Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ 4_1544650950

การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ 4_1544650950

Published by pla_enter2, 2019-09-12 07:56:37

Description: การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ 4_1544650950

Search

Read the Text Version

การประเมินหลักสูตร เพื่อการเรยี นร้แู ละพัฒนา พมิ พ์ครัง้ ที่ 4 (ฉบับขยายรายละเอยี ดจากประสบการณป์ ฏิบตั ิและการวจิ ยั ) รองศาสตราจารย์ ดร.มารุต พัฒผล บัณฑิตวทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครนิ ทรวิโรฒ

การประเมินหลกั สูตร เพื่อการเรยี นร้แู ละพฒั นา พมิ พ์ครัง้ ที่ 4 (ฉบับขยายรายละเอียดจากประสบการณป์ ฏิบัตแิ ละการวิจยั ) รองศาสตราจารย์ ดร.มารุต พัฒผล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรนี ครินทรวิโรฒ

การประเมนิ หลกั สตู ร เพื่อการเรียนรแู้ ละพฒั นา พิมพ์ครง้ั ที่ 4 (ฉบับขยายรายละเอียดจากประสบการณ์ปฏิบตั ิและการวิจยั ) รองศาสตราจารย์ ดร.มารตุ พฒั ผล บัณฑิตวิทยาลยั มหาวิทยาลยั ศรีนครินทรวิโรฒ

การประเมนิ หลกั สูตรเพ่ือการเรียนร้แู ละพฒั นา รองศาสตราจารย์ ดร.มารุต พัฒผล พมิ พค์ ร้งั ท่ี 1 กนั ยายน 2555 จานวน 100 เลม่ พมิ พ์ครงั้ ที่ 2 มกราคม 2556 จานวน 500 เลม่ พิมพ์ครง้ั ที่ 3 มถิ ุนายน 2558 จานวน 500 เลม่ พมิ พค์ รั้งที่ 4 สิงหาคม 2561 จานวน 100 เลม่ ข้อมลู ทางบรรณานกุ รมของสานกั หอสมุดแหง่ ชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data มารุต พฒั ผล. การประเมนิ หลกั สตู รเพอ่ื การเรยี นรแู้ ละพัฒนา.—พิมพค์ รง้ั ท่ี 4.-- กรุงเทพฯ : จรัลสนทิ วงศ์การพิมพ์, 2561. 612 หน้า. 1. การประเมินหลกั สูตร. 2. การศกึ ษา--หลกั สูตร. I. ชอื่ เรอ่ื ง. 370.7 ISBN 978-616-321-854-4 ราคา 500 บาท สงวนลขิ สิทธิเ์ นอื้ หาและภาพประกอบ ตามพระราชบัญญัติลขิ สิทธิ์ พิมพ์ที่ บริษทั จรลั สนทิ วงศก์ ารพิมพ์ จากัด 233 ซอยเพชรเกษม 102/2 แขวงบางแคเหนอื เขตบางแค กรงุ เทพมหานคร 10160 โทรศัพท์ 02-809-2281-3 แฟกซ์ 02-809-2284 www.fast-book.com e-mail: [email protected]

คานยิ ม ห นั งสื อ “ ก ารป ระเมิ น ห ลั ก สู ต รเพื่ อ ก ารเรีย น รู้แ ล ะพั ฒ น า ” ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารุต พัฒผล เล่มนี้ เป็นหนังสือที่ให้แนวคิดใหม่ทางด้าน การประเมินหลักสูตร มุ่งเน้นการเรยี นรู้ผลการประเมินและนามาปรับปรุงหลักสตู รให้มี คุณภาพอย่างต่อเน่ือง นับว่าเป็นส่ิงท่ีมีคุณค่าสาหรับการประเมินหลักสูตรท้ังในระดับ ก า ร ศึ ก ษ า ขั้ น พื้ น ฐ า น แ ล ะ ร ะ ดั บ อุ ด ม ศึ ก ษ า ที่ ส า ม า ร ถ น า ห ลั ก ก า ร แ ล ะ แ น ว คิ ด ไปประยุกต์ใช้ไดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพ ส า ห รั บ เน้ื อ ห า ส า ร ะ ข อ ง ห นั ง สื อ ได้ เรี ย บ เรี ย ง ข้ึ น จ า ก ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ บนพ้ืนฐานหลักวิชาการและการวิจัยด้านการประเมินหลักสูตรในบริบทของการศึกษา ระดับข้ันพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาควบคู่กัน ในส่วนของการประเมินหลักสูตร เชิงสร้างสรรค์ที่นาเสนอไว้น้ัน เป็นมิติใหม่ของการประเมินหลักสูตรที่ช่วยทาให้เกิด ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (professional learning community) ของบุคลากร ทีเ่ กยี่ วข้องกับหลกั สตู ร นอกจากน้ใี นสว่ นของการประเมนิ ฐานทฤษฎีซ่งึ เปน็ องค์ความรู้ ใหม่ของการประเมิน หนังสือเล่มนี้ได้นาเสนอไว้อย่างชัดเจน รวมท้ังการประเมิน แบบผสมผสานวิธีท่ีใช้การวิจยั แบบผสมผสานวธิ ี (mixed - method) เป็นพื้นฐาน นอกจากนี้ยังได้เพ่ิมเติมเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการเรียนรู้ผลการประเมิน และการนาสิ่งท่ีเรียนรู้น้ันไปปรับปรุงและเปล่ียนแปลงหลักสูตรและการเรียนการสอน ใหม้ คี ุณภาพมากขนึ้ ซง่ึ ทาให้หนงั สอื เล่มน้มี คี วามสมบรู ณ์มากยิง่ ข้ึน โดยภาพรวมแล้วหนังสือเล่มน้ีได้ขยายองค์ความรู้ทางด้านการประเมิน หลกั สูตรท่มี คี วามร่วมสมยั ซึง่ จะเป็นประโยชนต์ ่อการนาไปปฏิบัตไิ ดจ้ รงิ (รองศาสตราจารย์ ดร.วชิ ยั วงษ์ใหญ่)

คานาการพิมพค์ รัง้ ท่ี 1 หนังสือ“การประเมินหลักสูตรเพ่ือการเรียนรู้และพัฒนา”เล่มน้ีได้สังเคราะห์ และเรียบเรียงมาจากเอกสารที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนหัวข้อการประเมิน หลักสูตรให้กับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ท้ังภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผลการวิจัยประเมินหลักสูตร พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิปัสสนาภาวนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช - วิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส จังหวัดนครปฐม โดยมุ่งเน้นการนาเสนอ สาระสาคัญเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตร โดยมีกรณีตัวอย่างให้ผู้อ่านสามารถนาไป ประยกุ ตใ์ ช้ในการประเมนิ หลักสตู รได้จรงิ สาระสาคัญที่นาเสนอประกอบด้วย 1) ระบบการพัฒนาหลักสูตร 2) มโน ทัศน์เกี่ยวกับการประเมินหลักสูตร 3) การประเมินหลักสูตรเชิงสร้างสรรค์ 4) ประเด็น และคาถามการประเมินหลักสูตร 5) การประเมินการเรียนการสอนกับการประเมิน หลักสูตร 6) ความเช่ือมโยงระหว่างการประเมินหลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตร 7) รูปแบบการประเมินหลักสูตรร่วมสมัย 8) กระบวนการประเมินหลักสูตรท้ังระบบ 9) การประเมินหลักสูตรแบบผสมผสานวิธี 10) การประเมินหลักสูตรบนฐานทฤษฎียู (Theory U) และสุนทรียสนทนา 11) เกณฑ์คุณภาพการประเมินหลักสูตร และ 12) บทสรุป ขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่ และนิสิตนักศึกษาทุกคน ทีไ่ ด้ใหข้ ้อเสนอแนะทีเ่ ปน็ ประโยชน์ในการเรียบเรียงหนังสือคร้งั นี้ รวมทงั้ เจ้าของผลงาน ทุกท่านที่ได้อา้ งอิงไว้ อาจารย์ ดร.มารตุ พัฒผล

คานาการพิมพค์ ร้งั ที่ 2 หนังสือ“การประเมินหลักสูตรเพ่ือการเรียนรู้และพัฒนา”พิมพ์คร้ังที่ 2 ได้ขยายรายละเอียดในหัวข้อการประเมินหลักสูตรแบบผสมผสานวิธี ให้มีความชัดเจน ข้ึนซึ่งจะเป็นประโยชน์สาหรับผู้ท่ีสนใจด้านการประเมินหลักสูตรแบบผสมผสานวิธี ในการทาการประเมินได้อย่างมีประสิทธภิ าพ อาจารย์ ดร.มารตุ พฒั ผล

คานาการพิมพ์ครงั้ ท่ี 3 หนังสอื “การประเมินหลกั สูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา”พิมพ์ครั้งที่ 3 เลม่ นี้ ได้ขยายรายละเอียดและเพิ่มเติมตัวอย่างจากประสบการณ์การประเมินและปรับปรุง หลักสูตร ตลอดจนได้ขยายรายละเอียดเก่ียวกับการเรียนรู้ผลการประเมินไปสู่การ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร รวมท้ังแนวทางการปรับปรุงและเปล่ียนแปลง หลักสูตรให้มีคุณภาพมากขึ้น ซ่ึงจะเป็นประโยชน์สาหรับนิสิต นักศึกษาและผู้ที่สนใจ ด้านการประเมินหลักสูตรแบบผสมผสานวิธี ในการทาการประเมินได้อย่างมี ประสิทธิภาพ นอกจากน้ียังเพ่ิมเติมเน้ือหาสาระเก่ียวกับการเรียนรู้และพัฒนาจากผล การประเมนิ หลักสูตรไวใ้ นตอนท่ี 2 จานนวน 4 บท ซึง่ ได้เขียนมาจากประสบการณ์จาก การปฏิบัติจริงและการวจิ ัยของผู้เขียนเพ่ือให้หนังสือมีความสมบูรณ์มากข้ึน สอดคล้อง กับแนวคดิ ของหนังสือเล่มน้ี ดงั ภาพ การประเมนิ หลักสตู ร ผลการประเมินหลกั สตู ร การเรยี นร้ผู ลการประเมนิ หลกั สตู ร การพัฒนาทีส่ อดคล้องกับผลการประเมนิ หลกั สตู ร หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจได้มาก พอสมควรและขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่ และนิสิตนักศึกษา ทุกคนท่ีได้ให้ข้อเสนอแนะท่ีเป็นประโยชน์รวมท้ังเจ้าของผลงานทุกท่านท่ีได้อ้างอิงไว้ มา ณ โอกาสน้ี ผ้ชู ่วยศาสตราจารย์ ดร.มารตุ พฒั ผล

คานาการพิมพ์ครงั้ ที่ 4 หนังสอื “การประเมินหลกั สูตรเพื่อการเรียนรแู้ ละพัฒนา”พิมพ์ครง้ั ที่ 4 เล่มนี้ ผู้เขียนได้เพิ่มเติมผลการวิจัยท่ีสามารถนามาใช้ในการพัฒนาผู้สอนให้พร้อมรับต่อการ ปรับปรุงและเปล่ียนแปลงหลักสูตรเพิ่มข้ึนอีก 1 เรื่อง ซึ่งเป็นผลการวิจัยของผูเ้ ขียนเอง ซ่ึงได้ดาเนินการแล้วเสร็จในปี 2561 ซ่ึงจะเป็นการเพ่ิมเติมองค์ความรู้ตลอดจน แนวทางการพฒั นาผูส้ อนจากผลการวจิ ัยให้มากยิ่งขนึ้ รองศาสตราจารย์ ดร.มารุต พฒั ผล

สารบัญ หนา้ เน้อื หาสาระ 1 3 ตอนที่ 1 การประเมนิ หลกั สูตร 7 บทที่ 1 ระบบการพัฒนาหลกั สูตร 9 สาระสาคัญ 15 1.1 ระบบการร่างหลักสูตร 18 1.2 ระบบการบริหารหลกั สตู ร 21 1.3 ระบบการประเมินหลักสูตร 22 1.4 แนวความคิดของการประเมนิ หลกั สตู รเพือ่ การเรียนรู้และพัฒนา 23 สรุป บรรณานกุ รม 27 31 บทที่ 2 สาระสาคัญเก่ียวกับการประเมนิ หลักสูตร 33 สาระสาคญั 34 2.1 ความหมายของการประเมินหลกั สูตร 41 2.2 จุดมุ่งหมายของการประเมนิ หลกั สูตร 42 2.3 ความสาคญั ของการประเมนิ หลักสตู ร 48 2.4 เหตุผลและความจาเปน็ ท่ตี อ้ งมกี ารประเมินหลักสตู ร 2.5 เกณฑ์คณุ ภาพของการประเมินหลักสูตร 51 2.6 ความสัมพันธ์ระหวา่ งกิจกรรมการพัฒนาหลกั สูตร 54 57 และกจิ กรรมการประเมินในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร 59 2.7 การประเมินคุณภาพของการประเมินหลกั สูตร สรปุ บรรณานกุ รม

สารบญั หน้า เน้ือหาสาระ 63 67 บทท่ี 3 การประเมนิ หลักสูตรเชงิ สรา้ งสรรค์ 69 สาระสาคัญ 69 3.1 ความหมายของการประเมินหลักสตู รเชิงสรา้ งสรรค์ 73 3.2 องค์ประกอบของการประเมินหลกั สตู รเชงิ สร้างสรรค์ 73 3.3 จดุ เนน้ ของการประเมนิ หลกั สตู รเชงิ สร้างสรรค์ 87 89 3.3.1 การประเมินก่อนการใชห้ ลกั สตู ร 97 3.3.2 การประเมินระหวา่ งการใชห้ ลกั สูตร 99 3.3.3 การประเมนิ หลังการใชห้ ลกั สตู ร สรุป 103 บรรณานกุ รม 107 109 บทท่ี 4 ประเด็นและคาถามการประเมนิ หลกั สตู ร 116 สาระสาคญั 122 4.1 ประเด็นการประเมินหลักสูตร 123 4.2 คาถามการประเมินหลักสตู ร สรปุ 127 บรรณานกุ รม 131 บทที่ 5 การประเมินหลกั สูตรกบั การประเมินการเรยี นการสอน 133 สาระสาคัญ 5.1 ความสัมพนั ธร์ ะหว่างการประเมินหลักสตู รกับการประเมินการเรียน การสอน

สารบญั หนา้ เน้อื หาสาระ 135 5.2 จดุ เน้นทีแ่ ตกตา่ งกนั ของการประเมนิ หลกั สตู รกับการประเมนิ 136 การเรียนการสอน 138 147 5.3 ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งสารสนเทศจากการประเมินหลักสตู ร สู่การปรับปรุงหลกั สูตร การเรยี นการสอน และคุณภาพผเู้ รยี น 149 149 5.4 องคป์ ระกอบของการประเมินการเรียนการสอน 5.5 ประสทิ ธิภาพของวธิ ีการประเมินผลการเรียนรู้ 159 5.6 นวัตกรรมการประเมนิ การเรียนการสอนและการประเมนิ ผล 162 การเรียนร้ขู องผเู้ รยี น 1) รูปแบบการประเมินผลผลการเรยี นรทู้ เ่ี สริมพลังตามสภาพจริง 181 2) การประเมินผลการเรยี นรโู้ ดยใชก้ ารถอดบทเรียน 185 189 ตามหลักกาลามสตู ร 191 3) การพัฒนาเครอ่ื งมือวดั และประเมนิ ผลลัพธ์การเรียนรู้ ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สถาบนั พระบรมราชชนก 4) การประเมนิ เพือ่ รับรองหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอดุ มศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และมาตรฐานคณุ วุฒิ ระดับอุดมศกึ ษา 5) การประเมนิ หลักสูตรบนฐานการคิดอย่างเป็นระบบ สรปุ บรรณานกุ รม

สารบญั เน้อื หาสาระ หนา้ บทท่ี 6 ความเช่อื มโยงระหวา่ งการประเมินหลักสูตร 195 และการปรับปรุงหลักสูตร 199 201 สาระสาคญั 202 6.1 การประเมินหลักสูตรนาไปสกู่ ารปรับปรุงและพัฒนา 206 6.2 กรณีศกึ ษาการประเมนิ หลักสูตรระดับการศึกษาขัน้ พ้ืนฐาน 217 6.3 กรณศี ึกษาการประเมนิ หลักสูตรระดับบณั ฑิตศึกษา 219 สรุป บรรณานกุ รม 221 225 บทท่ี 7 รปู แบบการประเมินหลกั สตู รรว่ มสมัย 227 สาระสาคญั 228 7.1 รปู แบบการประเมิน 3 กลมุ่ 232 7.2 รปู แบบการประเมนิ ของ Tyler 239 7.3 รูปแบบการประเมินของ Stake 242 7.4 รูปแบบการประเมินของ Stufflebeam 246 7.5 รปู แบบการประเมนิ ของ Provus 252 7.6 รปู แบบการประเมนิ ของ Hammond 256 7.7 รูปแบบการประเมนิ ของ Kirkpatrick 257 7.8 รูปแบบการประเมินของ Eisner 259 สรปุ บรรณานุกรม

สารบญั หนา้ เนื้อหาสาระ 263 267 บทท่ี 8 การประเมินหลกั สูตรท้ังระบบ 269 สาระสาคญั 270 8.1 จดุ มงุ่ หมายของการประเมนิ หลักสูตรทงั้ ระบบ 272 8.2 ลกั ษณะเดน่ ของการประเมนิ หลกั สูตรทั้งระบบ 342 8.3 กระบวนการประเมินหลักสตู รทง้ั ระบบ 343 สรุป บรรณานกุ รม 347 351 บทที่ 9 การประเมนิ หลักสูตรแบบผสานวธิ ี 353 สาระสาคัญ 353 9.1 แนวความคดิ ของการประเมนิ หลกั สตู รแบบผสานวิธี 354 9.2 ข้อดีของการประเมนิ หลกั สตู รแบบผสานวธิ ี 371 9.3 กรอบความคดิ ของการออกแบบการประเมินหลกั สตู รแบบผสานวธิ ี 9.4 กลยทุ ธก์ ารประเมนิ หลักสูตรแบบผสานวธิ ี 373 9.5 วธิ กี ารและเครื่องมือเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู สาหรบั การประเมินหลักสูตร 376 378 แบบผสานวธิ ี 381 9.6 การจัดกระทาข้อมลู การวิเคราะหข์ ้อมลู และสรปุ ผล สรุป บรรณานุกรม

สารบญั หน้า เนอื้ หาสาระ 383 387 บทที่ 10 การประเมนิ หลักสตู รบนฐานทฤษฎี 389 สาระสาคัญ 390 10.1 คุณคา่ แทข้ องการประเมนิ หลักสูตร 10.2 การประเมนิ หลกั สูตรบนฐานทฤษฎี 392 10.3 กรณีศึกษา: การประเมินหลกั สตู รบนฐานทฤษฎี: กรณีศกึ ษาการใช้ 406 407 ทฤษฎยี แู ละสุนทรยี สนทนาร่วมกับการประเมินปจั จัยกาหนด ปัจจัยนาเขา้ กระบวนการ และผลผลติ 409 สรปุ บรรณานุกรม 411 415 ตอนท่ี 2 การเรียนรู้และพัฒนาจากผลการประเมินหลักสตู ร 417 บทที่ 11 การเรียนรู้ผลการประเมินหลักสูตรทนี่ าไปสกู่ ารปรับปรุง 425 และเปล่ียนแปลง 426 428 สาระสาคญั 430 11.1 กระบวนการทางความคิดใหม่ (new mindset) ในการปรบั ปรงุ และเปล่ียนแปลงหลกั สตู ร 11.2 วธิ กี ารปรบั เปลย่ี นกระบวนการทางความคดิ 11.3 การถอดบทเรยี น 11.4 การสงั เคราะหค์ วามร้ทู ี่ได้จากการถอดบทเรยี น 11.5 การนาผลการประเมินหลักสตู รไปสู่การปรบั ปรุงและพฒั นา

สารบัญ หนา้ เน้ือหาสาระ 446 449 สรปุ บรรณานกุ รม 455 459 บทท่ี 12 การปรบั ปรุงและเปลย่ี นแปลงหลักสูตรภายหลังการประเมิน 461 หลักสตู ร 465 สาระสาคัญ 12.1 การปรบั ปรงุ และเปล่ียนแปลงหลกั สูตรอยา่ งครบวงจร 470 12.2 การปรับปรงุ และพัฒนาคณุ ภาพของหลักสูตรและการเรียนรู้ 476 477 อยา่ งยัง่ ยืน 479 12.3 ปจั จัยสนับสนนุ การปรับปรุงและเปล่ยี นแปลงหลกั สูตร 482 อย่างตอ่ เน่อื ง 12.4 กระบวนการปรับปรุงและเปล่ยี นแปลงหลักสตู ร 485 12.5 การปรบั ปรงุ มาตรฐานการเรยี นรู้ภายหลงั การประเมนิ หลักสูตร 487 12.6 ลกั ษณะของการเรียนรู้ทีพ่ ึงปรารถนา 490 12.7 การปรบั ปรงุ รายวิชาหรอื หน่วยการเรยี นรโู้ ดยผู้สอน 492 495 ภายหลงั การประเมนิ หลกั สตู ร 12.8 การพัฒนารายวิชาหรอื หน่วยการเรยี นรู้ใหม่ภายหลังการประเมนิ หลกั สูตร 12.9 การพัฒนารายวิชาเพ่ิมเตมิ ด้านอาชพี ท่สี อดคล้องกับทอ้ งถนิ่ 12.10 การดารงคณุ ภาพของหลกั สูตรระหวา่ งการใช้ สรุป บรรณานกุ รม

สารบญั หน้า เนือ้ หาสาระ 499 503 บทที่ 13 บทบาทของบคุ ลากรต่อการปรบั ปรุงและเปลี่ยนแปลง 505 หลักสตู ร 507 511 สาระสาคัญ 519 13.1 ภาวะผู้นาทางหลักสูตร 523 13.2 บทบาทของผ้นู าทางหลกั สูตร 525 13.3 บทบาทของผู้ปฏิบตั กิ ารหลกั สตู ร 527 13.4 บทบาทของโคช้ 13.5 บทบาทการโคช้ เพอื่ การรู้คดิ ของผู้สอนในปัจจบุ ัน 531 สรปุ 535 บรรณานุกรม 537 539 บทท่ี 14 การพัฒนาผ้สู อนใหพ้ ร้อมตอ่ การปรบั ปรงุ และเปล่ียนแปลง 544 หลักสูตร 546 สาระสาคัญ 584 14.1 การพัฒนาผู้สอนโดยใช้โรงเรยี นเปน็ ฐาน 585 14.2 การพฒั นาผ้สู อนโดยใช้ชมุ ชนแหง่ การเรยี นรู้เชิงวชิ าชีพ 591 14.3 การพัฒนาผู้สอนโดยใช้การวิจัยและพัฒนานวตั กรรมในงานประจา 14.4 แนวทางการพฒั นาผ้สู อนใหพ้ ร้อมต่อการปรบั ปรงุ และเปลี่ยนแปลง หลกั สูตร: ถอดบทเรยี นจากประสบการณ์การวจิ ยั สรปุ บรรณานุกรม ดรรชนีคาสาคัญ

บญั ชีแผนภาพ หนา้ แผนภาพ 11 20 1 ความเชอื่ มโยงตลอดแนวของหลักสตู ร 47 2 ระบบการพัฒนาหลักสตู ร 72 3 เหตผุ ลและความจาเปน็ ที่ทาให้ตอ้ งมกี ารประเมินหลักสูตร 4 องคป์ ระกอบของการประเมินหลักสตู รเชงิ สร้างสรรค์ 74 5 ความสอดคล้องระหวา่ งจุดประสงค์การเรียนรู้ 91 92 ประสบการณก์ ารเรยี นรู้ และการประเมินผลการเรยี นรู้ 94 6 กระบวนการประเมินหลกั สตู รทีย่ ดึ จดุ มุ่งหมาย 115 7 กรอบแนวคิดการประเมินหลกั สูตรเชงิ สร้างสรรค์ 133 8 ขัน้ ตอนการประเมินหลักสูตรแบบร่วมมอื ร่วมใจ 9 การประเมินหลักสตู รโดยผูเ้ ชีย่ วชาญดา้ นหลักสูตรและด้านเน้อื หา 134 10 การประเมนิ การเรยี นการสอนเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินหลักสูตร 137 11 ความสมั พนั ธร์ ะหว่างการประเมินหลักสูตรกบั การประเมนิ การเรยี น 137 การสอน 12 ความสมั พันธร์ ะหว่างหลักสตู รและการเรียนการสอน 144 13 ความสัมพันธ์ระหว่างสารสนเทศจากการประเมินหลักสตู ร 148 สู่การปรับปรุงหลกั สูตรการเรียนการสอนและคณุ ภาพผเู้ รียน 150 14 ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมนิ แบบก้าวหนา้ 156 การประเมินแบบรวบยอด และการสะทอ้ นผลการประเมนิ 15 ระบบการประเมนิ การเรยี นการสอนท่เี ปน็ ส่วนหน่ึงของการประเมนิ หลกั สูตร 16 วงจรการประเมินผลการเรยี นรขู้ องผเู้ รยี น 17 แนวคดิ การกาหนดเกณฑ์การใหค้ ะแนนดา้ นคณุ ธรรมจรยิ ธรรม

บัญชีแผนภาพ หนา้ แผนภาพ 164 18 ขนั้ ตอนการดาเนนิ งานการสร้างเครอ่ื งมือวดั และประเมินผล 165 การเรียนร้ตู ามมาตรฐานคณุ วุฒิระดับปริญญาตรี 183 สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2552 ระดับสถาบนั 184 19 ขัน้ ตอนการดาเนนิ งานการสร้างเคร่ืองมอื วัดและประเมินผล 186 การเรียนร้ตู ามมาตรฐานคณุ วฒุ ิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2552 ระดบั วทิ ยาลัย 188 217 20 กระบวนการรบั ทราบและรับรองหลักสตู รระดับอดุ มศึกษา 228 21 ประเด็นหลักทีส่ านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะพิจารณา 229 231 เพ่ือรบั รองหลกั สตู ร 235 22 แผนภูมิวงรอบเหตแุ ละผลของการลาออกของอาจารย์จานวนมาก 241 23 แผนภมู วิ งรอบเหตุและผลของคุณภาพด้านการคิดของผู้เรยี น 244 246 ท่ีไมผ่ า่ นเกณฑ์การประเมนิ 251 24 การประเมนิ หลกั สตู รและการปรับปรุงหลักสตู รมีความสอดคล้องกัน 25 รูปแบบการประเมนิ 3 กลมุ่ 255 26 แนวคดิ การประเมินของ Tyler 27 ขัน้ ตอนการประเมนิ ของ Tyler 28 รูปแบบการประเมินของ Stake 29 รปู แบบการประเมนิ ของ Stufflebeam 30 รูปแบบการประเมนิ ของ Provus 31 การประเมนิ โดยใช้การคิดอยา่ งเปน็ ระบบ 32 รปู แบบการประเมินของ Hammond 33 ช่วงเวลาของการประเมนิ แบบ Kirkpatrick’s four levels of evaluation

บัญชแี ผนภาพ แผนภาพ หนา้ 34 รปู แบบการประเมนิ Connoisseurship 256 35 กระบวนการประเมินหลกั สตู รทั้งระบบ 341 36 กรอบความคิดของการประเมินหลกั สูตรแบบผสานวธิ ี แบบท่ี 1 356 37 ตัวอย่างกรอบความคดิ ของการประเมินหลักสูตรแบบผสานวธิ ี แบบท่ี 1 357 38 กรอบความคิดของการประเมนิ หลักสูตรแบบผสานวธิ ี แบบที่ 2 358 39 ตวั อย่างกรอบความคดิ ของการประเมินหลกั สตู รแบบผสานวธิ ี แบบที่ 2 359 40 กรอบความคิดของการประเมนิ หลักสตู รแบบผสานวธิ ี แบบที่ 3 360 41 ตวั อย่างกรอบความคดิ ของการประเมินหลักสูตรแบบผสานวิธี แบบที่ 3 361 42 กรอบความคดิ ของการประเมนิ หลักสตู รแบบผสานวธิ ี แบบท่ี 4 362 43 ตวั อย่างกรอบความคดิ ของการประเมนิ หลกั สตู รแบบผสานวธิ ี แบบท่ี 4.1 363 44 ตวั อย่างกรอบความคดิ ของการประเมนิ หลกั สูตรแบบผสานวธิ ี แบบที่ 4.2 364 45 กรอบความคดิ ของการประเมินหลกั สตู รแบบผสานวิธี แบบที่ 5 366 46 กรอบความคดิ ของปัจจัยท่ีส่งผลตอ่ คุณภาพของผเู้ รียน 367 47 ตวั อย่างกรอบความคิดของการประเมินหลกั สตู รแบบผสานวิธี แบบท่ี 5 368 48 กรอบความคดิ ของการประเมินหลกั สูตรแบบผสานวธิ ี แบบที่ 6 369 49 ตวั อย่างกรอบความคิดของการประเมินหลกั สตู รแบบผสานวิธี แบบท่ี 6 370 50 สาระสาคัญของทฤษฎยี ู 395 51 การประเมินหลกั สูตรฐานทฤษฎยี ู 398 52 การประเมนิ ปัจจยั กาหนด การประเมนิ นาเข้า การประเมนิ กระบวนการ 401 และการประเมินผลผลติ ของหลกั สตู รบนฐานทฤษฎี 53 การประเมินหลกั สตู รบนฐานทฤษฎี: กรณีศึกษาการใช้ทฤษฎยี ู 402 และสุนทรยี สนทนารว่ มกบั การประเมินปัจจัยกาหนด การประเมนิ นาเข้า การประเมินกระบวนการ และการประเมนิ ผลผลติ ของหลกั สูตร

บญั ชีแผนภาพ แผนภาพ หนา้ 54 โมเดลสมมติฐานของการใชท้ ฤษฎยี ูและสุนทรยี สนทนา 404 สาหรับการประเมินหลกั สตู ร 417 419 55 กระบวนการทางความคิดใหม่ของการปรบั ปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร 420 56 กระบวนการทางความคดิ แบบเดิมดา้ นเนอ้ื หาสาระ 421 57 กระบวนการทางความคดิ แบบเดิมดา้ นการสอน 422 58 กระบวนการทางความคดิ แบบเดมิ ด้านการประเมินผล 423 59 กระบวนการทางความคิดแบบใหม่ดา้ นกระบวนการเรียนรู้ 424 60 กระบวนการทางความคดิ แบบใหมด่ า้ นการโค้ช 61 กระบวนการทางความคดิ แบบใหมด่ า้ นการประเมินเพ่ือพฒั นา 429 62 แนวคิดการสงั เคราะหค์ วามรูท้ ีไ่ ด้จากการถอดบทเรยี นผลการประเมนิ 430 462 หลักสตู ร 63 กระบวนการนาผลการประเมินหลกั สตู รไปสกู่ ารปรับปรงุ และพัฒนา 466 64 การปรับปรุงและเปล่ยี นแปลงหลักสตู รอยา่ งครบวงจร 468 65 การประเมนิ ประเมินหลกั สตู รเพื่อยกระดบั คุณภาพการศึกษา 470 475 อยา่ งตอ่ เนือ่ ง 484 66 วงจรการวิจัยในการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว 67 แนวคดิ ของการพัฒนาอยา่ งตอ่ เนือ่ ง 486 68 รปู แบบการปรับปรงุ และเปลย่ี นแปลงหลักสตู รอย่างตอ่ เน่ือง 489 69 ข้นั ตอนการปรับปรุงรายวิชาหรือหน่วยการเรียนรูโ้ ดยผู้สอน 509 70 ขั้นตอนการพัฒนารายวชิ าหรือหนว่ ยการเรียนรขู้ น้ึ ใหม่ จากที่มอี ยู่ในหลกั สตู รเดิม 71 ขัน้ ตอนการพฒั นารายวชิ าเพม่ิ เติมด้านอาชีพท่ีสอดคลอ้ งกบั ท้องถ่นิ 72 บทบาทของผนู้ าการเปล่ยี นแปลงหลักสูตร

บัญชแี ผนภาพ แผนภาพ หนา้ 73 องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชพี 541 74 แนวคิดของการวจิ ัยและพฒั นานวัตกรรมในงานประจา 545 75 รูปแบบการพัฒนาครดู า้ นการจดั การเรยี นรู้ท่ีเสรมิ สรา้ งการรู้คดิ 559 และความสุขในการเรยี นรู้ของผเู้ รียนระดบั ประถมศกึ ษา 76 รูปแบบเชิงทฤษฎีการเสริมสรา้ งศกั ยภาพการจัดการเรียนรู้ 567 573 สาหรบั ผู้สอนโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน ในเขตอาเภอไทรโยค จังหวดั กาญจนบรุ ี 574 77 รปู แบบเชิงทฤษฎขี องการพฒั นาครูประถมศึกษาดา้ นการโค้ชเพ่อื การรคู้ ิด 581 78 รปู แบบเชิงกระบวนการของการพฒั นาครปู ระถมศึกษาด้านการโคช้ เพื่อการรคู้ ดิ 582 79 รปู แบบเชงิ ทฤษฎีของการประเมินเพอ่ื พฒั นาการเรียนรขู้ องผูเ้ รยี น ระดบั บัณฑิตศึกษา 80 รูปแบบเชงิ กระบวนการของการประเมนิ เพ่ือพัฒนาการเรยี นรู้ของผเู้ รยี น ระดบั บณั ฑิตศึกษา

บญั ชตี าราง ตาราง หนา้ 1 ความสมั พนั ธ์ระหวา่ งกิจกรรมการพัฒนาหลักสตู รและกิจกรรม 51 135 การประเมนิ ในกระบวนการพัฒนาหลกั สตู ร 145 2 จดุ เนน้ ที่แตกต่างกันระหวา่ งการประเมินการเรียนการสอน 147 203 กับการประเมินหลักสูตร 3 การวิเคราะหค์ วามแตกตา่ งระหว่างการประเมินแบบกา้ วหนา้ 205 การประเมินเพ่ือวนิ ิจฉัยและการประเมนิ รวบยอด 207 4 ประสิทธิภาพของวธิ ีการประเมนิ ผลการเรยี นรู้ 254 5 การเปรียบเทียบจุดมุ่งหมายของหลักสตู รการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน พทุ ธศักราช 275 2544 กบั หลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพนื้ ฐาน พุทธศักราช 2551 276 6 การเปรยี บเทยี บสาระและมาตรฐานการเรียนรูข้ องหลักสูตรการศึกษา 431 480 ขน้ั พน้ื ฐานพทุ ธศกั ราช 2544 กบั หลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พื้นฐาน พุทธศกั ราช 2551 7 การเปรยี บเทยี บประเดน็ สาคัญของหลักสตู รการศกึ ษาดษุ ฎีบณั ฑิต สาขาการวจิ ัยและพฒั นาหลักสตู ร พุทธศกั ราช 2530 กับหลกั สตู ร ปรัชญาดุษฎบี ัณฑิต สาขาการวจิ ยั และพัฒนาหลักสูตร พุทธศกั ราช 2553 8 จุดเนน้ ของการประเมิน Kirkpatrick’s four levels of evaluation 9 พิมพเ์ ขียวการประเมนิ หลักสูตร 10 การออกแบบและวางแผนการประเมนิ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบณั ฑิต สาขาวชิ าวิปัสสนาภาวนา มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย วทิ ยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม 11 คาอธบิ ายเชงิ คณุ ภาพในประเด็นท่เี กย่ี วข้องกับหลกั สูตรและการเรียนรู้ 12 ลักษณะของการเรยี นรู้ท่ีพึงปรารถนา

“If you can’t measure, You Can’t improve. Evaluation is not to prove, but to improve.” Ebel. (1979)

“The most important purpose of program evaluation is not to prove but to improve” Stufflebeam. (1983)

บทท่ี 1 ระบบการพฒั นาหลกั สตู ร 1 ตอนท่ี 1 การประเมินหลักสตู ร

2 บทที่ 1 ระบบการพัฒนาหลกั สูตร การประเมินหลกั สตู ร เปรยี บเสมอื นกระจกสะท้อน คุณภาพของหลักสูตร และการเรียนการสอน

บทท่ี 1 ระบบการพฒั นาหลกั สตู ร 3 บทท่ี 1 ระบบการพฒั นาหลกั สตู ร

4 บทท่ี 1 ระบบการพัฒนาหลกั สตู ร ระบบการพัฒนาหลกั สูตรประกอบดว้ ย ระบบการร่างหลกั สูตร ระบบการบริหารหลักสูตร และระบบการประเมนิ หลกั สตู ร

บทท่ี 1 ระบบการพฒั นาหลกั สตู ร 5 1.1 ระบบการรา่ งหลักสตู ร 1.2 ระบบการบริหารหลักสตู ร 1. ระบบการพฒั นาหลกั สตู ร 1.3 ระบบการประเมินหลักสูตร 1.4 แนวความคดิ ของการประเมินหลักสตู ร เพื่อการเรียนรแู้ ละพฒั นา

6 บทที่ 1 ระบบการพฒั นาหลกั สูตร ระบบการร่างหลกั สตู ร ระบบการบรหิ ารหลักสูตร และระบบการประเมนิ หลกั สตู ร เป็นระบบท่มี คี วามเชือ่ มโยงกนั

บทท่ี 1 ระบบการพฒั นาหลักสตู ร 7 สาระสาคัญ สาหรบั ในบทท่ี 1 เร่อื ง ระบบการพัฒนาหลกั สตู ร มีสาระสาคญั ดังต่อไปนี้ 1. ระบบการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย ระบบการร่างหลักสูตร ระบบการบริหารหลกั สตู รและระบบการประเมินหลกั สูตรโดยแต่ละระบบมีความเสถียร ในตวั เองและเชอ่ื มโยงกนั เปน็ ระบบใหญ่ 2. ระบบการร่างหลักสูตร เป็นกระบวนการพัฒนาเอกสารหลักสูตร ตั้งแต่เร่ิมต้นจนกระท่ังได้เอกสารหลักสูตรท่ีมีความสมบูรณ์พร้อมสาหรับการนาไปใช้ กับกลมุ่ เปา้ หมาย 3. ระบบการบริหารหลักสูตร เป็นการวางแผนและดาเนินการใช้ หลักสตู รอย่างเปน็ ระบบและมีประสิทธภิ าพและเกิดประสิทธิผล 4. ระบบการประเมินหลักสูตร หมายถึง กระบวนการวางแผน เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลนาไปสู่การตัดสินใจในเชิงคุณค่า (value judgments) ของหลกั สตู ร 5. การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา มีแนวความคิด ส าคั ญคื อ ก าร ใ ช้ กา ร ป ร ะ เ มิ น ห ลัก สูต ร เ ป็น เ ค รื่ อง มือ ที่น า ไ ปสู่ ก า ร เ รี ย น รู้ ขอ งผู้ ที่ เก่ียวข้องกับหลักสูตรทุกฝ่ายว่าหลักสูตรที่ใช้อยู่นั้นมีจุดแข็งและจุดที่ต้องปรับปรุง เพอื่ ใหห้ ลักสตู รมีคณุ ภาพสอดคลอ้ งกบั บริบทในปจั จุบันและการเปลย่ี นแปลงในอนาคต

8 บทที่ 1 ระบบการพัฒนาหลกั สตู ร การประเมินหลักสูตร จะเกิดประโยชน์สงู สุดกต็ ่อเม่อื มกี ารปรบั ปรุงและเปลีย่ นแปลง สง่ิ ต่างๆ ที่เก่ยี วขอ้ งใหด้ ยี ิง่ ข้นึ

บทท่ี 1 ระบบการพฒั นาหลกั สูตร 9 1.1 ระบบการรา่ งหลกั สตู ร การประเมินหลักสูตรเปน็ หนึง่ ในสามระบบของระบบการพัฒนาหลักสูตร ท่ีประกอบด้วยระบบการร่างหลักสูตร ระบบการบริหารหลักสูตรและระบบการ ประเมนิ หลักสตู ร โดยระบบการพฒั นาหลกั สตู ร ประกอบด้วย ระบบการร่างหลักสูตร ระบบการบริหารหลักสูตรและระบบการประเมินหลักสูตรซ่ึงจะได้นาเสนอเฉพาะ ประเด็นทีเ่ ป็นสาระสาคญั ของแต่ละระบบ เพ่ือให้เกิดความเข้าใจกระบวนการพัฒนาหลักสูตรโดยภาพรวมทั้งระบบ ก่อนท่ีจะขยายรายละเอียดของระบบ การประเมินหลักสูตรต่อไป ซึ่งระบบการพัฒนา หลกั สูตรทัง้ 3 ระบบ มสี าระสาคัญโดยสรปุ ดังน้ี ระบบการร่างหลักสูตร หมายถึง กระบวนการพัฒนาเอกสารหลักสูตร ต้ังแต่เร่ิมต้นจนกระทั่งได้เอกสารหลักสูตรท่ีมีความสมบูรณ์พร้อมสา หรับการนาไปใช้ กับกลมุ่ เปา้ หมาย ประกอบดว้ ยกิจกรรมหลกั 4 กิจกรรม ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ส่ิงกาหนดหลักสูตร หมายถึง การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล พ้ืนฐานด้านต่างๆ ท่ีเกี่ยวข้องและจาเป็นต่อการพัฒนาหลักสูตร เพ่ือใช้เป็นข้อมูล พื้นฐาน (based – line data) ประกอบการตัดสินใจในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร จุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์สิ่งกาหนดหลักสูตรคือ การมีสารสนเทศหรือองค์ความรู้ ทถี่ กู ต้องและทนั สมัย ประเด็นการวิเคราะห์สิ่งกาหนดหลักสูตรมีหลายประเด็นข้ึนอยู่กับ มมุ มองของคณะกรรมการพฒั นาหลักสูตร เช่น ด้านปรัชญา ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้านประเพณี วัฒนธรรม ด้านกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น โดยใช้แหล่งข้อมูล อยา่ งหลากหลายเชอื่ ถือได้ การวิเคราะห์ส่ิงกาหนดหลกั สูตรจากเอกสารตารา ตลอดจน ผลการวิจัยเป็นวิธีการหนึ่งท่ีจะทาให้ได้สารสนเทศที่มีความถูกต้องแม่นยาสูง

10 บทที่ 1 ระบบการพฒั นาหลกั สตู ร สารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์ส่ิงกาหนดหลักสูตรจะนาไปสู่การตัดสินใจต่างๆ เพ่อื การปรับปรงุ และพัฒนาหลกั สตู รให้ดียง่ิ ขึ้น 2) การกาหนดรูปแบบของหลักสูตร หมายถึง การตัดสินใจเลือกใช้ รู ป แ บ บ ข อ ง ห ลั ก สู ต ร ท่ี ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ ค ว า ม ต้ อ ง ก า ร ใ น ก า ร พั ฒ น า ห ลั ก สู ต ร แ ล ะ กลุ่มเป้าหมายบนพ้ืนฐานของสารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์สิ่งกาหนดหลักสูตร รูปแบบของหลกั สูตรมีความหลากหลายประเภท เช่น หลักสูตรรายวิชา (subject curriculum) หลักสตู รบรู ณาการ (integrated curriculum) หลกั สูตรเสริม (enrichment curriculum) หลกั สตู รฝกึ อบรม (training curriculum) หลักสตู รอิงมาตรฐาน (standard – based curriculum) หลกั สูตรเน้นประสบการณ์ (experience – based curriculum) หลกั สูตรรายบุคคล (individualize curriculum) หลกั สูตรเนน้ สมรรถนะ (competency – based curriculum) นักพัฒนาหลักสูตรจะเลือกหรือผสมผสานรูปแบบของหลักสูตรให้ เหมาะสมสอดคล้องกบั บรบิ ทของการใช้หลักสูตรแต่ละหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร การศึกษาในสถานศึกษาระดับต่างๆ หรือหลักสูตรการศึกษาระดับชาติ หลักสูตร ในระดับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ซ่ึงปัจจุบันหลักสูตรการศึกษาระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานของประเทศไทยเป็นหลักสูตรท่ีอิงมาตรฐาน ส่วนหลักสูตรระดับอุดมศึกษา โดยส่วนใหญ่จะเป็นหลักสูตรรายวิชา ส่วนหลักสูตรบูรณาการในระดับอุดมศึกษา ที่ผู้เขียนเห็นว่ามีความชัดเจน คือ หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต ของสถาบัน พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

บทที่ 1 ระบบการพัฒนาหลกั สตู ร 11 3) การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทาเอกสารหลักสูตรที่มีความ เชื่อมโยงตลอดแนว (alignment) ระหว่างจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ การวัดและประเมินผลบนพื้นฐานสารสนเทศและองค์ความรู้ ที่ได้จากข้ันตอนวิเคราะห์สิ่งกาหนดหลักสูตร การพัฒนาเอกสารหลักสูตรต้อง ดาเนินการโดยคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่มีความรู้และประสบการณ์สอดคล้องกับ หลักสูตรที่จะสร้างเพื่อให้หลักสูตรมีความถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การเชื่อมโยงตลอดแนว แสดงได้ดัง แผนภาพต่อไปน้ี จุดมุ่งหมายของหลักสตู ร การจดั การเรียนรู้ ความเชอ่ื มโยงตลอดแนว ของหลกั สูตร (Alignment) การวัดและประเมินผล แผนภาพ 1 ความเชอ่ื มโยงตลอดแนวของหลกั สูตร

12 บทที่ 1 ระบบการพัฒนาหลกั สูตร 4) การสอบทานความถูกต้องของหลักสูตร (curriculum validation) หมายถึงการตรวจสอบคุณภาพของเอกสารหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญและนาไป ทดลอง ใช้นาร่อง (pilot study) เพื่อให้ม่ันใจว่าหลักสูตรจะสามารถนาไปใช้จริงได้อย่างมี ประสทิ ธิภาพและประสิทธผิ ล การสอบทานความถูกต้องของหลักสูตรเป็นกระบวนการสาคัญที่ขาด ไม่ได้ของการพัฒนาหลักสูตร เนื่องจากเป็นการยืนยันความถูกต้องในเบื้องต้นว่า หลักสูตรท่ีพัฒนาข้ึนเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพ น่าสนใจ ตอบสนองความต้องการของ ผเู้ รยี นและมีแนวโน้มว่าการนาหลกั สตู รไปใช้จรงิ จะประสบความสาเรจ็ ในกระบวนการสอบทานหลักสูตรนั้น คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร จะต้องเปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และต้ังใจฟังคาวิพากษ์ต่างๆ ของ ผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนาความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อวิพากษ์ เหล่านั้นมาคิดพิจารณาว่า จะดาเนนิ การปรบั ปรงุ แก้ไขเอกสารหลักสูตรในประเดน็ ใด อย่างไรก็ตามคณะกรรมการพฒั นาหลักสตู รจะต้องมีจุดยืนหรือหลักการ ท่ี ชั ด เ จ น ใ น ก า ร พั ฒ น า ห ลั ก สู ต ร เ พ ร า ะ จ ะ ท า ใ ห้ ส า ม า ร ถ คั ด ก ร อ ง ค ว า ม คิ ด แ ล ะ ข้อเสนอแนะต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและนามาสู่การปรับปรุงเอกสารหลักสูตรได้ ตรงตามความต้องการในการพฒั นาหลักสูตร กรณีศึกษาข้อเสนอแนะของคณะกรรมการพิจารณาหลักสูตรปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2553) เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551 ณ โรงแรมเคปราชา อาเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมี ผู้ทรงคณุ วฒุ ิ จานวน 5 คน มาวพิ ากษ์หลักสูตร โดยใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม สรุปได้ ดังนี้

บทที่ 1 ระบบการพัฒนาหลกั สูตร 13 รายนามผู้ทรงคณุ วุฒิ 1. ศาสตราภชิ าน ดร.นงลกั ษณ์ วิรชั ชยั จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 2. รองศาสตราจารย์ ดร.รัตนะ บัวสนธ์ มหาวิทยาลยั นเรศวร 3. รองศาสตราจารย์ ดร.ประวิทย์ เอราวรรณ มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม 4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรชยั เนตรถนอมศักดิ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 5. ดร.ชศู ักด์ิ ขัมภลขิ ิต มหาวิทยาลยั ศรนี ครินทรวิโรฒ สรปุ ประเด็นการวิพากษ์หลักสตู ร 1. ชือ่ หลักสตู ร การใช้ชื่อหลักสูตรเป็นปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สามารถใช้ได้เม่ือลักษณะ ของหลักสูตรมุ่งเน้นทางด้านวิชาการ (academic degree) เน้นทางการวิจัย (research – based) ซึง่ สามารถปรบั ปรุงจากหลกั สตู รเดมิ ได้ 2. หลกั การและเหตุผล ควรระบุเหตุผลและความต้องการจาเป็นสาหรับการปรับปรุงหลักสูตร เช่น การปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พุทธศักราช 2548 จานวน อาจารย์ประจาหลักสูตรทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้เป็น มหาวิทยาลัยแหง่ การวจิ ยั ความก้าวหนา้ ของศาสตรด์ ้านการวจิ ยั และพัฒนาหลกั สูตร 3. วตั ถุประสงค์ของหลักสูตร 1. ควรแบง่ ออกเป็น 2 ขอ้ ใหญ่ ไดแ้ ก่ 1) คณุ ลักษณะดษุ ฎีบัณฑิต และ 2) การสรา้ งองค์ความรใู้ นศาสตรส์ าขาการวจิ ยั และพัฒนาหลกั สูตร 2. วัตถุประสงค์ของหลักสูตรควรสะท้อนภาพของผู้สาเร็จการศึกษาอย่าง ชัดเจนว่ามีจุดเด่นด้านใด เช่น นักวิจัย นักพัฒนาหลักสูตร นักนิเทศ นักวิจัยทางด้าน หลกั สูตร หรือนักวิจยั ประเมนิ

14 บทท่ี 1 ระบบการพฒั นาหลกั สูตร 3. คุณลักษณะของดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรควรมี ความแตกต่างจากคุณลักษณะของดุษฎีบัณฑิตในสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ซึ่งเปิดสอนในหลายมหาวิทยาลยั 4. คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นาเป็นส่ิงท่ีสาคัญและจาเป็นสาหรับ ดษุ ฎบี ณั ฑิตซง่ึ ควรระบุไวใ้ นวตั ถปุ ระสงคข์ องหลักสตู รด้วย 4. โครงสรา้ งของหลกั สูตร ควรปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรในหมวดวิชาแกน กลุ่มระเบียบวิธีวิจัยให้มี จานวนหน่วยกิตเพิ่มมากขึ้นซ่ึงอาจปรับให้เป็น 9 หน่วยกิต เท่ากับจานวนหน่วยกิต ในกลุ่มการพัฒนาหลักสูตร และปรับลดจานวนหน่วยกิตในกลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้าน เหลอื 6 หน่วยกติ ทัง้ นเี้ พอื่ ให้สอดคลอ้ งกบั ธรรมชาติของหลกั สูตรทเ่ี นน้ การวจิ ัย 5. รายวิชา มขี อ้ เสนอแนะท่สี าคัญและนาไปสูก่ ารออกแบบและปรบั ปรงุ รายวชิ าดังน้ี 1. ควรเพมิ่ รายวิชาทีเ่ ก่ียวกับการนิเทศ 2. รายวิชาในกลุ่มระเบียบวิธีวิจัยควรปรับให้สะท้อนสาระสาคัญของแต่ละ รายวชิ าและควรมีสาระสาคญั เกย่ี วกบั การวจิ ัยผสมผสาน (mixed - method) 3. รายวิชาควรเน้นการสัมมนาแลกเปล่ียนเรียนรู้ การฝึกปฏิบัติการวิจัยหรือ การสังเคราะหง์ านวิจัย 4. ควรมีรายวิชาท่ีส่งเสริมพฤติกรรมความเป็นผู้นาทางวิชาการหรือผู้นา ทางหลักสูตร 5. รายวิชาในหมวดวิชาเลือกเฉพาะด้านควรแบ่งเป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่มระเบียบ วิธีวจิ ยั กลมุ่ พฒั นาหลกั สตู ร กลุ่มพฤตกิ รรมศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ 6. ทบทวนสาระสาคญั ในคาอธบิ ายรายวชิ าโดยไม่ควรมีความซ้าซ้อนกัน

บทที่ 1 ระบบการพฒั นาหลกั สูตร 15 6. แผนการศึกษา การทาปริญญานิพนธ์ควรให้นิสิตสาเสนอ concept paper โดยเป็นกรอบ การศกึ ษากวา้ งๆ ทจี่ ะพัฒนาไปสเู่ ค้าโครงปริญญานิพนธ์ การสร้างเครื่องมือท่ีใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล ดาเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุปผล การศึกษา การลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาละ 12 หน่วยกิต ตามข้อบังคับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวโิ รฒ ว่าดว้ ยการศึกษาระดับบัณฑติ ศกึ ษา พุทธศกั ราช 2548 7. การประกนั คณุ ภาพของหลกั สตู ร 1. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรควรมีหน้าที่ควบคุมมาตรฐานทางวิชาการ ของหลกั สตู ร 2. ควรกาหนดใหม้ ีอาจารย์ท่ีปรึกษาทางดา้ นวชิ าการเพอ่ื ใหค้ าปรึกษาแกน่ ิสิต 3. ควรเพิม่ ประเดน็ การปรับปรงุ หลักสตู รระหว่างการใช้หลักสูตรอยา่ งตอ่ เน่อื ง 4. ควรมกี ารประเมนิ และปรบั ปรุงหลกั สตู รทั้งระบบทกุ ๆ 3 – 5 ปี 1.2 ระบบการบรหิ ารหลักสตู ร ระบบการบริหารหลักสูตร หมายถึง การวางแผนและดาเนินการใช้ หลักสูตรอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ประกอบด้วย กิจกรรมหลกั 6 กิจกรรม ดงั น้ี 1) การขออนุมัติใช้หลักสูตร หมายถึง การนาหลักสูตรเสนอ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพหลักสูตร เพ่ือขอความเห็นชอบก่อนที่จะนาหลักสูตร ทพี่ ัฒนาขนึ้ ไปใช้กบั กลุ่มเป้าหมาย การขออนุมัติใช้หลักสูตรเป็นกระบวนการตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพหลักสูตรประเภทหน่ึง เพราะคณะกรรมการจะร่วมกันพิจารณาว่า หลักสูตรท่ีพัฒนาขึ้นเป็นประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริงหรือไม่

16 บทท่ี 1 ระบบการพัฒนาหลักสูตร ถ้าคณะกรรมการพบว่ามีประเด็นท่ีต้องปรับปรุงแก้ไขก่อนการนาไปใช้ คณะกรรมการ จะแจง้ ให้ดาเนนิ การปรบั ปรงุ แก้ไขใหส้ มบรู ณก์ ่อน แลว้ จงึ อนมุ ัตใิ ห้ใชห้ ลักสตู ร 2) การประชาสัมพันธ์หลักสูตรสู่กลุ่มเป้าหมาย หมายถึง การส่ือสาร สาระสาคัญเกี่ยวกับหลักสูตรจากผู้รับผิดชอบหลักสูตรไปสู่กลุ่มเป้าหมาย เพ่ือให้ได้รับ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเข้าศึกษาในหลักสูตร เช่น วัตถุประสงค์ โครงสร้าง เวลาเรียน ทีมผู้สอน เป็นต้น การประชาสัมพันธ์หลักสูตรสู่กลุ่มเป้าหมายทาได้หลาย วิธีการ เช่น การติดป้ายประกาศ การประกาศผ่านสื่อส่ิงพิมพ์ การสื่อสารออนไลน์ การจดั สัมมนาทางวิชาการ เป็นตน้ 3) การวางแผนการใช้หลักสูตร หมายถึง การเตรียมความพร้อมก่อน การใช้หลักสูตรทุกด้านอย่างเป็นระบบชัดเจน เพื่อให้การใช้หลักสูตรมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลบรรลุจุดมุ่งหมายท่ีกาหนดไว้ โดยทั่วไปการวางแผนการใช้หลักสูตร จะดาเนินการก่อนการใช้หลักสูตรใหม่ หรือก่อนการใช้หลักสูตรในว งรอบใหม่ เช่น ก่อนเปดิ ภาคการศึกษา การวางแผนการใช้หลักสูตรที่ดีควรมองภาพอนาคตว่าเมื่อ อยู่ในระหว่างการจัดการเรียนการสอนแล้วมีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ทัง้ ทางตรงและทางอ้อมให้นาปจั จัยเหลา่ นน้ั มาวางแผน เชน่ การเตรียมความพร้อมด้าน เอกสารหลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร ผู้สอน ผู้เรียน การจัดตารางเรียน วัสดุ ส่ือ อุปกรณ์ แหล่งการเรียนรู้ การกากับดูแลคุณภาพหลักสูตร การประเมินผลการใช้ หลกั สตู ร เปน็ ตน้ 4) การกาหนดทรพั ยากรหลกั สตู ร หมายถึง การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งหมดประกอบด้วย บุคคล สิ่งของ และงบประมาณ ให้มีความเหมาะสมกับการนา หลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การแบ่งภาระหน้าท่ีรับผิดชอบของ บุคลากรไม่ว่าจะเป็นผู้สอน ผู้สนับสนุนทางวิชาการ เป็นต้น ในกรณีท่ีมีบุคลากรน้อย อาจต้องกาหนดให้ผู้สอนมีหน้าที่สนับสนุนทางวิชาการควบคู่กับหน้าท่ีการจัดการเรียน การสอนดว้ ย การกาหนดวันเวลาและสถานที่ท่ีใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีความ

บทที่ 1 ระบบการพฒั นาหลกั สตู ร 17 คุม้ คา่ มากท่ีสดุ ตลอดจนการจดั สรรงบประมาณเพ่ือใช้ในการจัดการศึกษาซ่ึงเป็นปัจจัย สาคัญของการประสบความสาเรจ็ 5) การกาหนดคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หมายถึง การกาหนด คณะบุคคลผู้มีหน้าที่กาหนดนโยบายและดูแลคุณภาพทางวิชาการของหลักสูตร การกาหนดคณะกรรมการบริหารหลักสูตรควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เข้าใจธรรมชาติของหลักสตู รเปน็ อย่างดี มคี วามสนใจและมีความรู้รวมทั้งประสบการณ์ งานด้านวิชาการ เพราะจะสามารถกากับดูแลคุณภาพของหลักสูตรบนพื้นฐานหลัก วิชาการ ในการบริหารจัดการหลักสูตรจาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดาเนินการในรูปของ คณะกรรมการ ทั้งนี้เพราะงานหลักสูตรเป็นงานวิชาการที่มีความละเอียดอ่อน การคิด และตัดสินใจเพียงคนเดียวอาจมีข้อจากัด ด้านความรู้และประสบการณ์ท่ีส่งผลให้ ตัดสนิ ใจผิดพลาดได้ 6) การกากับดแู ลคณุ ภาพการใช้หลักสูตร หมายถึง การดาเนินกิจกรรม ต่างๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและควบคุมคุณภาพทางวิชาการของการใช้หลักสูตร ซ่ึงมอี งค์ประกอบหลกั ไดแ้ ก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการสนบั สนุนงานวิชาการ กิจกรรมการดแู ลคุณภาพการใช้หลักสูตรมีหลายรูปแบบ เช่น การนิเทศการเรียนการสอน การฝึกอบรมและพัฒนาผู้สอน การพัฒนาเจ้าหน้าที่ ทุกฝ่ายท่ีเกี่ยวข้อง การประเมินคุณภาพการศึกษา การดูแลช่วยเหลือผู้เรียน การประชุม การสัมมนา การกากับดูแลคุณภาพการใช้หลักสูตรที่มีประสิทธิภาพต้อง ดาเนินการอย่างต่อเน่ือง ตลอดเวลาการใช้หลักสูตร โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของ ทุกฝ่ายที่เก่ียวข้องท้ังผู้สอน ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ชุมชน ตลอดจนผู้เรียน ท้ังนี้เพ่ือให้ การใช้หลักสตู รเป็นไปอย่างมคี ณุ ภาพ

18 บทที่ 1 ระบบการพฒั นาหลักสตู ร 1.3 ระบบการประเมนิ หลกั สตู ร ระบบการประเมินหลักสูตร หมายถึง กระบวนการวางแผน เก็บรวบรวม ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลนาไปสู่การตัดสินใจในเชิงคุณค่า (value judgments) ของหลักสูตรในมิติต่างๆ ที่ต้ังอยู่บนพื้นฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ (empirical data) การรายงานผลการประเมินต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย และนาผลการประเมิน มาประกอบการพิจารณาการปรับปรุงหลักสูตรหรือยกเลิกการใช้หลักสูตร ระบบการ ประเมินหลักสตู รประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรม ดงั นี้ 1) การวางแผนการประเมิน หมายถึง การออกแบบการประเมิน หลักสูตรท่สี อดคล้องกบั จุดมุ่งหมายของการประเมิน เพื่อให้ได้ผลการประเมินท่ีมีความ ถูกต้อง สามารถนาไปใช้เป็นสารสนเทศสาหรับการปรับปรุงหลักสูตรได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ได้แก่ การกาหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน การกาหนดกรอบ การประเมิน การกาหนดวิธีการเครื่องมือสาหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล การกาหนด แหล่งข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและเกณฑ์การประเมิน การวางแผนการประเมิน เป็นสิ่งสาคัญต่อการประเมินหลักสูตรเพราะเปรียบเสมือนพิมพ์เขียว (blueprint) ของการดาเนินการจริงๆ ซ่ึงจะช่วยทาให้การประเมินหลักสูตรมีความถูกต้องและ ประหยดั งบประมาณได้เป็นอย่างดี 2) การวางแผนเก็บข้อมูล หมายถึง การเตรียมความพร้อมก่อน ดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การเตรียมเคร่ืองมือสาหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล การติดต่อประสานงานและนัดหมายวันเวลาสถานที่กับผู้ให้ข้อมูล การกาหนดบุคคล ที่จะทาหน้าท่ีเก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกข้อมูล ตลอดจนผู้ทาหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล และระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ประเมินหลักสูตรต้องวางแผนการเก็บรวบรวม ข้อมูลให้สอดคล้องกับแผนการประเมินเพื่อให้การประเมินบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมี ประสทิ ธิภาพ การวางแผนเกบ็ รวบรวมข้อมูลทีด่ ีจะทาให้การเก็บข้อมูลมีความประหยัด

บทที่ 1 ระบบการพฒั นาหลกั สูตร 19 ท้ังในด้านเวลา งบประมาณ และทรัพยากรอ่ืนๆ ส่งผลทาให้ข้อมูลมีความถูกต้อง สมบรู ณ์ สามารถนาไปวิเคราะหไ์ ดท้ ันที 3) การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง การดาเนินการเก็บ รวบรวมข้อมูลตามแผนการเก็บข้อมูลที่กาหนดไว้ และนามาวิเคราะห์แปลความหมาย และลงสรุปตามเกณฑ์การประเมิน การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดีต้องได้ข้อมูลครบถ้วน และต้องมีความซื่อสัตย์กล่าวคือ ผู้เก็บข้อมูลต้องไม่สร้างข้อมูลจากความคิดหรือ อุปาทานของตนเอง (ไม่ใช่การสร้างข้อมูลเท็จแต่เป็นการตีความปรากฏการณ์ จากมุมมองของตนเอง) เช่น ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตพฤติกรรมก็จะต้องบันทึกข้อมูล เฉพาะพฤติกรรมท่ีสังเกตได้จริงๆ เท่านั้น โดยไม่นาความรู้สึกของตนเองท่ีเกิดขึ้นใน ระหว่างการสังเกตไปบันทึกเป็นข้อมูลการประเมิน เพราะส่ิงนี้เป็นความรู้สึก (feel) ไม่ใช่ข้อเท็จจริง (fact) สาหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินหลักสูตรต้องวิเคราะห์ อย่างตรงไปตรงมาและไม่นามุมมองของตนเองไปใช้เป็นเกณฑ์การประเมินหลักสูตร เพราะจะทาใหเ้ กดิ ความขดั แยง้ ตามมาภายหลงั ได้ สว่ นการสรุปผลการประเมินต้องสรุป ไปตามเกณฑ์การประเมินที่ได้กาหนดไว้ อย่างไรก็ตามหากมีประเด็นอ่ืนท่ีน่าสนใจ ยังสามารถนาเสนอเป็นขอ้ สังเกตเพิม่ เตมิ ได้ 4) การรายงานผลต่อผู้เก่ียวข้อง หมายถึง การสื่อสารข้อสรุปผล จากการประเมินหลักสูตรด้วยวิธีการต่างๆ อย่างเหมาะสมไปยังผู้มีส่วนเก่ียวข้องกับ หลักสูตรทุกฝ่าย เช่น ผู้บริหาร ผู้สอน ผู้สนับสนุน ผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน การรายงานผลต่อผู้เก่ียวข้องมีความสาคัญมากในฐานะท่ีจะทาให้ผู้เก่ียวข้องท้ังหลาย ได้มีโอกาสรับรู้คุณภาพของหลักสูตรในประเด็นต่างๆ ทั้งที่เป็นจุดแข็งและจุดท่ีต้อง ปรับปรุงแก้ไข อันจะนาไปสู่การปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพมากย่ิงขึ้น เช่น การปรับเปล่ียนจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การจัดซื้อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนการปรับปรงุ แหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา เป็นต้น อย่างไรกต็ ามการรายงาน ผลการประเมินหลักสูตรจะต้องใช้วิธีการส่ือสารเชิงบวกและ การเสริมพลัง

20 บทท่ี 1 ระบบการพัฒนาหลกั สตู ร (empowerment) ท่ีช่วยให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของหลักสูตร ทั้งระบบ ได้แก่ ระบบร่างหลักสูตร ระบบบริหารหลักสูตรและระบบประเมินหลักสูตร บนพืน้ ฐานของผลการประเมินตอ่ ไป ระบบการพัฒนาหลักสูตรท้ัง 3 ระบบ มีความเช่ือมโยงกันในลักษณะของ เหตุและผล โดยระบบการประเมินหลักสูตรเป็นระบบสุดท้ายท่ีทาหน้าที่ตรวจสอบ คณุ ภาพหลกั สูตร ซึ่งนาไปส่กู ารปรับปรุงและพัฒนาให้หลักสูตรมีคุณภาพอย่างต่อเน่ือง สรปุ ไดด้ ังแผนภาพต่อไปนี้ ระบบ ระบบ ระบบ การร่างหลักสูตร การบริหารหลกั สูตร การประเมนิ หลกั สตู ร 1. การวเิ คราะห์ 1. การขออนุมัติ 1. การประเมนิ สง่ิ กาหนดหลักสตู ร ใชห้ ลกั สูตร แบบกา้ วหนา้ และการประเมิน 2. การกาหนดรูปแบบ 2. การประชาสมั พนั ธ์ แบบรวบยอด ของหลกั สตู ร หลกั สูตร สกู่ ลมุ่ เปา้ หมาย 2. การวางแผน 3. การพฒั นาเอกสาร เก็บขอ้ มูล หลักสูตร 3. การใชห้ ลกั สตู ร 4. การกาหนดทรัพยากร 3. การเกบ็ ข้อมลู 4. การสอบทาน และวิเคราะห์ขอ้ มลู คุณภาพหลกั สูตร หลักสตู ร และปรบั ปรงุ แกไ้ ข 5. การกาหนด 4. การรายงานผล ต่อผู้เกยี่ วขอ้ ง คณะกรรมการ บริหารหลกั สตู ร 6. การกากบั ดูแล คณุ ภาพการใช้ หลักสูตร การปรบั ปรุงและพฒั นา แผนภาพ 2 ระบบการพฒั นาหลกั สตู ร

บทที่ 1 ระบบการพฒั นาหลกั สตู ร 21 1.4 แนวความคิดของการประเมินหลกั สตู รเพือ่ การเรยี นรู้ และพัฒนา การประเมินหลกั สูตรเพื่อการเรยี นรู้และพฒั นามีแนวความคดิ สาคัญคอื “การประเมินหลักสูตรเป็นเครื่องมือท่ีนาไปสู่การเรียนรู้และปรับปรุง เปล่ียนแปลงหลักสูตรให้มีคุณภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับการ เปล่ยี นแปลงในอนาคต” แนวคิดของการประเมินหลักสูตรเพ่ือการเรียนรู้และพัฒนา มีรากฐานมา จากระบบการพัฒนาหลักสูตร ตามแผนภาพ 2 โดยท่ีระบบการประเมินหลักสูตรจะมี ประโยชน์ท้ังต่อระบบการร่างหลักสูตร ระบบการบริหารหลักสูตรและระบบการ ประเมินหลกั สตู รเอง จากประสบการณ์ของผู้เขียนท่ีได้รับโอกาสให้เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มีหน้าท่ีรับผิดชอบ ดาเนนิ การปรบั ปรุงหลักสตู รการศึกษาดษุ ฎีบณั ฑิต (กศ.ด.) สาขาการวิจัยและพัฒนา หลักสูตร (พ.ศ. 2530) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นหลักสูตร ปรชั ญาดุษฎบี ณั ฑิต (ปร.ด.) สาขาการวจิ ัยและพัฒนาหลักสูตร มาต้ังแต่ พ.ศ. 2552 ได้ดาเนินการปรับปรุงหลักสูตรตามระบบข้ันตอนต่างๆ จนกระท่ังได้รับการรับทราบ จากสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ใน พ.ศ. 2554 ใช้เวลาดาเนินการ 3 ปี ปัจจุบันมีการรับนิสิตเข้าเรียนมาแล้วหลายรุ่นโดยมีการประเมินหลักสูตร เป็นประจาทุกปี คณะกรรมการบริหารหลักสูตรได้ร่วมกันเรียนรู้ผลการประเมิน และนามาปรบั ปรงุ พัฒนาหลกั สตู รใหม้ คี ุณภาพมาอย่างต่อเน่ือง ตลอดจนการที่ได้มีโอกาสทางานทางด้านหลักสูตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ประเมนิ และปรับปรงุ หลักสูตรดงั กลา่ ว ทาให้เห็นว่าการประเมินหลักสูตรเป็นกิจกรรม ทางวิชาการที่มีความสาคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการพัฒนาหลักสูตร และการบริหาร จัดการหลักสูตร ซ่ึงมีความจาเป็นอย่างย่ิงท่ีหลักสูตรจะต้องได้รับการประเมินอย่าง

22 บทที่ 1 ระบบการพัฒนาหลกั สูตร เป็นระบบ เพื่อนาไปสู่การปรับปรุงและเปล่ียนแปลงให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับ บริบทที่มีการเปลย่ี นแปลงอยตู่ ลอดเวลา สรุป จากที่ได้กล่าวมาในบทท่ี 1 เร่ือง ระบบการพัฒนาหลักสูตร มีสาระสาคัญ ทไ่ี ด้กล่าวไว้ คอื ระบบการพฒั นาหลกั สตู ร ประกอบดว้ ย ระบบการร่างหลักสูตร ระบบ การบริหารหลักสูตร และระบบการประเมินหลักสูตร โดยระบบการร่างหลักสูตร เป็นกระบวนการพัฒนาเอกสารหลักสูตรตั้งแต่เริ่มต้นจนกระท่ังได้เอกสารหลักสูตรท่ีมี ความสมบูรณ์พร้อมสาหรับการนาไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ระบบการบริหารหลักสูตร เป็นการวางแผนและดาเนินการใช้หลักสูตรอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผล ระบบการประเมินหลักสูตร หมายถึง กระบวนการวางแผนเก็บรวบรวม ขอ้ มูล และวิเคราะห์ข้อมูลนาไปสู่การตัดสินใจในเชิงคุณค่า (value judgments) ของ หลักสตู ร การประเมินหลักสตู รเพ่ือการเรยี นรูแ้ ละพฒั นา มแี นวความคิดสาคัญคือการ ใช้การประเมินหลักสูตรเป็นเครื่องมือท่ีนาไปสู่การเรียนรู้ของผู้ท่ีเกี่ยวข้องกับหลักสูตร ทุกฝ่ายว่าหลักสูตรท่ีใช้อยู่น้ันมีจุดแข็งและจุดที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้หลักสูตร มคี ณุ ภาพสอดคลอ้ งกบั บรบิ ทในปัจจุบนั และการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

บทท่ี 1 ระบบการพัฒนาหลกั สูตร 23 บรรณานกุ รม บณั ฑติ ศึกษา มหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช. (2555). การประเมินหลกั สูตรและการ เรียนการสอน: ประมวลชดุ วิชา = Evaluation of Curriculum and Instruction. นนทบุรี: สานักพมิ พ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช. Armstrong. David G. (1989). Developing and Documenting the Curriculum. Boston: Allyn and Bacon. . (2003). Curriculum Today. New Jersey: Merrill Prentice Hall. Beane, James A. and others. (1986). Curriculum Planning and Development. Boston: Allyn and Bacon. Bobbit, Franklin. (1918). The Curriculum. Boston: Houghton Mifflin. . (1924). How to Make a Curriculum. Boston: Houghton Mifflin. Brady, Laurie. (1992). Curriculum Development.4thed. Sydney: Prentice Hall. Henson, Kenneth T. (2001). Curriculum Planning: Integrating Multiculturalism, Constructivism, and Education Reform. 2nded. New York: McGraw - Hill. Jacobs, Heidi Hayes. (2010). Curriculum 21: Essential education for a Changing World. Alexandria: Association for Supervision and Curriculum Development. Kelly, A. V. (1999). The Curriculum. 4thed. London: Paul Chapman Publishing Ltd. Lattuca, Lisa R. (2009). Shaping the Collage Curriculum: Academic Plans in Context. 2nded. San Francisco: Jossey – Bass. Marsh, Colin J., and Willis, George. (2003). Curriculum: Alternative Approached, Ongoing Issues. Upper Saddle River, New Jersey: Merrill Prentice Hall.

24 บทท่ี 1 ระบบการพัฒนาหลักสตู ร McNeil, John D. (1976). Designing Curriculum: Self – Instructional Modules. Boston: Little, Brown and Company. Miller, J. P. & Seller, W. (1985). Curriculum: Perspectives and Practice. New York: Longman. Oliva, Peter F. (2009). Developing the Curriculum. 7thed. Boston: Allyn and Bacon. Oliva, Peter F., and Gordon, II, William, R. (2013). Developing the Curriculum. 8thed. Boston: Pearson. Ornstein, Allan C. (2013). Curriculum: Foundations, Principles, and Issues. Boston: Pearson. Ornstein, Allan C., and Hunkins, Francis P. (2004). Curriculum: Foundations, Principles, and Issues. Boston: Allyn and Bacon. Posner, George J. (2004). Analyzing the Curriculum. New York: McGraw Hill. Print, Murray. (1993). Curriculum Development and Design. 2nd ed. Sydney: Allen & Unwin. Saylor, J. G. and Alexander, W.M. (1974). Curriculum Planning for Schools. New York: Holt, Rinehart & Winston. . (1981). Curriculum Planning for Better Teaching and Learning. New York: Holt, Rinehart and Winston. Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development : Theory and Practice. New York: Harcourt Brace Jovanovich. Tanner, Daniel and Tanner, Laurel. (1975). Curriculum Development: Theory into Practice. New York: Macmillan Publishing. Tanner, Daniel and Tanner, Laurel. (1980). Curriculum Development: Theory into Practice. 2nded. New York: Macmillan Publishing.

บทที่ 1 ระบบการพฒั นาหลกั สตู ร 25 Tyler, Ralph W. (1949). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: The university of Chicago Press. Udelhofen, Susan. (2005). Keys to Curriculum Mapping: Strategies and Tools to Make it Work. Thousand Oaks, California: Corwin Press. Walker, Decker F. and Soltis, Jonas F. (2009). Curriculum and Aims. New York: Teachers College Columbia University. Wiles, Jon W., and Bondi, C. Joseph. (2011). Curriculum Development a Guide to Practice. 8thed. Boston: Pearson. William, Pinar. (2012). What is Curriculum Theory. New York: Routledge.