Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เอกสารประกอบการประชุมวิชาการงานวิจัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัยครั้งที่ 6

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการงานวิจัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัยครั้งที่ 6

Published by thippharat.n, 2020-04-14 03:19:34

Description: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการงานวิจัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัยครั้งที่ 6 วันที่ 26 มีนาคม 2563

Search

Read the Text Version

ก คำนำ เอกสารประกอบการประชุมวิชาการงานวิจัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย ครั้งที่ 6 จัดขึ้นโดยนิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุข ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยบรู พา มีวัตถปุ ระสงคเ์ พือ่ ค้นหาคำตอบที่เป็นความจรงิ ต้องการผลิตความรูใ้ หม่ที่ ถูกต้อง และเป็นการสร้างแนวคิดเพื่อประกอบการศึกษา โดยเอกสารฉบับนี้ประกอบไปด้วย ผลงานวิจยั จำนวน 7 เรอื่ ง ไดแ้ ก่ 1. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานที่ปฏิบัติงานบน เรอื ประมง ในเขตอำเภอศรรี าชา จังหวัดชลบุรี 2. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา สำหรับพระสงฆ์ ณ วดั แห่งหนึง่ ในจังหวดั ชลบรุ ี 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพการมองเห็นของบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ภายใน อาคารศูนย์กจิ กรรมนสิ ิต มหาวทิ ยาลัยบรู พา จงั หวดั ชลบุรี 4. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณมือของช่างทำผมรอบ มหาวทิ ยาลัยบรู พา 5. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการนอนกับระดับความดันโลหิตในเจ้าหน้าที่รักษาความ ปลอดภยั ของมหาวทิ ยาลยั บรู พา 6. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพการได้ยินของนิสิตที่ใช้บริการร้านคาราโอเกะรอบ มหาวทิ ยาลัยบรู พา 7. ประสิทธิผลของเบาะรองนั่งที่ลดความสั่นสะเทือนทั้งร่างกายของพนักงานขับรถโดยสาร ประจำทางในตำบลแสนสขุ จังหวัดชลบุรี คณะผู้จัดทำเอกสารประกอบการประชุมวิชาการงานวิจัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและ ความปลอดภยั ครงั้ ที่ 6 ขอขอบพระคณุ คณะอาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบรู พาที่มี ส่วนร่วมในการทำงานวิจัยครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ท่ีได้ศึกษางานวิจัยทุกท่านจะได้รับความรู้ท่ี สามารถนำไปใช้ประโยชนต์ ่อการทำวจิ ัยและเสริมสร้างองค์ความรู้ในสาขาวิชาท่ีเกี่ยวขอ้ งต่อไป นิสิตภาควชิ าสุขศาสตร์อุตสาหกกรมและความปลอดภยั ชัน้ ปีท่ี 3 มนี าคม 2563

ข สารบญั คำนำ หนา้ สารบญั ก ผลงานวิจยั ข 1. การศึกษาปจั จยั ท่ีมคี วามสมั พนั ธ์กบั พฤตกิ รรมความปลอดภัย 1 ของคนงานทปี่ ฏิบัติงานบนเรอื ประมง ในเขตอำเภอศรรี าชา จงั หวดั ชลบรุ ี ภานวุ ฒั น์ พลานนท1์ , พรอุษา คําออ่ น1, สุพัตรา ไข่ทอง1, พัสวี สมพงษส์ นอง1, พงศธร ยังอยสู่ ุข1, ศรรี ตั น์ ล้อมพงศ2์ 2. ผลของการออกกำลงั กายด้วยยางยืดเพอื่ เพม่ิ ความแข็งแรงของกล้ามเนอ้ื ขา 20 สำหรบั พระสงฆ์ ณ วดั แห่งหน่ึงในจังหวดั ชลบรุ ี จติ ราพรแพลกู อินทร1์ ธนชั ชา จ่ันเจริญ1 เบญจวรรณ บุญเวียง1 สนั ตริ าษฎร์ เพ็ชรศร1ี สาธิตา ม้วนสธุ า1 สุรเสกข์ บุญประสาน1 และปวีณา มีประดษิ ฐ์2 3. ปจั จยั ท่มี ีความสัมพันธ์กบั สมรรถภาพการมองเหน็ ของบคุ ลากรท่ีใช้คอมพิวเตอร์ 36 ภายในอาคารศนู ย์กิจกรรมนิสติ มหาวิทยาลัยแห่งหนงึ่ จงั หวดั ชลบรุ ี ศริญญา เกรียงสมุทร1, รุง่ อรณุ ร้อยวงษ์1, ยวษิ ฐา เสนีย์วงค์ ณ อยธุ ยา1, ทิฐนิ ันท์ ไทยอทุ ศิ 1, วชั ระพล ชา้ งทอง1, ศวิ กร เขตสมทุ ร1, ธีรยทุ ธ เสงีย่ มศักด2์ิ 4. ปจั จัยทม่ี ีความสมั พันธ์กับอาการผน่ื ผวิ หนงั อกั เสบบรเิ วณมอื ของชา่ งทำผม 56 จากการทำงานรอบมหาวทิ ยาลยั บูรพา มณีรตั น์ สมั ฤทธ1ิ์ , โซเฟีย แกสมาน1, ประกายกาญจน์ ตมิ ุลา1, พิชญากานต์ ทนนำ้ 1, หทยั รัตน์ ไตรบตุ ร1, อนามัย เทศกะทึก2 5. ความสัมพนั ธ์ระหวา่ งคุณภาพการนอนหลบั กับระดบั ความดนั โลหิต: กรณีศึกษาใน 78 เจา้ หนา้ ท่รี ักษาความปลอดภัย มหาวทิ ยาลยั แหง่ หน่งึ ในภาคตะวันออก พัชรี คงเจรญิ 1, สริ ิพรรณ วงษ์ทิม1, บูรพา จิรกิตตห์ ิรญั 1, ณัฐสดุ า ลอยฟ1ู , เบญจรตั น์ ตรงด1ี , ทนงศักดิ์ ยงิ่ รัตนสขุ 2

ค สารบญั (ตอ่ ) หนา้ 94 6. ปจั จัยทมี่ ีความสัมพันธก์ ับสมรรถภาพการไดย้ ินของนิสติ ทใ่ี ชบ้ ริการ รา้ นคาราโอเกะรอบมหาวิทยาลัยบูรพา 114 แพรวพรรณ สวามวิ ศั ดุ์1, อรณุ รวี อัศโม1, จฑุ าทิพย์ จินดาบตุ ร1, วภิ าวี ทบั สิงห1์ , ศิรวิ รดา ปะเศษโฐ1, นนั ทพร ภทั รพุทธ2 7. ประสทิ ธผิ ลของเบาะลดความสัน่ สะเทอื น: กรณีศึกษารถโดยสารประจำทาง ในตำบลแสนสขุ อำเภอเมือง จงั หวัดชลบรุ ี วัชรี วัชโรทยั 1, กัญจนพร รงุ่ เรือง1, จฑุ ารัตน์ สุขษาเกต1, ธดิ าพร น้ำทพิ ย์1, บญุ ยอร โชติกมาศ1, สวุ นนั ท์ เกษจรลั 1, พจิ ติ รา ปฏพิ ตั ร2

การศกึ ษาปัจจัยท่ีมีความสัมพันธก์ ับพฤติกรรมความปลอดภยั ของคนงานทป่ี ฏิบัตงิ าน บนเรือประมง ในเขตอำเภอศรรี าชา จังหวดั ชลบรุ ี The Study of Factors Related to Safety Behavior among Workers on Fishing Boats in Sriracha District, Chonburi Province ภานวุ ฒั น์ พลานนท1์ , พรอุษา คําอ่อน1, สพุ ัตรา ไข่ทอง1, พสั วี สมพงษ์สนอง1, พงศธร ยงั อยูส่ ุข1, ศรีรตั น์ ลอ้ มพงศ2์ 1วทิ ยาศาสตรบัณฑติ สาขาสุขศาสตร์อตุ สาหกรรมและความปลอดภยั คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลยั บรู พา 2ภาควิชาสุขศาสตร์อตุ สาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา บทคดั ยอ่ การวิจัยครงั้ นม้ี วี ตั ถปุ ระสงค์ เพื่อศกึ ษาปัจจยั ท่มี คี วามสัมพนั ธก์ บั พฤติกรรมความปลอดภยั ของคนงานท่ีปฏิบัติงานบนเรือประมง ในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นการวิจัยแบบ ภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง เป็นชาวประมงในชุมชนแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ำต่ำสุด ค่าสูงสุด Pearson’s correlation coefficient และ Chi-square ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นคนงานชาย (ร้อยละ 97.0) มีอายุอยู่ระหว่าง 30-39 ปี (ร้อยละ 47.0) ระดับการศึกษาสูงสุดคือ ระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 49.2) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ ระหว่าง 9,000-12,000 บาท (ร้อยละ 70.5) ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 38.6) ในหนึ่งสัปดาห์มี การทำงาน 6 วัน (ร้อยละ 65.9) และเมื่อหาความสัมพันธ์พบว่า ความรู้ (r=0.275, p=<0.001) ทัศนคติ (r=0.474, p=<0.001) และความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวม (r=0.315, p=<0.001) มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ดังนั้น ควรมีการบริหาร จัดการเกี่ยวกับตำแหน่งงานให้เหมาะสมกับระดับการศึกษา มีการปรับจำนวนชั่วโมงในการทำงานใน หนึ่งวัน และจำนวนวันทำงานในหนึ่งสัปดาห์ให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มาก ยง่ิ ขนึ้ และลดอนั ตรายท่ีเกิดข้นึ จากการปฏิบัตงิ าน คำสำคญั : ความร,ู้ ทศั นคต,ิ ความเช่ือด้านสุขภาพ, พฤติกรรมความปลอดภัย, ชาวประมง

2 Abstract This research aimed to study of factors related to safety behavior among workers on fishing boats in Sriracha district, Chonburi province. This was a cross- sectional study. The sample was a fisherman in Laem Chabang community of 132 people. The instrument used for data collection was a questionnaire. The statistics include number, mean, standard deviation, minimum, maximum, Pearson’s correlation coefficient and Chi-square. The study found that most of them were male (97.0%), aged between 30-39 years (47.0%), graduated at the highest primary education (49.2%), average monthly income was between 9,000-12,000 baht (70.55%), working 8 hours per day (38.6%), 2 hours of overtime work per week (4 6 . 2 %), A week was working 6 days (6 5 . 9 % ) , Regarding a relationship, it found that knowledge (r=0.275, p=<0.001), attitude (r=0.474, p=<0.001), and the overall health beliefs (r 0.315, p=<0.001) and the safety behavior were significantly different at the level of 0.01. Therefore, there should be work management that was appropriate to the educational level, The work hours were adjusted in a day and the number of working days in a week were appropriate, in order to increase work efficiency even more and reduce hazards arising from operations. Keyword : Knowledge, Attitude, Health belief, Safety behavior, Fisherman บทนำ ประเทศไทยเป็นประเทศซึ่งมีเศรษฐกิจอยู่บนรากฐานของเกษตรกรรมและการใช้ทรัพยากร ทางธรรมชาติของประเทศ การประมง จงึ มคี วามสำคญั ต่อเศรษฐกิจของประเทศเปน็ อย่างมาก เพราะ กิจการประมงไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำในลำดับต้นของโลก (สำนักความปลอดภัยแรงงาน, 2556) กิจการประมงจึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในฐานะแหล่งที่มาของรายได้ การจ้างงาน และก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องจำนวนมาก การประมงในประเทศไทยอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ การประมงพื้นบ้านและการประมงพาณิชย์ โดยลักษณะของเรือประมงพาณิชย์ไทย สำหรับเรืออวนลากและเรอื อวนลอ้ มโดยทัว่ ไปจะมลี กั ษณะคลา้ ยกนั เช่น เกง๋ เรอื ห้องเก็บสตั ว์น้ำ

3 ห้องเครื่องยนต์ เครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า แต่เครื่องมือบนเรือแต่ละชนิดอาจมีลักษณะ ขนาด หรือ อุปกรณ์เพิ่มเติมที่แตกต่างกัน ลักษณะการทำงานบนเรือประมงนั้น มีอยู่หลายงานด้วยกัน ได้แก่ การ วางอวน การกู้อวน การตักปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ การจัดเก็บปลาลงในห้องเก็บปลา การเก็บอวนหรือ การวนอวน การนำสัตว์น้ำขึ้นจากห้องเก็บ การซ่อมอวน การปฏิบัติงานในห้องเครื่อง การปล่อยอวน และการลากอวน ซึ่งในแต่ละประเภทงานนั้นก็มีอันตรายที่แตกต่างกันไป (สำนักความปลอดภัย แรงงาน, 2556) จังหวัดชลบุรีได้มีการทำการประมงเป็นจำนวนมาก แรงงานส่วนใหญ่เปน็ ชาวต่างชาติ เช่น พม่า กัมพูชา เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจภาษาไทย (สำนักความปลอดภัยแรงงาน, 2556) แต่ก็ยังมี บางครั้งท่ียังมีการสื่อสารทำความเข้าใจไม่ตรงกัน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง และอาจนำมาสู่อันตรายในการปฏิบัติงานได้ ภาคประมงทะเลมีอัตราของแรงงานเสียชีวิตและได้รับ อุบัติเหตุจากการทำประมงถึง 80 คน ต่อแรงงาน 100,000 คน หรือมีแรงงานประมงเสียชีวิต ถึง 24,000 คนต่อปี และกว่า 24 ล้านคนที่ได้รับอุบัติเหตุต่อปี สาเหตุสำคัญ คือ แรงงานไม่ได้สวมเส้ือ ชูชีพ อาจกล่าวได้ว่าอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากการทำงานในภาคประมง มีสาเหตุสำคัญมาจาก สภาพการทำงานในภาคประมงทะเลที่มีความเสี่ยงต่ออันตราย เช่น ความเหนื่อยล้าจากการทำงานท่ี เกิดจากชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน สภาพตัวเรือ สภาพภูมิอากาศที่ปรวนแปร และอันตรายจากสัตว์ น้ำ เป็นต้น (สำนักความปลอดภัยแรงงาน, 2556) และจากงานวิจัยที่ได้ศึกษา พบว่า ความรู้และ ทัศนคติมคี วามสมั พันธก์ ับพฤติกรรมด้านความปลอดภยั อยา่ งมนี ยั สำคญั ทางสถิตทิ ร่ี ะดับ 0.05 (ศิริพงศ์ ศรีสุขกาญจน์, 2553) และการรับรู้โอกาสเสี่ยง ประโยชน์ ความรุนแรง และความเชื่อด้าน สุขภาพสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และท่ีระดับ 0.05 ตามลำดับ (ศิริขวัญ ศรีสมศักดิ์, 2557) แต่จากการได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล และการสัมภาษณ์เบื้องต้นของคณะผู้วิจัยพบว่า คนงานบนเรือประมงทุกคนไม่ได้มีการใส่เสื้อชูชีพ รองเทา้ บูทที่สวมใสน่ ั้นกม็ ีการดัดแปลง เชน่ การตดั และบรเิ วณท่มี ีการขนึ้ และลงเรือน้ันมีความสูงชนั มาก ไม่มีบันไดและราวจับที่มั่นคง และความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุจากการทำงานจะเพิ่มมากขึ้น หาก แรงงานมีความเหนื่อยล้า หรือขาดการได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือประมง และความรดู้ ้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงานอย่างถกู ต้องปลอดภยั ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงได้มีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความ ปลอดภัยของคนงานท่ีปฏิบัติงานบนเรือประมงในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อหา

4 ความสัมพันธข์ องปัจจยั ด้านตา่ งๆ ได้แก่ ข้อมูลส่วนบคุ คล สภาพการทำงาน ความรู้เก่ยี วกับพฤติกรรม ความปลอดภัย ทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัย และความเชื่อด้านสุขภาพ กับพฤติกรรม ความปลอดภัย เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการใน การปอ้ งกนั อันตรายจากการทำงานได้อย่างถกู ตอ้ งมากย่งิ ขึ้น วัตถุประสงคข์ องการวจิ ยั 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานท่ีปฏิบัติงานบนเรือประมงในเขตอำเภอ ศรีราชา จงั หวดั ชลบรุ ี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพการทำงาน ความรู้เกี่ยวกับ พฤติกรรมความปลอดภัย ทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัย และความเชื่อด้านสุขภาพของ คนงานท่ีปฏิบัติงานบนเรอื ประมงในเขตอำเภอศรรี าชา จงั หวัดชลบุรี 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพการทำงาน ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัย ทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัย และความเชื่อ ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานที่ปฏิบัติงานบนเรือประมงในเขตอำเภอศรีราชา จังหวดั ชลบรุ ี ขอบเขตของการวิจยั เป็นกลมุ่ ชาวประมง จำนวน 132 คน ศกึ ษาความสมั พันธร์ ะหวา่ งปจั จยั ตา่ ง ๆ ได้แก่ ข้อมูล ส่วนบุคคล สภาพการทำงาน ความรู้ ทัศนคติ และความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมความปลอดภัย ของคนงานที่ปฏิบัติงานบนเรือประมง ในชุมชนแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และได้ ทำการศึกษา ตั้งแตเ่ ดอื นกุมภาพันธ์ ถงึ เดือนมีนาคม 2563 วธิ กี ารวิจัย การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) แบบ ภาคตัดขวาง (Cross sectional study) ประชากรในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นคนงานที่ปฏิบัติงาน บนเรือประมงในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 200 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ ใชว้ ธิ คี ำนวณขนาดตัวอยา่ งตามวิธขี องเครจซแ่ี ละมอรแ์ กน (Krejcie and Morgan) กรณีท่ที ราบ

5 จำนวนประชากร (Krejcie & Morgan, 1970) และใช้การสุ่มตัวอย่างโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ บังเอิญ (Accidental sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 132 คน โดยมีเกณฑ์การคัดเข้า คือ เป็น ชาวประมงทั้งชายและหญิงที่สมัครใจเข้าร่วมทำวิจัยและปฏิบัติงานอยู่บนเรือประมงที่อยู่ในชุมชน แหลมฉบัง เครื่องมือท่ใี ช้ในการวจิ ัย คอื แบบสอบถาม (Questionnaire) ประกอบดว้ ย 6 สว่ น ดงั น้ี สว่ นที่ 1 ขอ้ มลู สว่ นบคุ คล จำนวน 4 ขอ้ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสงู สดุ และรายได้ เฉลยี่ ตอ่ เดือน ส่วนที่ 2 สภาพการทำงาน จำนวน 3 ข้อ ได้แก่ จำนวนชั่วโมงการทำงานในหนึ่งวัน การ ทำงานลว่ งเวลา และจำนวนวันทำงานในหนึง่ สัปดาห์ ส่วนที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนเรือประมง จำนวน 15 ข้อ โดยตอบถูกจะได้ 1 คะแนน และตอบผิดจะได้ 0 คะแนน ส่วนการแปลผล แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับความรู้น้อย ปานกลาง และมาก โดยใช้ค่าคะแนนที่มีค่า ตั้งแต่ 0-15 คะแนน โดย การใช้เกณฑ์การแบ่งกลุ่มแบบอิงเกณฑ์คะแนนเต็ม (Bloom, 1971) ดังนั้น คะแนนน้อยกว่า 9 คะแนน หมายถึงมีระดับความรู้น้อย คะแนนระหว่าง 9-12 หมายถึง ระดับความรู้ปานกลาง และ คะแนนมากกว่า 12 คะแนน หมายถงึ ระดับความรู้มาก สว่ นที่ 4 ทศั นคตเิ ก่ยี วกบั พฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏบิ ตั งิ านบนเรือประมง จำนวน 15 ข้อ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ตามหลักของ Likert scale โดยแบ่งสเกลคะแนน 5 ระดับ โดยมีทั้งข้อความเชิงบวกและข้อความเชิงลบ ส่วนการแปลผล แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ มีทัศนคติระดับน้อย ปานกลาง และมาก โดยใช้ค่าคะแนนที่มีค่า ตั้งแต่ 15-75 คะแนน โดยการใช้เกณฑ์การแบง่ กลุ่มแบบอิงเกณฑ์คะแนนเตม็ (Best, 1989) ดังนั้น คะแนน น้อยกว่า 25 คะแนน หมายถึง มีทัศนคตริ ะดับน้อย คะแนนระหว่าง 25-50 หมายถึง มีทัศนคตริ ะดบั ปานกลาง และคะแนนมากกวา่ 50 คะแนน หมายถึง มที ัศนคตริ ะดับมาก ส่วนที่ 5 ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบน เรือประมง จำนวน 20 ข้อ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ตามหลักของ Likert scale โดยแบ่งสเกลคะแนน 5 ระดับ โดยมีทั้งข้อความเชิงบวกและข้อความเชิง ลบ ส่วนการแปลผล แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ มีความเชื่อด้านสุขภาพระดับน้อย ปานกลาง และ มาก โดยใช้ค่าคะแนนท่ีมคี ่า ตงั้ แต่ 20-100 คะแนน โดยการใชเ้ กณฑ์การแบ่งกลุ่มแบบองิ เกณฑ์

6 คะแนนเต็ม (Best, 1989) ดังนั้น คะแนนน้อยกว่า 33.3 คะแนน หมายถึง มีความเชื่อด้านสุขภาพ ระดับน้อยคะแนนระหว่าง 33.3-66.7 หมายถึง มีความเชื่อด้านสุขภาพระดับปานกลาง และคะแนน มากกว่า 66.7 คะแนน หมายถึง มีความเชื่อด้านสุขภาพระดบั มาก ส่วนที่ 6 พฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนเรือประมง จำนวน 15 ข้อ โดยมี เกณฑ์การให้คะแนนแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ตามหลักของ Likert scale โดย แบ่งสเกลคะแนน 5 ระดับ โดยมีทั้งข้อความเชิงบวกและข้อความเชิงลบ ส่วนการแปลผล แบ่ง ออกเปน็ 3 ระดับ ไดแ้ ก่ พฤติกรรมความปลอดภยั ระดับตำ่ ปานกลาง และสงู โดยใชค้ า่ คะแนนท่ีมีค่า ตั้งแต่ 15-75 คะแนน โดยการใช้เกณฑ์การแบ่งกลุ่มแบบอิงเกณฑ์คะแนนเต็ม (Best, 1989) ดังน้ัน คะแนนน้อยกว่า 25 คะแนน หมายถึง พฤติกรรมความปลอดภัยระดับต่ำ คะแนนระหว่าง 25-50 หมายถึง พฤติกรรมความปลอดภัยระดับปานกลาง และคะแนนมากกว่า 50 คะแนน หมายถึง พฤตกิ รรมความปลอดภัยระดับมาก การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยการทดสอบหาค่าความเที่ยงตรง (Validity) โดยใช้ IOC (Index of congruence) โดยให้ผทู้ รงคุณวฒุ จิ ำนวน 3 ท่าน จากภาควชิ าสขุ ศาสตร์อตุ สาหกรรม และความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พิจารณาตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหา ความเหมาะสมของภาษาที่ใช้และความชัดเจนของข้อคำถาม รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งมีค่า มากกว่า 0.5 ในแต่ละข้อ และได้ทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยการนำแบบสอบถามท่ี ผ่านการตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข ไปทดลองใช้กับคนงานที่ปฏิบัติงานบนเรือประมงแห่งหนึ่ง จำนวน 20 คน และทำการวิเคราะห์เป็นรายข้อ (Item analysis) เพื่อให้เกิดความชัดเจนของข้อ คำถาม โดยใชส้ มั ประสทิ ธสิ์ หสมั พันธค์ รอนบาคอลั ฟา่ (Cronbach coefficient alpha) พบวา่ ในส่วน ของแบบสอบถาม ส่วนที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนเรือประมง สว่ นท่ี 4 ทัศนคตเิ กีย่ วกบั พฤตกิ รรมความปลอดภัยในการปฏิบัตงิ านบนเรือประมง สว่ นท่ี 5 ความเช่อื ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภยั ในการปฏบิ ัติงานบนเรอื ประมง และสว่ นที่ 6 พฤติกรรม ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนเรือประมง มีค่าเท่ากับ 0.794, 0.837, 0.895 และ 0.729 ตามลำดับ และส่วนที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนเรือประมงได้มี การทดสอบความยากงา่ ยของแบบสอบถาม มคี ่าเทา่ กับ 0.372 ซ่ึงอยู่ระหว่าง 0.20-0.80

7 คณะผู้วจิ ัยได้ ดำเนนิ การเกบ็ รวบรวมขอ้ มูลโดยการลงพ้นื ที่เกบ็ ขอ้ มูลในชุมชนแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และได้ทำการแจกแบบสอบถาม และเสร็จจะทำการเก็บทันที เมื่อได้ ข้อมูลของแบบสอบถามครบแล้ว ผู้วิจัยทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลและทำการบันทึกลง โปรแกรมคอมพิวเตอรแ์ ละนำไปวเิ คราะห์ตามวิธีการทางสถติ ิต่อไป สำหรับการพิทักษ์สิทธิของกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้มีการแนะนำตัว ขออนุญาตพร้อมกับ ชี้แจงวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลให้กับกลุ่มตัวอย่างทราบ แจ้งสิทธิในการเข้าร่วม หรือถอนตัวระหว่างการวิจัย โดยไม่เกิดผลเสียหายใดๆ พร้อมกับชี้แจงประโยชน์และผลกระทบใน การวิจัยในครั้งนี้ ข้อมูลที่เก็บมานั้นจะถูกเก็บไว้ในที่เฉพาะ ไม่วางไว้ที่เปิดเผย หากไม่ได้รับอนุญาต จากคณะผู้วิจัยก็ไม่สามารถดูข้อมูลได้ ข้อมูลที่ได้จะเก็บเป็นความลับและนำมาใช้ประโยชน์ในทาง วิชาการเทา่ นั้น ส่วนผลการวจิ ัยจะนำเสนอในภาพรวม การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) สำหรับอธิบายลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพการทำงาน ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัย ทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัย ความเชื่อด้าน สุขภาพ และพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานที่ปฏิบัติงานบนเรือประมง ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน สำหรับอธิบายความสัมพันธ์ ระหวา่ งขอ้ มูลส่วนบคุ คล สภาพการทำงาน ความรู้เก่ียวกับพฤตกิ รรมความปลอดภยั ทศั นคติเกยี่ วกับ พฤติกรรมความปลอดภัย และความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานท่ี ปฏิบัติงานบนเรือประมง โดยทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson‘s correlation coefficient) สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-square) สำหรับข้อมูลเชิง คณุ ภาพ ผลการวจิ ยั ขอ้ มูลส่วนบคุ คล ผลจากการศึกษาพบวา่ กล่มุ ตัวอยา่ งในการศกึ ษามี 132 คน ส่วนใหญ่เปน็ เพศชาย รอ้ ยละ 97.0 มีอายุอยู่ระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 47.0 รองลงมาคือ มีอายุอยู่ระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 28.8 มีอายุเฉลี่ย 34.62±7.8 ปี โดยสว่ นใหญ่มีระดับการศึกษาสูงสดุ คือ ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 49.2

8 รองลงมาคือ มธั ยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 37.9 มรี ายได้เฉลยี่ ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 9,000-12,000 บาท รอ้ ยละ 70.5 รองลงมามีรายได้อยู่ระหว่าง 12,001-15,000 บาท ร้อยละ 27.2 ดังตารางที่ 1 ตารางท่ี 1 จำนวนและรอ้ ยละของกลมุ่ ตวั อยา่ ง จำแนกตามขอ้ มลู ส่วนบคุ คล ขอ้ มูลส่วนบคุ คล (n=132) จำนวน ร้อยละ เพศ 97.0 3.0 ชาย 128 28.8 หญงิ 4 47.0 20.4 อายุ (ป)ี 3.8 20 - 29 38 49.2 37.9 30 - 39 62 12.9 0 40 - 49 27 70.5 50 - 59 5 27.2 2.3 (Mean±SD=34.62±7.8, Min=20, Max=55) ระดับการศกึ ษาสงู สุด ประถมศกึ ษา 65 มัธยมศึกษาตอนตน้ 50 มัธยมศกึ ษาตอนปลาย 17 อนุปรญิ ญาหรือเทียบเท่า 0 รายไดเ้ ฉลี่ยตอ่ เดือน (บาท) 9,000 – 12,000 93 12,001 – 15,000 36 15,001 – 18,000 3 (Mean±SD=11,964.4±1,607.8, Min=9,000, Max=18,000)

9 สภาพการทำงาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 38.6 รองลงมา คือ 10 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 18.2 และในการทำประมงกลุ่มตัวอย่างมีการทำงานล่วงเวลา 2 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ มากที่สุด ร้อยละ 46.2 รองลงมาคือ ไม่ได้ทำงานล่วงเวลา ร้อยละ 25.8 ส่วนใหญ่ในหนึ่ง สัปดาห์มกี ารทำงาน 6 วัน ร้อยละ 65.9 รองลงมาคือ 5 วัน ร้อยละ 18.2 ระดบั คะแนนความรู้เกย่ี วกบั พฤตกิ รรมความปลอดภัยในการปฏบิ ัตงิ านบนเรอื ประมง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบน เรือประมงโดยมีคะแนนความรูอ้ ยใู่ นระดับปานกลาง รอ้ ยละ 43.9 รองลงมามคี ะแนนอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 40.2 และมีคะแนนอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 15.9 มีค่าพิสัยระหว่าง 7-15 คะแนน มีคะแนน เฉลีย่ 11.82±2.15 คะแนน ดังตารางท่ี 2 ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามระดับคะแนนของความรู้เกี่ยวกับ พฤตกิ รรมความปลอดภยั ในการปฏบิ ัตงิ านบนเรือประมง ระดบั ความรู้เก่ยี วกบั พฤตกิ รรมความปลอดภัย (n=132) จำนวน (รอ้ ยละ) ความรรู้ ะดับน้อย (นอ้ ยกวา่ 9 คะแนน) 21 (15.9) ความรูร้ ะดับปานกลาง (ระหว่าง 9-12 คะแนน) 58 (43.9) ความรรู้ ะดบั มาก (มากกว่า 12 คะแนน) 53 (40.2) (Mean±SD=11.82±2.15, Min=7, Max=15) ระดบั คะแนนทศั นคติเก่ยี วกบั พฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏบิ ตั ิงานบนเรอื ประมง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบน เรือประมง โดยมีคะแนนทัศนคติอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 53.0 รองลงมามีคะแนนทัศนคติระดับปาน กลาง ร้อยละ 47.0 มคี ่าพสิ ัยระหว่าง 43-61 คะแนน มีคะแนนเฉลี่ย 51.0±4.3 คะแนน ดงั ตารางที่ 3

10 ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละ ระดับทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบน เรือประมง ระดับทศั นคติเกีย่ วกบั พฤตกิ รรมความปลอดภยั (n=132) จำนวน (ร้อยละ) มีทศั นคติระดบั น้อย (นอ้ ยกว่า 25 คะแนน) 0 (0.0) มที ศั นคติระดบั ปานกลาง (ระหวา่ ง 25-50 คะแนน) 62 (47.0) มีทศั นติระดบั มาก (มากกวา่ 50 คะแนน) 70 (53.0) (Mean±SD=51.0±4.3, Min=43, Max=61) ระดับคะแนนความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบน เรอื ประมง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวพฤติกรรมความปลอดภัยในการ ปฏิบัติงานบนเรือประมง โดยมีคะแนนความเชื่อด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.3 รองลงมามคี ะแนนความเช่ือดา้ นสขุ ภาพอยูใ่ นระดบั มาก รอ้ ยละ 47.7 คา่ พสิ ยั ระหว่าง 47-89 คะแนน มีคะแนนเฉลีย่ 65.5±9.5 คะแนน ดงั ตารางท่ี 4 ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามระดับความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับ พฤตกิ รรมความปลอดภยั ในการปฏิบตั งิ านบนเรอื ประมง ระดับความเชอื่ ด้านสขุ ภาพเกยี่ วกับพฤติกรรมความปลอดภัย (n=132) จำนวน (ร้อยละ) มีความเชอื่ ดา้ นสุขภาพระดบั น้อย (นอ้ ยกว่า 33.3 คะแนน) 0 (0.0) มคี วามเชื่อดา้ นสขุ ภาพระดบั ปานกลาง (ระหว่าง 33.3-66.7 คะแนน) 69 (52.3) มีความเช่ือดา้ นสุขภาพระดับมาก (มากกวา่ 66.7 คะแนน) 63 (47.7) (Mean±SD=65.5±9.5, Min=47, Max=89) ระดบั คะแนนพฤตกิ รรมความปลอดภยั ในการปฏบิ ัตงิ านบนเรือประมง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนเรือประมง โดยมี คะแนนพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนเรือประมงอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.3

11 รองลงมามีคะแนนพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนเรือประมงอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 22.7 ค่าพิสยั ระหวา่ ง 41-58 คะแนน มีคะแนนเฉลย่ี 47.4±3.6 คะแนน ดังตารางที่ 5 ตารางที่ 5 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการ ปฏิบตั งิ านบนเรอื ประมง ระดบั พฤตกิ รรมความปลอดภัย (n=132) จำนวน (ร้อยละ) พฤติกรรมความปลอดภยั ระดบั ต่ำ (นอ้ ยกว่า 25 คะแนน) 0 (0.0) พฤตกิ รรมความปลอดภยั ระดับปานกลาง (ระหว่าง 25-50 คะแนน) 102 (77.3) พฤติกรรมความปลอดภยั ระดบั มาก (มากกว่า 50 คะแนน) 30 (22.7) (Mean±SD=47.4±3.6, Min=41, Max=58) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล (เพศและระดับการศึกษาสูงสุด) กับพฤติกรรม ความปลอดภัยของคนงานทป่ี ฏบิ ตั งิ านบนเรือประมง พบว่า เพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนเรือประมง แต่กลับพบว่าระดับการศึกษาสูงสุด มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบน เรือประมง อย่างมนี ยั สำคัญทางสถติ ิท่ีระดบั 0.01 ดงั ตารางที่ 6 ตารางท่ี 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล (เพศและระดับการศึกษาสูงสุด) กับพฤติกรรม ความปลอดภยั ในการปฏิบตั ิงานบนเรอื ประมง ข้อมูลส่วนบคุ คล (n=132) พฤติกรรมความปลอดภยั ของคนงาน ท่ีปฏิบัติงานบนเรอื ประมง ������2 p ปานกลาง สงู จำนวน (รอ้ ยละ) จำนวน (รอ้ ยละ) เพศ 0.012a 0.912 ชาย 99 (75.0) 29 (22.0) หญิง 3 (2.3) 1 (0.7)

12 ตารางท่ี 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล (เพศและระดับการศึกษาสูงสุด) กับพฤติกรรม ความปลอดภยั ในการปฏบิ ัตงิ านบนเรอื ประมง (ต่อ) พฤติกรรมความปลอดภยั ของ ขอ้ มูลส่วนบคุ คล (n=132) คนงานทีป่ ฏบิ ตั ิงานบนเรอื ประมง ������2 p ปานกลาง สูง จำนวน (รอ้ ยละ) จำนวน (รอ้ ยละ) ระดับการศึกษาสงู สุด 20.102 <0.001** ประถมศกึ ษา 61 (46.2) 4 (3.0) มัธยมศกึ ษาตอนต้น 31 (23.5) 19 (14.4) มธั ยมศึกษาตอนปลาย 10 (7.6) 7 (5.3) หมายเหตุ : ** มนี ัยสำคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.01, a = Fisher Exact test ความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลส่วนบุคคล (อายุและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน) สภาพการ ทำงาน ความรู้ ทัศนคติ และความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน บนเรอื ประมง พบว่า ชั่วโมงการทำงานใน 1 วัน (r=0.385, p=<0.001), จำนวนวันทำงานใน 1 สัปดาห์ (r=0.375, p=<0.001), ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัย (r=0.275, p=<0.001), ทัศนคติ เกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัย (r=0.474, p=<0.001) และความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับ พฤติกรรมความปลอดภัย (r=0.315, p=<0.001) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการ ปฏิบัติงานบนเรือประมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการรับรู้ความรุนแรงมี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนเรือประมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตทิ ่ี ระดับ 0.05 แต่กลับพบว่าอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และการรับรู้อุปสรรค ไม่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏบิ ัติงานบนเรือประมง ดังตารางท่ี 7

13 ตารางที่ 7 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล (อายุและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน) สภาพ การทำงาน ความรู้ ทัศนคติ และความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน บนเรือประมง พฤตกิ รรมความปลอดภยั ของ ตวั แปร (n=132) คนงานทปี่ ฏิบตั งิ านบนเรอื ประมง rp 1. อายุ -0.024 0.789 2. รายไดเ้ ฉล่ียต่อเดอื น 0.109 0.214 3. ชวั่ โมงการทำงานใน 1 วนั 0.385 <0.001** 4. การทำงานลว่ งเวลา 0.039 0.657 5. จำนวนวันทำงานใน 1 สัปดาห์ 0.375 <0.001** 6. ความรเู้ ก่ียวกับพฤตกิ รรมความปลอดภัย 0.275 0.001** 7. ทัศนคติเกย่ี วกบั พฤติกรรมความปลอดภัย 0.474 <0.001** 8. ความเชอ่ื ด้านสุขภาพเกย่ี วกับพฤติกรรมความปลอดภยั 0.315 <0.001** -ด้านการรับร้โู อกาสเสย่ี ง 0.323 <0.001** -ด้านการรบั รปู้ ระโยชน์ 0.336 <0.001** -ดา้ นการรบั รูอ้ ุปสรรค 0.164 0.060 -ด้านการรับรคู้ วามรนุ แรง 0.213 0.014* หมายเหตุ : * มนี ัยสำคญั ทางสถติ ทิ ร่ี ะดับ 0.05, ** มีนยั สำคญั ทางสถิตทิ ี่ระดบั 0.01 อภิปรายผลการวิจัย จากการศึกษา เรื่อง การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยของ คนงานที่ปฏิบัติงานบนเรือประมง ในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวประมงในชุมชนแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 132 คน เมื่อทำการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพการทำงาน ความรู้ ทัศนคติ และความเชื่อด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานที่ปฏิบัติงานบนเรือประมง ในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัด ชลบุรี พบว่

14 เพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานที่ปฏิบัติงานบนเรือประมง ซึ่งสอดคลอ้ งกบั งานวิจัยของทรงศกั ดิ์ มณฑา (2560) พบว่า เพศไมม่ คี วามสมั พันธก์ บั พฤตกิ รรมความ ปลอดภัยในการทำงานของพนักงานสายการผลิต อาจจะเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มากกว่าเพศหญงิ อายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานที่ปฏิบัติงานบนเรือประมง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของวิทิต กมลรัตน์ (2552) พบว่า อายุไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความ ปลอดภยั ในการทำงาน เนอื่ งจากผู้ปฏิบตั งิ านบนเรือประมงนน้ั มคี วามคดิ การกระทำ หรือพฤตกิ รรม ในการปฏิบัติตนที่แตกต่างกัน และไม่ว่าจะมีอายุแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ก็อาจจะทำให้มี พฤติกรรมความปลอดภยั ท่ีแตกต่างกนั ได้ ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานที่ปฏิบัติงานบน เรือประมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.001 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของเสาวณีย์ เผ่าเมือง (2554) พบว่า ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันทำให้มีพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานที่แตกต่าง กัน เนื่องมาจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา จึงเป็นเหตุผลหนึ่งท่ี อาจจะทำให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบ การใช้เครื่องมือเครื่องจักร และการใช้ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในระดับที่น้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาที่สูงกว่า จึง อาจจะทำให้เกดิ พฤติกรรมความปลอดภัยทีแ่ ตกตา่ งกนั รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานท่ี ปฏิบัติงานบนเรือประมง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของอรุณรัตน์ นาสอ้าน (2553) พบว่า รายได้ไม่มี ผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติในการป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อมการทำงาน อาจจะเนอ่ื งมาจากกลุ่มตวั อย่างมีรายได้เฉลี่ยตอ่ เดอื นส่วนมากไมเ่ กิน 12,000 บาท และส่วนน้อยมาก ที่จะมีรายเกนิ 15,000 บาท ขึ้นไป ซึ่งรายได้น้ัน ไม่แตกต่างกันมาก จึงทำให้รายได้ไม่ได้มีผลต่อการที่ จะปฏบิ ตั ิตนใหม้ คี วามปลอดภยั มากขน้ึ สภาพการทำงาน จำนวนวันทำงานใน 1 สัปดาห์ และชั่วโมงการทำงานใน 1 วัน มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานทีป่ ฏิบัติงานบนเรือประมง อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ <0.001 และการทำงานล่วงเวลา ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยของ คนงานที่ปฏบิ ัติงานบนเรือประมง ซ่งึ สอดคล้องกบั งานวิจัยของนำ้ ทพิ ย์ สีก่ำ (2558) พบวา่ สภาพการ ทำงานมคี วามสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกนั อนั ตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน เนื่องมาจาก

15 กลุ่มตัวอย่างส่วนมากนั้น ทำงานในหนึ่งวันตั้งแต่ 8 ชั่วโมงขึ้นไป มากสุดจนถึง 12 ชั่วโมงต่อวัน และ ส่วนใหญ่ทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งจะทำให้เกิดความเหนื่อยล้าสะสม และในการทำประมงนั้น ต้อง ทำประมงในเวลากลางคืนด้วย อาจจะทำให้การพักผ่อนไม่เพียงพอ จึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการ ปฏิบตั ิงาน ประสิทธภิ าพในการทำงานที่ลดลง และอาจจะสง่ ผลตอ่ พฤตกิ รรมความปลอดภัยทีไ่ มด่ ีได้ ความรู้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานที่ปฏิบัติงานบนเรือประมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของศิริพงศ์ ศรีสุขกาญจน์ (2553) พบว่า ระดับความรู้ที่แตกต่างกันทำให้มีพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานที่แตกต่างกัน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ และจากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมากกว่า 80% ที่มีความรู้ระดับปานกลาง รวมกบั มาก จงึ อาจจะมคี วามเขา้ ใจเกีย่ วกบั วธิ ีการทำงาน ขน้ั ตอนการทำงาน และรกู้ ฎระเบียบในการ ปฏบิ ตั ิงาน และการใชอ้ ปุ กรณ์ป้องกนั อนั ตรายสว่ นบคุ คลทีม่ ากกว่ากลุ่มตัวอยา่ งทีม่ ีความรอู้ ย่ใู นระดับ ที่นอ้ ยกวา่ ทัศนคติ มีความสัมพนั ธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานที่ปฏิบัติงานบนเรือประมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.001 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของศิริพงศ์ ศรีสุขกาญจน์ (2553) พบว่า ทัศนคติกับพฤติกรรมด้านความปลอดภัยมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องมาจากกลุ่มตัวอยา่ งมรี ะดับทัศนคตทิ ี่ดีในการปฏิบัตงิ าน เช่น ใส่ถุงมอื ทุกครั้งก่อนการปฏิบัติงาน เพอื่ ป้องกันการตัด บาด ทม่ิ แทง สวมเสอื้ ชูชีพตลอดเวลาการทำงาน จะทำให้มีความปลอดภัยในการ ปฏิบัติงานบนเรอื ประมงท่มี ากยิง่ ข้นึ ความเชื่อด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานที่ปฏิบัติงาน บนเรอื ประมง อยา่ งมนี ัยสำคญั ทางสถิติทีร่ ะดับ <0.001 จากผลการศกึ ษาแสดงให้เหน็ ว่าด้านการรบั รู้ โอกาสเสี่ยง มีความความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานที่ปฏิบัติงานบนเรือประมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.001 ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ โอกาสเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลางและระดับมากจึงนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมความปลอดภัยที่ดีด้วย ด้านการรับรู้ความรุนแรงมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานที่ปฏิบัติงาน บน เรือประมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่า ความรุนแรงจากการเกิด อุบัติเหตุบนเรือ สามารถก่อให้เกิดการเสียชีวิตได้ รวมไปถึงเมื่อมีการเกิดอุบัติเหตุบนเรือขึ้นต้องใช้ ระยะเวลานานในการกลับเข้ามายังฝั่ง จึงเป็นแรงกระตุ้นอย่างหนึ่งที่อาจจะสนับสนุนให้มีพฤติกรรม ความปลอดภยั ของคนงานท่ีปฏิบตั ิงานบนเรอื ประมงท่ีดีเกิดขนึ้ ได้ สำหรบั ดา้ นการรับร้ปู ระโยชน์มี

16 ความสัมพันธ์กบั พฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานทีป่ ฏิบัติงานบนเรือประมง อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดบั <0.001 ทงั้ น้อี าจจะเนอ่ื งมาจากการรับร้โู อกาสเสย่ี งและการรบั รู้ความรนุ แรงอยู่ในระดับ ค่อนข้างสูง จึงนำไปสู่พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายท่ีลดน้อยลง ดังนั้น จึงส่งผลให้การรับรู้ประโยชน์ ของการมีพฤติกรรมความปลอดภัยที่ดีตามมา ด้านการรับรู้อุปสรรค ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม ความปลอดภัยของคนงานที่ปฏิบัติงานบนเรือประมง ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของศิริขวัญ ศรีสมศักดิ์ (2557) ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อด้านสุขภาพที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตราย จากการทำงานของพนกั งาน ข้อเสนอแนะ 1. ขอ้ เสนอแนะที่ได้จากงานวจิ ัยในคร้งั น้ี 1) หัวหน้าชุมชนหรือหัวหน้างาน ควรมีการบริหารจัดการเกี่ยวตำแหน่งงานให้ เหมาะสมกับระดับการศึกษา มกี ารปรบั จำนวนชว่ั โมงในการทำงานในหน่ึงวนั และจำนวนวนั ทำงานใน หนง่ึ สปั ดาห์ใหล้ ดนอ้ ยลง 2) ในเรื่องของความเช่อื ด้านสุขภาพในด้านของการรับรู้อุปสรรค ควรมีการจัดให้ความรู้ ความเข้าใจเพื่อให้สามารถบริหารจัดการเกี่ยวกับอุปสรรคที่เกิดขึ้น ทั้งในด้านกฎระเบียบในการ ปฏิบัติงาน ด้านการใช้เครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์ และด้านการใช้อุปกรณ์ในการป้องกันอันตราย ส่วนบุคคล เพื่อช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานที่ปฏิบัติงานบนเรือประมงให้มาก ยิง่ ข้ึน 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครัง้ ตอ่ ไป 1) ควรมีการศกึ ษากล่มุ ตวั อย่างในพน้ื ทีก่ ารทำประมงให้ครอบคลมุ ในหลายพนื้ ที่ให้มาก ข้ึนและเพมิ่ ขนาดของกลุ่มตัวอยา่ ง รวมถึงศกึ ษาเพมิ่ เตมิ ขนาดของเรือดว้ ย 2) ควรมีการศึกษาวิจัยแบบเชิงคุณภาพของคนงานที่ปฏิบัติงานบนเรือประมง เพ่ือ นำมาสรา้ งเสริมพฤติกรรมความปลอดภยั ในการปฏบิ ตั งิ านให้มากยงิ่ ขนึ้ กิตตกิ รรมประกาศ งานวิจัยครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยคณะผู้วิจัยได้รับความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งจาก กกล่มุ ตัวอยา่ งชาวประมงท่ีปฏิบัติงานบนเรือประมง ในชมุ ชนแหลมฉบงั อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบรุ ี

17 ที่ช่วยสละเวลาในการตอบแบบสอบถามการวิจัย ที่ทำให้งานวิจัยสำเร็จตามเป้าหมาย คณะผู้วิจัย ซาบซึ้งและขอบคณุ ในความกรุณาจากทกุ ๆ ท่านเป็นอยา่ งดี เอกสารอา้ งองิ ชนกานต์ สกุลแถว. 2559. ปจั จยั ทีม่ ีความสมั พันธก์ ับพฤตกิ รรมความปลอดภยั ในการใช้ หอ้ งปฏบิ ตั กิ ารเคมขี องนักศกึ ษาชั้นปีที่ 1 ระดบั ปริญญาตรี ของมหาวทิ ยาลยั แหง่ หนง่ึ . สืบค้นจาก : file:///C:/Users/ASUSNOTE/Downloads/Documents/TU_2016_5717030133_50 31_5037.pdf (วันทส่ี ืบคน้ 6 มกราคม 2563). ณฐั พงศ์ ปานศริ ิ. 2558. การศึกษาพฤตกิ รรมความปลอดภัย ของเจ้าหน้าท่คี วามปลอดภัยในการ ทำงานระดับวชิ าชพี ในโรงงานอุตสาหกรรม เขตจังหวดั สุราษฎรธ์ านี. สบื คน้ จาก : file:///C:/Users/ASUSNOTE/Downloads/404763.pdf (วันทีส่ บื ค้น 6 มกราคม 2563). ทรงศกั ดิ์ มณฑา. 2560. พฤตกิ รรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานสายการผลิต ใน บรษิ ทั บรู ณาพากรปุ๊ จำกดั . สืบค้นจาก : file:///C:/Users/ASUSNOTE/Downloads/Documents/58930208.pdf (วนั ทสี่ ืบค้น 6 มกราคม 2563). ธนกร สริ ธิ ร. 2559. พฤติกรรมการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และบุคลิกภาพท่สี ่งผลตอ่ ความ ปลอดภัยใน การทำงานของแรงงานต่างดา้ ว : กรณศี กึ ษาแรงงานต่างด้าว สญั ชาติเมยี นมาใน โรงงานย่านมหาชยั จงั หวัดสมทุ รสาคร. สืบค้นจาก : file:///C:/Users/ASUSNOTE/Downloads/Documents/tanakorn_siri.pd (วนั ที่ สบื คน้ 6 มกราคม 2563). ธวชั เหลืองวสุธา. 2557. ความรู้ ทศั นคติ และการปฏิบตั งิ านอยา่ งปลอดภยั ของพนักงาน กรณศี กึ ษา บรษิ ัท คอทโก้ เมททอลเวอรค์ ส จาํ กัด จงั หวดั ระยอง. สืบค้นจาก : file:///C:/Users/ASUSNOTE/Downloads/20009.pdf (วันทส่ี บื ค้น 6 มกราคม 2563).

18 นำ้ ทิพย์ สกี ำ่ . 2553. ความรู้และทัศนคตทิ มี่ ตี ่อการป้องกันอนั ตรายจากสภาพแวดลอ้ มในการ ทำงานของคนงานตดั เย็บโรงงานอุตสาหกรรมสงิ่ ทอและเคร่ืองนงุ่ หม่ จงั หวดั กาฬสินธ์ุ. (วันทสี่ บื ค้น 30 ธันวาคม 2562). วทิ ติ กมลรัตน.์ 2552. ศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบตั งิ านของพนักงานฝา่ ย ปฏิบตั ิการ บรษิ ัท อดิตยา เบอร์ลา่ เคมคี ัลส์ (ประเทศไทย) จํากดั (ฟอสเฟต ดวี ชิ ่ัน). สบื คน้ จาก : file:///C:/Users/ASUSNOTE/Downloads/Documents/19634.pdf (วนั ทส่ี ืบค้น 6 มกราคม 2563). ศิริขวญั ศรสี มศกั ด.ิ์ 2557. ความสมั พนั ธ์ระหว่างความเช่อื ดา้ นสขุ ภาพกับพฤติกรรมการปอ้ งกัน อนั ตรายจากการทำงานของพนกั งานโรงงานผลิตชนิ้ สว่ นรถยนต์ จงั หวัดระยอง. (วนั ท่ี สบื ค้น 30 ธนั วาคม 2562). ศริ ิพงศ์ ศรสี ุขกาญจน์. 2553. ความรู้ ทศั นคตติ อ่ พฤตกิ รรมด้านความปลอดภยั ของพนักงานอู่ ทหารเรอื พระจลุ จอมเกลา้ กรมอู่ทหารเรอื ในกรณีศกึ ษา : ในสายงานฝ่ายผลติ . สืบค้นจาก : file:///C:/Users/ASUSNOTE/Downloads/141231.pdf (วนั ทสี่ บื คน้ 6 มกราคม 2563). ศภุ วรรณ รตั นภริ มย์. 2558. พฤตกิ รรมป้องกันอุบตั เิ หตใุ นการปฏบิ ัตงิ านของพนักงานระดับ ปฏิบตั กิ าร กลุ่มบรษิ ัทบีเอเอสเอฟในประเทศไทย. สืบคน้ จาก : file:///C:/Users/User/Downloads/Documents/56256315%20ศภุ วรรณ%20รตั น ภิรมย.์ pdf (วนั ทีส่ บื คน้ 8 มกราคม 2563). สำนกั ความปลอดภยั แรงงาน กรมสวัสดกิ ารคุ้มครองแรงงาน. 2556. แนวปฏบิ ตั ิงานดา้ นความ ปลอดภยั ในการทำงานภาคประมงทะเล. สืบค้นจาก : file:///C:/Users/User/Downloads/18874.pdf (วันที่สบื ค้น 8 มกราคม 2563). เสาวนยี ์ เผ่าเมอื ง. 2554. พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนกั งานฝ่ายผลติ บรษิ ทั ซที ี เอส อิเลก็ ทรอนิกส์ คอรป์ อเรชั่น (ประเทศไทย). สบื คน้ จาก : file:///C:/Users/ASUSNOTE/Downloads/Documents/122755.pdf (วนั ทสี่ บื คน้ 6 มกราคม 2563).

19 อรณุ รัตน์ นาสอา้ น. 2553. ปจั จยั ทม่ี ผี ลตอ่ การปฏิบตั ิในการปอ้ งกนั อันตรายจากสภาพแวดล้อมใน การทำงานของคนงานตัดเยบ็ โรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครอื่ งน่งุ หม่ จังหวดั กาฬสนิ ธุ์. สืบคน้ จาก : https://www.gotoknow.org/posts/396638 (วนั ทส่ี บื ค้น 30 ธนั วาคม 2562). FAO. 2016. The State of World Fisheries and Aquaculture 2016. Available from : http://www.fao.org/3/a-i5555e.pdf (access on december 30, 2019).

ผลของการออกกำลังกายด้วยยางยืดเพอื่ เพ่ิมความแขง็ แรงของกลา้ มเน้อื ขา สำหรับพระสงฆ์ ณ วดั แหง่ หน่ึงในจงั หวดั ชลบรุ ี Effect of the Exercise with Elastic Chain for Legs Muscle Strength Increasing among Buddhist Monks in a Temple, Chonburi Province จติ ราพร แพลกู อินทร1์ ธนชั ชา จั่นเจริญ1 เบญจวรรณ บุญเวียง1 สนั ติราษฎร์ เพช็ รศร1ี สาธิตา ม้วนสธุ า1 สรุ เสกข์ บุญประสาน1 และปวีณา มปี ระดษิ ฐ์2 1วิทยาศาสตรบณั ฑติ สาขาสขุ ศาสตรอ์ ุตสาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสขุ ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยบูรพา 2ภาควชิ าสุขศาสตร์อตุ สาหกรรมและความปลอดภยั คณะสาธารณสขุ ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั บูรพา บทคัดยอ่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยยางยืดเพื่อเพิ่มความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของพระสงฆ์ ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 4 คน โดย ประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา 2 แบบ คือ วัดแรงเหยียดขาด้วย Leg dynamometer และ วัดความรู้สึกเมื่อยขาหลังบิณฑบาตด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ทางคอมพวิ เตอร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุอยู่ 31-40 ปี (ร้อยละ 75.00) น้ำหนักอยู่ ในช่วง 70-80 กิโลกรัม (ร้อยละ 50.00) และไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 75.00) ค่าเฉลี่ยของแรง เหยียดขาของพระสงฆ์ระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมการออกกำลังกายด้วยยางยืดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างก่อนเข้าร่วมกับหลังเข้าร่วมในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 และค่าเฉลี่ยของ ความรู้สกึ เมื่อยขาหลงั บิณฑบาตระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมการออกกำลังกายด้วยยางยืดมีแนวโนม้ ที่ลดลง แต่ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างก่อนเข้าร่วมกับหลังเข้าร่วมในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ดังนั้นการ ออกกำลังกายด้วยยางยืดจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นประโยชน์ต่อพระสงฆ์ในการเพิ่มความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อ แต่ควรมีตดิ ตามผลอยา่ งต่อเน่ืองตอ่ ไป คำสำคญั : การออกกำลังกายด้วยยางยดื , ความแขง็ แรงของกล้ามเนือ้ ขา

21 Abstract This research aimed to study the effect of the exercise with elastic chain for legs muscle strength increasing among Buddhist monks. Data was collected from 4 samples by using the Leg dynamometer and fatigue feeling after receive food questionnaire. The computer program was sue to analyzed the collected data. The results were found that the majority of sample age was 31-40 years (75.00%), weighted 70-80 kilograms (50.00%) and no congenital disease (75.00%). The average of leg strength force trend to increasing. However, the leg strength was found no different between before and after 2 and 4 weeks participated with elastic chain significantly. In addition, the average of fatigue feeling after receive food offerings also trended decreasing but was found no different between before and after 2 and 4 weeks participated with elastic chain significantly. Therefore, exercise with an elastic band tends to benefit monks in increasing legs muscle strength but should have continuous follow-up. Keyword : Exercise with Elastic chain, Legs Muscle Strength บทนำ พระสงฆ์เป็นผู้มีความสำคัญในการ สืบทอดพระพุทธศาสนา พัฒนาการเรียนรู้ด้าน คุณธรรม จริยธรรม และการพัฒนาสังคม ท้องถิ่น ชุมชน อันเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน ในเรื่อง การดูแลสุขภาพตนเอง สิ่งแวดล้อมภายในวัดและขยายผลสู่การพัฒนา สุขภาวะของชุมชน (กรม อนามัย, 2562) จากข้อมูลของสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ปี 2559 พบว่ามีพระสงฆ์และสามเณร อาพาธมารับ คือ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง และข้อ เข่าเสื่อม (อนุชา มะลาลัย, 2562) โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในพระสงฆ์สูงอายุ ซึง่ มีผลต่อการใช้ชวี ิตประจำวนั เพราะต้องทุกข์ทรมานจากอาการปวด บวม อักเสบ จงึ เป็นสาเหตทุ ำ ให้พระอาพาธด้วยโรคข้อเข่าเสื่อมและไม่อยากเคลื่อนไหว ทำให้ประสบปัญหาในการปฏิบัติกิจของ สงฆ์ได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนเดิม หากปล่อยไว้นานจะเกิดภาวะแทรกซ้อน คือ ข้อเข่าผิดรูป ขาโก่ง จากข้อเข่าเสอ่ื มได้ (Jutrakul P., 2561)

22 การบิณฑบาตเป็นภารกิจหนึ่งที่สำคัญของพระสงฆ์ ซึ่งต้องมีการเดินด้วยเท้าเปล่าเป็น ระยะทางไกล และถือบาตรที่มีน้ำหนักจากของที่มีคนนำมาถวาย และจากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับการบิณฑบาตของพระสงฆ์ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีการออกบิณฑบาตด้วยเท้าเปล่าซ่ึง แบ่งเส้นทางในการเดินออกเป็น 2 เส้นทาง โดยมีระยะทางไป-กลับจากวัดไปยังจุดหมายปลายทาง และเดินกลับมาที่วัดประมาณ 3 กิโลเมตรทั้งสองเส้นทาง และตลอดระยะทางระหว่างเดินบิณฑบาต พระสงฆ์ต้องถือบาตรและมีการรับอาหารใส่ลงในบาตรแตกต่าง โดยปกติบาตรที่ไม่มีอาหารจะมี น้ำหนัก 1 กิโลกรมั ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวอาจสง่ ผลกระทบตอ่ สุขภาพขาของพระสงฆไ์ ด้ การออกกำลังกายด้วยอุปกรณ์ยางยืด เป็นวิธีการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อ คุณสมบัติพิเศษของยางยืดที่จะส่งผลต่อการช่วยกระตุ้นระบบประสาทส่วนที่ รับรู้ความรู้สึกของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ให้มีปฏิกิริยาการรับรู้และตอบสนองต่อแรงดึงของยางที่กำลัง ถูกยืด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาและบำบัดรักษาระบบการทำงานของประสาทกล้ามเนื้อ ช่วย ป้องกันการเสื่อมสภาพของโครงสร้างร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัว กระชับได้สัดส่วน ช่วย พัฒนาความสัมพันธ์และความมั่นคงในการทรงตัวในแต่ละอิริยาบถของการเคลื่อนไหว ส่งผลให้ดู กระฉับกระเฉงคล่องแคล่วว่องไวขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นการออกกำลังกายประเภทนี้ยังช่วยกระตุ้นให้เกิด การสะสมแคลเซียมเก็บไว้ในกระดูก ทำให้กระดูกมีความหนาแน่น (Bone Density) และแข็งแรง เพิ่มขึ้น ช่วยป้องกันปัญหาโรคกระดูกบาง โรคกระดูกพรุน อาการข้อติดและข้อเสื่อม อีกด้วย (ภาณุวฒั น์ คำเหมอื ง และ อภิบดินทร์ พนิ ิจ, 2560) จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้คณะผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อขาในพระภิกษุสงฆ์ โดยการประยุกต์การออกกำลังกายด้วยยางยืดเพื่อเสริมความ แข็งแรงกล้ามเนื้อขาสำหรับพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งคณะผู้วิจัยได้เลือกท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมกับ พระภิกษุสงฆ์ และได้เลือกยางยืดมาเป็นอุปกรณ์ในการช่วยออกกำลังกายให้แก่พระภิกษุสงฆ์ โดย อาศัยแรงดึงกลับของยางยืด ซึ่งจะส่งผลต่อการช่วยกระตุ้นระบบประสาทส่วนที่รับรู้ความรู้สึกของ กล้ามเนื้อและข้อต่อ ให้มีปฏิกิริยาการรับรู้และตอบสนองต่อแรงดึงของยางที่กำลังถูกยืด (สมฤทัย พุ่มสลดุ และศศิมา พกุลานนท์, 2555) ซึ่งจะช่วยใหพ้ ระภิกษุสงฆ์มสี ุขภาพขาทแี่ ข็งแรงมากยิ่งขนึ้

23 วตั ถปุ ระสงคข์ องการวจิ ยั 1. ศกึ ษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของพระสงฆ์ ได้แก่ แรงเหยียดขา และความรู้สกึ ปวดขาหลังบิณฑบาต กอ่ นและหลงั การเขา้ รว่ มการออกกำลงั กายด้วยยางยดื เพอื่ เพ่ิมความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อขาของพระสงฆ์ ในวดั แห่งหนึ่ง จ.ชลบรุ ี 2. เพ่อื เปรียบเทียบผลของการทดสอบความแขง็ แรงของกล้ามเนอ้ื ขาของพระสงฆ์ ไดแ้ ก่ แรงเหยยี ดขา และความร้สู ึกปวดขาหลงั บิณฑบาต ระหว่างก่อนและหลงั การเขา้ ร่วมการออกกำลงั กายด้วยยางยืดเพ่อื เพิม่ ความแขง็ แรงของกล้ามเนอ้ื ขาพระสงฆ์ ในวดั แหง่ หนึ่ง จ.ชลบุรี วธิ กี ารวิจยั รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) แบบกลุ่ม ทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ พระสงฆ์ ณ วัดแห่งหน่ึง ในจงั หวดั ชลบุรี จำนวน 13 คน (จากการสอบถามพระอาจารยม์ หาวิโรจน์ วิโรจโน เลขานุการเจ้าคณะ อำเภอเมืองชลบุรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2563) มีกลุ่มตัวอย่าง 4 คน ที่ผ่านการกำหนดขนาด ตวั อยา่ งแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกำหนดคณุ สมบัตติ ามเกณฑ์การคัดเขา้ ดงั นี้ 1. ไม่ได้รบั การวินิจฉยั จากแพทยว์ ่าเปน็ โรคทเี่ ก่ียวกับกล้ามเน้ือและกระดูกขา 2. พระสงฆ์ที่บิณฑบาตในช่วงเวลาทท่ี ำการวิจยั 3. มีความสมัครใจและยินดีเข้ารว่ มในการวิจัยคร้ังนี้ เครอื่ งมอื ท่ใี ช้ในการวิจยั คร้งั นปี้ ระกอบด้วย 1. เครื่องวัดแรงเหยียดขา (Leg dynamometer) ที่ผ่านการสอบเทียบที่บริษทั ADVANCE METROLOGY CO.,LTD. เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2560 ทำการวัดก่อนและหลังการเข้าร่วมการออกลัง กายดว้ ยยางยืด 2 สัปดาหต์ อ่ คร้ัง (ปภัชญา วิวรรธนมุกดา, 2562) และแปลผลเปน็ 5 ระดับ คอื ดมี าก ดี พอใช้ คอ่ นข้างต่ำ และต่ำ (สถาบันการพลศกึ ษา, 2559) 2. แบบสอบถามท่ีผูว้ ิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนือ้ หา (ค่า IOC = 6.67) โดยเนอื้ หาในแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 สว่ น คอื 2.1 ส่วนที่ 1 ข้อมลู ท่วั ไป ไดแ้ ก่ อายุ น้ำหนัก และโรคประจำตัว 2.2 ส่วนที่ 2 ความรู้สึกเมื่อยหลังบัณฑบาตแต่ละวัน ซึ่งผู้วิจัยประยุกต์มาจาก Visual Rating Scale (VRS) ซ่ึงวัดโดยใชเ้ สน้ ตรงยาว 10 เซนติเมตรแบ่งเป็น 10 ชอ่ งๆละ 1 เซนตเิ มตร ให้

24 ผู้ปว่ ยทำเครือ่ งหมายบนเสน้ ตรงท่มี ีตวั เลขแทนคา่ ความรุนแรงของความปวดโดยปลายข้างหน่ึงแทนค่า ด้วยเลข 0 หมายถึง ไม่ปวดปลายอีกข้างแทนค่าด้วยเลข 10 หมายถึง ปวดรุนแรงมากที่สุด ผู้ป่วยทำ เครื่องหมายตรงเลขใดถือเป็นคะแนนความปวด ผู้ที่ให้คะแนนความเจ็บปวดคือผู้ป่วย มีการอธิบายให้ ผู้ป่วยฟังถึงลำดับการให้คะแนนและความหมาย (ชาญทอง บุษยวิไลมาศ, 2559) และแปลผลตาม เกณฑ์ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ การดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้นของภาควิชาวิสัญญีวิทยา และ งานการพยาบาลผ่าตัด โรงพยาบาลรามาธิบดี ปี พ.ศ. 2550 โดยแบ่งระดับความรุนแรงของความ เมื่อยเป็น 4 ระดับ คือ ไม่เมื่อย เมื่อยเล็กน้อย เมื่อยปานกลาง และเมื่อยมากที่สุด (ลลิดา อาชานานุ ภาพ และรุ้งจิต เติมศริ กิ ุลชยั , 2552) 3. อุปกรณ์ยางยืดที่ใช้ในการออกกำลังกายเป็นรูปแบบยืดสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยท่ัวไป ใช้สำหรบั การยืดเหยียดกล้ามเน้อื แขนขา วัสดุทใี่ ช้ทำคอื ยางแก้ววงเล็กทั้งหมด362 วงนำมาร้อยต่อกัน เป็นข้อโดยใช้ข้อละ 5 วง ยกเว้นข้อแรกและสุดท้ายใช้ 7 วง จำนวน 35 ข้อและท่อ PVC (Polyvinylchloriide) ตัดเปน็ ทอ่ นยาวประมาณ 12 เซนติเมตร 2 ชน้ิ ทำเป็นที่จบั ในลักษณะทมี่ ียางที่ ถักเป็นเส้นยาวแล้วสองเส้นนำมามัดเป็นห่วงเข้าด้วยกันข้างละสองปมให้มีแรงต้านประมาณ 5.3 กโิ ลกรมั โดยประมาณและมคี วามยาวกอ่ นยืดจะอยู่ท่ีประมาณ 15 เซนติเมตร(เมธี ธรรมวฒั นา,2561) ข้นั ตอนการเก็บรวบรวมข้อมลู 1. ผู้วิจัยประสานงานกับพระสงฆ์ ณ วัดแห่งหนึ่ง ในจังหวัดชลบุรี เพื่อขออนุญาตในการเก็บ ข้อมลู เพือ่ วจิ ัย 2. ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลจากการทดสอบแรงเหยียดขาและสอบถามความเมื่อยขาหลัง บิณฑบาตกอ่ นการเข้ารว่ มการออกกำลังกายดว้ ยยางยดื ของผ้เู ขา้ ร่วมวจิ ยั 3. ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยเข้าร่วมการออกกำลังกายด้วยยางยืดเป็นระยะเวลาทั้งหมด 4 สัปดาห์ โดย มีท่าบริหารกล้ามเนื้อทั้งหมด 6 ท่า ท่าละ 15 ครั้งทำสลับกันทั้งสองข้าง 3 เซ็ทต่อวัน (ปภัชญา วิวรรธนมุกดา, 2562) ประกอบด้วย ท่าที่ 1 ท่ากายบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ากล้ามเนื้อสะโพกและต้นขาด้านหลัง (Half squat) ท่าท่ี 2 ท่ากายบริหารกล้ามเนือ้ หลงั ส่วนลา่ งสะโพกและตน้ ขาด้านหลงั (Dead lift) ทา่ ท่ี 3 ทา่ กายบริหารกลา้ มเน้อื สะโพกด้านหลงั (Back kick) ท่าท่ี 4 ทา่ กายบริหารกล้ามเน้อื สะโพกด้านนอก(Leg abduction)

25 ทา่ ท่ี 5 ท่ากายบริหารกลา้ มเน้ือต้นขาดา้ นหลัง(Leg curl) ทา่ ที่ 6 ทา่ กายบรหิ ารกล้ามเน้ือต้นขาดา้ นหนา้ (Leg extension) 4. ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลจากการทดสอบแรงเหยียดขาด้วยเครื่อง Leg dynamometer หลังการเข้าร่วมโปรแกรมของผู้เข้าร่วมวิจัย 2 สัปดาห์ต่อครั้ง (ปภัชญา วิวรรธน มุกดา, 2562) 5. ผู้วิจัยได้อธิบายวิธีการทำแบบสอบถามความรู้สึกเมื่อยขาหลังบิณฑบาต โดยให้กลุ่ม ตัวอย่างประเมินความรู้สึกเมื่อยขาหลังบิณฑบาตด้วยตนเองทุกวัน (ลลิดา อาชานานุภาพ และรุ้งจิต เติมศิริกลุ ชัย, 2552) 6. นำขอ้ มลู ทเี่ ก็บรวบรวมได้ทง้ั หมดมาตรวจสอบความสมบูรณ์ ถกู ตอ้ ง และนำไปวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพวิ เตอรต์ ่อไป การวิเคราะห์ข้อมูลภายหลังจากตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของ แบบสอบถามวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยแยกวิเคราะห์ตามลำดับ และ รายงานผลคา่ สถติ ิ ดังรายละเอียดดังนี้ 1. สถิติเชิงพรรณนา ใช้สถิติวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Measures of Central Tendency) หาค่าเฉลี่ย (Average or Arithmetic Mean) ฐานนิยม (Mode) มัธยฐาน (Median) เพื่ออธิบาย ข้อมูลทั่วไป ระดับความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อขา ได้แก่ แรงเหยียดขา และความรู้สึกเมื่อยขาหลัง บณิ ฑบาต 2. สถิติเชิงวิเคราะห์ ใช้สถิติ Wilcoxon’s matched paired signed rank test เพื่อ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ได้แก่ แรงเหยียดขา และความรู้สึกเมื่อยขา หลังบิณฑบาต ระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมการออกกำลังกายด้วยยางยืดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของ กลา้ มเนือ้ ขา ผลการวิจยั คุณลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพระสงฆ์จำนวนทั้ง 4 รูป พบว่า อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 75.00 และอายุ 41-50 ปี ร้อยละ 25.00 (อายุเฉลี่ย 37.25 ปี) มีน้ำหนัก 61-70 กโิ ลกรมั รอ้ ยละ 25.00 นำ้ หนัก 71-80 ร้อยละ 50.00 และน้ำหนัก 81-90 รอ้ ยละ 25.00 (น้ำหนกั

26 เฉลี่ย 75.75 กิโลกรัม) มีโรคประจำตัว ร้อยละ 25.00 และไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 75.00 ดัง รายละเอยี ดในตารางท่ี 1 ตารางท่ี 1 คณุ ลกั ษณะประชากร ข้อมูลประชากร จำนวน รอ้ ยละ (n = 4 คน) 75.00 25.00 อายุ (ปี) 25.00 31 – 40 3 50.00 25.00 41 – 50 1 25.00 ค่าเฉลีย่ 37.25 ปี สว่ นเบยี่ งเบนมาตรฐาน 6.652 ค่าตำ่ สุด 33 คา่ สูดสุด 47 75.00 น้ำหนกั (กิโลกรมั ) 60 – 70 1 71 – 80 2 81 – 90 1 ค่าเฉลย่ี 75.75 กโิ ลกรมั สว่ นเบย่ี งเบนมาตรฐาน 8.302 ค่าต่ำสดุ 65 คา่ สูดสุด 85 โรคประจำตวั มีโรคประจำตัว โรคเบาหวาน 1 ไมม่ โี รคประจำตวั 3 แรงเหยียดขาของพระสงฆ์ก่อนและหลังการเข้าร่วมการออกกำลังกายด้วยยางยืด พบว่า ก่อนเข้าร่วมการออกกำลังกายด้วยยางยืด กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยแรงเหยียดขา 117.95 กิโลกรัม (ค่าสูงสุด 158.8 กิโลกรัม และค่าต่ำสุด 77.1 กิโลกรัม) โดยหลังเข้าร่วมการออกกำลังกายฯ สัปดาห์ที่ 2 กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยแรงเหยียดขา 123.63 กิโลกรัม (ค่าสูงสุด 158.8 กิโลกรัม และค่า ตำ่ สุด 95.3 กโิ ลกรัม) และหลังเขา้ รว่ มการออกกำลงั กายฯ ครบ 4 สัปดาห์ กลมุ่ ตวั อย่างมีค่าเฉลี่ยแรง เหยียดขา 137.6 กิโลกรัม (ค่าสูงสุด 181.4 กิโลกรัม และค่าต่ำสุด 108.9 กิโลกรัม) และเมื่อทำการ เปรียบเทียบคา่ เฉลี่ยแรงเหยยี ดขา พบวา่ ไมม่ คี วามแตกต่างกัน ดงั รายละเอยี ดในตารางท่ี 2

27 ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบค่าเฉลย่ี ของแรงเหยยี ดขากอ่ นและหลังเขา้ รว่ มการออกกำลงั กายด้วย ยางยดื การเปรียบเทียบขอ้ มลู คา่ เฉลี่ยของแรงเหยียดขา p- (ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน) value กอ่ น หลงั กอ่ นกบั หลังเข้ารว่ มการออกกำลงั กาย 117.95 123.63 0.180 ฯ 2 สัปดาห์ (33.539) (26.285) ก่อนกบั หลงั เขา้ ร่วมการออกกำลังกาย 117.95 137.6 0.109 ฯ 4 สัปดาห์ (33.539) (38.557) หลงั เข้าร่วมการออกกำลงั กายฯ 2 กบั 123.63 137.6 0.109 4 สปั ดาห์ (26.285) (38.557) เมื่อทำการวิเคราะห์ระดับของแรงเหยียดขา พบว่า ก่อนการเข้าร่วมการออกกำลังกาย ด้วยยางยืด แรงเหยียดขาของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดี 2 คน (ร้อยละ 50.00) ระดับพอใช้ 1 คน (ร้อยละ 25.00) และระดับต่ำ 1 คน (ร้อยละ 25.00) ตามลำดับ หลังเข้าร่วมการออกกำลังกายฯ สัปดาหท์ ี่ 2 แรงเหยียดขาของกลมุ่ ตวั อยา่ งคนที่ 1 และ 2 อย่ใู นระดบั ดี (รอ้ ยละ 50.00) กลุ่มตวั อย่าง คนที่ 3 อยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 25.00) กลุ่มตัวอย่างคนที่ 4 อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 25.00) ตามลำดับ หลังเข้าร่วมการออกกำลังกายฯ สัปดาห์ที่ 4 แรงเหยียดขาคนที่ 1 และ 2 อยู่ในระดับดี มาก (ร้อยละ 66.66) คนที่ 4 อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 33.33) ตามลำดับ ดังรายละเอียดใน ภาพท่ี 1

28 ภาพท่ี 1 การเปรียบเทยี บระดบั แรงเหยียดขากอ่ นและหลงั การเข้าร่วมการออกกำลงั กายด้วยยางยืด ของกลุม่ ตัวอย่าง ระดับของแรง เหยยี ดขา ดมี ำก ดี พอใช้ ค่อนข้ำงตำ่ คนท่ี 1 ตำ่ คนท่ี 2 02 4 คนที่ 3 สัปดาหท์ อ่ี อกกาลงั กาย คนที่ 4 ความรู้สึกเมื่อยขาหลังบิณฑบาตของพระสงฆ์ก่อนและหลังการเข้าร่วมการออกกำลัง กายด้วยยางยืด พบว่า ก่อนเข้าร่วมการออกกำลังกายด้วยยางยืด กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้สึก เมื่อยขาหลังบิณฑบาต 4.75 (ค่าสูงสุด 7 และค่าต่ำสุด 3) โดยหลังเข้าร่วมการออกกำลังกายฯ สัปดาห์ที่ 2 กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้สึกเมื่อยขาหลังบิณฑบาต 3.06 (ค่าสูงสุด 4.92 และค่า ตำ่ สดุ 1.58) และหลังเขา้ รว่ มการออกกำลงั กายฯ ครบ 4 สัปดาห์ กลมุ่ ตวั อยา่ งมคี า่ ความรู้สึกเม่ือยขา หลังบิณฑบาต 2.08 (ค่าสูงสุด 4.58 และค่าต่ำสุด 0) และเมื่อทำการเปรียบเทียบความรู้สึกเมื่อยขา หลงั บณิ ฑบาตพบว่าไม่มคี วามแตกตา่ งกนั ดังรายละเอยี ดในตารางที่ 3

29 ตารางท่ี 3 การเปรยี บเทียบคา่ เฉล่ียของความรู้สึกเมอื่ ยขาหลังบณิ ฑบาตก่อนและหลังเขา้ ร่วมการ ออกกำลังกายดว้ ยยางยืด การเปรียบเทียบขอ้ มูล ค่าเฉล่ียของความรสู้ กึ เม่อื ยขาหลัง p- บิณฑบาต value (ส่วนเบยี่ งเบนมาตรฐาน) กอ่ น หลัง ก่อนกบั หลงั เข้ารว่ มการออกกำลังกาย 4.75 3.06 0.068 ฯ 2 สปั ดาห์ (1.708) (1.430) กอ่ นกบั หลังเข้ารว่ มการออกกำลงั กาย 4.75 2.08 0.109 ฯ 4 สัปดาห์ (1.708) (2.318) หลงั เข้าร่วมการออกกำลังกายฯ 2 กับ 3.06 2.08 0.109 4 สปั ดาห์ (1.430) (2.318) เมื่อทำการวิเคราะห์ความรู้สึกเมื่อยขาหลังบิณฑบาต พบว่า ก่อนการเข้าร่วมการออก กำลังกายด้วยยางยืด ความรู้สึกเมื่อยขาหลังบิณฑบาตของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับเมื่อยมาก 1 คน (ร้อยละ 25.00) เมือ่ ยปานกลาง 2 คน (ร้อยละ 50.00) และเม่ือยเลก็ นอ้ ย 1 คน (ร้อยละ 25.00) หลงั การเข้าร่วมการออกกำลังกาย สัปดาห์ 2 ความรู้สกึ เมือ่ ยขาหลังบิณฑบาตของกลุม่ ตัวอย่างมีแนวโนม้ ทล่ี ดลง โดยกลุ่มตัวอยา่ งคนที่ 1 มีการลดลงจากระดบั มากทส่ี ดุ เป็นปานกลาง ในช่วงวันท่ี 3-11 และ เพิ่มขึ้นในวันที่ 12 กลุ่มตัวอย่างคนที่ 2 มีความรู้สึกเมื่อยขาหลังบิณฑบาตในระดับเล็กน้อย กลุ่ม ตัวอย่างคนที่ 3 มีความรู้สึกเมื่อยขาหลังบิณฑบาตที่ระดับปานกลาง และลดลงเป็นเล็กน้อยในวันที่ 2 และ 7 กลุ่มตัวอย่างคนที่ 4 ความรู้สึกเมื่อยขาหลังบิณฑบาตลดลงอย่างต่อเนื่องจากระดับปานกลาง เป็นเลก็ นอ้ ยต้ังแตว่ นั ท่ี 2-5 วันที่ 6-8 ไม่เมื่อยขา วนั ท่ี 9-11 อยใู่ นระดบั เลก็ น้อย วนั ท่ี 12 ไมเ่ มื่อยขา หลังการเข้าร่วมการออกกำลังกาย สัปดาห์ที่ 4 ความรู้สึกเมื่อยขาหลังบิณฑบาตของกลุ่ม ตัวอย่างมีแนวโน้มลดลง โดยกลุ่มตัวอย่างคนที่ 1 มีการลดลงจากมากที่สุดมาเป็นปานกลาง จนถึง วันที่ 15 เพิ่มขึ้นมาเป็นมากที่สุด และลดลงในวันต่อมาเป็นระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างคนที่ 2 มี ความรู้สึกเมื่อยขาเล็กน้อย และลดลงไประดับไม่เมื่อยในวันที่ 19 หลังจากนั้นมีความรู้สึกเมื่อย เล็กน้อย

30 กลุ่มตัวอยา่ งคนท่ี 3 วันที่ 13-16 มีความรู้สึกเมื่อยขาปานกลาง และวันที่ 17-18 มีความรู้สกึ เมือ่ ยขา เลก็ น้อย กลุ่มตัวอย่างคนที่ 4 ไม่รูส้ ึกเม่อื ยขาจนจบการวจิ ยั ดังรายละเอียดในภาพที่ 3 ภาพท่ี 3 การเปรยี บเทียบระดับความรเู้ มื่อยขาหลงั บณิ ฑบาตกอ่ นและหลงั การเข้าร่วมการออกกำลัง กายด้วยยางยืดในแต่ละวนั ระดับความรู้สึก เม่อื ยขาหลงั บิณฑ10บาต 9 8 เมอ่ื ยมาก 7 ทส่ี ดุ 6 5 คนท่ี 1 เม่อื ยปาน 4 คนท่ี 2 กลาง 3 คนท่ี 3 คนท่ี 4 2 เมอ่ื ย 1 ไม่เมอื ย 0 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 วันทอี่ อกกาํ ลงั กาย

31 อภปิ รายผลการวจิ ยั ผลการศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์การออกกำลังกายด้วยยางยืดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อขา สำหรับพระสงฆ์ ณ วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ยินดีเข้าร่วม การศึกษาครั้งนี้มีเพียง 4 คน เนื่องจากพระสงฆ์รูปอื่นไม่ประสงค์เข้าร่วมทำการวิจัยและไม่ ได้ออก บิณฑบาตในช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 75.00) น้ำหนักส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 70-80 กิโลกรัม (ร้อยละ 50.00) และไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 75.00) ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ และโรคประจำตัวที่พบ 1 คน เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งอาจส่งผลต่อผลการศึกษา เนื่องจากโรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือ ต่ำกว่าคนปกติ จึงส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย เป็นกลุ่มที่แตกต่างกับงานวิจัยอื่นที่ทำ การออกกำลังด้วยยางยืด เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างท่ีผู้วิจัยศึกษาต้องเลือกท่าทางที่เหมาะสมมา ประยกุ ต์ใช้ และมีกจิ วตั รท่ตี อ้ งปฏบิ ตั ิ จงึ ไมส่ ามารถออกกำลงั กายไดค้ รบตามเวลาที่กำหนด การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของแรงเหยียดขาของพระสงฆ์ระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมการ ออกกำลังกายด้วยยางยืด ในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 พบว่า แรงเหยียดขามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่มี ความแตกต่างอย่าง ไม่มีนัยสำคัญทางสถิต (p>0.05) เนื่องจากมีกลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไป และมี ระยะเวลาในวัดผลสนั้ เกนิ ไปคือ 4 สัปดาห์ ซง่ึ ผลการศึกษาของวไิ ลลักษ์ ปักษา เกยี่ วกับผลการฝึกด้วย นำ้ หนักของร่างกายและดว้ ยยางยดื ท่มี ีตอ่ ความแข็งแรงของกล้ามเนอ้ื ขาในผสู้ ูงอายุ พบว่า หลังการฝึก สปั ดาห์ท่ี 8 กลมุ่ ทฝ่ี ึกด้วยน้ำหนักของร่างกาย (กลุม่ ทดลองที่ 1) กับกลุม่ ฝึกด้วยยางยืด (กลุ่มทดลองที่ 2) และกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 43.77, 50.97 และ 32.34 กิโลกรัมตามลำดับ (วิไลลักษ์ ปักษา, 2553) แต่อย่างไรก็ผลการติดตาม ระดับของแรงเหยียดขาหลังเข้าร่วมการออกกำลังกายด้วยยางยืด พบว่า หลังทำการออกกำลังกาย ด้วยยางยืดครบ 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างมีระดับของแรงเหยียดขาเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับงานวิจัยของ กัญญกมล บัวแก้ว ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลการฝึกด้วยยางยืดด้วยน้ำหนักที่มีต่อความแข็งแรงต่อกล้ามเน้ือ ของนักกีฬาเนตบอลของโรงเรียนนนทรวี ิทยา ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มที่ฝึก ด้วยยางยืด และกลุ่มที่ฝึกด้วยน้ำหนักมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยวัดจากแรงบีบมือและแรง เหยียดขา แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนั้น ยังพบว่ากลุ่มท่ี ฝึกด้วยยางยืดมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยวัดจากแรงบีบมือแตกต่างกับกลุ่มที่ฝึกด้วยน้ำหนัก อยา่ งมนี ัยสำคญั ทางสถิตทิ ร่ี ะดบั 0.05 แต่กลุ่มทีฝ่ ึกด้วยน้ำหนกั มีความแขง็ แรงของกล้ามเน้ือโดยวดั

32 จากแรงเหยียดขาแตกต่างกับกลุ่มที่ฝึกด้วยยางยดื อย่างมีนัยสำคัญทางสถติ ิ ที่ระดับ 0.05 (กัญญกมล บัวแกว้ , 2549) การเปรยี บเทยี บค่าเฉลี่ยของความรู้สึกเม่ือยขาหลังบิณฑบาตของพระสงฆ์ระหว่างก่อนและ หลงั เขา้ รว่ มการออกกำลังกายดว้ ยยางยืดในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 พบว่าความร้สู ึกเม่ือยขาหลังบิณฑบาต มีแนวโน้มลดลง แต่ไม่มีความแตกต่างทางนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เนื่องจาก มีกลุ่มตัวอย่างน้อย เกินไป และมรี ะยะเวลาในวัดผลส้ันเกนิ ไปคอื 4 สปั ดาห์ ซึง่ ผลการศึกษาของนงเยาว์ มานติ ย์ และคณะ เกี่ยวกับผลการออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเน้ือต่ออาการปวดหลังสว่ นล่างและความสามารถในการ ปฏิบัติกิจกรรมในผู้รับงานเย็บผ้าไปทำที่บ้าน พบว่า หลังการออกกำลังกายด้วยการยืดกล้ามเนื้อ สัปดาห์ที่ 12 กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยอาการปวดหลังส่วนล่าง น้อยกว่ากลุ่ม ควบคุมในทุกสัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ซึ่งจากการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยอาการ ปวดหลังส่วนล่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนทดลอง ไม่มีความแตกตา่ งกันทางสถติ ิ และ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉล่ีย อาการปวดหลังส่วนล่างน้อยกว่า ก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในทุกสัปดาห์ แต่ ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่าก่อนทดลองอย่างในนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ใน สัปดาห์ที่ 6 และที่ 8 เท่านั้น (นงเยาว์ มานิตย์ และคณะ, 2552) แต่อย่างไรก็ตามผลจากการติดตาม ความรู้สึกเมื่อยขาหลังบิณฑบาตของพระสงฆ์ พบว่า หลังการออกกำลังกายครบ 4 สัปดาห์ กลุ่ม ตัวอย่างมีระดับความรู้สึกเมื่อยขาหลังบิณฑบาตลดลง สอดคล้องกับงานวิจัยของ นันธิดา พันธุศาสตร์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลแห่งหน่ึง โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการยืดกล้ามเนื้อเปรียบเทียบกบั กลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาตามปกติ ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการยืดกล้าเนื้อระยะเวลา 12 สัปดาห์ สามารถลด ระดับอาการปวดหลังส่วนล่างได้มากกว่ากลุ่มควบคุมและลดลงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (นันธิดา พนั ธศุ าสตร,์ 2549) ขอ้ เสนอแนะ 1. ขอ้ เสนอแนะจากผลการวิจัย การออกกำลังกายด้วยยางยืดมีแนวโน้มจะเป็นกิจกรรมที่หนึ่งที่ช่วยพัฒนาความแข็งแรง ของกล้ามเน้อื ขา ซ่งึ ในการออกกำลงั กายด้วยยางยดื เพ่อื เพิม่ ความแขง็ แรงของกล้ามเนื้อขาสำหรบั

33 พระสงฆ์ ควรศึกษาท่าทางที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในโปรแกรมการออกกำลังด้วยยางยืดเพิ่มเติม เพื่อนำไปใช้ในการบริหารร่างกายของพระสงฆ์ที่มีพฤติกรรมดูแลสุขภาพไม่ต่อเนื่อง และสามารถ เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของพระสงฆ์ได้ โดยสอนวิธีการถักยางให้แก่พระสงฆ์ เพราะการออก กำลังกายโดยการยางยืด เป็นการออกกำลังกายที่มีผลต่อความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของ กล้ามเน้ือ และการออกกำลังกายโดยการใช้ยางยืด เปน็ วธิ กี ารออกกำลังกายทงี่ ่าย สะดวกต่อพระสงฆ์ 2. ข้อเสนอแนะสำหรบั การวิจัยครง้ั ตอ่ ไป 2.1 ควรศกึ ษาประชากรในพน้ื ท่ีใหม้ ากขน้ึ เพ่อื เพ่มิ ขนาดของกลมุ่ ตัวอยา่ งในการทำวิจัย 2.2. ควรเพิม่ ระยะเวลาในการตดิ ตามผลการศกึ ษา เพอ่ื ใหเ้ หน็ ผลการวิจยั ที่ชัดเจนมาก ย่งิ ขน้ึ กติ ติกรรมประกาศ ผู้วิจัยขอขอบคุณการสนับสนุนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจากภาควิชาสุขศาสตร์ อุตสาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รวมถึงได้รับคำแนะนำ จากคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของภาควิชา และความร่วมมืออย่างดีของกลุ่มตัวอย่างทำให้สำเร็จลุล่วง ลงไดด้ ้วยดี เอกสารอ้างอิง กัญญกมล บัวแกว้ . ผลการฝึกดว้ ยยางยดื และผลการฝึกดว้ ยน้ำหนักที่มตี อ่ ความแข็งแรงกล้ามเน้อื . ปริญญานพิ นธ์ วท.ม. (วิทยาศาสตร์การกฬี า). กรุงเทพฯ: บณั ฑติ วิทยาลยั มหาวทิ ยาลยั ศรี นครนิ ทรวโิ รฒ, 2549. กรมอนามยั . 2562. กรมอนามัย ขบั เคลือ่ นงานวัดส่งเสรมิ สุขภาพ จดั ทำมาตรฐานวดั รอบรู้ด้าน สขุ ภาพ. สืบคน้ จาก : http://www.anamai.moph.go.th/ewt_news.phpnid=14789 (วันท่ีสืบคน้ 3 เมษายน 2563). ชาญทอง บุศยวิไลมาศ. 2559. Estimation of pain intensity in emergency department. สืบค้นจาก : สบื ค้นจาก : http://www.errama.com/system/spaw2/uploads/ EstimationofpainED (วันทสี่ ืบคน้ 13 มกราคม 2563).

34 นงเยาว์ มานิตย์ และคณะ. 2552. ผลของการออกกำลงั กายโดยการยดื กล้ามเน้อื ต่ออาการปวด หลังสว่ นลา่ งและความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมในผรู้ บั งานเย็บเสื้อผา้ ไปทำทบ่ี า้ น. สืบคน้ จาก : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/ (วนั ทสี่ ืบคน้ 24 มีนาคม 2563). นันธดิ า พันธุศาสตร.์ ผลของโปรแกรมการบริหารกล้ามเนือ้ หลังท่ีบา้ นตอ่ ระดบั ความเจ็บปวดใน ผูป้ ว่ ยปวดหลงั . วทิ ยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบณั ฑติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลยั รงั สติ , 2549. ปภัชญา วิวรรธนมกุ ดา. 2562. นวตั กรรมยางยดื ออกกำลังกาย. สืบคน้ จาก : https://www.nmu.ac.th/th/wp-content/uploads (วนั ที่สบื คน้ 13 มกราคม 2563). พระมหาวโิ รจน.์ เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมือง ชลบุรี. สมั ภาษณ,์ 8 มกราคม 2563. ภาณวุ ฒั น์ คำเหมือง และอภบิ ดินทร์ พนิ ิจ. 2563. การออกกำลงั กายดว้ ยยางยดื . สืบคน้ จาก : http://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-90 (วนั ทสี่ ืบคน้ 13 มกราคม 2563). เมธี ธรรมวฒั นา. 2561. การสรา้ งเครอื ขา่ ยอาสาสมัครดว้ ยกิจกรรมยางยดื . วารสารการศกึ ษาและ การพัฒนาสงั คม, ปที ี1่ 3(2), 133-140. ลลดิ า อาชานานภุ าพ และร้งุ จติ เติมศริ ิกลุ ชยั . 2552. การประเมนิ ความปวดและพฤตกิ รรมท่ผี ปู้ ว่ ย แสดงออกหลงั ผา่ ตัดทห่ี ้องพกั ฟน้ื . สืบค้นจาก : https://med.mahidol.ac.th/nursing/jns/DocumentLink/2552 (วนั ทีส่ ืบค้น 13 มกราคม 2563). วิไลลกั ษณ์ ปักษา. 2553. ผลการฝึกดว้ ยนำ้ หนกั ของรา่ งกายและด้วยยางยืดทีม่ ีผลตอ่ ความ แข็งแรงของกลา้ มเนอื้ ในผู้สงู อายุ. สืบคน้ จาก : http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Spo_Coa/Wilailak_P.pdf (วันทส่ี บื คน้ 23 มกราคม 2563). สถาบันพลศึกษา. 2559. คมู่ อื ทดสอบสมรรถภาพทางกาย สำหรบั เจา้ หนา้ ที่สาธารณสขุ . สืบค้น จาก : http://www.cpc.ac.th/sport/images/helptest.pdf (วนั ท่สี บื ค้น 23 มกราคม 2563).

35 สมฤทัย พุม่ สลดุ และศศมิ า พกุลานนท.์ 2555. ผลของการออกกำลังกายดว้ ยยางยืดตอ่ ความสามารถในการทรงตัวของผู้สงู อายุ. สบื ค้นจาก : http://researchconference.kps.ku.ac.th/conf9/article_9/p_sci_sport.html (วนั ทสี่ บื ค้น 24 มกราคม 2563). อนชุ า มะลาลยั . 2562. กรมควบคมุ โรค แนะประชาชนถวายภตั ตาหารแดพ่ ระสงฆใ์ หถ้ กู หลัก โภชนาการลดอาหารหวาน มัน เค็ม เผยพบพระสงฆอ์ าพาธจากโรคไขมันอุดตนั ในเลอื ด มากท่ีสุด. สบื คน้ จาก : https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/127162/ (วันท่สี บื คน้ 13 มกราคม 2563). Porraphat Jutrakul. 2562. แนะหลกั ในการฟน้ื ฟผู ู้ป่วยทีม่ ปี ญั หาการเดนิ ที่ผดิ ปกต.ิ สืบค้นจาก : https://www.thaihealth.or.th/Content/.html (วันท่สี ืบค้น 9 มกราคม 2563).

ปจั จัยที่มีความสมั พันธ์กับสมรรถภาพการมองเห็นของบคุ ลากรท่ีใชค้ อมพิวเตอร์ ภายในอาคารศูนยก์ ิจกรรมนิสติ มหาวทิ ยาลัยแหง่ หนง่ึ จงั หวัดชลบรุ ี Factors Relate to Occupational Visual Performance Among Computer Users Working at Student Affairs Center in One Selected University, Chonburi Province ศรญิ ญา เกรียงสมทุ ร1, รุง่ อรุณ รอ้ ยวงษ์1, ยวิษฐา เสนียว์ งค์ ณ อยธุ ยา1, ทฐิ ินนั ท์ ไทยอุทิศ1, วัชระพล ชา้ งทอง1, ศิวกร เขตสมุทร1, ธีรยทุ ธ เสง่ยี มศักด2์ิ 1วิทยาศาสตรบัณฑติ สาขาสขุ ศาสตร์อตุ สาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสขุ ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั บรู พา 2ภาควชิ าสุขศาสตรอ์ ตุ สาหกรรมและความปลอดภยั คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลยั บูรพา บทคัดยอ่ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพการมองเห็น ของบคุ ลากรทีใ่ ช้คอมพิวเตอรภ์ ายในอาคารศนู ย์กจิ กรรมนสิ ิต มหาวิทยาลยั แหง่ หนึ่ง จงั หวัดชลบุรี ซึ่ง เป็นการวจิ ยั แบบภาคตดั ขวาง กลุ่มตัวอย่าง เปน็ บุคลากรทใ่ี ช้คอมพิวเตอร์ภายในอาคารศูนย์กิจกรรม นิสิต มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดชลบุรี จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ เครื่องวัดแสง (Lux meter) เครื่องตรวจสมรรถภาพในการมองเห็น แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน รอ้ ยละ ค่าเฉล่ีย สว่ นเบย่ี งเบนมาตรฐานและ Chi–square ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 84.62) มีอายุมากกว่า 40 ปี (ร้อยละ 56.41) ระดบั การศึกษาสงู สุดคอื ปรญิ ญาตรี (ร้อยละ 56.41) ระยะเวลาท่ีเร่มิ ใชค้ อมพิวเตอร์มากกวา่ 10 ปี (ร้อยละ 66.67) ระยะเวลาที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ 5 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 82.10) การใช้ คอมพิวเตอร์ 5 วันต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 61.54) ความต่อเนื่องการใช้งานมากกว่า 5 ชั่วโมง (ร้อยละ 51.28) ความรู้ระดับดี (ร้อยละ 48.72) ทัศนคติปานกลาง (ร้อยละ 64.10) ระดับความเข้มแสงงาน เขียนต่ำกว่า 400 ลักซ์ (ร้อยละ 79.49) งานพิมพ์ต่ำกว่า 400 ลักซ์ (ร้อยละ 87.18) งานบันทึกข้อมูล ต่ำกว่า 400 ลักซ์ (ร้อยละ 92.31) การอ่านและประมวลผลต่ำกว่า 400 ลักซ์ (ร้อยละ 94.87) และ พบว่า อายุ ระดับการศกึ ษา ระยะเวลาท่เี ร่มิ ใช้คอมพิวเตอร์ มคี วามสมั พันธ์กับสมรรถภาพการ

37 มองเห็น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.05) ดังนั้น ควรมีการป้องกันมากขึ้นในกลุ่มที่มี ความไม่เหมาะสมกบั ลักษณะงานโดยการเพิ่มโคมไฟเฉพาะจดุ และที่มสี ายตาสั้น-ยาวหรือสายตาเอียง ควรไดร้ ับการแกใ้ ห้การมองเหน็ เป็นปกติ คำสำคญั : ระยะเวลาท่ใี ช้งานคอมพิวเตอร์, สมรรถภาพการมองเหน็ , บุคลากรทใี่ ช้คอมพิวเตอร์ Abstract This research aimed to study factors related to visual performance among computer users in Student Affairs Center in working at, Chonburi Province. This was a cross-section study. The sample was among computer users in Student Affairs Center in Burapha University with sample of 39 people. The instrument used for data collection was a questionnaire, Lux meter and Orthrorator. The statistics include number, percentage and Chi–square. The results of the study showed that most of the among computer users were female (84.62%), Older than 40 years (56.41%), the highest level of education is bachelor degree (56.41%), duration of computer usage more than 10 years (66.67%), the duration of using the computer 5 hours per day (82.10%), the duration of using the computer 5 days a week (61.54%), the continuous usage more than 5 hours (51.28%), knowledge was good level (48.72%), attitude was moderate level (64.10%), writing had intensity of illumination more low that 400 lux (79.49 %), printing had intensity of illumination more low that (87.18 percent), data recording had intensity of illumination more low that (92.31 percent), reading and processing had intensity of illumination more low that (94.87 percent). The finding of this study suggested that age, education level and duration of computer usage were more likely to be correlated with the occupational vision test and relative humidity (p <0.05). Therefore, it is necessary that these people were at risk of visual not suitable for the job, they should have adding a light spot and improve to normal vision for who were Myopia and Astigmatism.

38 Keywords: Duration of using the computer, Occupational visual performance, Computer users บทนำ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างมากในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ท้ัง ดา้ นธุรกิจ การสอื่ สาร หรือด้านความบันเทิง เพื่อชว่ ยผ่อนคลาย แม้แตใ่ นด้านการศกึ ษา การเรียนการ สอนในปัจจุบัน ได้นำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นสื่อช่วยสอน ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และทบทวนได้ตลอดเวลา (ณัฏฐชัย ฉลาด, 2560) นอกจากนี้บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานด้าน สำนักงาน มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อจัดทำเอกสารงานพิมพ์ งานนำเสนอข้อมูล การเก็บข้อมูล และการจัดการข้อมูลที่ช่วยให้การจัดการงานต่าง ๆ ให้สำนักงานมีคุณภาพ และประหยัดทรัพยากร (ศิริวรรณ วรรณโชต,ิ 2558) ดงั นน้ั จงึ มกี ารนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานกนั อยา่ งกวา้ งขวาง การทำงานที่ต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกวัน ใช้ระยะเวลานานติดต่อกันเกิน 2 ชั่วโมง ความเข้มแสงที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างเรียกว่า อาการ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม เช่น มีอาการแสบตา ปวดตา ตาแห้ง น้ำตาไหล ปวดศีรษะ ปวดไหล่หรือ ปวดหลัง ระดับความรุนแรงของอาการจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่ใช้สายตาอยู่หน้าจอ (ณรงค์ สหเมธาพัฒน์, 2558) และสาเหตุของการเกิดอาการน้ี นอกจากการใช้สายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นเวลานานแล้ว ยังเกิดมาจากตำแหน่งการจัดวางคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสม มีแสงสว่างหรือแสง สะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ที่มากเกินไป ระยะห่างระหว่างดวงตากับจอคอมพิวเตอร์ ท่านั่งทำงาน ท่ี ไม่เหมาะสม หรืออาจเกิดมาจากความผิดปกติสายตาของผู้ใช้คอมพิวเตอร์หรอื อุปกรณ์ดิจิตอลที่ไม่ได้ รบั การแก้ไขได้เช่นกัน (โสภณ เมฆธน, 2558) จากงานวจิ ัยการศึกษาผู้ปฏิบตั ิงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบความชุกของกลุ่มอาการทางตาจากจอภาพคอมพิวเตอร์สูงมาก แต่ อาการไม่รุนแรงและยังสามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามยังมีผู้ปฏิบัติงานบางส่วนที่มอี าการท่ี ต้องเฝ้าระวัง เพื่อไม่ให้มีอาการที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น เช่น อาการตาสู้แสงไม่ได้ และการมองเห็นภาพ ซอ้ น นอกจากน้นั ยงั มสี ภาพสง่ิ แวดลอ้ มในการทำงานทไี่ มเ่ หมาะสม เช่น แสงสวา่ ง บริเวณโตะ๊ ทำงาน ไม่เพียงพอ (สง่า ทับทิมหิน และนิตยา พุทธบุรี, 2562) ควรมีการปรับสภาพแสงสว่างให้เหมาะสมยัง ชว่ ยให้เกดิ ความรสู้ ึกทด่ี ตี อ่ พนกั งานซึง่ มีผลตอ่ พฤติกรรมการทํางาน เพิม่ การตอบสนองในการทํางาน

39 ให้มีความถูกต้องเพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน (Smolders, de Kort &van den Berg, 2013) และมกี ารตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับบุคลากรกองทะเบยี นและประมวลผลการศึกษา และกองกิจการนิสิต ภายในอาคาร ศูนย์กิจกรรมนิสิต มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จากการสังเกตเบื้องต้นของผู้ทำวิจัย พบว่าส่วนใหญ่ใช้ สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน มีลักษณะงานเป็นงานละเอียดเล็กน้อย เช่น งานเขียน งานพิมพ์ งานบันทึกข้อมูล การอ่านและประมวลผลข้อมูล ซึ่งใช้สายตามอง คอมพิวเตอร์ที่ยาวนาน ทำให้ผู้วิจัยเกิดความสนใจในการศึกษาระดับความเข้มแสงสว่างของบุคลากร ที่ใช้คอมพิวเตอร์ สมรรถภาพการมองเห็นรวมถึง ศึกษาปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคล การใช้งาน คอมพิวเตอร์ ความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับแสงสว่าง ระดับความเข้มแสงสว่าง ว่าที่มีความสัมพันธ์กับ สมรรถภาพการมองเห็นหรือไม่ เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาไปเป็น แนวทางในการวางแผนการ ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน และควบคุมปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน คอมพิวเตอร์และเป็นข้อมูลพนื้ ฐานทน่ี ำไปสู่การศกึ ษาอื่น ๆ ตอ่ ไป วัตถปุ ระสงคข์ องการวิจัย 1. เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล การใช้งานคอมพิวเตอร์ ความรู้เกี่ยวกับ แสง และทัศนคติเกี่ยวกับแสงของบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ภายในอาคารศูนย์กิจกรรมนิสิต มหาวิทยาลัยแห่งหน่ึง จงั หวัดชลบุรี 2. เพื่อศึกษาระดับความเข้มแสงสว่างภายในอาคารศูนย์กิจกรรมนิสิต มหาวิทยาลัยแห่ง หนงึ่ จังหวัดชลบุรี 3. เพื่อศึกษาสมรรถภาพการมองเห็นของบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ภายในอาคารศูนย์ กจิ กรรมนสิ ติ มหาวิทยาลยั แหง่ หนงึ่ จังหวัดชลบุรี 4. เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล การใช้งานคอมพิวเตอร์ ความรู้เกี่ยวกับ แสง และทัศนคติเกี่ยวกับแสงที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพการมองเห็นของบุคลากรที่ใช้ คอมพิวเตอรภ์ ายในอาคารศูนยก์ ิจกรรมนิสติ มหาวิทยาลยั แหง่ หน่ึง จงั หวดั ชลบุรี

40 ขอบเขตการวิจยั เป็นกลุ่มบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ จำนวน 39 คน ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล การใช้งานคอมพิวเตอร์ ความรู้เกี่ยวกับแสง ทัศนคติเกี่ยวกบั แสง ระดับความ เข้มแสงและสมรรถภาพการมองเห็นของบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ภายในอาคารศูนย์กิจกรรมนิสิต มหาวิทยาลัยแห่งหนง่ึ จังหวัดชลบรุ ี ตัง้ แต่เดือนกมุ ภาพนั ธ์ ถึง มีนาคม 2563 วธิ กี ารวิจยั การศึกษาวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive study) ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคลากรที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ภายในอาคารศูนย์ กิจกรรมนิสิต มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดชลบุรี จำนวน 41 คน (ระบบบุคลากรอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง, 2563) และกลุ่มตัวอย่างเป็นการกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบทราบจำนวน ประชากร โดยใช้การคำนวณด้วยสูตรของเครจซแี่ ละมอรแ์ กนโดยยอมใหเ้ กดิ ความคลาดเคลื่อนได้จาก กลุ่มตัวอย่าง 5% การศึกษาครั้งนี้จะใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งหมด 39 คน โดยใช้เกณฑ์การคัดเข้า คอื เป็นบคุ ลากรท่ีใช้คอมพิวเตอร์ภายในศูนยก์ ิจกรรมนิสติ มหาวทิ ยาลัยแหง่ หนึ่งและมีความสมัครใจ ยนิ ดใี หค้ วามรว่ มมอื ในการวิจยั ครง้ั นี้ อีกทงั้ ยังสามารถส่ือสารได้โตต้ อบได้ เครอื่ งมือทใ่ี ชใ้ นการวจิ ยั 1. เครื่องวัดแสง (Lux meter) ยี่ห้อ Extech รุ่น 407026 หมายเลขเคร่ือง S/N Q128867 เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือได้มาตรฐานสากล มีการปรับเทียบค่ามาตรฐาน (Calibration) ซึ่ง certification number คือ calibration certificate request no. c-1908-533 ซึ่งจะปรับเทียบค่า มาตรฐานกอ่ นใชเ้ คร่อื งทกุ ครงั้ 2. เครื่องตรวจสมรรถภาพในการมองเห็น (Orthrorator) ยี่ห้อ Titmus V4 หมายเลข เครื่องS/N a-33134 เป็นเคร่อื งมอื ไดม้ าตรฐานสากล 3. แบบบนั ทึกผลการตรวจสมรรถภาพทางสายตาและแผน่ งานมาตรฐาน (Job Standard Template) โดยใชแ้ ผ่นงานมาตรฐานงานธุรการและงานบรหิ าร (Clerical and administrative) 4. แบบสอบถาม (Questionnaire) ประกอบดว้ ย 4 ส่วน ดังน้ี สว่ นท่ี 1 ขอ้ มูลส่วนบคุ คล จำนวน 3 ข้อ ได้แก่ เพศ อายุ และระดับการศกึ ษา

41 ส่วนที่ 2 การใช้งานคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ ระยะเวลาที่เริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ ตลอดอายุการทำงาน(ปี) ระยะเวลาที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อสัปดาห์(วัน) ระยะเวลาที่ใช้งาน คอมพิวเตอรต์ ่อวัน(ชั่วโมง) และความต่อเนอื่ งในการใชง้ านคอมพวิ เตอร์(ช่ัวโมง) ส่วนที่ 3 ความรูเ้ ก่ยี วกบั แสง จำนวน 12 ขอ้ แบ่งเป็น 2 ดา้ น ไดแ้ ก่ ความรพู้ ื้นฐานของแสง สว่าง และอันตรายของแสงสว่าง โดยตอบถูกจะได้ 1 คะแนน ตอบผิดจะได้ 0 คะแนน ส่วนการแปล ผล แบ่งออกเป็น 3 ระดับ และระดับดีมาก ใช้เกณฑ์การแบ่งกลุ่มแบบอิงเกณฑ์คะแนนเต็ม (Bloom, 1971) ดังนั้นคะแนนน้อยกว่า 7.2 หมายถึง ความรู้ระดับน้อย คะแนนระหว่าง 7.2 – 9.6 หมายถึง ความรูร้ ะดับดี และคะแนนมากกวา่ 9.6 หมายถงึ ความรรู้ ะดบั ดีมาก ส่วนที่ 4 ทัศนคติเกี่ยวกับแสง จำนวน 10 ข้อ แบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ แหล่งกำเนิดแสง พื้นที่ทำงาน และการถนอมสายตา โดยนำมาแปลผลคะแนนความคิดเห็นแบ่งเป็น 3 ระดับ คือเห็น ด้วยน้อย เห็นด้วยปานกลาง เห็นด้วยมาก ซึ่งใช้เกณฑ์การแบ่งกลุ่มแบบอิงเกณฑ์คะแนนเต็ม (Best, 1989) ดังนั้น คะแนนน้อยกว่า 18 หมายถึง เห็นด้วยน้อย คะแนนระหว่าง 18-24 หมายถึง เห็นด้วย ปานกลาง และคะแนนมากกวา่ 24 หมายถงึ เหน็ ดว้ ยมาก การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยใช้แบบสอบถามท่ีคณะวิจยั สร้างขึ้นจากการศึกษา ข้อมูลและงานวจิ ัยทเี่ ก่ียวข้อง เครอ่ื งมือดงั กลา่ วไดผ้ ่านการตรวจสอบความถูกตอ้ งของเน้อื หา ภาษาท่ี ใช้ และความครอบคลุม ของข้อคำถาม โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความ ปลอดภัย 3 ท่าน จากนั้นผู้วิจัยนำมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะและได้ทดสอบหาความเที่ยง (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยนำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขไป ทดลองใช้กับบุคลากรที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน แล้วทำการทดสอบ เครื่องมอื โดยใช้การวิเคราะห์ความยากง่าย (0.2-0.8) อำนาจจำแนก (0.2 ขึ้นไป) ความเทีย่ ง (0.7 ข้ึน ไป) ทดสอบและทำการปรับแกไ้ ข การปรบั ความถูกต้อง (Calibration) ของเครื่องมอื ทใ่ี ชต้ รวจวัดความเข้มของแสงสว่างโดย จะสอบเทียบกบั เครือ่ งมือมาตรฐานท่ีผ่านการถกู สง่ ไปสอบเทียบกบั National standard ซ่ึงจะตอ้ งมี เอกสารรับรองว่าเคร่อื งมือที่ใช้สำหรบั สอบเทยี บหรือเคร่ืองมือทีเ่ ปน็ มาตรฐานได้รบั การสอบเทียบ แล้ว โดยเครื่องมอื ท่ใี ชใ้ นการสอบเทยี บถกู สง่ ไปที่ Photometry Standard Laboratory,INTERNATIONAL TESTING SERVICE CO.,LTD (Calibration Certificate Request C-1908-533)

42 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยทำหนังสือขออนุญาตทำวจิ ัยชี้แจงวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อขอ อนุญาตให้กลุ่มตัวอย่างเข้ารับการตรวจสมรรถภาพการมองเห็น บันทึก แปลผลตามมูลนิธิ สัมมาอาชีวะ (2561) และให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม ตรวจวัดระดับแสงสว่างในที่ทํางานตาม กฎกระทรวงกาํ หนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทาํ งานเกยี่ วกบั ความร้อน แสงสวา่ ง และเสียง (2559) และบันทึกลงในแบบ บันทึกผลตรวจวัดระดับความเข้มแสง ตรวจสอบความถูกต้อง ความสมบูรณ์ของข้อมูลและวิเคราะห์ ทางสถิติ พิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง คณะผู้วิจัยได้คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่างโดยให้ ข้อมลู พรอ้ มทั้งช้ีแจงกล่มุ ตัวอย่างใหท้ ราบถึงวัตถปุ ระสงค์ของการศกึ ษาในคร้ังน้ี และให้กลุ่มตัวอย่าง ทราบถึงสิทธิในการตอบรับหรือปฏิเสธในการเข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้ไม่มีผลต่อกลุ่มตัวอย่างแต่อย่าง ใด และรวมทั้งข้อมูลทุกอย่างจะเก็บเป็นความลับซึ่งใช้ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เท่าน้ัน นอกจากนี้ไม่มีการเปิดเผยชื่อของผู้เข้าร่วมอย่างเด็ดขาด และผู้ตอบแบบสอบถามมีสิทธิที่จะทราบถงึ ผลของการศกึ ษา การวิเคราะห์ทำการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยการใช้งานคอมพิวเตอร์ ปัจจัยด้าน ความรู้เกี่ยวกับแสง ปัจจัยความคิดเห็นด้านทัศนคติเกี่ยวกับแสงด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยการแจก แจงความถี่และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลสมรรถภาพการมองเห็น โดยใช้แผ่นงานมาตรฐาน (Job Standard Template) นำแผ่นงานมาตรฐานงานธุรการและงาน บริหาร (Clerical and administrative) ในการแปลผล สมรรถภาพสายตาเหมาะสมกับงาน หมายถึง ผลการตรวจเมื่อเทียบกับแผ่นงานมาตรฐาน ตามลักษณะงานอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น การ วิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจระดับแสงสว่างในศูนย์กิจการนิสิต ด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยการหา ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย แล้วนำไปเทียบกับค่ามาตรฐานของกระทรวงแรงงาน ที่กําหนดให้ระดับ ความเข้มแสงของงานประจำในสำนักงานอยู่ในช่วง 400-500 ลักซ์ โดยแปลผลค่าเฉลี่ยระดับความ เข้มของแสงสว่างท่ีวัดได้ต่ำกว่า 400 ลักซ์ หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน อยู่ในช่วง 400-500 ลักซ์ หมายถึง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานและค่าที่มากกว่า 500 ลักซ์ หมายถึง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และ วิเคราะห์ดว้ ยค่าสถิตไิ ค-สแควร์ (Chi-square)

43 ผลการวิจัย ขอ้ มูลส่วนบุคคล ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 84.62 รองลงมาเป็นเพศ ชาย ร้อยละ 15.38 ส่วนใหญ่มีอายุอยู่น้อยกว่า 40 ปี ร้อยละ 56.41 และส่วนใหญ่มีระดับการศึกษา สูงสดุ คอื ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 56.41 ดงั ตารางท่ี 1 ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของกลุม่ ตวั อยา่ งจำแนกตามขอ้ มูลสว่ นบคุ คล ขอ้ มูลสว่ นบคุ คล (n=39) จำนวน รอ้ ยละ เพศ 15.38 84.62 ชาย 6 56.41 หญงิ 33 43.59 อายุ (ปี) 56.41 43.59 ≤ 40 22 > 40 17 (Mean±SD=40.4±6.8, Min=29, Max=58) ระดบั การศกึ ษา ปริญญาตรี 22 ปรญิ ญาโทขน้ึ ไป 17 การใชง้ านคอมพิวเตอร์ ผลการศกึ ษา พบว่า กล่มุ ตวั อย่างสว่ นใหญม่ ีระยะเวลาทเ่ี ร่ิมใชง้ านคอมพิวเตอรม์ ากกวา่ 10 ปี ร้อยละ 66.67 มีระยะเวลาที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อวัน มากกว่า 5 ชั่วโมง ร้อยละ 82.10 มี ระยะเวลาที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อสัปดาห์ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 วัน ร้อยละ 61.54 และส่วนใหญ่มี ความตอ่ เนื่องในการใชง้ านคอมพวิ เตอร์ มากกวา่ 5 ชวั่ โมงข้นึ ไป ร้อยละ 51.28 ดังตารางท่ี 2

44 ตารางท่ี 2 จำนวนและรอ้ ยละของกล่มุ ตัวอย่างจำแนกตามการใชง้ านคอมพิวเตอร์ การใช้งานคอมพวิ เตอร์ (n=39) จำนวน รอ้ ยละ 33.33 ระยะเวลาทเี่ รมิ่ ใช้งานคอมพวิ เตอร์ (ป)ี 66.67 ≤10 13 18.00 82.10 >10 26 61.54 (Mean±SD=13.1±5.1, Min=3, Max=30) 38.46 ระยะเวลาที่ใช้งานคอมพวิ เตอรต์ อ่ วัน (ชว่ั โมง) 48.72 51.28 ≤5 7 >5 32 (Mean±SD=6.8±1.3, Min=2, Max=8) ระยะเวลาทใี่ ชง้ านคอมพวิ เตอรต์ อ่ สปั ดาห์ (วัน) ≤5 24 >5 15 (Mean±SD=5.6±0.9, Min=5, Max=7) ความต่อเน่ืองในการใชง้ านคอมพวิ เตอร์ (ช่ัวโมง) ≤5 19 >5 20 (Mean±SD=4.8±2.5, Min=0.5, Max=8) ความร้เู กยี่ วกบั แสงสวา่ ง ผลการศึกษา พบวา่ กลมุ่ ตวั อยา่ งสว่ นใหญม่ คี วามร้รู ะดบั ดี รอ้ ยละ 48.72 รองลงมาคอื ความร้รู ะดับนอ้ ย ร้อยละ 28.21 และมคี วามรู้ระดับดีมาก รอ้ ยละ 23.08 ดังตารางที่ 3

45 ตารางท่ี 3 จำนวนและรอ้ ยละของกลุ่มตัวอยา่ ง จำแนกตามระดบั คะแนนของความรู้เกย่ี วกบั แสง ความรเู้ ก่ยี วกบั แสงสวา่ ง (n=39) จำนวน รอ้ ยละ ความร้รู ะดับน้อย (น้อยกวา่ 7.2 คะแนน) 11 28.21 ความรู้ระดบั ดี (ระหว่าง7.2 – 9.6 คะแนน) 19 48.72 ความรรู้ ะดบั ดีมาก (มากกว่า 9.6 คะแนน) 9 23.08 รวม 39 100.00 ทศั นคติเกี่ยวกบั แสงสวา่ ง ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติระดับปานกลาง ร้อยละ 64.10 รองลงมาคือ มีทัศนคติระดบั น้อย รอ้ ยละ 25.64 และมีทศั นคติระดบั มาก ร้อยละ 10.26 ดงั ตารางท่ี 4 ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของกลุม่ ตวั อยา่ ง จำแนกตามระดับทศั นคตเิ กีย่ วกับแสงสวา่ ง ทัศนคตเิ ก่ยี วกบั แสงสวา่ ง (n=39) จำนวน ร้อยละ ทศั นคตริ ะดับนอ้ ย (น้อยกว่า 6 คะแนน) 10 25.64 ทศั นคตริ ะดบั ปานกลาง (ระหวา่ ง6 – 8คะแนน) 25 64.10 ทศั นคตริ ะดับมาก (มากกวา่ 8 คะแนน) 4 10.26 รวม 39 100.00 ระดับความเขม้ แสงสว่าง ผลการศึกษา พบว่า ระดับความเข้มแสงสว่างเฉพาะจุด ณ บริเวณที่กลุ่มตัวอย่างทำงาน ของบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ภายในอาคารศูนย์กิจกรรมนิสิต งานเขียนส่วนใหญ่ระดับความเข้มแสง สว่างต่ำกว่า 400 ลกั ซ์ ร้อยละ 79.49 รองลงมาคือ มากกว่าหรอื เท่ากับ 400 ลักซ์ ร้อยละ 20.51 งาน พิมพ์ส่วนใหญ่ระดับความเข้มแสงสว่างต่ำกว่า 400 ลักซ์ ร้อยละ 87.18 งานบันทึกข้อมูลส่วนใหญ่ ระดับความเข้มแสงสว่างต่ำกว่า 400 ลักซ์ ร้อยละ 92.31 และการอ่านและประมวลผลข้อมูลส่วน ใหญ่ระดับความเขม้ แสงสวา่ งตำ่ กวา่ 400 ลกั ซ์ ร้อยละ 94.87 ดงั ตารางที่ 5

46 ตารางท่ี 5 จำนวนและรอ้ ยละของระดับความเขม้ แสงสวา่ งเฉพาะจดุ ณ บรเิ วณที่กลุม่ ตวั อย่างทำงาน จำแนกตามลักษณะงาน ระดบั ความเขม้ แสงสวา่ ง (n=39) จำนวน ร้อยละ (จดุ ) งานเขยี น (ลกั ซ)์ < 400 31 79.49 400 - 500 8 20.51 งานพมิ พ์ (ลกั ซ)์ < 400 34 87.18 400 - 500 5 12.82 งานบนั ทกึ ข้อมลู (ลกั ซ์) < 400 36 92.31 400 - 500 3 7.69 การอา่ นและประมวลผลข้อมูล (ลกั ซ)์ < 400 37 94.87 400 - 500 2 5.13 *ในการวิจยั ครง้ั นี้ไม่มรี ะดับความเข้มแสงสวา่ งเฉพาะจุดเกิน 500 ลักซ์ สมรรถภาพการมองเห็น ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสมรรถภาพการมองเห็นไม่เหมาะสม ร้อยละ 74.36 รองลงมาคอื เหมาะสม รอ้ ยละ 25.64 ดังตารางท่ี 6 ตารางที่ 6 จำนวนและร้อยละของกลมุ่ ตวั อยา่ ง จำแนกตามสมรรถภาพการมองเห็น สมรรถภาพการมองเหน็ (n=39) จำนวน ร้อยละ เหมาะสม 10 25.64 ไม่เหมาะสม 29 74.36 รวม 39 100.00