Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore กระทู้ สว. "หมออำพล" เล่มที่ 1

กระทู้ สว. "หมออำพล" เล่มที่ 1

Description: เป็นการตั้งกระทู้ถามเพื่อติดตามตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบาย และการดำเนินงานด้านต่างๆของรัฐบาล เป็นหน้าที่และอำนาจสำคัญประการหนึ่งของฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา) ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

ทั้งนี้ตั้งแต่พฤษภาคม 2562 นับถึงเดือนกันยายน 2563 ซึ่งเป็นห้วงเวลาเปิดสมัยประชุม 3 ครั้ง นพ.อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา ได้ตั้งกระทู้ถามไปรวมทั้งสิ้นรวมทั้งสิ้น 12 กระทู้ มีการขอหารือประธานวุฒิสภาก่อนเข้าระเบียบวาระการประชุม 2 ครั้ง และเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ ในคณะ กรรมาธิการ 2 คณะ ทำรายงานที่เกี่ยวข้องเสนอต่อวุฒิสภา จำนวน 3 ฉบับ

Keywords: อำพล จินดาวัฒนะ

Search

Read the Text Version

| 50 ตํารวจแห่งชาติ ในรอบปี 2562 กองบังคับการปราบปรามการกระทำ ความผิดเก่ยี วกับการคมุ้ ครองผูบ้ ริโภค จับกมุ จำนวน 16 คดี อย่างไรก็ตาม การจัดการปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายจะเน้นแผนงานป้องกันและ ปราบปรามในเชงิ รุกมากขน้ึ โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ในชอ่ งทางสอ่ื ออนไลน์ตา่ ง ๆ

| 51

| 52

| 53 “กระทู้หาบเรแ่ ผงลอย” บ่ายวันน้ี (จันทร์ 6 มค.63) ถามกระทู้เป็นปฐมฤกษ์เบิกฟ้าปีใหม่ 2563 ของวุฒิสภา เป็นการถามต่อนายกรัฐมนตรี เร่ือง “การดำเนนิ นโยบายหาบเรแ่ ผงลอยในกทม.และปรมิ ณฑล” ซึง่ รฐั บาลได้กำหนดเปน็ นโยบายเร่งด่วน ข้อที่ 1 ไว้ว่า “.... ทบทวนรูปแบบและมาตรฐานหาบเร่แผงลอยในกทม.และปริมณฑล เพื่อยงั คงเอกลักษณ์ของเมืองหลวงแหง่ รา้ นอาหารรมิ ถนน..” นายกรัฐมนตรีมอบหมาย รมว.มหาดไทย (พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา) มา ตอบกระทู้แทน ไดฝ้ ากทิง้ ท้าย 2 เรื่อง คือ หนึ่ง การจัดถนนคนเดินท่ี กทม.กำลังทำ ให้พิจารณาพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่ แผงลอยเดิมที่ได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบในพื้นที่ต่างๆได้เข้ามาขาย ในสัดส่วนที่สูง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของคนเหล่านั้น ไม่ไช่เน้นแต่ผู้ค้า ท่มี โี อกาสเขา้ ถึงเท่านน้ั สอง รัฐบาลควรกำหนดให้มีคณะกรรมการ “ประชารัฐ” ให้ประชาชนผู้มี ส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมคิดร่วมทำกับภาครัฐ ทั้งกลไกระดับ นโยบาย และระดบั พ้ืนทด่ี ว้ ย อนึ่ง ขณะนี้ กมธ.แก้ยากจนลดเหลื่อมล้ำ กำลังศึกษาเรื่องนี้ทั้งระบบและ จัดทำรายงานเพื่อเสนอที่ประชุมวุฒิสภาในเร็วๆนี้ เพื่อพิจารณาเสนอต่อ รัฐบาลตอ่ ไป บนั ทกึ สว.(121) 6 มกราคม 2563

| 54 หนงั สอื กระทู้ถาม การดำเนนิ การตามนโยบายหาบเรแ่ ผงลอยในกรงุ เทพมหานคร และปริมณฑล

| 55 บนั ทกึ ถาม-ตอบ (โดยเจา้ หนา้ ทวี่ ฒุ สิ ภา) กระทู้ถาม เรื่อง การดำเนินการตามนโยบายหาบเร่แผงลอยใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นายอำพล จินดาวัฒนะ เป็นผู้ตั้งถาม ถามนายกรัฐมนตรี (เป็นเรื่องที่เลื่อนมาจากการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 8 (สมยั สามญั ประจำปีครั้งทส่ี อง) วนั จนั ทรท์ ่ี 16 ธันวาคม 2562) ด้วยปัญหาหาบเร่แผงลอยเป็นปัญหาที่มีมายาวนานและส่งผลกระทบใน หลายมิติ เช่น มิติด้านชีวิต วัฒนธรรม วิถีชุมชน มิติด้านเศรษฐกิจ การ ประกอบอาชีพ และมิติเรื่องสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ ความสะอาด ความปลอดภัย ความสวยงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการใช้พื้นที่ สาธารณะของเมืองร่วมกนั อีกทั้งการค้าขายแบบหาบเร่แผงลอยเป็นกิจการของประชาชนฐานรากถึงชน ชั้นกลาง นับรวมเป็นแสนคน สร้างตัวเลขทางเศรษฐกิจมากกว่า 200 ล้าน บาท รวมทั้งสร้างชื่อเสียงเกี่ยวกับการมีแหล่งอาหารที่ราคาไม่สูงและสะดวก ต่อการซื้อขาย ซึ่งนับเป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ ไทย ตลอดจนคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา นโยบายเร่งดว่ นขอ้ ท่ี 1 การแก้ไขปัญหาการดำรงชีวิตของประชาชน ระบุว่า \"...ทบทวนรูปแบบและ มาตรฐานการหาบเร่แผงลอยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเพื่อยังคง เอกลักษณ์ของเมืองหลวงแห่งร้านอาหารริมถนน...\" ก็แสดงถึงการให้ ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาดงั กล่าว จึงขอเรียนถามว่า รัฐบาลได้ดำเนินการตามคำแถลงนโยบายเร่งด่วนข้อที่ 1 ไปแล้วเพียงใด มีผลการดำเนินงานอย่างไร และจากนี้ไปมีแผนและ มาตรการในการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวในขั้นต่อไปอย่างไร และ อยากเสนอแนะเพิ่มเติมในเร่ืองโครงการถนนคนเดิน (Walking Street) ให้มี การกำหนดสดั สว่ นผคู้ ้าที่ไดร้ ับผลกระทบจากการยกเลิกจุดผอ่ นผันให้มากขึน้ และในเรื่องนโยบายประชารัฐ เสนอแนะให้มีการกำหนดนโยบายประชารัฐ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในระดับท้องที่ เพื่อให้ประชาชนผู้ค้า ผู้สัญจรในท้องท่ี นัน้ ไดม้ ีสว่ นร่วมในการแก้ไขปัญหาดว้ ย

| 56 พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับ มอบหมายใหต้ อบกระทู้ถามได้ตอบช้แี จงวา่ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหาหาบเร่ แผงลอย เนื่องจากเป็นปัญหาที่ ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง และได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม นโยบายที่ได้แถลงไว้ โดยกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อบรรเทาผลกระทบ ที่เกิดกับประชาชนท้ังผู้คา้ และผู้ใช้ทางสญั จร ภายใต้กฎหมายและระเบยี บที่มี อยู่ อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นไม่อาจนำปัญหาหาบเร่แผงลอยไปเชื่อมโยงกับ การค้าขายในรูปแบบถนนคนเดิน (Walking Street) หรือร้าน Street food ที่มีหน้าร้านค้าเป็นหลักแหล่งได้ เพราะร้านเหล่านั้นไม่ได้กีดขวางทางสัญจร แต่อาจต้องมีการตรวจสอบในด้านสุขอนามัยในการประกอบกิจการ จึงต้อง แยกร้านคา้ ประเภทน้ีออกจากรา้ นประเภทหาบเรแ่ ผงลอยเสยี กอ่ น ทั้งนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลได้มอบหมายให้ กทม.ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ จัดระเบียบเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ปัจจุบันการได้มีการยกเลิกจุด ผ่อนผันไปแล้วจำนวนหลายร้อยจุด แต่ก็ยังมีบางจุดที่ กทม. ได้ดำเนินการ ด้วยมาตรการผ่อนปรน โดยตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ค้าและ ประชาชน และคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นที่ตั้ง จึงยอมให้ผู้ค้ายัง สามารถค้าขายในถนนสายรองและซอยยอ่ ยในทุกเขตได้ นอกจากนี้ เมื่อยกเลิกจุดผ่อนผันแล้ว ก็มีการดำเนินการจัดหาสถานที่ คา้ ขายใหใ้ หม่ แตก่ ็พบปญั หาบางแหง่ เม่ือย้ายไปขายแลว้ ไม่สามารถขายได้ เพราะผู้ซื้อไม่ได้ตามไปซื้อ ทำให้ผู้ค้ามีรายได้ลดลง ซึ่งปัญหานี้ก็ต้องมีการ ประเมินและแก้ปัญหาต่อไป ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ได้รับ ผลกระทบจากการดำเนินการตามนโยบายจัดระเบียบสังคมดังกล่าว จึงได้มี การกำหนดโครงการถนนคนเดิน (Walking Street) ขึ้นมา โดยมีเป้าหมาย นำร่องในพื้นที่ กทม. รวมทั้งหมด 10 จุด และได้มอบหมายให้ กทม. สำรวจพื้นที่ที่มีความเหมาะสมให้ผู้ค้าได้มีพื้นที่ค้าขาย โดยจะดำเนินการ เริ่มต้นในพื้นที่ซึ่งมีความพร้อมจำนวน 8 แห่ง และอนาคตจะมีการออก ประกาศวางหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน สำหรับผู้ที่จะมา ค้าขาย เช่น คุณสมบัติของผู้ค้า ประเภทอาหารที่ขาย เรื่องสุขอนามัย เป็น

| 57 ต้น ส่วนข้อเสนอแนะที่จะให้ประชาชนในท้องถิ่นนั้นได้แสดงความเห็นและมี ส่วนร่วม ขอรับไวแ้ ละคงดำเนนิ การอยา่ งแน่นอน

| 58 บทสรปุ ผ้บู รหิ าร รายงานการศกึ ษาเรือ่ ง ขอ้ เสนอเชงิ นโยบาย การบรหิ ารจัดการหาบเรแ่ ผงลอยใน กทม. เพอ่ื สง่ เสรมิ เศรษฐกจิ ฐานราก ชีวติ และชมุ ชน กมธ.แกป้ ญั หาความยากจน ลดความเหลอ่ื มลำ้ ฯ วฒุ ิสภา มกราคม 2563 คณะอนุกรรมาธกิ ารศกึ ษา เสนอแนะ การแก้ปญั หาความยากจน และลดความเหล่ือมล้ำดา้ นสังคม ทม่ี นี ายแพทย์อำพล จินดาวฒั นะ เปน็ ประธาน ไดศ้ กึ ษาและจดั ทำรายงานฉบับน้ี ซงึ่ วุฒิสภาเหน็ ชอบให้ส่งรฐั บาลเพอื่ พจิ ารณาเมือ่ เดอื นมกราคม 2563 (เปน็ งานทีเ่ กย่ี วข้องกับกระทู้ถามน้)ี

| 59

| 60

| 61

| 62

| 63

| 64

| 65

| 66

| 67 ผลการดำเนนิ การจากรฐั บาลทรี่ ายงานต่อวฒุ สิ ภา

| 68

| 69

| 70

| 71

| 72 ส่อื สารภาวะวกิ ฤต เช้าน้ี (จ. 17 กพ. 63) ตงั้ กระทู้ด้วยวาจา (กระทูส้ ด) ถามนายกรัฐมนตรี เรื่อง “มาตรการการสื่อสารในภาวะวิกฤต และการกำกับสื่อมวลชนและส่ือ ออนไลน์ในภาวะวิกฤต สืบเน่ืองจากเหตุร้ายที่จ.นครราชสีมา เมือ่ 8-9 กพ. 63” ถาม 3 ขอ้ (ภาพโน้ตลายมอื ) โดยอ้างอิงมาตรฐานที่สากลเขาใชก้ นั ข้อที่ 1 คำตอบ ฟังได้ว่ารัฐบาลยังไม่มีระบบและกลไกการสื่อสารในภาวะ วกิ ฤตทิ ่ีฉับไว ชดั เจนดีพอ รฐั มนตรรี ับประเดน็ นไ้ี ปพัฒนา ขอ้ ท่ี 2 คำตอบก็ยงั ไมช่ ดั เจน ข้อที่ 3 รัฐมนตรีให้ข้อมูลว่ากำลังจะเสนอกฎหมายควบคุมกำกับสื่อออนไลน์ ใหด้ ียิง่ ขึ้น เนือ่ งจากเวลาจำกัด คำถามมีหลายข้อ มปี ระเด็นซับซอ้ น เกี่ยวข้องกับหลาย หน่วยงาน จึงจะทำเป็นกระทู้หนังสือ ถามรัฐบาลให้ตอบในราชกิจจาฯ (เนื่องจากใกล้ปิดสมัยประชุมแลว้ ) เพื่อให้รัฐบาลมีเวลามากพอในการทำงาน พัฒนาระบบต่างๆท่เี กีย่ วขอ้ งให้เปน็ รปู ธรรม และตอบคำถามใหช้ ัดเจนกว่าน้ี เพื่อใช้เหตุการณ์วิกฤติร้ายแรงครั้งนี้ เป็นโอกาสในการยกระดับการสื่อสาร ของรัฐ และการสอ่ื สารในสังคมใหเ้ ปน็ รูปธรรม ให้สงั คม “ได้กำไร” กลับมาบา้ งกย็ งั ดี บนั ทกึ สว. (151) 17 กพ. 2563

| 73

| 74 บันทกึ ถาม-ตอบโดยเจา้ หน้าที่วุฒสิ ภา กระทู้ถาม เร่ือง มาตรการสื่อสารและการกำกบั สอื่ มวลชน การสือ่ สารออนไลน์ในภาวะวิกฤตสิ ืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่นครราชสีมา นายอำพล จนิ ดาวัฒนะ เป็นผู้ตง้ั ถาม ถามนายกรัฐมนตรี จากเหตุการณ์ร้ายแรงที่จังหวัดนครราชสีมา ถือได้ว่าเป็นภาวะการณ์วิกฤติ ซึ่งได้มีการนำเสนอข่าวผ่านช่องทางต่าง ๆ นั้น ขอเรียนถามว่า รัฐบาลมี นโยบายและมาตรการการจัดการเกี่ยวกับสื่อในภาวะวิกฤติอย่างไร รวมทั้งมี มาตรการในการกำกับสื่อมวลชนให้อยู่ในมาตรฐานอย่างไร นอกจากนี้ มี มาตรการและแนวทางกำกบั สอื่ สงั คมออนไลน์อย่างไร อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยในต่างประเทศ พบว่าการสื่อสารในภาวะวิกฤต ต้องคำนึงถึง การไม่มีการกระตุ้นภาวะอารมณ์ในการรายงานข่าว ไม่พาด หัวข่าวให้ใหญ่ ไม่เร่งสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่รายงานข่าวซ้ำไปซ้ำมา ไม่ นำเสนอขั้นตอนรายละเอียดอันจะนำไปสู่การเลียนแบบ นำเสนอรูปภาพ วีดีโอให้น้อยที่สุด และระมัดระวังการนำเสนอที่ให้ผู้กระทำผิดเป็นวีรบุรุษ นอกจากนี้ เห็นว่าจากกรณีที่เกิดเหตุวิกฤติควรมีการทบทวนแนวทางการ ปฏิบัติงานของสื่อให้รอบคอบ ส่วนการกำกับสื่อมวลชนรวมถึงสื่อออนไลน์ ต้องมีการวางมาตรการกำกบั ดูแล โดยใชเ้ หตุการณ์นเ้ี ปน็ บทเรียนสำคัญและ กำหนดมาตรฐานให้ชัดเจน ทั้งนี้ สังคมต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการรับข้อมูลจาก สื่อต่าง ๆ ใหร้ อบคอบและอยา่ งถกู ต้อง นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม ผู้ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ถามตอบชี้แจงว่า ที่ผ่านมามีการ บริหารจัดการสื่อได้อย่างดี อาทิ กรณีเด็กติดถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จงั หวดั เชยี งราย มกี ารต้งั ศนู ย์สำหรับสื่อมวลชน รวมทง้ั มีการกำหนดผู้แถลง ข่าวอย่างชัดเจน และมีการแถลงข่าวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ การควบคุมและกำหนดพื้นที่สื่อมีความยากลำบาก เนื่องจากมีสื่อหลาย รูปแบบ และมีการเข้าถึงได้โดยง่าย ซึ่งสื่อจะมีทั้งสื่อหลักที่ได้รับอนุญาตจาก หน่วยงาน กสทช. และสื่อที่ใช้ช่องทางของเอกชน อาทิ Facebook Twitter

| 75 โดยรัฐบาลได้ดำเนินการประสานงาน และขอความร่วมมือกับสื่อช่องทาง ดังกล่าวจากต่างประเทศ ในกรณีไม่นำเสนอข้อมูลภาพและเนื้อหาที่ไม่ เหมาะสม และก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี นอกจากนี้ รัฐบาลได้ พยายามดำเนินการจัดระบบระเบียบของสื่อ และสื่อออนไลน์ให้เหมาะสม มี การศึกษาเพื่อแก้ไขกฎหมาย โดยเพิ่มโทษและเพิ่มอำนาจให้ไม่ละเมิดสิทธิ อันเป็นการปกป้องคุ้มครองประชาชนอย่างแท้จริง ประกอบกับเพื่อแก้ไข ปัญหาเด็กและเยาวชนเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้อย่างเสรีในทุกรูปแบบ การใช้ ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมของสื่อต่าง ๆ รวมถึงการขายสินค้าที่ไม่เหมาะสมกับ เดก็ และเยาวชนผ่านสือ่ ออนไลน์

| 76

| 77 ตอบดี -กระทู้กลมุ่ ชาตพิ นั ธุ์ เชา้ วันน้ี (จ. 20 กค. 63) ประชมุ วุฒิสภา ถามกระท้ตู ่อนายกรัฐมนตรี เรื่อง “ความคืบหน้าการจัดทำกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและอนุรักษ์กลุ่ม ชาติพันธุ์” ซึ่งเป็นกฎหมายปฏิรูป ตามหมวด16 ของ รัฐธรรมนูญ2560, สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ, แผนปฏิรูปประเทศด้านสังคม และยังระบุอยู่ ในนโยบายรัฐบาลทีแ่ ถลงตอ่ รัฐสภาเมอื่ เดือนกรกฎาคม ปีกลายด้วย นายอิทธิพล คุณปลื้ม รมว.กระทรวงวัฒนธรรม ได้รับมอบหมายให้มาตอบ กระท้แู ทนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรที ำการบ้านมาดีมาก ตอบกระทู้ไดช้ ดั เจนดี สรุปได้ว่า (1) เร่ืองนี้ รัฐบาลและท่านนายกรัฐมนตรใี ห้ความสำคัญ (2) กลุ่มชาติพันธุใ์ นประเทศไทยมีประมาณ 6 ล้านคนเศษ (ร้อยละ 10 ของ ประชากร) ทผ่ี า่ นมามกี ารสง่ เสริมดา้ นต่างๆตลอดมา (3) คณะกรรมการปฏิรูปด้านสังคม ที่มีนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา เป็น ประธาน ก็ผลักดันเรื่องนี้ต่อเนื่อง ได้กำหนดตัวชี้ว่า กฎหมายฉบับนี้ต้อง สำเร็จไม่เกินปี 2565 (4) เรื่องนี้มีศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในกำกับกระทรวงวัฒนธรรม เป็น เจา้ ภาพ มกี ารยกรา่ งกรอบกฎหมายและสาระสำคญั แลว้ (5) ร่างกฎหมายจะมี 6 หมวด หนึง่ ทั่วไป นิยาม สิทธิ หนา้ ทตี่ ่างๆ สอง การส่งเสริมฯ เรื่องข้อมูล ประวัติศาสตร์ ขอบเขตพื้นท่ีคุ้มครอง สิทธิ ทางวัฒนธรรม ภมู ิปญั ญา ธรรมนูญคุ้มครองกล่มุ ชาตพิ นั ธ์ุ เป็นต้น สาม การจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมฯ และกลไกพัฒนา เช่น สมัชชากลุ่ม ชาตพิ ันธ์ุ เปน็ ต้น ส่ี การเพิกถอนพน้ื ทีท่ บั ซอ้ น พ้ืนท่ีสง่ เสรมิ อนุรกั ษ์ เปน็ ต้น ห้า กองทุนส่งเสรมิ ฯ หก บทกำหนดโทษ

| 78 (6) การรับฟังความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องไปแล้วหลายครั้ง จะมีการรับฟังเสร็จ สน้ิ ในเดือนตค.63 (7) จะยกร่างตัวกฎหมายใหเ้ สรจ็ ภายในปี 2563 (8) จะทำประชาพิจารณ์ร่างกฎหมายให้เสร็จภายใน 3 เดือน (มค.-มีค.64) แล้วปรับปรุงร่างกฎหมาย เสนอ ครม.เข้ากฤษฎีกา โดยจะเสนอต่อรัฐสภา ได้ภายในปี2564 นั่นคือคำชี้แจงและคำมั่นสัญญาของรัฐบาล ต่อสาธารณะที่ต้องบันทึกไว้ เพื่อตดิ ตามกันต่อไป ตอนท้าย ได้ฝากรัฐบาลให้พิจารณาปรับชื่อร่างกฎหมายฉบับนี้จาก .. กฎหมายส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์.. เป็น ..กฎหมายส่งเสรมิ และค้มุ ครองกล่มุ ชาตพิ ันธ.ุ์ .. เนื่องจาก เนื้อหาสาระของ กฎหมายนี้ เป็นการคุ้มครอง ม า ก ก ว ่ า ก า ร อ น ุ ร ั ก ษ ์ ซ่ึ ง สอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญ มาตรา 70 ทใ่ี ชค้ ำว่า ...รัฐพงึ ส่งเสริมและให้ความคุ้มครอง กลุ่มชาติพันธุ.์ .. ท่านรัฐมนตรีอิทธิพลฯ รับว่า จะนำไปพิจารณาปรับตามท่ี เสนอ ขอบคุณรัฐบาล ติดตามต่อไป ครับ บนั ทกึ สว. (234) 20 กค. 2563

| 79 หนงั สือกระทถู้ าม

| 80 บนั ทึกถาม-ตอบโดยเจา้ หนา้ ที่วฒุ สิ ภา กระทู้ถาม เรื่อง การจัดทำกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีชีวิต กลมุ่ ชาตพิ นั ธุ์ (นายอำพล จนิ ดาวัฒนะ เปน็ ผตู้ ั้งถาม ถามนายกรฐั มนตร)ี ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 43 บัญญัติว่า บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิอนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดีงามทั้งของ ท้องถิ่นและของชาติ และมาตรา 70 บัญญัติว่า รัฐพึงส่งเสริมและให้ความ คุ้มครองชาวไทย กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีสิทธิดํารงชีวิตในสังคมตาม วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ไม่ถกู รบกวน อีกทั้งยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ส่งเสริมให้สังคมไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รวมถึงแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคมที่กำหนดให้มีการ จดั ทำพระราชบญั ญัตสิ ง่ เสริมและอนุรกั ษ์วถิ ชี ีวติ กลมุ่ ชาติพันธุ์ พ.ศ. .... ตลอดจนคำแถลงนโยบายของรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 ที่ให้ คณะรัฐมนตรีตรากฎหมายสำคัญตามรัฐธรรมนูญ หมวด 16 การปฏิรูป ประเทศ ลำดบั ที่ 11 กฎหมายว่าด้วยการสง่ เสรมิ และอนรุ ักษ์วิถชี วี ติ กลมุ่ ชาติ พันธุ์ นั้น บัดนี้เวลาล่วงเลยมาแล้วพอสมควร ยังไม่ได้มีการจัดทำร่าง กฎหมายดังกลา่ ว ขอเรียนถามว่า รัฐบาลดำเนินการจัดทำกฎหมายดังกล่าวไปแล้วหรือไม่ ถึง ขั้นตอนใด เป็นไปตามแผนและขั้นตอนปฏิรูปประเทศหรือไม่ และหากมีการ จัดทำร่างกฎหมายดังกล่าว ได้ดำเนินการให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้มีส่วนร่วมด้วยหรือไม่ อย่างไร และคาดว่าจะส่งร่างกฎหมายดังกล่าวเขา้ สู่ขั้นตอนการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติเมื่อใด นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวมีเนื้อหาสาระในการส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่ม ชาติพันธุ์มากกวา่ การอนรุ ักษ์วิถชี วี ิตกลุ่มชาติพนั ธใ์ุ ช่หรือไม่

| 81 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้ได้รับ มอบหมายใหต้ อบกระทู้ถาม ตอบชีแ้ จงว่า เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้ง คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ (ฉบับที่ 2) จำนวน 13 คณะ เพ่ือ ดำเนินการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศให้เป็นรูปธรรม ซึ่งในการปฏิรูป ประเทศด้านสังคมจะมีการตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีชีวิต กลุม่ ชาติพันธ์ุ พ.ศ. .... โดยรัฐบาลมอบหมายให้ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) หน่วยงานในกำกับกระทรวงวัฒนธรรมรับผิดชอบในการจัดทำร่าง พระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการยกร่าง ทั้งนี้ ที่ ประชุมคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ได้ปรับปรุงตัวชี้วัด โดยกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมและอนุรักษ์วิถี ชีวติ กล่มุ ชาติพันธ์ุ ภายในปี 2565 ส่วนการรับฟังความคิดเหน็ ของผู้มีส่วนเกยี่ วข้องน้ัน ไดม้ ีการจดั ประชมุ รับฟัง ความคิดเห็นจากกลุ่มชาติพันธุ์ไปแล้ว จำนวน 10 ครั้ง โดยมีการพิจารณา ประเดน็ ทางวชิ าการเกย่ี วกับการนิยามความหมายของคำวา่ \"กลุ่มชาตพิ ันธุ์\" และประเด็นเชิงนโยบาย ในด้านความมั่นคง ด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สงิ่ แวดลอ้ ม และด้านการพัฒนาชวี ิตความเป็นอยู่ และจะรับฟังความคิดเห็นให้เสร็จสิ้นภายในเดือนตุลาคม 2563 เพื่อนำ ความคิดเห็นมาประกอบการยกร่างพระราชบัญญัติให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 และดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 รับฟังความคิดเห็นของ ผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและ เป็นระบบ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2564 เพื่อเสนอร่าง พระราชบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และส่งให้สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างพระราชบัญญัติ และเสนอต่อสภา ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณา ซึ่งคาดว่าจะประกาศในราชกิจจา นุเบกษาไดภ้ ายในปี 2565

| 82 โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มี 6 หมวด คือ บททั่วไป การส่งเสริมและ อนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ การจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและอนุรักษ์ วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และสมัชชาพัฒนาวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ การเพิกถอน พื้นที่ทับซ้อนพื้นที่ส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ กองทุนส่งเสริม และอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ บทกำหนดโทษ นอกจากนี้ จะขอแก้ไข เพิ่มเติมชื่อร่างพระราชบัญญัติ เป็นร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม คุ้มครอง และอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... ตามข้อสังเกตของสมาชิก วุฒิสภา

| 83 ทำรายงานหนุนกลุ่มชาตพิ ันธ์ุ อังคาร 24 พย.63 ร่วมคณะ กมธ.พัฒนาสังคม เสนอรายงาน “การ คุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ และการจัดทำร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมกลุ่มชาติพันธุ์” วุฒิสภาเหน็ ชอบ ส่งใหร้ ัฐบาลพิจารณาดำเนนิ การต่อไป เรื่องนี้เดินทางมาไกลโขแล้ว ได้มีโอกาสร่วมหนุนเสริมตั้งแต่เป็น สปช. เม่ือ ปี57-58 และเป็น สปท.เมื่อปี 58-60 และเมื่อเป็นกรรมการปฏิรูปด้าน สงั คม กม็ โี อกาสกำหนดเรือ่ งนไ้ี วใ้ นแผนและขน้ั ตอนปฏิรปู ดา้ นสงั คม เมื่อเข้ามาเป็นสว. มีหน้าที่ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปด้าน สังคม ก็ได้มโี อกาสตดิ ตาม หนนุ เสรมิ เรอื่ งน้ีต่ออกี รัฐบาลก็เอาด้วย ถึงขนาดบรรจุไว้ในคำแถลงนโยบายฯที่แถลงต่อรัฐสภาเม่อื เดือนกรกฎาคม 62 และ รมว.วัฒนธรรมเคยมาตอบกระทู้ถาม ก็ยืนยัน หนักแน่นว่าจะทำกฎหมายนี้ให้เสร็จโดยเร็ว โดยมีศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เปน็ แกนเจา้ ภาพหลกั ภาคสงั คมกห็ นนุ ภาควชิ าการกห็ นุน ทั้งสส.,สว.ก็หนนุ รายงานฉบับนี้ เป็นการคลี่เรื่องราว ข้อมูล ประเด็น แง่มุมต่างๆให้กระจ่าง เพื่อเสนอไว้เป็นรายงานของวุฒิสภาอย่างเป็นทางการ เพื่อแสดงจุดยืน สนับสนนุ และเรง่ รัดการทำกฎหมายเร่ืองนี้ให้สำเรจ็ โดยเร็ว เชียร์ครับเชยี ร์ บนั ทกึ สว.334 24 พย.2563

| 84

| 85 ภาพฉายรายงานฯ เสนอวฒุ สิ ภา 24 พฤศจกิ ายน 2563

| 86

| 87

| 88

| 89

| 90

| 91

| 92 รฐั บาลรบั ปาก: พ.ร.บ.สง่ เสรมิ ประชาสงั คม เช้าวันน้ี (จ. 17 สค.63) ถามกระทู้ เรื่องความคืบหน้าการจัดทำ พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นกฎหมายปฏิรูปเพ่ือ เสริมสรา้ งความเขม้ แขง็ ของสังคม ท่าน รมว.พม.(นายจุติ ไกรฤกษ์)มาตอบกระทู้แทนนายกรัฐมนตรี (เลื่อนมา จากวนั ที่ 3 สค.63) สรปุ ถาม-ตอบตามนีค้ รับ รัฐมนตรี พม. ตอบกระทู้ สว.อำพล จินดาวัฒนะ กลางที่ประชุมวุฒิสภา จะนำร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม เข้า ครม. สิงหาคม 63 สง่ รัฐสภาเดอื นกันยายน 63 เม่ือวันที่ 17 สงิ หาคม 2563 นายแพทย์อำพล จนิ ดาวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา ได้ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี(นายกรัฐมนตรี) เรื่อง “การจัดทำกฎหมายว่า ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม” ซึ่งนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมัน่ คงของมนุษย์ (พม.) มาเปน็ ผูต้ อบ นพ.อำพลฯ เรมิ่ ต้นว่า กระทู้ที่ได้ตั้งวันนี้ เป็นประเด็นการปฏิรูปประเทศ จึงเป็นหน้าที่สำคัญของ วุฒิสภาในการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ ตามบท เฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ เป็นที่ทราบกันดีว่าการจัดสวัสดิการสังคมและการพัฒนาสังคมนั้น มีงาน สำคัญประกอบด้วย 4 เสาหลกั คือ (1) การจดั บรกิ ารทางสังคม (social service) ได้แก่ การจัดการศึกษา การ จัดบริการสาธารณสุข และการจัดสวัสดิการสงั คมอน่ื ๆ

| 93 (2) การสร้างหลักประกันทางสังคม (social security) ได้แก่ หลักประกัน สงั คม หลักประกนั สขุ ภาพ และอืน่ ๆ (3) การช่วยเหลือทางสังคม (social assistance) ได้แก่ การสงเคราะห์ ชว่ ยเหลอื เก้ือกลู กลุ่มเป้าหมายตา่ งๆ (4) การสร้างหุ้นส่วนทางสังคม (Social partnership) เพื่อเข้ามาร่วมจัด สวสั ดกิ ารและพัฒนาสังคม ซงึ่ มคี วามสำคัญเพม่ิ ข้ึนตามลำดับ ในช่วงวิกฤตโควิดก็จะเห็นชัดเจนว่า ที่เราเดินมาได้ถึงวันนี้ ถือว่าเป็น ความสำเรจ็ ในระยะแรกของประเทศไทย ประชาสังคมทกุ ภาคส่วนเขา้ มาช่วย รฐั อยา่ งเข้มแข็ง มคี วามสำคญั มาก การส่งเสริมและพัฒนาภาคประชาสังคม ควรมีกฎหมายรองรับ ส่งเสริมและ พัฒนาให้ภาคประชาสังคมเข้มแข็ง มีธรรมาภิบาล เข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐ ไดม้ ากและดยี งิ่ ขน้ึ เรื่องนี้ ระบุในอยู่แผนปฏิรูปประเทศด้านสังคม เป็นประเด็นปฏิรูปด้านที่4 ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง กิจกรรมท่ี 4 ข้อ 2 เรื่องการจัดทำ พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. ... ระบุระยะเวลาปี 2561-63 ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่โดยตรงในการดำเนินการตามแผนและขั้นตอน การปฏิรูปประเทศ ขณะนี้เวลาล่วงเลยมาถึงปี 2563 แล้ว ในช่วงที่ตั้งกระทู้ถาม ได้ ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆที่ได้เกี่ยวข้อง ทำให้ทราบว่าเรื่องนี้มีความ คืบหน้าไปมากทีเดียว คณะกรรมการสง่ เสริมและพัฒนาภาคประชาสังคมตามระเบยี บสำนกั นายกฯ ปี 2558 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี(ดร.วิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน มีกรม พัฒนาสังคมและสวัสดิการเป็นเลขานุการ ได้มีการยกร่างกฎหมายฉบับนี้ เสร็จแล้ว มี 32 มาตรา มีการรับฟังความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 เป็นที่เรยี บร้อยแลว้ รอกระทรวง พม.เสนอตอ่ ครม.

| 94 แสดงว่าเรื่องนี้ได้คืบหน้ามาไกลแล้ว ต้องขอชื่นชมฝ่ายรัฐบาล ดังนั้น คำถามข้อที่ 1 และ 2 แทบจะผ่านไปไดเ้ ลย อย่างไรก็ตาม วันนี้ท่านรัฐมนตรี ได้กรุณามาตอบ ท่านคงจะได้ให้ข้อมูลได้ ครบถว้ นและชัดเจนยิ่งขนึ้ ดังนั้น ผมขอถามข้อเดียวเท่านั้น ว่าเมื่อรัฐบาลได้เคลื่อนมาถึงตรงนี้แล้ว เวลาก็ผ่านมา 2-3 ปีแล้ว ร่างกฎหมายฉบับนี้ คาดว่าจะเข้าสู่ฝ่ายนิติ บัญญตั ิได้เมอ่ื ใด จากนั้น รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ตอบ กระทู้ ดงั น้ี “กระผมได้รับมอบหมายจากท่านนายกรัฐมนตรีให้มาตอบกระทู้ถามของ สมาชิกวุฒิสภา ที่ถามเรื่องของกฎหมายส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาค ประชาสังคม ต้องขอขอบพระคุณที่ติดตามในการปฏิรูปสังคมอย่างจริงจัง เข้มขน้ และตอ่ เนื่อง ขอกราบเรียนเป็นข้อมูลเพื่อบันทึกไว้ในรายงานการประชุมวุฒิสภาว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้มีรับฟังความคิดเห็นร่างแรกเม่ือสิงหาคม 2560 หลังจาก นั้นท่านประธานที่ดูแลเรื่องนี้ ได้เห็นชอบในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 และ กระทรวงพัฒนาสังคมฯได้เสนอร่างแรก ต่อสำนักเลขาธิการ ครม. ก่อน เสนอรฐั มนตรีเมื่อเดือนตลุ าคม 2561 มีการพิจารณาข้อสังเกตจากสำนักงบประมาณ ,กพร. และจากส่วนราชการ อน่ื ที่เกย่ี วขอ้ งเสนอให้ไปหารือหาข้อยุติในเร่อื งของกองทนุ ในร่างพ.ร.บ. ฉบับ น้ี เดือนมกราคม 2562 มีการหารือกันแล้ว ว่าให้ตัดกองทุนออกไป เพื่อความ รวดเร็วในการเสนอกฎหมายนี้ จึงได้มีการพิจารณากันเมื่อวันท่ี 12 กุมภาพันธ์ 2563 และได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเมื่อเดือนมีนาคม 2563 จากนั้นมาก็ติดช่วงโควิด 4-5 เดือน ซึ่งก็มีการประชุมกันภายในของ

| 95 กระทรวง 3 ครั้ง เพื่อทำให้ร่างกฎหมายฉบับนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและผ่าน คณะอนุกรรมการกฎหมายฯแลว้ ขณะนี้พร้อมส่งร่างกฎหมายให้กับครม.พิจารณาภายในเดือนสิงหาคมนี้ และ คาดวา่ จะเข้าสกู่ ารพจิ ารณาของรัฐสภาไดภ้ ายในเดอื นกันยายน 2563” นายแพทย์อำพล ได้กล่าวเพิ่มเติมในตอนท้ายว่า ชื่นชมที่เห็นรัฐบาลมีความ ชัดเจน มีความมุ่งมั่นในเรื่องนี้ ทางรัฐสภาพร้อมรับร่างกฎหมายฯ เพื่อ ผลกั ดนั ให้กฎหมายสำเรจ็ โดยเรว็ ตอ่ ไป ณ วันนี้ สังคมเรามีอุณหภูมิร้อนแรง อะไรที่เป็นเรื่องดี ๆที่จะทำให้ทุกฝ่าย เข้ามาร่วมกันมอื ทำงานอยา่ งสรา้ งสรรค์และเป็นคุณประโยชนต์ อ่ สังคมนน้ั ก็ อาจจะช่วยใหอ้ ณุ หภมู ลิ ดลงได้ไปบ้างก็ยังดี บนั ทกึ สว. (256) 17 สค. 2563

| 96 บันทึกถาม-ตอบโดยเจา้ หน้าที่วฒุ สิ ภา กระทู้ถาม เรื่อง การจัดทำกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาองค์กร ภาคประชาสังคม (นายอำพล จินดาวัฒนะ เป็นผู้ตั้งถาม ถาม นายกรฐั มนตร)ี ตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคมซึ่งเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 16 ประเด็นปฏิรูปที่ 4 ระบบส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง กิจกรรมที่ 4 ข้อ 2 จัดทำร่างพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสงั คม พ.ศ. .... ที่กำหนดระยะเวลาใน การดำเนินการปี 2561 - 2563 ให้รัฐบาลมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตาม แผนและขั้นตอนการปฏริ ปู ดังกล่าว บัดนี้ ระยะเวลาได้ล่วงเลยมาพอสมควรแล้ว ขอเรียนถามว่า รัฐบาลได้ ดำเนินการจัดทำกฎหมายดังกล่าวไปถึงขั้นตอนใดแล้ว รวมทั้งได้ดำเนินการ ให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมด้วยหรือไม่ อย่างไร และคาด ว่าจะเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้ เม่ือใด นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนษุ ย์ ผูไ้ ดร้ ับมอบหมายใหต้ อบกระทู้ถามตอบชีแ้ จงว่า ในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. .... ได้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน สิงหาคม 2560 และได้รับความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติจาก คณะกรรมการสง่ เสริมและพัฒนาองคก์ รภาคประชาสังคม (คสป.) เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2561 หลังจากนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเม่ือ เดือนตุลาคม 2561 ซึ่งได้มีข้อสังเกตจากสำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ร่วมกันหาข้อยุติในเรื่องของกองทุนใน ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จากการหารือได้มีมติให้ตัดเรื่องของกองทุน

| 97 ออกไปเพื่อมิให้เป็นภาระแก่งบประมาณของแผ่นดิน ประกอบกับรัฐบาลได้มี การจัดสรรงบประมาณให้บางส่วนแล้ว จึงได้นำร่างพระราชบัญญัติเสนอต่อ คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม (คสป.) อีกคร้ัง หนึ่ง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งได้รับความเห็นชอบในหลักการของ ร่างพระราชบัญญตั ิฉบับนี้ ทัง้ น้ี หลงั จากทไี่ ดม้ กี ารรับฟังความคิดเห็นของผเู้ ก่ียวข้องแล้ว กระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้นำความคิดเห็นมาปรับปรุงร่าง พระราชบัญญัติให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น พร้อมที่จะเสนอร่าง พระราชบัญญัติต่อคณะรัฐมนตรีได้ในเดือนสิงหาคม 2563 เพื่อนำเข้าสู่การ พิจารณาของรัฐสภาในเดือนกันยายน 2563 ซึ่งเป็นไปตามแผนการปฏิรูป ประเทศด้านสังคม

| 98 ภาวะแทรกซอ้ น การจัดทำ พ.ร.บ. สง่ เสรมิ และพฒั นาองคก์ รภาคประชาสงั คม การยกร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาภาคประชาสังคม ของรัฐบาล รับผิดชอบโดย คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาค ประชาสังคม พ.ศ. 2558 มี ดร.วิษณุ เครืองาม เป็นประธาน มีผู้แทน องค์กรภาคประชาสังคม ร่วมเป็นกรรมการ มีกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็น เลขานกุ าร การยกร่างกฎหมายนี้ คืบหน้าไปตามลำดับ จนกระทั่งร่างกฎหมายไปอยู่ที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเสนอต่อ คณะรฐั มนตรี กลบั มีสัญญานสะดุดเกดิ ขึ้น ซงึ่ ไม่สอดคล้องกับการตอบกระทู้ ถามข้างต้น ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนษุ ย์ เม่ือวันท่ี 17 สิงหาคม 2563 สรุปเรื่องราวและสถานการณ์ได้ตามภาพฉาย ของคณะอนุกรรมาธิการ ตดิ ตามการปฏริ ูปดา้ นสงั คม กจิ การผูส้ งู อายแุ ละสังคมสูงวัย ดังต่อไปนี้

| 99


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook