Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore (2) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม 2.8

(2) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม 2.8

Published by agenda.ebook, 2020-06-19 00:29:34

Description: (2) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2 ครั้งที่ 7-8 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ วันที่ 24-25 มิถุนายน 2563

Search

Read the Text Version

เรือ่ งทปี่ ระธาน จะแจ้งตอ่ ที่ประชมุ ครัง้ ท่ี 7-8 (สมยั สามญั ประจาปคี รัง้ ทห่ี น่งึ ) เป็นพิเศษ วันที่ 24-25 มถิ นุ ายน 2563 (ระเบียบวาระท่ี 2.8)

luni.id diGnaiuo1 m ' ~ ~ ~ i 5 i ~ d i ~ ~ ~ d ~ ~ ~ i 5 ~ i L ~ ~ ~ i 5 ~~azrrwunisdFj;dd5nmdsziid b ~ s b~6ss'a~a~fi~l a z ~ a C n s / ~ 5 i u a i u ~ ~ n i i a T u ; d u u u o s u l a u ' miu QR Code ~i~w-u4d4aY iM&lPuqUY diljn9iu-1T ~ L F I I V ~ C ~ ~ / PTIuESi~n~(~~z;I~~U?JiuIT~Ps~\"b~u~Fo~nIia~iold http://nscr.nesdb.go.th/nscr-report/ no~ywmiamiviR~~azni5d~;dd5z~w~QR code n 1 ~ u ~ ~ . s a n s ~ u a 1 u ~ ~ d w a n 1 s ~ 1 ~ ~ u n 1 s ~ 1 1 ~ 1 ~ 5o. bbdo dod& bbbd ~~aauwunisd~~elddssaa~ilw\"i3~b m b 1 ~ 5 a 1 50 bbbd bd&d



คำ� นำ� รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65 ก�ำหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมาย การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดท�ำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้อง และบูรณาการกันเพ่ือให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ซ่ึงได้บัญญัติให้การจัดท�ำ การก�ำหนด เป้าหมาย ระยะเวลาท่ีจะบรรลุเป้าหมาย และสาระท่ีพึงมีในยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ การจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 22 ของพระราชบัญญัติการจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 ได้ก�ำหนดให้ส�ำนักงานสภาพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นส�ำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และ คณะกรรมการจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีอ�ำนาจหน้าที่หลักในการรับผิดชอบให้มีการประเมินผลการด�ำเนินการ ตามยุทธศาสตร์ชาติ และการจัดท�ำรายงานสรุปผลการด�ำเนินการประจ�ำปีตามยุทธศาสตร์ชาติของหน่วยงาน ของรัฐ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คณะรัฐมนตรี หัวหน้าหน่วยงานของรัฐในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ หรือองค์กรอัยการ และรัฐสภาทราบภายใน 90 วันนับแต่วันท่ีได้รับรายงาน จากหน่วยงาน โดยรายงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุความก้าวหน้าของการด�ำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการด�ำเนินการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในคราวการประชุมคร้ังที่ 2/2562 เมื่อวันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม 2562 ได้มีมติ เห็นชอบแนวทางการประเมินผลผลสัมฤทธ์ิการด�ำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ผ่านการด�ำเนินการ เพ่ือบรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นหลัก โดยใช้ข้อมูลแผนงาน/โครงการ ของหน่วยงานของรัฐที่รายงานเข้าระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronics Monitoring and Evaluation System for National Strategy and Country Reform: eMENSCR) ภายในเดอื นธนั วาคม 2562 ประกอบการพิจารณาการประเมินผลร่วมกับข้อมูลสถิติและสถานการณ์การพัฒนาต่าง ๆ ที่เก่ียวข้อง ท้ังในระดับประเทศและระดับสากล ส�ำนักงานฯ จึงได้จัดท�ำรายงานสรุปผลการด�ำเนินการประจ�ำปีตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจ�ำปี 2562 ขึ้น เพ่ือน�ำเสนอข้อมูลผลการขับเคลื่อนการด�ำเนินงานต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐนับตั้งแต่มีการประกาศใช้ ยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในช่วงระหว่างปีงบประมาณ 2562 ท่ีสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ น�ำไปสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์การพัฒนาในมิติต่าง ๆ ตามที่ กำ� หนด บนหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (Causal Relationships : XYZ) และแสดงให้เห็นถึง ความก้าวหน้าสถานการณ์การพัฒนาที่จะน�ำไปสู่การบรรลุเป้าหมายในห้วง 5 ปีแรกของการพัฒนา ส่งผลต่อ การประเมินการปรับปรุงการด�ำเนินงานต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายตามท่ีก�ำหนด ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับบริบทการพัฒนาประเทศที่เป็นปัจจุบัน

005 010 016 บทสรุป วิธรีกายางราอน่าน บทน�ำ ของผู้บริหาร 104 128 152 การท่องเท่ียว การเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ แห่งอนาคต 238 258 268 เขตเศรษฐกิจ การปรับเปล่ียน ศักกยารภพัาฒพนาคน พิ เศษ ค่านิยมและ ตลอดช่วงชีวิต วัฒนธรรม 316 326 336 พลัง เศรษฐกิจ ความเสมอภาค ทางสังคม ฐานราก และ หลักประกันทางสังคม 398 410 424 การต่อต้าน กฎหมายและ การวิจัย การทุจริต และพั ฒนา กระบวนการยุติธรรม และประพฤติมิชอบ นวัตกรรม

สารบัญ 050 058 088 ความม่นั คง ผลการด�ำเนินการ การ ตามแผนแม่บทภายใต้ ตา่ งประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ 184 194 218 พ้ื นท่ีและ โครงสร้างพื้ นฐาน ผู้ประกอบการ เมืองน่าอยู่ ระบบโลจิสติกส์ และวิสาหกิจขนาดกลาง และดิจิทัล อัจฉริยะ และขนาดย่อมยุคใหม่ 292 284 306 การพั ฒนา การเสริมสร้างให้ ศักยภาพ การเรียนรู้ คนไทย มีสุขภาวะท่ีดี การกีฬา 344 364 382 การเติบโต การบริหาร การบริการประชาชนและ อย่างย่ังยืน จัดการน้�ำ ประสิทธิภาพ ภาครัฐ 442 ท้ังระบบ ประเด็นท้าทาย และการด�ำเนินการ ในระยะต่อไป



บทสรปุ สำ� หรับผู้บรหิ าร ยทุ ธศาสตรช์ าตเิ ปน็ เปา้ หมายการพฒั นาประเทศอยา่ งยงั่ ยนื ตามหลกั ธรรมาภบิ าลเพอื่ ใชเ้ ปน็ กรอบการดำ� เนนิ งาน ของหน่วยงานภาครัฐเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชน มีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเน่ือง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติย่ังยืน” เพ่ือน�ำไปสู่การบรรลุ วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งค่ัง ย่ังยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ยุทธศาสตร์ชาติน�ำไปสู่การปฏิบัติโดยการถ่ายทอดผ่าน แผนระดับที่ 2 และแผนระดับท่ี 3 ตามนัยของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 ซ่ึงแผนระดับที่ 2 ในส่วนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติท้ัง 23 ประเด็น เป็นการก�ำหนดเป้าหมายการพัฒนาตลอดระยะเวลา ของยุทธศาสตร์ชาติทั้งในระดับประเด็นและระดับแผนแม่บทย่อย รวมท้ังมีการก�ำหนดค่าเป้าหมายท่ีต้องบรรลุ ตามตัวชี้วัดท่ีก�ำหนดแบ่งเป็น 4 ห้วงการพัฒนา ห้วงละ 5 ปี คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และคณะกรรมการจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้าน ได้จัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเม่ือวันท่ี 13 ตุลาคม 2561 และ วันที่ 18 เมษายน 2562 ตามล�ำดับ ซ่ึงมีผลบังคับใช้ตามมาตรา 5 และมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติ การจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 โดยก�ำหนดให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยมีหน้าท่ีในการด�ำเนินการเพื่อให้ บรรลุเป้าหมายตามที่ก�ำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ รวมท้ังให้มีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐและการจัดท�ำ งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณต้องสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ นอกจากน้ี พระราชบัญญัติดังกล่าวได้ก�ำหนดให้จัดท�ำรายงานสรุปผลการด�ำเนินการประจ�ำปีตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจ�ำปี 2562 ตามหลักการการประเมินผลที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้ก�ำหนดไว้ โดยเป็นการวิเคราะห์ และประมวลผลการขับเคล่ือนการด�ำเนินงานต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐในช่วงปี 2561-2562 เพื่อบรรลุ ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาในมิติต่าง ๆ ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ และผลลัพธ์ตามเป้าหมายของแผนแม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ บนหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (Causal Relationships : XYZ) ทั้งนี้ รายงาน สรุปผลจะแสดงให้เห็นถึงผลความก้าวหน้า สถานการณ์การบรรลุเป้าหมาย ปัญหา อุปสรรคและ ความท้าทาย รวมทั้งข้อเสนอแนะในการด�ำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ในระยะต่อไป เพ่ือเผยแพร่ให้ทุกหน่วยงานท้ังในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ และ องคก์ รอนื่ ๆ ตลอดจนประชาชนผูส้ นใจรบั ทราบและมีสว่ นช่วยในการตดิ ตาม เสนอแนะ เรง่ รดั การด�ำเนนิ การ ตามยุทธศาสตร์ชาติให้บรรลุเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ต่อไป จากการประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ พบว่า ในช่วงระหว่างปี 2561-2562 ประชาชน ได้รับผลประโยชน์จากการด�ำเนนิ งานตา่ ง ๆ ของหนว่ ยงานของรัฐตามยุทธศาสตร์ชาติในหลากหลายมติ ิ ทัง้ ในส่วน ของการมีรายได้เฉลี่ยต่อคนเพ่ิมข้ึนถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะมีการชะลอตัวเล็กน้อยจากช่วงก่อนหน้า การลดลงของ ความเหลื่อมล�้ำด้านรายได้และรายจ่ายระหว่างกลุ่มประชากรและของประชากรท่ีประสบปัญหาความยากจน หลายมิติ (ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการเข้าถึงบริการรัฐ และด้านรายได้) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศในภาพรวมดีขึ้นแต่ยังคงต้องเร่งแก้ไขประเด็นความเหล่ือมล�้ำ การพัฒนา นอกจากนี้ การมีสภาพแวดล้อมในสังคมที่มีความอยู่ดีมีสุขเพ่ิมมากข้ึน และการมีทรัพยากรธรรมชาติ แ ล ะ ส่ิ ง แ ว ด ล ้ อ ม ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ ท่ี มี คุ ณ ภ า พ ป รั บ ป รุ ง ดี ขึ้ น แ ล ะ อ ยู ่ ใ น เ ก ณ ฑ ์ ท่ี สู ง ก ว ่ า ค ่ า เ ฉ ลี่ ย ข อ ง โ ล ก 5

บทสรปุ ส�ำหรบั ผู้บรหิ าร สะท้อนการพัฒนาประเทศท่ีเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อมเพ่ิมมากข้ึน รวมทั้งการมีภาครัฐที่มีแนวโน้มในการบริหาร จัดการอุปสรรคการด�ำเนินธุรกิจในประเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเร่งแก้ไข ปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบและเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งยังเป็นประเด็นท้าทาย ท่ีส�ำคัญของภาครัฐ ส�ำหรับการประเมินผลความก้าวหน้าตามเป้าหมาย โดยในสว่ นของเปา้ หมายระดบั ประเด็น มี 33 เปา้ หมาย ของแผนแมบ่ ทภายใต้ยทุ ธศาสตร์ชาติ ทั้ง 23 ประเดน็ จากทง้ั หมด 37 เปา้ หมาย ท่ยี ังมสี ถานการณก์ ารบรรลุ ได้แก่ (1) ความม่ันคง (2) การต่างประเทศ เป้าหมายต่�ำกว่าท่ีก�ำหนด โดยเป็นเป้าหมายระดบั ตำ่� (3) การเกษตร (4) อุตสาหกรรรมและบริการ กว่าค่าเป้าหมาย จ�ำนวน 15 เป้าหมาย ระดับต่�ำกว่า แห่งอนาคต (5) การท่องเท่ียว (6) พื้นท่ีและเมือง ค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง จ�ำนวน 12 เป้าหมาย และ น่าอยู่อัจฉริยะ (7) โครงสร้างพ้ืนฐาน ระบบโลจิสติกส์ ระดบั ตำ่� กวา่ คา่ เปา้ หมายขนั้ วกิ ฤต จำ� นวน 6 เปา้ หมาย และดิจิทัล (8) ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลาง ซึ่งเป็นเป้าหมายระดับประเด็นภายใต้แผนแม่บทฯ และขนาดย่อมยุคใหม่ (9) เขตเศรษฐกิจพิเศษ ประเด็น (1) ความมั่นคง ประเด็น (3) การเกษตร (10) การปรับเปลี่ยนค่านิยม และวัฒนธรรม ประเด็น (5) การท่องเที่ยว ประเด็น (6) พ้ืนท่ีและ (11) ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต (12) การพัฒนา เมืองน่าอยู่อัจฉริยะ ประเด็น (12) การพัฒนา การเรียนรู้ (13) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะ การเรียนรู้ และประเด็น (21) การต่อต้านการทุจริต ท่ีดี (14) ศักยภาพการกีฬา (15) พลังทางสังคม และประพฤติมิชอบ (16) เศรษฐกิจฐานราก (17) ความเสมอภาคและ หลักประกันทางสังคม (18) การเติบโตอย่างยั่งยืน เปา้ 4(ห1เม0ปา.้า8ยห1ปม%ราะ)ยเด็น เป้า6(ห1เม6ปา.า้2ยห2ปม%ราะ)ยเดน็ (19) การบริหารจัดการน้�ำท้ังระบบ (20) การบริการ ประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ (21) การต่อต้าน เป1้า(5ห4ม0เปา.5ยา้ 4หป%มระา)เยด็น เป1า้ (2ห3ม2เปา.4ย้า3หป%มระา)เยด็น การทุจริตและประพฤติมิชอบ (22) กฎหมายและ กระบวนการยุติธรรม และ (23) การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม ซ่ึงประกอบด้วยเป้าหมายระดับประเด็น 37 เป้าหมาย และเป้าหมายแผนแม่บทย่อย 140 เป้าหมาย ได้แสดงสถานะการพัฒนาและ ความเสี่ยง/ความเป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมาย ตามที่ก�ำหนดในห้วง 5 ปีแรกของการพัฒนา ในปี 2565 แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ประกอบด้วย ระดับต�่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต (สีแดง) ระดับ ต่�ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง (สีส้ม) ระดับต่�ำกว่า คา่ เป้าหมาย (สีเหลือง) และระดับบรรลุค่าเป้าหมาย (สเี ขยี ว) ทงั้ นี้ จากการประเมนิ พบวา่ ยงั มคี วามเสยี่ ง ในการบรรลุเป้าหมาย ตามท่ีก�ำหนดไว้ในปี 2565 6

บทสรปุ สำ� หรับผบู้ รหิ าร และในส่วนของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย มี 121 เปา้1ห9(ม1เา3ปย.้า6แห%ผมน)ายยอ่ ย เป้า3ห1(ม2เา2ปย.้า1แห%ผมน)ายย่อย เป้าหมาย จากทั้งหมด 140 เป้าหมาย ท่ียังมี สถานการณ์การบรรลุเป้าหมายต่�ำกว่าท่ีก�ำหนด เป้า4ห9ม(เ3าป5ย้า%แหผม)นายยอ่ ย เป้า4ห1(ม2เา9ปย.า้3แห%ผมน)ายย่อย โดยเป็นเป้าหมายระดับต่�ำกว่าค่าเป้าหมาย จ�ำนวน 49 เป้าหมาย ระดับต่�ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเส่ียง จ�ำนวน 41 เป้าหมาย และระดับต�่ำกว่าค่าเป้าหมาย ขั้นวิกฤต จ�ำนวน 31 เป้าหมาย ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ และประมวลหาโครงการ/การด�ำเนินงานท่ีสามารถ ขับเคล่ือนเป้าหมายดังกล่าวให้บรรลุอย่างเป็น รู ป ธ ร ร ม ต ่ อ ไ ป ข ณ ะ ท่ี เ ป ้ า ห ม า ย ท่ี มี สี เ ขี ย ว ประกอบด้วย เป้าหมายระดับประเด็น 4 เป้าหมาย และเป้าหมายแผนแม่บทย่อย 19 เป้าหมาย ซ่ึงเป็น เป้าหมายที่สามารถบรรลุผลลัพธ์การพัฒนาได้ ตามที่ก�ำหนด และยังคงจ�ำเป็นต้องมีการด�ำเนินการ ต่าง ๆ ที่เก่ียวข้องต่อไป เพ่ือให้เกิดความย่ังยืนของ สถานการณ์การบรรลุเป้าหมาย ในช่วงที่ผ่านมา การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติผ่านโครงการ/การด�ำเนินงานต่าง ๆ ยังพบปัญหา อุปสรรค และ ประเด็นท้าทายหลายประการที่สะท้อนให้เห็นถึงข้อจ�ำกัดของการมองเป้าหมายร่วมกันของหน่วยงาน ในการถ่ายระดับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติไปยังเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ส่งผลให้ มีความเสี่ยงในการบรรลุผลสัมฤทธ์ิและผลลัพธ์เป้าหมายการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ ตามที่ก�ำหนด โดยมีประเด็นท้าทายท่ีสำ� คญั ในระดบั การขบั เคลอื่ นโครงการ อาทิ การบรู ณาการความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงาน ความพร้อมของข้อมูลหรือข้อจ�ำกัดเร่ืองการเข้าถึงข้อมูลท่ีจ�ำเป็น ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน ความต่อเน่ืองของการด�ำเนินโครงการ/การด�ำเนินงาน และประเด็นท้าทายส�ำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการบรรลุ ผลสัมฤทธ์ิตามเป้าหมายของการด�ำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ เช่น การถูกเลือกปฏิบัติและการคุ้มครอง สิทธิของประชาชนท่ีไม่ทั่วถึงหรือไม่เท่าเทียมกัน การลดลงของประสิทธิภาพและผลิตภาพในภาคการผลิต ตลาดแรงงานและการบริหารจัดการ ภาระหน้ีสินส่วนบุคคลและความรู้ทางด้านการวางแผนการเงินของ ประชาชน ความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวในการเลี้ยงดูบุตรและปลูกฝังค่านิยมคุณธรรมและจริยธรรมที่ดี ความสามารถในการพ่ึงพาตนเองของผู้สูงอายุ ความล่าช้าในการกระจายอ�ำนาจและความรับผิดชอบสู่ท้องถิ่น ความเข้าใจถึงสิทธิและความสามารถในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนไดอ้ ยา่ งเทา่ เทยี มและเปน็ ธรรม ความรบั ผดิ ชอบของประชาชนและผู้ประกอบการต่อทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม ความสามารถของภาครฐั ในการบรหิ ารสถานการณ์วิกฤตต่าง ๆ การขจัดการทุจริตและการประพฤติมิชอบให้หมดส้ินจากประเทศไทย และการปรับปรุงและทบทวนกฎระเบียบทางราชการท่ีล้าสมัยและเป็นอุปสรรคในการด�ำเนินชีวิตหรือ การประกอบธุรกิจ เป็นต้น 7

บทสรุปสำ� หรบั ผบู้ ริหาร นอกจากนี้ ความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลง โดยสรุป การด�ำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุ ในบริบทของโลกท่ีคาดว่าจะส่งผลต่อการพัฒนา เป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ใ น มิ ติ ต ่ า ง ๆ ป ร ะ ก อ บ ด ้ ว ย ยุทธศาสตร์ชาติช่วงปี 2561 - 2562 ท่ีผ่านมา การเปล่ียนแปลงโครงสร้างประชากร แนวโน้ม ถึงแม้มีการปรับตัวดีข้ึนในหลายมิติ อย่างไรก็ตาม ด้านสุขภาพ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล ยังคงมีความเส่ียงในการบรรลุเป้าหมายตามท่ีก�ำหนด ความผันผวนและแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ไว้ในปี 2565 ซึ่งข้อค้นพบการวิเคราะห์ปัญหา พ ลั ง ง า น ท า ง เ ลื อ ก แ ล ะ ย า น ย น ต ์ ส มั ย ใ ห ม ่ อุปสรรค และประเด็นท้าทายระดับโครงการและ ความเป็นเมือง รวมทั้งแนวโน้มการเมืองและ ระดับแผนแม่บทฯ ที่เป็นข้อจ�ำกัดในการบรรลุผลลัพธ์ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ การพัฒนาตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ ดังน้ัน เพ่ือให้การด�ำเนินการของหน่วยงานของรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ และผลสัมฤทธ์ิการพัฒนาตาม สามารถขับเคลื่อนประเทศให้บรรลุผลสัมฤทธ์ิและ เป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติในรายงานฉบับนี้ ผลลัพธ์ตามเป้าหมายการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติ จะสามารถเป็นข้อมูลบ่งช้ีเบ้ืองต้นในการพิจารณา แ ล ะ แ ผ น แ ม ่ บ ท ภ า ย ใ ต ้ ยุ ท ธ ศ า ส ต ร ์ ช า ติ ไ ด ้ และวิเคราะห์ประเด็นที่จ�ำเป็นต้องเร่งให้ความส�ำคัญ อย่างต่อเน่ืองและเป็นรูปธรรม จึงมีสรุปข้อเสนอแนะ ก า ร ด� ำ เ นิ น ก า ร ใ น ร ะ ย ะ ต ่ อ ไ ป เ พื่ อ น� ำ ไ ป สู ่ การดำ� เนนิ การในระยะตอ่ ไป ไดแ้ ก่ (1) การขบั เคลอ่ื น การขับเคลื่อนการพัฒนาเพ่ือบรรลุเป้าหมายของ การด�ำเนินงานผ่านหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุ ยุทธศาสตร์ชาติบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ และ และผล (XYZ) และการบูรณาการกับกระบวนการ ก า ร ป รั บ เ ป ลี่ ย น ก ร ะ บ ว น ทั ศ น ์ ก า ร ด� ำ เ นิ น ง า น งบประมาณอย่างเป็นระบบ (2) การจัดท�ำโครงการ/ ในมิติต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องของทุกหน่วยงาน การด�ำเนินงานส�ำคัญ (X) ที่จะต้องมีการก�ำหนด ไปในทิศทางเดียวกัน รวมไปถึงกระบวนการ การมีส่วนสนับสนุนของโครงการต่อการบรรลุ งบประมาณที่สอดคล้องและทันการณ์ โดยมี ผลลัพธ์การพัฒนาตามเป้าหมายแผนแม่บทฯ การมองเป้าหมาย “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชน ท่ีชัดเจน และสามารถน�ำไปสู่การขับเคลื่อน มี ค ว า ม สุ ข เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พั ฒ น า อ ย ่ า ง ต ่ อ เ น่ื อ ง เป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (Y) สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” ให้สามารถบรรลุได้ตามที่ก�ำหนดไว้ในแต่ละห้วง เป็นเป้าหมายการพัฒนาร่วมกันอย่างบูรณาการ 5 ปีการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม (3) การจัดท�ำ และขับเคลื่อนประเทศไปสู่วิสัยทัศน์ “ประเทศไทย แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการท่ีต้องสอดคล้อง มีความม่ันคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว กับยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 เพื่อเป็น ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ ก ร อ บ ใ น ก า ร ด� ำ เ นิ น ก า ร จั ด ส ร ร ง บ ป ร ะ ม า ณ พอเพียง” โดยไม่ท้ิงใครไว้ข้างหลังได้อย่างแท้จริง (4) การใช้ระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เป็นระบบติดตาม ตรวจสอบ และ ประเมินผลการด�ำเนินการในทุกระดับอย่างแท้จริง (5) การเปดิ โอกาสใหภ้ าคกี ารพฒั นาเขา้ มามสี ว่ นรว่ ม ในการพัฒนามากขึ้น และ (6) การขับเคลื่อนตาม เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติสู่การบรรลุเป้าหมาย การพฒั นาทย่ี งั่ ยนื (Sustainable Development Goals : SDGs) 8



วิธกี ารอ่านรายงานฯ รายงานสรปุ ผลการดำ� เนินการประจ�ำปีตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำ� ปี 2562 ประกอบดว้ ย 3 สว่ น ได้แก่ ส่วนท่ีหน่ึง แสดงความส�ำคัญและเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ ยทุ ธศาสตรช์ าติ หลกั การการประเมนิ ผลการพฒั นาตามยทุ ธศาสตรช์ าติ และผลการพฒั นา ตามยทุ ธศาสตรช์ าติ ทงั้ ในสว่ นของเปา้ หมายภาพรวม และเปา้ หมายรายยทุ ธศาสตรช์ าติ สว่ นทส่ี อง แสดงความสำ� คญั ของแผนแมบ่ ทภายใตย้ ทุ ธศาสตรช์ าติ หลกั การการประเมนิ ผล การพัฒนาของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และผลการพัฒนาจ�ำแนกตาม 23 แผนแมบ่ ทฯ ส่วนที่สาม แสดงแนวโน้มบริบทโลกท่ีมีผลต่อการขับเคล่ือนยุทธศาสตร์ชาติท่ีต้อง ให้ความส�ำคัญ ประเด็นท้าทายและข้อเสนอแนะ และการด�ำเนินการในระยะต่อไป โดยมวี ธิ อี า่ นรายงานฯ ในสว่ นทส่ี อง ดงั น้ี 10

สญั ลักษณป์ ระจำ� ประเดน็ แผนแม่บทฯ รหสั ประเด็นแผนแม่บทฯ ชื่อประเด็นแผนแมบ่ ทฯ ยทุ ธศาสตร์ชาติด้าน ท่แี ผนแม่บทฯ สอดคล้อง ยทุ ธศาสตรช์ าติดา้ น ทีแ่ ผนแม่บทฯ สอดคล้อง โดยตรง 11

ส่วนท่ี 1 การสรุปผลในภาพรวมของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตรช์ าติ ชอ่ื แผนแมบ่ ทภายใต้ยทุ ธศาสตรช์ าติ สาระส�ำคญั ของแผนแมบ่ ทฯ ประเด็น - วัตถปุ ระสงค์ - เปา้ หมาย ระดับปรเะปเด้าห็นมแาผยนแม่บทฯ ข้อมลู XX XX XX รหสั เป้าหมาย สถานการณบ์ รรลเุ ป้าหมาย ประเด็น ระดบั ประเด็นที่ก�ำหนด รระหดัสับเปปา้ รหะมเดาน็ย ซึ่งสะทอ้ นจากข้อมูลตา่ ง ๆ ท่เี กย่ี วข้องในการประเมนิ สถานการณ์เม่อื เปรียบเทยี บ คา่ เป้าหมายทกี่ ำ� หนดไว้ ในปี 2565 รแหผัสนปแรมะบ่ เทดน็ฯ 12

รหัสประเดน็ แผนแม่บท สาระสำ� คญั ของแผนแม่บทยอ่ ย การแสดงสถานะการบรรลเุ ปา้ หมายของแผนแม่บทยอ่ ย แดง ต�่ำกวา่ ค่าเป้าหมายขน้ั วกิ ฤต : สถานการณต์ ่ำ� กว่า 50% ของคา่ เป้าหมาย สม้ ต�่ำกว่าค่าเปา้ หมายระดบั เสย่ี ง : สถานการณอ์ ยใู่ นชว่ ง 51-75% ของคา่ เป้าหมาย เหลอื ง ต่�ำกว่าค่าเป้าหมาย : สถานการณ์อยใู่ นชว่ ง 76-99% ของคา่ เปา้ หมาย เขียว บรรลุค่าเปา้ หมาย : สามารถบรรลุค่าเป้าหมาย 100% 13

ส่วนท่ี 2 การสรุปผลในระดับเป้าหมายของแผนแมบ่ ทยอ่ ย การรแะบผบรเนุสรปแตีล้ามุคาหม่บา่มเสทาปถยยา้ า่อหนยมะาย การแสดง ความสัมพันธ์ ระหว่างเป้าหมาย ประเด็นและเปา้ หมาย แผนแมบ่ ทยอ่ ย ขอ้ มลู สถานการณ์ การบรรลเุ ปา้ หมายแผนแมบ่ ทยอ่ ย ที่กำ� หนด ซึ่งสะทอ้ น จากขอ้ มูลต่าง ๆ ที่เกีย่ วข้อง ในการประเมินสถานการณ์ เมอ่ื เปรียบเทยี บคา่ เป้าหมาย ที่ก�ำหนดไวใ้ นปี 2565 14

ข้อเสนอแนะในการบรรลุเปา้ หมายแผนแมบ่ ทย่อย รหสั ประเด็น ประเด็นทา้ ทายท่ีส่งผลตอ่ การบรรลเุ ป้าหมายแผนแมบ่ ทย่อย แผนแม่บทฯ กในากรดารำ� บเนรินรลงาุเปน้าขหอมงหายนแว่ ผยนงาแนมภ่บาทคยร่อัฐยแทลก่ี ะำ� หหนน่วดยงานที่เก่ยี วข้อง XX XX XX รหสั แผนแมบ่ ทยอ่ ย รหสั เป้าหมาย ระดับแผนแมบ่ ทยอ่ ย การแสดงสถานะการบรรลเุ ปา้ หมายของแผนแม่บทยอ่ ย แดง ต่�ำกวา่ คา่ เป้าหมายข้ันวกิ ฤต : สถานการณ์ต�่ำกว่า 50% ของค่าเปา้ หมาย ส้ม ต่�ำกว่าคา่ เปา้ หมายระดบั เสยี่ ง : สถานการณอ์ ยูใ่ นช่วง 51-75% ของค่าเปา้ หมาย เหลอื ง ต�่ำกวา่ ค่าเปา้ หมาย : สถานการณ์อยู่ในช่วง 76-99% ของคา่ เปา้ หมาย เขียว บรรลคุ ่าเป้าหมาย : สามารถบรรลคุ ่าเป้าหมาย 100% 15

ส่วนท่ี 1 บทน�ำ ยุทธศาสตร์ชาติ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก ประกาศ เร่ือง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ส่งผลให้ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นฉบับแรก เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลเพ่ือใช้เป็นกรอบการด�ำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกัน ในการพัฒนาประเทศให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความม่ันคง ม่ังค่ัง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ได้ตามท่ีก�ำหนดได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมาย การพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ คือ “ประเทศชาติม่ันคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเน่ือง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติย่ังยืน” เพื่อความสุขของคนไทยทุกคนและไม่ท้ิงใครไว้ข้างหลัง โดยทุกหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ในด�ำเนินการเพ่ือให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติการจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 การจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นการด�ำเนินการตามกระบวนการและข้ันตอนตามที่ก�ำหนดในพระราชบัญญัติ การจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 ท่ีบัญญัติให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งได้มีประกาศ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ รวม 6 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติด้านความม่ันคง คณะกรรมการจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน คณะกรรมการจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้าง ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ คณะกรรมการจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม คณะกรรมการจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม และคณะกรรมการจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพอ่ื เปน็ กลไกหลกั ในการดำ� เนนิ การจดั ทำ� ยทุ ธศาสตรช์ าตใิ หเ้ ปน็ ไปตามหลกั เกณฑ์ วธิ กี าร และเงอ่ื นไขทกี่ ฎหมายกำ� หนด 16

สว่ นท่ี 1 บทนำ� ซ่ึงการจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติต้องค�ำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ ความต้องการ และความจ�ำเป็นในการพัฒนา ประเทศให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ย่ังยืนตามหลักธรรมาภิบาล โดยต้องมี การใช้ข้อมูลที่เกิดจากการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบ รวมทั้งมีการวิเคราะห์แนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างรอบด้านท้ังในประเทศและต่างประเทศ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและ ข้อจ�ำกัด รวมทั้งความเส่ียงของประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศต่อการเปล่ียนแปลงเหล่าน้ัน อย่างเป็นระบบ และให้มีการด�ำเนินการรับฟังความเห็นประชาชนทุกภาคส่วนผ่านช่องทางต่าง ๆ เพ่ือประกอบ การจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความม่ันคง ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโต บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วนในรูปแบบประชารัฐ การถ่ายระดบั ของยุทธศาสตรช์ าตแิ ละการแปลงยทุ ธศาสตรช์ าติ ไปสูก่ ารปฏบิ ตั ิ ยุทธศาสตร์ชาติได้รับการจัดระดับให้เป็นแผนระดับท่ี 1 ตามนัยของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 เพ่ือใช้เป็นกรอบในการก�ำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีก่อนที่จะเข้าบริหารราชการ แผ่นดิน การจัดท�ำแผนระดับที่ 2 และ 3 และการจัดท�ำงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ ให้มี ความสอดคลอ้ งและบรู ณาการกนั อยา่ งเปน็ ระบบ โดยแผนระดบั ที่ 2 ประกอบดว้ ย แผนแมบ่ ทภายใตย้ ทุ ธศาสตรช์ าติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง แห่งชาติ ซ่ึงจะเป็นกลไกส�ำคัญในการถ่ายทอดแนวทางการขับเคล่ือนประเทศในมิติต่าง ๆ ของยุทธศาสตร์ชาติไปสู่ การปฏิบัติในแผนระดับท่ี 3 ประกอบด้วย แผนปฏิบัติราชการรายปี และ 5 ปี แผนปฏิบัติการด้าน….1 ซึ่งเป็น แผนในเชิงปฏิบัติที่มีการระบุการด�ำเนินงาน/โครงการท่ีมีความชัดเจนตามภารกิจของหน่วยงานของรัฐ ที่สนับสนุน การด�ำเนินงานของแผนระดับท่ี 2 และยุทธศาสตร์ชาติให้บรรลุเป้าหมายท่ีก�ำหนดไว้ได้อย่างเป็นรูปธรรม 1แผนปฏิบัติการด้าน…. คือ แผนเชิงปฏิบัติท่ีเป็นแผนพัฒนาเชิงประเด็น (Issue-Based) ท่ีมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เก่ียวข้อง มากกว่า 1 หน่วยงาน 17

สว่ นท่ี 1 บทนำ� 1 ยทุ ธศาสตรช์ าติ 2 แผนการปฏริ ูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกจิ นโยบายและ ดา้ น... และสังคมแหง่ ชาติ แผนระดบั ชาติวา่ ดว้ ย แผนแม่บท ความม่ันคงแห่งชาติ ภายใตย้ ทุ ธศาสตร์ชาติ 3 แผนปฏิบตั ริ าชการ (ราย 5 ปี และ รายป)ี แผนอน่ื ๆ แผนปฏบิ ัติการด้าน... การแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติเป็นการด�ำเนินการผ่านแผนระดับที่ 2 โดยเฉพาะแผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ ท่ีเป็นแผนเพ่ือบรรลุเป้าหมายตามที่ก�ำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติตามท่ีบัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติการจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 ซ่ึงจะต้องมีแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับแผนระดับท่ี 2 อีก 3 แผน ได้แก่ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ เพ่ือน�ำไปสู่การก�ำหนดการปฏิบัติท่ีมีความชัดเจนในแผนปฏิบัติราชการ และ/หรือ แผนปฏิบัติการด้าน ท่ีต้องมีการระบุการด�ำเนินงาน/โครงการที่สามารถน�ำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ได้อย่างเป็นรูปธรรม การขับเคลื่อนการพัฒนาในมิติต่าง ๆ เพ่ือให้บรรลุตามวิสัยทัศน์และตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติผ่าน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติตามที่ก�ำหนดข้างต้นได้อย่างเป็นรูปธรรม มีความจ�ำเป็นต้องให้ทุกหน่วยงานของรัฐ ตระหนักถึงเป้าหมายการพัฒนาสุดท้ายร่วมกัน และท�ำงานร่วมกันอย่างบูรณาการและมีเอกภาพ แผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ ซ่ึงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเม่ือวันท่ี 18 เมษายน 2562 ทั้งส้ินจ�ำนวน 23 ฉบับ จึงเป็นการก�ำหนดประเด็นในลักษณะท่ีมีความบูรณาการและเช่ือมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่เก่ียวข้อง โดยมีแนวทางการพัฒนาของแต่ละแผนแม่บทฯ ท่ีชัดเจนในประเด็นนั้น ๆ และไม่มีความซ้�ำซ้อน ระหว่างแผนแม่บทฯ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถน�ำแผนแม่บทฯ แปลงไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งน้ี แต่ละแผนแม่บทฯ สามารถมีส่วนสนับสนุนการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติได้มากกว่า หนึ่งยุทธศาสตร์ชาติ โดยเป็นได้ท้ังการมีส่วนเก่ียวข้องในการน�ำไปสู่การบรรลุเป้าหมายโดยตรง หรือ มีส่วนสนับสนุนในการน�ำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย 18

สว่ นท่ี 1 บทน�ำ ยุ ท ธ ศ า ส ต ร ช า ติ ด า น ฿ ยุ ทธ ศา ส ต ร ช า ติ ด า น ยุ ท ธ ศ า ส ต ร ช า ติ ด า น ยทุ .ธ..ศ..า.ส..ต..ร..ช..า.ต...ิด.า น ยุ ท ธ ศ า ส ต ร ช า ติ ด า น ยุ ท ธ ศ า ส ต ร ช า ติ ด า น ความม่ันคง การพัฒนา การสรางโอกาส การสรา งการเตบิ โต การปรับสมดุลและ การในสกราางรคแวขามงสขามันารถ และเสริมสรา งศักยภาพ และความเสมอภาค บนคุณภาพชีวติ ท่เี ปน พัฒนา มติ รตอส่งิ แวดลอ ม ทรัพยากรมนษุ ย ทางสังคม ระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ เก่ยี วขอ้ งโดยตรง มสี ่วนสนบั สนนุ 19

ส่วนท่ี 1 บทน�ำ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติท้ัง 23 ฉบับจะต้องสามารถสะท้อนผลสัมฤทธ์ิการด�ำเนินงานตามเป้าหมาย ของยุทธศาสตร์ชาติได้ในลักษณะที่เป็นผลลัพธ์ ที่ถูกต้องและสอดคล้องกับบริบทการพัฒนาประเทศได้อย่างเป็น ปัจจุบัน แผนแม่บทฯ จึงมีการก�ำหนดเป้าหมายการพัฒนาตลอดระยะเวลาของยุทธศาสตร์ชาติท้ังในระดับประเด็น และระดับแผนย่อย และมีการก�ำหนดค่าเป้าหมายที่ต้องบรรลุตามตัวชี้วัดท่ีก�ำหนดแบ่งเป็น 4 ห้วงการพัฒนา ห้วงละ 5 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับตามมาตรา 11 ของพระราชบัญญัติการจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 ท่ีระบุ ใหม้ กี ารทบทวนยทุ ธศาสตรช์ าตทิ กุ ๆ 5 ป2ี ซง่ึ ทง้ั 4 หว้ งการพฒั นาจะเปน็ เสมอื นหมดุ เปา้ หมายการพฒั นาทแี่ สดงใหเ้ หน็ ถึงความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายเป็นระยะ ๆ ซ่ึงจะท�ำให้เกิดการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล การด�ำเนินงานต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐได้อย่างเป็นรูปธรรม น�ำไปสู่การปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาและ การด�ำเนินงานต่าง ๆ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทการพัฒนาท่ีเป็นปัจจุบัน เพื่อให้ประเทศไทยเป็น ประเทศท่ีพัฒนาแล้ว อย่างม่ันคง ม่ังคั่ง และยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังตามวิสัยทัศน์ของประเทศในปี 2580 ท้ังน้ี ในส่วนของแผนระดับที่ 2 อีก 3 แผน ได้แก่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผน ระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ จะมีลักษณะเป็นแผนชี้น�ำ อันจะเป็นปัจจัย น�ำเข้าเพ่ือใช้ในการจัดล�ำดับความส�ำคัญและ/หรือปรับเป้าหมายของแผนแม่บทและแผนแม่บทย่อย รวมท้ัง แนวทางการพัฒนา/โครงการ/การด�ำเนินงานต่าง ๆ ให้สอดรับสถานการณ์ในแต่ละห้วงเวลาการพัฒนา 2หรือในกรณีท่ีสถานการณ์ของโลกหรือของประเทศเปลี่ยนแปลงไปจนไม่สามารถหรือไม่เหมาะสมท่ีจะด�ำเนินการตามเป้าหมายหรือ ยุทธศาสตร์ชาติด้านหน่ึงด้านใดได้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติสามารถแก้ไขเพ่ิมเติมยุทธศาสตร์ชาติให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว โดยขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนด�ำเนินการ 20

สว่ นท่ี 1 บทน�ำ การแปลงยทุ ธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติผา่ นแผนระดบั ท่ี 3 การแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติผ่านแผนระดับท่ี 3 เป็นการด�ำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดท�ำ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 โดยทุกหน่วยงานของรัฐจะต้อง วิเคราะห์และศึกษารายละเอียดแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นท่ีเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับบทบาท ภารกิจ และหน้าท่ีขององค์กร ทั้งในส่วนของเป้าหมายประเด็น เป้าหมายแผนแม่บทย่อย และแนวทางการพัฒนา ของแผนแม่บทฯ และจัดท�ำแผนปฏิบัติราชการรายปี และระยะ 5 ปี ท่ีมีการบรรจุโครงการ/การด�ำเนินงาน ท่ีสอดคล้องและสามารถสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ของแต่ละห้วงการพัฒนาได้อย่างเป็น รูปธรรม ตามหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล กล่าวคือ การด�ำเนินการโครงการ/การด�ำเนินงาน (X) จะต้อง สามารถส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งในระดับเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) เป้าหมายประเด็น (Y2) และยุทธศาสตร์ชาติ (Z) โดยหลักการ XYZ นี้เป็นหลักการที่ส�ำคัญที่ใช้ทั้งใน การจดั ทำ� โครงการ/การด�ำเนนิ การ และการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำ� เนนิ การตามยุทธศาสตรช์ าติ และแผนแม่บทฯ ของหน่วยงานของรัฐ 21

ส่วนท่ี 1 บทน�ำ ยทุ ธศาสตรชาติ เปาหมาย* Z คือ ผลสมั ฤทธ์ทิ ่ีตองการจะบรรลุ แผนแมบ ทภายใตยทุ ธศาสตรชาติ *เปา หมาย (Y2) แผนระดับท่ี 2 แผนการปฏริ ปู แผนพัฒนาเศรษฐกจิ แผน คา เปาหมาย* ตวั ช้ีวัด (Y2)* ประเทศดาน... Y2 แผนแมบทฯ คาเปาหมาย ระยะ 5 ป* ตวั ชว้ี ัด (Y1)* และสงั คมแหงชาติ ความมัน่ คงฯ คคือือ คคาา่ ใขขนออใแงนงผตผแลล่ ลตใสะนสลมัชเะัมฤชว่ ชฤปทงิงว ทรธรปงะ์ทิิมธรรยะต่ีาท์ิ มิ ยณะอีต่ าะเงอ้วณเกวงลาลกราาาจ5ระ5บจปประีรบลรุใรนลเชุ งิ ประเด็น .... | ป 2561-2565 | ป 2566-2570 | ป 2571-2575 | ป 2576-2580 แผนระดบั ท่ี 3 ตัวชว้ี ัด* แผนยอย... *เปาหมาย (Y1) ป* หมายเหตุ ทุกแผนระดบั 3 และทุกโครงการ (X) จะตองตอบ คอื สิง่ ทก่ี ําหนดข้ึนเพ่ือ เปาหมายอยา งนอ ย 1 แผนแมบทฯ (Y) และ/หรือแผนระดับ 2 อ่นื วัดผลสมั ฤทธขิ์ องคา เปาหมาย Y1 แนวทางการพฒั นา AAA n คา เปาหมาย ระยะ 5 ๆ ท่เี กยี่ วของ(ถา มี) | ป 2561-2565 | ป 2566-2570 หมายเหตุ*ถกู กาํ หนดไวแ ลว | ป 2571-2575 | ป 2576-2580 แผนปฏบิ ตั ริ าชการ...ระยะ 5 ป (ชว งแรก 3 ป) แผนปฏิบัติการดา น... (ถามี) แผนปฏบิ ัติราชการ...รายป X กาโรคดรํางเกนานิ รง/าน X1 X2 X3 X4 X5 X6 X7 X8 … Xn ทั้งนี้ เน่ืองจากแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติจะเป็นกลไกส�ำคัญในการแปลงเป้าหมายและแนวทางการพัฒนา ของยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ หน่วยงานของรัฐจึงมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ รวมทั้งการจัดท�ำงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณต้องสอดคล้องกับ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ตามท่ีบัญญัติไว้ในมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติการจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 แผนแม่บทฯ ท้ัง 23 ประเด็นจึงเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล การด�ำเนินงานของทุกหน่วยงานของรัฐเพ่ือบรรลุผลสัมฤทธ์ิการด�ำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ส่งผลให้มี ความจ�ำเป็นท่ีต้องมีการติดตามผลการด�ำเนินงานต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ส�ำนักงานฯ ในฐานะ ส�ำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติ จึงได้รับมอบหมาย ให้มีภารกิจหน้าท่ีในการจัดท�ำรายงานสรุปผลการด�ำเนินการประจ�ำปี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการติดตามและ ตรวจสอบการด�ำเนินการหน่วยงานของรัฐตามยุทธศาสตร์ชาติของแต่ละปีงบประมาณ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ส�ำหรับ การขับเคล่ือนการด�ำเนินงานต่าง ๆ เพ่ือบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ อย่างบูรณาการและเป็นรูปธรรมต่อไป รายงานสรุปผลการด�ำเนินการประจ�ำปีตามยุทธศาสตร์ชาติเป็นกลไกส�ำคัญในการฉายภาพให้เห็นถึงสถานการณ์ การพัฒนาในมิติต่าง ๆ ในแต่ละปีของประเทศ ตามกรอบแนวทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็น ความเป็นไปได้ของการบรรลุเป้าหมายตามท่ีก�ำหนดในแต่ละห้วง 5 ปีของการพัฒนา และน�ำไปสู่การพิจารณา ปรับปรุงการด�ำเนินงาน/โครงการในห้วง 5 ปีแรกให้มีความเหมาะสม สอดคล้องตามข้อเท็จจริงและบริบท การพัฒนาประเทศที่เป็นปัจจุบัน เพ่ือน�ำไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามที่ก�ำหนดไว้ในห้วง 5 ปีแรกของการพัฒนา ในปี 2565 ได้อย่างเป็นรูปธรรม 22

ส่วนท่ี 1 บทน�ำ หลักการประเมนิ ผลการพั ฒนาตามยทุ ธศาสตรช์ าติ การประเมินผลการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติ เป็นการประเมินผลทั้งระบบตามหลักการของความสัมพันธ์ เชิงเหตุผล ระหว่างการด�ำเนินงาน/โครงการ ผลผลิต ผลลัพธ์ข้ันต้น ผลลัพธ์ขั้นกลาง และผลลัพธ์ระยะยาว เพื่อที่จะน�ำมาวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของนโยบาย ยุทธศาสตร์ และโครงการ น�ำไปสู่การตัดสินทางนโยบายต่อไป โดยเป็นการด�ำเนินงานใน 3 ระดับ ประกอบด้วย 1. ระดับทฤษฎี โดยเป็นการติดตามและประเมินความสอดคล้องของการด�ำเนินการ/โครงการกับแนวความคิดหรือ ทฤษฎีการพัฒนา ว่าการด�ำเนินการ/โครงการที่มีอยู่นั้นสอดคล้องกับแนวความคิดหรือทฤษฎีการพัฒนาเพียงใด และยังมีช่องว่างของโครงการหรือทฤษฎีหรือไม่ 2. ระดับกระบวนการแปลงกิจกรรมหรือโครงการไปเป็นผลผลิต โดยเป็นการติดตามและประเมินกระบวนการ แปลงการด�ำเนินงาน/โครงการไปสู่ผลผลิต 3. ระดับโครงการจากผลลัพธ์ของการด�ำเนินโครงการ ยุทธศาสตร์ หรือนโยบาย โดยเป็นการประเมินผลลัพธ์ จากการด�ำเนินงาน/โครงการต่าง ๆ ตั้งแต่ก่อนเร่ิมด�ำเนินการ ระหว่างด�ำเนินการ และหลังการด�ำเนินการ สู่เป้าหมายร่วมกัน ซ่ึงสอดคล้องกับแนวคิดของการก�ำหนดยุทธศาสตร์ตามหลักการ Ends - Ways - Means หรือ ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล การกําหนดกรอบการติดตาม ตรวจสอบ ประเมนิ ผล ยทุ ธศาสตรชาติ การติดตามและประเมินผลจากแนวความคดิ สมมตฐิ าน หรือทฤษฎี ซึ่งเปนการติดตาม และประเมินวาโครงการหรื อกิ จ กร ร ม ที่ มี อยู นน้ั สอดคลอ งกบั แนวความคิดหรือทฤษฎีการ พัฒนาเพยี งใด มีชอ งวางของโครงการหรือ นโยบายหรือไม การติด ต าม แล ะปร ะเ มิ น ผ ล กร ะบว น การ โกคารรงตกดิ าตราจมาแกลผละปลพรั ะธเขมอนิ งผล โกคารรงตกดิ าตราจมาแกลผละปลพรั ะธเขมอินงผล กโคารรงตกดิ าตราจมาแกลผละปลพรั ะธเขมอนิ งผล แปลงกิจกรรมหรอื โครงการไปเปนผลผลิต ยกุทารธดศาําเสนตนิ รโค หรรงือกนารโยบาย ยกุทารธดศาําเสนตนิ รโค หรรงือกนารโยบาย ยกุทารธดศาําเสนตนิ รโค หรรงือกนารโยบาย เปน การประเมินกระบวนการแปลงกิจกรรม จกาารกตแดินตวคามวาแมลคะิดประเมินผล โครงการไปสผู ลผลิต กการระตบดวิ ตนากมาแรแลปะลปงรกะิจเมกินรผรมล กกราระตบดวิ ตนากมาแรแลปะลปงรกะจิเมกนิ รผรมล สมมติฐานหรือทฤษฎี การติดตาม แล ะปร ะเ มิ น ผ ล โ ค ร ง การ จาก หรอื โครงการไปเปน ผลผลติ หรอื โครงการไปเปน ผลผลิต ผลลัพธของการดาํ เนินโครงการ ยทุ ธศาสตร จกาารกตแดินตวคามวาแมลคะดิประเมินผล หรือนโยบาย เปนการประเมินผลลัพธจาก สมมตฐิ านหรอื ทฤษฎี การดาํ เนินโครงการตาง ๆ รวมกันสูเปา หมาย รวม กัน ซึ่ง เปน หลั กกา รท่ีสอดคลองกั บ แนวคิดของการกํ าหน ดยุทธศา สตร ตา ม หลักการ Ends - Ways - Means หรื อ ความสัมพันธเ ชงิ เหตผุ ล การประเมินการพัฒนาการด�ำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติจะเป็นการประเมินผลในระดับทฤษฎี และระดับผลลัพธ์ ของยุทธศาสตร์ ประกอบด้วยการประเมินผลการพัฒนาภาพรวมของยุทธศาสตร์ชาติ และการประเมินผล รายยุทธศาสตร์ชาติ โดยสามารถสรุปวิธีการประเมินผล และผลการประเมินได้ ดังนี้ 23

ส่วนท่ี 1 บทน�ำ วธิ ีการประเมินผลการพั ฒนาของยุทธศาสตร์ชาติ การประเมินการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติเป็นการประเมินผลสถานการณ์การบรรลุผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตาม เป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ใน 2 ระดับ ได้แก่ (1) ระดับเป้าหมายภาพรวมของยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมาย รายยุทธศาสตร์ชาติท้ัง 6 ด้าน และ (2) การประเมินผลผ่านแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • การประเมินผลการบรรลุผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายระดับภาพรวม เป็นการประเมินผลการด�ำเนินการพัฒนาตาม เป้าหมาย “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเน่ือง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” โดยมีภาครัฐเป็นปัจจัยสนับสนุนบนหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชน และประโยชน์ส่วนรวม” เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับศักยภาพของประเทศในทุกมิติ การพัฒนาคน ในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และ การสร้างสภาพแวดล้อมท่ีส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นฐานการพัฒนาประเทศได้อย่างย่ังยืน เพ่ือน�ำพา การพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความม่ันคง ม่ังคั่ง ย่ังยืน ตามวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ชาติ ทงั้ นี้ เนอื่ งจากยทุ ธศาสตรช์ าตเิ ปน็ แผนระดบั ที่ 1 ซงึ่ เปน็ กรอบการพฒั นาประเทศระยะยาว จงึ กำ� หนดการประเมนิ ผล การพัฒนาตามเป้าหมายข้างต้น โดยเป็นการประเมินผลผ่านมิติต่าง ๆ ประกอบร่วมกัน ดังน้ี 1) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย 2) ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ 3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ 4) ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม 5) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ 6) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ การประเมินการพัฒนาในมิติต่าง ๆ ทั้ง 6 มิติข้างต้น พิจารณาจากข้อมูลท่ีรวบรวมได้จากกลุ่มตัวช้ีวัด ที่สามารถสะท้อนผลการพัฒนาในระดับผลสัมฤทธิ์ โดยใช้ตัวชี้วัดท้ังระดับประเทศ เพ่ือแสดงให้เห็น ถึงความก้าวหน้าและความท้าทายของสถานการณ์การบรรลุผลสัมฤทธ์ิตามเป้าหมายของประเทศ และระดับสากล เพื่อแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์การพัฒนาท่ีเทียบเคียงกับนานาประเทศ น�ำไปสู่การยกระดับการพัฒนาประเทศ ในมิติต่าง ๆ ให้มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล • การประเมินผลการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายรายยุทธศาสตร์ชาติ เป็นการประเมินผลการพัฒนาตามเป้าหมายรายยุทธศาสตร์ที่ก�ำหนดไว้ โดยใช้หลักการเดียวกันกับการประเมินผล การบรรลุผลสัมฤทธ์ิของเป้าหมายระดับภาพรวม ท้ังนี้ การประเมินผลการพัฒนาทั้งในระดับเป้าหมายภาพรวม และ ระดับเป้าหมายรายยุทธศาสตร์ชาติ จะเป็นการรายงานผลการประเมินสถานการณ์การพัฒนาตามข้อเท็จจริงจาก ข้อมูลกลุ่มตัวช้ีวัดที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกมาใช้ในการประเมินผลเท่านั้น เพื่อสะท้อนผลลัพธ์ระยะยาว หรือผลสัมฤทธ์ิของการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ และในส่วนของการประเมินผลลัพธ์ขั้นกลางของการพัฒนา ตามยุทธศาสตร์ชาติจะเป็นการประเมินผลลัพธ์ของการด�ำเนินโครงการ/การด�ำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายของ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซ่ึงจะมีการรายงานผลการประเมินในส่วนที่สองของเล่มรายงานฉบับนี้ 24

ส่วนท่ี 1 บทนำ� สรุปผลการประเมินผลการบรรลุผลสัมฤทธิ์ ของเป้าหมายระดับภาพรวมของยุทธศาสตรช์ าติ ผลการประเมินผลการพัฒนาตามเป้าหมายภาพรวมของยุทธศาสตร์ชาติของทั้ง 6 มิติ มีรายละเอียด สรุปได้ ดังนี้ 1. ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทยเป็นการสะท้อนผลกระทบการพัฒนาประเทศที่เกิดขึ้นกับคน แบบองคร์ วม เนอื่ งจากคนเปน็ ศนู ยก์ ลางของการพฒั นา ทงั้ ในฐานะผมู้ บี ทบาทสำ� คญั ในการขบั เคลอ่ื นกระบวนการพัฒนา และเป็นผู้ได้รับประโยชน์หรือผลกระทบโดยตรงจากการพัฒนา พิจารณาได้จากดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ในสังคมไทย ซ่ึงพัฒนาและจัดท�ำโดย สศช. ซึ่งเป็นดัชนีรวมในระดับประเทศ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ด้าน ได้แก่ (1) การมีสุขภาวะ (2) เศรษฐกิจเข้มแข็งและเป็นธรรม (3) สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศสมดุล (4) สังคมประชาธิปไตยท่ีมีธรรมาภิบาล และ (5) การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหล่ือมล้�ำทางสังคม โดยปี 2561 คนไทยและสังคมไทยมีความอยู่ดีมีสุขดีขึ้น คนไทยในภาพรวมมีสุขภาพกายสุขภาพจิตดีขึ้นและสังคมไทย มีแนวโน้มดีขึ้นจากคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อันสะท้อนได้จากดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ที่ปรับตัวดีข้ึนจากปีก่อนหน้าในปี 2560 ที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 76.47 จากร้อยละ 70.40 โดยปัจจัยเก้ือหนุน หลักที่คาดว่าส่งผลให้ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยเพิ่มข้ึน คือ การมีสุขภาวะที่ดีโดยรวมของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ที่มีระดับดีขึ้นมาก จากระดับปานกลางในปี 2560 เป็นระดับดีในปี 2561 โดยมีค่าดัชนีรวม ขององค์ประกอบหลักด้านสุขภาวะสูงถึงร้อยละ 87.37 (ระดับดี) ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 79.82 (ระดับปานกลาง) ในปี 2560 ซ่ึงเป็นการปรับตัวดีขึ้นในท้ัง 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ องค์ประกอบย่อยด้านสุขภาพกายและจิตดี (จากร้อยละ 82.46 เป็นร้อยละ 86.78) ด้านสุขภาพสังคมท่ีดี (จากร้อยละ 71.97 เป็นร้อยละ 87.67) และด้าน การมีคุณธรรมและสติปัญญาใฝ่รู้ (จากร้อยละ 85.69 เป็นร้อยละ 87.66) สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศสมดุล ที่มีระดับดีข้ึนจากระดับต้องปรับปรุงเป็นระดับปานกลาง โดยมีค่าดัชนีเพ่ิมขึ้นจากร้อยละ 63.43 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 73.77 ในปี 2561 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีข้ึนในท้ัง 3 องค์ประกอบย่อยอีกเช่นเดียวกัน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม มีคุณภาพท่ีดี (จากร้อยละ 74.29 เป็นร้อยละ 83.50) ระบบนิเวศที่สมดุล (จากร้อยละ 63.08 เป็นร้อยละ 67.11) และเศรษฐกิจสีเขียว (จากร้อยละ 54.44 เป็นร้อยละ 71.64) การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล�้ำใน สังคม มีระดับดีข้ึนและปรับตัวสูงข้ึนจากระดับต้องปรับปรุงเป็นระดับปานกลางเป็นครั้งแรก โดยมีค่าดัชนี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 68.45 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 72.75 ในปี 2561 ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาขององค์ประกอบย่อย ตัวเดียว คือ ความเป็นธรรมด้านส่ิงแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (จากร้อยละ 51.26 เป็นร้อยละ 76.37) ขณะที่องค์ประกอบของการได้รับการคุ้มครองสิทธิและไม่ถูกเลือกปฏิบัติมีค่าดัชนีลดลงอย่างเป็นนัยส�ำคัญ (จากร้อยละ 77.76 เป็นร้อยละ 70.57) และการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมและทรัพยากรทางเศรษฐกิจมีค่าดัชนี ลดลงเล็กน้อย (จากร้อยละ 81.47 เป็นร้อยละ 80.99) และเศรษฐกิจเข้มแข็งและเป็นธรรม มีระดับดีข้ึน เล็กน้อย ทรงตัวอยู่ในระดับดี โดยมีค่าดัชนีเพิ่มข้ึนจากร้อยละ 80.61 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 81.46 ในปี 2561 โดยเป็นการปรับตัวดีข้ึนในทั้ง 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การมีหลักประกันคุณภาพชีวิตและงานท่ีดี (จากร้อยละ 93.55 เป็นร้อยละ 94.81) และเศรษฐกิจเข้มแข็ง (จากร้อยละ 77.35 เป็นร้อยละ 78.76) โดยความเป็นธรรมทาง เศรษฐกิจทรงตัว (คงที่ที่ร้อยละ 72.38) 25

ส่วนท่ี 1 บทนำ� อย่างไรก็ตาม การสร้างสังคมมีความเป็นประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาล อยู่ในระดับท่ียังต้องเร่งปรับปรุงถึงแม้ จะมีคะแนนดีขึ้น โดยมีค่าดัชนีสังคมประชาธิปไตยท่ีมีธรรมาภิบาลเพ่ิมขึ้นจากร้อยละ 61.89 ในปี 2560 เป็น ร้อยละ 68.46 ในปี 2561 โดยองค์ประกอบย่อยประชาธิปไตยที่มีคุณภาพและองค์ประกอบย่อยนิติธรรมและ ธรรมาภิบาลมีทิศทางที่ดีขึ้น (จากร้อยละ 61.89 เป็นร้อยละ 68.46) ขณะท่ีองค์ประกอบย่อยการป้องกันและ ลดความรุนแรงทางสังคมและการเมืองมีทิศทางท่ีลดลง (จากร้อยละ 71.19 เป็นร้อยละ 67.52)3 ดัชนคี วามอยเู ยน็ เปน สุขรว มกนั ในสังคมไทย 100 87.37 80.61 81.46 73.77 68.45 72.75 90 79.82 63.43 80 70 68.46 60 61.89 รอยละ 50 40 30 20 10 0 การสรา งความเปน การมสี ขุ ภาวะ เศรษฐกิจเขม แข็ง ส่งิ แวดลอมและ สงั คมประชาธปิ ไตย ธรรมและลดความ และเปนธรรม ระบบนเิ วศสมดุล ท่มี ีหลักธรรมาภบิ าล เหล่อื มลาํ้ ในสังคม 2560 79.82 2561 87.37 80.61 63.43 61.89 68.45 81.46 73.77 68.46 72.75 ที่มา: ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังนั้น เพื่อให้ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทยได้รับการพัฒนาดีข้ึน ในระยะต่อไปจึงควรเร่งให้ความส�ำคัญ กับการด�ำเนินการต่าง ๆ ท่ีจะน�ำไปสู่การยกระดับการคุ้มครองสิทธิและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ การเข้าถึงสวัสดิการ ทางสังคมและทรัพยากรทางเศรษฐกิจ และการป้องกันและลดความรุนแรงทางสังคมและการเมือง 2. ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้เป็นการสะท้อนการพัฒนาที่มุ่งเน้น การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศในเวทีโลก ท่ีต้องน�ำไปสู่การกระจายความเจริญไปท่ัว ทุกภูมิภาคของประเทศ โดยในส่วนขีดความสามารถในการแข่งขัน ท่ีแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสร้าง ปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งด้านปัจจัยการผลิต นโยบายและกฎระเบียบ รวมทั้งความพร้อมของโครงสร้างพ้ืนฐาน ตา่ ง ๆ ของประเทศ ทเี่ ออ้ื ตอ่ การเพม่ิ ผลติ ภาพใหก้ บั ภาคสว่ นตา่ ง ๆ ของประเทศ พบวา่ ประเทศไทยมขี ดี ความสามารถ ในการแขง่ ขนั ดขี นึ้ โดยพจิ ารณาจากผลการจดั อนั ดบั ขดี ความสามารถในการแขง่ ขนั (Global Competitiveness Index) จัดท�ำโดย World Economic Forum (WEF) พบว่า ปี 2562 อันดับของประเทศไทยลดลง 2 อันดับ (จากอันดับที่ 38 เป็นอันดับที่ 40 จากทั้งหมด 141 ประเทศ) แม้ว่าจะมีคะแนนดีข้ึน 0.6 คะแนน (จาก 67.5 คะแนน เป็น 68.1 คะแนน) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีความก้าวหน้าในภาพรวมดีข้ึนเล็กน้อย อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงในรอบปีท่ีผ่านมายังไม่ชัดเจนและรวดเร็วมากพอท่ีจะก้าวทันการเปลี่ยนแปลง 3หมายเหตุ : ระดับดีมาก = ร้อยละ 90.0 - 100 ระดับดี = ร้อยละ 80.0 - 89.9 ระดับปานกลาง = ร้อยละ 70.0 - 79.9 ระดับต้องปรับปรุง = ร้อยละ 60.0 - 69.9 ระดับเร่งแก้ไข = ร้อยละ 59.9 26

สว่ นท่ี 1 บทนำ� ประเทศ 2561 ประเทศ 2562 อันดับในปี 2562 เม่ือเทียบกับ ประเทศในภูมิภาค สิงค์โปร์ อันดับ คะแนน สิงค์โปร์ อันดับ คะแนน มาเลเซีย มาเลเซีย 1 2 83.5 1 84.4 2 ไทย 25 74.4 ไทย 27 74.6 3 อินโดนีเซีย 38 67.5 อินโดนีเซีย 40 68.1 4 ฟิลปิ ปินส์ 45 65.9 ฟิลิปปินส์ 50 64.6 5 56 62.1 64 61.9 6 บรูไน 62 61.4 บรูไน 56 62.8 7 เวยี ดนาม 77 58.1 เวียดนาม 67 61.5 8 กัมพูชา 110 50.2 กัมพูชา 106 52.1 9 112 49.3 113 50.1 N/A ลาว N/A N/A ลาว N/A N/A เมียนมาร์ เมียนมาร์ ที่มา: World Economic Forum (WEF) เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอ่ืน ๆ ที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ หากเทียบกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยยังมีอันดับคุณภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันอยู่ในล�ำดับที่ 3 คงท่ีจากปี 2561 รองจาก ประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย และเม่ือพิจารณาในรายละเอียด พบว่า ด้านที่ประเทศไทยมีการพัฒนาดีขึ้น ได้แก่ การนำ� เทคโนโลยสี ารสนเทศมาใช้ (ICT adoption) และดา้ นความโปรง่ ใสของงบประมาณ (Budget Transparency) ขณะที่ด้านท่ีต้องเร่งพัฒนาให้เกิดผลเป็นรูปธรรมคือความสามารถในการสร้างนวัตกรรม (Innovation capability) ซ่ึงเป็นด้านท่ีประเทศไทยอยู่ห่างจากบรรทัดฐานโลก (Frontier) มากที่สุด โดยได้คะแนน 43.9 จาก 100 คะแนน และเม่ือพิจารณาผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศของ IMD พบว่า ปี 2562 ประเทศไทย มีอันดับดีข้ึน 5 อันดับ มาอยู่ในอันดับที่ 25 (จากอันดับที่ 30 ในปี 2561) แม้ว่าคะแนนรวมลดลงเป็น 77.233 คก(Bัะบuแผsนลinก(นBกาeuารจssรจsาiจnัดกEัดeอ7fsอันf9siันcด.E4iับดef5ัfบขni0cอcขiคงeyอ)ะnงWแcมyนEWีอ)FนันEมโดFใีอดนับันยปโลดดดีด้า2ับยลน5ดลง6ต้ดา1้อน2ลงแงทเอลร่ีต2ัน่งะ้อพดเอปงัฒับันเ็นรนดออ่งัาบันัพนในดัเอฒปับรันน็ะนเ3ยาปผใะล็ในนตนจผร่ออาละไากจปยเกซาคะากียือตรกนท่อาด่ีปรไร้าปอทัจนงคจี่ปปจือัยัจรายจกะด่อัสยส้ายิทิยงนคด่อธปโ้ิภายปนรดาระพผ้า์ สแนลขิทลิตอผะภงธลมภิภิตาาาพภาเคพแลาเพเลขอซะอกแียปชงลเภรนะชะา่นสคเิทเดอธียกิภวชกานพัน 1 2 3 ตลาดปแระงงสาทิ นธภิ กาาพรบตรลิหาาดรแจรัดงกงานร กแาลระบทรัศหิ นาครจตัดิแกลาะรค่แานละิยทมศัมนีอคันตดิแับลละดคล่างนยิ มมอี ันดบั ลดลง 4 ควำมสำมำรถในกำรแข่งขนั ของไทย (IMD) ปอี ัน25ด6ับ1 ปอี ัน25ด6ับ2 กำรขเปองลอีย่ ันนดแบั ปลง 5 อนั ดบั รวมของประเทศไทย(จำก 63 ประเทศ) 30 25  6 1. สมรรถนะทางเศรษฐกจิ (Economic Performance) 10 8  7 2. ประสทิ ธภิ าพของภาครฐั (Government Efficiency) 22 20  3. ประสิทธภิ าพของภาคเอกชน (Business Efficiency) 25 27 8 4. โครงสร้างพ้ืนฐาน (Infrastructure) 48 45   9 10 ในส่วนของกำรพัฒนทำ่ีมเศา:รIษntฐerกnิจatiโoดnยalพInิจsำtitรuณteำfจoำr กMอanัตaรgำeกmำeรnเtตDิบevโeตlขopอmงผenลtิต(IภMัณD)ฑ์มวลรวมของ 11 ประเทศ (Gross Domestic Product : GDP)4 คานวณและประมวลผลโดยสานักงานสภา 27

ส่วนท่ี 1 บทน�ำ ในส่วนของการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยพิจารณาจากอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product : GDP)4 ค�ำนวณและประมวลผลโดยส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ปี 2562 มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศที่ 10,926,912 ล้านบาท หรือเทียบเท่ากับอัตราการเติบโต ที่ร้อยละ 2.4 จากปี 2561 ลดลงจากการเติบโตท่ีร้อยละ 4.2 ของปี 2561 จากปี 2560 โดยคาดวา่ เกิดจากการปรับตวั ลดลงของมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ โดยมีมูลค่าเท่ากับ 7.7 ล้านล้านบาท ลดลงจาก 8.0 ล้านล้านบาท จากปี 2561 หรือเทียบเท่าอัตราการขยายตัวลดลงท่ีร้อยละ 2.6 ท้ังนี้ ในช่วงปี 2563 เศรษฐกิจและการค้าโลก คาดว่าจะปรับตัวดีข้ึนตามการลดลงของแรงกดดันจากมาตรการกีดกันการค้าและความเส่ียงจากการแยกตัวของ สหราชอาณาจักรแบบไร้ข้อตกลง ซ่ึงจะส่งผลเชิงบวกต่อการส่งออกสินค้าและบริการของประเทศ การขยายตัว ในเกณฑ์ที่น่าพอใจของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐ และมาตรการขับเคล่ือน เศรษฐกิจของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ยังควรให้ความส�ำคัญกับการมีมาตรการรองรับผลกระทบการปรับตัวลดลง ของมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ และภาคธุรกิจอื่น ๆ ท่ีอาจมีการหยุดชะงักหรือชะลอตัวซ่ึงเป็นผลกระทบ จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในส่วนของการกระจายรายได้ (Income Distribution) ซ่ึงสะท้อนการแบ่งปันส่วนผลผลิตมวลรวมของประเทศ (GDP) ในหมู่ประชากรของประเทศน้ัน พบว่า ในห้วงปีแรกของการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ประเทศไทย มีการกระจายรายได้ที่ดีข้ึน โดยพิจารณาจากรายได้ประชาชาติต่อคน5 พบว่า ปี 2562 รายได้ประชาชาติต่อคน ของประเทศไทยอยู่ท่ี 236,815 บาท/คน/ปี เปรียบเทียบกับท่ี 225,095 บาท/คน/ปีในปี 2561 หรือเทียบเท่ากับ ผลติ ภัณฑภ าคตอ หวั (GPP per Capita) ณ ป 2560 600,000 500,676 449,881 500,000 ( ลานบาท) 400,000 267,162 300,000 200,000 149,827 148,067 103,760 8800,3,3525 100,000 GPP per Capita -0 ท่ีมา: ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 4ข้อมูลจากกองบัญชีประชาชาติ ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5ข้อมูลจากกองบัญชีประชาชาติ ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 28

ส่วนท่ี 1 บทนำ� การเพิ่มข้ึนร้อยละ 5.21 และหากสะท้อนจากผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัวเฉล่ียของประเทศ (Gross Regional Product per Capital : GRP/Capita) ค�ำนวณและประมวลผลโดยส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดภาวะเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ พบว่า ปี 2560 ภาคตะวันออกเป็น ภาคท่ีมีการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดีที่สุดเม่ือเทียบกับภาคอ่ืน ๆ โดยมีการขยายตัวของมูลค่าผลิตภัณฑ์ภาคท่ีร้อยละ 6.3 และมคี า่ เฉลย่ี ของผลติ ภณั ฑภ์ าคตอ่ หวั สงู สดุ ที่ 500,676 บาทตอ่ คนตอ่ ปี ขณะทภ่ี าคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื มกี ารเตบิ โต ทางเศรษฐกิจลดลงจากปี 2559 โดยในปี 2560 มีการชะลอตัวลงของมูลค่าผลิตภัณฑ์ภาคจากร้อยละ 3.0 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 2.5 ในปี 2560 และมีค่าเฉล่ียของผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัวต�่ำสุดเท่ากับ 80,352 บาทตอ่ คนตอ่ ปี ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาคตะวันออกมีค่าเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัวสูงมากกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึง 6.2 เท่า (ภาคท่ีมีการพัฒนารองจากภาคตะวันออก คือ เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคใต้ และ ภาคเหนือ) และหากพิจารณาในระดับจังหวัด พบว่า จังหวัดระยองมีผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวสูงสุด ที่ 1,095,667 บาทต่อคนต่อปี สูงกว่าจังหวัดท่ีมีผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวต�่ำท่ีสุด ซ่ึงคือจังหวัดหนองบัวล�ำภู ท่ี 53,416 บาทต่อคนต่อปี มากถึง 20.5 เท่า ทั้งนี้ จังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ระยอง ชลบุรี กรุงเทพมหานคร ปราจีนบุรี และพระนครศรีอยุธยา ตามล�ำดับ ส่วนจังหวัดท่ีมีผลิตภัณฑ์จังหวัด ต่อหัวอยู่ใน 5 ล�ำดับต่�ำสุด คือ หนองบัวล�ำภู ยโสธร กาฬสินธุ์ นราธิวาส และชัยภูมิ ตามล�ำดับ ซึ่งมีข้อสังเกตว่า ยังมีความจ�ำเป็นในการเร่งขยายการพัฒนาทางเศรษฐกิจให้มีความครอบคลุมท่ัวทุกภูมิภาคของประเทศ ((เเทท่่าา)) 66..22 2200..55 ภ า ค ทภี� มาคีกทาี่มรีกเาตริเบตโิบตโตททาางงเศเ ศรษรฐษกฐิจมกาิจกมที่าสุดก ท�ีสุ ด จั ง ห วจั ดังหผวลัดผิตลภิตั ณภัณฑฑ์ จ์จังังหหววัดั ดต่อตห่อัวหมัาวกมทา่ีสกุดท�ี สุ ด ต่ อ ตภ่อาภคาคทท�ี ม่ีมีกีกาารรเตเ ติบโิบตโทตางทเศารงษเฐศกิจรนษ้อฐยกที่จิสุดน้อ ย ต่ อ ตจ่อั งจัหงหววั ดัดผผลลิตภิตัณภฑั ณ์จฑังห์ จวังัดตห่อวหั ดัวตน้อ่อยหทั วี่สุนด ้อ ย ที� สุ ด ท�ี สุ ด 3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ การประเมินผลประเด็นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศมุ่งเน้นการสะท้อนผลการพัฒนาที่ส่งผลให้คนไทย ในทุกมิติและในทุกช่วงวัยเป็นคนดี เก่ง มีสมรรถนะและคุณภาพพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนา ประเทศในทุกมิติ โดยพบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศในห้วงปีแรกของการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ค่อนข้างคงท่ี โดยปรับตัวดีข้ึนเล็กน้อย โดยพิจารณาจากดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI) พัฒนาโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งเป็นดัชนีทางสถิติแบบองค์รวมที่รวบรวม ข้อมูลเกี่ยวกับการคาดหมายคงชีพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อหัว พบว่า ปี 2562 ประเทศไทยมีค่าดัชนีเท่ากับ 0.765 เพิ่มข้ึนจาก 0.762 ในปี 2561 และได้รับการจัดล�ำดับอยู่ในกลุ่มประเทศท่ีมีการพัฒนามนุษย์ในระดับ “สูง” โดยเป็นประเทศก�ำลังพัฒนาท่ีมีความก้าวหน้ามากท่ีสุดในโลกในการจัดอันดับ HDI ในช่วงปี 2556-2561 ซ่ึงถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 77 ในการจัดอันดับโลก (จาก 189 ประเทศ) อย่างไรก็ตาม เม่ือพิจารณาดัชนีการพัฒนา มนุษย์ที่ไม่เท่าเทียม (Inequality-adjusted Human Development Index : IHDI) พัฒนาโดย UNDP พบว่า ถึงแม้ค่าดัชนี IHDI ของประเทศไทยในปี 2562 มีการปรับตัวดีข้ึนเล็กน้อย โดยมีค่าดัชนีเท่ากับ 0.635 จาก 0.636 ในปี 2561 แตค่ า่ ดชั นี IHDI ยงั คงมคี า่ ทต่ี ำ่� กวา่ ดชั นี HDI อยา่ งเปน็ นยั สำ� คญั สะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ การพฒั นาทรพั ยากรมนษุ ย์ 29

ส่วนท่ี 1 บทน�ำ 0.8 ดัช นีการ พัฒ นามนุษย์และดัช นีการพัฒ นามนุษ ย์ 0.75 0.731 0.728 0.735 0.741 0.748 0.755 ที่ไ ม่เท่าเทียมข องประเทศไทย ณ ปี 2 562 0.7 0.765 0.65 0.623 0.636 0.635 0.6 0.575 0.578 0.583 0.587 0.55 HDI IHDI 0.5 HDI IHDI 2555 2556 2557 2558 2559 2560 ที่มา: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ของประเทศยังคงมีความเหลื่อมล�้ำ ทั้งนี้ ผลการประเมินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดย HDI และ IHDI ของ UNDP ดังกล่าวมีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาท่ีประเมินโดยดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index : HAI) ซึ่งค�ำนวณและประมวลผลโดยส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเป็น การวดั ผลลพั ธข์ องการพฒั นาคนระดบั จงั หวดั ของประเทศไทยใน 8 ดชั นยี อ่ ย ไดแ้ ก่ (1) ดา้ นสขุ ภาพ (2) ดา้ นการศกึ ษา (3) ด้านชีวิตการงาน (4) ด้านรายได้ (5) ด้านท่ีอยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม (6) ด้านชีวิตครอบครัวและชุมชน (7) ด้านการคมนาคมและการส่ือสาร และ (8) ด้านการมีส่วนร่วม โดยจากรายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ประจ�ำปี 2562 พบว่า การพัฒนาคนในภาพรวมของคนไทยค่อนข้างคงที่ โดยมีค่าดัชนี HAI เท่ากับ 0.6219 ใกล้เคียงกับปี 2558 โดยดัชนีย่อยที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น ได้แก่ ด้านการศึกษา มีดัชนีเพ่ิมข้ึนเป็น 0.4743 เพ่ิมขึ้น 0.0057 คะแนน จากปี 2558 เนื่องจากนักเรียนอยู่ในระบบการศึกษายาวนานข้ึน สะท้อนจากอัตรา การเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และจ�ำนวน ปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่เพิ่มข้ึน ด้านชีวิตการงาน มีค่าดัชนีเพิ่มข้ึนเป็น 0.7237 โดยเพ่ิมข้ึน จาก 0.7054 คะแนนในปี 2558 คาดว่าเป็นผลมาจากการเร่งขยายความครอบคลุมการมีหลักประกันสังคม ทั้งในกลุ่มแรงงานในระบบและนอกระบบ ด้านท่ีอยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม มีค่าดัชนีเท่ากับ 0.8595 เพ่ิมขึ้น 0.8328 คะแนนในปี 2558 คาดว่าเป็นผลจากการลดลงของประชากรท่ีประสบอุทกภัยและภัยแล้ง และการลดลง ของสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้านพลังงาน และด้านคมนาคมและการส่ือสาร มีค่าดัชนีเท่ากับ 0.6774 เพิ่มข้ึนจาก 0.5707 คะแนนในปี 2558 เป็นผลจากการขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี การส่ือสารและสารสนเทศ ท�ำให้มีการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตได้ทั่วถึงมากข้ึน ขณะที่ด้าน ที่มีความก้าวหน้าลดลงและต้องให้ความส�ำคัญในระยะต่อไป ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านรายได้ ด้านชีวิตครอบครัว และชุมชน และด้านการมีส่วนร่วม 1.0000 0.5843 0.7237 0.8595 0.6470 0.6774 0.5208 0.6219 2558 0.9000 0.5906 0.6276 0.6665 0.5103 0.6109 2560 0.8000 0.4743 0.5689 2562 0.7000 0.7095 0.5765 0.8433 0.6000 0.5000 0.4462 0.4000 0.3000 0.2000 0.1000 0.6095 0.4686 0.7054 0.5916 0.8328 0.6527 0.5707 0.6060 0.6220 0.0000 ที่มา: รายงาน Human Achievement Index : HAI 2562, ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 30

สว่ นท่ี 1 บทน�ำ 4. ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม การพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาในลักษณะของการเติบโตแบบทั่วถึง โดยไม่ทิ้ง ใครไว้เบ้ืองหลัง จึงจ�ำเป็นต้องมีการประเมินผลการพัฒนาท่ีสะท้อนความเท่าเทียมและเสมอภาคของสังคม โดยความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคมของประเทศในห้วงปีแรกของการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ปรบั ตวั ดขี นึ้ เลก็ นอ้ ย สะทอ้ นไดจ้ ากการพจิ ารณาตวั ชว้ี ดั ความกา้ วหนา้ ทางสงั คม (Social Progress Index : SPI) พฒั นา และจัดท�ำโดยองค์กร Social Progress Imperative ซ่ึงเป็นตัวชี้วัดท่ีสะท้อนความก้าวหน้าการพัฒนา ด้านสังคมโดยตรง โดยเป็นการพิจารณาท่ีเป็นอิสระจากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากความก้าวหน้า ทางเศรษฐกิจไม่ได้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าเชิงสังคมเสมอไป ซ่ึงบ่อยคร้ังความก้าวหน้าเชิงสังคมก็เป็นปัจจัย สนับสนุนส�ำคัญท่ีส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจได้ โดยปี 2562 ประเทศมีค่าดัชนี SPI เท่ากับ 67.47 ปรับลดลงจาก 68.51 ในปี 2560 ซึ่งสูงกว่าค่าดัชนี SPI เฉล่ียของโลกท่ี 64.47 แต่ยังน้อยกว่าบางประเทศ ในภูมิภาค อาทิ สิงคโปร์ (83.23) มาเลเซีย (74.17) โดยมิติการพัฒนาท่ีต้องเร่งให้ความส�ำคัญในระยะต่อไป ได้แก่ มิติด้านโอกาสที่มีค่าดัชนีเพียง 47.69 ซ่ึงน้อยกว่าหลายประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างย่ิงในด้านสิทธิ ส่วนบุคคล อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากข้อมูลที่จัดท�ำโดยองค์กรในประเทศในส่วนของค่าสัมประสิทธิ์จินี ด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค พบว่า มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2561 ค่าสัมประสิทธ์ิจินีของ รายจ่ายเพ่ืออุปโภคบริโภคเท่ากับ 0.362 ลดลงจาก 0.364 ในปี 2560 ซ่ึงการปรับตัวดีข้ึนดังกล่าวสอดคล้องกับ การลดลงของช่องว่างของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคระหว่างกลุ่มประชากรร้อยละ 10 ท่ีมีรายจ่ายน้อย ท่ีสุด (Decile ท่ี 1) และกลุ่มประชากรร้อยละ 10 ท่ีมีรายจ่ายมากท่ีสุด (Decile ท่ี 10) โดยในปี 2561 รายจ่าย เพ่ือการอุปโภคบริโภคของกลุ่มประชากร Decile ท่ี 1 มีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 3.02 ของรายจ่ายทั้งหมด เปรียบเทียบกับร้อยละ 27.90 ของกลุ่มประชากร Decile ที่ 10 ส่งผลให้สัดส่วนรายจ่ายของกลุ่ม Decile ที่ 10 ต่อ Decile ที่ 1 คิดเป็น 9.23 เท่า ปรับดีขึ้นจาก 9.32 เท่าในปี 2560 ในส่วนของค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ด้านรายได้ พบว่า ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จาก 0.45 ในปี 2560 เป็น 0.43 ในปี 2562 นอกจากนี้ หากพิจารณาประเมินผลการพัฒนาท่ีสะท้อนความเท่าเทียมและเสมอภาคของสังคมจากดัชนี ความยากจนหลายมิติ (Multidimensional Poverty Index : MPI) ค�ำนวณจากระบบบริหารจัดการข้อมูล การพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ซ่ึงประเมินความยากจนใน 5 มิติ ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการเข้าถึงบริการรัฐ และด้านรายได้ และสามารถระบุตัวบุคคลและครัวเรือนท่ีตกเกณฑ์ การประเมินได้ พบว่า ความยากจนหลายมิติปรับตัวดีขึ้นในปี 2562 จากปี 2561 โดยมีดัชนีความยากจนหลายมิติ ลดลงประมาณร้อยละ 30 โดยมีจ�ำนวนคนจนที่สามารถระบุตัวบุคคลจากระบบลดลงจาก 1,336,145 คน ในปี 2561 เป็น 983,316 คนในปี 2562 ขณะที่สัดส่วนจ�ำนวนคนจนที่สามารถระบุตัวบุคคลจากระบบต่อ จ�ำนวนคนทั้งหมดในระบบลดลงจากร้อยละ 3.65 เหลือร้อยละ 2.67 สะท้อนให้เห็นถึงการช่วยเหลือและ พัฒนาศักยภาพกลุ่มคนเป้าหมายให้พ้นจากความยากจนที่สอดคล้องกับความต้องการในแต่ละมิติของความยากจน ได้อย่างมีความเสมอภาคมากข้ึนบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ 31

สว่ นท่ี 1 บทน�ำ 5. ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพส่ิงแวดล้อม และความย่ังยืนของทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติเป็นการพัฒนาท่ีเน้นการเติบโตอย่างย่ังยืน ควบคู่ไปกับการสร้าง ความสมดุลของการพัฒนากับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ เน่ืองจากเป็นปัจจัยส�ำคัญ ในภาคการผลิตของประเทศ จึงจ�ำเป็นต้องอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมของ ประเทศให้มีคุณภาพสูงและสามารถรองรับภาคการผลิตที่ส�ำคัญของประเทศได้อย่างเต็มศักยภาพ จึงจ�ำเป็นต้องมี การประเมินการพัฒนาที่สามารถสะท้อนผ่านความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพส่ิงแวดล้อม และความย่ังยืน ของทรัพยากรธรรมชาติได้ ซ่ึงจากการพิจารณาดัชนีการชี้วัดการด�ำเนินการด้านส่ิงแวดล้อม (Environmental Performance Index : EPI) พัฒนาและจัดท�ำโดยศูนย์นโยบายด้านกฎหมายและสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยเยล ศูนย์เครือข่ายวิทยาศาสตร์โลกนานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ร่วมกับ WEF โดย EPI มีแนวคิดคล้ายคลึงกับ ดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมแห่งชาติ โดยเป็นการน�ำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทั้งหมดของประเทศหน่ึง ๆ มาจัดกลุ่มเป็น 25 กลุ่มและแปลงให้เป็นระบบเมตริก เช่น การประมง การปล่อยก๊าซคาร์บอน ฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 คุณภาพของป่าไม้และน�้ำ การคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น และประเมินใน 2 มิติ ได้แก่ คุณภาพสิ่งแวดล้อม (Environmental Health) และคุณภาพระบบนิเวศ (Ecosystem Vitality) โดยในปี 2561 ประเทศไทยมีค่าดัชนีเท่ากับ 49.88 (คุณภาพส่ิงแวดล้อม 46.21 และคุณภาพระบบนิเวศ 52.33) ซ่ึงสูงกว่า คา่ เฉลยี่ ของทงั้ โลกที่ 46.16 แตย่ งั เปน็ คา่ ดชั นที ตี่ ำ�่ กวา่ หลายประเทศในภมู ภิ าค อาทิ สงิ คโปร์ (64.23) บรไู น (63.57) มาเลเซีย (59.22) โดยในระยะต่อไปประเทศไทยจ�ำเป็นต้องเร่งให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาท้ัง 2 มิติหลักของ EPI The Global Green Economy Index ผนู้ ำและกำรเปล่ยี นแปลง กลุ่มสำขำทม่ี ปี ระสทิ ธิภำพ ตลำดและกำรลงทนุ สงิ่ แวดลอ้ มและ สภำพภูมอิ ำกำศ กำรลงทนุ ทำงธรรมชำติ - ผู้นำ - อำคำร - กำรลงทนุ ด้ำน - เกษตรกรรม - ควำมครอบคลุมของสอ่ื - กำรคมนำคมและขนส่ง พลงั งำนทดแทน - คุณภำพอำกำศ - กำรประชุมระดับสำกล - พลังงำน - นำ - ผลกำรดำเนินงำน - กำรท่องเท่ียว - นวัตกรรมเทคโนโลยสี ะอำด - ควำมหลำกหลำยทำง - เทคโนโลยสี ะอำด ดำ้ นกำรเปลย่ี นแปลง ชวี ภำพและที่อยอู่ ำศยั สภำพภมู อิ ำกำศ เชงิ พำณิชย์ - กำรประมง - ส่ิงอำนวยควำมสะดวก - ปำ่ ไม้ ในกำรลงทุนสีเขยี ว ที่มา: องค์กรที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ Dual Citizen LLC ที่มีค่าดัชนีค่อนข้างน้อยท้ังคู่ ทั้งนี้ หากพิจารณาโดยใช้ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจสีเขียว (The Global Green Economy Index :GGEI) จดั ทำ� โดยองคก์ รทป่ี รกึ ษาเชงิ กลยทุ ธ์ Dual Citizen LLC ซง่ึ สะทอ้ นการพฒั นาทเี่ ปน็ มติ รกบั สง่ิ แวดลอ้ ม โดยเปน็ การประเมนิ ใน 2 สว่ น ไดแ้ ก่ การวดั ผลการดำ� เนนิ งาน (Performance) ตามดชั นชี วี้ ดั ใน 4 มติ ิ ดงั ภาพ และ การส�ำรวจความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เก่ียวข้องในอุตสาหกรรม (Perception) ซ่ึงดัชนี GGEI จะสามารถเปรียบเทียบสถานการณ์การพัฒนาของประเทศในแต่ละช่วงเวลาได้ เนื่องจากมีระเบียบวิธีวิจัยคงที่ 32

สว่ นท่ี 1 บทนำ� โดยปี 2561 มีค่าดัชนีเท่ากับ 55.51 ปรับเพ่ิมดีข้ึนจาก 49.89 ในปี 2559 ซึ่งสูงเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคอาเซียน รองจากสิงคโปร์ที่มีค่าดัชนีเท่ากับ 61.54 ซ่ึงคาดว่าการด�ำเนินการต่าง ๆ ของประเทศในการส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ทั้งการเพิ่มพ้ืนท่ีสีเขียว การส่งเสริมความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลเพ่ิมขึ้น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ รวมทั้งการจัดการมลพิษทั้งทางน�้ำ อากาศ และขยะท่ีมีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมทั้งระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล จะเป็นปัจจัยสนับสนุนหลักท่ีส่งผลต่อการปรับเล่ือนอันดับ ดีข้ึน 6. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ ภาครัฐเป็นปัจจัยส�ำคัญในการขับเคล่ือนการพัฒนาประเทศ ซ่ึงการบริหารจัดการของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ท่ีดีขึ้น ท�ำให้ภาคเอกชนมีความสามารถในการแข่งขันซึ่งจะส่งผลให้ ระบบเศรษฐกิจของประเทศมีความเข้มแข็ง ขณะที่การเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐท่ีครอบคลุมทุกกลุ่ม ประชากรจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ส�ำคัญท่ีจะช่วยบรรเทาปัญหาความเหล่ือมล้�ำของประเทศ ซึ่งการประเมิน ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้ Thailand บริการของภาครัฐ สามารถสะท้อนได้จากดัชนีชี้วัด ดชั นธี รรมภบิ าลโลก ปี 2560 ปี 2561 ธรรมาภบิ าลโลก (Worldwide Governance Index : 21.18 20.20 WGI) ท่ีจัดท�ำโดยธนาคารโลก โดยท�ำการประเมิน เสรภี าพของประชาชนในการแสดงความคดิ เหน็ ใน 6 องค์ประกอบ ได้แก่ เสรีภาพของประชาชน (Voice and Accountability) 18.57 19.52 ความมเี สรภี าพทางการเมอื งและการปราศจาก ความรุนแรง/การก่อการร้าย (Political Stability and Absence of Violence/Terriorism) 66.83 66.83 ในการแสดงความคดิ เหน็ (Voice and Accountability) ความมีประสิทธผิ ลของภาครฐั ค ว า ม มี เ ส รี ภ า พ ท า ง ก า ร เ มื อ ง แ ล ะ ก า ร ป ร า ศ จ า ก (Government Effectiveness) 59.62 59.62 ความรุนแรง/การก่อการร้าย (Political Stability and คุณภาพของกฎระเบียบ (Regulatory Quality) หลักนติ ิธรรม 54.81 54.81 Absence of Violence/Terrorism) ความมี (Rule of Law) 40.78 ประสิทธิผลของภาครัฐ (Government Effectiveness) 43.64 คุณภาพของกฎระเบียบ (Regulatory Quality) การควบคุมปญั หาทุจรติ ประพฤตมิ ิชอบ 42.79 (Control Of Corruption) 43.97 คา่ คะแนนเฉลย่ี ทง้ั 6 มิติ ที่มา: World Bank หลักนิติธรรม (Rule of Law) การควบคุมปัญหาทุจริต ประพฤติมิชอบ (Control of Corruption) ซ่ึงประเทศไทยมีค่าคะแนนเฉลี่ยในปี 2561 เท่ากับ 43.64 ปรับลดลง เล็กน้อยจากปี 2560 ที่มีค่าคะแนนเฉลี่ย 43.97 โดยคาดว่าเป็นผลมาจากมิติการควบคุมปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบ มีคะแนนลดลงโดยปี 2560 มีคะแนน 42.79 และปี 2561 มีคะแนน 40.78 และมิติการมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชน และภาระรับผิดชอบที่มีคะแนนปรับลดลงจาก 21.18 คะแนน เป็น 20.20 คะแนน ซ่ึงหากเทียบในกลุ่มประเทศ อาเซียน พบว่า ประเทศไทยยังมีค่าคะแนนเฉล่ียน้อยกว่าหลายประเทศ อาทิ สิงคโปร์ (89.35) บรูไน (72.15) และ มาเลเซีย (64.90) และหากพิจารณาข้อมูลปัจจัยด้านประสิทธิภาพของภาครัฐของการจัดอันดับความสามารถ ในการแข่งขัน สถาบัน International Institute for Management Development หรือ IMD ร่วมด้วย พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับท่ี 20 ในปี 2562 ดีข้ึน 2 อันดับเมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า ซ่ึงคาดว่าอาจเป็นผล มาจากองค์ประกอบด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่มีอันดับคะแนนดีข้ึน จากการพัฒนากฎระเบียบและปรบั ปรงุ กระบวนงาน ส่งเสริมการใช้ดิจิทัลในการให้บริการเพื่ออ�ำนวยความสะดวกให้กับภาคธุรกิจได้อย่างคล่องตัว ทันสมัย และมีประสิทธิภาพมากข้ึน ขณะที่หากพิจารณาอุปสรรคการด�ำเนินธุรกิจในประเทศไทย สะท้อนได้ 33

สว่ นท่ี 1 บทน�ำ จากการจัดอันดับความยากง่ายในการด�ำเนินธุรกิจ (Ease of Doing Business) จัดท�ำโดยธนาคารโลก พบว่า ปี 2562 ประเทศไทยอยู่ในอันดับท่ี 27 (ทั้งหมด 190 ประเทศ) ปรับลดลง 1 อันดับจากอันดับท่ี 26 ในปี 2561 (ท้ังหมด 190 ประเทศ) แต่มีคะแนน 78.45 คะแนน เพ่ิมข้ึนจาก 77.39 คะแนน ซ่ึงองค์ประกอบด้านการขอใช้ ไฟฟ้าเป็นด้านที่ได้รับคะแนนเพิ่มมากที่สุด (จาก 90.99 คะแนน เป็น 98.57 คะแนน) ขณะที่ด้านการอนุญาต ก่อสร้างได้รับการปรับลดคะแนนมากที่สุด (จาก 74.58 คะแนน เป็น 71.86 คะแนน) และเมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศสมาชิกอาเซียน พบว่า สิงคโปร์มีอันดับความยากง่ายในการด�ำเนินธุรกิจสูงสุด (อันดับ 2) รองลงมาคือ มาเลเซีย (อันดับท่ี 15) ไทย (อันดับท่ี 27) บรูไน (อันดับที่ 55) เวียดนาม (อันดับท่ี 69) อินโดนีเซีย (อันดับที่ 73) ฟิลิปปินส์ (อันดับที่ 124) กัมพูชา (อันดับที่ 138) ลาว (อันดับท่ี 154) และเมียนมาร์ (อันดับที่ 171) การจดั อันดบั ความยาก – งา ยในการประกอบธรุ กิจตามรายงาน Doing Business ของประเทศไทย ป 2562 อนั ดบั รวม จาก 190 ประเทศทวั่ โลก คา คะแนนรวม 27 78.45 อนั ดับตัวชว้ี ัดยอยของประเทศไทย ป 2562 6 39 15 35 24 67 59 44 59 66 การเริ่มตนธรุ กิจ การขออนญุ าต การขอใชไ ฟฟา การจดทะเบียน การไดรับสินเช่อื การคุมครอง การชาํ ระภาษี การคา ระหวา ง การบังคบั ใหเ ปน การแกไ ขปญหา กอสราง ทรพั ยส ิน ผูลงทนุ ประเทศ ไปตามขอตกลง ลมละลาย ท่ีมา: International Institute for Management Development (IMD) สรุปผลการประเมินผลการบรรลุผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายระดับภาพรวมของยุทธศาสตร์ชาติ จากการประเมนิ ผลการพฒั นาการบรรลุเป้าหมายระดับภาพรวมใน 6 มิติข้างตน้ พบวา่ ในช่วงระหว่างปี 2561-2562 คนไทยและสังคมไทยมีแนวโน้มท่ีมีความอยู่ดีมีสุขเพ่ิมขึ้น โดยคาดว่าการมีสุขภาวะท่ีดีโดยรวมของบุคคล ครอบครัว และชุมชน การมีสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศสมดุล และการสร้างสังคมมีความเป็นประชาธิปไตย ท่ีมีธรรมาภิบาล เป็นปัจจัยเก้ือหนุนหลักของแนวโน้มท่ีดีขึ้นดังกล่าว รวมท้ังประชาชนมีรายได้เฉลี่ยเพ่ิมข้ึน ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะมีการชะลอตัวเล็กน้อยจากช่วงก่อนหน้า โดยท่ีจ�ำเป็นต้องเร่งพัฒนาการสร้างนวัตกรรม (Innovation capability) และเพิ่มประสิทธิภาพของภาคเอกชน ขณะท่ีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ มีการพัฒนาปรับตัวดีข้ึนเล็กน้อย โดยได้รับการจัดล�ำดับการพัฒนามนุษย์ให้อยู่ในกลุ่มประเทศท่ีมีการพัฒนา มนุษย์ในระดับ “สูง” แต่ยังมีคงมีปัญหาเร่ืองความเหลื่อมล้�ำในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ และ ในส่วนของความเท่าเทียมและความเสมอภาคทางสังคม พบว่า ประเทศไทยมีความเหล่ือมล�้ำด้านรายได้และรายจ่าย ระหว่างกลุ่มประชากรลดลง และจ�ำนวนประชากรที่ประสบปัญหาความยากจนหลายมิติ (ด้านการศึกษา 34

ส่วนท่ี 1 บทนำ� ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการเข้าถึงบริการรัฐ และด้านรายได้) ท่ีลดลง คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ และส่ิงแวดล้อมของประเทศปรับปรุงดีขึ้น มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ท่ีสูงกว่าค่าเฉล่ียของโลก สะท้อนการพัฒนา ประเทศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพ่ิมมากข้ึน และภาครัฐมีแนวโน้มในการบริหารจัดการอุปสรรคการด�ำเนินธรุ กจิ ในประเทศท่ีมีประสิทธิภาพมากข้ึน แต่ยังคงมีความท้าทายในประเด็นของการควบคุมปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบ และเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น การประเมนิ ผลการพั ฒนาตามยทุ ธศาสตร์ชาติ จ�ำแนกเป็นรายยุทธศาสตรช์ าติ 1. ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง “ประเทศมีสภาวะแวดล้อมที่ม่ันคงและปลอดภัยในทุกระดับและทุกมิติ ประชาชนไทยมีความสุข เป็นพันธมิตรทุกประเทศทั่วโลก” ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัยและมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ ให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคามและภัยพิบัติได้ ทุกรูปแบบ ควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงท่ีมีอยู่ในปัจจุบันและที่อาจเกิดข้ึนในอนาคต โดยใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการท้ังกับส่วนราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศเพ่ือนบ้านและมิตรประเทศทั่วโลกบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เพ่ือเอ้ือประโยชน์ต่อ การด�ำเนินการของยุทธศาสตร์ชาติด้านอื่น ๆ ต่อไป ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง มีเป้าหมายการพัฒนา 5 เป้าหมาย ประกอบด้วย (1) ประชาชนอยู่ดี กินดี และ มีความสุข (2) บ้านเมืองมีความม่ันคงในทุกมิติและทุกระดับ (3) กองทัพ หน่วยงานด้านความมั่นคง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน มีความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความม่ันคง (4) ประเทศไทยมีบทบาท ด้านความมั่นคงเป็นที่ชื่นชมและได้รับการยอมรับโดยประชาคมระหว่างประเทศ และ (5) การบริหารจัดการ ความมั่นคงมีผลส�ำเร็จที่เป็นรูปธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการพัฒนาตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง พิจารณาจากรายงาน World Happiness Report 2019 ซึ่งเป็นการวัดปัจจัยท่ีส่งผลต่อความอยู่ดี มีความสุขของประชากรในประเทศต่าง ๆ จ�ำนวน 6 ปัจจัย ประกอบด้วย ด้านรายได้จากค่าเฉล่ียรายได้ต่อหัวประชากร ด้านสุขภาวะจากอายุคาดเฉล่ียของประชากร และส�ำหรับด้านการช่วยเหลือกันทางสังคม ด้านเสรีภาพในการใช้ชีวิต ด้านความเอ้ืออาทรในสังคม และด้านมุมมอง ต่อการทุจริตของภาครัฐ ใช้การวัดผลจากการส�ำรวจด้วยค�ำถาม (Gallop World Poll) โดยพบว่า ปี 2562 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 52 (จากทั้งหมด 156 ประเทศ) อยู่ที่เปอร์เซ็นไทล์ท่ี 65 (ประเทศกลุ่มบน) ซ่ึงดีกว่า ประเทศสว่ นใหญข่ องโลก เพม่ิ ขนึ้ จากอนั ดบั ท่ี 46 (จากทงั้ หมด 156 ประเทศ) ในปี 2561 และหากพจิ ารณาเปรยี บเทยี บ กับประเทศในภูมิภาคอาเซียน พบว่า ประเทศไทยพัฒนาดีขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาค โดยปี 2562 ประเทศไทยอยู่ในอันดับท่ี 2 รองจากสิงคโปร์ (อันดับที่ 34) ปรับเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 3 ในปี 2561 35

สว่ นท่ี 1 บทน�ำ 2561 ภาพรวม รายไดต้ ่อ การได้รับสวสั ดิการและ การมีอายุคาดเฉลยี่ การมสี ิทธิเสรภี าพ ความเอ้ืออาทรตอ่ กัน การอย่ใู นสงั คมท่ี 2562 6.072 หวั การสนบั สนุนจากภาครฐั ของการมีสขุ ภาวะท่ีดี 0.637 0.364 ปลอดการทจุ รติ การปรบั เปลย่ี น 6.008 1.016 ของคา่ คะแนน 1.417 0.707 0.557 0.359 0.029 -0.064 1.05 1.409 0.828 0.028 0.034 -0.008 0.121 -0.08 -0.005 -0.001 ท่ีมา: World Happiness Report 2019 รองจากสงิ คโปร์ (อนั ดบั ที่ 34) และมาเลเซยี (อนั ดบั ท่ี 35) ทง้ั น้ี หากพจิ ารณารายละเอยี ดรายปจั จยั พบวา่ ดา้ นความเออื้ อาทร ด้านเสรีภาพในการใช้ชีวิต และด้านมุมมองต่อการทุจริตของภาครัฐเป็นด้านที่ประเทศไทยมีคะแนนน้อย ท่ีสุดในปี 2562 รวมทั้งเป็นด้านท่ีมีค่าคะแนนปรับลดลงจากปีก่อนหน้า ถึงแม้จะเป็นด้านที่ประเทศไทยมีอันดับ ค่อนข้างดีก็ตาม โดยด้านความเอื้ออาทรอยู่ในอันดับที่ 10 และด้านเสรีภาพในการใช้ชีวิตอยู่ในอันดับที่ 18 ส�ำหรับด้านความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับ พิจารณาสะท้อนผลการพัฒนาจากรายงาน Global Peace Index 2019 ซ่ึงเป็นการวัดปัจจัยท่ีส่งผลต่อสงบสุขของประเทศต่าง ๆ จากปัจจัยหลัก 3 ประการ ประกอบด้วย ปัจจัยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในและระหว่างประเทศ โดยพิจารณาจากจ�ำนวนคร้ัง ระยะเวลา ความรุนแรงและ ผู้ได้รับผลกระทบ ปัจจัยความปลอดภัยและมั่นคงในสังคม โดยพิจารณาจากจ�ำนวนอาชญากรรม จ�ำนวนผู้อพยพ โยกย้ายถิ่นฐานต่อประชากร จ�ำนวนนักโทษต่อประชากร จ�ำนวนเจ้าหน้าท่ีของรัฐด้านความมั่นคงหรือต�ำรวจต่อ ประชากร และปัจจัยการขยายอิทธิพลทางทหาร โดยพิจารณาจากงบประมาณทางทหารต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของ ประเทศ จ�ำนวนบุคลากรติดอาวุธต่อประชากร จ�ำนวนการน�ำเข้าหรือส่งออกอาวุธ ศักยภาพอาวุธหลัก พบว่า ปี 2562 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 116 (จากทั้งหมด 163 ประเทศ) ตกลงจากอันดับที่ 113 ในปี 2561 โดยเป็น ล�ำดับที่ 7 ในกลุ่มประเทศ ASEAN รองจากสิงคโปร์ (อันดับ 7) มาเลเซีย (อันดับ 16) อินโดนีเซีย (อันดับ 41) ลาว (อันดับ 45) เวียดนาม (อันดับ 57) กัมพูชา (อันดับ 89) แสดงให้เห็นว่าความสงบสุขซึ่งสะท้อนความมั่นคงของ ประเทศในมิติต่าง ๆ ของประเทศไทยอยู่ที่เปอร์เซ็นไทล์ท่ี 30 หรือต่�ำกว่าประเทศส่วนใหญ่ของโลก นอกจากน้ี เม่ือพิจารณาเฉพาะปัจจัยการขยายอิทธิพลทางทหาร พบว่า ไทยได้คะแนน 1.553 หรือเป็นอันดับที่ 28 จาก 163 ประเทศ ซ่ึงอยู่ในเปอร์เซ็นไทล์ท่ี 83 หรือดีกว่าประเทศส่วนใหญ่ของโลก และเป็นล�ำดับท่ี 3 ในกลุ่มประเทศ ASEAN รองจากมาเลเซยี และอนิ โดนเี ซยี ซงึ่ สะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ ศกั ยภาพและความพรอ้ มทางดา้ นการทหารของประเทศ ท้ังนี้ ในด้านความม่ันคง พบว่า ถึงแม้ประชาชนไทยจะมีความอยู่ดีและมีความสุขมากกว่าประเทศส่วนใหญ่ ของโลก รวมทั้งประเทศมีศักยภาพและความพร้อมทางด้านการทหาร โดยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ ในประเทศกลุ่มบน รวมทั้งมีการพัฒนาดีข้ึนเม่ือเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน อย่างไรก็ตาม ยังจ�ำเป็นต้องเร่งให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาที่จะสามารถช่วยเพิ่มความอยู่ดีมีสุขของประชาชนไทย และ ความม่ันคงในมิติอ่ืน ๆ ในระยะต่อไป ท้ังในส่วนของการด�ำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้ประเทศไทยมีความเอื้ออาทร ระหว่างคนในสังคม การท�ำใหป้ ระชาชนมีเสรภี าพในการใช้ชีวติ และการแกไ้ ขปัญหาทจุ ริตของภาครฐั 36

ส่วนท่ี 1 บทนำ� 2. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน “ทกุ ภาคการผลติ สรา้ งมลู คา่ ประชาชนอยดู่ กี นิ ดี มโี ครงสรา้ งพนื้ ฐานมาตรฐานสากล พฒั นาคนรนุ่ ใหม่ ให้เป็นผู้ประกอบการ” ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศ ในหลากหลายมิติ โดยมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่น ทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศในด้านอ่ืน ๆ น�ำมา ประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ การให้ความส�ำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ท้ังโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอ้ือต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม และบรกิ ารอนาคต และการเพมิ่ ศกั ยภาพของผปู้ ระกอบการ พฒั นาคนรนุ่ ใหม่ รวมถงึ ปรบั รปู แบบธรุ กจิ เพอ่ื ตอบสนอง ต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคต บนพ้ืนฐานของการต่อยอดอดีตและ ปรบั ปจั จบุ นั พรอ้ มทง้ั การสง่ เสรมิ และสนบั สนนุ จากภาครฐั ใหป้ ระเทศไทยสามารถสรา้ งฐานรายไดแ้ ละการจา้ งงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึง การเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลาง และลดความเหลื่อมล้�ำของคนในประเทศได้ในคราวเดียวกัน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนา 2 เป้าหมายหลัก ประกอบด้วย (1) ประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน และ (2) ประเทศไทย มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงข้ึน ผลการพัฒนาตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันในส่วนของ การเติบโตทางเศรษฐกิจ สะท้อนได้จากรายได้ประชาชาติที่เพ่ิมสูงข้ึนจาก 14,792,702 ล้านบาท ในปี 2561 เป็น 15,573,706 ล้านบาทในปี 2562 หรือ บาท การเตบิ โตทางเศรษฐกจิ ขยายตัวร้อยละ 5.28 ในขณะที่การกระจาย 18,000,000 16,000,000 2.4 % ร า ย ไ ด ้ ส ะ ท ้ อ น จ า ก ก า ร ก ร ะ จ า ย ตั ว ข อ ง 14,000,000 การพฒั นาเศรษฐกจิ ในภมู ภิ าคตา่ ง ๆ ของประเทศ 12,000,000 ซึ่งพบว่าในปี 2560 กรุงเทพมหานครและ 10,000,000 ปริมณฑลมีผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัวอยู่ท่ี 449,881 8,000,000 บาท/ปี เป็นรองภาคตะวันออกเป็นภาคที่มี 6,000,000 ผลติ ภณั ฑภ์ าคตอ่ หวั สงู ทสี่ ดุ คอื 500,676 บาท/ปี 4,000,000 2561 ในปี 2560 โดยสูงกว่าภาคท่ีมีผลิตภัณฑ์ 2,000,000 ภาคต่อหัวต่�ำที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื 2562 ท่ี 80,352 บาท/ปี หรอื คดิ เปน็ 6.2 เทา่ อยา่ งไรกต็ าม - การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ทม่ี า : สศช รายไดป ระชาชาติ (GN) การขยายตัวของ GDP ประเทศท่ีมีอัตราการขยายตัวที่ลดลงจาก ที่มา: ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร้อยละ 4.2 ในปี 2561 เป็นร้อยละ 2.4 ในปี 2562 37

สว่ นท่ี 1 บทนำ� GRP per Capita อัตราเพ่ิม ในส่วนของผลิตภาพการผลิตของไทย (ร้อยละ) ในชว่ งทผ่ี า่ นมา พบวา่ ในชว่ งปี 2560 - 2561 ภาค (บาท/ปี) 2559 2560 ประเทศไทยมีผลิตภาพรวมของประเทศ 5.8 4.3 ลดลงจาก 2.78 เป็น 1.76 โดยมีเพียง ตะวันออกเฉียงเหนือ 2559 2560 3.8 4.4 ภาคเกษตรกรรมท่ีมีผลิตภาพการผลิตดีขึ้น เหนือ จาก 1.70 เป็น 2.25 ในขณะที่ผลิตภาพ ใต้ 77,049 80,352 8.8 4.4 การผลิตในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ตะวันออก ลดลง ในขณะท่ีเม่ือพิจารณาผลิตภาพ ตะวันตก 99,391 103,760 6.8 8.9 แรงงาน พบว่า เพิ่มขึ้นจาก 273,594 บาท/ กลาง คน/ปี ในปี 2560 เป็น 281,893 บาท/คน/ปี กทม. และปริมณฑล 141,805 148,067 5.1 3.3 แต่เป็นการขยายตัวในอัตราท่ีชะลอตัวลง เฉลี่ยท้ังประเทศ จากร้อยละ 4.71 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 457,728 500,676 0.4 3.0 3.03 ในปี 2561 144,985 149,827 4.4 5.1 5.6 5.9 259,414 267,162 428,137 449,881 215,767 228,398 ที่มา: ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตารางแสดงผลิตภาพการผลิตและผลิตภาพแรงงานไทย 2558 2559 2560 2561 ผลิตภาพการผลิตรวม 2.11 1.98 2.78 1.76 • ภาคเกษตรกรรม -6.10 -3.46 1.70 2.25 • ภาคอตุ สาหกรรม 1.19 -0.39 0.47 -0.17 • ภาคบริการและอืน่ ๆ 3.49 3.28 4.23 3.26 ผลิตภาพแรงงาน (บาท/คน/ปี) 250,457 261,269 273,594 281,893 อตั ราการขยายตัวของผลติ ภาพแรงงาน (รอ้ ยละ) 3.30 4.31 4.71 3.03 ท่ีมา: ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐษกิจและสังคมแห่งชาติ ในส่วนของการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา ประเทศไทยมีสัดส่วนการลงทุนด้านการวิจัยและ เพพัฒ่ิมนขาึ้นตอ่อยผ่าลงิตตภ่อัณเนฑื่อ์มง วโลดรยวใมนปGี D2P56เ0พิ่มมขีสึ้นัดสใ่นวนชค่วง่าทใช่ีผ้จ่า1่านยมดา้าปน¼รกะÅาเ¡ทรÒวศÃิจ¾ไทัย²Ñ แย¹มลÒ1ะีกÇพา·Ô รัÂฒลÒนงȼทาÒÅÊรุน¡µ้อดÒÃย้าÏ ลนྷะก²Ñ¤าâ1¹รÒâวÅตÇิจÂÔ·่อัยÕáÂผแÅÒลลÐȹิตะÒÇภÊพµÑ µัณัฒ¡ÃÃฑน Ãà·์มาÁ¤ว¢(âลÍR¹ร§&âÅ»วDÂมÃ)áÕÐàÅ·ÐÈ¹ÇµÑ ¡ÃÃÁ¢Í§» ภายในประเทศ (GDP) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าท่ีมีอยู่เพียงร้อยละ 0.78 โดยในปี 2560 ภาคเอกชนมีสัดส่วนลงทุน¨Ò¡·Õ¼è Ò‹ ¹ÁÒ การรวมมืออยางเขม¨แÒข¡็ง·ขอÕè¼ง‹Òห¹นวÁยÒงากนาภรารควมรัฐมอืภอายคาเองเกขชมนแขภง็ าขคอสงถหานบวันยกงานรศภกึาษคราัฐตภลาอคดเจอนกชน ภาคสถาบันการ ภาคประชาชนซึ่งเหน็ ความสำคญั ในกภาารคนปำรวะิทชยาาชศนาซสึ่งตเรห ็นเทคควโานมโสลำยคแี ญั ลใะนนกวาตั รกนรำรวมทิ มยาาพศฒั าสนตารท ำเทใหคเโกนิดโปลยระีแโลยะชนนว ัตแกลระรมมูลมคาา พัฒนาทำใหเกิดประ ด้านการวิจัยและพัฒนาต่อการลงทุนของภาครัฐในอัตรา 80:20ทั้งทางเศรษฐกิจและทางสังคม ควาทมกั้งทาวาหงเนศารดษาฐนกกิจาแรลวะิจทัยาแงลสะังนควมัตคกวรารมกขาอวงหปนระาดเทาศนกสาารมวาิจรัยถแแลสะดนงวใหัตเกหร็นรไมดขจอางกปดรัชะนเที ศ สามารถแสดงให วทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยขี องประเวทิทศยาดศงั านส้ี ตรและเทคโนโลยขี องประเทศ ดังน้ี สัดส่วนการลงทุนด้านการวิจัยพัฒนาของภาครัฐต่อเอ¤ก‹Òชãªน¨Œ Ò‹ ´ŒÒ¹¡ÒÃÇÔ¨ÑÂáŤоҋ ã²Ñสª¨Œัด¹Ò‹สÒ¢่ว´ÍนŒÒ§ก¹äา·¡รÂÒลûÇง‚¨Ôท2ÑÂุน5áด6Å้า0Ðน¾กѲา¹รÒว¢ิจÍัย§พä·ัฒÂน»า‚ ข2àÊอ5»éÔ¹ง‡Ò6»Ëภ0‚ Á2าÒ5Âค6»4รÃัฐÐàต·È่อ à»Ò‡ ËÁÒ»ÃÐ ÊéÔ¹»‚ 2564 180,000 1.20 1.5% GDP 1.5% G160,000 30140,000 01.0.60 2% GDP1.00 84,671 ÅÒŒ ¹ºÒ· 20 20120,000 0.80 30 2730 27100,000 % 70 7370 8703 8700 70%80,000 0.78 11308,.574028,.76%672Å1G%ÒŒ ŹDÒŒºGP¹ÒDº·PÒ· 15151.1,013040,.573%28Å7%GŒÒÅD¹GÒŒ Pº¹DÒºP·Ò· 1.00% GDP 155,143 ŌҹºÒ· % 0.62 %% % 3Å1ŒÒ,¹2%º0Ò·1 % 31,201 ÅÒŒ ¹ºÒ· 0.47 0.48 155,143 % 0.60 %% 123,942%% % ÅÒŒ ¹ºÒ· 123,942 ŌҹºÒ· 60,000 40,000 2558 25529558 22556509 25265064 25620,000 - 113,527 0.40 84,671 57,038 63,490 ทหม่ีมาาย:เหสวตท:ุ นG.D, P205ป.62 120559 = 14,533,465 ลหทามี่มนาาบย:าเหสทวต(ทุ:สนGศ.Dช, .P2ณ5ป6 9125ธ5.ค9. =601)4,533,465 ลา นบาท (สศช. ณ 9 ธ.ค. 60) 0.00 ÀÒ¤àÍ¡ª¹ ÀÒ¤Ã°Ñ ÃÑ°ÀÇÒÔʤÒàËÍ¡¡Ô¨ª¹Ê¶ÒºÑ¹¡ÒÃÈÀÖ¡ÒɤÒÃá°Ñ ÅÃÐÍѰǧÔʤҏ¡ËáäÁԨዠÊǶ§Ò˺Òѹ¡¡ÓÒäÃÈ¡Ö ÉÒ áÅÐͧ¤¡Ã 22555566 คค่าาใใชช้จจ่าา ยยกกาารรลล22งง5ท5ท55ุน7ุน7RR&&DD((ลล้าานนบบาาทท)) 22555588สัดสสดั่วสนวคน่าคใชา้จใช่ายจ ากยากรลารงทงทุน22นุ 55R55R&99&DDตต่ออ GGDDPP (รอ ยละ) 22556600 ทมี่ า : ประมวลผลโดย สำนกั งานคณะกรรมทก่ีมาร:นปโยรบะมายววลิทผยลาโดศยาสสตำรน เักทงคาโนนคโณลยะแีกลระรนมวกตัารกนรรโยมบแาหยง วชทิาตยิา(ศสาวสทตนร.) เ,ท2ค5โ6น2โลยแี ละนวตั กรรมแหง ช (ร้อยละ) แหลง ขอ มลู : 1. ขอ มลู คา ใชจ า ยการวจิ ยั และแพหฒัลงนขาอ ขมอลู งภ: า1ค.รขฐั อ บมาลู ลคอา ใดุ ชมจ ศา กึยษการรวฐัจิ วยั สิ แาลหะกพจิ ฒั อนงาคขก อรงไภมาแ คสรวฐังบหาลกำอไรดุ มจศากึ ษวาช.รฐั วสิ าหกจิ องคก รไมแ ที่มา: ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโล2.ยขอีแมูลลGะDนP ปว 2ัต56ก0รมรูลคมา แ15ห,45่ง1,ช95า92.ตลขา ิอนม(บสูลาทGวD;ทPสศนปช 2..5ณ)60วันมทูล่ีค1า81ธ5นั ,ว4า5ค1ม,952956ล1านบาท ; สศช. ณ วันที่ 18 ธนั วาคม 2 38 ¨Ó¹Ç¹ºØ¤ÅҡôҌ ¹¡ÒÃǨԨÓѹáÇŹк¾Ø¤Ñ²ÅÒ¹¡Òô(FÒŒ T¹E¡)Òûǂ ¨Ô2ÂÑ5á6Å0оѲ¹Ò (FTE) »‚ 2560 (FTE) ¨Ó¹Ç¹ºØ¤ÅҡôҌ ¹Ç¨Ô ÑÂáÅÐ µÍ‹ »ÃЪҡà (¤ ¨Ó¹Ç¹º¤Ø ÅҡôҌ ¹ÇÔ¨ÂÑ áÅо²Ñ ¹Ò µÍ‹ »ÃЪҡà (¤¹)

ส่วนท่ี 1 บทนำ� ในส่วนของความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ประเมินได้จากอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศไทยซึง่ เปน็ ผลการจัดอันดบั จากสถาบันการจดั อันดับท่ีมีความนา่ เช่ือถือระหว่างประเทศทเ่ี ปน็ ที่ยอมรับ พบว่า หากพิจารณาในส่วนของการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันท่ีจัดโดย WEF ประเทศไทยมีอันดับต่�ำลงจาก อันดับท่ี 38 ในปี 2561 เป็นอันดับท่ี 40 ในปี 2562 และอยู่ในล�ำดับท่ี 3 ของภูมิภาคอาเซียนคงที่จากปี 2561 ขณะท่ี IMD จัดอนั ดบั ใหป้ ระเทศไทยมอี นั ดบั ดขี ึน้ จาก 30 ในปี 2561 เป็นอนั ดบั ที่ 25 ในปี 2562 และหากพจิ ารณา จากอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจโดยธนาคารโลกประเทศไทยมีอันดับลดลงจากอันดับที่ 26 ในปี 2561 เปน็ อนั ดบั ที่ 27 ในปี 2562 สะท้อนใหเ้ หน็ ถงึ ความเร่งด่วนของประเทศในการพฒั นาต่าง ๆ ใหป้ ระเทศสามารถรองรบั การเปล่ียนแปลงต่าง ๆ ในบริบทโลก เพ่ือให้ประเทศไทยยังคงขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ ไดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพ ภาพรวมการจดั อันดบั ความสามารถในการแขง่ ขันจากสถาบัน IMD และ WEF ภาพรวมการจัดอันดับความสามารถในรวกมารทแ้ังขธ่งนขันาคจาากรสโลถากบัน IMD และ WEF รวมทั้งธนาคารโลก 22556600 22556611 22556622 10 15 20 25 26 25 27 27 30 30 35 40 40 38 40 45 46 เอกชน 50 IMD WEF EoDB ท่ีมา IMD WEF และ WolrdBank ท่ีมา: IMD WEF และ WolrdBank ท้ังนี้ ในด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน พบว่า ในช่วงปี 2561-2562 เศรษฐกิจของประเทศไทย มีการเติบโตที่ชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เป็นการเติบโตท่ีมีกระจายตัวไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ มากขึ้น โดยภาคเกษตรกรรมมีประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้น ขณะท่ีภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ มีประสิทธิภาพการผลิตลดลง ดังนั้นประเทศไทยยังจ�ำเป็นต้องให้ความส�ำคัญกับการด�ำเนินการต่าง ๆ เพ่ือเพิ่ม ขดี ความสามารถในการแขง่ ขนั ของประเทศใหส้ ามารถรองรบั การเปลย่ี นแปลงตา่ ง ๆ ไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพตอ่ ไป 39

ส่วนท่ี 1 บทน�ำ 3. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ “คนไทยมีการพัฒนาการสมวัย ใฝ่เรียนรู้ มีคุณธรรม พร้อมด�ำรงชีวิตในศตวรรษท่ี 21” ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพ่ือพัฒนาคนในทุกมิติ และในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมท้ังกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดี รอบด้านและมีสุขภาวะท่ีดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะรับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดท่ีถูกต้อง มีทักษะท่ีจ�ำเป็นในศตวรรษท่ี 21 มีทักษะ ส่ือสารภาษาอังกฤษและภาษาที่สามและอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง อย่างต่อเน่ืองตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และ อ่ืน ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายการพัฒนา 2 เป้าหมาย ประกอบด้วย (1) คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมส�ำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 และ (2) สังคมไทย มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ผลการพัฒนาตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ในส่วนของการพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาวะ และความเป็นอยู่ท่ีดีของคนไทย ซ่ึงสะท้อนได้จากดัชนีการพัฒนา มนุษย์ (Human Development Index: HDI) ซ่ึงเป็นดัชนีทางสถิติแบบองค์รวมที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ การคาดหมายคงชีพ การศึกษา และรายได้เฉล่ียต่อหัว พบว่า ปี 2562 ประเทศไทยมีค่าดัชนีเท่ากับ 0.765 เพิ่มขึ้น จาก 0.762 ในปี 2561 และได้รับการจัดล�ำดับอยู่ในกลุ่มประเทศท่ีมีการพัฒนามนุษย์ในระดับ “สูง” โดยเป็น ประเทศก�ำลังพัฒนาท่ีมีความก้าวหน้ามากที่สุดในโลกในการจัดอันดับ HDI ในช่วงปี 2556-2561 อายคุ าดการเฉลย่ี ของการมสี ขุ ภาพดี (อายุเฉลยี่ ) 70 69 68 66.6 66.8 65.5 2559 อา ุย(เฉ ่ีลย) 67 66 65 63.8 64 63 62 61 60 2548 2553 2558 Axis Title ท่ีมา: องค์การอนามัยโลก 40

สว่ นท่ี 1 บทนำ� ซ่ึงถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 77 ในการจัดอันดับโลก (จาก 189 ประเทศ) และหากประเมินจากอายุคาดเฉลี่ย ของการมีสุขภาพดีของประชากร จากฐานข้อมูล Healthy life expectancy (HALE) จัดท�ำโดยองค์การ อนามัยโลก (World Health Organization: WHO) พบว่า อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีของประชากร ประเทศไทยท่ีมีการเพ่ิมขึ้นอย่างต่อเน่ือง โดยเพิ่มเป็น 66.8 ปีในปี 2559 จาก 66.6 ปีในปี 2558 ในส่วนของ ผลสัมฤทธ์ิทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต พิจารณาการประเมินของโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียน มาตรฐานสากล (PISA) ของประเทศไทยในปี 2561 พบว่า ประเทศไทยมีคะแนนเฉล่ียในด้านการอ่าน 393 คะแนน คณิตศาสตร์ 419 คะแนน และวิทยาศาสตร์ 426 คะแนน ขณะที่ประเทศในกลุ่ม OECD มีคะแนน เฉลี่ยท่ี 487 488 และ 489 คะแนน ตามล�ำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับ PISA 2558 พบว่า ประเทศไทยมีคะแนน ด้านการอ่านลดลง 16 คะแนน ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีคะแนนเพ่ิมขึ้น 3 คะแนน และ 4 คะแนน ตามล�ำดับ ซ่ึงในภาพรวมคะแนนเฉลี่ยในปี 2561 อยู่ท่ี 412 คะแนน ลดลงจากคะแนนเฉล่ียในปี 2558 ท้ังส้ิน 3 คะแนน ในส่วนของการพัฒนาสังคมและครอบครัวไทย ประเมินจากดัชนีย่อยด้านชีวิตครอบครัวและชุมชน ของดัชนีความก้าวหน้าของคน พบว่า ปี 2562 ครอบครัวและสังคมไทยได้รับผลกระทบจากของการเปล่ียนแปลง รูปแบบและวิถีการด�ำเนินชีวิตที่คนมีการย้ายถ่ินในการท�ำงาน การอยู่เป็นโสดหรือหย่าร้างมากข้ึน รวมทั้ง การเพิ่มขึ้นของครัวเรือนเด่ียว ส่งผลกระทบต่อความเข้มแข็งของครอบครัวที่เป็นหน่วยผลิตและบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ ท่ีจะเป็นก�ำลังหลักในการพัฒนาประเทศ รวมถึงการดูแลบุคคลในครอบครัวโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพ่ิมขึ้น โดยมีค่าดัชนีเท่ากับ 0.6470 ลดลง 0.0057 คะแนน จากปี 2558 เป็นผลมาจากการเพ่ิมข้ึนของผู้สูงอายุที่อยู่ล�ำพัง คนเดียวเป็นร้อยละ 6.52 จากร้อยละ 6.03 ในปี 2558 รวมทั้งการเพ่ิมข้ึนของครัวเรือนท่ีมีหัวหน้าครัวเรือนเดี่ยว (หย่า/หม้าย) เป็นร้อยละ 23.50 จากร้อยละ 23.02 และการแจ้งความคดีชีวิต ร่างกาย เพศ และการประทุษร้าย ต่อทรัพย์ที่เพิ่มเป็น 105.46 รายต่อประชากรแสนคน จาก 101.35 รายต่อประชากรแสนคน ทั้งน้ี จะเห็นได้ว่าด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ พบว่า คนไทยมีคุณภาพชีวิต สุขภาวะ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยมีความก้าวหน้าการพัฒนาที่มากที่สุดในกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม คนไทยยังคงมีความท้าทายในประเด็นของความพร้อมและมีสมรรถนะส�ำหรับการด�ำรงชีวิต ในศตวรรษที่ 21 ที่จ�ำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเร่งด่วนในระยะต่อไป นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมของสังคมและครอบครัวไทยมีบทบาทในการเอ้ือและสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ไดน้ อ้ ยลงเป็นผลมาจากการเปล่ียนแปลงรูปแบบและวิถีการด�ำเนินชีวิตของคนไทยในช่วงท่ีผ่านมา 41

ส่วนท่ี 1 บทน�ำ 4. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม “สงั คมแหง่ โอกาสและความเสมอภาคในทกุ มติ ิ ทกุ ภาคมี สี ว่ นรว่ มในการพฒั นา มงุ่ หนา้ กระจายความเจรญิ ” ยทุ ธศาสตรช์ าตดิ า้ นการสรา้ งโอกาสและความเสมอภาคทางสงั คม มวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอื่ ดงึ เอาพลงั ของภาคสว่ นตา่ ง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคล่ือนการพัฒนาประเทศ เพื่อให้การเติบโต ของประเทศเป็นการเติบโตท่ียั่งยืนโดยทุกคนได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยสนับสนุนการรวมตัว ของประชาชนในการร่วมคิดร่วมท�ำเพ่ือส่วนรวม กระจายความรับผิดชอบไปสู่กลไกบริหารราชการแผ่นดินในระดับ ท้องถ่ิน เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการตนเอง และการเตรียมความพร้อมของประชากรไทย ทั้งในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมให้เป็นประชากรท่ีมีคุณภาพ สามารถพ่ึงตนเองและ ท�ำประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้นานท่ีสุด โดยรัฐให้หลักประกันการเข้าถึงบริการและสวัสดิการ ที่มีคุณภาพอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง ยทุ ธศาสตรช์ าตดิ า้ นการสรา้ งโอกาสและความเสมอภาคทางสงั คม มเี ปา้ หมายการพฒั นา 3 เปา้ หมาย ประกอบดว้ ย (1) สร้างความเป็นธรรม และลดความเหล่ือมล�้ำในทุกมิติ (2) กระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและ สังคม เพ่ิมโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นก�ำลังของการพัฒนาประเทศในทุกระดับ และ (3) เพิ่มขีดความสามารถ ของชุมชนท้องถ่ินในการพัฒนา การพ่ึงตนเองและการจัดการตนเองเพ่ือสร้างสังคมคุณภาพ ผลการพัฒนาตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม พิจารณาจากความแตกต่างของรายได้และการเข้าถึงบริการภาครัฐระหว่างกลุ่มประชากร สะท้อนจากความแตกต่าง ของรายได้ระหว่างประชากรร้อยละ 10 ที่รวยท่ีสุดต่อประชากรร้อยละ 10 ที่จนที่สุด พบว่า ปี 25627 กลุ่มประชากรร้อยละ 10 ท่ีมีรายได้สูงสุดมีรายได้มากกว่ากลุ่มประชากรร้อยละ 10 ท่ีมีรายได้น้อยสุด 19.82 เท่า เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 19.29 เท่าในปี 2560 ขณะที่การเข้าถึงบริการภาครัฐระหว่างกลุ่มประชากร สามารถสะท้อนผลการพัฒนาได้จากข้อมูลการเข้าถึงบริการภาครัฐในมิติต่าง ๆ สรุปได้ ดังน้ี มิติด้านการศึกษา หากพิจารณาการเข้าถึงการศึกษาจ�ำแนกเป็นรายพื้นท่ี สะท้อนจากอัตราการเข้าเรียนสุทธิตามภูมิภาค พบว่า ในช่วงชั้นเรียนในระดับพ้ืนฐาน ได้แก่ อนุบาล และประถมศึกษา มีอัตราการเข้าเรียนที่ไม่แตกต่างกันมาก แต่เร่ิมมีความแตกต่างในระดับช้ันต้ังแต่มัธยมศึกษาเป็นต้นไป โดยพบว่าอัตราการเข้าเรียนสุทธิของภาคใต้และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะต�่ำกว่าภูมิภาคอ่ืนอย่างชัดเจน สะท้อนการหลุดออกจากระบบการศึกษาในแต่ละระดับ การศึกษาที่มากกว่าภูมิภาคอื่น ขณะที่กรุงเทพฯ มีสัดส่วนการเข้าเรียนสูงกว่าภาคอ่ืน ๆ ในทุกระดับของการศึกษา และหากพิจารณาการเข้าถึงการศึกษาจ�ำแนกตามฐานะทางเศรษฐกิจ พบว่า มีความแตกต่างชัดเจนในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย (รวมการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ) โดยในปี 2561 กลุ่มเด็กท่ีมีฐานะดีท่ีสุด (Decile ท่ี 10) มีอัตราการเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 80.3 สูงกว่าเด็กที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ต�่ำท่ีสุด (Decile ที่ 1) ประมาณสองเท่า ขณะท่ีระดับปริญญาตรีมีอัตราการเข้าเรียนของกลุ่มประชากรกลุ่มรายได้ Decile ที่ 10 กับกลุ่ม Decile ที่ 1 มีความแตกต่างกันเพียง 15 เท่า ลดลงจากปีก่อนท่ี 17 เท่า มิติด้านสาธารณสุข ในปี 2561 พบว่า ประชาชนเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพอยู่ท่ีร้อยละ 99.94 โดยเป็นผู้เข้าถึงสิทธิประกัน สุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 72.16 ผู้เข้าถึงสิทธิประกันสังคมร้อยละ 18.47 ผู้เข้าถึงสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ/ 7ท้ังนี้ มีข้อจ�ำกัดในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านรายได้ของรายงานส�ำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนท่ีมีการจัดเก็บเฉพาะปีคู่ และเผยแพร่ในกลางปีต่อไปหลังมีการจัดเก็บ ข้อมูลความแตกต่างรายได้ของกลุ่มประชากรซึ่งเป็นการประมวลจากข้อมูลส�ำรวจภาวะ เศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนกลางปี 2562 และจะมีการทบทวนในรายงานฉบับหน้า 42

สว่ นท่ี 1 บทน�ำ ข้าราชการการเมืองร้อยละ 7.63 ผู้เข้าถึงสิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถ่ินอยู่ที่ร้อยละ 0.94 และสิทธิอ่ืน ๆ ท่ีร้อยละ 0.74 อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ที่ยังไม่ลงทะเบียนสถานะสิทธิจ�ำนวน 39,351 คน หรือร้อยละ 0.06 ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างครอบคลุม และส่วนมากอยู่ภายใต้ สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซ่ึงได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล เบ้ียผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุได้รับเบี้ยยังชีพ จ�ำนวน 8.41 ล้านคน ในปี 2561 เพ่ิมขึ้นจากจ�ำนวน 8.15 ล้านคน ในปี 2560 ซึ่งเป็นการเพิ่มข้ึนตาม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยท่ีเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุท่ีมีระดับสถานะทางเศรษฐกิจที่ต่�ำที่สุด ได้รับเบ้ียยังชีพคิดเป็นสัดส่วนท่ีสูงที่สุดท่ีร้อยละ 91.72 ขณะท่ี ผู้สูงอายุที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสูงสุดได้รับเบี้ย ยังชีพคิดเป็นร้อยละ 50.33 จะเห็นได้ว่าสวัสดิการด้านเบ้ียยังชีพน้ัน ผู้ท่ีได้รับประโยชน์คือผู้มีรายได้น้อย อย่างแท้จริง มิติโครงสร้างพื้นฐาน เมื่อพิจารณาการเข้าถึงโครงสร้างพ้ืนฐานที่ส�ำคัญ พบว่า จ�ำแนกตามฐานะ ทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยยังมีความแตกต่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ระหว่างครัวเรือนที่มีสถานะ ตารางท่ี Error! No ทteาxงtเoศfรsษpeฐcกifิจieตd่�ำsสตtุดyารlกeาังบiทnคี่ dรEoัวrrcเoรurือm! Nนeoทntี่ส.e.1ถxtารอ้oนยfะลsทะpขาeอcงงiเfคศieรรdวั ษเรsฐือtyนกlทeิจ่ีเสขin้าูงถสdงึ oุดบcรuิกmารeพnนื้ tฐ..า1นร้อจยาแลนะขกอกงลคุม่ รคัวรเรัวือเรนอื ทนเี่ตขา้ามถรงึ ะบดรับิกราารยพจื้นา่ ฐยานแลจะาเแขนตปกกลคุ่มรอคงรวัปเรี 2อื 5น6ต1ามร (บรกิ ารตพาืน้ รฐาางนแ:สไดฟงฟรา้ ้อภยายลใะนขบอา้ งนคนรา้ัวปเระือ(ปนบารทภิก่ีเาาขยร้าใพนถน้ืบึงฐา้บานนริกโ:ทาไรรฟศพฟัพ้ืนาทภฐ์พาาื้นยนใฐนาจบน�ำา้ โแนทนรนศก้าพักปทลระเ์ุ่มคปคลารื่อภัวนายเทรใ่ีนือคบนอมา้ตนพาวิมโทเรตระอศดรัพ์ับอทริน์พาเนื้ทยฐอจาร่านเ์ ยนโต็ทแ)รลศะพั เทข์เตคปลื่อกนคทร่ีอคงอมปพี 2วิ เ5ต6อ1ร์ อนิ เทอร์เนต็ ) (บริการพื้นฐาน : ไฟฟ้าภายในบ้าน น้�ำประปาภายในบ้าน โทรศัพท์พ้ืนฐาน โทรศัพท์เคล่ือนที่ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต) กลุ่มครวั เรือน กล่มุ ครวั เรอื น ร้อยละของครวั เรือนทเ่ี ข้าถงึ บรกิ ารพน้ื ฐาน (%) รอ้ ยละของครัวเรือนท่ีเขา้ ถงึ บรกิ ารพื้นฐาน (%) ตามระดับ ไฟฟ้าภายในบา้ น ตนาม้ารปะรดะับปาภายในบา้ น ไฟฟ้าภายในบา้ นโทรศพั ทพ์ ้ืนฐาน น้าประปาภายในบโา้ ทนรศพั ทเ์ คลื่อนที่ โทรศัพทพ์ นื้ ฐาน คอมพวิ เตอร์ โทรศพั ท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เนต็ คอมพ เคทรานศยขบจอาา่ ลงยคเรฉวั ลเย่ีรนเทตืออศนอ่ กบเขาลตเทศบราวลม เนทอเศกทบเศขาบลตาล รวนเมทอศกบเขาเลตทศบาลรวม นเทอศกเทบเขศาลตบาล รวนเมทอศกบเขาเลตทศบาลรวม นเทอศกเบทเขาศลตบาล รวนเมทอศกบเขาเลตทศบาลรวม นเทอศกเบทเขาศลตบาล นอ รายจา่ ยเฉลยี่ ตอ่ เทศบาล นอกเขต รวม รวนเมทอศกบเขาเลตทศบาลรวม เท คนของครวั เรอื น เทศบาล 10% ท่ี1 จนสุด 99.35 99.01 99.11 1904%.7ท7ี่1 จนสุด85.84 99.3858.50 99.0.138 99.110.27 94.770.30 85.9814.25 88.5900.96 0.3891.05 0.272.32 0.301.78 91.25 1.94 90.916.22 91.050.79 2.32 0.92 1 10% ที่2 99.91 99.47 99.62 1904%.3ท0่ี2 90.14 99.91.58 99.14.701 99.620.60 94.300.74 90.914.76 91.5982.60 1.0193.35 0.605.07 0.742.96 94.76 3.69 92.630.50 93.351.13 5.07 1.95 2 99.99 99.76 99.85 1906%.4ท9่ี3 92.27 99.993.93 99.27.615 99.850.71 96.491.27 92.9247.89 93.9934.42 2.1594.60 0.717.23 1.274.95 94.89 5.84 94.442.18 94.602.41 7.23 3.10 4 10% ท่ี3 99.99 99.70 99.82 1907%.0ท2่ี4 92.73 99.994.55 99.37.019 99.820.77 97.021.80 92.9753.25 94.5955.04 3.1995.13 0.779.03 1.807.68 95.25 8.25 95.064.37 95.134.48 9.03 5.28 7 10% ที่4 99.97 100.00 99.99 1908%.1ท4ี่5 93.07 99.975.42 1003.0.408 99.991.13 98.142.22 93.9067.34 95.4924.40 3.4895.30 1.1132.72 2.2210.0496.3411.28 94.490.34 95.306.72 12.727.93 1 10% ท่ี5 10% ท่ี6 100.00 99.83 99.92 1907%.1ท5่ี6 94.28 1009.050.83 99.48.381 99.920.88 97.153.00 94.9278.32 95.8935.76 4.8196.60 0.8187.65 3.0011.8997.3215.00 95.7164.57 96.609.30 17.6512.15 1 100.00 99.92 99.97 1908%.1ท3ี่7 94.59 1009.060.69 99.79.262 99.972.77 98.135.65 94.9579.59 96.6996.55 7.6297.17 2.7272.18 5.6518.3497.5920.62 96.5158.95 97.1174.11 22.1816.98 1 10% ที่7 ieตdา1100ร%%sาtงyทททlี่่ี98eี่ Einrrodro! cNuo99m99t..99e68nxt..o119f09ร0s.อ้9.p04ย0eลcะifข99i99อe..99งd77คsรตtวั yา11เ99ร00l88e%%าือ..79งนiทท31ทnท่ี่ี89ี่ เ่ีdEขorา้ rถc99o75uึงr..บ39!m62Nรeิกo99nา99รt..99eพ..68771xนื้..77t44ฐรoาอ้ น1fย909ลs01จ.8p9.2ะ0.า40.0eข3แ22อcนiงfกค99ieก99ร..ลd99ัว77มุ่43เsร..ค45tือ92yรนัวl99eทเ88ร..97เ่ีiือขn311น6า้0.d5ต.ถ31oา4งึ มบc99รu75ะกิm..993ดา9862..บัeร17พ07nราtน้ื ย..99ฐ1จ77า..า่77นร99ย44อ้88จ..ยแ39า36ลแ1ะ8น2ขเ.0.ขก3อ22ตก99ง98ปคล..15กร่มุ 28วัคเร34อวั..อื 54ง23เน92ร53ป..ทอื6241ีนเ่ 2ขต5้า1า66ถ0.ม51.ึง31รบ224ะ17ร..ด45ิก29บั า99ร98พา..17ย07้นื 32จ24ฐ่า..า00ย60นแ99จล88า..ะ9332แ6302เนข..11กต94กปลก9998มุ่ค..51คร218รอ16..วัง34เ35รป32ือี532น..26541ต226า701..ม2971ระ22ด าภา1ย0%ในทบี่1า้0นรวนยส้าุด(ปบรระิก1ป0าา0ร.ภ0พ0า้นื ยฐในา9นบ9้า.:9น5ไฟโทฟรา้9ศ9ภ.9พัา9ยทใพ์ น1ื้นบ908ฐ%า้ .า7นท3นี่1น0โ้าทรปวรยรศ9สะ7พัดุ (.ป7บท6ารเ์ภคกิ 1าล0ย0รอ่ื 9.ใพ0น80.้นื ท5บ1ฐ่ี้าคานนอ99มโ2:.9ท1พไ5.ร7ฟิว1ศฟเตพั ้าอ9ทภ9ร.พ์า9์ ยอ97ืน้ .ในิ1ฐน0เาบทน9อา้8น.รโ7ทเ์31นร8็ตศ้า.4ป)0ัพรท9ะ7์เปค.97า9ล6ภ.4ือ่ 8านยทใ9น่ี8คบ.5อ91้า9มน.2พ7โิวท2เ1รต.7ศอ19พั ร9ท์.4อพ์3ิน้ืนเ7ทฐ.1าอ501นร.3์เโน1ทต็ ร1)ศ8.พั440ท0.์เ7ค2ล99ื่อ.4น8ท48่ี.9ค1อม99พ.24วิ 76เ.ต17อร9์ อ9.4ิน3เ4ท.3อ3ร5์เ1น.3ต็14)3.49 4 รวม 99.96 99.73 99.86 97.87รวม 92.75 99.956.59 99.97.35 99.861.87 97.876.02 92.9775.54 95.5995.22 9.3596.51 1.8275.54 6.0212.7797.5419.86 95.22.15 96.519.41 25.5416.48 1 ทม่ี ากล: ุ่มขคอ้ รมัวูลเรจือากนการสารวจภาวะเศรษฐกจิ และสงั คมขอรง้อคทยรมี่ ลวั ากเะรขล:อื มุ่อนขงคอ้คสรมรวัาูลวันเรจเกั รอื างอืนกานกนทาสรเ่ีถขสติ ้าาแิถรหวึงจบง่ ชภรากิาตวาิะรปเพศรืน้ ระฐษมาฐวนกลจผิ (แล%ลโด)ะยสงั กครอม้องขยพอลฒั งะคนขราอัวขงเ้อครมอืรลูวันแเรสลือาะนนตทกัวง่ีเชขาี้วนา้ ัดถสสงึถงั บิตครแิมิกหสาง่ รศชพชาต.ื้นิฐปารนะม(%วล)ผลโดยรก้ออยงลพะฒั ขนอางขค้อรัวมเูลรแือลนะทต่ีเัวขช้า้ีวถัดงึ สบังรคิกมารสพศน้ื ชฐ. าน (%) ตามระดนบั ้าประปาภายในบไฟา้ นฟา้ ภายในบา้ น โทรศพั ท์พื้นตฐานาม้านรปะรดะบัปาภายในบา้ น ไโฟทฟรศ้าภัพาทย์เใคนลบอื่ า้นนทโท่ี รศัพทพ์ นื้ ฐานน้าประคปอามภพาวิยเใตนอบรา้์ โนทรศัพท์เคล่ือนที่ โทรศอัพินทเท์พอืน้ รฐเ์ นา็ตน คอมพิวเตอร์ โทรศพั ทเ์ คลอื่ นท่ี อินเทอร์เน็ต คอมพิวเ รวมครานยขจอเา่ทงยคศเบรฉัวาลเลยี่รตือนอ่ นเทอศกเบทเขาศลตบาล รเนวทมอศกบเขาลตเทศบราวลม นเทอเคทศรกานบศเยขขบาจลตอาา่ งลยคเรฉวั ลเรย่ีรนเวทตอื อมนศ่อกบเขาลตเเททศศบบาารลลวม เนนเททออศเกศทกบเบเขศาขาลบตลตาล รวรมนเวทมอศกบเขาเทลตเศทบศาบลารลวม นเทอนเศทกอบเศเกทขาบเศลตขาบลตาล รวรมวนเทมอศกบเขเาทลตเศทบศาบลาลรวมนเทอนเศทกอบศเกเขาทบเลตขศาลตบาล รวรมวนเมทอศกบเเขทาลตศบาล รวมนเทอศกบเขเาทลตศบาลรวมนเทอศกบเเทขาศลตบาล รวมนเทอศกบเ 9.1110% ท9ี่14.จ7น7สดุ 85.9894.35 88.5909.01 0.3989.11 1090.24%7.7ท7ี่1 จน0ส.ุด3805.84 9919..238558.50 9990.0.91.638 999.1.1005.27 942.7.3720.30 851.8.97418.25 881.5.90940.960.13.82291.05 0.02.7729.32 0.03.0921.7891.25 1.9490.961.22 91.05 0.792.32 0.92 1.7 9.6120% ท9่ี24.30 90.9194.91 91.5989.47 1.0919.62 1090.64%0.3ท0่ี2 0.7940.14 9949..799611.58 9992.4.167.01 999.36.2305.60 945.3.070.74 902.1.9446.76 913.5.6892.601.30.15093.35 0.16.0153.07 0.17.4952.9694.76 3.6992.603.50 93.35 1.135.07 1.95 2.9 9.8150% ท9ี่36.49 92.9297.99 93.939.76 2.1959.85 1090.76%1.4ท9่ี3 1.2972.27 9949..89993.93 9994.7.246.215 999.48.5600.71 967.4.2931.27 924.2.9745.89 935.9.83944.422.41.51894.60 0.27.1471.23 1.32.7104.9594.89 5.8494.424.18 94.60 2.417.23 3.10 4.9 9.8120% ท9่ี47.02 92.9793.99 94.5959.70 3.1999.82 1090.7%7.0ท2ี่4 1.8902.73 9959..299594.55 9995.7.300.419 999.58.2103.77 979.0.0231.80 927.7.96358.25 948.5.25955.043.61.93795.13 0.47.7498.03 1.58.0287.6895.25 8.2595.046.37 95.13 4.489.03 5.28 7.6 9.9190% ท9ี่58.14 93.9097.97 951.4020.00 3.4989.99 190.18%3.1ท4่ี5 2.2923.07 9969..399475.42 10904.304.048 999.59.9310.13 981.21.4722.22 931.09.7064.34 951.14.22984.403.94.83495.30 1.61.37122.72 2.72.29310.0946.34 11.2894.409.34 95.30 6.7212.72 7.9310.0 9.9120% ท9่ี67.15 941.2080.00 95.8939.83 4.8919.92 1090.87%8.1ท5ี่6 3.0904.28 19070.3.90250.83 9995.8.473.681 999.69.2600.88 971.71.5653.00 941.129.8879.32 951.58.30905.7641.841.5796.60 0.98.83107.65 31.020.1151.897.32 15.0095.7614.57 96.60 9.3017.65 12.1511.8 9.9170% ท9ี่78.13 941.5090.00 96.6999.92 7.6929.97 1290.78%7.1ท3ี่7 5.6954.59 19070.5.90960.69 9996.9.752.562 999.79.7127.77 982.21.3185.65 941.859.9374.59 962.06.96926.5571.682.9597.17 21.747.2121.18 51.665.9188.3947.59 20.6296.5518.95 97.17 14.1212.18 16.9818.3 9.9170% ท9่ี88.91 95.9396.98 97.7949.94 8.0929.97 1390.48%2.9ท1ี่8 6.5915.36 9989..799087.74 9998.9.834.302 999.89.7538.42 982.59.1216.51 952.139.6582.70 972.47.40908.3382.022.1998.58 31.462.2355.21 62.501.2271.5928.70 24.0098.3322.19 98.58 16.3255.21 20.2721.5 9.9170% ท9ี่98.73 97.9992.96 971.7040.00 12.3929.97 1490.58%9.7ท3ี่9 10.9374.92 9999..199767.74 109081.09206.32 999.9.7142.59 983.37.36140.34 972.799.2499.17 973.27.40968.96123.03.21499.12 42.519.3433.64 102.73.49217.4999.17 32.0698.9630.14 99.12 21.4333.64 27.9127.4 9.9190% ท9่ี180.7ร3วยสุด 971.7060.00 98.5919.95 21.7919.99 1790.18%0.7ท3ี่10 ร1ว8ย.9ส470ดุ .76 19090.4.90880.51 9999.29.2157.71 999.9.9473.10 985.17.33118.40 974.079.6792.48 984.85.19919.27214.67.11799.43 73.140.5313.31 184.34.04490.7929.48 48.9199.2746.17 99.43 34.3531.31 43.4940.7 9.86 9ร7ว.ม87 92.9795.96 95.9599.73 9.3959.86 19.877.87รวม 6.0922.75 9979..599465.59 9995.7.923.235 999.68.6511.87972.58.7546.02 921.279.5777.54 951.95.98965.2292.325.1596.51 1.98.74215.54 61.062.4182.7977.54 19.8695.2222.1596.51 9.4125.54 16.4812.7 คทมขมี่ อาง:ครขวั อ้ เรมอื ูลนจาสกากนากั รงสาานรสวถจติภแิ าหวะง่ ชเศารตษิ ปฐกระจิ มแวลละผสลงั โคดมยขอกงอคทงรพี่มัวฒัาเรน:อื านขอ้ สทมาลู นี่มจแกั าาลงกะ:ากตนกาัวสรชาถสี้วิตราดั แิรสสวหัง�ำจง่คภชรมาาววตสจะิศปเภศชรร.าะษมวฐวะกลจิเผแศลลโระดษสยงั ฐกคมอกขงิจพอแฒังคลนราวัะขเรสอ้ อื มังนลูคแสมลานะขตกั อัวงาชงนี้วคสัดรถสิตงััวคิแเมหรง่ือสชศานชต.ิ สปร�ำะนมวักลงผาลโนดยสถกอิตงพิแฒั หน่งาชขอ้ามตลู ิและตวั ช้ีวัดสังคม สศช. ประมวลผลโดย กองพัฒนาข้อมูลและตัวช้ีวัดสังคม สศช. 43

สว่ นท่ี 1 บทนำ� นอกจากนี้ ในส่วนของความก้าวหน้าการพัฒนาคน หากพิจารณาดัชนีความก้าวหน้าของคนในระดับภาคและ ระดับจังหวัด ซ่ึงสะท้อนการเข้าถึงทรัพยากรและบริการสาธารณะต่าง ๆ ของแต่ละพื้นที่ พบว่า ปี 2562 ภาคกลาง มีความก้าวหน้าการพัฒนาคนมากที่สุด ค่าดัชนี HAI = 0.6499 โดยมีการพัฒนาคนมากกว่าภาคอ่ืน ๆ ใน 3 ด้าน คือ ด้านสุขภาพ ด้านรายได้ และด้านการคมนาคมและการส่ือสาร แต่ในด้านการมีส่วนร่วมมีการพัฒนาน้อยกว่า ทุกภาค ส่วนภาคที่มีการพัฒนาคนรองลงมาคือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ 11 จังหวัด ภาคเหนือ และภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ตามล�ำดับ ซ่ึงภาคใต้ 3 จังหวัดชายแดนเป็นภาคท่ีมีการพัฒนาคนน้อยที่สุด ค่าดัชนี HAI = 0.5142 โดยมีความก้าวหน้าการพัฒนาคนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอ่ืน 4 ด้าน คือ ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านชีวิตการงาน และด้านรายได้ นอกจากน้ี ยังพบว่าภาคตะวันออกมีความก้าวหน้าด้านคมนาคมและการส่ือสาร และด้านชีวิตการงานสูงท่ีสุด ขณะท่ีภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความก้าวหน้าด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม และด้านชีวิตครอบครัวและชุมชนสูงกว่าภาคอ่ืน และภาคเหนือมีความก้าวหน้าด้านการมีส่วนร่วมสูงกว่าภาคอ่ืน 1.0000 0.6219 0.6821 0.5792 0.6140 0.5142 0.6123 0.6428 0.6499 2558 0.9000 2560 0.8000 0.6109 0.6651 0.5732 0.5999 0.5995 0.6309 0.6334 2562 0.7000 0.6220 0.6760 0.5903 0.6091 0.6077 0.6377 0.6469 0.6000 0.5088 0.5000 0.5278 0.4000 0.3000 0.2000 0.1000 - ท่ีมา: รายงาน Human Achievement Index : HAI 2562, ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และในส่วนของคุณภาพชีวิตของประชากรผู้สูงอายุ พิจารณาโดยใช้ข้อมูลผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาความยากจน หลายมิติ ประมวลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบช้ีเป้า (TPMAP) พบว่า ปี 2562 มีสัดส่วน ผู้สูงอายุที่มีปัญหาความยากจนหลายมิติ จ�ำนวน 691,213 คน หรือ เทียบเท่าร้อยละ 9.5 ของประชากรผู้สูงอายุ ทั้งหมด ลดลงจากปี 2561 ที่จ�ำนวน 876,193 คน หรือ เทียบเท่าร้อยละ 12.87 แสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุได้รับ การดูแลดีขึ้น มีความเป็นอยู่ดีขึ้น เข้าถึงบริการรัฐได้มากข้ึน และรายได้เฉลี่ยเพียงพอต่อการด�ำรงชีพมากขึ้น ทั้งนี้ ในด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม พบว่า สังคมไทยยังมีความท้าทายในการสร้าง ความเป็นธรรมและลดความเหล่ือมล�้ำระหว่างกลุ่มประชากรในหลายมิติ โดยเฉพาะด้านรายได้และการเข้าถึง บริการภาครัฐต่าง ๆ นอกจากนี้ การพัฒนาคนยังมีความแตกต่างระหว่างพื้นที่ โดยภาคกลางยังคงเป็นพ้ืนที่ท่ีมี ความก้าวหน้าในการพฒั นามากที่สุด และภาคใต้ 3 จังหวัดชายแดนเปน็ ภาคท่ีมีการพฒั นานอ้ ยทีส่ ดุ ขณะท่ีชุมชน ทอ้ งถ่นิ มีขดี ความสามารถในการพัฒนาตนเองและมีส่วนรว่ มในการสรา้ งสังคมคุณภาพมากขึ้น 44

ส่วนท่ี 1 บทน�ำ 5. ยทุ ธศาสตร์ชาตดิ า้ นการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชวี ติ ทเี่ ป็นมติ รต่อสง่ิ แวดลอ้ ม “การผลติ และบรโิ ภคทคี่ ำ� นงึ ถงึ สง่ิ แวดลอ้ ม พรอ้ มสรา้ งสมดลุ ใหเ้ กดิ การพฒั นาและเตบิ โตอยา่ งยงั่ ยนื ” ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตท่ีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อน�ำไปสู่ การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาท่ีย่ังยืนในทุกมิติ ท้ังด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็น หุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกันท้ังภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ ใช้พ้ืนท่ีเป็นตัวตั้งในการก�ำหนด กลยุทธ์และแผนงาน และการให้ทุกฝ่ายที่เก่ียวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในแบบทางตรงให้มากท่ีสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเป็นการด�ำเนินการบนพื้นฐานการเติบโตร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต โดยให้ความส�ำคัญกับการสร้างสมดุลทั้ง 3 ด้าน อันจะน�ำไปสู่ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตท่ีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายการพัฒนา 4 เปา้ หมายหลกั ประกอบด้วย (1) อนุรกั ษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดลอ้ ม และวัฒนธรรม ให้คนรนุ่ ตอ่ ไป ได้ใช้อย่างยั่งยืน มีสมดุล (2) ฟื้นฟูและสร้างใหม่ฐานทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบทางลบ จากการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจของประเทศ (3) ใช้ประโยชน์และสร้างการเติบโต บนฐานทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมให้สมดุลภายในขีดความสามารถของระบบนิเวศ และ (4) ยกระดับกระบวนทัศน์ เพื่อก�ำหนดอนาคต ประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม บนหลักของการมีส่วนร่วม และธรรมาภิบาล ผลการพฒั นาตามเปา้ หมายของยทุ ธศาสตรช์ าตดิ า้ นการสรา้ งการเตบิ โตบนคณุ ภาพชวี ติ ทเ่ี ปน็ มติ รการสง่ิ แวดลอ้ ม ในส่วนของพื้นท่ีสีเขียวท่ีเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม พิจารณาจากข้อมูลสัดส่วนพ้ืนที่สีเขียวของประเทศของกรมป่าไม้ พบว่า พื้นที่สีเขียวโดยเฉพาะพื้นที่ป่าธรรมชาติมีการเพ่ิมจ�ำนวนข้ึน โดยในปี 2561 มีพื้นท่ีป่าธรรมชาติ 102.49 ล้านไร่ (ร้อยละ 31.68 ของพื้นท่ีท้ังหมดของประเทศ) เพ่ิมขึ้นจาก 102.16 ล้านไร่ ในปี 2560 ในส่วนของสภาพ แวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่เสื่อมโทรมท่ีได้รับการฟื้นฟู ประเมนิ จากสถานการณก์ ารบรหิ าร จัดการทรัพยากรธรรมชาติแ ล ะ ส่ิงแวดล้อมประเภทต่าง ๆ พบว่า แ ม ่ น�้ ำ ล� ำ ค ล อ ง แ ล ะ แ ห ล ่ ง น�้ ำ ธรรมชาติ เมอื่ พจิ ารณาจากจำ� นวน พ้ืนท่ีชุ่มน้�ำท่ีได้รับการข้ึนทะเบียน เป็นพื้นที่ชุ่มน้�ำที่มีความส�ำคัญ ระดับชาติ ซึ่งจะได้รับกาอนุรักษ์ แ ล ะ ฟ ื ้ น ฟู ใ ห ้ มี ร ะ บ บ นิ เ ว ศ ที่ ดี ที่มา: กรมป่าไม้ มีจ�ำนวนเพ่ิมขึ้นอย่างต่อเน่ืองจาก 48 แห่งในปี 2552 เป็น 95 แห่งในปี 2558 ขณะที่แหล่งน้�ำผิวดิน น้�ำบาดาล และน�้ำทะเลชายฝั่ง เม่ือพิจารณาจากข้อมูลคุณภาพน้�ำ สะท้อนให้เห็นถึงการบรหิ ารจัดการแหลง่ นำ�้ และคณุ ภาพนำ�้ ท่ีมีแนวโน้มในทิศทางที่ดีข้ึน โดยในปี 2561 คุณภาพน�้ำในแหล่งน�้ำผิวดินอยู่ในเกณฑ์พอใช้ถึงดี ร้อยละ 91 เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 83 ในปี 2560 คุณภาพน�้ำบาดาลโดยท่ัวไปยังคงอยู่ในเกณฑม์ าตรฐานทใ่ี ชบ้ รโิ ภคได้ ขณะทค่ี ุณภาพน�้ำ 45

สว่ นท่ี 1 บทนำ� ทะเลชายฝั่งอยู่ในเกณฑ์พอใช้ถึงดีมากร้อยละ 94 ปรับลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 96 ในปี 2560 ในส่วนของ การเติบโตที่เป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม สะท้อนได้จากองค์ประกอบย่อยเศรษฐกิจสีเขียวของดัชนีส่ิงแวดล้อมและ ระบบนิเวศสมดุล ซึ่งเป็นส่วนหน่ึงของดัชนีอยู่เย็นเป็นสุข พบว่า ปี 2561 มีค่าดัชนีร้อยละ 71.64 เพ่ิมจากร้อยละ 54.44 ในปี 2560 โดยสาเหตุที่ท�ำให้ค่าดัชนีเพ่ิมขึ้นอย่างเป็นนัยส�ำคัญคือการเพิ่มข้ึนของพ้ืนท่ีท�ำเกษตรกรรมย่ังยืน ซ่ึงเพ่ิมจากร้อยละ 33.33 ต่อพ้ืนที่การเกษตรท้ังเหศเมรศดษรเษปฐฐ็นกกรจิิจ้อสสยีเีเขลขียะียว9ว2.97 100 83.56 87.66 92.97 80 65.51 64.88 60 15 ้รอยละ 40 33.33 35.37 41.04 สถติ ิอุบัติภยั ฉุกเฉินจำก สำรเคมี 20 สัดส่วนปรมิ ำณกำร 0 นำเขำ้ วัตถุอนั ตรำยทำง 65.51 รอ้ ยละของกำรใช้ ร้อยละของพน้ื ท่ที ำ กำรเกษตรต่อพืน้ ท่ี พลงั งำนทดแทน เกษตรกรรมย่งั ยนื (พืน้ ท่ี กำรเกษตรทง้ั หมด และพลังงำนทำงเลอื กต่อ เกษตรอินทรยี ์) ต่อพน้ื ที่ 35.37 ปรมิ ำณกำรใชพ้ ลงั งำน กำรเกษตรทงั้ หมด ข้ันสดุ ทำ้ ย 2560 83.56 33.33 1 2561 87.66 92.97 41.04 64.88 2 ท่ีมา: รายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ, 3 และหากพิจารณาร่วมกับสถานสก�ำานรักณงา์เนชสิงภคาุณพัฒภนาาพกใานรเมศริตษิตฐ่ากงิจแๆละทสั่ีงเกคม่ียแวหข่ง้อชงาตพิ บว่า ในส่วนของคุณภาพ 4 แทจาล่ี 4กะ2ขหอ.้าอา0กกมไาพูลมศิจปโปคารรรริมะณกาเรมณาัมนิรฝ/่วจลุ่นมาูกกกลบขับะา้ออสศมอถกงลูา์เนปมสกรต�ำาิมรหรำรณใณนับ์เปฝฝชุุ่น่นีิง2คลล5ุณะะ6ออภ1ออางเงพปขใสรนนาียามหบดิตรเไบัทิตม่าฝีย่เกง่นุบินลๆกะับท1อ0ี่เ4อก1งี่ยไ5ข.ม0วนคขาไร้อมดองปโไนคมีทพร่เ้ังบกมกปนิวีครร่าั่มาะ1เ/ใเฉ0นลทลูกสไศี่ยมบ่วครคนา่อารศขยนอกอปขน์เงีท้ามคงม้ังตุณคปคี รงภ่ารใทนเะาฉ่ีทเปพลที่ีอี่ยศ42าร2ค5กา.6่อยา00นศขปซ้ารึ่งงะยคเังมงคทินง่ี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน6มีค่าไเฉมลโคี่ยรากยรปัมีท/ล้ังูปกรบะาเศทกศ์เเมพติ่มรข้ึนในจาปกี ปี 2560 16 ที่ 22.0 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เป็น 24.0 ไมโครกรัม/ลูกบาศก7์เมตร25ใน6ป1ี 2เ5ป6ร1ียซบ่ึงเยทังีคยงบอกยัู่ใบนเ4กณ1.ฑ0์มาตรฐาน น้า 3-3 ในไฟฝเหลชุ่นล์ ่น1ัลก6กะเันกอิดอคจงุณาเกกภินกาคาพร่าอเมผาาากตใารนศฐทใา่ีโนนลพล่งด้ืนแลลทงะ่ีวจไิกฟาฤกไตหปหมี 2ม้ป5อ่า5ก9สคถแวาลันนะมกปีแาีนร2วณ5โ6น์ม0ี้แมนดจีขวากโ้ึนน6ส้ม891ถดาีขวน้ึนันกต2ไาแ้ัมงร5ลแโณะ6ตค์ห่ป0ร3มกี82อซรว5ักึ่มงัน5ค/ย9วลเั งัปนูกโค็นดบ9งยา3จอใศ4นังยกหปวู่์ใเวีันมนัด2ตภ5(เลร6กาดคใ1ณลนเหงจปฑรน�ำี์้อนือยวสลนาะวเันห4ทต4ุี่ และ 11 ตามล�ำดับ) และหากพิจารณาจากสถานการณ์ขยะ ซ่ึง1ส0ะท้อมนาถตึงรคฐวาานมสสา่วมนาฝรุ่นถลในะกอาอรงบขนริหาดารไมจัด่ การขยะ ประเภทต่าง ๆ ของประเทศจากการขยายตัวของชุมชนเมือง การ1อ1ุปโภเคกบินริโ2ภ.ค5 ไกมาครรทอ่อนงเมทีคี่ย่าวเฉพลบ่ียวร่ายปกีารจัดการ 13 ณเขปย็นะตก2ม้นา2ูลทร.ฝ0ใาอชงไย้ปมแใรโนลคะปะรโยกีนช2ร�ำ5ันมก6/์จลล1าับูกกไมบขปีแายใศนชะกวร้ป์เีโไรมนซะตเ้มคโรดยิลีขชเแปึ้นนล็นถ์ะ9ึงท2แ.�5ำ4มป8.0้วุ๋ย่าลไอปม้าินรโนทคิมตรราันีกยณร์ ข(ขัมรยย/้อละะยูมกมลบูลูละฝาฝ1ศออ32กยย4์เจช)มะุมตเเพชทรพนิ่ม้ังิ่มใปอขนขี้ึกนร้ึนปะจจี เ�ำ2าโทนดก5ศว6ยปเน1ขพีทย่ิมี่ผซ1ะข่า่ึง0มยน้ึน.ูล8ังมจคฝ8าางอกรลอย้อป้ยาชยีนู่ใุม2ลนต5ชะเัน6กน0ณ1ไ(ด3รฑท้ถ้อ่ี์สูกย่วคลนัะดใแห3ย9ญก)่ 14 ถูกกม�ำาจตัดรอฐยาน่างเชถ่นูกกตัน้องคุณขภณำะพทอ่ีปำรกิมำศาณในกพา้ืนกทขี่วอิกงฤเสตียิหอมุตอสกาคหวกันรมรีแมนมวีแโนน้มวดโีนขึ้นมลสดถลานงแกลาระณเข์ห้ามสอู่รกะคบวับนก9ารจัดการ 15 อย่างจถังหูกตวัด้อภงาโคดเยหปนีือ2ส5า6เ1หตปุหรลิมักาเณกิดกจากากขกอางรเสเผียาอใุตนสทา่ีโลหง่กแรลระมไเฟขไ้าหสมู่ร้ปะบ่า บสกถารนจกัดากรณาร์มทีแั้งนหวมโดน้ม2ด2ีข.้ึน02ตั้งลแ้าตนป่ ตี ัน ลดลง จสบ�าำ�ำหกบป2วรัดันับ5ีก5ก2�ำแ95าจลก6ัดโะอด0กุ3ตยาร8สใกน้อาอวปหยุตันีลกส2เะราป5รห6น็ม31ก3อ3รันจ4ร(าตปมวนรีันวาโ2นดย(5ลมยว6ดันีศป0ลทักรงิมยี่ฝมราุ่ภนีป้อณลายรพะิลม1อกะา.อณา24งร4กเบลกา�ำ้แาินกบนลคอัะตด่าุตันกม1ส�ำา1าใจตนหตัดรแกามฐตมราีม่รลลนามาะลกดภเดสขบั ูมลุด้า)ิภงอสจแายู่ราลคู่ทะกะขบ่ีภปหอบาีำง2คกกป5ตพาร5ระะจิ 9จวเำทัันดแรศกอณลมาอะำีกรปกจทาีำร2ั้รงกก5หอสร6งมถะ0ลดำจงนจาม3ากยา2กำตเ.ปรัว96ณ็นข51อภ์ ลงาโ้าครนกงงตลาันานง) 16 17 18 ภาคขตะยวะันซตึ่งกสะภทา้อคนตถะึงวคันวอาอมกสเาฉมียางรเถหในนือกาภราบครใิหตา้ แรลจัดะภการคขเหยนะปือระเภทตา่ ง ๆ ของประเทศจากการขยายตวั 19 ของชุมชนเมือง การอุปโภคบริโภค การท่องเที่ยว พบว่า การจัดการขยะมูลฝอยในปี 2561 มีแนวโน้ม 20 46 ดีข้ึนถึงแม้ว่าปริมาณขยะมูลฝอยจะเพ่ิมขึ้น โดยขยะมูลฝอยชุมชนได้ถูกคัดแยก ณ ต้นทาง และนา

สว่ นท่ี 1 บทน�ำ ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ (2562) และในส่วนของปริมาณก๊าซเรือนกระจก มูลค่าเศรษฐกิจฐานราก การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1(C4O5.25) จากการใช้พลังงานของประเทศในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นนับต้ังแต่หลังภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำจาก ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี 2541 เป็น 260.3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี 2561 หรือเพ่ิมข้ึนเฉล่ีย ร3ปกก้อ6าาี รย.ร22ปลป5ละ6ลข่อ1อ่อ3ยงย.มกก0กีาก๊า๊าตรซาซป่อรCปลใCชO่อี O้โกย2ด๊าก2ยใซ๊านใจธซนเารกปกรCือีกมOบ2าช5ท2รา6ุกทใต1ชภั้งิใ้พหานมคมลกีกเดังาาศงรรรามใผษชนีกลฐ้พแาิตกลรยไิจปังฟกงลฟโราด่อาน้ายยยลเภกพภด๊าา่ิมาลซคคขงกึ้นเรCศา้อรOรร้อยผษ2ยลลฐลละิตกะดไิจ1ลฟ1.งฟ7.เจ0พ้าาขมิ่มสกณีส่งปขัดผึ้ะนีกสลท่อร่ใว่ี้ภนอหนรยา้กก้อคลาายกระรลปาปะร0ลลข.่อ่อ80นยย.ส7ซกC่ง่ึ๊งาคOแเซาปล2ดะC็นเวพภO่าิ่มกา2สคขา่วสรอึ้นนูงเุตรหสพ้อสุดนิ่มยา่ึงขลหรม้ึน้ะอกาขยจร0ลอรา.กม8ะง จซาึ่งมกีปสัดีกส่อ่วนนรก้อายรลปะล1่อ.ย0กแ๊าลซะCร้อOย2ลคะือ2ร.4้อยตลาะมล2�ำ6ด.ับ1 และร้อยละ 31.3 ตามล�ำดับ และมีการปล่อยก๊าซ CO2 เพ่ิมข้ึน ท้ังนี้ ในด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตท่ีเป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม พบว่า ทรัพยากรธรรมชาติ และส่ิงแวดล้อมของประเทศได้รับการอนุรักษ์ รักษา และฟื้นฟูเพิ่มมากขึ้น เพ่ือลดผลกระทบทางลบ จากการพฒั นาเศรษฐกจิ ของประเทศ ทง้ั ในสว่ นของปา่ ไม้ แมน่ ำ�้ ลำ� คลอง ทะเล การบรหิ ารจดั การมลภาวะและขยะ ของประเทศ นอกจากนี้ มีการใช้ประโยชน์และสร้างการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลมากข้ึน 47


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook