Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore A_guide_to_be_ASEAN_community_2015

A_guide_to_be_ASEAN_community_2015

Description: A_guide_to_be_ASEAN_community_2015

Search

Read the Text Version

เจา้ ของ สาํ นักงาน ก.พ. เมษายน ๒๕๕๕ พิมพค์ ร้ังที่ ๓ เลขาธกิ าร ก.พ. ท่ปี รึกษา รองเลขาธิการ ก.พ. ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ. นายนนทิกร กาญจนะจิตรา ทป่ี รกึ ษาระบบราชการ นายชาญวิทย์ ไกรฤกษ์ กลุม่ ช่วยอํานวยการ ม.ล. พัชรภากร เทวกลุ นางชลิดา โชตยิ กุล ผจู้ ดั ทา นางสาววัชราพร รัตนยานนท์ ๒

คานา กลมุ่ ชว่ ยอํานวยการ งานวเิ ทศสมั พันธ์ หนว่ ยงาน ASEAN UNIT สํานักงาน ก.พ. ได้จัดทําคู่มือ ‚ก้าวสู่ประชาคม ASEAN 2015‛ ข้ึน โดยมุ่งประสงค์ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ มีความรู้ ความเข้าใจเกย่ี วกับประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY) กาํ เนดิ อาเซียน การก่อตัง้ ประชาคมอาเซียน กลไกการบริหารของอาเซียน ประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน เสาหลัก ประชาคมอาเซียน ประชาคมการเมืองและความม่ันคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน แผนการจัดต้ังประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน การประชุม ก.พ. อาเซียน ศูนย์ข้อมูล ASEAN บทบาทของสํานักงาน ก.พ. ท่ีได้รับมอบหมายใน แตล่ ะเสาหลัก กฎบัตรอาเซยี น และขอ้ มูลทว่ั ไปของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว มาเลเซีย สหภาพพม่า สาธารณรฐั ฟลิ ปิ ปนิ ส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ผู้จัดทําหวังว่าคู่มือเล่มนี้ จะให้ความรู้และเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้เพ่ือให้ ข้าราชการและเจ้าหน้าท่ีตลอดจนผู้สนใจทุกคนได้ตระหนักในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็น ประชาคมอาเซยี นในปี ๒๕๕๘ มากยงิ่ ขึ้น ท้ายที่สุดน้ี ผู้จัดทําขอขอบคุณ นายนนทิกร กาญจนจิตรา เลขาธิการ ก.พ. นายชาญวิทย์ ไกรฤกษ์ รองเลขาธิการ ก.พ. หม่อมหลวงพัชรภากร เทวกุล ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ. นางชลิดา โชติยกุล ที่ปรึกษาระบบราชการ สํานักงาน ก.พ. ที่ปรึกษาระบบราชการ ก.พ. ทุกท่าน ทีมศูนย์บริหารจังหวัดเข้มแข็งสํานักงาน ก.พ. ผอ. บุศรา กาญจนาลัย กรมอาเซียน กระทรวง การต่างประเทศ กรมประชาสัมพนั ธแ์ ละกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนทุกท่านท่ีสนับสนุนข้อมูล และรูปภาพต่างๆ ทาํ ใหก้ ารจัดทําคู่มอื เลม่ น้ีมคี วามสมบรู ณ์และสาํ เร็จลุล่วงไปดว้ ยดี วชั ราพร รตั นยานนท์ กลุ่มช่วยอํานวยการ สาํ นักงาน ก.พ. เมษายน ๒๕๕๕ ๓

สารบัญ บทที่ ๑ ประชาคมอาเซยี น (ASEAN COMMUNITY) ๘ บทที่ ๒ กาํ เนิดอาเซยี น ๙ บทที่ ๓ ‚บ้านเกดิ ‛ อาเซยี น / สมาชกิ อาเซยี น ๑๐ ปฏิญญากรุงเทพ ๑๑ นโยบายการดําเนนิ งานของอาเซียน ๑๓ การก่อตงั้ ประชาคมอาเซยี น ๑๔ วตั ถปุ ระสงค์หลกั ของการจัดตง้ั องค์กร ๑๕ อตั ลกั ษณอ์ าเซยี น ๑๕ สัญลักษณอ์ าเซยี น ๑๕ คําขวัญอาเซยี น ๑๕ ธงอาเซียน / ดวงตราอาเซียน / วันอาเซยี น ๑๖ เพลงประจาํ อาเซียน ขอ้ มลู ความเป็นมาและเนื้อเพลง ASEAN Way ๑๗ ภาษาทาํ งานของอาเซียน (Working Language) ๒๐ สาํ นักงานใหญอ่ าเซยี น / ประชากรในภมู ิภาคอาเซยี น ๒๐ การสร้างประชาคมอาเซียน ๒๑ ประเทศไทยกบั ประชาคมอาเซยี น ๒๒ อาเซียน : วิสัยทศั นใ์ นอนาคต ๒๕ การประชาคมเพือ่ การปฏิบตั ิ (Community of Action) ๒๕ การประชาคมเพ่อื การเชอื่ มโยงและตดิ ต่อสื่อสารกนั อย่างใกลช้ ดิ ๒๕ (Community of Connectivity) การประชาคมเพือ่ ประชาชนอย่างแท้จริง (Community of People) ๒๖ ประโยชนท์ ่ีไทยจะไดร้ บั : ด้านดุลการคา้ / ดา้ นการคมนาคม ๒๖ การสรา้ งประชาคมอาเซียน ๒๗ ปฏิญญาชะอําหัวหินว่าด้วยแผนงานจัดตงั้ ประชาคมอาเซยี น ๒๘ โครงสร้างเสาประชาคมอาเซียนก่อนการลงนามในกฎบัตรอาเซียน ๒๙ ๔

โครงสรา้ งเสาประชาคมอาเซียนภายใต้กฎบตั รอาเซยี น ๓๐ ๑. ประชาคมการเมอื งและความมน่ั คงอาเซียน ๓๑ (ASEAN Security Community- ASC) ผลกระทบจากการรวมตวั เป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคง ๓๓ ๒. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซยี น (ASEAN Economic Community- AEC) ๓๔ ผลกระทบจากการรวมตัวเปน็ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ๓๗ การเคลอ่ื นย้ายแรงงานเสรใี น ๘ สาขาวชิ าชีพ ๓๗ ๓. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ๓๙ (ASEAN Socio-Cultural Community”ASCC) ผลกระทบจากการรวมตวั เปน็ ประชาคมสังคมและวฒั นธรรมอาเซยี น ๔๐ ผลกระทบในด้านการรักษาความเปน็ กลางของอาเซยี น ๔๐ แผนการจดั ตั้งประชาคมสงั คมและวัฒนธรรมอาเซยี น ๔๑ (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) การดาํ เนนิ การตามแผนงานจัดตั้งประชาคมสังคมและวฒั นธรรมอาเซียน ๔๒ ASEAN Plus Three ความร่วมมอื ในกรอบอาเซยี น+๓ ๕๐ ASEAN Plus Ten ความรว่ มมอื กบั ประเทศนอกภูมภิ าค ๕๒ และความรว่ มมอื กบั องคก์ รระหว่างประเทศ ประโยชน์ทปี่ ระเทศไทยได้รบั จากการเปน็ สมาชิกอาเซยี น ๕๓ ความสําเรจ็ ของอาเซียน ๕๔ บทที่ ๔ โครงสร้างและกลไกการบรหิ ารองคก์ รอาเซียน (Organs) ๕๕ ๑. ที่ประชุมสุดยอดอาเซยี น (ASEAN Summit) ๒. คณะมนตรีประสานงานอาเซยี น (ASEAN Coordinating Council) ๓. คณะมนตรปี ระชาคมอาเซียน (ASEAN Community Council) ๔. องคก์ รระดบั รฐั มนตรอี าเซยี นเฉพาะสาขา (ASEAN Sectoral Ministerial Bodies) ๕. สํานักเลขาธกิ ารอาเซียน (ASEAN Secretariat) ๖. คณะผู้แทนถาวรประจาํ อาเซยี น (Committee of Permanent Representatives (CPR) to ASEAN) ๕

๗. สํานักเลขาธิการอาเซยี นแหง่ ชาติ (ASEAN National Secretariat) ๘. องค์กรสทิ ธมิ นุษยชนของอาเซยี น (ASEAN Human Rights Body- AHRB) ๙. มูลนธิ อิ าเซียน (ASEAN Foundation) ๑๐.องคก์ รทม่ี ีความสมั พนั ธก์ ับอาเซียน ๑๑. คณะกรรมการอาเซยี นแหง่ ชาติ ๑๒. คณะกรรมการ/อนกุ รรมการสําหรบั การดาํ เนินการตามแผนงานการจดั ตง้ั ประชาคมอาเซียนในแต่ละเสาของประเทศไทย บทที่ ๕ การประชมุ ก.พ. อาเซยี น (ACCSM) ๖๒ บทที่ ๖ เจ้าภาพในการจดั ประชมุ ก.พ. อาเซียน ๖๔ บทบาทของ ACCSM ตอ่ การส่งเสรมิ ประสทิ ธิภาพราชการพลเรอื น ๖๖ รูปแบบการประชมุ ACCSM แบบเดมิ และแบบใหม่ ๖๗ สาํ นกั งาน ก.พ. กบั การประชมุ ก.พ. อาเซยี น (ACCSM) ๖๘ ศนู ย์ข้อมูลการพัฒนาเฉพาะด้าน ASEAN Resource Center ๖๘ การประชมุ ก.พ. ครง้ั ท่ี ๗ ๖๙ การประชุม ก.พ. ครั้งที่ ๘ ๗๒ ASEAN Resource Center ทางด้าน Leadership Development ๗๕ ศนู ย์ ASEAN Resource Center (ARC) ของแต่ละประเทศ ๗๗ บทบาทของ ARC ๗๘ ความรว่ มมือสาํ นักความร่วมมอื เพอื่ การพัฒนาระหว่างประเทศใน ๘๐ การจดั สมั มนาและประชุมปฏบิ ตั ิการให้กบั สมาชกิ อาเซยี น ข้าราชการไทยก้าวสูป่ ระชาคมอาเซยี น ๘๓ ตารางแสดงความรับผิดชอบของหน่วยงานตามแนวทางการจดั ตงั้ ๘๕ ประชาคมอาเซียน ๑. ประชาคมการเมอื งและความมั่นคงอาเซยี น ๘๕ ๒. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ๙๑ ๓. ประชาคมสงั คมและวฒั นธรรมอาเซียน ๑๐๑ ๖

อักษรยอ่ ในกรอบอาเซียน ๑๐๙ การดําเนนิ การของสํานกั งาน ก.พ. ส่ปู ระชาคมอาเซยี น ตาม มติ ครม. ๑๓๕ แนวทางการเสรมิ สรา้ งความพรอ้ มในการพฒั นาข้าราชการสู่ประชาคมอาเซียน ๑๓๗ สํานกั งาน ก.พ. กับการเตรยี มความพร้อมขา้ ราชการสปู่ ระชาคมอาเซยี น ๑๓๙ แผนการดาํ เนนิ การแต่ละเสาประชาคมในความรบั ผดิ ชอบของสาํ นกั งาน ก.พ.๑๔๐ ประชาคมการเมอื งและความมน่ั คงอาเซียน ๑๔๐ ประชาคมเศรษฐกจิ อาเซียน ๑๔๑ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ๑๔๒ บทท่ี ๗ กฎบัตรอาเซียน ๑๔๗ บทบญั ญตั ขิ องกฎบตั รอาเซยี น ๑๔๘ คาํ แปล กฎบตั รสมาคมแหง่ ประชาชาตเิ อเชียตะวนั ออกเฉยี งใต้ ๑๕๔ คาํ แปล ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint/ อภธิ านศัพท์ ๑๗๘ บทที่ ๘ ประเทศสมาชกิ อาเซยี น ๒๒๔ บรไู นดารสุ ซาลาม ๒๒๕ ราชอาณาจักรกัมพชู า ๒๒๘ สาธารณรัฐอนิ โดนีเซยี ๒๓๒ สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว ๒๓๔ มาเลเซยี ๒๓๙ สหภาพพมา่ ๒๔๒ สาธารณรฐั ฟิลิปปินส์ ๒๔๘ สาธารณรฐั สงิ คโปร์ ๒๕๐ ราชอาณาจกั รไทย ๒๕๓ สาธารณรฐั สังคมนยิ มเวยี ดนาม ๒๕๖ อาเซยี น + ๓ : ญีป่ ุน่ สาธารณรัฐประชาชนจีน และ สาธารณรัฐเกาหลี ๒๖๑ ตารางเทียบเวลาประเทศไทยกับตา่ งประเทศ / ปลกั๊ ไฟนานาชาติ ๒๗๔ บรรณานกุ รม ๒๗๙ ๗

๑บทท่ี ประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY) ๘

บทท่ี ๑ ประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY) กาเนิดอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) หรือ อาเซียน ก่อตั้งข้ึนโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (The Bangkok Declaration) เมอื่ วนั ที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ จากการลงนามโดยสมาชิกผกู้ ่อตัง้ รวม ๕ ประเทศ ๙

‘บ้านเกิด’ ของอาเซียน เมือ่ ปี ๒๕๑๐ ภูมิภาคเอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใตม้ คี วามตึงเครียดและขดั แยง้ ทางด้านอุดมการณ์ ระหว่างประเทศที่สนับสนุนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยกับประเทศที่ยึดม่ันในอุดมการณ์ สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ตลอดจนความขัดแย้งด้านดินแดนระหว่างประเทศ อาทิ ความขัดแย้ง ระหว่างมลายาและฟลิ ปิ ปินส์ในการอ้างกรรมสทิ ธิ์เหนือดินแดนซาบาห์และซาราวัก รวมท้ังการท่ี สิงคโปรแ์ ยกตัวออกจากมลายา ทาํ ให้หลายประเทศเร่ิมตระหนักถึงความจําเป็นในการร่วมมือกัน ระหว่างประเทศในภูมิภาค ต่อมาเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคจึงหันหน้า เข้าหากันและร่วมมือกันมากขึ้น จึงเกิดกระแสภูมิภาคนิยมในเอเชียเกิดขึ้น ก่อให้เกิดกลไก ความร่วมมอื ทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ภายในเอเชียมากมาย รวมถึงการขยายกลุ่มอาเซียนเป็นอาเซียน plus ๓ ได้แก่ จีน ญีป่ นุ่ และเกาหลีใต้ ตลอดจนอาเซียน plus ๖ เพม่ิ ประเทศอนิ เดีย ออสเตรเลียและ นิวซีแลนด์ เพื่อสร้างเสถยี รภาพทางเศรษฐกิจและการเมอื ง โดยทกุ ประเทศจะได้ รับประโยชน์ทาง เศรษฐกิจและสงั คมจากการรวมกลุม่ กนั ในภมู ิภาค สมาชกิ อาเซียน ในขณะนั้น ดร. ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ประเทศไทยได้เชญิ รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้มาหารือร่วมกันท่ี แหลมแท่น จ. ชลบุรี ซ่ึงนํามาสู่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เพื่อก่อตั้งอาเซียนท่ีวังสราญรมย์ เมื่อวันท่ี ๘ สงิ หาคม ๒๕๑๐ นับไดว้ า่ ประเทศไทยเป็นท้ังประเทศผู้ร่วมก่อต้ังและเป็น ‘บ้านเกิด’ ของอาเซียน โดยมีสมาชกิ ผูก้ ่อตั้งรวม ๕ ประเทศ ดังน้ี สาธารณรัฐอินโดนเี ซีย นายอาดมั มาลกิ (รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงต่างประเทศ) ประเทศมาเลเซยี ตุน อับดลุ ราชกั บิน ฮุสเซน (รองนายกรฐั มนตรี รัฐมนตรี กลาโหมและรัฐมนตรกี ระทรวงพฒั นาการแหง่ ชาต)ิ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นายนาซโิ ซ รามอส (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ) สาธารณรัฐสิงคโปร์ นายเอส ราชารัตนมั (รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงตา่ งประเทศ) ประเทศไทย พนั เอก (พเิ ศษ) ถนดั คอมันตร์ (รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงตา่ งประเทศ) ๑๐

ต่อมา ได้มีประเทศอนื่ ๆ เข้าเป็นสมาชกิ อาเซยี นในปตี อ่ ๆ มา ดังนี้ บรูไนดารสุ ซาลาม เป็นสมาชกิ เม่ือ ๘ มกราคม ๒๕๒๗ สาธารณรัฐสังคมนยิ มเวยี ดนาม เปน็ สมาชกิ เมื่อ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๙ สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว เป็นสมาชิกเมื่อ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๐ สหภาพพม่า เป็นสมาชิกเม่ือ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ราชอาณาจักรกมั พชู า เปน็ สมาชิกเม่อื ๓๐ เมษายน ๒๕๔๒ ปัจจบุ นั สมาชกิ อาเซยี นมีท้ังหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐ ฟลิ ปิ ปนิ ส์ บรไู นดารสุ ซาลาม ราชอาณาจกั รกมั พชู า สาธารณรฐั อนิ โดนเิ ซยี สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว มาเลเซีย สหภาพพมา่ สาธารณรฐั สงิ คโปร์ และสาธารณรัฐ- สงั คมนยิ มเวียดนาม MYANMAR ปี 2553 ๑๑

ปฏญิ ญากรุงเทพฯ ไดร้ ะบุวตั ถุประสงค์ท่ีสาํ คญั ๗ ประการของการจดั ตั้งอาเซียน ได้แก่ (๑) ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซ่ึงกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วทิ ยาศาสตร์และการบริหาร (๒) ส่งเสรมิ สันตภิ าพและความมั่นคงสว่ นภมู ภิ าค (๓) เสรมิ สร้างความเจรญิ ร่งุ เรืองทางเศรษฐกจิ พฒั นาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค (๔) ส่งเสรมิ ใหป้ ระชาชนในอาเซียนมีความเปน็ อยแู่ ละคณุ ภาพชีวติ ที่ดี (๕) ให้ความช่วยเหลือซ่ึงกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริม การศกึ ษาด้านเอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต้ (๖) เพ่ิมประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจน การปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม (๗) เสรมิ สร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาค อื่นๆ และองคก์ ารระหวา่ งประเทศ ปฏิญญากรุงเทพ ท่ีก่อต้ังอาเซียน เมื่อปี ๒๕๑๐ ได้ระบุวิสัยทัศน์และวางรากฐาน สําหรับการรวมตัวเปน็ ประชาคมของอาเซียน แตส่ ถานการณท์ างการเมืองในภมู ิภาคในขณะน้ันอยู่ ในยุคของสงครามเย็น ความคดิ ที่จะรว่ มมอื กนั จึงไม่ดาํ เนนิ การอยา่ งจรงิ จงั แต่ตอ่ มาเมอ่ื สงครามเย็นสิ้นสุดลง ประเทศในภูมิภาคจึงสามารถหันหน้าเข้าหากัน และร่วมมือกันมากข้นึ ส่งผลให้แนวคดิ ทจ่ี ะมกี ารรวมตวั การอยา่ งเหนียวแนน่ ไดร้ ับการฟ้ืนฟขู ึน้ มา อีกคร้ังหน่ึง โดยอาจกล่าวได้ว่า ข้อริเร่ิมของท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ใน การจัดตง้ั เขตการค้าเสรีอาเซยี น นบั เป็นจุดเร่มิ ตน้ สาคญั ของการรวมตัวเปน็ ประชาคมของอาเซียน โดยเริ่มจากเสาเศรษฐกิจ นอกจากนี้ อดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน มีบทบาทสําคัญในการผลักดัน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้มีความคืบหน้า โดยริเริ่มให้มีการจัดต้ังเขตการค้าเสรี อาเซียน หรือ ASEAN Free Trade Area (AFTA) ข้ึนเม่ือปี ๒๕๓๕ โดยตกลงที่จะลดภาษีศุลกากร ระหว่างกันให้เหลือร้อยละ ๐-๕ ในเวลา ๑๕ ปี ซึ่งต่อมาได้ลดเวลาลงเหลือ ๑๐ ปี โดย ๑๒

ประเทศสมาชกิ เกา่ ๖ ประเทศ ได้ดําเนนิ การแล้วเสร็จในปี ๒๕๔๖ ในขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่ ๔ ประเทศ คือ กมั พชู า ลาว พม่า และเวียดนาม ดาํ เนินการเสร็จส้นิ ในปี ๒๕๕๑ นโยบายการดาเนนิ งานของอาเซยี น การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) หรือ การประชุมของผู้นําประเทศ สมาชิกอาเซียนเป็นการประชุมระดับสูงสุดจะกําหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ ประเทศสมาชิกจะรว่ มกนั ประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว ซงึ่ จะปรากฏเป็น เอกสารในรูปแบบตา่ งๆ ไดแ้ ก่  แถลงการณร์ ว่ ม (Joint Declaration)  ปฏิญญา (Declaration)  แผนปฏบิ ตั กิ าร (Action Plan)  อนุสญั ญา (Convention) หรือ  ความตกลง (Agreement) สว่ นการประชมุ ในระดับรฐั มนตรีและเจา้ หน้าที่อาวุโสอาเซียน จะเป็นการประชุม เพอื่ พจิ ารณาทงั้ นโยบายการดาํ เนนิ งานในภาพรวมและเฉพาะด้าน ๑๓

การกอ่ ตั้งประชาคมอาเซยี น (ASEAN Community) จากท่ีประชุมสุดยอดอาเซียนท่ีบาหลี เมอื่ เดือนตลุ าคม ปี ๒๕๔๖ ผนู้ าํ อาเซียนได้ร่วมลงนาม ใ น ป ฏิ ญ ญ า ว่ า ด้ ว ย ค ว า ม ร่ ว ม มื อ อ า เ ซี ย น ที่ เ รี ย ก ว่ า ข้อตกลงบาหลี ๒ (Declaration of ASEAN Concord LL หรือ Bali Concord LL) เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) เพื่อ สนับสนนุ ให้อาเซยี นรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคม เดียวกันและร่วมมืออย่างรอบด้านให้สําเร็จภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (ค.ศ. ๒๐๒๐) โดยสนับสนุนการรวมตัว และความรว่ มมืออย่างรอบด้าน ได้แก่ ด้าน จดั ตง้ั ภาษาองั กฤษ การเมอื ง ประชาคมการเมอื งและความมัน่ คงอาเซียน ASEAN Political-Security Community (APSC) เศรษฐกิจ ประชาคมเศรษฐกจิ อาเซียน ASEAN Economic Community (AEC) สังคมและ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซยี น ASEAN Socio-Cultural Community วัฒนธรรม (ASCC) ตอ่ มาผู้นําอาเซยี นได้เหน็ ชอบทจ่ี ะให้เรง่ รดั การรวมตวั เปน็ ประชาคมอาเซียนให้เร็ว ขน้ึ กวา่ เดมิ อีก ๕ ปี คือ ใหร้ วมตัวกันใหเ้ สรจ็ ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) เน่ืองจากเห็นว่า สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการแข่งขันรุนแรงข้ึน เช่น อัตราการเติบโตด้าน เศรษฐกิจของจีนและอินเดียสงู มากในชว่ งท่ีผา่ นมา อาเซยี นจึงมคี วามจาํ เปน็ ที่จะตอ้ งปรบั ตวั เพอ่ื ให้ สามารถคงบทบาทนําในการดําเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาคและตอบสนองความต้องการของ ประชาชนไดอ้ ย่างแทจ้ ริง ๑๔

วตั ถปุ ระสงค์หลักของการกอ่ ตง้ั อาเซียน เพอื่ ส่งเสริมความเขา้ ใจอนั ดีตอ่ กันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธํารงไว้ซ่ึงสันติภาพ และความม่ันคงของภูมิภาค ความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สรา้ งสรรค์ความเจริญกา้ วหน้า อัตลักษณแ์ ละสญั ลักษณข์ องอาเซียน (Identity and Symbols) ตามกฎบัตรอาเซียน (หมวด ๑๑ ข้อ ๓๕-๔๐) กาํ หนดให้อาเซียน มีหนา้ ทใ่ี นการสง่ เสรมิ ๑) อัตลกั ษณ ์ ซ่งึ หมายถึงการสรา้ งความรู้สกึ ในการเป็นเจา้ ของอาเซยี นในหม่ปู ระชาชน ๒) สัญลกั ษณ์ ได้แก่ ๒.๑ คาขวญั ของอาเซยี น \"One Vision, One Identity, One Community\" : \" หนึ่งวิสัยทัศน์ หน่งึ เอกลกั ษณ์ หน่ึงประชาคม \" ๒.๒ ธงประจาสมาคมประชาชาตเิ อเชียตะวันออกเฉยี งใต้ (อาเซยี น) Flag of the Association of South East Asian Nations (ASEAN) ธงคือสิ่งทแ่ี สดงถึงความม่ันคง สนั ติภาพ ความเป็นเอกภาพ และพลวัติของอาเซียน และเปน็ ท่ีมาของ สี ๔ สที ปี่ รากฏอย่บู นธง ๑๕

๒.๓ ดวงตราอาเซยี น สัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นรวงข้าวสีเหลือง ๑๐ มัด หมายถึงตัวแทนของประเทศ สมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ท้ัง ๑๐ ประเทศที่ร่วมก่อต้ังอาเซียน อยู่ในพ้ืนท่ีวงกลม สแี ดง สีขาว และน้ําเงนิ ซ่ึงแสดงถึงความเปน็ เอกภาพ มีตัวอักษรคําว่า ‚asean‛ สีนํ้าเงิน อยู่ใต้ภาพ รวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นท่ีจะทํางานร่วมกันเพ่ือความม่ันคง สันติภาพ เอกภาพ ความเป็น หน่งึ เดียว ความสมานฉันท์และความก้าวหน้าของประเทศสมาชกิ อาเซียน สีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีสําคัญที่ปรากฏในธงชาติของแต่ละ ประเทศสมาชกิ อาเซยี น สเี หลือง หมายถึง ความเจรญิ รุ่งเรือง สแี ดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวตั ิ สขี าว หมายถงึ ความบรสิ ทุ ธิ์ สีนา้ เงนิ หมายถึง สนั ตภิ าพและความมน่ั คง ๒.๔ วนั อาเซยี น ให้วันท่ี ๘ สิงหาคม ของทกุ ปี เปน็ วนั อาเซยี น ๒.๕ เพลงประจาอาเซียน (ASEAN Anthem) คอื เพลง ASEAN Way ๑๖

ข้อมลู ความเป็นมาของเพลงประจาอาเซียน (ASEAN Anthem) ความเป็นมา ในท่ปี ระชุมคณะกรรมการอาเซียนวา่ ด้วยวฒั นธรรมและสนเทศ ครั้งท่ี ๒๙ ในเดอื น มิถุนายน ปี ๒๕๓๗ เห็นว่า อาเซียนควรจะมีเพลงประจําอาเซียนเพ่ือไว้เปิดในช่วงของการจัด กจิ กรรมตา่ งๆ ทางดา้ นวัฒนธรรมและสนเทศ โดยที่ประชุมตกลงให้ใช้เงินจากกองทุนวัฒนธรรม อาเซียนเพอ่ื จดั ทาํ โครงการเพ่ือคดั เลอื กเพลงประจําอาเซยี น ต่อมาในการประชุม ครั้งท่ี ๓๒ ของคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและ สนเทศในเดอื นพฤษภาคม ปี ๒๕๔๐ ทีป่ ระเทศมาเลเซีย ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพ่ือคดั เลือกเพลง ในรอบสดุ ท้าย โดยเพลงท่เี ข้ารอบในครัง้ นั้นเปน็ เพลงจากไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ผลปรากฎ ว่า เพลง ASEAN Song of Unity หรอื ASEAN Oh ASEAN จากฟิลิปปินส์ได้รับรางวัลชนะเลิศ แต่ เพลงดงั กลา่ วไม่เป็นท่ีรจู้ ักแพร่หลาย เนอ่ื งจากใช้เปิดเฉพาะในการประชมุ คณะกรรมการอาเซยี นวา่ ดว้ ยวฒั นธรรมและสนเทศและกจิ กรรมที่เกย่ี วข้องเทา่ นัน้ ดว้ ยเหตนุ ี้ ทาํ ให้ในการประชมุ สดุ ยอดอาเซยี นที่มาเลเซีย และท่ีสิงคโปร์ ประเทศที่ เปน็ เจ้าภาพในการประชมุ จึงได้แตง่ เพลงเพ่ือใช้เปิดในท่ีประชุม โดยมาเลเซียแต่งเพลง ‚ASEAN Our Way‛ และสิงคโปร์แต่งเพลง \"Rise\" บทบาทของไทยกับการจัดทาเพลงประจาอาเซยี น ตามกฎบตั รอาเซียน ข้อที่ ๔๐ ระบุให้ อาเซียนมีเพลงประจาํ อาเซียนโดยหากเปน็ ไป ไดใ้ ห้เสร็จเรียบรอ้ ยก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๔ ประเทศไทยไดร้ ับความไว้วางใจจากประเทศสมาชกิ อาเซียนให้เป็นเจ้าภาพจัดการ แข่งขันเพลงประจําอาเซียน โดยที่ประชุมประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้กําหนดรูปแบบ การแข่งขันเป็น open competition โดยให้สํานักเลขานุการอาเซียนในแต่ละประเทศกลั่นกรอง คณุ สมบัตเิ บ้ืองตน้ และจัดสง่ ให้ประเทศไทยภายในกันยายน ๒๕๕๑ โดยเนื้อร้องตอ้ งมีเกณฑ์ ดังน้ี (๑) เป็นภาษาอังกฤษ (๒) มลี กั ษณะเปน็ เพลงชาติประเทศสมาชกิ อาเซียน (๓) มคี วามยาวไมเ่ กิน ๑ นาที ๑๗

(๔) เนื้อร้องสะท้อนความเป็นหน่ึงเดียวของอาเซียนและความหลากหลายทาง ดา้ นวัฒนธรรมและ เชื้อชาติ (๕) เป็นเพลงท่ีแตง่ ขึ้นใหม่ ผูช้ นะเลศิ จะไดร้ ับเงินรางวัล ๒ หมนื่ ดอลลาร์สหรฐั สําหรับการคัดเลือกเพลงในประเทศไทย กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดการประชุม คณะกรรมการตัดสินเพื่อคัดเลือกเพลงภายในประเทศขึ้นเมื่อวันท่ี ๒๒ กันยายน ๒๕๕๑ โดยมี จาํ นวน ๑๑ เพลงที่ผ่านเกณฑแ์ ละได้สง่ เขา้ ร่วมการประกวดแขง่ ขนั ในระดับภูมิภาคอาเซียน ในระดับภมู ภิ าคอาเซยี น กรมอาเซยี นเปน็ เจ้าภาพจัดการประกวดแข่งขันเพลงประจาํ อาเซียนระดับภูมิภาคในรอบแรกเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๑ โรงแรม Pullman Bangkok King Power โดยมีกรรมการจากประเทศสมาชิกอาเซยี นประเทศละ ๑ คน ฯพณฯองคมนตรี พล.ร.อ. อศั นี ปราโมช ไดใ้ ห้เกียรติเปน็ กรรมการฝา่ ยไทยโดยทําหนา้ ท่ีประธานการประชุมคัดเลือกเพลงและได้ คัดเลือกเพลงจํานวน ๑๐ เพลง จากที่ส่งเข้าประกวดท้ังสิ้น ๙๙ เพลง รอบตัดสิน เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ประกอบด้วยกรรมการจากอาเซียน ๑๐ คนเดิม และจากนอกสมาชิกอาเซียนมี ๓ คน ได้แกจ่ ากญีป่ ุ่น จีน และออสเตรเลยี รว่ มตดั สนิ ทั้งน้ี ทีป่ ระชุมมีมตเิ ป็นเอกฉนั ทเ์ ลอื กเพลง ASEAN Way ของประเทศไทยแต่งโดย นายกิตติคณุ สดประเสรฐิ (ทํานองและเรียบเรยี ง) นายสําเภา ไตรอดุ ม (ทาํ นอง) และ นางพะยอม วลัยพัชรา (เน้ือร้อง) ใหเ้ ปน็ เพลงประจาํ อาเซยี น และไดใ้ ชบ้ รรเลงอยา่ งเป็นทางการในพธิ ีเปิดการประชมุ สุดยอดอาเซียน ครั้งท่ี ๑๔ เมอ่ื วันที่ ๒๘ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๕๒ ทห่ี ัวหนิ ความสาคญั ของเพลงประจาอาเซยี น การมเี พลงอาเซยี นถอื ว่ามีความสาํ คญั ตอ่ อาเซียนเป็นอย่างย่ิง เนื่องจากเป็นการช่วย สนับสนุนการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของอาเซียนในการเชื่อมโยงอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากน้ี การท่ีไทยได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นเจ้าภาพจัดการป ระกวดแข่งขัน คร้ังน้ี รวมทั้งการที่เพลงจากไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นเพลงประจําอาเซียน ถือเป็นเกียรติภูมิของ ประเทศและแสดงถงึ ความสามารถของคนไทยด้วย ๑๘

เน้อื เพลง ASEAN Way Raise our flag high, sky high Embrace the pride in our heart ASEAN we are bonded as one Look'in out to the world. For peace, our goal from the very start And prosperity to last. We dare to dream we care to share. Together for ASEAN we dare to dream we care to share for it's the way of ASEAN เนือ้ รอ้ งภาษาไทยอยา่ งเปน็ ทางการ พล้วิ ลลู่ ม โบกสะบัด ใตห้ ม่ธู งปลวิ ไสว สัญญาณแหง่ สัญญาทางใจ วนั ทเ่ี รามาพบกบั อาเซยี นเปน็ หนงึ่ ดงั ท่ใี จเราปรารถนา เราพรอ้ มเดนิ หน้าไปทางนนั้ หลอ่ หลอมจิตใจ ให้เปน็ หนงึ่ เดยี ว อาเซียนยดึ เหนย่ี วสมั พนั ธ์ ให้สงั คมน้ี มแี ตแ่ บ่งปัน เศรษฐกจิ สงั คมกา้ วไกล ๑๙

Working language ภาษาอังกฤษคือภาษาทํางานของอาเซยี น เป็นภาษาท่ใี ชใ้ นระหวา่ งการประชุม การ โตต้ อบจดหมาย การจัดทํารายงานการประชมุ ผลการพจิ ารราและมตทิ ี่ประชุม ตลอดจนการจดั ทํา คําแถลงการณ์ และการปฏสิ มั พนั ธต์ ่างๆ ของอาเซยี น ทง้ั น้ี ในฐานะเปน็ สมาคม อาเซยี นไมไ่ ด้ ให้บริการดา้ นการแปลหรอื ตคี วาม สานกั งานใหญข่ องอาเซียน กรุงจาการต์ า ประเทศอนิ โดนเี ซยี ประชากรในภูมิภาคอาเซียน ประชากรประมาณ ๕๖๗ ล้านคน มพี ื้นทโ่ี ดยรวม ๔.๕ ล้านตารางกโิ ลเมตร ๒๐

๒บทที่ การสร้างประชาคมอาเซยี น ๒๑

บทท่ี ๒ การสรา้ งประชาคมอาเซียน เหตุทต่ี อ้ งสร้างประชาคมอาเซยี น ในยุคโลกาภิวัฒนท์ ส่ี ถานการณโ์ ลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประเทศต่างๆ ให้ ความสําคัญกับการรวมตัวกันในภูมิภาคเพื่อเพ่ิมอํานาจต่อรองและเพ่ิมขีดความสามารถใน การแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ ขณะทปี่ ญั หาหลายอยา่ งซง่ึ เคยเป็นปัญหาในประเทศกลับขยาย วงกว้างขึ้นกลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ อาทิ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคติดต่อ อาชญากรรมข้ามชาติ หรือแม้แต่ปัญหายาเสพติด อาเซียนจึงต้องปรับตัวให้เท่าทัน สถานการณเ์ พือ่ ใหส้ ามารถรบั มอื กับความเปล่ยี นแปลงต่าง ๆ ท่ีเกดิ ขนึ้ ได้อยา่ งทนั ทว่ งที การผนึกกําลังของอาเซียนซ่ึงมีประเทศสมาชิก ๑๐ ประเทศให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ย่อม ทําให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเผชิญกับการเปล่ียนแปลงและปัญหา ท้าทายได้ดยี ่ิงขึน้ เพิม่ ขดี ความสามารถในการแขง่ ขนั และช่วยให้เสียงของอาเซียนมนี าํ้ หนกั เพราะ การท่ีสมาชิกทั้ง ๑๐ประเทศมีท่าทีเป็นหนึ่งเดียวในเวทีระหว่างประเทศจะทําให้ประเทศและ กลมุ่ ความรว่ มมอื อืน่ ๆ ใหค้ วามเชื่อถอื ในอาเซียนมากขึน้ และทําใหอ้ าเซียนมีอํานาจต่อรองในเวที ระหว่างประเทศมากข้นึ ด้วย ในปี ๒๕๔๖ ผู้นําอาเซียนต่างเห็นพ้องกันว่า ถึงเวลาแล้วท่ีอาเซียนควรจะร่วมมือ กันใหเ้ หนียวแนน่ เข้มแข็ง และมั่นคงยิ่งขนึ้ ภายในปี ๒๕๖๓ จึงกําหนดให้มีการสร้างประชาคม อาเซียนทป่ี ระกอบไปดว้ ย ๓ เสาหลัก (pillars) ซ่งึ ตอ่ มาได้เล่ือนกาํ หนดเวลาสาํ หรบั การรวมตัวกัน ให้เร็วขนึ้ เป็นปี ๒๕๕๘ ประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน ตลอดช่วงระยะเวลากว่า ๔๐ ปีที่ผ่านมา สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้หรืออาเซียนได้มีพัฒนาการมาเป็นลําดับ และไทยก็มีบทบาทสําคัญในการผลักดัน ความรว่ มมอื ของอาเซยี นให้มคี วามคืบหน้ามาโดยตลอด อาทิ การรเิ รม่ิ ใหม้ กี ารจดั ต้งั เขตการค้าเสรี ๒๒

อาเซยี น หรือ ASEAN Free Trade Area (AFTA) สมัยอดีตนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน และ นบั เปน็ จุดเริม่ ต้นของการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซยี นโดยเรม่ิ จากเสาเศรษฐกจิ ต่อมา ทีป่ ระชุมสุดยอดอาเซียนทบ่ี าหลี เม่ือปี ๒๕๔๖ ได้แสดงเจตนารมณร์ ่วมกัน ที่จะสร้าง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยมีการจัดทําแผนงานด้านต่างๆ เพื่อให้ บรรลุเป้าหมายดังกลา่ ว นํามาสกู่ ารจัดทาํ กฎบตั รอาเซียน (รายละเอียดในบทต่อไป) เพ่ือวางกรอบ ทางกฎหมายและโครงสรา้ งองคก์ รของอาเซียน ทําใหอ้ าเซยี นเปน็ องค์กรท่มี ีกฎกตกิ าในการทาํ งาน มปี ระสทิ ธิภาพ และเป็นองคก์ รเพือ่ ประชาชนอยา่ งแท้จรงิ ทั้งนี้ กฎบัตรอาเซียน ได้เริ่มมีผลใช้ บังคับแล้วตัง้ แตว่ นั ท่ี ๑๕ ธนั วาคม ๒๕๕๑ ซ่ึงเป็นช่วงเวลาเดียวกับท่ีประเทศไทยได้เข้าดํารง ตําแหน่งประธานอาเซียน ประเทศไทยกับการดารงตาแหน่งประธานอาเซียน เม่ือไ ทยเ ข้าดํ ารง ตําแห น่งป ระธานอ าเซีย นต่อ จาก สิงค โปร์เ มื่ อเ ดือน กรก ฎาค ม ๒๕๕๑ นบั เปน็ ช่วงหวั เลยี้ วหัวต่อทสี่ ําคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน รวมท้งั อยูใ่ นช่วงเดียวกับ ท่คี นไทย คือ ดร.สรุ นิ ทร์ พศิ สุวรรณ ดาํ รงตาํ แหน่งเลขาธิการอาเซียน ไทยจึงให้ความสําคัญต่อ การวางรากฐานสําหรับการสร้างประชาคมอาเซียนเพ่ือให้เ ป็นประชาคมท่ีคํานึงถึงผลประโยชน์ ของประชาชนเป็นสําคญั โดยการเสริมสรา้ งประสิทธภิ าพของกลไกตา่ ง ๆ ของอาเซียนให้สามารถ เขา้ ไปร่วมแก้ไขปัญหาทมี่ ีผลกระทบต่อชีวติ ความเปน็ อยขู่ องประชาชนได้อย่างทนั ทว่ งที ทัง้ ปัญหา ท่ีเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลก ส่ิงแวดล้อม รวมทั้งการป้องกันและควบคุมโรคระบาดต่าง ๆ เช่น การประสานมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจโดยการสรา้ งอุปสงค์ (demand) ภายในภูมิภาคเพือ่ รองรับผลกระทบ จากวิกฤติการณ์ทาง การเงนิ โลก การเตรยี มความพรอ้ มเพอ่ื รบั มอื กับภัยพิบัตติ า่ งๆ โดยมอบหมายให้เลขาธิการอาเซียน เป็นผูป้ ระสานงานในกรณีทเี่ กดิ ภยั พิบัติขนาดใหญ่ รวมทั้งการจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุข อาเซียนกับประเทศคู่เจรจาในเอเชียตะวันออก อีก ๒ ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อ ประสานนโยบายและมาตรการในการควบคุมากรแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สาย พันธ์ุใหม่ (H1N1) นอกจากน้ี ไทยไดผ้ ลักดันกลไกใหม่ๆ ของอาเซียนที่กําหนดไว้ในกฎบัตรอาเซียน สามารถดําเนินงานได้อย่างครบถ้วน ท้ังการจัดต้ังคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจําอาเซียนที่ ๒๓

กรงุ จาการ์ตา คณะมนตรีประสานงานอาเซียนและคณะมนตรีประจําประชาคมอาเซียนท้ัง ๓ เสา รวมทง้ั เปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคประชาสังคมต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วม เพ่ือช่วยกันสร้าง ประชาคมอาเซียน ดังจะเห็นได้จากรเิ รม่ิ ให้มกี ารพบปะอยา่ งไมเ่ ป็นทางการระหว่างผู้นาํ อาเซียนกบั ผแู้ ทนสมัชชารฐั สภาอาเซียน เยาวชนอาเซียน และภาคประชาสังคมอาเซยี น ในระหว่างการประชุม สดุ ยอดอาเซยี น ครัง้ ท่ี ๑๔ และครัง้ ที่ ๑๕ ทช่ี ะอาํ -หวั หนิ เป้าหมายสําคัญประการหน่ึงของไทยในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เป็น ‘ประชาคมเพอ่ื ประชาชน’ ก็คือ การจัดต้ังกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน เพ่ือให้เป็นหน่วยงานหลัก ในการประสานความรว่ มมอื ระหว่างประเทศสมาชกิ อาเซียนกบั องค์การระหว่างประเทศทเี่ กย่ี วขอ้ ง และองค์กร ภาคประชาสังคมต่างๆ ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของประชาชนในภูมิภาค ซ่งึ เป็นท่นี า่ ยินดวี า่ เป้าหมายดังกล่าวได้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมในระหว่างการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งท่ี ๑๕ ที่ชะอํา-หัวหิน เม่ือเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ ซ่ึงมีการประกาศจัดตั้ง คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้ึนอย่างเป็นทางการ ซ่ึงนับเป็น ความสาํ เร็จประการหน่งึ ท่ไี ทยในฐานะประธานอาเซียนได้มีบทบาทสําคัญในการผลกั ดัน ๒๔

อาเซียน : วิสัยทศั นใ์ นอนาคต ถึงแมว้ า่ อาเซียนจะประสบความสําเร็จในด้านการเสริมสร้างความมั่นคงและความ รว่ มมอื ในภมู ภิ าคจนเปน็ ท่ยี อมรับจากนานาประเทศ แต่ก็ยังมีปัญหาท่ีสําคัญ คือ ปัญหาความล่าช้า ในการดาเนนิ งานและการทป่ี ระเทศสมาชิกไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ ดังจะเห็นได้ว่า ในแต่ละปี อาเซียนมีการประชุมมากกว่า ๗๐๐ การประชุม รวมทั้งมีการประเมินว่า ในบรรดาความตกลง ทางเศรษฐกจิ ท่ปี ระเทศสมาชกิ จดั ทําไวร้ ่วมกนั รวม ๑๓๔ ฉบับ มีเพียง ๘๗ ฉบับ ที่ได้ให้สัตยาบัน และมผี ลใช้บังคบั แล้ว ซง่ึ คดิ เปน็ เพยี งร้อยละ ๖๕ เท่านน้ั ท้ังนี้ อาเซียนต้องให้ความสาํ คญั กบั ประชาชนท้ังในเร่อื งการให้ประชาชนไดเ้ ข้ามามี สว่ นร่วมและรู้สึกเป็นเจ้าของประชาคมที่จะสร้างข้ึน ทั้งน้ี บทเรียนจากสหภาพยุโรปช้ีให้เห็นว่า ประชาคมจะไม่สามารถบรรลุผลได้หากประชาชนไม่ให้การสนับสนุน ดังน้ัน ประเทศไทยจึง พยายามผลกั ดันใหอ้ าเซยี นเปน็ ๑. การประชาคมเพอื่ การปฏบิ ัติ (Community of Action) ไทยจะผลักดันให้เร่งรัดการดําเนินการตามข้อตกลงต่างๆ ของอาเซียนให้เกิดผล ในทางปฏบิ ตั ิ โดยเลขาธกิ ารอาเซยี นจะมีบทบาทสาํ คัญในการตดิ ตามให้ประเทศสมาชกิ ปฏิบัติตาม พันธกรณีต่างๆ รวมท้ังจะต้องพัฒนากรอบความร่วมมือของอาเซียนให้สามารถแก้ไขปัญหาท่ี มี ผลกระทบต่อประชาชนไดอ้ ย่างทนั ทว่ งที เชน่ ความรว่ มมอื ระหวา่ งอาเซยี นกบั ประเทศคู่เจรจาเพ่ือ พัฒนาเทคโนโลยีใน การผลิตวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ หรือการนําความสําเร็จของกลไกสามฝ่าย ระหว่างอาเซยี น สหประชาชาติและพม่าในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยไซโคลนนาร์กีส ในพมา่ มาประยุกตใ์ ชใ้ นการแกไ้ ขปัญหาผหู้ ลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮิงญา เปน็ ตน้ ๒. การประชาคมเพ่ือการเชื่อมโยงและติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างใกล้ชิด (Community of Connectivity) ตอ้ งดําเนินการทั้งในดา้ นกายภาพ คือ การพฒั นาเสน้ ทางคมนาคม ทงั้ ทางบก ทางนา้ํ และทางอากาศ ตลอดจนเครือขา่ ยเทคโนโลยสี ารสนเทศต่างๆ เพ่อื อํานวยความสะดวกในการติดต่อ ค้าขาย การท่องเทยี่ ว และการเดนิ ทางไปมาหาสกู่ ันระหวา่ งประชาชน ๒๕

๓. การประชาคมเพอื่ ประชาชนอยา่ งแทจ้ ริง (Community of People) คือ การทําใหป้ ระชาชนในภูมิภาคมีความร้สู กึ เปน็ อนั หนึ่งอนั เดียวกันและตระหนัก ถึงการเป็นประชากรของอาเซียนร่วมกัน ต้องเสริมสร้างอัตลักษณ์ หรือ คุณลักษณะร่วมกันของ ประชาชนในอาเซียนโดยผ่านการศึกษา การแลกเปลยี่ นทางวัฒนธรรม สื่อสารมวลชน และสง่ เสริม การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นับถือศาสนาต่างๆ เพ่ือเสริมสร้าง ความเข้าใจระหว่างประชาชนให้ ยอมรับถึงความแตกต่างและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ส่งเสริมให้ประชาชนของแต่ละ ประเทศมองประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนในลักษณะที่เป็นมิตรและไม่นําประเด็นความขัดแย้งใน ประวตั ิศาสตรม์ าเป็นอปุ สรรคตอ่ ความรว่ มมือระหวา่ งกนั ในอนาคต ซึ่งในเร่ืองนี้ไทยจะริเร่ิมให้มี การพจิ ารณาประวตั ิศาสตรข์ องภูมิภาคเอเชยี ตะวันออกเฉยี งใตร้ ่วมกนั ในเชิงความร่วมมอื มากขึน้ ประโยชน์ทไ่ี ทยจะไดร้ บั ดา้ นดลุ การคา้ ตลอดระยะเวลา ๔๐ กว่าปีที่ผ่านมาไทยได้ประโยชน์หลายประการ จากอาเซียน ทง้ั ในแงก่ ารเสรมิ สรา้ งความมั่นคงซึ่งช่วยเอ้ืออํานวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดย ในปจั จบุ นั อาเซยี นเปน็ ค่คู า้ อนั ดบั ๑ ของไทย มมี ูลค่าการคา้ ระหว่างกนั กว่า ๑.๗๕ ลา้ นล้านบาทต่อ ปี หรือคิดเปน็ รอ้ ยละ ๑๙.๒ ของมลู ค่าการคา้ ทงั้ หมดของไทย ในจาํ นวนน้ีเป็นการส่งออกจากไทย ไปอาเซยี นร้อยละ ๒๐.๗ ของมลู คา่ การส่งออกทั้งหมด โดยไทยเปน็ ฝา่ ยได้ดุลมาตลอด ด้านการคมนาคม การรวมตัวกันด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับการขยายความร่วมมือ เพ่ือเช่ือมโยงโครงสร้างพ้นื ฐาน เช่น เสน้ ทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่ายอนิ เตอรเ์ น็ต ฯลฯ เป็น การช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย โดยขยายตลาดให้กับสินค้าไทยจาก ประชาชนไทย ๖๐ ล้านคนเป็นประชาชนอาเซียนเกือบ ๖๐๐ ล้านคน และเป็นแหล่งเงินทุนและ เป้าหมายการลงทนุ ของไทย ซ่ึงไทยจะไดเ้ ปรยี บประเทศสมาชิกอืน่ เพราะมที ่ีตง้ั อยู่ใจกลางอาเซียน สามารถเป็นศนู ย์กลางทางการคมนาคมและขนสง่ ในภูมิภาค ในอนาคต คนไทยจะได้รบั ประโยชน์จากการรวมตวั เปน็ ประชาคมของอาเซียนมาก น้อยเพียงใดข้ึนกับการเตรียมความพร้อมของไทย จึงควรเร่งสร้างความต่ืนตัวและให้ความรู้กับ ประชาชน เพื่อให้ตระหนักถึงโอกาสและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันซ่ึงจะช่วยให้ คนไทยไดร้ บั ประโยชน์อยา่ งเต็มท่ี ในขณะเดยี วกันกต็ ้องปอ้ งกันไมใ่ ห้เกิดผลกระทบในทางลบแก่ ภาคส่วนตา่ ง ๆ ๒๖

๓บทท่ี ประชาคมอาเซียนปี ๒๕๕๘ ใน ๓ เสาหลัก (pillars) ๒๗

บทที่ ๓ ประชาคมอาเซยี นปี ๒๕๕๘ ใน ๓ เสาหลัก (pillars) ปฏญิ ญาชะอาหัวหินวา่ ดว้ ยแผนงานจดั ตัง้ ประชาคมอาเซยี น (ค.ศ. ๒๐๐๙-๒๐๑๕) ในการประชมุ สุดยอดอาเซยี นคร้ังที่ ๑๔ ท่ีชะอํา หัวหิน เม่อื วนั ท่ี ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ประเทศไทยเป็นเจา้ ภาพ ผู้นาํ อาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอําหัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ค.ศ. ๒๐๐๙-๒๐๑๕) เพื่อดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคม อาเซยี นภายในปี ๒๕๕๘ ใน ๓ เสาหลกั (pillars) คือ ๑. ประชาคมการเมืองและความม่นั คงอาเซียน (ASEAN Security Community- ASC) ๒. ประชาคมเศรษฐกจิ อาเซยี น (ASEAN Economic Community- AEC) ๓. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซยี น (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC) เมื่อมีการรวมตัวเชน่ นี้ ประเทศไทยจะไดป้ ระโยชน์มากนอ้ ยเพียงใด ข้นึ อยู่กับ การเตรียมความพร้อมของภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งหน่วยงานภาครัฐถือเป็นกลไกขับเคล่ือน ปร ะเ ทศ ที่จ ะ ต้อ งเ ตรี ย ม ค วา ม พ ร้อ ม ขอ งเ จ้า ห น้า ท่ีเ พ่ื อ ร อง รับ กา รจั ด ตั้ง ปร ะช า คม อา เซี ย น การแขง่ ขนั ทางเศรษฐกิจ และการเคลื่อนยา้ ยแรงงานที่จะขยายตัวในอนาคต ๒๘

โครงสร้างประชาคมอาเซยี น ก่อนการลงนามในกฎบตั รอาเซยี น ต่อมา ในระหวา่ งการประชุมสุดยอดอาเซียน คร้ังท่ี ๑๓ เมื่อวันท่ี ๒๐ พ.ย. ๒๕๕๐ ผู้นําอาเซียนได้ลงนามกฎบัตรอาเซียนซ่ึงเป็นเสมือนธรรมนูญของอาเซียนท่ีจะวางกรอบทาง กฎหมายและโครงสร้างองค์กร โดยมีเป้าหมาย ๓ ประการ คอื - มีกฎกติกาในการทํางาน(Rules-based) - มีประสิทธภิ าพ - มีประชาชนเปน็ ศนู ยก์ ลาง พิธลี งนามกฎบัตรอาเซียนที่สิงคโปร์ ๒๙

การลงนามในกฎบัตรอาเซยี น เมื่อวนั ท่ี ๒๐ พ.ย. ๒๕๕๐ มผี ลใช้บังคบั ต้งั แตว่ ันท่ี ๑๕ ธ.ค. ๒๕๕๑ ทําให้อาเซียนมีสถานะองค์กรระหว่างประเทศท่ีผูกพันประเทศสมาชิกมากข้ึน และเป็นการวางรากฐานสาหรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี ๒๕๕๘ ทําให้ โครงสรา้ งอาเซียนมีการเพิม่ เตมิ ดงั แผนภมู ิน้ี โครงสรา้ งประชาคมอาเซยี น ภายใต้กฎบัตรอาเซยี น ประชาคม อาเซียน ภายใน ปี ๒๕๕๘ .......................................... ประชาคม ประชาคม ประชาคม ภาค การเมอื งและ เศรษฐกิจ สงั คมและ ประชาสงั คม ความมน่ั คง อาเซยี น วัฒนธรรม อาเซยี น AIPA, CSO, อาเซยี น ABAC ๓๐

เสาหลกั ประชาคมอาเซยี น ๓ pillars ๑. ประชาคมการเมืองและความมน่ั คงอาเซยี น (ASEAN Security Community- ASC) วัตถุประสงค์เพ่ือให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีระบบการแก้ไข ปัญหาและความขัดแย้งโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพ่ือรับมือกับ ภัยคกุ คามความมัน่ คงทงั้ รูปแบบเดิมและรปู แบบใหม่ เพ่ือให้ประชาชนมคี วามปลอดภัยและม่นั คง ปัจจุบันอาเซียนได้จัดทําแผนงานการจัดต้ังประชาคมการเมืองและความม่ันคง อาเซยี น (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยมเี ปา้ หมายเพ่ือ ก) สรา้ งประชาคมอาเซยี นให้มีค่านยิ มรว่ มกัน การมกี ฎเกณฑแ์ ละคา่ นิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ ท่ีจะร่วมกันทําเพื่อ สร้างความเข้าใจในระบบสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก สง่ เสรมิ พฒั นาการทางการเมอื งไปในทศิ ทางเดยี วกนั เชน่ หลกั การประชาธิปไตย การส่งเสริมและ คมุ้ ครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทุจริต การส่งเสรมิ หลักนติ ธิ รรมและธรรมาภิบาล เป็นตน้ ข) ใหอ้ าเซียนสามารถเผชิญกบั ภยั คมุ คามดา้ นความมนั่ คงในรูปแบบใหม่ ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสําหรับ ประชาชนทีค่ รอบคลมุ ในทุกดา้ น ครอบคลุมความรว่ มมอื เพอื่ เสริมสรา้ งความมนั่ คงในรปู แบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เน้ือเชื่อใจและการระงับข้อพิพาทโดยสันติเพ่ือป้องกันสงครามและให้ ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกันโดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง ขยายความร่วมมือเพ่ือ ต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การคา้ มนษุ ย์ ตลอดจนเตรียมความพร้อมเพอื่ ป้องกนั และจดั การภัยพบิ ัติและภยั ธรรมชาติ ค) เสริมสร้างให้อาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่หนักแน่นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลกโดยมีอาเซียน เป็นผู้นาในภมู ภิ าค การมพี ลวตั และปฏสิ มั พันธ์กบั โลกภายนอก เพ่ือเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนใน ความรว่ มมอื ระดับภมู ิภาคเช่น กรอบอาเซียน+๓ กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และ การประชมุ สุดยอดเอเชียตะวนั ออก ตลอดจนความสมั พันธ์ท่ีเข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การ ระหว่างประเทศ เชน่ สหประชาชาติ ๓๑

เป้าหมายในประชาคมการเมืองและความม่ันคง สรุปได้ดังน้ี  สง่ เสรมิ สันติภาพและความมน่ั คง  อยู่รว่ มกันโดยสนั ติ  แกไ้ ขปัญหาข้อขัดแย้งโดยสนั ติวธิ ี  สร้างกฎเกณฑแ์ ละคา่ นยิ มร่วมกนั  ด้านประชาธปิ ไตย สิทธิมนษุ ยชน  ความรบั ผิดชอบร่วมกันในการสรา้ ง ความมั่นคงทีค่ รอบคลมุ รอบดา้ น เช่น โรคระบาด ภัยพิบตั ธิ รรมชาติ  มปี ฏิสัมพันธ์กบั โลกภายนอก ผลกระทบจากการรวมตัวเป็นประชาคมการเมอื งและความมั่นคง  การควบคุมตรวจสอบการดาเนนิ งานของภาครฐั ท่เี ขม้ ข้นยง่ิ ข้นึ  การส่งเสริมความเป็นประชาธปิ ไตยและสิทธมิ นษุ ยชน  การส่งเสริมสันตภิ าพและความปรองดองบนพน้ื ฐานของสันตวิ ธิ ี  ช่องว่างในการพัฒนาอาจนามาซ่ึงความขดั แยง้ ทางสงั คม  ปัญหาอาชญากรรมขา้ มชาติ การลกั ลอบคา้ มนษุ ย์ การคา้ อาวธุ ยาเสพติดและ สารต้งั ตน้ การลักลอบเขา้ เมืองผิดกฎหมาย การกอ่ การร้าย ๓๒

๒. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซยี น (ASEAN Economic Community- AEC) ในการประชมุ สุดยอดอาเซยี นครั้งท่ี ๑๓ ทส่ี งิ คโปรป์ ี ๒๕๕๐ ผนู้ ําอาเซยี นไดล้ งนาม แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community Blueprint) เพื่อให้ อาเซียนมีความสามารถแขง่ ขันกับภมู ิภาคอ่ืนได้เนือ่ งจากกระแสโลกาภิวตั นแ์ ละแนวโน้มการจัดทาํ ขอ้ ตกลงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ที่เพิ่มข้ึน รวมทั้งการแข่งขันเพ่ือดึงเงินลงทุน โดยตรงซ่งึ มแี นวโน้มท่ีจะถ่ายโอนไปสู่ประเทศอื่นนอกภูมิภาคอาเซียนเหล่านี้เป็นปัจจัยสําคัญที่ ทาํ ให้อาเซยี นตอ้ งเร่งรัดการรวมกลุ่มภายในเพ่อื ม่งุ ไปสกู่ ารเปน็ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซยี น การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกจิ อาเซียนมวี ัตถุประสงคม์ งุ่ ให้อาเซยี นเกิดการรวมตวั กนั ทางเศรษฐกิจ และการอาํ นวยความสะดวกในการตดิ ตอ่ คา้ ขายระหว่างกนั  ส่งเสริมใหอ้ าเซยี นเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว  การเคลือ่ นยา้ ยเสรีด้านเงนิ ทนุ สนิ ค้า บรกิ าร การลงทุน แรงงานมีฝีมือ  เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขนั ของอาเซียน  ลดชอ่ งวา่ งระดบั การพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซยี น  ส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเขา้ กับประชาคมโลกได้อยา่ งไมอ่ ยูใ่ นภาวะทีเ่ สยี เปรียบ ท้ังน้ี อาเซียนได้จัดทําแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซงึ่ เป็นแผนงานบูรณาการการดําเนนิ งานในดา้ นเศรษฐกิจเพื่อให้ บรรลุวัตถปุ ระสงค์ ๔ ด้าน คอื ก. มงุ่ ใหเ้ กดิ การไหลเวียนอย่างเสรขี อง สนิ คา้ บริการ การลงทุน เงนิ ทนุ การพัฒนาทาง เศรษฐกิจ และการลดปญั หาความยากจนและความเหล่ือมลา้ ทางสังคมภายในปี ๒๐๒๐ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาคให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม และการเสริมสรา้ งขีดความสามารถผา่ นโครงการต่าง ๆ ข. ทาให้อาเซยี นเปน็ ตลาดและฐานการผลติ เดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และ การเคล่ือนย้ายเงินทนุ อยา่ งเสรีมากขนึ้ ค. ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซยี นเพอ่ื ลดช่องว่าง การพัฒนาและชว่ ยให้ ประเทศเหลา่ นเ้ี ขา้ ร่วมกระบวนการรวมตวั ทางเศรษฐกจิ ของอาเซยี น ๓๓

การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของ อาเซยี นกับประเทศภายนอกภมู ภิ าค เพอ่ื ใหอ้ าเซียนมีทา่ ทรี ว่ มกนั อย่างชัดเจน ง. สง่ เสริมความรว่ มมอื ในนโยบายการเงนิ และเศรษฐกจิ มหภาค การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ ความสาํ คัญกบั ประเด็นนโยบายท่ีจะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบาย การแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนา โครงสร้างพ้ืนฐาน (การเงนิ การขนสง่ เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลงั งาน) กลุ่มสนิ ค้าและบรกิ ารนํารอ่ งท่ีสําคัญ ทีจ่ ะเกิดการรวมกลุ่มกนั คือ สนิ คา้ เกษตร / สินค้าประมง/ ผลิตภัณฑ์ไม้/ ผลิตภัณฑ์ยาง/ สิ่งทอ/ ยานยนต์/ อิเล็กทรอนิกส์/เทคโนโลยี สารสนเทศ (e-ASEAN)/ การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กําหนดให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม ทั้งน้ีประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทา Roadmap ทางด้าน ทอ่ งเทย่ี วและการขนสง่ ทางอากาศ (การบิน) ประโยชนท์ ปี่ ระเทศไทยจะไดร้ บั จากประชาคมเศรษฐกจิ อาเซยี นคอื อะไร ป ร ะ ช า ค ม เ ศ ร ษ ฐ กิ จ อ า เ ซี ย น เ ป็ น เ ป้ า ห ม า ย ด้ า น เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ห ลั ก ท่ี สํ า คั ญ ใ น การขบั เคลื่อนความรว่ มมอื ระหวา่ งประเทศอาเซียน ภายหลังการลงนามจัดตัง้ เขตการคา้ เสรอี าเซยี น มีความคืบหน้าที่ดีในความร่วมมือต่างๆ เป็นลําดับและในที่สุดอาเซียนได้มุ่งหวังที่จะจัดตั้ง ประชาคมเศรษฐกจิ ในปี ๒๕๕๘ ซ่ึงมีองค์ประกอบสําคัญคือ การเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิต ร่วมกัน มีการเคล่ือนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรีและเงินลงทุนที่เสรีมาก ขึ้น มีความสามารถในการแข่งขันสงู มุง่ สร้างความเทา่ เทียมในการพฒั นาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการส่งเสรมิ การรวมกล่มุ อาเซียนเข้ากบั ประชาคมโลก ขนาดของตลาดอาเซยี นที่ใหญ่ขึ้นทําให้ อาเซยี นมอี ํานาจซ้ือสูงขึน้ เชน่ เดียวกับความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นท่ีเพ่ิมขึ้น ช่วยให้ สมาชกิ สามารถปรบั ตวั เพ่ือตอบสนองการเปลย่ี นแปลงในยคุ โลกาภวิ ตั นไ์ ด้เป็นอย่างดี การคมนาคมขนส่งเป็นปัจจัยสําคัญท่ีจะช่วยให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็น ประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง อาเซียนจึงมีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางหลวงอาเซียน มี ความร่วมมือระหวา่ งประเทศในการเช่ือมโยงเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์ ผ่านไปยังมาเลเซีย ไทย ๓๔

กัมพชู า เวยี ดนามและส้นิ สุดที่เมอื งคนุ หมงิ ประเทศจนี นอกจากน้ี การปรับมาตรฐานของเส้นทาง คมนาคมทางบกและทางรถไฟให้มีมาตรฐานเดียวกันก็จะส่งเสริม ความร่วมมือของอาเซียนด้าน การทอ่ งเที่ยวมากยง่ิ ขึน้ ด้วย ขณะท่ีการเจรจาเพ่ือเปิดตลาดในระดับพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลกยังไม่ สามารถสรุปผลได้ในอนาคตอันใกล้ ประเทศต่างๆ ได้พยายามท่ีจะทําข้อตกลงการค้าเสรีท้ังใน ระดับทวีภาคีและระดับภูมิภาค ในส่วนของอาเซียนมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเศรษฐกิจในระดับ ภูมิภาคโดยการจัดทําเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area - AFTA หรือ อาฟต้า) มาแลว้ 15 ปี เร่ิมรวมตัวกับประเทศหรือกลุ่มคู่ค้าสําคัญ เช่น ญ่ีปุ่น จีน เกาหลี สหภาพยุโรป ฯลฯ ความเหนียวแน่นใกลช้ ิดระหวา่ งกันจะเสรมิ สร้างความเขม้ แขง็ ให้อาเซียนสามารถสร้างประโยชน์ สูงสดุ จากการรวมตัวกบั ประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ต่อไป หากอาเซียนสามารถสรา้ งประชาคมเศรษฐกิจอาเซยี นได้สาํ เรจ็ ไทยจะได้ประโยชน์ ๑. ขยายการสง่ ออก ๒. โอกาสทางการค้า เปิดโอกาสการค้าบริการในสาขาท่ไี ทยมคี วามเข้มแขง็ เชน่ ท่องเทยี่ ว โรงแรมและภตั ตาคาร สุขภาพ ฯลฯ ซง่ึ อาเซียนยังมีความต้องการด้านการบริการเหล่าน้ี อีกมาก ๓. เสริมสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายัง อาเซยี น ซ่งึ จะเพ่ิมอาํ นาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก และยกระดับความเป็นอยู่ของ ประชาชนในอาเซียนโดยรวม ๓๕

ผลกระทบจากการรวมตวั เป็นประชาคมเศรษฐกิจ  สมาชิกอาเซยี นเดมิ ๖ ประเทศ ลดภาษีเปน็ ศูนย์ ตง้ั แต่ ๑ ม.ค. ๒๕๕๓  ประเทศสมาชกิ ใหม่ ๔ ประเทศ ลดภาษีเหลืออัตรารอ้ ยละ ๐-๕  สาขาที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ยางพารา มะพร้าว (น้ํามันเนอ้ื มะพร้าวแหง้ ) กาแฟ ปาล์มนา้ํ มนั  สาขาท่ีได้ประโยชน์ ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรม ยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์ electronics อาหารสาํ เร็จรปู เสอื้ ผา้ สําเร็จรปู วสั ดกุ ่อสรา้ ง สนิ คา้ อุปโภคบรโิ ภค  การเคล่ือนยา้ ยแรงงานมีฝีมอื การเคล่อื นย้ายแรงงานไดอ้ ยา่ งเสรีใน ๘ สาขาวชิ าชพี จากการประชุมสุดยอดอาเซียนคร้ังที่ ๙ เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ ที่บาหลี อนิ โดนเี ซีย สมาชกิ อาเซยี นไดจ้ ดั ทาํ ข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเช่ียวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพ่ือ การเคลื่อนย้ายแรงงานไดอ้ ย่างเสรี ซง่ึ ขณะนี้ได้ทาํ ขอ้ ตกลงรว่ มกันแลว้ ๗ สาขาวิชาชพี ไดแ้ ก่ ๑. วิศวกรรม (Engineering Services) ๒. พยาบาล (Nursing Services) ๓. สถาปตั ยกรรม (Architectural Services) ๔. การสํารวจ (Surveying Qualifications) ๕. แพทย์ (Medical Practitioners) ๖. ทนั ตแพทย์ (Dental Practitioners) ๗. บัญชี (Accountancy Services) ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณ หอประชุมกองทัพเรือ ได้มีการบรรยาย เรื่อง ‚ทิศทางการศึกษา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน‛ โดย นายสุนทร ชัยยินดีภูมิ รองอธบิ ดกี รมอาเซยี นได้กล่าวว่า แรงงานมีฝีมือเพมิ่ เปน็ ๘ สาขาแล้ว โดยเพิ่ม ‚การทอ่ งเทีย่ ว‛ เปน็ สาขาที่ ๘ ขณะนปี้ ระเทศสมาชกิ 9 ประเทศได้ลงนามไปแล้ว ยกเว้นประเทศไทย ๓๖

การเร่ิมเคล่ือนย้ายแรงงานฝีมือ ๘ สาขาอาชีพนําร่อง กระทรวงแรงงานจึงได้ ดาํ เนนิ การแกก้ ฎหมายรองรบั ให้ครอบคลมุ ทกุ สาขาอาชีพ จํานวน ๕ ฉบับ อาทิ พ.ร.บ.การทํางาน ของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑รวมทั้งกฎหมายลูกของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพื่อเปิดให้ชาวต่างชาติเข้ามา ทํางานในไทยได้ ๑๔๗ อาชีพ ส่งผลให้อาชีพท่ีสงวนให้คนไทย ๓๙ อาชีพ เช่น ช่างตัดผม งานแกะสลักไม้ งานเจียระไนและงานมัคคุเทศก์ ต้องถูกยกเลิก รวมท้ัง พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนา ฝมี อื แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ เพอื่ ให้การพฒั นาฝีมือแรงงานครอบคลุมถึงชาวต่างชาติ พ.ร.บ.แรงงาน สมั พันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ เพ่ือให้ชาวต่างชาติได้รับ การคมุ้ ครองในสวัสดิการต่างๆและจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ และพ.ร.บ.ประกนั สังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ใ ห้ มี ก า ร ข ย า ย ป ร ะ กั น สั ง ค ม ม า ต ร า ๔ ๐ ใ ห้ ค ร อ บ ค ลุ ม ถึ ง ช า ว ต่ า ง ช า ติ ท้งั น้ี กระทรวงแรงงานคาดว่า สาขาไอทีและยานยนต์ จะเปน็ แรงงานฝีมือที่ประเทศใน อาเซียนต้องการอยา่ งมากในอนาคต ๓๗

๓. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC) การสร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอ้ืออาทรและแบ่งปัน แก้ไขผลกระทบต่อสังคม อนั เน่อื งมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ เปา้ หมายของประชาคมสังคมและวฒั นธรรมอาเซียน อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียน ให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซยี นอย่รู ่วมกันภายใต้แนวคิดสงั คมทีเ่ อื้ออาทร มีสวัสดิการ ทางสงั คมท่ีดี มคี วามมน่ั คงทางสังคม มีความอยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีส่ิงแวดล้อมท่ีดี และมคี วามรู้สกึ เปน็ หนึ่งเดียวกนั โดยเน้นการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิก ในดา้ นความเช่อื มโยงทางประวัติศาสตร์ มรดกทางวฒั นธรรมและอตั ลกั ษณร์ ะดับภมู ภิ าครว่ มกัน ท้ังนี้ การเสริมสร้างรากฐานและความเชื่อมโยงระหว่างกันท่ีแข็งแกร่งนําไปสู่ ความเขา้ ใจของการเป็นเพอื่ นบ้านที่ดี การร้เู ขารเู้ รา และมคี วามรับผิดชอบร่วมกนั ระหว่างประเทศ สมาชกิ ภายใต้สังคมท่เี ออ้ื อาทร ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนมีเป้าหมายต้องการให้ประชากรอาเซียนมี สภาพความเป็นอยทู่ ดี่ ีและมีการพฒั นาในทุกดา้ น โดยยกระดบั คุณภาพชวี ิตของประชาชน ส่งเสริม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนและการจัดการดูแลส่ิงแวดล้อมอย่างถูกต้อง ส่งเสริม ความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับรากหญ้า การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมทั้ง รับรู้ขา่ วสารซ่ึงจะเป็นรากฐานทจี่ ะนําไปสกู่ ารเปน็ ประชาคมอาเซียน ในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งท่ี ๑๔ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ได้ให้ การรับรองแผนงานการจัดต้ังประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) เพ่ือเป็นกรอบและกิจกรรมที่จะทําให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายการเป็น ประชาคมสงั คมและวัฒนธรรมภายในปเี ป้าหมาย ๒๕๕๘ โดยแผนงานฯ จะเน้นใหเ้ กดิ การส่งเสริม ความรว่ มมือกนั ของประเทศสมาชิกในดา้ นตา่ งๆ ประกอบดว้ ยความรว่ มมอื ใน ๖ ด้าน ๓๘

ผลกระทบจากการรวมตวั เป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซยี น  ปัญหาด้านสาธารณสุข เช่น โรคติดต่อท่ีอาจเกิดจากการเคล่ือนย้ายแรงงาน และ นักทอ่ งเท่ียวโดยเสรี  การช่วยเหลือเมอ่ื มีภัยพบิ ตั ิ (ศูนย์ AHA Center)  การช่วยเหลือดา้ นกงสลุ แก่ประชาชนอาเซยี นในประเทศท่ี ๓  การสร้างอัตลักษณ์ร่วมกันของอาเซียน และการสร้างความรู้สึกร่วมของประชาชนให้ ตระหนักถึงหน้าท่ีในการเป็นประชากรของอาเซยี น ผลกระทบในด้านการรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) นอกจากผลกระทบจากการรวมตัวเปน็ ประชาคมอาเซียนในด้านตา่ งๆ แล้ว ยงั มีผลกระทบ ในด้านการรกั ษาความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) ดังนี้  สามารถแก้ไขปญั หาความขดั แย้งระหว่างสมาชิก  มีท่าทรี ว่ มกันเปน็ เสยี งเดียวในเวทีระหว่างประเทศ  รักษาบทบาทการเป็นผู้ขบั เคลื่อนกรอบความรว่ มมอื ในภมู ภิ าค  การรกั ษาความเปน็ ประธานจดั การประชุมตา่ ง ๆ ในภูมภิ าค  มีส่วนร่วมสนับสนุนความพยายามในระดับโลก (global efforts) ในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การรักษาสันติภาพ การปราบปรามโจรสลัด การตอบสนองตอ่ ภยั พิบตั ิ ๓๙

แผนการจดั ตงั้ ประชาคมสงั คมและวฒั นธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ค.ศ. ๒๐๐๙ – ๒๐๑๕) มีจุดมุ่งหมายท่ีจะทําให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ร่วมกันในสังคมที่เอื้ออาทร ประชากรมสี ภาพความเป็นอยทู่ ่ดี ี ได้รบั การพฒั นาในทกุ ดา้ น และมคี วามมนั่ คงทางสังคม และได้ กําหนดกจิ กรรมความรว่ มมือท่มี ปี ระชาชนเป็นศนู ยก์ ลางโดยเนน้ ความร่วมมอื ใน ๖ ด้าน ดงั น้ี A. การพัฒนามนุษย์ (Human Development) B. การคุ้มครองและสวัสดิการสงั คม (Social Welfare and Protection) C. สทิ ธิและความยตุ ธิ รรมทางสงั คม (Social Justice and Rights) D. ความยงั่ ยนื ดา้ นส่งิ แวดลอ้ ม (Environmental Sustainability) E. การสร้างอตั ลกั ษณอ์ าเซียน (Building an ASEAN Identity) F. การลดชอ่ งวา่ งทางการพฒั นา (Narrowing the Development Gap) และเน้นให้มกี ารส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิดและศิลปินในภูมิภาค ตลอดจนการเสรมิ สร้างความตระหนกั รเู้ ก่ยี วกับอาเซยี นในภมู ิภาคโดยเฉพาะในระดับประชาชน โดยแต่ละด้านจะมีองคป์ ระกอบย่อยของแต่ละด้าน โดยมกี ลไกการดาํ เนินงาน ไดแ้ ก่ การประชมุ รายสาขาระดบั เจา้ หน้าทีอ่ าวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรปี ระชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน รวมทั้งการประชุม ก.พ. อาเซียน (ACCSM: ASEAN CONFERENCES ON CIVIL SERVICE MATTERS) ทงั้ นี้ ไทยจะไดป้ ระโยชนอ์ ยา่ งมากจากการที่รากฐานสําคญั ของประชาคมอาเซยี นที่ ประชาชนมีความเข้าใจซ่ึงกันและกัน และเข้าใจถึงผลประโยชน์ท่ีมีร่วมกัน ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ การสร้างประชาคมอาเซียนสามารถประสบความสาํ เร็จด้วย ๔๐

การดาเนินการตามแผนงาน จัดต้ังประชาคมสังคมและวฒั นธรรมอาเซียน (ค.ศ.๒๐๐๙-๒๐๑๕) **************************************************************** หัวขอ้ ผลการดาเนินการ A 7 การสร้างศักยภาพของระบบราชการ (Building Civil Service Capability) ๑. พัฒนายุทธศาสตร์สําหรับ สาํ นักงาน ก.พ. ได้จดั ทาํ ยุทธศาสตร์พร้อมแผนงานโครงการ ก า ร ดํ า เ นิ น ก า ร ต า ม แ ผ น ให้สอดคล้องกับแผนการดําเนินงานด้านกิจการพลเรือน กา ร ดํ า เ นิ น ง าน ด้ า น กิ จ ก า ร อาเซียน ค.ศ. ๒๐๑๐-๒๐๑๕ (ACCSM Work Plan ๒๐๑๐- พลเรือนอาเซียน ค.ศ.๒๐๑๐- ๒๐๑๕) และได้กาํ หนดพนั ธกิจสาํ นักงาน ก.พ. ในปี ๒๕๕๕ ๒๐๑๕ (ACCSM Work Plan เพื่อใหส้ อดคลอ้ งกบั แผนงานฯ ดังนี้ ๒๐๑๐-๒๐๑๕) ๑) พัฒ น า แ ล ะ ว า ง ร ะ บ บ บ ริ ห าร จั ด ก า ร ท รั พ ย า ก ร บุ ค ค ล เพ่อื ขบั เคลื่อนการบรหิ ารกาํ ลังคนภาครัฐใหม้ ปี ระสิทธิภาพ ๒)สรา้ งและพฒั นาทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือนให้มี ส ม ร ร ถ น ะ ขี ด ค ว า ม ส า ม า ร ถ ใ น ก า ร ป ฏิ บั ติ ร า ช ก า ร แ ล ะ ใหบ้ ริการประชาชน ๓)พิทักษ์ระบบคุณธรรมในราชการพลเรือน เสริมสร้าง มโนสจุ รติ และความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการที่มุ่งเน้น ประโยชน์สว่ นรวม ๒. ให้คณะกรรมการรายสาขา ๒.๑. สํานักงาน ก.พ. ได้รับเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ACCSM อาเซียนด้านกิจการพลเรือน (เวียนกนั เป็นเจา้ ภาพตามตัวอักษรของประเทศ) และเข้าร่วม (ASEAN Committee on Civil การประชุม ACCSM และทเี่ กยี่ วข้องเปน็ ประจําทกุ คร้ังไม่ว่า Service Matter - ACCSM) มี ประเทศใดจะเป็นเจ้าภาพ หน้าท่ีส่งเสริมความร่วมมือของ ๒.๒. สํานกั งาน ก.พ. ในฐานะ ASEAN Resource Centre on อาเซยี นโดยส่งเสรมิ ราชการให้มี Leadership Development ได้พัฒนาแนวทางการสร้างผู้นํา ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในราชการพลเรือนของ ไทยท้ังในด้านการสรรห า มีความพร้อมรับผิดชอบต่อ การพฒั นา การเตรียมความพรอ้ มการแต่งตั้งและการส่งเสริม ๔๑

หัวข้อ ผลการดาเนนิ การ ประชาชนและมีธรรมาภิบาลและ คณุ ธรรมของนักบรหิ ารอยา่ งต่อเน่ืองซึง่ ไดป้ รากฏในปจั จุบัน จดั ให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ ในพระราชบัญญตั ริ ะเบียบข้าราชการพลเรอื น พ.ศ. ๒๕๕๑ ในประเด็นเหล่านี้เป็นประจํา ๒.๓. สํานักงาน ก.พ. ในฐานะ ASEAN Resource Centre on ทุกปี โดยเร่มิ ต้ังแต่ปี ๒๕๕๑ Leadership Development จัดประชุมเชิงปฏิบัติการปีละครั้ง สําหรบั ข้าราชการจากประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ ๒.๓.๑ การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรือ่ ง ‚การสง่ เสริมคณุ ธรรม จริยธรรมในราชการ พลเรือน‛ เพ่ือให้ราชการพลเรือนไทย และราชการพลเรอื นของประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีโอกาส เรยี นรู้และแลกเปลีย่ นประสบการณ์ดา้ นการส่งเสรมิ คุณธรรม จริยธรรมในราชการพลเรอื นระหว่างกนั ทัง้ น้ี สาํ นักงาน ก.พ. ได้ รับ งบ ป ระ มา ณส นั บส นุน จา ก ส พร . ก ระ ทร ว ง การต่างประเทศ ๒.๓.๒ การจัดงานวันคุณธรรม จริยธรรมและความโปร่งใส ในภาครัฐ โดยเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิให้ความรู้และ แลกเปล่ียนประสบการณ์ การอภิปรายเป็นคณะ และ การสนทนาปัญหาจริยธรรม ๒.๓.๓ โครงการสัมมนาเร่ือง ‚การพัฒนาระบบวินัยและ ระบบคณุ ธรรมในราชการพลเรือน‛ ๓. สร้างความเข้มแข็งและเพิ่ม ในฐานะ ARC ด้าน Leadership สํานักงาน ก.พ.ได้จัด ศกั ยภาพใหก้ บั ARC ภายใต้การ ฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิก สนับสนุนของ ACCSM ในการ อาเซียน ดงั น้ี พั ฒ น า แ ล ะ จั ด ทํ า ห ลั ก สู ต ร ๓.๑. สํานักงาน ก.พ. ได้จัดอบรมหลักสูตรต่างๆ อย่าง ฝึกอบรมเพื่อช่วยเหลือประเทศ ต่อเน่ืองสําหรับประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งในส่วนท่ี สมาชิกอาเซียน สาํ นกั งาน ก.พ. จัดข้นึ โดยตรง หรอื ในส่วนท่ีจัดให้ตามความ ต้องการของประเทศสมาชกิ อาทิ ๔๒

หวั ข้อ ผลการดาเนนิ การ ๓.๑.๑ หลักสูตร HR Management สําหรับข้าราชการจาก ประเทศกัมพูชา เป็นต้น ๓.๑.๒ หลักสูตร Leadership Development and Succession Planning Programme จดั ประมาณเดอื นเมษายนของทุกปี ๓.๑.๓ หลักสูตร Sharing Experiences on Managing Change and New Public Management ประมาณเดือนพฤษภาคมทุกปี ๓.๑.๔ หลักสูตร Management of Civil Service Training Centreให้แก่ข้าราชการ สปป.ลาว ๓.๒. สํานักงาน ก.พ. ได้จัดทําโครงการความร่วมมือทาง วิชาการระหว่างสํานักงาน ก.พ. กับประเทศสมาชิกอาเซียน ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๕ รวมทั้งส้ิน ๑๙ โครงการ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สพร. กระทรวง การตา่ งประเทศ ประกอบด้วย กลุ่มท่ี ๑ สง่ เสรมิ คุณธรรมจรยิ ธรรมในราชการพลเรือน ๑.๑.โครงการสมั มนาเร่อื ง ‚การส่งเสริมคุณธรรมจรยิ ธรรมใน ราชการพลเรอื น‛ ๑.๒ โครงการสมั มนาเร่ือง ‚การพัฒนาระบบวินัยและระบบ คณุ ธรรมในราชการพลเรือน‛ กลุ่มที่ ๒ ส่งเสรมิ และพฒั นาภาวะผู้นํา ๒.๑ โครงการสัมมนาเรื่อง ‚ทิศทางการสร้างรูปแบบ นกั บรหิ ารระดบั สูงในราชการพลเรือนสาํ หรบั ภูมภิ าคเอเชยี ‛ ๒.๒ โครงการฝึกอบรมหลักสูตร ‚การพัฒนาสมรรถนะ นักบรหิ ารระดบั หวั หน้าส่วนราชการในภูมิภาคในพื้นท่ีพิเศษ เฉพาะ‛ ๒.๓ โครงการฝึกอบรมหลักสูตร ‚การพัฒนาภาวะผู้นํา นกั บรหิ ารระดับกลาง‛ ๔๓

หวั ข้อ ผลการดาเนนิ การ ๒.๔ โครงการฝึกอบรมหลักสูตร ‚การพัฒนาผู้นําคลื่น ลูกใหมเ่ พือ่ อนาคต‛ ๒.๕ โครงการฝึกอบรมหลักสูตร ‚การพัฒนาสมรรถนะ การทํางานแบบมุ่งผลสัมฤทธ์สิ ําหรบั นกั บรหิ ารระดับต้น‛ ๒.๖ โครงการสัมมนาเรื่อง ‚การบริหารข้าราชการผู้มี ผลสมั ฤทธิส์ ูงและแนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายข้าราชการ ผู้มีผลสมั ฤทธิส์ ูงระหวา่ งไทยและประเทศเพ่ือนบา้ น‛ กลมุ่ ท่ี ๓ ส่งเสริมการบริหารทรพั ยากรบคุ คล มอื อาชพี ๓.๑ โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร ‚การเป็น วทิ ยากร(Training for Trainers)‛ ๓.๒โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร ‚การพัฒนา เครื่องมอื และกลไกการสรรหาบคุ คลเข้ารับราชการ‛ ๓.๓ โครงการสัมมนาเร่ือง ‚กลยุทธการดึงดูดคนดีคนเก่ง เขา้ รบั ราชการ‛ ๓.๔ โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร ‚การกําหนด ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือนและการติดตาม ป ร ะ เ มิ น ผ ล ก า ร ดํ า เ นิ น ก า ร ต า ม ยุ ท ธ ศ า ส ต ร์ ก า ร พั ฒ น า ขา้ ราชการพลเรือน‛ ๓.๕ โครงการสัมมนาเรื่อง ‚นวัตกรรมด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือนสําหรับกลุ่มประเทศ สมาชิกอาเซยี น‛ ๓.๖ โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร ‚แนวทาง การตดิ ตามประเมนิ ผลการบรหิ ารทรัพยากรบุคคลในราชการ พลเรือน‛ ๓.๗โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร ‚การพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคลใน ๔๔

หวั ข้อ ผลการดาเนนิ การ ราชการพลเรอื น‛ กลุ่มท่ี ๔ ความร่วมมอื แบบทวิภาคี ๔.๑ โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร ‚ทักษะ การนาํ เสนอดว้ ยการส่ือสาร‛ ๔.๒ โครงการฝึกอบรมหลักสูตร \"Singapore-Thailand Leadership Development Programme\" ๔. รวมกลุ่มผู้เช่ียวชาญและ สํานักงาน ก.พ. เป็นศูนย์กลางการรวบรวมบัญชีรายชื่อ วทิ ยากรซง่ึ เปน็ เสมือนทรัพยากร ผู้เชย่ี วชาญและวิทยากรสาํ หรบั การจัดฝึกอบรมและการสร้าง บุ ค ค ล สํ า ห รั บ ห ลั ก สู ต ร ศกั ยภาพของระบบราชการอยา่ งต่อเนอ่ื ง การฝึกอ บรมและ การสร้า ง ศักยภาพของระบบราชการ ๕. จัดทําหลักสูตรการฝึกอบรม ๕.๑. สํานักงาน ก.พ. ได้จัดฝึกอบรมหลักสูตร ‚บทบาทหญิง คู่มือและตัวแบบให้สอดคล้อง ชายเพอื่ การพฒั นา‛ เป็นประจําทกุ ปๆี ละ ๑ ครัง้ กับประเด็นเร่ืองบทบาทหญิง ๕.๒. สํานักงาน ก.พ. ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ชายและการพัฒนา(Gender and เร่ือง ‚การบริหารกิจการบ้านเมืองท่ีดีโดยส่งเสริมคุณธรรม Development-GAD)จริยธรรม จริยธรรมในราชการพลเรือน‛ เพ่ือให้ราชการพลเรือนไทย และธรรมาภิบาล (Ethical and และราชการพลเรอื นของประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีโอกาส Good Governance) โดยให้มีการ เรียนรู้และแลกเปล่ียนประสบการณ์ด้านการบริหารกิจการ แลกเปล่ียนกับประเทศสมาชิก บ้านเมืองที่ดี การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในราชการ อาเซยี นและอน่ื ๆ พลเรือนระหว่างกัน ท้ังน้ี สํานักงาน ก.พ.ได้รับงบประมาณ สนับสนนุ จาก สพร. กระทรวงการต่างประเทศ ๕.๓ สํานักงาน ก.พ. ได้จัดฝึกอบรมหลักสูตรเสริมสร้าง คุณธรรมจริยธรรมสําหรับนักบริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดบั สูง เป็นหลักสูตรประจําและตอ่ เนอื่ ง ๖. พฒั นาและจดั ทําหลักสูตรการ ๖.๑. นอกเหนือจากการจัดทําโครงการความร่วมมือทาง ฝึกอบรมตามหลักสมรรถนะ วิชาการระหว่างสํานักงาน ก.พ. กับประเทศสมาชิกอาเซียน ๔๕

หวั ขอ้ ผลการดาเนินการ เพ่ือแบ่งปันและแลกเปล่ียน (ตามข้อ ๓) แล้ว สํานักงาน ก.พ. ยังได้จัดทําหลักสูตรพัฒนา ระหว่างกนั ในระบบราชการของ สมรรถนะขนึ้ ซ่งึ ได้ดาํ เนนิ การเสร็จส้ินแล้ว และจะได้นําไป ประเทศสมาชิกอาเซียนภายใต้ จดั อบรมให้ความรแู้ กข่ ้าราชการของประเทศสมาชิกอาเซียน ความชว่ ยเหลอื ของ ACCSM ต่อไป ๗. สร้างความร่วมมือเพ่ือพัฒนา ๗.๑ สาํ นกั งาน ก.พ. ได้พยายามสรา้ งความสัมพนั ธเ์ พื่อให้เกิด ระบบราชการในภูมิภาคอาเซียน การแลกเปล่ียนเรียนรู้กับบางประเทศในอาเซียน เช่น เชิญ ให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผู้ทรงคุณวุฒิจากสิงคโปร์มาให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรม ความสามารถ ความรับผิดชอบ หลักสูตรนักบริหารระดับสูง (หลักสูตรเตรียมความพร้อม และมุ่งตอบสนองต่อประชาชน สําหรับผูท้ ี่จะเปน็ รองอธิบดี) ผ่านกิจกรรมของศูนย์ ARC ๗.๒ ตง้ั แต่ปี ๒๕๕๒ สาํ นักงาน ก.พ. ได้ร่วมมือกับประเทศ คณะกรรมการรายสาขาของ สมาชิกอาเซียนโดยส่งเจ้าหน้าที่ ก.พ. เข้ารับการอบรมใน อาเซียน และกิจกรรม/โครงการ หลักสูตร ต่างๆ ตามที่ศูนย์ ARC ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ อ่ืน ๆ ใน ภูมิ ภ าค ซึ่ งจ ะเ ป็ น จัดกิจกรรมข้ึน ทั้งน้ีเพ่ือให้เจ้าหน้าท่ีได้มีโอกาสเรียนรู้และ การสนบั สนุนการดาํ เนนิ การตาม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านต่างๆ เพ่ือประโยชน์ใน ขอบเขตสําคัญ การกลบั มาปฏบิ ตั ริ าชการ โดยหลกั สตู รทีเ่ ข้ารว่ ม อาทิ ๗.๒.๑ ‚Strategic Management practices in Public Sector‛ ระหว่างวันท่ี ๑๔-๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณ สถาบัน INTAN มาเลเซีย ๗.๒.๒ “Training and benchmarking on civil service management, especially on recruitment, promotion and pension ณ อินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ ๒๘ มีนาคม ถึง ๗ เมษายน ๒๕๕๔ ๘. กําหนดนโยบาย/แผนงาน สํานักงาน ก.พ. ได้กําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์เรื่อง และรณรงค์ให้มีการปฏิบัติการ ดงั กลา่ วใน ตามแผนงาน ACCSM ๒๐๐๙- ๘.๑. พระราชบญั ญตั ิระเบยี บขา้ ราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒๐๑๕ อย่างย่ังยืนเพ่ือที่จะ ๘.๑.๒ มาตรา ๓๔ ว่า การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือน ๔๖

หวั ข้อ ผลการดาเนินการ ส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใส ต้องเป็นไปเพ่ือผลสัมฤทธ์ิต่อภารกิจของรัฐ ความมี ความซื่อสัตย์สุจรติ การตระหนัก ประสทิ ธภิ าพและความคุ้มค่าโดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการ ถึงสภาพแวดล้อม ความเคารพ อย่างมคี ณุ ภาพ คุณธรรมและมีคุณภาพชีวติ ที่ดี สทิ ธมิ นษุ ยชนและความเท่าเทียม ๘.๑.๒ มาตรา ๔๒ ว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคลต้อง กันของบทบาทหญิงชาย คํานงึ ถงึ ผลสมั ฤทธ์แิ ละประสิทธิภาพขององค์กรและลักษณะ ของงาน โดยไม่เลือกปฏบิ ัติอย่างไมเ่ ป็นธรรม ๘.๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๕ ๘.๓. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๕ ๘.๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการพลเรือน สามญั พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๕ ๘.๕. จัดทํามาตรฐานความโปร่งใส เพ่ือ ส่งเสริมให้ ทุ ก ส่ ว น ร า ช ก า ร กํ า ห น ด ตั ว ชี้ วั ด ค ว า ม โ ป ร่ ง ใ ส ใ น การปฏิบัติงาน จัดตั้งคณะกรรมการความโปร่งใสใน สว่ นราชการ และมีระบบการให้รางวัลจูงใจหน่วยงานที่เป็น ตวั อย่างในเรื่องดงั กลา่ ว ๙. สร้างและส่งเสริมกลไกของ ๙.๑. สํานักงาน ก.พ. จัดให้มีตัวช้ีวัดความพึงพอใจและไม่ บริการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ พงึ พอใจของผรู้ ับบริการในงานตา่ งๆ ทเ่ี ป็นงานให้บริการ ซ่ึง และประสิทธิผล ให้มีมาตรฐาน เป็นตัวชว้ี ดั ตามคํารับรองปฏิบัตงิ านระดับส่วนราชการด้วย มี ด้านการบรกิ าร(service standard) การให้คะแนนและให้รางวัลตามผลการทํางานตามตัวชี้วัด มกี ระบวนการให้ข้อมลู ย้อนกลบั ดว้ ย จากประชาชน (citizens feedback ๙.๒ สํานักงาน ก.พ. ส่งเสริมให้ทุกส่วนราชการกําหนด procedure) และระบบการให้ ตัวชี้วัดความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน ซึ่งครอบคลุม คะแนนผลการปฏิบัติงานตาม การเปดิ เผยต่อมาตรฐานการให้บรกิ าร ผลลพั ธ์ ๙.๓ จัดให้ผู้รับบริการมีช่องทางในการร้องเรียนหรือให้ ๔๗

หัวขอ้ ผลการดาเนนิ การ ข้อเสนอแนะต่อการบริการต่างๆ รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารของราชการ ๑ ๐ . ข ย า ย บ ท บ า ท ภ า ค ๑๐.๑ สํานักงาน ก.พ. ริเริ่มให้มีการรวมตัวของภาครัฐ ประชาสังคมและกลุ่มประชาชน ภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน และองค์กรอิสระต่างๆ ใน ในการสร้างมโนสุจริตและ กา ร ร่ ว ม กั น ร ณ ร งค์ แ ล ะ ขั บ เ ค ล่ื อ นม า ต ร ก า ร ส ร้ า ง ธรรมาภิบาล ความโปรง่ ใสในราชการพลเรือนโดยเริ่มดําเนินการมาต้ังแต่ ปี ๒๕๕๒ โดยนายกรัฐมนตรเี ป็นประธานนําการดําเนินการ ในเรอื่ งน้ี ๑๐.๒ สํานักงาน ก.พ. ได้จัดทําเอกสารเรื่อง ‚แนวทาง การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์‛ ของหน่วยงานภาครัฐในภาพกว้างและใน บริบทที่เช่ือมโยงกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ สํ า ห รั บ เ ป็ น แ น ว ท า ง ใ น ก า ร ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร ดํ า เ นิ น ง า น ใ น การสรา้ งมโนสุจริตและธรรมาภิบาล ๑๐.๓ สํานักงาน ก.พ. ได้จัดทําประมวลจริยธรรมข้ึน และ กําหนดให้จดั ตั้งกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมและจัดทําจรรยา ข้าราชการในทุกส่วนราชการ เพ่ือเป็นแนวทางในการสร้าง มโนสุจรติ ตลอดจนป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยมี การจัดกิจกรรมบูรณาการกับหน่วยงานภายนอกและเปิด โอกาสใหป้ ระชาชนเขา้ มามีสว่ นร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของราชการ มีการจัดกิจกรรมด้านการกุศลและบริการ สาธารณประโยชน์ อาทิ การถือศีล การทําบุญตามประเพณี การเลีย้ งอาหารแก่ทหารบาดเจบ็ การบริจาคสงิ่ ของให้แก่เด็ก พกิ ารซา้ํ ซ้อน การทาสโี รงเรยี นในต่างจงั หวัด เป็นต้น ๔๘

ASEAN Plus Three ความรว่ มมอื ในกรอบอาเซียน+๓ กรอบความร่วมมืออาเซียน+๓ (อาเซียน ๑๐ ประเทศกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญปี่ ุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) ได้เริ่มต้นข้ึนเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ในช่วงท่ีเกิด วิกฤตทางการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยมีการพบหารือระหว่างผู้นําของประเทศสมาชิก อาเซียนและผู้นําของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี เป็นครั้งแรก ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ มาเลเซีย นับแต่น้ันเป็นต้นมา การประชุมสุดยอดอาเซียน+๓ จึงได้จัดข้ึนเป็นประจําทุกปี ในช่วงเดียวกับการประชุมสุดยอดอาเซียน และได้มีการออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือ เอเชียตะวันออกเม่ือปี ๒๕๔๒ และมีการจัดต้ัง East Asia Vision Group (EAVG) ในปี ๒๕๔๒ เพื่อวางวิสยั ทัศน์ความรว่ มมือในเอเชยี ตะวันออก EAVG ไดเ้ สนอแนะแนวคิดการจัดตั้งประชาคม เอเชียตะวันออก (East Asian community-EAc) และมาตรการความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เพ่ือ นาํ ไปสกู่ ารจดั ต้ัง EAc ตอ่ มา ในการประชุมสุดยอดอาเซยี น+๓ ครง้ั ที่ ๙ ณ กรุงกวั ลาลมั เปอร์ เม่ือปี ๒๕๔๘ ผู้นาํ ได้ลงนามใน Kuala Lumpur Declaration on the ASEAN+3 Summit กําหนดให้การจัดต้ังประชาคมเอเชีย ตะวันออกเป็นเป้าหมายระยะยาว และให้กรอบ อาเซยี น+๓ เปน็ กลไกหลกั ในการนําไปสเู่ ป้าหมาย ระยะยาวดังกล่าว และในโอกาสครบรอบ ๑๐ ปี ของกรอบอาเซียน+๓ ในปี ๒๕๕๐ จึงได้มีการออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชีย ตะวนั ออก ฉบับท่ี ๒ และแผนงานความร่วมมืออาเซยี น+ ๓ (ปี ๒๕๕๐-๒๕๖๐) การประชมุ สดุ ยอดอาเซยี น+๓ มีมาแล้วรวม ๑๒ คร้ัง โดยล่าสดุ ประเทศไทยไดเ้ ป็น ประธานและเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียน+๓ ครั้งที่ ๑๒ เม่ือวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ ท่ี ชะอาํ หัวหนิ โดยทป่ี ระชมุ ฯ ได้รบั รองแถลงการณ์ ชะอํา หัวหนิ วา่ ดว้ ยความม่ันคงด้านอาหารและ การพัฒนาพลังงานชีวภาพในกรอบอาเซียน+๓ (Cha-am Hua Hin Statement on ASEAN Plus Three Cooperation on Food Security and Bio-Energy Development) เพือ่ สง่ เสริมความร่วมมือ ๔๙

ด้านอาหารและพลังงาน ซึ่งรวมถึงการจัดต้ังระบบสํารองข้าวฉุกเฉินอาเซียน +๓ (ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve ” APTERR) เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงด้าน อาหารในภูมภิ าค และการจัดทาํ ยุทธศาสตร์แบบบูรณาการเก่ียวกับการผลิตและการบริโภคอาหาร และพลังงานชีวภาพท่ีย่ังยืนและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากน้ี ท่ีประชุมฯยังได้สนับสนุน ประเทศไทยที่จะเป็นผูผ้ ลักดนั การจัดต้งั กลไกความร่วมมอื ด้านการศกึ ษาในกรอบอาเซียน+๓ ด้วย ในปัจจบุ นั ความร่วมมือในกรอบอาเซยี น+๓ ครอบคลุมความร่วมมือในสาขาต่างๆ ประมาณ ๒๐ สาขา ภายใต้กรอบการประชุมในระดบั ตา่ ง ๆ ประมาณ ๕๐ การประชมุ ความร่วมมือ ด้านการเงินภายใตม้ าตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative-CMI) ซ่ึงริเร่ิมขึ้นเม่ือปี ๒๕๔๓ เปน็ สาขาความร่วมมอื ทีม่ ีความกา้ วหน้ามากท่ีสุด โดยได้มีการจัดตั้งกองทุนสํารองพหุภาคีภายใต้ CMI หรือที่เรียกว่า ‚CMI Multilateralization (CMIM)‛ ซึ่งมีวงเงิน ๑.๒ แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพือ่ เปน็ กลไกชว่ ยรกั ษาเสถียรภาพทางการเงินในภูมภิ าคเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ และมีการ จัดตั้ง ASEAN+3 Macroeconomic Research Office (AMRO) ท่ีสิงคโปร์ เพื่อวิเคราะห์และติดตาม สภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคและสนับสนุน CMIM และ Credit Guarantee and Investment Facility (CGIF) ซง่ึ มวี งเงินเร่มิ ต้น ๗๐๐ ล้านดอลลาร์สหรฐั เพื่อสนบั สนุนการออกพันธบัตรของภาคเอกชน ประเทศอาเซียน+๓ ยงั ไดจ้ ัดตง้ั กองทุน ASEAN Plus Three Cooperation Fund (APTCF) ซ่ึงมเี งนิ ทุนเร่ิมต้นจํานวน ๓ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพ่ือเป็นกองทุนร่วมในการสนับสนุน การดําเนินมาตรการต่าง ๆ ภายใต้แผนงานความร่วมมืออาเซียน+๓ (ปี ๒๕๕๐-๒๕๖๐) รวมท้ัง การดําเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการส่งเสรมิ ความรว่ มมอื อาเซยี น+๓ ๕๐


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook