Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การพัฒนาครูสังคมศึกษาในฐานะนวัตกรการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในยุคดิจิทัล

การพัฒนาครูสังคมศึกษาในฐานะนวัตกรการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในยุคดิจิทัล

Published by Racchaneekorn Hongphanut, 2021-08-30 09:17:15

Description: การพัฒนาครูสังคมศึกษาในฐานะนวัตกรการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในยุคดิจิทัล

Keywords: ครูสังคมศึกษา,นวัตกรการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์,ยุคดิจิทัล

Search

Read the Text Version

การพัฒนาครสู ังคมศกึ ษาในฐานะนวตั กรการจดั การเรยี นรปู้ ระวตั ศิ าสตร์ ในยุคดิจทิ ัล Development History Teachers As Innovators for History Learning Management In Digital Age ISBN 978-616-586-356-8 ราคา 200 บาท พมิ พค์ รั้งท่ี 1 พ.ศ. 2564 จำนวน 200 เลม่ ผู้เขยี น ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.รชั นีกร หงสพ์ นัส ศลิ ปกรรม อาทติ ยา บัวแสง สงวนลิขสทิ ธิ์ตามพระราชบัญญตั ิลิขสิทธิ์ (ฉบบั เพม่ิ เติม) พ.ศ. 2558 หา้ มลอกเลยี นแบบหรอื คัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งของหนงั สอื เลม่ น้ี ยกเวน้ แตไ่ ด้รับอนญุ าตเป็นลายลกั ษณ์อักษรจากผ้เู ขียน จดั พิมพ์โดย รชั นีกร หงส์พนัส 14/22 หมูบ่ า้ นสวยรมิ ธาร 2 ถนนทวีวฒั นา-กาญจนาภิเษก แขวงทววี ัฒนา เขตทววี ัฒนา กทม. 10730 โทร. 02 2227039 โทรสาร 02 2256858 [email protected] พิมพ์ท่ี บรษิ ทั พรรณพี ร้นิ ต้ิงเซน็ เตอร์ จำกดั แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรงุ เทพฯ 10330 โทร. 089-182-1672

คำนำ ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติ ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สารสนเทศและการปรับเปลย่ี นโครงสรา้ งเศรษฐกิจการเมอื งโลก การเปลี่ยนแปลงน้ี มีผลทำใหป้ ระเทศต่าง ๆ ในโลกตอ้ งพึ่งพาอาศัยซึง่ กนั และกัน และมคี วามเชื่อมโยง ระหว่างกันมากขึ้น โลกที่เคยกว้างใหญ่ ดินแดนแต่ละประเทศที่อยู่ห่างไกลกัน สามารถติดต่อกันได้ภายในเวลาเสี้ยววินาทีประดุจเป็นหมู่บ้านเดียวกัน (Global Village) ภูเขาและทะเลซึง่ เป็นพรมแดนธรรมชาตทิ ีเ่ คยเป็นอปุ สรรคในการติดต่อไป มาหาสู่ ดูเสมือนเลอื นหายไปจนกลายเป็นโลกไรพ้ รมแดน โดยเฉพาะในยุคปกตใิ หม่ (New Normal) หรือในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ที่ผูกติดกับยุค โลกาภิวัตน์ (Globalization) ซึ่งทำให้โลกรวมเป็นหนึ่งเดียว ผู้ที่สามารถรับมือกับ การเปลี่ยนแปลง และปรับตัวอย่างชาญฉลาดก็จะสามารถฟื้นตัวจากวิกฤติได้อยา่ ง รวดเรว็ หนงั สือ “การพัฒนาครูสังคมศึกษาในฐานะนวัตกรการจัดการเรียนรูป้ ระวตั ิศาสตร์ในยุค ดิจิทัล”(Development of History Teachers As Innovators for History Learning Management In Digital Age) เล่มนี้ มีแนวคิดที่จะพัฒนาครูสังคม ศึกษาที่จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ให้มีศักยภาพและเพิม่ บทบาทการเป็นนวัต กรการจัดการเรยี นรปู้ ระวัติศาสตรใ์ นยุคดิจิทลั โดยประกอบด้วยรายละเอียดเนอ้ื หา ดงั ตอ่ ไปน้ี ในบทที่ 1 ผู้เขียนได้นำเสนอสภาพและปัญหาของการจัดการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา โดยวิเคราะห์จากภาพรวมของธรรมชาติและ เป้าหมายของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และขยาย

ความการวเิ คราะหส์ ภาพและปญั หาของการจดั การเรียนรูใ้ นสาระประวัตศิ าสตร์ ท้งั ด้านการใช้หลักสูตร ด้านการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้ ด้านสื่อการจัดการเรียนรู้ และ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตลอดจนนำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา ในแตล่ ะด้าน เพือ่ เปน็ แนวทางให้ครูประจำการและเปน็ การเตรยี มความพร้อมให้ครู กอ่ นประจำการอกี ดว้ ย บทที่ 2 เป็นการสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง “การพัฒนาตัวชี้วัดและเกณฑ์ คุณลักษณะครูประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 21” ด้วยการตั้งคำถามวา่ คุณลักษณะ ของครูประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 น่าจะมีตัวชี้วัดและเกณฑ์อะไรบ้างที่จะช่วย ประเมินวา่ ครูสังคมศึกษาทจ่ี ดั การเรียนรวู้ ิชาประวตั ิศาสตรต์ อ้ งมคี ณุ ลักษณะอย่างไร ในการพฒั นาการจัดการเรียนรูป้ ระวตั ศิ าสตรไ์ ดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธิภาพ พรอ้ มนำเสนอ แนวคิด แนวทาง และมุมมองของผู้เขียนและจากการรับฟังความคิดเห็นของ ครูสังคมศึกษาทีจ่ ัดการเรียนรวู้ ิชาประวัตศิ าสตร์ทั่วประเทศจำนวน 3,250 คน สืบเนื่องจากผลการวิจยั เกีย่ วกบั คุณลักษณะด้านการใช้เทคโนโลยีในบทที่ 2 ทชี่ ใี้ หเ้ ห็นว่า “ครูสงั คมศกึ ษาท่ีจัดการเรียนรู้วชิ าประวัติศาสตรจ์ ะต้องมีความสามารถ เลือกใช้สื่อเทคโนโลยีและใช้ได้หลากหลายในการสืบค้นข้อมูล รวบรวมข้อมูล นำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดประสิทธิผลแก่ นักเรยี น อีกทั้งสรา้ งนวตั กรรมทางประวัติศาสตรอ์ ย่างชาญฉลาด” ในบทที่ 3 น้ีผู้เขียนได้นำเสนอแนวคิด 2 ส่วน คอื 1) แนวคดิ ทฤษฎีในการสรา้ งนวตั กรเชิงปรชั ญาประวัติศาสตร์ 2) แนวคิดทฤษฎีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์เดิมที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ประวตั ศิ าสตรม์ าสูก่ ระบวนทัศน์ใหมท่ างด้านเทคโนโลยีในการเรียนรู้ประวตั ิศาสตร์เพ่ือ สร้างนวัตกรการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ตามแนวคิด Technological Pedagogical Knowledge (TPACK) ซง่ึ เป็นแนวคดิ หนึ่งทนี่ ำความรู้ และวิธีการจัดการ เรียนรู้มาบูรณาการเข้ากับเทคโนโลยีเพื่อให้ครูใช้ในการจัดการเรียนรู้ แนวคิดดังกล่าว ขา้ งต้นมีสว่ นสำคัญในการสร้างนวัตกรการจดั การเรียนร้ปู ระวตั ิศาสตรใ์ นยุคดิจิทลั

ในบทที่ 4 ผู้เขียนได้นำเสนอนวตั กรรมสอื่ การเรียนรู้ทใี่ ชใ้ นการจดั การเรยี นรู้ ประวัติศาสตร์ที่ครูสังคมศึกษาที่จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ได้จัดทำขึ้นใน รายวิชา 2722318 กระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์สำหรับครู ที่ผู้เขียนไดจ้ ัดการ เรียนรู้ตามกรอบแนวคิดในบทที่ 3 นวัตกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์นี้สะท้อน ศักยภาพการเป็นนวัตกรการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ลงมือปฏิบัติจริงในการ สร้างสื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนจริงหรือความเป็นจริง เสมือน บทสุดท้าย เป็นการนำเสนอการวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) เพ่ือ วเิ คราะห์จุดแข็ง (Strengths) จดุ ออ่ น (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และ ภาวะคุกคาม (Threats) อันเป็นปัจจยั ภายในและปัจจยั ภายนอกทชี่ ว่ ยใหเ้ ข้าใจความ ท้าทายของครูสังคมศึกษาที่จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ในการพัฒนาตน เพื่อเป็นนวัตกรการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในยุคดิจิทัล นอกจากนี้ ผู้เขียนยัง นำเสนอกลยุทธ์ให้ครูสังคมศึกษาที่จัดการเรียนรู้วิชาประวัติ ศาสตร์ได้นำไป ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเพื่อเป็นนวัตกรการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในยุค ดจิ ิทลั ด้วย หนังสือ “การพัฒนาครูสังคมศึกษาในฐานะนวัตกรการจัดการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ในยุคดิจิทัล” (Development History Teachers As Innovators for History Learning Management In Digital Age) ได้รับการพจิ ารณาประเมิน คุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนสังคมศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี การศกึ ษา ซง่ึ ยังความซาบซง้ึ ในความกรณุ าที่ผเู้ ชีย่ วชาญทุกท่านมตี อ่ ผเู้ ขียน ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร. จินตวีร์ คลา้ ยสังข์ และผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลชัย กุลตวนิช ที่ให้ความอนุเคราะห์พิจารณาภาพรวมเกี่ยวกับรายละเอียด เนื้อหาทางด้านเทคโนโลยกี ารศกึ ษา ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภการ สิริไพศาล รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ มั่งคั่ง และรองศาสตราจารย์ อมรา รอดดารา เป็นอย่างสูง ที่ให้ความ อนุเคราะห์พิจารณารายละเอียดเนื้อหาทางด้านการสอนสังคมศึกษาและสาระ ประวตั ิศาสตร์

เหนือสิ่งอ่ืนใด ขอกราบขอบพระคุณและรำลึกถึงพระคุณของคุณพ่อคุณแม่ ที่คอยดูแล เลี้ยงดู และให้โอกาสทางการศึกษา รวมถึงขอบคุณน้อง ๆ คู่สมรส ลูกชาย ที่คอยให้กำลังใจและสนับสนุนให้ผู้เขียนทำงานนี้จนสำเร็จ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะช่วยพัฒนาครูสังคมศึกษาท่ี จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ให้เป็นนวัตกรการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผู้สร้างผลผลิตนวัตกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดจากการบูรณาการความรู้ วิธีการสอน และเทคโนโลยีที่ทันสมยั เขา้ ดว้ ยกันอยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ อันนำไปสู่การ เรียนรู้ประวัตศิ าสตร์ในยุคดิจิทลั ท่มี คี วามหมายตอ่ ผเู้ รยี น รัชนีกร หงสพ์ นัส

สารบญั บทที่ 1 หนา้ • บทนำ.......................................................................................................................................................................1 • ทำไมตอ้ งเรยี นร้ปู ระวตั ศิ ำสตร์.............................................................................................................. 10 • สภำพและปญั หำของกำรจัดกำรเรยี นรูป้ ระวตั ศิ ำสตรใ์ นระดบั มัธยมศกึ ษำ .................. 28 • สรปุ ทำ้ ยบท..................................................................................................................................................... 50 บทที่ 2 • บทนำ...................................................................................................................................................................52 • คณุ ลักษณะครูประวตั ิศำสตรใ์ นศตวรรษที่ 21..............................................................................57 • เกณฑค์ ณุ ลักษณะครปู ระวัตศิ ำสตร์ในศตวรรษท่ี 21................................................................57 • แนวคิดกำรพัฒนำคณุ ลักษณะครปู ระวตั ิศำสตร์ในศตวรรษท่ี 21 .....................................57 • แนวทำงกำรพัฒนำตวั ช้วี ัดและเกณฑ์คุณลกั ษณะ ครปู ระวตั ิศำสตรจ์ ำกงำนวิจยั สูก่ ำรปฏิบัติ .................................................................................... 62 • สรปุ ท้ำยบท..................................................................................................................................................... 69 บทที่ 3 • บทนำ.................................................................................................................................................................. 70 • แนวคิด ทฤษฎพี ้ืนฐำนในกำรสรำ้ งนวตั กร เชงิ ปรัชญำประวตั ศิ ำสตร์ ...........................74 • กระบวนทศั น์ใหมใ่ นกำรสรำ้ งนวัตกรกำรจัดกำรเรยี นรปู้ ระวัติศำสตร์ ในยคุ ดิจิทัล..................................................................................................................................................... 88 • ควำมหมำยของนวตั กรกำรจัดกำรเรยี นรู้ประวตั ศิ ำสตร์........................................................ 89 • ควำมหมำยของยคุ ดิจทิ ัล........................................................................................................................90 • กำรใช้กรอบแนวคดิ TPACK กับกำรเปน็ นวตั กรกำรจดั กำรเรียนรปู้ ระวัตศิ ำสตร์ .................................................................. 93 • สรุปทำ้ ยบท................................................................................................................................................... 103 บทที่ 4 • บทนำ................................................................................................................................................................106

• แนวคิดกำรใช้เทคโนโลยีสำรสนเทศและกำรสอื่ สำร ในกำรจดั กำรเรยี นรู้: เทคโนโลยี โลกเสมือนจริง............................................................................................................................................ 108 • ประเภทของเทคโนโลยีโลกเสมอื นจรงิ ............................................................................................109 • นวัตกรรมกำรเรยี นรปู้ ระวัติศำสตร:์ ส่อื กำรเรียนรู้ประวตั ิศำสตร์ โลกเสมอื นจริง Virtual Reality (VR) ...........................................................................................111 • เทคโนโลยคี วำมเป็นจรงิ เสมอื น: ควำมหมำย................................................................................112 • จำกกำรประเมนิ ผลกำรใช้นวัตกรรมกำรเรียนรปู้ ระวัติศำสตร์ “Virtual Roman” ....................................................................................................................................135 • บทบำทของครสู งั คมศึกษำที่สอนวชิ ำประวัติศำสตร์ในฐำนะ นวัตกรกำรจัดเรียนรปู้ ระวตั ิศำสตรใ์ นกำรสรำ้ งนวัตกรรม กำรจัดกำรเรยี นรูป้ ระวัตศิ ำสตร์ .........................................................................................................137 • สรปุ ทำ้ ยบท....................................................................................................................................................138 • นวตั กรกำรจัดกำรเรียนรู้ประวตั ิศำสตร์ : นวัตกรรมกำรเรยี นรู้ประวัตศิ ำสตร์ “Virtual Roman” ...................................................................................................................................140 • คูม่ ือกำรใช้ “Virtual Roman”............................................................................................................141 บทท่ี 5 • บทนำ.................................................................................................................................................................152 • SWOT: ควำมหมำย .................................................................................................................................153 • หลกั กำรสำคญั ของ SWOT ................................................................................................................154 • ประโยชน์ของกำรวิเครำะห์ SWOT...................................................................................................155 • องค์ประกอบของ SWOT.....................................................................................................................155 • กำรวเิ ครำะหค์ รสู ังคมศกึ ษำที่สอนวชิ ำประวตั ิศำสตรใ์ นฐำนะ นวัตกรกำรจัดกำรเรียนรปู้ ระวัตศิ ำสตรใ์ นยคุ ดิจิทัล ด้วยรปู แบบกำรวเิ ครำะห์ SWOT Analysis...............................................................................157 • กำรวิเครำะหค์ รสู ังคมศึกษำทส่ี อนวชิ ำประวัติศำสตรใ์ นฐำนะ นวัตกรกำรจดั กำรเรยี นรู้ประวตั ศิ ำสตร์ในยคุ ดิจิทลั ด้วยรูปแบบผสมผสำน ...........................................................................................................................160 • สรปุ ทำ้ ยบท.....................................................................................................................................................171 รำยกำรอำ้ งองิ ....................................................................................................................................................................172 ประวตั ิผูเ้ ขียน........................................................................................................................................................................181

บทท่ี 1 สภาพและปญั หาของการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในระดบั มธั ยมศึกษา แนวคิดบทนี้เป็นการมองภาพรวมธรรมชาติของรายวิชาสังคมศึกษา สภาพ ของรายวิชาสงั คมศึกษาในปัจจุบนั และมองลงลกึ ถงึ ลกั ษณะเฉพาะของแตล่ ะสาระฯ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สาระประวัติศาสตร์ ที่ครูสังคมศึกษาที่จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ขยายความ วิเคราะห์เกี่ยวกับสภาพและปัญหาของการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในระดับ มัธยมศึกษา เนื่องจากผู้เขียนมีประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ใน สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษาให้กับนิสิตสาขาวิชามัธยมศึกษา เอกการสอนสังคม ศกึ ษา สะท้อนสภาพและปญั หาการจัดการเรียนรู้ของครูสังคมศึกษาทจ่ี ัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา และเข้าใจในสภาพและปัญหาของการ จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในระดบั มธั ยมศึกษา แนวทางการแก้ปัญหาในองค์รวม ของครูประจำการและมองไปในอนาคตในการเตรียมความพร้อมของครูก่อน ประจำการด้วย บทนา ศตวรรษที่ 21 เปน็ โลกของเทคโนโลยีและนวัตกรรม เครอ่ื งจกั รและหุ่นยนต์ ถูกนำเข้ามาใช้งานทดแทนแรงงานคน เพราะฉะนั้นเราควรมีทักษะบางอย่างที่ เครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ทำแทนไม่ได้ เช่น ทักษะการคิดแบบผู้เชี่ยวชาญและการ สอื่ สารทซี่ บั ซอ้ น ซงึ่ จะมโี อกาสมากกวา่ คนอ่นื เพราะทักษะข้ันสูงเหล่าน้ีเครื่องจักร ไม่สามารถทำแทนได้ และโลกในศตวรรษที่ 21 ถูกขนานนามว่าเป็น “โลกยุค ดิจิทัล” (วลัยลักษณ์ คงพระจันทร์, 2562) เมื่อความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่าง Page | 1

รวดเร็วในทุก ๆ ด้าน ด้านการศึกษาเช่นกันต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตนเองทงั้ ผู้สอนในฐานะผู้จัดการเรียนรู้และผู้เรียนในฐานะผู้เรียนรู้ ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเป็น บุคลากรที่สำคัญในการร่วมมือกันในการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ จัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ การจัด กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีความจำเป็นต้องก้าวให้ทัน “โลกยุคดิจิทัล” ด้วยการเรียนรู้บูรณาการวิชาสังคมศึกษากับทักษะในศตวรรษที่ 21 ควบคกู่ ันไป สังคมศึกษา: ความหมายและสาระทเ่ี ก่ียวข้อง การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาต้องตระหนักอยู่เสมอว่าผู้เรียนในศตวรรษท่ี 21 นี้ ครูจึงต้องออกแบบการเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ให้ ผู้เรียนเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการดำรงชีวิตใน ศตวรรษที่ 21 (3R และ 7C) (วิจารณ์ พานชิ , 2555) สังคมศึกษาในอดีตเป็นการท่องจำเนื้อหาในบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับ ความรู้มากที่สุด ผู้สอนใช้วิธีการสอนบรรยายในการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนใหญ่ ก่อนอ่นื ต้องทำความเขา้ ใจเกยี่ วกับความหมายของวชิ าสงั คมศึกษา นกั วชิ าการและ ผ้ทู รงคุณวุฒมิ ากมายใหค้ วามหมายของสังคมศกึ ษาดังนี้ กระทรวงศึกษาธิการ (2545) ได้ให้ความหมายของสังคมศึกษาว่า คือการ เรยี นรเู้ พ่ือการพัฒนาคนให้อยรู่ ่วมกนั ในสังคมอยา่ งมคี ุณภาพ พจนานุกรมราชบัณฑติ ยสถาน (2546) ให้ความหมายสังคมศึกษา หมายถงึ หมวดวิชาท่ปี ระกอบด้วยวชิ าภมู ศิ าสตร์ ประวตั ิศาสตร์ หนา้ ที่พลเมือง และศลี ธรรม โชครัตน์ จันทน์สุคนธ์ (2551) สังคมศึกษาเป็นวิชาทีม่ ีการบูรณาการเนือ้ หา แบบสหวิทยาการอยู่แล้วโดยธรรมชาติ เนื่องจากมีเนื้อหาที่ครอบคลุมศาสตร์ใน Page | 2

สาขาวิชาต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง อาทิ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เปน็ ต้น ทศั นัย สนุ ทราลยั (2558) กลา่ ววา่ สงั คมศึกษาเปน็ วชิ าท่เี กี่ยวกับความสมั พนั ธ์ ระหวา่ งมนุษยก์ บั สิง่ แวดลอ้ ม ประกอบดว้ ยเร่ืองราวเกย่ี วกบั ภูมิศาสตร์ ประวตั ิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หนา้ ทพ่ี ลเมอื ง วัฒนธรรม การดำเนินชวี ิต รวมถึงศาสนา ศลี ธรรม และ จริยธรรม วิชาสังคมศึกษาจึงช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจว่ามนุษย์ดำรงชีวิต อย่างไร และเข้าใจถึงการพฒั นาการเปล่ยี นแปลงตามยุคสมัย ตามกาลเวลา ตามเหตุ ปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดความเข้าใจในตนเองและเข้าใจผูอ้ ื่น ยอมรับในความแตกต่าง มีคุณธรรม มีความอดทน อดกลั้น สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต มี คุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคม โลก อนั เป็นเปา้ หมายทแ่ี ทจ้ รงิ ของการเรียนวชิ าสงั คมศกึ ษา Preston (1960) ให้ความหมายว่า สังคมศึกษา หมายถึง เป็นส่วนหนึ่งของ สังคมศึกษาที่เลือกเฟ้น และปรับปรุงใช้สอนในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและ มัธยมศึกษา เนื้อหาส่วนใหญ่ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หน้าที่พลเมือง สังคม วิทยา มานุษยวิทยาและเศรษฐศาสตร์ Good (1973) สังคมศกึ ษา คือ ส่วนหน่ึงของสังคมศาสตร์ เฉพาะประวตั ิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา และภูมิศาสตร์ ที่เห็นว่าเหมาะสำหรับนักเรียน ชน้ั ประถมศึกษาและระดับมธั ยมศกึ ษาและไดท้ ำเปน็ หลกั สูตรบรู ณาการและรายวชิ าฯ ต่อมาการจัดการเรยี นร้ใู นศตวรรษท่ี 21 การใหค้ วามหมายของสงั คมศึกษามีดังนี้ ความหมายของสังคมศึกษาตาม Encyclopeadia Universalis (2012) หมายถึง สงั คมศาสตร์ซง่ึ นำวิชาวทิ ยาศาสตร์มารวมกนั มวี ตั ถุประสงคข์ องการศึกษาท่ี เกี่ยวข้องกับกิจกรรมและพฤติกรรมของมนุษย์ จึงเป็นการวเิ คราะห์รวมปรากฏการณ์ ทางสังคม รวมตลอดถึงการจัดระเบียบวินัยมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ในสังคม ไม่ว่าเป็นสังคม ที่เกดิ จากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม ความคิดของสังคมครอบคลุมการกระทำ ของบุคคลหลายกล่มุ ในสงั คม Page | 3

Grenier (2016) สังคมศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของสังคมศาสตร์เป็นลักษณะการ กระจายตัวของโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจ การเปลีย่ นแปลงและการปรบั ปรุง ข้อมูลยุคโลกาภิวัตน์ ไม่คำนึงถึงผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงของอารยธรรมใน บรบิ ททหี่ ลากหลาย Moreau (2016) ได้ระบุวา่ สังคมศึกษา หมายถึง ลกั ษณะทางสังคมที่ส่งผล ต่อชีวิตและข้อจำกัด เชิงสัญลักษณ์หรืออุดมการณ์ที่มีผลต่อการกระทำของมนุษย์ ในแง่ของสังคมศาสตรแ์ ละมนุษยศาสตร์เป็นเง่ือนไขของการพิจารณาอย่างต่อเนือ่ ง ในแต่ละสังคม และก่อให้เกิดปัญหาในการดำรงชีวิตร่วมกัน ทำให้แต่ละสังคม สามารถเข้าใจกัน และเขา้ ใจถึงการตดั สนิ ใจของกลมุ่ ชน การสงั เคราะห์และสรปุ ภาพรวมความหมายของสังคมศึกษาตามคำนิยามของ กระทรวงศึกษาธิการ (2545), พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน (2546), โชครัตน์ จันทน์สุคนธ์ (2551),ทัศนัย สุนทราลัย (2558), Preston (1960), Good (1973), Encyclopeadia Universalis (2 0 1 2 ) , Grenier (2 0 1 6 ) , Moreau (2 0 1 6 ) ได้ใหค้ วามหมายว่าเปน็ วิชาท่ีมชี ีวิต เป็นพลวตั และเปน็ เรื่องใกลต้ วั เราทุกคน เพราะ สภาพทางสงั คมและวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อชีวติ มนุษยใ์ นปจั จุบนั การเรยี นวิชาสังคม ศึกษาไม่ใช่แค่การท่องจำเนื้อหา แต่ต้องสร้างสภาพสังคมและเกี่ยวกับมนุษย์ใน “ชีวิตประจำวัน” ให้ผู้เรียนได้มองเห็นธรรมชาติที่ปรากฏในแง่มุมต่าง ๆ ของสังคม อีกทั้งเป็นการศึกษาแบบบูรณาการของสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เพื่อส่งเสริม ความสามารถของพลเมือง ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรในโรงเรียน หรือเป็นการศึกษาเพ่ือ สังคมอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยหลกั การทางมานุษยวทิ ยา โบราณคดี เศรษฐศาสตร์ ภมู ิศาสตร์ ประวัตศิ าสตร์ กฎหมาย ปรัชญารฐั ศาสตร์ จติ วทิ ยาศาสนา และสงั คมวิทยา “ปัจจบุ นั รายวิชาสังคมศึกษา ถูกจัดอยใู่ นกล่มุ สาระการเรยี นรู้ สังคมศกึ ษา ศาสนาและวฒั นธรรม” Page | 4

ซึ่งประกอบด้วย สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม สาระประวัติศาสตร์ สาระภูมิศาสตร์ และ สาระเศรษฐศาสตร์ อีกทั้งกลุม่ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมมี ความสำคญั เป็นหลักสูตรภาคบังคับ ในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ัน พืน้ ฐานพุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย 8 กลุม่ สาระการเรยี นรู้ คอื • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย • กลมุ่ สาระการเรยี นรู้วทิ ยาศาสตร์ • กลุ่มสาระการเรียนร้สู ุขศกึ ษาและพลศกึ ษา • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศลิ ปะ • กลมุ่ สาระการเรียนรกู้ ารงานอาชีพและเทคโนโลยี • กลุ่มสาระการเรียนร้ภู าษาตา่ งประเทศ • กลุม่ สาระการเรียนร้คู ณิตศาสตร์ • กล่มุ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ซ่ึงมีมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลกั พัฒนาการทางสมองและพหปุ ญั ญา หลักสูตรแกนกลางการศกึ ษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2551) จึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการ เรียนรู้ ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมาย สำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์เมื่อจบการศึกษาข้ัน พน้ื ฐาน นอกจากน้ันมาตรฐานการเรยี นรยู้ ังเปน็ กลไกสำคญั ในการขบั เคลื่อนพัฒนา การศึกษาทั้งระบบเพราะ มาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอยา่ งไร รวมทั้งเปน็ เครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการ ประกันคุณภาพการศึกษา ที่ช่วยสะท้อนภาพการจัดการศึกษาว่าสามารถพัฒนา ผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดเพียงใด (หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาข้นั พนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551) Page | 5

ประเด็นการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพคือ ต้องมีการ จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เป็นสหวิทยาการอยู่แล้วกล่าวคือ การเรียนรู้แบบน้ี คล้ายกับแบบคู่ขนาน ครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปต่างคนต่างสอนวชิ าของตน จัดกิจกรรม การเรียนรู้ของตนเองเป็นส่วนใหญ่ มาวางแผนการสอนร่วมกันในการให้งานหรือ โครงการที่มีหัวเรื่อง แนวคิดหรือความคิดรวบยอดและปัญหาเดียวกัน ในการ จัดการเรียนการสอนในรายวิชาสังคมศึกษา ครูต้องมีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณา การเพอ่ื ให้เกดิ การจดั การเรยี นรู้ทเี่ ปน็ ไปตามเปา้ หมายของการศกึ ษา ครูจะต้องเป็น ผู้ทีม่ คี วามสามารถในการนําวชิ าครไู ปใชอ้ ยา่ งมีประสทิ ธิภาพ มีวิธีสอนท่ีหลากหลาย ตลอดทั้งมวี ธิ กี ารและยทุ ธศาสตร์ในการจัดการเรยี นรู้ต่าง ๆ โดยเฉพาะครูที่จัดการ เรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาจำเป็นต้องมีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริม ผู้เรยี นให้มคี วามสามารถในด้านความรู้ ด้านทักษะ กระบวนการ และด้านคุณธรรม จริยธรรม และ ค่านิยม โดยจัดหาวิธีสอนที่หลากหลายมาใช้ในการเรียนการสอน สังคมศึกษา ซึ่งธรรมชาติของเนื้อหาวิชาสังคมศึกษานั้นมีความหลากหลาย กว้างขวาง ครอบคลุมถึงแขนงวิชาต่าง ๆ (พระวีรศักดิ์ จนฺทวํโสและคณะ, 2018; เพ็ญพนออยพ่างว่ ไงรแกพ็ต,า2ม5ใ5น7ภ)าพรวมของแต่ละสาระฯ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศกึ ษา ศาสนาและวฒั นธรรม สามารถใชว้ ธิ กี ารจดั การเรยี นรู้บางประเภทร่วมกันได้ ในที่นี้หมายถึงวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นทักษะ ทางสังคม ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการ ตัดสินใจ การจัดการเรียนรู้ของแต่ละสาระฯ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมจำเป็นท่จี ะตอ้ งมวี ิธกี ารจัดการเรียนรทู้ ี่เฉพาะเจาะจงอาทิเช่น สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรมใช้กระบวนการค่านิยมและความศรัทธา นำ หลักธรรม คำสอนของศาสนาที่ตนนับถือไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเอง สาระ ภูมิศาสตร์ใช้วิธีการทางภูมิศาสตร์ สาระประวัติศาสตร์มีวิธีการทางประวัติศาสตร์ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตใช้กระบวนการประชาธิปไตย สาระเศรษฐศาสตร์นำหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใชก้ ับการผลติ และการบริโภคในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสังคมศึกษา Page | 6

และการจัดกิจกรรมเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นส่ิงทีส่ ำคัญที่ครูสังคมศึกษาไม่ควร มองข้าม รวมทั้งแต่ละสาระฯมีมาตรฐานการเรียนรู้กำกับไว้ชัดเจน เนื่องจากเป็น หลักสูตรอิงมาตรฐานที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ัน พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2551) ตัวอย่างเช่น สาระประวัติศาสตร์ มีมาตรฐาน การเรียนรู้ 3 มาตรฐาน เป็นหลักการสำคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดย มาตรฐานการเรียนรู้เขียนขมวดรวมเอาความรู้กระบวนการและเจตคติ/ค่านิยม ที่ สำคัญ อันเปน็ ลักษณะเฉพาะของสาระประวัติศาสตรเ์ อาไว้ด้วยกัน ได้แก่ มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทาง ประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อยา่ งเปน็ ระบบ มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนษุ ยชาติ จากอดีตจนถึงปจั จบุ ัน ใน ด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึง ความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบทีเ่ กดิ ข้นึ มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มคี วามรกั ความภูมใิ จและธำรงความเปน็ ไทย (กระทรวงศกึ ษาธกิ าร, 2554) การจดั การเรียนรทู้ ่ที ำใหเ้ กิดการเรียนร้เู ปน็ ทกั ษะทีต่ อ้ งมีกระบวนการ มกี าร ตระเตรียมเพื่อใหเ้ กิดประสิทธภิ าพในการเรียนรแู้ ละ กระบวนการสอนท่ดี ที ำให้เกิด การเรยี นรู้ทม่ี ีประสิทธภิ าพ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วฒั นธรรม เป็นรายวชิ าหนึ่งที่มคี วามสำคัญอย่างยง่ิ ดว้ ยเหตุผลท่วี ่า เป็นกลุ่มวิชาที่ ม่งุ พัฒนาสมรรถนะของผู้เรยี นให้สามารถเรยี นร้กู ารดำรงชีวิต อยู่ในสังคม และการ อยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข ตลอดจนสามารถนำเอาความรู้ความเข้าใจ น้ันไปปรับใช้ใหเ้ ขา้ กับสภาพสงั คมทแ่ี ปรเปลีย่ นได้อยา่ งเหมาะสม สมดุล และย่ังยืน ดังนั้นการจดั การเรียนรูใ้ นวิชาสังคมศึกษา หรือที่ในปัจจุบนั เรียกว่า กลุ่มสาระการ เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จึงต้องเป็นวิธีการเรียนรู้ที่จะช่วยสร้าง เสริมเติมเต็มประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ใช้สติปัญญา ความรู้ความคิด และ Page | 7

ความสามารถต่าง ๆ อย่างเต็มที่ ตลอดจนต้องจัดให้เหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะ ของผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมจัดการเรียนรู้ของตนเอง พัฒนาและขยายความคิด ของตนเองจากความรทู้ ่ีไดเ้ รยี น การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและเทคนิค การสอนมากมายโดยครูสังคมศึกษาที่จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ ตามอภิธาน ศัพท์ของ “ผู้จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์” ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขนั้ พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2551) หมายถึง ผู้นำความรู้ทางประวัติศาสตร์มา พัฒนาให้ผูเ้ รียนเกดิ ความรู้ เจตคติและทักษะในการใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ใน การแสวงหาความจริงและความจริงแท้จะต้องศึกษาผลงานของนักประวัติศาสตร์ และเลือกเนื้อหาประวัติศาสตร์ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน โดยต้องเป็นไปตาม จดุ ประสงค์ของหลกั สตู รและสอดคล้องธรรมชาตขิ องประวตั ิศาสตร์ ทั้งนี้ครูสังคมศึกษาที่จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ต้องเลือกใช้ให้ เหมาะสมกับวัยผ้เู รียนเพ่ือท่ีการเรียนรปู้ ระวัติศาสตร์จะนา่ สนุกและชวนให้น่าเรียน มากขนึ้ แนวทางการจัดการเรียนร้ทู เี่ น้นผเู้ รียนเปน็ สำคัญ ได้เปลย่ี นแปลงบทบาท ของผู้สอนที่เป็นผู้บรรยายหรือถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้ช่วยเหลืออำนวยความ สะดวก (facilitator) และส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนโดยใช้วิธีการต่าง ๆ อย่าง หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการสร้างสรรค์ความรู้และนำความรู้ไปใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของอนงค์ศิริ วิชาลัย (2012) เป็นกิจกรรมท่ีผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันดำเนินกิจกรรมเพือ่ ให้บรรลุจุดประสงค์การ เรียนรู้ทั้งด้านความรู้ ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ส่วนการออกแบบการ เรียนการสอน เทคนิคการสอนและวิธีจัดการเรียนการสอนต่าง ๆ มาจากพื้นฐาน ของแนวคิด ทฤษฎี แนวปฏิบัติจากการจัดการเรียนรู้โดยทั่วไป ซึ่งประยุกต์ใช้กับ การจัดการเรยี นรปู้ ระวัติศาสตร์ได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมว่าด้วยการอยู่ ร่วมกันในสังคม ที่มีความเชื่อมสัมพันธ์กัน และมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้สามารถปรับตนเองกับบริบทสภาพแวดล้อม เป็นพลเมืองดี มีความ รับผิดชอบ มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมรวมตลอดถึงการ Page | 8

เชื่อมโยง ประยุกต์ใช้ การสืบสานวัฒนธรรม อารยธรรมอันดีงาม แบบอย่างและ แบบแผนของบรรพบุรุษ เรื่องราว เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์จากกการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ให้ความหมายและความสำคัญสู่ความเป็นพลเมืองดีและ สิริวรรณ ศรีพหล (2555) ยังเสริมต่ออีกว่า การเรียนรู้อดีตเพื่อเข้าใจสภาพและปัญหาใน ปัจจุบันรวมทั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การสอนวิชาประวัติศาสตร์ นอกจากจะ มุ่งเน้นความเป็นพลเมืองดี ความรักชาติ (patriotism) และความจงรักภักดีต่อ ชาติ (royalty) แล้วนั้น ประวัติศาสตร์ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกฝนผู้เรียนให้ได้รับ ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต เพื่อนำมาเป็นวิถีทางการดำเนิน ชีวิตโดยเฉพาะการนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ เหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกัน วิชาประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อ เยาวชน เพือ่ ให้เยาวชนเหล่านนั้ เขา้ ใจสภาพสังคมได้ดีขนึ้ การเรยี นรู้ประวัติศาสตร์ให้ ลึกซึ้งและสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ตอ้ งอาศัยกระบวนการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เป็นสำคัญและส่วนหนึ่งที่สะท้อนหรือตกผลึกจากกระบวนการเรียนรู้ทาง ประวัติศาสตร์ คือ ความภาคภูมิใจในชาติมิใช่ความคลั่งในชาตินิยม และที่มาของ คำถามว่า ทำไมเราต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์อาจเกิดขึ้นได้กับทกุ คนที่ปรารถนาจะได้ คำตอบ Page | 9

ทำไมตอ้ งเรียนรูป้ ระวตั ศิ ำสตร์ สาระประวัติศาสตร์เป็นสาระหนึ่งในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ผลกระทบที่เกิดจาก เหตุการณ์สำคัญในอดีต บุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ใน อดีต ความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย แหล่งอารยธรรม ที่สำคัญของโลก รวมตลอดถึงภาพรวมของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ว่ามนุษย์ดำรงชีวิต อย่างไร ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคล และการอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวตาม สภาพแวดล้อม การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด นอกจากนี้ยังช่วยให้ ผู้เรียนเข้าใจถึงการพัฒนา เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลา ตามเหตุปัจจัย ต่าง ๆ ทำให้เกิดความเข้าใจในตนเอง และผู้อื่น มีความอดทน อดกลั้น ยอมรับในความแตกต่าง และมีคุณธรรม สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการ ดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ และสังคมโลก (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) ทั้งนี้ครูสังคมศึกษาที่จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ หมายถึง ครูในกลุ่ม สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่จัดการเรียนรู้สาระ ประวัติศาสตร์ นอกจากครูสังคมศึกษาที่จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ที่มีส่วน สำคัญในการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์แล้ว มีคนตั้งคำถามมากมายว่าเรียนรู้ ประวตั ศิ าสตร์ไปทำไม ประวตั ศิ าสตรม์ ีความสำคญั มีความสำคญั อย่างไร Page | 10

นักวิชาการและองค์กรทางการศึกษาต่าง ๆ ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับ ความสำคญั ของประวตั ิศาสตร์ไวด้ ังนี้ ดนยั ชัยโยธา (2534) เหน็ ความสำคัญและประโยชนข์ องการเรียนรู้ ประวัติศาสตรว์ า่ 1. เข้าใจพื้นฐานปัจจุบัน เข้าใจวิวัฒนาการตามลำดับขั้นตอนของมนุษย์ และสังคม 2. ความรู้และความคิดท่ีผ่านมา ชว่ ยใหผ้ ้ศู กึ ษามีความเฉลียวฉลาดขนึ้ 3. การเรียนร้ปู ระสบการณ์ในอดีต บ้านจอมยุทธ (2543) ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของการ เรยี นรู้ประวตั ศิ าสตรด์ งั น้ี 1. ประวัติศาสตร์ช่วยให้มนุษย์รู้จักตัวเอง ทำให้รู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกบั ขอบเขตของตน ขณะเดียวกนั กร็ ู้เก่ียวกบั ขอบเขตของคนอ่นื กล่าวคือช่วยให้มนุษย์ รจู้ ักและเข้าใจตวั เองมากขน้ึ รวมท้ังเข้าใจสังคมของมนุษยโ์ ดยสว่ นรวม 2. ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดความเข้าใจในมรดก วัฒนธรรมของมนุษยชาติ ความรู้ ความคิดอ่านกว้างขวาง ทันเหตุการณ์ ทันสมัย ทันคน และสามารถเข้าใจ คณุ ค่าสิง่ ตา่ ง ๆ ในสมยั ของตนได้ 3. ประวัติศาสตร์ช่วยเสริมสร้างให้เกิดความระมัดระวัง ความคิดริเร่ิม สร้างสรรค์ ฝึกฝนความอดทน ความสุขุมรอบคอบ ความสามารถในการวินิจฉัย และมีความละเอียดเพียงพอทีจ่ ะเข้าใจปญั หาสลบั ซับซอ้ น 4. ประวัติศาสตร์เป็นเหตุการณ์ในอดีตที่มนุษย์สามารถนำมาเป็นบทเรียน ให้แก่ปัจจุบัน โดยบทเรียนประวัติศาสตร์ อาจใช้เป็นประสบการณ์พื้นฐานการ ตัดสินใจ เหตุการณ์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปจั จบุ ัน หรืออนาคต และประยุกต์ใช้ ในกระบวนการแก้ไขปัญหา และวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามหลักจริยธรรม คุณธรรม ทง้ั นี้เพอื่ สนั ตสิ ุขและพฒั นาการของสงั คมมนษุ ยเ์ อง Page | 11

เฉลิม นิติเขตตป์ รชี า (2545) ไดใ้ ห้ความหมายของความสำคญั ในการ เรยี นรปู้ ระวตั ศิ าสตรก์ ลา่ วโดยสรปุ คอื 1. การเรียนรู้เร่ืองราวประวตั ิศาสตร์ เท่ากับการทำใหเ้ กดิ ความเข้าใจความ จรงิ เพอ่ื เข้าถึงปรัชญาในชวี ติ 2. เป็นวิธีการก่อกำเนิดและพฒั นาทางปญั ญาและสตปิ ญั ญา 3. เป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์จากการตักตวงความรู้และ ความจริงทางประวตั ศิ าสตร์ 4. เป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ในวิชาแขนงอื่น ๆ เช่น สังคมศาสตร์ รฐั ศาสตร์ 5. ประวัติศาสตร์สามารถตอบสนองความต้องการและความอยากรู้อยาก เห็นของมนษุ ย์ ซงึ่ เป็นคณุ ลกั ษณะทางพฤตกิ รรมตามธรรมชาตขิ องมนษุ ย์ 6. ทำให้ผู้เรียนรู้ประวัติศาสตร์เกิดความสนุกสนานกับเรื่องราว ความจริง หลาย ๆ อยา่ งท่ที ำใหเ้ กิดการชวนคดิ ตอบอา่ นและเรียนรู้ 7. ความรู้และแบบอย่างที่เกิดจากประสบการณ์ต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ เป็นแนวทางเผชญิ หนา้ กบั ความเปน็ จรงิ ในการดำรงชวี ิต 8. ประวัติศาสตรส์ อนใหผ้ ู้ทีเ่ รยี นรู้รักความจริง มคี ุณธรรมและจริยธรรม 9. ประวัตศิ าสตรส์ ร้างจินตนาการทำให้เกดิ การเรยี นรอู้ ย่างแทจ้ รงิ 10. เป็นรากฐานในการฝกึ นสิ ัย ทศั นคติและคา่ นยิ มทีด่ ีในอนาคต กระทรวงศึกษาธกิ าร (2554) ได้ระบไุ ว้ว่า 1. สร้างความเข้าใจปัญหาและสิ่งแวดล้อมของสังคมปัจจบุ ันประวตั ิศาสตร์ หรือการสืบสวนอดีตของมนุษย์ ทำให้เราได้รู้ว่า พฤติกรรมและความคิด ความเชื่อ ของผู้คนในสังคมเกิดขึ้นได้อย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงหรือมีพัฒนาการมาอย่างไร อันจะนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจปัญหาอย่างมีเหตุมีผล มาตรการในการ แก้ปัญหาจึงจะมปี ระสิทธิภาพ และเหมาะสมมากยิ่งขึน้ เรียกว่าเป็นการศึกษาอดตี เพือ่ เขา้ ใจปัจจบุ ันเหน็ แนวทางกา้ วสอู่ นาคต Page | 12

2. รู้รากเหง้าความเป็นไทย เข้าใจและภูมิใจในชาติตนเหตุการณ์สำคัญใน อดีตของสังคมไทย เริ่มตั้งแต่การตั้งถิ่นฐาน การสร้างบ้านเมือง การขยายอาณาเขต เพ่อื สรา้ งความม่นั คง ซง่ึ เป็นผลมาจากวีรกรรมและความเสยี สละของบรรพบรุ ษุ ลว้ น เป็นความรู้จากประวัตศิ าสตร์ ซึ่งนอกจากจะสร้างความเข้าใจ และรู้จักความเปน็ มา ของชาตแิ ล้ว 3. รู้บทเรียนในอดีต เห็นข้อบกพร่อง-ความผิดพลาด ความสำเร็จ ความดี งามของบรรพบุรุษ ประวัติศาสตร์ไม่ใช่แต่เพียงอดีตของความสำเร็จและความดีงาม ซึ่งย่อมสร้างความภูมิใจในบรรพบุรุษไทยเท่านั้น แต่การเรียนรู้เรื่องความล่มสลาย ของอาณาจักรไทยในอดีตการเสียเอกราช การเสียดินแดน ล้วนเป็นความรูจ้ ำเปน็ ซ่ึง ไดม้ าจากการวิเคราะหเ์ หตุการณ์ในประวตั ิศาสตร์ วา่ ทำไม และอยา่ งไร (why/how) ซ่ึงไม่ใชก่ ารสอนเพียงให้รู้ว่ามีใคร ได้ทำอะไร ทีไ่ หน และเม่ือไร (who what where when) อนั เปน็ ข้อเทจ็ จรงิ เบ้ืองต้น หรือขอ้ มลู พืน้ ฐานเท่านนั้ 4. รู้ความเป็นมาและวัฒนธรรมของประเทศตน และประเทศอื่น ๆ วัฒนธรรมในนัยของประวัติศาสตร์ ย่อมรวมถึงวิถีคิด วิถีปฏิบัติ ซึ่งสะท้อนออกมา เป็นรูปแบบต่าง ๆ เช่นความเป็นไทย คงไม่ได้แสดงที่รูปร่าง หน้าตา การแต่งกาย การนับถือศาสนา อาหารการกิน ซึ่งแทบจะแยกแยะได้ยากกับความเป็นคนใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉยี งใต้ หรือผูค้ นในภมู ิภาคอนื่ ในยคุ โลกาภิวตั น์ การเรียนรู้ ความเป็นมาของวิถีคิดและวิถีปฏิบัติ หรือรากเหง้าของวัฒนธรรมไทยจะทำให้เรา สามารถแยกแยะ “ความเป็นคนไทยวัฒนธรรมไทย วิถีไทย” ออกจากสังคมมนุษย์ อน่ื ๆ ได้ 5. รู้บนั ทกึ เก่ยี วกบั พฤตกิ รรมของมนษุ ยใ์ นอดีตคุณค่าของประวัติศาสตร์ใน แง่น้ีมาจากแนวคิดทีว่ ่า การรับรู้เรื่องราวในอดีตไม่จำเป็นท่ีจะต้องมาจากการเรียน จากครูในห้องเรียนเท่าน้ัน แต่ผู้เรียนหาความรู้ไดจ้ ากการอ่านบันทกึ ของเหตกุ ารณ์ ในกรณีนี้ผู้สอนต้องทำความเข้าใจก่อนว่า บันทึกของเหตกุ ารณ์ที่นักประวัติศาสตร์ บางท่านเรียกว่า “ภาพอดีต” นั้นสร้างขน้ึ ในบรบิ ททแี่ ตกต่างกนั ขึ้นอยกู่ ับข้อมูลท่ีมี อยู่ ค่านิยมของสังคมที่เปลี่ยนตามเวลา และการครอบงำ “มือที่มองไม่เห็น” ที่มี Page | 13

อิทธิพลต่อผู้บันทึกเหตุการณ์ (การเมือง การปกครอง หรือเศรษฐกิจ หรืออาจรวมถึง ความเชือ่ ความศรัทธาในศาสนา) 6. รู้วิธีการศึกษาเรื่องราวสำคัญ ๆ ที่เชื่อว่าเกิดขึ้นจริงถือว่าเป็นหัวใจของ ประวัติศาสตร์ในแง่ของการสร้างความรู้ใหม่ที่ทุกคนสามารถทำได้ และมีคุณค่า สำคัญมากต่อมนุษยชาติเนื่องจากการสร้างสรรคค์ วามรูใ้ นเชิงวิทยาการทั้งหลายใน โลกนีเ้ จริญสืบเนือ่ งไดต้ ลอดมา มหาวิทยาลัยราชภฎั สวนสุนันทา (2018) ได้จัดโครงการอบรมบุคลากร และผู้สนใจทั่วไปเกีย่ วกบั หัวข้อ “ทำไมต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์” สรุปรวมได้ วา่ การเรยี นร้ปู ระวตั ศิ าสตร์ดังน้ี 1. ประวัตศิ าสตร์ช่วยให้เราเขา้ ใจผู้คนและสงั คม 2. ประวตั ิศาสตร์ชว่ ยใหเ้ ราเข้าใจการเปลีย่ นแปลงและสงั คมที่เราอยู่มาเป็น อยา่ งไร 3. ประวัตศิ าสตรม์ ีสว่ นชว่ ยในการเขา้ ใจคณุ ธรรม 4. ประวัตศิ าสตรร์ ะบุตัวตน 5. การศึกษาประวตั ิศาสตรเ์ ป็นสง่ิ จำเปน็ สำหรับการเปน็ พลเมืองที่ดี M. Lawrence (2557) ได้ระบใุ น 10 เร่ืองอันดับเหตผุ ลทเ่ี ราตอ้ งเรียนรู้ ประวัตศิ าสตร์ประกอบด้วย 1. ประวตั ิศาสตรซ์ ้ำรอยเสมอ 2. ประวัตศิ าสตรจ์ ะบอกตัวเราว่า เราเป็นใคร มาจากไหน 3. ประวัติศาสตรน์ า่ สนใจกวา่ ทเี่ ราคิด 4. ประวัติศาสตร์ชว่ ยให้นักเรียน นักศกึ ษามีพฤตกิ รรมการเรยี นรู้ที่ดีมากขึ้น 5. ประวตั ศิ าสตร์ชว่ ยให้เราเรียนร้เู หตุการณต์ ่าง ๆ ท่ีเกิดขึน้ บนโลกใบนี้ 6. ประวัตศิ าสตรช์ ่วยใหเ้ ราตัดสนิ ใจอยา่ งชาญฉลาด 7. ประวัตศิ าสตรช์ ว่ ยใหผ้ ู้คนกลายเปน็ พลเมอื งดไี ด้ 8. ประวัตศิ าสตรช์ ว่ ยให้เราเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลง 9. ประวัติศาสตรช์ ว่ ยใหเ้ ราเขา้ ใจประเพณี วฒั นธรรมมากขึ้น Page | 14

10. ประวัตศิ าสตรช์ ่วยให้เราเข้าใจโลกมากขึน้ O’hara and O’hara (2001) กล่าวถึงเหตุผลที่ทำไมต้องเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ โดยสรปุ ดังนี้ 1. ประวัติศาสตร์ทำให้เกิดความรู้แบบมีความหมายส่งผลให้เข้าใจอย่าง ลึกซึ้งในโลกปัจจุบัน กล่าวถึง เรื่องราวที่อดีตมีอิทธิพลต่อปัจจุบัน และมีผลต่อ อนาคต 2. ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดโอกาสในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็น เครอ่ื งมือในการสบื คน้ ขอ้ มลู ซงึ่ เป็นประโยชน์ต่อการเรียนวชิ าอื่น ๆ ตลอดชวี ติ 3. ประวตั ศิ าสตร์มีองค์ประกอบตรงกับสญั ชาตญาณความอยากรู้อยากเห็น ของมนุษย์ ทำใหเ้ กิดการกระต้นุ ความสนใจให้อยากสบื คน้ 4. ประวัติศาสตรม์ เี อกลักษณ์และบทบาททีส่ ำคัญตอ่ การพัฒนาบคุ ลิกภาพ สงั คม ซ่ึงเปน็ มรดกทางสงั คม ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา (2555) ความสำคัญของประวัติศาสตร์ สามารถสรปุ ได้ดงั น้ี 1. ประวัติศาสตร์ชว่ ยใหม้ นุษย์รู้จักตัวเอง กล่าวคือ ทำให้รู้บางส่ิงบางอยา่ ง เกย่ี วกับขอบเขตของตน ขณะเดียวกนั กร็ ู้เกยี่ วกับขอบเขตของคนอนื่ 2. ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดความเข้าใจในมรดก วัฒนธรรมของมนุษยชาติ ความรู้ ความคิดอ่านกว้างขวาง ทันเหตุการณ์ ทันสมัย ทันคน และสามารถเข้าใจ คุณคา่ ส่งิ ต่าง ๆ ในสมยั ของตนได้ 3. ประวัติศาสตร์ช่วยเสริมสร้างให้เกิดความระมัดระวัง ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ฝึกฝนความอดทน ความสุขุมรอบคอบ ความสามารถในการวินิจฉัย และมีความละเอยี ดเพยี งพอทจี่ ะเขา้ ใจปัญหาสลบั ซบั ซ้อน 4. ประวัติศาสตร์เป็นเหตุการณ์ในอดีตที่มนุษย์สามารถนำมาเป็นบทเรียน และประยุกต์ใช้ในกระบวนการแก้ไขปัญหา และวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นไปตาม หลักจรยิ ธรรม คุณธรรม ท้ังนเ้ี พ่อื สันติสุขและพฒั นาการของสงั คมมนษุ ยเ์ อง Page | 15

ต่อไปเป็นการวิเคราะห์ความสาคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เน่ืองจากมีผ้ใู ห้ ทศั นะมากมาย จึงนามาวิเคราะหค์ วามสาคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ตารางท่ี 1 การวิเคราะห์ความสำคัญของการเรียนรปู้ ระวตั ิศาสตร์ รายการ O hara and O hara (2001) รวม M. Lawrence (2014) ด ันย ไชยโยธา (2534) ้บานจอมยุทธ (2543) เฉ ิลม ินติเขต ์ตป ีรชา (2545) กระทรวงศึกษา ิธการ (2554) ชาญ ิวทย์ ป ีรชาพาณิชพัฒนา (2555) มหา ิวทยาลัยราช ัภฎสวนสุ ันนทา (2561) สง่ เสรมิ ความเขา้ ใจ         6 (75%) ปญั หาในสถานการณ์ ปจั จบุ นั ทั้งสาเหตุ การ         5 (62.5%) พัฒนาการพื้นฐาน         4 (50%) ปจั จบุ ัน เขา้ ใจ         4 (50%) วิวฒั นาการตามลำดับ ขั้นตอนของมนษุ ย์และ สงั คม การเรียนรู้ ประสบการณ์ในอดีต นำมาเปน็ บทเรยี น ใหแ้ ก่ปจั จบุ ัน ส่งเสริมความร้แู ละ สติปัญญาของผูศ้ กึ ษา รากฐานในการฝกึ นิสยั ทัศนคติและค่านิยมท่ีดี ในอนาคต Page | 16

รายการ O hara and O hara (2001) รวม M. Lawrence (2014) ด ันย ไชยโยธา (2534) ้บานจอมยุทธ (2543) เฉลิม ินติเขต ์ตป ีรชา (2545) กระทรวงศึกษา ิธการ (2554) ชาญ ิวทย์ ป ีรชาพาณิช ัพฒนา (2555) มหาวิทยาลัยราช ัภฎสวนสุ ันนทา (2561) เข้าใจวฒั นธรรม คณุ ค่า         4 (50%) ของส่ิงตา่ ง ๆ ของชาติ         4 (50%) ตนเองและชาติอื่น ๆ         4 (50%) ทำให้เกิดความเข้า  ใจความจริง เข้าใจ         2 (25%) ตนเอง เพ่อื เข้าถึง       2 (25%) ปรัชญาในชวี ิต      1 (12.5%) ฝกึ ทักษะตา่ ง ๆ เช่น ความระมัดระวงั ความ อดทน ความวเิ คราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การเข้าใจและแกไ้ ข ปัญหาท่ีซับซ้อน สอนใหผ้ ู้ศึกษารกั ความ จรงิ มีคณุ ธรรมและ จริยธรรม กระตุน้ /ตอบสนอง ความต้องการและ ความอยากรู้อยากเหน็ ของมนุษย์ ประวัตศิ าสตร์ระบุ ตวั ตน Page | 17

รายการ O hara and O hara (2001) รวม M. Lawrence (2014) ด ันย ไชยโยธา (2534) ้บานจอมยุทธ (2543) เฉลิม ินติเขต ์ตป ีรชา (2545) กระทรวงศึกษา ิธการ (2554) ชาญ ิวทย์ ป ีรชาพาณิช ัพฒนา (2555) มหาวิทยาลัยราช ัภฎสวนสุ ันนทา (2561) ประวตั ศิ าสตร์ซำ้ รอย         1 (12.5%) เสมอ มีความนา่ สนใจ เกดิ ความสนุกสนาน การชวนคิด และการ         1 (12.5%) เรยี นรู้ แนวทางเผชิญหนา้ กับ ความจรงิ ในการ         1 (12.5%) ดำรงชวี ติ ประวัตศิ าสตร์จะบอก ตวั เราว่า เราเป็นใคร         1 (12.5%) มาจากไหน เขา้ ใจบรบิ ทต่าง ๆ ของ การบันทกึ หรืออดตี         1 (12.5%) ผา่ นส่ิงรอบตัว พน้ื ฐานในการแสวงหา ความรู้ในวิชาแขนงอ่นื        1 (12.5%) ๆ เช่น สังคมศาสตร์ รฐั ศาสตร์ Page | 18

จากตารางการสังเคราะห์ความสำคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ซึ่งเป็น ที่มาของคำถาม “ทำไมตอ้ งเรียนร้ปู ระวัติศาสตร์” ขอเลือกใช้องค์ประกอบท่มี คี วาม สอดคล้องกันมากกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป สามารถสรุปได้ว่า มีความสำคัญของการ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ประกอบด้วย 7 ข้อ ได้แก่ การส่งเสริมความเข้าใจใน สถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งสาเหตุการพัฒนาการพื้นฐานปัจจุบัน เข้าใจวิวัฒนาการ ตามลำดับขั้นตอนของมนุษย์และสังคม การเรียนรู้ประสบการณ์ในอดีต นำมาเปน็ บทเรียนให้แกป่ ัจจุบัน ส่งเสริมความรู้และสตปิ ัญญาของผู้ศึกษา รากฐานในการฝกึ นิสัย ทัศนคติและค่านิยมที่ดีในอนาคต เข้าใจวัฒนธรรม คุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ของ ชาติตนเองและชาติอื่น ๆ ทำให้เกิดความเข้าใจความจริง เข้าใจตนเอง เพื่อเข้าถึง ปรัชญาในชีวิต และฝึกทักษะต่าง ๆ เช่น ความระมัดระวัง ความอดทน ความ วิเคราะห์ ความคดิ สร้างสรรค์ การเขา้ ใจและแก้ไขปัญหาทีซ่ บั ซ้อน การสังเคราะห์ความสำคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่มาจากคำถาม “ทำไมต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์” ตามแนวคิดของนักวิชาการและองค์กรการศึกษา ดนัย ชัยโยธา (2534), บ้านจอมยุทธ (2543), เฉลิม นิติเขตต์ปรีชา (2545), กระทรวงศึกษาธิการ (2554), ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา (2555), M. Lawrence (2557), มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสนุ นั ทา (2018), O’hara and O’hara (2001) ดงั น้ี 1. การส่งเสริมความเข้าใจปัญหาในสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งสาเหตุและการ พัฒนาการพื้นฐานปัจจุบันเข้าใจวิวัฒนาการตามลำดับขั้นตอนของมนุษย์และ สังคม การเรียนรู้ประวตั ศิ าสตร์ ชว่ ยใหเ้ ราเข้าใจปัจจบุ ันมากย่ิงขนึ้ แนวทางในการ ศึกษาวิจัยภูมิหลังในอดีต เพื่อให้ผู้ศึกษาพิจารณาหลักฐานอย่างรอบด้านก่อน สรุปผล ทุกเรื่องราวประวัติศาสตร์ย่อมมีความเป็นมา และนัยที่ซ่อนไว้ในแต่ละยุค สมัย ทำให้การเขียนประวัติศาสตร์แต่ละฉบับ ย่อมมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน การ เข้าใจอดีตน้นั คือประวัติศาสตร์ เราต้องเขา้ ใจวา่ ความรู้เกยี่ วกบั อดีตน้ันสร้างใหม่ได้ เรือ่ ย ๆ เพราะทัศนะมุมมองของสมัยท่เี ขียนประวตั ศิ าสตรน์ น้ั เปลีย่ นอยู่เสมอ ธงชัย วินิจจะกูล (2534), ไทยรัฐออนไลน์ (2564) ฉะนั้นหัวใจของประวัติศาสตร์คือ Page | 19

เร่อื งราวของอดีตท่ีนำมาถกเถียงถึงปัจจุบนั (ชาญวิทย์ เกษตรศริ ิ, 2540) การเรยี นรู้ ประวัติศาสตร์ยังมีมิติของเวลา และบริบทของเวลา สำหรับสิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรง กับประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นเรื่องราวของมนุษย์จากอดีตถึงปัจจุบันก็คือ “เวลา” (Time) อันเป็นปัจจัยสำคัญในประวัติศาสตร์ที่อยู่เหนือการควบคุม เพราะเวลาทำ ให้เหตุการณ์หนึ่ง ๆ หรือชุดของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีตกลับคือมาไม่ได้ อดีตจึง เป็นตวั กำหนดปัจจุบนั หมายความวา่ สภาพปัจจบุ นั ทีเ่ ปน็ อยู่คือผลของอดีตน่ันเอง เนื่องจาก “เวลารุดหน้าไปโดยไม่ถอยหลังกลับ เปรียบเสมือนตัวเชื่อมระหว่างอดตี กับปัจจุบัน และปัจจุบันกบั อนาคตอีกดว้ ย ในแง่นี้ทำให้อดีตและปัจจบุ ันกลายเปน็ เง่ือนไขอย่างหนึง่ ของอนาคต” เพราะเหตุนม้ี นุษย์จงึ รู้สึกวา่ มตี ัวตน นั่นคือ มนุษย์มี อดีต ปจั จุบัน และอนาคต 2. การเรียนรู้ประสบการณ์ในอดตี นำมาเปน็ บทเรยี นใหแ้ กป่ ัจจบุ ัน การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไม่วา่ จะเป็นบทเรียนทางประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ พฤติกรรมของมนุษย์ในอดีตย่อมมีทัง้ ด้านลบและด้านบวก เม่ือ เราได้เรียนรู้ความผิดพลาดของอดีตที่สร้างความเกลียดชังและความขัดแย้ง ส่งผล ต่อความทรงจำด้านลบและสร้างรอยแผลในอดีตเชื่อมโยงสะท้อนภาพให้เห็นใน ปัจจุบัน ก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง เช่น สงครามความขัดแย้งของ ราชอาณาจักรกัมพูชาสะท้อนสงครามกลางเมืองที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เขมรอย่าง มากมาย และนำมาทำเป็นภาพยนตร์เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นความโหดร้ายของ เขมรแดงและความเจ็บปวดที่ประชาชนชาวกัมพูชาได้รับในอดีต นิพนธ์ แย้มเล็ก (2562) ตั้งข้อสังเกตว่า ภาพยนตร์ เรื่อง Killing Fields ภาษาไทย ใช้ชื่อว่า ทุ่งสังหาร ออกฉายทั่วโลก เมื่อ พ.ศ. 2527 ได้รับรางวัลออสการ์ รางวัลลูกโลก ทองคำ เปิดเผยโศกนาฏกรรรมอันแสนสะเทือนใจของมนษุ ย์ชาติ โดยเฉพาะพีน่ อ้ ง ชาวกัมพชู าเราควรจำไวเ้ ปน็ บทเรียนและไม่นำกลบั มาเป็นรอยแผลลึกที่สร้างความ เจ็บปวดในปัจจุบันแต่นำมาเป็นตัวอย่างในการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของครู ประวัติศาสตร์ได้ ในขณะเดียวกันผู้เรียนใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการ แก้ปัญหาจากภาพสะท้อนเหตุการณ์ในอดีตนั้น ๆ ส่วนเหตุการณ์แบบอย่างที่ดี ๆ Page | 20

ในอดีต ครูประวัติศาสตร์นำเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวมาทำความเข้าใจ กับผ้เู รียนผา่ นการจดั การเรียนร้ทู ีห่ ลากหลายได้ 3. ส่งเสรมิ ความรู้และสตปิ ัญญาของผศู้ กึ ษา การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ครูสังคมศึกษาที่จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ต้องมีวิธีจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจากการนำสาระการเรียนรู้จากหลักสูตร แกนกลางการศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 ส่กู ารปฏิบตั ิในการจัดการเรียนรู้ ประวตั ศิ าสตร์ ทั้งน้ตี ้องคำนึงถงึ ภาพอดีตท่ีฟื้นหรือจำลองขนึ้ มาใหม่ มีความถูกต้อง มีข้อเท็จจริง มีความจริง น่าเชื่อถือเพียงใด หลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีมากน้อยเพียงใด และสามารถนำมาจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านวิธีการทางประวัติศาสตร์ท่ี ผู้เรียนสามารถฝึกทักษะทางประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมความรู้ ที่มีหลักฐานทาง ประวตั ศิ าสตร์อา้ งอิงไดจ้ รงิ และนา่ เช่ือถือ อีกท้งั การฝกึ ทกั ษะทางประวัติศาสตร์ทำ ให้เกิดความรอบคอบ คิดวิพากษ์ ประเมินคุณค่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้ ผ้เู รยี นพฒั นาพฤตกิ รรมดา้ นสติปัญญาในการเรยี นรู้ได้ 4. รากฐานในการฝึกนิสัย ทัศนคตแิ ละค่านิยมที่ดีในอนาคต การสรา้ งรากฐานในการฝึกนิสัย ทัศนคติและค่านยิ มทีด่ ี จากการประเมินค่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งมีหลักเกณฑ์การประเมินค่าของหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์แบง่ เปน็ 2 ประเภท • การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าหลกั ฐานจากภายในหมายถึง ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐานว่ามีความน่าเชื่อถือมาก ปานกลางหรือไม่ นา่ เช่อื ถอื ท้งั หมดซ่งึ จะต้องใชด้ ว้ ยความระมดั ระวังและควรตรวจสอบดงั น้ี 1.) ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์และการบันทึกได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้อง ย่อมมมี ากขนึ้ 2) จุดมุ่งหมายของผู้บันทึกบางคนตั้งใจบันทึกได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้อง ย่อมมีมากขึ้นเทา่ น้ัน Page | 21

3) ผู้บันทึกรู้ในเรื่องราวนั้นจริงหรือไม่ เรื่องราวที่อ้างอิงมาจากบุคคลอื่นหรือ เป็นคำพดู ของผบู้ ันทึกเอง 4) คุณสมบตั ิของผูบ้ ันทึกเก่ียวกับการศึกษาเล่าเรียนสภาพแวดล้อมน่าเชื่อถอื หรือไม่ ขณะที่บันทึกนั้น สภาพร่างกายหรือจิตใจปกติหรือไม่มีความกดดันทาง อารมณ์ หรือถูกบีบบังคับให้เขียนหรือไม่ข้อความในหลักฐานที่อาจเกิดการคัดลอก หรอื แปลผิดพลาดหรอื มกี ารต่อเติมเกิดขึ้น 5) ข้อความนั้นมีอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง ฐานะทาง เศรษฐกจิ สงั คมหรอื ไม่ 6) วิธีการในการบันทึกใช้วิธีการบันทึกอย่างไร ถี่ถ้วนมีอรรถรสหรือเป็นการ บันทึกโดยการสืบหาสาเหตุอย่างเที่ยงธรรม ถ้าหากผู้บันทึกใช้วิธีการทาง ประวตั ิศาสตร์บันทกึ เหตกุ ารณ์จะทำให้เป็นหลกั ฐานท่นี า่ เช่ือถอื มากขึ้น • การประเมนิ คุณค่าหลกั ฐานจากภายนอกเปน็ การมุ่งวเิ คราะห์และพิสจู น์ หลักฐานว่าเป็นของจริงหรือของปลอมไม่ว่าจะเป็นบางสว่ นหรือทั้งหมด โดยอาศัย วิธีการเปรยี บเทียบกับหลักฐานอนื่ อย่างไรก็ตามการตรวจสอบหลักฐานว่าจริงหรือ เทจ็ ประการใดน้นั ผ้เู รยี นรูป้ ระวัติศาสตรใ์ นบางกรณีไม่สามารถตรวจสอบด้วยตนเอง ได้ทั้งหมดเพราะต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทางจริง ๆ จึงต้องอาศัยผลงาน หรือขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งส่วนนี้จะเป็นการ ตรวจสอบหาข้อบกพร่องของหลักฐานเช่น นักโบราณคดี จากขั้นตอนส่วนหนึ่งของวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ว่าด้วยการวิเคราะห์/ วิพากษ์และประเมินคุณค่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์นี้ ถ้ามีการฝึกทักษะน้ีซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จะสามารถสร้างรากฐานในการฝึกนิสัย ทัศนคติและค่านิยมที่ดีในอนาคต และการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของผู้เรียนตลอดจนการจัดการเรียนรู้ของครู ประวตั ศิ าสตรจ์ ะเตม็ ไปดว้ ยความเข้าใจอนั ดแี ละสร้างค่านยิ มเชงิ บวกในสังคม 5. เขา้ ใจวฒั นธรรม คุณค่าของสิ่งตา่ ง ๆ ของชาติตนเองและชาตอิ ืน่ ๆ สำหรับการเรียนรู้ประวตั ิศาสตร์ ครูสังคมศกึ ษาที่จัดการเรยี นรู้ประวัติศาสตร์ ควรจัดการเรียนรู้จากมโนทัศน์ทางประวัติศาสตร์ที่มีความหมายของมโนทัศน์ทาง Page | 22

ประวัติศาสตร์หมายถึง ครูสังคมศึกษาที่จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ควรจัดการ เรียนรู้เนื้อหาประวัติศาสตร์ โดยการจัดเนื้อหาต้องเริ่มจากมโนทัศน์ (Concepts) ซึ่งเป็นแก่นแท้เนื้อหาแต่ละเรื่องหรือแต่ละหัวข้อและจึงนำรายละเอียดของ ประสบการณ์ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้มาครอบคลุมหรือเป็น ส่วนประกอบ ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่น ๆ จึงจะได้สื่อการสอน (Instructional Media) ไว้เป็นเครื่องมือในการสอน (เฉลิม นิติเขต์ปรีชา, 2545) รวมถึงการสะท้อนภาพทางประวัติศาสตร์และตัวแทนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ผ่าน กระบวนการคิด การจำแนก การจัดกลุ่ม การสังเกต การวิเคราะห์ซึ่งสามารถ อธิบายปรากฏการณ์ทางประวตั ิศาสตร์ และสิ่งต่าง ๆ และทำให้เกิดความเข้าใจใน สิ่งนั้นง่ายขึ้น เช่นอารยธรรม สำหรับ “อารยธรรม” ในความเป็นมโนทัศน์ทาง ประวตั ิศาสตร์ มี 3 ลกั ษณะดงั น้ี 1) เป็นพัฒนาการของสังคมมนุษย์ คุณลักษณะของโครงสร้างทางสังคม ความเจริญทางเทคโนโลยี และการบริหาร ระดับความเจริญทางสติปัญญา และ สุนทรียศาสตร์ ขอยกตัวอย่างเช่น ด้านสังคมวัฒนธรรมของสังคมจีนในอดีต ประกอบดว้ ยกลมุ่ บุคคลแยกเปน็ ชนชั้น ดงั นี้ 1. ชนชั้นขุนนางปัญญาชน เป็นกลุ่มผู้มาจากการสอบผ่านเข้ารับ ราชการเพื่อให้ได้ผู้มีความรู้และมีคุณธรรมเมื่อผู้ใดได้เป็นขุนนาง จะได้รับสิทธิยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน ยกเว้นภาษี มีชีวิต สะดวกสบาย Page | 23

2. ชนชั้นชาวนา มีจำนวนมากกว่าชนชั้นอื่นสังคมจีนเป็นสังคม เกษตรกรรม สมัยราชวงศโ์ จว ชนชน้ั ชาวนาได้รับการยกยอ่ งว่าเป็น ผู้ผลิต แต่กลับถูกเรียกเก็บภาษี ถูกเกณฑ์แรงงานและเกณฑ์ทหาร สะดวกสบายสะดวกสบาย 3. ชนช้นั พ่อค้าและทหารตามความคดิ ของขงจอ๊ื ชนชัน้ นไ้ี มน่ ่ายกยอ่ ง เพราะมิใช่เป็นผู้ผลิต แต่พ่อค้า เป็นกลุ่มที่ร่ำรวย และการทำ สงครามระหว่างเจ้าผู้ครองนคร ในสมัยราชวงศ์โจวทำให้ทหารมี ความสำคัญในการป้องกันสงั คมให้ปลอดภยั สะดวกสบาย 2) กระบวนการพัฒนาสังคมในด้านเทคโนโลยี การบริหาร สติปัญญา และ สนุ ทรียศาสตร์เช่น สมยั พระเวท ( ประมาณ 1,500-600 ปกี ่อนคริสตศ์ ักราช ) เป็น อารยธรรมของชนเผ่าอินโด-อารยัน (Indo-Aryan ) ซึ่งอพยพมาจากเอเชียกลาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคาโดยขับไล่ชนพื้นเมืองทราวิฑ ให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ของอินเดีย สมัยพระเวทแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของ ศาสนาพราหมณ์ หลกั ฐานทที่ ำให้ทราบเรอื่ งราวของยุคสมยั นี้ คือ “คัมภรี ์พระเวท” ซ่ึงเป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ นอกจากนย้ี งั มีบทประพันธม์ หากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีก 2 เรื่อง คอื มหากาพยร์ ามายณะและมหาภารตะเรยี กว่าเป็นยุคมหากาพย์ Page | 24

3) วัฒนธรรม (Culture) ซึ่งหมายถึง สรรพสิง่ ทั้งหลายที่ปรากฏในสังคมไม่ ว่าจะเป็นในด้านวัตถุหรือวิถีการดำเนินชีวิต เช่น วัฒนธรรมทางภาคใต้มี ประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน เป็นแหล่งรับอารยธรรมจากพระพุทธศาสนา พราหมณ์-ฮินดู และศาสนาอิสลาม ซึ่งได้หล่อหลอมเข้ากับความเชื่อดั้งเดิม กอ่ ให้เกดิ การบรูณาการเป็นวฒั นธรรมทอ้ งถ่นิ ภาคใต้ ด้านอาหาร ดา้ นศาสนาและ ดา้ นศลิ ปะ ลทั ธิความเชื่อ ได้แก่ ประเพณกี นิ ผักหรือท่ี ได้แก่ การรำโนราซึ่งเป็น ชาวบ้านและชาวจีนทีอ่ ย่ใู น เช่น ประเพณีลากพระ ศิลปะพื้นบ้านที่เก่าแก่ของ จังหวัดภูเก็ตเรียกกันว่า ป ร ะ เ พ ณ ี ส า ร ท เ ด ื อ น สิ บ ภาคใต้ โดยนอกจากจะแสดง “เจี๊ยฉ่าย”เป็นประเพณีท่ี ประเพณีลากพระ ชักพระ เพื่อความบันเทิงแล้วยัง คนจนี นับถอื มาช้านาน หรือแห่พระ เปน็ ตน้ แสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม ที่เรียกว่า โนรา โรงครูหรือ โนราลงครู เป็นต้น Page | 25

การเรียนรู้ประวัตศิ าสตร์ผ่านมโนทัศน์ทางประวัติศาสตร์ “อารยธรรม” ทำ ให้ครูสังคมศึกษาที่จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์และผู้เรียนเข้าใจวัฒนธรรม คุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ของชาติตนเองและชาติอื่น ๆ เพื่อยอมรับความแตกต่างของ วัฒนธรรมท่หี ลากหลาย และมองเอกลักษณข์ องแต่ละวัฒนธรรมด้วยความคิดเห็นท่ี เขา้ ใจในความแตกต่างของวฒั นธรรมของชาตติ นเองและชาตอิ ืน่ ๆ ดว้ ยความช่ืนชม 6. ทำให้เกดิ ความเข้าใจความจริง เข้าใจตนเอง เพ่ือเขา้ ถงึ ปรชั ญาในชวี ติ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ทำให้เข้าใจรากเหง้าของชาติตนเองและความเป็น ชาติไทยมากขึน้ เข้าใจเหตกุ ารณใ์ นอดตี สรา้ งความภาคภูมใิ จในบรรพบุรุษของชาติ ไทยทเ่ี สียสละเลอื ดเนอ้ื และชีวติ เพ่อื รกั ษาพืน้ แผน่ ดินไทยไว้ให้ลูกหลาน ส่งต่อมรดก ทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่าเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์จากหลักฐานชั้นต้น เช่น ศิลาจารึกหลักต่าง ๆ ที่สะท้อนภาพความเป็นอยู่ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและ การเมอื งของสมัยอาณาจักรสโุ ขทยั เปน็ ตน้ 7. ฝึกทักษะต่าง ๆ เช่น ความระมัดระวัง ความอดทน ความวิเคราะห์ ความคิด สรา้ งสรรค์ การเข้าใจและแก้ไขปญั หาที่ซับซอ้ น การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ช่วยให้เราเข้าใจว่าการเปลีย่ นแปลงในปจั จุบนั และ อนาคตที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของคนในสังคมที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีสาเหตุอะไรบ้าง ประการสำคัญกวา่ นั้นการเรยี นรู้ประวัติศาสตร์จะกระตุน้ ให้ เกดิ นสิ ัยของจิตใจทมี่ คี วามสำคญั ต่อพฤติกรรมสาธารณะ การคดิ วเิ คราะห์ คดิ อย่าง มีเหตุผล คิดสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบ เข้าใจและแก้ปัญหาที่ซับซ้อนจากการ เรยี นรปู้ ระวตั ิศาสตร์ด้วยวธิ ีการทางประวตั ศิ าสตร์ Page | 26

ผเู้ ขียน มปี ระสบการณ์จากการสอนสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษาในระดบั อดุ มศึกษา พบว่าผู้เรียนที่ชอบเรียนวิชาประวัติศาสตร์จะไม่ลังเลเลยว่าทำไมต้องเรียน ประวัติศาสตร์ การเล่าเรื่องราว การส่งต่อประสบการณ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เป็นไปอย่างราบรื่น มีการโต้เถียงเกี่ยวกับทัศนคติท่ีไม่ตรงกันระหว่างผู้เรียนกับ ผู้เรียน ไม่ได้สร้างบรรยากาศเชิงลบในห้องเรียน การพูดคุยด้วยเหตุผล อีกทั้งยก หลักฐานต่าง ๆ มาประกอบ วิพากษ์ร่วมกัน ผู้เขียนและผู้เรียนเห็นความสำคัญของ การแลกเปลย่ี นเรียนรูใ้ นหลากหลายมุมมองของเหตกุ ารณต์ า่ ง ๆ ในประวัตศิ าสตร์ จากการกล่าวอารัมภบทถึงความเป็นมาของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศกึ ษา ศาสนาและวัฒนธรรม ทำไมถึงต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ความหมายของวิชา ประวัติศาสตร์ การจดั การเรียนรปู้ ระวัติศาสตร์ของครสู งั คมศึกษาทจ่ี ดั การเรยี นรู้วิชา ประวัติศาสตร์ คือ“ครูประวัติศาสตร์” เหตุปัจจัยตา่ ง ๆ ย่อมมีเหตุผลทีร่ องรับความ เป็นจริงทางประวัติศาสตร์ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถอ้างอิงและ พสิ จู น์ได้เสมอ หากพจิ ารณาอยา่ งลึกซ้ึงแลว้ สภาพและปญั หาของการจัดการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สาระประวัติศาสตร์ ยังคงมีอยู่ ณ ที่นี้ผู้เขียน ต้องการลงลึกถึงรายละเอียดการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา เท่านนั้ ดว้ ยเหตทุ ่วี า่ ผ้เู ขยี นมคี วามเชีย่ วชาญการสอนสังคมศกึ ษา (ประวตั ศิ าสตร)์ ใน ระดับมัธยมศึกษา และมองเห็นสภาพและปญั หาของการจดั การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ในระดบั มธั ยมศึกษามาพอสงั เขป Page | 27

สภาพและปญั หาของการจดั การเรียนรู้ประวตั ิศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษา จากสภาพการจัดการเรียนรปู้ ระวตั ิศาสตร์ ชินภัทร ภูมิรตั น์ (2554) กลา่ วไว้ ในหนังสือเพ่อื นคู่คิด มิตรคู่ครวู า่ “เนื่องจากครูผู้สอนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้พื้ นฐานด้านประวัติศาสตร์ ครูท่ีสาเร็จด้านประวัติศาสตร์มีจานวนน้อย ส่วนใหญ่สอนในระดับ มธั ยมศึกษา ทั้งทผ่ี ่านมาการพัฒนาครูผู้สอนประวัติศาสตร์ก็มีน้อย มาก เอกสารท่ีให้ความรู้ด้านการสอนประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ก็มีเพี ยง 1 เล่ม คือ ประวัติศาสตร์ไทย: จะเรียนจะสอนกันอย่างไร เมื่อครูขาด ความรู้และความเข้าใจในทักษะการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ย่อมไม่ สามารถจั ดกระบว นกา รเ รี ยนรู้ ได้ ตา มเป้ า ห มา ยขอ งหลั กสู ต ร รวมท้ัง ไมส่ ามารถสนองความต้องการของผู้เรียนในยุคโลกาภิวัตน์ ได้.” จากคำกล่าวนี้ผู้เขียนให้คำนิยามสภาพการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หมายถึง ลกั ษณะโดยทว่ั ไปของการจัดการเรยี นรู้ประวัตศิ าสตร์ มีองค์ประกอบด้าน การใช้หลักสูตรเพื่อการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวตั ิศาสตร์ การใชส้ ือ่ การเรยี นรู้ประวตั ิศาสตร์ การวัดและประเมนิ ผลการเรียนรู้ ประวตั ศิ าสตร์ ความพรอ้ มของครูประวัตศิ าสตร์ในระดบั มัธยมศึกษา ส่วนปัญหาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หมายถึง อุปสรรคของครูสังคม ศึกษาที่จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในด้านการใช้หลักสูตรเพื่อการจัดการเรียนรู้ การจดั กิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ การใช้สอ่ื การเรียนร้ปู ระวัตศิ าสตร์ การวัด Page | 28

และประเมนิ ผลการเรยี นรปู้ ระวัติศาสตร์ ตลอดจนอุปสรรคของผูเ้ รยี นในการเรียนรู้ ประวัติศาสตรใ์ นระดบั มัธยมศึกษา การจัดการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ของครูประวัติศาสตร์ระดับ มัธยมศกึ ษา การวิเคราะหป์ ัจจัยมีส่วนสำคัญในการสะท้อนให้เหน็ สภาพการจัดการ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา เพื่อแสดงให้เห็นถึงสภาพการจัดการ เรียนรปู้ ระวตั ิศาสตรใ์ นปัจจุบันไดช้ ดั เจนยิง่ ขึน้ ดังน้ี 1. ด้านการใช้หลักสูตรเพ่ือการจดั การเรยี นรปู้ ระวตั ิศาสตร์ หลักสูตรรายวิชาประวัติศาสตร์มีเนื้อหามากเกินไป เมื่อพิจารณาจาก หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กับตัวชี้วัดและสาระ การเรียนรู้แกนกลางสาระประวัติศาสตร์ มีการปฏิบัติในการใช้หลักสูตรเพื่อการ จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ครูสังคมศึกษาที่จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ใช้ หลักสูตรของสถานศึกษาเป็นส่วนใหญ่ หากอยู่ในสภาวะปกติที่ผ่านมาครูสังคม ศึกษาที่จัดการเรียนรู้วชิ าประวัติศาสตร์ได้รับการอบรม สัมมนาอยา่ งตอ่ เน่ือง และ หลักสูตรจะพัฒนาตามนโยบายของเขตพื้นที่การศึกษานั้น ๆ ทั้งนี้ต้องมีแกนนำใน การจัดอบรมครู ความรู้ ครูสงั คมศึกษาท่ีจดั การเรยี นร้วู ชิ าประวตั ศิ าสตร์ใช้หลักสตู ร อย่างเต็มที่และลงมือปฏิบัติได้จริง ภายใต้เวลาที่จำกัด (ลาวัณย์ วิทยาวุฒิกุล, 2533; กรมวชิ าการ, 2542) ดา้ นปัญหาของการใช้หลักสูตรเพื่อการจัดการเรียนรปู้ ระวตั ิศาสตร์ และท่ียังน่า เป็นห่วงคือ มีหนังสือเพียงไม่กี่เล่มและเนื้อหาประวัติศาสตร์เป็นรูปแบบชาตินิยมมาก เกินไป ขาดการวิเคราะห์และพัฒนาจิตสำนึกความเป็นชาติและเป็นเนื้อหาสั้น ๆ ที่ ล้าสมัย ทั้ง ๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งให้แยกวิชาประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง เป็นวิชาเฉพาะโดยกำหนดให้วิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง มีหน่วยกิตชั่วโมง เรียน และการวัดประเมินผลในแต่ละวิชาละ 1 หน่วยกิต โดยใช้เวลาเรียนวิชาละ 40 ชั่วโมงต่อปี (วินัย พงษ์ศรีเพียร, 2543; สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2555) ส่งผลให้บทบาทของประวัติศาสตร์สร้างความบกพร่อง วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร (2560) ระบไุ ว้วา่ บทบาทของประวตั ิศาสตร์ คือ การบอกให้ทราบว่าอะไรได้เกดิ ข้ึนแล้ว Page | 29

ในอดีต เพราะเหตุใดจงึ เกิดข้นึ และเกิดขึน้ อยา่ งไร เหตุการณ์ที่เปน็ ประวตั ิศาสตร์แก้ไข อะไรไม่ได้ จึงมีไว้เพื่อการศึกษา มิใช่เพื่อสะสมความรู้สึกชื่นชอบหรือเกลียดชัง เหตุการณ์ และหากนำเอาความรู้สึกดังกล่าวมาเชื่อมโยงกับปัจจุบัน ก็จะเกิดความ สับสนในความรู้สึกนึกคิดข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์มีหลากหลาย ทั้งที่ เชื่อถือได้และที่เชื่อถือไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องรู้จักแยกแยะด้วยการพิจารณาหลักฐานและ ตรรกะ มิใช่เชื่อไปหมดหรือเชื่อทันทีเพราะมีผู้บอกเล่า ความเชื่อถือข้อมูลทาง ประวัติศาสตร์จำเป็นต้องใช้สติปัญญา และสำหรับฝ่ายของผู้ที่มีความรับผิดชอบใน การถ่ายทอดความรู้ประวัติศาสตร์ การพิจารณาข้อมูลทางประวัติศาสตร์สำหรับ การถ่ายทอด ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดแก่สาธารณชนหรือการถ่ายทอดผ่านหลักสูตร การศึกษาในระดบั ต่าง ๆ จะตอ้ งไดร้ ับความเอาใจใส่และการทบทวนอยา่ งรอบคอบ โดย ให้ความสำคัญต่อหลักฐานที่เชื่อถือได้ และนโยบายของรัฐบาลที่ปรับเปลี่ยน ผู้รับผิดชอบตลอดเวลาทำให้การสืบทอดนโยบายการศึกษาไม่ต่อเนื่อง อีกทั้งจะมี การปรับเปลี่ยนหลักสูตรมาเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะในอนาคตอันใกล้ยังไม่มีความ แน่นอน (สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขนั้ พ้นื ฐาน, 2563) การแก้ปัญหาในการใช้หลักสูตรเพื่อการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ใน ประเทศไทย ซึ่งสาระประวัติศาสตร์เป็นหนึ่งในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ไม่ใช่เฉพาะสำหรบั ครปู ระจำการเท่านั้น อาจจะต้องกำหนด นโยบายตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562 (2562) เพ่ือ เตรียมครูก่อนประจำการ (Teacher Pre-Service) ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของการเป็นครูประวัตศิ าสตรไ์ ด้ดังนี้ Page | 30

ดา้ นความรู้ 1) มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎีเนื้อหาสาระด้านวิชาชีพของครู อาทิ ค่านิยมของครู คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ จิตวิญญาณครู ปรัชญาความ เป็นครูจติ วิทยาสำหรับครู จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการเรียนรู้เพื่อจดั การเรียนรู้ และช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน หลักสูตรและวิทยาการการ จดั การเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สารการศึกษา และการ เรียนร้กู ารวัดประเมนิ การศึกษาและการเรียนรู้การวิจยั และการพฒั นานวัตกรรมเพื่อ พัฒนาผู้เรียน และภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครูทักษะการนิเทศและการสอนงาน ทกั ษะเทคโนโลยแี ละดิจทิ ลั ทักษะ การทำงานวิจัยและวดั ประเมนิ ทักษะการร่วมมือ สรา้ งสรรค์ และทกั ษะศตวรรษที่ 21 มีความร้คู วามเขา้ ใจ ในการบูรณาการความรู้กับ การปฏิบัติจริงและการบูรณาการข้ามศาสตร์อาทิ การบูรณาการการสอน (Technological Pedagogical Content Knowledge: TPCK) การสอนแบบบูรณา การความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรมและคณิตศาสตร์ ( Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community: PLC) และมคี วามรู้ในการประยกุ ต์ใช้ 2) มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎีเนื้อหาวิชาที่สอน สามารถ วิเคราะห์ความรู้ และเนื้อหาวิชาที่สอนอย่างลึกซึ้ง สามารถติดตามความก้าวหน้า ด้านวิทยาการและนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียน โดยมีผลลัพธ์การเรียนรู้ และเน้ือหาสาระด้านมาตรฐานผลการเรียนรดู้ ้านความรขู้ องแต่ละสาขาวชิ าฯ 3) มีความรู้เข้าใจชีวติ เขา้ ใจชุมชน เขา้ ใจโลกและการอย่รู ว่ มกันบนพ้ืนฐาน ความแตกต่างทางวัฒนธรรม สามารถเผชิญและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของ สังคม และสามารถนำแนวคิดปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการ ดำเนินชวี ิตและพัฒนาตน พัฒนางานและพัฒนาผู้เรียน Page | 31

4) มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาองั กฤษเพ่ือการ สือ่ สาร ตามมาตรฐาน 5) ตระหนักรู้ เห็นคุณค่าและความสำคัญของศาสตร์พระราชาเพื่อการ พฒั นาทยี่ ่งั ยืนและ นำมาประยุกตใ์ ช้ในการพัฒนาตน พัฒนาผู้เรยี น พฒั นางานและ พฒั นาชมุ ชน อีกทั้งมีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้และตัวอย่างสาขาวิชา/ข้อเสนอสาระ ความรู้กลุ่มสาขาวิชาสังคมศึกษาดังนี้ ผลลัพธ์การเรียนรู้ ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เนื้อหาสาระสังคมศึกษา ความรู้ ความเข้าใจ ในการ ดำรงชีวิต ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคลและการอยู่ร่วมกันในสังคม เข้าใจถึงการพัฒนา และการเปลี่ยนแปลง ตามยุคสมัย กาลเวลา ตามเหตุปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดความ เข้าใจในตนเองและผู้อื่น มีความอดทน อดกลั้น ยอมรับในความแตกต่าง รู้จักการ สร้างสมานฉันท์ มีจิตสำนึกร่วมทีด่ แี ละมีทัศนคติท่ีถูกต้องเกี่ยวกบั ชาติ บ้านเมือง มี คุณธรรม จริยธรรม การปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรือศาสนาท่ี ตนนับถือ การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถออกแบบและ จัดการเรียนรู้สังคมศึกษา สามารถบูรณาการการจัดการเรียนรู้ การผลิตและใช้ส่ือ เทคโนโลยีที่ทันสมัย การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การวิจัยเพื่อ แก้ปัญหา พัฒนาผู้เรียนและการประเมินผลการเรียนรู้สามารถทำวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเป็นผู้ร่วมสร้าง นวัตกรรมทางสังคมศึกษา สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมี คณุ ภาพและรว่ มสร้างสงั คมท่ีมัง่ ค่ังและยัง่ ยืนอยา่ งสรา้ งสรรค์ ตลอดจนเปน็ พลเมือง ดขี อง ประเทศชาตแิ ละสังคมโลกประวัติศาสตร์ (2.1) ประวัติศาสตร์ไทย (2.2) ประวัติศาสตรท์ อ้ งถ่นิ (2.3) ประวตั ิศาสตร์สากล (2.4) วิธกี ารทางประวตั ิศาสตร์ (ราชกจิ จานุเบกษา, 2562) Page | 32

จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนเป็นผู้จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์และเป็น อาจารย์นิเทศก์นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมากว่า 20 ปี พบว่า ครูก่อน ประจำการ (นิสิต/นักศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู) ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ ดา้ นเนื้อหาดี มกี ารบรู ณาการซง่ึ เป็นการสอนที่เหมาะกบั กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศกึ ษา ศาสนาและวฒั นธรรม แตถ่ ูกจำกัดอยทู่ ่ีหลกั สูตรของรายวชิ าประวัติศาสตร์ที่ มีมากเกินไปในเวลาที่จำกัด และพบว่าครูประจำการชอบสอนวิชาประวัติศาสตร์ น้อยมาก จะมอบงานให้ครูก่อนประจำการที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูรับผิดชอบ แทน การเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาในการใช้หลักสูตรเพื่อการจัดการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ของต่างประเทศ เนื่องด้วยสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ได้รับการท้าทายต่อการเรียนรู้ในปัจจุบัน หาก พิจารณาจากแผนภาพมโนทัศน์ประวัติศาสตร์ในหลักสูตรที่ประเทศออสเตรเลี ย มุ่งเน้นความสำคัญของมโนทัศน์ประวัติศาสตร์ โดยที่นักวิชาการออสเตรเลียไดร้ ่าง หลักสูตรเก่ยี วกบั มโนทศั น์ประวตั ศิ าสตรด์ ังแผนภาพต่อไปน้ี แผนภาพท่ี 1 แสดงหลักสตู รเกีย่ วกบั มโนทศั น์และทักษะประวตั ศิ าสตร์ ท่ีมา: www.alphahistory.com/history-concepts Page | 33

จากแผนภาพที่ 1 อธิบายได้ว่า หลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจมโนทัศน์ ประวัติศาสตร์เรื่อง การเปลี่ยนแปลง การต่อเนื่อง สาเหตุและเหตุผล แหล่งที่มา หลักฐาน ความสำคัญอย่างมีนัยยะสำคัญ กรอบแนวคิด การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความเกลียดชัง ความเข้าใจ การวิเคราะห์โดยใช้แหล่งข้อมูลจากการวิจัย การ ตดิ ตอ่ สื่อสาร สำหรับประเทศในยุโรปให้ความสำคัญกับมโนทัศนท์ างประวัติศาสตร์ในเรื่อง ความเป็นพลเมืองดี อาทิ ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ประเทศสาธารณรัฐเยอรมัน ประเทศอิตาลี ประเทศสเปนและประเทศสวีเดนที่นำมโนทัศน์ทางประวัติศาสตร์ บรรจุในหลักสูตรช่วงชั้นมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการภายในกลุ่ม สาระการเรยี นรู้สังคมศกึ ษา ศาสนาและวัฒนธรรมดังรายละเอยี ดในตารางที่ 2 ตารางท่ี 2 โครงสรา้ งการจดั การศึกษาเพอ่ื สรา้ งความเปน็ พลเมืองในช่วงช้ัน มธั ยมศกึ ษา (11-18ป)ี ประเทศ การบูรณาการ จำนวนชวั่ โมงที่สอน ฝร่งั เศส เชื่อมโยงในวชิ าประวตั ศิ าสตรแ์ ละ จำนวนชว่ั โมง 3-4 ชวั่ โมง จาก ภูมิศาสตร์ ข้อบงั คบั ในหลักสตู ร เปน็ 26 ชัว่ โมง เยอรมนั รายวชิ าบังคับศึกษาเชิงบูรณาการ ไม่กำหนดรายชวั่ โมง อิตาลี เชงิ บรู ณาการ 4 ชัว่ โมง เชื่อมโยงสังคมศกึ ษาบูรณาการ ภูมศิ าสตร์ สเปน ประวตั ิศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ไม่บังคบั ไม่กำหนดเป็นข้อบังคบั สวเี ดน 889 ชว่ั โมงมากกว่า 9 ปขี อง พลเมอื งในมติ ิเชือ่ มโยงประวตั ศิ าสตร์กบั การศกึ ษาภาคบังคบั ภูมิศาสตร์กำหนดเปน็ ขอ้ บงั คบั /ศกึ ษา รายวชิ า พลเมอื งโดยเชอ่ื มโยงประวัตศิ าสตร์ ภมู ศิ าสตร์ และสงั คมศาสตร์ สังคมศาสตร์ รวมประวตั ิศาสตร์ ภูมิศาสตรแ์ ละสังคมศกึ ษา ไมก่ ำหนดเปน็ ข้อบงั คับ ศึกษารายวชิ าเชิงบูรณาการ ทมี่ า: Denis Lawton, Jo Cairns and Roy Gardner Education for Citizenship 2000, อ้างในศักดิ์ชยั นริ ัญทวี (2548) Page | 34

จากตารางข้างต้นนี้แสดงให้เหน็ ว่า มโนทัศน์ประวตั ิศาสตร์เปน็ มโนทัศน์เชิง สหสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ การเชื่อมโยงหรือบูรณาการสาระต่าง ๆ ของสังคม ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อให้การเรียนรู้ประวัติศาสตร์สร้างความเป็น พลเมืองดี เรียนรู้ประวัติศาสตร์สร้างความเป็นพลเมืองดีก่อให้เกิดความรักความ ภาคภูมใิ จในชาติบา้ นเมอื งของตนคือ ทำให้เรารถู้ งึ ความเสียสละของบรรพบุรุษท่ีได้ สร้างบ้านเมือง รักชาติบ้านเมืองไว้ด้วยชีวิต สร้างสมวัฒนธรรมอันดีงามมาสู่รุ่น ลูกหลานจึงก่อให้เกิดความภูมิใจ รักหวงแหนมรดกที่บรรพบุรุษท้ิงไว้ ต้องการที่จะ อนรุ ักษแ์ ละสืบสานสง่ิ ทด่ี งี ามตอ่ ไป หลักสูตรสาระประวัติศาสตร์ปรากฏในกลุ่มวิชาสังคมศึกษาในหลากหลาย ประเทศทั่วโลก เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเห็นถึงความเป็นมาและพัฒนาการทาง ประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และตระหนัก หวงแหนในวัฒนธรรม ประเพณี และเกิดความภาคภูมิใจในชาติของตน ตลอดจน เรียนรพู้ ฒั นาทางประวัติศาสตร์ของพ้นื ทตี่ ่าง ๆ ทว่ั โลกทมี่ ีความเกย่ี วเนื่องเชื่อมโยง สัมพันธ์กัน จนนำไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ของกลุ่มคนแต่ละกลุ่มใน สังคมโลก และพัฒนาทักษะการสืบค้น เรียบเรียง วิเคราะห์วิจารณ์และนำเสนอ ขอ้ มูลเพ่อื ตอบประเด็นคำถามหรือข้อถกเถียงทางประวัตศิ าสตรต์ ่าง ๆ ตวั อยา่ งเช่น มาตรฐานรายวิชาสังคมศึกษาของสาธารณรัฐเกาหลี เนื้อหาประวัติศาสตร์จะอยู่ใน มาตรฐานด้านความรู้ เรื่องที่ 2 มนุษย์กับเวลา ที่มีจุดเน้นเพื่อเข้าใจประเพณีและ วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ พัฒนาการของวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ของชาติ พัฒนาการของมนุษย์และลักษณะทางวัฒนธรรมของประวัติศาสตร์ในแต่ ละยุคสมัย (Ministry of Education, 2008) หรือกระทั่งการสอนประวัติศาสตร์ บาดแผลในเรื่องที่มีความยากต่อการทำความเข้าใจ เช่น ประวัติศาสตร์เรื่องการ แบ่งแยกโรงเรยี นสำหรับคนผิวสีตา่ ง ๆ ในสหรัฐอเมรกิ า (School Desegregation) ซึ่งจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจแก่ผู้สอนเพื่อให้ผู้สอนพยายามนำเสนอประเด็น ดังกล่าวโดยใช้หลักฐานจากหลายฝ่าย เพื่อให้ผู้เรียนได้พิจารณาข้อมูลอย่างรอบ ด้าน และพัฒนาความเห็นอกเหน็ ใจซึ่งกันและกนั มิใช่เรยี นประวัตศิ าสตร์เพือ่ สรา้ ง ความเกลียดชัง แต่เป็นการเรียนรู้สิ่งที่ผิดพลาดในอดีต เคารพคุณค่าความเป็น Page | 35

มนุษย์ และรว่ มกันสรา้ งสังคมทอี่ ยรู่ ่วมกนั ไดอ้ ยา่ งสงบและสนั ติ โดยไมท่ ำให้เกดิ การ แบ่งแยกและการปฏบิ ตั ทิ ่ไี ม่เท่าเทียมดงั เชน่ อดีตอีก (Suh, Y et al, 2020) ด้านการจดั กิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ สภาพครูสังคมศกึ ษาที่จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จัดกิจกรรม การเรียนรู้ประวัติศาสตร์แบบถ่ายทอดความรู้ บรรยาย ความคิดและประสบการณ์ จากตําราให้แก่ผู้เรียน การเรียนในลักษณะนี้ผู้เรียนจะเป็นฝ่ายรับความรู้และ ประสบการณ์จากครูเป็นลักษณะการเรียนที่เรียกว่า ครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher - centered) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เป็นการท่องจำ ผู้เรียนจะตอบเมื่อครูตั้งคำถาม การสืบค้นในวงแคบจากตำราเท่านั้น และการ นำเสนอในลักษณะการเขียนแสดงความคิดเห็นมาจากตำราประวัติศาสตร์ที่ครู เตรยี มและเลือกไว้ ผู้เรียนขาดความกระตอื รือรน้ ในการเรยี นรปู้ ระวัติศาสตร์ ด้านปัญหาการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ประวัติศาสตร์ตามที่ วิชิตวงศ์ ณ ป้อม เพชร (2560) กล่าวว่า การขาดจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์ (sense of history) ของคนไทยในปัจจุบัน และความไม่สามารถแยกแยะข้อมูลทางประวัติศาสตร์ท่ี เชื่อถือได้จากบรรดาเรื่องที่ได้ยินคำบอกเล่าเพราะ“จิตสำนึกทางประวัติศาสตร์” หมายถึง การให้ความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ในการพิจารณาทำความเข้าใจใน เหตกุ ารณ์ที่เกดิ ขึน้ ในปัจจุบัน และที่จะเกิดขึน้ ในอนาคต ประวัติศาสตร์จะบอกให้รู้ ว่าทำไมเราจึงมาอยู่ตรงนี้ และทิศทางที่จะนำไปเบื้องหน้า การขาดจิตสำนึกทาง ป ระ ว ั ต ิ ศ า ส ต ร์ ท ำ ให้ อย ู ่ ใน ค ว า ม ม ื ด - ไ ม ่ ม ี แ ม ้ กระ ท ั ่ ง แ ส ง ส ว ่ า ง ท ี ่ ป ล า ย อุ โ ม ง ค์ ยกตัวอย่างเช่น ความเป็นมาของชนชาติไทยยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามาจาก ดินแดนใด มเี พียงข้อสมมตฐิ านเทา่ นัน้ หรอื ข้อสงสัยเก่ยี วกบั หลักศลิ าจารกึ หลกั ที่ 1 วา่ ไม่ไดม้ ีต้นกำเนดิ ในสมยั สุโขทัย ซ่ึงอาจจะมกี ารพิสจู น์ต่อไป อีกท้ังครูสังคมศึกษา ที่สอนวชิ าประวัติศาสตร์ไม่สามารถจดั กจิ กรรมการเรยี นรปู้ ระวตั ิศาสตร์ได้ครบตาม แผนการจัดการเรียนรู้ที่เตรียมไว้ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 Page | 36

(สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาชาติ, 2560) ระบวุ ่า การผลิตครู สถาบนั อดุ มศกึ ษา เกินความต้องการ สถาบันการศึกษามุ่งเน้นที่การผลิตบัณฑิตครูไม่คำนึงถึงความรู้ ความสามารถ เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเท่านั้น ทำให้เกิดการ ขาดแคลนครบู างสาขาวิชาฯ เชน่ คณิตศาสตร์วทิ ยาศาสตร์ ภาษาองั กฤษ ภาษาไทย เปน็ ท่นี า่ สังเกตอยา่ งมากว่าในแผนการศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ไมไ่ ด้เอ่ย ถึงสังคมศึกษาเลย ซึ่งส่งผลกระทบถึงระบบการผลิตและพัฒนาครู ต้องได้รับ การศกึ ษา วเิ คราะห์ ปฏิรูป และพฒั นาการบริหารงานโดยองคร์ วมอย่างเร่งด่วน แต่ กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 3 ระบบการผลิตครู อาจารย์และบุคคลากรทางการ ศึกษา ให้ได้มาตรฐานระดับสากล มีตัวชวี้ ัดที่สำคัญคอื มีฐานขอ้ มลู ความต้องการใช้ ครู แผนผลิตอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาในระยะเวลา 10 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2560 - 2569 จำแนกตามสาขาวิชา ขนาดสถานศึกษาและจังหวัด สัดส่วนของการ ผลิตครใู นระบบปิดเพ่มิ ข้ึน แนวทางในการแกป้ ัญหาการจดั กิจกรรมการเรยี นรปู้ ระวัตศิ าสตร์ ครคู วรจัด กิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ตามแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์มีมากมายหลายวิธีด้วยวิธีการที่หลากหลาย กรณีเวลาปกติการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพเริ่มต้นที่ครูสังคมศึกษาสังคม ศกึ ษาท่จี ดั การเรยี นร้วู ิชาประวตั ิศาสตรต์ อ้ งคำนึงโดยใชว้ ธิ กี ารทางประวัติศาสตร์ใน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์อาศัยศาสตร์ที่จำเป็ นสำหรับการจัดการ ขอ้ มูลในยคุ โลกาภิวัตน์ และศาสตร์ของการสบื คน้ และทำความเข้าใจสังคมมนุษย์ใน ปัจจุบนั คุณค่าดังกล่าว จะนำไปสู่ความตั้งใจที่จะปรบั เทคนิคการสอนทีห่ ลากหลาย เช่น การจัดค่าย ประวัติศาสตร์ โครงงานประวัติศาสตร์ ทัศนศึกษา บทบาทสมมตุ ิ การใช้ time line ช่วยในการคิดวิเคราะห์ การสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น ในกรณีของ New Normal การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่าน เทคโนโลยีเช่น Zoom Google meet Microsoft Team และ Virtual Reality เปน็ ต้น Page | 37

ในขณะที่การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมีความสำคัญ ครูสังคมศึกษาที่ จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์อาจจัดการเรียนรู้โดยการนำเสนอเรื่องราวในทาง ผลประโยชนใ์ หก้ บั คนในปัจจบุ ัน อยา่ งไรก็ตามความนิยมในวัฒนธรรมกลุ่มย่อยของ ชาวจีนบาบ๋าสะท้อนความหลากหลายที่เกิดขึ้นในสังคมเพราะ วัฒนธรรมอันเป็น ดอกผลจากประวตั ศิ าสตรเ์ หลา่ นี้มิได้ประกอบด้วยวัตถุสิ่งของเทา่ นนั้ แต่ยังหมายถึง แนวคดิ ของการเป็นพวกพ้องร่วมเชอื้ สาย รว่ มทีม่ ากนั แสดงแนวคดิ ว่าประเทศไทย มิได้ตั้งอยู่ด้วยบุคคลเพียงกลุ่มเดียว แต่ยังประกอบด้วยคนหลากหลายกลุ่ม แม้ หลักสูตรประวัติศาสตร์ไทยจะนิยมนำเสนอประวัติศาสตร์กระแสหลักเช่น พุทธ ศาสนา ชาวไทยกรงุ เทพ หรือประวัตศิ าสตร์ที่สัมพันธ์กับราชวงศ์ แต่ในท้องถิน่ ตา่ ง ๆ ก็มีเรื่องเล่าหรือประวัติศาสตร์ของตนเองที่แสดงที่มาและอัตลักษณ์ของกลุ่มคน เหลา่ น้ันเอาไว้ การเตรียมความพร้อมให้ครูก่อนประจำการ (Teacher Pre-Service) เข้าสู่ วิชาชีพครูประจำการ ครูประวัติศาสตร์ ตามราชกิจจานุเบกษา (2562) ที่ว่าด้าน ทักษะทางปัญญา การคิด ค้นหา วิเคราะห์ข้อเท็จจริง และประเมินข้อมูล สื่อ สารสนเทศจากแหล่งข้อมูล ที่หลากหลายอย่างรู้เท่าทัน เป็นพลเมืองตื่นรู้มีสำนึก สากล สามารถเผชิญและก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล เทคโนโลยี ข้ามแพลทฟอร์ม (Platform) และโลกอนาคต นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และวินิจฉัยแกป้ ญั หาและพฒั นางานได้อย่างสร้างสรรคโ์ ดยคำนงึ ถงึ ความรู้หลักการ ทางทฤษฎีประสบการณ์ ภาคปฏิบัติค่านิยม แนวคิด นโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ บรรทัดฐานทางสังคมและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น สามารถคิดริเริ่มและพัฒนางาน อย่างสร้างสรรค์ และสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้จากการทำวิจัยและสรา้ งหรือร่วม สรา้ งนวัตกรรมเพือ่ พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและพัฒนาผูเ้ รยี นให้เป็นผู้สร้างหรือ ร่วมสร้างนวัตกรรม รวมท้ังการถา่ ยทอดความรแู้ กช่ มุ ชนและสงั คม ทกั ษะการรู้เร่อื ง ทักษะการคิด ทักษะชีวติ ทักษะการทำงานแบบรว่ มมือ ทักษะการใช้ภาษาเพื่อการ สอื่ สาร ทกั ษะเทคโนโลยแี ละการดำเนนิ ชวี ติ ตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง Page | 38

และสามารถนำทักษะเหล่านี้มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน และการ พัฒนาตนเอง จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนเป็นผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์และเป็นอาจารย์ นิเทศก์ มีประสบการณ์ในการสังเกตการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมากว่า 20 ปี พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของครูก่อนประจำการ(นิสิต/ นักศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู) มีวิธีสอนที่หลากหลายเพราะ ครูก่อน ประจำการได้ฝึกฝนและฝึกปฏิบัติมาตลอดภายใต้รายวิชาหลักสูตรขั้นนำ รายวิชา ออกแบบการเรยี นการสอน และรายวิชาประสบการณว์ ิชาชีพ (ปช.) ท่มี ีกระบวนการ ในการหล่อหลอมนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ทั้งด้านการออกแบบแผนการ จัดการเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการจัดการเรียนรู้และการวัดและ ประเมินผลการเรยี นรู้ และการวจิ ัยในช้นั เรียน ดา้ นสือ่ การจัดการเรียนรู้ ปัญหาความไม่พร้อมของสื่อการจัดการเรียนรู้ เช่น คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก ตามสภาวะปกติสื่อการจัดการเรยี นรู้มีปัญหาไม่เพียงพอ การไม่เขา้ ใจหรือเข้าใจผดิ เกี่ยวกับจุดประสงค์ของการทัศนศึกษาในแหล่งการเรียนรู้ การที่ผู้เรียนเข้าไม่ถึง หลักฐานชั้นต้น และไม่ให้ความสำคัญกับหลักฐานอื่น ๆ นอกจากการได้ยินได้ฟัง จากสื่อ Social การใช้สื่อการจัดการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ สำหรับรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีสื่อการจัดการเรียนรู้ท่ี หลากหลาย สอดคลอ้ งกับการเรียนรู้ของธรรมชาตวิ ิชาความแตกตา่ งระหว่างบุคคล เชน่ ส่ือแผนที่ ลกู โลก ใบงานใบความรู้ มีการจัดทำสื่อการจดั การเรยี นรทู้ ี่เหมาะสม กับการจัดการเรียนรู้และนำสื่อเทคโนโลยี เช่น ดีวีดี วีดิทัศน์ เพาเวอร์พอยต์มา ประยุกต์ใชใ้ นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการใช้สื่อการจัดการเรียนรู้จากแหล่ง เรยี นรใู้ นชุมชน Page | 39

แนวทางการแก้ปัญหาด้านสื่อการจัดการเรียนรู้ ควรให้ความรู้ในการใช้สื่อ เทคโนโลยีกับครูสังคมศึกษาที่จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวาง มี การอบรมการใช้สื่อการจัดการเรียนรู้และแนะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ใน การศึกษาได้ นอกเหนือจากการใช้แผนที่เดมิ ๆ ครูสงั คมศกึ ษาสงั คมศึกษาท่ีจัดการ เรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ควรเป็นผู้นำด้านสื่อการจัดกา รเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีเข้า ชว่ ย ความรู้สึกวา่ ตัวเองพเิ ศษมคี วามเชื่อม่นั สงู ทำอะไรก็ตอ้ งใหไ้ ดท้ ันที มเี ทคโนโลยี เป็นส่วนสำคญั ในชีวิต ครูสังคมศึกษาที่จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตรย์ ุคนี้จึงตอ้ ง ให้ความสำคัญในการจัดห้องเรยี นทีน่ ำเอาเทคโนโลยีมาเสริมกับกิจกรรมการเรียนรู้ ให้แรงจูงใจ มีการแข่งขัน มีรางวัล จะทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้น ในการเรียนรู้และ ครูต้องปรับตัวและพัฒนาตนเองให้เป็น เจเนอเรชัน ซี (Generation “C” ตัวนี้ย่อ มาจากคำว่า Connectedness) หมายถึง ประชากรกลุม่ ใหม่ที่มคี วามกระตือรือร้น ของการเปน็ คนในยคุ ดิจิทัล (Consumer Insight, 2013; สวทช., 2560) การเตรียมความพร้อมให้ครูก่อนประจำการ (Teacher Pre-Service) ให้ เป็นครูสังคมศึกษาที่สอนวิชาประวัติศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีอย่างระมัดระวัง ตามที่ราชกิจจานุเบกษา (2562) ระบุว่า ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น ข้อมูลหรือความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การทำงาน การประชุม การจัดการและสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รับและส่งข้อมูลและ สารสนเทศโดยใช้ดุลยพินิจที่ดี ในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลและ สารสนเทศอีกทั้งตระหนักถงึ การละเมดิ ลขิ สทิ ธ์แิ ละการลอกเลยี นผลงาน จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนเป็นผู้สอนที่จัดการเรียนรู้วิชาประวตั ิศาสตร์และ เป็นอาจารย์นิเทศก์ครูประจำการที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมากว่า 20 ปี พบวา่ การออกแบบสื่อการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของครูก่อนประจำการที่ฝึก ประสบการณ์วิชาชีพมีความสวยงามเช่น PowerPoint /สื่อมือ/การสร้างป๊อปอัป จำลองภาพทางประวัตศิ าสตร์ เปน็ ต้น Page | 40

การวดั และประเมินผลการเรยี นร้ปู ระวตั ศิ าสตร์ สภาพทั่วไปการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของครูสังคม ศึกษาที่จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์มักจะใช้ชุดการวัดและประเมินผลการ เรียนรู้ที่คล้ายคลึงกัน และครูสร้างแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และมีการ ประเมินผลที่หลากหลาย เช่น การประเมินผลตนเอง การประเมินผล การทดสอบ แบบสังเกตพฤติกรรมผู้เขียน การประเมินชิ้นงาน การประเมินจุดประสงค์การ เรียนรู้ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (2542) มาตรา 26 บัญญัติว่าได้ กำหนดให้สถานศึกษาประเมินผ้เู รียน โดยพจิ ารณาจากพฒั นาการของผ้เู รยี น ความ ประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และทดสอบควบคูก่ ันไป ในกระบวนการเรยี นตามความเหมาะสม การสรา้ งเกณฑ์การประเมนิ ท่ีนิยมใชม้ ากมี 2 วธิ ี ทง้ั นข้ี อยกตัวอยา่ งเพ่อื ใหเ้ หน็ ชัดเจน คอื 1) เกณฑ์การใหค้ ะแนนแบบด่งั ตัวอย่างการวดั และประเมินผลแบบ (Rubric Score) เป็นเกณฑ์ที่ตอ้ งกำหนดรายละเอียดของการให้คะแนนอย่างชัดเจนสำหรับ ทุกตัวบง่ ช้ี การเก็บรวบรวมข้อมูลมีความเป็นปรนัยสูงและมคี วามตรงสูงเช่นกัน ดัง ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินผลแบบ (Rubric Score) ในหัวข้อเรื่อง “รัฐโบราณใน ดินแดนไทย” Page | 41

จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้ การวดั ผล การประเมินผล ดา้ นความรู้ | วธิ ีวัดผล | เกณฑก์ ารใหค้ ะแนน | - 5 คะแนน: เขยี นอธิบาย 1.1 อธบิ ายเรือ่ งราวเกีย่ วกับ - ตรวจสอบความถกู ลักษณะสำคญั ของรฐั โบราณในดนิ แดนไทยได้ รฐั โบราณในดนิ แดนไทยได้ ตอ้ งของการทำ ถูกตอ้ งทุกรัฐ - 4 คะแนน: เขยี นอธิบาย โดยสังเขป แบบทดสอบทา้ ย ลักษณะสำคญั ของรฐั โบราณในดินแดนไทยได้ บทเรยี น ถูกตอ้ ง 4 รัฐ - 3 คะแนน: เขยี นอธิบาย เครื่องมือวดั ผล | ลกั ษณะสำคญั ของรัฐ โบราณในดนิ แดนไทยได้ - แบบทดสอบท้าย ถูกตอ้ ง 3 รัฐ - 2 คะแนน: เขียนอธิบาย บทเรียน ลักษณะสำคญั ของรฐั โบราณในดินแดนไทยได้ ถูกต้อง 2 รัฐ - 1 คะแนน: เขยี นอธบิ าย ลกั ษณะสำคญั ของรัฐ โบราณในดนิ แดนไทยได้ ถูกตอ้ ง 1 รัฐ - 0 คะแนน: เขียนอธิบาย ลกั ษณะสำคญั ของรฐั โบราณในดนิ แดนไทยทกุ รัฐไดไ้ มถ่ ูกต้อง เกณฑก์ ารประเมินผล | - 5 คะแนน ดมี าก - 3-4 คะแนน ดี Page | 42