Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การสอนการบริหารจิตและเจริญปัญญา

การสอนการบริหารจิตและเจริญปัญญา

Description: การบริหารจิต หมาย ถึง การบำรุงรักษาจิตให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์ ซึ่งต่างกับการบริหารกาย เพราะการบริหารกายต้องทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอแต่การบริหารจิต จะต้องฝึกฝนให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งการฝึกจิตให้สงบ คือการทำสมาธินั่นเอง

Keywords: การสอนการบริหารจิต เจริญปัญญา

Search

Read the Text Version

๑๔๔ เอกสารอา้ งอิงประจำบท พระสทั ธัมมโชตกิ ะ ธัมมาจรยิ ะ, ปรมตั ถโชตกิ ะ ปรจิ เฉทที่ ๙ เล่ม ๑ สมถกรรมฐานทีปนี (หลักสตู รช้ันมชั ฌมิ อาภิธรรมิกโท). พระปัญญาวโร ภิกขุ, หลักการปฏิบัติ วิปัสสนาเบอ้ื งต้น, แปลโดย ฉัตรนคร องคสงิ ห์ กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พม์ หาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั ,๒๕๕๕. พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ), มหาสติปฏั ฐานสตู ร, แปลโดย พระคนั ธสาราภิวงศ์ ,กรงุ เทพมหานคร : ห้างหนุ้ สว่ นจำกดั ไทยรายวนั การพมิ พ์, ๒๕๔๙. พระอุปตสิ สเถระ, คัมภีร์วมิ ตุ ตมิ รรค, แปลโดย พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจติ โฺ ต) และคณะ แปลจากฉบับภาษาอังกฤษ ของพระเอฮารา พระโสมเถระ และพระเขมนิ ทเถระ, พมิ พ์ครั้งที่ ๖, กรงุ เทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศยาม, ๒๕๕๔. พระพทุ ธโฆสเถระ, คมั ภรี ว์ ิสุทธิมรรค, แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานกุ รมพทุ ธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, ๒๕๕๑. อาจารยป์ ัญญา ใชบ้ างยาง, ธรรมาธิบาย หลกั ธรรมในพระไตรปฎิ ก, พมิ พ์ครัง้ ที่ ๑, กรงุ เทพมหานคร : ธรรมสภา, ๒๕๔๘. รศ. ดร. สุจิตรา อ่อนคอ้ ม, การฝกึ สมาธิ, พิมพ์คร้ังที่ ๑๐, (กรงุ เทพมหานคร) : สำนักพมิ พ์ดอกหญ้า กรุ๊ป, ๒๕๔๙. สมเด็จพระพทุ ธชินวงศ์ (สมศักด์ิ อปุ สมมหาเถระ) ศาสตราจารยพ์ เิ ศษ, ป.ธ.๙, M.A., Ph.D., อรยิ วังสปฏปิ ทา, กรุงเทพมหานคร : หา้ งหุน่ สว่ นจำกัด ประยรู สาส์นไทย การพมิ พ์, ๒๕๕๔.

บทที่ ๗ เมตตาภาวนาในการปฏิบตั วิ ิปัสสนา วัตถุประสงคก์ ารเรยี นรปู้ ระจำบท เม่อื ได้ศึกษาเนอื้ หาในบทนแ้ี ล้ว ผู้เรียนสามารถ ๑. อธบิ ายความหมายวปิ สั สนาได้ ๒. บอกอารมณว์ ปิ ัสสนาได้ ๓. อธิบายการเจริญวิปสั สนาตามหลกั สตปิ ฏั ฐานได้ ๔. อธบิ ายเมตตาภาวนาในการเจริญวปิ สั สนาได้ ขอบข่ายเนอ้ื หา • ความหมายวปิ ัสสนา • อารมณว์ ิปัสสนา • การเจรญิ วิปัสสนาตามหลกั สตปิ ัฏฐาน • เมตตาภาวนาในการเจริญวิปัสสนา

๑๔๖ ๗.๑ ความนำ การเจริญภาวนาน้ัน ประกอบดว้ ย ๑.การเจริญสมถภาวนา และ๒.การเจริญวิปัสสนาภาวนา สมถภาวนา เป็นการปฏิบัติเพื่อยังจิตให้เข้าถึงความสงบ โดยเพ่งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หน่ึง จนกระทง่ั จิตนงิ่ สงบเป็นสมาธิ วิปัสสนาภาวนา เป็นการเจริญสติให้เกิดปัญญา เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงว่า สังขารชีวิตน้ีเป็น ธรรมชาติท่ีเปลยี่ นแปลง เกิดดับ บงั คับไม่ได้ ไมใ่ ชต่ ัวตน อย่างนี้เรียกวา่ เกิดปญั ญา ปัญญาก็จะชำแรก จะประหารกิเลส เม่ือกิเลสลดน้อยลง ความร้อนใจทุกข์ใจก็ลดลง ความเย็นก็ปรากฏ ความสุขก็ ปรากฏ ย่งิ ความรอ้ นมอดลงไปดบั สนิท กพ็ บกบั ความเย็นสนิทมากเท่านน้ั เรียกว่านพิ พาน นิพพานก็คือความเย็น หรือความท่ีเพลิงทุกข์เพลิงกิเลสดับสนิทนั้นแหละ นิพพานก็เป็นไป ตามชั้นของอริยบุคคล พระโสดาบันก็ละกิเลสได้ระดับหนึ่ง พระสกทาคามีก็ละกิเลสได้อีกระดับหน่ึง พระอนาคามีก็ละกิเลสไดย้ ิ่งข้ึนอีกระดับหนึ่ง จนกระท่ังระดับพระอรหนั ต์กด็ ับเพลงิ ทุกข์เพลิงกิเลสได้ อย่างสิ้นเชิง ใจก็จะเย็นสงบสนิทอย่างชนิดความเร่าร้อนความเศร้าหมองจะไม่กำเริบข้ึนมาได้อีกเลย เดินตามรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า คือเดินตามคำสอนของพระพุทธองค์ บุคคลใดท่ียังมีกิเลส บุคคลนั้น ก็มีหน้าท่ีที่จะต้องปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติก็เพื่อท่ีจะดับความทุกข์ เพื่อท่ีจะชำระกิเลส เหมือนคนที่ไม่มีโรค ก็เห็นวา่ หมอไมจ่ ำเป็น แต่คนท่มี ีโรคภัยไข้เจ็บ มีความเจ็บปวด ก็จำเป็นทจี่ ะต้อง ใช้ยา ต้องได้รับการรักษาจากหมอ พวกเราก็มีโรคคือกิเลส จึงจำเป็นต้องมียารักษา ซ่ึงธรรมโอสถท่ี พระพุทธเจา้ ได้ประทานไว้ให้ก็คือ สมถะและวปิ สั สนากรรมฐาน๑ ในนี้จะได้กล่าวถึงการนำ เมตตาภาวนามาเป็นบาทฐานในการเจริญวิปัสสนาภาวนาตามหลัก สตปิ ฏั ฐาน ๔ ซง่ึ เปน็ การปฏิบัตแิ บบสมถปพุ พงั คมวปิ ัสสนานน่ั เอง ๘.๒ ความหมาย ๘.๒.๑ ความหมายโดยสทั ทนยั วปิ สั สนา มาจาก อปุ สัค ธาตุ วิภัตติ ปจั จัย สาธนะ วิเคราะห์ ดงั นี้ วิ อุปสัคใช้นำหน้านามและกิริยาให้วิเศษข้ึน ในท่ีนี้นำหน้านามกิตก์ มีอาการคล้ายคุณศัพท์ เมอ่ื นำหนา้ กิริยาคลา้ ยกริ ิยาวเิ สสนะ แปลว่า วิเศษ แจ้ง ตา่ ง๒ ทสิ ฺ ธาตุ หมายถึง ดู มอง เหน็ พบ๓ ลง อ ปัจจัยประจำหมวดทศิ ธาตุ ๑ พระครเู กษมธรรมทัต (สรุ ศกั ดิ์ เขมรสํ )ี , สำนกั ปฏบิ ตั ิกรรมฐาน วดั มเหยงคณ์ ต.หนั ตรา อ. พระนครศรอี ยุธยา จ.พระนครศรอี ยธุ ยา, (ออนไลน)์ เข้าถึงไดจ้ าก http://www.dhammajak.net/smati/9.html สืบคน้ เมอื่ ๒๒ มถิ ุนายน ๒๕๕๙. ๒ บุญสบื อินทสาร, บาลีไวยากรณ์สาหรับทอ่ ง, (กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พ์ และทำปกเจรญิ ผล, ๒๕๔๐), หน้า ๓๖. ๓ พระมหาสมปอง มทุ ิโต, มลู นริ ตุ ติ กจั จายนสตู ร ธาตวานกุ รม, พมิ พ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา, ๒๕๔๕), หนา้ ๘๗.

๑๔๗ สิ ปฐมาวภิ ัตต๔ิ ลง ยุ ปัจจัยในนามกิตก์๕ และ อา ปจั จัยในอติ ถลี งิ ค์๖ เป็นภาวรปู ๗ ภาวสาธนะ๘ วิเคราะหว์ า่ วิปสฺสนํ = วปิ สสฺ นา วิปัสสนา แปลวา่ การเห็นรูปนามตามเปน็ จริง๙ ดังน้ัน วิปัสสนา จึงมาจาก วิ บทหน้า ทิสฺ ธาตุ อ ปัจจัยประจำหมวดธาตุ ลง ยุ ปัจจัย ลง สิ ปฐมาวิภัตติ เป็นภาวรปู ภาวสาธนะ แปลว่า การเหน็ ชอื่ ว่า วปิ สั สนา ๘.๒.๒ ความหมายโดยอตั ถนัย ในคัมภีร์วิปัสสนาชุนี ท่านได้ให้ความหมายของวิปัสสนา หมายถึง สังวร ๔๑๐ อย่าง คือ สติ สงั วร ญาณสงั วร ขันติสังวร และวริ ิยสงั วร รวมเรียกวา่ อนิ ทรียส์ ังวร ซึง่ ตรงกับในอากังเขยยสูตรเรือ่ ง สำรวมอินทรยี ์ท่จี ะกล่าวขา้ งหน้าต่อไป ในอากังเขยยสูตร๑๑ พระพุทธองค์ตรัสกะภิกษุท้ังหลายว่า เธอท้ังหลายจงรักษาศีลใหส้ มบรู ณ์ สำรวมอนิ ทรีย์ มีความประพฤติเรียบร้อยด้วยอาจาระและโคจร๑๒ สมาทานศึกษาในสิกขาบทท้ังหลาย หากมีความหวังว่า เราพึงเป็นท่ีรัก ท่ีชอบใจ ที่เคารพ และเป็นที่ยกย่อง พึงรักษาศีล หม่ันประกอบ ธรรมเคร่ืองสงบใจภายในตน ไม่เหินห่างจากฌาน ปฏิบัติวิปัสสนา๑๓ พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบาย ความหมายของวิปสั สนาในที่น้คี ือ อนปุ ัสสนา ๗ อยา่ ง ไดแ้ ก่ ๑. อนจิ จานุปัสสนา คอื การพิจารณาเห็นความไมเ่ ทย่ี ง ๒. ทกุ ขานุปัสสนา คือ การพิจารณาความเป็นทุกข์ ๓. อนัตตานุปัสสนา คอื การพจิ ารณาความไมม่ ีตัวตน ๔. นิพพิทานุปัสสนา คือ การพิจารณาความนา่ เบื่อหนา่ ย ๕. วิราคานุปัสสนา คือ การพิจารณาเหน็ ความคลายกำหนัด ๖. นิโรธานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความดบั กิเลส ๗. ปฏินิสสคั คานปุ สั สนา คอื การพิจารณาเหน็ ความสลดั ท้ิงกิเลส๑๔ อนุปัสสนา ๗ ประการนป้ี รากฏในคมั ภีรอ์ รรถกถาแห่งมัชฌิมนิกาย มสู ปัณณาสก์๑๕ ๔ อ้างแลว้ เรื่องเดยี วกัน, หน้า ๓ –๔. ๕ พระมหาสมปอง มทุ ิโต, มลู นิรตุ ติ กัจจายนสูตร ธาตวานุกรม, พมิ พค์ รัง้ ที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา, ๒๕๔๕),หน้า ๖๐. ๖ เรอื่ งเดียวกัน, หน้า ๒. ๗ เรื่องเดียวกนั ,หน้า ๖๐. ๘ เรือ่ งเดียวกนั , หนา้ ๕๙. ๙ เรือ่ งเดียวกัน, หนา้ ๘๗. ๑๐ พระโสภณมหาเถระ (มหาสสี ยาดอ), วปิ ัสสนาชนุ ี, แปลโดย จำรญู ธรรมดา, (กรุงเทพมหานคร : ห้าง หนุ้ ส่วนจำกดั ประยรู สาส์นไทย การพมิ พ์, ๒๕๕๓), หนา้ ๕๐. ๑๑ ม.มู. (ไทย) ๑๒/๖๔/๕๖. ๑๒ อภ.ิ วิ. (ไทย) ๓๕/๕๑๓ –๑๔/๓๘๘ –๘๙. ๑๓ ม.มู. (ไทย) ๑๒/๖๕/๕๗. ๑๔ ม.มู.อ. (ไทย) ๑/๖๐/๑๕๔. และ ม.ม.ู ฎีกา (บาลี) ๑/๖๐/๓๑๑. ๑๕ ม.ม.ู อ. (ไทย) ๑/๖๕/๑๖๙.

๑๔๘ คำว่า วิปัสสนา ในคัมภีร์ทีฆนิกายและอรรถกถามัชฌิมนิกาย ให้ความหมายว่า ปัญญา ความรู้แจ้งตามความเป็นจริง๑๖ ในอรรถกถาอังคุตตรนิกายอธิบายว่า เป็นปัญญาเห็นแจ้งตามความ เป็นจริงในขันธ์ ๕ ด้วยปัญญาอันแท้จริงว่า เป็นสภาวะท่ีไม่เท่ียง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน เรียกว่า วิปสั สนา๑๗ วปิ ัสสนา คือ ปัญญารูแ้ จ้ง หมายถึง ภาวนาปัญญา มีการหย่ังเห็นความไม่เที่ยง เป็นต้น ล่วง พน้ อารมณ์ มีความเปน็ บรุ ุษและสตรี พร้อมท้ังความเที่ยงและความสุขเป็นต้น ซ่ึงมหาชนในโลก รเู้ ห็น กันในขันธ์ทั้งหลาย มหาชนในโลกสำคัญขันธ์ ๕ โดยความเป็นบัญญัติว่า บุรุษ สตรี ตัวเรา ของเรา มี ความเห็นผิดแปรปรวนจากความจริง ๔ ประการ คือ นิจจสัญญา ความสำคัญว่าเที่ยง สุขสัญญา ความสำคญั วา่ สขุ อตั ตสัญญา ความสำคญั ว่าเป็นตัวตน สภุ สัญญา ความสำคญั วา่ ดงี าม๑๘ วปิ ัสสนาภาวนา หมายถงึ ปญั ญา๑๙ ทเ่ี ห็นสภาวธรรมรูป สภาวธรรมนามหรือ รูปนาม๒๐ เม่ือพิจารณาตามรปู ศัพท์แล้ว วิปัสสนา มาจาก วิ ที่แปลว่า แจ้ง กับคำว่า ปัสสนา ที่แปลว่า ความเหน็ นำมาประกอบกนั เปน็ ศพั ท์ใหม่วา่ วิปัสสนา หมายความว่า ปัญญาท่ีเหน็ แจ้งในรูปนาม๒๑ จากนยิ ามและความหมายดังกล่าวทำให้ทราบวา่ ความเหน็ รูปนามแจ้งโดยความเป็นพระไตร ลักษณ์ ด้วยเหตุนี้ จึงจะได้กล่าวถึงรายละเอียดของรูปนามในทางปฏิบัติวิปัสสนาว่า ประกอบด้วย อะไรบ้าง อะไรเปน็ รูปอะไรเป็นนาม ดงั ตอ่ ไปน้ี ๘.๒.๓ ประเภทของวปิ ัสสนา ในขุททกนิกายปฏิสัมภิทามรรค กล่าวถึงประเภทของวิปัสสนามี ๔ แบบ ซ่ึงมีปรากฏใน พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎกี า และปกรณวิเสสวิสุทธมิ รรค ๑. สมถปุพพงั คมวปิ ัสสนา หมายถึง วิปสั สนามสี มถะนำหน้า (สมถปพุ พงั คมวิปัสสนา)๒๒ ๒. วิปัสสนาปพุ พังคมสมถะ หมายถึง สมถะมีวปิ สั สนานำหนา้ (วิปสั สนาปพุ พังคมสมถ ภาวนา)๒๓ ๓. ยุคนัทธสมถวิปัสสนา หมายถึง สมถะและวปิ สั สนาคู่กัน๒๔ ๔. ธัมมทุ ธัจจวิคคหติ มานัส หมายถึง วิธปี ฏิบตั เิ ม่ือจติ ถูกชกั ใหเ้ ข้าด้วยธมั มุทธจั จ์๒๕ ๑๖ ท.ี ปา. (ไทย) ๑๑/๓๕๒/๒๔๒, ม.มู.อ. (บาลี) ๒/๑๙๒. ๑๗ องฺ.จตกุ กฺ .อ. (บาลี) ๒/๒๕๔/๔๔๗. ๑๘ อภธิ ัมมัตถสังคหะ และปรมตั ถทปี นี. พระคันธสาราภวิ งศ์ แปล. สำนักพิมพ์ตาลกดุ , ๒๕๔๖, หนา้ ๗๕๙-๗๖๐. ๑๙ ข.ุ ป. (ไทย) ๓๑/๑ – ๕๙/๑ – ๖. ๒๐ ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๒๙/๗๕. ๒๑ ธนติ อยูโ่ พธ์ิ, วปิ ัสสนานยิ ม, พมิ พค์ ร้ังท่ี ๗, (กรงุ เทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๔๐), หนา้ ๒๑. ๒๒ ข.ุ ป. (ไทย) ๓๑/๕๓๕/๔๓๓. ๒๓ ม.อุ.อ. (บาลี) ๑/๑๐๕. และ วิสุทธฺ .ิ (บาลี) ๒/๓๓๓. ๒๔ ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๑๕๓ –๖๕/๑๑๖ –๒๒. ๒๕ ข.ุ ป. (ไทย) ๓๑/๕๔๒ –๓/๔๔๕ –๘.

๑๔๙ สรุปประเภทของวิปัสสนาในท่ีน้ี หมายความว่า การเจริญกรรมฐานอย่างใดอย่างหน่ึงใน ๔ ดังกลา่ ว เมื่อมรรคเกิดแล้ว พระพุทธองค์ตรสั วา่ ให้เสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ในมรรคนัน้ สังโยชน์ยอ่ ม ละได้ และอนุสยั ย่อมส้ินไป๒๖ ๗.๓ อารมณ์วปิ สั สนา ในทฤษฎีและการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้แสดงถึงคำว่า อารมณ์วิปัสสนาน้ัน จำแนก ออกเป็น ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ เป็นต้น ซ่ึงในงานวิจัยนี้จะกล่าวเพียงเรื่องของขันธ์ ๕ เท่านนั้ ๒๗ ดังนี้ ขนั ธ์ ๕ ประกอบดว้ ย รปู เวทนา สญั ญา สงั ขาร และวญิ ญาณ ดังมรี ายละเอียด รูปขันธ์ แปลว่า หมวดของรูป ซง่ึ ประกอบดว้ ยดิน นำ้ ไฟ ลม มีสภาวะเสอื่ มสลาย เวทนาขนั ธ์ แปลวา่ หมวดของการเสวยอารมณ์ เช่น สุข ทุกข์ เฉยเป็นตน้ สญั ญาขนั ธ์ แปลวา่ หมวดของความจำ เชน่ จำรูป จำเสียงเป็นต้น สังขารขนั ธ์ แปลว่า หมวดของความปรงุ แต่ง เช่น ความคดิ ทเี่ กดิ กับใจท่เี ปน็ กุศลเป็นตน้ และวิญญาณขันธ์ แปลว่า หมวดของการรู้อารมณ์ เช่น การรู้รูป(สี) ทางจักขุวิญญาณ(ตา) เปน็ ต้น เมื่อสงเคราะห์เขา้ ในรูปนามแลว้ จะเหลือเพียงรูปกบั นาม ดังจะเห็นไดจ้ ากตาราง คอื ขันธ์ ๕ ตารางขันธ์ ๕ สงเคราะห์เข้าในรปู นาม รูปขันธ์ รปู / นาม เวทนาขนั ธ์ เปน็ รปู สัญญาขันธ์ เปน็ นาม สังขารขันธ์ เปน็ นาม วิญญาณขันธ์ เปน็ นาม เป็นนาม จากตารางทำใหท้ ราบว่า ขนั ธ์ ๕ เป็นรปู และนามได้ คือ รปู ขันธ์ เปน็ รปู ส่วน เวทนาขนั ธ์ สัญญาขนั ธ์ สงั ขารขนั ธ์ และวิญญาณขันธ์ เปน็ นาม การท่ีรู้จักรูปนามดังกล่าวน้ี มีประโยชน์ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะต่อไปจะได้ กล่าวถึงการเจริญสตปิ ัฏฐาน ๔ ซ่ึงประกอบด้วย กาย เวทนา จิต และธรรม ซ่ึงท่านสงเคราะห์แลว้ ใน สติปัฏฐาน ๔ ประการนั้น ก็เหลือเพียงรปู กับนามเช่นกัน ดังนั้นการรู้จักรูปนาม หรอื ท่ีเรียกโดยทั่วไป วา่ กายกบั ใจน่ันเอง ต่อไปจะกล่าวถึงวธิ กี ำหนดรกู้ ายและใจดงั กล่าว ๒๖ องฺ.จตุกกฺ . (ไทย) ๒๑/๑๗๐/๒๓๘. ข.ุ ป. (ไทย) ๓๑/๕๓๔/๔๑๓. และ วิสทุ ธฺ .ิ มหาฏีกา (บาลี) ๓/๕๑๐. ๒๗ ธนิต อยโู่ พธ์ิ, ปสั สนานยิ ม, พิมพค์ รั้งท่ี ๗, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั , ๒๕๔๐), หน้า ๑๗ – ๑๘.

๑๕๐ ๘.๔ การเจรญิ วิปัสสนาตามหลกั สตปิ ัฏฐาน สตปิ ัฏฐานมอี งคป์ ระกอบ ๔ คอื กาย เวทนา จิต และธรรม ซง่ึ มรี ายละเอียด ดงั น้ี กาย เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มี ๖ หมวด ไดแ้ ก่ ๑. หมวดอานาปานะ ๒. หมวดอิริยาบถ ๔ ๓. หมวดสมั ปชญั ญะ ๔. หมวดปฏกิ ูลมนสกิ าร ๕. หมวดธาตุมนสิการ ๖. หมวดนวสวิ ถิกะ กายท่ีเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ๓ หมวดเท่าน้ัน คือ หมวดอิริยาบถ ๔ หมวดสัมปชัญญะ และหมวดธาตมุ นสิการ นอกน้ันเปน็ การผสมกันระหวา่ งสมถะกบั วิปัสสนา๒๘ ๑) อิรยิ าบถ ๔ (ก) การยืน ต้องเหยียดลำตัวในแนวต้ัง อันจัดเป็นสภาวะตึงของธาตุลม๒๙ การยืน ให้ลำตัวตั้ง ตรง คอตั้งตรง เท้าท้ังสองห่างกนั เล็กน้อย มอื ทั้งสองประสานกันไว้ด้านหน้า หรือ ด้านหลังของลำตัว หรือกอดอกไว้ เพื่อมิให้แขนแกว่งไปมา การยืนท่าน้ีจะทำให้ดูสง่า และระบบการหายใจดี สำรวม สายตา ด้วยการทอดไปข้างหน้าประมาณ ๔ ศอก ในขณะที่ยืนอยู่ มีสติระลึกรู้ท่ีอาการยืนเท่านั้น ยืน กร็ ู้ว่ายืน แลว้ กำหนดว่า “ยนื หนอ” ๓ ครงั้ (ข) การกลบั ตวั เม่ือจงกรมไปสุดทางแล้ว ให้หยุดยืนอยู่กำหนดรู้อาการยืนว่า “ยืนหนอ” ๓ ครั้ง แล้วกำหนดต้นจิต เพ่ือจะกลับตัว กำหนดว่า “อยากกลับหนอ” ๓ ครั้ง แล้วหันลำตัวไปทางขวา ยกเท้าขวาขึ้นเล็กน้อยแล้วหมุนไปทางขวา วางเท้าลง มีสติระลึกรู้อาการเคล่ือนไปของเท้าให้ชัดเจน กำหนดวา่ “กลบั หนอ” ๓ คู่ ๆ ละ ๖๐ องศา จนหมุนลำตวั กลบั มาอกี ดา้ นหนึ่งได้พอดี เม่ืออาการยืน ปรากฏชัดกำหนดรู้อาการยืนทันที กำหนดว่า “ยืนหนอ” ๓ ครั้ง ก่อนจะเดินจงกรมต่อไปให้มีสติ ระลึกรจู้ ิตสั่งว่า “อยากเดินหนอ” ๓ คร้งั แล้วเร่มิ เดินจงกรมต่อไปโดยก้าวเท้าขวาออกก่อนเสมอดูรูป ของเท้าเวลากลับตวั ดงั น้ี ๒๘ พระโสภณมหาเถระ (มหาสสี ยาดอ), มหาสติปฏั ฐานสูตร, แปลโดย พระคนั ธสาราภิวงศ์, (กรุงเทพมหานคร : หา้ งหนุ้ ส่วนจำกดั ประยรู สาสน์ ไทย การพมิ พ,์ ๒๕๕๓), หน้า ๔๐ – ๒๒๘. ๒๙ อ้างแล้ว เรอื่ งเดยี วกนั , หน้า ๗๗.

๑๕๑ การเดินจงกรม๓๐ เป็นการเดนิ กลับไปกลับมาอย่างช้า ๆ ด้วยสติระลึกรอู้ ยู่ท่ีอาการเคล่ือนไป ของเท้าในขณะเดินจงกรมต้องสำรวมสายตา โดยการทอดสายตาลงต่ำมองไปด้านหน้าประมาณ ๔ ศอก ไม่เหลียวซ้ายแลขวา (ถ้าไม่จำเป็น) พึงรับรู้สภาวะเบา หนัก เย็น ร้อน ออ่ น แข็ง ในในขณะเดิน ยก ย่าง เหยยี บ ดังนี้ ขณะยกเท้า สภาวะเบาปรากฏ เพราะธาตไุ ฟท่ีมีสภาวะเบาเป็นหลักในขณะนัน้ ขณะย่างเทา้ สภาวะผลกั ดนั ปรากฏ เพราะธาตุลมมีสภาวะผลกั ดันเปน็ หลกั ในขณะนน้ั ขณะเหยยี บ สภาวะหนกั ปรากฏ เพราะธาตุน้า ท่มี สี ภาวะหนักเปน็ หลกั ขณะนน้ั ขณะวางเท้า สภาวะผัสสะที่แข็งหรืออ่อนปรากฏ เพราะธาตุดินที่มีสภาพแข็ง หรืออ่อนเป็น หลักในขณะนนั้ การภาวนาควรให้ตรงกับอาการเคลื่อนไปของเท้า ต้องให้พอดีกันไม่ไปก่อนหรือไปหลังจึงจะ มีสติระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ ให้ภาวนาอยู่ในใจ (ไม่ออกเสียง ไม่ขยับปาก ไม่กระดกลิ้น ไม่ก้มดูเท้าท่ี กำลงั ก้าวย่าง ไมย่ กเทา้ สงู จนเกนิ ไป หรือลากไปกับพ้นื ) ในระหว่างเดินหากมีอาการอ่ืนปรากฏชัดควรหยุดเดิน เม่ือมีอารมณ์รอง (อารมณ์อ่ืน) ท่ี ชัดเจนกว่าแทรกขึ้นมา เช่น ได้ยินเสียง หรือได้กลิ่น หรือ เกิดความคิดนึก โดยมีสติระลึกรู้อาการท่ี เกิดขึ้นน้ัน พร้อมกับกำหนดว่า “ได้ยินหนอ” ๆ ๆ หรือ “กลิ่นหนอ” ๆ ๆ หรือ “คิดหนอ” ๆ ๆ เป็น ตน้ จนอารมณ์รองนั้นๆ ดับไป หายไปแล้วจึงเดินจงกรมต่อ หากไม่หยุดเดินในขณะท่ีเกิดอารมณ์รอง แทรกเข้ามา จะกลายเป็นสองอารมณ์ ทำให้สติไม่ตง้ั มน่ั ขณิกสมาธิไม่เกิด (ไม่ได้วถิ ีจิตเดียว) หลังจาก การตื่นนอน และหลังจากการรับประทานอาหาร ควรเดินจงกรมก่อนเสมอ แล้วจึงมาน่ังสมาธิจะทำ ให้ไม่โงกง่วง มสี ติระลึกรไู้ ดด้ ี๓๑ การเดนิ จงกรม มี ๖ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ “ขวายา่ งหนอ - ซ้ายย่างหนอ” ควรกำหนดจดจ่อต่อเน่ืองไปเรือ่ ยๆ ชา้ ๆ ระยะที่ ๒ “ยกหนอ - เหยียบหนอ” ควรกำหนดรู้อาการแต่ละอย่างใหช้ ัดเจน ระยะที่ ๓ “ยกหนอ - ยา่ งหนอ - เหยียบหนอ” ควรกำหนดรชู้ า้ ๆ ระยะท่ี ๔ “ยกสน้ หนอ - ยกหนอ - ยา่ งหนอ - เหยยี บหนอ” ๓๐ พระคนั ธสาราภวิ งศ์, ส่องสภาวธรรม, (กรุงเทพมหานคร : ห้างหนุ้ ส่วนจำกัด ไทยรายวนั การพมิ พ์, ๒๕๕๑), หน้า ๒๕ – ๔๐. ๓๑ พระคันธสาราภวิ งศ์, ศึกษาวธิ ีเจรญิ สติ ดว้ ยภาษาง่ายๆ, พิมพค์ ร้ังท่ี ๓, (กรงุ เทพมหานคร : หา้ งหุ้นสว่ นจา กดั ไทยรายวนั การพิมพ์, ๒๕๔๗), หน้า ๑๐-๑๓.

๑๕๒ ระยะท่ี ๕ “ยกส้นหนอ - ยกหนอ - ยา่ งหนอ - ลงหนอ - ถกู หนอ” ระยะที่ ๖ “ยกส้นหนอ - ยกหนอ - ย่างหนอ - ลงหนอ - ถกู หนอ - กดหนอ” การเดนิ จงกรมระยะท่ี ๑ “ขวายา่ งหนอ - ซ้ายย่างหนอ” มีสตริ ะลกึ รู้ที่อาการเดนิ โดย ภาวนาว่า “ขวายา่ งหนอ ซ้ายย่างหนอ” กำหนดไปเร่ือยๆ จนสุดระยะการเดินจงกรม การเดินจงกรมน้ีมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ในภยเภรวสูตร กล่าวถึงการเดินจงกรมขจัด ความกลัวได้ คือ เมื่ออยู่ในสถานที่อันน่ากลัวมีอาการขนพองสยองเกล้าในกลางคืน เดือนมืด ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ข้างแรม ควรกำหนดจงกรมอย่างน้ีว่า “เราควรจะกำจัดความกลัวและความขลาดที่ เกิดข้ึนแก่เรา ในอิริยาบถที่เราเป็นอยู่นั้นๆ เสีย”๓๒ ด้วยการจงกรมจนกว่าจะหายอาการกลัวนั้นมี สติปัญญา รู้ชัดในธรรมทง้ั หลายตามความเปน็ จรงิ การเดินจงกรมระยะที่ ๒ “ยกหนอ - เหยียบหนอ” มีสติระลึกรู้อาการยกเท้าขวาขึ้นช้าๆ อย่างมีสติระลึกรู้อาการยกของเท้าท่ีเคลื่อนจากเบื้อง ล่างข้ึนสู่เบื้องบนพร้อมไปกับการย่ืนเท้าไปขา้ งหน้า เม่ืออาการยกสนิ้ สุดลง ภาวนาว่า “หนอ”จากนั้น ฝ่าเท้าเคล่ือนลงสู่พื้น มีสติระลึกรู้อาการเคล่ือนเท้าลงสู่พื้น ภาวนาว่า “เหยียบ” เมื่ออาการเหยียบ สิน้ สดุ ลง ภาวนาวา่ “หนอ” พอดีเป็น “เหยยี บหนอ” พอดี การเดนิ จงกรมระยะที่ ๓ “ยกหนอ - ยา่ งหนอ - เหยยี บหนอ” มีสติระลึกรู้อาการยกเท้าขวาข้ึนช้าๆ โดยยกฝ่าเท้าขึ้นตรงๆ ไม่หันฝ่าเท้าไปด้านหลังมีสติ ระลึกร้อู าการยกของเท้าภาวนาวา่ “ยก” เมอื่ อาการยกส้นิ สุดลงภาวนาว่า “หนอ” พอดี ตอ่ ไป จากนั้นรู้อาการเคล่ือนเท้าขวาไปข้างหน้า ภาวนาว่า “ย่าง” เมื่ออาการย่างส้ินสุดลง ภาวนา ว่า “หนอ” พอดี จากนัน้ กำหนดรู้อาการเคลือ่ นเทา้ ลงสู่พ้นื ภาวนาว่า “เหยยี บ” เม่อื อาการเหยียบสน้ิ สุดลง ภาวนาว่า “หนอ” พอดี การเดินจงกรมระยะที่ ๔ “ยกส้นหนอ - ยกหนอ - ย่างหนอ - เหยียบหนอ” มีสติระลึกรู้อาการยกส้นเท้าขวา ค่อยๆ ยกส้นเท้าขวาข้ึนจากพ้ืนเล็กน้อย (ประมาณ ๒ - ๓ นิ้ว) ขณะยกส้นเท้าข้ึน (ปลายเท้ายังติดพ้ืนอยู่) มีสติระลึกรู้อาการยก กำหนดว่า “ยกส้นหนอ”หยุด เล็กนอ้ ย มีสติระลึกรู้ที่เท้ากำลังยกภาวนาว่า “ยก” เม่ืออาการยกส้ินสุดลงภาวนาว่า “หนอ” พอดี มี สตริ ะลกึ รอู้ าการเคล่ือนเท้าขวาไปข้างหน้า (ระยะกา้ วส้นั ๆ) ภาวนาว่า “ย่าง” เม่ืออาการย่างสิ้นสดุ ลง ภาวนาว่า “หนอ” พอดี ขณะท่ีฝ่าเท้าเคลื่อนลงสู่พื้น มีสติระลึกรู้อาการเคล่ือนเท้าลงจนถึงพ้ืน ภาวนาว่า “เหยียบ” เม่ืออาการเหยียบสิน้ สดุ ลง ภาวนาว่า “หนอ”พอดี การเดนิ จงกรมระยะท่ี ๕ “ยกสน้ หนอ - ยกหนอ - ย่างหนอ - ลงหนอ - ถกู หนอ” การเดินจงกรมระยะที่ ๕ เหมือนกับระยะท่ี ๔ คือ “ยกส้นหนอ - ยกหนอ - ย่างหนอ -ลง หนอ - ถูกหนอ” ระยะท่ี ๑ - ๓ กำหนดเหมือนเดิม เปล่ียนระยะท่ี ๔ เป็น ลง คือ ให้มีสติระลึกรู้ อาการเคลื่อนเท้าลง ภาวนาว่า “ลง” เม่ืออาการลงสิ้นสุดลง ภาวนาว่า “หนอ” พอดีเป็น ขณะท่ีฝ่า ๓๒ มหามกฏุ ราชวิทยาลยั พระไตรปฎิ กอรรถกถา แปล, เลม่ ที่ ๑๒ หนา้ ๔๐.

๑๕๓ เท้าเคลื่อนลงสู่พ้ืนอย่างมีสติระลึกรู้อาการเคลื่อนเท้าลงจนถึงพื้น กำหนดว่า ”ถูก” เม่ืออาการถูก สิน้ สุด ลง ภาวนาวา่ “หนอ” พอดี การเดนิ จงกรมระยะท่ี ๖ “ยกสน้ หนอ-ยกหนอ-ยา่ งหนอ-ลงหนอ-ถกู หนอ-กดหนอ” การเดินจงกรมระยะที่ ๑ - ๕ เหมือนกนั กบั ท่ีกล่าวมาแลว้ เพยี งเพ่ิมระยะท่ี ๖ ว่า “กดหนอ” เม่ือเท้าลงกดกับพื้นภาวนาว่า “กด” เม่ืออาการกดส้ินสุดลง ภาวนาว่า “หนอ” พอดี กำหนดรู้รูปน่ัง ความจริงจะอธิบายหลังจากการเดินในแต่ละระยะแต่เน่ืองจากดูแล้วไม่เหมาะสมจึงน ำมากล่าวไว้ใน ตอนทา้ ยนี้ การนั่งสมาธิ เม่ือเดินจงกรมในแต่ละระยะเสร็จแล้ว ครบตามเวลาท่ีกำหนด ต่อไปก็เปลี่ยน อิริยาบถจากเดินไปสู่อาการนั่ง คือ การกำหนดรู้อาการคู้เข้าของกายคร่ึงล่าง และการเหยียดตั้งของ กายครึง่ บน อันเปน็ สภาวะหย่อน หรือตงึ ของธาตุลม ทา่ นงั่ มที ่นี ิยม ๓ ทา่ ดังนี้ (ค) การนั่งสมาธิ ๓ ทา่ ท่าที่ ๑ ท่านั่งแบบเรียงขา นั่งพับเข่าซ้ายงอเข้ามาข้างใน ให้ฝ่าเท้าซ้ายชิดกับต้นขาขวาด้าน ในแลว้ พบั เขา่ ขวางอเข้ามา ใหส้ ้นเท้าขวาแตะกับหนา้ แขง้ ซ้าย มอื ขวาวางซ้อนไว้บนมอื ซ้าย ท่าท่ี ๒ ท่านั่งแบบทับขา นั่งเหมือนแบบที่ ๑ แต่ให้ยกเท้าขวาวางบนน่องซ้าย มือขวา วาง ซอ้ นไว้บนมือซา้ ย ท่าที่ ๓ น่ังขัดสมาธิเพชร น่ังเหมือนแบบท่ี ๑ แต่ขาขัดกันท้ังสองข้าง เป็นท่านั่งท่ีม่ันคงมาก มือขวาวางซ้อนไว้บนมือซ้าย ท่าน่ังที่ ๓ หลักในการน่ังคือ นั่งคู้บัลลังก์ (ปลฺลงฺกํ อาภุชฺชิตฺวา)๓๓ ต้ัง กายให้ตรง (อุชุกายํ ปณธิ าย)๓๔ ส่งจิตไปยงั อารมณ์กัมมฏั ฐาน (ปรมิ ุขํ สตึ อุปฏเฺ ปตฺวา)๓๕ กำหนดพลิกมือ กำหนดเคลื่อนมือ กำหนดหงายมือ กำหนดมือท่ีแตะกับหน้าอก กำหนดยก มือข้ึนสู่หน้าผาก กำหนดก้มลง กำหนดวางมือ กำหนดหน้าผากแตะพื้น กำหนดเงยหน้าขึ้นเป็นต้น เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นอิริยาบถย่อย หรือเรียกอีกอย่างว่า หมวดสัมปชัญญะ ท่านพระอาจารย์ภัททันตะ วิโรจนะได้ให้หลักการในการปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดสัมปชัญญะว่า “กราบอย่างมีสติ กิริยาความ เคลื่อนไหว ใส่ใจกำหนดอยา่ งละเอยี ด” (ฆ) สรุปสติปัฏฐาน ๔ สรปุ หมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - ส่งจิตไปยงั อารมณก์ ัมมัฏฐาน คือ อาการพอง - ยุบ ในลกั ษณะต่างๆ สรปุ หมวดเวทนานุปสั สนาสติปัฏฐาน๓๖ - กำหนดรูค้ วามเจ็บ - ความปวด เวทนาทัง้ หมด ตามความเปน็ จริง สรุปหมวดจติ ตานปุ สั สนาสตปิ ฏั ฐาน๓๗ - กำหนดรู้อาการของทุกอยา่ งตามเป็นจรงิ เชน่ จิตคิด จิตซัดสา่ ย จิตฟุง้ ซา่ นเปน็ ตน้ ๓๓ พระโสภณมหาเถระ (มหาสสี ยาดอ), มหาสติปัฏฐานสตู ร, แปลโดย พระคนั ธสาราภิ วงศ,์ (กรงุ เทพมหานคร : หา้ งห้นุ สว่ นจำกัด ประยรู สาส์นไทย การพมิ พ,์ ๒๕๕๓),หน้า ๗๗. ๓๔ สยาดอ ภัททันตะวิโรจนะ, วิปัสสนา, แปลโดย เมฆวดี, หนา้ ๘. ๓๕ เรื่องเดยี วกนั , หนา้ ๙ – ๑๐. ๓๖ สยาดอ ภัททันตะวโิ รจนะ, วปิ สั สนาชนุ ,ี แปลโดย จำรญู ธรรมดา, (กรุงเทพมหานคร : ห้างหนุ้ สว่ นจำกดั ประยรู สาสน์ ไทย การพิมพ์, ๒๕๕๓),หนา้ ๑๖ – ๑๘. ๓๗ มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั พระไตรปฎิ กอรรถกถา แปล, เล่ม ๘, หนา้ ๑๘ – ๒๒.

๑๕๔ สรุปหมวดธัมมานุปสั สนาสตปิ ฏั ฐาน -กำหนดรธู้ รรมารมณ์ทกุ อย่างเมอ่ื เห็น ได้ยิน ได้กล่ิน อารมณ์ท้ังหมด จดจ่อกำหนด ปรากฏรู้ ความจริง ดังนน้ั เพื่อใหเ้ ห็นความชัดเจนของเร่ืองการเจรญิ วิปสั สนากัมมัฏฐานตามหลกั สติปฏั ฐาน ๔ จงึ ไดส้ ร้างตารางข้ึนมา ดงั ต่อไปนี้ ตารางสงเคราะหส์ ติปัฏฐานเปน็ รปู นาม สตปิ ัฏฐาน ๔ รูป/นาม กายานปุ สั สนา ๖ หมวด เปน็ รูป เวทนานุปสั สนา ๙ ประการ เปน็ นาม จติ ตานุปสั สนา ๑๖ ประการ เปน็ นาม ธมั มานุปัสสนา ๕ หมวด เปน็ ท้ังรูปและนาม จากตารางดังกล่าวทำให้ทราบวา่ กายานุปัสสนาสติปฏั ฐาน ๖ หมวดเป็นรปู สว่ นเวทนานุปสั สนา จิตตานุปัสสนา เปน็ นาม และธมั มานุปัสสนา เป็นทง้ั รปู และนาม ง) ข้อห้ามในขณะปฏิบตั ิธรรม อย่าสงสัย พจิ ารณา วิพากษ์ วิจารณ์ กลัว กังวลใดๆ ในสภาวะที่เกิดขึน้ อย่าอยากไมอ่ ยากให้ สภาวะเป็นอย่างน้ันอย่างนี้ ควรกำหนดรู้เพื่อตัดละสภาวะ/อารมณ์ ท้ังหลาย อย่างเดียวอย่ายึด อย่า ดึง แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงใดๆ งดฟัง อย่าสนใจ อย่าอยากรู้ สภาวะของผู้อ่ืน งดพูด เล่ารายงาน ภาวะของตนให้ผู้อ่ืนฟัง งดเปรียบเทียบสภาวะของตนกับผู้อื่น เก็บจิตใจให้มีสติอยู่กับตัวเอง อย่าให้ จิตไปรับร้เู หน็ คนอืน่ อารมณ์อืน่ เมอ่ื ทำเช่นนี้ไดก้ จ็ ะเหน็ สภาวธรรมของตนชัดญาณ เนือ่ งจากในงานวิจัยนี้ ไดน้ ำเอาหลักแห่งเมตตาภาวนามาใช้ร่วมกับการเจริญวิปัสสนา ดังนั้น กอ่ นที่จะเจริญสติปฏั ฐาน ๔ ประการดงั กล่าวนัน้ จงึ ควรเจริญเมตตากอ่ นทุกครงั้ ดงั ต่อไปนี้ ๗.๕ เมตตาภาวนาในการเจรญิ วปิ สั สนา พระปัญญาวโร๓๘ ให้แนวคิดไว้ว่าการเจริญเมตตามีส่วนช่วยให้การปฏิบัติวิปัสสนามี ประสิทธิผลเร็วข้ึน ดังน้ัน จึงได้แนะนำวิธีการเจริญเมตตาภาวนา ด้วยการอบรมจิตให้รู้จักเอาชนะ เร่ืองราวด้านลบใด ๆ ก็ตาม การภาวนาเช่นน้ีจะนำมาซ่ึงอารมณ์ความรู้สึกในทางบวก จะทำให้เกิด การเปล่ียนแปลงอย่างเป็นระบบด้วยการพัฒนาคณุ ภาพของการ “ยอมรบั ด้วยใจท่ีมเี มตตา” ซ่ึงในที่นี้ ขน้ึ อยกู่ ับประสิทธิภาพของการยอมรับและการเปดิ ใจให้กว้าง ซ่ึงจะสรา้ งพนื้ ท่อี ันแจม่ ใสกว้างขวางข้ึน ในใจเรา อันจะทำให้เรามีจิตที่นุ่มนวลระมัดระวังอย่างลึกซ้ึงยิ่งข้ึน จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมการปฏิบัติ ๓๘ พระปัญญาวโร ภกิ ข,ุ หลกั การปฏิบัติ วปิ ัสสนาเบอ้ื งต้น, แปลโดย ฉตั รนคร องคสงิ ห์, (กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พม์ หาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย, ๒๕๕๕), หนา้ ๙๕.

๑๕๕ เมตตาภาวนาไปพร้อมๆ กับวิปัสสนาภาวนา จึงเป็นองค์ส่งเสริมให้แก่นักปฏิบัติ ซ่ึงมีความสอดคล้อง กับหลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เรียกเมตตากัมมัฏฐาน ว่า สัพพัตถกกัมมัฏฐาน คือ กมั มฏั ฐานเปน็ ที่ปรารถนาเปน็ เบือ้ งต้น ในการเจริญกัมมัฏฐานทกุ อย่าง การเจริญเมตตาภาวนาจะช่วยยกระดับจิตและทำให้จิตใจให้อ่อนโยนขึ้น ช่วยให้ผู้ปฏิบัติ สามารถรับมือกับความรู้สึกเชิงลบที่ตนเองยังไม่สามารถจัดการให้ ในการได้ในช่วงของการปฏิบัติ วปิ ัสสนาภาวนา เม่ือเจริญเมตตาภาวนาอย่างพอเพียงแล้ว ก็สามารถเปล่ียนกลับไปสู่การปฏิบัติแบบ ใชส้ ติกำหนดรู้ โดยการตามรู้สภาวะของจิตทีไ่ ด้รบั การเหน่ียวนำจากการปฏิบตั ิเมตตาภาวนา นน่ั กค็ ือ การกลับคืนส่สู ภาพของการปฏบิ ัติวปิ ัสสนากัมมัฏฐานนนั่ เอง ผู้ปฏิบัติสามารถปรบั เมตตาภาวนาให้เป็นการส่งเสรมิ แก่การปฏิบตั ิวปิ ัสสนาได้ คือ เมอื่ เจริญ เมตตาจนถงึ ระดับฌานแล้ว ปัจจัยแห่งการเข้าฌานท้ัง ๕ ก็จะเกิดความก้าวหน้าขึ้นโดย ๒ ปจั จัยแรก เป็นเหตุ นั่นคือ วิตกและวิจาร หลังจากนั้นอีก ๓ ปัจจัย ก็ตามมา คือ ปีติ ใจท่ีเป็นสุข และใจที่เป็น สมาธิ การทำความคุ้นเคยกับปัจจัยแห่งการเข้าฌาน อาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ เพราะปัจจัยบาง ประการจะเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติวปิ ัสสนาภาวนาเช่นกนั และการทำความคุ้นเคยกับผลท่ีได้จากสมาธิ ก็จะทำให้แนวโน้มทผ่ี ู้ปฏิบัตวิ ิปัสสนาภาวนา จะยึดติดกับสิ่งทีจ่ ะเกิดขนึ้ มีน้อยลง ซ่ึงประโยชน์ที่จะได้ จากการเข้าถึงฌานท้ัง ๕ คอื ชว่ ยแกไ้ ขนวิ รณ์ท้งั ๕ หรอื อุปสรรคทเ่ี กิดระหวา่ งการปฏบิ ัติได้ การปฏิบัติเมตตาภาวนาเป็นขั้นตอนแรกของการเจริญภาวนา ซึ่งทำให้เกิดพรหมวิหารซึ่ง คุณสมบัติของเมตตานั้น จะแสดงออกในรูปของการให้ความช่วยเหลอและให้ความอบอุ่นแก่ผู้อ่ืน เมื่อ บ่มเพาะเมตตาภาวนาไปได้จนสมบูรณ์ ก็จะหลั่งไหลออกมาเป็นความกรุณา เห็นอกเห็นใจ ซ่ึงจะ เป็นไปโดยธรรมชาติ เพราะเกิดความรู้สึกเห็นใจในความทุกข์ยากของผู้อ่ืน การแสดงความกรุณาที่ ถูกต้องก็คือ การแสดงความยินดีกับความสำเร็จความรุ่งเรืองของผู้อ่ืน ซ่ึงตรงกันข้ามกับการแสดง ความริษยา อันเปน็ สงิ่ ตรงกนั ข้ามกบั ความปีติช่ืนชมยนิ ดี ในการปฏิบัติเมตตาภาวนาน้ัน เบื้องต้นผู้ปฏิบัติต้องสร้างความรู้สึกรักและยอมรับให้เกิดขึ้น ในตัวเองก่อน จากนั้นจึงชักนำความรู้สึกท่ีดีเข้าหาบุคคล ๔ ประเภท หลังจากน้ันปรับทิศทางเพ่ือส่ง เมตตาจิตออกไปทุกๆ ทิศ ซ่ึงข้ันตอนสุดท้าย คือ การส่งให้แผ่ซ่านไปอย่างไม่จะเพาะเจาะจงซ่ึงจะ เกดิ ขึ้นตามธรรมชาติในขณะทส่ี มาธยิ งั แก่กล้าอยู่ ผลที่ได้จากการฝึกเมตตาภาวนาอย่างเป็นระบบคือ ผู้ปฏิบัติจะสามารถเปล่ียนความรักซ่ึง ตามปกติแล้วจะมใี ห้แก่คนในครอบครัวหรือเพ่ือนสนิท มาเป็นความรกั อย่างสากลท่ีไม่จำกัดตัวบุคคล เปน็ ความรักที่จะเผื่อนแผแ่ ต่คนท่ัวไปโดยมขี ้อยกเว้น อนั เปน็ ความรักที่เหน็ แกป่ ระโยชน์ของบุคคลอ่ืน เปน็ ทีต่ ัง้ ในการเจริญเมตตากัมมัฏฐานนน้ั จะมีสภาวะท่ีเกดิ ขึ้นมาขัดขวางจิตไม่ให้กา้ วหน้าในคณุ ธรรม เรียกว่า นิวรณ์ ๕ ประการ๓๙ มีกามฉันทะเป็นต้น ซ่ึงเกิดขึ้นเม่ือปฏิบัติผ่านพ้นนิวรณ์ดังกล่าวไปแล้ว จะเห็นความก้าวหน้าของการปฏิบัติ เพราะเห็นความเกิดดับพร้อมกันกับบังเกิดปรากฏแห่งปฏิภาค นิมติ คอื องคฌ์ าน ๔ ประการดงั น้ี ก. ปฐมฌาน ประกอบดว้ ยองค์ ๕ คอื วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกคั คตา ข. ทตุ ิยฌาน ประกอบดว้ ยองค์ ๓ คือ ปีติ สขุ เอกคั คตา ๓๙ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโฺ ต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท,์ พิมพ์ครั้งที่ ๒๗, มลู นธิ ิ การศกึ ษาเพือ่ สันตภิ าพ, ๒๕๕๙, หนา้ ๑๒๘.

๑๕๖ ค. ตตยิ ฌาน ประกอบดว้ ยองค์ ๒ คอื สขุ เอกคั คตา ฆ. จตุตถฌาน ประกอบดว้ ยองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา มคี ำอธบิ ายในแต่ละองค์ฌานดังตอ่ ไปนี้ วติ ก ทำหนา้ ท่ขี ่มถีนมิทธนิวรณ์ วิจาร ทำหน้าที่ขม่ วจิ กิ ิจฉานวิ รณ์ ปีติ ทำหนา้ ที่ข่มอุทธจั จกกุ ุจจนวิ รณ์ สขุ ทำหน้าท่ขี ่มพยาบาทนวิ รณ์ และเอกัคคตา ทำหนา้ ที่ข่มกามฉันทนวิ รณ์ ในคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรมแบ่งฌานออกเป็น ๕ ข้ันว่าฌานปัญจกนัย หรือ ปัญจกัชฌาน โดยเพิ่ม ฌานท่ี ๒ (ทุติยฌาน) มีองค์ประกอบ ๔ คือ วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา แล้วเล่ือนฌานท่ี ๒ ฌานที่ ๓ และฌานที่ ๔ ข้ึนไป จากฌานท่ี ๒ เป็นตติยฌาน จากฌานที่ ๓ เป็นจตุตตถฌาน และฌานท่ี ๔ เป็นปัญจมฌาน๔๐ น้ีเป็นกระบวนการในสมถยานิก ซึ่งลำดับต่อไปจะกล่าวองค์ฌานขึ้นพิจารณา ใน แนวของวปิ สั สนายานกิ ในคำว่า สมถวิปัสสนาน้ัน พระอรรถกถาจารย์หมาย ถึงสมถยานิกและวิปัสสนายานิก ดังมี อธิบายต่อไปนี้ สมถยานิก เปน็ การปฏบิ ัติไปส่มู รรคผลนพิ พานด้วยสมถยาน และดว้ ยการเจรญิ วปิ สั สนา โดย อาศัยอุปจารสมาธหิ รืออปั ปนาสมาธิ ในสมาธิ ๒ อย่างน้ี เป็นความบรสิ ุทธิ์ทางจติ ท่ีเรียกว่า จิตตวิสทุ ธิ เป็นวิสุทธิท่ี ๒ ท่ีต่อจากสีลวิสุทธิ ในวิสุทธิ ๗๔๑ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของสมถยานิก ด้วยเหตุน้ี คัมภีร์อรรถ กถาธรรมบทอธิบายว่า อุปจารสมาธิและอัปปันนาสมาธิเป็นท่ีมายินดี เพราะอรรถว่าเป็นท่ีอยู่อาศัย หมายถึง การเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะเปน็ บาท ดังมหี ลกั ฐานในธมั มทายาทสูตรวา่ ภาวนานโยติ โกจิ สมถปุพฺพงฺคมํ วปิ สสฺ นํ ภาเวติ. โกจิ วปิ สสฺ นาปุพฺพงฺคมํ สมถ.ํ กถํ. อเิ ธกจฺโจ ปฐมํ อุปจารสมาธึ วา อปฺปนาสมาธึ วา อุปฺปาเทต.ิ อยํ สมโถ. โส ตญจฺ ตสํ มปฺ ยตุ เฺ ต จ ธมฺเม อนจิ ฺจาทีหิ วปิ สฺสติ. อยํ วิปสสฺ นา. อิติ ปฐมํ สมโถ ปจฺฉา วปิ สสฺ นา. เตน วุจจฺ ติ. สมถปุพพฺ งคฺ มํ วิปสสฺ นํ ภาเวตีติ. ตสสฺ สมถปุพพฺ งคฺ มํ วิปสฺสนํ ภาวยโต มคโฺ ค สญชฺ ายติ.๔๒ หมายความว่า วิธีเจริญภาวนา (ภาวนานโย) คือ ผู้ปฏิบัติธรรมบางคน เจริญวิปัสสนา โดยมี สมถะเป็นบาท ซง่ึ บางคนปฏิบัตโิ ดยมวี ิปัสสนาเป็นพนื้ ถ้าสงสัยวา่ เจริญอย่างไร ควรตอบว่า ผู้ปฏิบัติ ในพระพุทธศาสนา ย่อมปฏิบัติให้เกิดอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิก่อน น้ีเป็นการเจริญสมถ กัมมัฏฐาน ผู้ปฏิบัติกำหนดธรรมที่เกิดในสมาธิน้ัน โดยความเป็นอนิจจังเป็นต้น ปัญญานี้เรียกว่า ๔๐ สมเดจ็ พระพุทธชนิ วงศ์ (สมศกั ดิ์ อุปสมมหาเถระ) ศาสตราจารยพ์ ิเศษ, ป.ธ.๙, M.A., Ph.D., อรยิ วงั สปฏิปทา, (กรุงเทพมหานคร : ประยรู สาส์นไทย การพมิ พ์, ๒๕๕๔), หนา้ ๕๗. ๔๑ พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ. ปยตุ โต), พจนานกุ รมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์คร้งั ที่ ๓๔ มลู นิธกิ ารศกึ ษาเพอื่ สนั ตภิ าพ, ๒๕๕๙, หน้า ๖๑ – ๖๒. ๔๒ ม.มู.อ. (บาลี) ๑/๑๑๗.

๑๕๗ วิปัสสนาภาวนา การเจริญอย่างน้ี สมถะเกิดก่อนแล้ววิปัสสนาเกิดภายหลัง ดังน้ัน ท่านจึงกล่าวว่า การเจริญวิปัสสนาภาวนาโดยมีสมถเป็นบาท การเจริญอยา่ งน้ี ย่อมทำให้มรรคเกดิ ข้ึน๔๓ การเจริญวิปัสสนาที่มีอุปจารสมาธิและอัปปันนาสมาธิ ช่ือว่าสมถยานิก หมายความว่า ผู้ปรารถนาจะบรรลุธรรม ควรพยายามเจริญฌานข้ันใดข้ันหน่ึงในฌาน ๔ ในปัจจุบันขณะ๔๔ ให้เกิด ความชำนาญเพื่อใช้เป็นบาทของวิปัสสนา ได้แก่ การกำหนดนามธรรม คือ จิตตุปบาทในขณะนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงหลักการเจริญวิปัสสนาท่ีมีสมถะนำหน้าน้ี มีชื่อว่า เป็นผู้ยินดีในธรรม (ธมฺมรโต) ซ่ึงมีอรรถาธบิ ายว่า ธมมฺ ใน ธมฺมรโต หมายถงึ สมถะและวปิ ัสสนา ส่วนคำว่า รต ที่แปลว่า ยินดีน้ัน องค์ธรรมหมายถงึ ปีติเจตสิก ซึ่งปตี ิน้ีเป็นปทัฏฐานต่อการบรรลุธรรม หมายความว่า ในขณะ เจริญกัมมัฏฐาน เพราะอยู่ใกล้สภาวธรรมอื่น ๆ คือ ปีติเป็นเหตุใกล้ความสงบ (ปีติ ปสฺสทฺธิยา ปทฏฺฐานํ ) และปัสสัทธิ เป็นเหตุให้เกิดสุข (ปสฺสทฺธิ สุขสฺส ปทฏฺฐานํ ) สุขเป็นเหตุให้เกิดสมาธิ (สุขํ สมาธิสฺส ปทฏฺฐานํ ) สมาธิเป็นเหตุให้เกิดความรู้เห็นตามความเป็นจริง (สมาธิยถาภูตญาณทสฺสนสฺส ปทฏฺฐานํ ) ซ่ึงเป็นเหตุให้เกิดความเบ่ือหน่าย (นิพฺพิทาย ปทฏฺฐานํ ) ซ่ึงนิพพิทาน้ีเอง เป็นเหตุให้เกิด ความคลายกำหนัด (วิราคสฺส ปทฏฺฐานํ) ความหลุดพ้น (วิมุตฺติยา ปทฏฺฐานํ) และการรู้เห็นความหลุด พน้ (วมิ ตุ ตฺ ญิ าณทสสฺ นสฺส ปทฏฺฐานํ) ซง่ึ ปรากฏหลักฐานในคมั ภรี เ์ นตตอิ รรถกถา๔๕ ผทู้ ีถ่ ึงพร้อมด้วยองคฌ์ าน คือ ปี ตินี้ยอ่ มไดร้ ับความรื่นรมย์ใจมากกว่ามนุษย์และเทวดา๔๖ ดัง พระพทุ ธพจนท์ ม่ี าในคมั ภรี ์ สุตตนั ตปฎิ ก ขทุ ทกนิกาย ธรรมบทว่า สุญฺญาคารํ ปวฏิ ฺฐสฺส สนตฺ จิตฺตสสฺ ภกิ ขฺ ุโน อมานุสี รตี โหติ สมมฺ า ธมมฺ ํ วปิ สสฺ โต.๔๗ ความวา่ ภิกษุไปสู่ทส่ี งัด มใี จสงบ รูแ้ จ้งธรรมโดยชอบ ยอ่ มบังเกดิ ความยินดี ทม่ี ิใชเ่ ป็นของมนุษย์ (ทิพยสมบัติ). ความรื่นรมย์ในธรรมท่ีเกิดจากปีติและปัสสัทธิเป็นต้นนี้ ถ้ากล่าวในทางวิปัสสนาหมายถึงผู้ บรรลุญาณท่ี ๔ (อุทยัพพยญาณ) บางคร้ังปรากฏในเม่ือบรรลุญาณที่ ๕ (ภังคญาณ) แต่เมื่อบรรลุถึง ญาณที่ ๑๑ (สงั ขารุเปกขาญาณ) ซ่ึงเป็นญาณสูงสุดของปุถุชน ผู้ปฏบิ ัติจะได้รบั ความสุขอย่างมากมาย ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น เพราะจะมีความรู้สึกอ่ิมใจ สงบใจ เย็นใจในส่วนต่างๆของ ร่างกาย โดยปราศจากความเร่าร้อนทางกายใจ พระพุทธองค์ทรงรับรองไว้ว่า“สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ” หมายความว่า ความยินดใี นธรรม ย่อมชนะความยนิ ดที งั้ ปวง ในอรรถกถาธรรมบท อธบิ ายวา่ ยา ปเนสา ธมมฺ ํ กเถนฺตสสฺ วา สณุ นฺตสฺส วา วาเจนฺตสสฺ วา อนโฺ ต อุปฺปชฺชมานา ปีติ อทุ คฺคภาวํ ชเนติ. อสสฺ ูนิ ปวตฺเตติ. โลมหสํ ชเนติ. สายํ สสารวฏฺฏสสฺ อนตฺ ํ กตฺวา อรหตฺตปรโิ ยสานา โหติ. ตสฺมา สพพฺ รตึ เอวรูปา ธมฺมรตเิ ยว เสฏฺฐา.๔๘ ๔๓ อ้างแลว้ เร่อื งเดียวกัน, หน้า ๔๘-๔๙. ๔๔ องคฌ์ าน ๔ คือ วติ ก วิจาร ปีติ สขุ เอกัคคตา ผสั สะ เจตนา และมนสิการ เป็นต้น. ๔๕ สมเดจ็ พระพุทธชินวงศ์ (สมศกั ด์ิ อุปสมมหาเถระ) ศาสตราจารย์พเิ ศษ, ป.ธ.๙, M.A., Ph.D., อริยวงั สปฏปิ ทา, (กรงุ เทพมหานคร : ประยรู สาส์นไทย การพิมพ์, ๒๕๕๔), หนา้ ๕๓-๕๔. ๔๖ เรื่องเดียวกัน, หนา้ ๕๕. ๔๗ ข.ุ ธ. (บาลี) ๒๕/๓๗๓/๘๒. ๔๘ ข.ุ ธ.อ. (ไทย) ๘/๕๒.

๑๕๘ ความว่า ปีติท่ีเกิดแก่ผู้แสดงธรรม ผู้ฟังธรรมหรือผู้สอนธรรม ย่อมยังความฟูใจให้เกิดข้ึน ยัง น้ำตาให้ไหลก่อให้เกิดขนลุก, ปีตินั้นทำท่ีสุดแห่งสังสารวัฏอันมีอรหัตตผลเป็นจุดมุ่งหมาย ดังน้ัน ความยนิ ดีในธรรมเช่นนน้ั จงึ ยอดเย่ยี มกวา่ ความยินดที ้ังหมดนัน่ เอง. แนวปฏิบัติของสมถยานิก เม่ือผู้ปฏิบัติเจริญวิปัสสนาด้วยกำหนดรู้ปีติซ่ึงเป็นสังขารขันธ์น้ัน เป็นอารมณ์อย่างต่อเน่ืองไม่ขาดสาย (ตั้งแต่ต่ืนนอนจนหลับสนิท)๔๙ การกำหนดรู้อย่างนี้เป็นการ กำหนดนามรูป (นามรูปปรจิ เฉทญาณ) จากนน้ั ก็จะเกดิ ญาณ คือ ปจั จยปริคคหญาณเป็นตน้ จนกระท่ัง ไปถึงมรรคญาณ ผลญาณ ในทสี่ ดุ การบรรลธุ รรมนี้มีปรากฏในคัมภรี ว์ ิสทุ ธิมรรควา่ สปปฺ ีตเิ ก เทวฺ ฌาเน สมาปชชฺ ิตวฺ า วฏุ ฺฐาย ฌานสมฺปยุตฺตํ ปีตึ ขยโต วยโต สมฺมาสติ. ตสสฺ วปิ สฺสนากฺขเณ ลกขฺ ณปฏิเวเธน อสมฺโมหโต ปีตึ ปฏสิ ํวทิ ติ า โหติ.๕๐ ความว่า ผู้ปฏิบัติเข้าฌานสองท่ีมีปีติเป็นอารมณ์แล้ว ออกจากฌานย่อมกำหนดรู้ปีติท่ี ประกอบกับฌานว่าเสื่อมไปสิ้นไป เขาได้รู้ชัดปีติในขณะเกิดวิปัสสนาอย่างถูกต้องด้วยการแทงตลอด ไตรลกั ษณ์ ดงั นนั้ ปีติจงึ เปน็ บรรทฏั ฐานตอ่ การบรรลุธรรม เม่ือจิตเป็นสมาธิด้วยดีแล้ว วิปัสสนาญาณจักเป็นไปด้วยดี และมองเห็นความจริงในสรรพ สังขารได้แจ่มแจ้ง เพราะว่าสมาธิน้ันเป็นเหมือนการลับมีดให้คม หรือการเช็ดแว่นกระจกให้ใส มีดท่ี คมแลว้ ใช้ตัดใช้ฟันได้ แว่นท่ีใสแล้วใชส้ ่องไดแ้ ละไดผ้ ลทต่ี ้องการ สมาธิจิต คอื จิตท่สี งบต้ังมั่น บรสิ ุทธ์ิ ขาวผอ่ ง ควรแก่การงานที่เรยี กวา่ กมั มนโิ ย คือ วิปสั สนาภาวนา๕๑ การเจริญวิปัสสนานั้น ต้องอาศัยสมถะไม่มากก็น้อย คือ อาจเจริญสมถะจนได้ฌานสมาบัติ ก่อนแล้วจึงก้าวต่อไปสู่วิปัสสนา คือ เอาฌานเป็นบาทของวิปัสสนา (เรียกว่าเจริญวิปัสสนาท่ีมีฌาน เป็นบาท) ก็ได้ เจริญวิปัสสนาไปก่อนแล้ว จึงเจริญสมถะตามหลังก็ได้ หรือ อาจเจริญทั้งสมถะและ วปิ ัสสนาควบคู่กันไปก็ได้ แม้แต่ผู้ท่ีได้ชือ่ ว่าเจริญแต่วิปัสสนาอย่างเดียวล้วน (สุทธวิปัสสนายานิก) ได้ อาศัยสมถะเลย ซึ่งหมายถึง ไม่อาศัยสมถะในความหมายโดยนิปริยาย หรือความหมายจะเพาะท่ี เคร่งครัด คือ ไม่ได้ทำสมถะจนได้ฌานสมาบัติก่อนเจริญวิปัสสนา แต่ตามความเป็นจริงก็อาศัยสมถะ ในความหมายกว้าง ๆ คือ อาศัยสมาธินั่นเอง สมาธิของผู้เจริญวิปัสสนาแบบนี้ อาจเริ่มต้นด้วย ขณิกสมาธิ (สมาธชิ ่ัวขณะ) กไ็ ด้ แตเ่ ม่ือถึงขณะท่ีบรรลุมรรคผล สมาธนิ ั้นจะแน่วแน่สนิท (เปน็ อปั ปนา สมาธิ) ถึงระดับปฐมฌาน ในการเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเจริญเมตตาภาวนาน้ัน เมื่อผู้ปฏิบัติเจริญเมตตาจนสามารถยกระดับจิตให้มีความอ่อนโยน เต็มไปด้วยความรู้สึกมีเมตตา กรุณา ผู้ปฏิบัติก็จะพบวา่ วิปัสสนาภาวนาเป็นเรื่องที่ฝึกได้งา่ ยกว่ามาก ผู้ปฏิบัติจะอยู่ในสภาวะที่มีใจ ๔๙ ๒๘ คือ การเกดิ ขนึ้ ของภวงั คจิต(จติ ที่พน้ จากความรสู้ กึ ) ติดต่อกันนานหลายช่วั โมงโดยไมม่ ีวถิ จี ติ เกดิ ขึน้ ภวังคจติ เปน็ จิตอย่างเดียวกบั ปฏิสนธจิ ติ (จิตดวงแรกในภพใหม่) และจตุ ิจิต(จติ ดวงสดุ ท้ายกอ่ นเสียชีวิต) ในขณะหลับสนทิ ทุกคนจะไมร่ สู้ ึกอารมณ์ใดๆ ในเวลาปกติท่ีตืน่ ข้ึนมา ภวงั คจิตมกั เกดิ คัน้ ระหว่างวิถจี ิต (จิตที่ รู้สกึ อารมณต์ า่ งๆ ในระหวา่ งเหน็ ได้ยนิ นกึ คดิ เป็นต้น) แต่เกดิ ไมน่ านเหมอื นในเวลาหลบั สนิท จึงไมส่ ามารถ กำหนดรภู้ วงั คจติ ได้. อา้ งใน สมเดจ็ พระพทุ ธชนิ วงศ์ (สมศกั ด์ิ อุปสมมหาเถระ) ศาสตราจารย์พเิ ศษ, ป.ธ.๙, M.A., Ph.D., อริยวังสปฏิปทา, (กรงุ เทพมหานคร : ประยรู สาส์นไทย การพิมพ์, ๒๕๕๔), หน้า ๕๘. ๕๐ วสิ ทุ ธฺ .ิ (บาลี) ๑/๓๑๔. ๕๑ พทุ ธทาสภกิ ขุ, วิธีฝกึ สมาธวิ ปิ ัสสนา ฉบบั สมบูรณ์, พมิ พ์ครั้งท่ี ๖. (กรงุ เทพมหานคร : สา นกั พิมพ์ สนุ ทรสาส์น, ๒๕๓๖), หน้า ๘๙.

๑๕๙ เปิดกว้างอย่างยิ่ง และจะสามารถปรับรับกับส่ิงต่าง ๆ ที่เกิดข้ึนในสภาวะปัจจุบันได้อย่างรวดเร็วมาก ขึ้น๕๒ ผลที่ต้องการจากสมถะตามหลักพุทธศาสนา คือการสร้างสมาธิเพื่อใช้เป็นบาทฐานของ วิปัสสนา จุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนาสำเร็จได้ด้วยวิปัสสนา คือ การฝึกอบรมปัญญาท่ีมีสมาธินั้น เป็นบาทฐาน๕๓ โดยวิธีปฏิบัติแบบสมถปุพพังคมนัย หรือ สมถยานิก (ผู้มีสมถะเป็นยาน คือ ผู้เจริญ สมถกัมมัฏฐาน จนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อ)๕๔ ว่า ผู้ปฏิบัติพยายามเจริญฌานขั้นใดขั้น หนึ่งในฌาน ๔ จนคล่องแคล่วแล้วออกจากฌาน กำหนดรู้องค์ฌานอย่างใดอย่างหนึ่งท่ีปรากฏชัดใน ปัจจุบันขณะ เชน่ วติ ก วิจาร ปีติ สขุ เอกัคคตา ผัสสะ เจตนา และ มนสกิ าร เป็นต้น แลว้ ทำสมถะให้ เป็นบาทของวิปสั สนา กำหนดรอู้ งค์ฌานนั้นเป็นอารมณ์อยา่ งตอ่ เนื่องไมข่ าดชว่ งตั้งแต่ต่ืนนอนจนหลับ สนิท จนกระท่งั บรรลมุ รรคญาณและผลญาณในทีส่ ุด๕๕ สรปุ ทา้ ยบท ความหมายของจตุรารักขกัมมัฏฐาน คือ จตุรารักขกัมมัฏฐาน เป็นศัพท์สมาส เชื่อมกัน ระหว่าง ศัพท์ คือ จตรุ กับ อารักข กับ กัมมฏั ฐาน แปลวา่ กมั มัฏฐานเปน็ เครอื่ งรักษาผู้ปฏิบัตใิ หส้ งบ ระงับ ซ่ึงควรเจริญเป็นนิตย์ มี ๔ อย่าง ดังที่กล่าวไว้ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจา้ อยู่หัว ไดแ้ ก่ ๑) พุทธานุสติ คือ ระลึกถึงคุณพระพทุ ธเจ้าที่ทำใหเ้ ป็นพระพุทธเจ้าจรงิ ๆ ๒) อสภุ กมั มัฏฐาน คือ พจิ ารณาร่างกายตน และผอู้ ืน่ ใหเ้ ห็นเปน็ ของไม่งาม ๓) มรณานุสสติ คือ นึกถึงความตายอนั จะมีแกต่ นเปน็ ธรรมดา ๔) เมตตาภาวนา คอื แผ่ไมตรีจติ คิดจะให้สตั วท์ ัง้ ปวงเป็นสุขท่ัวหน้า จตุรารักขกัมมัฏฐานเป็นสัพพัตถกกัมมัฏฐาน เพราะเป็นกัมมัฏฐานเบ้ืองต้นที่ผู้ปฏิบัติควร กระทำเป็นอันดับแรก เพื่อเจริญคุณความดีที่ยิ่งๆ ข้ึนไปด้วยความไม่ประมาทโดยทั่วไปในการปฏิบัติ ในชวี ติ ประจำวนั ในสงั คมไทย ก็มีหลักการปฏบิ ัติต่อบคุ คลตา่ งๆ โดยความเมตตาอยแู่ ล้วตามธรรมชาติ แม้ในทางจิตวิทยาก็เน้นการบำบัดความเครียดอันเกิดจากความคัดแย้งระหว่างบุคคล ด้วยความ เมตตา หรือแม้ในหลักปฏิบัติทางศาสนาพุทธในประเทศไทย กิจกรรมทางพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็น การทำวัตรสวดมนต์ หรือการเจริญพระพุทธมนต์ในพิธีต่างๆ ล้วนแต่จบลงด้วยการแผ่เมตตาท้ังสิ้น ดังน้ัน การเจริญเมตตาภาวนาในกระบวนการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ควรจัดให้เป็น รูปแบบท่ีชัดเจนมากขึ้น เพราะการปฏิบัติเมตตาภาวนาเป็นสัพพัตถกกัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นกัมมัฏฐานท่ี ๕๒ พระปัญญาวโร ภกิ ข,ุ หลักการปฏบิ ัติ วิปสั สนาเบือ้ งต้น, แปลโดย ฉัตรนคร องคสิงห์, กรงุ เทพมหานคร : โรงพิมพม์ หาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั , ๒๕๕๕.หน้า ๙๙. ๕๓ พระธรรมปฎิ ก (ป.อ. ปยตุ โฺ ต), พุทธธรรม ฉบบั ขยายความ, พิมพค์ รง้ั ท่ี ๗, (กรุงเทพมหานคร) : โรงพิมพม์ หาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั , ๒๕๔๑, หน้า ๓๐๖-๓๐๗. ๕๔ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโฺ ต), พจนานกุ รมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท,์ พมิ พ์ครง้ั ที่ ๒๗ มลู นิธิ การศึกษาเพื่อสันติภาพ,๒๕๕๙, หน้า ๓๐๐. ๕๕ สมเดจ็ พระพุทธชินวงศ์ (สมศักด์ิ อุปสมมหาเถระ) ศาสตราจารยพ์ เิ ศษ, ป.ธ.๙, M.A., Ph.D., อริยวังสปฏิปทา, (กรุงเทพมหานคร : ประยรู สาส์นไทย การพิมพ์, ๒๕๕๔), หน้า ๕๕-๕๗.

๑๖๐ เหมาะแก่บุคคลทวั่ ไป และอาจจะเหมาะอย่างยงิ่ สำหรับสังคมปัจจุบัน ทีบ่ ุคคลมีความเป็นปัจเจกมาก เป็นขึ้น และมีความขัดแย้งระหว่างกันในรูปแบบต่างๆอีกอย่างหนึ่ง การเจริญเมตตาภาวนาเป็น ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่จะช่วยยกระดับจิตของผู้ปฏิบัติให้มีความอ่อนโยน ซ่ึง เก้ือหนุนต่อบุคลิกภาพในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา หรือระหว่าง บุคคลท่ีอยู่ในระนาบเดียวกัน เพื่อลดความเครียดในส่วนที่เป็นความสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์กับ มนุษย์ ในยุคสมัยที่มนุษย์เร่ิมมีความเครียดและความกลัวอันจะเกิดจากภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นดินไหว นำ้ ท่วม หรือโลกร้อน

๑๖๑ คำถามทา้ ยบท ๑. จงให้ความหมาย “วปิ ัสสนา” ตามแนวแหง่ พระไตรปฎิ กฯ ๒. กมั มฏั ฐานกบั วิปัสสนาภาวนา เหมอื นหรือต่างกันอย่างไร จงอธิบายฯ ๓. การจะเข้าสู่อารมณ์ต้องดำเนินการอย่างไรฯ ๔. สติปัฏฐานประกอบด้วยองค์ เทา่ ไร อะไรบ้างฯ ๕. การเดินจงกรมด้วยการเดินจังหวะ ๖ มีแนวปฏบิ ัตอิ ยา่ งไรฯ ๖. การน่ังสมาธิ ๓ ทา่ ประกอบด้วยอะไรบา้ ง จงอธบิ ายแนวทางปฏบิ ตั พิ อเขา้ ใจฯ ๗. สมถยานิกกับวิปสั สนายานิก พระอรรถกถาจารย์ได้อธบิ ายไวอ้ ย่างไรฯ ๘. ปฐมฌาน ประกอบดว้ ยองค์ เท่าไร และแตล่ ะอย่างมคี วามหมายว่าอยา่ งไรฯ ๙. อปุ จารสมาธิและอปั ปนั นาสมาธิ พระอรรถกถาจารยไ์ ด้อธบิ ายไวอ้ ย่างไรฯ ๑๐. จตรุ ารักขกัมมฏั ฐาน หมายความวา่ อยา่ งไร ประกอบด้วยอะไรบ้างฯ

๑๖๒ เอกสารอ้างองิ ประจำบท ๑.ภาษาบาลี-ไทย ก.ข้อมูลปฐมภูมิ มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระไตรปฎิ กภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ ๒๕๐๐, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพม์ หาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๒๕. _____.พระไตรปฎิ กภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พ์มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๓๙. _____.อรรถกถาภาษาบาลี ฉบบั มหาจุฬาอฏฺฐกถา,กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙. _____.ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจฬุ าฎีกา,กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพม์ หาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั ,๒๕๓๙. _____.ปกรณวเิ สสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวเิ สโส, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั ,๒๕๓๙. ข.ข้อมลู ทตุ ิยภูมิ ธนิต อยู่โพธิ์, วปิ สั สนานยิ ม, กรงุ เทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั , ๒๕๔๐. บุญสบื อินทสาร, บาลไี วยากรณส์ าหรับท่อง, กรุงเทพมหานคร : โรงพมิ พแ์ ละทำปกเจริญผล, ๒๕๔๐. พระคนั ธสาราภวิ งศ์, สอ่ งสภาวธรรม, กรงุ เทพมหานคร : ห้างหุ้นสว่ นจา กัด ไทยรายวันการพิมพ์ ,๒๕๕๑. พระธรรมปฎิ ก (ป.อ. ปยตุ โฺ ต), พทุ ธธรรม ฉบับขยายความ, กรงุ เทพมหานคร :โรงพมิ พ์มหาจฬุ าลง กรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑. พระปัญญาวโร ภิกขุ, หลกั การปฏิบตั ิ วปิ ัสสนาเบอ้ื งต้น, แปลโดย ฉัตรนคร องคสงิ ห์, กรงุ เทพมหานคร : โรงพิมพม์ หาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั , ๒๕๕๕. พระพรหมคุณาภรพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยตุ ฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบบั ประมวลศัพท์, พิมพ์ครัง้ ท่ี ๒๗ มลู นิธกิ ารศกึ ษาเพ่ือสนั ติภาพ,๒๕๕๙, _____. (ป.อ. ปยตุ โต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พมิ พ์คร้ังท่ี ๓๔ มูลนธิ ิการศึกษาเพื่อสนั ตภิ าพ,๒๕๕๙, พระมหาสมปอง มทุ ิโต, มลู นิรุตติ กจั จายนสตู ร ธาตวานกุ รม, พิมพ์ครัง้ ที่ ๓, กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา, ๒๕๔๕. พระโสภณมหาเถระ (มหาสสี ยาดอ), วปิ ัสสนาชนุ ี, แปลโดย จำรญู ธรรมดา, กรุงเทพมหานคร : หุ้นสว่ นจำกดั ประยรู สาส์นไทย การพิมพ์, ๒๕๕๓. พุทธทาสภิกขุ, วธิ ฝี กึ สมาธิวิปัสสนา ฉบบั สมบรู ณ์, พมิ พ์ครง้ั ท่ี ๖, กรงุ เทพมหานคร : สำนกั พิมพ์ สุนทรสาสน์ , ๒๕๓๖. สมเด็จพระพุทธชนิ วงศ์ (สมศักดิ์ อุปสมมหาเถระ) ศาสตราจารยพ์ ิเศษ, ป.ธ.๙, M.A., Ph.D., อรยิ วังสปฏิปทา, พิมพค์ รั้งท่ี ๑, กรุงเทพมหานคร : ประยูรสาสน์ ไทย การพมิ พ์, ๒๕๕๔.

บทท่ี ๘ การพฒั นาความคิดตามหลักโยนโิ สมนสิการ วตั ถปุ ระสงคก์ ารเรียนรปู้ ระจำบท เม่อื ไดศ้ กึ ษาเน้อื หาในบทน้แี ลว้ ผูเ้ รียนสามารถ ๑. อธิบายการเสริมสรา้ งคณุ ลกั ษณะที่พึงประสงค์ตามแนวพทุ ธได้ ๒. อธิบายกระบวนการพัฒนาเยาวชนตามแนวพุทธได้ ๓. อธบิ ายบทบาทของสงั คมในการสง่ เสรมิ การพัฒนาเยาวชนตามแนวพุทธได้ ๔. อธบิ ายการพัฒนาความสามารถในการคดิ ตามแนวพุทธในสงั คมไทยได้ ขอบข่ายเนอ้ื หา • การเสรมิ สร้างคุณลักษณะทพ่ี ึงประสงคต์ ามแนวพุทธ • กระบวนการพฒั นาเยาวชนตามแนวพุทธ • บทบาทของสงั คมในการส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนตามแนวพทุ ธ • การพัฒนาความสามารถในการคิดตามแนวพทุ ธในสงั คมไทย

๑๖๓ ๘.๑ ความนำ พฤติกรรมของเยาวชนที่พึงปรารถนา เป็นส่ิงสำคัญต่อสังคมในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาให้ ความสำคัญต่อการพัฒนา ศักยภาพของตนเอง โดยเน้นที่การกระทำ เพื่อให้เยาวชนมีพฤติกรรมท่ีพึง ปรารถนา หากเยาวชนมีการกระทำทั้ง ทางกาย วาจา และจิตใจ ย่อมเป็นผู้ประเสริฐได้ เนื่องจากวัย ไม่ไดเ้ ป็นตัวช้ีวดั ทางพระพุทธศาสนาเลยว่า คนดีจะต้องเป็นผู้ใหญ่เท่าน้ัน เยาวชนก็ทำดีได้เช่นกัน ดัง คำอุปมาอุปมัยว่า “หงส์ กระเรียน นกยูง ช้าง ฟาน ย่อมกลัวราชสีห์ท้ังนั้น จะถือว่าเอาร่างกายเป็น ประมาณไมไ่ ด้ ฉันใด ในหมู่มนุษยก์ ็ฉนั นน้ั ถ้าแม้เด็กมีปัญญากเ็ ป็นผู้ใหญ่ได้ คนโงถ่ ึงร่างกายใหญ่โต ก็ เป็นผู้ใหญ่ไม่ได้”๑ เยาวชนเมื่ออยู่ในสังคม เป็นผู้ที่มีหลายบทบาทเกิดขึ้นพร้อมกัน การได้รับสถานภาพเป็น “ลูก” เป็นอันดับแรก และมีสถานภาพต่าง ๆ ต่อมาโดยลาดับ เม่ือเข้าโรงเรียนก็เรียกว่าเป็น “นักเรียน , นักศึกษา , นิสิต” เป็นต้น เม่ือเติบโตขึ้นอีกระดับก็เรียกว่าเป็น “พลเมือง ” เม่ือเข้าสู่ พระพทุ ธศาสนากเ็ รียกวา่ “พทุ ธศาสนิกชน ” เยาวชนจงึ มสี ่วนเกี่ยวข้องกบั สถาบันต่าง ๆในสังคม ในฐานะเปน็ สมาชิก และเมอ่ื เตบิ โตข้นึ กม็ บี ทบาทและความสำคัญต่อสังคมมากข้นึ เช่นเดียวกัน๒ ดังน้ันการที่เยาวชนจะประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ เป็นเยาวชนท่ีดี เป็นคนเก่ง จะต้อง ฝึกฝนพัฒนาตนเองด้วยกันท้ังส้ิน ดังคำที่พระพุทธองค์ได้รับรองไว้ว่า บุคคลที่จะเจริญก้าวหน้าใน ระดับโลกิยสมบัตินี้ พึงต้ังอยู่ในความขยันหม่ันเพียร มีความระมัดระวังด้วยสติ ทำงานซื่อสัตย์มือ สะอาดไม่คดโกง ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำการหรือสั่งการ สำรวมตนเอง ใช้ชีวิตอยู่โดยธรรม (มีคุณธรรมประจำตน ) และต้องไม่ประมาท๓ ในกิจท้ังปวง ในการงานทุกอย่าง เขาย่อมได้รับยศ เกียรติ อันเป็นวิสัยของโลกอย่างแน่นอน หลักในการพัฒนาตนในระดับน้ีมุ่งให้บุคคลรู้จักรับผิดชอบ ต่อเองเสียก่อนแล้วค่อยพัฒนาคนอื่นและ ส่ิงแวดล้อมภายหลัง เพราะมิฉะน้ัน ถ้าไม่ฝึกฝนตนแล้ว ก็ เป็นบัณฑิตไม่ได้ เป็นได้ก็แต่คนพาล คนทำลายสังคมให้พินาศเสียหาย เช่น พวกก่อการร้าย พวก โจรกรรมทรัพย์ชาวบ้าน พวกก่ออาชญากรรมสร้างปัญหาให้แก่ประเทศชาติของเรา และอีกเหตุผล หนึ่ง คนท่ีไม่ฝึกฝนตน ชื่อว่าประมาทมัวเมาอยู่ในบาปอกุศลกรรม ย่อมได้ รับทุกข์๔ร่ำไปในการ กระทำของตน น้ัน เพราะเหตุว่าหากขาดการพัฒนาตนเองที่ดีแล้ว ย่อมประสบกับความทุกข์ทั้งใน โลกน้ีและโลกหน้า หาความสุขในการดำเนินชีวิตได้ยากย่ิง จะมี ก็สุขช่ัวครั้งชั่วคราวไม่ถาวรแต่ ประการใด ปจั จุบนั ในสังคมไทยไดน้ ำการพฒั นาเยาวชนแนวพทุ ธมาใช้ โดยการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึง ประสงค์เชน่ การพัฒนาวินยั ในตน การพัฒนาปรีชาเชงิ อารมณแ์ นวพุทธการพัฒนาการคิดแบบโยนโิ ส มนสิการ การพัฒนาลกั ษณะการเปน็ กัลยาณมิตร เป็นต้น เพือ่ ให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมที่พึงปรารถนา โดยสถาบนั ทางสังคมตา่ ง ๆ เช่น สถาบนั ครอบครวั สถาบนั การศึกษา สถาบนั พุทธศาสนา ชมุ ชน เป็น ๑ ประเวศ วะสี, พระสงฆ์และศาสนกิ ชนจะกชู้ าตไิ ด้อย่างไร,(กรุงเทพมหานคร: สานกั พิมพ์ มลู นิธิโกมลคมี ทอง, ๒๕๓๐), หน้า ๑๓ –๓๐. ๒ พระมหาบญุ เพียร ปญุ ฺญวิรโิ ย(แกว้ วงศน์ อ้ ย), “แนวคดิ และวิธกี ารขดั เกลาทางสงั คมในสถาบัน ครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา ”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบณั ฑติ , (บัณฑติ วิทยาลยั : มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั , ๒๕๔๔), หน้า ๕๗. ๓ ข.ุ ธ.(ไทย) ๒๕/๙๔๑/๗๒๖. ๔ ข.ุ ธ.(ไทย) ๒๕/๓๔๒/๑๓๙.

๑๖๔ ต้น เป็นผู้ที่มีบทบาทในการขัดเกลา อบรมสั่งสอนให้ส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพ่ือให้เกิด พฤติกรรมท่ีพึงปรารถนา ทำให้เยาวชนเป็นคนดีและคนเก่ง ช่วยเหลือตนเองและสังคมได้ ทำให้เกิด การพัฒนาทดี่ ีทง้ั ตนเองและสงั คม ๘.๒ การเสรมิ สร้างคุณลักษณะทพ่ี ึงประสงค์ตามแนวพทุ ธ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยตุ โฺ ต)๕ ไดเ้ สนอหลกั การในการพฒั นาเยาวชนตามแนวพุทธโดย ใช้หลักไตรสิกขา๖ ในกระบวนการพัฒนาซ่ึงประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ในการ เชื่อมโยงส่งผลตอ่ กนั โดยสามารถมองการทำงานไดเ้ ป็น ๒ ภาพหลกั คอื ๑) การมองภาพรวมของระบบใหญ่ เรียกว่า รอบใหญ่ โดยการพัฒนาแบบน้ีจะเห็นศีลสมาธิ และปัญญา เด่นขึ้นมาทีละอย่างตามลำดับ คือช่วงแรกเด่นที่ศีล ก็เป็นขั้นศีล ข้ันท่ีสองเด่นท่ีสมาธิก็ เป็นข้ันสมาธิ ช่วงที่สามเด่นท่ีปัญญา ก็เป็นขั้นปัญญา แต่ในทุกข้ัน ก็จะมีองค์อีก ๒ อย่างทำงานร่วม อยู่ด้วยโดยตลอด ๒) การมองการทำงานในช่วงสั้น ๆ เรียกว่า รอบเล็ก เป็นการพัฒนาในช่วงเวลาใดเวลาหน่ึง จะเห็นศีล สมาธิ ปัญญาน้ันทางานด้วยกัน และสัมพันธ์กันตลอดเวลา ซ่ึงการฝึกแบบน้ีสามารถเริ่ม จากจุดไหนก่อนก็ได้ เช่น ถ้าเยาวชนมีความพอใจ จิตแนบสนิทกับพฤติกรรมอย่างใด(สมาธิ) ก็จะมี ความโน้มเอียงไปสู่การทาพฤติกรรมนั้น (ศีล) หรือ ถ้าเยาวชนพิจารณาโดยเหตุผลว่าพฤติกรรมอีก อย่างหน่ึงดีกว่า เห็นว่าทำอย่างนั้นจะดีกว่า เป็นประโยชน์กว่า (ปัญญา) เราก็จะทำพฤติกรรมตามท่ี เราคิดว่าดีกว่านั้น (ศีล) แต่บางทีอาจจะมีพฤติกรรมเกิดขึ้นก่อน เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ โรงเรียน หรือ สถาบันทางสังคม เขาจดั ระเบียบความเป็นอยู่ คอื วางระเบียบวินัยเป็นกฎเกณฑ์กตกิ าขึ้นมาแล้ว เยาวชนเข้าไปอยใู่ นหม่ใู นพวกเขากต็ อ้ งทำตามเขาไป (ศีล) ตอ่ มาจากความเคยชนิ ในการทำพฤติกรรม อย่างนั้นไปเร่ือย โดยไม่ขัดขืนฝืนใจ เราก็เกิดความพอใจสนิทกับพฤติกรรมนั้น (สมาธิ) แล้วบางทีก็ เลยมองเห็นคุณ ค่าของสิ่งที่เป็นระเบียบหรือกฎเกณ ฑ์ กติกาของพฤติกรรมน้ัน ว่าดีมี ประโยชน์(ปัญญา) พอปญั ญาเห็นคุณค่าของพฤติกรรมอย่างน้ันแล้ว กย็ ิ่งมีความสุขความพอใจสนิทใจ กับพฤติกรรมน้ันมากขึน้ (สมาธิ) ฯลฯ เพราะเหตุทมี่ ีการโยงสง่ ผลต่อกันไปมาอยา่ งน้ี ก็ทำให้เยาวชนมี การปรบั พฤตกิ รรมใหเ้ หมาะสมมีผลดยี ิง่ ข้นึ ไปอีก จากรายละเอียดข้างต้นสรุปได้ว่า หลักในการพัฒนาเยาวชน ตามแนวพุทธ คือการพัฒนา เยาวชน ตามหลักไตรสิกขา คือ พัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ และพัฒนา ปัญญา พร้อม กันทั้ง ๓ ดา้ น โดยอาศัยและสง่ เสรมิ ซ่ึงกนั และกัน ในกระบวนการพัฒนาเยาวชน ๕ พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ.ปยตุ โฺ ต), จะพฒั นาคนกนั ได้อยา่ งไร, มูลนธิ ิพุทธธรรม, กรงุ เทพมหานคร : ๒๕๕๑, หนา้ ๕๕ – ๕๖ . ๖ องฺ.ทุก.(ไทย) ๒๐/๙๐/๓ ๘.

๑๖๕ ๘.๓ กระบวนการพัฒนาเยาวชนตามแนวพทุ ธ กระบวนการพัฒนา เยาวชน โดยใช้หลักไตรสิกขาเต็มระบบ ซ่ึงถือว่าเป็นระบบการศึกษาที่ ทำใหเ้ ยาวชนพัฒนาอย่างมีบรู ณาการ และเปน็ องคร์ วมท่ีพัฒนาอย่างมีดุลยภาพ ดงั นี้ ศีล เป็นเรื่องของการฝึกในด้านพฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมเคยชิน เครื่องมือที่ใช้ในการ ฝึกศีล ก็คือวินัย วินัยเป็นจุดเร่ิมต้นในกระบวนการศึกษาและการพัฒนามนุษย์ เพราะว่าวินัยเป็น ตัวการ จัดเตรียมชีวิตให้อยู่ในสภาพท่ีเอ้ือต่อการพัฒนา โดยจัดระเบียบความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิต และการอยู่ร่วมกันในสังคม ให้เหมาะกับการพัฒนาและให้เอื้อโอกาสในการท่ีจะพัฒนา เมื่อฝึกได้ผล จนคนมีพฤติกรรมเคยชินที่ดีตามวินัยน้ันแล้วก็เกิดเป็นศีล ดังนั้น โดยสรุปวินัยจะมาในรูปของการฝึก พฤติกรรมเคยชินท่ีดี และการจัดสภาพแวดล้อม ทีจ่ ะป้องกนั ไม่ให้มพี ฤติกรรมที่ไม่ดี และเอ้อื ต่อการมี พฤติกรรมท่ีดีท่ีพึงประสงค์ การฝึกคนให้ค้นุ กับพฤติกรรมที่ดี ตลอดจนการจัดระเบียบระบบทั้งหลาย ทัง้ ปวงในสังคมมนุษย์ สมาธิ เป็นเรื่องของการฝึกในด้านจิต หรือระดับจิตใจ ได้แก่การพัฒนาคุณสมบัติต่างๆ ของ จิตเยาวชน ทั้งในด้านคุณธรรมเชน่ ความเมตตากรุณา ความเอื้อเฟ้ือเผือ่ แผ่ ในดา้ นความสามารถของ จิต เช่น ความเข้มแข็งมั่นคง ความเพียรพยายาม ความรับผิดชอบ ความแน่วแน่ม่ันคง ความมีสติ สมาธิ และในด้านความสุข เช่น ความอมิ่ ใจ ความร่าเริงเบิกบานใจ ความสดชื่นผอ่ งใสความรู้สึกพอใจ พูดสนั้ ๆ ว่า พฒั นาคุณภาพ สมรรถภาพและสขุ ภาพของจิต ปัญญา เป็นเรื่องของการฝึกหรือพัฒนาในด้านการรู้ความจริง เริ่มต้ังแต่ความเช่ือ ความเห็น ความรู้ความเข้าใจ ความหยั่งรู้เหตุผล การรู้จกั วินิจฉัย ไตร่ตรอง ตรวจสอบ คิดการต่างๆ สร้างสรรค์ เฉพาะอย่างย่ิงเน้นการรู้ตรงตามความเป็นจริง หรอื รู้เห็นตามท่ีมันเป็นตลอดจนรู้แจ้งความจริงท่ีเป็น สากลของส่ิงทงั้ ปวง จนถึงขั้นรู้เท่าทันธรรมดาของโลกและชีวิต ที่ทำให้มีจิตใจเป็นอิสระ ปลอดปญั หา ไร้ทกุ ข์ เขา้ ถงึ อสิ รภาพโดยสมบรู ณ์๗ สรุปได้ว่า ในขั้นไตรสิกขา เป็นข้ันของการพัฒนาประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ ศีล สมาธิและ ปญั ญา ซึ่งในส่วนของศีลจะฝึกการมวี ินัย เพือ่ ให้เกิดพฤตกิ รรมเคยชินทีด่ ี ส่วนสมาธิจะฝึกจิตใจในด้าน คุณธรรมและความสุข และปัญญา เป็นการฝึกด้านความร้จู ริงจนถึงขั้นรู้เท่าทันธรรมดาของสิ่งทงั้ ปวง ทาให้พ้นทุกข์ และมีความสุขท่ีแท้จริงในชีวิต คุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ตามแนวพุทธ ที่ควรส่งเสริม โดยพัฒนาตามหลักไตรสิกขา การพัฒนาวินัยในตนเอง การพัฒนาปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธ การ พฒั นาความสามารถในการคดิ แบบโยนโิ สมนสิการ ๘.๓.๑ การพฒั นาวนิ ัยในตนเองตามแนวพุทธ พระพรหมคุณาภรณ์ (ปอ.ปยุตฺโต)๘ ไดใ้ ห้ความหมายของคาว่าวนิ ัย ไว้ ๒ อยา่ งคือ ๑) การฝึกให้มีความประพฤติและความเป็นอยู่เป็นระเบียบแบบแผน หรือการบังคับควบคุม ตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผน รวมท้ังการใช้ระเบียบแบบแผนต่าง ๆ เป็นเครื่องจัดระเบียบความ ประพฤติ ความเป็นอยขู่ องตน ๗ พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ.ปยุตโฺ ต), จะพฒั นาคนกนั ไดอ้ ยา่ งไร, มลู นิธพิ ุทธธรรม, กรงุ เทพมหานคร : ๒๕๕๑, หน้า ๔๖– ๔๘. ๘ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยตุ โฺ ต), พทุ ธธรรม ฉบับปรับปรุงขยาย, พิมพค์ รั้งท่ี ๓๒, พุทธธรรมประดิษฐาน ๒๖ ศตวรรษกาล พ.ศ.๒๕๕๕, หนา้ ๔๕๐.

๑๖๖ ๒) ระเบียบแบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่าง ๆ ท่ีวางลงไว้เป็นหลักหรือเป็นมาตรฐาน สำหรับใช้ฝึกคนหรือใช้บังคับควบคุมตน ตลอดจนเป็นเครื่องจัดระเบียบความประพฤติ ความเป็นอยู่ ของตน การเสริมสรา้ งวินยั ตามแนวพุทธของพระพรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)๙ มดี ังน้ี ๑.การเสริมสร้างวินัยด้วยการทำให้เป็นพฤติกรรมเคยชิน คือ ใช้ธรรมชาติของมนุษย์มาเป็น เครือ่ งช่วยทำให้เปน็ ไปตามธรรมชาติของมนุษย์หรือสอดคล้องกับธรรมชาตขิ องมนุษย์ ซงึ่ ความเคยชิน เกิดจากความเป็นไปตามเหตปุ จั จัยในการดำเนนิ ชีวติ ของมนุษยน์ น่ั เอง ๒.การนำวัฒนธรรมเข้ามาช่วยในการเสริมสร้างวินัย เพราะวัฒนธรรมเป็นปัจจัยอย่างหน่ึงท่ี สร้างวินยั เปน็ แบบพฤติกรรมเคยชิน เช่น พ่อแม่พาเด็กไปในสถานท่ีที่ต้องให้บริการแก่คนจำนวนมาก พ่อแม่ไปเข้าแถวรอคิว เด็กก็ไปเข้าแถวด้วย พอเด็กมีประสบการณ์คร้ังแรก ก็เข้าแถวต่อไปครั้งท่ี ๒ เด็กก็เข้าแถว ต่อไปคร้ังที่ ๓ ก็เข้าแถว จากนั้นเด็กก็เข้าแถวรอคิวเอง โดยไม่ต้องต้ังใจฝึก วัฒนธรรม เขา้ แถวกม็ ีมาเองจากการถ่ายทอดตามความเคยชนิ ๓.การเสริมสร้างวินัยด้วยระบบความสัมพันธ์ขององค์รวม การฝึกวินัยจะได้ผลดีต้องอาศัย ระบบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆท่ีเกี่ยวข้องมาบูรณาการกันด้วย หมายความว่า ในการ ฝึกฝนพัฒนามนุษย์หรือการศึกษานั้นจะต้องให้องค์ประกอบ ๓ ส่วน คือ ด้านพฤติกรรม ด้านจิตใจ และด้านปัญญาประสานไปด้วยกัน ทำให้เกิดองค์รวมท่ีสมบูรณ์ ฉะนั้นเมื่อฝึกวินัยจงึ ต้องดูทั้ง ๓ ด้าน คอื ๓.๑ ด้านพฤติกรรม เม่ือมีพฤติกรรมท่ดี ีดว้ ยความเคยชินดีแลว้ ๓.๒ ด้านจติ ใจ เมอื่ เกดิ ความพึงพอใจ หรือมีความสุขในการทาพฤตกิ รรมน้นั พฤติกรรมกจ็ ะม่นั คงยงิ่ ขน้ึ ๓.๓ ดา้ นปญั ญา ถ้าเด็กมีความรคู้ วามเข้าใจเหตผุ ลมองเห็นคุณคา่ มองเห็นประโยชน์ ของการกระทำหรือพฤตกิ รรมน้ัน ความรู้ความเข้าใจน้ันก็จะมาหนุนองค์ประกอบฝา่ ยจติ ใจ ทำให้เกิด ความพึงพอใจและความสุขในการปฏบิ ตั ิตามพฤติกรรมนนั้ ยง่ิ ขึ้นไปอีก ๔.การเสริมสร้างวินยั โดยใช้ปัจจัยอน่ื ๆมาช่วยเสรมิ ความเป็นกลั ยาณมติ ร เป็นตัวเสรมิ ในการ สรา้ งวนิ ยั จากพฤติกรรมที่เคยชินไดโ้ ดยทำหน้าที่หนนุ องคป์ ระกอบทั้ง ๓ ดา้ น คอื ๔.๑ เปน็ ต้นแบบท่ดี ขี องพฤติกรรม (ศีล) ๔.๒ มีความรัก ทำให้เกิดความอบอุ่น มีความเป็นกันเอง พร้อมท้ังศรัทธาและ ความสขุ (จติ ใจ) ๔.๓ กัลยาณมิตร รู้เหตุรู้ผล สามารถบอกได้ว่าทำอย่างน้ันแล้วมีผลอย่างไร ทำให้ เด็กเขา้ ใจเหตผุ ลและเหน็ คณุ คา่ ในส่งิ ท่ที ำ (ปญั ญา) ๕.การเสริมสร้างวินัยด้วยแรงหนุนของสภาพจิตใจ คือการตั้งเป็นอุดมคติในจิตใจทำให้ใจมี ความฝักใฝ่ม่งุ ม่ัน ๖.การเสรมิ สร้างวินัยโดยใช้กฎเกณฑ์บังคับ คือ การสร้างวินยั โดยใช้กฎหมาย หรือ กฎเกณฑ์ บังคับควบคุม โดยมีการลงโทษ วิธีนี้ก็สามารถนำไปใช้เสริมสร้างวินัยได้ แต่เป็นวิธีท่ีไม่ดี คือ ไม่ สอดคล้องกับความจริงของกฎธรรมชาติมนุษย์ การใช้กฎหมายหรือกฎเกณฑ์ ข้อบังคับมาฝึกวินัยให้ ๙ พระ พรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ.ปยตุ ฺโต), วนิ ัยเร่ืองใหญก่ วา่ ทคี่ ดิ , (กรุงเทพมหานคร : บริษทั พมิ พ์สวย จำกัด, ๒๕๓๘), หนา้ ๖ - ๒๔.

๑๖๗ ได้ผล โดยต้องไม่ให้อยู่แค่เป็นการใช้อำนาจกดบีบบังคับและลงโทษ แต่ต้องให้จิตใจของคนเกิด ความรูส้ ึกสำนกึ วา่ เป็นการฝกึ โดยทำให้เด็กเข้าใจมองเห็นเหตุผลและประโยชน์ของการปฏิบตั ติ ามกฎ ข้อบังคับนั้นๆ ความรู้ ความเข้าใจและจติ สำนึก ในการฝกึ นี้จะทำให้เกดิ มีความพงึ พอใจหรือความเต็ม ใจขึ้นมาในระดับหนึ่งท่ีจะทำตาม และก็ทำให้ได้ผล ซึ่งกค็ ือทำให้เขา้ สู่ระบบการศึกษาที่แท้จรงิ โดยมี องคป์ ระกอบ ๓ สว่ น คอื พฤตกิ รรม จติ ใจ และปัญญาเขา้ มาประสานกัน ๘.๓.๒ การพฒั นาปรีชาเชิงอารมณแ์ นวพทุ ธ ในทางพระพุทธศาสนาถือว่า จิต (หรือใจ ) มีความสำคัญ ถ้าสภาพจิตใจดีงาม การกระทำ หรือพฤติกรรมทางกายและทางวาจาก็ดีงามไปด้วย เน่ืองจากเจตนาจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม๑๐ ดังน้ัน ในการพัฒนาปรีชาเชิงอารมณ์ คือการพัฒนาอารมณ์ฝ่ายกุศลและควบคุมฝ่ายอกุศล (กิเกส) โดยอาศัยพลังของฝ่ายกลาง เน่ืองจากอารมณ์ฝ่ายกุศลเป็นคุณประโยชน์และประกอบด้วยปัญญา นำไปสู่พฤติกรรมท่ีเก้ือกูลและสร้างสรรค์ ส่วนอารมณ์เป็นฝ่ายอกุศลไม่ประกอบด้วยพฤติกรรมท่ีเป็น ปญั หา๑๑ การพัฒนาปรีชาเชงิ อารมณ์ของเยาวชนต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบของจติ เพื่อดูคุณสมบัติ ของจิตที่พงึ ประสงค์ แลว้ เลือกพัฒนาตัวทเ่ี ดน่ ๆ เชน่ เจตสิกฝา่ ยทเี่ ป็นกลาง ได้แก่ มนสกิ าร (การคิด) หรือเอกคั ตา (สมาธิ) หรอื วิริยะ(ความขยนั ) เจตสิกเหล่าน้ี ใช้ไปในส่วนที่เป็นสัมมา (ชอบ) หรอื มิจฉา (ผิด) ก็ได้ สำหรับในส่วนของอารมณ์นั้นผ่ายอกุศลเจตสิก ได้แก่ ความโกธร ความโลภ ความมีโทสะ ความอิจฉา ริษยา เป็นตัวดึงเราออกจากการทำความดี เยาวชนก็ต้องพัฒนาผ่ายดี คือ ฝ่ายกุศล เจตสิกเพื่อทำให้เกิดความสมบูรณ์หรือเกิดพลังมากขึ้น อาทิ เป็นอโลภะ(ความไม่โลภ) อโทสะ (ความ ไม่โกธร) อโมหะ (ความไม่หลง) แผนภูมิของจิตที่ทำให้เกิดการพัฒนาบุคคลพึงประสงค์ท่ีแท้จริง คือ การพัฒนาในส่วนท่ีเป็นกุศลเจตสิกไป ควบคุมอกุศลเจตสิก โดยอาศัยพลังของฝ่ายกลางทำให้ชีวิตมี ความสมดุล สำหรบั การจัดการกับฝา่ ยอกลุ นน้ั เยาวชนสามารถทำได้ ๔ ขั้นดังน้ี ๑) สังวรปธาน๑๒คือความเพียรพยายามท่ีจะควบคุมตนเอง ควบคุมพลังฝ่ายไม่ดีท้ังหลาย ควบคุมตนเองไม่ให้ทำช่ัว ไมใ่ ห้พลงั อกุศลท้งั หลายมีพลังเหนอื พฤติกรรมของเรา ไมต่ กเป็นทาสมนั ๒) ปหานปธาน๑๓คือ กำจัดขุดรากถอนโคนฝ่ายไม่ดีออกไป คือ ตีให้อ่อนลงควบคุมให้อยู่ใน เขตทจ่ี ัดการได้ เป็นการทำให้ฝ่ายอกุศลหมดพลังไปในท่ีสดุ ๓) ภาวนาปธาน เป็นการพัฒนาในฝ่ายท่ีเป็นกุศลให้แข็งแรงข้ึน ให้มีพลัง ให้มีอำนาจเข้ามา ควบคุมฝา่ ยอกุศล ๔) อนุรักขณาปธาน คือ รักษาความดี หรือฝ่ายดีท่ีได้ทำมา เพิ่มพลังย่ิงข้ึนเร่ือยๆ ซึ่งจะเป็น กระบวนการทีจ่ ะทำให้เกดิ ความสมดุล๑๔ ๑๐ พระธรรมปฏิ ก (ป.อ.ปยุตโฺ ต ),การศกึ ษากับการพฒั นาทรพั ยากรมนุษย์, (กรุงเทพ : โรงพมิ พ์การศาสนา, ๒๕๓๙), หนา้ ๗. ๑๑ พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยตุ โฺ ต),“เจตโกศลหรือปรีชาเชิงอารมณ์” บทความทางวิชาการเร่ืองอคี วิ , (กรุงเทพ : ชมรมผ้สู นใจอคี วิ , ๒๕๔๓), หน้า ๓๗. ๑๒ ท.ี ม.อ.(ไทย) ๒๘๘/๒๕๔. ๑๓ เร่ืองเดียวกนั ,หนา้ เดยี วกนั . ๑๔ องฺ.จตุกกฺ .(ไทย) ๒ / ๔/๒๔.

๑๖๘ ดังน้ันการพัฒนาปรีชาเชงิ อารมณใ์ นเยาวชน เป็นส่ิงที่ควรฝึก เพ่ือใหเ้ ยาวชนรู้จักตนเอง ยอม รับความเป็นจรงิ ใสใ่ จความรู้สึกของผอู้ ื่น มองโลกในแง่ดี ฝึกความอดทนอดกลั้นแยกแยะอารมณ์ออก จากความรู้สึก ทำให้เยาวชนมีความสุขและฝึกให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดีตลอด จนสามารถประสบ ความสำเรจ็ ในการทำงานหรอื เรียนได้ ๘.๓.๓ การพฒั นาการความสามารถในคดิ แบบโยนิโสมนสิการ ในทางพระพุทธศาสนาใช้โยนิโสมนสิการเป็นการฝึกการใช้ความคิดให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิด อยา่ งมีระเบียบ คิดวิเคราะห์ ไมม่ องสง่ิ ต่างๆ อยา่ งผวิ เผิน๑๕ โยนิโสมนสิการเป็นการคิดทมี่ ี ๔ ลักษณะ คอื ๑) อุปายมนสิการ๑๖ หมายถึง การคิดอย่างถูกวิธี ตรงกับความเป็นจริง ทำให้เข้าใจความ เปน็ จรงิ ของสรรพส่งิ ๒) ปถมนสิการ หมายถึง การคิดต่อเน่ืองเป็นขั้นตอน เป็นระบบตามเหตุผลและแนวทางที่ ถกู ตอ้ ง ๓) การณมนสิการ หมายถึง การคิดสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัย ทำให้เข้า ใจความเปน็ มาหรอื แหล่งท่ีทำใหเ้ กิดผลเชน่ นนั้ ๔) อุปปาทกมนสิการ หมายถึง การคิดอย่างมีเป้าหมายในทางดีงาม ทำให้เกิดความเพียร มี สติมั่นคง จติ ใจเขม้ แขง็ ลักษณะด้านต่าง ๆ ของความคิดที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการท่ีเกิดข้ึนคร้งั หนงึ่ ๆ อาจมลี ักษณะ ครบทั้ง ๔ ด้านหรือเกือบครบก็ได้๑๗เห็นได้ว่า โยนิโสมนสิการไม่ใช่ตัวปัญญาแต่เป็นปัจจัยช่วยให้เกิด ปญั ญา อาจกล่าวได้วา่ โยนิโสมนสกิ ารทำงานเชื่อมต่ออยรู่ ะหว่างสตกิ ับปัญญาเป็นตัวนำทางหรือเดิน กระแสความคดิ ในลักษณะที่จะทำให้ปญั ญาได้ทำงานและทำงานได้ผล๑๘ พูดอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นตัวให้วิธีการแก่ปัญญาหรือเป็นอุบายวิธีของการใช้ปัญญาให้ได้ผล โยนิโสมนสิการ หมายรวมถึงการคิดนึกในแนวทางของศีลธรรม ซึ่งไม่ต้องใช้ปัญญาลึกซึ้งไปจนถงึ การ คดิ แยกแยะองคป์ ระกอบและสบื สาวหาเหตปุ จั จยั ที่ต้องใช้ปญั ญาละเอียดประณตี การคดิ แบบโยนโิ ส มนสิการเป็นการคิดแบบวิเคราะหป์ ระเมนิ ค่าและแก้ปัญหาประกอบกนั ดังนั้น คนปกติทุกคนจึงสามารถใชโ้ ยนิโสมนสิการได้ โดยเฉพาะโยนิโสมนสิการแบบง่ายๆ ที่ เพียงแต่คอยชักกระแสความคิดให้เข้ามาเดินในแนวทางดีงามท่ีเรียนรู้ไว้ก่อนแล้ว หรือคุ้นอยู่แล้วเท่า น้ันเอง สำหรับโยนิโสมนสิการแบบน้ี ศรัทธาที่เกิดจากปัจจัยฝ่ายปรโตโฆสะ เช่น การศึกษาอบรม วัฒนธรรมประเพณีและกัลยาณมิตร จะมีอิทธิพลมาก สามารถทำให้กระแสความคิดเป็นไปตาม แนวทางของปรโตโฆสะ หากบุคคลใชโ้ ยนโิ สมนสกิ ารบ่อย ๆ ปัญญาก็จะงอกงามย่งิ ข้ึน เกิดความมั่นใจ และศรัทธา จนนำไปสู่ความรู้แจ้ง อาศัยปัจจัยภายนอกน้อยลง โยนิโสมนสิการเป็นอาหารหล่อเลี้ยง สติช่วยให้สติท่ียังไม่เกิดได้ เกิดขึ้น ช่วยให้สติที่เกิดข้ึนแล้วเกิดต่อเน่ืองไปอีก คนท่ีมีความคิดเป็น ระเบียบ ความคิดแล่นได้เร่ืองไดร้ าว ยอ่ มคุมสติไว้ใชไ้ ด้เรอ่ื ย ๑๕ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโฺ ต), พทุ ธธรรม, หนา้ ๖๗๐. ๑๖ ที.ม.อ.(ไทย) ๒๘๘/๒๕๔ ๑๗ พระธรรมปฎิ ก (ป.อ.ปยุตโฺ ต), วิธคี ดิ ตามหลักพทุ ธธรรม, พมิ พ์คร้งั ที๖่ , (กรงุ เทพมหานคร : สยาม, ๒๕๔๒), หนา้ ๓๐. ๑๘ เรอ่ื งเดียวกัน, หน้า ๘๒๓.

๑๖๙ ดังน้ัน ในกระบวนการคิดท่ีมีโยนิโสมนสิการ สติสัมปชัญญะจะเข้ามาร่วมทำงานอยู่ด้วยโดย ตลอด โดยหลักการวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการมี ๒ ประเภท คือ โยนิโสมนสิการท่ีมุ่งกาจัดอวิชชา ทำ ใหเ้ กดิ ความรู้แจ้ง เรียกวา่ โยนโิ สมนสิการแบบปลุกปญั ญาและโยนิโสมนสิการแบบสรา้ งเสริมคุณภาพ จิตหรือแบบบรรเทาตัณหา มุ่งปลุกเร้ากุศลธรรมหรือพลังฝ่ายดีขึ้นมาข่มทับฝ่ายชั่ว โยนิโสมนสิการ สามารถใช้ประโยชนไ์ ด้พรอ้ มกนั ทั้งสองประเภท พระธรรมปฎิ ก๑๙ แบ่งเป็น ๑๐ วิธีดงั นี้ ๑)วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือ การพิจารณาเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นให้ รู้สภาวะที่เป็นจริง ด้วยการค้นหาสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์ส่งผลสืบทอดกันทำให้เกิดผล เชน่ นน้ั วธิ ี สืบสาวหาสาเหตุอาจทำโดยการหาความสมั พันธ์หรอื การตั้งคำถามแล้วหาคำตอบ วิธีคิดน้ี จดั เปน็ วธิ ีโยนิโสมนสกิ ารแบบพนื้ ฐาน ๒)วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ ประกอบเปน็ การแยกแยะสง่ิ ทง้ั หลายออกเปน็ องค์ประกอบย่อยๆ และจดั ประเภทหรือจัดหมวดหมขู่ ององคป์ ระกอบย่อยๆ นั้นอยา่ งชดั เจน ๓)วิธีคดิ แบบสามัญลักษณ์หรือวธิ ีคิดแบบรูเ้ ท่าทันธรรมดา คอื มองอย่างรเู้ ท่าทันความเป็นไป ของส่ิงทั้งหลายในฐานะที่ส่ิงนั้นๆเกิดจากปัจจัยต่างๆ ปรุงแต่งขึ้นและต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยวิธีคิด แบบสามัญลกั ษณ์แบง่ เปน็ ๒ ข้นั ตอนคือ ๓.๑ รู้เทา่ ทันและยอมรับความจริง ๓.๒ แกไ้ ขด้วยความรู้และแก้ที่ตัวเหตปุ ัจจยั วิธีคิดนตี้ อ้ งอาศัยความรแู้ ละ ประสบการณ์อยา่ งมาก ๔)วิธคี ิดแบบอริยสัจหรอื คิดแบบแก้ปัญหา เป็นวธิ ีคิดแบบหลักอย่างหน่ึงเพราะสามารถขยาย ให้ครอบคลุมวิธคี ดิ แบบอน่ื ๆ ได้ทั้งหมด วธิ คี ดิ แบบน้ีมีลกั ษณะท่วั ไป ๒ ประการคือ ๔.๑ วิธีคิดตามเหตุและผลโดยสืบสาวจากผลไปหาเหตุแล้วแก้ไขที่เหตุจัดเป็น ๒ คู่ คอื คทู่ ี่ ๑ กำหนดตวั ปญั หา กำหนดเหตุของปญั หา คู่ท่ี ๒ กำหนดจุดหมายท่ีเป็นภาวะสิ้นปัญหากำหนดวิธีการเพ่ือแก้ไขสาเหตุและเพื่อบรรลุ ภาวะสนิ้ ปัญหา ๔.๒ วิธีคิดที่มุ่งตรงต่อส่ิงท่ีจะต้อง ทำต้องเกี่ยวข้องกับชีวิตหลักการของวิธีคิดแบบ อริยสัจ ประกอบดว้ ย ข้ันท่ี ๑ ทุกข์หรือสภาพปัญหา ขั้นน้ีเป็นการทำความเข้าใจและกำหนดขอบเขต ปัญหาให้ชัด ขั้นท่ี ๒ สมุทัยหรือสาเหตุของปัญหา ข้ันนี้เป็นการพิจารณาสืบสาวหาสาเหตุและ ปัจจัยท่เี กย่ี วข้องซง่ึ สง่ ผลให้เปน็ ปญั หา ขั้นที่ ๓ นิโรธหรือภาวะปราศจากปัญหาซึ่งเป็นจุดหมายที่ต้องการ ข้ันน้ีจะต้อง กำหนดว่าจุดหมายท่ีต้องการคืออะไร จุดหมายนั้นเป็นไปได้หรอื ไม่ มีหลักการในการเข้าถึงอย่างไร มี จุดหมายรองที่ลดหลนั่ เปน็ ข้ันตอนในระหว่างไดอ้ ย่างไร ขน้ั ท่ี ๔ มรรคหรอื วิธีแก้ไขปัญหา ขั้นนี้เป็นการกำหนดวิธีการ แผนการและรายการ ส่งิ ท่จี ะต้องทำเพอ่ื กำจดั สาเหตขุ องปญั หาและเขา้ ถึงจดุ หมายที่ตอ้ งการ ๑๙ เร่อื งเดียวกนั , หนา้ ๖๗๕ - ๗๒๕.

๑๗๐ ๕)วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ หรือคิดตามหลักการและความมุ่งหมาย เป็นวิธีคิดท่ีมี ความสำคัญมากเมื่อจะปฏิบัตติ ามหลกั การอยา่ งใดอย่างหนึง่ เพ่อื ให้ได้ผลตรงตามความมุง่ หมายวธิ คี ิด นี้ จึงเป็นกระบวนการของเหตแุ ละผลท่ีสัมพันธ์กนั ตลอดเวลา ๖)วธิ ีคิดแบบคณุ โทษและทางออก วิธีคดิ แบบนี้พระพุทธเจ้าทรงเน้นมาก๒๐ เปน็ การวเิ คราะห์ สิ่งท้ังหลายตามความเป็นจริง อีกแบบหนึ่งและเป็นวิธีคิดที่ต่อเนื่องกับการปฏิบัติมากลักษณะของวิธี คิดแบบนปี้ ระกอบดว้ ย ๖.๑ การมองเห็นและยอมรับความจริงว่าทุกสิ่งมีทั้งด้านดี(เป็นคุณ)และด้านเสีย (เป็นโทษ) ๖.๒ มองเห็นทางออกที่ดีที่สดุ เมอ่ื จะแก้ปัญหา คือรู้ว่าจุดหมายที่จะไปนน้ั คอื อะไร คอื อย่างไร วิธีคิดแบบนี้จะทำใหป้ ฏบิ ตั ิได้ถูกต้องที่สดุ มคี วามไม่ประมาท อาจนำเอาส่วนดีของส่ิงที่ตน ละเว้นมาใช้ประโยชน์ได้และสามารถหลีกเลี่ยงหรือมีโอกาสแก้ไขส่วนเสีย ส่วนบกพร่องที่ติดมากับวิธี ปฏิบัติที่ตนเลือกได้ ๗)วิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม เป็นวิธีคิดแบบสกัดหรือบรรเทาตัณหาไม่ให้กิเลสเข้า ครอบงำจิตใจแลว้ ชักจูงพฤติกรรมต่อไป วิธีคิดแบบนี้ใช้มากในชีวิตประจำวัน เพราะเกี่ยวข้องกับการ บริโภคใช้สอยปัจจัย ๔ และวัสดุอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ วิธีคิดแบบนี้เป็นการไตร่ตรอง ประเมินค่าสิ่งต่างๆและเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แท้จริงของชีวิต เพ่ือประโยชน์สุขทั้งแก่ ตนเองและผู้อื่น ทำให้พ้นจากความเป็นทาสของวัตถุ มนุษย์มีความต้องการและให้คุณค่ากับส่ิงที่ สามารถสนองความต้องการของตน คุณค่าจำแนกเป็น ๒ ประเภทตามชนิดของความต้องการคือ คุณค่าแท้ หมายถึง คุณค่าหรือประโยชน์ของส่ิงที่สนองความต้องการของชีวิตโดยตรง เป็นคุณค่าท่ี เกิดจากบทบาทหน้าท่ีและผลของบทบาทหน้าท่ีอย่างแท้จริง คุณค่าแท้ต้องใช้ปัญญาเป็นเคร่ืองตีค่า หรอื วดั คณุ คา่ เทียมหรอื คุณคา่ พอกเสริม หมายถึง คุณคา่ หรือประโยชน์ท่มี นษุ ยป์ รุงแตง่ พอกพูนให้แก่ สิ่งน้ัน เพ่ือปรนเปรอการเสพ เพ่ือเสริมราคาหรือขยายความย่ิงใหญ่ของตัวตนท่ียึดถือ คุณค่าเทียมใช้ ตณั หาเป็นเครื่องตีค่าหรือวัด ทำให้เกดิ ความทะยานอยากมากขึ้น แก่งแย่งริษยา ปราศจากความสงบ สุข บางทเี ปน็ อันตรายแกช่ ีวิต ๘)วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม เป็นวิธีคิดแบบสกัดหรือบรรเทาตัณหาและเป็นข้อปฏิบัติ ระดับต้นๆ สำหรับส่งเสริมความเจริญของกุศลธรรมและสร้างเสริมสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกียะ หลักการ ท่ัวไปของวิธีคิดแบบน้ี คือ การนำเอาประสบการณ์มาปรบั ปรุง ชักนำความคิดให้เดินไปในทางที่ดีงาม เป็นประโยชน์ เป็นกุศล ไม่ประมาท ทำให้เกิดเจตคติที่ดีต่อบุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม มีจิตใจ สะอาดผอ่ งแผ้ว ๙)วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นการคิดวิเคราะห์เหตุผล เช่ือมโยงสัมพันธ์องค์ประกอบ ต่างๆ จนเกิดความรู้จักคิดที่จะทำปัจจุบันให้ดีท่ีสุด ไม่คิดอาลัยอาวรณ์ถึงสิ่งท่ีล่วงมาแล้ว หรือคิด เลื่อนลอยฟุ้งซ่านกับภาพที่วาดฝัน ปัจจุบันในที่น้ี หมายถึง ส่ิงท่ีเก่ียวข้องในขณะนั้นๆ ซึ่งคลุมถึง เรื่องราวท้ังหลายที่เชื่อมโยงต่อกันมาถึงสิ่งท่ีกำลังรับรู้ กำลังพิจารณา เป็นเรื่องท่ีเก่ียวกับการกระทำ กิจหน้าท่ี ดังนั้น วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบันจึงเป็นวิธีคิดท่ีจะช่วยให้การปฏิบัติในปัจจุบันถูกต้อง ไดผ้ ลดีย่ิงขนึ้ เพราะมีการเตรียมการและวางแผนลว่ งหนา้ ๒๐ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยตุ โฺ ต), ความคดิ แหล่งสำคญั ของการศึกษา, พมิ พค์ รง้ั ท่ี ๒. (กรุงเทพมหานคร : สหธรรมกิ , ๒๕๔๓), หนา้ ๒๗.

๑๗๑ ๑๐)วธิ ีคิดแบบวภิ ัชชวาท แมจ้ ะไม่ใชว่ ิธคี ิดโดยตรงแตก่ ็เปน็ วิธพี ดู หรือการแสดงหลกั การแห่ง คำสอน เป็นการส่ือความหมายตามความคดิ ทจ่ี ำแนกแยกแยะประเด็นและแงม่ มุ ต่างๆอย่างครบถ้วน และตรงตามความจรงิ เช่น ด้านความจรงิ ของส่ิงนน้ั ดา้ นส่วนประกอบ ด้านสืบทอดของเหตปุ จั จยั ด้านความสมั พันธข์ องเหตุปัจจัย ด้านเง่อื นไขของสภาพการณ์ เป็นต้น การคิดแบบโยนิโสมนสิการเป็นการทำงาน ทั้งขณะรับรู้อารมณ์หรือประสบการณ์จาก ภายนอกและขณะคิดพิจารณาอารมณ์หรือเรื่องราวท่ีเก็บเข้ามาภายในตน ข้อที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง ของการรับรู้ด้วยโยนิโสมนสิการ คือ รับรู้เพียงเพื่อเป็นความรู้และเป็นข้อมูลสำหรับสติ เพ่ือจะเอาไป ใช้ประโยชน์ในการดำเนนิ ชีวิตและทำกิจต่างๆ โยนิโสมนสิการจะช่วยแบ่งเบา แกท้ ุกข์ปัญหาให้ลดลง และทำให้เกิดคุณภาพทางอารมณ์อยา่ งใหม่ขึน้ ทดแทน เช่น ความผ่องใส สดช่ืน ปลอดโปรง่ เบิกบาน ใจ การคิดแบบ โยนิโสมนสิการ จึงเป็นท่ีเช่ือมให้เยาวชนติดต่อกับโลกอย่างถูกต้องโดยทางจิตใจของ ตนเอง ซึ่งได้แก่ ท่าทีแห่งการรับรู้และความคิดซึ่งเป็นท่าทีแห่งปัญญาหรือการมองตามเป็นจริง ซึ่ง การคิดแบบโยนิโสมนสิการ เป็นการปฏิบัติท่ีใช้ประโยชน์ได้ทุกเวลาและพึงใช้แทรกอยู่ในการดำเนิน ชีวิตประจำวนั ๘.๔ บทบาททางสงั คมในการสง่ เสรมิ การพฒั นาเยาวชนตามแนวพทุ ธ บทบาทของสถาบันทางสังคมในการสง่ เสรมิ การพัฒนาเยาวชนตามแนวพุทธ ถือไดว้ ่าสถาบัน ทางสังคมเป็นปัจจัยภายนอกท่ีเรียกว่า ปรโตโฆสะ๒๑ ท่ีเป็นกัลยาณมิตรในการแนะนำส่ังสอน ช้ีแจง ชักจูง ช่วยบอกช่องทาง หรือเป็นตัวอย่างให้เยาวชน สถาบันทางสังคมที่เก่ียวข้องในการพัฒนา เยาวชนตามแนวพุทธได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันพระพทุ ธศาสนา หากสถาบัน เหล่านี้เป็น ปรโตโฆสะ ทดี่ ี กจ็ ะนำเยาวชนไปสสู่ ัมมาทฏิ ฐิ ซ่งึ เป็นพ้นื ฐานของการพัฒนาทีด่ ีตอ่ ไป ดงั นี้ ๘.๔.๑ บทบาทของสถาบันครอบครัว :บิดามารดา บิดามารดา เป็นผู้ท่ีมีความเก่ียวขอ้ งกบั เยาวชนต้ังแต่เร่ิมแรก โดย บิดามารดาจะเป็นผู้อบรม สั่งสอน ช้ีแนะแนวทาง ถ่ายทอดประสบการณ์ และเป็นแบบอย่างให้แก่เยาวชน ซึ่งบทบาทสำคัญท่ี บดิ ามารดาพึงปฏบิ ตั ิต่อเยาวชนมดี งั น้ี ๑) หา้ มปราบมิใหป้ ระพฤตชิ ่ัว โดยบดิ ามารดาจะตอ้ งเปน็ ผูช้ ี้แนะสั่งสอนเยาวชนให้ รู้จักอกุศล (ความช่ัว ) ในการกระทาให้เกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เพื่อเป็นการห้ามปราบมิให้ กระทำอันได้แก่ ๑) อกุศลมูล ๓๒๒ เปน็ ความต้นเหตแุ หง่ ความเสอ่ื มที่เยาวชนพึงและไม่ควร กระทำ อนั ไดแ้ ก่ ๑)ความอยากได้ (โลภะ ) ๒)ความคดิ ประทุษร้าย (โทสะ ) และ๓) ความหลง(โมหะ) ๒) อกศุ ลวติ ก ๓๒๓ เปน็ ความคิดไม่ดี ทเ่ี ยาวชนพึงรู้และไม่กระทำ ได้แก่ ๑) ความตรกึ ในกาม (กามวติ ก ) ความคิดที่แสไ่ ปในกาม หาทางปรนปรือตน ๒) ความคดิ ในทางพยาบาท (พยาบาทวติ ก) และ๓) ความคิดในทางเบยี ดเบียนผู้อนื่ (วหิ ิงสาวิตก) ๒๑ ม.มู.(ไทย) ๒/๔๕๒/๔๙ . ๒๒ ท.ี ปา.(ไทย) /๓๕๓/๓๗๓. ๒๓ ท.ี ปา.(ไทย) /๓๐๕/๒๖๐.

๑๗๒ ๓) อกุศลกรรมบถ ๑๐๒๔ เป็นทางแห่งกรรมความช่วั ท่ีเยาวชนพึงรู้และไม่ กระทำ อันได้แก่ ๑)การทำลายชีวิต การฆ่าสัตว์ (ปาณาติบาต) ๒) การลักทรัพย์ ถือเอาของที่เข้ามิได้ ให้ (อทินนาทาน) ๓) การประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจาร) ๔) การพูดเท็จ (มุสาวาท) ๕)การพูด สอ่ เสยี ด (ปสิ ุณาวาจา ) ๖) การพูดคาหยาบ (ผรุสวาจา ) ๗) การพดู เพอ้ เจ้อ (สมั ผัปปลาปะ) ๘) ความ เพ่งเล็งอยากไดข้ องของเขา (อภิชฌา) ๙) ความคดิ ร้าย (พยาบาท) ๑๐) ความเหน็ ผิด (มจิ ฉาทิฏฐิ) ๒) อบรมสั่งสอนให้ประพฤติดี บิดามารดา จะต้องการอบรมสั่งสอนให้และเป็น แบบอย่างให้แก่เยาวชนในการกระทาให้เกิดพฤติกรรมที่พึงปรารถนา โดยเน้นสอนหลักธรรมท่ีสำคัญ ในการปฏิบัติ ดังน้ี คอื ๑.กุศลมูล ๓๒๕ เปน็ คุณความดีทเ่ี ยาวชนควรระลกึ ประกอบด้วย ๑) ความ ไม่อยากได้ (อโลภะ) เม่ือเยาวชนไม่อยากได้ก็ไม่เกิดความโลภ ๒) ความไม่คิดประทุษร้าย (อโทสะ) เมื่อเยาวชนไม่คิดประทุษร้ายกไ็ ม่เกิดการทำรา้ ยกันขึน้ และ ๓) ความไม่หลง (อโมหะ) เมื่อเยาวชนไม่ มีความหลงก็ไมเ่ กดิ การกระทำผิดใดๆ เกิดขึน้ ๒.กุศลวิตก ๓๒๖ เป็นความนึกคิดท่ีดีงาม ท่ีเยาวชนควรระลึกประกอบด้วย ๑)ความตรึกปลอดจากกาม (เนกขัมมวติ ก) คือความนกึ คิดในการออกจากการมุ่งปรนเปรอตอบสนอง ความต้องการของตนเองในทางกามสุข คือ รูป เสียง กล่ิน รส สัมผัส ท้ังหลาย ๒) ความตรึกปลอด จากพยาบาท (อพยาบาทวิตก) คือ ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคือง หรือเพ่งมองในแง่ รา้ ย ๓) ความตรกึ ปลอดจากการเบียดเบียน (อวหิ ิงสาวติ ก) คอื ความนึกคดิ ที่ประกอบดว้ ยความกรุณา ไม่คิดรา้ ย หรอื ม่งุ ทาลาย ๓.สุจริต ๓๒๗คือ เป็นความประพฤติชอบ ที่เยาวชนควรปฏิบัติระกอบด้วย ๑) ความประพฤติชอบด้วยกาย (กายสุจริต) คือ การทำดีทางกาย ได้แก่ การงดเว้นจาการฆ่า สัตว์(ปาณาติปาตา เวรมณี ) งดเว้นจากการลักทรัพย์ (อทินนาทานา เวรมณี ) และงดเว้นจาการ ประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี) ๒) ความประพฤติชอบด้วยวาจา (วจีสุจริต) คือ การ ทำดีทางวาจา ได้แก่ งดเวน้ และประพฤตติ รงขา้ มกบั มสุ าวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา และสัมผัสปลาปะ ๓)ความประพฤติชอบด้วยใจ (มโนสุจริต) คือ การทำดีทางใจ ได้แก่ ความไม่เพ็งเล็งอยากได้ของเขา (อณภชิ ฌา) ไม่ความคดิ รา้ ย(อพยาบาท) และความเหน็ ชอบ(สัมมาทฏิ ฐิ) ๔. ศีล ๕๒๘ คือข้อปฏิบัติท่ีเยาวชน ควรละ เว้นจากความชั่ว และควบคุม ตนให้ต้ังอยู่ในความไม่เบียดเบียน ทำให้มีความประพฤติชอบทางกายและวาจา ประกอบด้วย ๑) เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ (ปาณาตปิ าตา เวรมณี) ๒) เจตนางดเวน้ จากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ ให้ (อทินนาทานา เวรมณี) คือเว้นจาการลักทรัพย์ รวมถึงเว้นจาการลักโกง ละเมิดกรรมสิทธ์ิ และ ทำลายทรพั ย์สนิ ๓) เจตนางดเวน้ จากการประพฤติผิดในกาม (กาเมสมุ จิ ฉาจารา เวรมณี) เว้นจากการ ล่วงละเมิตสิ่งท่ีผู้อื่นรักใคร่หวงแหน ๔) เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ (มุสาวาทา เวรมณี) คือ เว้นจา การพดู ช่ัว คือพูดเทจ็ พดู ส่อเสียด พูดคาหยาบ และพูดเพ้อเจอ้ หมายรวม ถึงการพดู หลอกลวง ๕)๕. ๒๔ ท.ี ปา.(ไทย) /๓๔๗/๓๖๒. ๒๕ ท.ี ปา.(ไทย) /๓๐๕/๒๕๙. ๒๖ ท.ี ปา.(ไทย) /๓๐๕/๒๖ ,องฺ.ตกิ .(ไทย)๒๐/ ๒๕/๓๗๒. ๒๗ ท.ี ปา.(ไทย) /๓๐๕/๒๖๐,องฺ.ติก.(ไทย)๒๐/๒/ ๔ . ๒๘ ที.ปา.(ไทย) /๓ ๕/๓๐๕-๓๐๕ ,อภ.ิ ว.ิ (ไทย)๓๕/๗๐๓-๗ ๗/๔๔๗-๔๕๘.

๑๗๓ เจตนางดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท (สุราเมรยมัชชป มาทฏั ฐานา เวรมณี ) คือ เวน้ จากการดมื่ น้าเมารวมถึงเวน้ จากส่งิ เสพตดิ ใหโ้ ทษทั้งหลาย ๕. บุญกิริยาวัตถุ ๓๒๙ เป็นหลักการทำความดี ท่ีเยาวชนพึงกระทาได้แก่ การให้ (ทานมยั บญุ กิริยาวัตถุ) ศลี (สลี มัยบญุ กริ ยิ าวตั ถุ) ภาวนา (ภาวนามยั บุญกิริยาวตั ถุ) ๖. ธรรมคุ้มครองโลก ๒๓๐ เป็นธรรมท่ีเยาวชนปฏบิ ัตแิ ล้วก่อใหเ้ ป็นระเบียบ เรียบร้อย ไม่เดือดร้อนและสับสนวุ่นวาย ประกอบด้วย ความละอายบาป (หิริ) และความกลัวบาป (โอตตัปปะ) ๗. ธรรมทำให้งาม ๒๓๑ เป็นธรรมที่ทำให้เยาวชนประพฤติปฏิบัติแล้วเกิด ความงดงาม ประกอบด้วย ความอดทน(ขันต)ิ และความเสงีย่ ม(โสรัจจะ) ๘. ธรรมมีอุปการะมาก ๒๓๒เป็นธรรม ท่ีเยาวชนใช้ใน การทำความดีทุก อย่างประกอบด้วย ความระลึกได้ (สติ) และความรู้ตวั (สัมปชัญญะ) คือ ตระหนักและรู้ชัดในทุกขณะ วา่ กำลังทำสิ่งใดอยู่ ๓) ส่งเสริมให้ศึกษาเล่าเรียน โดยหลักธรรมท่ีบิดามารดา ควรส่งเสริมให้เยาวชน ศึกษาเลา่ เรยี นได้ดี มดี งั น้ี ๑ พละ ๔๓๓เป็นธรรมท่ีเยาวชนใช้ในการดาเนินชีวิตด้วยความม่ันใจ ไม่วั่น ตอ่ ภัยใดๆ ประกอบด้วย ปัญญา ความเพยี ร กรรมทไี่ มม่ ีโทษ และการสงเคราะห์ (การให้วาจาท่ี เปน็ ทีร่ กั การประพฤติประโยชน์ การวางตนสมำ่ เสมอ) ๒. มงคล ๓๘๓๔เป็นมงคลอันสูงสุดที่ก่อให้เกิดความเจริญ ท่ีเยาวชน สามารถนาไปใช้ได้ ประกอบด้วย การไม่คบคนพาล การคบแต่บัณฑิต การบูชาคนที่ควรบูชา การอยู่ ในถิ่นที่เหมาะสม การได้สร้างบญุ ไว้ในปางกอ่ น การต้ังตนไว้ชอบ ความเป็นพหูสูต ความเปน็ ผ้มู ีศลิ ปะ วินัยท่ีศึกษามาดี วาจาสุภาษิต การบำรุงมารดาบิดา การงานท่ีไม่อากูล การให้ทาน การประพฤติ ธรรม การสงเคราะห์ญาติ การงานที่ไม่มีโทษ การงดเว้นจากบาป การเว้นจากการด่ืมน้ำเมา ความไม่ ประมาทในธรรม ความเคารพ (คารโว) ความถอ่ มตน ความสันโดษ ความกตัญญูการฟังธรรมตามกาล ความอดทน ความเปน็ คนว่างา่ ย การพบเหน็ สมณะ การสนทนาธรรมตามกาล การเผาผลาญบาป ๓. สติปัฏฐาน ๔๓๕ เป็นกาหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็น จริงประกอบดว้ ย การตง้ั สตกิ ำหนดพจิ ารณากาย เวทนา จติ และธรรม ๔. อิทธิบาท ๔๓๖ เป็น คุณธรรมที่นาไปสู่ความสำเร็จแห่งผลท่ีมุ่งหมาย ประกอบด้วย ความพอใจ (ฉันทะ) ความเพียร (วิริยะ) ความคิด (จิตตะ) และความไตร่ตรอง(วิมังสา) ๔) เป็นธุระให้บุตรเมื่อจะมีคู่ครอง บิดามารดา จะต้องแนะนาให้เยาวชนได้ทราบ ๒๙ ที.ปา.(ไทย) /๓๐๕/๒๖๙,อง.อฏฺฐก.(ไทย)๒๓/๓๖/๒๙๔,ข.ุ อติ .ิ (ไทย)๒๕/๖๐/๔ ๕. ๓๐ องฺ.ทกุ .(ไทย)๒๐/๙/๖๓,อภ.ิ สงฺ.(ไทย)๓๔/ ๓๐๘/๓๒๙,อภ.ิ สงฺ.(ไทย)๓๔/ ๓ ๐/๓๒๙. ๓๑ องฺ.ทกุ .(ไทย)๒๐/ ๖๖/ ๒๖. ๓๒ องฺ.ทุก.(ไทย)๒๐/ ๘๐/ ๒๙. ๓๓ องฺ .นวก.(ไทย)๒๓/๕/๔๓๙-๔๔ . ๓๔ ข.ุ ข.ุ (ไทย)๒๕/ /๗-๘,ข.ุ ส.ุ (ไทย)๒๕/๒๖๒-๒๗ /๕๖๒-๕๖๓. ๓๕ ที.ม.(ไทย) ๐/๓๗๓-๔๐๕/๓๐ -๓๐๔,อภิ.วิ.(ไทย)๓๕/๓๕๕-๓๘๙/๓๐๖-๓๒๗. ๓๖ ท.ี ปา.(ไทย) /๓๐๖/๒๗๗,อภ.ิ วิ.(ไทย)๓๕/๔๓ -๔๖๕/๓๔๒-๓๕๗.

๑๗๔ หลักหรือแนวทางในการครองเรือน และเปน็ ที่ปรึกษาให้แก่เยาวชนในเลอื กคูค่ รอง หลกั ธรรมสำคัญที่ นำไปใชใ้ นการปฏบิ ัติ ได้แก่ ๑. ฆราวาสธรรม ๔๓๗ เป็นธรรมของผู้ครองเรือน ท่ีเยาวชนพึงรู้ ประกอบด้วย ๑) ความจริง (สัจจะ) คือความซ่ือสัตย์ จริงใจ ๒) การข่มใจ (ทมะ) คือ การฝึกตนด้วย การข่มใจด้วยการควบคุมาจิตใจให้อยู่เหนือกิเลส ๓) ความอดทน(ขันติ) คือความอดทน ความเพียร ความไม่ท้อถอย ๔) ความเสียสละ (จาคะ) คือ ความเสียสละต้ังแต่ความสุขส่วนตนจนถึงสละกิเลส มี เออ้ื เฟ้อื เผ่ือแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว ๒. พรหมวิหาร ๔ หรือ อัปปมัญญา ๔๓๘ เป็นธรรมประจำใจ ท่ีเยาวชน ควรใช้กำกับความประพฤติ เพื่อให้ปฏิบัติตนชอบต่อผู้อ่ืน เพื่อความผาสุก ปราศจากการเบียดเบียน และทำให้เยาวชนมีจิตในสูงข้ึน ประกอบด้วย ๑)ความรักใคร่(เมตตา) คือ ความปรารถนาดี อยากให้ ผู้อ่ืนมีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรี และคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์และสัตว์ ๒)ความสงสาร (กรุณา)คือ ความปรารถนาจะให้ผู้อ่ืนพ้นทุกข์ มีจิตประกอบด้วยความกรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพ่ือให้ปลอด พ้นจากความทุกข์ ๓) ความพลอยยินดี(มุทิตา) คือ ความรู้สึกผ่องใสเบิกบานใจ ปราศจากความจาก ความอิจฉาริษยา เม่ือผู้อ่ืนได้ดีมีความสุขและพลอยยินดีกับเขาด้วย ๔)ความวางเฉย(อุเบกขา) คือ ความวางใจเป็นกลาง หรือความเท่ียงธรรม ยุติธรรมอันจะให้ดารงอยใู่ นธรรมตามท่ีพิจารณาเห็นด้วย ปัญญา ๓. นาถกรณธรรม ๑๐๓๙ เป็นคุณธรรมท่ีทำให้ เยาวชนเป็นที่พ่ึงของตนได้ ประกอบด้วย ๑)ความเป็นผู้ประพฤติดี (ศีล) มีความประพฤติสุจริตดีงาม รักษาระเบียบวินัย ไม่เลี้ยง ชีพในทางท่ีผิด ๒)ความเป็นผู้ได้ฟังมาก(พาหุสัจจ) ศึกษาเล่าเรียนมาก มีความรู้ความเข้าใจลึกซ้ึง ๓) ความเปน็ ผู้มมี ิตรดี (กัลยาณมิตตตา) การคบคนดี ได้ทีป่ รึกษาและผู้แนะนำส่ังสอนท่ีดี๔)ความเปน็ ผู้ว่า ง่าย (โสวจสั สตา) คือ เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย รับฟังคำสอนโดยเคารพ ๕)ความเป็นผขู้ ยัน ไม่เกียจคร้าน ในการงานท่ีต้องช่วยกันทำ (กึกรณีเยสุ ทักขตา) ความเอาใจใส่ช่วยขวนขวายในกิจใหญ่น้อยทุกอย่าง ของเพ่ือนร่วมหมู่คณะ รู้จักพิจารณาไตร่ตรองสามารถจัดทำให้งานสำเร็จเรียบร้อยได้ ๖)ความเป็นผู้ ใคร่ธรรม (ธัมมกามตา) ใฝ่ความรู้ใฝ่ความจริง รู้จักฟัง รู้จักพูด รักการศึกษา ยินดีเมื่อได้ศึกษาพระ ธรรมวนิ ัยและตอ้ งการทจี่ ะศึกษาใหล้ ะเอียดลกึ ซ้งึ ต่อไป ๗) ความเป็นผปู้ รารภความเพียร(วิริยารมั ภะ) ความขยันหม่ันเพียร ในการละความชั่วประกอบความดี มีความเข้มแข็ง บากบ่ันม่ันคง ไม่ย่อท้อ ไม่ ทอดธุระในกุศลธรรมท้ังหลาย ๘) ความเป็นผู้สันโดษ (สนั ตุฎฐี) มีความสุขความพอใจดว้ ยปัจจัย ๔ ที่ หามาได้ด้วยความเพียรอันชอบธรรมของตน ๙) ความเป็นผู้มีสติ (สติ) คือ รจู้ ักกำหนดจดจำ ระลกึ สิ่ง ท่ีทำและคำท่ีพูดไว้ได้ รวมถึงไม่มีความประมาท ๑๐)ความเป็นผู้มีปัญญา (ปัญญา) มีปัญญาหย่ังรู้ เหตุผล รู้จักคดิ พจิ ารณา เข้าใจภาวะของส่ิงทง้ั หลายตามความเปน็ จริง ๕) มอบทรพั ย์ใหต้ ามโอกาสอนั ควร ซ่งึ ในการมอบทรัพยใ์ หเ้ ยาวชนให้เวลาอันควร นั้น บิดามารดาจะต้องแนะนาส่ังสอนให้บุตร รู้จักใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์ และเป็นไปในแนวทางที่ ถกู ตอ้ ง โดยแนะนาหลกั ธรรมในการปฏบิ ตั ิ คอื ๓๗ ส .ส.(ไทย) ๕/๒๔๖/๓๕๔, ข.ุ ส.ุ (ไทย)๒๕/ ๙๐- ๙ /๕๔๕. ๓๘ ที.ม.(ไทย) ๐/๓๒๗/๒๕๖, ท.ี ปา.(ไทย) /๓๐๘/๒๘๐, องฺ.จตุกกฺ .(ไทย)๒ / ๒๕/ ๙๐- ๙๓, อภิ.วิ. (ไทย)๓๕/๖๘๓-๗๐๒/๔๓๓-๔๔๖. ๓๙ ที.ปา.(ไทย) /๓๔๕/๓๕๙-๓๖ ,ที.ปา.(ไทย) /๓๖๐/๔๒๗-๔๒๙,องฺ.ทสก.(ไทย)๒๔/ ๗/๓ -๓๓.

๑๗๕ ๑. ทิฏฐธัมมิกตั ถสังวัตตนิกธรรม ๔ หรือธรรมที่เปน็ ไปเพ่อื เกื้อกูลในภพนี้๔๐ คือ เป็นธรรมที่เป็นไปเพ่ือประโยชน์ในปัจจุบันที่เยาวชนใช้อานวยประโยชน์สุขขั้นต้นประกอบด้วย ) ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น (อุฏฐานสัมปทา) เป็นความขยันหม่ันเพียรในการปฏิบัติ หน้าท่ีการงาน ประกอบอาชีอันสุจริต มีความชานาญ รู้จักใช้ปัญญาพิจารณาอุบายวิธี ท่ีทาให้สามารถจัดดาเนินการ งานให้ไดผ้ ลดี ๒)ความถึงพรอ้ มดว้ ยการรักษา (อารักขสัมปทา) การรู้จักคมุ้ ครองรกั ษา โภคทรัพย์ ท่ีได้มาโดยชอบธรรม ด้วยความขยันหม่ันเพียร ไม่ให้เป็นอันตรายหรือเส่ือมเสีย ๓)ความ เป็นผู้มมี ิตรดี (กัลยาณมิตตตา ) การรู้จักเลือกคบคนดี และศึกษาคน ดี เพื่อเอาเยีย่ งอย่างท่านในด้าน ความมีศรัทธา ความมีศีล ความเสียสละ และความมีปัญญา ๔).ความเป็นอยู่เหมาะสม (สมชีวิตตา ) คือ การรู้จักเลี้ยงชีวิตแต่พอดีสมฐานะ ไม่ฟุ่ มเฟือยและไม่ฝืดเคือง รู้จักประหยัด ใช้จ่ายทรัพย์ไม่เกิน รายรบั ทีห่ ามาได้ ๒. อริยทรัพย์ ๗ หรือทรพั ย์อันประเสรฐิ ๔๑ เป็นคุณธรรมประจำใจท่ียาวชน พึงมีประกอบด้วย ๑) ศรัทธา (สัทธาธนะ) เป็นความเชื่อท่ีมีเหตุผล ๒) ศีล (สีลธนะ) เป็นการรักษา กายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกตอ้ งดงี ามตามศีล ๓) หิริ (หิรธิ นะ) เป็นความละอายต่อการทำบาป ท้ังหลาย ๔) โอตตัปปะ (โอตตัปปธนะ) เป็นความเกรงกลัวต่อการทำบาปท้ังหลาย ๕) สุตะ (สุตธนะ) เป็นผู้ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก ๖) จาคะ (จาคธนะ ) มีความเสียสละ เอ้ือเฟื้อเผ่ือแผ่ปราศจาก ความตระหนี่ ยินดีในการให้ทาน ๗) ปัญญา (ปัญญาธนะ) เป็นความรคู้ วามเขา้ ใจถอ่ งแท้ ในความเป็น จริงสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันแรก ที่มีความสำคัญกับเยาวชน ท่ีบิดามารดา จะเป็นผู้ช้ีแนะ อบรม ส่ังสอน และเป็นแบบอย่างท่ีดี โดยบดิ ามารดามีบทบาทสำคญั ในการอบรมสง่ั สอนให้เยาวชนในฐานะ ลกู คอื การห้ามปราบมิใหป้ ระพฤติช่วั สั่งสอนใหป้ ระพฤตดิ ี ส่งเสริมให้ศกึ ษาเล่าเรียน เป็นธุระให้เมื่อ มีคู่ครอง และมอบทรัพย์ให้ตามโอกาสอันควร โดยนำหลักธรรมต่างๆ มาชี้แนะแนวทางให้แก่เยาวชน ทราบและได้นำไปประพฤตปิ ฏิบตั ิ ทำให้เยาวชนไดพ้ ฒั นาตนเองในแนวทางท่ถี ูกตอ้ ง ๘.๔.๒ บทบาทของสถาบนั การศึกษา : ครู โรงเรียน ครู เป็นอีกผู้หน่ึงที่มีบทบาทในการพัฒนาเยาชนในสถาบันการศึกษาโดยเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง และเป็นแบบอย่างใหน้ กั เรียนเช่นกนั บทบาทของครูทสี่ ำคญั มีดังน้ี ๑)สอนและแนะนำใหศ้ ษิ ยเ์ ป็นคนดี ๒)สอนใหศ้ ิษย์เกดิ ความเข้าใจในเรือ่ งท่เี รียนได้อย่างชัดเจน ๓)สง่ั สอนและถา่ ยทอดศิลปวิทยาให้อย่างส้นิ เชงิ ๔)สง่ เสรมิ และยกยอ่ งความดีงามตามความสามารถของศิษยใ์ หป้ รากฏไปทุกที่ ๕)สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ ด้วยการให้ความรู้ ส่งเริมให้ผู้เรียนมีความรู้อย่าง กว้างขวางลึกซึ้ง สามารถนำไปปฏิบัติหน้าที่และใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและมี ความสุข ซ่ึงครูจะต้องเป็นผู้ท่ีมีขันติโสรัจจะ๔๒ คือ มีความสงบเสง่ียม สารวมทั้งกาย วาจาและใจ มี มารยาทงดงาม และมีหิริโอตตัปปะ๔๓ ในการกระทำทั้งหลาย เพ่ือเป็นแบบอย่างท่ีดีให้เยาวชนใน ฐานะศิษย์นอกจาก นี้สถาบนั การศึกษา อันได้แก่ โรงเรียน หรือมหาวทิ ยาลัย เปน็ สถาบันการศึกษา ที่ ๔๐ องฺ.อฏฐฺ ก.(ไทย)๒๓/๕๔/๓๔๐-๓๔๒. ๔๑ ที.ปา.(ไทย) /๓๓๐/๓๓ ,ท.ี ปา.(ไทย) /๓๕๗/๓๙๗,องฺ.สตตฺ ก.(ไทย)๒๓/๕-๖/๘- ๒. ๔๒ ท.ี ปา.(ไทย) /๓๐๔/๒๕๔. ๔๓ ท.ี ปา.(ไทย) /๓๐๔/๒๕๓.

๑๗๖ สาคัญท่ีจะเออ้ื ประโยชน์ให้เยาวชน ในการศึกษา โดยเน้นการจัดสถานท่ี เพ่ือสนบั สนุนให้เยาวชนได้ พัฒนาตนเองอย่างบูรณาการ ซ่ึงส่งเสริมให้เกิดความเจริญงอกงาม ตามลักษณะแห่งปัญญาวุฒิธรรม ๔ ประการคือ ๑.สัปปุริสังสวะ หมายถึง การอยู่ใกล้คนดี ใกล้ผู้มีครู อาจารย์ดี มีข้อมูลมีสื่อที่ดี ๒. สทั ธัมมสั วนะ หมายถงึ เอาใจใส่ศึกษาโดยมีหลักสตู รการเรียนการสอนทดี่ ี ๓.โยนิโสมนสิการ หมายถึง มีกระบวนการคิดวิเคราะห์พิจารณาเหตุผลท่ีดีและถูกวิธี ๔.ธัมมานุธัมมปฏิบัติ หมายถึง ความ สามารถนาความรู้ใชใ้ นชวี ิตไดถ้ กู ต้องเหมาะสม ดังนั้น สถาบนั การศึกษา เปน็ สถาบันหน่ึงทีม่ บี ทบาทสำคญั ตอ่ เยาวชนในการศกึ ษา ทงั้ นี้ โรงเรยี น หรอื มหาวทิ ยาลยั ควรจดั สถานที่ให้เหมาะแก่การพฒั นา และในส่วนของครู ก็มีบทบาทใน การเปน็ ผูอ้ บรมส่งั สอนชแ้ี นะ และเป็นแบบอย่างที่สาคญั แก่เยาวชนในฐานะท่ีเป็นศิษย์ ๘.๔.๓ บทบาทของสถาบนั พุทธศาสนา : พระสงฆ์ วัด วัดเป็นสถานที่ท่ีมีบทบาทในการสนับสนุน ส่งเสริม สงเคราะห์ เยาวชนในรูปแบบต่างๆใน ปัจจบุ นั เช่น.เป็นศนู ย์กลางการศึกษา เป็นศนู ยร์ วมความคดิ ด้านการพัฒนาชมุ ชน เป็นศูนย์รวมใจของ ชุมชน เม่ือมีปัญหา เป็นหอศิลป์ประจาชุมชน เป็นโรงพยาบาลของชุมชน เป็นสถานท่ีในการบาเพ็ญ กิรยิ าวัตถุต่างๆ ไม่ว่าให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา๔๔ นอกจากน้ี พระสงฆ์ก็มีบทบาทท่ีสำคัญท่ีมีต่อ เยาวชน มีดงั นี้ ๑. ห้ามปรามสอนให้เวน้ จากความช่ัว ๒. แนะนำสง่ั สอนให้ตง้ั อยู่ในความดี ๓. อนเุ คราะห์ดว้ ยความปรารถนาดี ๔. ให้ได้ฟังได้รสู้ งิ่ ทย่ี งั ไมเ่ คยรู้ไมเ่ คยฟงั ๕. ช้ีแจงอธบิ ายทำส่ิงทีเ่ คยฟังแลว้ ใหเ้ ขา้ ใจแจ่มแจง้ ๖. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวติ ให้มีความสุขความเจริญ๔๕ วัดเป็นสถานท่ีในการสงเคราะห์ให้เยาวชนทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีพระสงฆ์ ทำหน้าท่ีอบรม สั่งสอนเยาวชน ให้เว้นจากความช่ัว แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี โดยอนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี แสดงธรรมให้เยาวชนได้รู้ส่ิงท่ียังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง ช้ีแจงอธิบายทำสิ่งท่ีเคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง บอกทางสวรรคเ์ พอ่ื สอนวิธีดำเนินชวี ติ ใหม้ ีความสขุ ความเจรญิ ๘.๔.๔ การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดวิเคราะห์ เป็นความสามารถในการพิจารณาตรึกตรองใคร่ครวญข้อมูลหรือสิ่งต่าง ๆ ในเรอื่ งราวตา่ งๆ อย่างละเอียด รอบคอบ อย่างมีเหตผุ ล โดยใช้หลักการแยกแยะองค์ประกอบและจัด หมวดหมู่ ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ และอุษา ชูชาติ๔๖ ได้ยืนยันว่า มนุษย์ใช้สมองสำหรับคิดเชิงวิเคราะห์ มานาน กล่าวคือ สมองมีทักษะในการคิดเชิงวิเคราะห์ โดยอาศัยข้อมลู ความจำเกี่ยวกับประสบการณ์ เรียนรู้ที่ผ่านมาเป็นพ้ืนฐานให้เกิดความคิด การคิดเป็นการทำงานของสมองที่เกิดข้ึนโดยอัตโนมัติ ทกั ษะการคดิ จึงสามารถพฒั นาและฝึกฝนได้ คนจะประสบความสำเร็จในยุคสารสนเทศจะต้องเป็นคน ๔๔ พระมหาจรรยา สุทธฺ ิญาโณ , พทุ ธปัญญากบั การศกึ ษา , (กรงุ เทพมหานคร : มลู นิธภิ กิ ขุปญั ญานันทะ, ๒๕๓๘), หน้า ๔- ๗. ๔๕ ท.ี ปา.(ไทย) /๒๗๒/๒ ๗. ๔๖ ศนั สนีย์ ฉตั รคปุ ต์ และ อษุ า ชูชาติ, รายงานเร่อื งฝกึ สมองใหค้ ดิ อย่างมีวิจารณญาณ. (กรงุ เทพมหานคร : สานกั งานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สานักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๔๔).

๑๗๗ ที่มีความรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ และที่สำคัญต้องมีทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหาอย่างมี วิจารณญาณ สมองสามารถพัฒนาให้ดีข้ึนได้ด้วยการฝึกการคิด ย่ิงมีการใช้สมองเพื่อการเรียนรู้และ การคิดมากเท่าใดในเยาวชน จะยิ่งทำให้เซลล์สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองใหม่ๆ แตกแขนงเช่ือม ติดต่อกันมากยิ่งขึ้น ทำให้สมองมีขนาดใหญ่ข้ึนโดยไปเพิ่มขนาดของเซลล์สมอง จำนวนเส้นใยสมอง และจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง สมองหลายส่วนทำหน้าท่ีประสานเช่ือมโยงกันให้เกิดการเรียนรู้ และการคิด ท้ังในส่วนย่อยและส่วนรวม สามารถคิดค้นหาความหมาย คิดหาคำตอบให้กับคำถาม ต่างๆ ของการเรียนรู้และพัฒนาความคิดใหม่ๆ ออกมาได้อีกด้วย โดยมีกรอบพัฒนาการของการ เรียนรู้ในแต่ละชว่ งอายทุ ่ีเป็นช่วงวยั วิกฤตแห่งการเรยี นรู้ มีความพร้อมในการ เรียนรูเ้ ฉพาะเร่ือง หาก เลยช่วงวัยวิกฤตแห่งการเรียนรู้ยังสามารถเรียนรู้ได้อยู่ เพียงแต่ต้องใช้ความพยายาม เวลา และการ ฝกึ ฝนมากกว่าการเรยี นรใู้ นช่วงเวลาตา่ งๆ ของสมองจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่สมองต้องใช้ในการทำงาน ระดับสูงขึ้นไปคือการคิด ย่ิงถ้าฝึกฝนใช้สมองคิดและเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากเท่าใด สมองจะยิ่งสร้าง เครือข่ายเส้นใยสมองท่ีจะเป็นตัวช่วยคิด ช่วยพัฒนาทักษะในการคิดมากขึ้นเท่านั้น สมองมี ความสามารถที่จะพัฒนาและปรับเปล่ียนได้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ แม้ในคนท่ีมีอายุ สมองสามารถ พัฒนาใหด้ ขี นึ้ ได้ ถ้ามโี อกาสฝึกใช้สมองในการคิด ฉะนั้น ความรู้และความคิดเป็นของสองสิ่งท่ีต้องเกิดควบคู่กันไปเสมอ การจัดการเรียนรู้ เพ่ือให้เกิดความคิดจึงต้องมีเนื้อหาความรู้แทรกอยู่ การคิดท่ีดีสามารถนาไปสู่ผลสำเร็จในการเรียนรู้ การเรียนรู้ท่ีดีสามารถพัฒนาทักษะการคิดด้วยการดู การฟัง การสัมผัส การเคล่ือนไหวและการ กระทำ โดยอารมณ์ที่เปน็ สขุ เป็นส่วนสำคัญในการเพ่มิ ประสิทธภิ าพในการคิดและการเรียนรู้ก่อใหเ้ กิด เจตคติท่ีดีต่อการเรียนรู้ เม่ือการเรียนรู้ไม่มีความเครียด และด้วยแรงจูงใจที่เกิดขึ้นภายในตัว ของเยาวชน เยาวชนจะสนใจการเรียนรู้และเก็บข้อมูลการเรียนรู้น้ันได้นาน เยาวชนจะเสาะแสวงหา ข้อมูล ผสมผสานความรู้ และคิดเชิงวิเคราะห์ ซึ่งเป็นความสามารถที่จะแยกแยะหรือย่อยข้อมูล ออกเป็นแต่ละส่วนท่ีทำให้เข้าใจง่าย สามารถท่ีจะดึงความสัมพันธ์ของข้อมูลส่วนหนึ่งท่ีมีต่ออีกส่วน หนึ่ง หรือความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลได้โดยเข้าใจหลักการและประโยชน์ที่จะนำมาใช้ เยาวชนต้อง สามารถจัดระบบข้อมูลท่ีเป็นกลุ่มก้อนต่างๆ ต้องรู้ว่ากาลังคิดอะไรอยู่ และต้องตรวจสอบอย่าง ละเอียด เพ่ือให้เข้าใจถึงเนื้อหาและโครงสร้างของข้อมูลน้ัน คำถามที่จะกระตุ้นให้นักเรียนคิดเชิง วิเคราะห์ ไดแ้ ก่ อะไรคอื ข้อแตกตา่ ง อะไรคือผลทีไ่ ด้ใหเ้ ปรยี บเทียบ และใหแ้ ยกแยะ เปน็ ต้น การพัฒนาทักษะความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ศักดิ์ศรี ปาณะกุล๔๗ กล่าวถึง การจัด กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะการคิดเชิง เคราะหข์ ึ้นใน เยาวชน การจดั การเรียนรทู้ ่ีสามารถพัฒนาทักษะการคดิ เชิงวิเคราะห์ ได้แก่ ๑. การสรา้ งผังมโนทศั น์ เปน็ กิจกรรมหน่ึงที่เยาวชน สามารถแสดงความสัมพนั ธข์ อง มโนทัศน์เรื่องใดเร่ืองหน่ึงอย่างมีระบบและเป็นลำดับข้ัน โดยอาศัยคำหรือข้อความเป็นตัวเชื่อมให้ ความสัมพันธ์ของมโนทัศน์ต่างๆ เป็นไปอย่างมีความหมาย ซึ่งอาจจะมีทิศทางเดียว สองทิศทางหรือ มากกว่า เยาวชนสามารถนำมโนทัศน์ในสาระที่ได้เรียนรู้มาจัดระบบ จัดลำดับ และเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ แต่ละมโนทัศน์ท่ีมีความเกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน เยาวชน รู้จักสังเกต เปรียบเทียบสรุป และจำแนกแยะแยะสิ่งต่างๆ จัดเป็นระบบ หรือ หมวดหมู่ได้อย่างถูกต้อง และ เยาวชนสามารถ ๔๗ ศกั ดิศ์ รี ปาณะกลุ , “การจดั การเรียนรู้เพอื่ พัฒนาทกั ษะการคิดเชงิ วิเคราะห์ ”, วารสาร รามคาแหง, ปีที่ ๒๓ ฉบบั ท่ี ๔ (๒๕๔๙) : ๓ - ๓๙.

๑๗๘ รวบรวมข้อมูลและเข้าใจข้อมูลท่ีได้รับ๔๘ ผังมโนทัศน์หรือแผนภาพลำดับการคิดจึงเป็นเครื่องมือ สำคัญหนึ่ง ท่ีแสดงให้เห็นถึงกระบวนการคิดของนักเรียน ที่มีโอกาสสร้างแผนภาพลำดับ การคิดและ การอ่านแผนภาพ แสดงให้เห็นว่านักเรียนเข้าใจกระบวนการคิดของตนได้ดีข้ึน จนสามารถอธิบาย ออกมาเป็นภาพให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ซ่ึงแผนภาพลำดับการคิดนี้ ช่วยให้นักเรียนคิดวิเคราะห์และเกิด ความคิดรวบยอด เป็นการใช้ระบบของเหตุผลเพ่ือแสวงหาความรู้ ความจริงท่ีมีความคงทนของการ ยอมรับ ทำให้นักเรียนเกิดนิสัยท่ีจะคิด รู้จักคิด และกระทำ อันจะช่วยให้คิดเป็น ทำเป็น และ แก้ปัญหาเป็น เป็นการคิดอย่างมีระบบของเหตุผล เช่น ให้นักเรียนสร้างผังมโนทัศน์อิทธิพลของ สิ่งแวดล้อมกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ผังมโนทัศน์แสดงสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหา สภาพแวดลอ้ มของประชากรในภาคเหนอื เปน็ ต้น ๒. การใช้เทคนิคในการตั้งคำถาม เป็นกิจกรรมที่สร้างบรรยากาศการแสดงความ คิดเห็น การมีส่วนร่วมและการมีปฏิสัมพันธ์ท่ีดีระหว่างนักเรียน โดยการใช้เทคนิคในการต้ังคำถามที่ เสริมสร้างให้ เยาวชน คิด ด้วยคำถามนำ “ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร เม่ือใด ทำไม ”หลีกเลี่ยงการใช้ คำถามท่ีคำตอบคือใช่หรือไม่ใช่ คำถามที่จะกระตุ้นให้เกิดการคิดเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ อะไรคือข้อ แตกต่าง อะไรคือผลท่ีได้รับ ให้เปรียบเทียบ ให้แยกแยะ เป็นต้น คำถามท่ีดีจะนำไปสู่คำถามต่างๆ ตามมามากขนึ้ เป็นการกระตุ้นใหเ้ ยาวชนเกดิ การคดิ อย่างตอ่ เน่ือง๔๙ ๓. การทัศนศึกษา เป็นกิจกรรที่เยาวชนออกไปศึกษาเรียนรู้ ณ สถานท่ีที่เป็นแหล่ง เรยี นรู้ในเรอ่ื งน้ัน ซงึ่ อยู่นอกสถานท่ีเรียนกันอย่โู ดยปกติ โดยมกี ารศึกษาเรียนรูส้ ิ่งต่างๆ ในสถานท่ีนั้น ตามกระบวนการ เยาวชนจะสามารถนำไปส่ิงท่ีได้เรียนรมู้ าเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตจริงโดยเฉพาะอย่างย่ิง การทัศนศึกษา ณ สถานประกอบการท่ีเยาวชนจะค้นพบคำตอบจากการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง เช่น การทัศนศึกษาตลาดนัดใกล้โรงเรียนโดยมีเป้าหมายเพ่ือเก็บข้อมูลในการจัดวางผังตลาดนัดใน รูปแบบใหมซ่ ง่ึ ถกู สุขลกั ษณะกว่าเดิม ๔. การสาธิต เป็นกิจกรรมท่ีเยาวชน เรียนรู้จากบุคคลใดแสดงหรือกระทำให้ดูเป็น ตัวอย่าง พร้อมคำอธิบาย เยาวชน จะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การซักถาม การแสดงความ คดิ เหน็ จนเข้าใจกระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นการสร้างบรรยากาศการเรยี นรู้ ส่งเสริมนักเรียน ให้เกดิ การเรียนรไู้ ด้รวดเร็วส่คู วามสามารถในการวางแผน การกำหนดเปา้ หมาย การแก้ไขปญั หา และ การวเิ คราะห์ตนเองได้ เช่น ครูสาธิตการสะท้อนของแสงในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ๕.การทำโครงงาน เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ เยาวชน ได้ศึกษาค้นคว้า และลงมือปฏิบัติกิจกรรมซ่ึงสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน ตามความสนใจ ความถนัด และความสามารถ ของตนเองอย่างลุ่มลึก โดยนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นๆท่ีเป็นระบบไปใช้ ในการศึกษาหาคำตอบในเร่ืองนั้นๆ เยาวชนได้ใช้ความรู้ทักษะ และประสบการณ์ของตนเองใน การศึกษาค้นควา้ หาข้อมูลจากแหลง่ เรยี นรู้ตา่ งๆ ทำให้เกิดพลงั ใฝเ่ รยี นใฝ่รแู้ ละทกั ษะการคิดระดับสงู ๔๘ Carroll, Lynda; Leander, Susan, Improving Student Motivation through the Use of Active Learning Strategies, Retrieved November ๒๙, ๒๐๐๔, from EDRS (๒๐๐ ). ED ๔๕๕ ๙๖ . ๔๙ กองบรรณาธกิ ารสานปฏิรูป , “สอนแบบครูมืออาชีพ (๓) ศลิ ปะในการต้ังคาถาม ”, สานปฏริ ูป. ปที ่ี ๗ ฉบับที่ ๘๐ (ธนั วาคม, ๒๕๔๗) หนา้ ๒๘ - ๓๐.

๑๗๙ ๖. การอภิปราย เป็นกิจกรรมที่เยาวชน ตั้งแต่สองคนข้ึนไปร่วมสนทนาพูดคุย ปรึกษาหารือ แสดงความคิดเห็น แลกเปล่ียนประสบการณ์หรือเจตคติในการวางแผนแบบรวม กำลัง ความคิด นำไปสกู่ ารคาดการณ์หรือการสรปุ ในเรือ่ งใดเร่อื งหน่ึง ๗. การระดมสมองเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เยาวชนแตล่ ะคนแสดงความคิดเหน็ หรือ ให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาใหม้ ากท่ีสดุ โดยเสนอได้อยา่ งเสรี ไม่มกี ารวิพากษ์วจิ ารณค์ วามคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะที่เสนอมา มีการบันทึกความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะท้ังหมดไว้ หลังจากนั้นอาจจะ จดั ให้มีการอภปิ รายทบทวนความคิดทั้งหมด จดั เป็นหมวดหมู่หรือประเภท เยาวชนจะมีแนวความคิด ใหม่ท่ีกว้างขวางและสามารถนำแนวคดิ เหลา่ นั้นไปสูก่ ารตดั สนิ ใจหรอื การแกป้ ญั หาได้ดี ๘. การโต้วาที เป็นกิจกรรมท่ีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนซึ่งสามารถหยิบ ยกตัวอยา่ ง ข้อเท็จจริงและสถิตเิ พื่อสนับสนุนความคิดของ เยาวชน และหักล้างความคิดของฝ่ายตรง ข้ามโดยไมใ่ ช้อารมณ์ แตใ่ ช้เหตผุ ลในการช้ีสรปุ ประเดน็ สำคัญหรือการคาดการณ์ ๙. การใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ เป็นกิจกรรมที่เยาวชนสามารถเรียนรู้ จากสถาบันของชุมชนท่ีมีอยู่แล้วในวิถีชีวิตและการทำมาหากินในชุมชน เช่น วัด โบสถ์ ตลาด ร้าน ขายของชำ จากสถานท่ีหรือสถานบันท่ีรฐั และประชาชนจัดต้ังขึ้น เช่น พิพิธภัณฑ์สถาน หอสมุดศูนย์ เยาวชน จากสื่อเทคโนโลยีท่ีมีอยู่ในโรงเรียนและชุมชน เช่น วีดี ทัศน์ ภาพยนตร์ ภาพสไลด์จากสื่อ เอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในโรงเรียนและชุมชน เช่น วารสารภาพถ่าย ตารายาพ้ืนบ้านจาก บุคลากรผู้ที่มีความรู้ด้านต่างๆ ในชุมชน เช่น ผู้นาชุมชน ผู้นาทางศาสนา หมอพ้ืนบ้าน จาก ส่ิงแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ภเู ขา แมน่ ้ำ อากาศ เป็นต้น จากมนุษย์และสัตว์ต่างๆ เช่นบุคคลต่างๆ รอบตัว และสัตว์ทุกชนิด เป็นต้น ดังน้ัน เยาวชน สามารถเรียนรู้โดยการเช่ือมโยงความหลากหลาย ผ่านสอื่ ต่างๆ และเปรยี บเทียบแหลง่ เรียนรเู้ ดมิ กบั แหลง่ เรยี นรใู้ นสื่อเพ่อื การตคี วามท่ีถูกต้อง ๑๐.การพยากรณ์ เป็นกจิ กรรมท่ี เยาวชน สามารถคิดอยา่ งเปน็ ระบบต่อเนอ่ื งและมี เหตุผล โดยอาศัยข้อมูลในอดตี ปัจจบุ ันและการคาดคะเนเหตุการณ์ท่ีจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อช่วยให้ มองเห็นผลกระทบที่จะเกิดข้ึนในอนาคต ซึ่งจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจท่ีจะเลือกกระทำ เพราะ การคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดข้ึนในอนาคต เยาวชน จะสามารถเรียนรู้ถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง และการจัดการเร่ืองอนาคต โดยการต้ังคำถาม ๓ ประเภท คำถามท่ีตอบตามข้อเท็จจริง คำถามท่ี ตอบแบบตีความ และคำถามท่ีตอบแบบประเมินคุณค่า๕๐ เช่น ขณะเกิดวิกฤตการณ์อันเน่ืองมาจาก น้ำมันขนึ้ ราคา อาจจดั กิจกรรมการเรียนรู้เพ่อื พฒั นาทักษะการคดิ เชิงพยากรณ์ โดยตั้งคำถามว่า อะไร ทำให้ราคาน้ำมันสูงข้ึน ราคาน้ำมันท่ีสูงข้ึนมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร เยาวชน จะช่วย ประหยัดพลังงานได้อย่างไร และถ้าน้ำมันขึ้นราคาไปเรื่อยๆ ผลกระทบที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นใน อนาคตท้ังเชิงบวกและเชงิ ลบมีอะไรบา้ ง ๕๐ กองบรรณาธกิ ารสานปฏิรูป , “สอนแบบครมู ืออาชีพ (๓) ศลิ ปะในการต้งั คาถาม ”, สานปฏิรปู . ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๘๐ (ธันวาคม, ๒๕๔๗), ๒๘ - ๒๙.

๑๘๐ ๘.๕ การพฒั นาความสามารถในการคิดตามแนวพุทธในสงั คมไทย ในสังคมไทยได้นำ ความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ มาพัฒนา ความสามารถในการ พิจารณาตรึกตรองใคร่ครวญข้อมูลหรือสิ่งต่างๆ ในเรื่องราวต่างๆ อย่างละเอียด รอบคอบ อย่างมี เหตุผล โดยใช้หลักการแยกแยะองค์ประกอบและจัดหมวดหมู่ ศักด์ิศรี ปาณะกุล๕๑ กล่าวถึง การจัด กิจกรรมการเรียนรู้ท่ีหลากหลายเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะการคิดเชิง วเิ คราะหข์ ึ้นใน เยาวชน การจัดการเรียนรู้ท่ีสามารถพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ การสร้าง ผังมโนทัศน์ การใช้เทคนิคในการต้ังคำถาม การทัศนศึกษา การสาธิต การทำโครงงาน การอภิปราย การระดมสมอง การโต้วาที การใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ การพยากรณ์ต่อมาได้นำ หลกั การพัฒนาความสามารถในการคดิ แบบพุทธ คือ ความสามารถในการคิดแบบ โยนิโสมนสิการ มา ใช้พัฒนาการคิด โดยให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบ คิดวิเคราะห์ ไม่มองส่ิงต่างๆ อย่างผิว เผิน๕๒ ซ่ึงความสามารถคิดวิเคราะห์จะตรงกบั ความสามารถในการคิดแบบโยนิโสมนสกิ าร คือ การคิด แบบแยกแยะองค์ประกอบ ร่วมกับการคดิ แบบสืบสาวหาปัจจยั และการคิดแบบสามัญลักษณ์ ท่ีพระ พรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ๕๓ ได้กล่าวไว้จะคลุมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ท่ีนำมาใช้ใน สังคมไทย โยนโิ สมนสิการเป็นการคดิ ทม่ี ี ลกั ษณะคือ ๑. อุบายมนสิการ๕๔ หมายถึง การคิดอย่างถูกวิธี ตรงกับความเป็นจริงทำให้เข้า ใจความเป็นจรงิ ของสรรพสิง่ ๒. ปถมนสิการ หมายถึง การคิดต่อเน่ืองเป็นขั้นตอน เป็นระบบตามเหตุผลและ แนวทางทถ่ี กู ตอ้ ง ๓. การณมนสกิ าร๕๕ หมายถึง การคดิ สบื ค้นตามแนวความสัมพันธ์ของเหตุปัจจยั ทำ ให้เขา้ ใจความเป็นมาหรอื แหล่งท่ีทำให้เกดิ ผลเชน่ นนั้ ๔. อุปปาทกมนสิการ หมายถงึ การคดิ อย่างมีเปา้ หมายในทางดงี าม ทำให้เกดิ ความ เพยี ร มีสตมิ น่ั คง จติ ใจเข้มแข็ง การคิดแบบโยนิโสมนสิการ เป็นการทำงานท้ังขณะรับรู้อารมณ์ หรือประสบการณ์ จากภายนอกและขณะคิดพิจารณาอารมณ์หรือเรื่องราวที่เก็บเข้ามาภายในตน ข้อที่น่าสังเกตอย่าง หนึ่งของการรับรู้ดว้ ยโยนิโสมนสกิ าร คือ รับรู้เพียงเพื่อเป็นความรู้และเป็นข้อมูลสำหรับสติเพ่ือจะเอา ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆ โยนโิ สมนสิการจะช่วยแบ่งเบา แก้ทุกข์ปัญหา ให้ลดลงและทำให้เกิดคุณภาพทางอารมณ์อย่างใหม่ขึ้นทดแทน เช่น ความผ่องใส สดช่ืน ปลอดโปร่ง เบิกบานใจ การคิดแบบ โยนิโสมนสิการ จึงเป็นที่เช่ือมให้เยาวชนติดต่อกับโลกอย่างถูกต้อง โดยทาง จิตใจของตนเอง ซ่งึ ได้แก่ ท่าทีแหง่ การรบั รแู้ ละความคิด ซ่ึงเป็นท่าทีแห่งปญั ญาหรือการมองตามเป็น ๕๑ ศกั ด์ิศรี ปาณะกลุ , “ การจดั การเรียนร้เู พื่อพฒั นาทักษะการคิดเชงิ วิเคราะห์ ”, วารสาร รามคาแหง, ปที ี่ ๓ ฉบบั ท่ี ( ๕ ๙) : ๓ - ๓๙. ๕๒ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยตุ โฺ ต), พทุ ธธรรม, หน้า ๖๗๐. ๕๓ เร่ืองเดยี วกนั , หนา้ ๖๗๖ –๖๘๐. ๕๔ ท.ี ม.อ.(ไทย) ๘๘/ ๕ . ๕๕ เรื่องเดียวกนั , หน้าเดียวกนั .

๑๘๑ จริง ซึ่งการคิดแบบโยนิโสมนสิการ เป็นการปฏิบัติที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกเวลาและพึงใช้แทรกอยู่ในการ ดำเนินชวี ติ ประจำวนั สรุปท้ายบท โยนิโสมนสิการ...หรือ...การมีความแยบคายในการคิด...มีนัยหมายถึง...การมีกระบวนวิธีการ คิดแบบเช่อื มโยงความสมั พันธ์อย่างสมบรู ณแ์ บบ...ระหว่างหลักการและเหตุผลกับแนวทางปฏบิ ตั ิและ ผลลั พธ์ที่จ ะพึ งมี...เพ่ื อค้นห า...สัมพั นธภ าพระหว่างห ลั กการและแ นวทางป ฏิ บั ติน้ั น ...เรียกว่า... พิจารณาโดยองคร์ วมของระบบความสมั พันธ์...เพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมลู ในการวิเคราะห์วิจัยว่า...สิ่ง ใดควรเปน็ จรงิ ...สง่ิ ใดไม่ควรเป็นความจรงิ ...โดยอาศัย...สภาวะท่ีแท้จริง...ตามความเป็นจรงิ ...เปน็ ฐาน ในการพิจารณา...คือ...ใช้ความสอดคล้อง...ความสมนัย...และความสมจริง...ระหว่างเรื่องราวหรือส่ิง ต่างๆ ท่ีเป็นองค์ประกอบของเรื่องราวเหล่านั้น...อนั ไดแ้ ก่...หลักการและเหตุผลตา่ งๆ...แนวทางปฏบิ ัติ และผลลพั ธท์ ี่จะพงึ ได้รบั จากการปฏิบตั ิต่างๆ...ดงั นี้เปน็ ต้น...เป็นกฏเกณฑใ์ นการวิเคราะห์และวินจิ ฉัย

๑๘๒ คำถามทา้ ยบท ๑.ประเวศ วะสี ไดก้ วา่ ถงึ ความสำคญั ของเยาวชนอยา่ งไรฯ ๒.การเสรมิ สร้างคณุ ลกั ษณะที่พึงประสงค์ตามแนวพุทธ พระพรหมคุณาภรณ์กล่าวไวอ้ ย่างไรฯ ๓.ลกั การในการพฒั นาเยาวชนตามแนวพทุ ธโดยใชห้ ลักไตรสกิ ขา มีกระบวนการอย่างไรฯ ๔.การพัฒนาเยาวชนน้ันตามแนวพุทธตอ้ งพัฒนากี่ดา้ น อะไรบ้างฯ ๕.การพฒั นาวนิ ัยในตนเองตามแนวพุทธ ตามทศั นะของพระพรหมคุณาภรณ์ กล่าวไว้อย่างไรฯ ๖.การพัฒนาปรชี าเชงิ อารมณ์ของเยาวชนตามทศั นะของพระพรหมคณุ าภรณ์ กลา่ วไว้อย่างไรฯ ๗.การพฒั นาการความสามารถในคิดแบบโยนโิ สมนสิการ ตามทัศนะของพระพรหมคุณาภรณ์ กลา่ วไว้อยา่ งไรฯ ๘.ประมวลวิธคี ิดแบบโยนิโสมนสิการ ในทศั นะของพระพรหมคุณาภรณ์ กล่าวไวอ้ ยา่ งไรฯ ๙. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสมั พันธ์ ตามทัศนะของพระพรหมคณุ าภรณ์ กลา่ วไว้อย่างไรฯ ๑๐.บทบาทของสถาบนั ครอบครัว บดิ ามารดา มคี วามสำคัญต่อการพัฒนาเยาวชนอยา่ งไรฯ

๑๘๓ เอกสารอ้างองิ ประจำบท กองบรรณาธกิ ารสานปฏริ ปู , “สอนแบบครมู ืออาชีพ (๓) ศิลปะในการตั้งคาถาม ”, สานปฏิรูป.ปที ่ี ๗ ฉบับที่ ๘๐ ธันวาคม, ๒๕๔๗. ประเวศ วะสี, พระสงฆ์และศาสนิกชนจะกชู้ าตไิ ด้อย่างไร, กรงุ เทพมหานคร : สานักพิมพ์มลู นธิ ิ โกมลคมี ทอง, ๒๕๓๐. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโฺ ต).วนิ ัยเรื่องใหญ่กว่าท่คี ิด , กรงุ เทพมหานคร : บริษทั พิมพส์ วย จำกัด, ๒๕๓๘. พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยตุ ฺโต), วธิ ีคิดตามหลกั พุทธธรรม, พมิ พ์ครัง้ ท่ี๖, กรุงเทพมหานคร : สยาม, ๒๕๔๒. พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต ),การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๓๙. พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต),“เจตโกศลหรือปรชี าเชงิ อารมณ์” บทความทางวิชาการเรือ่ งอีคิว ,กรงุ เทพมหานคร : ชมรมผสู้ นใจอีคิว, ๒๕๔๓. พระมหาจรรยา สทุ ฺธิญาโณ , พุทธปัญญากบั การศึกษา , กรุงเทพมหานคร : มลู นิธภิ กิ ขุปัญญานนั ทะ, ๒๕๓๘. พระมหาบุญเพียร ปญุ ฺญวริ โิ ย(แก้ววงศน์ ้อย), “แนวคิดและวิธีการขดั เกลาทางสังคมในสถาบัน ครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา ”, วิทยานิพนธพ์ ุทธศาสตรมหาบัณฑติ , (บณั ฑิต วทิ ยาลยั :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๔. ศักดิศ์ รี ปาณะกุล , “การจัดการเรยี นรู้เพอื่ พฒั นาทักษะการคดิ เชิงวิเคราะห์ ”, วารสารรามคาแหง, ปีที่ ๒๓ ฉบับท่ี ๔ (๒๕๔๙) : ๓ - ๓๙. ศันสนีย์ ฉตั รคปุ ต์ และ อุษา ชูชาติ, รายงานเรือ่ งฝึกสมองใหค้ ิดอยา่ งมจี ารณาณ. กรุงเทพมหานคร : สานกั งานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สานักนายกรฐั มนตรี, ๒๕๔๔.

บทที่ ๙ สมาธิกบั หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ วตั ถปุ ระสงค์การเรียนรูป้ ระจำบท เมอ่ื ได้ศกึ ษาเน้อื หาในบทน้ีแลว้ ผ้เู รยี นสามารถ ๑. อธบิ ายสมาธกิ บั คล่นื สมองได้ ๒. อธบิ ายสมาธิกับวจิ ัยทางวทิ ยาศาสตร์ได้ ๓. จำแนกความหลากหลายของการฝึกสมาธิได้ ๔. อธิบายหลกั การฝึกสมาธิแบบโยคะได้ ๕. อธิบายการฝกึ สมาธิตามแบบพทุ ธศาสนาเถรวาทได้ ขอบข่ายเนอ้ื หา • สมาธิกับคลืน่ สมอง • สมาธิกับวิจยั ทางวทิ ยาศาสตร์ • ความหลากหลายของการฝกึ สมาธิ • หลักการฝกึ สมาธิแบบโยคะ • การฝกึ สมาธติ ามแบบพุทธศาสนาเถรวาท

๑๘๕ ๙.๑ ความนำ ในอดีตการใช้สมาธิรักษาโรคยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้วงการแพทย์ โดยเฉพาะวงการแพทย์ ตะวันตก เพราะการแพทย์ตะวันตก การรักษาผู้ป่วยทุกข้ันตอนต้องผ่านการทดลองบนพ้ืนฐานของ วทิ ยาศาสตร์ ขณะที่การรักษาโรคด้วยการทำสมาธิยังไม่มีผลการพิสูจน์ชัดเจนอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ในพระพุทธศาสนา ถึงแม้จะพูดเร่ืองอานิสงส์ของการทำสมาธิว่าทำให้ผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ดี จิตใจแจ่มใส เบิกบาน ผิวพรรณวรรณผ่องใส อายุยืนก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลการพิสูจน์ออกมาทาง วิทยาศาสตร์เลย ต่อมาวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าผลของการฝึกสมาธิมีผลต่อร่างกายและจติ ใจจรงิ ทำ ให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคมากข้ึน และเม่ือวัดคลื่นสมองพบว่าสมาธิทำให้สมองผ่อนคลายและคลาย เครียดลงและเน่ืองจากสมาธนิ ้ีเป็นเร่ืองของธรรมชาติท่ีเป็นการปฏิบัติต่อจิตใจซ่ึงบางส่วนสามารถวัด หรือพิสูจนไ์ ดด้ ว้ ยวธิ ีการทางวทิ ยาศาสตร์ ดังนั้นจงึ ได้มีนักค้นคว้าและนกั วิจยั หลายคนไดท้ ำการศึกษา ค้นควา้ โดยวธิ ที ีเ่ ป็นวทิ ยาศาสตร์ การศึกษาสมาธิด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มมีข้ึนต้ังแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นต้นมา ผู้ที่ ศึกษาเร่ืองสมาธิกับวิทยาศาสตร์น้ีไวม้ าก คือ ดร.เฮอร์เบิร์ต เบนสัน (Herbert Benson M.D.) ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ทางอายุรศาสตร์แห่งโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ศึกษาเรื่องน้ีอยู่กว่า ๓๐ ปีท่านได้สร้างทีมงานและสถาบันวิจัยทางการแพทย์เกี่ยวกับร่างกายและจิตใจ (Mind-Body medical institute) ในฮาร์วาร์ด สถาบันแห่งน้ีได้สร้างองค์ความรู้ทางด้านกายและจิตไว้เป็นจำนวน มาก ซ่ึงเปน็ ทีใ่ ชอ้ า้ งองิ กนั ท่วั ไปนับว่าเป็นผบู้ ุกเบกิ ความรูท้ างด้านนีอ้ ยา่ งมาก ดร.เบนสัน นอกจากเป็นนักวิทยาศาสตร์แล้ว ท่านยังมีความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างดี ท่านได้เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศธิเบตและอินเดีย โดยเฉพาะในเรื่องสมาธิและ โยคะ ช่วงแรกดร. เบนสัน ได้นำอาสาสมัครที่ฝึกสมาธิแบบ ที.เอ็ม. (Trancendental Meditation, TM) โดยให้อาสาสมัครทำสมาธิ แล้ววัดความดันอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ คล่ืนสมอง คลื่นหัวใจ เจาะเลือดดูกรดแลคติก ผลการวิจัยพบว่า ในคนที่จิตเป็นสมาธิ ความดันจะลดลง อัตรา การหายใจลดลง หัวใจเต้นช้าลง คลื่นสมองช้าและเป็นระเบียบขึ้น การเผาผลาญอาหารในร่างกาย ลดลง ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง เขาเรียกปรากฏการณ์ที่ค้นพบน้ีว่า ผลของความผ่อนคลาย (Relaxation Responses) การค้นพบคร้ังน้ีเป็นพ้ืนฐานสำคัญของงานวิจัยท่ีทำติดต่อกันมาเป็นเวลา ๓๐ ปีและทำให้นักวทิ ยาศาสตร์การแพทยส์ มัยใหม่ยอมรับเร่อื งจิตใจมผี ลตอ่ รา่ งกาย ดงั นั้น การรกั ษา โรคทางกาย ก็รักษาได้โดยการทำใจให้เป็นสมาธิ มีความผ่อนคลาย ซ่ึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง จะ เห็นว่า ผลของความผ่อนคลาย ที่กล่าวมานี้จะตรงกันข้ามกับผลท่ีเกิดจากความเครียด กล่าวคือ ใน เวลาที่เราเครียด ความดันจะสูงขึ้น การหายใจจะเร็วข้ึน ชีพจรจะเร็วขึ้น กล้ามเน้ือจะตึงตัวมากขึ้น อัตราการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายมากข้ึน ร่างกายใช้อ๊อกซิเจนมากขึ้น คลื่นสมองมีความถี่ สูงขึ้น ท่ีสำคัญความเครียดจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ อีกมาก การทำให้เกิดความผ่อนคลายก็ ทำให้โรคต่างๆ หายไดเ้ ชน่ กนั

๑๘๖ ๙.๒ สมาธิกับคลื่นสมอง๑ คนทั่วไปในเวลาปกติมักจะส่งคลื่นเบต้า ออกมา ซึ่งมีความถี่ของคล่ืนประมาณ ๒๑ รอบต่อ วินาที เมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้นมีผลต่ออารมณ์และความรู้สึก เช่น โกรธ กลัว เกลียด อิจฉา ตื่นเต้น ฯลฯ คลื่นสมองก็จะมีความถี่สูงขึ้นทันที ซึ่งจะทำให้บุคคลผู้น้ันมีประสิทธิภาพในการทำงาน ลดลง มีความตึงเครียดสูง มีสมาธิน้อยลง มีความสามารถในการเรียนรู้ต่ำลง มีภูมิคุ้มกันโรคใน รา่ งกายลดลง ฯลฯ ในทางตรงกันข้าม เราจะมีร่างกายท่ีมีภูมิคุ้มกันโรคสูง มีสมาธิดี มีอารมณ์เยือกเย็น มี ความคิดที่เฉียบคม มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์สูง เมื่อคลื่นสมองของเรามีความถี่ต่ำกว่า ๑๙ รอบต่อวินาที ถ้าเราปล่อยให้คล่ืนสมองของเรามีความถี่สูงเกินกว่า ๒๑ รอบต่อวินาทีมากเป็น เวลานาน ๆ เราจะอยู่ในสภาวะที่แพทย์ปัจจุบันเรียกว่า โรคเครียดและวิตกกังวล ซึ่งเป็นโรคร้าย อันดับหนึ่งของโลกปัจจุบันแพทย์ได้ยอมรับแล้วว่าสภาวะเครียดและวิตกกังวล เป็นต้นเหตุของโรค อื่นๆ ท้ังทางร่างกายและจิตใจได้อีกมากมาย ในสภาวะของความเครียดนี้ คล่ืนสมองของคนท่ีมี ความถี่สูงเกินกว่า ๒๑ รอบต่อวินาที ร่างกายของคนเราจะอ่อนแอลง เช้ือโรคต่างๆ สามารถเข้าสู่ ร่างกายและทำให้เกิดโรคภัยไข้เจบ็ ไดง้ า่ ย เช่น เป็นหวัดบอ่ ย เปน็ โรคภมู ิแพ้ ความดนั โลหติ สงู คลื่นสมองที่มีความถี่สูงๆ ของคนเรานอกจากจะเป็นสาเหตุสำคัญท่ีทำให้คนเรามีร่างกาย อ่อนแอ เป็นโรคภัยไข้เจ็บได้ง่ายแล้ว ยังทำให้คนเรามีสมาธิท่ีไม่ดีอีกด้วย ความคิดต่างๆ มากมายจะ ผา่ นเขา้ มาในสมองเรา จนเราไม่สามารถทจ่ี ะมีสมาธอิ ยู่กบั เร่อื งหนึ่งเร่อื งใดได้นานๆ ยง่ิ คลื่นสมองของ เรามีความถี่เกิน ๔๐ รอบต่อวินาที เราแทบจะไม่สามารถควบคุมความคิดและอารมณ์ของเราได้เลย เช่น เวลาที่เราโกรธใครมาก ๆ เราจะไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยๆ ได้ความคิดต่างๆ จะผ่านเข้ามาในสมอง ของเราเร็วมากจนเราแทบจำไม่ได้วา่ มีความคิดอะไรที่ผ่านเข้ามาบ้าง คลื่นสมองท่ีมคี วามถีส่ งู มากน้ที ำ ให้เกิดพลังส่วนเกินท่ีจะต้องระบายออกมาทางร่างกาย เช่น หน้าแดง มือส่ัน เหงื่อออกมาก พฤติกรรมที่รุนแรงต่างๆ จะสังเกตได้งา่ ยในบุคคลทโี่ กรธมากๆ แล้วมักจะทำลายส่ิงของต่างๆ ท่ีขวาง หน้า ซึ่งการกระทำของเราในขณะที่คล่ืนสมองมีความถี่สูงนี้มักจะไม่ค่อยเหมาะสมและเรามักจะรู้สึก เสียใจในการกระทำในภายหลัง เมื่อคลื่นสมองความถี่สูงๆ สามารถสร้างปัญหาต่างๆ แก่เราได้มากมายเช่นน้ี แต่ถ้าเรา สามารถควบคมุ คลื่นสมองของเราให้มคี วามถ่ีต่ำได้ ผลดีต่างๆ ก็จะเกิดตามมามากมาย เช่น มรี ่างกาย ท่ีแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันโรคสูง มีสมาธิสูง มีจินตภาพและความคิดสร้างสรรค์สูง มีจิตใจที่เยือกเย็น อารมณ์ดี เบกิ บาน ฯลฯ เพราะฉะนั้นการที่จะควบคมุ ความถใ่ี ห้ตำ่ น้ัน สามารถทำได้ดว้ ยวิธีการจิตให้ เปน็ สมาธนิ น้ั เอง ดงั น้นั จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งท่ีมนษุ ย์โลกที่จะต้องทราบถึงการทำงานของคลื่นสมองของ ตัวเอง ด้วยเหตุว่าการทำสมาธิมีผลมากต่อคล่ืนสมอง มีหลักฐานมากมายที่สนับสนุนว่าบุคคลท่ีทำ สมาธิ จะมคี ลื่นสมองทต่ี ำ่ กวา่ คนปกตทิ ่วั ไป ซึ่งมีผลทำใหจ้ ติ ใจสงบ เยอื กเยน็ ไมเ่ ครียด มอี ารมณด์ ี ร่า เรงิ เบิกบาน มีความคิดสรา้ งสรรค์ อายุยืน เป็นต้น ซึ่งจะกล่าวต่อไปในภายหลัง แต่ก่อนที่จะเข้าไปใน เนื้อหาท่ีว่าด้วยสมาธิกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์นั้น อยากจะให้รู้เร่ืองเก่ียวกับคลื่นสมองกนั ก่อนว่า ๑ http://dou_beta.tripod.com/MD101_02_th.html.ออนไลน์ สบิ ค้นเม่อื ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙.

๑๘๗ คล่ืนสมองของเราจะอยู่ในรูปของความถี่แบบผสมจะมีอยู่ ๔ คลื่นด้วยกัน คือ คลื่นเบต้า (Beta wave) คล่นื อัลฟา (Alpha wave), คลื่นธีต้า (Theta wave), คล่นื เดลต้า (Delta wave) ซงึ่ คล่ืนเหล่าน้ีมีการทำงานท่ีแตกต่างกันดงั น้ี ๑.คลน่ื เบต้า (Beta wave) เป็นคล่ืนสมองท่ีเกิดข้ึนในสภาวะปกติทั่วไป ในสภาวะปกติสมองจะรับข้อมูลต่าง ๆ จาก ภายนอกเป็นจำนวนมาก จนถึงก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวาย คลื่นสมองที่เกิดข้ึนในช่วงนี้จะมีความถ่ี สูง เรียกคล่ืนสมองช่วงนี้ว่า \"คลื่นเบตา้ \" (Beta Wave) ซึ่งมีความถ่ีประมาณ ๑๓ - ๔๐ รอบตอ่ วินาที ยิ่งความถ่ีของคลื่นสมองสูงขึ้นไปมากเท่าไร จิตใจของเราก็จะวุ่นวาย สับสนมากยิ่งข้ึนไปเท่าน้ัน รูปร่างของคลื่นเบต้ามีลักษณะคล้ายเส้นกราฟที่ขยุกขยิกข้ึน-ลง ขึ้น-ลง สลับกัน คล้าย ๆ เวลาเรา ลากเส้นสลับฟังปลานั่นเอง ถ้าสมองมีเรื่องต้องคิดวุ่นวายมาก เส้นกราฟจะขยุกขยิกมากด้วย ภาวะ เช่นนี้จะรสู้ ึกหงุดหงิด กระสับกระส่าย ประสิทธิภาพในการคิดตัดสินใจไม่ดี ยิ่งคลื่นสมองย่ิงสูง ยิ่งทำ ให้เกิดอารมณ์ด้านลบได้มากเท่านั้น คนท่ีไม่ฝึกสมาธิ จะมีคล่ืนสมองเบต้า (Beta wave) มากกว่าคน ท่ีฝึกสมาธิ ๒.คลนื่ อัลฟา (Alpha wave) เป็นคลืน่ สมองทีเ่ กิดข้นึ ในสภาวะของคนที่มีจิตใจสงบ เยือกเยน็ เรยี กวา่ \"คลน่ื อลั ฟา\" Alpha Wave) ซึง่ มีความถี่ประมาณ ๘ - ๑๓ รอบต่อวินาที มจี ังหวะท่ชี ้ากวา่ มีขนาดใหญ่กวา่ และมีพลงั งาน มากกวา่ คลน่ื เบต้า (Beta wave) รปู ร่างของคลนื่ อัลฟามีลกั ษณะคลา้ ยรูปลูกคล่นื ไม่ขยุกขยกิ เหมือน คล่นื เบต้า คล่ืนอลั ฟานช้ี ว่ ยทำให้ความสับสนวุน่ วายในสมองลดลง จิตใจจึงสงบและเยือกเย็นขึ้น ซึ่ง พรอ้ มทจี ะทำกิจกรรมตา่ ง ๆ อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ

๑๘๘ ๓.คลนื่ ธีตา้ (Theta wave) เม่ือคลื่นอัลฟาค่อยๆ เปลี่ยนเป็นคล่ืนท่ีมีจังหวะช้าลง ๆ แต่กลับมีพลังงานสูงขึ้นๆ ถ้าคล่ืน สมองของคนเรามีความถ่ี ๕ -๗ รอบต่อวินาที จะส่งคลื่นธีต้า (Theta wave) ออกมา คลื่นธีต้า เป็น คลื่นสมองชนิดหน่ึงซึ่งจะปรากฏตัวข้ึนมาเพียงช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแวบเดียวเท่านั้น เป็นแวบสุดท้าย อยู่ในลักษณะคร่ึงหลับคร่ึงตื่นและเม่ือหลับแล้วจริงๆ คล่ืนสมองจะปรากฏไปอีกแบบหนึ่งซึ่งจะแตก ตา่ งจากคลน่ื ธีต้า (Theta wave) ๔.คลน่ื เดลต้า (Delta wave) เป็นคล่ืนที่เกดิ ขึน้ ในสภาวะของคนนอนหลับ เป็นคลื่นสมองที่มี ความถีข่ องสมองทต่ี ำ่ ทีส่ ุด แต่มีพลงั งานสงู จะอยู่ระหว่าง ๔ รอบต่อวินาที จนถึงน่ิงเป็นเสน้ ตรง ระหวา่ งนี้ สมองของคนเรา จะ ส่งคลน่ื เดลต้า (Delta wave) ออกมา ๙.๓ สมาธิกับการวิจยั ทางวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวมาแล้วว่า การศึกษาสมาธิด้วยวธิ ีการทางวิทยาศาสตรไ์ ดเ้ ริม่ มีขึ้นตง้ั แต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นต้นมา ตอ่ ไปนีจ้ ะเป็นรายงานการคน้ คว้าทางวิทยาศาสตร์จากประเทศตา่ งๆ ที่ได้พิมพ์ออกมาเป็น เอกสารทางวิชาการ เช่น The American Journal of Philosophy, International Journal of Neuroscience, Phychosomatic medicine, American Pshchologist, India Journal of medical Research ดังนี้ ๑. สมาธิทม่ี ีผลต่อระบบการหายใจ ค.ศ. ๑๙๖๑ ศาสตราจารย์บี.เค.อนันต์ แหง่ สถาบนั วิทยาศาสตร์การแพทย์ออล อินเดยี ได้ทำ การทอลองกับโยคี ช่อื ศรี รามนันท์ โดยไดใ้ หโ้ ยคีเขา้ ไปนั่งทำสมาธอิ ยู่ในหบี ขนาดกว้าง ๔ ฟุต ยาว ๖ ฟุต และลึก ๔ ปิดทึบอากาศเข้าออกไม่ได้ คร้ังหนึ่งนาน ๘ ช่ัวโมง และอีกครั้ง ๑๐ ช่ัวโมง โดยไม่ ปรากฏอันตรายอย่างใดแก่โยคี ผลการวิจยั พบวา่ ๑. โยคใี ช้ออกซิเจนน้อยกวา่ ธรรมดา ๓๓ - ๕๐ เปอร์เซน็ ต์ ๒. อัตราชพี จรลดลงจาก ๘๕ คร้ังตอ่ นาที คงเหลือเพยี ง ๖๐ - ๗๐ ครงั้ ต่อนาที ๓. การหายใจมีความเรว็ เกือบคงท่รี ะหว่างการทำสมาธิ ๔. คลืน่ สมองมลี ักษณะคลา้ ยกับเวลานอน หลับๆ ตื่นๆ ๒. สมาธิที่มีผลตอ่ การเผาผลาญในรา่ งกาย นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ๒ คณะ ทำการศึกษาพุทธศาสนิกชนในนิกายเซ็น คณะโชจิ ในขณะทำสมาธิ คณะของนักวิทยาศาสตร์ ชื่อซูกิ ศึกษาเก่ียวกับการเผาผลาญในร่างกายผลการวิจัย พบว่า จากการใช้ออกซิเจนและคาบอนไดออกไซด์ลดน้อยกว่าในเวลาปกติเฉลี่ยได้ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ อีกคณะหนึ่งนักวิทยาศาสตร์ชื่อคาซามัสสุ เป็นหัวหน้าได้ศึกษาคล่ืนไฟฟ้าของสมองในผู้ ปฏิบัติสมาธิตามวิธีนิกายเซ็นเปรียบเทียบกับคนธรรมดาผลการวิจัยพบว่า นักปฏิบัติท่ีทำสมาธิแบบ ลืมตานั้น คล่ืนไฟฟ้าสมองแตกต่างจากที่พบในคนนอนหลับอย่างธรรมดา แสดงว่าสมาธิต่างจากการ นอนมีลักษณะอยู่ระหว่างคล่ืนสมองของคนที่หลับและต่ืน เป็นสภาพครงึ่ หลับครั้งต่ืนแต่ไม่ใช่ง่วง คือ สงบแต่ไม่เฉอื่ ย ไมต่ น่ื เต้นแตพ่ ร้อมทีจ่ ะปฏบิ ตั ิหนา้ ท่ี

๑๘๙ ๓. สมาธทิ ี่มีตอ่ การเรยี น พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๔ ในประเทศไทย ได้มีนักวิทยาศาสตร์ ได้ทำการวิจัยเก่ียวกับเรื่องจิต คือ ศาสตราจารยน์ ายแพทย์โรจน์ สุวรรณสุทธิ และคณะทำงานแห่งคณะแพทย์ศาสตรศ์ ริ ิราชพยาบาล ได้ ทำการทดลองให้นักศึกษาแพทย์ชาย-หญิง ๓๒ คน อายุระหว่าง ๑๙-๒๓ ปี ฝึกสมาธิแบบสมถกรรม ฐาน สัปดาหล์ ะ ๕ วนั ตลอดเวลา ๒๐ สัปดาห์ และประเมินผลเก่ียวกับการศึกษาและความนึกคิดโดย วิธกี ารต่างๆ ผลการวจิ ัยพบวา่ ๑. นักศึกษามีความตง้ั ใจเรียนมาก ๖๒ เปอรเ์ ซน็ ต์ ๒. รักการเรียนมากข้ึน ๓๑ เปอร์เซน็ ต์ ๓. มคี วามเหน็ ว่าการฝึกสมาธิมปี ระโยชน์กบั การเรยี น ๖๕ เปอรเ์ ซน็ ต์ ๔. ทำให้ความจำดีขึน้ และการทำงานคล่องแคลว่ ๕. การบันทกึ คล่ืนสมองไฟฟา้ พบว่า ในระหว่างการทำสมาธิคลื่นสมองมีความราบเรยี บมาก ตา่ งจากบคุ คลธรรมดาท่วั ไป ๔. สมาธิท่มี ีต่ออตั ราการใช้ออกซิเจนในรา่ งกาย พ.ศ. ๒๕๑๐ ดร.เฮอร์เบิร์ต เบนสัน ผู้ก่อตั้งสถาบันรักษาใจและกาย (Mind/Body Medical Institute) ศาสตราจารย์สอนวิชาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Havard Medical School) รัฐแมสซาชูเซ็ทส์ ได้ทำการทดลองกับ นักปฏิบัติธรรม จำนวน ๓๖ คน ผลการวจิ ัยพบวา่ ๑. อัตราการใช้ อ๊อกซิเยน่ ลดลง ๑๗% หมายความว่า ถ้ารา่ งกายใช้ อ๊อกซเิ ยน่ น้อยลงอัตรา การเผาผลาญ ในร่างกายก็จะ ลดลง ไปด้วย เม่ือเผาผลาญลดลง ร่างกายก็เส่ือมน้อยลง เช่นกัน เมื่อ ร่างกายเสอื่ มน้อยลง หน้าตาก็จะ อ่อนกวา่ วัย และอายุขัยก็จะ ยืนยาว อตั ราการเต้นของหัวใจ ลดลง นาทีละ ๓ ครงั้ หมายความวา่ หัวใจจะแข็งแรงและ ไม่ตอ้ งทำงานหนกั เหมือนแต่กอ่ น ๒. สามารถบันทึกคล่ืนสมองของคนเราได้ ด้วยการเอาเคร่ือง EEG มาฉายแสดงออกเป็น เส้นกร๊าฟ ผลการวิจัยของ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สรุปอย่างชัดเจนว่าสมาธิก่อให้เกิด คลื่นสมองธีต้า (Theta wave) ๕.สมาธิที่มผี ลตอ่ ความดนั โลหิตสงู จากวารสารสมาคมโรคหัวใจ (American Heart Association's journal Hypertension) มี คณะผู้วิจัยกลุ่มหน่ึง ได้ทำการศึกษาชายหญิงชาวอเมริกันนิโกร กว่าร้อยคนท่ีมีความดันโลหิตสูงแต่ ไม่ไดท้ ำการรักษา คณะผ้วู ิจยั ไดแ้ บ่งคนออกเปน็ ๓ กลุม่ คอื กลุ่มแรก รักษาความดนั โลหิตสงู ดว้ ยวิธกี ารทำสมาธิ กลุ่มที่สอง รักษาความดันโลหิตสูงด้วยวิธีการผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และ พกั ผ่อน กลุ่มทีส่ าม รักษาความดันโลหิตสงู ด้วยวิธกี ารใหอ้ อกกำลังกายงด สูบบุหรี่ จำกัดแอลกอฮอล์ และลดความอ้วนหลงั จากนั้น ๓ เดือน เขาได้ตรวจวดั ความดันทั้ง ๓ กลุ่มปรากฏว่ากลุ่มแรกความดัน เลอื ดเฉลย่ี ลดลงถงึ ร้อยละ ๗ นอกจากนี้ยังลดการเป็นโรคหวั ใจลงร้อยละ ๒๐-๔๕ ลดอาการหัวใจวาย ลงร้อยละ ๓๕-๔๐ ส่วนกลุม่ ท่สี องลงลงไดเ้ พยี งรอ้ ยละ ๓ และกลมุ่ ทส่ี าม ไม่ลดลงเลย

๑๙๐ ๖. สมาธแิ ละความสมั พันธ์ของการรกั ษาโรค คณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ได้ทำการวิจัยเก่ียวกับสมาธิและความสัมพันธ์ของ การรักษาโรค ผลการวิจัยพบวา่ การทำสมาธิมีความสัมพันธ์กับสมองด้านซ้ายและส่งผลใหเ้ กิดสุขภาพ ท่ีดี คณะผู้วิจัยรับสมัครบุคคลจำนวน ๒๕ บุคคลจากที่ทำงานท่ีแวดล้อมไปด้วยพนักงานที่มี สุขภาพที่ดี ในระหว่าง ๘ สัปดาห์ของโปรแกรมการฝึกอบรมเก่ียวกับสมาธิ บุคคลเหล่าน้ันได้ถูกให้ วัคซนี ปอ้ งกันไข้หวัดใหญ่และตรวจวดั การเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้าในสมอง ในตอนท้ายของการทดลอง คณะผู้วิจัยสรุปว่าสมาธิส่งผลในทางบวกต่อท้ังสมองและภูมิคุ้มกันของร่างกาย แม้ว่าจะเป็นการทำ สมาธิในระยะสนั้ กต็ าม การทำสมาธิแสดงให้เห็นวา่ ผู้เข้ารว่ มการทดลองมีความกังวลน้อยลง และมีการเปลีย่ นแปลง ทส่ี มองดา้ นซ้ายมากข้นึ ตามทฤษฎที างการแพทย์สมองด้านซ้ายจะมคี วามสัมพนั ธ์กบั ความสามารถใน การตอ่ ต้านความคดิ ท่ีเป็นลบหรอื ความเครียด ๗. สมาธทิ มี่ ตี ่อการทำงานของคล่นื สมอง ดร.เกรก จาคอบส์ ศาสตราจารย์สอนวิชารักษาโรคทางจิต สถาบันแพทย์แห่งฮาร์วาร์ด รว่ มกับดร. เบนสัน บันทึกคลื่นสมองด้วยเคร่ือง EEG๒ ของคนกลุ่มหนึ่งที่เรียนวิชาสมาธิ และอีกกลุ่ม หนึ่งเรียนวิธีผ่อนคลายจากการฟังเทป อีก ๒-๓ เดือนตอ่ มา คนที่นั่งสมาธิมีคลนื่ สมองธตี ้ามากกว่าคน ทฟ่ี ังเทป สมองส่วนหนา้ ซ่ึงทำหน้าท่ีรับและยอ่ ยข้อมูลทำงานน้อยลง ใกล้ๆระดับตอนบนของศีรษะ มี สมองส่วนกลางที่บอกเวลาและสถานท่ี สมาธิทำให้สมองส่วนน้ีทำงานน้อยลง การท่ีสมองส่วนกลาง ปดิ ทำใหเ้ รารู้สึกวา่ ขอบเขตหายไป และìเปน็ หน่งึ (Oneness ) กับจกั รวาล ๘. สมาธทิ ่ีมีต่อระบบเลือดในสมอง ดร.เบนสัน ทำการวิจัยสมาธิกับระบบเลือดในสมอง โดยการนำเอาชาวซิกห์มาทดสอบ ชาวซิกห์กลุ่มนี้มีสมาธิจิตสูงมากถึงขนาดว่าเคร่ือง fMRI กระทบกันดังแคล้งก็ยังน่ังสมาธิต่อไปได้ (เคร่ืองน้ีมีพลังแม่เหล็กสูงกว่าโลก ๕๐,๐๐๐ เท่า) เม่ือวัดเลือดในสมอง ผลการวิจัยพบว่า เลือดใน สมองไหลลงมาหมด แต่บางส่วนรวมท้ังระบบลิมบิคไหลข้ึน (ระบบน้ีแสดงอารมณ์ ความจำ ควบคุม การเต้นของหวั ใจและลมหายใจให้เปน็ ปกติรวมทัง้ การเผาผลาญของร่างกายดว้ ย) ๙. สมาธทิ ่มี ีต่อสมองทัง้ สองซีก ริชาร์ด เดวิดสัน นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซินตั้งอยู่ในเมืองเมดิสัน สร้างรูป (image) ในสมองแสดงให้เห็นว่าสมาธิเปลี่ยนการทำงานในคอร์เท็กซ์บริเวณก่อนถึงสมองส่วนหน้า (หลัง หน้าผาก) จากซกี ขวามาซีกซ้าย และพบวา่ คนที่นัง่ สมาธิเป็นประจำ สมองจะเปล่ียนจากความคิดท่ีว่า จะสู้ดีหรอื หนีดีมาเป็นยอมรับสถานการณ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ตนพอใจมากข้ึน คนที่อารมณ์ ไม่ดีมักจะใช้สมองทางซีกขวาระดับก่อนถึงหน้าผาก ส่วนคนที่ใช้ซีกซ้าย แม้จะมีบ้านและที่ดินน้อย กว่าก็ตาม แต่จะท่ีใช้ซีกกระตือรือร้นมากกว่า มีความสนใจสิ่งต่างๆมากกว่า รู้สึกผ่อนคลายและมี ความสุขมากกวา่ คนขวา ต่อมาจอน กะบาต-ซินน์ ผู้เคยได้ศึกษาพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้ต้ังคลินิค คลายความเครียดในศูนย์แพทย์ยูแมส และพ.ศ. ๒๕๒๒ พยายามเอาพลังงานของสมาธิมารักษาโรค

๑๙๑ ดว้ ยวิธกี ารที่เป็นวิทยาศาสตร์มากข้ึนกับมาริชาร์ด เดวิดสัน ศึกษาเรื่องใหมอ่ ีกเรอ่ื งหนึ่ง คือ ฉีดยาแก้ ไข้ให้ผู้ปว่ ยท่ีนั่งสมาธิและท่ไี มไ่ ดน้ ั่งสมาธิ จากการตรวจระดบั ภมู ิคมุ้ กนั โรคในเลือด วัดการทำงานของ สมอง พบว่าสมองย้ายท่ีทำงานจากซีกขวามาทางซีกซ้าย คนไข้ท่ีนั่งสมาธิมีภูมิคุ้มกันโรคภายใน ๔ และ ๘ สัปดาห์หลังฉีดยา แต่คนไข้ท่ีสมองย้ายท่ีทำงานมากท่ีสุดจะมีภูมิคุ้มกันมากท่ีสุด ยิ่งถ้านั่ง สมาธดิ ว้ ยวิธกี ารทดี่ ีกว่า รา่ งกายจะสร้างภมู ิคุม้ กันโรคมากกว่า ๑๐. การทำงานของสมองในขณะน่ังสมาธิ พ.ศ. ๒๕๔๐ นักประสาทวิทยาคนหนง่ึ ชอ่ื แอนดรู นิวเบิร์ก จากมหาวทิ ยาลยั เพนซิลเวเนีย ได้ทำการทดสอบชาวพุทธท่ีน่ังสมาธกิ ลุ่มหนึ่ง โดยใช้เคร่ือง LVS มสี ีย้อมกัมมันตรังสีเกิดแสงในสมอง ที่ส่องให้เห็นทิศทางการไหลของเลือดในสมองและเห็นส่วนต่างๆ ท่ีสมองทำงานมากท่ีสุด แอนดรู สามารถจบั จดุ สูงสุดของสมาธิได้ คอื ตอนย้ายกลุ่มทดลองไปนั่งสมาธิหอ้ งขา้ งๆ เขาใชเ้ ชอื กพนั รอบน้ิว ปลายเชือกอีกข้างหนึ่งสอดใต้ประตู วางไว้ใกล้ๆคนน่ังสมาธิ เมื่อนั่งจนใจเป็นสมาธิแล้ว คนน่ังก็จะดึง เชือก แอนดรูจะปล่อยสีย้อมเข้าไปในแขนของคนนั่ง ผลการวิจัยพบว่า สมองไม่ได้ปิด แต่กั้นไม่ให้ เรื่องราวตา่ งๆ เข้ามาในสมองสว่ นกลางขณะนงั่ สมาธิ สมาธินำทางสู่แสงสว่าง แสงสว่างนำทางไปสู่ปัญญา แนวทางแห่งพุทธศาสนาที่ถ่ายทอดสืบ ต่อกันมากกว่าสองพันปีของชาวตะวันออก ได้ผ่านการพิสูจน์จากผลการวิจัยและผลการทดลอง โดย ความเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีท่ีเจริญล้ำหน้าของชาวตะวันตก แสดงให้เห็นว่า วิธีการทาง พระพุทธศาสนาสามารถแก้ทุกขไ์ ด้จรงิ แก้ปัญหาท้ังทางรา่ งกายและจิตใจได้จริงและสามารถพิสูจน์ได้ จริงด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และไม่ใช่สิ่งท่ีเกินความสามารถที่ มนุษย์ธรรมดาในยุคปัจจุบันจะ ปฏบิ ตั ิได้ ๙.๔ ความหลากหลายของการฝึกสมาธิ การฝึกสมาธิเป็นการฝึกฝนจิตใจให้สงบสุขนั้น มีอยู่หลายวิธีการด้วยกัน เสมือนแม่น้ำทุก สายในโลกน้ี ก็ล้วนไหลลงไปสู่มหาสมุทรทั้งสิ้น การฝึกใจเพ่ือให้เกิดสมาธิจิตนั้นก็มีอยู่หลายวิธีการ เช่นกัน เพราะเหตุนี้จึงมีรูปแบบการสอนสมาธิจิตที่หลากหลายเป็นจำนวนมากเพ่ือให้สนองความ ตอ้ งการของผู้เรยี นที่มีความแตกตา่ งกันไป เหตุท่ีเป็นเช่นน้ีก็เพราะมนุษย์แต่ละคนจะหาความเหมือน กนั หมดทกุ อย่างจริงๆ น้นั ไม่มี ครูผู้สอนการฝึกสมาธิทั้งหลายได้ถ่ายทอดประสบการณต์ ามความรู้ ความสามารถท่ตี นเองได้ ฝึกฝนมา หรือตามขนบธรรมเนียม ประเพณีนิยม และพิธีกรรมต่าง ๆ ท่ีได้รับการสืบทอดกันมาตาม ความรู้ ความเช่ือของคนรุ่นก่อน และบางทีวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นก็มีผลต่อรูปแบบของการฝึก สมาธิด้วย เพราะคนแต่ละท้องถิ่นก็มีอัธยาศัยท่ีแตกต่างกันไป จึงทำให้เกิดครูสอนสมาธิมากมายทั่ว โลก ซ่ึงครูสอนสมาธิแต่ละท่านจะมุ่งเน้นสอนสมาธิเพื่อให้ใจเกิดสมาธิ คือทำใจให้ต้ังมั่น มีความสงบ สุข เบากาย สบายใจ อันเป็นผลของสมาธิโดยท่ัวไปในข้ันพ้ืนฐาน และเป็นฐานในการรองรับการฝึก สมาธิขั้นสูงต่อไป๓ รปู แบบของการฝึกสมาธิแบบต่างๆ ในโลก การฝึกสมาธิแบบต่างๆ ในโลกนี้ มี ๓ การฝกึ สมาธิขนั้ สงู จะมคี วามม่งุ หมายแตต่ า่ งกันบา้ ง เช่น ในทางพระพทุ ธศาสนาจะฝึกสมาธเิ พอื่ มงุ่ การ ทำพระนพิ พานใหแ้ จ้ง

๑๙๒ วิธีการฝึกสมาธิได้หลากหลายรูปแบบเป็นจำนวนมาก แต่ก็พอสรุปรูปแบบหลักๆ ที่นิยมฝึกกันใน ปัจจบุ นั มอี ยู่ ๒ ลกั ษณะ คือ ๑. การฝึกสมาธิแบบเคล่อื นไหวทางร่างกาย ๒. การฝึกสมาธแิ บบผ่อนคลายร่างกาย โดยไม่ต้องเคลือ่ นไหวร่างกายขณะทฝี่ ึกสมาธิ ๑. การฝึกสมาธิแบบเคล่อื นไหวทางร่างกาย รูปแบบการฝึกสมาธิไปพร้อมกับการเคล่ือนไหวของร่างกายน้ีมีวิธีการฝึกหลายอย่าง แต่ที่ กำลังนิยมของผู้ท่ีช่ืนชอบการรักษาสุขภาพกายและใจไปควบคู่กันได้แก่ โยคะ และมวยจีน คือใช้ หลักการเคล่ือนไหวทางรา่ งกาย (ออกกำลังกาย) ชา้ ๆ ไปพร้อมกับการทำใจให้ว่างและเปน็ สมาธิ ด้วย การกำหนดการหายใจเข้า ออก พร้อมกับมีสติรับรู้การเคลื่อนไหวของร่างกายในขณะท่ีฝึกอยู่เสมอ หรือจะกำหนดใจไปยังอวัยวะส่วนที่ไม่แข็งแรงให้กลับคืนสู่สภาพปกติก็ได้ ซึ่งรูปแบบการฝึกสมาธิ อย่างน้ีจะมีประโยชน์ต่อการดูแลรกั ษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และจิตใจให้ผ่อนคลายความเครียด ความกงั วล และใหค้ วามร้สู กึ สดชื้น แจม่ ใส การเคล่ือนไหวตามวิธีน้ีเป็นการทำสมาธิไปด้วยในตัว พร้อมกับการเคลื่อนไหวทางกายช้าๆ อย่างระมัดระวงั และทุกอริ ิยาบถมกี ารกำหนดรตู้ ัวโดยตลอด ถือได้วา่ เป็นการปฏิบตั ิสมาธอิ ย่างหนึ่งท่ี กระทำไปพร้อมกับการเคล่ือนไหวของร่างกาย คือ ออกกำลังกายไปด้วย อย่างน้อยก็ทำให้เลือดลม เดนิ สะดวกคล่องตัวข้นึ ขอ้ ต่อและกล้ามเนื้อตา่ งๆ ไดร้ บั การกระตนุ้ ๔ รปู แบบของการฝกึ สมาธิด้วยวิธีการใชห้ ลกั การเคลือ่ นไหวของร่างกาย (ออกกำลัง) ไปพร้อม กบั การทำจิตให้เป็นสมาธนิ ้ัน จะขอยกตัวอย่างยอ่ ๆ ตามแนวทางของโยคะ๕ โยคะ คือ แนวทางหรือวิธีการท่ีจะทำให้คนเราสามารควบคุมจิตใจ และร่างกายของตนเองได้ อย่างสมบูรณ์ ซ่ึงเช่ือกันว่าทำให้มนุษย์เราสามารถติดต่อกับอำนาจสากลได้ เพ่ือบรรลุความสำเร็จ ดังกล่าวนี้ คนเราจะต้องเป็นผู้มีอำนาจสมาธิอย่างสูง ผู้ที่จะกระทำเช่นน้ีได้ จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการ อบรมทางาจิตมาแล้วเป็นอย่างดีเสียก่อนการฝึกอบรมจิตจะไม่ประสบผลสำเร็จอย่างเด็จขาด ถ้ามิได้ ผ่านการฝึกอบรมทางกายเป็นอย่างดีมาก่อน การฝึกอบรมทางกายดังกล่าวน้ีจึงเป็นกระบวนการ ฝกึ หดั และอบรมที่กล่าวน้ีเอง ที่เรยี กวา่ หะธะโยคะ หะธะโยคะ มีหลักการคือ ìสุขภาพทางกายเป็นรากฐานของสุขภาพทางจิตî ซึ่งในการปฏิบัติ หะธะโยคะน้ัน มขี ้อปฏิบตั ิใหญ่ ๓ ประการ คือ ๑. กำหนดจิต เป็นการส่งกระแสจิตไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ทุกแห่งและสามารถ ควบคุมสว่ นต่าง ๆ ของร่างกายได้ ๒. การกำหนดลมหายใจ (ปราณ) ๓. การบริหารรา่ งกายดว้ ยทา่ ตา่ ง ๆ ให้ไดผ้ ลแกก่ ลา้ มเน้อื ทุกส่วน ข้อต่อตา่ ง ๆ สมอง และ ประสาท รวมทัง้ หัวใจและหลอดเลือด หะธะโยคะ มีความเชื่อว่า ร่างกายของมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ได้ก็ด้วยอำนาจพลังธรรมชาติ ๒ ประการ คือ พลงั ร้อนและพลังเย็น (คล้ายคลึงกับความเชื่อในลัทธเิ ต๋าซึ่งมีพลังหยนิ และพลังหยาง คือ พลงั หญิงและพลังชาย) เม่อื ใดพลังท้ังสองนส้ี มดุลกนั มาทีส่ ุด เม่อื นัน้ มนุษย์ก็จะมสี ุขภาพดีที่สุดเช่นกนั ๔ เฉก ธนะสริ ิ, สมาธกิ ับคุณภาพชวี ติ , พิมพ์ครงั้ ที่ ๒, กรุงเทพมหานคร : ๒๕๒๙, หนา้ ๘๑. ๕ เรือ่ งเดียวกัน, หนา้ ๘๑-๘๒.