Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พุทธสันติวิธี

พุทธสันติวิธี

Description: แนวคิดและทฤษฎีสันติวิธีของสำนักต่างๆ ในประเทศตะวันตกและตะวันออก เช่น มาติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ และมหาตมะ คานธี โดยเปรียบเทียบกับทฤษฎีพุทธสันติวิธีในพระไตรปิฎก

Keywords: พุทธสันติวิธี

Search

Read the Text Version

พุทธสนั ตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๔๔ เหตุปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งน้ัน จากการศึกษาและวิเคราะห์คัมภีร์ ในพระพทุ ธศาสนาน้ัน พบประเด็นที่นา่ สนใจ ดงั ต่อไปนี้ ๒.๑ ข้อเทจ็ จรงิ หรือข้อมูลเป็นท่มี าของความขัดแย้ง ข้อเท็จจริงหรือข้อมูลนี้ ถือได้ว่าเปน็ ตัวแปรสำคัญทจี่ ะก่อใหเ้ กิดความขัดแยง้ ซงึ่ เหตุปัจจัยหลกั ๆ ที่ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงนำมาซ่ึงความขัดแย้งก็เพราะว่า การวิเคราะห์ การตีความ การแปรผลข้อมูล และการสื่อสารท่ีผิดแผกแตกต่างออกไปจากข้อเท็จจริงที่คงอยู่ หรือในทิศทางตรงกันข้าม เราอาจจะเข้าใจ ซ่ึงความเข้าใจอาจจะเกิดจากการตีความ วิเคราะห์ หรือได้รับความบอกเล่าจากบุคคลที่น่าเช่ือถือ แต่เม่ือมีบาง คนได้นำข้อมูลที่เป็นช้ันปฐมภูมิมาชี้แจ้ง เราอาจจะ ไม่ยอมรับ และมองว่าข้อมูลดังกล่าวน้ันอาจจะไม่ใช่ข้อมูล ทแ่ี ทจ้ ริงก็ได้ เมื่อนำประเด็นเกี่ยวกับปัจจัยท่ีก่อให้เกิดการหมาดหมาง การทะเลาะ แก่งแย่ง และวิวาทดังกล่าวมา วิเคราะห์ประเด็นความขัดแย้งต่างๆ ที่เกดิ ข้ึนใน “กรณีโกสัมพศี ึกษา กรณกี ารทำสังคายนาครง้ั ที่ ๑ และคร้ังท่ี ๒” จะพบขอ้ เท็จจริงเกีย่ วกบั ความขัดแยง้ ด้านข้อมลู ดังนี้ ๑.ประเด็นท่ีเกิดขน้ึ ในกรณีโกสัมพีศกึ ษา๓๐ พบวา่ แรกเร่ิมเดิมทนี ้ัน พระวนิ ัยธรได้บอกพระธรรม กถกึ วา่ การทพ่ี ระธรรมกถึกเหลือน้ำชำระเอาไว้ในกระบวยนน้ั ไม่จัดว่าเป็นอาบัตเิ พราะไม่ไดต้ ้ังใจ ซ่ึงพระธรรมกถึก ก็คล้อยตามประเด็นดังกล่าว แต่เม่ือกาลเวลาผ่านไป พระวินัยธรกลับนำเสนอข้อมูลใหม่ว่า ส่ิงท่ีพระธรรมกถึก ทำนั้น เปน็ การตอ้ งอาบัตทิ ้ังๆ ท่ีไมร่ ู้ ตัวแปรสำคัญที่ให้เกิดสถานการณ์เช่นนี้ก็เพราะพระวินัยธร และพระธรรมกถึก เข้าถึงข้อมูล ท่ีแตกต่างกัน พระวินัยธรทราบว่าพระพุทธเจ้าได้บัญญัติวินัยข้อดังกล่าว แต่พระธรรมกถึกไม่ทราบข้อเท็จจ ริง ดังกล่าว และการท่ีท้ังคู่เข้าถึงข้อมูลท่ีแตกต่างกันนั้น ได้ทำให้ปฐมบทของความขัดแย้งได้เกิดขึ้น นอกจากนั้น ความขัดแย้งได้ปะทุขึ้นมาอีกเม่ือพระวินัยธรได้แปรข้อมูลอันเป็นประเด็นส่วนตัวของทั้งคู่ไปสู่ลูกศิษย์ของท่าน และการแปรขอ้ มลู ดังกล่าวจะไม่เกิดความขัดแย้งเลย หากเตม็ ไปดว้ ยขอ้ มูลทีเ่ ตม็ ไปดว้ ยข้อเท็จจรงิ ประเด็นความขัดแย้งได้ลุกลามข้ึนเม่ือพระธรรมกถึกมองว่า ตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการนำเสนอข้อมูลดังกล่าว เพราะข้อมูลดังกล่าวได้ทำให้เกิดภาพลบแก่ตนเอง ดังนั้น การนำเสนอข้อมูล ของพระธรรมกถึกในช้ันนี้ แทนท่ีจะตอบคำถามให้แก่ข้อมูลที่เกิดขึ้นแก่ลูกศิษย์ตามความเป็นจริงเพียงเท่าน้ัน แต่ส่ิงที่นำเสนอเพิ่มเติมจากข้อมูลดังกล่าวก็คือ “ท่านพูดเท็จ” ประเมินคำพูดในลักษณะน้ีพบว่า เต็มไปด้วย อารมณ์และความรู้สึกท่ีว่าตัวเอง “ถูกแฉ”หรือ“ถูกหักหลัง” สรุปก็คือ “เม่ือท่านปรับอาบัติทุกกฎผมได้ ทำไม ผมจะปรับอาบัติปาจิตตีย์ท่านไม่ได้” ซ่ึงวิธีการนี้เป็นการเผชิญหน้าในลักษณะของการหนามยอกเอาหนามบ่ง หรือตาต่อตาฟันตอ่ ฟัน อณุ ภมู ิความขัดแย้งจงึ เพ่ิมขึ้นอยา่ งรวดเร็ว ๒.กรณีการสังคายนาคร้ังที่ ๑๓๑ น้ัน เม่ือวิเคราะห์จากพฤติกรรมของพระปุราณะพบว่า ท่านยึด มั่นและถือเอาตามที่ตัวเองเคยได้ยินได้ฟังมาว่าควรปฏิบัติตามสิกขาบท ๘ ประการท่ีพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ ตลอดไป ในขณะท่ีพระมหากัสสปเถระ และคณะได้ชี้ให้เห็นว่าข้อเท็จจริงหรือข้อมูลดังกล่าวนั้น พระพุทธองค์ ทรงอนุญาตให้พระภิกษุปฏิบัติได้เฉพาะในยุคข้าวยากหมากแพงเท่านั้น และถึงแม้ว่าพระมหากัสสปเถระ จะยกเหตุผล อันใดมาช้ีแจง แต่พระปรุ าณะก็ไมย่ อมปฏบิ ตั ิตาม จะขอปฏิบัติตามมติของตนเองเทา่ น้ัน ซึ่งประเด็น ความขัดแยง้ ของพระเถระทงั้ สอง กล่มุ นี้ จึงเกิดขึ้นจากการยืนยันแหล่งที่มาของข้อมูลทแี่ ตกต่างกัน ๓๐ ดเู พิม่ เตมิ ใน วิ.ม. (ไทย) ๕/๔๖๘-๔๗๓/๓๖๒-๓๖๘. ม.มู. (ไทย) ๑๒/๕๙๓-๕๙๙/๕๓๓-๕๓๖. ม.มู.อ. ๒/๔๙๓- ๕๐๐/๓๐๘-๓๑๒. ๓๑ ดเู พ่ิมเตมิ ใน วิ.จ.ู ๗/๔๓๗/๓๗๖, ว.ิ ม. ๕/๓๐๓/๓๗๖. วิ.จ.ู (ไทย) ๗/๔๓๘/๓๗๗. ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๔๑-๔๒/๓๒-๓๓, ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๔๑-๔๒/๕๐-๕๑. ม.อุ.อ. ๓/๔๑-๔๒/๒๑-๒๔. ม.อุ.ฏ.ี _/๔๑-๔๒/๒๘๖-๒๘๘. ดูการวเิ คราะห์เพมิ่ ใน พระมหา หรรษา ธมฺมหาโส “รูปแบบการจดั การความขดั แยง้ โดยพทุ ธสนั ตวิ ธิ :ี ศึกษากรณลี ุ่มนำ้ แมต่ าช้าง จ.เชยี งใหม่”, อา้ งแล้ว.

พุทธสันตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๔๕ ๓. กรณีการทำสังคายนาคร้ังท่ี ๒๓๒ จะเห็นว่า วัตถุ ๑๐ ประการทพ่ี ระภิกษุเมืองวัชชไี ด้นำเสนอ น้นั สอดรบั กับสิ่งทพี่ ระพุทธเจ้าได้ตรัสเองไว้ใน ๕ ประการหลักดว้ ยกัน ข้อเทจ็ จริงหรือข้อมูลดังกลา่ วนน้ั เป็นข้อมูล ทแ่ี ตกต่างกันอย่างส้ินเชิงกับหลักการที่ปรากฏในพระไตรปิฎกตามท่ีพระสงฆ์กระแสหลักนำมากล่าว และช้ีให้เห็น ถึงความผิดปกติของกลุ่มพระภิกษุเมืองวัชชี การท่ีฝ่ายพระภิกษุเมืองวัชชีเข้าถึงข้อมูลท่ีผิดพลาดดังกล่าว ได้ ทำใหเ้ กดิ ความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง จนนำไปส่กู ารสังคายนาคร้ังที่ ๓ ๒.๒ ผลประโยชน์ หรือความต้องการ เปน็ ที่มาของความขัดแย้ง ผลประโยชน์ หรือความต้องการ น้ัน จัดได้ว่าเป็นเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งภายนอกที่ชัดเจนประการหน่ึง โดยเฉพาะอย่างย่ิง การที่ ทรัพยากร หรือส่ิงของมีจำนวนจำกัด แต่ความต้องการ หรือผู้ท่ีมีความต้องการน้ันมีจำนวนมากกว่า หากไม่ สามารถท่ีจะจัดการทรัพยากรหรอื สงิ่ ของอย่างเป็นระบบแลว้ ก็ย่อมเปน็ การง่ายท่ีจะทำใหค้ วามขัดแยง้ ปะทุข้ึนมา เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งดังกล่าว ดังจะเห็นได้จากกรณีการแย่งทรัพยากรน้ำของชาวศากยะและโกลิยะ๓๓ ก็เน่ืองมาจากการท่ีทั้งสองกลุ่มต้องการน้ำเพ่ือใช้ในการกสิกรรม แต่ปัญหาก็คือ น้ำนั้นมีปริมาณที่สามารถ จะรองรับพ้ืนท่ีนาของกลุ่มใดกลุ่มหน่ึงเท่านั้น การเจรจาจึงเกิดขึ้น แต่สุดท้ายกระบวนการเจรจาก็ล้มเหลว เพราะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งต้องการเป็นเจ้าของทรัพยากรน้ำแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่าน้ัน ด้วยเหตุนี้กระแส ของความขดั แย้งท่ีนำไปสู่ความรนุ แรงจึงเกิดขึน้ กรณีสงครามการแย่งชิงหมู่บ้านกาสีระหว่างพระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระเจ้าอชาตศัตรู ๓๔ ก็เช่นเดียวกัน เป็นการตอกย้ำว่า ท้ังคู่ต่างก็ต้องการหมู่บ้านดังกล่าวเพื่อใช้เป็นเขตเศรษฐกิจ และเป็นรัฐกันชน ซ่ึงสอดรับกับกรณีสงครามระหว่างพระเจ้าอชาตศัตรูกับเจ้าลัจฉวีมีวัตถุประสงค์ เพื่อแย่งชิงคันธชาตซ่ึงมีคุณค่า อย่างมหาศาลในผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นตามมา ผลประโยชน์และความต้องการในสองกรณีหลังน้ีจัดได้ว่าเป็น “ตวั แปร” สำคัญที่ทำใหท้ ้ังสองแคว้นต้องทำสงครามระหว่างกันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรดังกล่าว โดยมิไดค้ ำนึงวา่ ผล จากสงครามดงั กล่าวจะนำมาซึง่ การสญู เสยี ชีวิตและทรัพยส์ ินมากมายสักปานใดก็ตาม ๒.๓ ความสัมพันธ์ เป็นท่ีมาของความขัดแย้ง ปรากฏการณ์ความขัดแย้งที่เกิดข้ึนในกลุ่มของ พระวนิ ัยธรกับพระธรรมกถึกก็ดี กล่มุ ของพระกัสสปเถระกับพระปุราณะกด็ ี กลุม่ พระยสกากัณฑบุตรกับพระภิกษุ เมืองวัชชีก็ดี มาจากเหตุปัจจัยภายนอกอีกประการหนึ่งก็คือ “ความสัมพันธ์” พบว่า เพราะความสัมพันธ์ท่ีไม่ดี ใช่หรือไม่ จึงทำให้พระวินัยธรตำหนิพระธรรมกถึกลับหลังว่าเป็นอาบัติท้ังท่ีไม่รู้ เพราะความรู้สึกที่ไม่ดีที่ไม่รับ คัดเลือกเป็นผู้ร่วมคณะสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๑ ใช่หรือไม่ ที่ทำให้พระปุราณะต้องออกมาเผชิญหน้า และทำลายความน่าเช่ือถือพระมหากัสสปเถระ และคณะ โดยการไม่ยอมรับนัยบางประเด็นท่ีเกิดจาก การสังคายนาคร้ังที่ ๑ และเพราะความสัมพันธ์ที่ เสื่อมทรามใช่หรือไม่ ท่ีทำให้พระภิกษุเมืองวัชชีพากันลงอุก เขปนียกรรมพระยสกากัณฑบุตร จนทำให้ท่านหันกลับไปวิเคราะห์ท่าที และพฤติกรรมดังกล่าว และนำไปสู่ การสงั คายนาในท่สี ุด จากนัยดังกล่าว จะเห็นว่า “ประเด็นท่ีว่าด้วยความสัมพันธ์” นั้น ถือได้ว่าเป็นตัวแปรสำคัญประการหน่ึง ในการทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคล หรือกลุ่มบุคคล เพราะหากมนุษย์มีความสัมพันธ์ท่ีดีต่อกันในระดับ หนึ่งแล้ว โอกาสพบปะพูดคุยเพื่อหาทางออกเชิงสมานฉันท์เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีทางออกร่วมกันได้ง่าย มากยิ่งขึ้น แต่หากเกิดกรณีของการไม่ชอบ หรือมีอคติ (Bias) ต่อกันในระดับใดระดับหน่ึงแล้ว ย่อมเป็นเรื่องยาก ที่จะหันหน้าเข้าไปพบปะหรือพูดคุยกัน ด้วยเหตุน่ีเอง ประเด็นเรื่อง “สาราณียธรรม” จึงเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา เร่อื งความสัมพันธอ์ ีกด้านหนงึ่ ดว้ ย ๓๒ ว.ิ จ.ู (ไทย) ๗/๔๕๕/๔๐๙-๔๑๙. ๓๓ ท.ี ส.ี (ไทย) ๙/๒๖๗/๙๒. ๓๔ ส.ํ ส. (ไทย) ๑๕/๑๒๕/๑๔๖-๑๔๘. ส.ํ ส.๑๕/๑๒๖/๑๔๘-๑๔๙. ส.ํ ส.อ.๑/๑๒๕-๑๒๕/๑๔๖-๑๔๗. ส.ํ ส.ฏี. ๑/๑๒๕- ๑๒๖/๑๙๘.

พุทธสนั ติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๔๖ ๒.๔ ชาติพันธ์ุ เป็นที่มาของความขัดแย้ง “ชาติพันธุ์” เป็นที่มาของความขัดแย้งอย่างไร มองว่า “การที่มนุษย์ไปตัดสินใครคนใดคนหน่ึงท่ีไม่ใช่พวก “ของเรา” ว่าเป็น “ชาวเขา” หรือเรียกคนอ่ืนๆ ที่ไม่ใช่พวก ของเราว่าเป็น “คนชายขอบ” แล้วตีค่า หรือประเมินคุณค่า “ชาวเขา” ด้อยกว่าตัวเอง แล้วพยายามท่ีจะลดทอน ศักดิศ์ รี และความเปน็ มนุษยข์ องเขาทีด่ อ้ ยอยแู่ ลว้ ให้ดอ้ ยลงไปเร่อื ยๆ” เหล่านี้คือที่มาของความขัดแย้ง เหตุผลสำคัญท่ีมนุษย์กลุ่มนี้พยายามทำก็คือ การสร้างความเป็น “มนุษย์ศิวิไลซ์แบบจอมปลอม” ให้แก่ ตนเอง แต่ไปทับถม เหยียดหยาม และดูหมิ่นดูแคลนมนุษย์คนอื่นๆ ซึ่งบ่อยคร้ังท่ีการ “กดทับ” ในลักษณะน้ี สะท้อนออกมาในรูปแบบของความรุนแรงท่ีฝ่ายถูกกระทำได้แสดงออกมาผ่าน “กระบวนการก่อการร้าย” (Terrorism) ทั้งในระดับชาติ และระดับสากล การแสดงออกในลักษณะนี้ได้รับการต้ังข้อสังเกตว่าผู้กระทำการ เปน็ คน “ไร้มนุษย์ธรรม” “ไม่มศี าสนา” “เป็นซาตานทีด่ ำรงอยู่ในคราบของความเป็นนักบุญ” ดังเช่นกรณีปญั หา ทางภาคใต้ การระเบิดตึกเวิรล์เทรด หรือการจับนักเรียนเป็นตัวประกันและฆ่าอย่างทารุณในเชสเนีย ส่ิงท่ีผู้คน ท่ัวไปมักจะสนใจ และให้ความสำคัญก็คือ “ปรากฏการณ์ความรุนแรงท่ีเกิดข้ึนแล้ว ได้แก่ศพของเด็กนักเรียน หรือตึกถล่ม” แต่สิ่งท่ีคนหลงลืมและมองข้ามก็คือ “ที่มาของปัญหาซึ่งได้แก่การฆ่าและสังหารชาวปาเลสไตน์ แล ะชาว อิ รัก ”เราไม่ ค่ อ ย ได้ ค ำนึ งว่า “สิ่ งท่ี เข าถู ก ก ระท ำใน ฐาน ะเป็ น ม นุ ษ ย์ ต่ างช าติ พั น ธ์ุ ”ใน อ ดี ต ที่ ผ่ าน ม า เป็นอย่างไร แต่เรามักจะคิดถึงส่ิงที่เราถูกกระทำจากเขาอยู่ตลอดเวลาท่ีเกิดปัญหาขึ้น ฉะน้ัน ผู้เขียนจึงไม่รู้สึก แปลกใจเม่ือเกิดสถานการณค์ วามรนุ แรงตา่ งๆ เกิดขน้ึ ทั่วโลกและเหตผุ ลของ “ความไม่แปลกใจ” อีกประการหนึ่ง กค็ อื กรณีเจา้ ศากยะกับเจ้าโกลิยะ และกรณีพระเจา้ วิฑฑู ภะทำสงครามฆา่ ลา้ งเผา่ พนั ธขุ์ องเจา้ ศากยะ ประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของ “วงศ์ศากยะ” น้ัน ถือได้ว่าเป็น “อาวุธ” ช้ินสำคัญในการทำลาย ล้าง“เผ่าพันธ์ุตัวเอง”ในเวลาต่อมา เพราะการมองว่าวงศ์ของตัวเองน้ันประกอบไปด้วยชาติพันธ์ุที่มี“สายพันธุ์ เดียว” เท่านั้น โดยไม่เจือปนกับสายพันธุ์อื่น จึงเกิดความหย่ิง ทะนงตนและอวดดี ความอวดดี ถือตัว หรือ เหย่อหยิ่งดังกล่าวจะไม่เกิดผลเสียตามมาแต่ประการใดเลย หากไม่ใช้ความเป็นสายพันธุ์ที่ตัวเองคิดว่าดีกว่า บริสุทธิ์กว่าคนอนื่ นั้นไปดูถูก เหยียดหยาม ดูหม่ินคนอื่นๆ ในสังคมพฤติกรรมดังกล่าวนั้น ชาวโกลิยะเคยเตอื นสติ และต้ังคำถามต่อความเป็นสายพันธ์ุดีว่า “เจ้าศากยะต่างจากสุนัขตรงไหนท่ีมีเพศสัมพันธ์กับพี่น้องของตัวเอง” แทนที่เจ้าศากยะจะตระหนักถึงคำเตือนดังกล่าว แต่กลับย้อนถามว่า “เผ่าพันธ์ุของมนุษย์ข้ีเรือนจะมีกำลังอะไร” จนทำให้เหตุการณ์คราวนั้นได้ลุกลามจาก “สงครามน้ำ” กลายเป็น “สงครามการปกป้องศักด์ิศรีระหว่าง เผ่าพนั ธ์ุ” ในบัดดลแต่พระพุทธเจา้ กท็ ำให้สงครามดงั กลา่ วยตุ ลิ งไปได้ แม้ว่าสงครามดังกล่าวจะยุติ แต่ “ความอวดดี” “ถือตัว” ก็นำ “สงคราม” มาสู่เจ้าศากยะอีกคราวหน่ึง ในกรณีสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เจ้าศากยะ๓๕ เพราะนอกจากการที่จะดูหมิ่นพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งมีสถานะ เป็นกษัตริย์เช่นเดียวกัน โดยการมอบลูกของนางทาสีไปเป็นมเหสีแล้ว ยังดูหมิ่น เหยียดหยามพระเจ้าวิฑูฑภะ ซงึ่ เปน็ ลูกของนางทาสโี ดยการใช้น้ำนมลา้ งต่ังท่ีพระองค์ประทับนั่ง และไม่ยอมให้ลูกของตัวเองไหวพ้ ระเจา้ วิฑูฑภะ ซ่งึ มอี ายุมากกวา่ ด้วยการพาหนีไปอยู่นอกเมือง เหตุปัจจัยดงั กลา่ วนับได้ว่าเปน็ “หวั เชื้อ”ชน้ิ ดีทำให้พระเจ้าวิฑูฑภะ ตัดสินใจทำสงคราม “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เจ้าศากยะ” ซ่ึงเป็นการฆ่าที่ไม่เว้นแม้กระท่ังเด็กท่ียังไม่หย่าจาก นมมารดา แม้เหตุการณ์การคร้งั น้ีพระพุทธเจา้ จะเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกล่ียคนกลางก็ตาม แต่เน่ืองจาก “ฐานแห่งการเกลียดชัง” รุนแรงและสะสมมาต้ังแต่เยาว์วัย ประเด็นคำถามท่ีเกิดขึ้นก็คือว่า “สงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของพระเจ้าวิฑูฑภะ สงครามโคโซโว สงครามฆ่าลา้ งเผา่ พนั ธ์ชุ าวยิวของฮิตเลอร์ สงครามก่อการรา้ ยข้ามชาติตา่ งกันตรงไหน” ๓.๓ ความขัดแยง้ เป็นสิง่ ที่หลีกเหล่ียงได้ยาก ๓๕ ดูเพิ่มเตมิ ใน ขุ.ส.ุ (บาลี) ๒๕/๔๗/๒๕, ขุ.ส.ุ (ไทย) ๒๕/๔๗/๔๑,ม.ม.อ.๒/๓๗๔/๒๕๖.ข.ุ ส.ุ (บาลี) ๒๕/๑๐๔/๓๕๖, ขุ. ส.ุ (ไทย) ๒๕/๑๐๔/๕๒๖.ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๙๑/๕๑.

พทุ ธสันตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๔๗ “กฎไตรลักษณ์” เป็นชุดแนวคิดท่ีสามารถอธิบายกฎการเปลี่ยนแปลงในเชิงกายภาพ หรือรูปธรรมได้ ครอบคลุมที่สุด ในขณะเดียวกัน กฎน้ีไม่ได้รับการออกแบบเพ่ืออธิบายความเปลี่ย นแปลงเชิงกายภาพ หรือรูปธรรมแต่เพียงประการเดียว แต่ครอบคลุมความเปล่ียนแปลงเชิงจิตภาพ หรือนามธรรมด้วย โดยเฉพาะ อย่างย่งิ นามธรรมท่ีว่าด้วย “สภาวะของความขัดแยง้ ” กฎน้ีอธิบายให้เห็นว่า ความเป็นจริงแล้วสรรพส่ิงในโลกน้ี ล้วนตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ “ความไม่เท่ียง”(อนิจจัง)“การคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้”(ทุกขัง)และ “เราไม่ สามารถท่ีจะบังคบั สิง่ ใดส่ิงหนึ่งใหเ้ ปน็ ไปตามความต้องการ หรอื อำนาจของเราได้”(อนตั ตา) แม้ว่านักคิดบางท่านย้ำว่า “ความขัดแย้งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง” ถึงกระน้ัน ความเปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดความขัดแย้งได้เช่นเดียวกัน เพราะความคิด หรือการกระทำของมนุษย์เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าสรรพส่ิง หรือสภาวะต่างๆ (ยกเว้นพระนิพพาน) น้ันคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (ทุกขัง) ด้วยเหตุนี้ เราจึง ไม่สามารถบังคับให้บุคคล หรือส่ิงใดก็ตามเป็นไปตามความปรารถนาของเรา ฉะนั้น ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้น ซึง่ เป็นการเกดิ ข้นึ บนฐานที่เรามีความคาดหวงั ว่า เขาต้องคิด พูด หรอื กระทำเหมือนกับเราหรือคาดหวังวา่ ส่ิงต่างๆ ต้องไปเป็นตามความต้องการของเรา การเข้าใจความจริงดังกล่าว ทำให้ง่ายต่อการอธิบายว่า “ความขัดแย้งเป็น ‘ธรรมชาติ’ ของมนุษย์ หรือไม่”และเพื่อตอบคำถามดังกล่าวน้ัน ส่ิงที่จะต้องตั้งคำถามต่อไปก็คือว่า มนุษย์ในบริบทน้ีหมายถึงใคร คำว่า “มนษุ ย”์ หมายถงึ “มนษุ ยใ์ นฐานะทีเ่ ป็นปุถุชน”หรอื ว่า“มนษุ ยใ์ นฐานะทเ่ี ปน็ พระอรหนั ต์” ด้วย กล่าวถึง “มนุษย์” ในความหมายของ “ปุถุชน” เมื่อวิเคราะห์ภายใต้กรอบของ “กฎไตร-ลักษณ์” ก็ย่อม งา่ ยท่ีตอบปญั หาดงั กล่าว เพราะมนุษยป์ ุถุชนนั้นยังมีสภาพจติ ทถ่ี ูกปกคลุมไดด้ ว้ ยกิเลสในลักษณะต่างๆ ไมว่ า่ ความ โลภ ความโกรธ ความหลง หรือความไม่รู้ ความอยาก และความยึดมั่นถือมั่น เป็นต้น ฉะน้ัน เมื่อมนุษย์ “ปุถุชน” เคลื่อนไหวร่างกายไปพร้อมกับสภาพจิตท่ีหว่ันไหวดัวยแรงผลักดันของ “อกุศล”๓๖ หรือ“กุศล” ยอ่ มเป็นธรรมดาที่จะตอ้ งเผชิญกับความขัดแยง้ ในมิตติ ่างๆ ท่ีเกิดจากการคิด การพูด หรือกระทำที่แตกต่างกันดัง จะเห็นได้จากปรากฏการณ์ความขัดแย้งตามท่ีสถานการณ์ ความขัดแย้งที่ ปรากฏในพระไตรปิฎกหลายแห่ ง เช่น ความขัดแย้งกันเก่ียวกับการแย่งท่ีอยู่อาศัยของพระภิกษุ หรือความขัดแย้งกันของสาวกนิครนถ์ นาฏบุตร ซง่ึ ความขดั แย้งเหลา่ นี้เร่มิ ตน้ จากการมีความเห็นในทศิ ทางทแ่ี ตกต่างกนั จนสถานการณ์ลุกลามไปสู่ความรนุ แรง จะเห็นว่า เมื่อมองในมิติของโลกิยะวิสัย “ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา และฝังรากลึกในสังคม” ซง่ึ มนุษย์มิสามารถท่ีจะหลกี เลี่ยงข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ จะเห็นว่า ธรรมชาติของความขัดแย้งในลักษณะนี้ มีอยู่ และดำรงอยใู่ นภายในของมนุษย์เอง รวมไปถึงการที่มนษุ ย์ปฏสิ มั พันธก์ ับบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ไม่วา่ จะเปน็ เร่ือง ครอบครัว การทำงาน เศรษฐกจิ การเมอื ง และสังคม ซ่ึงการเข้าไปเกีย่ วขอ้ งในลักษณะดังกล่าว ในฐานะท่มี นุษย์ เป็นสตั วส์ ังคม (Social Animal) ย่อมเป็นเร่อื งยากทจี่ ะหลีกเลย่ี งความขัดแย้งได้ ฉะนัน้ ความขดั แยง้ เป็นธรรมดาสามัญของสงิ่ ตา่ งๆ ท่อี าศยั อยู่ในโลกไม่ว่าจะเป็นความขดั แย้งที่ซอ่ นตัวอยู่ ในธรรมชาติ หรอื การดำเนนิ ชวี ติ ของมนุษยท์ ่เี ป็นปถุ ชุ น ๓.๔ ความขัดแยง้ ในพระอรยิ บุคคล ๓๖ ส.ํ ส. (ไทย) ๑๕/๑๑๓/๘๔-๘๕. ดเู ปรียบเทยี บ ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๑๕๖/๔๓๔.

พุทธสันติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๔๘ คำถามมีว่า “พระอรหันต์ยังมีธรรมชาติแห่งความขัดแย้งอยู่ภายในหรือไม่” การตอบคำถามน้ี จำเป็นต้องแยกคำว่า “ความจริงในเชิงปรมัตถ์” (ปรมัตถสัจจะ) ” กับ “ความจริงในเชิงสมมติ” (สมมติสัจจะ) ออกจากกัน เหตุผลสำคัญที่ต้องแยกเพราะสภาวธรรมของความเป็นพระอรหันต์กับบัญญัติเป็นคนละประเด็น คำวา่ “อรหันต์” หมายถงึ “ผู้ไกลจากกิเลส” กล่าวคือ สภาวะจติ ท่ีไรภ้ าวะความขัดแยง้ เพราะนิพพานเป็นการดับ กิเลสจึงทำให้เกิดภาวะท่ีไม่มีความขัดแย้ง ฉะนั้น คำว่า “ไม่มีความขัดแย้ง” มีนัยบ่งถึงภาวะจิตที่สมบูรณ์ โดยปราศจากการกระทำอันก่อให้เกิด “กุศล”หรือ“อกุศล” การแสดงออกทางกาย วาจา ใจของพระอรหันต์ จงึ ยืนอยบู่ นฐานของคำว่า “กริ ิยา” หรือ “การกระทำ” ลว้ นๆ กล่าวโดยสภาวธรรม พระอรหันต์จึงไม่มีความขัดแย้ง หรือไร้ภาวะความขัดแย้ง ไม่มีใครหรือสิ่งใด เป็นแรงผลกั ให้เกิดความขัดแย้งได้ดงั พุทธพจน์ท่ีว่า “อคั คินเิ วสสนะ ภิกษผุ มู้ ีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างน้ี ย่อมไม่ทะเลาะ ววิ าท ทุ่มเถียงกับใครๆ โวหารใดที่ชาวโลกนิยมพูดกัน ก็ไม่ยึดมั่นกล่าวไป ตามโวหารนั้น”๓๗ และ “มุนีผู้มีปญั ญา เคร่ืองพิจารณาน้ัน รู้จักสมณพราหมณ์ ผู้เป็นเจ้าลัทธิเหล่านี้ว่า เป็นผู้เข้าไปอาศัยทิฐิและรู้จักเป็นท่ีอาศัย นักปราชญ์ครั้นรู้จักแล้ว ก็หลุดพ้น ไม่ถึงการวิวาทกัน๓๘ พุทธพจน์บทนี้ย้ำเตือนว่า บุคคลท่ีเข้าถึงความจริงขั้น สูงสุดในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมไม่มีความขัดแย้งในสภาวธรรม ไม่มีความสงสัย หรือตั้งข้อสังเกต ตอ่ สภาวธรรม และโดยเฉพาะอย่างยง่ิ ยอ่ มเปน็ ไปไม่ไดท้ ผ่ี บู้ รรลธุ รรมจะก่อความบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกนั ประเด็นคำถามที่น่าสนใจก็คือ “พระอรหันต์คิดต่างกันหรือมีมุมมองท่ีแตกต่างกันได้หรือไม่” จากการศึกษาค้นคว้าทำให้ได้รบั คำตอบวา่ “คิด หรอื มีมุมมองทีแ่ ตกต่างกันได้” สงิ่ ท่ีทำให้พบคำตอบในลักษณะน้ี ก็เพราะคำว่า “บัญญัติ”หรือ“ความจริงเชิงสมมติ” นั้นเป็นกุญแจสำคัญท่ีนำเราไปสู่คำตอบดังกล่าว คำว่า “บัญญัติ” หรือ “ความจริงเชิงสมมติ” เป็นสื่อกลางในการท่ีจะใช้เป็นสะพาน หรือเป็นคู่มือสำหรับเรียนรู้ หรือเข้าใจร่วมกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ดังที่พุทธทาสภิกขุใช้คำว่า “ภาษาคน” ฉะนั้น เมื่อวิเคราะห์ในบริบทนี้ ทำให้เกิดคำถามว่า “เป็นไปได้หรือไม่ว่าผู้ท่ีเข้าใจโลกแห่งปรมัตถ์ จะสามารถเข้าใจโลกแห่งสมมติได้ท้ังหมด” คำตอบข้อนี้ไปปรากฏอยู่ในคัมภีร์มิลินทปัญหาว่า “การรู้สิ่งทั้งปวงน้ัน ไม่ใช่วิสัยของพระอรหันต์ทั่วไป สิ่งที่พระอรหันต์ไม่รู้ก็มี เช่น นาม และโคตรแห่งสตรีบุรุษ เป็นต้น พระอรหันต์รู้ได้เฉพาะวิมุตติก็มีพระอรหันต์ ช้นั อภญิ ญา ๖ กร็ ้เู ฉพาะในวิสยั ของตน พระสพั พญั ญเู ท่าน้นั จงึ จะรหู้ มด”๓๙ วิเคราะห์จากคำพูดของพระนาคเสนพบว่า พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นสัพพัญญูบุคคลเท่านั้นท่ีทรงทราบ และเข้าใจโลกแห่งปรมัตถ์และโลกแห่งสมมติได้อย่างตลอดสาย ส่วนสาวกท่านอ่ืนๆ ท่ีบรรลุพระอรหันต์มิได้ หมายความว่าสามารถรู้ท้ังสองโลก ความจริงข้อนี้ทำให้พบคำตอบว่า “พระอรหันต์ไม่สามารถรับรู้เร่ืองราว ต่างในโลกน้ีได้ทั้งหมด” หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ “พระอรหันต์มีข้อจำกัดในการรับรู้” ฉะน้ัน “พระอรหันต์ ก็ย่อมคิด หรือมีมุมมองท่ีแตกต่างกันได้” หลักฐานชิ้นสำคญั ท่ีสามารถยนื ยันความจริงขอ้ นี้ก็คอื เหตุการณ์ที่เกิดข้ึน ในคราวทำสังคายนาครงั้ ที่ ๑ จากการศึกษาพบว่า ก่อนท่ีพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “อานนท์ เม่ือเราล่วงไป สงฆ์หวังอยู่ก็พึงถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้” พระดำรัสในประเด็นน้ีได้กลายเป็นปัญหาในท่ีประชุมสงฆ์ ๕๐๐ รูป ว่า “สิกขาบทข้อไหนที่จัดว่าเป็นสิกขาบทเล็กน้อย” การยกประเด็นเร่ือง “สิกขาบทเล็กน้อย” ข้ึนมานำเสนอ ๓๗ “เอวํ วิมุตฺตจิตฺโต โข อคฺคินิเวสฺสน ภิกฺขุ น เกนจิ สํวทติ น เกนจิ วิวทติ ยญฺจ โลเก วุตฺตํ เตน โวหรติ อป รามสํ”. ม.ม. (บาลี) ๑๓/๒๐๖/๑๘๒, ม.ม. (ไทย) ๑๓/๒๗๕/๒๔๓. ๓๘ ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๑๑๒/๓๓๕. ๓๙ “อวสิ โย มหาราช เอกจจฺ สสฺ อรหโต สพพฺ ํ ชานิตุ น หิ ตสฺส พลํ อตฺถิ สพฺพํ ชานติ ุ อนญญฺ าตํ มหาราช อรหโต อิตฺถปิ ุริสานํ นามมฺปิ โคตฺตมฺปิ, มคฺโคปิ ตสฺส มติยา อนญญฺ าโต วิมุตฺตเึ ยว มหาราช เอกจโฺ จ อรหา ชาเนยยฺ ฉฬภิญโฺ ญ อร หา สกวสิ ยํ ชาเนยยฺ , สพพฺ ญญฺ ู มหาราช ตถาคโตว สพฺพํ ชานาติ”. มิลินฺท. _/๓/๒๗๗-๒๗๙.

พุทธสันติวธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๔๙ เพื่อหาข้อยุตินั้น ทำให้พระอรหันต์ได้พากันวิเคราะห์ ตีความและตั้งข้อสังเกตออกเป็นหลายนัยด้วยกัน๔๐ ซง่ึ การตีความดังกลา่ วน้ัน สามารถแยกสรุปออกเป็น ๕ กลุม่ ด้วยกนั กลา่ วคอื ๔๑ ๑. ยกเวน้ ปาราชิก ๔ สกิ ขาบท ท่ีเหลือจดั เปน็ สกิ ขาบทเลก็ น้อย ๒. ยกเวน้ ปาราชิก ๔ สิกขาบท สงั ฆาทิเสส ๑๓ สกิ ขาบท ท่ีเหลือจดั เป็นสิกขาบทเลก็ นอ้ ย ๓. ยกเวน้ ปาราชิก ๔ สกิ ขาบท สงั ฆาทิเสส ๑๓ สกิ ขาบท อนยิ ต ๒ ท่ีเหลอื จัดเป็นสกิ ขาบทเลก็ น้อย ๔. ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ปาจิตตยี ์ ๙๒ สิกขาบท ท่ีเหลือจัดวา่ เป็นสกิ ขาบทเลก็ น้อย ๕. ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ปาจติ ตยี ์ ๙๒ สิกขาบท ปาฏเิ ทสนียะ ๔ สิกขาบท ทเี่ หลอื จดั วา่ เปน็ สิกขาบทเล็กนอ้ ย กรณีศึกษาท่ีว่าด้วยความคิดเห็น หรือการตีความที่แตกต่างกันในประเด็นที่ว่าด้วย “สิกขาบทเล็กน้อย” น้ีเป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้ผู้เขียนมองว่าในแง่บัญญัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บัญญัติดังกล่าว จัดได้ว่า เป็น “พุทธบัญญัติ” แต่เมื่อพระองค์ไม่ได้ตรัสช้ีแจงให้ทราบว่านัยของคำว่า “เล็กน้อย” คืออะไรนั้น กลายเป็น ประเด็นท่ีทำให้พระอานนท์ถูกพระสงฆ์จำนวน ๔๙๙ รูปปรับอาบัติท่านในฐานะท่ีไม่ถามให้ชัดเจนว่า “อะไรคือ อาบัติเล็กน้อย”การปรับอาบัติพระอรหันต์ในท่ามกลางสงฆ์นั้น ผู้เขียนมองว่าเป็นประเด็นใหญ่ ฉะน้ัน ข้อขัดแย้ง เกี่ยวกับการตคี วามที่แตกตา่ งกันดังกล่าว ต้องเปน็ ประเด็นที่มีความสำคญั ต่อการสังคายนาครั้งที่ ๑ เป็นอย่างมาก เชน่ เดียวกนั กล่าวโดยสรุปแล้ว ความขัดแย้งที่เกี่ยวกับความคิดเห็น จัดได้ว่าเป็น “ธรรมดา” หรือ “ธรรมชาติ” ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ในระดับที่เป็นปุถุชนหรือพระอรหันต์ก็ตาม สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ามีข้อจำกัด ในการรบั รู้เรื่องราวต่างๆ ในโลกนแี้ ตกตา่ งกนั ดงั ท่ีพระธรรมปิฎกได้ย้ำในประเด็นนวี้ า่ “ความขัดแยง้ น้ัน ในแงห่ นึ่ง ก็เป็นเร่ืองธรรมดา คือ มันเป็นธรรมชาตขิ องสิง่ ท้ังหลาย ท่ีแต่ละอยา่ งมีความเป็นไปของมนั เมือ่ ต่างอย่างตา่ งส่วน เป็นคนละทาง กย็ อ่ มขดั แย้ง”๔๒ ๓.๕ บญุ ๖ อยา่ งฐานความขดั แย้ง ดังท่ีได้กล่าวในเบ้ืองต้นแล้วว่า “ความขัดแย้งนำไปสู่การเปล่ียนแปลง” การเปล่ียนแปลงดังกล่าว เป็นการเปล่ียนทั้งในเชิงกายภาพและจิตภาพหรือเชิงมหัพภาคและจุลภาค พระพุทธศาสนายอมรับว่า มนุษย์ ปุถุชน (มนสุ ฺส มนสุ ฺโส) มีความขัดแยง้ และความแปลกแยกในตัวเองอันเกิดจากแรงผลักของความโลภ ความโกรธ และความหลง อย่างไรก็ตาม ผลของความแปลกแยก หรือความขัดแย้งภายในลักษณะดังกล่าวได้ทำให้เกิด แงม่ ุมท่สี ำคญั หลายประการดว้ ยกนั ๑. ความขัดแยง้ เป็นที่มาของการพฒั นาศกั ยภาพมนุษย์ในเชงิ ปัจเจก ความขัดแย้ง หรือความแปลกแยกในตัวเองกลายเป็นเครื่องมือสำคัญท่ีทำให้ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ได้พัฒนาจิตของตัวเองเพ่ือเล่ือนสถานะจากความเป็นมนุษย์ไปสู่ “ความเป็นพระพุทธเจ้า” ที่เป็นเช่นน้ัน ก็เพราะสาเหตุสำคัญดำเนินมาจากความขัดแย้งภายในเก่ียวกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และการตอบคำถาม ๔๐ พระอรรถกถาจารยข์ ยายประเด็นนวี้ า่ “พระสงั คาหกเถระทัง้ หลายกล่าวแลว้ โดยปริยาย” ซึ่งหมายถงึ การวเิ คราะห์ ให้ คำจำกัดความ และตคี วามแตกตา่ งกนั ออกไปหลายประเด็น ๔๑ วิ.จู. (ไทย) ๗/๔๔๑/๓๘๒. ๔๒ พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต), สลายความขดั แย้ง, พมิ พค์ ร้งั ท่ี ๑, (กรงุ เทพมหานคร: บริษทั สื่อเกษตร, ๒๕๔๖), หน้า ๒.

พทุ ธสนั ติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๕๐ ของตัวเองว่า “อะไรคอื ความสขุ ท่แี ท้จริง” “มนษุ ย์ไมเ่ กิด แก่ เจบ็ และตายไดห้ รอื ไม่” การต้ังคำถามในลกั ษณะนี้ ก็เพราะเกิดความขัดแยง้ เก่ียวกับทวิลกั ษณะของสงิ่ ต่างๆ ท่ีเกิดขึ้นจากประสบการณต์ รงของพระองค์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนประการหนึ่ง ก็คือคำกล่าวของพระยสะที่ว่า “ท่ีนี่วุ่นวายหนอ ที่น่ีขัดข้องหนอ” กเ็ กดิ ขนึ้ มาจากความขดั แย้งภายในทส่ี ิ้นหวงั กบั ความสุขในเชิง“วัตถุนยิ ม” และ“สภาวะไร้ความขัดแยง้ ” ไดเ้ กิดข้ึน พร้อมๆ กับคำตรัสของพระพุทธเจ้าท่ีว่า “ท่ีน่ีไม่วุ่นวายหนอ ท่ีนี่ไม่ขัดข้องหนอ” และ เพราะความขัดแย้งภายใน ดังกล่าว จึงทำใหพ้ ระเจา้ มหานามะตอ้ งเสด็จเข้าไปเฝา้ พระพุทธเจ้าเพื่อให้พระองค์ชว่ ยหาทางออก๔๓ ฉะนั้น เม่ือถามว่า “ความขัดแย้งมีความสำคัญต่อมนุษย์ในเชิงปัจเจกได้อย่างไร”น้ัน คำตอบก็คือ “ความขัดแย้ง” เป็นสื่อ หรือเป็นสะพานที่ทรงคุณค่าในการทำให้มนุษย์ได้ทอดเดินไปสู่ “ภาวะไร้ความขัดแย้ง” อันเป็นทางเดินทางที่เข้าใจความจริงว่าเส้นทางเดิมสามารถเติมเต็มความสุขให้แก่มนุษย์ได้ในระดับหน่ึง แต่เส้นทางดังกล่าวก็เป็นพ้ืนทางท่ีดีท่ีทำให้มนุษย์ได้พยายามที่จะรู้จักกับทางเลือกใหม่ อันเป็นทางเลือก ทปี่ ราศจากความขดั แยง้ หรอื ไรค้ วามขดั แยง้ อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม เมื่อมองในมิติของโลกแบบสามัญชน หรือแบบฆราวาสวิสัย “ความขัดแย้ง” มีส่วนสำคัญ ในการผลักดันให้มนุษย์ต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาพบว่า มนุษย์มีความแปลกแยกในตัวเอง หรือขัดแย้ง ในตัวเองเก่ียวกับการสนองความต้องการของมนุษย์เอง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการความสำเร็จในชีวิต ความต้องการการนับหน้าถือตา ความต้องการด้านความรัก และความต้องการด้านความปลอดภัย ความขัดแย้ง ในตัวเองดังกล่าวกก็ ลายเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้มนุษย์สรา้ งแรงจูงใจใฝ่สำเรจ็ (ธัมมฉันทะ) เพ่ือแสวงหาสิ่งต่างๆ มาสนองความตอ้ งการของมนษุ ย์เอง ๒. ความขัดแยง้ เป็นทมี่ าของการเมืองการปกครอง เม่ือมองความขัดแย้งในมิติของ “รัฐศาสตร์” พบว่า ความขัดแย้งได้กลายเป็นพ้ืนฐานสำคัญของระบบ การเมืองการปกครอง ส่ิงท่ีสามารถยืนยันข้อสมมติฐานดังกล่าวก็คือหลักการสำคัญตามที่ปรากฏในอัคคัญญสูตร ท่ีย้ำให้เห็นว่าการถือกำเนิดของระบบกษัตริย์เพราะว่าประชาชนท่ัวไปมีความขัดแย้งเก่ียวกับการแย่งชิงข้าวส าลี ปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย จนนำไปสู่ข้อตกลงร่วมกันว่า “เราควรแบ่งปันข้าวสาลีและปักปันเขตแดน กัน”๔๔ การหาข้อตกลงร่วมกันในรูปแบบ “ทวิภาคี” กลายเป็นข้อตกลงท่ีมีวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda) เพราะไม่ได้มีผลในทางปฏิบัติแต่ประการใด ด้วยเหตุนี้ สถานการณ์การแย่งชิงพืชผลทางการเกษตรคือข้าวสาลี ดำเนนิ ไปอย่างลับๆ เนื่องจากประชาชนบางคนไม่พอใจในสิง่ ทต่ี นมีอยู่ จึงเก็บรักษาส่งิ ที่ตัวเองมีอยู่แล้ว ไปแย่งชิง ทรพั ยากรของคนอื่นๆ “สตั วผ์ ู้มีนิสัยโลภ รักษาส่วนของตนไว้ ถอื เอาส่วนอ่นื ที่เขาไมไ่ ด้ใหม้ าบรโิ ภค”๔๕ จะเห็นว่า เมื่อแต่ละฝ่ายไม่เคารพในกฎกติกาจึงทำให้ความขัดแย้งดังกล่าวได้ขยายตัวไปสู่การตำหนิกันและกันว่า “คุณทำ กรรมชั่ว ที่รักษาส่วนของตนไว้แล้ว ถือเอาส่วนอื่นท่ีเขามิได้ให้มาบรโิ ภค คุณอย่าทำอย่าน้ีอกี ” ก่อนที่จะ“ใช้ฝ่า มือบ้าง กอ้ นดินบ้าง ทอ่ นไม้บ้าง ทำรา้ ยกันและกนั ” ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า เม่ือประชาชนประสบความล้มเหลวในการหาทางออกร่วมกันแบบ “ทวิภาคี” ด้วยเหตุนี้ จึงหาทางออกร่วมกันแบบ “พหุพาคี” โดยการนำเสนอประเด็นปัญหาว่า “ท่านผู้เจริญ บาปธรรม ปรากฏในหมู่สัตว์แล้ว คือ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จักปรากฏ การตำหนิติเตียนกันปรากฏ การพูดเท็จ ปรากฏ และการถืออาวุธเพื่อทำร้ายกันก็ปรากฏ ฉะน้ัน พวกเราควรสมมติ (แต่งตั้ง) สัตว์ผู้หน่ึง ซึ่งจะว่ากล่าวผู้ ทค่ี วรว่ากลา่ ว ติเตยี นผ้ทู ่คี วรตเิ ตียน ขับไลผ่ ทู้ ่คี วรขบั ไลโ่ ดยชอบ” ๔๓ “พระเจ้ามหานามะเกิดความสงสยั ว่า “เพราะเหตุไร? พระองค์ปฏิบัตติ ามธรรมของพระพุทธเจา้ แล้ว แต่ราคะ โทสะ และโมหะยังคงมีอยู่ พระพุทธเจา้ ไดช้ ี้ให้เห็นว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าการอยู่ครองเรือนนั้น เป็นท่ีมาของการคลุกคลีด้วยกิเลส” ดู เพิ่มเตมิ ใน ม.มู. (ไทย) ๑๒/๑๗๕-๑๗๙/๑๗๗-๑๘๕. ๔๔ ท.ี ปา. (ไทย) ๑๑/๑๒๙/๙๖. ๔๕ ท.ี ปา. (ไทย) ๑๑/๑๒๙/๙๖.

พทุ ธสันติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๕๑ ฉะนั้น บทสรปุ ทีไ่ ดจ้ ากการประชมุ ดังกล่าว จงึ เป็นท่ีมาของคำว่า “มหาสมมติ” “กษัตริย์” และ “ราชา” ซึ่งท้ังสามคำนั้นมีความหมายท่ีมุ่งเน้นไปที่การทำหน้าท่ีในการแบ่งปันทรัพยากรธรรม และวินิจฉัยคดีต่างๆ ทเ่ี กิดขึ้น ซงึ่ ผลจากการทำหน้าที่ดังกล่าว “กษตั รยิ ์” จะได้รับข้าวสาลีเปน็ การตอบแทน เพ่อื จะได้มีหน้าท่ีบริหาร และจดั การความขดั แยง้ ได้อย่างเต็มที ด้วยเหตุดงั กล่าวจึงเกิดระบบการปกครองแบบ “กษัตริย์” ข้ึนมาเพ่อื บริหารจัดการ ความขดั แยง้ เกี่ยวกับ การแบ่งปันพืชผลทางการ “เกษตร” ให้เกิดความเท่าเทียมกัน๔๖ “กษัตรยิ ์” ในบริบทน้ีก็คือ “เกษตร” ท่ีทำหน้าที่ ในการแบ่งปันพืชผลทางการเกษตรคือข้าวสาลี และแบ่งปัน เขตแดน เพ่ือให้ความพอใจสูงสุดแก่คู่กรณี เพราะฉะนน้ั กษัตริยจ์ ึงได้ช่อื ว่า “ราชา” ดว้ ย๔๗ กล่าวโดยสรปุ กษตั รยิ ์ หรือพระราชาจงึ เป็น “บุคคลพเิ ศษ” ท่ีได้รบั การสมมติให้ทำหน้าท่ีในการปกครอง และบริหารกิจการต่างๆ ภายในชุมชน ก่อนท่ีพัฒนาเป็นรัฐ และประเทศต่อไป ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ สถานะ ของความเปน็ พระมหากษตั ริย์นน้ั พัฒนาการข้นึ มาจาก “สมมติบคุ คล” ไปสู่ “สมมติเทพ” ในลำดับต่อมา อย่างไรก็ตาม ความขดั แย้งดังกล่าวน้ันได้ก่อให้เกิดระบบการเมืองการปกครองข้ึน ไม่ว่าจะเปน็ ระบบสม บรู ณาญาสิทธริ าช หรือการปกครองในระบบประชาธิปไตยก็ตาม ดังท่ีไดก้ ล่าวแล้ว มเี ป้าหมายสำคัญอยู่ทีก่ ารเป็น สือ่ กลางในการจัดการความขัดแย้งท่ีเกิดขน้ึ ในชมุ ชนและสงั คม โดยประชาชน และเพอื่ ประชาชน ๓. ความขดั แยง้ เป็นทมี่ าของการบญั ญัติพระวินยั “พระวินัย”จัดได้ว่าเป็นบาทฐาน หรือข้อปฏิบัติสำหรับพุทธบริษัททั้ง ๔ แต่ การเรียกช่ือนั้น อาจจะแตกต่างกัน กล่าวคือ พระภกิ ษุ และภิกษณุ ใี ชค้ ำวา่ “วนิ ัย” แต่สามเณร สามเณรี อบุ าสก และอบุ าสิกาน้ัน ใช้คำว่า “ศีล” แต่เมื่อกล่าวโดยสารัตถะแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวินัยหรือศีลน้ันก็จัดได้ว่าเป็นคำที่มีเป้าหมายในเชิง สารตั ถะเดียวกันอยแู่ ลว้ กค็ อื เป็น “ธรรมนญู ” หรือเป็นเคร่อื งมอื สำคญั ในพฒั นาคุณภาพชวี ิต และสังคม อย่างไรก็ตาม การบัญญัติวินัยนั้นก็มิได้เกิดจากพุทธประสงค์ ซ่ึงเป็นการบัญญัติ พระวินัยเชิงด่ิง แต่การบัญญัติพระวินัยนั้นดำรงอยู่บนฐานของแนวคิดเชิงราบโดยมีสาวกของพระองค์เป็น “ศูนย์กลางของการ บัญญัติ” ดังที่พระองค์ได้ทรงย้ำว่าพระองค์จะไม่บัญญัติพระวินัยจนกว่าจะเกิดปัญหาอย่างใดอย่างหน่ึงข้ึน ในหม่สู งฆ๔์ ๘ ข้อสังเกตท่ีน่าสนใจประการหน่ึงก็คือ พระพุทธองค์ได้ตระหนักถึงแง่มุมท่ีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ของความขัดแย้งที่เกิดจากสาวกของกลุ่มนิครนถ์ทะเลาะ แก่งแย่ง และวิวาทกัน จนนำไปสู่ความแตกแยก ขาดความสมานฉันท์ซึ่งส่งผลเสียต่อองค์กรของสาวกนิครนถ์ ทำให้มวลสาวกของพระองค์ได้นำประเด็นดังกล่าว เข้าไปปรึกษากับพระพุทธเจ้าเพ่ือให้พระองค์ได้ทรงบัญญัติวินัยให้เป็นหมวดหมู่ และจัดระเบียบองค์กรสงฆ์ ซึ่งประเด็นที่เก่ียวกับประวัติศาสตร์ ความขัดแย้งของสาวกนิครนถ์และความขัดแย้งท่ีเกิดข้ึนในหมู่สาวก ของพระองคเ์ อง ทำให้พระองคไ์ ดอ้ าศัยช่องทางดังกลา่ วเป็นพน้ื ฐานของการบัญญตั วิ ินยั ก ร ณี ศึ ก ษ า ที่ เก่ี ย ว กั บ ป ร ะ เด็ น นี้ มี ป ร า ก ฏ อ ยู่ ใน คั ม ภี ร์ ท า งพ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า ห ล า ย แ ห่ ง ด้ ว ย กั น เช่ น ทรงบัญญัติอาบัติปาราชิกข้อท่ี ๒ ในฐานะที่พระธนิยะได้นำไม้ของหลวงไปสร้างกุฏิจนทำให้พระเจ้าพิมพิสาร และชาวบ้านตำหนิ๔๙ และทรงบัญญัติอาบัติสังฆาทิเสสข้อท่ี ๑๐ ในฐานะท่ีพระเทวทัตได้ทำให้สงฆ์แตกกัน๕๐ ๔๖ บาลที ่านให้คำนิยาม “กษตั ริย์” วา่ “ผู้เปน็ ใหญ่ในนา” (เขตตฺ านํ อธปิ ติ) ซึ่งหมายถึงผู้ที่มีอำนาจหนา้ ทใ่ี นการแบง่ ปัน ข้าวสาลี และเขตแดน ๔๗ บาลที ่านให้คำนิยาม “ราชา” ว่า “ผู้ท่ียงั บุคคลเหล่าอื่นใหย้ ินดีโดยธรรม” (ธมฺเมน ปเร รญเฺ ชติ) หมายถึงผู้ท่ที ำหนา้ ท่ี ในการสร้างความพอใจให้แก่ประชาชนโดยธรรม ซ่ึงราชาตามนัยน้ีสอดคล้องกับพระดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รชั กาลปัจจบุ นั ว่า “เราจะปกครองแผ่นดนิ โดยธรรม เพือ่ ประโยชน์สุขแกม่ หาชนชาวสยาม” ๔๘ วิ.ม. (บาลี) ๑/๒๑/๑๑, วิ.ม. (ไทย) ๑/๒๑/๑๓. ๔๙ ว.ิ ม. (บาลี) ๑/๘๗/๕๗, วิ.ม. (ไทย) ๑/๘๗/๗๖.

พทุ ธสันตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๕๒ และทรงบัญญัติอาบัติทุกกฎ ในฐานะพระภิกษุได้พากันแย่งท่ีพักอาศัยโดยมิได้สนใจพระสารีบุตรผู้มีพรรษา มากกวา่ ว่าจะมที ่ีพักอาศยั หรอื ไม่๕๑ การบัญญัติพระวินัย หรือการตรากฎหมายมีนัยที่สอดคล้องกันประการหนึ่ งก็คือ มีเป้าหมาย เพ่ือแก้ปัญหาความขัดแย้งท่ีเกิดข้ึนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมสงฆ์ หรือสังคมคฤหัสถ์ก็ตาม ถึงกระน้ัน บางคร้ัง การตรากฎหมายก็กลายเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งจนนำไปสู่ความรุนแรงได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่า จะเปน็ กรณีของจัดสรรท่ดี นิ ทำกิน การออกกฎหมายเกีย่ วกับป่าเสอ่ื มโทรม กฎหมายปา่ สงวน หรือกฎหมายที่ว่า ดว้ ยป่าชมุ ชน หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลน่ หวยเถือ่ น เปน็ ตน้ ประเด็นที่น่าศึกษาเพ่ิมเติมก็คือ การบัญญัติพระวินัยของพระพุทธเจ้าได้ทำให้เกิดเหตุปัจจัยในเชิงลบ เชน่ น้ันหรือไม่ จากการศึกษาพบว่า การบัญญัติวนิ ัยของพระพุทธเจา้ น้ันมีความ “ยืดหยุ่น” (Flexibility) สูงมาก สิง่ ที่สามารถยนื ยันขอ้ มูลสมมติฐานดงั กล่าวก็คอื เม่ือพระองคไ์ ด้ทรงบัญญัตพิ ระวินยั ขอ้ ใดท่ีเรียกว่า “ปฐมบัญญตั ิ” ขึ้นมาใช้แล้ว หากกฎเกณฑ์ดังกล่าว “ไม่ครอบคลุม” หรือ “มีช่องโหว่” อันจะส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แล้วและเพ่ือให้การปฏิบตั ิ หรอื วถิ ชี ีวติ ของสมณะเอ้ือต่อการปฏิบัติธรรมหรือพัฒนาสังคมแลว้ พระองค์กจ็ ะบญั ญัติ เพ่ิมเติมดังที่เรียกว่า “อนุบัญญัติ” ลักษณะของการบัญญัติมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมของภิกษุรูปใดรูปหนึ่งส่งผลต่อ องคาพยพอื่นๆ ในสังคม อันเป็นการบัญญัติท่ีเกิดจากการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Analysis) อยา่ งรอบดา้ นแลว้ จึงบญั ญัติ ๔. ความขดั แย้งเปน็ ทม่ี าของการสงั คายนาธรรมวนิ ยั ผูเ้ ขียนมองว่า “ความขัดแย้งเป็นท่ีมาของการสังคายนา” และนับได้ว่าเป็นคำท่ีมีอิทธิพลสำคัญอย่างย่ิง ตอ่ การ “สังคายนา” ก่อนท่ีจะตอบว่า เพราะเหตุไร จึงมีข้อสมมติฐานเช่นนั้น ผู้เขยี นมีคำถาม ๒ ประเด็นใหญ่ๆ ตอ่ การสงั คายนาพระธรรมวินยั ครง้ั ท่ี ๑ ว่า ๑. เพราะเหตุไร จึงต้องมีการประชุมสงฆ์เพ่ือร้อยกรองและจัดระเบียบ หมวดหมู่ พระพุทธพจน์ ท่ีได้รบั ทราบในท่ีประชุมนั้นว่าตกลงกันอย่างน้ี แลว้ ก็มีการท่องจำ นำสบื ต่อๆ มา ในช้ันเดิม อันเป็นการร้อยกรอง หรอื รวบรวมพทุ ธพจน์อันเปน็ คำสัง่ สอนของพระพุทธเจ้าท้งั หมดท่ีได้ประกาศเผยแผ่ต้งั แต่ครัง้ แรกเมื่อวนั เพญ็ เดอื น อาสาฬหะ (เพ็ญเดือน ๘) จนถึงวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน ตลอดระยะเวลา ๔๕ ปี ซึ่งกระจัดกระจายกันอยู่ นำมาจัดระเบียบใหอ้ ยใู่ นหมวดหมูเ่ ดียวกนั เปน็ ระบบอันหน่งึ อนั เดียวกัน ๒. เพราะเหตุไร พระมหากัสสปะ เม่ือฟังถ้อยคำของพระสุภัททะท่ีกล่าวจ้วงจาบพระพุทธเจ้า๕๒ ต่อหน้า พระภิกษุสงฆ์จำนวนมาก จึงได้ปรารภกับพระภิกษุสงฆ์ว่า “พวกเราจะต้องสังคายนาพระธรรมวินัยกันก่อน ก่อนท่ีอธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะเส่ือมถอย สิ่งที่มิใช่วินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะเสื่อมถอยก่อนที่พวกอธรรมวาทีบุคคล จะมีกำลงั ธรรมวาทบี คุ คลจะเสือ่ มกำลงั อวนิ ัยวาทีบุคคลจะมีกำลงั วนิ ัยวาทีบคุ คลจะเส่ือมกำลงั ”๕๓ และเพ่ือให้เกิดความสมเหตุสมผลในการทำสังคายนามากยิ่งขึ้น ท่านจึงได้นำถ้อยคำของพระสุภัททะมา เสนอต่อที่ประชุมอีกคร้ัง และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเป็นเอกฉันท์ในการทำสังคายนา และผลในทาง ปฏิบัติก็เกิดข้ึน เม่ือนับวันน้ันเป็นต้นมา ๓ เดือน ก็ได้เริ่มทำสังคายนาข้ึน ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเขาเวภาร บรรพตใกลก้ รงุ ราชคฤห์”๕๔ ๕๐ ว.ิ ม. (บาลี) ๑/๔๐๙/๓๐๙, วิ.ม (ไทย) ๑/๔๐๙/๔๔๑. ๕๑ วิ.จู. (บาลี) ๗/๓๑๐/๘๐-๘๓, วิ.จู. (ไทย) ๗/๓๑๐/๑๒๑-๑๒๔. ๕๒ “ทา่ นทงั้ หลายอยา่ เศรา้ โศกร้องไห้ไปเลย การท่ีพระพุทธองคเ์ สด็จปรินิพพานได้นัน้ เปน็ การดแี ลว้ เพราะพวกเราจะได้ พ้นจากพระมหาสมณะรูปนน้ั จะได้ทำอะไรได้ตามใจชอบ ไม่มีใครมาคอยช้ีวา่ น่ีผดิ นี่ถูก นี่ควร ไม่ควร อกี ต่อไป” วิ.จู. ๗/๔๓๗/ ๓๗๖, วิ.ม. ๕/๓๐๓/๓๗๖. ๕๓ อ้างแล้ว, หน้าเดยี วกัน. ๕๔ วิ.จู. (ไทย) ๗/๔๓๘/๓๗๗.

พทุ ธสนั ติวธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๕๓ คำตอบก็คือ “เหตุผล ๒ ประการ” ข้างต้นเป็นเหตุผลสำคัญว่า “ความขัดแย้งมีความจำเป็น และสำคัญ ต่อการสังคายนาเพียงใด” เพราะไม่เช่นน้ันแล้ว ทำไมจึงมีความจำเป็นต้องมีการสังคายนาพระธรรมวินัย เม่ือวิเคราะห์จากประสบการณ์จริง และเป็นเหตุผลเชิงประจักษ์ได้ปรากฏอย่างชัดเจนว่า พระจุนทะได้เข้าไปหา พระอานนท์เพื่อปรับทุกข์เพ่ือนำความดังกล่าวไปทูลกับพระพุทธเจ้าว่า สาเหตุสำคัญท่ีสาวกของนิครนถ์นาฏบุตร บาดหมางกนั ทะเลาะกนั วิวาทกัน จนนำไปสกู่ ารทำร้ายร่างกายกนั นั้น เกิดมาจากเหตุอะไร เพราะพระอานนท์ ได้ตระหนักความจริงดังกล่าวมิใช่หรือจึงได้พาพระจุนทะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า๕๕ นอกจากน้ัน พระมหากัสสปะ ได้คำนึงถึงร่องรอยของรอยปริบางอย่างที่ผุดข้ึนมาจากการสื่อสารของสุภัททะมิใช่หรือ จึงกล่าวว่า “อวินัยวาที บคุ คลจะมีกำลัง วนิ ัยวาทบี คุ คลจะเสื่อมกำลงั ” น่ันก็เพราะความมวี ิสยั ทัศน์ของท่านท่มี องว่า “น่ีคือร่องรอยความ ขัดแย้งเล็กน้อยที่ซ่อนตัวอยู่ในความขัดแย้งใหญ่” และหากไม่รีบดำเนินการเพ่ือกระทำอะไรบางอย่างแล้ว ภาพท่เี คยปรากฏในหมสู่ าวกของนิครนทร์ก็จะกลับมาเยอื นสาวกสมณโคดมอีกคราว ด้วยเหตผุ ลดังกล่าว ผู้เขียน จึงมมี อง “ความขดั แยง้ เป็นทม่ี าของการทำสังคายนา” ๕. ความขดั แยง้ เปน็ ทีม่ าของการจดั ระเบยี บสังคม แนวคิดที่ว่าด้วย “ความไร้ระเบียบ” (Disorder) หรือ “ภาวะยุ่งเหยิง” (Chaos) น้ัน เป็นแนวคิด ที่ช้ีให้เห็นถึงการท่ีสงั คม หรือโลกมนษุ ย์เต็มไปด้วยความขัดแย้ง ความรนุ แรง และความไร้ศีลธรรมของมวลมนุษย์ อันนำไปสู่สงครามกลางเมือง สงครามระหว่างรัฐต่อรัฐ หรือสงครามประเทศต่อประเทศเพ่ือแย่งชิงทรัพยากร ทางธรรมชาติ แย่งชิงดินแดน หรือทำลายเผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ตาม ซ่ึงความยุ่งเหยิงดังกล่าวน่ันเองจึงเป็นที่มาของคำ ว่า “จัดระเบียบโลก”๕๖ (Order World) หรือหากจะกล่าวในวงแคบก็คือ แนวคิดดังกล่าวเป็นตัวแปรสำคัญ ทท่ี ำให้เกิดคำว่า “การจดั ระเบียบสงั คม” (Order Social) นยั ของ “การจัดระเบยี บสงั คม” มไิ ด้ปรากฏมเี ฉพาะ ในยุคปัจจุบันเท่าน้ัน เพราะเมื่อวิเคราะห์แนวคิดดังกล่าวก็ปรากฏมีในพระไตรปิฎกเช่นเดียวกัน ปัญหาคือ ในพระไตรปฎิ กไดน้ ำเสนอประเด็นความขัดแยง้ อนั เป็นทีม่ าของการจดั ระเบยี บสังคมอยา่ งไร “จักกวัตติสูตร” ได้ช้ีให้เห็นสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิง ความไร้ระเบียบของประชาชน เพราะเกิดความขัดแย้งระหว่างพระราชากับประชาชนในประเด็นเกี่ยวกับมาตรฐานในการพระราชทานทรัพย์ แก่คนขโมยสิ่งของของบุคคลอื่น “ถ้าเราจักให้ทรัพย์แก่คนท่ีถือเอาสิ่งของท่ีคนผู้อ่ืนไม่ได้ให้โดยอาการขโมย อทินนาทาน (การถือเอาสิ่งของท่ีเจ้าของไมไ่ ด้ให้) จักแพร่หลายด้วยอาการอย่างน้ี ทางทด่ี ี เราควรให้คุมตัวบุรุษน้ี อย่างแข็งขัน แล้วตัดต้นคอ ตัดศีรษะของบุรุษนั้นเสีย”๕๗ สาเหตุสำคัญที่ทำให้พระองค์ดำริเช่นนี้ก็เพราะว่า ทุกคราวที่จับโจรได้พระองค์จะพระราชทานทรัพย์แก่โจรเหล่าน้ัน ผลท่ีตามก็คือพฤติ กรรมเลียนแบบ เพราะประชาชนมองว่า พฤตกิ รรมดังกลา่ วทำใหพ้ ระราชาทรงสนพระทัยและใสใ่ จตอ่ ความเป็นอยูข่ องพวกเขา เม่ือพระราชาไม่ทรงพระราชทรัพย์ และประหารชีวิตทุกคนที่มพี ฤติกรรมในการเป็นขโมย ประชาชนเกิด ความขัดสน ไม่มีทรัพย์จึงมีการฆ่ากันเพ่ือแย่งชิงทรัพย์ ทำให้ “อทินนาทานแพร่หลาย...ศัสตราแพร่หลาย... ปาณาติบาตแพร่หลาย...มุสาวาทแพร่หลาย...ปิสุณวาจาแพร่หลาย...กาเมสุมิจฉาจารแพร่หลาย...อภิชฌา และพยาบาทแพร่หลาย...”๕๘ ผลที่ตามมาก็คือ “ไม่เกื้อกูลมารดา บิดา สมณพราหมณ์ และไม่อ่อนน้อมต่อ ผู้ใหญ่ก็แพร่หลาย”๕๙ มากยิ่งขน้ึ ๕๕ ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๔๑-๔๒/๓๒-๓๓, ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๔๑-๔๒/๕๐-๕๑. ม.อุ.อ. ๓/๔๑-๔๒/๒๑-๒๔. ม.อุ.ฏี. _/๔๑-๔๒/ ๒๘๖-๒๘๘. ๕๖ ดูเพ่ิมเติมใน เดชา ต้ังสีฟ้า, (เรียบเรียง), ความไร้ระเบียบของโลก: ทางเลือกในทศวรรษ 1990, สุวรรณา- ชัยวฒั น์ สถาอานนั ท์ (บรรณาธิการ), (กรงุ เทพมหานคร: ศนู ย์ข่าวสารสันติภาพ, ๒๕๓๖). ๕๗ ที.ปา (บาลี) ๑๑/๙๒/๕๖, ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๙๒/๖๙. ๕๘ ท.ี ปา. (บาลี) ๑๑/๙๖/๕๙, ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๙๖/๗๑. ๕๙ ท.ี ปา (บาลี) ๑๑/๑๐๒/๖๐-๖๑, ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๑๐๒/๗๓.

พทุ ธสันตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๕๔ จากสภาพการณ์ดังกล่าว จึงทำให้ความโกลาหลจึงเกิดข้ึน เพราะ “มนุษย์เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นมารดา กับบุตร บิดากับบุตร พ่ีชายกับน้องสาว เป็นต้น ก็จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิด จะฆ่ากันอย่างแรงกล้า”๖๐ มนุษย์บางกลุ่มได้ตระหนักรู้ในเบ้ืองต้นเกี่ยวกับ “ภาวะไร้ระเบียบของสังคมท่ีเกิดขึ้น ในสังคม” ว่า “พวกเราอย่าฆ่าใครๆ และใครๆ ก็อย่าฆ่าเรา”๖๑ ด้วยเหตุน้ีจุดเร่ิมต้นของกระบวนการของ “การ จัดระเบียบสังคม” จึงเกิดข้ึนบนฐานของความขัดแย้ง มนุษย์กลุ่มดังกล่าวจึงได้ปลีกตัวออกจากสังคมดังกล่าว เพ่ือสานเสวนา (Citizen’s Dialogue) ระหว่างกลุ่มของประชาชนด้วยกัน การปรึกษาหารือกันในเบ้ืองต้นน้ัน ได้มีการปรารภปัญหาท่ีเกิดขึ้นว่า “พวกเราสูญสิ้นญาติมากมายขนาดนี้ เพราะยึดถืออกุศลธรรมเป็นเหตุทางที่ดี พวกเราควรทำกุศลอย่างไรดี ทางที่ดีพวกเราควรงดเว้นจากปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) ควรสมาทานประพฤติกุศล ธรรมนี้”๖๒ หลังจากได้ข้อสรุปแล้ว จึงพากันประพฤติ และปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม โดยงดเว้นจากการฆ่า สัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ เป็นต้น และช่วยกันดูแลเอาใจใส่ต่อมารดาบิดา สมณพราหมณ์ มีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่เป็นต้น พระพุทธเจ้าได้ช้ีให้เห็นว่า “การจัดระเบียบสังคม” โดยการประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกุศลธรรมทำให้มนุษย์เจริญด้วยอายุ วรรณะ และสังคมก็จะอุดมไปด้วยสันติสุข อยา่ งแท้จริง๖๓ กล่าวโดยสรุป ความมีระเบียบของสังคมจะมีข้ึนไม่ได้หากมนุษย์ไม่มีส่วนสำคัญในการแก้ไข หรือจัดการ ความขัดแย้งท่ีเกิดข้ึนในชุมชนต่างๆ ซ่ึงการจัดการความขัดแย้งตามพระสูตรน้ี เป็นการจัดการความขัดแย้ง โดยเร่ิมจากมนุษย์แต่ละคนเป็นท่ีตั้ง หลังจากนั้นจึงขยายวงของการจัดการความขัดแย้งไปสู่ครอบครัว ชุ มชน และสงั คมตอ่ ไป ๖. ความขดั แย้งเปน็ มาของการพฒั นาสังคมและเศรษฐกจิ เมื่อกล่าวถึงปัจจัย ๔ ซ่ึงได้แก่ “เคร่ืองนุ่งห่ม อาหาร ท่ีอยู่อาศัย และยารักษาโรค”น้ัน ถือได้ว่า เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานท่ีมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์อย่างย่ิง ตัวอย่างท่ีเห็นได้ชัดประการหนึ่งก็คือ “อาหาร” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความหิวเป็นโรคอย่างย่ิง” ซึ่งความหิว หรือความต้องการน้ัน ถือว่าเป็นปัจจัย หรือตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคมมนุษย์ ดังจะเห็นได้จากกรณีการแย่งชิงข้าวสาลีตามท่ีปรากฏ ในอคั คัญญสูตร หรือการท่ีภิกษุใส่ร้าย พระทัพพมัลลบุตรในข้อหาจัดวาระในลำดับสุดท้ายจนทำตัวเองได้อาหาร ไมป่ ระณตี กเ็ กิดจากความต้องการดา้ นอาหาร ใน “กูฏทัณฑสูตร”๖๔ สะท้อนให้เรามองเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อ วิเคราะห์จากประเด็นดังกล่าวพบว่า การท่ีพระเจ้ามหาวิชิตราชทรงเพียบพร้อมไปด้วยโภคสมบัติ มนุษย์สมบัติ และปรารถนาให้ส่ิงเหล่าน้ีคงอยู่กับพระองค์ตลอดระยะเวลาท่ีพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ฉะนั้น พระองค์ ทรงดำริตามวิธกี ารท่ีนิยมกระทำในยุคนัน้ คอื “การบูชายัญ” โดยมุ่งหวงั ว่า สามารถสรา้ งความพอใจใหแ้ กเ่ ทพเจ้า ผู้อยู่เบ้อื งหลงั ความสำเร็จเหลา่ นั้น ในขณะท่ีพราหมณ์ปุโรหิตมองว่า “หัวใจของพระราชาคือประชาชน” ถ้าพระองค์ไม่สามารถกุมหัวใจ หรือเข้าไปนั่งในใจของประชาชนได้ ผลท่ีตามมาก็คือ“การสูญเสียพลังมวลชน”จนนำไปสู่การต่อต้าน และประท้วงเพื่อโค่นล้มราชบัลลังก์ของพระองค์ หรืออาจจะเป็นไส้ศึกให้แก่ข้าศึกท่ีพระองค์ทรงรบจนสามารถ แยง่ ชิงดนิ แดนมาไดอ้ ยา่ งมากมาย ๖๐ เรอื่ งเดียวกัน, หน้าเดยี วกัน. ๖๑ท.ี ปา (บาลี) ๑๑/๑๐๔/๖๒-๖๓, ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๑๐๔/๗๕. ๖๒ ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๑๐๕/๖๓, ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๑๐๕/๗๕. ๖๓ ท.ี ปา. (บาลี) ๑๑/๑๐๕/๖๔, ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๑๐๕/๗๖. ๖๔ ท.ี ส.ี (บาลี) ๙/๓๒๓-๓๕๘/๑๒๗-๑๕๐, ที.ส.ี (ไทย) ๙/๓๒๓-๓๕๘/๑๒๔-๑๕๐.

พทุ ธสันติวธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๕๕ อย่างไรกต็ าม โจทย์และคำตอบของพระราชากบั พราหมณ์อาจจะสอดคลอ้ งกัน แตว่ ิธีการในการแก้โจทย์ นั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุน้ี พราหมณ์จึงนำเสน อสถานการณ์จริงเก่ียวกับ ความขัดแย้งที่เกิดข้ึนในแคว้นต่อพระราชาว่า “บ้านเมืองของพระองค์ยังมีเส้ียนหนาม มีการเบียดเบียน โจรยังปล้นบ้าน ปล้นนิคม ปล้นเมืองหลวง ดักจ้ีในทางเปลี่ยว พระองค์โปรดให้ฟ้ืนฟูพลีกรรมกจ็ ะชื่อวา่ กระทำ สิ่งท่ีไม่สมควร” และนอกจากนั้น พราหมณ์ยังได้เสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลเสียของการหาทางออกด้วย วธิ ีการรนุ แรงว่า “การปราบเส้ียนหนามคือโจร ด้วยการประหาร จองจำ ปรับไหม ตำหนิโทษหรือเนรเทศ ไม่ถือว่า เป็นการกำจัดเสี้ยนหนามคือโจรได้อย่างถูกต้อง เพราะว่าโจรท่ีเหลือจากท่ีกำจัดไปแล้วน้ันก็จะมาเบียดเบียน บา้ นเมอื งได้ในภายหลงั ” ด้วยเหตุดังกล่าวน้ัน พราหมณ์จึงได้นำเสนอ “นโยบายคู่ขนาน” (Dualistic Policy) อันเป็นการดำเนิน นโยบายเชิงรัฐประศาสนศาสตร์ควบคู่ไปกับนโยบายเก่ียวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ซ่ึงนโยบายคู่ขนานนั้นประกอบ ไปด้วย “ไตรภาค”หรอื “กลยทุ ธ์สามเส้า”กลา่ วคือ ๑. การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับชนช้ันรากหญ้า โดยการพระราชทานพันธ์ุพืช และอาหารให้แก่พลเมือง ผู้ขะมักเขม้นในเกษตรกรรม และการเล้ียงปศุสัตว์ เพ่ือให้เกษตรกรน้ันไม่ต้องเดือดร้อนเร่ืองต้นทุนทางสินค้า หรือต้นทนุ ในการซอ้ื วตั ถุดิบจากแควน้ อน่ื มากจนเกินไป ๒.การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับกลาง และระดับสูง โดยการสนับสนุนต้นทุน ทางการผลิต หรือต้นทุน ทางการเงินให้แก่ธุรกิจขนาดกลาง อันเปน็ ธุรกิจเชิงพาณิชย์ท่ีคอยรับซื้อสินค้าทางการเกษตรจากเกษตรกรไปขาย ในแคว้นอื่นๆ หรอื ภายในแคว้นของพระองค์ ๓. การเสรมิ สร้างขวัญและกำลงั ใจให้แกค่ ณะผู้บริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาประเทศน้ัน จำเป็นอย่างย่ิงท่ีจะต้องอาศัยข้าราชการเป็นมันสมอง และผลักดันนโยบายต่างๆ ให้สัมฤทธ์ิผลเป็นรูปธรรม ดังนั้น การพระราชทานอาหาร และเพิ่มเงินเดือนให้แก่ราชการนั้นจึงถือได้ว่า เป็นมาตรการในการสรา้ งแรงจงู ใจได้อยา่ งดีทีส่ ุดทางหน่ึง นโยบาย “สามเส้า” ดังกล่าวน้ัน จัดได้ว่าเปน็ “เคร่อื งยนต์สามตัว” ในการขบั เคลื่อนการพัฒนาประเทศ ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป อย่างไรก็ตาม การดำเนินตามนโยบายดังกล่าวนับได้ว่าเป็นการทำสงคราม หรือประกาศ สงครามในหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น “สงครามกับความยากจน” “สงครามกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง “สงครามกับยาเสพติด” “สงครามกับการก่อการร้าย” และโดยเฉพาะอย่างย่ิง “สงครามกับกิเลส” ท่ีมีอยู่ ในตัวเองดว้ ยการปฏิบตั ิตนตามแนวทางของศลี สมาธิ และปัญญา เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจแบบ “ไตรภาค” มีส่วนสำคัญ ในการจัดการความขัดแย้งไม่ให้เกิดข้ึนและลุกลามในหมู่ประชาชน ผลที่ตามมาก็จักเป็นประดุจถ้อยคำ ของพราหมณป์ โุ รหติ ทีว่ า่ “พลเมอื งเหล่านั้นจักขยันขนั แข็งเอาใจใส่ในการงานของตวั เอง ไม่เบยี ดเบยี นหรอื เอารัด เอาเปรยี บซึ่งกันและกัน บ้านเมอื งก็จะอยอู่ ยา่ งรม่ เย็น ไม่มีเสย้ี นหนาม ไมม่ กี ารเบียดเบียน ประชาชนจะช่ืนชม ยินดี และครอบครัวมคี วามสขุ ” ๓.๖ บาป ๓ อย่างฐานความขดั แย้ง ๑. การสูญเสียความสมดุลทางจิตภาพ ความขัดแย้งในมิติน้ี ได้ก่อให้เกิดผลลบแก่ “สุขภาพจิต” ของมนุษย์ เพราะว่าจิตของมนุษย์น้ันได้ประสบกับการสูญเสีย “ดุลยภาพ” อันเป็นการสูญเสียความสมดุล เนื่องจากสถานการณ์ของความขัดแย้งในบางมิติน้ันได้ทำให้จิตมนุษย์ กวัดแกว่ง ดีใจบ้าง เสียใจบ้ าง ดังท่ีพระพุทธเจ้าได้ตรัสย้ำว่า “กิเลสมาจากการทะเลาะวิวาทกันเป็นต้น” จากนัยนี้จะเห็นว่าการขัดแย้งในแง่ ของการทะเลาะวิวาทน้ัน ได้ถูกเติมเชื้อด้วยกิเลสที่ซ่อนอยู่ภายในจิตมนุษย์ หรือผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัส

พทุ ธสันตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๕๖ ภายนอก “ดุลยภาพภายในจิต” นั้น ได้สูญเสียไป เพราะถูกปกคลุมด้วยอกุศลจิต ดังที่พระสภิยเถระได้พยายาม ทจ่ี ะชี้ “แงล่ บเชิงจติ ภาพ” ของการทะเลาะวิวาทว่า๖๕ “ชนเหล่าอ่ืนย่อมไมร่ ูว้ า่ พวกเรากำลังกำลงั ยอ่ ยยบั อย่ใู นโลกน้ี บรรดาชนเหล่านัน้ ชนเหลา่ ใดรูแ้ จ้งอยู่ ความทะเลาะววิ าทกัน ย่อมระงบั ได้จากสำนกั ของชนเหลา่ นั้น ความทะเลาะววิ าทกัน ย่อมระงบั ไดจ้ ากสำนกั ของชนเหล่านั้น “เมื่อพวกทไ่ี ม่รู้สึกยังประพฤตยิ ึดถืออยู่เหมือนจะไม่ตาย ความทะเลาะวิวาท ย่อมสงบลงไมไ่ ด้เลย ส่วนพวกท่ีรธู้ รรมตามความเป็นจรงิ ย่อมไมก่ ระสับกระสา่ ย ในเมอ่ื สตั วท์ ้งั กระสับกระส่ายอยู่” เถรภาษิตข้างต้นได้สะท้อนท่าทีความขัดแย้งเชิงลบในมิติของจิตภาพให้เราได้เห็นว่า การทะเลาะวิวาท น้ัน นอกจากจะสร้างความโกลาหล และกระสับกระส่ายให้แก่คนอื่น ๆ แล้ว สภาพจิตของปัจเจกบุคคลก็ตกอยู่ ในห้วงแห่งความกระสับกระส่ายเช่นเดียวกัน หากวิเคราะห์สภาพจิตในประเด็นนี้ก็ดูประหนึ่งน้ำที่ถูกกวนให้ขุ่น เราไม่สามารถมองเห็นใบหน้าในขณะที่น้ำขุ่น ฉันใด ปัจเจกบุคคลก็ไม่สามารถมองเห็นความสะอาด สงบ และสว่างในใจได้ หากบรรยากาศภายนอก และภายในเต็มไปด้วยการทะเลาะวิวาทกันและกัน ฉันน้ัน ดังท่ี พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า “พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เก่ียวข้องกับการทะเลาะ การบาดหมาง การแกง่ แย่ง การวิวาท การมุง่ รา้ ย มใี จเปน็ อสิ ระ (จากกิเลส) อยู่”๖๖ ๒. การสูญเสียทรัพย์สิน กรณีศึกษาเกี่ยวกับผลเสียของการวิวาทสามารถวิเคราะห์ได้จากการที่พระองค์ ทรงนำประเด็นเกยี่ วกับนากสองตวั ทท่ี ะเลาะวิวาทกันเพราะไม่สามารถหาบทสรปุ เก่ียวกบั การแบ่งปลาวา่ ใครควร ได้ส่วนไหน แต่วาระสุดท้ายได้ขอร้องให้สุนัขจิ้งจอกเป็นคนกลางทำหน้าท่ีในการแบ่งความจริงที่ปรากฏ ก็คือ นากสองตัวได้หางและหัวปลา ส่วนกลางตัวของปลานั้นสุนัขจิ้งจอกได้นำไปให้ภรรยาของตัวเอง ด้วยเหตุน้ี สุนัข จงิ้ จอกจึงไดเ้ ปรยว่า “เพราะการทะเลาะ สตั วจ์ ึงผา่ ยผอม ทรัพยจ์ งึ สิ้นไป พวกนากเสอ่ื มเพราะการทะเลาะววิ าท กัน “๖๗ ในขณะที่นากสองตัวได้ปรับทุกข์กันว่า “ถ้าเราไม่วิวาทกันไซร้ ท่อนกลางก็จักเป็นอาหารไปได้นานวัน เพราะวิวาทกัน สุนัขจิ้งจอกจึงนำเอาปลาตะเพียนแดงท่ีไม่ใช่หัวไม่ใช่หาง คือท่อนกลางไป” จากประเด็นดังกล่าว พระพทุ ธเจา้ ทรงสรปุ วา่ ๖๘ “ในหมู่มนุษย์ก็เช่นเดียวกัน เกิดการทะเลาะวิวาทกันในท่ีใด ก็จะพากันไปหาผู้ต้ังอยู่ในธรรม ในที่นั้น ผู้วินิจฉัยคดีน้ันเป็นผู้ตัดสินให้พวกเขา ในการทะเลาะนั้น ก็จะพากันหมดสิน้ ทรัพย์ไป พระคลงั หลวง ก็จะ เพ่มิ พูน” ๓. การสูญเสียความสมานฉันท์ในสังคม “สังคมสงฆ์” ถือได้ว่าเป็นสังคมท่ีพระพุทธเจ้าทรงออกแบบ และสร้างข้ึนมาเพ่ือเป็นสังคมแห่งการรองรับการพัฒนาตนเอง หรือเป็นสังคมท่ีเป็นพ้ืนฐานของการปฏิบัติตน เพ่ือแสวงหาความจริงสูงสุด ฉะน้ัน พระองค์ทรงให้ความสำคัญต่อคำว่า “สงฆ์” มากกว่า “พระองค์” ไม่ว่า จะเป็นการถวาย “สงั ฆทาน” หรือพิธกี รรมท่ีตอ้ งให้ครบองค์สงฆ์๖๙ ฉะนนั้ หากใครกต็ ามพยายามทจ่ี ะทำลายสงฆ์ น้ัน หรือก่อความวุ่นวายในสงฆ์ พระองคบ์ ญั ญตั ใิ ห้การกระทำในลักษณะดังกลา่ วนัน้ ผิดท้งั วนิ ยั ๗๐ ๖๕ ข.ุ เถร. (ไทย) ๒๖/ ๒๗๕–๒๗๖/๓๘๔. ๖๖ ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๖๓/๒๐๓. ๖๗ ข.ุ ชา. (ไทย) ๒๗/๓๗/๒๖๑. ๖๘ ข.ุ ชา. (ไทย) ๒๗/๓๘/๒๖๑. ๖๙ คำวา่ “สงฆ์” ในระบบพธิ ีกรรม เช่นการบวชนนั้ ต้องมีพระภกิ ษุตงั้ แต่ ๔ รูปขึน้ ไป. ๗๐ พระองค์ไดป้ รบั อาบตั ิสังฆาทเิ สสแก่พระเทวทตั ต์ หลงั จากทพี่ ระเทวทตั ต์ทำสงฆใ์ หแ้ ตกจากกนั .

พุทธสันตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๕๗ และผิดธรรม๗๑ด้วย ด้วยเหตุท่ีพระองคท์ รงออกแบบให้สังคมสงฆเ์ ป็น “สังคมแห่งสมานฉันท์” และ “เอ้ือตอ่ การปฏิบตั ิธรรม” ดังกล่าว จึงตรัสโทษของการวิวาทท่ีเกิดจากการทะเลาะวิวาทเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า “ทิฐิ๗๒ ความยินดียินร้าย๗๓ การมุ่งหวังการแพ้ชนะ๗๔ เพื่อให้ได้มาซึ่งโลกธรรม ไม่ว่าจะเป็นลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขส่วนตน๗๕ แล้วกล่าวคำย่ำยีดูหม่ิน๗๖ และกล่าวเสียดสีคนอ่ืนๆ๗๗ เป็นส่ิงท่ีเกิดขึ้นจากการทะเลาะกัน การบาดหมางกัน การแก่งแย่งกัน การวิวาทกันและการมุ่งร้ายกัน ฉะน้ัน บุคคลเห็นโทษน้ีแล้ว จึงควรงด เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไมเ่ กี่ยวข้องกับการทะเลาะ การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย มีใจเป็นอิสระ (จากกิเลส) อยู่” ๗๘ เม่ือสรุป “บาป” ของการทะเลาะวิวาทตามนัยดังกล่าวพบว่า ข้อขัดแย้งอย่างระหว่างบุคคล หรือกลุ่ม บุคคลกอ่ ใหเ้ กิดผลเสียแกโ่ จทย์และจำเลยในหลายประเดน็ ดว้ ยกนั ๑.เสียทรัพย์ การนำคดีขึ้นสู่ศาลโดยไม่ได้ดำเนินการเจรจาไกล่เกลี่ยน้ัน จะทำให้โจทย์และจำเลยต้องจ้าง ทนาย ในขณะเดียวกัน หากแพ้คดีอาจจะตอ้ งเสยี เงินเพ่อื ชดใชค้ ่าเสียหาย หรอื ถกู ศาลปรับในบางกรณี ๒.เสยี เวลา โจทย์และจำเลยจะตอ้ งสละเวลาเพอ่ื ไปขึ้นศาล ซึ่งบางคดีนน้ั จะต้องเสยี เวลาในการสืบพยาน ปากต่างๆ หลายปีด้วยกันกว่าคดีจะจบ โดยเฉพาะอย่างย่ิงถ้ามีการอุทธรณ์ และว่ารายการคดีที่มีอยู่ในศาลนั้น กม็ มี ากมายอยู่แล้ว จงึ จำเปน็ ตอ้ งใช้เวลานานในการตัดสิน ๓.เสยี ความร้สู ึก ในขณะท่ีมีการสืบพยานน้นั ทนายอาจจะมีการซักโจทยห์ รือจำเลยเพ่อื ให้ได้ขอ้ มลู ที่จริง และนอกจากนนั้ หากมฝี า่ ยใดฝา่ ยหน่ึงชนะ กจ็ ะทำให้อกี ฝ่ายเสียความร้สู ึก และไมพ่ อใจในคำตัดสินของศาล ๔.เสียมิตรภาพ บางคดีน้ัน โจทย์และจำเลยเป็นเพ่ือนรัก หรือเป็นเพ่ือนบ้านกัน แต่เม่ือเกิดข้อขัดแย้ง ในด้านใดด้านหน่ึง ฝ่ายใดฝ่ายหน่ึงฟ้องร้อง การฟ้องร้องในลักษณะดังกล่าวนั้นได้ทำให้เพ่ือนบ้าน หรือมิตรต้อง กลายเปน็ ศัตรูกนั จนเปน็ เหตุทำรา้ ยกนั จนเสยี ชีวิต ๕.เสียโอกาส การนำคดีขึ้นสู่ศาลนั้น ในบางกรณีอาจจะทำให้เสียโอกาส เพราะในความเป็นจริงแล้ว คู่กรณีสามารถหาทางออกร่วมกันโดยการพูดคุยกันโดยผ่านผู้ใหญ่หรือคนกลางก็ได้ แต่เม่ือนำคดีขึ้นสู่ศาล และศาลประทับรับฟ้องเพื่อนำสืบคดีแล้ว หากคู่กรณีสามารถท่ีจะค้นหาทางออกร่วมกันได้ ก็จะทำให้เสียโอกาส ดงั กล่าว สรปุ ทา้ ยบท ในทางพระพุทธศาสนานั้นยอมรับว่า ความขัดแย้งเป็นส่ิงจำเป็น (Necessity) ในระดับโลกิยวิสัย เพราะ “ความขัดแย้ง” จัดได้ว่าเป็น “ทุกข์ของบุคคลและสังคม” ประการหน่ึง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมองว่า ความขัดแย้งเป็น “ธรรมชาติ” หรือ “ธรรมดา” ของสังคมท่ัวไป จนอาจจะกลา่ วไดว้ ่าเป็น “สิ่งจำเป็น” ของสงั คม ๗๑ การทำสงฆใ์ หแ้ ตกจากกนั นน้ั จัดไดว้ า่ “เปน็ อนนั ตริยกรรม” เช่นเดยี วกับการฆ่าบิดา หรอื มารดา. ๗๒ ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๖๓/๒๐๓. ๗๓ ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๖๓/๒๐๙. ๗๔ ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๖๗/๒๐๓. ๗๕ ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๖๓/๒๐๓. ๗๖ ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๖๕/๒๐๕. ๗๗ ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๙๗/๓๐๐. ๗๘ ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๖๓/๒๐๓–๒๐๔.

พทุ ธสันตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๕๘ เพราะสรรพส่ิงในสังคมนั้นแปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา (อนิจจัง) ผลจากการแปรเปล่ียนดังกล่าวนั้นจึงทำให้เกิด บรรยากาศของ “ทุกข์” หรือ “ความขัดแย้ง” ซ่ึงเป็นสภาวะหรือบรรยากาศท่ีดำรงอยู่ในภาพเดิมไม่ได้ สาเหตุสำคัญท่ีทำให้เกิดความขัดแย้งก็เพราะทุกสิ่งทุกอย่างนั้นในแง่ของโลกิยวิสัยน้ันไม่สามารถเป็นไป ตามความต้องการ หรอื อำนาจของสิ่งใด หรอื บุคคลใด กลา่ วคือไม่มีสิ่งใด หรอื บุคคลใดบังคับใหม้ ันไม่เปล่ยี นแปลง หรือไม่ให้ขัดแย้งกัน (อนัตตา) ฉะน้ัน เม่ือกล่าวโดยธรรมชาติแล้ว สรรพส่ิงต้องขัดแย้งกัน แต่ถึงกระน้ัน พระพทุ ธศาสนากไ็ ด้เหลือ “พื้นที่”ของความ “ไมข่ ัดแย้ง” เอาไว้ให้ “สภาวะสงู สุด” นน่ั กค็ ือ “พระนิพพาน” อย่างไรก็ดี ในทัศนะของพระพุทธศาสนา ความขัดแย้งได้ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณค่าภายในของมนุษย์ ในเชิงอัตวิสัย และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณค่าในเชิงปรวิสัยเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ความขัดแย้งก่อให้เกิด การพัฒนาการระบบการเมืองการปกครอง การบัญญัติพระวินัย การจัดระเบียบสังคม และการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ ฉะนั้น ความขัดแย้งในพระพุทธศาสนาสะท้อนภาพท้ังท่ีเป็นบุญและเป็นบาป ประเด็นจึงอยู่ท่ีว่า เราจะมที า่ ทีตอ่ ความขัดแยง้ หรือวางบทบาทของตัวเองในสถานการณ์ของความขัดแย้งอย่างไร จึงจะสามารถดำรง ตนอย่บู นสถานะของความขดั แย้งได้อยา่ งประสานสอดคล้องกับชวี ติ และสังคม ด้วยเหตุน้ี หากเรายอมรับว่า ความขดั แยง้ เป็นส่ิงจำเป็น และเป็นธรรมชาติของมนุษย์และสังคมในระดับ โลกิยะแล้ว หน้าที่สำคัญของมนุษย์และสังคมจึงไม่ได้อยู่ท่ี “การหลบหนี” หรือ “สลาย” ความขัดแย้ง หากแต่ ยอมรับสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ในฐานะท่ีเป็น “ทุกข์” ประการหน่ึงของชีวิตและสังคม และแสวงหา คำตอบว่า ความขัดแย้งเกิดจากอะไร นำไปสู่อะไร เราควรจะมีท่าที รวมไปถึงการแสวงหาทางออก หรือหาเครื่องมือเพ่ือนำไปจัดการความขัดแย้งให้ถูกต้องตามหลักเหตุ ผล ตน ประมาณ กาล บุคคล และชุมชนได้ อยา่ งไร๗๙ จึงจะทำใหม้ นุษย์และสังคมอยู่รว่ มกันอย่างสันตสิ ขุ . ๗๙ ผูส้ นใจเครื่องมอื ในการจดั การความขัดแยง้ เชิงพุทธ พ่ึงศึกษารายละเอยี ดเพมิ่ เตมิ ได้ใน พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส “รูปแบบการจดั การความขดั แย้งโดยพทุ ธสนั ติวิธี : ศกึ ษากรณลี มุ่ น้ำแมต่ าชา้ ง จ. เชยี งใหม่”, อ้างแล้ว.

พทุ ธสันตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๕๙ คำถามท้ายบท

พทุ ธสนั ตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๖๐ เอกสารอา้ งอิงประจำบท มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั . พระไตรปิฎกภาษา บาลี ฉบับมหาจุฬา เตปิฏกํ ๒๕๐๐, กรงุ เทพมหานคร: หจก. การพิมพพ์ ระนคร, ๒๕๒๙. . พระไตรปิฎกฉบบั ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลมิ พระเกียรติ สมเดจ็ พระนางเจ้าสริ กิ ติ ิ์ พระบรมราชินีนาถ, กรุงเทพมหานคร : โรงพมิ พ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั , ๒๕๓๙. .อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจฬุ าอฏฺฐกถา, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพว์ ญิ ญาณ, ๒๕๓๒. ชยั วัฒน์ สถาอานันท์. สันติทฤษฏี/วิถวี ฒั นธรรม, กรุงเทพมหานคร : เรอื นแกว้ การพมิ พ์, ๒๕๓๙. . อาวุธมีชีวิต, กรุงเทพมหานคร : สำนกั พมิ พฟ์ ้าเดยี วกนั , ๒๕๔๖. ธีรยทุ ธ บญุ มี, Road Map ประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร: สายธาร, ๒๕๔๗. รอฮมี ปรามาส, สงครามอนาคต และนวัตกรรมทางการทหาร, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๔๗๓๖. สรุ ชาติ บำรุงสขุ , “สงครามข้ามรัฐ-สงครามในรฐั : จากสถานการณ์โลกถึงภาคใต้”, ใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๒๔๙. Thoresten Sellin, Culture Conflict and Crime, New York : Social Science Research Council, 1938.

บทที่ ๔ แนวคิดและทฤษฎีสันติวธิ ี วตั ถปุ ระสงคก์ ารเรยี นประจำบท เมอ่ื ได้ศกึ ษาเน้ือหาในบทน้ีแล้ว ผูศ้ ึกษาสามารถ ๑. อธบิ ายแนวคิดเก่ยี วกับแนวทางสนั ตวิ ิธไี ด้ ๒. อธบิ ายประเภทของสนั ติวิธีได้ ๓. อธบิ ายแนวทางสร้างสันติวิธไี ด้ ๔. อธิบายพลังของสนั ติวธิ ไี ด้ ๕. อธบิ ายกระบวนนำสันติวิธีนำไปใชไ้ ด้ ๖. อธบิ ายสาเหตุและความแตกแยกของสงฆ์ได้ ขอบข่ายเนอื้ หา • แนวคิดเกยี่ วกับแนวทางสนั ตวิ ธิ ี • ประเภทของสนั ตวิ ธิ ี • แนวทางสรา้ งสันติวิธี • พลังของสนั ติวิธี • กระบวนนำสันตวิ ิธีนำไปใช้ • สาเหตุและความแตกแยกของสงฆ์

พทุ ธสันตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๖๒ ๔.๑ ความนำ ความขัดแย้ง เป็นส่ิงท่ีแสดงถึงความไม่ลงรอยและการปะทะกันระหว่างความคิด ผลประโยชน์เป้าหมาย ความเชื่อและความต้องการของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ซ่ึงความขัดแย้งมีหลายระดับ นับต้ังแต่ระดับปัจเจกบุคคล ระดับระหว่างบคุ คล ระดับสังคม ไปจนสู่ระดับชาติและระดับนานาชาติ หากประมวลความหมายของความขัดแย้ง สามารถประมวลได้นับตั้งแต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (Royal Academy, 2003)๑ ได้ให้คำอธิบาย เก่ยี วกับความหมายของความขัดแย้งว่า “ขัด” หมายถงึ ไม่ทำตาม ฝ่าฝนื ขืนไว้ ส่วนคำว่า “แย้ง” หมายถึง ไม่ตรง หรอื ไม่ลงรอย ต้านและทานไว้ ดังนั้น จึงรวมความได้ว่าความขดั แย้งหมายถึง สภาพความไม่ลงรอยกัน คือ ไม่ยอม ทำตามและยังมีการต้านเอาไว้ ส่วน Webster Dictionary ค.ศ. 1913๒ ได้อธิบายว่า ความขัดแย้งคือการต่อสู้ การทำสงคราม ความไม่ลงรอยต่อกันหรือเข้ากันไม่ได้ ตรงกันข้าม การไม่ถูกกัน ความคิด หรือการกระทำที่ไม่ เหมือนกัน ในขณะที่ Louis Kriesberg (1998)๓ ได้ให้ความหมายของความขัดแย้งว่า คือปรากฏการณ์ที่บุคคล หรือกลุ่มบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปแสดงความเช่ือของตนว่าท้ังสองฝ่ายมีจุดมุ่งหมายที่ไม่สามารถไปด้วยกันได้ ซึ่งจะเห็นว่า Kriesberg ให้ความสำคัญกับคำว่า “แสดงความเชื่อ” นั่นหมายถึงว่า ความขัดแย้งในทัศนะของเขา จะเกิดขึน้ ก็ต่อเมอื่ ไดม้ กี ารแสดงความเช่ือวา่ เกิดความขดั แย้งกันจากทง้ั สองฝา่ ย เมื่อใดก็ตามที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ที่มีโอกาสที่ความขัดแย้งจะเปลี่ยนแปลงไป สู่ความรุนแรงได้ การท่ีจะทำให้ความขัดแย้งเป็นเร่ืองดี หรือ เป็นด้านบวกได้นั้น จำเป็นต้องมีการจัดการ ความขัดแย้งน้ันๆ ด้วยวิธีการท่ีปราศจากความรุนแรง หรือ ที่เรียกว่า สันติวิธี การใช้แนวทางสันติวิธีสามารถ นำไปสู่สันติภาพได้ ในการศึกษาความขัดแย้งและสันติภาพท่ีให้เป็นไปด้วยความเข้าใจท่ีถูกต้อง จึงจำเป็น ตอ้ งเข้าใจเน้ือหาเกี่ยวกบั แนวคิด หลักการ วิธีการ ความขดั แย้ง (Conflict) ความรนุ แรง (Violence) การจัดการ ความขัดแย้ง (Conflict Management) และสันติวิธี (Non-violence) ในสังคมไทยส่วนใหญ่มักกล่าวถึงประเด็น ที่กล่าวมาในเชิงมโนธรรม ทำให้การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกระทำได้ยาก ต่างมีการคาดหวังของประชาชน ต่อสงั คมสันติสขุ ท่ีแตกตา่ งกนั ๔.๒ แนวคดิ เกี่ยวกับแนวทางสนั ตวิ ธิ ี ๑. ความหมายของแนวทางสนั ตวิ ธิ ี ศรีเพ็ญ ศุภพิทยากุล๔ ให้ความเห็นว่า สันติวิธี คือ วิธีการแก้ไขความขัดแย้ง หรือตอบโต้ ในสถานการณ์ หน่งึ ๆ โดยไมใ่ ช้ความรนุ แรงตอ่ คกู่ รณี โดยเพาะอย่างยิง่ ทเ่ี ปน็ การประทษุ รา้ ยสนั ตวิ ธิ ี คอื ๑.๑ วธิ แี ก้ไขปัญหาท่นี มุ่ นวล ๑.๒ วธิ กี ารจดั การกับความขัดแยง้ ทีเ่ กิดขน้ึ ๑ Royal Academy. (2003). Royal Academy Dictionary for the Year 2003. Bangkok:Nanmeebooks. ๒ Webster Dictionary. (1913). Definition Conflict. Available from: http://www.websterdictionary. org/definition/Conflict. (Accessed 14 September 2016). ๓ Kriesberg, L. (1998). Constructive conflict: From escalation to resolution. (3rd ed.). Lanham, Md.: Rowman & Littlefield. ๔ ศรเี พ็ญ ศภุ พิทยากลุ , มนษุ ย์กบั สนั ตภิ าพ, พิมพ์ครั้งท่ี ๒, (กรุงเทพมหานครสาํ นกั พิมพ์แหง่ จฬุ าลงกรณ์ : มหาวิทยาลยั ๒๕๔๒), หนา้ ๖๕.

พุทธสนั ติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๖๓ ๑.๓ ความรู้สึกนกึ คดิ ที่จะให้สังคมมีแต่ความสงบร่มเย็นเปน็ สุข ๑.๔ วิธีการที่มจี ุดหมายท่ที ำใหค้ นสงั คมอยู่รวมกันไดแ้ ม้มคี วามขดั แย้งกนั ๑.๕ ความเช่ือหรือคุณค่าของสังคมมนุษย์ท่ียอมรับว่ามนุษย์มีความเท่าเทียมกัน ซึ่งจะนำไปสู่ การเคารพสิทธมิ นุษยชน ๑.๖ กรอบความคิดหรือทัศนคติ และเป็นวิธีปฏิบัติต่อเพ่ือมนุษย์ในการดำเนินวิถีชีวิตปกติ และเมื่อต้องเผชิญกับความขัดแย้ง โดยมีความม่ันใจว่าสามารถทำให้คนท่ีเห็นต่างกัน หรือขัดแย้งสามารถ อยู่ร่วมกันโดยแต่ละต่างเคารพ ความเท่าเทียมกัน และพยายามที่จะเรียนรู้ การอยู่รวมกันด้วยการแบ่งปันกัน เอือ้ อาทรตอ่ กนั และไม่ใชค้ วามรุนแรงเป็นทางเลือกเม่ือขดั แย้ง ๑.๗ เป็นวิธีท่ีกลุ่มบุคคล หรือมวลชน ใช้ต่อสู้เพื่อให้ได้ส่ิงท่ีตนปรารถนาในบางอย่าง หรือเพื่อ ให้รัฐหรือผู้มีอำนาจ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น การจัดชุมนุมหยุดงานประท้วง การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ รวมทงั้ วธิ ี ฝืนกฎหมาย ปิดถนน เป็นต้น ๒. ทีม่ าของการแกไ้ ขปัญหาโดยสันตวิ ิธี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๔๔ บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพ ในการชุมชุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ” และมาตรา ๖๕ บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิ ต่อต้านโดยสันติวิธี ซ่ึงการกระทำใดๆ ท่ีเป็นไปหรือได้มาซึ่งอำนาจในทางปกครองประเทศโดย วิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทาง ทบ่ี ญั ญัตไิ วใ้ นรัฐธรรมนูญน้ี” รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔๔ บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการ ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายท่ีตราข้ึนเพื่อรักษาความม่ันคงของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือ ศลี ธรรมอันดขี องประชาชน หรอื เพอื่ คุ้มครองสิทธหิ รือเสรภี าพของบุคคลอืน่ ” รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีองค์การต่างๆ ทำหน้าที่จัดการเวลามีความขัดแย้งข้ึน เช่นคณะกรรมการ ด้านสิทธิมนุษยชน ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งองค์กรเหล่านี้ จะทำหน้าท่ียุติปัญหา เมื่อมีความขัดแย้งโดยไม่ต้องใช้ความรุนแรงเม่ือมีความเห็นต่างกัน ทุกฝ่ายจะใช้องค์กรและระบบที่ก ำหนด เพ่ือหาข้อยตุ ริ ว่ มกนั เมอื่ มีความขัดแย้งเกิดขนึ้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี ๘-๙ ได้กำหนดวิธีการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี เป็นนโยบายสำคัญประการหน่ึง และได้เน้นให้มีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนควบคู่กับการลด ความขัดแย้งในสังคมอันเน่ืองมาจากการดำเนินโครงการพัฒนาของ รัฐบาลที่จะไป สู่การปฏิบัติในพ้ืนที่ เพื่อก่อให้เกิดความสงบสุขสามัคคีในสังคมโดยให้ประชาชน มีส่วนร่วมต้ังแต่เร่ิมโครงการ การศึกษารายละเอียด การติดตามผล การตัดสินใจ การเลือกรูปแบบ ท่ีเหมาะสม รวมทั้งให้เจ้าของโครงการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ความรู้ท่ีถูกต้องให้ประชาชนรับรู้ และให้มีการปรับบทบาทและทัศนคติของภาครัฐให้สามารถปฏิบัติงานป้องกัน แก้ไขขอ้ ขัดแยง้ ในสงั คมดว้ ยสนั ตวิ ิธี คอื ๑. ทุกส่วนราชการยึดหลักการดำเนินงานที่เปิดโอกาสให้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา อย่างมีเหตุผลและมีความจริงใจในการทำงานร่วมกับประชาชน ใช้หลักรัฐศาสตร์ควบคู่กับหลักนิติศาสตร์ ในการปอ้ งกนั แกไ้ ขปัญหาขอ้ ขดั แยง้ ในสงั คม ๒. ส่งเสริมการใช้ฉันทานุมัติ ในการแก้ไขปัญหา แทนการใช้เสียงข้างมากและเผยแพร่มติ ข้อตกลงใหป้ ระชาชนรู้อยา่ งเปิดเผยและกวา้ งขวาง ๓. สนับสนุนการใช้กลไกสาธารณะ ซึ่งเป็นท่ีเชื่อถือและยอมรับของสังคมและไม่มีส่วนได้เสีย ในการดำเนินการให้ทำหน้าท่ีไกล่เกลี่ยเจรจา ทำความตกลงหาข้อยุติที่ยอมรับได้ร่วมกันและให้ยุติปัญหา ความขัดแย้งในพืน้ ท่ีสำนักงานสภาความม่ันคงแห่งชาติ ได้กำหนดเป็นนโยบาย ความมัน่ คงแหง่ ชาตดิ า้ น การเมือง

พทุ ธสันตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๖๔ ภายในประเทศไวว้ ่า “สง่ เสริมและสร้างบรรยากาศของการปรึกษาหารอื และการแก้ไข ปัญหาของทุกฝ่ายโดยสันติ วิธี ภายใต้หลักการประสานประโยชน์การดำเนินการตามกฎเกณฑ์ กติกาและประเพณีทางการเมืองอันดีงาม เพื่อให้การแก้ไขปัญหาและความเคล่ือนไหวท่ีเกี่ยวข้อง ทางการเมืองเป็นไปโดยราบรื่นและเกิดประโยชน์ ตอ่ ส่วนรว่ ม” ๓. แนวคิดของสันติวธิ ี สันติวิธีมิใช่เทคนิคที่เกิดขึ้น ซึ่งแต่ละสถานการณ์แวดล้อมจะพาไป แท้จริงแล้ว สันติวิธีเป็นแบบแผน หรือระบบของการกระทำท่ีสอดคล้องกันในตัว เกิดขึ้นจากแนวคิด หรือทัศนะ การมองโลกและชีวิตแบบหน่ึงๆ เป็นพ้ืนฐาน แนวคิดดังกล่าวเรยี กอีกอย่างว่า สมมุติฐานของสันตวิ ิธี สันติวิธีของบุคคลหรือกลุ่มต่างๆ จะมีพื้นฐาน มาจากแนวคดิ ใดแนวคิดหนง่ึ หรือหลายแนวคิด ประกอบกนั ซง่ึ พระไพศาส วิสาโล๕ ไดจ้ ำแนกดังต่อไปน้ี ๓.๑ ความขัดแย้งเป็นธรรมดาของชีวิตและสังคม เราไม่อาจจะหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธ มันได้ท่าที ท่ีพึงกระทำคือยอมรับว่ามันมีอยู่จริง และแก้ไขจัดการมันอย่างถูกสภาพ สันติวิธีมิได้ หมายถึงการหลีกเล่ียง หรือจำนนต่อความขัดแย้ง แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่เป็นการสร้างความขัดแย้ง ให้เกิดข้ึน หากเป็นเพียงการ ทำให้ความขัดแย้งท่ีแฝงเร้นหรือพยายามปกปิดน้ัน ปรากฏออกมา ตามท่ีมันเป็น โดยไม่ทำให้มันขยายลุกลาม การใช้ความรุนแรงมีแต่จะทำให้ความขัดแย้งลุกลาม เพราะวฎั จกั รแห่งการตอบโต้ขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม พึงเข้าใจว่าความขัดแย้งท่ีพูดถึงนี้ หมายถึง ความขัดแย้งทางสังคมหรือในทางความสัมพันธ์ต่อกัน มิได้รวมถึง ความขัดแย้งในจิตใจ ความขัดแย้งอย่างหลังนี้ สันติวิธีอาจก่อให้เกิดขึ้นได้ในจิตใจของคู่กรณีทำให้เกิดการต่อสู้ ภายใน ระหว่างมโนธรรมสำนึกกับอกุศลจิต เกดิ ความสบั สนวนุ่ วายใจ ลังเลสงสัยในสิ่งท่ีตนทำภาวะ ขัดแย้งเช่นน้ี เป็นส่วนสำคัญให้เกิดการเปลยี่ นแปลงไปส่สู ่งิ ดีงามและไมพ่ ึงเขา้ ใจสบั สนวา่ เป็น ความรุนแรงทางจติ ใจ ๓.๒ ในความขัดแย้งน้ัน ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายถูกหรือผิดโดยสมบูรณ์ แต่ละฝ่าย ต่างย่อม มีส่วนถูกไม่มากก็น้อย ไม่มีใครท่ีจะผูกขาดสัจธรรมโดยอ้างว่าตนเป็นฝ่ายเดียว และอีกฝ่ายหน่ึงเป็นผู้ผิด ท้ังนี้ ก็เพราะว่าความเป็นจริงน้ันมีความซับซ้อน มีหลายรูปลักษณ์ หลายด้าน และหลายแง่ ความขัดแย้งมักเกิด เพราะมองความเป็นจริงจากคนละด้าน และแม้จะมองด้านเดียวกัน หรือแม้แต่ รูปเดียวกัน ในชีวิตจริงเราก็พบ เสมอว่าสิ่งที่แต่ละคนเห็นนั้นแตกต่างกันไป กล่าวคือเป็นการเห็น จำเพาะบางแง่บางความหมายของส่ิงที่เห็น เทา่ นน้ั ในสถานการณ์ความขัดแยง้ ขอ้ เทจ็ จริงท่ีแตล่ ะฝา่ ย รับรู้ หรอื นกึ วา่ รูน้ น้ั จะแตกต่างกันไปเช่นกนั ความคิดท่ีว่า ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหน่ึงฝ่ายหนึ่งท่ีถูกต้องสมบูรณ์ หรือผิดอย่างส้ินเชิง ทำให้ฝ่ายใดท้ังไม่มีสิทธิ และไม่สามารถอ้างความชอบธรรมท่ีจะกำจัดอีกฝ่ายหน่ึงได้แนวคิดเช่นน้ี ไม่เพียงแต่จะทำให้การใช้ความรุนแรง ไมม่ คี วามชอบธรรมแล้ว ยังเปน็ ปัจจัยทีส่ นับสนุนใหแ้ ก้ไขข้อขดั แย้งด้วยสันตวิ ิธี เพราะสนั ติวิธีเป็นวิธีการทเ่ี ปิดชอ่ ง ให้คู่กรณีสามารถแสดงข้อเท็จจริง ของฝ่ายตนออกมาอย่างเต็มที่ โดยไม่ถูกตัดโอกาสด้วยการถูกท ำร้ายถึงชีวิต หรือถูกจับกุมคุมขัง เสียก่อน พร้อมกันนั้น สันติวิธีก็เอ้ืออำนวยให้การสื่อข้อเท็จจริงของผู้กระทำการน้ันเป็นไป อย่างตรงเป้าชัดเจน ตรงกันข้ามกับการใช้ความรุนแรงและการกระทำด้วยอารมณ์ขุ่นมั่วแบบอ่ืนๆ วิธีการดังกล่าว นอกจากจะทำให้สื่อปัญหาไม่ได้ชัดเจนแล้ว ยังเบ่ียงเบนความสนใจประเด็นปัญหา ท่ีเป็นข้อขัดแย้ง อีกทั้ง ยังเป็นเหตุให้คู่กรณีรู้สึกถูกกระทบอย่างแรง เกิดกลไกป้องกนั ตนเอง ปิดหู ปิดตาไม่ยอมรับรู้ปัญหาที่ผู้กระทำการ ต้องการบอกการมีแนวคิดดังกล่าวเป็นพื้นฐาน ทำให้สันติวิธี เป็นวิธีการต่อสู่เพื่อให้สัจจะปรากต่อทุกฝ่าย ทม่ี สี ว่ นในความขดั แย้ง ๓.๓ ความขัดแย้งน้ันจะระงับไปได้ต่อเม่ือทุก ฝ่ายร่วมกันแก้ไข มิใช่ฝ่ายใด ฝ่ายหน่ึง กระทำอยู่ ฝ่ายเดียว ยิ่งกว่านั้นยังเชื่อต่อไปอีกว่าทุกคนและทุกฝ่ายมีศักยภาพท่ีจะเข้าร่วมแก้ไข ปัญหา ดังน้ันการชี้ให้เห็น ๕ พระไพศาส วิสาโล, สนั ติภาพโดยสนั ติวธิ ี, ในสือ่ สันติภาพ สันตภิ าพในสือ่ ,กาญจนา แก้วเทพ บรรณาธกิ าร, (กรงุ เทพมหานคร : จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย, ๒๕๕๐), หนา้ ๕๑.

พทุ ธสนั ตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๖๕ คู่กรณีเห็นถึงปัญหาท่ีเป็นสาเหตุของข้อขัดแย้งจึงเป็นข้ันตอนสำคัญที่สุด ที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหา การช้ีให้เห็น ปัญหายังมีความหมายรวมถึงการที่ทุกฝ่ายพึงมองเห็นปัญหา ของอีกฝ่ายหน่ึงอย่างถ่องแท้สันติวิธีนอกจากจะเอื้อ ให้เกิดกระบวนการส่ือสารปัญหาและ ข้อเท็จจริงอย่างแจ่มชัดด้วยกันท้ังสองฝ่ายดังได้กล่าวมาแล้ว ยังเปิดโอกาส ให้ทุกฝ่ายโดนเพาะ คู่กรณีท่ีสร้างปัญหามีบทบาทในการแก้ปัญหา ทั้งด้วยการร่วมมือกับผู้ใช้สันติวิธี หรือด้วยการริเร่ิม ของตนเอง ทั้งนี้เพราะสันติวิธีได้มุ่งสร้างความเป็นปฏิปักษ์กับคู่กรณีท้ังมิได้ใช้ความรุนแรง บีบบังคับ ขู่ หรือกำจัดเขา อันเป็นการกระทำให้เขาต้องพ้นจากบทบาทฐานะในการแก้ปัญหาเสียแต่ต้นมือ มองในแง่นี้ สันติวิธีจงึ มิใช่เร่ืองของการตอ่ สู้เพื่อเอาชนะอีกฝ่ายหนึง่ แตเ่ ป็นวิธีการท่ี ม่งุ ให้เกิดสถานการณ์ อยา่ งใหม่ ซ่ึงเปน็ ผลดีตอ่ ทกุ ฝ่ายกลา่ วอกี นยั หน่ึง เป็นการชกั นำคู่กรณีให้มาสู่ จุดซงึ่ เป็นทพ่ี อใจของทกุ ฝ่าย ๓.๔. ทุกคนมีความเป็นมนุษย์เหมือนกัน ต่างมีใจใฝ่ในความดีงาม แม้ผู้ที่ได้ชื่อว่า อำมหิต โหดเห้ียม ในส่วนลึกก็ยังมีความโน้มเอียงต่อความรักความกรุณา อ่อนไหวต่อความเจ็บปวด รวดร้าวของผู้อ่ืน และแม้จะมีจิตใจหยาบกร้านเพียงใด คุณความดีจากสิ่งแวดล้อมภายในภายนอก ก็สามารถแผ่ซึมซับสัมผัส และมีพลานุภาพต่อจิตใจของเขาได้ แต่สาเหตุที่ความเป็นมนุษยข์ องเขาไม่ปรากฏต่อภายนอกหรือไม่ส่งผลออกมา เป็นการกระทำอันดีงาม ก็เพราะความเป็นมนุษย์น้ัน ถูกบิดเบือนบดบังด้วยอุดมการณ์ ทฤษฎีท่ีคับแคบแข็งกร้าว ความหลงใหลในอำนาจความย่ิงใหญ่ และความปรารถนาส่ิงปรนเปรออย่างไม่รู้จักพอ สันติวิธีและการยอมทน กระทำหรือยอมรับความเจ็บปวด โดยไม่ตอบโต้ด้วย ความรุนแรง สามารถปลุกเร้าความดีงามที่ซ่อนอยใู่ นส่วนลึก ของกรณี กระพือประกายแห่งมโนธรรม และความรู้ผิดชอบชั่วดีในตัวเขาให้กลับมีพลังในการยับย้ังพฤติกรรม อันมิชอบและหนุนให้เกิด การกระทำอันดีงามขึ้นมาได้ยกเว้นก็แต่กรณีผู้วิกลจริตเท่านั้น ซึ่งความเป็นมนุษย์ ของเขาอาจแปรปรวนไป แตค่ นทัว่ ไปย่อมสามารถจะรับรแู้ ละตอบสนองต่อคุณธรรมความดีงามของผู้อนื่ ได้ ๓.๕ ศัตรูของมนุษย์ท่ีต้องกำจัด มิใช่ตัวบุคคล หรือคนกลุ่มใดกลุ่มหน่ึงหากคือ ความเลวร้าย ภายใน อันได้แก่ ความคิดท่ีคับแคบ ความใฝ่ในอำนาจและความโลภในทรัพย์สมบัติ ซึ่งได้แสดงออกมา เป็นการกระทำภายนอกหรือปรากในรูประบบแผนความสัมพันธ์ท่ีมิชอบ โดยมีปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เกื้อกูล เป็นตัวเสริมให้ความเลวร้ายนั้นแผ่ซ่านส่งผลกระทบผู้อ่ืนอย่างรุนแรง และกว้างขวางขึ้น การฆ่าคนไม่อาจยับยั้ง ความเลวร้ายได้ตราบใดทร่ี ะบบแบบแผนความสัมพันธ์ อันมิชอบ และปจั จยั แวดล้อมอันไม่เกื้อกูลยังดำรงอยู่ ท้ังยัง ปลกุ เรา้ ส่งเสรมิ ใหเ้ กิดทศั นคตแิ ละภาวะ จิตใจทเ่ี ป็นอกุศลดังกล่าว สันติวิธีมิได้มีเป้าหมายท่ีตัวบุคคล แต่หมายมุ่งไปท่ีการกระทำอันมิชอบตลอดจน ปัจจัยภายในภายนอก ทบ่ี ่มเพาะใหเ้ กิดการกระทำดังกล่าวข้นึ มา ๓.๖ วิธีการต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย หากปรารถนาสังคมที่สันติ ก็ต้องใช้วิธีการสันติ สังคม ซ่ึงผู้คนมีความรักความเอื้อเฟื้อต่อกัน เคารพในชีวิตและความเป็นมนุษย์ของกัน มิอาจบังเกิดเป็นจริงได้ เว้นเสีย แต่จะใช้วิธีการซึ่งให้ความเคารพต่อมนุษย์ทุกคนไม่เว้นแม้แต่ศัตรู หรือคู่กรณี เม่ือเห็นว่าประชาธิปไตยเป็นส่ิงพึง ประสงค์ก็จำต้องใช้วิธีการท่ีเป็นประชาธิปไตย นั่นคือการใช้สันติวิธี ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถคิดค้น และอยู่ในแถวหน้าของการต่อสู้อย่าง เท่าเทียมกัน อกี ท้ังยงั สามารถปฏิเสธหรือถอนตัวจากการต่อสู้ได้ หากไม่เห็น ด้วย ๓.๗ อำนาจมิได้เกิดจากอาวุธ หากข้ึนอยู่กับการยอมรับหรือการยินยอมเชื่อฟังของผู้อื่น เม่ือราษฎรไม่เชื่อฟังผู้ปกครอง พลทหารไม่เช่ือฟังนายพล ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่เชื่อฟังเจ้านาย บุคคลกลุ่มหลัง ย่อมสูญเสียอำนาจไป ในทางกลับกันหากผู้ใช้สันติวิธีสามารถสร้างการยอมรับใน หมู่ประชาชนและพรรคพวก ของคูก่ รณไี ดเ้ ขายอ่ มมีอำนาจทจี่ ะส่งผลกระทำตอ่ คู่กรณีไดโ้ ดยที่ไมจ่ ำต้องพึ่งพาอาวุธ

พุทธสนั ติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๖๖ ๔.๓ ประเภทของสนั ตวิ ิธี สันติวิธีมีหลายประเภท หลายลักษณะ แต่วิธีการจำแนก เช่น การจำแนกโดยพิจารณา การแสดงออก การจำแนกตามความเคร่งครัดของสันติหรือจำแนกตามระดับของเป้าหมายดังท่ี พระไพศาล วิสาโล๖ ได้จำแนก ดังต่อไปน้ี จำแนกตามการแสดงออก ๑. การพดู จาชกั ชวนและการเจรจาซึ่งรวมทง้ั การเขียนโฆษณา ๒. การใชก้ ระบวนการทางสถาบัน เช่น กระบวนการทางศาล ทางกฎหมาย ทางการปกครอง ๓. ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง เป็นการกระทำเพ่ือแสดงออก คัดค้าน หรือสนับสนุน บางส่ิง บางอย่าง หรือเป็นการเข้าเผชิญหน้าคัดค้านการกระทำของคู่กรณีอย่างชัดเจน หรือได้แก่ การนัดหยุดงาน การเดินขบวน เป็นต้น ๔. งานสร้างสรรค์ (Constructive Programmed) คือการทำงานระดับพ้ืนฐาน เพื่อส่งเสริม คณุ ภาพชวี ติ สรา้ งทางเลอื กหรอื สถาบนั ใหมข่ น้ึ มาเรียกง่ายๆ ว่า งานพฒั นา ก.จำแนกตามระดบั ของสันติ ๑. สันติวิธีเพาะคราวเพาะคร้ัง ผู้ใช้อาจเช่ือมั่นหรือยอมรับการใช้ความรุนแรงอยู่ แต่ก็ เห็นวา่ ในบางกรณีสนั ติวิธกี ม็ ีส่วนสำคัญ สันตวิ ิธีในลกั ษณะน้อี าจตามดว้ ยการใชค้ วามรนุ แรงสลับหรอื ผสมผสานกัน ๒. สันติวิธีท่ีเป็นแนวร่วมกับการใช้ความรุนแรง ผู้ใช้แม้จะเชื่อม่ันในสันติวิธีและใช้สันติ วิธโี ดยตลอด แต่ไม่ปฏิเสธผู้ที่ใชค้ วามรุนแรง มีความเขา้ ใจและพร้อมท่จี ะร่วมมือหรือ เปน็ แนวร่วมสนบั สนุนกนั ๓. สันติวิธีที่ปฏิเสธการฆ่ากันอย่างถึงท่ีสุด นอกจากจะไม่ใช้ความรุนแรงแล้ว ยังไม่ยอม เปน็ ส่วนหนึง่ ของระบบหรือองคก์ รแห่งความรนุ แรง และปฏิเสธทีจ่ ะรว่ มมอื หรือเกี่ยวขอ้ งกับผ้ใู ช้ความรุนแรงอน่ื ๆ ๔.สันติวิธีแบบปฏิเสธการฆ่าสัตว์และมนุษย์ในทุกกรณี เป็นการยอมรับสันติวิธี มิใช่จำเพาะในแง่ของวิถีแห่งการกระทำเท่านั้น แม้วิถีชีวิตก็พยายามไม่ให้เป็นไปในทางเบียดเบียน แม้แต่สัตว์ (มังสวริ ตั ิ) ๕. สันติวิธีแบบปฏิเสธการทำลายแม้แต่ทรัพย์สิน คือ ไม่ใช้วิธีการท่ีประทุษร้ายท้ังต่อ ชวี ิตร่างกายและทรัพย์สนิ ๖. สันติวิธีแบบเคร่งครัดในหลักธรรมพ้ืนฐานทางศาสนา คือ นอกจากจะไม่เบียดเบียน ทำร้ายชีวิต ลักขโมยหรือทำลายทรัพย์สินแล้ว ยังถือหลักสัจจะ ไม่พูดเท็จ และไม่ทำลายเกียรติภูมิ ศักดิ์ศรี ของคู่กรณี อีกดว้ ย ข.จำแนกตามระดับของเปา้ หมาย ๑. สันตวิ ิธรี ะดับชีวิต คือ การพัฒนาตน ใหล้ ดการเอารดั เอาเปรยี บผ้อู ่ืน เบียดเบยี นชวี ิต อ่ืนนอ้ ยลง มีจติ ใจใฝ่เสยี สละ เก้ือกลู ผอู้ นื่ ยงิ่ ขน้ึ และมีความสงบในใจ ๒. สันติวิธีในแวดวงรอบตัว คือการแก้ไขข้อวิวาท ลดข้อขัดแย้งในเร่ืองครอบครัว ทีท่ ำงาน สร้างความปองดอง ให้ในความเออ้ื เฟอ้ื เกื้อกูลกนั ๓. สันติวิธีในชุมชน (ท้องถิ่น) คือ การแก้ไข ลดทอนการเอารัดเอาเปรียบ ขูดรีด ในชุมชน หรือต่อบุคคลในชุมชน ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือสามัคคี พัฒนาชุมชนให้เจริญงอกงามข้ึน มีสภาพ เก้อื กูลต่อการดำเนินชวี ิตทส่ี ันติ ๖ พระไพศาส วสิ าโล, สนั ตภิ าพโดยสันติวิธี, ในสอ่ื สันติภาพ สันตภิ าพในสอ่ื ,กาญจนา แก้วเทพ บรรณาธิการ, (กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , ๒๕๕๐), หน้า ๕๑.

พทุ ธสันติวธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๖๗ ๔. สันติวิธีในสังคม (ประเทศ) คือ การลดความรุนแรงทางกายภาพและทางโครงสร้าง เช่น การละเมดิ สิทธิมนุษยชน การจับกุมคุมขังโดยมิชอบ การเอารัดเอาเปรียบผ้ดู ้อยอำนาจยุติสงครามกลางเมือง หรือกับเพื่อนบ้าน แก้ไขกฎหมาย ระบบโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม พัฒนา โครงสร้างที่เกื้อกูลคุณภาพชีวิต และส่งเสริมความยตุ ิธรรมในสังคม เอ้ืออำนวยให้คนมีชีวิต ความเป็นอยู่ทดี่ ีข้ึน ปลอดโรคภัยไข้เจ็บ มีสิทธิเสรีภาพ มากขึ้น ชว่ ยเหลอื ผู้ดอ้ ยโอกาสในสังคม ๕. สันติวิธีระหว่างประเทศ คือ การยุติสงครามและลดกำลังอาวุธในระดับภูมิภาค และระดับโลก สนับสนุนการป้องกันประเทศแบบไม่รุกรานส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ และสรา้ งสันตภิ าพให้เกดิ ข้ึนในโลก ๔.๔ แนวทางสร้างสนั ตภิ าพ ศรีเพ็ญ ศภุ พทิ ยากลุ ๗ มองว่าแนวคดิ เกี่ยวกบั การสร้างสนั ติภาพอยู่ ๒ แนว ดว้ ยกนั คือ ๑. แนวแยกกันอยู่ (Dissociative) ๒. แนวทางอยใู่ กลก้ นั และสมั พนั ธก์ นั (Associative) ในแนวคิดที่หน่ึงเสนอให้แก้ไขความขัดแย้งโดยให้คู่กรณีแยกกันอยู่ ส่วนแนวคิดที่สอง เสนอให้คู่กรณี มีบูรณาการเข้าหากันจนเป็นหน่ึงเดียวกัน สองแนวนี้ ดูเหมือนว่าจะอยู่กันคนละขั้ว แต่อันที่จริงเหลื่อมกันอยู่ ในทางปฏิบตั ใิ นโลกแห่งความเปน็ จริง ๑. แนวแยกกันอยู่ (Dissociative) ถือว่าเม่ือเกิดความขัดแย้งขึ้น วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดก็คือ การแยกคู่กรณี ออกห่างจากกันให้มากท่ีสุดเท่าท่ีจะทำได้ซ่ึงอาจทำได้ท้ังในทางกายภาพ คือ ใช้พ้ืนท่ีหรือภูมิศาสตร์เป็นตัวแยก หรือโดยการแยกออกจากกันทางสังคมการแยกออกห่างโดยทางพืน้ ท่ีหรือภูมิศาสตรน์ ั้นทำได้ง่ายๆ โดยใชร้ ะยะทาง ภูมิศาสตร์ เป็นตัวแบ่งแยกมิให้คู่กรณีมาเจอกัน วิธีการน้ีใช้ได้ดีหากมีโลกท่ีกว้างใหญ่ไพศาลและคนน้อย เช่น การท่ีชนเผ่าต่างๆ จำกัดถ่ินที่อยู่ของตน บางเผ่าอยู่บนภูเขา บางเผ่าอยู่ในท่ีลุ่ม การแยกออกห่างทาง ภูมิศาสตร์ ในปัจจุบนั ถูกนำมาใช้เปน็ วธิ ีลดปญั หาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ดังเช่นการกำหนด เส้นเขตแดนโดยใช้ลักษณะ ทางกายภาพในธรรมชาติ เช่น สันปันน้ำ บนภูเขา แม่น้ำ หรือบางคร้ัง ต้องทำกันด้วยความยากลำบากในทะเล หรอื ในทะเลทราย การใช้วิธี Dissociative มีปัญหามากข้ึนในโลกปัจจุบันท่ีมีวิวัฒนาการทางการคมนาคม การสื่อสาร รวมท้ังการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้มีสมรรถภาพในการทำลายล้างสูงมาก มีผลใน มุมกลับทำให้วิธีการควบคุม ทางสังคมโดยสถาบัน เช่น กองทัพ มีอันตรายต่อมนุษยชาติสูง จึงประโยชน์ในการรกั ษาสันติภาพน้อยลง น่ันก็คือ แม้สงครามมีโอกาสเกิดขึ้นได้นอ้ ยลง แตห่ ากเกิดขึน้ แล้วก็มคี วามเสียหายมากขึน้ จึงมีการพึ่งการควบคุมทางสังคม ท้ังแบบ Internalized และ แบบ Institutionalized น้อยลงแต่ในขนาดเดียวกัน วิวัฒนาการทางการคมนาคม และการสื่อสารก็เอ้ือต่อการติดต่อสื่อสาร ซ่ึงนอกจากจะทำให้เกิดการเสียดสี และการเป็นอริต่อกันมากขึ้นแล้ว ยังสามารถก่อให้เกิด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์จนเกิดความเข้าใจกันมากขึ้นก็ได้จึงได้มีการคิดแนวทางสู่ สนั ติภาพ อีกแนวหน่ึงข้ึนมา คือแนวทางอยใู่ กล้กันและสมั พนั ธก์ นั ๒. แนวทางอยู่ใกล้กันและสัมพันธ์กัน (Associative) เสนอว่าวิธีการท่ีดีท่ีสุดในการแก้ไข ความขัดแย้ง กค็ ือการให้คู่อรซิ ึ่งมีความขดั แย้งกันอยู่ (ไมว่ ่าจะเป็นความขดั แย้งแบบแฝงเร้น หรือแบบเปิดเผย) มาอยู่ใกล้กันมาก สมมติฐานก็คือว่าความใกล้ชิดกันจะทำให้การต่อสู้กันน้อยลง ในขณะที่แนว Dissociative บอกว่าควรจะมี การติดต่อกันมากขึ้น โดยมุ่งให้เกิดการอยู่ร่วมกันและความผูกพันที่เหนียวแน่นข้ึน จนอาจถึงขนาดท่ีมีบูรณาการ ๗ ศรเี พญ็ ศภุ พิทยากลุ , มนุษยก์ ับสนั ติภาพ, พิมพค์ รงั้ ท่ี ๒, (กรงุ เทพมหานคร : สำนักพมิ พ์จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ,๒๕๔๒), หน้า ๕๖.

พุทธสนั ตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๖๘ เข้าหากันจนเป็นอันหนึ่งไม่มีพรมแดนขว้างกั่นกันอีกต่อไปก็ย่อมเป็นไปได้ ่หลายวิธี ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของการทค่ี นเรา วธิ ีการที่จะนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าวมีอยู่ มีความเหมือนกัน (Similar) และคนเราจำเป็นต้องพึ่งพากันอยู่ ในส่วนของความเหมือนกันของมนุษย์ในสังคม ข้อสังเกตก็คือว่าคนเรามีบางส่ิงบางอย่าง ในตัวเราท่ีเหมือนกับคน อื่น จึงเป็นจุดท่ีควรเน้น แทนท่ีจะเน้นความแตกต่างตามแนว Dissociative ความเหมือนกันน้ีในระดับกลุ่มอาจ เป็นความเหมือนกันทางโครงสร้าง ซึ่งหมายความว่าในกลุ่ม แต่ละประเภทมีคนท่ีสวมบทบาทคล้ายคลึงกันกับอีก คนหนึ่งในอกี กล่มุ หน่งึ หรือแม้แตใ่ นสังคมตา่ งๆ ก็มีคนท่ีมีชาติพันธเ์ หมอื นกันกบั คนอกี ในสงั คมหน่ึง เช่น คนมุสลิม ในภาคใต้ของไทย มีความเหมือนกับคนมุสลิมในมาเลเซีย เป็นต้น ความเหมือนกันในแง่น้ีอาจใช้ประโยชน์ได้ ในการติดตอ่ สัมพนั ธก์ นั ให้เกดิ ความเข้าใจซงึ่ กันและกัน ส่วนการใช้ประโยชนจ์ ากการที่คนต้องตดิ ต่อพ่ึงพากันน้นั แนว Associative เสนอวา่ การพงึ่ พากนั นม้ี ีอยู่ หลายระดับความเขม้ ข้น คอื ๑. มีการพึ่งพากันมากจนไม่อาจเสยี่ งต่อการทำลายล้างกัน เพราะจะทำให้ท้งั คู่เสียหาย ๒. มีการพ่ึงพากันทั้งแบบที่ได้ประโยชน์และแบบที่เสียประโยชน์สำหรับทั้งสองฝ่าย ในอัตรา ท่ีเท่ากัน โดยท้ังสองฝ่ายมีโอกาสมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเท่ากันๆ กันซึ่งก็คือ ความสัมพันธ์แบบเท่าเทียมกัน ซ่ึงกเ็ ปน็ ระบบที่ยุตธิ รรมอยแู่ ล้ว ๓. มีการพึ่งพากันในหลายมิติด้วยกัน ทำให้สามารถมีการต่อรองกันในหลายมิติ ซ่ึง เป็นไปได้ว่า หากนาย ก. เสยี ประโยชนใ์ นมิติหน่ึงก็จะได้ประโยชน์ในอกี มติ ิหนง่ึ ๔. บางครั้งการพึ่งพากันได้เกิดขึ้นในบางมิติ หรือในบางส่วนเท่านั้นยังคงมีส่วนอ่ืนๆ ที่จะพ่ึงพา กันได้อีก ควรที่จะกระตุ้นให้เกิดการพึ่งพากันในมิติเหล่าน้ันเพ่ิมขึ้น ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีความสัมพันธ์กัน ได้อยู่ แม้จะมีความตดิ ขดั ขัดแย้งกนั ในมิตใิ ดมิตหิ นึง่ ๕. บางคร้ังอาจมีการก่อต้ังสถาบันหรือองค์การความร่วมมือให้เกิดข้ึนเพ่ือเชื่อมโยง คู่กรณีเข้า ด้วยกัน เช่น ในกรณีคู่กรณีเป็นชนชั้น สถาบันท่ีว่าก็คือรัฐในกรณีที่เป็นสมาคมหรือ สมาพันธ์ ในกรณีที่เป็น องค์การดับชาติก็คือองค์การระหว่างประเทศท้ังภาครัฐและภาคเอกชน เช่น ในระดับภูมิภาค มีสมาคมอาเซียน เป็นตัวอย่าง การสรา้ งสรรค์สันติภาพในสองรูปแบบท่เี สนอน้ไี ม่ใช่วา่ แบบหนึง่ ดีแบบเลว หากเป็นว่า เราจะต้องเลือกใช้ แบบใดแบบหนึ่งให้เหมาะสมกับสถานการณ์แม้ดูเหมือนว่าปัจจัยต่างๆ ในโลก เช่น การพัฒนาทางการคมนาคม และการสื่อสารการมีองค์การระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น จะช้ีให้เห็นว่าแนว Associative มีโอกาสท่ีจะใช้ได้ผล มากขึ้นแต่แนว Associative ก็มิใช้สูตรสำเร็จ ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเสมอไป ไม่มีคำตอบท่ีแน่นอน ตายตัวว่ามาตรการใดจะดีที่สุดในการสร้างสันติภาพ ฐานะของผู้ท่ีพยายามสร้างสันติภาพนั้นอุปมาอุปไมยได้ว่า คล้ายคลึงกับแพทย์ ที่ทำการรักษาผู้ป่วย ซ่ึงนอกจากจะต้องคำนึงถึงโรคแล้ว ยังต้องคำนึงถึงธรรมชาติของผู้ป่วย ซ่ึงสุขภาพจิต หรือความเต็มใจของผู้ป่วยท่ีจะได้รับการรักษาและการรักษาตนเองย่อมมีความสำคัญ เช่นเดียวกัน ผู้ที่พยายามสร้างสันติภาพจะต้องพิจารณาความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ว่าเป็นความขัดแย้ง ชนิดไหน และคู่กรณี ในความขัดแย้งน้ันมีลักษณะเป็นอย่างไร หากความขัดแย้งเป็นแบบ Symmetric แนวทาง Associative ก็น่าจะใช้ได้ดี เช่น ในกรณีความขัดแย้งระหว่างประเทศ มหาอำนาจแนวทางน้ีย่อมลดโอกาสท่ีสงครามจะเกิด และการเพ่ิมความเข้มแข็งให้กับประเทศเล็กๆ ส่วนในกรณีของความขดั แย้งระหว่างหน่วยท่ีมีฐานะไม่เท่าเทียมกัน จะใช้แนวทาง Associative ทันทีไม่ได้เพราะมักนำไปสู่การเพิ่มอำนาจให้ผู้มีฐานะต่ำกว่าเกิดการพึ่งพาตนเอง ความภูมิใจ ในตนเอง และเม่ือมีฐานะเท่าเทียมกันระหว่างคู่กรณีมากข้ึน จึงจะนำแนวทาง Associative ท่ีเน้น การต่อรองแบบพน้ื ฐานของความเทา่ เทยี มกันเข้ามาแกป้ ัญหาความขดั แย้งระหวา่ งผู้ทีม่ ีฐานะ ไมเ่ ทา่ เทียมกัน

พุทธสันติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๖๙ ๔.๕ พลงั ของสนั ตวิ ธิ ี เรื่องราวความสำเร็จของสันติวิธี สันติวิธีประสบผลสำเร็จได้มิใช้เพราะคู่กรณีเกิดใจอ่อน มีเมตตาสงสาร ผ้ใู ช้สันตวิ ิธี หรือเพราะเป็นสุภาพชน แม้ว่ากรณีเช่นนั้นจะเคยปรากอยู่บ้าง แต่น่ันมใิ ช่ปัจจยั ชี้ขาดหรือปัจจัยเดียว ที่ทำให้สันติวิธีบรรลุผล แท้ที่จริงแล้วความสำเร็จของสันติวิธี เกิดจากพลังในตัวที่ส่งต่อคู่กรณี หาได้เกิดจากการ ริเร่ิมหรือความสมัครใจของคู่กรณีเป็นสำคัญ ไม่แต่เป็นเพราะคู่กรณีมิอาจฝืนทานพลังของสันติวิธี พระไพศาล วสิ าโล๘ ซ่ึงพลงั ของสันตวิ ธิ มี ี ๒ ประการ คอื ๔.๕.๑ พลังทางการเมือง พลังของสันติวิธีอยู่บนพื้นฐานความจริงท่ีว่า อำนาจเกิดจาก การยอมรับและยินยอมเชื่อฟัง จะโดยสมัครใจหรือจำยอมก็แล้วแต่บุคคลหรือระบบใดจะมีอำนาจได้ก็เพราะได้รับ การยอมรับและเชื่อฟังจากผู้อื่นเช่น ยอมทำตามคำสั่ง ยอมปฏิบัติตามระเบียบ ยอมจ่ายภาษี เป็นต้น กล่าวอย่าง เป็นรูปธรรมก็คือ ผู้ปกครองมีอำนาจได้ก็เพราะประชาชนเชื่อฟัง เจ้าของโรงงานมีอำนาจได้ก็เพราะกรรมการ เช่ือฟัง แต่เม่ือใด ก็ตามที่การยินยอมเช่ือฟังน้ันลดน้อย ถอยลง อำนาจของบุคคลหรือระบอบเหล่าน้ันก็หายไป ด้วยไมว่ า่ อำนาจทางเศรษฐกจิ การเมืองและการทหาร สันติวิธีมีพลังตรงท่ีมันสามารถลดทอนอำนาจของบุคคลหรือระบอบท่ีทรงอำนาจได้ โดยเพียงแต่ ประชาชนเพิกถอนการยินยอมเช่ือฟังหรือปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือแก่บุคคลหรือ ระบบเหล่านั้น (ที่เรียกว่า “กางแข็งขืนแบบอารยะ”) หากการเพิกถอนน้นั เปน็ ไปอย่างกว้างขวาง บุคคลหรือระบบเหล่านั้นจะสูญเสียอำนาจ จนไมอ่ าจดำรงอยู่ได้อกี ตอ่ ไป ผู้ใช้สันติวิธีอาจเป็นฝ่ายปฏิเสธท่ีจะยินยอมเช่ือฟังโดยลำพังฝ่ายเดียว หรือกระตุ้น ให้ฝ่ายท่ีสามร่วมมือ ในการเพิกถอนการยินยอมเช่ือฟังด้วยก็ได้ ฝ่ายที่สามอาจได้แก่พลทหารใน กองทัพท่ีถูกผู้บังคับบัญชาสั่งให้มา ปราบปรามประชาชนที่ใช้สันติวิธีก็ได้ตัวอย่างเด่นชัดได้แก่ กรณีต่อต้านพระเจ้าซาร์ในรัสเซีย, การคัดค้านทหาร ในเยอรมนี, ในแอลจีเรีย, การต่อต้านรัสเซียใน เซโกสโลวะเกีย, การขับไล่มาร์กอส และการโค่นล้มเผด็จการ ในยโู กสลาเวยี นอกจากการลดทอนอำนาจของคู่กรณีแล้ว สันติวิธียังมีพลังตรงที่มันสามารถเพิ่มพูน อำนาจให้แก่ฝ่าย ที่ใช้สันติวิธีด้วย กล่าวคือทำให้ประชาชนท่ัวไปเปล่ียนจากการยินยอมเชื่อฟังผู้มีอำนาจท่ีเป็นคู่กรณี (ซึ่งอาจเป็น ผู้ปกครอง นายทุน หรือผู้มีอิทธิพล) มาเป็นการให้ความยอมรับ แก่กลุ่มคนท่ีใช้สันติวิธี จนสามารถผลักดันให้ผู้มี อำนาจต้องโอนอ่อนผ่อนตามข้อเรียกร้องของผู้ใช้สันติวิธี ดังกรณีขบวนการเรยี กร้องเอกราชของคานธี ขบวนการ เพอื่ สทิ ธิของคนผวิ ดำนำโดย มาร์ติน ลูเธอร์คิง จูเนียร์ ๔.๕.๒ พลังทางใจ พลังทางการเมืองของสันติวิธีดังกล่าวมาเป็นพลังท่ีเกิดจากการ แสดงออก ในเชิงปฏิเสธ เช่น การปฏิเสธที่จะเชื่อฟัง และปฏิเสธที่จะใช้ความรุนแรง แต่ยังมีพลัง อีกประการหนึ่งที่เกิดจาก คณุ ภาพภายในเชิงบวกของผู้ใช้สันติวิธี ซ่ึงนอกจากจะไม่มุ่งร้ายแล้ว ยังมีความปรารถนาดีตอ่ คู่กรณี รวมท้ังยึดมั่น ในสัจจะและความดีงามนี้คือ พลังทางใจท่ีมีผลต่อ พฤติกรรมของผู้อ่ืน และสามารถก่อให้เกิดความเปล่ียนแปลง ในสังคมได้ สำหรับคนเป็นอันมาก สนั ติวธิ ีมิใช่เป็นเพียงยุทธวิธีในการต่อสู้กับผูม้ ีอำนาจ หากเป็นการกระทำที่ออกมา จากชีวิตด้วยจิตใจที่ใฝ่อหิงสธรรม คือการไม่คิดเบียนมุ่งร้ายและไม่แบ่งฝ่าย กล่าวคือมิได้เห็นคู่กรณีเป็นฝ่ายตรง ข้ามหรือเป็นปรปักษ์ แต่เป็นเพื่อนร่วมชาติ เพ่ือนร่วมโลก และ ท่ีสำคัญคือเป็นเพ่ือนมนุษย์ซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ มรี อยย้ิมและน้ำตาเหมอื นเรา จุดร่วมระหว่างเรากับ เขานั้นมีมากยิ่งกว่าจุดต่างสันติวิธีในแงน่ ี้จึงมไิ ด้มีความหมาย ๘ พระไพศาล วสิ าโล,สันตภิ าพโดยสนั ตวิ ธิ ี, ในสื่อสนั ตภิ าพ สันตภิ าพในส่อื ,กาญจนา แกว้ เทพ บรรณาธกิ าร, (กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , ๒๕๕๐), หน้า ๔.

พุทธสนั ตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๗๐ โดยนัยลบ คือการไม่ใช้ความรุนแรงเท่านั้น แต่ยัง มีนัยบวกคือการต้ังมั่นในความรักและความปรารถนาดี แรงบันดาลใจอีกประการหน่ึงคือ ความใฝ่ในสัจจะความรักในสัจจะทำให้บุคคลเข้าหาผู้อ่ืนอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน ปรารถนาท่ีจะแสวงหา สัจจะแม้กระท้ังในหมู่คู่กรณี พร้อมที่จะเปิดใจรับฟังเขา ขณะเดียวกันก็กล้าหาญพอ ท่ีจะยอมทุกข์ ทรมานเพ่ือยืนหยัดในสัจจะของตนให้อีกฝ่ายได้รับรู้ และถอนตนออกจากความเท็จและอสัตย์ ทปี่ กคลุมใจใจท่ีปรารถนาดี ใบหน้าทแี่ ย้มย้ิม ริมฝีปากที่อำนวยพรด้วยเสียงเพลงและบทสวด มือที่หยิบย่ืนดอกไม้ และผ้าเย็นให้ ตลอดจนการยืนหยัดในประเด็นท่ีชอบธรรม ม่ันคงในสัจจะ ย่อมมีผลโน้มน้าวชักชวนให้ผู้คน แวดลอ้ มทเ่ี คยอยกู่ ลางๆ หนั มาเป็นมิตร และเขา้ ร่วมสนบั สนุน ปฏิบัติการสันติวิธีด้วย ที่สำคัญก็คือใจที่เปี่ยมด้วยคุณภาพดังกล่าวยังมีผลทางใจต่อฝ่ายคู่กรณี ท้ังน้ีเพราะ กิริยาภายนอก และภาวะภายในท่ีเป็นมิตรดังกล่าว ถึงท่ีสุดแล้วย่อมสามารถทำลายอคติและ ความรู้สึกในทางร้ายท่ีคู่กรณีมีต่อ ผู้ใช้สันติวิธี สามารถซึมผ่านเกราะกำบังชั้นนอกท่ีฉาบทาด้วยความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ เกลียดชัง เข้าสู่จิตส่วนลึก ซึ่งกอปรด้วยความรัก ความเมตตา และสามารถ ปลุกเร้าจิตส่วนดีน้ีให้มีพลังเอาชนะจิตช้ันนอกอันหยาบกระด้าง ได้เกดิ ความรูส้ ึกเป็นมติ รเขา้ มาแทนท่ี ความเปล่ียนแปลงทางด้านความรู้สึกนึกคิดดังกล่าวมักเกิดขึ้นเป็นพิเศษกับฝ่ายคู่กรณี (เช่น ทหารหรือ ตำรวจ) ท่ีถูกส่งให้มาประจันหน้ากับผู้ท่ีใช้สันติวิธี การเผชิญหน้าดังกล่าว เปิดโอกาสให้ความสัมพันธ์ส่วนตัว ที่ได้พัฒนามาจากบุคคลทั้งสองฝ่าย ผลก็คือเมื่อผู้มีอำนาจ สั่งให้ปราบปรามผู้ใช้สันติวิธี ทหารหรือตำรวจ อาจไม่ยนิ ยอมที่จะปฏิบตั ติ าม ซึ่งทำใหค้ ำส่งั ของ ผู้มีอำนาจเป็นหมนั ไปดังกรณที เี่ กดิ กับมาร์กอสเม่ือ ๒๐ ปที ี่แล้ว อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งท่ีการปราบปรามด้วยความรุนแรงได้เกิดขึ้น จนมีผู้บาดเจ็บ ล้มตาย แต่นั่นมิอาจถือได้ว่า เป็นความล้มเหลวของสันติวิธี ตรงกันข้ามกลับเป็นจุดเริ่มต้นของความพ่ายแพ้ของผู้มีอำนาจ เพราะการใช้ ความรุนแรงกับประชาชนผู้ไร้อาวุธย่อมทำให้ผู้ปราบปราม สูญเสียความชอบธรรมในสายตาของคนท่ัวไป ยง่ิ ผู้กระทำน้ันยังยืนหยดั ม่ันคงในสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรงตอบโต้ก็ยิ่งทำให้ผู้คนท่ียังเป็นกลางหันไปให้ความเห็น ใจแก่ผู้ถูกปราบปราม ผลก็คือ ความรุนแรงน้ันเองย้อนกลับไปบั่นทอนอำนาจของผู้ใช้อาวุธ และกลายเป็นภัย ต่อผู้มอี ำนาจ ดังคานธีได้เขยี นวา่ “อำนาจของทรราชจะวกกลับมาท่ีตัวเขาเองเมื่อไม่พบกับการตอบโต้เช่นเดยี วกับ เมอ่ื สะบัดแขนฟาดกบั อากาศอยา่ งรนุ แรง ผลคอื กระดูกเคลอ่ื นและปวดรา้ ว” โดยสรุป พลังสองประเภทของสันติวิธีสามารถเปรียบเทียบให้เห็นคือ พลังทางการเมือง เกิดจากการเพิก ถอนยินยอมเชื่อฟังหรือปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือ ส่วนพลังทางใจเกิดจากการให้ ความรักความปรารถนาดี และการให้อภัย พลังทางการเมืองข้ึนอยู่กับการแสดงออกทางภายนอก โดยนัยลบ คือการไม่ใช้ความรุนแรง ส่วนพลังทางใจเกิดจากภาวะภายในซึ่งส่งผลเป็นการกระทำ นัยบวก คือความเอื้อเฟ้ือและความเมตตากรุณา พลังทางการเมืองเปล่ียนความสัมพันธ์ทางอำนาจ ส่วนพลังทางใจเปล่ียนความสัมพันธ์ทางสังคม ไม่ว่าผู้ปกครอง จะมีอำนาจและอาวุธมากมาย เพียงใดก็ตาม หากเผชิญกับพลังท้ังสองประการของมหาชนผู้ใช้สันติวิธีอย่างล้น หลามแล้ว ย่อมยากทจี่ ะตา้ นทานได้ ๔.๖ กระบวนการสนั ตวิ ิธีนำมาใช้ เน่ืองจากทั้ง ๒ กรณีน้ัน เป็นความขัดแย้งท่ีก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงได้ ถ้าขาดสติ ในการตัดสินใจ แต่ท้ัง ๒ ผู้นำได้เลือกวิธีการท่ีเหมาะสมในการหาทางออกด้วยวิธีการแบบสันติวิธี หรืออหิสา แบบพุทธ ซง่ึ จะยกตวั อย่างดงั ตอ่ ไปน้ี โมหันทาส กรรมจันทคานธีนักสอู้ หงิ สา

พุทธสันติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๗๑ มหาตมะ คานธี๙ เป็นนามท่ี กล่าวขวัญกันทั่วโลกในคร่ึงแรกของ ศตวรรษที่ ๒๐ เมื่อท่านสามารถ นำประชาชนอินเดียท้ังประเทศ เข้าต่อสู้กับจักรวรรดิอันเกรียงไกรของอังกฤษได้สำเร็จด้วยวิธีการที่ชาวตะวันตก คาดไม่ถงึ สามารถเรียกร้องเอกราชกลับคืนสู่ประเทศและศักดิ์ศรีกลับคืนสู่ประชาชน ด้วยหลักการแหง่ “อหิงสา” คือ ความไม่เบียดเบียน อารยธรรมทางด้านจิตใจของชาวเอเชีย ได้พิสูจน์ตัวเองอย่างเด่นชัดว่า อยู่เหนือ อารย ธรรมทางดา้ นวตั ถอุ นั พร่งั พรอ้ มด้วยสรรพาวุธของชาวตะวนั ตก ดว้ ยอำนาจแห่งสัจจะและ ความรักเท่านนั้ ท่ปี ัญหา ของมนุษยชาตจิ ะอาจแก้ไขใหล้ ลุ ว่ งไปได้ หลักการพื้นฐานที่ มหาตมะ คานธี ใช้ก็คือ “อหิงสา” (ความไม่เบียดเบียน, ความไม่รุนแรง) คานธีเชื่อว่า ในส่วนที่ลึกท่ีสุดน้ันมนุษย์มีคุณธรรมและความจริงซ่อนอยู่ในตัว ท่านอธิบายว่าเราอาจจะ เคยได้ยินคนที่ปฏิเสธ พระเจา้ (God) แต่เราจะไม่ได้ยินคนที่ปฏิเสธความจริง (Truth) แมแ้ ต่บุคคล ท่ีเลวท่ีสดุ หรอื โง่ที่สุดก็ยังมีความจริง บางอย่างอยู่ในตัวของเขา เราทุกคนต่างก็เป็นส่วนหน่ึงแห่ง ความจริงสากลของธรรมชาติทั้งหมด ด้วยการปฏิบัติ แบบ “อหิงสา” ความจริงหรือคุณธรรมในตัว ของมนุษย์จะถูกปลุกให้ต่ืนข้ึนในจิตสำนึก และไม่ว่ามิตรหรือศัตรู ก็จะกลายเป็นบุคคลท่ีรักความจริง และความเป็นธรรมในท่ีสุด ถ้าเป็นมิตรก็จะเป็นมิตรท่ีดีย่ิงข้ึน ถ้าเป็นศัตรู ก็จะค่อยๆ เปล่ียนท่าทีจาก ศัตรูกลายเป็นมิตรในที่สุด คานธีมีความเชื่อม่ันในมนุษยชาติมาก ว่ามนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนดีหรือคนเลว หากได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องแล้ว ก็จะกลายเป็นคนดีข้ึนมาได้ทุกคนไม่มียกเว้น ดังนั้น การใช้ความรุนแรง การประหัตประหาร หรือสงคราม จึงถือเป็นความผิดอย่าง มหันต์เพราะเท่ากับ เปน็ การส้ินหวังในมนษุ ยชาติ เปน็ การทำลายคุณธรรมและความจริงท่ีซอ่ นอยู่ ในตัวของมนุษย์ทกุ คน และเป็นการ ปลุกธรรมชาติฝ่ายต่ำของมนุษย์ให้แสดงพละกำลังออกมา อันกลายเป็นการจองล้างจองผลาญไม่มีท่ีสิ้นสุด วิธี ท่ีจะเอาชนะความชั่วจึงไม่ได้อยู่ที่การทำลายคนชั่ว แต่อยู่ท่ีการเปลี่ยนจิตใจของคนชั่วโดยไม่ทำความช่ัวตอบ คานธีได้ย้ำเตือนอยู่เสมอว่า ให้เกลียดชังความเลว แต่อย่าเกลียดชังคนเลว เพราะทุกคนมีโอกาสกลับตัวเป็นคนดี ไดเ้ สมอ หลักสำคัญท่ีคานธีถือปฏิบัติในเรื่อง “อหิงสา” ก็คือ การยอมทนทุกข์เพ่ือชำระจิตใจ ของตัวเอง และเปลี่ยนจิตใจของผู้ท่ีทำผิด คานธีได้อดอาหารนับจำนวนครั้งไม่ถ้วนในชีวิต เมื่อเห็น ผู้ร่วมงานใช้วิธีการรุนแรง หรือกระทำผิดด้วยความเสียสละและการยอมทนทุกข์ของคานธี ผู้กระทำผิดได้สำนึกกลับตัวเสียใหม่ คานธีถือว่า การอดอาหารเป็นการชำระจิตใจของตนเองให้ บริสุทธ์ิ และเป็นการชำระจิตสำนึกของส่วนรวมให้บริสุทธิ์ ด้วยในการปฏิบัติสิ่งท่ีเรียกว่า “การทดลองของข้าพเจ้ากับความจริง” คานธีได้ทำการทดลองท้ังในเร่ืองของชีวิต สังคม และการเมืองตามแนวทางแห่ง “อหิงสา” ในการทดลองเก่ียวกับชีวิต คานธีได้ ฝึกหัดควบคุมตนเอง อย่างเคร่งครัดท่ีสุด ท้ังในด้านอาหาร เคร่ืองนุ่งห่ม สิ่งของเคร่ืองใช้ ยารักษาโรค ตลอดทั้งการรักษา พรหมจรรย์ และการไม่เบียดเบียน โดยใช้ชีวิตของตนเองและชีวิตของคนท่ีท่านรักท่ีสุดเป็นเดิมพัน เพ่ือแสวงหาความจริง หรอื สัจจะในภายใน ท่านกลา่ ววา่ “สำหรับขา้ พเจ้านั้น ความรักท่บี ริสทุ ธิ์คือ กฎเกณฑ์ทัง้ หมดในชีวติ ของข้าพเจา้ ” สำหรับการทดลองเกี่ยวกับสังคมนั้น คานธีได้ตระหนักถึงปัญหาความขัดแย้งในด้านอุดมการณ์ระหว่างทุนนิยม และสังคมนิยม อีกท้ังปัญหาเทคโนโลยีกับคุณค่าและศักด์ิศรีแห่งความเป็นมนุษย์ คานธีได้ให้ทางออกที่เป็นกลาง ตามแนวทางแห่ง “อหิงสา” ที่ท่านใช้ปฏิบัติอย่างได้ผลตลอดชีวิตของท่าน คานธีกล่าวว่า “และเมื่อข้าพเจ้ารู้ว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงถูกค้นพบบ่อยครั้ง มากกว่าในหมู่คนที่ต่ำท่ีสุด... ความปรารถนาของข้าพเจ้าจึงอยู่ที่การได้รับใช้ ชนช้ันท่ีถูกกดขี่ และเม่ือข้าพเจ้าไม่สามารถให้การรับใช้หนี้ได้โดยไม่ยุ่งเก่ียวกับการเมือง ข้าพเจ้าจึงพบตนเองอยู่ ในวงการเมือง ขา้ พเจา้ เปน็ เพยี งผรู้ บั ใชท้ ่ีกำลงั ต่อสูด้ ้นิ รน ของอนิ เดีย และของมนุษยชาติ” ๙ มหาตมะ คานธี (ค.ศ. 1869-1948) ธงไชย พรหมปก, มหาตมะ คานธี นกั สู้ “อหงิ สา”, (กรุงเทพมหานคร : ต้นธรรม, ๒๕๔๔), หน้า ๑๑.

พุทธสันตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๗๒ ส่วนการทดลองเกี่ยวกับการเมืองนั้น คานธีได้ใช้วิธีการของ “สัตยาเคราะห์” (Satyagraha) เป็นอาวุธ ทางการเมือง สัตยาเคราะห์คืออาวุธแห่งสัจจะและความรัก ความเคล่ือนไหวที่เรียกว่า “สัตยาเคราะห์” เป็นการ ทดลองความจริงทางการเมืองท่ียิ่งใหญ่และทรงพลังท่ีสุดของคานธี ขบวนการสัตยาเคราะห์จะยึดม่ันอยูแ่ ต่ในหลัก แห่ง “อหิงสธรรม” จะอุทิศตนและทุกส่ิงทุกอย่าง เพื่อความถูกต้องและความยุติธรรม มหาตมะ คานธี ยอมรับว่า มนุษยชาติยากท่ีจะพัฒนาไปถึง ภาวะที่ปราศจากความขัดแย้ง หรือแม้แต่ภาวะท่ีความขัดแย้งจะได้รับการแก้ไข โดยไม่ต้องใช้กำลังคานธีพยายามค้นหาวิธีการอื่นที่จะมาใช้แทนสงคราม วิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงและไม่ทำ ใหค้ วามเป็นมนุษยต์ อ้ งตกต่ำลง ด้วยความมุ่งหมายอันน้ที ำให้ท่านเสนอหลัก “สัตยาเคราะห์” ขึน้ โดยใชจ้ รยิ ธรรม ขั้นสงู มาแก้ไขปญั หาความขัดแยง้ ตา่ งๆ ตามตัวอักษรแล้วคำว่า “สัตยาเคราะห์” หมายถงึ “การยนื หยัดอยูใ่ นหลัก แห่งความจริง” สมมติฐานเบื้องต้นของสัตยาเคราะห์ก็คือ ไม่มีใคร ค้นพบสัจธรรมโดยถ่องแท้ทุกแง่ทุกมุม ดังน้ัน ใครก็ตามย่อมไม่มีสิทธิยัดเหยียดสัจธรรมในบาง แง่มุมที่ตนยึดถืออยู่ให้แก่ผู้อื่น อย่างไรก็ตามเป็นสิทธิและหน้าที่ ของบุคคลนั้น ที่จะสามารถดำเนินชีวิตตามทรรศนะของตนเองและต่อต้านในสิ่งที่เขาเห็นว่าผิด นักสัตยาเคราะห์ ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือ ต่อระบบของสังคมท่ีไร้ความเป็นธรรม ขณะเดียวกันก็จะสร้างวิถีชีวิตข้ึนมาใหม่ ใน ลักษณะท่เี หน็ ว่าถกู ตอ้ งเปน็ ธรรม ดังนั้น สัตยาเคราะหจ์ ึงมองได้สองแง่ แง่หนง่ึ ไดแ้ ก่ การสร้างสรรค์ อีกแง่หนึ่ง ได้แก่ การต่อสู้คดั คา้ นอยา่ งสงบต่อความไม่ถกู ต้องทงั้ ปวง ในการคัดค้านต่อต้านดงั กล่าว นกั สัตยาเคราะห์จะเผชิญ กบั ความรนุ แรงทุกชนิดท่ี “ฝ่ายตรงข้าม” อาจกระทำต่อเขาด้วยความอดทน และด้วยความกล้าหาญ แต่จะไม่ถือ ว่าฝ่ายตรงข้ามเป็น “ศตั รู” จุดมุ่งหมายสำคญั ก็คือ การเปลี่ยนจิตใจ ของฝา่ ยตรงข้ามมากกวา่ สำหรบั พวกเขาแล้ว จะไม่ มี ค ำว่ามิ ต รห รือศั ต รู ทุ ก ค น อ ยู่ใน ค รอ บ ค รัวข อ งม นุ ษ ยช าติ เดี ย วกั น ทั้ งห ม ด ใน ส งค ราม หรอื การประหตั ประหาร ผูท้ มี่ ีความรุนแรงเหนอื กวา่ จะหยิบย่ืนความจรงิ เพยี งแง่มุมเดยี วใหแ้ กบ่ ุคคลอน่ื ชัยชนะไม่ จำเป็นต้องหมายความว่า ผ้ชู นะจะเป็นฝ่ายถูกตอ้ งชอบธรรมมากกว่าอกี ฝ่ายหน่ึง แม้ว่าผชู้ นะมกั จะอ้างเช่นนเ้ี สมอ ก็ตาม ความสามารถในการสู้รบในสงครามเป็นคนละเร่ืองกับความถูกต้องชอบธรรม และเกือบจะไม่มีอะไร เก่ียวข้องกันเลย นักสัตยาเคราะห์ไม่เพียงแต่จะพยายามดำเนินชีวิต ในขอบข่ายแห่งสติปัญญาของตนเองเท่านั้น แต่ยังพยายามที่จะยอมรับอะไรก็ตามที่ถูกต้องและยุติธรรมในทรรศนะของฝ่ายตรงข้ามด้วย ดังนั้น สัตยาเคราะห์ จะไปลงเอยท่ีเม่ือฝ่ายที่ขัดแย้งกันน้ัน ได้บรรลุถึงข้อสรุปที่สามารถรวมเอาสิ่งที่ถูกต้อง จากทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน ไมม่ ีการแพ้หรอื ชนะ จะมกี ็แต่เพียงความถกู ตอ้ งที่ท้งั สองฝ่ายตกลงเหน็ พ้องตอ้ งกัน ขณะเดียวกนั สถาบันหรือแบบ แผนท่ีได้รับการพิสูจน์แล้วว่าผิดในระหว่างความขัดแย้ง ก็จะถูกขจัดออกไป ตลอดชีวิตของคานธี ท่านพยายาม รวบรวมมวลชนชาวอินเดียในอันที่จะ “ปฏิบัติการร่วมกันเพ่ือต่อต้านโดยสันติวิธี” เพ่ือว่าประชาชนเหล่าน้ันจะ สามารถร่วมกนั ขจัด ขอ้ บกพร่องต่างๆ ทีม่ อี ยู่อย่างมากมายในชวี ติ ทางสังคมและการเมือง ในปี ค.ศ. ๑๙๔๕ เมื่อญี่ปุ่นถูกทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิ คานธี รู้สึกสลดใจ เป็นอย่างยง่ิ ต่อโศกนากรรมอนั มหนั ต์ทีม่ นุษย์ได้ก่อขน้ึ โดยกลา่ ววา่ “โศกนากรรมอันใหญ่หลวงจากการท้ิงระเบิดปรมาณู จะต้องมิใช่แก้ไขด้วยการทิ้ง ระเบิดปรมาณูโต้ตอบ เช่นเดียวกับที่ความรุนแรงต้องมิใช่แก้ไขด้วยความรุนแรง มนุษยชาติจะต้อง ขจัดความรุนแรงด้วยสันติวิธี ความ เกลียดชังจะตอ้ งถูกขจดั ออกไปดว้ ยความรักเท่านั้น” ในช่วงนั้นอินเดียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เมื่อคานธีเรียกร้องสิทธิจากการท่ีอังกฤษพยายามกดขี่ ชาวอินเดีย คานธีจึงถูกจับกุมในฐานะผู้ก่อความไม่สงบ เม่ือได้รับการปล่อยตัวคานธี หันไปแก้ปัญหา ภายในประเทศ ก่อนจะกลับมาประท้วงกฎหมายอังกฤษ คานธีเคยถูกเชญิ ตวั ไปร่วมประชมุ หารือกับรัฐบาลอังกฤษ ระหว่างการต่อสู้ทางการเมืองคานธีถูกจับกุม โดยระหว่างอยู่ในคุก ภรรยาคานธีได้เสียชีวิตลง หลังจากเหตุการณ์ ทั้งการเมืองและปัญหาภายในประเทศผ่านไปไม่นาน ขณะท่ีคานธีกำลังสวดมนต์ตามกิจวัตร กลุ่มชาวฮินดู ผู้คลั่งศาสนายิงปืนเข้าใสค่ านธี ๓ นดั จบชวี ติ นกั ส้อู หงิ สาในวัย ๗๘ ปี

พุทธสนั ตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๗๓ ในช่วงตลอดชีวิตที่ผ่านมาของคานธีในการต่อสู้เพ่ือให้ได้มาซ่ึงเสรีภาพ ซ่ึงโมหันทาส กรรมจันทคานธี ได้ใช้หลักหรือวิธีการในการต่อสู้ด้วยแนวทางสันติวิธี โดยใช้หลักของ “อหิงสา” คือการไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ใช้ความรุนแรง โดยการใช้อารยธรรมทางด้านจิตใจ ด้วยการพิสูจน์ตัวเองอย่างเด่นชัดว่า อยู่เหนืออารยธรรม ทางด้านวัตถุและคานธียังในหลักของอำนาจแห่งสัจจะและความรัก ตลอดจนการเข้าใจความจริงหรือคุณธรรม ของมนุษย์ที่สามารถปลุกให้ต่ืนข้ึนในจิตสำนึก และไม่ว่ามิตรหรือศัตรูก็จะกลายเป็นบุคคลที่รักความจริง และความเป็นธรรม ซ่ึงคานธีมองวา่ ถ้ามนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนดีหรือคนเลว หากไดร้ ับการปฏิบตั ิอย่างถูกต้อง แลว้ กก็ ลายเปน็ คนดี ข้นึ มาไดท้ ุกคนไมม่ ียกเว้น มารต์ นิ ลเู ธอรค์ งิ อหิงสาผวิ ดํา มาร์ตินลูเธอร์คิง เกิดเมื่อวันท่ี ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ที่เมืองแอตแลนตา มลรัฐจอร์เจีย ประเทศ สหรัฐอเมริกา เขามีพ่อเป็นศาสนาจารย์ในนิกายแบพติสท์ ชื่อสาธุคุณมาร์ตินลูเธอร์คิง ส่วนแม่ของเขาช่ือ อัลเบิร์ดตา วิลเล่ียม เป็นครูสอนหนังสือ คิงมีพี่น้องสามคน โดยเขาเป็นลูกชาย คนกลาง ครอบครัวมาร์ตินลูเธอร์ คิงสืบเชอื้ สายมาจากพวกแอฟัริกันและอนิ เดียนแดง มเี รื่องท่นี ่าสนใจมากคือ ปขู่ องมาร์ตนิ ลูเธอร์คิง ซ่ึงมีชื่อวา่ เจมส์น้ันเป็นคนท่เี ต็มไปด้วย ความหดห่สู ิ้นหวัง ในชีวิต เพราะมีหน้ีสินมากมาย เขาติดสุราเมามาย เอาแต่ร้องไห้ ร้องเพลงและสวดมนต์ แต่โชคดีท่ีพ่อของคิง ไมย่ อมจำนนตอ่ สภาวะในครอบครัว เขาเปน็ คนทะเยอทะยานใฝ่ดใี นชวี ิต จงึ สามารถเข้าเรยี นตอ่ ในมหาวิทยาลยั ได้ และเป็นศาสนาจารย์ประจำโบสถ์ สามารถสร้างฐานะได้ด้วยตนเอง จนกลายมาเป็นบุคคลช้ันสูงของคนผิวดำ ในแอตแลนตา ท้ังพ่อและตาของคิง ต่างเป็นผู้ที่มีบทบาทในการต่อต้านความไม่เท่าเทียมกันที่มีต่อคนผิวดำรุ่น แรกๆ เขาจึงเติบโตมา ในบรรยากาศอันเข้มข้นของการต่อสู้เพ่ือให้ได้มาซ่ึงสิทธิแห่งความเสมอภาคของคนผิวสี บ้านเกิด ของเขานั้น เป็นเขตที่มีการเลือกปฏิบัติระหว่างคนผิวดำและผิวขาวอย่างสูง มีการเฆ่ียนตีทาสผิวดำ ไล่ต้อนให้ออกไปทำงานในไร่ ช่วงท่ีเขาเกิดนั้นมีปัญหาสิทธิพลเมืองและการแบ่งแยกผิวระหว่าง คนผิวด ำ และคนผวิ ขาว ซ่ึงถอื วา่ เป็นปญั หาใหญ่ของประเทศ วรี บุรษุ ในดวงใจของมาร์ตินลูเธอร์คิง คือ มหาตมะ คานธี และได้กลายเป็นแบบอย่าง ของเขาในการต่อสู้ เพ่ือความเท่าเทียมกันโดยใช้หลักอหิงสา มาร์ตินลูเธอร์คิง เป็นเด็กท่ีร่าเริงและแข็งแรงและเป็นหัวหน้าของกลุ่ม เพื่อน เขาถูกฝึกให้เป็นคนที่มีความอดกล้ันและมีระเบียบวินัยมาตั้งแต่เด็ก เช่น ต้องไปโรงเรียนสอนศาสนา และโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ บ่ายไปส่งหนังสือพิมพ์ตามบ้าน นอนแต่หัวค่ำและตื่นแต่เช้า ต้องสวดมนต์ท้ังเช้าและเย็น พร้อมกับเรียนคัมภีร์ไบเบิลร่วมกับพ่ีน้องคนอ่ืนๆ ก่อนรับประทานอาหารเย็นก็ต้องสวดก่อนและที่ส ำคัญ คือเขาถูกห้ามไม่ให้ไปยังแหล่งของคนผิวขาว และถูกห้ามไม่ให้คบค้าสมาคมกับคนผิวขาว สิ่งแวดล้อมเป็นตัว ผลักดัน ให้เขาหันมาชื่นชมมหาตมะ คานธี และไม่ยอมรับแนวคิดการแบ่งแยกที่ไร้ความยุติธรรมนี้ ซึ่งทำให้เขา กลายเป็นคนที่อารมณ์เย็นข้ึน เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมพ่อของเขาต้องการให้เขาเป็นนักเทศน์ แต่มาร์ตินลูเธอร์คิง อยากจะเป็นแพทย์ แต่เม่ือต้องประสบกับการถูกดูหมิ่นดูแคลนจากคนขาว ท ำให้เขาเริ่มหันมาสนใจ ที่จะเป็นทนายความ พ่อจึงได้ส่งเขาไปเรียนที่มหาวิทยาลัยมอร์เฮาส์ (พ่อของเขาเป็นศิษย์เก่าท่ีนี่) เขาสนใจด้าน การฝึกให้เป็นนักพูด และได้รับรางวัลในการประกวด วาทศิลป์ประจำปีของมหาวิทยาลัย เป็นนักศึกษาที่มี ผลการเรียนดีเยี่ยม เมื่อเรียนถึงปีสามเขาจึงตัดสินใจที่จะเป็นนักเทศน์ พ่อของเขารู้สึกยินดีมากเม่ือทราบเรื่อง การตดั สินใจนี้ จนในปี ๑๙๔๗ เขากร็ บั ศีลเพอื่ เป็นนักเทศน์ สมัยเรียน มาร์ตินลูเธอร์คิงยังคงเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์, ทำงานต่างๆ เพื่อเรียกร้องให้คนผิวดำ ได้ตระหนักถึงความเข้มแข็ง และสิทธิแห่งความเท่าเทียมกันของการเกิดมา เป็นมนุษย์โดยใช้\"การศึกษา\" เป็นแสง เทียนนำทาง เขาได้กลายมาเป็นนักเรียกร้องสิทธิมนุษยชน และนักปฏิรูปสังคม นอกเหนือจากการเป็นศาสนา จารย์ด้วยวัยเพียง ๒๗ ปี มีเหตุการณ์ความขัดแย้ง ระหว่างคนผวิ ขาวและผิวดำเกิดขึ้นหลายคร้ัง ซ่งึ มีความรนุ แรง ด้วย จนมีความเห็นใจที่หลั่งไหล มาจากท่ีต่างๆ ต่อชะตากรรมของคนผิวดำ ช่วยกดดันให้ประธานาธิบดีคนต่อมา

พุทธสนั ติวธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๗๔ คือ นายลินดอน บี จอห์นสนั ยินยอมออกกฎหมายวา่ ด้วยสิทธิมนุษยชนในท่ีสุดเมอื่ ปี ค.ศ. ๑๙๖๔ ในปเี ดียวกนั กับ ท่ีมี การออกกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ดร.มาร์ตินลูเธอร์คิง จูเนียร์ ได้รับรางวัลโนเบล สี่ปีต่อมา นับว่าน่า เสียดายที่เขาต้องเสียชีวิตลงจากการถูกลอบสังหารด้วยน้ำมือจากชายผิวขาว เมื่อวันท่ี ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๑ แต่แนวทางอหิงสาของมาร์ตินลูเธอร์คิงก็ได้รับการกล่าวถึงและมีการสานต่อมาจนถึง ทุกวันน้ีมาร์ตินลูเธอร์คิง จูเนียร์ (๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒-๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๑) เป็นนักต่อสู้เพ่ือ สิทธิมนุษยชนชาวอเมริกัน ที่มีชื่อเสียง และหมอสอนศาสนานิกายแบปติส เกิดท่ีนครแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย เป็นบุตรชายของพระแบปติส ได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยมอร์เฮาส์ แอตแลนตา จากวิทยาลัยการศาสนาโครเซอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย และจากมหาวิทยาลัยบอสตัน ต่อมาได้กลายเป็นผู้นำขบวนการเรียกร้องสิทธิเสมอภาคของชาวผิวดำ โดยใช้นโยบายและแนวทางต่อต้านที่ใช้ ความนุ่มนวลตามแนวทางของมหาตมะ คานธี และจากทักษะการพูด ต่อสาธารณะท่ีเป็นท่ีเลื่องลือ คิงได้เป็นผู้นำในการคว่ำบาตรไม่ยอมรับการแบ่งแยกคนผิวดำท่ีไม่ให้โดยสารรถ ประจําทางร่วมกับคนผิวขาว ที่เมืองมอนต์โกเมอรี รัฐแอละบามาและจัดประชุมผู้นำศาสนาคริสเตียนตอนใต้ ในระหวา่ งน้ีเขาถกู จับขงั คุกหลายคร้งั ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ คิงเป็นผู้นำในการเดินขบวนอย่างสันติท่ีอนุสาวรีย์ลิงคอล์นในวอชิงตัน ดี.ซี. โดยมี ผู้เข้าร่วมเดินมากถึง ๒๐๐,๐๐๐ คน ในการประชุมคร้ังนี้เอง ท่ีคิงได้แสดงสุนทรพจน์ ที่มีช่ือเสียงคือ “ข้าพเจ้า มีความฝัน” (I Have a Dream) ในโอกาสน้ีเขายังได้ประกาศว่า อเมริกา จะปราศจากความลำเอียงและไม่มีอคติ ต่อคนผวิ สีในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ มาร์ตินลูเธอร์คิง ได้รับรางวัลสันติภาพเคเนดี (Kendy Peace Prize) รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ความสำเร็จสูงสุดของเขา ได้แก่ การท้าทายอำนาจของกฎหมาย แบ่งแยกผิวในภาคใต้ของสหรัฐ หลังจากปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นต้นไป มาร์ตินลูเธอร์คิง ได้หันความสนใจไปเน้นการรณรงค์ให้มีการปรับปรุงสภาพ สังคมของคนผิวดำ และคนยากจนใน ภาคเหนือของประเทศซึ่งพบว่าง่ายกว่า นอกจากน้ี คิงได้รณรงค์ต่อต้าน การทำสงครามเวยี ดนาม และจะจัดการชุมนุมใหญ่ในกรุงวอชิงตัน ด.ี ซี. อกี ครงั้ หนึ่ง มาร์ตินลูเธอร์คิง ถูกลอบยิงถึงแก่ชีวิตท่ีเมอื งเมมฟิส รัฐเทนเนสซี โดยเจมส์เอิรล์ เรย์ ชาวผิวขาว ซ่ึงต่อมา ถูกจับกุมได้ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและถูกศาลพิพากษาจำคุก ๙๙ ปี หลังจากท่ีเขาถูกลอบสังหารในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เขาไดก้ ลายเป็นสัญลักษณ์ของการตอ่ ต้านเพื่อ ความยุติธรรมทางเชอ้ื ชาตจิ วบจนทุกวันนี้ วันท่ี ๑๕ มกราคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของมาร์ตินลูเธอร์คิง ได้รับการประกาศให้เป็น “วันมาร์ตินลู เธอร์คิง” อันเป็นวันนักขัตฤกษ์ระดับชาติของสหรัฐอเมริกา และได้รับทยอย การยอมรับจากรัฐต่างๆ เพ่ิมขึ้นเป็น ลำดับนับต้ังแต่ พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นต้นมา คิงมีช่ือเสียงในเร่ือง การพูดต่อสาธารณชน สุนทรพจน์ “I Have a Dream” ท่ีเขากล่าวในการเดินขบวนปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้รับการยกย่องอย่างสูง ว่าทรงพลังและเป็นแบบอย่าง ของการพูดในที่สาธารณะ มารต์ นิ ลูเธอรค์ ิง เปน็ อีกผู้หน่ึงท่ใี ช้หลักในการจดั การความขัดแย้งตามแนวทางสนั ติวธิ ี โดยการใช้หลกั การ แบบ “สัตยาเคราะห์” (Satyagraha) คือ ความจริงแห่งสัจจะและความรัก ตามแนวทางของมหาตมะ คานธี ซึ่งเป็นแบบอย่างในดวงใจของ มาร์ตินลูเธอร์คิง ซึ่งเขายังใช้วิธีการ ท่ีเขาได้ฝึกมาตั้งแต่ตนเป็นนักเทศน์นั้นก็คือ การพูดต่อที่สาธารณชน สุนทรพจน์ ในชื่อที่ว่า “ข้าพเจ้ามีความ ฝัน” (I Have a Dream) และเขายังร่วมต่อต้าน การใช้ความรุนแรงทั่วโลก เช่น สงครามเวียดนาม อีกดว้ ย แนวคิดเกี่ยวกับแบบวิถีพุทธ ความหมายแบบวิถีพุทธ พระไพศาล วิสาโล ๑๐ เห็นว่า ปฐมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงท่ี ป่าอสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพารานาสีเป็นธรรมเทศนาท่ีเรียบง่าย ครอบคลุม ๑๐ พระไพศาล วิสาโล, องคร์ วมแหง่ สนั ติภาพ, ในสู่ศานติเสรี : ๕๐ ปี สันติภาพ, (กรงุ เทพมหานคร : เรอื นแก้วการพิมพ์, ๒๕๓๘, หนา้ ๓.

พุทธสนั ติวธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๗๕ กว้างขวาง โดยทรงแสดงทางสายกลางและอธิบายหลักอริยสัจส่ี ดังนี้ ทุกขสัจ : ความขัดแย้งเป็นธรรมชาติ ของมนุษย์ ความขัดแย้งเป็นธรรมชาติอย่างหน่ึงของมนุษย์ และเป็นส่ิงท่ีพบได้ในทุกสังคมโดยทั่วไป มนุษย์มีทุกข์ อยู่สองระดับ ความทุกข์ระดับหนึ่งน้ันเป็นเพราะทัศนะหรือความคิดเห็นที่ต่างกัน ทุกข์ระดับที่สองข้ึนอยู่ว่า เราจะจัดการกับความแตกต่างนั้นอย่างไร ถ้าจัดการไม่ดี มีโอกาสจะเกิดความทุกข์ประการที่สองได้มาก ไม่ใช่ ตวั ความขัดแย้ง แต่เป็นเพราะวธิ ีการทเี่ ราจัดการกับความขัดแย้ง อย่างไรต่างหากท่ีเป็นตัวกำหนดว่าความขัดแย้ง จะพฒั นาไปในเชิงสร้างสรรคห์ รือทำลาย และก่อความทุกขม์ ากนอ้ ยเพียงใด ดังน้ันสิ่งท่ีต้องทำสำหรับอริยสัจข้อแรกคือ การถามตัวเองว่า “เรามีประสบการณ์ เกี่ยวกับความขัดแย้ง อยา่ งไร” ความขัดแย้งน้ันมีคุณลกั ษณะและมิติอย่างไรบา้ ง และพึงตระหนักรู้ อย่างตรงไปตรงมาโดยไมม่ ีหลกี เลย่ี ง ความเป็นจรงิ ไม่ว่าโดยวิธกี ารใดๆ สมุทยั : อะไรคอื รากเหง้าของความขัดแยง้ เม่ือเราศึกษาความขัดแย้ง เราพบว่า มีสาเหตุหลายๆ อย่างท่ีค้ำจุนความขัดแย้งไว้ เช่นเดียวกับเหตุปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในอาทิเช่น แบบแผน ความคิดความรู้สึก ความปรารถนา หากไม่ปัจจัยภายในเหล่านี้ สาเหตุปัจจัยภายนอกก็จะไม่ปรากฏเด่นชัด ความขัดแย้งอุบัติข้ึนไม่ เพราะระหว่างตัวตน (คือ เอกลักษณ์ไม่วา่ จะเป็นของบุคคล ชาติพันธ์ หรือประเทศก็ตาม) แต่ยัง เกิดข้ึนภายในตัวคู่กรณีแต่ละฝ่ายและแต่ละคนด้วย แม้อาจต่อสู้กับตัวเองเพื่อตัดสินใจทำอะไร บางอย่าง ซ่ึงเธอรู้ว่าจะทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด แต่เธอก็เชื่อว่าจะทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด แต่เธอก็เช่ือว่า จะเป็นที่ส่ิงท่ีดีที่สุด สำหรบั ลูกน้อยของเธอเอง ในทางการเมอื งกเ็ ชน่ กนั การต่อสู้ขับเคี้ยวบ่อยครง้ั เกดิ ขึ้นในคณะรัฐมนตรี เพื่อผลักดัน นโยบายให้เป็นท่ียอมรับหรือการที่รัฐมนตรีอาจต้องการท่ีจะเจรจากับนักเคลื่อนไหวผู้เป็นกุญแจส ำคัญ แต่ขณะเดียวกันก็รู้ว่าการทำเช่นนั้น ฝ่ายหัวหน้าเก่าในพรรคจะเอามาเป็นข้อโจมตี ดังน้ันสิ่งท่ีควรท ำ คอื การสำรวจความเคลื่อนไหวภายในของคขู่ ัดแยง้ เช่นเดียวกบั ปฏิสมั พนั ธ์ของคขู่ ัดแย้งที่มตี ่อกนั เมื่อพระพุทธองค์ตรัสถึงความขัดแย้ง ความขัดแย้งน้ันมักจะเป็นผลมาจากอกุศลมูล ท้ังสาม คือ โลภะ โทสะ โมหะ อกุศลมูลท้ังสามมีผลต่อจิตใจและความสัมพันธ์ของคู่ขัดแย้ง โดยแสดงออกเป็นความคิด และการกระทำ การใช้แนวคิดเร่ืองอกุศลมูล ทำให้เราสามารถสาวไปถึง ต้นตอและภูมิหลังของความขัดแย้ง และเหน็ กระบวนการทางจิตทต่ี อกย้ำความขดั แย้งในปจั จบุ ัน หลักธรรมทางพุทธศาสนาท่ีช่วยให้เข้าใจความขัดแย้งได้ชัดเจนและละเอียดข้ึน ก็คือ ปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาทช่วยให้เราเกิดความตระหนักรู้มากขึ้น เพราะท ำให้เราเห็น การเปลี่ยนแปลงทางจิต อย่างเป็นกระบวนการต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ส่ิงเร้าซึ่งอาจเป็นปัจจัยภายนอก หรือความนึกคิดภายใน ตามมาด้วย ขน้ั ตอนต่างๆ ของความรู้สกึ และความตอ้ งการ ไปจนถงึ การเปลี่ยนแปลงในการรบั รู้เก่ียวกับตัวเราเองและผู้อ่นื กิจที่พึงทำในสัจจะข้อที่สอง ก็คือ การตระหนักรู้ถึงปัจจัยภายในท่ีเป็นรากเหง้า ความขัดแย้ง สิ่งน้ีย่ิงยาก กว่าความคิด โลภะ โทสะ โมหะ ไม่ได้มีผลต่อความรู้สึกในใจของเราเท่าน้ัน แต่ยังข้องเก่ียวกับความเป็นจริง รอบตัวเรา ซึ่งมกั จะได้แก่บุคคลอน่ื ในชีวติ ประจำวัน หากเราอยอู่ ย่างไมม่ ีสติ เราจะมองสิ่งนัน้ สิ่งนีว้ ่า น่าปรารถนา สวยงาม น่ารัก น่าซัง เป็นต้น เราไม่แยกแยะ ระหว่างตัววัตถุ ความต้องการ กระบวนการปรุงแต่ง ความต้องการ และความรู้สึกของเราคือ ผู้ต้องการ เช่นเดียวกัน ถ้าเราพัวพันกับความขัดแย้ง เราจะเห็นบุคคลท่ีเราโกรธ เป็นผู้เห็นแก่ตัวและน่าดูหม่ิน เราไม่อาจแยกแยะระหว่างการเฝ้าดู การตีความ ความรู้สึก ความต้องการ และการยืนยัน ในเอกลักษณ์ของเราเอง ซึ่งทั้งหมดนี้อาจประกอบกันเป็นทัศนะท่ีเรามีต่อบุคคลอื่น นิโรจสัจ : ความสงบบังเกิดข้ึนได้จากความขัดแย้ง สัจจะข้อที่สามก็คือว่า ทุกข์ส้ินสุดเมื่อเราละความยึดม่ัน ความขัดแย้งน้ัน ถึงที่สุดแล้ว ไม่จิรังย่ังยืน เป็นกระบวนการท่ีประกอบด้วยเหตุปัจจัยหลายๆ อย่างการเปล่ียนแปลงท่ีเกิดข้ึนกับ เหตุปัจจัยเหล่าน้ันอย่างถอนรากถอนโคน ย่อมจะมีผลต่อความขัดแย้งและอาจหันเหทิศทางของ ความขัดแย้ง อย่างชัดเจน

พุทธสนั ตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๗๖ แม้ว่าสาเหตุของความขัดแย้งอาจจะได้แก่ความไม่เป็นธรรมในอดีต แต่ความขัดแย้งน้ัน ไม่อาจดำรงอยู่ อย่างยืดเยือ้ ไดโ้ ดยความขดั แย้งน้ันไม่พัฒนา การคุ้มคิดและรู้สึกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในปัจจุบัน ทำใหค้ วามขัดแย้งน้ันคง อย่ไู ดน้ าน ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดข้นึ ได้หรอื ไม่ จึงข้ึนอยู่กบั จิตใจของค่ขู ดั แย้งตรงนี้และเดียวนี้ สนั ติภาพและความขัดแย้ง เป็นสิงท่ีเชอ่ื มโยงสัมพันธ์กนั อย่างใกล้ชดิ มากกว่าท่ีจะแยกขาด หรือเป็นคนละ สว่ นกัน สิ่งที่ตรงข้ามกับอกุศลมูลท้ังสาม คือ โลภะ โทสะ และโมหะ ก็คือ กุศลมูล อันได้แก่ อโลภะอโทสะ และอ โมหะ เช่นเดียวกันการบังเกิดข้ึนของวงจรแห่งทุกข์ (ปฏิจจสมุปบาท) ก็อาจกลายเป็นวงจรแห่งการส้ินทุกข์พระ พุทธองค์ทรงสอนว่า กระบวนการทางจิตใจที่ก่อทุกข์เรา สามารถจะเปลี่ยนให้เป็นกระบวนการที่น ำไปสู่ ความผาสุกและการรู้แจ้งกิจท่ีพ่ึงทำในสัจจะข้อสาม ก็คือ การมองเห็นความขัดแย้งว่าแม้จะก่อความยุ่งเหยิง และความเจ็บปวดทั้งปวง แต่ก็เป็นโอกาสสำหรับการสร้างสันติวิธี ความขัดแย้งกระตุ้นเราให้พัฒนา กระบวนการ แห่งความขัดแยง้ กระตุ้นเราให้พัฒนา กระบวนการแห่งสนั ติเพ่ือจัดการกับรากเหง้าของความขัดแย้ง มรรค : สันติ สุขเป็นวิถีชีวิต สัจจะข้อท่ีสี่ก็คือ เราไม่จำเป็นต้องเราคอยให้ความทุกข์หายไป เรามีอิสระที่จะเริ่มต้นตรงน้ี และเดยี วนี้ เป็นอิสระทจ่ี ะใช้ชวี ติ ทเ่ี ออ้ื ต่อการจางคลายและการสิน้ ไปแห่งทุกข์มรรคมีองค์แปด มีดังตอ่ ไปนี้ ๑. สมั มาทฐิ ิ คือความเห็นทถี่ ูกต้อง ได้แก่ การเข้าใจอริยสจั ๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ความนึกคิดที่ดีงามปราศจากความทะยานอยาก คิดร้ายหรือมุ่งความเห็นท่ีถูกต้อง และความนกึ คดิ ทีด่ งี าม จัดอยู่ในหมวดปัญญา ๓. สมั มาวาจา คือ การไมพ่ ูดโกหก ไมใ่ ชค้ ำหยาบหรือนินทาว่ารา้ ย ๔. สมั มากมั มันตะ คือการไม่ฆ่า ไม่ขโมย ไม่มว่ั เมาหรือประพฤติผดิ ในทางเพศ ๕. สัมมาอาชีวะ คือการไม่ประกอบการงานหรือกิจกรรมท่ีเบียดเบียนเป็นภัยต่อผู้อื่น เช่น การประมง การสนับสนุนกิจกรรมของกองทัพ การหลอกลวง การค้าอาวุธ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ อยใู่ นหมวดศลี ๖. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรท่ีจะเอาชนะอกศุ ลกรรม และเสริมสร้างกุศลกรรม ๗. สัมมาสติ คือ การตระหนักรู้ทั้งในด้านกายและจิต เม่ือเดินก็มสี ติรู้ว่ากำลังเดิน เม่ือไม่สบายใจขุ่นเคือง กม็ สี ตริ ะลึกรถู้ ึงความรู้สึกนัน้ ๆ ตลอดจน ความคดิ ปรุงแตง่ ท่ตี ามมา ๘. สัมมาสมาธิ คือการตั้งม่ันแห่งจิต เป็นฐานให้กับการทำสมาธิและรวมไปถึงคุณภาพ จิตที่เป็นกุศล (เช่น การมเี มตตา สันโดษ และรตู้ ัวท่ัวพรอ้ ม) ทั้งสัมมาสติและสัมมาสมาธิอยู่ในหมวดสมาธิ ดังนั้นหลักอริยสัจสี่จึง เป็นหลักสำคัญทางพุทธศาสนา ในการเป็นแนวทางหนึ่งใน การจัดการความขัดแย้งในตัวบุคคล โดยการยึดม่ันถือ มั่นตามหลักพุทธศาสนา และเม่ือบุคคล ที่เป็นผู้บริหาร ผู้นำ ได้นำหลักอริยสัจส่ีไปใช้ในการดำรงชีวิตและหน้าที่ การงานแล้ว ก็จะสามารถ ลดปัญหาความขัดแย้งได้และยังสามารถจัดการความขัดแย้งท้ังในองค์กรงานที่การงาน และ ในระดบั ประเทศชาติอกี ด้วยอกศุ ลมูลและความขดั แยง้ อกุศลมูลมีลักษณะไม่เก้ือกูล ขณะที่กุศลมูลนั้นมีลักษณะตรงกันข้าม ความแตกต่าง อย่างสำคัญระหว่าง ความเก้ือกูลของอกุศลมูลและความเกื้อกูลของกุศลมูลอยู่ตรงที่ความงามรู้เท่าทัน ตนเอง อกุศลมูลน้ันไม่เก้ือกูล กเ็ พราะขาดความรู้เท่าทันตนเอง อกุศลมูลก่อนหน้านั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมล้วนมาจากเหตุ ปจั จัยน้ัน ฉะน้ันในทำนองเดียวกนั ถ้าต้องการเข้าใจพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เราต้องย้อนไปดูเหตุการณ์ต่างๆ ทางกาย และใจในอดีตที่ก่อให้เกิดสภาวะจิตอันนำไปสู่พฤติกรรมที่ก้าวร้าวดังกล่าว ในพระสูตรหลายแห่ง พระพุทธเจ้า ทรงกล่าวไวว้ า่ โลภะโทสะ โมหะ คือ อกศุ ลมลู อันเปน็ ตน้ เหตุ ของกรรมช่ัวอกศุ ลมลู แบง่ ออกเปน็ สองลักษณะ คือ ๑. เม่ือปล่อยใจคล้อยตาม โลภะ โทสะ โมหะก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของตัวตน พระพุทธเจ้าทรงยกตัวอย่าง กระพ้ีของไม้ไผ่ (หรือความรู้สึกนึกคิดภายใน) กลายมาเป็นเน้ือไม้ (หรือความเป็นจริง) ข้ึนมา เช่น พระเจา้ ปเสนทิ

พุทธสนั ตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๗๗ โกศสได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์ผู้เจริญธรรมก่อย่าง เมื่อบังเกิดขึ้นในภายในของบุคคล ยอ่ มบงั เกดิ ขึน้ เพอื่ ความไม่เป็นประโยชน์ เพอ่ื ความทกุ ข์ เพ่ือ ความอยไู่ มส่ บาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูกรมหาบพิตร ธรรมสามอย่างคือ โลภะ โทสะ โมหะ เม่ือบังเกิดขึ้น ในภายในของบคุ คล ยอ่ มบังเกดิ ข้ึนเพือ่ ความไม่เปน็ ประโยชน์ เพอื่ ความทกุ ข์ เพือ่ ความอย่ไู ม่สบาย พระผู้มีพระภาค ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตน้ีจบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า โลภะ โทสะ และโมหะ ท่ีเกดิ ข้ึนในตนยอ่ มบ่ันรอนบคุ คลผใู้ จบาปเหมือนผลของตนย่อมบน่ั รอน ตน้ เต่ารั้ง ฉะนน้ั ๒. ลักษณะที่สองของอกุศลมูล คือ ความไม่เกื้อกูล เช่น ดูกรวัจฉะ โลภะแลเป็นอกุศล อโลภะเป็นกุศล โทสะเปน็ อกศุ ล อโทสะเป็นกศุ ล โมหะ เป็นอกศุ ลอโมหะเปน็ กศุ ล อกุศลมูลเทียบได้กับการขับรถแบบไม่ระมัดระวัง ในการขับรถเราอาจจะสร้าง ความเคยชินท่ีไม่ดี จนกลายเป็นวิถีการดำเนินชีวิตของเรา นัยของเร่ืองน้ีก็คือเราสามารถเปล่ียนพฤติกรรมภายในอย่างมีกุศโลบาย โดยอาศัยธรรมหมวดอกุศลมูล เราสามรถใช้ลำดับขั้นตอนต่างๆ ในปฏิจจสมุปบาทช่วยให้เกิดความเข้าใจกระจ่าง ข้ึน เราสามารถคิดแนวทางวิเคราะห์ซง่ึ มีจิตวิทยา แนวพทุ ธเปน็ พื้นฐาน แล้วนำไปใชก้ บั ความขัดแยง้ เป็นต้น โลภะ ความโลภที่จริงแล้วก็คือ ความพยายามที่จะทำให้ภาพตัวเองเป็นจริงขึ้นมาได้ โดยการ ครอบครอง สิ่งที่จะเสริมภาพน้ัน แต่ปญั หาอยู่ท่ีว่า ถึงแม้วา่ เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงเน้อื หาของ ภาพน้ันได้แต่เราไมส่ ามารถ ทำให้มันเป็นจริงได้ ความทะยานอยากอย่างมืดบอดในการท่ีจะทำให้ ภาพตัวเองเป็นจริงข้ึนมาน้ัน ทำให้หลายๆ สิ่งท่ีเราต้องการน้ันมีคุณค่าขึ้นมา เพราะเช่ือว่า สิ่งเหล่าน้ันจะเห็นได้ชัดในกรณีที่มีการแย่งชิงสิ่งๆ เดียวกันในที่น้ี การได้มาย่อมหมายความว่า ตัวเองไดเ้ ปน็ ใหญ่ ถ้า “ฉัน” ได้สงิ่ ท่ี “ฉัน” ตอ้ งการ “ฉัน”จะรู้สกึ ว่าประสบผลสำเร็จ และเข้มแข็ง ถ้า “ฉัน”ไม่ได้“ฉัน” ก็จะรู้สึกว่าล้มเหลวและอ่อนแอ เด็กมักจะต้องการของเล่นชิ้นใดชิ้นหนึ่ง เพียงเพราะเด็กอีกคนต้องการมันเท่าน้ันเอง ปรากฏการณ์ทำนองเดียวกันนี้บังเกิดข้ึนเวลามี ความขัดแย้งกัน ในเรอื่ งของสถานภาพ ดนิ แดน และเทคโนโลยีใหมๆ่ เป็นตน้ ความขัดแย้งทำให้มีความกลัวมากขึ้นว่าไม่ได้สิ่งท่ีต้องการ “ฉัน” กลัวว่าอีกฝ่ายหนึ่ง จะได้สิ่งท่ี “ฉัน” เห็นว่าน่าจะได้น่ามี หรือจะเอาสิ่งที่ “ฉัน” เห็นว่าเป็น “ของฉัน” ไปจาก “ฉัน” ความกลัวน้ีทำให้อยากได้สิ่งน้ัน มากข้ึนและทำให้การไขว่คว้าทวีความรุนแรงข้ึนจนเป็นอันตราย ต่อกัน (ผลของความโลภน้ันปรากฏอยู่ใน ทฆี นกิ าย ซ่งึ พูดถึงความยึดติดวา่ เป็นเหตปุ ัจจัยแห่ง ความขดั แยง้ ) โทสะ ความโกรธเป็นอาการของความไม่ชอบใจ หรอื ความชัง ซึ่งบ่ันทอนความสัมพันธ์อันดี เมื่อเราถูกขัดขวาง ความโกรธและความชังก็จะเกิดขึ้น และเราจะเห็น อีกฝ่ายหน่ึงเป็นคนเลว นั้นคือโทสะ คำน้ีไม่ได้หมายถึง ความโกรธล้วนๆ แต่เป็นทัศนคติที่สลับซับซ้อน ซ่ึงเป็นสิ่ง ท่ีหล่อหลอม ความเข้าใจและการแสดงหาทางออกของเรา มีอยู่ตอนหนึ่งใน สังยุตตนิกาย ซ่ึงกล่าวถึงอกุศลมูล ทั้งสาม ท่ีว่าอกุศลมูลจะครอบงำจิตใจที่ขาดสติอย่างเหนียวแน่น ข้ออุปมานี้เหมาะที่จะเปรียบกับ การกระทำ ทเ่ี ปน็ ไปด้วยความชัง อกุศลมูลมีลักษณะดังไฟที่เผาลนผัสสะ ถ้าขาดสติเสียแล้ว มันก็จะ ดงึ เราให้ถลำลึกเข้าไปหา ความทกุ ข์และความโศก ในแง่ของปฏิจจสุมปบาท การเกิดผัสสะหรือการได้พบกับคู่อริ จะก่อให้เกิดเวทนา คือ ความรู้สึก ประหลาดใจหรือรู้สึกไม่ม่ันคง ซงึ่ จะนำไปสู่ความอยาก (ตัณหา) จะแก้แค้น ตามดว้ ย การจดจ่อที่จะหาทางลงโทษ หรอื สบประมาทผู้ท่ีเราคดิ ว่าสมควรจะถูกกระทำเชน่ น้ัน (อุปทาน) ในกรณีนคี้ วามต้องการท่ีเด่นท่สี ุด คอื การลบหลู่ หรอื ทำร้ายฝ่ายตรงขา้ ม (วิภวตัณหาตอ่ ตัวตนของ อีกฝ่ายหน่ึง) หรือแมแ้ ต่ตัวเราเอง (ในกรณีเรารังเกียจพฤติกรรม หรอื ความอ่อนแอของตัวเราเอง) การเกิดภวตัณหาต่อตนเองและผู้อื่นน้ันย่อมเก่ียวเนื่องกัน บ่อยครั้งความรู้สึกท่ีไม่ดี ต่อตนเอง มักจะถูก เบ่ียงเบนไปฝ่ายตรงข้าม เรามักจะรู้สึกว่าตัวเรา (ภพหรือชาติ) น้ันเป็นฝ่ายถูกขณะท่ีฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายผิด การเป็นฝ่ายถูกย่อมทำให้เราเป็นศูนย์กลาง ในแง่ของความถูกต้อง ไม่ว่าการกระทำของเราจะเลวร้ายสักปานใด และไม่ว่าฝ่ายตรงขา้ มจะถกู เหยยี ดหยามสกั ปานใด กต็ าม

พทุ ธสนั ตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๗๘ การพุ่งวิภวตัณหาไปยังตัวตนของศัตรู ย่อมลดความเจ็บปวดอันเนื่องมาจากการที่มี วิภวตัณหาต่อภาพ ตนเอง ด้ังน้ันศักด์ิศรีในภาพตนเองจะคงอยู่ได้โดยการแยกความชั่วและความรู้สึกที่ไม่ดีออกจากตนเอง และเอาไปผูกติดอยู่กับฝ่ังตรงข้าม ภาพตัวตนของเราจะสดใสข้ึน ในขณะท่ีภาพของฝ่ังตรงข้ามจะมืดมนลง ในความเป็นจริงแล้วเราท้ังคู่ต่างรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน แต่ความหลงผิดทำให้เรามองไปว่าฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่าย ที่คิดร้ายและก้าวร้าว ไม่ใช้ตัวเรา ความรู้สึก เกลียดชังน้ี จะปรากเป็นพฤติกรรมและจะท ำให้ทัศนคติโดยรอบ เลวรา้ ยลง คู่ขัดแย้งท่ีขาดสติคิดว่า ศัตรูของเขา เป็นอย่างที่เขาเห็นจริง ๆ แต่อย่างไรก็ดีใน แง่ปฏิจจสมุปบาทแล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย การปรุงแต่งภาพศัตรูเกิดขึ้นภายในใจของผู้คิด ผัสสะ อาจให้ข้อมูลท่ีถูกต้องแก่เรา ทำให้เกิด ความรู้สึกหรือเวทนาขึ้นมา แต่กระบวนการการปรุงแต่งภาพ ของผู้อ่ืนน้ันเกิดข้ึนในใจเรา ศัตรูก็คือส่วนเสริม ต่อจากภาพตัวเราเองและจะเกี่ยวโยงกันอย่าใกลช้ ิด กบั ภาพดังกลา่ ว ภาพตนเองและศตั รูนย้ี ่อมเสอื่ มไปในทีส่ ดุ (ชรามรณะ) แตจ่ ะท้ิงร่องรอยความรสู้ ึกนึกคิด บางอย่างไว้ในใจ ของเรา ซ่ึงจะมีผลต่อปฏิจจสมุปบาทรอบต่อๆไป ในอนาคต การรู้อารมณ์ (วิญญาณ) มีหน้าที่แยกแยะส่ิง ที่เกี่ยวข้องกับโทสะในรอบก่อนๆ เช่น เราอาจจะคิดว่า ศัตรูของเรา จะมีพฤติกรรมที่ไม่ดีหรือหลอกลวงเรานั้น หน้าที่สำคัญเหนือสิ่งใดของกายและใจ (นามรูป) คือ พร้อมท่ีจะรุกรานหรือปกป้อง ส่วนกายทั้งหลายก็จะเตรียม รบั ขอ้ มูลตา่ งๆ ก็จะมากำหนดความรูส้ ึก ทเี่ กิดขนึ้ และมีผลต่อการมองของเราดว้ ย เราจะเห็นได้ว่า ความชังจะมีผลกระท บต่อความขัดแย้งและในขณะเดียวกันก็จะถูกกำหนด โดยความขดั แยง้ ประการแรก ความระแวงจะสง่ ผลไปกวา้ งไกล เนือ่ งจากความขัดแย้งมักจะทำให้ผ้ทู ีข่ ัดแย้งตกอย่ใู นสภาพ กดดัน โดยมีเวลาตรึกตรองน้อย ปฏิกิริยาของเขาจะขึ้นอยู่กับแบบแผน ความคิดและอารมณ์ที่ได้ก่อตัวข้ึนในรอบ ก่อนๆ นัน้ ความเกลียดชังกจ็ ะเป็นตวั กำหนดปฏิกริ ยิ า ตอบโต้ในอนาคต ประการท่ีสอง ความชังไม่ได้อยู่ที่ใจเราคนเดียว แต่เป็นส่ิงท่ีเกี่ยวเนื่องกับผู้อ่ืน ความชังที่แสดงออกมา เป็นพฤติกรรมทำให้ผู้อ่ืนมีความรู้สึกไม่ดีจนปฏิบัติต่อเราในทางไม่ดีเป็นการตอบแทน ผลก็คือเกิดวัฏจักร อันเลวร้ายขึ้นมา พระพทุ ธเจา้ ไดต้ รัสไวอ้ ยา่ งชดั เจน ประการที่สาม ความไม่ม่ันคงทางจิตใจทำให้อารมณ์ตึงเครียด ซ่ึงในที่สุดจะก่อให้เกิด ความรุนแรงทาง กายกรรมและวจีกรรมประการที่สี่ เรามักจะปกป้องความหลงตนเองโดยการทับถมผู้ท่ีดูเหมือนมีอำนาจเหนือเรา การทับถมผู้อ่นื ย่อมมีผลในทางลบ เนื่องจากผทู้ ถ่ี ูกทับถมจะยง่ิ ขาดความเช่ือม่ันในตนเองและ จะมีปฏิกริ ิยาตอบโต้ ในทางลบ เม่ือความเกลียดชังกลายเป็นแบบแผนของพฤติกรรมอันซับซ้อนแล้ว ก็ยากท่ีแต่ละฝ่าย จะกระทำสิ่ง ท่ีสร้างสรรค์ได้โมหะ ในแง่ของปฏิจจสมุปบาท ความหลงจะเกิดข้ึนเมื่อเกิดอุปาทานหรือความติดยึดวงจร ปฏิจจสมุปบาทก่อให้เกิดภวตัณหา หรือความอยากเป็นบางสิ่งบางอย่างและเกิดอุปาทานตามมา ภาพตัวเอง ก็จะกลายเป็นสิ่งที่คอยติดยึด เราปรุงภาพท่ีสวยงามดังโปสต์การ์ดชีวิตข้ึนมา จะปิดบังความทุกข์และความไม่จิรัง ยั่งยืนเช้ือของความทุกข์มาจากการที่เราพยายามใช้ชีวิตท่ีขัดแย้ง กับความเป็นจริง เค้าลางของความขัดแย้ง แม้มีเพียงเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นท่ีต่างกันการวิจารณ์ การแสดงความหงุดหงิด ล้วนแต่จุดชนวน ความรู้สึกไม่มั่นคงในจิตใจ ซ่ึงเกิดจากความหลง และจะทำให้เราทำอะไรเกินเหตุ จากความมั่นใจ ว่าภาพตัวตน ท่ีสังขารสร้างข้ึนมาเป็นตัวเราในฐานะผู้กระทำ เราต้องเผชิญกับประสบการณ์ท่ีไม่พ่ึงพอใจ เม่ือตกอยู่ในฐานะ ผู้ถกู กระทำจากความหลง ที่คิดว่าตัวเราเปน็ ผูค้ ุมสถานการณ์ เรากลบั พบวา่ ตัวเองถูกดันไปข้างหน้า หรือถูกบังการ ครอบงำ เพ่ือสนองความต้องการของอีกฝ่ายหน่ึง นี้เป็นการท้าท้ายภาพตนเองและโลก เรารู้สึกว่าต้องเป็น ฝ่ายปกป้อง สังขารจะออกหน้าและปรุงแต่งภาพท่ีน่าเกลียดของศัตรูพร้อมๆ กับหาทางปกป้องภาพตนเอง เม่ือน้ันวาดภาพตนเองว่าเป็นศูนย์กลางของความเป็นจริง วิธีท่ีแน่นอนที่สุดในการตอกย้ำ ภาพดังกล่าวก็คือ

พทุ ธสนั ตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๗๙ การทำให้คนอ่ืนด้อยกว่า สังขารจะถูกควบคุมโดยภวตัณหาหรือความอยากที่จะ เป็นคนเข้มแข็งและอยู่ศูนย์กลาง ของความจริง และวิภวตัณหาหรือความไม่อยากเป็นคนอ่อนแอ ไม่มีค่าและอยู่รอบนอกของความจริง หลักธรรม ของพระราชา หลักธรรมแบบวิถีพุทธ หลักธรรมอีกประการหนึ่งท่ีคนไทยท่ังมวลให้การเคารพและปฏิบัติตาม คือ หลักธรรมของพระราชา หรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ซ่ึงเป็นหลักธรรมจากพระบรมราโชวาท ลว้ นแล้วแตม่ ีคตสิ อนใจท่ีได้แสดงออกมาในพระบรมราโชวาท ซงึ่ ได้อญั เชิญมาดังน้ี “ทุกส่ิงทุกอย่าง ที่เกิดท่ีเป็นอยู่แก่เราในวันนี้ย่อมมีต้นเรื่องมาก่อน ต้นเร่ืองนั้นคือ เหตุ สิ่งที่ได้รับ คือ ผล และผลท่ีท่านมีความรู้อยู่ขณะนี้ จะเป็นเหตุให้เกิดผลอย่างอ่ืนต่อไปอีก คือ ทำให้สามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่ ทำงานทต่ี ้องการได้แลว้ การทำงานของท่าน กจ็ ะเปน็ เหตุให้เกิดผลอื่นๆ ต่อเน่อื งกนั ไปอกี ไมห่ ยุดย้ัง ดงั นั้นท่พี ูดกัน ว่า ให้พิจารณาเหตุผลให้ดีนั้น กล่าวอีกนัยหน่ึงก็คือ ให้พิจารณาการกระทำหรือกรรมของตนให้ดีนั่นเอง คนเรา โดยมากมักนึกว่า อนาคตจะเป็นอย่างไรเราทราบไม่ได้แต่ท่ีจริงเราย่อมจะทราบได้บ้าง เหมือนกันเพราะอนาคต กค็ อื ผลของการกระทำในปัจจุบนั ”๑๑ คนดี“ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครท่ีจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ท้ังหมด การทำให้ บ้านเมือง มีความปกติสุขเรยี บร้อย จึงมใิ ชก่ ารทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยทู่ ่ีการส่งเสรมิ คนดี ให้คนดีปกครอง บ้านเมืองและควบคมุ คนไม่ดี ไมใ่ หม้ ีอำนาจ ไม่ใหก้ ่อความเดอื ดร้อนวนุ่ วายได้”๑๒ คุณธรรมของคน “ประการแรก คือ ความซ่ือสัตย์ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจฝึกใจตนเองให้ ประพฤติปฏิบัตอิ ย่ใู นความสตั ย์ความดีนั้นประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และ อดออมท่ีจะไม่ประพฤติล่วง ความสัตย์สุจริตประการท่ีสี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริตและรู้จักสละประโยชน์ ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม คุณธรรม สี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามจะช่วยให้ ประเทศชาติ บงั เกิดความสุข ความร่มเยน็ และมโี อกาสทจ่ี ะปรบั ปรงุ พฒั นาใหม้ นั่ คงก้าวหน้าตอ่ ไป”๑๓ ความเพียร“ความเพียรท่ีถูกต้องเป็นธรรม และพึงประสงค์นั้นคือความเพียรท่ีจะกำจัดความเสื่อม ให้หมดไปและระวังป้องกันมิให้เกิดข้ึนใหม่ อย่างหนึ่งกับความเพียรที่จะสร้างสรรค์ ความดีงามให้บังเกิดข้ึน และระวังรักษามิให้เส่ือมส้ินไป อย่างหน่ึงความเพียรท้ังสองประการน้ีเป็นอุปการะอย่างสำคัญต่อการปฏิบัติตน ปฏิบัติงานถ้าทกุ คนในชาติจะได้ ตงั้ ตนต้งั ใจอยูใ่ นความเพียรดงั กลา่ วประโยชน์และความสขุ กจ็ ะบงั เกิดขึน้ พรอ้ มท้ัง แก่ ส่วนตัวและส่วนรวม”๑๔ แก้ปัญหาด้วยปัญญา “ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มีทางแก้ไขได้ถ้ารู้จักคิดให้ดี ปฏิบัติให้ถูก การคดิ ได้ดีนัน้ มิใช่การคดิ ได้ด้วยลูกคิด หรือด้วยสมองกลเพราะโลกเราในปัจจบุ ันจะวิวัฒนาการ ไปมากเพียงใดก็ ตามก็ยังไมมีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใดสามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์การขบคิดวินิจฉัยปัญหา จึงต้องใช้สติปัญญาคือคดิ ด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอ เพื่อหยุดย้ังและป้องกัน ความประมาทผิดพลาดและอคติต่างๆ มิให้ ๑๑ พระบรมราโชวาท ในพธิ พี ระราชทานปรญิ ญาบตั รจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๙, อ้างถึงใน กฤตวฏ บวรนรมาณ. รวบรวมพระบรมราโชวาทของในหลวง-คำสอนของพอ่ . สืบคน้ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐, เข้าถงึ ได้จาก http://www.oknation.net/blog/kritwat/2009/11/26/entry-1. ๑๒ พระบรมราโชวาทในพิธเี ปฏิดงานชุมนมุ ลกู เสือแหง่ ชาติ คา่ ยลูกเสอื วชิราวุธ จงั หวัดชลบุรี ๑๑ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๕๑๒, อา้ งถงึ ใน กฤตวฏ บวรนรมาณ. รวบรวมพระบรมราโชวาทของในหลวง-คำสอนของพอ่ . สืบค้น ๒๙ ธนั วาคม ๒๕๖๐, เข้าถงึ ได้ จาก http://www.oknation.net/blog/kritwat/2009/11/26/entry-1. ๑๓ พระบรมราโชวาท ในพิธบี รวงสรวงสมเด็จพระบรู พมหากษัตรยิ าธริ าชเจ้า ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕, อา้ งถึงใน กฤตวฏ บวรนรมาณ. รวบรวมพระบรมราโชวาทของในหลวง-คำสอนของพอ่ . สืบคน้ ๒๙ ธนั วาคม ๒๕๖๐, เขา้ ถึงได้จาก http://www.oknation.net/blog/kritwat/2009/11/26/entry-1. ๑๔ พระราชดํารัสพระราชทานในพธิ กี าญจนาภเิ ษกทรงครองราชย์ ครบ ๕๐ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙, อ้างถงึ ใน กฤตวฏ บวรนร มาณ. รวบรวมพระบรมราโชวาทของในหลวง-คำสอนของพอ่ . สืบคน้ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐, เข้าถงึ ได้จาก http://www.oknation.net/blog/kritwat/2009/11/26/entry-1.

พุทธสันตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๘๐ เกิดข้ึนช่วยให้การใช้ ปัญญาพิจารณาปัญหาต่างๆ เป็นไปอย่างเท่ียงตรง ทำให้เห็นเหตุเห็นผลที่เกี่ยวเน่ืองกัน เปน็ กระบวนการได้กระจา่ งชดั ทุกข้ันตอน”๑๕ พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสส่วนหน่ึง ที่ในหลวงทรงประทานให้กับชาวไทย ทุกคนให้เรานำไป ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีของครอบครัวเป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติ ซ่ึงหลายๆเหตุที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ได้ประทานพระบรมราโชวาทในแต่ละครั้ง ย่อมเหนือผลประโยชน์ทั้งปวง จึงมีแต่ความเมตตา กรุณา เหมือนพ่อสอนลูก โดยให้ยึดมั่น ในความดี ในความถูกต้องเป็นคนดีของครอบครัวและสังคม มีศีลมีธรรม ตลอดจนการดำรง ในหนา้ ทส่ี บื ไป กรณีตัวอย่างจากการจัดการความขัดแย้งแบบวิถีพุทธ โดยพระบรมราโชวาทและ พระราชด ำรัส จากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ.๒๕๓๕ ซ่ึงเป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่มีความรุนแรง เม่ือมีพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทำให้ยุติลงได้ มีข้อความบางตอนซึ่งอัญเชิญมาดังนี้ “คงไม่แปลกใจ ทำไมถงึ เชิญให้ท่านมาพบกันอย่างน้ี เพราะว่าทุกคนก็ทราบว่า เหตุการณ์มีความยุ่งเหยิง อย่างไรและก็จะทำให้ประเทศชาติล่มจมได้” “การเผชิญหน้าตอนแรก ก็จะเห็นจุดประสงค์ของทั้งสองฝ่ายได้ ชดั เจนพอสมควร แต่ตอ่ มาภายหลัง ๑๐ กวา่ วัน เปลย่ี นโฉมหนา้ ไปอยา่ งมาก จนกระทั้งผลจะออกมาอย่างไรกต็ าม ก็เสยี ท้ังนัน้ เพราะว่าตา่ งทำใหม้ ีความเสียหาย ในทางชวี ติ เลือดเนอ้ื ของคนจำนวนพอสมควร แลว้ กม็ ีความเสยี หาย ทางวัตถุ ซึ่งเป็นของส่วนราชการและส่วนบุคคลเป็นมูลค่ามากมาย นอกจากน้ัน ก็มีความเสียหายในทางจิตใจ และในทางเศรษฐกิจของประเทศชาติอย่างทจ่ี ะนับคณาไม่ได้” “ปัญหาทุกวันน้ีคือความปลอดภัยและขวัญของประชาชน ซึ่งเดียวนี้ประชาชนทั่วไปทุกแห่งทุกหน มีความหวาดระแวงว่า ประเทศชาติจะล่มจม โดยท่ีจะแก้ไขลำบากน้ันก็ขอให้ท่าน โดยเฉพาะสองท่าน พล.อ.สุจินดา คราประยูร และ พล.ต.จําลอง ศรีเมือง ช่วยกันคิด คือ หันหน้าเข้าหากัน ไม่ใช่เผชิญหน้ากัน เพราะว่าเป็นประเทศของเรา ไม่ใช่ประเทศของหน่ึงคนสองคน เป็นประเทศของทุกคน ต้องเข้าหากันแก้ปัญหา ไม่เผชิญหน้ากัน เพราะว่าอันตรายมีอยู่ เวลาคนเราเกิดความบ้าเลือดปฏิบัติการรุนแรงต่อกัน มันลืมตัวลงท้าย ก็ไม่รู้ว่า ตีกันเพราะอะไร แล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าต้องเอาชนะแล้วใครจะชนะ ไม่มีทางชนะ อันตราย ทั้งน้ันมีแต่แพ้คือต่างคนต่างแพ้ผู้เผชิญหน้าก็แพ้แล้ว ท่ีแพ้ท่ีสุดก็คือ ประเทศชาติ ประชาชนจะเป็นประชาชน ท้ังประเทศ ไม่ใช่ประชาชนเพาะในกรุงเทพมหานคร ถ้าสมมุติว่ากรุงเทพมหานครเสียหายประเทศก็เสียหาย ไปทง้ั หมด แลว้ ก็จะมปี ระโยชนอ์ ะไรที่จะทะนงตวั วา่ ชนะ เวลาอยบู่ นกองส่ิงปรกั หักพงั ” หลังพระราชทานกระแสพระราชดำริแก่บุคคลท้ังสอง หลังจากเข้าเฝ้าแล้ว พล.อ.สุจินดา คราประยูร ก็ได้แถลงให้ประชาชนทราบทางสถานีโทรทัศน์รวมการเพาะกิจ ว่าจะให้ความร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหา เพ่ือให้เกิดความสงบสุขแก่ประชาชนชาวไทย และจะได้พิจารณา ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้ท่ีร่วมชุมนุมกัน ด้วยความบริสุทธิ์ใจ และ พล.ต.จาํ ลอง ศรีเมือง ก็แถลงใหป้ ระชาชนอยา่ ให้การสนับสนุนหรอื รู้เหน็ เป็นใจกบั ผู้ที่ยัง กอ่ ความว่นุ วายในขณะนั้น ทำให้สถานการณต์ า่ งๆ นนั้ เขา้ ส่ภู าวะปกตโิ ดยเร็ว ๔.๗ สาเหตแุ ละความแตกแยกของสงฆ์ ความแตกแยกของสงฆ์ในคร้ังพุทธกาล โดยมีพุทธโอวาทเป็นเครื่องยุติความแตกแยก ขององค์สมเด็จ พระสมั มาสัมพทุ ธเจ้าท่ไี ดแ้ สดงไวด้ ังน้ี ๑๕ พระบรมราโชวาทในพธิ ีพระราชทานปรญิ ญาบัตร มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ๑ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๕๓๙, อา้ งถงึ ใน กฤตวฏ บวรนรมาณ. รวบรวมพระบรมราโชวาทของในหลวง-คำสอนของพอ่ . สบื คน้ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐, เข้าถงึ ได้จาก http://www.oknation.net/blog/kritwat/2009/11/26/entry-1.

พุทธสนั ติวธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๘๑ ครั้นถึงวันอุโบสถ พระเทวทัต ก็ชวนภิกษุเป็นพวกได้มาก (เป็นพระบวชใหม่โดยมาก) แล้วพาภิกษุ เหลา่ นัน้ แยกไปทำอุโบสถ ณ ตำบลคยาสีสะ เหตุเปน็ เคร่ืองทำใหส้ งฆแ์ ตกกนั และสามัคคีกันมี ๑๘ ขอ้ คอื ๑. แสดงอธรรมวา่ เป็นธรรม ๒. แสดงธรรมวา่ เปน็ ธรรม ๓. แสดงอวินยั ว่าเป็นวินยั ๔. แสดงวนิ ยั วา่ เปน็ อวินยั ๕. แสดงขอ้ ท่ีพระพทุ ธเจา้ มิไดต้ รสั ว่าตรัสไว้ ๖. แสดงข้อที่พระพทุ ธเจ้าตรัสไว้ว่ามไิ ดต้ รัสไว้ ๗. แสดงข้อที่พระพุทธเจ้ามิไดป้ ระพฤตวิ า่ ประพฤติ ๘. แสดงขอ้ ที่พระพทุ ธเจ้าประพฤติว่าไม่ไดป้ ระพฤติ ๙. แสดงขอ้ ท่ีพระพทุ ธเจ้ามิได้บญั ญัติว่าบญั ญตั ิ ๑๐. แสดงข้อทพี่ ระพทุ ธเจ้าบัญญัตวิ ่ามิไดบ้ ัญญัติ ๑๑. แสดงสงิ่ มิใชอ้ าบตั ิเป็นอาบัติ ๑๒. แสดงอาบัตวิ ่ามใิ ชอ้ าบัติ ๑๓. แสดงอาบัตเิ บาวา่ เป็นอาบตั ิหนกั ๑๔. แสดงอาบตั หิ นักว่าเป็นอาบตั ิเบา ๑๕. แสดงอาบตั ไิ ม่มีส่วนเหลือว่ามีสว่ นเหลอื ๑๖. แสดงอาบัตมิ สี ว่ นเหลือว่าไม่มีส่วนเหลือ ๑๗. แสดงอาบัติชว่ั หยาบวา่ ไม่ช่ัวหยาบ ๑๘. แสดงอาบัติไมช่ ่วั หยาบว่าช่ัวหยาบ แล้วทำอุโบสถ ทำปวารณา และทำสังฆกรรมแยกกัน ส่วนเหตุเป็นเคร่ืองทำให้สงฆ์ สามัคคีกันก็มี ๑๘ อย่าง แต่ท่ีตรงกันข้าม คือ แสดงถูกตรงตามความเป็นจริงแล้วไม่ทำอุโบสถแยกกัน ไม่ทำปวารณาแยกกัน และไม่ทำสังฆกรรมแยกกัน โกสัมพิยสูตร (สูตรว่าด้วยภกิ ษชุ าวกรงุ โกสมั พี) พระผู้มพี ระภาคประทับ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี สมัยน้ันภกิ ษใุ นกรุงโกสัมพี สร้างวาทะเลาะวิวาทกัน ใชว้ าจาท่ิมแทงกัน ไม่สามารถ ทำความเขา้ ใจ กันได้พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่าให้เรียกภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน ตรัสถามเธอทั้งหลายรับว่า ทะเลาะ วิวาทกันจริง จึงตรัสถามว่าในสมัยที่ทะเลาะวิวาทกันน้ัน เธอได้ตั้งกายกรรท วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจารทั้งในที่แจ้งท่ีลับบ้างหรือเปล่า เม่ือกราบทูลว่าเปล่า จึงตรัสว่าพวกเธอรู้ อะไรเห็นอะไรจึงทะเลาะกนั วิวาทกัน ขอ้ นนั้ ย่อมเปน็ ไปเพ่ือมิใชป้ ระโยชน์ เพือ่ ความทุกตลอดกาลนานต่อไปได้ตรัส ถงึ สาราณยิ ธรรม (ธรรมอันทำให้ระลึกถงึ กัน) ๖ ประการ คือ ๑. ตัง้ กายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ๒. ต้งั วจีกรรมอันประกอบดว้ ยเมตตา ๓. ตง้ั มโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจารใี นทแี่ จ้งทลี่ บั ๔. แบง่ ปันลาภแก่เพ่ือนพรหมจารี ๕. มศี ีลอนั ดเี สมอด้วยเพ่อื นพรหมจารี ๖. มที ิฐคิ วามเหน็ อนั ประเสริฐเสมอดว้ ยเพ่ือนพรหมจารี ธรรม ๖ อย่างน้ีทำให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นท่ีรักเป็นท่ีเคารพเป็นไปเพ่ือสงเคราะห์กัน เพ่ือไม่วิวาทกัน เพ่ือสามัคคีกัน เพื่อเป็นอันหน่ึงอันเดียวกัน ในธรรม ๖ อย่างน้ี ข้อที่เป็นยอดคือทิฐิ ความเห็นอันประเสริฐ อนั นำออกจากทุกขไ์ ด้

พทุ ธสันตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๘๒ หลังเหตุการณ์ความแตกแยกของพระสงฆ์ในคร้ังน้ันแสดงให้เห็นว่าผู้ท่ีอยู่เหนือ ผลประโยชน์ท้ังปวงนั้น สามารถแก้ไข้ปัญหาได้ด้วยหลักธรรม ที่แสดงถึงความเมตตา กรุณา ต่อท้ังสองฝ่าย ท่ีเป็นฝ่ายท่ีเห็นด้วยก็ดี และฝ่ายท่ีไม่เหน็ ด้วยกด็ ีจนทำใหน้ ำไปสคู่ วามสามัคคีและ ความผาสุกอย่างแท้จริง สรปุ ท้ายบท ความขัดแย้ง เป็นการต่อสู้ดิ้นรนระหว่างผู้ที่ไม่ลงรอยกัน (ท้ังบุคคลหรือกลุ่ม) ในด้านความต้องการ ความปรารถนา ความคิด และผลประโยชน์ ความขัดแย้งเกิดข้ึนเม่ือบุคคลหรือกลุ่มที่ เผชิญหน้าไม่สามารถหาข้อ ยุติท่ีเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้ ความขัดแย้ง เป็นพฤติกรรมท่ีไม่สอดคล้องต้องกัน ระหว่างกลุ่มที่มีความสนใจ ต่างกัน ความขัดแย้ง เป็นกระบวนการหน่ึงที่เริ่มต้นเม่ือกลุ่มหนึ่งรับรู้ว่าตนถูกทำลายจากกลุ่มอื่น หรือส่อเค้าว่า กลุ่มอื่นตั้งท่าจะทำลายตน สภาพการณ์ที่ทำให้คนตกอยู่ในภาวะท่ีไม่สามารถจะตัดสินใจ หรือตกลงหาข้อยุติ อันเป็นท่ีนา่ พอใจของทั้งสองฝ่ายไดการเปล่ียนแปลงของทุกๆ สังคมจะมีขนั้ ตอนของการพัฒนา ทางประวตั ิศาสตร์ ๕ ขั้น โดยแต่ละข้ันจะมีวิธีการผลิต (Mode of production) ที่เกิดจากความสัมพันธ์ ของอำนาจของการผลิต (Forces of production) ซึ่งได้แก่ การจัดการด้านแรงงาน ที่ดิน ทุน และ เทคโนโลยีกับความสัมพันธ์ทางสังคม ของการผลิต (Social relation of production) ซ่ึงได้แก่เจ้าของปัจจัยการผลิตและคนงานที่ทำหน้าที่ผลิต แต่ในระบบการผลิตแต่ละระบบจะมีความขัดแย้งระหว่าง ชนชั้นผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตกับผู้ใช้แรงงาน ในการผลิตทำให้เกิดการเปล่ียนแปลงทางเศรษฐกิจ ท่ีเป็นโครงสร้างส่วนล่างของสังคม (Substructure) และเมื่อโครงสร้างส่วนล่างมีการเปล่ียนแปลง จะมีผลทำให้เกิดการผันแปรและเปล่ียนแปลงต่อโครงสร้างส่วนบน ของสงั คม (Superstructure)ซง่ึ เป็นสถาบันทางสังคม เช่น รัฐบาล ครอบครัวการศกึ ษาศาสนา และรวมถงึ ค่านิยม ทศั นคตแิ ละบรรทดั ฐานของสงั คม

พทุ ธสันตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๘๓ คำถามท้ายบท

พุทธสนั ตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๘๔ เอกสารอ้างอิงประจำบท กฤตวฏ บวรนรมาณ. รวบรวมพระบรมราโชวาทของในหลวง-คำสอนของพ่อ. สืบคน้ ๒๙ ธนั วาคม ๒๕๖๐, เขา้ ถึงได้จาก http://www.oknation.net/blog/kritwat/2009/11/26/entry-1. ธงไชย พรหมปก, มหาตมะ คานธี นกั สู้ “อหงิ สา”, (กรุงเทพมหานคร : ต้นธรรม, ๒๕๔๔), หนา้ ๑๑. พระไพศาล วสิ าโล, องคร์ วมแห่งสนั ตภิ าพ, ในสู่ศานตเิ สรี : ๕๐ ปี สันติภาพ, กรงุ เทพมหานคร : เรือนแกว้ การพิมพ,์ ๒๕๓๘. ,สันตภิ าพโดยสันตวิ ธิ ี กรงุ เทพมหานคร ,กาญจนา แกว้ เทพ บรรณาธิการ,ในส่อื สันตภิ าพ สนั ติภาพในสอ่ื , : จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ๒๕๕๐ ,. ศรีเพ็ญ ศุภพิทยากลุ , มนษุ ย์กบั สันติภาพ, พมิ พ์ครัง้ ท่ี ๒, กรงุ เทพมหานคร : จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ๒๕๕๐ ,. Kriesberg, L. Constructive conflict: From escalation to resolution. (3rd ed.).Lanham, Md.: Rowman & Littlefield. 1998. Royal Academy. Royal Academy Dictionary for the Year 2003. Bangkok:Nanmeebooks. 2003. Webster Dictionary. (1913). Definition Conflict. Available from: http://www.websterdictionary.org/definition/Conflict. (Accessed 14 September 2016).

บทที่ ๕ เปรยี บเทียบทฤษฎีกับพุทธสันตวิ ธิ ีในพระไตรปิฎก วัตถปุ ระสงค์การเรยี นประจำบท เมอ่ื ไดศ้ กึ ษาเน้อื หาในบทนแี้ ลว้ ผศู้ กึ ษาสามารถ ๑. อธบิ ายประเภทพุทธสนั ติวธิ ีได้ ๒. อธบิ ายการไกล่เกลีย่ ความขัดแย้งแบบพทุ ธได้ ๓. วเิ คราะหค์ วามขัดแยง้ แบบพทุ ธได้ ๔. อธิบายหลักการไกล่เกลย่ี ได้ ๕. เปรียบเทยี บทฤษฎีกับพทุ ธสนั ตวิ ธิ ีในพระไตรปิฎกได้ ขอบข่ายเน้อื หา • ประเภทพุทธสนั ติวิธี • การไกลเ่ กลีย่ ความขัดแย้งแบบพทุ ธ • วเิ คราะห์ความขดั แย้งแบบพทุ ธ • หลกั การไกล่เกลย่ี • เปรยี บเทียบทฤษฎกี ับพุทธสันติวธิ ใี นพระไตรปิฎก

พทุ ธสันติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๘๖ ๕.๑ ความนำ มนุษย์เราจัดว่าเป็นสัตว์สังคม ที่มีการอยู่ร่วมกัน ต้องพึ่งพาอาศัยซ่ึงกันและกัน มิได้ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว ในแต่ละสังคมเป็นท่ีรวมของคนที่หลากหลายไว้ด้วยกัน แต่ละคนมีความคิด มีจุดหมายปลายทางท่ีต่างกันจน บางคร้ังจนเกิดปัญหาความขัดแยง้ ข้ึนได้ ซ่ึงปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นเร่อื ง ปกติหรือเป็นธรรมชาติ ความขัดแย้งทั้งในแง่ของความคิดและการปฏิบัติ ส่งผลกระทบเสียหายต่อสันติสุข ของสังคม ปัญหามากมายส่วนหนึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งท่ีมาจากมานะ เป็นสาเหตุของความขัดแย้ง ภายในที่นำไปสคู่ วามขัดแย้งภายนอก ตามความเข้าใจของคนท่ัวไปจะเข้าใจว่ามานะ คือ ความพยายาม ทีจ่ ริงแล้ว มานะไม่ได้แปลว่าพยายาม แต่มานะทำให้เกิดความพยายามได้ กลัวเสียหน้าหรือไม่อยากแพ้คนอ่ืน เห็นคนอื่นเขา ทำได้ เราก็ต้องทำได้ มานะเป็นสง่ิ ดที ่ีทกุ คนควรจะมีในการหมน่ั เพียรขยันประกอบอาชีพตา่ งๆ ความขัดแย้งที่ส่งผลให้เกิดสงครามทำลายชีวิตท่ีเด่นชัด คือ กรณีของพระเจ้าวิฑูฑภะและศากยวงศ์ เพราะมีความยึดติดว่าชาติพันธุ์ของตนน้ันดีกว่าบริสุทธิ์กว่าจนทำให้ไปดูถูก เหยียดหยามและดูหมิ่นคนอื่นๆ ในสังคม ดังเหตุการณ์ท่ีพระเจ้าปเสนทิโกศลต้องการสร้างสัมพันธไมตรีกับเจ้าศากยวงศ์โดยการส่งสาส์นเพื่อสู่ขอ พระราชธิดา แต่ได้รบั การดถู ูก เหยยี ดหยาม โดยการมองบุตรีของนางทาสีไปเป็นมเหสแี ล้วยังดูหม่ิน เหยียดหยาม เจ้าชายวิฑูฑภะซ่ึงเป็นลูกของนางทาสีโดยการใช้น้ำนมล้างตั่งที่พระองค์ประทับน่ัง ไม่ยอมให้ลูกของตัวเองไหว้ เจ้าชายวิฑูฑภะ ซึ่งมีอายุมากกว่าด้วยการพาหนีไปอยู่นอกเมือง ส่งผลให้เกิดความสงสัยในพฤติกรรมท่ีปรากฏ เมอื่ ทราบถึงเรือ่ งราวต่างๆ ท่มี ีมลู เหตุมาจากความเกลยี ดชัง กลายเป็นความรนุ แรง เกดิ ความพยาบาทอาฆาตแค้น ทีฝ่ ังใจ รุนแรงและสะสมมาตั้งแต่เยาว์วัยของเจา้ ชายวิฑูฑภะที่ได้รับการปฏบิ ัติ และเม่ือไดท้ ราบถงึ มูลเหตุดังกล่าว มาแล้วข้างต้นในองค์ประกอบความขัดแย้งทางสังคมจนกระท่ังถึงจุดระเบิด พระองค์ทรงมีมิจฉาทิฐิ แก้แค้นต่อ ศากยวงศโ์ ดยใช้ความรุนแรงอยา่ งทส่ี ุด ในการกระทำ “สงครามลา้ งเผา่ พนั ธุ์” ๕.๒ ประเภทพทุ ธสันตวิ ิธี คำว่า “พุทธสันติวิธี” ในบริบทน้ี หมายถึง แนวทางสันติแบบพุทธ คือการสร้างสันติภาพด้วยหลักการ ของพระพุทธเจ้า คือการสร้างสันติภาพจากภายในสู่ภายนอก การแก้ปัญหาความขัดแย้งไปท่ีเรื่องของชีวิตโดยมุ่ง หมาย ไปที่เรื่องของชวี ิตทุกชีวิต และสอนเฉพาะเรื่องทสี่ ามารถนำไปถอนทุกข์ถอนปัญหาของชวี ิต ซึ่งความขดั แย้ง ตา่ งๆ ท่ีเกดิ ข้ึนเป็นเสมือนชีวติ ท่ีถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ จำเป็นต้องรีบถอนลูกศรน้ันออกจากชีวิตให้ได้เร็วที่สุด เท่าท่ีจะเร็วได้ เพราะเวลาของชีวิตมีน้อย ดังข้อความตอนหน่ึงในจูฬมาลุงโกยวาทสูตรว่ า ชีวิตของมนุษย์ เปรียบเสมือนคนที่ถูกยิ่งด้วยลูกศรที่อาบด้วยยาพิษจำต้องผ่าเอาลูกศรน้ันออกโดยด่วน หากม่ัวแต่สงสัยว่าลูกศร นั้นทำด้วยอะไร และใครเป็นคนยิง หากมัวถามเรื่องไร่สาระอยู่เช่นน้ี โดยไม่รีบพาไปหาหมอแล้วก็ เขาผู้นั้นก็คง ตายก่อนเป็นแน่ ดังนั้นเมื่อรู้ว่าชีวิตนี้เป็นของน้อย เต็มไปด้วยทุกข์ ต้องรีบแก้ไขปัญหาและต้องรีบพาไปหาหมอ เพ่ือทำการรักษาโดยด่วน๑ชีวิตถูกชรานำเข้าไป อายุจึงสั้น ผู้ท่ีถูกชรานำเข้าไปแล้วไม่มีเคร่ืองต้านทาน บุคคล พจิ ารณาเห็นภัยน้ีในมรณะ ควรละโลกามสิ มุ่งส่สู ันติเถิด๒ ด้วยเหตุดังกลา่ วน้ี พระพุทธศาสนาจึงสอนโดยมุ่งหมาย ไปท่เี รอื่ งของชีวิต และสอนเฉพาะเรื่องท่ีสามารถนำไปถอนทุกข์ถอนปัญหาของชีวิตซ่ึงเปน็ เสมือนลูกศรอาบยาพิษ ออกจากชีวิตให้ได้โดยเรว็ ที่สุดเทา่ ท่ีจะเรว็ ได้เพราะเวลาของชวี ิตมีน้อยนิด ดังท่ีพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ไดช้ ้ีวา่ ทำอย่างไรจะพัฒนาปุถชุ นไปให้เป็นอรยิ ชนหรอื อารยชน เราจงึ ต้องพฒั นาปุถชุ นนีข้ นึ้ ไปอกี เพ่ือไมใ่ ห้มนุษย์ ๑ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๑๕๐/๑๑๗-๑๒๒. ๒ ส.ํ ส. (ไทย) ๑๕/๓/๔-๓๙๖

พทุ ธสนั ติวธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๘๗ ปุถุชนเหล่าน้ีมาสร้างปัญหาความขัดแย้ง ไม่มาทำสงครามกัน ไม่ให้มาเอารัดเอาเปรียบข่มเหงรังแกอะไรต่างๆ สารพดั ที่มันเกดิ เปน็ ปญั หาในสังคมปัจจบุ นั ๓ พุทธสันติวิธี คือ เม่ือกล่าวถึง สังคมแห่งสันติ จัดได้ว่า เป็นสังคมท่ีไร้ความรุนแรง หรือปราศจากความ รุนแรงทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่สังคมดังกล่าวยังมีความขัดแย้ง และบางครง้ั หรือบางสถานการณ์ความขัดแย้ง ดังกล่าวได้พัฒนาตนเองไปสู่จุดท่ี สังคมไร้สันติ หรือ ปราศจากสันติ จึงมีความจำเป็นต้องใช้ วิธีเชิงสันติ เข้าไป จดั การความขดั แยง้ แบบสันติ หรอื จัดการความรนุ แรงแบบสนั ติ๔ สังคมจะเกิดสนั ตสิ ขุ ได้ ทกุ คนในสงั คมจะต้องมีแนวทางการประพฤติปฏิบัติร่วมกัน มีความหนักแนน่ เสมอ กนั และปรับตัวเข้าหากันได้ มีความเข้าใจอันดีต่อกัน สามัคคีปรองดองกัน มีสิทธเิ สรภี าพต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน มีความเสมอภาคทางด้านต่างๆ ทำให้มีความสุขทั้งส่วนตน และในส่วนท่ีเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ในทาง พระพุทธศาสนา เรียกวา่ สมชีวธิ รรม๕ มี ๔ ประการ คอื ๑. สมศรัทธา ประชาชนทุกคนในสังคมควรมีแนวความคิด ความเชื่อถือ อุดมการณ์เป็ นอันหน่ึง อันเดียวกัน เม่ือมีปัญหาเกิดขึ้น เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขข้อขัดแย้งเป็นในเดียวกัน จึงต้องมีกฎหมายไว้ เป็นเคร่ืองมือสำหรับการขจัดข้อขัดแย้งดังกล่าวให้หมดสิ้นไป มีกฎหมายเป็นหลักในการอำนวยความสุขร่วมกัน และทุกคน จะต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพของประชาชนคนอื่นๆ มีความเช่ือ ความเล่ือมใสต่อการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย มีความคิดนิยมในคุณค่าหรือมีความยึดถือในระบอบประชาธิปไตย มีทัศนคตคิ ่านิยมท่ีไม่ขัดแย้งกัน ย่อมทำให้มีชีวิตที่ราบรื่นมั่นคง ถ้าหากทุกคนมีความคิดเห็นลงรอยกัน ก็สามารถปรับตัวเข้าหากันได้ง่าย ถ้าหาก ตา่ งคนต่างมคี วามคิดเห็นไมต่ รงกันก็ต้องปรับความคิดเห็นให้ประสานกัน โดยไม่ยึดเอาแต่เพียงความคิดของตนว่า ถูกต้องดีงาม ให้เกียรติและเคารพความคิดเห็นของผู้อ่ืน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้ยึดม่ันและเคารพตนเอง เป็นแนวทางในการพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพื่อเป็นการถนอมน้ำใจซ่ึงกันและกัน มิฉะนั้นแล้ว จะทำใหเ้ กิดความขดั แยง้ และความแตกแยกได้ ๒. สมสีลา รัฐควรส่งเสริมให้ประชาชนทุกคน ประพฤติปฏิบัติในทางเดียวกัน ดำเนินชีวิตอยู่ในระดับ เดียวกัน ไมใ่ หม้ คี วามเหล่ือมล้ำทางสังคม มคี วามเสมอภาคเปน็ สว่ นหน่ึงของรัฐเหมอื นกนั ยึดมั่นในความเสมอภาค เสรีภาพของบุคคล มีความเสมอภาคทางการเมือง มีความเสมอภาคต่อการปฏิบัติของกฎหมาย มีความเสมอภาค ในโอกาส เศรษฐกิจ และสังคม ไม่ควรให้ความแตกต่างทางเศรษฐกิจและสังคมมาเป็นเครื่องกำหนดให้บุคคลหน่ึง เหนอื กวา่ อีกบุคคลหนึ่ง ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะมียศ ฐานะ หรือตำแหน่งใดๆ ไม่ว่าจะร่ำรวย หรือยากจน มีสิทธิและหน้าที่ที่จะร่วมในกิจกรรมทางการเมืองเท่าๆ กัน จึงจะสามารถปรับตัวเข้ากับคนอ่ืนได้โดย การสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน หากนักปกครองและประชาชนผู้ใต้ปกครอง มีความประพฤติที่ใกล้เคียงกัน ไม่ แตกต่างกันจนถึงกับเข้ากันไม่ได้ การมีความประพฤติที่แตกต่างกันก็จะทำให้เกิดความรังเกียจและดูหม่ินกันได้ เพราะทนรับพฤติกรรมของฝ่ายตรงข้ามไม่ได้ ถึงแม้ว่าแต่ละคนย่อมมีพฤติกรรมใดไม่เป็นที่ยอมรบั ของผู้อื่น ก็ควร ละเสีย เช่น ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดข้ึนในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงแค่ความขัดแย้งท่ีผิวเผิน หากแต่เป็น ความขัดแย้งทางความคิดเห็นทางการเมืองท่ีแตกต่างกัน ที่วางอยู่บนฐานความแตกต่างของชนช้ัน ซ่ึงต้องแก้ไข หรอื ทำใหค้ วามแตกต่างคลี่คลายไป เพือ่ ให้เกดิ ความเป็นเอกภาพอนั หนง่ึ อันเดียวกัน ๓. สมจาคา รัฐควรส่งเสริมให้ประชาชนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โอบอ้อมอารี มีจิตใจกว้างขวางเหมือนๆ กนั ดำเนินชีวิตอยใู่ นระดับเดยี วกนั ไม่ใหม้ ีความเหลอ่ื มล้ำทางสังคม มีความเสมอภาคทางเศรษฐกจิ มีการกระจาย ๓ พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พฒั นาคุณภาพชีวิตด้วยจิตวทิ ยาแบบยงั่ ยืน, มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๔๓, หน้า ๒๘- ๒๙. ๔ พระมหาหรรษา ธมมฺ หาโส (นิธบิ ุณยากร), พทุ ธสันตวิ ิธี การบูรณาการหลักการและเครื่องมอื จัดการความขัดแย้ง, กรุงเทพมหานคร : บรษิ ทั ๒๑ เซน็ จูรี จำกัด, ๒๕๕๔, หน้า ๑๙๗. ๕ อง.ฺ จตกุ ฺก. ๒๑/๕๕/๘๐.

พุทธสันติวธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๘๘ รายได้ที่เป็นธรรม มิให้มีช่องว่างระหว่างชนช้ันมากนัก มีความเสมอภาคไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง เด็ก ผู้ใหญ่ หรือคนชรา มีการศึกษาต่ำหรอื สูง มีฐานะรำ่ รวยหรือยากจนก็ตาม ย่อมจะได้รบั สทิ ธติ ่างๆ โดยเทา่ เทยี มกัน มศี ักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความสำคัญเหมอื นกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เพียงหน้าท่ีและความรับผิดชอบในบาง เร่ืองเท่าน้ัน ก็จะสร้างไมตรีต่อกันทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายใดฝ่ายหน่ึงเป็นผู้ที่มีจิตใจคับแคบ ตระหน่ีถี่เหนียว และอีก ฝ่ายหน่ึงมีความเอ้ือเฟ้ือเผ่ือแผ่ ก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งท้ังทางความคิดและพฤติกรรม จะต้องปฏิบัติต่อทุกคน อย่างเสมอภาคกัน เช่น การไปรับการตรวจรักษาจากโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะจัดให้เข้ารับ การตรวจตามลำดับกอ่ น-หลงั เปน็ ต้น ๔. สมปัญญา ประชาชนทุกคนในรฐั จะตอ้ งมีปัญญา ร้จู ักเหตุ รู้จักผล สามารถแยกแยะดีชัว่ ใช่ประโยชน์ มิใชป่ ระโยชน์ การเป็นคนทีม่ ีเหตผุ ลเหมือนกันย่อมตัดสินส่งิ ต่างๆ ด้วยเหตุผล ไมเ่ อาอารมณ์หรอื ความรู้สึกส่วนตัว ไปตัดสิน ทุกเร่ืองสามารถตกลงกันได้ด้วยเหตุและผล เมื่อมีปัญหาเกิดข้ึนจะต้องร่วมกันคิดและช่วยกันตัดสินใจ และนักปกครอง ควรเปิดโอกาสให้แก่ประชาชนได้รับโอกาสที่จะใช้ความสามารถในการศึกษาหรือประกอบธุรกิจ การงาน โอกาสที่จะแสวงหาเพื่อความเจรญิ ก้าวหน้าของการดำรงชีพหรอื การเลื่อนสถานะทางเศรษฐกจิ และสังคม ของเขา และในการเลือกสรรบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง นักปกครอง จะต้องยึดหลักความสามารถ ของบคุ คล มิใช่การยดึ ถอื ชาติตระกลู ดงั นัน้ ประชาชนจะต้องมคี วามเสมอภาคที่จะได้รับโอกาสในการคัดเลือกเข้า ดำรงตำแหน่งหน้าที่ของรัฐ ท้ังตำแหน่งข้าราชการเมืองและข้าราชการประจำ โดยคำนึงถึงความสามารถ ท่ีเหมาะสมเป็นเกณฑ์ เน้นการใช้ปัญญาใช้เหตุผลและความถูกต้องในการตัดสินปัญหาทั้งปวง ทำให้ยอมรับฟัง ความคิดเห็นซ่ึงกันและกัน ปฏิบัติตามมติของเสียงส่วนมากในท่ีประชุมและการทำงานต่างๆ พยายามอภิปราย จนกระทั่งสามารถชักจูงใจให้ทุกคนเห็นคล้อยตามเมอื่ มีเหตุผลท่ีดีด้วยกนั หรือใช้วิธกี ารออกเสียง หากฝ่ายใดฝ่าย หนง่ึ เปน็ คนไม่มเี หตผุ ลขาดปญั ญาในการแกป้ ญั หา ก็จะทำให้เกดิ ความขดั แย้งกัน เม่ือกลา่ วโดยสรุปแล้ว สมชีวธิ รรม ๔ เหลา่ น้ี เป็นหลักธรรมทีจ่ ะส่งเสรมิ ใหน้ กั ปกครองและประชาชน ผู้ใต้ปกครอง มีแนวทางการประพฤติปฏิบัติร่วมกัน มีความหนักแน่นเสมอกันและปรับตัวเข้าหากันได้ ทำให้เกิด ความม่ันคง มีความสุขทั้งส่วนตน และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน สามัคคีปรองดองกันทำให้ เกิด ความสามัคคีกันทำให้ประเทศชาติเป็นเอกภาพอันหน่ึงอันเดียวกัน ทำให้เกิดความสมดุล พอดี ทำให้ทุกคน มีเสรีภาพต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน มีความเสมอภาคทางด้านต่างๆ ศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตย มกี ารประพฤตปิ ฏิบัติในทางเดียวกัน เอ้ือเฟ้ือเผ่ือแผ่เสียสละ นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักและยึดหลักเหตุผล และยอมรับฟงั ความคิดเหน็ ของคนอ่ืน ๕.๓ การไกลเ่ กลยี่ ความขัดแย้งแบบพุทธ พุทธศาสนามองว่าทุกข์เป็นสภาวะพ้ืนฐานของธรรมชาติ ครอบคลุมสรรพสิ่งท้ัง ส่ิงมีชีวิตและไม่มีชีวิต ท้ังรูปธรรมและนามธรรมสภาวะทีเ่ รียกว่าทุกข์ (หรอื ทุกขลักษณะ) น้ีได้แก่ ภาวะท่ีไม่คงตวั คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เพราะมีความกดดัน บีบค้ันขัดแย้งอยู่ในตัวเองและกับส่ิงรอบตัวอยู่ตลอดเวลาความขัดแย้งกับทุกข์เป็นสิ่งท่ีแยก จากกันไม่ได้ทุกข์เกิดเพราะความขัดแย้ง บีบคั้น (เช่นความเจ็บป่วยเกิดจากความขัดแย้งบีบค้ันระหว่าง องคป์ ระกอบตา่ งๆ ในร่างกายและ ระหว่างร่างกายกับเชอื้ โรค) ขณะเดยี วกนั ทกุ ข์กน็ ำไปสู่ความขัดแย้งไดด้ ้วย ด้วยเหตุน้ีความขัดแย้งจึงเป็นธรรมดาของสรรพส่ิงเช่นเดียวกับทุกข์นี้หมายความว่า ในชีวิตของบุคคล และในความเป็นไปของสังคมเราไม่สามารถหลีกหนีความขัดแย้งได้ ไม่ว่า ความขดั แย้งกับตนเองและความขัดแย้ง กับผู้อื่น ความขัดแย้งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่เมื่อพูดว่าความขัดแย้งเป็นเร่ืองธรรมดาน่ันมิได้หมายความ ว่าเราไม่สามารถทำอะไรกับมันได้ ทุกข์นั้นมีหลายระดับหลายประเภทบางประเภทเราไม่สามารถขจัดไปได้ เช่น ความแกแ่ ละ ความตาย ทำได้อย่างมากแค่ชะลอแต่บางประเภท เราสามารถระงับได้ เช่น ความหิว ความเจบ็ ปวด

พทุ ธสนั ติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๘๙ ฉันใดก็ฉันนั้นมีความขัดแย้งบางอย่างท่ีเราสามารถจัดการได้เราไม่สามารถห้ามความขัดแย้งทางความคิดได้ แม้กระท่ังพระอรหันต์ที่รู้แจ้งในสัจธรรมและปลอดพ้นจากกิเลสก็ยังมีความเห็นแตกต่างกัน ดังมีตัวอย่างมากมาย ในพระไตรปิฎก (เช่น ความเห็นไม่ตรงกันระหว่างพระอรหันต์ ๕๐๐ รูปที่ทำสังคายนาคร้ังที่ ๑ ในข้อที่ว่า สิกขาบทเล็กน้อยที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เพิกถอนน้ัน หมายถึงอะไร) แต่เราสามารถเปลี่ยนความขัดแย้ง ทเ่ี ป็นความวิวาทบาดหมางให้เป็นความกลมเกลยี วสามคั คีกนั ได้ ทา่ ทตี ่อการไกล่เกล่ยี ความขัดแยง้ พระไพศาล วสิ าโล, ๒๕๕๒๖ ในเร่ืองความขัดแย้งทางสังคมหรือความขัดแย้งในความสัมพันธร์ ะหวา่ งผู้คน นัน้ ทา่ ทีของพุทธศาสนาก็คือไม่ควรนิ่งดดู าย หรอื วางเฉยปล่อยใหเ้ ขารบั กรรมกนั ไปเองหากควรเข้าไปจดั การแก้ไข ให้กลับคนื ดี การช่วยเหลือและส่งเสริมให้ผู้คนคืนดีกันเป็นการกระทำท่ีพระพุทธองค์ ทรงสรรเสริญ ดงั มีพุทธพจน์ ว่า “เม่ือคนเหล่าอื่นขัดแย้งกันอยู่ ผู้ใดพยายามประสานให้พวกเขาคืนดีกัน ผู้น้ันชื่อว่าเป็นคน มคี วามรบั ผิดชอบเปน็ ผูจ้ ัดธรุ ะทย่ี อดเยีย่ ม” ๗ “ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัยและความไม่วิวาทโดยความปลอดภัย จงมีความพร้อม เพรยี งกนั มคี วามประนีประนอมนเ้ี ปน็ คำสอนของพระพุทธเจา้ ”๘ การไกล่ เก ลี่ยค วามขัด แย้งเป็ น เรื่องท่ี พ ระพุ ท ธเจ้ าให้ ค วามส ำคัญ ม าก เห็ น ได้ จาก วินั ยข องพระสงฆ์ ซึ่งมีขอ้ กำหนดหรือสิกขาบทมากมายเกีย่ วกับการระงับความขัดแย้ง ในหมู่สงฆ์ ที่เรียกว่า “อธิกรณสมถะ” รวมท้ัง กำหนดคุณสมบัตขิ องผู้ไกลเ่ กล่ยี ไว้ดว้ ย นอกจากนน้ั พระจรยิ าของพระพุทธเจ้ายงั เป็นแบบอย่างอันดีในเรอ่ื งท่าทีของชาวพุทธตอ่ ความขัดแย้งเมื่อ ยงั ทรงพระชนม์ชีพอยพู่ ระองคไ์ ดท้ รงมบี ทบาทเปน็ ผู้ไกล่เกล่ียความขดั แยง้ หลายครั้ง อาทิความขดั แยง้ ถึงข้ันจะทำ สงครามกันระหว่างแคว้นโกลิยะและแควน้ ศากยะในกรณีพิพาทเกย่ี วกบั แมน่ ้ำโรหิณคี วามขัดแยง้ ระหวา่ งพระเจา้ วิฑฑู ภะกบั แควน้ ศากยะในกรณีดหู มิ่นชาตติ ระกูล ตรงกันข้ามกับชาวพุทธเป็นอันมากท่ีเห็นว่าควรปล่อยวางเม่ือผู้อื่นมีความขัดแย้งหรือกระทบกระทั่งกัน พระพุทธองคท์ รงเห็นว่าเป็นหน้าที่ของชาวพุทธในการเข้าไปแทรกแซงเมื่อมีความขัดแย้งกนั ในชุมชนดังคราวหนึ่ง ไดท้ รงต าหนิพระอานนท์และหม่คู ณะท่ีวางเฉยเม่ือเกิดความขัดแย้งระหวา่ งพระสารบี ุตรกับพระอทุ ายีครงั้ นน้ั พระ อุทายีได้คัดค้านค าสอนของพระสารีบุตรถึงข้ันจ้วงจาบจนพระสารีบุตรน่ิงเงียบพระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระ อานนท์ว่า“ดูกรอานนท์ไฉนพวกเธอจึงวางเฉยต่อภิกษุผู้เถระซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่เพราะการปล่อยให้พระเถระถูก จ้วงจาบ ไม่ถอื ว่าเปน็ ความกรุณา”๙ ๕.๔ วิเคราะห์ความขดั แยง้ แบบพุทธ ๖ พระไพศาล วิสาโล, สนั ตภิ าพ ด้วยมอื เรา, (นครปฐม : ศูนยศ์ กึ ษาและพฒั นาสันตวิ ิธี (ศพส.) มหาวทิ ยาลัยมหดิ ล, ๒๕๕๐), หน้า ๕๖. ๗ ข.ุ ชา.๒๗/ ๕๔๙. ๘ ข.ุ อป.๓๒/๑. ๙ อง.ปญจก.๒๒/๑๑๖.

พุทธสันตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๙๐ ความขัดแย้งน้ันถือว่าเป็นทุกข์อย่างหน่ึงในการจัดการกับความทุกข์ พุทธศาสนาเห็นว่าจะต้องมองให้ถึง สมุทัยคือสาเหตุของทุกข์ด้วยเหตุนี้ เมื่อจะระงับความขัดแย้ง เราจำต้องมองให้เห็น ถึงสาเหตุของความขัดแย้ง และจดั การกบั สาเหตุดงั กล่าวกรณขี ดั แยง้ ต่างๆ กล่าวโดยท่ัวไปมีองคป์ ระกอบหลักๆ ๓ ประการคือ ๑. ประเด็นปัญหาหรือข้อเรยี กร้อง ๒. บุคคลหรือค่ขู ัดแยง้ ๓. กระบวนการหรอื ปฏสิ มั พันธ์ต่อกัน ๑. ประเด็นปญั หาหรือข้อเรียกร้อง ประเดน็ ปญั หาหรือข้อเรียกร้องส่วนใหญ่จะอยู่ในข่าย ๓ ประการนี้คือ ๑.๑ ผลประโยชน์ทางวัตถุ (เช่น ขอข้ึนค่าแรงหรือขอให้ระงับโครงการสร้างโรงไฟฟ้าเน่ืองจาก ไมต่ อ้ งการสญู เสียทดี่ ินหรือกระทบต่อการยังชพี ) ๑.๒ อำนาจ ศักดิ์ศรี (เช่นคัดค้านการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นหรือประท้วง ภาพยนตร์ที่มเี นื้อหาดูหม่นิ ประเทศ) ๑.๓ ความเชื่อ ลัทธิ อุดมการณ์ (เช่น เรียกร้องให้มีกระทรวงพระพุทธศาสนาหรือคัดค้าน การละเมดิ สทิ ธชิ นกลุม่ น้อย) กรณีขัดแย้งส่วนใหญ่จะไม่ได้จำกัดว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ทางวัตถุอำนาจและความเชื่อ เฉพาะอยา่ งใดอย่างหน่ึงเท่านั้น หากเกี่ยวข้องกับท้ัง ๓ อย่างมากบา้ งน้อยบ้าง ตัวอย่างเช่น ความขัดแยง้ เก่ียวกับ โครงการสร้างเขื่อนจะเก่ียวข้องกับการได้หรือเสียผลประโยชน์ทางวัตถุ (เช่น ได้งบประมาณเพิ่มสูญเสียที่ทำกิน) มีผลทำให้บางฝา่ ยมีอำนาจมากข้ึน (เช่น ได้เลื่อนตำแหน่ง ได้คะแนนเสียง) อีกท้ังยังเป็นผลจากความแตกตา่ งทาง ความคดิ ในเร่ืองการแกป้ ัญหาน้ำท่วม ฝน แลง้ รวมไปถึงแนวทางการพฒั นาและการอนรุ กั ษส์ งิ่ แวดลอ้ ม ๒. บคุ คลหรอื คู่ขดั แย้ง ประเด็นปัญหาหรือข้อเรียกร้องเหล่าน้ีนำไปสู่ความขัดแย้งและลุกลามไปเป็นความรุนแรงได้ก็ เพราะผู้คนทีเ่ ก่ียวข้องตา่ งยนื กรานในจดุ ยืนของตนดว้ ยความยดึ มนั่ อย่างใดอยา่ งหน่ึงใน ๓ ประการน้คี อื ๒.๑ ตัณหา คือความยึดมั่นในผลประโยชน์ ไม่อยากสูญเสียผลประโยชน์ เช่น ต้องการ งบประมาณเพิ่มขนึ้ ตอ้ งการค่าชดเชยมากขึน้ ไมต่ ้องการสญู เสียผลตอบแทนจากโครงการ ๒.๒ มานะ คือ ความถือตน ยึดถอื ในศกั ดิ์ศรแี ละอยากมีอำนาจ เชน่ ตอ้ งการใหห้ น่วยงานของ ตนมอี ำนาจและเจา้ หน้าทีเ่ หมือนเดิมรวมไปถึง ไม่ยนิ ยอมเพราะกลัวเสยี หนา้ ๒.๓ ทฏิ ฐิ คือ ความยดึ ม่ันในความเช่อื ของตนเชื่อมั่นว่าความคดิ ของตนถกู ต้อง เชน่ เห็นวา่ วิธกี ารของตนเท่าน้นั ถึงจะแก้ปญั หาไดม้ องว่าความคิดของคนอื่นผิดหมดตัณหา มานะ ทิฏฐิ ในทางพทุ ธศาสนาเรยี กว่าปปัญจะ ๓ คือกิเลส ๓ ประการทที่ ำให้เน่ินชา้ เปน็ ตัวการทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ทั้งยังทำให้ปัญหาค้างคาเนิ่นนานออกไปเนื่องจากเป็นตัวการขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริงหรือท ำให้ไม่อาจ แก้ปญั หาอยา่ งถูกต้องได้ โดยเหตุที่ประเด็นปัญหาและข้อเรียกร้องส่วนใหญ่มักจะเก่ียวข้องกับผลประโยชน์ทางวัตถุอ ำนาจหรือ ศักด์ิศรีและความเชื่อ ท้ัง ๓ ประการ ในสัดส่วนท่ีมากบ้างน้อยบ้างดังได้กล่าวแล้ว ข้างต้นดังนั้นความติดยึด ของบุคคลหรือ คู่กรณใี นความขัดแย้งจงึ มไิ ด้มีแค่ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อยา่ งใดอย่างหน่ึง หากมีกเิ ลสท้งั ๓ ประการ ผสมผสานกันมากบา้ งน้อยบ้างตามลักษณะของประเด็น ปัญหาหรือขอ้ เรยี กร้อง นอกจากความติดยึดในสิ่งที่ตนมีหรืออยากมีอันได้แก่ตัณหา มานะ ทิฏฐิ แล้ว ส่ิงที่ต้องคำนึงในการทำ ความเข้าใจกับกรณีขัดแย้งก็คือทัศนคติในระหว่างคู่ขัดแย้ง อันได้แก่อคติท่ีมีต่อกันซึ่งทำให้ความขัดแย้งลุกลามได้ ง่าย อคตดิ ังกล่าวไดแ้ ก่ ๑. โทสาคติ อคติเนือ่ งจากความเกลียดชงั

พทุ ธสนั ตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๙๑ ๒. ภยาคตอิ คตเิ นอื่ งจากความกลัว ๓. โมหาคติ อคติเนื่องจากความหลงหรอื ความไมร่ ู้ อคติ ๒ ประการแรกจะมีอยู่มากในความขัดแย้งท่ัวไปท้ังน้ีโดยมีความหลงหรือความไม่รู้เป็นตัว ปรุงแต่งหนุนเสริมให้อคติ ๒ ประการดำรงอยู่หรือเพ่ิมพูนมากข้ึน เช่น การไม่รู้จักกันหรือการได้ยินคำร่ำลืออย่าง ผดิ ๆ กท็ ำใหต้ ่างฝ่ายต่างวาดภาพอีกฝา่ ยว่าเปน็ คนเลวรา้ ยขฉ้ี อ้ ไม่รกั ชาติรับเงนิ เขามาประทว้ ง ฯลฯ นอกจากอคติ ๓ ประการดังกล่าวแล้ว อคติประการที่ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติคือความลำเอียง เพราะชอบก็มี อิทธิพลต่อความขัดแย้งด้วยเช่นกันแม้จะไม่ได้มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี โดยตรงแต่ก็มีผลต่อผู้คนท่ี สนับสนุนคกู่ รณแี ตล่ ะฝา่ ยบ่อยครั้งการให้ความสนบั สนนุ คู่กรณแี ต่ละฝ่ายมิได้เกิดจากความเข้าใจในปัญหาหรอื เกิด จากวิจารณญาณแต่เกิดจากความชอบพอกันเป็นส่วนตัว หรือชอบที่มีความเชื่อคล้ายกัน มีอาชีพเหมือนกันพูด ง่ายๆ คือเป็น “พวก” เดียวกันท้ังอคติ ๔ ประการ และความติดยึด ๓ ประการน้ี หากจะสรุปรวมสั้นๆ ก็คือสิ่งที่ พุทธศาสนาเรียกว่าอกุศลมูลนั่นเอง ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะซึ่งเป็นอารมณ์พื้นฐานในความขัดแย้งทุกชนิด จะเห็นได้ว่ากรณีขัดแย้งน้ันไม่ใช่เป็นเร่ืองของเหตุผลล้วนๆ หรือเป็นเร่ืองถูกเร่ืองผิดเท่าน้ัน หากยังมีเรื่อง ของอารมณ์เข้ามาเก่ียวข้องด้วยในการวิเคราะห์หรือทำความเข้าใจกับความขัดแย้งต่างๆ เราจึงไม่อาจละเว้น การทำความเข้าใจและจดั การกับอารมณ์ดงั กล่าวในตวั คู่ขัดแย้งได้ ๓.ปฏิสัมพันธห์ รอื กระบวนการ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีตลอดจนกระบวนการที่ใช้ในการจัดการกับความขัดแย้งมีผลอย่างมาก ในการเพิม่ หรือลดความขัดแย้งความขัดแยง้ จะลุกลามมากขึน้ ถา้ อกี ฝ่ายหรือตา่ งฝา่ ยใช้วิธีการต่อไปน้ี ๓.๑ เจรจาด้วยอารมณ์โกรธ เกลียด ฉุนเฉียว หงดุ หงิด ๓.๒ ใชท้ า่ ทีไมส่ ภุ าพ ๓.๓ วธิ ีการทีไ่ มโ่ ปร่งใส ๓.๔ ไม่รบั ฟังความคดิ เหน็ ๓.๕ เอาแต่ได้คิดแต่เอาชนะ ๓.๖ กลา่ วร้าย ใส่ความ ปลอ่ ยข่าวลือ ๓.๗ ใชค้ วามรุนแรง วิธีการเหล่านี้ทำให้ความขัดแย้งลุกลามข้ึนเพราะทำให้อคติเพ่ิมพูน และทำให้อีกฝ่ายติดยึดในจุดยืน ของตนเองหนักแน่นข้ึนโดยที่บ่อยคร้ังก็ทำให้ประเด็นความขัดแย้งเปลี่ยนไป เช่น ความขัดแย้งกรณีแม่น้ำโรหิณี เดิมเป็นความขัดแย้งเก่ียวกับการแย่งน้ำแต่พอมีการทะเลาะวิวาทกัน มีการด่าโคตรวงศ์ตระกูลกัน ประเด็นก็ เปลี่ยนจากการแย่งน้ำ (ตัณหา) มาเป็นเรอ่ื งการรักษาศกั ด์ิศรี หน้าตา (มานะ)จนถงึ ขัน้ จะทำสงครามกนั ๕.๕ หลักการของการไกลเ่ กลย่ี ในกรณีท่ีคกู่ รณีไม่สามารถแก้ไขความขดั แยง้ ดว้ ยตนเองได้ผูไ้ กล่เกล่ยี มีความสำคญั มากในการระงับความ ขัดแยง้ หรือเปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นการคนื ดีกันการไกล่เกลี่ยแบบพุทธมีหลักการดงั ต่อไปน้ี ๑. ให้ความสำคญั กับ“คน”หรือมิติทางดา้ นอารมณ์แม้ว่าประเด็นปัญหาหรือขอ้ เรยี กร้องจะเปน็ จุดเริ่มต้น ของความขัดแย้งแต่เมื่อความขัดแย้งเกิดข้ึนแล้ว อุปสรรคท่ีทำให้ความขัดแย้งแก้ได้ยากก็คืออารมณ์ของคู่ขัดแย้ง ซึ่งบ่อยคร้ัง กลับมีความสำคัญย่ิงกว่าประเด็นปัญหาและมักทำให้คู่ขัดแย้งยากท่ีจะทำความเข้าใจกับประเด็น ปัญหาไดต้ รงตามความจรงิ หรือคำนึงถึงความถูกต้องทงั้ นเ้ี น่ืองจากทง้ั ๒ ฝา่ ยถกู อารมณ์เข้ามาบดบงั

พทุ ธสนั ติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๙๒ ดงั นั้นจึงมคี วามจำเป็นอยา่ งย่ิงทผี่ ู้ไกล่เกล่ยี จะต้องเริ่มต้นด้วยการให้ความสำคัญกบั อารมณ์ ความรสู้ กึ ของคู่กรณีต่อเมอื่ อารมณ์ความร้สู ึกของคู่ขัดแย้งเริ่มคล่คี ลายแลว้ การเจรจาเพ่ือพจิ ารณาประเดน็ ปัญหาหรือข้อ เรียกรอ้ งจงึ จะเกิดข้ึนได้ ๒. ช่วยขจัดอกุศลมูลในใจคู่ขัดแย้ง ความขัดแย้งแม้จะลงเอยด้วยการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบรรลุข้อเรียกร้อง แต่หากว่าอคติหรือ อกุศลมูลยังดำรงอยู่โดยเฉพาะในจิตใจของอีกฝ่ายที่ต้องยอมตามข้อเรียกรอ้ งจะด้วยเหตุผลใด ก็ตาม ความขัดแย้งนั้นก็ยากท่ีจะยุติไปได้อย่างแท้จริง หากพร้อมจะประทุข้ึนมาได้อีกเรื่อยๆ ดังกรณีการสร้าง เขอื่ นหลายแห่งในประเทศไทย แมเ้ ขอ่ื นจะสร้างได้เสรจ็ แต่ผ่านมาหลายปีแลว้ ก็ยังมคี วามขดั แย้งในรูปลักษณ์อ่ืนๆ สบื เน่อื งตามมากระทั่งทกุ วนั นท้ี ้งั นี้เป็นเพราะความระแวงและความไม่พอใจยังไม่หมดไปจากใจของคู่กรณี ในการแก้ไขความขัดแย้งผู้ไกล่เกล่ียมีหน้าที่สำคัญประการแรกคือขจัดอกุศลมูลในคู่ขัดแย้งให้หมดไป ไม่ว่าโลภะ โทสะ โมหะ ทั้งนี้โดยให้กุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ เข้ามาแทนที่มีหลักธรรมหลายข้อ ทส่ี ามารถขจดั อกศุ ลมูล หรือเปลี่ยนให้เป็นอกศุ ลมูลได้อาทิ พทุ ธพจนต์ ่อไปน้ี “พึงเอาชนะความโกรธดว้ ยการไม่โกรธตอบ พงึ เอาชนะความช่ัวด้วยความดี พึงเอาชนะความตระหนี่ด้วยการให้ พงึ เอาชนะความเทจ็ ดว้ ยสจั จะ”๑๐ ๒.๑ ลดโทสะผู้ไกล่เกล่ียควรช่วยให้คู่ขัดแย้งลดความโกรธหรือความเกลียดลงด้วยวิธีการต่างๆ ดังน้ี ๒.๑.๑ ชใ้ี ห้คู่ขัดแยง้ ตระหนกั ถึงโทษของความโกรธว่าทำให้ความขัดแย้งแก้ได้ยากอกี ท้ัง ยังไมเ่ ปน็ ประโยชน์แกต่ นหากปลอ่ ยใหค้ วามโกรธครอบงำจติ ใจ ๒.๑.๒ ช่วยให้คู่ขัดแย้งเข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่ายหน่ึง เช่นช่วยให้นายจ้างเข้าใจ ความยากล าบากของลูกจ้างขณะเดียวก็ช่วยให้ลูกจ้างเข้าใจว่าเหตุใดนายจ้างจึงระแวงลูกจ้างว่าจะเรียกร้อง ไม่จบสนิ้ ๒.๑.๓ ชว่ ยให้ทั้ง ๒ ฝ่าย มเี มตตาตอ่ กนั เน่อื งจากเหน็ ความทุกขล์ ำบากและความตงั้ ใจดี ของอีกฝา่ ย ๒.๑.๔ ช้ีให้คู่ขัดแย้งเห็นว่าการกระทำของตนมีส่วนทำให้อีกฝ่ายแข็งกร้าวหรือใช้ท่าที กา้ วร้าวกับตน ๒.๑.๕ ชใี้ ห้คู่ขดั แยง้ เหน็ ว่าอีกฝ่ายไมไ่ ด้เลวรา้ ย นา่ กลวั หรอื มเี จตนาร้ายอยา่ งทคี่ ิด ๒.๒ ลดโมหะ ผไู้ กลเ่ กลย่ี สามารถเข้าใจสถานการณถ์ ูกต้องตามความเปน็ จรงิ ด้วยวิธี ต่อไปนี้ ๒.๒.๑ ใหข้ อ้ มูลที่ถูกต้องแก้คู่ขัดแยง้ ๒.๒.๒ ช่วยให้คู่ขัดแย้งตระหนักว่าอีกฝ่ายมิได้มีมือท่ีสามหนุนหลังหรือท ำ เพราะผลประโยชน์ส่วนตัว ๒.๒.๓ ช่วยใหค้ ูข่ ดั แยง้ เข้าใจขอ้ จำกัดของอีกฝ่ายว่าเหตุใดจงึ ไมย่ อมตามข้อเรียกร้อง ของตน ๒.๒.๔ ช่วยให้คู่ขัดแย้งตระหนักมุมมองของอีกฝ่ายซึ่งอาจช่วยให้เห็นความจริงอีกด้าน หน่งึ ท่ี ถกู ละเลยไป ๒.๓ ลดโลภะ ผู้ไกล่เกลี่ยควรช่วยให้คู่ขัดแย้งลดความโลภหรือติดยึดในผลประโยชน์ด้วยวิธีการ ดังนี้ ๒.๔ ชี้ใหค้ ู่ขัดแยง้ เห็นวา่ ข้อเรียกรอ้ งของตนเกินเลยไปอย่างไร ๑๐ ขุ.ธ.๒๕/๒๗.

พทุ ธสนั ตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๙๓ ๒.๕ ชีใ้ ห้คู่ขัดแยง้ เห็นคุณค่าอยา่ งอ่นื ท่ีไม่ใชผ่ ลประโยชน์ทางวัตถหุ รือช้ีให้เหน็ ถงึ ประโยชน์ ระยะ ยาวย่ิงกว่าคำนึงถึงผลได้ระยะสั้นเช่นชใ้ี ห้เห็นว่าการท าทุกวิถีทางเพ่ือให้บรรลุข้อเรียกรอ้ งในทสี่ ุดอาจได้ไม่คุ้มเสีย เพราะถึงจะได้ตามข้อเรียกร้องแต่ก็ต้องแลกด้วยความร้าวฉานสูญเสียนานัปการ เช่น มีศัตรูเพิ่มขึ้นหรืออยู่อย่าง หวาดระแวงซึง่ กนั และ กนั ไปตลอด ๓. กระตุน้ ให้คู่ขัดแย้งฉกุ คิดได้สติและหนั มาพจิ ารณาตนเอง ในการลดอกุศลมลู ในใจของคูข่ ัดแยง้ บ่อยครั้ง เป็นการยากที่ผู้ไกล่เกลี่ยจะทำได้ด้วย การเทศนาสั่งสอนส่ิงที่สามารถทำได้และน่าทำเป็นอย่างยิ่งคือการช่วยให้คู่ ขัดแย้งเกิดฉุกคิดและเห็นปัญหาด้วยตนเองกล่าวอีกนัยหนึ่งผู้ไกล่เกลี่ยควรช่วยให้ทุกฝ่ายได้สติทั้งน้ีโดยอาจพูดให้ สะดุดใจหรือต้ังคำถามให้คิด ตัวอย่างได้แก่ความขัดแย้งกรณีแม่น้ำโรหิณีเม่ือกษัตริย์แคว้นโกลิยะ และแคว้น ศากยะยกทัพมาเผชิญหน้าเพื่อจะรบพุ่งกันพระพุทธองค์ได้เสด็จไปห้ามไม่ให้ทั้ง ๒ ฝ่าย ท าสงครามกันพระองค์ เริ่มต้นด้วยการถามกษัตริย์ของท้ัง ๒ ฝ่ายว่าจะรบพุ่งด้วยเรื่องอะไรปรากฏว่า กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ตอบไม่ได้ เมื่อไล่เลียงเสนาบดีตามลำดับไปจนถึงชาวบ้าน ก็ได้คำตอบว่า ทะเลาะกันเพราะเร่ืองน้ำ เมื่อได้คำตอบเช่นน้ัน พระองคจ์ ึงถามกษัตริยท์ ั้ง ๒ ฝ่ายวา่ น้ำและกษัตริย์ อะไรมีค่ากว่ากัน เม่ือกษัตริย์ตอบว่า กษตั ริยม์ ีค่าหาประมาณ มิได้พระองค์จึงถามผู้คนทั้ง ๒ ฝ่ายว่า “การที่ท่านทั้งหลายจะทำให้กษัตริย์ซ่ึงหาค่ามิได้ต้องฉิบหายเพียง เพราะเร่ืองน้ำซ่ึงมีราคาน้อย ควรแล้วหรือ” ทนั ทีที่พระองค์ตรัสจบท้ัง ๒ ฝ่ายกน็ ่ิงเงียบ และในที่สุดก็ถอนทัพกลับ เมือง เลิกราต่อกันในกรณีพระเจ้าวิฑูฑภะท่ีจะยกทัพไปทำลายแคว้นศากยะซึ่งเป็นเครือญาติพระพุทธองค์ ก็ใช้วิธีการคล้ายกันนี้โดยเสด็จประทับใต้ร่มเงาไม้โปร่งต้นหนึ่งกลางทางเมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะเห็นจึงถา ม พระพุทธองค์ว่า ทำไมไม่ประทับใต้ร่มไม้ที่ทึบแดดจะได้ไม่ส่อง คำตอบของพระองค์คือ “มหาบพิตร ร่มเงา ของญาติ ยอ่ มร่มเย็นกวา่ ” คำตรสั ของพระพทุ ธองค์ทำให้วฑิ ูฑภะไดค้ ดิ และยกทพั กลับไป ๔. ชว่ ยให้ค่ขู ัดแย้งหาคำตอบด้วยตนเอง ผู้ไกลเ่ กล่ยี ไม่ควรเปน็ ผู้หาทางออกให้แก่คู่ขดั แย้งแต่ควรช่วยให้คู่ ขัดแย้งหาคำตอบและ บรรลุข้อตกลงด้วยตนเองกล่าวอีกนัยหนึ่งผู้ไกล่เกล่ียมิใช่ผู้พิพากษาหรืออนุญาโตตุลาการ ที่มีหน้าท่ี คิดค้นคำตอบให้คู่ขัดแย้งปฏิบัติตามท้ังน้ีก็เพราะผู้ไกล่เกลี่ยไม่มีอำนาจที่จะบังคับคู่ขัดแย้งได้ ความขัดแย้งจะเปล่ียนเป็นความคืนดีได้ก็ต่อเม่ือคู่ขัดแย้งพอใจข้อตกลงและคู่ขัดแย้งจะพอใจข้อตกลงได้ ต่อเมื่อเกิดจากความยนิ ยอมพร้อมใจของตนเอง จากตัวอย่างการไกล่เกล่ียของพระพุทธเจ้า ๒ กรณีจะเห็นว่าพระพุทธองค์มิได้เป็นผู้ชี้ถูกช้ีผิด แต่ให้ท้ัง ๒ ฝ่ายพิจารณาด้วยตนเองว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป ตัวอย่างกรณีแม่น้ำโรหิณียังชี้อีก ว่าการต้ังคำถามให้คิดน้ัน มีความสำคัญไมน่ ้อยในการกระตุ้นให้คู่ขัดแยง้ ค้นพบคำตอบด้วยตัวเอง กล่าวอีกนัยหน่ึง ในการแก้ไขความขดั แย้ง บ่อยครั้งคำถามมีความสำคัญย่ิงกว่าคำตอบหน้าที่ ประการหน่ึงของผู้ไกล่เกล่ียจึงได้แก่การตั้งคำถามแก่คู่ขัดแย้ง และควรเป็นคำถามเปิด (คำถามท่ีมิได้ ลงท้ายวา่ ใช่หรอื ไม)่ เพื่อมิให้เป็นการจำกัด คำตอบ เช่น กรณีขัดแย้งเรื่อง เข่ือนขณะที่ผู้คนในสังคม โต้เถียงกันแค่ว่า จะเอาเข่ือนหรือไม่ผู้ไกล่เกลี่ยควรตั้งคำถามว่า จะแก้น้ำท่วมอย่างไร แทนท่ีจะถามวา่ จะเอาป่าหรอื เอาไฟฟา้ ควรถามวา่ จะไดท้ งั้ ป่าและไฟฟ้าได้อยา่ งไร ๕. สร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับคู่ขัดแย้ง ความไว้วางใจอย่างแรกท่ีต้องสร้างขึ้นก็คือความไว้วางใจ ในตัวผู้ไกล่เกล่ียหากคู่ขัดแย้ง เห็นว่าผู้ไกล่เกลี่ยไม่เป็นกลาง ลำเอียงเขา้ ข้างอีกฝ่ายหนึ่งการไกล่เกล่ียย่อมล้มเหลว ตั้งแต่แรกเม่ือคู่ ขัดแย้งไว้วางใจในตัวผู้ไกล่เกล่ียแล้วส่ิงท่ีต้องทำต่อไปคือการทำให้คู่ขัดแย้งไว้วางใจซ่ึงกันและกัน คือไว้วางใจว่าท้ัง ๒ ฝ่ายจะสามารถหาทางออกร่วมกันได้ด้วยการเจรจาไม่มีการซ้ือเวลาโดยใช้ การเจรจา หรือการไกล่เกล่ียเป็นข้ออ้างผู้ไกล่เกลี่ยพึงตระหนักว่า เม่ือเกิดความขัดแย้งถึงข้ันทะเลาะ วิวาทกันไม่มีอะไรท่ี สำคญั และหายากเทา่ กับความไวว้ างใจกัน ๖. พูดด้วยสัจจะ เมตตา ขันติและสติ คุณธรรมของผู้ไกลเ่ กล่ียเป็นส่ิงสำคัญมากในการสร้างความไว้วางใจ ซึ่งกันและกันรวมท้ัง การสร้างความเช่ือม่ันในการแก้ไขความขัดแย้งแบบสันติวิธีพุทธพจน์ข้างล่างน้ีเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับ ผไู้ กล่เกลยี่


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook