Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พุทธสันติวิธี

พุทธสันติวิธี

Description: แนวคิดและทฤษฎีสันติวิธีของสำนักต่างๆ ในประเทศตะวันตกและตะวันออก เช่น มาติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ และมหาตมะ คานธี โดยเปรียบเทียบกับทฤษฎีพุทธสันติวิธีในพระไตรปิฎก

Keywords: พุทธสันติวิธี

Search

Read the Text Version

สันติภาพภายนอกเริ่มที่สันติภาพภายใน พุทธสันติวิธี Theory of BuddhistPeaceful Means โดย ทิพย์ ขันแก้ว

มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย Mahachulalongkornrajavidyalaya University หลกั สตู รพทุ ธศาสตรบัณฑิต เอกสารประกอบการสอนรายวิชา รหสั วิชา ๒๐๙ ๔๑๐ หมวดวชิ าเอกเลอื ก พุทธสันติวธิ ี (Theory of Buddhist Peaceful Means) ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์ ขันแก้ว วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย ๒๕๖๑

คำปรารภ สหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ ๒๑ กันยายนของทุกปี เป็น \" วันสันติภาพโลก \" (International Day of Peace) และกำหนดให้ปี ค.ศ.๒๐๐๑-๒๐๑๐ เป็น \"ทศวรรษสากลเพื่อวัฒนธรรม สันติภาพ และความไมร่ นุ แรงเพ่ือเดก็ ของโลก\" (The International Decade ๒๐๐๑-๒๐๑๐ for a Culture of Peace and Non-violence for the Children of the World) โดยมุ่งเน้นท่ีการให้ความเคารพต่อชีวิตทั้งมวล เคารพชีวิตและศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคล โดยไม่แบ่งชนช้ันหรือลำเอียง การไม่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะต่อเด็กและเยาวชน การแบ่งปันกับผู้อ่ืนอย่างมีน้ำใจ เพื่อขจัดการแบ่งแยก ความไม่ยุติธรรม และการกดข่ีทางการเมืองและเศรษฐกิจ การรับฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อกัน เคารพเสรีภาพ ในการแสดงออก และยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม การสงวนรักษาผืนโลก ฝึกดำเนินชีวิต อย่างรับผิดชอบและเคารพต่อทุกชีวิตในโลก เพ่ือรักษาสมดุลของธรรมชาติบนผืนโลก และการสร้าง ความสมานฉันท์ เคารพต่อหลักการประชาธิปไตย และให้โอกาสทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะสตรี การส่งเสริมให้ผู้คนในสังคมทุกกลุ่มอายุ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของ สันติภาพภายใน ซ่ึงเป็น พ้ืนฐานสำคัญของวัฒนธรรม สันติภาพ โดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ของความสงบเงียบภายในจิตใจ ของแต่ละบุคคล จะนำไปสู่การตระหนักรู้จักตนเองและแหล่งพลังชีวิต สามารถใช้ปัญญาเป็นเครื่องชี้นำทาง ในการขจัดทุกข์และสร้างสันติสุขให้แก่ตนเอง และแบ่งปันประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้อ่ืน หนังสือพุทธสันติวิธีนี้ จะตอบโจทย์เรื่องนีไ้ ด้เปน็ อย่างดี เพราะมีหลกั ธรรมที่เปน็ หลักสากลของมวลมนษุ ยชาติ พุทธสันติวิธี (Theory of Buddhist Peaceful Means) เล่มนี้ มีเน้ือหาสาระ รวม ๘ บท โดยนำ แนวคิดและทฤษฎีสันติวิธีของสำนักต่างๆ ในประเทศตะวันตกและตะวันออก เช่น มาติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ และมหาตมะ คานธี โดยเปรียบเทียบกับทฤษฎีพุทธสันติวิธีในพระไตรปิฎก เน้นศึกษาความหมาย ความเป็นมา คุณค่าและความสำคัญของสันติวิธีต่อมนุษย์และสังคม รวมไปถึงการศึกษาและเรียนรู้รูปแบบ ของพุทธสันติวิธีในรูปแบบต่างๆ ในแต่ละกรณี ตลอดจนปัจจัยหรือเงื่อนไขที่นำไปสู่การสร้างความสำเร็จ ในการใช้พุทธสันติวิธีรูปแบบต่างๆ อันจะนำไปสู่การนำหลักพุทธสันติวิธีในพระไตรปิฎกมาประยุ กต์ใช้ ในปจั จบุ นั ขออนุโมทนาขอบคุณ ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์ ขันแกว้ อาจารยป์ ระจำรายวชิ า ท่ีได้เสยี สละเวลา พัฒนาเน้ือหารายวิชาเล่มนี้ อันจะเป็นประโยชน์สมบัติของวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์สืบไป หวังเป็นอย่างย่ิงว่า หนังสือเล่มน้ีจะอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านพุทธศาสตร์และครุศาสตร์แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผูส้ นใจท่ัวไป พระศรปี ริยตั ธิ าดา ผู้อำนวยการวทิ ยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์

คำนำ หนังสือพุทธสันติวิธี (Theory of Buddhist Peaceful Means) รหัส ๒๐๙ ๔๑๐ หลักสูตร พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว ผู้สอนเกิดแรงบันดาลใจ ในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบในการบรรยายถวายความรู้แด่นิสิต เห็นว่ายังขาดหนังสือและตำราเกี่ยวกับด้านนี้ สร้างความยุ่งยากและเกิดความไม่สะดวกในการศึกษาค้นคว้าของผู้เรียน มีความคิดอยากเขียนหนังสือด้านน้ี และเห็นว่ามีความสำคัญต่อนิสิตที่กำลังเรียน ในสาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว เป็นอย่างย่ิง จงึ ได้รวบรวมข้อมลู ท่ีเกี่ยวข้องจากตำรางานวิจัย วารสารวิชาการและเว็ปไซต์ต่างๆ เพอ่ื ให้นิสิต นักศึกษาและผู้ท่ีสนใจได้ศึกษาประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาที่เรียน โดยได้นำแนวสังเขปรายวิ ชา มาศกึ ษาคน้ ควา้ และจดั รวบรวมเนอื้ หาสาระให้สอดคล้อง กราบขอขอบคุณพระเดชพระคุณพระศรีปริยัติธาดา ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ ท่ีเมตตา เปิดโอกาสในการศึกษาจัดทำเน้ือหารายวิชานี้ เพ่ือเป็นประโยชน์แก่นิสิต นักศึกษาและผู้ท่ีสนใจ ศึกษา ค้นควา้ ใช้เปน็ ตำราประกอบการเรยี นการสอน มิไดห้ วังผลกำไรทางการค้าแต่อย่างไร หวังเป็นเป็นอย่างยิ่ง หนังสือประกอบการเรียนรู้ ช่ือ “พุทธสันติวิธี”เล่มน้ี จะอำนวยประโยชน์ แก่นิสิต นักศึกษาผู้ที่สนใจและคณาจารย์ หากท่านผู้อ่านพบเห็นข้อบกพร่องหรือมีคำชี้แนะเพ่ือการปรับปรุง ให้สมบูรณ์มากยิ่งข้ึน ยินดีขอน้อมรับฟังความคิดเห็นและจะนำไปปรับปรุงแก้ไขพัฒนาเอกสารเล่มนี้ ให้มคี วามสมบรู ณ์และมีคุณคา่ ทางการศึกษาต่อไป ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์ ขนั แก้ว ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑

บท สารบัญ หนา้ คำนำ ก สารบญั ข บทที่ ๑ แนวคดิ เกย่ี วกับความขดั แยง้ ๑ ๑.๑ ความนำ ๒ ๑.๒ ความหมายของความขัดแย้ง ๒ ๑.๓ ทฤษฎเี กย่ี วกบั ความขดั แย้ง ๔ ๑.๔ ระดบั ความขดั แยง้ ๑๓ ๑.๕ พฒั นาการของความขัดแยง้ ๑๗ สรุปทา้ ยบท ๑๘ คำถามท้ายบท ๒๐ เอกสารอา้ งองิ ประจำบท ๒๑ บทท่ี ๒ ประวตั คิ วามเป็นมาของสนั ติวธิ ี ๒๒ ๒.๑ ความนำ ๒๓ ๒.๒ ความหมาย ๒๓ ๒.๓ ความหมายตามสำนักสันติวธิ ี ๒๕ ๒.๔ ประเภทของสนั ติวิธี ๒๗ ๒.๕ มายาคติเกี่ยวกับสนั ตวิ ธิ ี ๒๘ ๒.๖ คุณค่าและความสำคญั ของสนั ติวิธี ๓๐ ๒.๗ การปฏิบัติไรค้ วามรุนแรง ๓๒ ๒.๘ ความสำเรจ็ ของสันตวิ ธิ ี ๓๔ สรุปท้ายบท ๓๕ คำถามทา้ ยบท ๓๖ เอกสารอา้ งองิ ประจำบท ๓๗ บทที่ ๓ ความขดั แย้งในมนุษย์ ๓๘ ๓.๑ ความนำ ๓๙ ๓.๒ สาเหตุความขดั แย้งของมนษุ ย์และสังคม ๔๐ ๓.๓ ความขัดแยง้ เปน็ สง่ิ ทห่ี ลีกเหลีย่ งไดย้ าก ๔๗ ๓.๔ ความขัดแย้งในพระอรยิ บุคคล ๔๗ ๓.๕ บญุ ๖ อยา่ งฐานความขัดแย้ง ๔๙ ๓.๖ บาป ๓ อย่างฐานความขัดแย้ง ๕๕

สรุปท้ายบท ๕๗ คำถามทา้ ยบท ๕๙ เอกสารอา้ งองิ ประจำบท ๖๐ บทท่ี ๔ แนวคิดและทฤษฎสี ันติวธิ ี ๖๑ ๔.๑ ความนำ ๖๒ ๔.๒ แนวคิดเกีย่ วกับแนวทางสันตวิ ธิ ี ๖๒ ๔.๓ ประเภทของสนั ตวิ ธิ ี ๖๖ ๔.๔ แนวทางสร้างสันตภิ าพ ๖๗ ๔.๕ พลงั ของสนั ตวิ ิธี ๖๙ ๔.๖ กระบวนการนำสันติวิธีนำไปใช้ ๗๐ ๔.๗ สาเหตแุ ละความแตกแยกของสงฆ์ ๘๐ สรปุ ท้ายบท ๘๒ คำถามท้ายบท ๘๓ เอกสารอา้ งอิงประจำบท ๘๔ บทที่ ๕ เปรียบเทียบทฤษฎีกับพุทธสนั ติในพระไตรปฎิ ก ๘๕ ๕.๑ ความนำ ๘๖ ๕.๒ ประเภทพุทธสนั ตวิ ธิ ี ๘๖ ๕.๓ การไกล่เกลี่ยความขดั แย้งแบบพุทธ ๘๘ ๕.๔ วิเคราะหค์ วามขัดแย้งแบบพทุ ธ ๘๙ ๕.๕ หลักการของไกล่เกลย่ี ๙๑ ๕.๖ เปรียบเทยี บทฤษฎีกับพุทธสนั ติวธิ ใี นพระไตรปิฎก ๙๕ สรปุ ท้ายบท ๑๐๑ คำถามทา้ ยบท ๑๐๓ เอกสารอ้างองิ ประจำบท ๑๐๔ บทท่ี ๖ บรหิ ารความขัดแย้งแบบพุทธ ๑๐๕ ๖.๑ ความนำ ๑๐๖ ๖.๒ พัฒนาการความคิดทางสังคมในสมยั พุทธกาล ๑๐๖ ๖.๓ รากเหง้าของความขดั แย้ง ๑๐๗ ๖.๔ แนวคดิ ว่าด้วยทรัพยส์ ินของสงฆ์ ๑๐๘ ๖.๕ ป้องกนั ความขัดแย้ง ๑๑๑ ๖.๖ การบริหารความขดั แย้งแบบพุทธ ๑๑๖ สรุปท้ายบท ๑๒๑ คำถามทา้ ยทบ ๑๒๒

เอกสารอา้ งอิงประจำบท ๑๒๓ บทที่ ๗ รปู แบบพทุ ธสนั ติวธิ ี ๑๒๔ ๗.๑ ความนำ ๑๒๕ ๗.๒ พุทธสนั ติวธิ ีด้วยอธกิ รณสมถะ ๗ ๑๒๕ ๗.๓ พทุ ธสันติวธิ ีดว้ ยอปริหานิยธรรม ๗ ๑๒๙ ๗.๔ พทุ ธสันตวิ ิธดี ้วยพรหมวหิ ารธรรม ๔ ๑๓๐ ๗.๕ พทุ ธสันตวิ ธิ ีดว้ ยสาราณยี ธรรม ๖ ๑๓๒ ๗.๖ พทุ ธสนั ตวิ ธิ ีด้วยด้วยอรยิ จั ๔ ๑๓๔ ๗.๗ พทุ ธสันติวิธดี ว้ ยสตปิ ัฏฐาน ๔ ๑๓๕ ๗.๘ พทุ ธสันติวธิ ีดว้ ยศลี ๕ ๑๓๗ ๗.๙ พุทธสันตวิ ิธรี ะงบั ความรนุ แรงทางการเมือง ๑๓๘ ๗.๑๐ พุทธสนั ติวิธีในการสร้างความปรองดอง ๑๔๐ สรุปทา้ ยบท ๑๔๒ คำถามทา้ ยบท ๑๔๓ เอกสารอ้างอิงประจำบท ๑๔๔ บทท่ี ๘ การประยุกต์ลักพุทธสันตวิ ิธี ๑๔๕ ๘.๑ ความนำ ๑๔๖ ๘.๒ ทฤษฎบี รู ณาการเชงิ พทุ ธ ๑๔๖ ๘.๓ ทฤษฎบี รู ณาการเชิงพทุ ธภาคปฏบิ ตั ิ ๑๕๒ ๘.๔ วัฒนธรรมเชงิ พทุ ธบูรณาการ ๑๖๒ สรปุ ท้ายบท ๑๗๙ คำถามท้ายบท ๑๘๐ เอกสารอ้างองิ ประจำบท ๑๘๑ บรรณานุกรม ๑๘๒

บทที่ ๑ แนวคดิ เก่ียวกับความขัดแยง้ วตั ถุประสงคก์ ารเรยี นประจำบท เมอื่ ได้ศึกษาเนื้อหาในบทนีแ้ ล้ว ผศู้ กึ ษาสามารถ ๑. อธิบายความหมายความขัดแยง้ ได้ ๒. อธบิ ายทฤษฎีเกีย่ วกับความขดั แย้งได้ ๓. ระบุระดับความขดั แยง้ ได้ ๔. อธิบายพฒั นาการของความขดั แย้งได้ ขอบขา่ ยเนอ้ื หา • ความหมายความขดั แย้ง • ทฤษฎเี กยี่ วกับความขดั แยง้ • ระดับความขัดแยง้ • พฒั นาการของความขัดแย้ง

พทุ ธสนั ติวธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๒ ๑.๑ ความนำ ปฏิสัมพันธ์ท่ีมีลักษณะของความไม่เป็นมิตรหรือตรงกันข้ามหรือไม่ลงรอยกันหรือความไม่สอดคล้อง กัน ลักษณะของความไม่ลงรอยกันหรือไม่สอดคล้องกันน้ีจะเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ หลายประเด็น เช่น เป้าหมาย ความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยม ความสนใจ ความสัมพันธ์ เป็นต้น ลักษณะของความขัดแย้ง อาจจะแสดงออกมาหรือมีลักษณะ จะมีบุคคลหรือฝ่ายอย่างน้อยท่ีสุด ๒ ฝ่าย หรือบุคคล ๒ บุคคลท่ีเข้ามา เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและมีปฏิสัมพันธ์บางอย่างต่อกันแต่ละบุคคลหรือแต่ละฝ่าย จะมีความเช่ือและค่านิยม เฉพาะ ซึ่งแต่ละบุคคลหรือสมาชิกในแต่ละฝ่ายตระหนักและมองเห็นในความเช่ือและค่านิยมนั้นปฏิสัมพันธ์ ระหว่างแต่ละฝ่าย ซ่ึงจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมท่ีแสดงถึงการข่มขู่ การลดพลัง การกดดันฝ่ายตรงข้ าม เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะแต่ละบุคคลหรอื แต่ละฝ่าย เผชิญหน้ากันหรือแสดงปฏิกิริยาในลักษณะตรงข้ามกันหรือ เป็นปฏิปักษ์ต่อกันแต่ละบุคคลหรือแต่ละฝ่ายจะแสดงปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดความเหนือกว่าทางด้านอำนาจ ต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ความขัดแย้งเป็นสิ่งท่ีดีหรือไม่ดี ข้ึนอยู่กับแนวคิดและความเชื่อของแต่ละบุคคล บางคนมอง ความขัดแย้งเป็นส่ิงไม่ดี เป็นของคู่กับความรุนแรง สำหรับกลุ่มบุคคลบางกลุ่มในปัจจุบัน มีแนวความคิดว่า ความขัดแย้งเป็นส่ิงปกติที่เกิดข้ึนตามธรรมชาติ ความขัดแย้งบางอย่างเป็นส่ิงที่ดีเพราะช่วยกระตุ้นให้คน พยายามแกป้ ัญหา โดยเปลี่ยนความขัดแย้งให้มีประโยชน์และสร้างสรรค์ ๑.๒ ความหมายของความขดั แยง้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน๑ ให้คำอธิบาย “ขัดแย้ง” ว่า “ขัด” หมายถึง ไม่ทำตาม ฝ่าฝืน ขืนไว้ ส่วน “แย้ง” หมายถึง ไม่ตรงกัน ไม่ลงรอยกัน ต้านไว้ทานไว้รวมความแล้ว ความขัดแย้ง หมายถึง “สภาพความไม่ลงรอยกันคอื ไม่ยอมทำตามและยังมีความต้านทานไว้” วันชัย วัฒนศัพท์๒ ความไม่ลงรอยกัน หรือสภาวะ ท่ีไม่เห็นพ้องต้องกัน หรือความเป็นปฏิปักษ์ ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลตั้งแต่ ๒ กลุ่มข้ึนไป โดยมีสาเหตุมาจากวัตถุประสงค์ท่ีไม่สามารถเข้ากันได้ ความไมล่ งรอยกันทางดา้ นความตอ้ งการ ความปรารถนา ค่านิยม ความเชื่อ และทัศนคติ อรุณ รักธรรม๓ “ความขัดแย้ง” (Conflict) มาจากรากศัพท์ ภาษาลาตินคือ “Configure” ซงึ่ แปลว่า “การต่อสู้” (Fight) หมายถึง “การทำสงคราม” “ความไม่ลงรอยกัน” หรือ “การเข้ากันไม่ได้” “การคัดค้าน ซ่ึงกนั และกนั ” หรอื “ฝา่ ยตรงขา้ ม” เอกชัย ก่ีสุขพันธ์๔ ความขัดแย้ง (Conflict) คือ สภาพการณ์ที่คนหรือกลุ่มคนเกิดความไม่เข้าใจกัน มคี วามรู้สึกไม่พงึ พอใจหรือคับข้องใจทจ่ี ะพดู คยุ ตอ่ กัน ๑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, (กรุงเทพมหานคร : นานมีบคุ ส์ พับลิเค ชันส์, ๒๕๔๖). ๒ วันชยั วฒั นศพั ท,์ คมู่ ือเกี่ยวกับความขัดแยง้ : หลักการและเคร่ืองมอื แกป้ ญั หา, (กรงุ เทพมหานคร : ศูนยส์ นั ติ และธรรมาภิบาล, ๒๕๔๗) ก, หนา้ ๑๖. ๓ อรณุ รักธรรม, การพัฒนาองค์การ : แนวความคดิ และการประยุกตใ์ ช้ในระบบสงคมไทย, (กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๖), หนา้ ๘๖. ๔ เอกชยั กีส่ ุขพันธ,์ การบรหิ าร : ทกั ษะและการปฏิบัต,ิ (กรงุ เทพมหานคร : สถาบันบณั ฑติ พฒั นบรหิ ารศาสตร์, ๒๕๕๘), หน้า ๗๑.

พทุ ธสันติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๓ สมยศ นาวีการ๕ ความขัดแย้ง คือการไม่เห็นพ้อง ท่ีเกิดข้ึนจากความแตกต่างระหว่างบุคคลสองคน หรือกลุ่มสองกลุ่ม หรือมากกว่า ภายใต้ความขัดแย้ง ขององค์การ บุคคล หรือกลุ่มอาจจะขัดขวางเป้าหมาย หรืองานระหวา่ งกัน Greenberg and Baron๖ กระบวนการท่ีเกิดข้ึนเมื่อบุคคลหรือกลุ่มรับรู้ว่าบุคคลอ่ืนหรือกลุ่มอื่นได้ ปฏิบัติ อย่างใดอย่างหน่ึงซ่ึงจะส่งผลในทางลบ หรือสร้างความไม่เท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นต่อความต้องการ หรือผลประโยชนข์ องตน Nelson and Quick๗ สถานการณ์ใดๆ ก็ตามที่ความไม่เท่าเทียมกันของเป้าหมาย ทัศนคติ และอารมณ์หรอื พฤติกรรม นำไปส่คู วามไม่ลงรอยกนั หรอื ตรงกันขา้ มกนั ระหว่าง ๒ ฝ่ายข้นึ ไป ความขัดแย้ง หมายถึง ปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การหรือ ระหว่างประเทศ ต้ังแต่ ๒ ฝ่าย หรือมากกว่าน้ัน ซ่ึงต้ังอยู่บนผลประโยชน์ของแต่ละฝ่าย โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพยายาม ที่จะป้องกันหรือบีบบังคับเพ่ือผลบางอย่าง ในขณะที่ ฝ่ายหนึ่งพยายามต่อต้าน ความขัดแย้งเป็นพฤติกรรม ท่ีสังเกตเห็นได้ท้ังนี้เป็นคำพูดหรือไม่ได้เป็นคำพูด แสดงออกโดยพยายามขัดขวาง บีบบังคับทำอันตราย ต่อต้านหรอื โดยการแกเ้ ผ็ดฝ่ายตรงขา้ ม สาเหตขุ องความขัดแย้ง พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบณุ ยากร)๘ เมือ่ กลา่ วถึง เหตุปจั จยั ของความขัดแย้ง ได้มีนกั คิดหลาย คนท่ีไดน้ ำเสนอประเดน็ ข้อมูลไวม้ าก โดยจดั กลมุ่ ความคิดออกเป็น กลุ่มดังต่อไปน้ี กลา่ วคือ กลุ่มท่ีมองว่า ความขัดแย้งเกิดจากปัจจัยภายใน โดยจำแนกออกเป็น ๒ กลุ่มคือ กลุ่มนักคิด ทางศาสนา และกลมุ่ นกั คดิ เชงิ พฤติกรรมศาสตร์ ๑. กิเลสคือที่มาของความขัดแย้ง นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา มองว่า ความอยากได้ อยากใหญ่ และใจแคบ ถือได้ว่าเป็นตัวการสำคัญท่ีทำให้เกิดความหวาดกลัว ระแวง และไม่ไว้ใจกัน ตัวปัญหา ของความขัดแยง้ อย่ทู ่ีอวชิ ชา ซึง่ แตกกิง่ ใหญ่ออกมาเป็น ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง ๒. พฤติกรรมศาสตร์ในแง่สัญชาตญาณ และสันดานของมนุษย์ท่ีมาของความขัดแย้ง นักวิชาการ พฤติกรรมศาสตร์ มองว่า สาเหตุของการขัดแย้งน้ันเกิดจากสันดานมนุษย์และสัตว์ ในทุกสังคม ความขัดแย้ง ของมนุษย์เกิดจากพ้ืนฐานของแนวคิดสัญชาตญาณความก้าวร้าว และด้วยความก้าวร้าวของมนุษย์น้ีเอง ได้ชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ความขัดแย้งและการต่อสู้ เป็นกระบวนการเพ่ือการทดแทนหรือชดเชย ส่ิงที่ เป็นสัญชาตญาณก้าวร้าวทำลายล้างมนุษย์ โดยผ่านทางความขัดแย้งหรือการแข่งขันกลุ่มท่ีมองว่า ความขัดแย้งเกิดจากความต้องการ มองว่า ความต้องการด้านเศรษฐกิจ และ สังคมเป็นตัวแปรส ำคัญ ประการหน่ึงท่ีทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม ส่ิงท่ีสามารถนำมายืนยันได้ คือ ดัชนีชี้ความแตกต่าง ทางเศรษฐกิจน้ันคือ รายได้สินทรัพย์ถือครอง และการมีงานทำเป็นต้น ส่วนตัวแปรคือ ความต้องการด้าน สงั คมก็คือ ระดับการศึกษา ความทันสมัย และฐานะทางสังคม ซงึ่ ความแตกตา่ งดงั กล่าวจัดได้วา่ เป็นส่ิงกระตุ้น ให้คนในสงั คมเกดิ ความขัดแย้ง ๕ สมยศ นาวีการ, การบริหารและพฤติกรรมองคก์ ร, (กรุงเทพมหานคร : ผ้จู ัดการ, ๒๕๔๐), หน้า ๗๗๒. ๖ Greenberg and Baron (1997, p. 380), อา้ งถึงใน ชยั เสฏฐ์ พรหมศรี, การจัดการความขัดแย้งในองค์กร, (กรงุ เทพมหานคร : ออฟเซท็ ศรเี อช่ัน, ๒๕๕๐), หนา้ ๙. ๗ Nelson and Quick (2001, p. 350), อ้างถึงใน ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี, ๒๕๕๐, หนา้ ๑๐. ๘ พระมหาหรรษา ธมมฺ หาโส (นธิ บิ ุณยากร), รปู แบบการจัดการความขดั แยง้ โดยพุทธสนั ตวิ ธิ ี : ศึกษาวิเคราะห์ กรณลี ่มุ น้ำแมต่ าชา้ ง จ.เชียงใหม.่ (ดุษฎีนพิ นธพ์ ทุ ธศาสตรดุษฎบี ณั ฑิต, ๒๕๔๗), หนา้ ๔๒.

พทุ ธสันตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๔ กลุ่มท่ีมองว่า ความขัดแย้งเกิดจากอำนาจ มองว่า ความไม่เท่าเทียมกัน หรือ ความไม่สัมพันธ์กัน ของอำนาจระหว่างบุคคลในสังคม และความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมของอำนาจ เป็นลักษณะสำคัญท่ีสุด ของความขัดแย้ง เนื่องจากระดับของอำนาจที่แตกต่างกันเป็นผลให้คู่กรณี เร่ิมตระหนักถึงความแตกต่างกัน และยิ่งทำใหม้ กี ารแสวงหาวธิ กี ารเพือ่ ใหไ้ ดม้ าซง่ึ อำนาจ กลุ่มท่ีมองว่า ความขัดแย้งเกิดจากค่านิยม ก็ประกอบไปด้วยประเด็นหลักหลายประการ เช่น ความเช่ือ วฒั นธรรม ประเพณี ศาสนา ภาษา และชาติพนั ธุ์ กลุ่มท่ีมองว่า ความขัดแย้งเกิดจากโครงสร้างสังคม มองว่า ความขัดแย้งเกิดจากการกดข่ี ขูดรีด ทางชนชั้น โดยเพาะในสังคมทุนนิยม ซึ่งโครงสร้างสังคมมีการแบ่งชนช้ันสูง และเป็นชนชั้น ที่กดข่ีขูดรีด ด้วยเหตุน้ี ความขัดแย้งจึงเป็นส่ิงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งขัดแย้งกันในผลประโยชน์ของชนชั้น เนื่องจาก ความสำนึกของชนชั้นท่ีก่อตัวข้ึนกลายเป็นความขัดแย้ง ได้ทำการจำแนกตัวแปร พื้นฐานของการขัดแย้งว่า ความขัดแย้งไม่ได้เกิด โดยบังเอิญแต่เป็นผลพวงจากสังคมทุนนิยมและ โครงสร้างทางเศรษฐกิจการกดขี่ และการขัดแย้งทางสังคมกลุ่มที่มองว่า ความขัดแย้งเกิดจากข้อมูล ข่าวสารหรือการสื่อสารท่ีไร้ประสิทธิภาพ มองวา่ การรับรู้ท่ีผิดพลาด ความเข้าใจท่ีคลาดเคล่ือน มีส่วนสำคัญท่ีทำให้เกิดความขัดแย้ง ซึ่งการเกดิ สงคราม เป็นผลสืบเนื่องมาจากความผิดพลาดในการรับรู้และการประเมินท่ีผิดพลาด ตลอดจนความทันสมัย หรือความคลอ่ งตัวอาจจะเป็นจุดอ่อนได้เช่นกนั คือ วจิ ารณญาณใน การกลัน่ กรอง เพราะการท่ีข้อมูลมมี ากมาย ซ่ึงสามารถแสวงหาได้จากสื่อส่ิงพิมพ์หรืออินเตอร์เน็ต ถ้าขาดการกล่ันกรองข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ หรอื ขาดการแยกแยะ วิเคราะหแ์ ละสังเคราะห์แลว้ ทำใหเ้ กดิ ความขดั แย้งได้เชน่ กัน ๑.๓ ทฤษฎเี กี่ยวกับความขดั แย้ง ๑.๓.๑ ทฤษฎีบทบาท (Role Theory) ทฤษฎีบทบาท (Role Theory)๙ เป็นทฤษฎีหน่ึงท่ีนำมาใช้อธิบายถึงความขัดแย้งในบทบาท ของมนุษย์ ในองค์การและใช้อธิบาย ถึงแบบแผนพฤติกรรมของบุคคลภายใต้ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งมีอิทธิพลทำให้แสดงพฤติกรรมน้ันออกมา ส่วนความขัดแย้งในบทบาท (Role Conflict) จะเกิดขึ้น ตามประสบการณ์ของแต่ละคนท่ีประสบมา หรือเกิดจากการที่พฤติกรรมของบทบาทตั้งแต่ สองบทบาทข้ึนไป ไม่สอดคล้องกัน และความขัดแย้งเกิดจากการที่ไม่สามารถแสดงบทบาทต่างๆ ได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องเปน็ ประธานในการประชุมในฐานะครใู หญ่ หรือจะตอ้ ง ออกไปรับลูกท่โี รงเรียนในฐานะทีเ่ ป็นบิดา ความขัดแย้งของบทบาท (Role Conflicts) หมายถึง เม่ือบุคคลต้องแสดงบทบาทต่างๆ หลายบทบาทในห้วงเวลาเดียวกนั และบทบาทนั้นไม่สอดคลอ้ งกนั เช่น มีบทบาทเปน็ ผู้บริหาร ในขณะเดยี วกัน ก็มีบทบาทเป็นสามีท่ีต้องทำหน้าท่ีประเมินผลการปฏิบัติของภรรยาที่เป็นลูกน้องของตนด้วย เป็นต้น และเมื่อบทบาทนั้นไม่ชัดเจน (Role Ambiguity) ทำให้บุคคลไม่แน่ใจว่า จะปฏิบัติอย่างไร เช่น การแนะนำ จากหัวหน้างานไม่ชัดเจนหรือแนวทางการร่วมปฏิบัติกับ เพ่ือนร่วมงานไม่ชัดเจน จะส่งผลให้บุคคลเกิด ๙ Moorhead and Griffin, 2001, p. 213, อา้ งถึงใน สพุ ัตรา จติ ตเสถยี ร, การจดั การความขัดแยง้ ในสถานพยาบาล ของรัฐระดับจงั หวดั , ดษุ ฎีนพิ นธป์ รชั ญาดษุ ฎบี ณั ฑติ , สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, (บณั ฑติ วทิ ยาลยั , มหาวทิ ยาลัย รามคำแหง, ๒๕๕๐), หนา้ ๒๐.

พทุ ธสันตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๕ ความเครียด สบั สนกับบทบาทของตวั เองที่มีอยู่กบั บทบาทที่ถูกคาดหวัง และเม่ือมีมากกว่าหน่ึงบทบาทขน้ึ ไป จะทำให้เกิดความขัดแยง้ ในบทบาท (Role Conflict) ไดซ้ ่งึ มอี ยู่ ๔ แบบ๑๐ ดงั ต่อไปน้ี ๑. ความขัดแยง้ ภายในตวั ผู้สง่ ข่าวหรือผู้ท่อี อกคำสั่ง (Intra-sender Conflict) เช่น กรณีท่ีหัวหน้าทีม ต้องทำงานในบทบาทท่ีเท่าเทียมกันในทีม ในขณะเดียวกันก็มีบทบาทเป็นผู้บริหารด้วย ต้องทำหน้าที่ส่ังการ และบังคับบัญชาด้วยจะมีบทบาทที่เท่าเทียมกัน ในทุกบทบาทคงเป็นไปได้ยาก จึงทำให้เกิดความขัดแย้ง ภายในตัวเองขึน้ ๒. ความขัดแย้งระหว่างผู้ส่งข่าวหรือผู้ออกคำส่ัง (Inter-sender Conflict) เกิดจากคนในกลุ่ม มีความขัดแย้งกับคนในกลุ่มอ่นื ๆ ท่มี ีบทบาทเดยี วกัน ทำให้ความขดั แยง้ เกดิ ขน้ึ ระหวา่ งกลมุ่ ๓. ความขัดแย้งระหว่างผู้รับส่งข่าวหรือผู้รับคำสั่ง (Inter-role Conflict) เมื่อบทบาทต่างกันทำให้ บุคคล มีพฤติกรรมที่ต่างกันด้วยแต่เมื่อต้องมาทำงานร่วมกันจะพบว่ามีพฤติกรรมที่เข้ากันไม่ได้เช่น เม่ือหัวหน้าขอใหช้ ่วยทำงานล่วงเวลาเพ่อื ให้งานเสร็จ ในขณะเดียวกนั ก็กงั วลกับบทบาทการเปน็ แม่บ้านท่ีต้อง ดแู ลลกู หลงั เลกิ งาน ความขดั แย้งจงึ เกดิ ข้นึ ระหวา่ ง เร่อื งงานกับบทบาทส่วนตัวทีม่ อี ยู่ ๔. ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบทบาท (Person-role Conflict) เกิดข้ึนเมื่อเรามีบทบาท อย่างหนึ่ง แต่ไม่สามารถทำตามบทบาทที่ตนมีได้หรือการท่ีบุคคลมีความต้องการอย่างหนึ่ง แต่ตามบทบาท ท่ถี ูกกำหนดไว้นนั้ ทำตามความต้องการของตนเองไม่ได้จะเกิดความขัดแย้งขึน้ ได้ ๑.๓.๒ ทฤษฎคี วามขดั แย้งแบบรว่ มมือ Leung and Tjosvold๑๑ เสนอว่า ส่ิงสำคัญที่ทำให้การจัดการความขัดแย้งไม่ได้ผล คือ การขาด แรงจูงใจที่ดี (Motivation) ดังน้ัน องค์การที่ต้องการให้การจัดการความขัดแย้งได้ผลดีจึงควรมีการลงทุน เพื่อการฝึกงานสร้างการเรียนรู้ให้บุคลากรมีสมรรถนะต่อการจัดการความขัดแย้งแบบร่วมมือ ตามทฤษฎี ความขัดแย้งแบบร่วมมือ (Cooperative Conflict Theory) อันจุดเน้นที่การมีเป้าหมายเดียวกันภายใต้ มิตรภาพที่ดีต่อกันและกัน “We are in this Together” and “We Swim or Sink Together” หัวใจสำคัญ คอื แนวทางปฏิบตั ิ ถูกกำหนดมาจากการบูรณาการความตอ้ งการของทุกคนรว่ มกันบนพน้ื ฐานของความจรงิ ใจ ต่อกนั เพื่อมุ่งสกู่ ารบรรลเุ ป้าหมายรว่ มกันสังคม สาระสำคัญของทฤษฎีการขดั แย้ง ๑. ทุกหน่วยของสงั คมอาจเปลีย่ นแปลงได้ ๒. ทกุ หน่วยของสังคมเป็นบอ่ เกิดของการขัดแยง้ ๓. ทุกหน่วยของสงั คมมสี ่วนสง่ เสรมิ ความไมเ่ ปน็ ปกึ แผ่นและการเปลย่ี นแปลง ๔. ทุกสังคมจะมีคนกลุ่มหนึ่งควบคุมบังคับคนอีกกลมุ่ หนึ่ง ให้เกดิ ความเป็นระเบียบ ในแนวคิดของมาร์กซ์ Marx๑๒ เชื่อว่าความขัดแย้งและ การเปล่ียนแปลงเป็นของคู่กัน เขาใช้การ วิเคราะหค์ วามขดั แย้งเป็นเคร่อื งมือในการวิเคราะห์สังคม มาร์กซย์ นื ยันวา่ ความขัดแย้งเป็นกฎพื้นฐานของชีวิต ๑๐ Moorhead & Griffin, ๒๐๐๑, p. ๒๑๔, อ้างถึงใน สุพัตรา จิตตเสถียร, การจัดการความขัดแย้งใน สถานพยาบาลของรัฐระดับจังหวัด, ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวทิ ยาลยั รามคำแหง, ๒๕๕๐), หนา้ ๒๑. ๑๑ Leung and Tjosvold, ๑๙๙๘, p. ๔๔ อ้างถึงใน อา้ งถึงใน สุพัตรา จิตตเสถยี ร, การจดั การความขดั แย้งใน สถานพยาบาลของรัฐระดบั จังหวดั , ดษุ ฎีนิพนธ์ปรชั ญาดุษฎีบัณฑติ , สาขาวชิ ารัฐประศาสนศาสตร์, (บณั ฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลยั ราคมคำแหง, ๒๕๕๐), หน้า ๒๑. ๑๒ Georg Simmel (n.d.) อ้างถึงใน เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์, ความขัดแย้งการบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. (กรงุ เทพมหานคร : เลิฟ แอนด์ ลิพเพรส, ๒๕๔๐), หน้า ๒๙.

พุทธสนั ตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๖ การวิเคราะห์สังคมของมาร์กซ์ อยู่บนพื้นฐาน ของการศึกษาความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ มาร์กซ์เชื่อในการใช้ ความขัดแย้งเป็นเครื่องมือ ในการเปล่ียนแปลงหรือพัฒนาสังคมกัน มาร์กซ์มีความเชื่อว่า การเปล่ียนแปลง ของทุกๆ สังคม จะมีข้ันตอนของการพัฒนาทาง ประวตั ิศาสตร์ ๕ ขั้น โดยแต่ละข้ันจะมวี ิธีการผลิต (Mode of Production) ที่เกิดจากความสัมพันธ์ ของอำนาจของการผลิต (Forces of Production) ซึ่งได้แก่ การจดั การ ด้านแรงงาน ท่ีดิน ทุน และ เทคโนโลยี กับความสัมพันธ์ทางสังคมของการผลิต (Social Relation of Production) ซึ่งได้แก่ เจ้าของปัจจัยการผลิต และคนงานที่ทำหน้าที่ผลิต แต่ในระบบการผลิตแต่ละระบบ จะมีความขัดแย้ง ระหว่างชนช้ันผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตกับผู้ใช้แรงงานในการผลิต ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจท่ีเป็นโครงสร้างส่วนล่างของสังคม (Substructure) และเมื่อโครงสร้างส่วนล่าง มี ก า ร เป ล่ี ย น แ ป ล ง จ ะ มี ผ ล ท ำ ให้ เกิ ด ก า ร ผั น แ ป ร แ ล ะ เป ล่ี ย น แ ป ล ง ต่ อ โ ค ร ง ส ร้ า ง ส่ ว น บ น ข อ งสั ง ค ม (Superstructure) ซ่ึงเป็นสถาบันทางสังคม เช่น รัฐบาล ครอบครัว การศึกษา ศาสนา และรวมถึง ค่านิยม ทัศนคติและบรรทัดฐานของสังคม ลำดับขั้นของการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ของมาร์กซ์ มีดังนี้ ๑. ขั้นสังคมแบบคอมมิวนิสต์ดั้งเดิม (Primitive Communism) กรรมสิทธ์ิในปัจจัยการผลิต เป็นของเผ่า (Tribal Ownership) ต่อมาเผ่าต่างๆ ได้รวมตัวกันเป็นเมืองและรัฐ ทำให้กรรมสิทธ์ิ ในปัจจัย การผลติ เปล่ยี นไปเป็นของรฐั แทน ๒. ขั้นสังคมแบบโบราณ (Ancient Communal) กรรมสิทธ์ิในปัจจัยการผลิตเป็นของรัฐ (State Ownership) สมาชิกในสังคมได้รับกรรมสิทธ์ิในทรัพย์สินส่วนตัวท่ีสามารถเคลื่อนย้ายได้ ซึ่งได้แก่ เคร่ืองใช้ส่วนตัวและทาส ดังนั้น ทาส (Slavery) จึงเป็นกำลังสำคัญในการระบบการผลิต ทั้งหมด และต่อมา ระบบการผลิตไดเ้ กดิ ความขัดแย้งระหว่างเจ้าของทาสและทาส ๓. ขั้นสังคมแบบศักดินา (Feudalism) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของขุนนาง คือ ท่ีดิน โดยมที าสเปน็ แรงงานในการผลติ ๔. ข้ันสังคมแบบทุนนิยม (Capitalism) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของนายทุน คือ ทด่ี ิน ทุน แรงงาน และเครือ่ งจกั ร โดยมผี ู้ใช้แรงงานเปน็ ผ้ผู ลิต ๕. ข้ันสังคมแบบคอมมิวนิสต์ (Communism) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของทุกคน ทกุ คนมีสิทธเิ ท่าเทยี มกนั ไม่มใี ครเอาเปรียบซง่ึ กนั และกัน ตามแนวความคดิ ของมาร์กซ์ ลำดบั ขนั้ ของการนำไปสู่การปฏิวตั ขิ องชนช้นั ล่างของสังคม เกิดจากกระบวนการ ดงั ตอ่ ไปน้ี ๑. มีความตอ้ งการในการผลิต ๒. เกดิ การแบง่ แยกแรงงาน ๓. มีการสะสมและพฒั นาทรัพย์สินสว่ นบคุ คล ๔. ความไมเ่ ทา่ เทียมทางสงั คมมีมากขึน้ ๕. เกดิ การต่อสรู้ ะหว่างชนชน้ั ในสงั คม ๖. เกิดตวั แทนทางการเมืองเพอื่ ทำการรักษาผลประโยชน์ของแตล่ ะชนชนั้ ๗. เกดิ การปฏิวัติ การเปล่ียนแปลงทางสังคมตามแนวความคิดของมาร์กซ์ เป็นการต่อสู้ระหว่างชนช้ันในสังคม โดยใช้ แนวความคิดวิภาษวิธี (Dialectical) ที่เริ่มจากการกระทำ (Thesis) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง การกระทำ (Antithesis) และเกิดการกระทำแบบใหม่ (Synthesis) ตามมาจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง มาจากเศรษฐกิจ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเกิดขึ้นเพราะ แต่ละกลุ่มมีความสนใจทางเศรษฐกิจท่ีตรงข้ามกัน ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มเป็นส่ิงท่ี หลีกเลี่ยงได้ยาก และจะนำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคม

พทุ ธสนั ติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๗ และทางการเมือง โดยที่กลมุ่ หนึ่งก็พยายาม สนองประโยชน์ของตนซึ่งอีกกลุ่มหนึ่งจะเสียประโยชน์ ในทำนอง เดียวกันสมาชิกของกลุ่ม ก็พยายามแสวงหาประโยชน์ของตนเองซ่ึงทำให้เกิดการขัดแย้งภายในกลุ่ม และขัดแย้งกับกลุ่มอ่ืนที่มีความสนใจหรือมีประโยชน์ขัดกัน มาร์กซ์ถือว่าความขัดแย้งเป็นสภาพการณ์ปกติ ของสังคมเป็น แกนกลางของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ความขัดแย้งและการเปล่ียนแปลงเป็นสิ่งท่ีแยกจาก กันไม่ออก จุดเน้นในแนวคิดของมาร์กซ์ อยู่ท่ีเศรษฐกิจ การต่อสู้ของชนช้ัน ธรรมชาติของการแข่งขัน และการแสวงหาประโยชน์ แนวความคิดหรือฐานคติทเ่ี กีย่ วกบั องคก์ ารสังคมของมารก์ ซ์ ๑. ความสัมพันธ์ทางสังคมแสดงลักษณะเป็นระบบ ความสัมพันธ์เต็มไปด้วยความสนใจ ที่ขัดแย้งกัน อยูใ่ นตวั ๒. ระบบสงั คมตา่ งเปน็ ตวั จ่ายการขัดแย้งอย่างมีระบบ ๓. การขัดแยง้ จึงเปน็ ลักษณะท่ีหลกี เล่ียงไม่ไดแ้ ละมีอยู่มากมายในระบบสงั คม ๔. การขัดแยง้ มักแสดงออกมาเปน็ ความสนใจทต่ี รงกันขา้ มกนั ของคนสองพวก ๕. การขัดแยง้ มักเกิดจากการแบ่งปนั ส่ิงของท่ีหายาก ทเี่ ห็นได้ชดั คอื อำนาจ ๖. การขดั แย้งเปน็ แหล่งสำคญั ของการเปล่ียนแปลงในระบบสงั คม ประพจน์เกีย่ วกบั ความเครียดของการขัดแยง้ ๑.ยิ่งทงั้ สอง่ายท่ขี ดั แย้งกันมอี ารมณม์ าก การขดั แยง้ ก็จะมีความเครยี ดมากข้นึ มีมากขึ้น ๒.ยงิ่ ระดับความเปน็ คนกลุ่มเดียวกันของผ้ขู ดั แย้งมีเพยี งใด ความเครยี ดในการขัดแย้ง ๓.ยิ่งการขัดแย้งเกี่ยวข้องกับความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มที่เกี่ยวข้องมาก การขดั แยง้ ก็จะมคี วามเครยี ดมากขึน้ ๔.ยง่ิ คูก่ รณมี คี วามปรองดองกนั มาก่อนมาก ความขดั แย้งกจ็ ะมคี วามเครยี ดมากขึ้น ๕.ยิ่งโครงสร้างทางสังคมทั่วไป ปล่อยให้คู่กรณีอยู่แยกต่างหากจากกันได้น้อยเท่าใด ความเครยี ดของการขัดแยง้ ก็จะย่ิงมีมากเท่านนั้ ๖.ยิ่งการขัดแย้งเป็นเป้าหมายอยู่ในตัว แทนที่จะเป็นอุปกรณ์ไปสู่ส่ิงอื่นมากเพียงใด ความเครยี ดของการขัดแยง้ กจ็ ะยิง่ มีมากเทา่ น้ัน ๗. ย่ิงคู่กรณีมองเห็นว่าการขัดแย้งเป็นเรื่องเป้าหมาย และผลประโยชน์ส่วนตัวมาก การขัดแย้งกจ็ ะยิ่งมคี วามเครียดมากขน้ึ เท่านนั้ หน้าทข่ี องการขัดแยง้ ทางสังคมตอ่ คู่กรณี ๗.๑ ยิ่งการเป็นปรปักษ์ระหว่างกลุ่มความเครียดมากและยิ่งมีการขัดแย้งระหว่าง กลุ่มมาก ขอบเขตของกลมุ่ ต่างๆ กจ็ ะจางหายไปน้อยลง ๗.๒ ย่ิงการขัดแย้งมีความเครียดมากเท่าใด และกลุ่มมีบูรณาการน้อยเพียงใด กลมุ่ ขัดแย้ง กจ็ ะย่งิ รวมอำนาจไว้ท่ีศนู ยก์ ลางมากข้นึ เท่าน้ัน ๗.๓ ยิ่งการขัดแย้งมีความเครียดมากเท่าใด ความเป็นอันหน่ึงอันเดียวกันภายใน กลุ่มคกู่ รณี กจ็ ะยิ่งมีมากขึ้นเท่านนั้ หน้าท่ขี องการขดั แยง้ ต่อสังคมเปน็ สว่ นรวม ๑.ยิ่งการขัดแย้งมีความเครียดน้อยเพียงใด สังคมส่วนรวมขึ้นอยู่กับการพึ่งพาอาศัยกัน ก็จะ ยง่ิ เปน็ ไปไดม้ ากขึ้นกวา่ การขดั แยง้ จะสง่ ผลให้เกิดบูรณาการในสังคมมากขนึ้ ๒.ย่ิงการขัดแย้งเกิดขึ้นบ่อย การขัดแย้งมีความเครียดน้อยลง สมาชิกของกลุ่มท่ีอยู่ ภายใต้ อำนาจก็จะย่ิงระบายความเป็นปฏิปกั ษ์มากข้นึ รวมทง้ั จะเกดิ ความเชอื่ มั่นในการควบคุม และจะเป็นการส่งผล ใหเ้ กดิ บูรณาการในสังคม

พุทธสันตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๘ ๓.ยิ่งการขัดแย้งมีความเครียดน้อยและเกิดบ่อยมาก ก็จะย่ิงเพ่ิมโอกาสในการสร้างบรรทัด ฐานขน้ึ มาควบคุมการขัดแย้งมากข้นึ ๔.ย่ิงความสัมพันธ์เชิงปฏิปักษ์ระหว่างคู่กรณีในสายบังคับบัญชาทางสังคม (Social Hierarchy)มาก แต่การขัดแย้งโดยเปิดเผยมีน้อยแล้ว ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างสมาชิกของแต่ละ กลุ่มคู่กรณีตจะมีมากขึ้น จึงเป็นการส่งผลให้การรักษาสายการบังคับบัญชาทางสังคม ขณะนั้นให้ดำรงยืนยาว ตอ่ ไป ๕.ยิ่งการขัดแย้งระหว่างกลุ่มที่มีอำนาจต่างกันมาก ความเครียดมีน้อย โอกาสท่ีจะทำให้ ความสัมพันธแ์ หง่ อำนาจกลายเปน็ เรื่องปกตกิ ม็ มี ากข้นึ ๖.ยิ่งการขัดแย้งมีความเครียดน้อย โอกาสในการที่จะสรา้ งกลุ่มผสมระหว่างสมาชิกของกลุ่ม ท่ไี มเ่ คยมคี วามสัมพันธก์ ันมาก่อน ก็ย่อมจะมมี ากขนึ้ ๗.ยิ่งการคุกคามของการขัดแย้งท่ีมีความเครียดมากระหว่างกลุ่มมีเวลายาวนาน กลุ่มผสม ระหว่างกลุ่มขดั แยง้ ก็จะยงิ่ มีความคงทนถาวรมากข้ึน แนวคิดของซิมเมล Simmel๑๓ นกั สังคมวิทยาชาวเยอรมัน ช้ีให้เห็นว่า ความขัดแย้งเป็นปฏิสัมพันธ์ รูปแบบหนึ่งที่เกิดข้ึนในกลุ่มเพราะสมาชิกในกลุ่ม มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ผลงานของชิมเมลเก่ียวกับ ความขัดแย้ง โดยเขาเชื่อว่า ความขัดแย้ง ระหว่างสอง่ายแสดงให้เห็นถึงลักษณะความสัมพันธ์ของทั้งสอง่าย น้ัน ความขัดแย้งเป็นผลมาจาก ความรู้สึกเข้าข้างตนเองมากกว่าเข้าข้าง่ายอ่ืน ความรู้สึกอาจเป็นความมุ่งร้าย โกรธ เกลียดหรืออิจฉา ซึ่งโดยมากเกิดข้ึนเพราะพฤติกรรม หรือคุณลักษณะทางสังคมของแต่ละฝ่าย มีความสำคัญเหนือ อีกฝ่ายหนึ่ง ไม่มีองค์การใดหรือบุคคลใดจะหนีพ้นจากความขัดแย้งไปได้ ความขัดแย้ง มักจะนำไปสกู่ ารเปล่ยี นแปลงทางสังคมแนวคดิ ท่สี ำคญั บางประการของซิมเมลเกย่ี วกับความขัดแยง้ คอื ๑. ความขัดแยง้ ทำใหเ้ กิดความสามคั คีกลมเกรียวภายในกลุ่ม ๒. ความกลมเกลียวภายในกลุ่มเป็นสาเหตทุ ำให้เกดิ ความขัดแย้ง ๓. ความกลมเกรียวระหว่างกล่มุ เปน็ สาเหตุทำให้เกิดการขัดแย้ง ๔. ความกลมเกรียวระหวา่ งกลมุ่ เป็นสาเหตุทำให้เกดิ โครงสรา้ งของกลุ่ม สาระความคิดเกย่ี วกับองคก์ ารสังคมของชิมเมล ๑.ความสัมพันธ์ทางสังคมจะเกิดขึ้นในภาวะสังคมเป็นระบบ ซ่ึงความสัมพันธ์ ทางสังคมอาจสืบเน่ืองมาจาก กระบวนการทางอินทรียภาพสองกระบวนการ คือ กระบวนการก่อ สัมพันธ์ และกระบวนการแตกสมั พันธ์ ๒.กระบวนการดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากท้ังแรงขับสัญ ชาตญ าณ และความจำเป็น อันสบื เนื่องมาจากความสมั พันธท์ างสังคมประเภทตา่ งๆ ๓.กระบวนการขัดแย้งเป็นส่ิงเก่าแก่แต่โบราณของสังคม แต่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น ส่ิงทำลายระบบสงั คมหรอื ก่อให้เกิดการเปลย่ี นแปลงทางสังคมเสมอ ๔.ตามความเป็นจริงแล้ว การขัดแย้งเป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ดำเนินไป เพอ่ื ดำรงรกั ษาสงั คม หรือส่วนประกอบบางอยา่ งของสงั คม ความเข้มแขง็ ของการขัดแยง้ ๑. ความเข้มขน้ ของการขดั แย้งจากความชัดแจ้งของสาเหตุขดั แยง้ ๒. ความเข้มข้นของการขดั แย้งจากขนาดของอารมณ์ผกู พนั ของสมาชิกกลุ่มขดั แย้ง ๑๓ Simmel (n.d.) อ้างถึงใน เสริมศักด์ิ วิศาลาภรณ์ , ความขัดแย้งการบริหารเพื่อความสร้างสรรค์, (กรงุ เทพมหานคร : เลิฟ แอนด์ ลิพเพรส, ๒๕๔๐), หน้า ๓๑.

พทุ ธสันตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๙ ๓. ความเข้มข้นของการขัดแย้งจากการที่โครงสร้างสังคมมีความเข้มงวด และมีวธิ ีการ ดดู กลืนความเครยี ดและการขัดแย้งน้อยทางสงั คม ๔. ความขัดแย้งจะไมเ่ ข้มขน้ ถ้ากลุม่ ขัดแย้ง ขดั แย้งกันดว้ ยผลประโยชน์แทจ้ รงิ ๕. ความเขม้ ข้นของการขดั แย้งเกิดจากการขดั แยง้ เกยี่ วกบั ผลประโยชน์ไมแ่ ท้จรงิ ๖. ความเขม้ ขน้ ของการขัดแย้งเกิดจากผลประโยชนส์ ว่ นรวมเหนือผลประโยชน์ ส่วนตัว ๗. ความเขม้ ขน้ ของการขดั แย้งเกิดจากการขดั แย้ง เนอ่ื งมาจากค่านยิ มและประเด็น สำคัญ ระยะเวลาของความขดั แยง้ ๑. ความขดั แยง้ จะยืดยาวหากคู่ขัดแย้งไมจ่ ำกดั เปา้ หมายลง ๒. ความขัดแย้งจะยืดยาวหากคู่ขดั แย้งไม่สามารถเหน็ พ้องกนั เร่ืองเป้าหมายได้ ๓. ความขัดแย้งจะยืดยาวหากคู่ขัดแย้งไม่รู้ความแตกต่างของตน สัญลักษณ์แห่งชัย ชนะและพ่ายแพข้ องตน ๔. ความขัดแย้งจะสน้ั หากผ้นู ำกลุม่ ขัดแย้งท้งั สองฝ่ายตา่ งรสู้ ึกว่าการบรรลุเปา้ หมาย มรี าคาแพงกวา่ การได้ชยั ชนะระหว่างกัน ๕. ความขัดแย้งจะส้ันหากผู้นำกลุ่มขัดแย้ง ต่างมีความสามารถชักชวนสมาชิกกลุ่ม ขดั แย้งใหย้ ตุ ิขัดแย้งได้ ประโยชนข์ องการขดั แย้ง ๑. การขัดแย้งท่ีมีความเข้มข้นจะทำให้ขอบข่ายของกลุ่มขัดแย้งแต่ละกลุ่ม มีความชัดเจน ๒. การขัดแย้งท่ีมีความเขม้ ข้นและการแบ่งงานอย่างชัดเจนระหว่างสมาชิกของกลุ่ม ขดั แย้งแต่ละกลุ่ม จะทำให้เกดิ การรวมอำนาจเขา้ สศู่ ูนย์กลางของโครงสรา้ งอำนาจการตดั สนิ ใจ ๓. การขัดแย้งที่มีความเข้มข้นและเชื่อว่าจะมีผลกระทบไปทุกส่วนของแต่ละกลมุ่ จำ ให้เกดิ ความมน่ั คงข้ึนในแต่ละกลุม่ ขดั แยง้ ๔. ความสัมพันธ์ขั้นปฐมภูมิระหว่างสมาชิกกลุ่มขัดแย้งและความ ขัดแย้ง มคี วามเข้มข้น สามารถบงั คับให้ยอมรบั บรรทดั ฐานและค่านยิ มของกลุ่มได้ ๕. โครงสร้างสังคมของกลุ่มขัดแย้งที่เข้มงวดน้อยและการขัดแย้งระหว่างกันไม่มาก จะเปดิ โอกาสให้แต่ละกลุม่ สามารถเปลยี่ นแปลงระบบไปในแนวทางส่งเสรมิ การปรบั ตัวและ ความมัน่ คง ๖. ความขัดแย้งท่ีเกิดบ่อยๆ จะทำให้สามารถเป็นเครื่องแสดงการไม่ลงรอยกัน ในค่านิยมสำคญั และจะสามารถรกั ษาดลุ ยภาพไดม้ ากข้นึ ๗. ความขัดแย้งที่เกิดบ่อยและไม่เข้มข้นมาก จะทำให้แต่ละกลุ่มขัดแย้ง สามารถ สร้างระเบยี บบรรทัดฐานกำกับการขดั แย้งขึ้นมาได้ ๘. ระบบสังคมที่ไม่เข้มงวดมาก จะทำให้การขัดแย้งสามารถสร้างสมดุลและ ระดบั สงู ตำ่ ของอำนาจในระบบขึน้ มาได้ ๙. ระบบสงั คมท่ีไมเ่ ข้มงวดมาก จะทำใหก้ ารขัดแย้งเปน็ สาเหตุใหเ้ กดิ ความสัมพนั ธ์ แบบผสม มีการยดึ เหนย่ี วกนั และบรู ณาการของระบบเพิ่มข้ึน

พทุ ธสันติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๑๐ แนวคิดของเวเบอร์ Weber๑๔ ยอมรับว่าความขัดแย้ง ในผลประโยชน์ระหว่างบุคคล พบได้ทุกหน ทุกแห่งในสังคม ความขัดแย้งเกิดจากการกระทำของบุคคลท่ีต้องการท่ีจะดำเนินการให้บรรลุความปรารถนา ของตนเกิดปะทะกับการตอ่ ต้าน ของอีกฝ่ายหน่ึงหรือหลายๆ กลุ่ม ความขัดแย้งเป็นผลมาจากการมที รัพยากร หรือรางวัลอย่างจำกัด ซ่ึงการท่ีคนหนึ่งได้รับทำให้อีกคนหน่ึงไม่ได้รับ การท่ีคนหนึ่งสามารถบรรลุ ความปรารถนา ของตนเองในสภาพทีม่ ีทรัพยากรอย่างจำกัด ทำให้ผู้นน้ั มอี ำนาจมากขนึ้ ความขัดแย้งทั้งหลาย ไม่จำเป็นต้องนำไปสู่การต่อสู้กัน เวเบอร์ถือว่าการแข่งขันเป็นรูปแบบหน่ึงของความขัดแย้ง ในการแข่งขันน้ัน จะมีกฎกติกาที่ทุกฝ่ายยอมรับ การชนะคือการได้รางวัลหรือประโยชน์ ไม่ใช่การทำลาย คู่ต่อสู้ ความขัดแย้ง ถา้ หากเกิดขึ้นในระยะยาวนานจะทำให้เกิดการแบง่ อำนาจของบุคคลในสงั คม สาระสำคัญของความขัดแย้งในสังคม ๑. ความขดั แยง้ ของผลประโยชน์เปน็ ส่ิงทเ่ี กดิ ข้นึ อย่างต่อเน่ืองในสังคม ไม่มสี ังคมใด จะพ้นไปจากการแตกแยกและการเปลีย่ นแปลง ๒. ในสงั คมใดๆ กต็ าม กล่มุ ของบุคคลและแต่ละบคุ คลยอ่ มมอี ำนาจไมเ่ ท่ากัน ๓. ผ้มู อี ำนาจจะใชก้ ฎและการบงั คบั เพื่อสรา้ งระเบียบทางสงั คม ๔. โครงสร้างของสงั คมและแนวปฏิบัตใิ นสังคมถูกกำหนดขึ้นโดยผมู้ ีอำนาจ ๕. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้เกิดการแตกแยกในกลุ่มของผู้มีอำนาจมากกว่า ในกลุ่มของผู้ไม่มีอำนาจ ผู้มีอำนาจจะพยายามรักษาสถานภาพเดิม และต่อต้านการเปล่ียนแปลงท่ีจะทำให้ ตนเองถูกลดอำนาจ ๖. การเปล่ียนแปลงทางสังคมเกิดขึ้นจากผลการกระทำของบุคคลท่ีจะได้ประโยชน์ จากการเปลี่ยนแปลงถ้าหากผู้มีอำนาจเห็นว่าตนจะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง จะส่งเสริมให้เกิด การเปลยี่ นแปลงโดยเรว็ ของตนท้ังหลาย ๗. การใชอ้ ำนาจจะมีประสทิ ธิภาพหรอื ไม่ ขน้ึ อยู่กบั เงื่อนไขดงั ต่อไปนี้ ๗.๑ ความสามารถท่ีจะควบคุมการออกกฎ ระเบียบ ซ่ึงจะพิทักษ์ ผลประโยชนข์ องตน ๗.๒ ความสามารถท่ีจะควบคุมการลงโทษและใช้การควบคุมนี้พิทักษ์ ผลประโยชน์ ๗.๓ ความสามารถท่ีจะควบคุมเคร่ืองมือท่ีจะเผยแพร่อุดมการณ์ และการสือ่ สาร ๗.๓.๑ เผยแพร่กฎ ข้อบังคับทั้งหลายโดยให้เห็นว่าเป็นของดี และถกู ต้อง ๗.๓.๒ เปลีย่ นความสนใจของประชาชนโดยอา้ งอุดมการณ์ และทำให้เช่ือว่า ความสนใจของประชาชนสอดคลอ้ งกับของผูน้ ำ ๗.๓.๓ กระตุ้นให้ประชาชนอาสาสมัครท่ีจะเช่ือฟังกฎ หรือ ระเบียบตา่ งๆ ๑๔ Weber (n.d.) อ้างถงึ ใน เสริมศกั ด์ิ วิศาลาภรณ์, ความขัดแยง้ การบรหิ ารเพอื่ ความสรา้ งสรรค์, (กรงุ เทพมหานคร : เลิฟ แอนด์ ลิพเพรส, ๒๕๔๐), หน้า ๓๐.

พทุ ธสันติวธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๑๑ แนวคิดของมอสคา Mosca๑๕ เป็นนักสังคมวิทยา ชาวอิตาลี ได้แสดงความคิดเก่ียวกับความขัดแย้ง ในหนังสือ ของเขาช่ือ The Ruling Class โดยเช่ือว่า ความขัดแย้งในสังคมไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่าง บุคคลกับบุคคลหรือระหว่างกลุ่มคนกับ กลุ่มคนเป็นของปกติที่เกิดโดยธรรมชาติและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การดำรงชีวิตในสังคม แม้ว่าจะสามารถขจัดความขัดแย้งลงได้บ้าง แต่มอสคาก็ไม่เห็นความจำเป็นท่ีต้องทำ เช่นนั้น เพราะความขัดแย้งเป็นสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ในการสร้างความก้าวหน้า ความเป็นระเบียบของสังคม และเสรีภาพทางการเมือง จึงเห็นได้ว่า แนวคิดเก่ียวกับความขัดแย้งของมอสคาแตกต่างไปจาก ความคิดเห็น ของมาร์กซ์ โดยท่ีมอสคามีทัศนะว่าการด้ินรนเพ่ือการมีชีวิตอยู่อาจพบในสังคมต่างๆ ซึ่งเป็นการดิ้นรน เพ่ือการยังชีพในเบื้องต้น แต่เม่ือการด้ินรนในระดับนน้ั บรรลุผลแล้วคนกจ็ ะหนั ไปสูค่ วามขัดแย้ง เพ่ือท่ีจะเด่น กว่าคนอื่นมากกว่าเพ่ือการมีชีวิตอยู่ ดังนั้นมนุษย์จึงด้ินรนเพ่ืออำนาจ บุคคลทั้งหลายจึงแสวงหาทาง ที่จะเป็นสมาชิกหรือเป็นส่วนหน่ึงของชนชั้นปกครอง เพราะชนชั้น ปกครองเป็นผู้ที่มีอำนาจ เป็นผู้ตัดสินใจ และควบคุมโชคชะตาของสังคม มอสคาไม่เห็นด้วยกับ แนวคิดของมาร์กซ์ ท่ีว่าเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดสาเหตุ แหง่ ความขดั แยง้ แต่เพยี งอย่างเดียว มอสคา เช่ือว่าความขัดแย้งท่ีสำคัญที่สดุ ในสงั คม คือความขัดแย้งเกีย่ วกับ อำนาจ ความขัดแย้งเกิดข้ึน ระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มก็เพ่ือต้องการเป็นสมาชิกของชนช้ันปกครอง ซึ่งชนชั้นปกครอง ก็คือ กลุ่มของคนที่มีอำนาจ ความขัดแย้งตามทัศนะของศาสตร์สาขาต่างๆ แนวคิดทาง จติ วิทยา เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์๑๖ ได้อธิบายความหมายของความขัดแย้งแนวคิด ทางจิตวิทยา ว่าหมายถึง สถานการณ์ท่ีบุคคลถูกกระตุ้นให้เกี่ยวข้องในกิจกรรมสองอย่างหรือ มากกว่าสองอย่าง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่แยก จากกนั โดยเดด็ ขาด ความขดั แย้งอาจเกิดขึ้นได้ในหลายระดบั ๑. ระดบั ทีพ่ ฤตกิ รรมปรากฏชดั เชน่ คนถกู กระต้นุ หรอื ถกู ย่ัวยใุ หร้ ับหรอื ใหห้ นจี ากของห้ามบางอย่าง ๒. ระดับคำพดู เช่น คนต้องการทีจ่ ะพดู ความจรงิ แตก่ ลวั ที่จะทำให้คนอนื่ ขุน่ เคือง ๓. ระดบั สญั ลกั ษณ์ เช่น คนๆ เดียวอาจมคี วามคดิ หลายๆ อยา่ งต่อสง่ิ เดียวกนั แตค่ วามคดิ เหล่านนั้ ไม่ สอดคล้องกนั ๔. ระดบั อารมณ์ เช่น การตอบสนองภายในร่างกายเกย่ี วกับความกลัวกับการยอ่ ยอาหาร เป็นสิ่งทไ่ี ป ดว้ ยกนั ไม่ได้ซ่ึงเปน็ ความขัดแย้งทางอารมณ์ แนวคิดทางสังคมวิทยา ความขัดแย้งทางสงั คมวทิ ยา เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์๑๗ หมายถึง การดิ้นรน เพ่ือจะได้ของที่มีคุณค่า หรือเพื่อการอ้างสิทธิในฐานะ อำนาจ และทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยกลุ่มที่ขัดแย้งกันมิได้มีจุดมุ่งหมายเพียงจะได้สิ่งที่มีคุณค่า ซ่ึงตนปรารถนา แต่ยังต้องการให้พ้นระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่ม ความขัดแย้ง ภายในกลมุ่ และความขัดแย้ง ระหวา่ งกลุ่มเป็นส่งิ ทีป่ รากให้เห็นได้ตลอดของชีวิตในสงั คม ความขัดแย้งอาจเกิด จากการกระจายหรือการแบ่งปันสิ่งท่ีมีคุณค่าหรือสินค้าที่มีอยู่อย่าง จำกัด เช่น รายได้ ผลตอบแทน ฐานะ ตำแหน่ง อำนาจ สิทธกิ ารครอบครอง หรอื สถานที่ เสรมิ ศักดิ์ วิศาลาภรณ์๑๘ เห็นวา่ ความขัดแย้งเป็นผล มาจากการแข่งขันระหว่างฝ่ายต่างๆ อย่างน้อย สองฝ่าย ฝ่ายต่างๆ ในที่นี้อาจเป็นบุคคล ครอบครัว เช้ือชาติ ชุมชน หรืออาจเป็นกลุ่มของแนวคิด องค์กรทาง ๑๕ Weber (n.d.) อ้างถงึ ใน เสริมศกั ด์ิ วิศาลาภรณ์, ความขดั แย้งการบรหิ ารเพ่อื ความสร้างสรรค์, (กรงุ เทพมหานคร : เลฟิ แอนด์ ลิพเพรส, ๒๕๔๐), หน้า ๓๓. ๑๖ อา้ งแล้ว เรอ่ื งเดยี วกนั , ๒๕๔๐ หน้า ๓๘. ๑๗ อ้างแลว้ เร่อื งเดยี วกนั , ๒๕๔๐ หนา้ ๔๒. ๑๘ อ้างแล้ว เรือ่ งเดยี วกนั , ๒๕๔๐ หนา้ ๒๙.

พุทธสันตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๑๒ การเมือง เผ่าชน หรือศาสนา ความขัดแย้ง อาจเกิดจากความปรารถนาหรือเป้าหมายท่ีไปได้ด้วยกันไม่ได้ สาเหตุอยา่ งหน่ึงของความขดั แยง้ ก็คอื พฤติกรรมก้าวร้าว นักมานุษยวทิ ยาสว่ นใหญ่ยืนยันว่า ความขดั แยง้ นั้น ส่วนหน่ึงเป็นผลของ วัฒนธรรม การไม่มีความขัดแยง้ การมีความร่วมมือ และการกระทำท่ีประสานงานกนั มัก ถูกใช้เป็น ดัชนีวัดความม่ันคงทางสังคม ความขัดแย้งเป็นผลที่ตามมาของระบบสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในทางมานุษยวิทยานั้น ความขัดแย้งตรงกันข้ามกับความกลมเกลียว แต่ความขัดแย้ง เป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ ง่ายกว่าความกลมเกลียว ความขัดแย้งกับการเปล่ียนแปลงเป็นสิ่งท่ีหลีกเล่ียง ไม่ได้และเป็นองค์ประกอบ ท่สี ำคัญของกระบวนการทางสงั คม เน่ืองจากระบบสังคมมีความ ขัดแย้งในหลายรปู แบบสังคมจึงถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ทีต่ รงกนั ข้าม หรืออยู่คนละฝ่าย ความขัดแย้งจึงมีผลต่อความสัมพันธ์ของคู่ขัดแย้ง ความขัดแย้งเป็นผลมาจาก การมีความรู้สึกเข้าข้าง ตนเองมากกว่าเข้าข้างฝ่ายอ่ืนความขัดแย้งทำให้เกิดความกลมเกลียว และความกลม เกลียวกท็ ำให้ เกิดความขัดแย้งได้เช่นกัน ความขัดแย้งนำไปสู่การบริหารงานแบบรวมอำนาจ เป็นต้น มุมมอง ต่อความขัดแยง้ เพอ่ื ให้เกดิ ความเข้าใจเก่ียวกบั เร่ืองความขดั แย้งมากยิ่งข้ึน ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี๑๙ ได้นำเสนอแนวคิดที่เก่ียวข้องกับเร่ืองความขัดแย้งท่ีสำคัญ ๓ แนวคิดด้วยกัน ไดแ้ ก่ ๑. มุมมองแบบด้งั เดมิ (The Traditional View) ซ่ึงมองวา่ ความขัดแย้งเป็นสิง่ ทต่ี อ้ งหลีกเลีย่ ง ๒. มุมมองแบบมนุษยสัมพันธ์ (The Human Relation View) ซึ่งมองว่าความขัดแย้งเป็นเรื่อง ธรรมชาติและยากที่จะหลีกเล่ียง แต่ก็ไม่เป็นเร่ืองที่เลวร้ายเสมอไปเพราะสามารถท่ีจะบังคับ และกำหนด แนวทางในการแสดงออกของกลุ่ม ๓. มุมมองแบบร่วมสมัย (The Integrationist View) ซ่ึงมองว่าความขัดแย้งน้ันนอกจาก จะเป็นตัว บังคับท่ีมีผลดีในกลุ่มแล้ว ยังมีความสำคัญอย่างมากสำหรับกลุ่มในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพวงกลม ของความขัดแย้ง เคร่อื งมอื ทใ่ี ชว้ ิเคราะหค์ วามขัดแย้งท่ีแบง่ ชนดิ ของความขดั แย้งออกเปน็ ๕ ชนดิ ๑. ความขัดแยง้ ด้านขอ้ มลู (Data Conflict) เป็นปัญหาพ้ืนฐานของความขัดแย้ง อาจจะจากข้อมูลน้อยไป การแปรผลผิดพลาด การวิเคราะห์ ออกมาด้วยความเห็นต่าง หรือแม้แต่ข้อมูลมากเกินไปบางคร้ังก็เป็นปัญหาความแตกต่าง ในการรับรู้ข้อมูล (Perception) บางคร้งั กเ็ ป็นปัญหาขดั แย้งกนั ได้ ๒. ความขัดแยง้ จากผลประโยชน์ (Interest Conflict) เป็นเหตุผลแห่งการแย่งชิงผลประโยชน์ในสิ่ง ท่ีดูเหมือนมีหรือมีไม่เพียงพอเป็นเรื่องของ ตัวเน้ือหา กระบวนการ และจติ วิทยา (เชน่ ยตุ ธิ รรมไหม) ๓. ความขดั แยง้ ดา้ นโครงสรา้ ง (Structural Conflict) เป็นเร่ืองของอำนาจ แย่งชิงอำนาจ การใช้อำนาจ การกระจายอำนาจ ปัญหาโครงสร้าง รวมไปถึง กฎ ระเบยี บ บทบาท ภมู ิศาสตร์ ระยะเวลาและระบบ ๔. ความขัดแย้งดา้ นความสมั พันธ์ (Relationship Conflict) เป็นปญั หาด้านบคุ ลกิ ภาพ พฤติกรรมต่างๆ ในอดีต อารมณ์ท่ีรุนแรง ความเขา้ ใจผิด และการสอ่ื สารท่ี บกพร่อง ๕. ความขัดแย้งดา้ นค่านยิ ม (Values Conflict) ๑๙ ชยั เสฏฐ์ พรหมศรี, การจดั การความขัดแย้งในองค์กร, (กรงุ เทพมหานคร : ออฟเซท็ ศรเี อชนั่ , ๒๕๕๐), หนา้ ๑๓.

พุทธสันติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๑๓ เป็นปัญหาระบบของความเชื่อ ความแตกต่างในค่านิยมขนบประเพณี ประวัติ การเล้ียงดู ท่ีหล่อ หลอมเขาขึ้นมา การแยกแยะความขัดแย้งออกไปแต่ละชนิดชว่ ยให้เห็นความชัดเจนของความขัดแย้งวา่ มีองค์ประกอบ อะไร เพ่ือนำไปสู่การแก้ไขให้ถูกต้อง แต่ไม่ได้หมายความว่าความขัดแย้งต่างๆ จะมีเพาะชนิดใดชนิดหน่ึง แตจ่ รงิ ๆ แล้วจะผสมผสานกนั อยเู่ กอื บทุกชนิดหรอื มีทกุ ชนิดในเรอื่ ง เดียวกัน แต่แตกตา่ งกนั ในความรนุ แรง ๑.๔ ระดับความขัดแยง้ Don Hellriegel and John W. Slocum Jr๒๐ เสนอว่าความขัดแย้งน้นั อาจจะมองในระดับต่างๆดังน้ี ๑. ความขัดแย้งภายในตัวบุคคล ๒. ความขดั แย้งระหว่างบคุ คล ๓. ความขดั แยง้ ระหวา่ งบุคคลในกลุ่ม ๔. ความขดั แยง้ ระหวา่ งกลุ่ม ๕. ความขัดแย้งในองค์กร March and Simon๒๑ได้แบง่ ระดบั ความขดั แย้งออกเป็น ๓ ระดับ ๑. ความขัดแย้งของบคุ คล ๒. ความขัดแย้งในองคก์ ร เป็นความขัดแย้งในตัวบุคคลหรอื กลมุ่ ภายในองค์กร ๓. ความขัดแยง้ ระหวา่ งองค์กร เปน็ ความขดั แย้งระหวา่ งองคก์ ารหรือกลมุ่ ตา่ งๆ ระดับของความขัดแย้งท่ี Don Hellriegel and John W. Slocum Jr. และ March and Simon มคี วามคลา้ ยคลงึ กนั มาก ซึง่ เราสามารถแบง่ ความขัดแยง้ น้ไี ด้เปน็ ๒ ระดับ คอื ๑.ความขดั แยง้ ในระดับบุคคล แบง่ เป็น ๑.๑ ความขัดแย้งภายในตัวบุคคล (Internal Conflict) หมายถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ภายในตวั ของคนๆหนึ่งไม่เกยี่ วขอ้ งกับบุคคลอ่นื หรือเรยี กไดว้ า่ ”ความขัดแยง้ ในตัวเอง” ๑.๒ ความขัดแย้งระหว่างบุคคล (Interpersonal Conflict) หมายถึงความขัดแย้งที่เกิดข้ึน ระหวา่ งบคุ คลมากกว่า ๒ บคุ คลขนึ้ ไป ๒. ความขดั แย้งระหว่างองคก์ ร แบ่งเป็น ๒.๑ ความขัดแย้งภายในองคก์ ร (Intra-organization Conflict) หมายถงึ ความขัดแย้งท่เี กิด ขึน้ มาโดยมีคู่กรณีขดั แย้งเปน็ บุคคลหรอื กลุ่มย่อยๆ ทม่ี ีอยู่ในกลุ่มหรอื ที่อยูใ่ นองค์การหรือกลมุ่ ต่างๆ ๒.๒ ความขัดแย้งระหว่างองค์กร (Inter-organization Conflict ) หมายถึงความขัดแย้ง ทเี่ กิดขน้ึ มาโดยท่ีค่กู รณขี ัดแย้งเปน็ องค์กรกบั องคก์ ร หรือกลมุ่ กับกลุม่ ๒๐ Don Hellriegel and John W. Slocum Jr., Hellriegel. Organizational Behavior. New York : West Publishing. 1970 pp. 41-55. ๒๑ March, JG and Herbert A. Simon. Organization. New York : John Wiley & Sons. (1958).

พทุ ธสนั ตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๑๔ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีความเข้าใจผิดของผู้บริหารในเรื่องความขัดแย้งท่ีอาจนำไปสู่ปัญหาและ อปุ สรรคในการบริหารความขัดแยง้ ดงั มผี ้ใู ห้ความเหน็ ดังน้ี๒๒ ประการท่ี ๑ ถา้ ปล่อยความขัดแย้งไว้ ไม่ช้าความขดั แย้งก็จะจัดการตวั เอง (Conflict, if left alone, will take care of itself) ซึ่งผู้บริหารบางคนเช่ือว่าการไม่เข้าไปจัดการกับความขัดแย้ง คือการแก้ปัญหาอย่างดีท่ีสุด เพราะเวลาท่ีผ่านไปความขัดแย้งก็จะค่อยๆ ลดลงและหายไป ซึ่งเป็นความเชื่อ ที่ผิด เพราะความขัดแย้งท่ีไม่ได้รับการจัดการ จะยังมีอยู่และรอวันประทุย่ิงข้ึน เนื่องจากการความสะสม ความรู้สกึ ท่ไี มพ่ ึงพอใจทีน่ ับวนั ก็จะมมี ากขึ้น จนระเบดิ ออกมาในท่ีสุด ประการท่ี ๒ การเผชิญหน้ากับบุคคลหรือเร่ืองราวที่เกิดข้ึนเป็นสิ่งท่ีควรหลีกเล่ียง (Confronting an issue or person is always unpleasant) โดยมีคำกล่าวว่า “ยอมตายเสียดีกว่าที่จะต้อง เผชิญหน้ากับคนบางคน ”จึงมีบางคนท่ีกลัวการเผชิญหน้า แต่ในความเป็นจริงแล้วการเผชิญหน้า คือการ สือ่ สารให้อีกฝ่ายหน่ึงทราบถึงความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด เพ่ือให้มองเห็นทางออกและข้อเสนอแนะในการ แกป้ ญั หา ประการท่ี ๓ ความขัดแย้งที่มีอยู่ในองค์กรเป็นสัญญาณของผู้บริหารที่ไร้ความสามารถ (The presence of conflict in an organization is a sign of a poor manager) โด ย แ ท้ จ ริ ง แ ล้ ว ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ได้หมายความว่าผู้บริหารไร้ความสามารถ แต่จะทำอย่างไรท่ีผู้บริหารจะสามารถ จัดการกบั ความขดั แย้งอย่างสรา้ งสรรคใ์ หไ้ ด้ ประการที่ ๔ ความขัดแย้งระหว่างบุคลากรในองค์กรเป็นสัญญาณของความไม่เอาใจใส่ ต่อองค์กร (Conflict among staff is a sign of low concern for the organization) ซ่ึงอีกด้านหนึ่ง ความขัดแย้งแสดงให้เห็นถึงความห่วงใยขององค์กร ที่อาจเกิดขึ้นเพราะต้องการนำเสนอสิ่งท่ีดีท่ีสุดแก่องค์กร โดยทบ่ี างครง้ั อาจมคี วามคดิ เห็นของฝา่ ยต่างๆ ไมเ่ หมือนกนั ประการท่ี ๕ ความโกรธเป็นสิ่งท่ีไม่สร้างสรรค์และไม่ดีเสมอ (Anger is always negative and destructive) ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว ความโกรธของบุคลากรท่ีเกิดมาจากความขัดแย้ง จะเป็นโอกาสให้ ผบู้ ริหารส่ือสารกับอีกฝา่ ยหนึ่งเพอื่ ให้เขา้ ใจถึงความรูส้ ึกนึกคดิ ของเขา และนำไปสู่ทางออกของปญั หาในท่ีสุด เราจึงควรสามารถวิเคราะห์ความขดั แย้งและท่ีสำคัญท่ีจะชว่ ยให้ผู้บริหารเขา้ ใจความขัดแย้งไดช้ ัดเจน มากขึ้น และสามารถบริหารจัดการความขัดแย้งดังกลา่ วเพ่ือให้นำไปสแู่ นวทางที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ Robin (1998 p.437)๒๓ อ้างจากชัยเสฎฐ์ พรหมศรี,๒๕๕๐ ได้อธิบายกระบวนการวิเคราะห์ความขัดแย้ง ซึ่งแบง่ ออกเป็น ๕ ขัน้ ดังนี้ ๑.ความไม่เท่าเทียมกัน (Potential Opposition or incompatibility) เป็นข้ันตอนแรกที่จะทำให้ เกิดความขัดแย้ง ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสาร โครงสร้างและปัจจัยส่วนบุคคล ในองค์กร ได้แก่ กระบวนการรับรู้และเข้าใจ (Cognition and Personalization) จากความไม่เท่าเทียมกัน จะมีผลกระทบต่อ ฝา่ ยใดฝ่ายหนึ่ง ที่ทำใหแ้ ตล่ ะฝ่ายมีการรับรู้และเข้าใจในความขัดแย้งนั้นๆ ทมี่ ีผลตอ่ อารมณ์ความรู้สกึ ของฝา่ ย ใดฝ่ายหน่ึง เช่น ความรสู้ ึกลบจะนำไปสู่การลดความไว้วางใจท่ีมตี อ่ อีกฝ่ายหนึง่ ๒๒ ชยั เสฎฐ์ พรหมศรี,การจัดการความขัดแยง้ ในองค์กร, (กรุงเทพมหานคร : ออฟเซ็ท ศรเี อช่นั , ๒๕๕๐), หนา้ ๒๗-๓๐. ๒๓ Robin (1998 p.437) อา้ งใน ชัยเสฎฐ์ พรหมศร,ี การจดั การความขดั แยง้ ในองคก์ ร, (กรุงเทพมหานคร: ออฟ เซท็ ศรเี อชน่ั , ๒๕๕๐), หนา้ ๒๗-๓๐.

พุทธสนั ติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๑๕ ๒. แต่ถ้าในขณะที่ความรู้สึกทางบวกจะนำไปสู่ความพึงพอใจและพัฒนาแนวทางในการแก้ปัญหา อยา่ งเหมาะสม ๓. เจตนา (Intention) คือ ความต้องการในการตัดสินใจท่ีจะกระทำบางส่ิงบางอย่าง เมื่อมี ความขัดแย้งเกิดขึ้น โดยที่ผู้บริหารต้องทราบถงึ วตั ถปุ ระสงค์ของอีกฝ่ายหนึ่งท่จี ะสอ่ื สารกันอยา่ งเหมาะสม ๔. พฤติกรรม (Behavior) เป็นความพยายามท่ีจะเปิดเผยว่าแต่ละฝ่ายต้องการอะไรอย่างไรบ้าง ซึ่งจะมีระดับความรุนแรงแตกต่างกัน เช่น การท้าทายฝ่ายตรงกันข้าม การใช้คำพูดที่ก้าวร้าว การข่มขู่ย่ืนคำ ขาด การทำรา้ ยร่างกาย และความพยายามทีจ่ ะทำลายฝา่ ยตรงกันข้ามอยา่ งชัดเจน ๕. ผลทจ่ี ะเกิดขน้ึ (Outcomes) หากความขัดแย้งยังอยูใ่ นระดบั ท่ีเหมาะสมก็จะมปี ระโยชนต์ อ่ องคก์ ร ในการพัฒนาและคดิ คน้ สง่ิ ใหมๆ่ และนำไปส่กู ารใช้เทคนคิ ในการจัดการความขดั แยง้ อย่างเหมาะสม ผู้บรหิ ารจงึ ตอ้ งมบี รหิ ารความขดั แยง้ ท่ีเป็นกระบวนการและเทคนิควธิ ดี งั ต่อไปนค้ี ือ ๑.การเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง (Confront with the conflict) ซ่งึ เป็นหน้าท่ีของผู้บริหาร ท่จี ะต้องกล้าเผชิญกับปญั หาและหาวิธกี ารจดั การกับความขดั แย้งใหเ้ ปน็ ไปในทิศทางท่ีเหมาะสม โดยพยายาม ลดอคตสิ ว่ นตวั ลง การนำแนวคดิ เชงิ บูรณาการมาใชใ้ นการหาทางออกให้แกต่ นเองและอกี ฝ่ายหนึ่ง ๒.ทำความเข้าใจสถานภาพของแต่ละฝ่าย (Understand each other’s position) เช่น การหาสาเหตุที่แท้จริงของความขัดแย้ง การศึกษาอารมณ์ความรู้สึกของแต่ละฝ่าย โดยผู้บริหารต้องพยายาม ช้ีให้เห็นว่าถ้าแต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ความขัดแย้งก็จะไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้ เลย ๓.ระบุปัญหา (Identify the problem) โดยท่ีแต่ละฝ่ายต้องสร้างความชัดเจนของปัญหา ร่วมกัน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยากมากที่สุด เน่ืองจากโอกาสท่ีแต่ละฝ่ายมุ่งเอาชนะกันและกันจะมีอยู่สูง เพื่อให้บรรลุความต้องการของตน ซ่ึงทำให้เกิดการแพ้-ชนะ กันขึ้นและนำไปสู่ความขัดแยง้ มากย่ิงขึน้ ผู้บริหาร จำเป็นต้องตระหนักในการใช้หลักมนุษยสัมพันธ์มาใช้เพื่อให้ท้ังสองฝ่าย ร่วมกันแก้ปัญหา ให้ความเคารพ ต่อตนเองและฝา่ ยตรงกนั ข้าม ตลอดจนใหแ้ ต่ละฝา่ ยรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน ๔.แสวงหาทางเลือกและประเมินทางเลือก (Search for appropriate alternatives and evaluation) โดยให้ทั้งสองฝ่ายหาแนวทางอย่างหลากหลายเพื่อการแก้ปัญหา โดยทางเลือกดังกล่าวจะต้อง ได้รับการยินยอมและเป็นทพี่ อใจกนั ท้ังสองฝ่าย เพ่ือใหท้ ุกฝ่ายไดร้ บั ชยั ชนะ ๕.สรุปแนวทางและนำทางเลือกท่ีเหมาะสมไปใช้ (Conclusion and implement the appropriate alternatives) โดยท่ีให้แต่ละฝ่ายทำสัญญาท่ีระบุอย่างชัดเจนถึงสิ่งที่จะได้รับ ที่ให้บุคคลอ่ืน รับรู้ในข้อตกลงน้ันๆ แล้วให้แต่ละฝ่ายนำข้อตกลงไปปฏิบัติ เพื่อตรวจสอบว่าเป็นไปตามที่ได้ระบุไว้หรือไม่ ซ่ึงอาจมีการแก้ไขเพ่ิมเติม การเจรจากันใหม่และร่วมกันแก้ปัญหาใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพ่ือปรับปรุงทางเลือก และขอ้ ตกลงเพ่ือใหเ้ ปน็ ทีพ่ งึ พอใจกบั ทุกฝ่าย โดยสามารถกลบั ไปสู่ข้ันท่ี ๔ ไดอ้ ีก จึงไดม้ นี กั วิชาการศกึ ษาเร่ืองวธิ กี ารหรือเทคนิคท่ีจะจัดการหรือบรหิ ารความขัดแย้งในองค์กรเพอื่ หา แนวทางแก้ไขและหาเหตุผล สรุปเป็นวธิ กี ารทีส่ ำคัญๆ ดงั น้ี๒๔ วิธีแพ้-แพ้ (Lose-Lose) เป็นเทคนิคการจัดการความขัดแย้งด้วยการหลีกเล่ียงปัญ หา การประนีประนอม แต่จะทำให้ท้ัง ๒ ฝ่ายไม่ได้รับผลตามท่ีต้องการ ซ่ึงผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงสถานการณ์ ทเ่ี หมาะสมเพราะไมเ่ ช่นนน้ั ปัญหาความขัดแย้งกจ็ ะคงอยู่และจะนำไปสู่ความขัดแย้งมากขน้ึ ๒๔ ชยั เสฎฐ์ พรหมศรี, การจัดการความขดั แยง้ ในองคก์ ร, (กรุงเทพมหานคร : ออฟเซท็ ศรีเอชน่ั , ๒๕๕๐), หนา้ ๔๑-๔๒, ๕๙-๖๗.

พทุ ธสันตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๑๖ วิธี แพ้-ชนะ หรือ ชนะ-แพ้ (Lose-win or Win-Lose) เป็นเทคนิคการจัดการที่จะนำไปสผู่ ลที่เกิดข้ึน โดยมีฝ่ายหน่ึงฝ่ายใดเป็นผู้ชนะและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้แพ้ ซ่ึงไม่เกิดผลดีใดๆ เลย เพราะจะทำให้ความขัดแย้ง อาจหมดไปชว่ั ระยะหน่งึ แตอ่ าจกลับมคี วามรุนแรงมากขึน้ วิธีชนะ-ชนะ (Win- Win) เป็นเทคนิคในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่จะนำไปสู่ผลท่ีพึงพอใจท้ังสอง ฝ่าย ซ่ึงจะนำไปสู่ความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรในองค์กร โดยท่ีผู้บริหารจะต้องมุ่งให้ทุกฝ่ายตระหนักว่า อะไรคือสง่ิ ทต่ี อ้ งแกไ้ ข โดยพิจารณาเหตขุ องความขดั แย้งและหาวิธีการจัดการกับความขดั แย้งทเ่ี หมาะสม นอกจากนี้ ย่ิงมีการเสนอเทคนิคการจัดการกับความขดั แย้งแบบ “CONFLICT”ท่ีเก่ียวขอ้ งกบั พฤติกรรม ของผ้บู รหิ ารโดยตรง ดังน้ี ๑. Control โดยท่ีผู้บริหารต้องมีความสามารถในการควบคุมตนเอง (Self-control) โดยเฉพาะ อารมณข์ องผูบ้ ริหารเอง ทีค่ วรหลกี เลย่ี งการใช้คำพดู ท่รี ุนแรง ซ่ึงทำใหเ้ กิดความเจบ็ ปวดกับผู้ใตบ้ งั คบั บญั ชาได้ ๒. Optimist/Openness โดยผู้บริหารจะต้องมองโลกในแง่ดีและเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็น ของผใู้ ตบ้ ังคับบญั ชา ซึง่ จะช่วยใหเ้ ขาลดความวติ กกงั วลและความเครียดท่เี กิดจากความไมเ่ ท่าเทยี มกัน ๓. Negotiation การเจรจาต่อรอง ซ่ึงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยผบู้ รหิ ารควรยดึ หลกั Win- Win Approach ตามท่ีได้กล่าวไปแลว้ ๔. Fairness เป็นความยุติธรรมของผู้บริหาร ท่ีมีความสำคัญย่ิงในการบริหารงานบุคคล ซ่ึงต้องยึด หลักความเสมอภาคและความยุติธรรมใหเ้ กิดข้ึน โดยท่ผี ู้บริหารเองจะต้องเปน็ แบบอยา่ งให้กับผู้อ่ืนตอ้ งทำตาม ๕. Love โดยผู้บริหารจะเป็นผู้ท่ีมีความรัก ความจริงใจและความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ความรักถือว่าเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ท่ีสุดในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะจะทำให้สามารถมอบสิ่งที่ดีๆ ให้กับผู้อ่ืน รอบข้าง ๖. Individual/Identity เป็นการเข้าใจและตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่าง ย่ิงในการเจรจาต่อรองที่แต่ละฝ่ายต่างก็มีความแตกต่างกัน โดยจะต้องเคารพในความแตกต่างและศักด์ิศรี ในความเปน็ มนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ๗. Communication โดยผู้บริหารจะต้องเรียนรู้ในการส่ือสารอย่างมีประสิทธิภาพและให้สอดคล้อง กับผู้ท่ีมาจากพ้ืนฐานท่ีแตกต่างกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งเกิดข้ึนและหาแนวทางในการแก้ปัญหา หากมีความขัดแย้งเกิดข้ึน ในขณะเดียวกันอาจมีการใช้คนกลาง (Third party) หรือผู้ไกล่เกลี่ย (Mediator) เพื่อช่วยในการสื่อสาร ซ่งึ ข้ึนอย่กู บั สถานการณ์ของความขัดแย้งนั้นๆ ๘. Togetherness เป็นส่ิงท่ีผู้บริหารจะต้องพยายามเตือนสติตนเองอยู่เสมอว่า ไม่สามารถทำงาน คนเดียวได้ ซึ่งต้องอาศัยการร่วมมือร่วมใจในการทำงานจากผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน จึงต้องให้ความสำคัญ ให้เกียรติและเคารพในคุณค่าของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งจะทำให้สามารถครองใจผู้ใต้บังคับบัญชาได้ และไดร้ ับความรว่ มมอื ในการทำงานอยา่ งยั่งยนื ยงั มวี ิธีการจัดการความขัดแย้งในรูปแบบการรับมือกบั ความขัดแย้งที่เกดิ ขึ้น สามารถสรปุ สาระสำคัญ ดงั นี้ ๑.แบบร่วมมือร่วมใจ (Collaborating) เป็นการแก้ไขความขัดแย้งท่ีต้องให้มีการร่วมมือร่วมใจ ของกลุ่มคนท่ีเห็นไม่ตรงกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายได้สื่อสารถึงปัญหาและ ความต้องการของตน โดยจะรักษา ผลประโยชน์ของท้ังฝ่าย ซ่ึงมักจะใช้เมื่อทั้งสองฝ่ายมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก และพร้อมที่จะให้ความเช่ือ ใจและกัน เช่น ความขดั แยง้ ของสามี ภรรยา เป็นตน้ ๒. แบบเอ้ืออำนวย (Accommodating) เป็นเทคนิคท่ีมักจะใช้เมื่อมีปัญ หาความขัดแย้ง ในสถานการณ์ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเกิดความพึงพอใจได้ท้ังสองฝ่าย หรือเม่ืออีกฝ่ายหนึ่งที่มีความรู้สึก

พุทธสนั ตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๑๗ รุนแรงในขณะท่ีอีกฝา่ ยหนึ่งรู้สกึ เฉยๆ หรือในสถานการณ์ของการที่ฝ่ายใดฝ่ายหน่ึงค้นพบว่าตนเองเป็นฝ่ายผิด ในประเด็นที่ถกเถียงกัน หรือเมื่อต่อสู้กันไปจนถึงท่ีสุด เมื่อไม่มีฝ่ายหน่ึงฝ่ายใดเอาชนะกันได้เลย โดยไม่เน้น การรกั ษาผลประโยชนแ์ ตจ่ ะใหค้ วามรว่ มมอื ๓.แบบบังคับ (Forcing) เป็นเทคนิคของการใช้อำนาจและความก้าวร้าวเพ่ือให้บรรลุตามเป้าหมาย อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ ควรใช้เม่ือรู้วา่ การตดั สินใจนั้นถูกตอ้ ง และเมอื่ ต้องการความรวดเรว็ ในการตดั สินใจ ๔. แบบหลีกเลี่ยงปัญหา (Avoiding) เป็นวิธีการท่ีพยายามหลีกเล่ียงปัญหา โดยไม่คำนึงถึง ความตอ้ งการของตนเองและผู้อ่ืน เชน่ การถอนตัว การหลบเลยี่ งไมพ่ ูดถงึ ความขดั แยง้ ดงั กล่าว ๕.แบบประนีประนอม (Compromising) เป็นการพบกันครึ่งทางระหว่างความต้องการทั้งสองฝ่าย มกั จะใชเ้ ม่อื ไมส่ ามารถร่วมมือกนั เพื่อใหเ้ กิดความพึงพอใจของทั้งสองฝา่ ยได้ จะเห็นได้ว่าการบริหารความขัดแย้งเป็นเรื่องภารกิจของผู้บริหารโดยตรง ที่จะต้องทำความเข้าใจ และหาวิธีการเพื่อให้ความขัดแย้งได้รับการจัดการก่อนที่จะลุกลามใหญ่โตและสายเกินแก้ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีวิธีการอื่นๆ ท่ีจะดำเนินการเพ่ือให้ความขัดแย้งน้ัน ดังน้ันจึงต้องจัดการอย่างเหมาะสม และมีประสิทธภิ าพ ซงึ่ ไดแ้ ก่ การเจรจาไกล่เกล่ีย การเจรจาตอ่ รองแบบสันติวิธีและสุนทรียสนทนา ซึ่งสามารถ นำไปส่กู ารแก้ไข ๑.๕ พฒั นาการของความขดั แยง้ ๑. ความขัดแย้งแฝง (Latent Conflicts) ระยะน้ีเป็นข้อพิพาทท่ีมีลักษณะของความมึนตึง ท่ีซ่อนตัว อยู่ ยังไม่พัฒนาเต็มท่ีและยังไม่ขยายตัวจนเกิดการแบ่งข้ัวกันของผู้ท่ีขัดแยง้ บ่อยคร้งั ท่ีฝา่ ยหนึ่งหรอื หลายฝ่าย อาจจะยังไม่ตระหนักว่ามีความขัดแย้งหรอื ตระหนักถึงความขัดแยง้ ท่ีอาจจะ มีโอกาสเกิดข้ึน ตัวอย่างเช่น เร่ิม มีความสัมพนั ธท์ ่ีเปลี่ยนแปลงไป ๒. ความขัดแย้งกำลังเกิด (Emerging Conflicts) มีความขัดแย้งเกิดข้ึนท่ีฝ่ายต่างๆ สามารถระบุ ออกมาได้ เขารับรู้ว่ามีข้อพิพาทเกิดข้ึนประเด็นต่างๆ ดูจะชัดเจน แต่ยังไม่มีการเจรจา ไกล่เกลี่ยหรือ กระบวนการแก้ปญั หาทีน่ ่าจะดำเนินไปได้เกิดขน้ึ ๓. ความขัดแย้งที่ปรากฏออกมาแล้ว (Manifest Conflicts) เป็นระยะท่ีความขัดแย้ง พัฒนาไปเป็น ข้อพิพาทซ่ึงฝ่ายต่างๆ ได้มีบทบาทอย่างเอาเป็นเอาตายในเรื่องที่ดำเนินอยู่ อาจจะเริ่ม มีการเจรจาไกล่เกล่ีย หรืออาจจะถึงทางตนั แลว้ กไ็ ด้ ส่วนผสมของความขัดแย้ง เว็บไซต์ท่ีเก่ียวข้องกับการจัดการความขัดแย้งของมหาวิทยาลัยเปอร์ดู ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวว่า ส่วนประสมที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งมีด้วยกัน ๕ ประการ ได้แก่ ความต้องการ การรับรู้อำนาจ ค่านยิ ม และความรสู้ กึ และอารมณ์ ชัยเสฐ์ พรหมศรี๒๕ อธิบายได้ดงั น้ี ๑. ความต้องการ (Needs) ความต้องการเป็นส่ิงที่สำคัญสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทุกคน ล้วนเกิดมามคี วามต้องการด้วยกันทั้งส้ิน แต่ความต้องการของแต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกันตามสภาพภูมิ หลังหรือสถานะความเป็นอยู่ การไม่ตระหนักถึงความต้องการของตนเอง บุคคลอื่น หรือกลุ่มน้ันเป็นสาเหตุ ทีน่ ำไปสู่ความขดั แย้งได้ทง้ั ส้ิน ๒๕ ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี, การจดั การความขัดแยง้ ในองค์กร, (กรงุ เทพมหานคร : ออฟเซท็ ศรเี อชนั่ , ๒๕๕๐), หนา้ ๑๑.

พุทธสนั ตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๑๘ ๒. การรับรู้ (Perceptions) เป็นเร่ืองปกตใิ นชวี ิตประจำวนั ของมนษุ ยท์ จ่ี ะมองเหน็ แตล่ ะสิ่งในมมุ มอง ที่แตกต่างกัน ซ่ึงความขัดแย้งจะเกิดขึ้นเน่ืองจากแต่ละคนแต่ละฝ่ายมีมุมมอง หรือการรับรู้ต่อสาเหตุ ของปัญหา และผลลัพธ์ของปัญหาที่แตกต่างกัน โดยมุมมองที่แตกต่างกัน ของแต่ละฝ่ายจะมาจาก ประสบการณ์ ภูมิหลังบุคลิกภาพ ระดับการศึกษา พื้นฐานของครอบครัวท่ี แตกต่างกัน ดังจะเห็นได้จาก ความขัดแย้งท่ีเกิดข้ึนในสังคมอันสืบเน่ืองมาจากมุมมองท่ีมีต่อความมี จริยธรรมของหัวหน้ารัฐบาลที่แตกต่าง กัน ๓. อำนาจ (Power) ขอบเขตอำนาจและการใช้อำนาจเป็นสิ่งสำคัญท่ีระบุถึงประเภทหรือจำนวน ของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพราะอำนาจเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าความขัดแย้งจะถูกจัดการอย่างไร ความขัดแย้ง จะถูกจัดการอย่างไร ความขัดแย้งสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อแต่ละฝ่ายพยายามท่ีจะทำให้ อีกฝ่ายเปลี่ยน การกระทำหรือพฤติกรรมตามท่ีตนเองต้องการ ซ่ึงถ้าฝ่ายหน่ึงฝ่ายใดมีอำนาจมากกว่า โอกาสที่จะได้รับ ประโยชน์จากอีกฝา่ ยก็มีสงู และสามารถควบคมุ ความขัดแย้งได้มากกวา่ ๔. คา่ นิยม (Values) ค่านยิ มคือ ความเช่อื หรือหลักเกณฑท์ ีเ่ ราพิจารณาวา่ เป็นส่งิ สำคัญ ความค่านิยม ไม่มีความชัดเจน ความขัดแย้งสามารถเกิดข้ึนได้เมื่อฝ่ายหน่ึงฝ่ายใดไม่ยอมรับค่านิยม หรือสิ่งที่ยึดปฏิบัติ ของอกี ฝ่ายหนึง่ ๕. ความรู้สึกและอารมณ์ (Feelings and Emotions) มีบุคคลจำนวนไม่น้อยปล่อยให้ ความรู้สึก และอารมณ์มีอิทธิพลเหนือตนในการรับมือกับความขัดแย้ง สาเหตุของความขัดแย้ง เกิดขึ้นเพราะบุคคลไม่ให้ ความสนใจต่อความรู้สึกและอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น จากแนวคิดท่กี ล่าวมาขา้ งต้นน้ันจะเห็นได้วา่ ตน้ ตอและสาเหตุของความขัดแย้งที่ เกิดข้ึนนั้น มสี าเหตุ มาจากผลประโยชน์ของแต่ละฝ่าย ตลอดจนการถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือปัญหา จากการใช้อำนาจทั้งท่ีชอบ และมิชอบ เป็นต้น ซ่ึงปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาความขัดแย้งต้ังแต่ ระดับบุคคลกับบุคคล บุคคลกับกลุ่มคน บุคคลกับหน่วยงานของรฐั หรอื ระหว่างหนว่ ยงานของรัฐ ด้วยกนั เอง ทำให้ความขดั แยง้ บางกรณีมีความรุนแรง จนทำให้ปัญหากลายเป็นความขัดแย้ง ท่ีรุนแรงและขยายวงกว้างก่อให้เกิดความสูญเสียอันใหญ่หลวง จนกอ่ ใหเ้ กิดความเสยี หายอย่างหลกี เล่ียงไมไ่ ด้ สรุปทา้ ยบท ความขัดแย้ง (conflict) เป็นส่ิงที่เกิดจากการท่ีบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายท่ีพ่ึงพาอาศัยกัน มองเห็น เป้าหมายอย่างไม่เท่าเทียมกัน และขัดขวางอีกฝ่ายหน่ึงไม่ให้บรรลุเป้าหมายน้ันๆ ความขัดแย้ง เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น เม่ือบุคคลหรือกลุ่มรับรู้ว่าผอู้ ื่นปฏิบัติอย่างใดอย่างหน่งึ ที่จะสร้างความไมเ่ ท่าเทียม กนั ในเร่ืองผลประโยชน์ของตน ความขดั แยง้ เป็นความเหน็ ท่เี ป็นปรปักษ์ตอ่ กัน ตรงกันขา้ มกัน หรอื การตอ่ สูก้ ัน ระหว่าง ๒ ฝ่ายทำให้เกิดความไม่ลงรอยกันความขัดแย้ง เป็นสถานการณ์ใดๆ ท่ีมีความไม่เท่าเทียมกัน ทางเป้าหมาย ความเชื่อ ทัศนคติ อารมณ์และพฤติกรรมที่นำไปสู่ ความไม่ลงรอยกันระหว่าง ๒ ฝ่ายขึ้นไป สำหรับผเู้ ขียนมีความเชื่อว่าความขดั แย้งเปน็ ธรรมชาติของมนษุ ย์ เนื่องจากมนุษย์มคี วามแตกตา่ งกนั ทงั้ ในด้าน พันธุกรรม การอบรมเลี้ยงดูและส่ิงแวดล้อม จึงทำให้มีความแตกต่างระหวา่ งบุคคล ซ่ึงได้แก่ รา่ งกาย อารมณ์ ความรสู้ ึกนึกคิด ความเชื่อ ค่านิยมแรงจูงใจ ความต้องการ ความถนัด สติปัญญา ความสามารถ ฯลฯ ทีเ่ รียก โดยรวมว่าเป็นบุคลิกภาพ โดยเฉพาะอย่างย่ิงเม่ือไหร่ก็ตามที่มนุษย์รู้สึกถึงความไม่เท่าเทียมกันหรือความไม่ เสมอภาคกัน ก็จะเกิดความไม่พอใจและขัดขวางไม่ให้อีกกลุ่มหน่ึงได้ในสิ่งที่ต้องการด้วย ก่อให้เกิดความไม่ลง รอยกัน นำไปสู่ผลกระทบต่างๆ ตามมา

พทุ ธสันตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๑๙ ความขัดแย้งหมายถึงพฤติกรรมชนิดหนึ่งท่ีเกิดขึ้นเม่ือบุคคลหรือกลุ่มมีความคิดเห็น การรับรู้ ความคาดหวังความเชอ่ื และคา่ นิยมท่แี ตกต่างกันไป ซ่ึงการจากบุคคล กล่มุ องคก์ ร เราจงึ สามารถแยกประเภท ของความขัดแย้งแบ่งเป็นได้หลายประเภทเช่น ความขัดแย้งของเอกบุคคลส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับบทบาทหนา้ ที่ โดยไม่รู้บทบาทหน้าท่ีแท้จรงิ ว่าควรทำอย่างไรเช่น หัวหน้างาน ที่มักประสบปัญหาน้ีเพราะผู้จัดการมักมองว่า หัวหน้างานเป็นคนงานแต่ฝ่ายลูกจ้างมองว่าหัวหน้างานเป็นฝ่ายหนึ่งของการจัดการ เป็นต้นหรือความขัดแย้ง ระหว่างบุคคลซึ่งมีความคิดเห็นต่างกัน ทั้งด้านบุคลิกภาพ เป้าหมาย วิธีการรวมท้ังสถานภาพ การรับรู้ และค่านิยม ในเรื่องความขัดแย้งระหว่างกลุ่มและองค์การอาจจะเป็นความขัดแย้งระหว่างองค์การหลัก และหนว่ ยงานสนับสนุนหรอื ระหว่างฝา่ ยผลิตกบั ฝ่ายขาย เป็นต้น

พทุ ธสันตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๒๐ คำถามท้ายบท

พทุ ธสนั ติวธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๒๑ เอกสารอ้างองิ ประจำบท ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี, การจดั การความขัดแยง้ ในองค์กร, กรุงเทพมหานคร : ออฟเซ็ท ศรีเอชั่น, ๒๕๕๐. พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร), รูปแบบการจัดการความขัดแย้ง โดยพทุ ธสันติวิธี : ศึกษาวิเคราะห์กรณลี ุ่มนำ้ แม่ตาช้าง จ.เชียงใหม่, (ดษุ ฎีนิพนธ์), พุทธศาสตรดษุ ฎีบณั ฑิต, ๒๕๔๗. ราชบัณฑติ ยสถาน, พจนานุกรม ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, กรงุ เทพมหานคร : นานมีบุคส์ พบั ลิเคชันส์, ๒๕๔๖. วันชยั วฒั นศัพท์, คู่มอื เก่ียวกับความขดั แย้ง : หลกั การและเครื่องมือแก้ปญั หา, กรุงเทพมหานคร : ศูนยส์ ันติและธรรมาภิบาล, ๒๕๔๗. สมยศ นาวีการ, การบริหารและพฤตกิ รรมองคก์ ร, กรงุ เทพมหานคร : ผู้จัดการ, ๒๕๔๐. อรุณ รักธรรม, การพัฒนาองค์การ : แนวความคิดและการประยกุ ต์ใช้ในระบบสงคมไทย.กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๖. เอกชัย กสี่ ขุ พันธ์, การบรหิ าร : ทักษะและการปฏบิ ตั ิ, กรงุ เทพมหานคร : สถาบนั บัณฑิตพฒั นบริหารศาสตร์, ๒๕๕๘. Don Hellriegel and John W. Slocum Jr., Hellriegel. Organizational Behavior. New York : West Publishing. 1970. Greenberg and Baron (1997, p. 380), อ้างถึงใน ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี, การจดั การความขดั แยง้ ในองค์กร, กรงุ เทพมหานคร : ออฟเซ็ท ศรีเอชัน่ , ๒๕๕๐. Leung and Tjosvold, (1998, p. 44), อ้างถึงใน อ้างถึงใน สุพัตรา จิตตเสถียร, การจัดการความขัดแย้ง ในสถานพยาบาลของรัฐระดับจังหวัด, ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญ าดุษฎีบัณ ฑิต , สาขาวิชารัฐ ประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราคมคำแหง, ๒๕๕๐. March, JG and Herbert A, Simon, Organization, New York : John Wiley & Sons, 1958. Moorhead & Griffin, (2001, p.214), อ้างถึงใน สุพตั รา จติ ตเสถยี ร, การจดั การความขดั แยง้ ในสถานพยาบาลของรฐั ระดับจังหวดั , ดุษฎีนิพนธ์ปรชั ญาดุษฎีบณั ฑิต, สาขาวชิ ารฐั ประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวทิ ยาลัย, มหาวทิ ยาลยั รามคำแหง, ๒๕๕๐. Moorhead and Griffin, (2001., p.213), อ้างถึงใน สพุ ัตรา จติ ตเสถยี ร, การจัดการความขัดแย้ง ในสถานพยาบาลของรฐั ระดับจังหวดั , ดษุ ฎีนิพนธป์ รัชญาดุษฎบี ณั ฑิต, สาขาวิชารัฐ ประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวทิ ยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๕๐. Nelson and Quick (2001, p. 350), อา้ งถงึ ใน ชยั เสฏฐ์ พรหมศรี, การจัดการความขัดแย้งในองค์กร, กรุงเทพมหานคร : ออฟเซท็ ศรเี อช่ัน, ๒๕๕๐. Simmel (n.d.) อ้างถึงใน เสริมศักด์ิ วิศาลาภรณ์, ความขัดแย้งการบริหารเพ่ือความสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : เลฟิ แอนด์ ลพิ เพรส, ๒๕๔๐.

บทท่ี ๒ ประวตั คิ วามเปน็ มาของสนั ติวธิ ี วัตถุประสงคก์ ารเรียนประจำบท เมอื่ ได้ศึกษาเนอื้ หาในบทนี้แลว้ ผูศ้ ึกษาสามารถ ๑. อธิบายความหมายสันตวิ ธิ แี ละตามสำนักสันตวิ ิธีได้ ๒. ระบุประเภทของสนั ตวิ ธิ ีได้ ๓. อธิบายมายาคติเก่ียวกับสนั ติวิธีได้ ๔. อธบิ ายคุณค่าและความสำคญั ของสนั ตวิ ธิ ีได้ ๕. วิเคราะหก์ ารปฏิบัติไรค้ วามรนุ แรงได้ ๖. บอกประโยชน์ของความสำเร็จของสนั ติวธิ ีได้ ขอบข่ายเนื้อหา • ความหมายสนั ติวิธีและตามสำนกั สนั ติวธิ ี • ประเภทของสนั ติวธิ ี • มายาคตเิ กี่ยวกับสนั ติวิธี • คณุ ค่าและความสำคัญของสนั ตวิ ิธี • การปฏบิ ัตไิ รค้ วามรนุ แรง • ความสำเรจ็ ของสนั ตวิ ิธี

พุทธสนั ตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๒๓ ๒.๑ ความนำ สถานการณ์ภายในประเทศกระแสโลกาภิวัฒน์ การรุกรานด้านประเพณีวัฒนธรรม การเปิดเสรีด้านทุน การค้า การเงิน สภาวะโลกไร้พรมแดน กระแสประชาธิปไตย สิทธิมนุษย์ชน การค้าเสรี การอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อม และธรรมชาติ การใช้ทรพั ยากรอยา่ งสิ้นเปลอื ง สง่ิ แวดล้อมเปน็ พิษ ปญั หาการลม่ สลายของสังคมชนบท ย่ิงพัฒนา ยิ่งต้องพึงต่างชาติมากขึ้น เกิดความเส่ือมโทรมของสังคม ปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาการแพร่ ระบาดของโรคต่างๆ การจัดระเบียบโลกใหม่ของประเทศมหาอำนาจ การก่อการร้ายสากล/ในประเทศ อาชญากรรมที่เป็นขบวนการ การปะทะทางทหารบริเวณชายแดน ภัยจากโจรสลัดและกำลังทางเรือต่างชาติ ปัญหาเส้นเขตแดนท่ียังไม่แน่นอน ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายNational Securities Issues การเมืองที่ขาดการมองผลประโยชน์ของชาติ การปกครองยึดรูปแบบเก่าๆ ระบบราชการขาดการปรับตัวเข้า กับสภาวะแวดล้อมปัญหาการพัฒนาประเทศแบบไม่ยั่งยืนปัญหาระบบการศึกษาล้าหลัง ขาดจิตสำนึก และชาตินิยมความเป็นไทย ถูกครอบงำทางความคิด ละทิ้งคุณค่าภูมิปัญญาไทยปัญหาการเมือง การปกครอง ระบบราชการ คำถามคือว่า อะไร คือสันติวิธี มีลักษณะอย่างไร มีกี่ประเภท สันติวิธีแต่ละประเภทมีความเหมือน และแตกต่างกันอย่างไร ผู้ใช้สันติวิธี มีหลักการอะไรเป็นเหตุผลรองรับ สันติวิธีเริ่มต้น เม่ือใดและพัฒนาการ เป็นอย่างไรและสันติวิธีถูกเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างไร ประเด็นเหล่านี้คือเนื้อหาสาระของบทนี้ ซ่ึงจะนำเสนอไป ตามลำดับประเด็น คือ ความหมายท่ัวไปของสันติวิธี ความหมายตามสำนักสันติ วิธีประเภทของสันติวิธีมายาคติ เก่ียวกับสันติวิธีคุณค่าและความสำคัญของสันติวิธีวิธีการของ สันติวิธี ปัจจัยและเง่ือนไขความสำเร็จของสันติวิธี และ ความสำเรจ็ ของสันตวิ ิธี ๒.๒ ความหมาย พระมหาหรรษา ธมมฺ หาโส๑กลา่ วถึงการตีความสนั ติ วธิ ีทง้ั เชิงบวกและเชิงลบของนกั คดิ และนกั ปฏบิ ัตกิ าร ตามศาสตร์และอาชีพต่างๆ เช่น สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ นักการเมือง การปกครอง และนักการทหาร รวมถึงบุคคลทั่วไป ออกเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มท่ีถอื ว่าสันตวิ ิธีคือการไม่ใช้กำลังหรืออำนาจ การเชอื่ ฟัง การไม่ก่อ ความวุ่นวาย และการทำตามกฎหมาย ดงั น้ี ๑.สันติวิธี คือการไม่ใช้กำลัง หรืออำนาจในกระแสของการจัดการความขัดแย้ง ในประวัติศาสตร์ ของมนุษย์น้ัน เรามักจะใช้ อำนาจเข้าไปจัดการ โดยการนำอำนาจไปใช้เป็นเคร่ืองมือน้ันแทนที่จะใช้อำนาจร่วม (power with) แต่กลับใช้อำนาจเหนือ (power over) ซึ่งอำนาจเหนือมักจะเดินเคียงคู่กันไปกับกระบวนการใช้ ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา ถึงกระนั้น จะพบว่า ในหลายสถานการณ์ท่ีรัฐ หรือเราเองมักจะแก้ปัญหาความรุนแรงด้วยการใช้ ความรุนแรงตอบโต้ ทำให้เกิดวิธีการจับคู่ระหว่างสงครามกับสันติภาพ ซ่ึงการจับคู่ในลักษณะน้ีทำให้มีการมองว่า สันติภาพจะเกิดข้ึนได้ หากเราใช้สงครามเข้าไปจัดการแก้ไข ซึ่งคล้ายคลึงกับคำกล่าวที่ว่าแม้หวังตั้งสงบ จงเตรียม รบให้พร้อมสรรพ (if you want peace prepare for war) ๑ พระมหาหรรษา ธมมฺ หาโส (นิธิบณุ ยากร), รูปแบบการจดั การความขดั แย้งโดยพทุ ธสันติวิธี : ศึกษาวเิ คราะห์กรณลี ุ่มน้ำ แม่ตาชา้ ง จ.เชยี งใหม่, (ดุษฎนี พิ นธ์), พุทธศาสตรดุษฎีบณั ฑิต, สาขาวิชาพระพทุ ธศาสนา, (บณั ฑิตวทิ ยาลัย, มหาวทิ ยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย, ๒๕๕๔), หนา้ ๑๗๕-๑๗๘.

พุทธสนั ติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๒๔ แต่จากประสบการณ์สงครามอ่าว หรือ สงครามระหว่างอเมริกากับอิรัก ที่เกิดขึ้นใน อดีตท่ีผ่านมานั้นได้ กลายเป็นบทเรียนชิ้นสำคัญทางประวัติศาสตร์ท่ีชี้ให้เราได้เห็นว่า ความรุนแรง ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกครั้งแต่ ประการใดและท่ียิ่งไปกว่าน้ัน คำตอบที่สำคัญประการหนึ่งที่เราได้รับก็คือ สงครามเต็มรูปแบบ อาจจะยุติไปแล้ว แตส่ ิ่งที่เกิดขึ้นมาแทนท่กี ็คอื สงครามไม่เต็ม รูปแบบ หรอื ไม่เปน็ ทางการ กำลังเกดิ ขึน้ และได้ขยายตัวลกุ ลามไปท่ัว ทกุ มมุ ของโลก ๒. สันติวิธคี อื การเชือ่ ฟัง การให้คำนิยามของสันติวิธีในลักษณะนี้มักจะเกิดจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลท่ีมี อำนาจมากกว่า ไม่ว่า จะเป็นอำนาจทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการทหาร ท่ีมุ่งหวังให้ กลุ่มคนที่มีอำนาจน้อยกว่าเคารพ และเช่ือฟัง อุปมาเช่นเดียวกับเด็กควรเคารพผู้ใหญ่ ฉะนั้น ภาษาทั่วๆ ไปคือ อย่าหือ ไม่ควรโต้เถียง ถกเถียง และวิพากษว์ จิ ารณ์ แมบ้ างคร้ังจะเปน็ การแสดงออก บนฐานของเหตุและผลก็ตาม ๓. สันตวิ ธิ ีคอื การไมก่ ่อความวุ่นวาย ส่วนใหญ่กลุ่มบุคคลท่ีมักจะนิยามสันติวิธีในลักษณะนี้เนืองๆ คือ รัฐหรืออาจจะเป็นกลุ่มคนที่ได้รับ ผลประโยชน์จากอำนาจรัฐ อย่างไรก็ดี การสร้างความวุ่นวาย ในลักษณะนี้คือ การดื้อแพ่ง (civil disobedience) กลุ่มคนท่ีใช้สันติวิธีชนิดก่อความวุ่นวาย มักจะได้รับการต้ัง ข้อสังเกตว่า เป็นกลุ่มประชาชนที่เรียกร้อง ความเท่าเทียมและเท่ียงธรรม เกี่ยวกับผลประโยชน์และความต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ การเข้าถึงทรัพยากร และอำนาจทางการเมอื ง การทจี่ ะทำใหข้ ้อเรียกร้องของกล่มุ ไดร้ บั ความสนใจจากกลมุ่ คนท่ัวไปในสงั คม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการนำเสนอข่าวของส่ือมวลชนเพื่อให้รัฐได้พิจารณาประเด็นข้อเรียกร้องของกลุ่มตนอย่างรอบด้านมาก ย่งิ ขน้ึ จนนำข้อเรียกร้องดังกลา่ วไปสกู่ ารปฏบิ ัติหรือกำหนดเปน็ นโยบายสาธารณะ ๔. สนั ตวิ ธิ ีคอื การทำตามกฎหมาย กลุ่มคนที่มองสันติวิธีในความหมายนี้ ส่วนใหญ่มักจะเป็นรัฐ เช่นเดียวกัน นอกจากน้ี อาจจะรวมถึงกลุ่ม คนท่ีได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจากการใช้สันติวิธีท่ีดื้อ แพ่งต่อกฎหมาย ประเด็นปัญหาน้ีเกิดจากการ ท่ีประชาชนบางกลุ่มเห็นว่า กลุ่มตนไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม หรือไม่ได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์ และความต้องการอย่างเท่าเทียม จึงนำเสนอข้อเรียกร้องดังกล่าวผ่านกิจกรรมการประท้วง เปา้ หมายการประท้วง คือ การแสดงออกหรือทำให้รัฐ หรือคนท่ัวไปได้ยินสิ่งที่คนเหล่านี้พยายามจะพูดหรือส่ือความ ฉะน้ัน เมื่อจำเป็นต้องแสดงออกทางการกระทำหรือการพูด เพ่ือส่ือความมากย่ิงข้ึน จึงมีความจำเป็นที่กลุ่มเหล่าน้ี ต้องด้ือแพ่งต่อกฎหมายบางข้อ เช่น กฎหมายจราจรและกฎหมายว่าด้วยการใช้เสียง รวมถึงการบุกรุก สถานที่ ราชการซง่ึ เป็นหน่วยงานของรัฐ เมื่อกล่าวโดยสรุป สันติวิธีในความหมายท่ัวไปแสดงนัยถึงการตีความของกลุ่มคน สองกลุ่ม คือ รัฐ และประชาชน ที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับผลประโยชน์ ความต้องการ ความสัมพันธ์ ข้อมูล ค่านิยม และโครงสร้าง โดยพยายามที่จะให้แต่ละฝ่ายมีท่าทีท่ีพึงประสงค์ต่อการแสดงออก จะเห็นว่าในความหมายท่ีหน่ึงนั้นเป็นข้อ เรยี กร้องจากประชาชนทีไ่ มต่ ้องการให้รัฐใช้กำลัง หรือ แก้ปัญหาด้วยการใช้อำนาจหรือความรนุ แรง ในขณะเดียวกัน รัฐเองก็มีมุมมองว่า รัฐจะสนใจต่อข้อเรียกร้องในกรณีที่ประชาชน ท่ีเรียกร้องเชื่อฟังรัฐ ไม่ก่อความวุ่นวายและปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างไรก็ดีประชาชนบางกลุ่มมีความเห็นท่ีแตกต่างกันว่า รัฐควรเช่ือ และฟังข้อเท็จจริงของประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลท่ีรอบด้าน แต่การท่ีรัฐไม่ฟัง ทำให้ประชาชนรวมตัวกัน ประท้วงทงั้ ในรูปของการก่อความวนุ่ วาย และไม่ปฏิบัตติ ามข้อกฎหมายบางประการ

พุทธสนั ตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๒๕ ๒.๓ ความหมายตามสำนักสนั ตวิ ิธี นอกจากความหมายของสันติวิธีที่ตีความโดยนักคิดตามสาขาวิชาชีพดังกล่าวข้างต้นแลว้ พระมหาหรรษา ธมมฺ หาโส๒ กล่าวว่า ประเด็นท่ีนา่ สนใจใน สถานการณ์ปัจจุบันน้ีคอื นกั คดิ และนักปฏิบัตกิ ารด้านสนั ตวิ ิธีได้ตีความ สันติวิธี และการปฏิบัติบนบาทฐานของสันติวิธีในแง่มุมท่ีหลากหลาย จึงก่อให้เกิดคำถามที่นำไปสู่การแสวงหา คำตอบท่ีสำคัญว่า สันติวิธีในสังคมไทยในปัจจุบันน้ี เปรียบประดุจทางสามแพร่ง เพราะเป็นสามแพร่งที่มีแง่มุม ในการตีความและการปฏบิ ัติที่มีลักษณะเหมอื นกนั และแตกต่างกนั ในบางประเดน็ และบางครัง้ ดูประหนงึ่ วา่ ยากท่ี จะบรรจบและค้นพบทางออกร่วมกัน การทำความเข้าใจสันติวิธีบนเส้นทางสามแพร่ง จะทำให้เราได้มองเห็นมุม หรือเหล่ียมต่างๆ ของสันติวิธี ที่เป็นพ้ืนฐานของการตีความและปฏิบัติการในบริบทต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน สังคมไทยปัจจุบันนี้ว่า สันติวิธีในเส้นทาง สามแพร่งนัน้ มีความหมายอยา่ งไร และมีความเป็นมาอย่างไร วิธคี ิดและแนวปฏิบัติเหมือนกัน หรือตา่ งกันอย่างไร มแี นวทางทจี่ ะประสานสอดคลอ้ งกัน ได้หรือไม่ อยา่ งไร ดงั น้ี ๒.๓.๑ สันตวิ ิธใี นความหมายของสำนกั สนั ตินยิ ม สนั ตินิยม หมายถงึ แนวคิดหรอื การกระทำทีต่ ่อต้านสงคราม กระบวนการท่ีว่าด้วยการตอ่ ต้านสงครามนั้น เป็นการปฏิเสธรูปแบบของสงครามในทุกรูปแบบ เหตุผลสำคัญท่ีต่อต้านเพราะไม่เห็นด้วยกับการใช้สงคราม เพื่อทำลายล้างเพื่อนมนุษย์ อันเป็นการผิดกับหลักทางศาสนา ฉะน้ัน นักสันตินิยมได้แสดงออกว่าไม่เห็นด้วย ในหลายรูปแบบ เช่น การประท้วงด้วยการไม่ไปทำสงคราม หรือไม่ไปรับการคัดเลือกด้วยวิธีการดื้อแพ่ง (civil disobedience) หรืออาจจะแสดงออกด้วยการประท้วง การทำสัญลักษณ์เพือ่ แสดงความไม่เห็นดว้ ยและการไม่ให้ ความร่วมมือตอ่ รฐั ในแง่มมุ ต่างๆ ประเด็นสำคัญของวิธีน้ีก็คือการไม่ใช้ความรุนแรงในการปฏิบัติการ ถึงกระนั้น นักสันตินิยมบางกลุ่มได้ สนบั สนุนและหาทางออกใหแ้ กว่ ธิ ีการเหล่าน้ี ด้วยการใชย้ ทุ ธวิธใี นการเจรจาเพ่ือท่จี ะหยุดยั้งสงครามเพ่ือแกป้ ัญหา ความขดั แย้งที่เกิดขน้ึ อยา่ งไรก็ดี นักสันตินิยมบางกลุ่ม ก็อาจจะเห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงในประเทศของตน แต่นักคิดบางกลุ่มอาจจะเห็นด้วยกับการที่จะจัดมหาตมะคานธี (Gandhi) อยู่ในกลุ่มสันตินิยม เพราะใช้หลักการ ด้ือแพ่ง อันเป็นวิธีการท่ีไม่มีการใช้ความรุนแรง ในขณะท่ีนักคิดบางกลุ่มไม่เห็นด้วย เพราะการไม่ใช้ความรุนแรง ของมหาตมะคานธนี นั้ เปน็ การนำไปใชเ้ พือ่ เรยี กร้องเอกราชจากอังกฤษ มไิ ด้มเี ปา้ หมายเพื่อต่อต้านสงครามและใน ขณะที่วิธีการดังกล่าว ก็มิใช่วิธีการท่ีจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในระหว่างประเทศต่างๆ แต่ ประการใด กระบวนการสันตินิยมอาจจะไม่สอดคล้องกับแนวคิดของมหาตมะคานธีทั้งหมด เพราะมหาตมะคานธีเอง มไิ ด้ปฏเิ สธรูปแบบของสงคราม เพราะเขาเห็นด้วยในกรณีท่ีไม่สามารถหลีกเลย่ี งสงครามได้ ดังจะเห็นได้จากการท่ี เขาพยายามสนับสนุนอังกฤษในสงครามโลกครั้งท่ี ๑ โดยมุ่งหวังจะให้อังกฤษปลดปล่อยประเทศตนเองให้เป็น อิสระซึ่งประเดน็ นีท้ ำใหน้ ักสนั ตวิ ธิ ีกลุ่มอนื่ ๆ ไมส่ ามารถยอมรับไดว้ ่ามหาตมะคานธเี ป็นหน่ึงในบรรดานักสันตินยิ ม ๒.๓.๒ สนั ติวธิ ใี นความหมายของสำนกั ปฏิบตั ิการท่ไี รค้ วามรุนแรง สิ่งท่ีมหาตมะ คานธมี ีความแตกต่างจากนักสันตนิ ิยมกลุม่ อืน่ ๆ ก็คือ การใช้ปฏิบัติการไร้ ความรนุ แรง หรือ อหิงสา เป็นเคร่ืองมือในการผลักดันเพ่ือเรียกร้องเอกราชจากประเทศอังกฤษจนประสบความสำเร็จ จะเห็นว่า อหิงสานั้นจัดได้ว่าเป็นหลักการสำคัญที่เป็นแนวคิดเพื่อการ ปฏิบัติการโดยไร้ความรุนแรง อันเป็นการแสดงออก ๒ พระมหาหรรษา ธมมฺ หาโส (นิธิบุณยากร), รูปแบบการจดั การความขดั แย้งโดยพทุ ธสันติวธิ ี : ศึกษาวเิ คราะห์กรณลี ุ่มน้ำ แม่ตาชา้ ง จ.เชยี งใหม่, (ดุษฎนี พิ นธ์), พุทธศาสตรดุษฎีบณั ฑิต, สาขาวิชาพระพทุ ธศาสนา, (บณั ฑิตวทิ ยาลัย, มหาวทิ ยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย, ๒๕๕๔), หน้า ๑๘๓-๑๘๗.

พุทธสนั ตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๒๖ ท้ังในเชิงบวก กล่าวคือความรักต่อเพื่อนมนุษย์ต่อศัตรู และเชิงลบคือการไม่ทำร้ายศัตรูด้วยอาวุธ ซ่ึงปฏิบัติการ หรือเครื่องมือสำคัญที่มหาตมะคานธี นำมาใช้ก็คือ หลักสัตยาเคราะห์หรือการด้ือแพ่ง (civil disobedience) น่นั เอง ในขณะที่แนวคิดเร่ืองการไร้ความรุนแรง (non-violence) เป็นชุดของความเชื่อ พื้นฐานเบื้องต้น (สมมติฐานเบ้ืองต้น) เก่ียวกับศีลธรรม อำนาจและความขัดแย้งที่กลุ่มผู้สนับสนุน ได้นำไปปฏิเสธการใช้ ความรุนแรงในความพยายามเพื่อให้ได้มาซ่ึงเป้าหมายทางการเมืองและสังคม กลายเป็นแนวคิดที่ได้รับ การประยกุ ตใ์ ชเ้ พ่ือดาเนนิ การแก้ไขความขดั แยง้ นักปฏิบัติการไร้ความรุนแรงตามแนวนี้ที่มีช่ือเสียง คือ ชารป์ (Gene Sharp) และ ชัยวฒั น์ สถาอานันท์๓ ได้ต้ังข้อสังเกต เก่ียวกับแนวคิดน้ีว่า ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง ถือกำเนิดภายในกระบวนการทัศน์ที่ไม่ยอมรับว่า ความรุนแรงเปน็ วถิ ีทางเดียว หรือวิถที างสดุ ท้าย ที่จะแก้ปญั หาขอ้ ขดั แย้งต่างๆ ได้หากแต่ถือ ว่าปฏิบัตกิ ารไรค้ วาม รุนแรงเป็นการต่อสู้แก้ไขข้อขัดแย้งท่ีมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งในการเผชิญหน้า กับข้อขัดแย้งทางสังคมการเมือง ประเภทตา่ งๆ ได้ จะเห็นว่า การปฏิบัติการไร้ความรุนแรงของชาร์ปน้ันแตกต่างจากนักสันตินิยมคนอ่ืนๆ หรือการไม่ใช้ ความรนุ แรงของศาสนิกชนอื่นๆ บางกลุ่มท่ีไม่เพียงแตจ่ ะชักจูงด้วยเหตุผลเท่าน้นั หากแตเ่ ป็นการกระทำบางอย่าง ที่ใชว้ ิธกี ารตา่ งกัน เชน่ คนท่เี คยเสยี ภาษีอาจจะไมย่ อมเสีย ดว้ ยเหตุน้ีเขาจงึ เสนอวิธีการปฏิบัติการไรค้ วามรุนแรง ๓ วิธี คือ ๑) การประท้วง หรือชักจงู โดยไม่ใช้ความ รุนแรง ๒) การไม่ให้ความร่วมมือ (non-cooperation) ทางสังคม ทาง เศรษฐกิจ และทางการเมือง และ ๓) การแทรกแซงโดยไร้ความรนุ แรง ประเด็นสำคญั ที่ชาร์ป นำเสนอน้ันอยู่ท่ีแนวคิดเร่ืองอำนาจ กล่าวคือ แนวคิด และการปฏิบัตกิ ารเหล่านั้น จะใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับอำนาจที่ผู้นำได้ใช้ไปในทางท่ีไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนในสังคม จะเห็นว่าการแสดงออกด้วยลักษณะต่างๆ เช่น การด้ือแพ่งและการไม่ยอมปฏิบัติตามรัฐในมิติต่างๆ นั้น ก็เพราะตอ้ งการทำลายหรอื ลดทอนอำนาจของผู้มีอำนาจ ๒.๓.๓ สันตวิ ธิ ใี นความหมายของสานักจัดการความขดั แย้ง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน๔ ให้คำจำกัดความของสันติวิธีในสำนักน้ีเอาไว้ว่า วิธีท่ีจะก่อให้เกิด ความสงบ เช่น เจรจาสงบศึกโดยสันติวิธี วิธีการท่ีไรค้ วามรุนแรง ม่งุ ให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม โดยที่ในตัวมัน เองก็เป็นวิธีการซง่ึ ใหค้ วามเปน็ ธรรมแก่ทกุ ฝา่ ย เราอาจจะเรยี กวิธีการดงั กลา่ ววา่ สนั ติวธิ ี โคทม อารยี า๕ ที่นยิ ามวา่ สนั ติวิธี หมายถึง วธิ ีการจัดการกับความขัดแย้งวธิ ีหน่ึง โดยให้เหตุผลว่า การใช้ สันติวธิ ีเป็นวิธีการที่น่าจะมีการสูญเสียน้อยที่สุด ทั้งระยะสนั้ และระยะยาว ทง้ั รูปธรรมและนามธรรมผิด กับการใช้ ความรนุ แรง ประเวศ วะสี๖ นิยามว่า สันติวิธี คือ การป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสภาพการใช้ความรุนแรง และสงคราม โดยให้เหตุผลว่า ในการสงคราม ไม่ว่าในคร้ังโบราณหรือปัจจุบัน จะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่าง ๓ ชารป์ (Gene Sharp) และ ชัยวฒั น์ สถาอานนั ท์ อา้ งถงึ ใน พระมหาหรรษา ธมมฺ หาโส (นิธิบุณยากร), รูปแบบการ จดั การความขัดแย้งโดยพทุ ธสันตวิ ิธี : ศกึ ษาวเิ คราะห์กรณลี ุ่มน้ำแมต่ าชา้ ง จ.เชยี งใหม่, (ดุษฎนี พิ นธ)์ , พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพระพทุ ธศาสนา, (บัณฑติ วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔), ๔ ราชบัณฑิต, พจนานุกรม ฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, (กรุงเทพมหานคร : นานมบี ุคส์ พบั ลิเคชนั ส์, ๒๕๔๖), หน้า ๑๑๖๖. ๕ โคทม อารียา, การส่งเสริมสันตวิ ธิ ,ี เอกสาร ๓๐ ปี ๑๔ ตลุ า จดหมายขา่ วประชาชน หนา้ ๒๓ – ๒๕ ฉบับที่ ๓ วันท่ี ๑ ตลุ าคม ๒๕๔๖, (ออนไลน์) เขา้ ถงึ จาก http://www.santipap.com/kotom.htm. 04/05/2551.

พทุ ธสนั ติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๒๗ รุนแรง โดยไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก สิทธิมนุษยชนเป็นการเคารพในศักด์ิศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ ของทุกคน ต่อเมอ่ื มนษุ ย์มจี ติ สำนึกในศีลธรรมพื้นฐานนี้จงึ จะสามารถอยรู่ ว่ มกนั อย่างสนั ตแิ ละยั่งยืนได้ ไพศาล วงศ์วรสิทธ์ิ๗ กล่าวว่า สันติวิธีคือ วิธีการแก้ไข ความขัดแย้ง หรือตอบโต้ในสถานการณ์หนึ่งๆ โดยไม่ใช้ความรุนแรงต่อคู่กรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่ีเป็นการประทุษร้ายต่อร่างกายและชีวิต แต่ถึงกระนั้น ก็พยายามจะอธิบายว่า บางสำนักมองว่า สันติวิธีจะต้องมีความรักเป็นพลังผลักดันและเป็นตัวกำกับเอาไว้ด้วย จงึ เป็นสันติวิธีที่แท้จริง ตามนิยามน้ี สันติวิธีจึงหมายรวมถึง การเขียน การพูด การเจรจา การประชุมตกลง แก้ไข ขอ้ พพิ าท กระบวนการทางศาลและกฎหมาย ๒.๔ ประเภทของสันติวิธี ชัยวัฒน์ สถาอานันท์๘ กล่าวว่า การแยกการจัดประเภทสันติวีและปฏิบัติการไร้ความรุนแรงน้ัน อาจจะพิจารณาได้ว่าเป็นการจัดประเภทกิจกรรมหรือจัดประเภทระบบความเช่ือ ท่ีรองรับการปฏิเสธท่ีจะใช้ ความรุนแรง ผู้ท่ีจัดประเภทที่เน้นแนวความเช่ือที่เป็น ระบบมากท่ีสุด คือ ชาร์ป ซ่ึงได้แบ่งประเภทความเช่ือ หรอื หลักการทีป่ ฏิเสธความรนุ แรงออกเป็น ๖ ประเภท ดังนี้ ๒.๔.๑ การไมต่ อ่ ตา้ น (nonresistance) กลุ่มคนท่ีเชื่อถือหลักการน้ีจะปฏิเสธความรุนแรงทางกายภาพท้ังปวง ไม่ว่าจะเป็นระดับปัจเจกชน ระดับรัฐหรือระดับนานาชาติก็ตาม และจะปฏิบัติตามหลักการทางศาสนาของตนโดยเคร่งครัด ไม่ยอมมีส่วนร่วม ในการทำสงครามหรือรับราชการ โดยอาจยอมเสียภาษีหรือทำตามที่รัฐประสงค์ตราบเท่าท่ีไม่ขัดกับความเช่ือ กับศาสนาของตน อีกท้ังยอมรับความทุกข์ทรมาน ในฐานะส่วนหน่ึงของภาระความเช่ือของตน และจะไม่ยุ่ง เกี่ยวกับระเบยี บทางสังคมชนิดท่ไี ม่สอดคล้องกับศรัทธาของตน ๒.๔.๒ การตกลงประนีประนอมอย่างจริงจงั (active reconciliation) กลุ่มคนท่ีเชื่อถือหลักการน้ีปฏิเสธความรุนแรงและเช่ือว่าการจะแก้ปัญหาได้เฉพาะในระดับปัจเจกชนนั้น จะกระทำได้ก็ด้วยการประสานประโยชน์และประนีประนอมกันอย่างจริงจัง ในท่ามกลางความขัดแย้ง กลุ่มน้ีจะพยายามหาทางเปล่ียนทัศนะหรือนโยบายของกลุ่มท่ีเป็นปัญหา ด้วยการพยายามช้ีแจงแสดงเหตุผล ให้ฝ่ายตรงข้ามยอมรับ โดยไม่เข้ามาดำเนินการโดยตรง และไม่มีการกำหนดยุทธวิธี ทั้งน้ีโดยมีฐานคิดท่ีสำคัญ ๓ ประการ คือ ๑) พยายามปรับปรุงชีวิตของตนเอง ก่อนท่ีจะเปล่ียนแปลงผู้อ่ืน ๒)เช่ือมั่นว่ามนุษย์ทุกคน มีความสำคัญและมีคุณค่า ไม่ว่าจะได้ประกอบกรรมทำผิดอย่างไร และ ๓) เช่ือว่ามนุษย์ทุกรูปทุกนามสามารถ เปลย่ี นแปลงไปสู่สง่ิ ท่ดี กี วา่ ได้ คอื เปลยี่ นไปส่สู ันตภิ าพและความยุติธรรม ๒.๔.๓ การตอ่ ต้านทางศีลธรรม (moral resistance) กลุ่มน้ีเช่ือม่ันว่าความช่ัวเป็นส่ิงท่ีต้องต่อต้านแต่ด้วยการใช้วิธีการในทางศีลธรรม และสันติเท่านั้น โดยให้ ความสำคญั กับความรับผิดชอบทางศีลธรรมในระดับปัจเจกชน หมายรวมถึงการที่บุคคลปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วมกับ ๖ ประเวศ วะสี, ยทุ ธศาสตร์ชาติ เพอื่ เอาชนะความยากจน กรุงเทพฯ, สถาบนั ชมุ ชนทอ้ งถน่ิ พัฒนาและสำนกั งาน กองทนุ เพอื่ สงั คม, (กรุงเทพมหานคร : ๒๕๔๕), คำนำ. ๗ ไพศาล วงศว์ รสทิ ธ์ิ, สร้างสันตดิ ว้ ยมือเรา : คู่มือสันตวิ ิธีสำหรบั นักปฏิบตั กิ ารไรค้ วามรนุ แรง, ศูนยศ์ ึกษาและ พัฒนาสันติวธิ ี (ศพส.). (มหาวิทยาลัยมหดล, ๒๕๓๓), หนา้ ๒๖-๒๘. ๘ ชัยวฒั น์ สถาอานันท์, อารยะขัดขืนกบั สังคมไทย, เอกสารวิชาการหมายเลข ๖. โครงการบรรยายสาธารณะ-ตลาด วชิ า-มหาวิทยาลัยประชาชน ๓๐ ปี ๑๔ ตลุ ากบั ประชาธปิ ไตย, ๑๖ สงหาคม ๒๕๔๖, (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๕), หน้า ๒๙๓-๒๙๕.

พุทธสันติวธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๒๘ ความช่ัว เช่น การทำสงครามและการที่ปัจเจกชน จะต้องทำการบางอย่างเพื่อต่อสู้กับความชั่ว เช่น การพูด การเขียนหรือการส่ังสอน ผู้ท่ีเช่ือในการต่อต้านในทางศีลธรรมน้ัน แม้จะไม่สู้ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์สังคม โดยรวมหรือมุ่งเปลี่ยนแปลงสังคมทั้งระบบ แต่โดยท่ัวไปก็สนับสนุนการปฏิรูปทางสังคมทีละเล็กละน้อย โดยเฉพาะการเปล่ียนแปลงที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ ระบบการศึกษาและพยายามชักจูง เจ้าหน้าที่ของรัฐ เปน็ ต้น ๒.๔.๔ การไร้ความรุนแรงเป็นบางเร่อื ง (selective nonviolence) ลักษณะเด่นของกลุ่มนี้คือการที่บุคคลอาจปฏิเสธจะมีส่วนร่วมในการใช้ความรุนแรงบางเร่ือง โดยมาก มักจะเป็นสงครามระหว่างประเทศ แต่ในบางสถานการณ์ คนๆเดียวกัน นี้อาจจะเต็มใจจะใช้ความรุนแรง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์บางอย่าง ท่ีจริงคนส่วนใหญ่อาจจะตกอยู่ภายใต้กลุ่มนี้ คือมักจะไม่เห็นด้วยที่ประเทศ ของตนจะทาสงคราม แต่อาจเห็นด้วยที่รัฐของตน จะใช้ความรุนแรงจัดการกับปัญหาบางอย่างภายในสังคม ของตนเอง ๒.๔.๕ สตั ยาเคราะห์ (satyagraha) กลุ่มที่ใช้สันติวิธีตามแนวทางของมหาตมะคานธี ผู้คนที่เชื่อถือในสัตยาเคราะห์ หรือหลักแห่งสัจจะนี้ จะมุ่งเข้าถึงสัจธรรมด้วยความรักและการกระทำ มหาตมะคานธีเช่ือว่าเมื่อเกิดความช่ัวขึ้นในสังคมบ่อยคร้ัง ต้องท้าทายความชั่วนั้นๆและปฏบิ ัติการไร้ความรุนแรงมากมายหลายวธิ ีจะเขา้ มาแทนทก่ี ารจราจล การปฏิบตั ิดว้ ย ความรุนแรงหรือการสงครามได้ ท่านเช่ือว่าสัตยาเคราะห์ที่มีรากฐานอยู่บนความเชื่ออันมั่นคงภายในใจคนนั้น มีประสิทธิภาพเหนอื กว่าสันตวิ ิธีหรอื ปฏบิ ตั ิการไร้ความรุนแรงชนิดท่ีนำมาใช้เป็นนโยบายชว่ั คราว ๒.๔.๖ การปฏวิ ตั ิไร้ความรนุ แรง (nonviolent revolution) กลุ่มคนท่ีเชื่อว่าปัญหาสังคมใหญ่ๆ ในโลกปัจจุบันมีรากฐานอยู่ท่ีชีวิตทางสังคมและปัจเจกชน ดังน้ัน จะแก้ปัญหาสงั คมเหล่าน้นั ได้ก็ด้วยการเปล่ียนแปลงจากพ้นื ฐานในระดับปัจเจกชนและสังคมเท่าน้นั กลุ่มคนท่ีเชื่อ อย่างนี้มักจะยอมรับแนวทาง ๔ ประการ คือ ๑) ให้ปัจเจกชนพัฒนาชีวิตของตนเอง ๒) พยายามให้สังคมยอมรับ เอาหลักการแนวสันติ เช่น สันติวิธี ความเสมอภาค การร่วมมือ ความยุติธรรม และอิสรภาพเป็นค่านิยมหลัก ๓) สร้างสรรค์ระเบียบทางสังคมท่ีเสมอภาคมากข้ึนและมีเสรีภาพมากขึ้น และ ๔) ต่อสู้กับความช่ัวทางสังคมด้วย ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง ลักษณะพิเศษของกลุ่มคนน้ี คือการผูกการปฏิบัติเข้ากับการไม่ใช้ความรุนแรงอย่าง เหนยี วแนน่ ๒.๕ มายาคติเก่ียวกบั สันติวธิ ี พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส๙ กล่าวว่าการมองสันติวิธี ด้วยทัศนคติท่ีบิดเบ้ียวออกไปจากแก่นแท้ หรือความหมายและการปฏิบัติท่ีแท้จริงของสันติวิธีถือได้ ว่าเป็นมายาคติท่ีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมีต่อสันติวิธี ๙ พระมหาหรรษา ธมมฺ หาโส (นธิ ิบุณยากร),รูปแบบการจัดการความขดั แย้งโดยพทุ ธสันติวธิ ี : ศกึ ษาวิเคราะห์กรณลี ุ่มน้ำ แม่ตาชา้ ง จ.เชยี งใหม,่ (ดุษฎนี พิ นธ์), พุทธศาสตรดุษฎีบณั ฑิต, สาขาวิชาพระพทุ ธศาสนา, (บัณฑิตวทิ ยาลัย, มหาวทิ ยาลัยมหา จฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔), หนา้ ๑๗๘-๑๘๑.

พุทธสันติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๒๙ จากการศึกษาวิเคราะห์ท่าทีของกลุ่มต่างๆ ในสังคมทำให้พบว่า กลุ่มคนต่างๆ มีมายาคติต่อสันติวิธีในประเด็น ดังตอ่ ไปน้ี ๒.๕.๑ สันติวิธีส้กู ารใช้อาวุธไม่ได้ กลุ่มคนที่มีความโน้มเอียงต่อความคิดในลักษณะนี้ คือกลุ่มคนท่ีได้รับการเรียกขาน ว่า “สายเหย่ียว” หรือกลุ่มคนที่มักจะจัดการกับความขัดแย้งด้วยความรุนแรง โดยมองว่า การใช้สันติวิธีมีกระบวนการ และขั้นตอนซ้ำซ้อนและต้องสัมพันธ์กับกลุ่มต่างๆ จำนวนมาก ฉะนั้น อาวุธจึงเป็นเคร่ืองมือท่ีมีอานุภาพ และประสิทธิภาพท่ีนำไปส่กู ารแก้ปญั หาได้ พื้นฐานสำคัญของการคิดในลักษณะน้ี จะอยู่บนฐานของอำนาจ ท่ีกลุ่ม ใดกลุ่มหนึ่ง หรือคนใดคนหน่ึงมีมากกวา่ คนอื่น หรือกลุ่มอืน่ อย่างไรก็ดี นักสันติวิธีมองว่า สันติวิธีคืออาวุธทีม่ ีชีวิต มีพลงั ยง่ิ ใหญก่ ว่าอาวธุ ทไ่ี ม่มีชวี ติ เชน่ ปืน ระเบดิ และรถถงั ๒.๕.๒ สันติวธิ ีใช้เวลานานเกินไป กลุ่มคนบางกลุ่มได้พยายามตั้งคำถามต่อสันติวิธีว่า “เพราะเหตุใด การใช้สันติวิธีจึงต้องใช้ระยะเวลา ยาวนาน” หากมองในมิติของการเมืองจะพบว่า ฝ่ายรัฐบาลท่ีบริหารประเทศได้ทำสัญญาประชาคม ในการท่ี จะดำเนินนโยบายต่างๆ ภายในระยะ ๔ ปี ของการเป็นรัฐบาล โดยแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ฉะนั้น อาจจะเกิด จากกรอบระยะเวลาดังกล่าว จึงทำให้กลุ่มนักการเมืองท่ีกุมอำนาจแห่งรัฐพยายามท่ีจะเข้าไปจัดการความขัดแย้ง โดยคำนึงถงึ เวลาหรอื ให้ความสำคัญกับระยะเวลาในการดำเนินการ ความเปน็ จริงแลว้ หากสังคมหรือผ้ทู ี่เกี่ยวข้อง ตัดสินใจที่จะใช้สันติวิธี ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งหรือความรุนแรง สิ่งท่ีจะต้องตระหนักรู้ก็คือ เราไม่สามารถ กำหนดกรอบระยะเวลาในการทำงานได้ ว่าจะเสร็จสิ้นเม่ือใด เพราะในการจัดการความขัดแย้งประกอบด้วย ตวั แปรและเงือ่ นไขจำนวนมากท่ผี มู้ สี ่วนได้สว่ นเสยี เรยี กรอ้ งและต้องการ ๒.๕.๓ สันตวิ ิธเี ปน็ วธิ สี ำหรบั คนขีข้ ลาดและยอมจำนน ในขณะที่นักสันติวิธีมองว่า สันติวิธีเป็นวิธีการสำหรับคนเข้มแข็งและมหาบุรุษที่ ยิ่งใหญ่จำนวนมาก ได้ใช้สันติวิธีเป็นเคร่ืองมือในการจัดการความขัดแย้ง อย่างไรก็ดี กลุ่มคนบาง กลุ่มมองสันติวิธีด้วยความสงสัยว่า สันติวิธีเป็นวิธีสำหรับคนข้ีขลาด หวาดกลัวและยอมจำนนต่อปัญหาและอุปสรรคท่ีเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตีความประเด็นเร่ือง ความสงบน่ิง หมายถึง การไม่ต่อสู้หรือโต้แย้งกับคู่กรณีว่าเป็นความหวาดกลัว ไม่กล้าเผชิญหน้า หรือหลีกเล่ียงปัญหา แท้ที่จริงความนิ่งเงียบ การหลีกเล่ียง และการไม่เผชิญหน้าถือได้ว่า เป็นกุศโลบายสำคัญประการหน่ึงของนักสันติวิธี ในขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งกาลังขยายตัวรุนแรง และการตอบโตจ้ ะทำให้สถานการณ์ต่างๆ ย่งุ ยากมากยง่ิ ขึ้น ๒.๕.๔ ผใู้ ชส้ นั ติวธิ ีต้องชนะ และฝ่ายตรงขา้ มตอ้ งแพ้ ในขณะที่เกิดความขัดแย้ง และความรุนแรงข้ึนในสังคม จะพบว่า ได้มีกลุ่มบุคคล บางกลุ่มพยายาม ที่จะนำเสนอสันติวิธีเป็นเครื่องมือในการแสวงหาทางออก แต่ถึงกระน้ัน เราจะพบประเด็นวาระท่ีซ่อนเร้น ต่อการนำเสนอประเด็นดังกล่าวในหลายกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่นำเสนอประเด็นนี้มักจะมีความคาดหวัง ต่อการใช้สันติวิธีว่า ผู้ที่ใช้สันติวิธีต้องเป็นฝ่ายชนะเท่าน้ัน ในขณะท่ีฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ได้ใช้สันติวิธีต้องพ่ายแพ้ ต่อข้อขัดแย้ง ซ่ึงในความเป็นจริงอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นก็ได้ เพราะการที่กลุ่มใดหรือบุคคลใดตัดสินใจใช้สันติวิธี แล้ว มิได้หมายความว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลน้ันจะต้องประสบชัยชนะเท่านั้น เนื่องจากข้อขัดแย้งประกอบด้วย ตวั แปรและเงื่อนไขทส่ี ลับซบั ซอ้ นอีกทงั้ ผูม้ ีสว่ นได้สว่ นเสยี ที่เข้าไปเกยี่ วข้องประกอบด้วยกลุ่มคนจำนวนมาก ๒.๕.๕ สนั ตวิ ิธคี อื การไมใ่ ช้อาวธุ เพราะไม่มีโอกาส การท่ีบุคคลใดบุคคลหน่ึงหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งประกาศว่า จะไม่มีการใช้อาวุธซึ่ง เป็นสัญลักษณ์ ของความรุนแรงในการจัดการกับความขัดแย้งน้ัน มิได้หมายความว่ากลุ่มคนดงั กล่าวจะไม่ใช้อาวุธตามคำประกาศ ต่อสาธารณชน เพราะในความเป็นจริงกลุ่มคนเหล่าน้ี อาจจะเฝ้ารอจังหวะและโอกาสที่ความขัดแย้ง และความรุนแรงเดินทางไปสู่วิกฤตท่ีเพิ่มมากข้ึน เน่ืองจากคู่กรณีไม่สามารถหาทางออกร่วมกันได้ ฉะน้ัน

พทุ ธสนั ตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๓๐ ในข้ันตอนสุดท้าย เม่ือประสบกับโอกาสท่ีเหมาะสมกลุ่มคนเหล่าน้ี จึงสร้างความชอบธรรมเพ่ือให้ได้มา ซึ่งการใชอ้ าวธุ โดยประกาศว่าการตัดสินใจใชอ้ าวุธเพ่อื จดั การแก้ปญั หา เนือ่ งมาจากการท่ีคู่กรณีไม่สามารถจดั การ กับความขดั แยง้ และความรุนแรงดว้ ยสันตวิ ธิ ี ๒.๕.๖ สันติวธิ ีไมส่ ามารถประกนั ความสำเร็จได้ ทุกครั้งท่ีมีการนำเสนอและตัดสินใจใช้สันติวิธีเป็นเคร่ืองมือจัดการความขัดแย้ง และรุนแรงจะพบว่า กลุ่มคนจำนวนมากในสังคมได้สร้างความคาดหวังต่อสันติวิธีว่า น่าจะจัดการกับความขัดแย้งและความรุนแรงได้ ในทุกปญั หา เหตผุ ลที่อยเู่ บ้อื งหลังของการคิดเช่นน้ี อาจเกดิ จากตัวนกั สันตวิ ธิ ีเองท่ีพยายามสรา้ งภาพว่าสนั ติวิธีคือ คำตอบจนนำไปสู่ความคาดหวังท่ีสูงไปกว่าความเป็นจริง แท้ท่ีจริง เม่ือใดก็ตามท่ีกลุ่มคนในสังคมตัดสินใจ ที่จะเลือกใช้สันติวิธี การเลือกดังกล่าวมิได้ผูกติดไปกับความสำเร็จแต่ประการใด เพราะบทเรียนในอดีต จนถึงปัจจุบันพบว่า การใชส้ ันตวิ ธิ ไี ม่สามารถนำไปสู่ผลสำเร็จได้ในทกุ กรณีแตป่ ระการใด ๒.๖ คุณค่าและความสำคัญของสนั ตวิ ธิ ี พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส๑๐ ก่อนตอบคำถามที่ว่า สันติ วิธีมีความสำคัญอย่างไร เพราะเหตุไร จึงต้องใช้สันติวิธีเป็นเครื่องมือในการจัดการความขัดแย้ง กล่าวว่าประเด็นที่น่าสนใจก็คือ มีวิธีการหรือเคร่ืองมือ จัดการปัญหาอื่นๆ อีกหรือไม่ ที่เราคิดว่า ดีกว่า สมบูรณ์กว่า สันติวิธีอันเป็นวิธีการท่ีทำให้ทุกคนสามารถ พบทางออกและยอมรับกับทางออกของปัญหาด้วยกันได้ทุกฝ่าย โดยไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมองว่า ขาดความ เป็นธรรมหรือขาดความยุติธรรมในวิธีการจัดการ แต่เม่ือสังคมโลกมองว่า สันติวิธี น่าจะเป็นวิธีการหรือแนวทาง หนึ่งที่ดีท่ีสุด (best alternative) ในการแสวงหาคำตอบร่วมกัน จึงนำไปสู่ประเด็นของการตอบโจทย์ท่ีว่า ทำไม จึงตอ้ งใชส้ ันตวิ ิธี เมื่อวเิ คราะห์จากปัจจัยตา่ งๆ อย่างรอบด้านแล้ว คำตอบที่พบในเบื้องต้นมี อย่างน้อย ๗ ประการ ดังนี้ ๒.๖.๑ สนั ตวิ ธิ เี ปน็ วิธีท่ีถกู ต้องตามหลกั ศีลธรรม ความหมายท่ีแท้จริงของสันติวิธีนั้น ย่อมยืนอยู่บนฐานของศีลธรรมและจริยธรรม อันดีงามซึ่งเน้นการอยู่ รว่ มกันอย่างสันติ ความเมตตา สงสาร การเคารพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน การไม่เบียดเบียนทางกาย วาจาและใจ เป็นต้น วิธีการน้ีเป็นคู่มือและเคร่ืองมือสำคัญในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาจิตใจ มนุษย์แก้ปัญหาแบบมนุษย์ด้วยตัวมนุษย์เอง แต่ปัญหาท่ีเกิดขึ้นก็คือ การท่ีคนเข้าใจศีลธรรมต่างกันหลายรปู แบบ ทำใหเ้ กดิ การตีความเพือ่ สนองตอบตัวเอง อย่างไรกต็ าม เมือ่ มองคำว่า ศีลธรรมในมิตขิ องศาสนาก็ย่อมเปน็ การง่าย ทจ่ี ะแสวงหาจดุ ร่วมทีค่ ล้ายคลงึ กนั ได้ ๒.๖.๒ การจัดการความขดั แย้งแบบสนั ติวธิ ี นอกจากเป็นวิธีการท่ีสอดคล้องกับมนุษยชาติแล้ว ยังเป็นวิธีการท่ีสร้างพ้ืนฐานของความเข้าใจซ่ึงกัน และกัน ระหว่างประชาชนในกลุ่มต่างๆ เพราะความเข้าใจ เห็นใจกันเป็นวิธีการป้องกัน และต่อสู้กับภัยในด้าน ต่างๆ ท่ีอาจจะมาสู่ประเทศชาติด้วย ฉะนั้น การแสวงหาทางเลือก เพื่อที่จะออกจากกับดักของความขัดแย้ง ที่จะนำไปสคู่ วามรุนแรงนั้น ถา้ เราตระหนักถึงสันตวิ ิธีท่ีเน้นการแบ่งปันความสขุ และความทุกขร์ ะหว่างเพอื่ นมนุษย์ โดยเข้าใจความจริงที่ว่า เรารักความสุข เกลียดกลัวความทุกข์ฉันใด คนอ่ืนๆ ก็รักความสุขเกลียดกลัวความทุกข์ ๑๐ พระมหาหรรษา ธมมฺ หาโส (นธิ ิบณุ ยากร),รูปแบบการจัดการความขดั แย้งโดยพทุ ธสันติวธิ ี : ศึกษาวเิ คราะห์กรณลี ุ่มน้ำ แม่ตาชา้ ง จ.เชยี งใหม่, (ดุษฎนี พิ นธ์), พุทธศาสตรดุษฎีบณั ฑิต, สาขาวิชาพระพทุ ธศาสนา, (บณั ฑิตวทิ ยาลัย, มหาวทิ ยาลัยมหา จฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔), หน้า ๒๐๓-๒๐๗.

พุทธสันตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๓๑ เช่นเดียวกัน การเรียนรู้และเข้าใจกฎเกณฑ์ข้อนี้ จะทำให้ง่ายต่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และแบ่งปัน ความทกุ ขไ์ ด้ชัดเจน มากยง่ิ ขนึ้ ๒.๖.๓ สนั ตวิ ิธเี ป็นวิธีเดยี วทสี่ นบั สนนุ ประชาธิปไตย สั น ติ วิ ธี ส นั บ ส นุ น ห ลั ก ก า ร ป ร ะ ช า ธิ ป ไต ย แ บ บ มี ส่ ว น ร่ ว ม ( participatory democracy) เพราะประชาธิปไตยเป็นวิธีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคคลกลุ่มต่างๆ เพ่ือหาแนวทางแก้ไขความขัดแย้ง แทนการใช้ความรุนแรง กระบวนการประชาธิปไตยนำมาสู่การส่งเสริมสันติวิธีในชาติและระหว่างชาติได้ ประชาธปิ ไตยเปิดโอกาสใหเ้ กิดการมีสว่ นรว่ มอย่างมีประสิทธิผล มกี ารลงคะแนนเสียงโดยเท่าเทียมกัน มีการสรา้ ง ความเข้าใจร่วมกันมีการควบคุมทางนโยบาย ประชาธิปไตยนำมาสู่การหลีกเลี่ยงทรราชย์ การมีสิทธิเสรีภาพ มีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง มีอิสระทางความคิด มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปกป้องความสนใจ สว่ นบุคคล มคี วามเท่าเทยี มกนั ทางการเมือง และประชาธปิ ไตยนามาสู่การแสวงหาเสรภี าพและความเจริญ ฉะนั้น ท้ังสันติวิธีและประชาธิปไตย จึงมีความสัมพันธ์และเก้ือหนุนกัน ถ้าพัฒนาประชาธิปไตยได้มาก โอกาสที่สันติวิธีสัมฤทธ์ิได้มากและโอกาสประสบความสำเร็จ เม่ือสันติวิธีทำงานได้สำเร็จ ประชาธิปไตยต้องได้รับ การเกื้อหนุนหรือสร้างสรรค์ โดยเฉพาะอย่างย่ิง มิติของความเท่าเทียม หรือความเสมอภาค เพราะหากคุณสมบัติ เช่นนี้เกิดขึ้นในสังคมได้คนในสังคม สามารถยอมรับความแตกต่างในมิติต่างๆ ได้ เช่น ความคิดเห็น ชาติพันธ์ุ ศาสนา ภาษา สีผวิ เปน็ ตน้ ซงึ่ หลักการเหลา่ นีล้ ้วนเป็นสง่ิ ที่เก้อื หนุนสันตวิ ิธีท้งั สิ้น ๒.๖.๔ สนั ติวิธีเป็นวิธีสนับสนุนกระบวนการสรา้ งการมสี ่วนรว่ มของประชาชน การท่ีจะทำให้สังคมเกิดสันติสุขได้นั้น จำเป็นต้องดึงทุกคนในสังคมท่ีมีส่วน เกี่ยวข้องเข้ามาหาทางออก รว่ มกัน (inclusive society) ไมใ่ ช่ผลักผู้มีสว่ นไดส้ ว่ นเสียออกไป (exclusive society) ดังที่ประเวศ วะสี กลา่ วว่า ควรทาให้สังคมน้ีให้เป็นสงั คมานุภาพ ซ่ึงสังคมานุภาพนั้น เกิดขึ้นมาได้จากหลายสาเหตุ บางคร้ังเร่ิมต้นขึ้นมาจาก การพยายามหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน ในสิ่งท่ีนำมาซึ่งความทุกข์อาจเร่ิมจากความทุกข์ของปัจเจกชน และพัฒนา ไปสู่การร่วมกันกับคนท่ีมีความทุกข์อย่างเดียวกัน และพยายามค้นหาทางออกพร้อมๆ กัน โดยการร่วมคิด ร่วมริเร่ิม ร่วมวางแผนดำเนินการ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผลประโยชน์และร่วมตรวจสอบ ซึ่งการร่วมทุกข์นี้ ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าจะทำให้ความรู้สึกทุกข์นั้นน้อยลง และท่ีสำคัญการร่วมทุกข์ทำให้ได้มีการปรับทุกข์ ไดร้ ับการปรกึ ษาหารือกนั จากหนกั กลายเปน็ เบา ๒.๖.๕ ความเปน็ เอกของสันตวิ ธิ ี สันติวิธีเป็นวิธีเดียวที่สนับสนุนการคิด และการปฏิบัติการในการจัดการความ ขัดแย้งโดยไม่ใช้ ความรุนแรงในทุกรูปแบบ ท้ังทางร่างกาย ทางเพศ ทางเศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไม่ใช้ ความรุนแรงดังกล่าวน้ัน ประกอบไปด้วยความเป็นธรรม ทั้งในแง่ของความยุติธรรม ความเท่ียงธรรม การยกย่อง และให้เกียรติมนุษยใ์ นสถานะของเพ่ือนรว่ มโลกคนหน่ึง ท่ีรักสขุ และเกลียดกลวั ความทกุ ข์เช่นเดียวกนั ๒.๖.๖ สนั ติวิธีเป็นวธิ กี ารที่นา่ จะมีการสญู เสียน้อยท่ีสดุ สันติวิธีเป็นวิธีการที่น่าจะมีการสูญเสียน้อยท่ีสุดท้ังระยะสั้นระยะยาว ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ผิดกับการใช้ความรุนแรง ซ่ึงทุกฝ่ายอ้างว่าเป็นวิธีการสุดท้าย ซึ่งบางกรณีสามารถ บรรลุผลในระยะส้ัน เป็นรูปธรรมชัดเจน แต่หากความขัดแย้งดารงอยู่เพียงแต่ถูกกดไว้โอกาสท่ีจะ ทาให้เกิดความรุนแรงในระยะยาว ย่อมมีอยู่ ส่วนในทางนามธรรม เช่น ความเข้าใจอันดีความ สามัคคีปรองดองน้ัน ย่อมเกิดขึ้นได้ยากด้วยวิถี ความรนุ แรง ๒.๖.๗ ความสลบั ซับซอ้ นของสงั คม ในขณะท่ีสังคมมีความสลับซับซ้อน เม่ือเกิดความขัดแย้งขึ้นมามักจะมีแนวโน้ม ไปสู่ความรุนแรงได้ง่าย สันติวิธีจะเข้ามีบทบาท และทำหน้าที่ในการประสานร่องรอยความขัดแย้ง เหล่านั้น เพื่อให้สังคมได้ปรับกระบวน ทัศน์ (paradigm shift) จากวธิ ีเดิมท่ีใช้อำนาจเข้าไปแก้ไข ปัญหาแบบสังคมโบราณซ่ึงใช้ไม่ไดแ้ ลว้ ในสังคมปจั จุบัน

พทุ ธสันตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๓๒ ไปสู่กระบวนการทางสังคมท่ีเน้นการเข้า มามีส่วนร่วมกันคิด ร่วมกันทำ เรียกว่าวิธีการอารยะ (civilize) หรือ ความเปน็ อารยะ (civility) กล่าวคอื เปน็ การพฒั นาจากสงั คมเดมิ ไปสแู่ นวทางสันติวิธี กล่าวโดยสรุปแล้วสันติวิธี นอกจากเป็นวิธีท่ีเต็มไปด้วยความเป็นธรรมแล้ว ยังเป็น คู่มือและเครื่องมือ สำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยให้เข้มแข็งมากยงิ่ ข้นึ สิ่งท่ีสามารถเป็นฐานรองรบั การพัฒนา ประชาธิปไตยก็คือ กระบวนการที่ว่าด้วยการมีส่วนร่วม ประชาชนในทุกๆ กลุ่มของสังคม ซึ่งหัวใจของการมีส่วน ร่วมก็คือ การละลายและสลายความเป็นอัตลักษณ์ และ ยอมรับในความแตกต่างของมนุษย์แต่ละคน อันเป็น การส่งเสริมและยอมรับในศักยภาพของมนุษย์โดยมนุษย์และเพ่ือมนุษย์วิธีการของสันติวิธี ไม่ได้หมายถึงการหยุด นิ่งไม่โตต้ อบกับส่ิงทไ่ี มเ่ หน็ ด้วยเท่านัน้ แตย่ ังหมายถึงการปฏบิ ัติการต่อสถานการณน์ ั้นโดยไม่ใช้ความรนุ แรงดว้ ย ๒.๗ การปฏบิ ตั ิไร้ความรนุ แรง ชัยวัฒน์ สถาอานันท์๑๑ กล่าวว่า ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงกำเนิดข้ึนภายใต้กระบวนการทัศน์ที่ไม่ยอมรับ ว่า ความรุนแรงเป็นทางเดียว หรือวิถีทางสุดท้ายที่จะแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ หากแต่ถือว่าปฏิบัติการ ไร้ความรุนแรงเป็นการต่อสู้เพ่ือแก้ปัญหาความขัดแย้ง ท่ีจริงปฏิบัติการไร้ความรุนแรง คล้ายคลึงการสงคราม โดยกำลังทหาร เพราะนอกจากจะเป็นวิธีต่อสู้วิธีหน่ึงแล้ว ยังต้องใช้การจัดกำลัง การรบต้องอาศัยการวางแผน และกลวิธีการเรียกร้องให้ทหาร หรือตัวผู้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง ต้องมีความกล้าหาญ มีวินัย และรู้จักเสียสละ ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงแตกต่างจากสันติ นิยมหรือการไม่ใช้ความรุนแรงของศาสนิกชนบางหมู่ไม่เพียงมุ่งชักจูง ด้วยเหตุผล แต่เป็นการทา บางอย่างโดยใช้วิธีการต่างๆ ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงเกี่ยวข้องกับการเว้นการกระทำ บางอย่าง ผู้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงอาจกระทำท้ังสองอย่างคือ ละเว้นไม่กระทำบางอย่างกับกระทำบางอย่าง นอกเหนือจากท่กี ำหนดพร้อมๆ กนั ซ่ึงมวี ธิ ีการหลกั อยู่ ๓ วธิ ี คอื ๑. การประทว้ งหรอื ชกั จูงโดยไม่ใช้ความรุนแรง วิธีนี้เป็นวิธีในเชิงสัญลักษณ์ท่ีมีจุดมุ่งหมายชักจูงฝ่ายตรงข้ามหรือคนอ่ืนๆ ให้มา เห็นด้วยกับฝ่ายตน หรือเพือ่ แสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจของกลุ่ม เช่น การส่งจดหมายคัดค้าน หรือสนบั สนุนในลกั ษณะของจดหมาย เปิดผนึกได้ หรือจดหมายส่วนตัวที่ส่งไปยังบุคคลหรือ สถาบันการเมืองเพื่อประกาศเจตนารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนั้นก็มีการใช้คาขวัญ ใบปลิว จุลสาร เทปบันทึกเสียง วิทยุ โทรทัศน์ การติดธง การวาดภาพประท้วง การร้องเพลงคัดค้าน และ การให้รางวัลล้อเลียน อนั เป็นการเสียดสีถากถางในรูปแบบท่เี ปน็ ทางการ เปน็ ตน้ ๒. การไม่ให้ความร่วมมอื ในกรณีนี้กลุ่มปฏิบัติการไร้ความรุนแรงจะทำการเพิกถอนความร่วมมือ เช่น ประชาชนอาจเพิกถอน อย่างส้ินเชิงต่อสมาชกิ ฝา่ ยตรงข้าม มองข้ามฝ่ายน้ันราวกับว่าพวกเขาไม่ได้ดำรงอยู่ ประชาชนปฏเิ สธที่จะซ้ือสินค้า ชนิดใดชนิดหนึ่ง พวกเขาอาจนัดหยุดงานหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายท่ีขาดศีลธรรม วิธีการไม่ให้ความร่วมมือมี ๓ วิธี คือ ๑) วิธีการไม่ให้ความร่วมมือทางสังคม เช่น การคว่ำบาตรทางสังคม คือปฏิเสธจะมีความสัมพันธ์ทางสังคม ตามปกติกับบุคคลที่มุ่งจะคัดค้านอีกต่อไป การระงับกิจกรรมทางศาสนา คือบุคลากรของพระศาสนาหยุดท ำ พิธีกรรมทางศาสนาบางทีก็ไม่ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมประเพณี ๒) การไม่ให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เป็นการหยุดยั้งหรือปฏิเสธท่ีจะมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างเฉพาะเจาะจง อาจแบ่งได้เป็นสอง กลุ่มหลักคือ การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ และการนัดหยุดงาน ๓) การไม่ให้ความร่วมมือทางการเมือง เป็นการปฏิเสธ ๑๑ ชัยวฒั น์ สถาอานันท์, อารยะขัดขืนกบั สังคมไทย, เอกสารวิชาการหมายเลข ๖. โครงการบรรยายสาธารณะ-ตลาด วชิ า-มหาวทิ ยาลัยประชาชน ๓๐ ปี ๑๔ ตลุ ากบั ประชาธปิ ไตย, ๑๖ สงหาคม ๒๕๔๖, (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๕), หนา้ ๓๑๔-๓๑๘.

พุทธสันตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๓๓ ท่ีจะมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบที่เคยมีส่วนร่วมภายใต้เงื่อนไขที่ดำรงอยู่โดยปกติจะต้องมีประชาชนจำนวน มากเข้าร่วมด้วยการพร้อมใจกันงดเว้นที่จะยนิ ยอม รว่ มมือหรือประพฤตปิ ฏบิ ัติการทางการเมืองดังท่ีเคยทำมาเป็น ชว่ั คราว ๓. การแทรกแซงโดยไร้ความรุนแรง วิธีการประเภทสุดท้ายของปฏิบัตกิ ารไรค้ วามรุนแรงคอื การแทรกแซงโดยไร้ความ รนุ แรงอันมวี ิธีการต่างๆ ซึ่งต่างจากสองวิธีแรก คือ การประท้วงหรือชักจูงและการไม่ให้ความร่วมมือในด้านต่างๆ ตรงท่ีวิธีการเหล่านี้ เป็นการแทรกแซงเข้าไปในทกุ สถานการณ์ การแทรกแซง เหลา่ นใ้ี ห้ผลไดท้ ้ังในแง่บวกและแง่ลบ อาจจะแยกสลาย หรือทาลายแบบแผนพฤติกรรมที่มีอยู่ นโยบายหรือสถาบันเห็นว่าสมควรคัดค้าน วิธีนี้บางทีก็ก่อให้เกิดแบบ พฤติกรรม นโยบาย ความสัมพันธ์ หรือสถาบันชนิดใหม่ ท่ีมหาชนพอใจ เมื่อเปรียบกับวิธีประท้วง การโน้มน้าว และ การไมใ่ หค้ วามร่วมมอื แล้ว วธิ ีการแทรกแซงโดยไร้ความรุนแรงน้ีเปน็ การท้าทายโดยตรงและ ฉับพลันกว่า ปัจจัยและเง่อื นไขความสำเร็จของสันติวธิ ี พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส๑๒ กล่าวว่า สันติวิธี ถือเป็น หลักการและเคร่ืองมือประการหน่ึงซ่ึงมนุษยชาติ มักจะนามาเป็นทางเลือกในการจัดการความขัดแย้ง และความรุนแรงที่เกิดข้ึนในชีวิตและสังคม ซึ่งจัดการ ความขัดแย้งที่เกิดจากผลประโยชน์ หากจะวิเคราะห์ที่มาของประวัติศาสตร์ในการใช้เครื่องมือนี้พบว่า มนุษยชาติ ไดใ้ ชเ้ ครื่องมือนี้ความต้องการ ค่านิยม ความสัมพันธ์ และอำนาจมาต้ังแตม่ นษุ ยไ์ ดอ้ ยู่ร่วมกันเป็นชุมชน และสังคม อย่างไรก็ดี ความรุนแรงเป็นเครื่องมือสำคัญอีกประการหน่ึงท่ีได้รับการเลือกสรรมาใช้ในกรณีท่ีตัวมนุษย์อับจน ปัญญา ไม่สามารถใช้เครื่องมือสันติวิธีได้อย่างประสานสอดคล้องกับตัวแปรและเงื่อนไขต่างๆ ที่เกิดข้ึนจนทำให้ บางกลุ่มมองว่า การใช้ความรุนแรงน่าจะเป็นอีกทางเลือกท่ีควรนำมาใช้จัดการกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐ ต่อรัฐ หรือระหว่างคนในรัฐเดียวกัน บางครั้งอาจจะไม่ใช่สงครามโดยตรงแต่อาจจะส่ือให้เห็นถึงสัญลักษณ์ ของความโน้มเอยี ง ทจ่ี ะทำให้เกิดความรุนแรง เชน่ กองกำลงั รักษาสนั ติภาพและปรมาณเู พ่ือสนั ติ จะเห็นว่า การจัดการความขัดแย้งด้วยสนั ติวิธี และการจัดการความขัดแยง้ ด้วยความรนุ แรง เปน็ หลักการ และเคร่ืองมือสำคัญที่มนุษย์มักจะเลือกนำมาใช้ในช่วงเวลาและสถานการณ์ท่ีแตกต่างกัน หากมนุษยชาติจัดการ ความขัดแย้งในมิติต่างๆ นั้น เขาควรจะคำนึงถึงปัจจัยและเงื่อนไขใดบ้าง จึงจะทำให้การจัดการความขัดแย้ง ประสบความสำเรจ็ โดยเฉพาะการตระหนักรู้ กระบวนการและขน้ั ตอนในการสรา้ งสันตภิ าพ ปจั จัยและเงือนไขที่จะทำให้สนั ติวธิ ีทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลน้ัน ไม่ไดข้ ้ึนอยู่กับสันตวิ ิธี แต่เพียงประการเดียวเท่าน้ันถึงแม้ว่าเราจะยอมรับว่าสันติวิธีคือทางเลือกท่ีดีท่ีสุดในการจัดการความขัดแย้งได้ อย่างย่ังยืน แต่ประเด็นท่ีควรใส่ใจมากยิ่งขน้ึ คือผู้ใชส้ ันติวธิ ี คำถามส่วนใหญ่ที่เรามักจะถามคือผู้ใช้สันตวิ ิธีมีความรู้ และความเข้าใจต่อสันติวิธีมากเพียงใด และสามารถประยุกต์ใช้เคร่ืองมือให้สอดรับกับสถานการณ์ความขัดแย้ ง ท่ีเกิดขึ้นในบริบทต่างๆ ได้ อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร ตัวแปรท่ีน่าจะสร้างความสำเร็จต่อการใช้สันติวิธี ควรประกอบดว้ ย วิธีคดิ วิธีการแสดงออกหรอื ท่าที และวิธกี ารประยุกต์ใชเ้ คร่อื งมือของสันตวิ ิธี ดังน้ี ๑.วธิ ีคดิ วิธีคิดในบริบทนี้ หมายถึง ความเข้าใจที่มีต่อตัวสันติวิธีและการมองสถานการณ์ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ในบริบทต่างๆ โดยมีสมมติฐานว่า ความเข้าใจท่ีแตกต่างนาไปสู่กระบวนการคิดและปฏิบัติที่แตกต่าง ประเด็นคือ การท่ีบุคคล หรือกลุ่มบุคคลมีความเชื่อและความเข้าใจต่อสันติวิธีในมุมมองท่ีแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเข้าใจความหมายของสันติวิธีที่แตกต่างกัน ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างต่างๆ ที่เกิดข้ึนในสังคมจะพบว่า ๑๒ พระมหาหรรษา ธมมฺ หาโส (นิธิบุณยากร), รูปแบบการจดั การความขดั แย้งโดยพทุ ธสันติวธิ ี : ศึกษาวเิ คราะห์กรณลี ุ่ม นำ้ แม่ตาชา้ ง จ.เชยี งใหม่, (ดุษฎีนพิ นธ์), พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพระพทุ ธศาสนา, (บัณฑิตวทิ ยาลัย, มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย, ๒๕๕๔), หนา้ ๒๐๗-๒๑๒.

พุทธสันติวธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๓๔ ในขณะท่ีรัฐมองว่าสันติวิธีหมายถึง การเคารพกฎหมายและการไม่ก่อความวุ่นวาย แต่ประชาชนมองว่า สันติวิธี คือการประท้วงเพ่ือเรียกร้องความต้องการ และการที่รัฐจะยินยอมตามเง่ือนไข การเจรจาน้ันมักขึ้นอยู่กับจำนวน ประชาชนท่ีรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์และความต้องการ ฉะนั้น เม่ือสองกลุ่มเข้าใจสันติ วิธีในแง่มุม ท่แี ตกต่างกันย่อมส่งผลต่อการปฏิบัตทิ ท่ี ั้งสองกลุม่ แสดงออกต่อกนั ๒.วธิ ีแสดงออกต่อกันและกัน ความขัดแย้งท่ีนำไปสู่ความรุนแรงในมุมต่างๆ ของโลกนั้น ในความเป็นจริงแล้ว ประเด็นปัญหาไม่ได้ เกิดจากการท่ีมนุษยชาติขาดเครื่องมือในการจัดการความขัดแย้งจึงทาให้ความขัดแย้งขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหาที่ปรากฏชัดในสถานการณ์ปัจจุบันคือ ท่ าทีที่คู่ขัดแย้ง แสดงออกต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นการพูด หรอื กลา่ วพาดพิงถงึ คู่กรณีในสถานการณ์ต่างๆ ท่มี ีลกั ษณะของการเหน็บแนมหรือสอ่ เสยี ดคู่กรณี จะเหน็ ว่า ท่าทีท่ี ไม่เป็นมติ รดังกล่าวทำใหช้ ่องว่างของความสัมพันธข์ องค่กู รณีเกดิ ภาวะสุญญากาศมากย่ิงขึน้ และทำให้กระบวนการ สร้างความปรองดอง ยากยิ่งข้ึนเช่นเดียวกนั ๓.วธิ ีการในการจัดการความขดั แยง้ ในการจัดการความขดั แย้งนั้น ปัญหาสำคัญอาจจะไม่ได้เกิดจากตัวสันติวธิ ีท่ีขาด ประสิทธิภาพ แต่ปัญหา ส่วนใหญ่ท่ีมักปรากฏในสังคมคือ นักสันติวิธีหรือผู้ใช้สันติวิธีไม่สามารถใช้หลักการและเคร่ืองมือให้สอดรับกับตัว แปรต่างๆ กล่าวคือ สอดรับกับสาเหตุของสถานการณ์และความเป็นไปของความขัดแย้ง สอดรับกับสาระและผล อันเกิดจากสาเหตุของความขัดแย้ง สอดรับและเหมาะสมกับตนเองทั้งในด้านความรู้ และความสามารถ ในการใช้เครื่องมือจัดการความขัดแย้ง สอดรับกับหลักการความพอดีและความเหมาะสมในการใช้เคร่ืองมือ สอดรับกับจังหวะ และเวลาของการเข้าไปใช้เคร่ืองมือสอดรับกับการปรับตนและแก้ไขตนให้เหมาะสมกับสภาพ ของกลุ่มและชุมชนท่ีมีส่วนได้ส่วนเสียต่อสถานการณ์ของความขัดแย้ง และสอดรับกับการปฏิบัติตน ให้เหมาะสม กบั บุคคล หรือกลมุ่ บคุ คลทีม่ คี วามแตกตา่ งกันทั้งความคดิ ค่านยิ ม และโครงสร้าง ๒.๘ ความสำเรจ็ ของสนั ตวิ ธิ ี การปฏิบัติการไร้ความรุนแรงหากมีเงื่อนไขครบทั้ง ๓ ประการแล้วก็คาดหวังได้ว่าจะ นำไปสู่ความสำเร็จ ซึง่ สังเกตไดจ้ ากการเปลี่ยนแปลงท่ีเกดิ ตามมาอย่างใดอย่างหนึง่ ใน ๓ แนวทางใหญ่๑๓ ดังน้ี ๑. การเปล่ยี นทรรศนะ (conversion) เมื่อใช้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงแล้ว ฝ่ายตรงข้ามจะมีปฏิกิริยาต่อการกระทำท่ีไร้ความรุนแรงจนท่ีสุด มีทัศนะใหม่โดยยอมรับจุดหมายของผู้ปฏิบัติการเหล่าน้ัน การเปล่ียนทัศนะนี้ ไม่ต่างจากการเปล่ียนทัศนะ ในด้านศรัทธาในศาสนาจากศาสนาหน่ึงมาเปน็ อกี ศาสนาหน่ึงมากนัก ๑๓ ชัยวฒั น์ สถาอานนั ท์, อารยะขัดขืนกบั สังคมไทย, เอกสารวิชาการหมายเลข ๖. โครงการบรรยายสาธารณะ-ตลาด วชิ า-มหาวิทยาลัยประชาชน ๓๐ ปี ๑๔ ตลุ ากบั ประชาธปิ ไตย, ๑๖ สงหาคม ๒๕๔๖, (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๕), หนา้ ๓๑๗-๓๑๘.

พุทธสันตวิ ธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๓๕ ๒. การถ่ายโอนตาม (accommodation) เม่ือใช้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง ฝ่ายตรงข้ามเลือกจะยอมตามข้อเรียกร้อง และปรับเปลี่ยนเข้ากับ สถานการณ์ใหม่ทเ่ี กิดข้ึน โดยมิไดเ้ ปล่ียนทรรศนะของตัวเองแต่อย่างใด เช่น คนงานโรงงานประสงค์จะได้เงินเดอื น เพ่ิมขึ้นจากเดิม แต่ทางฝ่ายผู้บริหารไม่ยินยอม คนงานจึงรวมตัวกันนัดหยุดงาน เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวดำเนินไป ก็ทำการผลิตไม่ได้ โรงงานก็ต้องขาดทุน ผู้บริหารมีทางเลือก คือ ไล่คนงานออกท้ังหมดซ่ึงอาจทำไม่ได้ด้วยเหตุผล ทางกฎหมาย หรือปิดโรงงาน ผู้บรหิ ารจึงเลือกที่จะขึ้นเงินเดือนเพราะพจิ ารณาว่า การโอนอ่อนตามความต้องการ ของคนงานเป็นทางเลือกท่ชี อบด้วยเหตุผลมากที่สดุ ๓. การบังคบั โดยไร้ความรนุ แรง (nonviolent coercion) เม่ือเผชิญกับปฏิบัติการไร้ความรุนแรง บางทีคู่ต่อสู้ของผู้ใช้ปฏิบัติการไร้ความ รุนแรงไม่ได้มีเจตนา ท่ีจะเปลี่ยนแปลงอะไร แต่ท่ีมาของอำนาจของฝ่ายตนถูกลดหรือถูกทาลายด้วย ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงจน ไม่สามารถควบคมุ สถานการณ์ได้ สรปุ ท้ายบท เม่ือพิจารณาถึงความหมายของสันติวิธี พบว่าเป็นคำที่มีการใช้กันมากแวดวงการศึกษาของไทยและมักใช้ คำว่าสันติวิธีปนกันกับคำว่า อหิงสา เพราะมีใจความบางประการท่ีคล้ายคลึงกัน เพียงแต่แตกตางกันตรงที่ คำว่า อหิงสา เน้นที่ศาสนธรรม ในขณะที่สันติวิธีเน้นไปที่กระบวนการทางสังคมและการเมือง ได้นิยามสันติวิธีว่า เป็นการแก้ไขความขัดแย้ง หรือการตอบโต้สถานการณ์หน่ึงๆ โดยไม่ใช้ความรุนแรงต่อคู่กรณี โดยเฉพาะอย่างย่ิง ท่ีเป็นการประทุษร้ายต่อร่างกายและชีวิต นอกจากนี้ สันติวิธี หมายถึง วิธีที่กลุ่มบุคคลหรือมวลชนใช้ต่อสู้ เพ่ือให้ได้ในส่ิงท่ีตนปรารถนาในบางอย่างหรือเพ่ือให้รัฐหรือผู้มีอำนาจเปล่ียนแปลงพฤติกรรมบางอยาง เช่น การจัดชุมนุมหยุดงานประท้วง การคว่ำบาตรทางด้านเศรษฐกิจ หรือวิธีฝืนกฎหมาย (ดื้อแพง) เช่น การปิดถนน เป็นต้น สนั ตวิ ิธี โดยรูปศัพท์กม็ นี ัยท่พี อเข้าใจกนั ไดค้ อื วิธอี ันสันตแิ ละนาไปสู่สนั ติ ดงั นัน้ สันติภาพ เม่ือมองจากมุม ของนักสันตวิ ิธีเทา่ กับวา่ สันติวิธนี นั่ แหละเปน็ ทง้ั การเดินทางและเปา้ หมายไปในตวั หมายความว่า ทกุ ครัง้ ท่มี กี ารใช้ สันติวิธีเท่ากับว่าสันติภาพได้เกิดขึ้นแล้วในขณะท่ีใช้นั้นเอง ซ่ึงสันติภาพท่ีเกิดข้ึนทุกขณะที่ใช้สันติวิธีนี้ เมื่อมากเข้า ก็จะทำใหค้ วามขัดแย้งและความรุนแรงในเรอื่ งนั้นๆ คลคี่ ลายลงไปกลายเป็นความสำเรจ็ ที่กว้างขึ้น หากนักสันติวิธีวางใจได้ ดงั กล่าวน้ี จะทำให้มกี าลังใจในการเดินหน้าด้วยสนั ตวิ ิธอี ย่างไม่ยอ่ ทอ้ เพราะความขัดแย้ง และความรุนแรงบางเรอ่ื งนั้นต้องใช้เวลาในการคล่ีคลายด้วยสันติเป็นเวลานานอาจจะผ่านจากคนยุค หนึ่งไปสู่อีก ยุคหน่ึงก็ได้ ดังน้ัน ความสำเร็จในเรื่องนั้นๆ จึงอาจไม่สามารถประจักษ์ได้ในขณะท่ีใช้สันติวิธีในเบื้องต้น และในท่ามกลาง แต่สันติวธิ ใี นขณะน้ันก็ได้เกิดข้ึนและผู้ใช้ไดป้ ระจักษด์ ้วยตนเองแล้ว

พุทธสนั ติวธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๓๖ คำถามทา้ ยบท ๑. จงให้ความหมายทว่ั ไปของสันติวิธีและตัวอย่างประกอบฯ ๒. จงใหค้ วามเห็นต่อความหมายของสันตวิ ธิ ตี ามสานกั สันติวิธีฯ ๓. สนั ตวิ ธิ ีประเภทใดท่เี ขา้ กบั ยคุ สมัยมากที่สุดฯ ๔. เงื่อนไขทส่ี ำคญั ทสี่ ุดในการปฏิบัติการตามสนั ติวธิ ีคอื ข้อใดเพราะเหตใุ ดฯ ๕. จุดอ่อนเชงิ คุณคา่ และความสำคัญของสนั ติวธิ ีเมอ่ื เทียบกับการแกป้ ัญหาโดยวิธีอน่ื คอื อยา่ งไรบา้ งฯ ๖. จงอธบิ ายการแกไ้ ขมายาคตขิ องสนั ติวิธีฯ ๗. จงเขียนแผนผงั ความคดิ แสดงพฒั นาการและวิธีการของสันติวธิ ีฯ ๘. จงแสดงแนวทางในการฝกึ ฝนนกั สันติวิธอี ย่างเป็นระบบฯ ๙. จงยกตวั อย่างการใช้สนั ติวิธใี นชีวติ ประจาวนั พร้อมยกตัวอยา่ งประกอบฯ ๑๐. สนั ตวิ ิธจี ะนำมาแกไ้ ขปญั หาความขดั แย้งทางการเมืองในประเทศไทยไดอ้ ย่างไรฯ

พทุ ธสันตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๓๗ เอกสารอา้ งอิงประจำบท โคทม อารยี า, การส่งเสริมสันติวธิ ี, เอกสาร ๓๐ ปี ๑๔ ตลุ า จดหมายข่าวประชาชน หน้า ๒๓ – ๒๕ ฉบบั ท่ี ๓ วนั ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖, (ออนไลน์) เข้าถึงจาก http://www.santipap.com/kotom.htm. 04/05/2551. ชัยวัฒน์ สถาอานนั ท์, อารยะขัดขนื กับสงั คมไทย, เอกสารวิชาการหมายเลข ๖. โครงการบรรยายสาธารณะ- ตลาดวิชา-มหาวิทยาลัยประชาชน ๓๐ ปี ๑๔ ตลุ ากบั ประชาธิปไตย, ๑๖ สงหาคม ๒๕๔๖, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๕. ชารป์ (Gene Sharp) และ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อ้างถึงใน พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นธิ ิบณุ ยากร), รปู แบบการ จดั การความขดั แยง้ โดยพุทธสันติวิธี : ศึกษาวิเคราะห์กรณลี ุ่มนำ้ แมต่ าช้าง จ.เชียงใหม่, (ดษุ ฎีนิพนธ์), พทุ ธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บณั ฑติ วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔. ประเวศ วะสี, ยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเอาชนะความยากจน กรุงเทพฯ, สถาบันชุมชนทอ้ งถน่ิ พฒั นาและสำนกั งาน กองทนุ เพ่ือสังคม, กรุงเทพมหานคร : ๒๕๔๕, คำนำ. พระมหาหรรษา ธมมฺ หาโส (นิธิบุณยากร), รปู แบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี : ศึกษาวิเคราะห์กรณี ลุ่มนำ้ แมต่ าช้าง จ.เชียงใหม,่ (ดษุ ฎีนิพนธ์), พทุ ธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บณั ฑติ วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔. ไพศาล วงศ์วรสทิ ธิ์, สร้างสนั ติดว้ ยมือเรา : คู่มือสนั ติวธิ ีสำหรับนักปฏิบตั กิ ารไร้ความรุนแรง, ศูนยศ์ ึกษาและ พฒั นาสันติวธิ ี (ศพส.), มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๓๓. ราชบัณฑติ , พจนานุกรม ฉบับราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, กรงุ เทพมหานคร : นานมีบุคส์ พบั ลิเคชันส์, ๒๕๔๖.

บทท่ี ๓ ความขดั แย้งในมนุษย์ วัตถุประสงคก์ ารเรียนประจำบท เม่ือได้ศึกษาเนือ้ หาในบทน้แี ลว้ ผ้ศู ึกษาสามารถ ๑. อธบิ ายสาเหตคุ วามขัดแย้งของมนษุ ยแ์ ละสงั คมได้ ๒. อธิบายความขัดแยง้ เป็นสิง่ หลีกเหลยี่ งได้ยากได้ ๓. อธิบายความขดั แย้งในพระอริยบุคคลได้ ๔. อธบิ ายบุญ ๖ อย่างฐานความขัดแยง้ ได้ ๕. อธบิ ายบาป ๓ อย่างฐานความขดั แย้งได้ ขอบขา่ ยเนือ้ หา • สาเหตคุ วามขดั แยง้ ของมนุษยแ์ ละสงั คม • ความขัดแยง้ เปน็ ส่ิงหลีกเหล่ยี งได้ยาก • ความขดั แยง้ ในพระอริยบคุ คล • บญุ ๖ อย่างฐานความขดั แยง้ • บาป ๓ อย่างฐานความขดั แย้ง

พทุ ธสันติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๓๙ ๓.๑ ความนำ ตั้งแต่ต่ืนนอนกระท่ังหลับตาลงนอน มนุษย์ทุกผู้คนต่างก็มีความขัดแย้ง ในการเลือกท่ีจะทำหรือไม่อะไร การเลือกมาคู่กับการตัดสินใจ การตัดสินใจคือการเลือกทิ้งอีกข้างแล้วทำอีกข้างหรือทำอีกอย่างท่ีไม่ได้เลือก เช่น เดินไปร้านอาหารเรายังมีข้อขัดแย้งภายใน สำหรับการเลือกส่ิงที่มีค่าหรือส่ิงท่ีเราต้องการ ทำนองว่าจะเอาคุณค่า หรือความอยาก มนุษย์จึงหลีกความขัดแย้งไม่ได้ เพราะเหตุใดมนุษย์และสังคมจึงต้องขัดแย้งกัน หรือว่าบนฐาน ของความขัดแย้ง แท้ท่ีจริงแล้ว เหตุผลที่ต้องขัดแย้งก็เพราะความขัดแย้งเป็นส่ิงจำเป็น (Necessary) หรือ เป็นธรรมชาติ (Nature) ของมนุษย์และสังคมน่ันเอง ฉะน้ัน มนุษย์และสังคมจึงไม่สามารถหลีกหนีความขัดแย้ง ดังที่ชัยวัฒน์ สถาอานันท์๑ ให้ความเห็นว่า “ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติไม่เคยว่างเว้นจากความขัดแย้ง ไม่ว่า จะในระดับบุคคล มนุษย์มิได้ถือกำเนิดมาเหมือนกันแต่เป็นความแตกต่างอันเป็นผลมาแต่พันธุกรรม หรือสภาพแวดล้อมทางสงั คม” จากสถานการณ์ความขัดแย้งท่ีเกิดข้ึนดังกล่าว ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า สุดท้ายแล้ว ความขัดแย้ง เป็นบุญที่ก่อให้เกิดการรังสรรค์สิ่งดีงามให้แก่สังคม หรือว่าเป็นบาปที่สาบมนุษย์และสังคมให้จมอยู่กับปัญหา และความวนุ่ วายระหวา่ งมนษุ ยแ์ ละสงั คม ในขณะท่ีนักขัดแย้งวิทยา (Conflict Theorists) ที่จัดอยู่ในกลุ่มของนักสังคมวิทยา (Social Theorists) มองว่า“มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” (Social Animals) ที่เป็นส่วนหน่ึงของสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของผลผลิต จากการคบหาสมาคมซ่ึงกันและกันของบุคคลในสังคม๒ ซ่ึงการท่ีมนุษย์จะสามารถดำรงชีวิตอยู่รอดในสังคมได้น้ัน ก็จำเป็นท่ีจะต้องอาศัยปัจจัยทางชีวภาพ๓ และปัจจัยด้านอ่ืนๆ เพื่อสนอง “ความต้องการ” ของตนเอง คำถาม มีว่า “ความอยากหรือความต้องการ” ได้เข้าไปสัมพันธ์กับความขัดแย้งอย่างไร เพราะการที่มนุษย์และสังคม ไม่เข้าใจธรรมชาตขิ องความอยากหรือความต้องการอย่างแทจ้ รงิ ใชห้ รือไม่ จึงทำให้ “ตดิ กับดกั ” ของความขดั แย้ง โดยเฉพาะอย่างย่ิง ประเดน็ ท่ีซามูเอล ฮันตงิ ตัน (Samuel Huntington)๔ ให้ความเห็นเร่ือง “การปะทะ กันทางวัฒนธรรม” จนทำให้ธีรยุทธ บุญมี๕ และสุรชาติ บำรุงสุข๖ ได้ตอกย้ำว่า รากฐานสำคัญของความขัดแย้ง ในลักษณะดังกล่าวเป็นเพราะชาติพันธ์ุ-ชาตินิยม (Ethno-Nationalism) ซ่ึง ชัยวัฒน์ สถาอานันท์๗ และรอฮีม ปรามาส๘ ก็มองว่า ลัทธิเผ่าพันธุ์- ลัทธิเชื้อชาตนิ ิยม (Ethnocentrism) และการยดึ หลักโดยเนน้ ศาสนาของตวั เอง เปน็ ศนู ยก์ ลาง (Religion Centric)นน้ั เป็นตัวแปรสำคัญทจี่ ะทำใหเ้ กิดความขดั แย้งในยุคปจั จุบัน ซง่ึ ประเด็นเหล่านี้ สัมพนั ธ์กบั ความอยาก โดยเฉพาะประเดน็ “ความอยากมี อยากเป็น” ในพระพุทธศาสนาดว้ ยหรอื ไม่ ๑ ชยั วฒั น์ สถาอานันท์, สนั ตทิ ฤษฏี/วถิ ีวฒั นธรรม, (กรงุ เทพมหานคร : เรอื นแก้วการพมิ พ,์ ๒๕๓๙), หนา้ ๓๖. ๒ Thoresten Sellin, Culture Conflict and Crime, (New York : Social Science Research Council, 1938). ๓ ม.ร.ว.พฤทธสิ าณ ชมุ พล, “สันตภิ าพภายใตเ้ ง่ือนไขของความขัดแย้งทางสังคมและการเมือง”, ใน มนุษย์กับสนั ตภิ าพ, (ศรีเพ็ญ ศภุ พทิ ยากลุ บรรณาธิการ), (กรุงเทพมหานคร : จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย, ๒๕๔๓), หนา้ ๔๑. ๔ นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้นำเสนอแนวคิด เร่ือง \"การปะทะกันของอารยธรรม” (The Clash of Civilizations ดู เพม่ิ เติมใน วารสาร Foreign Affairs ฉบบั Summer 1993 < http://www.zmag. org/terrorframe. htm 221144release date CPMPWBContents P. Member P>. ๕ ธีรยุทธ บุญมี, Road Map ประเทศไทย, กรงุ เทพมหานคร: สายธาร, ๒๕๔๗), หน้า ๓๖-๓๗. ๖ สุรชาติ บำรุงสุข, “สงครามข้ามรัฐ-สงครามในรัฐ: จากสถานการณ์โลกถึงภาคใต้”, ใน มติชนสุดสัปดาห์ (ฉบับที่ ๑๒๔๙) : ๓๓. ๗ ชยั วัฒน์ สถาอานันท์, อาวุธมีชีวิต, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพมิ พ์ฟา้ เดยี วกัน, ๒๕๔๖), หน้า ๓๐-๓๕. ๘ รอฮีม ปรามาส, สงครามอนาคต และนวตั กรรมทางการทหาร, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๔๗), หน้า ๓๖.

พุทธสันติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๔๐ พระพุทธศาสนาซึ่งถือได้ว่าเป็น“ศาสนาแห่งสันติ”๙มีท่าทีต่อปัญหาข้างต้นอย่างไร พระพุทธศาสนา ยอมรับได้หรือไม่ว่า“ความขัดแย้งเป็นธรรมชาติของมนุษย์และสังคม”๑๐ พระพุทธเจ้าทรงมองความขัดแย้ง อย่างไร ทรงมองว่าเป็น “ธรรมชาติของมนุษย์” ซ่ึงถือได้ว่าเป็น “ส่ิงที่มนุษย์หลีกเล่ียงไม่พ้นใช่หรือไม่” หรือทรง มองว่า “ความขัดแย้งไม่ใช่ธรรมชาติของมนุษย์” หากคำตอบเป็นไปในลักษณะน้ี พระองค์นำเสนอคำว่า “ทุกข์” ใน “ไตรลักษณ”์ และพยายามจะยำ้ ว่า “เราสอนเร่ืองทุกขก์ ับความดบั ทุกข์” ขน้ึ มาเพ่อื อะไร ในขณะเดียวกัน หากคำสอนเร่ือง “ความทุกข์” คือ “ความขัดแย้ง” ของชีวิตในเชิงปัจเจก และเชงิ สังคม วิทยา ซ่ึงเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เข้าใจละหรือจดั การแล้ว ถ้าเป็นเช่นน้ี มนุษยแ์ ละสังคมควรจะกำหนดรู้ และมีท่าที ตอ่ ความขัดแยง้ อย่างไรจึงดำเนินชีวิตได้อยา่ งประสานสอดคล้องและมีความสุขบนโลกของความแตกต่างท่ปี รากฏ ในสังคมปัจจุบัน ๓.๒ สาเหตุความขดั แยง้ ของมนษุ ย์และสังคม เมื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา จะพบคำตอบ ใน ๒ ประเด็นใหญ่ๆ ด้วยกนั กล่าวคือ ๑. เหตุปจั จยั ภายในทีก่ อ่ ใหเ้ กดิ ความขดั แย้ง “ปปัญจธรรม” ซึ่งหมายถึง “ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า” ถือได้ว่าเป็นตัวแปรสำคัญประการหนึ่งท่ีทำให้ มนุษย์และสังคมเกิดความขัดแย้ง เหตุผลสำคัญที่ทำให้หมวดธรรมกลุ่มนี้ได้ช่ือว่า“เน่ินช้า” ก็เพราะเมื่อเกิดขึ้น หรือมีอยู่ในบุคคลใด หรือองค์กร หรือกลุ่มบุคคลใด จะทำให้บุคคล หรือองค์กรน้ันเกิดการพัฒนาไปอย่างล่าช้า หรือพฒั นาศักยภาพภายในไดอ้ ยา่ งลา่ ชา้ นน่ั เอง “ปปัญจธรรม” น้ี ประกอบไปด้วยหลักธรรมที่สำคัญ ๓ ประการ กล่าวคือ ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ๑๑ ท้งั ๓ ประการถือไดว้ ่า มอี ทิ ธิพล และมีความสำคญั อยา่ งยงิ่ ทกี่ อ่ ให้เกิดความขัดแยง้ ขึน้ ในบุคคลหรือกลมุ่ บุคคล ๑.๑ ตณั หา: ท่มี าของความขดั แยง้ “ตัณหาเป็นท่ีมาของความขัดแย้งอย่างไร” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตัณหาเป็นตัวจุดชนวนให้เกิด ความขัดแย้งในแง่ของการทะเลาะวิวาทก็เพราะมีคำว่า “ส่ิงเป็นที่รัก” เข้ามาเก่ียวข้อง เพราะหากวเิ คราะห์คำว่า ๙ คำว่า “ศาสนาแห่งสันติ” นี้ สรุปและประเมินจาก ๓ หลักการใหญ่ กล่าวคือ (๑) หลักการแห่งสันติเชิงปรมัตถ์ที่ ช้ีใหเ้ หน็ ว่า “สุขอ่นื ยงิ่ กวา่ ความสงบไมม่ ”ี (นตฺถิ สนฺตปิ รํ สุข)ํ , ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๒๐๒/๕๒(๒) หลักการแห่งสันติเชิงสงั คม หรือเชิง สมมติท่ีไม่เห็นด้วยกับการบาดหมาง การทะเลาะ วิวาท อาฆาต ทำลายซึ่งกันและกัน (บาลี) ๒๕/๗๘๗-๗๙๔/๔๘๘-๔๙๐, ขุ.สุ. (ไทย) ๒๕/๗๘๗-๗๙๔/๖๙๐-๖๙๑, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอหลักการที่ว่า “บุคคลท่ีจะช่ือว่าประเสริฐทั้งกาย วาจา และใจ หรอื เป็นคนดีนั้นไม่ใช่เพราะการเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย (อหึสา สพฺพปาณานํ)”, (บาลี) ๒๕/๒๗๐/๖๓. ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๒๗๐/ ๑๑๖. ขุ.อปทาน. (บาลี) ๓๒/๒๑/๓๕๘, (ไทย) ๓๒/๒๑/๔๘๖ และ (๓) องค์การสหประชาติยกยอ่ งให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญ สากลของสหประชาตเิ พราะเปน็ ศาสนาแห่งสันติภาพใน ๒๕๔๑. ๑๐ นักคิดท่ีมองความขัดแย้งในลักษณะน้ี ประกอบไปด้วยนักคิดต่างประเทศ เช่น จอร์ด ซิมเมล ราล์ฟ ดาห์ เรนดอร์ฟ เจมส์ โค เป็นต้น ส่วนนักคิดของประเทศไทย เช่น พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต) วันชัย วัฒนศัพท์ ชัยวัฒน์ สถา อานันท์และสมภาร พรมทา (ดูรายละเอียดใน พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส “รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี : ศกึ ษากรณีลุ่มน้ำแมต่ าช้าง จ.เชยี งใหม่”, บณั ฑติ วทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย, ๒๕๔๘. ๑๑ ขุ.ม. (บาลี) ๒๙/๗๔/๑๕๗. ขุ.ม. (บาลี) ๒๙/๘๑/๑๗๐. ขุ.ม. (บาลี) ๒๙/๑๐๙/๒๓๑. ธรรมเป็นเครื่องเน้นช้า คือ ตณั หา ทิฏฐิ และมานะ ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๑๐๙/๓๓๑.ธรรมเป็นเคร่อื งเนนิ่ ช้า มตี ัณหาเป็นต้น ชื่อวา่ ธรรมเป็นส่วนแหง่ ความเนิน่ ช้า ในพระสูตรบางแห่งเรียงปปัญจธรรมโดยเร่ิมจาก “ตัณหา มานะ และทิฏฐิ” ดูเพิ่มเติมใน ม.อุ.(ไทย) ๑๔/๓๙๓/๔๔๕. เป็นท่ีน่า สงั เกตวา่ ในเลม่ ท่ี ๒๙ นจ้ี ะเรียงตามท่ีปรากฏในงานวิจัยนที้ ง้ั สนิ้ .

พทุ ธสันติวิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๔๑ “สิ่งเป็นที่รัก” ย่อมมีนัย ๒ ประการ กล่าวคือ “สัตว์๑๒ และสังขาร๑๓” ส่ิงที่เป็นท่ีรักทั้ง ๒ ประการนี้จัดได้ว่า เป็น “หัวเช้ือ” สำคัญท่ีทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน เพราะมนุษย์มีความหวาดระแวงว่าส่ิงที่ตนเองรักนั้นจะถูก บคุ คลอนื่ แย่งไป กำลังถูกแย่งไป หรือถูกแยง่ ชิงไปแลว้ ขณะเดยี วกัน เม่ือสงิ่ ที่ตนเองรักจะผันแปรไป กำลังผันแปร ไป หรือได้ผันแปรไปแล้ว๑๔ อาการเหล่านี้น่ีเองที่ทำให้มนุษย์ต้องทะเลาะวิวาทกันเพ่ือช่วงชิง “ภาวการณ์นำ” เพ่ือให้สง่ิ น้นั “คงดำรงอยู่กบั ตน” โดยการยดึ มนั่ ในสิ่งเหล่าน้นั ว่าเป็นของเราด้วยอำนาจแหง่ ตณั หา ในประเด็นเดียวกันน้ี พราหมณ์อารามทัณฑะได้ถามพระมหากัจจายนะว่า “อะไร คือ เหตุปัจจัย ท่ีทำให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างกษัตริย์กับกษัตริย์ พราหมณ์กับพราหมณ์ และคฤหบดีกับคฤหบดี” คำตอบ ก็สอดคล้องกับประเด็นเบื้องต้นว่า “เพราะความยึดมั่นกามราคะ ตกอยู่ในอำนาจกามราคะ กำหนัดยินดีในกาม ราคะ ถูกกามราคะกลุ้มรุม และถูกกามราคะครอบงำเป็นเหตุ” ๑๕ อย่างไรก็ตาม กามทั้งหลายยังทำให้ “มารดา กับบตุ ร บุตรกับมารดา บิดากบั บุตร บตุ รกับบิดา พ่ีน้องกัน ยอ่ มถึงการทะเลาะ แก่งแย่ง และวิวาทกนั ทำรา้ ยกัน และกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ท่อนไม้บ้าง ศัสตราบ้าง ถงึ ความตายในที่นั้นบ้าง ได้รับทุกข์ปางตายบ้าง” และเพราะกามนั่นเองจึงทำให้ “ ชนท้ังหลายถือดาบและโล่ จับธนูพาดลูกศรบ้าง ว่ิงเข้าสู่สงครามปะทะกันท้ัง ๒ ฝ่าย เม่ือพวกเขายิงลูกศรไปบ้าง พุ่งหอกไปบ้าง กวัดแกว่งดาบฟันบ้าง ชนเหล่าน้ัน ถูกลูกศรเสียบเอาบ้าง โดย หอกแทงบ้าง ถกู ดาบตัดศีรษะ พวกเขาตายในทน่ี ัน้ บา้ ง...๑๖ สิ่งท่ีสามารถยืนยันสมมติฐานข้อนี้ได้ดีที่สุดก็คือ ประเด็นท่ีว่าด้วย “สงครามน้ำ”ระหว่าง ชาวศากยะและโลกิยะก็จัดได้ว่า เป็นสงครามที่เริ่มต้นด้วยการแย่งชิงทรัพยากรน้ำ เพ่ือนำไปใช้ในเชิงกสิกรรม นอกจากน้ัน สงครามระหว่างพระเจ้าปเสนทิโกศล และพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นการแย่งชิงดินแดน และพ้ืนที่ทาง เศรษฐกิจ หรือสงครามระหว่างพระเจ้าอชาตศัตรูกับเจ้าลิจฉวีเพื่อแย่งชิงคันธชาต สงครามเหล่านี้ จัดได้ว่าเป็น “สงครามวตั ถกุ าม” ท้ังสน้ิ โดยมี “ตัณหา” เปน็ ผู้บญั ชาการอยู่เบอ้ื งหลังการดำเนนิ กจิ กรรมตา่ งๆ ภายนอก ๑.๒ ทฏิ ฐิ: ท่มี าของความขัดแย้ง คำว่า “ทิฏฐิ” หมายถึง “ความเห็น” หรือ “ลัทธิ” ทิฏฐิในบริบทน้ีได้แก่ทิฏฐิ ในแง่ “ลบ” ประกอบไปด้วยสักกายทิฏฐิ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิ ๑๐ อันตคาหกิ ทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ จนถึงทิฏฐิ ๖๒๑๗ การที่มนุษย์ยึดมั่น ถือมั่นในทิฏฐิ (ทิฏฐุปาทาน) อย่างใดอยา่ งหนึ่งดังท่ีได้กล่าวแลว้ จงึ ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันในกลุ่มของคนท่มี ี ความเห็นแตกต่างกันแต่ไม่ยอมรับ๑๘ความคิดเห็นของคนอ่ืน เนื่องจากบุคคลแต่ละคนมีจุดยืนของตัวเอง ด้วยเหตุผลดังกล่าว พระพุทธเจ้าทรงย้ำว่า “ชนเหล่าใดยังถือทิฏฐิ๑๙ ชนเหล่านั้น ย่อมเที่ยวกระทบกระท่ังกัน ในโลก” ๒๐ และ “สตั ว์ท้ังหลายผู้ยดึ ถอื ในทฏิ ฐิทั้งหลายวา่ ยอดเยี่ยม ยอ่ มทำทิฏฐิใดใหย้ ง่ิ ใหญใ่ นโลก กล่าวทฏิ ฐิอ่ืน ทุกอย่างนอกจากทิฏฐนิ ้ันว่าเลว เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงไม่ล่วงพ้นการวิวาทไปได้” ๒๑ ดังจะเห็นได้จากกรณี ๑๒ สัตว์ ไดแ้ ก่ มารดา บิดา พช่ี ายนอ้ งชาย พี่สาวน้องสาว บตุ ร ธดิ า มติ รหรือผรู้ ่วมสายโลหติ เปน็ ตน้ ๑๓ สังขาร ไดแ้ ก่ รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทนี่ ่าพอใจ ๑๔ ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๘๙/๓๐๑-๓๐๒. ๑๕ อง.ทุก. (ไทย) ๒๐/๓๘/๘๓. ๑๖ ข.ุ จ.ู (ไทย) ๓๐/๑๓๖/๔๔๓-๔๔๔. ๑๗ ขุ.ม. (ไทย) ๒๙/๑๗๔/๔๙๒-๔๙๔. ๑๘ บาลีใช้คำว่า “ไม่ยอมรับธรรมของคนอ่ืนเลย” อธิบายว่า “ไม่ยอมรับ คือไม่เห็นตามไม่คล้อยตาม ไม่ยินดีตามธรรม คอื ทฏิ ฐิ ปฏปิ ทา มรรค ของผูอ้ ื่น. ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๑๑๕/๓๔๑. ๑๙ ซ่งึ ทฏิ ฐติ ามนัยนีก้ ็คือ “โลกเทย่ี ง... หรือหลงั จากตายไปแลว้ ตถาคตจะว่าเกิดอกี กไ็ ม่ใช่ จะวา่ ไม่เกดิ อกี กไ็ มใ่ ช่” เปน็ ตน้ เมอื่ ยืดถอื จึงกระทบกระท่ังกนั ทำรา้ ยกนั ดว้ ยอำนาจแหง่ ทฏิ ฐิ ขุ.ม. (ไทย) ๒๙/๘๒/๒๔๔-๒๔๕. ๒๐ ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๘๒/๒๔๓. ๒๑ ข.ุ สุ. (ไทย) ๒๕/๘๐๓-๘๐๗/๖๙๔.

พุทธสันติวธิ ี ๒๐๙ ๔๑๐ ๔๒ ของพราหมณ์ที่ถือทิฏฐิต่างกันว่า สิ่งทั้งปวงเป็นท่ีพอใจแก่เรา สิ่งทั้งปวงไม่เป็นที่พอใจแก่เรา บางส่ิงเป็นที่พอใจ แกเ่ รา และบางสิ่งไมเ่ ป็นท่ีพอใจแกเ่ รา” จึงท่มุ เถียงกนั เมอื่ ทุ่มเถียงกัน ทำลายกนั และเบยี ดเบยี นกัน๒๒ อย่างไรก็ตาม การขัดแย้งกันในลักษณะนี้ มิได้เกิดข้ึนเฉพาะพราหมณ์หรือเจ้าลัทธิต่างๆ แต่ประการใดแม้ในหมู่สมณะก็เช่นเดียวกัน ดังที่พราหมณ์อารามทัณฑะ ได้ถามพระมหากัจจายนะว่า “อะไร เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้สมณะขัดแย้งกับสมณะ” ท่านก็ตอบว่า “เพราะความยึดมั่นทิฏฐิราคะ ตกอยู่ในอำนาจทิฏฐิ ราคะ กำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ ถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และถูกทิฏฐิราคะครอบงำเป็นเหตุ แม้สมณะก็ขัดแย้ง กับสมณะ” ๒๓ กรณีศึกษาที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ การท่ีพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีถกเถียงกันเก่ียวกับ “น้ำ ท่ีเหลือไว้ในกระบวยเป็นอาบัติหรือไม่”ประเด็นน้ีได้สะท้อนแนวคิดในเชิง“ทิฏฐิวิวาทะ” ได้เช่นเดียวกัน เพราะพระวินัยธร และพระธรรมกถึกต่างก็มีจุดยืนของตัวเอง จึงทำให้ข้อขัดแย้งลุกลามไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้น ประเด็นที่เกี่ยวข้องในการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ถึง ๓ ก็เช่นเดียวกัน ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ระหวา่ งพระปุราณะกับพระสงฆ์ กระแสหลกั ทีน่ ำโดย พระมหากัสสปเถระเก่ยี วกบั การตคี วามวตั ถุ ๘ ประการกด็ ี การตีความพุทธบญั ญัติทีแ่ ตกต่างกนั ระหว่างพระยสกากัณฑบุตรและคณะ ที่เป็นพระสงฆ์กระแสหลักกบั พระภกิ ษุ เมอื งวัชชี เปน็ ตน้ กด็ ี เหล่านีล้ ้วนสะทอ้ นนัยท่ีน่าสนใจเกีย่ วกบั “การยึดมน่ั ในทิฏฐิ” ของตนทง้ั ส้ิน เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว “ทิฏฐิ” จัดได้ว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พราหมณ์ เจ้าลัทธิหรือสมณะต่างๆ ต้องทะเลาะวิวาทกัน เพียงเพราะต้องการรักษาจุดยืนของตนเองเอาไว้ โดยไม่ยอมรับ หรือสนใจแนวคิดของคนอื่น และนอกจากการไม่ยอมรับและไม่สนใจแล้ว ยังเป็นที่มาของการดูถูก และเหยียด หยามดงั พุทธพจนท์ ีว่ า่ ๒๔ “สตั วเ์ กิดผู้ยดึ ถอื ในทิฏฐิท้ังหลายว่ายอดเย่ียม ยอ่ มทำทิฏฐใิ ดให้ย่งิ ใหญ่ในโลก กลา่ วทิฏฐอิ ืน่ ทุกอยา่ งนอกจากทิฏฐินน้ั วา่ ‘เลว’ เพราะฉะนั้น สัตวเ์ หลา่ นั้นจึงไมล่ ่วงพ้นการวิวาทไปได้” ประเด็นท่ีทำให้ผู้เขียนตงั้ ข้อสงั เกตกค็ ือว่า อะไรเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำใหเ้ จ้าลัทธิ หรอื บุคคลใด บุคคลหน่ึงยกย่องลัทธิ หรือแนวคิดของตัวเอง แล้วทับถมแนวคิดอื่นว่า “ใช้ไม่ได้” หรือ “ไม่เข้าท่า” คำตอบ ที่ค้นพบก็คือ เจ้าลัทธิหรือเจ้าของแนวคิดต่างๆ เห็นช่องทางท่ีจะได้รับผลประโยชน์ใน ๒ ด้านด้วยกัน๒๕ กล่าวคือ อานิสงส์ในชาติน้ี ซึ่งได้แก่ ได้รับผลประโยชน์ในแง่ของสักการะ ความเคารพ การนับถือ การบูชา การยำเกรง จากผู้ท่ีนับถือ และชื่นชอบในแนวคิดต่างๆ และอานิสงส์ในชาติหน้า ได้แก่ การเช่ือมั่น และยึดม่ันในทิฏฐิดังกล่าว น้ัน จะเป็นเหตเุ ปน็ ผลให้ตัวเองไดไ้ ปเกิดภพและภูมิทต่ี ัวเองต้องการ และแนวคิดนี้จะเปน็ สะพานใหต้ ัวเองทอดเดิน ไปสู่ความบริสทุ ธห์ิ มดจดได้ เหตุผลทั้ง ๒ ประการดังกล่าว จัดได้ว่าเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้บุคคล หรือกลุ่มบุคคลพยายามรักษา “ที่ม่ัน” “จุดยืน” เอาไว้ให้ได้ เพราะการพยายามรักษา “ที่มั่น” ย่อมหมายถึงการรักษา “พ้ืนที่” ของการดำเนิน ชีวิตในสังคมได้อย่างสมเกียรติ และมีความสุขในโลกน้ี นอกจากน้ัน การท่ีบางคนพยายามรักษาจุดยืนของตัวเอง เอาไว้อาจเป็นเพราะการเล็งผลเลิศว่า แนวคิดของตัวหรือกลุ่มของตนก่อให้เกิดสันติสุขในโลกหน้า หรือภพหน้าได้ ถึงแม้ว่าการรักษาจุดยืนดังกล่าวต้องแลกมาด้วยการทะเลาะวิวาท หรือต้องฆ่าคนอ่ืนๆ ท่ีไม่เห็นด้วยกับแนวคิด ของเราหรือการใช้คนอื่นเป็นเครื่องมอื ในการทำลายลา้ งคนท่ีไม่เห็นดว้ ยกบั ตวั เอง และหากต้องการให้สถานการณ์ ๒๒ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๒๐๒-๒๐๔/๒๓๙-๒๔๒. ๒๓ ทฏิ ฐิราคะในทน่ี ้ี หมายถงึ ราคะทีเ่ กดิ ขน้ึ เพราะอาศยั ทิฏฐิ ๖๒ ประการเป็นเหตุ อง.ฺ ทกุ .อ. ๒/๓๘/๔๘. ๒๔ ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๓๑/๑๒๓. ๒๕ ขุ.ม. (ไทย) ๒๙/๓๒-๓๓/๑๒๕-๑๒๖.

พุทธสนั ตวิ ิธี ๒๐๙ ๔๑๐ ๔๓ ความรุนแรงดังกล่าวเต็มไปด้วยความสมเหตุสมผลมากย่ิงข้ึนก็อาจจะฆ่า หรือทำลายเครื่องมือท่ีตนเองใช้งาน เรียบร้อยแล้วก็ได้ ดังจะเห็นได้จากการท่ีกลุ่มเดียร์ถีย์ได้ใช้นางสุนทรีเป็นเครื่องมือในการกำจัดพระพุทธเจ้า เป็นกรณีศึกษา เพียงเพราะต้องการได้ลาภ สักการะ และการนับถือจากคน อ่ืนๆ ในสังคม หลังจากน้ันก็ได้สง่ั ให้ ฆา่ นางสนุ ทรี ๑.๓ มานะ: ทม่ี าของความขดั แย้ง พระพุทธเจ้าให้คำจำกัดความคำว่า “มานะ” ว่า “การถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความท่ีจิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธง”๒๖ ปัญหากค็ ือ “อะไรท่ีทำให้มนษุ ย์สำคญั ตัวว่าดีกวา่ คนอืน่ ” จากการศึกษาพบว่า มนุษย์ใช้สถานะของความเป็นชาติ โคตร ความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ความเป็นผู้มีรูปงาม ทรัพย์ การศึกษา หน้าท่ีการงาน หลักแห่งศิลปวิทยา วิทยฐานะ ความคงแก่เรียน ปฏิภาณ หรือสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วว่า เราเลิศกว่าเขา”๒๗ หากวิเคราะห์ใน ประเด็นนี้ก็คือ มนุษย์ได้อาศัยคุณสมบัติดังกล่าวเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสดงตน หรือแสดงตัวว่า “ตัวเองดี” หรือ “เด่นกว่า คนอน่ื ” ในคุณสมบัตเิ หล่านนั้ และนน่ั จึงเป็นท่มี าของการ “ถือตวั ” และ “ยึดมน่ั ในความถอื ตัว” ประเด็นจึงอยู่ตรงที่ว่า “การถือตัว ความลำพอง หรือความทะนงตน” น้ัน ทำให้เกิด การทะเลาะวิวาท จนนำไปสู่การฆ่ากัน หรือการทำสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันได้อย่างไร ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้ใด สำคัญว่า เราเสมอเขา เลิศกวา่ เขา หรือด้อยกว่าเขา ผู้นน้ั พึงต้องววิ าทกนั ด้วยความถือตัวนัน้ ” ๒๘ สาเหตุสำคัญก็เพราะว่าการถือตัวดังกล่าวน้นั นำไปสูก่ ารลบหลู่ ดูหม่ิน และเกลียดชงั คน อน่ื ดังจะเห็นได้ ชัดเจนจากกรณีของ “เจ้าศากยะ” มีความถือตัวว่า เผ่าพันธุ์ของตัวเองเป็นเผ่าพันธ์ุที่ดี บริสุทธิ์ และวิเศษกว่าคน อื่น ฉะน้ัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่ธิดากษัตริย์ศากยะจะต้องไปแต่งงานกับพระเจ้าปเสนทิโกศลท่ีมี “ท่ีมา” หรือ “ต้นกำเนิดไม่ชัดเจน”และในขณะเดียวกัน การท่ีลูกหลานของเจ้าศากยะจะไหว้พระเจ้าวิฑูฑภะ ก็เป็นเรื่อง ที่เป็นไปไม่ได้เช่นเดียวกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่พระเจ้าวิฑูฑภะซึ่งเป็นลูกนางทาสีจะนงั่ ตั่งของเจ้าศากยะ ก็นับเป็นการกระทำที่ “น่ารังเกียจ” ฉะน้ัน จึงต้องใชน้ ้ำนมลา้ ง การกระทำและแสดงออกในลักษณะนี้ ย่อมนับว่า เป็นการดูหม่ิน ชิงชังและรังเกียจคนอ่ืน และการกระทำดังกล่าวน่ันเองได้นำไปสู่ “ภาวะแห่งการเกลียดชัง” ที่พระเจ้าวฑิ ูฑภะมตี อ่ เจ้าศากยะจนนำไปสู่ “สงครามฆา่ ล้างเผา่ พันธ์ุ” ในทส่ี ดุ ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้วทำให้พระพุทธเจ้าต้องย้ำเตือนพระภิกษุทั้งหลายว่า๒๙ “ภิกษุไม่พึงสำคัญตน ว่า เราเลิศกว่าเขา เราด้อยกว่าเขา หรือว่าเราเสมอเขาเพราะคุณธรรมนั้น” การย้ำเตือนในลักษณะดังกล่าวน้ัน ย่อมเป็นเพราะพระองค์ได้ทรงมองเห็นหายนะที่จะเกิดข้ึนแก่ตัวของพระภิกษุในแง่ของการฝึกฝนพัฒนาตนเอง และการดำรงตนอยู่ในสังคมสงฆแ์ ละสังคมอ่ืนๆ จะพบว่า เกิดจากรากเหง้าท่ีสำคัญ ๓ ประการ กล่าวคอื “ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ” รากเหง้าเหลา่ น้ีถือได้ วา่ “เป็นส่ิงที่กอ่ ใหเ้ กิดความเน่ินช้า” ในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ และเหน่ียวร้งั การพัฒนาองค์กรและสังคมดว้ ย ดังจะเห็นว่าเหตุการณ์ต่างๆท่ีเกิดขึ้นในสังคมท่ีเก่ียวข้องกับการทะเลาะวิวาทจนนำไปสู่การฆ่ากันหรือทำลาย กัน นน้ั ล้วนเกดิ จากรากเหง้าเหลา่ น้ีท้งั สนิ้ ฉะนนั้ กระบวนการแก้ไขปัญหาจงึ ไม่ได้มองเพยี งแค่ปรากฏการณ์ภายนอก เท่านั้น หากต้องมองเข้าไปเพ่ือทำการศึกษา และเข้าใจในมิติภายในด้วย จึงทำให้ปัญหาได้รับการแก้ไขอย่างตรง จุดและรอบดา้ น ๒.เหตปุ จั จัยภายนอกท่กี อ่ ให้เกดิ ความขดั แย้ง ๒๖ ขุ.จ.ู (ไทย) ๓๐/๑๐๓/๓๕๓. ดูเทยี บใน ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๑๗๘/๕๑๐. ๒๗ ขุ.จ.ู (ไทย) ๓๐/๑๐๓/๓๕๑-๓๕๓. ดูเทยี บใน ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๑๗๘/๕๐๘-๕๑๐. ๒๘ ข.ุ ม. (ไทย) ๒๒/๗๗/๒๓๑. ๒๙ ขุ.ม. (ไทย) ๒๙/๑๕๓/๔๒๐.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook