Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore botanical_illustrations

botanical_illustrations

Published by กศน.ตำบลบางเพรียง, 2019-04-19 02:17:41

Description: botanical_illustrations

Search

Read the Text Version

สริ ินธรวลั ลี Bauhinia sirindhorniae K. Larsen & S. S. Larsen Fabaceae (Leguminosae-Cercideae) สิรินธรวลั ลี เปนพืชถ่นิ เดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ ตอนบนท่ีจังหวัดอุดรธานี หนองคาย (เขตรักษาพันธุสัตวปาภูวัว) นครพนม (อุทยานแหงชาติภูลังกา) และสกลนคร (อุทยานแหงชาติภูพาน) ขึ้นทั่วไปตาม ชายปา ดิบแลง และปา โปรง ท่ีสงู จากระดบั นํา้ ทะเล 150–200 เมตร คาํ ระบุชนดิ ต้งั เพอ่ื เฉลมิ พระเกียรติสมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไมเถาเนื้อแข็ง เล้ือยพาดพันไปไดไกล กิ่งออน ชอดอก กลีบ ดอก รังไข และผลมีขนสีนํ้าตาลแดงหนาแนน ใบยาว 5–18 เซนตเิ มตร ปลายเวา เปน 2 แฉกตนื้ ๆ หรอื เวา ลกึ จนจรดโคนใบ แผน ใบหนาเหนยี ว เสน แขนงใบ 9–11 เสน ชอ ดอกยาว 2–10 เซนตเิ มตร กา นดอกยาว 1.5–2 เซนตเิ มตร กลบี เลยี้ งแยกจรดโคน ดา นตรงขา ม แยกเฉพาะที่ปลายกลบี กลีบดอกยาว 1–1.3 เซนตเิ มตร รวมกา น กลบี เกสรเพศผู 3 อัน เกสรที่เปนหมนั 2 อันขนาดเลก็ รงั ไขมีกา น สั้นๆ ผลเปนฝกแบนๆ ยาว 15–18 เซนติเมตร มี 5–7 เมล็ด เทคนิคสีนํ้า ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธิ์ของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 138



ขยนั Bauhinia strychnifolia Craib Fabaceae (Leguminosae-Cercideae) ขยัน หรือเครือขยัน เปนพืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคเหนือในจังหวัด เชยี งใหม ลาํ ปาง ตาก สโุ ขทยั กาํ แพงเพชร และภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ทจี่ งั หวดั เลย และกาฬสนิ ธุ พบบา งในภาคกลาง ข้นึ ในปา เบญจพรรณท่ีแหง แลง หรอื ข้ึน ตามที่รกราง ท่ีสูงจากระดับน้ําทะเลไมเกิน 300 เมตร บางคร้ังพบปลูกเปนไม ประดบั ตามบา นเรอื น ยอดและดอกออ นรบั ประทานเปน ผกั สด เปลอื กรสฝาดและ ตนใชตมดืม่ บาํ รุงโลหติ แกเบอ่ื เมา อาการทอ งเสีย หรืออาบทาแกโ รคผวิ หนงั ไมเถา เนอื้ แข็ง มีมอื เกาะ ใบเรียงเวยี น ยาว 4–15 เซนตเิ มตร ปลายไมเ วา เปน แฉกเหมอื นใบชงโค ชอ ดอกแบบชอ กระจะออกตาม ปลายกิ่ง บางครั้งยาวไดถงึ 1 เมตร ใบประดบั ตดิ ทน ยาวประมาณ 1 เซนตเิ มตร กลบี เลยี้ ง 5 กลีบ สีชมพูออนหรอื สแี ดง มีขนสั้นนมุ กลีบดอก 5 กลบี ยาว 1.2–1.5 เซนตเิ มตร สีแดงถึงแดงเขม เกสร เพศผู 3 อนั กานเกสรสีแดง เกสรเพศผเู ปน หมนั 7 อนั ยาวไมเ ทา กนั รงั ไขม ขี นส้นั นุม ฝกแหง แตกอา ออก ยาว 15–16 เซนติเมตร เทคนิคสีนํ้า ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธิ์ของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 140



อรพิม Bauhinia winitii Craib Fabaceae (Leguminosae-Cercideae) อรพมิ หรอื ค้ิวนาง เปน พชื ถน่ิ เดยี วของไทย พบทางภาคเหนอื ตอนลางและ ภาคกลางในจังหวัดนครสวรรค ลพบรุ ี สระบุรี และภาคตะวันตกเฉยี งใตทจ่ี งั หวัด กาญจนบรุ ี ชอบข้ึนตามที่โลงบนเขาหนิ ปนู เตย้ี ๆ ทส่ี ูงจากระดับนา้ํ ทะเลประมาณ 100 เมตร นยิ มปลูกเปนไมประดบั ท่วั ไป ไมเถาเน้ือแข็ง เล้ือยพาดพันไปไดไกล กิ่งออนมีขนส้ันนุมสี นํา้ ตาลเขม ใบเวาแยกเปน 2 แฉก จรดโคน คลาย 1 คูใ บ ใบยอย รปู ไขเ บยี้ ว ยาว 3–4.5 เซนตเิ มตร เสนใบ 3–4 เสน ชอดอกออก ตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาวไดถึง 20 เซนติเมตร ตาดอกรูป กระสวย ยาวประมาณ 3 เซนตเิ มตร ฐานรองดอกรูปหลอด ยาว 4–6 เซนติเมตร มขี นสนั้ นมุ สนี ํา้ ตาลเขม เปน ร้วิ กลีบดอก 5 กลบี ขนาดเทาๆ กัน ยน ยาวประมาณ 9 เซนตเิ มตรรวมกา นกลบี กลีบ หนามสี เี หลอื งออนแซม เกสรเพศผู 10 อัน ผลเปนฝก แบน บิดเลก็ นอ ย ยาวไดถ ึง 30 เซนตเิ มตร เทคนิคสีน้ํา ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธิ์ของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 142



กันภัย Afgekia sericea Craib Fabaceae (Leguminosae-Papilionoideae) สกุล Afgekia เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ใบประกอบ แบบขนนกปลายคี่ เรยี งเวยี น มีหูใบยอ่ ยตดิ ทน ช่อดอกแบบชอ่ กระจะ บางคร้งั แยกแขนง ออกตามซอกใบหรอื ตามกง่ิ ใบประดบั ขนาดใหญ่ เรยี งซอ้ นเหลอื่ มหมุ้ ดอก มีขนยาวคล้ายไหมปกคลุม ร่วงพร้อมดอก ใบประดับย่อยมีขนาดเล็กกว่า กลบี เลยี้ งปลายแยกเป็น 5 หยกั กลีบดอกกลบี กลางมสี นั นนู คลา้ ยเดือยทีโ่ คน 1 คู่ ซ่ึงเข้าใจว่าเป็นตัวช้ีต่อมน้ำ�ต้อย กลีบคู่ล่างเชื่อมติดกันรูปคุ่ม รังไข่มีขนยาว ออวุล 2 เม็ด ผลเปน็ ฝักแข็ง เปลอื กหนา มี 1-2 เมลด็ มีขั้วเมล็ด มสี มาชิกเพยี ง 3 ชนดิ พบเฉพาะในประเทศไทย กนั ภยั เปน็ พชื ถนิ่ เดยี วของไทย พบทางภาคกลาง และภาคเหนือ ตามท่โี ลง่ ในป่าเบญจพรรณและป่าเตง็ รัง จนถงึ ทส่ี งู จากระดับน�ำ้ ทะเลประมาณ 300 เมตร นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามสวนและบ้านเรือนท่ัวไป ตามความเชอ่ื ถอื เป็นไม้มงคล ไมเ้ ถาเนอ้ื แขง็ เปน็ พมุ่ แนน่ ยาวไดถ้ งึ 15 เมตร มขี นสน้ั นมุ่ คลา้ ย ไหมหนาแนน่ ตามกง่ิ หูใบ ก้านใบ แกนใบประกอบ แผน่ ใบ ชอ่ ดอก ใบประดบั กลบี เลย้ี งและกลบี ดอกดา้ นนอก หใู บออกเปน็ คู่ แนบตดิ โคนกา้ นใบ รปู เคียว ยาว 1.5–2 เซนติเมตร ใบประกอบแกนกลาง ยาว 15–23 เซนตเิ มตร โคนโปง่ พอง หใู บยอ่ ยตดิ เปน็ คู่ ยาวประมาณ 3 มม. ใบยอ่ ยมี 4–8 คู่ เรยี งตรงขา้ ม ยาว 4–8 เซนตเิ มตร ใบประดบั ยาว 1–2.5 เซนติเมตร ติดทน ชอ่ ดอกยาวได้ถึง 0.5 เมตร ดอกเรยี ง เวียนรอบแกนช่อ ใบประดับยอ่ ยยาว 3–3.5 เซนตเิ มตร กลีบเลี้ยง รปู ปากเปดิ กลีบดอกกลบี กลางยาว 2.5–3 เซนติเมตร กลีบปกี ยาว ประมาณ 2.5 เซนตเิ มตร กลบี คลู่ ่างยาวเทา่ ๆ กลบี ปีก ฝกั ยาว 7–9 เซนติเมตร หนาประมาณ 3 เซนตเิ มตร เทคนิคสีน้ำ� ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ปาจรีย์ อินทะชุบ ลิขสิทธิ์ของหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2553 144



กอ ขาว Castanopsis inermis (Lindl. ex Wall.) Benth. & Hook. f. Fagaceae สกลุ Castanopsis หรือสกุลกอ หนาม มลี ักษณะเดน ที่กานใบบวมที่โคนและ มกั เปนขอ ชอ ดอกทงั้ เพศผูแ ละเพศเมยี ต้ังขนึ้ กาบหุมผลมกั ออกเด่ียวๆ บนแกน ชอ ขอบกาบแตกออกเปน พไู มเ ทา กนั ผวิ สว นมากมหี นาม มสี มาชกิ ประมาณ 120 ชนดิ ในประเทศไทยพบ 33 ชนดิ กอขา วเปนช่อื เรยี กทางภาคใต มีเขตการกระ จายพนั ธุใ นพมา และภมู ภิ าคมาเลเซีย ในไทยพบทวั่ ไปแทบทกุ ภาค ยกเวนภาค ตะวนั ออกเฉยี งใต ขนึ้ ในปา ดบิ แลง และปา ดบิ ชน้ื ทร่ี ะดบั ความสงู ไมเ กนิ 300 เมตร ไมต น ขนาดกลาง ใบเดยี่ ว เรยี งเวยี น ยาว 7–17 เซนตเิ มตร ขอบ ใบเรยี บหรอื จกั ฟน เลอื่ ยเลก็ นอ ย ดอกเพศผแู ละดอกเพศเมยี อยชู อ เดยี วกนั หรอื แยกกัน ชอดอกเพศผูแ ยกแขนง ชอ ดอกเพศเมียแบบ ชอเชงิ ลด ชอผลยาว 15–20 เซนติเมตร ผลไรกาน กวา ง 1.5–3.5 เซนติเมตร ยาว 1.5–2.5 เซนติเมตร รวมกาบหุมที่หุมผลจนมิด ยกเวนปลายผลที่เปนต่ิง มี 1–3 ผล ในแตละกาบ ผิวกาบมีแนว หนามสัน้ ๆ มวนงอ หางๆ มี 3–5 แนว รอบๆ ผล เทคนิคสีนํ้า ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธ์ิของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 146



กอ ดาํ Lithocarpus lucidus (Roxb.) Rehder Fagaceae สกลุ Lithocarpus หรือสกลุ กอหมู มีลกั ษณะเดน ทข่ี อบใบเรยี บ กา นใบไมมี ขอ ชอ ดอกตง้ั ขึ้น กาบหมุ ผลออกเปนชอ กระจุกบนแกนชอ ขอบกาบเรยี บไมแยก ออกเปนสว นๆ มีสมาชกิ ประมาณ 300 ชนดิ ในประเทศไทยพบ 56 ชนิด กอ ดํา พบที่อนิ เดยี และภูมภิ าคมาเลเซีย ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉยี งใตที่จงั หวดั จนั ทบรุ ี และภาคใตทจ่ี งั หวดั สงขลาและนราธวิ าส ในปาดบิ ชื้นระดับตํ่า ไมตน ขนาดกลาง ดอกแยกเพศอยชู อเดียวกนั หรือตางชอ กงิ่ มี ชอ งอากาศ ใบเดี่ยว เรยี งเวยี น ยาว 7–15 เซนตเิ มตร ชอ ดอกยาว 9–20 เซนติเมตร ดอกเพศผอู อกเปนกระจุก 3–4 ดอก ดอกเพศเมีย ออกเด่ยี วๆ หรอื เปน กระจกุ 2–3 ดอก เสน ผานศนู ยก ลางผล 2–3 เซนตเิ มตร เกอื บไรก า น กาบหมุ ผลเฉพาะชว งลา งประมาณหนง่ึ สว น สาม ไมเชอ่ื มติดกัน ผิวกาบมเี กลด็ ประดับเช่ือมติดกนั เรยี งเปน วง 5–7 วง แตละกาบมี 1 ผล เทคนิคสีน้ํา ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธิ์ของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 148



กอสามเหล่ียม Trigonobalanus doichangensis (A. Camus) Forman Fagaceae สกลุ Trigonobalanus หรอื กอ สามเหลยี่ ม มลี กั ษณะเดน ทก่ี าบหมุ ผลแตกออก เปน 3–5 ซกี ไมมีหนาม ในแตล ะกาบมี 1–3 ผล หรือมากกวานี้ เปนสนั คลา ยปก รปู สามเหลี่ยม มสี มาชกิ เพียง 3 ชนิด พบในภมู ภิ าคเอเชียใต เอเชยี ตะวันออก เฉียงใต และอเมรกิ าใต ใน Flora of China จัดอยใู นสกุล Formanodendron และ มีเพยี งชนิดเดยี ว กอ สามเหลี่ยมพบที่จนี ตอนใต และภาคเหนือตอนบนของไทย ทจ่ี งั หวดั เชยี งใหม เชยี งราย แมฮ อ งสอน แพร และอตุ รดติ ถ ขน้ึ ตามทล่ี าดชนั และ ตามสันเขาในปาดบิ เขาทส่ี ูงจากระดบั นํ้าทะเล 900–1,600 เมตร ไมตนขนาดกลาง ดอกแยกเพศตางชอแตอยูรวมตน ใบเดี่ยว เรียงเวียน ยาว 6–12 เซนตเิ มตร ขอบใบเรยี บ ชอ ดอกเพศผยู าว 8–14 เซนติเมตร หอ ยลง ดอกออกเปน กระจกุ 1–7 ดอก กลบี รวม มขี นหนาแนน ชอ ดอกเพศเมยี ยาว 8–10 เซนตเิ มตร ดอกออกเดย่ี ว หรือออกเปน กระจกุ 3–7 ดอก ผลสว นมากมี 1–3 ผล รปู ไขกลับ กวา ง ยาว 0.5–1 เซนตเิ มตร มปี ก 3 ปก กาบหมุ ผลมเี กลด็ หนาแนน เทคนิคสีน้ํา ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธิ์ของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 150



เอือ้ งหงอนไก Aeschynanthus fulgens Wall. ex R. Br. Gesneriaceae สกุล Aeschynanthus สวนมากเปนพืชอิงอาศัย ใบเด่ียว เรียงตรงขามหรือ เรยี งรอบขอ ชอ ดอกคลา ยชอ ซ่ีรม มีใบประดับ 2 ใบ เรียงตรงขามกนั กลีบดอก สมมาตรดา นขาง กลีบปากบน 2 กลบี กลบี ปากลาง 3 กลบี โคนกลบี เปน หลอด ยาว เกสรเพศผู 4 อัน มกั เจรญิ กอ นเกสรเพศเมีย ทาํ ใหข นาดของเกสรเพศผแู ละ เพศเมยี มคี วามผนั แปรมากในแตล ะดอก ผลแหง แตก เมลด็ จาํ นวนมาก มสี มาชกิ ประมาณ 160 ชนดิ พบในเอเชยี และหมเู กาะในมหาสมทุ รแปซฟิ ก ในประเทศไทย มปี ระมาณ 20 ชนดิ เออ้ื งหงอนไกมเี ขตการกระจายพนั ธทุ างจีนตอนใต (มณฑล ยูนนาน) ลาว เวียดนามตอนเหนือ และภาคเหนือของไทยท่ีจังหวัดเชียงใหม เชียงราย และแมฮองสอน ขึ้นตามคบไมในปาดบิ เขาระดบั สงู พชื อิงอาศยั ลาํ ตนทอดยาว 40–60 เซนตเิ มตร ผวิ เกล้ยี ง ใบ ยาว 8–13 เซนตเิ มตร แผนใบหนา ชอ ดอกไรกา น ออกตามปลาย กง่ิ มี 8–10 ดอก หลอดกลีบเล้ยี งยาว 1.2–1.5 เซนติเมตร ปลาย แยกเปน 5 แฉก แฉกยาวนอยกวา 1 เซนตเิ มตร ปลายแฉกแหลม หรอื มน กลบี ดอกสีสม อมแดง ยาว 4–5 เซนติเมตร เกสรเพศผยู ื่น พน ปากหลอดกลบี ดอก รงั ไขเ กลย้ี ง ผลยาว 20–30 เซนตเิ มตร เมลด็ มีขนคลา ยรยางคย าวประมาณ 1 เซนติเมตร เทคนิคสีน้ํา ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธ์ิของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 152



คําปองแสด Ridleyandra flammea (Ridl.) A. Weber Gesneriaceae สกุล Ridleyandra เปน ไมลมลุกอายุหลายป โคนลาํ ตน มเี นอื้ ไม ใบเรยี งเวยี น เปนกระจุก ชอดอกออกตามซอกใบ กลบี เล้ียง 5 กลีบ แยกกนั กลีบดอกติดกนั เปนหลอด ปลายผายออกเปนรปู ปากเปด เกสรเพศผูส้นั 2 อนั ยาว 2 อนั ผลแหง แตกแตกชว งปลาย เมลด็ จาํ นวนมาก มีสมาชิกประมาณ 23 ชนิด ในคาบสมทุ ร มาเลเซยี บอรเ นยี ว และภาคใตของไทย ขน้ึ ในปา ดบิ ชืน้ โดยเฉพาะบนภูเขาสูง คําปองแสด เดิมช่อื Didissandra flammea Ridl. พบทางตอนบนของคาบสมทุ ร มาเลเซียและภาคใตตอนลางของไทยบริเวณอําเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ข้ึน บนกอ นหินหรอื พืน้ ดินตามทลี่ าดชันภายใตร มไม ใกลลําธารในปา ดบิ ชน้ื ไมลมลุก สูงไดถึง 10 เซนติเมตร ใบยาว 5–18 เซนติเมตร ชอดอกกานชอยาว 8–10 เซนติเมตร กลีบเล้ียงยาว 1.5–2 เซนติเมตร ดอกสีสม กลีบดอกยาว 4–6 เซนติเมตร เม่ือบานมี เสน ผา นศนู ยก ลางประมาณ 1.5 เซนตเิ มตร เกสรเพศผยู าว 1.5–1.8 เซนติเมตร รังไขมีขนตอมหนาแนน ยอดเกสรเพศเมยี แผบ านออก ผลยาวประมาณ 5 เซนติเมตร มีขนตอมปกคลุมหนาแนน เทคนิคสีนํ้า ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธิ์ของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 154



ชามวง Trisepalum glanduliferum (Barnett) B. L. Burtt Gesneriaceae สกุล Trisepalum เปนไมลม ลกุ อายหุ ลายป ก่ิงออ นมขี นหนาแนน ชอ ดอก แบบชอกระจกุ แยกแขนง ออกตามซอกใบ กานดอกมกั ยาวไมเทา กนั ใบประดบั บางครั้งขยายใหญขนึ้ ในผลคลายรปู โคน กลบี เลย้ี งเชอื่ มติดกนั แยกเปน 3 สว น กลบี ดอกรปู ระฆัง เบี้ยว สีขาวหรอื สมี วง เกสรเพศผู 2 อนั ยอดเกสรเพศเมียรูป ล้ินโคงงอ ผลแหง แตก สวนมากบิดเวยี น มสี มาชิกประมาณ 13 ชนิด พบในพมา จนี ตอนใต และคาบสมุทรมาเลเซีย ในประเทศไทยมีประมาณ 10 ชนิด ชามวง เปนพืชถ่ินเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคเหนือท่ีดอยหัวหมด เขตรักษาพันธุ สัตวปาอุมผาง จังหวัดตาก ข้ึนตามท่ีโลงบนเขาหินปูน ที่สูงจากระดับน้ําทะเล ประมาณ 1,000 เมตร ไมล ม ลกุ แตกกอ สงู ไดถ งึ 20 เซนตเิ มตร ใบยาว 2–4 เซนตเิ มตร ขอบใบหยกั มน แผน ใบมตี อ มสเี หลอื งกระจายทงั้ สองดา น ดา นลา ง มขี นสนี าํ้ ตาลอมเหลือง กา นชอ ดอกยาวประมาณ 6 เซนติเมตร ใบ ประดบั และใบประดบั ยอ ยออกเปน คู หมุ กา นชอ และกา นดอก ขยาย ใหญขึ้นในผล มีตอมกระจาย กลบี ดอกเบ้ียว กลีบบน 2 กลีบ แฉก ลกึ ประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบดานลาง 3 กลบี ขนาดเทา ๆ กัน เกสรเพศผูติดท่ีโคนกลีบดอกดานบน ผลยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร แตกเปน 4 สวน บดิ เปนเกลียวเลก็ นอย เทคนิคสีนํ้า ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธิ์ของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 156



นวลชมพู Rhodoleia championii Hook. f. Hamamelidaceae สกุล Rhodoleia เปน ไมตน ใบเรียงเวยี น ชอดอกแบบชอ กระจุกแนน ลอ ม รอบดวยวงใบประดับ กลีบเล้ียงไมเจริญ กลีบดอกมีเฉพาะดอกท่ีอยูวงนอกสุด รังไขอยกู ่งึ ใตวงกลีบ มี 2 ชอ ง ผลแหงแตก เช่อื มติดกัน แขง็ เมล็ดมปี ก แคบๆ มี สมาชกิ ประมาณ 10 ชนดิ หรอื อาจจะยบุ รวมกนั ใหม เี พยี งชนดิ เดยี ว และบางตาํ รา จัดอยูในวงศ Rhodoleiaceae และกลาววาไมมีหูใบ แตการศึกษาตอมาพบวามี หใู บเชน เดยี วกบั สกลุ อน่ื ๆ นวลชมพพู บตง้ั แตจ นี ตอนใต พมา เวยี ดนาม คาบสมทุ ร มาเลเซียและสุมาตรา ในไทยพบทางภาคตะวันตกเฉียงใต (อุทยานแหงชาติ แกงกระจาน) และภาคใตท ่จี งั หวดั นราธวิ าส ข้นึ ตามชายปา ดบิ แลงและปา ดิบชน้ื ระดับตา่ํ ๆ ไมต น สงู ไดถ งึ 30 เมตร เปลอื กสนี า้ํ ตาลเขม มชี อ งอากาศขนาด ใหญ ใบรูปไข ยาว 4–12 เซนตเิ มตร เสนแขนงใบเรียงจรดกันตรง ปลาย แผน ใบมนี วลดา นลา ง กา นใบสแี ดง ชอ ดอกหอ ยลง ใบประดบั เรยี งหนาแนน วงในมีขนาดใหญท ีส่ ดุ มขี นสั้นหนานุม สนี า้ํ ตาลดา น นอก กลีบเลีย้ งไมพ ฒั นา กลีบดอกสีแดงอมชมพู รูปใบพาย ยาว ประมาณ 1.8 เซนติเมตร เกลย้ี ง ผลแกส ีนาํ้ ตาล ทรงกลม เสนผาน ศูนยกลาง 2–2.5 เซนตเิ มตร เมลด็ ทส่ี มบรู ณม ีปกแคบ เมลด็ ทเ่ี ปน หมันไมมีปก เทคนิคสีน้ํา ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธิ์ของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 158



บัวทอง Hypericum hookerianum Wight & Arn. Hypericaceae สกลุ Hypericum หรอื สกลุ บวั ทอง บางครง้ั จดั อยใู นวงศ Clusiaceae แตข อ มลู ดานวิวัฒนาการไดแยกออกมาเปนอีกวงศหนึ่ง รวมกับสกุล Cratoxylum จาก ลกั ษณะทแ่ี ผนใบมีจดุ โปรงแสงหรอื จุดสดี าํ เกสรเพศผูแยกเปน มัดๆ และมีเมล็ด จํานวนมาก สวนวงศ Clusiaceae มีสมาชิกในสกุลบุนนาค Mesua สกุลตังหน Calophyllum สกลุ สารภี Mammea และสกลุ พะวา Garcinia เปนตน สกลุ บวั ทอง หลายชนดิ มีดอกสวยงาม มีศกั ยภาพนาํ มาเปนไมด อกประดบั ได ในประเทศไทย มปี ระมาณ 5 ชนดิ มเี ขตการกระจายพันธุต้งั แตอ ินเดีย เนปาล ภฏู าน บังกลาเทศ พมา และเวียดนามตอนเหนือ ในไทยพบเฉพาะทางภาคเหนือท่ีดอยอินทนนท และดอยเชยี งดาว ขน้ึ ตามชายปา ดบิ เขา ทส่ี งู จากระดบั นาํ้ ทะเล 1,600–2,500 เมตร ไมพ มุ ทรงกลม ใบเดย่ี ว เรยี งตรงขา ม ยาว 2–7 เซนติเมตร แผน ใบดา นลา งมีนวล ดอกออกเปนชอกระจกุ สั้นๆ มี 1–5 ดอก ดอก รปู ถวย ขนาดเสน ผา นศูนยกลาง 3–6 เซนตเิ มตร กลบี เลย้ี งมีตอ ม ยาว เกสรเพศผูแยกเปน 5 มัด มดั ละประมาณ 60–80 อัน เกสร เพศเมียแยกเปน 5 แฉก ผลแบบแหงแตก ยาว 1–1.7 เซนติเมตร เมลด็ จาํ นวนมาก เทคนิคสีนํ้า ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธิ์ของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 160



ดนั หมี Gonocaryum lobbianum (Miers) Kurz Icacinaceae สกุล Gonocaryum เปนไมพมุ หรือไมต น ขนาดเลก็ ดอกแยกเพศตางตนแกม ดอกสมบรู ณเ พศ หรอื มเี ฉพาะดอกสมบรู ณเ พศ ใบเดย่ี วเรยี งเวยี นสลบั ดอกออก เดี่ยวๆ เปนกระจกุ ออกเปนชอแบบชอเชิงลด หรอื ชอ กระจะสัน้ ๆ ตามซอกใบ กลีบเล้ยี งและกลีบดอกมีจํานวนอยางละ 5 กลบี กลบี เลย้ี งเรียงซอนเหลอื่ ม กลีบ ดอกติดกนั เปนหลอด เกสรเพศผู 5 อนั อบั เรณูตดิ ดา นหลงั ในดอกเพศเมยี แปน หมัน รงั ไขอยูเหนอื วงกลบี ผลผนงั ชน้ั ในแขง็ เปนเสน ใย มสี มาชิกประมาณ 10 ชนิด พบในเอเชียเขตรอ น ในประเทศไทยมีชนดิ เดียว ดนั หมี พบในจนี (มณฑล ยนู นาน เกาะไหหลาํ ) พมา ภมู ภิ าคอินโดจีน คาบสมทุ รมาเลเซยี และบอรเนียว ในไทยพบทั่วทกุ ภาค ข้ึนในปาดบิ แลง ปาดิบช้ืน และปา ดิบเขา เมล็ดใหน ้าํ มนั ใช ผสมในการทาํ สบูแ ละนํ้ามันหลอล่นื ไมพุมหรือไมตนขนาดเล็ก สูงไดถึง 15 เมตร ใบยาว 8–25 เซนติเมตร แผน ใบหนา กา นใบอวบหนา สีเหลอื งอมสม ยาว 1–2 เซนติเมตร ชอดอกเพศผูแบบชอเชิงลด ยาวไมเกิน 1 เซนติเมตร กลีบเล้ียงขอบมีขนครุย กลีบดอกสีขาวนวล หลอดกลีบดอกยาว ประมาณ 0.5–0.6 เซนติเมตร ดอกเพศเมียหรือดอกสมบูรณเพศ ออกปนชอ กระจะสน้ั ๆ คลายดอกเพศผู ขนาดเล็กกวา เลก็ นอย ผล กลมรหี รอื รปู ทรงกระบอกสน้ั ๆ ยาว 3–5 เซนตเิ มตร สกุ สดี าํ อมมว ง ผนงั ผลหนาคลา ยฟองน้ํา มเี สน ใยหนา เทคนิคสีไม ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธิ์ของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 162



ทองแมว Gmelina elliptica Sm. Lamiaceae (Labiatae) สกุล Gmelina หรือสกุลซอ เปนไมตนขนาดเล็กถึงขนาดใหญ ไมพุม หรือ ไมพุมรอเลื้อย ใบเรียงตรงขามสลับตั้งฉาก ชอดอกแบบชอกระจุก กลีบดอก แบบปากเปด โคนกลบี คอดเปน หลอดสน้ั มสี มาชกิ ประมาณ 38 ชนดิ พบในเอเชยี เขตรอ นจนถงึ หมเู กาะแปซฟิ ก ในประเทศไทยพบประมาณ 8 ชนดิ ทองแมวมเี ขต การกระจายพันธุตั้งแตพ มา จนถึงออสเตรเลยี ในไทยพบแทบทุกภาค ขนึ้ ตามปา ละเมาะและปาผลัดใบ นิยมปลูกเปนไมประดับ ออกดอกออกผลเกือบตลอดป และใชเปน สมนุ ไพรพน้ื บาน ไมตนขนาดเล็ก ก่ิงมักหอยยอยลง ใบยาว 3–10 เซนติเมตร กวาง 3–5 เซนติเมตร แผนใบดา นบนมขี นประปราย ดา นลางมขี น หนาแนน เสนแขนงใบขางละ 6–10 เสน ใบประดบั รปู รางคลา ยใบ กลบี เลย้ี งมตี อ มขนาดใหญ 1–3 ตอ ม กลบี ดอกยาว 3–4 เซนตเิ มตร โคนเชื่อมกันเปนหลอด ปลายแยกเปน 4 แฉก เกสรเพศผู 4 อัน ผล แบบผลผนงั ชั้นในแข็ง สเี ขยี วอมเหลอื ง ยาว 1.5–2 เซนตเิ มตร เทคนิคสีน้ํา ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธ์ิของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 164



ซอ หิน Gmelina racemosa (Lour.) Merr. Lamiaceae (Labiatae) ซอหนิ พบที่จนี ตอนใตแ ละภมู ภิ าคอนิ โดจีน ในไทยพบเพยี งแหงเดียวทีเ่ ขต รักษาพันธุสัตวปาภูวัว จังหวัดหนองคาย ในปาดิบแลง ท่ีความสูงจากระดับน้ํา ทะเลประมาณ 200 เมตร ไมต น ขนาดกลาง ใบเดี่ยว เรียงตรงขา มสลับต้ังฉาก รูปไข ยาว 9–20 เซนตเิ มตร แผน ใบดา นลางมีนวลและขนสนั้ นุม เสน แขนงใบ ออกจากโคน 1 คู ชอดอกออกตามปลายก่ิง ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร กลีบเล้ียงรูประฆัง ปลายตัด กลีบดอกยาว 3–5 เซนตเิ มตร ดา นนอกมสี ขี าวอมมว ง ดา นในสมี ว ง มขี นสน้ั นมุ ทง้ั สอง ดา น กลีบกลางลางมีขนาดใหญกวา กลบี อนื่ ๆ กลีบปากมสี ีเหลอื ง เขมดานใน กา นชูอับเรณูตดิ ประมาณกึง่ กลางหลอดกลีบดอก รังไข มีขนสัน้ นุม ผลทรงกลม สุกสีเหลอื ง ยาว 2.5–4 เซนตเิ มตร เทคนิคสีน้ํา ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธิ์ของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 166



จิกทะเล Barringtonia asiatica (L.) Kurz Lecythidaceae สกลุ Barringtonia เปนไมต น ใบเรยี งเวียน ชอ ดอกแบบชอ กระจะหรอื ชอ เชงิ ลด หอ ยลงหรอื ต้งั ขน้ึ ฐานดอกเปน เหล่ยี มหรือมปี ก กลีบเล้ียง 4-5 กลบี ตดิ ทน บางครง้ั ดคู ลายถวย กลีบดอกสว นมากมี 4 กลีบ เกสรเพศผูจํานวนมาก เชอื่ มติด กนั ที่โคน เรยี ง 3-8 วง วงดานนอกสว นมากเปนหมนั รังไขอยเู หนือวงกลบี หรอื ก่งึ ใตว งกลบี มี 2-4 ชอ ง ผลมเี นือ้ มเี มลด็ เดยี วหรอื หลายเมลด็ แตสวนมากมีเมลด็ เดยี วทพี่ ฒั นา มสี มาชกิ ประมาณ 56 ชนดิ มเี ขตการกระจายพนั ธทุ แ่ี อฟรกิ า เอเชยี และออสเตรเลยี จกิ ทะเล พบทางภาคใตข องไทย ขนึ้ ตามชายฝง ทะเลทวั่ ไปตง้ั แต มาดากสั การ อินเดีย ศรลี งั กา ไตหวนั ญี่ปุน ภูมิภาคมาเลเซยี ฟล ปิ ปน ส หมูเ กาะ ในมหาสมทุ รแปซฟิ ก ถงึ ออสเตรเลยี ตอนบน สว นตา งๆ โดยเฉพาะเมลด็ มพี ษิ จงึ มีช่อื สามัญวา Sea poison tree หรือ Fish poison tree ใชเบ่อื ปลาได บางครง้ั เรยี กวา Box fruit ตามลักษณะของผลขนาดใหญ ทเ่ี ปน เหล่ยี ม ไมตนขนาดกลางถงึ ขนาดใหญ ใบเรียงเวียนเปน กลมุ แนนตาม ปลายกิง่ ยาว 20–40 เซนตเิ มตร ปลายใบมน แผนใบหนาเปน มนั วาวดา นบน ไรก า น ชอ ดอกตง้ั ตรง ยาว 5–15 เซนตเิ มตร มปี ระมาณ 20 ดอกในแตละชอ ใบประดับติดทน กลีบเล้ียงแยกเปน 2 สวน ไมเ ทา กนั ยาว 2.5–3.5 เซนตเิ มตร กลบี ดอก 4 กลบี ตดิ ทโี่ คนหลอด เกสรเพศผู ซง่ึ มจี าํ นวนมากเปน พู แผน กลบี ยาว 4.5–6.5 เซนตเิ มตร ผลขนาดใหญ โคนกวา งเปนเหล่ียม ยาว 10–11 เซนตเิ มตร ปลาย เรยี วจรดกลบี เลีย้ งท่ีขยายขน้ึ เทคนิคสีนํ้า ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธิ์ของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 168



กาฝากวงกลีบบวั Tolypanthus pustulatus Barlow Loranthaceae สกุล Tolypanthus หรือสกลุ กาฝากวงกลบี เปนกาฝากบนตนไม ใบเดยี่ วเรียง ตรงขา ม บางครงั้ ใบตรงขามไมเจรญิ เสน ใบแบบขนนก ชอ ดอกออกเปนกระจกุ ส้ันๆ หรือไรกานตามซอกใบ ติดบนวงกลีบประดับขนาดใหญ กลีบแยกจากกัน หรือติดคลายรูประฆัง ดอกเกือบไรกาน มักเรียงแถวเดียว กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก บาง เกสรเพศผู 5 อนั อับเรณตู ดิ ท่ีฐาน รังไขอยใู ตวงกลบี ผลแบบมีเน้ือมีเมลด็ เดียว มีสมาชิก 6 ชนิด พบในประเทศศรีลังกา อินเดีย และจีนตอนใต ใน ประเทศไทยมี 2 ชนิดคอื กาฝากวงกลีบบวั Tolypanthus pustulatus Barlow และ กาฝากวงกลบี ระฆัง Tolypanthus lageniferus (Wight) Tieghem กาฝากวงกลบี บัว เปนพืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะท่ีเขตรักษาพันธุสัตวปาภูวัว จังหวัด หนองคาย ท่ีสูงจากระดับน้ําทะเลประมาณ 200 เมตร ชอบข้ึนบนตนไมในวงศ อบเชย (Lauraceae) กาฝากพุม สูงประมาณ 50 เซนติเมตร ลําตนเกล้ียง มีชอง อากาศกระจาย ใบเรยี งหางๆ ยาว 9–11 เซนติเมตร แผน ใบหนา ชอ ดอกแบบกระจุกสน้ั ๆ วงกลีบประดับมี 6–8 กลีบ เปนสัน ตดิ กนั ประมาณกงึ่ หนึง่ ยาว 1.5–2 เซนตเิ มตร สีแดงอมชมพู ดอกยอ ยมี 4–6 ดอก กลบี เลยี้ งมขี นหนาแนน กลบี ดอกสขี าว แถบเปน สนั สแี ดง อมชมพู ตดิ กนั เปน หลอดยาวประมาณ 2 เซนตเิ มตร ปลายแยกเปน 5 กลบี ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร พับงอ ผวิ ดา นนอกพองต้งั แต ปลายกลบี จนถึงชวงพับงอ เทคนิคสีน้ํา ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธิ์ของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 170



มณฑาปา Magnolia garrettii (Craib) V. S. Kumar Magnoliaceae สกุล Magnolia เปนไมต น ใบเรยี งเวยี น แผน ใบมกั มนี วลดานลา ง หใู บขนาด ใหญ ดอกออกเด่ียวๆ ขนาดใหญ กลบี รวมหลายกลีบเรยี งหลายวง เกสรเพศผู และคารเ พลจาํ นวนมาก เรยี งเวยี นรอบฐานดอก เกสรเพศผอู ยดู า นลา ง เกสรเพศ เมียแยกหรือเช่ือมติดกัน ผลกลุม แตกอาออก เมล็ดมีเปลือกสีแดง ขอมูลดาน ววิ ฒั นาการในปจ จบุ นั รวมเอาสกลุ ตา งๆ เชน Michelia, Talauma, Manglietia และ Paramichelia เขา เปนสกุลเดยี วกนั ภายใตสกุล Magnolia ทําใหสกลุ Magnolia มสี มาชกิ กวา 225 ชนิด ในประเทศไทยพบ 25 ชนดิ อยางไรกต็ ามใน Flora of China ยังคงแยกออกเปนสกุลตางๆ เชนเดิม และยังแยกบางสกุลเพ่ิมเติมอีก เน่ืองจากลักษณะของผลที่แตกตางกันอยางชัดเจนในหลายสกุล มณฑาปาหรือ มณฑาดอยเดมิ ชือ่ Manglietia garrettii Craib พบท่ีจนี ตอนใต (มณฑลยนู นาน) เวียดนาม และภาคเหนือของไทยท่ีจังหวัดเชยี งใหม เชียงราย แมฮอ งสอน นาน พษิ ณโุ ลก และตาก ข้ึนในปา ดิบเขา ที่สูงจากระดบั น้ําทะเล 1,000–1,900 เมตร ไมต น ขนาดใหญ สูงไดถ ึง 25 เมตร ใบเดยี่ ว เรียงเวียนเปนกลุม ตามปลายก่ิง แผน ใบหนา ยาว 18–30 เซนตเิ มตร ตาดอกรปู ขอบ ขนาน ยาว 6–7 เซนตเิ มตร สนี าํ้ ตาลอมเขยี ว กลบี รวมสมี ว งอมเขยี ว และแดง อวบหนา กลีบดา นนอกยาว 6–9 เซนติเมตร ขอบกลีบหอ และปลายกลีบโคงเขา กลีบดานในแคบและเล็กกวาเล็กนอย ผล กลุม ทรงกระบอกสั้น ยาว 4–12 เซนติเมตร ผลยอ ยแตกอา เมล็ด หอยลง เทคนิคสีนํ้า ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธ์ิของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 172



โสมชบา Abelmoschus sagittifolius (Kurz) Merr. Malvaceae สกุล Abelmoschus เปนไมลมลุกอายุหลายป ดอกสีเหลืองหรือแดงมีสีเขม ตรงกลาง ออกเด่ียวๆ ร้วิ ประดบั มี 5–15 อัน ตดิ ทน กลีบเล้ยี งแยกดา นหนงึ่ รว ง พรอมดอก เกสรเพศผูตดิ กันเปนเสา เกสร ปลายแยก 5 แฉก รังไขม ี 5 ชอง ผล แบบแหง แตก มีสมาชิกประมาณ 15 ชนิด ในเอเชยี เขตรอ น ในประเทศไทยมี 4–5 ชนดิ รวมชนดิ ทน่ี ําเขา มาปลกู เปน พชื สวนครวั เชน กระเจยี๊ บมอญ Abelmoschus esculentus (L.) Moench เปนตน โสมชบาหรือเหงามหากาฬ เดิมใชช่ือ Abelmoschus moschatus Medik subsp. tuberosus (Span.) Bross. Waalk. พบ ต้ังแตอ ินเดยี พมา จีน ภูมภิ าคอินโดจีน ไทย ภูมิภาคมาเลเซีย จนถงึ ออสเตรเลยี ไมล ม ลุกมีเหงา ก่ิงมีขนสากและหยาบ ใบเดย่ี ว เรยี งเวียน ใบ ตอนกลางและตอนบนลาํ ตน สว นมากรปู หวั ลกู ศรหรอื มี 3–5 พู ยาว 3–10 เซนตเิ มตร แผน ใบดา นลา งมขี นแขง็ กา นใบยาว ดอกสเี หลอื ง หรอื สแี ดง รปู กรวยควาํ่ เสน ผา นศนู ยก ลาง 4–5 เซนตเิ มตรโคนกลบี มีสแี ดงเขม ริว้ ประดับ 6–12 อัน ผลทรงกลมรี เสน ผา นศนู ยก ลาง ประมาณ 3 เซนตเิ มตร เมลด็ มจี าํ นวนมาก เทคนิคสีน้ํา ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธ์ิของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 174



หมอ แกงคา ง Nepenthes ampullaria Jack Nepenthaceae สกลุ Nepenthes เปนไมเถาประเภทพืชกนิ แมลง เสน กลางใบย่ืนยาวตอจาก ปลายใบเปน มอื จับ และที่ดกั จับแมลงรปู เหยอื กมีฝาปด แบงเปน 2 แบบ ไดแ ก lower pitcher หมอ รปู เหยอื กหนั เขา มีสนั เปนปกจกั 2 แนว มอื จบั ไมม ว นงอ และ upper pitcher หมอรูปเหยือกหันออก สันแนวมักไมเ ปนจกั หรอื เปน สันตน้ื ๆ มือ จบั มว นงอ ชอ ดอกแบบชอ กระจะออกทปี่ ลายกงิ่ กลบี รวม 3–4 กลบี กา นชอู บั เรณู เชอื่ มติดกนั เปน เสา เกสร อบั เรณูมี 4–24 อนั รงั ไขอยูเหนือวงกลบี ออวลุ จาํ นวน มาก เรียงหลายแถว ผลแหง แตกตามยาว เมล็ดขนาดเล็กคลายขนจํานวนมาก มี สมาชิก 90–100 ชนิด และมีเพียงสกุลเดียว พบในแอฟริกา เอเชีย จนถึง ออสเตรเลีย ในประเทศไทยมี 12 ชนิด หมอแกงคางกระจายพันธุในภูมิภาค มาเลเซยี ในไทยพบเฉพาะทางภาคใตต อนลา ง ข้ึนตามท่ีโลงหรอื มแี ดดราํ ไรตาม ชายปาดบิ มีพันธุผสมจํานวนมาก เรยี กวา “แอม” ตามคําระบชุ นิด ampullaria เชน แอมเขยี ว แอมเขยี วปากแดง เปนตน ไมเ ถาลม ลกุ ขนึ้ เปน กลมุ หนาแนน ใบจะลดรปู พฒั นาเปน ทดี่ กั จบั แมลงรูปเหยือก คอนขา งปอ มเรยี งชิดกันแนนเปนแพ สวนมาก เปน lower pitcher บางทเี รียกวา หมอผุด มีสีสันหลากหลาย สว น upper pitcher มกั พบในตน ทส่ี มบรู ณเ ลอ้ื ยเกาะตามยอดไม อาจสงู ไดถึง 15 ม. ลาํ ตนมีขนสัน้ นมุ สีน้ําตาล ใบยาวถงึ 25 เซนติเมตร เปนชนิดเดยี วทไี่ มม ีเซลล “รปู จนั ทรเ สี้ยว” ทาํ ใหฝาปด มขี นาดเลก็ เศษใบไมหลน ลงในหมอไดงาย หมอแกงคางจึงสามารถยอยสลาย สัตวต วั เล็กๆ ท่ีตดิ มากับซากใบไมแ หงไดอ กี ทางหนง่ึ เทคนิคสีไม ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธ์ิของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 176



ตานเหลอื ง Ochna integerrima (Lour.) Merr. Ochnaceae สกุล Ochna เปนไมตนขนาดเล็กหรือไมพุม ชอดอกแบบชอแยกแขนงส้ันๆ กลบี เลี้ยง 4–5 กลีบ ขยายใหญข น้ึ มีสีสนั รองรบั ผล กลีบดอก 5–12 กลบี เกสร เพศผจู ํานวนมาก รงั ไข 3–15 ชอ ง แตล ะชอ งมอี อวลุ 1 เมด็ ผลแบบผนังชน้ั ในแขง็ ตดิ บนฐานดอกท่ขี ยาย สกุ สดี ํา มีสมาชกิ ประมาณ 85 ชนดิ ในแอฟริกาเขตรอ น ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวท่ีเปนพรรณไมพื้นเมือง และพบปลูกเปนไม ประดับที่นยิ มกันมากอีก 1 ชนดิ ไดแ ก มกิ ก้เี มาส Ochna kirkii Oliv. ตานเหลือง กระแจะ กําลังชางสาร หรอื ชางนา ว มีช่ือสามัญวา Vietnamese Mickey Mouse พบตัง้ แต ปากีสถาน อนิ เดยี พมา ภูมิภาคอนิ โดจีน จนถึงคาบสมทุ รมาเลเซยี ใน ไทยพบทั่วทกุ ภาค ตามปา เบญจพรรณ ปาเตง็ รงั ชายปา หรือตามชายฝง ทะเล ผลดั ใบจนหมดตน ขณะออกดอกสีเหลืองสะพรง่ั เตม็ ตน รากใชเปน ยาถา ยพยาธิ ไมพมุ เต้ยี หรอื ไมต น ขนาดเล็ก สูงไดถงึ 12 เมตร ใบเดี่ยว เรยี ง เวียน ยาว 6–25 เซนติเมตร ขอบใบจักฟนเล่ือย ชอดอกยาว ประมาณ 4 เซนติเมตร ดอกจาํ นวนมากออกเปน ชอส้นั ๆ ตามกง่ิ ฐานดอกสแี ดงอมสเี ขียว กลีบเล้ยี ง 4 กลีบ กลบี ดอก 5–7 กลีบ สี เหลอื ง ยาว 1.5–2.5 เซนตเิ มตร มกี านกลีบ เกสรเพศผจู ํานวนมาก เรียง 2–3 วง วงนอกยาวทสี่ ุด แตล ะดอกมี 3–10 ผล หรอื มากกวา ติดบนโคนฐานดอก ยาวประมาณ 1 เซนตเิ มตร สเี ขยี วเปน มนั วาว สกุ สดี าํ กลบี เลยี้ งตดิ ทนสแี ดง ยาวประมาณ 2 เซนตเิ มตร แผน กลบี พบั งอกลับ เทคนิคสีนํ้า ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธ์ิของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 178



มะลวิ ัลยเ ถา Jasminum siamense Craib Oleaceae สกุล Jasminum เปน ไมเถา หรือไมพ ุมรอเลื้อย ใบเดีย่ วหรือใบประกอบแบบ ขนนกปลายคี่ เรยี งตรงขา มหรือเรียงสลบั ชอดอกแบบชอ กระจกุ แยกแขนง หรอื แบบชอ กระจะ หรอื ชอเชงิ หลั่น ดอกมีกลิน่ หอม กลีบเลย้ี งและกลบี ดอกมีจํานวน อยา งละ 4–16 กลบี กลบี ดอกรปู แจกนั หรอื รปู แตร เรยี งซอ นเหลอื่ ม หรอื กลบี ดอก ซอนในบางพันธุท่ีปลูกเปนไมประดับ เกสรเพศผู 2 อัน ติดบนหลอดกลีบดอก รงั ไขอ ยเู หนอื วงกลบี ผลสดออกเปน คู ขนาดมกั ไมเ ทา กนั หรอื ลดรปู เหลอื ผลเดยี ว มีสมาชกิ มากกวา 200 ชนิด พบในแอฟรกิ า เอเชยี จนถึงออสเตรเลยี อกี 1 ชนดิ พบในแถบเมดิเตอรเรเนียน มะลิวัลยเถา เปนพืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาค เหนือ ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื และภาคตะวนั ตกเฉียงใต ข้นึ ตามปา โปรง ชอบ พน้ื ท่หี นิ ปนู จนถงึ ที่สงู จากระดบั นา้ํ ทะเลประมาณ 1,000 เมตร ไมพ มุ รอเลอื้ ย ใบเดย่ี ว เรยี งตรงขา ม ยาว 1–10 เซนตเิ มตร เสน แขนงใบขา งละ 3–4 เสน ดอกออกออกส้นั ๆ ทปี่ ลายกิง่ 1–3 ดอก กลบี เลยี้ งยาว 0.5–1.5 เซนตเิ มตร กลีบดอกสีขาว หลอดกลบี ยาว 1–1.8 เซนติเมตร แฉกกลบี ยาว 1.2–2 เซนตเิ มตร เกสรเพศผู 2 อนั เกอื บไรก านชอู ับเรณู เกสรเพศเมยี ปลายแยก 2 แฉก ผลทรงกลมรี เสน ผา นศนู ยกลาง 0.6–0.8 เซนติเมตร สกุ สีแดง เทคนิคสีน้ํา ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ธัญลักษณ สุนทรมัฏฐ ลิขสิทธ์ิของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 180



เสาวรสสยาม Passiflora siamica Craib Passifloraceae สกลุ Passiflora เปน ไมเถา ไมมมี ือจบั ใบเดย่ี ว เรียงเวียน เรยี บหรือเวาเปน พู ชอดอกมีมือจับ 1 อัน หรือไมมี กลีบเล้ียงและกลีบดอกสวนมากมีจํานวน อยางละ 5 กลบี บางครง้ั ไมมกี ลีบดอก กลีบเลย้ี งคลายกลบี ดอก มกี ะบงั 2 ช้ัน ขอบใน (operculum) บาง มกี า นชเู กสรรว ม ผลสดมหี ลายเมลด็ มสี มาชกิ ประมาณ 400 ชนิด หลายชนดิ มีดอกสวยงาม นิยมปลูกเปนไมป ระดับ และมีหลายชนดิ ท่ี ผลกนิ ได เชน เสาวรส หรอื Passiflora edulis Sims เสาวรสสยามพบตง้ั แตอ นิ เดยี พมา จนี ลาว และเวยี ดนาม ในไทยพบกระจายหา งๆ ทางภาคเหนือ ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื และภาคตะวันตกเฉียงใต ตามชายปา ดบิ แลง และปา ดบิ เขา หรือ รมิ ลําธาร ที่สูงจากระดับนาํ้ ทะเล 400–1,500 เมตร ไมเ ถาลม ลกุ ยาว 6–8 เมตร ลาํ ตนเปน เหลยี่ มมีริว้ ใบเรยี บ ยาว 5–20 เซนติเมตร มตี อมนาํ้ ตอยใกลข อบใบ กานใบมกั มตี อ ม 2 ตอ มตรงกลางหรอื โคนกา น ชอ ดอกออกตามซอกใบสน้ั ๆ มี 2–15 ดอก ดอกสีครีมอมชมพู ดอกบานมีเสนผานศูนยกลาง 2.5–3 เซนติเมตร กลบี เล้ยี งและกลบี ดอกคลายกัน ยาว 1–1.5 เซนตเิ มตร กา นชูเกสรรว ม ยาว 0.3–0.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู 5–8 อนั เช่อื ม ติดกนั ท่โี คน กานเกสรเพศเมีย 3–5 อนั มี 1–2 ผลในแตละชอ เทคนิคสีน้ํา ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ปาจรีย อินทะชุบ ลิขสิทธิ์ของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 182



เขม็ ดอย Duperrea pavettifolia Pit. Rubiaceae สกลุ Duperrea เปน สกลุ ทม่ี เี พยี งชนดิ เดยี ว มเี ขตการกระจายพนั ธใุ นพมา จนี ตอนใต และภมู ภิ าคอินโดจนี ในประเทศไทยพบทัว่ ทุกภาค ขนึ้ ใกลล ําธารในปา เบญจพรรณ ปา ดบิ แลง และปา ดิบชืน้ บางครงั้ พบตามเขาหินปนู หรือหินทราย มี ลักษณะผนั แปรหลากหลาย โดยเฉพาะความยาวของกลีบเลีย้ งและกลีบดอก ใบ มที ั้งเกลีย้ งและมขี น ดอกสวยงามมศี กั ยภาพที่จะพฒั นาเปนไมประดบั ได เดมิ ชื่อ Duperrea scabrida Craib ตามลกั ษณะแผนใบดานลางทสี่ วนมากมขี นสาก ไมพ ุมหรอื ไมต นขนาดเล็กสูง 3–5 เมตร กงิ่ ออนเปน เหล่ียมมี ขนสั้นนุมหนาแนน ปลายหูใบมีรยางคแข็ง ใบเรียงตรงขามลดรูป หนึ่งใบ หรอื มี 3 ใบเรยี งรอบขอ ยาว 10–23 เซนติเมตร ชอ ดอก แบบชอ กระจุกคลา ยชอ เชิงหลน่ั ออกตามปลายกงิ่ ดอกหนาแนน ในแตล ะชอ มกี ลิน่ หอม กลีบเลีย้ งตดิ ทน หลอดกลบี ดอกยาว 1–2 เซนติเมตร เกสรเพศผูติดท่ีปากหลอดกลีบดอก เกือบไรกานชูอับ เรณู รังไขม ีขนหนาแนน กา นเกสรเพศเมียรปู กระบองยาว 9.5–1.3 เซนตเิ มตร ผลเกือบกลม เสน ผานศูนยก ลาง 0.8–1.5 เซนติเมตร มี จานฐานดอกและกลีบเล้ยี งรปู มงกุฎติดอยู สกุ สีดาํ เทคนิคสีนํ้า ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ปาจรีย อินทะชุบ ลิขสิทธิ์ของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 184



ราชาวดหี ลวง Buddleja macrostachya Wall. ex Blume Scrophulariaceae สกุล Buddleja สวนใหญเปนไมพุม หรือรอเลื้อย ใบเรียงตรงขาม ชอดอก ออกเปนกระจุกแยกแขนงสั้นๆ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีจํานวนอยางละ 4 กลีบ รังไขอยูเหนือวงกลีบ มี 2–4 ชอง เมล็ดขนาดเล็ก สวนมากมีปก มีสมาชิก ประมาณ 100 ชนิด พบทั้งในอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย ในไทยพบเพียง 2 ชนิด มีหลายชนิดที่นําเขามาปลูกเปนไมประดับ อนึ่ง สกุล Buddleja เดิมอยู ภายใตวงศ Buddlejaceae หรือบางคร้ังอยูภายใตวงศ Loganiaceae ราชาวดี หลวงมเี ขตการกระจายพนั ธตุ ้ังแตอ นิ เดยี ภูฏาน บังกลาเทศ สิกขมิ พมา จีนตอน ใต เวยี ดนาม และภาคเหนอื ของไทย พบทีจ่ ังหวัดเชียงใหม (ดอยเชียงดาว ดอย ผา หมปก) ขนึ้ ตามทโี่ ลงบนเขาหินปูน ท่สี งู จากระดับน้ําทะเล 1,600–2,200 เมตร ไมพุมหรือไมตนขนาดเล็ก สูงไดประมาณ 5 เมตร กิ่งเปน สเ่ี หลยี่ มหรือมปี ก มีขนคลา ยรปู ดาวตามก่ิงออน แผน ใบ กลีบเลีย้ ง ดานนอก หลอดกลีบดอก รังไข และผล หูใบรว มคลา ยใบ ใบยาว 4–4.5 เซนติเมตร ขอบใบจักมน ไรกานหรือเกือบไรกาน ชอดอก คลา ยชอเชงิ ลด ยาว 5–20 เซนตเิ มตร กลบี ดอกสีชมพอู มมวง ปาก หลอดสแี ดงสม หลอดกลีบยาว 0.8–1 เซนติเมตร มีขนยาวดานใน ผลแหงแตก ยาว 0.7–1 เซนตเิ มตร เมลด็ จาํ นวนมาก เทคนิคสีน้ํา ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร โดย ปาจรีย อินทะชุบ ลิขสิทธ์ิของหอพรรณไม กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช พ.ศ. 2553 186


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook