Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ สำหรับเยาวชน

คู่มือ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ สำหรับเยาวชน

Published by methinee27022511, 2017-06-01 00:07:54

Description: คู่มือ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ สำหรับเยาวชน

Search

Read the Text Version

¤Ù‹ÁÍ× ¡ÒèѴ¡¨Ô ¡ÃÃÁÂØÇ¡ÒªÒ´àÃ×Íè § ¡ÒÃàÃÂÕ ¹ÃÙ¡Œ ®ËÁÒÂÁ¹ØÉ¸ÃÃÁ ÃÐËÇÒ‹ §»ÃÐà·Èà¾×Íè àÂÒǪ¹EHL Exploring Humanitarian Law : EDUCATION MODULES FOR YOUNG PEOPLE ¨´Ñ ¾ÔÁ¾á ÅÐà¼Âá¾Ã‹â´Â ¡Å‹ØÁÊ‹§àÊÃÁÔ áÅоѲ¹ÒÂØÇ¡ÒªÒ´ Êӹѡ¡ÒÃÅÙ¡àÊ×Í ÂØÇ¡ÒªÒ´ áÅСԨ¡ÒùѡàÃÂÕ ¹ ÊÓ¹¡Ñ §Ò¹»ÅÑ´¡ÃзÃǧÈÖ¡ÉÒ¸Ô¡ÒÃ



คู่มือ การจัดกจิ กรรมยวุ กาชาดเร่ือง การเรียนรู้กฎหมายมนษุ ยธรรมระหว่างประเทศเพือ่ เยาวชนEHL Exploring Humanitarian Law EDUCATION MODULES FOR YOUNG PEOPLEคู่มอื การจดั กจิ กรรมยวุ กาชาด เรือ่ งการเรียนรกู้ ฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเพ่ือเยาวชนไดร้ ับการปรับปรุงและแปลจากตน้ ฉบับภาษาอังกฤษ เรอื่ ง EXPLORING HUMANITARIAN LAW : EDUCATION MODULES FOR YOUNG PEOPLE Resource pack for teachers ของคณะกรรมการกาชาดระหวา่ งประเทศ (ICRC)ISBN : 978 - 616 - 202 - 666 - 9พมิ พ์ครง้ั ท่ี : กนั ยายน 2554 จำนวนพิมพ์ 4,000 เล่ม จัดพิมพ์และเผยแพร่ โดย กลุ่มส่งเสริมและพัฒนายุวกาชาด สำนกั การลกู เสอื ยวุ กาชาด และกิจการนกั เรียน สำนกั งานปลดั กระทรวงศึกษาธกิ าร



คำนำ การพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมยุวกาชาด ในปี 2554 ได้กำหนดให้มีการบรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนเร่ือง “กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเพื่อเยาวชน” (EXPLORING HUMANITARIAN LAW : EHL)หรือ EHL Programme มาไว้ในกิจกรรมกาชาดและยุวกาชาด ซ่ึง EHL Programme เป็นการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรการเผยแพร่กฎหมายมนุษยธรรมไปสู่เยาวชนกลุ่มต่าง ๆ โดยทดลองนำร่องใช้ใน4 ประเทศ คือ จาไมก้า โมร็อคโค อัฟริกาใต้ และประเทศไทย ซึ่งกิจกรรมนี้มุ่งเน้นฝึกให้รู้จักการคิด วิเคราะห์สำรวจถึงปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนการตัดสินใจทางด้านจริยธรรมในภาวะที่ขัดแย้งทั้งยามสงบและยามสงครามในมุมมองที่แตกต่างกัน และฝึกให้รู้จักการบันทึกและสะท้อนความคิดเห็นด้วยการพูดโตต้ อบหรอื เขยี นโดยมหี ลักฐานยืนยนั อย่างสมเหตุสมผล EHL Programme ในประเทศไทยเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2543 โดยคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross : ICRC) ร่วมกับสำนักงานยุวกาชาดสภากาชาดไทย ได้ศึกษาวิเคราะห์ ทดลอง ฝึกอบรมครูผู้สอนกลุ่มนำร่อง และพัฒนารูปแบบหลักสูตรไปได้ระยะหน่ึง จนกระทั่งในเดือนกันยายน 2552 ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ สภากาชาดไทย และ ICRC เพื่อนำ EHL Programme บรรจุไว้ในหลักสูตรกิจกรรมยุวกาชาดและ ได้มีการจัดประชุมทำความเข้าใจร่วมกัน 3 ฝ่าย เพื่อให้เกิดความร่วมมือและแบ่งความรับผิดชอบตามสถานภาพ ตอ่ มา ICRC Regional Delegation Beijing, China ไดจ้ ดั ประชมุ สมั มนา EHL Programmeระหว่างวันที่ 2-4 ธันวาคม 2552 ณ กรุงปักก่ิง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงาน ICRC รวมทั้งจาก Headquarters, Geneva, Switzerland สภากาชาด สภาเส้ียววงเดือนแดงและกระทรวงศึกษาธิการ รวม 9 ประเทศ ในการนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (กลุ่มส่งเสริมและพฒั นายวุ กาชาด) สภากาชาดไทย และ ICRC Regional Delegation Bangkok ไดจ้ ดั สง่ เจา้ หนา้ ทไ่ี ปนำเสนอแนวทางการจัด EHL Programme ในประเทศไทย พรอ้ มกับไดม้ ีโอกาสแลกเปลย่ี นประสบการณ์ของแต่ละประเทศอย่างกว้างขวาง อน่ึง ก่อนที่จะได้ข้อสรุปในการนำ EHL Programme บรรจุไว้ในหลักสูตรกิจกรรมยุวกาชาดกระทรวงศึกษาธิการ โดยกลุ่มส่งเสริมและพัฒนายุวกาชาด สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับสำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย และ ICRCRegional Delegation Bangkok ได้จัดโครงการฝึกอบรมครูผู้สอนหลายคร้ัง เพ่ือเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การจัดกิจกรรมดังกล่าวในสถานศึกษา และมีการตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของคู่มือน้ีด้วยจึงนบั วา่ เปน็ ความรว่ มมือของทง้ั 3 ฝา่ ย รวมท้งั คณะผู้จดั ทำค่มู ือทมี่ ีการดำเนนิ งานอยา่ งสมบรู ณท์ ส่ี ุด สุดท้ายน้ี ขอขอบพระคุณทุกท่าน และทุกหน่วยงานที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา EHL Programmeจนกระท่ังประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ อย่างไรก็ตามเม่ือได้นำคู่มือน้ีไปใช้และพบปัญหาหรอื ขอ้ บกพร่องใด ๆ ขอไดโ้ ปรดแจ้งให้ทราบเพอ่ื จะไดป้ รบั ปรุงแก้ไขต่อไป (นายอภิชาติ จีระวุฒิ) ปลดั กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

สารบญั l บันทึกข้อตกลงโครงการ การจดั การเรียนรู้กฎหมายมนษุ ยธรรมระหวา่ งประเทศ 1 เพอ่ื เยาวชน (EHL) ในประเทศไทย 5 17 23 บทนำ 24 แกนหลกั ของหลกั สตู ร 38 43 49 บทเรียนเบือ้ งต้น : ภาพลกั ษณแ์ ละความรูค้ วามเข้าใจ 50 67 87 บทที่ 1 : มมุ มองเก่ียวกบั มนษุ ยธรรม 113 เรื่องที่ 1 ผูเ้ หน็ เหตกุ ารณส์ ามารถทำอะไรได้บ้าง 114 เรื่องท่ี 2 การมองการกระทำอนั เปน็ มนุษยธรรม 123 เร่ืองท่ี 3 ภาวะท่ีขัดแย้งของผูเ้ ห็นเหตุการณ์ 139 166 167 บทที่ 2 : ขอ้ จำกัดในภาวะสงคราม เรอ่ื งท่ี 4 การจำกัดความเสยี หายอนั เกดิ จากสงคราม เร่ืองที่ 5 ทหารเดก็ เรื่องท่ี 6 เรือ่ งของอาวธุ บทที่ 3 : การบังคบั ใช้กฎหมาย เรอ่ื งท่ี 7 การละเมดิ กฎหมายมนษุ ยธรรมระหวา่ งประเทศ 2. คู่มือการเตรียมการจัดกิจกรรมสำหรับครผู ู้สอน EHL 3. คมู่ อื กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศสำหรบั ครผู ู้สอน l ภาคผนวก คณะผูจ้ ัดทำ คมู่ อื การจดั กิจกรรมยุวกาชาด เรื่อง การเรียนรกู้ ฎหมายมนุษยธรรม ระหว่างประเทศ เพ่อื เยาวชน

บันทึกขอ้ ตกลงโครงการ การจัดการเรยี นรู้กฎหมายมนษุ ยธรรม ระหวา่ งประเทศเพ่อื เยาวชน (EHL) ในประเทศไทย บันทึกข้อตกลงไตรภาคีทำขึ้น ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันท่ี 1 เดือน กันยายน ปี พ.ศ. 2552 ระหว่างสามฝ่าย คือ กระทรวงศึกษาธิการ (ซ่ึงต่อไปในบันทึกนี้เรียกว่า “MoE”) สภากาชาดไทย (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “TRC”) และคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ (ซ่ึงต่อไปน้ีเรียกว่า “ICRC”) บันทึกข้อตกลงน้ี มีจุดประสงค์เพ่ือกำหนดขอบข่ายความรับผิดชอบของหน่วยงานแต่ละฝ่ายที่กล่าวมาข้างต้น ในการพัฒนาและปฏิบัติตามโครงการ การจัดการเรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเพ่ือเยาวชน ในประเทศไทย (ต่อไปน้ีเรียกว่า “โครงการ EHL”) เพ่ือให้บรรลุจุดมุ่งหมายท่วี างไว้อย่างดีทส่ี ุด โดยใชเ้ ครอ่ื งมือและทรพั ยากรที่มีอยูใ่ ห้ไดป้ ระโยชนส์ งู สุด โครงการ EHL เป็นหลักสูตรการศึกษาท่ีออกแบบเป็นพิเศษสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเพ่ือแนะนำกฎและหลักเกณฑ์พื้นฐานของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International humanitarianlaw-IHL) หลกั สตู รการศึกษา EHL นป้ี ระกอบดว้ ยคมู่ อื ทใี่ ชใ้ นการเรียนการสอน ตอ่ จากน้ีไป MoE TRC และ ICRC รวมกนั เรยี กวา่ “ภาคสี ามฝ่าย” ภาคีสามฝา่ ยตกลงร่วมกนั ดงั ต่อไปนี้ ขอ้ 1 พันธกจิ ของภาคสี ามฝา่ ย MoE จะ 1. ร่วมในการประชมุ และรว่ มในการตดั สนิ ใจของกลุม่ คณะกรรมการ EHL 2. ทำงานร่วมกันท้ังสามฝ่ายในการปรับปรุงและบรรจุ EHL เข้าไว้ในหลักสูตรของยุวกาชาด(ต่อไปนี้เรยี กว่า TRCY) ในชน้ั มัธยมศึกษา 3. สนับสนุนการนำ EHL ไปประยุกต์ใช้ในหลักสูตรของยุวกาชาดในชั้นมัธยมศึกษา ซ่ึงรวมถึงการอบรมครู การทดลองหลักสตู รในช้นั เรียน การตดิ ตาม การประเมิน และรายงานผล 4. ประสานงานหมู่ยุวกาชาดโรงเรียนและบุคลากรทางด้านยุวกาชาดท่ีเกี่ยวข้องเพ่ือส่งเสริมและประยุกต์ใชห้ ลักสูตร EHL ในประเทศไทย 5. ร่วมกับ TRC ในการคัดสรรบทเรียนในหลักสตู ร EHL เพื่อแปลเปน็ ภาษาไทย 6. เพ่ิมพูนความรู้ความเข้าใจในโครงการ EHL ให้แก่เจ้าหน้าท่ีเกี่ยวข้องของ MoE โดยประสานงานรว่ มกับอีกสองหนว่ ยงานในโครงการ 7. แต่งต้ังผ้รู ับผดิ ชอบโครงการ EHL จาก MoE ซงึ่ จะต้องเป็นหนึง่ ในกลมุ่ คณะกรรมการ EHL 8. เป็นเจ้าของโครงการ EHL ร่วมกับ TRC หลังจากกระบวนการบรรจุ EHL เข้าไว้ในหลักสูตรของยวุ กาชาดในช้นั มัธยมศึกษาเสรจ็ ส้ินลงEHL Exploring Humanitarian Law 1 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

TRC จะ 1. รว่ มในการประชมุ และร่วมในการตดั สนิ ใจของกล่มุ คณะกรรมการ EHL 2. ทำงานร่วมกันทั้งสามฝ่ายในการปรับปรุงและบรรจุ EHL เข้าไว้ในหลักสูตรของยุวกาชาดใน ชน้ั มัธยมศึกษา 3. สนับสนุนในการนำ EHL ไปประยุกต์ใช้ในหลักสูตรของยุวกาชาดในช้ันมัธยมศึกษา ซึ่งรวมถึง การอบรมครู การทดลองหลักสูตรในชน้ั เรยี น การติดตาม การประเมนิ และรายงานผล 4. ให้การสนับสนุนที่จำเป็น เช่น ให้ใช้สถานท่ีและส่ิงอำนวยความสะดวกของ TRC เพื่อบรรจุ EHL เขา้ ไว้ในหลักสูตรของยุวกาชาดในช้นั มธั ยมศกึ ษา ในประเทศไทย 5. ร่วมกบั MoE ในการคดั สรรบทเรยี นในหลักสูตร EHL เพอื่ แปลเป็นภาษาไทย 6. เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในโครงการ EHL ให้แก่เจ้าหน้าท่ีท่ีเกี่ยวข้องของ TRC โดยประสานงาน รว่ มกับอีกสองหนว่ ยงานในโครงการ 7. แตง่ ตั้งผ้รู บั ผดิ ชอบโครงการ EHL จาก TRC ซง่ึ จะต้องเป็นหนง่ึ ในกลุ่มคณะกรรมการ EHL 8. เป็นเจ้าของโครงการ EHL ร่วมกับ MoE หลังจากกระบวนการบรรจุ EHL เข้าไว้ในหลักสูตร ของยุวกาชาดในชนั้ มัธยมศกึ ษาเสรจ็ ส้นิ ลง ICRC จะ 1. ร่วมในการประชุมและรว่ มในการตดั สินใจของกลมุ่ คณะกรรมการ EHL 2. สนบั สนนุ กระบวนการปรบั ปรงุ และบรรจุ EHL เขา้ ไวใ้ นหลกั สตู รของยวุ กาชาดในชน้ั มธั ยมศกึ ษา โดยใหค้ วามช่วยเหลอื ด้านเทคนิคและงบประมาณ 3. เพ่ิมพูนศักยภาพของท้ัง MoE และ TRC เพ่ือเอื้อความสะดวกในการเรียนการสอน EHL ได้แก่ การปรับปรุงหลักสูตร EHL ให้เหมาะแก่การบรรจุลงในหลักสูตรของยุวกาชาดในชั้นมัธยมศึกษา การอบรมครู การทดลองหลกั สตู รในชัน้ เรียน การตดิ ตาม การประเมิน และรายงานผล 4. ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและงบประมาณในการแปลบทเรียนที่คัดสรรแล้วเป็นภาษาไทย และทำการจดั พิมพ์ 5. ในบางโอกาส ร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ซ่ึงจัดข้ึนเพื่อปรับและบรรจุ EHL ลงในหลักสูตรของ ยุวกาชาดในช้ันมัธยมศึกษา เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการ การอบรมครู การติดตามผล และการประชุม กบั เจ้าหนา้ ท่ีทเ่ี กยี่ วขอ้ ง 6. แจ้งและแบ่งปันข้อมูลล่าสุดในความก้าวหน้าของโครงการ EHL ทั้งในระดับภูมิภาคและทั่วโลก แก่ท้ังสามฝ่าย 7. แต่งต้ังผู้ประสานงานโครงการ EHL จาก ICRC ซ่ึงจะต้องเป็นหน่ึงในกลุ่มคณะกรรมการ EHL และเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่ภาคีสามฝ่ายเป็นระยะ ๆ โดยการสนับสนุนจาก ผเู้ ชย่ี วชาญดา้ น EHL ประจำภูมิภาค2 EHLคูม่ อื การจดั กิจกรรมยุวกาชาด เรื่อง การเรยี นรูก้ ฎหมายมนษุ ยธรรมรเะพหว่ือ่าเงยปารวะเชทนศ

ข้อ 2 กล่มุ คณะกรรมการ EHL กลุ่มคณะกรรมการ EHL คณะปัจจุบันจะได้รับการมอบหมายอย่างเป็นทางการให้ดำเนินงานต่อไปโดยใหเ้ ป็นผรู้ ับผดิ ชอบในโครงการ EHL ในประเทศไทย กลุม่ คณะกรรมการ EHL จะ • กำหนดยทุ ธศาสตรใ์ นการปฏบิ ตั ิตามโครงการ EHL • เสนอแนะวธิ ที ี่เหมาะสมในการบรรจุ EHL เขา้ ไวใ้ นหลกั สตู รของยุวกาชาดในขนั้ มธั ยมศึกษา • ตดิ ตามดแู ลพฒั นาการของโครงการ • แจ้งข้อมูลเก่ียวกับความก้าวหน้าของโครงการแก่ท้ังสามฝ่ายโดยจัดทำรายงานแบบย่อ ทุกสามเดอื น • จดั เตรียมรายงานสรุปการปฏบิ ัติตามโครงการ EHL ภายหลังจากทโ่ี ครงการสำเรจ็ ลง ขอ้ 3 อนื่ ๆ โครงการ EHL จะเสรจ็ ส้ินลงในวนั ท่ี 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ดังแจง้ ไวใ้ นใบแนบ 1 ข้อความในบันทกึ ขอ้ ตกลงนี้อาจมกี ารเปลย่ี นแปลงแกไ้ ขตอ่ เมอ่ื มีการเห็นชอบดว้ ยกนั ทง้ั สามฝา่ ย ภาคีสามฝ่ายเห็นชอบท่ีจะปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนในด้านการเงินของ ICRC ในส่วนท่ีเกี่ยวข้องกับงบประมาณการให้ความชว่ ยเหลือจาก ICRC บันทึกข้อตกลงน้ีทำขึ้นทั้งภาษาอังกฤษและไทยเป็นสามฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน ทั้งสามฝ่ายพิจารณาข้อความโดยละเอียดแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อและตราสัญลักษณ์ไว้เป็นหลักฐาน ในวัน เดือน ปีตามทรี่ ะบไุ ว้ข้างบนกระทรวงศึกษาธิการ (MoE) สภากาชาดไทย (TRC) คณะกรรมการกาชาด ระหว่างประเทศ (ICRC) สำนกั งานภมู ภิ าคกรุงเทพฯ สำเนาถกู ตอ้ ง 3 (นางชลรส นงคภ์ า) หัวหนา้ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนายุวกาชาดEHL Exploring Humanitarian Law EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme



บทนำแกนหลักของหลักสตู ร ค่มู ือ การจัดกิจกรรมยวุ กาชาดEHLเรื่อง การเรียนรู้กฎหมายมนษุ ยธรรมระหวา่ งประเทศเพือ่ เยาวชน EHL Exploring Humanitarian Law 5 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

เยาวชนท่ัวโลกกำลังได้รับผลกระทบจากสงครามและสถานการณ์รุนแรงต่าง ๆ เพิ่มข้ึน ทั้งใน ฐานะเหยื่อ ผู้ใช้อาวุธ หรือผู้เห็นเหตุการณ์ จากผลกระทบท่ีเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดข้ึนกับพวกเขาในวันนี้ ในอนาคตเยาวชนก็คือผู้ที่จะตัดสินใจ เป็นผู้นำทางทหาร ผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม หรือพลเรือน ผู้ประสบเหตุภัยพิบัติ พวกเขาจะได้มีหลักในการเรียนรู้เก่ียวกับประเด็นด้านมนุษยธรรม และจริยธรรม ซึ่งเกิดข้ึนระหว่างสงคราม และเหตุการณ์รุนแรงอื่น ๆ เรื่องราวเหล่านี้ล้วนเก่ียวข้องและมีความสำคัญ ตอ่ เยาวชนทว่ั โลกและครูผู้สอนมบี ทบาทสำคัญในการช่วยให้นกั เรยี นไดส้ ำรวจเรอื่ งราวดงั กล่าว การเรียนรกู้ ฎหมายมนษุ ยธรรมระหว่างประเทศเพ่อื เยาวชน Exploring Humanitarian Law (EHL) การเรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเพ่ือเยาวชน (EHL) เป็นหลักสูตรสำหรับเยาวชน อายุ 13-18 ปี เก่ียวกับหลักพื้นฐานของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law : IHL) สื่อการสอนท่ีใช้เป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ร่วมสมัย ที่แสดงให้เห็นว่า กฎหมาย มนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) มุ่งที่จะคุ้มครองชีวิตและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในระหว่างสงคราม และพยายามป้องกนั และลดความทกุ ขท์ รมานและความสญู เสยี อนั เกดิ จากสงคราม วิธีการสอน (EHL) เน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้เพ่ือช่วยให้นักเรียนสามารถ พัฒนามุมมองด้านมนุษยธรรมและมีความรู้ ความเข้าใจ ในเร่ืองท่ีค่อนข้างเข้าใจยาก เช่น กฎหมาย มนษุ ยธรรมระหว่างประเทศ การเรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเพื่อเยาวชน สำรวจความสูญเสียจากสงคราม โดยการใช้กรณีศึกษา หรือจากประสบการณ์ และวิธีคิดของนักเรียน กรณีศึกษาจะบรรยายถึงพฤติกรรม ของคนจริง ๆ ท่ีตกอยู่ในสถานการณ์ซึ่งต้องการการกระทำอันมีมนุษยธรรม จากการศึกษาสถานการณ์ เหล่านี้ นักเรียนจะได้พัฒนามุมมองและเร่ิมท่ีจะเข้าใจความจำเป็นท่ีต้องมีกฎท่ีปกป้องชีวิตและศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษยใ์ นยามสงคราม ส่ือการเรียนรู้ EHL จัดทำโดยคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ International Committee of the Red Cross : ICRC) โดยความร่วมมือของ Education Development Center Inc. สื่อชดุ นส้ี ามารถ ใช้ในโรงเรียนโดยสอนเป็นรายวิชาหรือสอนเป็นกิจกรรมพิเศษ และยังออกแบบมาสำหรับการศึกษา นอกระบบอีกดว้ ย เยาวชนและกฎหมายมนุษยธรรม EHL ตั้งอยู่บนพื้นฐานท่ีว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีความเก่ียวข้อง สำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนในทุก ๆ สังคม หลักสูตรน้ีตรงประเด็นและเหมาะสมกับทุก ๆ ท่ี ไม่คำนึงถึงประสบการณ์จากสงครามหรือสถานการณ์รุนแรงอ่ืน ๆ ของประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการ เฉพาะด้วยเหตผุ ลหลายประการดังตอ่ ไปนี้ • ในปัจจุบัน สงครามหรือสถานการณ์รุนแรงอ่ืน ๆ เกิดขึ้นในทุกแห่งทุกหนทั่วโลกและเยาวชน ท่ีได้รบั ผลกระทบจากเหตกุ ารณ์เหลา่ นม้ี จี ำนวนเพิ่มข้นึ 6 EHLคมู่ อื การจัดกิจกรรมยวุ กาชาด เรื่อง การเรียนรูก้ ฎหมายมนุษยธรรมรเะพหว่อื ่าเงยปารวะเชทนศ

• ดูเหมอื นวา่ ในหลาย ๆ สังคมกำลังถกู ชกั จงู เขา้ หาความรุนแรงในหลากหลายรปู แบบ • เยาวชนจำนวนมากกว่าท่ีเคยปรากฏมาได้รับรู้ถึงความรุนแรงผ่านทางสื่อ รวมทั้งส่ิงบันเทิงในรูปแบบตา่ ง ๆ ซ่งึ ถา่ ยทอดความรุนแรงโดยไมค่ ำนงึ ถึงผลกระทบ • ในเวลาท่ีสังคมวิกฤตและเกิดความตึงเครียดทางการเมือง เช่น สถานการณ์หลังความขัดแย้งหรอื ช่วงเวลาของการปฏิรปู ทางสงั คม หลักสูตรการเรยี นอย่าง EHL อาจจะส่งผลใหเ้ กดิ ความสงบทางอ้อม • รัฐภาคีของอนุสัญญาเจนีวาจะต้องเผยแพร่ความรู้เก่ียวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศใหก้ วา้ งขวางท่สี ุดเทา่ ที่จะเปน็ ได้ ท้ังในยามสงบและยามสงคราม การพัฒนาความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับประเด็นด้านมนุษยธรรมซ่ึงเกิดขึ้นในเวลาท่ีเกิดความขัดแย้งเป็นเร่ืองจำเป็นในความพยายามป้องกันและจำกัดการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และเป็นหลักสำคัญของสทิ ธิมนษุ ยชนในอนาคต เปา้ หมายการเรียนรู้ เป้าหมายแรกของการเรียนรู้ EHL คือเพ่ือช่วยให้เยาวชนเปิดรับหลักเกณฑ์ด้านมนุษยธรรมเข้าไว้ในชวี ิตประจำวัน โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ เปน็ การเพม่ิ พูนสิ่งตอ่ ไปน้ี • ความเข้าใจถึงความจำเป็นท่ีต้องเคารพชีวิตและศักด์ิศรีของความเป็นมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามสงคราม • ความเข้าใจในประเด็นด้านมนุษยธรรม ตลอดจนแง่มุมหลากหลายของกฎหมายมนุษยธรรมระหวา่ งประเทศ และความซับซ้อนในการใชก้ ฎหมายน้ี • ความสนใจในสถานการณ์ปัจจุบันและความสามารถในการมองสถานการณ์ขัดแย้งท้ังในประเทศและตา่ งประเทศจากมุมมองดา้ นมนุษยธรรม • การมีสว่ นรว่ มในการบรกิ ารสาธารณะของชุมชนหรือกจิ กรรมอนื่ ๆ เพอื่ ชว่ ยเหลือกลุ่มเสยี่ งในสังคม EHL สนับสนุนให้เยาวชนมีการพัฒนาด้านความตระหนักต่อสังคม และมีความรับผิดชอบในฐานะพลเรือน ชุดสื่อการสอนเน้นความสำคัญของการปกป้องชีวิตและศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ในระหว่างสงคราม และขยายไปถึงในสถานการณ์อนื่ ๆ วิธกี ารสอน EHL EHL ใช้การสำรวจเป็นวิธีการสอนหลักของหลักสูตร ครูจะช่วยให้สมาชิกยุวกาชาดได้สำรวจความคิดและค้นหาคำตอบไปด้วยกัน คำว่า “การสำรวจ” หมายถึงสำรววจสิ่งที่ไม่คุ้นเคย และคิดค้นหาส่ิงใหม่หรือส่ิงท่ีดีกว่า สมาชิกยุวกาชาดอาจเลือกใช้วิธีที่แตกต่างและไปถึงบทสรุปอันหลากหลายบางคร้ังกไ็ มไ่ ดม้ ีคำตอบท่ถี ูกตอ้ งเพียงคำตอบเดียว บางคร้งั อาจนำมาซึง่ ความคิดเหน็ ทีห่ ลากหลายในกลุม่และพัฒนาไปสู่ทางออกของการแกป้ ัญหา ครูจำเป็นต้องใช้วิธีแบบใหม่เพ่ือช่วยให้สมาชิกยุวกาชาด ได้สำรวจกฎหมายมนุษยธรรม ครูและสมาชกิ ยุวกาชาดไดร้ ว่ มกันสำรวจความเข้าใจ ทศั นคติ และเนื้อหาใหม่ ๆ นคี่ อื ประสบการณใ์ หมส่ ำหรบั ครูที่ได้รับการฝึกฝนให้เชี่ยวชาญในเนื้อหาเฉพาะทาง ในการเรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศสำหรับเยาวชน บทบาทของครูคือควบคุมให้สมาชิกยุวกาชาดได้สำรวจเร่ืองราว โดยที่ครูไม่จำเป็นต้องรคู้ ำตอบทั้งหมดEHL Exploring Humanitarian Law 7 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

การเสริมสรา้ งความเข้มแขง็ ทางวิชาการและทักษะชวี ติ EHL สอนและเสริมสร้างทักษะทางวิชาการที่สำคัญ ๆ หลายอย่าง สมาชิกยุวกาชาดได้ปรับปรุง ทักษะทางการส่ือสาร ผ่านทางการฟัง การอ่านและการเขียน รวมทั้งการอภิปราย การโต้วาที และ การทำงานเป็นกลุ่ม นอกจากนี้สมาชิกยุวกาชาดยังสามารถฝึกทักษะในการวิเคราะห์วิจัยให้แหลมคม ยิ่งข้ึนโดยการระบผุ ลกระทบ การแก้ปญั หาและการวิเคราะห์ภาวะทข่ี ดั แยง้ (Dilemma) EHL ใช้วิธีการสอนอันหลากหลายซ่ึงก่อให้เกิดการคิดแบบมีวิจารณญาณกล่าวคือ การให้ สมาชิกยุวกาชาดให้เหตุผลรองรับความคิดของตน ให้สมาชิกยุวกาชาดเผชิญหน้ากับหลายทางเลือกและ ด้วยคำถามที่ฉกุ ให้คดิ และคำถามปลายเปดิ การเรียนรู้ EHL ช่วยให้สมาชิกยุวกาชาดพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางออก ท่ีสามารถหลีกเลี่ยงความรุนแรงและพฤติกรรมเสี่ยง ถึงแม้ว่า EHL ไม่ใช่วิชาที่สอนทักษะโดยตรง แต่ EHL สามารถสร้างความเข้มแขง็ ใหก้ บั ทกั ษะเหลา่ นัน้ ผ่านกระบวนการเรียนการสอน เน้อื หาของ EHL หลักสูตร EHL ท่ีเต็มรูปแบบประกอบด้วยบทเรียนหลัก 5 บทเรียน ซ่ึงสามารถศึกษาและ ทำความเข้าใจได้ทางเว็บไซต์ของ ICRC (www.icrc.org) สำหรับคู่มือการจัดกิจกรรมยุวกาชาดเรื่องการ เรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเพ่ือเยาวชนเล่มน้ี ได้คัดเลือกเร่ืองราวที่เหมาะสมกับบริบท ของสังคม และบรรจุไว้ในหลักสูตรกิจกรรมยุวกาชาดแล้ว ท้ังน้ีเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน EHL มีความชัดเจน เข้าใจง่าย และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกสำหรับครูผู้สอน จึงได้จัดทำชุดคู่มือ ซ่ึงประกอบด้วย 1. คู่มือการจัดกิจกรรมยุวกาชาดเรื่องการเรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเพ่ือเยาวชน (EHL) 2. คมู่ ือการเตรียมการจัดกจิ กรรมสำหรับครูผู้สอน EHL 3. คู่มอื กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศสำหรับครู 4. วีดทิ ัศน์กจิ กรรมการสอน EHL 1. คู่มือการจดั กจิ กรรมยวุ กาชาดเรอื่ งการเรยี นรู้กฎหมายมนษุ ยธรรมระหว่างประเทศเพื่อเยาวชน (EHL) ออกแบบมาสำหรับการสำรวจแนวคิดและมุมมองเรื่องมนุษยธรรมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ของเยาวชนอายุ 13-18 ปีและได้บรรจุไว้ในหลักสูตรกิจกรรมยุวกาชาดระดับ 3 โดยแบ่งเนื้อหากิจกรรม ออกเปน็ 3 บท สำหรบั การจดั กิจกรรม 3 ปี ดังน้ี8 EHLคู่มอื การจดั กิจกรรมยวุ กาชาด เรือ่ ง การเรยี นรกู้ ฎหมายมนุษยธรรมรเะพหว่ือา่ เงยปารวะเชทนศ

ระดับชั้น เน้อื หา ระยะเวลา มัธยมศกึ ษาปที ี่ 1 บทเรยี นเบอ้ื งต้น : ภาพลกั ษณ์และความรู้ความเขา้ ใจ 1 คาบ บทที่ 1 : มมุ มองเก่ียวกบั มนุษยธรรม เรื่องท่ี 1 ผู้เหน็ เหตกุ ารณส์ ามารถทำอะไรไดบ้ า้ ง 2 คาบ มัธยมศกึ ษาปที ่ี 2 เรือ่ งที่ 2 การมองการกระทำอันเปน็ มนษุ ยธรรม 1 คาบ เร่อื งท่ี 3 ภาวะทข่ี ัดแย้งของผเู้ หน็ เหตุการณ์ 1 คาบ บทที่ 2 : ข้อจำกัดในภาวะสงคราม เรือ่ งท่ี 4 การจำกดั ความเสยี หายอันเกดิ จากสงคราม 2 คาบ มธั ยมศึกษาปีท่ี 3 เรื่องที่ 5 ทหารเด็ก 3 คาบ เรื่องท่ี 6 เรอ่ื งของอาวธุ 2 คาบ บทที่ 3 : การบงั คับใชก้ ฎหมาย เรอ่ื งท่ี 7 การละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ 1 คาบ การใช้คู่มือการจัดกิจกรรมยุวกาชาดเร่ือง EHL เพ่ือให้เยาวชนเกิดความตระหนักในเรื่องมนุษยธรรมและศักด์ิศรีความเปน็ มนุษย์ ครผู สู้ อน EHL จำเป็นตอ้ งศึกษาคู่มอื ทง้ั 3 ส่วนอยา่ งละเอยี ด ในแผนการจัดกิจกรรมจะมีข้อความท่ีคัดมาจากแหล่งข้อมูลท่ีหลากหลาย เพื่อให้ครูผู้สอน EHLใชเ้ ป็นแนวคิดสำหรับการจัดกจิ กรรมไดด้ ว้ ย2. คมู่ อื การเตรียมการจดั กิจกรรมสำหรบั ครูผ้สู อน EHL ประกอบดว้ ยวธิ ีการสอน EHL 10 วธิ ี ในแต่ละวิธปี ระกอบด้วย • คำอธบิ ายวัตถปุ ระสงค์ของวิธกี ารสอน EHL ด้วยวิธีพเิ ศษ • ข้อเสนอแนะสำหรบั ขัน้ ตอนกอ่ นเริม่ สอน • คำแนะนำวธิ ีการนำกลุ่ม • คำแนะนำในการจัดการกับปัญหาอปุ สรรคที่อาจเกดิ ข้ึน • ข้อเสนอแนะในการประเมนิ ผลการเรียนของผเู้ รยี น3. คู่มือกฎหมายมนุษยธรรมระหวา่ งประเทศสำหรับครู ประกอบด้วยคำถาม 60 ข้อ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม EHL ทุกข้อคำถามถูกอธิบายเพอ่ื ขจดั ข้อสงสยั อยา่ งละเอียด พรอ้ มท้ังอกั ษรย่อของคำศพั ทส์ ำคัญทเี่ กี่ยวกบั EHL หัวใจสำคัญของการจัดกิจกรรมยุวกาชาดเร่ืองการเรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเพ่ือเยาวชน (EHL) เน้นแนวคิดเร่ืองมนุษยธรรมและศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์เป็นเรื่องหลัก โดยจะมีการกล่าวถึงตลอดหลกั สตู รน้ีEHL Exploring Humanitarian Law 9 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

4. วดี ทิ ัศนก์ จิ กรรมการสอน EHL วีดิทัศน์กิจกรรมการสอน EHL น้ีเป็นวีดิทัศน์ที่ใช้ประกอบการสอนในเรื่องที่ 5 ทหารเด็ก (วีดทิ ัศน์ ฉนั ไม่อยากกลับไปอีกแลว้ ) และ เร่อื งท่ี 6 เรื่องของอาวุธ (วดี ิทัศน์กับดักระเบดิ ยังคงลา่ สงั หาร) คำแนะนำการใช้ชดุ คูม่ อื EHL • ก่อนการจัดกิจกรรมควรศึกษา คู่มือการเตรียมการจัดกิจกรรม EHL โดยเฉพาะวิธีการสอน ที่ระบุไว้ในบทเรยี น • ทำความเขา้ ใจกับคู่มือการจดั กจิ กรรม EHL อย่างละเอยี ดทกุ ขน้ั ตอน • เมือ่ เกิดข้อสงสยั เกี่ยวกบั IHL ให้หาคำตอบได้จากคู่มือกฎหมายมนษุ ยธรรมระหวา่ งประเทศ สำหรบั ครู หมายเหตุ ข้อความในกรอบที่ปรากฏอยู่ในทุก ๆ บทเรียนนั้นมาจากแหล่งเรียนรู้ท่ีหลากหลาย ซ่ึงครูผู้สอน สามารถศึกษาเพ่ือสำรวจแง่คิดและมุมมองด้านมนุษยธรรมหรืออาจนำไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรม EHL ได้10 EHLคูม่ ือการจัดกิจกรรมยวุ กาชาด เร่ือง การเรียนร้กู ฎหมายมนุษยธรรมรเะพหวอื่ ่าเงยปารวะเชทนศ

Exploring Humanitarian Law แกนหลกั ของหลักสูตร EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE แนวคิดEHL EHL Programme • ความต้องการพื้นฐาน • ความเปน็ อิสระ • เป้าหมายโครงการ • ผเู้ หน็ เหตกุ ารณ์ • อาวุธท่ไี ม่เลอื กเปา้ หมายทำลายลา้ งและอาวุธท่ที ำ • ความคุ้มครอง • ผลกระทบเป็นลกู โซ่ ใหเ้ จ็บปวดเกิดความจำเปน็ • ผูอ้ พยพและผ้โู ยกย้ายถน่ิ ฐาน • ความแตกตา่ งระหว่างพลเรือนและพลรบ • ข้อจำกดั ในภาวะสงคราม • ความเกี่ยวข้องของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่าง • ผลกระทบ * • มุมมองหลากหลายด้าน * ประเทศและกฎหมายสทิ ธิมนษุ ยชน • ภาวะท่ีขัดแย้ง (dilemmas) * • ความตอ้ งการของเด็ก • ผลกระทบต่อเนอื่ ง • การบงั คบั ใชก้ ฎหมาย • ความเป็นกลาง • ความกดดันทางสังคม • ศกั ด์ิศรคี วามเปน็ มนษุ ย์ * • ผ้ทู ีไ่ มใ่ ชพ่ ลรบ (พลเรอื น พลรบที่ออกจากการสู้รบ • กลมุ่ เป้าหมาย • การกระทำอนั มมี นุษยธรรม ไปแลว้ ) • การละเมิดกฎหมายมนุษยธรรม • คำส่ังท่ีไม่ชอบดว้ ยกฎหมาย • ความต้องการอ่นื ทีไ่ ม่ใชท่ างด้านวตั ถุ • อาชญากรรมสงคราม • การไม่เลือกปฏบิ ตั ิ • อุปสรรคของการกระทำอนั มีมนุษยธรรม * • การระดมพลังเยาวชน • การใช้กฎหมาย ทักษะปฏบิ ตั ิ • การวิเคราะหป์ ัญหา • การประเมนิ ความตอ้ งการ • การแสดงบทบาทสมมุติ • การประเมินโครงการ • การระบุผลกระทบทเี่ กดิ ขนึ้ • การวเิ คราะหเ์ ร่ืองราว • การระดมสมอง • การระบปุ ัญหา • การเล่าเรือ่ งราว • การวิเคราะห์ภาวะท่ขี ดั แย้ง • การระบุการแก้ไขปญั หา • การสนบั สนนุ ความคิดเหน็ ด้วยเหตผุ ล • การคัดค้านอยา่ งสภุ าพ • การเก็บขอ้ มลู • การคน้ หาผลกระทบ • การอภปิ ราย • การใหเ้ หตุผลตามหลกั กฎหมาย • การทำงานรว่ มกันเปน็ กลุ่ม • การคาดคะเนความพยายาม • การฟงั • การคาดคะเนขอบขา่ ย • การกำหนดมุมมอง * ในทุกบทเรียน • การวางแผนงาน 11

คูม่ อื การจดั กิจกรรมยวุ กาชาด บทเรียน12 เรื่อง EHLการเรียนร้กู ฎหมายมนุษยธรรมรเะพหวอ่ื ่าเงยปารวะเชทนศ บทเรียน คำถาม แนวคิด เรือ่ ง จุดม่งุ หมาย ความคดิ เห็นหลัก บทเรยี น • ภาพของสงครามตามความเข้าใจของคุณ • ข้อจำกัดในภาวะ ภาพลักษณแ์ ละ • เพอ่ื ตระหนักถึงคำถามหลักที่ • แนวคดิ เก่ียวกบั ศกั ดิศ์ รีความ เบอ้ื งตน้ เป็นอยา่ งไรบ้าง สงคราม ความรคู้ วามเข้าใจ เนน้ เกีย่ วกบั กฎหมาย เปน็ มนษุ ยค์ ือเร่ืองหลักซึง่ จะ มนุษยธรรม ถกู นำมากลา่ วถงึ ตลอด หลกั สูตร EHL • คุณคิดวา่ อะไรคอื ความพยายามในการ • ศกั ดศ์ิ รีความเปน็ • เพอ่ื ตระหนกั วา่ คำถาม • คำถามบางคำถามท่ีเกดิ จาก จำกัดความเสยี หายทเี่ กิดจากสงคราม มนุษย์ บางคำถามในหลักสตู ร EHL การเรยี น EHL อาจหาคำตอบ ไมอ่ าจหาคำตอบได้ง่ายนัก ได้ไม่ง่ายนกั จุดมงุ่ หมาย อยา่ งหน่ึงของหลักสูตร EHL คอื การตงั้ คำถามเหลา่ นีแ้ ละ ค้นควา้ หาคำตอบ • ศักด์ศิ รคี วามเปน็ มนษุ ยค์ ืออะไร • เพอ่ื ให้คำจำกดั ความเบอ้ื งต้น ของคำว่าศกั ด์ิศรีความเป็น มนษุ ย์ บทท่ี 1 • ผู้เห็นเหตกุ ารณค์ ือใคร • ผ้เู หน็ เหตุการณ์ เรือ่ งท่ี 1 • เพื่อเข้าใจถึงผลกระทบจาก • ในยามสงครามหรอื ใน มมุ มอง ผู้เห็นเหตุการณ์ การกระทำของผอู้ ืน่ ทอ่ี าจเกิด สถานการณร์ ุนแรงอ่นื ๆ ผู้เห็น เก่ยี วกบั สามารถทำอะไร ขน้ึ กบั ผ้เู ห็นเหตกุ ารณ์ เหตุการณ์เปน็ บคุ คลท่วั ไปซงึ่ มนษุ ยธรรม ไดบ้ ้าง ใหค้ วามชว่ ยเหลอื ปกปอ้ งชวี ิต หรอื ศักดิ์ศรีของผ้อู น่ื แมไ้ ม่เคย ร้จู กั มากอ่ นหรือไม่จำเป็นต้อง ใหค้ วามช่วยเหลือหรือปกป้อง ในสถานการณป์ กติ • ผูเ้ หน็ เหตกุ ารณ์ตอ้ งเผชิญกบั ถานการณ์ • การกระทำอันมี • เพอื่ ตระหนกั ถึงตัวอย่างของ • หลายครั้งท่ผี ้เู ห็นเหตกุ ารณ์ ใดบา้ ง มนษุ ยธรรม ผเู้ หน็ เหตุการณท์ ่ีกระทำการ กระทำการใด ๆ แม้วา่ จะเสย่ี ง ใด ๆ เพ่อื ปกปอ้ งชีวิตและ ต่ออันตรายหรือความสญู เสีย ศกั ด์ศิ รีความเป็นมนุษย์ใน ของตนเอง • ผูเ้ ห็นเหตุการณไ์ ดร้ บั ผลกระทบอยา่ งไรบา้ ง • แรงกดดนั ทาง สถานการณ์ความรุนแรง • บคุ คลทว่ั ไปไม่ว่าผ้ใู ดอาจตอ้ ง สงั คม เผชิญหน้ากบั การกระทำอนั • อะไรคอื การกระทำอนั มีมนษุ ยธรรม ไร้มนษุ ยธรรมเพ่อื ปกปอ้ งผู้อน่ื ท่ีตกอยูใ่ นความเส่ยี ง

Exploring Humanitarian Law บทเรยี น คำถาม แนวคิด เรื่อง จดุ มุง่ หมาย ความคดิ เห็นหลัก EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE บทท่ี 1 เรอ่ื งที่ 2 • เพื่อเข้าใจแนวคดิ การกระทำ • การกระทำอนั เปน็ มนุษยธรรม มมุ มอง การมองการกระทำ อันมมี นุษยธรรม คือการกระทำเพือ่ ปกป้องชีวิตEHL EHL Programme เกี่ยวกับ อันเปน็ มนษุ ยธรรม • เพ่ือเขา้ ใจว่าแรงกดดนั ทาง หรอื ศักด์ิศรีความเปน็ มนุษย์ มนษุ ยธรรม สงั คมมอี ทิ ธพิ ลต่อการกระทำ ของผทู้ เ่ี ขาอาจจะไมร่ จู้ กั ทงั้ ๆ ในสถานการณท์ ีช่ วี ติ หรือ ทโี่ ดยปกตแิ ลว้ อาจจะไมไ่ ดร้ บั ศกั ด์ิศรีความเปน็ มนุษย์ของ การปกป้องคมุ้ ครอง ซง่ึ การ ผอู้ ื่นกำลังตกอยใู่ นความเสีย่ ง กระทำน้นั เปน็ ความเสยี่ งของ • เพ่ือให้สามารถบง่ ชก้ี ารกระทำ ผกู้ ระทำด้วย อนั เปน็ มนุษยธรรมจากข่าวหรือ • การกระทำอนั เปน็ มนษุ ยธรรม เหตุการณใ์ นชีวิตประจำวันได้ เพือ่ ปกป้องชีวติ และศกั ด์ศิ รี ของผู้อนื่ อาจเป็นเรอ่ื งยากใน บางบริบทของสงั คม โดยเฉพาะ อย่างยิง่ เมื่อเกยี่ วขอ้ งกบั บุคคล ท่ีถอื วา่ เป็นส่วนหน่งึ ของฝ่ายศตั รู บทท่ี 1 มุมมอง เรื่องท่ี 3 • เพอื่ รู้ถงึ ความยุ่งยากท่ีอาจ • การกระทำอันมมี นษุ ยธรรม เกี่ยวกับ ภาวะท่ีขดั แย้งของ เกิดข้นึ กบั ผูเ้ หน็ เหตกุ ารณเ์ ม่อื หลายอย่างทำใหผ้ กู้ ระทำ มนษุ ยธรรม ผเู้ ห็นเหตกุ ารณ์ ตอ้ งรับรู้เหตุการณ์ทช่ี ีวติ หรือ ลำบากใจเมือ่ ต้องเลือกว่าจะ ศักดศ์ิ รีความเป็นมนุษย์ถกู ยำ่ ยี ปกป้องผู้อื่นดหี รือไม่เพราะ การกระทำดังกลา่ วอาจก่อผล กระทบทั้งตอ่ ตนเองหรือผทู้ ่เี ขา พยายามปกปอ้ ง • เพ่ือเรียนรใู้ นการวิเคราะห์ • ไมว่ า่ จะเลอื กอยา่ งไดกต็ าม ภาวะท่ขี ัดแย้ง ก็อาจมผี ลกระทบอันยุง่ ยาก และยาวนานตามมาภายหลัง ตอ่ ทกุ คนที่เกย่ี วขอ้ ง13

คูม่ อื การจดั กิจกรรมยวุ กาชาด บทเร ยี น คำถาม แนวคิด เร่ือง จดุ ม่งุ หมาย ความคิดเหน็ หลัก14 เรื่อง EHLการเรียนร้กู ฎหมายมนุษยธรรมรเะพหวอ่ื ่าเงยปารวะเชทนศ บทที่ 2 • ขอ้ จำกัดอะไรทจี่ ำเป็นตอ้ งมีในภาวะ • ข้อจำกัดในภาวะ เร่อื งท่ี 4 • เพ่อื เขา้ ใจถึงเหตุผลบางประการ • กฎหมายมนษุ ยธรรมมุง่ ปกปอ้ ง ข้อจำกัดใน สงคราม เพราะเหตใุ ด สงคราม ว่าทำไมจงึ จำเป็นตอ้ งมกี ฎใน คุ้มครองชีวติ และศักดศิ์ รีของ ภาวะสงคราม • ขอ้ จำกดั เหลา่ นมี้ าจากไหน การจำกัดความ การทำสงคราม มนษุ ยใ์ นภาวะสงคราม ซง่ึ จะ • ผ้ทู ม่ี ใิ ช่พลรบ เสียหายอันเกดิ • กฎหมายเก่ียวกับการจำกัดสงครามมี (พลเรือน พลรบ จากสงคราม • เพอื่ เขา้ ใจถึงการเสรมิ ซ่ึงกนั ทำไดโ้ ดยการจำกดั อาวธุ และ พัฒนาการอยา่ งไร ทอี่ อกจากการ และกันระหวา่ งกฎหมาย วิธีการรบเพอื่ ลดความเสยี หาย รบแลว้ ) มนุษยธรรม และกฎหมาย โดยไมจ่ ำเป็น อีกท้งั ยังเป็นการ • ความเกย่ี วขอ้ งกัน สิทธมิ นุษยชน ปกป้องผู้ทไี่ ม่ได้เปน็ ทหารหรือ ของกฎหมาย ทหารท่อี อกจากการรบแลว้ มนุษยธรรมและ • เพ่ือร้หู ลกั เบ้ืองตน้ บางประการ • ทัง้ กฎหมายมนษุ ยธรรมและ กฎหมายสทิ ธิ ของกฎหมายมนุษยธรรม กฎหมายสทิ ธมิ นษุ ยชนต่างมี มนษุ ยชน ระหว่างประเทศ หลักการพนื้ ฐานเหมือนกนั ใน • ความคมุ้ ครอง การปกปอ้ งชีวิตและศักดิศ์ รขี อง • ความต้องการ มนษุ ย์ โดยกฎหมายมนษุ ยธรรม ของเด็ก จะใช้เฉพาะในภาวะสงคราม • อาวุธท่ไี มเ่ จาะจง เพราะถูกตราขน้ึ ใชใ้ น เป้าหมายในการ สถานการณร์ ุนแรงดังกล่าว ทำลายลา้ งและ ในขณะที่กฎหมายสทิ ธิมนุษยชน อาวุธท่ที ำให้ ใช้ในทุกภาวะกาล เจ็บปวดเกนิ ความจำเป็น • ผลกระทบต่อเน่ือง เปน็ ลูกโซ่

Exploring Humanitarian Law บทเรียน คำถาม แนวคิด เรือ่ ง จดุ มุ่งหมาย ความคิดเหน็ หลกั EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE บทที่ 2 เร่ืองที่ 5 • เพ่อื ตระหนักถึงขอบขา่ ยของ • เดก็ จะตอ้ งไดร้ ับการปกปอ้ ง ขอ้ จำกัดใน ทหารเด็ก การใชเ้ ดก็ เปน็ ทหารรวมถึง ค้มุ ครองในช่วงเวลาสงคราม EHL EHL Programme ภาวะสงคราม การใชเ้ ด็กในสงครามและผล • ความคุ้มครองในรูปแบบหน่งึ ทเ่ี กิดขึน้ คือการจำกดั อายขุ ัน้ ตำ่ ในการ • เพื่อเข้าใจถงึ ความจำเปน็ ใน รบั เด็กเขา้ เปน็ ทหารและใช้ การจำกัดอายขุ น้ั ตำ่ ในการรับ เดก็ ในสงคราม เดก็ เข้าเปน็ ทหารและการใช้ • ตามหลักกฎหมายมนษุ ยธรรม เดก็ ในสงคราม และกฎหมายสทิ ธมิ นุษยชน • เพ่อื เรยี นรูว้ า่ ทงั้ กฎหมาย หา้ มกองทพั หรือกองกำลังตดิ มนษุ ยธรรม และกฎหมายสิทธิ อาวุธรบั บคุ คลอายุตำ่ กว่า 15 ปี มนุษยชนห้ามการรับเดก็ อายุ เข้าเป็นทหารหรือใช้ในสงคราม ต่ำกวา่ 15 ปี เข้าเปน็ ทหารและ ไม่ว่าดว้ ยจดุ ประสงคใ์ ดก็ตาม ใชใ้ นสงคราม และหลายประเทศ • ขณะน้กี ฎหมายทเี่ พ่ิงตราขึน้ ยอมรับกฎหมายทเี่ พ่ิงตราขึน้ ใหม่ ใหม่ไดม้ กี ารจำกัดอายุขนั้ ตำ่ นี้ ซ่งึ กำหนดอายุขนั้ ต่ำท่ี 18 ปี ทอ่ี ายุ 18 ปี บทที่ 2 เรอ่ื งที่ 6 • เพือ่ สำรวจว่าอาวธุ ใดเปน็ อาวุธ • กฎหมายมนษุ ยธรรมห้ามใช้ ข้อจำกดั ใน เร่ืองของอาวุธ ทีไ่ ม่ระบเุ ป้าหมายทำลายล้าง อาวุธบางอย่างในการทำ ภาวะสงคราม และก่อความเสียหายโดยไม่ สงคราม เพราะอาวธุ เหล่าน้ี จำเป็นและเรยี นรอู้ าวุธเหล่าน้ี ไม่เลอื กเป้าหมายในการ บางชนิด ทำลายลา้ ง และกอ่ ความ • เพ่อื ให้เขา้ ใจวา่ ทำไมจงึ จำเปน็ เสยี หายเกนิ ความจำเป็น ตอ้ งมขี อ้ หา้ มในการใช้อาวุธ • กบั ดักระเบดิ สงั หารบุคคล บางอย่างในการทำสงคราม และวตั ถุระเบดิ ทหี่ ลงเหลอื • เพือ่ เรยี นรู้ถงึ กฎหมายมนษุ ยธรรม จากสงครามเป็นปญั หาสำคญั ในส่วนทวี่ า่ ดว้ ยอาวุธ ด้านมนษุ ยธรรม เพราะมันยัง • เพ่ือเขา้ ใจวา่ ความคิดเห็นของ สงั หารผู้คนต่อไปอกี ยาวนาน สาธารณชนสามารถพฒั นา ภายหลงั จากสงครามส้นิ สุด กฎหมายมนษุ ยธรรมไดอ้ ย่างไร • การระดมความคดิ เห็น โดยรวม มีสว่ นรว่ มในการ พฒั นากฎหมายระหว่าง ประเทศได้15

คูม่ อื การจดั กิจกรรมยวุ กาชาด บทเร ยี น คำถาม แนวคดิ เรอ่ื ง จุดม่งุ หมาย ความคิดเห็นหลัก บทท่ี 3 • กฎเกณฑ์ใดถกู ละเมดิ มากทสี่ ุด เพราะเหตุใด • การละเมดิ กฎหมาย เรื่องท่ี 7 • เพือ่ สามารถระบถุ งึ การละเมิด • การละเมิดกฎหมายมนุษยธรรม16 เรื่อง EHLการเรียนร้กู ฎหมายมนุษยธรรมรเะพหวอ่ื ่าเงยปารวะเชทนศ การบังคับใช ้ • พลรบตอ้ งเผชิญกับภาวะทข่ี ัดแย้ง มนษุ ยธรรม การละเมดิ กฎหมาย กฎหมายมนษุ ยธรรม มกั นำไปสู่ปฏิกิรยิ าต่อเน่ือง กฎหมาย อยา่ งไรบา้ ง • ความแตกต่าง มนษุ ยธรรมระหว่าง • เพื่อเห็นตัวอยา่ งว่าการละเมดิ ทำให้เกดิ การละเมดิ มาก • ใครเป็นผรู้ บั ผดิ ชอบในการดแู ลใหม้ ีการ ระหวา่ งพลเรอื น ประเทศ กฎหมายอยา่ งหนึง่ นำไปสู่ ย่ิงขนึ้ เรื่อย ๆ ยึดถือกฎหมายมนษุ ยธรรมระหวา่ งประเทศ และทหาร การละเมิดอยา่ งอ่ืนได้อยา่ งไร • มหี ลายวธิ ใี นการปอ้ งกันการ • ปฏกิ ริ ยิ าลูกโซ่ ละเมดิ กฎหมายมนษุ ยธรรม และจำกดั ผลกระทบท่ีเกิดขน้ึ จากการละเมดิ

บทเรียนเบอ้ื งต้นภาพลักษณแ์ ละความรู้ความเข้าใจ คู่มือ การจัดกจิ กรรมยุวกาชาด EHLเรอ่ื ง การเรยี นรู้กฎหมายมนษุ ยธรรมระหวา่ งประเทศเพอ่ื เยาวชน มุมมองเกี่ยวกับสงคราม ความพยายามในการจำกัดความเสยี หายที่เกิดจากสงคราม แนวคิดเรื่องศกั ด์ิศรีความเปน็ มนษุ ย์EHL Exploring Humanitarian Law 17 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

บทเรยี นเบื้องต้น ภาพลกั ษณ์และความรคู้ วามเข้าใจ สาระสำคญั • แนวคิดเรือ่ งศักด์ิศรีความเปน็ มนษุ ย์เปน็ เรือ่ งหลกั ซงึ่ จะกลา่ วถงึ ตลอดหลกั สูตร EHL • คำถามบางข้อท่ีเกิดขึ้นในระหว่างการเรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอาจไม่มีคำตอบทถี่ กู ต้องและตายตวั หน่งึ ในจุดประสงค์ของหลักสูตร EHL คอื การระบคุ ำถามเหลา่ นั้นและค้นควา้ รว่ มกัน วัตถุประสงค์ • เพื่อตระหนกั ถงึ คำถามหลกั ท่ีเนน้ เรอ่ื งกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) • เพื่อตระหนกั ว่าคำถามบางคำถามที่เกิดข้นึ จากการเรยี น IHL ไมอ่ าจหาคำตอบได้งา่ ยนัก • เพื่อใหค้ ำจำกดั ความเบอื้ งตน้ ของคำว่า “ศักด์ิศรีความเปน็ มนุษย์” สาระ/เน้อื หา • พืน้ ฐานเกยี่ วกับความรู้ มมุ มอง และการแสดงออกเกยี่ วกับสงคราม ในหลกั สตู ร EHL ใช้คำวา่ • ความพยายามในการจำกัดความเสยี หายท่เี กดิ จากสงคราม • การสนทนาโตต้ อบแบบเปิด “การพพิ าททางอาวธุ ” และ “สงคราม” สลับกนั ไป ระยะเวลาการเตรยี มการจัดกิจกรรม ทบทวนคู่มือการเตรียมการจดั กิจกรรมสำหรบั ครผู ู้สอน EHL วธิ ีท่ี 1 การอภิปราย วธิ ีที่ 2 การระดมความคดิ เห็น วิธีท่ี 3 ปัญหาคาใจ ระยะเวลา 45 นาที กิจกรรมเสนอแนะ 1. อารัมภบทและการเตรยี มการอภปิ ราย (5 นาท)ี บอกนักเรียนว่าการพูดคุยกันในช่วงน้ีเป็นเพียงการสะท้อนความคิดเห็นของผู้ท่ีเพ่ิงจะเร่ิมต้นเรียนIHL ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีผู้ใดเข้าใจเร่ืองนี้ได้เป็นอย่างดี และหากมีผู้ใดรู้สึกอึดอัดหรือไม่สบายใจตอ่ เรื่องท่หี ยิบยกขึน้ มาพูดถึง ก็ควรจะบอกให้รับทราบ บอกกฎเกณฑ์ในการสนทนาดังน้ี • ต้งั ใจฟงั เมอ่ื ผู้อ่ืนพดู และรอใหผ้ อู้ ื่นพูดจนจบก่อนท่ีจะเรมิ่ ตน้ พูด • สามารถโตแ้ ยง้ ได้ หากไมเ่ หน็ ดว้ ยกบั สง่ิ ทผี่ อู้ น่ื พดู แตต่ อ้ งเคารพผอู้ น่ื และความคดิ เหน็ ของผอู้ น่ื 2. การดำเนนิ การอภิปราย (30 นาที) กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมุ่งคุ้มครองชีวิตและศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ ดังน้ันแนวคิดเร่อื งศกั ด์ิศรีความเปน็ มนษุ ย์จงึ เปน็ เรอ่ื งหลักในหลักสตู ร EHL18 EHLค่มู อื การจัดกิจกรรมยวุ กาชาด เร่อื ง การเรยี นรกู้ ฎหมายมนษุ ยธรรมรเะพหวื่อ่าเงยปารวะเชทนศ

เร่ิมต้นด้วยการระดมความเห็นโดยใช้สื่อสำหรับครูผู้สอน “คำถามเบ้ืองต้นในการอภิปราย”เป็นการเปดิ คำถามเกยี่ วกับศกั ด์ิศรคี วามเป็นมนษุ ย์ หลังจากนั้น ดำเนินการอภิปรายต่อไปโดยอาศัยคำถามอ่ืน ๆ กระตุ้นสมาชิกยุวกาชาดให้เหตุผลและหยิบยกตัวอย่างที่เกิดข้ึนจริงในการอภิปราย คำถามที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ในขณะนั้น ให้เขียนไว้ท่มี ุม “ปญั หาคาใจ” ในการเรยี นรู้ EHL สมาชกิ ยวุ กาชาดอาจจะตง้ั คำถามทแ่ี มแ้ ตค่ รกู ไ็ มส่ ามารถตอบได้ ซง่ึ ไมใ่ ชเ่ พราะ ขาดขอ้ มูลแตเ่ ป็นเพราะว่าไม่มีคำตอบทีต่ รงกับคำถาม ดังนนั้ จงึ ควรจดั ทีใ่ ดท่ีหน่ึงเปน็ ที่ จดบนั ทึกคำถามเหลา่ นี้ และเรียกมุมนีว้ า่ “ปญั หาคาใจ” แม้ว่าคำถามเหลา่ นจี้ ะไม่มคี ำตอบ ในทันที แตอ่ าจมคี ำตอบในเวลาต่อมากไ็ ด้ ใหส้ มาชิกยวุ กาชาดคอยย้อนไปทคี่ ำถามในมุม “ปัญหาคาใจ” เป็นครง้ั คราวเพอ่ื ดูวา่ มคี ำถามใดทีต่ อบได้บ้าง3. บทสรปุ สง่ ท้าย ศักดิ์ศรีความเป็นมนษุ ยใ์ นภาวะสงคราม (10 นาที) • ครผู สู้ อนสรปุ การอภปิ รายเพอื่ เชอ่ื มโยงแนวคดิ เรอ่ื งศกั ดศ์ิ รคี วามเปน็ มนษุ ยก์ บั สงคราม โดยถามสมาชกิ ยวุ กาชาดวา่ ผลกระทบตอ่ ศกั ดศิ์ รคี วามเปน็ มนษุ ยข์ องพลเรอื นและทหารในภาวะสงครามมอี ะไรบา้ ง สอื่ การจัดกิจกรรมและแหลง่ เรยี นรู้ สำหรบั ครผู สู้ อน คำถามในการอภิปรายเบอื้ งตน้ การประเมนิ ผล 1. สังเกตการแลกเปลี่ยนความรทู้ ่เี รียนกับผ้อู ื่น 2. สังเกตการสนองตอบตอ่ ความคดิ เหน็ ของผู้อืน่ คำถามในการอภิปรายเบ้ืองตน้ ศักด์ิศรีความเปน็ มนุษย์ • ศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์คืออะไร สมาชิกยุวกาชาดจะให้คำจำกัดความคำว่า “ศักด์ิศรีความเป็นม นุษย์” วา่ อย่างไร สงคราม • สมาชิกยวุ กาชาดนกึ ถึงสิง่ ใดเมอื่ ได้ยินคำวา่ “สงคราม” หรอื “การพิพาททางอาวุธ” • มสี งครามใดบา้ งที่กำลงั เกดิ ขึน้ ในโลกปจั จุบัน ? • สมาชิกยุวกาชาดรู้จกั สงครามใดบ้างทเี่ คยเกิดขนึ้ ในอดตี • สงครามคืออะไร EHL Exploring Humanitarian Law 19 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

วิถีและวธิ ีการทำสงคราม* • ควรมีการห้ามหรือจำกัดการใชอ้ าวธุ ใดในการพิพาททางอาวธุ หรือไม่ เพราะเหตุใด • ควรมีการห้ามวธิ กี ารสู้รบบางอยา่ งในการพพิ าททางอาวุธหรือไม่ เพราะเหตุใด แนวคดิ เรอื่ ง “ศตั รู” • สมาชิกยุวกาชาดจะใหค้ ำจำกัดความคำวา่ “ศัตร”ู ว่าอยา่ งไร • ศตั รูควรไดร้ ับการปกปอ้ งระหวา่ งการเกิดการพพิ าททางอาวุธหรอื ไม่ พลเรอื น • พลเรอื น คืออะไร • พลเรือนควรไดร้ ับการปฏบิ ัตอิ ย่างไรระหว่างการเกดิ การพิพาททางอาวุธ เพราะเหตุใด • พลเรือนเคยถูกโจมตหี รือไม่ • การโจมตีพลเรอื นสามารถกระทำได้หรอื ไม่ อย่างไร • จะเป็นอย่างไรถ้าพลเรือนนำอาหารไปให้ฝา่ ยศัตรู • จะเปน็ อยา่ งไรถ้าพลเรอื นนำอาวุธไปใหฝ้ ่ายศัตรู เดก็ • ทำไมบางครั้งจึงมเี ดก็ ชายและหญิงเขา้ ไปมสี ว่ นร่วมในการสู้รบ • การท่เี ด็ก ๆ เข้าไปมีสว่ นรว่ มในสงครามนัน้ เป็นท่ียอมรับหรอื ไม่ เพราะเหตุใด ทหารที่บาดเจ็บ • สมาชกิ ยวุ กาชาดคิดว่าทหารท่บี าดเจบ็ ควรไดร้ ับการปฏบิ ตั เิ ช่นไร เชลยศกึ • ทหารท่ถี กู จับเป็นเชลยควรได้รบั การปฏบิ ัตอิ ยา่ งไร เพราะเหตใุ ด • จะเปน็ อย่างไรถา้ ทหารคนนัน้ คือคนทท่ี ำรา้ ยคนในครอบครัวของท่าน • การทรมานเชลยศึกเพื่อให้บอกข้อมูลสามารถทำได้หรือไม่ ถ้าหากทำได้ ต้องอยู่ภายใต้ สถานการณใ์ ด * การตรวจสอบว่าเหตุใดวถิ ี (อาวธุ ) และวิธี (วธิ กี าร) บางอยา่ งของการทำสงครามซง่ึ ถกู กำหนดไวไ้ ด้เน้นไปที่หลักการ สองข้อของกฎหมายมนุษยธรรม น่นั คอื 1) การห้ามกระทำการท่ีก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรอื สูญเสียเกนิ ความจำเป็น 2) การห้ามโจมตที ีไ่ มส่ ามารถแยกแยะไดร้ ะหว่างทหารและพลเรือน สืบเนื่องจากกฎสองขอ้ น้ี ทำใหม้ ีการหา้ มการใช้อาวธุ บางประเภท เช่น อาวุธชวี ภาพ อาวธุ เคมี ทนุ่ ระเบิดสงั หาร บคุ คลหรอื มกี ารจำกดั การใช้อาวธุ บางประเภท เชน่ อาวธุ เพลงิ และมีการหา้ ม วิธีการทำสงครามบางอย่าง เชน่ ออกคำสั่ง หรอื ข่มขู่ว่าจะไม่ไวช้ วี ติ ผูใ้ ด หรอื หา้ มใช้วธิ ีการใหพ้ ลเรือนอดอยากหวิ โหย20 EHLคู่มือการจัดกจิ กรรมยุวกาชาด เร่อื ง การเรียนรกู้ ฎหมายมนุษยธรรมรเะพหวอ่ื ่าเงยปารวะเชทนศ

ผู้หญิง • ผหู้ ญงิ มีส่วนร่วมในการสู้รบได้หรอื ไม่ สมาชิกยวุ กาชาดมีความคดิ เหน็ อย่างไร • ควรมีกฎที่ใช้ปกป้องผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโดยเฉพาะหรือไม่ ผู้หญิงต้องการ ความคุ้มครองในดา้ นใดบ้าง คนอ่นื ๆ ทไ่ี ดร้ ับความคมุ้ ครอง • คนอื่น ๆ นอกเหนือจากข้างต้น ต้องการการคุ้มครองเป็นพิเศษในภาวะสงครามหรือไม่ ใครคือ บุคคลเหลา่ นั้น เพราะเหตใุ ด สถานทีท่ ไี่ ด้รบั การคุ้มครองในภาวะสงคราม • มสี ถานที่ทไ่ี มส่ มควรโจมตีหรือไม่ • สถานท่ใี ดบ้าง เพราะเหตใุ ด • การโจมตีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลสามารถกระทำไดห้ รือไม่ • เหตใุ ดจงึ กระทำไดห้ รอื ไมไ่ ด้ (ถ้ากระทำไดต้ อ้ งอย่ภู ายใต้สถานการณใ์ ด) • การโจมตีศาสนสถานสามารถกระทำไดห้ รอื ไม่ • เหตใุ ดจึงกระทำได้หรือไมไ่ ด้ (ถา้ กระทำได้ตอ้ งอยูภ่ ายใต้สถานการณใ์ ด) • การทำลายบา้ นเรือนของประชาชน เมือง หรอื สถานทสี่ าธารณะสามารถกระทำไดห้ รือไม่ • เหตใุ ดจึงกระทำไดห้ รือไมไ่ ด้ (ถ้ากระทำไดต้ ้องอย่ภู ายใตส้ ถานการณ์ใด) กฎหมาย • กฎหมายคืออะไร • กฎหมายมีทีม่ าอย่างไร • สมาชกิ ยุวกาชาดคดิ ว่าควรมีกฎหมายที่จำกดั ความสญู เสียท่ีเกิดจากสงครามหรอื ไม่ • ทำไมจึงควรมีหรอื ไมค่ วรมกี ฎหมายดังกลา่ ว • กฎหมายดงั กล่าวนนั้ มีอยู่หรือไม่ • หากมี กฎหมายเหล่านนั้ มีใจความว่าอยา่ งไร องค์กรเพ่ือมนษุ ยธรรม • สมาชกิ ยุวกาชาดร้จู ักองค์กรทม่ี ีหน้าท่ปี กปอ้ งและชว่ ยเหลือประชาชนในภาวะสงครามหรือไม่ • องค์กรใดบา้ ง องคก์ รเหลา่ นนั้ ให้ความช่วยเหลอื ในดา้ นใด ศักดศิ์ รีความเปน็ มนุษย์ • ในภาวะสงคราม ศักด์ศิ รีความเปน็ มนษุ ย์หมายความวา่ อยา่ งไร EHL Exploring Humanitarian Law 21 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme



บทที่ 1มุมมองเกยี่ วกบั มนุษยธรรม คูม่ อื การจัดกจิ กรรมยุวกาชาด EHLเร่ือง การเรยี นรูก้ ฎหมายมนุษยธรรมระหวา่ งประเทศเพือ่ เยาวชนเรอ่ื งท่ี 1 : ผ้เู ห็นเหตุการณ์สามารถทำอะไรไดบ้ ้าง เรื่องที่ 2 : การมองการกระทำอนั เป็นมนษุ ยธรรมเรือ่ งที่ 3 : ภาวะทข่ี ดั แย้งของผู้เหน็ เหตุการณ์EHL Exploring Humanitarian Law 23 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

เรื่องที่ 1 ผ้เู หน็ เหตุการณ์สามารถทำอะไรไดบ้ า้ ง สาระสำคัญ ผู้เห็นเหตุการณ์คือคนธรรมดาท่ัวไปซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือ ปกป้องชีวิตหรือศักด์ิศรีของผู้อ่ืนใน ยามสงครามหรือในสถานการณ์รุนแรงอ่ืน ๆ เป็นบุคคลซ่ึงเขาอาจจะไม่รู้จัก หรือโดยปกติแล้ว อาจจะไม่ต้อง ให้ความช่วยเหลือหรือปกป้อง ซ่ึงบ่อยครั้งท่ีผู้เห็นเหตุการณ์ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นโดยเส่ียงต่ออันตราย หรือความสูญเสียของตนเอง คนธรรมดาทั่วไปในทุกหนทุกแห่งต่างก็ได้พบเห็นเหตุการณ์ท่ีไร้มนุษยธรรม ทีท่ ำใหต้ ้องปกป้องผอู้ น่ื ที่ตกอยู่ในอันตราย วตั ถปุ ระสงค์ • เพ่ือให้เขา้ ใจผลกระทบท่อี าจเกดิ แก่ผู้เห็นเหตุการณเ์ นื่องจากการกระทำของผู้อน่ื • เพ่ือให้เห็นตัวอย่างการกระทำของผู้เห็นเหตุการณ์ในสถานการณ์ความรุนแรงเพื่อปกป้องชีวิต และศกั ดิ์ศรขี องผ้อู นื่ สาระ/เนื้อหา 1. การกระทำของผเู้ ห็นเหตุการณ์และผลกระทบที่อาจเกิดข้ึน 2. ควนั หลงของสงคราม 3. Step by Step 4. พ่อคา้ ผกู้ ล้าหาญ การเตรียมการจดั กิจกรรม ทบทวนคมู่ ือการเตรยี มการจดั กจิ กรรมสำหรบั ครูผู้สอน EHL วธิ ีที่ 1 การอภปิ ราย วธิ ที ่ี 2 การระดม ความคดิ เหน็ วธิ ที ี่ 5 การแสดงบทบาทสมมตุ ิ วธิ ที ี่ 6 การใชเ้ รอ่ื งราว รปู ภาพ และวดี ทิ ศั น์ วธิ ที ่ี 7 การเขยี น และการสะทอ้ นความคิดเห็น วธิ ีท่ี 9 การแบ่งกล่มุ ยอ่ ย วิธที ี่ 10 การรวบรวมเร่ืองและขา่ วสาร ระยะเวลา แบ่งเปน็ 2 ชว่ ง ๆ ละ 45 นาที24 EHLคมู่ อื การจดั กิจกรรมยุวกาชาด เรอ่ื ง การเรยี นร้กู ฎหมายมนุษยธรรมรเะพหวือ่ ่าเงยปารวะเชทนศ

กจิ กรรมเสนอแนะ ช่วงท่ี 1 ผลกระทบทอ่ี าจเกดิ แกผ่ เู้ หน็ เหตุการณ์เนอื่ งจากการกระทำของผอู้ ื่น • ครูผู้สอนให้สมาชิกยุวกาชาดสนทนาเก่ียวกับคำถามดังน้ี “อะไรทำให้คนทำหรือไม่ทำในส่ิงที่เป็นอนั ตรายเพื่อช่วยเหลอื ผู้อ่ืนซ่งึ ชวี ติ หรือศักดศ์ิ รกี ำลงั ตกอย่ใู นอนั ตราย” • ครูผู้สอนอธิบายความหมายของคำว่า “ผู้เห็นเหตุการณ์” ตามความหมายในหลักสูตร EHL ซ่ึงหมายถึง “ผู้ท่ีรู้เห็นเหตุการณ์ซึ่งชีวิตหรือศักด์ิศรีของผู้อ่ืนกำลังตกอยู่ในอันตราย แต่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณน์ ัน้ ๆ” ผเู้ ห็นเหตุการณ์อาจตดั สินใจเข้าไปแทรกในเหตุการณน์ นั้ • ครผู สู้ อนใหส้ มาชกิ สง่ ตวั แทนมา 10 คน ตอ่ จากนน้ั แจกใบความรู้เรื่องควันหลงของสงครามเพือ่ ใหส้ มาชกิ ยวุ กาชาดอ่านและรว่ มกันแสดงบทบาทสมมตุ ิตามใบงานนัน้ • ครูผู้สอนแจกใบงานเรอื่ ง ควันหลงของสงคราม ให้แกส่ มาชกิ ยุวกาชาดที่เหลือทกุ คนเพ่ือให้สมาชิกยวุ กาชาดทำความเข้าใจคำถาม แลว้ หาคำตอบจากการแสดงบทบาทสมมุติของเพื่อน • สมาชิกยุวกาชาด 10 คน แสดงบทบาทสมมุติ ส่วนสมาชิกยุวกาชาดท่ีเหลือตอบคำถามในใบงานเรื่องควนั หลงของสงคราม • ครผู สู้ อนและสมาชกิ ยวุ กาชาดรว่ มกนั อภปิ รายเกย่ี วกบั คำถามในใบงานเรอื่ งควนั หลงของสงคราม จะมีช่วงเวลาท่ีคนเราตัดสินใจตามมโนธรรม บ่อยครั้งที่เราตัดสินใจแตกต่างไปเพ่ือมนุษยธรรม หรอื ชวี ติ เพยี งเพราะไดร้ บั รู้เรื่องราวสกั เรื่องหน่งึ จากหนงั สอื หรือจากคนสกั คนหนงึ่ - Elie Wiesel, from Carol Rittner, Sondra Myers (eds), The Courage to Care : Rescuers of Jews During the Holocaust • ครูผสู้ อนสรุปโดยอ่านข้อความของ Ervin Staub นักวิชาการทีพ่ ูดถึงอทิ ธิพลของผูเ้ หน็ เหตุการณ์ต่อพฤติกรรมของผูอ้ นื่ ผู้เห็นเหตุการณ์มีอิทธิพลมหาศาล เพราะพวกเขาสามารถกำหนดทิศทางของเหตุการณ์และ ทำใหผ้ ู้อน่ื เกดิ ความร้สู กึ รว่ มหรือไมแ่ ยแสต่อเหตุการณ์ก็ได้ การวิจัยทางด้านจิตวิทยาแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมที่ต่างไปจากกลุ่มเพียงแค่คร้ังเดียวก็มีผล ทำใหแ้ นวโน้มในการปฏิบตั ติ ามกลุม่ ลดนอ้ ยลงได้ ในภาวะฉุกเฉิน ความเป็นไปได้ของการให้ความช่วยเหลือมักจะเพ่ิมมากขึ้นเมื่อผู้เห็น เหตุการณค์ นหนง่ึ บอกว่า มีสถานการณ์วิกฤตหิ รอื บอกใหค้ นอืน่ ลงมือกระทำอะไรสักอย่าง ผเู้ หน็ เหตกุ ารณ์ ปัจเจกชน กลมุ่ ต่างๆ หรอื รฐั บาลอ่ืน กอ็ าจมอี ิทธิพลอยา่ งมากตอ่ พฤติกรรม ของรัฐบาล - Ervin Staub, The Roots of Evil (รากเหง้าของความช่ัวรา้ ย)EHL Exploring Humanitarian Law 25 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

ชว่ งที่ 2 ตัวอย่างของการกระทำของผู้เห็นเหตุการณ์ในสถานการณ์ของความรุนแรงเพื่อปกป้องชวี ิตและศักดิ์ศรขี องผอู้ ื่น • ครูผู้สอนทบทวนความหมายของคำว่า “ผู้เห็นเหตุการณ์” ก็คือคนธรรมดาทั่วไปซ่ึงได้ให้ความชว่ ยเหลอื หรือปกป้องชีวิตหรือศักดิ์ศรีของผู้อ่ืนในยามสงคราม หรือในสถานการณ์รุนแรงอื่น ๆ เป็นบุคคลซึง่ เขาอาจจะไม่รู้จกั หรือโดยปกตแิ ลว้ อาจจะไม่ต้องใหค้ วามช่วยเหลอื หรือปกปอ้ ง • ครูผู้สอนให้สมาชิกยุวกาชาดแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม เท่า ๆ กัน แล้วแจกใบความรู้เร่ืองStep by Step และใบความร้เู รอื่ งพ่อค้าผกู้ ลา้ หาญ ใหก้ ับสมาชิกยุวกาชาดทกุ คน พรอ้ มทั้งใบงานกลุ่มละ 1 แผน่ • ครูผู้สอนให้สมาชิกยุวกาชาดแต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้แล้วร่วมกันระดมความคิดเพ่ือตอบคำถามในใบงานโดยใหต้ ัวแทน 1 คน อ่านดงั ๆ ใหก้ ลมุ่ ฟงั และหยุดตรงท่ีต้องตดั สินใจในเร่ือง เพอ่ื กลุ่มจะได้อภิปรายว่า บคุ คลในเรอ่ื งควรทำอะไรต่อไป • ครูให้สมาชิกยุวกาชาดแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มละ 1-2 คน เพ่ือออกมานำเสนอเนื้อเร่ืองของกลุ่มทตี่ นเองรับผดิ ชอบโดยสงั เขป • ครูให้สมาชิกยุวกาชาดยกตัวอย่างจากประสบการณ์ท่ีโรงเรียน บ้าน หรือจากครอบครัว ซึ่งผู้เห็นเหตกุ ารณไ์ ดก้ ระทำบางสงิ่ บางอย่างเพอ่ื ปกปอ้ งชวี ิตและศกั ด์ศิ รขี องคนบางคนหรอื ไม่ • ครูย้ำให้สมาชิกยุวกาชาดนึกถึงอุปสรรคและความเสี่ยงที่ผู้เห็นเหตุการณ์ต้องฝ่าฟันเพ่ือเอาชนะ และ “หากเราเมินเฉยกับความชวั่ ร้าย กเ็ หมือนผลกระทบท่ีผเู้ ห็นเหตุการณ์ไดร้ บั จากการพยายามปกปอ้ ง กบั เราเปน็ ผู้ร่วมกระทำการนั้นเอง”และชว่ ยเหลือผ้อู ่ืน - Egil Aarvik, ประธานคณะกรรมการรางวัล โนเบลแห่งประเทศนอร์เวย์ กล่าวขณะมอบ รางวัลโนเบลสาขาสนั ติภาพปี ค.ศ. 1986 สอ่ื การจดั กิจกรรมและแหลง่ เรยี นรู้ 1. เอกสาร สำหรบั ครผู ู้สอน สำหรบั สมาชกิ ยวุ กาชาด ช่วงท่ี 1 ช่วงที่ 1 • ใบความรู้ เรื่องควนั หลงของสงคราม • ข้อมูลเพ่มิ เตมิ เร่อื งควันหลงของสงคราม • ใบงาน เรอ่ื งควันหลงของสงคราม ชว่ งที่ 2 ช่วงที่ 2 • ใบความรู้ เรอื่ ง Step by Step • ข้อมลู เพ่ิมเติมเร่ือง Step by Step • ใบงาน เร่ือง Step by Step • ข้อมูลเพ่มิ เติมเรื่องพอ่ คา้ ผ้กู ล้าหาญ • ใบความรู้ เร่ืองพ่อค้าผ้กู ล้าหาญ • ใบงาน เรอ่ื งพ่อค้าผู้กล้าหาญ 2. ข้อมูลจาก www.icrc.org การประเมนิ ผล 1. โดยการสงั เกตพฤติกรรมของสมาชิกยวุ กาชาด 2. จากการตอบคำถามในใบงาน26 EHLค่มู ือการจดั กิจกรรมยวุ กาชาด เรอื่ ง การเรียนร้กู ฎหมายมนษุ ยธรรมรเะพหวือ่ ่าเงยปารวะเชทนศ

เ ร ่อื ง ค ว ัน ห ล ง ขขอ้ มอลู เพงิม่ สเตสมิำงห..ร.คับชค่วรรงูผทาู้ส่ี อม1นความเปน็ มาของเรอ่ื ง ซอลเฟริโนเป็นเมืองเล็ก ๆ ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางตอนเหนือในประเทศอิตาลี แม้ว่าประชาชนท่ีอาศัยอยู่บนแหลมอิตาลีจะมีภาษาและวัฒนธรรมท่ีคล้ายคลึงกัน แต่อิตาลีกลับไม่มีความเป็นปึกแผ่นตลอดช่วงหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ในช่วงก่อนการรวมประเทศอิตาลีในปี ค.ศ. 1861 แหลมดังกล่าวเป็นที่ต้ังของอาณาจักรหลายแห่ง ที่มักถูกปกครองโดยประเทศเพ่ือนบ้านที่แข็งแกร่งกว่า อันได้แก่ฝร่ังเศสและออสเตรีย ประเทศทั้งสองต่างพยายามเข้าครอบครองดินแดนทางเหนือของอิตาลี ประชาชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในเมืองซอลเฟริโนและหมู่บ้านโดยรอบในขณะนั้น มิใช่ชาวฝร่ังเศสและออสเตรียการเกิดปฏิวัติในฝรั่งเศส และการที่ดินแดนทางตอนเหนือของอิตาลีถูกปกครองโดยฝร่ังเศสเป็นเวลาเกือบสองทศวรรษในสมัยของพระเจ้านโปเลียน เป็นสาเหตุให้เกิดการเคลื่อนไหวเพ่ือให้เกิดการรวมเป็นรัฐอิตาลี และเป็นอิสระจากการครอบครองของชาวต่างชาติ การเคล่ือนไหวครั้งนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติหลายครั้งในปี ค.ศ. 1848 การปฏิวัติทุกคร้ังประสบความล้มเหลว กองทัพออสเตรียสามารถเข้ายึดครองดนิ แดนส่วนใหญท่ างตอนเหนอื และตอนกลางของอิตาลี แต่มีพน้ื ทแี่ หง่ หน่ึงบนแหลมอิตาลที ี่สามารถรกั ษาอสิ รภาพไวไ้ ดน้ นั่ กค็ อื อาณาจกั รเพยี ดมอนต์ (ซารด์ เิ นยี ) ซงึ่ ปกครองโดยกษตั รยิ ว์ คิ เตอร์ เอม็ มานเู อลท่ี 2เหตุการณท์ ก่ี อ่ ใหเ้ กิดเร่ืองราว เพียดมอนต์ และฝรั่งเศสได้จัดต้ังกองทหารพันธมิตรขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1850-1859 โดยมีแผนเพื่อผลักดันให้ออสเตรียประกาศสงครามกับเพียดมอนต์ แผนการดังกล่าวประสบความสำเร็จ โดยออสเตรียได้ประกาศสงครามในปี ค.ศ. 1859 ในสงครามท่ีซอลเฟริโน กองทัพฝร่ังเศสและซาร์ดิเนีย ภายใต้การนำของพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ได้เผชิญหน้ากับกองทัพของจักรพรรดิฟรานซิส โจเซฟท่ี 1 แห่งออสเตรียและในวันท่ี 24 มิถุนายน ค.ศ. 1859 ทหารประมาณ 30,000 คนท่ีหิวโหย และอ่อนลา้ จากการเดินเท้ามาหลายวนั ได้สู้รบกนั ตลอดท้ังวันทั้งในเมืองและรอบ ๆ เมืองซอลเฟริโน จนกระทั่งทหารออสเตรียต้องพ่ายแพ้และล่าถอยอย่างสิ้นหวัง พื้นราบท่ีมีการสู้รบได้กลายเป็นพื้นที่เฉอะแฉะด้วยโคลนเพราะพายุฝน และรอยเท้าจากการสู้รบของทหารท่ีเหน่ือยล้า และรอยเท้าม้าจำนวนมาก เช้าวันต่อมา ภาพท่ีพบเห็นคือศพของทหารนับหม่ืนคนนอนตายเกล่ือนกลาดเต็มสมรภูมิ แหล่งข้อมูล : Infoplease (http://www.infoplease.com).รวมท้งั ทหารที่บาดเจ็บกำลงั นอนรอความตาย Funk and Wagnalls (http://www.funkandwagnalls.com). Encyclopedia Britannica (http://www. britannica.com). wikipedia (http://www. SWwikitizpeerdlainad.oragn)d. CthaeroHliinsteorMyooofrtehheeRaedd, DCuronsasn,t’CsaDrrreoalm&:GWraarf, Publishers, Inc., New York, 1998.EHL Exploring Humanitarian Law 27 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

ใบความร.ู้ .. ช่วงท่ี 1 สำหรับสมาชกิ ยุวกาชาด เรือ่ ง ควนั หลงของสงคราม วันที่ 24 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1859 กองทัพของออสเตรียได้ปะทะกับกองทัพของฝรั่งเศสท่ีเมืองซอลเฟริโน ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี หลังจากสู้รบกันเป็นเวลาประมาณ 16 ชั่วโมง มีผู้บาดเจ็บและล้มตายกว่า 36,000 คน ในปี 1859 น้ัน แม้ว่าประสิทธิภาพการทำลายล้างของอาวุธยุทโธปกรณ์จะมากขนึ้ กต็ าม หากทว่าประสิทธิภาพในการดแู ลรักษาทหารทีไ่ ดร้ ับบาดเจ็บหาเป็นเชน่ นัน้ ไม่ หลังจากการรบในเย็นวันนั้น อังรี ดูนังต์ นักธุรกิจหนุ่มชาวสวิสได้เดินทางมาถึงเมืองซอลเฟริโนด้วยกิจธุระท่ีไม่ได้เกี่ยวข้องกับการรบเลย ธุรกิจของเขากำลังจะล้มละลายและเขาเชื่อว่าจักรพรรดิแห่งฝร่ังเศสจะช่วยเขาได้ เม่ือได้ทราบมาว่า สงครามจะนำจักรพรรดิมายังสนามรบแห่งน้ี เขาจึงหวังว่าจะมีโอกาสได้เข้าเฝ้าองคจ์ กั รพรรดิ อยา่ งไรก็ตามสงิ่ ที่เขาประสบกค็ อื ควนั หลงของสงคราม และนคี่ ือส่ิงทีเ่ ขาจำได้ ... เสียงครวญและเสียงหายใจรวยรินด้วยความเจ็บปวดทรมาน ทำลายความเงียบสงัดยามค่ำคืนเสียงหัวใจท่ีเต้นเป็นระยะ ๆ กำลังร้องขอความช่วยเหลือ (...) เม่ือดวงอาทิตย์ข้ึนจากขอบฟ้า (...) ร่างของผู้คนและม้าศึกก็กลาดเกล่ือนไปทั่วสมรภูมิรบ (...) ผู้บาดเจ็บที่น่าเวทนา (...) มีใบหน้าที่ซีดเซียวและเหน่ือยอ่อนหมดกำลัง (...) บางคนท่ีมีบาดแผลเหวอะหวะท่ีเร่ิมจะเกิดการติดเช้ือนั้น ก็แทบจะบ้าคลั่งด้วยความเจ็บปวด ได้แต่ร้องวิงวอนขอให้ช่วยดับความทุกข์ทรมานของพวกเขาด้วย (...) การขาดแคลนน้ำก็เป็นความรู้สึกท่ีทารุณมากข้ึนทุกที ๆ คูน้ำก็แห้งขอดเรื่อย ๆ และทหารท้ังหมดก็มีเพียงน้ำกร่อยท่ีสกปรกไว้ด่มื เท่าน้นั ... ขณะท่ีดูนังต์เดินผ่านเหล่าทหารบาดเจ็บท่ีร้องขอน้ำด่ืมจากเขาน้ัน เขาก็ได้ตระหนักว่าผู้คนได้ให้ความสนใจทหารเหล่านั้นเพียงน้อยนิด เขาได้รวบรวมหญิงชาวบ้านโดยจัดเป็นกลุ่ม ๆ เพ่ือจะนำอาหารและน้ำดื่มไปให้แก่ผู้บาดเจ็บ ช่วยล้างบาดแผลและสิ่งสกปรกตามร่างกาย เพื่อให้ผู้บาดเจ็บเหล่านั้นได้รับการดูแลรักษาต่อไป เขาได้จัดสร้างโรงพยาบาลสนามอย่างง่าย ๆ ข้ึนในโบสถ์ รวบรวมผ้าลินินสำหรับพันแผล ซื้ออาหารและเวชภัณฑ์จากเมืองใกล้เคียง ส่ังให้เด็กผู้ชายเอาถังไปตักน้ำ รวมทั้งหาสมาชิกมาช่วยอาทิ นักท่องเที่ยว นักหนังสือพิมพ์ ขุนนาง ผู้ผลิตช็อคโกแลต ในไม่ช้าผู้คนเหล่าน้ีก็ได้มาช่วยใส่เส้ือผ้าให้ผู้บาดเจ็บ ช่วยแบกน้ำ เขียนจดหมายอำลาถึงครอบครัวของผู้ท่ีกำลังจะถึงแก่กรรม ดูนังต์สังเกตเห็นว่าผู้ที่ให้ความช่วยเหลือทุกคน ลืมนึกถึงเชื้อชาติของผู้ท่ีเขาได้ช่วยเหลือ นั่นก็คือในขณะนั้น ทุกคนเสมือนเปน็ พน่ี อ้ งกนั ดูนังต์บังเอิญได้พบนายสิบโทคนหน่ึงอายุ 20 ปี ซึ่งมีกระสุนฝังในที่สีข้างด้านซ้าย เขารู้ว่าจะต้องตายเพราะพิษบาดแผลในไม่ช้า เขาให้น้ำด่ืมแก่ชายคนนั้น ชายหนุ่มกล่าวขอบคุณด้วยน้ำตาคลอเบ้าและพูดว่า “โอ้ ! ท่านครับ กรุณาเขียนจดหมายไปถึงพ่อของผมให้ปลอบใจแม่ของผมด้วยครับ” ดูนังต์จึงเขียนดหมายไปถึงพ่อแม่ของชายคนน้ัน มันเป็นจดหมายเพียงฉบับเดียวท่ีพ่อแม่ของชายคนน้ันได้รับจากบตุ รชายของเขา28 EHLคู่มอื การจัดกิจกรรมยวุ กาชาด เร่อื ง การเรียนรู้กฎหมายมนษุ ยธรรมรเะพหวอ่ื ่าเงยปารวะเชทนศ

ในความจริงท่ีเกิดขน้ึ นนั้ ธรุ กิจของดูนงั ตล์ ม้ เหลว สิ่งทเ่ี ขาได้พบเห็นในวนั นั้นหันเหทำใหเ้ ขาไม่ได้พบกับจักรพรรดิ แต่เขาก็ได้เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหน่ึงชื่อว่า “ความทรงจำแห่งซอลเฟริโน” ซ่ึงบรรยายถงึ สิง่ ที่เขาเหน็ และไดใ้ ห้ขอ้ เสนองา่ ย ๆ วา่ เป็นไปได้หรือไม่ว่า ในยามสงบและปลอดสงครามน้ันจะได้มีการจัดต้ังสมาคมบรรเทาทุกข์ เพื่อให้การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บในยามสงคราม โดยอาสาสมัครที่มีความสามารถและอุทิศตนทุ่มเททำงานอย่างเตม็ ท่ี หนังสือเล่มนี้ ส่งผลให้เกิดการจัดตั้ง “คณะกรรมการเพ่ือบรรเทาทุกข์ผู้บาดเจ็บในยามสงคราม”ซึ่งต่อมาก็คือหน่วยงานช่ือว่า คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ วิสัยทัศน์ของเขานำไปสู่การพัฒนาของสภากาชาดและสภาเส้ียววงเดอื นแดงทัว่ โลก อีกด้วย ขอ้ มลู จาก : หนงั สอื “ความทรงจำแหง่ ซอลเฟรโิ น” โดย องั รี ดนู งั ต์ คณะกรรมการ กาชาดระหวา่ งประเทศ (ICRC) เจนีวา 1986ผู้เห็นเหตุการณ์มีอิทธิพลมหาศาล พวกเขาสามารถอธิบายความหมายของเหตุการณ์และชักจูงให้เกิดความเห็นอกเหน็ ใจหรอื ความไมแ่ ยแสก็ได้การวิจัยทางด้านจิตวิทยาแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมท่ีเบี่ยงเบนไปจากกลุ่มเพียงแค่คร้ังเดียวกม็ ีผลใหแ้ นวโนม้ ในการปฏบิ ตั ติ ามกลุ่มลดน้อยลงได้ในภาวะฉุกเฉิน การให้ความช่วยเหลือมักจะเพ่ิมมากข้ึนเมื่อผู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่งบอกว่ามีสถานการณ์วิกฤติหรือบอกใหค้ นอืน่ ลงมอื กระทำอะไรสกั อย่างผู้เหน็ เหตุการณ์ ปจั เจกชน กลุ่มต่าง ๆ หรอื รฐั บาลอ่นื กอ็ าจมีอทิ ธพิ ลอยา่ งมากต่อพฤตกิ รรมของรฐั บาลได้ - Ervin Staub, The Roots of Evil, รากเหง้าของความช่วั ร้ายEHL Exploring Humanitarian Law 29 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

ใบงาน... ช่วงท่ี 1 สำหรับสมาชกิ ยุวกาชาด เรอื่ ง ควันหลงของสงครามคำช้แี จง ใหส้ มาชกิ ยวุ กาชาดตอบคำถามดงั ต่อไปน้ี1. เรือ่ งเกิดเม่อื ไร ท่ีไหน .................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................2. ชีวติ และศกั ดศ์ิ รีของคนในเรอื่ งตกอยู่ในอนั ตรายอยา่ งไร .................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................3. อุปสรรคทผ่ี ้ทู ี่จะเขา้ มาช่วยเหลอื ต้องเผชญิ คืออะไร เขาต้องเสยี่ งกับอะไร .................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................4. ใครคือผ้เู หน็ เหตุการณ์และเขาเลือกท่ีจะทำอยา่ งไร และทำไม .................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................5. ผเู้ หน็ เหตุการณต์ ้องพบกับความกดดนั หรอื อันตรายอะไรบา้ ง .................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................6. ผลจากการกระทำของผเู้ หน็ เหตุการณ์คืออะไร ทง้ั ผลท่เี กิดข้ึนในทันที และในภายหลงั .................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................7. ผลท่ีเกิดขึ้นในเวลาน้นั จากการกระทำขององั รี ดูนังต์ คืออะไร .................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................8. ผลในระยะยาวจากการกระทำขององั รี ดนู ังต์ คืออะไร .................................................................................................................................................. ..........................................................................................................................................................................30 EHLค่มู ือการจดั กิจกรรมยุวกาชาด เร่อื ง การเรยี นรกู้ ฎหมายมนุษยธรรมรเะพหว่อื ่าเงยปารวะเชทนศ

ขอ้ มลู เพ่ิมเติม... ชว่ งท่ี 2 เรื่อง “Step byสำSหรบั tคeรผู pสู้ อ”นความเปน็ มาของเรื่อง ประเทศโปแลนด์ สภาพทางภูมิศาสตร์ : ในตอนเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 โปแลนด์มีพ้ืนท่ียึดครองอยู่ประมาณ 375,000 ตารางกิโลเมตร บางส่วนของโปแลนด์ถูกยึดครองโดยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตในปัจจุบัน มีพรมแดนทางด้านเหนือติดกับทะเลบอลติก ทางตะวันออกติดกับรัสเซีย ลิธัวเนีย เบลาลุสและยูเครน ทางด้านใต้ติดกับสโลวาเกียและสาธารณรัฐเชค ทางด้านตะวันตกติดกับเยอรมนี กรุงวอร์ซอร์เป็นเมอื งใหญท่ ่ีสดุ และเปน็ เมืองหลวงของโปแลนด์ ประชากร : โปแลนด์เป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวโปลส์ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นโรมันคาทอลิค ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โปแลนด์มีชนกลุ่มน้อยชาวเยอรมัน รัสเซีย และยูเครน รวมอยู่ด้วยจำนวนหนึ่ง ตามประวัติศาสตร์ชาวยิวซึ่งถูกสังหารและขับไล่จากหลายประเทศในยุโรป ได้รับการต้อนรับให้เข้ามาอยู่ในโปแลนด์ พวกเขาสามารถปฏิบัติศาสนกิจและสร้างโรงเรียนของพวกเขาเองได้ ชาวยิวในโปแลนด์ยังคงมีความสัมพันธ์เป็นพิเศษกับผู้นำของโปแลนด์ น่ันคือเหตุผลหน่ึงว่า ทำไมชุมชนชาวยิวจึงเตบิ โตมากในโปแลนด์ เมื่อสงครามโลกครัง้ ท่ี 2 เรม่ิ ข้นึ มีชาวยิวกวา่ 3,350,000 คน อาศัยอยูใ่ นโปแลนด์แต่เหลอื เพียง 90,000 คนเทา่ นนั้ ท่รี อดชวี ติ หลงั จากสงคราม ประวัติศาสตร์ : เยอรมนั บกุ เขา้ โปแลนดเ์ มอ่ื 1 กนั ยายน ปี ค.ศ. 1939 ซงึ่ นบั เปน็ วนั เรมิ่ ตน้ ของสงครามโลกคร้ังที่ 2 หลังจากน้ันไม่ถึง 3 สัปดาห์ สหภาพโซเวียตก็รุกรานโปแลนด์เช่นกัน ผู้นำคณะรัฐบาลโปแลนด์หนีไปยังลอนดอน ทหารในกองทัพโปแลนด์จำนวนมากอพยพไปอยู่ในประเทศอื่น ๆ ในยุโรปเพ่ือยังคงต่อสู้กับทหารเยอรมันต่อไป ขบวนการใต้ดินของโปแลนด์ถูกก่อตั้งข้ึนเพ่ือต่อสู้กับเยอรมันโดยเฉพาะอย่างย่ิงจะปฏิบัติการในกรุงวอร์ซอร์ ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1941 กองทัพนาซีเยอรมันบุกสหภาพโซเวียต รวมทั้งส่วนหน่ึงของโปแลนด์ในเขตยึดครองของกองทัพโซเวียต ในปลายเดือนนั้น ทั่วท้ังโปแลนด์กต็ กอย่ใู นกำมอื ของเยอรมัน เหตุการณ์นำเข้าสู่เน้ือเรื่อง : เยอรมันต้ังค่ายกักกันจำนวนมากในโปแลนด์ ใช้เพ่ือดำเนินการกำจัดชาวยิวในโปแลนด์ รวมท้ังชาวโปลส์ที่ต่อต้านการครอบครองของเยอรมัน และชาวยิวจากประเทศอ่ืน ท่ีถูกนำมายังโปแลนด์ ชาวยิวในวอร์ซอร์ 450,000 คน ถูกจับมารวมกัน ในเขตแบ่งจากตัวเมืองซ่ึงตามประวัติศาสตร์รู้จักกันในช่ือว่า วอร์ซอร์ เกรตโต้ ก่อนท่ีจะถูกส่งไปเข้าค่ายกักกัน เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1944 ขบวนการโปแลนด์ใต้ดินได้เปลี่ยนยุทธวิธี และเร่ิมจับอาวุธเข้าต่อสู้กับ พวกเยอรมันอย่างเปิดเผย วันท่ี 2 ตุลาคม ผู้นำนักสู้ชาวโปแลนด์ยอมแพ้ ต่อเยอรมัน หลังจากการยอมแพ้ เยอรมันได้ย้ายประชาชนเกือบท้ังหมด ของวอรซ์ อรไ์ ปยงั ค่ายในเยอรมนั หรอื บงั คบั ให้ไปอย่เู มอื งอืน่ ในโปแลนด์ แหล่งขอ้ มลู : Infoplease (http://www.infoplease.com). Funk and Wagnalls (http://www.funkandwagnalls.com). Encyclopedia Britannica (http://www. britannica.com). Wikipedia (http://www. wikipedia.org).EHL Exploring Humanitarian Law 31 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

ใบความร.ู้ .. ชว่ งท่ี 2 สำหรบั สมาชกิ ยวุ กาชาด เรือ่ ง Step by Step เมื่อเยอรมนีปกครองโปแลนด์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้กำหนดนโยบายในการประหารและจับ ชาวยิวมาเป็นทาส ใครก็ตามในโปแลนด์ที่ถูกจับได้ว่าให้ท่ีหลบซ่อนแก่ชาวยิวจะถูกประหารชีวิต บางคน ถึงกับถูกแขวนคอประจานในที่สาธารณะเพ่ือมิให้ผู้อ่ืนเอาเป็นเยี่ยงอย่าง ถึงกระนั้นก็ตาม บางคนก็ยัง เลือกที่จะช่วยเหลือชาวยิว ดังเช่น สเตฟา คนงานในโรงงานชาวคาทอลิค ซึ่งกล้าเสี่ยงจนถึงท่ีสุดเพ่ือช่วยเหลือ คนแปลกหนา้ ชาวยิว ในปี ค.ศ. 1942 ลามินสก้ี นายตำรวจผู้เข้าร่วมขบวนการใต้ดินโปแลนด์ ได้ขอให้ นายเจอเรซี่ สามีของนางสเตฟา ให้ที่หลบซ่อนแก่ นางอีรีน่า หญิงชาวยิวสักสองสามวัน ซ่ึงทั้งคู่ก็ได้ให้ที่หลบซ่อน กับหล่อนในที่พักของพวกเขาเอง ซ่ึงเป็นห้องเดี่ยวในแฟลตแห่งหนึ่ง สองสามวันน้ันได้กลายเป็น หน่ึงสัปดาห์ และจากสัปดาห์ก็กลายเป็นเดือน หลังจากหลายเดือนผ่านไป นายเจอเรซี่ได้ไล่นางอีรีน่า ให้ไปเสยี แตน่ างสเตฟายนื ยันวา่ ผหู้ ญิงคนนจี้ ะตอ้ งยังซอ่ นอย่ใู นบ้านของพวกเขา นายเจอเรซอ่ี อกจากบ้าน ด้วยความโกรธ และสาบานวา่ จะไปบอกพวกนาซีวา่ นางสเตฟาไดใ้ ห้ทซี่ อ่ นแก่ชาวยวิ สเตฟาทำอยา่ งไร ฉันได้เรียก ลามินสกี้ มาคุยกับสามีฉัน เขาบอกนายเจอเรซี่สามีฉัน ว่า “นี่ปืนพกของผม ถ้าขืน คุณพูดเรื่องสเตฟา และอีรีน่า คุณจะไม่ได้อยู่ดูโลกนานเกินห้านาที กระสุนนัดแรกจะเจาะฝังหัวคุณแน่ ๆ” หลงั จากน้นั สามฉี นั กไ็ ม่ได้กลับมาบา้ นอกี เลย นนั่ คอื จดุ จบของชวี ติ คขู่ องฉัน แตค่ ณุ ตำรวจลามนิ สกี้ กย็ งั คอย ชว่ ยเหลือเราอยู่ สเตฟารู้ถึงอนั ตรายต่อตัวเธอหรือไม่ แน่นอนฉันรู้ดี ทุก ๆ คนรู้ดีว่าอะไรจะเกิดข้ึนกับคนท่ีช่วยคนยิว นางอีรีน่า เคยพูดว่า “ฉันเป็น ภาระให้กับคุณมากเหลือเกิน ฉันจะไปล่ะ” แต่ฉันบอกเธอว่า “เธออยู่ท่ีนี่มาจนกระท่ังถึงตอนนี้แล้วและ เราก็ทำสำเร็จ ดังน้ัน ทุกอย่างอาจจะสำเร็จตลอดรอดฝั่งก็ได้ ทำไมเธอจึงยอมแพ้ซะก่อนล่ะ” ฉันรู้ดีว่า ฉันไมส่ ามารถปล่อยเธอไปได้ ในปี ค.ศ. 1944 ประชาชนในกรุงวอร์ซอร์ได้ลุกข้ึนต่อต้านการปกครองของเยอรมนี แต่ไม่สำเร็จ พวกเยอรมันจึงแก้เผ็ดด้วยการย้ายประชาชนออกจากตัวเมือง ยกเว้นบรรดาแม่ที่มีลูกเล็ก ๆ สำหรับอีรีน่า การอพยพคร้ังน้ีหมายถึงความตาย สเตฟารู้ถึงอันตรายนี้และตัดสินใจอย่างยากลำบาก เธอร้องไห้ เมือ่ เล่าต่อถึงเร่อื งราวที่เหลอื 32 EHLคูม่ อื การจดั กิจกรรมยุวกาชาด เร่ือง การเรยี นรูก้ ฎหมายมนษุ ยธรรมรเะพหวอื่ า่ เงยปารวะเชทนศ

เม่ือถึงเวลาที่เราจะต้องอพยพ ฉันบอกอีรีน่าให้อุ้มลูกของฉันไว้ ฉันบอกว่า “ฉันพยายามท่ีจะอยู่ข้าง ๆ เธอ แต่หากเราพลัดหลงกัน เธอช่วยดูแลลูกชายของฉันด้วย ดูแลให้เหมือนเป็นลูกของเธอเอง”เม่ือทหารเยอรมันเห็นเธอมีเด็กเล็ก เขาจึงบอกให้เธอกลับไปท่ีบ้าน และก็โชคดีท่ีเขาอนุญาตให้ฉันก ลับไปด้วย สเตฟากล้าเสยี่ งกับการเสยี ลกู เชน่ นไี้ ดอ้ ยา่ งไร ฉันรู้ว่า อีรีน่า จะดูแลลูกชายของฉันเป็นอย่างดี ยิ่งกว่าน้ันไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับฉันฉนั อาจจะตอ้ งตายดว้ ยก็ได้ แหลง่ ขอ้ มลู : Nechama Tec, When Light Pierced the Darkness, Oxford University, New York, 1986EHL Exploring Humanitarian Law 33 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

ใบงาน... ชว่ งที่ 2 สำหรับสมาชิกยุวกาชาด เรอ่ื ง Step by Step คำชแ้ี จง ให้นกั เรยี นตอบคำถามดงั ต่อไปน้ี 1. เรอื่ งเกดิ เม่อื ไร ท่ไี หน .................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................. 2. ชีวติ และศักด์ิศรีของคนในเรอ่ื งตกอยูใ่ นอันตรายอย่างไร .................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................. 3. อุปสรรคท่ผี ู้ทีจ่ ะเขา้ มาช่วยเหลอื ตอ้ งเผชญิ คืออะไร เขาต้องเสี่ยงกับอะไร .................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................. 4. ใครคือผู้เหน็ เหตกุ ารณแ์ ละเขาเลอื กที่จะทำอยา่ งไร และทำไม .................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................. 5. ผเู้ ห็นเหตุการณ์ตอ้ งพบกบั ความกดดันหรอื อันตรายอะไรบ้าง .................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................. 6. ผลจากการกระทำของผเู้ หน็ เหตกุ ารณค์ ืออะไร ท้งั ผลทีเ่ กดิ ข้นึ ในทันที และในภายหลงั .................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................. 7. แต่ละคนมีสว่ นชว่ ยในการท่ีนางอีรีนา่ รอดชีวิตมาได้อยา่ งไร .................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................34 EHLคูม่ อื การจัดกจิ กรรมยวุ กาชาด เร่อื ง การเรยี นรกู้ ฎหมายมนุษยธรรมรเะพหว่อื ่าเงยปารวะเชทนศ

ข้อมลู เพ่ิมเตมิ ... ชว่ งที่ 2 สำหรบั ครผู ้สู อน เรื่อง พ่อคา้ ผกู้ ล้าหาญ ค วามเปน็ มาของเร่อื ง ประเทศไทยต้ังอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงและยงั เปน็ เมอื งท่มี ีประชากรหนาแน่นมากทส่ี ุดในประเทศอกี ด้วย ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เศรษฐกิจของประเทศไทยขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรมเป็นหลัก แต่ในระยะหลังได้เปลี่ยนมาเป็นการอุตสาหกรรมมากขึ้น ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจทำให้ประเทศโดยรวมมีความมั่งคั่งข้ึน แต่ก็ได้ก่อให้เกิดปัญหาตามมาด้วยเช่นกัน ปัญหาด้านส่ิงแวดล้อมและการไม่มีท่ีดินทำกิน ส่งผลให้ชาวไทยจำนวนมากอพยพจากชนบทเข้ามาในเมือง ถึงแม้ว่าหลาย ๆ คนจะได้รับการว่าจ้างให้เข้าทำงาน แต่ก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยประสบกับปัญหาการว่างงาน ซ่ึงปัจจัยเหล่าน้ีส่งผลให้ปัญหาอาชญากรรมและการไร้ที่อยู่อาศัยเพ่ิมข้ึน นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องเผชิญปัญหาที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มวยั รุ่นกวนเมืองในกรุงเทพฯ และแถบชานเมืองอกี ด้วย แหล่งข้อมูล : Barbara Lcitcht LePoer (ed.), Thailand : A Country Study, Federal Research Division, Library of Congress, Washington DC, September 1987 (http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/thtoc.html#th0046). Infoplease (http://www.infoplease.com). Funk and Wagnalls (http://www.funkandwagnalls.com).EHL Exploring Humanitarian Law 35 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

ใบความร.ู้ .. ช่วงที่ 2 สำหรับสมาชิกยวุ กาชาด เรือ่ ง พ่อคา้ ผกู้ ล้าหาญ ณ มุมถนนสายหน่ึงในกรุงเทพมหานคร ท่ีซ่ึงมีการต่อสู้ทะเลาะวิวาทกันของกลุ่มวัยรุ่นบ่อยคร้ัง วันหน่ึงกลุ่มนักเรียนช่างกลโรงเรียนหน่ึงกำลังว่ิงไล่นักเรียนชายต่างโรงเรียนมาตามถนน นักเรียนชาย ท่ีน่าสงสารวิ่งหนีเอาชีวิตรอด และแล้วเขาก็วิ่งมาจนมุมตรงร้านค้าเล็ก ๆ แห่งหนึ่งตรงมุมถนน กลุ่มนักเรียน ช่างกลท่วี ่ิงไล่เขามาก็คือลูกคา้ ประจำของรา้ นน้ี เจ้าของร้านเห็นว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น เมื่อนักเรียนชายเคราะห์ร้ายเคาะประตูเรียก เขาก็รีบ เปิดประตูหลังร้านอย่างรวดเร็วเพื่อให้นักเรียนเคราะห์ร้ายท่ีถูกตามล่าเข้ามาในร้านของเขาแล้วให้หลบ อยู่ในรา้ น พ่อค้าผู้กล้าหาญไม่ได้เสียเวลาคิดเลยว่าจะเกิดอะไรข้ึน ถ้ากลุ่มนักเรียนช่างกลตามเข้ามาในร้าน ของเขา และพบว่าเขาซ่อนนักเรียนชายคนน้ันไว้ เขาไม่ได้คิดว่าธุรกิจของเขาจะเป็นอย่างไรถ้านักเรียน เกเรกล่มุ นั้นรู้ว่าเขาไดใ้ ห้ความชว่ ยเหลอื แก่เหยอ่ื ผเู้ คราะห์ร้ายคนนั้น แหลง่ ข้อมลู : ครูอจั ฉรา เพม่ิ พลู โรงเรียนสายปญั ญา ในพระบรมราชนิ ูปถัมภ์ กรงุ เทพฯ ภาพประกอบ : นางสาวธัญชนก ทักศิริ นกั เรียนโรงเรียนสายปญั ญาฯ กรงุ เทพฯ จะมีช่วงเวลาของการตัดสินใจตามมโนธรรม โดยปกติแล้ว อาจจะจากเร่ืองสักเร่ืองหน่ึง จากหนังสือหรือจากคนสักคนหน่ึงก็เพียงพอแล้ว ที่จะทำให้คนเราตัดสินใจแตกต่างไป โดยเลือกมนุษยธรรมหรอื เพื่อชีวติ - Elie Wiesel, from Carol Rittner,Sondra Myers (eds), The Courage to Care : Rescuers of Jews During the Holocaust36 EHLคูม่ อื การจัดกิจกรรมยุวกาชาด เรอื่ ง การเรียนรูก้ ฎหมายมนุษยธรรมรเะพหวอื่ ่าเงยปารวะเชทนศ

ใบงาน... ช่วงท่ี 2 สำหรับสมาชกิ ยุวกาชาด เรอ่ื ง พ่อคา้ ผ้กู ล้าหาญคำชแ้ี จง ให้นกั เรยี นตอบคำถามดงั ต่อไปนี้1. เร่อื งเกิดเม่อื ไร ทีไ่ หน .................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................2. ชวี ิตและศักดิศ์ รีของคนในเรอ่ื งตกอยู่ในอันตรายอยา่ งไร .................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................3. อุปสรรคทีผ่ ้ทู ่จี ะเขา้ มาช่วยเหลือต้องเผชญิ คอื อะไร เขาตอ้ งเส่ยี งกับอะไร .................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................4. ใครคอื ผู้เห็นเหตกุ ารณแ์ ละเขาเลือกที่จะทำอยา่ งไร และทำไม .................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................5. ผู้เห็นเหตกุ ารณต์ อ้ งพบกบั ความกดดันหรอื อันตรายอะไรบ้าง .................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................6. ผลจากการกระทำของผ้เู ห็นเหตกุ ารณค์ อื อะไร ทั้งผลท่ีเกิดขนึ้ ในทนั ที และในภายหลงั .................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................7. มที างเลอื กอน่ื ๆ อกี บา้ งไหมทพี่ อ่ คา้ อาจจะทำได้ เมอื่ เหน็ เดก็ ชายเคราะหร์ า้ ยทป่ี ระตรู า้ นของเขา .................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................8. จะเกดิ อะไรข้ึน หากพ่อคา้ เลอื กทำเชน่ น้ัน .................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................EHL Exploring Humanitarian Law 37 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

เร่อื งท่ี 2 การมองการกระทำอันเปน็ มนษุ ยธรรม สาระสำคัญ การกระทำอันเป็นมนุษยธรรม เป็นการกระทำเพ่ือคุ้มครองผู้ท่ีชีวิตกำลังตกอยู่ในอันตราย หรือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ถูกเหยียดหยาม โดยเฉพาะคนท่ีปกติแล้วเราอาจไม่ให้ความช่วยเหลือหรือปกป้อง การกระทำดงั กล่าวมักเก่ียวข้องกับความเสยี่ งและความสญู เสียสว่ นตวั ของผกู้ ระทำ การกระทำอันเป็นมนุษยธรรมอาจเป็นเร่ืองยุ่งยากในบริบทของสังคมบางแห่ง โดยเฉพาะ เม่ือเก่ยี วขอ้ งกบั คนท่ถี ูกมองว่าเปน็ สว่ นหนึง่ ของกลมุ่ ศัตรู วัตถุประสงค์ • เพอ่ื ใหเ้ ขา้ ใจแนวคิดของการกระทำอันเป็นมนษุ ยธรรม • เพื่อให้เข้าใจว่าความกดดันทางสังคมมีอิทธิพลต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ท่ีชีวิต หรือศักด์ิศรี ความเป็นมนษุ ยก์ ำลงั ตกอยูใ่ นความเส่ียง • เพือ่ ใหส้ ามารถบ่งชีก้ ารกระทำอนั เปน็ มนษุ ยธรรมจากขา่ ว หรอื เหตกุ ารณใ์ นชีวิตประจำวันได้ สาระ/เน้อื หา 1. การกระทำอนั เปน็ มนษุ ยธรรม 2. ความกดดันทางสังคม 3. เรือ่ งเลา่ จากสงคราม การเตรยี มการจัดกิจกรรม ทบทวนคู่มอื การเตรยี มการจัดกจิ กรรมสำหรบั ครผู สู้ อน EHL วธิ ีท่ี 1 การอภิปราย วธิ ีท่ี 7 การเขยี นและการสะท้อนความคดิ วิธที ี่ 10 การรวบรวมเรอ่ื งและข่าวสาร ระยะเวลา 45 นาที กจิ กรรมเสนอแนะ แนวคิดของการกระทำอนั เป็นมนษุ ยธรรม • สมาชิกยุวกาชาดร่วมกันทบทวนบทเรียน เรื่องผู้เห็นเหตุการณ์สามารถทำอะไรได้บ้าง และ เชือ่ มโยงกบั ลกั ษณะการกระทำอนั เป็นมนุษยธรรม ใน 3 ประเดน็ 1. การปกปอ้ งชีวติ หรอื ศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์ 2. การช่วยเหลือคนทีเ่ ราอาจไม่รูจ้ ัก หรือโดยปกติแลว้ อาจจะไมใ่ ห้ความชว่ ยเหลอื หรอื ปกป้อง38 EHLคมู่ ือการจัดกิจกรรมยวุ กาชาด เรอ่ื ง การเรยี นรูก้ ฎหมายมนุษยธรรมรเะพหวือ่ ่าเงยปารวะเชทนศ

3. โดยมากจะเก่ียวข้องกับความเส่ยี งและความสูญเสยี ส่วนตัว • ครูผู้สอนนำเสนอ ผังความกดดันทางสังคม และอธิบายว่า การกระทำอันเป็นมนุษยธรรมมักเกิดขึ้น โดยขัดกับความกดดันทางสังคม ซ่ึงเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนหรือคัดค้านการกระทำอันเป็นมนษุ ยธรรม ความกดดันทางสงั คมคดั คา้ นการให้การปกป้องคมุ้ ครอง สนับสนุนการให้การปกปอ้ งค้มุ ครอง โดยยกตวั อยา่ งเรอ่ื งใดเรอ่ื งหนึง่ จากบทเรยี นเรอื่ งท่ี 1 แลว้ ถามคำถามตอ่ ไปนี้ : สมาชิกยุวกาชาดจะนำการกระทำอันเป็นมนุษยธรรมไว้ในด้าน คัดค้านให้การปกป้องคุ้มครอง หรือ สนับสนนุ ให้การปกปอ้ งคุ้มครอง พรอ้ มให้เหตุผล : บริบทของสังคม มีอิทธิพลต่อการให้ความคุ้มครองชีวิตและศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อ่ืน อย่างไร : ทำไมผเู้ ห็นเหตกุ ารณ์คนอ่ืนจึงไมใ่ ห้ความชว่ ยเหลอื ก่อน : การกระทำของผู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่งไปเปลี่ยนผู้เห็นเหตุการณ์คนอื่น ๆ ให้เต็มใจช่วยเหลือได้ อยา่ งไร : ทำไมจึงคาดว่าผู้เห็นเหตุการณ์ในเร่ืองจะไม่ให้ความช่วยเหลือ มีความกดดันทางสังคมใดที่ทำให้ ผู้เห็นเหตุการณไ์ ม่ยอมให้ความช่วยเหลือ พจิ ารณาการกระทำอันเป็นมนษุ ยธรรมในสงคราม • ครูผู้สอนแจกใบความรู้เร่ือง เรื่องเล่าจากสงคราม แล้วเลือกสถานการณ์ 1 สถานการณ์เพื่อใหส้ มาชิกยุวกาชาดรว่ มกันอธิบายสน้ั ๆ ถึงการกระทำอันเป็นมนษุ ยธรรมโดยบอกว่า : เกิดอะไรข้นึ : จะนำการกระทำอนั เปน็ มนษุ ยธรรม ไว้ในด้านคัดค้านให้การปกป้อง “ข้าพเจา้ อ่านหนงั สือเล่มหนึง่ เกย่ี วกบั สการเ์ ล็ต คุม้ ครอง หรอื สนบั สนนุ ใหก้ ารปกปอ้ ง พมิ เพอรเ์ นล ในการปฏิวตั ขิ องฝร่งั เศส ซ่ึงไดช้ ว่ ย คมุ้ ครอง พรอ้ มใหเ้ หตุผล ชีวิตคนทถ่ี ูกตดั สิน ชชี้ ะตาว่าจะต้องตาย ขา้ พเจ้าคิดวา่ บุคลกิ ของเขามสี ว่ นทำให้ คำถามทคี่ วรถาม เขาทำอยา่ งนัน้ ไดง้ ่ายขน้ึ ” : มคี วามแตกตา่ งหรอื ไม่ หากผู้ท่ีตกอยู่ - ผเู้ รยี นชาวอเมริกนั คนหนงึ่ ในอันตรายเป็นคนทีน่ กั เรียนไม่รจู้ ัก หรอื คดิ วา่ เปน็ ศตั รู • แบ่งกลุ่มสมาชิกยุวกาชาดเพ่ือวิเคราะห์เหตุการณ์ในใบความรู้เร่ืองเล่าจากสงครามจากสถานการณ์ทีเ่ หลอื โดยใชค้ ำถามและขน้ั ตอนข้างต้น • ให้สมาชิกยุวกาชาดส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอผลการวิเคราะห์การกระทำอันเป็นมนษุ ยธรรมและความกดดันทางสังคมEHL Exploring Humanitarian Law 39 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

โดยใช้คำถามวา่ : ความเสยี่ งอยา่ งไรบา้ งอาจเกดิ ขนึ้ ได้ เชน่ ดา้ นอารมณ์ สงั คม จติ ใจ รา่ งกาย ใหส้ มาชกิ ยวุ กาชาดเลือกการกระทำอันเป็นมนุษยธรรม 1 อย่าง และร่วมกันบอกถึงปัญหาความยุ่งยาก และความเส่ียงท่ีเกีย่ วข้องกับการกระทำน้ัน • สมาชิกยุวกาชาดและครูผู้สอนร่วมกันอภิปรายลักษณะของการกระทำอันเป็นมนุษยธรรมข้อที่ 3 ซึ่งมักเกี่ยวกับความเสี่ยงและความสูญเสียส่วนตัว ช่วยให้สมาชกิ ยวุ กาชาดเข้าใจว่าความแตกต่างทางดา้ นบคุ ลิกภาพ รวมทง้ั สภาพแวดลอ้ มของแต่ละบคุ คล มีอิทธิพลต่อการตอบสนองด้านมนุษยธรรม “ฉันไมเ่ ข้าใจจริง ๆ วา่ ทำไมเพ่ือนบา้ นและ เพื่อน ๆ ของเรา จงึ ไมช่ ่วยเรา พวกเขาบอกวา่ ถูกห้ามไม่ให้ทำเช่นน้ันฉันยอมรับสิ่งท่ีเกิดขึ้นไม่ได้จริงๆ เพราะว่าฉันคงไม่ทำอย่างท่ีพวก เขาทำแน่ อยา่ งนอ้ ยฉันคงถามทหารกอ่ นว่า เกิดอะไรข้ึน และพยายามหยุดพวกเขา” - เหยื่อสงครามคนหน่ึง • สรปุ ทบทวนลักษณะการกระทำอนั เปน็ มนุษยธรรม 3 ประการ 1. ปกป้องชีวิตหรอื ศกั ด์ิศรคี วามเป็นมนษุ ย์ 2. เป็นการช่วยเหลือคนที่เราอาจไม่รู้จัก หรอื โดยปกติแล้วอาจจะไมใ่ หค้ วามชว่ ยเหลอื หรือปกปอ้ ง 3. มกั จะเกี่ยวขอ้ งกบั ความเสย่ี งและความสูญเสียส่วนตวั *** ครูผู้สอนสามารถเตรียมการแสดงเพ่ือสื่อให้เห็นลักษณะการกระทำอันเป็นมนุษยธรรมและค วามกดดนั ทางสงั คมหากมีเวลาเพียงพอ ส่อื การจัดกจิ กรรมและแหล่งเรยี นรู้ สำหรบั สมาชกิ ยวุ กาชาด 1. ใบความรู้ เร่อื งควันหลงของสงครามและเรอื่ ง พ่อค้าผู้กล้าหาญ (จากบทที่ 1 เรื่องท่ี 1) 2. ใบความรู้ เรอ่ื งเลา่ จากสงคราม 3. ขอ้ มูลจาก www.icrc.org การประเมินผล 1. สงั เกตการใหค้ วามร่วมมือในการทำกจิ กรรม 2. ผลงานจากการปฏิบัติ40 EHLคู่มือการจัดกจิ กรรมยวุ กาชาด เร่อื ง การเรยี นรกู้ ฎหมายมนุษยธรรมรเะพหว่ือา่ เงยปารวะเชทนศ

ใบความรู้ สำหรับสมาชกิ ยุวกาชาด เรื่อง เรอ่ื งเล่าจากสงครามผูเ้ กีย่ วขอ้ งกับสงครามเลา่ ถงึ การกระทำอนั เปน็ มนุษยธรรมทไ่ี ด้พบเห็นหรือได้ยนิ ได้ฟงั มา 1. “เมื่อศัตรูจับสามีของฉันไปขังไว้ในค่ายกักกัน ทหารฝ่ายศัตรูคนหน่ึงได้แอบนำอาหารและเสื้อผ้ามาให้สามีของฉันโดยไม่ให้คนอื่นรู้ เขาไม่สามารถจะขัดขวางการจับกุมคุมขังได้ แต่เขาก็พยายามช่วยเท่าทจ่ี ะช่วยได้ ฉันอยากพบทหารคนนเี้ หลอื เกิน” - ผู้หญงิ ทส่ี ามหี ายไปในสงคราม 2. “ในหมู่บ้านมีบ้านหลังหน่ึงที่ครอบครัวของศัตรูมาอาศัยหลบอยู่ ฉันภูมิใจที่พ่อของฉันปกป้องบ้านหลังน้ัน ชาวบ้านคนอ่ืน ๆ ต้องการฆ่าพวกเขาหรือไม่ก็ขับไล่พวกเขาไปเสียให้พ้น แต่พ่อกลับปกปอ้ งพวกเขา” - ผูห้ ญิงคนหน่งึ 3. “ฉันได้เข้าไปช่วยคนคนหนึ่งที่บ้านถูกระเบิดทำลาย เขาเป็นคนคนเดียวกับที่ได้ฆ่าคนในครอบครัวของฉัน คุณธรรมบังคับให้ฉันต้องช่วยเขา เขาไม่รู้ว่าฉันรู้ว่าเขาฆ่าญาติของฉัน ถึงแม้เขาจะฆ่าญาตขิ องฉันแตฉ่ นั กช็ ่วยเขา” - ผู้นำทางศาสนา 4. “เราจับนักโทษและพลเรือนฝ่ายตรงข้ามได้ เราปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างมีมนุษยธรรม เพราะพวกเขาอายุมากแล้ว เราปล่อยพวกเขาไปไม่ได้แต่เราก็ปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างดี เราไม่ใช่ผู้ตัดสินชะตากรรมของพวกเขา แตพ่ วกเขาจะปลอดภัยและได้รับการคุ้มครองตลอดเวลาที่อยู่กบั เรา” - ทหาร 5. “เราจับกุมทหารบาดเจ็บของฝ่ายศัตรูได้หลายคน พวกเขามีส่วนเก่ียวข้องกับการตายของคนของเรา แตเ่ รากพ็ าพวกเขาไปหาหมอและดแู ลพวกเขา ศาสนาไมไ่ ดส้ อนให้เราทำรา้ ยหรือฆา่ เชลยศกึ ” - อดตี ทหาร 6. “มีคนขับรถของกระบวนขนส่งของหน่วยงานด้านมนุษยธรรมอยู่มากมาย คนเหล่าน้ีไม่มีทางจะร้ไู ดเ้ ลยวา่ ตนเองจะไดม้ ีโอกาสกลบั มาหรอื ไม่ พวกเขาเสีย่ งชีวิตตวั เองเพอ่ื คนทีพ่ วกเขาไม่รู้จกั ” - นักหนังสือพิมพ์EHL Exploring Humanitarian Law 41 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

7. “ตอนนั้นฉันอายุ 14 และกำลังทำหน้าท่ีท่ีจุดตรวจ มีรถคันหน่ึงเข้ามาจอด พอฉันเริ่มตรวจบัตรของผู้โดยสารก็พบว่าหนึ่งในนั้นเป็นมุสลิม ฉันเลยรีบคืนบัตรให้เขาแล้วก็บอกให้คนขับรถออกรถได้ฉันรู้ดีว่าถ้าฉันรายงานว่าเขาเป็นมุสลิม เขาจะต้องพบจุดจบแน่ ๆ ฉันทำเช่นนั้นเพราะฉันเติบโตมาในครอบครวั ทยี่ ึดม่นั คุณธรรมความดี” - อดีตทหารหญิง 8. “ฉันเห็นทหารฝ่ายเรา 5 นาย เดินนำพลเรือน 500 คน จากหมู่บ้านไปที่คุมขัง ฉันรู้ว่าเขาไม่ได้รับคำสั่งให้ทำเช่นนั้น ฉันพยายามหยุดพวกเขาแต่พวกเขาไม่ฟังและยังพร้อมที่จะยิงฉัน ฉันจึงไปรายงานผบู้ งั คบั บญั ชา และเขาก็ให้ปนื ฉนั มา ฉันจงึ สามารถหยดุ พวกนั้นได้ พลเรือนเหล่าน้นั จงึ ยังคงมชี ีวติ อยู่” - ทหาร 9. “ฉันพบผู้หญิงคนหนึ่งกำลังหลบหนีพร้อมกับลูกของเธอ เธอมีหม้อเปล่า ๆ ไม่มีข้าว มันแย่มากเลย ฉันถามว่าเธอจะกลับไปที่เขตสู้รบทำไม เธอบอกว่าต้องกลับไปท่ีหมู่บ้าน ฉันบอกว่า เธอไม่มีข้าวติดหม้อเลยนะ เอาข้าวปันส่วนของฉันไปคร่ึงหน่ึงก็แล้วกัน แล้วฉันก็แบ่งข้าวให้เธอครึ่งหนึ่งเธอขอบคุณและพูดประโยคท่ฉี ันไมม่ ีวันลมื เธอบอกว่า ไมเ่ คยเจอทหารดี ๆ แบบฉนั มาก่อน” - ทหาร 10. “ทหารที่รบแพ้พากันหลบหนีผ่านเมืองของเรา ถึงแม้จะเป็นฝ่ายตรงข้าม แต่ชาวเมืองก็ช่วยเหลือพวกเขาทุกอย่างตามท่ีต้องการ พวกเขารู้สึกเป็นหนี้บุญคุณท่ีเราพาพวกเขาไปส่งถึงชายแดนพวกเขาข้ามพรมแดนไปได้ มีเจ้าหน้าที่ของสถานีโทรทัศน์มาบันทึกภาพ ทหารเหล่านี้ก็ได้รับความช่วยเหลือทง้ั ยาและสงิ่ อนื่ ๆ” - แมห่ ม้ายสงคราม 11. “ลูกชายของฉันขังคนกลุ่มหนึ่งไว้ จับมาเจ็ดหรือแปดคนที่รบแพ้ ลูกชายฉันบอกว่าจะซ้อมคนเหล่าน้เี พราะตัวเขาเองกส็ ูญเสียพ่อไป แต่วันรุง่ ขน้ึ เขากลบั มาและบอกวา่ เขาปลอ่ ยพวกนั้นไปหมดแลว้ ” - แม่ แหลง่ ข้อมลู : ดดั แปลงมาจากผลการวจิ ัยของโครงการ “People on war” ของ ICRC42 EHLค่มู อื การจดั กิจกรรมยวุ กาชาด เรือ่ ง การเรียนรูก้ ฎหมายมนษุ ยธรรมรเะพหวือ่ า่ เงยปารวะเชทนศ

เรื่องท่ี 3 ภาวะที่ขัดแย้งของผเู้ หน็ เหตุการณ์ สาระสำคัญ การกระทำอันเป็นมนุษยธรรมน้ัน คนต้องเผชิญกับภาวะที่ขัดแย้ง (Dilemma) ในการเลือกว่าควรใหก้ ารคุม้ ครองชีวติ หรอื ศกั ดศิ์ รคี วามเปน็ มนุษย์ดีหรอื ไม่ เม่ือการกระทำนน้ั อาจสง่ ผลกระทบต่อตนเองหรือต่อคนที่กำลังพยายามให้การปกป้องชีวิตไม่ว่าจะเลือกทางใดก็อาจก่อปัญหาความยุ่งยากและย าวนานตามมาใหแ้ กท่ กุ คนท่ีเกยี่ วข้อง วตั ถุประสงค์ • เพื่อให้เห็นถึงภาวะที่ยุ่งยากของผู้เห็นเหตุการณ์ เมื่อพบเห็นคนกำลังถูกคุกคามชีวิตและศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ • เพ่ือเรยี นรู้ถงึ วธิ วี ิเคราะหภ์ าวะท่ขี ดั แยง้ สาระ/เนอ้ื หา 1. แนวคิดของภาวะทีข่ ัดแยง้ ของเหตุการณ์ 2. การสำรวจความยงุ่ ยากของภาวะที่ขัดแยง้ ทางมนุษยธรรม การเตรียมการจดั กจิ กรรม ทบทวนคมู่ ือการเตรยี มการจดั กจิ กรรมสำหรับครูผสู้ อน EHL วิธที ี่ 4 การใช้ภาวะท่ีขัดแย้ง วธิ ที ี่ 7 การเขียนและการสะท้อนความคดิ เหน็ ระยะเวลา 45 นาที กิจกรรมเสนอแนะ รูจ้ ักแนวคดิ ของภาวะทีข่ ดั แยง้ ของเหตุการณ์ • ครูผู้สอนควรใช้คำพูดที่คุ้นเคยเพื่ออธิบายแนวคิดของภาวะที่ขัดแย้งของผู้เห็นเหตุการณ์ คำพูดหรือสำนวนไทยท่ีพบได้ในสังคม ตัวอย่าง เช่น “โดนท้ังข้ึนท้ังล่อง” “หนีเสือปะจระเข้” “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” ซึ่งเป็นคำพูดหรือสำนวนไทยที่แสดงถึงภาวะที่ขัดแย้งของผู้เห็นเหตุการณ์ ครูอาจเพิ่มสิ่งทมี่ าจากวัฒนธรรมท้องถน่ิ ของสมาชิกยวุ กาชาดด้วย • กระตุ้นให้สมาชิกยุวกาชาดบอกว่าความหมายของภาวะท่ีขัดแย้งของผู้เห็นเหตุการณ์คืออะไรโดยใหส้ มาชิกยวุ กาชาดยกตวั อย่างและอธบิ ายว่าทำไมจงึ เปน็ ภาวะท่ขี ัดแยง้ ของผู้เห็นเหตกุ ารณ์EHL Exploring Humanitarian Law 43 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

• ครูผสู้ อนอธบิ ายถงึ ลกั ษณะเด่นของภาวะท่ีขอ้ แย้งของผ้เู หน็ เหตกุ ารณ์ คือ - สถานการณ์ท่ีต้องเลือกระหว่างว่าจะทำหรือไม่ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง (รวมทั้งเลือกว่าไม่ทำ อะไรเลย) - ทุกทางเลือกมีทั้งผลดีและผลเสีย • ครูผู้สอนช้ีให้เห็นว่าในภาวะท่ีขัดแย้ง การทำดีท่ีสุดในสถานการณ์ที่ร้าย ๆ ก็อาจยากที่จะ เกดิ ขนึ้ เพราะว่า - ทกุ ทางเลือกดเู หมอื นกอ่ ใหเ้ กิดปญั หา - ไม่แนว่ ่าผลของการกระทำของทุกทางเลือกจะออกมาเปน็ เช่นไร • ครูผู้สอนเลือกเหตุการณ์จากเรื่องใดเรื่องหนึ่งในบทเรียน EHL หรือเรื่องเก่ียวกับภาวะท่ีขัดแย้ง ของผู้เห็นเหตุการณ์ท่ีสมาชิกยุวกาชาดคิดข้ึนมาเอง แล้วให้สมาชิกยุวกาชาดนำเสนอการกระทำที่สนอง ต่อภาวะทขี่ ัดแยง้ นน้ั โดยใชค้ ำถามต่อไปนี้ - อะไรคือเหตผุ ลทีส่ มาชกิ ยวุ กาชาดตอ้ งการให้เกิดขนึ้ จากการกระทำนน้ั - อาจมีผลอยา่ งอืน่ อีกหรือไม่ (สำรวจผลกระทบเป็นลกู โซท่ ีอ่ าจเกดิ ขนึ้ ได้จากการกระทำน้นั ) - อะไรคือสิง่ ท่ไี มร่ ู้ หรือไม่คาดคดิ ว่าจะเกดิ ข้ึนในสถานการณน์ นั้ - มีใครเก่ียวข้องอีกบ้าง พวกเขาจะได้รับผลกระทบจากการกระทำน้ันอย่างไร พวกเขาจะคิด อย่างไรกับการกระทำน้ัน ขอ้ คิดเหน็ ของคนอนื่ ๆ มผี ลอย่างไรต่อการกระทำ สำรวจความย่งุ ยากของภาวะท่ขี ดั แยง้ ทางมนุษยธรรม • ครูแบ่งสมาชิกยุวกาชาดออกเป็น 5 กลุ่มเท่า ๆ กัน (ใหส้ มาชิกยุวกาชาดเลือกประธาน กรรมการ และเลขานุการกลุ่ม) จากนั้นแต่ละกลุ่มอ่านภาวะที่ขัดแย้งของผู้เห็นเหตุการณ์ในใบความรู้เร่ืองเขาแค่หา เร่ืองสนุกๆ ทำโดยครูให้แต่ละกลุ่มวิเคราะห์เหตุการณ์ที่แสดงถึงภาวะท่ีขัดแย้งของบุคคลในเรื่อง จากนั้นนำเสนอภาวะที่ขัดแยง้ ของเวนดี้ ซึ่งอยใู่ นเรอ่ื ง โดยสมาชิกยุวกาชาดสมมตุ ติ นเองเป็นเวนดก้ี ำลังน่ัง รออยู่หน้าห้องขัง สมาชิกยุวกาชาดเขียนความคิดของตนเองโดยใช้กระบวนการกลุ่มนำเสนอผลการ วเิ คราะหใ์ นเรื่องตา่ ง ๆ ดังตอ่ ไปนี้ - ถ้าสมาชกิ ยวุ กาชาดเปน็ เวนดี้ จะตดั สนิ ใจทำอะไร - ผลท่ีเกดิ จากการกระทำนนั้ คืออะไร • ให้สมาชิกยุวกาชาดวิเคราะห์ภาวะท่ีขัดแย้งของเหตุการณ์ที่เวนด้ีประสบ บทบาทของเวนดี้ ในฐานะทเ่ี ปน็ ผเู้ หน็ เหตกุ ารณ์ และสงิ่ ทเ่ี วนดอ้ี าจจะแสดงพฤตกิ รรมออกมา ขน้ั ตอนตอ่ ไปสมาชกิ ยวุ กาชาด แตล่ ะกลุ่มเร่มิ อภิปรายโดยเน้นสถานการณ์ของนักโทษ ตามความเห็นของเวนดี้ ครูผสู้ อนควรใช้คำถามตอ่ ไปนี้ • เวนดี้ และผ้คู มุ คดิ วา่ ศักดศ์ิ รีความเปน็ มนษุ ย์ของนักโทษ คืออะไร 44 EHLคมู่ อื การจัดกจิ กรรมยวุ กาชาด เรอ่ื ง การเรยี นร้กู ฎหมายมนษุ ยธรรมรเะพหวื่อ่าเงยปารวะเชทนศ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook