Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พรรณไม้นานาชนิด ของอนุสรณ์สถานแห่งชาติ

พรรณไม้นานาชนิด ของอนุสรณ์สถานแห่งชาติ

Published by NaraSci, 2022-01-21 02:22:22

Description: พรรณไม้นานาชนิด ของอนุสรณ์สถานแห่งชาติ

Search

Read the Text Version

คำนำ ธรรมชาติสัตว์โลกและมนุษย์เรา เป็นส่ิงที่อยู่คู่กันมานานมาก ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยเด็ดขาด หากขาดส่ิงหนึ่งส่ิงใดไปจะทาให้ขาดความสมดุลขึ้น การดาเนินชีวิตและความเป็นอยู่ก็ย่อม เปลย่ี นแปลงไปดว้ ย ต้นไม้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติท่ีอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์และสัตว์โลกมาเป็นเวลานานมาก โดยการพึ่งพาอาศยั ซึ่งกนั และกัน ท้งั ทใี่ นความเป็นจริงแล้ว มนุษยน์ ้นั ได้รับและแสวงหาประโยชน์จากต้นไม้ มากกวา่ ทต่ี ้นไม้ไดร้ ับจากมนุษย์ ต้นไม้จึงเป็นสง่ิ สาคัญในการดารงอยู่ของสรรพส่ิงบนโลกใบนี้ การแสวงหาประโยชน์จากต้นไม้มากเกินไป จึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อธรรมชาติโดยรวม และจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์และสัตว์ในระยะยาว ดังน้ัน หากมนุษย์ยังไม่ทาความรู้จัก และเรียนรู้ว่าต้นไม้นั้นมีคุณค่ากับตนและสัตว์อื่น ๆ มากน้อยเพียงใดแล้ว ย่อมเป็นการทาลายต้นไม้ ทง้ั ทางตรงและทางออ้ ม อนั เนอ่ื งมาจากความไมร่ คู้ ุณค่า อย่างรู้เท่าไมถ่ งึ การณน์ ัน่ เอง ต้นไม้มีคุณต่อมนุษย์และสัตว์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะมนุษย์เราน้ัน อาจกล่าวได้ว่าไม่อาจจะขาด ต้นไม้ได้เลย ที่กล่าวเช่นนี้เพราะต้นไม้เป็นทั้งส่ิงแวดล้อมท่ีทาให้เกิดความชุ่มชื้น เป็นแหล่งผลิต ก๊าซออกซิเจน และดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ต้นไม้เป็นแหล่งอาหารครบท้ัง ๕ หมู่ ตามหลัก โภชนาการ ด้วยต้นไม้นั้นมีความหลากหลายทางสายพันธุ์และคุณค่าทางโภชนาการ ท่ีมนุษย์ต้องการ โดยไมต่ อ้ งพงึ่ พาเนื้อสัตว์ ต้นไมเ้ ปน็ ยารกั ษาโรคทีค่ นร่นุ ใหมอ่ าจมองขา้ มและไมใ่ ห้ความสาคัญ โดยหันไปพ่ึง สารเคมีมาใช้ในการรักษาโรค ต้นไม้เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสัตว์มาต้ังแต่ครั้งอดีตกาล เมื่อมนุษย์ มีวิวัฒนาการท่ีพัฒนาข้ึน จึงรู้จักดัดแปลงแปรรูปต้นไม้ นามาสร้างเป็นที่อยู่อาศัยท่ีสวยงามและ สะดวกสบายมากกว่าสตั ว์ นอกจากนี้ ต้นไม้ยงั สามารถนามาทาเคร่ืองมือเคร่ืองใช้อีกนานาชนิด อนุสรณ์สถานแห่งชาติ นับเป็นสถานท่ีราชการแห่งหนึ่งท่ีได้ปลูกต้นไม้ไว้นานาพันธุ์ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อความสวยงาม ใหร้ ่มเงา ทาใหบ้ รรยากาศร่มเยน็ เหมาะกบั การเป็นสถานทพ่ี ักผ่อนหย่อนใจ นอกเหนือไปกว่าน้ี ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้ที่สนใจท่ีจะศึกษาเก่ียวกับต้นไม้และธรรมชาติ โดยสามารถศึกษาได้จากต้นไม้นานาพันธ์ุ ที่ปลูกไว้ภายในอนุสรณ์สถานแห่งชาติน้ี ประกอบกับเอกสาร ท่ีกองพิพิธภัณฑ์ทหารและอนุสรณ์สถานแห่งชาติได้รวบรวมไว้ โดยมีสาระสาคัญไว้ให้คือ ลักษณะท่ัวไป ประโยชนข์ องต้นไมแ้ ต่ละชนดิ ว่าสามารถใชเ้ ป็นอาหาร เป็นยารักษาโรค หรอื ทาเปน็ ส่งิ ของเครือ่ งใช้ ฯลฯ คณะผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารน้ีจะเป็นข้อมูลเบ้ีองต้น ในการศึกษาหาความรู้จากต้นไม้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจนาไปต่อยอด หรือขยายผลเก่ียวกับเรื่องของต้นไม้ในด้านต่าง ๆ ที่ตนสนใจต่อไปได้อีก ตลอดจนเป็นข้อมูลท่ีสามารถจุดประกายความรู้สึกรักและหวงแหนต้นไม้ ซ่ึงกาลังลดน้อยลงจากโลกใบนี้ ลงไปทุกที คณะผู้จดั ทา

สำรบญั หนำ้ ๑ คานา ๒ สารบญั พรรณไมน้ านาชนดิ ของอนุสรณ์สถานแหง่ ชาติ ๕ ๗ กนั เกรา ๘ กระดงั งาสงขลา ๑๐ กระทิง ๑๒ กระโดน ๑๓ กระบือเจด็ ตวั ๑๕ กฤษณา ๑๗ กัลปพฤกษ์ ๑๙ เกด ๒๑ ขนนุ ๒๒ เขยตาย ๒๓ เข็ม ๒๕ ไข่เนา่ ๒๗ แค ๒๙ จนั ๓๑ จกิ นา้ ๓๓ จันทน์กะพ้อ ๓๕ จันผา ๓๖ ชวนชม ๓๘ ชบา ๔๐ ชา้ งน้าว ๔๑ ช้าพลู ๔๒ ชามะเลยี งบา้ น ๔๓ ต้วิ ขาว ๔๔ ตนี เปด็ ๔๕ ต้อยต่งิ ๔๖ ตอ้ ยตง่ิ เล็ก ๔๘ ตะขบป่า ๕๐ ตะเคยี นทอง ๕๑ ตะแบก ทับทมิ

สำรบัญ (ตอ่ ) ทองกวาว หนำ้ ไทรย้อย ๕๓ ไทรอินโด ๕๕ นนทรยี ์ ๕๖ นมแมว ๕๗ บัวหลวง ๖๐ บัวสวรรค์ ๖๒ ปาล์มเชอร์รี่ ๖๔ ปีบ ๖๕ ประดแู่ ดง ๖๖ ประดบู่ ้าน ๖๘ ประดู่ป่า ๗๐ ประยงค์ ๗๒ ปาลม์ สิบสองปนั นา ๗๔ พกิ ุล ๗๖ พญาสัตบรรณ ๗๗ พุดจบี ๗๙ พะยงู ๘๑ พะยอม ๘๒ เฟอื่ งฟา้ ๘๔ มกิ กิ้เมาส์ ๘๖ มะกอกน้า ๘๘ มะขวิด ๘๙ มะขาม ๙๑ มะขามป้อม ๙๓ มะค่าแต้ ๙๖ มะค่าโมง ๙๘ มะดัน ๑๐๐ มะนาว ๑๐๒ มะม่วง ๑๐๓ มะยม ๑๐๕ มะยมฝรง่ั ๑๐๗ มะฮอกกานีใบใหญ่ ๑๐๙ ๑๑๐

สำรบัญ (ตอ่ ) หน้ำ ๑๑๒ มะเดื่ออุทุมพร ๑๑๔ มะเม่า ๑๑๖ โมกบา้ น ๑๑๗ ยางพารา ๑๑๙ ยางนา ๑๒๑ รางจดื ๑๒๒ ราชพฤกษ์ ๑๒๔ ลกั กะจน่ั ๑๒๕ ลลี าวดี (ดอกขาว) ๑๒๕ ลลี าวดี (ดอกแดง) ๑๒๗ ลาดวน ๑๒๙ เล็บครฑุ ๑๓๑ เล็บมือนาง ๑๓๒ วา่ นหอยแครง ๑๓๓ สกั ๑๓๕ สมอไทย ๑๓๗ สารภี ๑๓๙ สาละลังกา ๑๔๐ โสกพวง ๑๔๑ หญ้าปกั กง่ิ ๑๔๒ หมากผู้หมากเมีย ๑๔๓ หว้า ๑๔๕ หางนกยูงฝร่งั ๑๔๖ หกู ระจง ๑๔๗ เหลอื งปรีดยี าธร ๑๔๘ อนิ ทนิลน้า ๑๕๑ แผนผังพรรณไม้ภายในอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ๑๕๒ ตาแหน่งพรรณไมภ้ ายในอนสุ รณส์ ถานแห่งชาติ ๑๕๕ คณะผู้จดั ทา ๑๕๖ บรรณานุกรม

๕ พรรณไม้นานาชนดิ ของอนุสรณส์ ถานแหง่ ชาติ กันเกรา Tambusu, Anan Fagraea fragrans Roxb. ช่ือสามัญ POTALIACEAE ช่ือทางพฤกษศาสตร์ ตาเสา ทาเสา มันปลา ปนั ปลา ชอ่ื วงศ์ ช่ืออื่น กันเกรา เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบขนาดกลาง พบในเกือบทุกท้องถ่ินของประเทศไทยตามปุา เบญจพรรณและปาุ เต็ง มมี ากในภาคใต้ แต่ไดถ้ กู จัดให้เปน็ ต้นไม้ประจาจงั หวัดนครพนม เปน็ ดอกไมป้ ระจา จงั หวดั นครพนมและจังหวัดสรุ นิ ทร์ กนั เกรามีดอกสวยงามและมกี ลนิ่ หอม

๖ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น สงู ประมาณ ๑๐ - ๑๕ เมตร เปลือกลาต้นเปน็ สนี ้าตาลเขม้ เนือ้ ไม้เปน็ สีนา้ ตาล เปน็ ไม้เน้ือแข็ง ทรงพุ่มสงู โปร่ง ใบ เป็นใบเด่ียว เรียงตรงข้าม รูปวงรี กว้างประมาณ ๔- ๖ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๘ - ๑๒ เซนติเมตร ขอบใบเรียบ สีเขียวเข้ม ท้องใบสจี างกวา่ ดอก เป็นช่อ คล้ายช่อดอกเข็ม ออกท่ีซอกใบและปลายก่ิง กลีบดอกมี ๕ กลีบสีขาวนวล เมื่อ บานเต็มทเ่ี ปน็ สีเหลอื ง มีกล่นิ หอม ออกดอกประมาณ เดอื นเมษายน - มถิ ุนายน ผล ผลเปน็ ผลสดรูปทรงกลม ขนาดประมาณ ๖ มลิ ลเิ มตร สีเขยี ว เมือ่ แกเ่ ป็นสแี ดง การขยายพันธุ์ ขยายพนั ธ์ุ ด้วยการเพาะเมล็ด หรอื แยกไหล ประโยชน์ ใช้ประโยชนจ์ ากเน้อื ไม้ ในการก่อสรา้ งและทาเฟอรน์ เิ จอร์ เครอ่ื งเรือนและเครื่องมอื เคร่อื งใช้ตา่ ง ๆ ใบ เปน็ ยาแกไ้ ข้จับสน่ั บารงุ ธาตุ แกห้ ืด และรกั ษาโรคผวิ หนงั พพุ อง ผล มีแอลคาลอยด์ ช่ือ Gentianine มีฤทธ์ิแก้ปวด แกน่ รสมันฝาดขม บารุงร่างกาย บารุงธาตุ เป็นยาอายุวัฒนะ บารุงม้าม ขับลม แก้โลหิตพิการ แกร้ ิดสีดวง แก้ท้องมาน สารสกัดจากแก่นมีฤทธิ์ยับย้ังการเจริญเติบโตของเช้ือมาลาเรีย ชนิดฟัลซิพารัม ในหลอดทดลอง

๗ กระดังงาสงขลา Cananga odorata Hook.f. & Th.var fruticosum (Craib) J.Sincl ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ANNONACEAE กระดงั งาสาขา กระดงั งาเบา กระดงั งางอ ชอ่ื วงศ์ ชอื่ อน่ื เป็นไม้ที่มีถ่ินกาเนิดในจังหวัดสงขลา และได้กระจายพันธุ์ไปจนทั่วประเทศไทยและ ประเทศข้างเคยี ง ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ตน้ สูงประมาณ ๑ - ๓ เมตร ลาต้นขนาดเล็ก ใบ เปน็ ใบเดี่ยว เรียงสลบั รปู วงรี กวา้ งประมาณ ๖ - ๘ เซนตเิ มตร ยาวประมาณ ๑๒ - ๑๔ เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอก เป็นดอกเดีย่ ว ออกตามซอกใบปลายก่ิง กลีบดอกเรียวยาวบิดเป็นเกลียว เรียงซ้อนหลายชั้น ๆ ละ ๓ กลบี ปลายกลบี งอ ออกดอกตลอดทัง้ ปี การขยายพนั ธ์ุ ขยายพนั ธุ์ ด้วยการตอนก่ิง ประโยชน์ นิยมปลูกเปน็ ไม้ดอกไม้ประดบั ดอก ใช้ในการทานา้ อบ นา้ ปรงุ ปรุงเปน็ ยาหอม แกล้ มวงิ เวียน ใบและเนอื้ ไม้ เป็นยาขบั ปสั สาวะ

๘ กระทิง Borneo Mahogan Calophyllum inophyllum Linn. ชื่อสามญั GUTTIFERAE ช่อื ทางพฤกษศาสตร์ กากะทิง ทิง สารภีทะเล สารภีแนน ชอ่ื วงศ์ ชื่ออืน่ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เกิดเองตามธรรมชาติตามปุาดงดิบ หรือปุาชายทะเลท่ัวไป เป็นต้นไมป้ ระจาจังหวดั ระยอง แต่พบมากในภาคใต้

๙ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น สงู ประมาณ ๒๐ - ๒๕ เมตร เปลอื กตน้ เรียบสีน้าตาลเขม้ เนอ้ื ไม้สขี าว เรอื นยอดเป็นพุ่มกลม ใบ เป็นใบเด่ียว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปไข่กลับแกมขอบขนาน ผิวใบเรียบเป็นมัน กวา้ งประมาณ ๓ - ๘ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร ดอก เป็นดอกช่อ ออกตามซอกใบปลายก่ิง แต่ละช่อมีดอกย่อยจานวนมาก กลีบดอกสีขาว เกสรสเี หลือง มกี ล่นิ หอม ออกดอกประมาณ เดือนตุลาคม - ธันวาคม ผล เปน็ ผลสด ทรงกลมเสน้ ผ่าศูนยก์ ลางประมาณ ๕ - ๑๒ เซนติเมตร สีเขียว เมือ่ สกุ เปน็ สีเหลือง การขยายพนั ธุ์ ขยายพนั ธุ์ ดว้ ยการเพาะเมล็ด ประโยชน์ ปลกู เปน็ ไมป้ ระดบั หรือไมใ้ ห้ร่มเงา เนอ้ื ไม้ ใช้ประโยชนไ์ ดห้ ลายอย่าง ใบ รสเมาเย็น แกต้ าแดง ตามัว ตาฝาู ฟาง ตากบั น้าสะอาดล้างตา ดอก รสหอมเย็น บารุงหวั ใจ เมล็ด รสเมาร้อน หงุ เป็นนา้ มนั แกป้ วดข้อ บวม เคล็ดขัดยอก นา้ มันจากเมล็ด ใช้จดุ ตะเกยี งได้ เปลอื กต้น รสฝาดเมา แกค้ นั สมานแผล ใชท้ าพลาสเตอรป์ ิดแผล ท้ังตน้ รสเมา ใช้เบื่อปลา

๑๐ กระโดน Careya sphaerica Roxb. LECYTHIDACEAE (BARRINGTONIACEAE) ชอ่ื ทางพฤกษศาสตร์ ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว ผา้ หาด หกู วาง กะนอน ขุย ชอ่ื วงศ์ ชื่ออ่นื กระโดน เปน็ ไม้ยืนตน้ ผลดั ใบขนาดกลาง เกิดเองตามธรรมชาติ ตามปุาเบญจพรรณช้ืน ปุาเต็งรัง ปุาหญ้า ไม่พบตามปาุ ดบิ เรือนยอดเปน็ ทรงพุ่ม

๑๑ ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ตน้ สูงประมาณ ๘ - ๒๐ เมตร ลาตน้ โปร่ง เปลอื กตน้ หนาสนี ้าตาลอ่อน แตกล่อนเป็นแผ่น เนื้อไม้ สีน้าตาลอ่อน เรือนยอดเปน็ พุม่ กลม เปน็ ไม้เน้อื อ่อน ใบ เป็นใบเดี่ยว เรยี งสลบั รปู ไขก่ ลบั ใบจะดกท่บี รเิ วณปลายกงิ่ กวา้ งประมาณ ๖ - ๑๒ เซนตเิ มตร ยาวประมาณ ๑๒ - ๒๐ เซนตเิ มตร ขอบใบหยกั ถ่ตี ้นื ๆ ผวิ ใบเกล้ยี ง ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกที่บริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกสีเขียวอ่อน ขอบกลีบสีชมพู เกสรตัวผู้ จานวนมาก ออกดอกระหว่าง เดือนมกราคม - มีนาคม ผล เปน็ ผลสด ทรงกลม เสน้ ผ่าศนู ย์กลางประมาณ ๕ - ๗ เซนติเมตร การขยายพนั ธุ์ ขยายพันธุ์ ด้วยการเพาะเมลด็ ประโยชน์ เมื่อก่อนกระโดนเป็นไม้ท่ีไม่มีค่าทางเศรษฐกิจ เป็นเพียงไม้ปุาชนิดหนึ่งเท่านั้น แต่ปัจจุบัน กระแสความนิยมและอนรุ กั ษ์ไม้ปาุ และสมุนไพรมมี ากขนึ้ จงึ มีผนู้ ิยมนามาปลกู เปน็ ไม้ประดบั และไมใ้ หร้ ่มเงา ตามบา้ นเรือนหรอื สถานทป่ี ระกอบการมากขึ้น เนอ้ื ไม้ ใชป้ ระโยชน์ในงานกอ่ สร้างบ้านเรอื น หรอื เครอื่ งเรือน เปลือกท่ีหนามากเมือ่ ทุบให้น่มิ นามารองกบู ช้างบนหลงั ชา้ ง ทาเป็นเชอื ก หรอื ทาหมันอดุ รอ่ งไม้ ยอดอ่อนหรือใบอ่อน มีรสฝาด ชาวชนบทโดยมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมนามาเป็น ผักเคียงรับประทานกบั ลาบ ใบ รสฝาด เปน็ ยาสมานแผล ดอก รสสขุ มุ บารุงร่างกายสตรีหลงั การคลอดบตุ ร แก้หวัด แกไ้ อ ทาให้ชมุ่ คอ ผล รสจืด ช่วยย่อยอาหาร ตม้ กบั เถายางน่องและดินประสิว เค่ียวให้งวดแล้วตากแห้ง ใช้ปิดแผล ปดิ หัวฝี เมลด็ รสฝาดเมา แก้พษิ เปลอื กตน้ รสฝาดเมา แกแ้ ผลอกั เสบจากงกู ัด สมานแผล แก้เคลด็ ขัดยอก แก้ปวดเมื่อย ราก - เปลอื ก ใช้เป็นยาเบอ่ื ปลา

๑๒ กระบือเจด็ ตัว Excoecaria cochinchinensis Lour. EUPHORBIACEAE ช่ือทางพฤกษศาสตร์ กระเบือ กาลังกระบือ ลิ้นกระบอื บวั ลา กระทู้เจด็ แบก ใบท้องแดง ชอื่ วงศ์ ชื่ออื่น เปน็ ไมพ้ ุ่มขนาดย่อม มถี น่ิ กาเนดิ ในแถบอนิ โดจนี ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ตน้ สูงประมาณ ๑ - ๑.๕๐ เมตร ลาตน้ แขง็ แรง เปลือกตน้ สีน้าตาลเข้ม มีนา้ ยางขาวเหมือนน้านม เนอื้ ไม้สขี าว ใบ เป็นใบเด่ียว เรียงสลับเวียนรอบกิ่ง รูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้างประมาณ ๒ - ๓ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๕ - ๗ เซนตเิ มตร หลงั ใบเปน็ สเี ขยี ว ท้องใบเปน็ สแี ดงอมม่วง ดอก เป็นดอกช่อ ออกท่ีปลายกิ่ง แยกเพศ ช่อดอกตัวผู้มีดอกย่อยจานวนมาก ช่อดอกตัวเมีย มีเพยี ง ๒ - ๓ ดอก ดอกขนาดเลก็ กลีบดอกสเี หลือง ออกดอกตลอดทัง้ ปี ผล เป็นผลแหง้ ทรงกลม เมื่อแกแ่ ตกได้ การขยายพันธ์ุ ขยายพนั ธุ์ ด้วยการตอนกิ่ง หรอื ปักชา ประโยชน์ นยิ มปลูกเปน็ ไม้ประดับ ใบ รสเฝอ่ื น ตาผสมเหลา้ ขาวคัน้ เอาแต่นา้ ดมื่ แก้อักเสบท่ีปากมดลูก ขับโลหิตร้าย ขับน้าคาวปลา หลงั คลอด

๑๓ กฤษณา Eagle Wood Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte ช่ือสามัญ THYMELAEACEAE ชือ่ ทางพฤกษศาสตร์ ชือ่ วงศ์ ในประเทศไทยพบมากท่ีสุดในพ้ืนท่ีร้อนช้ืนมีฝนตกชุก พบขึ้นตามธรรมชาติแทรกอยู่กับไม้อื่น ๆ ในเขต จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และบางพ้ืนที่ในจังหวัดทางภาคใต้ ปัจจุบันจัดเป็นไม้อนุรักษ์และ ไม้หวงหา้ ม อยา่ งไรก็ตามส่วนราชการทเี่ ก่ียวขอ้ งไดใ้ หค้ วามสนใจ เพาะขยายพนั ธ์ุและได้มีการทดลองปลูก เป็นสวนปาุ บ้างแล้ว โดยสานกั งานกองทุนสง่ เสรมิ การทาสวนยาง (สกย.) ไดส้ ง่ เสริมและใหท้ นุ แกเ่ กษตรกร ผู้สนใจปลูกในพื้นท่ี จังหวัดตราด โดยการปลูกแทรกในสวนยางพารา และปลูกเป็นสวนปุากฤษณา โดยเฉพาะ รวมแล้วประมาณ ๕๐,๐๐๐ ต้น ตัวอย่าง เช่น ที่วัดบ้านโปุง อาเภอเขาสมิง จังหวัดตราด พระสนธยา วายาโม เจ้าอาวาส ได้ทดลองปลูกกฤษณาในพื้นที่ ๑๔ ไร่ จานวน ๒๐๐ ต้น ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๓๘ และปัจจุบันมีบริษัทเอกชนได้เสนอขอทาประโยชน์จากสวนปุากฤษณาดังกล่าว โดยมี ขอ้ เสนอผลตอบแทนจานวนมาก (๔๐:๖๐) และในปัจจุบันได้มีการขยายพ้ืนท่ีปลูกออกไปอย่างกว้างขวาง ในหลายพ้ืนที่ของประเทศไทย เป็นดอกไมป้ ระจาจังหวดั ตราด

๑๔ ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น กฤษณาเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ ๑๐ - ๓๕ เมตร ลาต้นตรง เปลือกต้นสีเทา ด้านใน ของเปลือกเป็นเสน้ ใยคลา้ ยปอ เนื้อไมส้ ่วนท่เี ปน็ กระพีเ้ ป็นสขี าว แกน่ เปน็ สนี ้าตาลเข้ม เป็นไม้เนอื้ ออ่ น ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลบั รปู ยาวรผี ิวมนั ขอบเรยี บ ท้องใบมีขนคลา้ ยไหม ใบมขี นาดกวา้ งประมาณ ๖ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร ดอก เป็นดอกช่อ ขนาดเล็กแบบ Cyme มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร ออกท่ี ซอกใบและปลายก่ิง กลีบดอกสีขาวแกมเขียว มี ๕ กลีบ รอบรังไข่มีเกสรตัวผู้ ๙ อัน ห้วงเวลาออกดอก ประมาณ เดือนมนี าคม - พฤษภาคม ผล เป็นผลแห้งมีลักษณะเป็นทรงกลม เปลือกแข็งแบบ Capsule มีขนสีเทา เม่ือผลแก่เปลือก จะแตกออกเป็น ๒ ซีก กลีบเลี้ยงเจริญจะติดอยู่กับผล เมล็ดสีน้าตาล มีเส้นใยเช่ือมติดอยู่กับผนังของผล ห้วงเวลาเมล็ดแก่เตม็ ที่ประมาณ เดอื นมิถุนายน - กรกฎาคม การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ ดว้ ยการเพาะเมล็ด ประโยชน์ เน้ือไม้ กระพีเ้ ป็นไม้เนอื้ ออ่ น แก่นค่อนขา้ งแขง็ นิยมนาเน้อื ไมไ้ ปแปรรูป เปน็ เวชภณั ฑแ์ ละสกดั เอา น้ามันหอมระเหย เรียกว่า Agar - atar และ Chuwa ไปใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม เช่น ธูปหอม กายาน เทียนอบ ทาให้เนื้อไมก้ ฤษณามีราคาแพงมาก มีราคาตัง้ แต่ ๒๐๐ - ๖๐,๐๐๐ บาทตอ่ กิโลกรัม และ เปน็ ท่ีต้องการของตลาดท้ังในและต่างประเทศ แกน่ มกี ลิ่นหอม รสหอมสุขุม นาไปเป็นยารักษาบารงุ โลหิตและบารงุ หัวใจ คุมธาตุ ใช้ผสมในยาหอม แกล้ มวงิ เวียน คลื่นไส้อาเจียน และแก้ไขต้ า่ ง ๆ

๑๕ กัลปพฤกษ์ Wishing Tree, Pink Shower, Pink Cassia Cassia bakeriana Craib ชื่อสามญั FABACEAE (CAESALPINIACEAE) ชอ่ื ทางพฤกษศาสตร์ กาลพฤกษ์ กานล์ เปลอื กขม ชื่อวงศ์ ช่อื อน่ื กัลปพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นไม้ท่ีเกิดตามปุาเบญจพรรณแล้งทางภาคเหนือ ตะวนั ออกเฉยี งเหนือ และภาคตะวันออก บางครั้งพบข้ึนตามภูเขาหินปูน จัดเป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกกัน โดยท่ัวไปเพ่อื ให้ร่มเงาและความสวยงาม แต่ไม่คอ่ ยไดใ้ ช้ประโยชน์ในชวี ติ ประจาวันเท่าใดนัก ได้รับการจัด ให้เปน็ ตน้ ไม้ประจาจงั หวัดขอนแกน่ และเปน็ ดอกไมป้ ระจาจังหวดั ราชบรุ ี

๑๖ ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น สูงประมาณ ๕ - ๑๐ เมตร เปลือกต้นเป็นสีน้าตาล เนื้อไม้สีขาว เป็นไม้เนื้ออ่อน ก้านอ่อน บรเิ วณใกล้ยอดมขี น ใบ เปน็ ใบประกอบ แบบขนนก เรยี งสลบั ใบยอ่ ยมีประมาณ ๕ – ๗ คู่ รปู ขอบขนานแกมใบหอกกลบั กวา้ งประมาณ ๑.๕ - ๒ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๖ - ๘ เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนสนี า้ ตาล ดอก เป็นดอกช่อ ออกทีซ่ อกใบ ช่อยาวประมาณ ๕ - ๑๒ เซนตเิ มตร กลบี ดอกสีชมพู เม่ือใกล้โรย เป็นสขี าว เกสรสเี หลอื ง ออกดอกระหวา่ ง เดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม แตก่ ่อนออกดอกจะทง้ิ ใบกอ่ น ผล เป็นฝักกลมเส้นผ่าศูนย์ประมาณ ๑ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร ผิวเรียบมีขน สเี ทาหรอื สนี า้ ตาล ภายในมเี น้อื หุ้มเมล็ดจานวนมาก ฝักจะแกป่ ระมาณ เดอื นเมษายน - มิถนุ ายน การขยายพนั ธุ์ ขยายพนั ธุ์ ด้วยการเพาะเมล็ด ประโยชน์ ปลูกเปน็ ไมด้ อกไมป้ ระดับหรือไม้ให้รม่ เงา ตามบา้ นเรอื นและสถานทีท่ ่ัวไป เนื้อหุ้มเมลด็ รสหวานเอียนขม รับประทานเป็นยาระบายสาหรับเด็ก เปลอื กฝกั หรือเมลด็ รสขมเอียน ถา่ ยพิษไข้ ทาใหอ้ าเจียน

๑๗ เกด เกด Milkey Tree Manilkara hexandra Dubard ชอ่ื สามญั SAPOTACEAE ชอ่ื ทางพฤกษศาสตร์ ครนิ ี ไรนี ชื่อวงศ์ ชอ่ื อื่น เกดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ มีถิ่นกาเนิดในเขตร้อน โดยเฉพาะประเทศอินเดีย พม่า และไทย เกดิ ขน้ึ เองตามปาุ แห้งแลง้ ท่ัวไป พบมากในพน้ื ที่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และพ้ืนท่ีใกล้เคียงและ ได้รับการจัดใหเ้ ปน็ ต้นไมแ้ ละดอกไมป้ ระจาจังหวัดประจวบครี ขี นั ธ์

๑๘ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น สูงประมาณ ๑๕ - ๒๐ เมตร ลักษณะก่ิงก้านมักหักงอเหมือนข้อศอก เปลือกต้นสีน้าตาล แตกเปน็ สะเกด็ เปน็ ไมเ้ น้ือแขง็ ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่กลับ กว้างประมาณ ๒.๕ - ๖ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๕ - ๑๐ เซนตเิ มตร เน้อื ใบหนาเรยี บเป็นมนั ดอก เป็นดอกช่อออกตามซอกใบปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกประมาณ เดอื นมกราคม - กรกฎาคม ผล เป็นผลสด มีสีเขียว ทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตร เมื่อสุกเป็นสี เหลืองสม้ การขยายพนั ธ์ุ ขยายพันธุ์ ด้วยการเพาะเมลด็ ประโยชน์ เนอื่ งจากเปน็ ไมเ้ นื้อแข็งสามารถนามาเป็นสลักแทนตะปู ตอกกระดานกับโครงเรือในการต่อเรือ นอกจากนยี้ งั ทาเครอื่ งมือเคร่ืองใชไ้ ดห้ ลายอยา่ ง ผล เมอื่ สุกมีรสหวาน รับประทานได้

๑๙ ขขนนนุ นุ Jack Fruit Tree Artocarpus heterophyllus ชือ่ สามญั MORACEAE ชอื่ ทางพฤกษศาสตร์ มะหนนุ หมากหมี้ ขะนู นากอ ชื่อวงศ์ ชอ่ื อ่ืน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลดั ใบ ทรงพ่มุ หนาทบึ มกี ง่ิ ก้านสาขามาก คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ในฐานะเปน็ ผลไม้ทข่ี ึ้นช่ือของไทย และบางคนยังมคี วามเชื่อวา่ การปลูกต้นขนนุ ไว้ดา้ นหลงั บ้านจะเป็นสิง่ ท่ี หนุนเนื่องให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข มีความเจริญก้าวหน้า ขนุนมีหลายพันธุ์และปัจจุบันได้มี การพัฒนา พนั ธุใ์ หม่ ๆ ใหม้ ีคณุ ภาพมากขึน้ ตลอดเวลา จึงปรากฏ ช่อื ขนุนพันธ์ตุ า่ ง ๆ มากมาย

๒๐ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น สงู ประมาณ ๕ - ๓๐ เมตร เปลือกต้นสีน้าตาลเข้ม มียางสีขาว เป็นไม้เนื้อแข็ง เน้ือไม้ส่วนท่ี เป็นกะพส้ี เี หลืองอ่อน แก่นสีเหลืองอมนา้ ตาล เรอื นยอดเปน็ พมุ่ หนาแน่น ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ ขนาดกว้างประมาณ ๕ - ๗ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๘ - ๑๒ เซนตเิ มตร ขนาดและลกั ษณะของใบจะแตกตา่ งกนั ออกไปตามสายพนั ธ์ุ ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน ทอ้ งใบสาก ดอก เปน็ ดอกชอ่ แยกเพศในต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้เป็นทรงกระบอกมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๑ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๓ เซนตเิ มตร ออกตามซอกใบ ส่วนดอกตัวเมียน้ัน มีขนาดใหญ่กว่า ท้งั กา้ นดอกและดอก ทง้ั ๒ อย่างมกี ลบี ดอกเลก็ มาก ดอกท้งั ๒ ชนิดออกตามลาตน้ ก่งิ ก้าน หรอื แม้กระท่ัง ตามรากใต้ดิน จะออกดอกปีละ ๒ คร้ัง คือ ระหว่าง เดือนธันวาคม - มกราคม และเดือนเมษายน - พฤษภาคม ผล เป็นผลสดท่ีพัฒนาจากฐานดอกตัวเมีย ผิวเป็นหนามสีเขียวอมเหลือง ระหว่างเปลือกกับ แกนในผลเป็นทีอ่ ยู่ของเนอ้ื ผลหรือเรียกว่า ยวง ทว่ั ไปเปน็ สเี หลอื งหรอื สีสม้ มีรสหวานรับประทานเปน็ ผลไม้ แตล่ ะยวงมีเมลด็ ๑ เมล็ด ผลจะแกใ่ ช้เวลา ๖ เดือนนับจากออกดอก การขยายพันธุ์ ขยายพนั ธ์ุ ดว้ ยการเพาะเมล็ด ตอนก่งิ เสยี บยอด หรอื ทาบกง่ิ ประโยชน์ เนื้อไม้ ส่วนที่เป็นแก่นมีสีเหลือง ให้สีเหลืองอมน้าตาลใช้ย้อมผ้า เช่น ใช้ย้อมจีวรพระ หรืออาจ นามาทาสิ่งของเครือ่ งใชไ้ ดห้ ลายอยา่ ง ยาง จากเปลอื กต้นใช้เป็นกาวดักสัตวห์ รอื ตดิ ส่งิ ของได้ ส่วนที่นิยมนามารับประทานเป็นอาหาร คือ ผล ท่ีนามาปรุงเป็นอาหารได้ทั้งอาหารหวาน อาหารคาว และรบั ประทานเป็นผลไม้สด โดย ผลอ่อน นามาเป็นผักปรุงอาหารได้ เช่น ผักต้มจิ้มน้าพริก แกงเผ็ด ยวง จากผลสุกรับประทานเป็นผลไม้สด รับประทานกับข้าวเหนียวมูน หรือผสมกับของหวาน อยา่ งอ่นื เมล็ดแก่ ต้มสุกรสมันรับประทานเปน็ ของว่างได้เช่นกัน เน่ืองจากขนุนเป็นผลไม้ตามฤดูกาลและ ไมส่ ามารถเกบ็ ไวไ้ ด้นาน จงึ ได้คดิ วิธีการถนอมอาหารขึน้ โดยการอบแห้ง ทาให้สามารถเก็บไว้รับประทาน นอกฤดูกาลได้ ใบ มรี สฝาด รกั ษาแผลเรอ้ื รัง แกน่ และราก บารุงโลหติ ขับพยาธิ แก้ทอ้ งเสยี แก้กามโรค แกโ้ รคผวิ หนัง ยาง แกอ้ กั เสบบวม แผลหนองเรื้อรัง แกต้ อ่ มนา้ เหลืองอักเสบ เมล็ด รสมัน บารุงนา้ นม บารงุ กาลงั

๒๑ เเขขยยตตาายย Glycosmis cochinchinesi Piere. RUTACEAE ชอ่ื ทางพฤกษศาสตร์ ลูกเขยตาย เขยตายแมย่ ายชกั ปรก ส้มชื่น น้าข้าวตน้ พษิ นาคราช ช่ือวงศ์ ชอ่ื อน่ื เปน็ ไม้ทีม่ ีถนิ่ กาเนดิ ตามปาุ ดงดบิ และปาุ โปรง่ ทั่วไป ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น เปน็ ไมพ้ มุ่ ยนื ต้นขนาดกลาง ลาต้นสูงประมาณ ๓ - ๖ เมตร ผวิ เปลือกตกกระเป็นดวงขาว ใบ เปน็ ใบเดยี่ วรูปหอก ปลายและโคนแหลม ยาวประมาณ ๑๐ - ๒๐ เซนติเมตร ใบดกทบึ เต็มตน้ ดอก เป็นดอกช่อ มีดอกขนาดเล็ก กลบี ดอกสขี าว ผล ทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนยก์ ลางประมาณ ๑ เซนตเิ มตร เมอ่ื สุกมีสแี ดงเร่ือ มรี สหวาน การขยายพันธ์ุ ขยายพนั ธุ์ ดว้ ยการเพาะเมล็ด ประโยชน์ ดอกและผล รสเมาร้อน แกห้ ิด เปลอื กต้น รสเมารอ้ น ขับนา้ นม รักษาฝีทง้ั ภายในและภายนอก ราก รสเมาข่ืน ปร่า กระทุ้งพิษ แกพ้ ษิ ฝที งั้ ภายในและภายนอก แก้พิษงู แก้ไข้กาฬ แก้โรคผิวหนัง พพุ อง ขับนา้ นม

๒๒ เขม็ Ixora spp.and hybrid RUBIACEAE ช่อื ทางพฤกษศาสตร์ ชอื่ วงศ์ เปน็ ไม้ท่มี ีถ่ินกาเนดิ ในเขตรอ้ น ของเอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต้ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น สูงประมาณ ๐.๓ - ๕ เมตร ลาต้นขนาดเลก็ เปลือกต้นสีน้าตาล ใบ เป็นใบเดีย่ ว เรยี งตรงขา้ ม รูปใบหอก ขนาดของใบขึน้ อยกู่ ับแต่ละสายพนั ธ์ุ ดอก เป็นดอกช่อ ออกท่ีปลายก่ิง โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอดขนาดเล็กยาวประมาณ ๒ - ๕ เซนติเมตร ปลายกลบี แยกเปน็ ๕ กลบี มหี ลายสี เชน่ แดง เหลือง ชมพู ออกดอกตลอดทั้งปี ผล เปน็ ผลสด ทรงกลม ขนาดเล็ก สเี ขยี ว เม่ือแก่มีสีดา การขยายพนั ธุ์ ขยายพนั ธุ์ ด้วยการเพาะเมลด็ ปกั ชา ตอนกง่ิ ประโยชน์ ปลูกเปน็ ไมด้ อกไมป้ ระดับ ใบและดอก ใชท้ าดอกไม้ประดษิ ฐ์

๒๓ ไไขข่เ่เนน่า่า Vitex grabrata R.Br. LABIATAE (LAMIACEAE,VERBENACEAE) ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ข้ีเห็น อเี หน็ คมขวาน ฝรงั่ โคก ชื่อวงศ์ ชือ่ อื่น ไขเ่ น่า เปน็ ไมป้ าุ ยืนตน้ ท่เี กดิ เองตามธรรมชาติ พบมากตามพื้นท่ีลุม่ มคี วามชุ่มช้ืนสงู เหตทุ ี่เรยี กช่ือ วา่ ไข่เน่า น้ัน น่าจะมาจากลักษณะของผลสุกทม่ี ีสดี า แม้ผลสุกจะมสี ดี าแต่ไข่เน่าก็มีรสชาติน่ารับประทาน เป็นผลไม้ที่ชาวชนบทนิยมรับประทานกันในอดีต ปัจจุบันไม่มีการพัฒนาพันธุ์หรือปลูกกันในเชิงพาณิชย์ จึงทาให้ไมเ่ ป็นทร่ี จู้ ักของคนรุ่นใหม่

๒๔ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น สงู ประมาณ ๑๐ - ๒๕ เมตร เปลือกต้นสนี า้ ตาลออ่ น เน้อื ไม้สนี า้ ตาล เป็นไม้เน้อื อ่อน มีก่ิงก้าน เป็นทรงพมุ่ ใบ เปน็ ใบประกอบแบบนว้ิ มอื เรียงตรงข้าม ใบย่อยมปี ระมาณ ๓ - ๕ ใบ รูปไขก่ ลับแกมวงรี หรือ รปู ใบหอกกลับ กวา้ งประมาณ ๔ - ๖ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๐ - ๑๓ เซนตเิ มตร ดอก เป็นดอกช่อ ออกที่ซอกใบบริเวณใกล้ปลายก่ิง โคนกลีบดอกติดกันเป็นรูปกรวยแล้วบาน ออกเป็นกลีบสีม่วงอ่อน มีขนอ่อน เกสรตัวผู้ย่ืนออกมาเห็นได้ชัดเจน ออกดอกระหว่างเดือน มิถนุ ายน - กนั ยายน ผล เป็นผลสด รูปทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ - ๒ เซนติเมตร ผิวเรียบเป็นมันสี เขยี ว เมื่อสุกเปน็ สีดา เนื้อในเหลวขน้ สดี า รสหวานเล็กน้อย ในแตล่ ะผลมีเพียง ๑ เมล็ด การขยายพันธ์ุ ขยายพันธุ์ ดว้ ยการเพาะเมล็ด ประโยชน์ นอกจากจะนา ผลสกุ มารับประทานเปน็ ผลไมแ้ ลว้ ยังใช้ประโยชน์เป็นร่มเงา ซึ่งปัจจุบันมีผู้นิยม นามาปลูกในบา้ นหรือสถานประกอบการดว้ ยเชน่ กนั เนื้อไม้ นามาทาเป็นเครอื่ งมือเครอื่ งใชไ้ ด้หลายอย่าง ดังท่ไี ดก้ ล่าวมาแล้วว่า ผลสุกนั้นชาวชนบทนามารับประทานเป็นผลไม้พื้นบ้าน โดยมีการปรุงรส ด้วยเกลือ กล่าวคือ นาผลสุกท่ีร่วงจากต้นแล้วมาล้างน้าให้สะอาด แล้วนามาแช่หรือซาวในน้า เกลือแกง สักครู่ แล้วนาไปตากแดดพอแห้งเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อให้เน้ือในมีความข้นข้ึนเล็กน้อย เพื่อสะดวกในการ รบั ประทานทาให้ไมเ่ ลอะปาก รสหวานเล็กน้อยผสมกับรสเค็มของเกลือจะทาให้ผลไข่เน่าน่ารับประทาน มากข้ึน เปลือกต้น รสฝาดหวานเบื่อชุ่ม แก้ท้องเสีย แก้เด็กถ่ายเป็นฟอง แก้บิด แก้ไข้ แก้ตานขโมย ขบั พยาธไิ ส้เดอื น ราก รสฝาดหวานเบื่อ แก้ทอ้ งเสยี เปน็ ยาเจรญิ อาหาร บารุงธาตุ ขับพยาธไิ สเ้ ดือน

๒๕ แค Sesban, Cork Wood Tree Sesbania grandiflora Linn. ชื่อสามญั LEGUMINOSAE (FABACEAE) – PAPILIONOIDEAE ชื่อทางพฤกษศาสตร์ แคบา้ น ชอ่ื วงศ์ ช่อื อ่ืน แค เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กท่ีคนไทยรู้จักกันดี โดยเฉพาะชาวชนบท ที่นิยมปลูกไว้ตามหัวไร่ ปลายนาหรือในบริเวณบ้าน เพื่อใช้ดอก ใบอ่อน และฝักอ่อน มาเป็นผักในการประกอบอาหาร แมใ้ นปัจจุบันกย็ งั เปน็ ท่นี ิยมกนั อยู่ จึงมีการปลูกในเชิงพาณิชย์มากข้นึ

๒๖ ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ตน้ สงู ประมาณ ๕ - ๑๐ เมตร เปลือกตน้ สนี า้ ตาล มีรอยแตกเป็นร่อง เปลือกมียางสีชมพู เนื้อไม้ เปน็ สีขาว เป็นไมเ้ นื้ออ่อน ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลบั ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ ๑ - ๑.๕ เซนตเิ มตร ยาวประมาณ ๓ - ๔ เซนตเิ มตร ดอก เป็นดอกช่อ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกตามซอกใบ รูปดอกคล้ายเส้ียววงเดือนหรือดอกถั่ว กลีบดอกเปน็ สีขาว หรือสีแดง ออกดอกเป็นกลุ่ม ผล เป็นฝัก กว้างประมาณ ๐.๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร เม่ือแก่แตกออกเป็น ๒ สว่ น ภายในมีเมลด็ สีนา้ ตาลอ่อนจานวนมาก การขยายพนั ธ์ุ ขยายพันธุ์ ด้วยการเพาะเมล็ด ประโยชน์ ดอก ยอด ใบออ่ น และฝกั อ่อน นามาเป็นผัก โดยท่ัวไปนิยมนามาต้มรับประทานกับน้าพริก หรือ นยิ มนามาเป็นผักแกงส้ม ใบสด รสจืดมัน แก้ไขห้ วั ลม ไขห้ วดั ถอนพษิ ไข้ ดอก รสหวานเยน็ แกไ้ ขห้ ัวลม เปลือกตน้ รสฝาด ต้มรับประทานแก้อาการท้องร่วง แก้บิด ใช้น้าตม้ เป็นยาลา้ งแผลและห้ามเลอื ด

๒๗ จจนั นั Diospyros decandra Lour. EBENACEAE ช่อื ทางพฤกษศาสตร์ อนิ จนั จนั โอ จันทน์ขาว จันทน์ลกู หอม ชื่อวงศ์ ชอ่ื อื่น จนั เปน็ ไม้ยนื ต้นขนาดใหญ่ เป็นต้นไม้ประจาจังหวดั จนั ทบุรี นยิ มปลกู กันมานานตัง้ แตส่ มัยโบราณ ในเกอื บทกุ ภาคของไทย เพ่ืออาศยั ร่มเงาและแสวงประโยชนจ์ ากความหอมของผล

๒๘ ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ตน้ ตน้ ทโ่ี ตเตม็ ท่อี าจสงู ถงึ ๓๐ เมตร เปลือกต้นสดี า เน้ือไม้สีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปวงรี กว้างประมาณ ๒.๕ - ๓ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๗ - ๑๐ เซนตเิ มตร ดอก เป็นดอกแยกเพศ ดอกตวั ผอู้ อกเปน็ ชอ่ กลีบดอกติดกันเป็นรูปคนโท สีขาวนวล ดอกตัวเมีย เป็นดอกเดีย่ ว คลา้ ยกบั ดอกตวั ผู้แต่มขี นาดใหญก่ ว่า ผล เปน็ ผลสดมีสองรูปทรง รูปทรงกลมแปนู เรียกวา่ ลกู จัน รปู ทรงกลมเรียกว่า ลูกอิน กลีบเลี้ยง ติดกบั ขั้วของผล ผลมีผิวเรยี บสีเขียวออ่ น เมื่อสกุ เป็นสีเหลือง มกี ลิน่ หอม บางผลไม่มเี มลด็ แตบ่ างผลอาจมี ถึง ๔ เมล็ด การขยายพนั ธ์ุ ขยายพนั ธุ์ ดว้ ยการเพาะเมล็ด ประโยชน์ ใช้ประโยชน์จากรม่ เงา ผล นอกจากนี้เน้ือไมย้ ังนามาสกดั เอาน้ามนั หอมมาผสมเปน็ เครอื่ งหอมต่าง ๆ ผลสุก นอกจากการใช้ประโยชน์จากกลิ่นหอมแล้ว เนื้อในยังสามารถนามารับประทานได้ โดยรับประทานสด หรือปรุงนา้ กะทิสดและน้าตาล เน้ือไม้และแก่น รสขมหวาน บารุงประสาท แก้ร้อนในกระหายน้า แก้ปอด ตับและดีพิการ ขับพยาธิ ผล รสฝาดหวาน แก้อาการนอนไมห่ ลับ แก้ทอ้ งเสยี บารุงประสาท

๒๙ จจิกกิ นน้า้า Indian Oak, Freshwater Mangrove Barringtonia acutangula ชื่อสามญั Lecythidaceae ชอ่ื ทางพฤกษศาสตร์ จกิ อนิ เดีย จิกนา จิกมจุ รนิ ทร์ ชอ่ื วงศ์ ชอ่ื อ่ืน จิกน้า มีถ่ินกาเนิดในภูมิภาคเอเชียใต้ ท่ีอัฟกานิสถานและฟิลิปปินส์ ไปจนถึงตอนเหนือ ของออสเตรเลียแถบรัฐควีนสแ์ ลนด์ โดยมกั ขนึ้ ใกล้รมิ แหลง่ นา้

๓๐ ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ ๕ - ๑๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มรีหรือ แผ่กว้าง มีลาต้นเป็นปุมปม เปลือกสีน้าตาลแตกเป็นร่องและเป็นสันแหลมตามยาว ก่ิงก้านมักคดงอ ปลายกงิ่ มักลู่ลง ใบ มีใบเป็นใบเดีย่ ว ใบออกเวยี นสลับถ่ีที่บรเิ วณปลายกงิ่ ลกั ษณะของใบเป็นรปู หอก รูปไขห่ วั กลับ หรอื รปู รี โคนใบแหลม ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบเป็นจักถี่ ๆ ใบอ่อนเป็นสีน้าตาลแดงเข้มและมีขน ใบมีขนาดใหญเ่ ป็นมันสวย เมือ่ เวลามดี อกจะทง้ิ ใบเหลอื เพยี งแต่ใบอ่อนสีแดง ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจายท่ีปลายก่ิง ดอกห้อยลงมาเป็นระย้า ยาวประมาณ ๓๐ - ๔๐ เซนติเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยง ๔ กลีบ ติดทนอยู่จนเป็นผล กลีบดอกส้ัน ปลายแยกเป็น ๔ กลีบ มสี แี ดงหรอื สชี มพู หลดุ ร่วงไดง้ า่ ย เม่อื บานเตม็ ที่จะมเี สน้ ผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้ อยู่เป็นฝอย ๆ สีชมพูหรือสีแดงจานวนมาก เม่ือดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงมดี อกจะทง้ิ ใบเหลอื แต่ยอดอ่อนสีแดงจัด ก็ย่ิงทาให้ดูสวยงดงามเพ่ิมข้ึนไปอีก และจะออกดอกในช่วง เดอื นพฤศจกิ ายน - มีนาคม ผล ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนานหรือทรงกลม มีสันเป็นเหลี่ยม ๔ สัน เรียงตามความยาว ของผล ในผลมีเมลด็ จกิ นา้ อยู่ ๑ เมลด็ ลกั ษณะคล้ายรูปไข่ การขยายพันธุ์ ขยายพันธ์ุ ด้วยวธิ ีการเพาะเมลด็ และการตอนกง่ิ ประโยชน์ ดอกและยอดออ่ น ใชร้ ับประทานเปน็ ผักสด หรือผกั จิม้ กับแจว่ ลาบ น้าตก และขนมจีน ให้รสชาติ มันปนฝาด ช่วยเพมิ่ ความอร่อยไดด้ มี าก เปลือกและตน้ มสี รรพคุณใช้เบ่ือปลา โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งจิกเล และเป็นท่ีมาของช่ือภาษาอังกฤษ ว่า Poison Fish Tree ซ่ึงชาวประมงนยิ มนามาใชใ้ นการเบอ่ื ปลากนั อย่างแพรห่ ลาย มักปลูกไว้เป็นไม้ประดบั ที่ริมน้ารมิ ตล่งิ เนอ่ื งจากมีช่อดอกท่ีสวยงามแปลกตา และมคี วามแขง็ แรง ทนนา้ ท่วมขังได้เปน็ อยา่ งดี ไมจ้ ิกน้า มเี น้อื สขี าวหรือสีอมแดงเร่อื ๆ มเี สี้ยนตรง เป็นไม้ค่อนข้างอ่อนเหมาะใช้ในร่ม สามารถ นามาทาเป็นไมอ้ ดั ไมบ้ าง กระดานกรบุ อ่ ใช้ทาเรือเลก็ ๆ ทาเครอื่ งมือเกษตรและทาเคร่อื งเรือนได้ ฯลฯ นอกจากจะปลูกต้นจิกน้าเพ่ือความสวยงามไว้ริมตล่ิงแล้ว ต้นจิกน้าก็ยังช่วยยึดหน้าดินริมตลิ่ง ไดอ้ ีกด้วย

๓๑ จจนั นั ททนน์กก์ ะะพพ้ออ้ Vatica Scortechinii Brandis.,V.diospyroides Symington DIPTEROCARPACEAE ชื่อทางพฤกษศาสตร์ จนั ทน์พอ้ เขี้ยวงูเขา ชือ่ วงศ์ ชื่ออนื่ เป็นไมย้ นื ตน้ ขนาดเลก็ ถึงกลางทมี่ ถี ิ่นกาเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใตใ้ นประเทศไทย แตก่ พ็ บ ตามธรรมชาติในปุาดิบทางภาคใต้เช่นกัน เป็นไม้ท่ีเจริญเติบโตช้ามากเม่ือเทียบกับไม้อื่น ๆ ชอบข้ึน ตามบรเิ วณดินรว่ นช้ืนและร่มปะปนกับไม้ชนิดอื่นตามปุาดิบช้ืน เม่ือหลายสิบปีท่ีผ่านมาพบเห็นน้อยมาก เน่ืองจากเพาะเลี้ยงยากและมีราคาแพง แต่ปัจจุบันสามารถขยายพันธ์ุได้มาก อีกทั้งยังเป็นไม้เศรษฐกิจ ทน่ี ยิ มซ้ือหาไปปลูก

๓๒ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ตน้ สงู ประมาณ ๖ - ๑๕ เมตร ลาตน้ ค่อนข้างตรง เปลือกต้นเรียบสีน้าตาลเข้ม มีทรงพุ่มหนาทึบ เป็นไม้เนือ้ แขง็ ใบ เป็นใบเด่ียว เรียงสลับ รูปหอก กว้างประมาณ ๔ - ๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๕ - ๒๐ เซนติเมตร ใบอ่อนเป็นสีเขียวอมน้าตาล ใบแก่เป็นสีเขียวอมเหลือง มีเส้นใบเห็นได้ชัดเจน หากปลูกในที่แดดจัดหรือลมแรงใบจะไหม้ ดอก เป็นดอกช่อออกตามกิง่ ดอกมีขนาดเลก็ กลีบดอกสขี าวนวลหรอื เหลอื งออ่ น จานวน ๕ กลีบ ทยอยบานคร้ังละ ๑ - ๒ ดอก กลีบดอกมี ขนาด ๑.๒ - ๑.๕ เซนติเมตร กลิ่นหอมจัด ออกดอกในห้วง เดือนมกราคม - กมุ ภาพนั ธ์ ของทุกปี ผล เป็นผลแหง้ ทรงกลม กว้างประมาณ ๒.๕ เซนตเิ มตร ยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร เม่ือแห้งจะ แตกออกเป็น ๓ ชนิ้ มีเมลด็ ภายใน การขยายพนั ธ์ุ ขยายพนั ธ์ุ ดว้ ยการเพาะเมลด็ ประโยชน์ ปจั จบุ ันเป็นที่นิยมของนักปลูกไมด้ อกไม้ประดบั โดยเฉพาะผู้ทีช่ อบไมไ้ ทยโบราณ เนอ่ื งจากเป็นไม้ ที่ปลกู ค่อนข้างยาก ใช้เวลานานหลายปีกวา่ จะออกดอก จึงทาให้การซ้ือขายมีราคาแพงมาก ดอก สกัดเอาน้ามันหอมมาทาเป็นน้าหอม น้าปรุง น้ามันใส่ผม นอกจากนี้คนโบราณนามาเป็น ส่วนผสมของยาหอม เน้ือไม้ รสหอมรอ้ น เปน็ ยาขับลม แกล้ มวิงเวียนศรี ษะ

๓๓ จจนั นั ผผาา Dracaena loureiri Gagnep. Agavaceae ช่ือทางพฤกษศาสตร์ จันทนแ์ ดง ลกั กะจนั ทน์ ชอื่ วงศ์ ช่ืออืน่ จันผา หรือ จันทร์ผา เป็นไม้ประดับท่ีมีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย อยู่ตามแถบปุาเขา มีความสูง ประมาณ ๕ - ๗ ฟุต ลาต้นมีความแข็งแรงมาก จะมีการแตกใบตรงบริเวณยอด ใบมีสีเขียวเข้ม ลักษณะ เปน็ รูปหอก ขนาดใบเรียวและยาว ปลายใบจะมรี ปู แบบแหลม ใบยาวประมาณ ๔๕ - ๕๐ เซนติเมตร และมี ความกว้างทป่ี ระมาณ ๔ - ๕ เซนติเมตร สว่ นใหญจ่ ะนยิ มปลูกประดับไวท้ ่สี นามหญ้าและใช้ตกแต่งร่วมกับ สวนหิน จันทร์ผาน้ันมีหลายช่ือ บ้างก็เรียกว่า \"จันทร์แดง\" หรือ \"ลักจ่ัน\" ชอบข้ึนบริเวณหน้าผา ต้นจนั ทร์ผาเปน็ ต้นไม้ในตระกลู เดียวกนั กบั ต้นวาสนา

๓๔ ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไมพ้ ่มุ ท่มี ขี นาดใหญ่หรอื ไม้ต้นขนาดเลก็ แตจ่ ะไม่ผลดั ใบ ลาต้นจะกลม ๆ คลา้ ยกนั กบั ต้นหมาก และเปลอื กของลาต้นจนั ทร์ผานนั้ จะมีสีเทา ส่วนใบจะแตกเป็นช่อ ๆ โดยจะแตกบริเวณปลายยอดเท่าน้ัน เรอื นยอดเป็นรปู ทรงไข่ เมื่อต้นโตจะแผก่ วา้ งขยายออกไป เปลือกต้นสีน้าตาลหรือน้าตาลปนเทา แตกเป็น ร่องตามยาว ใบ เป็นใบเด่ียว เรียงเวียนสลับถ่ี ๆ ที่ปลายก่ิง ใบรูปแถบยาวแคบ กว้าง ๔ - ๕ เซนติเมตร ยาว ๔๕ - ๖๐ เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลาต้น ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ก้านใบ เปน็ กาบหุ้มซ้อนทบั กันรอบลาตน้ ดอก มีสีขาวนวลตรงกลางดอกมีจุดสีแดง มีกล่ินหอม ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ ตามซอกใบท่ีปลายกง่ิ มดี อกจานวนมาก กลบี ดอก ๖ กลีบ ผลสด ทรงกลมขนาดเลก็ อยู่รวมกนั เป็นพวง ผลออ่ นสเี ขียว ผลแกส่ ีแดงคล้า มเี มล็ดเดยี ว การขยายพนั ธุ์ ขยายพันธ์ุ โดยการปกั ชา ประโยชน์ เป็นพันธุ์ไม้ที่มีกลิ่นหอม มีราคาตามขนาดที่เพิ่มขึ้น สามารถปลูกไว้รอบ ๆ บริเวณบ้านเพื่อ จาหนา่ ยท้งั ตน้ ได้ เป็นพันธไ์ุ มท้ ี่นยิ มมากในการจดั สวนที่มสี นามบริเวณรอบ ๆ บา้ น แก่น มสี รรพคณุ บารุงหัวใจและแกเ้ ลือดออกตามไรฟนั

๓๕ ชชววนนชชมม Pink Bignonia, Mock Azalea, Desert Rose, Impala Lily Adenium obesum (Forsk.) Roem.& Schult. ช่ือสามัญ APOCYNACEAE ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ล่ันทมแดง ลัน่ ทมยะวา ชอื่ วงศ์ ช่ืออนื่ มีถิ่นกาเนดิ ในแอฟรกิ า ชอบขึ้นตามพ้ืนที่แหง้ แล้ง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ตน้ สงู ประมาณ ๑ - ๑.๕ เมตร เปลอื กสเี ขยี วอมเทา เปลือกหนา มียางสขี าว เป็นไม้เนอื้ ออ่ น ใบ เป็นใบเด่ียว ออกหนาแน่นบริเวณปลายก่ิง กว้างประมาณ ๓ - ๔ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๘ - ๑๐ เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบเรียว ใบหนา ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ทยอยออกคร้ังละ ๒ - ๓ ดอก โคนกลีบติดกัน เป็นกรวย ปลายกลบี แยกเปน็ ๕ กลีบ สีชมพู สีขาว สีบานเย็นหรือ สแี ดง ออกดอกตลอดทง้ั ปี ผล เปน็ ฝกั คู่ รปู ยาวรี ปลายฝักชี้ไปทศิ ทางตรงขา้ ม เมื่อแก่แตกได้ มเี มลด็ จานวนมาก การขยายพนั ธ์ุ ขยายพนั ธ์ุ ด้วยการเพาะเมลด็ หรือปกั ชา ประโยชน์ นิยมปลกู เปน็ ไมด้ อกไมป้ ระดบั

๓๖ ชชบบาา Chinese Rose, Shoe Flower Hibiscus rosa-sinensis Linn. ชือ่ สามัญ MALIACEAE ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชุมบา บา ใหม่ ใหมแ่ ดง ชอื่ วงศ์ ชื่ออน่ื เชื่อกันว่าชบาเป็นไม้ท่ีถิ่นกาเนิดในประเทศจีน อินเดียและฮาวาย ไม่ทราบแน่ชัดว่าได้นาเข้า มาปลูกในประเทศไทยตง้ั แต่เม่อื ใด ชบา เป็นไม้ท่ีคนไทยคุ้นเคยมานาน เป็นดอกไม้ประจาจังหวัดปัตตานี ชบาปลกู ง่าย ออกดอกสวยงามตลอดทง้ั ปี มหี ลากรูปแบบ หลายสี มากมายหลายพนั ธ์ุ

๓๗ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น สูงประมาณ ๑ - ๔ เมตร ลาต้นขนาดเล็ก เปลือกสีน้าตาลเข้ม ปลายก่ิงสีเขียว หรือสีเขียว อมแดง ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้างประมาณ ๓ - ๕.๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๔ - ๙ เซนตเิ มตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจกั ดอก เป็นดอกเด่ียว ออกตามซอกใบปลายก่ิง โคนกลีบดอกติดกัน ปลายกลีบแยกเป็น ๕ กลีบ สแี ดง มีเกสรตัวผู้และตวั เมยี ยาวตรงกลางดอก ปจั จุบนั ไดม้ ีการพัฒนาพันธ์ุขึ้นอย่างกว้างขวางทาให้มีชบา ลูกผสมออกมามากมาย มีดอกหลายสี เช่น สีเหลือง ชมพู ขาว ส้ม ฯลฯ และกลีบดอกมีทั้งช้ันเดียวและ ซ้อนกันหลายช้ัน ชบาจะออกดอกตลอดทั้งปี การขยายพันธ์ุ ขยายพันธ์ุ ดว้ ยการปักชา หรอื ตอนกงิ่ ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ดอกไมป้ ระดับ

๓๘ ชา้ งน้าว Ochna integerrima (Lour.) Merr. OCHNACEAE ชื่อทางพฤกษศาสตร์ กระแจะ ช้างโนม้ ขมนิ้ พระต้น ตานเหลอื ง ตานนกกรด ช่ือวงศ์ ชื่ออน่ื ช้างน้าว เปน็ ไม้ยืนต้นขนาดเลก็ ทเ่ี กิดเองตามปาุ ธรรมชาตใิ นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวลาว และชาวกมั พูชาถอื ว่าเปน็ ไม้มงคล นิยมปลกู กนั ตามบ้าน ช้างน้าว เป็นไมท้ ีท่ นแลง้ และทนไฟปุาไดด้ ี ไม่ค่อย มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจาวันของคนท่ัวไปมากนัก จึงไม่ค่อยเป็นท่ีรู้จักของคนท่ัวไป เป็นต้นไม้และ ดอกไมป้ ระจาจงั หวัดมกุ ดาหาร

๓๙ ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น สูงประมาณ ๓ - ๘ เมตร เปลือกต้นสีขาวปนเทา ก้านอ่อนเป็นสีเขียว มีกาบหุ้มตา เป็นไม้ เนอ้ื แข็ง ใบ เป็นใบเด่ียว เรียงสลับรูปไข่ หรือรูปไข่กลับแกมใบหอก กว้างประมาณ ๒ - ๖ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๖ - ๑๕ เซนตเิ มตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ดอก เปน็ ดอกชอ่ ออกตามกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง มีกลีบเล้ียง ๕ กลีบและกลีบดอก ๕ - ๑๐ กลีบ ออกดอกประมาณ เดือนมกราคม - พฤษภาคม ผล เป็นผลสด ทรงกลม สีเขียว เม่ือสกุ เปน็ สมี ่วงเขม้ เสน้ ผา่ ศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนตเิ มตร การขยายพันธุ์ ขยายพันธ์ุ ด้วยการเพาะเมลด็ ประโยชน์ ปัจจุบนั นิยมปลกู ไว้เปน็ ไม้ประดับ ใบอ่อน รบั ประทานเปน็ ผักสด ราก ต้มนา้ ดมื่ แก้อาการผิดสาแดง แกโ้ รคเบาหวาน

๔๐ ชชา้ ้าพพลลู ู Piper sarmentosum Roxb. PIPERACEAE ชอ่ื ทางพฤกษศาสตร์ ชนดิ ต้น - ชะพลู ผกั อไี ร พลลู ิง พลนู ก ผักปนู ก นมวา ชื่อวงศ์ ชนิดเถา - ชะพลเู ถา ผักอเี ลดิ ปลู ิงนก ผักปูลงิ ชอ่ื อืน่ ช้าพลู เป็นไม้ท่ีคนไทยโบราณรู้จักกันดีและนิยมปลูกกันไว้ตามบริเวณบ้านเพื่อสะดวกต่อ การนามาใชป้ ระโยชน์ ปัจจุบนั กย็ งั เป็นทนี่ ยิ มนามาใช้ ชา้ พลูเป็นไม้เลอ้ื ยลม้ ลกุ ท่ีมีอายหุ ลายปี ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ตน้ สูงประมาณ ๒๐ - ๔๐ เซนติเมตร ลาตน้ เปน็ ขอ้ ๆ สีเขียว ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปหัวใจ กว้างประมาณ ๕ - ๖ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๗ - ๑๐ เซนตเิ มตร ดอก เป็นดอกช่อ ทรงกระบอก กลบี ดอกขนาดเลก็ มากสขี าว แยกเพศในต้นเดยี วกนั ผล เป็นผลสด การขยายพันธ์ุ ขยายพนั ธ์ุ ดว้ ยการแยกตน้ หรือ ตน้ ท่ีทอดนอนไปตามพน้ื ดนิ ท่มี รี าก ประโยชน์ นยิ มปลูกเปน็ ไม้ประดบั ทีส่ ามารถปลกู ได้ทงั้ กลางแจ้ง และใต้ร่มเงา คนไทยรจู้ กั นา ใบชา้ พลู มาเป็นอาหารมาช้านาน จนถึงปัจจุบัน ซ่ึงจะเหน็ ไดม้ ากทสี่ ุดคือการนามา เป็นผักรับประทานกับเม่ียงต่าง ๆ เช่น เม่ียงปลาทู เมี่ยงคา เป็นอาหารว่าง นอกจากนี้ยังนามาเป็นผัก ในการประกอบอาหารคาว เช่น แกงหอยขม แกงอ่อม ฯลฯ ชว่ ยใหเ้ จริญอาหาร ขบั เสมหะ ดอก รสเผด็ ร้อน ชว่ ยยอ่ ยอาหาร ขับลมในลาไส้ ต้น รสเผด็ ร้อนเป็นยาขบั เสมหะ ราก รสเผด็ ร้อนเปน็ ยาบารุงธาตุ ขบั เสมหะทางเดนิ อาหาร ขับลมในลาไส้

๔๑ ชชาามมะะเเลลียียงงบบ้าา้ นน Otophora cambodiana Pierre.,Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh. ชื่อทางพฤกษศาสตร์ SAPINDACEAE ชามะเลยี ง พมุ เรยี ง พมุ เรียงสวน ชมุ เรยี ง มะเตา้ พเู วียง ชอื่ วงศ์ ชอ่ื อ่นื ชามะเลยี งเป็นไมย้ นื ต้นขนาดกลาง ขึ้นและเจริญเติบโตตามปุาโปร่งทั่วไป แต่บางคนนิยมปลูกไว้ เพื่อรับประทานผลสุก ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น สูงประมาณ ๔ - ๕ เมตร เปลือกต้นสีน้าตาลเข้ม เนื้อไม้สีขาว เป็นไม้เน้ือแข็ง แตกกิ่งก้าน เปน็ ทรงพุ่ม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยเป็นรูปหอก ยาวเรียว กว้างประมาณ ๑ - ๒ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร มปี ระมาณ ๕ - ๗ คู่ ทโ่ี คนกา้ นในมหี ูใบ ดอก เป็นดอกช่อ ออกตามลาต้นและกิ่ง เป็นดอกแยกเพศในต้นเดียวกันกลีบดอกสีแดงอมม่วง มี ๕ กลีบ ดอกตัวผู้มีเกสร ๘ อัน แต่ดอกตัวเมียมีเกสรเพียง ๑ อัน ออกดอกระหว่าง เดือนธันวาคม - เมษายน ผล เป็นผลสด ทรงกลมหรือรูปไข่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ - ๓ เซนติเมตร แต่ละผลมี ๑ - ๒ เมลด็ การขยายพนั ธุ์ ขยายพันธุ์ ด้วยการเพาะเมล็ด ประโยชน์ เปน็ ไม้ประดบั หรือไม้ให้ร่มเงา ผลสุก มีสดี า รสหวานอมเปรยี้ ว ราก รสเบื่อเมาเยน็ แก้ไข้ แกไ้ ขส้ นั นบิ าต แก้ทอ้ งผูก แก้รอ้ นใน

๔๒ ตว้ิ ขาว Cratoxylum formosum (Jack) Dyer. GUTTIFERAE ชอื่ ทางพฤกษศาสตร์ ต้ิวส้ม มูโตะ๊ ช่อื วงศ์ ชื่ออื่น เป็นไมย้ ืนต้นผลดั ใบทพ่ี บได้ท่วั ไปตามโปรง่ ท่ัวไปของประเทศไทย เปน็ ไมท้ ่ที นแลง้ ได้ดี คนไทยรู้จัก ไม้ชนิดนี้ดี ในฐานะที่เป็นผักท่ีสามารถหาเก็บได้ตามปุาทั่วไปไม่ต้องซื้อหา แต่ปัจจุบันน้ีได้กลายเป็น พชื เศรษฐกิจไปแลว้ ผ้บู รโิ ภคสามารถหาซื้อไดต้ ามตลาดสดทว่ั ไป ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ตน้ สูงประมาณ ๑๕ - ๓๐ เมตร เปลือกต้นสีนา้ ตาล แตกลอ่ นเปน็ สะเกด็ เปลอื กมียางสเี หลอื งอ่อน เนื้อไมส้ ีขาว แก่นสนี า้ ตาล ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน กว้างประมาณ ๑.๕ - ๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๓ - ๑๐ เซนติเมตร ผวิ ใบเรยี บเป็นมนั ดอก เปน็ ดอกชอ่ ออกตามซอกใบปลายกิ่ง มีกลีบเล้ียงและกลีบดอกอย่างละ ๕ กลีบ สีขาวหรือ ชมพู เปน็ ดอกสมบูรณ์เพศ ออกดอกประมาณ เดือนมกราคม - กมุ ภาพันธ์ ผล เป็นผลแห้ง รูปกระสวยขนาดกว้างประมาณ ๐.๗ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร เปลือกแขง็ สนี ้าตาลเขม้ เมอ่ื แกจ่ ะแตกออก ๓ ช้นิ ภายในมเี มล็ดจานวนมาก การขยายพนั ธ์ุ ขยายพันธ์ุ ด้วยการเพาะเมล็ด ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับหรือไมใ้ หร้ ่มเงา เนือ้ ไม้ นามาใช้ประโยชนใ์ นงานกอ่ สรา้ งได้ดี และนามาเผาถา่ น ทใ่ี ห้ความร้อนสงู ใบอ่อน และดอกอ่อน มีรสเปรี้ยว ฝาดเล็กน้อย นิยมนามาเป็นผักเคียงรับประทานกับอาหาร ประเภทยาและลาบ เปน็ ทีน่ ิยมกันมากในภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ

๔๓ ตนี เป็ด Alstonia scholaris (L.) R. Br. APOCYNACEAE ชอ่ื ทางพฤกษศาสตร์ สตั ตบรรณ พญาสตั บรรณ ตนี เปด็ ขาว ชอ่ื วงศ์ ชอ่ื อนื่ ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ลักษณะไม้ต้น สูงได้ถงึ ๔๐ เมตร ทุกสว่ นมยี างขาว ใบ เป็นใบเด่ียวเรียงเป็นวงรอบ ๔ - ๘ ใบ รูปรี หรือรูปไข่กลับ กว้าง ๒.๕ - ๕ เซนติเมตร ยาว ๙ - ๑๘ เซนตเิ มตร ผิวใบเกล้ยี ง ดอก สีขาวแกมเขียวออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่ม กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ มีขน กลีบดอกเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบ ๕ กลีบ กลางดอกมขี นแนน่ เกสรตัวผู้ตดิ อยูต่ รงกลางหลอดกลบี ดอก ผล ออกเป็นคู่ กว้าง ๒ - ๓ มิลลิเมตร ยาว ๒๑ - ๕๖ เซนติเมตร แตกนิดเดียว ผิวเกลี้ยง เมล็ด มีขนยาว สีขาว การขยายพันธ์ุ วธิ กี ารขยายพันธท์ุ น่ี ยิ มกนั ทว่ั ไปสาหรบั ไม้ปุา คอื การขยายพันธโ์ุ ดยอาศัยเมลด็ เนอื่ งจากการผลิต กล้าไม้จานวนมาก ๆ นั้น การเพาะเมล็ดทาได้สะดวกท่ีสุด ตลอดจนการดูแลรักษากล้าไม้ก็ไม่ต้องอาศัย วธิ ีปฏบิ ตั ิท่ีย่งุ ยากมากนกั วิธีการเพาะเมล็ดจึงเป็นที่นิยมโดยท่ัวไป เพราะทาได้ง่าย ประหยัดและได้ผลดี นอกจากการผลติ กลา้ โดยการเพาะเมล็ด การผลิตกล้าไม้ตนี เป็ดยงั สามารถ ทาได้โดยการเพาะเลยี้ งเน้ือเยื่อ จากการทดลองของอาจารยป์ ราณี, ฮมั เมอรล์ งิ ค์ (หัวหน้าโครงการพัฒนาการผลิตกล้าไม้โตเร็วและปลอด โรคเพ่ือการปลกู ปาุ และการอุตสาหกรรม ภาควชิ าโรคพชื คณะเกษตร มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์) ปรากฏ วา่ ตนี เป็ดจากการเพาะเล้ียงเนอื้ เยือ่ มกี ารเจรญิ เติบโตดี ประโยชน์ เปลอื ก แก้ไข้มาเลเรีย ขบั น้านม รากเปน็ ยาขับลมในลาไส้ เมลด็ เป็นพษิ

๔๔ ต้อยตง่ิ Solannum spirale Roxb. SOLANACEAE ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ผกั ดีด ปงิ ปัง หญ้าดดี ไฟ ชื่อวงศ์ ชื่ออ่ืน เป็นไม้ลม้ ลกุ จาพวกหญ้าท่ีเกดิ เองตามธรรมชาติ ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ตน้ เป็นเหล่ยี ม เปลอื กสนี ้าตาล ปลายกง่ิ สีเขียว แบ่งเป็นขอ้ ๆ สูงประมาณ ๔๐ - ๖๐ เซนตเิ มตร ใบ เป็นใบเดย่ี ว รปู หอก กวา้ งประมาณ ๒ - ๓ เซนตเิ มตร ยาวประมาณ ๒ - ๔ เซนตเิ มตร ขอบใบเรยี บ ดอก เป็นดอกเดยี่ ว สีมว่ ง โคนกลบี ดอกเป็นทรงปากแตร ปลายกลบี แยกเปน็ ๕ กลบี ออกตามข้อ ทีป่ ลายกิ่ง ผล เป็นผลแบบแห้ง ผลสดมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้าตาลเข้มและจะแตกออกเป็น ๒ ซีก ภายใน มเี มลด็ จานวนมาก การขยายพนั ธ์ุ ขยายพนั ธ์ุ ดว้ ยการเพาะเมลด็ ประโยชน์ เมล็ด รสเยน็ แชน่ ้าใชป้ ดิ แผลเรื้อรงั กดั ฝี ถอนพิษเจบ็ ปวด

๔๕ ตอ้ ยติ่งเล็ก Ruellia tuberosa Linn. ACANTACEAE ช่ือทางพฤกษศาสตร์ อังกาบ องั กาบฝรง่ั ชื่อวงศ์ ชอื่ อ่ืน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุกประเภทหญ้า มีลักษณะภายนอกคล้ายกับต้อยติ่ง เพียงแต่ต้นสูงประมาณ ๓๐ เซนตเิ มตร และผลมสี เี ข้มกวา่ การขยายพนั ธ์ุ ขยายพนั ธ์ุ ด้วยการเพาะเมล็ด ประโยชน์ เมล็ด รสเยน็ แชน่ ้า ปดิ แผลดูดพิษ ดดู หวั ฝี ราก รสจดื ผสมยาแกพ้ ิษ ขับปสั สาวะ

๔๖ ตะขบปา่ Planchonella siamensis Fletcher.( Flacourtia indica Merr.) SAPOTACEAE (FLACOURTIACEAE) ชื่อทางพฤกษศาสตร์ มะแกว๋นนก ตานเส้ยี น หมากเบน ชื่อวงศ์ ช่อื อ่ืน ตะขบปุาเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในปุาโปร่งและปุาละเมาะโดยท่ัวไป ซ่ึงในปจั จบุ ันมีใหเ้ หน็ นอ้ ยมาก เนื่องจากการแผว้ ถางปุาเพ่ือใชป้ ระโยชนอ์ ย่างอ่นื

๔๗ ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ตน้ สงู ประมาณ ๓ - ๕ เมตร เปลือกต้นเป็นสนี ้าตาลแตกเป็นสะเก็ดบาง ๆ ตามลาตน้ และก่ิงก้าน มีหนามแหลม ยาวประมาณ ๑.๕ - ๒ เซนตเิ มตร และหนามน้ีอาจรว่ งเม่อื ลาต้นแก่ เป็นไมเ้ นอ้ื แขง็ ใบ เปน็ ใบเดีย่ ว รปู ไข่ กวา้ งประมาณ ๑.๕ เซนตเิ มตร ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร ขอบใบหยกั ฟนั เล่ือย กา้ นใบสแี ดง ผิวใบเรยี บ ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๔ - ๖ ดอก ออกตามซอกใบปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว มี ๔ - ๖ กลีบ เปน็ ดอกแยกเพศคนละตน้ ผล เป็นผลสด ทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตร ผลดิบเป็นสีเขียวอ่อน รสฝาด ผลสุกเป็นสีเหลืองอมแดง รสหวานอมฝาด ภายในมเี มลด็ จานวนมาก แตเ่ มลด็ ขนาดใหญก่ ว่าตะขบไทย การขยายพนั ธุ์ ขยายพันธุ์ ดว้ ยการเพาะเมล็ด ประโยชน์ ผลสุก เปน็ อาหารยังชีพของคน และเป็นอาหารของสัตวป์ าุ เชน่ นก เนอื้ ไม้ รสฝาดขน่ื เปน็ ยาขบั พยาธิไสเ้ ดอื น แก้ตานขโมย แก้ประดงผ่ืนคนั ตามผิวหนงั ราก รสหวานฝาดรอ้ น แก้ตานขโมย ขบั พยาธิไสเ้ ดือน เป็นยาบารุงนา้ นม ผล รสฝาด ใชเ้ ปน็ ยาสมาน

๔๘ ตะเคยี นทอง Iron wood Hopea odorata Roxb. ชอื่ สามญั DIPTEROCARPACEAE ชื่อทางพฤกษศาสตร์ แคน จะเคยี น ตะเคยี น ตะเคียนใหญ่ ชอ่ื วงศ์ ช่ืออืน่ ตะเคียนเปน็ ไม้ยนื ต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลดั ใบ เกิดเองตามธรรมชาติตามปาุ ดงดิบและปุาเบญจพรรณ ท่วั ไปของไทย และเป็นทีร่ จู้ ักของคนไทยมานาน โดยนยิ มนาเน้ือไม้มาทาเป็นสิ่งก่อสร้าง เคร่ืองเรือน หรือ เครอื่ งใชต้ า่ ง ๆ และไดม้ กี ารปลูกเปน็ ไม้ประดบั มานานแลว้ ตามที่สาธารณะ เปน็ ต้นไม้ประจาจังหวัดปตั ตานี ในอดีตคนไทยบางกลุ่มมักมีความเชื่อว่าต้นตะเคียนมักมีผีสางนางไม้สิงสถิตอยู่ เรียกว่า ผีนางตะเคียน จึงไม่ควรตัดโค่น และมีเรื่องเล่ากันมาถึงอิทธิฤทธิ์ของผีนางตะเคียนอีกมากมาย แม้กระทั่งสุนทรภู่ ยงั กล่าวถึง ในนริ าศเมอื งแกลง ตอนหน่ึงว่า “ระวงั ตวั กลวั ตอ ตะเคยี น ขวาง เป็นเยีย่ งอยา่ งผู้เฒา่ เล่าสนอง วา่ ผีสางนางตะเคยี นคะนอง ใครถกู ตอ้ งแตกตายลงหลายลา พอบอกกันยังมิทนั จะขาดปาก เห็นเรือจากแจวตรงหลงถลา กระทบผางตอนางตะเคยี นตา ก็โครงควา่ ล่มลงในคงคา”

๔๙ แมป้ จั จุบันนีย้ ังมคี วามเชอ่ื เชน่ นน้ั อยู่ รวมท้ังการขอโชคลาภเลขหวยโดยการนาแปูงหอม น้าหอม มาขัดถตู น้ ตะเคียน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ตน้ สูงประมาณ ๒๐ - ๔๐ เมตร เปลือกต้นสีน้าตาลดา มีรอยแตกเป็นร่อง ท่ีเปลือกมักมีน้ายาง ซึมออกมาและแหง้ เป็นกอ้ นใส ๆ ตดิ ตามเปลอื ก เรยี กว่า ชันตะเคียน เนื้อไม้สีน้าตาลอ่อน เป็นไม้เนื้อแข็ง เน้อื ละเอียด เรือนยอดทรงกลม ใบ เป็นใบเด่ียว เรียงสลับ รูปไข่แกมใบหอก กว้างประมาณ ๓ - ๖ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๘ - ๑๕ เซนติเมตร ดอก เป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองอมน้าตาล มีกลิ่นหอม ออกดอกประมาณ เดอื นมกราคม - มนี าคม ผล เปน็ ผลแหง้ ไม่แตก รูปทรงกลมยาวประมาณ ๑ เซนตเิ มตร มปี กี ยาว ๒ ปกี ปีกสั้น ๓ ปีก การขยายพันธุ์ ขยายพนั ธุ์ ดว้ ยการเพาะเมล็ด ประโยชน์ คนไทยท่ัวไปรู้จักและนิยมใช้ เนื้อไม้ มาทาสิ่งก่อสร้าง เคร่ืองเรือน หรือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ชนั ตะเคยี นใช้ทาชนั ยาเรือ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ทาให้ไม้ตะเคียนทองหมดไปจากปุาอย่างรวดเร็ว โดยมีการปลูก ทดแทนน้อยมาก เปลอื กและเน้อื ไม้ รสฝาด เป็นยาแกอ้ ักเสบ เปน็ ยาห้ามเลือด เปลอื ก รสฝาด เป็นยาสมานแผล แก้เหงอื กอักเสบ ฆา่ เชื้อในปาก แกน่ รสออกหวาน ใช้เป็นยารักษาคุดทะราด ขับเสมหะ โรคโลหิตและกาเดา แก้ไข้ สัมประชวร (ไขท้ เ่ี กิดจากหลายสาเหตุ มกั แสดงออกทีต่ า เช่น ตาแดง เหลอื งหรือข่นุ มัว) ยาง บดเปน็ ผงรกั ษาบาดแผล


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook