Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “การแต่งกายของชุมชนบาบ๋าเพอรานากัน”

การจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “การแต่งกายของชุมชนบาบ๋าเพอรานากัน”

Description: การจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “การแต่งกายของชุมชนบาบ๋าเพอรานากัน”.

Search

Read the Text Version

รายงานผล การจดั เกบ็ และรวบรวมข้อมลู มรดกภมู ปิ ญั ญาทางวฒั นธรรม “การแต่งกายของชมุ ชนบาบ๋าเพอรานากนั ” ผ้ชู ่วยศาสตราจารยป์ ราณี สกลุ พพิ ัฒน์ นายศุภชัย สกลุ พพิ ัฒน์ นายจักรพนั ธ์ เชาวป์ รชี า นางสาวณิชา โตวรรณเกษม รายงานฉบบั นี้ไดร้ ับทนุ สนับสนุนจากกรมสง่ เสรมิ วัฒนธรรม ปีงบประมาณ ๒๕๕๕

(๑) บทคัดย่อ การจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “การแต่งกายของชุมชนบาบ๋า เพอรานากัน” เป็นการศึกษาระบบความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของชาวบาบ๋าใน ประเทศไทย ผ่านขั้นตอนการลงพ้ืนท่ีเพื่อสัมภาษณ์ผู้ผลิตผ้า ผู้ถือครองและผู้สืบทอดมรดกภูมิปัญญา ผู้จาหน่ายผ้า และเยาวชนท่ีมีความสนใจ เมื่อกระบวนการจัดเก็บความรู้ส่วนหน่ึงสัมฤทธ์ิผล กระบวนการกระตุ้นให้เกดิ ความสานกึ ในการเคลอ่ื นไหวเพ่อื ทากจิ กรรมที่เก่ียวข้องกับการสืบทอดและ สงวนรักษาวัฒนธรรมไว้ จึงเป็นเปา้ หมายตอ่ ไปในการในการรวบรวมความเป็นเอกลักษณ์ของพลเมือง ในท้องถิ่น เครื่องแต่งกายบาบ๋าเพอรานากันถือเป็นเครื่องหมายหน่ึงท่ีแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของ ความเป็นกลุ่มชาติพันธ์หน่ึงในประเทศไทย การทาความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายจึงจาเป็นต้อง เช่ือมโยงกับบริบทของชุมชนบาบ๋าท้ังในประเทศไทยและประเทศเพ่ือนบ้าน ได้แก่ ประเทศ อินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย และประเทศสิงคโปร์ รวมถึงพ้ืนท่ีต้นกาเนิดของชนชาติบาบ๋าคือ ประเทศจีน เหตกุ ารณ์ทางการเมือง การอพยพย้ายถ่ิน ทักษะความคิดเร่ืองการปรับตัวในสิ่งแวดล้อม ใหม่ การดารงวิถีชีวิตเพื่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้น และเจตนาอันแรงกล้าของบรรพชนในการ สนับสนุนวัฒนธรรมบาบ๋าให้คงอยู่สืบไป คือบทเรียนประวัติศาสตร์ที่น่าภาคภูมิใจของลูกหลานชาว บาบา๋ ในการยดึ ถอื ปฏบิ ตั ิตามกรอบความแนวความคิดเพื่อนามาปรับใช้กับการเปล่ียนแปลงทางสังคม อย่างรวดเร็วในปัจจบุ ัน การนาเสนอเร่ืองราวเครือ่ งแต่งกายบาบา๋ ในอดตี เป็นดงั่ กระจกที่สะท้อนความ เจริญรุ่งเรืองของชุมชนชาวบาบ๋า และเป็นการบอกเล่าความเป็นมาที่งดงามของวัฒนธรรมลูกผสม บันทึกหน้าต่อไปคือการร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนเพ่ือสร้างกลยุทธ์การสืบทอดองค์ความรู้ทาง วฒั นธรรมการแต่งกายบาบ๋าเพอรานากันน้ีเป็นส่วนท่ีสาคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ แม้วิวัฒนาการโลก จะปรับเปลย่ี นใหช้ าวบาบ๋าดารงวิถีชีวติ ทีเ่ ปลีย่ นไปจากเดิมมาก แต่แนวทางการดาเนินชีวิตและความ เป็นตัวตนคนบาบ๋ายังคงมีให้เห็นอยู่ในวัฒนธรรมการแต่งกาย อาหาร ประเพณี และภาษา ตามหลัก คิดของบรรพบุรุษชาวจีนโพ้นทะเลโดยสรุปคือ “ชาวบาบ๋าควรเรียนรู้ที่จะอยู่แบบเต่า อยู่บนน้าก็ได้ หรือบนบกกไ็ ด้ หายใจชา้ เดินช้าแต่หนกั แน่นและมั่นคง และดารงตนใหอ้ ยูย่ ืนยาวเปน็ ร้อยปี”

(๒) กติ ตกิ รรมประกาศ โครงการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เร่ือง\"การแต่งกายของ ชุมชนบาบ๋าเพอรานากัน \"(Baba Peranakan Costume)\" ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก \"กรม ส่งเสริมวัฒนธรรม\" งานวิจัยฉบับน้ีสาเร็จได้ด้วยความกรุณาช่วยเหลือ แนะนา และให้ความรู้จาก ผทู้ รงคณุ วุฒิในทอ้ งถนิ่ ขอขอบพระคุณนายแพทย์โกศล แตงอุทัย นางสุกัญญา พฤฒิพันธุ์และสมาชิกสมาคมบาบ๋า เพอรานากันท่ีได้ให้ความร่วมมือในการจัดเก็บข้อมูลในเชิงลึกและพร้อมใจเข้าร่วมกิจกรรมที่ คณะผ้วู ิจยั จัดขึน้ ขอขอบพระคุณชาวภูเก็ตท่ีเป็นผู้สืบทอดวัฒนธรรมบาบ๋าซึ่งเต็มใจให้ความร่วมมือในการให้ ปากคาในการสัมภาษณ์และสอบถามจากผู้วิจัยพร้อมกับหาหลักฐานประกอบการวิจัยเช่นรูปภาพ ตา่ งๆทาให้การวิจัยน้ีทาได้โดยสะดวกและไดผ้ ลอย่างดที ส่ี ดุ ขอขอบคุณท่านผู้รู้หลายๆท่านที่ให้ความเมตตาอธิบายเรื่องราวทั้งหมดให้กับผู้วิจัยด้วย ความรู้ของท่านท่ีส่ังสมมาตลอดชีวิต และขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของคุณสันทนา อุปัติ ศฤงค์ ท่ีคุณยาย \"ซุ่ยอ่ิว\" ผู้นาแฟชั่นของสาวบาบ๋าในจังหวัดภูเก็ตเสียชีวิตหลังจากที่ให้สัมภาษณ์ คณะผู้วจิ ัยก่อนหนา้ มรณกรรมของท่านเพียงห้าวนั คุณค่าและประโยชน์อันเกิดข้ึนจากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นกตัญญูกตเวทิตาคุณแด่ บรรพบรุ ุษผสู้ ืบทอดวัฒนธรรมบาบ๋าของชาวภูเก็ตทุกท่าน ขอบพระคุณท่านผู้มีจิตใจเข้มแข็งสามารถ ดูแลวฒั นธรรมท่ที ่านรกั และอบรมบ่มเพาะให้กุลบุตรกุลธิดาของท่านเข้าใจและสามารถสืบทอดความ เป็นชาวบาบ๋าจากรุ่นแรกเม่ือหนึ่งร้อยห้าสิบปีมาจนถึงปัจจุบัน ท่านคงจะภูมิใจย่ิงขึ้นถ้าทราบว่า วัฒนธรรมบาบ๋าจะเป็นแกนนาสาคญั ในการนาพาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชาวบาบ๋าภูเก็ตไปสู่ ตลาดใหญ่ของการท่องเที่ยวอาเซียนเมื่อประเทศไทยเปิดประตูการค้าสู่อาเซียนโดยสมบูรณ์แบบใน อนาคตอนั ใกลน้ ้ี คณะผ้วู ิจัย กันยายน ๒๕๕๖

สารบัญ (๓) บทคัดยอ่ ภาษาไทย หน้า กติ ตกิ รรมประกาศ (๑) (๒) สารบัญ (๓) ๑ บทที่ ๑ บทนา ๑ ๑.๑ หลกั การและเหตผุ ลทีต่ อ้ งรวบรวมและจัดเกบ็ ขอ้ มูล ๒ ๑.๒ โจทย์วจิ ัย ๒ ๑.๓ วตั ถปุ ระสงค์การรวบรวมและจดั เก็บข้อมูล ๓ ๑.๔ ขอบเขต/วธิ ีการดาเนินการรวบรวมและจดั เกบ็ ข้อมูล ๗ ๑.๕ เปา้ หมายและผ้ไู ด้รับประโยชนจ์ ากผลงาน ๘ ๙ บทที่ ๒ แนวคดิ ทฤษฎแี ละงานวิจยั ท่ีเก่ียวข้อง ๑๑ ๒.๑ ประวตั ศิ าสตรข์ องชาวจนี โพน้ ทะเลในบริเวณเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ ๒.๒ ความเปน็ ลูกผสมของชาวบาบา๋ -เพอรานากนั ในดนิ แดนเอเชยี อาคเนย์ ๑๙ ๒.๓ ลกั ษณะการแตง่ กายของชาวบาบา๋ -เพอรานากนั ๒๔ ในภูมิภาคเอเชยี ตะวันออกฉียงใต้ ๒๔ ๓๐ บทที่ ๓ วธิ ีดาเนินการเก็บข้อมูล ๓๐ ๓๕ ๓.๑ ขนั้ ตอนในการเก็บข้อมูล บทท่ี ๔ สาระของ “การแตง่ กายของชาวบาบ๋าเพอรานากนั ” หนา้ ๔.๑ การกระจายตวั ของชมุ ชนและรปู แบบของการแตง่ กาย ๓๖ ๔.๒ ชุมชนและกลุม่ คนที่เกีย่ วขอ้ ง ๕๘ ๔.๒.๑ ชมุ ชนในอาเภอเมืองภูเกต็ ๔.๒.๒ ชุมชนกะทู้

(๓) ๔.๓ สาระสาคญั ของ “การแตง่ กายของชาวบาบ๋าเพอรานากนั ” ๖๒ ๔.๓.๑ ลักษณะทวั่ ไปของการแต่งกาย ๖๒ ๔.๓.๑.๑ การแต่งกายตามเพศและวยั ๖๒ ๔.๓.๑.๒ พธิ ีกรรมและความเชอื่ ตา่ งๆที่มผี ลตอ่ การแต่งกาย ๘๖ บทที่ ๕ กระบวนการมสี ่วนร่วมของชมุ ชนในการสืบทอดมรดกทางวฒั นธรรม ๙๓ “การแต่งกายของชุมชนบาบ๋าเพอรานากัน” ๕.๑ จดุ เริ่มต้นของการจัดกจิ กรรมเพื่อสง่ เสรมิ การแตง่ กาย ๑๐๐ ของชาวบาบา๋ -เพอรานากัน ๑๐๒ ๕.๒ การจดั กจิ กรรมการแต่งกายบาบา๋ -เพอรานากนั กบั งานประเพณตี า่ งๆ ๕.๓ การจัดโครงการ “สารวจวิถีการแต่งกายของชาวภูเกต็ ๑๐๖ และวิธกี ารธารงไว้ซง่ึ วัฒนธรรมบาบ๋าภเู ก็ต” ๕.๔ การจดั กิจกรรมดา้ นการแต่งกายบาบ๋า-เพอรานากนั ๑๔๑ ของกลุ่มชุมชนในแถบจังหวัดชายฝงั่ ทะเลอนั ดามันตอนใต้ ๑๕๒ ๑๕๒ บทที่ ๖ สรุปผลการวิจัย อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ ๑๕๓ ๑๕๘ ๖.๑ ความนา ๑๖๓ ๕.๒ สรุปผลการรวบรวมข้อมูล ๑๖๔ ๕.๓ การอภิปรายผล ๑๖๖ ๕.๔ ปญั หาและข้อจากดั ในการเกบ็ รวบรวมข้อมลู ๑๗๐ ๕.๕ ขอ้ เสนอแนะในการเกบ็ รวบรวมขอ้ มูลครั้งตอ่ ไป บรรณานุกรม ประวตั ิผู้วิจยั

๑ บทที่ ๑ บทนำ ๑.๑ หลกั กำรและเหตผุ ลที่ต้องรวบรวมและจดั เกบ็ ข้อมูล ประเทศไทยประกอบด้วยหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ หนึ่งในนั้นคือกลุ่มชาติพันธ์บาบ๋า เพอรานากัน ซ่ึงชาวบาบ๋ามี ถ่ินฐานกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย (ปีนัง มะละกา อิโปห์) บาบ๋าคือกลุ่มชนลูกผสมของพ่อชาว จีน (ฮกเกี้ยน) และแม่ชนพ้ืนเมือง (อาจจะเป็นลูกผสมท่ีมีพ่อเป็นคนจีนก็ได้) ภาษาพูดก็แตกต่าง กันไปดังนี้ บาบ๋าสิงคโปร์และมะละกาจะพูดโดยใช้ภาษาแม่เป็นมลายู และภาษาที่สองเป็น ภาษาจีนฮกเก้ียน และ ภาษาที่สามจึงจะเป็นภาษาอังกฤษ บาบ๋าปีนังจะแตกต่างโดยพูดภาษา แรกเป็นจีนฮกเก้ียน ภาษาที่สองเป็นภาษาอังกฤษและภาษาท่ีสามจึงจะเป็นภาษามลายู ส่วน บาบา๋ ภเู ก็ตชึ่งอยู่เหนอื สุดและใกลป้ นี งั พูดภาษาใต้ทอ้ งถนิ่ ภเู กต็ ทีมีศัพท์ (มาจากหลากหลายท่ีมา) ท้งั ภาษาแขก มาเลยจ์ ีนและองั กฤษ ชาวบาบ๋าด้ังเดิมทุกแห่งแต่งกายคล้ายกันกล่าวคือ ผู้ชายแต่งกายแบบสากล (ตามอย่าง ฝร่ังนักลงทุนรายใหญ่ในธุรกิจเหมืองแร่และยางพารา) ด้วยเหตุผลที่พ่อชาวบาบ๋าต้องการให้ลูก ก้าวหน้าในอาชีพสามารถทางานทัดเทียมกับฝร่ังผิวขาวได้ การแต่งกายจึงเป็นการเลียนแบบ สากล ยกเว้นเม่อื อยกู่ ับบา้ นอาจจะแต่งเป็นจีนบ้าง เช่นนุ่งกางเกงแพรปังลิ้น หรือแต่งแบบมลายู บ้าง เช่น นุ่งผ้าถุงสีอ่อนลายตาๆ สตรีบาบ๋าแต่งกายตามอุดมคติของบรรพบุรุษ นิยามของความ งามของสตรีจีนฮกเก้ียนคือ แบบบางน่าทะนุถนอมและเป็นผู้ได้รับการอบรมส่ังสอนดี ส่ือที่ใช้ แสดงออกคือแต่งกายมิดชิด เส้ือต้องเป็นคอต้ังแขนยาวที่เรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า \"เสื้อมือจีบ\" แมท่ ีเ่ ป็นชาวลกู ผสมเสียดายรปู ร่างงดงามของลกู สาวจึงคิดหาวธิ ีทาให้เส้ือแบบเรียบมีสีสันขึ้นโดย ให้นุ่งผ้าถุงปาเต๊ะสีสดใสดอกและลายเป็นมงคลตามความเช่ือของจีน นอกจากนั้นก็สวมเส้ือฉลุ ลายตามขอบชายเสอื้ ซง่ึ เปน็ บทเรียนทีส่ ตรีฮอลันดามาสอนให้ นอกจากฉลุแล้วก็มีการต่อชายเส้ือ ด้วยลูกไม้ฉลุมือ(สินค้าท่ีต้องนาเข้าจากเมืองฝร่ัง) การต่อเส้ือผ้าฝ้ายกับลูกไม้จัดเป็นศิลปการตัด เยบ็ ขนั้ สูงท่ีต้องเรยี นจากสถาบนั ตดั เยบ็ และชาวบาบ๋าในปนี งั มะละกาและสิงคโปร์เรียกเสื้อชนิดนี้ ว่า \"เคบายา\"ส่วนชาวภูเก็ตบาบ๋าเรียกว่า\"เสื้อยะหยา\"ตามชื่อเรียกสตรีของชาวบาบ๋าท่ีชาวภูเก็ต เรียกไม่สะดวกปากเพราะเป็นเสียงนาสิก เราจึงเรียกรวมว่า \"บาบ๋า\" โดยไม่แยกเพศ ในขณะที่ บาบ๋าในทีอ่ ืน่ เขาเรียกเฉพาะผชู้ ายวา่ \"บาบา๋ \" และเรยี กสตรีวา่ \"ยะหยา\" สาหรบั สตรสี ูงวยั หรอื ภรรยาเจ้าของเหมืองแร่ดีบุกจะนิยมแต่งกายแบบภูมิฐานสมฐานะ เรียกชุดน้ีว่า \"ชุดเส้ือครุยเกล้ามวยสูง\" หรือนิยมเรียกให้ส้ันง่ายต่อการสื่อความหมายว่า\"ชุดนาย

๒ หัวหญิง\"ซ่ึงก็แปลว่า ภรรยาของนายหัว (เหมือง) แปลมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนว่า \"เถ้าเก้ เอ บอ๊ ง\" ชดุ นปี้ ระกอบด้วยผ้าถงุ ปาเต๊ะ ผา้ ฝ้ายเนอ้ื ละเอยี ดลวดลายเปน็ มงคลตามความเชื่อของจีนสี สดสวย เสอ้ื ตัวในเปน็ เส้ือลกู ไม้สีขาวเย็บเป็นคอจนี แขนยาวสวมเสื้อครุยบางลายดอกยาวเกือบถึง ข้อเท้า ท้ังนึ้เคร่ืองประดับเป็นเรื่องเก่ียวข้องกับเส้ือผ้าท่ีแสดงลักษณะความเป็นบาบ๋าเพอรานา กนั มากทีส่ ดุ เช่นกนั ๑.๒ โจทย์วจิ ยั (๑) จะมีวิธีการ/กระบวนการอย่างไรในการท่ีจะได้มาซึ่งข้อมูลท่ีตรงกับข้อเท็จจริง เกีย่ วกบั การแต่งกายของชาวบาบ๋าภูเก็ตเพื่อท่ีจะนามาใช้ประโยชน์ในการปกป้องคุ้มครองมรดก ภมู ปิ ัญญาทางวฒั นธรรม (๒) จะมีวิธีการ/กระบวนการอย่างไรในการกระตุ้นสานึกของเจ้าของวัฒนธรรมให้ ร่วมกันปกปอ้ งคุ้มครอง และสืบทอดการแต่งกายของชาวบาบ๋าภูเก็ตอันเป็นมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมของตนเองเพื่อรับใช้คนในชุมชนเจ้าของ วัฒนธรรมโดยการรื้อฟื้นและการสืบทอดน้ัน ตอ้ ง ครบเคร่ืองเรื่องสืบทอดทั้งส่วนทีเ่ ป็น “รปู แบบ”และสว่ นท่เี ปน็ “คุณคา่ และความหมาย” ๑.๓ วตั ถปุ ระสงคก์ ำรรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล (๑) เพื่อค้นหาระบบความรู้ ความเข้าใจเก่ียวการแต่งกายของชาวบาบ๋าในขอบเขตของ ประเทศไทย (๒) เพื่อศึกษากระบวนการรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการแต่งกายของชาวบาบ๋า และกระตุ้นชุมชนชาวภูเก็ตให้เหน็ ความสาคัญของประเพณี ทาใหเ้ กิดจิตสานึกท่ีจะเคลื่อนไหวทา กิจกรรม สงวนรักษาการแตง่ กายของชาวบาบ๋าภเู ก็ตให้สืบทอดตอ่ ไปในบริบททเี่ หมาะสม (๓) เพ่ือนาไปสู่การเสนอให้การแต่งกายของชาวบาบ๋าเป็นมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมกล่มุ ชาติพันธบ์ุ าบ๋าในขอบเขตของประเทศไทยและของโลกในกาลข้างหน้า ๑.๔ ขอบเขต/วธิ กี ำรดำเนินกำรรวบรวมและจดั เก็บข้อมูล ทมี วจิ ยั ไดก้ าหนดขอบเขต/วธิ กี ารดาเนนิ การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเร่ืองการแต่งกาย ของชาวบาบ๋าภูเก็ต ดงั น้ี

๓ (๑) ขอบเขตพ้ืนท่ี โครงการจะดาเนินกิจกรรมในพ้ืนท่ี จังหวัดภูเก็ตทั้งสามอาเภออัน ได้แก่ อาเภอเมือง อาเภอถลาง และอาเภอกะทู้ตลอดจนบริเวณใกล้เคียงในอาเภอเมืองพังงา อาเภอตะก่ัวป่าและอาเภอท้ายเหมือง ท่ียังคงมีผู้อาวุโสท่ีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแต่ง กายของชาวบาบ๋าภูเก็ต คณะนักวิจัยมีเครือข่ายกับกลุ่มชาติพันธุ์บาบ๋า ในพ้ืนที่วิจัยเพ่ือเตรียม ข้อมูลให้พร้อมที่จะนาเสนอและจัดแสดงใน \"พิพิธภัณฑ์บาบ๋าภูเก็ตเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระเทพรัตน์ฯ\" อาจารยป์ ระภสั สร โพธศ์ิ รีทองอาจารยจ์ ากมหาวิทยาลยั มหดิ ลผ้เู ชย่ี วชาญเรือ่ งผ้าโบราณ เสนอแนะเพื่อการแก้ไขปัญหาอันอาจจะเกิดข้ึนได้ในหลายพิพิธภัณฑ์ว่า ผู้ท่ีทาพิพิธภัณฑ์มักจะ เป็นนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ศิลปะ นักมานุษยวิทยา นักประวัติศาสตร์ ฯลฯ ท่ีอธิบายได้ แต่ของท่ีเก่ียวข้องกับท่ีตัวเองเล่าเรียนมา แต่ยังมีของอีกมากมายท่ีมีเร่ืองราวที่เชื่อมโยงกับปัจจ บัน แตข่ าดคนศึกษาอยอู่ ีกมาก เชน่ วตั ถุที่เป็นสินค้านาเขา้ มาจากทตี่ ่าง ๆ ข้าวของท่ีเกิดจากการ ผลิตแบบอตุ สาหกรรม แฟช่ันการแต่งกาย หรือของใช้ในทางการแพทย์ ฯลฯ ท่ีล้วนเป็นจ๊ิกซอว์ เติมเต็มเรื่องราวดว้ ยกันท้ังน้ัน หากไม่เกิดความรู้ใหม่ ๆมาอธิบายของท่ีบางคนมองว่าด้อยคุณค่า ทางศิลปะ เร่ืองราวของเราก็คงจะแหว่งเว้าอยู่แบบนี้ และเราก็คงทาได้แค่เอาเรื่องเก่าๆมาเล่า ด้วยสื่อสมัยใหม่เท่าน้ันเอง การพัฒนาเน้ือหาสาระมีความสาคัญต่อการพัฒนางานพิพิธภัณฑ์อยู่ มาก มาชว่ ยกนั สรา้ งเรอ่ื งเลา่ ใหม่ ๆทีเ่ ติมเต็มเรอื่ งราวของเรากนั นะ (๒) กจิ กรรม วิธีดาเนินงานและจัดเก็บข้อมูล กจิ กรรม วตั ถปุ ระสงค์ กล่มุ เปำ้ หมำย วิธกี ำร ๑. การประชมุ เชิง ช้ีแจงวตั ถปุ ระสงค์ -ทีมวจิ ัย -จัดการประชมุ เพือ่ ชี้แจงใหเ้ ข้าใจ ปฏิบตั กิ ารสาหรบั กระบวนการเก็บข้อมูล ถงึ ความสาคญั และวตั ถุประสงค์ ทมี วิจยั วัตถปุ ระสงค์ -แหล่งข้อมลู อธบิ ายข้นั ตอนวธิ ใี นการเกบ็ - หนว่ ยงานที่ - ชแี้ จงโครงการ ประสานงาน และ ๒. ติดตอ่ ข้อมูลเพือ่ ใหไ้ ดผ้ ลลพั ธตื ามที่ เก่ียวข้อง สรา้ งความรว่ มมือระหว่างองค์กร ประสานงานเพือ่ ต้องการ ดาเนนิ การเก็บ แบง่ หน้าที่ ข้อมลู วางแผนการทางาน การตดิ ตอ่ กับแหล่งขอ้ มลู เพอื่ ทาความเขา้ ใจถึง ความสาคญั ประเด็นปญั หา และแผนงาน สร้างความเขา้ ใจระหวา่ ง หนว่ ยงานท่เี กี่ยวขอ้ งเพือ่ ประสานความร่วมมอื ในการ

๔ กจิ กรรม วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้ำหมำย วิธีกำร ๓. การเก็บ ดาเนนิ งาน -กลมุ่ เปา้ หมาย เกบ็ ขอ้ มูลโดยการบนั ทกึ ภาพ เสยี ง รวบรวมข้อมลู จาก เพ่ือรวบรวมข้อมลู ทจี่ าเป็น -ชุมชนที่ ภาพเคลอ่ื นไหว และตาแหนง่ ทาง กลุ่มเป้าหมาย ในการวจิ ยั เกีย่ วขอ้ ง พิกัด รวบรวมขอ้ มลู ทีม่ ีชีวิตจาก การเก็บข้อมลู ภาพและเสียง ท้งั ๓.๑ การสมั ภาษณ์ กลุ่มคน สงั คม ชมุ ชนที่ - บคุ คลทีม่ ี บนั ทึกภาพถา่ ยทมี่ คี วามละเอยี ดสงู เชิงลึก เก่ียวข้อง ความรทู้ าง - เพอ่ื รวบรวมขอ้ มลู ทีเ่ ป็น ประวตั ศิ าสตร์ เก็บขอ้ มลู โดยการสังเกตและ ๓.๒ การศึกษา จริงจากบุคลทีย่ ังมชี วี ติ วัฒนธรรมการ บนั ทกึ ภาพถา่ ย โดยทมี นกั วจิ ัยเอง การแต่งกายจาก - ศกึ ษาขอ้ มลู ทาง แตง่ กาย ชาว เทศกาล พิธีกรรม ประวัติศาสตร์ของการแตง่ ภเู กต็ ท้ังโดย - ศกึ ษาจากเอกสารเก่า หนังสือ สาร ตา่ งๆ กายทส่ี ัมพนั ธก์ บั วถิ ชี ีวติ ทางตรงและ สาร ก่อนจะสรุปผลเพ่ือนาไป ความเปน็ อยู่ เศรษฐกิจ ทางอ้อม ประกอบกับข้อมูลในงานวิจยั นี้ ๓.๓ การศึกษา สังคม - ผู้เข้ารว่ ม เอกสารทาง พิธีกรรม หรอื จดั เวทสี มั มนา นาเสนอข้อมลู และ ประวตั ิศาสตร์ - การรวบรวมขอ้ มลู ที่มี เทศกาลทีส่ าคญั แลกเปลย่ี นความคดิ เหน็ ความสมั พันธ์กับบรบิ ทใน เช่น เทศกาลกนิ ๓.๔ การจัดเวที ปจั จบุ นั เช่นการแตง่ กายกบั เจ งานทาบุญ ประชมุ กลมุ่ ยอ่ ย พิธีกรรม การแตง่ กายกับ เดือนสิบ ความเชอื่ ทางสงั คม เป็นตน้ พิธีกรรมทาง - ศึกษาประเด็นเรื่องการสบื ศาสนาอื่นๆ ทอดทางวฒั นธรรมการแตง่ กายทมี่ ีความสัมพนั ธ์กบั - เอกสารทาง เทศกาล และพธิ กี รรมตา่ งๆ วชิ าการท่ีไดเ้ คย - เพ่อื ศกึ ษาข้อมลู อ่นื ๆท่ไี ด้ ตีพิพมพ์ เคยมกี ารรวบรวมมากอ่ น - กลุม่ นามาสรุป และหาประเดน็ ที่ นกั วชิ าการทม่ี ี ยงั ไมไ่ ดถ้ กู ชี้แจงใน เปน็ บทบาทในดา้ น แนวทางในการประกอบการ วฒั นธรรม วจิ ยั ให้มปี ระโยชนใ์ ชไ้ ดจ้ รงิ ทอ้ งถิ่น ชาว ในสังคม ภเู กต็ - ชมุ ชน - หาขอ้ สรปุ ร่วมกบั ชุมชนถึง - บุคคลผมู้ สี ่วน เอกลกั ษณท์ างวฒั นธรรม รว่ มในชุมชน และการแต่งกาย - นักวชิ าการ - หาแนวทางในการสบื ทอด - หนว่ ยงาน วัฒนธรรมให้มชี ีวิต รว่ มกบั ตา่ งๆ ชุมชน

๕ กิจกรรม วตั ถุประสงค์ กลมุ่ เป้ำหมำย วธิ กี ำร ๓.๕ การจัดตง้ั - หาแนวทางใหเ้ ยาวชนมี - เยาวชน และ จดั งานอบรม และสมั มนาเพ่อื พัฒนา โครงการเยาวชน ทกั ษะการเปน็ นักวจิ ัย กอ่ นจะแยก อนรุ ักษ์วฒั นธรรม ส่วนร่วมในการเก็บ และ ผปู้ กครอง ย้ายไปเก็บข้อมลู จากครอบครัวของ ทอ้ งถ่ิน ภูเก็ต ตนเพ่อื นามาสรปุ ผลในภายหลงั รักษาวัฒนธรรมผา่ น - โรงเรยี น ๓.๖ เวทีคนื ขอ้ มูล จดั เวทสี มั มนา นาเสนอขอ้ มูลและ ให้ชมุ ชน กระบวนการวจิ ยั แลกเปลยี่ นความคดิ เห็น ๔. การตดิ ตาม - สร้างแนวทางพฒั นาองค์ - ทาการสรปุ ผลทุกสปั ดาห์ เพือ่ ผลงาน พัฒนาการเก็บขอ้ มลู ทเี่ หมาะสม ซึ่ง ๕. จัดเวทีสืบต่อ ความร้ทู างวัฒนธรรมดว้ ย จะชว่ ยใหข้ ้อมูลและการสรุปผลมี วัฒนธรรม ความนา่ เชอ่ื ถือมากย่งิ ขนึ้ ชุมชน จดั เวทสี มั มนา นาเสนอขอ้ มูลและ ๖. การวเิ คราะห์ แลกเปลยี่ นความคดิ เห็น นอกจากนี้ และสรปุ ข้อมลู - เก็บรวบรวมขอ้ มลู ทบทวน - ชุมชน จะมกี ารเสนอแนวทางการพฒั นา วฒั นธรรมท้องถิ่น สู่สื่อประเภทอ่นื ๆ และสรุปผลโดยใหช้ ุมชนมี - บคุ คลผ้มู สี ่วน ดาเนนิ การสรปุ ขอ้ มลู ตา่ งๆท่ไี ดจ้ าก ส่วนรว่ ม ร่วมในชุมชน การวิจยั - หาแนวทางสบื ทอด - นักวชิ าการ วัฒนธรรมดานการแต่งกาย - หนว่ ยงาน - เป็นการสรา้ งเครือข่ายทาง ตา่ งๆ วฒั นธรรม และแลกเปล่ยี น ความเหน็ ความร่วมมอื ใน ด้านต่างๆ ทางวฒั นธรรม - ตดิ ตามกระบวนการ - ทมี วจิ ยั ทางานโดยพจิ ารณาถึงเวลา และคณุ ภาพของข้อมูลทไี่ ด้ รวบรวม - เพ่อื หาทางประยกุ ต์การสืบ - ผอู้ บรม ทอดวัฒนธรรมการแตง่ กาย - วิทยากร ผ่านสือ่ รปู แบบอื่นๆ เชน่ - ชมุ ชน กราฟกิ แอนิเมชัน การ - หนว่ ยงานท่ี ออกแบบผลติ ภัณฑ์ เกี่ยวข้อง - สรา้ งเครือขา่ ยแลกเปลย่ี น ความรจู้ ากผูเ้ ชีย่ วชาญใน ศาสตร์สาขาตา่ งๆทเี่ ก่ียวข้อง - กระตุ้นใหเ้ ยาวชนมี จติ สานึกและหวงแหน วฒั นธรรมทอ้ งถ่นิ ของตนเอง - เพ่ือสรุปผลการวจิ ยั ในเรื่อง ทีมวจิ ยั ของวฒั นธรรมการแต่งกาย ชาวภเู ก็ต - สรา้ งองคค์ วามรูจ้ าก งานวจิ ัย เพ่อื นาไปใช้ ประโยชนไ์ ด้ในอนาคต

๖ ๑.๕ เป้ำหมำยและผู้ไดร้ บั ประโยชนจ์ ำกผลงำน (๑) ชมุ ชน ชาวภูเก็ต เนื่องจากเป็นเจ้าของวัฒนธรรมเอง จะได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และสบื ตอ่ เปน็ ความดีงามของสังคมท่ีมคี วามรักในทอ้ งถิ่นของตนเอง (๒) หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และหน่วยงานด้านการศึกษา เนื่องจาก จังหวัดภูเก็ตเป็นแหล่งทองเท่ียวที่มีความสาคัญ การอนุรักษ์วัฒนธรรมต่างๆจะช่วยให้เกิดเป็น การท่องเทยี่ วท่ยี ่งั ยนื ท้ังสามารถนาไปเผยแพรผ่ ่านสอ่ื ดา้ นตา่ งๆ และเกิดการพัฒนาการเรียนการ สอนใหต้ ระหนกั รถู้ ึงความสาคัญของวัฒนธรรม (๓) ทีมงานวิจัย จะได้รับประสบการณ์การวิจัย มีการสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยน ความรู้เพื่อนาไปใช้ในการวิจัยเร่ืองอื่นๆ หรือประยุกต์ให้เกิดการพัฒนาทางวิชาการด้านต่างๆ ต่อไปในอนาคต

๘ บทที่ ๒ แนวคดิ ทฤษฎแี ละงานวจิ ัยท่เี ก่ยี วข้อง สถานภาพองค์ความรู้ท่มี อี ยู่ จากการศึกษาความเป็นมาของการแต่งกายชาวบาบ๋า-เพอรานากันภูเก็ต สามารถแบ่ง หมวดหมู่ออกเป็นองคป์ ระกอบสว่ นต่างของเคร่ืองแต่งกายทงั้ ท่ีเปน็ ความนิยม หรือเป็นความเช่ือ การ แตง่ กายของชาวบาบา๋ มีแนวคิดที่แตกต่างกันในผู้ชายและผู้หญิง ชาวบาบ๋า ผู้ชายแต่งกายแบบสากล (ตามอย่างฝร่ังนักลงทุนรายใหญ่ในธุรกิจเหมืองแร่และยางพารา) ด้วยเหตุผลที่พ่อชาวบาบ๋าต้องการ ให้ลูกก้าวหน้าในอาชีพสามารถทางานทัดเทียมกับฝร่ังผิวขาวได้ การแต่งกายจึงเป็นการเลียนแบบ สากล ยกเว้นเมือ่ อยู่กบั บ้านอาจจะแต่งเป็นจีนบ้าง เช่นนุ่งกางเกงแพรปังล้ิน หรือแต่งแบบมลายูบ้าง เช่น นุ่งผา้ ถงุ สอี ่อนลายตาๆ สตรีบาบ๋าแต่งกายตามอุดมคติของบรรพบุรุษ นิยามของความงามของสตรีจีนฮกเกี้ยนคือ บอบบางน่าทะนุถนอมและเป็นผู้ได้รับการอบรมส่ังสอนดี สื่อที่ใช้แสดงออกคือแต่งกายมิดชิด เส้ือ ต้องเป็นคอตั้งแขนยาวท่ีเรียกเป็นภาษาท้องถ่ินว่า\"เส้ือมือจีบ\" แม่ที่เป็นชาวลูกผสมเสียดายรูปร่าง งดงามของลูกสาวจึงคิดหาวิธีทาให้เส้ือแบบเรียบมีสีสันข้ึนโดยให้นุ่งผ้าถุงปาเต๊ะสีสดใสดอกและลาย เป็นมงคลตามความเชื่อของจีน นอกจากนั้นก็สวมเส้ือฉลุลายตามขอบชายเสื้อซึ่งเป็นบทเรียนที่สตรี ฮอลันดามาสอนให้ นอกจากฉลุแล้วก็มีการต่อชายเสื้อด้วยลูกไม้ฉลุมือ (สินค้าท่ีต้องนาเข้าจากเมือง ฝร่ัง) การต่อเสื้อผ้าฝ้ายกับลูกไม้จัดเป็นศิลปการตัดเย็บข้ันสูงท่ีต้องเรียนจากสถาบันตัดเย็บและชาว บาบ๋าในปีนังมะละกาและสิงคโปร์เรียกเส้ือชนิดนี้ว่า \"เคบายา\" (Kebaya) หรือภาษาจีน “ปั๊วตึงเต้” ส่วนชาวภูเก็ตบาบ๋าเรียกว่า \"เส้ือยะหยา\" ตามชื่อเรียกสตรีของชาวบาบ๋าท่ีชาวภูเก็ตเรียกเป็นภาษา มลายูวา่ “ยอนย่า (Nonya)” ไม่สะดวกปากเพราะเป็นเสียงนาสิก เราจึงเรียกรวมว่า \"บาบ๋า\" โดยไม่ แยกเพศ ในขณะท่บี าบ๋าในที่อื่นเขาเรียกเฉพาะผ้ชู ายว่า \"บาบ๋า\" และเรียกสตรวี า่ \"ยะหยา\" บรรเจิด ตันตวิ ิท (๒๕๔๙) ไดก้ ล่าวว่า ชุดสตรีของชาวบาบ๋าที่ได้รับความนิยมที่พบในจังหวัด ภูเก็ตมีหลักๆ ๒ ประเภท คือ บาจูปันจัง (Baju Panjang) เป็นชุดครุยยาว สาหรับสตรีสูงวัยหรือ ภรรยาเจ้าของเหมอื งแรด่ บี ุกจะนิยมแต่งกายแบบภูมิฐานสมฐานะเรียกชุดน้ีว่า \"ชุดเสื้อครุยเกล้ามวย สงู \" หรอื นิยมเรยี กใหส้ น้ั ง่ายตอ่ การสอื่ ความหมายวา่ \"ชดุ นายหวั หญิง\" ซึ่งก็แปลว่า ภรรยาของนายหัว (เหมือง) แปลมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนว่า \"เถ้าเก้ เอ บ๊อง\" ชุดนี้ประกอบด้วยผ้าถุงปาเต๊ะ ผ้าฝ้ายเนื้อ ละเอียดลวดลายเป็นมงคลตามความเชื่อของจีนสีสดสวย สีของเสื้อครุยสาหรับผู้ใส่ท่ีมีอายุจะเป็นสี

๙ เทา สนี า้ ตาล หรอื สหี มากสุก ซึ่งจะออกลกั ษณะทมึ ๆ ในขณะทสี่ าวๆจะใสส่ สี ดใสกว่า และส่ิงที่สังเกต ไดค้ ือ เม่อื ผู้สวมใส่มีอายุมากข้ึน ความสูงของปกคอเสื้อจีนจะสูงขึ้น เส้ือตัวในเป็นเส้ือลูกไม้สีขาวเย็บ เปน็ คอจีนแขนยาวสวมเส้ือครยุ บางลายดอกยาวเกือบถึงข้อเท้า ท้ังน้ึเคร่ืองประดับเป็นเร่ืองเก่ียวข้อง กับเสือ้ ผา้ ที่แสดงลกั ษณะความเปน็ บาบ๋าเพอรานากนั มากท่ีสดุ เชน่ กนั ๒.๑ ประวตั ิศาสตร์ของชาวจนี โพน้ ทะเลในบริเวณเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ การอพยพยา้ ยถน่ิ ของชาวจนี เริ่มขึน้ ตงั้ สมัยราชวงศ์หยวนหรือยุคสมัยสุโขทัยตั้งแต่กลางคริส ศตวรรษท่ี ๑๓ จากการปรากฎหลักฐานของการส่งคณะทูตจากจีนมายังอาณาจักรสุโขทัย และจาก สยามไปยังปักก่ิง (คณะวิจัยสถาบันเอเชียศึกษา, ๒๕๓๔) และได้มีปรากฏการณ์การอพยพย้ายถิ่น มากขนึ้ ในรัชสมัยราชวงศ์ชิง (Ching Dynasty) เลา่ กนั ว่าเป็นชว่ งยคุ เปลี่ยนผ่านท่ีทาให้ประชาชนเกิด ความลาบากยากเข็ญ ชาวจีนท่ีอพยพมาอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิส่วนใหญ่มาจากทางตะวันออกเฉียง ใต้ของจีน บริเวณมณฑลฝูเจ้ียนและกวางตุ้งในปัจจุบัน กลุ่มคนเหล่าน้ีถูกมองว่าเป็นผู้อพยพผิด กฎหมายและเป็นพวกนอกรีตทรยศต่อแผ่นดินเกิดหรือแผ่นดินของบรรพบุรุษ เพราะความเช่ือของ ลทั ธิขงจ้อื และการยึดถอื ปฏิบัติแต่โบราณของชาวจีนจนกลายมาเป็นกฎหมายในราชวงศ์ดังกล่าว แต่ ด้วยจานวนประชากรในส่วนชายฝั่งทางใต้ของจีนมีมากจนเกินไปและสภาวะของความแร้นแค้น ฝน ไม่ตกต้องตามฤดกู าล นา้ ทว่ มโดยฉับพลัน การขาดแคลนอาหาร สงคราม และการกดข่ีข่มเหงจากรัฐ ทาให้ประชากรในดินแดนนหี้ มดหวงั ในการดารงชวี ติ จนกลายเป็นแรงผลักดันให้ออกเดินทางไปเส่ียง อนั ตรายเพอ่ื ความอยรู่ อดของตนเอง ชาวฮกเกี้ยนเป็นชนกลุ่มหน่ึงท่ีมีความสามารถในการต่อเรือเป็น เลศิ และเชยี่ วชาญในการเดนิ ทางทางทะเล ชาวจนี จากถิ่นใกล้เคยี งมักจะอาศัยจ้างช่างชาวฮกเกี้ยนใน การต่อเรือสาป้อ (หรือในภาษาไทยว่า “เรือสาเภา”) เมื่อมีกลุ่มชาวจีนต่างๆออกนอกอาณาจักรมาก ข้ึน ทาให้เกิดคาพูดที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของเรือท่ีสาคัญคือ ‘เรือหัวเขียวของฮกเกี้ยนลาใหญ่ เรือหัว แดงของแต้จิ๋วลาเล็ก’ การทาสีดังกล่าวเป็นการจาแนกเรือเพื่อประโยชน์ต่อการเก็บภาษีและการ ตรวจค้นกลางทะเล เพื่อเป็นพาหนะเดินทางออกทะเลเพื่อค้าขายสินค้าไปยังสถานท่ีต่างๆ กลุ่มชาว จีนเหล่านี้มีคติประจาใจในการใช้ชีวิตอยู่ต่างแดน คือ “หากไม่ได้ดีก็จะไม่กลับไปเยือนบ้านเกิดเมือง นอนอีก” แต่บางคนเม่อื มสี ัมมาอาชีพทเ่ี จรญิ รุ่งเรอื งแล้วกต็ ้งั หลักปักฐานอยู่ท่ีเมืองใหม่และใช้ชีวิตกับ ชาวพ้นื เมืองจนมลี ูกมีหลานสืบเชือ้ สายจนถึงวาระสุดทา้ ย มอร์สนั (Morson, 1993) กล่าววา่ ในสมยั พระเจา้ ตากสนิ มหาราชประมาณช่วงปีพุทธศักราช ๒๒๒๗ ได้มีบันทึกจากกัปตันฟรานซิสไลท์เขียนถึงวาเรน ฮาสติง (Warren Hastings) ผู้บังคับบัญชา

๑๐ การระดับสูงท่ีต้ังฐานทัพอยู่ในเมืองโกลกัตตา เน้ือความในจดหมายได้กล่าวถึงการพยายามเจรจา หวา่ นลอ้ มใหท้ างบริษัทสนใจในการครอบครองเมืองภูเก็ต โดยตอนหนึ่งได้เล่าถึงสถานการณ์ที่เขาได้ ไปพบกับสลุ ต่านแหง่ เมอื งลกิ อร์ (จังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน) ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองประเทศ ราชของสยาม ท่ีแทบจะไม่มีบทบาทและอานาจในการปกครองเมืองของตนเองเน่ืองจากต้องตกอยู่ ภายใต้การวางแผนและนโยบายตา่ งๆของกษัตรยิ ์แหง่ สยาม โดยไลทไ์ ด้บนั ทึกเร่อื งราวเก่ียวกับชาวจีน ไว้ว่า “กลุ่มพวกคนแมนดารินและพวกเจ้าหน้าท่ีถูกส่ังให้แต่งกายอย่างเหมาะสมเม่ือต้องเข้าเฝ้า สุลต่าน การเดินทางมาถึงสยามท้ังสามคร้ัง ฉันสังเกตโดยรอบแล้วพบการปกครองที่หละหลวมของ บ้านเมืองนี้ (ภูเก็ต) และผู้คนพบเจอแต่ความส้ินหวังมากขึ้นเรื่อยๆ พ่อค้าชาวจีนและกลุ่มผู้อาศัยมัก ถูกขโมยสินค้าอยู่เสมอ โดยที่ไม่มีการสอบสวนผู้กระทาผิด ฉันมักได้ยินเร่ืองราวเหล่าน้ีจากคนส่วน ใหญ่ และคิดอยู่เสมอวา่ ฉันควรจะเป็นผ้ปู กครองเมอื งจังซลี อน (ภูเก็ต) มากกว่า” (หน้า ๒๕) จากการ บนั ทกึ ทกี่ ล่าวถึงชาวจนี ในยคุ นั้นพบว่า นอกจากการเผชิญอุปสรรคทางทะเลท่ีแสนสาหัสแล้ว เมื่อเข้า มาอาศัยทากินอยู่ในแผ่นดินก็ยังต้องพบความลาบากจากการอยู่ภายใต้อิทธิพลและการควบคุมท่ี เคร่งครัดของผู้ปกครองเมือง รวมถึงเน้ือความบันทึกของกัปตันฮามิลตัน (Captain Hamilton) ผู้ท่ี เคยแวะเวียนมาจงั ซีลอนเมือ่ ประมาณตน้ ศตวรรษที่ ๑๘ ได้เขียนเล่าเร่ืองราวเกี่ยวกับชีวิตของชาวจีน กบั การเขา้ มาประกอบอาชีพว่า “เกาะ (จังซีลอน) นี้เหมาะสาหรับการขนส่งสินค้าทางเรือ จานวนแร่ ดีบกุ ก็มากโข แต่แปลกท่ีน้อยคนเท่านั้นจะมาขุดเอาไปขาย อาจจะเป็นเพราะเป็นเร่ืองท่ีผิดกฎหมาย และผู้ปกครองเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวจีน พวกเขาซ้ือบ้านเป็นคฤหาสน์ของสยาม และรับใช้พวกเขา กดข่ขี ม่ เหงประชาชน หลายครง้ั ทพ่ี วกความรวยเป็นมารผจญของพวกเขาและความจนทาให้พวกเขา ใชช้ วี ิตทเี่ รียบงา่ ยและเกยี จคร้าน” (หน้า ๒๖) ๒.๒ ความเป็นลูกผสมของชาวบาบ๋า-เพอรานากันในดนิ แดนเอเชยี อาคเนย์ นยิ ามคาว่าชาวเพอรานากนั (Peranakan) ชาวบาบ๋า (Baba) หรือบางคนก็ใช้คาว่าชาวจีนที่ กาเนิดในบริเวณช่องแคบมะละกา (Straits-born Chinese) เป็นกลุ่มชนเลือดผสมท่ีมีวัฒนธรรมของ ตนเอง จุดเร่มิ ตน้ ของการผสมผสานทางวฒั นธรรมเป็นเพราะการแตง่ งานระหว่างกลุ่มชาวจีนผู้อพยพ มาใหม่กับชนพื้นเมือง มีถิ่นที่อยู่อาศัยบริเวณ Straits Settlements ซึ่งได้แก่ มะละกา ปีนัง และ สงิ คโปร์ในปัจจุบัน แต่หากเป็นกลุ่มชาวจีนที่อพยพย้ายถ่ินฐานมาเป็นรุ่นแรกนั้น เรามักเรียกว่า ชาว จีนในช่องแคบมะละกา (The Straits Chinese) ซึ่งมีความคุนชินกับขนบธรรมเนียมประเพณีแบบ ชาวจนี ตอนใต้มากกว่า (Clammer, 1980) ในอดีตท่ีสภาพสงั คมยงั ไมม่ ีความซับซ้อนในการดารงชีวิต

๑๑ กลุ่มผู้ชายชาวจีนในยุคแรกที่อพยพย้ายถ่ินฐานมายังบริเวณเมืองท่าต่างๆในอินโดนีเซีย เช่น เปกา ลองงันและเซเรบอน ได้เข้ามาอาศัยแผ่นดินเพื่อพักพิงทาการค้าขาย การกระจายตัวของคนจีนได้ แพร่ขยายออกไปยังบริเวณต่างๆจากชวาตะวันออกไปยังชวาตะวันตก และต่อมาได้แต่งงานกับหญิง สาวพนื้ ถิน่ ชาวอนิ โดนเี ซีย ลูกท่กี าเนิดจงึ ถอื เปน็ ลูกผสมทเ่ี รยี กว่าบาบ๋ารนุ่ ที่ ๑ หรือบางคนเม่ือมีฐานะ ดพี อสมควรก็อาจจะกลบั ไปรบั ภรรยาทอ่ี ยู่เมืองจีนมาอยู่ด้วยกันท่ีแผ่นดินใหม่ บุตรชายหญิงก็ถือเป็น กลุ่มคนจีนเลือดแท้ที่อาศัยอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมแบบชาวพ้ืนถิ่น นอกจากนี้คาว่า “ชาวบาบ๋า” อาจมีนัยยะทแ่ี ตกต่างกันตามบริบทของพื้นท่นี ัน้ ๆ เช่น ในบริเวณปัตตาเวียได้ปรากฎหลักฐานจากคา บอกเล่าของอู๋จ้ีเยียะ (๒๕๕๔) ว่ามีกลุ่มคน “ลูกจีนชวา” ถือกาเนิดข้ึนบริเวณเมืองปัตตาเวียและ เมืองบันดุง โดยสาวพื้นถ่ินแห่งน้ีเป็นกลุ่มคนซุนดาท่ีได้ช่ือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีวิวัฒนาการในการ ดารงชีวติ ท่ีกา้ วหน้ามากทส่ี ดุ ทัง้ รูปร่างหน้าตาก็สะสวย ผิวพันธ์ก็ขาวนวลผ่อง แตกต่างจากผู้หญิงใน ถ่ินอื่น และเมื่อกลุ่มชายชาวจีนอพยพได้ร่วมสมัครรักใคร่กับสาวพื้นถ่ินซุนดา ลูกสาวท่ีกาเนิดขึ้นมา ส่วนใหญ่จะมีผิวขาว หน้าตาสวย รูปร่างดี มีความสง่างามเทียบได้กับบุตรสาวผู้สูงศักด์ิของตระกูลที่ มั่งค่งั เมื่อบตุ รสาวในตระกูลซึ่งถือเป็นบาบ๋ารุ่นที่ ๑ ท่ีอาศัยในประเทศมลายู (ชื่อเดิมของประเทศ มาเลเซีย) หรือหมายถึงสาวมลายู (คนมลายูเชื้อสายจีนก็ได้) แต่งงานกับผู้ชายชาวจีนที่อพยพมาต้ัง ต้นชีวิตใหม่ในดินแดนดังกล่าว หรือท่ีเรียกว่า “ซิงตึ๊ง” ซึ่งเป็นไปได้ว่ากลุ่มคนเหล่าน้ีมีความสามารถ ในการสร้างเนื้อสร้างตัวสูงมาก รวมถึงเป็นท่ีนับหน้าถือตาของคนในสังคม (ทั้งสังคมชาวจีนด้วย กันเองหรอื ชาวมาเลย์พื้นถ่ิน) ชายชาวจีนอายุมากบางคนเป็นคนท่ีมีฐานะร่ารวยมั่นคงพอท่ีจะเล้ียงดู ภรรยาได้มากกว่าหนึ่งคน ก็มักจะมีภรรยาใหญ่และภรรยาน้อยประมาณ ๒ – ๓ คนอยู่ท่ีเมืองจีน และมาสู่ขอภรรยาบาบ๋าอีกคนหนึ่งและอาศัยอยู่ที่อินโดนีเซีย ในฐานะของเถ้าเก้เหนียว (นายหัว หญิง) ผู้ได้รับอานาจจากสามีในการปกครองผู้คนภายในบ้านท้ังลูก หลาน คนรับใช้ รวมถึงดูแลข้าว ของเครื่องใช้ตา่ งๆไม่ใหข้ าดตกบกพร่อง จาเปน็ ตอ้ งดารงสถานะของความเป็นใหญ่โดยใช้หลักธรรมภิ บาลในการเอาใจใส่ดูแลคนในความปกครอง และยังต้องประพฤติปฏิบัติอยู่ในจารีตและทางที่ดีงาม เพ่ือเป็นตัวอย่างแก่ลูกหลาน ดังเช่นตัวอย่างคุณอาสะใภ้ของอู๋จ้ีเยียะ (๒๕๕๔) ท่านเป็นสาวบาบ๋าที่ แต่งงานกับชายชาวจีนแท้ โดยทั่วไปท่านพูดภาษามาเล แต่มีแนวคิดในการดารงชีวิตที่โน้มเอียงไป ทางวัฒนธรรมจีนเป็นส่วนใหญ่ ด้วยบุคลิกลักษณะที่ซื่อตรง มีความคิดอ่านที่ฉลาดหลักแหลม และ ความมีคุณธรรมอันดี ทาให้อาสะใภ้เป็นผู้หญิงชาวบาบ๋าท่ีหลายคนให้ความเคารพรักและศรัทธาใน การกระทาของท่าน แม้ว่าสามีของท่านจะร่ารวยเพียงใด แต่ท่านก็เป็นภรรยาท่ีไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่เคยย่าง

๑๒ กรายเขา้ ไปยงุ่ หยามกับธุรกิจของสามใี ห้ต้องลาบากใจ และบุคลิกที่น่าสนใจของสาวบาบ๋าอีกประการ หน่ึงคือ อาสะใภ้ได้ตั้งเง่ือนไขกับสามีของท่าน ๒ ประการว่า ข้อที่หนึ่งเม่ือแต่งงานแล้วท่านจะไม่ กลับไปบา้ นเกดิ เมอื งนอนของสามี และขอ้ ที่สองหากมบี ตุ รหรอื ธดิ าทา่ นจะไม่ส่งไปศึกษาต่อท่ีเมืองจีน เด็ดขาด การแสดงออกทางความคิดเหล่าน้ีเป็นการบ่งบอกถึงความหย่ิงในศักดิ์ศรีของสาวบาบ๋าและ ความรักในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ทมี่ าและความสาคัญของจดุ เปลยี่ นทางวัฒนธรรมได้เกิดขึน้ ในช่วงปี ๑๕๑๑ เป็นยุคล่าอาณา นิคมของชาติตะวันตั้งแต่โปรตุเกสในพ้ืนที่ของสหพันธรัฐมาลายา (ปัจจุบันคือประเทศมาเลเซียและ ประเทศสิงคโปร์) รวมถึงการที่เคยอยู่ภายใต้การดูแลของจักรวรรดิอังกฤษในเครือจักรภพแห่งชาติ ในชว่ งศตวรรษท่ี ๑๙ วฒั นธรรมการเปน็ อยู่จึงตอ้ งมีการเปล่ียนแปลงไป กลุ่มชาวจีนท่ีเข้ามาอาศัยใน พ้ืนที่ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นผู้ท่ีปรับตัวได้ดีท่ีสุด เพราะมีความขยัน ทางานคล่องแคล่ว เรียนรู้ได้ไว เจรจาทางธุรกจิ และที่สาคญั คือมคี วามสามารถในการส่อื สารภาษาองั กฤษได้ดี จึงทาให้เป็นกลุ่มคนที่ ชาวอังกฤษส่วนใหญ่ไว้ใจให้ทางานในระดับบริหารจัดการได้ บางครอบครัวท่ีมีฐานะดีก็ส่งลูกหลาน ของตนใหเ้ ขา้ เรยี นในโรงเรียนมิชชันนารีหรือศึกษาต่อในประเทศอังกฤษหรือประเทศในเครือจักรภพ จึงทาให้ชาวจีนในพ้ืนที่แห่งนี้มีวิถีชีวิตที่แตกต่างจากชาวจีนแผ่นดินใหญ่มาก ปรากฎให้เห็นใน ลักษณะของภาษา การแต่งกาย อาหาร และท่ีอยู่อาศยั ชาวบาบ๋าภูเก็ตในอดตี นนั้ เรามีการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับเมืองท่าปีนัง เพิ่งมาห่างจากกันเม่ือ การเมืองการปกครองของมาเลเซียเปล่ียนไป และประกาศตนเป็นประเทศท่ีมีศาสนาอิสลามเป็น ศาสนาประจาชาติ ขอ้ ขัดแยง้ ทางการเมืองทาใหช้ าวจีนบาบ๋า (รวมถึงกลุ่มคนชาติพันธ์ุอื่นๆ เช่น ) ใน ปีนังส่วนใหญ่ต้องเปล่ียนตัวเองให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมท่ีแตกต่างไปจากเดิม แต่ด้วยปัจจัยสาม ประการท่ีบรรพบุรุษเป็นผู้ก่อต้ังไว้ทาให้สังคมชาวจีนในปีนังยังมีความเหนียวแน่นมากกว่าภูมิภาค อน่ื ๆ คอื การจดั ต้ังสมาคมของชาวจีน การศกึ ษาในระบบจีน และสื่อมวลชนเป็นภาษาจีน (Sim n.d.) แม้ในปัจจุบันน้ีเองความเป็นชนชาติจีนบาบ๋าในมะละกาและปีนังก็ยังเป็นคงมีให้เห็นเป็นกลุ่มคนที่ แตกตา่ งจากกลมุ่ ชาตพิ ันธ์อุ ืน่ ๆ แต่ จากการชาวจีนบาบา๋ ในแถบชายฝั่งอันดามัน เป็นการนิยามกลุ่มคนที่แตกต่างจากชาวบาบ๋า ถิ่นอ่ืน ด้วยดินแดนที่ค่อนข้างห่างไกลจากเมืองจีนบ้านเกิดเมืองนอน (นับได้ด้วยระยะเวลาเดินทาง

๑๓ จากแคว้นฟูเจ้ยี นทางตอนใตข้ องจนี ถึงภูเก็ตใช้เวลาเดินทางด้วยเรือสาเภาจีน ๔๕ วัน) ถือว่าเป็นการ เดินทางที่ยาวนานมาก โดยเป็นคาท่ีสามารถใช้เรียก “สตรีชาวภูเก็ต” (อาจเป็นลูกผสมชาวจีนหรือ ไทยพ้ืนถิ่นก็ได้) ที่แต่งงานกับผู้ชายชาวจีนท่ีอพยพมาหาแหล่งทามาหากินในจังหวัดภูเก็ตหรือ ประเทศไทย ข้อเด่นสุดของผู้ชายชาวจีนเหล่าน้ีคือขยันขันแข็ง ใช้เวลาไม่นานก็ตั้งตัวได้ เร่ิมต้นชีวิต ใหม่ในแผ่นดินใหม่ที่อุดมสมบูรณ์และมองหาคู่ครองที่เหมาะสม ลูกท่ีเกิดใหม่ในแผ่นดินภูเก็ตมีช่ือ เรียกว่า “บาบ๋า” (Baba) โดยไม่จากัดเพศซ่ึงแตกต่างจากประเทศในแหลมมาลายูใชัคาว่า\"บาบ๋า\" นี้ แทนเพศชายเท่าน้ัน ส่วนบุตรีหรือลูกสาวเลือดผสมจีนและมลายูมักใช้คาว่า “ยอนยา” (Nyonya) แต่ชาวภูเก็ตไม่สามารถออกเสียงเนสิกได้ อย่างถนัดปาก จึงเปล่ียนรูปแบบการออกเสียงเป็น “ยะหยา” ตามสาเนยี งพื้นถน่ิ ท่ผี สมผสานระหว่างภาษาไทยถ่ินใต้กับภาษาจีนถ่ินฮกเก้ียน ต่อมาศัพท์ คาว่า “เพอรานากัน” (Peranakan) ท่ีมีผู้นิยมใช้มากข้ึนเพราะไม่มีข้อจากัดในเรื่องเพศ ความหมาย ของคาว่า \"บาบ๋า\" ในภาษาจีนฮกเกี้ยนหมายถึง ลูกหลานคนจีนที่เกิดนอกแผ่นดินจีน (รากศัพท์ของ คาว่า Baba นี้มาจากภาษาฮินดูสตานี) ส่วนคาว่า \"เพอรานากัน\" มีรากศัพท์จากภาษาบาฮาซา อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) ศัพท์จากคาว่า เพอ (สร้อยคา) + อานัค (แปลว่าเด็กๆ) รวมแล้วก็ แปลว่าเด็กๆที่มีสายเลือดผสม ในมลายูเขาเรียกลูกผสมท้ังจีน อินเดีย โปรตุเกส ว่าเป็นชาว \"เพอรา นากัน\" แตใ่ นภูเกต็ เรานบั เนน้ เฉพาะลูกผสมระหว่างชาวจนี กบั คนทอ้ งถิ่นเทา่ นัน้ วฒั นธรรมของชาวจนี บาบา๋ ทีอ่ าศัยอยู่บริเวณเอเชียอาคเนย์นี้มีความคล้ายคลึงกันตามความ เช่ือและหลักปฏิบตั ิทสี่ บื ทอดต่อกันมาตามประวัติศาสตร์ชนชาติตนเอง แต่บางวัฒนธรรมอาจมีความ แตกต่างกันตามบริบทและสถานการณ์ของสังคมที่อาศัยอยู่ ซึ่งวัฒนธรรมจีนบาบ๋าที่ปรากฎให้เห็น เด่นชัดมากที่สุดคือ ภาษา อาหาร เคร่ืองแต่งกาย และประเพณีที่สาคัญ โดยมีรายละเอียดท่ีสาคัญ ดงั นี้ ๑) ภาษา ถือว่าเป็นวฒั นธรรมทสี่ าคญั และจาเป็นมากท่ีสุดเมื่อตอ้ งเดินทางมาอยู่ในดินแดน ใหม่ แม้วา่ ชาวจนี อพยพในยคุ แรกจะประสบปัญหาดา้ นการสื่อสารกบั คนท้องถิน่ แตช่ าวจีนเหล่าน้ีก็มี ความมานะพยายามในการได้เรียนภาษากับกลุ่มคนในพ้ืนท่ี และได้เร่ิมมีพัฒนาการในการใช้ภาษาได้ ในสถานการณ์ทีจ่ าเป็นเท่านน้ั นอกจากนี้ คนในทอ้ งถ่ินเองก็ได้เรียนรู้ภาษาจีนจากการพูดคุยสนทนา กัน จนเกิดภาษาใหม่ท่ีเรียกว่า ภาษาพิดจ้ิน ซ่ึงเป็นปรากฏการณ์ของภาษาที่ใช้ในการติดต่อส่ือสาร กันระหว่างกลุ่มคน ๒ ภาษาขึ้นไป ซ่ึงภาษาดังกล่าวไม่มีเจ้าของภาษา แต่มีสถานะเป็นผู้ให้กาเนิด

๑๔ ภาษามากกว่า ภาษาพิดจิ้นของชาวจีนในยุคแรกจะมีการผสมคาศัพท์มาเลย์หรือไทยอยู่ในประโยค ภาษาจีน รวมถงึ คาศพั ทจ์ ากภาษาอ่ืนๆอย่างโปรตุเกส ดัชท์ ทมิฬ และอังกฤษ ตัวอย่างเช่น สามีพูด ภาษาจีนท่ีมีคาศัพท์ไทยหรือมาเลยอยู่ในน้ันบ้าง ส่วนภรรยาก็อาจจะส่ือสารโดยใช้ภาษาไทยหรือ มาเลย์เป็นหลัก แต่พูดคาศัพท์จีนที่สาคัญๆเพ่ือให้สามีเข้าใจ เป็นต้น แต่ในภายหลังเม่ือคนจีนได้ให้ กาเนิดลูกหลานมากขึ้น ภาษาของรุ่นที่ ๒ และ ๓ ที่ใช้ส่ือสารกันก็เริ่มแตกต่างกันตามพื้นที่ จนกระ ท้ังในปัจจุบัน ชาวจีนบาบ๋าในอินโดนีเซียเองก็แทบจะไม่เข้าใจภาษาจีนฮกเกี้ยนอีกแล้ว เพราะ นโยบายของรัฐบาลที่พยายามรวมกลุ่มคนเชื้อชาติต่างๆภายในประเทศ จึงทาให้ภาษาท่ี ๑ ของชาว จีนบาบ๋าในอินโดนีเซียคือ ภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย ส่วนชาวจีนบาบ๋าในมาเลเซียและสิงคโปร์เป็น กลุ่มคนที่ยังคงสื่อสารกันเป็นภาษาจีนฮกเก้ียนท้ังภายในครอบครัวหรือกลุ่มเพื่อนฝูงชาวจีนด้วยกัน และภาษามาเลยก์ ลายเป็นภาษาที่สองทใี่ ช้ส่อื สารกบั กล่มุ คนมสุ ลิมและอินเดีย กลุ่มสุดท้ายคือชาวจีน บาบา๋ ในประเทศไทย นับได้ว่าภาษาไทยถ่ินใต้เป็นภาษาแม่ และสาหรับชาวจีนรุ่นที่ ๒ และ ๓ ถือว่า ภาษาจีนฮกเก้ียนเป็นภาษาท่ี ๒ เม่ือยังมีการติดต่อส่ือสารกับทางกลุ่มชาวจีนในปีนังมากกว่าคน กรงุ เทพฯ แต่ในปจั จุบันพบวา่ กลุ่มคนจีนบาบ๋าในไทยท่ียังสามารถพูดภาษาจีนฮกเกี้ยนนั้นลดน้อยลง มาก จนทาใหภ้ าษาไทยถิ่นกลางกลายเปน็ ภาษาทสี่ องของคนจีนภเู ก็ตในท่ีสดุ ๒) อาหาร เปน็ ววิ ฒั นาการของการสรา้ งสรรค์วัฒนธรรมของสาวจีนบาบ๋าที่มีความโดดเด่น มาก และมีกระบวนการถา่ ยทอดสตู รอาหารจากรนุ่ สู่รนุ่ ในอดีตภรรยาที่เปน็ ชาวท้องถ่ินมักเป็นผู้คอย ดูแลอาหารการกินให้สามีและลูกๆรับประทาน ซึ่งอาหารท้องถิ่นส่วนใหญ่มักเป็นอาหารรสชาตจัด จ้าน ซึ่งแตกต่างจากอาหารจีนฮกเกี้ยนที่ค่อนข้างจืดกว่า ดังนั้นผู้เป็นภรรยาเองก็ต้องพยายามปรุง อาหารทีร่ สไม่จดั จนเกินไป ส่วนผู้เปน็ สามีเองกป็ รับตวั ให้สามารถรับประทานอาหารในอีกรสชาติหนึ่ง ได้ โดยอาหารบาบา๋ มักแตกตา่ งกันตามแต่ละพ้นื ท่ี ขน้ึ อยกู่ บั ส่วนประกอบท่ีไม่เหมือนกัน เช่น อาหาร ไทยมีส่วนประกอบของมะนาวและสมุนไพร ส่วนอาหารอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะเป็นแกงกะหรี่และ เครอ่ื งเทศ เป็นตน้ (Suan 2004) แต่อทิ ธิพลของการรับประทานอาหารของชาวจีนบาบ๋าท่ีคล้ายคลึง กันคือ การรับประทานเน้ือสัตว์เป็นส่วนใหญ่ เช่น การทา “หมูฮ้อง” หรือหมูเตาอิ๋ว เป็นวิธีการ ทาอาหารด้วยซีอ๊ิวดา ถอื วา่ เปน็ เมนอู าหารทตี่ อ้ งเวลาระยะเวลานานมากในการเค่ียวหมใู ห้เข้าเนื้อเข้า หนัง และอาหารของชาวจีนบาบ๋ามักปรุงอาหารด้วยซีอ๋ิวดา เช่น ข้าวต้มฮกเก้ียนใส่ซีอิ๋วดา ผัดหม่ี ฮกเก้ียนก็ไม่ลืมท่ีจะมีซีอ๋ิวดาเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น อาหารอีกประเภทหน่ึงท่ีพบได้ในปีนังและ ภูเก็ตคือ “โลบะ” (Loh bak) เป็นการนาพะโล้เครื่องในหมูอย่างตับ ไส้ เซ่ียงจ๊ีไปทอดให้สุก รับประทานเป็นอาหารว่างกับน้าจ้ิมรสเผ็ด ทั้งน้ีส่ิงที่สังเกตได้จากการเยือนดินแดนของชาวจีนบาบ๋า

๑๕ ในภูมิภาคนี้คือ การเรียกชื่ออาหารเป็นภาษาจีน เช่น อาโป้ง (Apom) หรือการเรียกชื่อขนมว่า “โก๊ย” (Kueh) ท่มี รี ากศัพทม์ าจากภาษาจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนบาบ๋าที่อ่ืนๆเองก็เรียกชื่อเดียวกัน อย่าง ขนมโก๊ยตาหลาม (Kueh Talam) โก๊ยบูลู้ (Kueh Bulu) และขนมต่างๆเหล่าน้ียังเป็นขนมที่ทาขึ้น เพื่อสื่อความหมายท่ีดีให้แก่ผู้รับประทานในโอกาสพิเศษต่างๆอย่าง อั่งกู้โก๊ย (Ang koo kueh) มา จากคาว่า “อั่ง” แปลว่าสีแดง คาว่า “กู้” แปลว่าเต่า และคาว่า “โก๊ย” แปลว่า “ขนม” รวมความ แล้วเป็นความหมายจากสัญลักษณ์และสีที่ดีเป็นสิริมงคลแปลว่าขนมเต่าสีแดง แม้ว่าชาวจีนภูเก็ตจะ นิยมอาหารท่ีเกดิ จากการรงั สรรคร์ ะหว่างอาหารจนี ฮกเกยี้ น มาเลย์ อินโดนีเซีย และไทย จนกลายมา เป็นอาหารบาบ๋าท่ีมีความคล้ายคลึงกันทั้งหน้าตาและรสชาติ แต่คนจีนภูเก็ตเองก็มีเมนูอาหารท่ีมี ความพิเศษแตกต่างจากทีอ่ ืน่ นนั่ คอื “การทานา้ ชบุ หยา” เป็นวิธีการทาน้าพริกจากกะปิโดยใช้มือขยา แทนการใส่ครกตา แต่ผู้ชายชาวจีนที่มาจากฮกเก้ียนไม่นิยมทานกะปิและรสเผ็ดมาก น้าชุบหยาจึง เป็นอาหารสาหรับชาวจีนบาบ๋าในรุ่นต่อๆมา เม่ือมีงานบุญหรืองานประเพณีท่ีสาคัญต่างๆ คนภูเก็ต มักช่ืนชอบการรับประทานหมูฮ่องคู่กับน้าชุบหยาอยู่เสมอ และนอกจากน้ี อาหารของชุมชนชาว บาบ๋าที่ปรากฎอยู่บริเวณฝ่ังอันดามันภาคใต้ของไทยยังพบความหลากหลายประเภททั้งอาหารคาว เช่น ต้มกระดูกหมูกับฟองเต้าหู้ สะตอผัดเคยกับกุ้งสด ปลาต้มเค็ม (ปลาฮ้อง) ต้มกะทิยอดเต่าร้าง เป็นตน้ และอาหารหวาน เชน่ บีถ้ ่ายบัก เกย่ี มโกย้ เปาลง้ั เป็นต้น (เมฆาณีและสมพิศ, ๒๕๕๖) ๓) การแต่งกาย แสดงถึงเอกลักษณ์ของชาวบาบ๋าท่ีมีความพิถีพิถันในการใส่ใจดูแลตนเอง อาภรณ์ที่สวมใส่สาหรับชาวจีนบาบ๋าส่วนใหญ่เป็นการนาเอาวัฒนธรรมการแต่งกายจากจีนและ มาเลย์มาผสมกันอย่างลงตัว โดยผู้หญิงมักนิยมนุ่งผ้าถุงทั้งเวลาที่อยู่ในบ้านและออกงานสาคัญ แต่ อาจจะต่างเพียงแต่คุณภาพและลวดลายของผ้าที่สาวบาบ๋ามักให้ความสาคัญในการเลือกซื้อเป็น พิเศษ ความสวยงามของผ้าถงุ มักคกู่ บั ความสง่างามของเส้อื ทเ่ี รยี กว่า “เส้ือยาหยา” ท่ีชาวอินโดนีเซีย เรียกว่า “เคบายา” และหากผู้ท่ีมีอายุมากขึ้นก็อาจพบเห็นการใส่ “เส้ือลูกไม้” ที่มีลักษณะการ ออกแบบชุด (Pattern) ที่แตกต่างกันตามความต้องการของผู้สวมใส่ (Sakulpipatana, 2011) เส้นทางการอพยพของกลุ่มชาวจีนบาบ๋าในแถบชายฝั่งอันดามันทาให้ทราบว่า แฟช่ันการแต่งกาย เหล่านี้ได้รับอิทธิพลมาจากปีนังมากกว่ากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงที่มีทั้งกลุ่มเจ้านายและข้าหลวง เป็นผู้นาวัฒนธรรมการแต่งกายในยุคสมัยนั้น แต่ด้วยการเดินทางไปมาระหว่างภูเก็ตและปีนังท่ี สะดวกและความใกล้ชิดทางชาติพันธ์ุท่ีมีมากกว่า วัฒนธรรมต่างๆท่ีสาคัญจึงได้ถูกส่งผ่านมายัง ดินแดนแห่งน้ี ไม่เว้นแม้แต่แฟชั่นการแต่งกายของผู้ชายท่ีสามารถพบเห็นทั้งแบบตะวันตกตามความ นยิ มของกลุ่มท่ไี ดร้ บั การศกึ ษาในโรงเรยี นฝร่ัง คอื การใส่เส้ือเช้ิต สวมสูทด้านนอก ผูกเนคไท กางเกง

๑๖ ขายาวทรงแกสบ้ี สวมรองเท้าหนัง (เกือกแบเร็ท) และแบบจีนในยุคสมัยด๊อกเตอร์ซุนยัดเซ็นเป็น ประธานาธิบดีคนแรก ตรงกับสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบจักรพรรดิ์เป็นสาธารณรัฐ ลักษณะการแตง่ กายคอื การใส่เส้อื แขนยาวคอตัง้ มกี ระเปา๋ ด้านหน้า ๔ ใบ (ข้างบนบริเวณหน้าอก ๒ ใบ และด้านล่าง ๒ ใบ) ติดกระดุม ๕ เม็ด ท้ังเส้ือและกางเกงเป็นสีเดียวกันคือ สีกากีหรือสีเทา (ฤดี, ๒๕๕๓) โดยรายละเอยี ดการแตง่ กายของชาวบาบา๋ สามารถอ่านได้เพิ่มเติมในบทที่ ๔ สาระของ “การ แตง่ กายบาบา๋ -เพอรานากนั ” ท้ังน้ี จะเหน็ ได้วา่ การแต่งกายเป็น ๑ ใน ๔ วัฒนธรรมของชาวบาบ๋าที่มี ความโดดเดน่ และเปน็ เอกลกั ษณ์แสดงตัวตนของชาวบาบา๋ ๔) ประเพณีท่ีสาคัญ เป็นวัฒนธรรมหนึ่งท่ีชาวจีนบาบ๋าในแถบอันดามันภาคใต้ของไทยมี ความภาคภูมิใจมาก เพราะเกิดจากการร่วมมือร่วมใจกันของกลุ่มลูกหลานท่ียังคงยึดถือ ขนบธรรมเนียมด้ังเดิมไว้อย่างไม่มีวันสูญหาย โดยประเพณีส่วนใหญ่เกิดจากความศรัทธาในศาสนา และความเชื่อที่ว่าสิ่งศักด์ิสิทธ์ิยังคงปกปักรักษาผู้ที่กระทาความดี อยู่ในศีลในธรรม และมีความ กตัญญูรู้คุณต่อบรรพชนผู้ให้กาเนิด คติความเชื่อดังกล่าวเกิดจากการสืบทอดความคิดและจิต วิญญาณจากจีนแผ่นดินใหญ่ แม้ว่าในปัจจุบัน ส่ิงท่ีปรากฎให้เห็นคือชาวจีนโพ้นทะเลเป็นกลุ่มชนที่ ยังคงรักษาประเพณีเหล่านี้ไว้มากกว่าชาวจีนในแผ่นดินใหญ่ ซึ่งมักพบการประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนาน้อยลงกว่าในอดีต (Kim, 2011) ประเพณีท่ีชาวไทยเชื้อสายจีนในภาคใต้ฝ่ังอันดามันยังคง ยึดถือปฏิบตั ิสืบทอดกนั มาจนถึงปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการระลึกถึงบุญคุณของ บรรพบุรุษได้แก่ ๑) ประเพณีโจ้กี่หรือการราลึกถึงญาติที่ส้ินชีวิตไปแล้วด้วยการเซ่นไหว้ที่ป้าย วิญญาณซงึ่ ถอื ว่าเป็นตวั แทนของบรรพบุรุณ ๒) ประเพณีวันสารทจีนหรือผ้อต่อ ตรงกับวันเพ็ญเดือน เจ็ดจีน เปน็ การแสดงความเคารพแกว่ ญิ ญาณบรรพบุรุษ วิญญาณท่ีเร่ร่อน รวมถึงสรรพสัตว์ท้ังหลาย ให้ช่วยคุ้มครองมนุษย์ให้พ้นจากภัยอันตราย โดยใช้ขนมเต่าสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของการเซ่นไหว้ วิญญาณเหล่านั้นเพื่อให้เกิดความสุขสวัสด์ิแก่ลูกหลานในวงศ์ตระกูล ๓) ประเพณีเช็งเบ๋งหรือการไป ทาความสะอาดสุสาน ถือเป็นวันที่สาคัญวันหนึ่งของลูกหลานชาวจีนที่ได้โอกาสมาพบกันทั้งตระกูล เรียกว่า “วนั รวมญาติ” ๔) ประเพณตี รุษจนี หรือการเฉลิมฉลองวันปีใหม่จีน คนภูเก็ตเรียกว่า “เดือน สาม” ซึ่งเป็นวันท่ีชาวจีนทั้งในแผ่นดินใหญ่และลูกหลานที่อยู่โพ้นทะเลนิยมจัดงานประเพณีน้ีอย่าง ย่ิงใหญ่ท่ีสุดและยาวนานท่ีสุดในรอบปี ๕) ประเพณีถือศีลกินผักหรือเจี้ยะฉ่าย เป็นความภาคภูมิใจ ของชาวจนี บาบา๋ ในเมอื งไทยทีย่ ังคงรกั ษาประเพณีนี้ได้ และแต่ละปีก็แทบจะปรากฎจานวนผู้เข้าร่วม ถอื ศลี กินผกั ท้งั นกั ทอ่ งเทยี่ วชาวต่างชาติและกลุม่ คนไทยเชือ้ สายจนี ในช่วงระยะเวลา ๙ วันนี้อย่างล้น หลาม และยังพบว่าอัตราการเพ่ิมขึน้ ของจานวนผบู้ ริโภคผกั ในชว่ งเวลาดังกลา่ ว (บรรเจิด ๒๕๔๙)

๑๗ ลักษณะความเป็นชนชาติจีนท่ีผสมกับการก้าวทันตามยุคสมัยของชาวบาบ๋าเป็นคุณสมบัติ พิเศษที่ทาให้ลูกหลานได้ข้ามผ่านความเป็นพลเมืองได้อย่างง่ายดาย ดังท่ีกล่าวไปข้างต้นว่า กลุ่มคน เหล่าน้ีได้มีการติดต่อค้าขายและเชื่อมความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกอย่างใกล้ชิด จึงมีความสามารถ ในการประกอบกิจการจนประสบความสาเร็จเป็นกลุ่มชนช้ันนาในสังคมไทยอันได้แก่ ตระกูลหงษ์ หยก ตระกูลตันติวิท ตระกูลวานิช ตระกูล (Pranee 2003) ด้วยความรู้สึกสานึกรักในแผ่นดินบ้าน เกิดเมืองทาให้ทราบว่าผู้ร่ารวยมั่งค่ังเหล่านี้ไม่เคยลืมชาติกาเนิดของตน พวกเขาได้ร่วมมือร่วมใจกัน ก่อต้ังสมาคมหรือศาลเจ้าชาวจีนตามชาติพันธ์ุหรือแซ่ตระกูลเพ่ือเป็นศูนย์กลางเช่ือมความสัมพันธ์ ของคนในชุมชนชาวจีนบาบ๋า เช่น สมาคมฮกเกี้ยน ศาลเจ้าไหหลา ศาลเจ้าแสงธรรม (เป็นศาล เจ้าของกลุ่มตระกูลแซต่ นั ) เป็นตน้ นอกจากน้ี ยงั รวมถึงการให้ความช่วยเหลือชาวจีนด้วยกันเองหรือ คนในท้องถน่ิ จากผู้สนับสนุนท่ีเป็นคหบดีรายใหญ่ที่มีฐานะร่ารวย เช่น การก่อต้ังสถานสงเคราะห์คน ยากจน การสรา้ งโรงเรยี นจีน หรอื แม้แตก่ ารสร้างโรงพยาบาล เป็นต้น จุดกาเนิดและการสืบทอดของ วัฒนธรรมจีนที่สาคัญต่างๆจึงเป็นเครื่องบ่งบอกความเจริญทางจิตใจของผู้ที่ดารงรักษาวัฒนธรรม เหล่านั้นได้ ส่วนหน่ึงของการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่เก่ียวกับประเพณีของจีนบาบ๋าน้ันเกิดจาก นโยบายทางภาครัฐบาลที่อยากให้เกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชน แต่เจตจานงค์ของความ ร่วมมือร่วมใจกันนี้จาเป็นต้องถือกาเนิดจากกลุ่มคหบดีท่ีเป็นท่ีนับหน้าถือตาของประชาชนด้วย การ ชว่ ยเหลอื เกือ้ กูลในลักษณะเกิดขึ้นบ่อยคร้ังในสังคมชาวจีนบาบ๋าในแถบชายฝ่ังทะเลอันดามันภาคใต้ น้ี ๒.๓ ลักษณะการแต่งกายของชาวบาบา๋ -เพอรานากันในภมู ภิ าคเอเชยี ตะวันออกฉียงใต้ ในยุคเร่ิมแรกประมาณศตวรรษท่ี ๑๓ – ๑๗ กลุ่มชาวจีนท่ีอพยพย้ายถิ่นมาบริเวณสิงคโปร์ และมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นกุลีหรือกรรมกร ผู้ชายจึงมักแต่งกายเรียบง่ายสบายๆ คือนุ่งกางเกงทรง หลวม สวมเสื้อยืดหรือเสื้อกล้ามด้านในสีขาว ข้างนอกเป็นเส้ือเชิ้ตเน้ือบางแขนยาวสีน้าเงินเข้มแบบ กรมทา่ หรือท่คี นจนี ภเู กต็ เรียกว่า “เสอ้ื ใหญ”่ ตัดจากผา้ อง่ั มอ่ ต๋วิ หรือผา้ เวสปอยท์ เป็นผา้ ฝา้ ย (คอตต้อน) เนื้อหนา มีน้าหนัก ซักยาก คล้ายเสื้อทหาร ได้รับอิทธิพลจากการแต่งกายของสมัย ราชวงศช์ งิ ตอนปลายทเ่ี รยี กวา่ “ชุดถางจวง” มาจากการเรียกชือ่ จากชาวตา่ งประเทศ เนือ่ งจากความ โดง่ ดงั และความมีชื่อเสียงของราชวงศ์ถัง จึงทาให้เป็นที่รู้จักของกลุ่มคนถ่ินอื่นด้วย มีลักษณะเด่นคือ เป็นเส้ือคอต้ังแบบจีน ทั้งแขนเส้ือและตัวเสื้อตัดมาจากผ้าชิ้นเดียวกันจึงทาให้ไม่เห็นตะเข็บระหว่าง รอยต่อ เม็ดกระดุมแบบจีนท่ีใช้การถักจากผ้าเป็นปมและห่วงรังดุมที่ผลิตจากผ้า (เจษฎา, ๒๕๕๔)

๑๘ สว่ นผูห้ ญิงท่เี ป็นประชากรส่วนน้อยในขณะนน้ั มักมอี าชีพเป็นแม่บ้าน จึงแต่งกายด้วยเคร่ืองแต่งกายท่ี เรียกว่า ซัมฟู (Samfu) คาว่า “ซัม” เป็นคาท่ีเรียกด้านบนของเคร่ืองแต่งกายท่ีเป็นเสื้อคอจีน ด้านหน้าติดกระดุมจีนหรือกระดุมแป๊บพาดยาวไปถึงใต้วงแขนข้างขวา แขนเสื้อยาวบ้างหรือสั้นบ้าง ต่อมาเส้ือดังกล่าวได้รบั ความนิยมมากขึน้ ประกอบกับรปู ร่างของสาวจีนที่มีความอ้อนแอ้นอรชร จึงได้ มีการดัดแปลงให้เสื้อมีความเขา้ รปู และแขนสนั้ ข้นึ ทาให้แลดูสง่าสวยงามตามทรวดทรงของผูส้ วมใส่ ส่วนคาสุดท้ายคือ “ฟู” เป็นลักษณะด้านล่างของเครื่องแต่งกายท่ีเป็นกางเกงยาวหลวมประมาณข้อ เทา้ เครือ่ งแตง่ กาย “ซัมฟู” ท้ังด้านบนและด้านลา่ งนีผ้ ลิตจากเนอ้ื ผา้ ชนดิ เดียวกัน แสดงออกถึงความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของการออกแบบ โดยคุณภาพของผ้าจะข้ึนอยู่กับสถานะทางเศรษฐกิจของผู้ สวมใส่ เม่อื ชาวจนี มฐี านะร่ารวยมงั่ คั่งข้ึน กลุ่มลูกหลานของขุนนางหรือคหบดีผู้ใหญ่ได้ลองประยุกต์ แฟชั่นในสมัยนั้นจากห้างเส้ือในเซี่ยงไห้ โดยการนาชุดครุยยาวเน้ือผ้าไหม ติดกระดุมคอ ผู้ชายนุ่ง กางเกงผ้าไหมขายาว ส่วนผู้หญิงนิยมใส่ชุดยาวแบบจีนท่ีเรียกว่า “ชุดกี่เพ้า” ในภาษาจีนกลาง หรือ “ชุดเช่งซัม” (Cheongsam) ในภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นลักษณะชุดยาวเข้ารูปท่ีสามารถใส่ได้ท้ังชาย และหญิง โดยผู้ชายมักนุ่งกางเกงขายาวด้านใน ส่วนผู้หญิงจะใส่กระโปรงยาวถึงข้อเท้า ในช่วง ศตวรรษที่ ๒๐ ชุดเชิงซามได้เปลี่ยนเป็นลักษณะของชุดยาวรัดรูปคอตั้งสูงแขนส้ัน ตัวชุดมีสองด้าน แยกกนั เป็นทางยาว ขอบรมิ ปลายสุดของชุดมักอยู่บริเวณหัวเข่า แต่ผู้หญิงบางคนก็อาจจะอยู่บริเวณ ต้นขา ส่วนใหญ่ชุดดังกล่าวผลิตจากผ้าไหมหรือผ้าปักดอก นิยมสวมใส่ในโอกาสพิเศษมากกว่าใน ชีวติ ประจาวนั (Koh & Ho, 2009) แม้วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนโพ้นทะเลจะถูกจากัดจากเหตุผลทางการเมืองโดย รณรงค์ใหแ้ ต่งกายตามยุคสมยั มากขนึ้ แต่ความเป็นชนชาติจีนยังคงเป็นเคร่ืองรักษาวัฒนธรรมด้ังเดิม เอาไว้ได้อย่างไม่สูญหาย ชุดฉ่งซากลายเป็นชุดที่นิยมสวมใส่ในช่วงเทศกาลปีใหม่จีนและงานท่ีเป็น ทางการ ลักษณะเครอ่ื งแต่งกายสาหรับพิธีมงคลสมรสแบบ “ยกน้าชา” เองก็ยังยึดถือสัญลักษณ์หรือ ขนบธรรมเนียมจีนอยู่มาก แม้ฝ่ายเจ้าบ่าวจะสวมใส่เสื้อสูทแบบตะวันตก แต่ฝ่ายเจ้าสาวมักให้ ความสาคัญกับการใส่ชุดกวา (Kwa) ซ่ึงเป็นชุดที่แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน มักเป็นชุดสีแดงตกแต่งด้วย เคร่ืองประดับท่ีเป็นสีทองและสีเงิน เป็นงานปักลายมังกรและลายนกฟีนิกส์ ภายใต้การแต่งกายท่ี งดงามและมีเสน่ห์เหล่าน้ีได้ปรากฎวัฒนธรรมแฟชั่นท่ีเป็นระเบียบแบบแผน รวมถึงการให้ ความสาคัญในการเลือกสีเคร่ืองแต่งกายที่เหมาะแก่โอกาสพิเศษท่ีแตกต่างกัน เช่น การสวมใส่ชุดสี

๑๙ แดงและสสี ม้ แสดงให้เห็นถงึ ความเฉียบแหลมและความโชคดีของผูส้ วมใส่ มักแตง่ กายในช่วงปีใหม่จีน หรืองานเฉลมิ ฉลองพิธมี งคลสมรส แต่ไมเ่ หมาะแก่การใส่ไปในงานท่ีโศกเศร้าหรอื พธิ ศี พ รสนิยมของกล่มุ ชาตพิ นั ธ์ุลกู ผสมจีนบาบา๋ คือ การผสมผสานวฒั นธรรมการแตง่ กายของ ชาติตา่ งๆ เพ่ือสรรสร้างความเป็ นเอกลกั ษณ์ของตนเอง โดยได้หยิบยกเอาแนวคดิ รูปแบบของชุด ตา่ งๆของมาเลย์และจีนมารวมกันเป็ น แต่ส่ิงท่ีปรากฎคือ ผ้ชู ายบาบ๋ามกั ชื่นชอบการแตง่ กายใน สไตล์ตะวนั ตก โดยกลมุ่ ผ้มู ีการศกึ ษาสงู มกั เลียนแบบแตง่ กายแบบชาวองั กฤษ คือ ใส่เสือ้ เชิต้ ผกู ไทด์ ใส่เสือ้ แจ็คเก็ต และน่งุ กางเกงสแล็คสีดา ในความเปนจริงนนั้ ตนเองก็เรียนโรงเรียนฝร่ัง ทา การค้ากบั ฝรั่ง และอยากเป็ นนายหวั (เหมือง) แบบนายฝรั่ง ดงั ท่ีคนจีนบาบา๋ ในภูเก็ตชอบพูดจา หยอกล้อว่า “แต่งตวั เอีย้ นเหมือนเหมียนผัง(ฝรั่ง)” มีความหมายว่า แต่งตวั โก้มากเหมือนเสมียน ของเหมืองแร่ฝร่ัง ส่วนกล่มุ ชาวจีนท่ียงั รักษาขนบธรรมเนียมของบรรพบรุ ุษตนเองมกั จะใสเ่ สือ้ ผ้า ไหมจีนซบั ในสีขาว สวมเสือ้ แจค็ เก็ตแบบจีนด้านนอก และนงุ่ กางเกงหลวมๆแบบจีน กลมุ่ ชาวจีน บาบ๋าค่อนข้างมีอิสระในการเลือกแต่งกายในรูปแบบที่ตนเองต้องการ ทงั้ นีข้ ึน้ อยู่กบั ปัจจยั ทาง สงั คม โอกาสพเิ ศษ การศกึ ษา และความนิยมในยคุ สมยั นนั้ ๆ ส่วนกล่มุ ผ้หู ญิงจะนาเอาวัฒนธรรม การแตง่ กายแบบมาเลย์ผสมกับลวดลายผ้าแบบจีนมาเป็นชุดที่สวมใส่ในงานต่างๆ ประกอบด้วยเค บายา (Kebaya) เป็นส่วนด้านบนที่มีความคล้ายคลึงกับเคร่ืองแต่งกายแบบมาเลย์ด้ังเดิม แต่จะ แตกต่างกันท่ีมีการปักฉลุลวดลายตามชายผ้าและเนื้อผ้าที่มีความโปร่งใส่กว่า นอกจากนี้ยังมี เครื่องประดบั ทง้ั เพชรนลิ จินดาและรองเท้าท่ีเข้าคู่กัน เสื้อเคบายามักใช้เข็มกลัดทองท่ีมีเพชรหรือหิน ท่ีมีค่าตกแต่งโดยรอบเรียกว่า โกสัง (Kerosang) แทนกระดุมเส้ือติด ส่วนด้านล่างนิยมนุ่งผ้าโสร่ง ปาเต๊ะ (Batik sarong) และมีเข็มขัดเงินพันรอบเอว ส่วนรองเท้ามักทาลวดลายจากลูกปัดร้อยมือ เรียกว่า รองเท้าลูกปัด (Kasut manek) แต่ในยุดต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแต่งกายให้ เรียบง่ายแต่ยังคงแนวคิดของความหรูหราอลังการ คือ การใช้กระดุมแป๊บติดแทนเข็มกลัดทองหรือ โกสัง ส่วนผ้านุ่งอาจตัดเป็นผ้าถุงสาเร็จท่ีมีซิปหรือการใช้สายรัดเอวแทนเข็มขัดเงินท่ีมีราคาแพงกว่า เป็นต้น ซึ่งเครื่องแต่งกายและเคร่ืองประดับเหล่าน้ีมักผลิตจากเคร่ืองจักรมากกว่างานฝีมือ ลักษณะ ลวดลายต่างๆจงึ มคี วามปราณตี นอ้ ยกว่างานช่างในอดีต

๒๐ การแต่งกายของชาวจีนบาบ๋าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่นิยมแต่งเป็นสากล มากยิ่งข้ึน ความนิยมแต่งกายแบบสาวยาหยาด้ังเดิมแทบจะหมดส้ินไป เพิ่งมีการรื้อฟ้ืนมาแต่งกาย เฉพาะในโอกาสพิเศษเท่านั้นในช่วงประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ เช่นเดียวกับสาวยาหยาใน อินโดนีเซีย แม้ชุดการแต่งกายทั้งผ้าถุงและเสื้อยาหยาน้ัน ชาวอินโดนีเซียก็มีทักษะในการผลิตท่ี ถ่ายทอดมาหลายช่ัวอายุคน แต่การสร้างสรรค์ส่ิงต่างๆเหล่านี้มักมีอุปสรรคท่ีเป็นด่ังเส้นใยบางของ ชาวบาบ๋าอนิ โดนเี ซยี ที่มเี ช้ือชาตจิ นี หรือหนา้ ตาเปน็ จีนแต่ถอื สัญชาติอินโดนีเซียท่ีเป็นชนกลุ่มไม่ใหญ่ มากแต่มฐี านะทางการเงนิ ดี และรทู้ ิศทางของการเมืองดี ตลอดจนรู้ภูมิหลังของผู้นาตนเองดีว่า “เมื่อ ส้ินยุคประธานาธิบดีซูการ์โน” ผู้นาในการรวมชาติและประกาศตนเป็นอิสสระไม่ได้เป็นเมืองข้ึนของ ประประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เคยเป็นมหาอานาจมานานกว่าสามร้อยปี ต่อมาเม่ือปีคริสตศักราช ๑๙๖๕ ประธานาธิบดี \"ซูฮาร์โต\" ผู้มีอานาจมีความต้องการให้อินโดนีเซียเป็นประเทศมุสลิม มุ่งเน้น ว่าพลเมืองชาวอินโดนีเซียควรแต่งกายอย่างมีหลักการทางศาสนาเข้ามาเป็นตัวช้ีวัด ทาให้การแต่ง กายแบบสาวยาหยาลดความนิยมลงไป การแต่งกายจึงคานึงถึงความปลอดภัยและภาพลักษณ์ท่ี สอดคลอ้ งกบั ความเช่ือของสงั คมและไม่ขัดแยง้ กับผู้นา (Ricklefs, 2008) ในปจั จบุ ันนี้เมอ่ื เรม่ิ ตน้ ยคุ ผู้นาใหม่ สาวยาหยาในประเทศอินโดนีเซียหันมาสนใจแต่งกายชุด ยาหยามากข้ึน แต่มีการผสมผสานกับความเป็นสาวมุสลิม สวมเส้ือยาวคลุมสะโพกและนุ่งผ้าถุงแบบ แฟชั่นตะวันตก และการตีความเคร่ืองแต่งกายของสาวยาหยาท่ีหลากหลายกันไป เช่น การใส่เสื้อเค บายาและรองเท้าลูกปัดกับกางเกงยีนส์หรือกางเกงสแล็ค เป็นต้น ถ้าจะมีสาวยาหยาท่ีรักษา วัฒนธรรมไดโ้ ดยไม่สะดดุ เพราะอุปสรรคทางการเมืองคงต้อง ระบุว่าน่าจะเป็นชาวบาบ๋าชาติสิงคโปร์ ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการประยุกต์เคร่ืองแต่งกายในลักษณะดังกล่าวมาเป็นเครื่องแบบของพนั กงาน ต้อนรับบนเครือ่ งบินในสายการบนิ ทม่ี ชี ื่อเสียงมากมาย แต่ดว้ ยจานวนพลเมืองที่น้อยเม่ือเปรียบเทียบ กบั ประเทศไทย นา่ จะเป็นสิ่งท่ีทาให้ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในการใช้วัฒนธรรมบาบ๋า เป็นหน่ึงใน วฒั นธรรมผสมผสานของชาวไทยฝง่ั ทะเลตะวนั ตกที่เป็นลกู ผสมจนี และชนพนื้ เมืองอยา่ งลงตัว การแต่งกายดั้งเดิมแบบชาวบาบ๋าค่อยๆเริ่มสูญหายไปจากสังคมเมืองภูเก็ตในช่วง สงครามโลกคร้ังท่ีสอง (ประมาณปีคริตศักราช ๑๙๓๐) ซึ่งการแพร่กระจายของวัฒนธรรมตะวันตก เร่ิมเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น เม่ือแร่ดีบุกในบริเวณชายฝั่งอันดามันต้ังแต่ภูเก็ต ตะกั่วป่า ระนอง และ ตรังได้รับความนิยมจากพ่อค้าชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก ทาให้เกิดการพัฒนาเรือขุดแร่ท่ีมีความ ทันสมัยโดยสัมปทานของบริษัทต่างชาติ เช่น West Indies Company, Tunka Harbour

๒๑ Company, Tin Dredging เป็นต้น หลังจากน้ันเป็นต้นมา สาวบาบ๋าก็เริ่มนิยมการแต่งกายโดยสวม ใสก่ ระโปรงบานมากย่งิ ขึ้น ข้อสรปุ ทีผ่ ูว้ ิจยั ขอเสนอวา่ “การแตง่ กายของชาวบาบ๋าภูเก็ต” มีลักษณะโดดเด่นและสมควร ที่จะเสนอว่าการแต่งกายของสาวบาบาในจังหวัดภูเก็ตเหมาะสมที่จะประกาศว่า เป็นหนึ่งในการแต่ง กายของชาวบาบา๋ ท่เี ป็นชุดประจาชาติของชาวบาบ๋าในไทยและใน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็น สง่ิ ทีส่ มควรประกาศว่าเปน็ รูปแบบหน่ึงในการแตง่ กายของชาวไทย เพง่ิ ขนึ้ ทะเบียนเปน็ มรดกแห่งชาติ หรอื Intangible Cultural Heritage

๒๔ บทที่ ๓ วธิ ดี ำเนนิ กำรเก็บขอ้ มลู การอนรุ กั ษศ์ ิลปวฒั ธรรมยอ่ มเป็นไปได้ยากหากไม่ได้เกิดจากการร่วมมือร่วมใจกันของคนใน ชุมชน หรือแม้บางคร้ังคนกลุ่มหนึ่งจะเป็นผู้อนุรักษ์ แต่คนกลุ่มคนหน่ึงอาจจะไม่สนใจใยดีหรือไม่ อยากมีส่วนเก่ียวข้องในการอปกป้องคุ้มครองวัฒนธรรมของตนเอง ข้อมูลและองค์ความรู้เป็นส่วน สาคัญทที่ าใหก้ ระบวนการสืบทอดและธารงไว้ซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชุมชน ดังนั้น ความสาคญั เก่ียวกบั การรวบรวมและจดั เก็บองค์ความรู้เกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “การ แต่งกายของชาวบาบ๋าเพอรานากันภูเก็ต” นี้ จะมุ่งเน้นที่ประเด็นของวิธีการและกระบวนการเก็บ ข้อมูลหรือองค์ความรู้จากแหล่งสาคัญๆ และกระบวนการปลูกจิตสานึกในการสืบทอดวัฒนธรรม ดงั กลา่ วในโอกาสพิเศษหรอื ประเพณตี ่างๆ ในอดตี วิถชี วี ิตของชมุ ชนชาวบาบ๋า-เพอรานากันได้มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น รูปแบบการส่ัง สอนลูกหลานของบุคคลในสมยั ก่อนจะใชก้ ลยทุ ธ์ “ปู่สอนหลาน” คือ การถา่ ยทอดแนวความคิดต่างๆ ให้แก่รุ่นลูกรุ่นหลานโดยการใช้ภาษาในการบอกเล่า เช่น การใช้สุภาษิตคาพังเพยจากส่ิงรอบตัวเพ่ือ สอนให้เข้าใจ การ ส่วนอกี กลยุทธ์หนึ่งท่ีเห็นได้ชัดคือ “ปู่ย่าพาทา” ซ่ึงจะเป็นการเน้นให้ลงมือปฏิบัติ ด้วยตนเอง และเกิดการเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นจากการกระทา เช่น การพาลูกหลานไปออกงานหรือเข้า ร่วมพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ เป็นต้น ซ่ึงแนวคิดเหล่านี้เป็นลักษณะที่สอดคล้องกับ กาญจนา และ คณะ (๒๕๕๓) เกี่ยวกับกลยุทธ์ท่ีถือเอา “ผู้ส่งสารเป็นตัวตั้ง” (Sender-oriented approach) โดย ถือวา่ เป็นวิธกี ารสืบทอดวัฒนธรรมทใ่ี ชไ้ ด้ผลกบั บริบทสังคมในสมยั เม่ือ ๓๐ ปีท่แี ล้ว การปรับกลยุทธ์ในการสืบทอดวัฒนธรรมเพ่ือให้เข้ากับยุคสมัยที่เปล่ียนไป ถือเป็นส่ิงท่ี จาเป็นมาก หากคนในชุมชนไม่เข้าใจความเปล่ียนแปลงของสังคม หรือไม่เข้าใจวิธีจัดการให้คนรุ่น ใหมห่ ันมาสนใจในวัฒนธรรมดงั้ เดมิ อาจจะทาใหเ้ กิดปัญหาเชิงซ้อนในเรื่องของความขัดแย้งในชุมชน และสดุ ท้ายก็อาจจะโยนความผิดให้แก่คนรุ่นใหม่โทษฐานที่ไม่ใส่ใจที่จะอนุรักษ์วัฒนธรรมของตนเอง ในเบ้ืองต้น การปลูกจิตสานึกให้แก่คนในชุมชนเกิดความรู้สึกหวงแหนและต้องการอนุรักษ์ ศลิ ปวฒั นธรรมของชุมชนนั้นมีหลายรูปแบบ วิธีการหน่ึงที่น่าสนใจคือ การผลักดันให้เกิด “คาราวาน กิจกรรม” ในชุมชนท่ียงั คงมีการยึดถือวัฒนธรรมด้ังเดิมอื่นๆ โดยทั่วไป ลักษณะของวัฒนธรรมมักจะ

๒๕ โยงใยเช่อื มถึงกันเปน็ หลายมิติ หรอื เรยี กอกี ชือ่ วา่ “ตาข่ายวัฒนธรรม” (กาญจนา และคณะ, ๒๕๕๓) ในบรบิ ทของการแตง่ กายแบบชาวบาบา๋ เพอรานากันภูเก็ตเอง ก็มีลักษณะการเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม อน่ื ๆ เช่น การแต่งกายกับความเชื่อส่วนบุคคลและในครอบครัว ประเพณีสารทเดือนสิบ ค่านิยมของ คนภูเก็ต ภาษาปุ๊นเต่ (พื้นเมือง) เป็นต้น ความน่าสนใจของการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงจากวัฒนธรรม หนึ่งไปสู่วัฒนธรรมอ่ืนๆจึงกลายเป็นองค์ความรู้เชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary approach) ที่ จาเปน็ ตอ้ งอาศัยศาสตร์จากแขนงตา่ งๆมาศึกษาและวเิ คราะห์เพือ่ เกิดความหลากหลายทางแง่คิดและ แนวทางในการศกึ ษาค้นคว้าต่อไป แนวทางในการสร้างแรงจูงใจให้คนในชุมชน เป็นการดาเนินแผนการศึกษาองค์รวมของ ชมุ ชนขั้นพ้นื ฐาน โดยเปน็ การวิเคราะห์ลักษณะชุมชนท่ีคงอยู่ต้ังแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และสภาวะท่ีมี การเปล่ียนแปลงไปเนื่องจากการพัฒนาของชุมชนเมืองที่เกิดจ ากนโยบายของรัฐที่ส่งเสริม ให้ วัฒนธรรมของชาติเป็นจุดขายของการท่องเที่ยวระดับนานาชาติ ซึ่งแนวทางในการปฏิบัติก่อนการ ดาเนินงานลงสนามเพอ่ื เก็บขอ้ มูลมดี งั นี้ (๑)การทาความเขา้ ใจร่วมกันของนักวิจัย หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน และผู้ช่วย วิจัยเกี่ยวกับเป้าประสงค์ของการดาเนินงานเก่ียวกับการรวบรวมและจัดเก็บองค์ความรู้ รวมถึงการสร้างกจิ กรรมทางวฒั นธรรมให้เกิดขึ้นในชุมชน (๒)การศึกษาลักษณะโครงสร้างชุมชนต้ังแต่ระดับใหญ่ ไปจนถึงระดับย่อย โดยพ้ืนฐานของ ชมุ ชนเมืองเก่าภูเกต็ (๓)การสารวจความคิดเห็นของคนในชุมชนเกี่ยวกับวัฒนธรรมของตนเอง และความรู้สึกนึกคิด เกย่ี วกบั การอนรุ ักษว์ ฒั นธรรม หลังจากท่ีได้สารวจความต้องการของคนในชุมชนเก่ียวกับความ รูปแบบของการทากิจกรรมเพ่ือ สง่ เสริมความรว่ มมอื กบั ชุมชน ไดป้ ฏบิ ัติดงั ตอ่ ไปนี้ (๑) การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยได้แบ่งผู้ให้ข้อมูลออกเป็น ๔ ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มผู้ที่เป็น แหล่งผลิตเครื่องแต่งกาย กลุ่มผู้ขายเคร่ืองแต่งกาย กลุ่มผู้ออกแบบและตัดผ้า และกลุ่มผู้ เป็นเจา้ ของเครอ่ื งแตง่ กายดั้งเดิม (มรดกตกทอด) ซงึ่ คาถามที่ถามจะเกี่ยวข้องกับประวัติของ ครอบครัว ประวัติของเคร่ืองแต่งกายกับเจ้าของ แนวโน้มของการแต่งกายในปัจจุบัน ความ คิดเห็นเก่ียวกับความสาคัญของการอนุรักษ์เคร่ืองแต่งกาย และท่ีสาคัญท่ีสุดคือ แนวทางใน

๒๖ การสืบทอดการแต่งกายในรุ่นต่อไปและในอนาคต ซ่ึงผู้วิจัยยังได้ขอความอนุเคราะห์เจ้าของ เครือ่ งแตง่ กายในการเป็นส่วนหนึง่ ของผูเ้ กบ็ รวบรวมเคร่อื งแตง่ กาย ซงึ่ หาก (๒) การจัดเวทีเพื่อประชุมกลุ่มย่อย (Group discussion) โดยผู้วิจัยได้เชิญบุคคลผู้มีส่วน เก่ียวข้อง หรือผู้ให้ข้อมูลสาคัญเข้าร่วมพูดคุยแลกเปล่ียน แสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ซ่ึงถอื ว่าการประชมุ กลุม่ ย่อย เปน็ การสรา้ งให้เกิดกระบวนการเรยี นรู้รว่ มกนั อีกด้วย (๓) การผลักดันให้เยาวชนมสี ่วนร่วมในการเป็นผู้สืดทอดวัฒนธรรม โดยการจัดกิจกรรมในเดือน ตุลาคมโดยวางแผนดาเนินงานเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มชาวบาบ๋า-เพอรานากัน พร้อมกับเป็นการ อบรมกลุ่มนักวิจัยรุ่นเยาว์ให้ตระหนักความสาคัญของการสืบต่อวัฒนธรรมด้านการแต่งกาย ท้องถิ่นในพิธีตา่ งๆ เป็นการเก็บขอ้ มลู แบบมีสว่ นร่วมกบั ชุมชน โดยวางแผนจัดงานสัมมนาใน โรงเรียนประถมและโรงเรยี นมัธยม กลุม่ ผู้เขา้ ร่วมโครงการจดั เป็นกลมุ่ ลูกหลานชาวเพอรานา กนั ภูเก็ต จดั การอบรมให้เข้าใจถึงกระบวนการเก็บข้อมูล การอนุรักษ์วัฒนธรรม ซ่ึงเป็นการ เริ่มต้นในรอบครอบครัวพัฒนาไปจนถึงระดับท่ีกว้างขึ้นในอนาคต โครงการเร่ิมต้นในเดือน ตลุ าคมนก้ี ับกลมุ่ เปา้ หมายโรงเรียนมัธยมเป็นอันดับแรก จากนัน้ ทาการสรปุ ผลการเก็บข้อมูล ช่วงท่ีหนึ่งปลายเดือนตุลาคมร่วมกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการวิจัย ร่วมกับชมุ ชนข้นั ตอนตอ่ ไป โดยได้จัดแผนการดาเนนิ งาน ดงั น้ี การจดั ตัง้ โครงการ “เยาวชนอนุรกั ษ์วฒั นธรรมทอ้ งถิน่ ภูเกต็ ” - หนว่ ยงานและกลมุ่ บคุ คลที่สนบั สนุนโครงการ o หนว่ ยงานท่ีสนับสนุน คือ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมฯ และสมาคมบาบ๋า-เพอรานากัน ภูเก็ต o หน่วยงานสนุบสนุนการจัดอบรม คือ ศูนย์มัลติมีเดียและแอนนิเมช่ัน คณะ เทคโนโลยีและส่ิงแวดล้อม มหาวทิ ยาลัยสงขลานครินทร์ วทิ ยาเขตภูเก็ต o กลุ่มผู้ช่วยวิจัยจานวน ๕ คน หน้าท่ีของกลุ่มคนดังกล่าว คือ เป็นผู้ติดต่อ ประสานงานระหว่างผู้วิจัยกับกลุ่มเป้าหมาย โดยดูแลนักเรียนและให้คาปรึกษาใน วิธกี ารเก็บขอ้ มลู โดยเป็นเสมอื น “พเี่ ลีย้ ง” ของนักเรยี นจนจบโครงการ - กลมุ่ เป้าหมาย

๒๗ o นกั เรยี นระดบั อาชีวศกึ ษา มธั ยมศกึ ษา และประถมศึกษาจานวน ๕๐ คน จานวน ๓ โรงเรียน ซง่ึ เปน็ โรงเรยี นประจาจงั หวัดภเู กต็ ได้แก่ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติฯ กลุ่ม ชุมชนอาเภอถลาง และอาเภอกะทู้ และวิทยาลัยอาชีวศึกษา โดยร่วมมือกับ เทศบาลเมืองกะทู้ และโรงเรียนประถมศึกษาวิทยาสาธิต และโรงเรียนปลูกปัญญา ซ่ึงแน่นอนว่านักเรียนส่วนใหญ่ จะเป็นลูกหลานของชาวภูเก็ตท่ีสืบเช้ือสายบาบ๋า – เพอรานากันภเู ก็ต o หนา้ ทข่ี องกลุม่ เป้าหมาย คือ  เก็บข้อมูลท่ีเก่ียวกับประวัติของครอบครัว และรวบรวมข้อมูลเครื่องแต่ง กายของชาวบาบ๋า-เพอรานากัน ได้แก่ ข้อมูลเชิงกายภาพ (เคร่ืองแต่งกาย และเคร่ืองประดับ รูปภาพ) และข้อมูลเชิงเนื้อหา (ที่มาของเคร่ืองแต่งกาย และเครื่องประดับ ฯลฯ  การเข้าถึงผู้ปกครองของนักเรียน เพื่อให้การเก็บข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ มากย่ิงข้ึน การให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการยืนยันข้อเท็จจริงของข้อมูล เปน็ ส่งิ ที่พงึ กระทา หลงั จากไดร้ บั ข้อมลู ของนักเรยี น - กิจกรรมของโครงการ แบ่งเปน็ ทงั้ หมด 3 ระยะ o การจัดอบรม: การจัดอบรมนักเรียนเก่ียวกับความสาคัญของรวบรวมข้อมูลทาง ประวัติศาสตร์โดยเร่ิมจากการประวัติครอบครัวของตนเอง การเก็บข้อมูลเก่ียวกับ ผ้าพื้นเมืองท่ีอยู่ในบ้าน และการทาความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของชาว บาบ๋า-เพอรานากันภูเก็ต เรียนรู้วิธีการนุ่งผ้าปาเต๊ะ และการเพลาะ (การสอย) ผ้า ปาเต๊ะ เปน็ ระยะเวลา ๑ วนั โดยจะแนะนาพเ่ี ลีย้ งท่ีคอยดแู ลในวันนัน้ o การเกบ็ และรวบรวมข้อมูล: นักเรียนจะมีเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลประมาณ 2 อาทติ ย์ โดยนกั เรียนจะต้องบันทึกตามแบบฟอร์มของการเก็บข้อมูลที่ได้รับ และส่ง กลับคืนมายงั พ่เี ล้ยี ง o การรายงานผลและการสัมภาษณ์เชิงลึก: คณะผู้วิจัยจะสัมภาษณ์นักเรียนเก่ียวกับ ประวัติของครอบครัวและการสะสมเครื่องแต่งกายแบบบาบ๋า-เพอรานากัน เพื่อ ประเมินความคงอยู่และเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวภูเก็ตใน สมยั ปจั จุบัน

๒๘ (๔) การรณรงค์ของชุมชนเมืองเก่าภูเก็ต (Community Campaign) ให้มีการแต่งกายแบบชาว บาบา๋ เพอรานากนั ทกุ วันเสาร์ (๕) การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (Participant Observation) โดยผู้วิจัยได้ร่วมมือกลุ่มคนใน ชุมชนเมืองเก่าภูเก็ตจัดงานวิวาห์บาบ๋า เพ่ือให้คนในชุมชนเข้าใจพิธีกรรมเก่ียวกับการ แต่งงานของชาวบาบ๋าเพอรานากันภูเก็ต ที่ยังคงเป็นประเพณีด้ังเดิมท่ีสืบทอดกันมา โดย เคร่ืองแต่งกายของคู่บ่าวสาว และผู้เข้าร่วมพิธีจะเป็นรูปแบบของชาวบาบ๋าเพอรานากัน ซึ่ง การร่วมมือร่วมใจกันแต่งกายในลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสาคัญของ นอกจากน้ี ผู้วิจัยจะเข้าร่วมสังเกตการณ์และร่วมกิจกรรมกับชุมชนเพื่อให้ได้ข้อมูลจริงมากท่ีสุด โดยเฉพาะการเข้าร่วมในกิจกรรมประจาปีของชุมชน หรืองานประเพณีต่าง ๆ เช่น งานพ้อ ต่อ งานกนิ ผัก งานยอ้ นอดีตเมอื งเก่าภูเกต็ ท้งั ท่มี ีการจัดแสดงแฟช่ันโชว์และหรือผู้ร่วมงาน เป็นต้น รวมถึงการสังเกตุแนวโน้มการแต่งกายแบบชาวบาบ๋าเพอรานากันภูเก็ต ในงานพิธี การสาคัญทางศาสนา และงานสาคัญของครอบครวั เชน่ งานบวช งานศพ งานแต่งงาน ฯลฯ (๖) การสารวจแหล่งผลิตผ้าปาเต๊ะดั้งเดิมและตลาดจาหน่ายผ้าปาเต๊ะมีช่ือเสียงท้ังในประเทศ และต่างประเทศพร้อมท้ังเรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสาธิตการผลิตเป็นกรณีพิเศษ ซ่ึงผู้วิจัยจะ ดาเนินการในเดอื นพฤศจิกายน

๓๐ บทที่ ๔ สาระของ “การแตง่ กายของชาวบาบ๋าเพอรานากัน” ๔.๑ การกระจายตวั ของชมุ ชนและรปู แบบของการแตง่ กาย ชาวไทยเช้ือสายจีนในแถบชายฝั่งทะเลอันดามันหรือ “ชาวบาบ๋า” เป็นกลุ่มคนท่ีมีวิถี ชีวิตท่ีค่อนข้างแตกต่างจากชาวจีนแผ่นดินใหญ่มาก แม้ว่าทุกวันนี้บางตระกูลยังคงเก็บรักษา ขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณบางอย่างไว้ แต่แนวความคิดในเร่ืองของการปรับเปลี่ยนตนเอง ให้เข้ากับพื้นท่ีถ่ินท่ีอยู่ใหม่และความเป็นไปของยุคสมัยนั้นๆ เป็นส่วนสาคัญที่ทาให้วัฒนธรรม ของชาวบาบ๋าเพอรานากนั มวี วิ ฒั นาการและพัฒนารปู แบบการแตง่ กายท่แี ฝงไปด้วยแนวความคิด ทีม่ ีตวั ตน ความมีเอกลักษณ์ดา้ นการแตง่ กายที่นาเอาผนื ผ้าจากทอ้ งถ่ินมาประยุกต์ใช้ประกอบกับ การแต่งแต้มลวดลายและสีสันในรูปแบบของตนเอง ทาให้เกิดผลิตภัณฑ์ท่ีมีความแตกต่างอย่าง เหน็ ไดช้ ัดจากความเป็นพ้ืนถ่ิน เชน่ กลวิธกี ารนาผ้าฝ้ายมาทาผ้าปาเต๊ะในรูปแบบของตนเอง โดย วาดลายดอกไม้และสัตว์ปีกแทนการวาดลายเส้นเฉียงไปมาเหมือนชาวมุสลิม ซ่ึงถือเป็นศิลปะ ช้นั สูงท่ีพยายามสื่อสารบุคลิกลักษณะของตนเองแก่ผู้อื่น การผลิตผ้าเหล่านี้ยังมีกรรมวิธีการแต่ง แต้มสีท่ีแตกต่างจากผ้าของชาวมุสลิม โดยจะเน้นการใช้สีสันสดใสและมักใช้สีผสมท่ีเกิดจากการ เรียนรู้เทคนิคสีจากชาวดัตท์ หรือผู้เข้ามามีอิทธิพลด้านการปกครองเกาะชวาในสมัยอาณานิคม สิ่งที่น่าสังเกตคือ โทนสีที่ชาวบาบ๋าชอบผลิตส่วนใหญ่จะเป็นสีนุ่มนวล (Earth tone) หากเป็นสี ฟา้ กจ็ ะเปน็ สฟี ้าแบบนา้ ทะเล หรือถ้าเป็นสีเหลืองก็จะเหมอื นเปน็ การผสมสขี าวเพ่มิ ข้ึนไป เป็นต้น รสนิยมของการชอบสีจึงน่าจะแตกต่างจากชาวจีนแผ่นดินใหญ่ท่ีมักชอบสีสันจัดจ้าน เครื่องแต่ง กายมักเป็นสีแดงสดมากกว่าสแี ดงผสมสีอื่น ชาวบาบา๋ อพยพมาจากเมอื งเอ้เมิง ซัวเถา ในบริเวณมณฑลฝูเจี้ยน เพ่ือมุ่งหน้าตรงมายัง ดนิ แดนทางใต้ด้วยระยะเวลามากกว่า ๑ เดือน หากอ้างอิงตามแผนที่ ๑ จะพบว่าเมืองเปกาลอง กานที่อยู่ในเมืองเซมารัง (Semarang) เป็นเมืองท่าอยู่บริเวณตอนกลางของเกาะชวา มีความ เป็นไปได้ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ชาวจีนอพยพรุ่นแรกน่าจะแวะจอดและพักอาศัย เป็นเพราะหลักฐาน การทาปาเต๊ะรปู แบบจีนท่มี ีชอ่ื เสยี งในเมอื งดังกลา่ ว แตกตา่ งจากการทาปาเต๊ะในรูปแบบของชาว มุสลิมและการผลิตผ้าเพ่ือส่งถวายแก่สุลต่านและราชวงศ์มักอยู่ในเมืองโซโลและเมืองจอก จาการ์ตา (ท้ังสองเมืองอยู่ทางตอนใต้ตรงข้ามกับเมืองเซมารัง) จากนั้นก็มีการกระจายตัวของ กลุ่มชาวบาบ๋าในบริเวณเมืองอ่ืนๆท่ีอยู่ใกล้เคียงกันอย่างเมืองเซเรบอน หรือทางชวาตะวันตก อย่างเมืองบันดุงและเมืองปัตตาเวีย (หรือเมืองจาร์การต้าในปัจจุบัน) และอาจพบบางกลุ่ม เคลอ่ื นย้ายไปฝ่ังชวาตะวันออกบรเิ วณเมืองสรุ าบายา

๓๑ ภาพที่ ๑: แผนที่แสดงการอพยพเคลื่อนย้ายของชาวบาบ๋าจากดนิ แดนมาตภุ ูมิมายงั เอเชยี ตะวนั ออก เฉยี งใตแ้ ถบหมเู่ กาะอินโดนเี ซีย สงิ คโปร์ มาเลเซยี และไทย ทีม่ า: Google map นอกจากนี้ ชาวจนี อพยพรนุ่ แรกบางคนก็อาจจะหันทิศเรือไปทางทิศตะวันตก เมืองหน้า ด่านที่มีความสาคัญในประวัติศาสตร์คือ บริเวณคาบสมุทรมาเลย์ (Malay Peninsula) จากภาพ ท่ี ๑ ยังพบว่าเมืองสิงคโปร์ในปัจจุบันนั้นอดีตเคยเป็นหน่ึงในเมืองท่าท่ีสาคัญของสหพันธรัฐมลา ยา อยู่ภายใตอ้ าณานิคมอังกฤษด้วยกัน การรวมตัวมีระยะสั้นๆในปี ๒๕๐๕(ต้ังแต่สมัยท่ีประเทศ สิงคโปร์ยังไม่แยกตัวออกจากประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) จุดยุทธศาสตร์ท่ีสาคัญจุดที่สองของ กลุ่มชาวจีนคือ บริเวณช่องแคบมาละกา (Straits of Malacca) การพบแหล่งท่ีอยู่อาศัยใน รูปแบบของสถาปัตยกรรมจีนผสมกับตะวันตก เช่น Shop house ในสิงคโปร์และมาละกา ชุมชนย่านคนจีนบาบ๋าเพอรานากัน เป็นต้น ลักษณะวัฒนธรรมของชนชาติจีนบาบ๋าในบริเวณนี้ แตกต่างจากชุมชนคนจีนในอินโดนีเซีย กล่าวคือสิงคโปร์เป็นเมืองท่าหรือแหล่งพักจอดของเรือ

๓๒ ขนสง่ สนิ ค้าขนาดใหญ่จากที่เดินทางจากประเทศอินเดียไปประเทศจีน จึงเป็นแหล่งอารยธรรมท่ี สาคัญของเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้จากการรวมตวั ของประชากรจากหลากหลายประเทศ อาทิเช่น อินเดีย อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส ฯลฯ ชาวจีนในบริเวณดังกล่าวจึงค่อนข้างมีวิถีชีวิตที่ ทนั สมยั และเปน็ กลุ่มคนหวั ก้าวหน้ามากทีส่ ุดในบรรดากลุม่ คนเอเชีย การแต่งกายของชาวจีนในบริเวณดังกล่าวช่วงประมาณศตวรรษที่ ๑๗ ยังคงดารงการ แต่งกายแบบชาวจีนแผ่นดินใหญ่ คือ การนุ่งกางเกงแพรกับใส่เสื้อเส้ือคอจีนกระดุมข้าง โดยเฉพาะเวลาไปโรงเรียนก็จะสวมใส่เสื้อผ้าท่ีดูมิดชิดเรียบร้อย ภายหลังเป็นยุคที่ชนชาติยุโรป เข้ามาในบริเวณคาบสมุทรแห่งนี้ (ประมาณต้นศตวรรษที่ ๑๙) แนวคิดการแต่งกายจึงเร่ิมได้รับ อิทธิพลจากตะวันตกเพิ่มมากขึ้น รวมถึงวัฒนธรรมการนุ่งโสร่งปาเต๊ะท่ีแพร่ขยายจากเกาะชวา ตอนเหนือมายังบริเวณคาบสมุทรมาเลย์ในช่วงศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแลกเปล่ียน สินค้ากันระหว่างกลุ่มลูกค้าชนชาติมุสลิมที่มีรสนิยมที่เหมือนกัน (Yunus, 2011) ท้ังนี้ กลุ่มชาว จีนเองก็มีการซื้อขายสินค้าเคร่ืองแต่งกายโดยเฉพาะผ้าปาเต๊ะจากชุมชนจีนบาบ๋าจากเมืองเปกา ลองงันและเมืองลาเซ็มในประเทศอินโดนีเซีย หรือแม้แต่กลุ่มผู้หญิงมาเลย์ก็ยังให้ความสนใจใน ผ้าถุงโสร่งจากเมืองลาเซ็มท่ีมีลักษณะเรียบง่าย พื้นหลังเป็นสีครีม ส่วนหัวเป็นลายไม้ไผ่สลับกับ ดอกไม้และสัตว์ต่างๆ เช่น นกยูง ม้า ไก่ฟ้า เป็นต้น โดยลายไม้ไผ่นี้มีความหมายว่าความอุดม สมบูรณ์ ซึ่งเป็นการตีความหมายเชิงซ้อน จากการเจริญเติบโตท่ีรวดเร็วของตานานต้นไม้ชนิดน้ี กับชีวิตมนุษย์ ความนิยมของผ้านุ่งโสร่งได้กระจายตัวไปยังพ้ืนท่ีต่างๆในคาบสมุทรมาเลย์ เกาะปีนัง มาเลเซียฝั่งรัฐกลันตันและรัฐตรังกานู รวมถึงประเทศไทยในบริเวณชายฝ่ังทะเลอันดามันอย่าง ภูเก็ต พังงา (พบมากในบริเวณท้ายเหมืองและตะกั่วป่า) ระนอง และตรัง ด้วยเพราะทาเลท่ีต้ัง ของเมืองเหล่านี้ติดกับชายฝ่ังอันดามันซึ่งเป็นทะเลน้าลึก เหมาะแก่การลงจอดของเรือส่งสินค้า ขนาดใหญ่ จึงทาให้เกิดการแลกเปล่ียนสินค้ากันอย่างอุ่นหนาฝาครั่ง กลุ่มผู้นาชาวจีนส่วนใหญ่ เริม่ ตน้ เป็นกุลีรับจ้างทาเหมืองแร่ตามแหล่งแร่ ต่อมาก็มีฐานะท่ีดีข้ึนจนกระทั้งร่ารวยจากการขอ สัมปทานที่ดินจากหลวง คหบดีบางท่านได้เป็นใหญ่เป็นโตร้ังตาแหน่งทางการปกครองท่ีสาคัญ เป็นเจ้าเมือง นายอากรบ่อนเบี้ย ผู้ตรวจราชการแผ่นดิน เช่น พระพิทักษ์ชินประชา(ตันม่าเสียว) หลงอนุภาษภูเกต็ การ(ตันจน้ิ หงวน) หลวงอานาจนรารกั ษ์ เป็นต้น บุคคลเหล่าน้ีล้วนเป็นผู้นาทาง วัฒนธรรมท่ีสาคัญโดยเฉพาะเครื่องแต่งกายในยุคสมัยหน่ึง หลักฐานท่ีสามารถพิสูน์เร่ืองราวที่ กล่าวมานี้ได้อย่างหน่ึงคือ รูปภาพครอบครัวในงานพิธีการสาคัญหรือในสตูดิโอร้านถ่ายภาพ มัก พบเหน็ แฟชน่ั การแต่งกายท่ีแตกต่างกนั ตามยคุ สมัย การแต่งกายท่ีมีลักษณะคล้ายคลึงกันในพ้ืนท่ีนี้เกิดจากการอพยพย้ายถิ่นของกลุ่มคนจีน บาบา๋ เพ่ือเข้ามาทางานในแผน่ ดนิ ใหม่ คือประทศไทย(ภูเก็ต) หญิงสาวบาบ๋าท่ีย้ายตามครอบครัว

๓๓ มาประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ อาจเป็นลูกสาวท่ีเกิดจากสายเลือด จีนแทห้ รือเกิดจากลูกผสมระหวา่ งผู้ชายจนี กับผู้หญิงมาเลย์ แต่หากวิเคราะห์จากเส้นทางเดินเรือ ท่ีมาถึงประเทศไทยนั้น พบว่าความเป็นไปได้ของประชากรจีนท่ีพบมากที่สุดน่าจะมาจากปีนัง มากกว่าจากมะละกา สิงคโปร์ หรือเปกาลองงัน หรืออาจสันนิษฐานว่าก่อนที่กลุ่มคนจีนเหล่าน้ี จะแวะมาทปี่ ระเทศไทย กลุ่มคนเหล่าน้ีน่าจะต้องแวะพักผ่อน ส่งสินค้า หรือเติมเชื้อเพลิงที่เมือง ปีนังก่อน เพราะเส้นทางจากเมืองท้ังสามท่ีกล่าวมานี้ค่อนข้างห่างไกลเกินไปกว่าวัฒนธรรมหรือ ความเจริญจะมาถึงประเทศไทย ภาพที่ ๒: แผนทแ่ี สดงภาพการกระจายตวั ของวฒั นธรรมการแต่งกายบาบา๋ เพอรานากันในแถบชายฝั่ง ทะเลอันดามันประเทศไทย ทมี่ า: Google map

๓๔ วัฒนธรรมเคร่ืองแต่งกายแบบสาวบาบ๋าได้เผยแพร่ไปตามเมืองท่าบริเวณชายฝ่ังอันดา มนั ที่สาคญั ของประเทศไทย หากลองวเิ คราะห์ทางภูมศิ าสตร์กายภาพพบว่าภูเก็ตและตรังเป็นจุด แวะพักเรือที่ค่อนข้างสะดวกมากกว่าพ้ืนที่อื่นๆ บริเวณท่ีต้ังของชุมชนชาวจีนส่วนใหญ่จึงอยู่ใกล้ ท่าน้าและเหมืองแร่ดีบุก เช่น ชุมชนบางเหนียวบริเวณสะพานหินใกล้ทะเล หรือชุมชนกะทู้ท่ี เกือบทั้งชุมชนมบี รรพบุรษุ เปน็ แรงงานในเหมืองแร่ ส่วนชุมชนในตรังท่ียังคงปรากฎลูกหลานชาว จีนอยู่ในปัจจุบันคือ อาเภอกันตัง ซึ่งเป็นชุมชนท่ีมีจวนเก่าของเจ้าเมืองตรัง พระยารัษฎานุ ประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบ้ี ณ ระนอง) ต้ังอยู่ ขณะน้ีได้เปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ตามช่ือของท่าน เจ้าเมืองเก่าผู้นี้ เป็นต้น และเม่ือกล่าวถึงวัฒนธรรมการแต่งกายของสายเลือดชาวบาบ๋าใน ประเทศไทย เราสามารถพบความจริงอย่างหนึ่งได้คือ การรับวัฒนธรรมดังกล่าวจากเมืองปีนัง โดยเฉพาะการสวมใส่เสอื้ คอตง้ั แขนจบี ติดกระดุมทอง ๕ เม็ด กระดุมทองนี้เป็นเหรียญทองแท้ที่ รัฐบาลอังกฤษจัดทาข้ึนในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น วันเกิดของราชินีวิคตอเรียนิยมสวมใส่ (ซึ่งเป็น เส้ือด้านในของชดุ ครยุ ใหญ่) และผา้ ถงุ ปาเต๊ะ เม่อื เวลาไปออกงานพิธีการสาคัญ ซ่ึงพบมากในเขต เมอื งเก่าตะกว่ั ป่า นอกจากนย้ี ังพบอิทธพิ ลของการใส่เส้อื เคบายาจากสิงคโปร์และมาละกาในกลุ่ม สตรบี าบ๋าจากการสัมภาษณ์และหลักฐานภาพถ่ายในอดีตปรากฎในพ้ืนที่เมืองเก่าภูเก็ตและเมือง ระนอง ๔.๒ ชมุ ชนและกลุ่มคนท่เี กย่ี วขอ้ ง ผู้วิจัยได้ดาเนินการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่มีความเก่ียวข้องกับเครื่องแต่งกายบาบ๋า - เพอรานากนั รวมท้งั ส้ิน ๒ ชุมชนในจังหวัดภูเก็ตคอื อาเภอเมอื ง (ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต ราไวย์ และบ้านตีนเขา) และอาเภอกะทู้ โดยกลุ่มคนดังกล่าวประกอบด้วย ผู้ที่สะสมเคร่ืองแต่งกาย บาบ๋า-เพอรานากันท่ีมีอายุกว่าร้อยปี ผู้มีประสบการณ์การแต่งเครื่องแต่งกาย ผู้จาหน่ายสินค้า เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย รวมถึงผู้ออกแบบและตัดเย็บเคร่ืองแต่งกาย โดยผู้สัมภาษณ์ได้ให้ความ ร่วมมือในการถ่ายทอดข้อมูลผ่านการเล่าเรื่องราวจากความทรงจาในสมัยนั้นๆ หลายท่านก็ อนุญาตให้ชมทรัพย์สมบัติ และคณะผู้วิจัยได้บันทึกเครื่องแต่งกายท่ีมีความสวยงามและน่าสนใจ อน่ึง การเก็บข้อมูลต้องอาศัยความพยายามท่ีจะทาให้ผู้ให้ข้อมูลไว้เนื้อเช่ือใจในผู้วิจัยว่าจะไม่ เปิดเผยข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเก่ียวกับแหล่งที่เก็บรักษาทรัพย์สมบัติของผู้ให้ข้อมูล และวัตถุหรือ เครอื่ งแตง่ กายทม่ี มี ูลค่าสูงมาก การเก็บข้อมูลครอบครัวหนึ่งครอบครัวจะใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ช่ัวโมงต่อคร้ัง ใน การสัมภาษณ์พูดคุยในกรณีท่ีมีบ้านที่น่าสนใจ คณะผู้วิจัยได้ขออนุญาตเจ้าของบ้านในการเก็บ ข้อมลู ประมาณ ๒-๓ คร้งั และสรุปเพื่อให้ได้ข้อมูลท่ีมีความเป็นความจริงและมีความหลากหลาย

๓๕ มากข้ึน โดยกลุ่มผู้ท่ีอนุญาตให้สัมภาษณ์และเก็บรวบรวมข้อมูลเก่ียวกับเคร่ืองแต่งกาย รวมถึง อนญุ าตให้เผยแพรข่ ้อมลู ดงั กลา่ วมีจานวนท้งั สน้ิ ๓ ครวั เรอื น ดงั รายละเอียดต่อไปน้ี ๔.๒.๑ ชมุ ชนในอาเภอเมอื ง ทาเลที่ตั้งของชุมชนชาวบาบ๋าในบริเวณอาเภอเมืองภูเก็ตอยู่ทางฝ่ังตะวันออก ชุมชนท่ี อดตี เคยเปน็ แหลง่ ท่ีอยอู่ าศัยของชาวจีนได้แก่ ชุมชนทุ่งคา ถนนที่เจริญท่ีสุดคือ ตั๋วโพ้ หรือ ถนน ถลางในปจั จุบัน อ.ทุ่งคา จ.ภูเกต็ ตอ่ มาเปลย่ี นเปน็ อาเภอเมือง ซึ่งเคยเป็นพื้นที่การทาเหมืองท่ีมี ชื่อเสียงแห่งหน่ึงของภูเก็ต หลังจากการเสื่อมสลายของเหมืองในกะทู้ชื่อว่า “เหมืองเจ้าฟ้า” ซึ่ง เกิดจากการบริหารจัดการจากพระยาภูเก็ต (ทัด) กับกล่มุ คนแซต่ ่างๆของจีน เหมืองแห่งน้ีเป็นบ่อ เกดิ ของความหลากหลายทางวฒั นธรรมจากชาติยุโรปผู้เข้ามาให้ความรู้ด้านวิทยาการของการทา เหมืองแร่ โดยเฉพาะการนาเทคโนโลยีด้านการร่อนแร่ท่ีได้เป็นจานวนมากและเร็วกว่าเดิม ความสาคัญของชุมชนดังกล่าวคือ จุดยุทธศาสตร์ทางทะเลทั้งทางทิศใต้และทิศตะวันออก จึงทา ให้เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเมืองภูเก็ตในจุดอื่นๆต่อไป ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวอยู่ใกล้กับ “สะพานหิน” (Bay of call) หรือท่านเรศ ในอดีตเป็นท่าเทียบจอดเรือส่งสินค้าและเป็นท่าเรือ สาหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางไปปีนัง ท่าเรือน้ีสร้างแบบ “จองถนน” ซ่ึงเป็นความฝันของคน โบราณในการสรา้ งสะพานโดยใชห้ ินวางต่อกันไปเรื่อยๆ แต่ในพ.ศ. ๒๕๑๓ ได้มีการนาขยะมาถม ทะเลจนกลายเป็นแผ่นดินและเป็นสถานท่ีพักผ่อนหย่อนใจของชาวภูเก็ต ถัดมาคือชุมชนบาง เหนยี ว มาจากคาว่า “บ่างเหลียว” หมายถึงสถานที่ตากอวน และแหจับปลาในทะเล ชุมชนแห่ง น้ีมชี ือ่ เสยี งด้านการออกเรือไปจบั ปลาในทะเลมาขายในเมือง และในปัจจุบันยังมีคงมีการสืบทอด การหาปลาและประเพณผี อ่ ต่อหรือการไหว้บรรพบุรุษด้วยขนมเต่า จัดขึ้นในศาลเจ้าพ้อต้อก้งเจ้า บางเหนียว และประเพณีกินผัก (เจ้ียะฉ่าย) จัดขึ้นในศาลเจ้าบางเหนียว (อ๊ามบางเหนียวต้าวโบ้ เก้ง) และมีแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวจีนในชุมชนจากการก่อสร้างสถาบันพิพิธภัณฑ์การ เรียนร้แู ห่งชาติ ณ โรงเรียนบางเหนียว ชุมชนซีเต็กค้า เป็นชุมชนชาวจีนที่มีความสาคัญเน่ืองจากเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างกะทู้ กับในเมืองภูเก็ต เป็นบริเวณที่จัดสรรไว้เพ่ือเป็นท่ีฝังศพของชาวจีนด้านหลังเป็นภูเขาลูกใหญ่ ต่อมาพ้ืนท่ีส่วนหนึ่งด้านหน้าได้จัดทาเป็นสนามสุระกุล ในปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันดีในนามว่าแถว สนามสรุ ะกลุ และแทบจะไมพ่ บการรวมตัวกันของคนในชุมชนชาวจีน เนอ่ื งจากมีกลุ่มคนจากต่าง ถิ่นเข้ามาอาศัยในบริเวณดังกล่าวเพ่ิมมากขึ้น คงพบแต่บ้านของคนจีนบาบ๋าไม่ก่ีหลังอย่างบ้าน ของคุณติลก เลศิ เอกกลุ ผเู้ ชย่ี วชาญด้านการเขยี นตัวหนังสือจีน ชุมชนจุ้ยตุ่ย เป็นชุมชนท่ีค่อนข้างน่าสนใจในการเปล่ียนลักษณะทางกายภาพ ในอดีต บริเวณดังกล่าวเคยเป็นท่าเรือสาเภา การตั้งช่ือดังกล่าวมีความหมายว่า สายน้าสองสายไหลมา

๓๖ รวมกนั แมใ้ นปจั จุบันอาจแทบจะไม่สามารถจินตนาการลักษณะแม่น้าดังกล่าว เพราะมีการถมที่ และสร้างบ้านเรือนทับบนแม่น้ามานานกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว แต่สิ่งท่ีสามารถยืนยันความเป็นชุมชน จีนที่ยังยืนหยัดในการทานุบารุงสถานที่เคารพส่ิงศักดิ์ให้คงอยู่ได้จนถึงยุคปัจจุบัน น่ันคือศาลเจ้า แมก่ วนอมิ (อา๊ มปดุ จอ้ ) ซง่ึ ดา้ นหนา้ กค็ อื อดตี ทา่ เรอื ทส่ี าคัญต่อการลาเลียงสินค้าจากต่างประเทศ ไปยังชุมชนถนนถลางและชุมชนอื่นๆที่สาคัญ ต่อมาจึงได้สร้างศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้งเพ่ือเป็น สถานที่จัดเทศกาลการกินผักของคนจีนบาบ๋า และศาลเจ้าแม่ทับทิม หรือ ม่าจ๊อโป๋ ที่ระบุว่า ดา้ นหน้าของศาลเจ้าจะตอ้ งเป็นแหลง่ นา้ เสมอ ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต อยู่บริเวณถนนถลางซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นแหล่งท่ีอยู่อาศัยและท่ี ทากินของชาวไทยหลากหลายเช้ือชาติ เช่น จีน คริสต์ มุสลิม และอินเดีย จากการปรากฎ หลักฐานของศาลเจ้าแสงธรรม (เป็นศาลเจ้าของตระกูลแซ่ตัน) เดิมมีทางเข้าออกทั้งถนนพังงา และถนนถลาง โบสถ์คริสต์ ศาลเจ้าไหหลา เป็นต้น ความโดดเด่นของชุมชนน้ีคือ การรักษา สถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างในรูปแบบชิโน-ยูโรเปี้ยนไว้มากว่า ๑๕๐ ปีแล้ว โดยยังคงไม่ เปลี่ยนแปลงแนวคิดการสร้างตึกแถวเพ่ือเป็นทั้งบ้านและร้านขายของในหลังเดียวกัน แม้ว่า ชุมชนแหง่ นี้จะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แต่โดยส่วนใหญ่จะยังคงพบเห็นร้านขาย อุปกรณ์เครื่องไม้ใช้สอยต่างๆ แทนที่จะเป็นการขายของท่ีระลึกอย่างเดียว เช่น อุปกรณ์เครื่อง เขียน ผ้าเป็นม้วนหรือเป็นพับใหญ่ๆ และเครื่องแต่งกาย เครื่องมือช่าง เช่น ร้านฮ่องหยู่ท่ี ประกอบกิจการมาครบ ๑๐๐ ปี เป็นต้น แสดงถึงวิถีชีวิตของชุมชนเมืองท่ีไม่ได้เปลี่ยนแปลง โครงสรา้ งการดาเนนิ ชวี ติ ของคนในชุมชนมากนกั นอกจากนี้ชุมชนดังกล่าวมีความเข้มแข็งในการ ร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาวบาบ๋าให้คงอยู่ต่อไป โดยการจัดโครงการวิวาห์ บาบ๋า งานย้อนอดีตเมืองเก่าภูเก็ต รวมถึงโครงการจัดต้ังศูนย์อาหารพ้ืนเมืองภูเก็ตแก่ นกั ท่องเทย่ี วและผูส้ นใจอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีชุมชนจีนอื่นๆที่เคยเป็นพื้นท่ีการทาเหมืองแร่ เช่น “ตลาดเหนือ” ด้าน ตรงข้ามคือเหมอื งแรด่ บี ุกเกา่ แตใ่ นปจั จุบันได้ปรับเปล่ียนภูมิทัศน์เป็นสวนสาธารณะและสถานท่ี พักผ่อนหย่อนใจของชาวภูเก็ตที่ช่ือว่า “สวนหลวงร.๙” ส่วนบริเวณท่ีพบการประกอบกิจการ เหมืองแร่อีกท่ีหนึ่งมีช่ือว่า “ลักกงษี” ซึ่งเดิมมาจากคาว่า “หล๊ักก่งซ่ี” หมายถึงหุ้นส่วน โดยมี ความหมายเฉพาะถึงหุ้นส่วนการทาเหมืองแร่ดีบุก ๖ คน พื้นที่ดังกล่าวอยู่บริเวณเส้นทางไปมา ระหว่างเมืองภูเก็ตกับเมืองถลาง หรือปรากฎอีกช่ือหน่ึงคือ “บางชีเหล้า” ในปัจจุบันบริเวณ ดังกล่าวอยู่ใกล้พื้นที่ท่ีคนภูเก็ตรู้จักกันในนามว่า “สะปา” ท่านขุนเลิศโภคารักษ์ (หล่ิม ตันบุญ) เป็นคหบดีที่เป็นเจ้าของพื้นท่ีดังกล่าว และหลังจากธุรกิจการทาเหมืองแร่เร่ิมพบกับสภาวะที่ ตกตา่ ลง ท่านจงึ ได้บริจาคพ้ืนที่ส่วนหน่ึงเพื่อสร้างโรงเรียนสะปา (มงคลวิทยา) ด้านหลังโรงเรียน ยังปรากฎ “ขุมเหมืองเก่า” ท่ีในปัจจุบันได้กลายเป็น นอกจากน้ี พ้ืนที่ดังกล่าวยังเป็นแหล่ง

๓๗ อาหารมีชื่อของจังหวัดภูเก็ต “หมี่สะปา” ซ่ึงเป็นการพัฒนาสูตรหม่ีผัดฮกเกี้ยนโดยเพิ่มอาหาร ทะเลลงในหมผ่ี ัด และยังพบกลุม่ คนจนี บาบา๋ ในบรเิ วณดงั กล่าวท่ยี ังคงอาศัยอยู่ พลเมืองชาวบาบ๋ารุ่นต่อมาก็เริ่มมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยไปตามถ่ินที่อยู่อ่ืน จึงทาให้ วัฒนธรรมการแต่งกายมีการกระจายตัวตามผู้คนไปด้วย ประกอบกับการอพยพย้ายถ่ินของกลุ่ม คนอนื่ ๆท่เี ขา้ มาพานกั อยู่ในเมืองภเู ก็ตมากข้นึ จึงทาให้ลักษณะชุมชนชาวจีนในปัจจุบันแทบจะไม่ พบความเปน็ อยูห่ รือวิถีชีวิตแบบจีนดั้งเดิมท่ีคนในชุมชนรู้จักไปมาหาสู่กัน แต่หลักฐานการต้ังถ่ิน ฐานชุมชนชาวบาบ๋าขนาดใหญ่ก็ยังคงปรากฎอย่างชัดเจนจากลักษณะสถาปัตยกรรมของตึกราม บา้ นช่อง และสถานทีส่ ักการะส่ิงศักดิส์ ิทธิ์ของคนในชมุ ชนหรอื ศาลเจ้าจีน ภาพวถิ ีชีวติ ของชาวบาบา๋ ในจงั หวดั ภเู ก็ต ทมี่ า: ผศ.ปราณี สกลุ พพิ ฒั น์ ภาพร้านฮอ่ งหงวนเมอื่ ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๙๕ ที่มา: ผศ.ปราณี สกลุ พพิ ฒั น์

๓๘ ๑. ร้านจาหน่ายผ้าชื่อฮ่องหงวน ปัจจุบันเปล่ียนช่ือเป็น ร้านสุนทรสังฆภัณฑ์ ตั้งอยู่ บ้านเลขท่ี ๑๐๔ ถนนถลาง ย่านเมืองเก่าภูเก็ต เป็นร้านที่มีประวัติความเป็นมาเก่ียวกับการ จาหน่ายผ้าพ้ืนเมืองภูเก็ต เช่น ผ้าถุงปาเต๊ะและผ้าลูกไม้ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๔ ระยะเวลา ประกอบกิจการประมาณ ๘๒ ปีโดยเปิดกิจการและดาเนินงานจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ๓ ชั่วอายุ คน รุน่ แรกเร่มิ ที่จดั ต้งั คอื คณุ ย่ากมิ ต่าว และนายสงวน มโนสนุ ทร ซง่ึ นอกจากจะเป็นเจ้าของร้าน ผ้าแลว้ คณุ ย่ายงั เปน็ บุคคลทีม่ ชี ่อื เสียงในย่านเมืองเก่า ในการเป็นท่ีปรึกษาเกี่ยวกับประเพณีของ ชาวบาบ๋าในสมัยนั้น โดยเฉพาะพิธีแต่งงานแบบดั้งเดิม คุณย่าจะเป็นที่ปรึกษาว่าเจ้าบ่าวและ เจ้าสาวควรจะแต่งกายแบบใด ให้เหมาะสมกับระเบียบพิธีการตามวัฒนธรรมบาบ๋า เม่ือการ เปล่ียนแปลงสังคมท่ีทาให้คนรุ่นใหม่เร่ิมสนใจในแฟช่ันแบบตะวันตกมากข้ึน คุณย่าเร่ิมมีความ กังวลถึงร้านขายผ้าของตนว่าจะมีผู้สืบทอดต่อหรือไม่ หรือจะต้องล้มเลิกกิจการเพราะคน สมัยใหม่เร่ิมไม่เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมการแต่งกายแบบดั้งเดิมอีกต่อไปแล้ว คุณแม่เหลียนเส้ มโนสุนทร ซึ่งได้สมรสกับบุตรชายของคุณย่า คือ คุณพ่อเธียร มโนสุนทร ผู้เป็นสะใภ้และเป็น เจ้าของกิจการรุ่นที่ ๒ คุณแม่มีจิตใจอันแน่วแน่ในการสืบทอดกิจการท่ีคุณย่าเฝ้าฟูมฟักและรอ วันท่ีจะยกให้แก่ผู้ท่ีมีปณิธานเช่นเดียวกับท่าน ในช่วงอายุที่ ๓ ผู้ท่ีมีความสนใจในการสืบต่อ วัฒนธรรมด้านเคร่ืองแต่งกาย คือ คุณยินดี มโนสุนทร ซึ่งเป็นสะใภ้ท่ีสมรสกับลูกชายคือ คุณวีร พล มโนสุนทรโดยพื้นเพแล้ว คุณยินดี ไม่ใช่คนภูเก็ตโดยกาเนิด แต่เป็นชาวตราดท่ีหลงเสน่ห์วิถี ชีวิตของชุมชนเมืองเก่าภูเก็ตแห่งน้ี เคยเป็นประธานชุมชนเมืองเก่าภูเก็ตอีกด้วย และปัจจุบันน้ี เป็นประธานวัฒนธรรมอาเภอเมือง จงั หวดั ภเู ก็ต

๓๙ ภาพผ้ใู ห้ข้อมลู เรียงลาดบั จากซ้ายไปขวา นางอาภรณ์ นางหงวดกิม้ แก้วเกตุ และผ้สู มั ภาษณ์ คอื ผศปราณี สกลุ พิพฒั น์.ดร.อยทู่ างซ้ายมือสดุ และณิชา โตวรรณเกษมอยทู่ างขวามอื สดุ ทม่ี า: ณิชา โตวรรณเกษม ๔. ตระกูลของนายอยู่เสียว และนางหงวดก้ิม แก้วเกตุ (ซอยอยู่เสียว ถนนวิเศษ ตาบล ราไวย์) เป็นครอบครัวใหญ่ที่เคยทาเหมืองรูที่ตะก่ัวป่า จังหวัดพังงา ภายหลังย้ายไปทาเหมืองท่ี นากก จังหวัดภูเก็ต ก่อนจะได้รับพระราชทานนามสกุล แก้วเกตุ จากพระบามสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ นายอยู่เสียวมีนามสกุลเดิม คือ ตัณฑเวทย์ โดยท่านเป็นเชื้อ สาย (หลานตา) ของหลวงอานาจนรารกั ษ์ ซึ่งเป็นบุคคลท่ีอยู่ในกลุ่มชาวจีนอพยพรุ่นแรกท่ีเข้ามา ริเร่ิมประกอบกิจการด้านการทาเหมืองแร่ในบริเวณอาเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต และมีหน้าที่เป็น กรมการเมอื งภูเก็ตในเวลาต่อมา ส่วนนางหงวดกิ้มเป็นหญิงสาวชาวไทยเช้ือสายจีน ปัจจุบันอายุ ๙๖ ปี บิดาเป็นชาวจีนฮกเกี้ยน มาจากเมืองจ้นจิ้ว ประเทศจีน ส่วนมารดาเป็นชาวตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ท่านเป็นบุตรสาวของขุนพรหมภิบาล ซึ่งได้รับฉายาว่าเป็นมือปราบแห่งเมืองตะก่ัว ทุ่ง ทั้งสองได้แต่งงานด้วยวิธีการดูตัวต้ังแต่อาม่าหงวดก้ิมอายุ ๑๖ ปี และสามีอายุ ๒๑ ปี เมือ่ ท่านท้งั สองได้ตกลงมาอยูท่ ีภ่ ูเก็ต ท่านไดเ้ ลอื กทาเลทอ่ี ยู่อาศยั ใกลช้ ายทะเลเพ่ือเป็นประโยชน์ ต่อการขนสง่ สินคา้ ไปขายเมอื งปีนงั คือ บรเิ วณราไวย์ อยหู่ า่ งจากตวั เมืองประมาณ ๒๐ กิโลเมตร คุณยายหงวดก้ิมเป็นสาวบาบ๋าท่ีมีบทบาทในการเล้ียงครอบครัวมากหลังจากสามีได้จากไปด้วย โรคที่ติดเช้ือและเหงือกอักเสบหลังจากถอนฟัน (ผู้เขียนคิดว่าเป็นโรครามะนาดในปัจจุบัน) ขณะนั้นอาม่ายังเป็นสาวสะพร่ังอายุ ๓๓ ปี ด้วยความเป็นหม้ายพร้อมลูก ๕ อีกคน ทางญาติ ผใู้ หญจ่ งึ แนะนาใหท้ า่ นไปฝากลกู ของตนใหเ้ ป็นลกู บญุ ธรรมของบคุ คลอ่ืนๆ เพ่ือจะได้ไม่มีภาระใน การไปแต่งงานใหม่ แต่ท่านก็ปฏิเสธและยินดีท่ีจะเล้ียงดูลูกสาวและลูกชายด้วยการทาขนมจีน ขาย ทาขนมพ้ืนเมือง ทาน้ามันมะพร้าว ทาโรงสีข้าว ทาโรงเกลือส่งขายให้ท่ีปีนัง และทานมข้น หวานยีห่ อ้ ทโ่ี ด่งดงั เทยี บตรามะลิ ช่ือว่า 222 อาม่าหงวดกิ้มเล่าว่า ท่านซ้ือผ้าถุงจากคนปีนังท่ีเอาผ้าปาเต๊ะมาขาย ในสมัยที่ทองคา ราคาบาทละ ๘๐ บาท ผ้าเน้ือดีมีคุณภาพราคาประมาณ ๘๐๐ – ๑,๑๐๐ บาท ส่วนผ้าท่ีสวมใส่ อยใู่ นบ้านราคาประมาณ ๒ - ๓ บาท ได้ตัดเสื้อผ้าใส่เอง เป็นเสื้อครุยประมาณ ๔๐ ตัว หากเป็น เส้ือผ้าธรรมดาก็ไม่จาเป็นต้องใช้ Pattern แต่ถ้าเป็นเส้ือเชิ้ตหรือกางเกงทรงฝร่ังจาเป็นต้องใช้

๔๐ Pattern เพื่อเป็นแบบร่างสาหรับการ นอกจากน้ียังสามารถตัดเสื้อกา (เส้ือใน) และกางเกงที่มี กระเปา๋ เดียว ส่วนรุ่นลูกของอาม่าหงวดกิ้ม หลังจบประถม ๗ ผู้หญิงมักถูกส่งไปเรียนวิชาแม่บ้านแม่ เรือน เช่น โรงเรียนสอนตัดเย็บเสื้อผ้า โรงเรียนสอนทาผม เป็นต้น คุณอาภรณ์ บุตรสาวคนท่ี ๓ ได้ไปเรียนตัดเย็บเส้อื ผ้าที่มีชอื่ เสียงในภูเก็ตในสมยั น้นั ชือ่ วา่ โรงเรียนสอนตัดเย็บเส้ือผ้า”เอ็งเส่ง” มีเจ้าของชื่อ หยกส่วน คุณอาภรณ์เล่าว่า ค่าธรรมเนียมเข้าโรงเรียนตัดเสื้ออยู่ท่ีประมาณ ๔๐๐ บาท อปุ กรณ์ต่างๆอย่าง กรรไกร ไม้บรรดาทัด ก็ต้องจัดหาซ้ือเอง ส่วนจักรเย็บผ้าในระยะแรกก็ สามารถยืมครูผู้สอนก่อนได้ แต่ในภายหลังให้จัดซ้ือเอง โดยจักรยี่ห้อซิงเกอร์ในขณะน้ันราคา ประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงทาให้ผู้เรียนมักซ้ือจักรเย็บผ้าแบบ ระบบผอ่ นส่งมากกว่าการซอื้ เงินสด ส่วนค่านิยมของการแต่งกายในสมัยนั้น ผู้หญิงวัยรุ่นมักนุ่งกระโปรงยาวหรือผ้าถุงไป ตลาด ถ้าใครนุ่งกางเกงก็มักจะถูกมองว่าเป็นจิ๊กกี๋ หรือเป็นผู้หญิงก๋ากั่นที่แต่งตัวเกินงาม ส่วน ผูห้ ญิงที่แต่งงานแล้ว ถา้ ใครอยากได้ผา้ ถงุ จะต้องไปขอแม่สามีกอ่ น ครอบครัวแก้วเกตุ เป็นครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นที่ ๕ ที่ยังคงดารงความเป็นชาว บาบ๋าและดาเนินวิถีชีวติ ตามรปู แบบวัฒนธรรมชาวจีนภเู ก็ต อามา่ หงวดก้ิมมีความสัมพันธ์กับการ แต่งกายของชาวบาบ๋า-เพอรานากันเป็นอย่างดี ท้ังการเข้าถึงแหล่งผ้าในลักษณะของผู้ซื้อซ่ึงใน สมัยกอ่ นนั้นจาเป็นต้องเสาะหาผ้าจากตา่ งประเทศ และหญิงสาวในตระกูลส่วนใหญ่ก็ยังเป็นผู้ตัด เย็บเสื้อผ้าใส่เองอีกด้วย ความน่าสนใจของครอบครัวน้ีคือ เป็นครอบครัวท่ีเก็บสะสมผ้าถุงโสร่ง ปาเต๊ะท่ีมีอายุมากกว่า ๘๐ ปี หรือ “ผ้าถุง ๓ ช่ัวอายุคน” เอาไว้ นับตั้งแต่รุ่นแม่ รุ่นลูก และรุ่น หลาน โดยลวดลายผ้าถุงส่วนใหญ่จะเป็นผ้าท่ีมีคุณภาพดีมาก เน้ือผิวเนียน และมีลักษณะ ลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ เป็นเพราะผ้าราคาแพงและมีคุณภาพเป็นผ้าท่ีใช้มือวาด ซ่ึงสามารถ ยนื ยันความดั้งเดมิ ของผูผ้ ลิตได้จากลายมือชือ่ ท่แี สดงอย่บู นผ้า

๔๑ ๓. บริเวณยา่ นภเมาพือผง้ใูเหก้ข่า้อถมนลู เนรียดงีบลาุกดบันจาางกมซ้าณยฑไปาขวเาอนกาสงมิทณธฑิ์ อาาเอยกุ ส๘ิท๐ธ์ิ นปาีงมาชี ลื่อี เเอดี่ยิมวผเปดงุ็นภาษาจีน ฮกเกี้ยนว่า เต่ียงจู่ หมายถึงไนขา่มงุกสวุ รตร้ังณอี งยาู่บนท้าวนี แเลละขผท้สู มัี่ ถภานษนณด์ คีบอื ุกผศอ.าปเรถาณอีเสมกือลุ งพพิ เฒัปน็น์ เจ้าของเคร่ืองแต่ง กายบาบ๋ามีท้ังผา้ ถงุ และทเส่มี าือ้ :เณคบิชาาโยตาวมรราณกเมกษามย คุณยายมณฑาเล่าว่า ค่านิยมของคนจีนคือ สายเข็ม ขัดทองถือเป็นสมบัติล้าค่าของลูกผู้หญิง แม้ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวย ผู้หญิงทุกคนต้องมีเข็ม ขดั ทอง ถา้ เปน็ ลกู สาวเศรษฐีจะนุ่งเสอื้ ผ้าแบบเซย่ี งไฮ้ซา กางเกงก่ีเพา้ ๔. นางสุวรรณี งานทวี อายุ ๖๘ ปี มีชื่อเดิมเป็นภาษาจีนฮกเก้ียนว่า เหล่จู่ หมายถึงมุก ที่สวยงาม อาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๗๔ ถนนถลาง บิดาชื่อนายป่ันลือ เป็นชาวบาบ๋าที่เกิดในจังหวัด กระบี่ ทางานทบ่ี ริษัทฮกฮวด สว่ นมารดาเป็นสาวบาบ๋ามาจากปีนัง ประเทศมาเลเซีย ชื่อว่า นาง กัลยา เพชรพลัด หรอื คนภเู กต็ เรียกว่า แม่หยา สิ่งที่คุณยายสุวรรณีได้รับการสั่งสอน เล่าว่า แม่ห ยามักใส่เส้ือยะหยากับนุ่งผ้าปาเต๊ะเวลาจะออกไปข้างนอก ส่วนเส้ือครุยมักใส่เวลาไปงานสาคัญ ต่างๆ นอกจากน้ียังมีฮ้ัวหนา (กระเช้าดอกไม้) คุณแม่จะชอบเกล้ามวยเองตลอดเวลาจะออกไป เทีย่ วหรอื ไปดหู นัง บางครั้งก็จะหยิบดอกชมนาถมาประดับมวยผมให้สวยงาม แต่หากต้องออกไป งานสังคมหรืองานพิธีการแม่หยามักจะปักป่ินทองฝังเพชรแทน โดยท่านเป็นผู้เก็บสะสม เครื่องประดบั เช่น ตา่ งหูหางหงส์ แหวนบาเยะ ปน่ิ ตงั้ โกสงั และเครื่องเพชรชนิดอ่ืนๆอีกมากมาย นอกจากน้ีคณุ ยายสวุ รรณียังกล่าวถงึ วิธกี ารเก็บรักษาและดแู ลเพชร ๕. นางมาลี เอ่ียวผดุง อายุ ๘๐ ปี มีเชื้อสายชาวจีนกวางตุ้งและฮกเกี้ยน ชื่อเป็น ภาษาจีนคือ หว่า หรือเป็นภาษาจีนฮกเกี้ยนว่า อ้ีหัว แซ่โห หมายถึงดอกไม้ บิดาชื่อนายแต่เล่า เซยี ง อดีตเคยเป็นคนทาขนมและทาซาลาเปาขายในเมืองปีนัง เม่ือคร้ันมาอยู่ภูเก็ตเลยกลายเป็น ซินแส มารดาชื่อนางง่วนขิม แซ่ตัน เป็นชาวจีนมาจากปีนังตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ คุณยายเรียนที่ โรงเรยี นขจรรังสรรค์ต้ังแต่ คุณยายมาลเี ล่าให้ฟงั ว่าสมัยน้นั คุณแม่จะนยิ มไวผ้ มยาวและเกล้ามวย ไว้ด้านหลัง ส่วนเคร่ืองแต่งกายจะจัดการตัดเย็บด้วยตนเอง เส้ือท่ีเห็นจะเป็นเสื้อคอจีนคล้าย เสอ้ื เช้ิต แขนยาว นุ่งกางเกงจีนยาวสนี ้าเงินเข้ม เครื่องแต่งกายของคุณพ่อก็ไม่ได้หาซ้ือจากที่ไหน คุณแม่ก็เป็นช่างเย็บเสื้อและกางเกงประจาตัวของท่าน ต่อมาฝีมือการเย็บผ้าจึงได้รับการ ถ่ายทอดไปยงั ลูกหลาน คณุ ยายเองกช็ ืน่ ชอบการตัดเย็บเสอ้ื ผ้าและปักผ้า จงึ ไปเรยี นท่ีโรงเรียนตัด ผา้ เอ็งเสง่ ของคุณครูหยกส่วน ต้งั แตอ่ ายุ ๑๘ ปี ทาให้เปน็ ผู้ชานาญการปักผ้าลายฉลุ

๔๒ ภาพผ้ใู ห้ข้อมลู คณุ สนั ทนา อปุ ัตศิ ฤงค์ และผ้สู มั ภาษณ์ คอื ผศ.ปราณี สกลุ พพิ ฒั น์ ที่มา: ณิชา โตวรรณเกษม ๖. ครอบครัวตันติวิท เป็นครอบครัวท่ีมีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับชาวจีนอพยพรุ่น แรกของตระกูล “แซ่ตัน” บรรพบุรุษท่ีเป็นต้นตระกูลตันติวิทคือ หลวง ผู้ให้สัมภาษณ์ท่ีสืบเชื้อ สายตันติวทิ คือ คุณสนั ทนา อปุ ตั ิศฤงค์ หรอื ในนามท่ีคนภเู ก็ตรู้จักกนั ดวี ่า ซุ่ยอ่ิว (นามสกุลเดิมคือ ตันติวิท) อายุ ๙๓ ปี แม้ว่าท่านได้แจกจ่ายชุดบาบ๋าแก่ญาติพ่ีน้องไปหมดแล้ว แต่ท่านก็ได้เล่า เรือ่ งราวเก่ียวกับเคร่ืองแต่งกายที่ท่านเคยใส่ในอดีตมากมายว่า รุ่นพี่ของคุณยายมักใส่ชุดยะหยา ทส่ี วยงามพเิ ศษในวนั พระจนั ทรเ์ ตม็ ดวง คือ ๑๔ วันหลังจากตรุษจีนวันแรก นับแบบจันทรคติคือ ข้ึน ๑๕ ค่า เดือน ๓ (ของจีน) ในสมัยก่อนครอบครัวอนุญาตให้ลูกสาวออกไปเที่ยวได้ปีละหนึ่ง ครั้ง เพราะโดยปกติเม่ือลูกสาวของชาวบาบ๋าย่างเข้าอายุ ๑๔ – ๑๕ ปี จะถูกบังคับให้อยู่แต่ใน บ้าน ถ้าจะไปไหนก็ต้องมีพี่เล้ียงคอยดูแลติดตาม ส่วนเรื่องของท่านท่ีเกี่ยวข้องกับเครื่องแต่งกาย บาบ๋าท่านได้เล่าว่า วันหนึ่งท่ีต้องไปเฝ้ารับเสด็จในหลวงรัชกาลปัจจุบัน (ผู้สัมภาษณ์คาดเดาว่า น่าจะอยู่ในช่วงปี ๒๕๒๐) คณุ สนั ทนานุ่งผา้ ถุงสาเรจ็ มจี ีบความยาวเหนือเขา่ เพราะเป็นคนรูปร่าง ผอมบาง เวลาเดินชายจะสะบดั ไปมาทาใหด้ สู งา่ งาม และใส่เส้ือลูกไม้ตัดเย็บแบบธรรมดาแขนสั้น ส่วนเส้ือช้ันในก็ให้รา้ นเอง็ เส่งโดยคุณครูหยกส่วนและหยกก้ิมเป็นผู้ตัดเย็บ ตอนที่ออกงานเยอะก็ ให้ “ฮ่อง” ร้านตัดเสอื้ ท่บี างเหนยี วเปน็ ผู้ตดั เย็บให้ หากกล่าวถึงชุดครุยมีลักษณะยาวเลยเข่าไปจนถึงครึ่งแข้งกว่า ข้างในสวมใส่ผ้านุ่ง และ เสอ้ื ดา้ นในเป็นเสือ้ คอตั้งแขนจีบสีขาว แมว้ า่ ชุดครุยในสมัยก่อนอาจเรียกเป็นภาษาจีนฮกเก้ียนว่า

๔๓ “ตึงซ่า” (ตึงหมายถึงยาว ซ่าหมายถึงชุด รวมความแล้วหมายถึงชุดท่ีมีลักษณะยาว) แต่คุณยาย เล่าว่าคนภูเก็ตมักไมเ่ รยี กชดุ ดังกล่าวเปน็ ภาษาจนี แตจ่ ะเรยี กเปน็ ภาษาไทยว่า ชุดครุย นอกจากน้ี การใสช่ ุดครุยสัน้ ท่ปี รากฎในปัจจบุ นั กลับไมพ่ บในอดตี ตามหลกั ฐานจากภาพถา่ ยโบราณและการ สอบถามจากคุณสันทนา อาจเป็นส่วนท่ียืนยันได้ว่าชุดครุยของเถ้าเก้เหนียว (นายหัวหญิง) เป็น ชุดครุยยาวเท่านั้น และเน่ืองจากเป็นชุดใหญ่ สาวบาบ๋าจึงมักไม่ค่อยนิยมสวมใส่กัน นอกจากจะ เป็นงานพิธีท่สี าคญั เท่าน้นั แมแ้ ตค่ ุณแม่ของคณุ สนั ทนาเองก็ยังแทบจะนับครัง้ ใสช่ ดุ ดงั กลา่ วได้ ภาพคณุ สนั ทนากาลงั ราลกึ ถึงงานแตง่ งานของตนกบั คณุ สรุ ิยะ อปุ ัตศิ ฤงษ์ ทมี่ า: ณิชา โตวรรณเกษม คุณยายซุ่ยอิ่วได้ เลา่ เร่ืองราวชีวิตสมรสของทา่ นเอาไว้วา่ ท่านแต่งงานกบั คุณสุริยะ อุปัติศฤงค์ (เตี่ยวตอง แซ่หงอ) ตั้งแต่อายุ ๒๑ ปี รวมระยะเวลาชีวิตสมรสเป็นเวลา ๕๒ ปี ในสมัยก่อนอายุเฉล่ียของเจ้าสาว บาบ๋าจะอยู่ทป่ี ระมาณ ๑๗ – ๒๐ ปี แม้วา่ การแตง่ งานในสมยั กอ่ นสว่ นใหญจ่ ะเป็นความเห็นชอบ จากผู้ใหญ่มากกว่าการเลือกคู่เอง แต่จะเห็นได้ว่าหลายคู่เป็นการแต่งงานระหว่างตระกูลคหบดี หรือผมู้ ฐี านะในจงั หวดั ภเู ก็ต ทง้ั นเี้ พอ่ื ความเหมาะสมในการสืบทอดสถานะทางสังคมของกลุ่มคน ในตระกูลต่อไป เปรียบได้กับคาจีนที่ว่า “เหลงเก่าฮ่อง” หรือแปลตรงตัวว่ามังกรกับหงส์ ซ่ึงเป็น การตีความว่ามังกรคือผู้ชายที่สูงส่ง และหงส์คือสาวผู้สง่างาม เม่ือประกอบกันก็เป็นลักษณะการ บ่งบอกถึงความของชีวิตคู่ระหว่างตระกูลผู้ดีด้ังเดิม ชุดเจ้าสาวบาบ๋าส่วนใหญ่เป็นเสื้อครุยยาว ครึ่งเข่าจนถึงหน้าแข้ง ข้างในด้านบนใส่เส้ือสีขาวคอต้ังแขนจีบมีกระดุม ๕ เม็ด ส่วนด้านล่างนุ่ง

๔๔ ผ้าถุง หลังจากงานแต่งงานของท่าน มีคู่แต่งงานหลายคู่ได้มาขอยืมชุดแต่งงาน ท่านจึงให้คน เหล่านั้นยืม พร้อมท้ังเครื่องเพชรท่ีประดับประดาความสวยงามของเจ้าสาว คนโบราณสามารถ ยืมของมีค่าของกันและกันได้ มีความไว้เน้ือเชื่อใจกัน แต่สาหรับคนรุ่นยุคของคนยายมักจะ แต่งงานโดยเจ้าสาวจะใสช่ ดุ บุ่นเบ๋ง มีลักษณะคล้ายชุดแต่งงานแบบสาวตะวันตก ผ้าคลุมผมยาว มากประมาณ ๔ หลา ส่วนผู้ชายจะแต่งชดุ สูทแบบสากล เม่ือกล่าวถึงทรงผมแบบเกลา้ มวยใหญข่ องสาวบาบ๋าคณุ ยายเลา่ วา่ สาวภูเก็ตไม่นิยม ใส่มงกุฎดอกไม้ไหวในชีวิตประจาวนั เหตผุ ลเพราะคนภูเกต็ เป็นคนถ่อมตัว ไม่นิยมการโอ้อวด แม้ จะมฐี านะรา่ รวยแต่ก็ยังแต่งกายเรียบง่ายเหมือนคนอื่น (แต่ทั้งน้ีมีข้อแม้สาหรับผู้มีฐานะในสังคม หากเป็นลูกของคหบดี จะใช้ป่ินปักผมเป็นทองแท้ที่มีเพชรซีกประดับอยู่รอบๆ โดยทาเป็นป่ิน ดอกไม้ประมาณ ๕ – ๗ อันปักรอบมวยผม) ซ่ึงต่างจากความนิยมของคนสมัยใหม่ท่ีนิยมทา ดอกไม้ติดมวยผมจากดิ้นเงินด้ินทอง หรือท่ีภาษาฮกเก้ียนเรียกว่า “เช้งก้อ” ในปัจจุบันผู้ทาเป็น คนปักษ์ใต้ท่ีอพยพไปอยู่เชียงใหม่ และจ้างแรงงานไทยใหญ่เป็นผู้ผลิต ดอกไม้ติดผมที่เคยเรียบ ง่ายเพราะเจ้าสาวทาเอง กลายเป็นเคร่ืองประดับท่ีอลังการ ถูกใจคนยุคใหม่ท่ีชอบความหรูหรา เป็นเครื่องประดับมวยผม ราคาขายส่งมงกุฎดิ้นทองอันละ ๖,๕๐๐ บาท (ผู้วิจัยมีความกังวลว่า วัฒนธรรมใหม่ๆของการประดับมวยผมจะเปล่ียนแปลงความเชื่อเดิมของชาวบาบ๋าที่เป็น ลกู หลานคนจีนฮกเกี้ยน ซงึ่ บรรพบุรุษย้านักยา้ หนาว่าให้อย่อู ย่างเรียบงา่ ย ไม่อวดรวย ท่ีภาษาจีน เรียกว่า “เซ้หย่ี” ตรงกับภาษาอังกฤษเรียกว่า “Humble” ภาษาไทยเราเรียกคนประเภทว่า “มี ความเป็นอยอู่ ยา่ งสมถะ”) ถอื เป็นวถิ ีชิวิตท่ีสาคัญยงิ่ ของชาวไทยเชือ้ สายจนี ในจงั หวัดภูเกต็ ภาพผ้ใู ห้ข้อมลู คอื คณุ ขนดั หวงั เกียรติ ทมี่ า: ผศ.ปราณี สกลุ พิพฒั น์

๔๕ คุณขนัด หวังเกียรติ อายุ ๗๐ ปี คนภูเก็ตเรียกว่า โกทุ้ย (คาว่า โก เป็นคาที่ใช้เรียก พี่ชาย) เป็นคนภูเก็ตและเป็นช่างทาผมเก่าแก่ที่มีความชานาญในเร่ืองแฟช่ันหรือการแต่งกาย แบบภูเกต็ เมื่อ ๓๐ ปกี อ่ นหากบา้ นใดมีงานพิธมี งคลสมรส เจา้ สาวจะนิยมเลือกมาแต่งหน้าทาผม ท่รี า้ นขนัด ซงึ่ ต้งั อยู่บริเวณถนนดบี ุก ใกลก้ ับพิพธิ ภัณฑ์ไทหัวในปัจจุบัน นอกจากน้ี ยังเป็นช่างทา ผมท่ีมลี ูกค้ามานัง่ คอยเกลา้ ผมเป็นจานวนมากโดยเฉพาะเวลาเดือนสิบหรือตรุษจีน ตั้งแต่เร่ิมเปิด ร้านคุณขนัดเกล้ามวยผมต้ังแต่ ๕ บาท บางคนผมยาวมากคุณขนัดก็ยังคิดราคาเดิม จนกระท่ัง สมัยนี้ประมาณ ๒๐๐ บาท มารดาของคุณขนัดช่ือ นางก่ิมฮู้น ตันติวิท ส่วนผู้ที่เป็นต้นตระกูล ตันติวิทคือ คุณตันเค้กิ๋ว ซ่ึงมีฐานะที่ร่ารวยมากและประสบความสาเร็จในชีวิตเป็นอย่างสูง โดย คุณขนัดได้เล่าว่า ท่านอนุญาตให้ลูกสาวทั้ง ๕ คนถ่ายรูปพร้อมเคร่ืองแต่งกายแบบสาวบาบ๋า (รวมถึงคุณแม่ของคุณขนัดเอง) ซ่ึงการถ่ายภาพในสตูดิโอขณะน้ันราคาแพงมากเทียบเท่าได้กับ การซื้อทอง ๔-๕ บาทเลยทีเดียว จากนั้น ๕๐ ปีต่อมา คุณขนัดเห็นว่าคนภูเก็ตไม่นิยมแต่งงาน แบบประเพณีดั้งเดิมอีก ท่านจึงได้ริเร่ิมให้หลานสาวคนแรกของตระกูลหรือน้องสาวของคุณขนัด คือ คุณสุวรรณา หวังเกียรติ แต่งชุดเจ้าสาวในรูปแบบของสาวบาบ๋าหรือ ยอนหยา (Nyonya) สวมใส่ชุดครุยยาวและเกล้ามวยใหญ่ ในเวลาต่อมาก็ได้ชักชวนให้หลานสาว (ลูกของน้องชาย) และบุคคลใกล้ชิดมาช่วยกนั รื้อฟน้ื การแตง่ งานดงั กล่าว เหตนุ จ้ี งึ ทาใหค้ นรุ่นใหม่เร่ิมสนใจในความ สง่างามและความอลังการของชุดแตง่ งานเพ่มิ มากข้นึ ลูกหลานของชาวภเู กต็ หรอื คนต่างถิน่ หลายคู่มาขอคาแนะนาจากคุณขนัดในเรื่องชุดแต่ง กายแบบชาวบาบ๋า ท่านจึงได้ประยุกต์การใช้ผ้าของชุดครุยให้มีความทันสมัยมากยิ่งข้ึน โดยการ นาผ้าลูกไม้มาตัดชุดครุยยาวแทนการใช้ผ้าต๋วน ซ่ึงเดิมมีความหนามากกว่า เนื้อผ้าและลวดลาย ของผ้าลูกไม้ทาให้ชุดครุยมีความบางเบาแต่ดูหรูหราเทียบเท่าผ้าต๋วนที่นิยมใช้ตัดชุดครุยยาวกัน ในอดตี

๔๖ ภาพคณุ ขนดั กาลงั เลา่ ถงึ มงกฎุ ดอกไม้ไหว ทีม่ า: ผศ.ปราณี สกลุ พพิ ฒั น์ คุณขนัดได้บรรยายเก่ียวกับมงกุฎดอกไม้ไหวว่า เป็นเครื่องประดับที่มีค่ามากท่ีสุด สาหรบั เจ้าสาว โดยมากมงกุฎประดิษฐ์จากดิ้นทองแล้วจึงดัดเป็นรูปดอกไม้ที่สามารถเคล่ือนไหว ไปมาตามลม และยังมีการปรับเปล่ียนอุปกรณ์เป็นการใช้ลูกปัดประดับบริเวณรอบมงกุฎ ประกอบด้วย ทาให้มีน้าหนักมากกว่าการใช้ดิ้นเพียงอย่างเดียว โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๒๐ เซนติเมตร วิธีการสวมใส่คือ เม่ือเกล้ามวยใหญ่และสูงแล้ว ก็จะใส่มงกุฎดังกล่าว ทับลงบนมวยผม เก็บผมทั้งหมดให้อยู่ในมงกุฎบนตาแหน่งกลางกระหม่อมพอดี ไม่เอนไปข้างใด ข้างหน่ึง การเกล้ามวยผมเป็นข้ันตอนท่ีสาคัญมาก คุณขนัดอธิบายว่า ควรเกล้าผมด้านข้างทั้ง สองใหส้ ูงขึ้นไปกอ่ นให้มีลกั ษณะคล้ายปกี นกเรียกว่า “ชักอีเปง” ส่วนผมด้านหลังก็ให้เกล้าผมข้ึน ไปให้มีลักษณะเหมือนท้ายเป็ดแหลมเรียกว่า “ชักอีโบย” และสุดท้ายคือการม้วนให้ผมด้านบน เป็นรปู หอยโข่ง แล้วจึงวางมงกุฎลงไปบนมวยและปักปิ่นปักผมลายนกยูงตรงกลางเพ่ือเพิ่มความ สวยงามของมวยผม ส่วนใหญ่จะนยิ มปกั ป่ินตามจานวนเลขคคี่ ือ เลขห้า เลขเจด็ และเลขเกา้ นอกจากนี้ คุณขนัดยังได้เล่าเก่ียวกับแฟช่ันชุดเจ้าสาว ในอดีตชุดครุยยาวเป็นเสื้อที่ ใชใ้ นพิธกี ารสาคัญ ลกู สาวของคหบดภี เู ก็ตท่ีมีฐานะมกั จะตดั เสื้อครุยใส่เป็นของตนเอง ไม่ชอบยืม ชดุ จากบุคคลอ่ืน ชุดครุยยาวท่ีคุณขนัดได้เก็บสะสมไว้น้ันเป็นของคุณแม่ท่ีใส่ในงานพิธีสมรสของ ตนเอง ตดั เยบ็ จากผา้ แพร มอี ายกุ ว่า ๑๐๐ ปี ลักษณะการตัดเยบ็ ด้านหนา้ คอื เย็บเป็นสาบ มีแขน ตรงยาว และต้องมีสามเหล่ยี มทีร่ กั แร้เพื่อให้เจา้ สาวขยบั ตวั ไดง้ ่ายขึ้น สว่ นเสื้อตัวในเป็นเส้ือคอตั้ง แขนจีบยาว หรือภาษาภูเก็ตเรียกว่า เสื้อคอตั้งมือจีบ โดยใช้ผ้าลูกไม้รูเบีย มีกระเป๋าใหญ่ ด้านหน้าทงั้ สองข้าง ส่วนคอปีนไม่แข็งมาก กระดุมด้านหน้าในสมัยก่อนจะเป็นกระดุมทองแท้ทา มาจากเหรยี ญพระนางวคิ ตอเรียแหง่ อังกฤษ สว่ นผา้ ถุงท่ีสวมใส่คู่กับชุดครุยมักใช้ผ้าถุงลาซอม ผลิตที่เมืองลาเซ็ม ซ่ึงมีลวดลายที่ อ่อนช้อยงดงามตามบุคลิกของสาวบาบ๋า ซึ่งคุณขนัดได้นาผ้าถุงท่ีได้รับมกดกตกทอดจากคุณป้า (คุณสนั ทนา อุปัตศิ ฤงค์) เมือ่ ๕๐ ปีก่อนน้นั ผา้ ถุงที่มีคณุ ภาพจะอยูใ่ นราคาประมาณ ๘๐๐๐ บาท โดยถือวา่ เป็นสินคา้ ทมี่ รี าคาแพงมาก เพราะเป็นภาพวาดมอื เหมอื นคลา้ ยกบั รูปท่ีแขวนบนฝาผนัง ซึ่งมีลวดลายเป็นรูปนกท่ีแสดงถึงความสุขของสาวเลือดผสม รวมถึงมีความละเอียดในการเขียน ลายคดคล้ายลายกระหนก ผู้หญิงบาบ๋าให้ความสาคัญกับผ้าถุงมากและลงทุนกับการซ้ือผ้า ดังกล่าวในราคาแพง เพราะผ้าผืนหน่ึงสวมใส่ได้ตลอดชีวิต บางครั้งก็อาจจะอยู่ยาวนานถึง ๕๐

๔๗ ถึง ๑๐๐ ปี และด้วยความทีผ่ ้าถุงเกา่ แก่มากและเส่ียงตอ่ การฉกี ขาดได้ คุณขนดั จึงใช้วิธีการอัดผ้า เสริมไปทใ่ี ต้ผา้ เพอ่ื ให้ผ้ามีความคงทนแข็งแรงมากข้ึน ส่วนผ้าถุงอีกชนิดหนึ่งท่ีถือว่ามีความพิเศษ คือ “ผ้าถุงอาลีบาบา” เป็นผ้าถุงที่มีลายสองลายในผืนเดียวมักใส่ได้ท้ังงานกลางวันและกลางคืน ลักษณะลวดลายคือจะมีชายจากทิศหน่ึงเลื้อยไปยังอีกทิศหน่ึงเป็นเชิงและมีดอกไม้สีต่างๆอยู่ตรง กลางใสต่ อนกลางวัน ส่วนกลางคืนจะนุ่งผ้าอีกลายหน่ึงท่ีแตกต่างกัน ทาให้ผ้าอาลีบาบาเป็นผ้าที่ มคี ุณค่าท้งั ในแง่ของลวดลายผา้ และการใช้สอยที่หลากหลายมากยิง่ ภาพคณุ ขนดั กาลงั อธิบายเกี่ยวกบั ชดุ ครุยยาวสาหรับเจ้าสาวบาบา๋ ทีม่ า: ผศ.ปราณี สกลุ พิพฒั น์ ข้อคิดหนึ่งที่น่าสนใจจากคุณขนัดที่ฝากไว้คือ การทาความเข้าใจลักษณะการแต่ง กายท่ีถูกตอ้ งตามประเพณีโบราณ แม้ว่าในปัจจุบนั คณุ ขนดั เองก็ไดม้ ีการประยุกต์ใช้เน้ือผ้าท่ีหาได้ ง่ายในยุคสมัยปัจจุบันอย่างผ้าลูกไม้แทนการใช้ผ้าต๋วนตัดชุดครุย หรือการใช้ลูกปัดมาประดับ ตกแตง่ ในมงกุฎใหม้ คี วามสวยงามมากขน้ึ แต่วิธีการเกล้าผมหรือการแต่งกายให้ถูกต้องเหมาะสม เป็นส่ิงที่ ค น รุ่ น ใ ห ม่ ค ว ร คานงึ ถงึ

๔๘ ภาพคณุ ขนดั กาลงั อธิบายผ้าถงุ อาลบี าบา ที่มา: ผศ.ปราณี สกลุ พิพฒั น์ ภาพคณุ ขนดั กาลงั อธิบายเกี่ยวกบั ชดุ ครุยยาวท่ี ประยกุ ต์ใช้ผ้าลกู ไม้แทนผ้าตว๋ น ที่มา: ผศ.ปราณี สกลุ พพิ ฒั น์

๔๙ ภาพผ้ใู ห้ข้อมลู เรียงลาดบั จากซ้ายไปขวา คณุ มลิวลั ย์ ไตรทพิ ย์พกิ ลุ คณุ วิภาดา ธีรพตั ย ภาพ และคณุ สมจิตต์ แซอ่ อ๋ ทม่ี า: ณิชา โตวรรณเกษม คุณมลิวัลย์ ไตรทิพย์พิกุล (อายุ ๗๔ ปี) และคุณสมจิตต์ แซ่อ๋อ (อายุ ๗๐ ปี) อาศัยอยู่ บ้านเลขที่ ๔๗ ถนนพัฒนา ตาบลตลาดเหนือ ทั้งสองท่านเป็นพ่ีน้องกัน ส่วนคุณวิภาดา ธีรทิตย ภาพ (อายุ ๖๓ ปี) เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเก้ียนที่มาจากจังหวัดตรัง ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ใน ภูเก็ต และเป็นเจ้าของร้านขนมจีนคู่ขวัญท่ีมีช่ือเสียงมากในจังหวัด ท้ังสามท่านได้บรรยาย เกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของสาวบาบ๋าในสมัยท่านยังเด็กว่า ผ้าถุงไทรบุรีหรือท่ีคนภูเก็ตเรียกว่า “ผ้าเมืองไทร” มีลักษณะเป็นผ้าพิมพ์บล็อคและมีลายทั้งผืน ราคาในสมัยก่อนเร่ิมต้นตั้งแต่ ๘ บาท จากนัน้ จงึ ข้ึนเป็น ๒๕ ๔๕ และ ๑๕๐ บาท ผา้ ประเภทน้แี ทบจะไม่มกี ารซื้อขายแล้วในเมือง ไทรบรุ ี เพราะผ้ผู ลติ สว่ นใหญไ่ ด้จากโลกนีไ้ ปแลว้ คนภเู กต็ มกั น่งุ ผา้ ชนิดนี้ในสองโอกาส คือ นุ่งอยู่ กับบ้านหรือที่คนภูเก็ตเรียกว่า “นุ่งซ่าอยู่บ้าน” แปลว่า เป็นผ้าที่สวมใส่ทางานในบ้าน เพราะ ราคาถูกและมีลวดลายเยอะ เมื่อผ่านการซักหลายครั้งผ้าชนิดน้ีก็จะนุ่มเน้ือละเอียดน่าใส่ ส่วน ลายผ้าก็มีความแตกต่างจากลายผ้าลาซอมหรือลายผ้าอื่นๆ ปรากฎท้ังลายดอกไม้ โซ่ และห่วง ส่ิงเหล่าน้ีแสดงให้เห็นถึงกาลเวลาที่ซื้อไม่ได้ เน่ืองจากผ้าเมืองไทรนี้ราคาถูกมาก เมื่อใช้ไป เวลานานๆผ้าก็จะขาดแลดูไม่สวยงาม คนภูเก็ตส่วนใหญ่จึงมักจะนาผ้าไปรองปัสสาวะลูกหรือ นาไปทาเป็นผ้าขี้ริ้วและผ้าเช็ดเท้า ต่อมาไม่นานผ้าเมืองไทรจึงกลายเป็นผ้าท่ีหายากขึ้นทุกวัน เพราะในสมัยกอ่ นเป็นของท่หี าไดง้ ่าย เจา้ ของผ้าจึงไม่คิดที่จะเก็บรักษา โดยปกติแล้วผ้าเมืองไทร มีหลายสีท้ังสีแดง สีเขียว สีน้าเงิน ส่วนผ้าสีดาขาวเป็นผ้าที่คนใช้กันน้อย ส่วนใหญ่จะสวมใส่ไป งานศพของผู้ท่ีอาวุโส สาวบาบา๋ ภเู ก็ตยังนิยมใสเ่ สื้อท่ที าจากผ้าลูกไม้ฝ้ายท่ีมีลวดลายเต็มตัว โดยคุณสมบัติของ ผ้าลูกไม้ฝ้ายคือ สวมใส่สบายและผ้าไม่ยืดสามารถเก็บได้นาน แบบของเสื้อค่อนข้างเข้ารูปและ แขนส้ัน ลักษณะเสื้อผ่าหน้าติดกระดุมแป็คและติดกระดุมไว้ด้านหน้า ส่วนเส้ือลูกไม้อีกประเภท หนง่ึ คอื เสือ้ ลกู ไมบ้ ุหงา มลี ักษณะเป็นผ้าโปร่ง คล้ายกับผ้ามุ้ง บางคนเรียกว่า “ผ้าตาข่ายบุหงา”