการเรียนร้แู ละตัวชี้วดั 2) ผังมโนทศั น์สาระสาคญั ของหน่วยการเรยี นรู้ 3) สมรรถนะและคณุ ลกั ษณะอันพงึ ประสงค์ 4) ผลการเรียนรู้ที่คาดหวงั 5) จุดประสงคก์ ารเรยี นรู้ 6) กิจกรรมการเรียนรู้ 7) สื่อและแหลง่ การเรยี นรู้ 8) การวดั และประเมนิ ผล 9) การสะทอ้ นผลการจดั การเรยี นรู้ 10) การถอดบทเรียน 6. ร่วมกันใช้หน่วยการเรียนรู้บูรณาการที่จัดทาขึ้น โดยนาไปใช้ในการ จัดการเรียนการสอนกับผู้เรียนและมีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเป็น ระบบ 7. การแลกเปล่ียนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดทาหน่วยการเรียนรู้ บรู ณาการระหวา่ งผู้วิจัย ผู้สอน และผบู้ รหิ าร ขน้ั ตอนที่ 4 การประเมินผลการพัฒนา ประเมินความสามารถในการจัดทาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการที่ สอดคลอ้ งกบั ท้องถนิ่ โดยให้ผสู้ อนประเมินตนเองและผวู้ ิจยั ประเมนิ ผู้สอนจากหลักฐาน รอ่ งรอยต่างๆ ก่อนและหลงั การดาเนินกจิ กรรมการพัฒนา และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการ หาค่าเฉลีย่ ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สรปุ ผลการวิจัย จากการดาเนินการพัฒนา พบว่า ผู้สอนสามารถจัดทาหน่วยการเรียนรู้บูรณา การที่สอดคล้องกับท้องถิ่นได้ดีขึ้น โดยมีการศึกษาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ มาตรฐานการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ท้ัง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

บทท่ี 14 การพฒั นาผู้สอนให้พรอ้ มต่อการปรับปรงุ และเปลี่ยนแปลงหลกั สตู ร 551 เช่ือมโยงกับเอกลักษณ์ของท้องถ่ินได้เป็นอย่างดี เช่น หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ “อุทยานแห่งชาติเอราวัณ” ผู้สอนได้วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวช้ีวัดต่างๆ ในหลักสูตรและนามาเขียนผังมโนทัศน์ของหน่วยบูรณาการ ซึ่งนาไปสู่การจัดการเรยี น การสอน ดังแผนภาพตอ่ ไปนี้ ความสามารถในการคดิ อย่างเปน็ ระบบ ความสามารถในการเรียนรูแ้ ละการส่อื สาร มีวนิ ัยและมคี วามรบั ผดิ ชอบในการเรยี นรู้ มีจิตสาธารณะ วางแผนและดาเนนิ การเฝ้าระวงั เขียนสอื่ สารในรปู แบบตา่ งๆ อนุรกั ษ์และพัฒนาสง่ิ แวดลอ้ ม ได้ตรงตามวตั ถปุ ระสงค์ และทรัพยากรธรรมชาติ อภิปรายแนวทางในการป้องกัน อทุ ยานแหง่ ชาติ เขยี นรายงาน แก้ไข ปญั หา สง่ิ แวดล้อม เอราวณั การศกึ ษาคน้ ควา้ และทรัพยากรธรรมชาติ ตามหลักการเขยี น การวเิ คราะหส์ ภาพปญั หา เชิงวิชาการ สาเหตขุ องปญั หาส่ิงแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น การสารวจความคิดเห็น การเลือกใช้ค่ากลางทเ่ี หมาะสม ค่าเฉลย่ี เลขคณิต กบั ข้อมูลและวัตถุประสงค์ และส่วนเบยี่ งเบนมาตรฐาน แผนภาพผงั มโนทศั น์หน่วยการเรยี นรบู้ รู ณาการ “อทุ ยานแหง่ ชาตเิ อราวัณ” ผลการประเมินตนเองของผู้สอนและผู้วิจัยประเมินผู้สอน ก่อนและหลังการ ดาเนินการพัฒนาความสามารถในการจัดทาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการท่ีสอดคล้องกับ ทอ้ งถิ่น พบวา่ ภายหลังการดาเนินการพฒั นา ผ้สู อนมีความสามารถในการจดั การเรยี นรู้ ท่ีสอดคล้องกบั ทอ้ งถ่ินสูงข้นึ

552 บทท่ี 14 การพัฒนาผสู้ อนให้พรอ้ มตอ่ การปรับปรุงและเปล่ยี นแปลงหลกั สตู ร ผลการวิจยั เร่ืองท่ี 2 “การพัฒนาหลกั สูตรฝึกอบรมผู้สอนเพือ่ เสริมสรา้ งความสามารถ ในการจดั การเรยี นรู้โดยใชว้ จิ ยั เปน็ ฐาน” การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็น ฐาน โดยมีการฝึกอบรมท้ังภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ดาเนินการฝึกอบรมท่ีโรงเรียน ผู้สอนนาความรู้จากภาคทฤษฎี ไปฝึกปฏิบัติควบคู่กับการจัดการเรียนรู้ในช้ันเรียนของ ตนเอง มสี าระสาคญั ดงั นี้ (มารตุ พัฒผล. 2554) หลักการของหลักสูตร 1. มุ่งเน้นการฝึกอบรมควบคู่ไปกับการจัดการเรียนรู้ปกติ โดยใช้โรงเรียน เป็นสถานทหี่ ลกั ในการฝึกอบรม กอ่ ใหเ้ กิดประโยชน์กบั ผู้สอนและผู้เรยี นอยา่ งยง่ั ยืน 2. กระบวนการฝึกอบรมมุ่งเน้นการปฏิบัติจริง การถอดบทเรียน และการ แลกเปลย่ี นเรียนรู้รว่ มกันทงั้ ผใู้ หก้ ารฝึกอบรมและผู้เข้ารับการฝกึ อบรม 3. การประเมินผลมงุ่ เนน้ การประเมินตามสภาพจรงิ และนาผลการประเมิน มาปรับปรุงและพัฒนาผสู้ อนที่เขา้ รบั การฝึกอบรมอย่างต่อเนือ่ ง จุดมุ่งหมายของหลักสตู ร หลักสูตรฝึกอบรมผู้สอนเพ่ือเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วจิ ัยเป็นฐานมีจุดมุ่งหมายเพือ่ ให้ผูส้ อนมีความรู้และความสามารถดา้ นการจัดการ เรยี นรูโ้ ดยใช้วิจยั เปน็ ฐาน เน้อื หาสาระของหลกั สตู ร 1. แนวคดิ เกี่ยวกบั การเรยี นรสู้ กู่ ารคดิ และการวจิ ัย 2. สมรรถนะของครูนักวิจยั 3. การจดั การเรียนรูโ้ ดยใช้วิจัยเปน็ ฐาน 4 รปู แบบ

บทท่ี 14 การพฒั นาผสู้ อนใหพ้ ร้อมต่อการปรับปรุงและเปลยี่ นแปลงหลักสตู ร 553 3.1 ผู้สอนนาผลการวิจยั มาใช้ในการจดั การเรียนรู้ 3.2 ผ้เู รียนศกึ ษาคน้ คว้าผลการวจิ ยั ในการเรียนรู้ 3.3 ผสู้ อนทาวจิ ยั ควบคู่กับการจดั การเรยี นรู้ 3.4 ผ้เู รยี นใช้การวจิ ยั เป็นกระบวนการเรยี นรู้ 4. การถอดบทเรยี น การแลกเปลย่ี นเรียนรู้โดยใช้สนุ ทรียสนทนา กิจกรรมการฝกึ อบรม กิจกรรมการฝึกอบรมมี 2 ระยะดงั นี้ ระยะท่ี 1 การฝึกอบรมภาคทฤษฎี เป็นกระบวนการพัฒนาผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับการ จัดการเรยี นรู้โดยใชว้ จิ ยั เป็นฐาน โดยการบรรยายแบบมีสว่ นร่วม ซึ่งมสี าระสาคญั ดงั นี้ 1. แนวคดิ เกย่ี วกบั การเรียนรู้สูก่ ารคิดและการวจิ ัย 2. สมรรถนะของครูนักวจิ ัย 3. การจดั การเรยี นรู้โดยใช้วิจัยเปน็ ฐาน 4 รูปแบบ 3.1 ผู้สอนนาผลการวจิ ยั มาใช้ในการจดั การเรยี นรู้ 3.2 ผเู้ รยี นศึกษาค้นควา้ ผลการวิจยั ในการเรียนรู้ 3.3 ผสู้ อนทาวจิ ัยควบคู่กบั การจัดการเรยี นรู้ 3.4 ผู้เรยี นใชก้ ารวจิ ัยเป็นกระบวนการเรียนรู้ 4. การถอดบทเรยี น การแลกเปล่ียนเรยี นรู้โดยใช้สนุ ทรยี สนทนา ระยะที่ 2 การฝึกอบรมภาคปฏิบัติ เป็นกระบวนการพัฒนาให้ผู้สอนที่เข้ารับการฝึกอบรมนาความรู้ ที่ได้รับจากการฝึกอบรมภาคทฤษฎมี าปรับประยุกตใ์ ชเ้ ข้ากับงานการจัดการเรยี นรูป้ กติ ของตนเองเป็นจานวน 3 วงรอบ โดยใช้กระบวนการ วางแผน (Plan) ปฏิบัติ (Do)ตรวจสอบ (Check)และสะท้อนผล (Reflection) หรือ PDCR ดงั นี้

554 บทที่ 14 การพัฒนาผู้สอนใหพ้ รอ้ มตอ่ การปรบั ปรงุ และเปล่ียนแปลงหลักสตู ร 2.1 การวางแผน (P) เป็นกิจกรรมการฝึกอบรมที่มุ่งพัฒนาผู้สอน ใหว้ ิเคราะห์บริบทการจัดการเรียนรู้ของตนเองแล้ววางแผนการจัดการเรยี นร้โู ดยใช้วิจัย เป็นฐานอย่างมีคุณภาพและสอดคล้องกับบริบท ซึ่งอาจเลือกใช้รูปแบบการจัดการ เรยี นรโู้ ดยใช้วิจัยเป็นฐานรปู แบบใดรปู แบบหนึง่ หรือผสมผสานกันหลายรูปแบบก็ได้ 2.2 การปฏิบัติ (D) เป็นกิจกรรมการฝึกอบรมที่มุ่งพัฒนาผู้สอนให้ นาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่ได้วางแผนไว้ ไปใช้จัดการเรียนรู้จริง ในชั้นเรยี นของตนเองอยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ 2.3 การตรวจสอบ (C) เป็นกิจกรรมการฝึกอบรมที่มุ่งพัฒนา ผู้ ส อ น ให้ ส า ม า ร ถ วั ด แ ล ะ ป ร ะ เมิ น ผ ล ผู้ เรี ย น เกี่ ย ว กั บ ทั ก ษ ะ ก า ร เรี ย น รู้ โ ด ย ใ ช้ กระบวนการวิจัยซง่ึ เป็นคุณลักษณะท่ีเป็นแกน อันเกิดจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัย เป็นฐาน ตลอดจนการประเมินตนเองเก่ียวกับความรคู้ วามสามารถในการจัดการเรียนรู้ โดยใชว้ ิจยั เป็นฐานของตนเอง 2.4 การสะท้อนผล (R) เป็นกิจกรรมการฝึกอบรมที่มุ่งพัฒนา ผู้สอนให้สามารถถอดบทเรียนและแลกเปล่ียนเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสุนทรีย สนทนา (Dialogue) กับเพ่ือนผู้สอนที่เข้ารับการฝึกอบรมร่วมกัน และนาความรู้และ ประสบการณ์ท้ังของตนเองและเพ่ือนผู้สอนไปปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิจัยเปน็ ฐานของตนเองต่อไป สอ่ื ประกอบการฝกึ อบรม 1. เอกสารหลักสตู รฝกึ อบรม เร่ือง การจัดการเรียนรู้โดยใชว้ ิจยั เป็นฐาน 2. คู่มือการฝึกอบรม เรอ่ื ง การจดั การเรียนรโู้ ดยใช้วจิ ยั เปน็ ฐาน 3. ชดุ กจิ กรรมและใบงาน เรื่อง การจดั การเรียนรู้โดยใช้วจิ ยั เปน็ ฐาน 4. Power Point ประกอบการบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

บทที่ 14 การพฒั นาผูส้ อนให้พรอ้ มต่อการปรบั ปรุงและเปล่ียนแปลงหลกั สตู ร 555 ระยะเวลาการฝึกอบรม ใช้ระยะเวลาฝกึ อบรมรวมท้งั สิน้ 4 สปั ดาห์ ดังนี้ สัปดาห์ที่ จุดประสงค์ กิจกรรม ระยะเวลา 3 ช่ัวโมง 1 เพือ่ ให้ผ้สู อนมคี วามรู้ การบรรยายแบบมสี ว่ นรว่ ม วัน – เวลา เกย่ี วกับการจดั การเรียนรู้ ท่สี อน ตามปกติ โดยใช้วจิ ยั เปน็ ฐาน วัน – เวลา เพื่อให้ผ้สู อนมีความสามารถ นาความรทู้ ี่ไดร้ บั จากการฝึกอบรม ทสี่ อน ตามปกติ ในการจดั การเรยี นร้โู ดยใช้ ภาคทฤษฎีมาปรบั ประยุกตใ์ ช้เข้ากบั วนั – เวลา วจิ ัยเปน็ ฐาน งานการจัดการเรยี นร้ปู กตขิ องตนเอง ท่ีสอน ตามปกติ โดยใช้กระบวนการ PDCR รอบท่ี 1 3 ชัว่ โมง 2 เพอ่ื ให้ผูส้ อนมีความสามารถ นาความร้ทู ีไ่ ดร้ บั จากการฝึกอบรม ในการจัดการเรยี นรู้โดยใช้ ภาคทฤษฎมี าปรบั ประยกุ ต์ใชเ้ ขา้ กับ วิจยั เป็นฐาน งานการจดั การเรียนรู้ปกติของตนเอง โดยใชก้ ระบวนการ PDCR รอบที่ 2 3 เพอ่ื ให้ผสู้ อนมีความสามารถ นาความรู้ทีไ่ ด้รบั จากการฝกึ อบรม ในการจดั การเรียนรโู้ ดยใช้ ภาคทฤษฎมี าปรบั ประยกุ ตใ์ ชเ้ ขา้ กบั วิจยั เปน็ ฐาน งานการจัดการเรยี นรู้ปกติของตนเอง โดยใชก้ ระบวนการ PDCR รอบที่ 3 4 การถอดบทเรยี น การใชส้ นุ ทรียสนทนา และแลกเปลยี่ นเรยี นรู้ ในภาพรวมทงั้ หมด สถานท่ฝี กึ อบรม ใช้โรงเรยี นเป็นสถานทฝ่ี ึกอบรม การประเมนิ ผล 1. การทดสอบความรู้ความเข้าใจเกย่ี วกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วจิ ัยเป็น ฐานกอ่ นและหลงั การฝกึ อบรม โดยใชแ้ บบทดสอบปรนยั 4 ตวั เลือก

556 บทท่ี 14 การพัฒนาผู้สอนใหพ้ รอ้ มต่อการปรบั ปรงุ และเปล่ยี นแปลงหลักสตู ร 2. การประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ก่อนและหลังการฝึกอบรมโดยใช้แบบประเมินชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ครอบคลุมการออกแบบการจัดการเรียนรู้ การดาเนินการจัดการเรียนรู้และการ ประเมินผลการเรยี นรู้ 3. การประเมินทักษะการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยของผู้เรียน ก่อนและหลังการฝึกอบรม โดยใช้แบบประเมินชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ครอบคลุมทักษะการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย ได้แก่ การกาหนดปัญหาที่ต้องการ ทราบ การกาหนดวิธีการศึกษาค้นคว้าวิจัย การประเมินความน่าเช่ือถือของข้อมูล การวิเคราะห์และสรุป การแลกเปล่ียนเรียนรู้ ตลอดจนการประเมินคุณลักษณะเคารพ ในความคดิ เห็นที่แตกตา่ ง สรุปผลการวจิ ัย จากการใช้หลักสตู รทพี่ ฒั นาขึ้น พบว่า 1. ครูที่ได้รับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิจัยเป็นฐานหลังการฝึกอบรมสูงกว่าครูท่ีไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรม อย่างมี นัยสาคัญทางสถติ ิที่ระดับ .01 2. ครูที่ได้รับการฝึกอบรมมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ วิจัยเป็นฐานหลังการฝึกอบรมสูงกว่าครูที่ไม่ได้ เข้ารับการฝึกอบรม อย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิตทิ ีร่ ะดับ .01 3. ผู้เรียนที่เรียนกับครูท่ีเข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะการเรียนรู้โดยใช้ กระบวนการวิจัยหลังการเรียน สูงกว่าผู้เรียนที่เรียนกับครูที่ไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรม อยา่ งมนี ัยสาคญั ทางสถติ ิทีร่ ะดบั .01

บทท่ี 14 การพฒั นาผูส้ อนใหพ้ ร้อมตอ่ การปรบั ปรงุ และเปล่ียนแปลงหลักสูตร 557 ผลการวจิ ยั เร่อื งที่ 3 “รูปแบบการพัฒนาครูดา้ นการจดั การเรยี นรู้ ท่ีเสริมสร้างการร้คู ดิ และความสุขในการเรยี นรู้ของผู้เรยี นระดบั ประถมศึกษา” การวิจัยนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้ แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเป็นแนวคิดหลักของการพัฒนา ดาเนินการ พัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานบูรณาการกับการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในช้ันเรียน มสี าระสาคญั ดงั นี้ (มารุต พฒั ผล. 2556) หลกั การของรปู แบบ 1. มงุ่ เน้นการลงมือปฏบิ ตั ิจริงอย่างสอดคล้องกับบรบิ ทของโรงเรียน 2. ยดึ หลกั การมีส่วนร่วมและการแลกเปลย่ี นเรยี นรู้ 3. ใชก้ ระบวนการพฒั นาไปพรอ้ มกบั การปฏิบัติงานการจัดการเรยี นรู้ ขน้ั ตอนและกจิ กรรมการพฒั นาครู 1. กระตุ้นความรัก เป็นข้ันตอนการกระตุ้นให้ครูเกิดความรักความ ศรัทธาในวิชาชีพครู ตลอดจนความรักท่ีมอบให้กับผู้เรียน โดยการทากิจกรรมสุนทรีย สนทนา การถอดบทเรียน การส่ือสารเชิงบวก การฟังอย่างลึกซ้ึง และการแลกเปลี่ยน เรยี นรู้กับบคุ คลตัวอยา่ งในวิชาชีพครูในลักษณะชุมชนแห่งการเรยี นรเู้ ชงิ วิชาชพี 2. ตระหนักในความรู้ เป็นขนั้ ตอนการกระตนุ้ ความรู้เดิม และเสริม ความรู้ใหม่ให้กับครู ในด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการ เรียนรู้ ในลักษณะชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ โดยการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ระหว่างครู การให้ข้อมูลเพ่ือ กระตนุ้ การเรยี นรู้ (feed - up) การใหข้ อ้ มูลเพื่อการเรยี นรตู้ ่อยอด (feed - forward)

558 บทที่ 14 การพัฒนาผสู้ อนใหพ้ ร้อมตอ่ การปรบั ปรงุ และเปลยี่ นแปลงหลกั สตู ร 3. นาสู่ปฏิบัติ เป็นข้ันตอนการนาความรู้ความเข้าใจจากการ สั ม ม น า เชิ ง ป ฏิ บั ติ ก า ร ต ล อ ด จ น ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ ท่ี ได้ จ า ก ก า ร แ ล ก เป ลี่ ย น เรี ย น รู้ ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนร้ขู องตนเองในโรงเรียน โดยมีผู้วิจัย ผู้เชยี่ วชาญ ผบู้ ริหาร และเพื่อนครู ทาหน้าที่เป็นพ่ีเลี้ยง (mentoring) และผู้ฝึกสอน (coaching) มีการเสริม พลัง (empower) การให้ข้อมูลเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ การให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) การให้ขอ้ มูลเพอ่ื การเรียนรู้ต่อยอด และการแลกเปล่ยี นเรียนรู้ ในลักษณะ ชมุ ชนแหง่ การเรยี นรเู้ ชิงวิชาชีพ 4. จัดให้แลกเปลี่ยน เป็นขั้นตอนการนาความรู้และประสบการณ์ ท่ีได้รับจากการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ท่ีเสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ มาแลกเปล่ียนเรียนรู้ร่วมกันในลักษณะชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ โดยการใช้ สุนทรียสนทนา การฟังอย่างลึกซ้ึง การเสริมพลัง การให้ข้อมูลย้อนกลับ การให้ข้อมูล เพ่ือกระตุ้นการเรียนรู้ต่อยอด แล้วนาไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ของตนเอง ต่อไป 5. เรียนรู้และพัฒนา เป็นขน้ั ตอนการแลกเปล่ียนเรียนรสู้ รุปผลการ ดาเนินการจัดการเรียนรู้ท่ีเสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ของครู โดยใช้ การนาเสนอ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สุนทรียสนทนา การฟังอย่างลึกซึ้ง และการให้ ขอ้ มลู เพ่ือการเรียนรูต้ ่อยอด

บทที่ 14 การพัฒนาผสู้ อนใหพ้ รอ้ มตอ่ การปรับปรุงและเปลย่ี นแปลงหลักสตู ร 559 การจดั การเรยี นรู้ ทเ่ี สรมิ สร้างการรู้คิด และความสขุ ในการเรยี นรู้ 5. เรียนรู้และพัฒนา 3. นาสู่การปฏบิ ตั ิ 4. จดั ใหแ้ ลกเปลย่ี น - การนาเสนอ - การแลกเปลี่ยนเรยี นรู้ 2. ตระหนักในความรู้ - พีเ่ ล้ยี ง (mentoring) - สนุ ทรยี สนทนา - สนุ ทรยี สนทนา - ผู้ฝกึ สอน (coaching) - การฟังอยา่ งลกึ ซึง้ - การฟังอยา่ งลกึ ซ้งึ - การเสริมพลงั - การใหข้ ้อมลู - การสมั มนา - การเสริมพลงั - การให้ขอ้ มูล เพ่อื การเรยี นรู้ต่อยอด เชงิ ปฏิบตั กิ าร - การให้ขอ้ มลู ยอ้ นกลบั 1. กระตนุ้ ความรัก - การให้ขอ้ มูล เพ่ือการเรียนรตู้ อ่ ยอด - สมั มนาเชิงปฏบิ ตั กิ าร - การแลกเปลย่ี น เพื่อกระตุน้ การเรียนรู้ - การสะท้อนคดิ - สนุ ทรียสนทนา เรยี นรปู้ ระสบการณ์ - การให้ขอ้ มลู ยอ้ นกลับ - ถอดบทเรียน - การใหข้ ้อมลู - การใหข้ อ้ มลู เพ่อื การ - การสื่อสารเชิงบวก เพื่อกระตนุ้ การเรียนรู้ เรยี นรู้ต่อยอด - การฟังอย่างลกึ ซึ้ง - การใหข้ อ้ มูล - การแลกเปลี่ยนเรยี นรู้ - การแลกเปลี่ยน เพื่อการเรียนรตู้ อ่ ยอด เรียนร้กู บั บคุ คล ตวั อย่างในวชิ าชีพ ชุมชนแหง่ การเรียนรูเ้ ชงิ วชิ าชพี แผนภาพ 75 รปู แบบการพัฒนาครดู ้านการจัดการเรียนรทู้ เี่ สริมสร้างการร้คู ดิ และความสุขในการเรยี นรู้ของผเู้ รียนระดับประถมศึกษา

560 บทที่ 14 การพัฒนาผ้สู อนใหพ้ รอ้ มตอ่ การปรบั ปรุงและเปล่ยี นแปลงหลักสตู ร สรปุ ผลการวิจัย ผลการตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า รูปแบบการพัฒนาครู ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับ ประถมศกึ ษา มปี ระสิทธิผลตามเกณฑท์ ่กี าหนด ดงั น้ี 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับการจัดการเรียนรู้ ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ของผู้สอน หลังการใช้รูปแบบสูงกว่า ก่อนการใชร้ ูปแบบอย่างมนี ัยสาคัญทางสถติ ทิ ี่ระดบั .01 2. ค่าเฉล่ียของคะแนนการจัดการเรียนรู้ท่ีเสริมสร้างการรู้คิดและ ความสุขในการเรียนรู้ของผู้สอน หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมี นยั สาคญั ทางสถิตทิ ่รี ะดบั .01 3. คา่ เฉลยี่ ของคะแนนการรู้คิดของผู้เรียน หลังการใช้รูปแบบ สูงกว่า กอ่ นการใชร้ ปู แบบ อย่างมนี ยั สาคญั ทางสถิติทีร่ ะดบั .01 4. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสุขในการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังการใช้ รปู แบบอยูใ่ นระดับมาก

บทท่ี 14 การพฒั นาผู้สอนใหพ้ ร้อมตอ่ การปรับปรุงและเปลย่ี นแปลงหลักสตู ร 561 ผลการวจิ ัยเรอ่ื งท่ี 4 “รปู แบบการเสรมิ สรา้ งศักยภาพการจดั การเรียนรขู้ องผู้สอน โรงเรยี นตารวจตระเวนชายแดน” การวิจัยนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ ของผู้สอนโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ เชิงวิชาชีพเป็นแนวคิดหลักของการพัฒนา ดาเนินการพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน บูรณาการกับการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนมีสาระสาคัญดังน้ี (มารุต พัฒผล. 2557) หลักการของรูปแบบ 1. เสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรขู้ องผู้สอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (school – based development) โดยการดาเนินการที่โรงเรียนอย่างต่อเน่ือง มคี วามสอดคลอ้ งกับวฒั นธรรมโรงเรียนและวัฒนธรรมการทางานของผู้สอน 2. เสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนโดยการใช้แนวคิดและ หลักการชุมชน แห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) มีการแลกเปล่ียนเรียนรู้ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริงและความร่วมมือ รว่ มใจในการพัฒนาคุณภาพของผเู้ รียนอย่างตอ่ เนอ่ื ง 3. เสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนโดยใช้การโค้ช (coaching) การต้ังคาถามกระตุ้นให้ผู้สอนคิด การสร้างความเช่ือม่ันในตนเอง การให้ แนวคิด การใหข้ ้อเสนอแนะ การให้คาปรกึ ษาต่างๆ ตลอดจนการส่งเสรมิ และสนับสนุน ทางดา้ นวชิ าการ ขัน้ ตอนการเสริมสร้างศกั ยภาพการจดั การเรียนรู้ 1. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop seminar) เป็นการนาเสนอ ความรู้ในลกั ษณะของสาระสาคัญประกอบกับการยกตัวอย่างท่สี อดคล้องกับบรบิ ทของ

562 บทที่ 14 การพัฒนาผู้สอนใหพ้ ร้อมต่อการปรบั ปรงุ และเปล่ยี นแปลงหลกั สตู ร โรงเรียน ประมาณ 20 นาที จากน้ันให้ผู้สอนได้ร่วมกันลงมือฝึกปฏิบัติเพื่อทาให้เกิด ความเข้าใจมากข้ึน ก่อนท่จี ะนาไปประยกุ ตใ์ ช้ในช้ันเรียนการตอบคาถามข้อสงสัยต่างๆ และแนวทางการนาไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนอีกประมาณ 40 นาที โดยระหว่างการ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ผู้สอนจะใช้การจัดการช้ันเรียนในห้องเรียนของตนเองเพ่ือให้ ผูเ้ รยี นมกี จิ กรรมปฏิบตั ิอย่างตอ่ เนอื่ งในระหว่างทเี่ ขา้ รว่ มการสมั มนาเชิงปฏิบตั ิการ 2. การประยุกต์ใช้ในช้ันเรียน (Applying) เป็นการให้ผู้สอนได้นาองค์ ความรู้ท่ีได้รับจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการไปใช้จริงในช้ันเรียนท่ีดาเนินการจัดการ เรียนรู้โดยมีเอกสารท่ีจัดทาขึ้นเป็นแหล่งการเรียนรู้สาหรับผู้สอน โดยใช้กระบวนการ โค้ชภายในโรงเรียน ได้แก่ การโค้ชโดยผู้เชี่ยวชาญ (expert coaching) การโค้ชโดย ผู้บริหาร (administrator coaching) การโค้ชโดยเพ่ือน (peer coaching) และการ เสริมพลังให้ผู้สอนมีความเชือ่ ม่ันในความสามารถของตนเอง การสร้างความมน่ั ใจใหก้ ับ ผู้สอนเกิดแนวคิดในการออกแบบกิจกรรม การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับระดับ ความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นาไปสู่การปรับปรุงการจัด กจิ กรรมการเรียนรู้ 3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) เป็นการเปิดพ้ืนท่ีให้ผู้สอนได้นา ความรู้และประสบการณ์ท่ีแต่ละคนได้รับจากการนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในช้ันเรียน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างความม่ันใจให้กับผู้สอนทั้งการแลกเปลี่ยน เรียนรู้กับเพ่ือนและกับผู้บริหาร ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เช่ียวชาญภายใต้ บรรยากาศการสื่อสารที่สร้างสรรค์เกิดแนวคิดใหม่และนวัตกรรม กระตุ้นให้ผู้สอน เกดิ การเรียนรเู้ พม่ิ มากขน้ึ 4. การสะท้อนผล (Reflection) เป็นการให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพ่ือการ พัฒนาโดยเพ่ือน ผู้บริหารและผู้เช่ียวชาญที่ทาให้ผู้สอนมีแนวทางในการนาความรู้ และประสบการณ์ทไ่ี ด้รับไปแลว้ นั้นไปใชใ้ นช้นั เรยี นของตนเองต่อไปอย่างต่อเนื่อง

บทท่ี 14 การพฒั นาผสู้ อนใหพ้ รอ้ มตอ่ การปรับปรุงและเปลย่ี นแปลงหลักสูตร 563 บทบาทการโค้ชของผบู้ ริหาร 1. โค้ชผู้สอนในลักษณะของการโคช้ โดยผู้บริหารโรงเรยี น(administrator coaching) โดยการให้คาแนะนาการช้ีแนะแนวทางการนาองค์ความรู้จากการสัมมนา เชงิ ปฏิบัตกิ ารไปประยุกต์ใช้ในการจดั การเรยี นรู้ในชั้นเรียนของผู้สอนแต่ละคน 2. แสดงภาวะผู้นาทางวิชาการด้วยการเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัตกิ าร รวมท้ังร่วมทากิจกรรมต่างๆ ระหว่างการสัมมนาเชิงปฏิบัติทาให้เป็นตัวแบบทาง วชิ าการแกค่ รูทาให้ครมู ีความเช่ือมั่นในความรู้ความสามารถของตนเอง บทบาทการโคช้ ของครู 1. โคช้ เพ่ือนผู้สอนและโค้ชการรู้คดิ ให้ผ้เู รยี น โดยการให้คาแนะนาเพ่ือน ผ้สู อนในการนาความรู้ไปประยุกตใ์ ช้ในช้นั เรียน การให้ขอ้ เสนอแนะเกี่ยวกบั การพัฒนา ประสทิ ธิภาพการจัดการเรยี นรู้ ตลอดจนเทคนคิ วธิ ีการแกไ้ ขปัญหาของผเู้ รยี น 2. แลกเปล่ียนเรียนรู้ร่วมกับผู้เช่ียวชาญ ผู้บริหารและเพื่อนผู้สอน ในประเด็นของการสัมมนาเชิงปฏิบัติการตลอดจนประเด็นอื่นๆ ที่เก่ียวข้องกับการ พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้และคุณภาพของผู้เรียน โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาจกระทาอยา่ งเป็นทางการหรอื ไม่เป็นทางการ 3. นาความรไู้ ปปฏิบัติในช้ันเรียนตามสภาพจริงเพื่อให้มีความเข้าใจและ ทักษะมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยแนวทางจากเอกสารคู่มือ แนวทางการปฏิบัติท่ีใช้ในการ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ตลอดจนการสร้างสรรค์เทคนิควิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรม ทสี่ อดคลอ้ งกบั การจัดการเรยี นรขู้ องผ้สู อน บทบาทการโค้ชของผเู้ ชย่ี วชาญภายนอกโรงเรียน 1. สร้างสัมพันธภาพท่ีดีกับผู้บริหาร ผู้สอนและผู้เรียน โดยการพูดคุย สนทนา การซักถามเกี่ยวกับสภาพบริบทของการจัดการศึกษา ความต้องการในด้าน ต่างๆ การสร้างบรรยากาศเชิงบวก เปิดพื้นท่ีการแลกเปล่ียนเรียนรู้ท่ีใช้ภาษาในการ สือ่ สารอยา่ งสร้างสรรค์ (creative commination)

564 บทท่ี 14 การพัฒนาผสู้ อนให้พร้อมตอ่ การปรบั ปรุงและเปล่ยี นแปลงหลักสตู ร 2. โค้ชผู้สอนในลักษณะการโค้ชโดยผู้เชี่ยวชาญ (expert coaching) โดยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่โค้ชอย่างแท้จริง มีประสบการณ์ตรงในเร่ืองท่ี ทาการโค้ชและใช้พลังคาถาม (power questions) ในการโค้ช การให้คาแนะนา การให้คาปรึกษา เสนอแนะแนวทางท่ีเหมาะสมกับบริบทโดยใช้ภาษาในการส่ือสาร อย่างสร้างสรรค์ 3. สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้สอนในลักษณะการเสริมพลังให้กับครูโดย การสร้างแรงบันดาลใจ สร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ กระตุ้นให้เห็นความสาคัญของการ พัฒนาคุณภาพของผู้เรียน และสร้างความเชื่อม่ันในความรู้ความสามารถของตนเอง ให้กับผู้สอน ปัจจัยสนบั สนนุ ดา้ นคณุ ลักษณะของผ้บู ริหาร 1. ภาวะผู้นาทางวิชาการโดยมีความรู้เก่ียวกับการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการ การโค้ชเพ่ือการรู้คิด การประเมินผลการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิด และความสุขในการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มีความสามารถในการ ส่ือสาร และมีมนษุ ยสมั พันธด์ ี 2. ความรักและปรารถนาดีที่มีให้กับผู้เรียนโดยมีความต้องการพัฒนา ผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถโดยเฉพาะด้านการอ่าน การเขียน และการคิดเลข ตลอดจนมที ักษะการคดิ ทักษะการใช้ชวี ิตและมคี ณุ ธรรมจริยธรรม 3. ความรักและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์โดยผู้บริหารตระหนักใน พ ร ะ ม ห า ก รุ ณ า ธิ คุ ณ ข อ ง ส ถ า บั น พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ ใน ฐ า น ะ ท่ี ท ร ง ดู แ ล ป ร ะ ช า ช น โดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาสในท้องถิ่นทุรกันดาร โดยไม่จากัดเช้ือชาติ ศาสนา ให้ได้รับ โอกาสและความเสมอภาคทางการศกึ ษาและพฒั นาคุณภาพชีวิตอย่างยัง่ ยนื 4. ความคิดสร้างสรรค์ โดยมีความสามารถในการคิดปรับประยุกต์ องค์ความรู้เชิงวิชาการไปสู่การปฏิบัติ สามารถให้ข้อเสนอแนะหรือข้อแนะนาต่อครู ในการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับระดับความสามารถและธรรมชาติ ของผู้เรยี น

บทท่ี 14 การพฒั นาผู้สอนให้พรอ้ มตอ่ การปรบั ปรงุ และเปล่ยี นแปลงหลักสตู ร 565 ปจั จัยสนับสนุนดา้ นคณุ ลักษณะของผสู้ อน 1. ความสนใจในงานวิชาการ โดยมีความต้องการได้รับความรู้ใหม่ๆ ที่ เป็นประโยชนต์ อ่ การจัดการเรียนรทู้ ม่ี ีประสิทธิภาพ มนี ิสยั รกั การพัฒนาตนเองทางดา้ น วิชาการ สืบเสาะแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ชอบการแลกเปลี่ยน เรียนรกู้ ับบคุ คลอ่นื 2. ความรักและปรารถนาดีที่มีให้กับผู้เรียนโดยมีความต้องการพัฒนา ผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะด้านการอ่าน การเขียน และการคิดเลข ตลอดจนมที ักษะการใช้ชีวติ และมคี ณุ ธรรมจริยธรรม 3. ความรักและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยผู้สอนตระหนักใน พระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงดูแล ประชาชน โดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาสในท้องถิ่นทุรกันดาร โดยไม่จากัดเชื้อชาติ ศาสนา ให้ได้รับ การศกึ ษาและพฒั นาคุณภาพชีวิตอยา่ งย่งั ยืน 4. ความคิดสร้างสรรค์ โดยมีความสามารถในการคิดปรับประยุกต์ องค์ความรู้เชิงวิชาการไปสู่การปฏิบัติ สามารถให้ข้อเสนอแนะหรือข้อแนะนาต่อครูใน การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับระดับความสามารถและธรรมชาติ ของผ้เู รยี น ปจั จยั สนับสนุนดา้ นสอ่ื และทรัพยากร 1. การใชส้ ่ือประกอบการสมั มนาเชิงปฏิบัติการท่ีเป็นสงิ่ ทอ่ี ยู่ในโรงเรียน มาใช้ประกอบการอธิบาย การยกตัวอย่าง ทาให้ครทู าความเข้าใจเนื้อหาสาระของการ สัมมนาไดง้ า่ ยและชัดเจนมากข้นึ 2. การจัดทาหนังสือคู่มือในลักษณะที่นาไปปฏิบัติได้จริงท่ีจัดให้ผู้สอน สามารถศกึ ษาด้วยตนเองเพม่ิ เตมิ และนาไปใชใ้ นช้ันเรยี นไดโ้ ดยตรง 3. การใช้ทุนทางสังคมมาช่วยการดาเนินการเสริมสร้างศักยภาพการ จัดการเรียนรูข้ องผสู้ อน เชน่ แหล่งการเรยี นรู้ ภมู ิปัญญา และงบประมาณ เปน็ ต้น

566 บทที่ 14 การพฒั นาผ้สู อนให้พรอ้ มต่อการปรบั ปรุงและเปล่ียนแปลงหลกั สตู ร ปัจจยั สนบั สนุนดา้ นการจัดการชนั้ เรยี นของผสู้ อน ครูจัดการช้ันเรียนของตนเองโดยให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ดว้ ยตนเองในระหวา่ งท่มี กี ารสัมมนาเชิงปฏิบตั ิการเพ่ือให้ผูเ้ รียนมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างต่อเน่ือง เช่น การออกแบบกิจกรรมการเรยี นรู้ให้ผู้เรียนปฏิบัติการสืบค้น การฝึก ทกั ษะดว้ ยตนเอง เปน็ ตน้ สรปุ ผลการวิจัย ภ า ย ห ลั ง ก า ร ด า เนิ น ก า ร เส ริ ม ส ร้ า ง ศั ก ย ภ า พ ด้ า น ก า ร จั ด ก า ร เ รี ย น รู้ แบบบูรณาการ การโค้ชการรู้คิด การประเมินผลการเรียนรู้ท่ีเสริมสร้างการรู้คิดและ ความสุขในการเรยี นรู้ และการวิจยั เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของครโู รงเรยี นตารวจตระเวน ชายแดน พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการคิดเป็น ร้อยละ 86.27 ด้านการโค้ชเพ่ือการรู้คิด คิดเป็นร้อยละ 84.47 ด้านการประเมิน ท่ีเสริมสร้างการรคู้ ิดและความสุขในการเรียนรู้ คิดเปน็ ร้อยละ 89.60 และดา้ นการวจิ ัย เพ่ือพัฒนาการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 81.13 และโดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 85.40

บทที่ 14 การพัฒนาผสู้ อนใหพ้ รอ้ มตอ่ การปรับปรงุ และเปลี่ยนแปลงหลกั สตู ร 567 1. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 4. การสะทอ้ น 1. โรงเรยี นเป็นฐาน 2. การประยกุ ต์ ศักยภาพ ผลการปฏบิ ตั ิ 2. ชมุ ชนแห่งการเรียนรู้ ใชใ้ นชัน้ เรียน การจัดการเรียนรู้ ของผสู้ อนโรงเรียนตารวจ เชงิ วชิ าชพี (PLC) ตระเวนชายแดน 3. การโคช้ (coaching) 3. การแลกเปล่ยี นเรียนรู้ ทักษะการรคู้ ดิ ทักษะชวี ิต และความสขุ ในการเรยี นรู้ การแลกเปลีย่ นเรยี นรู้ ของนักเรยี นโรงเรยี น การจดั การช้ันเรียน ตารวจตระเวนชายแดน การเสริมพลงั การโค้ช ภาวะผนู้ าทางวชิ าการ ความสนใจในงานวชิ าการ ความรกั และปรารถนาดีกบั นกั เรยี น ความรักและเทิดทูนสถาบันพระมหากษตั รยิ ์ แผนภาพ 76 รปู แบบเชงิ ทฤษฎีการเสรมิ สรา้ งศักยภาพการจัดการเรยี นรสู้ าหรับ ผูส้ อนโรงเรยี นตารวจตระเวนชายแดนในเขตอาเภอไทรโยค จงั หวัดกาญจนบุรี

568 บทที่ 14 การพฒั นาผูส้ อนให้พรอ้ มต่อการปรับปรุงและเปลยี่ นแปลงหลักสูตร ผลการวิจยั เรือ่ งท่ี 5 “รปู แบบการพัฒนาครปู ระถมศกึ ษาด้านการโคช้ เพ่ือการรคู้ ิด” การวิจัยน้ีเป็นการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาด้านการโค้ช เพอื่ การร้คู ิด (cognitive coaching) โดยใชแ้ นวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวชิ าชีพเป็น แนวคิดหลักของการพัฒนา ดาเนินการพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานบูรณาการกับการ ปฏบิ ัติการจัดการเรยี นรู้ในช้นั เรยี นมีสาระสาคัญดงั น้ี (มารุต พฒั ผล. 2558) 1. หลกั การ 1. พัฒนาครูตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ การสอนงาน การเสริมพลัง สนุ ทรียสนทนา การฟังอยา่ งลกึ ซ้งึ และการถอดบทเรยี น 2. พัฒนาครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เน้นการเพ่ิมพูนความรู้ในสาระสาคัญ และนาไปปฏบิ ตั จิ ริงในชัน้ เรียน โดยไดร้ บั คาแนะนาจากผเู้ ชย่ี วชาญอยา่ งต่อเน่ือง 2. วตั ถุประสงค์ เพ่ือพัฒนาความสามารถในการโค้ชเพ่ือการรู้คิดของครู ประกอบด้วย 1) การให้ข้อมูลเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ 2) การตรวจสอบความเข้าใจ 3) การใช้พลัง คาถาม 4) การให้ข้อมูลยอ้ นกลบั และ 5) การใหข้ อ้ มูลเพอื่ การเรยี นรูต้ ่อยอด 3. เน้ือหาสาระ เนื้อหาสาระสาหรับการพัฒนาความสามารถในการโค้ชเพ่ือการรู้คิด ประกอบด้วย 1) การให้ข้อมูลเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ 2) การตรวจสอบความเข้าใจของ ผู้เรียน 3) การใช้พลังคาถาม 4) การให้ข้อมูลย้อนกลับ และ 5) การให้ข้อมูลเพื่อการ เรยี นร้ตู ่อยอด มสี าระสาคัญดังน้ี 1. การให้ขอ้ มูลเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ เป็นการให้ข้อมลู พน้ื ฐานของการ เรียนรู้ ได้แก่ จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ส่ือการเรียนรู้ แหลง่ การเรยี นรู้ ภาระงาน วธิ กี ารวัดและเกณฑ์การประเมินผล

บทที่ 14 การพฒั นาผ้สู อนใหพ้ ร้อมตอ่ การปรบั ปรงุ และเปลีย่ นแปลงหลกั สูตร 569 2. การตรวจสอบความเข้าใจเป็นกระบวนการประเมินผู้เรียนว่า มคี วามรู้ ความเขา้ ใจ ในสาระสาคญั ทีถ่ กู ต้องหรือไม่ ในลกั ษณะท่ไี มเ่ ปน็ ทางการ 3. การใช้พลังคาถาม เป็นการใช้คาถามที่ใช้กระตุ้นผู้เรียนให้ใช้ กระบวนการคิดต่างๆ เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างมี วจิ ารณญาณ การคดิ สร้างสรรค์ การแกป้ ญั หา มลี ักษณะเปน็ คาถามปลายเปิด 4. การให้ข้อมูลย้อนกลับ เป็นการให้ข้อมูลในระหว่างและภายหลัง ท่ีผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้หรือการทางานต่างๆ เก่ียวกับผลการเรียนรู้ ของผูเ้ รียน 5. การให้ข้อมูลเพ่ือการเรียนรู้ต่อยอด เป็นการให้ข้อมูลเพื่อให้ผู้เรียน เรยี นรู้เพมิ่ เตมิ ด้วยตนเอง 4. ขนั้ ตอนการพฒั นา สาหรับขั้นตอนของการพัฒนาความสามารถในการโค้ชเพ่ือการรู้คิดของครู ดาเนินการพัฒนาในลักษณะเป็นวงจรที่แต่ละวงจรมีข้ันตอนการพัฒนา 5 ข้ันตอนโดย แบ่งช่วงเวลาของแต่ละวงจรตามความเหมาะสมกับความต้องการของครู และบริบท ของโรงเรียน โดยใน 1 วงจร ดาเนินการพัฒนาความสามารถในการโค้ชเพื่อการรู้คิด ของครู ครอบคลุมองค์ประกอบของการโค้ชเพอ่ื การรู้คิด 5 ด้าน ได้แก่ 1) การให้ข้อมูล เพ่ือกระตุ้นการเรียนรู้ 2) การตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน 3) การใช้พลังคาถาม 4) การให้ข้อมูลย้อนกลับ และ 5) การให้ข้อมูลเพ่ือการเรียนรตู้ ่อยอด ซ่ึงแต่ละขั้นตอน มีดังนี้ ขนั้ ที่ 1 สรา้ งแรงบนั ดาลใจ เป็ น ก า ร ส ร้ า งแ ร งบั น ด า ล ใจ ใน ก า ร พั ฒ น า ต น เอ ง ข อ ง ค รู การสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นครู การสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองและวิชาชีพ การสร้างความเชื่อม่ันในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง การสร้างความมุ่งม่ันปรารถนา ในการพัฒนาผู้เรยี น เพื่อให้ครมู คี วามพร้อมทจ่ี ะเรียนรแู้ ละพัฒนาตนเองในดา้ นการโค้ช เพอ่ื การรคู้ ดิ ในขน้ั ตอนต่อๆ ไป

570 บทท่ี 14 การพฒั นาผ้สู อนให้พรอ้ มต่อการปรับปรุงและเปล่ียนแปลงหลักสูตร ขน้ั ที่ 2 ขยายการเรียนรู้ เป็นการให้ครูได้เรียนรู้สาระสาคัญของการโค้ชเพ่ือการรู้คิด ในประเด็นที่เกย่ี วขอ้ งกบั การโค้ชเพื่อการรูค้ ิด 5 ด้าน ได้แก่ 1) การให้ข้อมูลเพ่ือกระตุ้น การเรียนรู้ 2) การตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน 3) การใช้พลังคาถาม 4) การให้ ข้อมูลย้อนกลับ และ 5) การให้ข้อมูลเพือ่ การเรียนรู้ต่อยอด โดยการเรียนรู้การโค้ชเพื่อ การรู้คิดจากประสบการณ์ของผู้เช่ียวชาญหรือโค้ช การเรียนรู้การโค้ชเพ่ือการรู้คิดไป พร้อมกับการปฏิบัติงาน การเรียนรู้การโค้ชเพื่อการรคู้ ิดจากการโค้ชด้วยการปฏิบตั ิจริง และพลงั คาถาม การเรียนรกู้ ารโค้ชเพอ่ื การรูค้ ิดอย่างมีความสขุ มีเกียรติและศกั ดศ์ิ รี ขัน้ ท่ี 3 นาสปู่ ฏบิ ตั ิ เป็นการเปิดโอกาสให้ครูนาความรู้เก่ียวกับการโค้ชเพ่ือการรู้ คิดท่ีได้รับจากขั้นตอนขยายการเรียนรู้ไปปฏิบัติจริงกับผู้เรียน ในบริบทของการจัดการ เรียนรู้ โดยครูสามารถปรบั ใช้แนวคิดหลักการได้ตามความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพ การเรียนรู้ โดยดาเนินการโค้ชอย่างต่อเน่ืองเป็นเน้ือเดียวกับการจัดการเรียนรู้ โดยไม่ จาเป็นต้องเรียงลาดับตามข้อ 1) ถงึ 5) ท่ีระบุไว้ในข้ันที่ 2 แต่สามารถนามาใชไ้ ด้โดยไม่ มีข้อจากัดและเงื่อนไขใดๆ โดยการปฏิบัติการโค้ชเพ่ือการรู้คิดควบคู่กับการปฏิบัติงาน การปฏิบัติการโค้ชเพื่อการรู้คิดอย่างสอดคล้องกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม การปฏิบัติการโค้ชเพื่อการรู้คิดอย่างต่อเนื่องตามวงจร Plan Do Check Reflection การปฏิบัติการถอดบทเรียนประสบการณ์การโค้ชเพ่ือการรู้คิดของตนเองและการ ปฏบิ ัตกิ ารประเมินการโค้ชเพอื่ การรคู้ ดิ ของตนเองเพือ่ ปรับปรุงและพัฒนา ชนั้ ที่ 4 จัดใหแ้ ลกเปลย่ี น เป็นการแลกเปล่ียนประสบการณ์การโค้ชเพ่ือการรู้คิดของ ตนเองกับเพ่ือนและโค้ช การแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีคุณค่าซึ่งได้จากการปฏิบัติการโค้ช เพื่อการรู้คิด การแลกเปล่ียนนวัตกรรมการโค้ชเพื่อการรู้คิดท่ีเหมาะสมกับผู้เรียน การแลกเปลี่ยนความคิดท่ีนาไปสกู่ ารปรับปรงุ การโค้ชเพื่อการรู้คิด และการแลกเปลย่ี น ความรู้สึกที่ดีและความประทับใจจากการโค้ชเพื่อการรู้คิด ซึ่งอาจเป็นการแลกเปลี่ยน

บทที่ 14 การพัฒนาผสู้ อนให้พร้อมต่อการปรบั ปรงุ และเปลี่ยนแปลงหลักสตู ร 571 เรียนรู้ในลกั ษณะท่ีเปน็ ทางการ ก่งึ ทางการ หรือไมเ่ ป็นทางการก็ได้ ตามความเหมาะสม กับสภาพบรบิ ทของแตล่ ะโรงเรียน โดยมีเป้าหมายทส่ี าคญั คอื การแบ่งปันประสบการณ์ การโค้ชซึ่งกันและกัน เพอื่ ทจ่ี ะนาไปสกู่ ารปรบั ปรงุ และพัฒนาประสทิ ธภิ าพของการโค้ช เพ่อื การรู้คดิ ของครู ขน้ั ที่ 5 เรยี นรแู้ ละพัฒนา เป็นการให้ครูได้นาสิ่งที่ตนเองได้เรียนจากการแลกเปล่ียน เรียนรู้ไปพัฒนาการโค้ชเพ่ือการรู้คิดของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ครอบคลุม องค์ประกอบของการโค้ชเพ่ือการรู้คิดทั้ง 5 ด้าน โดยการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการโค้ชเพื่อการรู้คิด การเรียนรู้คุณค่าของการโค้ชเพ่ือการรู้คิดท่ีมีต่อการ พัฒนาผู้เรียน การพัฒนาความสามารถในการโค้ชเพ่ือการรู้คิดร่วมกับเพื่อนร่วมงาน การพัฒนาเครื่องมือการโค้ชเพ่ือการรู้คิดให้มีประสิทธิภาพมากข้ึนและการพัฒนา นวตั กรรมการโคช้ เพอ่ื การรคู้ ิดทส่ี อดคลอ้ งกบั ผูเ้ รยี นและบริบท 5. การประเมินผล การประเมินผลความสามารถในการโค้ชเพื่อการรู้คิดของครูมีแนวทาง ตอ่ ไปนี้ 1. การสังเกตพฤติกรรมการโค้ชเพื่อการรู้คิดของครูในระหว่างการ จัดการเรยี นรู้ โดยใชก้ ารสังเกตในลกั ษณะไมเ่ ปน็ ทางการ 2. การถอดบทเรียนท่ีได้รับจากการโค้ชเพื่อการรู้คิดโดยครูท่ีสะท้อน การปฏบิ ัติการโคช้ เพอื่ การรู้คดิ 3. การทดสอบความรู้ความเข้าใจของครู เร่ืองการโค้ชเพ่ือการรู้คิด กอ่ นและหลงั การดาเนนิ การพัฒนา 4. การประเมินความสามารถด้านการโค้ชเพื่อการรู้คิดของครูก่อนและ หลังการดาเนนิ การพฒั นา 5. การทดสอบทักษะการรู้คิดของผู้เรียน ก่อนและหลังการดาเนินการ พัฒนา

572 บทที่ 14 การพฒั นาผสู้ อนใหพ้ รอ้ มต่อการปรบั ปรุงและเปล่ยี นแปลงหลักสตู ร 6. สะท้อนผลการสังเกตพฤติกรรมผลการถอดบทเรียนและผลการ ทดสอบความรู้ความเขา้ ใจของครู เพอ่ื การปรับปรงุ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 6. ปัจจยั สนับสนนุ 1. การมีภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหารในการเข้ามามีส่วนร่วม ในกระบวนการพฒั นาทาให้ครูมขี วญั กาลังใจ ความม่งุ มน่ั ในการปฏิบัตกิ ารโคช้ 2. การมีความศรัทธาในวิชาชีพของครูที่เข้าร่วมกระบวนการพัฒนา ซ่ึงเป็นแรงผลักดันให้ครูใช้ความพยายามในการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถในการ โคช้ เพอ่ื การรู้คิดของตนเอง การพัฒนาครูประถมศึกษาด้านการโค้ชเพื่อการรู้คิดดังท่ีกล่าวมาแสดง แผนภาพได้ดังต่อไปน้ี

บทท่ี 14 การพัฒนาผสู้ อนใหพ้ ร้อมตอ่ การปรบั ปรงุ และเปลย่ี นแปลงหลกั สูตร 573 1. สร้างแรงบนั ดาลใจ 5. เรียนรู้และพัฒนา - ชมุ ชนแห่งการเรยี นรเู้ ชงิ วิชาชพี 2. ขยายการเรยี นรู้ - การโคช้ - การเสริมพลงั 3.1 วางแผน - สนุ ทรียสนทนาและการฟงั อย่างลึกซง้ึ - การถอดบทเรยี น 3.4 สะท้อนผล 3.2 ปฏบิ ัติ 4. จัดให้แลกเปลี่ยน 3. นาส่ปู ฏบิ ัติ 3.3 ตรวจสอบ การให้ขอ้ มลู เพอ่ื กระตุน้ การเรยี นรู้ การตรวจสอบความเข้าใจของผเู้ รียน 1. กระตนุ้ ความสนใจของผเู้ รียนกอ่ นเร่ิมการจัดการเรียนรู้ 1. พูดคยุ / สอบถามความเข้าใจของผูเ้ รียนในระหว่างการจัดการเรียนรู้ 2. กระตุ้นแรงบนั ดาลใจเพ่อื การเรยี นรู้ของผู้เรียน 2. สงั เกตพฤตกิ รรมการเรยี นรู้ของผู้เรยี นในระหว่างการจัดการเรยี นรู้ 3. แจ้งจดุ ประสงคข์ องการเรียนรู้ 3. ตง้ั คาถามตรวจสอบความเข้าใจของผเู้ รียนระหวา่ งการจัดการเรยี นรู้ 4. ทบทวนความรเู้ ดมิ 4. ตรวจสอบผลการปฏิบตั ิงานของผู้เรียนหลังการจัดการเรยี นรู้ 5. สร้างความเชอื่ มนั่ และความภาคภูมใิ จในตนเองของผู้เรียน 5. ชว่ ยเหลอื ผเู้ รียนให้เกิดการเรยี นรดู้ ้วยวิธีการต่างๆ การใช้พลังคาถาม การให้ขอ้ มูลย้อนกลบั 1. ต้ังคาถามกระตนุ้ การคิดวเิ คราะห์ สงั เคราะห์ สร้างสรรค์ 1. ชน่ื ชมผลงานของผูเ้ รียน 2. ใช้คาถามอย่างหลากหลายสอดคล้องกบั ของผเู้ รียน 2. บอกจุดดีและจุดท่ตี ้องปรับปรุงผลงานให้กบั ผูเ้ รยี น 3. ใชเ้ ทคนคิ วธิ กี ารตา่ งๆ กระตนุ้ ใหผ้ ู้เรียนคิดหาคาตอบท่ีถูกตอ้ ง 3. เสนอแนวทางการปรบั ปรงุ และพฒั นาใหก้ บั ผ้เู รยี น 4. ใหแ้ นวคดิ ใหมๆ่ ในกรณีท่ผี ู้เรียนตอบไมถ่ กู ต้อง 4. สรา้ งแรงบันดาลใจในการพฒั นาตนเองให้กับผูเ้ รยี น 5. ช่ืนชมคาตอบของผ้เู รียน ให้กาลงั ใจผ้เู รยี นท่ีตอบคาถาม 5. ให้กาลงั ใจผ้เู รียนในการเรยี นรู้และพัฒนาตนเอง การให้ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ตอ่ ยอด 1. แนะนาแนวทางการเรียนรู้ดว้ ยตนเองให้กับผู้เรียน 2. เสนอแนะแหลง่ การเรยี นรเู้ พิ่มเติมใหก้ ับผู้เรียน 3. แนะนาเทคนคิ วิธกี ารเรยี นรดู้ ว้ ยตนเอง 4. กระตุ้นแรงจงู ใจภายในใหผ้ ้เู รยี นเรยี นรู้และพฒั นาตอ่ ยอด 5. เสนอแนะให้ผู้เรยี นประเมินตนเอง แผนภาพ 77 รูปแบบเชงิ ทฤษฎีของการพัฒนาครปู ระถมศึกษาดา้ นการโคช้ เพื่อการรู้คิด

574 บทท่ี 14 การพัฒนาผู้สอนใหพ้ รอ้ มต่อการปรับปรงุ และเปล่ียนแปลงหลกั สูตร สรา้ งแรงบันดาลใจ สรา้ งแรงบนั ดาลใจในการพัฒนาตนเองของครู (Inspire) สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นครู สรา้ งการเห็นคุณค่าในตนเองและวิชาชพี ขยายการเรียนรู้ สรา้ งความเชอ่ื มั่นในการเรยี นรแู้ ละพัฒนาตนเอง (Extend Learning) สรา้ งความมุ่งมน่ั ปรารถนาในการพฒั นาผู้เรยี น วางแผน เรยี นรู้การโคช้ เพอ่ื การรคู้ ิดจากประสบการณ์ของผ้เู ชี่ยวชาญหรือโคช้ สะทอ้ นผล นาส่ปู ฏบิ ตั ิ ปฏิบัติ เรียนรกู้ ารโค้ชเพ่อื การรคู้ ิดไปพรอ้ มกบั การปฏิบตั ิงาน เรยี นร้กู ารโคช้ เพือ่ การรคู้ ดิ จากโค้ชด้วยการปฏิบัตจิ รงิ และพลังคาถาม (Practice) เรียนรู้การโค้ชเพอ่ื การรูค้ ดิ อยา่ งมีความสขุ มเี กียรติ และศักดิ์ศรี ตรวจสอบ เรยี นรู้การโคช้ เพอ่ื การรคู้ ดิ เพมิ่ เติมดว้ ยตนเองอยา่ งต่อเน่ือง ปฏบิ ัตกิ ารโค้ชเพื่อการรคู้ ิดควบคูก่ บั การปฏบิ ตั ิงาน ปฏิบัติการโค้ชเพื่อการรู้คดิ สอดคลอ้ งกบั บริบททางสังคมและวัฒนธรรม ปฏิบัติการโค้ชเพอื่ การรูค้ ิดอยา่ งต่อเนือ่ งตามวงจร Plan Do Check Reflection ปฏิบตั กิ ารถอดบทเรยี นประสบการณก์ ารโค้ชเพอ่ื การรูค้ ดิ ของตนเอง ปฏบิ ตั กิ ารประเมนิ การโค้ชเพือ่ การรคู้ ิดของตนเองเพ่ือปรบั ปรงุ และพฒั นา แผนภาพ 78 รปู แบบเชิงปฏิบัติของการพัฒนาครูประถมศึกษาดา้ นการโค้ชเพ่ือการรู้คิด (มีต่อ)

บทที่ 14 การพัฒนาผูส้ อนใหพ้ รอ้ มต่อการปรับปรุงและเปลีย่ นแปลงหลักสตู ร 575 จดั ใหแ้ ลกเปลยี่ น แลกเปลย่ี นประสบการณก์ ารโค้ชเพ่อื การรคู้ ิดของตนกับเพื่อนและโค้ช (Sharing) แลกเปล่ียนความร้ทู ี่มีคณุ ค่าซงึ่ ไดจ้ ากการปฏิบัติการโคช้ เพื่อการรูค้ ิด แลกเปลีย่ นนวตั กรรมการโคช้ เพื่อการรคู้ ิดทีเ่ หมาะสมกับผ้เู รียน เรียนรู้และ แลกเปลีย่ นความคิดทน่ี าไปสกู่ ารปรับปรงุ การโค้ชเพอื่ การรู้คิด พัฒนา แลกเปล่ียนความรสู้ กึ ทดี่ ีและความประทบั ใจจากการโค้ชเพื่อการรคู้ ดิ (Learning & เรียนรสู้ กู่ ารเปลย่ี นแปลงพฤตกิ รรมการโคช้ เพอ่ื การร้คู ิด Development) เรยี นร้คู ณุ ค่าของการโค้ชเพ่อื การรู้คดิ ทมี่ ตี ่อการพัฒนาผเู้ รยี น พัฒนาความสามารถในการโค้ชเพื่อการรูค้ ิดรว่ มกันกบั เพอ่ื ร่วมงาน พัฒนาเครอ่ื งมอื การโค้ชเพือ่ การรู้คดิ ให้มีประสทิ ธิภาพมากขนึ้ พัฒนานวตั กรรมการโค้ชเพอ่ื การร้คู ดิ ที่สอดคลอ้ งกับผเู้ รียนและบรบิ ท แผนภาพ 78 รปู แบบเชิงปฏบิ ตั ิของการพฒั นาครปู ระถมศึกษาดา้ นการโคช้ เพ่ือการรู้คดิ