Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 4.CE BOOK_KU

4.CE BOOK_KU

Published by lawanwijarn4, 2022-05-05 00:54:46

Description: 4.CE BOOK

Search

Read the Text Version

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ดำ� เนินการประเมนิ คารบ์ อนฟตุ พรน้ิ ทผ์ ลิตภณั ฑ์และบริการ เพือ่ บ่งชี้ จ�ำแนกจุดปรับปรงุ เพอ่ื ลดปริมาณการปลอ่ ย พัฒนาผลติ ภัณฑค์ าร์บอนต�ำ่ อีกท้ัง ยงั เปน็ การเตรียมความ พร้อมในการแสดงข้อมูลสงิ่ แวดล้อมของผลิตภณั ฑ์ เพือ่ เปน็ เคร่ืองมอื ทางการตลาดในการเข้าสตู่ ลาดผู้ซ้ือ หรือผู้บริโภคที่ค�ำนึงถึงความเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศของผลิตภัณฑ์และสร้างความแตกต่างระหว่าง ผลติ ภณั ฑ์ ตลอดจน เปน็ การสรา้ งความเขม้ แข็งให้กับแบรนด์สนิ ค้า แนวทางการประเมินคารบ์ อนฟุตพรนิ้ ทผ์ ลติ ภัณฑ์ แนวทางการประเมนิ คารบ์ อนฟตุ พรน้ิ ทผ์ ลติ ภณั ฑ์ นบั เปน็ มาตรฐานคารบ์ อนฟตุ พรน้ิ ทข์ องผลติ ภณั ฑ์ ของประเทศไทย พฒั นาโดย คณะกรรมการเทคนคิ ดา้ นคารบ์ อนฟตุ พรนิ้ ทข์ องผลติ ภณั ฑแ์ ละบรกิ ารภายใต้ การด�ำเนนิ โครงการความร่วมมอื ระหว่าง องคก์ ารบรหิ ารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรอื อบก. และ ศนู ยเ์ ทคโนโลยแี ละวสั ดแุ หง่ ชาติ สำ� นกั งานพฒั นาวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยแี หง่ ชาติ ประกาศ ใช้คร้ังแรกในเดอื นธนั วาคม ปี พ.ศ. 2554 ต่อมามีการปรับปรุงรายละเอยี ดเนื้อหา ในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2557, 2558 และ 2563 รวมทั้งเพมิ่ เตมิ รายละเอยี ดข้อก�ำหนดเฉพาะส�ำหรับภาคอุตสาหกรรมหรือ กลมุ่ ผลติ ภณั ฑ์ เรยี ก ขอ้ กำ� หนดเฉพาะรายผลติ ภณั ฑ์ (Product Category Rules, PCR) โดยมรี ายละเอยี ด ข้อก�ำหนดในการวิเคราะห์คารบ์ อนฟุตพริน้ ท์ ตาม แนวทางการประเมินคารบ์ อนฟุตพริ้นท์ ดังน้ี วิธกี ารประเมินคารบ์ อนฟุตพรน้ิ ท์ผลิตภัณฑ์ แบง่ ออกเป็น 9 ขนั้ ตอน ดงั นี้ ข้ันตอนท่ี 1 การกำ� หนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ก�ำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการประยุกต์ใช้ผลการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือน กระจกโดยตลอดวัฏจักรชวี ติ ของผลติ ภัณฑ์ ทัง้ นี้ คารบ์ อนฟุตพรนิ้ ท์ของผลิตภัณฑ์สามารถใช้บง่ ช้ผี ลกระ ทบด้านส่ิงแวดล้อมของผลิตภัณฑ์เฉพาะประเด็นด้านการท�ำให้เกิดภาวะโลกร้อนเท่าน้ัน ไม่ได้พิจารณา ผลกระทบสิง่ แวดลอ้ มในประเดน็ อืน่ ๆ เช่น ความหลากหลายทางชวี ภาพ (Biodiversity) การเกดิ ฝนกรด (Acidification) ปรากฏการณน์ �้ำเปลย่ี นสี (Eutrophication) ความเปน็ พิษ (Toxicity) เป็นต้น ขั้นตอนที่ 2 การคัดเลือกผลิตภัณฑแ์ ละกำ� หนดหน่วยวิเคราะห์คาร์บอนฟตุ พร้นิ ท์ คดั เลอื กผลิตภัณฑ์ทตี่ ้องการศกึ ษา โดยแบง่ เป็น การประเมินคารบ์ อนฟตุ พรน้ิ ท์แบบ Cradle-to- Grave (Business-to-Consumer: B2C) หมายถงึ การประเมนิ การปลอ่ ยก๊าซเรอื นกระจกตลอดวฏั จักร ชีวิตของผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการได้มาซ่ึงวัตถุดิบ การผลิต การขนส่งและกระจายสินค้า การใช้งาน และการก�ำจัดซากผลิตภัณฑ์ และ การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์แบบ Cradle-to-Gate (Business-to-Business: B2B) หมายถงึ การประเมนิ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตั้งแตข่ นั้ ตอนการได้มา ซง่ึ วตั ถดุ บิ การขนสง่ การผลติ จนถงึ ณ หนา้ โรงงานพรอ้ มสง่ ออก หรอื จนถงึ ทเ่ี ปน็ ขา้ หรอื วตั ถดุ บิ ของผผู้ ลติ รายต่อไป ตามทกี่ ำ� หนดใน PCRs ของแต่ละผลิตภณั ฑ์ 51

กำ� หนดหนว่ ยผลติ ภณั ฑท์ ใ่ี ชใ้ นการวเิ คราะหค์ ารบ์ อนฟตุ พรน้ิ ทต์ ามหนว่ ยหนา้ ทก่ี ารทำ� งาน (Func- tional Unit, FU) ทง้ั น้ี ต้องพจิ ารณาคุณภาพ ประสทิ ธภิ าพการใชง้ าน และ อายกุ ารใช้งาน รว่ มด้วย ใน กรณีท่ีต้องการเปรียบเทียบค่าคาร์บอนฟุตพร้ินท์ระหว่างผลิตภัณฑ์ซึ่งต้องอยู่บนพ้ืนฐานของการเปรียบ เทยี บระหวา่ งผลติ ภณั ฑท์ ที่ �ำหน้าท่ีได้เทา่ กัน ผลการประเมินคาร์บอนฟุตพร้ินท์ ควรรายงานในรูปหน่วยน�้ำหนักของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ต่อหนว่ ยผลิตภัณฑท์ ่วี างจ�ำหนา่ ย เช่น ตอ่ กิโลกรัม ตอ่ ลิตร ต่อช้ิน เป็นตน้ ท้ังนี้ ตอ้ งพจิ ารณา หน่วยหน้าทีก่ ารท�ำงาน (Functional unit) ร่วมด้วย (หากท�ำได้) เช่น กรณีกระเบ้ืองปพู ืน้ ควรรายงานใน รูปหน่วยน้ำ� หนกั ของก๊าซคารบ์ อนไดออกไซดเ์ ทียบเทา่ (CO2e) ต่อพื้นท่ี นำ�้ ยาลา้ งจาน ควรรายงานในรูป หนว่ ยน้�ำหนกั ของกา๊ ซคาร์บอนไดออกไซด์เทยี บเท่า (CO2e) ตอ่ ปรมิ าณนำ้� ยาลา้ งจานทใ่ี ช้ในการท�ำความ สะอาดจานให้สะอาด เปน็ ตน้ ขั้นตอนที่ 3 การกำ� หนดขอบเขตการวิเคราะหค์ ารบ์ อนฟตุ พรน้ิ ท์ ก�ำหนดขอบเขตการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพร้ินท์ครอบคลุมโดยตลอดวัฏจักรชีวิต ตั้งแต่ การผลิต วตั ถดุ บิ กระบวนการผลิต (รวม การผลิตภาชนะบรรจ)ุ การจดั จ�ำหนา่ ยหรือกระจายสนิ คา้ การขาย (หาก มกี ารแชเ่ ยน็ หรอื แชแ่ ขง็ ) การใชง้ านหรอื บรโิ ภค และการจดั การของเสยี หลงั การใชง้ านหรอื บรโิ ภค รวมทง้ั การขนส่งที่เก่ยี วขอ้ งในทุกๆข้ันตอน (Business-to-Consumer B2C) แหล่งที่มาของก๊าซเรือนกระจก ครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเนื่องมาจากสารขาเข้า และสารขาออก และกระบวนการผลิต โดยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์โดยไม่จ�ำกัด แต่การผลิต พลังงาน กระบวนการเผาไหม้ ปฏิกิริยาเคมี การสูญเสียน้�ำยาท�ำความเย็นและการรั่วไหลของก๊าซ การ ปฏิบัติงาน การขนส่ง การปศุสัตว์และเกษตรกรรมอื่นๆ ของเสีย และการจัดการของเสียโดยนับรวม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการเผาไหม้ของเช้ือเพลิงฟอสซิลและแหล่งคาร์บอนชีวภาพ (แต่ไม่นับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซดจ์ ากแหลง่ ชีวภาพ) รวมท้ังการเปลี่ยนแปลงการใช้ทดี่ ิน ส่วนกา๊ ซเรอื นกระจกอน่ื ๆนอก เหนือจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้นับรวมก๊าซเหล่านั้นท่ีมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลและจาก แหลง่ คารบ์ อนชวี ภาพ (เช่น มเี ทน จากนาขา้ วหรือฟารม์ ปศสุ ัตว์ เป็นตน้ ) ในการกำ� หนดขอบเขตระบบผลติ ภัณฑ์ นบั รวม กจิ กรรมดงั ตอ่ ไปน้ี • การผลติ วตั ถดุ บิ นบั รวมการปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจกจากทกุ กจิ กรรมการผลติ รวมทง้ั การใชพ้ ลงั งาน หรือการปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจกโดยตรง • การเกบ็ รักษาวัตถดุ บิ นับรวมการเกบ็ รักษาผลิตภัณฑ์ในข้นั ตอนการใชง้ าน การเก็บรักษากอ่ นท่ี จะน�ำไปใช้ซ้�ำหรือหมนุ เวยี นกลบั มาใชใ้ หม่ • การใช้พลังงาน นบั รวมการปล่อยกา๊ ซเรอื นกระจกจากระบบการผลิตพลังงาน • การผลติ ผลติ ภณั ฑ์ นบั รวมการปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจกจากกระบวนการผลติ ในทกุ ขน้ั ตอน รวมทงั้ การใชว้ ัสดสุ ิ้นเปลือง อาคารเกบ็ สนิ ค้า ระบบแสงสว่าง ระบบท�ำความร้อน ระบบควบคมุ ความเยน็ ระบบ ระบายอากาศ คลงั สนิ คา้ 52

• การขนส่งทางบก น้ำ� และอากาศ นับรวมในทุกข้ันตอนทีเ่ กย่ี วข้องโดยตลอดวฏั จักรชวี ติ • การกระจายสินค้า ให้พิจารณาระยะทางจากสถานที่ผลิตไปยังศูนย์กระจายสินค้า กรณีที่ไม่มี ศูนยก์ ระจายสินค้าให้พิจารณาจดุ ขายหลกั • การใช้งาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากขั้นตอนการใช้งาน นับรวมในการประเมินคาร์บอน ฟตุ พรน้ิ ท์ โดยพจิ ารณา Use profile จากข้อก�ำหนดเฉพาะของผลิตภณั ฑ์ (Product Category Rules, PCRs) มาตรฐานสากลของการใช้งานผลิตภัณฑ์ มาตรฐานระดับประเทศของการใช้งานผลิตภัณฑ์ และ มาตรฐานอตุ สาหกรรมของการใช้งาน • การจัดการของเสยี การปล่อยก๊าซเรอื นกระจกจากข้นั ตอนการจดั การของเสยี ภายในระยะเวลา 100 ปี นับรวมในการประเมนิ คาร์บอนฟุตพร้ินท์ ในการก�ำหนดขอบเขตระบบผลติ ภัณฑ์ ไมน่ ับรวม กิจกรรมดังตอ่ ไปน้ี • การผลิตวัสดุประเภทตน้ ทนุ • การใช้พลังงานจากมนษุ ย์ • การเดนิ ทางไปกลบั ของลกู คา้ ณ จดุ ขายปลกี • การเดนิ ทางไปกลบั ของพนกั งานไปยังโรงงาน • การขนสง่ โดยสัตว์ • กิจกรรมส�ำนกั งาน • กจิ กรรมควบคมุ และประกนั คณุ ภาพ • กิจกรรมการวจิ ัยและพฒั นา นอกจากนี้ ใหพ้ จิ ารณานบั รวมการกกั เกบ็ คารบ์ อนการเปลยี่ นแปลงการใชท้ ด่ี นิ และการเปลย่ี นแปลง คารบ์ อนในดนิ ในระบบเกษตรกรรม โดยเฉพาะในการประเมนิ คารบ์ อนฟตุ พรน้ิ ทข์ องผลติ ภณั ฑเ์ กษตรและ อาหาร ดังนี้ • การกักเก็บคาร์บอน (Carbon Storage) พจิ ารณาการกกั เก็บคารบ์ อนของผลิตภณั ฑท์ มี่ อี ายกุ าร ใช้งานตัง้ แต่ 10 ปี ขน้ึ ไป โดยเปน็ การดำ� เนนิ การแบบทางเลอื ก (ไมไ่ ด้บงั คบั ให้ทำ� ) และให้รายงานแยกจาก คา่ คาร์บอนฟุตพรน้ิ ท์ของผลติ ภัณฑ์ • การเปลย่ี นแปลงการใชท้ ดี่ นิ (Land Use Change) พจิ ารณาการเปลย่ี นแปลงการใชท้ ดี่ นิ โดยตรง (Direct Land Use Change, dLUC) จากการใช้ประโยชน์ทด่ี ินยอ้ นหลงั 20 ปี ในเบ้อื งต้น ก�ำหนดให้ พจิ ารณาการปล่อยก๊าซเรอื นกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใชท้ ่ดี ิน ทเ่ี กีย่ วขอ้ งกับผลิตภัณฑเ์ กษตรและ อาหารเน่ืองจากมีนัยสำ� คญั คอ่ นขา้ งมาก (ส่วนผลติ ภัณฑอ์ นื่ ๆ จะพิจารณาในภายหลงั ) โดยเปน็ การด�ำเนิน การแบบทางเลอื ก (ไมไ่ ดบ้ งั คบั ใหท้ ำ� ) และใหร้ ายงานแยกจากคา่ คารบ์ อนฟตุ พรนิ้ ทข์ องผลติ ภณั ฑ์ กรณเี ปน็ ผลิตภัณฑท์ ีม่ สี ดั สว่ นวตั ถุดบิ น�ำเขา้ จากต่างประเทศประกอบอยดู่ ว้ ย ให้ค�ำนวณ dLUC ท้ังวตั ถดุ ิบที่น�ำเข้า และวัตถดุ ิบในประเทศไทย โดยพิจารณาดงั น้ี - • วัตถดุ บิ ท่นี �ำเข้าจากต่างประเทศ: หากทราบประเทศทม่ี า ใหใ้ ชข้ อ้ มลู ทร่ี ะบุไว้ในภาคผนวกของ 53

PAS 2050 (มขี ้อมูล 18 ประเทศ) หากเป็นประเทศทไี่ มอ่ ยใู่ น 18 ประเทศ ให้ใชข้ ้อมลู ของประเทศท่มี ี ลกั ษณะภมู ปิ ระเทศและระบบเกษตรกรรมทใี่ กลเ้ คยี งมากทสี่ ดุ เชน่ หากนำ� เขา้ จากมาเลเซยี ซงึ่ มขี อ้ มลู ระบุ ไว้อยูแ่ ล้ว (เปน็ หนง่ึ ใน 18 ประเทศท่ีระบุไว)้ ใหใ้ ชข้ ้อมูลของประเทศมาเลเซยี แต่หากน�ำเข้าจากประเทศ ลาวซง่ึ อยนู่ อกเหนอื จากทร่ี ะบุไว้กใ็ ห้อนมุ านวา่ มาจากประเทศไทยได้ เน่ืองจากมลี กั ษณะภูมิประเทศและ ระบบเกษตรกรรมที่ใกลเ้ คยี งกัน • วตั ถดุ ิบในประเทศไทย : ใหส้ รา้ งสมมุติฐานวา่ วตั ถดุ ิบนน้ั มาจากแหล่งไหนทไี่ หนแลว้ คำ� นวณตาม สมมุตฐิ านทสี่ ร้างขึน้ โดยใชต้ ารางท่รี ะบุไว้ใน Verification sheets ในกรณที ีไ่ ม่ทราบวา่ มาจากแหล่งไหน ใหอ้ นมุ านตามหลัก 1 ใน 3 คอื 1 ใน 3 มาจากปา่ อกี 1 ใน 3 มาจากพชื ไร่ และอกี 1 ใน 3 มาจากไม้ยืนตน้ • ขอ้ มลู ผลผลติ (Yield) สำ� หรบั ใช้ประกอบการค�ำนวณ : ประเทศไทยให้ใช้ข้อมลู ของกรมวิชาการ เกษตร และกรมสง่ เสริมการเกษตร ส่วนของต่างประเทศใหใ้ ช้ขอ้ มลู จาก FAOSTAT ดูได้จาก http:// faostat.fao.org/site/339/default.aspx • การเปลี่ยนแปลงคาร์บอนในดินในระบบเกษตรกรรม (Soil Carbon Change) พิจารณาการ เปลีย่ นแปลงคารบ์ อนในดนิ ในระบบเกษตรกรรม โดยเปน็ การด�ำเนินการแบบทางเลือก (ไมไ่ ด้บงั คับให้ทำ� ) และใหร้ ายงานแยกจากค่าคารบ์ อนฟตุ พริ้นทข์ องผลติ ภณั ฑ์ ท้งั นี้ การประเมนิ คารบ์ อนฟตุ พริ้นท์ ควรครอบคลมุ ปริมาณการปลอ่ ยก๊าซเรอื นกระจกอยา่ งนอ้ ย 95 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะมีการปล่อยโดยตลอดวัฏจักรชีวิตของ ผลติ ภณั ฑ์ โดยสามารถตดั ออกรายการทมี่ สี ดั สว่ นของคา่ คารบ์ อนฟตุ พรน้ิ ทไ์ มเ่ กนิ รอ้ ยละ 1 ของคา่ คารบ์ อน ฟุตพริ้นท์รวมทั้งระบบผลิตภัณฑ์แต่ตัดออกรวมกันได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์รวมท้ัง ระบบผลติ ภัณฑ์ โดยหลังการตัดออกตอ้ งเพิ่มสดั ส่วน (scale up) ร้อยละของคา่ คารบ์ อนฟุตพรน้ิ ทร์ วมให้ เทา่ กับ 100 นอกจากนี้ การชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ท้ังภาคทางการ (เกิดจากการด�ำเนินโครงการ ลดก๊าซเรอื นกระจกรว่ มกัน (Joint Implementation: JI) หรอื กลไกการพัฒนาทสี่ ะอาด (Clean Devel- opment Mechanism: CDM) หรอื การซ้อื ขายก๊าซเรอื นกระจกระหว่างประเทศ (Emissions trading: ET)) และ ภาคสมคั รใจ (เกิดจากโครงการตามกลไก CDM/JI แตไ่ ม่ไดข้ อใบรบั รองจากหนว่ ยงานกลางของ ประเทศทเ่ี ปน็ เจา้ ของโครงการหรอื ไมไ่ ดล้ งทะเบยี นกบั คณะกรรมการบรหิ ารโครงการพฒั นากลไกทสี่ ะอาด ของ UNFCCC) ไมน่ ำ� มาพจิ ารณาในการประเมนิ คารบ์ อนฟุตพร้นิ ท์ ข้ันตอนที่ 4 การสรา้ งแผนผงั กระบวนการผลติ สร้างแผนผังกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์โดยแสดงกระบวนการผลิตย่อยในแต่ละขั้นตอนที่ สอดคล้องตามขอบเขตการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพร้ินท์ ตัวอย่างแผนผังกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ สับปะรดกระปอ๋ ง แสดงในภาพที่ 3 54

ภาพที่ 3 ตัวอยา่ งแผนผังกระบวนการผลิตของผลิตภณั ฑ์สับปะรดกระปอ๋ ง ขัน้ ตอนท่ี 5 การจำ� แนกขอ้ มลู และแหล่งทม่ี าของขอ้ มูล จ�ำแนกข้อมูลที่ต้องการใช้ในการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพร้ินท์ ซ่ึงสามารถแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ประเภท ไดแ้ ก่ (1) ข้อมูลกิจกรรม (Activity data) ได้แก่ ข้อมูลสารขาเข้าและสารขาออกท่ีเกี่ยวข้องในแต่ละ กระบวนการผลติ ยอ่ ยครอบคลมุ ระบบผลติ ภณั ฑห์ รอื ขอบเขตการวเิ คราะหค์ ารบ์ อนฟตุ พรน้ิ ทท์ กี่ ำ� หนด เชน่ การประเมนิ คาร์บอนฟตุ พริ้นท์ของผลิตภณั ฑ์สบั ปะรดกระป๋อง ได้แก่ ปรมิ าณสับปะรด ไอน้�ำ น�ำ้ บรรจุ ภัณฑ์ และไฟฟ้า ทใี่ ช้ รวมทั้งของเสยี ที่เกิดขน้ึ ตลอดวฎั จกั รชีวิต จากขอ้ มลู กจิ กรรมการผลิตจรงิ (2) ขอ้ มูลคา่ การปล่อยก๊าซเรอื นกระจก (Emission Factors, EFs) ของสารขาเข้า สารขาออก ที่ ระบใุ นข้อมูลกิจกรรม (ข้อ 1) ทัง้ หมด มักเรยี กวา่ คา่ แฟกเตอร์ โดยอา้ งอิงจาก คา่ แฟกเตอร์จากเวบ็ ไซต์ ของ อบก. คอื www.tgo.or.th 55

ขนั้ ตอนท่ี 6 รวบรวมข้อมลู กิจกรรมและค่าแฟกเตอร์ รวบรวมข้อมลู กิจกรรมและคา่ แฟกเตอร์ประกอบด้วย การผลิตวัตถุดิบและพลังงาน กระบวนการ ผลิตผลิตภัณฑ์ การกระจายสินคา้ การใชง้ าน การจดั การของเสยี และการขนสง่ ทกุ ข้นั ตอน ขั้นตอนที่ 7 การตรวจสอบคุณภาพข้อมูล ดำ� เนนิ การตรวจสอบคณุ ภาพขอ้ มลู ทร่ี วบรวมได้ โดยการทำ� สมดลุ มวลสาร (Mass balance) สมดลุ พลงั งาน (Energy balance) ดังแสดงในภาพท่ี 4 หรือ การเปรียบเทยี บกับผลการศกึ ษาก่อนหนา้ น้ี ภาพที่ 4 ตวั อย่างการพิจารณาสมดุลมวลสาร ขนั้ ตอนท่ี 8 การวเิ คราะห์ข้อมลู วัฏจกั รชีวติ และระบุวิธีการปนั ส่วน วิเคราะห์ข้อมูลวัฏจักรชีวิต โดยการค�ำนวณเชิงสัมพัทธ์ของปริมาณสารขาเข้าและสารขาออกต่อ หน่วยผลิตภณั ฑท์ ีก่ �ำหนดในการวิเคราะหค์ าร์บอนฟตุ พร้ินท์ รวมทั้ง ระบุวธิ ีการปันสว่ น ในกรณีทม่ี ีผลิตภัณฑห์ ลกั และผลิตภัณฑร์ ว่ มเกดิ ขน้ึ ใหม้ กี ารพจิ ารณาปนั ส่วน (Allocation) โดยกำ� หนด ใหใ้ ช้วธิ ีการตามลำ� ดับ คอื 1.แบ่งหน่วยการผลิตออกเปน็ 2 กระบวนการผลติ ย่อยหรือมากกวา่ แลว้ รวบรวมขอ้ มลู สารขาเขา้ และสารขาออกของแต่ละกระบวนการผลิตย่อย 2.หากไมส่ ามารถด�ำเนินการตามข้อ (1) ได้ ให้ขยายระบบผลิตภณั ฑใ์ หร้ วมหนา้ ท่ีการท�ำงานของ ผลิตภัณฑ์ร่วม กรณีที่ผลิตภัณฑ์หน่ึงถูกแทนที่ด้วยผลิตภัณฑ์ร่วม ให้พิจารณาปริมาณก๊าซเรือนกระจกท่ี 56

หลีกเลี่ยงได้จากการน�ำผลติ ภัณฑ์รว่ มไปแทนทอี่ กี ผลติ ภัณฑห์ นึง่ หากไม่ด�ำเนินการตามข้อ (1) และ (2) ได้ ให้พิจารณาปันส่วนคาร์บอนฟุตพร้ินท์ผลิตภัณฑ์หลัก และผลิตภณั ฑ์รว่ ม โดยใช้โดยใชห้ ลักการปนั สว่ นตามนำ้� หนัก (ตาราง 6-1) หรอื อา้ งองิ วธิ ีการปนั สว่ นตาม ที่ระบุใน PCRs เชน่ ใช้หลกั การปนั สว่ นตามมลู คา่ ทางเศรษฐศาสตร์ (ตาราง 6-2) ตารางท่ี 1 การปนั ส่วนตามน้ำ� หนัก ผลิตภัณฑ์ ปรมิ าณ (กโิ ลกรมั ) % การปนั สว่ น ผลิตภัณฑท์ ่ี 1 (ผลติ ภัณฑ์หลัก) A [A/(A+B)] × 100 ผลิตภณั ฑท์ ่ี 2 (ผลติ ภัณฑ์รว่ ม) B [B/(A+B)] × 100 ตารางที่ 2 การปันส่วนตามมลู คา่ ทางเศรษฐศาสตร์ ผลติ ภัณฑ์ ปรมิ าณ ราคา % การปนั ส่วน (กิโลกรัม) ผลิตภณั ฑท์ ่ี 1 (ผลิตภณั ฑ์หลัก) X [AX/(AX+BY)] × 100 A ผลิตภัณฑท์ ี่ 2 (ผลิตภณั ฑ์ร่วม) B Y [BY/(AX+BY)] × 100 ขน้ั ตอนที่ 9 การค�ำนวณค่าคารบ์ อนฟตุ พรนิ้ ท์ หลกั การคำ� นวณคารบ์ อนฟตุ พร้นิ ท์ อาศยั สูตรการค�ำนวณคาร์บอนฟุตพร้นิ ท์ คอื คารบ์ อนฟตุ พริ้นท์ = (ปรมิ าณสารขาเข้าและสารขาออกโดยตลอดวัฏจกั รชีวติ ของผลติ ภัณฑ์ X ค่าการปลอ่ ยกา๊ ซเรือนกระจก) วธิ ีการคำ� นวณคาร์บอนฟตุ พรนิ้ ท์ กำ� หนดข้นั ตอนไว้ดังน้ี (1) แปลงข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิเป็นปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการคูณข้อมูล กจิ กรรมการผลติ กบั คา่ สมั ประสทิ ธก์ิ ารปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจก หรอื เรยี กวา่ คา่ การปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจก ท่ี อา้ งองิ มาจากคา่ ศกั ยภาพในการกอ่ ใหเ้ กดิ ภาวะโลกรอ้ นของกา๊ ซเรอื นกระจกซง่ึ ไดจ้ ากการเทยี บคา่ ศกั ยภาพ ในการก่อใหเ้ กิดภาวะโลกร้อนของก๊าซเรือนกระจกของสารอา้ งองิ พน้ื ฐาน คือ กา๊ ซคารบ์ อนไดออกไซด์ (2) แปลงปรมิ าณการปลอ่ ยกา๊ ซเรือนกระจก โดยคณู กับคา่ การปลอ่ ยก๊าซเรอื นกระจก (3) จากน้ัน รวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามหน่วยผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในรูปของหน่วยน้�ำ หนักของกา๊ ซคาร์บอนไดออกไซดเ์ ทยี บเทา่ (CO2e) 57

(4) หากมีการตดั ออกให้ทำ� การเพิ่มสัดสว่ น (Scale up) ของคา่ คารบ์ อนฟุตพรนิ้ ท์ที่รายงานให้อยู่ บนฐานร้อยละ 100 แหล่งปล่อยก๊าซเรอื นกระจกจากกจิ กรรมในชีวติ ประจำ� วัน การใช้เคร่ืองไฟฟ้า ในระหว่างที่มีการนอน มักจะมีการเปิดพัดลม เครื่องปรับอากาศ โดยท่ี พัดลมต้ังพื้นใชัพลังงาน 45-75 วตั ต์ พัดลมเพดานใชพั ลังงาน 70-104 วตั ต์ เครอ่ื งปรบั อากาศใชพั ลงั งาน 680-3,300 วัตต์ ซงึ่ การ ใช้พลังงานจากการเปิดพัดลมและเครื่องปรับอากาศจะท�ำให้มีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก การผลิตพลงั งาน โดยทีป่ ระเทศไทยยังใชเ้ ชอื้ เพลงิ หลัก คอื ถ่านหิน การอาบน�ำ้ การอาบน้�ำและการลา้ งหนา้ หากอาบน�ำ้ ด้วยฝกั บวั จะใชน้ ำ้� ไมเ่ กนิ 20 ลิตร/ครั้ง/คน การลา้ งหน้า โดยเปดิ นำ�้ ทงิ้ ไวต้ อ่ เนอื่ งจะใชน้ ำ้� ถงึ 18 ลติ ร การแปรงฟนั โดยปลอ่ ยใหน้ ำ�้ ไหลในขณะแปรงฟนั จะสน้ิ เปลอื ง น�้ำถึง 9 ลติ รตอ่ 1 นาที และการใชช้ ักโครกแตล่ ะครง้ั จะใชป้ รมิ าณน�้ำ 8-12 ลติ ร การรับประทานอาหาร การผลติ อาหารแตล่ ะชนดิ มกี ารปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจกในปรมิ าณทแ่ี ตกตา่ งกนั มาก โดยในภาพรวม การผลติ อาหารประเภทเน้อื สัตวท์ ำ� ใหเ้ กดิ คารบ์ อนฟตุ พรน้ิ ต์มากกวา่ การผลติ อาหารประเภทพชื เชน่ การ ผลิตเนือ้ ววั 1 กโิ ลกรัม ปลอ่ ยกา๊ ซเรือนกระจกเทยี บเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ 60 กโิ ลกรมั การผลติ แกะและ ชีส สร้างก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 20 กโิ ลกรมั ต่อปริมาณอาหาร 1 กโิ ลกรัม การผลิตไก่ปลอ่ ยกา๊ ซเรือน กระจก 6 กิโลกรมั และเน้ือหมสู ร้างก๊าซเรอื นกระจก 7 กโิ ลกรมั ส่วนการผลติ ถวั่ 1 กโิ ลกรัม ปล่อยก๊าซดัง กล่าวเพยี ง 1 กโิ ลกรมั เทา่ นัน้ เมอ่ื มองลกึ ไปทข่ี น้ั ตอนตา่ งๆ ของการผลติ อาหาร พบวา่ กา๊ ซเรอื นกระจกสว่ นมากจะถกู ปลอ่ ยออก มาจากขั้นตอนการใชท้ ด่ี ิน และขั้นตอนอน่ื ๆ ของการทำ� เกษตรกรรม เช่น การใชป้ ุย๋ ทกุ ชนิด การเกิดก๊าซ มเี ทนในทอ้ งววั ซง่ึ กา๊ ซเรอื นกระจกทเี่ กดิ จากขน้ั ตอนการใชท้ ดี่ นิ และการทำ� เกษตรกรรมมสี ดั สว่ นมากกวา่ 80% ของคาร์บอนฟตุ พร้ินตท์ ้ังหมดทเี่ กิดในการผลติ อาหาร ส่วนขั้นตอนการขนส่งมีก๊าซเรือนกระจกเกิด ขน้ึ นอ้ ยกวา่ 10% และจะย่งิ น้อยกว่านน้ั มากหากแหลง่ ปลอ่ ยกา๊ ซมีขนาดใหญ่ เช่น สัดส่วนการปล่อยกา๊ ซ เรอื นกระจกในขัน้ ตอนการขนสง่ ฝงู ววั อยู่ท่ี 0.5% ของกา๊ ซจากกระบวนการผลิตอาหาร ขณะเดียวกัน การศึกษาขอ้ มูลคารบ์ อนฟตุ พริน้ ต์ของอาหารในกลมุ่ สหภาพยโุ รป (อีย)ู ได้ข้อสรปุ วา่ การขนสง่ อาหารมีสว่ นปลอ่ ยก๊าซเรือนกระจกเพียง 6% เทา่ นน้ั โดยอาหารกลมุ่ นม เนือ้ สตั ว์ และไข่ มี ส่วนในการปล่อยกา๊ ซคดิ เป็น 83% 58

กระบวนการผลิตอาหาร จากฟาร์มมาสู่อาหารบนโต๊ะอาหาร (Farm to table) ส่งผลทั้งทาง ตรงและทางอ้อมต่อส่ิงแวดล้อม การใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงจ�ำนวนมาก รวมท้ังการใช้เชื้อเพลิงส�ำหรับ เคร่ืองจักรในอุตสาหกรรมการเกษตร และการกระจายอาหารสู่ผู้บริโภคที่ต้องอาศัยการขนส่งท่ีใช้น้�ำมัน มหาศาล การผลติ โปรตนี เน้อื ววั ใชท้ รพั ยากรมากกว่าการผลิตโปรตนี จากพืช พ้ืนดนิ ขนาด 2.5 ไร่ ถา้ น�ำไป ใชใ้ นการทำ� ปศุสัตว์ จะผลิตเน้ือสตั ว์ได้เพียง 1,250 กิโลกรัม แต่ในจ�ำนวนพ้ืนทเ่ี ทา่ กนั นำ� ไปปลูกมันฝรัง่ ได้ 2 หมนื่ กโิ ลกรัม หากเปรยี บเทยี บปรมิ าณการปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจกแลว้ พบวา่ ผบู้ รโิ ภคทช่ี อบทานเนอ้ื สตั วจ์ ะปลอ่ ย ก๊าซเรอื นกระจกสงู ทีส่ ดุ ในขณะท่ผี ้บู ริโภคท่ชี อบทานผกั หรือมังสวริ ัติจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ� สุด นอกจากน้ี การรับประทานอาหารไมห่ มด กลายเป็นขยะอาหารทต่ี อ้ งน�ำไปฝังกลบ จะปลอ่ ยก๊าซ มเี ทน ซงึ่ พบวา่ ปจั จบุ นั คนไทยสรา้ งขยะโดยเฉลยี่ ประมาณ 1.14 กโิ ลกรมั ตอ่ คนต่อวนั เกดิ เปน็ ขยะมลู ฝอย ราว 27 ลา้ นตนั ตอ่ ปี ในจำ� นวนนเี้ ปน็ ขยะอาหารมากถงึ 64% (วกิ ฤตขิ ยะอาหารกำ� ลงั เปน็ ปญั หาใหญท่ ส่ี รา้ ง ผลกระทบไปท่วั โลก มอี าหาร 1 ใน 3 ของโลกเกิดการสูญเสยี และถกู ท้ิง ขณะทร่ี อ้ ยละ 11 ของประชากร โลกก�ำลังเผชญิ กับความอดอยาก ไมม่ จี ะกิน) การเดินทาง ปรมิ าณการปลอ่ ยกา๊ ซคารบ์ อนไดออกไซดต์ อ่ ผโู้ ดยสารหนงึ่ คนในระยะทางหนงึ่ กโิ ลเมตรทเ่ี ดนิ ทาง ไป พบวา่ การเดนิ ทางโดยเครอ่ื งบนิ ปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจกสงู สดุ สว่ นการขจี่ กั รยานปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจก ตำ่� สดุ การใชร้ ถยนตส์ ว่ นตวั ปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจกสงู กวา่ รถโดยสารสาธารณะเกอื บ 2 เทา่ นอกจากนี้ การ ใชม้ อเตอรไ์ ซด์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสงู กว่ารถโดยสารสาธารณะ การคำ� นวณปรมิ าณการปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจกจากกจิ กรรมในชวี ติ ประจำ� วนั องค์การบริหารจัดการกาซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้พัฒนาแอพพลิเคช่ัน Carbon Footprint Calculator ใชส้ �ำหรบั ค�ำนวณขอ้ มูลคาร์บอนฟตุ พร้นิ ท์ (ภาพที่ 5) จะท�ำให้ผบู้ รโิ ภคทราบถึง ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมประจ�ำวัน และกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในการเลือก ซ้อื สินค้าและเปล่ียนแปลงวิธกี ารบริโภค เพือ่ ช่วยลดปัญหาโลกร้อนและการเปลย่ี นแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมขี นั้ ตอนการใชง้ านแอพพลเิ คชัน่ รายละเอยี ดดงั น้ี • ลงทะเบยี น (กรอกข้อมูลช่ือ นามสกุล และเลขบัตรประชาชน เพ่ือบันทกึ ข้อมูล) • กรอกขอ้ มลู จำ� นวนผอู้ ยอู่ าศัยในบ้าน • กรอกข้อมูลกจิ กรรมในชวี ติ ประจำ� วนั โดยแบง่ เปน็ • กิจกรรมในบา้ น ระบุจ�ำนวน และ การใช้งาน • กจิ กรรมในที่ทำ� งาน ระบุจำ� นวน และ การใชง้ าน • กิจกรรมการเดนิ ทาง ระบคุ ร้ังต่อปี ระยะทาง 59

• กิจกรรมการบรโิ ภค ระบุคร้งั ตอ่ สปั ดาห์ และ จ�ำนวนจานที่รบั ประทาน แอพพลิเคชั่นจะท�ำการค�ำนวณข้อมูลคาร์บอนฟุตพร้ินท์โดยอัติโนมัติ แสดงผลการค�ำนวณเป็น ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมประจ�ำวันต่อปี หน่วยเป็น ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบ เท่า รวมทง้ั จำ� นวนตน้ ไม้ทตี่ อ้ งปลูกเพือ่ ดูดซับปรมิ าณการปลอ่ ยก๊าซเรอื นกระจก แสดงคำ� แนะนำ� แนวทางในการปรบั เปลย่ี นพฤตกิ รรมเพอื่ ลดปรมิ าณการปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจกจาก กิจกรรมประจำ� วัน ภาพที่ 5 แอพพลเิ คชัน่ Carbon Footprint Calculator ผลการค�ำนวณสามารถเปรียบเทียบค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ได้กับค่าคาร์บอนฟุตพร้ินท์เฉล่ียของ คนไทย (4.6 ตันคารบ์ อนไดออกไซดเ์ ทียบเทา่ ตอ่ ปี) หรือ คา่ คารบ์ อนฟตุ พริ้นทเ์ ฉลยี่ ของประเทศอน่ื ๆ ใน ภูมิภาค ตัวอยา่ งเช่น ประเทศมาเลเซีย 7.8 ตันคาร์บอนไดออกไซดเ์ ทยี บเทา่ ตอ่ ปี ประเทศสงิ คโ์ ปร์ 4.3 ตัน คารบ์ อนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ประเทศเวยี ดนาม 2.0 ตันคารบ์ อนไดออกไซดเ์ ทยี บเท่าต่อปี ประเทศ ลาว 0.2 ตันคาร์บอนไดออกไซดเ์ ทยี บเท่าต่อปี หรือ ค่าคารบ์ อนฟตุ พร้นิ ทเ์ ฉล่ยี ของประเทศอนื่ ๆ ในต่าง ประเทศ (ภาพท่ี 6) โดยพบว่า ปริมาณการปล่อยกา๊ ซเรือนกระจก ขน้ึ อยกู่ บั ไลฟส์ ไตล์และวิถีการบรโิ ภค ระบบการขนส่งสาธารณะ ของประเทศน้ันๆ รวมทง้ั แหล่งที่มาของพลงั งาน เปน็ สำ� คญั ภาพที่ 6 คา่ คาร์บอนฟุตพรนิ้ ท์เฉลี่ยต่อคน ในตา่ งประเทศ ท่ีมาของข้อมลู : https://reneweconomy. com.au/graph-of-the-day-your-car- bon-footprint-and-how-to-shrink- it-40626/ 60

เอกสารอา้ งอิง รัตนาวรรณ มั่งค่ัง. 2558. คาร์บอนฟตุ พรน้ิ ท์ (All About Carbon Footprint). รัตนาวรรณ มัง่ คงั่ . 2558. พชิ ิต “คารบ์ อนฟตุ พร้นิ ท์” ไม่ยากอย่างท่ีคดิ . องค์การบรหิ ารจัดการกา๊ ซเรือนกระจก (องคก์ ารมหาชน). 2563. ข้อกำ�หนดและแนวทาง การคำ�นวณคารบ์ อนฟตุ พริน้ ท์ของผลิตภณั ฑ์ พมิ พ์ครง้ั ที่ 7 (ธนั วาคม 2563) แหลง่ ท่มี า: http://thai- carbonlabel.tgo.or.th/admin/uploadfiles/download/ts_cb3d37071f.pdf (มนี าคม 2564). 61

บทที่ 5 ปัญหาขยะมูลฝอยและแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (Municipal Solid Waste Problem and Zero Waste Concept) 62

1. วกิ ฤตปญั หาขยะ 1.1 สถานการณ์ขยะทัว่ โลก ปัญหาขยะมูลฝอยนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมท่ีส�ำคัญของโลกและมีแนวโน้มเพิ่มสูงข้ึนอย่างต่อ เน่ืองจากการเพ่มิ ขึ้นของประชากรและการขยายตวั ของชมุ ชนเมอื ง ในรายงานของ World Bank (2012) ประเมินว่า ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่เกดิ ข้นึ ท่ัวโลกในช่วงปีค.ศ. 2012 อยทู่ ่ี 1.3 พนั ล้านตันตอ่ ปีและ จะเพ่มิ ข้นึ เปน็ 2.2 พนั ล้านตนั ในปีค.ศ. 2025 หากจำ� แนกตามระดับรายได้ พบว่า อัตราการสร้างขยะ ของกลุ่มประเทศทีม่ ีรายได้ปานกลาง-ตำ�่ (ซึง่ รวมถงึ ประเทศไทย) อยูท่ ่ี 0.16 – 5.3 กโิ ลกรมั ต่อคนต่อวัน ค่าเฉลี่ยอยูท่ ี่ 0.79 กิโลกรัมต่อคนตอ่ วนั องค์ประกอบของขยะของทัง้ โลก ประกอบดว้ ย ขยะอินทรยี ์ รอ้ ย ละ 46 กระดาษ ร้อยละ 17 พลาสติก รอ้ ยละ 10 แก้ว ร้อยละ 5 โลหะ รอ้ ยละ 4 และอื่นๆ ร้อยละ 18 (World Bank, 2012) องคป์ ระกอบของขยะจะแตกตา่ งไปตามพน้ื ทแี่ ละระดบั รายได้ ในกลมุ่ ประเทศทมี่ รี าย ไดต้ ำ่� จะมสี ดั สว่ นขยะอนิ ทรยี ส์ งู กวา่ ประเทศทม่ี รี ายไดป้ านกลางและรายไดส้ งู หากดเู ฉพาะกลมุ่ ประเทศท่ี มรี ายไดป้ านกลาง-ต�ำ่ UNEP (2015) คาดการณ์สดั ส่วนขยะอนิ ทรียอ์ ยทู่ ีร่ อ้ ยละ 53 กระดาษ ร้อยละ 11 พลาสตกิ รอ้ ยละ 9 แก้ว รอ้ ยละ 3 โลหะ ร้อยละ 3 สิ่งทอ ร้อยละ 3 และอ่ืนๆ ร้อยละ 18 ภาพท่ี 1 บอ่ ขยะ Bantar Gebang ท่ีอินโดนีเซยี รองรบั ขยะกว่า 7,000 ตนั ตอ่ วนั จากกรุงจาการต์ า เปน็ บอ่ ขยะทีใ่ หญ่ท่สี ดุ อันหนง่ึ ในเอเชีย มคี วามสูงถงึ 40 เมตร ท่มี า: https://www.washingtonpost.com/graphics/2017/world/global-waste/ 63

การเพ่ิมขึ้นของขยะมูลฝอยและการก�ำจัดอย่างไม่ถูกต้องได้สร้างผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพ อนามยั ของมนษุ ยแ์ ละสงิ่ แวดลอ้ ม การทงิ้ และเทกองขยะทไ่ี มม่ กี ารคดั แยกทำ� ใหน้ ำ�้ ชะขยะปนเปอ้ื นสแู่ หลง่ น�้ำผวิ ดนิ และนำ�้ ใตด้ นิ การเผาขยะทมี่ ีพลาสตกิ พีวีซยี ังท�ำใหเ้ กดิ สารพษิ และสารกอ่ มะเรง็ เช่น ไดออกซิน ฟวิ แรน เป็นต้น นอกจากนี้ บ่อขยะและการฝังกลบขยะยงั ทำ� ใหเ้ กิดก๊าซมเี ทนซงึ่ เป็นก๊าซเรือนกระจกโดย IPCC ประเมนิ สัดส่วนการปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจกจากสถานฝังกลบทวั่ โลก รอ้ ยละ 3 ในทางกลับกัน หาก ประเทศตา่ งๆ มกี ารจดั การขยะอยา่ งยง่ั ยนื มกี ารดำ� เนนิ มาตรการลดปรมิ าณ คดั แยกและรไี ซเคลิ อยา่ งเตม็ ที่ ก็จะชว่ ยลดการปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจกจากภาคของเสยี ได้ไม่นอ้ ยกว่ารอ้ ยละ 15-20 (UNEP, 2015) 1.2 สถานการณข์ ยะในประเทศไทย เช่นเดียวกับแนวโน้มของโลก ประเทศไทยเผชิญปัญหาการเพ่ิมขึ้นของขยะมูลฝอยอย่างต่อเน่ือง จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ ในปีพ.ศ. 2561 มีขยะมูลฝอยทั้งประเทศอยู่ที่ 27.93 ล้านตันเพิ่มข้ึน จากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2 อัตราการเกิดขยะต่อคนเพิ่มข้ึนจาก 1.13 เป็น 1.15 กิโลกรัมตอคนต่อวันซึ่ง เปน็ อตั ราทส่ี งู กวา่ คา่ เฉลยี่ ของกลมุ่ ประเทศทมี่ รี ะดบั รายไดใ้ กลเ้ คยี งกบั ประเทศไทย (คา่ เฉลยี่ ของประเทศ ในกลมุ่ Lower-Middle Income อยู่ท่ี 0.79 กโิ ลกรัมตอ่ คนตอ่ วนั ) ในจำ� นวนขยะท้ังหมดทเี่ กดิ ขนึ้ กรม ควบคมุ มลพษิ คาดการณว์ า่ มสี ดั สว่ นทถี่ กู คดั แยกและนำ� กลบั ไปใชป้ ระโยชน์ รอ้ ยละ 35 กำ� จดั อยา่ งถกู ตอ้ ง ร้อยละ 39 และส่วนท่ีกำ� จดั ไม่ถูกตอ้ ง ร้อยละ 26 ทัง้ น้ี การจัดการขยะสว่ นใหญเ่ ป็นการจดั การท่ีปลาย ทางทเี่ นน้ การกำ� จดั ดว้ ยการฝงั กลบหรอื เทกอง ในปี 2561 มสี ถานทก่ี ำ� จดั ขยะทเี่ ปดิ ดำ� เนนิ การทวั่ ประเทศ จ�ำนวน 2,789 แห่ง ในจำ� นวนน้ี ดำ� เนนิ การถกู ต้องซ่ึงรวมถงึ การเทกองแบบควบคมุ เพียง 595 แหง่ คิด เป็นรอ้ ยละ 21 (กรมควบคมุ มลพษิ , 2562) การจัดการขยะมลู ฝอยอย่างไมถ่ กู ตอ้ งได้สร้างผลกระทบตอ่ สง่ิ แวดลอ้ มและสขุ ภาพของประชาชนเปน็ อยา่ งมาก โดยเฉพาะการเกดิ ไฟไหมบ้ อ่ ขยะ การเผากลางแจง้ ทำ� ให้ เกดิ มลพษิ จากสารไดออกซนิ PAHs และ black carbon บอ่ ขยะทำ� ใหเ้ กดิ กา๊ ซมเี ทนทเ่ี ปน็ กา๊ ซเรอื นกระจก น�้ำชะขยะจากบ่อขยะมีการปนเปื้อนแหล่งน้�ำผิวดินและนำ้� ใตด้ ิน ขยะบางส่วนมีการรวั่ ไหลลงสูแ่ มน่ ้�ำและ และทะเลกลายเปน็ ขยะทะเล 64

ภาพท่ี 2 ไฟไหมบ้ อ่ ขยะทจี่ ังหวัดปทุมธานี วนั ท่ี 23 เมษายน 2563 ท่ีมา: https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_4003854 1.3 ปญั หาขยะพลาสติกและมลพิษพลาสตกิ พลาสติกถือก�ำเนิดขึ้นมาไม่นานมานี้ เราได้มีการผลิตพลาสติกเชิงอุตสาหกรรมตั้งแต่ทศวรรษท่ี 1950 หลงั จากนัน้ ปรมิ าณการผลิตพลาสติกก็เพ่ิมสงู ข้ึนอย่างรวดเร็วและตอ่ เน่อื งมาโดยตลอดไม่น้อยกวา่ 8,300 ล้านตนั (เทยี บเทา่ น้�ำหนักของชา้ ง 1 พนั ล้านเชอื ก) มกี ารประเมนิ วา่ ทกุ ๆ 1 นาที ทั่วโลก มกี ารใช้ ถงุ พลาสตกิ 1-2 ลา้ นใบและมกี ารใชข้ วดพลาสตกิ 1 ลา้ นขวด หากยงั ปลอ่ ยใหม้ กี ารผลติ พลาสตกิ ไปเรอื่ ยๆ คาดว่าภายในปคี .ศ. 2050 โลกจะมีขยะพลาสตกิ มากถงึ 12,000 ลา้ นตัน พลาสตกิ ชว่ ยสรา้ งความสะดวกสบายใหก้ บั มนษุ ยจ์ นพวกเราหลงลมื คณุ สมบตั อิ กี อยา่ งของพลาสตกิ คอื มันไมย่ ่อยสลายทางธรรมชาติ ถุงพลาสตกิ และหลอดพลาสติกทถ่ี กู ใชง้ านเพยี ง 10 นาที อาจอยกู่ บั โลก ไปหลายร้อยปี แม้พลาสติกจะมีคุณสมบัติการใช้งานท่ีเป็นเลิศ แต่เม่ือกลายเป็นขยะ กลับไม่สามารถน�ำ กลับมารีไซเคิลได้เท่าท่ีควร นักวิจัยประเมินว่า มีพลาสติกเพียงร้อยละ 9 เท่าน้ันที่ถูกน�ำกลับมารีไซเคิล Jambeck et al. (2015) ประเมินปริมาณขยะพลาสติกจากประเทศต่าง ๆ ท่ีไหลสู่ทะเล พบว่า ในปี พ.ศ. 2553 มีขยะพลาสติกประมาณ 5–13 ลา้ นตันไดถ้ ูกพดั พาลงสทู่ ะเล เทียบเท่ากบั รถบรรทกุ 1 คนั ขนพลาสตกิ ลงทะเลทกุ ๆ นาที มกี ารคาดการณว์ า่ มขี ยะพลาสตกิ กระจายอยใู่ นมหาสมทุ รทวั่ โลก ประมาณ 300 ล้านตนั รวมถงึ พลาสติกช้นิ เล็กๆ กวา่ 5 ลา้ นลา้ นชิ้น หนกั รวมกนั กวา่ 250,000 ตนั ทีล่ อยอยบู่ นผิวน้�ำ ขยะพลาสตกิ ทตี่ กค้างในสภาพแวดลอ้ มได้ส่งผลกระทบตอ่ ระบบนิเวศ สัตว์ทะเล สัตว์บกและมนุษย์อยา่ ง มหาศาล เมอ่ื ขยะพลาสตกิ ไหลลงส่ทู ะเลมากขน้ึ เร่อื ย ๆ ท�ำให้เกดิ ปญั หาการสะสมของขยะทะเล จนกลาย เปน็ มลพษิ ขยะพลาสตกิ สง่ ผลกระทบตอ่ สตั วท์ ะเลและปะการงั แมพ้ ลาสตกิ จะไมย่ อ่ ยสลาย แตม่ นั สามารถ แตกตวั เป็นช้นิ เล็ก ๆ ทเ่ี รียกว่า “ไมโครพลาสตกิ ” ขนาดเลก็ กวา่ 5 มิลลเิ มตรไปจนถึงระดบั นาโนเมตร ตกค้างในสิ่งแวดลอ้ มและเขา้ สูห่ ่วงโซ่อาหารของมนษุ ย์ นกั วิทยาศาสตรไ์ ดร้ ายงานการพบไมโครพลาสติก ในทุกสภาพแวดล้อม 65

ภาพที่ 3-4 วาฬน�ำร่องครบี สั้ น เ ก ย ตื้ น ต า ย ท่ี จั ง ห วั ด สงขลา เมื่อวันที่ 1 มถิ ุนายน 2561 ในทอ้ งพบถงุ พลาสตกิ จ�ำนวน 80 ใบ ท่ีมา: https://www.bbc. com/thai/thailand -44346034 ปญั หาขยะพลาสติกในทะเลไดก้ ลายเปน็ วาระเร่งดว่ นของประชาคมโลก โครงการส่งิ แวดล้อมแห่ง สหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ประกาศใหป้ พี .ศ. 2561 เปน็ ปี แหง่ การตอ่ สกู้ บั ปญั หามลพษิ พลาสตกิ (Beat plastic pollution) และกระตนุ้ ใหร้ ฐั บาลทกุ ประเทศดำ� เนนิ มาตรการลด ละ เลิกใชพ้ ลาสตกิ แบบใชค้ รงั้ เดียวทง้ิ ประเทศไทยถกู จดั ใหอ้ ยอู่ นั ดบั ที่ 6 ของประเทศทที่ ง้ิ ขยะพลาสตกิ ลงทะเลมากทสี่ ดุ ในโลก (150,000 – 410,000 ตนั ต่อป)ี จากขอ้ มลู ของกรมควบคุมมลพิษ ประเทศไทยมีการใช้ถงุ พลาสติกหหู ้ิวถึง 45,000 ล้านใบตอ่ ปี คนกรุงเทพฯ ใช้ถงุ พลาสติก เฉลี่ยอยู่ที่ 3 – 8 ใบต่อคนตอ่ วัน บรโิ ภคน้ำ� ดม่ื บรรจขุ วดพลาสติก ประมาณ 4,400 ล้านขวดตอ่ ปี ใช้โฟมบรรจุอาหาร 6,758 ลา้ นใบตอ่ ปีและแกว้ พลาสติกแบบใช้ครัง้ เดยี ว ทงิ้ 9,750 ล้านใบต่อปี ปริมาณขยะพลาสตกิ ท่เี กิดข้นึ ประมาณ 2 ล้านตนั ตอ่ ปี มีเพียงรอ้ ยละ 25 เทา่ นั้น ที่ถูกน�ำกลบั มาใชป้ ระโยชน์ ทีเ่ หลอื ซงึ่ สว่ นใหญเ่ ป็นพลาสติกแบบใช้ครัง้ เดียวถูกกำ� จัดโดยการฝังกลบ เผา 66

และตกคา้ งในสงิ่ แวดลอ้ มและบางสว่ นไหลลงทะเล ทำ� ใหป้ ระเทศไทยตอ้ งเรง่ แกไ้ ขปญั หาพลาสตกิ โดยตอ้ ง จะมีมาตรการลดการใช้และแยกขยะตง้ั แต่ต้นทาง (สจุ ติ รา วาสนาดำ� รงดี, 2563) มาตรการปดิ เมอื งเพอ่ื ปอ้ งกนั การแพรร่ ะบาดของโรค COVID-19 ชว่ งเดอื นมนี าคม-มถิ นุ ายน 2563 ส่งผลให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งขยะติดเช้ือในสถานพยาบาลและบ้านเรือน อีกทั้งการส่ังอาหาร และสนิ ค้าออนไลนแ์ ละการซือ้ กลับบ้านได้กลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ (new normal) ของคนเมือง ทำ� ใหข้ ยะ พลาสตกิ เพม่ิ สงู ขน้ึ อยา่ งกา้ วกระโดด จากขอ้ มลู ของกรมควบคมุ มลพษิ ปรมิ าณขยะพลาสตกิ เพม่ิ สงู ขนึ้ เฉลย่ี รอ้ ยละ 15 โดยเฉพาะประเภทกลอ่ งพลาสตกิ ใสอ่ าหาร ชอ้ นสอ้ มพลาสตกิ แกว้ พลาสตกิ และหลอดพลาสตกิ ดงั นัน้ ทกุ ภาคสว่ นจ�ำเป็นตอ้ งชว่ ยกันวางมาตรการจดั การขยะท้ังระบบอย่างเรง่ ด่วน ภาพท่ี 5 ปัญหาขยะพลาสตกิ ที่เพมิ่ ขึ้นหลังการระบาดของ COVID-19 ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563 ทีม่ า: https://www.facebook.com/wwfthailand/phot 2. คำ� จำ� กดั ความและพฒั นาการของแนวคดิ และการดำ� เนนิ งานในตา่ งประเทศ 2.1 แนวคดิ zero waste แนวคิดการจัดการขยะให้เป็นศูนย์ (Zero-waste) เป็นแนวคิดท่ีมุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้เกิดขยะ (waste prevention) Zero Waste International Alliance (ZWIA) ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความของค�ำว่า “zero-waste” วา่ “เปน็ การอนรุ กั ษ์ทรพั ยากรทัง้ หมดด้วยวธิ ีการผลิตและการบริโภคอยา่ งรบั ผดิ ชอบซง่ึ รวมถึงการใช้ซ�้ำ การรีไซเคิลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์และวัสดุโดยไม่มีการเผาและไม่ปล่อยของเสียสู่ผืน ดิน น้�ำหรืออากาศท่ีจะส่งผลเสียต่อส่ิงแวดล้อมหรือสุขภาพของมนุษย์” (ZWIA, 2020) ทั้งนี้ เครือข่าย 67

ZWIA จะให้การรบั รองวา่ องค์กรธรุ กจิ หรือชุมชนวา่ เปน็ zero-waste ก็ต่อเม่อื มีการนำ� ขยะไปแปลงเปน็ ทรพั ยากรเพื่อลดปรมิ าณขยะท่ตี อ้ งส่งไปกำ� จัดด้วยการฝงั กลบหรอื เผามากกว่ารอ้ ยละ 90 หลักการ zero waste ไม่ไดส้ ง่ เสริมแคก่ ารใชซ้ ำ้� และการรีไซเคลิ หากแต่ส่งเสรมิ เรอ่ื งการป้องกนั ไม่ให้เกิดขยะและการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ค�ำนึงถึงผลกระทบตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ จึงสอดคล้องกับ แนวคดิ เศรษฐกิจหมนุ เวียน แต่หลักการ zero waste สามารถปรบั ใชใ้ นทกุ ระดบั ท้ังระดบั ปจั เจกบุคคล องคก์ ร ชมุ ชน คำ� ว่า “zero waste” เป็นการก�ำหนดเป้าประสงค์ (goal) ที่ต้องการบรรลุ มากกว่าการต้งั เปา้ หมายที่เขม้ งวด (hard target) 2.2 หลกั การ 3Rs และ Waste Management Hierarchy หลักการ 3Rs (Reduce Reuse Recycle) และแนวคิดการลำ� ดบั ความสำ� คัญของการจดั การขยะ (Waste Management Hierarchy) เป็นพ้ืนฐานของนโยบายการจัดการขยะของสหภาพยุโรปมาตั้งแต่ ปลายทศวรรษที่ 1980s และปรากฎชดั เจนใน Waste Directive Framework 2006 เน้นย�ำ้ ว่า หน่วยงาน ผู้รับผดิ ชอบควรสง่ เสริมใหเ้ กดิ การปอ้ งกนั มิให้เกดิ ขยะต้งั แต่ตน้ (waste prevention) จากน้ันจึงสง่ เสริม ใหเ้ กดิ ขยะให้น้อยที่สุด (waste minimization) หากมีขยะเกิดขึ้นแลว้ กค็ วรสง่ เสริมให้เกดิ การใช้ซ้�ำและ การรไี ซเคลิ สว่ นเศษชนิ้ สว่ นทร่ี ไี ซเคลิ ไมไ่ ดจ้ งึ คอ่ ยนำ� มาแปรรปู เปน็ พลงั งานและสว่ นทเ่ี หลอื จากการแปรรปู เป็นพลงั งาน จึงค่อยน�ำไปก�ำจัด (เชน่ ฝังกลบ) อย่างเหมาะสม หากภาครัฐส่งเสริมให้ประชาชนและแหลง่ ก�ำเนิดลดการสร้างขยะและคัดแยกขยะตามแนวคิดนี้อย่างต่อเนื่องจะช่วยลดปริมาณขยะเหลือท้ิงท่ีส่งไป ก�ำจดั ท่สี ร้างผลกระทบตอ่ สิ่งแวดล้อมได้ ภาพท่ี 6 แนวคิดการล�ำดบั ความส�ำคญั ของการจดั การขยะ (Waste Management Hierarchy) ทีเ่ สนอโดย Zero Waste International Alliance ท่มี า: http://zwia.org/zwh/ 68

2.3 พฒั นาการของแนวคดิ และการดำ� เนินงานในตา่ งประเทศ แนวคดิ zero waste กอ่ ตง้ั ขนึ้ ในชว่ งทศวรรษ 1990 และมกี ารพดู ถงึ อยา่ งมากในชว่ งปคี .ศ. 1998- 2002 จากการเกดิ ขนึ้ ของชุมชน zero-waste ในประเทศต่าง ๆ ทว่ั โลก รัฐแคลฟิ อรเ์ นยี ไดม้ กี ารก�ำหนด เป้าประสงคเ์ รื่อง zero-waste ในปคี .ศ. 1989 ซานฟรานซิสโกได้กำ� หนดเปา้ หมายนีใ้ นปคี .ศ. 2002 ตอ่ มาไดย้ กระดบั มาเปน็ ขอ้ บญั ญตั ทิ ้องถ่นิ วา่ ด้วยการรีไซเคลิ และทำ� ปุ๋ยหมัก ค.ศ.2009 ส่งผลให้ซานฟรานซิ สโกลดการสง่ ขยะไปกำ� จดั ไดถ้ ึงรอ้ ยละ 80 ในปคี .ศ. 2010 ในระดับปัจเจกบคุ คล Bea Johnson ในแคลิฟอรเ์ นยี ไดเ้ ร่มิ ใชช้ ีวิตแบบ zero waste และไดเ้ ปิด blog ‘Zero Waste Home’ ในปีค.ศ. 2009 และเขียนหนังสอื Zero Waste Home ในปคี .ศ. 2013 ตดิ อันดบั หนงั สือขายดที ัว่ โลก เธอไดป้ รับเปลยี่ นหลกั การ 3Rs มาเปน็ 5Rs คือ Refuse, Reduce, Reuse, Recycle, Rot เพือ่ บรรลเุ ปา้ หมายลดขยะใหเ้ ป็นศูนย์ ตอ่ มาก็เร่ิมมีผ้ทู ำ� blog เชน่ Lauren Singer และ เริ่มมกี ารเปิดรา้ นขายของไรบ้ รรจุภัณฑ์ (bulk store) ครั้งแรกในเยอรมนี เมอื ง Kamikatsu เปน็ เมอื งเลก็ ๆ ทม่ี ปี ระชากรประมาณ 2,000 คนในจงั หวดั Tokushima ประเทศ ญปี่ ุ่นเปน็ เมืองแรกในญปี่ ุ่นด�ำเนินนโยบาย zero-waste ในปคี .ศ. 2003 Kamikatsu ประกาศเปา้ หมาย ท่ีจะลดขยะใหเ้ ป็นศูนย์ภายในปีค.ศ. 2020 โดยไมพ่ งึ่ การใชเ้ ตาเผาและการฝงั กลบ Kamikatsu จัดระบบ แยกขยะอย่างละเอียดมาก โดยให้ประชาชนแยกขยะออกเป็น 45 ประเภท (จากช่วงเริ่มต้นที่แยกเพียง 9 ประเภท) และจะต้องล้างขยะก่อนและน�ำไปส่งยังศูนย์เก็บรวบรวมขยะ โดยเทศบาลไม่มีระบบจัดเก็บ ขยะจากบ้าน สว่ นขยะอนิ ทรีย์ ทกุ บา้ นจะจัดการทีบ่ ้านของตนเอง โดยเทศบาลได้อดุ หนนุ เครอ่ื งแปลงเศษ อาหารเปน็ ปยุ๋ ให้กบั ครัวเรอื นตั้งแต่ปคี .ศ. 1995 ผลจากการดำ� เนนิ งาน ท�ำใหเ้ มอื งประหยัดงบประมาณใน การกำ� จัดขยะด้วยเตาเผาไปได้ 1 ใน 3 และชมุ ชนมีรายไดจ้ ากการรไี ซเคิลประมาณ 3 ล้านเยน อปุ สรรคใน การบรรลเุ ปา้ หมาย zero-waste 100% ของเมอื ง คอื การทผ่ี ผู้ ลติ บางรายไมย่ อมปรบั เปลยี่ นบรรจภุ ณั ฑใ์ ห้ สามารถรไี ซเคลิ ได้ ทำ� ใหช้ มุ ชนตอ้ งขบั เคลอ่ื นแนวคดิ เศรษฐกจิ หมนุ เวยี นเพอื่ ใหผ้ ผู้ ลติ ปรบั เปลย่ี นการผลติ และการใชผ้ ลติ ภัณฑแ์ บบใช้คร้งั เดียวทิ้ง (GAIA, 2019) ภาพท่ี 7 การแยกขยะของชาวเมือง Kamikatsu ประเทศญี่ปนุ่ ทม่ี า: https://medium.com/tzu-chi-culture-communication-foundation/ kamikatsu-japans-zero-waste-town-9d66abfabe89 69

3. การขบั เคล่อื น zero waste ในประเทศไทย กรมสง่ เสรมิ คณุ ภาพสงิ่ แวดลอ้ มไดน้ ำ� แนวคดิ zero waste มาใชใ้ นการสง่ เสรมิ ใหช้ มุ ชนและโรงเรยี น ลดการสร้างขยะและแยกขยะทตี่ ้นทาง เพื่อลดภาระในการก�ำจัดขยะขององค์กรปกครองสว่ นท้องถนิ่ แต่ การสง่ เสรมิ ยงั ทำ� ไดค้ อ่ นขา้ งจำ� กดั อนั เนอ่ื งมาจากขอ้ จำ� กดั ดา้ นงบประมาณและลกั ษณะโครงการเชงิ สมคั ร ใจ ยังมีชุมชนและโรงเรียนเขา้ รว่ มโครงการไม่มากนกั นอกจากน้ี ในช่วง 3 ปที ีผ่ า่ นมา ผู้บริโภคในเมืองเริม่ มคี วามตระหนกั ตอ่ ปญั หาขยะและพยายามทจี่ ะลดการสรา้ งขยะ ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากการเตบิ โตของเครอื ขา่ ย สังคมออนไลน์ เชน่ เครือขา่ ย Greenery Challenge ที่มีสมาชิกกวา่ 45,000 คน (ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2563) การเกิดขึ้นของร้านค้าปลีกท่ีจ�ำหน่ายสินค้าไร้บรรจุภัณฑ์และอุปกรณ์ช่วยลดขยะ (zero waste shops และ refill shops) ทง้ั แบบที่มีหนา้ ร้าน (กวา่ 40 ร้านท่วั ประเทศ) และไม่มหี นา้ ร้านหรอื รา้ นค้า ออนไลน์ (เชน่ เพจ Rereef, Environman) ทจี่ ะใหข้ อ้ มลู ความรเู้ รอ่ื งการจดั การขยะและสงิ่ แวดลอ้ มควบคู่ ไปกับการขายอุปกรณ์ช่วยลดขยะ เพ่ือสร้างความตระหนักและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคท่ี ต้องการลดการสร้างขยะ นอกจากนี้ ยังเห็นหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ด�ำเนินนโยบายจัดการขยะที่ต้นทาง ในส่วนภาค รฐั มีการด�ำเนนิ โครงการ “ท�ำความดีดว้ ยหวั ใจ ลดภัยส่งิ แวดลอ้ ม” ใหห้ นว่ ยงานภาครฐั ด�ำเนนิ มาตรการ ลดขยะพลาสติกและจดั ระบบแยกขยะ ภาคเอกชนก็มีโครงการ PPP Plastic กลุ่มบรษิ ทั ตลาดหลักทรพั ย์ ดำ� เนินโครงการ Care the Whale ในส่วนมหาวทิ ยาลยั กม็ กี ารดำ� เนนิ โครงการ zero waste เช่น Chula Zero Waste ของจฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย โครงการลดขยะพลาสติกของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรแ์ ละ มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล เป็นต้น ในปลายปี 2562 ข่าวการตายของสัตว์ทะเลจากการกลืนกินขยะพลาสติก โดยเฉพาะมาเรียม พะยนู นอ้ ยทำ� ใหผ้ บู้ รโิ ภคตน่ื ตวั ตอ่ ปญั หาขยะพลาสตกิ และสว่ นใหญใ่ หค้ วามรว่ มมอื ตอ่ มาตรการงดแจกถงุ พลาสติกของห้างคา้ ปลกี และร้านสะดวกซอื้ ตงั้ แตว่ ันที่ 1 มกราคม 2563 เปน็ ต้นมา อยา่ งไรกด็ ี การขบั เคลอ่ื นการลดขยะตามแนวคดิ zero waste (รวมทง้ั แนวคดิ เศรษฐกจิ หมนุ เวยี น) จ�ำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิตด้วย ในต่างประเทศ รัฐบาลได้มีการออกกฎหมายที่น�ำหลักการ ความรับผิดชอบที่เพ่ิมขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility: EPR) เพ่ือให้ผู้ผลิตมีการ ปรับเปล่ียนการออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากข้ึนและมีส่วนร่วมในการจัด ระบบรบั คนื ขยะทตี่ นผลติ ขน้ึ เพอื่ นำ� ไปจดั การอยา่ งถกู ตอ้ ง อกี ทงั้ หลายประเทศไดอ้ อกกฎหมายใหม้ รี ะบบ มดั จำ� คืนเงนิ บรรจุภณั ฑเ์ พือ่ เพ่ิมแรงจงู ใจให้ผู้บริโภคน�ำบรรจภุ ัณฑ์ทใี่ ชแ้ ลว้ มาสง่ คืนเข้าระบบ ชว่ ยลดการ ท้งิ ไม่เปน็ ท่แี ละเพิ่มอัตราการใช้ซำ�้ และการรีไซเคลิ บรรจุภณั ฑไ์ ด้ ดังนน้ั รัฐบาลไทยควรเรง่ ผลกั ดนั ใหเ้ กิด กฎหมายที่ให้ผู้ผลิตและทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะ มิใช่หน้าที่ขององค์กรปกครอง ท้องถ่นิ แต่ฝ่ายเดียว 70

4. ตัวอยา่ ง Chula Zero Waste Chula Zero Waste เป็นแผนปฏิบัติการ 5 ปีว่าด้วยการจัดระบบการจัดการขยะมูลฝอยใน จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั มรี ะยะเวลาดำ� เนนิ งานตง้ั แตป่ งี บประมาณ 2560 – 2564 มหี นว่ ยงานรบั ผดิ ชอบ หลัก ได้แก่ สถาบันวิจัยสภาวะแวดลอ้ มและส�ำนกั บรหิ ารระบบกายภาพ โครงการไดต้ ้งั เปา้ หมาย 2 ส่วน 1) ลดปรมิ าณขยะเหลือท้งิ ท่ีเกดิ ขนี้ ในมหาวิทยาลยั ณ สิน้ ปที ่ี 5 ของแผนฯ ใหไ้ ด้รอ้ ยละ 30 เมอื่ เทยี บกับ ปริมาณท่เี กดิ ขึน้ ในปีงบประมาณ 2561 2) ค่านิยมและวฒั นธรรมองค์กร zero waste เพ่อื ท่ีจะบรรลุเป้า หมายดงั กล่าว โครงการฯ ไดด้ ำ� เนนิ โครงการยอ่ ยภายใต้ 6 แผนงานทสี่ อดคล้องกบั แนวคดิ zero waste และ waste management hierarchy โดยมงุ่ ไปทก่ี ารจดั ระบบบริหารจัดการและสร้างสภาพแวดลอ้ ม ใหเ้ อื้อตอ่ การปรับพฤตกิ รรมในการลดขยะและแยกขยะ เชน่ การให้รา้ นค้างดแจกถงุ พลาสตกิ ฟรเี พอื่ ให้ผู้ บรโิ ภคพกถงุ ผา้ หรอื ถงุ ทใ่ี ชซ้ ำ้� ไดม้ าซอ้ื ของ การเพมิ่ ตกู้ ดนำ้� ตามโรงอาหารและอาคารเรยี นอยา่ งทวั่ ถงึ เพอื่ ให้ นิสติ และบคุ ลากรพกกระบอกน�้ำมาเตมิ น�้ำเพอ่ื ลดการซอ้ื นำ้� ดมื่ บรรจขุ วดพลาสติก การขอใหร้ า้ นกาแฟทกุ รา้ นให้สว่ นลดลูกคา้ ทีน่ ำ� แกว้ สว่ นตวั ไปซื้อ การจดั ระบบลดและคดั แยกขยะในสำ� นกั งาน (Green office) ของคณะและส่วนงานต่างๆ ฯลฯ ภาพท่ี 8 ตัวอย่างสื่อรณรงค์พกแกว้ สว่ นตวั และลดรับหลอดพลาสติกเพอ่ื ลดขยะพลาสติก ทม่ี า: www.chulazerowaste.chula.ac.th 71

นอกจากน้ี โครงการฯ ยงั ไดจ้ ดั ระบบรองรบั การแยกขยะประเภทตา่ ง ๆ นอกเหนอื จากขยะรไี ซเคลิ แลว้ ยงั มกี ารจดั ระบบเกบ็ รวบรวมขยะทรี่ ไี ซเคลิ ไมไ่ ด้ เชน่ ภาชนะพลาสตกิ หลอดพลาสตกิ กระดาษเคลอื บ พลาสติก ฯลฯ ไปเป็นพลังงานทดแทนการใช้ถ่านหินของโรงปูนซีเมนต์ตามแนวคิด Energy Recovery รวมท้ังยังได้ตั้งจุดรับคืนขยะบางประเภทเพิ่มเติม ได้แก่ กล่อง UHT (ส่งต่อให้บริษัทไปท�ำโต๊ะเก้าอี้ นกั เรยี น) ถงุ พลาสตกิ PE (ส่งต่อใหโ้ ครงการวนไปรไี ซเคลิ ) ฝาขวดพลาสติก HDPE (สง่ ใหบ้ ริษัทน�ำไปท�ำ ผลติ ภัณฑ์ upcycling) เปน็ ตน้ ในส่วนขยะอันตราย โครงการฯ ได้จัดท�ำถังขยะเฉพาะรองรับขยะอันตรายจ�ำพวกถ่านไฟฉาย และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก และจัดท�ำถังรับทิ้งขยะติดเชื้อจ�ำพวกหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอีก ดว้ ย โดยมกี ารสง่ ตอ่ ไปยังกรงุ เทพมหานครเพ่ือกำ� จัดอยา่ งปลอดภยั และโรงงานรไี ซเคลิ ขยะอิเลก็ ทรอนิกส์ สว่ นขยะเศษอาหาร นอกจากการรณรงคส์ งั่ แตพ่ อด-ี ทานขา้ วใหห้ มดจานแลว้ เศษอาหารทท่ี านเหลอื สง่ ตอ่ ใหเ้ กษตรกรนำ� ไปเลยี้ งสตั ว์ สว่ นเศษอาหารหลงั ครวั ในโรงอาหารรวมถงึ เศษผกั ผลไมท้ ตี่ ลาดสามยา่ น จะมีการรวบรวมและนำ� ไปเขา้ เครอื่ งแปลงเศษอาหารเปน็ สารปรบั ปรงุ ดนิ (bio-digester) ส่วนกากกาแฟ จากรา้ นกาแฟจะมีการเก็บรวบรวม นำ� ไปผึ่งแดดกอ่ นส่งต่อให้เกษตรกรน�ำไปผสมในโรงปุ๋ยหมกั ตอ่ ไป นอกจากการจัดระบบบริหารจัดการขยะในมหาวิทยาลัยแล้ว โครงการฯ ได้มีการท�ำงานร่วม กับโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยมให้มีนโยบายและแผนงาน zero-waste ที่ชัดเจน สอดคลอ้ งกบั มหาวทิ ยาลยั เพอื่ ทจี่ ะปลกู ฝงั จติ สำ� นกึ ใหก้ บั เดก็ นกั เรยี นตงั้ แตว่ ยั เยาวต์ อ่ เนอื่ งไปจนถงึ ระดบั มหาวิทยาลัย ในปที ี่ 4 โครงการฯ ได้เริ่มขยายกจิ กรรมสร้างเครือขา่ ย zero-waste school ไปยงั โรงเรยี น รอบมหาวิทยาลัย รวมทั้งผลักดันเชิงนโยบายให้กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายและแผนงานขับเคลื่อน zero-waste school ทีช่ ดั เจนและตอ่ เนือ่ งอกี ด้วย ปัญหาอปุ สรรคส�ำคญั ของการขบั เคลื่อนโครงการ Chula Zero Waste คอื คณะและส่วนงานบาง สว่ นยงั มไิ ดม้ มี าตรการในการลดและคดั แยกขยะอยา่ งจรงิ จงั ทำ� ใหโ้ ครงการฯ ยงั ไมส่ ามารถบรรลเุ ปา้ หมาย ที่ต้ังไว้ได้ แต่อย่างน้อยสามารถผลักดันให้เกิดค่านิยมองค์กรท่ีคำ� นึงถึงการลดขยะและพัฒนาให้มีระบบ บริหารจัดการขยะทีช่ ว่ ยให้หนว่ ยงานกลางของมหาวิทยาลยั นั่นคือ สำ� นกั บรหิ ารระบบกายภาพสามารถ ขับเคลอ่ื นงานไดต้ อ่ ไป 5. แนวทางการลดขยะ แนวคิด zero waste ให้ความส�ำคัญกับการหลีกเล่ียงหรือป้องกันไม่ให้เกิดขยะตั้งแต่ต้นซ่ึงควร ทำ� ใหไ้ ดก้ ่อน ถ้าไม่ได้ ให้ลองนำ� มาใช้ซ�ำ้ กอ่ นทจ่ี ะไปรไี ซเคลิ 5.1 แนวทางการลดขยะระดับบุคคล วธิ ลี ดขยะพลาสตกิ : คิดก่อนซอ้ื , พกอปุ กรณส์ ่วนตวั เวลาไปซอื้ ของ ไดแ้ ก่ ถงุ ผ้า/ถงุ ใชซ้ ำ้� ได้ แกว้ หรือกระบอกน�้ำสว่ นตวั กล่องอาหารหรือปิ่นโต เปน็ ตน้ วิธลี ดขยะอาหาร: วางแผนการซ้ือวตั ถดุ ิบ ซ้อื ในปริมาณทพ่ี อเหมาะ เชค็ วนั หมดอายุ ท�ำอาหารให้ 72

เหมาะกับจ�ำนวนคน ศึกษาการถนอมอาหารในรูปแบบตา่ งๆ ทานข้าวใหห้ มดจาน หากมีอาหารสว่ นเกนิ ควรแจกจา่ ยใหก้ ับผู้ยากไร้ ส่วนทีเ่ หลอื นำ� ไปเลยี้ งสตั ว์ ท�ำป๋ยุ หมัก น้�ำหมกั ชวี ภาพ เลย้ี งไส้เดอื น เปน็ ตน้ 5.2 สำ� รวจรา้ นรีฟลิ หรอื ร้านไร้บรรจภุ ัณฑ์ (Refill/Bulk store) ใกล้บ้าน หนทางหนึ่งในการลดขยะบรรจุภัณฑ์ คือ การน�ำขวดหรือบรรจุภัณฑ์เก่าท่ีบ้านไปเติมผลิตภัณฑ์ ใหม่ เช่น น้ำ� ยาลา้ งจาน นำ้� ยาซักผ้า โลชนั่ หรอื แมแ้ ตอ่ าหารและวตั ถุดิบต่างๆ ทรี่ า้ นรีฟิลหรือร้านไร้บรรจุ ภัณฑ์ ตัวอย่างร้านรฟี ลิ ดใู น https://www.wongnai.com/beauty-tips/refill-station-in-bkk ภาพที่ 9 ตัวอย่างรา้ นคา้ ไรบ้ รรจภุ ณั ฑใ์ นประเทศไทย ทมี่ า: www. facebook.com/ zeromomentrefillery 5.3 นวตั กรรมลดขยะ เช่น นวัตกรรมลดขยะพลาสติกด้วยวัสดุทดแทน ผผู้ ลติ นบั เปน็ ตน้ ทางของผลติ ภณั ฑซ์ ง่ึ สามารถปรบั ปรงุ การออกแบบผลติ ภณั ฑใ์ หล้ ดการเกดิ ขยะได้ ตวั อยา่ งของผลิตภัณฑท์ ่ีไมส่ รา้ งขยะ เชน่ ยาสีฟนั แบบเมด็ ท่ีสามารถน�ำขวดแกว้ กลับมาเตมิ ใหมไ่ ด้ หรอื น�้ำด่ืมบรรจุขวดพลาสติกท่ที ำ� จากพลาสติกรีไซเคิลและไมม่ ฉี ลาก (ที่เป็น PVC) เป็นต้น ภาพท่ี 10 ตัวอย่างผลติ ภณั ฑ์ ที่ลดการสรา้ งขยะพลาสติก 73

5.4 พลาสติกชวี ภาพช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกไดห้ รอื ไม่ –ระวังพลาสติก Oxo พลาสตกิ ชีวภาพ (Bio-plastic) หรือพลาสตกิ ย่อยสลายไดท้ างชีวภาพ (Biodegradable plastic) หมายถงึ พลาสตกิ ทย่ี อ่ ยสลายไดโ้ ดยจลุ นิ ทรยี ห์ รอื สง่ิ มชี วี ติ โดยสามารถเกดิ การยอ่ ยไดอ้ ยา่ งสมบรู ณ์ (เกดิ นำ�้ คารบ์ อนไดออกไซดห์ รอื มเี ทนและชวี มวล) หากอยภู่ ายใตส้ ภาวะทเี่ หมาะสม กลา่ วคอื มจี ลุ นิ ทรยี ์ ความชนื้ และความร้อนท่ีเหมาะสม แต่นิยามนี้ไม่ได้มีเง่ือนไขของเวลามาเก่ียวข้องจึงครอบคลุมพลาสติกจ�ำนวน มากทอ่ี าจใช้เวลาย่อยสลายหลายสิบปีหรือรอ้ ยปไี ม่ตา่ งจากพลาสตกิ ท่วั ไป เพื่อไมใ่ ห้เกดิ ความสับสน จงึ มีการก�ำหนดนิยามข้ึนใหม่ที่ก�ำหนดเงื่อนไขระยะเวลาย่อยสลายไว้ด้วย ใช้คำ� ว่า “พลาสติกย่อยสลายได้ ทางชวี ภาพโดยการหมกั แบบใช้ออกซเิ จน” (Compostable plastic) ซ่งึ พลาสตกิ ชนิดนจ้ี ะสลายตัวทาง ชวี ภาพในสภาวะควบคุมในการหมักปยุ๋ ระดบั อุตสาหกรรม เชน่ PLA หรือหมักปยุ๋ แบบครวั เรือน เชน่ PBS โดยพลาสตกิ กลมุ่ นี้จะต้องไดร้ ับการรับรองตามมาตรฐานสากล ได้แก่ ISO 17088 หรือ EN13432 หรือ ASTM6400 หากมิใช่มาตรฐานเหล่าน้ี ผู้บริโภคควรระวังว่าอาจเป็นพลาสติกชนิดออกโซ (Oxo-degradable plastic) ซ่ึงเป็นพลาสติกที่ผู้ผลิตเติมสารเติมแต่งเพ่ือเร่งให้พลาสติกแตกตัวเป็นช้ินเล็กๆ เร็วขึ้นแต่ตัว พลาสตกิ นนั้ ยงั มคี ณุ สมบตั ทิ ยี่ อ่ ยสลายยากและกลายเปน็ ไมโครพลาสตกิ ตกคา้ งในสง่ิ แวดลอ้ ม ทำ� ใหป้ ระเทศ ต่างๆ เร่มิ ออกกฎหมายแบนการใช้พลาสตกิ oxo แลว้ เชน่ สหภาพยโุ รป ประเทศไทยไดป้ ระกาศแบนการ ใชเ้ ชน่ กนั ตงั้ แตป่ พี .ศ. 2562 แตย่ งั ไมม่ กี ฎหมายรองรบั ทำ� ใหย้ งั มกี ารผลติ และจำ� หนา่ ยพลาสตกิ oxo อยโู่ ดย ผผู้ ลติ บางสว่ นจะมไิ ดร้ ะบชุ ดั เจนวา่ เปน็ พลาสตกิ oxo ดว้ ยเหตนุ ี้ ผบู้ รโิ ภคจงึ ควรระมดั ระวงั ในการเลอื กซอื้ และเลือกใช้พลาสติกดังกล่าวโดยควรตรวจสอบเลขมาตรฐานของพลาสติกชวี ภาพดว้ ย (รายละเอียดเพิ่ม เตมิ ดูใน ศุภกจิ สทุ ธิเรอื งวงศแ์ ละสจุ ิตรา วาสนาดำ� รงด,ี 2562) ทั้งน้ี พลาสติกชีวภาพเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งของการลดขยะพลาสติกซึ่งเหมาะสมกับกรณีที่ต้อง พง่ึ พาคุณสมบัตขิ องพลาสติกอยู่ เช่น กนั นำ้� กนั อากาศ และเป็นประเภททไี่ มส่ ามารถนำ� ไปรีไซเคลิ ไดใ้ น ปัจจุบันหรือไม่มที างเลือกอื่นทเี่ หมาะสม เช่น พลาสติกหอ่ หุ้มอาหาร ถุงขยะใส่เศษอาหาร หลอดดูด ซงึ่ ควรมีการจัดระบบรองรับและจัดการพลาสติกชีวภาพด้วย แต่หากเป็นถุงพลาสติกหูห้ิวหรือขวดพลาสติก การใช้พลาสติกชีวภาพอาจไม่เหมาะสมเน่ืองจากจะกระทบกับกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกได้และไม่มี ความจำ� เปน็ ท่ีตอ้ งใช้ หากเราปรับเปลย่ี นพฤตกิ รรมในการพกถงุ ผ้าหรอื ถงุ ใช้ซ�ำ้ ได้หรอื พกกระบอกน้�ำ สรุปเรื่องพลาสติกชวี ภาพ เราควรใช้เทา่ ทจี่ ำ� เปน็ ถา้ ใหเ้ ปน็ มิตรตอ่ สิง่ แวดล้อมจรงิ ๆ ตอ้ งมีระบบ แยกท้ิงเฉพาะและมปี ลายทางทเ่ี ปน็ โรงปุย๋ หมัก 6. แนวทางการแยกขยะ หลกั การพนื้ ฐาน: อยา่ งนอ้ ย ใหแ้ ยกเศษอาหารออกจากขยะประเภทอน่ื ไมใ่ หข้ ยะปนเปอ้ื น สกปรก เนา่ เหม็น จากน้ันค่อยจดั การขยะที่แยกออกมาตามประเภท สว่ นขยะเศษอาหาร ผู้อา่ นลองพจิ ารณาทาง 74

เลอื กในการจดั การ เช่น นำ� ไปท�ำป๋ยุ หมัก เปน็ ต้น ตอนน้ี เรมิ่ มีอปุ กรณช์ ่วยคนเมืองท�ำปุ๋ยหมักแบบงา่ ยๆ ไมเ่ ปลอื งท่ี เช่น ถงั ดนิ เผาปนั้ ป๋ยุ ของ “ผกั Done” บรรจภุ ณั ฑ:์ ลา้ งหรอื กลวั้ นำ้� ผง่ึ ใหแ้ หง้ แยกตามประเภทวสั ดุ (พลาสตกิ กระดาษ อลมู เี นยี ม เหลก็ ) และประเภทพลาสติก: PET (ขวดน้�ำ), PP (กล่อง, ถาด, ถงุ ), HDPE (ขวดนม, ฝาขวด,ถงุ ), LDPE (ถงุ แก้ว กลอ่ ง), PS (แก้วน้�ำ), PVC (ท่อ, แผน่ , ฉลากขวด) ผอู้ ่านสามารถศกึ ษาแนวทางแยกขยะเพิ่มเติมไดท้ ี่ Facebook ลงุ ซาเลง้ กบั ขยะที่หายไป ภาพท่ี 11 ตัวอย่างการแยกขยะอย่างง่ายทีส่ ุด สองถัง ท่ีมา: https://web.facebook.com/environman.th ภาพท่ี 12 ทางเลอื กอปุ กรณใ์ นการแปลงเศษอาหารเป็นปยุ๋ หมกั ท่ีบา้ นหรอื คอนโดมเี นยี ม ทีม่ า: เฟซบุ๊ก ลุงซาเลง้ กบั ขยะทหี่ ายไป 75

7. แนวทางการลดและแยกขยะจากการสัง่ อาหารออนไลน์ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต้นปี 2563 ท่ีมีมาตรการล็อคดาวน์ให้ ประชาชนอยู่บ้าน ปิดห้างร้าน ห้ามทานที่ร้านอาหาร ส่งผลให้ประชาชนสั่งอาหารออนไลน์หรือเดลิเวอร่ี มากขนึ้ ถึง 3 เท่าน ส่งผลให้ขยะพลาสตกิ เพม่ิ ขึน้ จากชว่ งกอ่ นหนา้ ถึง 15% ถึงแมส้ ถานการณจ์ ะคลค่ี ลาย เราไดก้ ลับไปใชช้ วี ติ นอกบา้ นมากข้ึน ได้ไปทานอาหารทีร่ ้านได้ แตก่ ็ปฏเิ สธไม่ไดว้ ่าการสัง่ อาหารเดลิเวอร่ี กลายเป็นสิ่งท่ีเป็นปกติไปแล้วในชีวิตของคนเมือง ท�ำให้มีขยะจากการส่ังของและส่ังอาหารเดลิเวอร่ีเพ่ิม มากขน้ึ เป็นหลายเท่าตัว ดังน้ัน การจดั การกับขยะท่ีเราสร้างจงึ มคี วามส�ำคญั มาก เพราะเมือ่ มกี ารจดั การ ท่ีดี มีการแยกขยะให้ถูกต้อง กจ็ ะทำ� ใหข้ ยะเหล่าน้ันมโี อกาสท่ีจะถกู นำ� ไปรีไซเคลิ วธิ กี ารจดั การตามแนวทาง zero waste ใหเ้ รมิ่ จากการคดิ กอ่ นวา่ เราจำ� เปน็ ตอ้ งสง่ั อาหารออนไลน์ หรอื ไม่ สามารถเดนิ ไปทานทโี่ รงอาหารหรอื รา้ นอาหารใกลบ้ า้ นหรอื ใกลท้ เี่ รยี นไดห้ รอื ไม่ จะไดไ้ มต่ อ้ งสรา้ ง ขยะบรรจุภัณฑ์ขึ้น ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ต้องส่ังออนไลน์ ก็ให้เลือกไม่รับสิ่งท่ีไม่จ�ำเป็น เช่น ช้อนส้อมพลาสติก เครือ่ งปรุงต่างๆ ส่วนกล่องอาหารพลาสติกประเภท PP รีไซเคลิ ไดก้ น็ �ำมากลั้วน้ำ� ท�ำความสะอาดแลว้ แยก ใสถ่ งุ ตา่ งหากสง่ ใหพ้ นกั งานเกบ็ ขยะหรอื นำ� ไปขายใหร้ า้ นรบั ซอื้ ของเกา่ หรอื นำ� ไปสง่ ตามจดุ รบั รไี ซเคลิ ของ ภาครฐั หรอื ภาคเอกชน สว่ นกลอ่ งอาหารพลาสตกิ ทร่ี ไี ซเคลิ ไมไ่ ดห้ รอื ขยะพลาสตกิ ใหก้ ลว้ั นำ้� แยกใสถ่ งุ สง่ ให้ กบั โครงการทร่ี บั ขยะกำ� พรา้ ไปจดั การ เชน่ นำ� ไปเปน็ พลงั งานทโ่ี รงปนู ซเี มนต์ นำ� ไปบดผสมทำ� ถนน เปน็ ตน้ ภาพที่ 13 ทางเลือกของการบริโภคแบบสร้างขยะ หรอื แบบลดขยะ ที่มา: เฟซบกุ๊ ลงุ ซาเล้งกบั ขยะทหี่ ายไป 76

เอกสารอา้ งองิ Jambeck, J. R. et al. (2015). Plastic waste inputs from land into the ocean. Science. 347, 768-771. GAIA (2019). Small town, big steps: the story of Kamikatsu, Japan. https:// zerowasteworld.org/wp-content/uploads/Japan.pdf SCG (2563). ถอดบทเรียน “การจดั การขยะ” ตามหลกั เศรษฐกจิ หมุนเวยี น: CHULA Zero Waste, https://www.scg.com/sustainability/circular-economy/ knowledge/knowledge_detail/48 UNEP (2015). Global Waste Management Outlook. https://www.unenviron ment.org/resources/report/global-waste-management-outlook Wikipedia: zero waste World Bank (2012). What a waste: A global review of solid waste manage ment. http://hdl.handle.net/10986/17388 Zaman, A.U. (2015). A comprehensive review of the development of zero waste management: lessons learned and guidelines. Journal of Cleaner Production. 91, 12-25. http://dx.doi.org/10.1016/j.jcle pro.2014.12.013 ZWIA, 2020. http://zwia.org/zwh/ ข้อมูลกรมควบคุมมลพษิ อ้างถึงใน https://news.thaipbs.or.th/content/290811 ศุภกิจ สุทธเิ รอื งวงศ์และสจุ ติ รา วาสนาดำ�รงดี (2562). ขอ้ เท็จจรงิ “พลาสตกิ ท่ีย่อยสลาย ไดใ้ นสิ่งแวดลอ้ มธรรมชาติ” (Environmentally Degradable Plastics: EDP). วารสารสง่ิ แวดลอ้ ม. ปที ่ี 23 (ฉบบั ที่ 2 เมษายน-มิถนุ ายน). http://www.ej.eric. chula.ac.th/content/6114/176 สจุ ติ รา วาสนาด�ำ รงดี (2563). “วิกฤตขยะพลาสติกในทะเล ปลุกคนไทยลดขยะพลาสติก”. ใน สุขภาพคนไทย 2563: สองทศวรรษ ปฏริ ปู การศกึ ษาไทย ความล้มเหลวและ ความสำ�เรจ็ . สถาบันวจิ ัยประชากรและสังคม มหาวทิ ยาลัยมหดิ ล. หนา้ 47-52. 77

บทที่ 6 แนวคิดโดยตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Thinking) 78

1. ความสำ� คญั ของการคดิ โดยตลอดวฏั จกั รชวี ติ กบั การแกป้ ญั หาสงิ่ แวดลอ้ ม อธบิ ายใหเ้ หน็ ความสำ� คญั ของการคดิ โดยตลอดวฏั จกั รชวี ติ ดงั ตวั อยา่ งรปู ท่ี 1 ตวั อยา่ งของการยา้ ย ทข่ี องปญั หาหากไมไ่ ดม้ หี ลักคดิ โดยตลอดวฏั จกั รชีวิต (Life cycle thinking) ดังตัวอยา่ งรปู รถยนต์ (ภาพ ที่ 1) คนั หนง่ึ เปน็ รถยนตท์ ใี่ ชน้ ำ�้ มนั แกส๊ โซลนี ทว่ั ไป และอกี คนั หนงึ่ เปน็ รถยนตไ์ ฟฟา้ พวกเราคดิ วา่ ใครไหน เปน็ มิตรตอ่ สิ่งแวดล้อม(หรอื มมี ลพษิ ) มากน้อยกวา่ กนั ? ภาพที่ 1 เปรียบเทยี บรถยนต์ท่วั ไป และรถยนตไ์ ฟฟ้า ซ่ึงคนสว่ นใหญอ่ าจคดิ วา่ รถยนต์ไฟฟ้านา่ จะเป็นมิตรต่อสงิ่ แวดลอ้ ม (มีมลพษิ น้อยกว่า) เพราะไมม่ ี มลพษิ ทางอากาศทเ่ี กดิ จากการเผาไหม้ ขณะทรี่ ถยนตท์ วั่ ไปตอ้ งมมี ลพษิ จากทอ่ ไอเสยี เนอื่ งจากการเผาไหม้ ของเชอ้ื เพลิง ค�ำถาม: แตท่ า่ นคิดวา่ ความคิดนจ้ี รงิ หรอื ไม่? แต่ค�ำตอบ: อาจไม่แนเ่ สมอไป เพราะหากเรา คดิ ถงึ วฏั จกั รชวี ติ จรงิ ๆ จะพบวา่ ถงึ แมร้ ถยนตไ์ ฟฟา้ จะไมใ่ ชน้ ำ้� มนั เชอ้ื เพลงิ เลยไมม่ มี ลพษิ จากการเผาไหมใ้ น เมอื งขณะใชร้ ถ แตอ่ ยา่ งไรกต็ ามไฟฟา้ ทนี่ ำ� มาใชใ้ นรถคนั ดงั กลา่ วกม็ าจากโรงไฟฟา้ ทตี่ งั้ อยนู่ อกเมอื งอยดู่ ซี งึ่ ก็มีการเผาไหม้เชือ้ เพลิงและปลอ่ ยมลพษิ ที่นอกเมอื งแทน ดงั นนั้ อันนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นถงึ ว่าหากเรามอง เฉพาะจุดเดียวปัญหาที่เราคิดว่าได้รับการแก้ไข ในความเป็นจริงมันอาจเป็นเพียงแค่การย้ายท่ีของปัญหา ไปสู่อีกจุดหนง่ึ ในวฏั จกั รชวี ติ เทา่ น้นั ภาพที่ 2 การยา้ ยที่ของปัญหา จากการใช้ไฟฟา้ 79

หมายเหตุ: ยังมีตัวอยา่ งกรณอี ืน่ ๆ เพ่อื การวเิ คราะห์ เช่น กล่องโฟมใสอ่ าหาร vs. กลอ่ งจากชานอ้อย กระทงชว่ งลอยกระทงแบบโฟม vs. แบบใบตอง แกว้ น้ำ�แบบใช้แล้ว ทิง้ vs. แก้วเซรามิก กระดาษเชด็ หน้า vs. ผา้ เช็ดหนา้ การใช้นำ้ �มันเชอื้ เพลงิ แกส๊ โซฮอล์ vs. แก๊สโซลนี (เบนซิน) การเลือกวธิ ีการเดินทางรูปแบบตา่ งๆ และอน่ื ๆ เพอื่ ให้ผเู้ รียนไดล้ องคดิ วิเคราะห์เพ่อื เปรยี บเทยี บ ดังนั้นเห็นได้ว่า ของเสียหรือมลภาวะท่ีเกิดข้ึนจากการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันท่ีปล่อยสู่ส่ิงแวดล้อม ในความเป็นจริงก็คือเกิดจากวัตถุดิบหรือพลังงานที่เราใส่เข้าไป เพียงแต่ไม่ได้รับการจัดอย่างเหมาะสม และต้องกลายเป็นภาระของเราท่ีต้องบ�ำบัดของเสียเหล่านั้นต่อไป หากให้เราลองนึกถึงของเสียทีเกิดขึ้น ในชีวิตประจ�ำวันก็จะพบวา่ มีอยูม่ ากมายอยู่ทว่ี ่า เราจะใช้คำ� วา่ อะไร เชน่ ขยะ น�้ำเสีย อากาศเสีย ของชำ� รุด บรรจภุ ัณฑ์ใชแ้ ลว้ ฝนุ่ น�้ำท้งิ ไอระเหย ของท่เี ตมิ แลว้ ลน้ วตั ถุดบิ ท่ีทง้ิ ไว้แล้วไมไ่ ด้ใชง้ าน อาหารท่หี มด อายุ ของทเ่ี ตมิ แลว้ ลน้ ทิ้ง และอ่ืนๆ เป็นตน้ เหลา่ นค้ี ือของเสียทเี่ ป็นภาระท่เี ราลว้ นต้องจดั การ แต่ในชีวติ จริงการด�ำเนินกิจกรรมในชีวิตประจ�ำวัน รวมถึงการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมใดๆ ไม่อาจมองหรือคิดแค่แก้ ปญั หาเฉพาะจดุ ใดจดุ หน่งึ 2. หลกั การคิดโดยตลอดวฏั จักรชีวติ ของผลติ ภณั ฑ์ การคิดโดยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ก็คือ การคิดวิเคราะห์เชิงระบบที่เราต้องมองถึง ผลิตภัณฑ์ท่ีเราใช้งานอยู่ หรอื กจิ กรรมท่เี ราทำ� อยู่อยา่ งเปน็ ระบบตั้งแต่ “เกิดจนตาย” ทีม่ ีการมองยอ้ นกับ ไปทตี่ ้นทางทม่ี าของสนิ ค้าท่ซี อื้ วา่ มายงั ไง วตั ถุดบิ มาจากไหน ผลติ ทไี่ หน และมองไปถงึ กลางทางระหว่าง ใช้งานว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง รวมถึงปลายทางเมื่อใช้งานแล้วจะเกิดของเสียหรือมีปัญหาต้องจัดการอย่างไร ตอ่ ไป ซึ่งขอบเขตอาจแบ่งไดอ้ อก 5 ช่วงหลกั ในวัฏจกั รชวี ิตที่ต้องพจิ ารณา ไดแ้ ก่ (1) การได้มาซ่ึงวตั ถุดบิ (2) การผลติ (3) การขนสง่ (4) การใชง้ าน (5) การก�ำจดั ซาก 80

ภาพที่ 3 แนวคดิ โดยวัฏจกั รชีวติ ซึง่ แบ่งเป็น 5 ช่วง หรอื บางครั้งอาจแบ่งปลีกยอ่ ยลงไปอกี ดังรูปท่ี 4 ก็คือ (1) การได้มาซ่ึงวัตถดุ บิ (2) การออกแบบ และการผลิต (3) บรรจุภณั ฑ์และการกระจายสินคา้ (4) การใชง้ านและการบำ� รงุ รักษา (5) การกำ� จดั ซ่งึ อาจเปน็ ไดห้ ลายแนวทางเชน่ การทำ� กลบั ไปใชซ้ ำ้� การนำ� กลบั ไปใชใ้ หม่ การนำ� ไปฝงั กลบหรอื การนำ� ไปเผา ทำ� ลาย เป็นตน้ ท้งั นี้การคดิ โดยตลอดวัฏจักรชีวิตขา้ งตน้ น้กี เ็ พอื่ ใหเ้ ห็นได้วา่ แตล่ ะช่วงในวฏั จักรชีวิตจะมี โอกาสเกดิ ปญั หาสงิ่ แวดลอ้ มอะไรเกดิ ขน้ึ ไดบ้ า้ ง และจะแกไ้ ขอยา่ งไรตอ่ ไป หรอื ถา้ แกท้ จี่ ดุ หนง่ึ แลว้ ปญั หา มนั จะไม่ยา้ ยท่ีไปสอู่ กี จุดหน่งึ ใช่หรอื ไม่ ดงั ตวั อยา่ งตอ่ ไปนี้ ภาพที่ 4 แนวคิดโดยวฏั จกั รชีวิตซง่ึ แบ่งเปน็ 5 ชว่ ง 81

3. ตัวอย่างการน�ำหลักคิดโดยตลอดวัฏจักรชีวิตไปใช้เพื่อการแก้ปัญหา ออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือการปรับปรงุ กระบวนการผลิต 3.1 ตวั อย่างกรณศี กึ ษาของกลอ่ ง (ลัง) กระดาษ หากพจิ ารณาโดยตลอดวฏั จกั รชวี ติ และปญั หาสงิ่ แวดลอ้ มทอี่ าจจะเกดิ ขน้ึ กจ็ ะเรม่ิ ตน้ ตงั้ แต่ (ดงั รปู ท่ี 5) เริ่มจาก (1) การไดม้ าซึง่ วตั ถุดบิ : การตัดไม้เพ่อื น�ำมาใช้ผลติ กระดาษ (2) การผลติ กระดาษ: การใชพ้ ลงั งาน การใช้น�้ำ การใช้สารเคมี และของเสยี ท่ีเกิดขน้ึ จากโรงงาน กระดาษ (3) การขนสง่ : การขนสง่ ลงั กระดาษ (พรอ้ มสนิ คา้ ) จากโรงงาน ไปรา้ นคา้ สง่ รา้ นคา้ ปลกี และลกู คา้ ซ่งึ ต้องใช้น้�ำมนั เชื้อเพลงิ ในการขนส่ง (4) การใช้งาน: ลูกคา้ สินคา้ ไปใชง้ าน (ลงั กระดาษบางคนอาจจะทง้ิ บางคนอาจจะเกบ็ ไวใ้ ชต้ อ่ แลว้ ค่อยท้งิ ) เกดิ เป็นขยะ (5) การกำ� จดั ซาก: ลงั กระดาษถกู ทง้ิ รวมๆไปกบั ขยะทว่ั ไป กจ็ ะถกู เกบ็ ไปฝงั กลบ แตห่ ากถกู คดั แยก ขายร้านขายของเก่าก็จะถูกน�ำไปรไี ซเคิล เม่ือคิดโดยตลอดวัฏจักรชีวิตของกล่องกระดาษ เราจะทราบถึงปัญหาส่ิงแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นใน แต่ละช่วง และจัดล�ำดับความส�ำคัญได้ว่าช่วงใดท่ีน่าจะมีปัญหามาและควรด�ำเนินการแก้ไข ดังเช่น การ ตัดไม้เป็นหนง่ึ ในปัญหาของการผลติ ลังกระดาษ เราจึงตอ้ งหาทางในการลดการตดั ไมก้ ค็ ือหาเยอ่ื กระดาษ กลับมารีไซเคลิ ใหไ้ ดม้ ากทส่ี ดุ หรือก็คือการ “Closing the loop” ก็จะเปน็ เกิดเป็นหนงึ่ ตัวอยา่ งของการ เกิดเศรษฐกจิ หมุนเวยี นขนึ้ เพื่อลดของเสยี และลดการใชท้ รัพยากรลงไดข้ องผผู้ ลิตกระดาษ ภาพที่ 5 ตวั อยา่ งการคิดโดยตลอด วัฏจกั รชีวติ ของกล่องกระดาษ 82

3.2 ตวั อยา่ งการออกแบบเพอ่ื ลดผลกระทบชว่ งการผลติ การบำ� รงุ รกั ษา และ การกำ� จดั ภาพท่ี 6 ตวั อย่างการลดผลกระทบชว่ งการผลิต การบ�ำรุงรักษา และการก�ำจดั ท่มี า: https://www.italianbark.com/e-waste-recycling-reduce-design-trend/ 3.3 ตัวอย่างการปรับปรุงช่วงการใช้งานของตู้เย็นเพ่ือลดผลกระทบ สิ่งแวดลอ้ ม ภาพท่ี 7 ตวั อยา่ งการลดผลกระทบชว่ งการใช้งานของต้เู ย็น 83

3.4 ตัวอยา่ งการใช้หลกั คิดเพื่อตดั สนิ ใจเลือกซื้อสนิ ค้า ภาพท่ี 8 ตวั อย่างการตัดสินใจซื้อสนิ คา้ เชน่ หลอดไฟฟ้าโดยพจิ ารณาตลอดวฏั จกั รชวี ติ 3.5 ตัวอยา่ งการการจัดการวัฏจกั รชีวติ ของเสื้อ T-Shirt ภาพที่ 9 ตัวอยา่ งการจัดการตลอดวฏั จักรชวี ิตของเส้อื T-Shirt 84

ซึ่งท้ังหมดน้ีก็กล่าวโดยสรุป ก็คือ “แนวคิดโดยตลอดวัฏจักรชีวิต” เป็นพ้ืนฐานท่ีส�ำคัญของการ ทำ� งานด้าน “Circular economy” เพราะการหมนุ เวียนท่ดี จี ะตอ้ งไม่ก่อใหเ้ กิดการยา้ ยทีข่ องปัญหาจาก จดุ หนง่ึ ไปสอู่ กี จดุ หนง่ึ หรอื ยา้ ยทข่ี องปญั หาสงิ่ แวดลอ้ มเรอื่ งหนงึ่ ไปเปน็ ปญั หาสงิ่ แวดลอ้ มหรอื ปญั หาสงั คม เรอ่ื งอนื่ รวมถงึ ยงั มคี วามสำ� คญั สำ� หรบั การนำ� ไปใชง้ านของทกุ คน ทกุ ระดบั เพอื่ การตดั สนิ ใจเพอ่ื การพฒั นา ทย่ี ง่ั ยืน เอกสารอ้างอิง Gheewala, S.H., Silalertruksa, T. 2020. Life cycle thinking in circular economy. EC (2015). A European Strategy for Plastics in a Circular Economy. European Commission. pp. 1-22. ISO, 2006a. ISO 14040:2006 Environmental management — Life cycle assessment — Principles and framework, International Organization for Standardization Silalertruksa, T., Pongpat, P., Gheewala, S.H., 2017. Life cycle assessment for enhancing environmental sustainability of sugarcane biorefinery in Thailand, Journal of Cleaner Production, Vol. 140, Part 2, pp.906-913 Gujba, H., Azapagic, A., 2011. Carbon Footprint of Beverage Packaging in the United Kingdom. M. Finkbeiner (ed.), Towards Life Cycle Sustainability Management, DOI 10.1007/978-94-007-1899-9_37, pp.381-389 เอกสารประกอบการอ่านเพิม่ เตมิ Stahel, W.R., 2019. The Circular Economy: A User’s Guide, Routledge 85

บทที่ 7 แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 86

1. บทน�ำ ประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มจ�ำนวนสูงขึ้น ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรเพิ่มมากข้ึน ในขณะท่ีฐาน ทรพั ยากรธรรมชาตมิ อี ยอู่ ยา่ งจำ� กดั และลดลงอยา่ งตอ่ เนอื่ ง จนมคี วามเสย่ี งทจ่ี ะหมดลงในอนาคตอนั ใกล้ มี การคาดการณว์ า่ ในอนาคตประชากรโลกจะเพมิ่ ขน้ึ เปน็ จำ� นวนประมาณ 8 พนั ลา้ นคน ภายในปี ค.ศ. 2030 และมากกวา่ 9 พันลา้ นคน ภายในปี ค.ศ. 2050 ทำ� ใหม้ ีความตอ้ งการผลติ ภณั ฑแ์ ละบริการท่ีเพิ่มขน้ึ ซึ่งผล ทีต่ ามมาคือการแย่งชงิ ท่ีดนิ น�ำ้ และพลังงานจะทวคี วามรุนแรงขนึ้ ขณะทีผ่ ลกระทบของการเปลีย่ นแปลง สภาพภมู ิอากาศกจ็ ะมแี นวโนม้ ทรี่ นุ แรงเพิ่มมากข้นึ ดว้ ย รปู แบบการผลิตและการบริโภคท่ีใชท้ รพั ยากรธรรมชาติและพลังงานมากข้นึ กอ่ ใหเ้ กิดปญั หาการ ขาดแคลนวัตถุดิบ รวมถึงปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยตามมา ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานท่ีใช้ใน ปัจจุบันสว่ นมาก เปน็ แบบทใี่ ชแ้ ลว้ หมดไป (Non-renewable) และมอี ยอู่ ยา่ งจำ� กดั ความพยายามในการ แสวงหาแหลง่ ทรพั ยากรทดแทนในสว่ นทใี่ ชห้ มดไป ยงั คงไมเ่ พยี งพอตอ่ ความตอ้ งการ แมว้ า่ ของเสยี หรอื ขยะ มลู ฝอยทเ่ี กดิ ขนึ้ จากการบรโิ ภคบางสว่ นสามารถนำ� กลบั มาใชป้ ระโยชนใ์ หมไ่ ด้ แตส่ ว่ นทไ่ี มส่ ามารถนำ� กลบั มาใช้ประโยชนใ์ หมย่ ังไมไ่ ด้รับการกำ� จัดหรือบ�ำบดั อย่างถูกวิธี จึงตกคา้ งอยู่ในสิง่ แวดลอ้ มและท�ำใหร้ ะบบ นเิ วศเสือ่ มโทรมในระยะยาว แนวคดิ เศรษฐกจิ หมนุ เวยี น (Circular Economy) นบั เปน็ ทางเลอื กใหมท่ สี่ ามารถพฒั นาเศรษฐกจิ ประเทศไปสู่ความยัง่ ยืน เป็นท่ยี อมรบั และมกี ารขับเคลื่อนท้งั จากภาครฐั และภาคธุรกจิ ทวั่ โลก ภาคธุรกจิ ในประเทศท่ีพัฒนาแล้วเริ่มหันมาใช้นโยบายดังกล่าวด้วยการเปล่ียนวัฏจักรทางธุรกิจของตนให้หมุนเวียน ดว้ ยตวั เองใหไ้ ด้มากที่สดุ และเปน็ ไปได้วา่ เศรษฐกิจหมนุ เวยี น จะเขา้ มาแทนท่รี ะบบเศรษฐกจิ แบบเดิมท่ี เป็นแบบเส้นตรง (Linear Economy) ท่ีอยูบ่ นพื้นฐานของการ “รับมา (take) ทำ� (make) ใช้ (use) ทงิ้ (dispose)” สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) ได้ระบุว่า การมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน จะก่อให้เกิดการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม เกิดการสร้างงาน และขับเคล่ือนเศรษฐกิจให้ เจริญเตบิ โต นบั เปน็ หัวใจสำ� คญั ในการแกป้ ัญหาดา้ นทรพั ยากรและผลกระทบต่อสง่ิ แวดล้อมในระยะยาว1 อกี ทง้ั ยงั สามารถตอบสนองตอ่ เปา้ หมายการพฒั นาอยา่ งยงั่ ยนื ขององคก์ ารสหประชาชาตใิ นหวั ขอ้ ที่ 8 การ สง่ เสริมการเจริญเตบิ โตทางเศรษฐกจิ ทย่ี ง่ั ยนื (Decent Work and economic growth) หัวข้อท่ี 12 การ ผลิตและการบริโภคทมี่ ีความรบั ผิดชอบ (Responsible consumption and production) หัวข้อท่ี 13 การดำ� เนินการอย่างเร่งดว่ นเพอ่ื แก้ปญั หาโลกรอ้ น (Climate action) และหัวข้อที่ 15 การสง่ เสริมการ ใชป้ ระโยชนท์ ีย่ ัง่ ยืนของระบบนเิ วศบนบก (Life on land) 87

2. เศรษฐกิจหมนุ เวียนคอื อะไร เดมิ ระบบการผลิตและการบรโิ ภคของโลกเป็นรปู แบบของเศรษฐกจิ เส้นตรง (Linear Economy) มีการสกดั เอา (take) ทรัพยากร ธรรมชาติ / วตั ถดุ บิ มาผลิต (make) เป็นผลติ ภณั ฑ์ จากน้ัน ผู้บรโิ ภคน�ำ มาใช้งาน (use) และเมอื่ ผลติ ภณั ฑ์หมดสภาพการใช้งานกจ็ ะถกู ท้ิง (dispose) เปน็ ขยะมูลฝอย (waste) ในทส่ี ุด ตอ่ มา เมอื่ โลกเผชญิ หนา้ กบั ปญั หาขยะมลู ฝอยถกู ทงิ้ จำ� นวนมากและมกี ารจดั การอยา่ งไมถ่ กู วธิ ี สง่ ผลกระทบตอ่ สุขภาพและสงิ่ แวดลอ้ ม ทำ� ใหเ้ กิดแนวคดิ ในการน�ำผลิตภัณฑ์ท่ีหมดสภาพการใชง้ านกลับมา รีไซเคลิ (recycle) ทมี่ า: https://geogjon.weebly.com/resource-stewardship-circular-economy.html ผลติ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อลดการเกิดขยะและการใช้ทรัพยากร รูปแบบเศรษฐกิจนี้เรียกว่าเศรษฐกิจรีไซเคิล (Recycling Economy) ซ่ึงยงั กอ่ ให้เกิดขยะมลู ฝอยจำ� นวนมากอยู่ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก การขยายตัวของเศรษฐกิจที่พ่ึงพิงฐาน ทรัพยากรธรรมชาติท�ำให้เกิดการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติและการเส่ือมถอยของสภาพแวดล้อม ก่อ ให้เกิดแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน ซ่ึงไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวคิดท่ีต้องการรักษาส่ิงแวดล้อมและสังคม เท่านั้น แต่ยังสามารถน�ำมาสร้างผลประโยชนท์ างเศรษฐกจิ ไดอ้ กี ดว้ ย “เศรษฐกิจหมนุ เวียน คือ แนวคิดเชิงระบบในการออกแบบกระบวนการ ผลิตภัณฑ์/บริการ และ รูปแบบธุรกิจ ด้วยการจัดการผังการไหลของทรัพยากรให้เกิดการหมุนเวียนและการลดของเสียได้อย่างมี ประสทิ ธิภาพมากขนึ้ จนน�ำไปสูก่ ารไม่มขี องเสยี ตลอดจนผลักดนั ให้ธุรกจิ เตบิ โตทางอย่างยัง่ ยืน ในบริบท ขององคก์ ร” 88

หลกั การสำ� คญั ของเศรษฐกจิ หมนุ เวยี น คอื การใชท้ รพั ยากรใหเ้ กดิ ประสทิ ธภิ าพสงู สดุ และสามารถ หมุนเวยี นกลบั มาใชใ้ หมไ่ ด้ โดยใช้ประโยชนข์ องผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบ และวัสดุ อย่างสงู สดุ ด้วยวธิ กี าร ที่เหมาะสม เช่น การใช้ซ�้ำ การซ่อมแซม การปรับปรุงใหม่ การผลิตใหม่ การแปรใช้ใหม่ การออกแบบ กระบวนการ รวมถึงการพัฒนารูปแบบธุรกิจและนวัตกรรม รวมถึงมีการตามติดตามผลเพื่อจัดการให้ ผลิตภัณฑ์และวัสดหุ มนุ เวยี นอย่ภู ายในระบบ มูลนิธิเอเลน แมค อารเ์ ธอร์ (Ellen MacArthur Foundation: EMF) นบั เป็นองค์กรท่มี บี ทบาท สำ� คญั ในขบั เคลอื่ นเศรษฐกจิ หมนุ เวยี นไปสภู่ าคธรุ กจิ ตลอดจนชว่ ยผลกั ดนั นโยบาย ขยายองคค์ วามรู้ และ สรา้ งเครอื ขา่ ยเชื่อมโยงชมุ ชนการศึกษาในเรอ่ื งดงั กลา่ วเข้าด้วยกัน มูลนิธิเอเลน แมค อารเ์ ธอร์ ไดเ้ สนอ แนวคิดวฎั จักรทางชวี ภาพและวัฎจกั รทางเทคนิคเข้าในระบบเศรษฐกิจหมนุ เวียน (ภาพท่ี 2) ส�ำหรับวัฎจักรทางเทคนคิ เป็นการจดั การคลังทรพั ยากร (Stock Management) กล่าวคอื วสั ดุ ต่างๆ ทใี่ ช้งานได้ ไม่ควรถกู ท้งิ เปน็ ของเสยี แต่ควรมีการจดั การ/รวบรวม ใหส้ ามารถใชเ้ ปน็ วตั ถุดิบทยี่ ังมี คณุ คา่ ไปสผู่ ผู้ ลติ ชน้ิ สว่ น ผผู้ ลติ ผลติ ภณั ฑ์ และผใู้ หบ้ รกิ าร ผา่ นการรไี ซเคลิ การปรบั ปรงุ ใหม่ (Refurbish) การผลิตใหม่ (Remanufacture) การใชซ้ ้ำ� (Reuse) การกระจายวตั ถดุ ิบใหม่ (Redistribute) การบ�ำรุง รกั ษา (Maintain) การยืดอายุ (Prolong) และการแบง่ ปนั (Share) เพอื่ ใหเ้ กิดการร่วั ไหลไปนอกระบบให้ นอ้ ยที่สุดและเกดิ ผลกระทบนอ้ ยทีส่ ดุ ส่วนวัฎจักรทางชีวภาพ เป็นการจัดการการไหลของทรัพยากรหมุนเวียน (Renewable flow management) ผา่ นการใชใ้ หม่ตามสภาพ (Cascade) การนำ� ไปเปน็ ปุ๋ยในไรน่ า การสกัดสารเคมีชวี ภาพ (Biochemical feedstock) การหมกั ยอ่ ยแบบไรอ้ ากาศ (Anaerobic digestion) เพอ่ื ผลติ กา๊ ซชวี ภาพ (Bi- ogas) การสรา้ งทรพั ยากรทดแทนใหแ้ กโ่ ลก (Regenerate) ทงั้ นี้ สามารถจดั การใหว้ สั ด/ุ วตั ถดุ บิ หมนุ เวยี น การใช้ประโยชน์ได้ภายในวัฏจกั รทางชีวภาพหรอื วัฏจกั รทางเทคนิค โดยไม่จำ� เปน็ วา่ มีก�ำเนดิ จากทใี่ ด ภาพท่ี 2 ภาพรวมแนวคดิ วฎั จกั รทางชวี ภาพและวัฎจักรทางเทคนิค (อา้ งจาก Ellen MacArthur Foundation) 89

เศรษฐกจิ หมนุ เวยี น จงึ เปน็ เรอื่ งของการปรบั วธี คี ดิ ใหส้ ามารถจดั การทรพั ยากรเพอ่ื เพม่ิ ผลประโยชน์ ทางการเงนิ สงิ่ แวดลอ้ ม และสงั คม ทงั้ ในระยะสนั้ และระยะยาว ใหเ้ ชอื่ มโยงและสมั พนั ธก์ บั การใชท้ รพั ยากร อย่างมปี ระสิทธิภาพ การไมม่ ขี องเสยี และแนวคดิ เศรษฐกจิ ชีวภาพ การใช้ทรพั ยากรอยา่ งมีประสิทธภิ าพ คือ การใช้ทรพั ยากร/วสั ดอุ ยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ ป้องกันการ เกิดของเสีย การลดสิ่งท่ีเป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยท่ีสุด ผลิต ได้มากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรและพลังงานน้อยลง ตลอดจนสามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการอย่างมี ประสทิ ธิผลและเหมาะสมตลอดวฏั จกั รชวี ติ ทง่ี ่ายและเปน็ ระบบ การลดผลกระทบตอ่ สง่ิ แวดล้อมจากการ บริโภคและการผลิตผลติ ภัณฑแ์ ละบริการ ต้งั แต่การไดม้ าซึง่ วตั ถุดิบจนถึงการใช้ขนั้ สดุ ท้ายและการกำ� จดั การไมม่ ีของเสีย เปน็ การกำ� หนดเป้าหมาย สง่ เสรมิ และออกแบบระบบการผลติ และบริการให้ใช้ ทรัพยากรโดยคำ� นึงถงึ ผลกระทบตลอดท้งั วัฏจักรชวี ิต วัสดุและผลติ ภณั ฑ์ต่างๆ ในระบบฯ ต้องสามารถนำ� กลับมาใชซ้ �ำ้ หรือรไี ซเคิลได้ แตไ่ มส่ นับสนุนให้น�ำของเสยี ไปใชเ้ ปน็ พลงั งาน นำ� ไปเผาหรือฝงั กลบ ในทาง ปฏบิ ัตอิ าจไมส่ ามารถน�ำหลักการนีไ้ ปประยุกตใ์ ช้กับของเสยี ทัง้ หมดได้ ทัง้ นี้ อาจมกี ารอา้ งว่าไมม่ ขี องเสยี และหลีกเล่ียงการน�ำของเสียไปฝังกลบโดยน�ำไปเผาเพ่ือผลิตพลังงาน หรือ อาจมีการรายงานของเสียที่ เกดิ ขน้ึ ไมค่ รบถว้ นตลอดโซอ่ ปุ ทาน การนำ� หลกั การไมม่ ขี องเสยี มาใชใ้ นบางกรณอี าจไมส่ ามารถชว่ ยใหเ้ กดิ การหมนุ เวียนทรพั ยากรมากขึ้น แตห่ ากใช้อย่างถกู ต้อง จะชว่ ยใหส้ ามารถปรบั เปล่ยี นการด�ำเนินธุรกิจไป สู่เศรษฐกจิ หมนุ เวียนได้ เศรษฐกจิ ชีวภาพ หมายถึง เศรษฐกจิ ซ่งึ ใช้ทรัพยากรท่มี าจากธรรมชาติทัง้ บนบกและในทะเล (พืช ผล ป่า ปลา สตั ว์ และจุลนิ ทรยี )์ ทีส่ ามารถหมุนเวยี นได้ เพ่อื ผลิตอาหารและพลงั งาน ทรพั ยากรชีวภาพ สามารถนำ� ไปใชห้ รอื ใชซ้ ำ�้ เพอื่ ผลติ ผลติ ภณั ฑ์ สว่ นประกอบ หรอื วสั ดใุ หม่ (เชน่ กระดาษ/การด์ ) หรอื คนื กลบั สู่โลกของสิ่งมชี วี ิตเพ่ือสร้างต้นทุนธรรมชาติขนึ้ ใหม่ (เชน่ โดยกระบวนการหมกั ยอ่ ย การย่อยสลายแบบไม่ ใชอ้ ากาศ) เศรษฐกิจหมนุ เวยี นจึงครอบคลมุ ทง้ั ทรัพยากรหมนุ เวยี นและทรัพยากรทีใ่ ช้แลว้ หมดไป ในทาง ปฏบิ ัติ ทรัพยากรชีวภาพมกั ถกู ใช้หมดเรว็ กว่าระยะเวลาทีจ่ ะสามารถเกิดข้นี ใหม่ และอาจไม่ถูกหมนุ เวยี น สู่ธรรมชาติเพือ่ ใหค้ นื สู่สภาพเดมิ อย่างเหมาะสม อยา่ งไรก็ตาม เศรษฐกิจชีวภาพท่ีสามารถหมุนเวียนไดจ้ ะ มีบทบาทส�ำคัญในการปรับเปลยี่ นรปู แบบการใช้พลังงานฟอสซลิ และทรพั ยากรอ่นื ทใี่ ชแ้ ล้วหมดไป ในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและไม่มีของเสีย มีหลักการตาม The 9R Framework (Potting et al.) ดังนี้ 90

กลยทุ ธ์ เศรษฐกจิ R0 Refuse ทำ� ให้ผลิตภัณฑ์สามารถนำ� ไปใช้งาน หมนุ เวยี น การใช้ หลีกเลย่ี งการเกดิ ของเสยี ในแบบอื่นหรือใชง้ านแบบเดมิ ใน เศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์ R1 Rethink เส้นตรง ผลิตภัณฑอ์ ืน่ ทำ� ใหผ้ ลิตภณั ฑ์สามารถใช้ประโยชน์ และการผลิต คิดใหม่ ได้อย่างเข้มขน้ (เชน่ การแบง่ ปนั การ อยา่ งง R2 Reduce ใช้งานผลิตภัณฑ)์ ชาญฉลาด ลดการใช้หรือบรโิ ภค เพม่ิ ประสิทธิภาพในการผลติ หรือใช้ ผลิตภณั ฑ์โดยใชท้ รัพยากรธรรมชาติ R3 Reuse หรอื วตั ถดุ บิ ให้น้อยลง ใช้ซำ้� โดยนำ� ผลติ ภณั ฑ์ท่ผี บู้ รโิ ภคอื่น ใชซ้ ำ้� ทง้ิ แล้วแต่ยงั สามารถใชง้ านได้อยู่ มา R4 Repair ซอ่ มแซม ใชใ้ ห้เกิดประโยชน์ ซ่อมแซมหรอื ซอ่ มบ�ำรงุ ผลติ ภณั ฑ์ สภาพหมุนเ ีวยนเพิ่ม ้ขึน ที่ชำ� รดุ เสยี หาย ให้กลบั มาใช้งานได้ การยืดอายุ R5 Refurbish ตามหนา้ ท่ี การใช้งานของ การคืนสภาพผลิตภัณฑเ์ ก่าใหก้ ลบั มา ปรบั ปรุงใหม่ ผลิตภัณฑ์ R6 Remanufacturing ใชง้ านไดใ้ หม่ การใชช้ ิ้นส่วนแบบเดยี วกันท่ียัง และชนิ้ ส่วน ผลติ ใหม่ สามารถใช้งานไดข้ องผลติ ภณั ฑท์ ่ีทงิ้ แลว้ ในผลติ ภณั ฑ์ใหม่ท่มี ีลักษณะการ R7 Repurpose ใชง้ านเดียวกนั การใชผ้ ลติ ภณั ฑห์ รอื ช้ินสว่ นทท่ี ง้ิ แล้ว เปลีย่ นวัตถปุ ระสงคใ์ หม่ ในผลิตภัณฑใ์ หมท่ ่มี ีลักษณะใช้งาน R8 Recycle ต่างจากเดิม การนำ� มาผ่านกระบวนการให้เป็น การใช้ รไี ซเคลิ วัตถุดิบที่มคี ุณภาพเหมือนเดิม ประโยชนจ์ าก (วัตถดุ บิ เกรดสงู ) หรอื คณุ ภาพตำ่� ลง คุณลกั ษณะ (วตั ถุดิบเกรดตำ�่ ) ของวตั ถุดบิ R9 Recover การเผาวัสดุเพอ่ื ใชเ้ ปน็ พลังงาน ฟนื้ คนื สภาพ ท่มี า: แปลจาก The 9R Framework. Potting et al. (2017, p.951)

3. ความสำ� คญั และประโยชน์ของเศรษฐกจิ หมุนเวียน เศรษฐกิจหมุนเวียน มีเป้าประสงค์เพ่ือขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจโลกให้สามารถเติบโตได้ในระยะ ยาวและมีศักยภาพท่ีจะช่วยให้เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจพร้อมกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิง แวดลอ้ มใหเ้ กิดความอดุ มสมบรู ณ์ ตลอดจนสนบั สนนุ การรับมอื กับการเปลย่ี นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ รวม ถึงผลกระทบอาจทเี่ กดิ ขน้ึ ตามมา นอกจากน้ี เศรษฐกจิ หมนุ เวียน ยงั ผลกั ดันใหเ้ กดิ นโยบายและกฎหมาย ใหม่ โดยเฉพาะในเรอ่ื งการจัดการขยะ (เช่น ทางเลอื กนโยบายการป้องกนั ทต่ี น้ ทางหรอื การนำ� กลับมาใช้ ซ�้ำ) ซึ่งกำ� ลังไดร้ ับความสนใจและดำ� เนนิ การโดยภาครฐั ทัว่ โลกเพิ่มขึ้นอยา่ งตอ่ เน่ือง 1. ประโยชน์ระดับมหภาค 1.1) ลดการพง่ึ พาการหาวัตถดุ บิ ปฐมภมู ิใหมๆ่ เนื่องจากมีการหมุนเวียนวัสดใุ ห้อยู่ในวัฏจกั รทัง้ ใน ทอ้ งถนิ่ และในเขตพน้ื ทท่ี างภมู ศิ าสตร์ ชว่ ยลดความผนั ผวนของราคาสนิ คา้ ซงึ่ เปน็ ความเสย่ี งหลกั ของธรุ กจิ ที่ตอ้ งพึง่ พาการนำ� เข้า และช่วยให้ระบบเศรษฐกิจสามารถฟน้ื ตัวทางเศรษฐกจิ ไดด้ ขี ึ้น 1.2) ลดปัญหาด้านวัสดุและพลังงานท่ีมีอยู่อย่างจ�ำกัดและส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ ทำ� ให้องค์กรสามารถขยายการเจรญิ เติบโตตอ่ ไปยงั ตลาดท่ีเกดิ ใหม่ นอกจากน้ี กรณศี ึกษาในสหภาพยโุ รป ยงั ชใี้ หเ้ หน็ วา่ รปู แบบของการหมนุ เวยี นทมี่ ากขนึ้ จะมแี นวโนม้ ผลกระทบตอ่ การจา้ งงานสทุ ธทิ เี่ ปน็ บวก โดย แตล่ ะอตุ สาหกรรมและภูมภิ าคเกิดผลกระทบเชิงบวกในขอบเขตทแ่ี ตกตา่ งกัน 1.3) รกั ษาตน้ ทนุ ธรรมชาตแิ ละลดผลกระทบจากการเปลย่ี นแปลงสภาพภมู อิ ากาศ หลกั สำ� คญั ของ รปู แบบเศรษฐกจิ หมนุ เวยี นคอื การสรา้ งเงอื่ นไขทเี่ ออ้ื ตอ่ การรกั ษาและฟน้ื ฟสู ารทางชวี ภาพเพอ่ื สรา้ งตน้ ทนุ ธรรมชาตใิ ห้หมุนเวยี นกลบั มาใหม่ และยังช่วยลดผลกระทบเชงิ ลบจากภายนอก จากการศึกษาตา่ งๆ ช้ใี ห้ เหน็ วา่ เศรษฐกจิ หมนุ เวยี นสง่ เสรมิ ใหเ้ กดิ การลดกา๊ ซเรอื นกระจกในภาพรวมเมอ่ื เทยี บกบั กรณดี ำ� เนนิ ธรุ กจิ ตามปกติ 2. ประโยชนร์ ะดับจลุ ภาค 2.1) ลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนสุทธิของการผลิต การได้มาและการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการรูปแบบ ต่างๆ เช่น การใช้ซ้�ำ หรือการผลิตใหม่สามารถลดผลกระทบของวัสดุ พลังงาน หรือแรงงานได้ ในขณะ ท่ีก่อให้เกิดการใช้งานใหม่ ส�ำหรับทุกองค์กร การลดค่าใช้จ่ายสามารถท�ำได้ตั้งแต่ข้ันตอนการน�ำวัสดุเข้า (การจัดหาผลติ ภัณฑ์ สว่ นประกอบ และวสั ดทุ ี่มรี าคาถูกกวา่ ) และองคก์ รทอี่ ย่ใู นภาคการผลิตสามารถลด ค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตของตนเองได้ด้วย (ส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้ในราคาที่ต�่ำกว่า) จากการวิเคราะห์ พบว่าสามารถลดค่าใชจ้ า่ ยไดม้ ากกว่าตน้ ทุนการด�ำเนนิ การที่เพม่ิ ขึน้ (เชน่ การถอดประกอบชิ้นสว่ น และ การเปล่ยี นวัตถุประสงค์การใช้งานผลติ ภณั ฑ์) ทำ� ใหเ้ กิดผลตอบแทนทนี่ ่าดงึ ดูดใจในการลงทนุ เร่ิมแรก 2.2) สรา้ งนวตั กรรมและแหลง่ รายไดใ้ หม่ การนำ� หลกั การเศรษฐกจิ หมนุ เวยี นมาใชส้ ามารถรวบรวม นวตั กรรมและการออกแบบแนวคดิ ใหมๆ่ ทำ� ใหอ้ งคก์ รสามารถสรา้ งแหลง่ รายไดใ้ หมเ่ พมิ่ ขนึ้ เชน่ การเสนอ รูปแบบการให้บรกิ ารใหม่ (การซ่อมแซม การเชา่ ซอ้ื ) การสรา้ งมลู ค่าเพม่ิ จากผลพลอยได้ (เช่น จากเศษ อาหารเมอื่ ถูกแยกออกจากสง่ิ อ่นื ๆ) หรือการเขา้ ถงึ ตลาดใหม่ของผลิตภัณฑ์กอ่ นใชง้ าน หรือการผลิตใหม่ 92

(เช่น ตลาดเกดิ ใหม่ ผใู้ ห้บริการประกันภยั ) ทงั้ น้ี แหล่งรายได้ใหม่ดงั กล่าว อาจมคี า่ ใช้จา่ ยในการดำ� เนนิ การหรือการลงทุนท่ีเพิ่มขึ้นจากเดิม จึงควรมีการประเมินประโยชน์โดยรวมสุทธิ และควรระบุความเส่ียง ของการเปล่ียนแปลงสภาพตลาด เช่น ผลติ ภณั ฑ์ทน่ี �ำมาผลติ ใหม่ (Remanufactured product) ในบาง กรณีสามารถให้สว่ นต่างของกำ� ไรดีกว่าผลิตภณั ฑ์ใหม่ในช่วงราคาเดียวกนั 2.3) ปรบั ปรงุ ความสมั พนั ธก์ บั ลกู คา้ องคก์ รมโี อกาสทจี่ ะสรา้ งปฏสิ มั พนั ธก์ บั ลกู คา้ มากขน้ึ โดยจดั ให้ มโี ครงการรบั คนื และการปรับเปลีย่ นไปสู่รปู แบบการด�ำเนนิ ธุรกิจท่ีให้บริการมากข้นึ ซึง่ จะเป็นการเพ่ิมขดี ความสามารถในการรกั ษาฐานลกู คา้ ความภกั ดตี อ่ แบรนดข์ องสนิ คา้ และจำ� นวนเขา้ เยยี่ มชมหนา้ รา้ นหรอื หนา้ เวบ็ ไซต์ รูปแบบการหมุนเวียนท่เี พมิ่ ขน้ึ สามารถปรับปรุงความสัมพนั ธก์ ับลูกค้าและการทำ� ใหต้ ราสิน ค้าเปน็ ทร่ี ูจ้ ักและยอมรบั มากขึน้ ผลิตภณั ฑท์ อี่ อกแบบโดยคำ� นงึ ถงึ เศรษฐกจิ หมนุ เวียนน้นั จะมีอายุการใช้ งานทม่ี ากขนึ้ และมคี ณุ ภาพสงู ขน้ึ ในขณะทรี่ ปู แบบบรกิ ารโดยคำ� นงึ ถงึ เศรษฐกจิ หมนุ เวยี นนนั้ จะสามารถสง่ มอบงานบริการท่ีสะดวกมากขนึ้ (เช่นการบำ� รงุ รักษาตามปกติ และกรณีที่เกดิ การเสียหายฉุกเฉนิ บคุ คลที่ สามจะเปน็ คนจดั การ) อยา่ งไรกต็ าม ในระยะแรกของการนำ� ไปสกู่ ารปฏบิ ตั ิ องคก์ รอาจตอ้ งเผชญิ กบั ความ ทา้ ทายในประเดน็ การปรบั เปลยี่ นพฤตกิ รรมทเี่ คยชนิ ของผบู้ รโิ ภค (เชน่ การแยกผลติ ภณั ฑบ์ างอยา่ งเพอื่ สง่ คนื ผา่ นโครงการรบั คนื แบบมสี งิ่ จงู ใจ) รวมถงึ การสรา้ งการรบั รแู้ ละยอมรบั (เชน่ โครงการใหเ้ ชา่ อาจถกู มอง ว่าเปน็ การลดอสิ ระหรอื แพงขึ้นในระยะยาว) ซึง่ ตอ้ งมีการประเมนิ ตลาดท่ีเหมาะสมเพอื่ ให้สามารถสอ่ื สาร และสง่ เสรมิ การตลาดได้อย่างเพยี งพอ รวมถึงสรา้ งประสบการณท์ ด่ี ีใหแ้ ก่ผูใ้ ชง้ าน (เชน่ เพอ่ื ลดความร้สู กึ ซบั ซ้อนของรูปแบบการบริการแบบใหม)่ 2.4) การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจขององค์กรท่ีดีข้ึนจากการลดการพ่ึงพาการน�ำเข้าหรือจัดหาวัตถุดิบ ปฐมภมู ใิ หม่ๆ และความทา้ ทายอนื่ ท่ีเกยี่ วขอ้ ง เช่น ความกดดนั จากด้านอปุ ทานและราคาหรอื ความเส่ยี ง ทางการเมืองสงั คม และส่ิงแวดลอ้ มในวงกวา้ ง 4. การน�ำเศรษฐกิจหมนุ เวียนไปส่กู ารปฏิบัติ การน�ำเศรษฐกิจหมุนเวียนไปสู่การปฏิบัติ เป็นการสร้างคุณค่าทางธุรกิจในระยะยาวด้วยการ จัดการทรพั ยากรทย่ี งั่ ยนื ในการผลิตผลิตภณั ฑแ์ ละการให้บริการ ประกอบดว้ ยหลักการส�ำคญั 6 ประการ (ภาพที่ 3) ได้แก่ 93

ภาพท่ี 3 หลกั การเศรษฐกจิ หมนุ เวียน (อา้ งจาก มตช. 2-2562) 4.1 การคดิ เชิงระบบ (Systems thinking) หลักการ องค์กรควรเข้าใจถึงผลกระทบในวงกว้างท่ีเกิดจากกิจกรรมขององค์กร เข้าใจถึงการ สรา้ งคุณคา่ ขององคก์ รและความสามารถในการแทรกแซง “ระบบ” เพือ่ ใหอ้ งค์กรมอี ิทธิพลต่อการจดั การ ทรพั ยากรอย่างยงั่ ยนื ในพอร์ตโฟลิโอของผลิตภัณฑแ์ ละบรกิ าร เชน่ การระบุชน้ิ สว่ น สว่ นประกอบท้งั หมด และข้อมูลวตั ถุดบิ ท่เี ก่ียวขอ้ งในการน�ำผลติ ภัณฑอ์ อกส่ตู ลาด การคดิ อยา่ งเป็นระบบ ชว่ ยใหอ้ งคก์ รจดั การ กบั ความเปลย่ี นแปลงและความซบั ซอ้ นไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพมากขน้ึ อกี ทงั้ ยงั ชว่ ยระบผุ ลกระทบในระยะ ยาวทอี่ าจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจและจากกิจกรรมต่างๆ 4.2 นวัตกรรม (Innovation) หลกั การ องคก์ รควรพฒั นานวตั กรรมอยา่ งตอ่ เนอื่ ง โดยคำ� นงึ ถงึ การใชท้ รพั ยากรอยา่ งยง่ั ยนื ตงั้ แต่ การออกแบบกระบวนการผลิต ผลติ ภณั ฑ/์ บรกิ าร และรปู แบบธุรกิจ 4.3 การดูแลรับผิดชอบ (Stewardship) หลกั การ องคก์ รควรรบั ผดิ ชอบตอ่ การตดั สนิ ใจและการดำ� เนนิ กจิ กรรมทกุ อยา่ งตง้ั แตเ่ รมิ่ ตน้ จนสน้ิ สดุ ทง้ั ทางตรงและทางออ้ ม ซง่ี อาจรวมถงึ สง่ิ ทเี่ กดิ ขนึ้ ทง้ั ในโซอ่ ปุ ทานและทต่ี วั ลกู คา้ โดยตอ้ งคำ� นงึ ถงึ ปญั หา ทางเศรษฐกจิ สิ่งแวดล้อม และสังคมทงั้ ในปจั จุบันและที่คาดว่าจะเกดิ ข้นึ ในอนาคต เช่น ในกรณขี องการ พฒั นาผลติ ภณั ฑ์ องคก์ รควรคำ� นงึ ถงึ ผลกระทบตอ่ สง่ิ แวดลอ้ มและสงั คม ตง้ั แตเ่ รม่ิ กระบวนการตน้ นำ้� และ 94

การได้มาซึง่ วัสดุ ไปจนถงึ กระบวนการปลายน�ำ้ ซ่ึงเก่ียวข้องกับการใชผ้ ลิตภัณฑ์ และการจดั การหลังการ ใช้งาน 4.4 ความรว่ มมอื (Collaboration) หลักการ องคก์ รควรมคี วามรว่ มมือกนั ทง้ั ภายในและภายนอกองคก์ ร เพื่อรกั ษาผลประโยชน์และ สร้างคุณค่าทางธุรกิจร่วมกัน ความส�ำเร็จของการท�ำงานร่วมกันน้ันเกิดจากการสร้างความเชื่อมั่นและไว้ วางใจซง่ึ กนั และกนั การสอื่ สารทมี่ ปี ระสทิ ธภิ าพ วสิ ยั ทศั น์ และการกำ� หนดวตั ถปุ ระสงคร์ ว่ มกนั ซง่ึ สามารถ ใชไ้ ด้ท้งั ภายในและภายนอกองค์กร 4.5 คณุ ค่าท่เี หมาะสม (Value Optimization) หลักการ องค์กรควรทำ� ให้ผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบ และวัตถุดิบ เกิดคุณค่าและการใช้ประโยชน์ สูงสุด ผ่านการพิจารณาปัจจัยหรือความเส่ียงท่ีอาจสร้างผลกระทบหรือความสูญเสียต่อระบบในอนาคต รวมถึงการบง่ ช้ีโอกาสในการพฒั นาศักยภาพ เช่น การประหยัดคา่ ใชจ้ ่าย (การเข้าถงึ วัสดุราคาถกู และลด ต้นทนุ การจดั การขยะ) หรอื กระแสรายไดใ้ หม่ (การจัดหาผลติ ภณั ฑ์ สว่ นประกอบ และวัสดุเพิม่ เติม) หรอื การลดปริมาณผลติ ภัณฑ์ การขายท่ีลดลง (การปรับปรงุ ความสมั พันธ์กับลูกค้า) การเพม่ิ คณุ ค่าของวสั ดุ สามารถด�ำเนนิ การได้ 3 วธี ี ไดแ้ ก่ วิธที ี่ 1 วสั ดทุ ถ่ี กู มองวา่ เปน็ ของเสยี ทงั้ จากขน้ั ตอนการผลติ หรอื หลงั การใชง้ าน สามารถนำ� กลบั ไป ใชง้ านอน่ื แตอ่ าจตอ้ งปรบั แตง่ ในกระบวนการผลติ และการออกแบบ เชน่ การลดจำ� นวนเกรด หรอื ประเภท ของวสั ดทุ ใี่ ชเ้ พอ่ื ให้เกดิ การประหยัดต่อขนาด วิธที ่ี 2 วสั ดทุ ไี่ ดจ้ ากทรพั ยากรธรรมชาติ ควรยดื อายกุ ารใชง้ านของผลติ ภณั ฑใ์ หย้ าวขน้ึ หรอื ใชบ้ อ่ ย ครงั้ ผา่ นการออกแบบหรอื ใชว้ สั ดทุ คี่ งทนในการผลติ การพฒั นาโลจสิ ตกิ สย์ อ้ นกลบั และพฒั นากระบวนการ ให้ดขี น้ึ วธิ ีที่ 3 พน้ื ทหี่ รอื อปุ กรณท์ เี่ หลอื อยู่ อาจนำ� มาใชป้ ระโยชนใ์ หมภ่ ายในองคก์ ร หรอื ระหวา่ งธรุ กจิ กบั ธุรกจิ (B2B) ธุรกจิ กับผบู้ ริโภค (B2C) และผู้บรโิ ภคกับผ้บู ริโภค (C2C) โดยอาจมีบุคคลท่ีสามเขา้ มาเป็นผู้ อ�ำนวยความสะดวกในกระบวนการเหลา่ นใ้ี นบางครัง้ 4.6 ความโปรง่ ใส (Transparency) หลกั การ องคก์ รควรเปดิ เผยผลการตดั สนิ ใจและการดำ� เนนิ กจิ กรรมตา่ งๆ ทสี่ ง่ ผลตอ่ ความสามารถ ในการปรบั เปลย่ี นไปสรู่ ปู แบบการดำ� เนนิ การตามเศรษฐกจิ หมนุ เวยี นและความยงั่ ยนื รวมทงั้ มคี วามมงุ่ มน่ั ในการสื่อสารท่ชี ดั เจน ถูกตอ้ ง ตรงเวลา ซ่อื สัตย์ และครบถว้ น 5. รปู แบบการท�ำธรุ กจิ เศรษบกจิ หมุนเวียน เศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นทางเลือกใหม่ท่ีมุ่งให้ความส�ำคัญกับการเลือกใช้วัสดุ การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในกระบวนการท่ีเก่ียวข้องตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อ ใหเ้ กิดการใช้ทรพั ยากรอยา่ งมปี ระสิทธิภาพสงู สดุ นำ� ไปสกู่ ารไมม่ ขี องเสยี และมลพษิ ตลอดทง้ั ระบบสินคา้ และบรกิ าร สามารถแบง่ รูปแบบของธุรกิจออกเปน็ 5 ประเภท ดังนี้ 95

ท่มี า: https://www.pre-sustainability.com/news/5-roads-to-a-circular-economy-part-iv-sharing 1. Circular Supplies เปน็ การนำ� วสั ดจุ ากการรไี ซเคลิ วสั ดชุ วี ภาพ (Bio-based materials) และ วสั ดทุ สี่ ามารถรไี ซเคลิ ได้ทง้ั หมด มาใชเ้ ป็นวตั ถดุ บิ หลกั ในการผลติ เพอื่ ลดการใชท้ รพั ยากรในการผลิตและ ลดการเกิดของเสีย ตลอดจนการใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต ตัวอย่างเช่น บริษัท Philips พัฒนาต้นแบบธุรกิจจากแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยใช้กับกลุ่มเป้าหมายระบบแสงสว่างตามอาคาร ไปจนถึงเครื่องมือแพทย์ เช่น เครื่อง MRI ท่ีใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ที่น�ำวัสดุ รีไซเคิลมาปรับปรุงให้ได้คุณภาพสูงข้ึนพร้อมการรับประกันเต็มรูปแบบ เศรษฐกิจหมุนเวียนช่วยให้บริษัท Philips รีไซเคิลวสั ดทุ ี่เคยเป็นขยะกลบั มาใช้ประโยชนใ์ นธุรกิจของตนได้มากถงึ ร้อยละ 81 และกลายเปน็ “ผลิตภัณฑส์ ีเขียว” ของบริษทั ท่ีสรา้ งรายไดถ้ งึ 2 ใน 3 ในปัจจบุ ัน บรษิ ทั ยนู ิลีเวอร์ ประเทศไทย เปลย่ี นบรรจุภณั ฑ์สำ� หรับผลติ ภัณฑ์ท่มี ียอดจ�ำหนา่ ยสูงสุด เป็นขวด ที่รไี ซเคลิ มาจากพลาสตกิ ใช้แลว้ (post-consumer recycling: PCR) นอกจากน้ี ไดเ้ ปล่ียนมาใชข้ วด PCR สำ� หรบั ผลติ ภณั ฑห์ มวดเครอ่ื งใชใ้ นบา้ น มากถงึ รอ้ ยละ 80 บรษิ ทั ไดเ้ ปลย่ี นขวดซนั ไลตซ์ ง่ึ เปน็ แบรนดน์ ำ้� ยา ลา้ งจานขายดีอนั ดบั 1 จากการใช้ขวด HDPE เป็นขวด PET ในปี 2017 ซ่งึ สามารถลดจ�ำนวนพลาสติกท่ี ใชถ้ งึ 274 ตันต่อปี และในเดอื นมกราคม 2019 ไดอ้ ัพเกรดขวด PET เป็นขวด PET ท่มี าจากการรไี ซเคิล 100% ทำ� ให้ขวดซันไลตท์ �ำจาก PCR ท้ังหมด และลดการใช้พลาสติกไปได้ถงึ 551 ตนั ตอ่ ปี น�ำไปสู่การลด กา๊ ซเรือนกระจกมากถงึ ร้อยละ 56 บรษิ ทั ArcelorMittal ซง่ึ เปน็ บริษทั เหลก็ และเหมืองแร่จากประเทศลักเซมเบริ ์ก สามารถรไี ซเคลิ เหลก็ ไดถ้ งึ 25 ลา้ นตนั ตอ่ ปี จากการทบ่ี รษิ ทั ฯ กำ� หนดนโยบายลดการปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจก บรษิ ทั จงึ ปรบั เปลย่ี นกระบวนการผลติ ของตนใหส้ ามารถนำ� กา๊ ซคารบ์ อนไดออกไซตเ์ หลอื ทงิ้ มาใชผ้ ลติ เปน็ เอทานอล เพอ่ื น�ำไปใช้เป็นวตั ถุดิบในการผลิตเช้ือเพลงิ ส�ำหรับยานยนต์หรอื ผลิตพลาสติกในข้นั ต่อไปได้ ประมาณการว่า กระบวนการดงั กลา่ วสามารถสรา้ งรายได้ให้บรษิ ทั ถึง 300 ลา้ นยโู รต่อปี ภายในปี 2025 นอกจากนี้ เศษแร่ ทเี่ กิดขน้ึ จากกระบวนการหลอมเหล็กถูกนำ� ไปใช้เป็นวตั ถดุ บิ เพอ่ื ผลิตเป็นซเี มนตต์ อ่ ไป ซ่ึงสามารถลดกา๊ ซ เรือนกระจกลงไดเ้ กือบหนงึ่ ลา้ นตนั ตอ่ ปี และสร้างรายได้เพิม่ ใหบ้ ริษทั ฯ โดยตลาดของผลิตภณั ฑด์ ังกลา่ ว อยู่ในประเทศฝรัง่ เศสและบราซิล บริษัท TATA steel ในปี 2001 จัดต้ัง Mjunction ซึ่งเป็นตลาดออนไลน์ซ้ือขายแลกเปลี่ยน by-products เชน่ เศษเหลก็ ทเ่ี หลอื จากกระบวนการผลติ และสนิ ทรพั ยท์ ไี่ มไ่ ดใ้ ช้ เพอ่ื ลดภาระคงคลงั จาก 96

ของเหลอื ทงิ้ และสนิ ทรพั ย์ทไี่ ม่ได้ใช้ประโยชน์ ปัจจุบัน ระบบตลาดออนไลน์ Mjunction กลายเปน็ ตลาด คา้ เหล็กออนไลนท์ ่ใี หญท่ ี่สดุ ให้บริการ e-commerce ส�ำหรับซอ้ื ขายมลู ฝอยกว่า 30 ประเภท โดยที่ในปี 2002 บรษิ ัท TATA steel มผี ลประกอบการ 13.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2016 ผลประกอบการเพ่ิม เป็น 9.45 พันลา้ นเหรยี ญสหรัฐ 2. Resource Recovery การออกแบบใหม้ ี “ระบบนำ� กลบั ” (Take-Back system) ในกระบวนการ เพื่อน�ำวัตถุดิบเหลือใช้ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่ถูกก�ำจัด ซึ่งยังสามารถใช้งานได้กลับเข้าสู่กระบวนการใหม่ เพอื่ ลดการเหลอื ทงิ้ ใหม้ ากทสี่ ดุ ตวั อยา่ งเชน่ บรษิ ทั Wrangler ไดน้ ำ� การยอ้ มผา้ ยนี ทเี่ รยี กวา่ IndigoZERO มาใช้ วธิ ีการย้อมนพี้ ฒั นาโดย Indigo Mill Designs (IMD) บริษทั ของสหรฐั อเมรกิ าทเ่ี ชี่ยวชาญด้านการ ย้อมครามทีเ่ ป็นมิตรต่อสงิ่ แวดล้อม โดยเป็นการยอ้ มที่ไมต่ อ้ งใชส้ ารลดกาํ มะถนั และลดการเกดิ นาํ้ เสยี ดว้ ย กระบวนการ foam dyeing ของ Gaston Systems ซ่งึ วิธีการยอ้ มดงั กล่าวเป็นสว่ นหนึง่ ของกลยุทธใ์ น การปรับเปลยี่ นรุปแบบธรุ กจิ ของ Wrangler ซึง่ ตงั้ เปา้ หมายในการลดการใช้นา้ํ 5.5 พันลา้ นลติ ร ภายใน ปี 2020 และเปลยี่ นมาใช้ไฟฟา้ จากพลังงานหมุนเวยี นทั้งหมดภายในปี 2025 3. Circular Design มงุ่ เนน้ การออกแบบผลติ ภณั ฑห์ รอื สว่ นประกอบในผลติ ภณั ฑใ์ หม้ อี ายกุ ารใช้ งานยาวนาน ตัวอยา่ งเช่น บริษัท Renault ผ้ผู ลติ รถยนตจ์ ากฝร่งั เศส ใชแ้ นวคิดเศรษฐกจิ หมุนเวียนปรบั เปลย่ี นรปู แบบธรุ กจิ ของบรษิ ทั โดยมกี ารพจิ ารณาตลอดทงั้ วฏั จกั รชวี ติ ของผลติ ภณั ฑ์ เรมิ่ จากการออกแบบ รถยนต์รุ่นใหมใ่ ห้เปน็ มติ รกบั สง่ิ แวดลอ้ มตั้งแต่ต้นทางและเลอื กใช้พลาสติกรไี ซเคลิ เปน็ สว่ นประกอบ เช่น รถยนต์รุ่น Escape มีส่วนประกอบเป็นพลาสติกรีไซเคิลถึงร้อยละ 20 นอกจากน้ี บริษัทฯ ยังพัฒนา กระบวนการนำ� วสั ดหุ ลกั ทส่ี ำ� คญั เชน่ ทองแดง อะลมู เิ นยี ม และผา้ กลบั มาใชซ้ ำ้� ในการผลติ รถยนตร์ นุ่ ตอ่ ๆ ไป บรษิ ทั Renault ยงั ไดก้ อ่ ตงั้ บรษิ ทั ยอ่ ยขน้ึ เพอ่ื ควบคมุ การหมนุ เวยี นของวสั ดแุ ละจดั การขยะ โดยทำ� งาน รว่ มกบั บรษิ ัทผู้ท�ำลายรถยนต์เกา่ ในฝรัง่ เศสกว่า 300 ราย เพอ่ื นำ� วัสดทุ ่ยี ังมีประโยชนจ์ ากรถยนต์ทีถ่ กู ทิง้ หลายแสนคนั ตอ่ ปกี ลับมาไปใชใ้ หม่ อะไหลข่ องรถยนตม์ อื สอง เชน่ กระจกหนา้ -ขา้ ง ช้ินส่วนตัวถงั รวมท้ัง เครื่องยนต์ เกยี รแ์ ละระบบหวั ฉีด จะถกู น�ำกลบั เข้าสูก่ ระบวนการผลิตใหม่ใหก้ ลบั มาใช้งานไดอ้ กี 4. Sharing Platform มุ่งเน้นการใช้และแบ่งปันทรัพยากรร่วมกันเพ่ือการใช้ผลิตภัณฑ์ให้เกิด ประสิทธภิ าพสูงสดุ ตัวอย่างเชน่ ฟินแลนดเ์ ป็นประเทศแรกในกลมุ่ สหภาพยโุ รป ทขี่ ับเคล่อื นมาตรการใช้ ซ�้ำ โดยจัดตง้ั ศูนย์การนํากลับมาใช้ซำ้� (Reuse Center) ซงึ่ เป็นโครงการความร่วมมอื กนั ระหว่างภาครฐั และเอกชน ในรปู องคก์ รทไ่ี มแ่ สวงหากาํ ไร มจี ดุ ประสงคใ์ นการจา้ งกลมุ่ คนวา่ งงานซง่ึ เปน็ แรงงานทม่ี ที กั ษะ ไม่จาํ กัดอายุ และเพศ โดยรับบรจิ าคสิง่ ของเส้ือผ้าที่ไมใ่ ช้แลว้ และนํามาซอ่ มแซมจนสามารถนํากลบั ไปใช้ ใหมไ่ ด้ จากนน้ั นาํ มาวางจาํ หน่ายในซเู ปอรม์ ารเ์ กต็ สินค้มือสองทช่ี ่ือว่า “Kierratyskeskus” ความสาํ เรจ็ ท่ีเกิดขึ้นได้กลายเป็นรูปแบบธุรกิจให้กับอีกหลายกิจการเพ่ือสังคมท่ัวโลก ซึ่งนอกจากจะช่วยจัดการขยะ ทีไ่ มส่ ามารถรีไซเคลิ ได้โดยเฉล่ีย 50 ลา้ นกิโลกรมั ต่อปแี ล้ว รายไดจ้ ากการจาํ หนา่ ยสินคา้ ในซูเปอร์มารเก็ต ยังถูกสง่ กลบั ไปเปน็ คา่ ตอบแทนให้แก่พนกั งานของศนู ยด์ งั กลา่ วอกี ทางหน่งึ กระแสดงั กล่าวได้ขยายผลไป 97

สู่ผผู้ ลิตและจ�ำหนา่ ยสินค้าแบรนด์ดงั มากมายและได้รับความนยิ มในสหภาพยุโรป ซง่ึ นําแนวคดิ เศรษฐกิจ หมุนเวียนไปใช้ เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์และส่ือสารกับผู้บริโภคในเรื่องความตระหนักถึงผลกระทบต่อ ส่งิ แวดลอ้ ม 5. Product as a service เป็นโมเดลธรุ กิจทใ่ี หบ้ รกิ ารในรูปแบบการเชา่ หรอื “การจา่ ยเมือ่ ใช้ งาน” (pay-for-use) แทนการซอื้ ขาด ซงึ่ ไมเ่ พยี งแตช่ ว่ ยลดคา่ ใชจ้ า่ ยของผใู้ ชบ้ รกิ าร แตย่ งั ชว่ ยลดผลกระทบ ดา้ นสิ่งแวดล้อมไดอ้ กี ดว้ ย ตัวอย่างเชน่ บริษทั Ricoh พัฒนาต้นแบบธรุ กิจจากแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน มาต้ังแต่ชว่ งทศวรรษท่ี 90 โดยใหเ้ ชา่ อุปกรณส์ �ำนักงาน เช่น เคร่ืองพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร ในระยะยาว จากการท่ีบรษิ ทั เป็นผผู้ ลติ และจ�ำหน่ายผลติ ภณั ฑข์ องตนเองถึงร้อยละ 60 ท�ำให้ Ricoh สามารถควบคุม วฏั จกั รชีวิตของผลติ ภณั ฑข์ องบริษทั ไดม้ ากกว่ารอ้ ยละ 50 ซึง่ นอกจากธุรกจิ การเชา่ ผลิตภณั ฑ์แลว้ Ricoh ยังมีแผนลดการใช้วัตถุดิบปฐมภูมิท่ีใช้แล้วหมดไปและหันมาใช้พลาสติกที่มีสารต้ังต้นจากพืชเพ่ิมข้ึนใน การผลติ เครอ่ื งพมิ พ์และเครื่องถ่ายเอกสาร รวมถงึ ออกแบบอปุ กรณต์ ่างๆ ให้มขี นาดเลก็ ลง เบาลง มีสว่ น ประกอบนอ้ ยลง และใชโ้ ทนเนอร์ท่ผี ลิตจากชีวมวล (Biomass) 6. ตัวอย่างประเทศท่มี ีนโยบายด้านเศรษฐกิจหมนุ เวียน ประเทศทมี่ นี โยบายและดำ� เนนิ การดา้ นเศรษฐกจิ หมนุ เวยี นอยา่ งจรงิ จงั เชน่ สหภาพยโุ รป เยอรมนี เนเธอรแ์ ลนด์ ฟนิ แลนด์ และจนี จากข้อมลู ของกรรมาธิการด้านส่งิ แวดล้อมของสหภาพยุโรป (EU) พบวา่ ในปี ค.ศ. 2010 สหภาพ ยโุ รปผลติ มลู ฝอยจำ� นวน 2.5 พนั ล้านตัน มกี ารนำ� กลับไปแปรใช้ใหม่ รอ้ ยละ 36 ของทง้ั หมด ท่เี หลอื ถกู น�ำ ไปกำ� จดั โดยการฝังกลบหรอื เผา ทั้งทีส่ ามารถน�ำกลับมาแปรใชใ้ หม่ไดอ้ ีกถึง 400-600 ล้านตนั ประชากร ยโุ รปผลติ ขยะมูลฝอยโดยเฉลี่ย 5 ตนั ต่อคนต่อปี แต่มีการนำ� ขยะมลู ฝอยกลบั มาแปรใชใ้ หม่เพยี ง 1 ใน 3 ของขยะท้ังหมด สหภาพยุโรปตระหนักถึงความส�ำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการประกาศใช้นโยบาย “2018 Circular Economy Action Package” ซงึ่ ครอบคลมุ เปา้ หมายและนโยบายในการลดขยะพลาสตกิ การลดการฝงั กลบขยะ และเพ่ิมปริมาณการน�ำกลบั มาแปรใช้ใหม่ เยอรมนี เริ่มใชก้ ฎหมาย The German Closed Substance Cycle and Waste Management Act เมอื่ ปี 1996 กลา่ วคอื ประเทศจะตอ้ งมรี ะบบการจดั การขยะในรปู แบบเดยี วกบั การดำ� เนนิ การทางดา้ น เศรษฐกิจแบบหมนุ เวยี น ต่อมา มีการแกไ้ ขเพิม่ เตมิ ด้าน Circular Economy Policy ในช่วงปี 2000 ทำ� ให้ เยอรมนสี ามารถนำ� ของเสยี จากกระบวนการผลติ มาใชใ้ หมไ่ ดถ้ งึ รอ้ ยละ 14 และอตุ สาหกรรมการจดั การของ เสยี กลายเป็นอุตสาหกรรมท่ีมีมลู ค่าสูง ก่อใหเ้ กิดการจา้ งงานเพิ่มขนึ้ 200,000 คน และสร้างเงนิ หมุนเวียน ในระบบเศรษฐกจิ กวา่ 4 หมนื่ ลา้ นยโู ร ในปี 2016 เยอรมนเี ปน็ ประเทศทใี่ หค้ วามสาํ คญั กบั การพฒั นาอยา่ ง ยัง่ ยืน โดยปี 2002 มีการกาํ หนดยทุ ธศาสตร์การพัฒนาแหง่ ชาติ ซง่ึ ต้งั เปา้ หมายในการเพ่มิ ผลิตภาพในการ ใชท้ รพั ยากรเปน็ 2 เทา่ ในปี 2020 เมอ่ื เปรยี บเทยี บกบั ปฐี านในปี 1994 เพอ่ื บรรลเุ ปา้ หมายของการพฒั นา ทยี่ ง่ั ยนื ทกี่ าํ หนดไว้ โดยใชม้ าตรการทางกฎหมายทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั สงิ่ แวดลลอ้ มและอตุ สาหกรรมในการสรา้ ง 98

ระบบเศรษฐกิจแบบครบวงจร และก�ำหนดนโยบายในการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นท่ีต้องรับภาระในการกําจัด ของเสีย รวมไปถงึ การรณรงค์การนาํ วสั ดกุ ลับมาใช้ใหม่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตง้ั เปา้ หมายระยะยาวในการลดปริมาณวตั ถดุ ิบข้ันต้น ด้วยการน�ำนโยบาย และมาตรการรไี ซเคิลใหไ้ ดร้ อ้ ยละ 50 ในปี 2030 และรไี ซเคิลวตั ถดุ บิ ทัง้ หมดในปี 2050 ดว้ ยกลยุทธใ์ น การส่งเสรมิ ใหเ้ กดิ การออกแบบสินค้าอย่างชาญฉลาด มกี ารใชว้ ัสดตุ ง้ั ตน้ น้อยลง (Smart Design: Fewer Resource) สนิ ค้าต้องมอี ายุการใช้งานท่ยี ืนยาวข้ึน (Extend Product Life) เพ่อื ลดปรมิ าณขยะในโลก และสินค้าที่ใช้งานแลว้ ต้องน�ำกลบั มาใชไ้ ด้อีก และต้องสามารถรีไซเคลิ ได้ (More Better Reuse: Waste as Raw Material) ท้งั น้ี คาดการณ์ว่าภายในปี 2023 เศรษฐกจิ หมนุ เวยี นในเนเธอรแ์ ลนด์จะสร้างตลาดท่ี มมี ลู ค่ามากกวา่ 7.3 พันลา้ นดอลลาร์ตอ่ ปี และสรา้ งงานกว่า 54,000 ตำ� แหนง่ โดยจะมกี ารกำ� หนดราคา สินค้าแบบ true price คือ สนิ คา้ และบริการต้องคิดราคาตามตน้ ทนุ ท่ีแทจ้ รงิ ซ่งึ รวมต้นทุนทางดา้ นสงั คม และส่งิ แวดลอ้ มด้วย เริม่ ตน้ จาก 5 กลุ่มธุรกจิ หลัก ไดแ้ ก่ สารอนิ ทรยี แ์ ละอาหาร พลาสติก ภาคการผลติ การกอ่ สรา้ ง และสนิ คา้ อปุ โภคบรโิ ภค รวมทงั้ มกี ารจดั ตง้ั กองทนุ เพอ่ื ปรบั ปรงุ วธิ กี ารจดั การกบั ขยะเหลอื ใช้ คดั แยกขยะ เพอ่ื นำ� กลบั มาใชใ้ หมอ่ ยา่ งเปน็ รปู ธรรม ไมว่ า่ จะเปน็ การนำ� มาผลติ พลงั งานทางเลอื กและอน่ื ๆ เพอื่ การกำ� จัดขยะ นอกจากนี้ ยงั สง่ เสริมนวตั กรรมในการผลิต ปรับปรุงกระบวนการรีไซเคิลใหด้ ขี น้ึ ซงึ่ ที่ ผ่านมา รัฐบาลเนเธอรแ์ ลนดไ์ ด้รเิ ริ่มโครงการ Holland Circular Hotspot ซงึ่ เปน็ สว่ นหนงึ่ ของนโยบาย Circular Economy in the Netherland by 2050 โดยเป็นแพลตฟอรม์ ท่ีเปิดให้ผมู้ สี ว่ นได้สว่ นเสยี ทกุ ภาคสว่ นทง้ั รัฐ เอกชน สถาบันตา่ ง ๆ ท�ำงานรว่ มกนั เพือ่ สรา้ งองค์ความรู้เกยี่ วกับเศรษฐกิจหมนุ เวยี น สร้าง โอกาสในการเขา้ รว่ มในระบบเศรษฐกจิ หมนุ เวยี นและประสานการดำ� เนนิ งานทว่ั โลก นอกจากน้ี รฐั บาลยงั ได้ริเริม่ เกบ็ ค่าธรรมเนียมส�ำหรบั ถงุ พลาสตกิ โดยร้านสะดวกซือ้ ทว่ั ประเทศหนั มาดำ� เนนิ มาตรการส่งเสริม การงดใช้ถุงพลาสติก ซง่ึ สามารถปรบั เปลย่ี นพฤตกิ รรมของประชาชน และสรา้ งกระแสสินค้าออรแ์ กนกิ ส์ ข้ึนในภาคการบริโภคของประเทศ โดยผู้บริโภคยอมจ่ายมากข้ึนเพ่ือให้ได้สินค้าคุณภาพและเป็นมิตรกับ สง่ิ แวดล้อม ฟินแลนด์เป็นประเทศแรกในกลุ่มสหภาพยุโรป ท่ีขับเคล่ือนมาตรการใช้ซ�้ำ โดยจัดต้ังศูนย์การนํา กลับมาใช้ซ้�ำ (Reuse Center) ซง่ึ เป็นโครงการความรว่ มมือกนั ระหวา่ งภาครฐั และเอกชน ในรปู องคก์ รที่ ไม่แสวงหากาํ ไร ท่ีมีจดุ ประสงค์ในการจา้ งกลมุ่ คนวา่ งงานซงึ่ เป็นแรงงานที่มีทักษะ ไม่จาํ กัดอายุ และเพศ โดยรบั บริจาคสิง่ ของ เส้ือผา้ ทไี่ ม่ใชแ้ ลว้ และนาํ มาซ่อมแซมจนสามารถนาํ กลบั ไปใชใ้ หมไ่ ด้ จากนั้น นํามา วางจาํ หน่ายในซเู ปอรม์ าร์เกต็ สนิ คา้ มอื สองทชี่ ่อื วา่ “Kierratyskeskus” ความสําเร็จทเี่ กดิ ขน้ึ ได้กลายเป็น รูปแบบธุรกจิ ใหก้ ับอกี หลายกจิ การเพื่อสงั คมทัว่ โลก ซ่งึ นอกจากจะช่วยจัดการขยะทีไ่ มส่ ามารถรีไซเคลิ ได้ โดยเฉล่ีย 50 ลา้ นกิโลกรัมต่อปแี ล้ว รายไดจ้ ากการจาํ หน่ายสินคา้ ในซูเปอร์มาร์เกต็ ยงั ถกู สง่ กลับไปเปน็ ค่า ตอบแทนให้แก่พนักงานของศูนย์ดังกล่าวอีกทางหนึ่ง กระแสดังกล่าวได้ขยายผลไปสู่ผู้ผลิตและจ�ำหน่าย สนิ คา้ แบรนด์ดังมากมายและไดร้ ับความนิยมในสหภาพยุโรป ซ่งึ นําแนวคิดเศรษฐกจิ หมนุ เวยี นไปใช้ เพ่ือ ออกแบบผลิตภัณฑ์และส่ือสารกับผู้บริโภคในเรื่องความตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากน้ี ยังไดม้ กี ารจดั งาน World Circular Economy Forum ข้ึนเป็นครัง้ แรกท่ีเมืองเฮลซิงกิ ในช่วงวนั ท่ี 5-7 มิถุนายน 2017 มีผเู้ ข้ารว่ มงานจากประเทศตา่ งๆ มากกวา่ 100 ประเทศท่วั โลก เพื่อร่วมหารอื และแลก 99

เปลยี่ นเรยี นรถู้ งึ แนวทางในการปรบั เปลย่ี นระบบเศรษฐกจิ ในปจั จบุ นั ไปสกู่ ารเปน็ ระบบเศรษฐกจิ หมนุ เวยี น ทมี่ ีประสิทธิภาพในทวีปเอเชยี สาธารณรฐั ประชาชนจนี เรม่ิ สนใจแนวคิด Circular Economy ในปี 1996 เพอ่ื ใชเ้ ปน็ มาตรการในการควบคมุ มลพษิ จนในปี 2008 ได้มกี ารประกาศใชก้ ฎหมาย Circular Economy Law of the People’s Republic of China แต่ยังไม่ประสบความส�ำเร็จ เน่ืองจากก�ำหนดเปา้ หมายไม่ ชัดเจน อีกทง้ั ขาดความร่วมมือจากประชาชน น�ำไปสู่การกำ� หนด Circular Economy Development Strategy and the Recent Action Plan ในปี 2013 ทีม่ ุง่ เนน้ เรื่อง Clean Production, Eco-Industrial Park และ Eco-cities โดยรัฐบาลกลางเป็นผู้ลงทุนด้านโครงสร้างพ้ืนฐาน และขอความร่วมมือจากภาค เอกชนและประชาชน 7. นโยบายเศรษฐกจิ หมุนเวียนของประเทศไทย ประเทศไทย มกี ารกำ� หนดเรอื่ งการพฒั นาประเทศภายใตแ้ นวคดิ เศรษฐกจิ หมนุ เวยี นไวอ้ ยา่ งชดั เจน ในนโยบายรัฐบาล ปี พ.ศ. 2562 ตามโมเดลการพฒั นาประเทศทเ่ี รยี กวา่ “BCG Model” ซ่งึ บรู ณาการ การพฒั นาเศรษฐกิจชวี ภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกจิ หมุนเวยี น (Circular Economy) และเศรษฐกจิ สี เขียว (Green Economy) ด้วยการนำ� วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยแี ละนวตั กรรม มาใช้ในการเพมิ่ ขีดความ สามารถในการแขง่ ขันอย่างย่งั ยืนใหก้ บั 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อตุ สาหกรรมเกษตร และอาหาร อุตสาหกรรมพลงั งานและวสั ดุ อุตสาหกรรมสขุ ภาพและการแพทย์ และอตุ สาหกรรมการท่อง เท่ยี วและบริการ ซ่ึงจะเปน็ ฐานเศรษฐกจิ หลกั ของประเทศทส่ี ร้างมูลค่ากว่า 4.4 ลา้ นล้านบาท (รอ้ ยละ 24 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ) ใน 5 ปีขา้ งหนา้ นอกจากน้ี BCG Model ยงั เปน็ รูปแบบการพัฒนาที่ ตอบสนองตอ่ เปา้ หมายการพฒั นาอยา่ งยงั่ ยนื ทสี่ ำ� คญั ขององคก์ ารสหประชาชาติ ไดแ้ ก่ การผลติ และบรโิ ภค ที่ย่ังยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการ สร้างความร่วมมือเพือ่ การพฒั นาทีย่ ่ังยนื อกี ทั้งยังสอดคลอ้ งกับหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซ่งึ เปน็ หลกั สำ� คญั ในการพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมของประเทศไทย การน�ำเศรษฐกิจหมุนเวียนไปสู่การปฏิบัติส�ำหรับประเทศไทยน้ัน มีการขับเคลื่อนผ่านการท�ำงาน ร่วมกนั ระหว่าง ภาครฐั -เอกชน ชุมชน สังคม มหาวทิ ยาลัย สถาบันวิจยั และหน่วยงานตา่ งประเทศ โดยมี การรวบรวมองค์ความรู้ ความสามารถ และวทิ ยาการของทกุ ภาคี เขา้ มาปรบั ใชอ้ ย่างเหมาะสม โดยมงุ่ เน้น การใช้งานผลิตภณั ฑเ์ ตม็ วงจร (Reuse, Refurbish, Sharing) การแปรสภาพเพื่อกลับมาใชใ้ หม่ (Recycle, Upcycle) และการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลติ เพอ่ื ให้เกดิ ของเสยี น้อยท่ีสดุ (Zero-Waste) โดยน�ำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ด้วยมาตรการส�ำคัญต่างๆ เช่น การใช้เทคโนโลยีจัดการ ขยะและใชป้ ระโยชน์จากขยะแบบครบวงจร การสนับสนุนการเปล่ียนผ่านสู่สังคมขยะเป็นศนู ย์ การสรา้ ง แพลตฟอร์มบ่มเพาะธุรกิจที่พัฒนานวัตกรรมสีเขียว และการน�ำเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประเมิน ระบบการผลิตและผลิตภัณฑ์ เพ่ือปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ท่ีเป็นมิตรกับ ส่ิงแวดลอ้ มตามหลกั เศรษฐกิจหมนุ เวียน 100


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook