Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สีฟ้า-แผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

สีฟ้า-แผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

Published by Ratree RUANGTHAI, 2019-08-07 03:51:42

Description: สีฟ้า-แผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

Search

Read the Text Version

แผนแมบ่ ทการส่งเสริมกจิ กรรมทางกาย (พ.ศ. 2561 - 2573) คณะกรรมการพฒั นาร่างแผนแม่บทการสง่ เสรมิ กจิ กรรมทางกาย (พ.ศ. 2561 - 2573) พฤศจกิ ายน 2560 1

คานา ประชาคมโลกรับรคู้ วามหมาย “กิจกรรมทางกาย (Physical Activity)” ในความหมายการเคล่ือนไหว ร่างกายในอิริยาบถต่างๆ ในชีวิตประจาวัน ซ่ึงก่อให้เกิดการใช้และเผาผลาญพลังงานโดยกล้ามเน้ือ ไม่ว่าจะเป็นการทางาน การเดินทาง โดยการเดินหรือขี่จักรยาน และกิจกรรมนันทนาการ ได้แก่ การออกกาลังกาย การท่องเที่ยว ซึ่งควรได้รับการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีกิจกรรมทางกายในวิถีชีวิต รวมถึง “พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior)” อันหมายถึงกิจกรรมท่ีใช้พลังงานต่า เช่น การน่ังเล่น โทรศัพท์มอื ถอื การใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งประชาชนควรไดร้ บั การสง่ เสริมใหล้ ดพฤตกิ รรมเนือยนิง่ นล้ี ง การส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการลดพฤติกรรมเนือยน่ิง ให้ประโยชน์ ต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ ส่ิงแวดล้อม และสังคม ซ่ึงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรมเนือยน่ิงของประชาชน มีความเกี่ยวพันกับ “วิถีชีวิต” จาเป็นต้องมีการประสานการทางานจากหลากหลายภาคส่วนท่ีเกี่ยวข้อง อาทิ ภาคการศึกษา การทางาน การคมนาคม การบริหารจดั การเมือง การกีฬาและนันทนาการ การท่องเท่ียว และชุมชน กระทรวงสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายท่ีมีภารกิจหลักในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน จึงได้จัดทาแผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกายร่วมกัน ผ่านคณะกรรมการพัฒนาร่างแผนแม่บท การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยคานึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคีที่เกี่ยวข้อง ผ่านการจัดประชุมกลุ่มย่อย และประชาพิจารณท์ ว่ั ประเทศ เพอ่ื นาข้อคดิ เหน็ และข้อเสนอแนะมาประกอบการจัดทาแผนฉบบั น้ี คณะกรรมการพัฒนาร่างแผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (พ.ศ. 2561 - 2573) หวังเป็น อย่างยิง่ ว่า เม่ือแผนฉบบั นผ้ี ่านความเหน็ ชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว หน่วยงานตา่ งๆจะได้ใช้เป็นกรอบแนวทาง ในการจดั ทาแผนปฏิบัติการประจาปี เพ่ือช่วยผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผนสู่การปฏิบัติอย่างเป็น รปู ธรรม โดยมุ่งหวังให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจาวัน อันจะนาไปสู่การลดความเหล่ือมล้าของ สงั คม และพัฒนาคุณภาพชวี ติ ของประชาชนในประเทศต่อไป 2

สารบญั หน้า สรุปสาระสาคัญ ..............................................................................................................................................6 บทท่ี 1 บทนา ............................................................................................................................................. 25 1.1 “กิจกรรมทางกาย (Physical Activity)” นิยามท่กี ว้างกว่า “ออกกาลงั กาย (Exercise)” ............... 25 1.2 กิจกรรมทางกายเป็นการลงทุนอนั ทรงพลงั ด้านสขุ ภาพ การศึกษา เศรษฐกิจ ส่ิงแวดลอ้ ม และสงั คม ................................................................................................................................................................ 27 1.3 ความจาเปน็ ในการมแี ผนแม่บทส่งเสริมกจิ กรรมทางกาย ................................................................. 32 บทท่ี 2 สถานการณ์ แนวโนม้ และทศิ ทางการสง่ เสริมกิจกรรมทางกาย ...................................................... 37 2.1 สถานการณ์ แนวโนม้ และทศิ ทางการสง่ เสริมกจิ กรรมทางกาย ในระดับโลก ................................... 37 2.2 สถานการณ์ แนวโนม้ และทิศทางการส่งเสริมกจิ กรรมทางกาย ในประเทศไทย............................... 44 2.3 การวเิ คราะห์จุดแขง็ จดุ ออ่ น โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis และ TOWS Matrix)............ 60 บทที่ 3 วสิ ัยทัศนแ์ ละเป้าหมายการส่งเสรมิ กจิ กรรมทางกาย....................................................................... 70 3.1 วิสยั ทัศน์การส่งเสรมิ กจิ กรรมทางกาย.............................................................................................. 70 3.2 เป้าประสงค์ ..................................................................................................................................... 71 3.3 ตวั ชว้ี ัด ............................................................................................................................................. 71 3.4 ยทุ ธศาสตรก์ ารพฒั นา...................................................................................................................... 71 บทที่ 4 ยุทธศาสตร์แผนแม่บทการสง่ เสริมกจิ กรรมทางกาย........................................................................ 74 ยุทธศาสตร์ท่ี 1 การสง่ เสริมกิจกรรมทางกายประชาชนทกุ กล่มุ วยั .......................................................... 74 ยุทธศาสตร์ 2 การส่งเสริมสภาพแวดลอ้ มใหเ้ อ้ือต่อการมีกจิ กรรมทางกาย .............................................. 79 ยทุ ธศาสตร์ 3 พัฒนาระบบสนับสนุนการส่งเสริมกจิ กรรมทางกาย .......................................................... 81 บทที่ 5 การแปลงแผนไปสกู่ ารปฏิบัติ การตดิ ตามและประเมนิ ผล............................................................... 88 5.1 การแปลงแผนไปสูก่ ารปฏบิ ัติ ........................................................................................................... 88 5.2 การตดิ ตามประเมินผล ..................................................................................................................... 95 ภาคผนวก ................................................................................................................................................. 100 ภาคผนวก 1: แนวทางการประเมนิ การดาเนินงานตามตวั ช้ีวัด................................................................. 97 ภาคผนวก 2: กลยทุ ธ์แยกตามระยะเวลา ............................................................................................. 103 3

สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 ประโยชนข์ องการจัดทาแผนแม่บท.....................................………………………………….….........…..35 ตารางที่ 2 สรุปจดุ แขง็ จดุ อ่อน โอกาส อุปสรรค ของการส่งเสริมกจิ กรรมทางกาย……………………………….67 ตารางท่ี 3 TOWS Matrix ของการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย……………………………………………………………...68 4

สารบญั รปู ภาพ หน้า ภาพท่ี 1 กิจกรรมทางกาย.............................................................................................................................25 ภาพท่ี 2 ผลตอ่ สุขภาพจากการขาดกจิ กรรมทางกาย……..............................................................................27 ภาพที่ 3 การขี่จักรยานเที่ยวสวนผลไม้……………………………………………………………………………………………..29 ภาพที่ 4 รัฐบาลผุดไอเดีย แบง่ วนั วง่ิ รถ……………………………………………………………………………………………..30 ภาพที่ 5 การขนสง่ มวลชนระบบราง ในกรงุ เทพมหานคร………………………………………………………….………..31 ภาพที่ 6 สวนลมุ พนิ ี...............................................................……………………………………………………………….31 ภาพที่ 7 ชมรมผู้สูงอายุ …………………………………...…………………………………………………………………………….31 ภาพที่ 8 กระบวนการร่างแผนแมบ่ ทการสง่ เสริมกิจกรรมทางกาย (พ.ศ. 2560 – 2569)…………………....36 ภาพที่ 9 ระดับกจิ กรรมทางกายในประชากรไทย..........................................................................................44 ภาพท่ี 10 ระดบั พฤตกิ รรมเนอื ยน่ิงในประชากรไทย.....................................................................................45 ภาพที่ 11 หน่วยงาน และนโยบาย ทเ่ี กี่ยวข้องกบั การส่งเสรมิ กิจกรรมทางกาย...........................................46 ภาพท่ี 12 กจิ กรรมทางกายในสถานศกึ ษาของวยั เดก็ ……………………………………………………………...............51 ภาพที่ 13 ลุกขยบั ในสถานประกอบการ ………………………..…………………………………………………………………53 ภาพที่ 14 การประชมุ กระฉับกระเฉง……………….........………………………………………………………………………..53 ภาพท่ี 15 กิจกรรมทางกายระหวา่ งการทางาน………………………………………………..…………………………………54 ภาพที่ 16 สภาพแวดล้อมท่ีเอ้อื ต่อการกิจกรรมทางกายในชุมชน………………………………………………………….56 ภาพที่ 17 แพทย์และบุคลากรสาธารณสขุ นาออกกาลงั กาย…………………………………..……….......................57 ภาพที่ 18 โมเดลแผนแม่บทการส่งเสรมิ กิจกรรมทางกาย............................................................................ 70 ภาพท่ี 19 แผนทีท่ างเดินยุทธศาสตร์แผนแมบ่ ทการส่งเสริมกจิ กรรมทางกาย..............................................73 ภาพที่ 20 แนวคดิ การถา่ ยทอดแผนสู่การปฏบิ ัติ และประเมนิ ผลในแต่ละระดับ..........................................92 ภาพท่ี 21 แนวคิดการตดิ ตามประเมินผลการขับเคลื่อนแผน…………………..........…………………………………...95 5

สรุปสาระสาคญั แผนแมบ่ ทการสง่ เสรมิ กจิ กรรมทางกาย (พ.ศ. 2561 - 2573) บทที่ 1: บทนา 1.1 “กิจกรรมทางกาย (Physical Activity)” นยิ ามทกี่ ว้างกวา่ “ออกกาลังกาย (Exercise)” สังคมไทย มีความคุ้นเคยกับคาว่า “ออกกาลังกาย” มายาวนาน โดยนิยามของ การออกกาลังกาย (Exercise) คือ การกระทาใดๆ ท่ีทาให้มีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย แบบซ้าๆ มีการวางแผน เป็นแบบแผน และมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ เพื่อความสนุกสนาน เพื่อสังคม โดยใช้กิจกรรมง่ายๆ หรือกติกาการแข่งขันง่ายๆ เช่น เดิน วิ่ง กระโดดเชือก การบริหารร่างกาย การยกน้าหนัก การเล่นกีฬา เป็นต้น ซึ่งเน้นท่ีกิจกรรมในประเภทนันทนาการยามว่างเป็นหลัก ในขณะท่ีประชาคมโลก รวมถึงสังคมไทย สมัยใหม่ รับรู้ความหมาย “กิจกรรมทางกาย (Physical Activity)” ที่กว้างขวางกว่าการออกกาลังกาย กล่าวคือ กิจกรรมทางกาย หมายถึง การขยับเคลื่อนไหวร่างกายท้ังหมดในชีวิตประจาวัน ในอิริยาบถต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดการใช้ และเผาผลาญพลังงานโดยกล้ามเนื้อ อันครอบคลุมการเคล่ือนไหวร่างกายท้ังหมดใน ชีวิตประจาวัน ไม่ว่า จะเป็นการทางาน การเดินทาง และกิจกรรมนันทนาการ โดยกิจกรรมทางกาย แบ่งได้ เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเบา ปานกลาง และหนัก โดยกิจกรรมทางกายระดับเบา อาทิ การยืน การเดินระยะทางส้ันๆ การทางานบ้าน กิจกรรมทางกายระดับปานกลาง คือ กิจกรรมที่ทาให้รู้สึกเหน่ือยปาน กลาง โดยที่ระหว่างที่ทากิจกรรม ยงั สามารถพูดเป็นประโยคได้ เชน่ การเดินเร็ว การป่นั จักรยาน เป็นต้น และ กจิ กรรมทางกายระดับหนัก หมายถึง การเคล่ือนไหวร่างกายที่ทาให้รสู้ ึกเหนอื่ ยมาก โดยท่ีระหว่างทากจิ กรรม ไม่สามารถพูดเป็นประโยคได้ อาทิ การว่ิง การว่ายนา้ เร็ว การเล่นกฬี า นอกจากกิจกรรมทั้งสามประเภทแล้ว ยังมีกิจกรรมท่ีใช้พลังงานต่า ที่เรียกว่า “พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behaviour)” เช่น การนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ การใช้คอมพิวเตอร์ การน่ังคุยกับเพื่อน การน่ัง หรือนอนดูโทรทัศน์ ท่ีไม่รวมการนอนหลับ ซ่ึงประชาชนมีแนวโน้มที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากข้ึน โดยควร ลดพฤติกรรมเนือยน่ิง ด้วยการลุกขึ้นเดินไปมาหรือยดื เหยยี ดร่างกาย ทุก 1 ช่ัวโมง และในเด็กปฐมวัย วัยเด็ก และวัยรุน่ ควรจากดั การใชค้ อมพิวเตอร์ น่ังดทู วี ี หรือเล่นโทรศพั ท์มอื ถือ ในแต่ละวนั ประชาชนแต่ละวัย มีข้อแนะนาการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ เด็กปฐมวัย (0 - 5 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายที่หลากหลาย อย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน เด็กและวัยรุ่น (6 - 17 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ผู้ใหญ่ (18 - 59 ปี) ควรมีกิจกรรม ทางกายระดบั ปานกลาง อย่างนอ้ ย 150 นาทตี ่อสัปดาห์ หรอื กจิ กรรมทางกายระดับหนัก อยา่ งนอ้ ย 75 นาที ต่อสัปดาห์ และกิจกรรมพัฒนาความแข็งแรงและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ผู้สูงวัย (60 ปีข้ึนไป) ควรมีกิจกรรมทางกายเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่เพ่ิมกิจกรรมพัฒนาสมดุลร่างกาย และปอ้ งกันการหกลม้ อยา่ งนอ้ ย 3 วันตอ่ สปั ดาห์ 6

ทั้งนี้ พึงระลึกว่า การมีกิจกรรมทางกาย ไม่ว่าจะมีระยะเวลา รูปแบบ หรือความหนักเบาเท่าไร ย่อมดีกว่าการไม่มกี จิ กรรมทางกายหรือมแี ตพ่ ฤติกรรมเนือยน่ิง 1.2 กจิ กรรมทางกายเป็นการลงทนุ อนั ทรงพลงั ด้านสขุ ภาพ การศึกษา เศรษฐกจิ สง่ิ แวดล้อม และสังคม การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ให้ประโยชน์ท้ังทางตรงและทางอ้อม ต่อสุขภาพของประชาชน รวมถึง การศึกษา เศรษฐกิจ ส่งิ แวดลอ้ ม และสงั คม การมีกิจกรรมทางกาย นาไปส่กู ารเติบโตและพัฒนาการทางสงั คม ที่ดีของเด็ก รวมถึงการเรียนรู้และสมาธิ อีกทั้งช่วยลดความเส่ียงจากโรคเรื้อรังและช่วยพัฒนาสุขภาพจิต ของผู้ใหญ่ และช่วยให้นอนหลับได้ดีข้ึน การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุสาคัญของการเสียชีวิต จากกลมุ่ โรคไม่ตดิ ตอ่ เรอ้ื รัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) ได้แก่ เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด และกลุ่มโรคมะเร็ง โดยพบว่าการขาดกิจกรรมทางกายส่งผลใหเ้ กิดการเสียชีวิต 3.2 ลา้ นคนต่อปี ของท้ังโลก โดยคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเร้ือรัง ถึงร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมด โดยการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 11,129 ราย และก่อภาระค่าใช้จ่าย ทางสุขภาพ การมีกิจกรรมทางกาย ยังส่งผลดีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กวัยเรียน วัยรุ่น และผู้ใหญ่ ตอนต้น โดยส่งผลต่อการเรียนรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม การเรียนรู้ในคาบเรียน ในด้านสมาธิ ความสนใจ การทางานท่ีได้รับมอบหมาย ผลการสอบมาตรฐาน และคะแนนเฉล่ียสะสม ในด้านเศรษฐกิจ การส่งเสริม กิจกรรมทางกายในรูปแบบการท่องเท่ียวหรือการออกกาลังกาย ส่งผลดีในการกระตุ้นการท่องเท่ียว และอุตสาหกรรมการกีฬา ด้านส่ิงแวดล้อม การส่งเสริมวิธีการเดินทางที่ต้องออกแรง ได้แก่ การเดิน การป่ัน จกั รยาน การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล การสร้างพื้นทส่ี าธารณะและพ้ืนที่ สีเขียว เป็นการลดมลพิษทางอากาศ ประหยัดพลังงาน ลดเวลาการเดินทาง สร้างความเท่าเทียมด้านขนส่ง มวลชน และพฒั นาความเป็นอยู่และจติ ใจของประชาชน ด้านสงั คม กิจกรรมทางกายนาไปสู่การสรา้ งสงั คมทด่ี ี ผา่ นการเชอ่ื มรอ้ ยบคุ คล ในสงั คม ใหม้ ปี ฏิสมั พนั ธ์กนั อย่างสม่าเสมอและย่ังยนื 1.3 ความจาเป็นในการมีแผนแม่บทการสง่ เสรมิ กจิ กรรมทางกาย ในระดับโลก ประเทศไทยได้มีบทบาทเก่ียวข้องในฐานะประเทศสมาชิก โดยได้รับรองมติ และพันธะสัญญาต่างๆ จากสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก ในยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ ที่เก่ียวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อาทิ การรับรองมติแผนยุทธศาสตร์โลกด้านการส่งเสริม กิจกรรมทางกาย (Global Strategy on Physical Activity) ขององค์การอนามัยโลก ในการประชุมสมัชชา อนามัยโลก ครั้งท่ี 57 (The 57th World Health Assembly) ปี พ.ศ.2547 การรับรองมติการส่งเสริม กิจกรรมทางกาย และผลักดันวาระการส่งเสริมกิจกรรรมทางกายเข้าสู่การประชุมสมัชชาอนามัยโลก ในการประชุมคู่ขนานสมัชชาอนามัยโลก คร้ังท่ี 69 การรับรองมติการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในภูมิภาค เอเชียใต้และตะวันออก ในการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียใต้และ ตะวันออก คร้ังท่ี 69 การเป็นเจ้าภาพการประชุมนานาชาติว่าด้วยกิจกรรมทางกายและสุขภาพ ครั้งท่ี 6 7

(International Congress on Physical Activity and Health 2016: ISPAH 2016) และการรับรอง ปฏญิ ญากรงุ เทพฯ วา่ ดว้ ยกิจกรรมทางกายเพอ่ื สุขภาวะโลกและการพฒั นาท่ยี ัง่ ยนื ในปี พ.ศ.2559 ท่ปี ระเทศ ไทย การผลักดัน มติการพัฒนาแผนปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับโลก (Global Action Plan on Physical Activity) ในการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การอนามัยโลก ครั้งท่ี 140 ปี พ.ศ. 2560 การรับรองมติแผนปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังระดับโลก (ค.ศ.2013 -2020) (Global Action Plan on Prevention and Control of Noncommunicable Disease) และการรบั รองมติเป้าหมาย การพฒั นาทีย่ งั่ ยืน ปี ค.ศ.2030 (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ประเทศไทย แม้จะมีการดาเนนิ การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการออกกาลังกาย โดยมกี ารจดั สรร งบประมาณ ผ่านหน่วยงานหลักต่างๆ แต่โครงการต่างๆ มีลักษณะเป็นไปตามพันธกิจของแต่ละหน่วยงาน ขาดการบูรณาการร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคุณภาพชีวิตประชากร และเน้นเฉพาะการกีฬ า และการออกกาลังกาย หรือนันทนาการ เป็นหลัก แต่ยังไม่มีแผนยุทธศาสตร์ท่ีมุ่งส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในระดับชาติอย่างครอบคลุมตามความหมายกิจกรรมทางกายในชีวิตประจาวันของประชาคมโลก และตามพันธะสัญญาท่ปี ระเทศไทยมีกับองค์กรระดับสากล ทงั้ น้ีการส่งเสริมให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรมเนือยน่ิง อันเกี่ยวพันกับ “วิถีชีวิต” ของผู้คนในแต่ละช่วงวัยและช่วงเวลาของวัน จาเป็นต้องมีการประสานเชื่อมโยงหลากหลายภาคส่วน ที่เก่ียวข้อง อาทิ ภาคการศึกษา การทางาน การคมนาคมขนส่ง การบริหารจัดการเมือง ภาคการกีฬา และนันทนาการ การท่องเท่ียว และชุมชน ภาคส่วนเหล่านี้ ต่างมีอิทธิพลให้เกิดการส่งเสริม การมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจาวัน กระทรวงสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายท่ีมีภารกิจหลักในการส่งเสริม สุขภาพของประชาชน จึงได้ร่วมกันจัดทาแผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อนาเสนอคณะรัฐมนตรี เพ่ือพิจารณาให้ความเห็นชอบ ให้หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องท้ังภาครัฐ เอกชน และประชาชน ใช้เป็นกรอบ แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศ อันจะนาไปสู่การลดความเหลื่อมล้าของสังคม และพัฒนา สุขภาพและคุณภาพชีวติ ของประชาชนในประเทศ การจัดทาแผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกายฉบับนี้ ได้คานึงถึงการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมและบริบทต่างๆ ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ การประเมินผลการส่งเสริม กิจกรรม ทางกายที่ผ่านมา การมสี ่วนร่วมของทกุ ภาคีท่ีเก่ียวข้องกับการส่งเสรมิ กิจกรรมทางกายของประเทศ ผ่านการจัดประชุมกลุ่มย่อย และการจัดทาประชาพิจารณ์ท่ัวประเทศ เพื่อระดมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หน่วยงานปกครองส่วนท้องถน่ิ และประชาชนทุกภาคส่วน รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ เพ่ือนาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาประกอบการจัดทาแผนฯ โดยมุ่งหวังว่า ภายในปี พ.ศ.2569 ประชาชนทุกกลุ่มวัย จะมีกิจกรรมทางกายท่ีเพียงพอและลดพฤติกรรม เนือยนิ่งในชวี ิตประจาวนั ผ่านสภาพแวดล้อมท่ีเอ้ือ อย่างครอบคลุม ทั่วถึง เป็นรูปธรรม และยง่ั ยืน สอดคล้อง กับนโยบายรัฐบาลในการสร้าง “ความม่ันคง ม่ังคั่ง ย่ังยืน” และพัฒนาประเทศไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” ผ่านการสง่ เสรมิ กิจกรรมทางกาย และพนั ธะสัญญาในระดบั โลกท่ีประเทศไทยไดร้ ับรองต่อไป 8

บทท่ี 2: สถานการณ์ แนวโน้ม และทศิ ทางการส่งเสรมิ กิจกรรมทางกาย 2.1 สถานการณ์ แนวโน้ม และทิศทาง การสง่ เสริมกจิ กรรมทางกาย ระดับโลก องค์กรระดับโลก และหลายประเทศ ที่มีความก้าวหน้าด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย มีการ ดาเนินงานเพอ่ื ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในหลากหลายมติ ิ โดยเฉพาะการจดั ทาแผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรม ทางกาย โดยให้ความสาคัญในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การศึกษาตัวอย่างใน การทาแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรและประเทศเหล่านี้ สามารถใช้เป็นแนวทางการจัดทาแผนแม่บท การส่งเสริมกจิ กรรมทางกายของประเทศไทย ผลการทบทวนแผนยุทธศาสตร์การสง่ เสริมกจิ กรรมทางกาย ขององค์กรระดับโลก 3 หนว่ ยงาน ไดแ้ ก่ แผนยทุ ธศาสตร์กิจกรรมทางกายโลก ปี ค.ศ.2004 และแผนปฏิบัตกิ ารปอ้ งกันและควบคมุ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ระดบั โลก จากองค์การอนามยั โลก แนวทาง 7 ประการเพอ่ื การลงทุนท่ีคุ้มค่าด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จากองค์กรขับเคลื่อนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับโลก (Global Advocy for Physical Activity) และ กฎบัตรโตรอนโต (Toronto Charter) จากองคก์ รส่งเสรมิ กิจกรรมทางกายนานาชาติ (International Society for Physical Activity and Health) ในการประชุมนานาชาติด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพ่ือสุขภาพ และแผนยุทธศาสตร์จาก 15 ประเทศ (สหรัฐอเมริกา แคนาดา คอสตาริกา ชิลี เม็กซิโก อาร์เจนตินา เวเนซูเอล่า นอร์เวย์ สเปน ไอร์แลนด์ สก็อตแลนด์ มาเลเซีย สิงคโปร์ มัลดีฟส์ และออสเตรเลีย) จาก 4 ภูมิภาค ท่ัวโลก (อเมริกา ยุโรป เอเชีย และออสเตรเลีย) ซึ่งมีท้ังประเทศพัฒนาแล้วและกาลังพัฒนา พบว่า แผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จะมีท้ังแผนเฉพาะเร่ืองกิจกรรมทางกายโดยตรง แผนภาพรวมเร่อื งสุขภาพ และแผนชาตทิ ่ีรวมทกุ ประเดน็ การศึกษาทบทวนแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายขององค์กรและประเทศต้นแบบดังกล่าว สามารถสรุปประเด็นแนวคิดและยุทธศาสตร์ ได้ 3 ประการ ดงั น้ี 1) ประเด็นการส่งเสรมิ กจิ กรรมทางกายในบคุ คลกลุ่มวัยต่างๆ เชน่ เด็กเล็ก เด็ก วัยรนุ่ ผู้ใหญ่ ผู้สูงวัย เป็นต้น 2) ประเด็นการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานที่หรือระบบต่างๆ เช่น ระบบการศึกษา การทางาน ชุมชน ผังเมือง คมนาคม การกีฬา และนันทนาการ สวนสาธารณะ สถานบริการสาธารณสุข หรือระบบสขุ ภาพ เปน็ ตน้ 3) ประเด็นการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการพัฒนาระบบสนับสนุน เช่น การวิจัย การสื่อสาร การพฒั นาศักยภาพบุคลากร นโยบาย การลงทุน ฐานข้อมูล การประเมนิ และติดตามผล การบริหารเครือข่าย และสร้างภาคี เปน็ ต้น 9

2.2 สถานการณ์ แนวโนม้ และทิศทาง การส่งเสริมกจิ กรรมทางกาย ในประเทศไทย ระดับกิจกรรมทางกายในประชากรไทย ได้รับการสารวจจากหลายหน่วยงาน อาทิ สานักงาน สารวจสุขภาพประชาชนไทยด้วยการตรวจร่างกาย กรมอนามัย กรมควบคุมโรค สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวทิ ยาลัยมหิดล สานักงานสถิติแหง่ ชาติ พบวา่ ในชว่ ง 10 ปี ท่ีผ่านมา ประชาชนไทยประมาณ 1 ใน 3 มกี ิจกรรมทางกายไมเ่ พยี งพอ โดยข้อมูลของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ที่สารวจระดับกิจกรรมทางกาย และพฤติกรรมเนือยน่ิง โดยเฉพาะ ติดต่อกันทุกปี ใน 5 ปีท่ีผา่ นมา เม่อื พิจารณาตามกลุ่มวัย พบว่า วัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 71 มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ในขณะท่ีวัยสูงอายุ เพียงร้อยละ 70 มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (เกณฑ์กิจกรรมทางกายทเี่ พยี งพอของผู้ใหญ่และผูส้ ูงอายุ อย่างนอ้ ย 150 นาทีต่อสัปดาห์) สาหรบั วัยเดก็ และ วัยรุ่น มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ร้อยละ 27 เท่าน้ัน (เกณฑ์กิจกรรมทางกายที่เพียงพอของเด็ก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวนั ) สาหรับเด็กปฐมวัย (0 - 5 ป)ี ยงั ไม่มีข้อมูลสถานการณ์กิจกรรมทางกาย เน่ืองจากการสารวจ ยังไม่ครอบคลุม แต่จากรายงานพัฒนาการของกล้ามเน้ือมัดหลัก (Gross Motor) ของกระทรวงสาธารณสุข (DSPM) พบว่า เด็กปฐมวัย ร้อยละ 5.8 มีปัญหาพัฒนาการของกล้ามเน้ือมัดหลัก ส่วนระยะเวลาการ มีพฤติกรรมเนือยน่ิงในแต่ละวันของคนไทย ที่ไม่รวมเวลานอนหลับ นั้นสูงถึงเกือบ 14 ช่ัวโมงต่อวัน และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากข้ึน ดังน้ัน จึงมีความจาเป็นที่จะต้องมีดาเนินการเพ่ือส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และ ลดพฤตกิ รรมเนือยน่งิ อย่างเปน็ ระบบ และมีสว่ นร่วมจากทุกภาคสว่ นที่เกี่ยวขอ้ ง ประเทศไทยมีนโยบายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายหลากหลาย อาทิ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ประเทศไทย 4.0 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวและกีฬา แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2561 – 2564) พระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา ยุทธศาสตร์การผังเมือง โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง พระราชบัญญัติกาหนดแผนและข้ันตอนการกระจาย อานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แผนพัฒนาการศึกษาของสานักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2561 - 2564) ยทุ ธศาสตร์การพฒั นาแรงงาน ยุทธศาสตร์การพฒั นาโครงสรา้ ง พ้ืนฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย (พ.ศ. 2558 - 2565) แผนงานการพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะ เพ่ือแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน แห่งชาติ พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546 และการดาเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงสาธารณสุข สานักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สถาบันการพลศึกษา กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมนั่ คงของมนษุ ย์ ศนู ยว์ ิจยั กิจกรรมทางกาย มหาวิทยาลยั 10

โดยเมื่อพิจารณาการดาเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของหน่วยงานในประเทศไทยข้างต้น สามารถสรปุ การดาเนนิ การทส่ี าคัญ ตามกรอบแนวคิด กลมุ่ วัย สถานท่ี และระบบสนับสนุน 5 ประเด็น ดงั นี้ 1) การสง่ เสรมิ กจิ กรรมทางกายสาหรับเดก็ ปฐมวัย วัยเรยี นและวยั รุน่ ในสถานศกึ ษา 2) การสง่ เสริมกิจกรรมทางกายสาหรบั วัยทางาน ในสถานประกอบการ 3) การส่งเสริมกิจกรรมทางกายสาหรับทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัย ในชุมชน กีฬามวลชน การคมนาคมและการผงั เมอื ง 4) การสง่ เสรมิ กิจกรรมทางกายในระบบบรกิ ารสาธารณสุข 5) การพฒั นาระบบการส่งเสริมกจิ กรรมทางกาย 1. การส่งเสรมิ การมกี ิจกรรมทางกายสาหรบั เดก็ ปฐมวยั วัยเรยี นและวยั รนุ่ ในสถานศกึ ษา การดาเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานศึกษา เน้นผ่านรูปแบบการเรียนวิชาพลศึกษา ซง่ึ อาจไมเ่ พยี งพอ เน่ืองจากยงั มีนักเรยี นประมาณรอ้ ยละ 73 ท่ีมกี ิจกรรมทางกายไมเ่ พยี งพอ การจัดการเรียน การสอนท่ีเน้นให้นักเรียนนั่งเรียนในห้องเรียนตลอดท้ังวัน และการไปเรียนพิเศษ หลังเลิกเรียนต่อ ล้วนเป็น การทาให้พฤติกรรมเนือยนิ่งของเด็กมีมากขึ้น ท่ีผ่านมา มีการดาเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานศึกษา หลายแห่ง เช่น ศูนย์เด็กเตาะแตะ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แต่ไม่ได้กาหนดระยะเวลาการมีกิจกรรมที่ชัดเจน และ โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เพ่ือพัฒนาเด็กและเยาวชนทางด้านสุขภาพ โดยมีเกณฑ์มาตรฐาน 10 องค์ประกอบ อันมีเร่ืองการออกกาลังกาย กีฬาและนันทนาการ เป็นหน่ึงในเกณฑ์ (แต่ไม่บังคับ) พบวา่ สถานศึกษาสามารถสง่ เสริมกิจกรรมทางกายและลดพฤตกิ รรมเนือยนิ่งได้นอกเหนือจากชั่วโมง พลศึกษา อาทิ การเรียนนอกห้องเรียน การเรียนเกษตรกรรม การเดินเปลี่ยนอาคารเรียน เดินข้ึนบนั ไดแทนการใช้ลิฟต์ การออกกาลังกายหน้าเสาธงตอนเช้า การทาความสะอาดห้องเรียน การเดินหรือขี่จักรยาน ไปโรงเรียน การเล่นกีฬาหรือออกกาลังกายนอกเวลาเรียน นอกจากน้ีโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ควรกาหนดให้ เกณฑ์การออกกาลังกาย เป็นเกณฑ์ท่ีแต่ละโรงเรียนควรทา และมีรูปแบบท่ีครอบคลุมและสอดคล้องกับ ชีวิตประจาวันของเด็ก และควรมีระบบการตดิ ตามและประเมินผลการมีกิจกรรมทางกายในโรงเรียน การวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้การสง่ เสริมกจิ กรรมทางกายในกลมุ่ วัยน้ี และในสถานศึกษา 2. การสง่ เสริมการมีกจิ กรรมทางกายสาหรับวัยทางาน ในสถานประกอบการ มีการดาเนินการเพ่ือกระตุ้นให้วัยทางานได้มีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทางานผ่านโครงการ สถานที่ทางานมีความสุข (Happy Workplace) สถานท่ีทางานน่าอยู่ น่าทางาน (Healthy Workplace) สถานท่ีทางานส่งเสริมสุขภาพ (CSR in Health) สถานที่ทางานปลอดโรค ปลอดภัย กายใจ เป็นสุข และการเตรียมพร้อมก่อนเกษียณ เป็นต้น ซึ่งได้ดาเนินการโดยอาศัยความสมัครใจของสถานประกอบการ เป็นสาคัญ และเน้นการส่งเสริมสุขภาพในภาพรวม โดยผลการดาเนนิ การที่ผ่านมา สถานประกอบการเข้าร่วม โครงการองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) จานวน 8,000 องค์กร และเข้าร่วมโครงการสถานที่ ทางานน่าอยู่ น่าทางาน (Healthy Workplace) 3,000 องค์กร เป็นต้น โดยพบว่า การดาเนินการส่งเสริม 11

สุขภาพในสถานประกอบการดังกล่าว ควรได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเน่ืองและขยายผลต่อไป และให้ มาตรการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เป็นมาตรการสาคัญท่ีควรต้องทาในโครงการส่งเสริมสุขภาพ ในสถานประกอบการ ผ่านการปรับสภาพแวดล้อมสถานประกอบการให้เอื้อต่อการขยับมากข้ึน เช่น การออกแบบทางเดนิ ระหว่างอาคารท่ีมีความร่มรน่ื สวยงาม น่าเดนิ ออกแบบการทางานให้มีการเดินระหว่าง อาคารในระหว่างวัน การมีป้ายชวนให้ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟท์ การจัดที่จอดรถให้ไกลจากอาคารมากข้ึน การจัดเวลาพักให้ขยับร่างกาย การลุกยืนทางาน การลุกยืนประชุม การสนับสนุนสถานที่ อุปกรณ์ และ กิจกรรมการออกกาลังกายในสถานที่ทางาน รวมถึงพัฒนามาตรการต่างๆ เพ่ิมเติม เช่น มาตรการลดหย่อน ทางภาษี สาหรับสถานประกอบการที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้พนักงาน และระบบการติดตามและ ประเมินผลการมีกิจกรรมทางกายในสถานประกอบการ การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้การส่งเสริม กิจกรรมทางกายในกลุ่มนี้ ซ่งึ มีความหลากหลายของอาชีพ อันควรตอ้ งไดร้ บั การพฒั นาตอ่ ไป 3. การส่งเสรมิ การมีกจิ กรรมทางกายสาหรับประชาชนทุกกลมุ่ วยั โดยเฉพาะผู้สูงวัย ในชมุ ชน กีฬามวลชน การคมนาคมและการผงั เมือง การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชุมชน ได้รับการดาเนินการโดยหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นท่ีมีการจัดหาสถานท่ีออกกาลังกายหลากหลายให้ประชาชนมีทางเลือกในการใช้เวลาว่าง ผ่านการออกกาลังกายด้วยตนเองหรือชมรม การสนับสนุนงบประมาณผ่านโครงการต่างๆ เช่น การพัฒนา สวนสาธารณะและสถานที่ออกกาลังกายในชุมชน การมีกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน เพ่ือสุขภาพ การดาเนินการผลักดันเรื่องการเดินและปั่นจักรยานในชีวิตประจาวัน การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ให้มีความหลากหลาย ครอบคลุม มีคุณภาพ และเป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม ซึ่งควรได้รับการสนับสนุนอย่าง ต่อเน่ือง และจาเป็นต้องมีการพัฒนามาตรการต่างๆ เพ่ิมเติม เช่น การพัฒนาสถานที่ออกกาลังกายให้เข้าถึง ได้ง่าย มีบรรยากาศจูงใจให้ประชาชนมาใช้บริการ การปรับระเบียบการดาเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริม กิจกรรมทางกาย การออกกาลังกาย การกีฬามวลชน หรือการใช้งบประมาณสาหรับให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น นาไปปรับใช้ได้สะดวก ไม่มีอุปสรรค การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินให้มีการบริหารจัดการ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ดี การพัฒนามาตรการทางภาษีสาหรับอุปกรณ์ออกกาลังกายและจักรยาน การส่งเสริมการขนส่งมวลชน การจากัดการใช้ยานพานะท่ีใช้เช้ือเพลิง การผังเมือง การพัฒนาสถานท่ี ท่องเท่ียว พักผ่อนหย่อนใจ ให้ประชาชนได้ออกจากบ้านมามีกิจกรรมร่วมกันในชุมชน และการพัฒนาระบบ สนบั สนุนต่างๆ เช่น การวจิ ยั ความคุ้มคา่ ในการลงทุน การติดตามและประเมินผล เป็นตน้ 4. การสง่ เสรมิ กิจกรรมทางกายสาหรบั ประชาชนทกุ กล่มุ วยั ในระบบบริการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสขุ ได้ดาเนินคลินิกไร้พุง (Diet and Physical Activity Clinic: DPAC) และคลินิก โรคไม่ติดต่อเร้ือรังในสถานพยาบาลรัฐท่ัวประเทศ เพ่ือการปรับเปล่ียนพฤติกรรมผู้ที่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง หรือผู้ที่เป็นโรคอ้วน ด้วยหลักการ 3 อ. ได้แก่ อาหาร ออกกาลังกาย และอารมณ์ โดยมีการดาเนินการ ในระดบั โรงพยาบาลศนู ย์ โรงพยาบาลท่ัวไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสรมิ สขุ ภาพตาบล อยา่ งไร 12

ก็ตาม ด้วยสถานการณ์ของโรคไม่ตดิ ต่อเร้ือรังท่ีทวีความรุนแรงข้นึ มาตรการรักษาเชิงรับในสถานบริการอย่าง เดียวอาจไม่เพียงพอ ต้องเนน้ การส่งเสริมปอ้ งกันก่อนที่ประชาชนจะปว่ ยให้มากขึ้น เช่น การคัดกรองและสรา้ ง ความตระหนักต่อการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับประชาชนทุกคนท่ีเข้ามาใช้บริการในสถานบริการ สาธารณสุข การเป็นตัวอย่างการมีกิจกรรมทางกายโดยบุคลากรสาธารณสุขการมีอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่บ้าน (อสม.) กระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและมีพฤติกรรมเนือยนิ่งลดลงก่อน ที่จะเจ็บป่วย การนางบประมาณกองทุนสร้างเสริมสุขภาพตาบล ของสานักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ มาใช้ในการจัดกิจกรรมออกกาลังกายต่างๆ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มากขึ้น และการพัฒนา ระบบสนับสนนุ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในมติ ิตา่ งๆ ทีเ่ กีย่ วขอ้ ง 5. การพัฒนาระบบสนับสนุนการส่งเสริมกจิ กรรมทางกาย ระบบสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้และวิจัยกิจกรรมทางกาย การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง การพัฒนา ศักยภาพบุคลากรท่ีเก่ียวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การส่ือสารรณรงค์สู่ประชาชน และนโยบาย สง่ เสรมิ กิจกรรมทางกาย มีความสาคัญตอ่ ความสาเร็จของการส่งเสรมิ กจิ กรรมทางกาย การวิจัยส่วนใหญ่ในประเทศ เน้นไปทางการออกกาลังกาย หรือการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ในขณะท่ี องค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายต้องได้รับการสนับสนุนและพัฒนาให้มีหลักฐานทางวิชาการชัดเจนเพิ่มขึ้น อาทิ องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกลุ่มวัย หรือในอาชีพต่างๆ รวมถึงการวิเคราะห์เชิง เศรษฐศาสตร์ ในแง่ความคุ้มค่าในการลงทุน การประเมินผลนโยบาย เทคโนโลยีการติดตามกิจกรรมทางกาย ซึ่งหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องควรร่วมกันสร้างระบบการวิจัย และการสร้างองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายในมิติ ทย่ี งั ขาด การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการมีกิจกรรมทางกาย มีหลายหน่วยงานที่สารวจระดับกิจกรรมทางกาย ในประชากรไทย โดยอ้างอิงแบบสอบถามขององค์การอนามัยโลก (WHO Global Physical Activity Questionnaire: GPAQ) อย่างไรก็ตาม กลุ่มประชากรที่ได้รับการสารวจยังไมค่ รอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะแรกเกิด - 5 ปี และผลการสารวจของแต่ละหน่วยงานยังไม่สอดคล้องกัน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรร่วมกนั สรา้ งและพัฒนาระบบการเฝา้ ระวังการมีกิจกรรมทางกายของคนไทยต่อไป การจะนาองค์ความรู้การส่งเสริมกิจกรรมทางกายถ่ายทอดไปสู่ประชาชน บุคลากรในหน่วยงานท่ี เก่ยี วข้องกบั การส่งเสริมกิจกรรมทางกายจาเป็นต้องมีการทางานร่วมกนั ในการพฒั นาองคค์ วามรู้ รปู แบบ และ วิธีการถ่ายทอดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้มีความชัดเจน เป็นระบบ รวมถึงบุคลากรในหน่วยงาน ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค สถาบันการศึกษา ไปจนถึงท้องถ่ิน ต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการส่งเสริม กจิ กรรมทางกาย เพ่ือไปถงึ ประชาชนตอ่ ไป การสื่อสารรณรงค์ประเด็นกิจกรรมทางกายที่ผ่านมา ดาเนินการโดยการพัฒนาข้อความสื่อสาร เช่น “เมืองป่ันได้ป่ันดี” “ขยับเท่ากับเร่ิมออกกาลัง” “ก้าวเดินประเทศไทย 9,999 ก้าว” “ฆาตกรคือเก้าอี้” 13

“ออกมาเล่น 60 นาที ทุกวัน” “ท่องเท่ียวเชิงวัฒนธรรม เก๋ไก๋สไตล์ลึกซึ้ง” เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความรับรู้ ความหมายของกิจกรรมทางกายของประชาชนและหน่วยงาน ท่เี ก่ียวข้องยังมีจากัด กลยุทธ์การส่อื สารยังขาด ความต่อเน่ือง และการร่วมมือกันจากทุกหน่วยงานที่เก่ียวข้อง รวมถึงช่องทางการรับรู้สื่อของประชาชน ในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป ดังน้ัน การส่ือสารรณรงค์จาเป็นต้องมีการประสานความร่วมมือกันจาก ทุกหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง ต้ังแต่การพัฒนาประเด็น เนื้อหา ช่องทาง ให้มีความดึงดูดใจและทันสมัย เพื่อใหป้ ระชาชนทุกกลมุ่ ได้รับข้อมลู ได้ทั่วถงึ และครอบคลุมต่อไป นโยบายของประเทศไทยท่ีผ่านมา เน้นการส่งเสริมการกีฬาและการออกกาลังกายที่มีรูปแบบ และแบบแผนชดั เจน เป็นหลกั ในขณะทนี่ โยบายการส่งเสรมิ กิจกรรมทางกายยังมีไม่มาก หนว่ ยงานที่เกย่ี วขอ้ ง จาเป็นต้องมีการวางแผนการดาเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายร่วมกัน โดยผ่านกระบวนการจัดทาแผน แมบ่ ทการส่งเสริมกจิ กรรมทางกาย คณะกรรมการการส่งเสริมกิจกรรมทางกายการขับเคลอ่ื นยทุ ธศาสตร์ และ จัดทาแผนปฏิบัติการ เพ่ือให้นโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายมีความชัดเจน ตรงเป้าหมาย มีส่วนร่วม และไปถงึ ประชาชนตอ่ ไป 2.3 การวิเคราะห์จดุ แข็ง จุดอ่อน โอกาส และอปุ สรรค (SWOT Analysis และ TOWS Matrix) การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis และ TOWS Matrix) ของการดาเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทยท่ีผ่านมา สามารถวิเคราะห์โดยพิจารณา สภาพแวดลอ้ มภายในและภายนอกประเทศ ไดด้ งั นี้ ด้านสภาพแวดล้อมภายในประเทศ พบว่า จุดแข็งและจุดอ่อน คือ การท่ีประเทศไทยเป็นผู้นา การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับโลก การมีผู้นาระดับประเทศท่ีให้ความสาคัญกับการส่งเสริม กิจกรรมทางกาย การมีนโยบายหรือกฎหมายท่ีสนับสนุนให้ดาเนินงานส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การมีหน่วยงานท่ีดาเนินงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับประชาชนท้ังในระดับส่วนกลาง และท้องถ่ิน หน่ วย ง าน ที่มี บุ คล า กร ที่มี ค วา มรู้ ท าง ด้ าน วิท ย าศ า สต ร์ก า รกี ฬา ส าม า รถ นา ค วา มรู้ น้ั นม า ปร ะยุ ก ต์ใ ช้ ในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายได้ หน่วยงานในระดับชุมชน (อปท.) ให้การสนับสนุนงบประมาณ สถานท่ีจัด กิจกรรม ชมรมออกกาลังกาย และกลุ่มอาชีพ จึงทาให้ชุมชนมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง แต่ยังเน้นใน รูปแบบออกกาลังกายหรือกีฬา เป็นหลัก จึงทาให้เจ้าหน้าท่ีท้ังส่วนกลางและท้องถ่ินขาดความเข้าใจ ในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สาหรับการจัดทาแผนงาน/โครงการ แต่ละกระทรวงมีการจัดทาแผนงาน/ โครงการเพ่ือเสนอของบประมาณดาเนินการแบบแยกส่วน ไม่ได้บูรณาการไปในทิศทางเดียวกัน ด้านการพัฒนาวิชาการกิจกรรมทางกาย พบว่ามีศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกาย (Physical Activity Research Center: PARC) ทาหน้าที่พัฒนาและให้ทุนวิจัยด้านกิจกรรมทางกาย เน้นการวิจัยเพ่ือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กิจกรรมทางกายของประชาชนทุกกลมุ่ วัย นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีการจดั ประชุมวชิ าการกจิ กรรมทางกาย ระดับชาติ เพ่ือให้นักวิชาการหรือหน่วยงานต่างๆ นาเสนอผลงานวิชาการ ซ่ึงผลการศึกษาวิจัยส่วนใหญ่ เน้นในด้านของรูปแบบการออกกาลังกาย กีฬา การลดโรคเรื้อรัง แต่ยังไม่ครอบคลุ มประเด็นอ่ืนๆ 14

ของกิจกรรมทางกาย นอกจากนี้ มีการสารวจระดับกิจกรรมทางกายในประชากรไทยจากหลายหน่วยงาน อย่างไรก็ตาม กลุ่มประชากรที่ไดร้ ับการสารวจยังไม่ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มวยั โดยเฉพาะแรกเกิด - 5 ปี และผลการสารวจของแต่ละหน่วยงาน ยงั ไมส่ อดคลอ้ งกนั ด้านสภาพแวดล้อมภายนอกประเทศ พบว่าโอกาสและอุปสรรค คือ การขับเคล่ือนกิจกรรมทางกาย ในระดับโลก ส่งผลดีต่อการขับเคล่ือนกิจกรรมทางกายในประเทศ เช่น การนาแผนยุทธศาสตร์ระดับโลก องค์ความรู้ การวิจัยจากต่างประเทศท่ีมีความหลากหลายของรูปแบบกิจกรรมทางกาย เทคโนโลยี และ สภาพแวดล้อมท่ีเอ้ือต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สามารถนามาประยุกต์ใช้ในประเทศได้ ความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีและการขยายตัวของสังคมเมือง ทาให้มนุษย์มีการขยับและเคลื่อนไหวร่างกายลดลง ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีส่งผลดีต่อการมีกิจกรรมทางกายเช่นกัน เช่น แอพพลิเคช่ันกวา่ 50,000 รายการ ท่ีเกี่ยวกับสุขภาพและการออกกาลังกาย เครื่องออกกาลังกาย อุปกรณ์และเครื่องแต่งกาย และพบว่ารูปแบบ การออกกาลังกายในร่ม เช่น ฟิตเนส สนามฟุตซอล ฯลฯ ยังไม่มีกฎหมายควบคุมการดาเนินงานให้มีคุณภาพ ของสถานประกอบการเอกชน ด้านสภาพภูมิอากาศ ที่มีแนวโน้มท่ีจะมีอุณหภูมิสูงข้ึน สาเหตุจากภาวะเรือน กระจก และมลพษิ ทางอากาศ ส่งผลกระทบตอ่ การมีกิจกรรมทางกายกลางแจ้ง โดยส่งผลลบ และเป็นอุปสรรค ตอ่ การมกี จิ กรรมทางกาย รายละเอียดเพ่ิมเติมในตารางท่ี 2 สรุปจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค SWOT Analysis (หนา้ 67) และตารางที่ 3 TOWS Matrix (หน้า 68) บทท่ี 3: วิสยั ทศั นแ์ ละเปา้ ประสงค์การสง่ เสรมิ กจิ กรรมทางกาย 3.1 วิสยั ทศั น์การส่งเสริมกจิ กรรมทางกาย “ประชาชนมีวิถชี วี ิตทก่ี ระฉับกระเฉง ด้วยกิจกรรมทางกาย ภายใต้สภาพแวดลอ้ มทีเ่ หมาะสม” 3.2 เป้าประสงค์ 3.2.1 ประชาชน อายุ 18 ปีขึน้ ไป มีกิจกรรมทางกายเพยี งพอ 3.2.2 ประเทศไทยมกี ารจดั สภาพแวดลอ้ มที่เอ้อื ต่อการมีกจิ กรรมทางกาย 3.3 ตวั ชี้วัด 3.3.1 ประชาชน อายุ 18 ปขี ึน้ ไป มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ รอ้ ยละ 80 3.3.2 ทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินในประเทศไทย มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Built Environment) ท้ังในบริเวณเปิดโล่งและในอาคาร ซึ่งเก่ียวข้องกับการผังเมือง ระบบขนส่งสาธารณะ การใช้ 15

ประโยชน์พื้นทิ่ ทีไ่ ดร้ ับการออกแบบเพื่อสนบั สนนุ การสร้างโอกาสการมีกจิ กรรมทางกายอย่างเท่าเทียม ภายใต้ กฎระเบียบข้อตกลงร่วมกัน อาทิ สนามเด็กเล่น ทางเท้า พ้ืนท่ีชุมชน ฯลฯ รวมไปถึงสถานท่ีทางธรรมชาติที่ ไดร้ ับการจัดการ และการจัดกิจกรรมเพอ่ื ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3.4 ยุทธศาสตร์แผนแมบ่ ท ยุทธศาสตรท์ ี่ 1 การสง่ เสริมกิจกรรมทางกายประชาชนทุกกลมุ่ วยั ยุทธศาสตรท์ ่ี 2 การส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้เอือ้ ตอ่ การมกี จิ กรรมทางกาย ยุทธศาสตร์ท่ี 3 การพฒั นาระบบสนับสนนุ การสง่ เสรมิ กจิ กรรมทางกาย โดย ยุทธศาสตร์ท่ี 1 การส่งเสริมกิจกรรมทางกายประชาชนทุกกลุ่มวัย จะสาเร็จได้ประชาชนต้องมี ความรอบรู้ด้านกิจกรรมทางกาย ผ่านการดาเนินการของหน่วยงานในพ้ืนท่ีและส่วนกลาง และมีการปรับ พฤติกรรมให้มีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจาวันได้จริง อันเป็นผลสืบเน่ืองมาจาก ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้เอ้ือต่อการมกี ิจกรรมทางกาย ในสถานที่ องค์กร ชุมชน ท่ีประชาชนแต่ละกลุ่มวัย ใช้ชีวิตประจาวันในสถานที่นั้น และ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาระบบสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อันได้แก่ การสร้างองค์ความรู้และวิจัยกิจกรรมทางกาย ระบบเฝ้าระวังการมีกิจกรรมทางกาย การส่ือสารรณรงค์ และนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ กระบวนการ พัฒนาการวิจัย และกระบวนการพัฒนามาตรฐาน กฎหมาย เน้นท่ีหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้องต้องมี การพัฒนาระบบสนับสนุนกิจกรรมทางกายเหล่าน้ี เพื่อนาไปสู่การถ่ายทอดและพัฒนาศักยภาพหน่วยงานใน พ้ืนที่ เพ่ือสร้างสภาพแวดล้อมที่เอ้ือต่อการมีกิจกรรมทางกาย ท้ังในสถานศึกษา สถานประกอบการ สถานบรกิ ารสาธารณสุข และชุมชน ในยุทธศาสตร์ท่ี 2 และประชาชนทุกกลุ่มวัย (เด็กปฐมวัย วัยเรียน วัยรุ่น วัยทางาน และวัยสูงอายุ) มีความรอบรู้ ตระหนัก และมีกิจกรรมทางกายต่อไป ในยุทธศาสตร์ที่ 1 เพ่ือบรรลุ ตามวิสัยทัศน์การส่งเสรมิ กิจกรรมทางกาย “ประชาชนมีวิถีชีวติ ที่กระฉบั กระเฉง ด้วยกจิ กรรมทางกาย ภายใต้ สภาพแวดล้อมทีเ่ หมาะสม บทที่ 4: ยทุ ธศาสตรก์ ารสง่ เสริมกจิ กรรมทางกาย ยุทธศาสตรท์ ่ี 1 การสง่ เสรมิ กิจกรรมทางกายประชาชนทกุ กลุ่มวยั 1.1 เป้าประสงค์ ประชาชนทุกกลุ่มวัย ได้แก่ เด็กปฐมวัย วัยเรียน วัยรุ่น วัยทางาน และวัยสูงอายุ มีกิจกรรม ทางกายทีเ่ พียงพอ 16

1.2 ตวั ชี้วดั /เปา้ หมาย 1.2.1 ประชาชน แรกเกิด - 5 ปี มีเกณฑพ์ ัฒนากลา้ มเน้อื มดั ใหญเ่ ปน็ ปกติ รอ้ ยละ 95 1.2.2 ประชาชน อายุ 6 ปี – 17 ปี มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ รอ้ ยละ 40 1.2.3 ประชาชน อายุ 18 ปีขนึ้ ไป มกี ิจกรรมทางกายเพยี งพอ รอ้ ยละ 80 1.2.3 ระยะเวลาเฉล่ียพฤตกิ รรมเนือยนงิ่ ของประชาชน อายุ 6 ปีขน้ึ ไป ไม่เกิน 13 ช่วั โมงต่อวัน 1.3 กลยทุ ธ์ 1.3.1 พฒั นาองคค์ วามรู้วิจยั และถา่ ยทอด 1.3.2 พฒั นากฎหมาย/มาตรฐาน 1.3.3 พฒั นาศกั ยภาพบคุ ลากรใหม้ ีกิจกรรมทางกายในหนว่ ยงานของพน้ื ที่ 1.3.4 การส่อื สารให้ความรเู้ รือ่ งกจิ กรรมทางกายผา่ นช่องทางต่างๆ 1.4 หน่วยงานรบั ผิดชอบ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเท่ียวและกีฬา กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม กระทรวงดิจติ อลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคม สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ มหาวิทยาลัย สือ่ สารมวลชน ยุทธศาสตร์ 2 การส่งเสริมสภาพแวดล้อมใหเ้ ออ้ื ต่อการมีกิจกรรมทางกาย 2.1 องคก์ รส่งเสรมิ กิจกรรมทางกาย 2.1.1 เปา้ ประสงค์ มอี งคก์ รสง่ เสรมิ กิจกรรมทางกาย 2.1.2 ตัวช้วี ดั /เปา้ หมาย 2.1.2.1: ศูนย์เดก็ เล็ก มีการสง่ เสริมกิจกรรมทางกาย ทกุ แหง่ 2.1.2.2: สถานศกึ ษา มกี ารสง่ เสรมิ กจิ กรรมทางกาย ทุกแหง่ 2.1.2.3: สถานประกอบการ มีการสง่ เสริมกิจกรรมทางกาย จานวน 10,000 แหง่ 2.1.2.4: สถานบรกิ ารสาธารณสขุ มีการส่งเสรมิ กิจกรรมทางกาย ทกุ แหง่ 17

2.1.3 กลยทุ ธ์ 2.1.3.1 พัฒนาองค์ความรูว้ จิ ยั 2.1.3.2 พฒั นากฎหมาย/มาตรฐาน/ข้อแนะนา 2.1.3.3 พฒั นาศักยภาพบุคลากรที่เก่ียวขอ้ งกบั การส่งเสรมิ กิจกรรมทางกายในหนว่ ยงานของพนื้ ท่ี 2.1.3.4 สนบั สนนุ การพัฒนาองค์กรส่งเสริมกจิ กรรมทางกาย 2.1.3.5 สร้างและพฒั นาเครือข่ายการมสี ่วนรว่ มกบั การส่งเสรมิ กจิ กรรมทางกาย 2.2 ชุมชนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2.2.1 เป้าประสงค์ มีชมุ ชนส่งเสริมกจิ กรรมทางกาย 2.2.2 ตวั ชีว้ ดั /เปา้ หมาย องคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถ่นิ มีการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ทกุ แหง่ 2.2.3 กลยทุ ธ์ 2.2.3.1 พฒั นาองคค์ วามรู้วิจยั และถา่ ยทอด 2.2.3.2 พัฒนากฎหมายและมาตรฐานสนบั สนนุ การ 2.2.3.3 พัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เก่ียวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในหน่วยงาน ของพน้ื ที่ 2.2.3.4 สนบั สนนุ การพัฒนาเมือง/ชุมชนสง่ เสริมกจิ กรรมทางกาย 2.2.3.5 พฒั นาเครอื ขา่ ยสรา้ งการมีสว่ นร่วมกับการส่งเสรมิ กิจกรรมทางกาย 2.3 หน่วยงานรบั ผดิ ชอบ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเท่ียวและกีฬา กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพ่ือสุขภาพ สานักงานประกันสขุ ภาพแหง่ ชาติ มหาวิทยาลัย สถาบนั อาศรมศลิ ป์ สภาวิชาชีพ ภาคเอกชน 18

ยุทธศาสตร์ 3 การพัฒนาระบบสนบั สนุนการส่งเสรมิ กจิ กรรมทางกาย 3.1การพัฒนาระบบสนบั สนนุ การสร้างองคค์ วามรแู้ ละวิจัยกจิ กรรมทางกาย 3.1.1 เปา้ ประสงค์ มีระบบสนับสนนุ การสรา้ งองคค์ วามรู้ และวจิ ัยกจิ กรรมทางกาย 3.1.2 ตัวช้วี ดั /เป้าหมาย มีระบบสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ และวิจัย กิจกรรมทางกายท่ีมีความชัดเจนและ ครอบคลุมมติ ิต่างๆของการสง่ เสรมิ กิจกรรมทางกาย 1 ระบบ 3.1.3 กลยทุ ธ์ 3.1.3.1. พัฒนาหนว่ ยงานสนับสนนุ การผลิตองค์ความรแู้ ละวจิ ัยกจิ กรรมทางกาย 3.1.3.2. พัฒนากระบวนการกาหนดมาตรฐานการวจิ ยั 3.1.3.3. พฒั นาการนางานวจิ ัยไปใช้ใหเ้ กดิ ประโยชน์ 3.1.3.4. พัฒนาเครอื ข่ายการทาวจิ ัย 3.2การพัฒนาระบบสนับสนนุ การเฝา้ ระวงั การมีกจิ กรรมทางกาย 3.2.1 เปา้ ประสงค์ มีระบบเฝ้าระวังการมีกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่ง ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย และ สถานที่ 3.2.2 ตวั ชว้ี ดั /เปา้ หมาย มีระบบเฝ้าระวังการมีกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่ง ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย และ สถานที่ การจัดเก็บ วิเคราะห์ และแปลผลข้อมูลกิจกรรมทางกายเพื่อที่จะใช้ในการวางแผน ดาเนินการ และประเมินผลโครงการ และนาผลท่ไี ดไ้ ปเผยแพร่ให้แก่ผู้ทมี่ สี ่วนเก่ียวข้องไดใ้ ช้ประโยชน์ 1 ระบบ 3.2.3 กลยทุ ธ์ 3.2.3.1 พัฒนาระบบเฝา้ ระวังสถานการณ์กจิ กรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่ง 3.2.3.2 พฒั นามาตรฐาน/เครอ่ื งมือ การเฝา้ ระวงั กิจกรรมทางกาย/พฤตกิ รรมเนือยนง่ิ 3.2.3.3 การนาขอ้ มลู ไปใช้ (Data Utilization) 19

3.3 การพฒั นาระบบสนับสนุนการพฒั นาศกั ยภาพบุคลากร 3.3.1 เป้าประสงค์ มรี ะบบการพัฒนาศกั ยภาพดา้ นการส่งเสริมกจิ กรรมทางกาย 3.3.2 ตัวชีว้ ดั /เป้าหมาย มีระบบพัฒนาศักยภาพบุคลากรท่ีเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ท้ังการพัฒนา องคค์ วามรู้ รูปแบบ และวิธีการถ่ายทอดการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในส่วนกลาง สถาบันการศึกษา ส่วนภมู ภิ าค ไปจนถึงทอ้ งถิน่ 1 ระบบ 3.3.3 กลยทุ ธ์ 3.3.3.1 พฒั นาหลักสตู รกิจกรรมทางกายสาหรับบุคลากร 3.3.3.2 พัฒนาศักยภาพบุคลากรและนกั ศึกษา 3.4 การพัฒนาระบบสนับสนนุ การสอ่ื สารรณรงคก์ ิจกรรมทางกาย 3.4.1 เปา้ ประสงค์ มีระบบการส่อื สารรณรงค์ด้านกิจกรรมทางกาย 3.4.2 ตวั ช้ีวดั /เป้าหมาย มีระบบการส่ือสารรณรงค์กจิ กรรมทางกายให้กบั ประชาชน ตั้งแตก่ ารพัฒนาประเด็น เน้อื หา ช่องทาง และการวางแผนการสื่อสาร 1 ระบบ 3.4.3 กลยทุ ธ์ 3.4.3.1 พัฒนาเนอื้ หาและรูปแบบ สาหรบั การส่ือสารรณรงคก์ ิจกรรมทางกาย 3.4.3.2 สอื่ สารกิจกรรมทางกาย 20

3.5 พัฒนาระบบสนบั สนุนนโยบาย 3.5.1 เป้าประสงค์ มีนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อขับเคล่ือนการดาเนินจากหน่วยงานทุกภาคส่วนลงสู่ ท้องถน่ิ 3.5.2 ตวั ชว้ี ัด/เปา้ หมาย กลไกคณะกรรมการอานวยการและคณะกรรมการบริหารการส่งเสรมิ กจิ กรรมทางกาย ไดร้ ับ การจัดตัง้ เพื่อกาหนดนโยบาย และนโยบายนาไปสูก่ ารปฏิบัติ 3.5.3 กลยทุ ธ์ 3.5.3.1 พฒั นานโยบาย 3.6 หนว่ ยงานรับผิดชอบ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเท่ียวและกีฬา กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิตอลเพ่ือเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ ส่ิงแวดล้อม สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สานักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สานักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ มหาวิทยาลัย สถาบนั อาศรมศิลป์ สอ่ื สารมวลชน 21

บทที่ 5: การแปลงแผนไปส่กู ารปฏบิ ัติ และการติดตามและประเมินผล 5.1 การแปลงแผนไปสูก่ ารปฏิบตั ิ แผนแม่บทการส่งเสริมกจิ กรรมทางกาย (พ.ศ. 2561 - 2573) จะสามารถนาไปสู่การปฏบิ ตั ไิ ดอ้ ย่าง เป็นรูปธรรม จาเป็นต้องมีกระบวนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติโดยหน่วยงานทุกระดับทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น มีมาตรการการดาเนินงานท่ีกาหนดไว้ในแผนแม่บทฯ หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง สามารถนาไปพิจารณาจัดทาแผนปฏิบตั ิการ ที่สอดคล้องกับบริบทของตนเองได้ ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีให้ ความเห็นชอบกับแผนแม่บทฯ ทั้งน้ี คณะกรรมการพัฒนานโยบายการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ซ่ึงเป็นกลไกระดับประเทศ มีบทบาทหน้าที่ในการกาหนดนโยบาย ทิศทาง และยุทธศาสตร์ สนับสนุน ส่งเสริม การดาเนินงาน กิจกรรมทางกายของประเทศ ท่เี ช่ือมโยงกับแผนงานขององค์กรระหว่างประเทศ ตลอดจนกากับดูแล ติดตาม ประเมินผลการดาเนนิ งานตามแผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ต้องได้รับการแต่งต้ังโดยคณะรัฐมนตรี เพอ่ื ผลกั ดนั ใหเ้ กิดกระบวนการแปลงแผนไปสกู่ ารปฏบิ ตั ิ ตามแนวทางดงั ตอ่ ไปน้ี 5.1.1 การบูรณาการการดาเนินงานตามแผนแม่บทการสง่ เสรมิ กิจกรรมทางกายของหนว่ ยงานใน ระดบั ต่างๆ คือ 1) ราชการส่วนกลาง เพื่อใหไ้ ดป้ ระโยชน์จากการมีและการนาแผนแม่บทไปสู่การปฏบิ ัตอิ ยา่ งจริงจัง จาเป็นต้องมีกลไกระดับชาติที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการแผนแม่บทฯ โดยมีคณะกรรมการ 2 ชุด มอี งค์ประกอบและหน้าท่ีในการดาเนินงาน ดงั น้ี ก. คณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย มีลักษณะเป็นคณะกรรมการท่ีดาเนินการในเชิงกาหนด นโยบาย กาหนดแนวทาง การบริหาร การกากับติดตาม การดาเนินการตามแผนแม่บทฯ มีจานวน 13 คน ซึ่งประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นเลขานกุ าร ข. คณะกรรมการบริหารแผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพ่ือประสิทธิภาพในการ บริหารงานและการกากับติดตามผลการดาเนินงานตามแผนแม่บทฯ ให้มีคณะกรรมการบริหารแผนแม่บทฯ คณะหน่ึง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดี ผู้อานวยการ เลขาธิการจากหน่วยงานราชการ ที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และประชาชน โดย อธิบดีกรมอนามัย เป็นเลขานุการ และผู้อานวยการ กองกิจกรรมทางกายเพือ่ สุขภาพ เป็นผ้ชู ว่ ยเลขานุการ 2) ราชการส่วนภูมิภาคและจังหวัด ศูนย์อนามัยเขต สานักงานสาธารณสุขจังหวัด และหน่วยงาน ท่เี ก่ียวขอ้ งในระดับจังหวัด เป็นหน่วยประสานงานการนาแผนแม่บทฯ ไปจัดทาแผนปฏิบัติการประจาปีระดับ จังหวดั โดยผา่ นกลไกการจัดทาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวดั และร่วมกนั จดั ทาฐานขอ้ มูล ระดับจังหวัดเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับจังหวัด เพ่ือใช้เป็นข้อมูลสาหรับการ 22

จดั ทาแผนปฏิบัตกิ ารส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับจังหวัด และถ่ายทอดการนาแผนปฏิบัติการสู่ระดบั อาเภอ โดยผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวติ ระดับอาเภอ(พชอ.)เพ่ือผลกั ดันนาไปส่กู ารปฏิบตั ิในระดบั ท้องถ่นิ 3) ราชการส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน กาหนดประเด็นและแนวทางการส่งเสริม การมีกิจกรรมทางกาย ตอบสนองความต้องการของชุมชน เพ่ือจัดกาหนดในแผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี และเทศบัญญตั งิ บประมาณรายจ่ายประจาปี 4) ภาคเอกชน สนับสนุนและดาเนินการตามหลักการความรับผิดชอบต่อสังคมเกี่ยวกับการจัดทา มาตรฐานของสถานประกอบการของผู้ประกอบการในทุกระดับ โดยคานึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน ผูร้ บั บรกิ าร มกี ารจดั การทโี่ ปรง่ ใสเปน็ ธรรม และมีบทบาทรว่ มกับภาครัฐ 5.1.2 สรา้ งความรู้ ความเข้าใจ ใหก้ บั ภาคกี ารพัฒนา โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เพ่ือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้สังคมในวงกว้าง และจัดให้มีกระบวนการเผยแพร่ความรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพ่ือให้เกิดความเข้าใจ ในสาระสาคัญของแผนแม่บทฯ โดยเฉพาะภารกิจและบทบาทท่ีภาคส่วนต่างๆสามารถสนับสนุน การปฏิบัติการตามแผนแม่บทฯ ได้ ให้แก่ผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง เพื่อจะได้ นาไปกาหนดเป็นกรอบแผนงานและโครงการ วางแผนด้านงบประมาณและกาหนดเป็นแผนปฏิบัติการให้ สอดคลอ้ งกับระยะเวลาตามแผนแม่บทฯ 5.1.3 เสรมิ สรา้ งศกั ยภาพบุคลากรในการดาเนนิ งานส่งเสรมิ กิจกรรมทางกาย เพ่ือให้บุคลากรที่มีหน้าท่ีดาเนินงานภายใต้แผนแม่บทฯ มีขีดความสามารถในการดาเนินงานเพิ่มขึ้น และทันกับสถานการณ์ โดยดาเนินการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทุกระดับ ท้ังส่วนกลางส่วนภูมิภาค และส่วน ท้องถ่ิน ใหม้ ีความรู้ ความเขา้ ใจในการแปลงแผนแม่บทฯ ไปสกู่ ารปฏิบตั ิ และมีความสามารถ ในการจดั เตรยี ม วเิ คราะห์ และบรหิ ารจัดการโครงการด้านอนามยั สิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสทิ ธิภาพ 5.1.4 เสริมสรา้ งความเข้มแขง็ กลไกทป่ี รึกษาภาคประชาชน เพ่ือขับเคลื่อนการพัฒนาในระดับพื้นที่ ต้ังแต่ระดับจังหวัด อาเภอ และท้องถิ่น โดยเฉพาะกรรมการ ร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ภาคประชาชนมสี ่วนร่วมในการใหข้ ้อคิดเห็นต่อการดาเนินนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทางการพัฒนา และการบริหารจัดการการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย รวมท้ังการติดตามประเมินผล ที่สามารถสะท้อนความพึงพอใจของประชาชน เพ่ือเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการดาเนินงานภาคราชการ และภาคท้องถิ่นให้มีประสทิ ธิภาพ ตอบสนองความตอ้ งการ และประโยชน์โดยรวมตอ่ ประชาชนได้อย่างแทจ้ รงิ 23

5.2 การตดิ ตามและประเมนิ ผล เพ่ือประเมินผลสัมฤทธ์ิการดาเนินงานตามแผนแมบ่ ทฯใหท้ าการตดิ ตามประเมินผล โดยมกี ารดาเนนิ งาน ในดา้ นต่างๆ ดังน้ี 1) ให้ความสาคัญกับการติดตามความก้าวหน้า การประเมินผลสาเร็จ และผลกระทบ ของการดาเนินงาน ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์แผนแม่บทฯ เพ่ือจัดทารายงานเสนอรัฐบาลทราบ การดาเนินงาน ตามเป้าหมายท่กี าหนดไว้ ต่อไป 2) จดั ต้ังคณะกรรมการติดตามผล เพื่อติดตามประเมินผลการดาเนินงานตามเป้าหมายและมาตรการ ภายใต้แผนแม่บทฯ กาหนดแนวทาง ติดตามและประเมินผลการดาเนินงาน โดยประสานความร่วมมือกับ ส่วนราชการและหนว่ ยงานทีร่ บั ผดิ ชอบการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายภายใต้แต่ละยุทธศาสตร์แผนแม่บทฯ 3) พัฒนาฐานข้อมูล โดยทบทวนข้อมูลสารสนเทศท่ีมีอยู่เปรียบเทียบกับ เป้าหมายและยุทธศาสตร์ ของแผนแม่บทฯ และภารกิจของหน่วยงานมีระบบสร้างเครือข่ายท่ีเข้าถึงได้ง่าย และใช้ประโยชน์สะดวก เพื่อให้ทุกฝ่ายมีข้อมูลท่ีทันสมัย ถูกต้อง และแม่นยาในการใช้ประโยชน์ต่อการวางแผนในระดับต่างๆ ให้มี ความสัมพนั ธส์ อดคล้องไปในทศิ ทางเดยี วกันมากขึ้น 4) ส่วนราชการและหน่วยงานทรี่ บั ผิดชอบจะต้องทาการประเมนิ ผลตามตัวชีว้ ดั ที่กาหนดตามแนวทาง ของแตล่ ะยทุ ธศาสตร์ไมน่ อ้ ยกว่าปลี ะ 1 ครั้ง และรายงานผลตอ่ คณะกรรมการบริหารแผนแมบ่ ทฯ 5) จัดทารายงานการประเมินผลการดาเนินงานประจาปี ระยะ 3 ปี (ปีที่ 3, 6, 9) และ ส้ินสุด โครงการ (ปีท่ี 13) 24

บทท่ี 1 บทนา เน้ือหาในบทน้ี จะกล่าวถึงความหมายของกิจกรรมทางกาย และความสาคัญของกิจกรรมทางกาย ในมิตติ ่างๆ รวมถึงความจาเป็นของการมแี ผนแมบ่ ทการส่งเสริมกจิ กรรมทางกาย ดังนี้ 1.1“กจิ กรรมทางกาย (Physical Activity)” นิยามทกี่ ว้างกวา่ “ออกกาลงั กาย (Exercise)” สังคมไทย มีความคุ้นเคยกับคาว่า “ออกกาลังกาย” มายาวนาน โดยนิยามของ การออกกาลังกาย (Exercise) คือ การกระทาใดๆ ที่ทาให้มีการเคล่ือนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยมีเคลื่อนไหวร่างกายซ้าๆ (repetitive) มีการวางแผน (planned) เป็นแบบแผน (structured) และมีวัตถุประสงค์ (purposive) เพื่อเสริมสร้างสุขภาพเพื่อความสนุกสนาน เพ่ือสังคม โดยใช้กิจกรรมง่ายๆ หรือกติกาการแข่งขันง่ายๆ เช่น เดิน วิ่ง กระโดดเชือก การบริหารร่างกาย การยกน้าหนัก การเล่นกีฬา เป็นต้น ซึ่งเน้นท่ีกิจกรรม ในประเภทนันทนาการยามวา่ ง (Recreational Activities) เป็นหลัก ภาพที่ 1 กิจกรรมทางกาย จาก สานกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การสรา้ งเสริมสขุ ภาพ ในขณะที่ประชาคมโลก รวมถึงสังคมไทยสมัยใหม่ รับรู้ความหมาย “กิจกรรมทางกาย (Physical Activity)” ที่กว้างขวางกว่าการออกกาลังกาย กล่าวคือ กิจกรรมทางกาย หมายถึง การขยับ เคล่ือนไหวร่างกายทั้งหมดในชีวิตประจาวัน ในอิริยาบถต่างๆ ซ่ึงก่อให้เกิดการใช้และเผาผลาญพลังงาน โดยกล้ามเน้ือ ทั้งในการทางาน (Activity at Work) เช่น การทางานที่เป็นอาชีพ ทั้งที่ก่อให้เกิดหรือไม่เกิด รายได้ การทางาน การทางานบ้าน การเรียนหนังสือ เป็นต้น การเดินทาง (Travel To and From Places) โดยการเดินหรือการข่ีรถจักรยาน เพ่ือไปทางาน ไปจ่ายตลาด ไปวัด หรือไปทาธุระต่างๆ รวมถึงการเดินทาง ที่ใช้แรงกายเพ่ือไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และ กิจกรรมนันทนาการ (Recreational Activities) 25

ท่ีทาในยามว่าง หลังจากเสร็จสิ้นจากภารกิจงานประจา เช่น การเล่น/แข่งกีฬา (Competitive sports) การออกกาลังกาย หรอื การฝกึ ฝนรา่ งกาย (Exercise/Exercise training) เป็นต้น กิจกรรมทางกาย ยังแบ่งตามระดับความหนักเบาได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเบา ระดับปานกลาง และระดับหนัก โดยกิจกรรมทางกายระดับเบา (Light Intensity) ได้แก่ การยืน การเดินระยะทางส้ันๆ การทางานบ้าน กิจกรรมทางกายระดับปานกลาง (Moderate-intensity) คือ กิจกรรมท่ีทาให้รู้สึกเหนื่อย ปานกลาง โดยที่ระหว่างท่ีทากิจกรรมยังสามารถพูดเป็นประโยคได้ อัตราการเต้นหัวใจ อยู่ระหว่าง 120 - 150 ครั้ง เช่น การเดินเร็ว การปั่นจักรยาน เป็นต้น กิจกรรมทางกายระดับหนัก (Vigorous- intensity) หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายท่ีทาให้รู้สึกเหนื่อยมาก โดยท่ีระหว่างทากิจกรรมไม่สามารถพูด เป็นประโยคได้ อัตราการเต้นหัวใจอยู่ท่ี 150 ครั้งขึ้นไป เช่น การวิ่ง การว่ายน้าเร็ว การเล่นกีฬา การออกกาลงั กาย 1 นอกจากกิจกรรมทางกายท้ังสามระดับ ยังมีกิจกรรมท่ีถือว่าใช้พลังงานต่า หรืออาจเรียกว่า “พฤติกรรมเนือยนงิ่ (Sedentary Behaviour)” เช่น การนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ การใช้คอมพิวเตอร์ การนงั่ คุย กบั เพ่ือน การนอนดูโทรทศั น์ ท่ไี มร่ วมการนอนหลับ ในระดับสากล มีข้อแนะนาการมีกิจกรรมทางกายท่ีเพียงพอ สาหรับประชาชนในกลุ่มวัยต่างๆ เช่น เด็กทารกและเด็กปฐมวัย เด็กและวัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้สูงวัย หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด ซ่ึงมีสรีรวิทยา วิถีชีวิต และความต้องการมีกิจกรรมทางกาย ท่ีแตกต่างกัน ทั้งรูปแบบ ระยะเวลา ความหนักเบา 2 3 4 5 เพื่อให้เกิด ประโยชน์ด้านสุขภาพและความแข็งแรงของร่างกาย อย่างไรก็ตาม พึงระลึกว่า การมีกิจกรรมทางกาย ไม่ว่า จะมีระยะเวลา รูปแบบ หรือความหนักเบาเท่าไร ย่อมดีกว่าการไม่มีกิจกรรมทางกายเลย และควรเริ่มต้นจาก การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ด้วยการมีกิจกรรมทางกายระดับเบาอย่างสม่าเสมอตลอดวัน และค่อยๆเพิ่ม ความหนกั ของกจิ กรรมทางกาย รวมถงึ ระยะเวลา ให้เหมาะกับวิถชี ีวิตและความพร้อมของร่างกายตนเองต่อไป โดยมีขอ้ แนะนาการมีกิจกรรมทางกายทเี่ พยี งพอ สาหรบั ประชาชนในกลมุ่ วยั ตา่ งๆ มีดังน้ี เด็กปฐมวัย (แรกเกิด - 5 ปี) เน้นการเคลื่อนไหวบนพื้น (Floor-based activity) เช่น ชันคอ คว่า คลาน สาหรับทารกแรกเกิด - 1 ปี และให้มีกจิ กรรมทางกายผ่านการเคลื่อนไหวพื้นฐาน เชน่ การเดิน วิ่ง ปนี ป่าย กระโดด และการเลน่ ทห่ี ลากหลาย สะสมอยา่ งนอ้ ย 180 นาทตี ่อวนั ในเดก็ ปฐมวยั ที่โตมากขึน้ 1 องค์การอนามยั โลก. คาแนะนาการมกี จิ กรรมทางกาย (Physical Activity Recommendation). 2553. 2 องคก์ ารอนามัยโลก. คาแนะนาการมกี ิจกรรมทางกาย (Physical Activity Recommendation). 2553. 3 ประเทศออสเตรเลีย. คาแนะนาการมกี จิ กรรมทางกาย. 4 ประเทศแคนาดา. คาแนะนาการมีกจิ กรรมทางกาย. 5 ประเทศสหราชอาณาจักร. คาแนะนาการมีกจิ กรรมทางกาย. 2554. 26

เดก็ และวยั รุ่น (6 - 17 ป)ี ใหม้ กี จิ กรรมทางกายระดับปานกลางถงึ หนัก สะสมอยา่ งน้อย 60 นาทตี อ่ วัน ผู้ใหญ่ (18 - 59 ปี) ให้มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือมีกิจกรรมทางกายระดับหนัก อย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์ และกิจกรรมพัฒนาความแข็งแรงของ กลา้ มเนื้อ กิจกรรมเพ่มิ ความอ่อนตัวของกลา้ มเน้ือ อย่างน้อย 2 ครง้ั ต่อสัปดาห์ เน้นกลา้ มเนื้อมัดใหญ่ เชน่ ขา สะโพก หลัง ท้อง หน้าอก ไหล่ ต้นแขน โดยหญิงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอด ก็สามารถมีกิจกรรมทางกายได้ เหมือนผ้ใู หญป่ กติ โดยอาจมขี อ้ ควรระวังเพม่ิ เตมิ ตามแตล่ ะช่วงของการตั้งครรภ์ ผู้สูงวัย (60 ปีขึ้นไป) ให้มีกิจกรรมทางกายเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่เพ่ิมกิจกรรมพัฒนาสมดุลร่างกาย และปอ้ งกันการหกล้ม อย่างนอ้ ย 3 วนั ตอ่ สปั ดาห์ รวมถงึ กิจกรรมพัฒนาสมอง ความจา และอารมณ์ ในส่วนของพฤติกรรมเนือยนิ่ง ประชาชนทุกกลุ่มวัย ควรลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ด้วยการลุกเดินไปมา หรือลุกขึ้นยืน และยืดเหยียดร่างกาย ทุก 1 - 2 ชั่วโมง จากอิริยาบถท่าน่ังหรือนอนราบ โดยในเด็กปฐมวัย วัยเด็ก และวัยรุ่น ควรจากัดการใช้คอมพิวเตอร์ น่ังดูทีวี หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ ในแต่ละวัน หรือไม่ให้ใช้ อุปกรณ์เหลา่ นเี้ ลยจนกว่าจะอายุ 2 ปี 1.2 กิจกรรมทางกายเปน็ การลงทุนอันทรงพลงั ดา้ นสขุ ภาพ การศึกษา เศรษฐกิจ สง่ิ แวดล้อม และสังคม การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ให้ประโยชน์โดยตรงและอ้อม ต่อสุขภาพของประชาชน รวมถึง การศกึ ษา เศรษฐกจิ ส่ิงแวดลอ้ ม และสังคม ดังน้ี ด้านสขุ ภาพ การมีกิจกรรมทางกาย เป็นประโยชน์ต่อ ภาพที่ 2 ผลตอ่ สุขภาพจากการขาดกิจกรรมทางกาย ประชาชนทุกวัย โดยนาไปสู่การเติบโตและพัฒนาการ จาก ศูนย์อนามยั ที่ 12 ยะลา กรมอนามัย ทางสงั คมที่ดีของเดก็ รวมถึงการเรยี นรแู้ ละสมาธิ อกี ทั้งช่วยลดความเสี่ยงจากโรคเร้ือรังและช่วยพัฒนา สุขภาพจิตของผู้ใหญ่ และเป็นส่วนสาคัญในการบรรลุ เป้าหมายการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อระดับโลก ของสหประชาชาติด้วย นอกจากน้ี ผู้ที่ปฏิบัติตนจนมี กิจกรรมทางกายเพียงพอ ยังเป็นจุดเร่ิมต้นของการมี พฤตกิ รรมสขุ ภาพอนื่ ๆ ท่ีดีตามมา 27

การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุสาคัญของการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) หรือกลุ่มโรควิถีชีวิต ได้แก่ เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด และ กลุ่มโรคมะเร็ง โดยพบว่าการขาดกิจกรรมทางกายส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต 3.2 ล้านคนต่อปี ของท้ังโลก 6 ท้ังทสี่ ามารถปอ้ งกันได้ และมีส่วนต่อการเพิ่มอัตราโรคอว้ นท้ังในเด็กและผู้ใหญ่ ในประเทศไทย พบว่า คนไทย มอี ัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ถึงร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตท้ังหมด โดยการมีกิจกรรมทางกาย ไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 11,129 ราย สูญเสียการมีชีวิตที่มีคุณภาพ 788,500 ปีสุขภาวะ (ช่วงปีท่ีมีชีวิตอย่างปราศจากความพิการหรือเจ็บป่วย) 7 และเด็กไทย มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ท่ีรอ้ ยละ 12.5 8 การศึกษาในระดับโลก พบว่าการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ ของท้ังโลก มูลค่า 53.8 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี พ.ศ.2556 โดยมาจากค่าใช้จ่ายในการรักษา โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง เบาหวาน มะเร็งเต้านม และมะเร็งลาไส้ และประมาณความสูญเสียทาง เศรษฐศาสตร์จากผลิตภาพในการทางาน (productivity) และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร มูลค่า 13.7 พนั ล้านดอลลา่ ร์สหรัฐ 9 การศึกษาต้นทนุ ทางเศรษฐศาสตร์ของประเทศไทย พบว่า ต้นทนุ ค่ารักษาพยาบาลที่ สูญเสียจากกิจกรรมทางกายท่ีไม่เพียงพอ มูลค่า 5,977 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2552 การเจ็บป่วย ด้วยโรคไม่ติดต่อเร้ือรัง มูลค่า 2 แสนล้านบาทต่อปี ในขณะท่ีต้นทุนการสูญเสียผลิตภาพในการทางาน มูลค่า 6,558 ล้านบาท โดยจากการขาดงาน เน่ืองจากความเจบ็ ป่วย 694 ลา้ นบาท และการเสยี ชีวติ ก่อนวัย อันควร 5,864 ล้านบาท 10 จึงอาจกล่าวได้ว่า การส่งเสริมกิจกรรมทางกายถือเป็นการลงทุนที่ส่งผลต่อ การสรา้ งความเข้มแข็งทางเศรษฐศาสตรข์ องประเทศ ดา้ นการศึกษา การมีกิจกรรมทางกาย นอกจากเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของประชาชนทุกวัยแล้ว ยังส่งผลดีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กวัยเรียน วัยรุ่น และผู้ใหญ่ตอนต้นด้วย โดยหลักฐานทางวิชาการจาก ต่างประเทศมากมาย ชี้ให้เห็นว่า การมีกิจกรรมทางกาย ส่งผลต่อการเรียนรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม การเรียนรู้ในคาบเรียน ในด้านสมาธิ ความสนใจ การทางานที่ได้รับมอบหมาย ผลการสอบมาตรฐาน และคะแนนเฉลี่ยสะสม และมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้ผู้กาหนดนโยบาย และจัดการศึกษา ให้ความสาคัญ กับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานศึกษา ท้ังในการจัดการเรียนพลศึกษา การมีเวลาว่างให้เด็กได้วิ่งเล่น 6 องค์การอนามยั โลก. Global action plan for the prevention and control of NCD 2013-2020. 2556. 7 สานกั วิจยั นโยบายสรา้ งเสรมิ สุขภาพ. รายงานสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเร้ือรงั พ.ศ.2557. 8 ยนู เิ ซฟ (UNICEF). การสารวจสถานการณเ์ ด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ.2558-2559. 9 Ding Ding และคณะ. The economic burden of physical inactivity. Lancet physical activity series. 2016. 10 สานกั วจิ ัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ. รายงานสถานการณ์โรคไมต่ ิดต่อเรอ้ื รัง พ.ศ.2557. 28

และออกกาลังกายอย่างอิสระ การเรียนนอกห้องเรียน การเปล่ียนอาคารเรียนระหว่างวัน การใช้บันได การ เรียนเกษตร ดนตรี ทักษะอาชีพ และชีวิต การส่งเสริมการเดินหรือปั่นจักรยานมาโรงเรียน เป็นต้น เนื่องจาก สง่ ผลดตี อ่ ผลสมั ฤทธิท์ างการเรียนดว้ ย 11 12 ดา้ นเศรษฐกจิ การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ส่งผลดีต่อ เศรษฐกิจ ในด้านการท่องเท่ียว และอุตสาหกรรม การกฬี า ด้านเศรษฐ กิจการท่องเท่ียว พบว่า นักท่องเท่ียวชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย อย่างต่อเนื่อง โดย ปี พ.ศ.2559 ประเทศไทย ภาพท่ี 3 การขจี่ ักรยานเทีย่ วสวนผลไมบ้ า้ นบางพลบั มีรายได้จากการท่องเที่ยวรวมท้ังสิ้น 2.51 จาก http://www.unseentourthailand.com ล้านล้านบาท สูงกว่า ปี พ.ศ. 2558 ท่ีสร้างรายได้ 2.28 ล้านล้านบาท โดยการท่องเท่ียวเชิงวัฒนธรรม (Cultual Tourism) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของ การท่องเท่ียวที่แสดงถึงวัฒนธรรม วิถีการดาเนินชีวิต ศิลปะทุกแขนง ซ่ึงนักท่องเท่ียวจะได้ความรู้เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของสถานที่น้ันๆ และสัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชน ผ่านการใช้การเดินเท้าเข้า หมู่บ้าน หรือการใช้จักรยาน หรือเป็นการท่องเที่ยวแบบกระฉับกระเฉง ( Active Tourism) 13 และการท่องเทยี่ วเชิงกฬี า (Sports Tourism) เป็นรปู แบบการท่องเทย่ี วที่ไดร้ ับความสนใจ ในช่วง 3 ปีท่ีผ่านมา เช่น การดาน้าตนื้ ดาน้าลกึ มวยไทย และกอล์ฟ เปน็ ตน้ สามารถสร้างให้เกิดรายไดร้ วม 21,003 ลา้ นบาท 14 ด้านอุตสาหกรรมการกีฬา พบว่าผลประกอบการอุตสาหกรรมและธุรกิจท่ีเก่ียวข้องกับการกีฬา มแี นวโน้มเพ่ิมข้ึน โดยในปี พ.ศ. 2557 มียอดผลประกอบการรวม มูลค่า 73,033 ล้านบาท มูลค่าการผลิต ชุดและอุปกรณ์กีฬา 27,185 ล้านบาท มูลค่าดาเนินการสถานท่ีออกกาลังกาย การแข่งขันกีฬา 29,970 ล้านบาท 15 รวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกาย เช่น แอพพลิเคชัน โทรศัพท์มือถือ นาฬิกา ซง่ึ ตอ้ งไดร้ ับการตดิ ตามมลู คา่ ต่อไป 11 Center for Chronic Disease Prevention (CDC). A Comprehensive School Physical Activity Program. 2013. 12 Center for Chronic Disease Prevention ( CDC) . The Association Between school based PA PA education and academic performance. 2010. 13 ดร.กาญจนา แสงล้ิมสวุ รรณ และศรนยา แสงลิ้มสวุ รรณ. การท่องเที่ยวเชิงมรดกวฒั นธรรมอยา่ งยัง่ ยนื . 14 กระทรวงการทอ่ งเทย่ี วและกฬี า. แผนพฒั นาการทอ่ งเท่ยี วแหง่ ชาติ พ.ศ. 2560 - 2564. 15 กระทรวงการทอ่ งเทย่ี วและกฬี า. แผนพัฒนาการท่องเทีย่ วแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2564. 29

ดา้ นส่งิ แวดล้อม การส่งเสริมวิธีการเดินทางท่ีต้องออกแรง ได้แก่ การเดิน การปั่นจักรยาน การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ นอกจากจะเป็นการสง่ เสริมให้มกี ิจกรรมทางกาย ยังสามารถ ลดมลพิษทางอากาศและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 16 ธนาคารโลก (World Bank) ได้ทาการศึกษา พบว่า การสัญจรด้วยยานพาหนะที่ใช้เช้ือเพลิงคาร์บอนก่อให้เกิด ภาพที่ 4 รัฐบาลผุดไอเดีย แบง่ วันวิ่งรถ กา๊ ซท่เี ป็นอนั ตรายตอ่ สขุ ภาพและสิ่งแวดล้อม อาทิเชน่ ตะกั่ว จาก https://news.mthai.com โอโซน คาร์บอนมอนนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจน ไดออกไซด์ และฝุ่นขนาดเล็ก โดยในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ท้ังโลกมแี นวโน้มทจี่ ะมกี ารปลดปลอ่ ยก๊าซเหล่านม้ี ากขน้ึ ถงึ 300 เท่า ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน และเป็น สาเหตุการเสียชวี ิตกอ่ นวัยอันควรถึง 650,000 ชีวิต โดยหากเปลี่ยนการใชร้ ถยนต์เปน็ รถจักรยาน รอ้ ยละ 5 จะช่วยประหยัดน้ามันเชื้อเพลิง 22 ล้านลิตร และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งลง ร้อยละ 0.4 17 ในขณะที่การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอ้ือ (Built Environment) ต่อการเดิน การป่ันจักรยาน ผ่านการออกแบบและวางผังเมือง ให้มีทางเดินที่ร่มรื่น มีทางจักรยานท่ีปลอดภัย การพัฒนาคุณภาพ และความครอบคลุมของระบบขนส่งสาธารณะ การลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล การสร้างพื้นท่ีสาธารณะ และพ้ืนท่ีสีเขียว โดยเฉพาะในประเทศกาลังพัฒนาท่ีต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นสังคมเมือง อย่างรวดเร็ว เป็นการสร้างความเท่าเทียมเร่ืองการขนส่งมวลชน การประหยัดพลังงาน การลดมลพิษ ทางอากาศ การลดเวลาการเดินทาง การส่งเสริมสุขภาพ เศรษฐกิจ การท่องเท่ียว การพัฒนาความเป็นอยู่ และจิตใจของประชาชน และเป็นส่วนสาคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับโลก ของสหประชาชาติ 18 14 Jim Sallis. Progress in physical activity over the Olympic quadrennium. Lancet physical activity series. 2016. 15 Lindsay, G., Macmillan, A. and Woodward, A. Moving urban trips from cars to bicycles: impact on health and emissions. Australian and New Zealand Journal of Public Health, 35: 54–60. 2011. 18 Ken Gwilliam, Masami Kojima, and Todd Johnson. Reducing Air Pollution from Urban Transport. World Bank. 2004. 30

ภาพท่ี 5 การขนส่งมวลชนระบบราง ภาพท่ี 6 สวนลมุ พินี ดา้ นสังคม กิจกรรมทางกาย เป็นตัวนาไปสู่การสร้าง ภาพท่ี 7 ชมรมผูส้ ูงอายุ สังคมที่ดี เห็นได้ชัดจากชมรมออกกาลังกายในพื้นท่ี ต่างๆ ของประเทศไทย ที่นากิจกรรมทางกาย ท่ี ชื่ น ช อ บ เ ป็ น ตั ว เ ชื่ อ ม ร้ อ ย บุ ค ค ล ใ น สั ง ค ม ให้มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างสม่าเส มอและย่ังยืน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สังคมไทยได้เปล่ียนแปลงไป จากเดิม โดยมีวิถีชีวิตท่ีเน้นวัตถุนิยม บริโภคนิยม การละเลยไม่เห็นคุณค่าความเป็นไทย การใช้ เทคโนโลยเี กนิ ความจาเป็น ในชุมชนท่ีเข้มแข็งจะมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เอ้ือต่อการมีกิจกรรมทางกาย ผ่านการสร้าง สวนสาธารณะ สถานที่ออกกาลังกายท้ังในร่มและกลางแจ้ง จัดชมรมออกกาลังกาย ชมรมผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบทประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา ภูมิปัญญา และการดาเนินชีวิตในแต่ละพ้ืนที่ การจัดวางโครงสร้างผังเมืองที่เอ้ือต่อการเดินหรือปั่นจักรยานเพ่ือการสัญจรในชีวิตประจาวัน รวมถึงระบบ ขนส่งสาธารณะ อันจะช่วยสร้างพ้ืนท่ีสาธารณะ ให้ประชาชนไทยทุกกลุ่มวัยได้มีปฎิสัมพันธ์กัน อันจะนา สังคมไทยให้มีความเข้มแข็งและเกื้อกูลต่อกัน และทาให้การมีกิจกรรมทางกายเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับบริบท ชมุ ชนและยง่ั ยืน 19 19 กระทรวงสาธารณสุข. แผนยทุ ธศาสตรส์ ขุ ภาพดีวิถชี ีวิตไทย พ.ศ. 2554 – 2563. 31

1.3 ความจาเปน็ ในการมีแผนแมบ่ ทการสง่ เสริมกจิ กรรมทางกาย เพื่อประโยชนข์ องประชาชน ในระดับโลก ประเทศไทยได้มีบทบาทเก่ียวข้องในฐานะประเทศสมาชิก และได้รับรองมติ และพันธะสัญญาต่างๆ จากองค์การอนามัยโลก และสหประชาชาติ ในยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ ทเ่ี ก่ียวขอ้ งกบั การสง่ เสริมกิจกรรมทางกาย อาทิ การรับรองมติแผนยทุ ธศาสตร์โลกด้านการส่งเสรมิ กิจกรรมทางกาย (Global Strategy on Physical Activity) ขององค์การอนามัยโลก ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 57 (The 57th World Health Assembly) ปี พ.ศ.2547 โดยที่ประชุมมีมติให้ประเทศสมาชิกพัฒนาแผนยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกาย ในประเทศตน เพือ่ เปน็ การส่งเสริมการมกี จิ กรรมทางกายของประชาชน 20 การรับรองมติการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และผลักดันวาระการส่งเสริมกิจกรรรมทางกายเข้าสู่ การประชุมคู่ขนานสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 69 และการรับรองมติการลดปัญหาเด็กอ้วน ในการประชุม สมชั ชาอนามัยโลก ครงั้ ที่ 69 ในปี พ.ศ.2559 21 การรับรองมติการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก ในการประชุม คณะกรรมการบริหารองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก คร้ังที่ 69 ปี พ.ศ.2559 โดยผู้นา ประเทศด้านการสาธารณสุข 11 ประเทศ ให้ประเทศสมาชิกดาเนินการส่งเสริมกจิกรรมทางกายโดยเน้น ความสาคญั ของความรว่ มมอื จากภาคส่วนหลากหลาย ท้งั สขุ ภาพ คมนาคม ผังเมอื ง ชมุ ชน การศกึ ษา 22 การเป็นเจ้าภาพการประชุมนานาชาติว่าด้วยกิจกรรมทางกายและสุขภาพ ครั้งที่ 6 (International Congress on Physical Activity and Health 2016: ISPAH 2016) และการรับรองปฏิญญากรุงเทพฯ วา่ ด้วยกิจกรรมทางกายเพ่ือสุขภาวะโลกและการพัฒนาทีย่ ่ังยืน 23 ปี พ.ศ.2559 ท่ีประเทศไทย ซ่ึงเร่งรดั ให้มี การแสดงเจตนานงในการลงทุนและพัฒนานโยบาย เพ่ือลดกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอตลอดช่วงชีวิต บนพ้ืนฐานการมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการลดภาระโรคไม่ติดต่อเร้ือรังของโลก (Global Action Plan on 20 องค์การอนามัยโลก. มติการประชมุ สมัชชาอนามัยโลก ครง้ั ที่ 57. 2547. 21 องคก์ ารอนามัยโลก. มตกิ ารประชมุ สมัชชาอนามัยโลก ครัง้ ที่ 69. 2559. 22 องค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก. มติการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การอนามัยโลกภูมิภาค เอเชยี ใต้และตะวนั ออก ครั้งท่ี 69. 2559. 23 ปฏิญญากรุงเทพฯว่าด้วยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาวะโลกและการพัฒนาที่ยั่งยืน. การประชุมนานาชาติว่าด้วยกิจกรรม ทางกายและสขุ ภาพ ครั้งท่ี 6. 2559. 32

Prevention and Control of Noncommunicable Diseases) ปี ค.ศ.2025 24 และเป้าหมายการพัฒนา ท่ีย่ังยืน ปี ค.ศ.2030 (Sustainable Development Goals: SDGs) 25 ในการประชุมสหประชาชาติ ซึ่งมเี ปา้ หมายท่ีเกี่ยวข้องกับกจิ กรรมทางกาย หลายประการ ได้แก่ - เป้าหมายท่ี 3 การสร้างเสริมวิถีชีวิตแบบสุขภาวะ การสร้างโครงสร้างพ้ืนฐานท่ีเอ้ือให้มี กิจกรรมทางกายในการเดินทางและใช้ชีวิต เช่น การเข้าถึงการเดินและปั่นจักรยานที่ปลอดภัย การใช้ขนส่งสาธารณะ อันจะนาไปสู่การลดอุบัติเหตุทางถนน และลดการใช้ยานพาหนะ ทใ่ี ช้เครอ่ื งยนต์ ทกี่ ่อให้เกิดมลพษิ ทางอากาศ - เป้าหมายที่ 4 การศึกษาคุณภาพ ด้วยการส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนด้านกิจกรรมทางกาย ในเด็กปฐมวัยและวัยเรียน การจัดกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย อย่างเท่าเทียม เข้าถึง ท้ังเด็กหญิงและเด็กชาย มีพัฒนาการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม และความสนุกสนานในการมีกิจกรรมทางกาย อันจะนาไปสู่ความพร้อมในระดับ ประถมศกึ ษา และเพ่ิมผลสมั ฤทธิ์ทางการศกึ ษา - เป้าหมายท่ี 5 ความเท่าเทียมทางเพศ ด้วยการเพิ่มโอกาสการเล่นกีฬาและมีกิจกรรมทางกาย ในเด็กหญิงและสตรี โดยเฉพาะชุมชนชายขอบและขาดโอกาส เพื่อนาไปสู่การลดการกีดกัน และแบง่ แยกในการเลน่ กีฬาและมกี จิ กรรมทางกาย - เปา้ หมายท่ี 10 ลดความเหลื่อมล้า ดว้ ยการดาเนินนโยบาย เพอื่ สร้างประโยชน์จากกิจกรรมกีฬา และกิจกรรมทางกาย อันรวมถึงมหกรรมกีฬา เพ่ือนาไปสู่การเสริมพลังทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมอื งสาหรับทกุ คน และการสรา้ งโอกาสท่ีเทา่ เทียม - เป้าหมายท่ี 11 สังคมสาหรับทุกคน และ เป้าหมายที่ 13 การเปล่ียนแปลงภูมิอากาศ ดว้ ยนโยบายการผังเมอื งและคมนาคม เพ่ือให้เมืองและภูมิภาคต่างๆ ออกแบบโครงสร้างพ้ืนฐาน ท่ีเอ้ือต่อการเดินและปั่นจักรยาน ขนส่งสาธารณะ รวมถึงพ้ืนที่สาธารณะ พ้ืนท่ีสีเขียว และสถานที่นนั ทนาการ สาหรบั ทุกคน ลดการใชเ้ ช้ือเพลงิ ลดผลกระทบทางส่ิงแวดลอ้ มในเมือง - เป้าหมายท่ี 15 ชีวิตบนผืนแผ่นดิน ด้วยนโยบายเพื่อการเข้าถึงและใช้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เพื่อกิจกรรมทางกาย และนันทนาการ เพ่ือนาไปสู่การใช้ ชื่นชม อนุรักษ์ และฟ้ืนฟู แผ่นดิน และความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างยงั่ ยืน - เป้าหมายท่ี 16 สังคมท่ีเป็นธรรม สันติสุข และเป็นของทุกคน โดยดาเนินนโยบายเพ่ือยกระดับ ศักยภาพของการกฬี า เพ่ือพัฒนาค่านิยมสงั คม เชน่ ความเคารพ น้าใจนักกีฬา ความเปน็ อันหน่ึง อันเดียวกันของคนทุกวัย เพศ สถานะทางสังคม เช้ือชาติ และความเชื่อทางการเมือง อันนาไปสู่ การลดความรนุ แรงและขัดแย้ง 24 สหประชาชาต.ิ มติการประชมุ สหประชาชาติ. 2554 25 สหประชาชาติ. มตกิ ารประชมุ สหประชาชาติ. 2558. 33

การผลักดันมติการพัฒนาแผนปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับโลก (Global Action Plan on Physical Activity) ใ น กา รปร ะชุม คณะ กรร มกา รบริ หาร องค์ การ อนา มัยโ ลก ครั้ง ท่ี 140 ปี พ.ศ. 2561 26 หลายประเทศ ได้มีการขบั เคลื่อนการส่งเสรมิ กจิ กรรมทางกาย จากการรบั รองวาระระดับโลกดังกลา่ ว ในประเทศของตน ผ่านการจัดทาแผนยุทธศาสตร์ด้านกจิ กรรมทางกายระดับชาติ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น โดยระบุความสาคัญของการจัดทาแผนกิจกรรมทางกาย เพ่ือเพ่ิมการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพและกิจกรรมทางกายจากภาคส่วนต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วม กาหนดนโยบาย อาทเิ ช่น ภาคสุขภาพ การกีฬาและนันทนาการ การศกึ ษา ผงั เมอื ง การคมนาคมขนส่ง ชุมชน ส่งิ แวดลอ้ ม และระบวุ ่า การขาดแผนยทุ ธศาสตรด์ ้านกิจกรรมทางกายระดบั ชาติ ส่งผลให้การจัดการทรัพยากร อย่างยง่ั ยนื ต่อการจัดการปัญหาจากการมกี ิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นไปได้ยาก ประเทศไทย แม้จะมีการดาเนินการโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย และการออกกาลังกาย ต่างๆ มากมาย ในช่วงระยะเวลา ท่ีผ่านมา โดยมีการจัดสรรงบประมาณการลงทุนด้านการส่งเสริมกีฬาและ ออกกาลังกายเพื่อสุขภาพ ผ่านหน่วยงานหลกั ต่างๆ หลายพันโครงการ แตโ่ ครงการตา่ งๆ มีลักษณะเป็นไปตาม พันธกจิ ของแตล่ ะหน่วยงาน ยงั ขาดการบูรณาการร่วมกันใหเ้ กิดประโยชน์สงู สุดต่อคุณภาพชีวิตประชากร และ แผนยุทธศาสตร์ชาติท่ีมี เน้นเฉพาะการกีฬา และการออกกาลังกาย หรือนันทนาการ เป็นหลัก แต่ยังไม่มี แผนยุทธศาสตร์ที่มุ่งส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในระดับชาติ อย่างครอบคลุมตามความหมายกิจกรรมทางกาย ในชวี ติ ประจาวนั ของประชาคมโลก และตามพนั ธะสัญญาท่ีประเทศไทยมีกบั องค์กรระดบั สากล การกาหนดแผนแม่บท มีความสาคัญในการสร้างความตระหนกั ต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เป็น การกระตุ้นให้ทราบถึงปัญหาและเตรียมหามาตรการรองรับไว้ล่วงหน้า การร่วมกาหนดทิศทางให้ตรงกัน ระหว่างองค์กรภาคีและทุกฝ่ายท่ีเก่ียวข้อง และก่อให้เกิดการประสานงานและบูรณาการทางควา มคิด เพื่อผลสาเร็จในการดาเนินงาน โดยเฉพาะประเทศกาลังพัฒนาที่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจากัด มีความจาเป็น ท่ีต้องพิจารณาจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประโยชน์จากการจัดทาแผนแม่บท สามารถสรุปตาม ตารางท่ี 1 26 องคก์ ารอนามยั โลก. มติการประชุมคณะกรรมการบรหิ ารองคก์ ารอนามยั โลก ครงั้ ที่ 140. 2560. 34

ตารางท่ี 1 ประโยชนข์ องการจัดทาแผนแมบ่ ทในแต่ละข้ันกระบวนการ ขนั้ การพฒั นาแผนแมบ่ ท ประโยชน์ การกาหนดเปา้ หมายร่วม - เสนอขอ้ มูลด้านสขุ ภาพของประชากร - ช้ีให้เห็นช่องว่างขององค์ความร้แู ละนโยบาย - สนับสนุนกระบวนการเรยี งลาดบั ความสาคัญ - เพิ่มความโปร่งใสของนโยบายสขุ ภาพ - สร้างความเชอื่ ม่นั การดาเนนิ งานในแต่ละแผนงาน - เปิดพื้นทใ่ี ห้มกี ารหารือกนั การปฏิบตั กิ ารตามเปา้ หมาย - สร้างแรงบนั ดาลใจและกระตุ้นภาคีร่วมดาเนนิ การ - สรา้ งความผูกพันต่อประเด็น - เพ่มิ ความรบั ผดิ ชอบ - เสนอแนะการจดั การทรพั ยากร การตดิ ตามและประเมนิ ผล - แสดงระยะเวลาสาหรับการประเมนิ ผล - สร้างโอกาสเพ่อื การทดสอบความเปน็ ไปได้ของเป้าหมาย - สรา้ งโอกาสในการดาเนนิ งานให้ถูกต้อง - วเิ คราะห์ข้อมลู และความคลาดเคล่ือน แหลง่ ท่ีมา: Hertnen and Gunning-Schepers, 2000. ประเทศไทย เห็นความสาคัญของการส่งเสริมให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกาย และลดพฤติกรรม เนือยน่ิง อันเกี่ยวพันกับ “วิถีชีวิต” ของผู้คนในแต่ละช่วงวัย และแต่ละช่วงเวลาของวันที่จาเป็นต้อง มีการประสานเช่ือมโยงหลากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาคการศึกษา ภาคการทางาน ภาคการคมนาคมขนส่ง ภาคการบริหารจัดการเมือง ภาคการกีฬาและนันทนาการ การท่องเที่ยว ชุมชน และภาคเอกชน ภาคส่วนเหลา่ นี้ ตา่ งมีอทิ ธพิ ลให้เกดิ การส่งเสรมิ ให้เกิดการมีกจิ กรรมทางกายในชวี ิตประจาวัน อันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความสัมพันธ์ทางสังคม เอ้ือคุณประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และมีคุณูปการต่อ ความย่ังยืนดา้ นสงิ่ แวดล้อม กระทรวงสาธารณสุขและภาคีเครือข่าย ที่มีภารกิจหลักในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน จึงได้ร่วมกันจัดทาแผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561 - 2573 เพื่อนาเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบ ให้หนว่ ยงานทีเ่ กยี่ วข้องทง้ั ภาครฐั เอกชน และประชาชน ใช้เป็นกรอบแนวทางการ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศ และขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อันจะนาไป สู่การลดความเหลือ่ มล้าของสังคม และพฒั นาสขุ ภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ การจัดทาแผนแม่บทฯ ฉบับนี้ ไดค้ านึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและบรบิ ทตา่ งๆ ทั้งปจั จัย ภายในและภายนอกประเทศ การประเมินผลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายท่ีผ่านมานอกจากนี้ ยังได้คานึงถึง 35

การมีส่วนร่วมของทกุ ภาคีท่เี ก่ยี วข้องกับการสง่ เสริมกิจกรรมทางกายของประเทศ ผ่านการจดั ประชุมกลมุ่ ยอ่ ย และการจัดทาประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานภาครัฐและ เอกชน หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทุกภาคส่วน รวมไปถึงผู้เช่ียวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในวงการกิจกรรมทางกาย เพ่ือนาข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะมาประกอบการจัดทาแผนแม่บทการส่งเสริม กจิ กรรมทางกาย ดังแผนภาพกระบวนการตอ่ ไปน้ี ภาพที่ 8 กระบวนการรา่ งแผนแมบ่ ทการสง่ เสรมิ กิจกรรมทางกาย (พ.ศ. 2561 – 2573) แผนแม่บทฯ ฉบับนี้ มุ่งหวังว่า ภายในปี พ.ศ.2569 ประชาชนไทยทุกกลุ่มวัย จะมีกิจกรรมทางกายที่ เพียงพอและลดพฤติกรรมเนือยน่ิงในชีวิตประจาวัน ผ่านสภาพแวดล้อมท่ีเหมาะสม อย่างครอบคลุม ทั่วถึง เป็นรูปธรรม และย่ังยืน และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ในการจะสร้าง “ความมั่นคง มั่งค่ัง ย่ังยืน” และ พฒั นาประเทศชาติไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” และพนั ธะสัญญา ทป่ี ระเทศไทยได้รับรองในระดับโลก ตอ่ ไป สาหรับเน้ือหาในบทต่อไป จะเป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ แนวโน้ม และทิศทางการส่งเสริม กจิ กรรมทางกายในประเทศตา่ งๆ และในประเทศไทย 36

บทท่ี 2 สถานการณ์ แนวโน้ม และทิศทาง การสง่ เสริมกจิ กรรมทางกาย เนื้อหาบทน้ี จะกล่าวถึงสถานการณ์ แนวโน้ม และทิศทาง การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับโลก และในประเทศไทย เพอ่ื นาสู่การจัดทาประเด็นยุทธศาสตร์ของแผนแม่บทการสง่ เสริมกิจกรรมทางกาย ดังนี้ 2.1 สถานการณ์ แนวโน้ม และทิศทาง การสง่ เสรมิ กจิ กรรมทางกาย ในระดับโลก องค์กรระดับโลก และหลายประเทศ ที่มีความก้าวหน้าด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย มีการดาเนินงานเพ่ือส่งเสริมกิจกรรมทางกายในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะการจัดทาแผนยุทธศาสตร์และ แผนปฏิบัติการการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การศึกษาตัวอย่างในการทาแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรและ ประเทศทดี่ เี หล่านี้สามารถใช้เป็นแนวทางการจดั ทาแผนแมบ่ ทการสง่ เสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย ผลการทบทวน แผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายขององค์กรระดับโลกด้านกิจกรรมทางกาย 3 หน่วยงาน ได้แก่ แผนยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกายโลก ปี ค.ศ.2004 และแผนปฏิบัติการเพ่ือลดภาระโรค ไม่ติดต่อเรื้อรังของโลก ปี ค.ศ.2013 จากองค์การอนามัยโลก แนวทาง 7 ประการ เพ่ือการลงทุนท่ีคุ้มค่า ด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จากองค์กรขับเคล่ือนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับโลก (Global Advocy for Physical Activity) และกฎบัตรโตรอนโต (Toronto Charter) จากองค์กรส่งเสริมกิจกรรมทางกาย นา น า ช า ติ ( International Society for Physical Activity and Health) ใ น ก าร ป ร ะชุ ม น า นา ช า ติ ด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพอ่ื สขุ ภาพ และแผนยทุ ธศาสตร์ จาก 15 ประเทศ (สหรฐั อเมริกา แคนาดา คอสตาริกา ชิลี เม็กซิโก อาร์เจนตินา เวเนซูเอล่า นอร์เวย์ สเปน ไอร์แลนด์ สก็อตแลนด์ มาเลเซีย สิงคโปร์ มัลดีฟส์ และออสเตรเลีย) จาก 4 ภูมิภาค ทั่วโลก (อเมริกา ยุโรป เอเชีย และออสเตรเลีย) ซึ่งมีท้ังประเทศ พัฒนาแล้วและกาลังพัฒนา พบว่า แผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จะมีทั้งแผนเฉพาะเรื่อง กิจกรรมทางกายโดยตรง แผนภาพรวมเร่ืองสุขภาพ และแผนชาติท่ีรวมทุกประเด็น โดยสรุปเนื้อหา แผนยทุ ธศาสตรข์ องแตล่ ะประเทศ ได้ดงั นี้ 2.1.1 แผนยทุ ธศาสตร์กจิ กรรมทางกายโลก ปี ค.ศ.2004 โดยองค์การอนามัยโลก มีเป้าหมาย เพ่ือส่งเสรมิ สุขภาพ ลดโรคไมต่ ิดต่อเรื้อรัง สรา้ งความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ และสง่ เสริม การพัฒนานโยบายและองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านแนวทางการดาเนินการเพื่อส่งเสริม กิจกรรมทางกาย ในหน่วยงานต่างๆที่เก่ียวข้อง ของประเทศสมาชิก ได้แก่ บทบาทของรัฐบาลในการพัฒนา กลไกการร่วมมือระดับชาติ อันประกอบด้วยคณะกรรมการท่ีปรึกษาเช่ียวชาญสหวิชาชีพ บทบาทของ กระทรวงสาธารณสุข ในประสานงานกับกระทรวงต่างๆ และหน่วยงานภาครัฐ การพัฒนากลยุทธ์ นโยบาย แผนการดาเนินการระดับชาติ และนโยบายหลายภาคส่วน การพัฒนาแนวทางการมีกิจกรรมทางกายของ 37

ประชาชนในระดับชาติ การส่ือสารสาธารณะ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอ้ือต่อการมีกิจกรรมทางกาย ได้แก่ สิ่งอานวยความสะดวก ด้านกีฬาและนันทนาการ การขนส่ง การวางผังเมือง การศึกษา แรงงาน ความครอบคลุมทางสังคม เงินทุนด้านการดูแลสุขภาพ โรงเรียน การมีส่วนร่วมของชุมชน การเฝ้าระวัง การวิจัยและการประเมนิ การพฒั นาศกั ยภาพหนว่ ยงาน การมแี ผนงานระดบั ชาติดา้ นการเงนิ เปน็ ตน้ 2.1.2 แผนปฏิบัติการเพื่อลดภาระโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโลก (Global Action Plan on Prevention and Control of Noncommunicable Diseases) ปี ค.ศ.2013 โดยองคก์ ารอนามัยโลก มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยต้ังเป้าหมายลดการมีกิจกรรมทางกาย ไม่เพียงพอ ร้อยละ 10 ภายใน ปี ค.ศ.2025 โดยจัดลาดับการดาเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายท่ีมี ความคุ้มค่าสูง (Best and Good Buy Interventions) ที่ควรได้รับการดาเนินการ อาทิ การสื่อสารรณรงค์ การส่งเสรมิ กจิ กรรมทางกายในสถานศกึ ษา สถานท่ที างาน และชมุ ชน 2.1.3 แนวทาง 7 ประการ เพื่อการลงทุนท่ีคุ้มค่าด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยองค์กร ขับเคลือ่ นการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับโลก (Global Advocy for Physical Activity) โดยเสนอแนวทางการจัดลาดับความสาคัญของพ้ืนท่ีการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 7 ประเด็น ท่มี คี วามคมุ้ ค่ามากทส่ี ดุ ไดแ้ ก่ 1. การส่งเสรมิ กิจกรรมทางกายในสถานศึกษา 2. การสง่ เสรมิ ดา้ นคมนาคมขนส่ง ผงั เมือง และโครงการพนื้ ฐาน 3. การส่งเสรมิ การมกี ิจกรรมทางกายในชุมชน 4. การสง่ เสรมิ การมกี จิ กรรมทางกายในสถานประกอบการ 5. การสง่ เสริมการมกี จิ กรรมทางกายผา่ นกจิ กรรมนนั ทนาการ และกีฬาเพ่อื สขุ ภาพ 6. การส่งเสริมกจิ กรรมทางกายผา่ นภาคบรกิ าร 7. การสง่ เสริมกจิ กรรมทางกายดว้ ยการส่ือสาร 2.1.4 กฎบัตรโตรอนโต (Toronto Charter) โดยองค์กรส่งเสริมกิจกรรมทางกายนานาชาติ (International Society for Physical Activity and Health: ISPAH) เสนอแนวทางการสง่ เสรมิ กจิ กรรมทางกายในระบบต่างๆ ได้แก่ 1. ระบบการศึกษา ท่ีให้ความสาคัญแก่หลักสูตรกิจกรรมทางกายภาคบังคับ เน้นกีฬาท่ีไม่มุ่ง เพ่ือการแข่งขัน แต่เพื่อความสนุกสนานและการมีส่วนร่วม สร้างโอกาสให้นักเรียนมีความกระฉับกระเฉง ระหว่างชั่วโมงการเรยี นการสอน ช่วงพกั และหลงั เลกิ เรยี น 2. ระบบขนส่งมวลชน ให้ความสาคัญและจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนให้มีโครงสร้าง ทางกายภาพทเี่ ออื้ ต่อการเดนิ การปัน่ จักรยาน การขนส่งสาธารณะ 38

3. การวางแผนด้านสภาพแวดล้อมและการผังเมือง การออกแบบเมืองให้เอ้ือต่อการเดิน การป่ัน จักรยาน กิจกรรมนันทนาการ และกิจกรรมทางกายท่ีสร้างสรรค์ การเพิ่มการเข้าถึงพ้ืนท่ีสาธารณะ สาหรับประชาชนทกุ วัย ท้งั ในเขตเมืองและชนบท 4. ระบบการทางาน มีแผนงานและกจิ กรรมที่ส่งเสริมใหพ้ นักงานและครอบครัวของพนักงานมีวถิ ีชีวิต เชิงบวกท่ีเอื้อต่อสขุ ภาวะ 5. ระบบบริการสาธารณสุข มีการคัดกรอง และให้คาปรึกษาแก่ผู้ป่วย/ผู้มารับคาปรึกษา เกี่ยวกับความเหมาะสมในการมีกิจกรรมทางกาย และแนะนาให้เข้าร่วมโครงการในชุมชนสาหรับผู้ป่วย ทีม่ ีการเคลื่อนไหวไมเ่ พียงพอ โดยให้มีกจิ กรรมทางกายเปน็ สว่ นหนึ่งของแผนการรักษา 6. นโยบาย การดาเนินการ การลงทุน ส่งเสริมการบูรณาการนโยบาย แผนงาน โครงการ และการให้ความรู้การส่งเสริมกิจกรรมทางกายร่วมกับองค์กรปกครองในทุกระดับ เช่น ระดับจังหวัด ระดับทอ้ งถนิ่ โรงเรียน สถานประกอบการ 7. กีฬามวลชน นันทนาการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการกิจกรรมการออกกาลังกายและกีฬา เพ่ือทุกคนอยา่ งกวา้ งขวาง โดยเฉพาะกลุ่มคนท่ีมีโอกาสเข้าถงึ น้อย การมโี ครงสร้างพื้นฐานสาหรบั นันทนาการ ทีร่ องรบั ทกุ กลุ่มวัย เพ่มิ โอกาสสาหรับผู้พกิ าร ให้มีรูปแบบวถิ ีชวี ติ เชงิ บวกทเ่ี อ้อื ต่อสขุ ภาวะ 2.1.5 แผนยุทธศาสตร์บูรณาการสาหรับกิจกรรมทางกายและกีฬา ประเทศสหรัฐอเมริกา (US National Physical Activity Strategy) มีเป้าหมายให้ชาวอเมริกามีชีวิตท่ีกระฉับกระเฉง ท้ังการทางาน การเล่น ในส่ิงแวดล้อมที่เอื้อต่อการ มีกิจกรรมทางกาย ผ่านการจัดสภาพแวดล้อม และระบบสนับสนุนในมิติต่างๆ ได้แก่ การสาธารณสุข การศึกษา การคมนาคม การใช้ที่ดิน และการออกแบบชุมชน สวนสาธารณะ กิจกรรมนันทนาการ การออกกาลังกายและกฬี า ธุรกิจและอตุ สาหกรรม องค์กรอาสาสมัครและไมห่ วังผลกาไร ส่ือสาธารณะ 2.1.6 แผนยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกาย ประเทศแคนาดา (Pan-Canadian Physical Activity Strategy) มีเป้าหมายให้ระดับกิจกรรมทางกายของชาวแคนาดาเพ่ิมข้ึน ร้อยละ 10 ภายในปี ค.ศ.2010 โดยมีเป้าหมายระยะสั้นถึงระยะกลาง และการเพิ่มขึ้นในแต่ละจังหวัดและเขตพ้ืนที่ และสร้างสภาพแวดล้อม ท่ีชาวแคนาดาสามารถใช้ชีวิต เรียนรู้ แลกเปล่ียน ทางาน และเล่นสนุกโดยมีทางเลือกการใช้ชีวิต อย่างกระฉับกระเฉง ผ่านการส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย และมุ่งเน้น การเปล่ียนแปลงพฤติกรรมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ปรับใช้กลยุทธ์ความร่วมมือระดับชาติท่ีครอบคลุม สร้างชุมชนท่ีเป็นมิตรและส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สร้างกลไกการขับเคลื่อน ผ่าน 5 องค์ประกอบ เพ่ือดาเนินการท่ัวประเทศ ได้แก่ นโยบายสาธารณะส่งเสริมการมีสุขภาพดี สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ในชุมชน สภาพแวดล้อมทางสังคมที่สนับสนุนกิจกรรมทางกาย การศึกษาสาธารณะ การวิจัย และการแลกเปล่ยี นความรู้ 39

2.1.7 แผนกิจกรรมทางกายและสุขภาพแหง่ ชาติ ประเทศคอสตารกิ า (Plan Nacional de Actividad Física y Salud) เน้นการสร้างสถานที่ และระบบ ในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ ชุมชน และครอบครัว สถานศึกษา สถานที่ทางาน สถานพยาบาล และสถานที่/ศูนย์ ท่ีมีวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น เรือนจา บ้าน ผู้สูงอายุ ศูนย์เด็กเล็ก เป็นต้น โดยมีมาตรการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและนันทนาการใน 6 ด้าน ประกอบดว้ ย 1. ด้านวัฒนธรรมการดูแลตนเอง และความรับผิดชอบร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายถึง การมีวิถีชีวิต ที่ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้ยืนยาว และการท่ีสังคมกาหนดให้มีกิจกรรม/โครงการท่ีจะช่วยสนับสนุน วัฒนธรรมการดูแลตนเอง ดังกล่าว 2. ด้านการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการดารงชีพ โดยการรักษา บูรณะฟื้นฟู ปรับปรุง และใช้พื้นที่ ท้ังท่ีเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและท่ีมนุษย์สร้างขึ้น เพื่อเสริมสร้างกิจกรรมทางกาย การเล่นกีฬา และนนั ทนาการ อาทิ รปู แบบการเดินทางโดยวธิ กี ารเดนิ ปัน่ จกั รยาน หรอื การใช้ระบบขนสง่ มวลชนสาธารณะ การวางผังเมือง การจัดหาพื้นที่หรืออาคารสถานที่ท่ีปลอดภัยสาหรับประชาชนมีกิจกรรมทางกาย เล่นกีฬา และนนั ทนาการ 3. ด้านการพัฒนาศักยภาพประชากร อาทิ การให้มีนโยบายการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา ในโรงเรียน และการมีส่วนร่วมของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย เกยี่ วกบั การออกกาลังกายเพอ่ื การป้องกนั และรกั ษาโรค 4. ด้านการวิจัยเพื่อศึกษาผลกระทบ ความคุ้มค่าของโครงการและมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริม กจิ กรรมทางกาย 5. ด้านโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย กฬี า และนนั ทนาการ สาหรบั ประชาชนทุกช่วงกลมุ่ วัย 6. ด้านการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กร ภาคส่วนต่างๆ และประชาสังคม เพ่ือผนึกกาลัง สร้างเครือข่ายให้การดาเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ประชากรใน 5 ช่วงวัย ไดแ้ ก่ วยั เดก็ วัยเรียน วัยรุน่ ผู้ใหญ่ และผสู้ ูงวัย 2.1.8 แผนแห่งชาติด้านกิจกรรมทางกายในวัยเรียน ประเทศชิลี (Plan Nacional de Actividad Física Escolar) เน้นเพ่ิมกิจกรรมทางกายในวัยเรียน ในโรงเรียนเทศบาลทั่วประเทศ ผ่านแนวทางการจัดหาอุปกรณ์ กีฬาและจัดคอร์สเรียนกีฬาให้แก่โรงเรียน จัดทาข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงชั้นเรียนพลศึกษา จัดโครงการ \"การเคลื่อนไหวร่างกาย\" สาหรับเด็กเล็กชั้นเตรียมอนุบาล ช้ันอนุบาล ป.1 และป. 2 การพัฒนาส่ือการสอน เสริมสร้างศักยภาพครูและผู้สอน ส่งเสริมให้นักเรียนมีกิจกรรมทางกาย แบบกระฉับกระเฉงในช่วงเวลาพัก กลางวนั และพักเบรก 40

2.1.9 แผนงานระดับชาติด้านวัฒนธรรมทางกายและกีฬา ประเทศเม็กซิโก (Programa Nacional de Cultura Fisica y Deporte) เน้นการส่งเสริมด้านกีฬา โดยการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของประเทศด้านการกีฬา จาก 10 มุมมอง คือ กีฬากับการศึกษา กีฬาข้ันพื้นฐาน กีฬาข้ันเลิศ กีฬากับคนพิการ กีฬากับความเชื่อมโยงในด้าน ต่างๆ กีฬากับระเบียบข้อบังคับ กีฬาในฐานะกิจกรรมทางสังคม กีฬาอาชีพ โครงสร้างพื้นฐานด้านกีฬา และ การพัฒนาศักยภาพดา้ นกฬี า 2.1.10 แผนการลดโรคไมต่ ดิ ตอ่ เรือ้ รงั และพฤตกิ รรมเนอื ยน่งิ ประเทศอาร์เจนตนิ า เน้นการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเร้ือรัง ในกลุ่มผู้ป่วยโรคต่างๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหวั ใจ โรคอว้ น ผู้ไดร้ บั การผา่ ตัดปลกู ถ่ายอวัยวะ และผู้มพี ฤตกิ รรมเนอื ยน่ิง 2.1.11 แผนแห่งชาติด้านกีฬา กิจกรรมทางกาย และพลศึกษา ประเทศเวเนซุเอลา (Plan Nacional de Deporte, Actividad Física y Educación Física) เน้นการสง่ เสรมิ ดา้ นกีฬา ในระบบตา่ งๆ 2.1.12 แผนกลยุทธ์ด้านโรคไม่ตดิ ตอ่ ประเทศนอรเ์ วย์ เน้นส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้เอ้ือต่อการมีกิจกรรมทางกาย การรณรงค์กิจกรรมทางกาย การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กิจกรรมกลางแจ้ง ของกระทรวงส่ิงแวดล้อม และดาเนนิ งานด้านคมนาคมท่ีเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การขับเคลื่อนแผนคมนาคมแห่งชาติ ค.ศ.2014 - 2023 (National transport plan 2014 – 2023) ยุทธศาสตร์การเดินแห่งชาติ (National walking strategy) และยุทธศาสตร์การใช้ จักรยานแหง่ ชาติ (National cycling strategy) 2.1.13 แผนบรู ณาการกิจกรรมทางกายและกฬี า ประเทศสเปน เน้นส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกลุ่มวัย และสร้างสภาพแวดล้อมให้เอ้ือต่อการมีกิจกรรมทางกาย มีการดาเนนิ งานใน 3 ระดับ 8 ดา้ น คือ 1. ระดบั พน้ื ฐาน ได้แก่ กจิ กรรมทางกายและกีฬากบั สขุ ภาพ กิจกรรมทางกายและกีฬาในวยั เรียน 2. ระดับเฉพาะกลุ่ม ได้แก่ กิจกรรมทางกายและกีฬาในที่ทางาน กิจกรรมทางกายและกีฬา ในมหาวิทยาลัย กิจกรรมทางกายและกีฬากับความพิการ กิจกรรมทางกายและกีฬาในผู้สูงอายุ กจิ กรรมทางกายและกฬี าเพ่อื การหลอมรวมทางสังคม 3. ระดับอ่นื ๆ ได้แก่ กิจกรรมทางกายและกีฬาในผหู้ ญิง 41

2.1.14 แผนกิจกรรมด้านกจิ กรรมทางกายประเทศไอร์แลนด์ (Nation Physical Activity Plan for Ireland) กาหนดข้อแนะนาการมีกิจกรรมทางกายในแต่ละกลุ่มวัย: อายุ 2 - 18 ปี มีกิจกรรมทางกาย อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน อายุ 18 - 64 ปี มีกิจกรรมทางกาย อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน อายุ 65 ปีขึ้นไป มีกิจกรรมทางกายเหมอื นอายุ 18 - 64 ปี โดยเพ่ิมเติมความสมดลุ ของร่างกาย 2.1.15 แผนกิจกรรมทางกายแห่งชาติประเทศสก็อตแลนด์ (Let’s make Scotland more active: A Strategy for Physical Activity) เป้าหมายท่ีประชากรที่มีอายุมากกว่า 16 ปี ร้อยละ 50 และเด็กท่ีมีอายุ 16 ปี หรือน้อยกว่าร้อยละ 80 มีกิจกรรมทางกายตามเกณฑ์ท่ีแนะนา โดยการสร้างสภาพแวดล้อม และระบบสนับสนุน ให้เอื้อต่อการ มีกิจกรรมทางกาย เพ่ือเพิ่มสัดส่วนของชาวสก็อตแลนด์ ท่ีมีความกระฉับกระเฉง ในปี ค.ศ.2022 มี 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. พัฒนาและคงไว้ซ่ึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพท่ียั่งยืนและมีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ทเี่ นือยน่งิ มีความกระฉับกระเฉง 2. ใหค้ าแนะนาเชงิ ประจักษ์และถูกตอ้ งต่อบุคลากรท่ีเกย่ี วข้องกับนโยบายระดบั รฐั บาล 3. สร้างการรับรู้และพัฒนาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของกิจกรรมทางกาย และการเขา้ ถึงข้อมลู 4. ทาการวจิ ยั ตดิ ตาม และประเมินผล 2.1.16 แผนชาติการสง่ เสริมการกีฬาเพื่อความเป็นเลศิ ประเทศมาเลเซีย (Eleventh Malaysia Plan) สนับสนุนการมีส่วนร่วมในกีฬาท่ีได้รับความสนใจอย่างสูงในสังคมทกุ กลุ่มวัย เพื่อให้ประชาชนซึมซับ วัฒนธรรมด้านกีฬา ผ่านความร่วมมือระหว่างรัฐบาล หน่วยงานเอกชน และองค์กรไม่แสวงหาผลกาไร พัฒนาความเป็นผู้นาด้านกีฬาในเยาวชน พัฒนานักกีฬาท่ีมีศักยภาพสูงเพ่ือสร้างความโดดเด่นในระดับโลก และเปน็ เจา้ ภาพการแข่งขันกีฬาระดบั นานาชาติ 2.1.17 แผนแม่บทการดารงชีวิตอย่างมีความสุข ประเทศสงิ คโปร์ (Happy Living Master Plan) โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ให้การเข้าถึงส่ิงอานวยความสะดวก และสวนสาธารณะฟรี เพ่ือกระตุ้นและสนับสนุนให้คนทากิจกรรมทางกาย โครงการนาร่องท่ีสนับสนุน กจิ กรรมทางกายและการมสี ขุ ภาพจิตดี เรยี กว่า “Sundays at the Park” ท่ีสวนสาธารณะ Chao Chu Kang และ Sembawang ในปี ค.ศ.2013 42

2.1.18 แผนบูรณาการลดโรคไม่ติดต่อเร้ือรัง ประเทศมัลดีล์ฟ (Multi-sectoral Action Plan for The Prevention and Control of Noncommunicable Diseases) ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในประชาชนทุกกลุ่มวัย ในสถานที่ต่างๆ รวมถึงการสร้างระบบสนับสนุน ผา่ นการพัฒนาแนวปฏิบัติ ด้านกิจกรรมทางกายระดับชาติในทุกกล่มุ วัย ในบรบิ ทการดาเนนิ การท่ีหลากหลาย การส่งเสริมวิถีชีวิต สุขภาพดีในโรงเรียนและสถานท่ีทางาน จัดเตรียมการออกแบบโครงสร้างชุมชนเมือง ภายใตแ้ ผนระยะส้นั (ค.ศ. 2017) และแผนระยะกลาง (ค.ศ. 2020) 2.1.19 กรอบการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ประเทศออสเตรเลีย (Active Living for All: A Framework for Physical Activity in Western Australia 2012-2016) มีเป้าหมายการเพ่ิมสัดส่วนของเด็กและผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติตามแนวทางกิจกรรมทางกาย ร้อยละ 15 ภายในปี ค.ศ.2016 เพื่อให้เวสเทิร์นออสเตรเลียเป็นรัฐท่ีกระฉับกระเฉงท่ีสุดในออสเตรเลีย ผ่านการพัฒนา นโยบายสาธารณะ สรา้ งสภาพแวดล้อมและแผนงานที่เหมาะสม สร้างแรงกระตุ้นและความเขา้ ใจตอ่ สาธารณะ ส่งเสริมการเป็นพนั ธมติ รและบูรณาการ และเพมิ่ งานวจิ ยั สู่การปฏิบัติ การศกึ ษาทบทวนแนวทางการส่งเสรมิ กิจกรรมทางกายของประเทศต้นแบบดังกล่าว สามารถสรุป ประเดน็ แนวคิดและยทุ ธศาสตร์ ได้ 3 ประการ ดังน้ี 1) ประเด็นการสง่ เสรมิ กจิ กรรมทางกายในบุคคลกลุ่มวัยต่างๆ เช่น เด็กเล็ก เด็ก วัยร่นุ ผใู้ หญ่ ผู้สงู วัย กลุ่มพิเศษ ผ่านการทางานของหน่วยงานในพ้ืนที่ และการรับรู้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และวัฒนธรรม การดแู ลตนเองของประชาชน 2) ประเด็นการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานท่ีหรือระบบต่างๆ เช่น ระบบการศึกษา การทางาน ชุมชน ผังเมือง คมนาคม การกีฬา นันทนาการ สวนสาธารณะ และสาธารณสุข ผ่านสภาพแวดล้อมท่ีเอื้อต่อ การมกี ิจกรรมทางกาย ทั้งด้านโครงสรา้ งกายภาพ นโยบาย และกิจกรรม 3) ประเด็นการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการพัฒนาระบบสนับสนุน เช่น การวิจัย การสื่อสาร การพฒั นาศักยภาพบุคลากร นโยบาย การลงทุน ฐานข้อมูล การประเมินและติดตามผล การบริหารเครือข่าย และสร้างภาคี เปน็ ตน้ 43

2.2 สถานการณ์ แนวโน้ม และทศิ ทาง การสง่ เสรมิ กจิ กรรมทางกาย ในประเทศไทย ระดับกิจกรรมทางกายในประชากรไทย ได้รับการสารวจจากหลายหน่วยงาน อาทิ สานักงาน สารวจสุขภาพประชาชนไทยด้วยการตรวจร่างกาย 27 กรมอนามัย 28 กรมควบคุมโรค 29 สถาบันวิจัย ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล 30 สานักงานสถิตแิ ห่งชาติ 31 รายงานผลวา่ ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ประชาชนไทยประมาณ 1 ใน 3 มีกิจกรรมทางกายไม่เพยี งพอ ภาพท่ี 9 ระดับกจิ กรรมทางกายในประชากรไทย จาก สถาบนั วจิ ยั ประชากรและสังคม มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล 27 สานกั งานสารวจสุขภาพประชาชนไทยด้วยการตรวจรา่ งกาย. สถานการณส์ ุขภาพประชาชนไทย พ.ศ.2546 พ.ศ.2551 พ.ศ.2558 28 กองออกกาลังกายเพอ่ื สุขภาพ กรมอนามัย. สถานการณก์ ารเคลอื่ นไหวออกแรงของคนไทย พ.ศ.2547 พ.ศ.2548 พ.ศ.2549 พ.ศ.2550 พ.ศ.2552 29 สานกั โรคไม่ตดิ ต่อ กรมควบคมุ โรค. สถานการณพ์ ฤติกรรมเส่ยี งทางสขุ ภาพของคนไทย พ.ศ.2548 พ.ศ.2550 พ.ศ.2553 พ.ศ.2558 30 สถาบนั วิจัยประชากรและสังคม มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล. รายงานการสารวจการมกี จิ กรรมทางกายของคนไทย พ.ศ.2555 พ.ศ.2556 พ.ศ.2557 พ.ศ.2558 พ.ศ.2559 31 สานักงานสถิติแหง่ ชาต.ิ รายงานการสารวจอนามัยและสวัสดกิ ารของคนไทย พ.ศ.2558 44

โดยข้อมูลของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ที่สารวจระดับกิจกรรมทางกาย และพฤติกรรมเนือยน่ิงโดยเฉพาะ ติดต่อกันทุกปี ใน 5 ปีที่ผ่านมา และยังครอบคลุมตั้งแต่วัยเด็ก พบว่า วัยเด็กและวัยรุ่นมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ร้อยละ 27 วัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 7132 วัยสูงอายุ ร้อยละ 70 สาหรับเด็กปฐมวัย (0 – 5 ปี) ยังไม่มีข้อมูลสถานการณ์กิจกรรมทางกาย เนื่องจากการสารวจยังไม่ครอบคลุม แต่จากรายงานพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดหลัก (Gross Motor) ซ่ึงเป็นผลจากการเคล่ือนไหวของเด็ก ในการสารวจการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของกระทรวงสาธารณสุข (DSPM) พบว่า เด็กปฐมวัย ร้อยละ 5.8 มปี ญั หาพฒั นาการของกล้ามเน้อื มดั หลัก 33 ส่วนระยะเวลาการมพี ฤติกรรมเนอื ยน่ิงในแตล่ ะวันของคนไทย ในชว่ ง 5 ปี ที่ผา่ นมา พบว่าสงู ถงึ เกอื บ 14 ชัว่ โมงตอ่ วนั และมแี นวโน้มจะเพิ่มมากขน้ึ 34 ดังภาพ ภาพที่ 10 ระดบั พฤติกรรมเนอื ยนงิ่ ในประชากรไทย จากสถาบันวจิ ยั ประชากรและสงั คม มหาวทิ ยาลยั มหิดล ข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ยังมีประชาชนไทยจานวนมากท่ียังมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ในขณะที่ระยะเวลาการมีพฤติกรรมเนือยน่ิงในแต่ละวันก็มีมากอย่างน่ากังวล จึงมีความจาเป็น ที่จะต้องมีดาเนินการเพ่ือส่งเสริมกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งอย่างเป็นระบบ และมีส่วนร่วม จากทกุ ภาคส่วนทเ่ี กย่ี วขอ้ ง 32 33 สถาบันวิจัยประชากรและสงั คม มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล. รายงานการสารวจการมกี ิจกรรมทางกายของคนไทย. 2559. 34 กระทรวงสาธารณสุข. ผลการสารวจการเฝา้ ระวังและส่งเสริมพฒั นาการเดก็ ปฐมวยั (DSPM). 2560 45

ในประเทศไทย มีหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายหลายภาคส่วน ซ่ึงมีนโยบาย ภารกิจ และผลการดาเนินการที่หลากหลาย โดยสามารถสรุปเป็นแผนภาพและรายละเอียด ดงั ต่อไปนี้ ภาพท่ี 11 หน่วยงาน และนโยบาย ทเี่ กีย่ วข้องกับการส่งเสรมิ กจิ กรรมทางกาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกั รไทย พ.ศ.2560 ระบุหน้าท่ีรัฐในการส่งเสริมสุขภาพประชาชน ในมาตรา 55 “รัฐต้องดาเนินการให้ประชาชนได้รับ การบริการสาธารณสุขท่ีมีประสิทธิภาพอย่างท่ัวถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พ้ืนฐานที่เก่ียวกับการ สง่ เสริมสขุ ภาพและการป้องกันโรค” และมาตรา 71 วรรคแรก “รัฐพึงเสริมสร้างความเขม้ แข็งของครอบครัว อันเป็นองค์ประกอบพ้ืนฐานท่ีสาคัญของสังคม จัดให้ประชาชนมีท่ีอยู่อาศัยอย่างเหมาะสม ส่งเสริมและ พฒั นาการสรา้ งเสริมสุขภาพเพื่อใหป้ ระชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีจิตใจเขม้ แข็ง รวมตลอดทั้งส่งเสริมและ พัฒนาการกีฬาให้ไปสู่ความเป็นเลิศและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน” ซ่ึงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย มีความสอดคล้องกบั ร่างรัฐธรรมนญู นโยบายรัฐบาล 1. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) กาหนดทิศทางของประเทศในระยะยาว เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์“ประเทศไทยมีความม่ันคง มั่งคั่ง ย่ังยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ด้วยการมุ่งเน้นการปฏิรูปและการพัฒนากลไกการบริหารราชการแผ่นดิน 46

ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้สามารถนาไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ซ่ึงจะช่วยยกระดับคุณภาพของประเทศ ในทุกภาคส่วนและนาพาประเทศไทยให้หลุดพ้นท้ังปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาความเหลื่อมล้า ปัญหาการทุจริตคอรัปช่ัน และปัญหาความขัดแย้งในสังคม ตลอดจนสามารถรับมือกับภัยคุกคามและบริหาร จัดการกับความเส่ียงท่ีจะเกิดขึ้นในอนาคต และสามารถเปล่ียนผ่านประเทศไทยไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง ภูมิทัศน์ใหม่ของโลกได้ สาหรับยุทธศาสตร์ท่ีเก่ียวข้องกับซ่ึงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ “ยุทธศาสตร์ การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน” ซึ่งมุ่งเน้นในการพัฒนาเพ่ือให้ประชาชนทุกช่วงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และไดร้ ับการบรกิ ารทางสงั คมท่ีมคี ุณภาพ ซง่ึ การส่งเสรมิ กจิ กรรมทางกาย เป็นส่วนหนึ่งในการนาประเทศไปสู่ วิสยั ทศั นข์ องยทุ ธศาสตร์ชาติ 20 ปี 2. ประเทศไทย 4.0 โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ เพ่ือพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่การเป็นประเทศรายได้ สูง ขับเคล่ือนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม โมเดลประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วยกลไกการขับเคล่ือน (New Growth Engine) 3 กลไกสาคัญ คือ 1) กลไกขับเคลื่อนผ่านการสร้างและยกระดับผลติ ภาพ (Productive Growth Engine) 2) กลไกขบั เคล่ือนท่ีประชาชนมีส่วนรว่ มอย่างเทา่ เทียมและท่วั ถึง (Inclusive Growth Engine) 3) กลไกการขับเคลื่อนทเ่ี ปน็ มิตรกบั ส่ิงแวดลอ้ มอย่างย่งั ยืน (Green Growth Engine) ซึ่งจาเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ให้มีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน เพื่อนาไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมท่ีสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น อุตสาหกรรมสุขภาพ อตุ สาหกรรมการกฬี า ซ่ึงการส่งเสริมกจิ กรรมทางกายมคี วามสอดคล้องกบั โมเดลประเทศไทย 4.0 3. นโยบายของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายกรัฐมนตรี ผ่านยุทธศาสตร์ การสรา้ งประเทศไทย ให้มัน่ คง มงั่ คงั่ และย่ังยนื โดยเน้นการลดความเหลื่อมลา้ ของสังคม และการสรา้ งโอกาส การเข้าถงึ บริการของรัฐ การเตรียมความพรอ้ มเขา้ สู่สงั คมผู้สูงอายุ การศกึ ษาและเรยี นรู้ การยกระดับคณุ ภาพ บริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน เน้นการป้องกันโรคมากกว่ารอใหป้ ่วยแล้วรักษา และมกี ลไก กองทุนท้องถิ่นในการสร้างเสริมสุขภาพ จากสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และองค์กร ปกครองส่วนท้องถ่ินรวมถึงการกาหนดนโยบาย ให้บุคลากรในหน่วยงานราชการออกกาลังกายทุกวันพุธ เพ่ือให้มีการต่ืนตัวในการทางาน การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และเป็นแบบอย่างการดาเนิน ชีวติ ประจาวนั ของประชาชน ซ่ึงการสง่ เสริมกิจกรรมทางกายมคี วามสอดคลอ้ งกับนโยบายนายกรัฐมนตรี 4. ยุทธศาสตร์ประชารัฐ เป้าประสงค์ให้เกิดความร่วมมือกันทางานของภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน อย่างใกล้ชิด อันจะนาไปสู่การขับเคล่ือนการปฏิรูปประเทศ ไปสู่เป้าหมายที่จะลด ความเหลื่อมล้า พัฒนาคุณภาพคน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการขับเคล่ือนผ่าน ยุทธศาสตร์ 4 เสาหลัก ประกอบด้วย (1) การมีธรรมาภิบาล (2) การสร้างนวัตกรรมและผลิตภาพ (Productivity) (3) ยกระดับคุณภาพทุนมนุษย์ และ (4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพ่ือความมั่งคั่งของประเทศ ซง่ึ การสง่ เสริมกจิ กรรมทางกาย มคี วามสอดคลอ้ งกบั ยุทธศาสตร์ประชารฐั 47

5. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับท่ี 12 (พ.ศ.2560 - 2564) กาหนดกรอบ วิสัยทัศน์ และเป้าหมาย มุ่งสู่การเปล่ียนผ่านประเทศไทย จากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มี รายได้สูง มีความม่ันคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การพัฒนาศักยภาพคนให้สนับสนุนการ เจริญเติบโตของประเทศ การสร้างสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ การลดความเหล่ือมล้าในสังคม การกระจาย รายได้ บริการทางสังคมมีคุณภาพ และมีการกระจายอย่างท่ัวถึง และขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคม ท่ีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการส่งเสริมกิจกรรมทางกายมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาตฉิ บบั ที่ 12 นโยบายของหนว่ ยงานหลกั 1. กระทรวงสาธารณสุข ผ่านแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุขเน้นการมีชีวิต ที่กระฉับกระเฉง (Active Living) ของประชาชนทุกกลุ่มวัย อาชีพ และสถานท่ี และแผนพัฒนาสุขภาพ แห่งชาติ ฉบับท่ี 12 (พ.ศ.2560 - 2564) ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 12 และการมหี นว่ ยงานหลกั ในการสง่ เสรมิ กิจกรรมทางกาย ได้แก่ กองกจิ กรรมทางกายเพ่อื สุขภาพ กรมอนามัย 2. สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสขุ ภาพ พ.ศ. 2544 เน้นการสง่ เสรมิ กิจกรรมทางกายของประชาชนตามกลุ่มวัย รวมถึงพัฒนา องคค์ วามร้กู จิ กรรมทางกายท่เี หมาะสมกับช่วงวัย การสร้างนวัตกรรม ความรู้ และตน้ แบบ การรณรงค์ส่งเสริม การมกี จิ กรรมทางกายเพื่อป้องกันภาวะน้าหนกั เกินและโรคอ้วน 3. กระทรวงการท่องเท่ียวและกีฬา ผ่านยุทธศาสตร์การท่องเท่ียวและกีฬา โดยกรมพลศึกษา ในการส่งเสริมและพัฒนาการพลศึกษา กีฬาขั้นพ้ืนฐาน กีฬาเพื่อมวลชน นันทนาการ และวิทยาศาสตร์ การกีฬา เพือ่ ให้เยาวชนและประชาชนมีสุขภาพและพลานามยั ที่แข็งแรง พระราชบัญญตั ิการกฬี าแห่งประเทศ ไทย พ.ศ. 2558 โดยการจัดต้ังคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย คณะกรรมการกีฬาจังหวัดในแต่ละ จังหวัด แผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2555 – 2559) และแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 6 (พ.ศ. 2561 – 2564) อันมียุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมใหเ้ กดิ ความรู้และความตระหนัก ด้านการ ออกกาลังกาย และการกีฬาข้ันพื้นฐาน และยุทธศาสตร์ท่ี 2 การส่งเสริมให้มวลชนมีการออกกาลังกายและมี ส่วนร่วมในกิจกรรมการกีฬา ซ่ึงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงการ ทอ่ งเท่ียวและกฬี า 4. สถาบันการพลศึกษา ผ่านพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา และยุทธศาสตร์สถาบัน การพลศึกษา พ.ศ.2556 - 2561 เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรทางพลศึกษา การกีฬา วิทยาศาสตร์ การกีฬา วิทยาศาสตร์สุขภาพ นันทนาการ และบุคลากรในด้านท่ีเก่ียวข้อง ซึ่งการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย มคี วามสอดคลอ้ งกบั นโยบายสถาบนั การพลศึกษา 48

5. กระทรวงมหาดไทย ผ่านยุทธศาสตร์การผังเมือง โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ในการวาง ผังเมืองระดับต่างๆ การโยธาธิการการออกแบบการก่อสร้างและการควบคุมการก่อสร้างอาคาร ดาเนินการ และสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินในด้านการพัฒนาเมือง พื้นที่ และชนบท โดยการกาหนดและกากับ ดูแลนโยบายการใช้ประโยชน์ท่ีดิน และยุทธศาสตร์การส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถ่ินผ่านกรมส่งเสริม การปกครองท้องถ่ิน เพ่ือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินส่งเสริมสุขภาพประชาชน ซ่ึงการส่งเสริม กจิ กรรมทางกายมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงมหาดไทย 6. กระทรวงศึกษาธิการ ผ่านแผนพัฒนาการศึกษาของสานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564) ในการจัดทาแผนแม่บทด้านการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม การพัฒนาระบบ รูปแบบ หลักสูตร และวิธีการจัดการศึกษา ร่วมกับกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา ในการจัดหลักสูตรพลศึกษา และการเรียนนอกหลักสูตร เช่น ลูกเสือ เนตรนารี พัฒนาโรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพ ที่มีการส่งเสริมการออกกาลังกายในโรงเรียน ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และนโยบายลดเวลาเรียน เพ่ิมเวลารู้ ด้วยการลดเวลาการนั่งเรียนในห้อง ไปเรียนรู้นอกห้องเรียน และนอกหลักสูตรแทน ซึ่งการส่งเสริมกิจกรรมทางกายมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษา ของสานกั งานปลดั กระทรวงศกึ ษาธกิ าร 7. กระทรวงแรงงาน ผ่านยุทธศาสตร์การพัฒนาแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในการกาหนดและพัฒนามาตรฐานแรงงาน รวมทั้งการส่งเสริม กากับ ดูแล ให้การรับรองสถานประกอบ กิจการท่ีมีการบริหารจัดการตามมาตรฐานแรงงานท่ีสอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานสากล คุ้มครองและดูแล แรงงานทั้งในและนอกระบบ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามท่ีกฎหมายกาหนดและมีคุณภาพชีวิตท่ีดี ดาเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาระบบความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน และส่งเสริม และดาเนินการให้มกี ารจัดสวัสดิการแรงงาน ซึ่งการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ การพัฒนาแรงงาน 8. กระทรวงคมนาคม ผ่านยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานด้านคมนาคมขนส่ง (พ.ศ. 2558 - 2565) โดยสานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เน้นการสง่ เสรมิ โครงสรา้ ง พื้นฐานทางรถไฟ ถนน นา้ อากาศ เขตกรุงเทพและปริมณฑล ชายแดน โดยปรับเปล่ียนรูปแบบการขนส่งทาง ถนนเป็นหลัก ไปใช้การขนส่งท่ีเป็นรูปแบบท่ีมีต้นทุนต่อหน่วยต่ากว่า เช่น การขนส่งทางราง เสริมสร้างการ ขนส่ง ท่ีเป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อมและย่ังยืน การเร่งรัดขยายเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 10 สาย 299 กิโลเมตร รองรับการเดินทาง 5-8 ล้านคนเที่ยว/วัน การเปล่ียนรถโดยสารประจาทาง ให้ประชาชนได้ใช้รถที่ได้มาตรฐาน ใช้เชื้อเพลิงที่ประหยัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดมลพิษในเขตเมือง ให้สัดส่วนการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะกับการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล เท่ากับ ร้อยละ 60 ต่อ 40 ซึ่งการส่งเสริมกิจกรรมทางกายมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานด้านคมนาคม ขนสง่ ของไทย 49

9. กระทรวงการพฒั นาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ ผา่ นพระราชบัญญตั ิสง่ เสรมิ การพฒั นาเด็ก และเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติส่งเสริม การจัด สวัสดิการสังคม พ.ศ.2546 ให้มีระบบการจัดบริการทางสังคม ซึ่งเก่ียวกับการป้องกัน การแก้ไขปัญหา การพัฒนา และการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม เพื่อตอบสนองความจาเป็นข้ันพ้ืนฐานของประชาชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้อย่างทั่วถึง เหมาะสมเป็นธรร ม และให้เป็นไปตามมาตรฐาน ท้ังด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การทางาน และการมีรายได้ นันทนาการ กระบวนการยุติธรรม และบริการทางสังคมท่ัวไป โดยคานึงถึงศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิที่ประชาชนได้รับ และการมีส่วนร่วม ซ่งึ การสง่ เสรมิ กจิ กรรมทางกาย มคี วามสอดคลอ้ งกบั พระราชบัญญัตดิ งั กลา่ ว 10. องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน ผ่านพระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน พ.ศ.2542 โดยมีการกาหนดนโยบาย ดาเนินการ บริหารงบประมาณ เพื่อตอบความต้องการของประชาชนในท้องถ่ิน ในการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนทุกกลุ่มวัย ผ่านการจัดหา สวนสาธารณะ ฟติ เนส สถานท่ีออกกาลังกาย ชมรมออกกาลังกาย สถานทีท่ ่องเท่ียวและพักผ่อนหย่อนใจการ ผังเมือง ทางจักรยาน ทางเดินเท้า จัดทาหลักสูตรการเรียนการสอนในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน ดูแลกากับสถาน ประกอบการ เป็นต้น โดยเม่ือพิจารณาการดาเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของหน่วยงานในประเทศไทยขา้ งต้นสามารถ สรปุ การดาเนินการทสี่ าคัญ ตามกรอบแนวคิด กลุ่มวัย สถานที่ และระบบสนับสนนุ 5 ประเดน็ ดังน้ี 1) การสง่ เสริมกิจกรรมทางกายสาหรบั เดก็ ปฐมวยั วัยเรยี นและวัยรุน่ ในสถานศึกษา 2) การส่งเสริมกจิ กรรมทางกายสาหรับวยั ทางาน ในสถานประกอบการ 3) การส่งเสริมกิจกรรมทางกายสาหรับทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัย ในชุมชน กีฬามวลชน การคมนาคมและการผงั เมอื ง 4) การสง่ เสรมิ กจิ กรรมทางกายในระบบบรกิ ารสาธารณสขุ 5) การพัฒนาระบบการสง่ เสริมกิจกรรมทางกาย 1. การสง่ เสรมิ การมกี ิจกรรมทางกายสาหรบั เดก็ ปฐมวยั วยั เรียนและวยั รนุ่ ในสถานศึกษา เด็กปฐมวัย วัยเรยี นและวยั รุ่น และสถานศกึ ษา เด็กปฐมวัย วัยเรียนและวัยรุ่น เป็นกลุ่มวัยสาคัญท่ีจะเติบโตขึ้นเป็นพลเมืองท่ีมีคุณภาพของประเทศ อย่างไรก็ตาม ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัจจุบัน ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมเนือยน่ิง โดยนั่งอยู่กับที่ มากข้ึน เช่น การใช้เวลาในห้องเรียน การใช้โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต การเดินทาง ด้วยรถยนต์ส่วนตัวท่ามกลางการจราจรท่ีติดขัด เป็นต้น ในส่วนของสถานศึกษา นับตั้งแต่ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และมหาวิทยาลัย ถอื เป็นสงิ่ แวดล้อมหนึ่งทม่ี ีอิทธิพล 50


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook