Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 7. เอกสารประกอบการอบรมสัมมนาหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร

7. เอกสารประกอบการอบรมสัมมนาหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร

Published by wilawan phiwon, 2021-02-18 03:50:59

Description: 7. เอกสารประกอบการอบรมสัมมนาหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร

Search

Read the Text Version

1

2 เอกสารประกอบการอบรมสมั มนาเผยแพร่ความรู้ เรอ่ื ง การอนุรักษ์สง่ิ แวดลอ้ มธรรมชาตแิ ละศิลปกรรมท้องถ่นิ วันพุธ ที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๓ ณ ห้องประชุมสภานักศกึ ษา อาคาร ๒๐ ช้ัน ๓ มหาวทิ ยาลัยราชภัฏสกลนคร ดาเนนิ งานโดย หนว่ ยอนุรักษส์ ่งิ แวดล้อมศลิ ปกรรมทอ้ งถ่นิ จังหวดั สกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสกลนคร

3 เอกสารประกอบการอบรมสมั มนาเผยแพร่ความรู้ เรือ่ ง การอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมทอ้ งถ่ิน พมิ พ์คร้งั ที่ ๑ จานวน ๑๐๐ เลม่ ผ้จู ัดพิมพ์ : หนว่ ยอนุรักษส์ ่ิงแวดลอ้ มธรรมชาติและศลิ ปกรรมทอ้ งถนิ่ จังหวดั สกลนคร มหาวทิ ยาลัยราชภฏั สกลนคร สนบั สนุนโดย : สานักงานนโยบายและแผนสง่ิ แวดลอ้ มธรรมชาติและศิลปกรรม กระทรวงทรพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอ้ ม คณะทางาน : รองผอู้ านวยการสถาบันภาษาฯ ดร. สถิตย์ ภาคมฤค นายพจรวราภรณ์ เขจรเนตร นางสาวชตุ ิมา ภลู วรรณ นายกฤษดากร บรรลอื นางสาวจนิ ตนา ลนิ โพธ์ศิ าล นางสาวเอกสดุ า ไชยวงศ์คต ที่ปรกึ ษา : ประธานศนู ยอ์ นรุ ักษว์ ฒั นธรรมพนื้ บ้านหทัยภูพาน พระครปู ลดั ศรีธรรมวัฒน์ อธิการบดีมหาวทิ ยาลัยราชภัฏศกลนคร ผศ.ปรชี า ธรรมวนิ ทร ผูท้ รงคณุ วุฒหิ น่วยอนรุ ักษ์ฯ จงั หวดั สกลนคร นายจันจติ ร มันตะ ผทู้ รงคุณวฒุ หิ นว่ ยอนุรกั ษ์ฯ จงั หวัดสกลนคร นายนพิ นธ์ วงศ์กาฬสนิ ธ์ุ ผทู้ รงคณุ วุฒหิ นว่ ยอนรุ กั ษ์ฯ จังหวัดสกลนคร ผศ.ดร.สพสันติ์ เพชรคา อานวยการผลิต : นายสรุ สิทธิ์ อุ้ยปัดฌาวงศ์ ผอู้ านวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ผศ.ดร.พุฒจักร สิทธิ รองผูอ้ านวยการสถาบันภาษาฯ นางสาววชิ ญานกาญต์ ขอนยาง รองผอู้ านวยการสถาบนั ภาษาฯ นางนงเยาว์ จารณะ หัวหน้าสานกั งานสถาบนั ภาษาฯ พิมพ์ท่ี : พิพธิ ภัณฑ์เมืองสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภฏั สกลนคร



ก คานา จังหวัดสกลนคร ต้ังอยู่ในอาณาบริเวณพื้นท่ีภาคอีสานตอนบน ระบบธรรมชาติก่อให้เกิดสภาพภูมิประเทศ และระบบนิเวศวิทยา ที่เหมาะสม จึงทาให้จังหวัดสกลนครมีความอุดมสมบูรณ์ ไปด้วยส่ิงแวดล้อมทางธรรมชาติที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ เหมาะสาหรับการดารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตมาต้ังแต่ดึกดาบรรพ์พบ หลักฐานเก่าแก่ถึง ๖๕ ล้านปีมาแล้ว รวมถึงหลักฐานต้ังถ่ินฐานของ มนุษย์ ในพื้นที่ต่าง ๆ นับต้ังแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และเข้าสู่ ยุคประวัติศาสตร์ สมัยวัฒนธรรม ทวารวดี เขมร ล้านช้าง และอิทธิพลทางวัฒนธรรม สังคม การเมือง การปกครองในสมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ จวบจนปัจจุบันน้ี ด้วยระยะเวลาท่ียาวนานนี้เอง กลไก ทางธรรมชาติได้รังสรรค์ความงดงามของพื้นท่ีต่าง ๆ อาทิ ระบบนิเวศน์พ้ืนที่ชุ่มน้าและพื้นท่ีป่าบุ่ง ป่าทาม พ้ืนที่หนองหาร พื้นท่ีลาน้ายาม พ้ืนท่ีลาน้าสงคราม และสภาพความสมบูรณ์ ของป่าเต็งรัง ป่าเบญพรรณ ป่าดิบแล้ง รวมถึงความงดงาม ของภูมิประเทศธารน้าตกตลอดแนวเทือกเขาภูพาน เป็นต้น อีกท้ัง การรังสรรค์งานทัศนศิลป์ในรูปแบ บสถาปัตยกรรมท้องถ่ิน จากฝมี อื มนษุ ยใ์ นยคุ สมัยต่าง ๆ อกี ด้วย

ข โดยแหล่งสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมในพ้ืนที่ จังหวัดสกลนคร บางแหล่งเกิดการเปล่ียนแปลง หรือถูกทาลาย ให้เกิดความเสื่อมค่าโดยธรรมชาติ จากกระแสการพัฒนาพ้ืนที่ ซ่ึงส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงของแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรม ด้วยการจงใจและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ในปัจจุบันพบว่า แหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นในจังหวัดสกลนคร หลายแหล่ง มักประสบกับสภาพปัญญาจา กเง่ือนไขข้อจากัด ของแหลง่ ทตี่ ั้งนนั้ ๆ ตามทกี่ ล่าวมา หน่วยอนุรักษ์ฯ จังหวัดสกลนคร ได้พิจารณาเห็นถึงความสาคัญ ในการอนุรักษ์แหล่งสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร จึงจัดให้มีการอบรมสัมมนาเผยแพร่ความรู้ เร่ือง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถ่ิน ขึ้น เ พื่ อ ส ร้ า ง ค ว า ม ต ร ะ ห นั ก ถึ ง ค ว า ม ส า คั ญ แ ล ะ เ ส ริ ม ส ร้ า ง ค ว า ม รู้ ความเข้าใจในแนวทางการอนุรักษ์ - พัฒนา แหล่งศิลปกรรม ของชุมชน ภาคเอกชนและหน่วยงานของรัฐตา่ ง ๆ ในส่วนของเอกสารประกอบการอบรมสัมมนาเผยแพร่ความรู้ เร่ือง การอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น ฉบับน้ี หน่วยอนุรักษ์ฯ จังหวัดสกลนครได้นาเสนอเก่ียวกับ “แนวคิด ในการศกึ ษาศักยภาพส่งิ แวดลอ้ มศลิ ปกรรมเพื่อการประกาศเขตอนุรักษ์” ของผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ วรางค์รัตน์ อดีตหัวหน้าหน่วยอนุรักษ์

ค ส่ิงแวดล้อมศิลปกรรมท้องถ่ิน จังหวัดสกลนคร และเร่ืองราว ของ “ร่องรอยอารยธรรมเขมรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย” ของผู้ช่วยศาสตราจารย์พิทักษ์ชัย จตุชัย รองผู้อานวยการสานกั ศิลปวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ราชภัฏนครราชสีมา และเรื่องราว “ร่องรอยวัฒนธรรมและศิลปกรรมแบบเขมร ในจังหวัดสกลนคร” ของนายพจนวราภรณ์ เขจรเนตร นักวิชาการ ศึกษา สถาบนั ภาษา ศลิ ปะและวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ราชภฏั สกลนคร หน่วยอนุรักษ์ฯ จังหวัดสกลนคร หวังเป็นอย่างย่ิงว่า เอกสาร ฉบับนี้จะเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ - พัฒนา แหล่งศิลปกรรม ของชุมชน ภาคเอกชนและหนว่ ยงานของรัฐต่าง ๆ รวมถึงเปน็ ประโยชน์ ตอ่ การศึกษาคน้ คว้าขอ้ มูลเก่ยี วกบั อารยธรรมเขมร ของผู้สนใจสืบไป หน่วยอนรุ ักษ์ส่ิงแวดลอ้ มศิลปกรรมท้องถิ่นจงั หวัดสกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร

ง สารบญั หน้า คานา ก สารบญั ง แนวคดิ ในการศึกษาศักยภาพ สิง่ แวดล้อมศิลปกรรมเพ่อื การประกาศเขตอนรุ ักษฯ์ โดย ผูช้ ่วยศาสตราจารย์สรุ ัตน์ วรางคร์ ัตน์ อดีตหวั หน้าหนว่ ยอนุรกั ษส์ ง่ิ แวดล้อมศลิ ปกรรมท้องถิน่ จังหวัดสกลนคร ๑. ขอบเขตของสิง่ แวดล้อมศิลปกรรม ๒ ๒. แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนา แหลง่ ศลิ ปกรรม ๖ ๓. แนวทางการอนรุ ักษ์และพัฒนา เขตแหล่งศลิ ปกรรม ๑๔ ๔. แนวทางการอนรุ ักษ์และพัฒนา เขตสงิ่ แวดลอ้ มศลิ ปกรรม ๑๗ ๕. เป้าหมายการประกาศเขต ๒๒

จ รอ่ งรอยอารยธรรมเขมรในประเทศไทย โดย ผู้ชว่ ยศาสตราจารยพ์ ทิ ักษช์ ัย จตชุ ยั รองผู้อานวยการสานักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ๑. รอ่ งรอยอารยธรรมเขมรในประเทศไทย ๒๔ ๒. รอ่ งรอยอารยธรรมเขมรในภาคอีสาน (พอสงั เขป) ๖๐ รอ่ งรอยวฒั นธรรมและศิลปกรรมแบบเขมร ในจังหวดั สกลนคร ๗๕ โดย นายพจนวราภรณ์ เขจรเนตร นักวชิ าการศึกษา สถาบันภาษา ศลิ ปะและวฒั นธรรม มหาวิทยาลัยราชภฏั สกลนคร รอ่ งรอยวัฒนธรรมและศิลปกรรมแบบเขมร ในจังหวัดสกลนคร บรรณานกุ รม ๙๕



๑ แนวคิดในการศกึ ษาศักยภาพ สงิ่ แวดลอ้ มศลิ ปกรรมเพ่อื การประกาศเขตอนรุ กั ษ์ฯ สุรัตน์ วรางคร์ ตั น์๑ การเพิ่มข้ึนของจานวนประชากรมนุษย์ส่งผลให้เกิดความต้องการ ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ที่ดิน เพ่ือปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย เส้นทางคมนาคม ตลอดจนแหล่งแร่ธาตุต่าง ๆ มีอัตราเพิ่มข้ึน เป็นเงาตรมตัว แต่ปริมาณทรัพยากรที่มีอยู่กลับมีอัตรา ลดลง จึงนับว่า เป็นอัตราส่วนผกผันที่น่าวิตกกลายเป็นปัญหาสาคัญ ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ ช า ติ ท่ี เ กิ ด จ า ก ฝี มื อ ม นุ ษ ย์ อี ก ทั้ ง ก า ร ท า ล า ย ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนมรดกทางศิลปกรรมถูกมนุษย์บุกรุก คุกคามด้วยวิธีต่าง ๆ จนแห่งศิลปกรรมและสภาพแวดล้อมถูกทาลาย ก่อใหเ้ กดิ การเปลี่ยนแปลงสภาพและรปู แบบจนเสียคุณค่าเป็นจานวนมาก กระบวนการป้องกันการทาลายส่ิงแวดล้อมศิลปกรรมในปัจจุบัน มีหน่วยงานรับผิดชอบ เช่น กรมศิลปากร มีภาระความรับผิดชอบ แหล่งศิลปกรรมโดยตรง โดยมีเคร่ืองมือในทางกฎหมายต่าง ๆ เช่น พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ แก้ไขเพ่ิมเติม พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงถอื ว่า แหลง่ ศิลปกรรมมีภูมคิ ้มุ กนั โดยกฎหมายรัดกุม ๑ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์สรุ ัตน์ วรางค์รตั น์ อดีตหวั หน้าหน่วยอนรุ กั ษส์ ง่ิ แวดล้อมศลิ ปกรรมท้องถิน่ จังหวัดสกลนคร

๒ ๑. ขอบเขตของแหลง่ สง่ิ แวดลอ้ มศลิ ปกรรม การศึกษาศักยภาพเพ่ือการเสนอให้มีการประกาศเขตอนุรักษ์ ส่ิงแวดล้อมและศิลปกรรม มีความสัมพันธ์กับตัวศิลปกรรม ไมอ่ าจหลีกเลี่ยงได้ หากแหลง่ ศลิ ปกรรมถูกล้อมรอบ ดว้ ยสภาพแวดล้อม ท่ีไม่เอื้ออานวย มีสภาพรกรุงรัง หรือเกิดทัศนอุจาด ส่งผลให้ แหล่งศิลปกรรมนั้นด้อยคุณค่า ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการศึกษา คุณค่าแหล่งศิลปกรรม หรือแหล่งศิลปกรรมถูกทาลายจนไม่เหลือ ร่องรอยให้ทาการศึกษาค้นคว้า การจัดสภาพแวดล้อมก็ไม่มีประโยชน์ ดังน้ัน การกาหนดขอบเขตเพื่อปฏิบัติกิจกรรมในพื้นท่ีจึงเป็นสิ่งจาเป็น ที่ตอ้ งเขา้ ใจเปน็ เบอื้ งตน้ ประสงค์ เอ่ียมอนันต์ ๒ แบ่งขอบเขตพื้นที่ที่เ กี่ย ว ข้ อง กับงานศิลปกรรมไว้ ๓ เขต คอื ๑. เขตตัวศลิ ปกรรมหรอื งานศิลปกรรม ๒. เขตแหล่งศิลปกรรม ๓. เขตส่งิ แวดล้อมศลิ ปกรรม ๒ ประสงค์ เอ่ยี มอนนั ต์ “การดูแลรักษาโบราณสถานและสภาพแวดลอ้ ม” เอกสารการประชุมสมั มนา การประสานงานด้านการอนรุ กั ษ์และดแู ล โบราณสถานระหว่างเจา้ หนา้ ทกี่ รมศิลปากร และหนว่ ยอนรุ กั ษส์ ่งิ แวดลอ้ มศิลปกรรมทอ้ งถิ่น ณ โรงแรมเมธาวลยั จงั หวดั เพชรบุรี วนั ท่ี ๒๒ – ๒๕ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ.๒๕๓๘ เอกสารหมายเลข ๕

๓ จากแผนผังน้ีแสดงให้เห็นว่า เขตแหล่งศิลปกรรมมีเป็นอาณาบริเวณหนึ่ง และมีผู้รับผิดชอบหลายหน่วยงาน เช่น กรมศิลปากร วัด ศาสนสถานหรือหน่วยงาน ส่วนบริเวณทอ่ี ยู่นอกออกมาเปน็ เขตทีเ่ รียกวา่ เขตสง่ิ แวดลอ้ มศลิ ปกรรม

๔ จากภาพเป็นอีกรูปแบบหน่ึง แสดงให้เห็นว่า เขตส่ิงแวดล้อมศิลปกรรม อาจอยู่ต่อเน่ืองระหว่างเขตที่เป็นแหล่งโบราณคดี เช่น เมืองเก่ากับเมืองใหม่ พื้นทตี่ ่อเนอ่ื งกันดงั กลา่ วถอื เปน็ เขตอนรุ ักษ์ส่งิ แวดลอ้ มศิลปกรรมเชน่ กนั



๖ ๒.แนวทางการอนรุ กั ษ์และพฒั นา แหลง่ ศิลปกรรม โดยหน้าที่แล้วการอนุรักษ์ – พัฒนา เป็นอานาจหน้าที่ ของกรมศิลปากรโดยตรงแต่กรมศิลปากรได้กระจายอานาจบางส่วน ให้แก่หน่วยงานราชการในท้องถ่ินท่ีเรียกว่า หน่วยงานส่งเสริม สนับสนุน เช่น อนุกรรมการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม หรือสานักงาน วัฒนธรรมจังหวัด ประจาจังหวัดต่าง ๆ กรมต่าง ๆ ท่ีเป็นเจ้าของ หรือครอบครองโบราณสถาน เช่น กรมธนารักษ์ กรมการศาสนา (ดูแลท่ีสาธารณสมบัติ) กรมการปกครอง (ดูแลที่สาธารณะ) กรมป่าไม้ และกรมทดี่ ิน การทอ่ งเทย่ี ว และเจา้ ของหรือผคู้ รอบครอง ซึ่งเปน็ เอกชน ห รื อ ส่ ว น บุ ค ค ล ที่ เ ป็ น เ จ้ า ข อ ง ห รื อ ค ร อ บ ค ร อ ง โ บ ร า ณ ส ถ า น นั้ น เช่น วัด สมาคม ฯลฯ๓ นอกจากนี้ยังพยายามอบรมให้มีหน่วย อาสาสมัครดแู ลรกั ษาแหลง่ โบราณสถานในชุมชนตา่ ง ๆ และแม้ว่า กรมศิลปากรจะพยายามกระจายภารกจิ การอนุรักษพ์ ฒ น า แ ห ล่ ง ศิ ล ป ก ร รม ให้ อ ง ค์ก ร ห น่ ว ยง า น ร า ช กา ร ช่ วย รั บ ผิ ดช อ บแต่ ปริมาณแหล่งศิลปกรรมก็มีจานวนมาก จากการศึกษาของทิวา ศุภ จรรยา พบแหล่งท่ีต้ังชุมชนโบราณในประเทศไทยมีจานวนถึง ๑,๒๑๐ แห่ง ในจานวนนี้มีคูเมือง ๙๕๔ แห่ง๔ ส่วนโบราณสถานซ่ึงกระจายอยู่ ในจังหวัดต่าง ๆ นับจานวนร้อยแห่งและโบราณสถานเหล่านี้มีอายุ ๓ นิคม มูสกิ ะคาม : (เรยี บเรยี ง) แนวปฏิบัติในการสงวนรกั ษาโบราณสถาน กรุงเทพฯ : กรมศลิ ปากร ๒๕๓๕ หนา้ ๓๑ ๔ ทวิ า ศภุ จรรยา “คเู มอื ง กาแพงเมอื ง” โบราณสถานท่ีควรอนุรักษ์ เอกดสารการประชมุ สมั มนาในดา้ นการอนรุ กั ษแ์ ละดูแลโบราณสถาน หมายเลข ๙ หน้า ๒

๗ เกา่ แก่ยอ่ ทมชารุดทรุดโทรมตามเงื่อนไขของกาลเวลาและสภาพของวัสดุ อันเกดิ จากธรรมชาตแิ ละการกระทาของมนษุ ย์ ประสงค์ เอี่ยมอนันต์ ให้แง่คิดวิธีการอนุรักษ์โบราณสถาน ไว้น่าสนใจ ๔ ประการ คอื ๑. ศึกษาค้นคว้าหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม เพ่ื อเป็นความความรู้พื้นฐาน ในการกาหนดแนวทาง หลกั การและวิธกี ารอนุรกั ษ์ ๒. กาหนดกรอบการอนุรักษ์โบราณสถานแต่ละแห่ง ให้มีความชัดเจน เพ่ือใช้เป็นแนวทางในการกาหนดวิธีการ และระดับ ของการอนุรักษ์พร้อมทั้งกาหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และการเลือกใช้วีการอนรุ ักษ์ ๓. การสร้างรูปแบบ กาหนดวิธีการและรายละเอียดต่าง ๆ ในการอนุรักษ์ ตลอดจนการกาหนดวสั ดทุ น่ี ามาใช้ ๔. การดาเนินงานในการอนุรักษ์ โดยท่ัวไปงานอนุรักษ์ โบราณสถานเป็นหน้าที่ของกรมศิลปากรในอดีตก ารอนุรักษ์ โ บ ร า ณ ส ถ า น มี วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ เ พ่ื อ ก า ร ศึ ก ษ า แ ล ะ ด า ร ง คุ ณ ค่ า ทางศิลปวัฒนธรรมเท่าน้ัน แต่ปัจจุบันได้ขายวัตถุประสงค์ ของการอนุรักษ์เพื่อการท่องเที่ยวด้วย จึงทาให้มีการเพ่ิมงบประมาณ ในการอนุรกั ษโ์ บราณสถานมากขน้ึ และตอ้ งเร่งรดั ให้ปฏิบัตเิ ร็วขึ้นด้วย กรมศลิ ปากรจงึ เปิดใหม้ ีการจ้างบรษิ ทั เอกชนรบั เหมาทาการอนรุ ักษ์

๘ อนุวทิ ย์ เจรญิ ศภุ กลุ ๕ เห็นวา่ การอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถาน จะมีองคป์ ระกอบสาคญั อยู่ ๒ ประการ คือ ๑. แนวความคิด ๒. เทคนคิ วิธกี าร ตามปกตแิ นวความคิดจะเป็นแกนนาไปสูก่ ารปฏิบตั ิ เทคนิควิธีการ จะเป็นเคร่ืองมือท่ีสนองให้แนวความคิดน้ันบรรลุถึงเป้าหมายที่ต้ังไว้ ถ้ า ห า ก ว่ า มี แ น ว ค ว า ม คิ ด ที่ ไ ม่ ก ร ะ จ่ า ง ค ลุ ม เ ค รื อ ห รื อ ไ ว้ เ ข ว กั น ระหว่างแนวความคิดกับวิธีการเสียตั้งแต่ต้นแล้ว ก็มักจะมี การใช้เคร่ืองมือและทรัพยากรผิดพลาดไปจากเป้าท่ีควรจะเป็น และอาจนาไปสู่การทาลายมากกว่าการสร้างสรรค์ทาให้สูญเสีย ทรัพยากรไปอยา่ งไรป้ ระโยชน์ ถ้าหากว่ามีหรือสร้างแนวความคิดได้อย่างชัดเจนถ่องแท้ได้ เสียแต่แรกแล้ว จะทาให้มีการวางแผนงานได้อย่างกระจ่าง คาดคะเน ประมาณการทั้งระยะช่วงเวลาการใช้ทรัพยากรและงบประมาณ ได้ตรงตามความเป็นจริงอยา่ งคุ้มคา่ เสมอ อย่างไรก็ดีทั้งแนวความคิดและวิธีการ จะไม่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ ต่อกันในทางตรงแต่เพียงอย่างเดียว ในกรณีปัญหาทวีระดับข้ึนไป เรื่อย ๆ ระบบปฏิกิริยาก็จะกระทาในรูปของการปอ้ นย้อนกลับครั้งเดยี ว หรือหลาย ๆ ครั้งก็ได้ ปฏิกิริยาเช่นนี้จะทาให้เกิดความยืดหยุ่นไป ๕ อนวุ ิทย์ เจริญศภุ กุล “แนวความคิดการอนุรักษ์โบราณสถานในประเทศไทย” การอนรุ ักษ์โบราณสถานในฐานะเปน็ หลักฐานทางวิชาการ มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร วันที่ ๖ – ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๐ หนา้ ๑ – ๖

๙ ตามความจาเป็นหรือข้อจากัดต่าง ๆ ท่ีมีอยู่ แต่ข้อสาคัญจะต้องระลึก อยู่เสมอว่า จะไม่ทาให้ปฏิกิริยานั้นเสียดุลยภาพไป เพราะจะต้องยึดถือ แนวความคิดเป็นแกนนาเสมอในขอบเขตหนึ่ง ถ้าหากว่าเทคนิควิธีการ ส น อ ง แ น ว ค ว า ม คิ ด ไ ป ไ ม่ ไ ด้ ก็ ไ ม่ ค ว ร น า เ อ า วิ ช า ก า ร นั้ น ก ลั บ ไ ป เป็นตัวแนวความคิดแกนนาเสียเอง ในทางตรงกันข้ามจะต้องเป็นหน้าท่ี ของช่างเทคนิคหรือนักวิชาการ ท่ีจะต้องศึกษาค้นคว้าหาวิธีการ เครอ่ื งมือใหม่ ๆ ใช้ใหเ้ ปน็ ไปตามแนวคิดใหไ้ ด้ ความเจริญทางอารยธรรมที่พัฒนามาในประวัติศาสตร์ มักจะเป็นไปตามแนวทางนี้ทั้งสิ้น หากกลับไปยึดถือเอาเทคนิควิชาการ มาเป็นตัวแนวความคิดเสียเองแล้ว นั่นคือการเข้าสู่ภาวะอับจน ไม่มีการพฒั นาไดอ้ ีกตอ่ ไป การท่ีจะสร้างแนวความคิดการอนุรักษ์ข้ึนได้น้ัน จะต้องพิจารณา ประเมินค่าโบราณสถานให้ได้อย่างชัดเจนเสียแต่แรก การอภิปราย ทัง้ หมดที่ผา่ นมาน้ัน ทาใหป้ ระเมนิ ค่าของโบราณสถาน ออกเป็นเนื้อหา และค่าระดับได้ดงั นี้ ก. ในฐานะทีเ่ ปน็ เอกสารทางประวตั ศิ าสตรอ์ ารยธรรม ข. ในฐานะท่ีเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและความสัมฤทธิ์ผล ทางการสรา้ งสรรค์ ค. ในฐานะทเี่ ป็นองคป์ ระกอบการดารงชพี ของชุมชน – สังคม

๑๐ ก. ในฐานะทเ่ี ปน็ เอกสารทางประวตั ิศาสตร์อารยธรรม เป็นที่ยอมรับกันโดยท่ัวไปว่า ข้อมูลสาคัญท่ีสุดในงาน ประวัติศาสตร์น้ัน ก็คือส่ิงท่ีบันทึกไว้ด้วยตัวอักษรอย่างมีระบบหรือ ระเบียบ ดังน้ัน ถ้าพิจารณาในเชิงวิชาการแล้วโบราณสถานทั้งหลาย จึงมีสภาพในลักษณะของสิ่งที่มีชีวิตและเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในสภาพ ของสภาวธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ตามกาลเวลา ท่ีผ่านไป การเปล่ียนแปลงท่ีเกิดขึ้นในลักษณะเช่นน้ีก็จะเป็นบันทึก อีกส่วนหนึ่งท่ีปรากฏเป็นข้อเท็จจริงอยู่ในเอกสารนั้นด้วย ฉะนั้น จึงจาเป็นที่จะต้องรักษาอนุรักษ์สภาพเดิมที่แท้จริงของโบราณส ถาน เหล่านั้นไว้ให้มากท่ีสุดเท่าที่จะทาได้ การเปลี่ยนแปลงสภาพใด ๆ ท่ีผิดแผกแตกต่างไปจากสภาพที่มีชีวิตอย่างแท้จริงก็คือการทาลาย ย่ิงจงใจเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นการทาร้ายมากไปเท่านั้น จนถึงขั้นบาดเจ็บสาหัสหรือล้มตายไป เมื่อเอกสารบาดเจ็บหรือตายไป แลว้ กไ็ ร้ประโยชน์หมดสภาพการใชง้ านตอ่ ไป นั ก ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ จ ะ ไ ม่ ตั ด ต่ อ ข้ อ ค ว า ม ใ น ศิ ล า จ า รึ ก หรือเติมพงศาวดารที่เป็นต้นฉบับจริงฉันใด การอนุรักษ์โบราณสถาน ก็ไม่ควรแตง่ เติมเสริมต่อส่วนใด ๆ จากสภาพเดิมสุดท้ายฉนั นนั้

๑๑ ข. ในฐานะท่ีเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและความสัมฤทธ์ิผล ทางการสรา้ งสรรค์ ตามความเป็นจริง โบราณสถานเกือบท้ังหมดมักจะมีรูปแบบ ท่ีเป็นงานสถาปัตยกรรม ดังน้ันในสภาพการณ์เช่นนี้จึงต้อง ผ่านการออกแบบ และสร้างทาข้ึนตามกระบวนการทางการช่าง ซ่ึงเป็นส่วนท่ีจะแสดงให้เห็นถึงพ้ืนเพของการกินอยู่หรือวัฒนธรรม ของชุมชนในขณะน้ัน ในขณะเดียวกัน การสร้างทาของช่างหรือ องค์การช่างก็ย่อมมีการพัฒนาการ ไม่ว่าโดยประสบการณ์ในกลุ่มช่าง เองหรือได้รับอิทธิพลจากภายนอก อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะโดยทางหนึ่ง ทางใดหรือทั้งสองทาง และต้ังแต่ระดับสกุลช่างจนถึงช่างคนเดียว เป็นปัจเจกบุคคลย่อมมีการแสดงออกทางศิลปกรรม อันเกิดจาก ความจรรโลงใจในยุคสมัยความสาเร็จผลทั้งในการออกแบบ และการสร้างสรรค์ซ่ึงเป็นข้อมูลท่ีชี้ให้เห็นถึงความเจริญทางปัญญา และเทคนิควิธีการอยา่ งมากมาย ฉะน้ันสถานะของเมืองท้ังเมือง ผังอาคารทั้งผัง ตัวอาคาร เดียวโดด ๆ ตลอดถึงลายประดับชิ้นเล็ก ๆ ก็ล้วนแต่มีค่าในฐานะ ที่เปน็ มรดกทางวฒั นธรรมและความสัมฤทธิ์ผลทางการสรา้ งสรรค์ทั้งส้ิน การเปล่ียนแปลงสภาพโบราณสถานตั้งแต่ขนาดส่วนเล็ก ๆ อาทิ เช่น ทุบทาลายปูนป้ันเดิมออก การเสริมแต่งอาคารเต็มรูปโดยพลการ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการทาลายท้ังส้ิน ถึงแม้ว่าปัจจุบันอาจจะมีฝีมือไม่แพ้

๑๒ ชา่ งสมัยช่างสมัยโบราณก็ตาม แตโ่ ดยท่ีอยตู่ ่างยคุ ตา่ งสมยั จิตวญิ ญาณ ในการแสดงก็ย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมดา สิ่งที่ผลิตใหม่ จึงเป็นของปลอม ๆ แม้แต่การถอดแบบพระพุทธรูปหล่อใหม่แท้ ๆ ก็ยังขาดจิตวิญญาณเดิมที่มีอยู่ในองค์จริง ดังน้ันจึงไม่ต่างอะไร กบั การสรา้ งทาใหม่ซงึ่ เลือ่ นลอยอย่างกาหนดไมได้ ค. ในฐานะท่ีเป็นองค์ประกอิ บการดารงชีพสังคม – ชุมชน โบราณสถานน้ัน นอกจากจะมีประโยชน์ตามที่อภิปรายมาแล้ว ข้างต้น สิ่งที่มักจะเล็งผลเลิศในอีกลักษณะหน่ึงก็คือ ประโยชน์หน้าท่ี ท่ีมีต่อสังคมปัจจุบัน และนักวางแผนก็มักเพ่งเล็งในแง่ประโยชน์ ทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ีอ้างอิงกันเสมอ ๆ ก็ คื อ ป ร ะ โ ย ช น์ อั น เ กิ ด จ า ก อุ ต ส า ห ก ร ร ม ก า ร ท่ อ ง เ ท่ี ย ว แต่ตามความเป็นจริงนั้น การพิจารณาในแง่ประโยชน์แท้จริง ในแง่เศรษฐกิจสังคมในระดับแรกนั้นโบราณสถานต่าง ๆ จะเป็นองค์ประกอบท่ีสร้างความม่ันคงทางจิตใจที่แสดงให้เห็นว่า สังคมที่ตนดารงอยู่มิใช่สังคมหลักลอยทางวัฒนธรรม มีการพัฒนา อย่างต่อเนื่องกันมาในระยะเวลายาวนานนับพันปี ในขณะเดียวกัน จะช่วยสร้างเอกภาพทางวัฒนธรรมให้เกิดข้ึนทั้งในระดับภูมิภาค และระดับประเทศ (อาทิเช่นพระธาตุพนมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ประโยชน์สุขอันเกิดจากโบราณสถานเช่นนี้ไม่สามารถสร้างทา ข้ึนใหม่ได้ ไม่ว่าจะมีทุนทรัพย์จานวนมากมายมหาศาลเพียงใดก็ตาม

๑๓ และในส่วนรองลงไปในสภาพแวดล้อมของจริงแท้จากอารยธรรม ในอดีตก็มีโอกาสท่ีจะช่วยสร้างช่างหรือสกุลช่างพื้นเมืองข้ึนใหม่ ท่ีมีจิตวิญญาณของตนเองและหรือมีรูปแบบต่อเนื่อง เช่น ในกรณี ของครอบครัวนายแฟง พรหมเพชร ช่างเคร่ืองปั้นดินเผาสุโขทัยใหม่ หรือช่างไม้บ้านปรางค์กู่ อาเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ที่องค์ประกอบของปราสาทปรางค์กู่ ได้ช่วยให้กาเนิดศิลปะพ้ืนบ้าน ในจิตวญิ ญาณใหม่ ประโยชน์ทางจิตใจนั้น จะต้องมีการวางแผนทางเศรษฐกิจ เข้าช่วยด้วย การท่องเท่ียวมิใช่เป็นเพียงการกระจายรายได้ ช่วยสร้างงานเพิ่มมากขึ้นอย่างเดียว แต่เป็นการร่นระยะเวลาการเรียนรู้ ทางวัฒนธรรมให้รวดเร็วย่ิงขึ้น ในขณะเดียวกันช่างพื้นเมือง อย่างนายแฟงก็ประกอบอาชพี อยไู่ ด้ ดงั นัน้ การพจิ ารณาประโยชน์หน้าท่ี ในแง่เศรษฐกิจสังคม ก็ควรจะพิจารณาองค์ประกอบท้ังสองพร้อมกัน ไปเสมอและถ้ายอมรับในเงื่อนไขแล้ว ก็ยิ่งต้องการโบราณสถานตัวจริง ปราศจากส่งิ แปลกปลอมมากข้นึ เทา่ น้ัน

๑๔ ๓. แนวทางการอนุรกั ษแ์ ละพัฒนา เขตแหลง่ ศิลปกรรม เ ข ต แ ห ล่ ง ศิ ล ป ก ร ร ม แ ม้ ว่ า จ ะ ไ ม่ มี ก ฎ ห ม า ย ร ะ บุ ร ะ ห ว่ า ง หรอื ระยะโบราณสถานหรอื บรเิ วณพน้ื ท่ีโดยรอบวา่ มีจานวนพ้ืนที่เท่าใด ทั้งนี้ ข้ึนอยู่กับการพิจารณาความเหมาะสมกับขนาดและส่วนสูง และความสง่างามตลอดจนพ้ืนที่ใช้สอยเป็นหลัก โดยปกติแล้ว แนวทางการอนุรักษ์ – พัฒนา พื้นที่เขตแหล่งศิลปกรรมมักมีแนวทาง อาทิเชน่ ๑. คานึงถึงการปรับปรุงภูมิทัศน์ ได้แก่ การทาผังบริเวณพ้ืนท่ี โบราณสถานใหส้ อดคลอ้ งกบั ประโยชนใ์ ชส้ อยปจั จบุ ัน ๒. ส่งเสริมให้โบราณสถานมีความสง่างาม ตามพื้นท่ีสามารถจะ รองรับได้ ๓. หากพ้ืนที่ทาการพัฒนาทางเศรษฐกิจอยู่ในเขตโบราณสถาน จะต้องแยกพื้นที่การพัฒนาเชิงอนุรักษ์และพื้นที่พัฒนาทางเศรษฐกิจ ออกจากกัน ทั้งน้ีเพ่ือกาหนดขอบเขตและพื้นท่ีรองรับการพัฒนา ตลอดจนกาหนดความเข้มข้น ในการพัฒนาแต่ละพ้ืนที่ด้วย แตท่ งั้ นข้ี ึ้นอยกู่ ับอัตราความเจริญเตบิ โตของชมุ ชนแตล่ ะแห่งด้วย ใ น ปั จ จุ บั น ก า ร อ นุ รั ก ษ์ โ บ ร า ณ ส ถ า น แ ล ะ ส ภ า พ แ ว ด ล้ อ ม ข อ ง ก ร ม ศิ ล ป า ก ร ถู ก ก ร ะ แ ส ก า ร พั ฒ น า โ ห ม เ ข้ า ใ ส่ อ ย่ า ง รุ น แ ร ง การอนุรักษ์ – พัฒนา จึงขยายวัตถุประสงค์เพ่ือให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ด้วย จึงทาให้มีการนาการตลาดมาใช้เป็นปัจจัย ในการวิเคราะห์

๑๕ การจัดผังบริเวณพื้นที่โบราณสถาน ประเภทวัดจึงมีหลักการโดยสรุป ดงั นี้๖ ๑. ภูมิทัศน์ (Land Scape) หมายถึง องค์ประกอบของการ ใช้ท่ีดินในส่วนที่นอกเหนือจากอาคาร เช่น สนาม ลานวัด ทางเดินเท้า ลานจอดรถ รวมทั้งต้นไม้ทุกประเภทท้ังที่ข้ึนเองตามธรรมชาติ และทป่ี ลกู ขึน้ ๒. กิจกรรม (Activities) หมายถึง กิจกรรมอันเกิดจากการ ใช้สอยท่ีดินอันนอกเหนือจากสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลัก ของวัด เช่น การใช้ท่ีดินในการบริการแก่ชุมชนทางการศึกษา การท่องเที่ยว สงั คม ประเพณแี ละวัฒนธรรม ๓. การมองเห็น (Visual) หมายถึง ความสามารถจาก การมองเห็นวัดจากภายนอก โดยเฉพาะในอาคารที่เป็นองค์ประกอบ หลัก เช่น วิหาร เจดีย์และโบสถ์ เปน็ ตน้ ๔. การใช้ที่ดินข้างเคียง (Larduse) ได้แก่ การใช้ที่ดินในสภาพ ปัจจุบันของพื้นที่ในบริเวณข้างเคียงกับวัด โดยพิจารณาจากการ ใช้ที่ดินโดยส่วนรวม เช่น บริเวณพาณิชกรรม เกษตรกรรม ที่พักอาศยั เปน็ ต้น ๕. ที่เปิดโล่ง (Open space) ได้แก่ พ้ืนท่ีดินท่ีไม่มีส่ิงปลูกสร้าง ปกคลมุ ซง่ึ อาจเป็นลานโล่ง สนามหญ้า ทจี่ อดรถ ฯลฯ ๖ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คูม่ ือการพัฒนาแหล่งทอ่ งเทีย่ วทางดา้ นศักยภาพประเภทวดั เล่มที่ ๒ วดั ในภาคเหนอื หนา้ ๔๓

๑๖ ๖. การเข้าถึง (Accessibility) หมายถงึ ชนิด ประเภท ระยะทาง ตลอดจนสภาพเส้นทางท่ีจะเข้าไปถึงพื้นท่ีวัด วัดที่มีการเข้าถึงได้สะดวก คือวัดที่มีการเข้าถึงได้หลายวิธี เช่น เข้าถึงพ้ืนที่ได้ท้ังทางบก ทางน้า หรือสภาพเสน้ ทางคมนาคมอยใู่ นสภาพท่เี ดินทางเข้าไปยงั วัดได้ตลอดปี วัดที่การเข้าถึงไม่สะดวกคือ วัดท่ีมีข้อจากัดของเส้นทางคมนาคม เช่น เข้าไปยังพื้นที่วัดได้เฉพาะทางน้าหรือทางบกหรือสภาพถนนไม่ดี ไม่สามารถเดินทางไปถึงวัดได้ตลอดท้ังปี เปน็ ตน้ ๗. ทางเข้า (Entrance) หมายถึง พ้ืนที่บริเวณที่เป็นทางเข้าไป ยังวัด อาจเป็นประตูทางเข้าด้านหน้า ด้านข้างหรืออื่น ๆ หรือพื้นท่ีใน ลกั ษณะอน่ื ๆ ทจ่ี ะเปน็ ตัวกาหนดว่าบริเวณท่เี ปน็ ทางเขา้ วัด๗ กล่าวโดยสรุปแล้วจะเห็นว่า การจัดพื้นที่สงิ่ แวดลอ้ มโบราณสถาน ในสมัยดั่งเดิมทีนิยมปลูกใหญ่ใบบริเวณที่ว่างให้ร่มเงา สาหรับเป็น ท่ีพักญาติโยม ซ่ึงมาทาบุญในงานเทศกาลวันสาคัญทางศาสนา หรือกิจกรรมอ่ืน ๆ ได้เปล่ียนแปลงไป ทั้งนี้ข้ึนกับวัตถุประสงค์ที่ ต้องการให้เขตโบราณสถานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เรื่องใด กรณี การจัดพื้นท่ีบริเวณวัดเพื่อการท่องเท่ียวเป็นตัวอย่างหนึ่งท่ีมีอิทธิพล ต่อการจัดผังบริเวณวัดอันหมายถึงพ้ืนท่ีบริเวณโบราณสถานของวัด นน่ั เอง แนวคิดการจัดวางผงั บรเิ วณเพ่ือการท่องเที่ยวจึงมักมีข้อถกเถียง ในหมู่นกั วิชาการอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในกลมุ่ นักอนรุ ักษ์ ๗ โปรดอ่าน ผลการศึกษาสภาพปัญหาของวดั ในภาคเหนอื หน้า ๔๔ – ๖๙

๑๗ ๔. แนวทางการอนรุ ักษ์และพัฒนา เขตส่งิ แวดลอ้ มศลิ ปกรรม โดยลักษณะพ้ืนที่แล้ว เขตส่ิงแวดล้อมศิลปกรรมคือ เขตที่อยู่ห่าง ออกมาจากเขตบริเวณแหล่งศิลปกรรมหรือเขตโบราณสถาน ซ่ึงเป็นเขต ท่ี มี ปั ญ ห า ม า ก ที่ สุ ด ใ น ปั จ จุ บั น พื้ น ที่ ส่ ว น ใ ห ญ่ ถู ก บุ ก รุ กห รื อ จั บ จอง เป็นที่ทามาหากินหรือเป็นพื้นที่เอกชนก่อสร้างอาคารท่ีอยู่อาศัย อาคารพานิชย์ บางแห่งถูกราชการปลูกสร้างอาคาร เช่น โรงเรียน เด็กก่อนเกณฑ์ ที่ประชุมสภาตาบล พ้ืนที่บางแห่งตัดเป็นส่วนหน่ึง ของเส้นทางคมนาคม พ้ืนที่เขตส่ิงแวดล้อมศิลปกรรมจึงเป็นพ้ืนท่ี ๆ มีผู้ได้ใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกันก็มีหลักฐานทางราชการและหน่วยงาน ทีท่ีรับผิดชอบหลักเพียงหน่วยเดียวหรือ ๒ หน่วย ไม่สลับซับซ้อน เท่าพื้นท่ีเขตสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม การดูแลพ้ืนที่ส่ิงแวดล้อมศิลปกรรม แม้จะเป็นภาระหน้าท่ีโดยตรงของกองอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรม แต่ต้องอาศัยความร่วมมือย่ามีจิตสานึกของนักวิชาการ สาขาที่เกี่ยวข้อง และองค์กรเอกชนซ่ึงรวมถึงสมัชชาองค์กรอนุรักษ์ ส่ิ ง แ ว ด ล้ อ ม ศิ ล ป ก ร ร ม ท้ อ ง ถิ่ น ท่ี ก ร ะ จ า ย อ ยู่ ใ น พื้ น ที่ ทุ ก จั ง ห วั ด ในประเทศไทย

๑๘ การอนุรักษ์และพฒั นาสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม มแี นวทางปฏบิ ัติ เช่น ๑. ทาการศึกษาแหล่งศิลปกรรม เพื่อให้เข้าใจคุณค่าของมรดก ทางวัฒนธรรมและผลทไ่ี ด้รบั หากไมป่ รับปรุงแก้ไขปญั หาสภาพแวดล้อม ศิลปกรรม ทั้งนี้โดยการศึกษาที่มุ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง โบราณสถานหรือตัวศิลปกรรมกับชุมชน มิใช่เป็นการอธิบาย เฉพาะรูปแบบสถาปตั ยกรรมเพยี งอย่างเดียว การศึกษาแหล่งศิลปกรรมหรือโบราณวัตถุใน แน วน้ี จึงเป็นการศึกษาโบราณสถานในฐานะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในฐานะท่ีหลักฐานนั้นแสดงภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น เช่น สกุลช่างผู้รังสรรค์ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และในฐานะโบราณสถาน นั้นเป็นส่วนหน่ึงของชีวิต ชุมชน สังคม เช่น การเป็นที่พ่ึงทางใจ แ ล ะ เ ป็ น แ ห ล่ ง ห า ร า ย ไ ด้ จ า ก นั ก เ ดิ น ท า ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว ม า สั ก ก า ร บู ช า โบราณสถาน การศึกษาแหล่งศิลปกรรมในมิติดังกล่าวเชื่อว่า จะเป็นผลดี ต่อการปลุกจิตสานึกเร่งเร้าให้มีความเห็นสอดคล้องกับการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมศลิ ปกรรมใหโ้ บราณสถานทรงคุณคา่ ที่ชมุ ชนได้รบั ประโยชน์ ๒. การสร้างจิตสานึก คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ตระหนักในคุณค่าของโบราณสถานแหล่งศิลปกรรมทุกประเภท กจิ กรรมการสร้างจิตสานึกมมี ากมาย เช่น

๑๙ ๒.๑ การอธิบายซ้าเพื่อให้เกิดความอยากรู้และมีคาถาม ตามมา ๒.๒ การจัดกิจกรรมท่ีสอดคล้องสาหรับ กลุ่ม อาชีพ วยั ในชุมชน ๒.๓ การทัศนศึกษาดูแหลง่ ท่มี ีการอนุรักษ์ที่เหมาะสม ๒.๔ การใช้ส่ือ เช่น หนังสือ แผ่นพับ วิทยุ โทรทัศน์ ทก่ี ระตุ้นให้ชมุ ชนเห็นอนั ตรายหรือคุณคา่ ของการอนุรกั ษ์ ๒.๕ ตั้งชมรมกลุ่มผสู้ นใจศกึ ษาอนุรกั ษ์ในชุมชน ๓. ส่งเสริมให้เขตส่ิงแวดล้อมศิลปกรรมมีความสง่างาม และมีบรรยากาศท่ีเหมาะสมสอดคล้องกลมกลืนกับศิลปกรรมน้ัน ๆ เช่น การจัดสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมประเภทงานศิลปกรรมเดี่ยว ส่ิงแวดล้อมศิลปกรรมประเภทงานศิลปกรรมร่วมกลุ่ม และสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรมประเภทงานศิลปกรรมที่เป็นพ้ืนท่ี เช่น คูเมือง เมืองเก่า เปน็ ต้น ๔. การประชาสัมพันธ์ ถือเปน็ งานสาคัญทีต่ อ้ งดาเนินการให้ชุมชน เข้าใจคุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม เพื่อทรงคุณค่า ของแหล่งโบราณสถาน การประชาสัมพันธ์นอกจากคานึงถึงสื่อ ท่ีใช้เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์แล้วยังต้องพิจารณาถึงกลุ่มเป้าหมาย ที่ต้องการให้เข้าใจและเป็นแนวร่วมในการรณรงค์ โดยเฉพาะ

๒๐ กลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และต้องประชาสัมพันธ์ ใหป้ ระชาชนทราบทุกระยะท่ีมีการดาเนินงานอนุรักษ์ ๕. การขอความร่วมมือกับองค์กรในท้องถ่ิน พ้ืนที่ที่เป็น เ ข ต อ นุ รั ก ษ์ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม ศิ ล ป ก ร ร ม ที่ อ ยู่ ห่ า ง ไ ก ล จ า ก พื้ น ท่ี เขตโบราณสถานมักอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของกรมศิลปากร พ้ืนท่ีเหล่านี้เป็นหน้าท่ีขององค์กรท้องถิ่นซึ่งอาจต้ังเป็นองค์กรพัฒนา เอกชนหรอื กล่มุ นักวชิ าการอสิ ระ โดยปกติแล้วในการดูแลโบราณสถานและสภาพแวดล้อม เป็นเร่ืองท่ีต้องการความร่วมมือจากบุคคลากรถึง ๕ กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ผู้ท่ีมีความรู้ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีและศิลปกรรม กลุ่มท่ี ๒ คือ ผทู้ ี่มคี วามรดู้ ้านรปู แบบอาคาร ประวตั ิศาสตร์ศิลปะ กลุ่มที่ ๓ ได้แก่ ผู้กาหนดนโยบาย เป้าหมายและมาตรการในการอนุรักษ์โบราณสถาน และสภาพแวดล้อม กลุ่มที่๔ คือ ผู้ดาเนินการอนุรักษ์ต้องมีความรู้ และความสามารถทางด้านช่างก่อสร้าง ช่างโยธา ช่างเขียนแบบ สถาปนิกและวิศวกร ท่ีเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์และกลุ่มสุดท้าย ได้แก่ กลุ่มผู้ท่ีมีความรู้ด้านการจัดการเพ่ือนานโยบายไปสู่ การได้รับประโยชน์โดยไม่ทาลายโบราณสถานและสภาพแวดลอ้ ม

๒๑ ๖. การควบคุมส่ิงแวดล้อมศิลปกรรมโดยการสร้างความเข้าใจ และการใช้ข้อบังคับทางกฎหมายทั้งจูงใจให้ปฏิบัติในส่ิงท่ีต้องการ และห้ามไม่ให้ปฏิบัติในสิ่งท่ีไม่ต้องการให้ปฏิบัติ มาตรการต่าง ๆ มีท้งั - การยินยอม (Permissive) - การบังคบั (Directive) - การสนบั สนุน (Suppertive) - การเร่งรดั (Active) ๗. ร่วมมือศึกษาแผนงานโครงการของภาครัฐบาล ให้ส่งเสริม บริเวณสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ขณะเดียวกันก็ควรหาวิธีการยับยั้ง เมื่อมกี ารทาลาย หน่วยงานส่วนกลางท่สี าคญั ๆ

๒๒ ๕. เปา้ หมายของการประกาศเขตฯ การประกาศเขตอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อมศิลปกรรม แม้มีจุดมุ่งหมาย ปลายทางอยู่ที่การส่งเสริมให้แหล่งศิลปกรรมมีคุณค่าไม่ถูกทาลาย โดยทัศวิสัยที่รกรุงรัง โดยใช้มาตรการสุดท้ายคือ ใช้มติคณะรัฐมนตรี เป็นเคร่ืองมือยับยั้งกระบวนการทาลายคุณค่าตัวงานศิลปกรรม แต่กระบวนการที่นาไปสู่คณะรัฐมนตรีลงมติประกาศเขตอนุรักษ์ เป็นเร่ืองยุ่งยากต่อการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีหรือแม้แต่หน่วยงาน ราชการที่จะนาเสนอ ครม. ต้องเผชิญกับการฟ้องร้องต่อสู้ ของผู้เสียประโยชน์ที่ดนิ อาคาร ในบริเวณที่ถูกประกาศเปน็ เขตอนรุ ักษ์ โดยเฉพาะเขตท่เี ปน็ สงิ่ แวดล้อมชมุ ชนเมอื งยง่ิ มีปัญหาสลับซบั ซอ้ น เปา้ หมายของการประกาศเขตฯ จึงนา่ จะเป็นการมุ่งหมายเบ้ืองต้น ให้รู้จักวิธีการศึกษาศักยภาพและปัญหาของตัวศิลปกรรม เขต ศิลปกรรมและสภาพปัญหาของสิ่งแวดล้อมอย่างมีระบบและถูกต้อง ตามหลักวิชาการ โดยไม่มีอคติลุ่มหลงต่อศาสตร์ของตนจนลืมความ เหมาะสมพอดีของสภาพชุมชนนั้น ๆ ขณะเดียวกันก็เสนอวิธีการแก้ไข ทางออกโดยการเขียนผังบริเวณที่เห็นว่า ควรจะเป็น นาเสนอไว้ด้วย เพอื่ เปน็ ทางเลือกการตดั สนิ ใจของผู้ใช้กฎหมายแกไ้ ขปัญหา

๒๓ ผลการศึกษาศักยภาพและปัญหาแหล่งศิลปกรรมที่เห็นว่า ควร ประกาศเขตฯ จะเป็นคาตอบแก่ชมุ ชนเม่อื ตระหนกั ว่า ปญั หาไดเ้ กิดขึ้น แลว้ และเป็นอันตรายตอ่ มรดกชมุ ชนประเทศชาตหิ ากไมม่ ีผลการศึกษา เป็นพื้นฐานแล้ว เมื่อมีคาถามเกิดข้ึนจะไม่มีคาตอบให้ชุมชนตระหนัก ในคณุ ค่าของมรดกทางศิลปกรรม การเริ่มต้นศึกษาจงึ เป็นแบบฝึกหัด ทนี่ าไปสูก่ ารเสนอโครงการจดั ทาแผนการจดั การอนรุ ักษต์ ่อไป .

๒๔ ร่องรอยอารยธรรมเขมรในประเทศไทย ผู้ชว่ ยศาสตราจารยพ์ ิทักษ์ชยั จัตชุ ัย๘ ความหมายของอารยธรรมเขมร อารยธรรมเขมรท่ีปรากฏพบในประเทศไทยน้ัน โดยภาพรวม มักเรียกว่า “สมัยลพบุรี” ซ่ึงมีความหมายถึง ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ของไทยชว่ งระยะเวลาหน่ึงทม่ี ีการแพร่หลายของอทิ ธพิ ลวฒั นธรรมเขมร จากอาณาจักรเขมรโบราณเข้ามายังบริเวณแผ่นดินซ่ึงเป็นประเทศไทย ในปัจจุบัน มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๘ ปัจจุบันมักนิยมใช้คาว่าสมัยลพบุรีในความหมายของรูปแบ บ ทางศิลปะ ทั้งนี้เน่ืองมาจากเป็นความหมายของการศึกษาร่องรอย โ บ ร า ณ วั ต ถุ แ ล ะ โ บ ร า ณ ส ถ า น ส ถ า น ที่ อิ ท ธิ พ ล วั ฒ น ธ ร ร ม เ ข ม ร จ า ก อ า ณ า จั ก ร เ ข ม ร โ บ ร า ณ เ ข้ า ม า ยั ง ดิ น แ ด น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย พบมากแถบบริเวณเมืองลพบุรี หรือบางคร้ังก็มักเรียกรูปแบบศิลปะ แบบน้ีว่า “ศลิ ปะเขมร” หรอื “ศลิ ปะขอม” ๘ ผู้ช่วยศาสตราจารยพ์ ิทักษ์ชยั จัตชุ ยั รองผ้อู านวยการสานกั ศลิ ปวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลัยราชภฏั นครราชสีมา

๒๕ ภาพ : สมเด็จพระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ดศิ วรกุมาร กรมพระยาดารงราชานุภาพ ทม่ี า : มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๕๕ : ๑๘๑. ผู้ดาริเรียกศิลปะเขมรท่ีพบในประเทศไทยว่า “ศิลปะสมัยลพบุรี” คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยา ดารงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย และศาสตราจารย์ยอร์ซ เซเดส์ (George Cdes) นักปราชญ์และนักอ่าน จารึกชาวฝรั่งเศสแทนการเรียก “ศิลปะเขมร” ของพันตรีลูเนต์เดอ ลาจอง กิแยร์ (Etienne Edmond Lunet de la Jonquire)

๒๖ ซ่ึงเหตุผลท่ีสมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงกาหนด คานิยามข้ึนใหม่น้ีอาจเกิดจากพระวินิจฉัยที่จะทรงดาเนินวิเทโศบาย ทางด้านการเมือง โดยหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงวัฒนธรรมหรือเชื้อชาติ ของชนชาติเขมรท่ีมีอิทธิพลในดินแดนประเทศไทย เพื่อเป็นการ ข จั ด ปั ญ ห า ท า ง ก า ร เ มื อ ง ร ะ ห ว่ า ง ป ร ะ เ ท ศ ใ น ช่ ว ง เ ว ล า ดั ง ก ล่ า ว ซงึ่ กาลงั อยใู่ นยุคแหง่ การแสวงหาเมืองขน้ึ อาณานคิ มของมหาอานาจชาติ ตะวันตก โดยคานิยามท่ีดีที่สุดในเวลาน้ันก็น่าจะเป็นคาว่า “ลพบุรี” โดยเหตุผลท่ีเช่ือว่าเมืองละโว้หรือลพบุรีเป็นเมืองสาคัญในระยะเวลา ท่ีเขมรได้แพร่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนประเทศไทยจากนั้นเป็นต้นมา นักวิชาการจึงให้คานิยามของ “ศิลปะสมัยลพบุรี” ว่าหมายถึง โ บ ร า ณ วั ต ถุ แ ล ะ โ บ ร า ณ ส ถ า น เ ข ม ร ท่ี ค้ น พ บ ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย รวมทั้งโบราณวัตถุสถานท่ีทาข้ึนในประเทศไทยโดยทาเลียนแบบศิลปะ เขมรในประเทศกมั พูชา (สรุ ยิ วฒุ ิ สขุ สวสั ดิ์. ๒๕๔๙ : ๓๗-๓๘) อย่างไรก็ตามด้วยเหตุผลว่าศิลปะเขมรท่ีพบในประเทศไทย บ า ง ค รั้ ง มี ค ว า ม แ ต ก ต่ า ง ไ ป จ า ก ศิ ล ป ะ เ ข ม ร ใ น ป ร ะ เ ท ศ กั ม พู ช า จึงมีการเสนอให้ใช้คาว่า “ศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย” เพื่อให้เห็นถึงรูปแบบของงานศิลปกรรมภายใต้อิทธิพลวัฒนธรรมเขมร ที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทยและมีความแตกต่างออกไปจากรูปแบบ ของงานศิลปกรรมที่อยู่ในประเทศกัมพูชา รวมถึงบางครั้ง ท่ีงานศิลปกรรมที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทย กลับส่งอิทธิพล

๒๗ ย้อนกลับไปสู่งานศิลปกรรมท่ีอยู่ในประเทศกัมพูชาด้วย (สุริยวุฒิ สขุ สวัสดิ์. ๒๕๔๙ : ๓๗-๔๑) ส่วนคาว่า “เขมร” หรือ “ขอม” ท่ีนิยมเรียกกันน้ัน สันนิษฐานว่า เป็นกลุ่มคนกลุ่มเดียวกัน กล่าวคือ ชาวกัมพูชาเรียกตนเองว่าเขมร และไม่เคยเรียกตนเองว่าขอมแต่อย่างใด หากแต่คาว่า “ขอม” ปรากฏเฉพาะในเอกสารฝ่ายไทยเท่านั้น โดยอาจเป็นการแผลง หรือกร่อนคาจากคาว่า “ขแมร์กรอม” ซ่ึงหมายถึง เขมรต่า หรือบริเวณดินแดนท่ีอยู่ยังเบื้องล่างของเทือกเขาพนมดงรัก (สุริยวุฒิ สขุ สวสั ด์ิ. ๒๕๔๒ : ๑๓-๑๔ ; ร่งุ โรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. ๒๕๕๑ : ๑๓) ดังนั้น การศึกษา “อารยธรรมเขมร” จึงมีความหมายถึง การศึกษายุคสมัยทางประวัตศิ าสตร์ท่ีเก่ียวข้องกับอิทธิพลทางศิลปกรรม และการเมืองของอาณาจักรเขมรโบราณท่ีส่งไปยังบริเวณประเทศ กัมพูชา ประเทศลาว และประเทศไทยในปัจจุบัน รวมถึงการศึกษา รูปแบบงานศิลปกรรมในประเทศไทยที่ส่งอิทธิพลไปยังงานศิลปกรรม ที่อยู่ในประเทศกมั พชู าด้วยเชน่ กัน

๒๘ อิทธิพลวฒั นธรรมเขมรในประเทศไทย จากหลักฐานทางโบราณคดี ได้ค้นพบหลักฐานการขยายอิทธิพล จากอาณาจักรเขมรโบราณเข้ามาในบริเวณดินแดนของประเทศไทย โดยมีการค้นพบจารึกท่ีปรากฏพระนามกษัตริย์เขมรโบราณที่มีอายุ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๘ เป็นจานวนมาก ท่ีเก่าแก่ที่สุดคือ จารึกบ้านวังไผ่ (พบที่บ้านวังไผ่ อาเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์) ระบุพระนามพระเจ้าภววรมัน (พระเจ้าภววรมันท่ี ๑) ที่เสด็จ ขึ้นครองราชย์ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ รวมถึงการพบจารึก พระเจ้ามเหนทรวรมัน (เจ้าชายจิตรเสน) และจารึกพระเจ้าอิสาน วรมันท่ี ๑ พบในเขตจังหวัดจันทบุรี ซึ่งล้วนแต่เป็นกษัตริย์เขมร สมยั กอ่ นเมืองพระนคร ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ พบจารึกท่ีปรากฏพระนามกษัตริย์ เขมรสมัยเมืองพระนคร เช่น จารึกโนนสัง (พบที่บ้านบึงแก จังหวัดยโสธร) ระบุพระนามพระเจ้าอินทรวรมันท่ี ๑ จารึกปราสาทหิน พ น มวัน ๑ ( พ บท่ี ป รา ส า ท พ น มวัน จังหวัด น ค รราชสี มา) และจารึกเพนียด (พบท่ีเมืองเพนียด จังหวัดจันทบุรี) ระบุพระนาม พระเจ้ายโศวรมันท่ี ๑ จารึกบ้านพุทรา (พบที่บ้านพุทรา จังหวัดนครราชสีมา) และจารึกบ้านตาดทอง (พบที่บ้านตาดทอง จังหวัดยโสธร) ทั้ง ๒ หลักระบุพระนาม รุทรโลก พระนามของ พระเจา้ หรรษวรมันท่ี ๑ ภายหลังการส้ินพระชนม์ รวมถงึ จารกึ ปราสาท

๒๙ พนมรุ้ง (พบท่ีปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์) จารึกเมืองเสมา (พบท่ีเมืองโบราณเสมา จังหวัดนครราชสีมา) จารึกปราสาทภูมิโปน ๑ และ ๒ (พบที่ปราสาทภูมิโปน จังหวัดสุรินทร์) ระบุพระนาม พระเจ้าราเชนทรวรมนั ที่ ๔ และพระนามพระเจา้ ชัยวรมันที่ ๕ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พบจารึกที่ระบุพระนามพระเจ้าสุริย วรมันท่ี ๑ เช่น จารึกศาลสูง (พบที่ศาลสูง จังหวัดลพบุรี) และจารึก ปราสาทหินพิมาย ๒ (พบท่ีปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา) ส่ วน จา รึก ป รา ส า ท หิน พ น มวัน ๒ (พ บท่ี ป ราส าท พ น มวัน จังหวัดนครราชสีมา) ระบุพระนามพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ และพระเจ้า อุทยั ทิตยวรมันท่ี ๒ ในราวพุทธศตวรรษท่ี ๑๗ พบจารึกที่ระบุพระนามกษัตริย์เขมร หลายพระองค์ เช่น จารึกปราสาทหินพนมวัน ๓ (พบท่ีปราสาทพนมวนั จังหวัดนครราชสีมา) ระบุพระนามพระเจ้าชัยวรมันท่ี ๖ จารึก ปราสาทหินพิมาย ๒ (พบท่ีปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา) ระบุพระนามพระเจ้าธรณินทรวรมันท่ี ๑ และจารึกปราสาททัพเสียม ๒ (พบที่ปราสาททพั เสยี ม จงั หวัดสระแก้ว) พระนามพระเจ้าสุรยิ วรมันท่ี ๒ ในราวพุทธศตวรรษท่ี ๑๘ มีจารึกในประเทศกัมพูชาที่กล่าวถึง พระเจ้าชัยวรมันท่ี ๗ ทรงสร้าง อโรคยศาลา จานวน ๑๐๒ แห่ง ท่ัวราชอาณาจักรของพระองค์ ซ่ึงรวมถึงที่ต้ังอยู่ในดินแดนของประเทศ ไทยด้วย อีกท้ังจารึกปราสาทพระขรรค์ การสถาปนา “พระชัยพุทธ

๓๐ มหานาถ” ตามเมืองสาคัญต่าง ๆ และรวมถึงการสร้างวหนิคฤหะ จานวน ๑๗ แห่ง บนเส้นทางจากเมืองพระนครถึงเมืองพิมาย ของพระเจ้าชยั วรมันที่ ๗ จ า ก ห ลั ก ฐ า น ก า ร ข ย า ย อิ ท ธิ พ ล ข อ ง ก ษั ต ริ ย์ เ ข ม ร โ บ ร า ณ ทาให้ทราบถึงอิทธิพลทางการเมืองของแต่ละพระองค์และอิทธิพล ของอาณาจักรเขมรโบราณที่มีเหนือบริเวณดินแดนของประเทศไทย นับตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษท่ี ๑๒ – ๑๘ โดยอิทธิพลทางการเมือง ดังกล่าวส่งผลต่อรูปแบบงานศิลปกรรมในดินแดนของประเทศไทย ทั้งบริเวณภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคกลาง ตอนบน และภาคตะวันตก ท้ังที่มีการรับรูปแบบงานศิลปกรรมโดยตรง แ ล ะ ก า ร รั บ อิ ท ธิ พ ล รู ป แ บ บ ง า น ศิ ล ป ก ร ร ม เ พื่ อ ผ ส ม ผ ส า น กบั อทิ ธพิ ลท้องถน่ิ อารยธรรมเขมรกับหลกั ฐานทางโบราณคดี ร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีท่ีแสดงให้เห็นถึงการขยาย อิทธิพลวัฒนธรรมเขมรเข้ามายังบริเวณดินแดนของประเทศไทย ท่ีเรียกว่า สมัยลพบุรี ราวพุทธศตวรรษท่ี ๑๒ – ๑๘ โดยในช่วง ราวพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๒ – ๑๕ อทิ ธิพลวฒั นธรรมเขมรเข้ามาในดินแดน ของประเทศไทยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๘ นับว่าเป็นช่วงระยะเวลา ที่อาณาจักรเขมรโบราณเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากทั้งทางการเมือง

๓๑ และงานศิลปกรรม จึงได้ขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนของประเทศไทย บริเวณภาคกลาง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันตก โดยหลักฐาน ทางโบราณคดีสมัยลพบุรี ได้แก่ เอกสารลายลักษณ์อักษร สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม เคร่ืองมือเครื่องใช้ และร่องรอยของชุมชน โบราณ มรี ายละเอียดดังนี้ ๑. เอกสารลายลักษณอ์ กั ษร ในสมัยลพบุรีมีการค้นพบจารึกเขมรโบราณเป็นจานวนมาก โดยจารึกเขมรโบราณที่พบในประเทศไทยพบท้ังจารึกภาษาสันสฤต และภาษาเขมร รวมถึงจารึกในประเทศกัมพูชาที่กล่าวถึงดินแดน ประเทศไทย ซึง่ สามารถแบง่ ออกได้เป็น ๓ กลุม่ ดังนี้ ๑.๑. จารกึ สมยั ก่อนเมืองพระนคร ราวพทุ ธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๕ ได้แก่ - จารึกบ้านวังไผ่ พบที่บ้านวังไผ่ อาเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ไม่ระบุศักราช แต่ระบุพระนามพระเจ้าภววรมัน ซึ่งสันนิษฐานว่าคือ พระเจ้าภววรมันท่ี ๑ กษัตริย์เขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร ที่เสด็จขึ้นครองราชย์ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - จารึกพระเจ้ามเหนทรวรมัน (เจ้าชายจิตรเสน) พบจานวน ๑๕ หลัก (ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบจานวน

๓๒ ๓ หลัก และราชอาณาจักรกัมพูชา พบจานวน ๒ หลัก) อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ได้แก่ จารึกปากน้ามูล ๑ จารึกปากน้ามูล ๒ จารึกวัดสุปัฏนาราม ๑ จารึกถ้าภูหมาไน จารึกปากโดมน้อย (พบในเขตจังหวัดอุบลราชธานี) จารึกวัดศรีเมืองแอม (พบท่ีวัดศรี เมืองแอม อาเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น) จารึกถ้าเป็ดทอง ด้านใน จารึกถ้าเป็ดทองด้านนอก จารึกผนังถ้าเป็ดทอง (พบท่ีถ้าเป็ดทอง อาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์) จารึกฐานรูปเคารพ แหล่งโบราณคดีดอนขุมเงิน (พบที่แหล่งโบราณคดีดอนขุมเงิน จังหวัดร้อยเอ็ด) จารึกช่องสระแจง (พบในบริเวณปราสาทช่องสระแจง จังหวัดสระแก้ว) จารึกสุรินทร์ (วัดชุมพล) และจารึกบ้านตุงลุง (พบใหม่ที่ตาบลโขงเจียม อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี) มีเน้ือความคล้ายคลึงกัน จารึกเก่ียวกับพระราชประวัติ การสร้างศิวลึงค์ และดินแดนท่ีพระองคท์ รงมชี ัยชนะ - จารกึ พระเจา้ อสิ านวรมันท่ี ๑ พบในเขตจงั หวัดจันทบุรี จารึก ภาษาสันสกฤต ระบุพระนามพระเจ้าอิสานวรมันที่ ๑ กษัตริย์เขมร สมัยกอ่ นเมืองพระนคร ซ่ึงครองราชย์ระหวา่ งพุทธศักราช ๑๑๕๙–๑๑๘๐ ๑.๒. จารึกสมัยเมืองพระนคร ราวพุทธศตวรรษท่ี ๑๕ – ๑๘ ได้แก่ - จารึกโนนสัง พบที่บ้านบึงแก จังหวัดยโสธร จารึกภาษา สนั สกฤตและภาษาเขมร ระบุพระนามพระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑

๓๓ - จารึกปราสาทหินพนมวัน ๑ พบท่ีปราสาทพนมวัน บ้านมะค่า ตาบลบ้านโพธ์ิ อาเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จารึกภาษาเขมร ระบุศักราชตรงกับพุทธศักราช ๑๔๓๓ และพระนามพระเจ้ายโศวรมัน ที่ ๑ - จารึกเพนียด พบท่ีเมืองเพนียด ตาบลคลองนารายณ์ อาเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี จารึกภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร ระบุพระนามพระเจา้ ยโศวรมันที่ ๑ - จารึกบ้านพุทรา จังหวัดนครราชสีมา จารึกภาษาสันสกฤต ระบุพระนาม รุทรโลก ซึ่งเป็นพระนามของพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๑ เม่อื สิ้นพระชนม์แลว้ - จารึกบ้านตาดทอง พบท่ีบ้านตาดทอง อาเภอเมือง จังหวัดยโสธร จารึกระบุพระนาม รุทรโลก ซ่ึงเป็นพระนามของพระเจา้ หรรษวรมันท่ี ๑ เม่ือส้ินพระชนม์แล้ว และพระนามพระเจ้าอิสานวรมัน ที่ ๒ - จารึกอัญชัยวรมัน พบท่ีจังหวัดลพบุรี จารึกอักษรขอม ภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร กล่าวถึงพระราชโองการของพระเจ้า ชยั วรมันท่ี ๔ หรอื พระบาทบรมศิวบท - จารึกปราสาทพนมรุ้ง พบที่ปราสาทพนมรุ้ง ตาบลตาเป๊ก อาเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ จารึกภาษาสันสกฤต

๓๔ และภาษาเขมร ระบุพระนามพระเจ้าราเชนทรวรมันท่ี ๔ และพระนาม พระเจา้ ชยั วรมันท่ี ๕ - จารึกเมืองเสมา พบที่เมืองโบราณเสมา ตาบลเสมา อาเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา จารึกภาษาสันสกฤตและเขมร ระบุมหาศักราช ๘๙๓ (พุทธศักราช ๑๕๑๔) กล่าวนมัสการเทพเจ้า ในศาสนาพราหมณ์ ได้แก่ พระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม พระอุมา และพระสรัสวดี จากน้ันกล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ หรือ พระบาทบรมวีรโลก ว่าทรงเป็นโอรสของพระเจ้าราเชนทรวรมัน และทรงสืบเช้ือสายมาจากจันทรวงศ์ และกล่าวถึงพระราชกรณียกิจ ของพระเจ้าชัยวรมนั ท่ี ๕ - จารึกปราสาทภูมิโปน ๑ และ ๒ พบท่ีปราสาทภูมิโปน ตาบลดม อาเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ จารึกภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ระบุพระนามพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ ๔ และพระนาม พระเจา้ ชัยวรมันท่ี ๕ - จารึกสานักนางขาว พบที่ศาลานางขาว อาเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม จารึกภาษาสันสกฤต ระบุพระนามพระเจ้าชัยวรมัน ท่ี ๕ - จารึกศาลสูง พบท่ีศาลสูง จังหวัดลพบุรี จารึกภาษาเขมร ระบุมหาศักราช ๙๔๔ (พุทธศักราช ๑๕๖๕) และพระนามพระเจ้าสุริย วรมนั ท่ี ๑

๓๕ - จ า รึ ก ป ร า ส า ท หิ น พิ ม า ย ๒ พ บ ที่ ป ร า ส า ท พิ ม า ย จงั หวัดนครราชสีมา จารกึ ภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร ระบมุ หาศักราช ๙๕๘ (พทุ ธศกั ราช ๑๕๗๙) และพระนามพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ - จารึกปราสาทหินพนมวัน ๒ พบท่ีปราสาทพนมวัน บ้านมะค่า ตาบลบ้านโพธิ์ อาเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ระบุมหาศักราช ๙๗๗ (พุทธศักราช ๑๕๙๘) และพระนามพระเจา้ สุริยวรมนั ท่ี ๑ และพระเจา้ อทุ ยั ทิตยวรมันที่ ๒ ๑.๓. จารึกท่ีพบในประเทศกัมพูชา ที่มีความเก่ียวข้องกับดินแดน ประเทศไทยและแสดงให้เห็นถึงการแผ่ขยายอานาจทางการเมือง ของอาณาจักรเขมรโบราณเข้ามายังดินแดนของประเทศไทยอีกด้วย ทสี่ าคัญได้แก่ - จารึกปราสาทนครวัด พบบริเวณใต้ภาพสลักขบวนทพั ตา่ งชาติ ท่ีติดตามขบวนทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ที่ระบียงด้านทิศใต้ ฝั่งตะวันตก ๒ ภาพ โดยเป็นภาพกองทัพเสียม (สยาม) และกองทัพ ละโว้ - จารึกปราสาทพระขรรค์ กล่าวถึงเรื่องราวของพระเจ้าชัยวรมนั ที่ ๗ ท่ีได้สถาปนาพระพุทธรูปสาคัญพระนาม “พระชัยพุทธมหานาถ” ไว้ตามเมอื งตา่ ง ๆ เช่น ลโวทยปุระ (ลพบุร)ี สุวรรณปุระ (สพุ รรณบุรี) ฯลฯ และยังระบุการสร้างวหนิคฤหะ (บ้านมีไฟ หรือ ธรรมศาลา)

๓๖ จานวน ๑๗ แห่ง บนเส้นทางจากเมืองพระนคร (ประเทศกัมพูชา) ถงึ เมอื งพิมาย (ประเทศไทย) - จารึกปราสาทตาพรหม กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างอโรคยศาลา (โรงพยาบาล) จานวน ๑๐๒ แห่ง ทวั่ ราชอาณาจกั รของพระองค์ ๒. ศิลปกรรม พระมหากษัตริย์ของอาณาจักรเขมรเกือบทุกพระองคไ์ ดแ้ ผ่อิทธิพล และขยายอานาจเข้ามายังดินแดนของประเทศไทย จึงทาให้ปรากฏ หลักฐานทางโบราณคดีท่ีมีความคล้ายคลึงกับหลักฐานโบราณคดี ที่ มี รู ป แ บ บ ศิ ล ป ะ เ ข ม ร ใ น ป ร ะ เ ท ศ กั ม พู ช า อ ยู่ เ ป็ น จ า น ว น ม า ก การแบ่งยุคสมัยของศิลปกรรมสมัยลพบุรีจึงสมควรกาหนดรูปแบบ ใ ห้ เ ห ม า ะ ส ม กั บ ช่ ว ง ร ะ ย ะ เ ว ล า แ ล ะ รู ป แ บ บ ข อ ง ง า น ศิ ล ป ก ร ร ม ตามการจัดลาดับสมัยของศิลปะเขมรในประเทศกัมพูชา เพียงแต่ต้อง มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับระยะเวลาของการแพร่กระจายอิทธิพล งานศิลปกรรมจากอาณาจักรเขมรซ่ึงมีศูนย์กลางอยู่ในประเทศกัมพูชา ที่ต้องใช้เวลาเพ่ิมขึ้นจนกระท่ังสามารถแพร่กระจายในบริเวณดินแดน ของประเทศไทยในปัจจุบัน ท้ังน้ีแม้ว่าหลักฐานทางโบราณคดี ด้ า น ง า น ศิ ล ป ก ร ร ม ข อ ง ศิ ล ป ะ เ ข ม ร จ ะ ส่ ง อิ ท ธิ พ ล เ ข้ า ม า ยั ง ดิ น แ ด น ของประเทศไทยอย่างมากก็ตาม แต่ก็มีบางช่วงระยะเวลาท่ีรูปแบบ และเทคนิคของงานศิลปกรรมแบบเขมรในประเทศไทยมีความแตกต่าง

๓๗ จากอาณาจักรเขมรในประเทศกัมพูชา อีกท้ังยังได้ส่งอิทธิพล ย้อนกลับไปยังดินแดนของอาณาจกั รเขมรดว้ ยเช่นกัน การจดั ลาดับสมัยของศิลปะเขมรในประเทศกัมพูชาของนกั วิชาการ ชาวฝรั่งเศสอย่าง ฟิลิปป์ สแตร์น (Philipe stern) จิลแบรต์เดอ โรมาล-เรมูซา (Gilberte de Coral-Re’musat) ปิแอร์ ดูปองต์ ( Pierre Dupont) แล ะ ฌอง บวส เ ซ อลิเ ย ต์ ( Jean Boisselier) ได้ทาการศึกษาวิวัฒนาการทางศิลปะและการจัดลาดับโบราณวัตถุ และโบราณสถานเขมร ออกเป็น ๑๖ รูปแบบย่อย จาก ๔ สมัยใหญ่ ดังนี้ (สุภัทรดิศ ดิศกุล. ๒๕๔๗ : ๑-๒, สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์. ๒๕๓๗ : ๔๖-๖๗ ; ๒๕๔๒ : ๕๕-๖๐ และ ๒๕๔๙ : ๓) ๒.๑. สมัยก่อนเมืองพระนคร ( Pre-Angkorian Period) นับระยะเวลาตัง้ แต่อาณาจักรฟูนนั ตอนปลายจนถึงสมยั อาณาจักรเจนละ (เขมรตอนต้น) ราวพุทธศตวรรษท่ี ๑๒ – ๑๕ ก่อนท่ีพระเจ้ายโศวรมัน ท่ี ๑ ได้สถาปนาเมืองยโศธรปุระ หรือเมืองพระนคร (Angkor) เป็นราชธานีของอาณาจักรเขมรในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ โดยงานศิลปกรรมในระยะน้แี บ่งออกเป็น ๖ รูปแบบ ดังนี้ ๒.๑.๑ ศิลปะแบบพนมดา ราวคร่ึงแรกของพุทธศตวรรษท่ี ๑๒ หมายถงึ ศิลปะซง่ึ มคี วามสัมพนั ธ์กับศิลปะแบบพนมดาในประเทศกัมพูชา ศิลปะแบบพนมดาน้ีไม่ปรากฏร่องรอยขอ งสถาปัตยกรรม พ บ แ ต่ เ พี ย ง เ ฉ พ า ะ ป ร ะ ติ ม า ก ร ร ม ใ น ศิ ล ป ะ แ บ บ พ น ม ด า ที่ ส า คั ญ

๓๘ ได้แก่ ประติมากรรมในศาสนาฮินดูรุ่นแรกของเมืองโบราณศรีเทพ อาเภอศรเี ทพ จงั หวดั เพชรบรู ณ์ เปน็ ตน้ ๒.๑.๒ ศิลปะแบบถาลาบริวัต ราวกลางถึ งค รึ่ง ห ลัง ของพุทธศตวรรษที่ ๑๒ หมายถึง ศิลปะซึ่งมีความคล้ายคลึง กับศิลปะแบบถาลาบริวัตทางภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวและในดินแดนประเทศกัมพูชา ศิลปะแบบถาลาบริวัต ปรากฏเฉพาะทับหลังจากวัดทองทั่ว และจากวัดบนเขาพลอยแหวน จังหวดั จนั ทบุรี เป็นต้น ภาพ : ทบั หลงั ศลิ ปะแบบถาลาบริวัตจากวดั ทองทัว่ อาเภอเมือง จงั หวดั จนั ทบุรี ทม่ี า : ถ่ายเม่อื วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๘ ณ พพิ ิธภณั ฑโ์ บราณสถานเมืองเพนยี ด วดั ทอง ทั่ว จงั หวดั จันทบรุ ี.

๓๙ ภาพ : เทวรูปพระวิษณุ และเทวรูปพระกฤษณะ พบทเี่ มอื งโบราณศรเี ทพ อาเภอศรเี ทพ จังหวดั เพชรบูรณ์ ทมี่ า : มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร. ออนไลน.์ ๒๕๕๘. ๒.๑.๓ ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก ราวคร่ึงหลังของพุทธศตวรรษ ท่ี ๑๒ หมายถึง ศิลปะซ่ึงมีความละม้ายกับศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก ใ น ป ร ะ เ ท ศ กั ม พู ช า ห ลั ก ฐ า น ส า คั ญ อั น เ ป็ น อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ทางสถาปัตยกรรมสาคัญในศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก ได้แก่ ทับหลัง ที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จังหวัดอุบลราชธานี ทับหลังบางแผ่น จากปราสาทเขาน้อย อาเภออรญั ประเทศ จังหวดั สระแกว้ สาหรับประติมากรรม ได้แก่ พระอุมา จากอาเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เทวรูปพระวิษณุ จากเมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี เปน็ ตน้

๔๐ ภาพ : ทับหลังศิลปะแบบสมโบรไ์ พรกุก วัดสุปฏั นารามวรวิหาร จังหวดั อบุ ลราชธานี ท่ีมา : ถ่ายเม่ือวันท่ี ๒๓ มกราคม ๒๕๕๖ ณ พิพิธภัณฑ์วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จังหวัด อุบลราชธาน.ี ภาพ : เทวรปู พระวษิ ณสุ ี่กร จากเมืองศรมี โหสถ อาเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจนี บรุ ี ทีม่ า : ผู้จดั การออนไลน์. ออนไลน.์ ๒๕๕๘.